ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

เล่มที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อภิสมยสังยุต

พุทธวรรคที่ ๑

๑. เทสนาสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธ-

ดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 2

ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย. จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะ

ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เราเรียก

ว่าปฏิจจสมุปบาท.

[๓] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม้เหลือ

สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ

นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ

ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหา

จึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกข-

โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุ

เหล่านั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

จบเทศนาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 3

สารัตถปกาสินี

อรรถกถาสังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อภิสมยสังยุต พุทธวรรคที่ ๑

อรรถกถาปฐมปฏิจจสมุปบาทสูตรที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ

องค์นั้น.

ปฏิจจสมุปบาทสูตร พระสูตรแรกในนิทานวรรคเริ่มต้นว่า

เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

ในปฏิจจสมุปบาทสูตรนั้น พรรณนาตามลำดับบทว่า ตตฺร โข

ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ดังต่อไปนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร เป็นคำแสดงถึงเทศะ สถาน

และกาลเวลา.

จริงอยู่ คำว่า ตตฺร นั้น ย่อมแสดง (ความหมาย) ว่าในสมัยที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ และในพระเชตวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ หรือแสดงถึงเทศะ และกาลที่สมควรแก่คำที่พระองค์ควรตรัส.

ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมะ ในเทศะและกาละที่ไม่ควร.

ก็ในเรื่องนี้มีคำว่า อกาโล โข ตาว พาหิย เป็นข้อสาธก. ศัพท์ว่า

โข เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า สักว่าทำบทให้เต็มความหมายว่า

ห้ามความอื่น หรือในความหมายถึงกาลเบื้องต้น. คำว่า ภควา เป็น

๑-๒. บาลีเป็น เทศนาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 4

คำแสดงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นครูของชาวโลก. ด้วยคำว่า ภิกฺขู

เป็นคำระบุถึงบุคคลผู้ควรแก้การฟังพระดำรัส อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ภิกฺขู

นี้ พึงทราบความหมายถ้อยคำโดยนัยเป็นต้นว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถ

ว่า ขอ ( และ) ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะอรรถว่า เข้าถึงการภิกษาจาร. บทว่า

อามนฺเตสิ แปลว่า ตรัสเรียก คือได้ตรัส ได้แก่ ให้รู้ตัว. ในคำว่า

อามนฺเตสิ นี้ มีอธิบายดังนี้ แต่ในที่อื่นมีความหมายว่าให้รู้เหมือนอย่าง

ที่ตรัสไว้ว้า ภิกษุทั้งหลาย เราขอเดือนเธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเรา

ขอประกาศแก่เธอทั้งหลาย. มีความหมายว่าเรียกก็มี เหมือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า มาเถิดภิกษุ เธอจงเรียกพระสารีบุตรมาตามคำของเรา. บทว่า

ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการ คือการตรัสเรียก. ก็คำว่า ภิกฺขโว นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เหล่าภิกษุ เพราะสำเร็จด้วยการประกอบ

ด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นปกติก็ดี ผู้ประกอบด้วยคุณมีการขอเป็น

ธรรมดาก็ดี ผู้ประกอบด้วยคุณคือทำความดีในเพราะการขอก็ดี ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความประพฤติ

ของภิกษุเหล่านั้น อันคนชั้นเลวและคนชั้นดีเสพแล้ว ด้วยถ้อยคำที่สำเร็จ

ด้วยการประกอบด้วยคุณ มีการขอเป็นปกติเป็นต้น จึงทรงทำการข่มภาวะ

ที่เหล่าภิกษุผู้ผยองขึ้นเป็นต้น.

อนึ่ง ด้วยคำว่า ภิกฺขโว นี้ ซึ่งมีการทอดพระเนตรลง อัน

แสดงถึงพระฤทัยอันเยือกเย็นซึ่งแผ่ซ่านด้วยพระกรุณา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงกระทำภิกษุเหล่านั้นให้หันมาทางพระองค์ ทรงให้ภิกษุ

เหล่านั้นเกิดความเป็นผู้ใคร่ฟัง ด้วยพระดำรัสซึ่งแสดงความเป็นผู้ใคร่จะ

ตรัสนั้นนั่นแล ทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ในมนสิการด้วยดี ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 5

อรรถคือการปลุกให้ตื่นนั่นแล เพราะการทำคำสอนให้ถึงพร้อม ต้อง

ประกอบด้วยมนสิการให้ดี.

หากจะมีคำถามว่า เมื่อมีทวยเทพ และมนุษย์อื่น ๆ อยู่ เหตุไฉน

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกแต่ภิกษุเท่านั้น.

ตอบว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นหัวหน้า เป็นผู้ประเสริฐ อยู่ใกล้

และมีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ. จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เป็นสาธารณะแก้บริษัททุกเหล่า. ภิกษุทั้งหลายชื่อว่าเป็น

หัวหน้าบริษัท เพราะเกิดขึ้นก่อน ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะประพฤติ

คล้อยตามพระจริยาวัตรพระศาสดาตั้งต้นแต่ความเป็นผู้ไม่มีเรือน และ

เพราะรับเอาคำสอน ( ของพระศาสดา) ทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ใกล้ เพราะ

นั่งใกล้พระศาสดา ( และ ) ชื่อว่ามีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ เพราะ

เที่ยวไปในสำนักพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นเป็นภาชนะ

รองรับพระธรรมเทศนา เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอน (ของพระ

ศาสดา) และเพราะเป็นผู้พิเศษ. แม้พระธรรมเทศนานี้ ทรงหมายถึง

ภิกษุบางพวกเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกอย่างนี้ ถามว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงธรรม ตรัสเรียกภิกษุก่อน ย่อมไม่

แสดงธรรมเลยเพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อให้ (พวกภิกษุ) เกิดสติ

(เพราะ) ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดเรื่องอื่น จะนั่งมัวมีจิตฟุ้งซ่านบ้าง

มัวพิจารณาธรรมอยู่บ้าง มัวทำใจในกัมมัฏฐานบ้าง เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกพวกเธอเลย ทรงแสดงธรรมไป พวกเธอจะไม่

สามารถกาหนดได้ว่า พระธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไร

เป็นปัจจัย ทรงแสดงเพราะอัตถุปัตติอย่างไหน จะพึงรับเอาได้ไม่ดี หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 6

รักเอาไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น เพื่อจะให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดสติ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกเสียก่อน แล้วจึงแสดงธรรมภายหลัง.

คำว่า ภทนฺเต นั้น เป็นคำแสดงความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง

คำนั้นเป็นการให้คำตอบแก่พระศาสดา อีกประการหนึ่ง ในคำนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมตรัสเรียก

ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า

ให้คำตอบพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่าภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายย่อมกราบทูลว่า พระองค์ผู้เจริญ.

คำว่า ภิกฺขโว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้พวกภิกษุให้คำตอบ.

คำว่า ภทนฺเต คือ พวกภิกษุให้คำตอบ.

บทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่เหล่าภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก.

บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ความว่า รับการตรัสเรียกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า อธิบายว่า หันหน้าฟัง ได้แก่รับ คือรับปฏิบัติ.

คำว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส

พระสูตรทั้งสิ้นนี้ ที่ควรตรัสในบัดนี้.

การพิจารณาเนื้อความแห่งคำเริ่มต้น ซึ่งประดับด้วยกาละ เทศะ

เทสกะ ( ผู้แสดง) บริษัท และ อปเทส (ข้ออ้าง ) ของพระสูตรนี้

อันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ส่องถึงความที่พระสูตรนี้ลึกซึ้งด้วย

เทศนาญาณของพระพุทธเจ้า ที่ท่านพระอานนท์ภาษิตไว้ เพื่อกาหนด

ได้สะดวกจบบริบูรณ์แล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ โอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตั้งไว้โดยนัยว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาท โว เป็นต้น มาถึงโดยลำดับ. ก็เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 7

การพรรณนาพระสูตรนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพิจารณาเหตุตั้ง

พระสูตรก่อนแล้วจึงตรัสปรากฏชัดแล้ว เพาะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักพิจารณา

เหตุตั้งพระสูตรก่อน.

แท้จริง เหตุตั้งพระสูตรมี ๔ อย่าง คือ อัธยาศัยของพระองค์

เอง ๑ อัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เป็นไปด้วยอำนาจคำถาม ๑ เกิดเรื่องขึ้น ๑.

บรรดาเหตุตั้งพระสูตร ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันชน

อื่นไม่ได้อาราธนาเลย ตรัสพระสูตรเหล่าใด เพราะอัธยาศัยของพระองค์

อย่างเดียวเท่านั้น คือ วสลสูตร จันโทปมสูตร วีโณปมสูตร สัมมัป-

ปธานสูตร อิทธิบาทสูตร อินทริยสูตร พลสูตร โพชฌังคสูตร มัคคสูตร

และ มงคลสูตร เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีอัธยาศัยของ

พระองค์เองเป็นเหตุตั้งพระสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณา

อัธยาศัย ความอดทน ความพอใจ ความรู้ อภินิหาร และความตรัสรู้

ของคนอื่นอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่บ่มวิมุตติ ของพระราหุล

แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไรเราพึงแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะให้ยิ่ง ๆ

ขึ้น ดังนี้แล้ว ตรัสพระสูตรเหล่าใดไว้ด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น คือ

จูฬราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อนัตตลักขณสูตร อาสีวิโสปมสูตร (และ) ธาตุวิภังคสูตร เป็นต้น

พระสูตรเหล่านั้นชื่อว่า มีอัธยาศัยของผู้อื่นเป็นเหตุตั้งพระสูตร.

อนึ่ง ชนทั้งหลายมีเป็นต้นว่า บริษัท ๔ วรรณะ ๔ นาค ครุฑ

คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวจตุมหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นต้น

(และ) ท้าวมหาพรหม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถาม

ปัญหาโดยนัยเป็นต้นว่า พระเจ้าข้า ธรรมเหล่านี้ พระองค์ตรัสเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 8

โพชฌงค์ โพชฌงค์ หรือพระเจ้าข้า ธรรมเหล่านี้ พระองค์ตรัสเรียกว่า

นีวารณะ นีวารณะ หรือพระเจ้าข้า ธรรมเหล่านี้พระองค์ตรัสเรียกว่า

ปัญจุปาขันธ์หรือพระเจ้าข้า ในโลกนี้อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

อันประเสริฐที่สุดของคน พระผู้มีพระภาคเจ้าอันชนมีบริษัท ๔ เป็นต้น

นั้นทูลถามแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรเหล่าใด มีโพชฌังคสังยุต เป็นต้น

หรือแม้สูตรอื่นใดมีเทวดาสังยุต สักกปัญหสูตร จูฬเวทัลลสูตร มหา-

เวทัลลสูตร สามัญญผลสูตร อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร และขรโลมสูตร

เป็นต้น พระสูตรเหล่านั้นชื่อว่า มีเหตุตั้งพระสูตรเป็นไปด้วยอำนาจ

คำทูลถาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเกิดขึ้นแล้วตรัสพระสูตรเหล่านั้น

ใด คือ ธัมมทายาทสูตร มังสูปมสูตร ทารุขันธูปมสูตร อัคคิขันธูปม-

สูตร เผณปิณฑูปมสูตร (และ) ปาริฉัตตกูปมสูตร เป็นต้น พระสูตร

เหล่านั้นชื่อว่า เหตุตั้งพระสูตรคือเกิดเรื่องขึ้น.

บรรดาเหตุตั้ง (พระสูตร) ๔ อย่างเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ปฏิจจ-

สมุปบาทสูตรนี้ ชื่อว่ามีเหตุตั้ง (พระสูตร) คือ อัธยาศัยคนอื่น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระสูตรนี้ไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัย

บุคคลอื่น ถามว่า ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยบุคคลชนิดไหน. ตอบว่า

ชนิดอุคฆติตัญญู.

จริงอยู่ บุคคลมี ๔ จำพวก คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ

(และ) ปทปรมะ. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรม

พร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง นี้เรียกว่า อุคฆติตัญญู.

บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมในเมื่อท่านขยายความของข้อธรรมที่ท่านกล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 9

โดยย่อให้พิศดาร นี้เรียกว่า วิปจิตัญญู. บุคคลเมื่อใช้โยนิโสมนสิการ

โดยอุทเทสและปริปุจฉา เสพคนนั่งใกล้กัลยาณมิตร จึงได้ตรัสรู้ธรรม

นี้เรียกว่า เนยยะ. บุคคลถึงจะฟังมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี

ท่องบ่นมากก็ดี ก็ไม่ได้ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระสูตรนี้ ด้วยอำนาจอัธยาศัยของเหล่า

บุคคลผู้เป็นอุคฆติตัญญู ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ทราบว่าในคราวนั้นภิกษุชาวชนบทจำนวน ๕๐๐ รูป ทั้งหมดแล

เที่ยวไปรูปเดียว (บ้าง) เที่ยวไป ๒ รูป (บ้าง) เที่ยวไป ๓ รูป

(บ้าง) เที่ยวไป ๔ รูป (บ้าง) เที่ยวไป ๕ รูป (บ้าง) มีความ

ประพฤติเป็นสภาคกัน ถือธุดงค์ ปรารภความเพียร ประกอบความเพียร

เป็นนักวิปัสสนา ปรารถนาการแสดงปัจจยาการที่ละเอียด สุขุม แสดง

ความว่างเปล่า เวลาเย็น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้ว มุ่งหวังการแสดงปัจจยาการ จึงพากันนั่งแวดล้อม (พระองค์)

เหมือนแวดล้อมด้วยม่านผ้ากัมพลสีแดงฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปรารภพระสูตรนี้ เพราะอำนาจอัธยาศัยขอกพวกเธอ. เปรียบเหมือนจิตรกร

ผู้ฉลาดได้ฝาเรือนที่ยังไม่ได้ฉาบทาเลย ยังไม่สร้างรูปภาพตั้งแต่ต้นเลย

แต่เขาทำการฉาบฝาเรือนด้วยการฉาบทาด้วยดินเหนียวเป็นต้นก่อนแล้ว

สร้างรูปภาพที่ฝาเรือนที่ฉาบทาแล้ว แต่ครั้นได้ฝาเรือนที่ฉาบทาแล้ว ไม่

ต้องทำการขวนขวายในฝาเรือนเลย ผสมสีแล้ว เอาสายเชือกหรือแปลง

ทาสีสร้างรูปภาพอย่างเดียวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ได้

กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร แต่ยังไม่ทำความเชื่อมั่น จึงมิได้ตรัสบอก

ลักษณะวิปัสสนากัมมัฏฐานซึ่งละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า อัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 10

เป็นปทัฏฐานพระอรหันต์แก่เธอแต่ชั้นต้น แต่ทรงประกอบ (เธอ)

ไว้ในสัมปทาคือ ศีล สมาธิ และกัมมัสสกตาทิฏฐิ ความเห็นว่าสัตว์

มีกรรมเป็นของตนเสียก่อน จึงตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่ง

พระองค์ทรงมุ่งหมายตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงชำระ

ปฏิปทาเบื้องต้นในกุศลธรรม ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม (คือ)

ศีลที่บริสุทธิ์และทิฏฐิที่ตรง ดูก่อนภิกษุ เธอจักมีศีลบริสุทธิ์ และทิฏฐิ

ตรงในกาลใดแล ดูก่อนภิกษุ ในกาลนั้นเธออาศัยศีล ดำรงในศีลแล้ว

เจริญสติปัฏฐาน ๔ โดย ๓ อย่าง. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา โทมนัสในโลก พิจารณาเห็นกายภายนอก ฯลฯ

พิจารณาเห็นทั้งภายในและภายนอก ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสได้

ในโลก. ดูก่อนภิกษุ ในกาลใดแล เธออาศัยศีล ดำรงอยู่ในศีล พึง

เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ ในกาลนั้น กลางคืน

หรือกลางวันจักมาถึงเธอ ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรม เธอพึงหวัง

ได้ ไม่มีความเสื่อมเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการอบรมด้วยศีลกถาแก่อาทิกัมมิก-

กุลบุตร ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสบอกลักษณะแห่งวิปัสสนา อัน

ละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต

และครั้นได้ภิกษุนักวิปัสสนา ผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ปรารภความเพียร

ประกอบความเพียรแล้วก็ไม่ตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแก่เธอ

แต่จะตรัสบอกลักษณะแห่งวิปัสสนาอันละเอียด สุขุม แสดงความว่างเปล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 11

ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตตรง ๆ เลย. ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป

เหล่านี้ครั้นชำระปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแล้ว ดำรงอยู่เหมือนทองคำ

บริสุทธิ์ คล้ายกับก้อนมณีที่ขัดแล้ว. โสกุตรมรรคอย่างหนึ่งไม่ได้มา

ถึงพวกเธอเลย พระศาสดาได้พิจารณาอัธยาศัยของพวกภิกษุเหล่านั้น

เพื่อจะใช้ถึงโลกุตรมรรคนั้น จึงทรงนำพระสูตรนี้มา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาท ได้แก่ปัจจยาการ.

จริงอยู่ ปัจจยาการอาศัยกันแล้ว ย่อมให้สหชาตธรรมเกิดขึ้น. เพราะ-

ฉะนั้น ปัจจยาการพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาท.

ความสังเขปในนิทานวรรคนี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึงค้นคว้า

จากคัมภีร์ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรค.

ศัพท์ว่า โว ในคำว่า โว นี้ ย่อมใช้ได้ทั้งในปฐมาวิภัตติ

ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และในการทำบท

ให้เต็ม จริงอยู่ โว ศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในปฐมาวิภัตติ ในประโยค

เป็นต้นว่า กจฺจ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา ดูก่อน

อนุรุทธ และอานนท์ พวกเธอยังบันเทิงพร้อมเพรียงกันดีอยู่หรือ.

ใช้ในทุติยาวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปเสีย เราประณามพวกเธอ ใช้ในตติยาวิภัตติ

ในประโยคเป็นต้นว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพ อันเธอทั้งหลาย

ไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา. ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า

วนปฏฺปริยาย โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

วนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ. ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า

สพฺเพส โว สารีปุตฺต สุภาสิต สารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 12

เป็นสุภาษิต. ใช้ในปทปูรณะ. (ทำบทให้เต็ม) ในประโยคเป็นต้นว่า

เย หิ โว อริยา ปริสุทฺธกายกมฺมนิตา ก็พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่าใด

แล มีการงานทางกายบริสุทธิ์. แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า โว นี้ พึงเห็นว่า

ลงในจตุตถีวิภัตติ.

คำว่า ภิกฺขเว เป็นคำร้องเรียกเหล่าภิกษุผู้ปรากฏเฉพาะพระพักตร์

ด้วยรับพระดำรัส. คำว่า เทเสสฺสามิ เป็นคำปฏิญญาที่จะแสดง (ธรรม).

คำว่า ต สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น คือ

เทศนากัณฑ์นั้นที่เรากำลังกล่าวอยู่.

ก็คำว่า สาธุก นั้น ในคำว่า สาธุก มนสิกโรถ นี้ มีเนื้อความ

เป็นอันเดียวกันว่า สาธุ อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทูลขอ

การตอบรับ การทำให้ร่าเริง ความดีและการทำให้มั่นคงเป็นต้น. จริงอยู่

สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ทูลขอ ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต

ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอ

วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่พระองค์เถิด

ใช้ในอรรถว่า ตอบรับ ในคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเตติ โข โส ภิกฺขุ

ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ภิกษุนั้นแล กราบทูลว่า

ดีแล้วพระเจ้าข้า ดังนี้ ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ใช้ในอรรถว่า ทำใจให้ร่าเริง ในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ

สารีปุตฺต ดีแล้ว ดีแล้ว พระสารีบุตร. ใช้ในอรรถว่า ดี ในประโยค

เป็นต้นว่า

สาธุ ธมฺมรุจิราชา สาธุ ปญฺาณวา นโร

สาธุ มิตฺตานมทุพฺโภ ปาปสฺส อกรณ สุข.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 13

พระราชาผู้ทรงชอบพระทัยในธรรมดี นรชนผู้มี

ปัญญาดี การไม่ประทุษร้ายมิตรดี การไม่ทำความชั่ว

เป็นสุข.

สาธุก ศัพท์นั่นแลใช้ในการกระทำให้มั่นเข้า ในประโยคเป็นต้นว่า

เตนหิ พฺราหฺมณ สาธุก สุณาหิ พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้นเธอจงสดับ

ให้มั่น. สาธุก ศัพท์นี้ท่านกล่าวว่า ใช้ในการบังคับก็ได้. แต่ในที่นี้

สาธุก ศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า การกระทำให้มั่นเข้าอย่างเดียว. อนึ่ง อรรถ

แห่งการบังคับพึงทราบต่อไป แม้ในอรรถว่า เป็นความดีก็ใช้ได้. สาธุก

ศัพท์ในอรรถทั้งสองงนั้นท่านแสดงไว้ด้วยอรรถแห่งการทำให้มั่นว่า ทฬฺห

อิม ธมฺม สุณาก สุคหิต คณฺหนฺตา เมื่อจะถือเอาให้ดี พวกเธอก็

จงฟังธรรมนี้ให้มั่น ด้วยอรรถแห่งการบังคับว่า มม อาณตฺติยา สุณาถ

เธอทั้งหลายจงฟังตามคำสั่งของเรา ด้วยอรรถว่า เป็นความดีว่า สุนฺทรมิม

ภทฺทก ธมฺม สุณาถ เธอจงฟังธรรมนี้ให้ ให้เจริญ. บทว่า

มนสิกโรถ ความว่า จงระลึก คือประมวลมา. อธิบายว่า เธอจงมีจิต

ไม่ฟุ้งซ่านตั้งใจฟัง คือทำไว้ในใจ.

บัดนี้ คำว่า ต สุณาถ ในที่นี้นั้น เป็นคำห้ามการที่โสตินทรีย์

ฟุ้งซ่าน. คำว่า สาธุก มนสิกโรถ เป็นคำห้ามการที่มนินทรีย์

ฟุ้งซ่าน ด้วยการประกอบให้มั่นในมนสิการ ก็ใน ๒ คำนี้ คำแรกเป็น

การยึดถือด้วยความคลาดเคลื่อนแห่งพยัญชนะ คำหลังเป็นการห้ามการยึด

ถือความคลาดเคลื่อนแห่งเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประกอบภิกษุ

ไว้ในการฟังธรรมด้วยคำแรก. ทรงประกอบภิกษุไว้ในการทรงจำและ

สอบสวนธรรมที่ภิกษุฟังแล้วด้วยคำหลัง. อนึ่ง ด้วยคำแรกย่อมทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

แสดงว่า ธรรมนี้เป็นไปด้วยพยัญชนะ เพราะฉะนั้น จึงควรฟัง ด้วย

คำหลังทรงแสดงว่า ธรรมนี้เป็นไปด้วยเนื้อความ เพราะฉะนั้น จึงควร

ทำไว้ในใจ. อีกอย่างหนึ่ง ควรประกอบสาธุกบทด้วยบท ๒ บท พึง

ทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะธรรมนี้ลึกซึ้งโดยธรรม และ

ลึกซึ้งโดยทศนา ฉะนั้น พวกเธอจงฟังให้ดี. เพราะเหตุที่ธรรมนี้ลึกซึ้ง

โดยอรรถและลึกซึ้งโดยปฏิเวธ ฉะนั้น พวกเธอจงทำในใจให้ดี. บทว่า

ภาสิสฺสามิ แปลว่า จักแสดง. ในคำว่า ต สุณาถ นี้ ท่านอธิบาย

ว่า เราจักสังเขปความ แสดงเทศนาที่เราปฏิญญาไว้แล้วนั้น.

อีกอย่างหนึ่งแล เราจักไม่กล่าวแม้โดยพิสดาร. อนึ่ง บทเหล่านี้

เป็นบทบอกความย่อและพิสดารไว้ เหมือนดังที่ท่านพระวังคีสเถระกล่าว

ไว้ว่า

สงฺขิตฺเตนปิ เทเสติ วิตฺถาเรนปิ ภาสติ

สาลิกายิว นิคฺโฆโส ปฏิภาณ อุทิรียต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง

ตรัสโดยพิสดารบ้าง ทรงมีพระสุรเสียงกังวานดัง

นกสาลิกา ทรงแสดงออกซึ่งปฏิภาณ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นแลเกิดความ

อุตสาหะแล้ว ฟังตอบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีคำอธิบายรับแล้ว คือรับ

รองพระดำรัสของพระศาสดาว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ที่จะพึงตรัสในบัดนี้แก่ภิกษุเหล่านั้น มีอาทิว่า

กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท. บรรดาบทเหล่านั้น กตโม จ

ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อจะตรัส

ตอบเอง.

จริงอยู่ การถามมี ๕ อย่าง คือ การถามส่องความที่ยังไม่เห็น

การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว การถามตัดความสงสัย การถามเห็นตาม

(อนุมัติ ) การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง การถาม ๕ อย่างเหล่านั้น มี

ความต่างกันดังต่อไปนี้ :-

การถามส่องความที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน. ลักษณะแห่งคำถามตาม

ปกติ อันชนอื่นไม้รู้ ไม่เหิน ไม่ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง

ไม่ไขให้แจ้ง. บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา

แจ่มแจ้ง ไขปัญหานั้นให้เห็นแจ้ง การถามนี้ ชื่อว่าการถามส่องความ

ที่ยังไม่เห็น.

การถามเทียบเคียงความที่เห็นแล้วเป็นไฉน. ลักษณะ (คำถาม )

ตามปกติ อันตนรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา แจ่มแเจ้ง ชัดเจนแล้ว

บุคคลนั้นย้อมถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น. การถามนี้ ชื่อ

ว่าการถามเทียบเคียงความที่ตนเห็นแล้ว.

การถามตัดความสงสัยเป็นไฉน ตามปกติบุคคลผู้แล่นไปสู่ความ

สงสัย. ผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดแยกเป็น ๒ แพร่งว่า

อย่างนี้ใช่หรือหนอ หรือมิใช่ หรือเป็นอย่างไร เขาจึงถามปัญหาเพื่อ

ตัดความสงสัย การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามตัดความสงสัย.

การถามเห็นตาม (อนุมัติ ) เป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

ย่อมตรัสถามปัญหาเพื่อการเห็นตามของภิกษุว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อม

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุกราบทูลว่า รูป

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น

เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. พวกภิกษุกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวน

เป็นธรรมดา ควรหรือเพื่อจะเห็นรูปนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น

เป็นตัวตนของเรา. พวกภิกษุกราบทูลว่า การยึดถืออย่างนั้นไม่ควรพระ

เจ้าข้า. การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามเห็นตาม.

การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเองเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม

ตรัสถามปัญหา เพื่อใคร่จะตรัสตอบภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สติ-

ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เป็นต้น การถามนี้

ชื่อว่าการถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง.

บรรดาการถาม ๕ อย่างเหล่านี้ สำหรับพระพุทธเจ้า ไม่มีการ

ถาม ๓ อย่างข้างต้นเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า อะไรที่ถูก

ปัจจัยปรุงแต่งในกาล ๓ อย่าง หรือพ้นจากกาล ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

ชื่อว่า ไม้ทรงเห็น ไม่สว่าง ไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม้เห็นแจ้ง

ไม้แจ้งชัดแล้ว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเลย เพราะเหตุนั้น การถามเพื่อ

ส่องอรรถที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังไม่ทรงเห็นจึงไม่มี ก็สิ่งใดอันพระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจด้วยการ

เทียบเคียงสิ่งนั้น กับ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมอื่น

ของพระองค์ จึงไม่มี เพราะเหตุนั้น การถามเทียบเคียงความที่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 17

เห็นแล้ว จึงไม่มี. ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรง

สงสัยว่าอย่างไร ทรงข้ามความสงสัยได้ ขจัดความสงสัยในธรรมทั้งปวง

ได้ ฉะนั้น การถามตัดความสงสัยของพระองค์ จึงไม่มี ส่วนการถาม

๒ อย่างที่เหลือ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า

ในคำถาม ๒ อย่างนั้น การถามเพื่อใคร่จะตรัสตอบเสียเอง ดังต่อไปนี้ :-

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทางจำแนกปัจจยาการด้วยการถาม

นั้น จึงตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้น. ก็ในคำว่า

อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไป

นี้ :- เปรียบเหมือนบุคคลเริ่มกล่าวว่า เราจักพูดถึงบิดา ย่อมพูดถึงบิดา

ก่อนว่า บิดาของติสสะ บิดาของโสณะ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเริ่มเพื่อตรัสปัจจัย เมื่อตรัสถึงธรรมมีอวิชชา

เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า อวิชฺชา-

ปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้แล้ว จึงตรัสถึงธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น. แต่

ในที่สุดแห่งอาหารวรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธรรมแม้ ๒ อย่าง

ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท (การอาศัยกันและกัน

เกิดขึ้น) และปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่เธอทั้งหลาย.

ก็บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น

ดังต่อไปนี้. อวิชชานั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย ชื่อว่าอวิชชาเป็นปัจจัย.

เพราะเหตุนั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า สังขารย่อมเกิดมีเพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย. ในคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ มีความย่อเท่านี้

แต่ว่าโดยพิสดาร อนุโลมปฏิจจสมุปปาทกถา ซึ่งเกิดพร้อมกันทุกอย่าง

ท่านกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น อนุโลมปฏิจจ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 18

สมุปปาทกถา นั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยความที่กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิ์-

มรรคนั้นแล.

ก็ในปฏิโลมกถา คำว่า อวิชฺชายเตฺวว ตัดเป็น อวิชฺชาย ตุ เอว.

บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ได้แก่เพราะอวิชชาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค

กล่าวคือวิราคะ (การสำรอก). การที่สังขารดับโดยไม่เกิดขึ้น (อีก)

ชื่อสังขารนิโรธะ (สังขารดับ). ก็เพื่อแสดงว่า เพราะการดับสังขาร

และเพราะการดับขันธ์ ๕ มีวิญญาณเป็นต้น ที่ดับไปแล้วอย่างนี้ นามรูป

ชื่อว่า เป็นของดับไปแล้วเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สงฺขารนิโรธา วิญฺาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เป็นต้น แล้วตรัสว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ

โหติ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส แปลว่า ทั้งสิ้น คือล้วน ๆ อธิบายว่า

เว้นแล้วจากสัตว์. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส แปลว่า กองทุกข์. คำว่า

นิโรโธ โหติ คือการไม่เกิดขึ้น.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสวัฏกถา ( กถาว่าด้วยวัฏฏะ)

ด้วยบท ๑๒ บท โดยอนุโลม ย้อมกลับบทนั้นแล้ว ตรัสวิวัฏกถา

(นิพพาน) ด้วยบท ๑๒ บท ทรงยึดยอดพระเทศนาด้วยอรหัต.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนักวิปัสสนาจำนวน ๕๐๐ รูปเหล่านั้นเป็น

บุคคลชั้นอุคฆติตัญญู แทงตลอดสัจจะ ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล เหมือน

ดอกปทุมที่ถึงความแก่กล้าพอต้องแสงอาทิตย์ก็บานแล้วฉะนั้น.

บทว่า อิทมโว จ ภควา ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำ

นี้ คือพระสูตรทั้งสิ้น คือวัฏกถาและวิวัฏกถา. บทว่า อตฺตมนา เต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 19

ภิกฺขู ความว่า ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีจิตยินดี เป็นพระ

ขีณาสพแล้ว. บทว่า ภควโต ภาสิต อภินนฺทุ ความว่า (ภิกษุเหล่านั้น)

พากันชื่นชมพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสด้วยพระสุรเสียงดังเสียง

พรหมไพเราะดุจเสียงนกการเวก ระรื่นโสตเสมือนกับอมฤดาภิเษกโสรจสรง

หทัยบัณฑิตชน อธิบายว่า อนุโมทนา รับพร้อมกันแล้ว. เพราะเหตุนั้น

พระโบราณาจารย์ จึงกล่าวว่า

สุภาสิต สุลปิต เอต สาธุติ ตาทิโน

อนุโมทมานา สิรสา สมฺปฏิจฺฉึสุ ภิกฺขโว.

ภิกษุทั้งหลายอนุโมทนาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้คงที่ว่า พระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาษิตแล้ว

ตรัสไว้แล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ดังนี้ รับพร้อม

กันแล้วด้วยเศียรเกล้า.

จบอรรถกถาปฏิจจสมุปบาทสูตรที่ ๑

๒. วิภังคสูตร

ว่าด้วยการจำแนกปฏิจจสมุปบาท

[๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่

พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราตถาคต

จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 20

[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะ

ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โลกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่

ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง

อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกกว่าชรา. ก็มรณะเป็นไฉน. การเคลื่อนที่ การย้ายที่ ความทำลาย

ความอันตรธาน ความม้วยมรณ์ การถึงแก่กรรม ความแตกแห่งขันธ์

ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของ

เหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่ามรณะ. ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้

เรียกว่า ชราและมรณะ.

[๗] ก็ชาติเป็นไฉน. ความเกิด ความก่อเกิด ความหยั่งลง

ความบังเกิด ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ

ครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่าชาติ.

๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ ๓. คือเป็นอุปปาติก-

ปฏิสนธิ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 21

[๘] ก็ภพเป็นไฉน. ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

นี้เรียกว่าภพ.

[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน. อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน

ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทาน.

[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน. ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา

สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้

เรียกว่าตัณหา.

[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน. เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-

สัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา-

สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า

เวทนา.

[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน. ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส

โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า

ผัสสะ.

[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน. อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น

กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ.

[๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน. เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ

มนสิการ นี้เรียกว่านาม, มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔

นี้เรียกว่ารูป, นามและรูปดังพรรณนาฉะนี้ เรียกว่านามรูป.

[๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน. วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุ-

วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ

มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

[๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน. สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร

วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร.

[๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน. ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุ

เกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึง

ความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .ดังพรรณนา

มาฉะนี้. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ

สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบวิภังคสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๒

แม้ในวิภังคสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงทราบเหตุตั้งพระสูตรตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่ความแปลก

กันมีดังนี้

พระสูตรแรกพระองค์ทรงแสดงไว้โดยย่อ โดยอคฆติตัญญูบุคคล

พระสูตรนี้ ทรงแสดงไว้โดยพิสดาร โดยวิปจิตัญญูบุคคล. ก็แลในพระ

สูตรนี้ พึงกล่าวอุปมาด้วยบุรุษนำเถาวัลย์ไป ๔ อุปมา. อุปมานั้นท่าน

กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล. เปรียบเหมือนบุรุษผู้นำเถาวัลย์

ไป พบยอดเถาวัลย์แล้วก็ค้นหาราก ตามแนวยอดเถาวัลย์นั้น พบราก

(เถาวัลย์) แล้ว ก็ตัดที่รากเถาวัลย์ ถือเอาไปใช้ในการงานได้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 23

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น เมื่อทรงแสดงเทศนาอย่างพิสดาร ทรงนำ

เทศนาตั้งแต่ชรามรณะอันเป็นยอดแห่งปฏิจจสมุปบาท จนถึงอวิชชาบท

ซึ่งเป็นรากเหง้า แสดงวัฏกถาและวิวัฏกถาซ้ำอีกให้จบลงแล้ว.

ในคำนั้น พึงทราบวินิจฉัยเนื้อความแห่งชราและมรณะเป็นต้นโดย

วิตถารเทศนา ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบวินิจฉัยในชรามรณนิเทศก่อน.

ศัพท์ว่า เตส เตส นี้ โดยย่อพึงทราบว่าเป็นศัพท์แสดงความหมายทั่ว

ไปแก่เหล่าสัตว์เป็นอันมาก. จริงอยู่ เมื่อบุคคลกล่าวอยู่แม้ตลอดวันหนึ่ง

อย่างนี้ว่า ชรามาถึงพระเทวทัต ชรามาถึงพระโสมทัต สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไม่ถึงความแก่รอบทีเดียว แต่ด้วย ๒ บทนี้ สัตว์อะไร ๆ ที่ชื่อว่า

ไม่ถูกชรามรณะครอบงำหามีไม่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ศัพท์ว่า

เตส เตส นี้ ว่าโดยย่อเป็นศัพท์แสดงความทั่วไปแก่หมู่สัตว์เป็นอันมาก

ดังนี้. ศัพท์ว่า ตมฺหิ ตมฺหิ นี้ เป็นศัพท์แสดงความหมายทั่วไปแก่

หมู่สัตว์จำนวนมาก โกยจัดตามคติและชาติ. คำว่า สตฺตนิกาเย เป็น

คำแสดงโดยสรุป ถึงความที่ท่านแสดงไว้แล้วในสาธารณนิเทศ. ก็ศัพท์ว่า

ชรา ในคำว่า ชรา ชีรณตา เป็นตัน เป็นศัพท์แสดงสภาวธรรม.

ศัพท์ว่า ชีรณตา เป็นศัพท์แสดงอาการ. ศัพท์ว่า ขณฺฑิจฺจ เป็นต้น

เป็นศัพท์แสดงกิจในการล่วงกาล. ศัพท์ ๒ ศัพท์สุดท้ายเป็นศัพท์แสดง

ความปกติ ก็ด้วยบทว่า ชรา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา

แม้โดยความเป็นสภาวธรรม. เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า ชรา นี้ จึงเป็น

ศัพท์แสดงสภาวธรรมแห่งชรานั้น. ด้วยคำว่า ชีรณตา นี้ ทรงแสดง

โดยอาการ. เพราะเหตุนั้น ศัพท์ว่า ชรา นี้ จึงเป็นศัพท์แสดงอาการ

ของชรานั้น. ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจ นี้ ทรงแสดงโดยกิจคือภาวะที่ฟัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 24

และเล็บหักในเมื่อเวลาล่วงไป. ด้วยบทว่า ปาลิจฺจ นี้ ทรงแสดงโดย

กิจคือภาวะที่ผมและขนหงอก ด้วยบทว่า วลิตจตา นี้ ทรงแสดงโดย

กิจคือภาวะที่เนื้อเหี่ยวแห้งและหนังหย่อน เพราะเหตุนั้น ศัพท์ ๓ ศัพท์

มีศัพท์ว่า ขณฺฑิจฺจ เป็นต้นเหล่านี้ เป็นศัพท์แสดงกิจในเพราะเวลาล่วง

ไปถึงชรา. ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ นั้น ท่านแสดงชราที่ปรากฏโต้ง ๆ โดย

แสดงความเปลี่ยนแปลง เปรียบเหมือนทางไปของน้ำ ลม หรือไฟ ย่อม

ปรากฏ เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้นถูกเผาทำลายหรือไหม้ แต่ทางไป

ของหญ้าและต้นไม้นั้นไม้ปรากฏ ปรากฏแต่น้ำเป็นต้นเท่านั้น ฉันใด

ทางไปของชราปรากฏโดยที่ฟันหักเป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน อวัยวะมี

ฟันเย็นต้น บุคคลแม้ลืมตาดูก็จับเอาได้ แต่ความที่ฟันหักเป็นต้น แม้

ลืมตาก็จะรู้ทางจักษุไม่ได้ จับเอาไม่ได้ ชราก็ไม้ได้เหมือนกัน เพราะว่า

ชราไม้พึงรู้ด้วยจักษุ.

ก็ด้วยบทว่า อายุโน สหานิ อินฺทฺริยาน ปริปาโก (ความเสื่อม

แห่งอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ไว้ตามปกติ เพราะบุคคลจะเข้าใจความสิ้นไปแห่งอายุ และความ

หง่อมแห่งอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น เพราะสังขารแปรปรวนไปในเมื่อเวลา

ล่วงไปนั่นแล. เพราะเหตุนั้น บท ๒ บทหลังนี้ แห่งคำว่า ชรานั้น

พึงทราบว่าเป็นบทแสดงความปกติ. เพราะใน ๒ บทเหล่านั้น บุคคลผู้

ถึงชรา อายุย่อมเสื่อมไป ฉะนั้น ชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้

โดยอิงเหตุใกล้กับผลว่า ความเสื่อมอายุ. และเพราะในเวลาเป็นหนุ่ม

อินทรีย์มีจักษุเป็นต้นก็ผ่องใส สามารถจะรับอารมณ์ของตนแม้ที่ละเอียด

ได้โดยง่ายนัก เมื่อบุคคลถึงความชราแล้วย่อมแก่หง่อม คือขุ่นมัว ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 25

ไม่ผ่องใส ไม่สามารถจะรับอารมณ์ของตนแม้ที่หยาบได้ เพราะเหตุนั้น

ชรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้โดยอิงเหตุใกล้กับผลว่า ความแก่

หง่อมแห่งอินทรีย์.

ก็ชราแม้ทั้งหมดที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างนี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ

ปากฏชรา ปฏิจฉันนชรา. ในชรา ๒ อย่างนั้น ความแก่ไปรูปธรรม

เพราะแสดงถึงฟันหัก เป็นต้น ชื่อว่า ปากฏชรา. ส่วนความแก่ใน

อรูปธรรม เพราะไม่แสดงวิการ (เปลี่ยนแปลง) เช่นนั้น ชื่อว่า ปฏิจ-

ฉันนชรา. ชราอีกนัยหนึ่งมี ๒ อย่าง อย่างนี้คือ อวิจิชรา สวิจิชรา

ในชรา ๒ อย่างนั้น ชรา ชื่อว่า อวิจิชรา เพราะธรรมชาติมีความ

แปลกแห่งวรรณะติดต่อกันเป็นต้น รู้ได้ยาก เหมือนแก้วมณี ทอง เงิน

แก้วประพาฬ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นต้น เหมือนเหล่าสิ่งมีปราณ

ในสัตว์มันททสกะเป็นต้น และเหมือนสิ่งที่ไม่มีปราณในดอกไม้ ผลไม้

และใบอ้อนเป็นต้นฉะนั้น อธิบายว่าชราที่ติดต่อกัน อนึ่ง ชราพึงทราบว่า

ที่ชื่อว่า สวิจิชรา เพราะธรรมชาติมีความแปลกแห่งวรรณะติดต่อกัน

เป็นต้น วัตถุเหล่าอื่นจากนั้นตามที่กล่าวแล้วบุคคลรู้ได้ง่าย คำว่า

เตส เตส เป็นต้นนอกจากนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ก็คำว่า จุติ ในคำว่า จุติ จวนตา เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจการเคลื่อน

จากภพ (เดิม). คำว่า จุติ นั้นเป็นชื่อของขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๕

และอายตนะ. จวนตา เป็นคำแสดงลักษณะ ด้วยคำแสดงภาวะ. คำว่า

เภโท เป็นคำแสดงความเกิดขึ้นและดับไปแห่งจุติขันธ์. คำว่า อนฺตร-

ธาน เป็นคำแสดงภาวะของสิ่งที่วิโรธิปัจจัยกระทบแตกไปของจุติขันธ์ที่

แตกไปโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มจฺจุ มรณ ได้แก่มรณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 26

คือมัจจุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธสมุจเฉทมรณะเป็นต้นด้วยบท

ว่า มจฺจุมรณ นั้น. สภาวะที่ทำที่สุด ชื่อว่ากาละ. การกระทำซึ่งกาละ

นั้น ชื่อว่า กาลกิริยา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรณะ โดยโลก

สมมติ ด้วยบทว่า กาโล นั้น ด้วยประการฉะนี้.

บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ขนฺธาน เภโท ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้น

แตก. ใคร ๆ ที่ชื่อว่าสัตว์ ย่อมไมตาย. แต่เมื่อขันธ์แตก สัตว์ย่อมตาย

จึงมีโวหารว่า เมื่อขันธ์แตก สัตว์ก็ชื่อว่าตาย. ก็ในที่นี้ พึงทราบความ

แตกแห่งขันธ์ด้วยอำนาจจตุโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๔ เว้นรูปขันธ์)

พึงทราบการทอดทิ้งร่างด้วยอำนาจเอกโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๑ คือรูป-

ขันธ์) และพึงทราบความแตกแห่งขันธ์ ด้วยอำนาจจตุโวการภพ. พึง

ทราบการทอดทิ้งร่างด้วยอำนาจภพ ๒ ที่เหลือ. เพราะเหตุไร. เพราะ

ร่าง กล่าวคือรูปกาย เกิดในภพทั้ง ๒. อีกอย่างหนึ่งก็เพราะขันธ์ใน

จำพวกเทพชั้นจตุมหาราช ย่อมแตกเหมือนกัน ไม่ทอดทิ้งอะไร ๆ ไว้

ฉะนั้น พึงทราบความแตกแห่งขันธ์ด้วยอำนาจเทพเหล่านั้น. ในหมู่สัตว์

มีมนุษย์เป็นต้น มีการทอดทิ้งร่างไว้. ก็ในที่นี้พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า

ความตายเพราะทอดทิ้งร่างไว้ ท่านกล่าวไว้ว่า กเฬวรสฺส นิกฺเขโป.

คำว่า อิติ อยญฺจ ชรา อิทญฺจ มรณ อิท วุจฺจติ ภิกฺขเว นี้ ท่าน

กล่าวรวมทั้งสองเข้าเป็นอันเดียวกันว่า ชรามรณ ดังนี้.

ในชาตินิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 27

ที่ชื่อว่า ชาติ ในคำเป็นต้นว่า ชาติ สญฺชาติ นี้ เพราะอรรถว่า

เกิด. ชาตินั้นประกอบด้วยอายตนะที่ไม่บริบูรณ์. ที่ชื่อว่า สญฺชาติ เพราะ

อรรถว่า เกิดพร้อม สัญชาตินั้นประกอกด้วยอายตนะที่บริบูรณ์. ที่ชื่อว่า

โอกฺกนฺติ เพราะอรรถว่า(ถือ)ปฏิสนธิ. ปฏิสนธินั้นประกอบด้วยอัณฑชะกา

เนิดและชลาพุชะกาเนิด ทั้งสองนั้นก้าวลงสู่กะเปาะไข่และมดลูก. เมื่อก้าวลง

ย่อมถือปฏิสนธิเหมือนเข้าไป (ข้างใน). ที่ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เพราะอรรถว่า

บังเกิดเฉพาะ. อภินิพพัตตินั้นย่อมประกอบด้วยสังเสทชะกำเนิดและอุปปา-

ติกะกาเนิด. ทั้งสองงนั้นบังเกิดปรากฏชัดทีเดียว. นี้เป็นโวหารเทศนาก่อน.

บัดนี้เป็นปรมัตถเทศนา. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้น

ปรากฏ สัตว์ไม่ปรากฏ. บรรดาบทเหล่านั้น พึงทราบศัพท์ว่า ขนฺธาน

ได้แก่ขันธ์ ๑ ในเอกโวการภพ ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพ ขันธ์ ๕ ใน

ปัญจโวการภพ บทว่า ปาตุภาโว แปลว่า การเกิด. ในบทว่า อายตนาน

นี้ พึงทราบการรวบรวมโดยอายตนะที่เกิดในภพนั้น. ๆ บทว่า ปฏิลาโภ

ได้แก่ความปรากฏโดยสันตตินั่นเอง. จริงอยู่ อายตนะที่กาลังปรากฏ

เหล่านั้นนั่นแล เป็นอันชื่อว่าได้เฉพาะแล้ว. ด้วยบทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว

ชาติ นี้ ท่านกระทำการย้ำชาติที่ทรงแสดงโดยบัญญัติและโดยปรมัตถ์แล.

ในภวนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามภโว ได้แก่กรรมภพและอุปปัตติภพ. ในภพทั้งสอง

นั้น ชื่อว่ากรรมภพ ได้แก่ธรรมที่ใช้เกิดในกามภพนั่นเอง. จริงอยู่

กรรมนั้น เพราะเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ ท่านจึงเรียกว่า ภพ โดยบัญญัติ

ว่าเป็นตัวผล ดุจดำเป็นต้นว่า สุโข พุทฺธาน อุปฺปาโท ทุกฺโข ปาปสฺส

อุจฺจโย ความเกิดขึ้นแห่งพระพุธธเจ้าเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 28

สั่งสมบาปเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์. ที่ชื่อว่า อุปปัตติภพ ได้แก่ขันธ์ ๕

ที่มีใจครองที่บังเกิดด้วยกรรมนั้น. จริงอยู่ กรรมนั้น ท่านเรียกว่าภพ

เพราะเกิดขันธ์ ๔ นั้น แม้ในที่ทั้งปวง กล่าวหมายเอากรรมภพและ

อุปปัตติภพ ดังนี้ และทั้งสองงนี้ ท่านกล่าวว่ากามภพในที่นี้. ในรูปภพ

และอรูปภพก็นัยนี้แล.

ในอุปาทานนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า กามุปาทาน ในคำว่า กามุปาทาน เป็นต้น เพราะเป็น

เหตุยึดถือวัตถุกาม หรือตนเองยึดถือวัตถุกามนั้น กามนั้นด้วย เป็น

อุปาทานด้วย ฉะนั้นจึงชื่อกามุปาทาน. การยึดมั่นท่านเรียกว่าอุปาทาน

จริงอยู่ อุปศัพท์ในคำว่า อุปาทาน นี้ มีอรรถว่ามั่น เหมือนในอุปา-

ยาสศัพท์ และอุปกฏฺฐศัพท์เป็นต้น. คำว่า กามุปาทานนี้ เป็นชื่อของความ

กำหนัดอันเป็นไปในกามคุณ ๕. ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้ แต่เมื่อ

ว่าโดยพิสดาร อุปาทานนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วว่า ในอุปาทาน

๒ อย่างนั้น กามุปาทานเป็นไฉน. คือ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่

ในกามทั้งหลายนั่นเอง.

อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า ทิฏฺฐุปาทาน

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิฏฺฐุปาทาน เพราะยึดถือทิฏฐิ หรือเป็นเหตุยึดถือ

ทิฏฐิ. จริงอยู่ อุตตรทิฏฐิย่อมยึดถือปุริมทิฏฐิ เจตสิกธรรมทั้งหลายย่อม

ยึดถือทิฏฐิด้วยอุตตทิฏฐินี้ เหมือนอย่างที่กล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง

คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเป็นโมฆะ. บทว่า ทิฏฺฐุปาทาน นี้ เป็นชื่อของ

สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน และทิฏฐิทั้งปวงที่มีโทษ. ความสังเขป

ในข้อนี้มีเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ทิฏฐุปาทาน พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

แล้วว่าในบรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏฐุปาทานเป็นไฉน คือทานที่บุคคล

ให้แล้วย่อมไม่มีผล ดังนี้เป็นต้น.

อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะยึดมั่นศีลพรตด้วยทิฏฐินั้น

หรือยึดทิฏฐินั้นเสียเอง, ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า สีสัพพตุปาทาน. ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดมั่นว่า ความ

บริสุทธิ์ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ มีโคศีล และโควัตรเป็นต้น. ในข้อนั้น

มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดาร สีสัพพตุปาทานนั้น พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า ในอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพตุปาทานเป็นไฉน.

คือความบริสุทธิ์ ด้วยศีลของสมณะและพราหมณ์ ภายนอกพระพุทธ-

ศาสนานี้.

บัดนี้ ชื่อว่า วาทะ เพราะเหตุกล่าวของเหล่าชน. ชื่อว่า อุปาทาน

เพราะเป็นเหตุยึดถือของเหล่าชน. ถามว่า กล่าวหรือยึดถืออะไร. แก้ว่า

กล่าวหรือยึดถือตน การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน.

อีกอย่างหนึ่ง เพียงวาทะว่าตนเท่านั้น ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อัตต-

วาทุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. ในข้อนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้

ส่วนเมื่อว่าโดยพิสดาร อัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วว่า

ในอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน. คือปุถุชนผู้ไม่ได้ฟัง

ในพระศาสนานี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย.

ในตัณหานิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา นี้ เป็นชื่อแห่งตัณหาอันเป็น

ไปในชวนวิถีในจักขุทวารเป็นต้น โดยเป็นอารมณ์ เสมือนบิดา เหมือน

เป็นชื่อฝ่ายบิดา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า บุตรของเศรษฐี บุตรของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 30

พราหมณ์. ก็ในที่นี้ ตัณหาที่มีรูปเป็นอารมณ์ ชื่อว่า รูปตัณหา เพราะ

มีความอยากได้ในรูป, ตัณหานั้นชอบใจรูป เป็นไปอยู่ โดยเป็นกามราคะ

ชื่อว่า กามตัณหา. ที่ชอบใจ เป็นไปอย่างนั้นว่า รูป เที่ยง ยั่งยืน

เป็นไปติดต่อ โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมด้วยทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา,

ที่ชอบใจ เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ พินาศ ละไปแล้วย่อมไม่เกิด ชื่อว่า

วิภวตัณหา รวมความว่า รูปตัณหา มี ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

แม้สัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนรูปตัณหา รวมความว่า เป็นตัณหาวิปริต

๑๘ ด้วยประการฉะนี้, ตัณหาวิปริตเหล่านั้น ที่เป็นไปในรูปภายในเป็นต้น

มี ๑๘ ที่เป็นไปในรูปภายนอก ๑๘ รวมเป็น ๓๖, ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต

๓๖ ปัจจุบัน ๓๖, รวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้. ตัณหา-

วิปริต ๑๘ ที่อาศัยรูปที่เป็นไปภายในเป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะ

อาศัยอายตนะที่เป็นไปภายใน ตัณหาวิปริตได้มีแล้ว หรือว่าจักมี หรือ

ว่ากำลังมี (อย่างละ ๖) เป็นตัณหาวิปริต ๑๘ ที่อาศัยรูปที่เป็นไปภาย

นอกเป็นต้นว่า เพราะอาศัยอายตนะภายนอก ๖ ตัณหาวิปริตได้มีแล้ว

ด้วยอายตนะภายนอกนี้ หรือว่าจักมี หรือว่ากำลังมี จึงรวมเป็นตัณหา

วิปริต ๓๖ ดังนั้น ตัณหาวิปริตที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็น

ปัจจุบันิ ๓๖ จึงรวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘. เมื่อรวบรวมอีก ในอารมณ์มีรูป

เป็นต้น ย่อมมีหมวดแห่งตัณหา ๖ มีกามตัณหาเป็นต้น ๓ นั่นแล เมื่อจะ

รวบรวมความพิสดารและความย่อของนิเทศอีก บัณฑิตพึงทราบตัณหา

โดยอรรถแห่งนิเทศอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

ในเวทนานิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวทนากายา แปลว่า ชุมนุมแห่งเวทนา. คำว่า จกฺขุ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

สมฺผสฺสชาเวทนา ฯ ล ฯ มโนสมฺผสฺสชาเวทนา นี้ เป็นชื่อของเวทนา

ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ ที่เป็นไปในจักขุทวารเป็นต้น เพราะ

มาในวิภังค์อย่างนี้ว่า จักขุสัมผัสสขาเวทนา เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศล

ก็มี เป็นอัพยากตะก็มี เป็นชื่อโดยวัตถุเสมือนมารดา เหมือนเป็นชื่อฝ่าย

มารดา ที่มาในประโยคอย่างนี้ มีอาทิว่า บุตรของนางพราหมณี ชื่อว่า

สารี, บุตรของพราหมณี ชื่อว่า มันตานี. ก็ในที่นี้ มีอรรถแห่งคำดังต่อ

ไปนี้ เวทนาที่เกิดจากเหตุคือจักขุสัมผัส ชื่อว่าจักขุสัมผัสสชาเวทนา. ในบท

ทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน ในข้อนี้มีกถารวบรวมเวทนาทั้งปวง เป็นอันดับ

แรก แต่ว่าด้วยอำนาจวิบาก พึงทราบเวทนาด้วยอำนาจสัมปยุตกับจิต

เหล่านี้คือ ในจักขุทวาร จักขุวิญญาณ ๒ มโนธาตุ ๒ มโนวิญญาณ-

ธาตุ ๓. ในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. และในมโนทวารประกอบกันมโน-

วิญญาณธาตุ.

ในผัสสนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่สัมผัสในจักษุ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ฯ ล ฯ กายสมฺผสฺโส เป็น

อันท่านกล่าวผัสสะ ๑๐ ซึ่งมีวัตถุ ๕ เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบาก.

ด้วยบทว่า นโนสนฺผสฺโส นี้ ท่านกล่าวผัสสะที่สัมปยุตด้วยวิบากจิตที่

เป็นโลกิยะ ๒๒ ที่เหลือ.

ในสฬายตนนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า จกฺขฺวายตน เป็นต้น คำที่จำต้องกล่าว ท่านกล่าวไว้

แล้วในขันธนิเทศ และอายตนนิเทศ ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

ในนามรูปนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 32

นามมีอันน้อมไปเป็นลักษณะ รูปมีการแตกสลายเป็นลักษณะ.

ก็ในการจำแนกนามรูปนั้น บทว่า เวทนา ได้แก่เวทนาขันธ์. บทว่า

สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์. บทว่า เจตนา ผัสสะ มนสิการ พึงทราบ

ว่า เป็นสังขารขันธ์. ก็ธรรมที่สงเคราะห์ด้วยสังขารขันธ์ แม้ด้วยเหล่าอื่น

มีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ มีอยู่ในจิตที่มีกำลังเพลากว่า

ธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ในที่นี้ท่านแสดงสังขารขันธ์ด้วยอำนาจธรรม

เหล่านั้นนั่นเอง. บทว่า จตฺตาโร ในบทว่า จตฺตาโร จ มหาภูตา นี้

เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า มหาภูตา นี้ เป็นชื่อของปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ. ก็นัยวินิจฉัยอย่างหนึ่ง ในข้อที่เป็น

เหตุให้ท่านกล่าวว่า ตานิ มหาภูตานิ ทั้งหมดท่านกล่าวไว้แล้วในรูป-

ขันธนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ก็บทว่า จตุนฺน ในคำว่า จตุนฺนญฺจ

มหาภูตาน อุปาทาย นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ

ท่านอธิบายว่า ซึ่งมหาภูตรูป ๔. บทว่า อุปาทาย แปลว่า ยึดมั่น

อธิบายว่า ถือมั่น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยก็มี. ก็ปาฐะที่เหลือ

ว่า ปวตฺตมาน นี้ พึงนำมาเชื่อมเข้าในที่นี้. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็น

ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถว่าประชุม พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า รูปอาศัย

การประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ เป็นไป. เมื่อว่าโดยประการทั้งปวง รูปอาศัย

ภูตรูป ๔ มีปฐวีเป็นต้น และรูป ๒๓ ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นไป

ที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีในอภิธรรม โดยแยกเป็นจักขายตนะเป็นต้น ทั้งหมด

นั้นพึงทราบว่า รูป.

ในวิญญาณนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺขุวิญฺาณ ความว่า ที่ชื่อว่าจักขุวิญญาณ เพราะวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 33

อาศัยจักษุ หรือวิญญาณเกิดแต่จักษุ. โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา-

วิญญาณและกายวิญญาณก็เหมือนกัน. แต่อีกวิญญาณหนึ่ง ชื่อว่า มโน-

วิญญาณ เพราะอรรถว่าวิญญาณคือใจ. คำนี้เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไป

ในภูมิ ๓ ที่เว้นทวิปัญจวิญญาณ.

ในสังขารนิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ ก็ในการจำแนกสังขารนั้น มี

อธิบายดังนี้ สังขารที่เป็นทางกาย ชื่อกายสังขาร. คำว่า กายสังขารนี้

๑๒ ที่เป็นไปด้วยอำนาจไหวกายทวาร. คำว่า วจีสังขารนี้ เป็นชื่อแห่ง

วจีสัญเจตนา ๒๐ เหมือนกัน ที่เป็นไปด้วยอำนาจการเปล่งวาจาในวจี-

ทวาร. สังขารที่เป็นไปทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร. คำว่า จิตตสังขาร นี้

เป็นชื่อแห่งมโนสัญเจตนา ๒๙ คือกุศลจิต ๑๗ อกุศลจิต ๑๒ อันเป็น

ฝ่ายโลกิยะ ที่เป็นไปแก่บุคคลผู้ไม่ทำการไหวในกายทวารและวจีทวาร

นั่งคิดอยู่ในที่ลับ.

ในอวิชชานิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุกฺเข อาณ ได้แก่ความไม่รู้ในทุกขสัจจะ คำนี้เป็น

ชื่อของโมหะ. ในคำว่า สมุทเย อาณ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในสัจจะ ๔ นั้น พึงทราบความไม่รู้ในทุกขสัจจะด้วยเหตุ ๔ คือ โดย

ภาวะที่หยั่งลงในภายใน โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยการปกปิด.

จริงอย่างนั้น ความไม่รู้นั้น ชื่อว่าทุกขสัจจะ เพราะหยั่งลงในภายในทุกข์

เพราะนับเนื่องในทุกขสัจจะ ชื่อว่าเป็นวัตถุ เพราะเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง

ทุกขสัจจะนั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะเป็นอารัมมณปัจจัย ความไม่รู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 34

ย่อมปกปิดทุกขสัจจะ โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของ

ทุกขสัจจะนั้น และโดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในข้อนี้.

พึงทราบความไม่รู้ในสมุทัยสัจจะ ด้วยเหตุ ๓ คือ โดยวัตถุ โดย

อารมณ์ และโดยการปกปิด. แต่พึงทราบความไม่รู้ในนิโรธปฏิปทา

ด้วยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น คือโดยการปิดปิด. จริงอยู่ ความไม่รู้ที่ปกปิด

นิโรธปฏิปทานั่นแล โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของ

ปฏิปทาเหล่านั้น แต่โดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในปฏิปทาเหล่า

นั้น ความไม่รู้นั้น มิได้หยั่งลงในภายในในปฏิปทาเหล่านั้น เพราะไม่

นับเนื่องในสัจจะทั้งสองนั้น สัจจะทั้งสองนั้น มิได้เป็นวัตถุ เพราะมิได้

เกิดร่วมกัน มิได้เป็นอารมณ์ เพราะมิได้ปรารภสิ่งนั้นเป็นไป. ก็สัจจะ

ทั้งสองข้างท้าย เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ความไม่รู้ที่มืดตื้อย่อมไม่เป็น

ไปในสัจจะทั้งสองนั้น. ก็สัจจะข้อแรก ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นสภาวะ

ลักษณะโดยอรรถที่ควรกล่าวได้ยาก . ย่อมเป็นไปในความไม่รู้นั้น เพราะ

ยึดถือคลาดเคลื่อนไปจากความจริง.

อนึ่ง เพียงด้วยบทว่า ทุกฺเข นี้ ท่านแสดงอวิชชาโดยรวบรวม

โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺขสมุทเย นี้

ท่านแสดงโดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺข-

นิโรธคามินิยา ปฏิปทาย นี้ ท่านแสดงโดยกิจ. แต่โดยไม่พิเศษ ด้วย

บทว่า อาณ นี้ พึงทราบว่าท่านแสดงไขอวิชชาโดยสภาวะ.

บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วย

ประการอย่างนี้แล. บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ไม่เกิดขึ้น. อนึ่ง ด้วย

บทว่า นิโรธ เหล่านั้นทุกบทในที่นี้ ท่านแสดงถึงพระนิพพาน. ด้วยว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 35

ธรรมนั้น ๆ อาศัยพระนิพพาน ดับไป ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เตส นิโรโธ ดังนี้.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะ ด้วย

๑๒ บท ในพระสูตรนี้ จึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดแห่งพระอรหัตนั่นเอง.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัต โดยนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๒

๓. ปฏิปทาสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๒

[๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงมิจฉาปฏิปทา และสัมมาปฏิปทา

พวกเธอจงฟังปฏิปทาทั้ง ๒ นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิปทา.

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน. เพราะ

อวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

สังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ นี้เรียกว่าสัมมาปฏิปทา.

จบปฏิปทาสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓

ในปฏิปทาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มิจฺฉาปฏิปท ความว่า นี้เป็นปฏิปทา ไม่นำสัตว์ออก

จากทุกข์ เป็นอันดับแรก. ถามว่า ก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี

ปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง มิใช่หรือ. อภิสังขารทั้งสองนั้น

เป็นมิจฉาปฏิปทาได้อย่างไร. แก้ว่า เพราะถือว่าวัฏฏะเป็นสำคัญ. สิ่งใด

สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลปรารถนาวัฏฏะกล่าวคือภพ ๓ ปฏิบัติ โดยที่สุดอภิญญา ๕

หรือสมาบัติ ๘ สิ่งทั้งหมดเป็นไปในฝ่ายวัฏฏะ. จัดเป็นมิจฉาปฏิปทา

เพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือ

พระนิพพาน ปฏิบัติ โดยที่สุดถวายทานเพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดี

เพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี สิ่งทั้งหมดนั้นจัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดย

แท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ บุคคลไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจะถึงที่สุดหา

ได้ไม่ ดังนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดงมิจฉาปฏิปทาด้วยอำนาจอนุโลม

แสดงสัมมาปฏิปทาด้วยอำนาจปฏิโลม.

ถามว่า ก็ในที่นี้ ท่านถามปฏิปทา จำแนกพระนิพพาน กำหนด

ปฏิปทา แม้ในการตอบ และบทว่า ปฏิปทา ไม่เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน

แต่คำว่า ปฏิปทานี้ เป็นชื่อของมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา เพราะ-

ฉะนั้น บทภาชนะจึงสมด้วยการถามการตอบมิใช่หรือ. แก้ว่า ไม่สม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 37

หามิได้. เพราะเหตุไร. เพราะท่านแสดงปฏิปทาโดยผล. จริงอยู่ ในที่นี้

ท่านแสดงปฏิปทาโดยผล. ความในคำว่า เพราะอวิชชานั่นแลดับไปโดย

สำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับนี้ มีอธิบายดังนี้ นิพพานกล่าวคือการ

ดับสนิทนี้ เป็นผลของปฏิปทาใด ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้เราเรียกว่า

สัมมาปฏิปทา. ก็ในอรรถนี้ วิราคะ ในคำว่า อเสสวิราคนิโรธา นี้

เป็นไวพจน์ของการดับสนิทนั่นเอง. ก็ในคำว่า อเสสวิราคนิโรธา นี้

เป็นไวพจน์ของการดับสนิทนั่นเอง. ก็ในคำว่า อเสสวิราคา อเสส-

นิโรธา นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ อีกอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงมรรคกล่าวคือ

วิราคะ อันเป็นเหตุดับสนิทโดยไม่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบท

ภาชนะนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ปฏิปทาอันเป็นไปกับด้วยอานุภาพ เป็นอัน

พระองค์ทรงจำแนกแล้ว. ดังนั้น พระองค์จึงตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะ

แม้นี้เท่านั้นแล.

จบอรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓

๔. วิปัสสีสูตร

ว่าด้วยพระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงปริวิตก

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่าวิปัสสี ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ยังมิได้

ตรัสรู้ ได้ปริวิตกว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย

จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ยังไม่รู้ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชรา

และมรณะนี้ เมื่อไรเล่าความออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ จักปรากฏ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 38

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้

มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี. ชราและ

มรณะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล

พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วย

ปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี. ชราและมรณะย่อมมีเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติจึงมี. ชาติย่อมมีเพราะภพเป็น

ปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .

เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย. . .เมื่อ

อะไรหนอมีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .

เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย. . .

เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .เมื่อ

เวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไร

หนอมีอยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .เมื่อผัสสะมี

อยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่

ผัสสะจึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะ

จึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย. . . เมื่ออะไรหนอมีอยู่

สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . . เมื่อนามรูปมีอยู่

สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะย่อมมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย. . . เมื่ออะไร

หนอมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . . เมื่อ

วิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย. . .

เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. . .

เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย. ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า

เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี. สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้

ในใจแยกแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี.

สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . ดังพรรณนามานี้. ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์

ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้.

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้

มีความปริวิตกดังนี้ เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะ

อะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระ

วิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ. . .

เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ. เมื่อ

ภพไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะภพดับ ชาติจึงดับ. . .เมื่ออะไรหนอไม่มี

ภพจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ. เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี.

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี.

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ. . . เมื่ออะไรอหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี.

เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ. เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี. เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ. . .เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 40

อะไรดับ เวทนาจึงดับ. . . เมื่อผัสสะไม่มี. เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ

เวทนาจึงดับ. . . . เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ

ผัสสะจึงดับ. เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะสฬายตนะดับ

ผัสสะจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะไม่มี. เพราะอะไรดับ

สฬายตนะจึงดับ. . . เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี. เพราะนามรูป

ดับ สฬายตนะจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะ

อะไรดับ นามรูปจึงดับ. . . เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะ

วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี.

เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ. เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี. เพราะ

สังขารดับ วิญญาณจึงดับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสี

โพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี สังขารจึงไม่มี.

เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระ

วิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า

เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี. เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ.

ก็เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ. เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .

ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า

ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้.

จบวิปัสสีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 41

อรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔

ในวิปัสสีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิปสฺสิสฺส ความว่า ได้ยินว่า ดวงตาทั้งหลายของโลกิย-

มนุษย์ผู้มองดูอะไร ๆ ย่อมกลอกไปมา เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม

ที่บังเกิดแต่กรรมเล็กน้อย มีกำลังอ่อนเช่นใด แต่ดวงตาของพระโพธิสัตว์

นั้น หากลอกเช่นนั้นไม่ เพราะประสาทตาอันเกิดแต่กรรม บังเกิดแต่กรรม

มีกำลังมีกำลังมากพระองค์จึงมองดูด้วยดวงตาที่ไม่กลอกไม่ก็พริบนั่นแล

เหมือนเทวดาในดาวดึงส์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระกุมาร

เพ่งดูโดยไม่กะพริบ เพราะฉะนั้น พระวิปัสสีกุมารนั้นจึงเกิดสมัญญาว่า

วิปัสสี วิปัสสี นั่นแล. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า วิปัสสี

เพราะเห็นความบริสุทธิ์ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า วิปัสสี เพราะเห็นด้วยทั้ง

ดวงตาที่เบิก. ก็ในที่นี้ดวงตาของพระโพธิสัตว์ทั้งหมด ผู้เกิดใน

ภพสุดท้ายย่อมไม่กลอก เพราะประสาทที่เกิดแต่กรรมอันมีกำลัง มีกำลัง

แรง. ก็พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมได้ชื่อด้วยเหตุนั้นนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า วิปัสสี เพราะพิจารณาเห็น อธิบายว่า เพราะเลือกเฟ้นจึงเห็น.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง อำมาตย์ทั้งหลายนำพระมหาบุรุษผู้ประดับตกแต่ง

พระวรกายแล้วมาวางไว้บนพระเพลาของพระราชาผู้ประทับนั่งพิจารณา

คดีอยู่ในศาล เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยที่ได้มหาบุรุษนั้นอยู่บนพระ

เพลา อำมาตย์ทั้งหลายได้กระทำเจ้าของทรัพย์ไม่ให้เป็นเจ้าของทรัพย์.

พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งเสียงแสดงความไม่พอพระทัย. พระราชาตรัสว่า

พวกท่านพิจารณาทบทวนดูที่หรือว่าเรื่องนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็น

เป็นอย่างไร. พวกอำมาตย์เมื่อพิจารณาทบทวน ก็ไม่เห็นกรณีเป็นอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 42

อื่นจึงคิดว่า ชะรอยว่าที่ทำไปแล้วอย่างนี้ จักเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบ.

จึงทำผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ให้เป็นเข้าของทรัพย์อีก เมื่อทดลองว่ากุมารจะรู้

หรือหนอจึงทำอย่างนี้. จึงทำเจ้าของทรัพย์ให้ไม่เป็นเจ้าของทรัพย์อีก.

ครั้งนั้นพระราชาทรงดำริว่า พระมหาบุรุษคงจะรู้ ตั้งแต่นั้นมาจึง

เป็นผู้ไม่สะเพร่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุมาร

ใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า จึงรู้คดีเพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย

พระกุมารนั้นจึงเกิดพระนามโดยประมาณยิ่งว่า วิปัสสี นั้นแล.

บทว่า ภควโต แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยภาคยะ. บทว่า อรหโต

ได้แก่ผู้มีพระนามอันเกิดขึ้นโดยคุณอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อรหา เพราะ

กำจัดกิเลสเพียงดังข้าศึกมีราคะเป็นต้นเสียได้ เพราะทรงหักกำแห่งสังสาร-

จักร หรือเพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

ได้แก่ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยความเพียรของบุรุษ โดยพระองค์เอง เฉพาะ

พระองค์ โดยชอบ โดยนัย โดยเหตุ. บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา

ความว่า ญาณในมรรค ๔ ท่านเรียกว่า สัมโพธะ ตรัสรู้พร้อม, ก่อนแต่

การตรัสรู้นั้นแล. บทว่า โพธิ ในคำว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต นี้

ได้แก่ญาณ, สัตว์ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่าโพธิสัตว์ อธิบายว่า ผู้มีญาณ คือผู้มี

ปัญญา ชื่อว่าบัณฑิต. จริงอยู่ สัตว์นั้น เป็นบัณฑิต จำเดิมแต่ทรงมี

อภินิหาร แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่อันธพาล เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า พระโพธิสัตว์ อนึ่ง ชื่อว่าโพธิสัตว์ แม้เพราะเป็นสัตว์

ผู้จะเบิกบาน โดยอรรถวิเคราะห์ว่า บำเพ็ญพระบารมี แล้วจักเบิกบาน

โดยหาอันตรายมิได้อย่างแน่นอน เพราะได้คำพยากรณ์ในสำนักของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย เปรียบเหมือนดอกปทุม ที่โผล่ขึ้นจากน้ำตั้งอยู่ แก่ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 43

ที่แล้วจักบานโดยสัมผัสแสงอาทิตย์อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ท่านจึง

เรียกว่า ดอกปทุมบาน. อนึ่ง สัตว์ปรารถนาโพธิกล่าวคือญาณในมรรค ๔

ปฏิบัติอยู่ เหตุนั้น ผู้ที่ยังติดอยู่ในโพธิจึงชื่อว่า โพธิสัตว์ ดังนี้ก็มี. เมื่อ

พระโพธิสัตว์มีอยู่โดยพระนามที่เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า กิจฺฉ

แปลว่า ลำบาก. บทว่า อาปนฺโน แปลว่า ถึงแล้วเนือง ๆ. ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า น่าอนาถ สัตว์โลกนี้ ถึงความลำบากเนือง ๆ. บทว่า

จวติ จ อุปปชฺชติ จ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิไป ๆ มา ๆ.

บทว่า นิสฺสรณ ได้แก่พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานนั้น ท่าน

เรียกว่านิสสรณะ เพราะสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะ. บทว่า

กุทาสฺสุ นาม ได้แก่ในกาลไหน ๆ แล.

บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่โดยการใส่ใจโดยอุบาย คือการ

ใส่ใจครั้งแรก. บทว่า อหุ ปญฺาย อภิสมโย ความว่า ได้แก่การตรัสรู้

คือความประกอบชอบซึ่งเหตุแห่งชราและมรณะด้วยปัญญา อธิบายว่า

พระองค์เห็นดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ. อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า โยนิโสมนสิการา อหุ ปญฺาย ได้แก่ได้ตรัสรู้ ด้วย

โยนิโสมนสิการ และด้วยปัญญา. อธิบายว่า ได้แทงตลอดเหตุแห่งชรา

และมรณะอย่างนี้ว่า เมื่อความเกิดมีอยู่แล ชราและมรณะก็มี. ในบท

ทั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า อิติ หิท เท่ากับ เอวมิท สิ่งนี้มีด้วยประการฉะนี้. ด้วย

บทว่า สมุทโย นี้ ท่านประมวลการเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นต้นแสดงใน

ฐานะ ๑๑. บทว่า ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ในธรรมที่ไม่เคย

๑. พม่า. ปถมนสิกาเรน คือการมนสิการตามคลองธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 44

สดับมาก่อนแต่นี้ อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ความเกิด

ขึ้นของสังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้ หรือในอริยสัจธรรม ๔.

บทว่า จกฺขุ เป็นต้นเป็นไวพจน์ของญาณนั่นเอง. จริงอยู่ ในที่นี้ ญาณ

นั่นแลท่านกล่าวว่า จักขุ เพราะอรรถว่าเห็น, กล่าวว่าญาณ เพราะ

อรรถว่า รู้, กล่าวว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, กล่าวว่า

วิชชา เพราะอรรถว่า แทงตลอด, กล่าวว่า อาโลกะ เพราะอรรถว่า

สว่าง. ก็ญาณนี้นั้น พึงทราบว่า ท่านชี้แจงว่าเจือทั้งโลกิยะและโลกุตระ

ในสัจจะ ๔. แม้ในนิโรธวาระ พึงทราบความโดยนัยนี้แล.

จบอรรถกถาวิปัสสีสูตรที่ ๔

๕. สิขีสูตรที่ ๙. กัสสปสูตร

ว่าด้วยพระปริวิตกของพระพุทธเจ้า ๗ องค์

[๒๕] พระปริวิตกของพระพุทธเจ้าแม้ทั้ง ๗ พระองค์ ก็พึงให้

พิสดารเหมือนอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิขี. . .ทรงพระนามว่าเวสสภู. . .ทรง

พระนามว่ากกุสันธ. . . ทรงพระนามว่าโกนาคมนะ. . .ทรงพระนาม

ว่ากัสสปะ.

๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร

ว่าด้วยพระปริวตกของพระบรมโพธิสัตว์

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อน

ตรัสรู้ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า โลกนี้ถึงความยากแล้วหนอ

ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และอุปบัติ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่รู้

๑. ข้อความที่ละไว้ เหมือนข้อ ๒๒-๒๔ ๒. อรรถกถาสูตรที่ ๕-๑๐ แก้ไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 45

ธรรมอันออกจากทุกข์ คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรเล่า ความออกจาก

ทุกข์ คือชราและมรณะนี้จักปรากฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มี

ความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี. ชราและมรณะ

ย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเพราะกระทำไว้

ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่ ชราและมรณะ

จึงมี ชราและมรณะย่อมมีเพราะชาติเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติ

จึงมี. ชาติย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. เมื่อภพมีอยู่ ชาติจึงมี. ชาติ

ย่อมมีเพราะภพเป็นปัจจัย. . . เมื่ออะไรมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะ

อะไรเป็นปัจจัย. เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพจึงมี. ภพย่อมมีเพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย. . . เมื่ออะไรหนอมีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะ

อะไรเป็นปัจจัย. . .เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี. อุปาทานย่อมมีเพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะ

อะไรเป็นปัจจัย เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี. ตัณหาย่อมมีเพราะเวทนา

เป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะอะไร

เป็นปัจจัย. เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี. เวทนาย่อมมีเพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ผัสสะจึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะอะไรเป็น

เป็นปัจจัย . เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี. ผัสสะย่อมมีเพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะมีอยู่เพราะ

อะไรเป็นปัจจัย. เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี. สฬายตนะย่อมมีเพราะ

นามรูปเป็นปัจจัย. . . เมื่ออะไรหนอมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมี

เพราะอะไรเป็นปัจจัย. เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี. นามรูปย่อมมีเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย. . .เมื่ออะไรหนอมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 46

เพราะอะไรเป็นปัจจัย. เมื่อสังขารมีอยู่ วิญญาณจึงมี. วิญญาณย่อมมีเพราะ

สังขารเป็นปัจจัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่อ

อะไรหนอมีอยู่ สังขารจึงมี. สังขารย่อมมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วยปัญญา

ว่า เมื่ออวิชชามีอยู่ สังขารจึงมี. สังขารย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

. . .ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างเกิด

ฝ่ายข้างเกิด ดังนี้.

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่อ

อะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ชราและมรณะจึงดับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้ด้วย

ปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี. เพราะชาติดับ ชราและมรณะ

จึงดับ. . .เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ เมื่อ

ภพไม่มี ชาติจึงไม่มี. เพราะภพดับ ชาติจึงดับ. . . เมื่ออุปาทานไม่มี ภพ

จึงไม่มี. เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี อุปาทาน

จึงไม่มี. เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ. เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี.

เพราะตัณหาจึงดับ อุปาทานจึงดับ. . .เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี.

เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ. เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี. เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 47

อะไรดับ เวทนาจึงดับ. เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี. เพราะผัสสะดับ

เวทนาจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ ผัสสะ

จึงดับ. เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี. เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ

จึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ

สฬายตนะจึงดับ. เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี. เพราะนามรูปดับ

สฬายตนะจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ

นามรูปจึงดับ. เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี. เพราะวิญญาณดับ

นามรูปจึงดับ. . . เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ

วิญญาณจึงดับ. เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี. เพราะสังขารดับ

วิญญาณจึงดับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า

เมื่ออะไรหนอไม่มี สังขารจึงไม่มี. เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจึงได้รู้

ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี. เพราะอวิชชาดับ สังขาร

จึงดับ. ก็เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ. เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .

ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้าง

ดับ ดังนี้.

จบมหาศักยมุนีโคตมสูตรที่ ๑๐

จบพุทธวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 48

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทศนาสูตร ๒. วิภังคสูตร ๓. ปฏิปทาสูตร

๔. วิปัสสีสูตร ๕. สิขีสูตร ๖. เวสสภูสูตร

๗. กกสันธสูตร ๘. โกนาคมนสูตร ๙. กัสสปสูตร

๑๐. มหาศักยมุนีโคตมสูตร.

อรรถกถาสิขีสูตรเป็นต้น (๕-๑๐)

ในสิขีสูตรที่ ๕ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อรรถแห่งบทว่า สิขิสฺส ภิกฺขเว เป็นต้น พึงกล่าวความประกอบ

อย่างนี้ว่า สิขิสฺสปิ ภิกฺขเว. เพราะเหตุไร เพราะไม่แสดงในอาสนะ

เดียว. จริงอยู่ พระสูตรเหล่านี้ทรงแสดงไว้ในฐานะต่าง ๆ แต่เนื้อความ

เหมือนกันทุกแห่งทีเดียว ความจริง เมื่อพระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์

ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นสมณะก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม

เทวดาก็ตาม พรหมก็ตาม ไม่ได้บอกว่า พระโพธิสัตว์ในอดีตพิจารณา

ปัจจยาการแล้วเป็นพระพุทธเจ้า. เหมือนอย่างว่า พระพุทธเจ้าพระองค์

หลัง ๆ ย่อมดำเนินไปตามทางที่พระพุทธเจ้าก่อน ๆ เหล่านั้นดำเนินไป

แล้ว เหมือนเมื่อฝนตกในครั้งปฐมกัป แม้น้ำฝนก็ย่อมบ่าไปตามทางที่น้ำ

ไหลไปแล้วนั้นแหละ. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ออกจากจตุตถฌาน

อันมีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ทำญาณให้หยั่งลงในในปัจจยาการ

พิจารณาปัจจยาการนั้นโดยอนุโลมและปฏิโลม ย่อมเป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวให้ชื่อว่า พุทธวิปัสสนา ใน ๗ สูตรตามลำดับแล.

จบอรรถกถาพุทธวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 49

อาหารวรรคที่ ๒

๑. อาหารสูตร

ว่าด้วยอาหาร ๔ อย่าง

[๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่

ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.

อาหาร ๔ เป็นไฉน. คือ [ ๑ ] กวฬีการาหาร หยาบหรือละเอียด

[ ๒ ] ผัสสาหาร [ ๓ ] มโนสัญเจตนาหาร [ ๔ ] วิญญาณาหาร อาหาร

๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือ

เพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ

มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อาหาร ๔

เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มี

ตัณหาเป็นแดนเกิด มีตัณหานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มี

อะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มี

เวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด ก็เวทนานี้

มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน

เกิด. เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 50

มีผัสสะเป็นแดนเกิด ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มี

อะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มี

สฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด

มีอะไรเป็นแดนเกิด. สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นที่ตั้งขึ้น

มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ

มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. นามรูป

มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นที่ตั้งขึ้น มีวิญญาณเป็นกำเนิด มี

วิญญาณเป็นแดนเกิด ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น

มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มี

สังขารเป็นที่ตั้งขึ้น มีสังขารเป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด ก็สังขาร

เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด. สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นที่ตั้งขึ้น

มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .

ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

[๓๐] ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ

สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบอาหารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 51

อาหารวรรคที่ ๒

อรรถกถาอาหารสูตรที่ ๑

อาหารวรรค อาหารสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาหารา ได้แก่ปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยท่านเรียกว่า อาหาร

เพราะนำผลให้แก่ตน. ในบทว่า ภูตาน วา สตฺตาน เป็นอาทิ พึง

ทราบเนื้อความดังต่อไปนี้. บทว่า ภูตา ได้แก่เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว.

บทว่า สมฺภเวสิโน ได้แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหา ค้นหาสมภพที่เกิด

ที่บังเกิด. บรรดากำเนิด ๔ เหล่านั้น อัณฑชะสัตว์ ชลาพุชะสัตว์ยังทำลาย

กะเปาะไข่และฟองไข่ไม่ได้อยู่ตราบใด ชื่อว่า สัมภเวสี (ผู้แสวงหาภพ

ที่เกิด) อยู่ตราบนั้น. เหล่าสัตว์ที่ทำลายกะเปาะไข่และฟองไข่ออกมา

ภายนอก ชื่อว่า ภูต. เหล่าสังเสทชะสัตว์ และโอปปาติกะสัตว์ (สัตว์

ที่เกิดในเถ้าไคล และที่ผุดเกิดเอง) ชื่อว่า สัมภเวสี ในขณะแห่งจิต

ดวงแรก. ตั้งแต่ขณะจิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า ภูต. อีกอย่างหนึ่ง

เหล่าสัตว์ที่ยังไม่ถึงอริยาบถอื่นจากอิริยาบถที่ตนเกิดตราบใด ก็จัดว่าเป็น

สัมภเวสีตราบนั้น. นอกจากนั้น ชื่อว่า ภูต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ภูตา ได้แก่เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว ภูตเหล่าใด คือ ภูตที่ถึงการนับ

(ที่จัดเจ้าในประเภทที่) ว่า จักไม่มี (การเกิด) อีก คำนั้นเป็น

ชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น. ชื่อว่า สัมภเวสี เพราะแสวงหาภพที่เกิด.

คำนั้น เป็นชื่อของพระเสขะ และปุถุชนผู้แสวงหาภพต่อไป เพราะ

ยังละภวสังโยชน์ไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ กิเลสภวสังโยชน์นั้น จึง

ยึดสรรพสัตว์ไว้ด้วยบททั้ง ๒ นี้โดยประการทั้งปวง. อนึ่ง วา ศัพท์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 52

ในคำว่า ภูตาน วา สตฺตาน นี้ มีอรรถว่า ประมวลกันเข้า เพราะ

เหตุนั้น พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า ภูตาน จ สมฺภเวสีน จ สัตว์

ผู้เกิดแล้ว และสัตว์ผู้แสวงหาภพ.

บทว่า ิติยา ได้แก่เพื่อความตั้งอยู่. บทว่า อนุคฺคหาย ได้แก่

เพื่อความอนุเคราะห์. นี้เป็นเพียงความแตกต่างแห่งถ้อยคำเท่านั้น ส่วน

เนื้อความ (ความหมาย ) ของบทแม้ทั้ง ๒ นั้น ก็เป็นอย่างเดียวกัน

นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ิติยา ได้แก่ไม่ขาดสายเพราะธรรม

ที่เกิดขึ้นแก่สัตว์นั้น ๆ ยังตามผูกพันอยู่. บทว่า อนุคฺคหาย ได้เเก่

เพื่อการเกิดขึ้นแห่งธรรมที่ยังไม่เกิด. บททั้ง ๒ นี้ พึงเห็นในที่ทั้ง ๒

อย่างนี้ว่า ภูตาน วา ิติยา เจว อนุคฺคหาย จ สมฺภเวสีน ฐิติยา

เจว อนุคฺคหาย จ (เพื่อความดำรงและเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลาย

หรือเพื่อความดำรงและเพื่อนุเคราะห์สัมภเวสีทั้งหลาย).

อาหารที่ทำเป็นคำกลืนกิน ชื่อว่า กพฬีการาหาร. คำว่า

กพฬีการาหาร นั้น เป็นชื่อของโอชามีข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นต้น

เป็นที่ตั้ง.

บทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ได้แก่ ชื่อว่าหยาบ เพราะ

มีวัตถุหยาบ. ชื่อว่าละเอียด เพราะมีวัตถุละเอียด. กพฬีการาหาร

ชื่อว่าละเอียด เพราะนับเนื่องในสุขุมรูป รูปละเอียดตามสภาพ. พึง

ทราบว่า อาหารนั้นหยาบและละเอียดโดยวัตถุ เพราะเทียบเคียงกับอาหาร

ของจระเข้. เขาว่า จระเข้กินก้อนหิน. ก็ก้อนหินเหล่านั้นพอเข้าไป

ในท้องของมัน ก็ย่อยละเอียด. นกยูงกินสัตว์ต่าง ๆ มีงู และแมลงป่อง

เป็นต้น. แต่เมื่อเทียบกับอาหารของนกยูง อาหารของหมาในละเอียดกว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 53

เขาว่า หมาในเหล่านั้นกินเขาและกระดูกที่เขาทิ้งไว้ถึง ๓ ปี. ก็กระดูก

เหล่านั้นพอเปียก เพราะน้ำลายของพวกมัน ก็อ่อนเหมือนเหง้ามัน.

เมื่อเทียบกับอาหารของหมาในอาหารของช้างละเอียดกว่า. เพราะช้าง

เหล่านั้น กินกิ่งไม้ต่าง ๆ เป็นต้น. อาหารของโคลาน กวาง และ

เนื้อเป็นต้น ละเอียดกว่าอาหารของช้าง. เขาว่า โคลาน กวาง และ

เนื้อเป็นต้น กินใบไม้ต่าง ๆ เป็นต้นซึ่งไม่มีแก่น. อาหารของโคละเอียด

แม้กว่าอาหารของโคลาน กวาง และเนื้อเหล่านั้น. โคเหล่านั้นกินหญ้าสด

และหญ้าแห้ง. อาหารของกระต่ายละเอียดกว่าอาหารของโคเหล่านั้น.

อาหารของนกละเอียดกว่าอาหารของกระต่าย. อาหารของพวกที่อยู่ชาย-

แดนละเอียดกว่าอาหารของพวกนก. อาหารของนายบ้านละเอียดกว่า

อาหารของพวกที่อยู่ชายแดน. อาหารของมหาอำมาตย์ของพระราชา

ละเอียดกว่าอาหารของนายบ้าน. พระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ

ละเอียดกว่าอาหารของมหาอำมาตย์แม้เหล่านั้น. อาหารของเหล่าภุมมเทพ

ละเอียดกว่าพระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ. อาหารของเทพชั้น

จาตุมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของภุมมเทพ. พึงให้อาหารของเทพยดา

ทั้งหลายจนถึงเทพยดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี พิสดารดังพรรณนามาฉะนี้.

ตกลงว่าอาหารของเทพยดาเหล่านั้นละเอียดทั้งนั้น.

ก็ในคำว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อ

ไปนี้ :- เมื่อวัตถุหยาบโอชาก็น้อยและมีกำลังอ่อน. เมื่อวัตถุละเอียด

โอชาก็มีกำลังดี. จริงอย่างนั้น ผู้ที่ดื่มข้าวยาคูแม้เต็มบาตรหนึ่ง ครู่เดียว

เท่านั้นก็หิว อยากกินอะไร ๆ อยู่นั่นแหละ. ส่วนผู้ที่ดื่มเนยใสเพียง

ฟายมือหนึ่ง ก็ไม่อยากกินตลอดวัน (อยู่ได้ทั้งวัน). วัตถุในบรรดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 54

ข้าวยาคูและเนยใสนั้นย่อมบรรเทาอันตราย กล่าวคือไฟอันเกิดแต่กรรมได้

แต่ไม่สามารถจะหล่อเลี้ยงได้. แม้ข้าวโอชาจะหล่อเลี้ยงได้แต่ไม่สามารถ

จะบรรเทาอันตรายได้. แต่ข้าวยาคูและเนยใสทั้ง ๒ อย่างรวมกันเข้าแล้ว

ย่อมบรรเทาอันตรายและหล่อเลี้ยงได้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

บทว่า ผสฺโส ทุติโย ความว่า ผัสสะทั้ง ๖ อย่างมีจักษุสัมผัส

เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อาหารที่ ๒ ในอาหาร ๔ อย่างเหล่านั้น.

นี้ก็เป็นเทศนานัยเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น ด้วยเหตุชื่อนี้จึงไม่จำต้องค้นหา

ในคำว่า ทุติโย ตติโย จ นี้ในที่นี้. เจตนานั่นเองท่านเรียกว่า

มโนสัญเจตนา. บทว่า วิญฺาณ ได้แก่จิต. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอาหาร ๔ ให้เป็นหมวดเดียวกัน ไว้ในที่นี้ด้วยอำนาจอาหาร

ที่เป็นอุปาทินนกะและอนุปาทินนกะด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ กพฬี-

การาหารที่เป็นอุปาทินนกะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนกะก็มี ถึงผัสสะเป็นต้น

ก็เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น (คำว่า อุปาทินฺนโกปิ อตฺถิ อนุปา-

ทินฺนโกปิ) ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบกพฬีการาหารที่เป็นอุปาทินนกะ

ด้วยอำนาจกบเป็นต้น ที่ถูกงูกลืนกิน. อันกบเป็นต้น ถูกงูกลืนกิน

แม้จะอยู่ในท้องก็มีชีวิตอยู่ ชั่วเวลาเล็กน้อยเท่านั้น. กบเหล่านั้น

ตราบใดที่ยังอยู่ในฝ่ายอุปาทินนกะก็ไม่สำเร็จประโยชน์เป็นอาหารตราบนั้น

แต่เมื่อทำลายไปอยู่ในฝ่ายอนุปาทินนกะจึงให้สำเร็จเป็นอาหารได้. ท่าน

กล่าวว่า อุปาทินนกาหาร ก็จริง แต่คำที่ว่านี้ ท่านเพิ่มเข้าในอรรถกถา

ว่า อาจารย์ทั้งหลายมิได้กล่าวไว้ แล้วกล่าวไว้ดังนี้ว่า อาหารที่เกิดร่วม

กับปฏิสนธิจิตของสัตว์เหล่านี้ ซึ่งกินก็ดี ไม่กินก็ดี บริโภคก็ดี ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 55

บริโภคก็ดี ชื่อว่า กัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) มีอยู่ อาหารนั้นย่อม

หล่อเลี้ยงชีวิตไปได้จนถึงวันที่ ๗. อาหารนี้แหละพึงทราบว่า กพฬี-

การาหารที่เป็นอุปาทินนกะ. ผัสสะเป็นต้นที่เป็นอุปาทินนกะพึงทราบด้วย

อำนาจวิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓. ที่เป็นปาทินนกะพึงทราบด้วยอำนาจ

กุศลจิต อกุศลจิต และกิริยาจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓. ส่วนที่เป็นโลกุตระ

ท่านกล่าวไว้โดยที่กินความถึงด้วย.

ในข้อนี้ท่านผู้ท้วงได้ท้วงว่า ผิว่า อาหารมีอรรถว่า ปัจจัย

ปัจจัยมีอรรถว่า อาหารไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เมื่อปัจจัย

แม้เหล่าอื่นของสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอาหาร ๔

เหล่านี้ไว้เล่า. จะเฉลยต่อไป:-

ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เพราะอาหารเป็นปัจจัยพิเศษของความสืบต่อ

(สันตติ) ในภายใน. จริงอยู่ กพฬีการาหารนั้นเป็นปัจจัยพิเศษ แห่ง

รูปกายของสัตว์ทั้งหลายที่มีกพฬีการาหารเป็นภักษา. ผัสสาหารเป็นปัจจัย

พิเศษแห่งเวทนาในนามกาย. มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษแห่ง

วิญญาณ. วิญญาณหารเป็นปัจจัยพิเศษแห่งนามรูป. เหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ดำรงอยู่ได้

เพราะอาหาร อาศัยอาหารจึงดำรงอยู่ได้ ไม่มีอาหารหาดำรงอยู่ได้ไม่

แม้ฉันใด เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย

จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ก็ฉันนั้น."

ถามว่า ก็ในข้อนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้.

ตอบว่า กพฬีการาหารนำรูปอันมีโอชะเป็นที่ ๘ มา ผัสสาหารนำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 56

เวทนา ๓ มา มโนสัญเจตนาหารนำภพทั้ง ๓ มา วิญญาณหารนำปฏิสนธิ

และนามรูปมาให้.

ถามว่า นำมาอย่างไร.

ตอบว่า อันดับแรก กพฬีการาหาร พอวางไว้ที่ปากเท่านั้น ก็

ให้รูป ๘ รูปตั้งขึ้น. แต่เมล็ดข้าวแต่ละเมล็ดที่ฟันเคี้ยวละเอียดกลืนลงไป

ก็ให้รูปอย่างละ ๘ รูปตั้งขึ้นทันที. กพฬีการาหาร นำรูปอันมีโอชะเป็น

ที่ ๘ มาด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่ง ในผัสสาหาร ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง

สุขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นนั่นแล ย่อมนำสุขเวทนามาให้. ที่เป็นที่ตั้งแห่ง

ทุกขเวทนา ย่อมนำทุกข์มาให้. ที่เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม

นำอทุกขมสุขเวทนามาให้. รวมความว่า ผัสสาหารย่อมนำเวทนาทั้ง ๓

มาให้ แม้โดยประการทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้.

มโนสัญเจตนาหารย่อมนำกามภพมาให้ แก่ผู้เข้าถึงกามภพ. ย่อม

นำภพนั้น ๆ มาให้แก่ผู้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ. มโนสัญเจตนาหาร

ย่อมนำภพทั้ง ๓ มาให้ แม้โดยประการทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วน

วิญญาณาหาร ท่านกล่าวว่า ย่อมนำมาซึ่งขันธ์ทั้ง ๓ ที่สัมปยุตด้วย

ปฏิสนธิวิญญาณนั้นในขณะปฏิสนธิ และรูป ๓๐ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

คติสันตติโดยนัยแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น วิญญา-

ณาหารย่อมนำนามรูปในปฏิสนธิมาอย่างนั้น. ก็ในข้อนี้ ท่านกล่าวกุศล

เจตนาที่เป็นกุสลที่มีอาสวะเท่านั้นว่า มโนสัญเจตนานำภพทั้ง ๓ มาให้.

กล่าวปฏิสนธิวิญญาณเท่านั้นว่า วิญญาณนำนามรูปในปฏิสนธิมาให้.

แต่เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน ปัจจัยเหล่านั้น พึงทราบว่า อาหาร เพราะ

นำธรรมซึ่งสัมปยุตด้วยปัจจัยนั้น ๆ มีปัจจัยนั้น ๆ เป็นสมุฏฐานมาให้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 57

บรรดาอาหาร ๔ อย่างนั้น กพฬีการาหาร เมื่อจะค้ำจุนย่อมให้

อาหารกิจสำเร็จได้. ผัสสะเมื่อถูกต้องก็ให้อาหารกิจสำเร็จได้. มโน-

สัญเจตนา เมื่อประมวลมาก็ให้อาหารกิจสำเร็จได้. วิญญาณเมื่อรู้แจ้ง

ให้อาหารกิจสำเร็จเช่นกัน.

ถามว่า ให้สำเร็จอย่างไร.

ตอบว่า จริงอยู่ อันกพฬีการาหาร เมื่อค้ำจุนย่อมมีเพื่อความ

ดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพราะการดำรงกายไว้. ก็กายนี้แม้กรรมให้

เกิดอันกพฬีการาหารค้ำจุน ย่อมดำรงอยู่ ตลอดปริมาณอายุ ๑๐ ปีบ้าง

๑๐๐ ปีบ้าง.

ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร.

ตอบว่า เปรียบเหมือนเด็กแม้มารดาให้เกิดมาถูกแม่นมให้ดื่มนม

เป็นต้น เลี้ยงดูย่อมดำรงอยู่ได้นาน และเปรียบเหมือนเรือนอันเสาเรือน

ค้ำไว้.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "มหาบพิตร เรือนเมื่อจะ

ล้ม ถูกไม้เครื่องเรือนอย่างอื่นค้ำไว้ เรือนนั้นก็ไม่ล้ม ฉันใด มหาบพิตร

อันกายของเรานี้ก็เหมือนกัน ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร อาศัยอาหารจึง

ดำรงอยู่ได้." กพฬีการาหาร เมื่อค้ำจุนย่อมให้อาหารกิจสำเร็จด้วย

อาการอย่างนี้.

อนึ่ง กพฬีการาหาร แม้จะให้อาหารกิจสำเร็จด้วยอาการอย่างนี้

ย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปสันตติทั้งสอง คือทั้งที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน และ

ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะ. กพฬีการาหารเป็นอนุปาลกปัจจัย ( ปัจจัยที่ตาม

รักษา) แก่รูปที่เกิดแต่กรรม เป็นชนกปัจจัย (ปัจจัยที่ให้เกิด) แก่รูป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 58

ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ด้วยประการฉะนี้. ส่วนผัสสะ เมื่อถูกต้อง

อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แห่งสัตว์

ทั้งหลาย เพราะความเป็นไปแห่งสุขเวทนาเป็นต้น. มโนสัญเจตนาเมื่อ

จะประมวลมาด้วยอำนาจกุศลกรรมและอกุศลกรรมย่อมเป็นไปเพื่อความ

ดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพราะให้มูลแห่งภพสำเร็จ. วิญญาณเมื่อรู้แจ้ง

ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพราะให้นามรูปเป็นไป

ด้วยอาการอย่างนั้น.

ในอาหารเหล่านี้ ที่ให้อาหารกิจสำเร็จด้วยอำนาจการค้ำจุนอย่างนี้

ก็พึงเห็นภัย ๔ อย่าง คือ ภัยอันเกิดแต่ความติดใจในกพฬีการาหาร ภัย

คือการเข้าไปหาผัสสะ ภัยคือการประมวลมโนสัญเจตนามา ภัยคือการ

ตกไปในวิญญาณ. เพราะเหตุไร. เพราะสัตว์ทั้งหลายติดใจในกพฬี-

การาหารแล้ว มุ่งความเย็นเป็นต้น เบื้องหน้าเมื่อจะทำการงานมีมุทธา-

คณนา (วิชาคำนวณ) เป็นต้น เพื่อต้องการอาหารย่อมประสบทุกข์

มิใช่น้อย. ก็บางพวกแม้จะบวชในศาสนานี้แล้ว ก็แสวงหาอาหารด้วย

อเนสนกรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ย่อมถูกเขาติเตียนในปัจจุบัน แม้

ในภพหน้า ก็ย่อมเป็นสมณเปรต ตามนัยที่กล่าวไว้ในลักขณสังยุต

มีอาทิว่า แม้สังฆาฏิของเธอก็ถูกไฟไหม้ลุกโชนแล้ว. เพราะเหตุนี้

อันดับแรก ความติดใจในกพฬีการาหาร พึงทราบว่าเป็นภัย.

ผู้ที่ยินดีในผัสสะแม้เข้าไปใกล้ผัสสะ ก็ย่อมผิดในภัณฑะมีเมียเขา

เป็นต้น ที่คนอื่นเขารักษาคุ้มครองไว้. เจ้าของภัณฑะ (สามีเขา ) จับ

เอาคนเหล่านั้นมาพร้อมทั้งภัณฑะ (เมีย) แล้วตัดเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่

แล้วทิ้งไปในกองขยะ หรือมอบถวายแด่พระราชา. แต่นั้นพระราชาทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 59

มีรับสั่งให้ลงอาชญากรรมต่าง ๆ. คนเหล่านั้นเมื่อกายแตกทุคติก็เป็นอัน

หวังได้. ภัยในปัจจุบันก็ดี ในภพหน้าก็ดี. ซึ่งมีความยินดีในผัสสะเป็น

มูลเหตุ ย่อมมาพร้อมกันได้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนี้

การเข้าไปหาผัสสาหารนั่นแล พึงทราบว่าเป็นภัย.

ก็เพราะประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรม ภัยในภพทั้ง ๓

ซึ่งมีกุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นต้นมูล จึงมาพร้อมกันทั้งหมด. ด้วย

เหตุนี้ การประมวลมาในมโนสัญเจตนาหารนั่นแล พึงทราบว่าเป็นภัย.

ส่วนปฏิสนธิวิญญาณ ตกไปในที่ใด ๆ ก็ย่อมถือเอาปฏิสนธินามรูป

ไปเกิดในที่นั้น ๆ. เมื่อปฏิสนธินามรูปเกิดแล้ว ภัยทุกอย่างก็ย่อมเกิด

ตามมาด้วย เพราะมีปฏิสนธินามรูปนั้นเป็นมูล ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุนี้ ความตกไปในวิญญาณาหารนั่นแล พึงทราบว่าเป็นภัย

ดังพรรณนามาฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กึนิทานา ดังต่อไปนี้ :- นิทานะ

(เหตุเกิด) ทั้งปวงเป็นไวพจน์ของการณะ (เหตุ) ย่อมมอบผลให้

คล้ายจะมอบให้ว่า เชิญรับสิ่งนั้นเถิด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า

นิทานะ.. เพราะเหตุที่ผลผุดคือเกิด ได้แก่เกิดก่อนแต่เหตุนั้น เพราะ-

ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สมุทโย ชาติปภโว ดังนี้.

ก็ในข้อนี้มีเนื้อความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ :- อะไรเป็นแดนมอบ

ให้แห่งเหตุเหล่านั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า กึนิทานา. อะไรเป็นแดนก่อให้

เกิดแห่งเหตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กึสมุทยา. อะไรเป็นแดน

เกิดแห่งเหตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กึชาติยา. อะไรเป็นแดน

เกิดก่อนแห่งเหตุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กึปภวา. ก็เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 60

ตัณหาของคนเหล่านั้น เป็นแดนมอบให้ เป็นเหตุก่อให้เกิด เป็นความ

เกิดและเป็นแดนเกิดก่อน โดยนัยคือโดยอรรถตามที่กล่าวว่า เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า ตณฺหานิทานา. ความทุก ๆ บทพึงทราบ

ด้วยอาการอย่างนี้.

ก็ในคำว่า อิเม จตฺตาโร อาหารา ตณฺหานิทานา นี้

พึงทราบเหตุแห่งอาหารกล่าวลืออัตภาพ ตั้งต้นแต่ปฏิสนธิด้วยอำนาจ

ตัณหาในก่อน. ถามว่า พึงทราบอย่างไร. ตอบว่า อันดับแรก

ในขณะปฏิสนธิ สัตว์ที่มีอายตนะครบบริบูรณ์ มีโอชา ที่เกิดในภายใน

รูปที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสันตติ ๗ สัตว์ที่เหลือมีโอชาที่เกิดในภายในรูป

ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสันตติที่หย่อนกว่านั้น นี้ชื่อว่า กพฬีการาหารที่เป็น

อุปาทินนกะมีตัณหาเป็นเหตุ. ส่วนอาหารเหล่านี้ คือผัสสะและเจตนา

ที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต และจิตคือวิญญาณเอง ชื่อว่า ผัสสาหาร

มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ที่เป็นอุปาทินนกะ มีตัณหาเป็น

เหตุ เหตุนั้น อาหารที่ประกอบด้วยปฏิสนธิจิต มีตัณหาในก่อนเป็นเหตุ

จึงมีด้วยอาการอย่างนี้. พึงทราบอาหารที่สัมปุยุตด้วยปฏิสนธิจิต ฉันใด

ต่อจากนั้นก็พึงทราบอาหารแม้ที่เกิดในขณะแห่งภวังคจิตดวงแรกเป็นต้น

ฉันนั้น.

ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงทราบเฉพาะเหตุแห่งอาหาร

อย่างเดียว ทรงทราบทั้งเหตุแห่งตัณหาซึ่งเป็นเหตุแห่งอาหาร ทั้งเหตุ

แห่งเวทนาแม้ที่เป็นเหตุแห่งตัณหาด้วย เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงแสดง

วัฏฏะแล้วแสดงวิวัฏฏะ โดยนัยมีอาทิว่า ตณฺหา จาย ภิกฺขเว กึนิทานา

ดังนี้. แต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาให้มุ่งเฉพาะอดีต แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 61

แสดงวัฏฏะ โดยนัยที่เป็นอดีต. ถามว่า ทรงแสดงอย่างไร. ตอบว่า

ทรงยึดถืออัตภาพนี้ด้วยอำนาจอาหาร.

ตัณหานั้น ได้แก่กรรมที่ยังอัตภาพนี้ให้เกิด. พระองค์ตรัสเวทนา

ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป และวิญญาณไว้เพื่อจะทรงแสดงถึงอัตภาพที่

กรรมดำรงอยู่ประมวลไว้. เพราะมีอวิชชาและสังขาร กรรมจึงให้อัตภาพ

นั้นเกิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแม้ทั้ง ๒ ประการ

คือ กรรมและวิบากของกรรม โดยสังเขปว่า อัตภาพในฐานะทั้ง ๒

กรรมที่ยังอัตภาพนั้นให้เกิดในฐานะทั้ง ๒ ทรงทำเทศนาให้มุ่งเฉพาะอดีต

แสดงวัฏฏะโดยนัยที่เป็นอดีต ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น ไม่พึงเห็นว่า

เทศนาไม่บริบูรณ์ เพราะไม่ทรงแสดงอนาคตไว้ แต่พึงเห็นว่าบริบูรณ์

โดยนัย. เปรียบเสมือนบุรุษผู้มีจักษุ เห็นจระเข้นอนอยู่เหนือน้ำ เมื่อ

มองเฉพาะส่วนหน้าของมัน ก็จะเห็นแต่คอ ในเข้าไปก็แผ่นหลัง สุดท้าย

ก็โคนหาง แต่เมื่อมองดูใต้ท้อง ก็จะไม่เห็นปลายหางที่อยู่ในน้ำ และ

เท้าทั้ง ๔ เพียงเท่านี้ บุรุษนั้นจะถือว่า จระเข้ไม่บริบูรณ์ (มีอวัยวะ

ไม่ครบ) หาได้ไม่ แต่เมื่อว่าโดยนัยก็ถือได้ว่า จระเข้มีอวัยวะครบ

บริบูรณ์ ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็พึงทราบ ฉันนั้น.

ก็วัฏฏะอันเป็นไปในไตรภูมิ เปรียบเหมือนจระเข้ที่นอนอยู่เหนือน้ำ.

พระโยคาวจรเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุที่ยืนอยู่ริมฝั่งน้ำ. เวลาที่พระโยคี

เห็นอัตภาพนี้ ด้วยอำนาจอาหาร ก็เหมือนเวลาที่บุรุษนั่นเห็นจระเข้ที่

เหนือผิวน้ำ. เวลาที่ตัณหาที่ให้อัตภาพนี้เกิด เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นเห็น

คอข้างหน้า. เวลาที่เห็นอัตภาพที่คนทำกรรมที่ประกอบด้วยตัณหา ด้วย

อำนาจเวทนาเป็นต้น เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นเห็นหลัง. เวลาที่อวิชชาและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 62

สังขารที่ให้อัตภาพนั้นเกิด ก็เหมือนเวลาที่เห็นโคนหาง. ก็ปัจจยวัฏไม่มา

ในบาลีในที่ใด ๆ ในที่นั้น ๆ อย่าถือว่า เทศนาไม่บริบูรณ์ พึงถือเอา

โดยนัยว่า บริบูรณ์ทีเดียว เปรียบเหมือนบุรุษนั้น เมื่อมองดูใต้ท้อง

แม้จะไม่เห็นปลายหาง และเท้าทั้ง ๔ ก็ไม่ถือว่า จระเข้มีอวัยวะไม่บริบูรณ์

แต่ถือโดยนัยว่า บริบูรณ์ฉะนั้น. ก็ในข้อนั้น ทรงแสดงวัฏฏะมีสนธิ

สังเขป ๓ ประการ คือ ระหว่างอาหารและตัณหา จัดเป็นสนธิหนึ่ง

ระหว่างตัณหาและเจตนา จัดเป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างวิญญาณและสังขาร

จัดเป็นสนธิหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาอาหารสูตรที่ ๑

๒. ผัคคุนสูตร

ว่าด้วยพระผัคคุนะทูลถามเรื่องอาหาร

[๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของ

หมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร

๔ เป็นไฉน. [ ๑ ] กวฬีการาหารหยาบหรือละเอียด [ ๒ ] ผัสสาหาร

[ ๓ ] มโนสัญเจตนาหาร [ ๔ ] วิญญาณาหาร อาหาร เหล่านี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์

[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระโมลิย-

ผัคคุนะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 63

ย่อมกลืนกินวิญญาณาหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก

เรามิได้กล่าวว่า กลืนกิน [วิญญาณาหาร] ถ้าเรากล่าวว่ากลืนกิน

[วิญญาณาหาร] ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ

ย่อมกลืนกิน [วิญญาณาหาร] แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเรา

ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วิญญาณาหาร ย่อมมี

เพื่ออะไรหนอ อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า

วิญญาณาหารย่อมมีเพื่อความบังเกิดในภพใหม่ต่อไป เมื่อวิญญาณาหาร

นั้นเกิดมีแล้ว จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ.

[๓๓] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถูกต้อง.

ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่าย่อมถูกต้อง ถ้าเรากล่าวว่า

ย่อมถูกต้อง ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอ

ย่อมถูกต้อง แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น

อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีผัสสะ อันนี้

ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

[๓๔] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์.

ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ถ้าเรา

กล่าวว่า ย่อมเสวยอารมณ์ ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

ใครหนอย่อมเสวยอารมณ์ แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใดถามเราผู้มิได้

กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ

จึงมีเวทนา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 64

[๓๕] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน.

ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ถ้า

เรากล่าวว่า ย่อมทะเยอทะยาน ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระ

พุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมทะเยอทะยาน แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ผู้ใด

ถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า เพราะอะไรเป็น

ปัจจัยหนอ จึงมีตัณหา อันนี้ควรเป็นปัญหา ควรชี้แจงให้กระจ่างใน

ปัญหานั้นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็น

ปัจจัย จึงมีอุปาทาน.

[๓๖] ม. พระพุทธเจ้าข้า ใครหนอย่อมถือมั่น.

ภ. ตั้งปัญหายังไม่ถูก เรามิได้กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ถ้าเราพึง

กล่าวว่า ย่อมถือมั่น ควรตั้งปัญหาในข้อนั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

ใครหนอย่อมถือมั่น แต่เรามิได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า

เพราะอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีอุปาทาน อันนี้ควรเป็นปัญหา ควร

ชี้แจงให้กระจ่างในปัญหานั้นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ. . . ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนั้น.

[๓๗] ดูก่อนผัคคุนะ ก็เพราะบ่อเกิดแห่งผัสสะทั้ง ๖ ดับด้วยการ

สำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ

อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา-

มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบผัคคุนสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 65

อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๒

ในผัคคุนสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมฺภเวสีน วา อนุคฺคหาย ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงให้เทศนาจบลงในที่นี้นั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะผู้มีทิฏฐินั่งอยู่

แล้ว. จริงอยู่ พระโมลิยผัคคุนภิกษุ ซึ่งมีทิฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้นแล้ว

ต่อนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า โมลิยผัคคุนภิกษุนี้ จักลุกขึ้นถามปัญหา

เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักแก้ปัญหาให้เธอ แล้วให้เทศนาจบลง

เพื่อให้โอกาสเธอได้ถาม. มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี ในคำว่า

โมลิยผคฺคุโน นี้. สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

พระสักยมุนี ทรงตัดพระเมาลีที่อบด้วยน้ำหอม

อย่างดี แล้วทรงเหวี่ยงไปในอากาศ ท้าววาสวะผู้

สหัสสเนตรที่เอาผอบทองคำอย่างประเสริฐ รับไว้ด้วย

เศียรเกล้า.

ในสมัยที่ท่านเป็นคฤหันถ์ เมาลี (มวยผม) ของท่านใหญ่มาก

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเกิดมีชื่อเรียกว่า โมลิยผัคคุนะ. แม้ท่านจะบวช

แล้ว คนก็ยังรู้จักตามชื่อนั้นนั่นแหละ. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ ท่าน

เมื่อจะสืบต่อเทศนานุสนธิ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ใครหนอนำวิญญาณาหารมา. พึงทราบเนื้อความแห่ง

คำนั้นดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ที่กินหรือบริโภควิญญาณา-

หารนั้นคือใคร.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระโมลิยะนี้จึงไม่ถามถึงอาหาร ๓

นอกจากนี้ ถามแต่เพียงวิญญาณาหารนี้อย่างเดียว.

.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 66

ตอบว่า เพราะเธอมีลัทธิความเห็นว่า ตัวเองรู้. จริงอยู่ เธอเห็น

แต่คนที่ทำคำข้าวใหญ่ ๆ แล้วบริโภคอาหารเป็นคำ ๆ เพราะเหตุนั้น

เธอจึงมีลัทธิความเห็นว่า ตัวเองรู้. ก็เธอเห็นแต่นกคุ่ม นกกระทา

นกยูงและไก่เป็นต้นเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยมาตุสัมผัส จึงมีความเห็นว่า สัตว์

เหล่านั้นเลี้ยงชีวิตด้วยมาตุสัมผัส. ส่วนเต่าขึ้นจากทะเลในอุตุสมัยของตน

แล้วางไข่ที่หลุมทรายริมฝั่งทะเลแล้วเอาทรายกลบ จึงลงไปสู่ทะเล

ตามเดิม. ไข่เหล่านั้นไม่เสีย (ไม่เน่า ) ด้วยอำนาจระลึกถึงแม่. เธอมี

ลัทธิความเห็นว่า ไข่เหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วยมโนสัญเจตนาหาร. แม้

พระเถระมีความเห็นอย่างนั้นก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็หาถามปัญหานี้ตาม

ความเห็นนั้นไม่. เพราะท่านถือทิฏฐิเป็นเสมือนคนบ้า. คนบ้าถือกระเช้า

ข้ามระหว่างถนนก็เก็บเอาโคมัยบ้าง ก้อนหินบ้าง คูถบ้าง ท่อนเชือก

บ้าง สิ่งของนั้น ๆ ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ก็เก็บใส่ลงในกระเช้า

ฉันใด พระเถระผู้ถือทิฏฐินี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถามปัญหาที่ควรบ้าง

ไม่ควรบ้าง. เธอก็ไม่ถูกข่มว่า ทำไมถึงถามปัญหาอย่างนี้ แต่ทรงปลุก

ให้รู้ถึงการถือในที่ถามแล้วถามอีก. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงไม่ตรัส เพราะเหตุไร เธอจึงถามอย่างนี้ กลับตรัสว่า โน กลฺโล

ปญฺโห (ปัญหาไม่เหมาะ) เพื่อจะเปลื้องเธอให้พ้นจากการถือที่เธอถือ

อยู่ก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน กลฺโล ได้แก่ไม่สมควร.

ข้อว่า อาหาเรตีติ อห น วทามิ ได้แก่เราไม่บอกว่า สัตว์หรือ

บุคคลใด ๆ นำอาหารมา. บทว่า อาหาเรตีติ จาห วเทยฺย ไขความ

ได้ว่า ยทิ อห อาหาเรตีติ วเทยฺย ผิว่า เราจะพึงบอกว่า นำมาไซร้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 67

บทว่า ตตฺรสฺส กลฺโล ปญฺโห ได้แก่เมื่อเราพูดอย่างนี้ ปัญหานี้ก็

จะเหมาะสม. บทว่า กิสฺส นุ โข ภนฺเต วิญฺาณาหาโร ได้แก่

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิญญาณาหารนี้ เป็นปัจจัยของธรรมข้อไหน.

บทว่า ตตฺถ กลฺล เวยฺยากรณ ได้แก่เมื่อปัญหาถูกถามอย่างนี้

ไวยากรณ์นี้ก็ย่อมเหมาะ วิญญาญาหารย่อมเป็นปัจจัยแก่ความบังเกิดในภพ

ใหม่ต่อไป. คำว่า วิญฺาณาหาโร ได้แก่ปฏิสนธิจิต. บทว่า อายตึ

ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ ได้เเก่นามรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้นนั่นเอง.

บทว่า ตสฺมึ ภูเต สตึ สฬายตน ได้แก่เมื่อนามรูป กล่าวคือ

ความบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไปนี้ เกิดมีอยู่ สฬายตนะก็ย่อมมี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้โอกาสเธอได้ถามปัญหาสูงยิ่งขึ้น

จึงให้เทศนาจบลง แม้ในคำนี้ว่า สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส. เพราะเธอ

ถือทิฏฐิ จึงไม่อาจจะให้ปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้น แต่ถือเอาข้อที่ตกลงกันได้

เท่านั้นถาม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ประทานโอกาสแก่

เธอ แต่เนื้อความในทุก ๆ บท ก็พึงถือเอาตามนัยกล่าวมานั่นแล.

เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทูลถามว่า ใครเล่ามีอยู่ พระเจ้าข้า. เพราะเธอถือ

ทิฏฐิจึงมีความเห็นว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว เพราะ

เหตุนั้น เธอจึงได้ทูลถามว่า นี้ผิดจากความเห็นของตน. อีกอย่างหนึ่ง

เธอชื่อว่า เข้าถึงสัญญัตติ เพราะกล่าวไว้ในที่มากแห่งว่า อิทปฺปฺจจยา

อิท อิทปฺปจฺจยา อิท เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี แม้เพราะเหตุ

นั้น เธอจึงไม่ทูลถาม. แม้พระศาสดาก็ทรงดำริว่า ภิกษุนี้ แม้จะถาม

อย่างมากมาย ก็หาอิ่มไม่ ก็ยังถามปัญหาที่ไร้สาระอยู่นั่นเอง แต่นั้น

ก็ทรงแสดงเทศนาให้ต่อเนื่องกันไป. บทว่า ฉนฺน เตฺวว ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 68

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงถือเอาเวลาที่เทศนาถูกยกขึ้นแสดง ก็ทรง

เปิดเผยเทศนาตรัสอย่างนั้น. ก็ในพระสูตรนี้มีสนธิ ๓ อย่าง โดยย่อดังนี้

คือระหว่างวิญญาณกับนามรูปจัดเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหา

เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง.

จบอรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๒

๓. ปฐมสมณพราหมสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์

[๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้จักชราและมรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับ

แห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

ไม่รู้จักชาติ. . .ไม่รู้จักภพ. . .ไม่รู้จักอุปาทาน. . . ไม่รู้จักตัณหา. . .ไม่รู้จัก

เวทนา. . . ไม่รู้จักผัสสะ. . .ไม่รู้จักสฬายตนะ. . . ไม่รู้จักนามรูป. . . ไม่รู้จัก

วิญญาณ. . . ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับ

แห่งสังขาร ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้นจะสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็น

พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์หาได้ไม่ แลท่านเหล่านั้นมิได้กระทำให้แจ้ง

ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 69

[๓๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง รู้จักชราและมรณะ. รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จัก

ความดับแห่งชราและมรณะ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและ

มรณะ รู้จักชาติ. . . รู้จักภพ. . . รู้จักอุปาทาน. . . รู้จักตัณหา. . . รู้จัก

เวทนา. . . รู้จักผัสสะ. . .รู้จักสฬายตนะ. . . รู้จักนามรูป. . . รู้จักวิญญาณ. . .

รู้จักสังขาร รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้จักความดับแห่งสังขาร รู้จัก

ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล

สมมติได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น

สมณะ และประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพราหมณ์สูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๓

ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ได้แก่สมณะและพราหมณ์

ผู้ถือลัทธิภายนอก ไม่สามารถจะแทงตลอดสัจจะทั้งหลายได้. ในบทว่า

ชรามรณ นปฺปชานนฺติ เป็นอาทิ ท่านประกอบความไว้ดังนี้ สมณ-

พราหมณ์ ไม่รู้ชราและมรณะด้วยอำนาจทุกขสัจ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งชรา

และมรณะด้วยอำนาจสมุทัยสัจว่า ชาติกับตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งชราและ

มรณะ ไม่รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ด้วยอำนาจนิโรธสัจ ไม่รู้ปฏิปทา

ด้วยอำนาจมรรคสัจ ไม่รู้ชาติด้วยอำนาจทุกขสัจ ไม่รู้ชาติสมุทัยด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 70

สมุทัยสัจที่ว่า ภพกับตัณหาเป็นเหตุให้เกิดชาติ. พึงประกอบสมุทัยกับตัณหา

ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ทราบเนื้อความด้วยอำนาจจตุสัจจะในทุก ๆ บท.

สามัญญะ และพรหมัญญะ ในคำว่า สามญฺตฺต วา พฺรหฺมญฺตฺต นี้

ได้แก่อริยมรรค. อรรถของสามัญญะและพรหมัญญะทั้งสอง พึงทราบว่า

อริยผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจะทั้ง ๔ ในฐานะ ๑๑ อย่างไว้ใน

พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๓

๔. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์

[๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักธรรม

เหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้

ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักธรรมเหล่าไหน

ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน

ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน คือ ไม่รู้จักชราและ

มรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่งชราและ

มรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ. . .

ไม่รู้จักภพ. . . ไม่รู้จักอุปาทาน. . . ไม่รู้จักตัณหา. . . ไม่รู้จักเวทนา. . .

ไม่รู้จักผัสสะ. . .ไม่รู้จักสฬายตนะ. . . ไม่รู้จักนามรูป. . .ไม่รู้จักวิญญาณ. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 71

ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร

ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ความดับแห่งสังขาร ชื่อว่าไม่รู้จักธรรมเหล่านี้

ไม่รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิ-

ปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะ

สมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์หาได้ไม่ และท่านเหล่านั้น มิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์

ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[ ๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับ

แห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จัก

ธรรมเหล่าไหน รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน รู้จักความดับแห่ง

ธรรมเหล่าไหน รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน.

คือ รู้จักชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จักความดับ

แห่งชราและมรณะ. รู้จักปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้จัก

ชาติ. . . รู้จักภพ. . . รู้จักอุปาทาน. . . รู้จักตัณหา. . . รู้จักเวทนา. . .

รู้จักผัสสะ. . . รู้จักสฬายตนะ. . . รู้จักนามรูป. . . รู้จักวิญญาณ. . . รู้จัก

สังขาร รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้จักความดับแห่งสังขาร รู้จักปฏิปทาที่

จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่ารู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่ง

ธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาให้จะให้ถึง

ความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล สมมติได้ว่า

เป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 72

และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ

ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่.ื

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔

ในทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระองค์ตรัสว่า อิเม ธมฺเม นปฺปชานนฺติ เป็นต้น ตาม

อัธยาศัยของบุคคลผู้ที่สามารถจะแทงตลอดเทศนาที่ตรัสให้เนิ่นช้ามีประมาณ

เท่านี้ ด้วยคำว่า อิเม กตเม ธมฺเม ดังนี้. คำที่เหลือก็เหมือน

ก่อนนั่นเอง.

จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๔

๕. กัจจานโคตตสูตร

ว่าด้วยพระกัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ

[๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระ

กัจจานโคตต์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมา-

ทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 73

โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคล

เห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีใน

โลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตาม

เป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วย

อุบาย อุปาทาน และอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น

ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัยอันเป็น

ที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่าทุกข์

นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับย่อมดับ พระ

อริยสาวกนั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ.

[๔๔] ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่

ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง

ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ. . . ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ ด้วยการสำรอก

โดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

จบกัจจานโคตตสูตรที่ ๕

อรรถกถากัจจานโคตตสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในกัจจานโคตตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้

๑. สัสสตทิฏฐิ ๒. อุจเฉททิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 74

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ สมฺมาทิฏฺิ ความว่า เทวดาและมนุษย์ผู้

เป็นบัณฑิตกล่าวความเห็นชอบใด ๆ ท่านกัจจานะทูลถามย่อ ๆ ถึงความ

เห็นชอบนั้น ทั้งหมดเข้าด้วยบททั้งสอง บทว่า ทฺวยนิสฺสิโต ได้แก่

อาศัยส่วนทั้งสอง. ทรงแสดงถึงมหาชนที่เหลือ ยกเว้นพระอริยบุคคล

ด้วยบทว่า เยภุยฺเยน นี้. บทว่า อตฺถิต ได้แก่เที่ยง. บทว่า

นตฺถิตญฺจ ได้แก่ขาดสูญ. สังขารโลก ชื่อว่า โลก ความเกิดขึ้นแห่ง

สังขารโลกนั้น ชื่อว่า โลกสมุทัย. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสโต

ความว่า มรรคปัญญาพร้อมวิปัสสนา ชื่อว่า สัมมัปปัญญา ความรู้ชอบ

ผู้พิจารณาเห็นด้วยสัมมัปปัญญานั้น. บทว่า ยา โลเก นตฺถิตา ได้แก่

เมื่อเขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในธรรมที่บังเกิดขึ้นในสังขารโลก อุจเฉท-

ทิฏฐิที่ว่าไม่มี จะพึงเกิดขึ้น ก็ย่อมไม่มี. บทว่า โลกนิโรธ ได้แก่

ความแตกแห่งสังขารทั้งหลาย. บทว่า ยา โลเก อตฺถิตา ได้แก่

เมื่อเขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาในธรรมที่กำลังแตกในสังขารโลก สัสสต-

ทิฏฐิที่ว่ามีอยู่ จะพึงเกิดขึ้น ก็ย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โลกสมุทย ได้แก่ปัจจยาการโดยอนุโลม.

บทว่า โลกนิโรธ ได้แก่ปัจจยาการฝ่ายปฏิโลม. ก็เมื่อบุคคลแม้จะพิจารณา

เห็น คือพิจารณาเห็นความไม่ขาดสูญแห่งธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น

เพราะความไม่ขาดสูญแห่งปัจจัยทั้งหลาย อุจเฉททิฏฐิที่ว่าไม่มี จะพึงเกิด

ขึ้น ย่อมไม่มี. เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นความดับแห่งปัจจัย คือพิจารณา

เห็นความดับแห่งธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เพราะปัจจัยดับ สัสสตทิฏฐิ

ที่ว่ามีอยู่ จะพึงเกิดขึ้น ก็จะไม่มี ความในข้อนี้มีดังกล่าวมานี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 75

ความผูกพันกันด้วยอุบาย อุปาทาน และอภินิเวส ชื่อว่า อุปายุ-

ปาทานาภินิเวสวินิพันโธ ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปาทายได้แก่อุบายมี ๒

อย่าง คือ ตัณหาอุบาย และทิฏฐิอุบาย. นัยแม้ในอุปาทาน เป็นต้น

ก็เหมือนกันนี้. ก็ตัณหาและทิฏฐิ ท่านเรียกว่า อุบาย เพราะเข้าถึง

คือเข้าไปถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยอาการเป็นต้นว่า เรา ว่า

ของเรา. อนึ่ง ท่านว่า อุปาทาน และอภินิเวส เพราะถือมั่นและยึดมั่น

ธรรมเหล่านั้น. ก็โลกนี้ ถูกตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นผูกพันไว้ เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุปาขุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ.

บทว่า ตญฺจาย ได้แก่ก่พระอริยสาวกนี้เข้าไปยึดถืออุบายและ

อุปาทานนั้น. บทว่า เจตโส อธิฏฺาน ได้แก่เป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต.

บทว่า อภินิเวสานุสย ได้แก่อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย. เพราะ

อกุศลจิตย่อมตั้งอยู่ในตัณหาและทิฏฐิ และตัณหาและทิฏฐิก็ตั้งมั่น และ

นอนเนื่องในอกุศลจิตนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวธรรมทั้งสอง

ประการนั้นว่า เป็นที่ตั้งมั่นและเป็นที่ยึดมั่นและนอนเนื่องแห่งจิต. บทว่า

น อุเปตี ได้แก่ไม่เข้าถึง. บทว่า น อุปาทิยติ ได้แก่ไม่ยึดถือ.

บทว่า นาธิฏฺาติ ได้แก่ไม่ตั้งมั่นว่า อะไรเป็นตัวตนของเรา. บทว่า

ทุกฺขเมว ได้แก่เพียงอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น. บทว่า น กงฺขติ

ได้แก่ ไม่ทำความสงสัยว่า ความทุกข์นั่นแล ย่อมเกิดขึ้น ความทุกข์

ย่อมดับไป. ขึ้นชื่อว่า สัตว์อื่นในโลกนี้ไม่มี. บทว่า น วิจิกิจฺฉติ

ได้แก่ไม่ให้ความลังเลใจเกิดขึ้น.

บทว่า อปรปฺปจฺจยา ได้แก่เพราะผู้อื่นไม่ทำให้บรรลุ ความรู้

ประจักษ์เฉพาะตัวเท่านั้นของผู้นี้มีอยู่ในข้อนี้. ด้วยบทว่า เอตฺตาวตา

๑. พม่า เป็น อุปย แปลว่า ความยึดถือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 76

โข กจฺจาน สมฺมาทิฏฺิ โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสัมมาทิฏฐิ

ที่เจือปนกันว่า ความเห็นชอบเพียงเท่านี้มีอยู่ เพราะละสัตตสัญญาได้ด้วย

อาการอย่างนั้น. บทว่า อยเมโก อนฺโต ได้แก่ที่สุดยอด ที่สุดทราม

อันเดียวกันนี้ จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่า เที่ยง อันที่หนึ่ง. บทว่า

อย ทุติโย ได้แก่ที่สุดยอด ที่สุดทราม กล่าวคือทิฏฐิที่จะเกิดขึ้นว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มี นี้จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่า ขาดสูญ อัน

ที่สอง. คำที่เหลือใช้ในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๕

๖. ธรรมกถิกสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระธรรมกถึก

[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูป

หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้

มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถีก ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก.

[๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดง

ธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ

ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ

ความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุ

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 77

เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ

ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบันถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ

หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ. . .ภพ. . .อุปาทาน. . .

ตัณหา. . .เวทนา. . .ผัสสะ. . .สฬายตนะ. . . นามรูป. . .วิญญาณ. . . สังขาร

ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ

อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ

หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า

ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ

ความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น

อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานใน ปัจจุบัน.

จบธรรมกถิกสูตรที่ ๖

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๖

ในธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย. บทว่า วิราคาย

ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.

ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีล

จนถึงอรหัตมรรค. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติ

ปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ. บทว่า อนุธมฺมภูต

ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร. บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่

เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต

ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 78

ทิฏฺธมฺมนิพฺพานปฺปตฺโต คือบรรลุพระนิพพานในปัจจุบันชาติ. บทว่า

อล วจนาย ความว่า ย่อมเหมาะที่จะพูดอย่างนั้น คือควร ได้แก่

สมควร. ในข้อนี้ เพราะธรรมกถึก กล่าวปุจฉาไว้ด้วยนัยอันหนึ่ง ชี้แจง

เสขภูมิและอเสขภูมิ ให้ปุจฉาแปลกออกไป ด้วยนัยทั้งสอง ดังพรรณนา

มาฉะนี้.

จบอรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๖

๗. อเจลกัสสปสูตร

ว่าด้วยความทุกข์เกิดแต่ปัจจัย

[ ๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทก-

นิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

อเจลกัสสปได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้ว เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ สถานที่นั้น ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

[๔๘] ครั้นแล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าพเจ้าจะขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรง

กระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังไปสู่ละแวกบ้าน

แม้ครั้งที่ ๒. . . แม้ครั้งที่ ๓ อเจลกัสสปก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 79

ภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระ-

โคดมจะทรงกระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังเข้า

ไปสู่ละแวกบ้าน.

[๔๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว อเจลกัสสปได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระ-

โคดมมากนัก.

ภ. ดูก่อนกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่าน

พระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่

ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.

ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม.

ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป.

ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หรือ.

ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 80

กัสสป.

ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระ-

ทำเองหรือ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า

ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าว

อย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการ

ที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า

อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่าน

พระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป

เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่รู้ไม่เห็นความ

ทุกข์หรือ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความ

ทุกข์อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัส

บอกความทุกข์แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความทุกข์

แก่ข้าพเจ้าด้วย.

[๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เมื่อบุคคลถือ

อยู่ว่า นั่นผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำ

เอง ดังนี้ อันนี้เป็นสัสสตทิฏฐิไป เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [ รู้ ]

อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่น

กระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิไป ดูก่อนกัสสป ตถาคตแสดงธรรม

โดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ . . . ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ

ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 81

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[ ๕๑ ] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-

องค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน

บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม

ประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์ขอ

ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ผู้ใดเคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่

ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว หวังอยู่

จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่าง

แห่งบุคคล.

อเจลกัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็น

อัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่

ปริวาส ๔ เดือน เมื่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วหวังอยู่

จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่

ปริวาส ๔ ปี เมื่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา

ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

[๕๒] อเจลกัสสปได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าแล้ว ครั้นท่านกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 82

ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ทำให้

แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่

ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านกัสสปได้

เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบอเจลกัสสปสูตรที่ ๗

อรรถกถาอเจลกัสสปสูตรที่ ๗

ในอเจลกัสสปสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อเจโล กสฺสโป ได้เเก่นักบวชอเจละ คือไม่มีผ้า

โดยเพศ ชื่อกัสสปะโดยชื่อ. บทว่า ทูรโตว ความว่า ได้เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้า มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อมเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว. บทว่า

กิญฺจิเทว เทส ได้แก่เหตุการณ์บางอย่าง. บทว่า โอกาส ได้แก่ขณะ

คือกาลแห่งการพยากรณ์ปัญหา. บทว่า อนฺตรฆร ได้แก่ภายในบ้าน

ชื่อว่า ละแวกบ้าน. ในคำว่า น ปลฺลตฺถิกาย อนฺตรฆเร นิสี-

ทิสฺสามิ (จักไม่นั่งคู้เข่าในละแวกบ้าน). ชื่อว่า ภายในบ้านตั้งแต่เสา

เขตเป็นต้นไป ในคำว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ อนฺตรฆเร คมิสฺสามิ (เรา

จักทอดจักษุไปในละแวกบ้าน). ภายในบ้านนี้แล ท่านประสงค์เอาใน

ที่นี้. บทว่า ยทากงฺขสิ ได้แก่มุ่งหวังสิ่งใด.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะตรัสจึง

ทรงห้ามเสียถึงครั้งที่ ๓. ตอบว่า เพื่อให้เกิดความเคารพ. เพราะผู้ถือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 83

ทิฏฐิ เมื่อเขากล่าวเร็วก็ไม่ทำคารวะ ไม่เชื่อแม้ถ้อยคำ ด้วยเข้าใจว่า

การเข้าเฝ้าพระสมณโคดมก็ดี การทูลถามก็ดี ง่ายเพียงแต่ถามเท่านั้น

ก็ตรัสตอบทันที. แต่เมื่อห้ามถึง ๒-๓ ครั้ง เขาก็ทำความเคารพ ก็เชื่อ

ด้วยเข้าใจว่า การเฝ้าพระสมณโคดมก็ดี การทูลถามปัญหาก็ดี ยาก เมื่อ

ทูลขอถึงครั้งที่ ๓ เขาก็จะตั้งใจฟัง เชื่อคำที่ตรัส. ดังนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงให้เขาทูลขอถึงครั้งที่ ๓ จึงตรัส ด้วยประสงค์ว่า ผู้นี้จักตั้งใจฟัง

เชื่อถือ เหมือนอย่างว่า หมอบาดแผลหุงน้ำมันหรือเคี่ยวน้ำอ้อย เมื่อ

จะหุงน้ำมันหรือเคี่ยวน้ำอ้อย ก็รอเวลาให้น้ำมันอ่อนตัวและน้ำอ้อยแข็งตัว

ได้ที่ ไม่ปล่อยให้ไหม้ แล้วยกลงเสียฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น

ทรงรอให้ญาณของสัตว์แก่กล้าเสียก่อน แม้จะทราบว่าญาณของผู้นี้จักแก่

กล้าด้วยเวลาเพียงเท่านี้ ก็ทรงให้ขอจนถึงครั้งที่ ๓.

บทว่า มา เหว กสฺสป ได้แก่กัสสปเธออย่าพูดอย่างนั้น.

ทรงแสดงว่า การพูดว่าสิ่งที่ตนเองทำแล้ว จัดเป็นทุกข์ ดังนี้ ไม่ควร

ใคร ๆ ที่ชื่อว่าตน ก่อทุกข์ ไม่มี. แม้ข้างหน้าก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺน ได้แก่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ตามที่ต้องการ.

บทว่า อิติ ปุฏฺโ สมาโน ได้แก่เพราะเหตุไร จึงพูดอย่างนั้น. นัยว่า

อเจลกัสสปนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงถูกถามโดย

นัยมีอาทิว่า สิ่งอันตนเองทำ เป็นทุกข์หรือ ก็ตรัสว่า อย่าพูดอย่างนั้น

ทรงถูกถามว่า ไม่มีหรือ ก็ตรัสว่ามี ทรงถูกถามว่า ท่านพระโคดมไม่

ทรงทราบ ไม่ทรงเห็นทุกข์หรือ ก็ตรัสว่า เรารู้, คำอะไรหนอแลที่เรา

ถามผิดพลาดไปดังนี้ เมื่อจะชำระคำถามของตนตั้งแต่ต้น จึงกล่าวอย่างนี้.

ในบทว่า อาจิกฺขตุ จ เม ภนฺเต ภควา นี้ พึงทราบเนื้อความดัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 84

ต่อไปนี้ :- ผู้ที่มีความเคารพในพระศาสดาจะไม่พูดว่า ภว แต่จะพูดว่า

ภควา.

คำว่า โส กโรติ เป็นอาทิ พระองค์ตรัสเพื่อจะทรงปฏิเสธลัทธิ

ที่ว่า สิ่งอันตนเองทำเป็นทุกข์. ก็บทว่า สโต ในคำว่า อาทิโต สโต

นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถสัตตมีวิภัตติ เพราะฉะนั้น พึงทราบ

เนื้อความดังต่อไปนี้ว่า กสฺสป ในคำว่า โส กโรติ โส ปฏิสเวทยติ

เป็นอาทิ ไขความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะมีความเห็นในภายหลังว่า สิ่ง

อันตนเองทำเป็นทุกข์. ก็ทุกข์ในคำว่า สยกต ทุกฺข นี้ ท่านประสงค์

เอาวัฏทุกข์. บทว่า อิติ วท นี้ ย่อมสัมพันธ์กันด้วย อาทิ ศัพท์

แรกและสัสสตศัพท์ ลำดับต่อมา. ก็ศัพท์ว่า ทีเปติ คณฺหาติ นี้ เป็น

พระบาลีที่เหลือในที่นี้. จริงอยู่ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า เมื่อกล่าวดังนี้

คืออย่างนี้ ย่อมแสดงถึงสัสสตะ คือถือสัสสตะแต่ต้นทีเดียว. เพราะเหตุไร.

เพราะข้อนั้นเป็นความเห็นของท่าน. บทว่า เอต ปเร ได้แก่ถือการกะ

ผู้ทำ และเวทกะ ผู้เสวยว่าเป็นอย่างเดียวกัน อธิบายว่า เข้าถึงการกะ

และเวทกะนี้นั้นว่า เป็นสภาพเที่ยง.

ก็พระองค์ตรัสคำว่า อญฺโ กโรติ เป็นอาทิไว้ก็เพื่อปฏิเสธ

ลัทธิที่ว่า ทุกข์อันบุคคลอื่นทำ. ส่วนคำว่า อาทิโต สโต นี้ พึงประมวล

มาไว้แม้ในที่นี้. พึงทราบเนื้อความในข้อนี้ ดังต่อไปนี้ :- กัสสป

ในคำว่า อญฺโ กโรติ อญฺโ ปฏิสเวทยติ เป็นอาทิ ไขความได้ว่า

เมื่อถูกเวทนาที่สัมปยุตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในภายหลังอย่างนี้ว่า

การกะขาดสูญในที่นี้แล คนอื่นย่อมเสวยสิ่งที่การกะนั้นทำแล้ว ดังนี้

ครอบงำคือเสียดแทง ก็จะมีลัทธิอย่างนี้ว่า สิ่งที่คนอื่นทำเป็นทุกข์. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 85

อิติ วท เป็นอาทิ พึงประกอบเข้าตามนัยที่กล่าวมา.

ในข้อนี้ มีโยชนา (การประกอบความ) ดังต่อไปนี้ :- ก็เมื่อ

กล่าวอย่างนี้ ย่อมแสดงถึงความขาดสูญ คือถือเอาความขาดสูญแต่แรก.

เพราะเหตุไร. เพื่อข้อนั้นเป็นความเห็นของท่าน. บทว่า เอต ปเร

ความว่า เข้าถึงความขาดสูญนั้น.

บทว่า เอเต เต ได้แก่กัสสป เราตถาคตไม่อาศัยที่สุดโต่ง ๒

อย่างเหล่าใด คือสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ แสดงธรรม เราตถาคต

ไม่อาศัย คือละ ได้แก่ไม่ติดที่สุดโต่ง ๒ อย่างนั้น แสดงธรรมโดยสาย

กลาง อธิบายว่า ตั้งอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา แสดงธรรม. หากจะมีคำ

ถามว่า ธรรมข้อไหน. ก็ตอบว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

ก็ในข้อนี้แสดงผลว่า มาจากเหตุ และแสดงความดับของผลนั้นไว้ เพราะ

เหตุดับ หาแสดงผู้กระทำหรือผู้เสวยไร ๆ ไว้ไม่. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ก็

เป็นอันปฏิเสธปัญหาที่เหลือ. ก็ท่านห้ามปัญหาข้อที่ ๓ ด้วยคำว่า อุโภ

อนฺเต อนุปคมฺม นี้. ด้วยคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี้ พึงทราบว่า

ทรงปฏิเสธการเกิดขึ้นลอย ๆ และความไม่รู้.

ท่านปรารถนาภิกษุภาวะในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึง

กล่าวคำว่า ลเภยฺย นี้ ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาติตถิย-

ปริวาสที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในขันธกะ คือปริวาสที่ผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ตั้งอยู่ในสามเณรภูมิแล้วอยู่สมาทาน โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้มีชื่อว่า เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังได้อุปสมบท

ในพระศาสนานี้ ข้าพระองค์นั้นจะขอปริวาสกับพระสงฆ์ตลอด ๔ เดือน

ดังนี้ จึงตรัสว่า โย โข กสฺสป อญฺญติตฺถิยปุพฺโพ. คำว่า ปพฺพชฺช

ในบทว่า ปพฺพชฺช ลเภยย นั้น พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจความเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 86

คำที่สละสลวย. เพราะไม่ต้องอยู่ปริวาสก็ได้บรรพชา. ส่วนผู้ที่ต้องการจะ

อุปสมบท พึงบำเพ็ญวัตรปฏิปทา ๘ ประการมีการเข้าบ้านเป็นต้น ให้

บริบูรณ์ อยู่ปริวาสโดยไม่ให้ล่วงเวลา. บทว่า อารทฺธจิตฺตา ได้แก่

ผู้มีใจยินดี เพราะบำเพ็ญวัตร ๘ ประการ. ในข้อนี้ มีเนื้อความสังเขป

เท่านี้. ส่วนติตถิยปริวาสนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ในอรรถกถาแห่งปัพพัชชาขันธกะ อรรถกถาวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกา.

พระบาลีในที่นี้ว่า อปิจ มยา ส่วนในที่อื่น ปรากฏว่า อปิจ

เมตฺถ. บทว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ได้แก่รู้ความต่างบุคคล. ท่าน

แสดงว่า คำนี้ว่า บุคคลนี้ ควรแก่ปริวาส บุคคลนี้ไม่ควรแก่ปริวาส ดังนี้

ปรากฏแก่เรา. แต่นั้น ท่านพระกัสสปคิดว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธ-

ศาสนาที่บุคคลเลือกสรร ถือเอาสิ่งที่ควรเท่านั้น ทิ้งสิ่งที่ไม่ควร. แต่นั้น

ท่านที่เกิดความอุตสาหะขึ้นในการบรรพชาอย่างมากจึงกราบทูลว่า สเจ

ภนฺเต. ลำดับต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า เธอมีความ

พอใจอย่างแรงกล้า จึงทรงดำริว่า กัสสป ควรแก่ปริวาส ดังนี้ จึงตรัส

เรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ไปเถิด ภิกษุให้กัสสปอาบน้ำ ให้บรรพชา

แล้วนำมา. ภิกษุนั้นตามพระดำรัสแล้ว ให้กัสสปบวชแล้วไปยังสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางหมู่พระ

สงฆ์แล้วให้กัสสปอุปสมบท. ด้วยเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า อลตฺถ โข

อเจโล กสฺสโป ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท

(อเจลกัสสป ได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว). คำที่เหลือมีอาทิว่า อจิรุปสมฺปนฺโน ท่านกล่าวไว้แล้วในพราหมณ-

สังยุตแล้วแล.

จบอรรถกถาอเจลกัสสปสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 87

๘. ติมพรุกขสูตร

ว่าด้วยสุขและทุกข์เกิดแต่ปัจจัย

[๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ปริพาชก ชื่อ

ติมพรุกขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๔] ครั้นแล้ว ติมพรุกขปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ ตนกระทำเองหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ.

ต. สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ.

ต. สุขและทุกข์ ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ

ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ.

ต. สุขและทุกข์บังเกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ

มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.

ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ.

ต. สุขและทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม.

ภ. สุขและทุกข์ไม่มีหามิได้ สุขและทุกข์มีอยู่ ติมพรุกขะ.

ต. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นสุขและทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 88

ก. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นสุขและทุกข์

อยู่ ติมพรุกขะ.

ต. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สุขและทุกข์ตนกระ-

ทำเองหรือ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้า

ถามว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า

อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์ตน

กระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า

อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สุขและทุกข์บังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระ-

โคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า

สุขและทุกข์ไม่มีหรือ ท่านตรัสว่า สุขและทุกข์ไม่มีหามิได้ สุขและทุกข์

มีอยู่ ติมพรุกขะ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่

รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์หามิได้

เราเห็นสุขและทุกข์อยู่ ติมพรุกขะ ขอท่านพระโคดมจงตรัสบอกสุขและ

ทุกข์แก่ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมจงทรงแสดงสุขและทุกข์แก่ข้าพเจ้า.

[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนติมพรุกขะ เมื่อบุคคล

ถืออยู่ว่า นั่นเวทนา นั่นผู้เสวย [ เวทนา ] ดังนี้ แต่เราไม่กล่าวอย่าง

นี้ว่า สุขและทุกข์ตนกระทำเอง เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [ รู้ ] อยู่

ว่าเวทนาอย่างหนึ่ง ผู้เสวย [ เวทนา ] เป็นอีกคนหนึ่ง ดังนี้ แต่เราไม่

กล่าวอย่างนี้ว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นกระทำให้ ดูก่อนติมพรุกขะ ตถาคต

แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 89

อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . .

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะ

อวิชชานั่นแหละดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร

ดับ วิญญาณจึงดับ. . .ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประ-

การอย่างนี้.

[๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ติมพรุกขปริพาชก-

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

หรือตามประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้า

พระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ

ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอด

ชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบติมพรุกขสูตรที่ ๘

อรรถกถาติมพรุกขสูตรที่ ๘

ในติมพรุกขสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

คำว่า สา เวทนา เป็นต้น ตรัสเพื่อจะปฏิเสธลัทธิที่ว่า สิ่งที่

ตนทำเอง เป็นสุขและทุกข์. คำว่า สโต แม้ในบทว่า อาทิโต สโต

นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. ในข้อนี้ มีการแสดง

เนื้อความดังต่อไปนี้ :- ติมพรุกขะ เมื่อคำเป็นต้นว่า สา เวทนา โส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 90

เวทยติ มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังย่อมมีลัทธิดังนี้ว่า สิ่งที่ตนทำเองเป็นสุข

เป็นทุกข์ และเมื่อกล่าวอย่างนี้ ย่อมรู้ตามว่า เวทนานี้มีแม้ในกาลก่อน

คือแสดงสัสสตทิฏฐิ ยึดถือสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้น เป็น

ความเห็นของท่าน. บทว่า เอต ปเร ความว่า เข้าถึงสัสสตทิฏฐินั้น.

เพราะทรงหมายเอาเนื้อความก่อนจึงตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ใน

อรรถกถา ท่านจึงประกอบคำนั้น แล้วแสดงเนื้อความแห่งคำนั้น. บทว่า

เอวญฺจาห น วทามิ ความว่า เราจะไม่พูดอย่างนี้ว่า สา เวทนา

โส เวทยติ. คำว่า อญฺา เวทนา เป็นอาทิ ตรัสเพื่อจะปฏิเสธ

ลัทธิที่ว่า สุขและทุกข์อันคนอื่นทำ. แม้ในบทนี้ มีการประกอบความ

ดังต่อไปนี้ :- ติมพรุกขะ เมื่อคำเป็นต้นว่า อญฺา เวทนา อญฺโ

เวทยติ มีอยู่อย่างนี้ ภายหลังเมื่อถูกเวทนาที่สัมปยุตกับอุจเฉททิฏฐิ ที่

เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า การกเวทนาในฝ่ายแรกขาดสูญ แต่สิ่งที่ตนทำเอง ผู้อื่น

เสวย ดังนี้ ครอบงำ ย่อมมีลัทธิดังนี้ว่า สิ่งที่ผู้อื่นทำเป็นสุข เป็นทุกข์

ดังนี้ และเมื่อกล่าวอย่างนี้ ย่อมแสดงอุจเฉททิฏฐิ ย่อมยึดถืออุจเฉททิฏฐิ

ว่า การกะขาดสูญ สิ่งอื่นถือปฏิสนธิ. เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้น เป็น

ความเห็นของท่าน. บทว่า เอต ปเร ได้แก่เข้าถึงอุจเฉททิฏฐินั้น. ก็ใน

ที่นี้ท่านนำบทเหล่านี้มาประกอบไว้ในอรรถกถาแล้ว. พระองค์ตรัสสุข-

เวทนาและทุกขเวทนาไว้ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้ และสุขทุกข์ที่

เป็นวิบากนั้นแลก็ตรัสว่าเหมาะ (ที่จะกล่าวไว้ในพระสูตรนี้เหมือนกัน ).

จบอรรถกถาติมพรุกขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 91

๙. พาลบัณฑิตสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งพาลและบัณฑิต

[๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบ

ด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อม

มีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ

สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องคนพาล

เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ของบัณฑิต ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว

ประกอบด้วยตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอก

ด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกายและนามรูปทั้งสองนี้จึงเกิด

ผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองงอย่างนั้นหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้อง

บัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์.

[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร

จะมีอธิบายอย่างไร จะต่างกันอย่างไร ระหว่างบัณฑิตกับพาล พวก

ภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นเดิม มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นที่รวมลง ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่งพระ

ภาษิตนี้ แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลาย

ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 92

เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว.

[๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย

นี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด

เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความ

สิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเข้าถึง

กาย ชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ

อุปายาส เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ กายนี้ของบัณฑิตผู้ถูกอวิชชา

ใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น

บัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า

บัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อ

ตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่าย่อมพ้นจาก

ชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า

ย่อมพ้นจากทุกข์ อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็น

ความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล กล่าวคือ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.

จบพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙

อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙

ในพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อวิชฺชานีวรณสฺส ได้แก่ถูกอวิชชากางกั้น. บทว่า

เอวมย กาโย สมุทาคโต ความว่า กายนี้ ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 93

ถูกอวิชชากางกั้น และเพราะประกอบด้วยตัณหานั่นเอง ด้วยอาการอย่าง

นี้. บทว่า อยญฺเจว กาโย ได้แก่กายที่มีวิญญาณของตน ของคน

พาลนั้น นี้. บทว่า พหิทฺธา จ นามรูป ได้แก่และกายที่มีวิญญาณ

ของคนเหล่าอื่นภายนอก. ข้อความนี้พึงแสดงด้วยขันธ์ ๕ และอายตนะ ๖

ทั้งของตนและคนอื่น. บทว่า อิตฺเถต ทฺวย ได้แก่หมวดสองนี้. ด้วย

อาการอย่างนี้. ด้วยบทว่า ทฺวย ปฏิจฺจ ผสฺโส นี้ ท่านกล่าวจักษุสัมผัส

เป็นต้น เพราะอาศัยอายตนะทั้งสองฝ่าย มีจักษุและรูปเป็นต้น ไว้ใน

ที่อื่น แต่ในที่นี้ท่านหมายอายตนะภายในและอายตนะภายนอก นัยว่า

อายตนะทั้งสองฝ่าย ชื่อว่า ใหญ่ทั้งสอง. บทว่า สเฬวายตนานิ ได้แก่

ผัสสายตนะ คือเหตุแห่งผัสสะ ๖. บทว่า เยหิ ผุฏฺโ ได้เเก่ถูกผัสสะอัน

เกิดขึ้นเพราะอายตนะซึ่งเป็นตัวเหตุเหล่าใด ถูกต้อง. ในบทว่า อญฺตเรน

นี้ พึงทราบอายตนะอื่นๆ ที่บริบูรณ์และไม่บริบูรณ์. บทว่า ตตฺร ได้แก่ใน

เพราะการเกิดขึ้นแห่งกายเป็นต้น ของคนพาลและบัณฑิตนั้น. บทว่า

โก อธิปฺปายโส ได้แก่คืออะไรเป็นความพยายามอย่างยิ่ง.

บทว่า ภควมูลกา ได้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลแห่งธรรม

เหล่านั้น เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ภควมูลกา. ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์เหล่านั้น อัน

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในปางก่อนทรงให้บังเกิดขึ้น เมื่อพระองค์

เสด็จปรินิพพานแล้ว ล่วงไปพุทธันดรหนึ่ง คนอื่นจะเป็นสมณะก็ตาม

พราหมณ์ก็ตาม ชื่อว่า สามารถจะให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น มิได้มีเลย

แต่ธรรมเหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์

ทั้งหลาย. เพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จึงมารู้ คือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 94

แทงตลอดธรรมเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ธรรมของพวกข้าพระองค์จึงชื่อว่า

มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ภควเนตฺติกา

ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะ ได้แก่แนะนำธรรมทั้งหลาย

คือระบุชื่อธรรมะ เฉพาะอย่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริงแสดง เพราะ

เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้แนะนำ. บทว่า

ภควปฏิสรณา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เมื่อมาปรากฏแก่พระ

สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ย่อมรวมลงในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุ

นั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่รวมลง.

บทว่า ปฏิสรนฺติ ได้แก่ ย่อมประชุม. อีกอย่างหนึ่ง ผัสสะมาด้วย

อำนาจการแทงตลอดแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่ง ณ โพธิมัณฑ-

สถาน ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่ออะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอชื่อผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง.

เวทนา. . . สัญญา. . . สังขาร. . . วิญญาณ. . . ก็มาทูลถามว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเข้า ข้าพระองค์ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เธอชื่อวิญญาณ เพราะอรรถว่า รู้แจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระบุชื่อ

ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เฉพาะอย่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง รวม

ธรรมทั้งหลายไว้ด้วยอาการอย่างนั้น เหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า ภคว-

ปฏสรณา. บทว่า ภควนฺตเยว ปฏิภาตุ ความว่า เนื้อความแห่ง

ภาษิตนั้น จงปรากฏ (เเจ่มแจ้ง ) แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว

อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดตรัสแสดงธรรม แก่พวกข้าพระองค์เถิด.

ในคำว่า สา เจว อวิชฺชา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อวิชชาและตัณหานั้น แม้ยังกรรมให้แล่นไป ชักปฏิสนธิมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 95

ดับไปก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคำนี้ว่า สา เจว อวิชชา สา เจว

ตณฺหา ไว้แม้ในที่นี้ เพราะอรรถว่า เห็นสมกัน เหมือนเภสัชที่ดื่ม

วันวาน แม้วันนี้บริโภคโภชนะเข้าไป เภสัชนั้นก็ยังเรียกว่า เภสัชนั่นเอง

ฉันนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์. บทว่า

ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏทุกข์. บทว่า กายูปโค

โหติ ได้แก่เป็นผู้เข้าถึงปฏิสนธิกายอื่น. ด้วยบทว่า ยทิท พฺรหฺมจริย-

วาโส นี้ ท่านแสดงว่า มรรคพรหมจริยวาสนี้ใด. นี้คือความแปลกกัน

ของบัณฑิตจากคนพาล. ดังนั้นในพระสูตรนี้ ท่านจึงเรียกว่าปุถุชนผู้ยัง

มีปฏิสนธิทั้งหมดว่า เป็นคนพาล พระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิ เรียกว่า

เป็นบัณฑิต. ส่วนพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ใครๆ

ไม่ควรเ รียกว่า บัณฑิต หรือคนพาล. แต่เมื่อคบ ก็คบแต่ฝ่ายบัณฑิต.

จบอรรถกถาพาลบัณฑิตสูตรที่ ๙

๑๐. ปัจจยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น

[๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย

กันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เรา

จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 96

ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึง

มีชราและมรณะ พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติ

ขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยัง

ดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว

ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ

ให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึง

มีชราและมรณะ. . . เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ. . . เพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย จึงมีภพ. . . เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. . . เพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. . .

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ. . . เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. . . เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร พระ

ตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น

คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อม

ตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง

บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่าน

ทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย

ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอัน

แน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนั้นแล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท.

[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุม

๑. ความตั้งอยู่ธรรมดา ๒. ความแน่นอนของธรรมดา ๓. มูลเหตุอันแน่นอน. (ซิลเดอรส์)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 97

แต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา

ชาติ. . . ภพ. . . อุปาทาน. . . ตัณหา. . . เวทนา. . . ผัสสะ. . . สฬายตนะ. . .

นามรูป. . . วิญญาณ. . . สังขาร. . . อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัย

ประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป

เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมอาศัยกันเกิด

ขึ้น.

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่ง

ปฏิจจสมุปบาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบ

ตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า

ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ใน

อดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ แล้ว

ได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่าในอนาคตกาล

เราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ อนาคตกาลเรา

จักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร

หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า

เราเป็นอยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็น

อย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่

ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจ-

สมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตาม

เป็นจริง.

จบปัจจยสูตรที่ ๑๐

จบอาหารวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 98

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาหารสูตร ๒. ผัคคุนสูตร ๓. ปฐมสมณพราหมณสูตร

๔. ทุติยสมณพรามณสูตร ๕. กัจจานโคตตสูตร ๖. ธรรมกถิกสูตร

๗. อเจลกัสสปสูตร ๘. ติมพรุกขสูตร ๙. พาลบัณฑิตสูตร ๑๐. ปัจจย-

สูตร.

อรรถกถาปัจจยสูตรที่ ๑๐

ในปัจจยสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทญฺจ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ปฏิจฺจ-

สมุปฺปนฺเน จ ธมฺเม ความว่า พระศาสดาทรงเริ่มคำทั้งสองใน

พระสูตรนี้ว่า เราจักแสดงปัจจัยและสภาวธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น.

บทว่า อุปฺปาทา วา ตถาคตาน ความว่า แม้ในขณะอุบัติขึ้นแห่ง

พระตถาคตคือเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็ดี ชื่อว่า มีชราและมรณะ เพราะ

มีชาติเป็นปัจจัย ได้แก่ ชาตินั่นแลเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ. บทว่า

ิตาว สา ธาตุ ได้แก่ สภาวะแห่งปัจจัยนั้นตั้งอยู่แล้ว คือในกาล

บางคราว ชาติจะไม่เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ก็หามิได้. พระองค์ตรัส

ปัจจัยนั้นแล ด้วยบททั้งสองแม้เหล่านี้ คือ ธมฺมฏฺิตตา ธมฺมนิยามตา

เพราะธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่เพราะปัจจัย เพราะเหตุนั้น

ปัจจัยนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธมฺมฏฺิตตา. ปัจจัยย่อมกำหนดธรรม

เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธมฺมนิยามตา. บทว่า อิทปฺปจฺจยตา ได้แก่

ปัจจัยแห่งชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า อิทัปปัจจัย. อิทัปปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 99

นั้นแล ชื่อว่า อิทัปปัจจยตา. บทว่า ต ได้แก่ ปัจจัยนั้น. บทว่า

อภิสมฺพุชฺฌติ ได้แก่ รู้ด้วยญาณ. บทว่า อภิสเมติ ได้แก่มารวมกัน

ด้วยญาณ. บทว่า อาจิกฺขติ คือ บอก. บทว่า เทเสติ ได้แก่ แสดง.

บทว่า ปญฺเปติ แปลว่า ให้รู้. บทว่า ปฏฺเปติ ได้แก่ เริ่มตั้งใน

หัวข้อแห่งญาณ. บทว่า วิวรติ ได้แก่ เปิดเผยแสดง. บทว่า วิภชติ

ได้แก่ แสดงโดยการจำแนก. บทว่า อุตฺตานีกโรติ คือ ทำให้ปรากฏ.

บทว่า ปสฺสถาติ จาห ได้แก่ ตรัสว่า พวกเธอจงดู. ถามว่า

คืออะไร คือคำว่า ชาติปจฺจยา ภิกฺขเว ชรามรณ เป็นอาทิ. บทว่า

อิติ โข ภิกฺขเว เป็น เอว โข ภิกฺขเว. บทว่า ยา ตตฺร ได้แก่

ในคำว่า ชาติปจฺจยา ชรามรณ เป็นต้นนั้นใด. บทว่า ตถตา เป็น

อาทิ เป็นไวพจน์ของปัจจาการนั่นแล. ปัจจยาการนั้น ท่านกล่าวว่า

ตถตา ( ความเป็นจริงอย่างนั้น ) เพราะธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้นโดยปัจจัย

เหล่านั้นไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน เรียกว่า อวิตถตา เพราะเมื่อปัจจัยเข้าถึง

สามัคคี ธรรมทั้งหลายที่เกิดจากปัจจัยนั้น เพียงครู่เดียว ก็ไม่เกิดขึ้น.

เรียกว่า อนญฺถตา เพราะธรรมอื่นไม่เกิดจากปัจจัย ธรรมอื่น เรียกว่า

อิทปฺปจฺจยตา เพราะเป็นปัจจัย หรือเป็นที่ประชุมปัจจัยแห่งชราและ

มรณะเป็นต้น ในข้อนี้ มีเนื้อความเฉพาะคำดังต่อไปนี้ :- ปัจจัยแห่ง

ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา นั่นแล ชื่อว่า

อิทปฺปจฺจยตา อีกอย่างหนึ่ง ที่รวมแห่ง อิทปฺปจฺจยา ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา.

ก็ลักษณะในคำว่า อิทปฺปจฺจยตา นี้ พึงทราบจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.

บทว่า อนิจฺจ แปลว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับ

ไม่มี. ก็คำว่า อนิจฺจ ในที่นี้ หมายเอาธรรมะไม่เที่ยง แต่ที่ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 100

ไม่เที่ยง เพราะขันธ์ซึ่งมีสภาพไม่เที่ยง เป็นชรามรณะ. แม้ในสังขต-

ธรรมเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนบทว่า สงฺขต ในที่นี้ ได้เเก่

กระทำร่วมกันกับปัจจัยทั้งหลาย. บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน ได้แก่ที่

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น. บทว่า ขยธมฺม ได้แก่มีความสิ้นไปเป็นสภาวะ.

บทว่า วยธมฺม ได้แก่มีความสลายไปเป็นสภาวะ. บทว่า วิราคธมฺม

ได้แก่มีความปราศจากยินดีเป็นสภาวะ. บทว่า นิโรธธมฺม ได้แก่

ความดับสนิทเป็นสภาวะ. แม้ความที่ชาติไม่เที่ยง ก็พึงทราบตามนัย

ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง. ก็อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อนิจฺจ ในข้อนี้ ย่อมถูก

เหมือนกัน โดยปริยายหนึ่ง เพราะท่านเห็นชนกปัจจัย ในลักษณะที่มี

สภาวะเป็นไปตามกิจ. ภพเป็นต้น ก็มีความไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นสภาวะ.

บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ได้แก่ มรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า

ปุพฺพนฺต ได้แก่ ล่วงไปก่อน. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อโหสึ นุโข

เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :- เราตถาคตอาศัยอาการที่เที่ยงว่า เราได้มีแล้วหนอ

และอาการที่อาศัยกันเกิดขึ้น จึงสงสัยในอดีตว่า ตนมีและไม่มี ไม่พึง

กล่าวว่าอะไรเป็นเหตุ คนพาลปุถุชนย่อมประพฤติตามแต่จะเป็นไป

เหมือนคนบ้า. บทว่า กึ นุ โข อโหสึ ได้แก่ อาศัยความเกิดขึ้น

แห่งชาติและเพศ จึงสงสัยว่า เราเป็นกษัตริย์หรือพราหมณ์ แพศย์

ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง. บทว่า กถ

นุโข ได้แก่อาศัยอาการแห่งสัณฐาน แล้วย่อมสงสัยว่าเราเป็นคนสูง

หรือเป็นคนต่ำ ขาวดำ หรือปานกลางเป็นต้น คนใด คนหนึ่ง. แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยการถือทิฏฐิที่ว่า พระอิศวรบันดาลเป็นต้น

จึงสงสัยโดยเหตุว่า เพราะเหตุไรหนอแล เราจึงได้เป็น (อย่างนั้น).

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 101

บทว่า กึ หุตฺวา กึ อโหสึ ความว่า อาศัยชาติเป็นต้น

เราได้เป็นกษัตริย์หรือ แล้วจึงสงสัยว่า คนเป็นคนอื่นร่ำไป ว่า เราเป็น

กษัตริย์แล้วเป็นพราหมณ์หรือ ฯ ล ฯ เป็นเทวดาแล้ว เป็นมนุษย์. แต่

คำว่า อทฺธาน ในที่ทุกแห่ง เป็นชื่อ เรียกกาล. บทว่า อปรนฺต

ได้แก่ ที่สุด ซึ่งยังมาไม่ถึง. บทว่า ภวิสฺสามิ นุ โข นนุ โข

ความว่า อาศัยอาการที่เที่ยง และอาการที่ขาดสูญ แล้วจึงสงสัยว่า ตน

มีและไม่มี ในอนาคต. ส่วนที่เหลือในข้อนี้ ก็มีนัยอย่างที่กล่าวมาแล้ว.

บทว่า เอตรหิ วา ปจฺจุปฺปนฺน อทฺธาน ความว่า หรือระบุเอา

ปัจจุบันกาลแม้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิในบัดนี้ จนถึงจุติ. บทว่า

อชฺฌตฺต กถกถี ภวิสฺสติ ได้แก่จักเป็นผู้สงสัยในขันธ์ของตน. ด้วย

บทว่า อห นุโขสฺมิ ความว่า สงสัยว่า คนมีอยู่หรือ. ถามว่า ข้อนั้น

ควรหรือ. จะไปคิดถึงทำไม ในข้อที่ว่า ควรไม่ควรนี้. อีกอย่างหนึ่ง

ในข้อนี้ท่านนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้.

เล่ากันว่า จุลลมารดามีบุตรหัวโล้น. มหามารดามีบุตรหัวไม่โล้น.

มารดาทั้งสองต่างก็แต่งตัวบุตรนั้น. บุตรคนนั้นก็ลุกขึ้น คิดว่า เราเป็น

ลูกของจุลลมารดาหรือ. เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมสงสัยว่า เราเป็นหรือหนอ.

ด้วยบทว่า โน นุโขสฺมิ ความว่า สงสัยว่า ตนไม่มี. แม้ในข้อนี้มีเรื่อง

นี้เป็นอุทาหรณ์.

เล่ากันว่า มีชายคนหนึ่ง เมื่อจะจับปลา จึงฟันขาของตนซึ่งเย็น

เพราะยืนอยู่ในน้ำนาน โดยคิดว่าเป็นปลา. อีกคนกำลังรักษานาอยู่

ข้าง ๆ ป่าช้า กลัวผี จึงนอนชันเข่า พอเขาตื่นขึ้น คิดว่าเข่าทั้ง ๒

ของตนเป็นยักษ์ ๒ ตน จึงฟันฉับเข้าให้. ด้วยประการดังว่ามานี้ จึงเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 102

มีความสงสัยว่า เราเป็นหรือไม่หนอ.

บทว่า กึ นุโขสฺมิ ความว่า เป็นกษัตริย์อยู่ ก็สงสัยว่า ตัวเอง

เป็นกษัตริย์หรือ. ในคำที่เหลือ ก็มีนัยเช่นนี้. ก็ผู้ที่เป็นเทวดา ชื่อว่า

จะไม่รู้ว่า ตัวเองเป็นเทวดาย่อมไม่มี แต่เทพแม้นั้น ก็ย่อมสงสัย โดย

นัยมีอาทิว่า เรามีรูปร่าง หรือไม่มีรูปร่าง. หากจะมีคำถามว่า เพราะ

เหตุไร กษัตริย์เป็นต้น จึงไม่รู้เล่า. ตอบว่า เพราะกษัตริย์เป็นต้นเหล่า

นั้น เกิดในตระกูลนั้น ๆ ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด. อีกอย่างหนึ่ง พวก

คฤหัสถ์สำคัญตัวว่าเป็นบรรพชิต ซึ่งถือลัทธินิกายโปตลกะเป็นต้น แม้

บรรพชิตก็สำคัญตัวเองว่าเป็นคฤหัสถ์ โดยนัยมีอาทิว่า กรรมของเรา

กำเริบหรือไม่หนอ. อีกอย่างหนึ่ง พวกมนุษย์ก็สำคัญว่า ตนเป็นเทวดา

เหมือนพระราชาฉะนั้น. บทว่า กถ นุ โขสฺมิ ก็มีนัยตามที่กล่าวแล้ว

นั่นเอง. พึงทราบเนื้อความในข้อนี้อย่างเดียวว่า บุคคลถือว่า ขึ้นชื่อว่า

ชีวะ มีอยู่ ในภายใน ดังนี้แล้ว อาศัยอาการแห่งสัณฐานของชีวะนั้น

เมื่อจะสงสัยว่า เราเป็นคนสูง หรือว่ามีอาการเป็นคนเตี้ย ๔ ศอก ๖ ศอก

๘ ศอก ๑๖ ศอก เป็นต้น คนใดคนหนึ่ง จึงสงสัยว่า กถ นุโขสฺมิ.

แต่ขึ้นชื่อว่า ผู้จะไม่รู้สรีระสัณฐานที่เป็นปัจจุบัน คงไม่มี. บทว่า กุโต

อาคโต โส กุหึ คามี ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อสงสัยฐานะที่มาที่ไป

แห่งอัตภาพ จึงสงสัยอย่างนี้. พระโสดาบัน ท่านประสงค์เอาในที่นี้ว่า

อริยสาวกสฺส ส่วนพระอริยบุคคล ๓ จำพวกนอกนี้ไม่ได้ห้ามไว้เลย.

จบอรรถกถาปัจจยสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาอาหารวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 103

ทสพลวรรคที่ ๓

๑. ปฐมทสพลสูตร

ว่าด้วยทศพลญาณและจตุเสารัชญาณ

[ ๖๔ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทศพลญาณ และจตุเวสารัชญาณ

จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยัง

พรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความ

ดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่ง

เวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา

ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับ

แห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้

ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่ ผลนี้ย่อมมี เพราะการ

บังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัยนี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ย่อม

ไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . ความเกิด

ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ก็เพราะอวิชชานั้นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 104

ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบทสพลสูตรที่ ๑

ทสพลวรรคที่ ๓

อรรถกถาปฐมทสพลสูตรที่ ๑

ทสพลสูตรที่ ๑ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

๒. ทุติยทสพลสูตร

ว่าด้วยทศพลญาณและจตุเวสารัชญาณ

[๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยทศพลญาณ

และจตุเวสารัชญาณ จึงปฏิญาณฐานะของผู้องอาจ บันลือสีหนาทใน

บริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไปว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้น

แห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา

ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้

ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขารทั้งหลาย ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร

ทั้งหลาย ดังนี้ความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิด

ขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ด้วยเหตุนี้ เมื่อปัจจัยนี้มีอยู่

ผลนี้ย่อมมี เพราะการบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงบังเกิดขึ้น เมื่อปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 105

นี้ไม่มีอยู่ ผลนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับแห่งปัจจัยนี้ ผลนี้จึงดับ ข้อนี้คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ก็เพราะอวิชชานั่นและดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง

ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . . ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำ

ให้ตื้นแล้ว เปิดเผยแล้ว ประกาศแล้ว เป็นธรรมตัดสมณะขี้ริ้วแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้เพื่อปรารภความเพียรใน

ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ทำให้ตื้น เปิดเผย ประกาศ เป็นธรรมตัด

สมณะขี้ริ้วแล้ว ด้วยความตั้งใจว่า หนัง เอ็น และกระดูกจงเหลืออยู่ เนื้อ

เลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไปก็ตามที อิฐผลใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย

เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

ยังไม่บรรลุอิฐผลนั้น จักไม่หยุดความเพียร ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้เกียจคร้านอาเกียรณ์ด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็นทุกข์

และย่อมยังประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้เสื่อมเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วน

บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากธรรมอันเป็นบาปอกุศล ย่อมอยู่เป็น

สุข และยังประโยชน์ของตนอันใหญ่ให้บริบูรณ์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การบรรลุธรรมอันเลิศด้วยธรรมอันเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้

ผ่องใส ควรดื่ม เพราะพระศาสดาอยู่พร้อมหน้าแล้ว.

[๖๗] เพราะเหตุฉะนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 106

ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ

ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

บรรพชาของเราทั้งหลายนี้ จักไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร

พวกเราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร ของ

ชนเหล่าใด สักการะเหล่านั้น ของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก เพราะเราทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันบุคคลผู้เล็งเห็น

ประโยชน์ตน สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ

บุคคลผู้เห็นประโยชน์ผู้อื่น สมควรแท้เพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความ

ไม่ประมาท ก็หรือว่า บุคคลผู้มองเห็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สมควรแท้

จริงเพื่อยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.

จบทุติยทสพลสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยทสพลสูตรที่ ๒

พึงทราบความสังเขปแห่งทสพลสูตรที่ ๒ เท่านั้น ดังนี้. สูตรที่ ๒

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอำนาจพระอัธยาศัยของพระองค์. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ทสพลสมนฺนาคโต แปลว่า ทรงประกอบด้วยพละกำลัง

๑๐ ธรรมดาพละนี้มี ๒ คือ กายพละ กำลังพระกาย ๑ ญาณพละ

กำลังพระญาณ ๑ ในพละทั้ง ๒ นั้น กายพละของพระตถาคต พึงทราบ

ตามแนวตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล ที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

กาฬาวกญฺจ คงฺเคยฺย ปณฺฑร ตมฺพปิงฺคล

คนฺธ มงฺคลเหมญฺจ อุโปสถ ฉทฺทนฺติเม ทส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 107

ช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้คือ กาฬาวกะ ๑

คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ ๑ ปิงคละ๑ คันธะ ๑

มังคละ ๑ เหมะ๑๑ ๑ อุโปสถะ ๑ ฉัททันตะ ๑.

บรรดาช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านั้น พึงเห็นว่า ตระกูลช้างโดยปกติ

ชื่อว่า กาฬาวกะ.

กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เป็นกำลังช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑ เชือก

กำลังของช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูล

คังเคยยะ ๑ เชือก.

กำลังช้างตระกูลคังเคยยะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลปัณฑระ

๑ เชือก.

กำลังช้างตระกูลปัณฑระ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลตัมพะ ๑

เชือก.

กำลังช้างตระกูลตัมพะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลปิงคละ ๑

เชือก.

กำลังช้างตระกูลปิงคละ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลคันธะ ๑

เชือก.

กำลังช้างตระกูลคันธะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลมังคละ ๑

เชือก.

กำลังช้างตระกูลมังคละ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลเหมวตะ

เชือก.

กำลังช้างตระกูลเหมวตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลอุโปสถะ ๑

เชือก.

๑. ๒. ๓. คาถาเป็น เหมาะ แก้อรรถเป็น เหมวตะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 108

กำลังช้างตระกูลอุโปสถะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังช้างตระกูลฉัททันตะ

๑ เชือก.

กำลังช้างตระกูลฉัททันตะ ๑๐ เชือก เป็นกำลังของพระตถาคต

พระองค์เดียว.

กำลังพระตถาคตนี้นี่แล ท่านเรียกว่า กำลังที่นับได้ว่า พระ-

นารายณ์ดังนี้ก็มี. กำลังพระนารายณ์นี้นั้น คำนวณโดยกำลังช้างตามปกติ

ก็เท่ากับกำลังช้างหนึ่งพันโกฏิ แต่คำนวณโดยบุรุษ ก็เท่ากับกำลังบุรุษ

สิบพันโกฏิ. นี้พึงทราบว่าเป็นกำลังพระกายของพระตถาคตก่อน. แต่

กำลังพระกายที่มิได้จัดสงเคราะห์ไว้ ในบทว่า ทสพลสมนฺนาคโต นี้.

จริงอยู่ การกำหนดรู้ทุกข์ก็ดี การละสมุทัยก็ดี การเจริญมรรคก็ดี การ

กระทำให้แจ้งผลก็ดี อาศัยกำลังพระกายนี้ ไม่มี แต่มีกำลังอีกอย่างหนึ่ง

ชื่อญาณพละ กำลังพระญาณ ๑๐ ประการ โดยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว

และโดยอรรถว่า อุปถัมภ์ในฐานะ ๑๐ ประการ. ทรงหมายถึงทศพลญาณนี้

จึงตรัสว่า ทสพลสมนฺนาคโต ดังนี้.

ถามว่า ก็ทศพลญาณนั้นเป็นไฉน.

ตอบว่า ทรงรู้ฐานะและอฐานะ เป็นต้น ตามเป็นจริง. คือ

ทรงรู้ฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ๑ ทรงรู้วิบาก

ของกรรมสมาทาน ทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ

ตามเป็นจริง ๑ ทรงรู้ข้อปฏิบัติที่ดำเนินไปในฐานะทั้งปวง ๑ ทรงรู้

โลกโดยเป็นอเนกธาตุ และนานาธาตุ ๑ ฯลฯ ทรงรู้อธิมุตติอัธยาศัย

ของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ทรงรู้อินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้นว่ายิ่งและหย่อน ๑

ทรงรู้ความเศร้าหมองผ่องแผ้วและออกของฌาน วิโมกข์ สมาธิและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 109

สมาบัติ ๑ ทรงรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยในปางก่อนของสัตว์เหล่านั้น ๑ ทรงรู้

จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ทรงรู้ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ๑.

ส่วนในอภิธรรม มาโดยพิสดาร โดยนัยว่า ในโลกนี้พระตถาคต

ทรงทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และซึ่งอฐานะโดยเป็น

อฐานะ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดย

เป็นฐานะ และซึ่งอฐานะโดยเป็นอฐานะ ก็จัดเป็นตถาคตพละของ

พระตถาคต. พระตถาคตทรงอาศัยพละใด ปฏิญาณฐานะอันประเสริฐสุด

บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัททั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น. แม้

กถาพรรณนาความท่านกล่าวแล้วโดยอาการทุกอย่างของพละเหล่านั้นไว้

ในอรรถกถาวิภังค์ และปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย. กถา

พรรณนาความนั้น ก็พึงถือเอาตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถา

เหล่านั้น. ญาณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาดกลัว ชื่อว่า เวสารัชญาณ

ในคำว่า จตุหิ จ เวสารชฺเชหิ คำนี้เป็นชื่อของพระญาณที่สำเร็จด้วย

โสมนัส ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระตถาคตผู้ทรงพิจารณาเห็นความเป็นผู้องอาจใน

ฐานะทั้ง ๔. ในฐานะทั้ง ๔ เป็นไฉน. คือในเรื่องทักท้วงมีว่า เมื่อ

ท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็มิได้ตรัสรู้ยิ่ง

เองแล้ว ดังนี้เป็นต้น. ในข้อนั้นมีบาลีดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวสารัชญาณ ๔ เหล่านี้ ๔ เหล่านี้เป็นไฉน. ๔ เหล่านี้คือ ใคร ๆ

ในโลก ไม่ว่าสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม จักทักท้วงเราโดย

สหธรรม ในข้อที่ว่า เมื่อท่านปฏิญาณว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรม

เหล่านี้ท่านก็มิได้ตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นนิมิต

แม้ข้อนี้เลย เราเมื่อไม่เห็นนิมิตนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 110

ไม่กลัว ถึงความเป็นผู้องอาจอยู่ ใคร ๆ ในโลกนี้ ฯ ล ฯ ทักท้วงเรา

ในข้อที่ว่า เมื่อท่านปฏิญาณว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยัง

ไม่สิ้นแล้ว ฯ ล ฯ ธรรมที่ท่านกล่าวว่า ทำอันตราย ก็ไม่อาจทำอันตราย

แก่ผู้เสพได้จริง ฯ ล ฯ ธรรมที่ท่านแสดงเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใด ก็ไม่นำ

ผู้นั้น ซึ่งปฏิบัติตามธรรมนั้น ให้สิ้นทุกข์โดยชอบได้จริง. ฯลฯ เรา

เมื่อไม่เห็นนิมิตนั้น จึงเป็นผู้ถึงความเกษม ถึงความไม่กลัว ถึงความ

เป็นผู้องอาจอยู่ ดังนี้. บทว่า อาสภณฺาน ได้แก่ฐานะอันประเสริฐ

สุด ฐานะอันสูงสุด หรือฐานะของพระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์ก่อน ๆ ผู้

ประเสริฐ อธิบายว่า ฐานะของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกนัยหนึ่ง

จ่าฝูงโค ๑๐๐ ตัว ชื่อว่า อุสภะ จ่าฝูงโค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า วสภะ.

หรือว่า หัวหน้าโค ๑๐๐ คอก ชื่อว่า อุสภะ. หัวหน้าโค ๑,๐๐๐ คอก

ชื่อว่า วสภะ. โคที่ประเสริฐสุดกว่าโคทุกตัว ทนอันตรายได้ทุกอย่าง

สีขาว น่าเลื่อมใส นำภาระของหนักได้มาก พึงไม่สะดุ้งหวั่นไหว แม้

เพราะเสียงฟ้าผ่าตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ชื่อว่า นิสภะ. โคนิสภะนั้น ท่านหมาย

เอาว่าอุสภะ. จริงอยู่ คำนี้ เป็นคำเรียกโคอุสภะนั้นโดยปริยาย ฐานะนี้

เป็นของโคอุสภะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า อาสภะ. บทว่า าน ได้แก่กำหนด

กระทืบแผ่นดินด้วยเท้าทั้ง ๔ แต่ในที่นี้ เป็นดั่งโคอาสภะ. เหตุนั้น

จึงชื่อว่าอาสภะ เหมือนอย่างว่า โคอุสภะ กล่าวคือโคนิสภะ ประกอบด้วย

อุสภพละ กำลังโคอุสภะ กระทืบแผ่นดินด้วยเท้าทั้ง ๔ ยืนหยัดด้วยฐานะ

ที่ไม่หวั่นไหว ฉันใด แม้พระตถาคต ทรงประกอบด้วยตถาคตพละ

กำลังพระตถาคต ทรงกระทืบแผ่นดิน คือบริษัท ๘ ด้วยพระบาท คือ

เวสารัชญาณ ๔ ไม่ทรงหวั่นไหวด้วยศัตรู หมู่อมิตรไร ๆ ในโลก ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 111

เทวโลก ทรงยืนหยัดด้วยฐานะอันไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น ก็พระตถาคตเมื่อ

ทรงยืนหยัดอย่างนั้น ก็ทรงปฏิญาณเข้าถึงไม่บอกคืนอาสภฐานะ ฐานะ

อันประเสริฐสุด ทรงวางอาสภฐานะไว้ในพระองค์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

อาสภณฺาน ปฏิชานาติ ดังนี้. บทว่า ปริสาสุ ได้แก่บริษัท ๘ เหล่านี้

[มหาสีหนาทสูตร] ว่า ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ เหล่านี้คือ ขัตติย-

บริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิก-

บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท. บทว่า สีหนาท นทติ

ได้แก่ทรงบันลือเสียงประเสริฐสุด เสียงที่ไม่น่ากลัว เสียงที่ไม่มีใครเหมือน

หรือบันลือเสียงเสมือนเสียงราชสีห์. พึงแสดงความข้อนี้ ด้วยมหาสีหนาท-

สูตร. เปรียบเหมือนราชสีห์ เขาเรียกกันว่าสีหะ เพราะอดทนและล่าสัตว์

ฉันใด พระตถาคต ท่านเรียกว่าสีหะ ก็เพราะทรงอดทนต่อโลกธรรม

ทั้งหลาย และแม้เพราะทรงกำจัดปรัปปวาท การกล่าวร้ายของฝ่ายอื่น

ก็ฉันนั้น. เสียงราชสีห์ที่กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาท. ในข้อนั้น พระ

ตถาคตทรงประกอบด้วยพระกำลังดังราชสีห์ ทรงองอาจในที่ทั้งปวง

ปราศจากขนพองสยองเกล้า ทรงบันลือสีหนาทเหมือนราชสีห์. ราชสีห์

คือพระตถาคต ทรงประกอบด้วยพระกำลังของพระตถาคต ทรงองอาจ

ในบริษัททั้ง ๘ ทรงบันลือพระธรรมเทศนาอันงดงาม มีวิธีต่าง ๆ

โดยนัยว่า ดังนี้รูปเป็นต้น คือสีหนาท ที่พร้อมด้วยความสง่างาม. ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า ปริสาสุ สีหนาท นทติ. ในบทว่า พฺรหฺมจกฺก

ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺม ได้แก่ประเสริฐสุด สูงสุด บริสุทธิ์.

คำนี้เป็นชื่อของพระธรรมจักร. พระธรรมจักรนั้น มี ๒ คือ ปฏิเวธ-

ญาณ ๑ เทศนาญาณ ๑. ในญาณ ๒ อย่างนั้น ญาณที่ปัญญาอบรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

นำอริยผลมาให้พระองค์ ชื่อว่าปฏิเวธญาณ. ญาณที่กรุณาอบรม นำ

อริยผลมาให้เหล่าสาวก ชื่อว่าเทศนาญาณ. ในญาณ ๒ อย่างนั้น

ปฏิเวธญาณ มี ๒ คือ ที่กำลังเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว จริงอยู่ ปฏิเวธญาณ

นั้น นับตั้งแต่เสด็จออกทรงผนวชจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่ากำลัง

เกิดขึ้น. ที่เกิดขึ้นในขณะอรหัตผล ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. นับตั้งแต่ภพ

ดุสิตจนถึงอรหัตมรรค ณ มหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่ากำลังเกิดขึ้น. ที่

เกิดขึ้นในขณะอรหัตผล ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. นับตั้งแต่พระพุทธเจ้า

พระนามว่าทีปังกร จนถึงอรหัตมรรค ชื่อว่ากำลังเกิดขึ้น. ที่เกิดขึ้น

ในขณะอรหัตผล ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. เทศนาญาณมี ๒ คือ ที่กำลัง

ประกาศ ที่ประกาศแล้ว. จริงอยู่ เทศนาญาณนั้น ที่ประกาศจนถึง

โสดาปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อว่ากำลังประกาศ. ที่

ประกาศในขณะโสดาปัตติผล ชื่อว่าประกาศแล้ว. ในญาณทั้ง ๒ นั้น

ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ. เทศนาญาณเป็นโลกิยะ แต่ญาณแม้ทั้ง ๒ นั้น

ก็ไม่ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น. เป็นโอรสญาณของเหล่าพระพุทธะเท่านั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสีหนาทที่ทรงเป็นผู้ประกอบด้วยพระญาณ

ที่บันลือ จึงตรัสว่า อิติ รูป ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อิติ รูป แปลว่า นี้รูป เท่านี้รูป. ตรัสการกำหนดรูปไม่ให้เหลือด้วย

อำนาจลักษณะ รส ปัจจุปปัฏฐานและปทัฏฐาน ทำสิ่งที่มีความสลาย

เป็นสภาวะ และความแตกแห่งภูตรูปและอุปาทายรูป เป็นต้นไปว่า

เหนือนี่ขึ้นไป รูปไม่มี. ตรัสความเกิดขึ้นแห่งรูป ที่กำหนดไว้ด้วยคำนี้ว่า

ดังนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ ความว่า

อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้น. ความพิสดารแห่งรูปสมุทัยนั้น พึงทราบอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 113

ว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปก็เกิด เพราะตัณหาเกิด รูปก็เกิด เพราะกรรม

เกิด รูปก็เกิด เพราะอาหารเกิด รูปก็เกิด. อริยสาวกแม้เมื่อเห็นนิพพัตติ-

ลักษณะ ลักษณะเกิด ย่อมเห็นความเกิดแห่งรูป. แม้ในฝ่ายความดับ

ความพิสดารก็มีอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ รูปก็ดับ. อริยสาวกแม้เมื่อ

เห็นวิปริณามลักษณะ ลักษณะแปรปรวน ย่อมเห็นความดับแห่งรูปขันธ์.

แม้ในบทว่า อิติ เวทนา เป็นต้น ก็ตรัสการกำหนดเวทนา สัญญา

สังขาร และวิญญาณ ที่เหลือไว้ ด้วยอำนาจลักษณะ รส ปัจจุปปัฏฐาน

และปทัฏฐาน ทำความเสวยอารมณ์ ความจำได้ ความปรุงแต่งและความ

รู้สึกเป็นสภาวะ และความแตกแห่งสุขเวทนาเป็นอาทิ รูปสัญญาเป็นอาทิ

ประสาทและจักษุวิญญาณเป็นอาทิ เป็นต้นไปว่า นี้เวทนา เท่านี้เวทนา.

เหนือนี้ขึ้นไป เวทนาไม่มี. นี้สัญญา เหล่านี้สังขาร นี้วิญญาณ เท่านี้

วิญญาณ. เหนือขึ้นไป วิญญาณไม่มี ดังนี้. แต่ตรัสความเกิดแห่งเวทนา

สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่กำหนดอย่างนี้ ด้วยบททั้งหลายมีว่า

ดังนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นต้น. แม้ในบทเหล่านั้น บทว่า

อิติ ความว่า อย่างนี้เป็นความเกิด. ความพิสดาร แม้ของขันธ์เหล่านั้น

ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในรูปว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาก็เกิด

ดังนี้เป็นต้น.

ส่วนความต่างกันมีดังนี้ ในขันธ์ ๓ ไม่กล่าวว่า เพราะอาหารเกิด

ควรกล่าวว่า เพราะผัสสะเกิด. ในวิญญาณขันธ์ ควรกล่าวว่า เพราะ

นามรูปเกิด. แม้บทฝ่ายดับ ก็ควรประกอบด้วยอำนาจปัญจขันธ์เหล่านั้น

นั่นแล. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร การวินิจฉัย

ความเกิดและความเสื่อม ที่บริบูรณ์ด้วยอาหารทุกอย่าง ก็กล่าวไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 114

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แม้เสียงอย่างนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี ดังนี้ ก็

เป็นสีหนาทอีกประการหนึ่ง. ใจความของสีหนาทนั้น มีว่า เมื่อปัจจัย

มีอวิชชาเป็นต้นนี้มีอยู่ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็มี. บทว่า อิท น โหติ

ความว่า เมื่อปัจจัยอวิชชาเป็นต้นไม่มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็ไม่มี.

บทว่า อิมสฺส อุปฺปาทา อิท อุปฺปชฺชติ ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชา

เป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็เกิด. บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิท

น โหติ ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้

ก็ไม่มี. บทว่า อิมสฺส นฺโรธา อิท นิรุชฺฌติ ความว่า เพราะปัจจัย

มีอวิชชาเป็นต้นนี้ดับ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็ดับ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาการที่สิ่งนั้น มี [เกิด] และดับ โดย

พิสดาร จึงตรัสว่า ยทิท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น. บทว่า

เอว สฺวากฺขาโต ได้แก่ที่ทรงกล่าวไว้ด้วยดี คือตรัสไว้ดีแล้ว โดย

การจำแนกปัญจขันธ์เป็นต้น อย่างนี้. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรม คือ

ปัญจขันธ์และปัจจยาการ. บทว่า อุตฺตาโน ได้แก่ไม่คว่ำแล้ว. บทว่า

วิวโฏ ได้แก่เปิดตั้งไว้. บทว่า ปกาสิโต ได้แก่แสดงแล้ว ส่องให้สว่าง

แล้ว. ผ้าเก่า ที่ทะลุ ฉีก มีปมเย็บไว้ในที่นั้น ๆ เรียกกันว่า ปิโลติกา

ในคำว่า ฉินฺนปิโลติโก ผู้ใดไม่มีผ้าเก่านั้น นุ่งห่มแต่ผ้าใหม่ขนาด ๘

ศอก หรือ ๙ ศอก ผู้นั้น ชื่อว่า ฉินฺนปิโลติก ขาดผ้าเก่า ธรรมแม้นี้

ก็เป็นเช่นนั้น. ในธรรมนี้มิใช่มีภาวะคือสมณะดุจผ้าทะลุฉีกและมีปมที่เย็บ

ไว้ด้วยอำนาจหลอกลวงเขาเป็นต้น. อีกนัยหนึ่ง แม้ผ้าเล็ก ๆ ก็เรียก

ปิโลติกา [ผ้าเก่า ผ้าขี้ริ้ว ] ผู้ใดไม่มี ปิโลติกา นั้น แต่มีแต่ผ้าผืนใหญ่

ขนาด ๘-๙ ศอก ผู้นั้น ก็ชื่อว่า ฉินนปิโลติกะ ขาดผ้าเก่าผ้าขี้ริ้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 115

อธิบายว่า ปราศจากผ้าเก่า. ธรรมนี้ก็เป็นเช่นนั้น [ปราศจากสมณะ

ดุจผ้าเก่าหรือผ้าขี้ริ้ว]. เหมือนอย่างว่า บุรุษได้ผ้า ๔ ศอกมา ทำการ

กำหนด กะ ชักไปทางโน้นทางนี้ ย่อมลำบาก ฉันใด เหล่านักบวชใน

ลัทธิภายนอก [พระพุทธศาสนา] ก็ฉันนั้น กะกำหนดธรรมอันน้อย ๆ

ของตนไว้ว่า เมื่อสิ่งนี้เป็นอย่างนี้ สิ่งนี้ก็จักเป็นอย่างนี้ เมื่อจะขยายหรือ

เพิ่มย่อมลำบาก. อนึ่ง บุรุษกะกำหนดด้วยผ้าขนาด ๘ ศอก ๙ ศอก

ย่อมนุ่งห่มได้ตามชอบใจ ไม่ลำบากเลย ไม่มีกิจที่บุรุษจะต้องชักผ้ามา

ขยายหรือเพิ่มในผ้านั้น ฉันใด ไม่มีกิจที่กุลบุตรผู้บวชด้วยยศรัทธาจะต้อง

กะกำหนดจำแนกธรรมทั้งหลาย แม้ในธรรมนี้ ก็ฉันนั้น. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อแม้นี้ว่า ธรรมนี้เราจำแนกไว้ดีแล้ว ขยาย

กว้างดีแล้ว ด้วยเหตุนั้นๆ จึงตรัสว่า ฉินฺนปิโลติโก ธรรมที่ปราศจาก

สมณะดุจผ้าขี้ริ้ว ดังนี้. อนึ่ง แม้หยากเยื่อ ท่านก็เรียกว่า ปิโลติกะ.

ขึ้นชื่อว่าสมณะหยากเยื่อ ย่อมจะดำรงอยู่ในพระศาสนานี้ไม่ได้. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

การณฺฑว นิทฺธมถ กสมฺพุ อปกสฺสถ

ตโต ปลาเป วาเหถ อสมเณ สมณมานิเน

นิทฺธมิตฺวาน ปาปิจฺเฉ ปาปอาจารโคจเร

สุทฺธาสุทฺเธหิ สวาส กปฺปยวฺโห ปติสฺสตา

ตโต สมคฺค นิปกา ทุกฺสฺสนฺต กริสฺสถ.

พวกเธอจงกำจัดสมณะหยากเยื่อ ขับไล่สมณะ

ขยะ ลอยสมณะแต่เปลือก ผู้ไม่เป็นสมณะ แต่

สำคัญตัวว่าเป็นสมณะ ครั้นกำจัดสมณะผู้มีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 116

ปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรลามก ถึง

ชื่อว่าอยู่ร่วมกับสมณะผู้บริสุทธิ์และผู้ไม่บริสุทธิ์ มี

สติมั่นคง แต่นั้นพวกเธอมีความพร้อมเพรียงกัน

มีปัญญารักษาตน ก็จักทำที่สุดทุกข์ได้.

ธรรมนี้ ชื่อว่า ปราศจากสมณะผ้าขี้ริ้ว แม้เพราะสมณะหยากเยื่อถูก

ตัดขาดแล้วด้วยประการฉะนี้. บทว่า อลเมว แปลว่า สมควรแท้. บทว่า

สทฺธาปพฺพชิเตน แปลว่า ผู้บวชด้วยศรัทธา. ในบทว่า กุลปุตฺเตน

กุลบุตรมี ๒ คือ อาจารกุลบุตรและชาติกุลบุตร. บรรดากุลบุตรทั้งสองนั้น

กุลบุตรผู้ใด ออกบวชจากตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บำเพ็ญธรรมขันธ์ ๕

มีศีลขันธ์เป็นต้น กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า อาจารกุลบุตร ส่วนกุลบุตรผู้ใด

ออกบวชจากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยชาติ ดั่งเช่นพระยศกุลบุตรเป็นต้น

กุลบุตรผู้นี้ ชื่อว่า ชาติกุลบุตร ในกุลบุตรทั้งสองนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์

เอาอาจารกุลบุตร. ก็ถ้าชาติกุลบุตร มีอาจาระ ชาติกุลบุตรนี้ ก็จัดว่า

สูงสุดทีเดียว. อันกุลบุตรเห็นปานนั้น. บทว่า วิริย อารภิตุ ได้แก่

เพื่อทำความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ จึงตรัสว่า กาม ตโจ

เป็นต้น. ในองค์ทั้ง ๔ นั้น ตโจ เป็นองค์ ๑ นหารุ เป็นองค์ ๑

อฏฺิ เป็นองค์ ๑. มสโบหิต เป็นองค์ ๑. ก็แลกุลบุตรผู้อธิษฐาน

ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ พึงใช้ในฐานะทั้ง ๙ คือ ก่อน

อาหาร หลังอาหาร ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย เวลาเดิน เวลายืน

เวลานั่ง เวลานอน. บทว่า ทุกฺข ภิกฺขเว กุสิโต วิหรติ ความว่า

ในพระศาสนานี้ บุคคลใดเกียจคร้าน บุคคลนั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ แต่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 117

ในลัทธินอกพระพุทธศาสนา ผู้ใดเกียจคร้าน ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข. บทว่า

โวกิณฺโณ แปลว่า คลุกคลี. บทว่า สทตฺถ แปลว่า ประโยชน์ที่ดีหรือ

ประโยชน์ของตน. แม้ด้วยบททั้งสอง ท่านก็ประสงค์เอาเฉพาะพระ

อรหัตอย่างเดียว. ว่า ปริหาเปติ แปลว่า ให้เสื่อมไป ไม่บรรลุ.

จริงอยู่ กุลบุตรผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นอันไม่คุ้มครองทวารทั้ง ๖. กรรม ๓

ก็ไม่บริสุทธิ์. ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ [อาชีวมัฏฐกศีล] ก็ไม่ผ่องแผ้ว.

ภิกษุผู้มีอาชีวะอันทำลายเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้เข้าไปเป็นพระประจำตระกูล.

ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำร้ายเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย เหมือนผงที่ตกลงในดวงตา

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ทั้งได้ชื่อว่า เป็นคนเมา และกินขี้ช้าง. ไม่สามารถ

จะยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาไว้ได้ ชื่อว่า ทำขณะเวลาที่หาได้ยากให้

พลาดไป. แม้อาหารของชาวแคว้น ที่ภิกษุนั้นบริโภคแล้วย่อมไม่มีผล

มาก. บทว่า อารทฺธวิริโย จ โข ภิกฺขเว ความว่า บุคคลผู้ปรารภ

ความเพียร ย่อมอยู่เป็นสุขในพระศาสนานี้โดยแท้. ส่วนผู้ที่ประกอบ

ความเพียรอยู่ในลัทธินอกพระพุทธศาสนา ย่อมอยู่เป็นทุกข์. บทว่า

ปวิวิตฺโต ได้แก่ผู้พรากแล้ว. บทว่า สทตฺถ ปริปูเรติ ได้แก่บรรลุ

พระอรหัต. จริงอยู่ ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมเป็นอันคุ้มครอง

ทวารทั้ง ๖ ดีแล้ว. กรรมทั้ง ๓ ก็บริสุทธิ์. ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘

ก็ผ่องแผ้ว. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นเป็นที่พอใจของเพื่อนสพรหมจารี

ทั้งหลาย เหมือนยาหยอดตาที่เย็นในดวงตา และเหมือนจันทร์ตาม

ธรรมชาติย่อมอยู่เป็นสุข ย่อมอาจยึดพระอัธยาศัยของพระศาสดาไว้ได้.

จริงอยู่ พระศาสดาถูกนางโคตมีถวายบังคมด้วยกราบทูลอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 118

จิร ชีว มหาวีร กปฺป ติฏฺ มหามุนี.

ข้าแต่พระมหาวีระ โปรดมีพระชนมายุนาน ๆ

ข้าแต่พระมหามุนี โปรดดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด.

ก็ทรงห้ามเสียว่า ดูก่อนโคตมี เธอไม่พึงไหว้ตถาคตด้วยอาการอย่างนี้เลย

ถูกนางโคตมีนั้นทูลอ้อนวอน เมื่อจะทรงบอกอาการที่ควรไหว้ จึงตรัส

อย่างนี้ว่า

อารทฺธวิริเย ปหิตตฺเต นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกเม

สมคฺเค สาวเก ปสฺส เอสา พุทฺธาน วนฺทนา.

เธอจงดูเหล่าพระสาวก ผู้ปรารภความเพียร

ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว บากบั่นมั่นคงอยู่เป็นนิตย์ ผู้พร้อม

เพรียงกัน นี้เป็นการไหว้พระพุทธะทั้งหลาย.

ภิกษุผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้ ย่อมสามารถยึดเหนี่ยวพระอัธยาศัยของ

พระศาสดาไว้ได้ ย่อมทำขณะเวลาที่หาได้ยากไม่ให้พลาดไป. จริงอยู่

พุทธุปบาทกาล สมัยเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า ธรรมเทศนา การแสดง

ธรรม และสังฆสุปฏิบัติ ความปฏิบัติดีของสงฆ์ ย่อมมีผล มีกำไรสำหรับ

ภิกษุนั้น. แม้อาหารของชาวแคว้นที่ภิกษุนั้นบริโภคแล้ว ย่อมมีผลมาก.

บทว่า หีเนน อคฺคสฺส ความว่า ไม่ชื่อว่าบรรลุพระอรหัต ที่นับว่าเลิศ

ด้วยศรัทธาอย่างเลว วิริยะอย่างเลว สติอย่างเลว สมาธิอย่างเลว ปัญญา

อย่างเลว. บทว่า อคฺเคน จ โข ความว่า ชื่อว่าบรรลุพระอรหัตอัน

เลิศ ด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้นอย่างเลิศ. ในบทว่า มณฺฑปยฺย ชื่อว่า

มัณฑะ เพราะอรรถว่า ผ่องใส ชื่อว่า เปยยะ เพราะอรรถว่า ควรดื่ม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า จริงอยู่ บุคคลดื่มน้ำดื่มอันใดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 119

ล้มลงระหว่างถนน ไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นเจ้าของแม้แต่ผู้เป็นต้นของตนเอง

น้ำดื่มอันนั้นแม้ใสก็ไม่ควรดื่ม. ส่วนศาสนาของเรา ทั้งผ่องใส ทั้งควร

ดื่มอย่างนี้ จึงตรัสว่า มณฺฑเปยฺย ดังนี้. ในคำว่า มณฺฑเปยฺย นั้น

ผ่องใสมี ๓ อย่าง คือ เทสนามัณฑะ เทศนาผ่องใส ปฏิคคหมัณฑะ

ผู้รับผ่องใส พรหมจริยมัณฑะ พรหมจรรย์ผ่องใส.

เทศนาผ่องใสเป็นไฉน.

คือการบอก [สอน] แสดงบัญญัติ เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น

ซึ่งอริยสัจ ๔. การบอก ฯลฯ ทำให้ตื้น ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้

ชื่อ เทสนามัณฑะ เทศนาผ่องใส.

ผู้รับผ่องใสเป็นไฉน.

คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ ก็หรือชน

แม้เหล่าอื่นพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้รู้ความ. นี้ชื่อ ปฏิคคหมัณฑะ

ผู้รับผ่องใส.

พรหมจรรย์ผ่องใสเป็นไฉน.

คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นี่แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

นี้ชื่อ พรหมจริยมัณฑะ พรหมจรรย์ผ่องใส.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในข้อนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า สัทธินทรีย์

เป็นความผ่องใสโดยอธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ อสัทธิยะ ความไม่เชื่อ

เป็นกาก. ละอสัทธิยะอันเป็นกากเสีย ดื่มแต่อธิโมกข์ อันเป็นความใส

แห่งสัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่า มัณฑะ ใส เปยยะ

ควรดื่ม. คำว่า สตฺถา สมฺมุขีภูโต นี้ เป็นคำกล่าวเหตุในข้อนี้.

เพราะเหตุที่พระศาสดาประทับอยู่ต่อหน้า. ฉะนั้น พรหมจรรย์นั้น จึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 120

เป็นของผ่องใส ในอรรถว่า ทำประโยคความเพียรแล้วดื่มได้. แท้จริง

ของภายนอก แม้แต่เภสัชยาที่ใส อยู่ลับหลังหมอ ผู้ดื่มก็มีความสงสัยว่า

เราไม่รู้ขนาดหรือ หรือว่าการเพิ่มการลด. แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าหมอ ผู้ดื่ม

ก็หมดสงสัยดื่ม ด้วยคิดว่า หมอจักรู้. พระศาสดาผู้เป็นเจ้าของธรรม

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงประกอบสัตว์ไว้ในพรหมจรรย์แม้ที่ใสและควรดื่ม

ด้วยตรัสว่า พวกเธอจงพยายามดื่มเสีย เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ติห

ภิกฺขเว. บรรดาเหล่านั้น บทว่า สผลา ได้แก่มีอานิสงส์. บทว่า

สอุทฺริยา ได้แก่มีผลเพิ่ม คือกำไร. บทว่า อตฺตตฺถ ได้เเก่พระอรหัต

อันเป็นประโยชน์แก่ตน. บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทตุ ได้แก่เพื่อทำกิจ

ทุกอย่างด้วยความไม่ประมาท. บทว่า ปรตฺถ ได้แก่ผลเป็นอันมาก

ของผู้ถวายปัจจัย. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยทสพลสูตรที่ ๒

๓. อุปนิสสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อิงอาศัยกัน

[๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้เราเห็นว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป

ดังนี้ความดับแห่งรูป. . .ดังนี้เวทนา. . .ดังนี้สัญญา. . .ดังสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 121

ทั้งหลาย. . .ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ

แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี.

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป เกิดขึ้นแล้ว

ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า

มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป

ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่

อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า

เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าว

ว่า นิพพิทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่

อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า

เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย

มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ

ที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า สมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า

สุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าว

๑. อรหัตผล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 122

ว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย

แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง

ปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ

ที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควร

กล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความ

ปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าว

ว่า ศรัทธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย

มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ

ที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

แม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี

เหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ

ควรกล่าวว่าภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย

มิได้กล่าวไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่

อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้

ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 123

ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย

แห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนา

ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี

เหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง

ผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง

สฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า

นามรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย

มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ

ที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

กล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควร

กล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขาร

ทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า

อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่

อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย

ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนาที่ผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหามี

เวทนาเป็นที่อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็น

ที่อิงอาศัย ชาติมีภพเป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 124

ทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์

เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย

สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทา

มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติ

มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย.

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา

น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขา

ระแหงและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว. ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนอง

ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว

ย่อมยังแม่น้ำน้อย ๆ ให้เต็ม แม่น้ำน้อย ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำ

ใหญ่ ๆ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ

ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบอุปนิสสูตรที่ ๓

อรรถกถาอุปนิสสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอุปนิสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

ในบททั้งหลายมีว่า ชานโต อห เป็นต้น บทว่า ชานโต แปลว่า

รู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่. แม้ทั้ง ๒ บท ก็มีความอย่าง

เดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น บทว่า ชานโต

จึงชี้บุคคลอาศัยลักษณะแห่งญาณ. ด้วยว่า ญาณมีความรู้ทั่วถึงเป็น

ลักษณะ. บทว่า ปสฺสโต ชี้บุคคลอาศัยอานุภาพแห่งญาณ. ด้วยว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 125

ญาณมีการเห็นเป็นอานุภาพ. บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรม

ทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วด้วยญาณ เหมือนคนมีจักษุ เห็นรูปทั้งหลายด้วยจักษุ.

ในคำว่า อาสวาน ขยา นี้ ความละ ความไม่เกิดขึ้น อาการที่สิ้นไป ความ

ไม่มีอาสวะทั้งหลายก็เรียกว่า อาสวักขัย. ภังคะก็ดี มรรคผลนิพพานก็ดี

ท่านเรียกว่า อาสวักขัย แม้นี้. จริงอยู่ อาการที่สิ้นไป ท่านเรียกว่า อาสวักขัย

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อาสวน ขยา อนาสว เจโตวิมุตฺตึ เจโตวิมุตติ

ที่ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป. ภังคะ ก็เรียกว่า อาสวักขัย ได้ในบาลี

นี้ว่า โย อาสวาน ขโย วโย เภโท ปริเภโท อนิจฺจตา อนฺตรธาน

อาการที่อาสวะสิ้นไป เสื่อมไป แตกไป แตกขาดไป ไม่เที่ยง หายไป.

มรรค ก็เรียกว่า อาสวักขัย ได้ในบาลีนี้ว่า

เสกฺขสฺส เสกฺขมานสฺส อุชุมคฺคานุสาริโน

ขยสฺมึ ปมึ าณ ตโต อญฺา อนนฺตรา.

ญาณความรู้อันดับแรกในความสิ้นไป มีแก่พระ

เสกขะผู้กำลังศึกษา ผู้ดำเนินไปตรงมรรค อันดับ

ต่อไปก็มีอัญญาความรู้ทั่วถึง.

จริงอยู่ มรรคนั้น ย่อมเกิดขึ้นทำอาสวะให้สิ้นไป ระงับไป. เพราะ

ฉะนั้น มรรคท่านจึงเรียกว่า เป็นที่สิ้นอาสวะ. ผลก็เรียกว่า อาสวักขัย

ได้ในบาลีนี้ว่า อาสวาน ขยา สมโณ โหติ ชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะ

สิ้นอาสวะ. จริงอยู่ ผลนั้นเกิดขึ้นในที่สุดแห่งอาสวะทั้งหลายสิ้นไป เพราะ

ฉะนั้น ผลท่านจึงเรียกว่า อาสวักขัย. พระนิพพานก็เรียกว่า อาสวักขัย

ได้ในบาลีนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 126

อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.

อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นเจริญอยู่ ผู้นั้นยังห่าง

ไกลธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.

จริงอยู่ อาศัยพระนิพพานนั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. เพราะ

ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านเรียกว่า อาสวักขัย. แต่ในที่นี้ ท่าน

ประสงค์แต่มรรคและผล. บทว่า โน อปสฺสโต ความว่า ผู้ใดไม่รู้

ไม่เห็น เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้นั้น. ด้วยบทนั้น ก็เป็นอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงคัดค้านพวกเจ้าลัทธิ ที่กล่าวถึงความบริสุทธิ์ด้วยสังสาร-

วัฏเป็นต้น ของผู้แม้ไม่รู้ไม่เห็น ตรัสทางที่เป็นอุบายด้วยสองบทต้น ตรัส

คัดค้านทางที่มิใช่อุบายด้วยบทนี้.

บัดนี้ มีพระประสงค์จะทรงแสดงข้อที่ภิกษุรู้อยู่ อาสวะสิ้นไป จึง

ทรงเริ่มถามว่า กิญฺจ ภิกฺขเว ชานโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

รู้อะไรเล่า. ในคำนั้น ความรู้มีมากอย่าง. จริงอยู่ ภิกษุบางรูป เป็นผู้รู้

อย่างธรรมดา รู้จักทำร่มได้. บางรูปรู้จักทำจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

เมื่อภิกษุนั้น ตั้งอยู่ในหัวข้อวัตรปฏิบัติ ทำแต่การงานเช่นนี้ ความรู้นั้น

ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นปทัฏฐานของสวรรค์และมรรคผล. แต่ว่าผู้ใดบวช

ในพระศาสนาแล้ว รู้แต่ทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น. อาสวะทั้งหลาย

ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ซึ่งรู้อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุรู้และเห็นสิ่งใด อาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไปได้ พระองค์เมื่อทรงแสดงสิ่งนั้น จึงตรัสว่า อิติ รูป

ดังนี้เป็นต้น. บทว่า เอว โข ภิกฺขเว ชานโต ความว่า ผู้เห็นความ

เกิดและความสิ้นไปแห่งปัญจขันธ์อย่างนี้. บทว่า อาสวาน ขโย โหติ

ความว่า พระอรหัตที่ได้ชื่อว่า อาสวักขัย ก็มี เพราะเกิดในที่สุดแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 127

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นจบเทศนาด้วย

ยอดคือพระอรหัตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงปฏิปทาส่วนเบื้องต้น

ที่พระขีณาสพพึงบรรลุ จึงตรัสว่า ยมฺปิ ต ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ขยสฺมึ ขเย าณ ความว่า เมื่อพระอรหัตผล

กล่าวคือ อาสวักขัย อันท่านได้เเล้วมีอยู่ ปฏิเวธญาณก็มี. ด้วยว่า

ปฏิเวธญาณนั้น ท่านเรียกว่า ขเย าณ รู้ในความสิ้นไป เพราะเมื่อ

ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ กล่าวคืออรหัตผลเกิดขึ้นก่อน ปฏิเวธญาณเกิด

ภายหลัง. บทว่า สอุปนิส แปลว่า มีเหตุมีปัจจัย. บทว่า วิมุตฺติ

ได้แก่วิมุตติที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล. จริงอยู่ วิมุตตินั้นย่อมเป็นปัจจัย

โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งพระอรหัตนั้น แม้ในปัจจัยอย่างอื่นจากนี้ ก็

พึงทราบความเป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัยที่กำลังได้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า วิราโค ได้แก่มรรค. จริงอยู่ มรรคนั้นเกิดขึ้น ทำให้กิเลสคลาย

ไป สิ้นไป เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วิราคะ. บทว่า นิพฺพิทา

ได้แก่ นิพพิทาญาณ. ทรงแสดงวิปัสสนาที่มีกำลังด้วยนิพพิทาญาณนั้น.

คำว่า วิปัสสนามีกำลัง เป็นชื่อของญาณ ๔ คือภยตูปัฏฐานญาณอาทีนวานุ-

ปัสสนาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ สังขารุเปขาญาณ. บทว่า ยถาภูต-

าณทสฺสน แปลว่า ความเห็น กล่าวคือความรู้ตามสภาวะที่เป็นจริง.

ทรงแสดงวิปัสสนาอย่างอ่อน ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะนั้น จริงอยู่ วิปัสสนา

อย่างอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง. คำว่า วิปัสสนาอย่างอ่อน

เป็นชื่อของญาณ ๔ คือ สังขารปริเฉทญาณ กังขาวิตรณญาณ สัมมสน-

ญาณ มัคคามัคคญาณ. บทว่า สมาธิ ได้แก่สมาธิที่มีฌานเป็นบาท.

จริงอยู่ สมาธินั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาอย่างอ่อน. บทว่า สุข ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 128

แก่สุขเบื้องต้นแห่งอัปปนาสมาธิ. จริงอยู่ สุขนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่

สมาธิที่มีฌานเป็นบาท. บทว่า ปสฺสทฺธิ ได้แก่การระงับความกระวน

กระวาย. จริงอยู่ ปัสสัทธินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่สุข ซึ่งเป็นเบื้องต้น

แห่งอัปปนาสมาธิ บทว่า ปีติ ได้แก่ปีติที่มีกำลัง. จริงอยู่ ปีตินั้น

ย่อมเป็นปัจจัยแก่การระงับความกระวนกระวาย. บทว่า ปาโมชฺช ได้แก่

ปีติที่มีกำลังอ่อน. จริงอยู่ ปีติที่มีกำลังอ่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่ปีติที่มีกำลัง.

บทว่า สทฺธา ได้แก่ความเชื่อที่เกิดในภพต่อ ๆ ไป. จริงอยู่ ความ

เชื่อที่เกิดในภพต่อ ๆ ไปนั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่ปีติที่มีกำลังอ่อน. บทว่า

ทุกฺข ได้แก่ทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ ทุกข์ในวัฏฏะนั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่

ศรัทธาในภพต่อ ๆ ไป. บทว่า ชาติ ได้แก่ความเกิดแห่งขันธ์ที่มีอาการ

ต่าง ๆ กัน. จริงอยู่ ชาตินั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ทุกข์ในวัฏฏะ. บทว่า

ภโว ได้แก่กามภพ. แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยอุบายอย่างนี้. บทว่า

ถุลฺลผุสิตเก แปลว่า มีเมล็ดใหญ่. ในบทว่า ปพฺพตกนฺทรปทรสาขา

นี้ มีวินิจฉัย ดังนี้. ประเทศแห่งภูเขาที่ถูกน้ำ อันได้ชื่อว่า กัง เซาะ

แตกออกเพราะน้ำ ชื่อว่า กันทระ ที่เรียกกันว่า นิตัมพะ ก็มี นิกุญชะ

ก็มี. ภูมิประเทศ ที่แตกระแหง เมื่อฝนไม่ตกถึงกึ่งเดือน ชื่อว่า ปทระ

เหมืองเล็กที่ชักไปยังกุสุพภะ ชื่อว่า สาขา. บ่อเล็ก ชื่อว่า กุสุพภะ.

บ่อใหญ่ ชื่อว่า มหากุสุพภะ. แม่น้ำน้อย ชื่อว่า กุนนที. แม่น้ำใหญ่

มีคงคา ยมุนา เป็นต้น ชื่อว่า มหานที. ในบทว่า เอวเมว โข

ภิกฺขเว อวิชฺชูปนิสา สงฺขารา เป็นต้น มีวินิจฉัย ดังนี้. พึงเห็น

อวิชชาว่าเหมือนภูเขา อภิสังขารทั้งหลายว่าเหมือนเมฆ วัฏฏะมีวิญญาณ

เป็นต้นว่าเหมือนแก่งน้ำ วิมุตติว่าเหมือนสาคร. ฝนตกบนยอดภูเขา ก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 129

ทำแก่งภูเขาให้เต็ม ทำสาครคือมหาสมุทรให้เต็มตามลำดับ ฉันใด

ก่อนอื่นพึงทราบถึงการตกแห่งเมฆคืออภิสังขาร บนยอดภูเขาคืออวิชชาก็

ฉันนั้น. แท้จริง ปุถุชนผู้เขลา ไม่ได้สดับ เป็นผู้ไม่รู้เพราะอวิชชา

กระทำความปรารถนาเพราะตัณหา ย่อมสร้างกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล.

กรรมที่เป็นกุศลและอกุศลนั้น ก็เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิวิญญาณ. ปฏิสนธิ-

วิญญาณเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่นามรูปเป็นต้น. เวลาที่เมฆคืออภิสังขาร

ตกลงบนยอดภูเขาคืออวิชชา ทำวัฏฏะมีวิญญาณเป็นต้น ให้เต็มตามลำดับ

ตั้งอยู่ เพราะเป็นปัจจัยสืบต่อกันไป ก็เหมือนเวลาที่ฝนตกบนยอดภูเขา

ทำแก่งภูเขาให้เต็มแล้วก็ตั้งจดมหาสมุทร. แต่พระพุทธวจนะ แม้ท่านไม่

ถือเอาในพระบาลี ก็พึงทราบว่า ท่านถือเอาไว้แล้วเหมือนกัน โดยอำนาจ

พระบาลีนี้ว่า อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ อคารสฺมา อนคาริย

ปพฺพชติ พระตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เสด็จออกผนวชจากเรือน ไม่

มีเรือน ดังนี้ ก็ความบังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ของพระตถาคตนั้น

ชื่อว่า ชาติ ที่มีการกระทำต่าง ๆ ร่วมกัน เพราะมีกรรมภพเป็นปัจจัย.

บุคคลอาศัยความพร้อมหน้าของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ หรือพระ

พุทธสาวก ฟังธรรมกถา ที่นำมาโดยลักษณะอันแสดงถึงโทษของวัฏฏะ

ย่อมเป็นอันถูกเบียดเบียน ด้วยอำนาจวัฏฏะ. ชาติย่อมเป็นปัจจัยแก่

วัฏทุกข์. ขันธ์ทั้งหลาย ที่มีการกระทำต่าง ๆ ย่อมมีแก่บุคคลนั้นด้วย

อาการอย่างนี้. ชาติเป็นปัจจัยแก่วัฏทุกข์ บุคคลนั้นถูกวัฏทุกข์เบียดเบียน

ทำศรัทธาให้เกิดในภพต่อ ๆไป ก็ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. วัฏทุกข์

เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาในภพต่อ ๆ ไป ของบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้.

บุคคลนั้น ไม่สันโดษด้วยเหตุเพียงบรรพชาเท่านั้น ยังถือนิสัยในเวลา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 130

พรรษาไม่ครบ ๕ บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ทำมาติกาทั้งสองให้คล่องแคล่วแล้ว

เรียนกรรมและมิใช่กรรม สะสางให้หายรกจนถึงพระอรหัต ถือกัมมัฏฐาน

ไปอยู่ป่า เริ่มการงานในปฐวีกสิณเป็นต้น. บุคคลนั้นอาศัยกัมมัฏฐาน

ก็เกิดปีติที่มีกำลังอ่อนๆ เขาอาศัยปีตินั้น ก็เกิดปราโมทย์ ปราโมทย์นั้น

ก็เป็นปัจจัยแก่ปีติที่มีกำลัง. ปีติที่มีกำลัง ก็เป็นปัจจัยแก่ปัสสัทธิ ระงับ

ความกระวนกระวาย. ปัสสัทธินั้น ก็เป็นปัจจัยแก่สุขส่วนเบื้องต้นแห่ง

อัปปนาสมาธิ สุขนั้นก็เป็นปัจจัยแก่สมาธิที่มีฌานเป็นบาท. บุคคลนั้น

ทำสุขนั้นที่พรั่งพร้อมให้เกิดด้วยสมาธิ ก็ทำการงานด้วยวิปัสสนาอย่าง

อ่อน. สมาธิที่มีฌานเป็นบาทของเขา ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง

อ่อน. วิปัสสนาที่มีกำลังอ่อน ก็เป็นปัจจัยแก่วิปัสสนาที่มีกำลัง. วิปัสสนา

ที่มีกำลัง ก็เป็นปัจจัยแก่มรรค. มรรคก็เป็นปัจจัยแก่ผลวิมุตติ. ผลวิมุตติ

ก็เป็นปัจจัยแก่ปัจจเวกขณญาณ. พึงทราบว่า เวลาที่พระขีณาสพ ทำสาคร

คือวิมุตติให้เต็มแล้วดำรงอยู่ ก็เหมือนเวลาที่ฝนทำสาครให้เต็มโดยลำดับ

ตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอุปนิสสูตรที่ ๓

๔. อัญญติตถิยสูตร

ว่าด้วยทุกข์ในวาทะ ๔

[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาป-

สถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ท่าน

พระสารีบุตรได้มีความคิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 131

ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของ

พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๒] ท่านพระสารีบุตรพอนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์ได้กล่าวกะท่านดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์

พวกหนึ่งผู้กล่วกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณะพราหมณ์พวก

หนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย

อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรม ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิด

ขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ ดูก่อนท่าน

สารีบุตร ก็ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระสมณโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้

อย่างไร พวกข้าพเจ้าพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระ-

สมณโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำไม่จริง และ

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่

พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะพึงติเตียนได้.

[๗๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไร

เกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้

กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 132

ที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย

ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม

บัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวก

สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตน

ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่

พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่

ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อน

ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว

กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้

มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า

ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้ แม่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง

ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะ

ที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย

เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะจะมีได้ ดังนี้.

[๗๔] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัย

กับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในกาลภายหลังภัตกลับจากบิณฑบาต

แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารี-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 133

บุตรกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ซึ่งได้มีมาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า.

[๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อานนท์ ตามที่

สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่า

ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ

เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว

ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ

คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้

ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้

กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์

ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า

ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์

ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่

มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว

กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้

มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า

ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง

ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะ

ที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 134

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขา

ย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๖] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาป-

สถาน ใกล้กรุงราชคฤห์นี้แหละ ครั้งนั้นแล อานนท์ ในเวลาเช้า

เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ดูก่อน

อานนท์ เรานั้นได้คิดดังนี้ว่า เวลานี้ยังเช้าเกินไปที่จะเที่ยวบิณฑบาต

ในกรุงราชคฤห์ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์เถิด ครั้งนั้นแล อานนท์ เราได้เข้าไปยังอารามของพวกปริ-

พาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้งนั้นแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ พอเรานั่งเรียบร้อยแล้ว พวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านพระโคดม มีสมณ-

พราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง

ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม

ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้

อื่นกระทำ ในวาทะทั้ง ๔ นี้ ท่านพระโคดมกล่าวไว้อย่างไร บอกไว้

อย่างไร ข้าพเจ้าทั้งหลายพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่

ท่านพระโคดมกล่าวแล้ว จะไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดมด้วยคำไม่จริง และ

พึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะ

ไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อพวกปริพาชก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 135

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้กล่าวกะพวกปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เรากล่าวว่าทุกข์เป็นของอาศัย

เหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้

กล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม

สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอัน

วิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่

พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็ย่อมเกิด

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม

บัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวก

สมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า คนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็

ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรม

บัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ

ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวก

สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย

เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้

กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์

ดังนี้ ก็มิใช้ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม

บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวย

ทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรม

บัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่น

กระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 136

เคยมี พระเจ้าข้า ในการที่เนื้อความทั้งหมดจักเป็นอรรถอันพระองค์ตรัส

แล้วด้วยบท ๆเดียว เนื้อความนี้ เมื่อกล่าวโดยพิสดารจะเป็นอรรถอันลึก

ซึ้งด้วย เป็นอรรถมีกระแสความอันลึกซึ้งด้วย พึงมีไหมหนอ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นเนื้อความในเรื่องนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเองเถิด.

[๗๘] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่า

ชนเหล่าอื่นจะพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ชราและมรณะ

อะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน

เกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นที่ตั้งขึ้น มี

ชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่า

อื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ชาติเล่า มีอะไรเป็น

เหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้

ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย

ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นที่ตั้งขึ้น มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่าน

อานนท์ ก็ภพเล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด

มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปทานเป็นที่

ตั้งขึ้น มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนั้นว่า ท่าน

อานนท์ ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็น

กำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 137

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น

มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็ตัณหาเล่า

มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดน

เกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหา

มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นที่ตั้งขึ้น มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็น

แดนเกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระ-

องค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น

ที่ตั้งขึ้น มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย เวทนามี

ผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นที่ตั้งขึ้น มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดน

เกิด ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าชนเหล่าอื่นพึงถามข้าพระองค์ว่า

ท่านอานนท์ ก็ผัสสะเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร

เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ดังนี้ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้

แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ผัสสะมีสฬายตนะเป็น

เหตุ มีสฬายตนะเป็นที่ตั้งขึ้น มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็น

แดนเกิด ดูก่อนท่านทั้งหลาย ก็เพราะผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละดับด้วย

สำรอกโดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปา-

ทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ

มรณะโสกปริเทวทุกขโทนนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 138

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ ดังนี้แล.

จบอัญญติตถิยสูตรที่ ๔

อรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาวิสิ แปลว่า เข้าไปแล้ว. ก็ท่านพระสารีบุตรนั้นเข้า

ไปแล้วก่อน. แต่ท่านกล่าวอย่างนี้ ก็เพราะท่านพระสารีบุตรออกไปแล้ว

ด้วยคิดว่า จักเข้าไป. ถามว่า เหมือนอะไร. เหมือนบุรุษผู้ออกไปแล้ว ด้วย

คิดว่าจักไปบ้าน แม้ยังไม่ถึงบ้าน เมื่อเขาถามว่า ผู้มีชื่อนี้ไปไหน ก็ตอบว่า

ไปบ้าน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น. บทว่า อติปฺปโค ความว่า ได้ยินว่า ใน

ครั้งนั้น วันที่ออกไปยังเช้านักสำหรับพระเถระ. เหล่าภิกษุที่ออกไปเวลา

เช้าตรู่ ย่อมจะชักช้าอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร ในสถานที่เหล่านี้คือ ที่ลาน

ต้นโพธิ์ ที่ลานพระเจดีย์ ที่ครองผ้าเป็นประจำ. แต่พระเถระคิดว่า

เราจักทำการพูดจาคำสองคำกับพวกปริพาชก จนกว่าจะถึงเวลาภิกขาจาร

จึงได้ดำริว่า ยนฺนูนาห ถ้ากระไรเรา เป็นต้น. บทว่า ปริพฺพาชกาน

อาราโม ความว่า เขาว่า อารามนั้น อยู่ระหว่างประตูด้านใต้ กับ

พระเวฬุวัน. บทว่า อิธ ได้แก่ในฐานะ ๔ เหล่านี้. บทว่า กึวาที

กิมกฺขายี ได้แก่ [พระสมณโคดม] ห้ามอะไร บอกอะไร. พระ-

เถระถามว่า พวกปริพาชกจักให้อะไรในข้อนี้แก่พระสมณโคดม. บทว่า

ธมฺมสฺส จานุธมฺม พฺยากเรยฺยาม ความว่า ท่านพระโคดมตรัสเหตุ

อันใด พวกเราพึงกล่าวเหตุตามสมควรแก่เหตุอันนั้น. บทว่า สหธมฺมิโก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 139

วาทานุปาโต ความว่า สหธรรมิกผู้ร่วมประพฤติธรรมไร ๆ แม้มี

จำนวนน้อย เป็นผู้เป็นไปกับเหตุ ด้วยเหตุแห่งคำอันชนเหล่าอื่นกล่าว

แล้ว ชื่อว่าตกไปตามวาทะ เข้าถึงวาทะของพระสมณโคดม ไม่พึงมาถึงเหตุ

ที่เหล่าผู้รู้ควรติเตียนอย่างไร. ท่านอธิบายไว้อย่างนั้นว่า เหตุที่น่าติเตียน

ในวาทะของพระสมณโคดม ด้วยอาการที่เป็นจริง จะไม่พึงมีได้อย่างไร.

บทว่า อิติ วท ความว่า บุคคลเมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในวาทะ ๔ เหล่านั้น. คำว่า เต

วต อญฺตร ผสฺสา นี้ เป็นคำสาธกปฏิญญาว่า แม้ข้อนั้นมีเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย. อธิบายในข้อนั้น มีดังนี้ว่า ก็เพราะเหตุที่เว้นผัสสะเสีย

การเสวยทุกข์ก็ไม่มี ฉะนั้น ข้อนั้น ก็พึงทราบเหมือนคำว่า แม้ข้อนั้น

มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย. สาธุการนี้ว่า สาธุ สาธุ อานนฺท พระผู้มี

พระภาคเจ้า ก็ประทานแก่พระสารีบุตรเถระ แต่ [ นั่น ] พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงปรึกษากับพระอานนทเถระ. คำว่า อิท ในคำว่า เอก-

มิทาห นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า สมัยหนึ่ง. คำนี้ท่านกล่าวเพื่อ

แสดงว่า มิใช่พระสารีบุตรเท่านั้นเข้าไปกรุงราชคฤห์อย่างเดียว ถึงเราก็

เข้าไป. มิใช่วิตกนี้เกิดแก่พระสารีบุตรอย่างเดียวเท่านั้น ก็เกิดขึ้นแม้แก่

เรา. การกล่าวกับพวกเดียรถีย์นี้ มิใช่เกิดแก่สารีบุตรนั้นอย่างเดียวเท่า

นั้น การกล่าวนั้น ก็เคยเกิดแม้แก่เรา. คำ ๒ คำนี้ว่า อจฺฉริย อพฺภูต

เป็นคำแสดงความพิศวง [ อัศจรรย์ ] อย่างเดียว. ก็ความของคำในคำ

ทั้ง ๒ นั้นว่า ที่ชื่อว่าอัจฉริยะ เพราะควรแก่การดีดนิ้ว [ปรบมือ].

ชื่อว่า อัพภูตะ เพราะไม่เคยมี ก็มีขึ้น. บทว่า เอเกน ปเทน ได้แก่

ด้วยบทบทเดียวนี้ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย. ตรัสความคัดค้านบท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 140

ทั้งหลาย ทุกแห่ง ด้วยบทเหล่านั้น. บทว่า เอเสวตฺโถ ความว่า นั้น

นั่นแล เป็นความแห่งปฏิจจสมุปบทาที่ว่า ทุกข์มีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.

บทว่า ตญฺเเวตฺถ ปฏิภาตุ แปลว่า ในข้อนั้นญาณจงปรากฏในพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะทำความข้อนั้นให้ลึกซึ้งและมีโอภาสลึกซึ้ง

ด้วยยปฏิจจสมุปบาทกถามีชรามรณะเป็นต้น จึงกล่าวว่า สเจ ม ภนฺเต

เป็นต้น ถ้อยคำมีบทใดเป็นมูลเกิดขึ้น ก็ยึดถือบทนั้นแล้วแสดงวิวัฏฏะ

จึงกล่าวว่า ฉนฺน เตฺวว เป็นต้น. คำที่เหลือ ความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัญญติตถิยสูตรที่ ๔

๕. ภูมิชสูตร

ว่าด้วยสุขและทุกข์

[๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น

ท่านพระภูทิชะ ออกจากที่เร้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้น

แล้วได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้

กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง อนึ่ง มีสมณ-

พราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำ

เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้กล่าวกรรมย่อม

บัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้นเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 141

มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ท่านสารีบุตร ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทั้งหลายตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร พวกเราพยากรณ์

อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะ

ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม

สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอัน

วิญญูชนจะติเตียนได้.

[ ๘๐ ] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า สุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัย

อะไรเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะ

ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ

คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้

ดูก่อนอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์

ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ฯ ล ฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า

เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อม

เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอาวุโส ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวก

สมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์ตนทำเอง

เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ล ฯ

พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมย่อมบัญญัติว่า สุขและทุกข์เกิดขึ้น

เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย

เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 142

[๘๑] ท่านพระอานนท์ได้ยินท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัย

กับท่านพระภูมิชะ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถ้อยคำสนทนาของท่านพระสารีบุตร กับท่าน

พระภูมิชะ เท่าที่มีมาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อานนท์ ตามที่

สารีบุตรพยากรณ์ ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าว

ว่าสุขและทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น สุขและทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น

สุขและทุกข์อาศัยผัสสะเกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าว

ตามที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรม

สมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ ก็จะไม่พึงถึงฐานะอัน

วิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อนอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้สุขและทุกข์

ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้น

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯ ล ฯ แม้สุขและทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็น

ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่

ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอานนท์ ใน

วาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า สุขและ

ทุกข์ ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่

ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า

สุขและทุกข์เกิดขึ้น เพราะอาศัยการที่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้

เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยสุขและทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๘๓] ดูก่อนอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 143

ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและ

ทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ

หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความ

จงใจทางใจเป็นเหตุ ดูก่อนอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแหละ

บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน

เกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้

สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อม

ปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเถิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อัน

เป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่ง

เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อม

ปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะ

ผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและ

ทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร

ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์

บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายใน

เกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้

สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อม

ปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์

อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรม

เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 144

[๘๔] ดูก่อนอานนท์ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ

กายซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วาจาซึ่ง

เป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี ใจซึ่งเป็นปัจจัยให้

สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี เขต [ ความจงใจเป็นเหตุงอก

งาม ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี วัตถุ

[ความจงใจอันเป็นที่ประดิษฐาน ] ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็น

ภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี อายตนะ. [ ความจงใจอันเป็นปัจจัย ] ซึ่งเป็น

ปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึงไม่มี หรืออธิกรณ์ ความ

จงใจอันเป็นเหตุ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น จึง

ไม่มี.

จบภูมิชสูตรที่ ๕

อรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

ในภูมิชสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

คำว่า ภูมิชะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำที่เหลือแม้ในสูตรนี้ ก็พึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรต้นๆ. ส่วนความแผกกันมีดังนี้. ก็เพราะ

เหตุที่สุขทุกข์นี้มิใช่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น กรรม

เมื่อบุคคลกระทำย่อมทำด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ทำด้วยตน

เองบ้าง บุคคลอื่นทำบ้าง ทำด้วยมีสัมปชัญญะบ้าง ทำด้วยไม่มีสัมปชัญญะ

บ้าง ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจัยที่แผกกันแม้อย่างอื่น ๆ ของกรรมนั้น

จึงตรัสว่า หานนฺท สติ เป็นต้น. บทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ แปลว่า

เพราะเหตุแห่งเจตนาที่เกิดขึ้นในกายทวาร. แม้ในวจีสัญเจตนาและมโน-

สัญเจตนาก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาทวารเหล่านั้น ในกายทวารได้เจตนา ๒๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 145

ด้วยอำนาจกุศลและอกุศลส่วนกามาพจร. ในวจีทวารก็เหมือนกัน.ในมโน-

ทวารเจตนา ๒๐ กับรูปเจตนาและอรูปเจตนา ๙ ได้เจตนา ๒๙. ในทวาร

ทั้ง ๓ จึงมีเจตนา ๖๙. ทรงแสดงสุขทุกข์ส่วนวิบาก ที่มีเจตนานั้นเป็นปัจจัย.

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยาว นี้ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงว่าเจตนาแม้เหล่านั้น

ก็ย่อมมีอวิชชาเป็นปัจจัย. แต่เพราะเหตุที่บุคคลอันผู้อื่นมิได้ชักจูง ย่อม

กระทำกรรมนั้นที่เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และนโนสังขาร ต้องด้วย

เจตนาตามที่กล่าวแล้ว ด้วยทั้งจิตที่เป็นอสังขาริกเองก็มี. ถูกผู้อื่นใช้ให้

กระทำ ก็กระทำด้วยทั้งจิตที่เป็นสสังขาริกก็มี. ย่อมกระทำกรรมชื่อนี้

วิบากของกรรมนั้น จักมีชื่อเห็นปานนี้ บุคคลรู้กรรมและวิบากดังที่กล่าว

มานี้ จึงกระทำก็มี. รู้กรรมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนทารกเมื่อบิดามารดา

กระทำการไหว้พระเจดีย์เป็นต้น ก็กระทำตาม แต่เขาไม่รู้วิบากว่า นี้เป็น

วิบากของกรรมนี้ กระทำไปก็มี ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงกรรมนั้น จึง

ตรัสว่า สาม วา อานนฺท กายสงฺขาร อภิสงฺขโรติ เป็นต้น. บทว่า

อิเมสุ อานนฺท ธมฺเมสุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เจตนาธรรม ๒๗๖

ที่เรากล่าวในฐานะ ๔ มี สาม วา ต อานนฺท กายสงฺขาร เป็นต้น

บรรดาธรรมเหล่านี้ อวิชชาตกไปตามโกฏิอุปนิสัย ก็ธรรมเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด ย่อมสงเคราะห์ลงในข้อนี้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อวิชฺชาย เตฺวว ดังนี้

เป็นต้น. บทว่า โส กาโย น โหติ ความว่า เมื่อกายใดมีอยู่ สุขทุกข์

ภายใน ที่มีกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น. กายนั้นไม่มี. แม้ในวาจา

และมนะก็นัยนี้นี่แหละ. อนึ่ง เจตนากาย ชื่อว่ากาย เจตนาวาจา แม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 146

ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกาย

ชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพ ย่อมไหว้

พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน. ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของ

พระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร. ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก. จริงอยู่

กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่

เพียงเป็นกิริยา. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้น ของ

พระขีณาสพนั้นไม่มี. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺต น วา โหติ เป็นต้น

ดังนี้. กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่า งอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะ

อรรถว่า เป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัย. ไม่เป็น

อธิกรณ์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนา

ใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็น

อายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์

มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนา

เป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.

จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๕

๖. อุปวาณสูตร

ว่าด้วยทุกข์เกิดเพราะผัสสะ

[๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้นนั้นแล ท่านพระอุปวาณะ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 147

[๘๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง ส่วนสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ

ว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตน

ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์

เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ในวาทะทั้ง ๔ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร

ตรัสบอกไว้อย่างไร ข้าพระองค์พยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าว

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คำไม่จริง และจะพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ

ที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

[๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปวาณะ เรากล่าว

ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ

เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว

ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อย

ตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อน

อุปวาณะ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า

ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้ทุกข์ที่พวก

สมณพราหมณ์บัญญัติว่าเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่

ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอุปวาณะ

ในวาทะทั้ง ๔ นั้น พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้น

ผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ล ฯ พวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 148

สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ

มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่

จะมีได้.

จบอุปวาณสูตรที่ ๖

อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ ๖

อุปวาณสูตรที่ ๖ มีความง่ายทั้งนั้น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสเฉพาะ

วัฏทุกข์อย่างเดียว.

จบอรรถกถาอุปวาณสูตรที่ ๖

๗. ปัจจยสูตร

ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

[๘๘ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ

สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่

ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง

อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ

อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอด

๑. เหมือนข้อ ๔-๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 149

ทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกว่ามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้

เรียกว่าชรามรณะ. เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชรา

มรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ความ

ดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม

ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม

เป็นที่ดับชรามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็น

ไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็น

ไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการเหล่านี้คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑

จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะ

อวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือ ความเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม

ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับ

สังขาร.

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึงปัจจัย

อย่างนี้ รู้ทั่งถึงเหตุเกิดแห่งปัจจัยอย่างนี้ รู้ทั่วถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้

รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 150

ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง

เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอัน

เป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา

เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบปัจจยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัย ในปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

เมื่อตรัสปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา

บทสุดท้าย ตรัสว่า กตมญฺจ ภิกฺขเว ชรามรณ เป็นต้น. บทว่า เอว

ปจฺจย ปชานาติ ความว่า อริยสาวกรู้ชัดถึงปัจจัย ด้วยอำนาจทุกขสัจ

อย่างนั้น. แม้ปัจจยสมุทัยเป็นต้น ก็พึงทราบด้วยอำนาจ สมุทยสัจ เป็นต้น

เหมือนกัน. บทว่า ทิฏฺสมฺปนฺโน ได้แก่สมบูรณ์ด้วยปัญญา ใน

มรรค. บทว่า ทสฺสนสมฺปนฺโน เป็นไวพจน์ของบทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน

นั้นนั่นเอง. บทว่า อิม สทฺธมฺม ได้แก่มาถึงสัทธรรมคือมรรค. บทว่า

ปสฺสติ ได้แก่เห็นสัทธรรมคือมรรคนั่นแหละ. บทว่า เสกฺเขน าเณน

ได้แก่ด้วยญาณในมรรค. บทว่า เสกฺขาย วิชฺชาย ได้แก่ด้วยความรู้

แจ้งในมรรค. บทว่า ธมฺมโสต สมาปนฺโน ได้แก่เข้าถึงกระแสธรรม

กล่าวคือมรรคนั่นเอง. บทว่า อริโย ได้แก่ล่วงภูมิของปุถุชน. บทว่า

นิพฺเพธิกปญฺโ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยปัญญาเจาะแทง. พระนิพพาน ชื่อว่า

๑. พระสูตรเป็นปัจจยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 151

อมตะ ในคำว่า อมตทฺวาร อาหจฺจ ติฏฺติ. ตั้งอยู่จดอริยมรรคประตู

ของพระนิพพานนั้นตั้งอยู่แล.

จบอรรถกถาปฏิจจสมุปปาทสูตรที่ ๗

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยชราและมรณะ

[๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ฯ ล ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

พระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ทั่วถึง

ชรามรณะ. ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่ง

ชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่ว

ถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯ ล ฯ ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้

ทั่วถึงตัณหา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่งถึงเวทนา ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ

ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง

วิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งสังขาร

ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง

สังขาร.

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่

ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง

อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ

อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 152

ทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า

สัตว์นั้น ๆ นี้เรียกว่ามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะดัง

พรรณนามานี้ เรียกว่าชรามรณะ. เพราะชาติเกิด ชรามรณะจึงเกิด เพราะ

ชาติดับ ชรามรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม

ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจชอบ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับ

ชรามรณะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภพเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เวทนาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็นามรูปเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร

๓ ประการเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑

นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ

สังขารจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑ ฯลฯ

ความตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับสังขาร.

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงชรา

มรณะอย่างนั้น ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความ

ดับแห่งชรามรณะอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ

อย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติอย่างนี้ ฯ ลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพอย่างนี้ ฯลฯ

ย่อมรู้ทั่วถึงอุปาทานอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 153

รู้ทั่วถึงเวทนาอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง

สฬายตนะอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูปอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง

วิญญาณอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึง

เหตุเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ ย่อมรู้

ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในกาลนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยทัศนะบ้าง เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้

ประกอบด้วยญาณอันเป็นเสกขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็น

เสกขะบ้าง เป็นผู้บรรลุกระแลแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญา

เครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่าอยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบภิกขุสูตรที่ ๘

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

ภิกขุสูตรที่ ๘ ก็ง่ายเหมือนกัน.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยกำหนดรู้ชราและมรณะ

[๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 154

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่กำหนดรู้ชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิด

แห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่กำหนดรู้ชาติ ฯลฯ ย่อม

ไม่กำหนดรู้ภพ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้อุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่กำหนด

รู้ตัณหา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้เวทนา ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้ผัสสะ ฯลฯ

ย่อมไม่กำหนดรู้สฬายตนะ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้นามรูป ฯลฯ ย่อม

ไม่กำหนดรู้วิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่กำหนดรู้สังขารทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด

รู้เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้ความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่กำหนด

รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านี้ ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือ

ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้ จะทำ

ให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็น

พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ไม่ได้.

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ย่อมกำหนดรู้ชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ

ย่อมกำหนดรู้ความดับแห่งชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ

ดับแห่งชรามรณะ ย่อมกำหนดรู้ชาติ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้ภพ ฯลฯ

ย่อมกำหนดรู้อุปาทาน ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้ตัณหา ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้

เวทนา ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้ผัสสะ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้สฬายตนะ ฯลฯ

ย่อมกำหนดรู้นามรูป ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้วิญญาณ ฯลฯ ย่อมกำหนดรู้

สังขารทั้งหลาย ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมกำหนดรู้ความดับ

แห่งสังขาร ย่อมกำหนดรู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 155

ทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้แล ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ

ในหมู่สมณะ และได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง

ท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และ

ประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙

สมณพราหมณสูตรที่ ๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยอัธยาศัย

ของเหล่าภิกษุ ผู้กล่าวด้วยอักขระ. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อถูกเขาใส่อุปสรรคว่า

ปริ แล้วกล่าว จึงสามารถคิดออก.

จบอรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดและดับแห่งชรามรณะ

[๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิดชรา

มรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งชรามรณะ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติ

ให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้น

ชรามรณะได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงชาติ ฯ ล ฯ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 156

ไม่รู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงอุปาทาน ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงตัณหา

ฯ ล ฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเวทนา ฯ ล ฯ ย่อมไม่รู้ทั่งถึงผัสสะ ฯ ล ฯ ย่อม

ไม่รู้ทั่วถึงสฬาตยตนะ ฯ ล ฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงนามรูป ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึง

วิญญาณ ฯลฯ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเหตุเกิด

แห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมไม่รู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติ

ให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขาร

ทั้งหลายได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

แล ย่อมรู้ทั่วถึงชรามรณะ ย่อมรู้เหตุเกิดแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึง

ความดับแห่งชรามรณะ ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรามรณะ

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นชรามรณะได้ ดังนี้ เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ ย่อมรู้ทั่วถึงชาติ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงภพ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึง

อุปาทาน ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงตัณหา ฯล ฯ ย่อมรู้ทั่วถึงเวทนา ฯลฯ

ย่อมรู้ทั่วถึงผัสสะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสฬายตนะ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงนามรูป

ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงวิญญาณ ฯลฯ ย่อมรู้ทั่วถึงสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ

เกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงความดับแห่งสังขาร ย่อมรู้ทั่วถึงข้อปฏิบัติให้

ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักล่วงพ้นสังขาร

ทั้งหลายได้ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

จบทสพลวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 157

ธรรมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทสพลสูตร ๒. ทุติยทสพลสูตร

๓. อุปนิสสูตร ๔. อัญญติตถิยสูตร

๕. ภูมิชสูตร ๖. อุปวาณสูตร

๗. ปัจจยสูตร ๘. ภิกขุสูตร

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร. ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

สมณพราหมณสูตรที่ ๑๐ ทุกคำก็ง่ายทั้งนั้น. ในสูตรทั้งสองนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการแทงตลอดสัจจะ ๔.

จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาทสพลวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 158

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔

๑. ภูตมิทสูตร

ว่าด้วยปัญหาของอชิตมาณพ

[๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี . ครั้งนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิตมาณพ

ได้กล่าวปัญหาไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว

และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน

ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ

ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก

นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคาถาที่กล่าวโดยย่อนี้

โดยพิสดารได้อย่างไร.

[๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะท่านพระสารีบุตรเป็นครั้งที่สอง

ฯ ล ฯ แม้ในครั้งที่สองท่านพระสารีบุตรก็ได้นิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร อชิต-

มาณพได้กล่าวปัญหานี้ไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 159

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว

และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มาก

ในศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว

ขอได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสอง

พวกนั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้

โดยพิสดารได้อย่างไร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ

สารีบุตร ก็ยังนิ่งอยู่ แม้ในครั้งที่สาม.

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอ

เห็นไหมว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุคคลเห็นด้วย

ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้น

เห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด

เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม

ความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว

ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่ง

ขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็น

จริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้น

ดับไป ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความ

กำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา พระ

พุทธเจ้าข้า บุคคลย่อมเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 160

[๑๐๑] พระพุทธเจ้าข้า บุคคลได้ชื่อว่าตรัสรู้ธรรมเป็นไฉน.

บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิด

แล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลาย

ความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว

ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะ

อาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว. ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะ

คลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิด

เพราะอาหารนั้น ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใด

เกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะอาหารนั้นดับไป ครั้น

เห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด

เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกซึ่งมีความดับเป็นธรรมดา

บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพ

กล่าวไว้ในอชิตปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว

และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน

ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ

ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก

นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบเนื้อความของคำที่กล่าวไว้โดยย่อนี้

โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๑๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกละ ๆ สารีบุตร บุคคล

เห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 161

ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด

เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตาม

ความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหาร ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว

ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่ง

ขันธปัญจกที่เกิดเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็น

จริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับ

แห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ

คลายความกำหนัด เพื่อความดับแห่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลชื่อว่าเป็นเสขะได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้แล.

[๑๐๓] ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลชื่อว่าได้ตรัสรู้ธรรมแล้วเป็น

ไฉน. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริง

ว่า นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ

ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น

ซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้ว ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า

ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น

เพราะความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะ

ความไม่ถือมั่นซึ่งขันธปัญจกที่เกิดแล้วเพราะอาหาร ย่อมเห็นด้วยปัญญา

โดยชอบตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดเกิดแล้ว สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา

เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นเพราะ

ความหน่าย เพราะคลายความกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น

ซึ่งขันธปัญจกที่มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อนสารีบุตร บุคคลได้ชื่อว่า

ตรัสรู้ธรรมแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล คำที่อชิตมาณพกล่าวไว้ในอชิต-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 162

ปัญหา ในปรายนวรรคว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ บุคคลที่ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว

และบุคคลที่ยังเป็นเสขบุคคลอยู่เหล่าใด มีอยู่มากใน

ศาสนานี้ พระองค์ผู้มีปัญญาอันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอ

ได้โปรดตรัสบอกความประพฤติของบุคคลทั้งสองพวก

นั้น แก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความของคำที่กล่าวโดยย่อนี้ โดย

พิสดารได้อย่างนี้แล.

จบภูตมิทสูตรที่ ๑

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔

อรรถกถาภูตมิทสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในภูตมิทสูตรที่ ๑ แห่งกฬารขัตติยวรรคต่อไป.

บทว่า "อชิตปญฺเห ในอชติปัญหา" ได้แก่ในปัญหาที่อชิตมาณพทูล

ถามแล้ว. บทว่า "สงฺขาตธมฺมาเส ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว" ได้แก่ผู้มี

ธรรมอันรู้แล้ว คือมีธรรมอันตรัสรู้แล้ว มีธรรมอันชั่งแล้ว มีธรรมอัน

ไตร่ตรองเสร็จแล้ว. บทว่า "เสกฺขา เสกขบุคคล" ได้แก่พระเสขะ

ทั้ง ๗. บทว่า "ปุถู จำนวนมาก" คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาชน (พระเสขะ) ๗ พวกนั่นแหละ จึงตรัสว่า "ปุถู." บทว่า

"อิธ" คือในพระศาสนานี้. ในบทว่า นิปโก ปัญญา ท่านเรียกว่า

เนปักกะ ผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ชื่อว่านิปกะ อชิตมาณพทูลวิงวอนว่า

"ก็พระองค์ผู้ฉลาด ขอได้โปรดตรัสบอก." บทว่า "อิริย ซึ่งความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 163

ประพฤติ" ได้แก่ความประพฤติ คือการปฏิบัติที่มีอาจาระความประ-

พฤติดีเป็นแนวทางอยู่. อชิตมาณพกราบทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ท่านผู้นิรทุกข์" ในอชิตปัญหานี้ มีความสังเขปดังนี้. "ข้าแต่ท่านผู้

นิรทุกข์ ผู้ฉลาด ท่านผู้มุ่งการปฏิบัติของพระเสขบุคคล และพระขีณาสพ

ผู้ตรัสรู้ธรรมแล้ว อันข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดตรัสบอกแก่ข้าพเจ้า

เถิด."

คำว่า ตุณฺหี อโหสิ ได้นิ่งอยู่ ได้แก่พระสารีบุตรเถระ

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามถึง ๓ ครั้ง เพราะเหตุใด จึงได้นิ่งอยู่.

ถามว่า " คงจะสงสัยในปัญหาหรือไม่ก็สงสัยในพระอัธยาศัยของพระผู้มี

พระภาคเจ้า." แก้ว่า "มิได้สงสัยในปัญหา." เล่ากันว่า พระสารีบุตร

เถระ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "พระศาสดาทรงมีพระประสงค์จะให้เรา

กล่าวปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) อันควรบรรลุสำหรับพระเสขบุคคลและพระ

อเสขะ และปฏิปทานั้น ไม่อาจกล่าวด้วยเหตุมาก คือด้วยอำนาจแห่งขันธ์

ด้วยอำนาจแห่งธาตุ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ และด้วยอำนาจแห่งปัจจยา-

การ. เมื่อเรากล่าวอยู่ จักอาจกำหนดพระอัธยาศัยของพระศาสดากล่าว

หรือไม่หนอ." ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า " เว้นเราเสียแล้ว

ชื่อว่า สาวกอื่นผู้ถือบาตรเที่ยวไปอยู่ จะมีปัญญาเสมอกับพระ

สารีบุตร ย่อมไม่มี แม้เธอจะถูกเราถามปัญหา ก็ได้นิ่งเสียถึง ๓ ครั้ง

เธอคงสงสัยในปัญหา หรือไม่ก็สงสัยในอัธยาศัย (ความประสงค์ของเรา).

ครั้นทรงทราบว่า "สงสัยในอัธยาศัย" แล้ว เมื่อจะทรงประทานนัย

เพื่อกล่าวแก้ปัญหา จึงตรัสว่า "ภูตมิทนฺติ สารีปุตฺต ปสฺสสิ ดูก่อน

สารีบุตร เธอเห็นไหมว่า นี้คือขันธปัญจก (ขันธ์ ๕) ที่เกิดแล้ว"

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 164

ในพระบาลีนั้น คำว่า "ภูต" แปลว่า เกิดแล้ว ได้แก่บังเกิดแล้ว.

และคำว่า ภูต นี้เป็นชื่อของขันธปัญจก. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึง

ประทานนัยแก่พะสารีบุตรเถระว่า "ดูก่อนสารีบุตร เธอจงกล่าว

แก้ปัญหานี้ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ ๕" ดังนี้. และพร้อมกับการประทานนัย

การพยากรณ์ปัญหาจึงปรากฏแก่พระสารีบุตรเถระ. ด้วยนัยนับร้อยนับพัน

ดุจมหาสมุทรอันโล่งเป็นผืนเดียวปรากฏแก่บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ริมฝั่งฉะนั้น ครั้ง

นั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหานั้น ได้กล่าวว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า นี้คือ

ขันธปัญจกที่เกิดแล้ว." คำว่า ภูตมิท ในข้อนั้น แปลว่า "นี้คือ

ขันธปัญจกที่บังเกิดแล้ว. คำว่า "ย่อมเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ" ได้แก่

ย่อมเห็นโดยชอบด้วยมรรคปัญญา (รู้ทางดำเนินไปสู่ความดับทุกข์) พร้อม

ด้วยวิปัสสนา. ข้อว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่

นิพพิทาเป็นต้น เริ่มแต่ศีล จนถึงพระอรหัตมรรค. เพราะเหตุใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภความนี้ว่า "ขันธปัญจกนี้เกิดเพราะ

อาหารนั้น. " เพราะขันธปัญจกนี้อาศัยอาหารจึงตั้งอยู่ได้ ฉะนั้น พระ

พุทธองค์จึงทรงปรารภความข้อนี้ เพื่อทรงแสดงอาหารนั้นทำให้เป็น

สภาวนาม. ปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของพระเสขบุคคลจึงเป็นอันพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยปริยายนี้แล. บทว่า ตทาหารนิโรธา เพราะ

อาหารนั้นดับ คือ เพราะความดับแห่งอาหารเหล่านั้น. เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภข้อความนี้. เพราะขันธปัญจกนั้นย่อม

ดับเพราะอาหารดับ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงปรารภข้อความนี้ เพื่อ

ทรงแสดงความดับแห่งอาหารนั้น กระทำให้เป็นสภาวนาม. ปฏิปทาของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 165

พระเสขบุคคล จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยปริยายนี้แล.

คำว่า "นิพฺพิทา" เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นการกล่าวบอกเหตุทุก

อย่าง. บทว่า "อนุปาทา เพราะความไม่ยึดมั่น" ได้แก่พ้นจากอุปาทาน

คือความยึดมั่น ๔ ประการ ไม่ถือเอาธรรมไร ๆ. ด้วยคำว่า "สาธุ สาธุ

ดีละ ๆ." นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการพยากรณ์ปัญหาของพระสารีบุตร

เถระให้รื่นเริง เมื่อจะทรงพยากรณ์เช่นนั้นแหละด้วยพระองค์เอง จึงตรัส

ซ้ำว่า "นี้คือขันธปัญจกที่เกิดแล้ว" ดังนี้เป็นต้น.

จบอรรถกถาภูตมิทสูตรที่ ๑

๒. กฬารขัตติยสูตร

ว่าด้วยโมลิยัคคุนภิกษุลาสิกขา

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล กฬารขัตติยภิกษุ

เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่ง

เรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร

โมลิยผัคคุนภิกษุได้ลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำเสียแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุนะนั้นคงไม่ได้ความ

พอใจในพระธรรมวินัยนี้เป็นแน่.

ก. ถ้าเช่นนั้น ท่านพระสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรม

วินัยนี้กระมัง.

สา. ท่านผู้มีอายุ ผมไม่มีความสงสัยเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 166

ก. ท่านผู้มีอายุ ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ.

สา. ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่สงสัยเลย.

[๑๐๕] ลำดับนั้น กฬารขัตติยภิกษุลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรอวดอ้างพระอรหัต-

ผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า มานี่แน่ะภิกษุ

เธอจงไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งเรียกหาท่าน.

ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่

แล้วเรียนต่อท่านว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร พระศาสดารับสั่งเรียกหา

ท่าน.

ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เขา

ว่าเธออวดอ้างอรหัตว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี ดังนี้

จริงหรือ.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์หาได้

กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่.

พ. ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรย่อมอวดอ้างอรหัตผลโดยปริยาย

อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลทั้งหลายก็ต้องเห็นอรหัตผลที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 167

อวดอ้างไปแล้ว โดยความเป็นอันอวดอ้าง.

ส. พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือ

ว่า ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความตามบท ตามพยัญชนะเช่นนี้ไม่.

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ท่านรู้

เห็นอย่างไร จึงอวดอ้างอรหัตผลว่า เราย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่

ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่มี เพราะรู้ได้ว่า

เมื่อปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้ว เพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุสิ้นไป ชาติจึงสิ้นไป

พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้.

[๑๐๗] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร

ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น

แดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพเป็นกำเนิด

มีภพเป็นแดนเกิด.

[๑๐๘] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร

ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นสมุทัย มีอุปาทาน

เป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด.

[๑๐๙] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร

ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด

มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหา

เป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด.

[๑๑๐] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร

ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มี

อะไรเป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนา

เป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.

[๑๑๑] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร ก็

เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด เมื่อถูกถามเช่นนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะ

เป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด.

[๑๑๒] ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า ท่านสารีบุตร

ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ เมื่อถูกถาม

อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 169

ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้ว่า เวทนา ๓ เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกข-

เวทนา อทุกขมสุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ.

[๑๑๓] ถูกละ ๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดย

ย่อ ก็ได้ใจความดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ ท่านสารีบุตร เพราะความหลุด

พ้นเช่นไร ท่านจึงอวกอ้างอรหัตว่า ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้ไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร.

พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเขาถามข้าพระองค์เช่นนั้น ข้าพระองค์พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อาสวะทั้งหลายย่อมไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด

ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะ

อุปาทานทั้งปวงสิ้นไป ทั้งข้าพเจ้าก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย พระพุทธเจ้าข้า

เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้

[๑๑๔] ถูกละ ๆ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดย

ย่อ ก็ได้ใจความดังนี้ว่า อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้า

ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ในอาสวะเหล่านั้นว่า อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้า

ละได้แล้วหรือยัง.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตตรัสดังนี้แล้ เสด็จลุกขึ้นจาก

พุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร.

[๑๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้วไม่นานนัก ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 170

พระสารีบุตรจึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกะผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน

ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา

ปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

ตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ แม้

ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ

ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูล

ตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ

ตลอดทั้งคืน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วย

บทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความ

ข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด

ทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผม

ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบ

ความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ

ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้น

กะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน แม้ผมก็พึง

ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย

อื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ

ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน แม้ผมก็พึง

ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย

อื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 171

นั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้ผมก็พึง

ทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย

อื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความ

ข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน แม้ผมก็

พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม

ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน

แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.

[๑๑๖] ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วนั่ง ฯ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกะผม ซึ่ง

ผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมตลอดทั้งวันด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

จะพึงตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้ง

คืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบท

อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 172

ตรัสถามข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน

แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส

ถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน

แม้ผมก็พึงทูลความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส

ถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน

แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

ตรัสถามความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน

แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม

ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน แม้

ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ คลอดห้าคืนห้าวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม

ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน แม้

ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัสถาม

ความข้อนั้นกะผมด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน

แม้ผมก็พึงทลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.

[ ๑๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เพราะธรรม-

ธาตุอันสารีบุตรแทงตลอดดีแล้ว แม้หากว่าจะพึงถามความข้อนั้นกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 173

สารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบ

ความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งวัน หากเรา

จะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืน

สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอด

ทั้งคืน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยาย

อื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราด้วยบท

อื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน หากเราจะถามความข้อนั้น

กะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสองคืนสองวัน สารีบุตร

ก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสอง

คืนสองวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เรา

ได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสามคืนสามวัน หากเราจะถาม

ความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดสี่คืนสี่วัน

สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ

ตลอดสี่คืนสี่วัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วย

ปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้

ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดห้าคืนห้าวัน หากเราจะถามความ

ข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดหกคืนหกวัน

สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ

ตลอดหกคืนหกวัน หากเราจะถามความข้อนั้นกะสารีบุตรด้วยบทอื่น ๆ

ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่

เราได้ด้วยบทอื่น ๆ ด้วยปริยายอื่น ๆ ตลอดเจ็ดคืนเจ็ดวัน.

จบกฬารขัตติยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 174

อรรถกถาหฬารขัตติยสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในกฬารขัตติยสูตรที่ ๒ ต่อไป. คำว่า กฬาร-

ขตฺติโย เป็นชื่อของพระเถระ. ก็ฟันของพระเถระนั้นดำแดง ตั้งอยู่

(ขึ้น) ไม่เสมอกัน ฉะนั้น จึงเรียกว่า "กฬาร." คำว่า "หีนายาวตฺโต

เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว" คือเวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็น

คฤหัสถ์อันต่ำ. คำว่า "อสฺสาสมลตฺถ ไม่ได้ความพอใจ" ได้แก่

พระโมลิยผัคคุนะ คงไม่ได้ความพอใจ คือที่อาศัย ที่พึ่ง เป็นแน่.

พระสารีบุตรเถระแสดงว่า "ไม่ได้มรรค ๓ และผล ๓ แน่นอน."

คำอธิบายของพระเถระมีดังนี้ว่า " ก็ถ้าพระโมลิยผัคคุนะพึงได้มรรคและ

ผลเหล่านั้น เธอไม่พึงลาสิกขา เวียนมาทางฝ่ายต่ำ." บทว่า " น ขฺวาห

อาวุโส ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" ความว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ข้าพเจ้าแล มีความพอใจ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สงสัย" เพราะว่า

สาวกบารมีญาณของพระสารีบุตรเถระ เป็นที่พึ่ง (ของตน) ได้ ฉะนั้น

ท่านจึงไม่สงสัย. ด้วยคำว่า "อายตึ ปนาวุโส ท่านผู้มีอายุ ต่อไปเล่า"

นี้ พระกฬารขัตติยะถามถึงการบรรลุพระอรหัตของพระสารีบุตรเถระว่า

" การปฏิสนธิต่อไป ท่านเพิกขึ้นแล้วหรือ หรือไม่เพิกขึ้น" ด้วยคำว่า

"น ขฺวาห อาวุโส วิจิกิจฺฉามิ ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่สงสัยเลย" นี้

พระสารีบุตรเถระแสดงความไม่สงสัยในการบรรลุพระอรหัตนั้น. บทว่า

เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ"

ความว่า ได้เข้าไปเฝ้าด้วยคิดว่า " เราจักกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงเหตุดีนี้." คำว่า อญฺา พฺยากตา แปลว่า พยากรณ์พระอรหัต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 175

แล้ว. พระอรหัตผล ชื่อว่า พระสารีบุตรเถระพยากรณ์แล้วอย่างนี้ว่า

" ชาติสิ้นแล้ว." ก็พระเถระนี้ ยินดีแล้ว เลื่อมใสแล้ว จึงยกบทและ

พยัญชนะขึ้นกล่าวอย่างนี้. บทว่า " อญฺตร ภิกฺขุ อามนฺเตสิ ทรง

รับสั่งหาภิกษุรูปหนึ่ง " ความว่า พระศาสดาทรงสดับคำกราบทูลนั้น

แล้ว ทรงพระดำริว่า "พระสารีบุตรเป็นผู้ฉลาดลึกซึ้ง เธอจักไม่

พยากรณ์อย่างนี้ด้วยเหตุไร ๆ เพราะปัญหาจักเป็นอันเธอพยากรณ์แล้ว

โดยย่อ เราจักให้เรียกเธอมาแล้ว ให้พยากรณ์ปัญหานั้น" ดังนี้ จึง

ทรงรับสั่งภิกษุรูปหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า สเจ ต สารีปุตฺต อย่างนี้เพื่อ

ให้พระสารีบุตรเถระพยากรณ์อรหัตผลด้วยมีพระดำริว่า สารีบุตรนี้จักไม่

พยากรณ์อรหัตผลตามธรรมดาของตน เราจักถามปัญหานี้ และเธอเมื่อ

จะกล่าวแก้ปัญหานี้ จักพยากรณ์อรหัตผล. บทว่า "ย นิทานาวุโส

ชาติ ท่านผู้มีอายุ ชาติคือความเกิดมีอะไรเป็นเหตุ" ความว่า ท่านผู้มี

อายุ ชื่อว่าชาจิคือความเกิดนี้ มีสิ่งใดเป็นเหตุ. ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า "เมื่อ

ปัจจัยแห่งชาติสิ้นแล้ว เพราะปัจจัยอันเป็นต้นเหตุนั้นสิ้นไป ผลคือชาติ

จึงสิ้นไป" ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่งพระสารีบุตรเถระ ไม่สงสัยในปัญหานี้ แต่สงสัยใน

อัธยาศัย (พระประสงค์ ) ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เล่ากันว่า พระ

สารีบุตรเถระนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "เราไม่อาจพยากรณ์พระ-

อรหัตผลด้วยเหตุมากมาย อาทิเช่น ตัณหาสิ้นแล้ว อุปาทานสิ้นแล้ว

ภพสิ้นแล้ว ปัจจัยสิ้นแล้ว กิเลสสิ้นแล้ว แต่เมื่อจะกล่าวแก้ปัญหา เรา

ก็จักอาจกำหนดพระประสงค์ของพระศาสดาได้" ดังนี้. พระสารีบุตร-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 176

เถระสงสัยในพระประสงค์ (ของพระผู้มีพระภาคเจ้า) อย่างนั้นก็จริง.

ถึงอย่างนั้น ก็มิได้เว้นปัญหาเลย ได้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ.

แม้พระศาสดาก็ทรงมีพระประสงค์จะให้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ

นั่นแหละ. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระนี้ เมื่อจะพยากรณ์ปัญหา จึงได้

กำหนดพระประสงค์ของพระศาสดา และได้รู้ก่อนแล้วเทียวว่า " เรา

กำหนดพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แล้ว". ก็เพราะเหตุที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามปัญหาที่สูงขึ้นไป ฉะนั้น จึงควรทราบว่า

การพยากรณ์ปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้ว. ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภความข้อนี้ว่า "ก็ท่านรู้

อย่างไร" ดังนี้. แก้ว่า เพื่อให้พระสารีบุตรเถระบันลือสีหนาทในข้อที่

มิใช่วิสัย (ของตน).

เล่ากันมาว่า เมื่อพระศาสดาแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนข-

ปริพาชก ที่ประตูถ้ำสุกรขาตา พระสารีบุตรเถระถือพัดใบตายืนถวาย

งานพัดพระศาสดาอยู่ กำหนดเวทนา ๓ แล้วได้บรรลุสาวกบารมีญาณ.

เวทนานี้มิใช่ธรรมอันเป็นวิสัยของพระสารีบุตรเถระนั้น. พระศาสดาทรง

หมายเอาว่า "พระสารีบุตร ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นวิสัยของตนนี้ จัก

บันลือสีหนาท ดังนี้ จึงทรงถามปัญหานี้ ก็หาไม่. บทว่า "อนิจฺจา"

ได้แก่ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วกลับไม่มีนั่นเอง. ในคำว่า

" สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ นี้ได้แก่สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่

เป็นทุกข์เพราะแปรปรวน ทุกขเวทนาเป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุข

เพราะแปรปรวน. อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้

ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยที่สุดแห่งความแปรปรวน เวทนาทุกอย่าง ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 177

ว่า เป็นทุกข์ทั้งนั้น. บทว่า "วิทิต รู้แล้ว" ได้แก่เพราะเรารู้แล้วว่า

เวทนา ๓ เป็นทุกข์อย่างนี้ ฉะนั้น ความอยากในเวทนาเหล่านั้น จึง

เป็นอันพระสารีบุตรเถระนั้นขจัดเสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ว่า "ตัณหานั้นไม่ปรากฏ."

คำว่า "สาธุ สาธุ ถูกละๆ " เป็นความรื่นเริงในการกำหนดเวทนา

ของพระสารีบุตรเถระ. ก็เมื่อไม่กล่าวว่า "เวทนามีอย่างเดียวบ้าง มี ๒

มี ๓ มี ๔ บ้าง " ดังนี้เลย. พระสารีบุตรเถระได้รู้การกำหนดเวทนา

เหล่านั้นว่า "มี ๓." ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้

พระสารีบุตรเถระรื่นเริง จึงตรัสอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า

"ทุกฺขสฺมึ" นี้ โดยพระประสงค์ดังนี้ว่า "ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่เธอ

พยากรณ์ว่า ความอยากในเวทนาทั้งหลายไม่ปรากฏแก่เรา เพราะเหตุนี้"

ดังนี้นั้น เป็นการพยากรณ์ที่ดีแล้ว แต่เมื่อเธอจำแนกว่าเวทนามี ๓ อยู่

จึงทำให้เป็นช้ายิ่ง เพราะว่า เมื่อเธอพยากรณ์เวทนานั้นว่า " เป็นทุกข์ "

ดังนี้ พึงเป็นอันพยากรณ์ดีแล้วนั่นเอง และเมื่อเพียงมีความรู้ว่า "เวทนา

อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น" ดังนี้ ความอยากในเวทนา

ทั้งหลาย ก็ตั้งอยู่ไม่ได้.

บทว่า "กถ วิโมกฺขา เพราะความหลุดพ้นอย่างไร" ได้แก่

เพราะความหลุดพ้นเช่นไร อธิบายว่า "เธอได้พยากรณ์พระอรหัตผล

เพราะวิโมกข์ข้อไหน." บทว่า "อชฺฌตฺตวิโมกฺขา เพราะความหลุดพ้น

ภายใน ได้แก่เพราะพระอรหัตที่ตนกำหนดสังขารภายในบรรลุแล้ว.

ในคำว่า เพราะความหลุดพ้นภายในนั้น พึงทราบหมวด ๔ ดังนี้

" ความตั้งมั่นในภายใน ที่ชื่อว่า การออกภายใน ๑ ความตั้งมั่นในภายใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 178

ที่ชื่อว่า การออกภายนอก ๑ ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออก

ภายนอก ๑ ความตั้งมั่นในภายนอก ที่ชื่อว่า การออกภายใน ๑ ก็แม้

ธรรมตั้งมั่นแล้วในภายใน พึงทราบว่า มีในภายนอกนั่นเอง ที่ตั้งมั่น

ในภายนอก ก็พึงทราบว่า เป็นธรรมภายในนั่นเอง เพราะฉะนั้น ภิกษุ

บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารอันเป็นภายใน กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว

หยั่งลงภายนอก ครั้นกำหนด (สังขาร) แม้ในภายนอกได้แล้ว ย่อม

หยั่งลงภายในอีก. ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขารอันเป็นภายในย่อมมี

การออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายใน ชื่อว่า เป็นการออกภายใน

อย่างนี้. บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารอันเป็นภายใน กำหนดสังขาร

เหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายนอกอีก. ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขารใน

ภายนอก ชื่อว่าเป็นการออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายใน ชื่อว่า

เป็นการออกภายนอกอย่างนี้. บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารในภายนอก

กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายใน ครั้นกำหนดสังขารแม้ที่เป็น

ภายในได้แล้ว ก็หยั่งลงภายนอกอีก เมื่อเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณาสังขาร

ในภายนอก เป็นอันชื่อว่าออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายนอก ชื่อ

ว่าเป็นการออกในภายนอกอย่างนี้ บางรูปหยั่งญาณลงในสังขารภายนอก

กำหนดสังขารเหล่านั้นแล้ว หยั่งลงภายในอีก ในเวลาที่ภิกษุนั้นพิจารณา

สังขารอันเป็นภายใน ชื่อว่าเป็นการออกจากมรรค. ความตั้งมั่นในภายนอก.

ชื่อว่าเป็นการออกในภายในอย่างนั้น. ในข้อนั้น พระสารีบุตรเถระกำหนด

สังขารอันเป็นภายในแล้ว เมื่อจะแสดงว่า "เราได้บรรลุพระอรหัตแล้ว"

ด้วยการออกจากมรรคในเวลากำหนดสังขารเหล่านั้น จึงกล่าวว่า "ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 179

บทว่า "สพฺพุปาทานกฺขยา เพราะอุปาทานทั้งปวงสิ้นไป" ได้แก่เพราะ

ความสิ้นไปแห่งอุปาทาน ๔ ทั้งหมด. คำว่า "ตถาสโต วิหรามิ เรามิ

สติอยู่อย่างนั้น" ได้แก่เราประกอบด้วยสติอยู่ด้วยอาการนั้น. คำว่า

"ยถาสต วหนฺต ผู้มีสติอยู่อย่างไร." ได้แก่เราผู้ประกอบด้วยสติอยู่

ด้วยอาการใด. ข้อว่า "อาสวา นานุสฺสวนฺติ อาสวะทั้งหลายย่อมไม่

ครอบงำ" อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายมีกามาสวะเป็นต้น อันมีการไหล

ไปในอารมณ์ ๖ เป็นธรรมดา ทางทวาร ๖ อย่างนี้ คือ ไหลไป

หลากไป หลั่งไหลไป เป็นไปในรูปทางตา ย่อมไม่ครอบงำ คือไม่ตาม

ผูกพันเรา ได้แก่ไม่เกิดขึ้นแก่เรา อย่างไร. ข้อว่า "อตฺตานญฺจ

นาวชานามิ และไม่ดูหมิ่นตนเอง" แปลว่า ไม่ดูถูกตนเอง. การละ

ความดูหมิ่น จึงเป็นอันพระสารีบุตรเถระกล่าวแล้วด้วยคำนี้. ก็เมื่อเป็น

เช่นนี้ ความรู้ทั่วไปย่อมเป็นอันผ่องใส.

บทว่า "สมเณน" ได้แก่สมณะคือพระพุทธเจ้า. ข้อว่า

"เตสฺวาห น กงฺขามิ ข้าพเจ้าไม่สงสัยในอาสวะเหล่านั้น" อธิบายว่า

ข้าพเจ้าไม่สงสัยในอาสวะเหล่านั้น แม้โดยสรุปประเภทว่า กามาสวะ

คืออะไร ภวาสวะคืออะไร ทิฏฐาสวะคืออะไร และอวิชชาสวะคืออะไร

ก็ดี โดยการกำหนดตัดจำนวนอย่างนี้ว่า อาสวะมี ๔ ดังนี้ก็ดี. ข้อว่า

"เต เม ปหีนาติ น วิจิกิจฺฉามิ" อธิบายว่า ข้าพเจ้าไม่แคลงใจว่า

อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

ความข้อนี้ จึงตรัสว่า "เมื่อเธอพยากรณ์อยู่อย่างนี้ พึงเป็นอันพยากรณ์

ดีแล้ว แต่เมื่อเธอกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีสติอยู่

อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน ดังนี้ จึงทำให้เป็นช้ายิ่ง."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 180

ข้อว่า "อุฏฺายาสนา วิหาร ปาวิสิ เสด็จลุกจากอาสนะแล้ว

เสด็จเข้าสู่พระวิหาร" อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจาก

พระพุทธอาสน์อันประเสริฐที่ปูลาดไว้ แล้วเสด็จเข้าสู่ภายในมหาคันธกุฎี

อันเป็นที่ประทับ ในเมื่อบริษัทยังมิได้แยกย้ายกันเลย. เพราะเหตุไร.

เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อเทศนายังไม่จบ (และ. ) บริษัทยัง

มิได้แยกย้ายกัน ได้เสด็จลุกจากอาสนะ เมื่อจะเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี

ย่อมเสด็จเข้าไปเพื่อชมเชยบุคคลหรือเพื่อชมเชยธรรมะ. ในการชมเชยนั้น

พระศาสดา เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อชมเชยบุคคล ได้ทรงพระดำริอย่างนี้

ว่า "บทนี้ เรายกขึ้นสู่อุเทศแสดงแต่โดยย่อ มิได้จำแนกโดยพิสดาร

พวกภิกษุที่ยอมรับปฏิบัติธรรม เล่าเรียนแล้ว จักเข้าไปถามพระอานนท์

บ้าง พระมหากัจจายนะบ้าง ภิกษุเหล่านั้น จักสนทนาเทียบเคียงกับญาณ

ของเรา แต่นั้น พวกที่ยอมรับปฏิบัติธรรมก็จักถามเราอีก เราจักชมเชย

บุคคลเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอานนท์ก็ดี

พระมหากัจจายนะก็ดี กล่าวแก่ภิกษุแม้เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นอันกล่าวดี

แล้ว แม้หากพวกเธอจะพึงถามข้อความนี้กะเราไซร้ เราก็จะพึงพยากรณ์

อย่างนี้นั่นเอง แต่นั้น พวกภิกษุจักเข้าไปแสดงคารวะต่อพระเถระทั้งสอง

นั้น แม้พวกภิกษุเหล่านั้นก็จักชักชวนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในอรรถ ในธรรม

ผู้ที่ถูกภิกษุเหล่านั้นชักชวนแล้ว จักบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์แล้วทำ

ที่สุดทุกข์ได้." อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีพระ

ดำริอย่างนี้ว่า "เมื่อเราหลีกไปเสียแล้ว พระสารีบุตรนี้ จักได้กระทำ

ให้แจ้งซึ่งอานุภาพของตน ครั้นแล้ว เราเองก็จักชมเชยเธออย่างนั้น

พวกภิกษุที่ฟังคำชมเชยเธอของเราแล้ว เกิดความคารวะในเธอ จัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 181

สำคัญเธอว่าควรเข้าไปหา ควรเชื่อฟังคำของเธอ และควรเชื่อถือ ความ

สำคัญเช่นนั้น จักมีเพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน."

พระศาสดา เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อทรงชมเชยธรรมะ ได้ทรงพระ

ดำริเหมือนกับที่ทรงพระดำริในธรรมทายาทสูตร. ก็ในธรรมทายาทสูตร

นั้น พระองค์ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า " เมื่อเราเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระ

สารีบุตรเมื่อจะติเตียนอามิสทายาท และชมเชยธรรมทายาท จักนั่งใน

บริษัทนี้แหละแสดงธรรม เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงตามมติอันมีความ

ประสงค์อย่างเดียวกัน จักเป็นเลิศและหนักเช่นกับฉัตรหิน."

แต่ในพระสูตรนี้ พระศาสดามีพระประสงค์จะสถาปนาท่านพระ

สารีบุตรประกาศยกคุณธรรมอันดียิ่ง (ของท่าน) จึงเสด็จลุกจากอาสนะ

เพื่อจะทรงชมเชยบุคคล แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ทรงหายไป ณ อาสนะที่ประทับนั่งแล้วในที่เช่นนี้นั่นเอง พึง

ทราบว่า "เสด็จเข้าสู่พระวิหารด้วยคติแห่งจิต (ด้วยอำนาจจิต)" ก็ถ้า

พึงเสด็จไปด้วยคติแห่งกายไซร้ บริษัททั้งปวงก็พึงแวดล้อมพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าไป. บริษัทนั้น ได้แยกย้ายกันไปเสียวาระหนึ่ง (ทำนองพัก

การประชุม) แล้วคงจะกลับมาประชุมใหม่อีก แต่ยังมิทันเรียบร้อย

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าสู่พระวิหารไปด้วยคติแห่งจิต

(ด้วยอำนาจจิต ) นั่นเอง โดยไม่ปรากฏพระองค์.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร

ประสงค์จะบันลือสีหนาทที่อนุรูปต่อพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทีเดียว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน จึงได้เรียก

พวกภิกษุในที่ประชุมนั้นมา. ข้อว่า "ปุพฺเพ อปฺปฏิสวิทิต ไม่เคยรู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 182

มาก่อน" ได้แก่ปัญหาอันข้าพเจ้าไม่ทราบ คือไม่รู้มาก่อนว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจักตรัสถามปัญหาชื่อนี้. คำว่า "ปม ปญฺห ปัญหาข้อแรก"

ได้แก่ปัญหาข้อแรกนี้ คือ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเขาถามเธออย่างนี้ว่า

ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์พระอรหัตผลว่า ข้าพเจ้า

รู้ชัดว่า ชาติคือความเกิดสิ้นแล้ว. บทว่า "ทนฺธายิตตฺต ทูลตอบล่าช้า"

ได้แก่ความล่าช้า คือความไม่รวดเร็ว ได้มีเพื่อที่จะได้รู้พระประสงค์ของ

พระศาสดา. ข้อว่า "ปม ปญฺห อนุโมทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุโมทนาปัญหาข้อที่ ๑ แล้ว" อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงถามปัญหาข้อที่ ๒ นี้ว่า ท่านพระสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ

ได้ทรงอนุโมทนาปัญหาข้อที่ ๑ ที่พระสารีบุตรเถระแก้แล้วอย่างนี้ว่า

ชาติมีปัจจัยเป็นต้นเหตุ.

บทว่า "เอตทโหสิ ได้มีความคิด" อธิบายว่า ความคิดนี้

ได้มีแล้ว เพราะค่าที่ปัญหาได้ปรากฏโดยความเป็นหมู่เดียวกัน โดยนัย

ตั้งร้อยตั้งพัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอนุโมทนาแล้ว. ข้อว่า "ทิวสปห

ภควโต เอตมตฺถ พฺยากเรยฺย แม้ข้าพเจ้าก็พึงทูลตอบข้อความนี้

ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดทั้งวัน" อธิบายว่า ข้าพเจ้าถูกพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสถามถึงเนื้อความในปฏิจจสมุปบาท แม้ตลอดทั้งวัน ก็

พึงทูลตอบถวายด้วยบทและพยัญชนะอื่น ๆ แม้ตลอดทั้งวัน. ข้อว่า

"เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ"

อธิบายว่า เล่ากันว่า พระกฬารขัตติยภิกษุนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

พระสารีบุตรเถระย่อมบันลือสีหนาทอย่างยิ่ง เราจักกราบทูลเหตุดีนี้แด่

พระทศพล เพราะฉะนั้น พระกฬารขัตติยะจึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 183

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

สาวกบารมีญาณ อันสามารถมองเห็นความดับแห่งปัจจยาการ ชื่อ

ว่า ธรรมธาตุ ในคำนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุ ก็ธรรมธาตุนั้น." ก็สาวก

บารมีญาณของพระสาวกทั้งหลาย เป็นไปในคติแห่งพระสัพพัญญุตญาณ

นั่นเอง. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีตเป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน ย่อม

ปรากฏแก่พระสัพพัญญุตญาณ ฉันใด สาวกบารมีญาณของพระสารีบุตร

เถระ ย่อมรู้โคจรธรรมทั้งปวงของสาวกญาณ ก็ฉันนั้น.

จบอรรถกถากฬารขัตติยสูตรที่ ๒

๓. ปฐมญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยญาณวัตถุ ๔๔

[๑๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๔๔ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงตั้งใจฟังซึ่งญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉน. คือความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุ

เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงควานดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 184

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้

ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้

ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ ความรู้

ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในเวทนา ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑

ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในสฬายตนะ ๑

ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่ง

สฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้

ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความ

ดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑

ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้

ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง

วิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขาร ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑

ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง

สังขาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นเรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔.

[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่

ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 185

อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ

นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ

อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความ

ทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่า

สัตว์นั้น ๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้

เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ

ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ ความเห็นชอบ ๑

ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายาม

ชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม

เป็นที่ดับชราและมรณะ.

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ

อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความ

ดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา

และมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวก

นั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้

ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือ

พราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุ

เป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้

รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ใน

บัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใด

เหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ

จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 186

และมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวย-

ญาณของอริยสาวกนั้น.

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ

อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของพระอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึง

พร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบ

ด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึง

กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง

อยู่ชิดประตูอมตะนิพพานบ้าง.

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภพเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะ

เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็วิญญาณเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน. สังขารมี ๓

คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะ

อวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ อริยมรรค

มีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑

การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจ

ไว้ชอบ ๑.

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุ

๑. มรรคญาณ. ๒.ผลญาณ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 187

เป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัด

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของ

อริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้

ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว

อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้

รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้

ปฏิปทาอันให้ถึงควานดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกัน

ทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้

สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้

ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกัน

ทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น.

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑

อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิบ้าง ผู้ถึง

พร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบ

ด้วยญาณของเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแส

แห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิด

ประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้.

จบปฐมญาณวัตถุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 188

อรรถกถาญาณวัตถุสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในญาณวัตถุสูตรที่ ๓ ต่อไป. ข้อว่า "ต สุณาถ

พวกเธอจงฟังญาณวัตถุนั้น" ได้แก่พวกเธอจงฟังการแสดงญาณวัตถุนั้น.

ญาณนั่นเอง พื้งทราบว่า ญาณวัตถุ ในคำนี้ว่า าณวตฺถูนิ นี้. ใน

ญาณ ๔ มี ชรามรณญาณ เป็นอาทิ ญาณที่ ๑ มี ๔ อย่างคือ สวนมยญาณ

(ความรู้อันสำเร็จด้วยการฟัง ) สัมมสนญาณ (ความรู้อันเกิดจากการ

พิจารณา) ปฏิเวธญาณ ( ความรู้อันเกิดจากการรู้แจ้งแทงตลอด)

ปัจจเวกขณญาณ (ความรู้อันเกิดจากการพิจารณา ). ญาณที่ ๒ ก็เหมือน

กัน. ส่วนญาณที่ ๓ เว้นสัมมสนญาณเสีย จึงมีเพียง ๓ อย่างเท่านั้น.

ญาณที่ ๔ ก็เหมือนกัน เพราะว่า โนโลกุตรธรรม ย่อมไม่มีสัมม-

สนญาณ. แม้ในคำว่า "ชาติยา าณ ความรู้ในชาติ" เป็นต้น

ก็มีนัยนี้แหละ. ข้อว่า "อิมินา ธมฺเมน ด้วยธรรมนี้" คือ ด้วย

สัจธรรม ๔ นี้ หรือด้วยมรรคญาณธรรม.

ในบทว่า ทิฏฺเน เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า ทิฏฺเน

ได้แก่อันตนเห็นแล้วด้วยญาณจักษุ ( ดวงตาคือปัญญา). บทว่า วิทิเตน

ได้แก่รู้แล้วด้วยปัญญา. บทว่า "อกาลิเกน ให้ผลไม่มีกำหนดกาล"

ได้แก่ให้ผลในลำดับแห่งการรู้แจ้งแทงตลอดไม่ละเลยกาลไรๆ เลย. บทว่า

" ปตฺเตน ถึงแล้ว" แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า "ปริโยคาฬฺเหน

หยั่งรู้แล้ว คืออันตนหยั่งรู้แล้ว ได้แก่เข้าถึงด้วยปัญญา. บทว่า "อตี-

ตานาคเต นย เนติ นำนัยในอดีตและอนาคตไป" ได้แก่นำนัยในอดีต

และอนาคตไปโดยนัยมีอาทิว่า "สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 189

ก็ในคำนี้ พระสารีบุตรเถระอาจนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยสัจธรรม

๔ บ้าง ด้วยมรรคญาณธรรมบ้าง. ก็เมื่ออริยสัจ ๔ ก็ดี มรรคญาณก็ดี

อันตนแทงตลอดแล้ว หลังจากนั้น ปัจจเวกขณญาณย่อมมี. พึงทราบ

อธิบายว่า นำนัยไปด้วยปัจจเวกขณญาณนั้น. บทว่า อพฺภญฺึสุ แปลว่า

ได้รู้แล้ว. คือ ทราบแล้ว. ข้อว่า "เสยฺยถาปิห เอตรหิ เหมือนอย่าง

ที่เรารู้ในบัดนี้ " คือเหมือนอย่างเรารู้ด้วยยอำนาจอริยสัจ ๔ ในบัดนี้.

บทว่า อนฺวเย าณ ได้แก่ความรู้ในธรรมอันเหมาะสม คือ ความรู้

ในอันติดตามญาณในธรรม. คำว่า อนวยญาณ นี้ เป็นชื่อของปัจจ-

เวกขณญาณ. ข้อว่า "ธมฺเม าณ ได้แก่มรรคญาณ." เสขภูมิของ

พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในพระสูตรนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมญาณวัตถุสูตรที่ ๓

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร

ว่าด้วยการแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่ภิกษุ

[๑๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงญาณวัตถุ ๗๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงตั้งใจฟังญาณวัตถุนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณ

วัตถุ ๗๗ เป็นไฉน. ญาณวัตถุ ๗๗ นั้น คือความรู้ว่า เพราะชาติเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 190

ปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะ

จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคต-

กาล ความรู้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ๑ ความรู้ว่า

เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของชาติ

นั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความ

รู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า

เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี ๑

ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของภพนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย

ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึง

ไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

อุปาทานนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี

อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ๑ ความรู้

ว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของตัณหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 191

นั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี

ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

ตัณหาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติ-

ญาณของเวทนานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็น

ธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า

เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑

แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

ผัสสะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ

สฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึง

ไม่มี ๑ เเม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ

จึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติ-

ญาณของสฬายตนะนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับ

เป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึง

มี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล

ความรู้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อ

นามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 192

นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะ

จึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของนามรูปนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม

ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑

แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑

ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ แม้ในอนาคตกาล ความ

รู้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อวิญญาณ

ไม่มี นามรูปจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของวิญญาณนั้น มี

ความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑. ความรู้ว่า

เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี

วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย

วิญญาณจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ แม้ใน

อนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

สังขารนั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชา

ไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้ในอดีตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความรู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ แม้

ในอนาคตกาล ความรู้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ๑ ความ

รู้ว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ๑ ความรู้ว่า ธรรมฐิติญาณของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 193

อวิชชานั้น มีความสิ้น ความเสื่อม ความคลาย ความดับเป็นธรรมดา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗.

จบทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป.

บทว่า สตฺตสตฺตริ แปลว่า เจ็ด และเจ็ดสิบ คือ ๗๗. กล่าวกันว่า

ภิกษุเหล่านั้นผู้กล่าวพยัญชนะ เมื่อมีผู้กล่าวเพิ่มพยัญชนะมากขึ้น ก็สามารถ

แทงตลอดได้. เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตาม

อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า "ธมฺาฏฺิติาน ธรรมฐิติญาณ"

คือความรู้ในปัจจยาการ ก็ปัจจยาการท่านเรียกว่า ธรรมฐิติ เพราะเป็นเหตุ

ของปวัตติฐิติแห่งธรรมทั้งหลาย. ญาณในธรรมฐิตินี้ ชื่อว่า ธรรมฐิติญาณ.

คำว่าธรรมฐิติญาณนี้เป็นชื่อของญาณ ๖ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า

ขยธมฺม คือถึงความสิ้นไปเป็นสภาวะ. บทว่า วยธมฺม คือถึงความเสื่อม

ไปเป็นสภาวะ. บทว่า วิราคธมฺม คือถึงความคลายกำหนัดเป็นสภาวะ.

บทว่า นิโรธธมฺม คือถึงความดับเป็นสภาวะ. คำว่า สตฺตสตฺตริ อธิบาย

ว่า ใน ๑๑ บท แบ่งเป็นบทละ ๗ จึงรวมเป็น ๗๗. การบรรลุวิปัสสนา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อวิปัสสนาในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถาทุติยญาณวัตถุสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 194

๕. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร

ว่าด้วยสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน

และชรามรณะนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหา

ยังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้

เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะ

นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่

พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง

สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ

ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้

ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ.

[๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็น

ไฉน และชาตินี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหา

ยังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 195

ใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น คำทั้ง

สองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อน

ภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดย

สายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ.

[๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็น

ไฉน และภพนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้งปัญหา

ยังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร

หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของ

ผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูก่อนภิกษุ

เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดย

สายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็น

ปัจจัย จึงมีภพ . . . เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน . . .เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. . . เพราะ

สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. . . เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี

วิญญาณ. . .

[๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 196

เป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ตั้ง

ปัญหายังไม่ถูก ดูก่อนภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้

เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่นและสังขารนี้เป็นของผู้อื่น

คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น

ดูก่อนภิกษุ เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรม

โดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย จึงมีสังขาร.

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก

อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้

เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น

ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง

ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำ

ให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก

อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร

หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระ

ก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อัน

อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 197

ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอก

โดยไม่มีเหลือ.

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก

อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือ

ว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวก

นั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความ

ไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดย

ไม่เหลือ. . . อุปาทานเป็นไฉน. . .ตัณหาเป็นไฉน. . .เวทนาเป็นไฉน. . .

ผัสสะเป็นไฉน . . .สฬายตนะเป็นไฉน. . . นามรูปเป็นไฉน . . .วิญญาณ

เป็นไฉน. . .

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อัน

บุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือ

ว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระ

ก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น

อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอด

ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับ

ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

จบปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕ ต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 198

พระศาสดาทรงให้เทศนาจบลงในคำว่า สมุทโย โหติ นี้เอง. เพราะ

เหตุไร. เพราะเพื่อให้โอกาสแก่ผู้มีทิฏฐิ. เพราะว่า ในบริษัทนั้นผู้มีทิฏฐิมี

จิตครุ่นคิดกังวลมีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า "ผู้นั้นจักถาม

ปัญหา ครั้นแล้วเราจักแก้แก่เขา" ดังนั้น จึงทรงพักเทศนาไว้ เพื่อให้ผู้นั้น

เห็นโอกาส. ข้อว่า "โน กลฺโล ปญฺโห ตั้งปัญหายังไม่ถูกต้อง"

อธิบายว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ไม่ควร คือเป็นปัญหาที่เลว. ก็ข้อที่ถาม

ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน" นี้ เป็นการถามดีแล้ว

มิใช่หรือ. ตอบว่า เป็นการถามที่ดีแล้วก็จริง แต่ก็เหมือนอย่างว่า เมื่อ

คนเอาก้อนคูถประมาณเท่ามะขามป้อมทรงไว้ข้างบนสุดของโภชนะดีที่เขาตัก

ใส่ถาดทองราคาตั้งแสน โภชนะทั้งหมดก็ต้องกลายเป็นโภชนะเลวควรทิ้ง

ฉันใด แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาเลว เพราะกล่าวด้วยการเข้าไปยึดถือสัตว์นี้ว่า

"ก็แลชรามรณะนี้เป็นของใคร." เหมือนโภชนะนั้นที่กลายเป็นโภชนะ

เลวเพราะก้อนคูถฉันนั้นแล.

บทว่า "พฺรหฺมจริยวาโส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์" คืออยู่ด้วย

อริยมรรค. ข้อว่า "ต ชีว ต สรีร ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น"

อธิบายว่า ก็ผู้ใดมีความเห็นเช่นนี้ ผู้นั้นย่อมถือเอาว่า เมื่อชีพขาดสูญ

สรีระก็ขาดสูญ เมื่อสรีระขาดสูญ ชีวิตก็ขาดสูญ" เมื่อถืออย่างนี้ ความ

เห็นนั้น จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะได้ถือเอาว่า "สัตว์ย่อมขาดสูญ."

แต่ถ้าจะพึงถือเอาว่า "สังขารทั้งหลายแล ย่อมเกิดขึ้นและดับไปทั้งนั้น. "

ความเห็นที่หยั่งลงในพระศาสนาพึงเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ชื่อว่าอริยมรรคนี้ย่อม

ดับวัฏฏะตัดขาดวัฏฏะเกิดขึ้น. เมื่อสภาวะแห่งอาการที่ถือเอาด้วยอุจเฉท-

ทิฏฐิยังมีอยู่ (ถ้า) เว้นมรรคภาวนาเสีย วัฏฏะนั้นแลย่อมดับได้ไซร้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 199

เหตุนั้น มรรคภาวนา (การเจริญมรรค) ย่อมไม่มีประโยชน์. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี."

พึงทราบวินิจฉัยในนัยที่สอง. ผู้ใดมีความเห็นอย่างนี้ว่า ชีพก็

อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ผู้นั้นย่อมเป็นอันถือเอาว่า สรีระย่อมขาด

สูญในโลกนี้เอง แต่ชีวิตย่อมไปตามสบาย เหมือนนกที่ออกจากกรงได้ก็

ไปตามสบายของตนฉะนั้น. เมื่อถืออย่างนี้ ความเห็นนั้น จึงชื่อว่า

สัสสตทิฏฐิ เพราะได้ถือเอาว่า "ชีวิตจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น" ก็อริย-

มรรคนี้เมื่อเว้นเสียซึ่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อความเที่ยง

ความแท้ ความคงที่แม้ในสังขารอย่างเดียวยังมีอยู่ อริยมรรคนั้น แม้เกิด

ขึ้นแล้วก็ไม่อาจทำให้วัฏฏะหยุดหมุนเวียนได้ เพราะฉะนั้น มรรคภาวนา

จึงไม่มีประโยชน์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อน

ภิกษุ เมื่อมีความเห็นว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง การอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ย่อมไม่มี. คำว่า "เป็นข้าศึก" เป็นต้น ล้วนเป็นไวพจน์ของ

มิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น. ก็มิจฉาทิฏฐินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

ข้าศึกเพราะรองรับตนเองเหมือนข้าศึก เพราะอรรถว่า ชำแรกสัมมาทิฏฐิ

ตรัสเรียกว่า อันบุคคลเสพผิด เพราะไม่เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิ แต่เป็น

ไปโดยเกลียดชังต่อสัมมาทิฏฐินั้น ตรัสเรียกว่า ดิ้นรนแกว่งส่ายไปผิดรูป

เพราะบางคราวก็เป็นอุจเฉททิฏฐิถือความขาดสูญ บางคราวก็เป็นสัสตทิฏฐิ

ถือความเที่ยงแท้. บทว่า ตาลาวตฺถุกตานิ คือทำให้เหมือนตาลยอดด้วน

อธิบายว่า เหมือนตาลยอดด้วน เพราะอรรถว่า ไม่งอกขึ้นอีก และทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 200

ให้เหมือนที่ที่ถอนตาลขึ้นทั้งรากตั้งไว้. ข้อว่า อนภาว คตานิ แปลว่า

ถึงความไม่มีในภายหลัง.

จบอรรถกถาปฐมอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๕

๖. ทุติยอวิชชาปัจจยสูตร

ว่าด้วยอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร

[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ

สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นไฉน

และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นอย่างอื่น และ

ชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองงของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง

สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ฯ ล ฯ

ชาติเป็นไฉน. . .ภพเป็นไฉน. . .อุปาทานเป็นไฉน. . .ตัณหาเป็น

ไฉน. . . เวทนาเป็นไฉน. . . ผัสสะเป็นไฉน. . . สฬายตนะเป็นไฉน. . .

นามรูปเป็นไฉน. . . วิญญาณเป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 201

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวว่า สังขารเป็นไฉน

และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขาร

นี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกัน

แต่พยัญชนะเท่านั้น เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่าง

หนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองงนั้น ดังนี้ว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น

ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะ

เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรามรณะนี้เป็นของผู้อื่น

ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิ

เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้

เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น

ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็น

ของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อัน

นั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้น

ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาล

ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชา

ดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 202

ภพเป็นไฉน. . . อุปาทานเป็นไฉน. . . ตัณหาเป็นไฉน. . . เวทนา

เป็นไฉน. . .ผัสสะเป็นไฉน. . .สฬายตนะเป็นไฉน. . .นามรูปเป็นไฉน. . .

วิญญาณเป็นไฉน. . .

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็น

ข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็น

ของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็

อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเหล่านั้น

ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดัง

ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ

อวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ.

จบทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยอวิชชาเป็นปัจจยสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖ ต่อไป.

ข้อว่า "อิติ วา ภิกฺขเว โย วเทยฺย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้" อธิบายว่า ในบริษัทนั้น ผู้ถือทิฏฐิใคร่ที่จะถามปัญหามีอยู่. แต่ผู้

นั้นพระธาตุแห่งผู้ไม่กล้าหาญจึงไม่อาจจะลุกขึ้นถามพระทศพล. เพราะฉะนั้น

พระศาสดาจึงตรัสถามเสียเองตามความประสงค์ของเขา เมื่อจะทรงแก้ จึง

ตรัสอย่างนี้.

จบอรรถกถาทุติยอวิชชาปัจจยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 203

๗. นตุมหสูตร

ว่าด้วยปัจจัยปรุงแต่งกรรม

[๑๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของ

ผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เกิด

ขึ้นด้วยความตั้งใจ เป็นที่ตั้งของเวทนา.

[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในเรื่องกาย

นั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายซึ่งปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี

สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็น

ปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับ

โดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบนตุมหสูตรที่ ๗

อรรถกถานตุมหสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในนตุมหสูตรที่ ๗ ต่อไป.

ข้อว่า "นาย ตุมฺหาก กายนี้มิใช่ของพวกเธอ" อธิบายว่า เมื่ออัตตามีอยู่

ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่เป็นอัตตาก็ย่อมมี. แต่อัตตานั่นแหละย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 204

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กายนี้มิใช่ของพวกเธอ. ข้อว่า "นาปิ

อญฺเส ทั้งมิใช่ของผู้อื่น" คือ อัตตาของคนอื่นชื่อว่าเป็นอื่นไป. เมื่ออัตตา

นั้นมีอยู่ ที่ชื่อว่า อัตตาอื่นก็พึงมี ทั้งอัตตาอื่นนั้นก็ไม่มี. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทั้งมิใช่ของคนอื่น. ข้อว่า "ปุราณมิท

ภิกฺขเว กมฺม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ " อธิบายว่า กรรมนี้มิใช่

กรรมเก่าเลย แต่กายนี้ บังเกิดเพราะกรรมเก่า เพราะฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้ด้วยปัจจยโวหาร. บทว่า อภิสงฺขต เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยศัพท์เป็นเพศชายโดยอำนาจแห่งกรรมโวหาร

นั่นเอง. ก็ในคำว่า อภิสงฺขต เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ บทว่า อภิสงฺขต

ได้แก่ กายนี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยแต่งแล้ว. บทว่า อภิสญฺเจตยิต ได้แก่

พึงทราบว่ามีเจตนาเป็นที่ตั้ง คือมีความจงใจเป็นมูล. บทว่า เวทนีย

ได้แก่ พึงทราบว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.

จบอรรถกถานตุมหสูตรที่ ๗

๘. ปฐมเจตนาสูตร

ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์

[๑๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิด

ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมี

อารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 205

เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพ

ใหม่ต่อไป ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้น

เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความ

ตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความ

บังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติ

ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิด

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และ

ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง

วิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อ

วิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป

จึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติ ชราและมรณะ

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบปฐมเจตนาสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมเจตนาสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาสูตรที่ ๘ ต่อไป.

ข้อว่า ยญฺจ ภิกฺขเว เจเตติ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ

สิ่งใด" อธิบายว่า ย่อมจงใจ คือยังความจงใจใดให้เป็นไป. ข้อว่า ยญฺจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 206

ปกปฺเปติ "ย่อมดำริสิ่งใด อธิบายว่า ย่อมดำริ คือยังความดำริใดให้เป็น

ไป. ข้อว่า "ยญฺจ อนุเสติ ย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด" อธิบายว่า ย่อมครุ่นคิด

คือยังความครุ่นคิดใดให้เป็นไป. ก็ในข้อความนี้ ความจงใจอันเป็นกุศล

และอกุศล ที่เป็นไปในภูมิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาว่า ย่อม

จงใจ ความดำริด้วยตัณหาและทิฏฐิในจิตอันเกิดพร้อมด้วยโลภะ ๘ ดวง

ทรงถือเอาว่า ย่อมดำริ. ความครุ่นคิด ทรงถือเอาด้วยที่สุดแห่งเจตนา

๑๒ ที่เกิดพร้อมกัน และด้วยที่สุดแห่งอุปนิสัยว่า ย่อมครุ่นคิด. ข้อว่า

" อารมฺมณเมต โหติ สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัย" ได้แก่ ธรรมชาติ

มีเจตนาเป็นต้นนี้ เป็นปัจจัย. และปัจจัยทรงประสงค์เอาว่า อารมณ์ใน

ที่นี้. ข้อว่า "วิญฺาณสฺส ิติยา เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ" คือ

เพื่อความตั้งอยู่แห่งกรรมวิญญาณ. ข้อว่า "อารมฺมเณ สติ เมื่อมี

อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เมื่อปัจจัยนั้นมีอยู่. บทว่า ปติฏฺา วิญฺาณสฺส

โหติ ความว่า ย่อมเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งกรรมวิญญาณนั้น. บทว่า ตสฺมึ

ปติฏฺิเต วิญฺาเณ ได้แก่ เมื่อกัมมวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว. บทว่า

"วิรุฬฺเห เจริญขึ้นแล้ว" ได้แก่ เมื่อเกิดมูลเหตุแห่งการบังเกิด เพราะ

สามารถให้กรรมทรุดโทรมไปแล้วชักปฏิสนธิมา. บทว่า "ปุนพฺภวา-

ภินิพฺพตฺติ" แปลว่า ความบังเกิด กล่าวคือภพใหม่. ขณะที่ความ

จงใจอันเป็นไปในภูมิ ๓ ไม่เป็นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำนี้

ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่จงใจ" ขณะที่ความดำริเรื่องตัณหา

และทิฏฐิไม่เป็นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำว่า "โน จ ภิกฺขเว

เจเตติ ก็ภิกษุไม่ดำริ," ด้วยบทว่า โน จ ปกปฺเปติ ท่านกล่าวถึงขณะ

แห่งความดำริด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิไม่เป็นไป. กิริยาที่เป็นกามาพจร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 207

คือความครุ่นคิด ในวิบากอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทรงถือเอาด้วยคำว่า

"อนุเสติ ย่อมครุ่นคิด." ในคำว่า "อนุเสติ" นี้ ทรงถือเอาผู้ที่ยัง

ละความครุ่นคิดไม่ได้. ข้อว่า "อารมฺมณเมต โหติ อารัมมณปัจจัยนั้น

ย่อมมี" หมายความว่าเมื่อความครุ่นคิดมีอยู่ ความครุ่นคิดนั้นจึงเป็น

ปัจจัย (แห่งกัมมวิญญาณ) โดยแท้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งกัมมวิญญาณ

เป็นสิ่งที่ใครห้ามไม่ได้.

ในบทว่า "โน จ เจเตติ ก็ภิกษุไม่จงใจ" เป็นต้น กุศล-

เจตนาและอกุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

บทที่ ๑. ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ตรัสไว้ในบทที่ ๒. ความครุ่นคิด

ที่บุคคลครุ่นคิด โดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ในธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ตรัส

ไว้ในบทที่ ๓.

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อมิให้ฉงนในพระสูตรนี้ ควรทราบหมวด ๔

ดังนี้คือ ย่อมจงใจ ย่อมดำริ ย่อมครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ

แต่ดำริ และครุ่นคิด หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ครุ่นติด

หมวด ๑. ย่อมไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิด หมวด ๑. ในหมวด ๔

นั้น การกำหนดธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนัยที่ ๑.

กุศลเจตนาอันเป็นไปในภูมิ ๓ และอกุศลเจตนา ๔ ทรงถือเอาว่า

" จงใจ" ในนัยที่ ๒. ตัณหาและทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ทรงกล่าวว่า

"ไม่ดำริ" ความครุ่นคิด โดยที่สุดแห่งอุปนิสับในกุศลอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ก็ดี โดยที่สุดแห่งปัจจัยที่เกิดพร้อมกันในอกุศลเจตนา ๔ ก็ดี

โดยที่สุดแห่งอุปนิสัยก็ดี ทรงถือเอาว่า "อนุสโย ครุ่นคิด." กุศลและ

อกุศลที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทรงกล่าวว่า "ไม่จงใจ" ในนัยที่ ๓. ตัณหาและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 208

ทิฏฐิในจิต ๘ ดวง ทรงกล่าวว่า "ไม่ดำริ" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ห้ามจิตที่มาในพระสูตร แล้วทรงถือเอาอุปนิสัยโดยที่สุดที่ยังละไม่ได้ ใน

กุศลจิต อกุศลจิต วิปากจิต กิริยาจิต ที่เป็นไปในภูมิ ๓ และรูป

ด้วยคำว่า "ย่อมครุ่นคิด." นัยที่ ๔ เช่นกับนัยก่อนแล.

บทว่า ตทปฺปติฏฺิเต แปลว่า เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมนแล้ว.

บทว่า "อวิรุฬฺเห ไม่เจริญขึ้นแล้ว" ได้แก่ เมื่อเกิดมูลแห่งการไม่

บังเกิด เพราะสามารถให้กรรมทรุดโทรมแล้วชักปฏิสนธิมา. ถามว่า

ก็ในวาระที่ ๓ นี้ท่านกล่าวถึงอะไร. แก้ว่า กล่าวถึงกิจของอรหัตมรรค.

จะกล่าวว่า การกระทำกิจของพระขีณาสพบ้าง นวโลกุตรธรรมบ้าง

ก็ควร. แต่ในวาระนี้ มีอธิบายว่า ระหว่างวิญญาณกับภพใหม่ในอนาคต

เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหาเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่าง

ภพกับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง.

จบอรรถกถาปฐมเจตนาสูตรที่ ๑

๙. ทุติยเจตนาสูตร

ว่าด้วยความเกิดดับแห่งกองทุกข์

[๑๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณ-

ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 209

ขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

โทนนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด

สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมมณ-

ปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญ

ขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข -

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประ-

การอย่างนี้.

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และ

ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง

วิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อ

วิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความหยั่งลงแห่งนามรูปจึง

ไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 210

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ

ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ

อุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

จบทุติยเจตนาสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยเจตนาสูตรที่ ๙

ในทุติยเจตนาสูตรที่ ๙ มีอธิบายว่า ระหว่างวิญญาณกับนามรูป

เป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างเวทนากับตัณหาเป็นสนธิอันหนึ่ง ระหว่างภพ

กับชาติเป็นสนธิอันหนึ่ง ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยเจตนาสูตรที่ ๙

๑๐. ตติยเจตนาสูตร

ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และย่อมครุ่นคิดถึง

สิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมี

อารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว

เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียนมาจึงมี เมื่อมีคติ

ในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ ชาติชราและมรณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 211

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ

แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง

วิญญาณ เมื่อมีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณ

นั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงมี เมื่อมีตัณหา คติในการเวียน

มาจึงมี เมื่อมีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงมี เมื่อมีจุติและอุปบัติ

ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และ

ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่ง

วิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อ

วิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา

คติในการเวียนมาจึงไม่มี เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึง

ไม่มี เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

โทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยประการอย่างนี้.

จบตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐

กฬารขัตติยวรรคที่ ๔ จบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 212

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภูตมิทสูตร ๒. กฬารขัตติยสูตร ๓. ปฐมญาณวัตถุสูตร

๔. ทุติยญาณวัตถุสูตร ๕. ปฐมอวิชชาปัจจยสูตร ๖. ทุติยอวิชชา-

ปัจจยสูตร ๗. นตุมหากังสูตร ๘. ปฐมเจตนาสูตร ๙. ทุติยเจตนา-

สูตร ๑๐. ตติยเจตนาสูตร.

อรรถกถาตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐ ต่อไป.

บทว่า นติ แปลว่า ตัณหา. ก็ตัณหานั้น เรียกว่า นติ เพราะอรรถว่า

น้อมไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นปิยรูป รูปที่น่ารัก. ข้อว่า อาคติคติ

โหติ แปลว่า คติในการเวียนมาจึงมี. เมื่อกรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิต

มาปรากฏ คติแห่งวิญญาณย่อมมีด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า "จุตูปปาโต

จุติและอุปบัติจึงมี" หมายความว่า เมื่อคติอันเป็นอารมณ์แห่งปฏิสนธิมา

ปรากฏแก่วิญญาณ มีอยู่ จุติ กล่าวคือการเคลื่อนจากภพนี้จึงมี. อุปบัติ

กล่าวคือการบังเกิดขึ้นในภพนั้นจึงมี. ชื่อว่าจุติและอุปบัติ (การตายและ

การเกิด) นี้จึงมี. ระหว่างตัณหากับคติในการเวียนมา จึงเป็นอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นสนธิอันหนึ่งในพระสูตรนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบตติยเจตนาสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถากฬารขัตติยวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 213

คหบดีวรรคที่ ๕

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านอนาถ-

บิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท

แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใดแล

ภัยเวร ๕ ประการ ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบ

ด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ

อริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง

พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว

เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในกาย

หน้า.

[๒๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี

บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ

หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ

ภัยเวรของอริยสาวกผู้พ้นขาดจากปาณาติบาต สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 214

หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ

ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมี

ในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉา-

จารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร สงบแล้ว

ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้

บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะ

มุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาท สงบแล้วด้วย

อาการอย่างนี้ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและ

เมรัย ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง

ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจาก

การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สงบแล้วด้วย

อาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว.

[๑๕๓] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ

๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบ

ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็น

สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้ ย่อมประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 215

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อม

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ

เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระ-

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ

ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา

อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ

อันตัณหาและทิฏฐิไม่ครอบงำได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบ

ด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้.

[๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว

แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรม

วินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดีว่า

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี

สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 216

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะ

นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะ

ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหา

ดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ

จึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โลกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ญาย-

ธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วย

ปัญญา.

[๑๕๕] ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของ

อริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์

แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐนี้ อันอริยสาวก

นั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง

พยากรณ์ด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

สิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็น

โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า.

จบปฐมปัญจเวรภยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 217

คหปติวรรคที่ ๕

อรรถกถาปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจภยเวรสูตรที่ ๑ แห่งคหปติวรรคต่อไป.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ภยานิ เวรานิ ได้แก่ เจตนา

เป็นเหตุก่อภัยและเวร. บทว่า "โสตาปตฺติยงฺเคหิ ด้วยธรรมเป็นองค์

แห่งโสดาปัตติ" อธิบายว่า องค์แห่งโสดาปัตติ มี ๒ อย่าง คือ

องค์ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต้นเพื่อได้เฉพาะโสดาปัตติมรรคที่มาอย่างนี้

คือ สัปปุริสสังเสวะ (การคบสัตบุรุษ) สัทธัมมสวนะ (การฟังธรรม

ของสัตบุรุษ) โยนิโสมนสิการ (การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย)

ธัมมานุธัมมปฏิบัติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) ซึ่งเรียกว่า

องค์แห่งโสดาปัตติมรรค ๑ องค์แห่งบุคคลผู้มีคุณธรรมอันได้แล้ว บรรลุ

โสดาปัตติมรรคแล้วดำรงอยู่ ซึ่งเรียกว่า องค์แห่งโสดาบัน ๑. คำว่า

โสตาปนฺนสฺส นี้ เป็นชื่อของผู้มีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวเป็นต้น ใน

พระพุทธเจ้า คำนี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้.

บทว่า อริโย แปลว่า ผู้ไม่มีโทษ คือ ผู้ไม่มีการติเตียน. บทว่า

ญาโย ได้แก่ ญาณที่รู้ปฏิจจสมุทบาทตั้งอยู่บ้าง ปฏิจจสมุปบาทธรรม

บ้าง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาท เรียกว่า ญายธรรม.

แม้อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านก็เรียกว่า ญายธรรม. บทว่า "ปญฺาย

ด้วยปัญญา" ได้แก่ ด้วยวิปัสสนาปัญญาที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันไป. บทว่า

"สุทิฏฺโ โหติ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว" ได้แก่ อันอริยสาวกเห็น

แล้วด้วยดี ด้วยอำนาจการเห็นเกิดขึ้นต่อ ๆ กัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 218

บทว่า "ขีณนิรโย มีนรกสิ้นแล้วเป็นต้น" อธิบายว่า นรกของ

เราสิ้นแล้ว เพราะไม่เกิดขึ้นในนรกนั้นต่อไปอีก เพราะฉะนั้น เราจึง

ชื่อว่า เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บทว่า โสตาปนฺโน

แปลว่า ถึงกระแสแห่งมรรค. บทว่า "อวินิปาตธมฺโม มีการไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา" ได้แก่ มีอันไม่ตกต่ำเป็นสภาวะ. บทว่า "นิยโต เที่ยง"

ได้แก่ เที่ยงโดยกำหนดความเป็นชอบ กล่าวคือมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติ-

มรรค). บทว่า "สมฺโพธิปรายโน จะตรัสรู้ในภายหน้า" ได้แก่

ปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือมรรค ๓ เบื้องสูง เป็นเบื้องหน้า คือเป็น

ทางของเรา เพราะเหตุนั้น เรานั้นจึงชื่อว่าจะมีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

อธิบายว่า จะตรัสรู้พระสัมโพธิญาณนั้นแน่แท้.

บทว่า "ปาณาติบาตปจฺจยา เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย" ได้แก่

เพราะกรรมคือปาณาติบาตเป็นเหตุ. สองบทว่า "ภย เวร เวร" โดย

เนื้อความเป็นอันเดียวกัน . และขึ้นชื่อว่า เวรนี้มี ๒ อย่าง คือ เวรภายนอก ๑

เวรภายใน ๑ ก็เมื่อบิดาของคนคนหนึ่ง ถูกบุคคลหนึ่งฆ่าตาย เขาจึงคิด

ว่า "ข่าวว่า บิดาของเราถูกผู้นี้ฆ่าตายเสียแล้ว แม้เราก็จักฆ่ามันให้ตาย

เหมือนกัน" ดังนี้ จึงเอาศัสตราพกติดตัวไป. เจตนาอันเป็นเหตุก่อ

เวร อันเกิดขึ้นแล้วในภายในของผู้นั้น นี้ชื่อว่า เวรภายนอก. ส่วน

บุคคลนอกนี้เกิดความคิดว่า "ข่าวว่า บุคคลนี้เที่ยวเพื่อจะฆ่าเรา

เรานี่แหละจักฆ่ามันก่อน" นี้ชื่อว่า เวรภายใน. แม้เวรทั้ง ๒ อย่างนี้

ก็จักเป็นเวรในปัจจุบันนั่นเอง. ส่วนความจงใจที่เกิดขึ้นแก่นายนิรยบาล

ผู้เห็นเขาเกิดในนรกถือค้อนเหล็กอันลุกโพลงด้วยคิดว่า "เราจักฆ่ามัน"

นี้เป็นเวรภายนอกอันจะมีในภายหน้า. ผู้ที่มีความคิดมาว่า ผู้นั้นเกิดความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 219

จงใจขึ้นว่า ผู้นี้มาเพื่อจะประหารเราผู้ไม่มีความผิด เรานี่แหละ จักฆ่า

มันก่อน. นี้ชื่อว่า เวรภายในอันจะมีในภายหน้า. อนึ่ง เวรที่เป็นภาย

นอกนี้นั้น ในอรรถกถา ท่านเรียกว่า "เวรส่วนบุคคล" สองบทว่า

"ทุกฺข โทมนสฺส ทุกข์ โทมนัส" โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง.

ก็ในข้อนี้มีอธิบายอย่างไร. แม้ในบทที่เหลือก็มีอธิบายอย่างนั้น. พึงทราบ

ความเกิดขึ้นแห่งเวรโดยนัยมีอาทิว่า "ผู้นี้ได้ทำลายสิ่งของของเราเสียแล้ว

ผู้นี้ได้ประพฤติ (ผิด) ในภรรยาของเราแล้ว ประโยชน์ถูกผู้นี้ทำลายแล้ว

เพราะกล่าวเท็จ กรรนชื่อนี้อันบุคคลนี้ก่อ (กระทำ) แล้วด้วยเหตุเพียง

เมาสุรา" ดังนี้. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวอันตนบรรลุแล้ว. บทว่า อริยกนฺเตหิ ได้แก่ ศีล ๕.

เพราะว่า ศีล ๕ เหล่านั้น เป็นที่ปรารถนา คือเป็นที่รักของพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย. พระอริยเจ้าทั้งหลายถึงไปสู่ภพก็ไม่ละศีล ๕ เหล่านั้น. เพราะ-

ฉะนั้น ศีล ๕ เหล่านั้น จึงเรียกว่า "เป็นที่ปรารถนาของพระอริยเจ้า."

ข้อที่เหลือซึ่งควรกล่าวในที่นี้ทั้งหมดนั้น ได้กล่าวแล้วในอนุสสตินิเทศ

ในวิสุทธิมรรคแล.

จบอรรถกถาปฐมปัญจภยเวรสูตรที่ ๑

๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 220

สงบแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดา-

ปัตติ ๔ อย่าง และญายธรรมอย่างประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว

แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วย

ตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว ฯลฯ มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า.

[คำทั้งปวง เป็นต้นว่า " ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" ควรให้

พิสดาร]

[๑๕๗] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติ

หน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ

ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

บุคคลผู้ลักทรัพย์. . .บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม. . .บุคคลผู้พูดเท็จ. . .

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ย่อม

ประสบภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวย

เจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาท ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมา คือ

สุราและเมรัยอันเป็นตั้งแห่งความประมาท สงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้

ภัยเวร ๕ ประการนี้ สงบแล้ว.

[๑๕๘] อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็นองค์แห่งโสดา-

ปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . .ในพระ-

ธรรม. . .ในพระสงฆ์. . .และประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 221

ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนั้น.

[๑๕๙] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว

แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี

ฯ ล ฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดี

แล้วด้วยปัญญา.

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้

ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็น

องค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวก

นั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง

พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราย่อมเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เรา

ย่อมเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ใน

ภายหน้า.

จบทุติยปัญจภยเวรสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยปัญจเวรภยสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ เพียงแต่ภาวะที่พวกภิกษุกล่าวเท่านั้น เป็นความ

ต่างกัน.

จบอรรถกถาปัญจเวรภยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 222

๓. ทุกขนิโรธสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับ

แห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.

[๑๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุ-

วิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น

ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย

นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูก

และกลิ่น . . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ

เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓

ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น

ปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์.

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะ

อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึง

ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 223

ดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย นี้แล

เป็นความดับแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูกและ

กลิ่น. . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ. . .

เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓

ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพื่อชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย

นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์.

จบทุกขนิโรธสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุกขนิโรธสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ ๓ ต่อไป.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่วัฏทุกข์ ทุกข์คือความเวียนว่ายตายเกิด. เหตุ

เกิดในบทว่า สมุทย มี ๒ อย่างคือ เหตุเกิดที่เป็นชั่วขณะ ๑ เหตุ

เกิดคือปัจจัย ๑. ภิกษุแม้เห็นเหตุเกิดคือปัจจัย ก็ชื่อว่าเห็นเหตุเกิดที่เป็น

ไปชั่วขณะ ถึงเห็นเหตุเกิดที่เป็นไปชั่วขณะ ก็ชื่อว่าเห็นเกิดคือปัจจัย.

ความดับในบทว่า อฏฺงฺคโม มี ๒ อย่างคือ ความดับสนิท ๑ ความดับ

คือการแตกสลาย ๑. ภิกษุแม้เห็นความดับสนิท ก็ชื่อว่าเห็นความดับคือการ

แตกสลาย ถึงเห็นความดับคือการแตกสลาย ก็ชื่อว่าเห็นความดับสนิท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 224

บทว่า เทเสสฺสามิ ได้แก่ เราจักแสดงความเกิดและความดับ ซึ่งชื่อว่าความ

บังเกิดและความแตกแห่งวัฏทุกข์นี้. อธิบายว่า พวกเธอจงฟังเหตุเกิดและ

ความดับนั้น. บทว่า ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะความประชุมแห่งธรรม ๓

ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะทำให้เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจนิสสยปัจจัยและ

อารัมมณปัจจัย. บทว่า อย โข ภิกฺขเว ทุกฺขสฺส สมุทโย ได้แก่

นี้ชื่อว่าเป็นความบังเกิดแห่งวัฏทุกข์. ข้อว่า อฏฺงฺคโม แปลว่า ความแตก

สลาย. วัฏทุกข์ย่อมเป็นอันถูกทำลายแล้ว หาปฏิสนธิมิได้ ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุกขนิโรธสูตรที่ ๓

๔. โลกนิโรธสูตร

ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งโลก

[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับแห่งโลก เธอ

ทั้งหลายจงฟัง. . . ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน. เพราะอาศัย

จักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็น

ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด

ตัณหา เพระตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย

จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิด

ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น

ความเกิดแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง. . .เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น. . .

๑. สังขารโลก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 225

เพราะอาศัยลิ้นและรส. . .เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ. . .เพราะอาศัยใจ

และธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็น

ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ฯล ฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย

จึงเกิดชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ภิกษุทั้งหลาย

นี้แลเป็นความเกิดแห่งโลก.

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน. เพราะ

อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการ

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทาน

จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ

ชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย

นี้แลเป็นความดับแห่งโลก เพราะอาศัยหูและเสียง. เพราะอาศัยจมูกและ

กลิ่น. . . เพราะอาศัยลิ้นและรส. . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ. . .

เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓

ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง

ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความ

ดับแห่งโลก.

จบโลกนิโรธสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 226

อรรถกถาโลกนิโรธสูตรที่ ๔

ในโลกนิโรธสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่สังขารโลก. ความต่างกันในสูตรที่ ๔ นี้

มีเพียงเท่านี้.

จบอรรถกถาโลกนิโรธสูตรที่ ๔

๕. ญาติกสูตร

ว่าด้วยความประชุม ๓ ประการเป็นผัสสะ

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่คิญชกาวสถะ [มหา-

ปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ] ใกล้บ้านพระญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในที่ลับ ทรงเร้นอยู่ ได้ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า เพราะอาศัยจักษุ

และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็น

ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิด

ขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและ

เสียง. . . เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น. . . เพราะอาศัยลิ้นและรส. . . เพราะ

อาศัยกายและโผฏฐัพพะ. . . เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดนโนวิญญาณ

ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึง

เกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงเกิดอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 227

[๑๖๗] เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความ

ประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอก

โดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอาศัยหูและ

เสียง ฯลฯ เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุม

แห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วย

สำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๖๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังอยู่ใกล้้พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุนั้นแล้ว ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้หรือภิกษุนั้นทูลรับว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์

ได้ฟังอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ เธอจงศึกษาเล่าเรียน

ทรงจำธรรมปริยายนี้ ธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น

แห่งพรหมจรรย์.

จบญาติกสูตรที่ ๕

อรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕

ในญาติกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า าติเก ได้แก่ ใกล้บ้านแห่งหมู่พระญาติทั้ง ๒ ฝ่าย.

บทว่า คิญฺชกาวสเถ ได้แก่ ในมหาปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 228

ธมฺมปริยาย ได้แก่ เหตุแห่งธรรม บทว่า อุปสฺสุติ ได้แก่ เข้าไป

ยืนแอบฟัง. อธิบายว่า ยืนอยู่ในที่ที่ตนเข้าไปแล้วสามารถได้ยินพระสุร-

เสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้. เล่ากันว่า ภิกษุนั้นมาเพื่อจะกวาด

บริเวณพระคันธกุฏี ได้ละทิ้งการงานของตนเสีย แล้วไปยืนฟังเสียง

ประกาศธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. บทว่า อทฺทสา ความว่า

เล่ากันว่าในครั้งนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปัจจยาการแต่ต้น

ทรงรำพึงว่า "สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้ สิ่งนี้ย่อมมีเพราะปัจจัยนี้"

สังขารได้ปรากฏเป็นกลุ่มเดียวกันจนถึงภวัคคพรหม. พระศาสดาทรงละ

มนสิการแล้ว เมื่อจะทรงกระทำการสาธยายด้วยพระวาจา ได้ทรงจบพระ

เทศนาลงตามอนุสนธิ เมื่อทรงพระรำพึงว่า มีใครได้ฟังธรรมปริยายนี้บ้าง

ไหมหนอ จึงได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

"พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล." บทว่า อสฺโสสิ

โน ได้แก่ ได้ฟังแล้วหรือหนอ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺโสสิ โน

ความว่า ได้ฟังแล้วหรือไม่ได้ฟังเราผู้กำลังกล่าวอยู่. ในบทว่า อุคฺคณฺหาหิ

เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุฟังนิ่งอยู่ทำให้คล่อง ชื่อว่า ย่อมศึกษา. เมื่อสืบ

ต่อบทต่อบททำให้คุ้นเคยด้วยวาจา ชื่อว่า ย่อมเล่าเรียน. เมื่อกระทำความ

คล่องโดยประการทั้งสอง ให้บรรลุความทรงจำได้ ชื่อว่า ย่อมทรงจำไว้ได้.

บทว่า อตฺถสญฺหิโต ได้แก่ อาศัยเหตุ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่

เป็นที่ประดิษฐานเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์. วัฏฏะ (ความเวียนว่าย

ตายเกิด) และวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาญาติกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 229

๖. อัญญตรสูตร

ว่าด้วยทำเหตุอย่างใดได้รับผลอย่างนั้น

[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่ง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๗๐] พราหมณ์นั้น ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ คนนั้นทำเหตุ คนนั้นเสวยผล

หรือหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ โวหารนี้ว่า คนนั้น

ทำเหตุ คนนั้นเสวยผล เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง พราหมณ์นั้นทูลถามว่า

พระโคดมผู้เจริญ ก็คนอื่นทำเหตุ คนอื่นเสวยผลหรือ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ โวหารนี้ว่า คนอื่นทำเหตุ คนอื่น

เสวยผล เป็นส่วนสุดที่สอง ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดย

สายกลางไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึง

มีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วย

สำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์

นั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 230

เทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง

ยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด

ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วย

หวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรม

โดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้

ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่าน

พระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบอัญญาตรสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัญญาตรสูตรที่ ๖

ในอัญญตรสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า อญฺตโร คือพราหมณ์ผู้หนึ่งไม่ปรากฏชื่อ.

จบอรรถกถาอัญญตรสูตรที่ ๖

๗. ชาณุสโสณิสูตร

ว่าด้วยชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลถามพระพุทธเจ้า

[๑๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พราหมณ์

ชาณุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงประทับ ได้ปราศรัยกับพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง

ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 231

[๑๗๓] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ชาณุสโสณีพราหมณ์ได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอแล.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง.

ชา. พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ โวหารนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นส่วนสุด

ที่สอง. ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าใกล้ส่วน

สุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขาร

จึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๗๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุสโสณี-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือน

บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือ

ตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระ

องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุ

สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น

อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบชาณุสโสณิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 232

อรรถกถาชาณุสโสณิสูตรที่ ๗

ในชาณุสโสณิสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ชาณุสฺโสณิ ได้แก่ มหาปุโรหิตผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ซึ่งได้ชื่อ

อย่างนั้นด้วยอำนาจฐานันดร.

จบอรรถกถาถชาณุสโสณิสูตรที่ ๗

๘. โลกายติกสูตร

ว่าด้วยโลกายตะ

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้

รอบรู้คัมภีร์โลกายตะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ

[๑๗๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์ผู้รอบรู้คัมภีร์โลกายตะ ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่หรือหนอ.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่นี้ เป็นทิฏฐิว่าด้วย

ความสืบต่อแห่งโลกที่หนึ่ง.

โล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่นี้ เป็นทิฏฐิว่า

ด้วยความสืบต่อแห่งโลกที่สอง.

โล. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน

หรือ.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีสภาพเป็นอย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 233

กันนี้ เป็นทิฏฐิว่าด้วยความสืบต่อแห่งโลกที่สาม.

โล. พระโคดมผู้เจริญ ก็สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันหรือ.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่ว่า สิ่งทั้งปวงมีสภาพต่างกันนี้ เป็นทิฏฐิ

ว่าด้วยความสืบต่อแห่งโลกที่สี่ ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตแสดงธรรมโดย

สายกลาง ไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชาดับด้วย

สำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯ ล ฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โลกายติก-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนา

แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ

ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ใน

ที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระองค์ทรงประกาศ

ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ

ท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบโลกายติกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 234

อรรถกถาโลกายติกสูตรที่ ๘

ในโลกายติกสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกายติโก ได้แก่ผู้กระทำความคุ้นเคยในทิฏฐิว่าด้วยความ

สืบต่อแห่งโลก อันหมู่ชนผู้คุ้นเคยกันคุยกันเล่นสนุก ๆ. บทว่า เชฏฺเมต

โลกายต ได้แก่ ทิฏฐิว่าด้วยความสืบต่อแห่งโลกข้อที่ ๑. บทว่า โลกายต

ได้แก่ ความสืบต่อแห่งโลกนั่นเอง คือความสืบต่อแห่งโลกพาลปุถุชน

ได้แก่ทิฏฐิว่ามีเล็กน้อย อันบุคคลเข้าไปทรงจำว่าใหญ่ว่าลึก. ด้วยบทว่า

เอกตฺต นี้ พราหมณ์ชื่อ ชาณุสโสณี ถามถึงสิ่งที่มีสภาพเป็นอย่างเดียว

กันว่า เป็นสิ่งที่เที่ยงนั่นเอง. ด้วยบทว่า ปุถุตฺต ชาณุสโสณีพราหมณ์ถาม

ถึงสภาพที่ต่างจากภาพก่อน หมายเอาความขาดสูญว่า สิ่งทั้งปวงมีโดย

ภาวะเป็นเทวดาและมนุษย์เป็นต้นก่อน แต่ภายหลังย่อมไม่มีอีก. ในพระ

สูตรนี้ พึงทราบสัสตทิฏฐิ ๒ คือ สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ๑. สิ่งทั้งปวงมีสภาวะ

เป็นอย่างเดียวกัน ๑. พึงทราบอุจเฉททิฏฐิ ๒ คือ สิ่งทั้งปวงไม่มี ๑ สิ่ง

ทั้งปวงมีสภาวะต่างกัน ๑ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาโลกายติกสูตรที่ ๘

๙. ปฐมอริยสาวกสูตร

ว่าด้วยนามรูปมี ชรามรณะจึงมี

[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล. . . พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มี

ความสงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิด

ขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 235

เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่ออะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี

เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี เมื่ออะไรมี ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี

เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี.

[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อม

มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูป

มี สฬายตนะจึงมี เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี

เมื่อเวทนามี ตัณหาจึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพ

จึงมี เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้น

ย่อมรู้จักอย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้.

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความ

สงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไรดับ

อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึง

ไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไร

ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ภพ

จึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึง

ไม่มี.

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมมี

ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูป

ไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี ฯ ล ฯ อุปาทานจึงไม่มี. . . ภพจึงไม่มี. . .

ชาติจึงไม่มี เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้นย่อมรู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 236

ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับอย่างนี้.

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึง

เหตุเกิดและความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวก

นี้ เราเรียกว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะบ้าง

เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณ

อันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุ

กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่า

อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบปฐมอริยสาวกสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอริยสาวกสูตรที่ ๙

ในปฐมอริยสาวกสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ข้อว่า กึ นุโข เป็นการแสดอาการเกิดขึ้นแห่งความสงสัย. บทว่า

สมุทยติ แปลว่า เกิดขึ้น.

จบอรรถกถาปฐมอริยสาวกสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

ว่าด้วยสังขารมี ชรามรณะจึงมี

[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล. . .พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับมิได้มีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 237

สงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรมี อะไรจึงมีหรือหนอแล เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไร

จึงเกิดขึ้น เมื่ออะไรมี สังขารจึงมี เมื่ออะไรมี วิญญาณจึงมี เมื่ออะไรมี

นามรูปจึงมี เมื่ออะไรมี สฬายตนะจึงมี เมื่ออะไรมี ผัสสะจึงมี เมื่อ

อะไรมี เวทนาจึงมี เมื่ออะไรมี ตัณหาจึงมี เมื่ออะไรมี อุปาทานจึงมี

เมื่ออะไรมี. ภพจึงมี เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี.

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม

มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะ

สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี เมื่อสังขารมี

วิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณมี นามรูปจึงมี เมื่อนามรูปมี สฬายตนะจึงมี

เมื่อสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี เมื่อผัสสะมี เวทนาจึงมี เมื่อเวทนามี ตัณหา

จึงมี เมื่อตัณหามี อุปาทานจึงมี เมื่ออุปาทานมี ภพจึงมี เมื่อภพมี

ชาติจึงมี เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี อริยสาวกนั้นย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้

ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้.

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมไม่มีความ

สงสัยอย่างนี้ว่า เมื่ออะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหรือหนอแล เพราะอะไร

ดับ อะไรจึงดับ เมื่ออะไรไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี วิญญาณ

จึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี

เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี

ตัณหาจึงไม่มี. อุปาทาน. . . ภพ . . . ชาติ. . . เมื่ออะไรไม่มี ชรามรณะ

จึงไม่มี.

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ อริยสาวกผู้สดับ ย่อมมี

ญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 238

เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เมื่อสังขาร

ไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เมื่อนามรูปไม่มี

สฬายตนะจึงไม่มี ฯลฯ เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี อริยสาวกนั้น

ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมดับอย่างนี้.

[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ทั่วถึง

เหตุเกิด ความดับไปแห่งโลกตามเป็นจริงอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวก

นี้ เราเรียกว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิบ้าง เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทัสนะบ้าง

เป็นผู้มาถึงสัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยญาณ

อันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะบ้าง เป็นผู้บรรลุ

กระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นพระอริยะมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง ว่า

อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง.

จบทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

คหปติวรรคที่ ๕ จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปัญจเวรภยสูตร ๒. ทุติยปัญจเวรภยสูตร

๓. ทุกขนิโรธสูตร ๔. โลกนิโรธสูตร

๕. ญาติกสูตร ๖. อัญญตรสูตร

๗. ชาณุสโสณิสูตร ๘. โลกายติกสูตร

๙. ปฐมอริยสาวกสูตร ๑๐. ทุติยอริยสาวกสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 239

อรรถกถาทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

ในอริยสาวกสูตรที่ ๑๐ นัยแม้ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

โดยความเป็นอันเดียวกัน. ความที่ต่างจากสูตรก่อนมีเพียงเท่านี้. ส่วน

ข้อที่เหลือก็เป็นเช่นนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยอริยสาวกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาคหปติวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 240

ทุกขวรรคที่ ๖

๑. ปริวีมังสนสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ

[๑๘๘] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ภิกษุเมื่อพิจารณา พึง

พิจารณาเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ภิกษุเหล่านั้น

ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง ได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่ง

ภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ทุกข์คือชราและมรณะมี

ประการต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 241

เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด อะไรเป็นแดนเกิดหนอแล เมื่ออะไรมี

ชราและมรณะจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี ภิกษุนั้นพิจารณา

อยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ทุกข์คือชราและมรณะมีประการต่าง ๆ มากมาย

เกิดขึ้นในโลก ทุกข์นี้แลมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มีชาติเป็น

กำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อชาติไม่มี

ชราและมรณะจึงไม่มีภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์

เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่งชราและมรณะ

ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ และ

ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดย

ประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชราและมรณะ.

[๑๙๐] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า ก็

ชาตินี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น

แดนเกิด เมื่ออะไรมี ชาติจึงมี เมื่ออะไรไม่มี ชาติจึงไม่มี ภิกษุนั้น

พิจารณาอยู่ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นสมุทัย มีภพ

เป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด เมื่อภพมี ชาติจึงมี เมื่อภพไม่มี ชาติจึง

ไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์ชาติ ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งชาติ ย่อม

รู้ประจักษ์ความดับแห่งชาติ ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึง

ความดับแห่งชาติ และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรม

อันสมควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ

ความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับแห่งชาติ.

[๑๙๑] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 242

ก็ภพนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็อุปาทานนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ตัณหานี้มี

อะไรเป็นเหตุ ฯล ฯ ก็เวทนานี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็ผัสสะนี้มีอะไรเป็น

เหตุ ฯลฯ ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ

ก็วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ ก็สังขารนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีสังขารจึงมีเมื่ออะไรไม่มี

สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณา ย่อมรู้ประจักษ์ว่า สังขารมีอวิชชาเป็น

เหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่อ

อวิชชามี สังขารจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี ภิกษุนั้นย่อมรู้ประจักษ์

สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ความดับแห่ง

สังขาร ย่อมรู้ประจักษ์ปฏิปทาอันสมควรที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และ

ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควรภิกษุนี้เราเรียกว่า

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง เพื่อความดับ

แห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญ

ปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณ

ก็เข้าถึงบาป ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็เข้าถึงอเนญชา.

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรม

เป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมี

วิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่

ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อม

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 243

สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลิน

แล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง

อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ถ้าเสวย

อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง อันตนไม่ยึด

ถือแล้วด้วยตัณหา อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา ภิกษุนั้นถ้าเสวย

สุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป ถ้า

เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่

ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อเสวยเวทนา

ที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต รู้ชัดว่า

เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลือ

อยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย.

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตา

เผาหม้อวางไว้ที่พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป กระเบื้องหม้อ

ยังเหลืออยู่ที่พื้นดินนั้นนั่นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเสวย

เวทนาที่ปรากฏทางกาย ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย เมื่อ

เสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต

รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุ

จักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่ง

กายฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน ภิกษุผู้ขีณาสพพึงทำกรรมเป็นบุญบ้าง ทำกรรมเป็นบาปบ้าง ทำ

กรรมเป็นอเนญชาบ้างหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 244

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

สังขารดับ วิญญาณพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. อีกอย่างหนึ่งเมื่อวิญญาณไม่มีโดยประการทั้งปวงเพราะวิญญาณ

ดับ นามรูปพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

นามรูปดับ สฬายตนะพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสฬายตนะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

สฬายตนะดับ ผัสสะพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อผัสสะไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

ผัสสะดับ เวทนาพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

ตัณหาดับ อุปาทานพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 245

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

อุปาทานดับ ภพจึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภพไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะภพดับ

ชาติพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติดับ

ชราและมรณะพึงปรากฏหรือหนอ.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๙๕] ดีละ ๆ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อ

นั้นไว้อย่างนั้นเถิด พวกเธอจงน้อมใจไปสู่ข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงหมด

ความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นเป็นที่สุดทุกข์.

จบปริวีมังสนสูตรที่ ๑

ทุกขวรรคที่ ๖

อรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในปริวีมังสนสูตรที่ ๑ แห่งทุกขวรรคต่อไป.

บทว่า ปริวีมสมาโน แปลว่า เมื่อพิจารณา. บทว่า ชรามรณ ชราและ

มรณะ ความว่า หากถามว่า "เพราะเหตุไร ชราและมรณะข้อเดียวเท่านั้น

จึงมีประการต่าง ๆ หลายอย่าง. ตอบว่า "เพราะเมื่อจักชรามรณะนั้น

ได้แล้ว ก็จะเป็นอันจับทุกข์ทั้งปวงได้" เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษถูกกับที่

ผมจุก บุรุษนั้นย่อมชื่อว่าถูกจับโดยแท้ ฉันใด เมื่อจับชราและ

มรณะได้แล้ว ธรรมที่เหลือย่อมชื่อว่าเป็นอันจับได้โดยแท้ ฉันนั้น.

เมื่อจักชราและมรณะได้แล้วเช่นนี้ ทุกข์ทั้งปวงย่อมชื่อว่าเป็นอันจับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 246

ได้โดยแท้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกข์นี้มี

ประการต่าง ๆ หลายอย่างเกิดขึ้นในโลก ดังนี้ ทรงแสดงทุกข์ทั้งปวง

เหมือนบุรุษผู้อาบน้ำแล้วยืนอยู่ ชื่อว่า ทรงจับชราและมรณะ เหมือนจับ

บุรุษนั้นที่ผมจุก. บทว่า ชรามรณนิโรธสารุปฺปคามินี ความว่า ปฏิปทา

ชื่อว่าเป็นเช่นกันนั้นเทียว เพราะความไม่มีกิเลส คือ บริสุทธิ์ เป็นเครื่อง

ให้ถึงโดยภาวะสมควรแก่ความดับแห่งชราและมรณะ. บทว่า ตถา

ปฏิปนฺโน จ โหติ ความว่า ภิกษุอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

ผู้ปฏิบัติตามนั้นอย่างใด ก็ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนั้น. บทว่า อนุธมฺมจารี

เป็นผู้ประพฤติธรรมอันสมควร ความว่า ประพฤติ คือ บำเพ็ญธรรม

อันเป็นข้อปฏิบัติที่ไปตามธรรม คือ พระนิพพาน. บทว่า ทุกฺขกฺขยาย

ปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ ได้แก่ เป็นผู้ทำศีลให้เป็นเบื้องต้น

แล้วปฏิบัติเพื่อความดับแห่งทุกข์คือชราและมรณะ. บทว่า สงฺขารนิโรธาย

เพื่อความดับแห่งสังขาร ได้แก่เพื่อความดับแห่งทุกข์คือสังขาร. พระเทศนา

จนถึงพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการพิจารณาอรหัตผล

และธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจแล้วจึงกลับเทศนาอีก. ถามว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำอย่างนั้น แต่ทรงถือเอาคำว่า อวิชฺชาคโต

บุคคลตกอยู่ในอวิชชานี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า ทรงถือเอาเพื่อทรง

แสดงวัฏทุกข์อันพระขีณาสพก้าวล่วงแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงปรารภวัฏฏะตรัสถึงวิวัฏฏะ (พระนิพพาน) อยู่ ก็จะ

มีสัตว์ผู้จะตรัสรู้อยู่ในเรื่องนี้. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ

เอาคำนี้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของสัตว์นั้น. ในพระบาลีนั้น บทว่า อวิชฺชาคโต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 247

ตกอยู่ในอวิชชา ได้แก่ เข้าถึง คือ ประกอบด้วยอวิชชา. บทว่า

ปุริสปุคฺคโล บุรุษบุคคล ได้แก่ บุคคลคือบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสมมติกถา ด้วยคำทั้งสองนั้น. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีกถา

(การกล่าว) อยู่ ๒ อย่าง คือ สมมติกถา ๑ ปรมัตถกถา ๑. ใน

กถาทั้ง ๒ นั้น กถาที่เป็นไปอย่างนั้นคือ สัตว์ นระ ปุริสะ ปุคคละ

ติสสะ นาคะ ชื่อว่า สมมติกถา. กถาที่เป็นไปอย่างนี้คือ ขันธ์ทั้งหลาย

ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า ปรมัตถกถา. พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เมื่อจะทรงกล่าวปรมัตถกถา ย่อมทรงกล่าวไม่ทิ้งสมมติทีเดียว.

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เมื่อทรงกล่าวสมมติก็ดี เมื่อทรงกล่าวปรมัตถ์ก็ดี

ย่อมทรงกล่าวเรื่องจริงเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเมื่อจะตรัส

(เรื่องใด ๆ) ได้ตรัสสัจจะ (ความจริง) ๒ คือ

สมมติสัจจะ ๑ ปรมัตถสัจจะ ๑. ใคร ๆ ย่อมไม่ได้

สัจจะที่ ๓ (เพราะไม่มี). การกล่าวถึงสิ่งที่รู้ ชื่อ

สมมติสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นโลกสมมติ (สิ่งที่

ชาวโลกรู้). ส่วนการกล่าวถึงประโยชน์ อย่างยิ่ง

อันเป็นลักษณะจริงของธรรมทั้งหลาย ชื่อปรมัตถ-

สัจจะ"

บทว่า ปุญฺญฺเจ สงฺขาร ถ้าสังขารเป็นบุญ ได้แก่ ปุญญาภิสังขาร

อันต่างด้วยเจตนา ๑๓. บทว่า อภิสงฺขโรติ ปรุงแต่ง ได้แก่ กระทำ.

ข้อว่า ปุญฺญูปค โหติ วิญฺาณ วิญญาณย่อมเข้าถึงบุญ ได้แก่ กัมม-

วิญญาณย่อมเข้าถึง คือ ประกอบพร้อมด้วยกุศลกรรม. แม้วิปากวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 248

ก็ย่อมเข้าถึง คือประกอบพร้อมด้วยกุศลวิบาก. บทว่า อปุญฺญฺเจ สงฺขาร

ถ้าสังขารที่เป็นบาป" ได้แก่ อปุญญาภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา ๑๒.

บทว่า อาเนญฺชญฺเจ สงฺขาร ถ้าสังขารที่เป็นอเนญชา ได้แก่ อเนญชา-

ภิสังขารอันต่างด้วยเจตนา ๔. บทว่า อาเนญฺชูปค โหติ วิญฺาณ

วิญญาณย่อมเข้าถึงอเนญชา ได้แก่ กัมมวิญญาณย่อมเข้าถึง คือ ประกอบ

พร้อมด้วยกรรมที่เป็นอเนญชา วิปากวิญญาณย่อมเข้าถึง ด้วยวิบากที่

เป็นอเนญชา. ปัจจยาการซึ่งมี ๑๒ บท ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถือเอาแล้วแล เพราะค่าที่ได้ทรงถือเอากัมมาภิสังขาร ๓ ในพระสูตร

นี้. วัฏฏะเป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยข้อความเพียงเท่านี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน

จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล" เป็นอาทิ. ในพระบาลี

นั้น บทว่า อวิชฺชา แปลว่า ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔. บทว่า วิชฺชา

ได้แก่ อรหัตมรรคญาณ. และในพระบาลีนี้ มีอธิบายว่า "เมื่อละอวิชชา

ได้ก่อนแล้วนั่นแหละ วิชชาจึงเกิดขึ้น. เหมือนอย่างเมื่อมีความมืดอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ จะละความมืดได้ก็ด้วยการจุดประทีปให้ลุกโชติช่วง

ฉันใด เมื่อวิชชาเกิดขึ้น. ก็พึงทราบว่าเป็นอันละอวิชชาได้ ฉันนั้น.

บทว่า "ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก" ได้แก่ ไม่ยึดมั่น คือ ถือมั่นธรรม

อะไร ๆ ในโลก. บทว่า "เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว" อธิบายว่า

เมื่อไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ถือมั่น ก็ย่อมไม่สะดุ้งเพราะตัณหา ไม่สะดุ้งเพราะ

กลัว ความว่า ย่อมไม่อยาก ไม่กลัว. บทว่า "เฉพาะตัวเท่านั้น" ได้แก่

ย่อมปรินิพพานด้วยตนเองเท่านั้นแหละ ไม่ปรินิพพานเพราะอานุภาพ

ของผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 249

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำนี้ว่า

ภิกษุนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา. ตอบว่า ทรงเริ่มเพื่อแสดงการพิจารณา

ของพระขีณาสพแล้วแสดงธรรมเครื่องอยู่เนืองนิจ. บทว่า "อันตนไม่

ยึดถือแล้วด้วยตัณหา" คือ อันตนไม่กล้ำกลืนเก็บยึดถือไว้ด้วยตัณหา.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุใด จึงตรัสถึงทุกขเวทนา. ผู้ที่

เพลิดเพลินทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่หรือไร. ตอบว่า ใช่ ยังมีอยู่ เพราะ

ผู้ที่เพลิดเพลินความสุขอยู่นั่นแหละ ชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ เพราะ

ผู้ถึงทุกข์ปรารถนาความสุข และความสุขก็กลายเป็นทุกข์เพราะปรวนแปร.

บทว่า "ที่ปรากฏทางกาย" คือ กำหนดได้ด้วยกาย. อธิบายว่า กาย

คือทวาร ๕ ยังเป็นไปอยู่ตราบใด บุคคลย่อมเสวยเวทนาทางทวาร ๕

ที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น. บทว่า "ที่ปรากฏทางชีวิต" ได้แก่

กำหนดได้ด้วยชีวิต. อธิบายว่า ชีวิตยังเป็นไปอยู่ตราบใด บุคคลย่อม

เสวยเวทนาทางมโนทวารที่เป็นไปแล้วอยู่ตราบนั้น.

บรรดาเวทนาทั้งสองนั้น เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๕ เกิด

ขึ้นที่หลัง แต่ดับก่อน. เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร เกิดขึ้นก่อน แต่

ดับทีหลัง. ก็ในขณะปฏิสนธิ เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารนั้น ย่อมตั้ง

อยู่ในวัตถุรูปเท่านั้น. ในปวัตติกาล เวทนาที่เป็นไปทางทวาร ๕ เป็น

ไปอยู่ด้วยอำนาจทวาร ๕. ในเวลาที่คนมีอายุ ๒๐ ปี เป็นต้นในปฐมวัย

ย่อมมีกำลังแรงยิ่ง ด้วยอำนาจความรัก ความโกรธ และความหลง, ในเวลา

ที่คนมีอายุ ๕๐ ปีย่อมคงที่ จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ ๖๐ ปี ก็จะเสื่อมลง,

ครั้นถึงเวลาที่คนมีอายุได้ ๘๐-๙๐ ปี ก็จะอ่อนลง (ในที่สุด) ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 250

ครั้งนั้น (คือในเวลาที่มีอายุ ๘๐-๙๐ ปี) เมื่อพวกชนกล่าวว่า พวก

เรานั่งนอนรวมกันเป็นเวลานาน สัตว์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกเราไม่รู้สึก

คือย่อมกล่าวถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้นแม้มีประมาณยิ่งว่า เราไม่เห็น ไม่ได้

ยิน คือไม่รู้ว่า กลิ่นหอมหรือกลิ่นเหม็น ดีหรือไม่ดี แข็งหรืออ่อน.

เวทนาอันเป็นไปทางทวาร ๕ ของชนเหล่านั้นย่อมเป็นอันแตกแล้วอย่าง

นี้. ส่วนเวทนาที่เป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่. เวทนาแม้นั้น เมื่อ

เสื่อมไปโดยลำดับ ย่อมอาศัยที่สุดแห่งหทัยนั่นแหละเป็นไปในเวลา

มรณะ. อนึ่ง เวทนานั้น ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ก็พูดได้ว่า สัตว์ยังมี

ชีวิตอยู่ตราบนั้น. เมื่อใด เวทนานั้นไม่เป็นไป เมื่อนั้น เรียกว่าสัตว์ตาย

คือดับ.

ความข้อนี้ พึงแสดง (เปรียบเทียบ) ด้วยสระ. เหมือนอย่าง

บุรุษก่อสร้างสระให้สมบูรณ์ด้วยทางน้ำ ๕ สาย. เมื่อฝนตกลงมาครั้งแรก

น้ำพึงไหลไปตามทางน้ำทั้ง ๕ สายจนเต็มบ่อภายในสระ ครั้งฝนตกอยู่

บ่อย ๆ น้ำพึงขังเต็มทางน้ำ ไหลลงสู่ทางประมาณคาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์

บ้าง น้ำที่หลากมาแต่ที่นั้น ๆ ครั้นเขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานในนา

น้ำก็ไหลออกไป. ในเวลาที่ข้าวกล้าแก่ น้ำก็ไหลออก. น้ำแห้งถึงการที่ควร

กล่าวว่า เราจะจับปลา. จากนั้นอีก ๒-๓ วัน น้ำก็ขังอยู่ในบ่อนั่นเอง.

และถ้าในบ่อยังมีน้ำขังอยู่ตราบใด ก็ย่อมจะนับได้ว่า ในสระใหญ่

มีน้ำอยู่ตราบนั้น. แต่ถ้าน้ำในบ่อนั้นแห้งเมื่อใด เมื่อนั้น ก็พูดได้ว่า

ในสระไม่มีน้ำ ฉันใด พึงทราบข้อเปรียบเทียบ ฉันนั้น. เวลาที่เวทนา

อันเป็นไปทางมโนทวาร ตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิครั้งแรกนั่นเอง

เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่ครั้งแรก น้ำไหลเข้าไปตามทาง ๕ สาย บ่อก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 251

เต็ม. เมื่อเจตนาทางมโนทวารเป็นไปแล้ว ความเป็นไปแห่งเวทนาทาง

ทวาร ๕ เหมือนเวลาเมื่อฝนตกอยู่บ่อย ๆ ทาง ๕ สายก็เต็ม. ภาวะที่

เวทนาอันเป็นไปทางทวาร ๕ นั้นมีกำลังมากยิ่ง ด้วยอำนาจความรัก

เป็นต้นในเวลาที่คนมีอายุ ๒๐ ปี ในปฐมวัย เหมือนน้ำที่ท่วมท้นทาง

ตั้งคาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ น้ำยังไม่ไหลออกจากสระตราบใด เวลาที่เวทนา

นั้นตั้งอยู่ในเวลาที่คนมีอายุ ๕๐ ปี เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่ในสระเก่า

ตราบนั้น. ความเสื่อมแห่งเวทนานั้น จำเดิมแต่เวลาที่คนมีอายุ ๖๐ ปี

เหมือนเวลาที่เขาเปิดท่อสำหรับไขน้ำทำการงานอยู่ น้ำก็ไหลออก. เวลา

ที่เวทนาอันเป็นไปทางทวาร ๕ อ่อนลง ในเวลาที่คนมีอายุ ๘๐- ๙๐ ปี

เหมือนเวลาเมื่อฝนตกแล้ว น้ำทรงอยู่โดยรอบในทางน้ำ. เวลาที่เวทนา

อันเป็นไปทางมโนทวาร อาศัยที่สุดแห่งหทยวัตถุเป็นไป เหมือน

เวลาที่น้ำทรงอยู่ในบ่อนั่นเอง. ความเป็นไปนั่นเหมือนเวลาเมื่อให้สระมี

น้ำอยู่แม้เพียงนิดหน่อย ก็ควรกล่าวว่า ในสระมีน้ำอยู่ตราบใด เมื่อ

เวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารยังเป็นไปอยู่ ก็ย่อมกล่าวได้ว่า สัตว์ยังมี

ชีวิตอยู่ตราบนั้น. อนึ่ง เมื่อน้ำในบ่อแห้งขาดไป ย่อมกล่าวได้ว่า

ไม่มีน้ำในสระ ฉันใด เมื่อเวทนาอันเป็นไปทางมโนทวารไม่เป็นไปอยู่

สัตว์ก็เรียกว่า ตายแล้วฉันนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเวทนา

นี้ (เวทนาที่เป็นไปทางมโนทวาร ) จึงตรัสว่า "ภิกษุเสวยเวทนาอันมี

ชีวิตเป็นที่สุดรอบ." คำว่า "กายสฺส เภทา เพราะความแตกแห่งกาย"

ได้แก่ เพราะความแตกแห่งกาย. บทว่า ชีวิตปริยาทานา อุทฺธ ได้แก่

หลังจากการสิ้นชีวิต. บทว่า "อิเธว ในโลกนี้แล" คือในโลกนี้แหละ

เพราะมาข้างหน้าด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า "สีตีภวิสฺสนฺติ จักเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 252

สิ่งที่เย็น" ความว่า เป็นสิ่งที่เว้นจากความดิ้นรนและความกระวนกระวาย

จึงชื่อว่า เป็นสิ่งที่เย็น คือ มีความไม่เป็นไปเป็นธรรมดา. บทว่า

สรีรานิ ได้แก่ สรีรธาตุ. บทว่า "อวสิสฺสนฺติ จักเหลืออยู่"

ได้แก่ จักเป็นสิ่งที่เหลืออยู่.

บทว่า "กุมฺภการปากา จากเตาเผาหม้อ ได้แก่ จากที่เป็นที่

เผาภาชนะของช่างหม้อ. บทว่า "ปติฏฺเปยฺย วางไว้" ได้แก่ ตั้งไว้.

บทว่า "กปลฺลานิ กระเบื้องหม้อ" ได้แก่ กระเบื้องหม้อที่เนื่องเป็น

อันเดียวกันพร้อมทั้งขอบปาก. บทว่า "อวสิสฺเสยฺยุ พึงเหลืออยู่"

ได้แก่ พึงตั้งอยู่. ในคำว่า "เอวเมว โข" นี้ มีข้อเปรียบเทียบ

ด้วยอุปมาดังนี้ ภพ ๓ พึงเห็นเหมือนเตาเผาหม้อที่ไฟติดทั่วแล้ว. พระ

โยคาวจรเหมือนช่างหม้อ. อรหัตมรรคญาณเหมือนไม้ขอที่ใช้เกี่ยวภาชนะ

ของช่างหม้อออกมาจากเตาเผา. พื้นพระนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

เหมือนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. เวลาที่พระโยคาวจรผู้ปรารภวิปัสสนา เห็น

แจ้งหมวด ๗ แห่งรูปและหมวด ๗ แห่งอรูป เมื่อกัมมัฏฐานปรากฏ

คล่องแคล่วแจ่มแจ้งอยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นเห็นปานนั้น นั่งอยู่บน

อาสนะเดียว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ยกตนขึ้น

จากอบาย ๔ แล้วดำรงอยู่ในพระนิพพานอันเป็นอมตะ อันไม่มีปัจจัย

ปรุงแต่งด้วยอำนาจผลสมาบัติ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ช่างหม้อเอาไม้ขอเกี่ยว

หม้อที่ร้อนมาแล้ว วางหม้อไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ. ส่วนพระขีณาสพไม่

ปรินิพพานในวันบรรลุพระอรหัต เหมือนหม้อที่ยังร้อนฉะนั้น แต่เมื่อจะ

สืบต่อประเพณีแห่งศาสนาก็ดำรงอยู่ถึง ๕๐-๖๐ ปี ย่อมปรินิพพานด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความแตกแห่งอุปาทินนกขันธ์ เพราะถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 253

จิตดวงสุดท้าย เมื่อนั้น สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลือ

อยู่ เหมือนกระเบื้องหม้อแล. ก็คำว่า สรีรานิ อวสิสฺสนฺตีติ ปชานาติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.

บทว่า "วิญฺาณ ปญฺาเยถ วิญญาณพึงปรากฏ" ได้แก่

ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ. บทว่า "สาธุ สาธุ ดีละ ๆ" ได้แก่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ. บทว่า

เอวเมต ความว่า คำว่า เมื่ออภิสังขาร ๓ อย่างไม่มี ปฏิสนธิวิญญาณ

ก็ไม่ปรากฏเป็นต้น. คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อธิมุจฺจถ

ได้แก่ จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ. ข้อว่า "เอเสวนฺโต

ทุกฺขสฺส นั่นเป็นที่สุดทุกข์" ได้แก่ นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ

คือ นี้เป็นข้อกำหนด ได้แก่ พระนิพพาน.

จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ ๑

๒. อุปาทานสูตร

ว่าด้วยอุปาทาน

[๑๙๖ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล. . . พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ

ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 254

ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสก-

ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม-

มีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียน

บ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง

พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้งในไฟ

กองนั้นทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น

มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปา-

ทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับไป เพราะตัณหา

ดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ

จึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียน

บ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง

พึงลุกโพลง บุรุษไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห้งใน

กองไฟนั้นทุก ๆ ระยะ ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น

ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 255

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ

ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ.

จบอุปาทานสูตรที่ ๒

อรรถกถาอุปาทานสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยอุปาทานสูตรที่ ๒ ต่อไป.

บทว่า "อุปาทานีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน " ได้แก่ ใน

ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ๔. บทว่า

" อสฺสาทานุปสฺสิโน เห็นความพอใจเนือง ๆ " คือ เห็นอยู่เนือง ๆ

ซึ่งความพอใจ. บทว่า "ตตฺร" คือ ในกองไฟนั้น. บทว่า " ตทาหาโร

มีอาหารอย่างนั้น." คือ มีปัจจัยอย่างนั้น. .คำว่า "มีเชื้ออย่างนั้น" เป็น

ไวพจน์ของปัจจัยนั้นนั่นเอง. ในคำว่า "เอวเมว โข" นี้ ภพ ๓

หรือที่เรียกว่า วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ บ้าง พึงเห็นว่าเหมือนกองไฟ.

ปุถุชนผู้โง่เขลา ซึ่งอาศัยวัฏฏะคือความเวียนว่ายตายเกิด เหมือนบุรุษบำเรอ

ไฟ. การทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทางทวาร ๖ ด้วยอำนาจตัณหา

เป็นต้น ของปุถุชนผู้เห็นความพอใจเนือง ๆ เหมือนการใส่โคมัยแห้งเป็น

ต้น. ความบังเกิดแห่งวัฏฏะทุกข์ในภพต่อๆไป เพราะปุถุชนผู้โง่เขลาลุกขึ้น

แล้วลุกขึ้นเล่า พยายามทำกรรมตามที่กล่าวแล้ว เหมือนเมื่อหญ้าและโคมัย

เป็นต้นหมดแล้ว กองไฟก็ยังลุกโพลงอยู่เรื่อยไป เพราะใส่หญ้าและโคมัย

เหล่านั้นเข้าไปบ่อย ๆ. ข้อว่า "น กาเลน กาล สุกฺขานิ เจว ติณานิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 256

ปกฺขิเปยฺย ไม่ใส่หญ้าแห้งทุก ๆ ระยะ" อธิบายว่า ก็ใคร ๆ ผู้หวัง

ประโยชน์ พึงกล่าวกะบุรุษนั้นอย่างนี้ว่า "ผู้เจริญ เหตุไรท่านจึงลุกขึ้น

แล้วลุกขึ้นเล่าเหยียบย่ำกระเบื้อง เอาหญ้าและไม้แห้งใส่กระบุงจนเต็ม

ใส่โคมัยแห้งเข้าไป ทำให้ไฟกองนี้ลุกโพลง เพราะการกระทำนี้เป็นเหตุ

ความเจริญไร ๆ ย่อมมีแก่ท่านบ้างหรือหนอ." บุรุษนั้นกล่าวว่า "ท่าน

ผู้เจริญ การกระทำเช่นนี้ มาตามวงศ์ (เป็นประเพณี) ของพวกเรา

แต่การกระทำเช่นนี้ ก็ไม่มีความเจริญแก่เราเลย ความเจริญจักมีแต่ที่ไหน.

เพราะเรามัวบำเรอไฟนี้อยู่ จึงไม่ได้อาบน้ำ ทั้งไม่ได้กิน ไม่ได้นอนเลย."

ผู้หวังประโยชน์ กล่าวว่า "ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น จะมีประโยชน์อะไร

แก่ท่าน กับการจุดไฟให้ลุกโพลงอันไร้ประโยชน์นี้ มาเถิดท่าน หญ้าเป็น

ต้นที่ท่านนำมาแล้วเหล่านี้ ที่ใส่เข้าไปในกองไฟนี้แล้ว จักลุกไหม้ขึ้นเอง

แหละ แต่ว่าท่านจงไปอาบน้ำที่สระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำเย็นอยู่ในที่โน้น

ตกแต่งตนด้วยเครื่องลูบไล้คือระเบียบและของหอม นุ่งห่มอย่างดี เข้าสู่

เมืองด้วยรองเท้าชั้นดี ขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ เปิดหน้าต่าง แล้วนั่ง

อิ่มเอิบอยู่กับความสุข มีอารมณ์เดียว รุ่งเรืองอยู่บนถนนใหญ่. เมื่อท่าน

นั่งในปราสาทนั้นแล้ว ไฟกองนั้นจักถึงภาวะที่ตั้งอยู่ไม่ได้เองโดยแท้

เพราะสิ้นเชื้อมีหญ้าเป็นต้นเสีย." บุรุษนั้น พึงกระทำอย่างนั้น. และ

เมื่อเขานั่งบนปราสาทนั้นอย่างนั้นแล้ว ไฟกองนั้นพึงถึงภาวะคือการตั้งอยู่

ไม่ได้ เพราะสิ้นเชื้อ. คำว่า " น กาเลน กาล " เป็นต้นนี้ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความข้อนี้.

แต่ในคำว่า "เอวเมวโข" นี้ มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังนี้

วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ พึงเห็นเหมือนไฟกองใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ด้วยไม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 257

(ฟืน) ๔๐ เล่มเกวียน. พระโยคาวจรผู้ยังอาศัยวัฏฏะอยู่ เหมือนบุรุษ

ผู้บำเรอไฟ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนบุรุษผู้หวังประโยชน์. เวลาที่พระ

ตถาคตตรัสกัมมัฏฐานในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แก่ภิกษุนั้นว่า "ดูก่อน

ภิกษุ เธอจงหน่ายในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ เถิด เธอจักพ้นจาก

วัฏทุกข์อย่างนี้." เหมือนโอวาทที่บุรุษผู้หวังประโยชน์ให้แก่บุรุษผู้บำเรอ

ไฟนั้น. เวลาที่พระโยคีรับโอวาทของพระสุคตแล้วเข้าไปสู่สุญญาคาร

เริ่มตั้งวิปัสสนาในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ได้อาหารสัปปายะเป็นต้น เห็น

ปานนั้นโดยลำดับ นั่งบนอาสนะเดียวแล้วตั้งอยู่ในผลอันเลิศ (อรหัตผล)

เหมือนเวลาที่บุรุษ (ผู้บำเรอไฟ) นั้น ปฏิบัติตามที่มีผู้สอนแล้วนั่งใน

ปราสาท. เวลาที่พระโยคีชำระมลทินคือกิเลสด้วยน้ำคือมรรคญาณที่สระ

โบกขรณีคืออริยมรรค นุ่งผ้าคือหิริโอตตัปปะ เข้าไปทาด้วยเครื่องลูบไล้

คือศีล ตกแต่งอัตภาพด้วยเครื่องตกแต่งคือพระอรหัต ประดับพวง

ดอกไม้คือวิมุตติ สวมรองเท้าคืออิทธิบาท เข้าไปสู่นครคือพระนิพพาน

ขึ้นสู่ปราสาทคือพระธรรม รุ่งเรืองอยู่บนถนนใหญ่คือสติปัฏฐาน แนบ

สนิทผลสมาบัติที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ เหมือนเวลาที่บุรุษนั้น นั่ง

บนปราสาทนั้น มีอารมณ์เดียว อิ่มเอิบด้วยความสุข เพราะมีกายที่ชำระ

และตกแต่งแล้วด้วยการอาบน้ำและเครื่องลูบไล้เป็นต้น. ส่วนความสงบ

อันยิ่งใหญ่แห่งวัฏฏะของพระขีณาสพ ผู้ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ แล้วปรินิพ-

พานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความแตกแห่งขันธ์ที่มีใจครอง

พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุรุษนั้นนั่งบนปราสาทนั้นแล้ว กองไฟก็ถึงความ

ไม่มีบัญญัติ เพราะสิ้นเชื้อมีหญ้าเป็นต้น.

จบอรรถกถาอุปาทานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 258

๓. ปฐมสังโยชนสูตร

ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล. . .พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ

เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัย

น้ำมันและไส้ บุรุษพึงเติมน้ำมันเละใส่ไส้ในประทีปน้ำมันทุก ๆ ระยะ

ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึง

ลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความ

พอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อม

เจริญฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติ

เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 259

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัย

น้ำมันและไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมั่นนั้นทุก ๆ

ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหารพึงดับไป เพราะ

สิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

ภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่

ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสังโยชนสูตรที่ ๓ ต่อไป.

บทว่า "สญฺโชนีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์" คือ เป็น

ปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า "ฌาเยยฺย พึงติดไฟ" แปลว่า พึง

ลุกโพลง. ข้อว่า เตล อาสิญฺเจยฺย วฏฺฏึ อุปสหเรยฺย ได้แก่ เพื่อ

ให้ประทีปติดตลอดไป จึงถือภาชนะน้ำมันและกระเบื้องไส้อันใหญ่ไปตั้ง

อยู่ในที่ใกล้เป็นนิจ เมื่อน้ำมันแห้งก็เติมน้ำมัน เมื่อไส้หมดก็ใส่เข้าไป.

คำที่เหลือใสสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแหละ พร้อมกับการเทียบ

เดียงด้วยข้ออุปมา.

จบอรรถกถาปฐมสังโยชน์สูตร ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 260

๔. ทุติยสังโยชนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์

[๒๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถ. ณ ที่นั้นแล . . . พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะ

อาศัยน้ำมันและไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ

ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้อ

อย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาล แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น

ความพอใจเนือง ๆในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา

ย่อมเจริญฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ ล ฯ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัย

น้ำมันและไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ

ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะสิ้น

เชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

เห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา

ย่อมดับฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

จบทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 261

อรรถกถาทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔

ในทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเปรียบเทียบ

ก่อน แล้วจึงตรัสเนื้อความในภายหลัง. คำที่เหลือก็เหมือนกันนั่นเอง.

จบอรรถกถาทุติยสังโยชนสูตรที่ ๔

๕. ปฐมมหารุกขสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน

[๒๐๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ

เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีรากหยั่งลงและแผ่

ไปข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้

ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 262

ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่อย่างนั้น ที่นั้น

บุรุษเอาจอบและภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้น

ขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงทอน

ต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้วเกรียกให้เป็นชิ้น ๆ

แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา

ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรย

ที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่

นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังต้นตาลยอดด้วน ถึงความ

ไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษ

เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ

ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

จบปฐมมหารุกขสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมมหารุกขสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมมหารุกขสูตรที่ ๕ ต่อไป.

ข้อว่า "อุทฺธ โอช อภิหรนฺติ นำโอชาขึ้นเบื้องบน" ได้แก่

นำรสดินและรสน้ำขึ้นเบื้องบน. เพราะโอชาได้ถูกดูดขึ้นเบื้องบน ต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 263

สูงตั้ง ๑๐๐ ศอก ก็มียางเหนียวจึงตั้งอยู่ได้ เหมือนหยาดน้ำที่ปลายหน่อ.

ในข้อนี้ มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังนี้ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓

เหมือนต้นไม่ใหญ่. อายตนะทั้งหลายเหมือนรากไม้. การก่อกรรมทาง

ทวาร ๖ เหมือนการดูดโอชาขึ้นทางราก. การตั้งอยู่ได้เป็นเวลานาน

ของปุถุชนผู้โง่เขลา ซึ่งอาศัยอยู่ในวัฏฏะ พยายามก่อกรรมทางทวาร ๖

อยู่ ด้วยอำนาจวัฏฏะในภพต่อ ๆ ไป มีความเจริญงอกงามเหมือนต้นไม้

ใหญ่ตั้งอยู่ได้ชั่วกัป เพราะโอชาเจริญงอกงาม. บทว่า กุทฺทาลปิฏก

แปลว่า จอบและกระบุง. ข้อว่า ขณฺฑาขณฺฑิก ฉินฺเทยฺย ความว่า

ตัดให้เล็กให้ใหญ่ ได้แก่ให้เป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ในข้อนี้ มีการเทียบ

เคียงด้วยอุปมาดังนี้ ก็ในพระสูตรนี้ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือน

ต้นไม้ใหญ่. พระโยคาวจรเหมือนบุรุษผู้ต้องการโค่นต้นไม้. ญาณคือความ

รู้เหมือนจอบ สมาธิเหมือนกระบุง ญาณเหมือนขวานสำหรับตัดต้นไม้

ปัญญาของพระโยคีผู้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักอาจารย์แล้ว มนสิการอยู่

เหมือนเวลาที่ต้นไม้ถูกตัดที่ราก. เวลามนสิการมหาภูตรูป ๔ โดยย่อ

เหมือนเวลาที่ตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. เวลามนสิการโดยพิสดาร ใน

โกฏฐาส ๔๒ เหมือนการผ่า. การกำหนดนามรูปด้วยอำนาจแห่งธรรม

เหล่านี้ คือ อุปาทายรูป และวิญญาณอันมีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ เหมือน

เวลาเกรียก การแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั่นแหละ เหมือนการถอนรากไม้.

การบรรลุผลอันเลิศ ( อรหัตผล ) ของพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนาโดย

ลำดับ ได้สัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เมื่อพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนาโดย

อยู่ นั่งขัดสมาธิท่าเดียวกระทำสมณธรรมอยู่ เหมือนเวลาที่ผึ่งลม ตากแดด

แล้วเอาไฟเผา. เวลาที่พระโยคีไม่ปรินิพพานในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 264

นั่นเอง แต่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ เปรียบเหมือนมนสิการ. ความสงบแห่ง

วัฏฏะของพระขีณาสพ ผู้ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุเพราะ

ความแตกแห่งขันธ์ที่มีใจครอง พึงทราบเหมือนการโปรยเขม่าในลมแรง

และลอยไปในแม่น้ำ.

จบอรรถกถาทหารุกขสูตรที่ ๕

๖. ทุติยมหารุกขสูตร

ว่าด้วยต้นไม้มีอาหารกับภิกษุมีความพอใจในธรรม

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ไม้ใหญ่มี

รากหยั่งลงและแผ่ไปข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน

เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็น

อยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ

ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้น

เหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้น

บุรุษเอาจอบแต่ภาชนะ. มาตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้น

ขุดลงไปแล้วคุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯ ล ฯ หรือลอยใน

แม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้น

แล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 265

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนื่อง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย

แห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ

อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

จบทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖

ในทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเทียบก่อน

แล้วตรัสเนื้อความในภายหลัง ความต่างกันมีเพียงเท่านี้.

จบอรรถกถาทุติยมหารุกขสูตรที่ ๖

๗. ตรุณรุกขสูตร

ว่าด้วยต้นไม้อ่อนกับภิกษุมีความพอใจในธรรม

[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น

ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา

ย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่ บุรุษพึง

พรวนดินใส่ปุ๋ย รดน้ำเสมอ ๆ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ แม้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 266

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหา

เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ

อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้น

บุรุษเอาจอบและภาชนะ ฯ ล ฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อ

เป็นอย่างนี้ต้นไม้อ่อนนั้น ถูกตัดรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน

ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น

โทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา

ย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนั้น.

จบตรุณรุกขสูตรที่ ๗

อรรถกถาตรุณรุกขสูตรที่ ๗

ในตรุณรุกขสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตรุโณ ได้แก่ ยังไม่เผล็ดผล. บทว่า ปลิสชฺเชยฺย แปลว่า

พึงชำระ. ข้อว่า "ปสุ ทเทยฺย ใส่ปุ๋ย." ได้แก่ เอาปุ๋ยที่แข็งและหยาบออก

ใส่ปุ๋ยที่หวานเจือปนด้วยโคมัยอ่อนและฝุ่นละเอียดลงไป. บทว่า วุฑฺฒึ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 267

ได้แก่ ถึงความเจริญงอกงาม ควรจะเก็บดอกก็ได้เก็บดอก ควรจะเก็บผลก็

ได้เก็บผล. ก็ในข้อนี้มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังนี้ วัฏฏะอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ เหมือนต้นไม้อ่อน ปุถุชนอาศัยวัฏฏะเหมือนบุรุษบำรุงต้นไม้ การ

ประมวลมาซึ่งกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทางทวาร ๓ เหมือนการสืบต่อแห่ง

รากและผลไม้เป็นต้น ความเป็นไปแห่งวัฏฏะในภพต่อ ๆ ไปของปุถุชน

ผู้ประมวลมาซึ่งกรรมทางทวาร ๓ เหมือนต้นไม้ที่ถึงความเจริญงอกงาม.

วิวัฏฏะ (พระนิพพาน) พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาตรุณรุกขสูตรที่ ๗

๘. นามรูปสูตร

ว่าด้วยภิกษุพอใจในธรรมกับนามรูป

[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น

ความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นาม-

รูปก็หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ฯ ล ฯ ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไป

ข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้นดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้

ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาล

นาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 268

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง เพราะนามรูป

ดับ สฬายตนะจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้น

บุรุษเอาจอบและภาชนะมา ฯ ล ฯ ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง

สังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปดับ

สฬายตนะจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

จบนามรูปสูตรที่ ๘

อรรถกถานามรูปสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๘ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถานามรูปสูตรที่ ๘

๙. วิญญาณสูตร

ว่าด้วยความพอใจในธรรมกับวิญญาณ

[๒๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 269

พอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณ

ก็หยั่งลง เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไป

ข้าง ๆ ฯ ล ฯ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ

เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ วิญญาณก็หยั่งลง

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ฯ ล ฯ ความ

เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ใน

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง เพราะ

วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม

มีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น

ทีนั้นภิกษุเอาจอบและภาชนะมา ฯ ล ฯ ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย

แห่งสังโยชน์อยู่ วิญญาณก็ไม่หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะวิญญาณ

ดับ นามรูปจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้.

จบวิญญาณสูตรที่ ๙

อรรถกถาวิญญาณสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๙ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาวิญญาณสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 270

๑๐. นิทานสูตร

ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่

ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบ

ร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า

ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร

ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่าย ๆ แก่

ข้าพระองค์.

[ ๒๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่า

กล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็น

ธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทง

ตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือหกลุ่มเส้น

ด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้น

อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.

[๒๒๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ใน

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

๑. บางแห่งเป็น กัมมาสธัมมะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 271

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๗] ดูก่อนอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้าง ๆ

รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่

นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด

อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหา

เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯ ล ฯ

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๘] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกอง

ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๒๙] ดูก่อนอานนท์ ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษ

เอาจอบและภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป ครั้นขุดลง

ไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้น ทอนต้นไม้นั้น

เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว เกรียกเป็นชิ้น ๆ แล้ว

พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอา

ไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลม

แรง หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น

ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิด

อีกต่อไป แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 272

อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ

ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ

ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ

อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

จบนิทานสูตรที่ ๑๐

จบทุกขวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปริวีมังสนสูตร ๒. อุปาทานสูตร

๓. ปฐมสังโยชนสูตร ๔. ทุติยสังโยชนสูตร

๕. ปฐมมหารุกขสูตร ๖. ทุติยมหารุกขสูตร

๗. ตรุณรุกขสูตร ๘. นามรูปสูตร

๙. วิญญาณสูตร ๑๐. นิทานสูตร.

อรรถกถานิทานสูตรที่ ๑๐

ในนิทานสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สองบทว่า "กุรูสุ วิหรติ" ได้แก่ ประทับอยู่ในชนบทที่ได้ชื่อด้วย

อำนาจเรียกกันมากอย่างนี้ว่า กุรุ. นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ

เพราะฉะนั้น นิคมของชาวกุรุจึงมีชื่ออย่างนี้. อธิบายว่า ทรงกระทำนิคม

นั้นให้เป็นโคจรคาม. คำว่า "ท่านผู้มีอายุ" นี้ เป็นคำเรียกด้วยความรัก

เป็นคำเรียกด้วยความเคารพ. คำว่า "อานันทะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น.

คำว่า " เอกมนฺต นิสีทิ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง" มีอธิบายว่า ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 273

อานนท์ ผู้เป็นพระธรรมภัณฑาคาริก เมื่อเว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ

ได้เข้าไปภายในพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ของพระพุทธองค์ ในที่ตรงหน้า

มณฑลพระชานุข้างขวา นั่งเหมือนกำลังอาบน้ำครั่งใส เหมือนกำลังห่ม

แผ่นทอง เหมือนกำลังเข้าไปสู่สวนดอกบัวแดง เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ถามว่า ก็ท่านผู้มีอายุนี้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเวลาใด

และเพราะเหตุใด. แก้ว่า เข้าไปเฝ้าในเวลาเย็น เพราะเหตุเพื่อทูลถาม

ปัญหาเรื่องปัจจยาการ.

เล่ากันมาว่า ในวันนั้น ท่านผู้มีอายุนี้ ( พระอานนท์) ได้เที่ยว

ไปโปรดสัตว์ยังนิคมกัมมาสธัมมะ ดุจว่าว่างสิ่งของนับพันอย่างลงทุก

ประตูเรือน กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้แสดงวัตรถวายพระศาสดา เมื่อ

พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎีแล้ว ก็ถวายบังคมพระศาสดาแล้วไป

ยังที่พักกลางวันของตน เมื่อพวกอันเตวาสิกแสดงวัตรแล้วกลับไป จึง

ปัดกวาดที่พักกลางวัน ปูลาดแผ่นหนัง เอาน้ำจากหม้อน้ำล้างมือและเท้า

จนเย็น แล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าไปโสดาปัตติผลสมาบัติ ภายหลังออกจากสมาบัติ

ด้วยอำนาจสิ้นกำหนดเวลา จึงได้หยั่งญาณลงในปัจจยาการ. ท่านพิจารณา

ปัจจยาการ ๑๒ บท จำเดิมแต่ต้นว่า "เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี

สังขาร" จนจดปลาย ตั้งแต่ปลายไปจนจดต้น ตั้งแต่ปลายทั้งสอง

จนจดกลาง ตั้งแต่กลางจนจดปลายทั้งสองที่สุด ๓ ครั้ง. เมื่อท่าน

พิจารณาอยู่อย่างนี้ ปัจจยาการได้ปรากฏแจ่มแจ้งเหมือนง่าย แต่นั้นก็คิด

ว่า "ปัจจยาการนี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวงตรัสว่า ลึกซึ้ง และมี

กระแสความลึกซึ้ง แต่ปรากฏว่าง่ายแจ่มแจ้งแก่เราที่เป็นสาวกผู้ตั้งอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 274

ปเทสญาณ ความรู้บางส่วน ปัจจยาการนี้ย่อมปรากฏเหมือนง่ายแก่เราเท่า

นั้นหรือหนอ หรือว่าปรากฏแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย" ท่านพระอานนท์คิดว่า

"เราจักกราบทูลเหตุที่ปรากฏแก่ตนแด่พระศาสดา" จึงลุกจากที่นั่ง ตบ

แผ่นหนังแล้วถือเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาเย็น. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า "พระอานนท์เข้าไปเฝ้าในเวลาเย็น ด้วยเหตุเพื่อทูลถาม

ปัญหาเรื่องปัจจยาการ."

ยาว ศัพท์ ในคำว่า ยาวคมฺภีโร นี้ เป็นไปในการก้าวล่วงเกิน

ประมาณ คือลึกเกินประมาณ. อธิบายว่า ลึกซึ้งอย่างยิ่ง. บทว่า

"คมฺภีราวภาโส มีเนื้อความลึกซึ้ง" อธิบายว่า ส่องสว่าง คือปรากฏลึกซึ้ง

โดยแท้. จริงอยู่น้ำแห่งหนึ่ง เพียงตื้น ๆ เท่านั้น แต่มีกระแสลึก เหมือน

น้ำเก่าอันมีสีดำด้วยอำนาจรสใบไม้เน่า. เพราะว่า น้ำนั้น แม้ลึกแค่เข่า

ก็ปรากฏเหมือนลึกตั้งร้อยชั่วบุรุษ. น้ำบางแห่งลึก แต่มีกระแสตื้น

เหมือนน้ำอันใสแจ๋วแห่งมณีคงคา เพราะน้ำนั้น แม้น้ำลึกตั้งร้อยชั่วบุรุษ

ก็ปรากฏเหมือนลึกแค่เข่า. เพราะน้ำนั้น แม้น้ำลึกตั้งร้อยชั่งบุรุษ

ก็ปรากฏเหมือนลึกแค่เข่า. น้ำบางแห่งตื้น และก็มีกระแสน้ำตื้นด้วย

เหมือนน้ำในตุ่มเป็นต้น. น้ำบางแห่งลึก และก็มีกระแสลึกด้วย เหมือน

น้ำในมหาสมุทรเชิงภูเขาสิเนรุ. น้ำย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยประการ

ฉะนี้แล. แต่ความตื้นความลึกย่อมไม่มีในปฏิจจสมุปบาท. เพราะว่า

ปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้ชื่อว่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้นว่า "ลึกซึ้ง และมีกระแส

ความลึกซึ้ง." พระอานนท์เมื่อจะประกาศความอัศจรรย์ในของตนอย่างนี้ว่า

"ปฏิจจสมุปบาทเห็นปานนี้ แต่ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ สำหรับ

ข้าพระองค์. ข้อนี้ น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า"

จึงทูลถามปัญหาแล้ว ได้นั่งนิ่งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 275

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของพระอานนท์แล้ว ทรงพระดำริว่า

"ภิกษุชื่ออานนท์ เหมือนกับว่าเหยียดมือออกเพื่อจับภวัคคพรหม

เหมือนกับว่าพยายามทำลายภูเขาสิเนรุ นำสะเก็ดหินออกอยู่ เหมือนใคร่

จะข้ามมหาสมุทรโดยไม่ต้องใช้เรือ และเหมือนพยายามพลิกแผ่นดินถือเอา

โอชะแห่งดินอยู่ จึงกล่าวถึงปัญหาอันเป็นพุทธวิสัยว่า ง่าย ๆ สำหรับ

ตน เอาเถอะ เราจะบอกความลึกซึ้งแก่เธอ" ดังนี้ จึงตรัสว่า "มา-

เหว " ดังนี้ เป็นอาทิ.

ในพระบาลีนั้น อักษร ในคำว่า "มาเหว" เพียงเป็น

นิบาต. อธิบายว่า เธออย่ากล่าวอย่างนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะทรง

ทำให้ท่านพระอานนท์ยินดี (เบาใจ) หรือไม่ยินดี (ไม่เบาใจ) ก็ตาม

จึงได้ตรัสคำว่า "มาเหว" นี้. ในพระบาลีนั้น ข้อว่า "อุสฺสาเทสฺโต

ทำให้ยินดี (เบาใจ) อยู่" มีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธอมีปัญญา

มาก มีญาณแกล้วกล้า ด้วยเหตุนั้น เธอไม่ควรกำหนดว่า ปฏิจจสมุปบาท

แม้จะลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏว่าง่าย ๆ สำหรับเธอ หรือว่าง่ายสำหรับภิกษุ

เหล่าอื่นด้วย. ด้วยว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ ทั้งลึกซึ้งโดยแท้ และเป็น

ธรรมมีกระแสความลึกซึ้งด้วย.

ในข้อนั้น พระอรรถกถาจารย์กล่าวอุปมาไว้ ๔ ข้อว่า เล่ากันมาว่า

ชนทั้งหลายได้แสดงก้อนหินที่นักมวยปล้ำจะพึงยก ในระหว่างนักมวยปล้ำ

ยิ่งใหญ่ ผู้ฝึกชำนาญแล้ว ได้รับการเลี้ยงดูด้วยรสโภชนะอันดีตลอด

๖ เดือน ไปสู่ยุทธภูมินักมวยปล้ำในสมัยชุมนุมแข่งขันกัน. นักมวยปล้ำ

นั้น พูดว่า "วัตถุอย่างหนึ่งนี้ คืออะไร." ชนทั้งหลายกล่าวว่า

"ก้อนหินที่นักมวยปล้ำจะต้องยก." เขากล่าวว่า พวกท่านจงนำก้อนหิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 276

นั้นมาเถิด." พอชนทั้งหลายกล่าวว่า "พวกข้าพเจ้ายกไม่ไหวดอก " จึงยก

ขึ้นเสียเอง แล้วกล่าวว่า "ที่หนักกว่าหินนี้อยู่ที่ไหน" แล้วยกก้อนหิน

๒ ก้อนขึ้นด้วยมือทั้งสองแล้ววางลงเหมือนยกงบน้ำอ้อยเล่น. ในข้อนั้น

เขาพึงถูกชนทั้งหลายต่อว่าว่า "ก้อนหินที่นักมวยปล้ำจะต้องยก เป็นของ

เบาสำหรับนักมวยปล้ำ" แต่ไม่ควรจะกล่าวว่า "เป็นของเบาสำหรับ

บุคคลเหล่าอื่นด้วย ท่านพระอานนท์ผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหารตลอดแสน

กัป ก็เหมือนนักมวยปล้ำผู้ถูกเลี้ยงดูด้วยรสโภชนะอันดีตลอด ๖ เดือน.

ก้อนหินที่นักมวยจะต้องยกเป็นของเบาสำหรับนักมวยปล้ำ เพราะนักมวย

ปล้ำมีกำลังมาก ฉันใด. ปฏิจจสมุปบาทพึงกล่าวว่า เป็นธรรมอันง่าย

สำหรับพระอานนท์ เพราะพระเถระมีปัญญามาก แต่มิใช่ธรรมอันง่าย

สำหรับภิกษุเหล่าอื่น ฉันนั้น.

ก็ในมหาสมุทร ปลาใหญ่ชื่อ ติมิ ยาว ๒๐๐ โยชน์ ปลาติมิงคละ

ยาว ๓๐๐ โยชน์ ปลาติเมรปิงคละ ยาว ๕๐๐ โยชน์. ปลา ๔ อย่าง

เหล่านี้ คือ ปลาอานนท์ ปลาปนันทะ ปลาอัชโฌหาระ ปลามหาติมิ

ยาวตั้งพันโยชน์. ในปลาทั้ง ๔ อย่างนั้น ท่านแสดงด้วยปลาติเมรปิงคละ

นั่นเอง. เมื่อมันกระดิกหูขวา น้ำในพื้นที่ตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ก็จะเคลื่อนไหว

หูซ้าย หาง หัว ก็เหมือนกัน. แต่เมื่อมันกระดิกหูทั้ง ๒ ฟาดหางเอียงหัว

ไปมา เริ่มจะเล่นน้ำที่คนเอาใส่ภาชนะ น้ำในที่ ๗-๘ ร้อยโยชน์ก็กระเพื่อม

เหมือนยกขึ้นตั้งบนเตา น้ำในพื้นที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ก็ไม่อาจจะท่วม

หลัง (ของมัน). มันพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนทั้งหลายกล่าวว่า มหาสมุทร

นี้ลึก ความลึกของมหาสมุทรนั้นอยู่ที่ไหน. พวกเราไม่ได้น้ำแม้เพียงที่จะ

ท่วมหลังของพวกเราได้" ในข้อนั้น พึงกล่าวว่า "มหาสมุทรตื้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 277

สำหรับปลาเล็กเหล่าอื่น" ปฏิจจสมุปบาทก็เหมือนอย่างนั้นแหละ พึง

กล่าวว่า "ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้าถึงญาณ (ผู้มีปัญญามาก)

แต่ไม่พึงกล่าวว่า " ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น." อนึ่ง พระยาครุฑสูง

ตั้ง ๑๕๐ โยชน์ ปีกขวาของพระยาครุฑนั้นยาว ๑๕๐ โยชน์ ปีกซ้ายก็

เหมือนกัน หางยาว ๖๐ โยชน์ ปาก ๙ โยชน์ เท้า ๑๒ โยชน์. เมื่อ

มันเริ่มแสดงการกระพือปีกกินลมแบบครุฑ สถานที่ประมาณ ๗-๘ ร้อย

โยชน์ก็ไม่พอ. มันพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนทั้งหลายกล่าวว่า อากาศนี้

ไม่มีที่สิ้นสุด ความไม่มีที่สุดแห่งอากาศนั้นมีที่ไหน. เราไม่ได้แม้โอกาส

สำหรับกระพือปีกกินลม." ในข้อนั้น พึงกล่าวว่า อากาศมีเพียงเล็ก

น้อยสำหรับพระยาครุฑ ผู้เข้าถึงกาย (เป็นนกครุฑใหญ่). แต่ไม่

พึงกล่าวว่า มีเพียงเล็กน้อยสำหรับนกเล็ก ๆ เหล่าอื่น. ปฏิจจสมุปบาท

ก็เหมือนอย่างนั้นแหละ พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้าถึง

ญาณ (มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น.

ส่วนอสุรินทราหู ตั้งแต่ปลายเท้าถึงปลายผม วัดได้ ๔,๘๐๐ โยชน์

ระหว่างแขนทั้ง ๒ ของอสุรินทราหูนั้นวัดได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ โดยส่วน

หนาวัดได้ ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้า ๓๐๐ โยชน์ ปากก็เหมือนกัน ข้อนิ้ว

แต่ละข้อ ๕๐ โยชน์ ระหว่างคิ้วก็เหมือนกัน หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์

ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ เมื่ออสุรินทราหูก้าวลงสู่มหาสมุทร น้ำจะลึกประมาณ

แค่เข่า. เขาพึงกล่าวว่า "ชนทั้งหลายกล่าวว่า มหาสมุทรนี้ลึก ความลึก

ของมหาสมุทรนั้นมีที่ไหน. เราไม่ได้น้ำแม้เพียงที่จะท่วมถึงเข่า. ใน

ข้อนั้น พึงกล่าวว่า มหาสมุทรตื้นสำหรับอสุรินทราหุ ผู้เข้าถึงกาย

(มีกายใหญ่) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ตื้นสำหรับผู้อื่น. ปฏิจจสมุปบาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 278

ก็เหมือนกันอย่างนั้นแหละ พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้า

ถึงญาณ (มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้" ดังนี้

ทรงหมายเอาข้อความนี้แล.

จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้จะเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏว่า

เป็นธรรมง่ายแก่พระอานนทเถระ ด้วยเหตุ ๔ ประการ. เหตุ ๔ ประการ

คืออะไรบ้าง. คือ ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในปางก่อน ๑ ด้วยการ

อยู่ใกล้ศาสดา ๑ ด้วยความเป็นผู้บรรลุกระแสธรรม ๑ ด้วยความเป็นผู้

ได้ยินได้ฟังมาก ๑.

เล่ากันมาว่า ในแสนกัป นับแต่ภัทรกัปนี้ไป ได้มีพระศาสดา

ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงมีนคร

ที่ประทับนามว่า หังสวดี ทรงมีพระบิดาเป็นพระราชา ทรงพระนามว่า

อานันทะ ทรงมีพระมารดาเป็นพระเทวี ทรงพระนามว่า สุเมธา

พระโพธิสัตว์ทรงพระนามว่า อุตตรกุมาร. พระองค์ได้เสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์ ในวันที่พระโอรสประสูติ ทรงผนวชแล้วประกอบ

ความเพียรเนือง ๆ ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณตามลำดับ ทรงเปล่งอุทาน

ว่า อเนกชาติสสาร เป็นอาทิ ทรงยับยั้งให้เวลาล่วงไปที่โพธิบัลลังค์

สิ้น ๗ วันแล้ว ทรงยกพระบาทออกด้วยพระดำริว่า "เราจักเอาเท้า

เหยียบแผ่นดิน." ขณะนั้น ดอกบัวหลวงดอกใหญ่ ก็ชำแรกแผ่นดิน

ปรากฏขึ้น กลีบดอกบัวนั้น วัดได้ ๙๐ ศอก เกสร ๓๐ ศอก ฝัก ๑๒

ศอก มีละอองเกสรประมาณ ๙ หม้อ.

ส่วนพระศาสดา โดยส่วนสูง ทรงสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 279

พาหาทั้ง ๒ ของพระองค์ วัดได้ ๑๘ ศอก พระนลาต ๕ ศอก พระหัตถ์

และพระบาท ๑๑ ศอก พอพระองค์ทรงใช้พระบาท ๑๑ ศอก เหยียบ

ดอกบัวประมาณ ๑๒ ศอก ละอองเกสรที่มีประมาณ ๙ หม้อ ก็ฟุ้งขึ้น

เกลื่อนกล่นไปตลอดพื้นที่ ๕๘ ศอก เหมือนจุณแห่งมโนศิลาอันเกลื่อน

กล่นฉะนั้น อาศัยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงปรากฏพระนามว่า

"ปทุมุตตระ." พระองค์ได้มีอัครสาวก ๒ รูป คือ พระเทวิละ

และพระสุชาตะ. อัครสาวิกา ๒ รูป คือ พระนางอมิตาและพระนางอสมา.

อุปัฏฐากชื่อสมุนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ เมื่อจะทรงกระทำ

การสงเคราะห์พระบิดา ประทับอยู่ที่หังสวดีราชธานี มีภิกษุ ๑ แสนรูป

เป็นบริวาร. อนึ่ง พระกนิษฐภาดาของพระองค์ทรงพระนามว่า สุมนกุมาร.

พระราชาได้พระราชทานโภคะในที่ ๑๒๐ โยชน์ จากหังสวดี แก่สุมนกุมาร

นั้น. บางคราวพระสุมนกุมาร ก็มาเฝ้าพระบิดาและพระศาสดา.

ต่อมาวันหนึ่ง ชายแดนเกิดการกำเริบ (เกิดความไม่สงบ)

สุมนกุมาร ได้ทรงส่งสาสน์ไปถวายพระราชา พระราชาทรงส่งสาสน์

ตอบไปว่า "ลูกเอ๋ย พ่อตั้งเจ้าไว้เพื่ออะไร." สุมนกุมาร ทรงปราบ

โจรให้สงบราบคาบแล้ว ทรงส่งสาสน์ไปถวายพระราชาอีกว่า "ข้าแต่

สมมติเทพ ชนบทสงบแล้ว. พระราชาทรงยินดี รับสั่งว่า "ขอให้ลูก

ของเราจงมาเร็ว." สุมนกุมารนั้น ทรงมีอำมาตย์ประมาณ ๑,๐๐๐ คน

พระองค์ทรงปรึกษากับอำมาตย์เหล่านั้น ในระหว่างทางว่า "พระราช-

บิดาของเราทรงยินดี หากทรงประทานพรแก่เรา เราจะรับอะไรดี."

ครั้นแล้ว อำมาตย์พวกหนึ่ง ได้กราบทูลพระกุมารว่า "พระองค์จงเอา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 280

ช้าง เอาม้า เอาชนบท เอาแก้ว ๗ ประการ." อำมาตย์อีกพวกหนึ่ง

กราบทูลว่า "พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระราชา ผู้เป็นใหญ่ใน

แผ่นดิน ทรัพย์มิเป็นของหาได้ยากกำหนัดพระองค์ พระองค์ควรละทรัพย์

ที่ได้แล้วทั้งหมดนี้ไป บุญอย่างเดียวเท่านั้นที่ควรพาไป เพราะฉะนั้น

เมื่อพระราชาพระราชทานพร ขอพระองค์จงทรงรับพร เพื่ออุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ตลอดไตรมาสเถิด." พระ

กุมารรับสั่งว่า "พวกท่านเป็นกัลยาณมิตรของเรา อันที่จริงเรามีความ

คิดเช่นนั้นอยู่ แต่พวกท่านให้เกิดขึ้นก่อน เราจักทำอย่างนั้น" แล้วเสด็จ

ไปถวายบังคมพระบิดาเมื่อพระบิดาทรงสวมกอด ทรงจุมพิตที่พระเศียร

แล้วรับสั่งว่า "ลูก พ่อขอให้พรแก่เจ้า" จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่

พระมหาราช ข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

ปัจจัย ๔ ตลอดไตรมาส ทำชีวิตมิให้มีโทษ ขอพระองค์จงทรงพระ-

ราชทานพรนี้แก้ข้าพระองค์เถิด." พระราชารับสั่งว่า "ลูก พ่อไม่อาจจะ

ให้ได้ ลูกจงขอสิ่งอื่นเถิด." พระกุมารกราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ

ขึ้นชื่อว่า กษัตริย์ทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำเป็นสอง ขอพระองค์ได้โปรดพระ-

ราชทานพรนี้แหละ ข้าพระองค์ไม่มีความต้องการด้วยสิ่งอื่น." พระราชา

รับสั่งว่า "ลูก จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายรู้ได้ยาก หากพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จักไม่ทรงปรารถนาไซร้ แม้เมื่อพ่อให้พรไปแล้ว จักมีประ-

โยชน์อะไร." พระกุมารกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ดีละ ข้าพระองค์

จักรู้พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า" ดังนี้แล้วเสด็จไปสู่พระวิหาร.

เวลานั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสร็จภัตกิจแล้ว เสด็จเข้าไปยังพระ

คันธกุฎี. พระสุมนกุมารนั้น ได้เสด็จไปถึงสำนักพวกภิกษุที่นั่งอยู่พร้อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 281

กันในโรงกลม. ภิกษุเหล่านั้น ถวายพระพรพระราชกุมารนั้นว่า " ขอ

ถวายพระพร เพราะเหตุไร พระองค์จึงเสด็จมา (ที่นี้)."

พระกุมาร. "มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอให้พวกท่านจงโปรด

แสดงพระผู้มีพระภาคเจ้า แก่ข้าพเจ้าด้วย."

พวกภิกษุ. "ขอถวายพระพร พวกอาตมาให้พระองค์เฝ้าพระ

ศาสดา ในขณะที่พระองค์ทรงประสงค์หาได้ไม่."

พระกุมาร. "ท่านผู้เจริญ ใครเล่า ให้เฝ้าได้."

พวกภิกษุ. "ขอถวายพระพร พระเถระชื่อ สุมนะ."

พระกุมารตรัสถามถึงที่นั่งของพระเถระว่า "ท่านผู้เจริญ พระ

เถระนั้นอยู่ที่ไหน" เสด็จไปทรงไหว้พระเถระแล้วตรัสว่า "ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอท่านจงแสดง

พระผู้มีพระภาคเจ้า แก่ข้าพระเจ้าด้วยเถิด."

พระเถระถวายพระพรว่า "ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงเสด็จ

มาเถิด" แล้วนำเสด็จพระกุมารไปพักที่บริเวณพระคันธกุฎี แล้วขึ้นไป

ยังพระคันธกุฎี.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง (ถาม) พระเถระ

นั้นว่า "ดูก่อนสุมนะ เพราะเหตุไร เธอจึงมา (ที่นี่)."

พระเถระ. "พระราชโอรส เสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระเจ้าข้า."

พระผู้มีพระภาคเจ้า. "ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงปูอาสนะ

เถิด."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 282

พระเถระปูอาสนะแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูแล้ว พระราชโอรสถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทำ

ปฏิสันถาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง (ถาม) ว่า "ขอถวายพระพร พระองค์

เสด็จมาเมื่อไหร่.

พระราชโอรส. "มาเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี พระ-

เจ้าข้า. แต่พวกภิกษุกล่าวว่า พวกอาตมาให้พระองค์เฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในขณะที่พระองค์ทรงประสงค์หาได้ไม่ แล้วสั่งข้าพระองค์ไป

ยังสำนักพระเถระ และพระเถระก็ได้แสดง (ให้ได้เฝ้า) ด้วยคำเพียงคำ

เดียวเท่านั้น พระเถระเห็นจะเป็นที่โปรดปรานในพระศาสนาของพระองค์

มาก พระเจ้าข้า."

พระผู้มีพระภาคเจ้า. "ขอถวายพระพร ถูกแล้ว ภิกษุนี้เป็นที่

โปรดปรานในศาสนาของอาตมภาพ."

พระราชกุมาร. "ทำอะไร จึงจะเป็นที่โปรดปราน ในพระศาสนา

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระเจ้าข้า."

พระผู้มีพระภาคเจ้า. "ขอถวายพระพร ต้องให้ทาน สมาทานศีล

รักษาอุโบสถ จึงจะเป็นที่โปรดปราน."

พระราชกุมาร. "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ปรารถนา

จะเป็นที่โปรดปรานในพระพุทธศาสนาเหมือนพระเถระ ขอพระองค์จง

ทรงรับนิมนต์ข้าพระองค์ อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาสด้วยเถิด."

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า "จะมีประโยชน์ด้วยการไปหรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 283

หนอ" ทรงเห็นว่า "มี" จึงรับสั่งว่า "ขอถวายพระพร พระตถาคต

ทั้งหลาย ย่อมทรงยินดีในเรือนว่างแล."

พระราชกุมารกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์

ได้ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ได้ทราบแล้ว." ทรงถือเอา

ปฏิญญาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะล่วงหน้าไปก่อน แล้ว

ให้สร้างวิหาร เมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวไป ขอพระองค์จงเสด็จมาพร้อม

ภิกษุ ๑ แสนรูป" แล้วเสด็จไปยังสำนักพระบิดา กราบทูลว่า "ข้าแต่

สมมติเทพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ปฏิญญาแก่ข้าพระองค์แล้ว เมื่อ

ข้าพระองค์ส่งข่าวไป ขอพระองค์ได้โปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าไปด้วย."

ถวายบังคมพระบิดาแล้ว เสด็จออกไปสร้างวิหารในที่ ๑ โยชน์ เสด็จ

ทางไกล ๒,๐๐๐ โยชน์ ครั้นเสด็จถึงแล้ว ทรงเลือกที่ตั้งวิหาร ในพระนคร

ของพระองค์. ทรงเห็นอุทยานของกุฏุมพีชื่อโสภณะ ทรงซื้อด้วยทรัพย์

๑ แสน และทรงสละทรัพย์ ๑ แสนให้สร้างวิหาร.

ในอุทยานนั้น พระราชกุมารรับสั่งให้สร้างพระคันธกุฎี สำหรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า กุฎีถ้ำ และมณฑป เพื่อเป็นที่พักกลางคืนและ

กลางวัน สำหรับพวกภิกษุที่เหลือ ทรงสร้างกำแพงและซุ้มประตูเสร็จแล้ว

ส่งข่าวไปยังสำนักพระบิดา "งานของข้าพระองค์เสร็จแล้ว ข้อให้พระองค์

ได้โปรดส่งพระศาสดาไปด้วย. "

พระราชาถวายภัตตาหารพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า งานของสุมนกุมารเสร็จแล้ว เธอหวังการ

เสด็จไปของพระองค์."

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 284

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุ ๑ แสนรูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไป

ประทับพักอยู่ในวิหาร ในระยะทางแห่งละโยชน์ ๆ.

พระราชกุมาร ได้ทรงสดับข่าวว่า "พระศาสดากำลังเสด็จมา"

ได้เสด็จไปทรงต้อนรับระยะทาง ๑ โยชน์ ทรงบูชาด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น อาราธนาให้เสด็จเข้าไปสู่วิหาร แล้วมอบถวายวิหารว่า

"ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงทรงรับอุทยานชื่อโสภณะ ที่ข้าพระองค์

ซื้อด้วยเงิน ๑ แสน สร้างด้วยเงิน ๑ แสน." ในวันเข้าพรรษา ท้าวเธอ

ถวายทานทรงมีรับสั่งให้พระโอรสและพระมเหสีของพระองค์ และพวก

อำมาตย์เข้าเฝ้า แล้วรับสั่งว่า "พระศาสดาได้เสด็จจากแดนไกลมาสู่สำนัก

ของพวกเรา และขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงเป็นผู้เคารพธรรม

ไม่ทรงเห็นแก่อามิส เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จักนุ่งผ้าสาฎก ๒ ผืน

สมาทานศีล ๑๐ อยู่ที่นี่แหละ ตลอดไตรมาสนี้ ขอให้พวกท่านทั้งหลาย

พึงถวายทานแด่พระขีณาสพ ๑ แสนรูป ตลอดไตรมาส โดยทำนองนี้."

ท้าวเธอประทับอยู่ในที่ที่มีส่วนเสมอกับที่อยู่พระสุมนเถระ ได้

ทอดพระเนตรเห็นวัตรทุกอย่างที่พระเถระทำถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ทรงพระดำริว่า "พระเถระรูปนี้ อยู่ในฐานะเป็นที่โปรดปรานโดยส่วน

เดียว ควรที่เราจะปรารถนาฐานันดรของพระเถระนี้แหละ" เมื่อใกล้

ปวารณา ได้เสด็จเข้าสู่บ้าน พระราชทานมหาทานตลอด ๗ วัน ในวันที่

๗ ทรงวางไตรจีวรลงที่ใกล้เท้าของภิกษุ ๑ แสนรูป ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้

กระทำบุญแล้ว ตั้งแต่ให้สร้างวิหารในระยะแห่งละโยชน์ ในทางใหญ่

ข้าพระองค์มิได้กระทำบุญนั้นเพราะหวังสมบัติคือความเป็นท้าวสักกเทวรราช

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 285

ทั้งมิได้กระทำเพราะหวังมารสมบัติและพรหมสมบัติเลย แต่กระทำเพราะ

ปรารถนาความเป็นพุทธอุปัฏฐาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้น

ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นพุทธอุปัฏฐากเหมือนพระสุมนเถระในอนาคตด้วย

เถิด" ดังนี้ ทรงหมอบลงถวายบังคมด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า "ความคิดอันยิ่งใหญ่ ของ

กุลบุตรจักสำเร็จหรือไม่หนอ." ทรงทราบว่า "ในกัปที่หนึ่งแสน

นับแต่ภัทรกัปนี้ไป ในอนาคต พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โคตมะ

จักอุบัติขึ้น เธอจักได้เป็นอุปัฏฐากแห่งพระโคตมะนั้นแล" จึงตรัส

(ให้พร) ว่า

"ขอให้สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์แล้ว ทรงปรารถนาแล้ว

ทั้งหมดนั้นแหละ จงสำเร็จเถิด ขอให้พระดำริทั้งปวง

จงเต็มเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น."

พระกุมารได้ทรงสดับแล้ว จึงทรงพระดำริว่า "ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายย่อมไม่มีพระวาจาเป็นสอง ในวันที่ ๒ นั่นเอง ทรงรับบาตร

และจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ได้เป็นเหมือน (ตาม)

เสด็จมาข้างหลัง ๆ. ท้าวเธอทรงให้ทานตลอดแสนปีในพุทธุปบาทนั้น

ทรงบังเกิดในสวรรค์ แม้ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ก็ได้ถวายผ้าห่มเพื่อ

เป็นที่รองบาตร พระเถระที่เที่ยวโปรดสัตว์ ทำการบูชาแล้ว ทรงบังเกิดใน

สวรรค์อีก เคลื่อนจากสวรรค์นั้นแล้ว ได้เป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรง

ให้สร้างบรรณศาลา ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ทรงตั้งเชิงรอง

บาตรแก้วมณี ทรงทำการบำรุงด้วยปัจจัย ๔ ตลอดเวลา ๑ หมื่นปี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 286

นี้เป็นฐานะที่ปรากฏ.

อนึ่ง เมื่อทรงให้ทานอยู่ตลอดแสนกัป ได้ทรงบังเกิดในดุสิตบุรี

พร้อมกันพระโพธิสัตว์ของเรา เคลื่อนจากดุสิตบุรีนั้นแล้ว ทรงถือ

ปฏิสนธิในเรือนเจ้าศากยะทรงพระนามว่า อมิโตทนะ. เมื่อพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงกระทำมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตาม

ลำดับ เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์โดยการเสด็จครั้งแรก แล้วเสด็จออกไป

จากกรุงกบิลพัสดุ์นั้น เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายทรงบรรพชา เพื่อเป็น

บริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้เสด็จออกพร้อมกับเจ้าศากยะพระ-

นามว่าภัททิยะเป็นต้น บรรพชาในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟัง

ธรรมกถาในสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร เเล้วตั้งอยู่ในโสดา-

ปัตติผลต่อกาลไม่นานเลย. ท่านพระอานนท์นี้ ถึงพร้อมด้วยยอุปนิสัยใน

ปางก่อนอย่างนี้. ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ก็ปรากฏเหมือน

เป็นธรรมง่ายแก่ท่าน เพราะคุณสมบัติข้อนี้.

ส่วนการเล่าเรียน การฟัง การสอบถาม และการทรงจำในสำนัก

ของครูทั้งหลาย ท่านเรียกว่า "อยู่ใกล้ศาสดา." ท่านพระอานนท์

มีความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาทแม้จะ

ลึกซึ้งนี้ จึงปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายแก่ท่าน. และสำหรับพระโสดาบัน

ทั้งหลาย ปัจจยาการปรากฏเป็นธรรมง่าย. และท่านพระอานนท์นี้ก็เป็น

พระโสดาบัน การกำหนดนามรูป ย่อมปรากฏแก่ผู้ได้ยินได้ฟังมาก

เหมือนเมื่อประทีปในห้อง ๔ ศอก ลุกโพลงอยู่ เตียงและตั่งก็ปรากฏ

ฉะนั้น และท่านพระอานนท์ ก็เป็นยอดแห่งบุคคลผู้พหูสูตทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้น ปัจจยาการแม้จะเป็นธรรมลึกซึ่งก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 287

ง่ายสำหรับท่าน เพราะความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก.

ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะความลึกซึ่ง ๔ ประการ

และความลึกซึ้งแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์

วิสุทธิมรรคแล. ความลึกซึ้งแม้ทั้งหมดนั้นได้ปรากฏเหมือนเป็นธรรม

ง่ายสำหรับพระอานนทเถระ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ

ทำให้พระอานนท์ยินดี จึงตรัสว่า มาเหว เป็นอาทิ. ก็ในพระบาลีนั้น

มีอธิบาย ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เธอมีปัญญามาก มีญาณแจ่มแจ้ง ด้วย

เหตุนั้น ปฏิจจสมุปนาท แม้จะเป็นธรรมลึกซึ้ง ก็ย่อมปรากฏเหมือน

เป็นธรรมง่ายสำหรับเธอ เพราะฉะนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า

ปฏิจจสมุปบาทนี้ ปรากฏเป็นธรรมง่ายสำหรับเราหรือหนอ หรือว่า

ง่ายสำหรับคนอื่นด้วย.

แต่พระอานนทเถระยังมิยินดีด้วยถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

แล้วใด ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ "ดูก่อนอานนท์ ก็แหละเธออย่าได้

กล่าวอย่างนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ สำหรับ

เรา ก็ถ้าปฏิจจสมุปบาทนี้ ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ สำหรับเธอ

ไซร้ เพราะเหตุไร เธอจึงมิได้เป็นพระโสดาบันตามธรรมดาของตน แต่

เธอได้ตั้งอยู่ในนัยที่เราให้แล้ว จึงแทงตลอดโสดาปัตติมรรค ดูก่อนอานนท์

พระนิพพานนี้เท่านั้น ที่ลึกซึ้ง ส่วนปัจจยาการเป็นธรรมง่าย ครั้นแล้ว

เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๔ เหล่านี้ คือ กามราค-

สังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อันหยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อันหยาบ

แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ไม่ถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๔ ที่อาศัยสังโยชน์

และอนุสัยเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วกระทำอนาคามิผลให้แจ้ง ไม่ถอนขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 288

ซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือ สังโยชน์ ๕ มีรูปราคะ เป็นต้น มานานุสัย

ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต หรือวำ

เพราะเหตุไร จึงไม่แทงตลอดสาวกบารมีญาณ เหมือนพระสารีบุตรและ

พระมหาโมคคัลลานะผู้ได้บำเพ็ญบารมีตลอด ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป

ไม่แทงตลอดปัจเจกโพธิญาณ เหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ได้

บำเพ็ญบารมีตลอด ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. อีกอย่างหนึ่ง ถ้าปฏิจจ-

สมุปบาทนี้ ปรากฏเป็นธรรมง่ายโดยประการทั้งปวงสำหรับเธอไซร้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ

เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขยยิ่งด้วย

แสนกัปบ้าง ๘ อสงไขยบ้าง ๑๖ อสงไขยบ้าง เธอไม่มีความต้องการ

ด้วยธรรมเครื่องบรรลุคุณพิเศษเหล่านี้หรือ. เธอจงเห็นว่าเป็นเพียงความ

ผิดพลาดของเธอ เธอชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในสาวกปเทสญาณ ได้กล่าว

ถึงปัจจยาการอันลึกซึ้งยิ่งว่า ปรากฏง่ายสำหรับเรา คำพูดเช่นนี้ของเธอ

นั้น เป็นศัตรูต่อพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเช่นนั้น

จะพึงกล่าวถ้อยคำอันเป็นศัตรู ต่อพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นการไม่สมควร. ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อตถาคตพยายามเพื่อแทงตลอด

ปัจจยาการนี้อยู่ ชื่อว่าการให้ทานที่ไม่เคยให้ เพื่อประโยชน์เก่การแทง

ตลอดปัจจยาการ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต ตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป.

ขึ้นชื่อว่า ผู้มิได้บำเพ็ญบารมี ย่อมไม่มี. และเมื่อตถาคตกำจัดกำลังของ

มาร ดุจว่าให้หมดความพยายามด้วยคิดว่า เราจักแทงตลอดปัจจยาการ

ในวันนี้ มหาปฐพีนี้ ก็มิได้ไหว แม้เพียงเท่า ๒ องคุลี. อนึ่ง

เมื่อตถาคตยังปุพเพนิวาสานุสสติญาณให้ถึงพร้อมในปฐมยาม และ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 289

ยังทิพพจักขุญาณให้ถึงพร้อมในมัชฌิมยาม ส่วนในปัจฉิมยาม ด้วยเพียง

เห็นว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง ดังนี้

ในเวลาเช้าตรู่ โลกธาตุนี้เปล่งเสียงอยู่ตั้งร้อยตั้งพัน เหมือนกังสดาลถูก

เคาะด้วยท่อนไม้ ได้ไหวแล้ว เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวที่ถูกลมพัด

ฉะนั้น ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ทั้งลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความ

ลึกซึ้ง ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้ธรรมนี้ ฯ ล ฯ

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร."

ข้อว่า "เอตสฺส ธมฺมสฺส ธรรมนี้" ได้แก่ ธรรมอันเป็นปัจจัย

แห่งธรรมนี้. บทว่า "อนนุโพธา เพราะไม่รู้" ได้แก่ เพราะไม่ตรัสรู้

ด้วยอำนาจญาตปริญญา (การกำหนดรู้สิ่งที่ตนรู้แล้ว). บทว่า "อปฺปฏิ-

เวธา เพราะไม่แทงตลอด" ได้แก่ เพราะไม่แทงตลอดด้วยอำนาจ

ตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาไตร่ตรอง) และปหาน-

ปริญญา (การกำหนดรู้ด้วยการละ). บทว่า ตนฺตากุลชาตา แปลว่า

เป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง. เหมือนอย่างว่า ด้ายของช่างหูกที่เก็บไว้ไม่ดี

ถูกหนูกัดขาด จึงยุ่งในที่นั้น ๆ การที่จะให้ปลายเสมอปลาย ให้โคน

เสมอโคนว่า นี้โคน นี้ปลาย ย่อมทำได้ยาก ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย

ผู้สับสน ยุ่งเหยิง วุ่นวาย ในปัจจยาการนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่อาจ

จะทำปัจจยาการให้ตรงได้. ผู้ที่ตั้งอยู่ในความเคารพนับถือแห่งบุรุษเฉพาะ

ตน พึงเป็นผู้อาจทำอุทาหรณ์ในปัจจยาการนั้นให้ตรงได้. นอกจาก

พระโพธิสัตว์ทั้งสอง สัตว์อื่นชื่อว่า เป็นผู้สามารถเพื่อทำปัจจยาการให้ตรง

ตามธรรมดาของตนย่อมไม่มี เหมือนอย่างว่า เส้นด้ายที่ยุ่ง ซึ่งเขาเอาน้ำ

ส้มใส่แล้ว เอาเก้าอี้ทับ ย่อมจะเกิดเป็นก้อนติดกันเป็นกลุ่มในที่สุด ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 290

สัตว์เหล่านี้ ก็ฉันนั้น พลั้งพลาดในปัจจัยแล้ว ไม่สามารถทำปัจจัยให้

ตรง จึงเกิดเป็นกลุ่มติดกันเป็นปม ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ๖๒. ก็ชน

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อาศัยทิฏฐิ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่อาจทำปัจจัยให้

ตรงได้เลย. ด้ายที่พันกันยุ่งของช่างหูก เรียกว่า กลุ่มเส้นด้ายเป็นปม

ในคำว่า คุฬีคุณฺิกชาตา.

รังนก ชื่อว่า คุฬา. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า รังของนางนกนั้น

ดังนี้ก็มี. ความที่ด้ายเป็นปมและรังนกทั้งสองนั้น ก็นับว่ายุ่ง. การที่จะ

จัดให้ปลายเสมอปลาย ให้โคนเสมอโคน เป็นการทำได้ยาก. เพราะฉะนั้น

ความข้อนั้น พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั่นแหละ.

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูตา ได้แก่ เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย

เหมือนหญ้าปล้อง คือ เกิดเช่นนั้น. การถือเอาสิ่งที่ตกไปในที่ใดที่หนึ่ง

ในเวลาที่เชือกซึ่งเขาทุบหญ้าเหล่านั้น ทำขาดลง แล้วจัดให้ปลายเสมอ

ปลาย ให้โคนเสมอโคนว่า นี้คือปลาย นี้คือโคนของหญ้าเหล่านั้น เป็น

สิ่งทำได้ยาก ผู้ตั้งอยู่ในความเคารพสักการะแห่งบุรุษเฉพาะตน พึงเป็น

ผู้สามารถทำ (ปัจจยาการ) ให้ตรงได้ นอกจากพระโพธิสัตว์ทั้งสอง

สัตว์อื่นชื่อว่า เป็นผู้สามารถทำปัจจยาการให้ตรง ย่อมไม่มี ฉันใด

หมู่สัตว์นี้ ก็ฉันนั้น ไม่อาจทำปัจจัยให้ตรงได้ เป็นผู้เหมือนกลุ่มเส้นด้าย

ที่เป็นปม จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ด้วยอำนาจทิฏฐิ.

ในความข้อนั้น นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย และอสุรกาย

ชื่อว่า อบาย. เพราะฉะนั้น อบายแม้ทั้งหมดนั้น เรียกว่า อบาย เพราะ

ไม่มีความเป็นไป กล่าวคือความเจริญ. อนึ่ง ที่เรียกว่า ทุคติ เพราะ

มีความเป็นไปแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า วินิบาต เพราะความเกิดขึ้นแห่งสุข

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 291

ได้ตกไปเสียแล้ว ส่วนนอกนี้ เรียกว่า สงสาร เพราะขันธ์ธาตุและ

อายตนะยังเป็นไปตามลำดับไม่ขาดสาย หมู่สัตว์ย่อมไม่ล่วงพ้น คือไม่

ก้าวล่วงทุกข์แม้ทั้งหมดนั้น โดยที่แท้ หมู่สัตว์ถือเอาอยู่ซึ่งจุติ และ

ปฏิสนธิบ่อย ๆ อย่างนี้คือ จากจุติ ก็ถือปฏิสนธิ จากปฏิสนธิ ก็ถือ

เอาจุติ จึงต้องหมุนไปในภพ ๓ ในกำเนิด ๔ ในคติ ๕ ในวิญญาณ-

ฐิติ ๗ ในสัตตาวาส ๙ เหมือนเรือที่ถูกลมพัดไปในมหาสมุทร และ

เหมือนโคเทียมด้วยเครื่องยนต์ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงรุกรานท่านพระอานนท์ จึงตรัส

ข้อความนี้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีนัยดัง

กล่าวแล้วแล.

จบนิทานสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาทุกขวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 292

มหาวรรคที่ ๗

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

ว่าด้วยกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้

สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็น

ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความ

เจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็น

ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ

หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น แต่ตถาคต

เรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง

วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย . คลายกำหนัด หลุด

พ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้

อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชน

ผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น

นั้นได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 293

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปอีก

ถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยัง

ชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อ

ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง

ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า

ร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง

มหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น

ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน.

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับ

กิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่

ต่อไป แม้ฉันใด กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคต

เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น

ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล.

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจโดย

แยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมา

นั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้

จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 294

จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข-

โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่

อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ใน

สัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อ

หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดังนี้แล.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

มหาวรรคที่ ๗

อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสุตวตาสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรคต่อไป.

บทว่า " อสุตวา ผู้มิได้สดับ" ได้แก่ ผู้เว้นจากการเรียน การ

สอบถามและการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน

เป็นต้น . บทว่า " ปุถุชฺชโน ปุถุชน" ได้แก่ ชื่อว่าปุถุชน เพราะเหตุที่ยัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 295

กิเลสมากนานัปการเป็นต้นให้เกิด. จริงอยู่ ท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด. ข้อความทั้งปวงนั้น ควรทำให้พิสดาร.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในของพวกชนจำนวนมาก

คือนับไม่ได้ หันหลังให้อริยธรรม ประพฤติธรรมต่ำ อีกอย่างหนึ่ง ผู้นี้

ชื่อว่าปุถุ เพราะถึงการนับไว้แผนกหนึ่งทีเดียว ชื่อว่าชน เพราะแยกจาก

พระอริยเจ้าผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าปุถุชน.

ด้วยบททั้งสอง คือ อสุตวา ปุถุชฺชโน ดังกล่าวแล้วนี้นั้น ท่านถือเอา

อันธปุถุชน ในจำนวนปุถุชน ๒ จำพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์ตรัสไว้ว่า ปุถุชนมี ๒ จำพวก คืออันธปุถุชน ๑ กัลยาณ-

ปุถุชน ๑. ด้วยบทว่า อิมสฺมึ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกายที่เห็น

ประจักษ์อยู่ในปัจจุบัน. บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺมึ แปลว่า ในกายอัน

เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔. อธิบายว่า บังเกิดแต่มหาภูตรูป ๔ ชื่อ

ว่าสำเร็จแต่มหาภูตรูป ๔. บทว่า นิพฺพินฺเทยฺย แปลว่า พึงหน่าย.

บทว่า วิรชฺเชยฺย. แปลว่า ไม่พึงยินดี. บทว่า วิมุจฺเจยฺย แปลว่า พึง

เป็นผู้ใคร่จะพ้น. บทว่า อาจโย แปลว่า ความเจริญ. บทว่า อปจโย

แปลว่า ความเสื่อม. บทว่า อาทาน แปลว่า การบังเกิด. บทว่า

นิกฺเขปน แปลว่า ความแตกสลาย.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่มหาภูตรูป ๔ เหล่านี้ ย่อม

ปรากฏ เพราะมีความเจริญ ความเสื่อม ความบังเกิด และความแตก

สลาย. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำรูปที่

มิได้ประกอบ (ในการ) เพื่อกำหนดรูปในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหา-

ภูตรูป ๔ แล้วทรงกระทำรูปที่ประกอบแล้วในกาย เพื่อกำหนดว่า ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 296

รูป. เพราะเหตุไร. เพราะว่าการถือมั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้น มีกำลัง

เกินประมาณ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่การถือ

มั่นในรูปของภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นรูปที่ไม่ควรกำหนด เมื่อจะทรงนำออก

จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อทรงตั้งไว้ในความไม่มีรูป.

คำทั้งปวงมี จิตฺต เป็นอาทิ เป็นชื่อของมนายตนะนั่นเอง. ก็

มนายตนะนั้น เรียกว่า จิต เพราะเป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะเป็นโคจรแห่งจิต

เพราะมีจิตเป็นสัมปยุตธรรม เรียกว่า มนะ เพราะอรรถกถาน้อมไป และ

เรียกว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง. บทว่า นาล แปลว่า ไม่สามารถ.

บทว่า อชฺโฌสิต แปลว่า ถูกตัณหากลืน คือร้อยรัดยึดไว้. บทว่า มมา-

ยิต ได้แก่ถือเอาว่า นี้ของเราด้วยการยึดว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา.

บทว่า ปรามฏฺ ได้แก่เป็นอันถูกทิฏฐิยึดถือเอาโดยประการอื่น (นอก

พระพุทธศาสนา). คำว่า เอต มม นั่นของเรา เป็นการยึดถือด้วยอำนาจ

ตัณหา. ความวิปริตแห่งตัณหา ๑๐๘ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น. บทว่า

เอโสหมสฺมิ เป็นการยึดถือด้วยอำนาจมานะ. มานะ ๙ เป็นอันถือเอาด้วย

คำนั้น. บทว่า เอโส เม อตฺตา นั่นคืออัตตาของเรา เป็นการยึดถือ

ด้วยอำนาจทิฏฐิ. ทิฏฐิ ๖๒ เป็นอันถือเอาด้วยคำนั้น. บทว่า ตสฺมา

ได้แก่เพราะยึดถือรูปนี้ไว้ตลอดกาลนาน ฉะนั้น จึงไม่สามารถจะหน่าย

ได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ปร ภิกฺขเว

นี้. แก้ว่า เพราะรูปที่ ๑ เป็นอันภิกษุนั้นกระทำให้เป็นรูปที่ไม่สมควร

จะกำหนด ทำอรูปให้เป็นรูปที่สมควร เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นออกจากการยึดถือรูป ถืออรูป ดังนี้ จึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 297

ทรงปรารภพระเทศนานี้ เพื่อทรงคร่าออกซึ่งก็ยึดถือนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตโต อุปคจฺเฉยฺย ความว่า พึง

ถือเอาว่าเป็นอัตตา. บทว่า ภิยฺโยปิ ความว่า แม้จะเกินกว่า ๑๐๐ ปี

ขึ้นไป. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น

ขึ้นชื่อว่า รูปที่ตั้งอยู่เกิน ๑๐๐ ปี มีอยู่หรือ. รูปที่เป็นไปในปฐมวัย

อยู่ไม่ถึงมัชฌิมวัย, รูปที่เป็นไปในมัชฌิมวัย อยู่ไม่ถึงปัจฉิมวัย, รูปที่เป็น

ไปก่อนอาหาร อยู่ไม่ถึงหลังอาหาร, รูปที่เป็นไปหลังอาหาร อยู่ไม่ถึง

ปฐมยาม, รูปที่เป็นไปในปฐมยาม อยู่ไม่ถึงมัชฌิมยาม, รูปที่เป็นไป

ในมัชฌิมยาม อยู่ไม่ถึงปัจฉิมยาม, มีอยู่มิใช่หรือ อนึ่ง รูปที่เป็นไปใน

เวลาเดิน อยู่ไม่ถึงเวลายืน, รูปที่เป็นไปในเวลายืน อยู่ไม่ถึงเวลานั้น,

รูปที่เป็นไปในเวลานั่ง อยู่ไม่ถึงเวลานอน. แม้ในอิริยาบถหนึ่ง รูปที่

เป็นไปในเวลายกเท้า อยู่ไม่ถึงย้ายเท้า, รูปที่เป็นไปในเวลาย้ายเท้า อยู่ไม่ถึง

เวลาย่างเท้า, รูปที่เป็นไปในเวลาย่างเท้า อยู่ไม่ถึงเวลาหย่อนเท้า, รูปที่เป็น

ไปในเวลาหย่อนเท้า อยู่ไม่ถึงเวลาเหยียบพื้น, รูปเป็นไปในเวลาเหยียบพื้น

อยู่ไม่ทันถึงเวลายันพื้น. สังขารทั้งหลาย ทำเสียงว่า ตฏะ ตฏะ ลั่นเป็น

ข้อ ๆ ในทีนั้น ๆ เหมือนงาที่เขาใส่ไว้ในภาชนะร้อนฉะนั้นหรือ. แก้ว่า

ข้อนั้นย่อมเป็นจริงอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อประทีปกำลังลุกโพลง

เปลวไฟไม่โพลงล่วงส่วนแห่งไส้นั้น ๆ ย่อมแตก [เทียะ ๆ] ในที่นั้น ๆ

อนึ่งเล่าเมื่อประทีปกำลังลุกโพลงตลอดคืนยังรุ่ง ด้วยอำนาจที่เนื่องด้วย

ความสืบต่อ ท่านก็เรียกว่าประทีปฉันใด แม้ในที่นี้ กายแม้นี้ ท่านแสดง

ให้เป็นเหมือนตั้งอยู่ตลอดกาลนานอย่างนั้น ด้วยอำนาจความสืบต่อก็

ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 298

ก็บทว่า รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ. บทว่า อญฺเทว อุปฺปชฺชติ อญฺ นิรุชฺฌติ ความว่า

จิตใดเกิดขึ้นและดับไปในเวลากลางคืน จิตดวงอื่นนอกจากจิตดวงนั้น

นั่นแลย่อมเกิดขึ้นและดับไปในกลางวัน. แต่ไม่ควรถือเอาอรรถอย่างนี้ว่า

จิตดวงอื่นเกิดขึ้น จิตดวงอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้นนั่นแลย่อมดับไป. บทว่า

รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ นี้ ท่านถือเอาความสืบต่ออ้อนน้อยกว่าความสืบต่อ

เดิมแล้วกล่าวด้วยอำนาจความสืบต่อนั่นเอง. ก็จิตดวงเดียวเท่านั้นชื่อว่า

สามารถเพื่อตั้งอยู่ สิ้นคืนหนึ่งหรือวันหนึ่งย่อมไม่มี. จริงอยู่ ในขณะ

ดีดนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดขึ้นหลายโกฏิแสนดวง สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้

ในมิลินทปัญหาว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือก ๑๐๐ เล่มเกวียน ๑ บั้น

๗ สัดกับ ๒ ทะนาน ไม่ถึงการนับ คือไม่ถึงเสี้ยว ไม่ถึงส่วนของเสี้ยว

แห่งจิตที่เป็นไปในขณะดีดนิ้วครั้งเดียว.

บทว่า พฺรหาวเน แปลว่า ป่าใหญ่. ด้วยคำว่า ต มุญฺจิตฺวา อ

คณฺหาติ ต มุญฺจิตฺวา คณฺหาติ ทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า ลิงนั้นไม่ได้

กิ่งไม้ที่จะพึงจับ ก็ไม่ลงสู่พื้นดิน โดยที่แท้เที่ยวอยู่ในป่าใหญ่นั้นจับเอาแต่

กิ่งไม้นั้น ๆ เที่ยวไปเท่านั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอุปมาเป็น

เครื่องเทียบเคียงดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ป่าอันถือเอาเป็นอารมณ์ พึงทราบ

เหมือนป่าใหญ่ในป่า จิตอันเกิดขึ้นในป่าคืออารมณ์ พึงทราบเหมือนลิงที่

เที่ยวไปในป่านั้น การได้อารมณ์เหมือนการจับกิ่งไม้. ลิงนั้นเที่ยวไปใน

ป่าปล่อยกิ่งไม้นั้น ๆ แล้วจับกิ่งไม้นั้นๆ ฉันใด แม้จิตนี้ก็ฉันนั้น เที่ยวไป

ในป่าคืออารมณ์ บางคราวยึดเอารูปารมณ์เกิดขึ้น บางคราวยึดเอาอารมณ์

มีสัททารมณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง บางคราวยึดเอาอตีตารมณ์ หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 299

อนาคตารมณ์ บางคราวยึดเอาอารมณ์ปัจจุบัน บางคราวยึดเอาอารมณ์

ภายใน หรืออารมณ์ภายนอก. เหมือนอย่างว่า ลิงนั้นเที่ยวไปในป่าไม่

ได้กิ่งไม้ ไม่พึงกล่าวว่าลงแล้วบนภาคพื้นดิน. แต่จับเอากิ่งไม้กิ่งหนึ่ง

แล้วนั่งอยู่ฉันใด แม้จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เที่ยวไปในป่าคืออารมณ์

ไม่พึงกล่าวว่า ไม่ได้อารมณ์ที่ยึดเหนี่ยวอย่างหนึ่งเกิดขึ้น แต่พึงทราบว่า

ในการเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง จิตยึดเอาอารมณ์แล้วจึงเกิดขึ้น. ก็ด้วยทราบว่า

เพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจากรูปแล้วให้ตั้งการ

ยึดในอรูป นำออกจากอรูปให้ตั้งในรูป.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์จะแยกรูปนั้นออกเป็น

๒ ส่วน จึงเริ่มแสดงว่า ตตฺร ภิกฺขเว สุตวา อริยสาวโก พึงทราบ

ความอุปมาครั้งบุรุษผู้ถูกงูพิษกัดดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่งถูกงูพิษกัด. ลำดับนั้นหมอผู้ฉลาดคนหนึ่ง

มาด้วยหมายใจว่า จะถอนพิษงูนั้นออก แล้วทำให้คายพิษร่ายมนต์ว่า

ข้างล่างเป็นครุฑ ข้างบนเป็นนาค แล้วไล่พิษไว้ข้างบน. หมอนั้นรู้ว่า

พิษถูกยกขึ้นจนถึงส่วนขอบตาแล้ว คิดว่า แต่นี้ไปเราไม่ยอมให้ขึ้นไป เรา

จะตั้งไวในที่ ๆ ถูกกัดนั่นเอง จึงร่ายมนต์ว่า ข้างบนเป็นครุฑ ข้าง

ล่างเป็นนาค จึงรมควันที่แผล เอาไม้เคาะ ปลงพิษลงตั้งไว้ในที่ ๆ ถูกกัด

นั่นเอง. เขารู้ว่าพิษตั้งอยู่ในที่นั้น จึงทำลายยาพิษ โดยการทายาขนาน

เยี่ยม แล้วให้อาบน้ำกล่าวว่า ขอท่านจงมีความสบายเถิด แล้วหลีกไปตาม

ประสงค์.

ในข้อนั้นกาลที่ภิกษุเหล่านี้ถือเอาประมาณยิ่งในรูป พึงทราบเหมือน

การตั้งอยู่ของพิษในกายของบุรุษผู้ถูกอสรพิษกัด. พระตถาคตเหมือนหมอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 300

ผู้ฉลาด. กาลที่ภิกษุเหล่านั้นอันพระตถาคตให้ทำการยึดถือจากรูป แล้วให้

ตั้งอยู่ในอรูป เหมือนเวลาที่หมอร่ายมนต์แล้วไล่ยาพิษไว้ข้างบน กาลที่ภิกษุ

เหล่านั้นอันพระตถาคตให้นำการยึดถือจากอรูป แล้วให้ตั้งอยู่ในรูป เปรียบ

เหมือนเวลาที่หนอไม่ให้พิษที่แล่นขึ้นข้างบนจนถึงขอบตา แล้วไล่ลงด้วย

กำลังมนต์อีก แล้วตั้งไว้ในที่ ๆ ถูกอสรพิษกัด พึงทราบกาลที่พระศาสดา

ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อนำการยึดถือออกจากอารมณ์ทั้ง ๒ ฝ่าย เปรียบ

ทำลายยาพิษที่หยุดไว้ในที่ถูกอสรพิษกัดด้วยการทายาขนานเยี่ยม.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า นิพฺพินฺท วิรชฺชติ พระองค์ตรัส

เหมือนการมรรค. ด้วยบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ ตรัสผล. ด้วยบทว่า

วิมุตฺตสฺมึ เป็นต้น ตรัสปัจจเวกขณญาณ.

จบอรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

ว่าด้วยร่างกายเป็นที่ประชุมมหาภูตทั้ง ๔

[๒๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้

มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ใน

ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

ว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่ายกาย

อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 301

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต

เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อัน

ปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา

เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น

ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น

นั้นไม่ได้เลย.

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไป

ยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน

ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อ

ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง

ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่า

ร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกกายอันเป็นที่ประชุมแห่ง

มหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น

ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคือและในกลางวัน.

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกได้สดับ ย่อมใสใจด้วย

ดีโดยแยบคายถึงปฏิจจสมุทบาทธรรม ในกายและจิตที่ตถาคตกล่าว

มานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น

สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะ

ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 302

ผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะ

อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็น

ปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอัน

เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอัน

เป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น

เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ

จึงสงบไป.

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิด

ไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน

ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุข-

เวทนาขึ้น เพราะผัสสะอัน เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับ จึง

สงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนา

ขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิด

ขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งเวทนาที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุข จึงเกิด

อทุกขมสุขเวทนานั้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น

ดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง

อทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 303

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณา

อยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่าย

แม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ

เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น

แล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอัสสุตวตาสูตรที่ ๑

ในอัสสุตวตาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขเวทนีย ได้แก่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. บทว่า ผสฺส

ได้แก่จักขุสัมผัสเป็นต้น. ถามว่า ก็จักขุสัมผัสไม่เป็นปัจจัยแก่สุขเวทนา

มิใช่หรือ. แก้ว่าไม่เป็นปัจจัยโดยสหชาติปัจจัย แต่เป็นปัจจัยแก่ชวนะ

เวทนา โดยอุปนิสสยปัจจัย ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น. แม้ในโสต-

สัมผัสเป็นต้น ก็นัยนี้. บทว่า ตชฺช ได้แก่เกิดแต่เวทนานั้น คือสมควร

แก่ผัสสะนั้น. อธิบายว่า สมควรแก่ผัสสะนั้น. บทว่า ทุกฺขเวทนีย

เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า สงฺฆฏสโมธานา

ได้แก่โดยการครูดสีกันและการรวมกัน อธิบายว่า โดยการเสียดสีและการ

รวมกัน. บทว่า อุสฺมา ได้แก่อาการร้อน. บทว่า เตโช อภินิพฺพตฺตติ

ความว่า ไม่ควรถือเอาว่า ลูกไฟย่อมออกไป. ก็บทว่า อุสฺมา นี้ เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 304

ไวพจน์แห่งอาการร้อนนั่นเอง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฺวินฺน

กฏฺาน ได้แก่ ไม้สีไฟทั้งสอง. ในสองอย่างนั้น วัตถุเหมือนไม้สีไฟ

อันล่าง อารมณ์เหมือนไม้สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนการครูดสี เวทนา

เหมือนธาตุไออุ่น.

จบอัสสุตวตาสูตรที่ ๒

๓. ปุตตมังสสูตร

ว่าด้วยอาหาร ๔ อย่าง

[๒๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔

อย่าง เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์

แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้นคือ ๑. กวฬีการาหาร

หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร

๔. วิญญาณาหาร ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล เพื่อความ

ดำรงอยู่แห่งสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้

แสวงหาที่เกิด.

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กวฬีการาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามีสองคน ถือเอาเสบียงเดินทาง

เล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อย ๆ น่ารัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 305

น่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะที่คนทั้งสองกำลังเดินไปในทางกันดาร

เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้น

ยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้ ครั้งนั้น เขาทั้งสองคนคิด

ตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใดแล มีอยู่เล็กน้อย

เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารนี้ก็เหลืออยู่

เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตรน้อย ๆ

คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อ

ได้บริโภคเนื้อบุตร จะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น

ถ้าไม่เช่นนั้นเราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่ ครั้งนั้น ภรรยาสามี

ทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อย ๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำ

ให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้าม

ทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคนรับประทานเนื้อบุตรพลาง

ค่อนอกพลางรำพันว่า ลูกชายน้อย ๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ลูกชาย

น้อย ๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ดังนี้ เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อ

นั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหารเพื่อความคะนอง

หรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดา

ร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัส

ต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อ

ข้ามพ้นทางกันดารใช่ไหม ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์จึงตรัสว่า ข้อนี้

ฉันใด เรากล่าวว่า บุคคลควรเห็นกวฬีการาหารว่า [เปรียบด้วยเนื้อ

บุตร] ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้กวฬีการาหารได้

แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ เมื่ออริยสาวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 306

กำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณได้แล้ว สังโยชน์อันเป็นเครื่อง

ชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีก ก็ไม่มี.

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร

เหมือนอย่างว่า แม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ที่จะถูกพวกสัตว์

อาศัยฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ไช

กิน หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำตอดและกัดกิน

ถ้ายืนอยู่ในที่ว่าง ก็จะถูกมวลสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดและจิกกิน

เป็นอันว่าแม่โคนมตัวนั้นที่ไร้หนังหุ้ม จะไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ถูก

จำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป ข้อนี้ฉันใด เรา

กล่าวพึงเป็นผัสสาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ผัสสาหาร

ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรุ้เวทนาทั้งสามได้ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้เวทนา

ทั้งสามได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้

อีกแล้ว.

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัญเจตนาหารจะพึงเห็นได้

อย่างไร เหมือนอย่างว่า มีหลุมถ่านเพลิงอยู่แห่งหนึ่ง ลึกมากกว่าชั่วบุรุษ

เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน ครั้งนั้นมีบุรุษคนหนึ่งอยาก

มีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา บุรุษสองคนมีกำลัง

จับเขาที่แขนข้างละคนคร่าไปสู่หลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง เขามีเจตนา

ปรารถนาตั้งใจอยากจะให้ไกลจากหลุมถ่านเพลิง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขาจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ ก็จักต้องตายหรือถึงทุกข์

แทบตาย ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่าพึงเห็นมโนสัญเจตนาหาร ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 307

เหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดมโนสัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอัน

กำหนดรู้ตัณหาทั้งสามได้แล้ว เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ตัณหาทั้งสามได้แล้ว

เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว.

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร

เหมือนอย่างว่า พวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้วแสดงแก่พระราชา

ว่า ขอเดชะ ด้วยโจรผู้นี้กระทำผิด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรง

พระกรุณาโปรดเกล้าให้ลงโทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด จึงมีพระ

กระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วย

หอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ช่วยกันประหารนักโทษ

คนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้า ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน พระราชา

ทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น

เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม

จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงช่วยกัน

ประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็

ประหารนักโทษคนนั้นเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาเป็น

เวลาเย็น พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ

เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น เจ้าหน้าที่

คนนั้นก็ประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายยังเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่าเมื่อเขากำลังถูกประหาร

ด้วยหอกร้อยเล่มตลอดวันอยู่นั้น จะพึงได้เสวยแต่ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 308

ประการนั้น เป็นเหตุเท่านั้น มิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากำลังถูก

ประหารอยู่ด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็พึงเสวยความทุกข์โทมนัสซึ่งมีการ

ประหารนั้นเป็นเหตุ แต่จะกล่าวไปไยถึงเมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ด้วย

หอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้ฉันนั้น เรากล่าวว่า จะพึงเห็นวิญญาณาหาร

ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว ก็เป็นอัน

กำหนดรู้นามรุปได้แล้ว เมื่ออริยสาวกหากำหนดรู้นามรูปได้เเล้ว เรา

กล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว.

จบปุตตมังสสูตรที่ ๓

อรรถกถาปุตตมังสสูตรที่ ๓

ในปุตตมังสสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในคำว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล. ก็เพราะสูตรนั้นตั้งขึ้นโดยอัตถุปปัตติ ฉะนั้น ครั้นข้าพเจ้า

แสดงเรื่องนั้นแล้ว ในที่นี้จักแสดงการพรรณนาตามลำดับบท. ถามว่า

พระสูตรนี้ ตั้งขึ้นโดยอัตถุปปัตติอะไร. ตอบว่า โดยเรื่องลาภและสักการะ.

ได้ยินว่า ลาภและสักการะเป็นอันมากขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

เหมือนสมัยทรงสร้างสมพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญตลอด ๔ อสงไขย. จริงอยู่

บารมีทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นประหนึ่งประมวลมาว่า เรา

จักให้วิบากในอัตภาพหนึ่ง จึงยังห้วงน้ำใหญ่คือลาภและสักการะให้บังเกิด

เหมือนเมฆใหญ่ตั้งขึ้นแล้วยังห้วงน้ำใหญ่ให้บังเกิดฉะนั้น. ชนทั้งหลายมี

กษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้น ต่างถือข้าว น้ำ ยาน ผ้า ระเบียบดอกไม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 309

ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้น มาจากที่นั้น ๆ พากันคิดว่า พระ-

พุทธเจ้าอยู่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ไหน พระผู้เป็นเทพแห่งเทพ ผู้

องอาจกว่านระ. ผู้เป็นบุรุษเยี่ยงราชสีห์อยู่ไหน ดังนี้แล้วจึงเสาะหา

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ชนเหล่านั้นนำปัจจัยมาตั้งหลายร้อยเล่มเกวียน เมื่อ

ไม่ได้โอกาสจึงหยุดอยู่ เอาทูปเกวียนต่อกันกับทูปเกวียนวงเวียนรายรอบ

ประมาณหนึ่งคาวุต เหมือนเรื่องอันธกวินทพราหมณ์ฉะนั้น. เรื่อง

ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธกะและในพระสูตรนั้น ๆ. ลาภ

สักการะเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันใด แม้แก่พระภิกษุสงฆ์ก็ฉันนั้น.

สมจริงตามคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้อันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง เป็นผู้ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช บริขาร แม้พระสงฆ์แล ก็เป็น

ผู้อันชนสักการะ ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้ ฯล ฯ บริขาร. เหมือนที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า จุนทะ บัดนี้สงฆ์หรือคณะ มีประมาณเท่าใดเกิดขึ้น

ในโลก จุนทะ เราไม่มองเห็นสงฆ์หมู่หนึ่งอื่นผู้ถึงความเป็นเลิศด้วยลาภ

และเลิศด้วยยศ เหมือนอย่างภิกษุสงฆ์นี้เลย.

ลาภและสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และแก่สงฆ์นี้

นั้น รวมแล้วประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำแห่งมหานทีทั้งสอง. ลำดับนั้น

พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ลับ ทรงพระดำริว่า ลาภและสักการะใหญ่

ได้เป็นของสมควรแม้แก่พระพุทธเจ้าในอดีต ทั้งจะสมควรแก่พระพุทธเจ้า

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันกำหนดเอา

อาหารเป็นอารมณ์ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง ปราศจากฉันทราคะ ไม่มีความ

พอใจและความยินดี สามารถบริโภคหรือหนอ หรือจะไม่สามารถบริโภค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 310

พระองค์ได้ทรงเห็นกุลบุตรบางพวกผู้บวชใหม่ ผู้ไม่พิจารณาแล้ว

บริโภคอาหาร ครั้นพระองค์ทรงเห็นแล้วทรงพระดำริว่า เราบำเพ็ญ

บารมีสิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป จะได้บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปัจจัยจีวร

เป็นต้นก็หาไม่แต่ที่แท้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระอรหัตอันเป็นผลสูงสุด.

ภิกษุแม้เหล่านี้บวชในสำนักเรา มิได้บวชเพราะเหตุแห่งปัจจัยมีจีวร

เป็นต้น แต่บวชเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั่นเอง. บัดนี้ภิกษุเหล่านั้น

กระทำสิ่งที่ไม่เป็นสาระนั่นว่าเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั่นแล

ว่าเป็นประโยชน์. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระองค์ด้วยประการฉะนี้ . ลำดับ

นั้น พระองค์ทรงพระดำริว่า ถ้าจักสามารถบัญญัติปัญจมปาราชิกขึ้นได้ไซร้

เราก็จะพึงบัญญัติการบริโภคอาหารโดยไม่พิจารณาให้เป็นปัญจมปาราชิก

แต่ไม่อาจทรงทำอย่างนี้ได้ เพราะว่าอาหารนั้นเป็นที่ส้องเสพประจำของ

สัตว์ทั้งหลาย แต่เมื่อเราตรัสไว้ภิกษุเหล่านั้นก็จักเห็นข้อนั้นเหมือนปัญจม-

ปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนั้นเราก็จักตั้งการบริโภคอาหารที่ไม่พิจารณานั้นว่า-

เป็นกระจกธรรม เป็นข้อสังวร เป็นขอบเขต ซึ่งเหล่าภิกษุในอนาคต

รำลึกแล้ว จักพิจารณาปัจจัย ๔ เสียก่อน แล้วบริโภค.

ในอัตถุปปัตติเหตุนี้ ได้เพิ่มปุตตมังสูปมสุตตันตะดังต่อไปนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อตฺตาโรเม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น มีอรรถ

ดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ก็ครั้นให้อาหาร ๔ พิสดารแล้ว บัดนี้

เพื่อจะแสดงโทษในอาหาร ๔ เหล่านั้น จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว

กวฬีกาโร อาหาโร ทฏฺพฺโพ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชายปติกา ได้แก่ภริยาและสามี บทว่า

ปริตฺต สมฺพล ได้แก่เสบียงมีข้าวห่อ ข้าวสัตตุและขนมเป็นต้น อย่างใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 311

อย่างหนึ่ง จำนวนน้อย. บทว่า กนฺตารมคฺค ได้แก่หนทางกันดารหรือ

หนทางคราวกันดาร. บทว่า กนฺตาร ได้แก่กันดาร ๕ อย่าง คือ โจร-

กันดาร พาฬกันดาร อมนุสสกันดาร นิรุทกกันดาร อัปปภักขกันดาร.

บรรดากันดาร ๕ อย่างนั้น ที่ที่มีโจรภัย ชื่อว่าโจรกันดาร ที่ ๆ มีสัตว์ร้าย

มีราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ชื่อว่า พาฬกันดาร. ที่ๆ มีภัยโดยอมนุษย์

มียักษิณี ชื่อว่า พลวามุข เป็นต้น ชื่อว่า อมนุสสกันดาร. ที่ๆ ไม่มี

น้ำดื่มหรืออาบ ชื่อว่า นิรุทกกันดาร. ที่ที่ไม่มีสิ่งที่จะเคี้ยวหรือกิน โดย

ที่สุดแม้เพียงหัวเผือกเป็นต้นก็ไม่มี ชื่อว่า อัปปภักขกันดาร. อนึ่ง ใน

ที่ใดมีภัยทั้ง ๕ อย่างนี้อยู่ ที่นั้น ชื่อว่า กันดารโดยแท้. กันดารทั้ง ๕

นี้นั้น พึงผ่านไปเสียโดย ๑-๒-๓ วันก็มี. ทางนั้นท่านไม่ประสงค์ในที่นี้

แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาทางกันดารประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ซึ่งไม่มีน้ำและ

มีอาหารน้อย ทางในคราวกันดารเห็นปานนี้ ชื่อว่า ทางกันดาร. บทว่า

ปฏิปชฺเชยฺยุ ความว่า สองสามีภรรยาถูกฉาตกภัย โรคภัย และราชภัย

เบียดเบียนพากันเดินไป สำคัญว่า เราจักผ่านกันดารอย่างหนึ่ง อยู่เป็น

สุขในรัชสมัยที่ปราศจากอันตรายของพระราชาผู้ทรงธรรม.

บทว่า เอกปุตฺตโก ได้แก่บุตรน้อยคนเดียว มีร่างกายผ่ายผอม

ผู้ควรจะพึงเอ็นดูอุ้มไป. บทว่า วลฺลูรญฺจ โสณฺฑิกญฺจ ความว่า

เอาจากที่มีเนื้อเป็นก้อน ๆ ทำเป็นเนื้อแห้ง เอาจากที่ติดกระดูกและติด

ศีรษะทำเป็นเนื้อย่อย ๆ. บทว่า ปฏิปึเสยฺยุ ได้แก่พึงประหาร. ศัพท์ว่า

กห เอกปุตฺตก นี้ เป็นอาการแสดงความคร่ำครวญของสามีภรรยาคู่นั้น.

ก็ในข้อนี้มีการพรรณนาเนื้อความโดยย่อ ตั้งต้นแต่ทำเนื้อความ

ให้เเจ่มแจ้ง ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 312

ได้ยินว่า สองสามีภรรยาอุ้มลูกเดินทางกันดารประมาณ ๑๐๐ โยชน์

ด้วยเสบียงเล็กน้อย. เขาเดินทางไปได้ ๕๐ โยชน์ เสบียงหมด กระสับ

กระส่ายเพราะความหิว นั่งที่ร่มไม้อันงอกงาม. ลำดับนั้น สามีได้กล่าว

กะภรรยาว่า ที่รัก จากนี้ไปโดยรอบ ๕๐ โยชน์ไม่มีบ้านหรือนิคม ฉะนั้น

บัดนี้เราไม่สามารถจะกระทำกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นเป็นอันมาก

ที่ผู้ชายจะพึงทำได้ มาเถิด เธอจงฆ่าเราแล้วกินเนื้อครึ่งหนึ่ง ทำเสบียง

ครึ่งหนึ่งแล้วจงข้ามทางกันดารไปพร้อมกับลูก. ฝ่ายภรรยากล่าวว่า พี่

บัดนี้ ฉันไม่สามารถจะทำกรรมมีการกรอด้ายเป็นต้นแม้มากที่ผู้หญิงจะพึง

ทำ มาเถิด พี่จงฆ่าฉันกินเนื้อครึ่งหนึ่ง ทำเสบียงครึ่งหนึ่งแล้วจงข้าม

ทางกันดารไปพร้อมกับลูก. สามีกล่าวกะภรรยาอีกว่า ที่รัก ความตาย

ย่อมปรากฏแก่คนสองคนเพราะแม่ตาย เพราะเด็กอ่อน เว้นแม่เสียแล้ว

ก็ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเราทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ เราก็จะพึงได้ลูกอีก

เอาเถอะ เราจะฆ่าลูกน้อยในบัดนี้ ถือเอาเนื้อกิน ข้ามผ่านทางกันดาร.

ลำดับนั้น แม่กล่าวกะลูกว่า ลูกรัก เจ้าจงไปหาพ่อ. ลูกก็ไปหาพ่อ.

ครั้งนั้น พ่อของเด็กน้อย กล่าวว่า เราได้รับความทุกข์มิใช่น้อยเพราะ

กสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้นก็เพื่อจะเลี้ยงดูลูกน้อย เราไม่อาจฆ่าลูก

ได้ เธอนั่นแหละจงฆ่าลูกของเธอ แล้วกล่าวกะลูกน้อยว่า ลูกรัก เจ้า

จงไปหาแม่. ลูกก็ไปหาแม่. ครั้งนั้น แม่ของเด็กน้อย กล่าวว่า เมื่อ

เราอยากได้ลูก เราได้รับทุกข์มิใช่น้อย ด้วยการบวงสรวงเทวดา

ด้วยโควัตรและกุกกุรวัตรเป็นต้นก่อน ไม่ต้องพูดถึงการบริหารครรภ์

ฉันไม่อาจฆ่าลูกได้ แล้วกล่าวกะลูกน้อยว่า ลูกรัก เจ้าจงไปหาพ่อเถิด.

ลูกน้อยนั้นเมื่อเดินไปในระหว่างพ่อแม่นั่นแหละ ตายแล้วด้วยประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 313

ฉะนี้. สองสามีภรรยาเห็นดังนั้น คร่ำครวญ ถือเอาเนื้อลูกเคี้ยวกิน

เดินทางไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

อาหารคือเนื้อลูกของสองสามีภรรยานั้น ไม่ใช่กินเพื่อจะเล่น ไม่

ใช่กินเพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่กินเพื่อประดับ ไม่ใช่กินเพื่อตกแต่ง เพราะ

ปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ เป็นอาหารเพื่อข้ามผ่านทางกันดารอย่างเดียว

เท่านั้น. หากจะถามว่า เพราะปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง.

พึงแก้ว่า เพราะเป็นเนื้อของผู้ร่วมชาติ ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑

เพราะเป็นเนื้อของบุตร . เพราะเป็นเนื้อของบุตรที่รัก ๑ เพราะเป็นเนื้อ

เด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะไม่เป็นโครส ๑ เพราะไม่เค็ม ๑

เพราะยังไม่ได้ปิ้ง ๑. จริงอยู่ สองสามีภรรยานั้นเคี้ยวกินเนื้อบุตรนั้น

ซึ่งปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ จึงมิได้เคี้ยวกิน

ด้วยความยินดีติดใจ แต่ตั้งอยู่ในภาวะกลางๆ นั่นเอง คือ ในการบริโภค

โดยไม่มีความพอใจและยินดี มีใจแตกทำลาย เคี้ยวกินแล้ว เขาจะได้เอา

เนื้อที่ติดกระดูกเอ็นและหนังออกแล้วเคี้ยวกินแต่เนื้อที่ล่ำ ๆ คือเนื้อที่ดี ๆ

เท่านั้นก็หาไม่ เคี้ยวกินเฉพาะเนื้อที่อยู่ตรงหน้า มิได้เคี้ยวกินตามที่ต้องการ

จนล้นคอหอย แต่เคี้ยวกินทีละน้อยๆ พอยังชีพให้เป็นไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น

มิได้หวงกันและกัน เคี้ยวกิน เคี้ยวกินด้วยใจที่บริสุทธิ์จริง ๆ ปราศจาก

มลทินคือความตระหนี่ มิได้เคี้ยวกินอย่างงมงายว่า พวกเราเคี้ยวกินเนื้อ

อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเนื้อมฤคหรือเนื้อนกยูงเป็นต้นอย่างใครอย่างหนึ่ง

ก็ตาม แต่เคี้ยวกินทั้งที่รู้ว่าเป็นเนื้อของลูกรัก มิได้เคี้ยวกินโดยปรารถนา

ว่า ไฉนหนอ เราพึงเคี้ยวกินเนื้อลูกเห็นปานนี้อีก แต่เคี้ยวกินโดยไม่

ปรารถนา มิได้สั่งสมด้วยตั้งใจว่า เราเคี้ยวกินเพียงเท่านี้ในทางกันดาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 314

เมื่อพ้นทางกันดารแล้ว จักเอาเนื้อที่เหลือไปปรุงด้วยรสเค็มรสเปรี้ยว

เป็นต้น เคี้ยวกิน แต่เมื่อล่วงกันดารไปแล้ว คิดว่า พวกชนในเมืองจะ

เห็น จึงฝังไว้ในดินหรือเอาไฟเผา มิได้ถือตัวหรือโอ้อวดว่า ใครอื่นจะ

ได้เคี้ยวกินเนื้อบุตรเห็นปานนี้อย่างเรา แต่เคี้ยวกินโดยขจัดความถือตัวและ

โอ้อวดเสียได้ มิได้เคี้ยวกินอย่างดูหมิ่นว่า ประโยชน์อะไรด้วยเนื้อนี้ซึ่ง

ไม่เค็ม ไม่เปรี้ยว ยังไม่ได้ปิ้ง มีกลิ่นเหม็น แต่เคี้ยวกินโดยปราศจาก

ความดูหมิ่น ไม่ดูหมิ่นกันและกันว่า ส่วนของท่าน ส่วนของเรา บุตร

ของท่าน บุตรของเรา แต่มีความพร้อมเพรียงบันเทิงเคี้ยวกิน.

พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นสองสามีภรรยาบริโภคโดยปราศจาก

ฉันทราคะเห็นปานนั้นนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์ทราบเหตุนั้น จึงตรัส

คำเป็นต้นว่า ต กึ มญฺถ ภิกฺขเว อปิ นุ เต ทวาย วา อาหาร

อาหเรยฺยุ ดังนี้. ในพระบาลีนั้น คำเป็นต้นว่า ทวาย วา กล่าวไว้

พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.

บทว่า กนฺตารสฺส ได้แก่กันดารนอกจากที่สองสามีภรรยาผ่านมา.

บทว่า เอวเมว โข ความว่า พึงเห็นอาหารเสมือนเนื้อลูกรัก ด้วย

อำนาจความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่าง. ถามว่า ความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่าง

อะไรบ้าง ตอบว่า มีความเป็นของปฏิกูลในการไปเป็นต้น. จริงอยู่

เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการไปก็ดี เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการ

แสวงหาก็ดี เมื่อพิจารณาความปฏิกูลโดยการบริโภค โดยที่ฝังไว้ โดย

ที่อาศัย โดยเป็นของสุก โดยเป็นของไม่สุก โดยเป็นของเปื้อน และ

โดยเป็นของไหลออกก็ดี ชื่อว่าย่อมกำหนดกวฬิงการาหาร. ก็ความปฏิกูล

โดยการไปเป็นต้นเหล่านี้นั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วทั้งนั้นในอาหารปาฏิกุลย-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 315

นิทเทสในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. พึงบริโภคอาหารเปรียบด้วยเนื้อลูกทีเดียว

ด้วยอำนาจความปฏิกูล ๙ อย่างเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

สองสามีภรรยานั้นเมื่อเคี้ยวกินเนื้อลูกรักซึ่งเป็นของปฏิกูล มิได้

เคี้ยวกินด้วยความยินดีติดใจ แต่ตั้งอยู่ในภาวะกลาง ๆ นั่นเอง คือใน

การบริโภคโดยไม่มีความพอใจและยินดี เคี้ยวกินแล้ว ฉันใด พึง

บริโภคอาหารโดยไม่มีความพอใจและยินดี ฉันนั้น.

เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นจะได้เอาเนื้อที่ติดกระดูกเอ็นและ

หนังออก เคี้ยวกินแต่เนื้อที่ล่ำ ๆ คือเนื้อที่ดี ๆ เท่านั้นก็หาไม่ แต่เคี้ยว

กินเนื้อที่หยิบถึงเท่านั้น ฉันใด ภิกษุไม่พึงใช้หลังมือเขี่ยข้าวแห้งและกับข้าว

แข็งเป็นต้นออก ไม่แสดงความเจาะจง ดุจนกกระจาบและดุจไก่มิได้

เลือกเฉพาะโภชนะที่ดีซึ่งผสมเนยใสและเนื้อเป็นต้นแต่ที่นั้น ๆ บริโภค

พึงบริโภคตามลำดับดุจราชสีห์ ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยา

นั้น มิได้เคี้ยวกินตามที่ต้องการจนล้นคอหอย แต่เคี้ยวกินทีละน้อย ๆ

พอยังชีพให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ไม่บริโภค

ตามที่ต้องการจนเรอ ดุจพวกพราหมณ์ที่มีอาหารอยู่ในมือเป็นต้นบางคน

เว้นโอกาสสำหรับคำข้าว ๔-๕ คำไว้แล้วบริโภคดุจพระธรรมเสนาบดี.

เล่ากันว่า พระธรรมเสนาบดีเถระนั้นดำรง (ความเป็นภิกษุ)

อยู่ ๕ พรรษา กล่าวว่า แม้วันหนึ่งเราก็มิได้ฉันอาหารจนสำรอกออก

มาเป็นรสเปรี้ยวภายหลังฉันอาหาร ดังนี้ เมื่อบันลือสีหนาทได้กล่าวคาถา

นี้ว่า

ภิกษุงดฉันคำข้าว ๔-๕ คำ พึงดื่มน้ำ พอที่จะ

อยู่อย่างสบายสำหรับภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 316

เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นจะได้หวงกันและกันเคี้ยวกิน

ก็หาไม่ แต่เคี้ยวกินด้วยใจที่บริสุทธิ์จริง ๆ ปราศจากมลทินคือความ

ตระหนี่ ฉัน ไค ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้วไม่ตระหนี่

คิดว่า เมื่อภิกษุรับบิณฑบาตนี้ได้ทั้งหมด เราก็จักให้ทั้งหมด เมื่อรับได้

ครึ่งหนึ่ง เราจักให้ครึ่งหนึ่ง ถ้าจักมีบิณฑบาตเหลือจากที่ภิกษุรับไป

เราจักบริโภคเอง ดังนี้ ตั้งอยู่ในสาราณียธรรมมั่นคงบริโภค. เหมือน

อย่างว่า สองสามีภรรยานั้น มิได้เคี้ยวกินอย่างงมงายว่า พวกเราเคี้ยวกิน

เนื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นเนื้อมฤคหรือเนื้อนกยูงเป็นต้นอย่างใด

อย่างหนึ่งก็ตาม แต่เคี้ยวกินทั้งที่รู้ว่าเป็นเนื้อของลูกรัก ฉันใด ภิกษุก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้ว ไม่พึงเกิดความงมงายเพราะเห็นแก่

ตัวว่า เราจะเคี้ยวกิน จะบริโภค พึงคิดว่า กวฬิงการาหารย่อมไม่รู้ว่า

เราทำกายที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ให้เจริญ แม้กายก็ไม่รู้ว่า กวฬิงการาหาร

ทำเราให้เจริญ ดังนี้ พึงละความงมงายบริโภค ด้วยอาการอย่างนี้. จริงอยู่

กวฬิงการาหารนี้ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่งมงายบริโภคแม้ด้วยสติสัมปชัญญะ.

เหมือนอย่างว่า สองสามีภรรยานั้นไม่เคี้ยวกินด้วยตั้งความปรารถนา

ว่า ไฉนหนอ เราพึงเคี้ยวกินเนื้อลูกเห็นปานนี้แม้อีก แต่พอพ้นความ

ปรารถนาไปแล้วก็เคี้ยวกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โภชนะ

อันประณีตแล้ว คิดว่า ไฉนหนอ เราพึงได้โภชนะเห็นปานนี้ ในวัน

พรุ่งนี้ก็ดี ในวันต่อไปก็ดี ก็แลครั้นได้โภชนะที่เศร้าหมองก็คิดว่า วันนี้

เราไม่ได้โภชนะอันประณีตเหมือนวันวาน มิได้ทำความปรารถนาหรือ

เศร้าใจ เป็นผู้ปราศจากความอยาก ระลึกถึงโอวาทนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 317

ชนทั้งหลายย่อมไม่เศร้าโศกถึงอาหารที่เป็นอดีต

ย่อมไม่พะวงถึงอาหารที่เป็นอนาคต ยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยอาหารที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณ

จึงผ่องใส.

พึงบริโภคด้วยคิดว่า จักยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอันเป็นปัจจุบัน

เท่านั้น.

อนึ่ง สองสามีภรรยานั้น มิได้สั่งสมด้วยคิดว่า เราจักเคี้ยวกิน

เนื้อลูกเท่านี้ในทางกันดาร ล่วงทางกันดารไปแล้ว จักเอาเนื้อลูกส่วนที่

เหลือไปปรุงด้วยรสเปรี้ยวเป็นต้นเคี้ยวกิน แต่เมื่อล่วงทางกันดารไปแล้ว

คิดว่า พวกชนในเมืองนั้นจะเห็น จึงฝังไว้ในดิน หรือเอาไฟเผา ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ระลึกถึงโอวาทนี้ว่า ได้ข้าวหรือน้ำก็ตาม ของ

เคี้ยวหรือผ้าก็ตาม ไม่พึงสั่งสม เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่พึงสะดุ้ง

ถือเอาพอยังอัตภาพให้เป็นไป จากปัจจัย ๔ ตามที่ได้นั้น ๆ ส่วนที่เหลือ

แจกจ่ายแก่เพื่อนสพรหมจารี เว้นการสั่งสมบริโภค. อนึ่ง สองสามีภรรยา

นั้นมิได้ถือตัวหรือโอ้อวดว่า ใครอื่นจะได้เคี้ยวกินเนื้อบุตรเห็นปานนี้

อย่างเรา แต่เคี้ยวกินโดยขจัดความถือตัวและโอ้อวดเสียได้ ฉันใด ภิกษุ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โภชนะอันประณีตแล้ว ไม่พึงถือตัวหรือโอ้อวดว่า

เราได้จีวรและบิณฑบาตเป็นต้น พึงพิจารณาว่า การบวชนี้มิใช่เหตุแห่ง

จีวรเป็นต้น แต่การบวชนี้เป็นการบวชเพราะเหตุแห่งพระอรหัต แล้ว

พึงบริโภคโดยปราศจากความถือตัวและโอ้อวดทีเดียว.

อนึ่ง สองสามีภรรยานั้นมิได้เคี้ยวกินอย่างดูหมิ่นว่า ประโยชน์อะไร

ด้วยเนื้อที่ไม่เค็ม ไม่เปรี้ยว ยังไม่ได้ปิ้ง มีกลิ่นเหม็น แต่เคี้ยวกินโดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 318

ปราศจากความดูหมิ่นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้ว

ไม่พึงดูหมิ่นบิณฑบาตว่า ประโยชน์อะไรด้วยภัตรที่เลวไม่มีรสชาติอย่าง

อาหารม้าอาหารโค จงเอามัน ไปใส่ในรางสุนัข หรือไม่ดูหมิ่นทายกอย่าง

นี้ว่า ใครจักบริโภคภัตรดังนี้ได้ จงให้แก่กาและสุนัขเป็นต้นเถิด ระลึกถึง

โอวาทนี้ว่า

เขาอุ้มบาตรเที่ยวไป ไม่ใบ้ก็ทำเป็นใบ้ ไม่พึงดูหมิ่น

ทานที่น้อย ไม่พึงดูหมิ่นผู้ให้ ดังนี้

พึงบริโภค. อนึ่ง สองสามีภรรยานั้น มิได้ดูหมิ่นกันและกันว่า ส่วนของ

ท่าน ส่วนของเรา บุตรของท่าน บุตรของเรา แต่มีความพร้อมเพรียง

บันเทิงเคี้ยวกินฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บิณฑบาตแล้ว ไม่พึง

ดูหมิ่นใคร ๆ อย่างที่ภิกษุบางพวกดูหมิ่นเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลว่า ใคร

จักให้แก่คนอย่างพวกท่าน พวกท่านเป็นผู้ไม่มีเหตุ เที่ยวลื่นล้มที่ธรณี

ประตู แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่สำคัญของที่จะให้ แต่พวก

เราย่อมได้จีวรเป็นต้นที่ประณีต ในที่ที่ไปแล้ว ๆ อย่างที่พระองค์หมาย

ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก โดยลาภสักการะและ

สรรเสริญนั้น ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นย่อมมีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อไม่เป็น

ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดังนี้ พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงบันเทิง

บริโภคกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งปวง.

บทว่า ปริญฺาเต ได้แก่กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้ คือ

ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหารปริญญา. กำหนดอย่างไร. คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ชื่อว่า กวฬีการาหารนี้ เป็นรูปมีโอชาเป็นที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 319

(โอชัฏฐมกรูป) ด้วยอำนาจรูปที่มีวัตถุ. โอชัฏฐมกรูปถูกกระทบในที่ไหน.

กระทบที่ชิวหาประสาท. ชิวหาประสาทอาศัยอะไร. อาศัยมหาภูตรูป ๔.

รูปมีโอชาเป็นที่ ๘ ชิวหาประสาท มหาภูตรูป อันเป็นปัจจัยแห่งชิวหา

ประสาทนั้น ธรรมเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ชื่อว่ารูปขันธ์ เมื่อภิกษุกำหนด

รูปขันธ์ ธรรมอันมีผัสสะเป็นที่ ๕ ที่เกิดขึ้น ชื่อว่าอรูปขันธ์ ๔. ธรรม

แม้ทั้งหมดเหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์ ๕ โดยสังเขป ย่อมเป็นเพียงนามรูป.

ภิกษุนั้นครั้นกำหนดธรรมเหล่านั้น โดยลักษณะพร้อมด้วยกิจแล้วแสวงหา

ปัจจัยของธรรมเหล่านั้น ย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลม. ด้วย

อันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันภิกษุนั้นกำหนดรู้กพฬีการาหาร ด้วยญาติ-

ปริญญา เพราะเห็นนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยโดยมุขคือกพฬีกิราหารตาม

ความเป็นจริง เธอยกนามรูปพร้อมด้วยปัจจัยนั้นนั่นแลขึ้นสู่ลักษณะ ๓ ว่า

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วพิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนา ๗. ด้วย

อันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันเธอกำหนดรู้กพฬีการาหารนั้น กล่าวคือ

ญาณเป็นเครื่องแทงตลอดและพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ด้วยตีรณปริญญา.

ก็กวฬีการาหารนั้น เป็นอันเธอกำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา เพราะกำหนด

รู้ด้วยอนาคามิมรรค อันคร่าเสียซึ่งฉันทราคะในนามรูปนั้นเอง.

บทว่า ปญฺจกามคุณิโก เป็นอันเธอกำหนดรู้การเกิดแห่งกามคุณ ๕.

แต่ในที่นี้ ปริญญา ๓ ได้แก่ เอกปริญญา สัพพปริญญา มูลปริญญา.

ถามว่า เอกปริญญาเป็นไฉน.

แก้ว่า ภิกษุใดกำหนดรู้ตัณหามีรสเป็นอันเดียวในชิวหาทวาร ภิกษุ

นั้น ชื่อว่าเป็นอันกำหนดราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕. เพราะเหตุไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 320

เพราะตัณหานั้นแลเกิดขึ้นในที่นั้น จริงอยู่ ตัณหานั้นแล เกิดขึ้นใน

จักขุทวาร ชื่อว่าเป็นรูปราคะ ในโสตทวารเป็นต้นก็เกิดสัททราคะ

เป็นต้น ดังนั้น ราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕ เป็นอันภิกษุนั้นกำหนด

รู้แล้ว ด้วยการกำหนดรู้รสตัณหาในชิวหาทวาร เหมือนเมื่อราชบุรุษจับ

โจรคนหนึ่ง ผู้ฆ่าคนในทาง ๕ สายได้ในทางสายหนึ่ง แล้วตัดศีรษะเสีย

หนทางทั้ง ๕ สายย่อมเป็นทางปลอดภัยฉะนั้น นี้ชื่อว่า เอกปริญญา.

ถามว่า สัพพปริญญาเป็นไฉน.

แก้ว่า ความจริง เมื่อบิณฑบาตที่เขาใส่ลงในบาตร อย่างเดียว

เท่านั้น ย่อมได้ความยินดีอันประกอบด้วยกามคุณ ๕.

อย่างไร. คือ อันดับแรก เมื่อภิกษุนั้นแลดูสีอันบริสุทธิ์ ความ

ยินดีในรูปย่อมมี เมื่อราดเนยใสอันร้อนลงในที่นั้น เสียงย่อมดัง ปฏะปฏะ

เมื่อเคี้ยวของที่ควรเคี้ยวเห็นปานนั้น เสียงว่า มุรุ มุรุ ย่อมดังขึ้น เมื่อ

ยินดีเสียงนั้น ความยินดีในเสียงย่อมเกิดขึ้น เมื่อยินดีกลิ่นเครื่องปรุงมี

ยี่หร่าเป็นต้น ความยินดีในกลิ่นย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในรส ด้วยอำนาจ

รสที่ดี ย่อมเกิดขึ้น เมื่อยินดีว่า โภชนะอ่อนละมุนน่าสัมผัส ความยินดี

ในโผฏฐัพพะย่อมเกิดขึ้น. ดังนั้น เมื่อภิกษุกำหนดอาหารด้วยสติและ

สัมปชัญญะแล้วบริโภค ด้วยการบริโภคที่ปราศจากราคะ การบริโภค

ทั้งหมด เป็นอันชื่อว่าอันภิกษุกำหนดรู้แล้ว การกำหนดรู้ดังว่ามานี้ ชื่อว่า

สัพพปริญญา.

มูลปริญญาเป็นไฉน.

จริงอยู่ กวฬีการาหารเป็นมูลแห่งความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ ๕.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 321

เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อกวฬีการาหารยังมีอยู่ ความยินดีในอาหารนั้นอัน

เป็นไปในกามคุณ ๕ ก็เกิดขึ้น. ได้ยินว่า สองสามีภรรยามิได้มีจิตคิดเพ่งเล็ง

ตลอด ๑๒ ปี ในเพราะภัยเกิดแต่ติสสะพราหมณ์. เพราะเหตุไร. เพราะ

มีอาหารน้อย แต่เมื่อภัยสงบลง เกาะตามพปัณณิทวีป ประมาณ ๑๐๐

โยชน์ได้มีมงคลเป็นอันเดียวกัน โดยมงคลที่เกิดขึ้นแก่ผู้การทำ ดังนั้น

เมื่อกำหนดรู้อาหารที่เป็นมูลได้แล้ว ก็เป็นอันชื่อว่าภิกษุกำหนดรู้ราคะ

ความยินดีอันเป็นไปในกามคุณ ๕ ด้วย ดังว่ามานี้ ชื่อว่า มูลปริญญา.

บทว่า นตฺถิ ต สโยชน ความว่า สังโยชน์นั้นไม่มี เพราะ

อริยสาวกละธรรมอันมีที่ตั้งเดียวกับธรรมที่ควรละพร้อมทั้งราคะนั้นได้.

เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จนถึงอนาคามิมรรคด้วยประการฉะนี้.

แต่ควรเจริญวิปัสสนาในขันธ์ ๕ ด้วยสามารถแห่งรูปเป็นต้นเหล่านั้น

นั่นแล แล้วตรัสจนถึงพระอรหัต ด้วยทรงดำริว่า ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ภิกษุทั้งหลายอย่าได้ถึงความสิ้นสุดเลย.

จบอาหารที่ ๑ (กพฬีการาหาร)

ในอาหารที่ ๒ (ผัสสาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิจฺจมฺมา ได้แก่หนังที่ถูกถลกจากสรีระทิ้งสิ้นตั้งแต่อกถึง

โคนเขา มีสีเหมือนกองดอกทองกวาว ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อุปมานี้

ถึงไม่ทรงถือเอาอุปมาด้วยช้างม้าและโคเป็นต้น ทรงถือเอาแต่อุปมาด้วย

แม่โคที่ไม่มีหนัง. แก้ว่า เพื่อทรงแสดงภาวะที่ไม่สามารถจะอดกลั้นได้

จริงอยู่ มาตุคามไม่สามารถอดกลั้นอดทนทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นได้. เพื่อจะ

ทรงแสดงว่า ผัสสาหารไม่มีกำลัง มีกำลังเพลาเหมือนอย่างนั้น จึงทรงนำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 322

อุปมามาเทียบเท่านั้น. บทว่า กุฑฺฑ ได้แก่ ฝา มีฝาศิลาเป็นต้นอย่างใด

อย่างหนึ่ง. ชื่อว่าจำพวกสัตว์ที่เกาะฝา ได้แก่ สัตว์มีแมลงมุม ตุ๊กแก และ

หนูเป็นต้น. บทว่า รุกฺขนิสฺนิตา ได้แก่ สัตว์เล็ก ๆ มีตังบุ้งเป็นต้น. บทว่า

อุทกนิสฺสิตา ได้แก่ สัตว์น้ำมีปลาและจระเข้เป็นต้น. บทว่า อากาส-

นิสฺสิตา ได้แก่ เหลือบ ยุง กา และแร้งเป็นต้น. บทว่า ขาเทยฺยุ

ได้แก่ ทิ้งจิกกิน. แม่โคนั้นพิจารณาเห็นที่นั้น ๆ ว่าเป็นภัยแต่การเคี้ยว

กินของปาณกสัตว์ ซึ่งมีที่ชุมนุม อาศัยกายเป็นมูล ไม่ได้ปรารถนาสักการะ

และความนับถือสำหรับตน ทั้งไม่ปรารถนาการทุบหลัง การนวดร่างกาย

และน้ำร้อน. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาเห็นภัยคือการเคี้ยวกินของ

ปาณกสัตว์คือกิเลสอันมีผัสสาหารเป็นมูล ย่อมไม่มีความต้องการด้วยผัสสะ

อันเป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า ผสฺเส ภิกฺขเว อาหาเร ปริญฺาเต ได้แก่เมื่อกำหนด

รู้ด้วยปริญญา ๓. แม้ในที่นี้ท่านก็กำหนดเอาปริญญา ๓. ในปริญญา ๓

เหล่านั้น การเห็นซึ่งกิจของนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยตามความเป็นจริงอย่าง

นี้ว่า ผัสสะจัดเป็นสังขารขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยผัสสะนั้น จัดเป็น

เวทนาขันธ์ สัญญาจัดเป็นสัญญาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์ อารมณ์ที่

เป็นวัตถุ แห่งขันธ์เหล่านั้น จัดเป็นรูปขันธ์ ชื่อว่า ญาตปริญญา. ใน

ปริญญา ๓ เหล่านั้นนั่นแล การที่ภิกษุยกนามรูปขึ้นสู่ไตรลักษณ์แล้ว

พิจารณาเห็นโดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗

ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ก็พระอรหัตมรรค ที่คร่าฉันทราคะในนามรูปนั้น

เองออกไป ชื่อว่า ปหานปริญญา.

บทว่า ติสฺโส เวทนา ความว่า เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 323

ปริญญา ๓ อย่างนี้แล้ว เวทนา ๓ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน

เพราะมีผัสสาหารนั้นเป็นมูล และเพราะสัมปยุตด้วยผัสสาหารนั้น. ด้วย

ประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนาจนถึงพระอรหัตด้วยอำนาจผัสสาหาร.

จบอาหารที่ ๒ (ผัสสาหาร )

ในอาหารที่ ๓ (นโนสัญเจตนาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า องฺคารกาสุ ได้แก่หลุมถ่านเพลิง. บทว่า กาสุ ท่าน

กล่าวหมายความว่า กองบ้าง ว่าหลุมบ้าง ในคำนี้ว่า

องฺคารกาสุ อปเร ผุณนฺติ

นรา รุทนฺตา ปริทฑฺฒคตฺตา ฯ

ภย หิ ม วินฺทติ สุต ทิสฺวา

ปุจฺฉามิ ต มาตลิ เทวสารถี.

ชนอีกพวกหนึ่งกระจายกองถ่านเพลิง นระผู้มี

ร่างกายเร่าร้อนร้องไห้อยู่ ภัยมาถึงเราเพราะเห็น

สารถี แน่ะเทพสารถีมาตลี เราขอถามท่าน.

บทว่า กาสุ ท่านกล่าวหมายความว่า กอง ในคำนี้ว่า กึนุ สนฺตรมา-

โนว กาสุ ขณสิ สารถิ แน่ะนายสารถี ท่านตัวสั่นขุดหลุมอยู่เพราะ

เหตุไรหนอ. ท่านกล่าวหมายความว่า หลุม แม้ในที่นี้ก็ประสงค์ความ

ว่าหลุมนี้แหละ. บทว่า สาธิกโปริสา ได้แก่เกินชั่วบุรุษ คือประมาณ

๕ ศอก. ด้วยบทว่า วีตจฺฉิกาน วีตธูมาน นี้ ท่านแสดงว่าหลุมถ่าน

เพลิงนั้น มีความเร่าร้อนมาก. ด้วยว่า เมื่อมีเปลวไฟหรือควัน ความเร่า

ร้อนก็มาก ลมตั้งขึ้น ความเร่าร้อนย่อมไม่มาก เมื่อมีเปลวไฟหรือควัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 324

นั้น แต่ไม่มีลืม ความเร่าร้อนย่อมมาก. บทว่า อารกาวสฺส แปลว่า

พึงมีในที่ไกลทีเดียว.

ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้

พึงเห็นวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนหลุมถ่านเพลิง ปุถุชนคนโง่ผู้อาศัย

วัฏฏะ เหมือนบุรุษผู้อยากจะเป็นอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม เหมือน

บุรุษ ๒ คนผู้มีกำลัง เวลาที่ปุถุชนก่อกรรมทำเข็ญ เหมือนเวลาที่บุรุษ

๒ คน จันบุรุษนั้นที่แขนคนละข้างฉุดมายังหลุมถ่านเพลิง จริงอยู่ กรรม

ที่ปุถุชนคนโง่ก่อกรรมทำเข็ญ ย่อมชักไปหาปฏิสนธิ วัฏทุกข์ที่มีกรรม

เป็นเหตุ พึงทราบเหมือนทุกข์ที่มีหลุมถ่านเพลิงเหตุ.

บทว่า ปริญฺาเต ได้แก่กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ก็การประกอบ

ความเรื่องปริญญาในที่นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผัสสะนั่นแล.

บทว่า ติสฺโส ตณฺหา ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ตัณหา

เหล่านี้ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน. เพราะเหตุไร. เพราะ

มโนสัญเจตนามีตัณหาเป็นมูล ด้วยว่า เมื่อละเหตุยังไม่ได้ ก็ละผัสสะ

ไม่ได้. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนาจนถึงพระอรหัตด้วยอำนาจ

มโนสัญเจตนาหาร.

จบอาหารที่ ๓ (มโนสัญเจตนาหาร)

ในอาหารที่ ๔ (วิญญาณาหาร) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ผู้ประพฤติชั่ว คือผู้กระทำผิด. ด้วยบทว่า

กถ โส ปุริโส พระราชาตรัสถามว่า บุรุษนั้นเป็นอย่างไร คือเลี้ยงชีพ

อย่างไร. บทว่า ตเถว เทว ชีวติ ความว่า แม้ในบัดนี้เขาก็เลี้ยงชีพ

เหมือนเมื่อก่อนนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 325

แม้ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ กรรมพึงเห็นเหมือนพระราชา ปุถุชนคนโง่ผู้อาศัยวัฏฏะเหมือน

บุรุษผู้ประพฤติชั่ว ปฏิสนธิวิญญาณเหมือนหอก ๓๐๐ เล่ม เวลาที่พระ

ราชาคือกรรมจับปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะซัดไปในปฏิสนธิ เหมือนเวลาที่พระ

ราชาจับบุรุษผู้ประพฤติชั่ว สั่งบังคับว่า จงประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม.

ในอุปมาเหล่านั้น ปฏิสนธิวิญญาณเปรียบเหมือนหอก ๓๐๐ เล่ม ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ทุกข์ย่อมไม่มีในหอก ทุกข์มีปากแผลที่ถูกหอกแทงเป็นมูล

ทุกข์เหมือนกัน ย่อมไม่มีแม้ในปฏิสนธิ แต่เมื่อวิบากให้ปฏิสนธิ วิบาก

ทุกข์ในปัจจุบัน ย่อมเป็นเหมือนทุกข์มีปากแผลที่ถูกหอกแทงเป็นมูล.

บทว่า ปริญฺาเต ได้แก่กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. แม้ในที่นี้

การประกอบความเรื่องปริญญา พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในผัสสาหาร

นั่นแล. บทว่า นามรูป ได้แก่เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป

เพราะเมื่อกำหนดรู้วิญญาณ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้นามรูปนั้นเหมือนกัน

เพราะมีวิญญาณนั้นเป็นปัจจัย และเพราะเกิดพร้อมกัน. ด้วยประการฉะนี้

เป็นอันตรัสเทศนา จนถึงพระอรหัตแม้ด้วยอำนาจวิญญาณหารแล.

จบอรรถกถาปุตตมังสสูตรที่ ๓

๔. อัตถิราคสูตร

ว่าด้วยความเพลิดเพลินอาหาร ๔ อย่าง

[๒๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 326

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔

อย่างเพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่า

สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างนั้น คือ ๑. กวฬีการาหาร หยาบบ้าง

ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณหาร

อาหาร ๔ อย่างนี้แล เพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์โลกที่เกิดมาแล้ว หรือ

เพื่ออนุเคราะห์แก่เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน

ความทะยานอยากมีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามใน

กวฬีการาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการ

หยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมี

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย

ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่

ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป

เราเรียกที่นั้นว่ามีความโศก มีธุลี (คือราคะ) มีความคับแค้น. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ใน

ผัสสาหารไซร้. . . ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก

มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้. . . ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน

ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามใน

วิญญาณหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการ

หยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมี

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย

ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 327

ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป เรา

เรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น.

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียว

หรือสีบานเย็น ช่างย้อมหรือช่างเขียนพึงเขียนรูปสตรีหรือบุรุษให้มีอวัยวะ

น้อยใหญ่ได้ครบถ้วนที่แผ่นหินขาว แผ่นกระดาน ฝาผนัง หรือที่ผืนผ้า

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าความ ยินดี ความ

เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณ

ก็ตั้งอยู่งอกงามในกวฬีการาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ใน

ที่นั้นย่อมมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ใน

ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขาร

ทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดใน

ภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรา

มรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก

มีอยู่ในผัสสาหารไซร้. . . ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยาน

อยาก มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหารไซร้. . . ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน

ความทะยานอยาก มีอยู่ในวิญญาณาหารไซร้ วิญญาณก็ตั้งอยู่งอกงามใน

วิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ในที่นั้นย่อมมีการ

หยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดมีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมมี

ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย

ในที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดมีการเกิดในภพใหม่

ต่อไป ในที่นั้นย่อมมีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดมีชาติชรามรณะต่อไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 328

เราเรียกที่นั้นว่า มีความโศก มีธุลี มีความคับแค้น.

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน

ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่

งอกงามในกวฬีกาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ใน

ที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป

ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่ใดไม่มีความเจริญ

แห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่ใด

ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ใน

ที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี

ไม่มีความคับแค้น.

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความยินดี ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก

ไม่มีในผัสสาหาร. . . ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร. . . ไม่มีในวิญญาณา-

หารไซร้ วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในอาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่

ตั้งอยู่ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มี

การหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย

ในที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีความเกิด

ในภพใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีความเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อม

ไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ในที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป ภิกษุทั้งหลาย

เราเรียกที่นั้นว่า ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น.

[๒๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรือน

ยอด [ปราสาท] หรือศาลามีสองยอด หน้าต่างด้านทิศตะวันออก อัน

บุคคลเปิดไปทางเหนือหรือทางใต้ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงสว่างส่องเข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 329

ไปทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า แสงสว่างนั้น

จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิ. ที่แผ่นดิน พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแผ่นดินไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึง

ตั้งอยู่ ณ ที่ไหน.

ภิ. ที่น้ำ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่

ณ ที่ไหน.

ภิ. ไม่ตั้งอยู่เลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าความยินดี ความ

เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ไม่มีอยู่ในกวฬีการาหารไซร้. . . ใน

ผัสสาหารไซร้. . . ในมโนสัญเจตนาหารไซร้. . . ในวิญญาณาหารไซร้

วิญญาณก็ไม่ตั้งอยู่ไม่งอกงามในวิญญาณาหารนั้น ในที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่

ไม่งอกงาม ในที่นั้นย่อมไม่มีการหยั่งลงแห่งนามรูป ในที่ใดไม่มีการ

หยั่งลงแห่งนามรูป ในที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ใน

ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ในที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพ

ใหม่ต่อไป ในที่ใดไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ในที่นั้นย่อมไม่มีชาติ

ชรามรณะต่อไป ในที่ใดไม่มีชาติชรามรณะต่อไป เราเรียกที่นั้นว่า ไม่

มีความโศก ไม่มีธุลี ไม่มีความคับแค้น.

จบอัตถิราคสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 330

อรรถกถาอัตถิราคสูตร ที่ ๔

ในอัตถิราคสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของโลภะนั่นเอง. จริงอยู่ โลภะนั้น

เรียกว่า ราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า นันทิ ด้วยอำนาจความ

เพลิดเพลิน เรียกว่า ตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก. บทว่า ปติฏฺิต

ตตฺถ วิญฺาณ วิรุฬห ความว่า ตั้งอยู่และงอกงาม เพราะสามารถ

ทำกรรมให้แล่นไปแล้วชักปฏิสนธิมา. บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตวิภัตติ

ใช้ในอรรถแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้

เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในบทต้น ๆ ในที่ทุกแห่ง. บทว่า อตฺถิ ตตฺถ

สงฺขาราน วุฑฺฒิ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสังขารซึ่งมีวัฏฏะเป็นเหตุต่อไป

ของนามรูปซึ่งตั้งอยู่ในวิบากวัฏนี้. บทว่า ยตฺถ อตฺถิ อายตึ ปุนพฺ-

ภวาภินิพฺพตติ ความว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.

ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.

ก็กรรมที่เกิดพร้อมและกรรมที่อุดหนุน (สหกรรมและสสัมภารกรรม)

เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนแผ่น

กระดานฝาและแผ่นผ้า กรรมอันเป็นตัวปรุงแต่งย่อมสร้างรูปในภพ

ทั้งหลาย เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน ย่อมสร้างรูปที่แผ่นกระดานเป็น

ต้นที่บริสุทธิ์ ในอุปมาเหล่านั้น คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่

เป็นญาณวิปปยุต กรรมนั้น ( ของเขา) เมื่อจะสร้างรูป ย่อมไม่ให้ความ

สมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่วรรณะไม่งาม ทรวด

ทรงไม่ดี ไม่น่าพอใจแม้ของบิดามารดา เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 331

ฉลาดสร้างขึ้น เป็นรูปวิกลบกพร่อง ไม่น่าพอใจฉะนั้น. อนึ่ง คนบางคน

เมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่เป็นญาณสัมปยุต กรรมนั้น. (ของเขา)

เมื่อสร้างรูป ย่อมให้ความสมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูป

ที่มีวรรณะงาม ทรวดทรงดี เหมือนประดับตกแต่งตัวแล้ว เปรียบเหมือน

รูปที่ช่างเขียนผู้ฉลาดสร้างขึ้นเป็นรูปงาม ทรวดทรงดี เป็นที่น่าพอใจ

ฉะนั้น.

ก็ในอุปมานี้ พึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์อาหารเข้ากับวิญญาณ

คือระหว่างอาหารกับนามรูป เป็นสนธิหนึ่ง ชื่อว่า วิบากวิถี สงเคราะห์

เข้ากับรูป ระหว่างนามรูปกับสังขาร เป็นสนธิหนึ่ง ระหว่างสังขารกับ

ภพต่อไป เป็นสนธิหนึ่ง.

บทว่า กูฏาคาร ได้แก่เรือนที่ติดช่อฟ้าอันหนึ่งสร้างไว้. บทว่า

กูฏาคารสาลา ได้แก่ศาลาที่ติดช่อฟ้า ๒ อันสร้างไว้. ในคำว่า เอว-

เมว โข นี้ พึงทราบว่ากรรมของพระขีณาสพก็เสมอกับรัศมีแห่งพระ-

อาทิตย์ ก็รัศมีแห่งพระอาทิตย์มี แต่รัศมีนั้นตั้งอยู่อย่างเดียว เพราะไม่มี

จึงชื่อว่าไม่ตั้งอยู่. เพราะไม่มีนั่นเอง กรรมของพระขีณาสพจึงไม่ตั้งอยู่.

จริงอยู่ กายเป็นต้นของพระขีณาสพนั้นมีอยู่ แต่กรรมที่พระขีณาสพ

เหล่านั้นทำ ไม่จัดเป็นกุศลและอกุศล ตั้งอยู่ในทางแห่งกิริยา ไม่มีวิบาก

กรรมของท่านชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีนั่นเองแล.

จบอรรถกถาอัตถิราคสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 332

๕. นครสูตร

ว่าด้วยโลกนี้ลำบากเพราะมีเกิดแก่เจ็บตาย

[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่

กาลตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิด

อย่างนี้ว่า โลกนี้ถึงความลำบากหนอ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่มีผู้ใดทราบชัดซึ่งธรรมเป็นที่สลัดออกจากกองทุกข์

คือ ชราและมรณะนี้ได้เลย เมื่อไรหนอ ธรรมเป็นที่สลัดออกไปจากกอง

ทุกข์คือชราและมรณะนี้จึงจักปรากฏ.

[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อ

อะไรหนอแล มีอยู่ ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีชรา

และมรณะ เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อชาติแลมีอยู่ ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและ

มรณะ เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอแลมีอยู่ ชาติจึงมี. . .

ภพจึงมี... ตัณหาจึงมี. .. เวทนาจึงมี... ผัสสะจึงมี. .. สฬายตนะจึงมี...

นามรูปจึงมี . . . เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะการใส่ใจโดย

แยบคายของเรานั้น จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เมื่อ

อะไรหนอแลมีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 333

มีอยู่ วิญญาณจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เรานั้นได้มี

ความคิดดังนี้ว่า วิญญาณนี้แลได้กลับแล้วเพียงเท่านี้ ไม่ไปพ้นจากนามรูป

ได้แล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ โลกย่อมเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ กล่าวคือ

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี

นามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็น

ปัจจัย จึงมีผัสสะ ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนว่า

เหตุให้ทุกข์เกิด ดังนี้.

[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดดังนี้ เมื่ออะไร

หนอแล ไม่มีอยู่ ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชราและมรณะ

จึงดับ เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอเเล ไม่มีอยู่ ชาติจึงไม่มี . . .

ภพจึงไม่มี. . . อุปาทานจึงไม่มี. . . ตัณหาจึงไม่มี. . .เวทนาจึงไม่มี . . .

ผัสสะจึงไม่มี. . . สฬายตนะจึงไม่มี. . . นามรูปจึงไม่มี. . . เพราะอะไรดับ

นามรูปจึงดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรา

นั้น จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะ

วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิด

ดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอแล ไม่มีอยู่ วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ

วิญญาณจึงดับ เพราะการใส่ใจโดยแยบคายของเรานั้น จึงรู้ได้ด้วยปัญญา

ว่า เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 334

เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า มรรคนี้เราได้บรรลุแล้วแล ด้วยปัญญาเครื่อง

ตรัสรู้ คือ เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูป

จึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะ

จึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว

แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เรายังไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนว่า เหตุให้ทุกข์

ดับ เหตุให้ทุกข์ดับ ดังนี้.

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบ ได้พบ

มรรคาเก่า หนทางเก่า ที่คนก่อน ๆ เคยเดินไปมา เขาเดินตามทางนั้นไป

เมื่อกำลังเดินตามทางนั้นอยู่ พบนครเก่า พบราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์

ด้วยสวน ป่าไม้ สระโบกขรณี มีเชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนก่อนๆ

เคยอยู่อาศัยมา. ครั้งนั้นแล บุรุษคนนั้นจึงกราบทูลแด่พระราชาหรือเรียน

แก่ราชมหาอำมาตย์ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงทราบเถิด พระพุทธเจ้าข้า

ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่า ได้พบมรรคาเก่า หนทางเก่าที่คน

ก่อน ๆ เคยเดินไปมา ข้าพระพุทธเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อกำลัง

เดินตามทางนั้นอยู่ ได้พบนครเก่า พบราชธานีโบราณซึ่งสมบูรณ์ด้วย

สวน ป่าไม้ สระโบกขรณี มีเชิงเทิน ล้วนน่ารื่นรมย์ ที่คนก่อน ๆ

เคยอยู่อาศัยมา ขอพระองค์จงทรงสร้างพระนครนั้นเถิด พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์จึงสร้างเมืองนั้นขึ้น สมัยต่อมา

เมืองนั้นเป็นเมืองมั่งคั่งและสมบูรณ์ขึ้น มีประชาชนเป็นอันมาก มีมนุษย์

เกลื่อนกล่น และเป็นเมืองถึงความเจริญ ไพบูลย์ แม้ฉันใด ภิกษุ

ทั้งหลาย เราได้พบบรรดาเก่า หนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 335

พระองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จไป ก็บรรดาเก่า หนทางเก่า ที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จไปนั้น เป็นไฉน คือมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ นี้แล ได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

นี้แล มรรคาเก่า หนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ

เคยเสด็จไปแล้ว เราก็ได้เดินตามหนทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ อันเป็นทางเก่านั้น เมื่อกำลังเดินตามหนทางนั้นไป

ได้รู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะ ความดับแห่ง

ชราและมรณะ และได้รู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับชราและมรณะ

เมื่อเรากำลังเดินตามทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อัน

เป็นทางเก่านั้นไปอยู่ ได้รู้ชัดซึ่งชาติ ฯ ล ฯ ได้รู้ชัดซึ่งภพ... ได้รู้ชัดซึ่ง

อุปาทาน... ได้รู้ชัดซึ่งตัณหา... ได้รู้ชัดซึ่งเวทนา... ได้รู้ชัดซึ่งผัสสะ...

ได้รู้ชัดซึ่งสฬายตนะ... ได้รู้ชัดซึ่งนามรูป... ได้รู้ชัดซึ่งวิญญาณ...

ได้รู้ชัดซึ่งสังขารทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร

และได้รู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งสังขาร ครั้นได้รู้ชัดซึ่ง

ทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้นแล้ว เราจึงได้บอก

แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์

ของเราจึงได้เจริญแพร่หลาย กว้างขวาง มีชนเป็นอันมากรู้ เป็นปึกแผ่น

จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ประกาศได้เป็นอย่างดี ดังนี้แล.

จบนครสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 336

อรรถกถานครสูตรที่ ๕

ในนครสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในคำว่า นามรูเป โข สติ วิฺยาณ นี้ ควรจะกล่าวว่า

สงฺขาเรสุ สติ วิญฺาณ และว่า วิชฺชาย สติ สงฺขารา แม้คำทั้ง

สองนั้น ท่านก็ไม่กล่าว. เพราะเหตุไร. เพราะอวิชชาและสังขารเป็นภพ

ที่ ๓ วิปัสสนานี้ไม่เชื่อมกับอวิชชาและสังขารนั้น. จริงอยู่ พระมหาบุรุษ

ทรงถือมั่นอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบันนภพ ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ (ภพที่

มีขันธ์ ๕ ) แล. ถามว่า เมื่อไม่เห็นอวิชชาและสังขาร ก็ไม่อาจเป็น

พระพุทธเจ้าได้มิใช่หรือ. แก้ว่า จริง ไม่อาจเป็นได้ แต่พระพุทธเจ้านี้

ทรงเห็นอวิชชาและสังขารนั้น ด้วยอำนาจภพ อุปาทานและตัณหานั่นเอง

เพราะฉะนั้น จึงเปรียบเหมือนบุรุษติดตามเหี้ย เห็นเหี้ยนั้นลงบ่อ ก็ลง

ไปขุดตรงที่เหี้ยเข้าไป จับเหี้ยได้ก็หลีกไป ไม่ขุดที่ส่วนอื่น. เพราะอะไร.

เพราะไม่มีอะไร ฉันใด แม้พระมหาบุรุษก็ฉันนั้น ประทับนั่ง ณ โพธิ-

บัลลังก์ แสวงหาตั้งแต่ชราและมรณะว่า นี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ เหมือน

บุรุษติดตามเหี้ย ทรงเห็นปัจจัย จนถึงนามธรรมและรูปธรรม เมื่อ

แสวงหาปัจจัยของนามรูปแม้นั้น ก็ได้เห็นเฉพาะวิญญาณเท่านั้น. แต่นั้น

จึงเปลี่ยนเจริญวิปัสสนาว่า ธรรมประมาณเท่านี้ เป็นการดำเนินการ

พิจารณาด้วยอำนาจปัญจโวการภพ. ปัจจัยคืออวิชชาและสังขารมีอยู่เหมือน

ที่ตั้งบ่อเปล่าข้างหน้ายังไม่ถูกทำลาย ไม่ทรงยึดถือเอาปัจจัยคืออวิชชาและ

สังขารนั่นนั้นว่า ไม่ควรพิจารณาแยกเป็นส่วน ๆ เพราะวิปัสสนาท่านถือ

เอาในหนหลังแล้ว.

บทว่า ปจฺจุทาวตฺตติ ได้แก่หวนกลับ. ถามว่า ก็ในที่นี้วิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 337

ชนิดไหนหวนกลับ. แก้ว่า ปฏิสนธิวิญญาณก็มี วิปัสสนาวิญญาณก็มี.

ใน ๒ อย่างนั้น ปฏิสนธิวิญญาณย่อมหวนกลับเพราะปัจจัย วิปัสสนา-

วิญญาณย่อมหวนกลับเพราะอารมณ์ แม้วิญญาณทั้งสองก็ไม่ล่วงนามรูป

ไปได้ คือไม่ไปสู่ที่อื่นจากนามรูป.

ในคำว่า เอตฺตาวตา ชาเยถ วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ว่า

เมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป เมื่อนามรูปเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ แม้

เมื่อทั้งสองต่างก็เป็นปัจจัยแก่กันและกัน นามรูปพึงเกิดหรือพึงเข้าถึงด้วย

เหตุเพียงเท่านี้. เบื้องหน้าแต่นี้ นามรูปอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งจะพึงเกิด

หรือพึงเข้าถึงเล่า นามรูปนั้นนั่นแล ย่อมเกิดและย่อมเข้าถึงมิใช่หรือ.

ครั้นทรงแสดงบททั้งห้า พร้อมด้วยการจุติและปฏิสนธิแล้ว ๆ เล่า ๆอย่างนี้

แล้ว เมื่อจะทรงย้ำเนื้อความนั้นว่า เอตฺตาวตา อีก จึงตรัสว่า คือวิญญาณ

มีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นานรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั้น เพื่อจะ

แสดงชาติชราและมรณะในอนาคตซึ่งมีนามรูปเป็นมูล เพราะวิญญาณเป็น

ปัจจัย ด้วยอำนาจปัจจยาการโดยอนุโลม จึงตรัสคำมีอาทิว่า นามรูปปจฺจยา

สฬายตน ดังนี้.

บทว่า อญฺชส เป็นไวพจน์แห่งมรรคนั่นเอง. บทว่า อุทาปคต

ได้แก่ประกอบด้วยวัตถุคือกำแพง อันได้โวหารว่าอาปคตะเพราะยกขึ้น

จากบ่อน้ำ. บทว่า รมณีย ได้แก่เป็นที่รื่นรมย์ด้วยความพร้อมมูล

แห่งประตูทั้ง ๔ โดยรอบ และสิ่งของต่าง ๆ ในภายใน. บทว่า

มาเปหิ ความว่า จงส่งมหาชนไปให้อยู่กัน. บทว่า มาเปยฺย ความว่า

พึงให้ทำการอยู่กัน. จริงอยู่ เมื่อสร้างเมือง พึงส่งคน ๑๘ โกฏิไปก่อน

แล้วตรัสถามว่า เต็มดีแล้วหรือ เมื่อเขาทูลว่า ยังไม่เต็ม จึงส่งตระกูล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 338

๕ ตระกูลอื่นอีกไปแล้ว ครั้นตรัสถามอีก เมื่อเขาทูลว่ายังไม่เต็ม จึงส่ง

ตระกูล ๕๕ ตระกูลอื่นอีกไป ครั้นถามอีกเมื่อเขาทูลว่ายังไม่เต็มจึงส่งตระกูล

๓๐ ตระกูลอื่นอีกไป ครั้นตรัสถามอีก เมื่อเขาทูลว่ายังไม่เต็ม จึงส่งตระกูล

๑,๐๐๐ ตระกูลอื่นอีกไป ครั้นตรัสถามอีก เมื่อเขาทูลว่ายังไม่เต็ม จึงส่ง

ตระกูล ๑๑ นหุตตระกูลอื่นอีกไป ครั้นตรัสถามอีก เมื่อเขาทูลว่ายังไม่เต็ม

จึงส่งตระกูล ๘๔,๐๐๐ ตระกูลอื่นอีกไป เมื่อตรัสถามอีกว่าเต็มแล้วหรือ

จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ตรัสอะไร นครออกใหญ่ ไม่คับแคบ ไม่ทรง

สามารถจะส่งตระกูลไปให้เต็มโดยนัยนี้ได้ พึงรับสั่งให้ตีกลองร้องประกาศ

ว่า นครของเราสมบูรณ์ด้วยสมบัตินี้และนี้ ผู้ที่ปรารถนาจะอยู่ในที่นั้น

จงไปตามสบายเถิด และจักได้รับบริหารอย่างนี้และอย่างนี้ พึงสั่งว่า

พวกท่านจงให้บ่าวร้องสรรเสริญคุณแห่งนครและการได้รับการบริหารลาภ

อย่างนี้และอย่างนี้. เขาพึงทำอย่างนั้น. ลำดับนั้น คนทั้งหลายได้ยินคุณค่า

ของนคร และการได้รับการบริหารจากทุกทิศก็มารวมกันทำนครให้เต็ม.

สมัยต่อมา นครนั้นอุ่นหนาฝาคั่งแพร่หลาย ท่านหมายเอาข้อนั้น ดังกล่าว

ไว้ว่า นครของพระองค์นั้น ครั้นสมัยต่อมาอุ่นหนาฝาคั่งแพร่หลาย ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทฺธ ได้แก่มั่งคั่ง ข้าวปลาหา

ได้ง่าย. บทว่า ผีต ได้แก่เจริญด้วยสมบัติทุกอย่าง. บทว่า พหุชญฺ

แปลว่า อันบุคคลหมู่มากพึงรู้ หรือเป็นประโยชน์แก่ชนหมู่มาก. บทว่า

อากิณฺณมนุสฺส ได้แก่มีมนุษย์เกลื่อนกล่น คืออยู่กันยัดเยียด. บทว่า

วุฑฺฒิเวปุลฺลปฺปตฺต ได้แก่ถึงความเจริญ และถึงความไพบูลย์ คือ

ถึงความเป็นนครประเสริฐ และถึงความไพบูลย์ อธิบายว่า เป็นนคร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 339

เลิศในหมื่นจักรวาล.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบโดยอุปมาดังต่อไปนี้. ก็

พระมหาบุรุษผู้บำเพ็ญพระบารมี จำเดิมแต่บาทมูลแห่งพระพุทธทีปังกร

พึงเห็นเห็นบุรุษผู้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ การเห็นมรรคอันสัมปยุตด้วย

วิปัสสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ ในส่วนเบื้องต้น แห่งพระมหาสัตว์ผู้ประทับ

นั่ง ณ โพธิบัลลังก์โดยลำดับ พึงเห็นเหมือนการที่บุรุษเห็นหนทาง ที่เหล่า

มนุษย์แต่ก่อนเดินกันมาแล้ว การที่พระมหาสัตว์เห็นโลกุตรมรรค ที่สุด

แห่งวิปัสสนาเบื้องสูง ที่พระองค์เคยประพฤติมา พึงเห็นเหมือนการที่

บุรุษกำลังเดินทางที่เดินไปได้ผู้เดียวนั้น เห็นหนทางใหญ่ภายหลัง,

การที่พระตถาคตทรงเห็นนครคือพระนิพพาน พึงเห็นเหมือนบุรุษเดิน

ทางนั้นไปเห็นหนทางข้างหน้า แต่ในอุปมาเหล่านี้ นครภายนอกคนอื่น

เห็น คนอื่นสร้างให้เป็นที่อยู่ของมนุษย์ พระนครคือพระนิพพาน

พระศาสดาทรงเห็นเอง ทรงกระทำให้เป็นที่อยู่ด้วยพระองค์เอง เวลาที่

พระตถาคตทรงเห็นมรรค ๔ เหมือนบุรุษนั้นเห็นประตูทั้ง ๔, เวลาที่

พระตถาคตเสด็จสู่พระนิพพานโดยมรรค ๔ เหมือนบุรุษนั้นเข้าไปสู่พระ

นครโดยประตูทั้ง ๔, เวลาที่พระตถาคตทรงกำหนดกุศลธรรมกว่า ๕๐

ด้วยปัจจเวกขณญาณ เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นกำหนดสิ่งของในภายใน

พระนคร, เวลาที่พระศาสดาเสด็จออกจากผลสมาบัติแล้วตรวจดูเวไนยสัตว์

เหมือนเวลาที่บุรุษนั้นแสวงหาตระกูล เพื่อทำให้เป็นที่อยู่อาศัยของนคร,

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอันมหาพรหมทูลอาราธนาทรงเห็นพระอัญญา-

โกณฑัญญเถระ เหมือนเวลาที่พระราชาผู้อันบุรุษนั้นทูลให้ทรงทราบได้ทรง

เห็นกุฏุมพีใหญ่ผู้หนึ่ง, เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่ทาง ๑๘ โยชน์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 340

ในปัจฉาภัตวันหนึ่ง แล้วเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

แล้วทรงแสดงธรรม ทำพระเถระให้เป็นกายสักขี ในวันอาสาฬหบูรณมี

เหมือนเวลาที่พระราชารับสั่งให้เรียกกุฏุมพีผู้ใหญ่มาแล้วส่งไปด้วยพระดำรัส

ว่า จงสร้างพระนครให้บริบูรณ์ เวลาเมื่อพระตถาคตทรงยังธรรมจักร

ให้เป็นไป ให้พระเถระดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เหมือนเวลาที่กุฎุมพีผู้ใหญ่

พาคน ๑๘ โกฏิเข้าอยู่อาศัยพระนคร พระองค์ตรัสนครนั้นให้เป็นนครคือ

พระนิพพานอย่างนี้ก่อน ต่อแต่นั้นได้ตรัสถามว่า นครสมบูรณ์หรือ เมื่อ

บุรุษนั้นกราบทูลว่า ยังไม่สมบูรณ์ก่อน เวลาที่พระตถาคตทรงแสดง

อนัตตลักขณสูตรเป็นต้น ตั้งแต่วันที่ ๕ (แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีแรกที่

ตรัสรู้) ทรงทำชนประมาณเท่านี้ คือ ดังต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ กุลบุตร ๕๕

คน มียสกุลบุตรเป็นประมุข ภัททวัคคีย์ ๓๐ ชฏิลเก่า ๑,๐๐๐ ชาวราชคฤห์

๑๑ นหุตมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข สัตว์ ๘๔,๐๐๐ คราวอนุโมทนา

ด้วยติโรกุฑฑสูตร ให้หยั่งลงสู่อริยมรรคแล้วทรงส่งเข้านครคือพระนิพพาน

เหมือนส่งตระกูล ๕ ตระกูลเป็นต้น จนถึง ๘๔,๐๐๐ ตระกูล เมื่อเป็นเช่นนั้น

โดยนัยนั้น การที่พระธรรมกถึกนั่งประกาศคุณของพระนิพพาน และ

อานิสงส์แห่งการละทิ้งชาติกันดารเป็นต้น ของผู้บรรลุพระนิพพาน ในที่

นั้น ๆ เดือนละ ๘ วัน เหมือนเมื่อนครยังไม่เต็ม ก็ตีกลองป่าวประกาศ

คุณของนคร และเหมือนประกาศลาภที่หลั่งไหลมาของตระกูลทั้งหลาย

ต่อแต่นั้น พึงเห็นกุลบุตรทั้งหลายหาประมาณมิได้ ฟังธรรมกถาในที่นั้น ๆ

แล้วออกจากตระกูลนั้น เริ่มต้นบรรพชาปฏิบัติอนุโลมปฏิปทารวมลงที่

พระนิพพาน เหมือนมนุษย์ทั้งหลายมาจากทุกทิศ รวมลงที่นคร.

บทว่า ปุราณมคฺค ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘. จริงอยู่ อริยมรรคนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 341

ในปวารณสูตรท่านกล่าวว่า อนุปฺปนฺนมคฺโค ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไป

ในสูตรนี้ท่านกล่าวว่า ปุราณมคฺโค ด้วยอรรถว่าไม่ใช้สอย. บทว่า

พฺรหฺมจริย ได้แก่คำสอนทั้งสิ้นซึ่งสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า อิทฺธ

ได้แก่เจริญ คือภิกษาหาง่าย ด้วยความยินดีในฌาน. บทว่า ผีต

ได้แก่แพร่หลายด้วยเหตุคืออภิญญา. บทว่า วิตฺถาริก ได้แก่กว้างขวาง.

บทว่า พหุชญฺ ได้แก่ชนส่วนมากรู้แจ้ง. บทว่า ยาวเทวมนุสฺเสหิ

สุปกาสิต ความว่า พระตถาคตทรงประกาศดีแล้ว คือทรงแสดงดีแล้ว

ในระหว่างนี้ ตลอดถึงพวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายที่มีกำหนดในหมื่น

จักรวาลแล.

จบอรรถกถานครสูตรที่ ๕

๖. สัมมสสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยภายใน

[๒๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัมมาสทัมมนิคม

ของชาวกุรุ ณ กุรุชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่อพิจารณา

ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในบ้างหรือไม่ เมื่อพระองค์ตรัสถามอย่างนี้แล้ว

มีภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลเนื้อความนี้ขึ้นแด่พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายในพระเจ้าข้า

พระองค์จึงตรัสถามว่า เธอเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาปัจจัยภายใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 342

อย่างไร ทันใดนั้นแล ภิกษุรูปนั้นก็ทูลเล่าถวายให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่

ถูกพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๕๕] เมื่อพระภิกษุรูปนั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ท่านพระ-

อานนท์จึงได้กราบทูลเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้

มีพระภาคเจ้า ถึงเวลาที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลา

ที่จะทรงแสดงเรื่องนี้แล้ว พระองค์ตรัสการพิจารณาปัจจัยภายในข้อใด

ภิกษุทั้งหลายฟังการพิจารณาปัจจัยภายในข้อนั้นจากพระองค์แล้ว จักทรง

จำไว้ดังนี้ พระองค์จึงตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระพุทธเจ้าข้า.

[๒๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่งปัจจัยภายในว่า ชรา

และมรณะนี้อันใดแล ย่อมบังเกิดในโลก เป็นทุกข์หลายอย่างต่าง ๆ กัน

ชราและมรณะที่เป็นทุกข์นี้แล มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้ง มีอะไร

เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เมื่อ

เธอพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ชราและมรณะนี้อันใดแล ย่อม

บังเกิดขึ้นในโลก เป็นทุกข์หลายอย่างต่าง ๆ กัน ชราและมรณะที่เป็น

ทุกข์นี้แล มีอุปธิเป็นเหตุ มีอุปธิเป็นที่ตั้งขึ้น มีอุปธิเป็นกำเนิด มีอุปธิ

เป็นแดนเกิด เมื่ออุปธิมี ชราและมรณะจึงมี เมื่ออุปธิไม่มี ชราและ

มรณะก็ไม่มี เธอย่อมทราบชัดซึ่งชราและมรณะ ย่อมทราบชัดซึ่งความ

เกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมทราบชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะ และ

ย่อมทรามชัดซึ่งปฏิปทาอันสมควร เครื่องให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 343

และเธอย่อมเป็นผู้ปฏิบัติตามนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุรูปนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อ

ความดับไปแห่งชราและมรณะโดยชอบทุกประการ.

[๒๕๗] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่ง

ปัจจัยภายในว่า ก็อุปธิอันนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นที่ตั้งขึ้น มีอะไร

เป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมี อุปธิจึงมี เมื่ออะไรไม่มี

อุปธิจึงไม่มี เมื่อเธอพิจารณาอยู่ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุ

มีตัณหาเป็นที่ตั้งขึ้น มีตัณหาเป็นกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อ

ตัณหามี อุปธิจึงมี เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี เธอย่อมทราบชัดซึ่ง

อุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งอุปธิ ย่อมทราบชัดซึ่งความดับแห่ง

อุปธิ ย่อมทรามชัดซึ่งปฏิปทาอันสมควรเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปธิ

และย่อมเป็นผู้ปฏิบัติตามนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราเรียกภิกษุรูปนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความ

ดับแห่งอุปธิโดยชอบทุกประการ.

[๒๕๘] อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อพิจารณา ย่อมพิจารณาซึ่ง

ปัจจัยภายในว่า ก็ตัณหานี้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่ไหน เมื่อตั้งอยู่

ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน เมื่อเธอพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ที่ใดแล เป็นที่รัก

เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหาเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อตั้งอยู่

ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น ก็อะไรเล่าเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก. . . ตาเป็นที่รัก

เป็นที่ชื่นใจในโลก. . . หูเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก. . . จมูกเป็นที่รัก

เป็นที่ชื่นใจโนโลก. . . ลิ้นเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก. . . กายเป็นที่รัก

เป็นที่ชื่นใจในโลก. . . ใจเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 344

เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น.

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดย

ความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความ

เป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำตัณหาให้เจริญ

ขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดมาทำอุปธิให้เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้

เจริญขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าไม่พ้นจากชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขา

ไม่พ้นแล้วจากทุกข์ได้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ

ในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน

โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจัก

ทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักทำอุปธิให้

เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดจักทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

จักทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าจักไม่พ้นไปจาก

ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรา

กล่าวว่าเขาจักไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 345

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้ เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่น

ใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็น

ตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดยความเป็นของเกษม สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดทำตัณหาให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำ

อุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้น

ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

เรากล่าวว่า เขาย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ดังนี้.

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขันสำริดที่ใส่น้ำ ที่ถึงพร้อมด้วยสี

กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความร้อนอบ

อ้าวเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามา ระหายน้ำ คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้น

อย่างนี้ว่า นาย ขันสำริดที่ใส่น้ำนี้ ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่า

เจือยาพิษ ถ้าท่านประสงค์ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าเมื่อดื่มน้ำนั้น ก็จักซาบ

ซ่านด้วยสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่าน

จะถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้

บุรุษนั้นผลุนผลันไม่ทันพิจารณาดื่มน้ำนั้นเข้าไปไม่บ้วนทิ้งเลย เขาก็พึง

ถึงความตาย หรือถึงทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มน้ำนั้นเป็นเหตุทันที

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งใน

อดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลก ฯ ล ฯ ใน

อนาคตกาล ฯ ล ฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 346

เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของเที่ยง

โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่มีโรค โดย

ความเป็นของเกษม สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมทำตัณหา

ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดทำอุปธิให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าย่อมทำทุกข์ให้เจริญขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดทำทุกข์ให้เจริญ

ขึ้น สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า เขา

ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้เลย ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ได้เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน

โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าละตัณหาได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาได้แล้ว

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละอุปธิเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดละอุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์เสียได้

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์ได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าพ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสได้ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นแล้วจาก

ทุกข์ได้ อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จัก

เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง

โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความเป็นโรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 347

โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักละตัณหาได้ ฯ ล ฯ

เรากล่าวว่า สมณหรือพราหมณ์เหล่านั้นจักพ้นจากทุกข์ ดังนี้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล

ย่อมเห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดยความ

เป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมละตัณหาได้

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละอุปธิได้ สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

ย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้.

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก้วเหล้าที่พร้อมด้วยสี กลิ่น และ

รส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ทันใดนั้น มีบุรุษเดินฝ่าความอบอ้าวเหน็ดเหนื่อย

เมื่อยล้ามา ระหายน้ำ คนทั้งหลายจึงได้พูดกะบุรุษผู้นั้นอย่างนี้ว่า นาย

แก้วเหล้าที่ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่าเจือด้วยยาพิษ ถ้าท่าน

ประสงค์ ก็จงดื่มเถิด เพราะว่าเมื่อดื่มเหล่านั้น ก็จักซาบซ่านด้วยสีบ้าง

กลิ่นบ้าง รสบ้าง ก็แหละครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ตัวท่านจักถึงความตาย

หรือทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลำดับนั้น บุรุษนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า เหล้านี้เราดื่มแล้ว เราอาจจะบรรเทา

ได้ด้วยน้ำเย็น ด้วยเนยใส ด้วนน้ำข้าวสัตตุเค็ม หรือด้วยน้ำชื่อโลณโสจิรกะ

แต่เราไม่ดื่มเหล่านั้นเลย เพราะไม่เป็นประโยชน์ มีแต่ทุกข์แก่เราช้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 348

นาน เขาพิจารณาดูแก้วเหล่านั้นแล้ว ไม่พึงดื่ม เขาทั้งเสีย เขาก็ไม่

เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์แทบตาย เพราะการดื่มนั้นเป็นเหตุ

แม้ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งใน

อดีตกาล เห็นอารมณ์อันเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจในโลกนั้น โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน โดย

ความเป็นโรค โดยความเป็นภัยแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ละตัณหาได้แล้ว สมณหรือพราหมณ์เหล่าใดละตัณหาเสียได้ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าสู่อุปธิได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดละ

อุปธิเสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าละทุกข์ได้แล้ว สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดละทุกข์เสียได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

พ้นแล้วจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล

ฯ ล ฯในปัจจุบันกาล ย่อมเห็นอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลก โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน

โดยความเป็นโรค โดยความเป็นภัย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ย่อมละตัณหาได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละตัณหาได้ สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

ย่อมละอุปธิได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมละทุกข์ได้ สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดย่อมละทุกข์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า

ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 349

อุปายาส เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากทุกข์ได้

ดังนี้.

จบสัมมสสูตรที่ ๖

อรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖

ในสัมมสสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไรจึงตรัสเรียก.

ตอบว่า เพราะพระธรรมเทศนาสุขุมนำพระไตรลักษณ์มาปรากฏ.

เล่ากันว่า ในชนบทนั้น พวกมนุษย์เป็นคนมีเหตุผล มีปัญญา

ได้ยินว่า โภชนาหารทั้งหลายในชนบทนั้นละเอียดอ่อน. เมื่อประชาชน

บริโภคโภชนาหารเหล่านั้น ปัญญาก็งอกงาม พวกเขาสามารถแทงตลอด

ธรรมกถาที่ลึกซึ่งซึ่งนำพระไตรลักษณ์มาได้ เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระสูตรที่ลึกซึ่งแม้อื่น ๆ มีอาทิอย่างนี้คือ มหา-

สติปัฏฐานสูตร มหานิทานสูตร อาเนญชสัมมายสูตร ในทีฆนิกายและ

มัชฌิมนิกาย จูฬนิทานสูตรเป็นต้นในสังยุตตนิกาย ในชนบทนั้นทีเดียว.

บทว่า สมฺมสถ โน ได้แก่พิจารณาหนอ. บทว่า อนฺตร สมฺมส

ได้แก่พิจารณาปัจจัยในภายใน. บทว่า น โส ภิกฺขุ ภควโต จิตฺต

อาราเธสิ ความว่า ภิกษุนั้นไม่พยากรณ์อย่างนั้น เมื่อพยากรณ์ด้วย

อำนาจอาการ ๓๒ จึงไม่อาจยึดพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี

พระประสงค์จะให้พยากรณ์ด้วยอำนาจปัจจยาการ.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า เทศนาไม่ไปตามอนุสนธิ ได้ตรัส

คำนี้เพื่ออุเทศนาคำนั้นไปตามอนุสนธิ. บทว่า เตนหานนฺท สุณาถ นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 350

เป็นบทไม่แตกต่างกันในพุทธวจนะคือพระไตรปิฎก จริงอยู่ ในที่อื่นชื่อว่า

คำที่กล่าวอย่างนี้ไม่มี. บทว่า อุปธินิทาน ได้แก่มีอุปธิคือขันธ์เป็นเหตุ

จริงอยู่ ขันธ์ ๕ ในที่นี้ท่านเรียกว่า อุปธิ. อุปฺปชฺชติ แปลว่า ย่อมเกิด.

บทว่า นิวิสติ ความว่า ย่อมยึดมั่นด้วยอำนาจความประพฤติบ่อย ๆ.

บทว่า ย โลเก ปิยรูป สาตรูป ความว่า รูปใดเป็นปิยสภาวะและ

มธุรสภาวะในโลก. พึงทราบวินิจฉัยคำว่า จกฺขุ โลเก เป็นต้น

ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในโลกยึดมั่นโดยถือว่าเป็นของเราในจักษุ

เป็นต้น ตั้งอยู่ในสมบัติ สำคัญปสาทรูปทั้ง ๕ อันผ่องใสโดยทำนองแห่ง

การยึดถือจักษุของตนว่าเป็นนิมิตในแว่นกระจกเป็นต้น เหมือนสีหบัญชร

แก้วมณีที่ยกขึ้นในวิมานทอง ย่อมสำคัญจักษุปสาทนั้นเหมือนก้านเงินและ

สายสังวาล สำคัญฆานปสาทที่ได้โวหารว่า ตงฺคนาสา (จมูกสูง) เหมือน

เกลียวหรดาลที่เข้าวางไว้ สำคัญชิวหาปสาทนุ่มสนิท เป็นที่รับรสอร่อย

เหมือนผ้ากัมพลอ่อน สำคัญกายปสาทเหมือนเมล็ดสาละ และเสาระเนียด

ทองคำ สำคัญใจว่าใหญ่ยิ่งไม่เหมือนกับใจของชนเหล่าอื่น. บทว่า

นิจฺจโต อทฺทกฺขุ ความว่า ได้เห็นว่าเที่ยง. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า น ปริมุจฺจึสุ ทุกฺขสฺมา ความว่า หลุดพ้นจากวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.

บทว่า ทกฺขิสฺสนฺติ แปลว่า จักเห็น. บทว่า อาปานียกโส เป็นชื่อ

ของขันจอก ก็เพราะเหตุที่ชนทั้งหลายดื่มน้ำในขันจอกนี้ ฉะนั้น จึงเรียก

ว่า อาปานีย. อาปานีย นั้นด้วย กส ด้วย ชื่อว่า อาปานียกส

คำว่า อาปานียกส นี้เป็นชื่อของขันจอกสำหรับใส่สุราใส. แต่ที่มันตั้ง

อยู่ในขันสำริดนั่นแล ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะพระบาลีว่า วณฺณ-

สมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยสี. บทว่า ฆมฺมาภตตฺโต แปลว่า ถูกความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 351

ร้อนแผดเผา. บทว่า ฆมฺมปเรโต แปลว่า ถูกความร้อนสัมผัสแล้ว

แล่นไปตาม. บทว่า ปิวโต หิ โข ต ฉาเทสฺสติ ความว่า น้ำดื่ม

นั้นจักเป็นที่ชอบใจของผู้ดื่ม หรือจักทำให้เกิดความยินดีแผ่ไปทั่วสรีระตั้ง

อยู่. บทว่า อปฺปฏิสงฺขา แปลว่า ไม่ได้พิจารณา.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีคำเปรียบเทียบข้ออุปมาดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ อารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก พึงเห็นเหมือนขันสำริด

สำหรับใส่น้ำดื่ม. ปุถุชนผู้อาศัยวัฏฏะ เหมือนบุรุษผู้ถูกความร้อนแผดเผา

ชนผู้ถูกอารมณ์ที่เป็นปิยรูปสาตรูปเชื้อเชิญในโลก เหมือนบุรุษผู้ถูกเชิญ

ด้วยขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม กัลยาณมิตรมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น

เหมือนมนุษย์ผู้เชิญให้ดื่มน้ำ บอกคุณสมบัติและโทษในขันสำริดสำหรับ

ใส่น้ำดื่ม, อาจารย์หรือพระอุปัชฌาย์ ย่อมบอกคุณและโทษในกามคุณ ๕

แก่ภิกษุ เหมือนมนุษย์ผู้ยืนอยู่ในร้านตลาดบอกคุณและโทษในขันสำริด

สำหรับใส่น่าดื่มแก่บุรุษนั้น ในอุปมานั้นเปรียบเหมือนเมื่อเขาบอกกล่าว

ถึงคุณและโทษในขันสำริดใส่น้ำดื่มแล้ว บุรุษนั้น ด้วยคุณสมบัติมีสีเป็นต้น

นั่นเองก็เกิดความระหายฉับพลันว่า "ถ้าจักตาย ก็จักรู้กันทีหลัง" ไม่

พิจารณาโดยรอบคอบแล้วดื่มน้ำในขันสำริดนั้น ก็ประสบความตายหรือ

ทุกข์ปางตายฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ถูกอาจารย์และพระ-

อุปัชฌาย์แสดงอานิสงส์และโทษอย่างนี้ว่า อัสสาทะเป็นเพียงโสมนัสที่เกิด

ขึ้นในกามคุณ ๕ ด้วยอำนาจการเห็นเป็นต้น แต่โทษมีประการต่าง ๆ

เป็นอันมากเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ กามทั้งหลายมีคุณน้อย มี

ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก แล้วโอวาทอย่างนี้ว่า เธอจงปฏิบัติสมณ-

ปฏิปทา จงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงรู้จักประมาณในโภชนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 352

จงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น ดังนี้ เพราะตนมีจิตถูก

อัสสาทะผูกพันจึงระรานอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ว่า ถ้าจักมีโทษมีประการ

ดังกล่าวแล้วไซร้ ผมจักรู้ในภายหลัง แล้วละอุเทศ (การศึกษา) และ

ปริปุจฉา ( การสอบถาม) เป็นต้น และวัตรปฏิบัติ พูดแต่เรื่องโลกามิส

บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว เพราะปรารถนาจะบริโภคกาม ต่อแต่

นั้นบำเพ็ญทุจริต ๓ ถูกเจ้าหน้าที่จับตัวได้ในขณะตัดช่องย่องเบาเป็นต้น

แสดงต่อพระราชาว่า ผู้นี้เป็นโจร ก็ประสบอนิฏฐผลมีการถูกตัดมือตัดเท้า

เป็นต้น หรือถูกตัดศีรษะในโลกนี้แล แล้วยังจะเสวยทุกข์เป็นอันมากใน

อบายทั้งสี่ในสัมปรายภพ.

บทว่า ปานีเยน วา วิเนตุ ความว่า นำไปด้วยน้ำเย็น. บทว่า

ทธิมณฺฑเกน ได้แก่ด้วยนมส้มที่ใส. บทว่า มฏฺโลณิกาย ได้แก่ด้วย

ข้าวสัตตุและน้ำดื่มที่เค็ม. บทว่า โลณโสจิรเกน ได้แก่โลณโสจิรกะที่

ทำโดยใส่ข้าวเปลือกผลไม้และผลดองดึงเป็นต้น ทุกอย่างทำให้เป็นยา

ดองชื่อโสณโสจิรกะ ด้วยยาดองชื่อโสณโสจิรกะนั้น.

ก็ในข้อนี้มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้ พระโยคาวจรในเวลา

อาศัยวัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษถูกความร้อนแผดเผา การบรรลุอรหัต-

ผลของภิกษุผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของอุปัชฌาย์อาจารย์ กำหนดทวาร ๖

เป็นต้น เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ พึงเห็นเหมือนบุรุษนั้นพิจารณาแล้วละ

ขันสำริดสำหรับใส่น้ำดื่ม บรรเทาความกระหายด้วยน้ำดื่มเป็นต้น มรรค

๔ พึงเห็นเหมือนฐานะ ๔ มีน้ำดื่มเป็นต้น เวลาที่พระขีณาสพดื่มน้ำคือ

มรรค ์ ๔ บรรเทาตัณหา ไปสู่ทิศทางพระนิพพานที่ไม่เคยไป พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 353

เหมือนการพี่บุรุษดื่มน้ำดื่ม ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรเทาความ

กระหายสุรามีความสุข ไปตามทิศทางที่ปรารถนา.

จบอรรถกถาสัมมสสูตรที่ ๖

๗. นฬกลาปิยสูตร

ว่าด้วยปัจจัยให้มีชราและมรณะ

[๒๖๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น

ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่

อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๖๔] ท่านพระมหาโกฏฐิตะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวคำนี้

กะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ชราและมรณะ ตนทำเอง ผู้อื่น

ทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชราและมรณะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านโกฏฐิตะ ชราและมรณะ ตน

ทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่ว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.

โก. ท่านสารีบุตร ชาติ ตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเอง

ทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าชาติบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่น

ไม่ได้ทำให้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 354

สา. ท่านโกฏฐิตะ ชาติ ตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่

ทั้งตนทำเอง ทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ ชาติบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้

ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ.

โก. ท่านสารีบุตร ภพตนทำเอง ฯ ล ฯ อุปาทานตนทำเอง. . .

ตัณหาตนทำเอง. . . เวทนาตนทำเอง. . . ผัสสะตนทำเอง. . .สฬายตนะ

ตนทำเอง. . . นามรูปตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้

หรือว่านามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้.

สา. ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่

ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ นามรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้

ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี

นามรูป.

โก. ท่านสารีบุตร วิญญาณตนทำเอง ผู้อื่นทำให้ ทั้งตนทำเอง

ทั้งผู้อื่นทำให้ หรือว่าวิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่น

ไม่ได้ทำให้.

สา. ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่

ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ วิญญาณบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตนไม่ได้

ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี

วิญญาณ.

[๒๖๕] โก. เราทั้งหลายเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตร ใน

บัดนี้เอง อย่างนี้ว่า ท่านโกฏฐิตะ นามรูปตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้

ก็ไม่ใช่ ทั้งตนทำเองทั้งผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยตน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 355

ไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี

นามรูป.

อนึ่ง เราทั้งหลายรู้ชัดภาษิตของท่านสารบุตรในบัดนี้เอง อย่างนี้ว่า

ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณตนทำเองก็ไม่ใช่ ผู้อื่นทำให้ก็ไม่ใช่ บังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยตนไม่ได้ทำเอง ผู้อื่นไม่ได้ทำให้ก็ไม่ใช่ แต่เพราะนามรูป

เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.

ท่านสารีบุตร ก็เนื้อความของภาษิตนี้ เราทั้งหลายจะพึงเห็นได้

อย่างไร.

[๒๖๖] สา. ดูก่อนอาวุโส ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบให้ท่าน

ฟัง ในโลกนี้บุรุษผู้ฉลาดบางพวกย่อมรู้ชัดเนื้อความของภาษิตได้ แม้

ด้วยอุปมา.

อาวุโส ไม้อ้อ ๒ กำ พึงตั้งอยู่ไค้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน

ฉันใด เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย

จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย

ประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล.

ถ้าไม้อ้อ ๒ กำนั้น พึงเอาออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ถ้า

ดึงอีกกำหนึ่งออก อีกกำหนึ่งก็ล้มไป ฉันใด เพราะนามรูปดับ วิญญาณ

จึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ

จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ. ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

นี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฉันนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 356

[๒๖๗] โก. น่าอัศจรรย์ ท่านสารีบุตร ไม่เคยมีมา ท่าน

สารีบุตร เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวนี้ เป็นอันกล่าวดีแล้ว ก็แลเราทั้งหลาย

พลอยยินดีสุภาษิตนี้ของท่านสารีบุตรด้วยเรื่อง ๓๖ เรื่องเหล่านี้.

ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ

ชราและมรณะ ควรกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.

ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชรา

และมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด

เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุ

บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ

ดับชาติ ฯ ล ฯ ภพ. . . อุปาทาน. . . ตัณหา. . . เวทนา. . . ผัสสะ. . .

สฬายตนะ. . . นามรูป. . . วิญญาณ. . . สังขารทั้งหลาย. . . อวิชชา

ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก.

ถ้าภิกษุปฏิบัติ เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา

ควรจะกล่าวว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.

ถ้าภิกษุหลุดพ้น เพราะความหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะ

ความดับ เพราะความไม่ถือมั่นอวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุ

นิพพานในปัจจุบัน.

จบนฬกลาปิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 357

อรรถกถานฬกลาปิยสูตรที่ ๗

ในนฬกลาปิยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เพราะเหตุไรท่านพระมหาโกฏฐิตะจึงถามว่า กึ นุ โข อาวุโส.

เพราะเพื่อจะทราบอัธยาศัยของพระเถระว่า ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์

อย่างไร. อีกอย่างหนึ่ง ท่านถามว่า เหล่าภิกษุในอนาคตจักรู้ว่า พระ

อัครสาวกทั้งสองในอดีต วินิจฉัยปัญหานี้แล้ว ดังนี้ก็มี. พระเถระกล่าว

คำนี้ว่า อิทาเนว โข มย ดังนี้ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า นามรูปที่

กล่าวว่ามีวิญญาณเป็นปัจจัยนั้นแล เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ. ก็ในบทว่า

นฬกลาปิโย นี้ ท่านมิได้นำเอามัดเหลีกเป็นต้นมาเปรียบเทียบ แต่

ท่านเปรียบเทียนดังนี้ เพื่อแสดงภาวะแห่งวิญญาณและนามรูปว่า ไม่มี

กำลังและมีกำลังเพลา. ในฐานะประมาณเท่านี้ว่า นิโรโธ โหติ ท่าน

กล่าวว่าเทศนาด้วยปัญจโวการภพ (ภพที่มีขันธ์ ๕ ) เป็นปัจจุบัน.

บทว่า ฉตฺตึสาย วตฺถูหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓๖ ประการ คือใน ๑๒

บทที่ท่านแจกไว้หนหลัง แต่ละบทมี ๓ เหตุ. และในที่นี้ คุณของพระ

ธรรมกถึกเป็นที่ ๑ การปฏิบัติเป็นที่ ๒ ผลของการปฏิบัติเป็นที่ ๓ ใน

ผลของการปฏิบัตินั้น ท่านกล่าวเทศนาสมบัติด้วยนัยที่ ๑ กล่าวเสขภูมิ

ด้วยนัยที่ ๒ กล่าวอเสขภูมิด้วยนัยที่ ๓.

จบอรรถกถานฬกลาปิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 358

๘. โกสัมพีสูตร

ว่าด้วยชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ

[๒๖๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมุสิละ ท่านพระปวิฏฐะ ท่าน

พระนารทะ และท่านพระอานนท์ อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี.

[๒๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระปวิฏฐะได้กล่าวคำนี้ กะท่านพระมุสิละ

ว่า ดูก่อนท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขามา

ความตรึกไปตามอาการ และจากการทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ท่าน

มุสิละมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จีงมีชราและมรณะ

ดังนี้หรือ.

พระมุสิละกล่าวว่า ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ

การฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ และการทนต่อความเพ่งพินิจ

ด้วยทิฏฐิ ผมย่อมรู้ย่อมเห็นอย่างนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา

และมรณะ. .

ป. ท่านมุสละ เว้นจากตามเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขา

ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ท่านมุสิละ

มีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ฯลฯ เพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ. . . เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. . .

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี

เวทนา. . . เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะนามรูปเป็น

ปัจจัย จึงมีสฬายตนะ. . . เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. . .

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี

สังขารดังนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 359

ม. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขา

มา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ผมย่อมรู้

ย่อมเห็นอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

[๒๗๐] ป. ดูก่อนท่านมุสิละ อนึ่ง เว้นจากความเชื่อ ความ

พอใจ การมีญาณเฉพาะตัวว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

ดังนี้หรือ.

ม. ดูก่อนท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟัง

ตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ

ผมย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ.

ป. ดูก่อนท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตาม

เขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ท่าน

มุสิละมีญาณเฉพาะตัวท่าน เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ฯ ล ฯ เพราะ

อุปาทานดับ ภพจึงดับ. . . เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ. . . เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ. . . เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ. . . เพราะ

สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ. . . เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ. . .

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ. . . เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ. . .

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ดังนี้หรือ.

ม. ดูก่อนท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟัง

ตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ

ผมย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ.

[๒๗๑] ป. ดูก่อนท่านมุสิละ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 360

ฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ

ท่านมุสิละมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า ภพดับ เป็นนิพพานหรือ.

ม. ดูก่อนท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟัง

ตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ

ผมย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า ภพดับ เป็นนิพพาน.

ป. ถ้าอย่างนั้น ท่านมุสิละ ก็เป็นพระอรหันตขีณาสพ.

เมื่อพระปวิฏฐะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านมุสิละได้นิ่งอยู่.

[๒๗๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระนารทะได้กล่าวกะท่านปวิฏฐะว่า

สาธุท่านปวิฏฐะ ผมพึงได้ปัญหานั้น ท่านจงถามปัญหาอย่างนั้น ผม

จะแก้ปัญหานั้นแก่ท่าน ท่านปวิฏฐะกล่าวว่า ท่านนารทะได้ปัญหานั้น

ผมขอถามปัญหานั้นกะท่านนารทะ และขอท่านนารทะจงแก้ปัญหานั้น

แก่ผม ดูก่อนท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตาม

เขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ท่าน

นารทะมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

ดังนี้หรือ.

นา. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขา

มา ความตรึกไปตามอาการ การตนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ผม

ย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ.

ป. ท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขา

มา การตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ท่าน

นารทะมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ฯ ล ฯ เพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ดังนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 361

นา. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตาม

เขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ผม

ย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร.

[๒๗๓] ป. ดูก่อนท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ

การฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วย

ทิฏฐิ ท่านนารทะมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะ

จึงดับ ฯลฯ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ดังนี้หรือ.

น. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตาม

เขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ผม

ย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ.

[๒๗๔] ป. ดูก่อนท่านนารทะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ

การฟังตามเขามา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วย

ทิฏฐิ ท่านนารทะมีญาณเฉพาะตัวท่านว่า ภพดับเป็นนิพพาน ดังนี้หรือ.

น. ท่านปวิฏฐะ เว้นจากความเชื่อ ความพอใจ การฟังตามเขา

มา ความตรึกไปตามอาการ การทนต่อความเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิ ผม

ย่อมรู้ ย่อมเห็น อย่างนี้ว่า ภพดับเป็นนิพพาน.

ป. ถ้าอย่างนั้น ท่านนารทะ ก็เป็นพระอรหันตขีณาสพหรือ.

น. อาวุโส ข้อว่า ภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมไม่ใช่พระอรหัตขีณาสพ อาวุโส

เปรียบเหมือนบ่อน้ำในหนทางกันดาร ที่บ่อนั้นไม่มีเชือก โพงจะตักน้ำก็

ไม่มี ลำดับนั้น บุรุษถูกความร้อนแผดเผา เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 362

เดินมา เขามองดูบ่อน้ำนั้น ก็รู้ว่ามีน้ำ แต่จะสัมผัสด้วยกายไม่ได้ ฉันใด

ดูก่อนอาวุโส ข้อว่า ภพดับเป็นนิพพาน ผมเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอัน

ชอบตามความเป็นจริง แต่ว่าผมให้ใช่พระอรหันตขีณาสพ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๒๗๕] เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กล่าวกะท่านพระปวิฏฐะว่า ดูก่อนท่านปวิฏฐะ ท่านชอบพูดอย่างนี้

ท่านได้พูดอะไรกะท่านนารทะบ้าง พระปวิฏฐะกล่าวว่า ท่านอานนท์

ผมพูดอย่างนี้ ไม่ได้พูดอะไรกะท่านนารทะ นอกจากกัลยาณธรรม

นอกจากกุศลธรรม.

จบโกสัมพีสูตรที่ ๘

อรรถกถาโกสัมพีสูตรที่ ๘

ในโกสัมพีสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺตฺเรว ความว่า ก็คนบางคนเชื่อต่อผู้อื่น ย่อมยึดถือ

ว่า ข้อที่ผู้นี้กล่าวนั้นเป็นความจริง ย่อมชอบใจเหตุที่ผู้อื่นนั่งคิดอยู่ เขา

ย่อมยึดถือตามความชอบใจว่า นั่นมีได้ คนหนึ่งยึดถือตามที่เล่ากันมาว่า

เรื่องเล่าลืออย่างนี้มีมานาน นั่นเป็นความจริง. เมื่อคนอื่นตรึกอยู่ ย่อม

ปรากฏเหตุเป็นอย่างหนึ่ง เขายึดถือโดยตรึกตามอาการว่า นั่นมิได้ ย่อม

ทนต่อทิฏฐิอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแก่อีกคนหนึ่ง ผู้คิดเพ่งพินิจถึงเหตุอยู่

เขาย่อมยึดถือด้วยความทนต่อการเพ่งพินิจด้วยทิฏฐิว่า นั่นมีได้. แต่

พระเถระปฏิเสธเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เมื่อถามถึงภาวะที่แทงตลอดด้วยญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 363

ที่ประจักษ์ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อญฺตฺเรว อาวุโส มุสิล สทฺธาย

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺตฺร ได้แก่เว้นเหตุมีศรัทธาเป็นต้น

อธิบายว่า เว้นจากเหตุเหล่านั้น. บทว่า ภวนิโรโธ นิพฺพาน ได้แก่

พระนิพพานคือการดับสนิทแห่งเบญจขันธ์.

บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระเถระผู้ขีณาสพ ไม่กล่าวว่า

ก็เราเป็นขีณาสพ หรือว่าไม่เป็น ได้แต่นิ่งอย่างเดียว. เพราะเหตุไร พระ

เถระจึงกล่าวว่า อายสฺมา นารโท อายสฺมนฺต ปวิฏฺ เอตทโวจ.

เพราะเล่ากันมาว่า พระเถระนั้นคิดว่า การดับสนิทแห่งภพ ชื่อว่า

นิพพาน ปัญหานี้ พระเสขะก็ดี พระอเสขะก็ดี ควรรู้ แต่พระนารท-

เถระนี้ ให้พระปวิฏฐเถระทำด้วยอเสขภูมิ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักให้

รู้ฐานะนี้.

บทว่า สมฺมปฺปญฺาย สุทิฏฺ ความว่า เห็นด้วยดีพร้อมด้วย

วิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา. ด้วยคำว่า น จมฺหิ อรห

พระเถระแสดงว่า เรามิได้เป็นพระอรหันต์ เพราะยังตั้งอยู่ในอรหัต-

มรรค. ก็ญาณของท่านในบัดนี้ว่า การดับสนิทแห่งภพ ชื่อว่านิพพาน

นั้น พ้นจากปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ. บทว่า

อุทปาโน ได้แก่บ่อน้ำลึก ๒๐-๓๐ ศอก. บทว่า อุทกวารโก ได้แก่

กระบอกรดน้ำ. บทว่า อุทกนฺติ หิ โข าณ อสฺส ความว่า

เมื่อยืนพิจารณาอยู่ที่ริมฝั่ง พึงมีญาณอย่างนี้. บทว่า น จ กาเยน

ผุสิตฺวา ความว่า แต่ไม่สามารถใช้กายนำน้ำออกมาถูกต้องอยู่. จริงอยู่

การเห็นพระนิพพานของพระอนาคามี เหมือนการเห็นน้ำในบ่อน้ำ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 364

พระอนาคามีเหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา อรหัตมรรคเหมือนกระ-

บอกน้ำ พระอนาคามีย่อมรู้ว่า ถัดขึ้นไปย่อมมีการบรรลุอรหัตผล ด้วย

ปัจจเวกขณญาณ เหมือนบุรุษที่ถูกความร้อนแผดเผา เห็นน้ำในบ่อ.

อนึ่ง พระอนาคามีย่อมไม่ได้ที่จะทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ นั่งเข้า

ผลสมาบัติ ที่สัมปยุตด้วยพระอรหัต เพราะไม่มีอรหัตมรรค เหมือน

บุรุษนั้นไม่สามารถจะใช้กายนำน้ำออกมารดตัว เพราะไม่มีกระบอกน้ำ

ฉะนั้น.

จบอรรถกถาโกสัมพีสูตรที่ ๘

๙. อุปยสูตร

ว่าด้วยสังขารเกิดเพราะมีอวิชชา

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

[๒๗๗] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย...

แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำ

ใหญ่น้ำขึ้น เมื่อแม่น้ำใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำน้อยน้ำขึ้น เมื่อแม่น้ำ

น้อยน้ำขึ้น ย่อมทำให้บึงใหญ่น้ำขึ้น เมื่อบึงใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้บึงน้อย

น้ำขึ้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออวิชชาเกิด ย่อมทำให้สังขารเกิด

เมื่อสังขารเกิด ย่อมทำให้วิญญาณเกิด เมื่อวิญญาณเกิด ย่อมทำให้นาม-

รูปเกิด เมื่อนามรูปเกิด ย่อมทำให้สฬายตนะเกิด เมื่อสฬายตนะเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 365

ย่อมทำให้ผัสสะเกิด เมื่อผัสสะเกิด ย่อมทำให้เวทนาเกิด เมื่อเวทนาเกิด

ย่อมทำให้ตัณหาเกิด เมื่อตัณหาเกิด ย่อมทำให้อุปาทานเกิด เมื่อ

อุปาทานเกิด ย่อมทำให้ภพเกิด เมื่อภพเกิด ย่อมทำให้ชาติเกิด เมื่อ

ชาติเกิด ย่อมทำให้ชราและมรณะเกิด ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมหาสมุทรน้ำลง ย่อมทำให้

แม่น้ำใหญ่ลดลง เมื่อแม่น้ำใหญ่ลดลง ย่อมทำให้แม่น้ำน้อยลดลง เมื่อ

แม่น้ำน้อยลดลง ย่อมทำให้บึงใหญ่ลดลง เมื่อบึงใหญ่ลดลง ย่อมทำให้

บึงน้อยลดลง ฉันใด เมื่ออวิชชาไม่เกิด ย่อมทำให้สังขารไม่เกิด เมื่อ

สังขารไม่เกิด ย่อมทำให้วิญญาณไม่เกิด เมื่อวิญญาณไม่เกิด ย่อมทำให้

นามรูปไม่เกิด เมื่อนามรูปไม่เกิด ย่อมทำให้สาฬายตนะไม่เกิด เมื่อ

สฬายตนะไม่เกิด ย่อมทำให้ผัสสะไม่เกิด เมื่อผัสสะไม่เกิด ย่อมทำให้

เวทนาไม่เกิด เมื่อเวทนาไม่เกิด ย่อมทำให้ตัณหาไม่เกิด เมื่อตัณหาไม่

เกิด ย่อมทำให้อุปาทานไม่เกิด เมื่ออุปาทานไม่เกิด ย่อมทำให้ภพไม่เกิด

เมื่อภพไม่เกิด ย่อมทำให้ชาติไม่เกิด เมื่อชาติไม่เกิด ย่อมทำให้ชราและ

มรณะไม่เกิด ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบอุปสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุปยสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปยนฺโต ความว่า ไหลลนไปเวลาน้ำขึ้น. บทว่า

มหานทิโย ได้แก่แม่น้ำใหญ่ มีแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น. บทว่า

อุปยาเปติ ความว่า ให้ล้นไป อธิบายว่า ให้เพิ่ม คือให้เต็ม. บทว่า อวิชฺชา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 366

อุปยนฺติ ความว่า อวิชชา ย่อมไหลไปเบื้องบนหรือสามารถเป็นปัจจัย

แก่สังขารทั้งหลาย. บทว่า สงฺขาเร อุปยาเปติ ความว่า ย่อมยังสังขารใน

เบื้องบนให้เป็นไป คือให้เจริญ. พึงทราบความทุกๆ บทด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อปฺยนฺโต ได้แก่ปราศไป คือแล่นลง. บทว่า อวิชฺชา อปยนฺติ

ความว่า อวิชชาไปปราศ คือแล่นลง ย่อมไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่สังขาร

ในเบื้องบน. บทว่า สงฺขาเร อปยาเปติ ได้แก่ย่อมไม่ยังสังขารให้

ดำเนินไป. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

จบอรรถกถาอุปยสูตรที่ ๙

๑๐. สุสิมบุตร

ว่าด้วยการหลุดพ้นด้วยปัญญา

[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดา

และมนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แม้ภิกษุสงฆฺ

อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แต่

พวกปริพาชกเดียรถีย์อื่น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลไม่ลักการะ ไม่

เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 367

[๒๘๐] สมัยนั้นแล สุสิมปริพาชกอาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์

กับปริพาชกบริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล บริษัทของสุสิมปริพาชกได้

กล่าวกะสุสิมปริพาชกว่า มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักของพระสมณโคดม ท่านเรียนธรรมแล้ว พึงบอกข้าพเจ้าทั้งหลาย

พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้วจักกล่าวแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้

แม้พวกเราก็จักมีเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ยำเกรง จักได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัย

แก่คนไข้.

สุสิมปริพาชกยอมรับคำบริษัทของตน แล้วเข้าไปหาท่านพระ-

อานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นสุสิมปริพาชกนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน

พระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.

[๒๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า สุสิมปริพาชกผู้นี้กล่าว

อย่างนี้ว่า พ่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรม

วินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิม-

ปริพาชกบวช.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 368

สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าแล้ว.

[๒๘๒] สมัยนั้นแล ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอร-

หัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผลใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

ทันใดนั้นเอง ท่านสุสิมะก็เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้

ปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าว

กะภิกษุเหล่านั้นว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดังนี้จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๓] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา

กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 369

แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

บ้างหรือหนอ.

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๔] สุ . ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่

ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ บ้างหรือ

หนอ.

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๕] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมี

ราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิต

มีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ. หรือจิตปราศจากโทสะ. ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต

ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมี

จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิต

ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ

ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น

ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 370

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๖] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง

สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ

ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง

พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป

เป็นอันมากบ้าง คลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น

เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น

แล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มี

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วมาเกิดในภพนี้ ย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการฉะนี้บ้างหรือหนอ.

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๗] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว

พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ

ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ-

อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย

เพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 371

ทั้งหลาย ส่วนสัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมา-

ทิฏฐิ เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็น

หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ

ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้

ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นตามกรรมด้วยประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ.

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.

[๒๘๙] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำตอบนี้ และการไม่

เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ในบัดนี้ อาวุโส เรื่องนี้ เป็นอย่างไร

แน่.

ภิ. ท่านสุสิมะ ผมทั้งหลายหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.

สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดย

พิสดารได้ ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความ

แห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.

ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่ผมทั้งหลาย

ก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.

[๒๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านสุสิมะลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 372

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว กราบทูลถ้อยคำ

ที่สนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ว่าด้วยธรรมฐิติญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณ

ในพระนิพพานเกิดภายหลัง.

พระสุสิมะกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อ

ความแห่งคำที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจงตรัสแก่ข้าพระองค์ เท่าที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่ง

พระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.

[๒๙๑] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดย

แท้จริงแล้วธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง สุสิมะ

เธอจะเข้าใจความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา.

สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 373

สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น

เป็นตัวตนของเรา.

ส. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปวนเป็นธรรมดา

สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา.

สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 374

สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. วิญญาณเบื้องหรือไม่เที่ยง.

สุ. ไม่เที่ยง พระเข้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ส. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

ตัวตนของเรา.

สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

[๒๙๒] พ. ดูก่อนสุสิมะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี

ละเอียดก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั่นอันเธอพึงเห็น

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี

อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี

อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี สัญญาทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 375

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบัน

ก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี

อยู่ในที่ไกลก็ดี ในใกล้ก็ดี สังขารทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี

ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่

ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

[๒๙๓] พ. ดูก่อนสุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร

ทั้งหลาย แม้ในวิญ ญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้น ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

[๒๙๔] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย

จึงมีชราและมรณะหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 376

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

หรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. . . . เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็น

ปัจจัยจึงมีเวทนา. . . เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะ

นามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตน. . . เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี

นามรูป. . . เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . สุสิมะ เธอเห็นว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๙๕] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและ

มรณะ จึงดับหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ...เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทาน

จึงดับ. . . เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ... เพราะผัสสะดับ เวทนา

จึงดับ... เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ

สฬายตนะจึงดับ... เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ... เพราะสังขารดับ

วิญญาณจึงดับ. . . เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 377

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๙๖] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมบรรลุ

อิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว

ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้

ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำ

ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ

เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก

ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ บ้างหรือหนอ.

ส. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๙๗] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้

ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และอยู่ใกล้

ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์บ้างหรือหนอ.

สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๙๘] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมกำหนด

รู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ

ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ.

ส. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๙๙] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือชาติหนึ่งบ้าง ฯ ล ฯ ย่อมระลึกถึงชาติ

ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

บ้างหรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 378

สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๐๐] พ. ดูก่อนสุสมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมเห็น

หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม บ้างหรือหนอ.

สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๐๑] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้ ย่อมถูกต้อง

อรูปวิโมกข์อันสงบ ก้าวล่วงรูปวิโมกข์ทั้งหลาย ด้วยกายบ้างหรือหนอ.

สุ. มิใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๐๒] พ. ดูก่อนสุสิมะ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรม

เหล่านี้มีอยู่ในเรื่องนี้ ในบัดนี้ เรื่องนี้เป็นอย่างไรแน่.

ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะหมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้-

มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ตกถึงข้าพระองค์ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง เท่าที่

ไม่ฉลาด ข้าพระองค์บวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่พระองค์ตรัสดีแล้ว

อย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับโทษไว้โดยความเป็นโทษ เพื่อความ

สำรวมต่อไปของข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า.

[๓๐๓] พ. เอาเถิดสุสิมะ โทษได้ตกถึงเธอ เท่าที่โง่ เท่าที่หลง

เท่าที่ไม่ฉลาด เธอบวชขโมยธรรมในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้

เปรียบเหมือนเจ้าหน้าที่จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแสดงตัวแก่พระราชา แล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ โจรคนนี้ ประพฤติผิดแด่พระองค์

ขอพระองค์จงทรงลงอาชญาตามที่พระองค์ทรงพระประสงค์แก่โจรคนนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 379

เถิด พระราชาพึงรับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไป

มัดบุรุษนี้ไพล่หลังให้ด้วยเชือกที่เหนียว แล้วเอามีดโกนหัวเสีย พาเที่ยว

ตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็ก ๆ ให้ออกทาง

ประตูด้านทักษิณ แล้วจงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง ราชบุรุษ

มัดโจรนั้นไพล่หลังอย่างมั่นคง ด้วยเชือกที่เหนียวแล้วเอามีดโกนโกนหัว

พาเที่ยวตระเวนตามถนน ตามทางสี่แยก ด้วยฆ้อง ด้วยกลองเล็ก ๆ พา

ออกทางประตูด้านทักษิณพึงตัดศีรษะเสียข้างด้านทักษิณของเมือง สุสิมะ

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเห็นไฉน บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัสอันมี

กรรมนั้นเป็นเหตุหรือหนอ.

สุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๐๔] พ. ดูก่อนสุสิมะ บุรุษนั้นต้องเสวยทุกข์และโทมนัส

อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ แต่การบวชของเธอผู้ขโมยธรรมในธรรมวินัยที่

ตถาคตกล่าวดีแล้วอย่างนี้ นี้ยังมีผลรุนแรงและเผ็ดร้อนกว่านั้น และยัง

เป็นไปเพื่อวินิบาต แต่เพราะเธอเห็นโทษ โดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืน

ตามธรรม เราจึงรับโทษนั้นของเธอ ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว

ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนี้เป็นความเจริญในวินัยของ

พระอริยะ.

จบสุสิมสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 380

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัสสุตวาตาสูตรที่ ๑ ๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒

๓. ปุตตมังสสูตร ๔. อัตถิราคสูตร

๕. นครสูตร ๖. สัมมสสูตร

๗. นฬกลาปิยสูตร ๘. โกสัมพีสูตร

๙. อุปยสูตร ๑๐. สุสิมสูตร

อรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๑๐

ในสุสิมสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ครุกโต ความว่า เป็นอันเทวดาและมนุษย์กระทำให้หนัก

ด้วยจิต เหมือนฉัตรหิน. บทว่า มานิโต ได้แก่ อันเขาประพฤติรักใคร่

ด้วยใจ. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ อันเขาบูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัย ๔.

บทว่า อปิจิโต ได้แก่ อันเขายำเกรงด้วยการประพฤติอ่อนน้อม. จริงอยู่

มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระศาสดาแล้ว ย่อมลงจากคอช้างเป็นต้น ถวายทาง

ลดผ้าจากจะงอยบ่า ลุกจากอาสนะถวายบังคม ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าเป็นผู้

อันมนุษย์เหล่านั้นยำเกรงแล้ว. บทว่า สุสิโม ได้แก่ บัณฑิตปริพาชก

ผู้ฉลาดในเวทางค์ ผู้มีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า เอหิ ตฺว ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้

ว่า พระสมณโคดมอาศัยชาติและโคตรเป็นต้น ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ

ก็หาไม่ ที่แท้ทรงเป็นยอดกวี ผูกคัมภีร์คำร้อยกรองประทานแก่พระสาวก

เพราะทรงเป็นยอดกวี พระสาวกเหล่านั้น เรียนคัมภีร์นั้นหน่อยหนึ่งแล้ว

กล่าวลำเป็นต้นว่า อุปนิสินนกกถาบ้าง อนุโมทนาบ้าง สรภัญญะบ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

แก่อุปัฏฐากทั้งหลาย อุปัฏฐากเหล่านั้นก็น้อมนำลาภเข้าไป ถ้าพวกเราพึงรู้

อย่างละหน่อย ๆ จากสิ่งที่พระสมณโคดมรู้ เราพึงใส่ลัทธิของตนใน

คัมภีร์นั้น กล่าวแก่อุปัฏฐากทั้งหลาย ต่อแต่นั้นเราพึงเป็นผู้มีลาภมากกว่า

สาวกเหล่านั้น ใครเล่าจักบวชในสำนักพระสมณโคดมแล้ว สามารถเรียน

ได้ฉับพลันทีเดียว . ปริพาชกเหล่านั้น คิดอย่างนี้แล้ว เห็นว่าสุสิมะเป็น

ผู้ฉลาด จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า เยนายสฺมา อานนฺโท เตนุปสงฺกมิ ถามว่า เพราะเหตุไร

สุสิมปริพาชกจึงเข้าไปหา. ได้ยินว่า สุสิมปริพาชกมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา

ไปสำนักใครหนอ จึงจักสามารถได้ธรรมโดยฉับพลัน. แต่นั้น จึงคิดว่า

พระสมณโคดม ผู้มากด้วยอำนาจคือความเคารพ ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

ความนิยม ใคร ๆ ไม่อาจจะเข้าเฝ้าในเวลาอันไม่สมควร แม้ชนเหล่าอื่น

เป็นอันมากมีกษัตริย์เป็นต้น ย่อมเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ในสมัยแม้นั้น

ใครก็ไม่อาจจะเข้าเฝ้าได้ แม้บรรดาพระสาวกของพระองค์ พระสารีบุตร

ผู้มีปัญญามาก ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะในวิปัสสนาลักขณะ พระมหา-

โมคคัลลานะ ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะในสมาธิลักขณะ. พระมหากัสสปะ

ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะฝ่ายทรงไว้ซึ่งธุดงคคุณ พระอนุรุทธ ทรงตั้งไว้

ในเอตทัคคะฝ่ายมีจักษุทิพย์ พระปุณณมันตานีบุตร ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ

ฝ่ายพระธรรมกถึก พระอุบาลีเถระ ทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะฝ่ายทรงไว้ซึ่ง

พระวินัย ส่วนพระอานนท์นี้เป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎก แม้พระศาสดา

ก็ทรงนำเทศนาที่ตรัสแล้วในที่นั้น ๆ มาตรัสแก่พระอานนท์นั้นอีก ทรง

ตั้งไว้ในเอตทัคคะ ๕ ตำแหน่ง ท่านได้พร ๘ ประการ ประกอบด้วยอัจฉริย-

อัพภูตธรรม ๔ ประการ เราเข้าไปหาท่าน จักสามารถได้ธรรมโดยฉับพลัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 382

ฉะนั้น สุสิมปริพาชกจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร

จึงนำเข้าไปหา ตอบว่า ได้ยินว่า พระอานนท์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

สุสิมปริพาชกนี้เป็นเจ้าลัทธิแผนกหนึ่งในลัทธิเดียรถีย์ เที่ยวปฏิญาณว่าเรา

เป็นศาสดา ครั้นบวชแล้ว แม้เมื่อไม่ได้คำสอนก็ยังพยายาม ทั้งเราก็ไม่รู้

อัธยาศัยของท่าน พระศาสดาจักทรงทราบ ฉะนั้น จึงพาท่านเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า เตนหานนฺท สฺสิม ปพฺพาเชถ ความว่า ได้ยินว่า

พระศาสดามีพระดำริว่า ปริพาชกนี้เที่ยวปฏิญาณในลัทธิของเดียรถีย์ว่า

เราเป็นศาสดาเจ้าลัทธิแผนกหนึ่ง ได้ยินว่า ท่านกล่าวว่า เราปรารถนาจะ

ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในศาสนานี้ ท่านเลื่อมใสในเราหรือในสาวกของ

เรา หรือเลื่อมใสในธรรมกถาของเราหรือของสาวกของเรา ครั้นทรงทราบ

ว่า ท่านไม่มีความเลื่อมใสแม้ในฐานะเดียว ทรงตรวจดูว่า ผู้นี้บวชด้วย

ตั้งใจว่า จักขโมยธรรมในศาสนาของเรา ดังนั้น การมาของเขาจึงไม่

บริสุทธิ์ ผลสำเร็จเป็นเช่นไรหนอ ทรงทราบว่า ถึงท่านจะบวชด้วย

ตั้งใจว่าจักขโมยธรรมก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพยายาม ๒- ๓ วันเท่านั้น

ก็จักบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า เตนหานนฺท สุสิม ปพฺพาเชถ ดังนี้.

บทว่า อญฺา พฺยากตา โหติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น

เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพียร

พยายามอยู่ ได้บรรลุพระอรหัตภายในไตรมาสนั้นเอง. ภิกษุเหล่านั้น

คิดว่า เราจักกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระศาสดา ทำปริสุทธปวารณา

แล้วเก็บงำเสนาสนะ มาเฝ้าพระศาสดา กราบทูลคุณที่ตนได้ ซึ่งท่านหมาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

เอาคำที่กล่าวไว้แล้วนั้น.

ก็บทว่า อญฺา เป็นชื่อของพระอรหัต. บทว่า พฺยากตา

แปลว่า กราบทูลแล้ว. บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ได้ยินว่า ท่าน

เงี่ยโสตลงสดับ ไปยังที่ที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ ประสงค์จะฟังถ้อยคำนั้น ๆ จึง

เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่. ถามว่า เข้าไปหาทำไม. ได้ยินว่า ท่าน

สดับเรื่องนั้นแล้วจึงคิดดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าพระอรหัตผล เป็นปริมาณในพระ

ศาสนานี้ ชะรอยว่ากำมือคือความรู้ของอาจารย์จักเป็นสาระ เพราะฉะนั้น

จึงเข้าไปหา.

บทว่า อเนกวิหิต แปลว่า มีหลายอย่าง. บทว่า อิทฺธิวิธ ได้แก่

ส่วนแห่งฤทธิ์. ด้วยบทว่า อาวีภาว ติโรภาว ท่านถามว่า พวกท่าน

สามารถทำสิ่งที่ปรากฏให้หายไป [หายตัว] ทำสิ่งที่หายไปให้ปรากฏได้

หรือ [ปรากฏตัว]. บทว่า ติโรกุฑฺฑ แปลว่า นอกฝา. แม้

ภายนอกภูเขาก็นัยนี้แหละ บทว่า อุมฺมุชฺชนิมฺมุชฺช แปลว่า ผุดขึ้นและ

ดำลง. บทว่า ปลฺลงเกน แปลว่า ด้วยการนั่งขัดสมาธิ. ด้วยบทว่า กมถ

ท่านถามว่า พวกท่านสามารถที่จะนั่งหรือยึดเอาได้หรือ. บทว่า ปกฺขี

สกุโณ แปลว่า นกที่มีปีก. ในข้อนี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความ

พิสดาร พึงทราบนัยแห่งการพรรณนาอิทธิวิธญาณนี้ และทิพยโสต

เป็นต้นนอกจากนี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า สนฺตา วิโมกฺขา ความว่า อรูปวิโมกข์ ชื่อว่าสงบ

เพราะสงบองค์ และเพราะสงบอารมณ์. บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ได้แก่

ถูกต้องคือได้ด้วยนามกาย. ด้วยคำว่า ปญฺาวิมุตฺตา โข มย อาวุโส.

ท่านแสดงว่า อาวุโส พวกเราเป็นผู้เพ่งฌาน เป็นสุกขวิปัสสก หลุดพ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 384

ด้วยสักว่าปัญญาเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้

ว่า อาชาเนยฺยาสิ วา ตฺว อาวุโส สุสิม น วา ตฺว อาชาเนยฺยาสิ

ดังนี้. เพราะเล่ากันมาว่า ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเรา

ไม่สามารถจะยึดอัธยาศัยของสุสิมภิกษุนี้กล่าวได้ สุสิมภิกษุนี้ถามพระทศพล

อีก จึงจักหมดความสงสัย. บทว่า ธมฺมฏฺิติาณ ได้แก่วิปัสสนาญาณ.

วิปัสสนาญาณนั้นเกิดขึ้นก่อน. บทว่า นิพฺพาเน าณ ได้แก่มรรคญาณ

ที่เป็นไปในที่สุดแห่งวิปัสสนาที่เคยประพฤติ. มรรคญาณนั้นเกิดขึ้นภายหลัง

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า อาชาเนยฺยาสิ วา เป็นต้น.

แก้ว่า เพื่อแสดงการเกิดขึ้นแห่งญาณอย่างนี้แม้เว้นสมาธิ. ความจริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสุสิมะ มรรคก็ตาม ผล

ก็ตาม ไม่ใช่เป็นผลของสมาธิ ไม่ใช่เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ไม่ใช่เป็น

ความสำเร็จของสมาธิ แต่มรรคหรือผลนี้ เป็นผลของวิปัสสนา เป็น

อานิสงส์ของวิปัสสนา เป็นความสำเร็จของวิปัสสนา ฉะนั้น ท่านจะรู้ก็ตาม

ไม่รู้ก็ตาม ที่แท้ธัมมัฏฐิติญาณเป็นญาณในเบื้องต้น ญาณในพระนิพพาน

เป็นญาณภายหลัง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านสุสิมะนั้นควรจะแทง

ตลอด เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องไตรลักษณ์ จึงตรัสว่า ต กึ

มญฺสิ สุสิม รูป นิจฺจ วา อนิจฺจ วา ดูก่อนสุสิมะ เธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น. ก็ในเวลาจบ

เทศนาเรื่องไตรลักษณ์ พระเถระบรรลุพระอรหัต. บัดนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกขึ้นซึ่งความพยายามของพระเถระนั้น จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 385

ชาติปจฺจยา ชรามาณนฺติ สุสิม ปสฺสสิ ดูก่อนสุสิมะ เธอเห็นว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะหรือ ดังนี้ เป็นต้น. ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภคำนี้ว่า อปิ นุ ตฺว สุสิม

ดังนี้. แก้ว่า เพื่อทรงกระทำให้ปรากฏแก่เหล่าภิกษุสุกขวิปัสสกผู้เพ่งฌาน.

ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า มิใช่เธอผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้เพ่งฌาน เป็นสุกข-

วิปัสสก แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวง ปรากฏแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถามหาวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 386

สมณพราหมณวรรคที่ ๘

๑. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์ ไม่รู้ชรามรณะ

[๓๐๕] ข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

[๓๐๖] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ไม่รู้ชราและมรณะ ไม่รู้เหตุเกิดชราและมรณะ ไม่รู้ความดับชรา

และมรณะ ไม่รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือ

ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น

จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเห็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ

เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ได้.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะก็ดี หรือพราหมณ์ก็ดี

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชราและมรณะ ย่อมรู้เหตุเกิดชราและมรณะ

ย่อมรู้ความดับชราและมรณะ ย่อมรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและ

มรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่

สมณะ ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่าน

เหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะและประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 387

แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึง

ได้อยู่.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๑

๒. ทุติยสมณพราหมณสูตร- ๑๑. เอกาทสมสมณพราหมณสูตร

[๓๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ชาติ ฯ ล ฯ ไม่รู้ภพ... ไม่รู้

อุปาทาน... ไม่รู้ตัณหา... ไม่รู้เวทนา... ไม่รู้ผัสสะ... ไม่รู้สฬายตนะ...

ไม่รู้นามรูป... ไม่รู้วิญญาณ... ไม่รู้สังขาร... ไม่รู้เหตุเกิดสังขาร ไม่รู้

ความดับสังขาร ไม่รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสังขาร สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับ

สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้นจะทำให้แจ้ง

ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์

ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ย่อมรู้ชาติ ฯ ล ฯ ย่อมรู้ภพ... ย่อมรู้อุปาทาน... ย่อมรู้ตัณหา... ย่อมรู้

เวทนา... ย่อมรู้ผัสสะ... ย่อมรู้สฬายตนะ... ย่อมรู้นามรูป... ย่อมรู้

วิญญาณ... ย่อมรู้สังขาร ย่อมรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร ย่อมรู้ความดับแห่ง

สังขาร ย่อมรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้น ย่อมได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และย่อมได้รับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 388

สมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้ง

ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์

ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งตนเองในปัจจุบันเข้าถึงได้อยู่.

จบทุติยสมณพราหมณสูตร ถึงเอกาทสมสมณพราหมณสูตร

จบสมณพราหมณวรรคที่ ๘

หัวข้อแห่งสมณพราหมณวรรคที่ ๘ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ปัจจยาการ ๑๑ โดยจำแนกอริยสัจ ๔ ในปัจจยาการหนึ่ง ๆ [ว่าเป็นสูตร

หนึ่งๆ ].

หัวข้อแห่งวรรค:- ๑. พุทธวรรค ๒. อาหารวรรค

๓. ทสพลวรรค ๔. กฬารขัตติยวรรค ๕. คหปติวรรค

๖. ทุกขวรรค ๗. มหาวรรค ๘. สมณพราหมณวรรค.

อรรถกถาสมณพราหมณวรรคที่ ๘

ในสมณพราหมณวรรค ท่านแบ่งบทหนึ่ง ๆ ในชราและมรณะ

เป็นต้นออกเป็นสูตรหนึ่ง ๆ รวมเป็น ๑๑ สูตร มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสมณพราหมณวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 389

อันตรเปยยาลที่ ๙

ว่าด้วยบุคคลไม่รู้ไม่เห็นชราและมรณะตามความเป็นจริง

๑. สัตถุสูตร

[๓๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ฯ ล ฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชรามรณะตามเป็นจริง พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้

ในชรามรณะตามเป็นจริง บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นเหตุเกิดแห่งชรามรณะตาม

เป็นจริง พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้ในเหตุเกิดแห่งชรามรณะตามเป็นจริง

บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งชรามรณะตามเป็นจริง พึงแสวง

หาครู เพื่อความรู้ในความดับแห่งชรามรณะตามเป็นจริง บุคคลเมื่อไม่รู้

ไม่เห็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรามรณะตามเป็นจริง พึงแสวงหาครู

เพื่อความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชรามรณะตามเป็นจริง.

[เปยยาลแห่งบาลีประเทศทั้งปวงอย่างนี้]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชาติตามเป็นจริง...

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นภพตามเป็นจริง... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นอุปาทานตามเป็นจริง...

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นตัณหาตามเป็นจริง ... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นเวทนาตามเป็นจริง...

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นผัสสะตามเป็นจริง... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสฬายตนะตามเป็น

จริง... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นนามรูปตามเป็นจริง... เมื่อไม่รู้ไม่เห็น

วิญญาณตามเป็นจริง... เมื่อไม่รู้ไม่เห็นสังขารทั้งหลายตามเป็นจริง

พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้ในสังขารทั้งหลายตามเป็นจริง เมื่อไม่เห็น

เหตุเกิดแห่งสังขารตามเป็นจริง พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้ในเหตุเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 390

แห่งสังขารตามเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง

พึงแสวงหาครู เพื่อความรู้ความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง เมื่อไม่รู้

ไม่เห็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง พึงแสวงหาครู

เพื่อความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารตามเป็นจริง.

[พึงกระทำกิจในอริยสัจ ๔ แห่งปัจจยาการทั้งปวง เป็นสูตรหนึ่ง ๆ]

๒. สูตรที่ ๒-๑๒

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชราและมรณะ

ตามเป็นจริง พึงกระทำความศึกษาเพื่อความรู้ในชราและมรณะตามเป็น

จริง.

[เปยยาลอย่างนี้ พึงกระทำอันเป็นไปสัจจะ ๔]

พึงกระทำความเพียร... พึงกระทำฉันทะ... พึงกระทำความ

อุตสาหะ... พึงกระทำความไม่ย่อท้อ... พึงกระทำความเพียรแผดเผา

กิเลส...พึงกระทำความเป็นผู้กล้า... พึงกระทำความเพียรเป็นไปติดต่อ...

พึงกระทำสติ... พึงกระทำสัมปชัญญะ... พึงกระทำความไม่ประมาท...

ดังนี้แล.

จบอันตรเปยยาลที่ ๙

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตถุสูตร ๒. นขสิกขาสูตร ๓. โยคสูตร

๔. ฉันทสูตร ๕. อุสโสฬหิสูตร ๖. อัปปฏิวานิยสูตร

๗. อาตัปปสูตร ๘. วีริยสูตร ๙. สาตัจจสูตร

๑๐. สติสูตร ๑๑. สัมปชัญญสูตร ๑๒. อัปปมาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 391

จบอันตรเปยยาลอันเป็นหัวข้อพระสูตร

เบื้องต้นมีหัวข้อพระสูตร ๑๒ หัวข้อ รวมเป็น ๑๓๒ สูตรที่เปยยาล

ในระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสัจจะ ๔.

จบหัวข้อในอันตรเปยยาลทั้งหลาย.

อันตรเปยยาลวรรคที่ ๙

อรรถกถาสัตถุสูตรเป็นต้น

เบื้องหน้าแต่นี้ ๑๒ สูตรที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา ปริเย-

สิตพฺโพ ดังนี้ ชื่อว่า อันตรเปยยาลวรรค. พระสูตรทั้งหมดนั้น

ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของเวไนยบุคคลผู้ตรัสรู้โดยประการนั้น ๆ. ในบท

เหล่านั้น. บทว่า สตฺถา ได้แก่ผู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม พระสาวกก็ตาม

ซึ่งเป็นที่อาศัยของผู้ได้มรรคญาณ นี้ชื่อว่าศาสดา ศาสดานั้นพึงแสวงหา.

บทว่า สิกฺขา กรณียา ได้แก่พึงทำสิกขาทั้ง ๓ อย่าง. บรรดาโยคะเป็น

ต้น บทว่า โยโค ได้แก่การประกอบ. บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความ

พอใจในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า อุสฺโสฬฺหิ ได้แก่ความ

เพียรที่มีประมาณยิ่งที่ทนต่อสิ่งทั้งปวง. บทว่า อปฺปฏิวานี แปลว่า

ไม่ถอยกลับ. บทว่า อาตปฺป ได้แก่ความเพียรอันทำกิเลสให้ร้อนทั่ว

คือวิริยะนั่นเอง. บทว่า สาตจฺจ ได้แก่การกระทำเป็นไปติดต่อ.

บทว่า สติ ได้แก่สติที่กำหนดสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจชรา

และมรณะเป็นต้น. บทว่า สมฺปชญฺ ได้แก่ญาณเช่นนั้นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 392

บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ความไม่ประมาทในการเจริญสัจจะ. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอันตรเปยยาลที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 393

อภิสมยวรรคที่ ๑๐

๑. นขสิขาสูตร

ว่าด้วยเปรียบทุกข์ที่เหลือเท่าฝุ่นติดปลายเล็บ

[๓๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเอาปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นเล็กน้อย แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นประ-

มาณน้อยนี้ที่เราเอาปลายเล็บช้อนขึ้น กับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะ

มากกว่ากันหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ฝุ่นประมาณเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่

แล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นมีประมาณ

น้อย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐

[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่

หมดไป สิ้นไปนี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วย

ทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว มีมากกว่า ส่วนที่เหลือมีประมาณน้อย ความทุกข์เป็น

สภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน

ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 394

ทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้แล การได้ธรรม-

จักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบนขสิขาสูตรที่ ๑

อภิสมยวรรคที่ ๑๐

อรรถกถานขสิขาสูตรที่ ๑

อภิสมยวรรค นขสิขาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า นขสิขาย ความ ที่ปลายเล็บซึ่งพ้นจากที่มีเนื้อ จริงอยู่

ชื่อว่าปลายเล็บเป็นของใหญ่สำหรับโลกิยชน แต่สำหรับพระศาสดาเป็น

ของละเอียดเหมือนปลายดอกอุบลแดง ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นฝุ่นจะตั้ง

อยู่ที่ปลายเล็บนั้นได้อย่างไร. ตอบว่า ตั้งอยู่ได้ด้วยแรงอธิษฐาน. ด้วยว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะให้เขารู้เนื้อความ จึงทรงให้ฝุ่นนั้น

ตั้งอยู่ที่ปลายเล็บด้วยแรงอธิษฐาน. บทว่า สติม กล ความว่า แบ่งฝุ่น

ในแผ่นดินใหญ่เป็น ๑๐๐ ส่วน พึงถือเอาจาก ๑๐๐ ส่วนนั้นเพียง ๑ ส่วน.

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อภิสเมตาวิโน ได้แก่ผู้ตรัสรู้อริยสัจด้วยปัญญา

แม้ข้างหน้าตั้งอยู่. บทว่า ปุริม ทุกฺขกฺขนฺธ ปริกฺขีณ ปริยาทินฺน อุปนิธาย

ความว่า เทียบกองทุกข์ที่ตรัสไว้ทีแรกอย่างนี้ว่า ทุกข์นี้แหละ คือที่สิ้น

ไปแล้วมีมากกว่า อธิบายว่า อยู่ในสำนักของท่าน พิจารณาอยู่ด้วยญาณ

โดยเว้นกองทุกข์ที่มากกว่านั้น ในสำนักของภิกษุนั้น ถามว่า ก็ในที่นี้ที่

ชื่อว่าทุกข์มีในก่อนเป็นไฉน ทุกข์ที่สิ้นไปเป็นไฉน ทุกข์ที่พึงเกิดขึ้น

เพราะไม่อบรมปฐมมรรคเป็นไฉน ทุกข์ที่พึงเกิดขึ้นในอัตตภาพทั้ง ๗ ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 395

อบาย และในที่ใดที่หนึ่ง ตั้งต้นแต่ปฏิสนธิที่ ๘ ไป. ทุกข์ทั้งหมดนั้น

พึงทราบว่า ปริกขีณทุกข์-ทุกข์ที่สิ้นไป. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุ แปลว่า

๗ ครั้ง. อธิบายว่า ในอัตภาพทั้ง ๗. ด้วยบทว่า ปรมตา ท่านแสดงว่า

นี้เป็นประมาณยิ่งของทุกข์นั้น. บทว่า มหตฺถิโย ได้แก่ให้สำเร็จประ-

โยชน์ใหญ่.

จบอรรถกถานขสิขาสูตรที่ ๑

๒. โปกขรณีสูตร

ว่าด้วยเปรียบทุกข์ที่เหลือเหมือนน้ำที่วิดด้วยปลายหญ้าคา

[๓๑๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สระโบกขรณียาว ๕๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ลึก ๕๐ โยชน์ มีน้ำเต็ม

เสมอขอบ กาดื่มกินได้ บุรุษพึงวิดน้ำขึ้นจากสระโบกขรณีนั้นด้วยปลาย

หญ้าคา เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย

ปลายหญ้าคาก็ดี น้ำในสระโบกขรณีก็ดี ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีนี้แหละมากกว่า

น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคามีประมาณน้อย น้ำที่บุรุษวิดขึ้นด้วย

ปลายหญ้าคาเมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในสระโบกขรณี ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐

เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่

หมดไป สิ้นไปนี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 396

ทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว เป็นทุกข์มากกว่า ส่วนที่เหลืออยู่มีประมาณน้อย

ความที่ทุกข์เป็นสภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพ เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดไป

สิ้นไปอันมีในก่อน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่

๑๐๐,๐๐๐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่

อย่างนี้แล การได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบโปกขรณีสูตรที่ ๒

อรรถกถาโปกขรณีสูตรที่ ๒

ในโปกขรณีสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โปกฺขรณี ได้แก่บึง. บทว่า อุพเพเธน ได้แก่เพราะลึก.

บทว่า สมติตฺติกา ได้แก่เสมอขอบปาก. บทว่า กากเปยฺยา ความว่า

กาอยู่ที่ฝั่งใหญ่ สามารถจะหย่อนจะงอยปากลงไปดื่มเองตามปกติได้.

จบอรรถกถาโปกขรณีสูตรที่ ๒

๓. ปฐมสัมเภชอุทกสูตร

ว่าด้วยแม่น้ำ ๕ สาย ไหลมาบรรจบกัน

[๓๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน

บุรุษพึงวักน้ำขึ้นสองสามหยาดจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วก็ดี น้ำในที่บรรจบกันก็ดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 397

ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

น้ำในที่นี้บรรจบกันนี้แหละมากกว่า หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว

มีประมาณน้อย หยาดน้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วเมื่อเทียบเข้ากับ

น้ำในที่บรรจบกัน ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่

๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[ ๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การได้

ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์อย่างนี้.

จบปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ ๓

ในปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยตฺถิมา ความว่า แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ ในที่แยกกันใด

บทว่า สสนฺทนฺติ ความว่า ไหลไปโดยชอบ. บทว่า สเมนฺติ ได้แก่

มาประจวบกัน. บทว่า เทฺว วา ตีณิ วา แปลว่า ๒ หรือ ๓. บทว่า

อุทกผุสิตานิ ได้แก่หยาดน้ำ. บทว่า สมฺเภชฺชอุทก ได้แก่น้ำในที่แยก

กับแม่น้ำอื่น ๆ.

จบอรรถกถาปฐมสัมเภชอุทกสูตรที่ ๓

๔. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร

ว่าด้วยแม่น้ำ ๕ สาย

[๓๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 398

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม่น้ำใหญ่เหล่านี้คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลมาบรรจบกัน

แม่น้ำนั้นพึงหมดไป สิ้นไป ยังเหลืออยู่สองสามหยาด เธอทั้งหลายจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป ในรูป กับน้ำ

ที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาด ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในที่บรรจบกันซึ่งหมดไป สิ้นไปนี้แหละมาก

กว่า น้ำที่ยังเหลืออยู่สองสามหยาดมีประมาณน้อย น้ำที่เหลืออยู่สองสาม

หยาดเมื่อเทียบเข้ากับน้ำในที่บรรจบกัน ซึ่งหมดไป สิ้นไปแล้ว ไม่เข้า

ถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ล ฯ การ

ได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔

อรรถกถาสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔

สัมเภชอุทกสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสัมเภชอุทกสูตรที่ ๔

๕. ปฐมปฐวีสูตร

ว่าด้วยบุรุษวางก้อนดิน ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่

[๓๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 399

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษพึงวางก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนไว้ที่แผ่นดินใหญ่ เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่บุรุษวาง

ไว้กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา

๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่

บุรุษวางไว้ เมื่อเทียบเข้ากับแผ่นดินใหญ่ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่

๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ล ฯ การ

ได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบปฐมปฐวีสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมปฐวีสูตร

ในปฐมปฐวีสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มหาปวิยา ความว่า ยกขึ้นไว้บนแผ่นดินใหญ่ภายใน

จักรวาล. บทว่า โกลฏฺิมตฺติโย ได้แก่ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา. บทว่า

คุฬิกา ได้แก่ก้อนดินเหนียว. บทว่า อุปนิกฺขิเปยฺย ความว่า พึงวาง

ไว้ในที่หนึ่ง.

จบอรรถกถาปฐมปฐวีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 400

๖. ทุติยปฐวีสูตร

ว่าด้วยแผ่นดินใหญ่

[๓๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แผ่นดินใหญ่พึงถึงความหมดไป สิ้นไป เหลือก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา

๗ ก้อน เธอทั้งหลายสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นดินใหญ่ที่หมดไป

สิ้นไป กับก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่า

กัน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมด

ไปสิ้นไปนี้แหละมากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่

มีประมาณน้อย ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่เมื่อเทียบ

เข้ากับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ย่อมไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยว

ที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ การ

ได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบทุติยปฐวีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 401

๗. ปฐมสมุททสูตร

ว่าด้วยบุรุษวักน้ำสองสามหยาดขึ้นจากมหาสมุทร

[๓๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษวักน้ำสองสามหยาดขึ้นจากมหาสมุทร เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วกับน้ำในมหาสมุทร ไหน

จะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำใน

มหาสมุทรนี้แหละมากกว่า น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้วมีประมาณ

น้อย น้ำสองสามหยาดที่บุรุษวักขึ้นแล้ว เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำใน

มหาสมุทรไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้

ฉันใด.

[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ล ฯ การ

ได้ธรรมจักษุใหัสำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบปฐมสมุททสูตรที่ ๗

๘. ทุติยสมุททสูตร

ว่าด้วยน้ำในมหาสมุทร

[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 402

มหาสมุทรพึงถึงการหมดไป สิ้นไป ยังเหลือน้ำอยู่สองสามหยาด เธอ

ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไป

กับน้ำสองสามหยาดที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน. ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไปนี้แหละ

มากกว่า น้ำสองสามหยาดที่เหลืออยู่มีประมาณน้อย น้ำสองสามหยาดที่

เหลืออยู่เมื่อเทียบกันเข้ากับน้ำในมหาสมุทรที่หมดไป สิ้นไป ไม่เข้าถึงเสี้ยว

ที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ล ฯ การ

ได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบทุติยสมุททสูตรที่ ๘

๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร

ว่าด้วยวางก้อนหิน ๗ ก้อนที่ภูเขาหิมวันต์

[๓๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนไว้ที่ขุนเขาหิมวันต์

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด

๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้กันขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่ากัน. ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์นี้แหละมากกว่า ก้อน

หินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนหิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 403

เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาหิมวันต์

ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ล ฯ การ

ได้ธรรมจักษุให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบปฐมปัพพตูปมสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร

ว่าด้วยวางก้อนหิน ๗ ก้อนไว้ที่ภูเขาหิมวันต์

[๓๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ขุนเขาหิมวันต์พึงถึงความหมดไป สิ้นไป ยังเหลือก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์

ผักกาดอยู่ ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์

ที่หมดไป สิ้นไป กับก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่

ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไป สิ้นไปนี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์

ผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดพันธุ์

ผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาหิมวันต์ที่หมดไป สิ้น

ไปไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ความทุกข์

หมดไป สิ้นไปนี้แหละของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 404

ตรัสรู้แล้ว มีมากกว่า ส่วนที่เหลือมีประมาณน้อย ความทุกข์ที่เป็น

สภาพยิ่งใน ๗ อัตภาพเมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดไป สิ้นไป ไม่เข้าถึง

เสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การตรัสรู้ธรรมให้สำเร็จประโยชน์ใหญ่อย่างนี้.

จบทุติยปัพพตูปมสูตรที่ ๑๐

๑๑. ตติยปัพพตูปมสูตร

ว่าด้วยวางก้อนหิน ๗ ก้อนไว้ที่เขาสิเนรุ

[๓๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษพึงวางก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนไว้ที่ขุนเขาสิเนรุ เธอทั้งหลาย

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษ

วางไว้กับขุนเขาสิเนรุ ไหนจะมากกว่ากัน. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุนี้แหละมากกว่า ก้อนหินเท่าเมล็ด

ถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้มีประมาณน้อย ก้อนหินเท่าเมล็ดถั่วเขียว

๗ ก้อนที่บุรุษวางไว้เมื่อเทียบเข้ากับขุนเขาสิเนรุ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐

เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐ เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ แม้ฉันใด.

[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น

เหมือนกันแล การบรรลุคุณวิเศษแห่งอัญญเดียรถีย์สมณพราหมณ์และ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 405

ปริพาชก เมื่อเทียบกับการบรรลุโสดาปัตติมรรคแห่งบุคคลผู้เป็นพระ

อริยสาวก สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ ๑๐๐ เสี้ยวที่ ๑,๐๐๐

เสี้ยวที่ ๑๐๐,๐๐๐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ มีอธิคมใหญ่อย่างนี้ มี

อภิญญาใหญ่อย่างนี้.

จบตติยปัพพตูปมสูตรที่ ๑๑

จบอภิสมยวรรคที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร

๓. ปฐมสัมเภชอุทกสูตร ๔. ทุติยสัมเภชอุทกสูตร

๕. ปฐมปฐวีสูตร ๖. ทุติยปฐวีสูตร

๗. ปฐมสมุททสูตร ๘. ทุติยสมุททสูตร

๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร

๑๑. ตติยปัพพตูปมสูตร

จบอภิสมยสังยุตที่ ๑

อรรถกถาทุติยปฐวีสูตรที่ ๖ เป็นต้น

ในอรรถกถาทุติยปฐวีสูตรที่ ๖ เป็นต้น พึงทราบเนื้อความตามนัย

ที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่ในสูตรสุดท้าย บทว่า อญฺติตฺถิยสมณ-

พฺราหฺมณปริพฺพาชกาน อธิคโม ความว่า การบรรลุคุณทั้งหมดของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 406

พาหิรกชนยังไม่ถึงส่วน ๑๐๐ บ้าง ส่วน ๑,๐๐๐ บ้าง ส่วน ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง

ของผู้ที่บรรลุคุณทั้งหลายด้วยปฐมมรรคแล.

จบอรรถกถาทุติยปฐวีสูตรที่ ๖ เป็นต้น

จบอรรถกถาอภิสมยวรรคที่ ๑๐

จบอรรถกถาอภิสมยสังยุตที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 407

๒. ธาตุสังยุต

นานัตวรรคที่ ๑

๑. ธาตุสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ

[๓๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง

จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ

สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ

ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กาย-

วิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เราเรียกว่า

ความต่างแห่งธาตุ.

จบธาตุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 408

ธาตุสังยุต

นานัตตวรรคที่ ๑

อรรถกถาธาตุสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในธาตุสูตรที่ ๑ แห่งนานัตตวรรค ดังต่อไปนี้.

ความที่ธรรมมีสภาพต่างกัน ได้ชื่อว่า ธาตุ เพราะอรรถว่า เป็น

สภาวะ กล่าวคือมีอรรถว่ามิใช่สัตว์ และอรรถว่าเป็นของสูญ ดังนี้

ชื่อว่า ความต่างแห่งธาตุ. ในบทเป็นต้นว่า จกฺขุธาตุ ความว่า จักขุ-

ปสาท ชื่อว่า จักขุธาตุ, รูปารมณ์ ชื่อว่า รูปธาตุ, จิตที่มีจักขุปสาท

เป็นที่อาศัย ชื่อว่า จักขุวิญญาณธาตุ. โสตปสาท ชื่อว่า โสตธาตุ,

สัททารมณ์ ชื่อว่า สัททธาตุ, จิตที่มีโสตปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า

โสตวิญญาณธาตุ. ฆานปสาท ชื่อว่า ฆานธาตุ, คันธารมณ์ ชื่อว่า

คันธธาตุ, จิตที่มีฆานปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า ฆานวิญญาณธาตุ.

ชิวหาปสาท ชื่อว่า ชิวหาธาตุ, รสารมณ์ ชื่อว่า รสธาตุ, จิตที่มี

ชิวหาปสาทเป็นที่อาศัย ชื่อว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายปสาท ชื่อว่า

กายธาตุ, โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่า โผฏฐัพพธาตุ, จิตที่มีกายปสาทเป็น

ที่อาศัย ชื่อว่า กายวิญญาณธาตุ. มโนธาตุ ๓ ชื่อว่า มโนธาตุ,

ขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น สุขุมรูป และนิพพาน ชื่อว่า ธรรมธาตุ,

มโนวิญญาณ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ, ก็ในข้อนี้ ธาตุ

๑๖ อย่าง เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ ในที่สุดเป็นไปในภูมิ ๔.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 409

๒. สัมผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ

ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ.

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

จักขุธาตุ โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยฆานธาตุ ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ โผฏ-

ฐัพพสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายธาตุ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

มโนธาตุ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

อย่างนี้แล.

จบสัมผัสสสูตรที่ ๒

อรรถกถาสัมผัสสสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสัมผัสสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺต ได้แก่ผัสสะมีสภาพต่างกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 410

ย่อมเกิดขึ้น. ในผัสสะนั้น จักขุสัมผัสเป็นต้น ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ

เป็นต้น มโนสัมผัส ประกอบด้วยปฐมชวนะ ในมโนทวาร. เพราะ-

ฉะนั้น ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า บทว่า มโนธาตุ ปฏิจฺจ ได้แก่

ปฐมชวนะสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนทวาราวัชชนะ อันเป็นกิริยา-

มโนวิญญาณธาตุ.

จบอรรถกถาสัมผัสสสูตรที่ ๒.

๓. โนสัมผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง

แห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ความต่างแห่ง

ธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯ ล ฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่ง

ธาตุ.

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งผัสสะหามิได้ เป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

จักขุธาตุ จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้ ฯ ล ฯ มโน-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 411

สัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโน-

สัมผัสหามิได้ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ อย่างนี้

แล.

จบโนสัมผัสสสูตรที่ ๓

อรรถกถาโนสัมผัสสสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในโนสัมผัสสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า โน มโนสมฺผสส ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ มโนธาตุ พึง

เห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อาวัชชนะ กิริยามโนวิญญาณธาตุจะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยผัสสะที่ประกอบด้วยปฐมชวนะในมโนทวาร ก็หามิได้.

จบอรรถกถาโนสัมผัสสสูตรที่ ๓.

๔. เวทนาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับประอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง

เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 412

ไฉน จักขุธาตุ ฯ ล ฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งผัสสะ เป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ

จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยมโนสัมผัส ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้

แล.

จบเวทนาสูตรที่ ๔

อรรถกถาเวทนาสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ท่านอธิบายว่า ตั้งแต่สัมปฏิจ-

ฉันนมโนธาตุ เวทนาแม้ทั้งปวง พึงเป็นไปในทวารนั้น แต่การถือ

สัมปฏิจฉันนเวทนาในลำดับ เพื่อความสุกในการเกิด ก็ควร. บทว่า

มโนสมฺผสฺส ปฏิจฺจ มีอธิบายดังนี้ว่า ปฐมชวนะเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยอาวัชชนะสัมผัส ในมโนทวาร ทุติชวนะเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยปฐมชวนะสัมผัส ดังนี้แล.

จบอรรถกถาเวทนาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 413

๕. โนเวทนาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งเวทนา

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง

เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ก็ความต่างแห่งธาตุ

เป็นไฉน จักขุธาตุ ฯล ฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง

แห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ผัสสะหามิได้ เป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุ-

สัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนาหามิได้ จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

จักขุสัมผัสหามิได้ ฯ ล ฯ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโน-

สัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส มโนสัมผัสบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนาหามิได้ มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

มโนสัมผัสหามิได้ ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 414

อาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ

ต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

เวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ผัสสะหามิได้ อย่างนี้แล.

จบโนเวทนาสูตรที่ ๕

อรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในโนเวทนาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

ท่านแสดงนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรที่ ๓ และสูตรที่ ๔ รวมเป็น

อันเดียวกัน. ใน ๔ สูตรมีสูตรที่ ๒ เป็นต้น ท่านไม่ถือเอามโนธาตุว่า

มโนธาตุ แต่ถือเอามโนทวาราวัชชนะว่า มโนธาตุ. เมื่อท่านกล่าวอย่าง

นั้น ๆ ก็สูตรเหล่านั้นทั้งหมด ท่านแสดงตามอัธยาศัยของผู้รู้. แม้ใน

สูตรอื่นแต่นี้ ก็มีนัยนี้แล.

จบอรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ ๕

๖. พาหิรธาตุสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ

[๓๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 415

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ

โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

จบพาหิรธาตุสูตรที่ ๖

อรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ ๖

สวนในสูตรที่ ๖ ธาตุ ๕ เป็นกามาวจร ธรรมธาตุเป็นไปใน

ภิมิ ๔.

จบอรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ ๖

๗. สัญญาสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา

[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง

แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่ง

ฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ

ฯ ล ฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 416

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง

แห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ

เป็นไฉน รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยรูปสัญญา รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูป

ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยรูปปริฬาหะ ฯ ล ฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ

ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยธรรมสังกัปปะ ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม-

ฉันทะ ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความ

ต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่ง

ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะอย่างนี้แล.

จบสัญญาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปธาตุ ความว่า รูปารมณ์ มีการโพกผ้าสาฎกเป็นต้น

ของตนหรือของผู้อื่น ดำรงอยู่ในคลองจักษุ. บทว่า รูปสญฺา ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 417

รูปสัญญา ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า รูปสงฺกปฺโป ความว่า

ความดำริ ประกอบด้วยจิต ๓ ดวง มีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น. บทว่า

รูปฉนฺโท ได้แก่ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่า มีความพอใจในรูป.

บทว่า รูปปริฬาโห ได้แก่ ชื่อว่าปริฬาหะ เพราะอรรถว่า ตามเผา

ในรูป. บทว่า รูปปริเยสนา ความว่า เมื่อความเร่าร้อนเกิดขึ้น การพา

เอาเพื่อนเห็นและเพื่อนคบไปแล้ว แสวงหาเพื่อได้รูปนั้น. ส่วนในที่นี้

สัญญา สังกัปปะ และฉันทะ ได้ในชวนวาระเดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่าง

กันบ้าง. ส่วนปริฬาหะและปริเยสนา ได้ในชวนวาระต่างกันอย่างเดียว.

ในบทว่า เอว โข ภิกฺขเว ธาตุนานตฺต นี้ พึงทราบเนื้อความโดย

นัยนี้ว่า สัญญามีสภาพต่างกันมีรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยธาตุมีสภาพต่างกันมีรูปเป็นต้น.

จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗

๘. โนสัญญสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา

[๓๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง

แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯ ล ฯ ความต่าง

แห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 418

ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้ ความต่าง

แห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้ ความต่าง

แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้ ความต่าง

แห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่าง

แห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญามิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า

ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯ ล ฯ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯ ล ฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ธรรมธาตุ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ฯ ล ฯ

ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ ธรรมปริฬาหะบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาหามิได้ ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ธรรมปริฬาหะหามิได้ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 419

หามิได้ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะหามิได้ ธรรม-

ธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญาหามิได้ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯ ล ฯ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้ ฯลฯ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ อย่างนี้แล.

จบโนสัญญาสูตรที่ ๘

อรรถกถาโนสัญญาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีต่างกันเพียงปฏิเสธเท่านั้นมาแล้วอย่างนี้ว่า ธรรม

ปริฬาหะจะเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาก็หามิได้.

จบอรรถกถาโนสัญญาสูตรที่ ๘

๙. ผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความต่าง

แห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 420

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ

ต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯ ล ฯ ธรรม-

ธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯ ล ฯ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา

รูปผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ รูปสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้น

ขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัส รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชา-

เวทนา รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ รูปปริเยสนาบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ รูปลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริเยสนา

ฯ ล ฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ ธรรมสังกัปปะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ธรรมสังกัปปะ ธรรมสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะ

ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนา ธรรมปริฬาหะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 421

ธรรมปริฬาหะ ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาลัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯ ล ฯ

ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาอย่างนี้แล.

จบผัสสสูตรที่ ๙

อรรถกถาผัสสสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในผัสสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ รูปสญฺา ได้แก่ สัญญา ย่อมเกิดขึ้นใน

อารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า รูปสงฺกปฺโป ได้แก่ ความดำริ

ประกอบด้วยจิต ๓ ดวง ในอารมณ์นั้นแล. บทว่า รูปสมฺผสฺโส ได้แก่

ผัสสะอันถูกต้องอารมณ์นั้น ๆ. บทว่า เวทนา ได้แก่ เวทนาเมื่อเสวย

อารมณ์นั้นและ ธรรมมีฉันท์เป็นต้น มีนัยที่กล่าวแล้วแล. บทว่า

รูปลาโภ ความว่า อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา เรียกว่า

รูปลาภะ. นัยที่รวมไว้ทั้งหมดนี้ ครั้งแรก ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจ

ความเกิดขึ้นของธรรมทั้งปวง ในอารมณ์เดียวเท่านั้น. อีกนัยหนึ่งผสม

กับอารมณ์ที่จรมา. ครั้งแรก ธรรม ๔ เหล่านี้ คือ รูปสัญญา รูป-

สังกัปปะ ผัสสะ เวทนา มีอยู่ ในอารมณ์เป็นประจำสำหรับหน่วงเหนี่ยว

รูปไว้ จริงอยู่ อารมณ์ประจำ เป็นอารมณ์ น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก ย่อมปรากฏเหมือนมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. ส่วน

อารมณ์ที่จรมา ทำให้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่มีอยู่ ฟุ้งขึ้นตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 422

ในข้อนั้นมีเรื่องดังนี้ ได้ยินว่า บุตรอำมาตย์คนหนึ่ง อันคนอยู่

ในบ้านห้อมล้อมอยู่ท่ามกลางบ้าน ทำการงาน. ก็สมัยนั้น อุบาสิกาของเขา

ไปยังแม่น้ำ อาบน้ำเสร็จแล้ว ก็ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ อันหมู่นาง

พี่เลี้ยงแวดล้อม กลับไปเรือน. เขาเห็นแต่ไกล ให้เกิดความสำคัญขึ้นว่า

มาตุคามผู้เป็นแขกจักมี ดังนี้แล้ว จึงส่งบุรุษไป ด้วยกล่าวว่า แน่ะพนาย

ท่านจงไป จงรู้หญิงนั่นเป็นใคร. เขาไปเห็นหญิงนั้นแล้วกลับมา ถูก

ถามว่า หญิงนั่นเป็นใครเล่า จึงบอกตามความเป็นจริง อารมณ์ที่จรมา

ย่อมฟุ้งขึ้นอย่างนี้ ความพอใจที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ชื่อว่ารูปฉันทะ.

ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น เพราะทำรูปฉันทะนั้นแลให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า

รูปปริฬาหะ. การพาเอาเพื่อนไปแสวงหารูปนั้น ชื่อว่ารูปปริเยสนา.

อารมณ์ อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่าลาภะ.

ฝ่ายพระจุฬติสสเถระผู้อยู่ในอุรุเวลา กล่าวว่า ผัสสะและเวทนาพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาในท่ามกลาง ตามลำดับ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น

แต่เมื่อเปลี่ยนลำดับ สัญญา ที่เกิดขึ้นในอารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว

ชื่อว่ารูปสัญญา. ความดำริในรูปนั้นแล ชื่อว่ารูปสังกัปปะ. ความ

พอใจในรูปสังกัปปะนั้น ชื่อว่ารูปฉันทะ. ความเร่าร้อนในรูปฉันทะ

นั้น ชื่อว่ารูปปริฬาหะ. การแสวงหาในรูปปริฬาหะนั้น ชื่อว่ารูป-

ปริเยสนา. อารมณ์อันตนแสวงหาได้ พร้อมด้วยตัณหา ชื่อว่ารูปราคะ

ส่วนการถูกต้องในอารมณ์ที่ได้แล้วอย่างนี้ ชื่อว่าผัสสะ. การเสวย ชื่อว่า

เวทนา. เขาย่อมได้ธรรมสองหมวดนี้คือ รูปผัสสะ และรูปสัมผัสสชา-

เวทนา. คนทั้งหลายถือเอาอารมณ์ ชื่อวาระแห่งอารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัด แม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 423

อื่นอีก. จริงอยู่ อารมณ์ (คือรูป ) ที่เขาวางล้อมไว้ด้วยม่านและกำแพง

หรือว่าปิดบังได้ด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น. เมื่อแลดูอารมณ์นั้นอยู่คิดว่า

รูปอารมณ์นั้นอันเราเห็นแล้วครั้งหนึ่ง เราไม่เห็นรูปอารมณ์ชัด สัญญา

ที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ชื่อว่ารูปสัญญา. ความดำริเป็นต้นที่เกิดขึ้นในรูป

นั้นแล พึงทราบว่า ชื่อว่ารูปสังกัปปะ ความดำริในรูปเป็นต้นดังนี้. อนึ่ง

ในอารมณ์นี้ สัญญา สังกัปปะ ผัสสะ เวทนา ฉันทะ ได้ในชวนวาระ

เดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่างกันบ้าง. ปริฬาหะ ปริเยสนา ลาภะ ได้

ในชวนวาระต่างกันเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาผัสสสูตรที่ ๙

๑๐. โนผัสสสูตร

ว่าด้วยความต่างแห่งผัสสะ

[๓๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่าง

แห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่ง

เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 424

เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งลาภะหามิได้ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งฉันทะหามิได้ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งสัญญาหามิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุ

เป็นไฉน รูปธาตุ ฯ ล ฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ

ต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา

ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ ความ

ต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่าง

แห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา ความต่างแห่ง

ปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะหามิได้ ความต่างแห่ง

ฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้ ความต่างแห่ง

เวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้ ความต่างแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 425

ผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่ง

สัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่ง

ธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ เป็นไฉน รูปสัญญา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ธรรมธาตุ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ฯลฯ ธรรม

ปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยธรรมปริเยสนา ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมลาภะ

หามิได้ ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาหามิได้ ธรรม

ปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาหามิได้ ธรรมฉันทะบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะหามิได้ ธรรมสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยธรรมฉันทะหามิได้ ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม

สัมผัสสชาเวทนาหามิได้ ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม

สัมผัสสะหามิได้ ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะหามิได้

ธรรมธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญาหามิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง

แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งผัสสะ

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความต่างแห่งฉันทะ ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่าง

แห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ปริเยสนา ความต่างแห่งปริเวสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 426

หามิได้ ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริ-

เยสนาหามิได้ ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ปริฬาหะหามิได้ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ฉันทะหามิได้ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

เวทนาหามิได้ ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

ผัสสะหามิได้ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

สังกัปปะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง

สัญญาหามิได้ อย่างนี้แล.

จบโนผัสสสูตรที่ ๑๐

จบนานัตตวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ธาตุสูตร ๒. สัมผัสสสูตร ๓. โนสัมผัสสสูตร

๔. เวทนาสูตร ๕. โนเวทนาสูตร ๖. พาหิรธาตุสูตร

๗. สัญญาสูตร ๘. โนสัญญาสูตร ๙. ผัสสสูตร

๑๐. โนผัสสสูตร.

อรรถกถาโนผัสสสูตรที่ ๑๐

ในผัสสสูตรที่ ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบนานัตตวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 427

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. สัตติมสูตร

ว่าด้วยธาตุ ๗ ประการ

[๓๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ

เหล่านี้มี ๗ ประการ ธาตุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อาภาธาตุ สุภา-

ธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ

เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธาตุ ๗ ประการเหล่านี้แล. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญจายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ

อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ และสัญญาเวทยิต-

นิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง อาศัยอะไรจึงปรากฏได้.

[๓๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ อาภาธาตุ

อาศัยความมืดจึงปรากฏได้ สุภาธาตุอาศัยความไม่งามจึงปรากฏได้

อากาสานัญจายตนธาตุอาศัยรูปจึงปรากฏได้ วิญญาณัญจายตนธาตุอาศัย

อากาสานัญจายตนะจึงปรากฏได้ อากิญจัญญายตนธาตุอาศัยวิญญาณัญ-

จายตนะจึงปรากฏได้ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุอาศัยอากิญจัญญายตนะ

จึงปรากฏได้ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุอาศัยนิโรธจึงปรากฏได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 428

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญ-

จายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ เนวสัญญา-

นาสัญญายตนธาตุ สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านี้แต่ละอย่าง

บุคคลพึงเข้าถึงสมาบัติอย่างไร.

[๓๕๔] พ. ดูก่อนภิกษุ อาภาธาตุ สุภาธาตุ อากาสานัญ-

จายตนธาตุ วิญญาณัญจายตนธาตุ อากิญจัญญายตนธาตุ ธาตุเหล่านี้

แต่ละอย่าง บุคคลพึงเข้าถึงสัญญาสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนธาตุ

บุคคลพึงเข้าถึงสังขาราวเสสสนาบัติ. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ บุคคลพึง

เข้าถึงนิโรธธาต บุคคลพึงเข้าถึงนิโรธสมาบัติ.

จบสัตติมสูตรที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรกถาสัตติมสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสัตติมสูตรที่ ๑ แห่งทุติยวรรค.

บทว่า อาภาธาตุ ได้แก่อาโลกธาตุ. คำนั้น เป็นชื่อของอาโลก

คือฌานที่เกิดขึ้นเพราะทำบริกรรมในอาโลกกสิณ มีปีติเป็นอารมณ์.

บทว่า สุภาธาตุ ความว่า ฌานพร้อมด้วยอารมณ์ ด้วยอำนาจฌาน

ที่เกิดขึ้นในสุภกสิณ. อากาสานัญจายตนะแล ชื่อว่าอากาสานัญจายตน-

ธาตุ. สัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าสัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อประทานโอกาสแก่ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิ นั่งแล้วใน

ที่นั้น ประสงค์จะถามปัญหา จึงยังเทศนาให้จบลง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 429

บทว่า อนฺธการ ปฏิจฺจ ความว่า ก็ความมืด กำหนดแล้ว

ด้วยแสงสว่าง ถึงแสงสว่าง ก็กำหนดแล้วด้วยความมืด ก็แสงสว่างนั้น

ปรากฏได้ด้วยความมืด เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

อาภาธาตุ เพราะอาศัยความมืด จึงปรากฏได้. ในบทนี้ว่า อสุภ ปฏิจฺจ

ก็มีนัยนี้แล. ก็ความไม่งาม กำหมดแล้วด้วยความงาม และความงาม

กำหนดแล้วด้วยความไม่งาม เมื่อความไม่งามมีอยู่ ความงามก็ปรากฏ

ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า รูป

ปฏิจฺจ ได้แก่อาศัยรูปาวจรสมาบัติ. เพราะว่า เมื่อรูปาวจรสมาบัติ มีอยู่

ชื่อว่าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมมีได้ หรือความก้าวล่วงรูปก็มี

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ . แม้ในวิญญาณัญจายตน-

ธาตุเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. บทว่า นิโรธ ปฏิจฺจ ความว่า อาศัย

ความไม่เป็นไปซึ่งการพิจารณาขันธ์ ๔ ชื่อว่านิโรธสมาบัติ เพราะอาศัย

ความดับแห่งขันธ์ จึงปรากฏได้ อาศัยความเป็นไปแห่งขันธ์ ปรากฏ

ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ก็ในที่นี้

ความดับแห่งขันธ์ ๔ พึงทราบว่า นิโรธสมาบัติ. บทว่า กถ สมาปตฺติ

ปตฺตพฺพา ความว่า บุคคลพึงเข้าถึงสมาบัติอย่างไร คือสมาบัติเช่นไร.

บทว่า สญฺาสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ความว่า บุคคลพึงเข้าถึงสัญญา

สมาบัติ ชื่อว่าสัญญาสมาบัติ เพราะมีสัญญา. บทว่า สงฺขาราวเสสสมาปตฺต

ปตฺตพฺพา ความว่า บุคคลพึงเข้าถึงสังขาราวเสสสมาบัติ เพราะสังขาร

อันละเอียดยังเหลืออยู่. บทว่า นิโรธสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ความว่า

นิโรธนั่นแหละ ชื่อว่านิโรธสมาบัติ พึงเข้าถึงนิโรธสมาบัติ.

จบอรรถกถาสัตติมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 430

๒. สนิทานสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

[๓๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น พยาบาทวิตกย่อม

มีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น

มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น.

[๓๕๖] ก็กามวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น

พยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น วิหิงสาวิตก

ย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น. อย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ ความดำริในกามบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยกามสัญญา ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริ

ในกาม ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม

การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะกาม ปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา

ใจ. พยาบาทสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะพยาบาทธาตุ ความดำริในพยาบาท

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยพยาบาทสัญญา ความพอใจในพยาบาทบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความดำริในพยาบาท ความเร่าร้อนเพราะพยาบาทบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยความพอใจในพยาบาท การแสวงหาพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยความเร่าร้อนเพราะพยาบาท ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 431

พยาบาท ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ. วิหิงสาสัญญา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิหิงสาธาตุ ความดำริในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพรา ะ

อาศัยวิหิงสาสัญญา ความพอใจในวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริ

ในวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจใน

วิหิงสา การแสวงหาวิหิงสาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยควานเร่าร้อนเพราะ

วิหิงสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เมื่อแสวงหาวิหิงสา

ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ.

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วในป่า

หญ้าแห้ง ถ้าหากเขาไม่รีบดับด้วยมือและเท้าไซร้ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตว์

มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ พึงถึงความพินาศฉิบหาย

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่รีบละ ไม่รีบบรรเทา ไม่รีบทำให้สิ้นสุด ไม่รีบ

ทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว สมณะหรือพราหมณ์

นั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความอึดอัด คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบัน

เบื้องหน้าแต่มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังทุคติได้.

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น

มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อัพยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุ

บังเกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น.

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เนกขัมมวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น

มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น อัพยาบาทวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุ

บังเกิดขึ้น อวิหิงสาวิตกย่อมมีเหตุบังเกิดขึ้น มิใช่ไม่มีเหตุบังเกิดขึ้น

อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย เนกขัมมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 432

ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมสัญญา ความพอใจใน

เนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ ความเร่าร้อน

เพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ การแสวง

หาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ อริย-

สาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓

คือ กาย วาจา ใจ อัพยาบาทสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ

ความดำริในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทสัญญา ความพอใจ

ในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอัพยาบาท ความเร่าร้อน

เพราะอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอัพยาบาท การแสวง

หาในอัพยาบาทบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอัพยาบาท อริย-

สาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอัพยาบาท ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ

กาย วาจา ใจ อวิหิงสาสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุ ความ

ดำริในอวิหิงสาเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาสัญญา ความพอใจในอวิหิงสา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในอวิหิงสา ความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในอวิหิงสา การแสวงหาในอวิหิงสา

บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะอวิหิงสา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาอวิหิงสา ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓

คือ กาย วาจา ใจ.

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงวางคบหญ้าที่ไฟติดแล้วใน

ป่าหญ้าแห้ง เขาจึงรีบดับคบนั้นเสียด้วยมือและเท้า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้

สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย บรรดาที่อาศัยหญ้าและไม้อยู่ ไม่พึงถึงความพินาศ

ฉิบหาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์คนใดคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 433

หนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รีบละ รีบบรรเทา รีบทำให้หมด รีบทำให้

ไม่มีซึ่งอกุศลสัญญาที่ก่อกวนอันบังเกิดขึ้นแล้ว เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มี

ความอึดอัด ความคับแค้น ความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เบื้องหน้าแต่

มรณะ เพราะกายแตก พึงหวังสุคติได้.

จบสนิทานสูตรที่ ๒

อรรถกถาสนิทานสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสนิทานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สนิทาน นั่น เป็นภาวนปุงสกลิงค์ อธิบายว่า มีเหตุ

มีปัจจัยเกิดขึ้น. ในบทว่า กามธาตุ ภิกฺขเว ปฏิจฺจ นี้ กามวิตกก็ดี

กามาวจรธรรมก็ดี ชื่อว่า กามธาตุ โดยแปลกกัน ก็เป็นอกุศลทั้งหมด

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน.

ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแนบแน่น ความบ่นถึง ความ

ยกขึ้นแห่งจิต ความดำริผิด อันประกอบด้วยกาม นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

เบื้องต่ำทำอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องบนทำปรนิมมิตวสวัตตีเทพเป็นที่สุด

ที่ท่องเที่ยวไปภายในสถานที่นี้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ อันนับเนื่องในสถานที่นี้ นี้ท่านเรียกว่า กามธาตุ.

อกุศลธรรม แม้ทั้งปวง ชื่อว่า กามธาตุ ดังนี้ . ในข้อนี้ มีถ้อยคำ ๒ อย่าง

คือ รวมกันทั้งหมด (และ) แยกกัน. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ถ้อยคำนี้ว่า

ก็พยาบาทธาตุ และวิหิงสาธาตุ เป็นธรรมที่ท่านถือเอาแล้วด้วยกามธาตุ

ศัพท์อย่างเดียว ชื่อว่า รวมกันทั้งหมด. ส่วนถ้อยคำนี้ว่า ธรรมที่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 434

เป็นกามธาตุ ชื่อว่า แยกกัน เพราะธาตุทั้งสองเหล่านั้นมาแล้วแผนกหนึ่ง.

ในข้อนี้ ควรถือเอาถ้อยคำนี้. ชื่อว่า กามสัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย

กามธาตุนี้ ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ หรือด้วยอำนาจการประกอบพร้อม

(สัมปโยค). บทว่า กามสญฺ ปฏิจฺจ ความว่า ชื่อว่า ความดำริในกาม

ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามสัญญา ด้วยอำนาจประกอบพร้อม (สัมปโยค)

หรือด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย. เนื้อความในบททั้งปวง ก็พึงทราบโดยนัย

นี้แล.

บทว่า ตีหิ าเนหิ แปลว่า ด้วยเหตุ ๓ อย่าง. บทว่า มิจฺฉา

ปฏิปชฺชติ ความว่า ดำเนินตามปฏิปทาที่ไม่เป็นจริง คือข้อปฏิบัติที่ไม่

นำออกจากทุกข์. ในบทว่า พฺยาปาทธาตุ ภิกฺขเว นี้ พยาบาทวิตกก็ดี

พยาบาทก็ดี เป็นพยาบาทธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ใน

ธรรมเหล่านั้น พยาบาทธาตุเป็นไฉน ความตรึก ความวิตก ประกอบ

ด้วยพยาบาท ฯ ล ฯ นี้ท่านเรียกว่า พยาบาทธาตุ. ความอาฆาต ความ

โกรธตอบ ความโกรธ ความโกรธเคือง ของจิตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ฯ ล ฯ

ความที่จิตไม่พอใจ น ท่านเรียกว่า พยาบาทธา ุ. ชื่อพ า.บาทสั ญา

ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาลัยพยาบาทธาตุนี้ ด้วยอำนาจสหชาติปัจจัยเป็นต้น.

คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

ในบทว่า วิหึสาธาตุ ภิกฺขเว นี้ วิหิงสาวิตกก็ดี วิหิงสาก็ดี

เป็นวิหิงสาธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น

วิหิงสาธาตุเป็นไฉน. ความตรึก ความวิตก ที่ประกอบด้วยวิหิงสา ฯ ล ฯ

นี้ท่านเรียกว่า วิหิงสาธาตุ. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์

ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 435

เชือกบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง การโบย การทำให้ลำบาก การเบียดเบียน

การบีบคั้น การโกรธ การเข้าไปฆ่าผู้อื่น นี้ท่านเรียกว่า วิหิงสาธาตุ.

ชื่อวิหิงสาสัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิหิงสาธาตุนี้ ด้วยอำนาจ

สหชาตปัจจัยเป็นต้น. คำที่เหลือแม้ในบทนี้ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

บทว่า ติณทาเย ได้แก่ ในป่าคือป่าหญ้า. บทว่า อนยพฺยสน

ได้แก่ ความไม่เจริญ คือพินาศ. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ความว่า

พึงเห็นอารมณ์ เหมือนป่าหญ้าแห้ง อกุศลสัญญา เหมือนคบเพลิงหญ้า

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ เหมือนสัตว์มีชีวิตอาศัยหญ้าและใบไม้ เมื่อเขาไม่

พยายามรีบดับคบเพลิงหญ้า ที่ตั้งไว้ในป่าหญ้าแห้ง สัตว์มีชีวิตเหล่านั้น

ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่ละ

อกุศลสัญญาที่เกิดขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน ตทังคปหาน สมุจเฉทปหาน

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมอยู่เป็นทุกข์ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า

วิสมคต ความว่า อกุศลสัญญา ตกเข้าไปสู่อารมณ์ที่รบกวนเพราะราคะ

เป็นต้น. บทว่า น ขิปฺปเมว ปชหติ ได้แก่ ไม่รีบละเสีย ด้วยอำนาจ

วิกขัมภนะเป็นต้น. บทว่า น วิโนเทติ ได้แก่ ไม่นำออกเสีย. บทว่า

น พฺยนฺตีกโรติ ได้แก่ กระทำอกุศลสัญญานั้น ให้หมดสิ้นโดยไม่เหลือ

แม้สักว่า ภังคขณะ. บทว่า น อนภาซ คเมติ ได้แก่ ไม่ให้ถึงความไม่มี.

น อักษรพึงนำมาใช้ในทุกบทอย่างนี้. บทว่า ปาฏิกงฺขา ได้แก่พึงหวัง

คือ ปรารถนา.

ในบทว่า เนกฺขมฺมธาต ภิกฺขเว นี้ เนกขัมมวิตกก็ดี กุศลธรรม

ทั้งปวงก็ดี เป็นเนกขัมมธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรม

เหล่านั้น เนกขัมมธาตุเป็นไฉน. ความตรึก ความวิตกที่ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 436

เนกขัมมะ ฯ ล ฯ สัมมาสังกัปปะนี้ท่านเรียกว่า เนกขัมมธาตุ . แม้ในข้อนี้

ก็มีถ้อยคำ ๒ อย่าง ก็ธาตุทั้งสองนอกนี้ ย่อมถือเอาด้วยเนกขัมมธาตุศัพท์

เพราะนับเนื่องในกุศลธรรม นี้ชื่อว่ารวมกันทั้งหมด ส่วนธาตุเหล่านั้น

พึงแสดงไว้ต่างหาก กุศลทั้งปวงที่เหลือ เว้นธาตุเหล่านั้นเสีย เป็นเนกขัมม-

ธาตุ เพราะฉะนั้น เนกขัมมธาตุนี้ จึงไม่แยกกัน. ชื่อเนกขัมมสัญญาย่อม

เกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมาธาตุนี้ ด้วยอำนาจแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น.

ธรรมมีวิตกเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยสัญญาเป็นต้น ตามสมควร.

ในบทว่า อพฺยาปาทธาตุ ภิกฺขเว นี้ อัพยาบาทวิตกก็ดี อัพยาบาท

ก็ดี เป็นอัพยาบาทธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น

อัพยาบาทธาตุเป็นไฉน. ความตรึก ที่ประกอบด้วยอัพยาบาท ฯ ล ฯ นี้

ท่านเรียกว่า อัพยาบาทธาตุ. ความรัก ความมีไมตรีต่อกัน ความปรารถนา

ให้ผู้อื่นมีความสุขในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ท่านเรียกว่า

อัพยาบาทธาตุ. ชื่ออัพยาบาทสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยาบาทธาตุ

นี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

แม้ในบทว่า อวิหึสาธาตุ ภิกฺขเว นี้ อวิหิงสาวิตกก็ดี กรุณาก็ดี

เป็นอวิหิงสาธาตุ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ในธรรมเหล่านั้น

อวิหิงสาธาตุเป็นไฉน. ความตรึกที่ประกอบด้วยอวิหิงสา ฯ ล ฯ นี้ท่าน

เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. ความกรุณา ความสงสาร การช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์

ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้ท่านเรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. ชื่อ

อวิหิงสาสัญญาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยอวิหิงสาธาตุนี้ โดยนัยที่กล่าว

แล้วแล. คำที่เหลือ พึงทราบตามแนวที่กล่าวแล้วในบททั้งปวงแล.

จบอรรถกถาสนิทานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 437

๓. คิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยสัญญา ทิฏฐิ วิตกเป็นต้น

[๓๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระตำหนัก

ที่สร้างด้วยอิฐ ใกล้หมู่บ้านของพระญาติ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ ทิฏฐิบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยธาตุ วิตกบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ.

[๓๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

กิจจานะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิ

ที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธะ ในบุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้

ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร.

[๓๖๓] พ. ดูก่อนกัจจานะ ธาตุคืออวิชชานี้ เป็นธาตุใหญ่แล

ดูก่อนกัจจานะ สัญญาที่เลว ทิฏฐิที่เลว วิตกที่เลว เจตนาที่เลว ความ

ปรารถนาที่เลว ความตั้งใจที่เลว บุคคลที่เลว วาจาที่เลว บังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยธาตุที่เลว บุคคลที่เลวนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ

ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่เลว

เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่เลวนั้น ย่อมเลว ดูก่อนกัจจานะ สัญญา

ที่ปานกลาง ทิฏฐิที่ปานกลาง วิตกที่ปานกลาง เจตนาที่ปานกลาง ความ

ปรารถนาที่ปานกลาง ความตั้งใจที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลาง วาจา

ที่ปานกลาง บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุที่ปานกลาง บุคคลที่ปานกลางนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 438

ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก

ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ปานกลาง เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ปาน

กลางนั้น เป็นปานกลาง ดูก่อนกัจจานะ สัญญาที่ประณีต ทิฏฐิที่ประณีต

วิตกที่ประณีต เจตนาที่ประณีต ความปรารถนาที่ประณีต ความตั้งใจ

ที่ประณีต บุคคลที่ประณีต วาจาที่ประณีต บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุ

ที่ประณีต บุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อม

แต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมทำให้ตื้น ซึ่งธรรมที่ประณีต

เรากล่าวว่า อุปบัติของบุคคลที่ประณีตนั้น ย่อมประณีต.

จบคิญชกาวสถสูตรที่ ๓

อรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในคิญชกาวสถสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ธาตุ ภิกฺขเว ท่านแสดงว่า ธาตุคืออัธยาศัยจำเดิมแต่นี้.

บทว่า อุปฺปชฺชติ สญฺา ความว่า สัญญา ย่อมเกิดขึ้น อัธยาศัย

ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิตก ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย. แม้ในที่นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เพื่อให้โอกาสแก่

กัจจานะนั้นด้วยพระดำริว่า กัจจานะจักถามปัญหา ดังนี้. บทว่า อสมฺมา-

สมฺพุทเธสุ ได้แก่ ในครูทั้งหก. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธา ความว่า เราเป็น

พระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ. บทว่า กึ ปฏิจฺจ

ปญฺายติ กัจจานะถามทิฏฐิที่เกิดขึ้นแก่ครูทั้งหลายว่า เมื่ออะไรมี

ทิฏฐิจึงมี จึงถามทิฏฐิแม้ของสาวกเดียรถีย์ ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระ-

สัมมาสัมพุทธเหล่านั้น ในบุคคลที่มิใช่พระสัมมาสัมพุทธะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 439

บัดนี้ เพราะสาวกเดียรถีย์เหล่านั้นมีทิฏฐิ เพราะอาศัยธาตุคือ

อวิชชา ก็ธาตุใหญ่ ชื่อว่า ธาตุคืออวิชชา ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงอาศัยธาตุใหญ่ ทรงแสดงความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐินั้น จึงตรัสพระ

ดำรัสเป็นต้นว่า มหตี โข เอสา. บทว่า หีน กจฺจาน ธาตุ ปฏิจฺจ

ได้แก่ อาศัยอัธยาศัยเลว. บทว่า ปณิธิ แปลว่า ความตั้งจิต. ก็ความ

ตั้งจิตนี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปรารถนาความเป็นหญิง หรือความ

เป็นดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น. บทว่า หีโน ปุคฺคโล ความว่า ธรรมเลว

เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลใด แม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่าเลว. บทว่า

หีนา วาจา ความว่า วาจาใด เป็นวาจาของบุคคลนั้น แม้วาจานั้น

ก็จัดว่าเลว. บทว่า หีน อาจิกฺขติ พึงประกอบบททุกบทว่า บุคคล

นั้นแม้เมื่อบอก ก็บอกแต่สิ่งที่เลวเท่านั้น แม้เมื่อแสดง ก็แสดงแต่สิ่งที่

เลวเท่านั้น. บทว่า อุปปตฺติ ได้แก่ อุปบัติ ๒ อย่างคือ การได้เฉพาะ และ

การเกิด. การเกิด พึงทราบด้วยอำนาจกุศลที่เลวเป็นต้น การได้เฉพาะ พึง

ทราบด้วยอำนาจความเลว ๓ หมวด ในขณะจิตตุปบาท. ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า ก็เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ ๕ ตระกูล ชื่อว่า การเกิดที่เลว

เพราะเกิดในตระกูลแพศย์และศูทร ชื่อว่า ปานกลาง เพราะเกิดใน

ตระกูลกษัตริย์และพราหมณ์ ชื่อว่าประณีต. ก็เพราะได้เฉพาะอกุศล

จิตตุปบาท ๑๒ ดวง ชื่อว่า การได้ที่เลว เพราะการได้ธรรมที่เป็นไป

ในภูมิ ๓ ชื่อว่า ปานกลาง เพราะได้โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ประณีต

ส่วนในที่นี้ประสงค์เอาการเกิดอย่างเดียว.

จบอรรถกถาคิญชากาวสถสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 440

๔. หีนาธิมุตติสูตร

ว่าด้วยสัตว์มีอัธยาศัยเลวและอัธยาศัยดี

[๓๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่

มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

อัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคม

กันแล้ว โดยธาตุเที่ยว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ใน

อนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว

คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้า

กัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่

มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

จบหีนาธิมุตติสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 441

อรรถกถาหีนาธิมุตติสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในหีนาธิมุตติสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้

บทว่า สสนฺทนฺติ แปลว่า เป็นพวกเดียวกัน. บทว่า สเมนฺติ

ได้แก่ ย่อมสมาคมกัน คือเป็นนิรันดร. บทว่า หีนาธิมุตฺติกา แปลว่า

มีอัธยาศัยเลว. บทว่า กลฺยาณาธิมุตฺติกา แปลว่า มีอัธยาศัยดี.

จบอรรถกถาหีนาธิมุตติสูตรที่ ๔

๕. จังกมสูตร

ว่าด้วยการจงกรมของภิกษุหลายรูป

[๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ

กรุงราชคฤห์. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรจงกรมอยู่ด้วยกันกับ

ภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

พระมหากัสสปก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้-

มีพระภาคเจ้า ท่านพระอนุรุทธก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปใน

ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรก็จงกรมอยู่ด้วย

กันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระอุบาลีก็

จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

พระอานนท์ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลาบรูปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แม้พระเทวทัตก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปในที่ไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 442

[๓๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นสารีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับ

ภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีปัญญามาก พวก

เธอเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีฤทธิ์มาก พวกเธอเห็นมหากัสสปกำลัง

จงกรมอยู่ด้วยกัน กับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธุตวาท พวกเธอเห็นอนุรุทธกำลัง

จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้มีทิพยจักษุ พวกเธอเห็นปุณณ-

มันตานีบุตรกำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นธรรมกถึก พวกเธอเห็นอุบาลีกำลัง

จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นผู้ทรงวินัย พวกเธอเห็นอานนท์

กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 443

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นพหูสูต พวกเธอเห็นเทวทัตกำลัง

จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูปหรือไม่.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก.

[๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีต

กาล สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้ว โดยธาตุเทียว

คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ไค้คบค้ากันแล้ว ได้สมาคมกันแล้วกับ

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ได้คบค้ากันแล้ว

ได้สมาคมกันแล้วกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอนาคตกาล สัตว์

ทั้งหลายก็จักคบค้ากัน จักสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มี

อัธยาศัยเลว จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว

สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี จักคบค้ากัน จักสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

อัธยาศัยดี แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม

กัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว สัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

จบจังกมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 444

อรรถกถาจังกมสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปสฺสถ โน แปลว่า ท่านเห็นหรือไม่. บทว่า สพฺเพ

โข เอเต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระสารีบุตรเถระ

ไว้ในเอตทัคคะ ในบรรดาภิกษุผู้มีปัญญาว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปัญญามาก คือพระสารีบุตร เป็นยอด. พวก

ภิกษุผู้มีปัญญามาก ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถาม

ปัญหาอันลึกซึ้ง ที่กำจัดไตรลักษณะได้แล้ว ในลำดับขันธ์ ธาตุ อายตนะ

สติปัฏฐาน และโพธิปักขิยธรรม ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น

ย่อมตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้วแก่พวกภิกษุเหล่านั้น เหมือน

แผ่ซึ่งแผ่นดิน เหมือนยกทรายจากเชิงภูเขาสิเนรุ เหมือนทำลายภูเขา

จักรวาล เหมือนยกภูเขาสิเนรุขึ้น เหมือนขยายอากาศให้กว้างขวาง เเละ

เหมือนให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู มหปญฺา"

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งพระมหาโมคคัลลานะไว้ในเอตทัคคะ

ในบรรดาภิกษุผู้มีฤทธิ์ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา

ผู้มีฤทธิ์ คือโมคคัลลานะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้มีฤทธิ์ ย่อมห้อมล้อม

พระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งบริกรรม อานิสงส์ อธิษฐาน

การกระทำต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ตอบปัญหาที่เขา

ถามแล้วและถามแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วแล. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 445

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว

ภิกฺขู มหิทฺธิกา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระมหากัสสปะไว้ในเอตทัคคะ

ในบรรดาภิกษุผู้ธุตวาทะว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา

ผู้เป็นธุตวาทะ คือมหากัสสปะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ธุตวาทะ ย่อม

ห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งการบริหารธุดงค์ อานิสงส์

การสมาทาน การอธิษฐาน ความต่างกัน ด้วยประการฉะนี้. แม้พระ

เถระนั้น ได้ตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้ว ให้แจ่มแจ้งอย่าง

นั้นเหมือนกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู ธุตวาทา" ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระอนุรุทเถระไว้ในเอตทัคคะ

ในบรรดาภิกษุผู้มีทิพยจักษุว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สาวก

ของเรา ผู้มีทิพยจักษุ คืออนุรุทธะ เป็นยอด. พวกภิกษุผู้มีทิพยจักษุ

ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามซึ่งบริกรรม อานิสงส์

อุปกิเลสของภิกษุผู้มีทิพยจักษุด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ย่อม

ตอบปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต

ภิกฺขเว ภิกฺขู ทิพฺพจกฺขุกา" ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระปุณณเถระไว้ในเอตทัคคะใน

บรรดาภิกษุผู้เป็นพระธรรมกถึกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา

ผู้ธรรมกถึก คือปุณณมันตานีบุตร เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ธรรมกถึก ย่อม

ห้อมล้อมพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามอาการนั้น ๆ ในความย่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 446

พิสดาร ยากง่าย และ ถ้อยคำไพเราะเป็นต้น แห่งธรรมกถาด้วยประการ

ฉะนี้ แม้พระเถระนั้น ย่อมบอกนัยธรรมกถานั้น อย่างนี้ แก่ภิกษุ

เหล่านั้นว่า ผู้มีอายุ ธรรมดาพระธรรมกถึก ควรเริ่มต้นการพรรณนาคุณ

บริษัท ในท่ามกลางควรประกาศสุญญตธรรม ที่สุดควรถือเอายอดด้วย

อำนาจสัจจะ ๔ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข

เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู ธมฺมกถิกา" ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดังแม้พระอุบาลีเถระไว้ในเอตทัคคะ

ในบรรดาภิกษุผู้ทรงวินัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา

ผู้ทรงวินัย คืออุบาลี เป็นยอด. พวกภิกษุผู้ทรงวินัย ย่อมห้อมล้อมพระเถระ

นั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามอาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติแก้ไขได้ แก้ไข

ไม่ได้ อาบัติและอนาบัติด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ย่อมตอบ

ปัญหาที่เขาถามแล้วและถามแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต

ภิกฺขเว ภิกฺขู วินยธรา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม้พระอานนทเถระไว้ในเอตทัคคะใน

บรรดาภิกษุผู้พหูสูตว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสาวกของเรา ผู้พหูสูต

คืออานนท์ เป็นยอด. พวกภิกษุพหูสูต ย่อมห้อมล้อมพระเถระนั้น

ด้วยคิดว่า เราจักถามความรู้ในพยัญชนะ ๑๐ อย่าง เหตุเกิด อนุสนธิ

เบื้องต้นและเบื้องปลายด้วยประการฉะนี้. แม้พระเถระนั้น ก็บอกเรื่อง

ทั้งปวงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า นี้ควรว่าอย่างนี้ นี้ควรถือเอาอย่างนี้. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว

ภิกฺขุ พหุสฺสุตา" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 447

ส่วนเทวทัตปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ. เพราะเหตุนั้น

พวกภิกษุผู้ปรารถนาลามก ห้อมล้อมเทวทัตนั้น ด้วยคิดว่า เราจักถามการ

ปกครอง เพื่อการสงเคราะห์ตระกูล ความหลอกลวงมีประการต่าง ๆ กัน.

แม้เทวทัตนั้น ก็บอกการกำหนดนั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สพฺเพ โข เอเต ภิกฺขเว ภิกฺขู

ปาปิจฺฉา ดังนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ภิกษุเหล่านั้น จงกรมแล้ว

ในที่ไม่ไกล. ตอบว่า เพื่อถือการอารักขาว่า เทวทัต คิดร้ายในพระ

ศาสดา พยายามจะทำความฉิบทายมิใช่ประโยชน์. ถามว่า ครั้งนั้น เทวทัต

จงกรมแล้ว เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อปกปิดโทษอันตนกระทำแล้ว เป็น

เหตุให้ผู้อื่นรู้ว่า ผู้นี้ไม่ทำ ถ้าทำเขาก็ไม่มา ณ ที่นี้. ถามว่า ก็เทวทัต

เป็นผู้สามารถเพื่อจะทำความเสียหายต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้หรือ หน้าที่

ต้องอารักขาพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ. ตอบว่า ไม่มี. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ ข้อที่ตถาคต พึงปรินิพพาน

ด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสจะมีได้. ส่วน

ภิกษุทั้งหลายมาแล้วด้วยความเคารพในพระศาสดา. เพราะเหตุนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว จึงรับสั่งให้ปล่อยภิกษุเหล่านั้นไป

ด้วยพระดำรัสว่า อานนท์ เธอจงปล่อยภิกษุสงฆ์เถิด ดังนี้.

จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 448

๖. สตาปารัทธสูตร

ว่าด้วยสัตว์คบค้าสมาคมกันโดยธาตุ

[๓๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย

เลว แม้ในอดีตกาล . . . แม้ในอนาคตกาล . . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์

ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเที่ยว คือสัตว์จำพวก

ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย

เลว.

[๓๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถกับคูถย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้

มูตรกับมูตรย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เขฬะกับเขฬะย่อมเข้ากันได้ ร่วม

กันได้ บุพโพกับบุพโพย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ โลหิตกับโลหิตย่อม

เข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายก็

ฉันนั้นแล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่มีอัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัย

เลว แม้ในอดีตกาล . . . แม้ในอนาคตกาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์

ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือจำพวกที่มี

อัธยาศัยเลว ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยเลว.

๑. ม. สคาถาสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 449

[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีตกาล. . .แม้ในอนาคต-

กาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม

กันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำนมสดกับน้ำมันสดย่อมเข้ากันได้

ร่วมกันได้ น้ำมันกับน้ำมันย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ เนยใสกับเนยใสย่อม

เข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำผึ้งกับน้ำผึ้งย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ น้ำอ้อย

กับน้ำอ้อยย่อมเข้ากันได้ ร่วมกันได้ แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี แม้ในอดีต-

กาล . . . แม้ในอนาคตกาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีอัธยาศัยดี.

[๓๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า:

กิเลสเพียงดังหมู่ไม้ในป่า เกิดขึ้นเพราะการ

คบค้าสมาคม ย่อมขาดเพราะไม่คบค้าสมาคม คน

เกาะท่อนไม้เล็ก ๆ พึงจมลงในห้วงมหรรณพ ฉันใด

แม้สาธุชนก็ย่อมจมลง เพราะอาศัยคนเกียจคร้าน

ฉันนั้น เราะฉะนั้น พึงเว้นคนเกียจคร้าน มีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 450

เพียรเลวนั้นเสีย พึงอยู่ร่วมกับบัณฑิตผู้สงัด ผู้เป็น

อริยะ ผู้มีใจสูง ผู้เพ่งพินิจ ผู้ปรารภความเพียร

เป็นนิตย์.

จบสตาปารัทธสูตรที่ ๖

อรรถกถาสตาปารัทธสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในสตาปรัทธสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า คูโถ คูเถน สสนฺทติ สเมติ ความว่า คูถแม้อยู่ระหว่างสมุทร

ระหว่างชนบท ระหว่างจักรวาล โดยสีก็ดี โดยกลิ่นก็ดี โดยรสก็ดี ไม่เข้า

ถึงความต่างกัน ย่อมเข้ากันได้ รวมกันได้ คือเป็นเช่นเดียวกันและเป็น

นิรันดร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ก็อุปมาด้วยของไม่น่าปรารถนานี้

ท่านนำมาเพื่อแสดงความที่อัธยาศัยของผู้มีอัธยาศัยเลวเสมอกัน อุปมา

ด้วยของดีเลิศมีน้ำนมเป็นต้น ท่านนำมาเพื่อแสดงความที่อัธยาศัยของผู้มี

อัธยาศัยดีเสมอกัน.

บทว่า สสคฺคา ความว่า ด้วยความสิเนหาด้วยตัณหามีการเห็น

การฟังและการคบค้ากันเป็นต้นเป็นที่ตั้ง. บทว่า วนโถ ชาโต ได้แก่

ป่าคือกิเลสเกิดแล้ว. บทว่า อสสคฺเคน ฉิชฺชติ ความว่า เมื่อไม่

กระทำการยืนและการนั่งร่วมกัน ก็ย่อมขาด เพราะไม่คบค้าสมาคมคือ

ไม่พบเห็นกัน. บทว่า สาธุชีวี ได้แก่ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็มีชีวิตบริสุทธิ์.

บทว่า สหาวเส ได้เเก่ พึงอยู่ร่วมกัน.

จบอรรถกถาสตาปารัทธสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 451

๗. ปฐมอัสสัทธมูลกสูตร

ว่าด้วยสัตว์คบค้าสมาคมกันโดยธาตุเดียวกัน

[๓๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มี

หิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ. สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้า

กัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวก

ที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ทราม แม้ในอดีตกาล . . . แม้ในอนาคตกาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเที่ยว คือสัตว์

จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มี

ศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ. ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม

กันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบ

ค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 452

คร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์

จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

สติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม.

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภ

ความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความ

เพียร สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมสมาคมกัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล. . . แม้ในอนาคต. . .แม้ในปัจจุบันกาล

สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีสติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 453

มั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

ปัญญา.

จบปฐมอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

ในบทเป็นต้นว่า อสฺสทฺธา อสฺสทฺเธหิ ความว่า บุคคลไม่มี

โอชา ไม่มีรส เว้นขาดจากศรัทธา ในพระพุทธ พระธรรม หรือ

พระสงฆ์ อยู่ที่สมุทรฝั่งนี้ ก็เป็นอย่างเดียวกันชั่วนิรันดรกับบุคคลไม่มี

ศรัทธา ซึ่งอยู่ที่ฝั่งโน้นเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธานั้น. บุคคลไม่มีหิริ

คือไร้มรรยาท ก็เป็นเช่นเดียวกันกับบุคคลไม่มีหิริ. คนไม่มีโอตตัปปะ

คือไม่กลัวต่อการทำบาป ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนไม่มีโอตตัปปะ. คนมี

สุตะน้อย คือเว้นขาดจากสุตะ ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีสุตะน้อย. คน

เกียจคร้าน คือคนมีความเกียจคร้าน ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนเกียจคร้าน.

คนมีสติหลงลืม คือเช่นกันกาเก็บอาหารและสุนัขจิ้งจอกเก็บเนื้อ ก็เป็น

เช่นเดียวกันกับคนมีสติหลงลืม. คนมีปัญญาทราม คือชื่อว่าหมดปัญญา

เพราะไม่มีปัญญาที่จะกำหนดขันธ์เป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมี

ปัญญาทราม. คนผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือผู้ขวนขวายในกิจมีการไหว้

พระเจดีย์เป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีศรัทธา. คนมีหิริ คือคนมี

ความละอาย ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีหิริ. คนมีโอตตัปปะ คือกลัวบาป

ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีโอตตัปปะ. คนมีสุตะมาก คือทรงสุตะ ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 454

อาคม รักษาแบบแผน รักษาวงศ์ ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีสุตะมาก.

คนปรารภความเพียร คือมีความพยายามบริบูรณ์ ก็เป็นเช่นเดียวกันกับ

คนปรารภความเพียร. คนมีสติมั่นคง คือประกอบด้วยสติอันกำหนดกิจ

ทั้งปวงได้ ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคนมีสติมั่นคง. คนมีปัญญา แม้อยู่ในที่

ไกลกับคนผู้มีปัญญามาก คือคนมีปัญญามีความรู้เปรียบเหมือนแก้ววิเชียร

ย่อมคบค้ากันได้ สมาคมกันได้ด้วยปัญญาสมบัตินั้น.

จบอรรถกถาปฐมอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอัสสัทธมูลกสูตร

การคบค้าของสัตว์โดยธาตุมีศรัทธาและไม่มีศรัทธา

[๓๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคัดค้าน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้า

กัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 455

แม้ในอนาคตกาล. . . แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกันสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์

จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๗๗] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 456

ที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกันสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์

จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

สุตะมาก สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๗๘] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก

ที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา

สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๗๙] สัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์

จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

ศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบทุติยอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 457

๙. อหิริกมูลกสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุมีหิริและไม่มีหิริ

[๓๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์พวกที่ไม่มีหิริ สัตว์

จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม

กันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มี

ปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๘๑] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก

ที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวก

ที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มี

ปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 458

[๓๘๒] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกันสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มี

หิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวก

ที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๘๓] สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก

ที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวก

ที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

ปัญญา.

จบอหิริกมูลกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 459

๑๐. อโนตตัปปมูลกสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุ

มีโอตตัปปะและไม่มีโอตตัปปะ

[๓๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . .แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มี

โอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ

สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุนะมาก สัตว์จำพวก

ที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๘๕] สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มี

ปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 460

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๘๖] สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมา-

คมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มี

ปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ทราม สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบ

ค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบอโนตตัปปมูลสูตรที่ ๑๐

๑๑. อัปปสุตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสุตะเป็นต้น

[๓๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย

สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์

จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

[๓๘๘] สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวก

ที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีปัญญา.

จบอัปปสุตสูตรที่ ๑๑

๑๒. กุสิตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยสติและปัญญา

[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ สัตว์

จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้าก้น ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 462

เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน

ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่ปรารภความ

เพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร

สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

สัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบกุสิตสูตรที่ ๑๒

[ส่วนที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ในทุกแห่ง พึงทำเหมือน

อย่างข้างต้นนั้น]

จบทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัตติมสูตร ๒. สนิทานสูตร ๓. คิญชกาวสถสูตร

๔. หีนาธิมุตติสูตร ๕. จังกมสูตร ๖. สตาปารัทธสูตร

๗. ปฐมอัสสัทธมูลกสูตร ๘. ทุติยอัสสัทธมูบกสูตร ๙. อหิริกมูลกสูตร

๑๐. อโนตัปปมูลกสูตร ๑๑. อัปปสุตสูตร ๑๒. กุสิตสูตร.

อรรถกถาอัสสัทธมูบกสูตรที่ ๘ เป็นต้น

สูตรที่ ๘ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรวมธรรมมี

อัสสัทธา เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรม ๓ อย่าง.

ในบรรดาสูตรเหล่านั้น สูตรที่ ๘ พระองค์ตรัสธรรมมีอัสสัทธา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 463

เป็นมูลเป็นต้น ๕ ครั้ง (แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง ด้วยอำนาจ

ธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว.

สูตรที่ ๙ พระองค์ตรัสธรรมมีอหิริกะเป็นมูล ๔ ครั้ง (แต่ละ

ครั้ง ) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๐ พระองค์ตรัสธรรมมีอโนตตัปปะเป็นมูล ๓ ครั้ง (แต่

ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๑ ตรัสธรรมมีอัปปัสสุตะ (มีสุตะน้อย) เป็นมูล ๒ ครั้ง

(แต่ละครั้ง) มีธรรม ๓ อย่าง.

สูตรที่ ๑๒ ตรัสธรรมีกุสิตะ (ความเกียจคร้าน) เป็นมูล ๑ ครั้ง

มีธรรม ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ในสูตร ๕ สูตร แม้ทั้งปวง จึงมีธรรม ๓ อย่าง รวม ๑๕ อย่าง.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ธรรม ๑๕ อย่างเหล่านี้ คือ พระสูตร ก็มี.

นี้ชื่อว่า ติกเปยยาละ.

จบอรรถกถาอัสสัทธมูลกสูตรที่ ๘ เป็นต้น

จบทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 464

ทสกัมมปถวรรคที่ ๓

๑. อสมาหิตสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยไม่มีศรัทธา

[๓๙๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์

จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มี

ศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีใจไม่มั่นคง

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีใจไม่มั่นคง สัตว์จำพวก

ที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา

ทราม สัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีใจมั่นคง ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีใจมั่นคง สัตว์จำพวกที่มี

ปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบอสมาหิตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 465

ทสกัมมปถวรรคที่ ๓

อรรถกถาอสมาทิตสูตรที่ ๑

ในสูตรอื่นจากวรรคที่ ๒ นี้ อสมาหิตสูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๙๐)

พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งธรรมมีอัสสัทธาเป็นต้น ๕ อย่าง. ทุสสีล-

สูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๙๑) ก็ตรัสเช่นนั้น. แต่ในอสมาหิตสูตรที่ ๑

พระองค์ตรัส อสมาหิต บท เป็นบทที่ ๔. ในทุสสีลสูตรที่ ๒

พระองค์ตรัส ทุสสีล บท เป็นบทที่ ๔. เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ เป็น

อันตรัสตามอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้.

บทว่า อสมาหิตา ในสูตรที่ ๑ นี้ ความว่า เว้นจากอุปจาร-

สมาธิ และอัปปนาสมาธิ. บทว่า ทุสฺสีลา แปลว่า ไม่มีศีล. สูตรที่ ๓

พระองค์ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้. สูตรที่ ๔ ตรัส

ด้วยอำนาจกรรมบถ ๗. สูตรที่ ๕ ตรัสด้วยอำนาจกรรมบถ ๑๐.

๒. ทุสสีลสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุว่าด้วยศรัทธาและหิริ

[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกว่าภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวก

ที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 466

สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่

ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กันสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่ทุศีล ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่ทุศีล สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบ

ค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม สัตว์จำพวกที่มี

ศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์

จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวกที่มีหิริ

สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์จำพวก

ที่มีโอตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีศีล ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับสัตว์

จำพวกที่มีศีล สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา.

จบทุสสีลสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุสสีลสูตรที่ ๒

ในทุสสีลสูตรที่ ๒ บทว่า ทุสฺสีลา ได้แก่ ไม่มีศีล.

จบอรรถกถาทุสสีลสูตรที่ ๒

๓. ปัญจสิกขาปทสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุต่างด้วยศีล ๕

[๓๙๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 467

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

[๓๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ พวกทำ

ปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต พวก

ทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนาทาน

พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำกาเม-

สุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

มุสาวาท พวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความประมาท.

[๓๙๔] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมา-

คบกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวกเว้น

ขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจาก

กาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

เว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

จบปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 468

อรรถกถาปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ ในสูตรนั้น บทว่า สุราเมรย-

มชฺชปมาทฏฺายิโน ความว่า คนทั้งหลายดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

ด้วยเจตนาในความประมาทใด. เจตนานั้นเรียกว่า ความประมาทเพราะ

การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย คนเหล่าใด ตั้งอยู่ในความประมาทนั้น

เพราะเหตุนั้น คนเหล่านั้นตั้งอยู่ในความประมาท เพราะการดื่มน้ำเมาคือ

สุราเมรัย นี้เป็นอธิบายแห่งบทไม่ทั่วไปในสูตรนี้ก่อน.

จบอรรกถาปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓

๔. สัตตกัมมปถสูตร

ว่าด้วยกรรมบถ ๗

[๓๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคมค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวก

ทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต

พวกทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนา-

ทาน พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

ทำกาเมสุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

พวกมุสาวาท พวกพูดส่อเสียด ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 469

ส่อเสียด พวกพูดคำหยาบ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูด

คำหยาบ พวกพูดเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูด

เพ้อเจ้อ.

[๓๙๖] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวก

เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้น

ขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อม

สมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้นขาดจากคำส่อเสียด

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากคำส่อเสียด. พวกเว้น

ขาดจากคำหยาบ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจาก

คำหยาบ พวกเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ.

จบสัตตกัมมปถสูตรที่ ๔

อรรถกถาสัตตกัมมปถสูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถถถาอธิบาย.

๕. ทสกมมปถสูตร

ว่าด้วยกรรมบถ ๑๐

[๓๙๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 470

สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวก

ทำปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต

พวกทำอทินนาทาน. . . พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร. . . พวกมุสาวาท. . .

พวกพูดส่อเสียด. . . พวกพูดคำหยาบ. . . พวกพูดเพ้อเจ้อ. . . ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกพูดเพ้อเจ้อ พวกมีอภิชฌามาก ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมีอภิชฌามาก พวกมีจิตพยาบาท ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมีจิตพยาบาท พวกมิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้า

กัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ.

[๓๙๘] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมา-

คมกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน. . .

พวกเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร. . . พวกเว้นขาดจากมุสาวาท. . . พวก

เว้นขาดจากพูดส่อเสียด. . . พวกเว้นขาดจากพูดคำหยาบ . . . พวกเว้น

ขาดจากพูดเพ้อเจ้อ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจาก

พวกพูดเพ้อเจ้อ พวกไม่มีอภิชฌา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

ไม่มีอภิชฌา พวกมีจิตไม่พยาบาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

มีจิตไม่พยาบาท พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

พวกสัมมาทิฏฐิ.

จบทสกัปปมถสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 471

อรรถกถาทสกัมมปถสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในทสกัมมปถสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า พวกทำปาณาติบาต เพราะอรรถว่า ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง

ไป. อธิบายว่า พวกฆ่าสัตว์มีชีวิต. ชื่อว่า พวกทำอทินนาทาน เพราะ

อรรถว่า ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ อธิบายว่า ลักของผู้อื่น. ชื่อว่า

พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร เพราะอรรถว่า ประพฤติผิดในวัตถุกาม ด้วย

กิเลสกาม. ชื่อว่า พวกมุสาวาท เพราะอรรถว่า พูดเท็จ อธิบายว่า

พูดวาจาเท็จ เหลาะแหละ หักรานประโยชน์ของผู้อื่น. ชื่อว่า พวก

ปิสุณวาจา เพราะอรรถว่า มีวาจาส่อเสียด. ชื่อว่า พวกผรุสวาจา เพราะ

อรรถว่า มีวาจาหยาบตัดเสียซึ่งคำรัก. ชื่อว่า พวกสัมผัปปลาปะ เพราะ

อรรถว่า พูดคำเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์. ชื่อว่า พวกมีอภิชฌาลุ เพราะ

อรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า เป็นคนมีปกติอยากได้ในภัณฑะของผู้อื่น.

ชื่อว่า พวกมีพยาปันนจิต เพราะอรรถว่า มีจิตพยาบาท คือเสีย. ชื่อว่า

พวกมิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า มีความเห็นผิด คือลามก ผู้รู้ติเตียน

อธิบายว่า ประกอบด้วยทิฏฐิอันไม่นำให้พ้นทุกข์ เนื่องด้วยกรรมบถ

คือเนื่องด้วยความเห็นผิดมีวัตถุเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. ชื่อว่า

สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า มีความเห็นชอบ คืองาม ผู้รู้สรรเสริญ

อธิบายว่า ประกอบด้วยมัคคทิฏฐิ เนื่องด้วยกรรมบถ เนื่องด้วยความ

เห็นชอบว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล

นี้เป็นเพียงชื่อว่าการพรรณนาบทที่ยากในสูตรนี้ก่อน.

ส่วนบทเหล่านั้น มีอรรถ ๑๐ อย่างในธรรมฝ่ายดำ คือปาณาติบาต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 472

อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัป-

ปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ. ในบทเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิต

ให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต. มีอธิบายว่า ฆ่าสัตว์มีชีวิต คือการ

ฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย. ส่วนในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหารให้แก่ สัตว์.

โดยปรมัตถ์ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. ก็เจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์

มีชีวิตนั้นว่า สัตว์มีชีวิต อันตั้งขึ้นเพราะความพยายามเป็นเหตุเข้าไปตัด

ชีวิตินทรีย์เสียที่เป็นไปทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อ

ปาณาติบาต. บรรดาสัตว์มีชีวิต ผู้เว้นจากคุณมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น

ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์เล็ก ชื่อว่ามีโทษมาก ใน

เพราะสัตว์ใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมีความพยายาม

มาก. แม้เมื่อมีความพยายามเท่ากัน ก็ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่.

บรรดาสัตว์ผู้มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษน้อย ใน

เพราะสัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีคุณมาก. ก็เมื่อมีสรีระ

และคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม

อ่อน พึงทราบว่า มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามกล้า.

ปาณาติบาตนั้นมีองค์ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต ๑ ความเป็นผู้มีความ

สำคัญว่าสัตว์มีชีวิต ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ มีความพยายาม ๑ สัตว์ตายด้วย

ความพยายามนั้น ๑.

ประโยคมี ๖ คือ สาหัตถิกะ ๑ อาณัตติกะ ๑ นิสสัคคิยะ ๑ ถาวระ-

วิชชามยะ ๑. ความเนิ่นช้าก็จะมีในเรื่องนั้น อันข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ใน

ที่นี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ให้เรื่องนั้นพิสดาร. ส่วนเรื่องอื่นและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 473

เรื่องเห็นปานนั้น ผู้มีความต้องการพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัย ชื่อ

สมันตปาสาทิกาเถิด.

การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน มีอธิบายว่า

ลักขโมยของผู้อื่น เป็นกิริยาของโจร. ในบทเหล่านั้น บทว่า อทินฺน

แปลว่า พัสดุที่ผู้อื่นหวงแหน. เจตนาเป็นขโมยของบุคคลผู้มีความสำคัญ

ในพัสดุอันผู้อื่นหวงแหนนั้น ว่าเป็นพัสดุอันผู้อื่นหวงแหนแล้ว ซึ่งใช้คน

อื่นให้ทำตามความต้องการยังไม่มีโทษทางอาชญา คือยังไม่มีใครกล่าว

โทษเพราะยังความพยายามเป็นเหตุถือเอาพัสดุที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นให้ตั้งขึ้น

ก็ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะ

ของ ๆ ผู้อื่นเลว. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะของ ๆ ผู้อื่นประณีต.

เพราะเหตุไร. เพราะพัสดุประณีต. เมื่อพัสดุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก

เพราะเป็นของ ๆ บุคคลผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะเป็น

ของ ๆ บุคคลผู้มีคุณเลวกว่าบุคคลผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น เพราะเทียบกับบุคคล

ผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ.

อทินนาทานนั้น มีองค์ ๕ คือ พัสดุอันผู้อื่นหวงแหน ๑ ความ

เป็นผู้มีความสำคัญว่าเป็นของอันผู้อื่นหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ความ

พยายาม ๑ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น ๑

ประโยคมี ๖ มีสาหัตถิกะเป็นต้น ก็แลประโยคเหล่านั้น เป็นไป

แล้วด้วยอำนาจแห่งอวหารเหล่านี้ตามสมควร คือ เถยยาวหาร ลัก ๑

ปสัยหาวหาร ข่มขู่ ๑ ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน ๑ ปริกัปปาวหาร

กำหนดลัก ๑ กุสาวหาร ลักสับ ๑ นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้ ส่วน

ความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 474

ส่วนบทว่า กาเมสุ ในบทว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ในความ

ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดีในกรรมของคนคู่กัน. บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่

อาจาระอันทรามที่บัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว. ก็โดยลักษณะ เจตนาเป็น

เหตุก้าวล่วงฐานะอันบุคคลไม่พึงถึงเป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์

อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาร.

ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น สตรี ๑๐ จำพวกแรก มีพวกที่มารดา

ปกครองรักษาเป็นต้น คือ มาตุรกฺขิตา สตรีที่มารดาปกครองรักษา ๑

ปิตุรกฺขิตา ที่บิดาปกครองรักษา ๑ มาตาปิตุรกฺขิตา ที่มารดาบิดา

ปกครองรักษา ๑ ภาตุรกฺขิตา ที่พี่น้องชายปกครองรักษา ๑ ภคินีรกฺ-

ขิตา ที่พี่น้องหญิงปกครองรักษา ๑ ญาติรกฺขิตา ที่ญาติปกครองรักษา ๑

โคตฺตรกฺขิตา ที่วงศ์ตระกูลปกครองรักษา ๑ ธมฺมรกฺขิตา ที่ผู้ประพฤติ

ธรรมปกครองรักษา ๑ สารกฺขา ที่ผู้หมั้นหมายปกครองรักษา. สปริ-

ทณฺฑา ที่อยู่ในอาณัติปกครองรักษา และสตรี ๑๐ พวกหลัง มีพวก

ที่บุรุษซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้น เหล่านี้คือ ธนกฺกีตา สตรีที่บุรุษซื้อมา

ด้วยทรัพย์ ๑. ฉนฺทวาสินี ที่สมัครใจมาอยู่ร่วม ๑. โภควาสินี ที่มาอยู่

ร่วมเพราะโภคะ ๑ ปฏวาสินี ที่มาอยู่ร่วมเพราะผ้า ๑ โอทปตฺตกินี

ที่มาอยู่ร่วมโดยพิธีแต่งงานหลั่งน้ำ ๑ โอภตจุมฺพตา ที่บุรุษช่วยให้พ้น

จากการแบกทุนของบนศีรษะ ๑ ทาสี ภริยา ภรรยาที่เป็นทาสี ๑

กมฺมการี ภริยา ภรรยาที่เป็นกรรมกร ๑ ธชาหฏา ที่เป็นเชลย ๑

มุหุตฺติกา ที่เป็นภรรยาชั่วครั้งคราว ๑ รวมเป็น ๑ รวมเป็น ๒๐ จำพวก ชื่อว่า

อคมนียัฏฐาน (ฐานะที่ไม่พึงเกี่ยวข้อง) สำหรับบุรุษ.

ส่วนในหญิงทั้งหลาย หญิง ๑๒ จำพวก คือ สตรีที่มีผู้หมั้นหมาย

ปกครองรักษา ๑ ที่อยู่ในอาณัติปกครองรักษา ๑ และหญิงที่ซื้อมาด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 475

ทรัพย์เป็นต้น ๑๐ จำพวก นี้ชื่อว่าอคมนียัฏฐานสำหรับบุรุษอื่น

ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมมียัฏฐานเว้น

จากคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะอคมนียัฏฐาน ถึงพร้อม

ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ ๔ คือ วัตถุอันไม่ควรถึง ๑ จิต

คิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น ๑ ความพยายามในอันเสพ ๑ ยังมรรค

ให้ถึงมรรคหยุดอยู่ ๑. มีประโยคเดียวคือสาหัตถิกะเท่านั้น.

บทว่า มุสาวาโท ความว่า วจีประโยค หรือกายประโยค อัน

หักรานประโยชน์ของผู้มุ่งกล่าวให้ผิด เจตนาอันยังกายประโยคและวจี-

ประโยคของผู้กล่าวให้ผิดต่อผู้อื่นให้ตั้งขึ้นแก่ผู้อื่น ด้วยประสงค์จะกล่าว

ให้ผิด ชื่อว่า มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา. การยังผู้อื่น

ให้ทราบเรื่องนั้น โดยความเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ. โดย

ลักษณะ เจตนาที่ยังวิญญัติอย่างนั้นให้ตั้งขึ้นของผู้ประสงค์จะยังผู้อื่นให้

ทราบเรื่องอันไม่จริง โดยความเป็นเรื่องจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาท

นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานน้อย ชื่อว่า

มีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานมาก อนึ่ง สำหรับ

พวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ไม่มี เพราะไม่ประสงค์

จะให้ของ ๆ ตน ชื่อว่ามีโทษน้อย. มุสาวาทที่มุสาวาทีบุคคลเป็นพยาน

กล่าวเพื่อหักรานประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต

มุสาวาทที่เป็นไป โดยปูรณกถานัยว่า วันนี้ น้ำมันในบ้านไหลไปดุจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 476

แม่น้ำ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้

หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย. แต่มุสาวาทของผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็น

นั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่ามีโทษมาก.

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือเรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้ผิด ๑

ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑ มีประโยคเดียว คือ

สาหัตถิกะแล. มุสาวาทนั้นพึงเห็นได้ในการทำกิริยาเป็นเครื่องกล่าวให้ผิด

ต่อผู้อื่น ด้วยกายบ้าง ด้วยของเนื่องด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ถ้าผู้อื่น

รู้เรื่องนั้น ด้วยกิริยานั้น. เจตนาที่ยังกิริยาให้ตั้งขึ้นนี้ ย่อมผูกมัดด้วย

มุสาวาทกรรมในขณะนั้นแล.

บทในบทเป็นต้นว่า ปิสุณา วาจา ความว่า คนพูดวาจาแก่ผู้

อื่นด้วยวาจาใด กระทำตนให้เป็นที่รักอยู่ในดวงใจของผู้นั้น และทำ

คนอื่นให้เสีย วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ส่วนวาจาใด ทำตนบ้าง

คนอื่นบ้างให้หยาบ. หรือวาจาใดหยาบ แม้ตนเองก็ไม่เพราะหูไม่สบาย

ใจ นี้ชื่อว่า ผรุสวาจา. คนกล่าวเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ เขาชื่อว่า

สัมผัสปลาปะ. แม้เจตนาที่เป็นมูลของวาจาเหล่านั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า

ปิสุณวาจาเป็นต้นเหมือนกัน. ก็เจตนานั้นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

ในบทนั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง อันยังกายประโยคและวจี-

ประโยคให้ตั้งขึ้น เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นก็ดี เพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็น

ที่รักก็ดี ชื่อว่าปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะบุคคล

ผู้ถูกปิสุณวาจีบุคคลทำความแตกกันในผู้มีคูณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ใน

ผู้มีคุณมาก.

ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ ทำลายผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้มุ่งเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 477

ทำลายด้วยประสงค์ว่า พวกคนนี้ จักเป็นผู้ต่างกัน จักเว้นจากกัน ด้วย

อุบายอย่างนี้ ดังนี้ หรือความเป็นผู้ปรารถนาจะทำตนให้เป็นที่รักด้วย

ประสงค์ว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นผู้คุ้นเคยด้วยอุบายดังนี้ ๑ ความ

พยายามอันเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้นั้นรู้ความนั้น ๑.

เจตนาหยาบโดยส่วนเดียว ที่ยังกายประโยคและวจีประโยคอันเป็น

เหตุตัดเสียซึ่งคำรักของผู้อื่นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า ผรุสวาจา เพื่อให้ผรุสวาจา

นั้นแจ่มแจ้ง พึงทราบเรื่องต่อไปนี้.

ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อคำของมารดา ไปสู่ป่า มารดาเมื่อ

ไม่อาจจะให้เด็กนั้นกลับได้ จึงด่าว่า ขอแม่กระบือดุจงไล่ตามมัน. ครั้งนั้น

แม่กระบือในป่า ปรากฏแก่เด็กนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน. เด็กได้ทำสัจกิริยา

ว่า ขอคำที่แม่พูดแก่เรา จงอย่ามี ขอที่แม่คิด จงมี. แม่กระบือได้

หยุดอยู่ เหมือนถูกผูกในที่นั้นนั่นเอง.

วจีประโยค แม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรักอย่างนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็น

ผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมพูดกะ

บุตรน้อยทั้งหลายอย่างนี้ว่า ขอพวกโจรจงทำมันให้เป็นท่อนเล็กท่อนน้อย

เถิด แต่ท่านก็ไม่ปรารถนา แม้แต่จะให้กลีบอุบลตกลงเบื้องบนของบุตร

เหล่านั้น. อนึ่ง บางคราว อาจารย์และอุปัชฌายะทั้งหลาย ย่อมพูดกับ

พวกนิสิตอย่างนี้ว่า พวกเหล่านี้ ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว

พูดอะไรกัน ไล่มันไปเสีย. ก็แต่ท่านปรารถนาความถึงพร้อมด้วยปริยัติ

ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อศิษย์เหล่านั้น. เหมือนอย่างว่า วจีประโยคที่เป็นไป

เพราะผู้พูดเป็นผู้มีจิตอ่อน ไม่ชื่อว่าผรุสวาจา ฉันใด วจีประโยคเป็นไป

เพราะผู้พูดเป็นผู้มีคำอ่อนหวาน ไม่ชื่อว่าผรุสวาจาก็หามิได้ฉันนั้น. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 478

คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า ท่านทั้งหลาย จงให้คนนี้นอนเป็น

สุขเถิด ไม่ชื่อว่าผรุสวาจาหามิได้. ที่แท้ วาจานั้น ต้องเป็นผรุสวาจาแน่

เพราะผู้พูดเป็นผู้มีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะเป็นผู้ถูก

ผรุสวาจีบุคคลมุ่งหมายให้เป็นไปมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ

ผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ ด่าผู้อื่น ๑ จิตโกรธ ๑ การด่า ๑.

อกุศลเจตนาที่ยังกายประโยค และวจีประโยคให้ตั้งขึ้น .อันยังผู้อื่น

ให้รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่า

มีโทษน้อย เพราะอาเสวนะน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะ

มาก.

สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ ๒ คือ ความเป็นผู้มุ่งพูดเรื่องอันหา

ประโยชน์มิได้ มีเรื่องภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น ๑ การ

พูดเรื่องเห็นปานนั้น ๑.

ธรรมชาติที่ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า

เป็นไปโดยความเป็นผู้มุ่งภัณฑะของผู้อื่น แล้วน้อมไปในภัณฑะนั้น.

อภิชฌานั้น มีลักษณะเพ่งเล็งต่อภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอสิ่งนี้

จะพึงเป็นของ ๆ เรา ดังนี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือน

อทินนาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือภัณฑะของผู้อื่น ๑ การน้อมมาเพื่อ

ตน ๑ จริงอยู่ เมื่อความโลภซึ่งมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้เกิดขึ้น

แล้ว อภิชฌาลุบุคคลยังไม่น้อมมาเพื่อตน ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้

จะพึงเป็นของ ๆ เราตราบใด กรรมบถก็ยังไม่ขาดตราบนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 479

สภาพที่ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์สุขให้ถึง

ความพินาศ. พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายใจเพื่อความพินาศของ

ผู้อื่น ชื่อว่ามีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา.

พยาบาทนั้น มีองค์ ๒ คือ สัตว์อื่น ๑ คิดความพินาศเพื่อ

สัตว์นั้น ๑. ก็เมื่อความโกรธ ซึ่งมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้ง แม้เกิดขึ้นแล้ว

วิปันนจิตตบุคคลยังไม่คิดความพินาศเพื่อสัตว์นั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้

พึงขาดสูญพินาศไปตราบใด กรรมบถถ็ยังไม่ขาดตราบนั้น.

ธรรมชาติ ชื่อว่า มิจฉาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด เพราะ

ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นผิด โดยนัย

เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่ามีโทษน้อย แต่มีโทษมาก

เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่ถึง ชื่อว่ามีโทษ

น้อย. ที่ถึง ชื่อว่ามีโทษมาก.

มิจฉาทิฏฐินั้น มี องค์ ๒ คือ ความที่วัตถุวิปริตจากอาการที่

ถือเอา ๑ ความปรากฏแห่งมิจฉาทิฏฐินั้น โดยที่ยึดเอาวัตถุนั้นว่าเป็น

จริง ๑.

ก็พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ ๕ คือ

โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า ก็ในอกุศลกรรมบถ

เหล่านั้น มีเจตนาธรรม๗ อย่างตามลำดับ. อกุศลกรรมบถมีอภิชฌาเป็นต้น

สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้

คือ เจตนาธรรม ๗ ตามลำดับ และมิจฉาทิฏฐิเป็นกรรมบถอย่างเดียว

ไม่เป็นมูล อภิชฌาและพยาบาท เป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. ความจริง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 480

อภิชฌา เป็นโลภะ ถึงความเป็นมูล คือเป็นอกุศลมูล. พยาบาทเป็นโทสะ

ถึงความเป็นมูล คือเป็นอกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่า

ปาณาติบาต มีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อิทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง

มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจการ

ถูกต้อง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้ ก็มี.

มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. ปิสุณวาจา

ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์

เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจสิ่งที่คนได้เห็น

ได้ฟัง ได้ทราบ และได้รู้แล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น. พยาบาท มีสัตว์เป็น

อารมณ์อย่างเดียว. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจธรรมที่

เป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา. ก็พระ

ราชาทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงร่าเริงอยู่. รับสั่งว่า ท่านจงไป จงฆ่ามัน.

ดังนี้ ก็จริง ถึงกระนั้น เจตนาเป็นเหตุให้สำเร็จได้ ก็สัมปยุตด้วยทุกข์แก่

โจรเหล่านั้น. อทินนาทาน มีเวทนา ๒. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ คือสุขเวทนา

และมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขาเวทนา) ส่วนในจิตที่เป็นเหตุให้สำเร็จ

ไม่เป็นมัชฌัตตเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น.

ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌา

มีเวทนา ๒ คือสุขเวทนาและมัชฌัตตเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น.

พยาบาท เป็นทุกขเวทนา.

บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะ.

อทินนาทาน มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. มิจฉาจาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 481

มีมูล ๒ คือโลภะและโมหะ. มุสาวาท มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะหรือ

โลภะและโมหะ. ปิสุณวาจาและสัมผัปปลาปะก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา

มีมูล ๒ คือโทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียวคือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น.

มิจฉาทิฏฐิ มีมูล ๒ คือโลภะและโมหะ.

ปาณาติบาตเป็นต้น ในบทเป็นต้นว่า ปาณาติบาตา ปฏิวิรตา

มีอรรถตามที่กล่าวแล้วแล. ส่วนชนเหล่านั้น ชื่อว่า เว้นขาดด้วยวิรัติใด.

วิรัตินั้น โดประเภทมี ๓ อย่าง คือสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ

สมุจเฉทวิรัติ. บรรดาวิรัติ ๓ เหล่านั้น วิรัติซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้

สมาทานสิกขาบท เป็นแต่พิจารณาฐานะทั้งหลายมีชาติวัยและการ

ศึกษาหากเป็นต้นของตน ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่มาประจวบเข้าด้วยคิดว่าการทำ

เช่นนี้ ไม่สมควรแก่เรา ดังนี้ พึงทราบว่า สัมปัตตวิรัติ. เหมือนวิรัติที่

เกิดขึ้นแก่จักกนะอุบาสกในเกาะสิงหลฉะนั้น.

ได้ยินว่า ในเวลาจักกนะอุบาสกนั้นเป็นหนุ่มนั่นแล โรคเกิดขึ้น

แก่มารดา. และหมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด จึงจะควร. ลำดับนั้น

พี่ชายของเขาใช้นายจักกนะไปด้วยสั่งว่า พ่อ เจ้าจงไป จงเที่ยวไปสู่นา

เถิด. เขาไปที่นานั้นแล้ว ก็สมัยนั้น กระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะกัดกินข้าว

กล้าอ่อน. กระต่ายนั้น เห็นนายจักกนะนั้นเข้า จึงวิ่งไปโดยเร็ว ถูก

เถาวัลย์พัน ได้ร้องเสียงดังกิริ กิริ. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น ก็จับ

กระต่ายนั้นไว้แล้ว จึงคิดว่า เราจักผสมยาแก่มารดา. แต่เขาคิดต่อไปอีกว่า

ข้อที่เราพึงปลงสัตว์เสียจากชีวิตเพราะเหตุแห่งชีวิตของมารดา หาควรแก่

เราไม่. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงปล่อยกระต่ายนั้นไปด้วยคำว่า เจ้าจงไป

จงบริโภคหญ้าและน้ำกับพวกกระต่ายในป่าเถิด. ก็เขาถูกพี่ชายถามว่า พ่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 482

เจ้าได้กระต่ายแล้วหรือ จึงบอกความเป็นไปนั้น. ดังนั้น พี่ชายจึงด่านาย

จักกนะนั้น. เขาไปหามารดายืนกล่าวคำสัจว่า แต่กาลที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว

ยังไม่รู้สึกว่าปลงสัตว์จากชีวิต. ทันทีนั่นเอง มารดาของเขาก็ได้เป็นผู้

หายจากโรคแล้ว.

ส่วนวิรัติซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบทแล้ว ยอมสละชีวิต

ของตน ทั้งในเวลาสมาทานสิกขาบท ทั้งในเวลาอื่นจากนั้น ไม่ก้าวล่วง

วัตถุอยู่ พึงทราบว่า สมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติที่เกิดขึ้นแก่อุบาสก

ชาวบ้านใกล้ภูเขาอุตตรวัฑฒมานะฉะนั้น.

ได้ยินว่า อุบาสกนั้น รับสิกขาบทในสำนักของพระปิงคลพุทธ-

รักขิตเถระผู้อยู่ในอัมพริยวิหารแล้ว ไถนาอยู่. ครั้นนั้น โคของเขาหายไป.

เขาเมื่อแสวงหาโคนั้น ได้ขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่าอุตตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่บน

ภูเขานั้นได้รัดเขาไว้. เขาคิดว่า จะตัดศีรษะด้วยมีดอันคมเล่มนี้ คิดอีกว่า

ข้อที่เรารับสิกขาบทในสำนักของครูผู้น่าสรรเสริญแล้วพึงทำลายเสีย หาสม-

ควรแก่เราไม่. ครั้นคิดอยู่อย่างนี้ จนถึง ๓ ครั้ง ตัดสินใจว่า เราจะยอม

สละชีพ จะไม่ยอมสละสิกขาบท แล้วทิ้งพร้าโต้อันคมที่แบกอยู่บนบ่า

เสียในป่า งูใหญ่ได้คลายออกไปให้ทันทีนั้นเหมือนกัน.

แม้ความคิดว่า เราจักฆ่าสัตว์ดังนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยบุคคล

ทั้งหลาย จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งวิรัติใด วิรัตินั้น สัมปยุตด้วยอริยมรรค

พึงทราบว่า สมุจเฉทวิรัติ.

พึงทราบวินิจฉัยแห่งกุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ โดยอาการ ๕ คือ

โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล เหมือน

อกุศลฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 483

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า เจตนา ๗ ก็ดี

วิรัติก็ดี ย่อมควรตามลำดับในกุศลกรรมบถแม้เหล่านั้น. ส่วนธรรม ๓

ในที่สุดสัมปยุตด้วยเจตนาแล. บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า เจตนา ๗

ตามลำดับเป็นกรรมบถเท่านั้น ไม่เป็นมูล. ธรรม ๓ ในที่สุดเป็นทั้ง

กรรมบถ เป็นทั้งมูล. จริงอยู่ อนภิชฌา เป็นอโลภะ ถึงความเป็นมูล

เป็นกุศลมูล. อัพยาบาท เป็นอโทสะ ถึงความเป็นมูล เป็นกุศลมูล

สัมมาทิฏฐิ เป็นอโมหะ ถึงความเป็นมูล เป็นกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต

ความว่า อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแล ก็เป็นอารมณ์ของกรรมบถ

เหล่านั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าวิรัติจากวัตถุอันจะพึงก้าวล่วงอารมณ์แห่ง

กรรมบถเหล่านั้น. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อม

ละกิเลสได้ ฉันใด กรรมบถเหล่านั้น มีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์

พึงทราบว่า ละการทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้นได้ ฉันนั้น. บทว่า เวทนาโต

ความว่า เวทนาทั้งปวง เป็นสุขเวทนา หรือมัชฌัตตเวทนา. ชื่อว่า

เวทนาถึงกุศลย่อมไม่มี. บทว่า มูลโต ความว่า เจตนา ๗ ตามลำดับ

มีมูล ๓ คือ อโลภะอโทสะและอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็น

ญาณสัมปยุต. มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็นญาณวิปปยุต. อนภิชฌา

มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็นญาณสัมปยุต. มีมูล ๑ ด้วยจิตเป็น

ญาณวิปปยุต. ส่วนอโลภะไม่เป็นมูลแก่ตนเอง. แม้ในอัพพยาบาท ก็นัยนี้

แล. สัมมาทิฏฐิ มีมูล ๒ คือ อโลภะ และอโทสะ.

จบอรรถกถาทกัมมปถสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 484

๖. อัฏฐังคิกสูตร

ว่าด้วยการคบค้ากันของสัตว์ด้วยมรรค ๘

[๓๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวก

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวก

มิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ

พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวก

มิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ

พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ

พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ

พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวก

มิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ.

[๔๐๐] พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาทิฏฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาสังกัปปะ พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาวาจา พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมากัมมันตะ พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 485

สัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาสมาธิ.

จบอัฏฐคิกสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัฏฐังคิกสูตรที่ ๖

อัฏฐังคิกสูตรที่ ๖ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของพวกผู้รู้

ด้วยอำนาจองค์มรรค ๘.

จบอรรถกถาอัฏฐังคิกสูตรที่ ๖

๗. ทสังคิกสูตร

ว่าด้วยการคบค้าของสัตว์โดยธาตุประกอบด้วยธรรม

๑๐ ประการ

[๔๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวกมิจฉาทิฏฐิ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวกมิจฉาสังกัปปะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ พวกมิจฉาวาจา

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวกมิจฉากัมมันตะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ พวกมิจฉาอาชีวะ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ พวกมิจฉาวายามะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 486

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ พวกมิจฉาญาณะ ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาญาณะ พวกมิจฉาวิมุตติ ย่อม

คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวิมุตติ.

[๔๐๒] พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาทิฏฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาสังกัปปะ พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมาวาจา พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก

สัมมากัมมันตะ พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกสัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกสัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกสัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกสัมมาสมาธิ พวกสัมมาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน

กับพวกสัมมาญาณะ พวกสัมมาวิมุตติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ

พวกสัมมาวิมุตติ.

จบ ทสังคิกสูตรที่ ๗

อรรถกถาทสังคิกสูตรที่ ๗

ทสังคิกสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจมิจฉัตตะ ๑๐ และสัมมัตตะ

๑๐. ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาาณิโน ความว่า ผู้ประกอบด้วยความรู้

ผิดและการพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติโน ได้แก่พวกที่ยังไม่หลุด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 487

พ้นออกจากทุกข์ คือยึดถือว่าเป็นกุศลวิมุตติ ตั้งอยู่. ว่า สมฺมาาณิโน

คือการพิจารณาโดยชอบ. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติโน ความว่า ผู้ประกอบ

ด้วยผลวิมุตติ อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.

จบอรรถกถาทสังคิกสูตรที่ ๗

จบทสกัมมปถวรรคที่ ๓

[ในที่ทุกแห่งพึงทำอดีตอนาคตปัจจุบัน]

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสมาหิตสูตร ๒. ทุสสีลสูตร

๓. ปัญจสิกขาปทสูตร ๔. สัตตกัมมปกสูตร

๕. ทสกัมมปถสูตร ๖. อัฏฐังคิกสูตร

๗. ทสังคิกสูตร

๘.

จบทสกมมปถวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 488

จตุตถวรรคที่ ๔

๑. จตัสสสูตร

ว่าด้วยธาตุ ๔ ประการ

[๔๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๔ อย่างเหล่านี้แล ดังนี้.

จบจตัสสสูตรที่ ๑

จตุตถวรรคที่ ๔

อรรถกถาจตัสสสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในจตัสสสูตรที่ ๑ แห่งจตุตถวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

ธาตุที่เป็นที่ตั้ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่เอิบอาบ ชื่อว่า อาโปธาตุ.

ธาตุที่ให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่เคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ.

นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบธาตุเหล่านั้น ด้วย

อำนาจโกฏฐาสะ ๒๐ เป็นต้น.

จบอรรถกถาจตัสสสูตรที่ ๑

๑. ม. จตุธาตุสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 489

๒. ปุพพสูตร

ว่าด้วยเรื่องก่อนตรัสรู้

[๔๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นประโพธิ-

สัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้ได้มีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอเป็นความแช่มชื่นอะไร

เป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ อะไรเป็นความแช่มชื่น

อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอาโปธาตุ อะไรเป็นความ

แช่มชื่น อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเตโชธาตุ อะไร

เป็นความแช่มชื่น อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยปฐวีธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งปฐวีธาตุ การ

กำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในปฐวีธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

ปฐวีธาตุ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยอาโปธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่น

แห่งอาโปธาตุ อาโปธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งอาโปธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันท-

ราคะในอาโปธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งอาโปธาตุ สุขโสมนัสเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยเตโชธาตุ นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งเตโชธาตุ เตโชธาตุเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง

เตโชธาตุ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเตโชธาตุ นี้เป็น

เครื่องสลัดออกแห่งเตโชธาตุ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยวาโยธาตุ

นี้เป็นความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุ วาโยธาตุเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

๑. ม. ปุพเพสัมโพธสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 490

มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวาโยธาตุ การกำจัด

ฉันทราคะ การละฉันทราคะในวาโยธาตุ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

วาโยธาตุ.

[๔๐๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้ทราบชัดตาม

ควานเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความ

เป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุเหล่านี้

เพียงใด เราก็ปฏิญาณไม่ได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา-

สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราได้

ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษ

โดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง

ธาตุ ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตร-

สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่

สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะได้

เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้การ

เกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.

จบปุพพสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุพพสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในปุพพสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อย ปวีธาตุยา อสฺสาโท ความว่า นี้เป็นความแช่มชื่น

อันอาศัยปฐวีธาตุ. ความแช่มชื่นนี้นั้นให้ยืดกายขึ้นไป เหยียดท้องออก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 491

ดุจกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยายามสอดนิ้วมือของเราเข้าไปในที่นี้เถิด หรือ

เหยียดมือแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพยายามน้อมกายนี้ลงเถิด. พึง

ทราบควานแช่มชื่นด้วยสามารถแห่งสุขโสมนัสที่เป็นไปอย่างนี้.

ในบทเป็นต้นว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่าไม่เที่ยงโดยอาการว่ามี

แล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์โดยอาการบีบคั้น ชื่อว่ามีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา โดยอาการปราศจากภาวะของตน. บทว่า อย ปวี ธาตุยา

อาทีนโว ความว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดาโดยอาการใด. อาการนี้เป็นโทษแห่งปฐวีธาตุ. บทว่า ฉนฺทราค-

วินโย ฉนฺทราคปหานความว่า ฉันทราคะแห่งปฐวีธาตุ อันบุคคลกำจัด

ได้และละได้เพราะอาศัยนิพพาน. เพราะฉะนั้น นิพพานจึงเป็นเครื่องสลัด

ออกซึ่งปฐวีธาตุนั้น.

บทว่า อย อาโปธาตุยา อสฺสาโท ความว่า นี้เป็นความแช่มชื่น

อาศัยอาโปธาตุ ความแช่มชื่นนี้นั้น เหมือนเห็นคนอื่นที่ถูกอาโปธาตุเบียด-

เบียน พึงทราบด้วยสามารถแห่งสุขโสมนัสที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เหตุอะไรผู้นี้

ออกและเข้าไปปัสสาวะตั้งแต่เวลาจะนอน. เมื่อเขาทำการงานแม้เล็กน้อย

เหงื่อก็มี แม้ผ้าย่อมมีอาการที่เขาควรบิดได้. เมื่อกล่าวแม้เพียงอนุโมทนา

เขาก็ต้องถือพัดใบตาล. แต่เรานอนในเวลาเย็น ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่. สรีระ

ของเราเหมือนหม้อที่เต็ม แม้เพียงเหงื่อ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เราผู้ทำงาน

หนัก. เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ด้วยเสียงเหมือนเสียงฟ้าลั่น แม้เพียงอาการ

อบอุ่นในสรีระก็ไม่มีแก่เรา ดังนี้.

บทว่า อย เตโชธาตุยา อสฺสาโท ความว่า นี้เป็นความแช่มชื่น

อาศัยเตโชธาตุ. ความแช่มชื่นนี้นั้น เหมือนเห็นคนกำลังหนาว พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 492

ด้วยสามารถแห่งสุขโสมนัสที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เหตุอะไร พวกคนเหล่านี้ดื่ม

เพียงข้าวยาคูภัตรและของขบเคี้ยวหน่อยหนึ่ง นั่งท้องแข็งแสวงหาเตาไฟอยู่

ตลอดคืน. พอหยาดน้ำตกไปใกล้สรีระ พวกเขาก็นอนคร่อมเหนือเตาไฟ

และห่มผ้า. ส่วนเรากินเนื้อหรือขนมแม้แข็งยิ่ง บริโภคภัตรแต่พอเต็มท้อง

ในทันใดนั่นแลภัตรทั้งหมดของเราย่อมย่อยไปเหมือนฟองน้ำ. เมื่อฝนพรำ

ตลอด ๗ วันเป็นไปอยู่ แม้เพียงผ่อนคลายความเยือกเย็นในสรีระ ก็ไม่

มีแก่เรา ดังนี้.

บทว่า อย วาโยธาตุยา อสฺสาโท ความว่า นี้เป็นความแช่มชื่น

อาศัยวาโยธาตุ. ความแช่มชื่นนี้นั้น เหมือนเห็นคนอื่นกลัวลม พึงทราบ

ด้วยสามารถแห่งสุขโสมนัสเป็นไปอย่างนี้ว่า เมื่อคนเหล่านี้ทำการงานแม้

เพียงเล็กน้อย กล่าวแม้เพียงอนุโมทนา ลมก็ย่อมเสียดแทงสรีระ. มือและ

เท้าของพวกเขาผู้เดินทางไกลแม้เพียงคาวุตเดียวก็ล้า ปวดหลัง. เขาถูก

ลมในท้อง ลมในสรีระและลมในหูเป็นต้น เบียดเบียนเป็นนิตย์ ก็พากัน

ผสมยาแก้ลมมีน้ำมันและน้ำผึ้งเป็นต้น ใช้กัน. ส่วนพวกเราทำงานหนัก

บ้าง กล่าวธรรมตลอดคืนสามยามบ้าง เดินทางตลอด ๑๐ โยชน์โดย

วันเดียวบ้าง เพียงมือและเท้าอ่อนล้า หรือเพียงปวดหลังก็ไม่มี ดังนี้. ก็

ธาตุเหล่านี้ที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าความแช่มชื่น.

บทว่า อพฺภญฺาสึ ได้แก่ เราได้รู้แล้วด้วยญาณพิเศษ. บทว่า

อนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ ได้แก่ การตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง

เว้นธรรมอื่นที่ยิ่งกว่า คือประเสริฐกว่าธรรมทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง การ

ตรัสรู้ประเสริฐ และดี. ต้นไม้ก็ดี มรรคก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี นิพพาน

ก็ดี ชื่อว่าโพธิ. ก็ต้นไม้ในอาคตสถานว่า การตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 493

และว่า ในระหว่างต้นโพธิ และคยา เรียกว่าโพธิ. ทางในอาคต-

สถานว่า. ญาณในมรรค ๔. สัพพัญญุตญาณในอาคตสถานว่า ผู้มีปัญญา

ดังแผ่นดิน บรรลุโพธิญาณ. นิพพานในอาคตสถานว่า บรรลุโพธิญาณ

อันเป็นอมตะ อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้. ส่วนในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประสงค์เอาอรหัตมรรค. ถามว่า อรหัตมรรค คืออนุตตรโพธิญาณ

ย่อมมี หรือไม่มีแก่พระสาวกทั้งหลาย. ตอบว่า ไม่มี. ถามว่า เพราะ

เหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ให้คุณแก่สาวกทั้งปวง. ก็สำหรับพระสาวก

เหล่านั้น อรหัตมรรค ของใคร ให้เฉพาะอรหัตผล. ของใคร ให้

วิชชา ๓ ของใคร ให้อภิญญา ๖ ของใคร ให้สาวกบารมีญาณ. ของ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณ. ส่วนของพระพุทธเจ้า

ให้คุณสมบัติทุกอย่าง เหมือนการอภิเษกของพระราชาให้ความเป็นใหญ่

ในโลกทั้งหมด. เพราะฉะนั้น อนุตตรโพธิญาณ จึงไม่มีแก่ใคร ๆ อื่น.

บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺาสึ ความว่า เราปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราตรัสรู้

บรรลุ แทงตลอดแล้วตั้งอยู่. บทว่า าณญฺจ ปน เม ทสฺสน อุทปาทิ

ความว่า ปัจจเวกขณญาณนั้นแล อันสามารถเห็นคุณที่ตนบรรลุแล้ว

เกิดขึ้น. บทว่า อกุปฺปา เม วิมุตฺติ ความว่า ญาณเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

อรหัตผลวิมุตตินี้ของเราไม่กำเริบ. ในความไม่กำเริบนั้นพึงทราบความไม่

กำเริบโดยอาการ ๒ อย่างคือ โดยเหตุ และโดยอารมณ์. ก็ความไม่

กำเริบนั้น ชื่อว่าไม่กำเริบ แม้โดยเหตุ เพราะกิเลสอันตัดด้วย

มรรค ๔ ไม่กลับมาอีก ชื่อว่าไม่กำเริบ แม้โดยอารมณ์ เพราะทำ

นิพพานมีความไม่กำเริบเป็นธรรมดาให้เป็นอารมณ์เป็นไป. บทว่า อนฺติมา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 494

แปลว่า เป็นชาติสุดท้าย. บทว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ความว่า บัดนี้

ชื่อว่าไม่มีภพอื่นอีก.

สัจจะ ๔ พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตรนี้. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า

ก็อัสสาทะในธาตุ ๔ เป็นสมุทัยสัจ. อาทีนพ เป็นทุกขสัจ. การสลัดออก

จากทุกข์ เป็นนิโรธสัจ. มรรคเป็นเหตุรู้ชัดถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจ. จะ

กล่าวแม้ให้พิสดาร ก็ควรแท้. แต่ในสูตรนี้ การเข้าใจถึงเหตุที่ละว่า

สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีธาตุใด นี้เป็นอัสสาทะของปฐวีธาตุ

ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ. การเข้าใจด้วยการกำหนดรู้ว่า ปฐวีธาตุใด ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นอาทีนพของปฐวีธาตุ ดังนี้

เป็นทุกขสัจ.

การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะแห่งปฐวี

ธาตุใด นี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ. ทิฏฐิ

สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ. วายามะ สติ สมาธิใด ในฐานะ ๓

เหล่านี้. การแทงตลอดด้วยภาวนานี้ เป็นมรรคสัจ.

จบอรรถกถาปุพพสูตรที่ ๒

๓. อจริสูตร

ว่าด้วยการแสวงหาความแช่มชื่นแห่งธาตุทั้ง ๔

[๔๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . .แล้วได้ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราได้

เที่ยวแสวงหาความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ ได้พบความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุ

๑. ม. อจริงสตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 495

นั้นแล้ว เราได้เห็นความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยปัญญา เรา

ได้แสวงหาโทษแห่งปฐวีธาตุ . ได้พบโทษแห่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เราได้

เห็นโทษแห่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้แสวงหาเครื่อง

สลัดออกซึ่งปฐวีธาตุ ได้พบเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุนั้นแล้ว เรา

ได้เห็นเครื่องสลัดออกซึ่งปฐวีธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.

เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่งอาโปธาตุ ฯ ล ฯ เราได้แสวงหา

ความแช่มชื่นแห่งเตโชธาตุ ฯลฯ เราได้แสวงหาความแช่มชื่นแห่ง

วาโยธาตุ ได้พบความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นความ

แช่มชื่นแห่งวาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา

โทษแห่งวาโยธาตุ ได้พบโทษแห่งวาโยธาตุนั้นแล้ว เราได้เห็นเครื่อง

สลัดออกซึ่งวาโยธาตุเท่าที่มีอยู่ด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.

[๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่เรายังไม่ได้ทราบชัดตาม

ความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความ

เป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔

เหล่านี้เพียงใด เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตร-

สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น แต่เมื่อใดเราได้ทราบ

ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษ

โดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง

ธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พระอนุตตร-

สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ อนึ่ง ญาณทัสสนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 496

ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้

การเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.

จบอจริสูตรที่ ๓

อรรถกถาอจริสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอจริสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อจรึ ความว่า เราได้เที่ยวไปด้วยญาณ อธิบายว่า ด้วย

การท่องเที่ยวไปตามลำดับภาวนา. บทว่า ยาวตา แปลว่า ประมาณเท่าใด.

จบอรรถกถาอจริสูตรที่ ๓

๔. โนเจทสูตร

ว่าด้วยเรื่องธาตุทั้ง ๔

[๔๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายไม่พึงยินดีใน

ปฐวีธาตุ ก็เพราะความแช่มชื่นแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

จึงยินดีในปฐวีธาตุ ถ้าว่าโทษแห่งปฐวีธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย

ก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ก็เพราะโทษแห่งปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้น

สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่งปฐวีธาตุ

ไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัด [ตน] ออกจากปฐวีธาตุ

ก็เพราะเครื่องสลัดออกจากปฐวีธาตุมีอยู่แล ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 497

[ตน] ออกจากปฐวีธาตุ ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่งอาโปธาตุไม่ได้มีแล้ว

ไซร้. . . แห่งเตโชธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ . . . ถ้าว่าความแช่มชื่นแห่ง

วาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีในวาโยธาตุ ก็เพราะ

ความแช่มชื่นแห่งวาโยธาตุมีอยู่แล ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ

ถ้าว่าโทษแห่งวาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายใน

วาโยธาตุ ก็เพราะโทษแห่งวาโยธาตุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่าย

ในวาโยธาตุ ถ้าว่าเครื่องสลัดออกแห่งวาโยธาตุไม่ได้มีแล้วไซร้ สัตว์

ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัด [ตน] ออกจากวาโยธาตุ ก็เพราะเครื่องสลัดออก

แห่งวาโยธาตุมีอยู่แล ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัด [ตน] ออกจากวาโยธาตุ.

[๔๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบเท่าที่สัตว์เหล่านี้ยังไม่ทราบ

ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดย

ความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุ

ทั้ง ๔ เหล่านี้เพียงใด สัตว์เหล่านี้ยังสลัดตนออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้ ยัง

ไม่หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจาก

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจข้ามพ้นจากแดน

กิเลสและวัฏฏะไม่ได้เพียงนั้น ก็เมื่อใดแลสัตว์เหล่านี้ได้ทราบชัดตามความ

เป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่นโดยเป็นความแช่มชื่น ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ

ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้

เมื่อนั้นสัตว์เหล่านี้ย่อมสลัดตนออกได้ พรากออกได้ หลุดพ้นไปจากโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และจากหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 498

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จึงได้มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสและวัฏฏะ

อยู่ ดังนี้.

จบโนเจทสูตรที่ ๔

อรรถกถาโนเจทสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในโนเจทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า นยท เป็นต้น ท่านประกอบด้วยการปฏิเสธตามที่กล่าว

แต่ต้น พึงทราบอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายออกไม่ได้ พรากออกไม่ได้

หลุดพ้นไปไม่ได้ มีใจข้ามพ้นจากแดนกิเลสไม่ได้อยู่. พึงทราบวินิจฉัยใน

นัยที่ ๒. บทว่า วิมริยาทิกเตน ได้แก่ มีใจไม่มีแดน. ในบทนั้น

แดนมี ๒ คือ แดนคือกิเลส แดนคือวัฏฏะ. ก็ในบทเหล่านั้นกิเลส

ของคนใดอันตนละได้แล้วครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งยังละไม่ได้. ก็หรือว่า

วัฏฏะครึ่งหนึ่ง ตนละได้แล้ว อีกครึ่งหนึ่งยังละไม่ได้. จิตของคนนั้นข้าม

พันแดน หมายถึงกิเลส หรือวัฏฏะที่ละได้แล้ว. จิตข้ามพ้นจากแดน

ไม่ได้ หมายถึงกิเลส หรือวัฏฏะที่ยังละไม่ได้. ส่วนในที่นี้ ท่านกล่าวว่า

มีใจข้ามพ้นจากแดน ดังนี้ เพราะกิเลสและวัฏฏะแม้ทั้งสองละได้แล้ว.

อธิบายว่า มีใจไม่ทำแดนไว้ ข้ามพ้นแดนอยู่. กล่าวสัจจะ ๔ เท่านั้น

ไว้ใน ๓ สูตรเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาโนเจทสูตรที่ ๔

๑. ม. นิสฺสฏาติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 499

๕. ทุกขสูตร

ว่าด้วยสุขและทุกข์แห่งธาตุทั้ง ๔

[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง อัน

ทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงยินดีใน

ปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์

ไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในปฐวีธาตุ. . .อาโปธาตุนี้. . .

เตโชธาตุนี้. . . วาโยธาตุนี้ จักมีทุกข์โดยส่วนเดียว อันทุกข์ติดตามถึง

อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็พึงยินดีใน

วาโยธาตุ แต่เพราะวาโยธาตุอันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่

หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงยินดีในวาโยธาตุ.

[๔๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฐวีธาตุนี้จักมีสุขโดยส่วนเดียว

อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่งลงถึงแล้วไซร้ สัตว์

ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ แต่เพราะปฐวีธาตุมีทุกข์ อันทุกข์

ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลงถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

จึงเบื่อหน่ายจากปฐวีธาตุ อาโปธาตุนี้. . . เตโชธาตุนี้. . . วาโยธาตุนี้

จักมีสุขโดยส่วนเดียว อันสุขติดตามถึง อันสุขหยั่งลงถึง อันทุกข์ไม่หยั่ง

ลงถึงแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ แต่เพราะ

วาโยธาตุมีทุกข์ อันทุกข์ติดตามถึง อันทุกข์หยั่งลงถึง อันสุขไม่หยั่งลง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 500

ถึง ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายจากวาโยธาตุ ดังนี้.

จบทุกขสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เอกนฺตทุกฺขา ความว่า ทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนคน

เดินไปแล้วหยุดอยู่เกิดความร้อนฉะนั้น. บทว่า ทุกฺขานุปติตา ได้แก่ อัน

ทุกข์ติดตาม. บทว่า ทุกฺขาวกฺกนฺตา ได้แก่ อันทุกข์ก้าวลง มีทุกข์หยั่งลง

คือเป็นปัจจัยแก่ทุกขเวทนา. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.

ท่านกล่าวทุกขลักษณะไว้ในสูตรนี้.

จบอรรถกถาทุกขสูตรที่ ๕

๖. อภินันทนาสูตร

ว่าด้วยการชื่นชมยินดีในธาตุทั้ง ๔

[๔๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผู้ใดย่อมชื่นชมปฐวีธาตุ. . .ผู้นั้นชื่อว่าย่อมชื่นชมทุกข์ผู้ใดย่อมชื่นชมทุกข์

เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ผู้ใดย่อมชื่นชมอาโปธาตุ. . . ผู้ใด

ย่อมชื่นชมเตโชธาตุ. . .ผู้ใดย่อมชื่นชมวาโยธาตุ. . .ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์

ผู้ใดชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

[๔๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมไม่ชื่นชมปฐวีธาตุ. . .ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 501

ชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นหลุดพ้นจากทุกข์

ผู้ใดไม่ชื่นชมอาโปธาตุ. . . ผู้ใดไม่ชื่นชมเตโชธาตุ. . . ผู้ใดไม่ชื่นชม

วาโยธาตุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่ชื่นชมทุกข์ ผู้ใดไม่ชื่นชมทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น

หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

จบอภินันทนสูตรที่ ๖

อรรถกถาอภินันทสูตรที่ ๖ เป็นต้น

ท่านกล่าววิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๖ สูตรที่ ๗.

๗. อุปปาทสูตร

ว่าด้วยความเกิดและตั้งอยู่แห่งธาตุทั้ง ๔

[๔๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งปฐวีธาตุ. . .นั่นเป็น

ความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ

ความเกิด ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งอาโปธาตุ. . . แห่ง

เตโชธาตุ. . . แห่งวาโยธาตุ นั่นเป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งโรค

เป็นความปรากฏแห่งชรามรณะ.

[๔๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับ ความสงบ ความสูญ

สิ้นแห่งปฐวีธาตุ. . .นั่นเป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค

เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ ความดับ ความสงบ ความสูญสิ้นแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 502

อาโปธาตุ. . . แห่งเตโชธาตุ. . .แห่งวาโยธาตุ. . . นั่นเป็นความดับแห่ง

ทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความสูญสิ้นแห่งชรามรณะ.

จบอุปปาทสูตรที่ ๗

๘. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์

[๔๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธาตุเหล่านี้มี ๔ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย-

ธาตุ ก็สมณะหรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง

ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะ

หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ย่อม

ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ท่านสมณพราหมณ์เหล่า

นั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์

แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึง

อยู่.

[๔๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัด

ออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล ย่อมได้รับ

สมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 503

สมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตน

เองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดังนี้.

จบปฐมสมณพราหมณ์สูตรที่ ๘

๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์

[๔๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . .แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ

เหล่านี้มี ๔ อย่างคือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ก็สมณะหรือ

พราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ

ความแช่มชื่น โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ สมณะ

หรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่

ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์

บางพวกย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด ความดับ ความแช่มชื่น

โทษ และเครื่องสลัดออกแห่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้. . .

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙

๑๐. ตติยสมณพรหมณสูตร

ว่าด้วยเป็นสมณะเป็นพราหมณ์

[๔๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 504

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์บางจำพวก ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งปฐวี

ธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวี ความดับแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึง

ความดับแห่งปฐวีธาตุ ย่อมไม่ทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ. . . ซึ่งเตโชธาตุ. . .

ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิดแห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อม

ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์

ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์

แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา

อันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๔๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางพวก

ย่อมทราบชัดซึ่งปฐวีธาตุ เหตุเกิดแห่งปฐวีธาตุ ปฏิปทาเครื่องให้ถึง

ความดับแห่งปฐวีธาตุ ย่อมทราบชัดซึ่งอาโปธาตุ. . . ซึ่งเตโชธาตุ. . .

ซึ่งวาโยธาตุ เหตุเกิดแห่งวาโยธาตุ ความดับแห่งวาโยธาตุ ปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความดับแห่งวาโยธาตุ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อม

ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์ และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็น

สมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วย

ตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้.

จบตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

จบจตุตถวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 505

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จตัสสูตร ๒. ปุพพสูตร ๓. อจริสูตร

๔. โนเจทสูตร ๕. ทุกขสูตร ๖. อภินันทนสูตร

๗. อุปปาทสูตร ๘. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๙. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๑๐. ตติยสมณพราหมณสูตร

จบธาตุสังยุตที่ ๒

อรรถกถาอุปปาทสูตรที่ ๗ เป็นต้น

ใน ๓ สูตรสุดท้าย (สูตรที่ ๘-๙-๑๐) ท่านกล่าวสัจจะ ๔

เท่านั้น.

จบจตุตถวรรคที่ ๔

จบอรรถกถาธาตุสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 506

๓. อนมตัคคสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. ติณกัฏฐสูตร

ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่พูดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี

อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่

ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

[๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า

ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้

เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็น

มารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่งบุรุษนั้นไม่

พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการ

หมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็น

เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 507

พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น

ป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียง

เท่านั้น พอทีเดียวที่จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด

พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบติณกัฏฐสูตรที่ ๑

อนมตัคคสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

อรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในติณกัฏฐสูตรที่ ๑ แห่งอนมตัคคสังยุต ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนทตคฺโค แปลว่า มีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่

รู้ไม่ได้. อธิบายว่า สงสารแม้จะตามไปด้วยญาณร้อยปี พันปี มีที่สุด

รู้ไม่ได้ คือมีที่สุดอันทราบไม่ได้. สงสารนั้นใคร่ไม่อาจรู้ที่สุดข้างนี้ หรือ

ข้างโน้นได้ คือมีเบื้องต้นเบื้องปลายกำหนดไม่ได้. บทว่า สสาโร

ได้แก่ ลำดับแห่งขันธ์เป็นต้นที่เป็นไปกำหนดไม่ได้. บทว่า ปุพฺพา

โกฏิ น ปญฺายติ ได้แก่ เขตแดนเบื้องต้น ไม่ปรากฏ ก็ที่สุด

เบื้องต้นของสงสารนั้น ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดใด. แม้ที่สุดเบื้องปลาย

ก็ย่อมไม่ปรากฏด้วยที่สุดนั้นเหมือนกัน. ส่วนสัตว์ทั้งหลาย ย่อมท่องเที่ยว

ไปในท่ามกลาง. บทว่า ปริยาทาน คจฺเฉยฺย นี้ ท่านกล่าวว่า เพราะ

เป็นอุปมาด้วยสิ่งน้อย. ส่วนในพาหิรสมัย ประโยชน์มีน้อย อุปมามีมาก.

เมื่อท่านกล่าวว่า โคนี้เหมือนช้าง สุกรเหมือนโค สระเหมือนสมุทร

๑. ฎีกา-: อตฺโถ ปริตฺโต โหติ ยถาภตาวโพธาภาวโต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 508

ประโยชน์เหล่านั้น จะมีประมาณเช่นนั้นก็หามิได้. ส่วนในพุทธสมัย

อุปมามีน้อย. ประโยชน์มีมาก. แท้จริง เพราะในบาลีที่ท่านถือเอาชมพูทวีป

แห่งเดียว. หญ้าเป็นต้น พึงถึงการหมดสิ้นไป ด้วยความพยายามของ

ชาวชมพูทวีปเห็นปานนี้ในร้อยบ้าง พันปีบ้าง แสนปีบ้าง. ส่วนมารดา

ของคน พึงถึงการหมดสิ้นไป ก็หามิได้แล. บทว่า ทุกฺข ปจฺจนุภูต

ได้แก่ ท่านเสวยทุกข์. บทว่า ติปฺป เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุภูต

นั้นแล. บทว่า พฺยสน ได้แก่ หลายอย่างมีความเสื่อมแห่งญาติเป็นต้น.

บทว่า กฏสิ ได้แก่ ปฐพีที่เป็นป่าช้า. สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายบ่อย ๆ

ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้านั้น ด้วยการทิ้งสรีระไว้. บทว่า อล แปลว่า

พอเท่านั้น.

จบอรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑

๒. ปฐวีสูตร

ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร

[๔๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น

ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.

[๔๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 509

นี้ให้เป็นก้อน ก่อนละเท่าเม็ดระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดา

ของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษ

นั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ

ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความ

พินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขาร

ทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ .

จบปฐวีสูตรที่ ๒

อรรถกถาปฐวีสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในปฐวีสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มหาปฐวึ ได้แก่ มีจักรวาลเป็นที่สุด. บทว่า นิกฺขิเปยฺย

ความว่า บุรุษทำลายปฐพีนั้นปั้นให้เป็นก้อน มีประมาณที่กล่าวแล้ว

พึงวางไว้ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

จบอรรถกถาปฐวีสูตรที่ ๒

๓. อัสสุสูตร

ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร

[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 510

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้

กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ

ร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ

โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อม

ทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหล

ออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ

การประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาล

นานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

[๔๒๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้

ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทร

ทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาล

นาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้ประสบมรณกรรมของ

มารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพราก

จากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า

เลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา.. . ของพี่ชายน้องชาย พี่สาว

น้องสาว. . . ของบุตร.. . . ของธิดา. . . ความเสื่อมแห่งญาติ. .. ความ

เสื่อมแห่งโภคะ. . . ได้ประสบความเสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนาน

น้ำตาที่หลั่งออกของพวกเธอเหล่านั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรค

คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 511

สิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย

ไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะ

เบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น

ดังนี้.

จบอัสสุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอัสสุสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กนฺทนฺตาน ได้แก่ ร้องไห้อยู่ร่ำไป. บทว่า ปสนฺท น้ำตา

หลั่งไหล คือเป็นไปแล้ว. บทว่า จตูสุ มหาสมุทฺเทสุ ได้แก่ ใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ที่กำหนดด้วยรัศมีภูเขาสิเนรุ. ก็สำหรับภูเขาสิเนรุ ทาง

ทิศปราจีน สำเร็จด้วยเงิน. ทางทิศทักษิณ สำเร็จด้วยแก้วมณี. ทางทิศ

ปัจฉิม สำเร็จด้วยแก้วผลึก. ทางทิศอุดร สำเร็จด้วยทอง. รัศมีแห่ง

เงินและแก้วมณี เปล่งออกทางทิศปราจีนและทักษิณ รวมเป็นอันเดียวกัน

แผ่ไปบนหลังมหาสมุทร ตั้งจดจักรวาลบรรพต. รัศมีแห่งแก้วมณีและ

แก้วผลึก เปล่งออกทางทิศทักษิณและทิศปัจฉิม รัศมีแห่งแก้วผลึกและทอง

เปล่งออกทางทิศปัจฉิมและทิศอุดร. รัศมีแห่งทองและเงินเปล่งออกทางทิศ

อุดรและทิศปราจีน รวมเป็นอันเดียวกัน แผ่ไปบนหลังมหาสมุทร ตั้ง

จดจักรวาลบรรพต. ภายในรัศมีเหล่านั้น เป็นมหาสมุทรทั้ง ๔. ท่านหมาย

เอามหาสมุทร ๔ เหล่านั้น จึงกล่าวว่า จตูสุ มหาสมุทฺเทสุ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 512

พฺยสน ในบทเป็นต้นว่า าติพฺยสน ได้แก่ ความเสื่อม ความเสีย

คือความพินาศ. ความเสื่อมแห่งพวกญาติ ชื่อว่าญาติพยสนะ. ความเสื่อม

แห่งโภคะ ชื่อว่าโภคพยสนะ. ชื่อว่าพยสนะ เพราะความมีโรคของตนเอง

นั่นแล คือให้ความไม่มีโรคพินาศ คือฉิบหายไป. ความเสื่อมเป็นโรค

แน่นอน ชื่อว่าโรคพยสนะ.

จบอรรถกถาอัสสุสูตรที่ ๓

๔. ขีรสูตร

ว่าด้วยเปรียบน้ำนมกับน้ำในมหาสมุทร

[๔๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้

กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลายจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้

ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไหนจะมากกว่ากัน.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

ย่อมทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว น้ำมันมารดาที่พวก

ข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากกว่า

น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.

[๔๒๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 513

อยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่

มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบขีรสูตรที่ ๔

อรรถกถาขีรสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในขีรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มาตุถญฺ ได้แก่ น้ำมันมารดา ผู้เป็นมนุษย์ มีชื่อผู้หนึ่ง.

จริงอยู่ ในเวลาสัตว์เหล่านี้บังเกิดในไส้เดือนและมดแดงเป็นต้น ในปลา

และเต่าเป็นต้น หรือในชาติปักษี น้ำมันแม่ไม่มีเลย. ในเวลาบังเถิดใน

แพะ สัตว์เลี้ยงและกระบือเป็นต้น น้ำมันมี. ในพวกมนุษย์ น้ำนมมีอยู่

เหมือนอย่างนั้น . บรรดากาลเหล่านั้น น้ำนม ที่เธอดื่ม ในกาลที่เธอ

ถือกำเนิดในครรภ์ของมารดาผู้มีชื่อผู้หนึ่งว่า "ติสสา" เท่านั้น โดย

ยังมิต้องนับในกาลที่ถือกำเนิดในสัตว์มีแพะเป็นต้น และแม้ในกาลที่ถือ

กำเนิดในครรภ์ของมารดาที่มีชื่อต่างๆ กัน อย่างนี้ว่า "เทวี สุมนา ติสสา

ในพวกมนุษย์" พึงทราบว่า ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔.

จบอรรถกถาขีรสูตรที่ ๔

๕. ปัพพตสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป

[๔๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 514

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯ ล ฯ เมื่อภิกษุ

รูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่

ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่า

เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ

เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูง

โยชน์หนึ่ง ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้น

กาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้น ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการ

หมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยัง

ไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้

พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่

แสนกัป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น

เบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว

ที่จะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ

หลุดพ้น ดังนี้.

จบปัพพตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 515

อรรถกถาปัพพตสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปัพพตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สกฺกา ปน ภนฺเต ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้นคิดว่า

พระศาสดาตรัสว่า มิใช่ทำได้ง่าย จะตัดอย่างไรก็ไม่ได้ เราอาจจะให้

พระองค์ทำอุปมาได้ไหม. เพราะฉะนั้น เธอจึงกราบทูลอย่างนี้. บทว่า

กาสิเกน ความว่า ด้วยผ้าเนื้อละเอียดมากอันสำเร็จด้วยด้ายที่เขาเอาฝ้าย

๓ ชนิดมาทอรวมกันเข้า. บุรุษพึงเหวี่ยงไปประมาณเท่าใดด้วยการทำให้

เรียบด้วยผ้านั้น. คือให้เหลือประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด.

จบอรรถกถาปัพพตสูตรที่ ๕

๖. สาสปสูตร

ว่าด้วยเรื่องกัป

[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนาน

เพียงไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่

ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี ฯ ล ฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 516

ภิกษุ เหมือนอย่างว่า นครที่ทำด้วยเหล็ก ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์

สูง ๑ โยชน์ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็น

กลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่ง ๆ ออกจากนคร

นั้นโดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อหนึ่งเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึง

ความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่ง

ยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้

พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่ร้อยพันกัป มิใช่แสน

กัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย

ไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบสาสปสูตรที่ ๖

อรรถกถาสาสปสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในสาสปสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อายส นคร ได้เเก่ เมืองล้อมด้วยกำแพงเหล็ก. แต่

ไม่ควรเห็นว่า ภายในเกลื่อนด้วยปราสาทชั้นเดียวเป็นต้นต่อกันไป.

จบอรรถกถาสาสปสูตรที่ ๖

๗. สาวกสูตร

ว่าด้วยการอุปมากัป

[๔๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้นนั้นแล ภิกษุหลายรูป

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 517

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลายที่

ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลาย

ที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีมาก มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้

กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า.

[๔๓๔] พ. อาจอุปหาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสต่อไปว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มี

ชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้นพึงระลึกถอยหลังไปได้วันละแสนกัป

กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงถึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ

๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปี ๆ โดยแท้แล

กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับ

กัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่า

เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนด

ที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบสาวกสูตรที่ ๗

อรรถกถาสาวกสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในสาวกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุสฺสเรยฺยุ ความว่า แม้พระสาวก ๔ รูป พึงระลึก

ถอยหลังไปได้ ๔ แสนกัปอย่างนี้ว่า เมื่อรูปหนึ่งระลึกถอยหลังได้แสนกัป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 518

อีกรูปหนึ่งระลึกถอยหลังได้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป แม้รูปอื่นก็ระลึกถอยหลังได้อีก

๑๐๐,๐๐๐ กัปจากสถานที่เขาอยู่.

จบอรรถกถาสาวกสูตรที่ ๗

๘. คงคาสูตร

ว่าด้วยการอุปมากัป

[๔๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้นนั้นแบ พราหมณ์ผู้หนึ่ง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นพราหมณ์นั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่าน

ไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป

เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป.

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม.

[๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อน

พราหมณ์ แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใด

เมล็ดทราบในระยะนี้ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เมล็ด เท่านี้

๑๐๐ เมล็ด เท่านี้ ๑,๐๐๐ เมล็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 519

พราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทราย

เหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป

เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี

อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่

ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน

ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น

ดูก่อนพราหมณ์ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขาร

ทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้น

ได้กราบทูลว่า แจ่มแจ้งยิ่งนักท่านพระโคดม แจ่มแจ้งยิ่งนักท่านพระ

โคดม ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง

สรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้.

จบคงสูตรที่ ๘

อรรถกถาคงคาสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยใน คงคาสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ยา เอตสฺมึ อนฺตเร วาลิกา ความว่า เมล็ดทรายใน

ระหว่างนี้ ยาว ๕ โยชน์.

จบอรรถกถาคงคาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 520

๙. ทัณฑสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายเหมือนท่อนไม้

[๔๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น

ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น

ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ล ฯ

[๔๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นบนอากาศ

บางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลง

ทางปลาย แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็น

เครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลก

นี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อ

จะหลุดพ้น ดังนี้.

จบทัณฑสูตรที่ ๙

อรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๙

ส่วนในทัณฑสูตรที่ ๙ คำจะต้องกล่าวไม่มี.

จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 521

๑๐. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เหมือนโครงกระดูกบุคคล

[๔๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ เมื่อบุคคลหนึ่งท่อง

เที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง พึงมีโครงกระดูก ร่างกระดูก กองกระดูก

ใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นพึงเป็นของที่จะขนมารวมกันได้

และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะ

หลุดพ้น ดังนี้.

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

กระดูกของบุคคลคนหนึ่งที่สะสมไว้กัปหนึ่ง พึงเป็น

กองเท่าภูเขา ก็ภูเขาที่เรากล่าวนั้น คือ ภูเขาใหญ่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 522

ชื่อเวปุลละ อยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้

เมืองราชคฤห์ อันมีภูเขาล้อมรอบ เมื่อใดบุคคลเห็น

อริยสัจ คือทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความล่วงพ้น

ทุกข์ และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันยังสัตว์ให้ถึง

ความสงบทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้น เขา

ท่องเที่ยว ๗ ครั้งเป็นอย่างมาก ก็เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์

ได้ เพราะสิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ดังนี้แล.

จบปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติณกัฏฐสูตร ๒. ปฐวีสูตร ๓. อัสสุสูตร ๔. ขีรสูตร

๕. ปัพพตสูตร ๖. สาสปสูตร ๗. สาวกสูตร ๘. คงคาสูตร

๙. ทัณฑสูตร ๑๐. ปุคคลสูตร

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

แม้ ๓ บทมีบทเป็นต้นว่า อฏฺิกงฺกโล ก็เป็นไวพจน์ของกอง

กระดูกนั่นเอง. ก็สัตว์เหล่านี้ เวลาไม่มีกระดูกมากกว่าเวลามีกระดูก.

ด้วยว่า กระดูกของสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้นเหล่านั้นไม่มี. ส่วนสัตว์มีปลา

และเต่าเป็นต้น มีกระดูกมากกว่าแล. เพราะฉะนั้น พึงถือเอาเฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 523

เวลามีกระดูก มิได้หมายถึงเวลาไม่มีกระดูกและเวลามีกระดูกมากหลาย.

บทว่า อุตฺตโร คิชฺฌกูฏสฺส ได้แก่ภูเขาตั้งอยู่ทิศเหนือของภูเขาคิชฌกูฏ.

บทว่า มคธาน คิริพฺพเช คือ ใกล้ภูเขาแคว้นมคธ อธิบายว่า ตั้ง

อยู่ในวงล้อมของภูเขา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 524

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. ทุคตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เหมือนทุคตบุรุษ

[๔๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี

อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่

ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่

สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์

เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้

กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

จบทุคตสูตรที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถาทุคตสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในทุคตสูตรที่ ๑ แห่งทุติยวรรค ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุคฺคต ได้แก่คนขัดสน คือ คนกำพร้า. บทว่า ทุรูเปต

ความว่า ทุคตบุรุษมีมือและเท้าไม่สมประกอบ.

จบอรรถกถาทุคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 525

๒. สุขิตสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เหมือนบุคคลผู้มีความสุข

[๔๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี

อวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่

ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ. . . เธอทั้งหลายเห็นบุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย

ความสุข มีบริวารคอยรับใช้ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้ง-

หลายก็เคยเสวยสุขเห็นปานนี้มาแล้วโดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่า สงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯล ฯ พอเพื่อจะ

หลุดพ้น ดังนี้.

จบสุขิตสูตรที่ ๒

อรรถกถาสุขิตสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสุขิตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขิต ความว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยความสุข คือมีทรัพย์มาก

มีโภคะมาก. บทว่า สุสชฺชิต ความว่า ประดับตกแต่งขึ้นคอช้าง คือ

มีบริวารมาก.

จบอรรถกถาสุขิตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 526

๓. ติงสมัตตาสูตร

ว่าด้วยภิกษุชาวเมืองปาเวยยะ ๓๐ รูป

ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

[๔๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลนทก-

นิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ

๓๐ รูป ทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงผ้าไตรจีวรเป็นวัตร แต่ทั้งหมดล้วนยัง

เป็นผู้มีสังโยชน์อยู่ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๔๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า ภิกษุ

ชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูปเหล่านี้แล ทั้งหมดล้วนถือการอยู่ป่าเป็น

วัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือทรงไตร-

จีวรเป็นวัตร ทั้งหมดล้วนยังมีสังโยชน์ ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรม

โดยประการที่ภิกษุเหล่านี้จะพึงมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น

ณ อาสนะนี้ทีเดียว ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ.

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยังมีอวิชชา

เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โลหิตที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 527

หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้

กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมทราบธรรมตามที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระ-

องค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วน

น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้.

[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้

ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนาน นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัด

ศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน

มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ซึ่งถูก

ตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า. . . เมื่อ

เธอทั้งหลายเกิดเป็นแกะ . . . เกิดเป็นแพะ. . . เกิดเป็นเนื้อ . . . เกิด

เป็นสุกร. . . เกิดเป็นไก่. . . เมื่อพวกเธอถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า

เป็นโจรฆ่าชาวบ้านตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมาก

กว่า. . . ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรคิดปล้น. . . ถูกจับตัดศีรษะ

โดยข้อหาว่าเป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นตลอดกาลนาน โลหิต

ที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย

ไม่ได้. . . พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 528

พอใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุชาวเมืองปาเวยยะประมาณ ๓๐ รูป

พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

จบติงสมัตตสูตรที่ ๓

อรรถกถาติงสมัตตาสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในติงสมัตตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาเวยฺยกา ได้เเก่ภิกษุชาวเมืองปาเวยยกะ. ในบทเป็นต้นว่า

สพฺเพ อารญฺิกา พึงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ในป่าเป็นวัตรเป็นต้น

ด้วยอำนาจสมาทานธุดงค์. บทว่า สพฺเพ สสญฺโชนา ความว่า พวก

ภิกษุทั้งปวงยังมีเครื่องผูกอยู่ คือบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวก

เป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี. ก็ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเป็น

ปุถุชน หรือพระขีณาสพไม่มี. ในบทเป็นต้นว่า คุนฺน ได้แก่พึงถือเอา

เวลามีสีอย่างหนึ่ง ๆ ในบรรดาสีขาวและดำเป็นต้น. บทว่า ปาริปนฺถกา

ได้แก่พวกโจรปล้นคอยดักที่ทาง. บทว่า ปารทาริกา คือโจรผู้ประพฤติ

ผิดในภรรยาของผู้อื่น.

จบอรรถกถาติงสมัตตาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 529

๔. มาตุสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เหมือนผู้ไม่เคยเป็นมารดา

[๔๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯล ฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็น

มารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น

ดังนี้.

จบมาตุสูตรที่ ๔

[สูตรทั้งปวงก็มีเปยยาลอย่างเดียวกันนี้]

อรรถกถามาตุสูตรที่ ๔

พึงทราบเนื้อความในมาตุสูตรที่ ๔ เป็นต้น โดยกำหนดเพศและ

โดยกำหนดจักรวาล. ในข้อนี้มีกำหนดเพศอย่างนี้ว่า เวลาบุรุษเป็น

มาตุคามและเวลามาตุคามเป็นบุรุษ. สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวจากจักรวาลนี้

ไปยังจักรวาลอื่น และจากจักรวาลอื่นมายังจักรวาลนี้. บรรดากำหนด ๒

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงหญิงที่เป็นมารดาเวลาเป็น

มาตุคามในจักรวาลนี้ จึงตรัสว่า โย น มาตาภูตปุพฺโพ. แม้ในบท

เป็นต้นว่า โย น ปิตาภูตปุพฺโพ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถามาตุสูตรที่ ๔ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 530

๕. ปิตุสูตร

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

เหมือนผู้ไม่เคยเป็นบิดา

[๔๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็น

บิดาโดยกาลนาน มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้.

จบปิตุสูตรที่ ๕

ตั้งแต่สูตรที่ ๕ ถึง สูตรที่ ๙ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย

๖. ภาตุสูตร

ว่าด้วยสงสารและสัตว์ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย

[๔๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ฯล สัตว์ที่ไม่เคยเป็น

พี่ชายน้องชายโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย. ดังนี้.

จบภาตุสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 531

๗. ภคินีสูตร

ว่าด้วยสงสารและสัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิงน้องหญิง

[๔๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็น

พี่หญิงน้องหญิงโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้.

จบภคินีสูตรที่ ๗

๘. ปุตตสูตร

ว่าด้วยสงสารและสัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตร

[๔๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็น

บุตรโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย.

จบปุตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 532

๙. ธีตุสูตร

ว่าด้วยสงสารและสัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดา

[๔๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น

ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้อง

ต้นย่อมไม่ปรากฏ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นธิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย

ไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ

ไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็น

ป่าช้าตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว

เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะ

หลุดพ้น ดังนี้.

จบธีตุสูตรที่ ๙

๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

ว่าด้วยความเป็นไปของภูเขาเวปุลละ

[๔๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 533

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้.

[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา

เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด

เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลล-

บรรพตนี้ได้ชื่อว่าปาจีนวังสะ สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ได้ชื่อว่า ติวรา

หมู่มนุษย์ชื่อติวรา มีอายุประมาณ ๔ หมื่นปี หมู่มนุษย์ชื่อติวรา ขึ้นปาจีน-

วังสบรรพตเป็นเวลา ๔ วัน ลงก็เป็นเวลา ๔ วัน. สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เสด็จอุบัติ

ขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ

มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าวิธูระ และสัญชีวะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแล อันตรธาน

ไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืน

อย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอ

ทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อ

จะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภูเขาเวปุลละนี้

มีชื่อว่าวงกต. สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์มีชื่อว่าโรหิตัสสะ มีอายุประมาณ

๓ หมื่นปี มนุษย์ชื่อว่าโรหิตัสสะ ขึ้นวงกตบรรพตเป็นเวลา ๓ วัน ลง

ก็เป็นเวลา ๓ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 534

ทรงพระนามว่าโกนาคมนะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสันพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ มีพระสาวกคู่หนึ่ง

เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อว่าภิยโยสะและอุตตระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้น

ทำกาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เวปุลลบรรพต

นี้มีชื่อว่า สุปัสสะ. สมัยนั้นแล หมู่มนุษย์ชื่อสุปนียา มีอายุประมาณ

๒ หมื่นปี หมู่มนุษย์ที่ชื่อว่าสุปปิยา ขึ้นสุปัสสะบรรพตเป็นเวลา ๒ วัน

ลงก็เป็นเวลา ๒ วัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสปะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้มีพระสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ

เป็นคู่เจริญ ชื่อว่ติสสะและภารทวาชะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงดูเถิด ชื่อแห่งภูเขานี้นั้นแลอันตรธานไปแล้ว มนุษย์เหล่านั้นกระทำ

กาละไปแล้ว และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ปรินิพพานแล้ว

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล ภูเขาเวปุลละนี้มีชื่อว่า

เวปุลละทีเดียว ก็บัดนี้หมู่มนุษย์เหล่านี้มีชื่อว่ามาคธะ หมู่มนุษย์ที่ชื่อมาคธะ

มีอายุน้อย นิดหน่อย ผู้ใดมีชีวิตอยู่นาน ผู้นั้นมีอายุเพียงร้อยปี น้อย

กว่าก็มี เกินกว่าก็มี หมู่มนุษย์ชื่อมาคธะ ขึ้นเวปุลลบรรพตเพียงครู่เดียว

และบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุพธเจ้าพระองค์นี้ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ในโลก ก็เราแลมีสาวกคู่หนึ่ง เป็นคู่เลิศ เป็นคู่เจริญ ชื่อสารีบุตรและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 535

โมคคัลลานะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นก็จักมี สละชื่อแห่งบรรพตนี้

จักอันตรธาน หมู่มนุษย์เหล่านี้จักทำกาละ และเราก็จักปรินิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้

ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อ

จะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น

ดังนี้.

[๔๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ปาจีนวังสบรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อติวระ วงกฏ

บรรพตของหมู่มนุษย์ชื่อโรหิตัสสะ สุปัสสบรรพต

ของหมู่มนุษย์ชื่อสุปปิยา และเวปุลลบรรพตของหมู่

มนุษย์ชื่อมาคธะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มี

อันเกิดขึ้นแลเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับไป

เป็นสุข ดังนี้.

จบเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐

จบทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 536

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุคตสูตร ๒. สุขิตสูตร ๓. ติงสมัตตาสูตร

๔. มาตุสูตร ๕. ปิตุสูตร ๖. ภาตุสูตร

๗. ภคินีสูตร ๘. ปุตตสูตร ๙. ธีตุสูตร

๑๐. เวปุลลปัพพตสูตร

จบอนมตัคคสังยุตที่ ๓

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในเวปุลปัพพตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ภูตปุพฺพ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องราวเรื่อง

หนึ่งในอดีตกาลมาแสดง. บทว่า สมญฺา อุทปาทิ ได้แก่ บัญญัติ. บทว่า

จตุเหน อาโรหนฺติ นี้ ท่านกล่าวหมายถึงคนมีกำลังปานกลาง. บทว่า

อคฺค คือสูงสุด. บทว่า ภทฺทยุค คือคู่ที่ดี. บทว่า ตีเหน อาโรหนฺติ

ความว่า ได้ยินว่า แผ่นดินหนาขึ้น ๑ โยชน์ ระหว่างพระพุทธเจ้าทั้งสอง

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ภูเขานั้นสูง ๓ โยชน์. บทว่า อปฺป วา ภิยฺโย

ความว่า ผู้อยู่เกินกว่า ๑๐๐ ปี น้อยกว่า ๑๐ ปีบ้าง. ผู้ที่ชื่อว่าอยู่ตลอด

๑๐๐ ปี ไม่มีอีก. แต่โดยสูงสุด สัตว์มีชีวิตอยู่ได้ ๖๐ ปีบ้าง ๘๐ ปีบ้าง

ส่วนสัตว์ยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ตายไปในเวลา ๕ ปี หรือ ๑๐ ปีเป็นต้นก็มี

มาก. คำนี้ว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ บังเกิดในเวลามีอายุ

๔ หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ บังเกิดในเวลามีอายุ ๓

หมื่นปี ดังนี้ ท่านจัดให้เป็นความเสื่อมโดยลำดับ. แต่ไม่พึงทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 537

อายุเสื่อมอย่างนี้ เจริญแล้ว ๆ ก็เสื่อม. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า

ครั้งแรก พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ บังเกิดในเวลามีอายุ ๔ หมื่นปี

ในกัปนี้แบ่งประมาณอายุออกเป็น ๕ ส่วน ดำรงอยู่ ๔ ส่วน ปรินิพพาน

แล้วในเมื่อส่วนที่ ๕ ยังมีอยู่. อายุนั้นเสื่อมลงถึง ๑๐ ปี กลับเจริญขึ้นอีก

จนถึงอสงไขยปี แล้วกลับเสื่อม ดำรงอยู่ในเวลามีอายุ . หมื่นปี.

พระโกนาคมนะบังเกิดแล้วในกาลนั้น. แม้พระองค์ก็ปรินิพพานอย่างนั้น

แล อายุนั้นเสื่อมลงถึง ๑๐ ปี กลับเจริญขึ้นอีกจนถึงอสงไขยปี แล้วก็เสื่อม

ดำรงอยู่ในเวลามีอายุ ๒ หมื่นปี. พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะบังเกิดใน

กาลนั้น. แม้พระองค์ปรินิพพานแล้วอย่างนั้นแล อายุนั้นเสื่อมลงถึง ๑๐ ปี

กลับเจริญขึ้นอีกจนถึงอสงไขยปี แล้วเสื่อมลงไปถึง ๑๐๐ ปี. ครั้งนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงอุบัติ. พึงทราบว่าอายุเสื่อมแล้วกลับเจริญ

เจริญแล้วก็เสื่อม. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติในมนุษย์ มีประมาณอายุ

อันใดในกัปนั้น อันนั้นแล เป็นประมาณอายุแม้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น.

จบอรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๑๐

จบทุติยวรรคที่ ๒

จบอรรถกถาอนมตัคคสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 538

๔. กัสสปสังยุต

๑. สันตุฏฐสูตร

ว่าด้วยเรื่องสันโดษ

[๔๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควรเพราะ

เหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ

ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็น

ผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ถึง

การแสวงหาอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่

สะดุ้ง ครั้นได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติ

เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่

สมควรเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้

เสนาสนะแล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 539

เครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษ

ด้วยเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าว

สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้

ตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งเภสัชบริขาร

ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ไม่ได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ก็ไม่

สะดุ้ง ครั้นได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้แล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ

ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค.

[๔๖๓] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และจักเป็น

ผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ จักไม่ถึงการ

แสวงหาอันไม่ควรเพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรแล้วก็จักไม่สะดุ้ง ครั้น

ได้จีวรแล้วจักไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน จึงเป็นผู้มีปกติเห็นโทษ

มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอย [พึงทำอย่างนี้ทุกบท] เราทั้งหลาย

จักเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ฯ ล ฯ จักเป็นผู้สันโดษ

ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ฯ ล ฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วยเภสัชบริขาร

ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้ จักเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความสันโดษด้วยเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้ จัก

ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควรเพราะเหตุแห่งเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่ง

คนไข้ ไม่ได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้

เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้แล้วก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน

จักเป็นผู้มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกบริโภค ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักกล่าว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 540

สอนพวกเธอตามอย่างกัสสป ก็หรือผู้ใดพึงเป็นผู้เช่นกัสสป และพวกเธอ

เมื่อได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.

จบสันตุฏฐสูตรที่ ๑

กัสสปสังยุต

อรรถกถาสันตุฏฐสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏสูตรที่ ๑ แห่งกัสสปสังยุต.

บทว่า สนฺตุฏฺาย ได้แก่ กัสสปะนี้ เป็นผู้สันโดษ. บทว่า

อิตริตเรน จีวเรน ได้แก่ ด้วยจีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง เเห่งจีวรเนื้อหยาบ

ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต ทน ชำรุด. มีอธิบายว่า สันโดษด้วย

จีวรชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามที่ได้แล้วเป็นต้น. ก็ความสันโดษในจีวรมี

๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑.

ถึงความสันโดษในบิณฑบาตเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

การพรรณนาประเภทแห่งสันโดษเหล่านั้น ดังต่อไปนี้. ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เธอใช้จีวรนั้นอย่างเดียว ไม่

ปรารถนาจีวรอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวร

ของเธอ. ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเป็นผู้ทุรพลตามปกติบ้าง ถูกอาพาธ

ครอบงำบ้าง เมื่อห่มจีวรหนักย่อมลำบาก. เธอเปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุ

ผู้ชอบพอกัน ใช้จีวรเบา ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ

ในจีวรของเธอ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ปัจจัยที่ประณีต. บรรดาบาตร

และจีวรเป็นต้น เธอได้จีวรมีค่ามากอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้จีวร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 541

เป็นต้น เป็นอันมาก ถวายด้วยคิดว่า สิ่งนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน

สิ่งนี้สมควรแก่ภิกษุผู้พหูสูต สิ่งนี้สมควรแก่ภิกษุผู้อาพาธ สิ่งนี้จงมีแก่

ภิกษุมีลาภน้อย ดังนี้ แล้วเก็บจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น ก็หรือเก็บผ้าที่

เปื้อนจากกองหยากเยื่อเป็นต้น เอาผ้าเหล่านั้นทำสังฆาฏิใช้ ก็ชื่อว่า

เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวรของเธอ.

ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาตเศร้าหมองบ้าง ประณีตบ้าง.

เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาต

อื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของเธอ.

ส่วนภิกษุใด ได้บิณฑบาตผิดธรรมดา หรือแสดงต่อความเจ็บไข้ของตน.

ภิกษุนั้น ฉันบิณฑบาตนั้นไม่มีความผาสุก. เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่

ภิกษุผู้ชอบพอกันเสีย ฉันโภชนะเป็นที่สบายจากมือของภิกษุนั้น ทำ

สมณธรรม ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยลาพลสันโดษในบิณฑ-

บาตของเธอ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตที่ประณีตเป็นอันมาก. เธอ

ถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้อาพาธ เหมือนถวาย

จีวรนั้น ฉันอาหารที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น หรืออาหารที่เที่ยวบิณฑบาต

แล้วสำรวม. ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษใน

บิณฑบาตของเธอ.

ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เสนาสนะ น่าชอบใจบ้าง ไม่น่าชอบใจ

บ้าง. เธอเกิดความพอใจ ไม่เสียใจด้วยเสนาสนะนั้นแล ยินดีตามที่ได้

โดยที่สุดแม้ลาดด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของเธอ.

ส่วนภิกษุใดได้เสนาสนะที่ผิด หรือไม่ถูกกับความเจ็บไข้ของตน เมื่อเธอ

อยู่ก็ไม่มีความผาสุก. ภิกษุนั้น ถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 542

แล้ว ก็อยู่ในเสนาสนะเป็นที่สบาย อันเป็นของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าเป็น

ผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยลาพลสันโดษในเสนาสนะของเธอ.

อีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะที่ประณีตเป็นอันมากมีถ้ำมณฑป

และเรือนยอดเป็นต้น. เธอถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย

และผู้อาพาธ เหมือนถวายจีวรเป็นต้นเหล่านั้น จึงอยู่ในที่แห่งใดแห่ง

หนึ่ง ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปสันโดษในเสนาสนะ

ของเธอ. แม้ภิกษุสำเหนียกว่า ชื่อว่า เสนาสนะที่อยู่สบายมาก เป็นที่

ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั่งในเสนาสนะนั้น ถิ่นมิทธะครอบงำ อกุศล

วิตกย่อมปรากฏแก่เธอผู้ตื่นขึ้น ถูกความหลับครอบงำแล้ว ไม่รับเสนาสนะ

เช่นนั้นแม้ถึงแก่ตน. เธอห้ามเสนาสนะนั้นแล้ว อยู่ในกลางแจ้งและ

โคนต้นไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. แม้นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษในเสนาสนะ.

ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชเศร้าหมองบ้าง ประณีตบ้าง.

เธอก็ยินดีด้วยเภสัชซึ่งตนได้เท่านั้น ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงจะได้ก็ไม่

รับ. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. ส่วนภิกษุต้อง

การน้ำมันได้น้ำอ้อย. เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้ว รับ

น้ำมันจากมือของภิกษุนั้น หรือแสวงหาน้ำมันอื่นมาทำเภสัช ก็ชื่อว่า

เป็นผู้สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. อีก

รูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีตมีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นอันมาก

เป็นต้น. เธอถวายแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และอาพาธ

เหมือนถวายจีวร ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่งอันตน

นำมาสำหรับภิกษุเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ. ส่วนภิกษุที่วางสมอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 543

ดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของหวาน ๔ อย่างไว้ในภาชนะหนึ่ง

เมื่อเขาพูดว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงถือเอาตามที่ปรารถนาเถิด หากโรค

ของเขาระงับได้ด้วยเภสัชเหล่านั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น

จึงห้ามของหวาน ๔ อย่าง ด้วยคิดว่า ชื่อว่าสมอดองน้ำมูตร พระพุทธ-

เจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญ ดังนี้ แล้วทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตร

ก็ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย

ของเธอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสันโดษ ๓ เหล่านี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะนี้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ คือเป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวรตามที่ได้เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วณฺณวาที ความว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้สันโดษ แต่ไม่

กล่าวคุณแห่งความสันโดษ อีกรูปหนึ่งไม่เป็นผู้สันโดษ แต่กล่าวคุณ

แห่งความสันโดษ. อีกรูปหนึ่ง ทั้งไม่เป็นผู้สันโดษ ทั้งไม่กล่าวคุณแห่ง

ความสันโดษ. อีกรูปหนึ่ง ทั้งเป็นผู้สันโดษ ทั้งกล่าวคุณแห่งความ

สันโดษ. เพื่อทรงแสดงว่า กัสสปะนี้เป็นผู้เช่นนั้น ดังนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า กัสสปะเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษ ด้วย

จีวรตามมีตามได้ ดังนี้.

บทว่า อเนสน ได้แก่ ไม่แสวงหามีประการต่าง ๆ มีประเภท

คือความเป็นทูตส่งข่าว และรับใช้. บทว่า อลทฺธา แปลว่า ไม่ได้.

อธิบายว่า ภิกษุบางรูปคิดว่า เราจักได้จีวรอย่างไรหนอแล รวมเป็น

พวกเดียวกับพวกภิกษุผู้มีบุญ ทำการหลอกลวงอยู่ ย่อมสะดุ้ง หวาด

เสียวฉันใด. ภิกษุนี้ ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้งฉันนั้น. บทว่า ลทฺธา จ

ได้แก่ ได้แล้วโดยธรรม. บทว่า อคธิโต ได้แก่ ไม่ติดในความโลภ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 544

บทว่า อมุจฺฉิโต ได้แก่ ไม่ถึงความสยบ ด้วยตัณหามีประมาณยิ่ง.

บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ความว่า อันตัณหาท่วมทับไม่ได้ คือโอบรัดไม่

ได้. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี ความว่า เห็นโทษอยู่ในอเนสนาบัติและ

ในการติดการบริโภค. บทว่า นิสฺสรณปญฺโ ท่านกล่าวว่า เพียงเพื่อ

กำจัดความหนาว. มีอธิบายว่า รู้การสลัดออก จึงใช้สอย. แม้ในบทเป็น

ต้นว่า อิตริตรปิณฺฑปาเตน พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ด้วยบิณฑบาต

เสนาสนะ. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้เป็นต้น.

ในบทว่า กสฺสเปน วา หิ โว ภิกฺขเว โอวทิสฺสาม นี้ เหมือน

พระมหากัสสปเถระ สันโดษด้วยความสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔. ภิกษุ

เมื่อกล่าวสอนว่า แม้ท่านทั้งหลาย จงเป็นอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวสอนตาม

กัสสป. แม้ในบทว่า โย วา ปนสฺส กสฺสปาทิโส นี้ ก็หรือภิกษุใด

เช่นกัสสปพึงเป็นผู้สันโดษ ด้วยความสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔ เหมือน

พระมหากัสสปเถระ. เมื่อกล่าวสอนว่า แม้ท่านทั้งหลาย จงมีรูปอย่างนั้น

ชื่อว่าย่อมสอนเช่นกับกัสสป. บทว่า ตถตฺตาย ปฏิปชฺชิตพฺพ

ความว่า ชื่อว่าการการกล่าวด้วยความประพฤติ และการปฏิบัติขัดเกลา

ตามที่กล่าวไว้ในสันตุฏฐิสูตรนี้ เป็นภาระของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. แต่

การบำเพ็ญทำข้อปฏิบัตินี้ให้บริบรูณ์เป็นภาระของพวกเราเหมือนกัน. เธอ

คิดว่า ก็แล เราควรถือเอาภาระอันมาถึงแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็น

อย่างนั้น ตามที่เรากล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสันตุฏฐสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 545

๒. อโนตตาปีสูตร

ว่าด้วยความไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว

[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปเเละท่านพระสารีบุตรอยู่ในป่า

อิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออก

จากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้า

ไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๖๕] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระมหา-

กัสสป ดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียรเครื่อง

เผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควร

เพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่าง

ยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้

ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดน

เกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดูก่อนผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุ

ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึง

จักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็น

ผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็น

แดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 546

[๔๖๖] ท่านพระมหากัสสปกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยัง

ไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เราจะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำ

ความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกบังเกิดขึ้นแล้ว

เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียร

เครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา

จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส

โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความ

เสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มี

ความเพียรเครื่องเผากิเลส.

[๔๖๗] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว

อย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า

อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ

ความเสียประโยชน์ สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามกที่เกิด

ขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์

ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น

จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ

ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ

ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ไม่มีความ

สะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 547

เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

[๔๘๖] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส

อย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผา

กิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น

จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดย

คิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะ

พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า

กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความ

เสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิด

ขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ ด้วย

อาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส.

[๔๖๙] สา. ผู้มีอายุ ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร.

ก. ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า

อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อ

ความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่

เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์

ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น

จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ผู้มีอายุ

ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว ผู้มีอายุ

ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 548

สะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อ

บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้.

จบอโนตตาปิสูตรที่ ๒

อรรถกถาอโนตตาปีสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอโนตตาปีสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนาตาปี ความว่า เว้นจากความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส.

บทว่า อโนตฺตาปี ความว่า ไม่กลัว คือเว้นความกลัวแต่ความเกิดแห่ง

กิเลส และความไม่เกิดแห่งกุศล. บทว่า สมฺโพธาย คือเพื่อความ

ตรัสรู้. บทว่า นิพฺพานาย คือเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง. อนุตฺตรสฺส

โยคกฺเขมสฺส คืออรหัต. ก็อรหัตนั้น ยอดเยี่ยมและเกษมจากโยคะ ๔.

ในบทเป็นต้นว่า อนุปฺปนฺนา ความว่า อกุศลบาปธรรมมีโลภะ

เป็นต้นเหล่าใด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น อันตนยังไม่

เคยได้วัตถุเป็นที่พอใจอย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริก และ

อันเตวาสิกทั้งหลายแล้ว ถือเอาสิ่งนั้นด้วยเข้าใจว่างาม เป็นสุข ดังนี้

โดยไม่แยบคาย ก็หรือรำพึงถึงอารมณ์อันไม่เคยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง โดย

ไม่แยบคายตามมีตามเกิด. อกุศลบาปธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ยังไม่

เกิดขึ้น ดังนี้.

บาปธรรม ชื่อว่ายังไม่เกิดขึ้นในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นอันบุคคล

รู้ไม่ได้ ย่อมไม่มีโดยประการอื่น. อนึ่ง อกุศลธรรมยังไม่เกิดขึ้นแก่

ภิกษุ ในเพราะอารมณ์อันเป็นวัตถุ อันเคยมีมา หรือด้วยความบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 549

เป็นปกติ หรือด้วยการเรียนและการสอบถาม หรือด้วยอำนาจแห่งปริยัติ

นวกรรมและทำไว้ในใจโดยแยบคาย อย่างใดอย่างหนึ่งในก่อน ภายหลัง

ย่อมเกิดขึ้นได้เร็วด้วยปัจจัยเช่นนั้น. อกุศลธรรมแม้เหล่านี้ พึงทราบว่า

ที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. ด้วยว่า

อกุศลธรรมเมื่อเกิดขึ้นในวัตถารมณ์เหล่านั้นบ่อย ๆ ชื่อว่ายังละไม่ได้.

อกุศลธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่าที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อยังละไม่ได้พึงเป็นไป

เพื่อความเสียประโยชน์. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. ส่วนความพิสดาร

แยกเป็นเกิดขึ้น สละวิธีที่ละได้ ยังละไม่ได้ ทั้งหมดท่านกล่าวในวิสุทธิ-

มรรคว่าด้วยญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ.

บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ความว่า ธรรมที่ไม่มี

โทษ กล่าวคือศีล สมาธิ มรรคและผลที่ตนยังไม่ได้. บทว่า อุปฺปนฺนา

ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นอันตนได้แล้ว. บทว่า นิรุชฺฌมานา อนตฺถาย

สวตฺเตยฺยุ ความว่า ธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อดับไปเพราะยังไม่

เกิด ด้วยอำนาจความเสื่อม. ก็ในธรรมมีศีลเป็นต้นนี้ โลกิยธรรมย่อม

เสื่อม. โลกุตรธรรมไม่มีเสื่อม. ส่วนเทศนานี้ ท่านแสดงด้วยอำนาจ

สัมมัปปธานนี้ว่า เพื่อความดำรงอยู่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เมื่อทุติยมรรคยังไม่เกิด

ปฐมมรรคเมื่อดับ พึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์. สัมมัปปธาน ๔

เหล่านี้ ท่านกล่าวในสูตรนี้ ด้วยอำนาจวิปัสสนาส่วนเบื้องต้น ด้วย

ประการฉะนี้แล.

อรรถกถาอโนตตาปิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 550

๓. จันทูปมสูตร

ว่าด้วยเปรียบภิกษุจงทำตัวเป็นดุจพระจันทร์

[๔๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่

เป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่คะนองในสกุลทั้งหลายเข้าไปสู่สกุลเถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงพรากกาย พรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่ง

คร่ำคร่า หรือที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนภูเขา หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ฉันใด

พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่

เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุล เข้าไปสู่สกุล ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กัสสปเปรียบประดุจพระจันทร์ พรากกาย พรากจิตออกแล้ว เป็นผู้ใหม่

อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุลทั้งหลายเข้าไปสู่สกุล.

[๔๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน ภิกษุชนิดไร จึงสมควรเข้าไปสู่สกุล.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย

ของข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

เถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทรงจำไว้ ดังนี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 551

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพันในอากาศ

ฉันใด จิตของภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพัน ฉันนั้น

เหมือนกัน โดยตั้งใจว่า ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ

จงทำบุญ ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภตามที่เป็นของตน ฉันใด

ก็เป็นผู้พลอยพอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุผู้เห็น

ปานนี้แล จึงควรเข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล

ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย โดยคิดว่า ผู้ปรารถนาลาภ

จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ ดังนี้ กัสสปเป็นผู้พอใจ ดีใจ

ด้วยลาภตามที่เป็นของตน ฉันใด ก็เป็นผู้พลอยพอใจ ดีใจ ด้วยลาภ

ของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น.

[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร ไม่บริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของภิกษุ

ชนิดไรบริสุทธิ์.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย

ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวก

เธอจงฟัง จงใจใส่ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 552

รูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า โอหนอ

ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสซึ่งธรรม

ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเรา ดังนี้ ภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่บริสุทธิ์ ส่วนภิกษุใดแล

เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญู-

ชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้น

ฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อ

ความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึง

แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์

จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์.

[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ ย่อม

แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควร

เรียกให้มาดู. ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ

ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม

ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัย

ความที่ธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความ

กรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 553

แก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนพวกเธอตามอย่างกัสสป หรือผู้ใด

พึงเป็นเช่นกัสสป เราก็จักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น ก็แลพวกเธอ

ได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.

จบจันทูปมสูตรที่ ๓

อรรถกถาจันทูปมสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในจันทูปมสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า จนฺทูปมา ความว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นเช่นดวงจันทร์

โดยความเป็นปริมณฑลอย่างไร. อีกอย่างหนึ่ง ดวงจันทร์โคจรอยู่บน

ท้องฟ้า ไม่ทำความคุ้นเคย ความเยื่อใย ความรักใคร่ ความปรารถนา

หรือความพยายามกับใคร. แต่จะไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนก็หามิได้

ฉันใด. แม้พวกเธอ ก็เป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก เพราะไม่

ทำความคุ้นเคยเป็นต้นกับใคร เป็นดุจดวงจันทร์ เข้าไปสู่ตระกูล ๔ มี

ตระกูลกษัตริย์เป็นต้นฉันนั้น. อนึ่ง ดวงจันทร์กำจัดความมืดส่องแสงสว่าง

ฉันใด. พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้ โดยนัยมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า พวกเธอเป็น

ดุจดวงจันทร์ด้วยการกำจัดความมืดคือกิเลส และด้วยการส่องแสงสว่าง

คือปัญญาฉันนั้น.

บทว่า อปกสฺเสว กาย อปกสฺส จิตฺต ความว่า พราก คือ

คร่ามา นำออกไปทั้งกายและทั้งจิตด้วยการไม่ทำความคุ้ยเคยเป็นต้นนั้น

แล. ด้วยว่า ภิกษุใดไม่อยู่แม้ในป่า แต่ตรึกกามวิตกเป็นต้น. ภิกษุนี้

ชื่อว่าไม่พรากทั้งกายทั้งจิต. ส่วนภิกษุใด แม้อยู่ในป่า ตรึกกามวิตก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 554

เป็นต้น. ภิกษุนี้ชื่อว่าพรากกายอย่างเดียว แต่ไม่พรากจิต. ภิกษุใดอยู่

ในละแวกบ้าน แต่ก็ไม่ตรึกกามวิตกเป็นต้น. ภิกษุนี้ชื่อว่าพรากจิต

อย่างเดียว แต่ไม่พรากกาย. ส่วนภิกษุใดอยู่ป่า และไม่ตรึกกามวิตก

เป็นต้น ภิกษุนี้ชื่อว่าพรากแม้ทั้งสอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง

แสดงว่า พวกเธอเห็นปานนี้ จงเข้าไปสู่ตระกูล จึงตรัสว่า อปกสฺเสว

กาย อปกสฺส จิตฺต ดังนี้.

บทว่า นิจฺจนวกา ความว่า พวกเธอเป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ คือเป็น

เช่นอาคันตุกะดังนี้. ด้วยว่า อาคันตุกะเข้าไปสู่เรือนที่ถึงเข้าตามลำดับ

ถ้าเจ้าของเรือนเห็นเขาเข้าก็คิดว่า บุตรพี่น้องชายของพวกเรา ไปพักแรม

เที่ยวไปอย่างนี้ ดังนี้ เมื่ออนุเคราะห์เชิญให้นั่งให้บริโภค พอเขาบริโภค

เสร็จคิดว่า ท่านจงถือเอาโภชนะของท่านเถิด ดังนี้ ลุกขึ้นหลีกไป ย่อม

ไม่ทำความคุ้นเคยกับเจ้าของเรือนเหล่านั้น หรือจัดทำกรณียกิจ. ท่านแสดง

ว่า แม้พวกเธอเข้าไปสู่เรือนที่ถึงเข้าตามลำดับอย่างนี้แล้ว พวกมนุษย์ผู้

เลื่อมใสในอิริยาบถจะถวายสิ่งใด รับเอาสิ่งนั้นตัดความคุ้นเคยเป็นผู้ไม่

ขวนขวายในกรณียกิจของมนุษย์เหล่านั้นออกไป ดังนี้. ท่านกล่าวเรื่องของ

สองพี่น้องไว้ เพื่อความแจ่มแจ้งของความเป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พี่น้องสองคนออกบวชจากบ้านวโสฬนคร. พี่น้องสองคน

เหล่านั้น ปรากฏว่าเป็น พระจูฬนาคเถระ และพระมหานาคเถระ. พระ-

เถระเหล่านั้นอยู่บนภูเขาจิตตลบรรพตตลอด ๓๐ ปี บรรลุพระอรหัตแล้ว

คิดว่า เราจักเยี่ยมมารดา มาแล้ว พักอยู่ในวิหารในวโสฬนคร เข้าไปสู่บ้าน

มารดาเพื่อบิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น. แม้มารดานำข้าวต้มออกไปด้วยกระบวย

เพื่อพระเถระเหล่านั้น เกลี่ยลงในบาตรของพระเถระรูปหนึ่ง. เมื่อนาง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 555

มองดูพระเถระนั้น ก็เกิดความรักในบุตร. ครั้งนั้นนางจึงกล่าวกะท่านว่า

ลูกท่านชื่อมหานาคเป็นลูกของเราหรือ. พระเถระกล่าวว่า อุบาสิกา ท่านจง

ถามพระเถระรูปหลังเถิด แล้วก็หลีกไป. นางถวายข้าวยาคูแม้แก่พระเถระ

รูปหลัง แล้วจึงถามว่า ลูก ท่านชื่อจูฬนาคเป็นลูกของเราหรือ. พระเถระ

กล่าวว่า อุบาสิกา ท่านไม่ถามพระรูปก่อนหรือ ดังนี้ แล้วก็หลีกไป.

ภิกษุผู้ตัดความคุ้นเคยกับมารดาอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์.

บทว่า อปฺปคพฺภา คือไม่คะนอง อธิบายว่า เว้นด้วยความ

คะนองกายมีฐาน ๘ ด้วยความคะนองวาจามีฐานะ ๔ และด้วยความ

คะนองใจมีฐานะมิใช่น้อย การกระทำอันไม่สมควรด้วยกายในสงฆ์

คณะ บุคคล โรงฉัน เรือนไฟ ท่าอาบน้ำ ทางภิกขาจาร การเข้าไป

ในละแวกบ้าน ชื่อว่าความคะนองกายมีฐานะ ๘ เช่นกรรมเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ นั่งรัดเข่าในท่ามกลางสงฆ์ หรือ

ไขว่ห้าง. ในท่ามกลางคณะก็อย่างนั้น. บทว่า คณเมชฺเฌ ความว่า

ในการประชุมบริษัท ๔ หรือประชุมคณะพระสูตรเป็นต้น. ในภิกษุผู้

แก่กว่าก็อย่างนั้น. ส่วนในโรงฉันไม่ถวายอาสนะแก่ภิกษุผู้แก่ ห้าม

อาสนะแก่ภิกษุผู้ใหม่. ในเรือนไฟก็อย่างนั้น ก็ในเรือนไฟนี้ เธอไม่

บอกภิกษุผู้แก่ ทำการก่อไฟเป็นต้น. ส่วนในท่าอาบน้ำมีอธิบายนี้ว่า

ท่านไม่กำหนดว่า ภิกษุหนุ่ม ภิกษุแก่ พึงอาบน้ำตามลำดับที่มา. เธอเมื่อไม่

เอื้อเฟื้อการกำหนดนั้น มาภายหลังลงน้ำ ย่อมเบียดเบียนภิกษุแก่และภิกษุ

ใหม่. ส่วนในทางภิกขาจารมีกรรมเป็นต้นอย่างนี้ว่า เดินออกหน้าเพื่อ

ประโยชน์แก่อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ ก้อนข้าวที่เลิศ กระทบแขนเข้าไปภาย

ในละแวกบ้านก่อนพวกภิกษุผู้แก่ ทำการเล่นทางกายกับภิกษุหนุ่ม ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 556

การเปล่งวาจาอันไม่สมควรในท่ามกลางสงฆ์ คณะ บุคคล และ

ในละแวกบ้าน ชื่อว่าความคะนองวาจามีฐานะ ๔ เช่นภิกษุบางรูปใน

ธรรมวินัยนี้ไม่บอกก่อน กล่าวธรรมในท่ามกสางสงฆ์ ในท่ามกลางคณะ

และในสำนักบุคคลมีประการตามที่กล่าวแล้วในก่อนอย่างนั้น ถูกพวก

มนุษย์ถามอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่บอกภิกษุผู้แก่กว่าแก้ปัญหา. ส่วนใน

ละแวกบ้าน ย่อมกล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อแม้ไฉน ข้าวยาคู หรือของ

ควรเคี้ยว ควรบริโภคมีอยู่หรือ ท่านจะให้อะไรแก่เรา. วันนี้เราจักเคี้ยว

อะไร จักกินอะไร จักดื่มอะไร. การไม่ถึงอัชฌาจารด้วยกายวาจาใน

ฐานะเหล่านั้น ๆ แต่ใจตรึกถึงกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่าความคะนองใจ ซึ่งมี

ฐานะมิใช่น้อย. อนึ่ง ความที่ภิกษุผู้ทุศีล แม้มีความปรารถนาลามกอัน

เป็นไปอย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีลดังนี้ ชื่อว่าความคะนองใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอเป็นผู้คะนองเข้าไปหา เพราะไม่มี

ความคะนองเหล่านี้ทั้งหมดด้วยประการฉะนี้. บทว่า ชรุทปาน ได้แก่

บ่อน้ำเก่า. บทว่า ปพฺพตวิสม ได้แก่ ที่เป็นหลุม คือเป็นเหวบนภูเขา.

บทว่า นทีวิทุคฺค ได้แก่ แม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ๆ. บทว่า อปกสฺเสว

กาย ได้แก่ ผู้ใดขวนขวายในการเล่นเป็นต้น ไม่พรากกาย ไม่ร่วมกัน

ทำกรรมหนักตลอดสถานที่เช่นนั้น ไม่ยึดถือผู้ช่วย ไม่พรากจิต คำนึงโดย

ลำดับ เพราะเห็นโทษว่าบุคคลผู้ตกไปในที่นี้ ย่อมถึงมือและเท้าหักเป็นต้น

จึงมีความรักมองดู. บุคคลนั้นตกไปแล้ว ย่อมประสบสิ่งมิใช่ประโยชน์มีมือ

และเท้าหักเป็นต้น. ส่วนผู้ใดต้องการน้ำ เป็นผู้ใคร่จะตรวจดูด้วยกิจอื่น

หรือกิจบางอย่าง พรากกาย ร่วมกันทำกรรมหนัก ยึดถือผู้ช่วยเหลือ พราก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 557

แม้จิต มองดูเกิดสังเวชเพราะเห็นโทษ. ผู้นั้นแลดูตามความชอบใจ แล้วมี

ความสุข ย่อมหลีกไปตามความปรารถนา.

บทนี้ในบทว่า เอรเมว โข นี้ เป็นเครื่องเปรียบอุปมา. ด้วยว่า

ตระกูล ๔ เหมือนบ่อน้ำเก่าเป็นต้น. ภิกษุเหมือนบุรุษผู้แลดู. บุรุษมีกาย

และจิตยังพรากไม่ได้ เมื่อแลดูบ่อน้ำเก่าเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมตกไปใน

บ่อนั้นฉันใด ภิกษุมีกายเป็นต้นไม่รักษาแล้ว เมื่อเข้าไปสู่ตระกูล ย่อม

ติดอยู่ในตระกูล ต่อจากนั้น ย่อมประสบสิ่งมิใช่ประโยชน์ มีการทำลาย

พื้นศีลเป็นต้น มีประการต่าง ๆ เป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างบุรุษมีกาย

และจิตพรากได้แล้ว ย่อมไม่ตกไปในบ่อนั้นฉันใด. ภิกษุเป็นผู้มีกายและ

จิตพรากได้ด้วยกายอันตนรักษาแล้ว ด้วยอันตนรักษาแล้ว ด้วยวาจา

อันตนรักษาแล้ว ด้วยสติอันมั่นคง เมื่อเข้าไปสู่ตระกูล ย่อมไม่ติดใน

ตระกูล. ครั้งนั้น ศีลของเธอไม่ทำลาย เหมือนเท้าของบุรุษ ผู้ไม่ตกไป

ในบ่อนั้น ไม่หักฉะนั้น. มือที่ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมไม่ทำลาย เหมือน

มือไม่หักฉะนั้น. ท้องคือสมาธิ ย่อมไม่แตก เหมือนท้องไม่แตกฉะนั้น.

ศีรษะคือญาณ ย่อมไม่แตก เหมือนศีรษะไม่แตกฉะนั้น. อนึ่ง ตอและ

หนามเป็นต้น ย่อมไม่ตำบุรุษนั้นฉันใด. หนามคือราคะเป็นต้น ย่อมไม่

ทิ่มแทงภิกษุนี้ฉันนั้น. บุรุษนั้นไม่มีอุปัทวะ. แลดูได้ตามความชอบใจ

มีความสุขหลีกไปได้ตามต้องการฉันใด ภิกษุอาศัยตระกูลแล้ว เสพปัจจัย

มีจีวรเป็นต้น เจริญกัมมัฏฐาน พิจารณาในสังขารทั้งหลาย บรรลุพระ

อรหัตเป็นสุขด้วยโลกุตรสุข ย่อมไปสู่ทิศคือนิพพานที่ยังไม่เคยไปได้ตาม

ต้องการฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 558

บัดนี้ ภิกษุใดน้อมใจไปในทางเลว ปฏิบัติผิด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสว่า พวกเธอจงละความคะนอง ๓ อย่างเป็น

ดุจดวงจันทร์ เข้าไปสู่ตระกูล ด้วยความเป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ตั้งไว้ใน

มิใช่ฐานะ ให้ยกภาระที่ทนไม่ได้ ให้การทำสิ่งซึ่งใคร ๆ ไม่อาจจะทำได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตัดทางถ้อยคำของภิกษุนั้นแสดงว่า ใคร ๆ

อาจทำได้อย่างนี้ ภิกษุเห็นปานนี้ก็มีอยู่ดังนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กสฺสโป

ภิกฺขเว ดังนี้.

บทว่า อากาเส ปาณึ จาเลสิ ความว่า ทรงโบกฝ่าพระหัตถ์

ไปมาทั้งสองข้าง ทั้งส่วนล่าง ทั้งส่วนบน เหมือนนำไปซึ่งสายฟ้าเป็นคู่ ๆ

ในระหว่างท้องฟ้าสีครามฉะนั้น. แต่ข้อนี้ ชื่อว่าเป็นบทไม่เจือปนใน

พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก. บทว่า อตฺตมโน ความว่า เป็นผู้

มีจิตยินดี มีใจเป็นของตน คือไม่ถูกโทมนัสถือได้. แม้บทว่า กสฺสปสฺส

ภิกฺขเว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดถ้อยคำของผู้อื่น โดยนัยก่อน

เหมือนกัน จึงตรัสเพื่อแสดงว่า ภิกษุเห็นปานนี้ก็มีอยู่. บทว่า ปสนฺนาการ

กเรยฺยุ ความว่า ชนผู้เลื่อมใสพึงถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. บทว่า

ตถตฺตาย ปฏิปชฺเชยฺยุ ความว่า พวกภิกษุบำเพ็ญศีลให้เต็มในที่มาแล้ว

ให้ศีลเหล่านั้น ๆ ถึงพร้อมในที่แห่งสมาธิวิปัสสนามรรคและผลมาแล้ว

ชื่อว่าพึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นอย่างนั้น. บทว่า อนุทย คือความรักษา.

บทว่า อนุกมฺป คือมีจิตอ่อนโยน. ก็ทั้งสองบทนั้น เป็นไวพจน์ของ

ความกรุณา. แม้บทว่า กสฺสโป ภิกฺขเว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตัดถ้อยคำของผู้อื่น โดยนัยก่อนเหมือนกัน จึงตรัสเพื่อแสดงว่า ภิกษุ

เห็นปานนี้ก็มีอยู่. ในบทว่า กสฺสเปน วา นี้ ท่านแต่งประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 559

อำนาจอุปมากับดวงจันทร์เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยก่อนเหมือน

กัน.

จบอรรถกถาจันทูปมสูตรที่ ๓

๔. กุลูปกสูตร

ว่าด้วยการเข้าไปสู่สกุลของภิกษุบางพวก

[๔๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุชนิดไร สมควรเข้าไปสู่สกุล

ภิกษุชนิดไร ไม่สมควรเข้าไปสู่สกุล.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย

ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯ ล ฯ.

[๔๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ขอชนทั้งหลายจงให้แก่เราเท่านั้น

อย่าไม่ให้ จงให้แก่เราให้มาก อย่าให้น้อย จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น

อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง จงให้เราเร็วพลันทีเดียว อย่าให้ช้า จงให้เราโดย

ความเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพเข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย

ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่สกุล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อม

อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชน

ทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ฯ ล ฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต

ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกข-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 560

โทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดย

เคารพ ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อ

นั้นเป็นเหตุ ภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่ควรเป็นผู้เข้าไปสู่สกุล.

[๔๗๖] ส่วนภิกษุใดแล มีความคิดอย่างนี้ว่า ขอให้ชนทั้งหลาย

ในสกุลอื่นจงให้เราเท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้เรามากเท่านั้น อย่าให้น้อย

จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง จงให้เราพลันทีเดียว

อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพนั้น อันนั้น

จะพึงได้ในเรื่องนี้แต่ที่ไหน ดังนี้ เข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ

ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ เข้าไปสู่สกุล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อมไม่

อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อม

ไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้สิ่งเศร้าหมอง

ไม่ให้สิ่งประณีต. . . ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น

เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้โดยไม่

เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้

เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุเห็นปานนี้แล ควรเป็นผู้เข้า

ไปสู่สกุล.

[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปมีความคิดอย่างนี้ว่า ชน

ทั้งหลายจงให้แก่เราเท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้แก่เรามากทีเดียว อย่าให้

น้อย ฯ ล ฯ อันนั้นจะพึงได้ในเรื่องนี้แต่ที่ไหน ดังนี้ เข้าไปสู่สกุล ชน

ทั้งหลายไม่ให้ กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส

ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปไม่อึดอัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 561

เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลาย

ให้สิ่งเศร้าหมอง ไม่ให้สิ่งประณีต กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่

ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้ช้า ไม่ให้โดยเร็ว

กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปไม่อึดอัดเพราะ

ข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย

เราจักกล่าวสอนพวกเธอให้ตามกัสสป หรือผู้ใดจะพึงเป็นเช่นกัสสป

เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น พวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว

พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.

จบกุลูปกสูตรที่ ๔

อรรถกถากุลูปกสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในกุลูปกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กุลูปโก ได้แก่ เข้าไปยังเรือนของตระกูล. บทว่า เทนฺตุเยว

เม ได้แก่ จงให้แก่เราเท่านั้น. บทว่า สนฺทิยติ ได้แก่ อึดอัด บีบ

คั้นอยู่. คำที่เหลือในข้อนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถากุลูปกสูตรที่ ๔

๕. ชิณณสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล

[๔๗๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯ ล ฯ

กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 562

ภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๗๙] เมื่อพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสดังนี้ว่า กัสสป บัดนี้เธอชราแล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอ

หนัก ไม่น่านุ่งห่ม เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงคฤหบดีจีวร จงบริโภค

โภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ในสำนักของเราเถิด.

ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลา

นานมาแล้ว ข้าพระองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรร-

เสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล

เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง

ไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความมักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

เป็นผู้มักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ

เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้

ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลี เป็นผู้

ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.

[๔๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัสสป ก็เธอ

เล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรร-

เสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน.

[เปยยาลอย่างเดียวกัน]

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 563

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . . เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

. . . เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร . . . เป็นผู้มักน้อย . . . เป็นผู้สันโดษ. . .

เป็นผู้สงัดจากหมู่ . . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่. . . เป็นผู้ปรารภความ

เพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ดังนี้.

[๔๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประ-

โยชน์ ๒ ประการ จึงอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

เป็นผู่อยู่ป่าเป็นวัตร สิ้นกาลนาน ฯ ล ฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . .

ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . . ทรงไตรจีวรเป็นวัตร. . . มีความปรารถนา

น้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้สงัดจากหมู่. . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่

เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความปรารภความ

เพียร เล็งเห็นการอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม และอนุเคราะห์ประชุมชนใน

ภายหลังว่า ทำไฉน ประชุมชนในภายหลังพึงถึงทิฏฐานุคติว่า ได้ยิน

ว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ที่ได้มีมาแล้ว

ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความอยู่ป่าเป็นวัตร

สิ้นกาลนาน ฯ ล ฯ เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร. . . ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . .

ทรงไตรจีวรเป็นวัตร. . . เป็นผู้มักน้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้

สงัดจากหมู่. . . เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ . . . เป็นผู้ปรารภความเพียร

และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรมาแล้ว สิ้นกาลนาน

ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้น

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการเหล่านี้ จึงอยู่

ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นอยู่ป่าเป็นวัตร. . . เที่ยว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 564

บิณฑบาตเป็นวัตร. . . ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. . . ทรงไตรจีวรเป็นวัตร

. . . มีความปรารถนาน้อย. . . เป็นผู้สันโดษ. . . เป็นผู้สงัดจากหมู่ . . .

เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่. . . ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งการปรารภความเพียรสิ้นกาลนาน.

[๔๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ กัสสป ได้ยินว่า

เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนกัสสป เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงผ้าบังสุกุล

อันไม่น่านุ่งห่ม จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด ฉะนี้.

จบชิณณสูตรที่ ๕

อรรถกถาชิณณสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในชิณณสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ พระเถระแก่. บทว่า ครุกานิ ความว่า

ผ้าป่านเป็นผ้าหลายชั้น เป็นของหนักด้วยเย็บด้วยด้ายและด้วยผ้าดามในที่

ที่ชำรุด ๆ จำเดิมแต่เวลาที่ท่านได้ผ้านั้น จากสำนักของพระศาสดา. บทว่า

นิพฺพสนานิ ความว่า ได้ชื่อว่าอย่างนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

นุ่งมาก่อนแล้วเลิกไป. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเธอชราและทรงผ้า

บังสุกุลหนัก. บทว่า คหปตานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจง

เลิกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ทรงจีวรอันคฤหบดีถวายเถิด. บทว่า

นิมนฺตนานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้เที่ยวบิณฑบาต

เป็นบัตร บริโภคภัตรที่เขานิมนต์มีสลากภัตรเป็นต้น. บทว่า มม สนฺติเก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 565

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเลิกองค์ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ

ใกล้บ้านเถิด. ถามว่า ก็พระราชา ทรงตั้งเสนาบดีในตำแหน่งเสนาบดี

เมื่อเสนานดีนั้นให้พระราชาทรงยินดีด้วยหน้าที่ของตน มีความจงรักภักดี

ต่อพระราชาเป็นต้น ทรงเอาตำแหน่งนั้นไปพระราชทานแก่คนอื่น ชื่อว่า

ทรงกระทำไม่สมควรฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้น เสด็จไปสิ้นทาง ๓ คาวุต

เพื่อไปต้อนรับพระมหากัสสปเถระ ประทับที่โคนต้นพหุปุตตะ ระหว่าง

กรุงราชคฤห์กับนาลันทา ทรงให้โอวาท ๓ ข้อ ทรงเปลี่ยนจีวรของพระ-

องค์กับพระมหากัสสปเถระนั้น ได้ทรงทำพระเถระให้อยู่ในป่าตามธรรม-

ชาติเป็นวัตร และให้ทรงผ้าบังสุกุลตามธรรมชาติเป็นวัตร. เมื่อท่านยัง

พระทัยของพระศาสดาให้ทรงยินดีอยู่ด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ พระศาสดา

พระองค์นั้น ทรงให้เลิกธุดงค์มีองค์ผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นต้น ทรง

ชักซวนในการรับคหบดีจีวรเป็นต้น ชื่อว่าทรงกระทำไม่สมควรมิใช่หรือ.

ตอบว่า ทรงไม่กระทำ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ

เป็นอัธยาศัยของตน. แท้จริง พระศาสดาจะทรงให้พระเถระเลิกธุดงค์ก็

หามิได้. เปรียบเหมือนกลองยังไม่ได้ตีเป็นต้น ย่อมไม่ดังฉันใด ทรง

ประสงค์จะให้พระเถระบันลือสีหนาทด้วยทรงดำริว่า คนเห็นปานนี้ยังไม่

ถูกกระทบ ย่อมไม่บันลือสีหนาทฉันนั้น จึงตรัสอย่างนี้ โดยอัธยาศัย

แห่งสีหนาท. แม้พระเถระบันลือสีหนาทโดยนัยเเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าตลอดกาลนาน ดังนี้ โดยสมควรแด่พระ

อัธยาศัยของพระศาสดาเท่านั้น.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาร ความว่า ชื่อว่าทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม

ย่อมได้แก่ภิกษุผู้อยู่ป่าเท่านั้น หาได้แก่ภิกษุผู้อยู่ในละแวกบ้านไม่. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 566

ภิกษุผู้อยู่ในละแวกบ้าน ได้ยินเสียงเด็ก เห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ได้ยิน

เสียงไม่เป็นที่สบาย. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงเกิดความไม่ยินดี. ส่วน

ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่ออยู่เลยไปคาวุตหนึ่ง หรือกึ่งโยชน์ หยั่งลงสู่ป่า ได้ยิน

เสียงเสือดาว เสือโคร่ง และราชสีห์เป็นต้น ความยินดีในเสียงมิใช่เสียง

มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะฟังเสียงเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาความยินดีในเสียง ตรัสว่า

ความยินดีอันมิใช่ของหมู่มนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุ

ผู้เข้าไปสู่สุญญาคาร มีจิตสงบ ผู้เห็นธรรมแจ่ม

แจ้งโดยชอบ เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น

และความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลายแต่อารมณ์ใด ๆ

เมื่อเธอรู้แจ้งอารมณ์อันเป็นอมตะ ย่อมได้ปีติ

ปราโมทย์ ถ้าผู้อื่นอีกไม่มีข้างหน้า หรือข้างหลัง

ความผาสุก ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ยินดีอยู่ในป่ารูปหนึ่ง

ในที่นั้นแล.

สำหรับภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเท่านั้น ก็ย่อมได้อย่างนั้นเหมือนกัน

สำหรับภิกษุผู้ไม่เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรได้ไม่. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่เที่ยว

บิณฑบาตเป็นผู้เที่ยวไปในกาลมิใช่เวลารีบไปรีบกลับไปอย่างผู้มีความห่วง

ใยมีความสงสัยมากในความห่วงใยนั้น. ก็ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรไม่เที่ยว

ไปในกาลมิใช่เวลา ไม่รีบไป ไม่รีบกลับไปอย่างผู้ไม่มีความห่วงไม่มีความ

สงสัยมากในความห่วงใยนั้น. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุผู้ไม่บิณฑบาต

เป็นวัตร อยู่ในวิหารไกลจากบ้านคิดว่า เราจะได้ข้าวยาคูหรือภัตรเพื่อ

ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ก็หรือว่าภัตรอะไรในบรรดาอุทเทสภัตรเป็นต้นในโรงฉัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 567

จักถึงแก่เรา ดังนี้ ต่อกาลเท่านั้น เมื่อตัดใยแมงมุม ให้โคที่นอนลุก

ขึ้นแล้ว ไปอยู่แต่เช้า ชื่อว่า เที่ยวไปในเวลามิใช่กาล. ครั้นมนุษย์

ออกไปจากเรือน เพื่อทำการงานในนาเป็นต้น เธอก็ไปโดยเร็ว เหมือน

ติดตามเนื้อเพื่อให้ทันกัน ชื่อว่า รีบไป. ในระหว่างทาง ครั้นพบเห็น

ใคร ๆ เข้า ก็ถามว่า อุบาสกคนโน้น หรืออุบาสิกาคนโน้นอยู่ที่บ้าน

หรือไม่ หรือว่า ไม่อยู่ที่บ้าน ครั้นทราบว่า อุบาสก หรืออุบาสิกา

ไม่อยู่ที่บ้าน ก็วิ่งพล่าน เหมือนกับถูกไฟไหม้ ด้วยคิดว่า บัดนี้ เรา

จะได้ภัตแต่เรือนไหน. เธอเอง เป็นผู้ใคร่เพื่อจะไปสู่ทิศปัจฉิม กลับ

ได้สลากในทิศปาจีน จึงเข้าไปหาภิกษุอื่น ผู้ได้สลากในทิศปัจฉิม แล้ว

กล่าวชวนแลกเปลี่ยนสลากกันว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า จักไปยังทิศ

ปัจฉิม ขอท่านจงรับสลากของข้าพเจ้าไว้ โดยให้สลากของท่านแก่

ข้าพเจ้า. ก็หรือว่า เมื่อเธอนำสลากภัตที่หนึ่งมาปริโภคอยู่ ครั้นพวก

มนุษย์ กล่าวว่า ขอท่านจงให้บาตร เพื่อสลากภัตแม้อื่นอีก จึงให้

ภิกษุอื่นมอบบาตรให้ ด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงให้บาตรของ

ท่าน ข้าพเจ้าจักใส่ภัตของข้าพเจ้าในบาตรแล้วคืนบาตรให้แก่ท่าน

ดังนี้ ครั้นให้บาตรแก่ภิกษุอื่นแล้ว เมื่อภัตอันบุคคลนำมาแล้ว จึงใส่

ในบาตรของตน เมื่อมอบบาตรคืน ชื่อว่า เปลี่ยนบาตรกัน. พระราชา

มหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ถวายมหาทานแก่พระภิกษุในวิหาร.

และพระมหาทานนี้ ภิกษุได้สลากเป็นอันมากในบ้านไกลยิ่ง. เมื่อภิกษุ

ไม่ไปที่วิหารนั้น ก็จะไม่ได้สลากอีกตลอด ๗ วัน ฉะนั้น จึงไปเพราะ

เกรงจะไม่ได้สลาก. เมื่อเธอไปอย่างนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความห่วงใย

จึงไป. ก็เธอไป เพื่อประโยชน์แก่สลากภัตเป็นต้น ของผู้ใด แต่กลับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 568

มีความสงสัยเป็นอันมากในผู้นั้น อย่างนี้ว่า คนทั้งหลาย จะถวายสลาก

ภัตนั้น แก่เราหรือหนอแล หรือว่า จะไม่ถวาย. จะถวายภัตที่ประณีต

หรือหนอแล หรือว่า จะถวายภัตที่เลว. จะถวายภัตเล็กน้อยหรือหนอแล

หรือว่าจะถวายมาก. จะถวายภัตเย็นชืดหรือหนอแล หรือว่าจะถวายภัต

ที่ยังร้อนอยู่. ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ลุกขึ้นตามเวลา ทำวัตรปฏิบัติชำระ

สรีระเข้าไปที่อยู่ ทำในใจถึงกัมมัฏฐาน กำหนดเวลา ย่อมไปในเวลาที่

มหาชนถวายภิกษากระบวยหนึ่งเป็นต้นเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่ชื่อว่าก็เที่ยว

ไปในเวลามิใช่กาล. เธอแบ่งย่างเท้าแต่ละย่างเท้าแยกเป็น ๖ ส่วนเดิน

พิจารณาไป ดังนั้น จึงไม่ชื่อว่ารีบไป. ไม่ถามว่า คนชื่อโน้นอยู่ในเรือนหรือ

ไม่อยู่ในเรือน เพราะความให้แน่นอนของตน. ย่อมไม่ได้รับสลากภัตเป็น

ต้น. เมื่อไม่ได้รู้จักสับเปลี่ยนอะไร. ไม่มีความห่วงใยในอำนาจของผู้อื่น.

เมื่อทำในใจถึงกัมมัฏฐาน ย่อมไม่ได้ตามชอบใจ ความสงสัยมาก

ไม่มี เหมือนภิกษุนอกนี้. ไม่ติดใจในบ้านหรือในถนนหนึ่ง เที่ยวไป

ในที่อื่นได้. เมื่อไม่ติดใจในบ้านเป็นต้น เที่ยวไปในที่อื่นสำรวมฉัน

เหมือนน้ำอมฤตแล้วไป. สำหรับภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเท่านั้นได้ ผู้ไม่

ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรหาได้ไม่ ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

เที่ยวแสวงหาผ้าจำนำพรรษา ไม่แสวงหาเสนาสนะสัปปายะ. ส่วนภิกษุผู้

ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่เที่ยวแสวงหาผ้าจำนำพรรษา. แสวงหาแต่

เสนาสนะสัปปายะเท่านั้น. ภิกษุผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรย่อมได้ นอกนี้หา

ได้ไม่. ด้วยว่า ภิกษุผู้ไม่ทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีสิ่งของมาก มีบริขารมาก

เพราะเหตุนั้น เธอจึงไม่มีผาสุวิหารธรรม. ผาสุวิหารธรรมย่อมได้แก่พวก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 569

ภิกษุผู้มักน้อยเป็นต้นเท่านั้น พวกนอกนี้หาได้ไม่. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความเป็นสุขในทิฏฐธรรมของตน ดังนี้.

จบอรรถกถาชิณณสูตรที่ ๕

๖. ปฐมโอวาทสูตร

ว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย

[๔๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุง

ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค

เจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำ

ธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เรา

หรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.

[๔๘๔] พระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้

เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ในพระธรรมวินัยนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุชื่อภัณฑะ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก

ของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระ-

อนุรุทธ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าว

ได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน

ดังนี้.

[๔๘๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 570

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงมา จงเรียกภัณฑภิกษุ สัทธิวิหาริกของอานนท์

และอาภิชชิกภิกษุ สัทธิวิหาริกของอนุรุทธ มาตามคำของเราว่า พระศาสดา

ตรัสเรียกท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว

ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า ขอรับ ผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๘๖] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเธอได้กล่าวล่วงเกิน

กันและกันด้วยสุตะว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน

ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ดังนี้ จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงไว้แล้ว

อย่างนี้หรือหนอ พวกเธอจึงกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า

จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใคร

จักกล่าวได้นานกว่ากัน.

ภิ. ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกเธอไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดง

แล้วอย่างนี้ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร

บวชอยู่ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ย่อมกล่าวล่วงเกินกันและกัน

ด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใคร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 571

จักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน.

[๔๘๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นซบศีรษะใกล้พระบาทพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พาลอย่างไร ผู้หลง

อย่างไร ผู้ไม่ฉลาดอย่างไร ข้าพระองค์เหล่าใดบวชในพระธรรมวินัย

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วอย่างนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะ

ว่า จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน

ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงรับโทษโดยความเป็นโทษ แห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อ

สำรวมต่อไป.

[๔๘๘] พ. เอาเถิดภิกษุทั้งหลาย โทษได้ครอบงำพวกเธอ

ผู้พาลอย่างไร ผู้หลงอย่างไร ผู้ไม่ฉลาดอย่างไร เธอเหล่าใดบวชใน

ธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า

จงมาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน

ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล

พวกเธอมาเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม

เมื่อนั้นเราทั้งหลายขอรับโทษนั้นของเธอเหล่านั้น ก็การที่บุคคลเห็นโทษ

โดยความเป็นโทษแล้ว พำคืนเสียตามสมควรแก่ธรรม และถึงความ

สำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า.

จบปฐมโอวาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 572

อรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโอวาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อห วา ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพื่อตั้งพระเถระไว้ในฐานะของพระองค์. ถามว่า พระสารีบุตร

และพระโมคคัลลานะ ไม่มีหรือ. ตอบว่า มี. แต่พระองค์ได้มีความดำริ

อย่างนี้ว่า พระเถระเหล่านี้ จักดำรงอยู่นานไม่ได้. ส่วนกัสสปมีอายุ

๑๒๐ ปี. เมื่อเราปรินิพพานแล้ว กัสสปนั้นจักนั่งในถ้ำสัตตบรรณคูหา

ทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ทำเวลาประมาณ ๕,๐๐๐ ปี ของเราให้

เป็นไปได้. เราจึงตั้งเธอไว้ในฐานะของตน. พวกภิกษุจักสำคัญคำของ

กัสสปอันตนพึงฟังด้วยดี. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า

ทุพฺพจา ความว่า พวกภิกษุพึงเป็นผู้ว่ายาก. บทว่า โทวจสฺสกรเณหิ

คือ ด้วยการทำให้เป็นผู้ว่ายาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหิโน ท่านแสดงว่า

ฟังอนุศาสนีแล้ว ไม่รับเอาโดยความเคารพ ไม่ปฏิบัติตามคำสอน เมื่อไม่

ปฏิบัติ เป็นผู้ชื่อว่ารับเอาโดยไม่เคารพ. บทว่า อจฺจาวทนฺเต ความว่า

กล่าวเลยไป คือพูดมากเกินไป เพราะอาศัยการเรียนพระสูตรมาก.

บทว่า โก พหุตร ภาสิสฺสติ ความว่า เมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวว่า

ใครจักกล่าวธรรมมาก. ท่านหรือ หรือว่าเรา. โก สุนฺทรตร ความว่า

รูปหนึ่ง แม้เมื่อกล่าวมาก ย่อมกล่าวไม่ได้ประโยชน์ ไม่ไพเราะ. รูปหนึ่ง

กล่าวมีประโยชน์ ไพเราะ. ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก สุนฺทรฺตร

ดังนี้. ส่วนรูปหนึ่ง กล่าวมากละดี ก็ไม่กล่าวนาน เลิกเร็ว. รูปหนึ่ง

ย่อมใช้เวลานาน ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า โก จิรตร ดังนี้.

จบอรรถกถาปฐมโอวาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 573

๗. ทุติยโอวาทสูตร

ว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุทั้งหลาย

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กรุง-

ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอ

จงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราหรือ

เธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เราหรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย.

[๔๙๐] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้

เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ บุคคลบางคนไม่มี

ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีความเพียร ไม่มีปัญญา ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความ

เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือน

พระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล จากรัศมี จาก

ความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน

ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความพากเพียร...

ไม่มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา

เป็นอันหวังได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญ

ไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มี

ศรัทธานี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิรินี้ เป็นความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 574

เสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีโอตตัปปะนี้ เป็นความเสื่อมโทรม

ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้านนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษ

บุคคลมีปัญญาทรามนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธนี้

เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม

ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ เป็นความเสื่อมโทรม.

[๔๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนมีศรัทธา มีหิริ

มีโอตตัปปะ มีความเพียร มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืน

หรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย

เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น

ย่อมเปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความยาวและความ

กว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา...

มีหิริ... มีโอตตัปปะ... มีความเพียร ... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย

ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศล

ธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม

ข้อที่บุรุษบุคคลมีหิรินี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมี

โอตตัปปะนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลมีความพากเพียรนี้

ไม่เป็นความเสื่อมโทรม. ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญานี้ ไม่เป็นความเสื่อม

โทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มักโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษ

บุคคลไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้

ไม่เป็นความเสื่อมโทรม.

[๔๙๒] พ. ดีแล้ว ดีแล้ว กัสสป บุคคลบางคนไม่มีศรัทธา...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 575

ไม่มีหิริะ... ไม่มีโอตตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญา ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความ

เสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย เปรียบเหมือน

พระจันทร์ในข้างแรม ย่อมเสื่อมจากวรรณ จากมณฑล จากรัศมี จาก

ความยาวและความกว้าง ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคน

ไม่มีศรัทธา... ไม่มีหิริ... ไม่มีโอตัปปะ... ไม่มีความเพียร... ไม่มีปัญญา

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวัง

ได้แต่ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายเท่านั้น หวังความเจริญไม่ได้เลย

เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีศรัทธานี้ เป็นความ

เสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคลไม่มีหิริ ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลผู้ไม่มี

โอตตัปปะ ฯ ลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนเกียจคร้าน ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษ

บุคคลมีปัญญาทราม ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมักโกรธ ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษ

บุคคลผูกโกรธนี้ เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่ไม่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้

เป็นความเสื่อมโทรม.

[๔๙๓] ดูก่อนกัสสป บุคคลบางคนมีศรัทธา... มีหิริ... มีโอต-

ตัปปะ... มีความเพียร... มีปัญญา ... ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอดคืนหรือ

วันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย

เท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เปรียบเหมือนพระจันทร์ในข้างขึ้น ย่อม

เปล่งปลั่งด้วยวรรณ ด้วยมณฑล ด้วยรัศมี ด้วยความยาวและความกว้าง

ในคืนหรือวันที่ผ่านมา ฉันใด บุคคลบางคนผู้มีศรัทธา... มีหิริ...

มีโอตตัปปะ... มีความเพียร... มีปัญญา ในกุศลธรรมทั้งหลาย ตลอด

คืนหรือวันของเขาที่ผ่านมา เป็นอันหวังได้แต่ความเจริญในกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 576

ทั้งหลายเท่านั้น หวังความเสื่อมไม่ได้เลย เหมือนฉะนั้น ดูก่อนกัสสป

ข้อที่บุรุษบุคคลมีศรัทธานี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ข้อที่บุรุษบุคคล

มีหิริ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีโอตตัปปะ ฯลฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีความ

เพียร ฯ ล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลมีปัญญา ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่

มักโกรธ ฯล ฯ ข้อที่บุรุษบุคคลเป็นคนไม่ผูกโกรธนี้ ไม่เป็นความเสื่อม

โทรม ข้อที่มีภิกษุผู้กล่าวสอนนี้ ไม่เป็นความเสื่อมโทรม ดังนี้.

จบทุติยโอวาทสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโอวาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาที่มั่นคง. บทว่า วิริย ได้แก่

ความเพียรทางกายเเละทางจิต. บทว่า ปญฺา ได้แก่ ปัญญรู้กุศลธรรม.

บทว่า น สนฺติ ภิกฺขู โอวาทกา ท่านพระกัสสปแสดงว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ คำนี้ว่า บุคคลนี้ไม่มี ภิกษุผู้โอวาท พร่ำสอน กัลยาณมิตร

ดังนี้ เป็นความเสื่อม.

จบอรรถกถาทุติยโอวาทสูตรที่ ๗

๘. ตติยโอวาทสูตร

ว่าด้วยการให้โอวาท

[๔๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 577

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย จงกระทำธรรมี-

กถาแก่ภิกษุทั้งหลาย กัสสป เราหรือเธอพึงกล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย เรา

หรือเธอพึงกระทำธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ท่านพระมหากัสสปได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ

ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ เป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก

ไม่อดทน ไม่รับอนุศาสนีโดยเคารพ.

[๔๙๕] พ. ดูก่อนกัสสป ก็เป็นความจริงอย่างนั้น ครั้งก่อน

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ เป็นผุ้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น

วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรง

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าว

สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และ

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรร-

เสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรร-

เสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าว

สรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียร บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใด

เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการ

อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 578

วัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้

ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวร

เป็นวัตร เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความสันโดษ เป็นผู้สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัด

จากหมู่ เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่

คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการ

ปรารภความเพียร ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วย

คำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษา

แท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ ๆ พากันคิดเห็นว่า ทราบว่า

ภิกษุรูปที่ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ

การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงผ้า

บังสุกุลเป็นวัตร... เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร... เป็นผู้มีความปรารถนา

น้อย... เป็นผู้สันโดษ... เป็นผู้ชอบสงัดจากหมู่... เป็นผู้ไม่คลุกคลี

ด้วยหมู่... เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภ

ความเพียร ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิด

ภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อการศึกษาแท้ มาเถิดท่าน

นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง ภิกษุใหม่ ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็น

อย่างนั้น การปฏิบัติตามของพวกเธอนั้น เป็นการอำนวยประโยชน์

สุขชั่วกาลนาน.

[๔๙๖] ดูก่อนกัสสป ก็บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 579

ผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการ

อยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น และไม่กล่าว

สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ไม่เป็นผู้

ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ทรงผู้

บังสุกุลเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร และไม่กล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งความเป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย

และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่เป็นผู้

สันโดษ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ไม่เป็นผู้สงัดจาก

หมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่เป็นผู้ไม่คลุกคลี

ด้วยหมู่ และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่เป็นผู้

ปรารภความเพียร และไม่กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดเป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระย่อมนิมนต์เธอ

ให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ ใคร่ต่อ

เพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่านนั่ง

ดูก่อนกัสสป เมื่อภิกษุทั้งหลายกระทำสักการะอย่างนั้น ภิกษุใหม่ ๆ

พากันคิดว่า ทราบว่า ภิกษุที่มีชื่อเสียง มียศ ได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร พวกภิกษุผู้เป็นเถระพากันนิมนต์

เธอให้นั่งด้วยคำว่า มาเถิดภิกษุ ภิกษุรูปนี้ชื่อไร ช่างรุ่งเรืองหนอ

ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารีด้วยกันแท้ มาเถิดภิกษุ นี้อาสนะ นิมนต์ท่าน

นั่ง ภิกษุใหม่ ๆ เหล่านั้นก็ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น การปฏิบัติตาม

ของพวกเธอนั้น ไม่อำนวยประโยชน์ มีแต่ทุกข์ชั่วกาลนาน ดูก่อนกัสสป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 580

บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูก

อันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมี

ความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความปรารถนาเกินประมาณสำหรับ

พรหมจรรย์เบียดเบียนแล้ว ดูก่อนกัสสป บัดนี้ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ

ควรกล่าวว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ถูกอันตรายแห่งพรหมจรรย์เบียดเบียน

เสียแล้ว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ซึ่งมีความปรารถนาเกินประมาณ ถูกความ

ปรารถนาเกินประมาณสำหรับพรหมจรรย์เบียดเบียนเสียแล้ว.

จบตติยโอวาทสูตรที่ ๘

อรรถกถาตติยโอวาทสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในตติยโอวาทสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตถา หิ ปน เป็นนิบาต ลงในเหตุเป็นที่ตั้ง เพราะตั้ง

ก่อนเป็นผู้ว่าง่าย และบัดนี้เป็นผู้ว่ายาก. ตตฺร ได้แก่ ในพระนคร

เหล่านั้น. บทว่า โก นามาย ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนี้ชื่ออะไร ชื่อติสสเถระ

หรือนาคเถระ บทว่า ตตฺร เมื่อสักการะนั้น อันเขาทำอยู่อย่างนี้. บทว่า

ตถตฺตาย ความว่า เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

เป็นต้น. บทว่า สพฺรหฺมจาริกาโม ความว่า ชื่อว่าผู้ใคร่ต่อเพื่อนสพรหมจารี

ในอรรถว่า ใคร่ ปรารถนา ต้องการอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ จงแวดล้อม

เราเที่ยวไป ดังนี้. บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อเป็นเหตุให้ลาภสักการะ

เกิด. บทว่า พฺรหฺมจารูปทฺทเวน ความว่า ผู้ใดมีฉันทราคะเกินประมาณ

ในปัจจัย ๔ ของเพื่อนสพรหมจารี ท่านเรียกว่า เป็นอุปัทวะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 581

พรหมจรรย์ถูกอุปัทวะนั้นเบียดเบียน. บทว่า อภิวานา คือ ปรารถนา

เกินประมาณ. บทว่า พฺรหฺมจาราภิวาเนน ความว่า โดยความเป็นปัจจัย ๔

กล่าวคือความปรารถนาเกินประมาณของพวกผู้ประพฤติพรหมจรรย์.

จบอรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๘

๘. ฌานาภิญญาสูตร

ว่าด้วยการปฏิบัติตนให้เข้าถึงฌาน

[๔๙๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวัง

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ได้เท่าใด แม้

กัสสปก็หวังเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม

เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 582

สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่

พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่

เป็นสุขได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขได้

เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงจตุตถ-

ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส

ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากาสนัญจายตนะ

มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่

ใส่ใจนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวัง

เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูป

สัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ

มีอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดย

ประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ มี

อารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจาตนะได้โดย

ประการทั้งปวงอยู่ ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 583

[๕๐๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงอากิญจัญายตนะ

มีอารมณ์ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการ

ทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่า

หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ได้

เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด

แม้กัสสปก็หวังเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญาตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญา-

ยตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่าใด แม้

กัสสปก็หวังเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

ได้โดยประการทั้งปวง อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[๕๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ

คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้

ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่

ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก

เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ

พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ

ทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้

เหมือนกัน คือกัสสปบรรลุวิธีหลายประการ ฯ ล ฯ ใช้อำนาจทางกาย

ไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 584

[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราได้ยินเสียง ๒

ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลทั้งที่อยู่ใกล้ได้อย่างใด

แมักัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ

เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลทั้งที่อยู่ใกล้.

[๕๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมกำหนดรู้ใจ

ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือ

จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ

หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมี

โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่า

จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็น

มหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตที่ยังมีจิตอื่น

ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตที่ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตที่ไม่มี

จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต

ไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็

รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้นได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือ

กัสสปย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ

ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯ ล ฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.

[๕๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราตามระลึกชาติก่อน

ได้เป็นอันมาก คือตามระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ

บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ

บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 585

บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้าง ตลอด

สังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอเนกบ้างว่า ในภพโน้น. เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร

อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์

อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไป

เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี

ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ย่อม

ตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือ

กัสสปตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือตามระลึกได้หนึ่งชาติ

บ้าง ฯ ล ฯ ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[๕๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังว่า เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจี-

ทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่

ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมา-

ทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์

ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 586

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์

ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.

จบฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

อรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในณานาภิญญาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ยาวเทว อากงฺขามิ ได้แก่ เท่าที่เราปรารถนา. ส่วน

ต่อแต่นี้ เรากล่าวรูปาวจรฌาน ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว

กาเมหิ ดังนี้. อรูปสมบัติ ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺพโส รูปสญฺาน

สมติกฺกมา ดังนี้. นิโรธสมาบัติอย่างนี้ว่า สพฺพโส เนวสญฺา-

นาสญฺายตน สมติกฺกมฺม สญฺาเวทยิตนิโรธ ดังนี้. และกล่าว

อภิญญาเป็นโลกีย์ ๕ โดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิต อิทฺธิวิธ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 587

ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทที่พึงกล่าวทั้งหมดนั้น ให้พิสดารในวิสุทธิ-

มรรค พร้อมด้วยพรรณนาตามลำดับบท และวิธีภาวนา. บทว่า

อาสวาน ขยา ได้แก่ เพราะอาสวะสิ้นไป. บทว่า อนาสว ได้แก่

ไม่เป็นปัจจัยของอาสวะ. บทว่า โจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล.

บทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.

จบอรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร

ว่าด้วยพระอานนท์นิมนต์พระมหากัสสปไปสำนักภิกษุณี

[๕๑๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์

นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหา

แล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่าน

ไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปจึงกล่าวว่า ท่าน

ไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ ๒

ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์

ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด ท่านพระมหากัสสปก็กล่าวว่า

ท่านไปเถิดอานนท์ผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีกิจมาก มีธุระมาก แม้ครั้งที่ ๓

ท่านพระอานนท์ก็พูดกับท่านพระมหากัสสปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์

ท่านไปยังที่พำนักของภิกษุณีด้วยกันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 588

[๕๑๓] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปนุ่งแล้วถือบาตร

และจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังที่พำนักของภิกษุณี

ครั้นเข้าไปแล้ว จึงนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้งนั้นภิกษุณีเป็นอันมาก

พากันเข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่พัก ครั้นเข้าไปแล้วจึงกราบท่าน

พระมหากัสสป แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุณีเหล่านั้น

นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสป ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล ท่าน

พระมหากัสสปครั้นยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๕๑๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อถุลลติสสาไม่พอใจ จึงเปล่งคำ

แสดงความไม่พอใจว่า เพราะเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปจึง

สำคัญธรรมที่ตนควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนี

เปรื่องปราชญ์ เปรียบเหมือนพ่อค้าเข็มสำคัญว่าควรขายเข็มในสำนักของ

ช่างเข็มผู้ชำนาญ ฉันใด พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปย่อมสำคัญธรรมที่ตน

ควรกล่าวต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ฉันนั้น

เหมือนกัน ท่านพระมหากัสสปได้ยินภิกษุณีถุลลติสสากล่าววาจานี้แล้ว

จึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ผู้มีอายุ เราเป็นพ่อค้าเข็ม ท่าน

เป็นช่างเข็ม หรือเราเป็นช่างเข็ม ท่านเป็นพ่อค้าเข็ม ท่านพระอานนท์

จึงตอบว่า ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ ขอท่านโปรดประทานโทษ

เถิด มาตุคามเป็นคนโง่.

[๕๑๕] งดไว้ก่อนอานนท์ผู้มีอายุ หมู่ของท่านอย่าเข้าไปสอดเห็น

ให้เกินไปนัก ดูก่อนอานนท์ผู้มีอายุ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 589

ท่านถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

บ้างหรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก

อยู่ได้เท่าใด แม้อานนท์ก็หวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้ว

ข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่านั้น

เหมือนกัน.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ.

ก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุเฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหวังสงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวก อยู่ได้เท่าใด แม้กัสสปก็หวังสงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมณาน ฯ ล ฯ อยู่ได้เท่านั้นเหมือนกัน.

[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีเปยยาลอย่างนี้]

[๕๑๖] อานนท์อาวุโส ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน

ถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง

หรือว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม

เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้อานนท์ก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐิธรรม

เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน.

อา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ ท่านผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 590

ดูก่อนผู้มีอายุ เราเองถูกนำเข้าไปเปรียบในหมู่ภิกษุ เฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างนั้นเหมือนกัน.

[๕๑๗] ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดได้ด้วย

อภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึง

ปกปิดด้วยใบตาลได้.

ก็แลภิกษุณีชื่อถุลลติสสาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว.

จบภิกขุปัสสยสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อายาม ภนฺเต ความว่า ถามว่า ท่านพระอานนท์ ย่อม

วิงวอนการไปสู่ที่พักภิกษุณี เพราะเหตุไร. ตอบว่า ไม่ใช่เพราะเหตุลาภ

และสักการะ. ย่อมวิงวอนว่า ก็ในที่พักภิกษุณีนี้ พวกภิกษุณีที่ต้องการ

กัมมัฏฐานมีอยู่. ก็เราจักยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เกิดความขวนขวายแล้ว พึง

ให้บอกกัมมัฏฐาน ดังนี้ . ถามว่า พระเถระนั้น ตนเองก็ทรงพระไตรปิฎก

เป็นพหูสูต มิใช่หรือ ไม่สามารถจะบอกเองหรือ. ตอบว่า ไม่สามารถ

ก็หามิได้. แต่ย่อมวิงวอนว่า พวกภิกษุณีจักสำคัญธรรมของพระสาวก

ผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้าอันตนพึงเชื่ออย่างไร. บทว่า พหุกิจฺโจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 591

ตฺว พหุกรณีโย ถามว่า พระเถระเป็นผู้ขวนขวายในนวกรรมเป็นต้นหรือ

จึงกล่าวอย่างนี้ก็พระอานนท์. ก็เมื่อพระศาสดาของเราปรินิพพานแล้ว

บริษัท ๔ เข้าไปหาพระอานนทเถระ ร้องไห้อยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

บัดนี้ท่านรับบาตรและจีวรของใครเที่ยวไปเล่า. ท่านกวาดบริเวณของใคร.

ท่านถวายน้ำล้างหน้าแก่ใคร. พระเถระปลอบบริษัทว่า สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยง. พระยามัจจุราชไม่ละอาย ประหารแล้วแม้ในพุทธสรีระ. นั่น

เป็นธรรมดาของสังขารทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่เศร้าโศก อย่าคร่ำครวญ

ดังนี้. นี้เป็นกิจมากของท่าน. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า สนฺทสฺเสสิ ได้แก่ แสดงคุณแห่งการปฏิบัติ. บทว่า สมาทเปสิ

แปลว่า ให้ถือเอา. บทว่า สมุตฺเตเชสิ แปลว่า ให้อาจหาญ. บทว่า

สมฺปหเสสิ ได้แก่ ให้ยินดีรุ่งเรืองด้วยคุณที่ได้แล้ว. บทว่า ถุลฺลติสฺสา

ความว่า ชื่อว่าติสสา เพราะมีสรีระอ้วน. บทว่า เวเทหมุนิโน คือ

บัณฑิตมุนี. ก็บัณฑิตย่อมนำไป คือทำกิจทั้งปวงด้วยความรู้ กล่าวคือ

ญาณ. เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เวเทหมุนี. ชื่อว่าเวเทหมุนี เพราะอรรถ

ว่า มุนีนั้นด้วย เป็นผู้มีความรู้ด้วย. บทว่า ธมฺม ภาสิตพฺพ มญฺติ

ความว่า พระมหากัสปตนเองอยู่ป่า ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จึงสำคัญ

ธรรมที่ตนควรกล่าวว่า เราเป็นธรรมกถึก ดังนี้ ในที่ต่อหน้าของพระ

อานนท์ผู้ทรงปิฎก เป็นคลังพระธรรม. พูดดูหมิ่นว่า ก็นี้ได้แก่อะไร

ก็นี้เป็นอย่างไร. บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ได้ฟังแล้ว ด้วยสามารถ

แห่งคำที่บุคคลอื่นมาบอก. บทว่า อาคเมหิ ตฺว อาวุโส ได้แก่ ท่าน

ผู้มีอายุ จงหยุดก่อน. บทว่า มา เต สงฺโฆ อุตฺตรึ อุปปริกฺขิ ความว่า

ภิกษุสงฆ์อย่าเข้าไปสอดเห็นข้อนั้นให้เกินไปในโอกาส. มีอธิบายว่า สงฆ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 592

อย่าสำคัญข้อนั้นอย่างนี้ว่า พระอานนท์ไม่ห้ามสาวก ผู้มีส่วนเปรียบด้วย

พระพุทธเจ้า ห้ามแต่ภิกษุณีฝ่ายเดียว. ความคุ้นเคยหรือความเยื่อใยของ

สาวกกับภิกษุณีนั้นจักมีได้ ดังนี้.

บัดนี้ พระมหากัสสป เมื่อแสดงตนว่ามีส่วนเปรียบด้วยพระ-

พุทธเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตึ กึ มญฺสิ อาวุโส ดังนี้. บทว่า

สตฺตรน คือ ประมาณ ๗ ศอก. บทว่า นาค คือ ช้าง. บทว่า

อฑฺฒฏฺมรตน วา ได้แก่ ๘ ศอกครึ่ง อธิบายว่า ตั้งแต่เท้าหน้าจนถึง

กระพองสูง ๗ ศอกคืบ. บทว่า ตาลปตฺติกาย คือ ด้วยใบตาลอ่อน.

บทว่า จวิตฺถ ความว่า ถุลลติสสาภิกษุณีเคลื่อนแล้ว (จากเพศ

พรหมจรรย์) คือยังไม่ตาย หรือฉิบหายแล้ว.

ก็เมื่อพระมหากัสสปเถระบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา ๖ อยู่ ผ้าย้อม

น้ำฝาดของภิกษุณีนั้น เริ่มระคายที่ร่างกายเหมือนเรียวหนาม เพราะกล่าว

ร้ายสาวกผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า. ความพอใจเกิดขึ้น ในขณะ

เปลื้องผ้าเหล่านั้นออกนุ่งผ้าขาว ดังนี้.

จบอรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ ๑๐

๑๑. จีวรสูตร

ว่าด้วยภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอานนท์ ๓๐ รูป ลาสิกขา

[๕๑๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไป

ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็โดยสมัยนี้แล ภิกษุ

ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านประมาณ ๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม พา

กันลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นหีนเพศ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 593

[๕๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจใน

ทักขิณาคิรีชนบท แล้วกลับไปสู่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุง

ราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ไหว้

พระมหากัสสปนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อย

แล้ว ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวปราศรัยก็ท่านพระอานนท์ว่า อานนท์

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึง

ทรงบัญญัติการขบฉันถึง ๓ หมวดในตระกูลเข้าไว้.

[๕๒๐] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ข้อ จึงได้ทรงบัญญัติการ

ขบฉันถึง ๓ หมวดในตระกูลเข้าไว้ คือเพื่อข่มคนหน้าด้าน เพื่อให้

ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักอยู่เป็นสุข และเพื่ออนุเคราะห์ตระกูลโดยเหตุที่พวกมี

ความปรารถนาลามก อาศัยสมัครพรรคพวกแล้วจะพึงทำสงฆ์ให้แตกกัน

ไม่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ข้อเหล่านี้แล

จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉันถึง ๓ หมวดในตระกูลเข้าไว้.

[๕๒๑] ก. อานนท์ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเที่ยวไปกับภิกษุ

เหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

ไม่ประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์อะไรเล่า เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบ

ย่ำข้าวกล้า มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อานนท์ผู้มีอายุ บริษัทของ

เธอย่อมลุ่ยหลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตก

กระจายไป เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ.

อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บนศีรษะของกระผม ผมหงอกแล้วมิใช่หรือ

ถึงอย่างนั้น พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากท่านพระมหากัสสปว่าเป็นเด็ก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 594

ก. ก็เป็นจริงอย่างนั้น อานนท์ผู้มีอายุ เธอยังไปเที่ยวกับภิกษุ

ใหม่ ๆ เหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารให้อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณ

ในโภชนะ. ไม่ประกอบความเพียร เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้า

มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อานนท์ผู้มีอายุ บริษัทของเธอย่อมลุ่ย

หลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตกกระจายไป

เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ.

[๕๒๒] ภิกษุณีถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ทราบว่าพระผู้เป็น

เจ้าอานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ถูกพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปรุกราน

ด้วยวาทะว่าเป็นเด็กไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า อะไร

เล่าพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสป ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้า

อานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ว่า ตนควรรุกรานด้วยวาทะว่าเป็นเด็ก

ท่านพระมหากัสสปได้ยินดีภิกษุณีถุลลันทากล่าววาจานี้แล้ว.

[๕๒๓] ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสปจึงกล่าวกะท่านพระอานนท์

ว่า อานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุณีถุลลนันทายังไม่ทันพิจารณา ก็กล่าววาจา

พล่อย ๆ เพราะเราเองปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่นึกเลยว่า เราบวชอุทิศศาสดาอื่น นอกจาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้ง

ก่อน เมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์เคยคิดว่า ฆราวาสช่างคับแคบ เป็นทางมา

แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์

ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ทางที่ดี

เราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต สมัยต่อมา เราทำผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่า ปลงผมและหนวด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 595

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่าน

ผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก เมื่อบวชแล้วยังเดินไปสิ้นระยะทางไกล ได้พบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าระหว่างเมืองราชคฤห์กับบ้านนาลันทคาม กำลัง

ประทับนั่งอยู่ ณ พหุปุตตเจดีย์ พอพบเข้าแล้วก็รำพึงอยู่ว่า เราพบพระ

ศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสุคต ก็เป็น

อันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอัน

พบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ผู้มีอายุ เรานั้นจึงซบเศียรเกล้าลงแทบพระ-

บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นเอง ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของ

ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.

[๕๒๔] เมื่อเรากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะเราว่า ดูก่อนกัสสป ผู้ใดเล่ายังไม่ทราบชัดถึงสาวกผู้ประมวลมา

ด้วยจิตทั้งหมดอย่างนี้แล้ว จะพึงพูดว่ารู้ ยังไม่เห็นเลย จะพึงพูดว่าเห็น

ศีรษะของบุคคลนั้นพึงแตก ดูก่อนกัสสป แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่ารู้ เห็น

อยู่ จึงพูดว่าเห็น เพราะเหตุนั้นแหละกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

จักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้นวกะ

ผู้มัชฌิมะ. . . เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จัก

กระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ใส่ใจถึงธรรมนั้นทั้งหมด จัก

ประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด เงี่ยโสตสดับพระธรรม. . . เราจักไม่ละกาย-

คตาสติที่สหรคตด้วยกุศลความสำราญ ดูก่อนกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้

แหละ ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทเราด้วยพระโอวาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 596

นี้ เสด็จลุกจากอาสนะแล้วทรงหลีกไป ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็นหนี้บริโภค

ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ พระอรหัตผลจึงปรากฏขึ้น

คราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกจากหนทางตรงไปยังโคนต้นไม้แห่ง

หนึ่ง เราจึงเอาผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าปูเป็น ๔ ชั้นถวาย แล้วกราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอด

กาลนาน ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทับนั่งบนอาสนะที่จัด

ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า กัสสป ผ้า

สังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของเธอผืนนี้อ่อนนุ่ม เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดอนุเคราะห์ทรงรับผ้าสังฆาฏิแห่ง

ผ้าที่เก่าของพระองค์เถิด พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจักครอง

ผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่หรือ เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครองผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.

[๕๒๕] ดูก่อนอาวุโส เราได้มอบถวายผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนอาวุโส ก็เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก พึงพูดถึง

ผู้ใดว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เกิดแต่พระธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าบังสกุล

ที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ เขาเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผู้นั้น คือเราว่า

บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่พระ

ธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 597

ป่านซึ่งยังใหม่.

[๕๒๖] ดูก่อนอาวุโส เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูก่อนอาวุโส เราหวัง ฯ ล ฯ

[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๕ มีเปยยาลอย่างนี้]

[๕๒๗] ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในทิฏฐธรรม

เข้าถึงอยู่ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญ

ช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้.

ก็แลภิกษุณีถุลลนันทาเคลื่อนจกาพรหมจรรย์เสียแล้ว.

จบจีวรสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาจีวรสูตรที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในจีวรสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทกฺขิณาคิริสฺมึ ความว่า ชนบทภาคทักษิณของภูเขาเป็น

เทือกล้อมกรุงราชคฤห์ชื่อว่า ทักขิณาคิริ. อธิบายว่า เที่ยวจาริกไปใน

ทักขิณาคิรีชนบทนั้น. ชื่อว่าจาริกมี ๒ อย่างคือ รีบไป ๑ ไม่รีบไป ๑.

ในบทเหล่านั้น ภิกษุบางรูปนุ่งผ้ากาสายะผืนหนึ่ง ห่มผื่นหนึ่งตลอด

เวลา คล้องบาตรและจีวรที่บ่า ถือร่ม วันหนึ่งเดินไปได้ ๗-๘ โยชน์

มีเหงื่อไหลท่วมตัว. ก็หรือว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นสัตว์ พึงตรัสรู้ไร ๆ

ขณะเดียวเสด็จไปได้ร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. นี้ชื่อว่า รีบไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 598

ก็ทุกวันที่พระพุทธเจ้ารับนิมนต์เพื่อฉันในวันนี้. เสด็จไปทำการสงเคราะห์

ชนมีประมาณเท่านี้ว่า คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ สามคาวุต หนึ่งโยชน์. นี้

ชื่อว่า ไม่รีบไป ในที่นี้ประสงค์จาริกนี้.

พระเถระได้อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระทศพลตลอด ๒๕ ปี ดุจเงา

มิใช่หรือ. ท่านไม่ให้โอกาสแก่พระดำรัสเพื่อตรัสถามว่า อานนท์ ไปไหน.

ท่านได้โอกาสเที่ยวจาริกไปกับภิกษุสงฆ์ ในกาลหนึ่ง. ในปีพระศาสดา

ปรินิพพาน. ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสป-

เถระนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ผู้ประชุมพร้อมกันในการปรินิพพานของ

พระศาสดา เลือกภิกษุ ๕๐๐ รูปเพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย กล่าวว่า

ก็ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจักอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์สังคาย-

นาพระธรรมวินัย ท่านทั้งหลายก่อนเข้าพรรษา จงตัดปลิโพธส่วนตัว

เสีย แล้วประชุมพร้อมกันในกรุงราชคฤห์เถิด ก็ไปยังกรุงราชคฤห์ด้วย

ตนเอง.

พระอานนทเถระถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าปลอบ

มหาชน ไปยังกรุงสาวัตถี ออกจากกรุงสาวัตถีนั้น ไปยังกรุงราชคฤห์

เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรีชนบท. นี้ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น.

บทว่า เยภุยฺเยน กุมารภูตา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นใด ชื่อว่า

เวียนมาเพื่อความเป็นหีนเพศ. ภิกษุเหล่านั้นโดยมากเป็นเด็กหนุ่มยังอ่อน

คือเป็นภิกษุพรรษาเดียว ๒ พรรษา และเป็นสามเณร. ถามว่า ก็เพราะ

เหตุอะไร เด็กเหล่านั้นจึงบวช. เพราะเหตุอะไร จึงเวียนมาเพื่อความ

เป็นหีนเพศ ดังนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า มาดาบิดาของเด็กนั้นคิดว่า พระ

อานนทเถระเป็นผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา ทูลขอพร ๘ อย่างแล้วจึงอุปัฏฐาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 599

ทั้งสามารถเพื่อจะพาเอาพระศาสดาไปยังสถานที่ที่ตนปรารถนาและตน

ปรารถนาได้. เราทั้งหลายจึงให้พวกเด็กของพวกเราบวชในสำนักของ

พระอานนท์นั้น. พระอานนท์ก็จักพาพระศาสดามา. เมื่อพระศาสดามาแล้ว

เราทั้งหลายจักได้ทำสักการะเป็นอันมาก ดังนี้. พวกญาติของเด็กเหล่านั้น

จึงให้เด็กเหล่านั้นบวชด้วยเหตุนี้ก่อน. แต่เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน ความ

ปรารถนาของคนเหล่านั้นก็หมดไป. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงให้เด็กเหล่านั้น

สึกแล้วโดยวันเดียวเท่านั้น .

บทว่า ยถาภิรนฺต ได้แก่ ตามชอบใจ คือตามอัธยาศัย. บทนี้ว่า

ติกโภชน ปญฺตฺต ท่านกล่าวถึงบทนี้ว่า เป็นปาจิตตีย์ให้เพราะ

คณโภชน์ เว้นไว้แต่สมัยดังนี้. ก็ภิกษุ ๓ รูปพอใจแม้รับนิมนต์เป็น

อกัปปิยะร่วมกัน เป็นอนาบัติในเพราะคณโภชน์นั้น. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ติกโภชน ดังนี้.

บทว่า ทุมฺมงฺกูน ปุคฺคลาน นิคฺคหาย ได้แก่ เพื่อข่มคนทุศีล.

บทว่า เปสลาน ภิกฺขูน ผาสุวิหาราย ความว่า อุโบสถและปวารณา

ย่อมเป็นไปเพื่อภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ด้วยการข่มคนหน้าด้านนั้นเอง. การ

อยู่พร้อมเพรียงกันย่อมมี. นี้เป็นผาสุวิหารของเปสลภิกษุเหล่านั้น เพื่อ

ประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขนี้. บทว่า มา ปาปิจฺฉา ปกฺข นิสฺสาย

สงฺฆ ภินฺเทยฺยุ ความว่า เทวทัตออกปากขอในตระกูลด้วยตนเอง บริโภค

อยู่ อาศัยภิกษุปรารถนาลามก ทำลายสงฆ์ ฉันใด ผู้ปรารถนาลามก

เหล่าอื่น ออกปากขอในตระกูล โดยเป็นคณบริโภคอยู่ ให้คณะเจริญแล้ว

อาศัยพรรคพวกนั้น พึงทำลายสงฆ์ได้ ฉันนั้น ดังนี้ จึงทรงบัญญัติไว้ด้วย

เหตุนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 600

บทว่า กุลานุทยตาย จ ความว่า เมื่อภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถและ

ปวารณาอยู่พร้อมเพรียงกัน พวกมนุษย์ถวายสลากภัตเป็นต้น ย่อมเป็นผู้

มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า. อธิบายว่า และทรงบัญญัติไว้เพื่ออนุเคราะห์

ตระกูลนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สสฺสฆาต มญฺเ จรสิ ได้แก่ เธอเที่ยวไปเหมือน

เหยียบย่ำข้าวกล้า. บทว่า กุลปฺปฆาต มญฺเ จรสิ ได้แก่ เธอเที่ยว

ไปเหมือนทำลายเบียดเบียนตระกูล. บทว่า โอลุชฺชติ ได้แก่ หลุดหาย

คือ กระจายไป. บทว่า ปลุชฺชนฺติ โข เต อาวุโส นวปฺปายา

ความว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุเหล่านั้น โดยมาก คือส่วนมากของท่านเป็น

ผู้ใหม่ เป็นหนุ่มมีพรรษาเดียว หรือ ๒ พรรษา และเป็นสามเณร หลุดหาย

คือกระจายไป. บทว่า น วาย กุมารโก มตฺตมญฺาสิ พระเถระ

เมื่อกล่าวขู่พระเถระว่า เด็กนี้ไม่รู้จักประมาณตน. บทว่า กุมารกวาทา

น มุจฺจาม ความว่า พวกเรายังไม่พ้นวาทะเป็นเด็ก. ตถา หิ ปน

ตฺว นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงเหตุ เพราะพระอานนท์นี้พึงถูกพระเถระกล่าว

อย่างนี้. ในข้อนี้ มีความประสงค์ดังนี้ว่า เพราะท่านเที่ยวไปกับพวก

ภิกษุใหม่เหล่านี้ ไม่สำรวมอินทรีย์. ฉะนั้น ท่านเที่ยวไปกับพวกเด็กจึง

ควรถูกเขากล่าวว่าเป็นเด็ก. บทว่า อญฺติตฺถิยปุพฺโพ สมาโน นี้ เพราะ

อาจารย์ อุปัชฌาย์ของพระเถระไม่ปรากฏในศาสนานี้เลย. ตนถือเอาผ้า

กาสายะแล้ว ออกบวช. ฉะนั้น ภิกษุณีถุลลนันทา กล่าวบอกถึงพระ

มหากัสสปเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เพราะความไม่พอใจ. ในบทว่า สหสา

นี้ แม้ผู้ประพฤติด้วยราคะและโมหะคือไม่ทันตรึก. แต่บทนี้ ท่านกล่าว

ด้วยอำนาจความประพฤติด้วยโทสะ. บทว่า อปฺปฏิสงฺขา คือยังไม่ทัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 601

พิจารณา.

บัดนี้ พระมหากัสสปเถระ เมื่อยังบรรพชาของตนให้บริสุทธิ์ จึง

กล่าวคำเป็นต้นว่า ยโตห อาวุโส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อญฺ สตฺถาร อุทฺทิสิตุ ความว่า เราไม่นึก เพื่ออุทิศอย่างนี้ว่า เว้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า คนอื่นเป็นครูของเรา. ในบทเป็นต้นว่า สมฺพาโธ

ฆราวาส ความว่า แม้หากว่า ผัวและเมียทั้งสอง ย่อมอยู่ในเรือน กว้าง

๖๐ ศอก หรือแม้ภายในระหว่างร้อยโยชน์ การอยู่ครองเรือนผัวเมียเหล่านั้น

ชื่อว่าคับแคบอยู่นั่นเอง เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องกังวล คือห่วงใย

บทว่า รชาปโถ ท่านกล่าวในมหาอรรถกถาว่า เป็นสถานที่เกิดแห่งธุลี

มีราคะเป็นต้น. จะกล่าวว่า เป็นทางแห่งการมา ดังนี้ก็ได้. ชื่อว่าอัพโภกาส

เพราะอรรถว่า ไม่ข้อง เหมือนปลอดโปร่ง เพราะบรรพชิตอยู่ในที่

ปกปิด ในที่มีกูฏาคารรัตนปราสาทและเทพวิมานเป็นต้น ซึ่งมีประตูและ

หน้าต่างปิดแล้ว ย่อมไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่ติด. เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า บรรพชาเป็นช่องว่าง. อนึ่ง ฆราวาส ชื่อว่าคันแคบ เพราะ

ไม่เป็นโอกาสแห่งกุศลกิริยา ชื่อว่าเป็นทางหาแห่งธุลี เพราะเป็น

ที่ประชุมแห่งกิเลสเพียงดังธุลี เหมือนกองหยากเยื่ออันเขาไม่ปิดไว้.

บรรพชา ชื่อว่าเป็นช่องว่าง เพราะเป็นโอกาสแห่งกุศลกิริยาความสบาย.

ในบทว่า นยิท สุกร ฯ เป ฯ ปพฺพเชยฺย นี้ มีสังเขปกถาดังนี้ คน

พึงกระทำสิกขา ๓ ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ให้ขาดแม้วันเดียว แล้ว

ชื่อว่าประพฤติให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะเหตุให้บรรลุจริมกจิต.

กระทำไม่ให้มีมลทิน ด้วยมลทินคือกิเลส แม้วันเดียว ชื่อว่าบริสุทธิ์

โดยส่วนเดียว เพราะเหตุให้บรรลุจริมกจิต. บทว่า สงฺขลิขิต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 602

เช่นสังข์ขัด คือพึงประพฤติมีส่วนเปรียบด้วยสังข์ที่ชำระแล้ว. บทว่า

อิท น สุกร อคาร อชฺฌาวสตา ความว่า ผู้อยู่ในท่ามกลางเรือน

ประพฤติ ฯลฯ ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว. ไฉนหนอ เราปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ เพราะซึมซาบด้วยรสที่ย้อมด้วยน้ำฝาด คือผ้าที่

สมควรแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ออกจากเรือนพึงบวชไม่มีเรือน. เพราะ

ในข้อนี้ กรรมมีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น อันเกื้อกูลเรือน

เรียกว่า การมีเรือน. เรือนนั้นไม่มีในบรรพชา. ฉะนั้น บรรพชาพึงรู้ว่า

การไม่มีเรือน. ซึ่งอนาคาริยะการไม่มีเรือนนั้น. บทว่า ปพฺพเชยฺย คือพึง

ปฏิบัติ. บทว่า ปฏปิโลติกาน คือผ้าเก่า. ผ้าใหม่แม้ ๑๓ ศอก ท่านเรียกว่า

ผ้าเก่า จำเดิมแต่เวลาตัดชาย. ท่านหมายถึงสังฆาฏิที่ท่านตัดผ้าที่มีราคา

มาก กล่าวว่า สังฆาฏิแห่งผ้าเก่า ดังนี้. บทว่า อทฺธานมคฺค ปฏิปนฺโน

ได้แก่ ก็ทางตั้งแต่กึ่งโยชน์ เรียกว่า ไกล. อธิบายว่า เดินทางไกลนั้น.

บัดนี้ พึงกล่าวอนุปุพพีกถาจำเดิมแต่อภินิหาร เพื่อความแจ่มแจ้ง

แห่งเนื้อความนี้ เหมือนบรรพชิตนั้น และผู้เดินทางไกล ดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลในที่สุดแสนกัป พระศาสดาพระนามว่า

พระปทุมุตตระได้อุบัติขึ้น. เมื่อพระปทุมุตตระเสด็จเข้าไปอาศัยหังสวดี-

นคร ประทับอยู่ ณ เขมมฤคทายวัน กุฏุมพีชื่อว่า เวเทหะ มีทรัพย์

สมบัติ ๘๐ โกฏิ บริโภคอาหารอย่างดี แต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถ

ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังพระวิหาร บูชาพระศาสดา ถวาย

นมัสการแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.

ขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกรูปที่ ๓ ชื่อ มหานิสภัตเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 603

ไว้ในฐานะเป็นเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็น

สาวกของเรา เป็นผู้กล่าวสอนธุดงค์ นิสภะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุเหล่านั้น.

อุบาสกได้ฟังดังนั้นเลื่อมใส ในที่สุดธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกขึ้นกลับไป

จึงถวายนมัสการพระศาสดากราบทูลว่า วันพรุ่งนี้ ขอพระองค์ทรง

รับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์มี

จำนวนมากนะ. อุบาสกทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์

มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มี ๖ ล้าน ๘ แสนรูป.

อุบาสกทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงให้ภิกษุไม่ให้เหลือ

ไว้ในวิหารแม้สามเณรองค์เดียว รับนิมนต์เถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดา

ทรงรับนิมนต์แล้ว.

อุบาสกทราบว่า พระศาสดารับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนเตรียม

มหาทาน วันรุ่งขึ้นให้คนไปกราบทูลถึงเวลาแด่พระศาสดา. พระศาสดา

ทรงถือบาตรและจีวร แวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ เสด็จไปเรือนของ

อุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้เสร็จแล้ว ในที่สุดแห่งทักษิโณทก

ทรงรับข้าวยาคูเป็นต้น ทรงแจกจ่ายภัต. แม้อุบาสกก็นั่งใกล้พระศาสดา.

ในลำดับนั้น ท่านมหานิสภัตเถระเที่ยวไปบิณฑบาตถึงถนนนั้น.

อุบาสกครั้นเห็นแล้ว จึงลุกขึ้นไปไหว้พระเถระแล้ว กล่าวว่า ขอพระ

คุณเจ้าจงให้บาตรเถิด. พระเถระได้ให้บาตรแล้ว. อุบาสกกล่าวว่า

นิมนต์พระคุณเจ้าเข้าไปในเรือนนี้เถิด. แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งใน

เรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่สมควรดอกอุบาสก. อุบาสกรับบาตรของ

พระเถระแล้วใส่บิณฑบาตจนเต็มนำไปถวาย. จากนั้นอุบาสกไปส่งพระ

เถระแล้ว กลับไปนั่งไปสำนักของพระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 604

พระองค์ผู้เจริญ ท่านมหานิสภัตเถระแม้ข้าพระองค์กล่าวว่า พระศาสดา

ประทับนั่งในเรือน ก็ไม่ปรารถนาจะเข้าไป. พระศาสดาตรัสว่า มหา-

นิสภัตเถระนั้น มีคุณยิ่งกว่าคุณของพวกท่าน. ก็ความตระหนี่ คำสรรเสริญ

ย่อมไม่มีแก่พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย. ครั้นแล้วพระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า

อุบาสก เรานั่งรอภิกษาในเรือน. ภิกษุนั้นนั่งอย่างนี้ไม่แลดูซึ่งภิกษา.

เราอยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน. ภิกษุนั้นอยู่ในป่า. เราอยู่ในที่มุงบัง.

ภิกษุนั้นอยู่ในที่แจ้ง. พระศาสดาตรัสดุจยังมหาสมุทรให้เต็มว่า นี้แหละ

นี้แหละ คุณของภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้.

อุบาสกเลื่อมใสยิ่งขึ้น เหมือนประทีปอันสว่างอยู่แม้ตามปกติราด

น้ำมันเข้าไปฉะนั้น คิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยสมบัติอื่นแก่เรา. เราจัก

กระทำความปรารถนาเพื่อความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้กล่าวสอนธุดงค์ใน

สำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต. เขานิมนต์พระศาสดาอีก

ครั้ง ถวายทานตลอด ๗ วัน โดยทำนองนี้ ในวันที่ ๗ ถวายไตรจีวร

แก่ภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสนรูป แล้วหมอบลงแทบบาทมูลของพระศาสดา

กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ข้าพระองค์ถวายตลอด

๗ วัน เป็นทานที่ประกอบด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม

เมตตามโนกรรม ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาเทพสมบัติ หรือสักกสมบัติ

มารสมบัติ และพรหมสมบัติอย่างอื่น ด้วยทานนี้. แต่กรรมของข้าพระ-

องค์นี้ ขอจงเป็นสัมฤทธิผลทุกประการแห่งความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ทรง

ธุดงค์ ๑๓ เพื่อถึงฐานันดรที่ท่านมหานิสภัตเถระถึงแล้ว ในสำนักของ

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเถิด.

พระศาสดาทรงตรวจดูว่า ฐานะอันใหญ่ที่อุบาสกนี้ปรารถนาจัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 605

สำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นความสำเร็จแล้ว จึงตรัสว่า ฐานะที่ท่าน

ปรารถนาสมใจแล้ว. ในที่สุดแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่า

โคตมะจักอุบัติขึ้น. ท่านจักเป็นสาวกรูปที่ ๓ ของพระโคดมพระองค์นั้น

จักชื่อว่า มหากัสสปเถระ.

อุบาสกได้ฟังนั้น ดำริว่า ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ไม่มีพระดำรัสเป็นสอง ได้สำคัญสมบัตินั้นเหมือนถึงในวันรุ่งขึ้น. เขา

รักษาศีลตลอดอายุ ครั้นทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น แล้วได้บังเกิดบนสวรรค์.

จำเดิมแต่นั้น เขาเสวยสมบัติในเทวโลกและมนุสสโลก เมื่อพระวิปัสสี-

สัมมาสัมพุทธเจ้าอาศัยเมืองพันธุมดีประทับอยู่ ณ เขมมฤคทายวัน ในกัป

ที่ ๙๑ จากกัปนี้ (เขา) จุติจากเทวโลก บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

แก่ตระกูลหนึ่ง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ทรงแสดงธรรมทุก ๆ ๗ ปี. ปรากฏความตื่นเต้นกันยกใหญ่ ทวยเทพ

ในสกลชมพูทวีปต่างบอกข่าวกันต่อ ๆ ไปว่า พระศาสดาจักทรงแสดง

ธรรม. พราหมณ์ได้สดับข่าวนั้นแล้ว. แต่เขามีผ้าสาฎกสำหรับนุ่งอยู่ผืน

เดียว. ของพราหมณีก็เหมือนกัน. ทั้งสองคนมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น.

ปรากฏไปทั่วเมืองว่า พราหมณ์เอกสาฎก. เมื่อมีการประชุมกันด้วยกิจ

อย่างใดอย่างหนึ่งของพวกพราหมณ์ เขาไปด้วยตนเอง ให้นางพราหมณี

อยู่ที่เรือน. เมื่อมีการประชุมนางพราหมณีเขาอยู่เรืองเอง. นางพราหมณี

ห่มผ้าผืนนั้นไป. ก็ในวันนั้นพราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณีว่า แม่มหา-

จำเริญ แม่จักฟังธรรมกลางคืนหรือกลางวัน. นางพราหมณีพูดว่า ฉัน

เป็นมาตุคาม ไม่อาจจะฟังธรรมในเวลากลางคืนได้. ฉันจักฟังธรรมใน

เวลากลางวัน จึงให้พราหมณ์อยู่ที่เรือน ห่มผ้าผืนนั้นไปกับพวกอุบาสิกา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 606

ในเวลากลางวัน ถวายบังคมพระศาสดานั่งฟังธรรมอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง แล้วกลับไปกับพวกอุบาสิกา. ครั้งนั้นพราหมณ์ให้นางพราหมณี

อยู่เรือน ห่อผ้านั้นไปวิหาร.

ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่ง ณ ธรรมาสน์ที่ตกแต่งแล้ว ใน

ท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดวีชนีอันวิจิตรตรัสธรรมกถา ดุจยังผู้วิเศษ

ให้หยั่งลงสู่อากาศคงคา ดุจทำยอดภูเขาสิเนรุให้ถล่มลงสู่สาคร. เมื่อ

พราหมณ์นั่งอยู่สุดแถว ฟังธรรมอยู่ในยามต้นนั้นเอง ปีติมีวรรณะ ๕

เกิดซ่านไปทั่วตัว. เขาพับผ้าห่ม คิดว่า เราจักถวายแด่พระทศพล.

ลำดับนั้น เขาเกิดจิตตระหนี่ ชี้ถึงโทษพันดวง. ผ้าของนางพราหมณี

และของท่านมีผืนเดียวเท่านั้น. ไม่มีผ้าห่มไร ๆ อื่นอีก. ครั้นไม่ห่มแล้ว

ก็จะไม่อาจออกไปข้างนอกได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ประสงค์จะถวายแม้

ด้วยประการทั้งปวง. ครั้นปฐมยามล่วงไป แม้ในมัชฌิมยาม เขาก็เกิด

ปีติอย่างนั้นอีก. ก็ครั้นคิดเหมือนอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ประสงค์จะถวาย

เหมือนอย่างนั้นอีก. เมื่อมัชฌิมยามล่วงไป แม้ในปัจฉิมยาม เขาก็เกิด

ปีติอย่างนั้นอีก. เขาคิดว่า ตายหรือไม่ตายก็ช่างเถิด. เราจักรู้ในภายหลัง

จึงพับผ้าห่มวางไว้ ณ บาทมูลของพระศาสดา แต่นั้น เขาคู้มือซ้าย ปรบ

ด้วยมือขวา เปล่งเสียงว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้วถึง ๓ ครั้ง.

สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมหาราช ประทับนั่งทรงสดับธรรมอยู่ภายใน

ม่านหลังธรรมาสน์. ก็ธรรมดาพระราชาย่อมไม่พอพระทัยเสียงว่า เรา

ชนะแล้ว เราชนะแล้ว ดังนี้. พระองค์ทรงส่งบุรุษไป มีพระดำรัสว่า

เจ้าจงไปถามพราหมณ์ผู้นั้นว่า ท่านพูดอะไร. บุรุษนั้นไปถามว่า ท่าน

พูดอะไร. ครั้นบุรุษนั้นไปถามแล้ว พราหมณ์พูดว่า พวกชนที่เหลือขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 607

ยานช้างเป็นต้น แล้วชนะข้าศึก ข้อนั้นไม่อัศจรรย์เลย. ก็เราสละจิต

ตระหนี่ได้ถวายผ้าห่มแด่พระทศพล ดุจเอาสากทุบหัวโคโกง ซึ่งเดินมา

ข้างหลัง แล้วให้มันหนีไปฉะนั้น. พราหมณ์กล่าวว่า เราชนะความ

ตระหนี่นั้น. ราชบุรุษกลับมากราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา ตรัสว่า

พนาย เราไม่รู้สิ่งสมควรของพระทศพล พราหมณ์เป็นผู้รู้ จึงทรงส่งผ้า

ไปคู่หนึ่ง. พราหมณ์เห็นผ้าคู่นั้นจึงคิดว่า พระราชาพระองค์นี้ไม่พระ-

ราชทานอะไร ๆ แก่เราผู้นั่งนิ่งก่อน เมื่อเรากล่าวถึงคุณของพระศาสดา

แล้ว จึงพระราชทาน. ประโยชน์อะไรของเราด้วยผ้าที่เกิดขึ้น เพราะ

อาศัยคุณของพระศาสดา จึงได้ถวายผ้าคู่นั้น แด่พระทศพลอีก. พระ-

ราชาตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอะไร สดับว่า พราหมณ์ถวายผ้าคู่นั้น

แด่พระตถาคตเช่นเคย จึงทรงส่งผ้า ๒ คู่อื่นไปให้. พราหมณ์ก็ได้ถวาย

ผ้า ๒ คู่นั้นอีก. พระราชาทรงส่งผ้าไปอีก ๔ คู่ จนถึง ๓๒ คู่.

ครั้งนั้น พราหมณ์คิดว่า คู่ผ้านี้ดูเหมือนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น

จึงถือเอาเพียง ๒ คู่ คือเพื่อตนคู่หนึ่ง เพื่อนางพราหมณ์คู่หนึ่ง ได้ถวาย

แด่พระตถาคต ๓๐ คู่ ตั้งแต่นั้นมา พราหมณ์นั้นได้คุ้นเคยกับพระศาสดา.

วันหนึ่งในฤดูหนาว พระราชาทรงเห็นพราหมณ์นั้นฟังธรรมในสำนัก

ของพระศาสดา จึงพระราชทานผ้ารัตตกัมพลที่คลุมพระองค์มีค่าแสนหนึ่ง

แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้าผืนนี้ ฟังธรรม. เขาคิดว่า

ประโยชน์อะไรของเราด้วยผ้ากัมพลผืนนี้ที่จะนำเขาไปในกายอันเปื่อยเน่านี้

จึงกระทำให้เป็นเพดานเบื้องบนเตียงของพระตถาคตภายในพระคันธกุฎี

แล้วจึงไป.

วันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 608

ของพระศาสดา ภายในพระคันธกุฎี. สมัยนั้น พระพุทธรัศมีมีสี ๖

ประการกระทบผ้ากัมพล. ผ้ากัมพลรุ่งเรืองยิ่งนัก. พระราชาทรงมองไป

เบื้องบนทรงจำได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลผืนนี้

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ให้แก่พราหมณ์เอกสาฎก. พระศาสดา

ตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์แล้ว พราหมณ์บูชาอาตมา

แล้ว. พระราชาดำริว่า พราหมณ์ได้รู้สิ่งที่ควร เราไม่รู้. ทรงเลื่อมใสแล้ว

ทรงกระทำสิ่งที่เกื้อกูลมนุษย์ทั้งหมด ให้เป็นอย่างละ ๘ ๆ พระราชทาน

อย่างละ ๘ ทั้งหมด แล้วทรงแต่งตั้งพราหมณ์ในตำแหน่งปุโรหิต. ชื่อว่า

ทานอย่างละ ๘ ๆ รวมเป็น ๖๔. เขาน้อมนำสลากภัตร ๖๔ รักษาศีล

จุติจากนั้นไปบังเกิดบนสวรรค์. ครั้นจุติจากนั้นอีก ได้บังเกิดในเรือน

กุฏุมพี ในกรุงพาราณสี ในระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ และพระทศพลพระนามว่า

กัสสปะ ในกัปนี้. เขาอาศัยความเจริญอยู่ครองเรือน วันหนึ่งเที่ยวไป

ยังชังฆติกวิหาร ในป่า.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า กระทำจีวรกรรมอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำ

เมื่ออนุวาต (ขอบจีวร) ไม่พอ จึงปรารภเพื่อจะพับเก็บ. เขาเห็น

จึงถามว่า เพราะเหตุไรพระคุณเจ้าพับเก็บเจ้าข้า. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ตอบว่า อนุวาต ไม่พอ. เขากล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าจงทำด้วยผ้าผืนนี้

เถิด. แล้วถวายผ้าสาฎกตั้งความปรารถนาว่า ขอเราจงอย่ามีความเสื่อม

ไรๆ ในที่ที่เราไปเกิดเถิด. แม้ที่เรือนเมื่อน้องสาวของเขาทะเลาะกันอยู่กับ

ภรรยา พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาต. ลำดับนั้น น้องสาวของเขา

ถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาว่า เราพึงเว้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 609

คนพาลเห็นปานนี้ไป ๑๐๐ โยชน์ นางกล่าวอย่างนี้ หมายถึงภรรยาของ

พราหมณ์นั้น. ภรรยายืนอยู่ที่ประตูเรือน ครั้นได้ยินจึงคิดว่า พระปัจเจก-

พุทธเจ้าอย่าฉันภัตรที่หญิงนี้ถวายเลย จึงรับบาตรมาแล้วทิ้งบิณฑบาตเสีย

เอาเปือกตมใส่จนเต็มถวาย. น้องสาวเห็นจึงพูดว่า หญิงพาล เจ้าจงด่า

หรือทุบตีเราก็พอ แต่เจ้าไม่ควรทิ้งภัตรจากบาตรของท่านผู้บำเพ็ญบารมี

มาตลอด ๒ อสงไขย แล้วถวายเปือกตม.

ทีนั้น ภรรยาของเขาจึงได้เกิดความคิด. นางกล่าวว่า หยุดเถิด

เจ้าข้า แล้วทิ้งเปือกตม ล้างบาตร ขัดด้วยผงหอม แล้วใส่อาหารมีรส

อร่อย ๔ ชนิดจนเต็มบาตร วางบาตรซึ่งแพรวพราวด้วยสัปปิมีสีดุจกลีบบัว

ที่โปรยไว้เบื้องบน บนมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนา

ว่า ขอร่างกายของเราจงมีแสงเหมือนบิณฑบาตนี้อันมีแสงเถิด. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะไปสู่อากาศ. ภรรยาสามีบำเพ็ญกุศล

ตราบสิ้นอายุ ได้บังเกิดบนสวรรค์ ครั้นจุติจากสวรรค์ อุบาสกได้บังเกิด

เป็นบุตรของเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในกรุงพาราณสี. ส่วนภรรยาได้

บังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีเช่นเดียวกัน. มารดาบิดาได้นำธิดาเศรษฐีนั้น

แล มาให้แก่บุตรเศรษฐีผู้เจริญวัย. เพียงเมื่อเศรษฐีธิดาเข้าไปสู่ตระกูล

สามีด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันเป็นผลที่นางไม่ถวายทานมาก่อน สกลกาย

ก็เกิดกลิ่นเหม็นดุจส้วมที่เขาเปิดไว้ภายในธรณีประตู. เศรษฐีกุมารถามว่า

นี้กลิ่นของใคร ครั้นได้ฟังแล้ว เป็นกลิ่นของเศรษฐีธิดา จึงตะโกน

ขึ้นว่า จงนำออกไป จงนำออกไป แล้วส่งกลับไปยังเรือนตระกูล

โดยทำนองเดียวกับที่นำมา. เศรษฐีธิดาถูกส่งกลับไปในฐานะ ๗ โดย

ทำนองนี้แล คิดว่าเรากลับไปถึง ๗ ครั้งแล้ว เราจะอยู่ไปทำไม จึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 610

ยุบเครื่องอาภรณ์ของตนให้ทำอิฐทองคำ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง

๔ นิ้ว. จากนั้น นางถือก้อนหรดาลและมโนศิลาแล้ว ถือดอกบัว ๘ กำ

ไปสู่ที่สร้างเจดีย์ของพระกัสสปทศพล.

ก็ในขณะนั้น เมื่อนางมาถึง ก้อนอิฐได้ตกลงมา. เศรษฐีธิดาจึง

บอกกะช่างว่า ท่านจงวางอิฐก้อนนี้ไว้ตรงนี้. ช่างกล่าวว่า แม่มหาจำเริญ

แม่มาในเวลา แม่วางเองเถิด. นางขึ้นไปเอาน้ำมันผสมหรดาลและมโนศิลา

ก่ออิฐให้แน่นด้วยหรดาลและมโนศิลาที่ผสมน้ำมันนั้น ทำการบูชาด้วย

ดอกบัว ๘ กำเบื้องบน แล้วไหว้ทำความปรารถนาว่า ขอกลิ่นจันทน์จง

ฟุ้งออกจากปากในที่เกิดเถิด แล้วไหว้พระเจดีย์ กระทำประทักษิณกลับ

ไป.

ในขณะนั้น เศรษฐีบุตรระลึกถึงเศรษฐีธิดาที่นำไปสู่เรือนครั้งแรก.

แม้ในเมืองก็มีการป่าวร้องเล่นนักษัตร. เศรษฐีถามคนรับใช้ว่า เศรษฐี-

ธิดาที่นำไปคราวนั้น นางอยู่ที่ไหน. คนรับใช้ตอบว่า อยู่ที่เรือนตระกูล

จ้ะนาย. เศรษฐีบุตรกล่าวว่า พวกเจ้าจงนำมา เราจักเล่นนักษัตรนั้น.

พวกรับใช้พากันไปยืนไหว้เศรษฐีธิดา ครั้นเศรษฐีธิดาถามว่า พวกท่าน

มาทำไม จึงบอกเรื่องราวให้นางฟัง. เศรษฐีธิดากล่าวว่า พ่อคุณเราเอา

เครื่องอาภรณ์บูชาเจดีย์หมดแล้ว เราไม่มีอาภรณ์. คนรับใช้พากันไป

บอกแก่เศรษฐีบุตร เศรษฐีบุตรกล่าวว่า พวกท่านจงนำนางมาเถิด.

เราจักให้เครื่องประดับ. คนรับใช้นำนางมาแล้ว. พร้อมกับที่นางเข้าไป

สู่เรือน กลิ่นจันทน์และกลิ่นดอกบัวขาบฟุ้งไปตลอดเรือน. เศรษฐีบุตร

ถามเศรษฐีธิดาว่า ครั้งแรกกลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากร่างกายของเจ้า. แต่

เดี๋ยวนี้กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากร่างกาย กลิ่นดอกบัวฟุ้งออกจากปากของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 611

เจ้า. มันเรื่องอะไรกัน. นางได้บอกกรรมที่นางทำตั้งแต่ต้น. เศรษฐี-

บุตรเลื่อมใสว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นคำสอนที่นำออก

จากทุกข์หนอ จึงเอาเสื้อกัมพลคลุมเจดีย์ทอง ประกอบด้วยดอกประทุม

ทอง ประมาณเท่าล้อรถ ณ ที่นั้น ห้อยย้อยลงมาประมาณ ๑๒-๑๓ ศอก.

เศรษฐีบุตรนั้น ดำรงอยู่ ณ ที่นั้นตราบเท่าอายุแล้ว ไปบังเกิดบน

สวรรค์ จุติจากนั้นไปบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณ

๑๐๐ โยชน์ จากกรุงพาราณสี. เศรษฐีธิดาจุติจากเทวโลกไปบังเกิดเป็น

ราชธิดาในราชตระกูล. เมื่อทั้งสองเจริญวัย ใกล้บ้านที่กุมารอยู่ได้มีการ

ป่าวร้องเล่นนักษัตร. กุมารพูดกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่ให้ผ้าสาฎกแก่ฉัน

เถิด. ฉันจักเล่นนักษัตร. มารดานำผ้าที่ซักแล้วมาให้. กุมารได้ปฏิเสธ

ผ้าผืนนั้น. มารดานำผ้าผืนอื่นมาให้อีก. กุมารปฏิเสธผ้าผืนนั้นอีก.

ลำดับนั้น มารดาพูดกะกุมารนั้นว่า ลูกเอ๋ย เราเกิดในเรือนเช่นใด

เราไม่มีบุญเพื่อจะได้ผ้าเนื้อละเอียดกว่านั้น. กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ลูกจะ

ไปที่ที่หาได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย แม่ปรารถนาจะให้ลูกได้ราชสมบัติ

ในกรุงพาราณสีในวันนี้ทีเดียว. กุมารนั้นไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า แม่จำ

ลูกจะไปละ. มารดากล่าวว่า ไปเถิดลูก. นัยว่า มารดาได้มีความคิด

อย่างนี้ว่า กุมารจักไป ที่ไหน จักนอนในที่นี้หรือในเรือนนี้. ก็กุมาร

นั้นออกไปโดยกำหนดของบุญไปถึงกรุงพาราณสี นอนคลุมศีรษะบนแผ่น

มงคลศิลา ณ พระอุทยาน. อนึ่ง เมื่อพระเจ้ากรุงพาราณสีสวรรคต วันนั้น

เป็นวันที่ ๗. พวกอำมาตย์ ครั้นถวายพระเพลิงพระศพของพระราชาแล้ว

จึงนั่งปรึกษากัน ณ พระลานหลวงว่า พระราชามีพระธิดาองค์เดียวเท่านั้น

ไม่มีพระโอรส ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาจะดำรงอยู่ไม่ได้ ใครจะเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 612

พระราชา เพราะฉะนั้น ขอท่านจงปรึกษากันดูเถิด. ปุโรหิตกล่าวว่า

ไม่ควรดูให้มากไป. เราจะปล่อยบุษยราชรถ. พวกอำมาตย์เทียมม้า

สินธพ ๔ ตัวมีสีขาว ตั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง และเศวตฉัตรไว้

บนรถ แล้วปล่อยรถไปให้ประโคมดนตรีตามไปข้างหลัง. ราชรถออก

ทางประตูด้านปราจีนบ่ายหน้าไปพระราชอุทยาน. ราชรถบ่ายหน้าไปพระ

ราชอุทยานด้วยบุญบารมี. พวกอำมาตย์บางคนบอกว่า พวกเรากลับเถิด.

ปุโรหิตบอกว่า พวกท่านอย่ากลับ. ราชรถกระทำประทักษิณกุมารแล้ว

ก็หยุด เป็นการเตรียมให้กุมารขึ้น. ปุโรหิตดึงชายผ้าห่มออก มองดูฝ่าเท้า

กล่าวว่า ทวีปนี้ยกไว้ก่อน กุมารนี้ควรครองราชสมบัติในทวีปทั้ง ๔

มีทวีป ๒,๐๐๐ เป็นบริวารแล้วให้ประโคมดนตรี ๓ ครั้งว่า พวกท่าน

จงประโคมอีก พวกท่านจงประโคมอีก.

ลำดับนั้น กุมารเปิดหน้ามองดู แล้วถามว่า พ่อเจ้าพระคุณทั้งหลาย

พวกท่านมาทำอะไรกัน. ตอบว่า ท่านผู้ประเสริฐ ราชสมบัติจะถึงแก่

ท่าน. ถามว่า พระราชาไปไหนเสียเล่า. ตอบว่า สวรรคตเสียแล้วนาย.

ถามว่า กี่วันแล้ว. ตอบว่า ๗ วันเข้าวันนี้. ถามว่า พระโอรสหรือพระธิดา

ไม่มีหรือ. ตอบว่า มีแต่พระธิดา ท่านผู้ประเสริฐ ไม่มีพระโอรส.

รับว่า เราจักครองราชสมบัติ.

พวกอำมาตย์สร้างมณฑปสำหรับอภิเษกก่อน ประดับพระราชธิดา

ด้วยเครื่องประดับทุกชนิด แล้วนำมายังพระราชอุทยาน ได้กระทำอภิเษก

พระกุมาร. ลำดับนั้น พวกอำมาตย์ได้นำผ้าราคาแสนหนึ่งน้อมถวายแด่

พระกุมารผู้ได้ทำอภิเษกแล้ว. พระกุมารตรัสถามว่า นี่อะไรพ่อคุณ.

ทูลว่า ผ้านุ่ง พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า เป็นผ้าเนื้อหยาบมิใช่หรือ. ทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 613

บรรดาผ้าที่พวกมนุษย์ใช้สอยกันอยู่ ไม่มีผ้าที่มีเนื้อละเอียดกว่านี้ พระ-

เจ้าข้า. ตรัสถามว่า พระราชาของพวกท่านนุ่งผ้าอย่างนี้หรือ. ทูลว่า

ใช่แล้ว พระเจ้าข้า. ตรัสว่า พระราชาของท่านคงจะไม่มีบุญ.

พวกอำมาตย์นำพระเต้าทองมาถวาย. พระกุมารเสด็จลุกขึ้นชำระพระหัตถ์

ทั้งสอง ทรงบ้วนพระโอษฐ์แล้ว ทรงอมน้ำพ่นไปทางทิศตะวันออก.

ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้น ทำลายแผ่นดินอันหนาผุดขึ้น. พระกุมารทรง

อมน้ำพ่นไปทางทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนืออีก เพราะเหตุนั้น ต้น

กัลปพฤกษ์ผุดขึ้นแล้วทั้ง ๔ ทิศอย่างนี้. ในทุกทิศต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้น

ทิศละ ๘ ต้น จึงรวมเป็น ๓๒ ต้น.

พระกุมารทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ตรัสว่า พวก

ท่านจงเที่ยวตีกลองประกาศในแคว้นของพระเจ้านันทะว่า พวกหญิง

ปั่นด้าย อย่าปั่นด้าย แล้วให้ยกฉัตร ทรงช้างตัวประเสริฐ ที่ประดับ

ตกแต่งแล้ว เสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติ.

เมื่อกาลผ่านไปด้วยประการฉะนี้ วันหนึ่ง พระเทวีทรงเห็นสมบัติ

ของพระราชา ทรงแสดงอาการของความเป็นผู้กรุณาว่า โอ ผู้มีตปะ.

ตรัสถามว่า อะไร พระเทวี. ทูลว่า สมบัติใหญ่ยิ่งนักเพคะ ในอดีต

พระองค์เชื่อพระพุทธเจ้า ไปกระทำความดี บัดนี้ พระองค์ไม่กระทำ

กุศลอันเป็นปัจจัยแห่งอนาคต. ตรัสถามว่า เราจักให้แก่ใคร. ผู้มีศีลก็ไม่มี.

ทูลว่า พระองค์ ชมพูทวีปไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์. ขอพระองค์จง

ทรงเตรียมทานไว้ หม่อมฉันจักได้ (นิมนต์) พระอรหันต์มา. ใน

วันรุ่งขึ้น พระราชารับสั่งให้เตรียมทานทางทวารด้านปราจีน. พระ-

เทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 614

ณ เบื้องบนปราสาท หมอบลงกล่าวว่า หากพระอรหันต์มีอยู่ในทิศนี้.

ขอพระอรหันต์ทั้งหลายจงมารับภิกษาของพวกข้าพเจ้าในวันพรุ่งนี้เถิด.

ในทิศนั้นไม่มีพระอรหันต์ ได้ให้สักการะนั้นแก่คนกำพร้าและยาจก. ใน

วันรุ่งขึ้น พระเทวีได้เตรียมทาน ณ ประตูด้านทักษิณ แล้วกระทำเหมือน

อย่างนั้น. ในวันรุ่งขึ้นได้เตรียมทานด้านประตูทิศปัจฉิม แล้วกระทำ

เหมือนอย่างนั้น.

ก็ในวันที่พระนางเตรียมทาน ณ ประตูด้านทิศอุดร พระปัจเจก-

พุทธเจ้าชื่อมหาปทุม ผู้เป็นใหญ่กว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ บุตรของ

นางปทุมวดี ซึ่งอยู่ในหิมวันต์ อันพระเทวีนิมนต์แล้วเหมือนอย่างนั้น

ได้เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องมากล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

พระราชานันทะทรงนิมนต์พวกท่าน ขอพวกท่านจงรับนิมนต์พระองค์

เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว วันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระ

อโนดาต เหาะมาลง ณ ประตูด้านทิศอุดร. พวกมนุษย์พากันไปกราบ

ทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐

มาแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาพร้อมกับพระเทวีเสด็จไปทรงไหว้แล้วรับ

บาตรนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าให้ขึ้นบนปราสาท แล้วทรงถวายทานแก่

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายบนปราสาทนั้น ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว พระ-

ราชาทรงหมอบ ณ บาทมูลของพระสังฆเถระ พระเทวีทรงหมอบ ณ

บาทมูลของพระสังฆนวกะ ทรงให้ทำปฏิญญาว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย

จักไม่ลำบากด้วยปัจจัย ข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ ขอพระคุณเจ้า

ทั้งหลายจงให้ปฏิญญาเพื่ออยู่ ณ ที่นี้ตลอดชีวิตของพวกข้าพเจ้าทั้งหลาย

เถิด แล้วทรงสร้างที่อยู่ โดยอาการทั้งปวง คือ บรรณศาลา ๕๐๐ ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 615

จงกรม ๕๐๐ ที่ ในพระอุทยาน. แล้วอาราธนาให้พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่

ณ ที่นั้น. เมื่อกาลผ่านไปอย่างนี้ชายแดนของพระราชากำเริบ. พระราชา

รับสั่งกะพระเทวีว่า ฉันจะไปทำชายแดนให้สงบ เธออย่าประมาทใน

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเสด็จไป. เมื่อพระราชายังไม่เสด็จมา

อายุสังขารของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายสิ้นแล้ว.

พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อมหาปทุม เข้าฌานตลอด ๓ ยามในราตรี เมื่อ

อรุณขึ้น ยืนพิงกระดานปรินิพพานด้วยปรินิพพานธาตุ อันเป็นอนุปาทิเสส.

แม้ที่เหลือทั้งหมดก็ปรินิพพานด้วยอุบายนี้. ในวันรุ่งขึ้น พระเทวีรับสั่ง

ให้ทำที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉาบด้วยของเขียว เกลี่ยดอกไม้

ทำการบูชา นั่งแลดูพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา เมื่อไม่เห็นมา จึง

ทรงส่งราชบุรุษไปว่า เธอจงไป จงทราบว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

ไม่สบายหรืออย่างไร. ราชบุรุษไปเปิดประตูบรรณศาลาของพระปัจเจก-

พุทธเจ้ามหาปทุม เมื่อไม่เห็น ณ ที่นั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืน

พิงกระดาน ไหว้แล้วกล่าวว่า ถึงเวลาแล้วพระคุณเจ้า. ร่างกายดับแล้ว

จักพูดได้อย่างไร. ราชบุรุษคิดว่า เห็นจะหลับ จึงไปลูกคลำที่หลังเท้า

รู้ว่าท่านปรินิพพานเสียแล้ว เพราะเท้าเย็นและกระด้าง จึงไปหาท่านที่ ๒

ท่านที่ ๓ ก็อย่างนั้น รู้ว่าท่านทั้งหมดปรินิพพานแล้ว จึงไป

ราชตระกูล เมื่อรับสั่งถามว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไปไหน กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว.

พระเทวีทรงคร่ำครวญกันแสง เสด็จออกพร้อมกับชาวเมือง ไปถึงที่

นั้นให้เล่นสาธุกีฬา กระทำฌาปนกิจพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วถือ

เอาธาตุก่อเจดีย์บรรจุ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 616

พระราชาครั้นทำให้ชายแดนสงบ เสด็จกลับ ตรัสถามพระเทวี

ซึ่งเสด็จมาต้อนรับว่า น้องหญิง เธอไม่ประมาทในพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายหรือ. พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายสบายดีหรือ. ทูลว่า พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้วเพคะ. พระราชาทรงดำริว่า ความตาย

ยังเกิดแก่บัณฑิตเห็นปานนี้ได้ พวกเราจะพ้นความตายได้แต่ไหน. พระ-

ราชาไม่เสด็จกลับพระนคร เสด็จเข้าไปยังพระอุทยานนั้นแล รับสั่งให้

เรียกเชษฐโอรสมา ทรงมอบราชสมบัติแก่โอรสนั้น พระองค์เองเสด็จ

ผนวชเป็นสมณเพศ. แม้พระเทวีเมื่อพระสวามีผนวชทรงดำริว่า เราจัก

ทำอะไรได้ จึงทรงผนวชในพระอุทยานนั้นเอง.

แม้ทั้งสองพระองค์ ยังฌานให้เกิด จุติจากที่นั้น แล้วก็บังเกิดใน

พรหมโลก. เมื่อทั้งสองอยู่ในพรหมโลกนั้นเอง พระศาสดาของเรา

ทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลก ทรงธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว เสด็จ

ถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ.

ปิปผลิมาณพนี้เกิดในท้องของอัครมเหสีของกบิลพราหมณ์ในบ้าน

พราหมณ์มหาดิตถ์ แคว้นมคธ. นางภัททกาปิลานีเกิดในท้องของอัคร-

มเหสีของพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร แคว้นมคธ. เมื่อเขาเจริญวัย

โดยลำดับ ปิปผลิมามาณพอายุ ๒๐ นางภัททาอายุ ๑๖ มารดาบิดา

แลดูบุตร คาดคั้นเหลือเกินว่า ลูกเอ๋ย ลูกเติบโตแล้ว ควรดำรงวงศ์

ตระกูล. มาณพกล่าวว่า คุณพ่อ คุณแม่ อย่าพูดถ้อยคำเช่นนี้ให้เข้าหู

ลูกเลย. ลูกจะปรนนิบัติตราบเท่าที่คุณพ่อคุณแม่ดำรงอยู่. ลูกจักออกบวช

ภายหลังคุณพ่อคุณแม่. ล่วงไปอีกเล็กน้อย มารดาบิดาก็พูดอีก. แม้

มาณพก็ปฏิเสธเหมือนอย่างเดิม. ตั้งแต่นั้นมามารดาก็ยังอยู่ไม่ขาดเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 617

มาณพคิดว่า เราจักให้มารดายินยอมเรา. จึงให้ทองสีแดงพันลิ่ม ให้ช่าง

ทองหล่อรูปหญิงคนหนึ่ง เมื่อเสร็จทำการขัดสีรูปหญิงนั้น จึงให้นุ่งผ้า

แดง ให้ประดับด้วยดอกไม้ สมบูรณ์ด้วยสี และด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ

แล้วเรียกมารดามาบอกว่า แม่จ๋า ลูกเมื่อได้อารมณ์เห็นปานนี้ จักดำรง

อยู่ในเรือน เมื่อไม่ได้จักไม่ดำรงอยู่. พราหมณีเป็นหญิงฉลาด คิดว่า

บุตรของเรามีบุญ ให้ทาน สร้างสมความดี เมื่อทำบุญมิได้ทำเพียงผู้เดียว

เท่านั้น. จักมีหญิงที่ทำบุญไว้มาก มีรูปเปรียบรูปทองเช่นรูปหญิงนี้

แน่นอน. จึงเรียกพราหมณ์ ๘ คนมาสั่งว่า พวกท่านจงให้อิ่มหนำสำราญ

ด้วยความใคร่ทุกชนิดยกรูปทองขึ้นสู่รถไปเถิด. พวกท่านจงค้นหาทาริกา

เห็นปานนี้ ในตระกูลที่เสมอด้วยชาติ โคตร และโภคะของเรา. พวก

ท่านจงประทับตราไว้ แล้วให้รูปทองนี้. พราหมณ์เหล่านั้นออกไปด้วย

คิดว่า นี้เป็นกรรมของพวกเรา แล้วคิดต่อไปว่า เราจักไปที่ไหน รู้ว่า

แหล่งของหญิง มีอยู่ในมัททรัฐ เราจักไปมัททรัฐ จึงพากันไปสาคลนคร

ในมัททรัฐ. พวกพราหมณ์ตั้งรูปทองนั้นไว้ที่ท่าน้ำ แล้วพากันไปนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พี่เลี้ยงของนางภัททา ให้นางภัททาอาบน้ำแต่งตัวแล้ว

ให้นั่งในห้องอันเป็นสิริแล้วมาอาบน้ำ ครั้นเห็นรูปนั้น จึงคุกคามด้วย

สำคัญว่า ลูกสาวนายเรามาอยู่ในที่นี้ กล่าวว่า คนหัวดื้อ เจ้ามาที่นี้ทำไม

เงื้อหอกคือฝ่ามือตกนางภัททาที่สีข้าง กล่าวว่า จงรีบไปเสียว. มือสั่น

เหมือนกระทบที่หิน. พี่เลี้ยงหลีกไป เกิดความรู้สึกว่า ลูกสาวนายของ

เราแต่งตัว กระด้างถึงอย่างนี้. พี่เลี้ยงกล่าวว่า จริงอยู่ แม้ผู้ถือเอาผ้านุ่งนี้

ไม่สมควรแก่ลูกสาวนายของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 618

ลำดับนั้น พวกคนแวดล้อมพี่เลี้ยงนั้น พากันถามว่า ลูกสาวนาย

ของท่านมีรูปอย่างนี้หรือ. นางกล่าวว่าอะไรกัน นายของเรามีรูปงามกว่า

หญิงนี้ตั้งร้อยเท่าพันเท่า. เมื่อนางนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก ไม่

ต้องตามประทีป. เพราะแสงสว่างของร่างกายเท่านั้นกำจัดความมืดได้.

พวกมนุษย์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมา พาหญิงค่อมนั้นไป ให้ยก

รูปทองไว้ในรถ ตั้งไว้ที่ประตูเรือนของพราหมณ์โกสิยโคตร ประกาศให้รู้

ว่ามา. พราหมณ์ทำปฏิสันถารแล้วถามว่า พวกท่านมาแต่ไหน. พวกมนุษย์

กล่าวว่า พวกเรามาแต่เรือนของกบิลพราหมณ์ ณ บ้านมหาดิตถ์ ใน

แคว้นมคธ ด้วยเหตุชื่อนี้. พราหมณ์กล่าวว่า ดีแล้ว พ่อคุณ. พราหมณ์

ของพวกเรา มีชาติโคตรและสมบัติเสมอกัน เราจักให้นางทาริกา. แล้ว

รับบรรณาการไว้. พราหมณ์เหล่านั้น ส่งข่าวให้กบิลพราหมณ์ทราบว่า

ได้นางทาริกแล้ว โปรดทำสิ่งที่ควรทำเถิด. มารดาบิดาฟังข่าวนั้นแล้ว

จึงบอกแก้ปิปผลิมาณพว่า ข่าวว่า ได้นางทาริกาแล้ว. มาณพคิดว่า

เราคิดว่า เราจักไม่ได้ ก็มารดาบิดากล่าวว่า ได้แล้ว เราไม่ต้องการ

จักส่งหนังสือไป จึงไปในที่ลับ เขียนหนังสือว่า แม่ภัททา จงครอง

เรือนตามสมควรแก่ชาติ โคตร และโภคะของตนเถิด เราจักออกบวช.

ท่านอย่าได้มีความเร่าร้อนใจในภายหลังเลย. แม้นางภัททาก็สดับว่า นัยว่า

มารดาบิดาประสงค์จะยกเราให้แก่ผู้โน้น จึงไปในที่ลับ เขียนหนังสือว่า

บุตรผู้เจริญ จงครองเรือนตามสมควรแก่ชาติ โคตร และโภคะของตนเถิด

เราจักบวช ท่านอย่าได้เดือดร้อนในภายหลังเลย. หนังสือแม้ทั้งสอง ได้

มาถึงพร้อมกันในระหว่างทาง. ถามว่า นี้หนังสือของใคร. ตอบว่า

ปิปผลิมาณพส่งให้นางภัททา. ถามว่า นี้ของใคร. ตอบว่า นางภัททาส่งให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 619

ปิปผลิมาณพ. คนทั้งสองก็ได้พูดขึ้นว่า พวกท่านจงดูการกระทำของพวก

ทารกเถิด จึงฉีกทิ้งในป่า เขียนหนังสือมีความเหมือนกันส่งไปทั้งข้างนี้และ

ข้างโน้น เมื่อคนทั้งสองไม่ปรารถนาเหมือนกันนั่นแหละ ก็ได้มีการอยู่

ร่วมกัน.

ก็ในวันนั้นเองมาณพก็ให้ร้อยพวงดอกไม้พวกหนึ่ง. แม้นางภัททา

ก็ให้ร้อยพวงหนึ่ง. แม้คนทั้งสองบริโภคอาหารในเวลาเย็นแล้ว จึงวางพวง

ดอกไม้เหล่านั้นไว้กลางที่นอน คิดว่าเราทั้งสองจักเข้านอน มาณพนอน

ข้างขวา นางภัททานอนข้างซ้าย. คนทั้งสองนั้น เพราะกลัวการถูกต้อง

ร่างกายกันและกัน จึงนอนไม่หลับจนล่วงไปตลอด ๓ ยาม. ก็เพียงหัวเราะ

กันในเวลากลางวันก็ไม่มี. คนทั้งสองมิได้ร่วมกันด้วยโลกามิส. เขาทั้งสอง

มิได้สนใจสมบัติตลอดเวลาที่มารดาบิดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อมารดาบิดาถึงแก่

กรรมแล้วจึงสนใจ. มาณพมีสมบัติมาก. ในวันหนึ่ง ควรได้ผงทองคำ

ที่ขัดสีร่างกายแล้วทิ้งไว้ประมาณ ๑๒ ทะนาน โดยทะนานของชาวมคธ.

มีสระใหญ่ ๖๐ แห่งติดเครื่องยนต์. มีพื้นที่ทำการงาน ๑๒ โยชน์. มีบ้าน

ทาส ๑๔ แห่งเท่าอนุราธบุรี. มีช้างศึก ๑๔ เชือก รถ ๑๔ คัน. วันหนึ่ง

มาณพขี่ม้าตกแต่งแล้ว มีมหาชนแวดล้อมไปยังพื้นที่การงาน ยืนในที่

สุดเขต เห็นนกมีกาเป็นต้น จิกสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้นกิน จากที่ถูกไถ

ทำลาย จึงถามว่า นกเหล่านี้กินอะไร. ตอบว่า กินไส้เดือนจ้ะนาย.

ถามว่า บาปที่นกเหล่านี้ทำจะมีแก่ใคร. ตอบว่า แก่พวกท่านจ้ะนาย.

มาณพคิดว่า บาปที่นกเหล่านี้ทำจะมีแก่เรา. ทรัพย์ ๘๖ โกฏิจักทำอะไร

เราได้. พื้นที่การงานประมาณ ๑๒ โยชน์ จักทำอะไรได้. สระ ๖๐

สระติดเครื่องยนต์ หมู่บ้าน ๑๔ หมู่ จักทำอะไรได้ เราจักมอบสมบัติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 620

ทั้งหมดนั้นแก่นางภัททา ออกบวช. ในขณะนั้น แม้นางภัททกาปิลานี

ก็ให้เทหม้องา ๓ หม้อลงในระหว่างพื้นที่ พวกพี่เลี้ยงนั่งล้อม. เห็นกากิน

สัตว์ที่กินงา จึงถามว่า กาเหล่านี้กินอะไรแม่. ตอบว่า กินสัตว์จ๊ะ

แม่นาย. ถามว่า อกุศลจะมีแก่ใคร. ตอบว่า จะมีแก่ท่านจ๊ะแม่นาย.

นางคิดว่า เราควรได้ผ้าประมาณ ๔ ศอก และข้าวสุกประมาณทะนาน

หนึ่ง. ก็ผิว่า อกุศลที่ชนประมาณเท่านี้ทำจะมีแก่เรา ด้วยว่า เราไม่สามารถ

จะยกศีรษะขึ้นได้จากวัฏฏะตั้งพันภพ. พอเมื่ออัยยบุตร (มาณพ) มาถึง

เราจักมอบสมบัติทั้งหมดแก่เขาแล้วออกบวช.

มาณพมาอาบน้ำแล้ว ขึ้นสู่ปราสาทหนึ่ง ณ บัลลังก์มีค่ามาก. สำดับ

นั้น ชนทั้งหลายจัดโภชนะอันสมควรแก่จักรพรรดิให้แก่เขา. ทั้งสอง

บริโภคแล้ว เมื่อบริวารชนออกไปแล้ว จึงพูดกันในที่ลับ นั่งในที่สบาย.

แต่นั้นมาณพกล่าวกะนางภัททาว่า ดูก่อนแม่ภัททา ท่านมาสู่เรือนนี้นำ

ทรัพย์มาเท่าไร. นางตอบว่า ๕๕,๐๐๐ เกวียนจ๊ะนาย. มาณพกล่าวว่า

ทรัพย์ ๘๗ โกฏิ และสมบัติมีสระ ๖๐ ติดเครื่องยนต์ มีอยู่ในเรือนนี้

ทั้งหมดนั้นเรามอบให้แก่ท่านผู้เดียว. นางถามว่า ก็ท่านเล่านาย. ตอบว่า

เราจักบวช. นางกล่าวว่า แม้ฉันนั่งมองดูการมาของท่าน. ฉันก็จักบวช

จ้ะนาย.

ทั้งสองคนกล่าวว่า ภพทั้งสามเหมือนบรรณกุฎีที่ถูกไฟไหม้. เรา

จักบวชละ จึงให้นำผ้าเหลืองย้อมด้วยน้ำฝาด และบาตรดินเหนียวมาจาก

ภายในตลาด ยังกันและกันให้ปลงผม บวชด้วยตั้งใจว่า บรรพชาของ

พวกเราอุทิศพระอรหันต์ในโลก เอาบาตรใส่ถลกคล้องบ่า ลงจาก

ปราสาท. บรรดาทาสและกรรมกรในเรือนไม่มีใครรู้เลย. ครั้งนั้นชาว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 621

บ้านทาสจำเขาซึ่งออกบ้านพราหมณ์ไปทางประตูบ้านทาสได้ ด้วยสามารถ

อากัปกิริยา. ชาวบ้านทาสต่างร้องไห้ หมอบลงแทบเท้ากล่าวว่า นายจำ

นายจะทำให้พวกข้าพเจ้าไร้ที่พึ่งหรือ. ทั้งสองกล่าวว่า เราทั้งสองบวช

ด้วยคิดว่า ภพทั้งสามเป็นเหมือนบรรณศาลาที่ถูกไฟไหม้เผาผลาญ. หาก

เราทั้งสองจะทำในพวกท่านคนหนึ่ง ๆ ให้เป็นไท. แม้ร้อยปีก็ยังไม่หมด.

พวกท่านจงชำระศีรษะของพวกท่านแล้วจงเป็นไทเถิด. เมื่อชนเหล่านั้น

ร้องไห้ เขาพากันหลีกไป.

พระเถระเดินไปข้างหน้าเหลียวมองดูคิดว่า หญิงผู้มีค่าในสกลชมพู-

ทวีปชื่อ ภัททกาปิลานีนี้. เดินมาข้างหลังเรา. ข้อที่ใคร ๆ พึงคิดอย่าง

นี้ว่า ท่านทั้งสองนี้แม้บวชแล้วก็ไม่อาจจะพรากจากกันได้ ชื่อว่ากระทำ

กรรมอันไม่สมควร นี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อีกอย่างหนึ่งใคร ๆ พึงมี

ใจประทุษร้ายแล้วจะไปตกคลักในอบาย. พระเถระจึงเกิดคิดขึ้นว่า เรา

ควรละหญิงนี้ไป. พระเถระไปข้างหน้าเห็นทางสองแพร่งจึงได้ยืนในที่สุด

ทางสองแพร่งนั้น. แม้นางภัททาก็ได้มายืนไหว้. พระเถระกล่าวกะนางว่า

แม่มหาจำเริญ มหาชนเห็นหญิงเช่นท่านเดินมาข้างหลังเรา แล้วคิดว่า

ท่านทั้งสองนี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจจะพรากจากกันได้ จะพึงมีจิตร้ายใน

เรา จะไปตกคลักอยู่ในอบาย. เธอจงถือเอาทางหนึ่งในทางสองแพร่งนี้.

ฉันจักไปผู้เดียว. นางภัททากกล่าวว่า ถูกแล้วจ้ะ พระผู้เป็นเจ้า ชื่อว่า

มาตุคามเป็นมลทินของพวกบรรพชิต. ชนทั้งหลายจะชี้โทษของเราว่า

ท่านทั้งสองแม้บวชแล้ว ก็ยังไม่พรากกัน. ขอเชิญท่านถือเอาทางหนึ่ง.

เราทั้งสองจักแยกกัน . นางกระทำประทักษิ ๓ ครั้ง ไหว้ด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์ในฐานะ ๔ ประคองอัญชลีรุ่งเรืองด้วยทสนขสโมธาน มิตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 622

สันถวะที่ทำมานานประมาณแสนกัป ทำลายลงในวันนี้. พระผู้เป็นเจ้า

ชื่อว่าเป็นทักษิณา ทางเบื้องขวาย่อมควรแก่พระผู้เป็นเจ้า. ดิฉันชื่อว่า

เป็นมาตุคามเป็นฝ่ายซ้าย ทางเบื้องซ้ายย่อมควรแก่ดิฉัน ดังนี้ ไหว้แล้ว

เดินไปสู่ทาง. ในเวลาที่คนทั้งสองแยกจากกัน มหาปฐพีนี้ครืนครั่นสั่น

สะเทือนดุจกล่าวว่า เราแม้สามารถจะทรงเขาในจักรวาลและเขาสิเนรุไว้ได้

ก็ไม่สามารถจะทรงคุณของท่านทั้งสองไว้ได้. ย่อมเป็นไปดุจเสียงสายฟ้า

บนอากาศ. ภูเขาจักรวาลบันลือสั่น.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎีใกล้มหาวิหาร

เวฬุวัน ทรงสดับเสียงแผ่นดินไหว ทรงพระรำพึงว่า แผ่นดินไหวเพื่อ

ใครหนอ ทรงทราบว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททกาปิลานี สละสมบัติ

มากมายอุทิศเรา. การไหวของเผ่นดินนี้ เกิดด้วยกำลังคุณของคนทั้งสอง

ในที่ที่เขาจากกัน แม้เราก็ควรทำการสงเคราะห์แก่เขาทั้งสอง จึงเสด็จ

ออกจากพระคันธกุฎี ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรง

ปรึกษาใคร ๆ ในบรรดามหาเถระ ๘๐ ทรงกระทำการต้อนรับประมาณ

๓ คาวุต ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ ในระหว่าง

กรุงราชคฤห์และกรุงนาลันทา. ก็เมื่อประทับนั่ง มิได้ประทับนั่งเหมือน

ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเพศแห่งพระพุทธเจ้า

ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีเป็นลำสู่ที่ประมาณ ๘๐ ศอก. . ในขณะนั้น

พระพุทธรัศมีประมาณเท่าใบไม้ ร่ม ล้อเกวียน และเรือนยอดเป็นต้น

แผ่ซ่านส่ายไปข้างโน้นข้างนี้ ปรากฏการณ์ดุจเวลาพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์ขึ้นพันดวง ได้กระทำบริเวณป่าใหญ่ให้แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 623

บริเวณป่ารุ่งเรืองด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ดุจท้องฟ้า

รุ่งโรจน์ด้วยหมู่ดาว ดุจน้ำมีกลุ่มดอกบัวบานสะพรั่ง. ลำต้นนิโครธมี

สีขาว. ใบสีเขียว ใบแก่สีแดง. แต่ในวันนั้นต้นนิโครธพร้อมลำต้นและกิ่ง

มีสีเหมือนทอง. พึงทราบอนุปุพพิกถาที่ท่านกล่าวความแห่งบทว่า

อทฺธานมคฺค ปฏิปนฺโน แล้วกล่าวว่า บัดนี้ ผู้นี้บวชแล้วด้วยประการใด

และเดินทางไกลด้วยประการใด เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้งพึงกล่าว

อนุปุพพิกถานี้ตั้งแต่อภินิหารอย่างนี้.

บทว่า อนฺตรา จ ราชคห อนฺตรา จ นาฬนฺท ความว่า ใน

ระหว่างกรุงราชคฤห์และกรุงนาลันทา. บทว่า สตฺถารญฺจ วตาห

ปสฺเสยฺย ภควนฺตเมว ปสฺเสยย ความว่า หากว่า เราพึงเห็นพระ-

ศาสดาไซร้. เราพึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะนี้แล. เพราะ

ศาสดาอื่นจากนี้ไม่สามารถจะเป็นของเราได้เลย. บทว่า สุคตญฺจ วตาห

ปสฺเสยฺย ภควนฺตเมว ปสฺเสยฺย ความว่า หากเราพึงเห็นท่านผู้ชื่อว่า

สุคต เพราะความที่แห่งสัมมาปฏิบัติอันท่านถึงแล้วด้วยดีไซร้ เราพึงเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะนี้แล. เพราะพระสุคตอื่นจากนี้ไม่สามารถ

จะเป็นของเราได้.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธญฺจ วตาห ปสฺเสยฺย ภควนฺตเมว ปสฺเสยฺย

ความว่า หากเราพึงเห็นท่านผู้ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เอง

โดยชอบไซร้. เราพึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นี้แล. เพราะพระสัมมา-

สัมพุทธะอื่นจากนี้ไม่สามารถจะมีแก่เราได้ นี้เป็นความประสงค์ในข้อนี้

ด้วยประการฉะนี้. เกจิอาจารย์แสดงว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เรามิได้มีความ

สงสัยในพระผู้มีภาคพระเจ้าว่า นี้พระศาสดา นี้พระสุคต นี้พระสัมมา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 624

สัมพุทธเจ้า ด้วยการเห็นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สตฺถา เม ภนฺเต นี้ มาแล้ว ๒ ครั้งก็จริง แต่พึง

ทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว ๓ ครั้ง. เกจิอาจารย์แสดงว่า ด้วยบทนี้ ดูก่อน

ผู้มีอายุ เราประกาศความเป็นสาวก ๓ ครั้งอย่างนี้. บทว่า อชานญฺเว

แปลว่า ไม่รู้อยู่. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มุทฺธาปิ

ตสฺส วิปเตยฺย ความว่า สาวกผู้มีจิตเสื่อมใสทุ่มเทจิตใจทั้งหมดอย่างนี้

พึงทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ ต่อศาสดาภายนอกอื่นผู้ไม่รู้ปฏิญญาว่า

เรารู้ ศีรษะของศาสดานั้นพึงหลุดจากคอ ดุจตาลสุกหล่นฉะนั้น. อธิบายว่า

ก็ศีรษะพึงแยกออก ๗ เสี่ยง. หรือด้วยเรื่องมีเปรียบเทียบไว้อย่างไร.

หากพระมหากัสสปเถระพึงทำความเคารพอย่างยิ่งนี้ ด้วยจิตเลื่อมใส

ต่อมหาสมุทร. มหาสมุทรจะต้องถึงความเหือดแห้ง ดุจหยาดน้ำที่ใส่ใน

กระเบื้องร้อน. หากพึงทำความเคารพต่อจักรวาล. จักรวาลต้องกระจัด

กระจายดุจกำแกลบ. หากพึงทำความเคารพต่อเขาสิเนรุ. เขาสิเนรุต้อง

ย่อยยับดุจก้อนแป้งที่ถูกกาจิก หากพึงทำความเคารพต่อแผ่นดิน. แผ่นดิน

ต้องกระจัดกระจายดุจผุยผงที่ถูกลมหอบมา. ก็การทำความเคารพของพระ-

เถระเห็นปานนี้ ไม่สามารถแม้เพียงทำขุมขน ณ เบื้องหลังพระบาทสีดุจ

ทองของพระศาสดาให้กำเริบได้ อนึ่ง พระมหากสัสปยกไว้เถิด ภิกษุเช่น

พระมหากัสสปตั้งพันตั้งแสน ก็ไม่สามารถแม้เพียงทำขุมขนเบื้องหลังพระ-

บาทของพระทศพลให้กำเริบได้ หรือแม้เพียงผ้าบังสุกุลจีวรให้ไหวได้.

ด้วยการแสดงความเคารพ จริงอยู่ พระศาสดามีอานุภาพมากด้วยประการ

ฉะนี้.

ตสฺมาติห เต กสฺสป ความว่า เพราะเราเมื่อรู้ เราก็กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 625

เรารู้ และเมื่อเห็น เราก็กล่าวว่า เราเห็น ฉะนั้น ดูก่อนกัสสป เธอพึงศึกษา

อย่างนี้. บทว่า ติพฺพ แปลว่า หนา คือใหญ่. บทว่า หิโรตฺตปฺป

ได้แก่ หิริและโอตตัปปะ. บทว่า ปจฺจุปฏฺิต ภวิสฺสติ ได้แก่ จักเข้า

ไปตั้งไว้ก่อน. อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใดยังหิริและโอตตัปปะให้เข้าไปตั้ง

ไว้ในพระเถระเป็นต้นแล้วเข้าไปหา. แม้พระเถระเป็นต้นก็เป็นผู้มีหิริและ

โอตตัปปะเข้าไปหาผู้นั้น นี้เป็นอานิสงส์ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

กุสลูปสญฺหิต คืออาศัยธรรมเป็นกุศล. บทว่า อฏฺิกตฺวา ความว่า

ทำตนให้เป็นประโยชน์ด้วยธรรมนั้น หรือทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์

ว่า นี้ประโยชน์ของเรา ดังนี้. บทว่า มนสิกตฺวา คือตั้งไว้ในใจ. บทว่า

สพฺพเจตโส สมนฺนาหริตฺวา ความว่า ไม่ให้จิตไปภายนอกได้แม้แต่น้อย

รวบรวมไว้ด้วยประมวลมาทั้งหมด. บทว่า โอหิตโสโต แปลว่า เงี่ยหู.

อธิบายว่า เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักตั้งญาณโสตและปสาทโสตแล้ว

ฟังธรรมที่เราแสดงแล้วโดยเคารพ. บทว่า สาตสหคตา จ เม กาย-

คตาสติ ความว่า กายคตสติสัมปยุตด้วยสุข ด้วยสามารถปฐมฌาน

ในอสุภกรรมฐานและในอานาปานกรรมฐาน.

ก็โอวาทนี้มี ๓ อย่าง. บรรพชาและอุปสมบทนี้แลได้มีแก่พระ-

เถระ. บทว่า สาโณ ได้แก่ เป็นผู้มีกิเลสคือเป็นหนี้. บทว่า รฏฺปิณฺฑ

ภุญฺชึ ได้แก่ บริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธา.

จริงอยู่ การบริโภคมี ๔ อย่าง คือ ไถยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑

ทายัชชบริโภค ๑ สามิบริโภค ๑. ในบริโภคเหล่านั้น ภิกษุเป็นผู้ทุศีล

แม้นั่งบริโภคในท่ามกลางสงฆ์ ก็ชื่อว่า ไถยบริโภค. เพราะเหตุไร

เพราะไม่เป็นอิสระในปัจจัย ๔. ผู้มีศีล ไม่พิจารณาบริโภค ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 626

ของ ไม่เป็นหนี้บริโภค ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อ

ทำการบริโภคซึ่งตนเป็นปุถุชนบริโภค ให้เป็นอิณบริโภค จึงกล่าว

อย่างนี้.

บทว่า อฏฺมิยา อา อุทปาทิ ได้แก่ พระอรหัตผลเกิด

ขึ้นแล้วในวันที่ ๘. บทว่า อถโข ภควา มคฺคา โอกฺกมฺม ความว่า

การหลีกจากหนทางไปก่อน ได้มีแล้วในวันนั้น ภายหลังจึงได้บรรลุ

พระอรหัต. ก็ท่านแสดงการบรรลุพระอรหัตก่อน เพราะเทศนาวาระมา

แล้วอย่างนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงหลีก

จากหนทาง. ตอบว่า ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า เราจัก

ทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร มีอาสวะเดียว

เป็นวัตร เพราะฉะนั้น พระองค์จึงหลีกไป.

บทว่า มุทุกา โข ตยาย ได้แก่ ผ้าสังฆาฏินี้แล ของท่าน

อ่อนนุ่ม. ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อลูบคลำจีวรนั้นด้วยปลาย

พระหัตถ์ มีสีดังดอกปทุม จึงตรัสพระวาจานี้. ถามว่า พระองค์ตรัส

อย่างนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะทรงประสงค์จะเปลี่ยนจีวรกับ

พระเถระ. ถามว่า พระองค์ทรงประสงค์จะเปลี่ยนเพราะเหตุไร. ตอบว่า

เพราะทรงประสงค์จะตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งของพระองค์. ก็เพราะเมื่อ

ท่านกล่าวคุณของจีวรหรือบาตร พระเถระจึงกราบทูลว่า ขอพระองค์จง

ทรงรับจีวรนี้เพื่อพระองค์เถิด นี้เป็นจารีต ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับของข้าพระองค์เถิด.

พระองค์จึงตรัสว่า ก็กัสสป เธอจักครอบผ้าบังสุกุลทำด้วยผ้าป่านของเรา

ได้ไหม เธอจักอาจเพื่อห่มได้ไหม ดังนี้. ก็แล พระองค์ทรงหมายถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 627

กำลังกาย จึงตรัสแล้วอย่างนี้ ก็หามิได้ แต่ทรงหมายถึงการปฏิบัติให้

บริบูรณ์ จึงตรัสอย่างนี้.

ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ :- จีวรนี้ที่เขาห่ม ทาสีชื่อปุณณะทิ้งไว้ใน

ป่าช้าผีดิบ เราเข้าไปสู่ป่าช้านั้นอันมีตัวสัตว์กระจายอยู่ ประมาณทะนาน

หนึ่ง กำจัดตัวสัตว์เหล่านั้นแล้ว ตั้งอยู่ในมหาอริยวงศ์ ถือเอา. ในวันที่

เราถือเอาจีวรนี้ มหาปฐพีในหมื่นจักรวาลส่งเสียงสั่นสะเทือน อากาศนั้น

ส่งเสียง ตฏะ ตฏะ เทวดาในจักรวาลได้ให้สาธุการว่า ภิกษุผู้ถือเอา

จีวรนี้ ควรเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตามธรรมชาติ นั่งอาสนะเดียวเป็น

วัตรตามธรรมชาติ เที่ยวไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรตามธรรมชาติ ท่าน

จักอาจทำให้ควรแก่จีวรนี้ได้ ดังนี้. แม้พระเถระตนเองทรงไว้ซึ่งกำลัง

ช้าง ๕ เชือก. ท่านจึงไม่ตรึกถึงข้อนั้น ใคร่จะทำให้สมควรแก่สุคตจีวร

ด้วยความอุตสาหะว่า เราจักยังการปฏิบัตินั้นให้บริบูรณ์ ดังนี้ จึงกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครอง ดังนี้. บทว่า ปฏิปชฺชึ

ได้แก่ เราได้ปฏิบัติแล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการเปลี่ยนจีวรกัน

อย่างนี้แล้ว ทรงครองจีวรที่พระเถระครอง พระเถระครองจีวรของ

พระศาสดา. สมัยนั้น มหาปฐพีสั่นสะเทือนจนถึงน้ำรองแผ่นดิน.

ในบทว่า ภควโต ปุตฺโต เป็นต้น ความว่า พระเถระอาศัย

พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดแล้วโดยอริยชาติ ดังนั้นบุตรของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ชื่อว่าผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอก ตั้งอยู่

ในบรรพชาและอุปสมบทด้วยอำนาจพระโอวาทออกจากพระโอษฐ์ ชื่อว่า

ผู้เกิดแต่พระธรรมอันธรรมนิรมิตแล้ว เพราะเกิดแต่พระโอวาทธรรม

และเพราะทรงนิมิตด้วยพระโอวาทธรรม ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 628

ควรซึ่งทายาทคือพระธรรมโอวาท หรือทายาทคือโลกุตรธรรม ๙. บทว่า

ปฏิคฺคหิตานิ สาณานิ ปสุกูลานิ ความว่า รับผ้าบังสุกุลจีวร

อันพระศาสดาทรงครองแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การครอง.

บทว่า สมฺมา วทมาโน วเทยฺย ความว่า เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก

พึงพูดถึงบุคคลใดด้วยคุณเป็นต้นว่า บุตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

พูดถึงบุคคลนั้นให้ถูกพึงพูดถึงเราว่า เรามีรูปเห็นปานนี้ ดังนี้. บรรพชา

อันพระเถระให้บริสุทธิ์แล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในข้อนี้มีอธิบายว่าท่าน

ผู้มีอายุ อุปัชฌาย์อาจารย์ของผู้ใดไม่ปรากฏ ผู้นั้นอุปัชฌาย์ไม่ อาจารย์

ไม่มี โกนหัวโล้นถือเอาผ้ากาสายะเอง ถึงการนับว่าเขารีตเดียรถีย์หรือ ได้

การต้อนรับตลอดหนทาง ๓ คาวุตอย่างนี้ ได้บรรพชาหรืออุปสมบทด้วย

โอวาท ๓ ได้เปลี่ยนจีวรด้วยกาย ท่านเห็นคำแม้ทุพภาษิตเพียงไรของ

ถุลลนันทาภิกษุณีไหม. พระเถระให้บรรพชาบริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้

เพื่อบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา ๖ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อห โข อาวุโส.

คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาจีวรสูตรที่ ๑๑

๑๒. ปรัมมรณสูตร

ว่าด้วยสัตว์ตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด

[๕๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปและท่านพระสารีบุตร

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระ

สารีบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 629

ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศรัยกะท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๒๙] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่าน

พระมหากัสสปว่า ดูก่อนท่านกัสสป สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ.

ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง

พยากรณ์ไว้.

สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้วไม่เกิดอีกหรือ.

ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้.

สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ.

ก. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้

สา. สัตว์เมื่อตายไปแล้ว เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้.

สา. เพราะเหตุไรหรือ ข้อที่กล่าวถึงนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.

ก. เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ

พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหมายหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.

[๕๓๐] สา. ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้

อย่างไรเล่า.

ก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 630

สา. ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.

ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ

พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อ

เข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ไว้.

จบปรัมมรณสูตรที่ ๑๒

อรรถกถาปรัมมรณสูตรที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในปรัมมรณสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตถาคโต คือ สัตว์. บทว่า น เหต อาวุโส อตฺถสญฺหิต

ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อนั้นคือทิฏฐิไม่อิงประโยชน์. บทว่า นาทิพฺรหฺม-

จริยก ความว่า ไม่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.

บทว่า เอตญฺหิ อาวุโส อตฺถสญฺหิต ความว่า ข้อนั้น คือสัจจ-

กัมมัฏฐาน ๔ อิงประโยชน์. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยก ข้อนั้น คือ

เบื้องต้น ได้แก่ข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์.

จบอรรถกถาปรัมรณสูตรที่ ๑๒

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

ว่าด้วยพระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้น ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 631

มหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระมหากัสสปนั่ง

เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล

เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระ

อรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก

และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย.

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ข้อนั้นเป็น

อย่างนี้คือ เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบท

จึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่

เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และ

สัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลื่อนหายไป

ทองเทียมยิ่งไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่

หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไปฉันใด

พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบ

นั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลื่อนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด

เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป.

[๕๓๓] ดูก่อนกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่

ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหากเกิด ขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป

เปรียบเหมือนเรือจะอับปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่

เลือนหายไป ด้วยประการฉะนี้.

[๕๓๔] ดูก่อนกัสสป เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 632

ไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ

ฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ใน

พระสงฆ์ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุฝ่ายดำ ๕ ประการเหล่านี้แล

ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือนเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

[๕๓๕] ดูก่อนกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไป

พร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัย

นี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑

ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

จบสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓

จบกัสสปสังยุตที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สันตุฏฐสูตร ๒. อโนตตัปปิสูตร ๓. จันทูปมสูตร

๔. กุลูปกสูตร ๕. ชิณณสูตร ๖. ปฐมโอวาทสูตร

๗. ทุติยโอวาทสูตร ๘. ตติยโอวาทสูตร ๙. ฌานาภิญญาสูตร

๑๐. ภิกขุนูปัสสยสูตร ๑๑. จีวรสูตร ๑๒. ปรัมมรณสูตร

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 633

อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในสัทธรรมปฏิรูปสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺาย สณฺหึสุ ภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผล. บทว่า

สพฺธมฺมปฏิรูปก ได้แก่ สัทธรรมปฏิรูป ๒ คือ สัทธรรมปฏิรูปคือ

อธิคม ๑ สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ ๑. ในสัทธรรมปฏิรูปกะนั้น

ฐานะ ๑๐ เหล่านี้คือ จัดย่อมหวั่นไหว ด้วยฐานะ.

เหล่าใด คือหวั่นไหวในโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ

สุข และหวั่นไหวในอธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ

อุเบกขาอาวัชชนะ อุเบกขานิกันติ ปัญญาอันผู้ใด

อบรมแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาดในความฟุ้งซ่านใน

ธรรม จะไม่ถึงความลุ่มหลง ดังนี้.

นี้ชื่อว่าอธิคม คือสัทธรรมปฏิรูปกะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งวิปัสสนาญาณ.

ส่วนคำมิใช่พระพุทธพจน์มีคุฬหวินัย คุฬหเวสสันดร คุฬหมโหลถ

วัณณปิฎก อังคุลิมาลปิฎก พระรัฐบาลคัชชิตะ ความกระหึ่มของ

อาฬวกคัชชิตะ เวทัลลปิฎกเป็นต้น นอกจากกถาวัตถุ ๔ เหล่านี้ คือ

ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณวัตถุกถา วิชชากรัณฑกะ ซึ่งยัง

ไม่ยกขึ้นสู่สังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง ชื่อว่า สัทธรรมปฏิรูปคือปริยัติ. บทว่า

ชาตรูปปฏิรูปก ความว่า ทองคำทำด้วยทองเหลืองอันนายช่างทอง

เจียระไนออกเป็นเครื่องประดับ. ก็ในเวลามีมหรสพ คนทั้งหลายไปร้านค้า

ด้วยคิดว่า เราจักรับเครื่องอาภรณ์ ดังนี้. ครั้งนั้น พ่อค้าพูดกับพวก

เขาอย่างนี้ว่า ถ้าท่านต้องการอาภรณ์เชิญรับอาภรณ์เหล่านี้. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 634

อาภรณ์เหล่านี้หนา สีงาม ราคาก็ถูกด้วย. คนเหล่านั้น ฟังพ่อค้า

เหล่านั้น รับเอาอาภรณ์เหล่านั้นไปด้วยคิดว่า พ่อค้าเหล่านี้บอกเหตุว่า

ท่านใช้อาภรณ์เหล่านี้เล่นนักกษัตรได้ งามก็งาม ทั้งราคาก็ถูก ดังนี้.

ทองคำธรรมชาติ เขาไม่ขาย ฝั่งเก็บเอาไว้. เมื่อทองเทียมเกิดขึ้น

ทองคำธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่าหายไปอย่างนี้.

บทว่า อถ สทฺะมฺมสฺส อนฺตรธาน โหติ ได้แก่ สัทธรรม

แม้ ๓ อย่างคือ อธิคมสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปริยัติสัทธรรม

ย่อมอันตรธาน. ก็ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุได้เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา.

ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ถึงปฏิสัมภิทาไม่ได้ แต่ก็ได้อภิญญา ๖ ต่อมาเมื่อ

ถึงอภิญญา ๖ ไม่ได้ ก็ถึงวิชชา ๓. เมื่อล่วงมาบัดนี้ เมื่อถึงวิชชา ๓

ไม่ได้ จักถึงซึ่งเพียงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เมื่อถึงแม้ความสิ้นอาสวะ

ไม่ได้ ก็จักบรรลุอนาคามิผล เมื่อบรรลุแม้อนาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จัก

บรรลุสกทาคามิผล เมื่อแม้บรรลุสกทาคามิผลนั้นไม่ได้ ก็จักบรรลุแม้

โสดาปัตติผล. เมื่อเวลาผ่านไป จักบรรลุแม้โสดาปัตติผลก็ไม่ได้. ครั้งนั้น

ในกาลใด วิปัสสนาจักเริ่มเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ ในกาลนั้น

อธิคมสัทธรรมของพวกภิกษุเหล่านั้น จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.

ครั้งปฐมโพธิกาล พวกภิกษุยังการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิสัมภิทา ๔

ให้บริบูรณ์ เมื่อกาลล่วงไป เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ ก็ปฏิบัติอันสมควร

แก่อภิญญา ๖ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นแม้ไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควร

แก่วิชชา ๓ ได้บริบูรณ์ เมื่อปฏิบัติข้อนั้นไม่ได้ก็ปฏิบัติอันสมควรแก่พระ

อรหัตผลได้บริบูรณ์ เมื่อกาลผ่านไป เมื่อปฏิบัติอันสมควรแก่พระอรหัต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 635

ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระอนาคามิผลได้บริบูรณ์ ปฏิบัติ

แม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่พระสกทาคามิผลได้บริบูรณ์

เมื่อปฏิบัติแม้ข้อนั้นไม่ได้ ก็จักปฏิบัติอันสมควรแก่โสดาปัตติผลได้

บริบูรณ์. ส่วนในกาลใด เมื่อปฏิบัติอันสมควรแม้แก่พระโสดาปัตติผล

ไม่ได้บริบูรณ์ ก็จักตั้งอยู่เพียงศีลอันบริสุทธิ์. ในกาลนั้น ปฏิบัติสัทธรรม

จักชื่อว่าเสื่อมหายไป.

จะกล่าวว่า ศาสนาไม่อันตรธานตลอดเวลาที่พระไตรปิฎกพุทธพจน์

ยังเป็นไปอยู่ ดังนี้ก็ควร. อีกอย่างหนึ่ง ๓ ปิฎกยังดำรงอยู่ เมื่ออภิธรรม

ปิฎกเสื่อมหายไป ปิฎก ๒ นอกนี้ก็ยังเป็นไปอยู่ ไม่ควรกล่าวว่า ศาสนา

อันตรธานแล้วดังนี้. เมื่อปิฎก ๒ เสื่อมหายไป ก็ยังดำรงอยู่เพียงวินัยปิฎก

แม้ในวินัยปิฎกนั้นเมื่อขันธกบริวารเสื่อมหายไป ก็ดำรงอยู่เพียงอุภโตวิภังค์

เมื่อมหาวินัยเสื่อมหายไป เมื่อปาติโมกข์สองยังเป็นไปอยู่ ศาสนาอัตรธาน

ก็หามิได้แล. แต่เมื่อใดปาติโมกข์สองจักเสื่อมหายไป เมื่อนั้นปริยัติ-

สัทธรรมจักอันตรธาน. เมื่อปริยัติสัทธรรมนั้นเสื่อมหายไป ศาสนาชื่อว่า

อันตรธานแล้ว. ด้วยว่าเมื่อปริยัติเสื่อมหายไป การปฏิบัติก็เสื่อมหายไป

เมื่อการปฏิบัติเสื่อมหายไป อธิคมก็เสื่อมหายไป. ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า ปริยัตินี้เป็นปัจจัยแก่การปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นปัจจัยแก่อธิคม.

แต่เมื่อว่าโดยการปฏิบัติกำหนดปริยัติเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ในสมัยกัสสปสัมมาสัมพุทธะ อนาจารภิกษุชื่อกบิล จับ

พัดนั่งบนอาสนะด้วยคิดว่า เราจักสวดปาติโมกข์ดังนี้ จึงถามว่า ในที่นี้ผู้

สวดปาติโมกข์ได้มีอยู่หรือ. ครั้งนั้น ภิกษุแม้เหล่าใดสวดปาฏิโมกข์

๑. ม. อนาราธกภิกฺขุ = ภิกษุผู้มิได้รับอาราธนา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 636

ได้ก็จริง ถึงกระนั้นภิกษุเหล่านั้นก็ไม่พูดว่า พวกเราสวดได้ แต่พูดว่า

พวกเราสวดไม่ได้ ดังนี้ เพราะกลัวแก่ภิกษุนั้น เธอวางพัดลุกจาก

อาสนะไปแล้ว. ถามว่า ในกาลนั้น ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธะ

เสื่อมแล้วมิใช่หรือ. ตอบว่า เสื่อมแม้ก็จริง ถึงกระนั้นก็กำหนดปริยัติ

โดยส่วนเดียว. เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีขอบมั่นคง ไม่พึงกล่าวว่า

น้ำจักไม่ขังอยู่ ดังนี้ เมื่อมีน้ำ ไม่พึงกล่าวว่า ดอกไม้ มีดอกปทุมเป็นต้น

จักไม่บาน ดังนี้ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อมีพระไตรปิฎกคือพุทธพจน์

เป็นเช่นขอบอันมั่นคงของสระน้ำใหญ่ ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มี กุลบุตรยัง

ปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้ เป็นเช่นน้ำในสระน้ำใหญ่ ดังนี้. แต่กำหนดถึง

ปริยัติ โดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า เมื่อกุลบุตรเหล่านั้น มีอยู่ ไม่พึงกล่าวว่า

พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ไม่มี เหมือนดอกไม้มีดอกปทุม

เป็นต้น ในสระน้ำใหญ่ ไม่มีฉะนั้น.

บทว่า ปฐวีธาตุ ได้แก่ มหาปฐพีหนาได้สองแสนสี่หมื่นนหุต.

บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ น้ำอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินท่วมสูง

ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นสุภกิณหา. บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ไฟอัน

ยังกัปให้พินาศ เริ่มแต่แผ่นดินไหม้ขึ้นไปจนถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสรา.

บทว่า วาโยธาตุ ได้แก่ ลมอันยังกัปให้พินาศ เริ่มต้นแต่แผ่นดินพัดขึ้นไป

จนถึงพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในธรรมมีปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นแม้ธรรม

อย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะยังสัตถุศาสน์ให้อันตรธานได้ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิเธว เต อุปปชฺชนฺติ โมฆบุรุษ

เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นในศาสนาของเรานี้นี่แหละ เหมือนสนิมเกิดแต่เหล็ก

กัดกร่อนเหล็กฉะนั้น. บทว่า โมฆปุริสา คือ บุรุษเปล่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 637

ในบทว่า อาทิเกเนว โอปิลาวติ ได้แก่ ด้วยต้นหน คือด้วย

การถือ ได้แก่จับ. บทว่า โอปิลาวติ คืออัปปาง. มีอธิบายว่า เรือ

อยู่ในน้ำ บรรทุกสิ่งของย่อมอัปปาง ฉันใด พระสัทธรรม ย่อมไม่

อันตรธานไป เพราะเต็มด้วยปริยัติเป็นต้น. ฉันนั้น. เพราะเมื่อปริยัติ

เสื่อม ปฏิบัติก็เสื่อม. เมื่อปฏิบัติเสื่อม อธิคมก็เสื่อม เมื่อปฏิบัติยัง

บริบูรณ์อยู่ บุคคลผู้ทรงปริยัติก็ยังปฏิบัติให้บริบูรณ์ได้. ผู้ปฏิบัติให้บริบูรณ์

ได้ ก็ยังอธิคม (ปฏิเวธ) ให้บริบูรณ์ได้. ท่านแสดงว่า เมื่อปริยัติเป็นต้น

เจริญอยู่ ศาสนาของเรายังเจริญ เหมือนดวงจันทร์ส่องแสงอยู่ฉะนั้น.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมเป็นเหตุอันตรธาน และความตั้งมั่น

แห่งพระสัทธรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปญฺจ โข ดังนี้. ในบท

เหล่านั้น บทว่า โอกฺกมนียา ความว่า ความก้าวลง คือเหตุฝ่ายต่ำ. บทว่า

อคารวา ในบทว่า สตฺถริ อคารวา เป็นต้น ได้แก่ เว้นความเคารพ.

บทว่า อปฺปติสฺสา ได้แก่ ความไม่ยำเกรง คือไม่พระพฤติถ่อมตน. ใน

ความไม่เคารพนั้น ภิกษุใดขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ กั้นร่ม สวมรองเท้า

แลดูแต่ที่อื่น เดินคุยกันไป. ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระศาสดา.

ภิกษุใด เมื่อเขาประกาศเวลาฟังธรรม อันภิกษุหนุ่มและสามเณรนั่ง

ห้อมล้อม หรือกำลังทำนวกรรมเป็นต้นอย่างอื่น นั่งหลับในโรงฟังธรรม

หรือเป็นผู้ฟุ้งซ่าน นั่งคุยเรื่องอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพใน

พระธรรม. ส่วนภิกษุใด ไปสู่ที่บำรุงของพระเถระ นั่งไม่ไหว้ เอามือรัดเข่า

ทำการบิดผ้า ก็หรือคะนองมือและเท้าอย่างอื่น มิได้รับการกล่าวเชื้อเชิญใน

สำนักของพระเถระผู้แก่ ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระสงฆ์.

ส่วนผู้ไม่ยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 638

ผู้ไม่ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด หรือไม่ทำความเพียร เพื่อความเกิดสมาบัติ

เหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิ. ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบ

โดยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้วแล แล้วประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตรที่ ๑๓

จบอรรถกถากัสสปสังยุตที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 639

๕. ลาภสักการสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๓๖] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็น

อันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละ

ลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและ

ความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบสุทธกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 640

อรรถกถาลาภสักการสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

อรรกถาสุทธกสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสุทธกสูตรที่ ๑ แห่งลาภสักการะสังยุต

ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทารุโณ คือกระด้าง. การได้ปัจจัย ๔ ชื่อว่าลาภ ในบท

นี้ว่า ลาภสกฺการสิโลโก. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ลาภของภิกษุ

เหล่านั้น ที่พวกเขาทำดี คือปรุงแต่งไว้ดี. บทว่า สิโลโก คือ เสียง

สรรเสริญ. บทว่า กฏุโก คือคม. บทว่า ผรุโส คือแข็ง. บทว่า

อนฺตรายิโก คือทำอันตราย.

จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๑

๒. ทฬิสสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเหมือนเหยื่อเกี่ยวเบ็ด

[๕๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตตี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 641

เหยื่อ กลืนเบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ด

ของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำ

ได้ตามความพอใจฉะนั้น.

[๕๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อ

ของมารใจบาป คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะ และความ

สรรเสริญ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และความสรรเสริญ

ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ ถึง

ความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลาย ลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย

แก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล.

[๕๔๑] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ

สรรเสริญเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จัก

ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบพฬิสสูตรที่ ๒

อรรถกถาพฬิสสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในพฬิสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า พาฬิลิโก ได้แก่ พรานเบ็ดถือเอาเบ็ดเที่ยวฆ่าปลา. บทว่า

อามิสคต คือเกี่ยวด้วยเหยื่อ. บทว่า อามิสจกฺขุ ได้แก่ ชื่ออามิส-

จักษุ เพราะอรรถว่า เห็นเบ็ดติดเหยื่อ. บทว่า คิลพฬิโส คือกลิ่น

เบ็ด. บทว่า อนย อาปนฺโน ได้แก่ ถึงทุกข์. บทว่า พฺยสน อาปนฺโน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 642

ได้เเก่ ถึงความพินาศ. บทว่า ยถากามกรณีโย ความว่า พรานเบ็ด

ปรารถนาปลานั้นตามต้องการ คือตามความชอบใจอย่างใด พึงการทำปลา

นั้นได้อย่างนั้น. บทว่า ยถากามกรณีโย ปาปิรโต ความว่า อันมาร

คือกิเลส พึงทำได้ตามความใคร่ คือพึงให้ถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

หรือเปรตวิสัยก็ได้.

จบอรรถกถาพฬิสสูตรที่ ๒

๓. กุมมสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนเต่าถูกเชือกมัด

[๕๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในห้วงน้ำแห่ง

หนึ่ง มีตระกูลเต่าใหญ่อยู่อาศัยมานาน ครั้งหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งเข้าไปหา

เต่าอีกตัวหนึ่งพูดว่า พ่อเต่า เจ้าอย่าได้ไปยังท้องถิ่นนั้นนะ.

เต่าตัวนั้นได้ไปยังประเทศนั้นแล้ว ถูกนายพรานยิงด้วยลูกดอก

ลำดับนั้น เต่าตัวที่ถูกยิงเข้าไปหาเต่าตัวนั้น เต่าตัวนั้นได้เห็นเต่าตัวที่

ถูกยิงกำลังมาแต่ไกล จึงถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ไปยังท้องถิ่นนั้นหรือ.

เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า พ่อเต่า ฉันได้ไปยังท้องถิ่นนั้นมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 643

เต่าตัวนั้นถามว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบตีดอกหรือ.

เต่าตัวที่ถูกยิงตอบว่า ฉันไม่ได้ถูกทับตี แต่ฉันมีเชือกเส้นหนึ่ง

ติดหลังมานี้.

เต่าตัวนั้นกล่าวว่า พ่อเต่า เจ้าไม่ได้ถูกทุบตีก็ดีละ พ่อเต่า บิดา

มารดา ปู ย่า ตา ยาย ของเจ้าได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะ

เชือกเส้นนี้แหละ ไปเดี๋ยวนี้ เจ้าไม่ใช่พวกของเราแล้ว.

[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พราน" นี้ เป็นชื่อของ

มารใจบาป. คำว่า "ลูกดอก" เป็นชื่อของลาภสักการะและความ

สรรเสริญ. คำว่า "เชือก" นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และความสรรเสริญ

ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ดุจลูกดอก ถูกมารทำได้ตามความพอใจ

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบกุมมสูตรที่ ๓

อรรถกถากุมมสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในกุมมสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มหากุมฺมกุล ได้แก่ ตระกูลเต่ากระดองใหญ่. บทว่า

อคมาสิ ความว่า ได้ไปด้วยความสำคัญว่า ในที่นี้พึงมีของบางอย่าง

กินแน่ เมื่อเขาตระหนี่สิ่งนั้น ก็จะห้ามเรา ดังนี้. บทว่า ปปตาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 644

หนามเหล่ามีสัณฐานคล้ายลูกดอกมีเงี่ยง ผูกด้วยเชือกยาว สอดไว้ในด้ามไม้

ถือไป พอพุ่งไปติดอยู่ที่กระดองเต่า ไม้ก็ดีดออกโดยเร็ว เชือกก็ไปมัด

เป็นอันเดียวกัน ท่านเรียกว่าลูกดอก. บทว่า โส กุมฺโม คือเต่านั้น

ถูกยิง. บทว่า เยน โส กุมฺโม ความว่า เต่าตัวที่ถูกยิง ผู้มีความ

ต้องการนั้นจึงกลับเสีย ด้วยคิดว่า ความสงสัยจักมีได้เพราะฟังเสียงน้ำ

ดังนี้. ชื่อว่ากุมมะ เต่า. บทว่า นทานิ ตฺว อมฺหาก ความว่า บัดนี้

ท่านไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูไม่ใช่พวกของเรา. อนึ่ง นายพรานอยู่ในเรือ

คร่าเชือกมามัดเต่าผู้สนทนาอยู่อย่างนี้ กระทำได้ตามปรารถนา.

คำที่เหลือในสูตรนี้ และในสูตรต่อแต่นี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

๔. ทีฆโลมสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแกะถูกหนามเกี่ยว

[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แกะขนยาวเข้าไปสู่ชัฏหนาม มัน

พึงข้องอยู่ อันหนามเกี่ยวไว้ ติดอยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับทุกข์ ถึงความ

พินาศในที่นั้น ๆ ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภ สักการะ

และความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 645

บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอข้องอยู่ อันปัจจัย

เกี่ยวไว้ ผูกไว้ในที่นั้นๆ ย่อมได้รับทุกข์ ถึงความพินาศในที่นั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบทีฆโลมสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย

๕. เอฬกสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน

[๕๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แมลงวันกินขี้เต็มท้อง และ

ข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า เรากินขี้

เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด ภิกษุบางรูปใน

ธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว

ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน

หรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้นพอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์

เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไปอาราม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 646

แล้ว อวกอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว

ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะ

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุ

เหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธออันลาภสักการะและความสรรเสริญ

ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก ข้อนั้นของ

โมฆบุรุษนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบเอฬกสูตรที่ ๕

อรรถกถาเอฬกสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในเอฬกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กสฬกา คือสัตว์กินคูถ. บทว่า คูถาทิ คือมีคูถ

เป็นภักษา. บทว่า คูถปูรา คือภายในเต็มด้วยคูถ. บทว่า ปุณฺณา

คูถสฺส นี้ แสดงเนื้อความบทแรกเท่านั้น. บทว่า อติมญฺเยฺย ความว่า

แมลงวันวางเท้าหลังไว้บนพื้น ยกเท้าหน้าวางไว้บนคูถ พึงพูดอย่างดูหมิ่น

ว่า เรามีคูถเป็นอาหาร ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ปิณฺฑปาโตปสฺส ปูโร

ความว่า บิณฑบาตอันประณีตเต็มบาตร แม้อื่นอีกพึงมีแก่เขา.

จบอรรถกถาเอฬสูตรที่ ๕

๑. ม. ปิณฺฑปาโต จสฺส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 647

๖. อสนิสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนคนถูกขวานฟ้า

[๕๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๕๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขวานฟ้าตกถูกใคร ลาภสักการะ

และความสรรเสริญ ย่อมตามถึงพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล คำว่า

" ขวานฟ้า" นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบอสนิสูตรที่ ๖

อรรถกถาอสนิสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในอสนิสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ก ภิกฺขเว อสนิวิจกฺก ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ฟ้าผ่าลงมาทำลายบนศีรษะใคร. บทว่า อปฺปตฺตมานส คือพระอรหัต-

ผลอันตนยังไม่บรรลุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะปรารถนาความ

ทุกข์แต่สัตว์ก็หามิได้ แต่ตรัสอย่างนี้ เพื่อแสดงโทษ ด้วยประการฉะนี้.

ความจริง ฟ้าผ่าลงบนศีรษะ ให้อัตภาพเดียวเท่านั้นฉิบหาย คนผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 648

ติดลาภสักการะและสรรเสริญ ย่อมแสวงอนันตทุกข์ในนรกเป็นต้น.

จบอรรถกถาอสนิสูตรที่ ๖

๗. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนถูกแทงด้วยลูกศร

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรแทงใครด้วยลูกศรคือทิฏฐิ

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมตามถึงพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล

คำว่า "ลูกศร" นี้ เป็นชื่อของลาภสักการะและความสรรเสริญ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๗

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิฏฺิคเตน คือทิฏฐิ. บทว่า วิเสน คือกำซาบด้วยพิษ.

บทว่า สลฺเลน คือลูกศร.

จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 649

๘. สิคาลสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่

[๕๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นสุนัขจิ้งจอกแก่ซึ่ง

อยู่ในกลางคืนตลอดถึงเช้าตรู่หรือหนอ.

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นเป็นโรคอุกกัณณกะ

[โรคเรื้อน] อยู่บนบกก็ไม่สบาย อยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย อยู่ในที่แจ้งก็ไม่

สบาย เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันลาภสักการะและ

ความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว อยู่ในที่เรือนว่างก็ไม่สบาย อยู่ที่โคน

ไม้ก็ไม่สบาย อยู่ในที่แจ้งก็ไม่สบาย เดิน ยืน นั่ง นอนในที่ใด ๆ

ก็ไม่สบาย เป็นทุกข์ในที่นั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและ

ความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แหละ.

จบสิคาลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 650

อรรถกถาสิงคาลสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในสิงคาลสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชรสิคาโล คือสุนัขจิ้งจอก. กายแม้มีสีดังทอง เขา

ก็เรียกว่า กายเปื่อยเน่า มูตรแม้ถ่ายในขณะนั้น เขาก็เรียกว่ามูตรเน่า

ฉันใด สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดในวันนั้น เขาก็เรียกว่าสุนัขจิ้งจอกแก่ ๆ

ฉันนั้น. บทว่า อุกฺกณฺณเกน นาม ได้แก่ โรคมีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า

โรคนั้นเกิดในเวลาหนาว. เมื่อมันเกิด ขนหลุดจากสรีระทั้งสิ้น. สรีระ

ทั้งสิ้น ไม่มีขน ย่อมพุพองไปหมด แผลที่ถูกลมพัด เสียดแทง. คน

ถูกสุนัขบ้ากัด ทรงตัวไม่ได้ หมุนไป ฉันใด เมื่อมันเกิดอย่างนี้ คน

นั้นพึงไปฉันนั้น ไม่ปรากฏว่าในที่โน้นจักมีความสวัสดี ดังนี้.

จบอรรถกถาสิงคาลสูตรที่ ๘

๙. เวรัมภสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนนกถูกลมบ้าหมู

[๕๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 651

[๕๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมชื่อว่าเวรัมภาพอยู่ในอากาศ

เบื้องบน ซัดนกที่บินอยู่ในอากาศนั้น เมื่อมันถูกลมเวรัมภาซัด เท้าไป

ทางหนึ่ง ปีกไปทางหนึ่ง ศีรษะไปทางหนึ่ง ตัวไปทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันลาภสักการะ

และความสรรเสริญครอบงำย่ำจิตแล้ว เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร

เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา จิต ไม่ดำรงสติ

ไม่สำรวมอินทรี เธอเห็นมาตุคามที่นุ่งห่มผ้าลับ ๆ ล่อ ๆ ในบ้านหรือ

นิคมนั้น ครั้นเห็นแล้ว ราคะย่อมครอบงำจิต เธอมีจิตอันราคะครอบงำ

แล้ว ย่อมลาสิกขาสึกออกมา ภิกษุพวกหนึ่งเอาจีวรของเธอไป พวกหนึ่ง

เอาบาตร พวกหนึ่งเอาผ้านิสิทนะ. พวกหนึ่งเอากล่องเข็ม เปรียบดังนก

ถูกลมเวรัมภาซัดไปฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบเวรัมภสูตรที่ ๙

อรรถกถาเวรัมภสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในเวรัมภสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เวรมฺภวาตา ได้แก่ ลมใหญ่มีชื่ออย่างนี้. ถามว่า ก็ลม

เหล่านั้นพัดในที่เช่นไร. ตอบว่า บุคคลยืนอยู่ในที่ใด เกาะทั้ง ๔

ปรากฏเป็นเพียงใบบัว. บทว่า โย ปกฺขี คจฺฉติ ความว่า เมื่อฝนตก

ใหม่ นกแอ่นลมร้องไปในที่นั้น นั่นท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าว.

ในบทเป็นต้นว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน ความว่า แกว่งมือและเท้าเล่น

หรือเอียงคอ ชื่อว่าไม่รักษากาย. พูดคำหยาบหลาย ๆ อย่าง ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 652

ไม่รักษาวาจา. ผู้ตรึกกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่าไม่รักษาจิต. บทว่า

อนุปฏฺิตาย สติยา ได้แก่ ไม่ดำรงกายคตาสติไว้.

จบอรรถกถาเวรัมภสูตรที่ ๙

๑๐. สคัยหกสูตร

ว่าด้วยคนติดลาภสักการะตายไปตกอบายเป็นต้น

[๕๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจาก

โยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นคนบางคนในโลกนี้ อัน

สักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย ต้อง

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง เราเห็นคนบางคนในโลกนี้

อันความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต เมื่อตายไป เพราะกายแตกทำลาย

ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราเห็นคนบางตนในโลกนี้ อัน

สักการะและความเสื่อมสักการะทั้งสองอย่างครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป

เพราะกายแตกทำลาย ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 653

[๕๕๙ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสคำไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

สมาธิของผู้ใด ที่เขาสักการะอยู่ด้วยผลสมาธิ

หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหว้ด้วยสักการะ และความ

เสื่อมสักการะ ผู้นั้นเพ่งอยู่ ทำความเพียรเป็นไป

ติดต่อ เห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอย่างละเอียด ยินดีในพระ

นิพพานเป็นที่สิ้นอุปาทาน บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า

สัปปุรุษ ดังนี้.

จบสคัยหกสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธกสูตร ๒. พฬิสสูตร ๓. กุมมสูตร

๔. ทีฆโลมสูตร ๕. เอฬกสูตร ๖. อสนิสูตร

๗. ทิฏฐิสูตร ๘. สิคาลสูตร ๙. เวรัมภสูตร

๑๐. สคัยหกสูตร

อรรถกถาสคัยหกสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในสคัยหกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อสกฺการเน จูภย ได้แก่ อสักการะ ๒ อย่าง. บทว่า

สมาธิ คืออรหัตผลสมาธิ. ก็สมาธินั้น ไม่หวั่นไหวด้วยอสักการะนั้น.

บทว่า อปฺปมาณวิหาริโน คืออยู่ด้วยผลสมาธิ หาประมาณมิได้. บทว่า

สาตติก คือทำติดต่อกัน. บทว่า สุขุมทิฏฺิวิปสฺสก ความว่า ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 654

ว่าเห็นแจ้งเพราะมาเริ่มตั้งวิปัสสนาในอรหัตมรรคทิฏฐิ เพื่อประโยชน์

แก่ทิฏฐิอันละเอียดในผลสมาบัติ. บทว่า อุปาทานกฺขยาราม ได้แก่ ยินดี

ในนิพพาน กล่าวคือเป็นที่สิ้นอุปาทาน. บทว่า อาหุ สปฺปุริโส

ได้แก่ กล่าว.

จบอรรถกถาสคัยหกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปฐมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 655

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. สุวัณณปาติสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้

บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะถาดทองคำ อันเต็มด้วยผงเงิน

เป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภ

สักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ

อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบสุวัณณปาติสูตรที่ ๑

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถาสุวัณณปาติสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยใน สุวัณณปาติสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 656

บทว่า สมฺปชานมุสา ภาสนต ความว่า กล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่

ด้วยเหตุแม้เพียงเล็กน้อย. บทว่า สีล ปูเรสฺสามิ ความว่า กองปัจจัย

แม้ขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ ไม่สามารถทำให้ภิกษุผู้มีจิตส่งไปแล้วว่า เราจัก

ยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ หวั่นไหวได้. ก็คราวใดเธอละศีล อาศัยลาภ

และสักการะ ให้คราวนั้นเธอก็พูดเท็จ แม้เพราะมีรำข้าวกำหนึ่งเป็นเหตุ

หรือทำสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กิจ.

จบอรรถกถาสุวัณณปาติสูตรที่ ๑

๒. รูปิยปาติสุตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม

จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้วย่อมรู้

บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะถาดเงินอันเต็มด้วยผงทองคำ

เป็นเหตุ ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภ

สักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ

อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบรูปิยปาติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 657

อรรถกถารูปิยปาติสูตร

รูปิยปาติสูตรที่ ๒ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารูปิยปาติสูตร

๓. สุวัณณนิกขสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

[๕๖๔] . . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว

ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะแท่งทองคำเป็นเหตุ. . .

จบสุวัณณนิกขสูตรที่ ๓

อรรถกถาสุวัณณนิกขสูตรที่ ๓ เป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในสุวัณณนิกขสูตรที่ ๓ เป็นต้น.

บทว่า สุวณฺณนิกฺขสฺส คือแท่งทองแท่งหนึ่ง. บทว่า สิงฺคินิกฺขสฺส

คือแท่งทองสิงคี. บทว่า ปวิยา คือแผ่นดินใหญ่ภายในจักรวาล.

บทว่า อานิสกิญฺจิกฺขเหตุ ได้แก่เพราะเหตุแห่งอามิสเล็กน้อยเท่านั้น คือ

แม้โดยที่สุดรำข้าวกำหนึ่ง. บทว่า ชีวิตเหตุ ความว่าเมื่อถูกโจรในดง

จับปลงชีวิต เพราะเหตุแห่งชีวิตนั้น. บทว่า ชนปทกลฺยาณิยา คือหญิง

งามเลิศในชนบท.

จบอรรถกถาสุวัณณนิกขสูตรที่ ๓ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 658

๔. สุวัณณนิกขสตสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะร้อยแห่งแท่งทองคำเป็นเหตุ. . .

จบสุวัณณนิกขสตสูตรที่ ๔

๕. สิงคินิกขสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะแท่งทองสิงคิเป็นเหตุ. . .

จบสิงคินิกขสูตรที่ ๕

๖. สิงคินิกขสตสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะร้อยแห่งแท่งทองสิงคิเป็นเหตุ. . .

จบสิงคินิกขตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 659

๗. ปฐวีสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะแผ่นดินที่เต็มด้วยทองเป็นเหตุ. . .

จบปฐวีสูตรที่ ๗

๘. อามิสกิญจิกขสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะเห็นแก่ของกำนัลเพียงเล็กน้อยเป็น

เหตุ. . .

จบอามิสกิญจิกขสูตรที่ ๘

๙. ชีวิตสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเป็นเหตุ. . .

จบชีวิตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 660

๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะ

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคล

บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า แม้เพราะนางงามประจำชนบทเป็นเหตุ ท่าน

ผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเจาถูกลาภสักการะและ

ความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๑๐

จบทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุวัณณปาติสูตร ๒. รูปิยปาติสูตร

๓. สุวัณณนิกขสูตร ๔. สุวัณณนิกขสตสูตร

๕. สิงคินิกขสูตร ๖. สิงคินิกขสตสูตร

๗. ปฐวีสูตร ๘. อามิสกิญจิกขสูตร

๙. ชีวิตสูตร ๑๐. ชนปทกัลยาณีสูตร.

อรรถกถาสูตรที่ ๔ เป็นต้น

สุวัณณนิกขสตสูตรที่ ๔ เป็นต้น ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 661

ตติยวรรคที่ ๓

๑. มาตุคามสูตร

ว่าด้วยมาตุคามเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . . ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุตามคนเดียวย่อมไม่อาจย่ำยีจิต

ของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะและความสรรเสริญย่อมอาจย่ำยีจิตได้

ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ

ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบมาตุคามสูตรที่ ๑

ตติยวรรคที่ ๓

อรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุคามสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า น ตสฺส ภิกฺขเว มาตุคาโม ความว่า ลาภสักการะและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 662

ความสรรเสริญย่ำยีจิตของภิกษุใดได้ มาตุคามแม้มีความต้องการด้วยธรรม

ไม่สามารถจะย่ำยีของภิกษุแต่ละรูปผู้นั่งอยู่ในที่ลับนั้นได้.

จบอรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๑

๒. ชนปทกัลยาณีสูตร

ว่าด้วยนางงามประจำชนบท

[๕๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . . ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางงามประจำบทคนเดียว ย่อม

ไม่อาจย่ำยีจิตของภิกษุรูปหนึ่งได้ แต่ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อม

อาจย่ำยีได้ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ

ฯ ล ฯ ทารุณอย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๒

อรรถกถาชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๒

ชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๒ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาชนปทกัลยาณีสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 663

๓. ปุตตสูตร

ว่าด้วยเรื่องบุตร

[๕๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . . ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อวิงวอนบุตร

คนเดียวซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า

ขอพ่อจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดี และหัตถกอาฬวกอุบาสกเถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาอุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา จิตตคฤหบดีและหัตถก-

อาฬวกอุบาสก เป็นดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ถ้าพ่อออกบวช ก็ขอจงเป็น

เช่นพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา สารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นดุล

เป็นประมาณเช่นนี้ ขอพ่อจงอย่าเป็นเช่นพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล

ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ถ้าลาภสักการะและความ

สรรเสริญครอบงำภิกษุผู้เป็นพระเสขะไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็น

อันตรายแก่เธอ ลาภสักการะและสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบปุตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 664

อรรถกถาปุตตสูตรที่ ๓

ในปุตตสูตรที่ ๓ บทว่า สทฺธา คือโสดาบัน. คำที่เหลือใน

บทนี้ก็ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุตตสูตตที่ ๓

๔. เอกธีตุสูตร

ว่าด้วยเรื่องธิดาคนเดียว

[๕๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . . ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อวิงวอนธิดา

คนเดียวผู้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปราน โดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า

ขอแม่จงเป็นเช่นนี้นางขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันทมารดา ชาวเมือง

เวฬุกัณฑกะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของ

เรา ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็น

ดุลเป็นประมาณเช่นนี้ ถ้าแม่ออกบวชก็ขอจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี

และอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็น

สาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นดุลเป็นประมาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 665

เช่นนี้ ขอแม่จงอย่าเป็นเช่นพระเสขะผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล ถูกลาภ

สักการะและความสรรเสริญครอบงำ ถ้าลาภสักการะและความสรรเสริญ

ย่อมครอบงำภิกษุณีผู้เป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผลไซร้ ก็ย่อมเป็น

อันตรายแก่เขา ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้

แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบเอกธีตุสูตรที่ ๔

อรรถกถาเอกธีตุสูตรที่ ๔ เป็นต้น

ในเอกธีตุสูตรที่ ๔ ในสมณพราหมณสูตรที่ ๕ ในสมณ-

พราหมณสูตรที่ ๖ ก็อย่างนั้น.

จบอรรถกถาเอกธีตุสูตรที่ ๔ เป็นต้น

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยสมณพราหมณ์ไม่ทราบถึงความยินดีและโทษ

แห่งลาภสักการะ

[๕๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 666

หรือพราหมณ์บางพวกไม่ทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ บางพวก

ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัด

ออกแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพรหมณสูตรที่ ๕

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยสมณพราหมณ์ไม่ทราบถึงความยินดีและโทษ

แห่งลาภสักการะ

[๕๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ

หรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด

เหตุดับ ความยินดี โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะและ

ความสรรเสริญ.

[๕๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางพวก

ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ ความยินดี โทษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 667

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมกระทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่.

จบทุติยสมณพรหมณสูตร

๗. ตติยสมณพรหมณสูตร

ว่าด้วยสมณพราหมณ์ไม่ทราบถึงความยินดีและโทษ

แห่งลาภสักการะ

[๕๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ

หรือพราหมณ์บางพวกย่อมไม่ทราบชัดซึ่งลาภสักการะและความสรรเสริญ

เหตุเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับแห่งลาภสักการะ

และความสรรเสริญ และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งลาภสักการะและ

ความสรรเสริญ บางพวกย่อมทราบชัดวามความเป็นจริงซึ่งลาภสักการะ

และความสรรเสริญ เหตุเกิดแห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ ความดับ

แห่งลาภสักการะและความสรรเสริญ และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ย่อมกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง

แล้วเข้าถึงอยู่.

จบตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 668

อรรถกถาสมณพราหมณสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในสมณพราหมณสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

ในบทเป็นต้นว่า สมุทย ความว่า ชื่อว่าเหตุเกิดแห่งลาภและ

สักการะเป็นต้นอย่างนี้ว่า อัตภาพพร้อมด้วยบุพกรรม ความเป็นผู้มีผิวงาม

ในบุตรผู้มีตระกูล เสียงไพเราะ ธุดงคคุณ ทรงจีวร บริวารสมบัติ.

ไม่รู้เหตุเกิดนั้น ด้วยอำนาจสมุทัยสัจ. นิโรธ และปฏิปทา พึงทราบด้วย

อำนาจนิโรธสัจและมรรคสัจนั้นแล.

จบอรรถกถาสมณพราหมณสูตรที่ ๗

๘. ฉวิสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะตัดผิวตัดหนังจดเยื่อในกระดูก

[๕๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักกะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้ว

ตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดเยื่อในกระดูก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบฉวิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 669

อรรถกถาฉวิสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในฉวิสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

เพราะว่าลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดในนรกเป็นต้น ให้

อัตภาพนี้แม้ทั้งสิ้นฉิบหาย ความตายก็ดี ความเกือบตายก็ดี นำทุกข์มาให้

แม้ในอัตภาพนี้ ฉะนั้น ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า ฉวึ ฉินฺทติ ดังนี้.

จบอรรถกถาฉวิสูตรที่ ๘

๙. รัชชุสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายเหมือนเชือกหางสัตว์

[๕๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้วตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้ว

ตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อในกระดูก.

[๕๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษแข็งแรง เอา

เชือกหางสัตว์อย่างเหนียว พันแข้ง แล้วสีไปสีมา เชือกนั้นพึงบาดผิว

แล้วบาดหนัง แล้วบาดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จด

ถึงเหยื่อในกระดูก ฉันใด ลาภสักการะและสรรเสริญ ย่อมตัดผิว แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 670

ตัดหนัง แล้วตัดเนื้อ แล้วตัดเอ็น แล้วตัดกระดูก แล้วตั้งอยู่จดถึงเยื่อ

ในกระดูก ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและ

ความสรรเสริญ ทารุณอย่างนี้แล ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบรัชชุสูตรที่ ๙

อรรถกถารัชชุสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในรัชชุสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า พาลรชฺชุยา ได้แก่ เชือกทำด้วยด้ายเป็นต้น อ่อน เชือก

ทำด้วยหางสัตว์ แข็ง หยาบ เพราะฉะนั้น ท่านถือเอาเชือกนี้แล.

จบอรรถกถารัชชุสูตรที่ ๙

๑๐. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่พระอรหันตขีณาสพ

[๕๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. . .ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมมากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อม

กล่าวถึงลาภสักการะและความสรรเสริญว่า เป็นอันตรายแม้แก่ภิกษุผู้เป็น

อรหันตขีณาสพ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 671

จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เพราะเหตุไรเล่าพระเจ้าข้า ลาภสักการะ

และความสรรเสริญจึงเป็นอันตรายแก่ภิกษุขีณาสพ.

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าว

ถึงลาภสักการะและความสรรเสริญ ว่าเป็นอันตรายแก่เจโตวิมุตติอันไม่

กำเริบของภิกษุขีณาสพนั้นหามิได้ แต่เรากล่าวถึงลาภสักการะและความ

สรรเสริญว่าเป็นอันตรายแก่ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันภิกษุ

ขีณาสพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่นั้น บรรลุแล้ว

กะเธอทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ

เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ

ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่านี้ เพราะเหตุนั้นแล อานนท์ เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้น

แล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำ

จิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบภิกขุสูตรที่ ๑๐

จบตติยวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มาตุคามสูตร ๒. ชนปทกัลยาณีสูตร

๓. ปุตตสูตร ๔. เอกธีตุสูตร

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๗. ตติยสมณพราหมสูตร ๘. ฉวิสูตร

๙. รัชชุสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 672

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารา คืออยู่เป็นสุขด้วยผลสมาบัติ. บทว่า

เตสาหมสฺส ตัดบทว่า เตส อห อสฺส. ก็เพราะพระขีณาสพมีลาภถึง

พร้อมด้วยบุญ รับข้าวยาคูและของขบเคี้ยวเป็นต้น เมื่อทำอนุโมทนา

แสดงธรรมแก้ปัญหาแก่ชนผู้มาแล้วและมาแล้ว ย่อมไม่ได้โอกาสเพื่อจะ

นั่งแนบแน่นถึงผลสมาบัติ ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐

จบตติยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 673

จตุตถวรรคที่ ๔

๑. ภินทิสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นเหตุทำลายสงฆ์

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว จึงทำลาย

สงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ

อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบภินทิสูตรที่ ๑

จตุตถวรรคที่ ๔

อรรถกถาภินทิสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในภินทิสูตรที่ ๑ แห่งจตุตถวรรคที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น

แล.

จบอรรถกถาภินทิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 674

๒. มูลสูตร

ว่าด้วยกุศลมูลของพระเทวทัตถูกลาภสักการะครอบงำ

[๕๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล

ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต ถึงความ

ขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบมูลสูตรที่ ๒

อรรถกถามูลสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในมูลสูตรที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

บทว่า กุสลมูล ได้แก่ กุศลธรรม ๓ อย่างมี อโลภะเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุกฺโก ธมฺโม ได้แก่ ปริยายเทศนาแห่งกุศลธรรม

นั้นเอง. ส่วนความสังเขปในข้อนี้ มีดังนี้ เทวทัตพึงเกิดบนสวรรค์

หรือพึงบรรลุมรรคผลได้ เพราะธรรมที่ไม่มีโทษกล่าวคือกุศลมูลเป็นต้น

ยังไม่ขาด. แต่เทวทัตนั้น อาศัยการตัดขาดแห่งกุศลธรรมนั้น จึงขาดแล้ว

จึงฉิบหายแล้ว.

จบอรรถกถามูลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 675

๓. ปฐมธรรมสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรม

ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต ถึงความ

ขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบปฐมธรรมสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมธรรมสูตร

ปฐมธรรมสูตรที่ ๓ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

๔. ทุติยธรรมสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

[๕๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 676

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม

ของเทวทัตผู้ถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิต ถึงความ

ขาดสูญแล้ว ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบทุติยธรรมสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยธรรมสูตรที่ ๔

ทุติยธรรมสูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย

๕. ปักกันตสูตร

ว่าด้วยลาภสักการะเกิดแก่พระเทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง

[๕๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปยังไม่นาน ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่า

ตนเอง เพื่อความเสื่อม.

[๕๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นกล้วยเผล็ดผล

เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญ

เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๕๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ไผ่ออกขุย เพื่อ

ฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 677

แก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๕๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้อ้อออกดอก เพื่อ

ฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญเถิด

แก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๕๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์

เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญ

เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคำเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าไม่ไผ่ ดอกอ้อฆ่าไม้อ้อ

ลูกม้าฆ่าแม่ม้าอัสดง ฉันใด สักการะก็ฆ่าคนชั่ว

ฉันนั้น.

จบปักกันตสูตรที่ ๕

อรรถกถาปักกันตสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปักกันตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปราภวาย ความว่า เพื่อความไม่เจริญ คือความฉิบหาย.

บทว่า อสฺสตรี ความว่า ม้าอัสดร เกิดในท้องของแม่ม้า. บทว่า

อตฺตวธาย คพฺภ คณฺหาติ ความว่า แม่ม้าอัสดร ผสมครรภ์นั้นกับพ่อม้า.

แม่ม้าอัสดรนั้นตั้งท้อง ไม่สามารถจะออกลูกได้เมื่อถึงเวลา ยืนเอาเท้า

ตะกุยดิน เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงมัดเท้า ๔ เท้าของแม่น้ำอัสดรนั้นไว้ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 678

หลัก ๔ หลัก ผ่าท้องเอาลูกออก. แม่ม้าอัสดรนั้น ตายในที่นั้นนั่นเอง.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวข้อนั้น.

จบอรรถกถาปักกันตสูตรที่ ๕

๖. รถสูตร

ว่าด้วยพระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมารบำรุงพระเทวทัต

[๕๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น พระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมาร

เสด็จไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน

และรับสั่งให้นำภัตตาหารสำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ ถาด ครั้งนั้น

ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อย

แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมาร

จักเสด็จไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐

คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารสำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ ถาด

พระเจ้าข้า.

[๕๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะและความสรรเสริญของเทวทัตเลย เพราะ

พระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมารจักเสด็จไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า

ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารสำหรับบูชาไป

พระราชทาน ๕๐๐ ถาดเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 679

ทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญเพียงนั้น.

[๕๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสุนัขดุที่เขาขยี้ดี

[ดีหมีดีปลา] ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่งดุร้ายกว่าเดิมหลายเท่า

โดยแท้ ฉันใด พระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมารจักเสด็จไปบำรุงเทวทัตทั้ง

เวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร

สำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ ถาดเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อม

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญเพียงนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบรถสูตรที่ ๖

อรรถกถารถสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในรถสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ภตฺตภิหาโร ได้แก่ภัตรที่เขาพึงนำมา. ก็เพื่อแสดงประ-

มาณภัตรนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺจ จ ถาลิปากสตานิ. ในภัตรเหล่านั้น

ภัตรถาดหนึ่งบุรุษกินได้ ๑๐ คน. บทว่า นาสาย ปิตฺต ภินฺเทยฺย ความว่า

เขาใส่ดีหมีหรือดีปลาในรูจมูก.

จบอรรถกถารถสูตรที่ ๖

๗. มาตุสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งมารดา

[๕๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 680

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-

เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้

บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่านี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่งมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจ

พูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญ

ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย

แก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

จักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะ.

และความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ก็จักครองงำจิตของพวกเราตั้งอยู่ไม่ได้

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบมาตุสูตรที่ ๗

อรรกถามาตุสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า มาตุปิ เหตุ ความว่า เขาถูกพวกโจรถามในดงอย่างนี้ว่า

ถ้าท่านพูดเท็จ เราจักปล่อยมารดาของท่าน ถ้าไม่พูดเท็จ เราจักไม่ปล่อย

ดังนี้ ไม่พึงพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพระเหตุแม้แห่งมารด เพราะมารดานั้นอยู่

ในเงื้อมมือของโจร. แม้ในบทอื่นแต่นี้ ก็มีนัยเหมือนกันแล.

จบอรรถกถามาตุสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 681

๘. ปิตุสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งบิดา

[๕๙๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความ

สรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.

[๕๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้

บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่งบิดา...

จบปิตุสูตรที่ ๘

๙. ภาตุสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งพี่น้องชาย

...เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุแห่งพี่ชายน้องชาย...

จบภาตุสูตรที่ ๙

๑๐. ภคินิสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งพี่น้องหญิง

...เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุแห่งพี่สาวน้องสาว...

จบภคินิสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 682

๑๑. ปุตตสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งบุตร

...เรากำหนดใจด้วยแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า

แม้เพราะว่าเหตุแหงบุตร...

จบปุตตสูตรที่ ๑๑

๑๒. ธีตุสุตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งธิดา

...เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุแห่งธิดา...

จบธีตุสูตรที่ ๑๒

๑๓. ปชาปติสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่จงใจพูดมุสาเพราะเหตุแห่งภรรยา

...เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างนี้ว่า

แม้เพราะเหตุแห่งภรรยา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจพูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็น

เขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสา

ทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ

เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ

ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 683

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่

เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักย่ำยี

จิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบปชาปติสูตรที่ ๑๓

จบจตุตถวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ภินทิสูตร ๒. มูลสูตร ๓. ปฐมธรรมสูตร

๔. ทุติยธรรมสูตร ๕. ปักกันตสูตร ๖. รถสูตร

๗. มาตุสูตร ๘. ปิตุสูตร ๙. ภาตุสูตร

๑๐. ปชาปติสูตร

จบลาภสักการะสังยุตที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๘-๑๓ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

จบอรรถกถาลาภสักการะสังยุตที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 684

๖. ราหุลสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. จักขุสูตร

ว่าด้วยอายตนะมีจักษุเป็นต้นไม่เที่ยง

[๕๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระราหุล

เมื่อนิ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็น

ผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปแล้ว อยู่.

[๖๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนราหุล เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 685

ของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[ เปยยาลเหมือนกัน]

พ. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา. . . กาย. . . ใจ เที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

อัตตของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๖๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ

เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ ย่อม

เบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย

กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิต

หลุดพ้นแล้ว ดังนี้. อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบจักขุสูตรที่ ๑

[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ สูตร โดยเปยยาลเช่นนี้]

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 686

ราหุลสังยุต

อรรถกถาจักขุสูตรที่ ๑

ราหุลสังยุตจักขุสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.

บทว่า เอโก ได้แก่มีปกติอยู่ผู้เดียวในอิริยาบถทั้ง ๔. บทว่า

วูปกฏฺโ แปลว่า ปลีกตัวไป สลัดไป. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ตั้งอยู่

ในความไม่ปราศจากสติ. บทว่า อาตาปี ได้แก่ถึงพร้อมด้วยความเพียร.

บทว่า ปหิตตฺโต วิหเรยฺย ได้แก่เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อประโยชน์

แก่การบรรลุคุณวิเศษอยู่. บทว่า อนิจฺจ ได้แก่ชื่อว่าไม่เที่ยง โดย

อาการที่มีแล้วก็ไม่มี. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าไม่เที่ยง ด้วยเหตุแม้เหล่านี้คือ

เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. เพราะเป็นของเป็นไปอยู่ชั่วคราว

เพราะมีความแปรปรวนเป็นที่สุด เพราะปฏิเสธความเที่ยง. บทว่า ทุกฺข

ได้แก่ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก ด้วย

อรรถว่า เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก. ด้วยอรรถว่า บีบคั้นสัตว์

ด้วยการปฏิเสธความสุข. ตรัสว่า ควรหรือ ยึดถือด้วยตัณหาว่า นั่นของเรา

ยึดถือด้วยมานะว่า เราเป็นนั่น ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นเป็นตัวของเรา.

บรรดาความยึดถือเหล่านั้น ยึดถือด้วยตัณหา ก็พึงทราบโดยอำนาจตัณหา

วิปริต ๑๐๘ ยึดถือด้วยมานะ ก็พึงทราบโดยอำนาจมานะ ๙ ประการ

ยึดถือด้วยทิฏฐิ ก็พึงทราบโดยอำนาจทิฏฐิ ๖๒. ในคำว่า นิพฺพินฺท

วิรชฺชติ นี้ ตรัสมรรค ๔ ด้วยอำนาจวิราคะ. ในคำว่า วิราคา วิมุจฺจติ นี้

ตรัสสามัญญผล ๔ ด้วยอำนาจวิมุตติ.

ก็ในพระสูตรที่ ๑ นี้ ทรงถือเอาปสาทะในทวาร ๕. ทรงถือเอา

สมันนาหารจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยบทนี้ว่า มโน.

จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 687

๒. รูปสูตร

ว่าด้วยรูปเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป . . . เสียง. . .

กลิ่น. . . รส . . . โผฏฐัพพะ. . . ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบรูปสูตรที่ ๒

อรรถกถารูปสูตรที่ ๒

ในรูปสูตรที่ ๒ ทรงถือเอาอารมณ์อย่างเดียว ในทวาร ๕.

จบอรรถกถารูปสูตรที่ ๒

๓. วิญญาณสูตร

ว่าด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ. . .

โสดวิญญาณ. . . ฆานวิญญาณ. . . ชิวหาวิญญาณ. . . กายวิญญาณ. . .

มโนวิญญาณ. . . เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 688

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบวิญญาณสูตรที่ ๓

อรรถกถาวิญญาณสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในวิญญาณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

ในทวารทั้ง ๕ ทรงถือเอาจิตที่มีปสาทะเป็นที่อาศัยเท่านั้น ทรง

ถือเอาสมันนาหารจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยมโนวิญญาณ. พึงนำนัยไป

ใช้ในที่ทุกแห่งอย่างนี้.

จบอรรถกถาวิญญาณสูตรที่ ๓

๔. สัมผัสสูตร

ว่าด้วยจักขุสัมผัสเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน จักขุสัมผัส. . . โสต-

สัมผัส. . . ฆานสัมผัส. . . ชิวหาสัมผัส. . . กายสัมผัส. . . มโนสัมผัส. . .

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบสัมผัสสสูตรที่ ๔

สัมผัสสสูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 689

๕. เวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนาเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนาที่เกิดแต่จักขุ-

สัมผัส. . . เวทนาที่เกิดเเต่โสตสัมผัส. . . เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส. . .

เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส. . . เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส. . . เวทนาที่

เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบเวทนาสูตรที่ ๕

เวทนาสูตรที่ ๕ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

๖. สัญญาสูตร

ว่าด้วยรูปสัญญาเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญญา. . .

สัททสัญญา. . . คันธสัญญา. . . รสสัญญา. . . โผฏฐัพพสัญญา. . .

ธัมมสัญญา. . . เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบสัญญาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 690

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๖

ในสัญญาสูตรที่ ๖ ทรงถือเอาธรรมที่เป็นในภูมิ ๓.

จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๖

๗. เจตนาสูตร

ว่าด้วยรูปสัญเจตนาเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปสัญเจตนา. . .

สัททสัญเจตนา. . . คันธสัญเจตนา. . . โผฏฐัพพสัญเจตนา. . . ธัมม-

สัญเจตนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบเจตนาสูตรที่ ๗

๘. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยรูปตัณหาเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถาบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปตัณหา สัทท-

ตัณหา. . . คันธตัณหา. . . รสตัณหา. . . โผฏฐัพพตัณหา. . . ธัมม-

ตัณหา เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 691

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบตัณหาสูตรที่ ๘

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๘

แต่ในตัณหาสูตรที่ ๘ จะได้ชื่อว่า ตัณหา ในเมื่อตกถึงชวนะ

ในทวารนั้น ๆ เท่านั้น.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๘

๙. ธาตุสูตร

ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้นไม่เที่ยง

[๖๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ. . . อาโป-

ธาตุ. . . เตโชธาตุ. . . วาโยธาตุ. . . อากาสธาตุ. . . วิญญาณธาตุ

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

จบธาตุสูตรที่ ๙

อรรถกถาธาตุสูตรที่ ๙

ในธาตุสูตรที่ ๙ ตรัสนามด้วยอำนาจวิญญาณธาตุ ตรัสรูปด้วย

ธาตุที่เหลือ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันตรัสนามรูปไว้แล้ว.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 692

๑๐. ขันธสูตร

ว่าด้วยเบญจขันธ์ไม่เที่ยง

[๖๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป. . . เวทนา. . .

สัญญา. . . สังขาร. . . วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา

ของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ

หน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ย่อมมีญาณ

หยั่งรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้ อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

จบขันธสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 693

อรรถกถาขันธสูตรที่ ๑๐

ในขันธสูตรที่ ๑๐ รูปขันธ์เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ ที่เหลือเป็นไป

ในภูมิ ๔ ด้วยการกำหนดรวบรวมธรรมทั้งหมด. แต่ในพระสูตรนี้ พึง

ถือว่าเป็นไปในภูมิ ๓.

จบอรรถกถาขันธสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปฐมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 694

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักขุเป็นต้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๖๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๒๑] ครั้นท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าได้ตรัสถามท่านว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

อัตตาของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา. . . กาย. . . ใจ เที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 695

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

อัตตาของเรา.

รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๖๒๒] ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น

ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

จบจักขุสูตรที่ ๑

[พึงทำสูตรทั้ง ๑๐ โดยเปยยาลเช่นนี้]

อรรถกถาทุติยวรรค

ในทุติยวรรค สูตรที่ ๑-๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑-๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 696

๑๑. อนุสยสูตร

ว่าด้วยการละอนุสัย

[๖๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ท ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว

ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร อหังการ

มมังการ และมานานุสัย จึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพ-

นิมิตภายนอก.

[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็น

ภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีต

ก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อริยสาวกย่อมเห็น

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น

นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง... สัญญา

อย่างใดอย่างหนึ่ง... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง... วิญญาณอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี

ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี

เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมด

นั้น อริยสาวกย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 697

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ ดูก่อน

ราหุล เมื่อบุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล อหังการ มมังการ และ

มานานุสัย จึงไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.

จบอนุสยสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอนุสยสูตรที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในอนุสยสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกายที่มีวิญญาณของตน ด้วยบทว่า

อิมสฺมิญฺจ สวิญฺาณเก กาเย ทรงแสดงกายที่มีวิญญาณ หรือ

ไม่มีวิญญาณของผู้อื่น หรือวิญญาณอย่างเดียว ทั้งของตน ทั้งของผู้อื่น

ด้วยบทต้น ทรงแสดงรูปที่เนื่องด้วยอนินทรีย์ภายนอก ด้วยบทหลัง.

บทว่า อหการมมการมานานุสยา ได้แก่ทิฏฐิว่าเป็นเรา ตัณหา

ว่าของเรา และอนุสัยคือนานะ. บทว่า น โหนฺติ ได้แก่ตรัสถามว่า

กิเลสเหล่านี้ย่อมไม่มีในวัตถุเหล่านี้แก่ผู้รู้อยู่อย่างไร. บทว่าสมฺมปฺญฺาย

ปสฺสติ ได้แก่เห็นด้วยดี ด้วยมรรคปัญญา พร้อมทั้งวิปัสสนาปัญญา.

จบอรรถกถาอนุสยสูตรที่ ๑๑

๑๒. อปคตสูตร

ว่าด้วยการละมานะว่าเรา ว่าของเรา

[๖๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 698

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระ-

ราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร มนัสจึงจะปราศจากอหังการ

มมังการ และมานะในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก

ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.

[๖๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็น

ภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีต

ก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นแล้ว

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่

ถือนั่น [ขันธ์ทั้ง ๕ ก็ควรทำอย่างนี้].

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สังขาร

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง. . . วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็น

อนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอก

ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี

อยู่ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น อริยสาวกเห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ

ตามควานเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนราหุล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 699

เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ

และมานะในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วน

แห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว ดังนี้.

จบอปคตสูตรที่ ๑๒

จบทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักขุสูตร ๒. รูปสูตร ๓. วิญญาณสูตร

๔. สัมผัสสสูตร ๕. เวทนาสูตร ๖. สัญญาสูตร

๗. เจตนาสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๙. ธาตุสูตร

๑๐. ขันธสูตร ๑๑. อนุสยสูตร ๑๒. อปคตสูตร.

จบราหุลสังยุตที่ ๖

อรรถกถาอปคตสูตรที่ ๑๒

พึงทราบวินิจฉัยในอปคตสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อหการมมการมานาปคต ได้แก่ปราศจากอหังการทิฏฐิ

มมังการตัณหา และมานะ. บทว่า วิธา สมติกฺกนฺต ได้แก่ก้าวล่วง

ด้วยดีซึ่งส่วนแห่งมานะ. บทว่า สนฺต สุวิมุตฺต ได้แก่ชื่อว่าสงบ

เพราะสงบกิเลสเสียได้ ชื่อว่าหลุดพ้นด้วยดีจากกิเลสทั้งหลาย. คำที่เหลือ

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 700

แม้ในวรรคทั้งสอง ก็ตรัสอเสกขภูมิไว้. แต่ในวรรคทั้งสองนั้น

วรรคที่ ๑ ทรงแสดงแก่พระราหุลผู้ทูลขอ. วรรคที่ ๒ ทรงแสดงแก่พระ

ราหุลผู้มิได้ทูลขอ. แต่ตรัสธรรมอันอบรมบ่มวิมุตติสำหรับพระเถระใน

ราหุลสังยุตแม้ทั้งสิ้นแล.

จบราหุลสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 701

๗. ลักขณสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. อัฏฐิสูตร

ว่าด้วยโครงกระดูกลอยฟ้าเป็นเหตุให้แย้ม

[๖๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน กรุงราขคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระลักขณะกับท่าน

พระมหาโมคคัลลานะอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ.

[๖๓๗] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระมหาโมคัลลานะ

นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปหาท่านพระลักขณะจนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไป

หาแล้วได้กล่าวชวนท่านพระลักขณะว่า มาไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์

ด้วยกันเถิดท่านลักขณะ ท่านพระลักขณะรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ว่า อย่างนั้น ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขา

คิชฌกูฏ ได้แย้มขึ้นในที่แห่งหนึ่ง. ทีนั้น ท่านพระลักขณะได้ตาม

ท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยทำให้แย้ม ท่านมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านลักขณะ มิใช่

เวลาที่จะเฉลยปัญหาข้อนี้ ท่านจงถามผมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.

[๖๓๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 702

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตตาหาร

แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระลักขณะ

นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านมหา-

โมคคัลลานะ เมื่อลงจากภูเขาคิชฌกูฏท่านได้แย้มขึ้นแล้วในที่แห่งหนึ่ง

ดูก่อนท่านพระมหาโมคคัลลานะ อะไรเล่าเป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้

แย้มขึ้น.

[๖๓๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมาจาก

ภูเขาคิชฌกูฎ ได้เห็นโครงกระดูกลอยอยู่ในเวหาส พวกแร้งบ้าง กาบ้าง

พญาแร้งบ้าง ต่างก็โผถลาตามเจาะ จิก ทิ้งโครงกระดูกนั้น ได้ยินว่า

โครงกระดูกนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ผมคิดว่า อัศจรรย์จริงหนอ ไม่

เคยมีมาหนอ สัตว์แม้เห็นปานนี้ก็จักมี ยักษ์แม้เห็นปานนี้ก็จักมี การได้

อัตภาพแม้เห็นปานนี้ก็จักมี.

[๖๔๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุหนอ เป็นผู้มีญาณหนอ

เพราะว่า แม้สาวกก็จักรู้ จักเห็นสัตว์เช่นนี้ หรือจักเป็นพยาน เมื่อก่อน

เราได้เห็นสัตว์ตนนั้นเหมือนกัน แต่ว่าไม่ได้พยากรณ์ไว้ หากเราพึง

พยากรณ์สัตว์นั้นไซร้ คนอื่น ๆ ก็จะไม่พึงเชื่อถือเรา ข้อนั้นพึงเป็นไป

เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ผู้ไม่เชื่อถือเรา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้เป็นคนฆ่าโคอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ด้วยผลของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 703

กรรมนั้น เขาจึงหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี

หลายแสนปี ด้วยผลของกรรมนั่นแหละที่ยังเหลืออยู่ เขาจึงต้องเสวยการ

ได้อัตภาพเห็นปานนี้.

จบอัฏฐิสูตรที่ ๑

[สูตรทุกสูตรนี้ขึ้นต้นเหมือนสูตรที่ ๑ แต่มีเนื้อความต่างกันต่อไปนี้]

ลักขณสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

อรรถกถาอัฏฐิสูตรที่ ๑

ในลักขณสังยุตมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระลักขณเถระ ที่ท่านกล่าวว่า อายสฺมา จ ลกฺขณตฺเถโร

เป็นผู้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นผู้หนึ่งแห่งชฏิลจำนวน ๑,๐๐๐

คน บรรลุพระอรหัตในเวลาจบอาทิตตปริยายสูตร พึงทราบว่า เป็น

พระมหาสาวกรูปหนึ่ง. ก็เพราะเหตุที่ท่านประกอบด้วยอัตภาพสมบูรณ์

ด้วยลักษณะ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เสมอด้วยพรหม. ฉะนั้น จึง

ได้สมญาว่าลักขณะ. ส่วนท่านมหาโมคคัลลานะบรรลุพระอรหัตในวันที่ ๗

นับแต่วันที่ท่านบวช เป็นพระอัครสาวกองค์ที่ ๒.

บทว่า สิต ปาตฺวากาสิ ความว่า ได้กระทำการแย้มน้อย ๆ ให้

ปรากฏ ท่านอธิบายไว้ว่า ประกาศ คือแสดง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 704

ถามว่า ก็เพราะเห็นอะไร พระเถระจึงกระทำการแย้มให้ปรากฏ.

ตอบว่า เพราะได้เห็นสัตว์ผู้เกิดในเปตโลกตนหนึ่ง มีแต่ร่าง

กระดูก ซึ่งมาแล้วในบาลีข้างต้น . ก็แล ท่านเห็นสัตว์นั้นด้วยทิพยจักษุ

หาได้เห็นด้วยปสาทจักษุไม่. จริงอยู่ อัตภาพเหล่านั้นย่อมไม่ปรากฏแก่

ปสาทจักษุ. ถามว่า ก็เมื่อท่านเห็นอัตภาพเห็นปานนี้แล้วควรกระทำ

ความกรุณา เพราะเหตุไรจึงกระทำการแย้มให้ปรากฏ. ตอบว่า เพราะ

ระลึกถึงสมบัติของตน และพุทธญาณ. จริงอยู่ พระเถระเห็นอัตภาพ

นั้นแล้ว ระลึกถึงสมบัติของตนว่า "เราหลุดพ้นแล้วจากอัตภาพเห็น

ปานนี้ ที่บุคคลผู้ไม่เห็นสัจจะจะพึงได้ นั่นเป็นลาภของเราหนอ เรา

ได้ดีแล้วหนอ และระลึกถึงสมบัติแห่งพุทธญาณ อย่างนี้ว่า โอ ญาณ-

สมบัติของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กรรมวิบากเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ดังนี้ พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายย่อมทรงแสดงกรรมวิบากอันนั้นให้ประจักษ์หนอ. ธรรมธาตุอัน

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแทงตลอดดีแล้ว" ดังนี้ จึงทำความแย้มให้

ปรากฏ.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านพระลักขณะจึงไม่เห็น ท่านไม่มี

ทิพยจักษุหรือ.

ตอบว่า ไม่มี หามิได้. แต่พระมหาโมคคัลลานเถระนึกถึงอยู่จึง

ได้เห็น. ฝ่ายพระลักขณเถระไม่ได้เห็นเพราะไม่นึกถึง. เพราะธรรมดา

พระขีณาสพทั้งหลาย จะแย้มโดยเหตุอันไม่สมควรก็หาไม่ ฉะนั้น พระ-

ลักขเถระจึงถามท่านว่า "ท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยให้การแย้มปรากฏ" ดังนี้. ฝ่ายพระเถระได้อ้างพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 705

เป็นพยาน เพราะผู้ที่มิได้เห็นเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ด้วยตนเองจะเชื่อได้ยาก

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อกาโล โข อาวุโส ดังนี้ เพราะประสงค์จะ

พยากรณ์อ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพยาน ต่อแต่นั้น เมื่อถูกถามใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพยากรณ์โดยนัยมีอาทิว่า อิธาห

อาวุโส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺสงฺขลิก ได้แก่โครงกระดูกขาว

ไม่มีเนื้อและเลือด. บทว่า คิชฺฌาปิ กากาปิ กุลลาปิ ความว่า แม้

นกเหล่านี้ ทั้งแร้งยักษ์ ทั้งกายักษ์ ทั้งพญาแร้งยักษ์ เข้ารุม ก็รูป

อย่างนั้นย่อมไม่ปรากฏแก่แร้งเป็นต้นตามปกติ. บทว่า อนุปติตฺวา ได้

แก่ติดตาม. บทว่า วิตุเทนฺติ ความว่า ใช้จะงอยปากเหล็กซึ่งคมกริบ

เหมือนดาบ เจาะตัดถากข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. บทว่า สุท ในบทว่า

สา สุท อฏฺฏสฺสร กโรติ นี้ เป็นนิบาต. อธิบายว่า โครงกระดูกนั้น

ส่งเสียงร้องครวญคราง คือเสียงแสดงความอาดูรเดือดร้อน. อัตภาพ

เช่นนั้นมีประมาณถึง ๓ โยชน์ บังเกิดขึ้นเพื่อเสวยวิบากของอกุศลกรรม

เป็นอัตภาพใสขึ้นพองเหมือนฝีสุก. ฉะนั้น โครงกระดูกนั้นเดือดร้อน

เพราะเวทนามีกำลัง จึงส่งเสียงร้องประหลาดเช่นนั้น.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงคิดว่า

ธรรมดาสัตว์ผู้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพเห็นปานนี้ เมื่อจะ

แสดงธรรมสังเวชที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺห อาวุโส เอตทโหสิ อจฺฉริย วต โภ ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 706

จึงตรัสคำมีอาทิว่า จกฺขุภูตา วต ภิกฺขเว สาวกา วิหรนฺติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น สาวกชื่อว่า จกฺขุภูตา เพราะภิกษุเหล่านั้นเกิดมีจักษุ.

อธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้นมีจักษุเกิด ยังจักษุให้เกิดขึ้นอยู่. แม้ในบทที่ ๒

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยตฺร ในคำว่า ยตฺร หิ นาม นี้บ่งถึงเหตุ. ใน

ข้อนั้นมีอัตถโยชนาประกอบความดังต่อไปนี้ แม้ธรรมดาว่าสาวกย่อมรู้เห็น

สัตว์เห็นปานนี้ หรือจักกระทำให้เป็นพยานได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุหนอ เป็นผู้มี

ญาณหนอ ด้วยคำว่า ปุพฺเพว เน โส ภิกฺขเว สตฺโต ทิฏฺโ

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเมื่อกระทำสัตตนิกาย และภพ คติ

โยนิ ฐิติ นิวาส อันหาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้

ให้เป็นพยานด้วยการแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิมัณฑสถาน

ได้เห็นสัตว์นั้นแล้วในกาลก่อนแล.

บทว่า โคฆาตโก ได้แก่ สัตว์ผู้ฆ่าโคแล่กระดูกและเนื้อขายเลี้ยงชีพ.

บทว่า ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน ความว่า อปราปริยกรรมนั้น

อันประมวลไว้ด้วยเจตนาต่าง ๆ. จริงอยู่ เมื่อวิบากของเจตนาอันเป็นเหตุ

ให้เกิดปฏิสนธิในนรกนั้นสิ้นแล้ว ปฏิสนธิกระทำกรรมที่เหลือ หรือกรรม

นิมิตให้เป็นอารมณ์แล้วเกิดในเปรตเป็นต้นอีก. เพราะเหตุนั้น ปฏิสนธินั้น

ท่านเรียกว่า เป็นเศษวิบากของกรรมนั้นเอง เพราะมีส่วนเสมอกับกรรม

หรือเพราะมีส่วนเสมอกับอารมณ์. ก็สัตว์นี้เกิดขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 707

ได้ยินว่า ในเวลาที่สัตว์นั้นจุติจากนรก กองกระดูกของโคทั้งหลาย

ที่ไม่มีเนื้อนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต. สัตว์นั้นกระทำกรรมที่ปกปิดไว้

แม้นั้นเหมือนปรากฏแก่วิญญูชน จึงเกิดเป็นอัฏฐิสังขลิกเปรต.

จบอรรถกถาอัฏฐิสูตรที่ ๑

๒. เปสิสูตร

ว่าด้วยชิ้นเนื้อลอยในอากาศ

[๖๔๑] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมา

จากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นชิ้นเนื้อลอยอยู่ในเวหาส พวกแร้งบ้าง กาบ้าง

นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งชิ้นเนื้อนั้น ได้ยินว่า ชิ้นเนื้อนั้น

ส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นคน

ฆ่าโค อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง.

จบเปสิสูตรที่ ๒

อรรถกถาเปสิสูตรที่ ๒

ในเรื่องชิ้นเนื้อ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โคฆาตโก ความว่า ผู้ฆ่าโคนั้นชำแหละเนื้อโคเป็นชิ้น ๆ

ตากให้แห้ง ขายเนื้อแห้งเลี้ยงชีวิตอยู่อุทายี. ด้วยเหตุนั้น ในเวลาที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 708

สัตว์นั้นจุติจากนรก ชิ้นเนื้อนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต. สัตว์นั้นจึงเกิด

เป็นมังสเปสิเปรต.

จบอรรถกถาเปสิสูตรที่ ๒

๓. ปิณฑสูตร

ว่าด้วยก้อนเนื้อลอยอยู่ในอากาศ

[๖๔๒] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิมฌกูฏ ได้เห็นก้อนเนื้อลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง กาบ้าง

พญาแร้งบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งก้อนเนื้อนั้น ได้ยินว่า ก้อนเนื้อนั้น

ส่งเสียงร้องครวญคราง ฯล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นคนฆ่า

นกขาย อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบปิณฑสูตรที่ ๓

อรรถกถาปิณฑสูตรที่ ๓

ในเรื่องก้อนเนื้อ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สากุณิโก ความว่า ในเวลาจับนกมาขาย พรานนกเอาขน

และหนังออก เหลือไว้แต่ก้อนเนื้อ ขายเลี้ยงชีพ. ด้วยเหตุนั้น ในเวลา

ที่สัตว์นั้นจุติจากนรก ก้อนเนื้อนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต. สัตว์นั้น

จึงเกิดเป็นมังสปิณฑเปรต (เปรตก้อนเนื้อ).

จบอรรถกถาปิณฑสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 709

๔. นิจฉวิสูตร

ว่าด้วยสัตว์ไม่มีผิวหนังลอยในอากาศ

[๖๔๓ ] ฯ ล ฯ พระมหาโมคคัลละได้ตอบว่า เมื่อผมลงมาจาก

ภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษไม่มีผิวหนังลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง กาบ้าง

พญาแร้งบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งบุรุษนั้น ได้ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้อง

ครวญคราง ฯลๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นคนฆ่าแกะขาย

อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบนิจฉวิสูตรที่ ๔

อรรถกถานิจฉวิสูตรที่ ๔

ในเรื่องสัตว์ไม่มีผิวหนัง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เมื่อพรานแกะนั้น ฆ่าแกะถลกหนังออกขายเลี้ยงชีพ ร่างของแกะ

ที่ไม่มีหนัง ได้ปรากฏเป็นนิมิตโดยนัยก่อนนั่นแล. เพราะฉะนั้น พราน

แกะนั้นจึงเกิดเป็นนิจฉวิเปรต.

จบอรรถกถานิจฉวิสูตรที่ ๔

๕. อสิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นดาบลอยในอากาศ

[๖๔๔] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมา

จากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษผู้มีขนเป็นดาบลอยอยู่ในเวหาส ดาบเหล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 710

นั้นของบุรุษนั้นลอยขึ้นไป ๆ แล้วก็ตกลงที่กายของบุรุษนั้นแหละได้ยินว่า

บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้

เป็นคนฆ่าสุกรขาย อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบอสิสูตร

อรรถกถาอสิสูตรที่ ๕

ในเรื่องสัตว์มีขนเป็นดาบ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คนผู้ฆ่าสุกรนั้น เอาดาบฆ่าสุกรที่เลี้ยงดูด้วยผักตลอดกาลนาน

เลี้ยงชีพตลอดกาลนาน. ภาวะที่เขาเงื้อดาบนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต

เพราะนั้น เขาจึงเกิดเป็นอสิโลมเปรต.

จบอรรถกถาอสิสูตรที่ ๕

๖. สัตติสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นหอก

[๖๔๕] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นหอกลอยอยู่ในเวหาส หอก

เหล่านั้นของบุรุษนั้นลอยขึ้นไป ๆ แล้วก็ตกลงที่กายของบุรุษนั้นเอง ได้

ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

นี้ได้เป็นคนฆ่าเนื้อขาย อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯลฯ.

จบสัตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาสัตติสูตรที่ ๖

ในเรื่องสัตว์มีขนเป็นหอก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คนผู้ฆ่าเนื้อนั้น พาเนื้อตัวหนึ่ง [สำหรับล่อเนื้อ] และถือหอก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 711

ไปป่า เอาหอกแทงพวกเนื้อที่มายืนอยู่ใกล้ ๆ เนื้อตัวนั้นให้ตาย. ภาวะ

ที่เขาเอาหอกแทงเนื้อนั่นแล ได้ปรากฏเป็นนิมิต เพราะฉะนั้น เขาจึง

เกิดเป็นสัตติโลมเปรต.

จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ ๖

๗. อุสุสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นลูกธนู

[ ๖๔๖ ] ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นลูกธนูลอยอยู่ในเวหาส ลูกธนู

เหล่านั้นของบุรุษนั้นลอยขึ้นไป ๆ แล้วก็ตกลงที่กายของบุรุษนั้นเอง ได้

ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้

ได้เป็นเพชฌฆาต อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบอุสุสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุสุสูตรที่ ๗

เรื่องสัตว์มีขนเป็นลูกธนูมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า การณิโก ได้แก่ บุรุษผู้เบียดเบียนคนที่ผิดต่อพระราชา

ด้วยเหตุมากมาย ในที่สุดเอาลูกธนูแทงให้ตาย. ได้ยินว่า บุรุษนั้นแทง

เพราะรู้ว่า คนที่ถูกแทงในที่โน้นจะตาย. เมื่อเขาเลี้ยงชีพด้วยอาการ

อย่างนี้แล้วเกิดในนรก แต่นั้นด้วยเศษวิบาก ในเวลาที่เขาเกิดในนรกนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 712

ภาวะที่เขาใช้ลูกธนูแทง จึงได้ปรากฏเป็นนิมิต เพราะฉะนั้น เขาจึงเกิด

เป็นอุสุโลมเปรต.

จบอรรถกถาอุสุสูตรที่ ๗

๘. ปฐมสูจิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นประตัก

[๖๔๗ ] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นประตักลอยอยู่ในเวหาส ประตัก

เหล่านั้นของบุรุษนั้นลอยขึ้นไป ๆ แล้วก็ตกลงที่กายของบุรุษนั้นเอง ได้

ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

นี้ได้เป็นคนฝึกม้า อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบปฐมสูจิสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมสูจิสูตรที่ ๘

ในเรื่องสัตว์มีขนเหมือนประตัก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุโต ได้แก่ ผู้ฝึกม้า (สารถี). อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ผู้ฝึกโค ดังนี้ก็มี. ภาวะที่เขาเอาปลายแหลมประตักแทงนั้นแล ได้ปรากฏ

เป็นนิมิต เพราะฉะนั้น เขาจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.

จบอรรถกถาปฐมสูจิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 713

๙. ทุติยสูจิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นเข็ม

[๖๔๘] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นเข็มลอยอยู่ในเวหาส เข็ม

เหล่านั้นของบุรุษนั้นเข้าไปศีรษะแล้วออกจากทางปาก เข้าไปในปากแล้ว

ออกทางอก เข้าไปในอกแล้วออกทางท้อง เข้าไปในท้องแล้วออกทางขา

อ่อน เข้าไปในขาอ่อนแล้วออกทางแข้ง เข้าไปในแข้งแล้วออกทางเท้า

ได้ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์นี้เป็นคนส่อเสียด อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบทุติยสูจิสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยสูจิสูตรที่ ๙

ในเรื่องสัตว์มีขนเหมือนเข็ม เรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สูจิโก ได้แก่ผู้ทำการส่อเสียด ได้ยินว่า เขายุยงหมู่มนุษย์

ให้แตกกัน. และในราชตระกูล เขายุยงแล้วยุยงเล่าว่า ผู้นี้มีสิ่งนี้ ผู้นี้

ทำสิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ ให้ถึงความย่อยยับ. เพราะฉะนั้น เพื่อเสวยทุกข์เพราะทำ

ให้เขาแคกกัน เพราะการยุยงโดยประการที่พวกมนุษย์ถูกยุยงแล้วแตกกัน

เขากระทำกรรมนั่นแหละให้เป็นนิมิตจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.

จบอรรถกถาทุติสูจิสูตรที่ ๙

๑. ม. สูจโก ผู้กล่าวส่อเสียด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 714

๑๐. อัณฑภารีสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีอัณฑะเท่าหม้อ

[๖๔๙] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลงมา

จากภูเชาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีอัณฑะใหญ่เท่าหม้อลอยอยู่ในเวหาส บุรุษ

นั้นแม้เมื่อเดินไปก็แบกอัณฑะนั้นไว้บนบ่า แม้เมื่อนั่งก็ทับอัณฑะนั้นแหละ

แร้งบ้าง กาบ้าง พญาแร้งบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งบุรุษนั้น ได้ยินว่า

บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้

เป็นผู้พิพากษาตัดสินอรรถคดีโกง อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบอัณฑภารีสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิสูตร ๒. เปสิสูตร ๓. ปิณฑสูตร

๔. นิจฉวิสูตร ๕. อสิสูตร ๖. สัตติสูตร

๗. อุสุสูตร ๘. ปฐมสูจิสูตร ๙. ทุติยสูจิสูตร

๑๐. อัณฑภารีสูตร.

อรรถกถาอัณฑภารีสูตรที่ ๑๐

ในเรื่องบุรุษมีอัณฑะเท่าหม้อ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า คามกูโฏ ได้แก่อำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี เพราะเขามีส่วนเสมอ

กับกรรม จึงมีอัณฑะประมาณเท่าหม้อ คือขนาดหม้อใหญ่. เพราะเขารับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 715

สินบนในที่ลับคือที่ปกปิด ทำโทษให้ปรากฏในการวินิฉัยคดีโกง ทำผู้เป็น

เจ้าของให้ไม่ได้เป็นเจ้าของ ฉะนั้น อวัยวะเพศลับของเขาจึงเกิดในที่เปิด

เผย เพราะเมื่อลงโทษ เขาได้ข่มเหงผู้อื่น ฉะนั้น อวัยวะเพศลับของเขาจึง

เกิดเป็นสิ่งข่มเหง (ทรมานตน) เพราะเหตุที่อวัยวะดำรงอยู่ในตำแหน่ง

ที่ดำรงอยู่แล้ว ควรจะเรียบร้อย กลับไม่เรียบร้อย ฉะนั้น เขาจึงต้องนั่ง

อย่างไม่เรียบร้อยบนอวัยวะเพศลับ.

จบอรรถกถาอัณฑภารีสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปฐมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 716

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. กูปนิมุคคสูตร

ว่าด้วยบุรุษจมหลุมคูถ

[๖๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ฯ ล ฯ ท่านมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า

เมื่อผมลงหาจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็นบุรุษจมอยู่ในหลุมคูถจนมิดศรีษะ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นคนทำชู้กับภรรยาของผู้อื่น อยู่ใน

กรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบกูปนิมุคคสูตรที่ ๑

[พึงทำเปยยาลอย่างนั้น]

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถากูปนิมุคคสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ เรื่องชายทำชู้กับภรรยาของผู้อื่น มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้.

สัตว์นั้นถูกต้องผัสสะหญิงมีสามี ซึ่งคนอื่นรักษาคุ้มครอง มีจิตยินดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 717

ด้วยสุขแต่อุจจาระและสุขแต่กาม เพราะเขามีส่วนเสมอกับกรรม จึง

สัมผัสคูถ บังเกิดในหลุมคูถนั้นเพื่อเสวยทุกข์.

จบอรรถกถาคูถขาทิสูตรที่ ๒

๒. คูถขาทิสูตร

ว่าด้วยบุรุษกินคูถ

[๖๕๑] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษผู้จมอยู่ในหลุมคูถ ใช้มือทั้งสองกอบคูถ

กิน ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นพราหมณ์อยู่ในกรุงราชคฤห์

นี้เอง พราหมณ์นั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาของพระกัสสป-

สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยภัตแล้ว เอาคูถใส่จนเต็มรางแล้ว ใช้ให้คนไปบอก

เวลาแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอพวกท่านจงฉันและจงนำไปจนพอแก่

ความต้องการเถิด ฯ ล ฯ.

จบคูถขาทิสูตรที่ ๒

อรรถกถาคูถขาทิสูตรที่ ๒

เรื่องบุรุษผู้กินคูถ ปรากฏชัดแล้วแล.

จบอรรถกถาคูถขาทิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 718

๓. นิจฉวิตถีสูตร

ว่าด้วยหญิงไม่มีผิวหนัง

[๖๕๒] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นหญิงผู้ไม่มีผิวหนังลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง

กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิกทิ้งหญิงนั้น ได้ยินว่า หญิง

นั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงนี้ได้เป็น

หญิงประพฤตินอกใจสามีอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบนิจฉวิตถีสูตรที่ ๓

อรรถกถานิจฉวิตถีสูตรที่ ๓

ในเรื่องหญิงไม่มีผิวหนัง มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เพราะธรรมดาว่ามาตุคาม ย่อมไม่เป็นใหญ่ในผัสสะของตน และ

มาตุคามนั้นขโมยผัสสะอันเป็นของของสามีแล้วให้เกิดความยินดีผัสสะของ

ผู้อื่น ฉะนั้น เธอจึงมีผัสสะเป็นสุข เพราะมีส่วนเท่ากับกรรม จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว จึงเกิดเป็นหญิงไม่มีผิวหนัง เพื่อเสวยสัมผัสเป็นทุกข์.

จบอรรถกถานิจฉวิตถีสูตรที่ ๓

๔. มังคุฬิตถีสูตร

ว่าด้วยหญิงมีกลิ่นเหม็น

[๖๕๓] ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นหญิงมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดลอยอยู่ในเวหาส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 719

แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิตทิ้งหญิงนั้น ได้ยินว่า

หญิงนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อน. ภิกษุทั้งหลาย หญิงนี้ได้

เป็นหญิงแม่มด อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบมังคุฬิตถีสูตรที่ ๔

อรรถกถามังคุฬิตถีสูตรที่ ๔

ในเรื่องหญิงมีกลิ่นเหม็น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มงฺคุฬี ได้แก่มีรูปแปลก ไม่น่าดู น่ารังเกียจ. ได้ยินว่า

เธอเป็นหญิงแม่มดกระทำกรรมของหญิงผู้เป็นทาสียักษ์ เที่ยวประกาศว่า

เมื่อคนนี้ ๆ ทำพลีกรรมอย่างนี้ พวกท่านทั้งหลายจักเจริญอย่างนี้ ดังนี้

แล้วลวงถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้นของมหาชน ให้มหาชนมีความ

เห็นชั่วเห็นผิด. เพราะฉะนั้น เธอจึงมีส่วนเท่ากับกรรมนั้น เธอจึงมี

กลิ่นเหม็น เหตุขโมยของหอมและดอกไม้เป็นต้น เธอเกิดมีรูปไม่น่าดู

แปลกประหลาด น่ารังเกียจ เหตุให้เขาถือความเห็นชั่ว.

จบอรรถกถามังคุฬิตถีสูตรที่ ๔

๕. โอกิลินีสูตร

ว่าด้วยหญิงมีน้ำเหลืองไหล

[๖๕๔] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นหญิงผู้มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มเต็มไปด้วยถ่านเพลิง

ลอยอยู่ในเวหาส ได้ยินว่า หญิงนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ก่อนดู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 720

ภิกษุทั้งหลาย หญิงนี้ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ นางถูก

ความหึงครอบงำ ได้เอาเตาซึ่งเต็มด้วยถ่านเพลิงเทรดหญิงร่วมผัว ฯ ล ฯ.

จบโอกิลินีสูตรที่ ๕

อรรถกถาโอกิลินีสูตรที่ ๕

ในเรื่องหญิงมีน้ำเหลืองไหล มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปกฺก โอกิลินึ โอกิริณึ ความว่า ได้ยินว่า นาง

นอนดิ้นรนกระสับกระส่ายหมกไหม้อยู่บนเชิงตะกอนเต็มไปด้วยถ่านเพลิง

เพราะฉะนั้น นางจึงร้อนระอุ คือมีร่างกายถูกไฟร้อนแผดเผานางมีน้ำเหลือง

ไหล มีร่างกายเปรอะเปื้อน คือมีหยาดน้ำเหลืองไหลลอกจากร่างกายของ

เธอ และมีร่างกายเต็มไปด้วยถ่านเพลิง เกลื่อนกล่นไปด้วยถ่านเพลิง คือ

ข้างล่างของนาง มีถ่านเพลิงมีสีเหมือนดอกทองกวาว ที่ข้างทั้งสองก็

เหมือนกัน ข้างบนของนาง มีถ่านเพลิงตกลงมาจากอากาศ เหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อุปกฺก โอกิลินี โอกิริณึ ดังนี้. บทว่า สา

อิสฺสาปกตา สปตึ องฺคารกฏาเหน โอกิริ ความว่า ได้ยินว่า หญิง

ฟ้อนคนหนึ่งของพระราชานั้นตั้งเตาถ่านเพลิงไว้ใกล้ ๆ เช็ดน้ำจากตัว

และเอาฝ่ามือเช็ดเหงื่อ แม้พระราชาก็ทรงสนทนาและทรงแสดงอาการ

ยินดีกับเธอ. พระอัครมเหสีทรงอดทนอาการเช่นนั้นไม่ได้ ถูกความหึง

หวงครอบงำ เมื่อพระราชาเสด็จหลีกไปไม่นาน พระนางถือเตาถ่านเพลิง

นั้นเทถ่านเพลิงลงบนหญิงนั้น. พระนางทำกรรมนั้นแล้ว บังเกิดในเปต-

โลก เพื่อเสวยวิบากเช่นนั้นตอบแทน.

จบอรรถกถาโอกิลินีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 721

๖. สีสัจฉินนสูตร

ว่าด้วยตัวกะพันธ์ศีรษะขาด

[๖๕๕] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นตัวกะพันธ์ไม่มีศีรษะ มีตาและปากอยู่ที่อก

ลอยอยู่ในเวหาส แร้งบ้าง กาบ้าง นกตะกรุมบ้าง ต่างก็โผถลาตามจิต

ทิ้งตัวกะพันธ์นั้น ได้ยินว่า ตัวกะพันธ์นั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้ได้เป็นเพชฌฆาตผู้ฆ่าโจร ซึ่งว่าหาริกะ อยู่ใน

กรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.

จบสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

อรรถกถาสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

ในเรื่องคนฆ่าโจร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ผู้ฆ่าโจรนั้น ตัดศีรษะพวกโจรเป็นเวลานานตามคำสั่งพระราชา

เมื่อบังเกิดในเปตโลก บังเกิดเป็นตัวกะพันธ์ไม่มีศีรษะ.

จบอรรถกถาสีสัจฉินนสูตรที่ ๖

๗. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยภิกษุไฟติดทั่วตัวลอยในอากาศ

[๖๕๖] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุอยู่ในเวหาส ผ้าสังฆาฏิก็ดี บาตร

ก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของภิกษุนั้น อันไฟติดทั่วลุกโชติช่วง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 722

แล้ว ได้ยินว่า ภิกษุนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนี้ได้เป็นภิกษุผู้ชั่วช้าในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ฯ ล ฯ.

จบภิกขุสูตรที่ ๗

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๗

ในเรื่องภิกษุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาปภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุลามก. ได้ยินว่า ภิกษุนั้นบริโภค

ปัจจัย ๔ ที่ชาวโลกถวายด้วยศรัทธา เป็นผู้ไม่สำรวมทางกายทวารและ

วจีทวารทำลายอาชีวะเสีย เที่ยวปล่อยจิตใจให้สนุกสนาน. แต่นั้น เธอ

ไหม้อยู่ในนรกตลอดพุทธันดรหนึ่ง เมื่อเกิดในเปตโลก บังเกิดด้วย

อัตภาพเช่นภิกษุนั่นเอง.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๗

๘. ภิกขุนีสูตร

ว่าด้วยภิกษุณีไฟติดทั่วตัวลอยในอากาศ

[๖๕๗] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นภิกษุณีลอยอยู่ในเวหาส ผ้าสังฆาฏิก็ดี บาตร

ก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของภิกษุณีนั้น อันไฟติดทั่วลุกโชติ

ช่วงแล้ว ได้ยินว่า ภิกษุณีนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีนี้ได้เป็นภิกษุณีผู้ชั่วช้า ในศาสนาของพระกัสสป-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 723

สัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ ล ฯ.

จบภิกขุนีสูตรที่ ๘

๙. สิกขมานาสูตร

ว่าด้วยสิกขมานาไฟติดทั่วตัวลอยในอากาศ

[๖๕๘] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสิกขมานาลอยอยู่ในเวหาส ผ้าสัมฆาฏิก็ดี

บาตรก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของสิกขมานานั้น อันไฟติดทั่ว

ลุกโชติช่วงแล้ว ได้ยินว่า สิกขมานานั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขมานานี้ได้เป็นสิกขมานาผู้ชั่วช้า ในศาสนาของ

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ ล ฯ.

จบสิกขมานาสูตรที่ ๙

๑๐. สามเณรสูตร

ว่าด้วยสามเณรไฟติดทั่วตัวลอยอยู่ในอากาศ

[๖๕๙] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรลอยอยู่ในเวหาส ผ้าสังฆาฏิก็ดี

บาตรก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของสามเณรนั้น อันไฟติดทั่วลุก

โชติช่วงแล้ว ได้ยินว่า สามเณรนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สามเณรนี้เป็นสามเณรผู้ชั่วช้า ในศาสนาของพระกัสสป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 724

สัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ ล ฯ.

จบสามเณรสูตรที่ ๑๐

๑๑. สามเณีสูตร

ว่าด้วยสามเณรีไฟติดทั่วตัวลอยอยู่ในอากาศ

[๖๖๐] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง

มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสามเณรีลอยอยู่ในเวหาส ผ้าสังฆาฏิก็ดี

บาตรก็ดี ประคดเอวก็ดี ร่างกายก็ดี ของสามเณรีนั้น อันไฟติดทั่วลุก

โชติช่วงแล้ว ได้ยินว่า สามเณรีนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ผมคิดว่า

น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีมาหนอ สัตว์แม้เห็นปานนี้ก็จักมี ยักษ์แม้

เห็นปานนี้ก็จักมี การได้อัตภาพแม้เห็นปานนี้ก็จักมี.

[๖๖๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายเป็นผู้มีจักษุหนอ เป็นผู้มีญาณหนอ

เพราะแม้สาวกก็จักรู้จักเห็นสัตว์เห็นปานนี้ หรือจักเป็นพยาน เมื่อก่อน

สามเณรีนั้นเราก็ได้เห็นแล้วเหมือนกัน แต่ว่ามิได้พยากรณ์ หากว่าเราจะ

พึงพยากรณ์สามเณรีนี้ไซร้ คนอื่นก็จะไม่พึงเชื่อถือเรา ข้อนั้นพึงเป็นไป

เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อถือเรา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สามเณรีนี้ได้เป็นสามเณรผู้ชั่วช้าในศาสนาของพระ

กัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยผลของกรรมนั้น สามเณรีนั้นหมกไหม้แล้ว

ในนรกหลายมี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายหมื่นปี หลายแสนปี ด้วย

ผลของกรรมนั่นแหละยังเหลืออยู่ สามเณรีนั้นจึงต้องเสวยการได้อัตภาพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 725

เห็นปานดังนี้.

จบสามเณรีสูตรที่ ๑๑

จบทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กูปนิมุคคสูตร ๒. คูถขาทิสูตร

๓. นิจฉวิตถีสูตร ๔. มังคุฬิตถีสูตร

๕. โอกิลินีสูตร ๖. สีสัจฉินนสูตร

๗. ภิกษุสูตร ๘. ภิกขุนีสูตร

๙. สิกขมานาสูตร ๑๐. สามเณรสูตร

๑๑. สามเณรีสูตร

จบลักขณสังยุตที่ ๗

อรรถกถาภิกขุนีสูตรที่ ๘ เป็นต้น

แม้ในเรื่องของนางภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ก็มี

วินิจฉัยอย่างนี้เหมือนกันแล.

จบอรรถกถาภิกขุนีสูตรที่ ๘ เป็นต้น

จบอรรถกถาลักขณสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 726

๘. โอปัมมสังยุต

๑. กูฏาคารสูตร

ว่าด้วยกลอนของเรือนยอด

[๖๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนทั้งหลายของเรือนยอด

ทั้งหมดไปรวมที่ยอด เมื่อรื้อยอดเรือน กลอนเหล่านั้นทั้งหมด ย่อม

ถึงการรื้อออก แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อกุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีอวิชชา

เป็นมูล ประชุมกันที่อวิชชา เมื่ออวิชชาถูกถอนขึ้นแล้ว อกุศลธรรม

เหล่านั้นทั้งหมดย่อมถึงการถอนขึ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น พวกเธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า พวกเราจักเป็นผู้ไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง

ศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบกูฏาคารสูตรที่ ๑

โอปัมมสังยุต

อรรถกถากูฏาคารสูตรที่ ๑

โอปัมมสังยุต กูฏาคารสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า กูฏงฺคมา เพราะไปรวมที่ยอด. ชื่อว่า กูฏสโมสรณา เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 727

รวมกันที่ยอด. บทว่า กูฏสมุคฺฆาตา ความว่า เมื่อรื้อยอดเรือน.

บทว่า อวิชฺชาสมุคฺฆาตา ความว่า เพราะถอนอวิชชาได้ด้วยอรหัต-

มรรค. บทว่า อปฺปปตฺตา ได้แก่เป็นผู้ตั้งอยู่ในความไม่อยู่ปราศจากสติ.

จบอรรถกถากูฏาคารสูตรที่ ๑

๒. นขสิขสูตร

ว่าด้วยสัตว์ที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย

เหมือนฝุ่นติดปลายเล็บ

[๖๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ที่ปลายพระนขาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่น

เล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ที่ปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนี้ อย่างไหนมากกว่ากัน.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีนั่น

แหละมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลาย

พระนขานี้มีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการนับ ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งการ

เทียบเคียง ย่อมไม่ถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งเสี้ยว เพราะเทียบมหาปฐพีเข้าแล้ว

ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนขึ้นไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณเล็ก

น้อย.

[๖๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มี

ประมาณน้อย สัตว์ไปเกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มีมากกว่ามากทีเดียว

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 728

เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง

นี้นั่นแหละ.

จบนขสิขสูตรที่ ๒

อรรถกถานขสิขสูตรที่ ๒

ในนขสิขสูตรที่ ๒ มีวินิฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มนุสฺเสสุ ปจฺจาชายนฺติ มีอธิบายว่า เหล่าชนที่จุติจาก

มนุษยโลกแล้วเกิดในมนุษยโลกนั้นแล มีประมาณน้อย. บทว่า อญฺตฺร

มนุสฺเสหิ ความว่า เหล่าชนที่จุติจากมนุษยโลกแล้วไม่เกิดในมนุษยโลก

ไปเกิดเฉพาะในอบาย ๔ มีมากกว่า เหมือนฝุ่นในมหาปฐพี. ก็ในพระ-

สูตรนี้ ท่านรวมเทวดากับมนุษย์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน. เพราะฉะนั้น พึง

ทราบว่า ผู้เกิดในเทวโลกมีประมาณน้อย เหมือนผู้ที่เกิดในมนุษยโลก

ฉะนั้น.

จบอรรถกถานขสิขสูตรที่ ๒

๓. กุลสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์เมตตาเจโตวิมุตติ

[๖๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลใดสกุลหนึ่งมีสตรีมาก

มีบุรุษน้อย สกุลเหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ขโมยด้วยหม้อปล้นได้ง่าย แม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 729

ฉันใด ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ ไม่กระทำให้มากแล้ว

ภิกษุรูปนั้นย่อมถูกพวกอมนุษย์กำจัดได้ง่าย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีสตรีน้อย

มีบุรุษมาก สกุลเหล่านั้นย่อมถูกพวกโจรผู้ขโมยด้วยหม้อปล้นได้ยาก แม้

ฉันใด ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ การทำให้มากแล้ว ภิกษุ

รูปนั้นย่อมเป็นผู้อันอมนุษย์กำจัดได้ยาก เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำ

ให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสมปรารภด้วยดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบกุลสูตรที่ ๓

อรรถกถากุลสูตรที่ ๓

ในกุลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุปฺปธสิยานิ ได้แก่ ถูกพวกโจรเบียดเบียนได้ง่าย. บทว่า

กุมฺภตฺเถนเกหิ ความว่า ชื่อว่า กุมฺภตฺเถนกา ได้แก่ เหล่าโจรผู้เข้าเรือน

คนอื่น ตรวจดูด้วยแสงประทีป ประสงค์จะลักสิ่งของของคนอื่น จุด

ประทีปใส่หม้อเข้าไป สิ่งของเหล่านั้นอันโจรผู้ใช้หม้อเหล่านั้นขโมยได้ง่าย.

บทว่า อนนุสฺเสหิ ความว่า จริงอยู่ ปิศาจผู้เล่นฝุ่น ย่อมกำจัดผู้เว้น

เมตตาภาวนา จะป่วยกล่าวไปไยถึงพวกอมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่เล่า. บทว่า

ภาวิตา ได้แก่ ให้เจริญนั่นแล. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่ กระทำบ่อย ๆ.

บทว่า ยานีกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมแล้ว. บทว่า

วตฺถุกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจพื้นที่ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 730

บทว่า อนุฏฺิตา ได้แก่ ตั้งมั่นแล้ว. บทว่า ปริจิตา ได้แก่ สั่งสม

โดยรอบ. บทว่า สุสมาทฺธา ได้แก่ มีจิตพากเพียรด้วยดี.

จบอรรถกถากุลสูตรที่ ๓

๔. โอกขาสูตร

ว่าด้วยการให้ทาน

[๖๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อราม

ของท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ใน

เวลาเช้า ผู้ใดพึงให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง ผู้ใดพึง

ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตใน

เวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำมันแห่งแม่โค หรือผู้ใดพึงเจริญ

เมตตาจิตในเวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำมันแห่งแม่โค หรือ

ผู้ใดพึงเจริญเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำมันแห่ง

แม่โค การเจริญเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้ง

ในวันหนึ่งนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

จักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน

กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบโอกขาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 731

อรรถกถาโอกขาสูตรที่ ๔

ในโอกขาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โอกฺขาสต ได้แก่ หม้อปากกว้าง ๑๐๐ หม้อ. บทว่า ทาน

ทเทยฺย ความว่า พึงให้ทานหม้อใหญ่เต็มด้วยโภชนะประณีต ๑๐๐ หม้อ.

บาลีว่า อุกฺกาสต ดังนี้ก็มี. ความของบาลีนั้นว่า ประทีปด้าม ๑๐๐ ดวง

อธิบายว่า พึงถวายทานเต็มด้วยรัตนะ ๗ ตลอดสถานที่ร้อยเท่าจากสถาน

ที่ที่แสงสว่างของประทีปดวงหนึ่งแผ่ไปถึง. บทว่า คทฺทูหนมตฺต ได้แก่

เพียงการหยดน้ำนมแห่งแม่โค อธิบายว่า เพียงการบีบหัวนมแม่โคครั้ง

เดียว. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เพียงสละกลิ่น คือเพียงใช้ ๒ นิ้วจับ

ก้อนของหอมสูดดมครั้งเดียว. ก็ตลอดกาลแม้เพียงนี้ ผู้ใดสามารถเจริญ

เมตตาจิต แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้ง ๔ ซึ่งหา

ประมาณมิได้ โดยกำหนดเอาห้องบริเวณและอุปจารวิหาร หรือโดยกำหนด

เอาจักรวาล การเจริญเมตตาจิตของผู้นั้นนี้มีผลมากกว่านั้น คือกว่าทาน

ที่เขาให้วันละ ๓ ครั้ง.

จบอรรถกถาโอกขาสูตรที่ ๔

๕. สัตติสูตร

ว่าด้วยหอก

[๖๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 732

เราจักงอเข้า จักพับ จักม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือ หรือด้วย

กำมือ ดังนี้ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถ

เพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมโน้นด้วยฝ่ามือ

หรือด้วยกำมือได้หรือหนอ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะงอเข้า จะพับและม้วน

ซึ่งหอกมีใบอันคมด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือ กระทำไม่ได้ง่าย ก็แหละบุรุษ

นั้น พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว แม้ฉันใด.

[๖๖๙] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ

เมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้

เป็นที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิต

ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย

ลำบากถ่ายเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้

เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบสัตติสูตรที่ ๕

อรรถกถาสัตติสูตร

ในสัตติสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในคำว่า ปฏิเลณิสฺสามิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 733

งอ ได้แก่ รวบปลายน้อมมาเหลือมเกลียวฝ่าย และคล้องรวมกันไว้

เหมือนเกลียวยางไม้. ชื่อว่า พับ ได้แก่ รวมตรงกลางแล้วน้อมมา หรือ

รวมเข้ากับคมแล้วเอาคมทั้ง ๒ คล้องเข้าด้วยถัน. ชื่อว่า ม้วน ได้แก่

ม้วนเหมือนการกระทำอย่างเกลียวฝ้าย คลี่เสื่อลำแพนที่ม้วนไว้นานแล้ว

ม้วนกลับตามเดิม.

จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ ๕

๖. ธนุคคหสูตร

ว่าด้วยการจับลูกธนู

[๖๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู ๔ คน ถือธนูอันมั่นคง ได้ศึกษา

มาดีแล้ว เป็นผู้มีความชำนาญ เป็นผู้มีศิลปะอันได้แสดงแล้ว ยืนอยู่แล้ว

ในทิศทั้ง ถ้าบุรุษพึงมากกล่าวว่า เราจักจันลูกธนูทั้งหลายที่นายขมังธนู

ทั้ง ๔ เหล่านี้ยิงมาจากทิศทั้ง ๔ ไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน เธอทั้งหลายจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ควรจะกล่าวได้ว่า บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วย

ความเร็วอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าแม้บุรุษจะพึง

จับลูกธนูที่นายขมังธนูเพียงคนเดียวยิง ไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน ก็ควรจะกล่าว

ได้ว่า บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม จะกล่าว

ไปไยถึงการจับลูกธนูทั้ง ๔ ลูกที่นายขมังธนู ๔ คนยิงมาจาก ๔ ทิศ แม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 734

ฉันใด.

[๖๗๑] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ความเร็วของ

พระจันทร์และพระอาทิตย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษนั้น ความเร็วของ

เทวดาที่ไปข้างหน้าพระจันทร์พระอาทิตย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษและ

ความเร็วของพระจันทร์และพระอาทิตย์ อายุสังขารสิ้นไปเร็วกว่าความเร็ว

นั้น ๆ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แหละ.

จบธนุคคหสูตรที่ ๖

อรรถกถาธนุคคหสูตรที่ ๖

ในธนุคคหสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทฬฺหธมฺมา ธนุคฺคหา ได้แก่ นายขมังธนูผู้แม่นธนู-

ธนูที่ใช้กำลัง ๒,๐๐๐ คนโก่ง เรียกชื่อว่า ทัฬหธนุ (ธนูหนัก). บุคคล

ผู้โก่งธนู จับที่คันธนู ซึ่งผูกสายธนูแล้ว อันหนักด้วยเครื่องประกอบ

ที่หัวคันธนูมีโลหะเป็นต้น แล้วยกคันธนูขึ้น ให้พ้นพื้นดิน ชั่วระยะ

ลูกศรหนึ่ง. บทว่า สุสิกฺขิตา ได้แก่ ศิลปะที่เรียนในสำนักอาจารย์

ตลอด ๑๒ ปี. บทว่า กตหตฺถา ความว่า ผู้ที่เรียนเฉพาะแต่ศิลปะ

เท่านั้น ไม่มีการฝึกฝีมือ. ส่วนชนผู้ฝึกฝีมือเหล่านี้ มีความชำนาญที่อบรม

มาแล้ว. บทว่า กตูปาสนา ได้แก่ ผู้ที่ประลองศิลปะในราชตระกูลเป็นต้น

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 735

บทว่า ตสฺส ปุริสสฺส ชโว ความว่า ขึ้นชื่อว่า บุรุษอื่นเห็น

ปานนี้ไม่เคยมี. ส่วนพระโพธิสัตว์เท่านั้น ได้ชื่อว่า ชวนหังสกาล.

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้นำลูกธนูทั้ง ๔ มาแล้ว.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พี่น้องชายของพระโพธิสัตว์บอกว่า ข้าแต่

พี่ชาย พวกเราจักแล่นแข่งไปกับพระอาทิตย์. พระโพธิสัตว์กล่าว

พระอาทิตย์เร็วมาก พวกเจ้าไม่อาจไปเร็วเท่าพระอาทิตย์ได้. พี่น้องกล่าว

อย่างนั้นแหละ ๒-๓ ครั้ง คิดว่าจะไปในวันหนึ่ง จึงบินขึ้นไปจับอยู่ ณ

ภูเขายุคันธร. พระโพธิสัตว์ถามว่า พี่ชายของเราไปไหน เมื่อเขาตอบว่า

ไปแข่งกับพระอาทิตย์ จึงคิดว่า ผู้มีตบะจักพินาศ สงสารพี่ชายทั้งสอง

ตนเองจึงไปจับอยู่ในสำนักของพี่ชายทั้งสอง. ครั้นพระอาทิตย์ขึ้น พี่น้อง

ทั้งสองก็บินสู่อากาศพร้อมพระอาทิตย์ทีเดียว. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็บินไป

กับพี่ชายทั้งสองด้วย. บรรดาพี่น้องทั้งสองนั้น เมื่อตัวหนึ่งไปยิ่งไม่ถึงเวลา

กินอาหารเลย เกิดไฟขึ้นในระหว่างปีก. จึงเรียกพี่ชายบอกว่าฉันไม่สามารถ

ดังนี้. พระโพธิสัตว์ปลอบโยนพี่ชายนั้นว่า อย่ากลัวเลย ให้พี่ชายเข้าไป

อยู่ในกรงปีก บรรเทาความกระวนกระวายแล้ว ส่งไปว่า ไปเถิด.

พี่ชายตัวที่สองบินไปชั่วเวลากินอาหาร ไฟตั้งขึ้นในระหว่างปีก

จึงกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้กระทำอย่างนั้นแหละ

ส่งไปว่า ไปเถิด. ส่วนตนเองบินไปจนเที่ยงวัน คิดว่าสองพี่น้องนี้โง่

บินกลับด้วยคิดว่า เราไม่พึงโง่ ได้บินไปยังกรุงพาราณสีด้วยหมายใจว่า

จักเฝ้าพระเจ้าพาราณสีผู้เป็นอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นกัน). เมื่อ

พระโพธิสัตว์บินวนอยู่เหนือนครนั้น. นคร ๑๒ โยชน์ได้เป็นเหมือนบาตรที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 736

ฝาบาตรครอบไว้. ขณะเมื่อพระโพธิสัตว์กำลังบินวนอยู่ ได้ปรากฏช่อง

ในที่นั้น ๆ แม้พระโพธิสัตว์เองก็ปรากฏเหมือนหงส์หลายพันตัว. พระ-

โพธิสัตว์ลดกำลังบินมุ่งหน้าต่อพระราชมณเฑียร พระราชาทรงตรวจดู

ทรงทราบว่าหงส์มีกำลังเร็ว เพื่อนรักของเรามาแล้ว ทรงเปิดพระบัญชร

จัดตั้งตั่งรัตนะประทับยืนทอดพระเนตรอยู่. พระโพธิสัตว์จับบนตั่งรัตนะ.

ลำดับนั้น พระราชาทรงเอาน้ำมันที่หุงตั้งพันครั้งทาปีกทั้งสองของ

พระโพธิสัตว์แล้วได้พระราชทานข้าวตอกมีรสอร่อยและปานะมีรสอร่อย.

ต่อแต่นั้นพระราชาได้ตรัสถามพระโพธิสัตว์ผู้บริโภคเสร็จแล้วว่า เพื่อน

ท่านได้ไปที่ไหนมา. พระโพธิสัตว์เล่าเรื่องนั้นแล้ว ทูลว่า มหาราช

หม่อมฉันบินไปจนเที่ยงวัน การบินไม่มีประโยชน์ ดังนั้นหม่อมฉันจึง

กลับมา. พระราชารับสั่งกะพระโพธิสัตว์ว่า นาย ฉันปรารถนาจะเห็น

กำลังความเร็วของท่านกับพระอาทิตย์. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ทำได้ยาก

มหาราช พระองค์ไม่อาจจะเห็นได้. พระราชาตรัสว่า นาย ถ้าอย่างนั้น

ขอท่านจงแสดงพอให้คล้าย ๆ กัน. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ดีแล้ว มหาราช

ขอพระองค์โปรดให้พวกขมังธนูประชุมกันเถิด. พระราชามีรับสั่งให้พวก

ขมังธนูประชุมกัน. พญาหงส์ไปพาพวกขมังธนู ๔ คนให้กระทำเสาระเนียด

ท่ามกลางนคร ให้ประดับลูกธนูที่คอของตน บินขึ้นไปจับบนเสาระเนียด

กล่าวว่า ขอนายขมังธนู ๔ คนจงยืนพิงเสาระเนียดผินหน้าไป ๔ ทิศยิงลูกธนู

ทีละลูก ดังนี้ ตนเองที่แรกบินขึ้นไปพร้อมกับลูกธนูทีเดียว ไม่จับลูกธนู

นั้น จับลูกธนูที่ไปทางทิศทักษิณ ซึ่งห่างจากธนูเพียงศอกเดียว ลูกที่ ๒

ห่างเพียง ๒ ศอก ลูกที่ ๓ ห่างเพียง ๓ ศอก จับลูกที่ ๔ ยังไม่ทันตก

ถึงดื้นดินเลย. ขณะนั้นนายขมังธนูได้เห็นพญาหงส์นั้น ในเวลาที่จับลูก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 737

ธนูทั้ง ๔ ลูกแล้วบินมาเกราะที่เสาระเนียดนั่นเอง. พญาหงส์กราบทูลพระ-

ราชาว่า โปรดทรงเห็นเถิด มหาราช ความเร็วของหม่อมฉันเร็วอย่างนี้.

พึงทราบว่า ลูกธนูเหล่านั้นพระโพธิสัตว์นำมาในครั้งเสวยพระชาติเป็น

หงส์เร็ว ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปุรโต ธาวนฺติ ความว่า แล่นไปก่อน ๆ แต่เทวดา

เหล่านั้นมิได้อยู่ข้างหน้าตลอดเวลาเลย บางคราวอยู่ข้างหน้า บางคราวอยู่

ข้างหลัง. จริงอยู่ ในวิมานพวกอากาสัฏฐกเทวดา มีทั้งอุทยานทั้งสระ-

โบกขรณี. เทวดาเหล่านั้นอาบเล่นกีฬาน้ำในที่นั้น อยู่ข้างหลังบ้าง

ไปด้วยกำลังเร็วล้ำหน้าไปอีกก็มี. บทว่า อายุสงฺขารา ท่านกล่าวหมาย

รูปชีวิตินทรีย์. จริงอยู่ รูปชีวิตินทรีย์นั้นสิ้นไปเร็วกว่าความเร็วของเทวดา

นั้น. แต่ใคร ๆ ไม่อาจจะรู้ทั่วถึงการแยกอรูปธรรมได้.

จบอรรถกถาธนุคคหสูตรที่ ๖

๗. อาณีตสูตร

ว่าด้วยการตอกลิ่ม

[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของ

พวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า ทสารหะ ได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวก

ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็

หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 738

ในอนาคต เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถ

อันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง

จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน

ว่าควรศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนัก

ปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของ

ภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ

จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน

ควรศึกษา.

[๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าว

แล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จัก

อันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก

เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จัก

เงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น

ว่าควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบอาณีสูตรที่ ๗

อรรถกถาอาณีสูตรที่ ๗

ในอาณีสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทสารหาน ได้แก่เหล่ากษัตริย์ผู้มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า

กษัตริย์เหล่านั้น ถือเอาสิบส่วนจากข้าวกล้า ฉะนั้นจึงปรากฏชื่อว่า ทสารหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 739

บทว่า อานโก ได้แก่ กลองมีชื่ออย่างนี้.

ได้ยินว่า ในป่าหิมวันต์ มีสระปูใหญ่. ปูใหญ่กินข้างที่ลงไป

ในสระนั้น. ครั้งนั้น พวกช้างถูกปูเบียดเบียน มีความเห็นร่วมกันว่า

เพราะอาศัยลูกของนางช้างนี้ พวกเราจึงจักมีความสวัสดีได้ จึงได้พากัน

สักการะนางช้างเชือกหนึ่ง. แม้นางช้างนั้นก็ได้ตกลูกเป็นช้างมเหศักดิ์.

ช้างทั้งหลายพากันสักการะแม้ลูกช้างนั้น. ลูกช้างเจริญวัยแล้วถามแม่ว่า

เหตุไรช้างเหล่านี้จึงสักการะเรา. นางช้างจึงเล่าเรื่องให้ฟัง. ลูกช้างกล่าวว่า

ก็ปูเป็นอะไรกะฉัน พวกเราไปที่นั่นกันเถิด แวดล้อมไปด้วยช้างเป็น

อันมาก ไปที่นั้นแล้วลงสระก่อนทีเดียว. ปูมาหนีบลูกช้างไว้เพราะเสียง

น้ำนั่นเอง. ปูมีก้ามใหญ่. ลูกช้างไม่อาจทำปูให้เคลื่อนไปข้างโน้นข้างนี้

ได้ จึงสอดงวงเข้าปากร้องลั่น. ช้างทั้งหลายกล่าวว่า ลูกช้างที่พวกเรา

เข้าใจว่า ได้อาศัยแล้วจักมีความสวัสดีนั้น ถูกหนีบเสียก่อนเลย จึงพา

กันหนีกระจัดกระจายไป.

ลำดับนั้น แม่ของลูกช้างยืนอยู่ไม่ไกล กล่าวกะปูด้วยคำที่น่ารักว่า

พวกเราชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐบนบก พวกท่านชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐในน้ำ

ผู้ประเสริฐไม่ควรเบียดเบียนผู้ประเสริฐ ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

เย กุฬีรา สมุทฺทสฺมึ คงฺคาย ยมุนาย จ

เตส ตฺว วาริโช เสฏฺโ มุญฺจ โรทนฺติยา ปช

บรรดาปูทั้งหลาย ในทะเล ในแม่น้ำคงคา

และแม่น้ำยมุนาเหล่านั้น ท่านเป็นสัตว์น้ำที่ประเสริฐ

ที่สุด ขอท่านจงปล่อยลูกของเราผู้ร้องไห้อยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 740

ธรรมดาเสียงมาตุคาม. ย่อมทำให้บุรุษปั่นป่วน ฉะนั้น ปูจึงได้

คลายหนีบ ลูกช้างรีบยกเท้าทั้งสองขึ้นเหยียบหลังปู. พอถูกเหยียบ หลัง

ปูแตกเหมือนภาชนะดิน. ลำดับนั้น ลูกช้างเอางาทั้งสองแทงปู ยกขึ้น

ทิ้งไปบนนก แล้วส่งเสียงร้องแสดงความยินดี ช้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ

เหยียบปูนั้น. ก้ามปูก้ามหนึ่งหักกระเด็น ท้าวสักกเทวราชทรงถือเอา

ก้ามปูนั้นไป.

ส่วนก้ามปูอีกก้ามหนึ่งถูกลมและแดดเผาจนสุก มีสีเหมือนน้ำครั่ง

เคี่ยว. เมื่อฝนตก ก้ามปูนั้นถูกระแสน้ำพัดลมลอยมาติดข่ายของพระราชา

สิบพี่น้องผู้ขึงข่ายไว้เหนือน้ำ เล่นน้ำอยู่ที่แม่น้ำคงคา. เมื่อเล่นน้ำแล้ว

ยกข่ายขึ้น พระราชาเหล่านั้นทรงเห็นก้ามปูนั้น ตรัสถามว่า นั่นอะไร.

ก้ามปู พะย่ะค่ะ. พระราชาทั้งหลายตรัสว่า ก้ามปูนี้ ไม่อาจนำไปเป็น

เครื่องประดับได้ พวกเราจักให้หุ้มก้ามปูนี้ทำกลอง รับสั่งให้หุ้มแล้ว

ทรงตี. เสียง (กลอง) ดังไปทั่วพระนคร ๑๒ โยชน์. ต่อแต่นั้น

พระราชาทั้งหลายตรัสว่า ไม่อาจประโคมกลองนี้ประจำวัน จงเป็นมงคล-

เภรีสำหรับวันมหรสพเถิด จึงให้ทำเป็นมงคลเภรี. เมื่อประโคมกลองนั้น

ประชาชนไม่ทันอาบน้ำ ไม่ทันแต่งตัว รีบขึ้นยานช้างเป็นต้นไปประชุม.

กลองนั้นได้ชื่อว่า อานกะ เพราะเหมือนเรียกประชาชนมา ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า อญฺ อาณึ โอทหึสุ ความว่า ตอกลิ่มอื่นที่สำเร็จด้วย

ทองและเงินเป็นต้น. บทว่า อาณิสงฺฆาโตว อวสิสฺสติ ความว่า

เพียงการตอกลิ่มที่สำเร็จด้วยทองเป็นต้นเท่านั้นได้เหลืออยู่. ลำดับนั้น

เสียงของกลองนั้นดังไปประมาณ ๑๒ โยชน์ แม้อยู่ภายในม่านก็ยากที่จะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 741

ได้ยิน.

บทว่า คมฺภีรา ความว่า ว่าโดยบาลีพระสูตรทั้งหลายที่ลึก เช่น

สัลลสูตร. บทว่า คมฺภีรตฺถา ความว่า ว่าด้วยอรรถ พระสูตรทั้งหลาย

ที่ลึก เช่นมหาเวทัลลสูตร. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่แสดงอรรถอันเป็น

โลกุตตระ. บทว่า สุญฺตปฏิสญฺญุตฺตา ความว่า เหมือนประกอบ

ข้อความที่ประกาศเพียงสุญญตธรรมเท่านั้น. บทว่า อุคฺคเหตพฺพ

ปริยาปุณิตพฺพ ความว่า ที่ควรเล่าเรียนและควรศึกษา. บทว่า กวิกตา

ความว่า อันกวี คือนักปราชญ์รจนาไว้. นอกนั้นเป็นไวพจน์ของบทว่า

กวิกตา นั่นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา ได้แก่ มีอักษรวิจิตร. นอกนั้นเป็น

ไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั่นเอง. บทว่า พาหิรกา ได้แก่ มีภาย

นอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ความว่า พระสูตรเหล่านั้นเป็น

สาวกภาษิต. บทว่า สุสฺสุสิสฺสนฺติ ความว่า สามเณร ภิกษุหนุ่ม

มาตุคาม และมหาคหบดีเป็นต้น มีความพอใจ เพราะพระสูตรเหล่านั้นมี

อักษรวิจิตรและสมบูรณ์ด้วยการฟัง จักเป็นผู้ปรารถนาประชุมฟังด้วยคิด

ว่า ผู้นี้เป็นธรรมกถึก. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุนั้น พระสูตร

ทั้งหลายที่เป็นตถาคตภาษิต เมื่อพวกเราไม่ศึกษา ย่อมอันตรธานไป.

จบอรรถกถาอาณีสูตรที่ ๗

๘. กลิงครสูตร

ว่าด้วยหมอนท่อนไม้หนุนศีรษะและเท้า

[๖๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 742

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้ทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.

[๖๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ปัจจุบัน พวกกษัตริย์ลิจฉวีผู้ทรงไว้ซึ่งหมอนท่อนไม้หนุนศีรษะะและเท้า

ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรในการฝึกซ้อมศิลปะ พระเจ้าอชาตสัตรู

เวเทหิบุตร พระเจ้าแผ่นดินมคธ ย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้โอกาส แต่

กษัตริลิจฉวีเหล่านั้น ในอนาคตกาล พวกกษัตริย์ลิจฉวีจักเป็นกษัตริย์

สุขุมาลชาติ มีมือและเท้าอันอ่อนนุ่ม จักสำเร็จการนอนบนที่นอน มี

ฟูกและหมอนหนาอันอ่อนนุ่ม จนกว่าพระอาทิตย์ขึ้น พระเจ้าอชาตสัตรู

เวเทหิบุตร พระเจ้าแผ่นดินมคธ จักได้ช่อง ได้โอกาส แต่กษัตริย์

ลิจฉวีเหล่านั้น.

[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบัน พวกภิกษุผู้เข้าไปทรง

ไว้ซึ่งหมอนท่อนไม้หนุนศีรษะและเท้า ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร ในการเริ่มตั้งความเพียรอยู่ มารผู้มีบาปย่อมไม่ได้ช่อง ย่อมไม่ได้

โอกาส แต่ภิกษุเหล่านั้น ในอนาคตกาล พวกภิกษุจักเป็นสุขุมาลชาติ

มีมือเท้าอันอ่อนนุ่ม จักสำเร็จการนอนบนที่นอนมีฟูกและหมอนหนาอัน

อ่อนนุ่ม จนกว่าพระอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาป ย่อมได้ช่อง ได้โอกาส

แก่พวกเธอเหล่านั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งหมอนท่อนไม้หนุนศีรษะและเท้า ไม่ประมาท มี

ความเพียร ในการเริ่มตั้งความเพียรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบกลิงครสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 743

อรรถกถากลิงครสูตรที่ ๘

ในกลิงครสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กลิงฺครูปธานา ได้แก่ กระทำท่อนไม้ คือท่อนไม่ตะเคียน

เป็นหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้า. บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่ ไม่

ประมาทในการเรียนศิลปะ. บทว่า อาตาปิโน ได้แก่ เริ่มประกอบความ

เพียรคือความหมั่นอันเป็นเหตุทำกิเลสให้เร่าร้อน. บทว่า อุปาสนสฺมึ

ได้แก่ ในการเริ่มประกอบศิลปะและในการเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์. ได้ยินว่า

ในกาลนั้น พวกเขาลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ไปโรงศิลปะ เรียนศิลปะในโรงศิลปะ

นั้นแล้ว กระทำการประกอบความเพียรด้วยการเรียนและการสาธยาย

เป็นต้น ล้างหน้าแล้ว ไปดื่มข้าวยาคู ดื่มข้าวยาคูแล้วไปสู่โรงศิลปะอีก

กระทำการสาธยาย ไปกินอาหารเช้า กินอาหารเช้าเสร็จแล้ว คิดว่า ขอ

พวกเราอย่าได้หลับนานด้วยความประมาทเลย แล้วหนุนศีรษะและเท้าที่

ท่อนไม้ตะเคียน หลับไปหน่อยหนึ่งแล้วไปโรงศิลปะอีก เรียนสาธยายศิลปะ

และเวลาเย็นกระทำการสาธยายศิลปะ กลับไปเรือนบริโภคอาหารเย็น ปฐม-

ยามกระทำการสาธยาย เวลาเย็นนอนหนุนท่อนไม้เหมือนอย่างนั้นนั่นแล

เขาเหล่านั้น ไม่รู้ขณะ และมีปัญญาอ่อน ซึ่งท่านหมายเอากล่าวไว้ดังนี้.

บทว่า โอตาร แปลว่า ช่อง. บทว่า อารมฺมณ ได้แก่ ปัจจัย.

บทว่า ปธานสฺมึ ได้แก่ กระทำความเพียรในสถานที่สำหรับทำความเพียร.

ได้ยินว่า ในครั้งปฐมโพธิกาล ภิกษุทั้งหลาย กระทำภัตกิจเสร็จ

แล้วมนสิการพระกรรมฐาน เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังมนสิการอยู่นั้นแล

พระอาทิตย์ก็อัสดงคต. ภิกษุเหล่านั้น อาบน้ำแล้ว ลงจงกรมอีก จง-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 744

กรมตลอดปฐมยาม. แต่นั้นคิดว่า พวกเราอย่านอนหลับนาน นอนเพื่อ

บรรเทาความลำบากทางร่างกาย จึงนอนหนุนท่อนไม้. ก็ภิกษุเหล่านั้น

ลุกขึ้นในปัจฉิมยาม แล้วลงจงกรม. ท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้น จึง

กล่าวไว้ดังนี้ . ในรัชกาลแห่งพระเจ้าแผ่นดินถึง ๓ รัชกาล เกาะแม้นี้ก็

เป็นที่มีเสียงระฆังเป็นอันเดียวกัน ได้เป็นพื้นที่สำหรับบำเพ็ญเพียรอัน

เดียวกัน ระฆังที่เขาตีที่วิหารต่าง ๆ ก็ดังประสมไปที่ปิลิจฉิโกฏินคร

ระฆังที่เขาตีที่กัลยาณีวิหาร ก็ดังประสมไปที่นาคทวีป ภิกษุนี้จะถูกเขา

เหยียดนิ้วชี้ว่า ผู้นี้เป็นปุถุชน. ภิกษุทั้งหมดได้เป็นพระอรหันต์ในวัน

เดียวกัน. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่มารไม่ได้เครื่องหนุนคือ

ท่อนไม้เป็นอารมณ์.

จบอรรถกถากลิงครสูตรที่ ๘

๙. นาคสูตร

ว่าด้วยภิกษุใหม่เปรียบด้วยช้าง

[๖๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง

เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านมีอายุ

อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอถูกพวกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ จึง

กล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้า

๑. ม. ปิลิจฺฉิโกฏิย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 745

ไปหา ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้ ครั้งนั้นแล พวกภิกษุมากรูปด้วยกัน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้

มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอเมื่อถูกภิกษุว่ากล่าวอยู่ ได้กล่าว

อย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้าไปหา

ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้.

[๖๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง

เคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลายอาศัยสระ

เหล่านั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระน้ำแล้ว ถอนเหง้าและรากบัวขึ้นด้วยงวง

ล้างให้ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีเปือกตม ข้อนั้นย่อมเป็นไป

เพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงความ

ตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ สำเหนียก

ตามช้างใหญ่เหล่านั้นนั่นเทียว พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ถอนเหง้าและราก

บัวขึ้นด้วยงวง ไม่ล้างให้ดีจึงเคี้ยวกินทั้งเปือกตม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไป

เพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นย่อมเข้าถึง

ความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ.

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เถระในธรรมวินัยนี้ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน เวลาเช้า นุ่งผ้าถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม

เพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 746

ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น

ไม่พัวพัน มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น พวก

เธอย่อมไม่เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนพวก

ภิกษุใหม่ ผู้ตามสำเหนียกภิกษุผู้เถระเหล่านั้นนั่นเทียว เวลาเช้า นุ่งผ้า

ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรม

ในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ

พวกเธอกำหนัด หมกมุ่น พัวพ้น มักไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็น

เครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไปเพื่อวรรณะ

และเพื่อกำลังของพวกเธอ พวกเธอย่อมเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย

ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง

สลัดออกบริโภค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบนาคสูตรที่ ๙

อรรถกถานาคสูตรที่ ๙

ในนาคสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อติเวล ความว่า กาลที่ล่วงเวลาไป คือกาลที่ล่วงประมาณไป.

บทว่า กิมงฺค ปนาห ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เราจึงไม่เข้าไปหา. บทว่า

ภิสมูฬาล ได้แก่ เหง้า และรากน้อยใหญ่. บทว่า อพฺภุคฺคเหตฺวา ได้แก่

ถอนขึ้น. บทว่า ภิกจฺฉาปา ได้แก่ ลูกช้าง. ได้ยินว่า ลูกช้างเหล่านั้น

ร้องเหมือนเสียงช้างรุ่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าลูกช้าง. บทว่า

๑. ม. อพฺภุเหตฺวา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 747

ปสนฺนาการ กโรนฺติ ความว่า กระทำอาการอันผู้เลื่อมใสจะพึงทำ คือ

ถวายปัจจัย ๔. บทว่า ธมฺม ภาสนฺติ ความว่า เรียน ๑-๒ ชาดก

หรือพระสูตรแล้วแสดงธรรมด้วยเสียงอันไม่แตก. บทว่า ปสนฺนาการ

กโรนฺติ ความว่า เลื่อมใสในเทศนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วถวายปัจจัย

ของคฤหัสถ์. บทว่า เนว วณณาย โหติ น พลาย ความว่า

ไม่ใช่มีเพื่อสรรเสริญคุณ ไม่ใช่สรรเสริญญาณ และเมื่อคุณเสื่อมไป

วรรณะแห่งสรีระก็ดี กำลังแห่งสรีระก็ดี ย่อมเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่าไม่เป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังของสรีระ.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๙

๑๐. วิฬารสูตร

ว่าด้วยภิกษุเปรียบด้วยแมว

[๖๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง

เข้าไปเที่ยวในสกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มี

อายุ อย่าเข้าไปเที่ยวในสกุลกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุว่ากล่าวอยู่

ย่อมไม่พอใจ ลำดับนั้น ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปเที่ยวในสกุลเกิน

เวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าเข้าไปเที่ยว

ในสกุลเกินเวลาเลย ภิกษุนั้นถูกพวกภิกษุกล่าวอยู่ย่อมไม่พอใจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 748

[๖๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง

เคยมีมาแล้ว มีแมวได้ยืนคอยจับลูกหนูอยู่ในที่กองหยากเยื่อที่ทางระบาย

คูถโคในบ้าน ระหว่างที่ต่อเรือนสองหลัง ด้วยคิดว่า ลูกหนูจักไปหา

เหยื่อในที่ใด เราจักจับมันกินเสียในที่นั้น ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ลูกหนูได้ออกไปหาเหยื่อ แมวจับลูกหนูนั้นแล้วรีบกัดกลืนลงไป ลูกหนู

นั้นกัดทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อยของแมวนั้น แมวนั้นย่อมเข้าถึงความตาย

หรือทุกข์ปางตาย ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ.

[๖๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อ

บิณฑบาต มีกายวาจาและจิตอันไม่รักษาแล้ว มีสติไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว

มีอินทรีย์อันไม่สำรวมแล้ว เธอเห็นมาตุคามในบ้านหรือนิคมนั้น นุ่งห่ม

ผ้าลับ ๆ ล่อ ๆ ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคาม

นุ่งห่มผ้าลับ ๆ ล่อ ๆ เธอมีจิตอันราคะรบกวน ชื่อว่าย่อมเข้าถึงความ

ตายหรือทุกข์ปางตาย การที่เธอบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหีนเพศนั้น ชื่อ

ว่าเป็นความตายในอริยวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอต้องอาบัติ

เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การปรากฏแห่งการออกจากอาบัติตามที่ต้อง

นั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์ปางตายทีเดียว เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีกายวาจาและจิตอันรักษาแล้ว มีสติเข้าไปตั้งไว้

แล้ว มีอินทรีย์อันรวมแล้ว เข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

จบวิฬารสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 749

อรรถกถาวิฬารสูตรที่ ๑๐

ในวิฬารสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺธิ ในคำว่า สนฺธิสมลสงฺกติเร ได้แก่ที่ต่อแห่งเรือน

ทั้งสอง. บทว่า สมลา ได้แก่ทางเป็นที่ออกของคูถ จากบ้าน. บทว่า

สงฺกติเร ได้แก่ที่ทิ้งหยากเยื่อ. บทว่า มุทุมูสึ ได้แก่หนูอ่อน. บทว่า

วุฏฺาน ปญฺายติ ได้แก่การแสดงย่อมปรากฏ.

๑๑. ปฐมสิคาลสูตร

ว่าด้วยเรื่องสุนัขจิ้งจอก

[๖๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องพระสุนัขจิ้งจอกผู้อยู่ใน

ปัจจุสสมัยแห่งราตรีแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ฟังมาแล้ว พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกแก่นี้แล เป็นโรคเรื้อน มัน

อยากจะไปทางไหนก็ไปทางนั้น อยากจะยืนที่ไหน ๆ ก็ยืนที่นั่น อยาก

จะนั่งที่ไหนก็นั่งที่นั่น อยากจะนอกที่ไหนก็นอนที่นั่น ลมเย็น ๆ ย่อม

รำเพยให้มัน.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตร ได้เสวยการได้เฉพาะซึ่งอัตภาพแม้เห็นปานนี้

เป็นการดีนักหนา เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 750

จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แหละ.

จบปฐมสิคาลสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาปฐมสิคาลสูตรที่ ๑๑

ในปฐมสิคาลสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า เยน เยน อิจฺฉติ ท่านแสดงว่าสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น

ย่อมมีใจแจ่มใสเป็นระยะ ๆ ด้วยการใช้อิริยาบถ และด้วยลมเย็นโชยชาย

ให้มันในที่ที่มันปรารถนา. คำว่า สกฺยปุตฺติยปฏิญฺโ นี้ ท่านกล่าว

หมายถึงพระเทวทัต พระเทวทัตนั้นจักมีใจแจ่มใสถึงเพียงนี้ ในอัตภาพ

ที่จักมาข้างหน้า.

จบอรรถกถาปฐมสิคาลสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทุติยสิคาลสูตร

ว่าด้วยเรื่องสุนัขจิ้งจอก

[๖๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอได้ฟังเรื่องของสุนัขจิ้งจอกผู้อยู่ในปัจจุสสมัย

แห่งราตรีแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวทีบาง

อย่าง พึงมีในสุนัขจิ้งจอกแก่นั้น แต่ความกตัญญูบางอย่าง ความกตเวที

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 751

บางอย่าง ไม่พึงมีในภิกษุบางรูป ผู้ปฏิญาณว่าเป็นศากยบุตรในธรรม

วินัยนี้เลย เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็น

ผู้กตัญญู เราจักเป็นผู้กตเวที อุปการะแม้น้อยที่บุคคลกระทำแล้วในพวก

เรา จักไม่เสื่อมหายไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แหละ.

จบทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กูฏาคารสูตร ๒. นขสิขสูตร ๓. กุลสูตร

๔. โอกขาสูตร ๕. สัตติสูตร ๖. ธนุคคหสูตร

๗. อาณีสูตร ๘. กลิงครสูตร ๙. นาคสูตร

๑๐. วิฬารสูตร ๑๑. ปฐมสิคาลสูตร ๑๒.ทุติยสัคาบสูตร.

จบโอปัมมสังยุตที่ ๘

อรรถกถาทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒

ในสิคารสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กตญฺญุตา ได้แก่รู้คุณที่ผู้อื่นทำ. บทว่า กตเวทิตา ได้แก่

รู้คุณที่ต่างจากคุณที่เขาทำ (ตอบแทน) ในข้อนั้นมีเรื่องสุนัขจิ้งจอกแก่มี

ความกตัญญู ดังต่อไปนี้.

เล่ากันมาว่า พี่น้อง ๗ คนไถนาอยู่ บรรดาพี่น้องเหล่านั้น น้อง

ชายคนสุดท้องไปเลี้ยงโคที่ปลายนา. ขณะนั้นงูเหลือมรัดสุนัขจิ้งจอกแก่

ตัวหนึ่ง. เขาเห็นดังนั้นจึงเอาไม้ตีให้งูปล่อย. งูเหลือมปล่อยสุนัขจิ้งจอก

แล้วรัดเขาทันที สุนัขจิ้งจอกคิดว่า ผู้นี้ช่วยชีวิตเรา แม้เราก็จักช่วยชีวิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 752

ผู้นี้ จึงคาบมีดที่วางอยู่บนหม้อข้าวยาคู. ได้ไปหาเขา. พวกพี่ ๆ กำลัง

ไถนาอยู่ เห็นเข้าจึงติดตาม ด้วยคิดว่า สุนัขจิ้งจอกลักมีด. สุนัขจิ้งจอกรู้ว่า

พวกพี่ ๆ เหล่านั้นเห็นแล้ว จึงทิ้งมีดไว้ใกล้ ๆ น้องคนสุดท้องแล้วหนี

ไป. พวกพี่ ๆ มาเห็นน้องชายถูกงูเหลือมรัดจึงเอามีดฟันงูเหลือมแล้วได้

พาน้องชายไป. ความกตัญญูกตเวทีบางอย่างพึงมีในสุนัขจิ้งจอกแก่ ด้วย

ประการฉะนี้.

แม้คำว่า สกฺยปุตฺติยปฏิญฺเ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาความประพฤติ

ของพระเทวทัตเท่านั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยสิคาลสูตรที่ ๑๒

จบโอปัมมสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 753

๙. ภิกขุสังยุต

๑. โกลิตสูตร

ว่าด้วยดุษณีภาพอันประเสริฐ

[๖๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

ได้รับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.

[๖๘๗] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับ

อย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ

ดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความ

ดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะระงับวิตกและ

วิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องไสแห่งใจในภายใน เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียก

ว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะ

ระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจใน

ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่

สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันเกิด

ร่วมกับวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 754

มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยฤทธิ์ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โมค-

คัลลานะ ๆ ผู้เป็นพราหมณ์อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจง

รวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงการทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด

ขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ

สมัยต่อมา เรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็น

ความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคล

ใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้

อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า

สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความร้อนยิ่งใหญ่แล้ว

ดังนี้.

จบโกลิสูตรที่ ๑

ภิกขุสังยุต

อรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๑

ภิกขุสังยุต โกลิตสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาวุโส เป็นคำเรียกพระสาวก. จริงอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคผู้พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสเรียกพระสาวก ย่อมตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว

ฝ่ายพระสาวกทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราอย่าเป็นเหมือนพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ทีแรกกล่าวว่า อาวุโส ภายหลังกล่าวว่า ภิกฺขเว. ภิกษุ

สงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียก ย่อมตอบสนองพระดำรัสว่า ภนฺเต.

ภิกษุสงฆ์ที่พระสาวกทั้งหลายเรียก ย่อมตอบว่า อาวุโส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 755

ในคำว่า อย วุจฺจติ นี้ ประกอบความดังนี้ เพราะวิตกวิจารใน

ทุติยฌานดับ สฬายตนะย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ทุติยฌานนี้นั้น ท่านจึง

เรียกว่า อริโย ตุณฺหีภาโว การนิ่งอย่างอริยะ แต่ในคำว่า ธรรมีกถา

หรือดุษณีภาพอันประเสริฐนี้ การมนสิการกัมมัฏฐานก็ดี ปฐมฌานเป็น

ต้นก็ดี นับว่าเป็นดุษณียภาพอันประเสริฐทั้งนั้น.

บทว่า วิตกฺกสหคตา ได้แก่มีวิตกเป็นอารมณ์. บทว่า สญฺา

มนสิการา ได้แก่สัญญาและมนสิการ. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ย่อม

เป็นไป. ได้ยินว่า ทุติยฌานของพระเถระยังไม่ช่ำชอง เมื่อเป็นเช่นนั้น

พอท่านออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว วิตกวิจารไม่ตั้งขึ้นโดยที่สงบไป.

ทุติยฌานก็ดี สัญญาและมนสิการก็ดีของพระเถระนั้น ได้เป็นไปในส่วน

แห่งความเสื่อมทั้งนั้น. เมื่อจะทรงแสดงทุติยฌานนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า สณฺเปหิ ได้แก่ตั้งอยู่โดยชอบ. บทว่า เอโกทิภาว กโรหิ

ได้แก่กระทำให้มีอารมณ์เดียว. บทว่า สมาทห ได้แก่ยกขึ้นตั้งไว้โดย

ชอบ. บทว่า มหาภิญฺตฺต ได้แก่อภิญญา ๖.

ได้ยินว่า พระศาสดาทรงขยายสมาธิที่เป็นไปในส่วนแห่งความ

เสื่อมของพระเถระตลอด ๗ วัน โดยอุบายนี้ ให้พระเถระบรรลุอภิญญา ๖.

จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๑

๒. อุปติสสสูตร

ว่าด้วยโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

[๖๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระ-

สารีบุตรแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 756

[๖๘๙] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เราผู้เร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า โสกปริ-

เทวทุกขโทมนัสและอุปายาสพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรปรวน

เป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้น ยังมี

อยู่ในโลกหรือ เราได้มีความดำริว่า โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส

ไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือ

สังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้น ไม่มีอยู่ในโลกเลย.

[๖๙๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ โสกปริ-

เทวทุกขโทมนัสและอุปายาสไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปร

ปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแลหรือ พระสารีบุตรกล่าวว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสไม่พึงบังเกิดขึ้น

แก่เรา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแล อนึ่ง

ผมดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสัตว์ผู้มีศักดาใหญ่ มีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข

แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ความจริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ

มมังการ และมานานุสัยได้นานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกปริเทวทุกข-

โทมนัสและอุปายาสทั้งหลาย จึงไม่บังเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะ

ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแล ด้วยประการดังนี้.

จบอุปติสสสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 757

อรรถกถาอุปติสสสูตรที่ ๒

ในอุปติสสสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า อตฺถิ นุ โข ต กิญฺจิ โลกสฺมึ นี้ ท่านกล่าวหมาย

เอาสัตว์หรือสังขารที่ยิ่งใหญ่. คำว่า สตฺถุปิ โข เต นี้ ท่านพระ-

อานนท์ถามเพื่อจะทราบว่า ความโศกเป็นต้นไม่พึงเกิดขึ้นแก่พระเถระนี้

แม้เพราะความแปรปรวนแห่งพระศาสดาหรือหนอแล เพราะพระอานนท์

เถระมีความพอใจและความรักในพระศาสดาเหลือประมาณ. คำว่า

ทีฆรตฺต ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่ล่วงไปตั้งแต่วันที่ทรงแสดงเวทนา-

ปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ที่ประตูถ้ำสุกรขาตา. ก็ในวันนั้น พระ-

เถระถอนกิเลสที่ไปตามวัฏฏะเหล่านี้ได้แล้วแล.

จบอรรถกถาอุปติสสสูตรที่ ๒

๓. ฆฏสูตร

ว่าด้วยเรื่องหม้อเกลือใหญ่

[๖๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร

และท่านพระมหาโมลคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทก-

นิวาปสถาน ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้า

ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 758

จึงนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๙๒] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน

พระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก

ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ชะรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะจะอยู่

ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหาร-

ธรรมอันหยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา.

สา. ท่านนหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร.

ม. ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคเจ้า.

สา. เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหา

โมคคัลลานะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จมาหาท่านมหาโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์.

ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ไม่ได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพย-

โสตธาตุอันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง

มีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม.

สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคเจ้า

อย่างไร.

[๖๙๓] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นี้ดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียร ๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 759

ชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะผม

ดังนี้ว่า โมคคัลลานะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร

ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที

เลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย

เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ

ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่ โมคคัลลานะ

ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถากับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล.

[๖๙๔] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็ก ๆ ที่บุคคลเอา

ไปวางเปรียบเทียบกับเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบกับท่าน

มหาโมคคัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะ

เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล.

[๖๙๕] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็ก ๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวาง

เปรียบเทียบกับหม้อเกลือใหญ่ฉันใด เมื่อผมเปรียบเทียบท่านพระสารีบุตร

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรงยกย่องแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า

ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ

คือพระสารีบุตร ดังนี้.

ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของ

กันและกัน ด้วยประการดังนี้แล.

จบฆฏสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 760

อรรถกถาฆฏสูตรที่ ๓

ในฆฏสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอกวิหาเร ได้แก่ ในห้องหนึ่ง. ได้ยินว่า ครั้งนั้นภิกษุ

อาคันตุกะประชุมกันเป็นอันมาก. เพราะฉะนั้น เสนาสนะแถวชายบริเวณ

หรือชายวิหารไม่เพียงพอ พระเถระสองรูปต้องอยู่ห้องเดียวถัน พระเถระ

เหล่านั้น กลางวันนั่งแยกกัน แต่กลางคืนกั้นม่านไว้ในระหว่างพระเถระ

ทั้งสอง พระเถระเหล่านั้นนั่งในที่ที่ถึงแก่ตนเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เอกวิหาเร. คำว่า โอฬาริเกน ท่านกล่าวหมายเอาความมี

อารมณ์หยาบ. ด้วยว่า พระเถระนั่น อยู่ด้วยวิหารธรรมคือทิพยจักษุและ

ทิพยโสต. จริงอยู่ รูปายตนะและสัททายตนะที่พระเถระทั้งสองนั้นฟัง

แล้ว เป็นอารมณ์หยาบ. วิหารธรรมนั้นชื่อว่าหยาบ เพราะเห็นรูปด้วย

ทิพยจักษุ และฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ. บทว่า ทิพฺพจกฺขุ วิสุชฺฌิ

ความว่า ทิพยจักษุได้บริสุทธิ์โดยที่ได้เห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า. บทว่า ทิพฺพา จ โสตธาตุ ความว่า ทิพยโสตธาตุแม้นั้นชื่อว่า

บริสุทธิ์โดยที่ได้ฟังพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทิพยจักษุและ

ทิพยโสตทั้งสองแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็บริสุทธิ์ โดยที่ได้ทอดพระ

เนตรเห็นรูปและทรงสดับเสียงของพระเถระ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระ-

เถระคิดว่า บัดนี้ พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหนหนอ จึงเจริญอาโลกกสิณ

เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ในพระเชตวันวิหาร ด้วย

ทิพยจักษุ ได้ฟังพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยทิพยโสตธาตุ.

แม้พระศาสดาก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พระศาสดาและพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 761

เถระได้เห็นและได้ฟังเสียงกันและกัน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ มีความเพียรบริบูรณ์ คือประคอง

ความเพียรไว้แล้ว. บทว่า ยาวเทว อุปนิกฺเจปนมตฺตาย ความว่า

ก้อนหินขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่วางไว้ใกล้ภูเขาหิมวันต์ซึ่งกว้างสาม

พันโยชน์. ท่านอธิบายว่า ก้อนหินมีไว้เพียงเพื่อจะเทียบเคียงอย่างนี้ว่า

ภูเขาหินวันต์ใหญ่หนอ ก้อนหินเท่านี้หนอ. แม้ข้างหน้าก็นัยนี้แหละ.

บทว่า กปฺป ได้แก่ ตลอดอายุกัป. ด้วยบทว่า โลณฆฏาย ท่าน

แสดงเปรียบเหมือนหม้อเกลือที่วางไว้กว้างเท่าขอบปากจักรวาลสูงจด

พรหมโลก. ก็พระเถระเหล่านั้น เมื่อนำอุปมา มาเปรียบเทียบกับ

สิ่งที่เห็นกัน และกับคุณที่มีอยู่. อย่างไร. จริงอยู่ ธรรมดาว่า

ฤทธิ์นี้เป็นเสมือนภูเขาหิมพานต์ เพราะอรรถว่า สูงลิบ และเพราะอรรถ

ว่า ขนาดใหญ่ ส่วนปัญญาเป็นเสมือนรสเกลือที่ใส่เข้าไว้ในกับข้าวทุกชนิด

เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ นำมาเปรียบเทียบ

ด้วยอรรถว่า เห็นสมกัน อย่างนี้ก่อน. ส่วนลักษณะแห่งสมาธิ ปรากฏแจ่ม

ชัดแก่พระมหาโมคคัลลานเถระ. ชื่อว่าฤทธิ์ที่ไม่มีอยู่ ย่อมไม่มีแก่พระสารี-

บุตรเถระก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตั้งพระมหา-

โมลคัลลานเถระนี้แลไว้ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวก

ของเราผู้มีฤทธิ์ มหาโมคคัลลานะเป็นเลิศ. ส่วนลักษณะวิปัสสนา ปรากฏ

แจ่มชัดแก่พระสารีบุตรเถระ. ปัญญามีอยู่แม้แก่พระมหาโมคคัลลานเถระ

ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตั้งพระสารีบุตรเถระนี้แล

ไว้ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก

สารีบุตรเป็นเลิศ. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งสองจึงรับหน้าที่แห่งกันและกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 762

นำมาเปรียบเทียบกับคุณที่มีอยู่ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ พระมหาโมค-

คัลลานเถระ บรรลุความสำเร็จในสมาธิลักษณะ พระสารีบุตรเถระ

บรรลุในวิปัสสนาลักษณะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุทั้งสองลักษณะ.

จบอรรถกถาฆฏสูตรที่ ๓

๔. นวสูตร

ว่าด้วยเรื่องภิกษุใหม่

[๖๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมายอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ สมัยนั้นแล ภิกษุใหม่

รูปหนึ่งเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น

ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลาทำจีวร

ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๙๗] ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว. ได้กราบทูลพระผู้-

มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระ

ธรรมวินัยนี้เดินกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตเข้าไปสู่วิหารแล้ว เป็น

ผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ย่อมไม่ช่วยเหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำ

จีวร ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกรูปหนึ่งมาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุนั้นตามคำของเราว่า พระศาสดาให้หา

ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น ครั้นแล้วได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 763

กล่าวกะเธอว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่าน เธอรับคำของภิกษุนั้นแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะเธอว่า จริงหรืออภิกษุ ได้ยินว่า เธอเดินกลับจากบิณฑบาตในเวลา

ปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหารแล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ ไม่ช่วย

เหลือภิกษุทั้งหลายในเวลากระทำจีวร.

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็กระทำ

กิจส่วนตัวเหมือนกัน.

[๖๙๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความ

ปริวิตกแห่งจิตของภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ายกโทษภิกษุนี้เลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีปรกติได้ฌาน

๔ อันเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน อันอาศัยอธิจิต ตามความปรารถนา

ไม่ยาก ไม่ลำบาก กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

บุคคลปรารภความเพียรอันย่อหย่อน ปรารภความ

เพียรด้วยกำลังน้อย ไม่พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็น

เครื่องปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวงได้ แต่ภิกษุหนุ่มรูปนี้

เป็นอุดมบุรุษ ชำนะมารทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรง

ไว้ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้.

จบนวสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 764

อรรถกถานวสูตรที่ ๔

ในนวสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ ไม่มีความขวนขวาย. บทว่า สงฺกตายติ

ได้แก่ อยู่. บทว่า เวยฺยาวจฺจ ได้แก่ กิจที่จะพึงทำในจีวร. บทว่า

อภิเจตสิกาน ได้แก่ อาศัยอภิจิต คือจิตสูงสุด. บทว่า นิกามลาภี

ได้แก่ เป็นผู้ได้ตามปรารถนา เพราะเป็นผู้สามารถเข้าสมาบัติในขณะที่

ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี ได้แก่ เป็นผู้ได้ไม่ยาก เพราะเป็น

ผู้สามารถข่มอันตรายของฌานเข้าสมาบัติได้โดยง่าย. บทว่า อกสิรลาภี

ได้แก่ เป็นผู้ได้อย่างไพบูลย์ . เพราะเป็นผู้สามารถออกได้ตามกำหนด

อธิบายว่า มีฌานคล่องแคล่ว. บทว่า สิถิลมารพฺภ ได้แก่ ใช้

ความเพียรย่อหย่อน.

จบอรรถกถานวสูตรที่ ๓

๕. สุชาตสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต

[๗๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสุชาต

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ.

[๗๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุชาตมา

๑. ม. สงฺกสายติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 765

แต่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ

๒ อย่าง คือมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงาม

ยิ่งนัก และกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร

ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย

ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๗๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ภิกษุนี้ย่อมงามด้วยใจอันซื่อตรงหนอ เป็นผู้หลุดพ้น

เป็นผู้พราก เป็นผู้ดับ เพราะไม่ถือมั่น ชำนะมาร

พร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีใน

ที่สุด ดังนี้.

จบสุชาตสูตรที่ ๕

อรรถกถาสุชาตสูตรที่ ๕

ในสุชาตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิรูโป ได้แก่ มีรูปงามล้ำรูปอื่น ๆ. บทว่า ทสฺสนีโย

ได้แก่ ควรทัศนา. บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ สามารถที่จะให้ใจแจ่มใสใน

การดู. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม.

จบอรรถกถาสุชาตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 766

๖. ภัททิยสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ

[๗๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระ-

ลกุณฏกภัททิยะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

[๗๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ-

ลกุณฏกภัททิยะมาแต่ที่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ ซึ่งภิกษุกำลังมาอยู่โน่น มีวรรณะไม่งาม

ไม่น่าดู เตี้ย เป็นที่ดูแคลนของภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่นแล มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

อนึ่ง สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้า เธอก็ได้โดยง่าย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุด

แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๗๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลาย จำพวกหงส์ นกกะเรียน นกยูง ช้าง

เนื้อฟาน ทั้งหมด ย่อมกลัวราชสีห์ ความเสมอกัน

ในกายไม่มี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 767

เหมือนกัน ถ้าคนหนุ่มมีปัญญา เขาก็ย่อมใหญ่ใน

มนุษย์เหล่านั้น ไม่เหมือนคนพาล ซึ่งถือร่างกาย

เป็นใหญ่ ดังนี้.

จบภัททิยสูตรที่ ๖

อรรถกถาภัททิยสูตรที่ ๖

ในภัททิยสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุพฺพณฺณ ได้แก่มีผิวกายไม่งาม. บทว่า โอโกฏิมก

ได้แก่ เตี้ย. บทว่า ปริภูตรูป ได้แก่ ถูกดูแคลนเรื่องขนาด. ได้ยินว่า

พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรามาสท่านลกุณฏกภัททิยะว่า ท่านภัททิยะ ท่าน

ภัททิยะ หยอดล้อแบบต่าง ๆ ฉุดมาบ้าง รั้นไปรอบ ๆ บ้าง ในที่นั้น ๆ

เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริภูตรูป ดังนี้.

ก็เพราะเหตุไร ท่านลกุณฏกภัททิยะจึงมีรูปอย่างนี้. เล่ากันมาว่า

ท่านลกุณฏกภัททิยะนี้ เคยเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง พระองค์ทรง

รังเกียจพวกคนแก่และหญิงแก่ ๆ ถ้าพระองค์เห็นคนแก่ ๆ ให้เกล้ามวย

ผมของคนเหล่านั้น ให้ผูกรักแร้ แล้วให้เล่นตามชอบใจ แม้เห็นหญิงแก่ ๆ

ก็ทำพิเรน ๆ ตามปรารถนาแก่หญิงเหล่านั้น ให้เล่นตามชอบใจ โทษใหญ่

ย่อมเกิดขึ้นในสำนักแห่งบุตรและธิดาเป็นต้นของคนเหล่านั้น การกระทำ

ความชั่วของท่าน ได้กระทำให้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวตั้งแต่แผ่นดินจด

ถึงเทวโลก ๖ ชั้น.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะมีพระดำริว่า คนอันธพาลเบียดเบียนมหาชน

เราจักข่มเขา. ท้าวสักกะจึงแปลงเพศเป็นคนแก่ชาวบ้าน ยกตุ่มเต็มด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 768

เปรียงตุ่มหนึ่งไว้บนยานน้อย ขันยานเข้าพระนคร. ฝ่ายพระราชาทรงช้าง

เสด็จออกจากพระนคร ทอดพระเนตรเห็นเขา ตรัสว่า คนแก่นี้มุ่ง

หน้ามาหาเราด้วยยานน้อยเต็มด้วยเปรียง ห้ามเขาไว้ ห้ามเขาไว้. พวกมนุษย์

วิ่งหาข้างโน้นข้างนี้ก็ไม่เห็น. เพราะท้าวสักกะทรงอธิษฐานไว้อย่างนี้ว่า

พระราชาเท่านั้นจงเห็นเรา คนอื่นอย่าได้เห็น. ลำดับนั้น เมื่อมนุษย์

เหล่านั้น กราบทูลว่า ที่ไหนพระองค์ ที่ไหนพระองค์ เท่านั้น พระราชา

พร้อมทั้งช้างเสด็จเข้าไปใต้ยาน เหมือนลูกโคอยู่ใต้แม่โคฉะนั้น. ท้าวสักกะ

ก็ทรงทุบตุ่มเปรียงแตกออก ตั้งแต่นั้น พระราชามีพระวรกายเปรอะเปื้อน

ไปด้วยเปรียง ท้าวเธอให้ขัดสีพระวรกาย สรงสนานในสระโบกขรณีในสวน

ตกแต่งพระวรกายเสด็จเข้าพระนคร ได้ทอดพระเนตรเห็นเขาอีก ครั้น

ทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงตรัสว่า คนแก่ที่เราเห็นนี้นั้นปรากฏอีก จง

ห้ามเขา จงห้ามเขา. พวกมนุษย์กราบทูลว่า ที่ไหนพระองค์ ที่ไหน

พระองค์ เที่ยววิ่งพล่านไปมา. พระองค์ประสบอาการผิดปกติอีกครั้ง

ขณะนั้น ท้าวสักกะให้โคและยานหายไป ประทับยืนในอากาศตรัสว่า คน

อันธพาล ท่านสำคัญเราว่า ผู้นี้เป็นพ่อค้าเปรียง เราคือท้าวสักกเทวราช

มาเพื่อจะห้ามการทำชั่วของท่านนั้น ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้ต่อไป ทรงคุก

คามแล้วเสด็จไป. ด้วยกรรมอันนี้ ท่านจึงมีผิวพรรณทราม.

ก็ในครั้งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านลกุณฏกภัททิยะนี้

เป็นนกดุเหว่าชื่อจิตตปัตต์ อยู่ที่มิคทายวันอันปลอดภัย วันหนึ่งบินไปป่า

หิมวันต์ เอาจะงอยปากคาบมะม่วงหวานบินมา เห็นพระศาสดามีภิกษุ

สงฆ์แวดล้อมจึงคิดว่า วันอื่น ๆ เราไม่มีอะไร เห็นพระศาสดา แต่วันนี้

เรามีผลมะม่วงสุกนี้ เราจักถวายผลมะม่วงแด่พระทศพล ดังนี้ บินร่อนอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 769

ในอากาศ พระศาสดาทรงทราบจิตของนกดุเหว่า ทอดพระเนตรดู

อุปัฏฐาก. อุปัฏฐากนำบาตรออกวางไว้ในพระหัตถ์ของพระศาสดา. นก

ดุเหว่าวางมะม่วงสุกลงในบาตรของพระทศพล. พระศาสดาประทับนั่ง

เสวยมะม่วงสุกในที่ตรงนั้นเอง. นกดุเหว่ามีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงคุณ

พระทศพลร่ำไป ถวายบังคมพระทศพลแล้วบินไปสู่รังของตน ให้เวลา

ล่วงไปด้วยความสุขเกิดแต่ปีตินั่นเองตลอด ๗ วัน. ด้วยกรรมอันนี้ นก

ดุเหว่านั้นจึงมีเสียงไพเราะ.

ในครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเริ่มสร้างเจดีย์ พวก

ช่างปรึกษากันว่า เราจะทำขนาดไหน ขนาด ๗ โยชน์ นี้ใหญ่เกินไป

ขนาด ๖ โยชน์ แม้นี้ก็ใหญ่เกินไป ขนาด ๕ โยชน์ แม้นี้ก็ใหญ่เกินไป

ขนาด ๔ โยชน์ ๓ โยชน์ ๒ โยชน์ ดังนี้ ครั้งนั้น ท่านลกุณฏกภัททิยะ

นี้เป็นหัวหน้าช่าง กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ในอนาคตควรจะประดับ

ประคองความสุขไว้ ด้วยอาการอย่างนี้ถือเชือกวัดไปยืนในที่สุดคาวุตหนึ่ง

กล่าวว่า มุขหนึ่ง ๆ คาวุตหนึ่ง จักเป็นพระเจดีย์กลมโยชน์หนึ่ง สูง

โยชน์หนึ่ง. ช่างเหล่านั้นได้ทำตามคำหัวหน้าช่าง. ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน

จึงสร้างเจดีย์สำเร็จ. ท่านได้ทำประมาณของพระพุทธเจ้าผู้หาประมาณมิได้

ด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น ด้วยกรรมนั้น ท่านจึงเกิดเป็นคนเตี้ย.

บทว่า หตฺถิโย ปสฏมิคา ได้แก่ช้างและเนื้อฟาน. บทว่า

นตฺถิ กายสฺมึ ตุลยตา ความว่า ชื่อว่าขนาดในกายไม่มี อธิบายว่า

ขนาดกาย ไม่สำคัญ.

จบอรรถกถาภัททิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 770

๗. วิสาขสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระวิสาขปัญจาลบุตร

[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า

มหาวัน กรุงเวสาลี. สมัยนั้นแล ท่านพระวิสาขปัญจาลบุตร ยังภิกษุ

ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับเนื่องเข้าในวาจา

ที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ ในอุปัฏฐานศาลา.

[๗๐๗] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ออกจากที่เร้น เสด็จไปทางอุปัฏฐานศาลา ครั้นเสด็จถึงแล้วประทับบน

อาสนะที่แต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ใครหนอแลยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถา ประกอบด้วยวาจาไพเราะ สละสลวยปราศจากโทษ นับ

เนื่องเข้าในวาจาที่ให้เข้าใจเนื้อความ ไม่อิงอาศัยวัฏฏะ ในอุปัฏฐาน-

ศาลา.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระวิสาข-

ปัญจาลบุตร ฯลฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านวิสาขปัญจาลบุตรว่า

ดีแล้ว ดีแล้ว วิสาขะ เธอยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง... ด้วยธรรมีกถา

ฯลฯ ดีนักแล.

[๗๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 771

กรณภาษิตแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปนี้

ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้จักคนที่ไม่พูด ว่าเจือด้วยพาล

หรือเป็นบัณฑิต แต่ย่อมรู้จักคนที่พูด ผู้แสดงทาง

อมฤตอยู่ บุคคลพึงกล่าวธรรม พึงส่องธรรม พึง

ประคองธงชัยของฤาษี ฤาษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง

ธรรมนั่นเองเป็นธงชัยของพวกฤาษี ดังนี้.

จบวิสาขสูตรที่ ๗

อรรถกถาวิสาขสูตรที่ ๗

ในวิสาขสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โปริยา วาจาย ได้แก่ ด้วยวาจาที่ไพเราะ มีอักขระและบท

ไม่เสียหาย เสมือนวาจาของชาวเมือง คือมนุษย์ในเมือง. บทว่า

วิสฺสฏฺาย ได้แก่ ไม่ฉงน ไม่ยุ่งเหยิง ไม่พัวพัน อธิบายว่า อันดีและ

เสมหะไม่ทำลาย. บทว่า อเนลคฬาย ความว่า ไม่พูดด้วยวาจาที่เหมือน

วาจาของคนโง่ ๆ ใช้ปากที่กำลังกลืนเขฬะพูดกัน โดยที่แท้ พูดด้วย

วาจาปราศจากโทษ คือวาจาสละสลวย. บทว่า ปริยาปนฺนาย ได้แก่

วาจาที่นับเนื่องในสัจจะ ๔ คือวาจาที่พูดไม่พ้นสัจจะ ๔. บทว่า อนิสฺสิตาย

ได้แก่ วาจาที่ไม่กล่าวอิงวัฏฏะ. บทว่า ธมฺโม หิ อิสิน ธโช ความว่า

โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่าธงของฤาษีทั้งหลาย.

จบอรรถกถาวิสาขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 772

๘. นันทสูตร

ว่าด้วยเรื่องนันทะ

[๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

นัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้นนั้นแล ท่านพระนันทะ

ผู้เป็นบุตรของพระเจ้าแม่น้ำแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ห่มจีวรที่ทุบแล้ว

ทุบอีก หยอดนัยน์ตา ถือบาตรมีสีใส เข้าไปเฝ้าพระผู้พระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๑๐] ครั้นท่านพระนันทะนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนันทะ ข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอด

นัยน์ตา และถือบาตรมีสีใส ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็น

บรรพชิตด้วยศรัทธา ข้อที่เธอถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร

ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่พึงเป็นผู้อาลัยในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึง

สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา.

[๗๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เมื่อไร เราจะพึงได้เห็นนันทะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือ

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะ

ที่เจือปนกัน ไม่อาลัยในกามทั้งหลาย ดังนี้.

[๗๑๒] ลำดับนั้น ท่านพระนันทะ. โดยสมัยต่อมา ได้เป็นผู้

อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 773

อาลัยในกามทั้งหลายอยู่.

จบนันทสูตรที่ ๘

อรรถกถานันทสูตรที่ ๘

ในนันทสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาโกฏิตปจฺจาโกฏิตานิ ความว่า ที่ใช้ฝ่ามือหรือค้อนทุบ

ที่ข้าง ๆ หนึ่ง. บทว่า อญฺชิตฺวา ได้แก่ เต็มด้วยยาตา. บทว่า อจฺฉ

ปตฺต ได้แก่ บาตรดินที่มีสีใส.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระจึงทำอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะรู้

อัธยาศัยของพระศาสดา. ได้ยินว่า พระเถระนั้นได้ความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าพระศาสดาจักตรัสว่า น้องชายของเรานี้ งามจริงหนอ เราจักประ-

พฤติตามอาการนี้แล ถ้าจะเห็นโทษในข้อนี้ เราจะละอาการนี้ ถือเอาผ้า

จากกองหยากเยื่อ กระทำจีวรครอง จักอยู่ประพฤติในเสนาสนะสุดท้าย.

บทว่า อสฺสสิ แปลว่า จักเป็น. บทว่า อญฺาภุญฺเชน ความว่า

ก็อาหารการกินของพวกภิกษุผู้แสวงหาโภชนะที่มีกลิ่นหอม ปรุงด้วยเครื่อง

เผ็ดร้อน ในเรือนของอิสระชน ที่เขากำหนดไว้ ชื่อว่า อัญญาภุญชะ.

แต่โภชนะคละกัน ที่ภิกษุผู้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนตามลำดับเรือน ชื่อว่า

อัญญาภุญชะ อัญญาภุชะนี้ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า กาเมสุ

อนเปกฺขิน ได้แก่ปราศจากความเยื่อใย ในวัตถุกามและกิเลสกาม.

บทว่า อารญฺิโก จ ท่านกล่าวโดยการสมาทานทุกอย่างทีเดียว. คำว่า

กาเมสุ จ อนเปกฺโข ความว่า พระสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงนาง

อัปสรเป็นต้น ในเทวโลก เสด็จมาตรัสไว้ในภายหลัง. ตั้งแต่วันที่ตรัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 774

พระสูตรนี้ พระเถระเพียรพยายามอยู่โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ดำรงอยู่

ในพระอรหัต เป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

จบอรรถกถานันทสูตรที่ ๘

๙. ติสสสูตร

ว่าด้วยเรื่องท่านพระติสสะ

[๗๑๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระติสสะ

ผู้เป็นโอรสพระเจ้าอาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้ว นั่งเป็นทุกข์เสียใจ

หลั่งน้ำตาอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๑๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระติสสะ

ว่า ดูก่อนติสสะ ไฉนหนอ เธอจึงนั่งเป็นทุกข์เสียใจหลั่งน้ำตาอยู่.

ท่านพระติสสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลาย

กลุ้มรุมเสียดแทงข้าพระองค์ด้วยวาจาดุจประตัก.

พ. จริงอย่างนั้น ติสสะ เธอว่าเขาข้างเดียว แต่เธอไม่อดทนต่อ

ถ้อยคำ ข้อที่เธอว่าเขาข้างเดียว ไม่อดทนต่อถ้อยคำนั้น ไม่สมควรแก่

เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่ข้อที่เธอว่าเขาด้วย

อดทนต่อถ้อยคำได้ด้วย นั่นแล สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็น

บรรพชิตด้วยศรัทธา.

[๗๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 775

เธอโกรธทำไมหนอ เธออย่าโกรธ ติสสะ ความ

ไม่โกรธเป็นความประเสริฐของเธอ แท้จริง บุคคล

ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อกำจัดความโกระ ความ

ถือตัว และความลบหลู่คุณท่าน ดังนี้.

จบติสสสูตรที่ ๙

อรรถกถาติสสสูตรที่ ๙

ในติสสสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ เกิดในโทมนัส. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร

พระติสสะนี้จึงเกิดเป็นทุกข์เสียใจอย่างนี้. ตอบว่า ก็พระติสสะนี้เป็นกษัตริย์

บวช. เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ท่านบวชแล้ว ให้นุ่งผ้าสาฎก ๒ ชั้น

ห่มจีวรอย่างดี หยอดตา ทาศีรษะด้วยน้ำมันเจือด้วยน้ำชาด. เมื่อเหล่า

ภิกษุไปสู่ที่พักกลางคืนและกลางวัน ท่านไม่รู้ว่า ธรรมดาว่าภิกษุต้องนั่ง

ในโอกาสอันสงัด จึงไปโรงฉันขึ้นเตียงใหญ่แล้วนั่ง. ภิกษุทั้งหลายผู้ถือ

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ผู้เที่ยวไปในทิศเป็นอาคันตุกะมา คิดว่า ด้วยทำนองนี้

พวกเรามีตัวเปรอะเปื้อนไปด้วยธุลี ไม่อาจจะเฝ้าพระทศพลได้ เราจะวาง

สิ่งของไว้ก่อน ดังนี้แล้วก็ไปโรงฉัน. เมื่อพระมหาเถระกำลังมา ท่าน

ติสสะนั่งนิ่งทีเดียว. ภิกษุเหล่าอื่นถามโดยเอื้อเฟื้อ [ขอโอกาส] ว่า

พวกเราจะทำวัตรคือการล้างเท้า พัดด้วยก้านตาลนะ ก็พระติสสะนี้นั่งอยู่

นั่นแล ถามว่า พวกท่านมีพรรษาเท่าไร. เมื่อพวกภิกษุนั้นตอบว่า

พวกกระผมยังไม่มีพรรษา ก็ท่านเล่ามีพรรษาเท่าไร จึงกล่าวว่า ผมบวช

ในวันนี้. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวก็ท่านว่า อาวุโส ท่านจงตัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 776

มวยผมเดี๋ยวนี้ แม้วันนี้กลิ่นเหาที่โคนศีรษะของท่านส่งกลิ่นฟุ้งทีเดียว

เมื่อภิกษุแก่ว่ามีประมาณเท่านี้ ขอโอกาสทำวัตรของเรา ท่านก็นั่งนิ่ง

เงียบ แม้เพียงความยำเกรงของท่านก็ไม่มี ท่านบวชในศาสนาของใคร

ดังนี้แล้ว รุมกันประหารพระติสสะนั้นด้วยหอกคือวาจา กล่าวว่า ท่าน

ไม่อาจเลี้ยงชีพได้เพราะเป็นหนี้ หรือกลัวจึงบวช หรือท่านแลดูพระเถระ

รูปหนึ่ง เมื่อพระเถระนั้นกล่าวว่า ท่านมองดูเราหรือขรัวตา จึงแลดู

อีกรูปหนึ่ง แม้เมื่อท่านรูปนั้นกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ทีนั้น ท่านก็เกิด

ขัตติยมานะขึ้นมา ภิกษุเหล่านี้รุมกันใช้หอกคือวาจาทิ่มแทงเรา น้ำตาสี

แก้วมณีในดวงตาก็ไหลพราก. แต่นั้นท่านก็กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

ท่านมาสู่สำนักของใคร. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ก็ท่านเล่าสำคัญเราว่า

มาสู่สำนักของท่านหรือ พวกเราไม่ใช่อยู่ในเพศคฤหัสถ์นี้ จึงกล่าวว่า

พวกเรามาสู่สำนักของพระศาสดาผู้เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

พระติสสะกล่าวว่า พวกท่านมาในสำนักพี่ชายของเรา ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น

เราจักไปตามทางที่พวกท่านมานั่นแล โกรธออกไปแล้วคิดในระหว่าง

ทางว่า เมื่อเราไปโดยทำนองนี้ก่อน พระศาสดาจักให้นำภิกษุเหล่านี้

ออกไป จึงเป็นทุกข์เสียใจ เดินน้ำตาไหลไป ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเกิด

เป็นอย่างนี้แล.

บทว่า วาจาย สนฺนิโตทเกน ความว่า ด้วยประตักคือถ้อยคำ. บทว่า

สญฺชมฺภรึ อกสุ ได้แก่กระทำให้เต็มแปร้ คือให้ถูกต้องไม่มีระหว่าง.

ท่านอธิบายไว้ว่า แทงข้างบน. บทว่า วตฺตา ความว่า ท่านพูดเรื่องที่

ปรารถนากะคนเหล่าอื่น. บทว่า โน จ วจนกฺขโม ความว่า ท่าน

ไม่อาจอดทนถ้อยคำของชนเหล่าอื่น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 777

นี้ว่า เธอถูกความโกรธนี้แทงด้วยประตักคือวาจาในปัจจุบันนี้ก่อน แต่

ในอดีตเธอถูกพระราชาเนรเทศออกจากแว่นแคว้น. ภิกษุทั้งหลายจึงทูล

วิงวอนกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ในกาลไหน พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ในอดีตกาล พระเจ้าพาราณสีเสวยราชสมบัติ

ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้นฤาษี ๒ ท่าน คือท่านหนึ่ง ชื่อว่า ชาติมา

ท่านหนึ่งชื่อว่า มาตังคะ. ได้ไปยังกรุงพาราณสี ในฤาษีทั้งสองนั้น

ฤาษีชื่อว่า ชาติมา ไปถึงก่อน นั่งที่โรงช่างหม้อ. ภายหลังมาตังคดาบส

ได้ไปขอพักในที่นั้น. นายช่างหม้อกล่าวว่า ในที่นี้ บรรพชิตผู้เข้าไป

ก่อนมีอยู่ ท่านจงถามเขาเถิด. มาตังคดาบสนั้น ถือเอาบริขารของตน

ยืนใกล้ประตูโรงช่างหม้อ กล่าวว่า ท่านอาจารย์ โปรดให้โอกาส

ข้าพเจ้าพักอยู่ในที่นี้สักราตรีหนึ่งเถิด. ชาติมาฤาษีกล่าวว่า เข้าไปเถิด

ท่าน จึงถามท่านผู้เข้าไปนั่งว่า ท่านโคตรอะไร. ตอบว่า ข้าพเจ้าโคตร

จัณฑาล. ชาติมาฤาษีว่า ข้าไม่อาจจะนั่งในที่แห่งเดียวกับเจ้าได้ จงไป

ณ ส่วนข้างหนึ่ง. มาตังคดาบสลาดเครื่องลาดหญ้าแล้วก็นอนในที่นั้น

นั่นเอง. ชาติมาฤาษีนอนพิงประตู. ฝ่ายมาตังคดาบสออกไปเพื่อถ่าย

ปัสสาวะจึงเหยียบอกชาติมาฤาษีนั้นเข้า เมื่อชาติมาฤาษีถามว่า ใครนั่น.

จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเองท่านอาจารย์. เฮ้ย เจ้าจัณฑาล เจ้าไม่เห็นทาง

จากที่แห่งอื่นหรือ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าจะไม่ต้องมาเหยียบข้า. ท่าน

อาจารย์ เมื่อข้าไม่เห็นก็เหยียบเอา โปรดยกโทษให้ข้าด้วยเถิด. เมื่อ

มหาบุรุษออกไปภายนอก ชาติมาฤาษีนั้นคิดว่า ผู้นี้แม้ไปภายหลังก็จักมา

ข้างนี้ จึงนอนพลิกกลับไปเสีย. ฝ่ายมหาบุรุษเข้าไปด้วยคิดว่า ท่าน

อาจารย์นอนหันศีรษะมาทางนี้ เราจักไปทางที่ใกล้เท้าของท่าน ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 778

จึงเหยียบอกเข้าอีก. ก็เมื่อฤาษีนั้นถามว่า นั่นใคร จึงตอบว่า ข้าพเจ้าเอง

ท่านอาจารย์. ฤาษีนั้นกล่าวว่า ชั้นแรกทีเดียว เจ้าไม่รู้จึงทำ บัดนี้เจ้า

ทำกระทบเรา เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ศีรษะของเจ้าจงแตก ๗ เสียง มหา-

บุรุษไม่พูดอะไร ๆ ก่อนที่อรุณจะขึ้นนั่นเอง ได้ยึดดวงอาทิตย์ไว้ ไม่ยอม

ให้พระอาทิตย์ขึ้น พวกคนและสัตว์เดรัจฉานมีช้างม้าเป็นต้นต่างตื่นกัน

แล้ว.

พวกมนุษย์พากันไปยังราชตระกูลทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่าผู้ที่จะ

ไม่ตื่นทั่วนครไม่มี แต่ไม่ปรากฏว่าอรุณจะขึ้น นี่เหตุอะไรกัน. ถ้ากระไร

ขอพระองค์โปรดตรวจตราพระนคร. คนเหล่านั้นเมื่อสำรวจดู. ก็พบดาบส

สองท่านในโรงช่างหม้อ จึงคิดว่า นี่จักเป็นการทำของสองท่านนี้ จึงได้

พากันไปกราบทูลพระราชา ถูกพระราชาตรัสว่า พวกเจ้าจงไปถามท่านดู

แล้วจึงพากันมาถามฤาษีชื่อชาติมานั้นว่า พวกท่านทำให้มืดหรือ. ชาติมา

ฤาษีตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทำ แต่จ้าดาบสขี้โกงตัวเลวมีมายาเหลือหลายนี้

ทำ จงถามดูเถิด. คนเหล่านั้นจึงไปถามมหาบุรุษว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทำ

ให้มืดหรือ. ดาบสตอบว่า ใช่ อาจารย์ผู้นี้ได้สาปข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงทำ. คนเหล่านั้นจึงไปกราบทูลพระราชา. ฝ่ายพระราชา

เสด็จมาตรัสถามมหาบุรุษว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทำให้มืดหรือ. ดาบสทูลว่า

ขอถวายพระพรมหาบพิตร. พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เจ้าข้า.

ดาบสทูลว่า อาตมภาพถูกดาบสนี้สาป ถ้าดาบสนี้ขอขมาโทษอาตมภาพ

ไซร้ อาตมภาพจักปล่อยพระอาทิตย์ พระราชาตรัสว่า ท่านเจ้าข้า

ท่านจงขมาโทษดาบสนี้เถิด. ฝ่ายฤาษีทูลว่า คนผู้มีชาติเช่นเราจักให้

ขมาโทษคนจัณฑาลเช่นนั้นหรือ อาตมภาพไม่ขอขมาโทษดอก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 779

ลำดับนั้น พวกคนกล่าวกะท่านว่า ท่านจักไม่ขอขมาโทษตาม

ความชอบใจของตนหรือ ดังนี้แล้วช่วยกันจักมือและเท้าแล้วให้นอนหมอบ

แทบเท้า แล้วกล่าวว่า ขอจงขมาโทษเถิด. ดาบสนั้นนอนเงียบเสียง.

คนเหล่านั้นจึงกล่าวย้ำกะดาบสนั้นว่า จงขอขมาโทษเสีย. ลำดับนั้น ดาบส

จึงกล่าวว่า โปรดยกโทษข้าเถิดอาจารย์. มหาบุรุษกล่าวว่า อันดับแรก

ข้าพเจ้าจักยกโทษให้ท่านแล้วปล่อยพระอาทิตย์ แต่เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น

ศีรษะของท่านจักแตก ๗ เสียง ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจงเอาก้อนดิน

เหนียว ขนาดเท่าศีรษะวางไว้บนกระหม่อมของดาบสนี้ แล้วให้ท่านยืน

แช่น้ำในแม่น้ำแค่คอ. พวกผู้คนได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ ไพร่พลของพระราชาทั่วแว่นแคว้นประชุมกัน. มหาบุรุษได้ปล่อย

พระอาทิตย์แล้ว. แสงพระอาทิตย์มากระทบก้อนดิน. ก้อนดินนั้นก็แตก

๗ เสี่ยง. ในขณะนั้นนั่นเอง ดาบสนั้นก็ดำลงโผล่ขึ้นทางท่าหนึ่งแล้วก็

หนีไป. พระศาสดาทรงนำเรื่องนี้มาตรัสว่า บัดนี้ท่านได้บริภาษในสำนัก

ของภิกษุทั้งหลายก่อน. แม้ในกาลก่อนท่านอาศัยความโกรธนี้ จึงถูก

เนรเทศออกจากแว่นแคว้น ครั้นทรงสืบอนุสนธิ เมื่อจะโอวาทดาบสนั้น

จึงตรัสว่า ติสสะ ข้อนั้นไม่สมควรแก่เธอแล เป็นต้น.

จบอรรถกถาติสสสูตรที่ ๙

๑๐. เถรนามสูตร

ว่าด้วยเรื่องภิกษุรูปหนึ่งชื่อเถระ

[๗๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 780

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อว่าเถระ

มีปกติอยู่ผู้เดียว และสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเป็นผู้เดียว เข้าไปสู่

บ้านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้เดียวเดินกลับ ย่อมนั่งในที่ลับผู้เดียว และย่อม

เป็นผู้เดียวอธิฐานจงกรม ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้-

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้

มีชื่อว่าเถระ มีปกติอยู่คนเดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว.

[๗๑๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุชื่อเถระตามคำของเราว่า พระ

ศาสดารับสั่งให้หา ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่าน

พระเถระถึงที่อยู่ครั้นแล้วกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่าน

พระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้วถวายอวิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๑๘] ครั้นท่านพระเถระนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนเถระ. ได้ยินว่า เธอมีปกติอยู่คนเดียวและมัก

สรรเสริญการอยู่คนเดียว จริงหรือ.

พระเถระกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนเถระ ก็เธอมีปกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญ

การอยู่คนเดียวอย่างไร.

ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ คือข้าพระองค์คนเดียวเข้าไป

สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เดินกลับคนเดียว นั่งในที่ลับตาคนเดียว อธิษฐาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 781

จงกรมคนเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีปกติอยู่คนเดียว และ

มักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว อย่างนี้แล.

[๗๑๙] พ. ดูก่อนเถระ การอยู่คนเดียวนี้มีอยู่ เราจะกล่าวว่า

ไม่มีก็หาไม่ เถระ อนึ่ง การอยู่คนเดียวของเธอย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย

พิสดารกว่าโดยประการใด เธอจงฟังโดยประการนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี

เราจักกล่าว ท่านพระเถระทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.

[๗๒๐] ดูก่อนเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย

พิสดารกว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว

สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคือได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็น

ปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร

กว่าอย่างนี้แล.

[๗๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

เราย่อมเรียกนรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ

และไตรภพทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี

ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้

ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็น

ผู้มีปกติอยู่คนเดียว ดังนี้.

จบเถรนามสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 782

อรรถกถาเถรนามสูตรที่ ๑๐

ในเถรนามสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ว่า วณฺณวาที แปลว่า มีปกติกล่าวอานิสงส์. บทว่า ย อตีต

ปหีน ความว่า เป็นอันชื่อว่าละความโกรธนั้น ด้วยการละฉันทราคะใน

เบญจขันธ์อันเป็นอดีต. บทว่า อนาคต ความว่า เบญจขันธ์อันเป็น

อนาคตเป็นอันชื่อว่าสลัดเสียได้ ด้วยการสละฉันทราคะในเบญจขันธ์นั้น.

บทว่า สพฺพาภิภุ ความว่า ตั้งครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ และภพ ๓

ทั้งหมด. บทว่า สพฺพวิทุ ได้แก่ รู้แจ้งเบญจขันธ์เป็นต้นซึ่งมีประการ

ดังกล่าวแล้วทั้งหมดนั้น. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ความว่า อันเครื่อง

ฉาบคือตัณหาและทิฏฐิไม่เข้าไปฉาบแล้วในธรรมทั้งปวงนั้นแล. บทว่า

สพฺพ ชห ความว่า ละเบญจขันธ์นั้นแลทั้งหมด ด้วยการละฉันทราคะ

ในเบญจขันธ์นั้น. บทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺต ได้แก่น้อมไปในพระ-

นิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คือในวิมุตติซึ่งมีพระ-

นิพพานนั้นเป็นอารมณ์.

จบอรรถกถาเถรนามสูตรที่ ๑๐

๑๑. กัปปินสูตร

ว่าด้วยเรื่องท่านพระมหากัปปินะ

[๗๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้นี้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 783

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา

กัปปินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

[๗๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นท่าน

พระมหากัปปินะผู้มาแต่ไกล แล้วจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นภิกษุที่กำลังมานั่นหรือไม่ เป็นผู้ขาว

โปร่ง จมูกโด่ง.

ภิกษุทั้งหลายกราบพูดว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

แต่เธอไม่ได้สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

[๗๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ในชุมนุมที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็น

ผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วย

วิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด พระอาทิตย์

ย่อมแผดแสงในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างใน

กลางคืน กษัตริย์ผู้ผูกสอดเครื่องรบย่อมมีสง่า

พราหมณ์ผู้เพ่งฌาน ย่อมรุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า

ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยเดชานุภาพตลอดวันและคืนทั้งหมด

ดังนี้.

จบกัปปินสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 784

อรรถกถากัปปินสูตรที่ ๑๑

ให้กัปปินสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่ พระมหาเถระผู้อยู่ในจำนวนพระมหา-

สาวก ๘๐ องค์ ผู้บรรลุกำลังแห่งอภิญญามีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า

พระมหาเถระนั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ได้ครองราชสมบัติมีอาณาเขตประมาณ

๓๐๐ โยชน์ ในกุกกุฏวดีนคร แต่เพราะในภพสุดท้ายได้เที่ยวเงี่ยโสต

สดับคำสั่งสอนเห็นปานนั้น. ต่อมาวันหนึ่ง ทรงแวดล้อมไปด้วยอำมาตย์

๑,๐๐๐ คน ได้ไปทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน. ก็ในคราวนั้น พ่อค้า

เดินทางจากมัชฌิมประเทศไปนครนั้น เก็บสินค้าแล้วคิดจักเฝ้าพระราชา

ต่างถือเครื่องบรรณาการไปพระราชทวาร สดับว่าพระราชาเสด็จไปพระราช

อุทยาน จึงไปยังพระราชอุทยานยืนอยู่ที่ประตู ได้แจ้งแก่คนเฝ้าประตู

ครั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้เรียกมา ตรัสถาม

พวกเขาผู้มอบเครื่องบรรณาการถวายบังคมยืนอยู่ว่า พ่อทั้งหลายพวกท่าน

มาแต่ไหน. พ่อค้าเหล่านั้นกราบทูลว่า มาแต่กรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า.

ร. แว่นแคว้นของพวกท่านมีภิกษาหาได้ง่ายไหม. พระเจ้าแผ่นดิน

ทรงธรรมไหม.

พ. ขอเดชะ. พระเจ้าข้า.

ร. ก็ในประเทศของพวกท่านมีศาสนาอะไร.

พ. มีพระเจ้าข้า แต่ผู้มีปากมีเศษอาหารไม่สามารถจะพูดได้.

พระราชา ได้พระราชทานน้ำด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้น

บ้วนปากแล้ว ผินหน้าต่อพระทศพลประคองอัญชลีแล้วกราบทูลว่า ขอ

เดชะ ชื่อว่าพระพุทธรัตนะได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศของข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 785

พอพระราชาทรงสดับว่า พุทโธ ปีติเกิดแผ่ไปทั่วพระวรกายของพระราชา.

ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พ่อทั้งหลาย ท่านจงกล่าวว่า พุทโธ

เถิด. พระราชารับสั่งให้พวกพ่อค้ากล่าวขึ้น ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า ขอเดชะ

ข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวว่าพุทโธ ดังนี้ จึงตรัสว่า บทว่า พุทโธ มีคุณ

หาประมาณมิได้ ใคร ๆ ไม่อาจทำปริมาณแห่งบทว่า พุทโธ นั้นได้

จึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล แล้วได้ประทานทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว

ตรัสถามอีกว่า ศาสนาอื่นมีไหม.

พ. มี พระเจ้าข้า คือชื่อธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.

พระราชาทรงสดับแม้ดังนั้นแล้ว จึงทรงรับปฏิญญาถึง ๓ ครั้ง

เหมือนอย่างนั้น แล้วพระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ตรัสถามอีกว่า

ศาสนาอะไรอื่นมีไหม.

พ. มีพระเจ้าข้า คือพระสังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงรับปฏิญญา ๓ ครั้งเหมือนอย่างนั้น

พระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ทรงลิขิตความที่พระราชทานทรัพย์ไว้ใน

พระราชสาสน์แล้วส่งไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่าน

จงไปสำนักของพระเทวี. เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปแล้วท้าวเธอได้ตรัสถาม

อำมาตย์ทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว พวกท่าน

จักกระทำอไร. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระองค์ประสงค์

จะทำอะไร.

ร. เราจักบวช.

อ. แม้พวกข้าพระองค์ก็จักบวช. เขาเหล่านั้นทั้งหมดไม่เยื่อใย

เรือนหรือขุมทรัพย์ จึงพากันออกบวชพร้อมด้วยเหล่าม้าที่มีคนขี่ขับไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 786

พวกพ่อค้าไปสำนักพระอโนชาเทวีแสดงพระราชสาสน์ พระเทวี

ทรงอ่านแล้วตรัสสอบถามว่า พระราชาพระราชทานกหาปณะแก่พวกท่าน

เป็นอันมาก พวกท่านกระทำอะไรให้เล่า พ่อ.

พ. พวกข้าพระองค์นำพระราชสาสน์ที่น่ารักมา พระเจ้าข้า.

เท. พวกท่านพอจะเล่าให้พวกเราฟังบ้างได้ไหม.

พ. ได้ พระเจ้าข้า แต่ผู้มีปากมีเศษอาหารไม่อาจจะกล่าวได้.

พระนางได้ให้ประทานนำด้วยพระเต้าทอง พวกพ่อค้าเหล่านั้น

บ้วนปากแล้ว กราบทูลโดยนัยที่ได้กราบทูลแด่พระราชา. แม้พระนาง

ได้สดับแล้ว ทรงเกิดความปราโมทย์ ทรงรับปฏิญญา ๓ ครั้ง ในบท

หนึ่ง ๆ โดยนัยนั้นแล ได้พระราชทานทรัพย์เก้าแสนแบ่งเป็น ๓ ส่วน

ตามจำนวนปฏิญญา. พวกพ่อค้าได้ทรัพย์ทั้งหมดหนึ่งล้านสองแสน.

ลำดับนั้น พระเทวีตรัสถามพวกพ่อค้าว่า พระราชาประทับอยู่ที่ไหน

พ่อ. พวกพ่อค้าทูลว่า พระราชาเสด็จออกผนวชแล้ว พระเจ้าข้า. พระ

เทวีทรงส่งพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจง

ไปเถิดพ่อ แล้วมีรับสั่งให้เรียกหาภริยาของพวกอำมาตย์ที่ตามเสด็จ ตรัส

ถามว่า พวกเธอรู้สถานที่ที่สามีของตนไปหรือแม่. ภริยาเหล่านั้นทูลว่า

ทราบ พระแม่เจ้า พวกเขาตามเสด็จประพาสพระราชอุทยาน. พระเทวี

มีพระดำรัสว่า พวกเขาไปดีแล้ว แม่ทั้งหลาย เมื่อพวกเขาไปในสวนนั้น

ได้ฟังว่า พระพุทธเจ้าเกิดแล้ว พระธรรมเกิดแล้ว พระสงฆ์เกิดแล้ว

จึงพากันไปบวชในสำนักพระทศพล พวกเธอจักทำอย่างไร. ภริยาเหล่านั้น

ทูลว่า ก็พระแม่เจ้าเล่า ประสงค์จะทำอย่างไร. พระนางตรัสว่า เราจัก

บวช เราจักไม่วางอาเจียนที่เขาเหล่านั้นคายแล้วไว้ที่ปลายลิ้น. ภริยา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 787

เหล่านั้นทูลว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น แม้พวกหม่อมฉันก็จักบวช. ภริยาทั้งหมด

พากันเทียมรถออกไป.

ฝ่ายพระราชาพร้อมด้วยอำมาตย์พันหนึ่งเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ใน

เวลานั้น แม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยม. ลำดับนั้น พวกเขาเห็นดังนั้นจึงคิดว่า

แม่น้ำคงคานี้เต็มเปี่ยม คลาคล่ำไปด้วยปลาร้าย และพวกทาสหรือมนุษย์

ที่มากับพวกเรา ที่จะทำเรือหรือแพให้พวกเราก็ไม่มี ก็ขึ้นชื่อว่าคุณของ

พระศาสดานี้ แผ่ไปเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม ถ้าพระ-

ศาสดานี้เป็นพระสัมมาสมพุทธะ ขอให้หลังกีบม้าเหล่านี้จงอย่าเปียก

ดังนี้แล้ว จึงให้ม้าวิ่งไปบนผิวน้ำ. แม้เพียงหลังกีบม้าตัวหนึ่งก็ไม่เปียก.

พวกเขาเหมือนไปตามทางที่เสด็จถึงฝั่งข้างโน้น แล้วถึงแม่น้ำใหญ่สายอื่น

ข้างหน้า. ในที่นั้นไม่มีสัจกิริยาอย่างอื่น พวกเขาข้ามแม่กว้างกึ่งโยชน์

แม้นั้นด้วยสัจกิริยานั้นเอง. ลำดับนั้น พวกเขาถึงแม่น้ำใหญ่สายที่ ๓

ชื่อจันทภาคา ได้ข้ามแม่น้ำนั้นด้วยสัจกิริยานั้นนั่นเอง.

วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ

ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้ามหากัปปิยนะทรงละราช-

อาณาจักรสามร้อยโยชน์ แวดล้อมไปด้วยอำมาตย์พันหนึ่งมาเพื่อบวชใน

สำนักของเรา พระดำริว่า เราควรต้อนรับพวกเขา ทรงชำระพระวรกาย

แต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี หลัง

จากเสวยพระกระยาหารแล้วเสด็จกลับจากบิณฑบาต พระองค์เองทรงถือ

บาตรและจีวร เสด็จเหาะไปประทับนั่งขัดสมาธิดำรงพระสติมั่นเปล่งพระ-

พุทธฉัพพรรณรังสี ณ ที่ต้นไทรใหญ่ซึ่งมีอยู่ในที่ตรงท่าข้ามของพวกเขา

เหล่านั้น ริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคา. ตรงเท่านั้น พวกเขาแลดูพระพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 788

ฉัพพรรณรังสีซึ่งเปล่งปลั่งวูบวาบแวววาว เห็นพระพักตร์ของพระทศพล

มีสิริดังจันทร์เพ็ญ จึงตกลงใจด้วยการเห็นนั่นแหละว่า พระศาสดาที่

พวกเราบวชอุทิศนั้นเป็นองค์นี้แน่ จึงน้อมกายลงถวายบังคมตั้งแต่ที่เห็น

พากันมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว. พระราชาทรงจับข้อพระพุทธบาท

ทั้งสองตาบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรแห่งหนึ่งพร้อมด้วยอำมาตย์

พันหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้น.

เวลาจบทศนา พวกเขาทั้งหมดดังอยู่ในพระอรหัต ทูลขอบรรพชา

กะพระศาสดา. พระศาสดาทรงทราบว่า พวกนี้ถือจีวรของตนมาทีเดียว

เพราะเคยถวายจีวรทาน จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ซึ่งมีวรรณะดั่งทอง ตรัส

ว่า จงเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ

ให้สิ้นสุดกองทุกข์โดยชอบเถิด. เป็นอันท่านผู้มีอายุเหล่านั้นได้บรรพชา

และอุปสมบทแล้ว. ท่านเหล่านั้นเป็นเหมือนพระเถระมีพรรษา ๖๐ แวด

ล้อมพระศาสดา.

ฝ่ายพระอโนชาเทวีมีรถพันหนึ่งเป็นบริวารเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา

มิได้เห็นเรือหรือแพที่มาเป็นประโยชน์แก่พระราชา โดยที่พระนางเป็น

หญิงฉลาด จึงมีพระดำริว่า พระราชจักทรงทำสัจกิริยาเสด็จไป ก็พระ-

ศาสดานั้นมิได้ทรงบังเกิดเพื่อประโยชน์แก่พระราชาและอำมาตย์เหล่านั้น

พวกเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ถ้าพระศาสดานั้นเป็นพระสัมมา-

สัมพุทธะ ขอให้รถทั้งหลายของพวกเราอย่าได้จมน้ำ ดังนี้แล้วให้รถแล่น

ไปบนผิวน้ำ . แม้เพียงกงรถก็ไม่เปียก. แม้แม่น้ำสายที่ ๒ และที่ ๓

พระนางก็ข้ามได้ด้วยสัจกิริยานั้นนั่นเอง เมื่อกำลังข้ามแม่น้ำอยู่นั่นแล

พระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาที่โคนต้นไทร. พระศาสดามี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 789

พระดำริว่า เมื่อหญิงเหล่านี้เห็นสามีของตนฉันทราคะจะเกิดขึ้นทำอันตราย

ต่อมรรคผล แต่ฉันทราคะนั้นจักไม่อาจทำอันตรายอย่างนี้ได้ ได้ทรง

กระทำโดยวิธีพวกเขาจะเห็นกันและกันไม่ได้. หญิงเหล่านั้นทั้งหมดขึ้น

จากท่า นั่งถวายบังคมพระทศพล. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่หญิง

เหล่านั้น. เวลาจบเทศนา หญิงทั้งหมดดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วจึงได้

เห็นกันและกัน. พระศาสดาทรงพระดำริว่า ขออุบลวรรณาจงมา.

พระอุบลวรรณาเถรีมาแล้ว ให้หญิงทั้งหมดบรรพชาแล้วพาไปสำนักนาง

ภิกษุณี. พระศาสดาพาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเหาะไปพระเชตวัน. ท่านหมาย

เอาพระมหากัปปินะนี้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า มหากปฺปิโนติ เอวนามโก

อภิญฺาพลปฺปตฺโต อสีติมหาสาวกาน อพฺภนฺตโร มหาเถโร ดังนี้.

บทว่า ชเนตสฺมึ แปลว่า ในชุมชนผู้ให้กำเนิด อธิบายว่า ใน

หมู่สัตว์. บทว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า บรรดาผู้ที่ยึดถือคือ

ปฏิบัติญาณโคตรว่า พวกเราเป็นวาเสฏชโคตร ดังนี้เป็นต้น กษัตริย์

เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ได้แก่ผู้ประกอบด้วย

วิชชา ๘ ประการ และจรณธรรม ๑๕ ประเภท. บทว่า ตปติ แปลว่า

ย่อมไพโรจน์. บทว่า ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ ความว่า พราหมณ์

ผู้เป็นขีณาสพเพ่งฌานสองอย่างย่อมไพโรจน์ยิ่ง ก็ขณะนั้น พระกาฬุทายี-

เถระนั่งเพ่งฌานสองอย่างอยู่ในที่ไม่ไกล. บทว่า พุทฺโธ ตปติ ความว่า

พระสัพพัญญูพุทธเจ้าย่อมไพโรจน์. ได้ยินว่า นี้เป็นมงคลคาถาทั้งหมด.

เล่ากันว่า พระเจ้าภาติกราชให้ทำการบูชาอย่างหนึ่งแล้ว ตรัสกะ

ผู้เป็นอาจารย์ว่า ขอท่านจงบอกชัยมงคลอย่างหนึ่งที่ไม่พ้นจากพระรัตน-

ตรัย. ผู้เป็นอาจารย์พิจารณาถึงพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก เมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 790

กล่าวมงคลคาถานี้ กล่าวว่า ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ พระอาทิตย์สว่างใน

กลางวัน ดังนี้แล้ว ประคองอัญชลีแก่พระอาทิตย์ที่ตกไปอยู่ กล่าวว่า

รตฺติมาภาติ จนฺทิมา พระจันทร์ที่สว่างในกลางคืน ดังนี้แล้วประคอง

อัญชลีแก่พระจันทร์ที่กำลังขึ้น กล่าวว่า สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ

กษัตริย์ทรงสวมเกราะย่อมงามสง่า ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่พระราชา

กล่าวว่า ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ พราหมณ์ผู้เพ่งฌานย่อมรุ่งเรือง

ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่ภิกษุสงฆ์ กล่าวว่า พุทฺโธ ตปติ เตชสา

พระพุทธเจ้าย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช ดังนี้แล้วประคองอัญชลีแก่มหาเจดีย์.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะท่านผู้เป็นอาจารย์ว่า ท่านอย่าลดมือลง แล้ว

ทรงมอบทรัพย์พันหนึ่งไว้ในมือที่ยกขึ้นนั่นแล.

จบอรรถกถากัปปินสูตรที่ ๑๑

๑๒. สหายสูตร

ว่าด้วยเรื่องภิกษุเป็นเพื่อนกัน ๒ รูป

[๗๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกัน

๒ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระมหากัปปินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 791

[๗๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเธอทั้งสองมา

อยู่แต่ไกล จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอเห็นภิกษุสหาย ๒ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของมหากัปปินะกำลังมา

อยู่นั่นหรือไม่.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ๒ รูปนั้นแล มีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมาก แต่ไม่ได้สมาบัติที่เธอไม่เคยเข้าง่ายนัก เธอทั้งสองกระทำ

ให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ยันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวช

เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่.

[๗๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-

กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

ภิกษุเหล่านี้เป็นสหายกัน เป็นผู้มีความรู้คู่เคียงกัน

มาตลอดกาลนาน สัทธรรมของเธอเหล่านั้นย่อม

เทียบเคียงได้ในธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศแล้ว

เธออันกัปปินะแนะนำดีแล้วในธรรมที่พระอริยเจ้า

ประกาศแล้ว เธอทั้งสองชำนะมารพร้อมทั้งพาหนะ

ได้แล้ว ย่อมทรงไว้ ซึ่งอัตภาพมีในที่สุด ดังนี้.

จบสหายสูตรที่ ๑๒

จบภิกขุสังยุตที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 792

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โกลิตสูตร ๒. อุปติสสสูตร ๓. ฆฏสูตร

๔. นวสูตร ๕. สุชาตสูตร ๖. ภัททิยสูตร

๗. วิสาขสูตร ๘. นันทสูตร ๙. ติสสสูตร

๑๐. เถรนามสูตร ๑๑. กัปปินสูตร ๑๒. สหายสูตร

รวมสังยุตที่มีในนิทานวรรค

๑. อภิสมยสังยุต ๒. ธาตุสังยุต ๓. อนมตัคคสังยุต

๔. กัสสปสังยุต ๕. ลาภสักการสังยุต ๖. ราหุลสังยุต

๗. ลักขณสังยุต ๘. โอปัมมสังยุต ๙. ภิกขุสังยุต

จบสังยุตตนิกาย นิทานวรรค

อรรถกถาสหายสูตรที่ ๑๒

ในสหายกสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จิรรตฺต สเมนิกา ได้แก่ เป็นผู้มีลัทธิตั้งอยู่เสมอกัน คู่

เคียงกันแม้ตลอดกาลนาน. ได้ยินว่า บรรพชิตเหล่านั้นได้เที่ยวไปร่วมกัน

ตลอดห้าร้อยชาติ. บทว่า สเมติ เนส สทฺธมฺโม ความว่า บัดนี้

ศาสนธรรมนี้ของบรรพชิตเหล่านั้น เทียบเท่ากันเสมอกัน. บทว่า ธมฺเม

พุทฺธปฺปเวทิเต ความว่า ในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว

อธิบายว่า ศาสนธรรมย่อมงามด้วยธรรมนั้น. บทว่า สุวินีตา กปฺปิเนน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 793

ความว่า พระอุปัชฌาย์ของตนแนะนำด้วยดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประ-

กาศแล้ว. คำที่เหลือในทุก ๆ บทง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒

จบอรรถกถาภิกขุสังยุต

จบอรรถกถาสังยุตตนิกาย นิทานวรรค