ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มารสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. ตโปกรรมสูตร

ตบะอื่นไม่อำนวยประโยชน์

[๔๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้

อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม้น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับพักร้อนอยู่ในที่ส่วนพระองค์ ได้เกิดความตรึกแห่งพระทัย

อย่างนี้ว่า สาธุ เราเป็นผู้พ้นจากทุกรกิริยานั้นแล้วหนอ สาธุ เราเป็นผู้

พ้นแล้วจากทุกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้นหนอ สาธุ เราเป็นสัตว์

ที่บรรลุโพธิญาณแล้วหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

[๔๑๗] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความตรึกแห่งพระทัยของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจิต จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้ว

ได้ทูลด้วยคาถาว่า

มาณพทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วย

การบำเพ็ญตบะใด ท่านหลีกจากตบะนั้น

เสียแล้ว เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มาสำคัญตนว่า

เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านพลาดมรรคาแห่งความ

บริสุทธิ์เสียแล้ว.

[๔๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

เรารู้แล้วว่า ตบะอื่น ๆ อย่างใด

อย่างหนึ่ง ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ตบะทั้งหมดหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่

ดุจถ่อเรือบนบก ฉะนั้น (เรา) เจริญมรรค

คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อความ

ตรัสรู้ เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่าง

ยอดเยี่ยมแล้ว ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด

ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้

จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

มารสังยุต

อรรถกถาตโปรกรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตโปกรรมสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-

บทว่า อุรุเวลาย วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แทงตลอด

พระสัพพัญญุตญาณ ทรงอาศัยหมู่บ้านอุรุเวลาประทับอยู่ บทว่า ปมา-

ภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ภายใน ๗ สัปดาห์แรกนั่นเทียว.

บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยทุกกรกิริยา ที่ทรงทำมาตลอด ๖ ปี.

บทว่า มโร ปาปิมา ความว่า ที่ชื่อว่ามาร เพราะทำเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติ

เพื่อก้าวล่วงวิสัยของตนให้ตาย. ที่ชื่อว่า ปาปิมา เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน

บาป หรือประกอบตนเองอยู่ในบาป มารนั้นมีชื่ออื่น ๆ บ้าง มีหลายชื่อ

เป็นต้นว่า กัณหะ อธิปติ วสวัตติ อันตกะ นมุจี ปมัตตพันธุ ดังนี้บ้าง.

แต่ในพระสูตรนี้ระบุไว้ ๒ ชื่อเท่านั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า

พระสมณโคดมนี้บัญญัติว่า เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จำเราาจักกล่าวข้อที่

พระสมณโคดมนั้นยังไม่เป็นผู้หลุดพ้น ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.

บทว่า ตโปกมฺมา อปกฺกมฺม แปลว่า หลีกออกจากตบะกรรม

ด้วยบทว่า อปรทฺโธ มารกล่าวว่า ท่านยังห่างไกลจากทางแห่งความหมดจด.

บทว่า อปร ตป ความว่า ตบะอันเศร้าหมองที่กระทำเพื่อประโยชน์แก่ตะบะ

อย่างอื่นอีก เป็นอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตนให้ลำบากเปล่า. บทว่า สพฺพ

นตฺถาวห โหติ ความว่า รู้ว่าตบะทั้งหมดไม่นำประโยชน์มาให้เรา. บทว่า

ถิยา ริตฺตว ธมฺมนิ ความว่า เหมือนถ่อเรือบนบกในป่า. ท่านอธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

เปรียบเสมือนคนทั้งหลาย วางเรือไว้บนบกในป่า บรรทุกสิ่งของแล้ว เมื่อ

มหาชนขึ้นเรือแล้วก็จับถ่อ ยันมาข้างนี้ ยันไปข้างโน้น ความพยายามของ

มหาชนนั้น ไม่ทำเรือให้เขยื้อนไปแม้เพียงนิ้วหนึ่ง สองนิ้ว ก็พึงไร้ประโยชน์

ไม่นำประโยชน์มาให้ ข้อนั้น ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรารู้ว่า ตบะ

อื่น ๆ ทั้งหมด ย่อมเป็นตบะที่ไม่นำประโยชน์มาให้ จึงสละเสีย.

ครั้นทรงละตบะอย่างอื่น ๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่

เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีล เป็นต้น. ในคำว่า สีล เป็นต้นนั้น

ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีล ทรง

ถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา. บทว่า มคฺค โพธาย ภาวย ได้แก่ ทรงเจริญ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้. ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อ

มรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนม

อย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่น ฉันใด บุคคลเจริญมรรค

อย่างเดียว ก็เพื่อมรรค ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

มคฺค โพธาย ภาวย ดังนี้. บทว่า ปรม สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.

บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคต ขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.

จบอรรถกถาตโปรกรรมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

๒. นาคสูตร

มารแปลงเพศเป็นพระยาช้าง

[๔๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้

อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ สมัยนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีอันมืดสนิท และฝนลงเม็ด

ประปรายอยู่.

[๔๒๐] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เกิดความกลัว ความ

ครั่นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเนรมิตเพศเป็นพระยาช้าง

ใหญ่ เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระยาช้างนั้นมีศีรษะเหมือนกับก้อนหิน

ใหญ่สีดำ งาทั้งสองของมันเหมือนเงินบริสุทธิ์ งวงเหมือนงอนไถใหญ่.

[๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

ดังนี้ แล้วได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามและไม่งาม

ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาล อันยืดยาวนาน

มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะต้องจำแลง

เพศอย่างนั้นเลย ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่ง

ที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

อรรถกถานาคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า สตฺตนฺธการติมิสาย ได้แก่ ในราตรีมืดมาก คือมืดมีองค์

๔ ที่กระทำให้เป็นประหนึ่งคนตาบอด. บทว่า อชฺโฌกาเส นิสินฺโน โหติ

ความว่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี วางจีวรผืนใหญ่ไว้บนพระเศียร ประทับ

นั่งกำหนดความเพียรบนแผ่นหิน ท้ายที่จงกรม.

ถามว่า มรรคที่พระตถาคคยังไม่เจริญ กิเลสที่ยังไม่ได้ละ อกุปปธรรม

ที่ยังไม่แทงตลอด หรือนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้งของพระตถาคต ไม่มีเลยมิใช่

หรือ เพราะเหตุไร จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้น. ตอบว่า พระศาสดาทรง

พิจารณาเห็นประโยชน์ดังขอช้าง [บังคับช้าง] สำหรับกุลบุตรทั้งหลายในอนาคต

ว่า กุลบุตรทั้งหลายในอนาคตกาล รำลึกถึงทางที่เราตถาคคดำเนินไปแล้ว

สำคัญถึงที่อยู่ซึ่งควรอยู่กลางแจ้ง จักกระทำกรรมคือความเพียร จึงได้ทรง

กระทำดังนั้น. บทว่า มหา แปลว่า ใหญ่. บทว่า อริฏฺโก แปลว่า ดำ.

บทว่า มณิ ได้แก่ หิน. บทว่า เอวมสฺส สีส โหติ ความว่า ศีรษะ

ของช้างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น คือ เสมือนหินก้อนใหญ่สีดำขนาดเท่าเรือนยอด.

ด้วยบทว่า สุภาสุภ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็ท่านท่องเที่ยวอยู่

ตลอดกาลยาวนาน มาแปลงเพศทั้งดีและไม่ดี. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า สสร

แปลว่า ท่องเที่ยวมา. บทว่า ทีฆมทฺธาน ได้แก่ ตลอดทางไกลตั้งแต่ถิ่น

ของท้าววสวัตดี จนถึงตำบลอุรุเวลาและตลอดกาลนาน กล่าวคือสมัยทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

บำเพ็ญทุกกรกิริยาตลอด ๖ ปี ก่อนตรัสรู้. บทว่า วณฺณ กตฺวา สุภาสุภ

ความว่า ท่านแปลงเพศ ทั้งดีและไม่ดี มีประการต่าง ๆ มายังสำนักเรา

หลายครั้ง. ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า เพศนั้นไม่มีดอก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อย่างนั้นกับมาร ก็โดยเพศที่มารไม่เคยมายังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

ประสงค์จะหลอกให้ทรงหวาดกลัว. บทว่า อลนฺเต เตน ความว่า ดูก่อน

มาร ท่านขวนขวายแสดงสิ่งที่น่ากลัวน่าจะพอกันที.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

๓. สุภสูตร

มารแปลงเพศเป็นต่าง ๆ

[๔๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ประทับ อยู่ที่ต้นไม้

อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ สมัยนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีอันมืดสนิท. และฝนลงเม็ดประปราย

อยู่.

[๔๒๓] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เกิดความกลัว ความ

ครั่นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปใกล้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วแสดงเพศต่าง ๆ หลากหลาย ทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ในที่ไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้

จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า

ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม

ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาล อันยืดยาวนาน

มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะต้องจำแลง

เพศอย่างนั้นเลย ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่ง

ที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ทำเรากำจัดเสียได้แล้ว.

และชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วย

กาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ชนเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ชนเหล่า

นั้น ไม่เดินตามหลังมาร.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาสุภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุภสูตรที่ ๓ ต่อไป:-

บทว่า สุสวุตา แปลว่าปิดไว้แล้ว. บทว่า น เต มารวสานุคา

ความว่า ดูก่อนมาร ชนเหล่านั้นไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่านดอก. บทว่า

น เต มารสฺส ปจฺจคู ความว่า ชนเหล่านั้นหาเป็นพวกพ้องศิษย์อันเตวาสิก

ของท่านผู้เป็นมารไม่.

จบอรรถกถาสุภสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

๔. ปฐมปาสสูตร

ว่าด้วยบ่วงของมาร

[๔๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

กรุงพาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้น

อย่างยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว ความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม เรากระทำให้แจ้ง

แล้ว เพราะการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบ

โดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุซึ่งความหลุดพ้น

อย่างยอดเยี่ยม จงกระทำให้แจ้งซึ่งความหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม เพราะการ

กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะการตั้งความเพียรไว้ชอบโดยแยบคายเถิด.

[๔๒๖] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยบ่วง

ของมารทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของ

มนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วย

เครื่องผูกของมาร ดูก่อนสมณะ ท่านจัก

ไม่พ้นเราไปได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

[๔๒๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงของมาร

ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร

ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งความพินาศ ท่าน

เป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

อรรถกถาปฐมปาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปาสสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่ เพราะกระทำไว้ในใจโดยอุบาย.

บทว่า โยนิโสสมฺมปฺปธานา ได้แก่ เพราะความเพียรโดยอุบาย เพราะความ

เพียรโดยเหตุ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติที่สัมปยุทด้วยอรหัตผล.

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมนี้ ทำความเพียร

แม้ตนเองบรรลุพระอรหัตแล้วก็ไม่สะใจ บัดนี้ก็ทำความอุตสาหะให้คนอื่น ๆ

ว่า พวกท่านจงพากันบรรลุพระอรหัต จำเราจักกำจัดเธอเสีย ดังนี้ จึงได้

กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า มารปาเสน ได้แก่ บ่วงกิเลส. ด้วยบทว่า เย ทิพฺพา เย

จ มานุสา มารกล่าวว่า ชื่อว่าบ่วงมารเหล่าใด กล่าวคือ กามคุณที่เป็นทิพย์

และกล่าวคือกามคุณที่เป็นของมนุษย์มีอยู่ ท่านถูกบ่วงมารเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว.

บทว่า มารพนฺธนพนฺโธ แปลว่า ถูกบ่วงมารผูกไว้ หรือติดบ่วงมาร.

บทว่า น เม สมณ โมกฺขสิ ความว่า ดูก่อนสมณะ ท่านจักไม่หลุดพ้น

จากวิสัยของเราไปได้.

จบอรรถกถาปฐมปาสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

๕. ทุติยปาสสูตร

พระพุทธเจ้าตรัสการพ้นจากบ่วงมาร

[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง

พาราณสี ณ ที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจาก

บ่วงทั้งปวงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้

เธอทั้งหลายก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่

มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อ

เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปทาง

เดียวกัน ๒ รูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้อง

ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ. บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายผู้มีธุลีในจักษุน้อย

มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมเสีย ผู้รู้ทั่วถึงซึ่งธรรมยังจักมี ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.

[๔๒๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้วด้วยบ่วง

ทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของ

มนุษย์ ท่านเป็นผู้ที่ถูกเราผูกไว้แล้ว ด้วย

เครื่องพันธนาการอันใหญ่ ดูก่อนสมณะ

ท่านจักไม่พ้นเราไปได้.

[๔๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาปจึง

ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้ง

ที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เรา

เป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการอัน

ใหญ่ ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งความพินาศ

ท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว

ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

อรรถกถาทุติยปาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป:-

บทว่า มุตฺตาห แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา

ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริก ได้แก่

จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.

บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อ

ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง

เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า กลฺยาณ ในบทว่า อาทิกลฺยาณ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ

ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง

และที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา. ใน ๒ อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น

ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก

นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล

นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง

ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็น

เบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด สำหรับ ๕ บท

หรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.

สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย

ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ

มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น

คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

บทว่า สาตฺถ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ. บทว่า สพฺยญฺชน

ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท. บทว่า เกวลปริปุณฺณ

แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง. บทว่า ปริสุทฺธ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า

พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนาพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า

ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.

บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่มีสภาพธุลี คือกิเลสน้อย ใน

จักษุคือปัญญา อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา

๔ บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่. บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า

เพราะไม่ได้ฟังธรรม. บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดย

ไม่เสื่อมจากลาภ. บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้ง

กองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของ .

บิดานางสุชาดา. บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไป

ให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้น บำเรออยู่หามิได้.

แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑,๕๐๐ แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อ

แสดงธรรมอย่างเดียว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณ

โคดมนี้ ส่งพระภิกษุ ๖๐ รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒

รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์

เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดง

อยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แค่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกัน พระสมณโคดม

นั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.

จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

๖. สัปปสูตร

มารนิรมิตเพศเป็นพระยางู

[๔๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันอันเป็น

สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่งกลางแจ้งในราตรีอันมืดสนิท

ทั้งฝนก็ลงเม็ดประปรายอยู่.

[๔๓๒] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้เกิดความกลัว ความ

ครั้นคร้าม ขนลุกขนพองแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงนิรมิตเพศเป็นพระยางูใหญ่

เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กายของพระยางูนั้นเป็นเหมือนเรือ

ลำใหญ่ที่ขุดด้วยซุงทั้งต้น พังพานของมันเป็นเหมือนเสื่อลำแพนผืนใหญ่

สำหรับ ปูตากแป้งของนักผลิตสุรา นัยน์ตาของมันเป็นเหมือนถาดสำริดขนาด

ใหญ่ของพระเจ้าโกศล ลิ้นของมันแลบออกจากปากเหมือนสายฟ้าแลบ ขณะ

เมฆกำลังกระหึ่ม เสียงหายใจเข้าออกของมัน เหมือนเสียงสูบช่างทองที่กำลัง

พ่นลมอยู่ฉะนั้น.

[๔๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

ดังนี้ จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า

มุนีใดเสพเรือนว่างเปล่าเพื่ออยู่อาศัย

มุนีนั้นสำรวมตนแล้ว สละความอาลัยใน

อัตภาพนั้นเที่ยวไป เพราะการสละความ

อาลัยในอัตภาพแล้วเที่ยวไปนั้น เหมาะสม

แก่มุนีเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

สัตว์ที่สัญจรไปมาก็มาก สิ่งที่น่ากลัว

ก็มา อนึ่ง เหลือบยุง และสัตว์เลื้อยคลาน

ก็ชุกชุม (แต่) มหามุนีผู้อยู่ในเรือนว่าง-

เปล่า ย่อมไม่ทำแม้แต่ขนให้ไหว เพราะ

สิ่งที่น่ากลัวเหล่านั้น.

ถึงแม้ท้องฟ้าจะแตก แผ่นดินจะไหว

สัตว์ทั้งหลายพึงสะดุ้งกลัวกันหมดก็ตามที

แม้ถึงว่าหอกจะจ่ออยู่ที่อกก็ตามเถิด พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงป้องกันเพราะ

อุปธิ (คือขันธ์) ทั้งหลาย.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

อรรถกถาสัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัปปสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า โสณฺฑิกา กิลญฺช ได้แก่ เสื่อลำแพน สำหรับเกลี่ยแป้ง

ของพวกทำสุรา. บทว่า โกสลิกา กสจาฏิ ได้แก่ ภาชนะใส่ของเสวยขนาด

ล้อรถ ของพระเจ้าโกศล. บทว่า คฬคฬายนฺเต ได้แก่ ออกเสียงดัง บทว่า

กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ สูบเตาไฟของช่างทอง. บทว่า ธมมานาย ได้แก่

ให้เต็มด้วยลมในกระสอบหนัง. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า มารคิดว่า

พระสมณโคดม ประกอบความเพียรเนือง ๆ นั่งเป็นสุข จำเราจักกระทบ

กระเทียมเขาดู แล้วเนรมิตอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้วจึงเดินด้อม ๆ ณ

ที่ทรงทำความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นด้วยแสงฟ้าแลบ ทรงนึกว่า

สัตว์ ผู้นี้เป็นใครกันหนอ ก็ทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมาร ดังนี้

บทว่า สุฺเคหานิ แปลว่า เรือนว่าง. บทว่า เสยฺยา ความว่า

ผู้ใดเสพเรือนว่างทั้งหลาย เพื่อจะนอน คือเพื่อต้องการอย่างนี้ว่า เราจักยืน

จักเดิน จักนั่ง จักนอน. บทว่า โส มุนิ อตฺตสญฺโต ความว่า

พุทธมุนีใด สำรวมตัวแล้ว เพราะไม่มีการคะนองมือและเท้า. บทว่า โวสฺสชฺช

จเรยฺย ตตฺถ โส ความว่า พุทธมุนีนั้น สละความอาลัยเยื่อใยใน

อัตภาพนั้น พึงจาริกไป. บทว่า ปฏิรูป หิ ตถาวิธสฺส ต ความว่า

ความสละความเยื่อใยในอัตภาพนั้นจาริกไป ของพุทธมุนี ผู้เช่นนั้น คือผู้ดำรง

อยู่อย่างนั้น ก็เหมาะ ก็ชอบ ก็สมควร.

บทว่า จรกา ได้แก่ สัตว์ผู้สัญจรไปมีสีหะและเสือเป็นต้น . บทว่า

เภรวา ได้แก่ สภาพที่น่ากลัว ทั้งมีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ บรรดาสภาพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

ที่น่ากลัวเหล่านั้น สัตว์มีสีหะ และเสือเป็นต้น ชื่อว่า. สภาพที่น่ากลัวมีวิญญาณ

ตอไม้และจอมปลวกเป็นต้น ในเวลากลางคืน ชื่อว่า สภาพที่น่ากลัวไม่มีวิญญาณ

เป็นความจริง สภาพที่น่ากลัวแม้เหล่านั้น ย่อมปรากฏเป็นประหนึ่งยักษ์ใน

เวลานั้น เชือกและเถาวัลย์เป็นต้น ก็ปรากฏประหนึ่งงู. บทว่า ตตฺถ ความว่า

พุทธมุนี เข้าไปสู่เรือนว่าง ไม่ทำอาการแม้เพียงขนลุก ในสภาพที่น่ากลัว

เหล่านั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการกำหนดสิ่งที่มิใช่ฐานะ

จึงตรัสว่า นภ ผเลยฺย เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผเลยฺย ได้แก่

ท้องฟ้าจะพึงแตกเป็นริ้ว ๆ ประหนึ่งตีนกา. บทว่า จเลยฺย ได้แก่ แผ่นดิน

จะพึงไหว เหมือนหยาดน้ำบนใบบัวที่ต้องลม. บทว่า สลฺลมฺปิ เจ อุรสก

ปสฺเสยฺยุ ความว่า แม้ว่าคนทั้งหลาย จะพึงจ่อหอกและหลาวอันคมไวั

ตรงอก. บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ในเพราะอุปธิ คือขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า

ตาณ น กโรนฺติ ความว่า คนทั้งหลาย เมื่อเขาจ่อหลาวอันคมไว้ตรงอก

ก็หนีเข้าระหว่างที่กำบังและภายในกระท่อมเป็นต้น เพราะความกลัว ชื่อว่า

กระทำการป้องกัน. แต่พระพุทธะทั้งหลาย ไม่กระทำการป้องกันเห็นปานนั้น

เพราะท่านเพิกถอนความกลัวหมดทุกอย่างแล้ว.

จบอรรถกถาสัปปสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

๗. สุปปติสูตร

ว่าด้วยสำเร็จสีหไสยาสน์

[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งเกือบตลอดราตรี

ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหารทรงสำเร็จสีหไสยาสน์

โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงเหลี่อมพระบาทด้วยพระบาท ทรงมีพระสติ-

สัมปชัญญะ ทรงทำความหมายในอันจะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย.

[๔๓๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า

ท่านหลับหรือ ท่านหลับเสีย

ทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่

ท่านหลับโดยสำคัญว่า เรือนว่างเปล่า

กระนั้นหรือ เมื่อตะวันโด่งแล้ว ท่านยัง

จะหลับอยู่หรือนี่.

[๔๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ สำหรับจะนำ

ไปสู่ภพไหน ๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

ความสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไร

ของท่านในเรื่องนี้เล่ามารเอ๋ย.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาสุปปติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุปปติสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า ปาเท ปกฺขาเลตฺวา ได้แก่ ทรงล้างพระบาทเพื่อให้ยึดถือ

ธรรมเนียมไว้. ก็ผงธุลี ย่อมไม่ติดในพระสีรระของพระพุทธะทั้งหลาย. แม้

แต่น้ำก็กลิ้งไปเหมือนน้ำที่ใส่ในใบบัว. อีกนัยหนึ่ง การล้างเท้าในที่ล้างเท้าเข้า

บ้าน เป็นธรรมเนียมของนักบวชทั้งหลาย ธรรมดาพระพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่า

ไม่ทรงทำลายธรรมเนียมในข้อนั้น ก็พระพุทธะทั้งหลาย ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่ง

ธรรมเนียมย่อมล้างพระบาท. จริงอยู่ ถ้าพระตถาคต ไม่พึงสรงน้ำไม่ล้าง

พระบาทไซร้ คนทั้งหลายก็จะพึงพูดว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงละเลยกิริยาของมนุษย์ จึงทรงล้างพระบาท. บทว่า

สโต สมฺปชาโน ได้แก่ทรงประกอบด้วยสติสัมชัญญะ ที่กำหนดเอาความ

หลับเป็นอารมณ์. ด้วยบทว่า อุปสงฺกมิ ท่านกล่าวว่า มารคิดว่า พระสมณ

โคดม ทรงจงกรมในที่แจ้งตลอดคืนยังรุ่ง แล้วเข้าพระคันธกุฏี บรรทม คง

จักบรรทมเป็นสุขอย่างเหลือเกิน จำเราจักแกล้งเธอ แล้วจึงไปเฝ้า.

ด้วยบทว่า กึ โสปฺปสิ มารกล่าวว่า ท่านหลับหรือ การหลับของ

ท่านนี้เป็นอย่างไร. บทว่า กึ นุ โสปฺปสิ ได้แก่ เพราะเหตุไร ท่านจึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

หลับ. บทว่า ทุพฺภโต วิย ได้แก่ หลับเหมือนตาย และหลับเหมือนสลบ.

ด้วยบทว่า สุญฺมคาร มารกล่าวว่าท่านหลับด้วยคิดว่า เราได้เรือนว่างแล้ว

หรือ. บทว่า สุริเย อุคฺคเต ความว่า เมื่อตะวันโด่งแล้ว ก็บัดนี้ ภิกษุทั้ง

หลาย กำลังกวาด ตั้งน้ำฉันเตรียมตัวไปภิกขาจาร เหตุไร ท่านจึงยังนอนอยู่

เล่า.

บทว่า ชาลินี ความว่า ตัณหา ชื่อว่า ดุจข่าย โดยข่ายอันเป็นส่วน

ของตน ซึ่งครอบงำภพทั้งสาม ตามนัยที่ว่า ซึ่งว่าตัณหาวิจริต ๑๘ เพราะ

อาศัยอายตนะภายในเป็นต้น. บทว่า วิสฺตฺติกา ได้แก่ ตัณหาที่ชื่อว่าซ่านไป

เพราะซ่านไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นในภพนั้น ๆ เพราะมีรากเป็นพิษและ

เพราะบริโภคเป็นพิษ. บทว่า กุหิญฺจิ เนตเว ได้แก่ เพื่อนำไปในที่ไหน ๆ.

บทว่า สพฺพูปธีน ปริกฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปธิทั้งหมด ต่างโดยเป็น

ขันธ์ กิเลส อภิสังขารและกามคุณ. บทว่า กึ ตเวตฺถ มาร ความว่า ดู

ก่อนมาร ประโยชน์อะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า เหตุไร ท่านจึงเลาะริมรั้ว

ติเตียน เหมือนแมลงวันตัวเล็ก ๆ ไม่อาจซ่อนตัวอยู่ในข้าวต้มที่ร้อน ๆ ได้.

จบอรรถกถาสุปปติสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

๘. นันทนสูตร

ว่าด้วยเหตุเศร้าโศกของนรชน

[๔๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

[๔๓๘] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้

กล่าวคาถานี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

คนมีบุตร ย่อมเพลิดเพลินเพราะ

บุตร คนมีโคก็ย่อมเพลิดเพลินเพราะโค

ฉันนั้นเหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล

เป็นเครื่องเพลิดเพลินของนรชน เพราะ

คนที่ไม่มีอุปธิหาเพลิดเพลินไม่.

[๔๓๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

คนมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร

คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะโค ฉันนั้น

เหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุ

เศร้าโศกของนรชน เพราะคนที่ไม่มีอุปธิ

หาเศร้าโศกไม่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค เจ้า

ทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถา

นันทนสูตรที่ ๘ มีเนื้อความกล่าวไว้ในเทวตาสังยุตทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

๙. ปฐมอายุสูตร

ว่าด้วยอายุน้อย

[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ดังนี้.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้ง

หลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์

สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่เป็นอยู่นาน ย่อม

เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือจะอยู่เกินไปได้บ้าง ก็มีน้อย.

[๔๔๑] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

อายุของมนุษย์ทั้งหลายยืนยาว คนดี

ไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย ควรประพฤติดุจ

เด็กอ่อนที่เอาแต่กินนม ฉะนั้น ไม่มีมัจจุ-

มาดอก.

[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดี

ควรดูหมิ่นอายุนั้นเสีย ควรประพฤติดุจคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุไม่เมา

จะไม่มีเลย.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นแล.

อรรถกถาปฐมอายุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอายุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า อปฺป วา ภิยฺโรย ความว่า คนเมื่อเป็นอยู่เกินก็ไม่อาจเป็น

อยู่เกิน ๑๐๐ ปี คือเป็นอยู่ ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า อชฺฌภาสิ ความ

ว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมกล่าวว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย จำเราจัก

กล่าวว่า อายุนั้นยืนยาวจึงพูดข่มเพราะเป็นผู้ชอบขัดคอ.

บทว่า น น หิเฬ ได้แก่ ไม่พึงดูหมิ่นอายุนั้นว่าอายุนี้น้อย. บทว่า

ขีรมตฺโตว ความว่า เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงายดื่มนม นอนบนเบาะ

กลับไปเหมือนไม่รู้สึกตัว บุคคลย่อมไม่คิดว่า อายุของใครน้อย หรือยืนยาว.

คนดีก็คิดอย่างนั้น. บทว่า จเรยฺยาทิตฺตสีโสว ได้แก่ รู้ว่าอายุน้อย พึง

ประพฤติตัวเหมือนคนมีศีรษะถูกไฟไหม้.

จบอรรถกถาปฐมอายุสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

๑๐. ทุติยอายุสูตร

ว่าด้วยอายุสิ้นไป

[๔๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุ-

วัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต. กรุงราชคฤห์.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสัมปรายภพ ควรทำกุศล ควร

ประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดแล้วจะไม่ตายไม่มีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน

ที่เป็นอยู่นาน ย่อมเป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี หรือที่เกินขึ้นไปก็น้อย ดังนี้.

[๔๔๔] ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

วันคืนย่อมไม่ผ่านพ้นไป ชีวิตย่อม

ไม่สิ้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อม

ดำเนินตามไป ดุจกงจรตามทูบรถไป ฉะนั้น.

[๔๔๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึง

ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

วันคืนย่อมผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้น

เข้า อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป

ดุจน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นแล.

จบทุติยอายุสูตร

จบ ปฐมวรรคที่ ๑

อรรถกถาทุติยอายุสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอายุสูตที่ ๑๐

บทว่า เนมิว รถกุพฺพร ความว่า รถที่แล่นไปทั้งวัน กงล้อก็แล่น

ตามไป ไม่ละทูบรถ ฉันใด อายุก็แล่นไปตามฉันนั้น.

จบอรรถกถาทุติยอายุสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในปฐมวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. ตโปกรรมสูตร ๒. นาคสูตร ๓. สุภสูตร ๔. ปฐมปาสสูตร

๕. ทุติยปาสสูตร ๖. สัปปสูตร ๗. สุปปติสูตร ๘. นันทนสูตร

๙. ปฐมอายุสูตร ๑๐. ทุติยอายุสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. ปาสาณสูตร

มารกลิ้งศิลาขู่พระพุทธเจ้า

[๔๔๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

กรุงราชคฤห์.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่แจ้ว ในเวลากลางคืน

เดือนมืด และฝนกำลังตกประปรายอยู่.

[๔๔๗] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปต้องการจะยังความกลัว ความ

หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า ให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไป

ณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ครั้นแล้ว กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ๆ ไปใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๔๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป

จึงตรัสสำทับกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

แม้ถึงว่าท่านจะพึงกลิ้งภูเขาคิชฌกูฏ

หมดทั้งสิ้น ความหวั่นไหวก็จะไม่มีแก่

พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้วโดย

ชอบแน่แท้.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

ทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถาปาสาณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปาสาณสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า นิสินฺโน ได้แก่ ประทับนั่ง กำหนดความเพียรตามนัยที่

กล่าวไว้แล้วในสูตรต้น ๆ นั่นแล. แม้มารก็รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ประทับนั่งสบาย จึงเข้าไปเฝ้าด้วยหมายจะแกล้ง. บทว่า ปคฺคเฬสิ ความว่า

มารยืนที่หลังเขา แงะก้อนหิน ก้อนหินทั้งหลายก็ตกกระทบกัน ไม่ขาดสาย.

บทว่า เกวล แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ทั้งหมดก็เป็นไวพจน์ของคำว่า เกวล

นั้นนั่นแล.

จบอรรถกถาปาสาณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

๒. สีหสูตร

ว่าด้วยบันลือสีหนาท

[๔๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล พระองค์แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรม

อยู่.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม

นี้แล แวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ แสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้

ณ ที่พระสมณโคดมประทับอยู่. เพราะประสงค์จะยังปัญญาจักษุให้พินาศ.

[๔๕๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเข้าถึง

ประทับ ครั้นแล้ว กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านเป็นผู้องอาจในบริษัท บันลือ

สีหนาท ดุจราชสีห์ ฉะนั้นหรือ ก็ผู้ที่พอ

จะต่อสู้ท่านยังมี ท่านเข้าใจว่าเป็นผู้ชนะ

แล้วหรือ.

[๔๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

ตถาคตเป็นมหาวีรบุรุษ องอาจใน

บริษัท บรรลุทสพลญาณ ข้ามตัณหา

อันเป็นเหตุข้องในโลกเสียได้ บันลืออยู่

โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาสีหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า วิจกฺขุกมฺมาย ได้แก่ เพื่อประสงค์จะทำปัญญาจักษุของ

บริษัทให้เสีย. แต่มารนั้น ไม่อาจทำปัญญาจักษุของพระพุทธะทั้งหลายให้เสียได้

ได้แต่ประกาศหรือสำแดงอารมณ์ที่น่ากลัวแก่บริษัท. บทว่า วิชิตาวี นุ

มญฺสิ ความว่า ท่านยังสำคัญว่า เราเป็นผู้ชนะอยู่หรือหนอ ท่านอย่าสำคัญ

อย่างนี้ ความชนะของท่านไม่มีดอก. บทว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัท ๘.

บทว่า พลปฺปตฺตา ได้แก่ ผู้บรรลุทศพลญาณ.

จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

๓. สกลิกสูตร

ว่าด้วยถูกสะเก็ดหิน

[๔๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิมิคทายวัน

กรุงราชคฤห์.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกสะเก็ดหินเจาะ

แล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย อันยิ่ง เป็นไปในพระสรีระ เป็นทุกข์ แรงกล้า

เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอพระทัย ย่อมเป็นไปแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์มีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาเหล่านั้น ไม่กระสับกระส่าย.

ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๘ ชั้น แล้ว

สำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา พระบาทซ้ายเหลิอมพระบาทขวา มี

พระสติสัมปชัญญะ.

[๔๕๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเข้าไปหาพระองค์ถึงที่ประทับ แล้ว

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านนอนด้วยความเขลา หรือมัวเมา

คิดกาพย์กลอนอยู่ ประโยชน์ทั้งหลาย

ของท่านไม่มีมา ท่านอยู่ ณ ที่นอนที่นั่ง

อันสงัดแต่ผู้เดียว ตั้งหน้านอนหลับ นี่

อะไร ท่านหลับทีเดียวหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

[๔๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

เราไม่ได้นอนด้วยความเขลา ทั้ง

มิได้มัวเมาคิดกาพย์กลอนอยู่ เราบรรลุ

ประโยชน์แล้วปราศจากความโศก อยู่

ที่นอนที่นั่ง อันสงัดแต่ผู้เดียว นอนรำพึง

ด้วยความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง. ลูกศรเข้า

ไปในอกของชนเหล่าใด เสียบหทัยให้

ลุ่มหลงอยู่ แม้ชนเหล่านั้นในโลกนี้ ผู้มี

ลูกศรเสียบอกอยู่ ยังได้ความหลับ เราผู้

ปราศจากลูกศรแล้ว ไฉนจะไม่หลับเล่า.

เราเดินทางไปในทางที่มีราชสีห์เป็นต้น

มิได้หวาดหวั่น ถึงหลับในที่เช่นนั้นก็

มิได้กลัวเกรง กลางคืนและกลางวัน ย่อม

ไม่ทำให้เราเดือดร้อน เราย่อมไม่พบเห็น

ความเสื่อมอะไร ๆ ในโลก ฉะนั้น เราผู้

มีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวงจึงนอนหลับ.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

อรรถกถาสกลิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสกลิกสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า มนฺทิยา นุ เสสิ ได้แก่ ท่านนอนด้วยความเขลา ด้วย

ความลุ่มหลง. บทว่า อุทาหุ กาเวยฺยมตฺโต ได้แก่ ก็หรือว่า ท่านนอน

เหมือนอย่างกวี นอนครุ่นคิดคำที่จะพึงกล่าว หมกมุ่นด้วยเหตุที่จะพึงแต่งนั้น.

บทว่า สมฺปจุรา แปลว่า มาก. บทว่า กิมิท โสปฺปเสว ได้แก่ เหตุไร

ท่านจึงหลับอย่างนี้เล่า. บทว่า อตฺถ สเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อม คือบรรลุ

ประโยชน์แล้ว ด้วยว่า เราไม่มีประโยชน์ [ความต้องการ] ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ไม่

เกี่ยวข้อง ก็วิบัติจากผู้เกี่ยวข้องดังนี้. บทว่า สลฺล ได้แก่หอกแลลูกศรอันคม.

บทว่า ชคฺค น สงฺเกมิ ความว่า เราถึงเดินทางก็ไม่ระแวง อย่างคนบางคน

เดินไปในทางสีหะเป็นต้น ก็ระแวง. บทว่า นปิ เภมิ โสตฺตุ ความว่า

เราไม่กลัวจะหลับ อย่างคนบางคน กลัวจะหลับ ในทางสีหะเป็นต้น. บทว่า

นานุปตนฺติ มา ม ความว่า คนทั้งหลายไม่เดือดร้อนตามไปกะเรา อย่าง

เมื่ออาจารย์หรืออันเตวาสิกเกิดไม่สบาย อันเตวาสิก มัวแต่เล่าเรียนและสอบ

ถามเสีย คืนวันล่วงไป ๆ ก็เดือนร้อนถึง ด้วยว่า กิจที่ยังไม่เสร็จไร ๆ ของ

เราไม่มี. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หานึ น ปสฺสามิ

กุหิญฺจิ โลเก เราไม่เห็นความเสื่อมในโลกไหน ๆ.

จบอรรถกถาสกลิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

๔. ปฏิรูปสูตร

ว่าด้วยทรงตั้งอยู่ในธรรมที่ควรสอน

[๔๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ศาลาหลังหนึ่ง ใน

พราหมณคาม แคว้นโกศล.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยคฤหัสถ์บริษัท

หมู่ใหญ่ทรงแสดงธรรมอยู่.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดขึ้นว่า พระสมณโคดมนี้แวดล้อม

ด้วยคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่ ทรงแสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพระ-

สมณโคดมถึงที่ประทับ เพราะประสงค์จะยังปัญญาจักษุให้พินาศ.

[๔๕๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครั้นแล้ว จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านพร่ำสอนผู้อื่นด้วยสิ่งใด สิ่งนั้น

ไม่สมควรแก่ท่าน เมื่อท่านกล่าวถึงธรรม

นั้น อย่าได้ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย

[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พระสัมพุทธเจ้ามีปกติอนุเคราะห์

ด้วยจิตอันเกื้อกูล ทรงพร่ำสอนผู้อื่นด้วย

สิ่งใด ตถาคตมีจิตหลุดพ้นจากความยินดี

ยินร้ายในสิ่งนั้นแล้ว.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

อรรถกถาปฏิรูปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิรูปสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า อนุโรธวิโรเธสุ ได้แก่ ในความยินดียินร้าย. บทว่า มา

สชฺชิตฺถ ตทาจร ได้แก่ อย่ามัวยึดการกล่าวธรรมติดอยู่เลย. ด้วยว่า เมื่อ

ท่านกล่าวธรรมกถาอยู่ คนบางพวกถวายสาธุการ ก็เกิดความยินดีในคนพวก

นั้น คนบางพวกฟังไม่เคารพ ก็เกิดความยินร้ายในคนพวกนั้น ดังนั้น

พระธรรมกถึก ชื่อว่า ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย ขอท่านอย่าข้องอย่างนั้นแล

มารกล่าวดังนี้. บทว่า ยทญฺมนุสาสติ แปลว่า ย่อมสั่งสอนคนอื่นใด.

พระสัมพุทธะ ย่อมอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิตานุกมฺปี ผู้

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ก็เพราะเหตุที่ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์

เกื้อกูล ฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายแล.

จบอรรถกถาปฏิรูปสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

๕. มานสสูตร

ว่าด้วยบ่วงใจ

[๔๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

[๔๕๙] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลัง

เที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้

ด้วยบ่วงนั้น สมณะ ท่านไม่พ้นเรา.

[๙๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เราหมดความพอใจในรูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของรื่นรมย์

ใจแล้ว แน่ะมาร เรากำจัดท่านได้แล้ว.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถามานสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมานสสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บ่วงชื่อว่า จรไปในอากาศ เพราะผูกแม้แต่ผู้จรไปในอากาศ. บทว่า

ปาโส ได้แก่ บ่วงคือ ราคะ. บทว่า มานโส ได้แก่ ประกอบกับใจ.

อรรถกถามานสสูตรที ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

๖. ปัตตสูตร

ว่าด้วยบาตร

[๔๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ก็

ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสต

ลงสดับธรรมอยู่.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ยังภิกษุ

ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยว

ด้วยอุปาทานขันธ์ ๕ ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา

ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพระ

สมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อประสงค์จะยังปัญญาจักษุให้พินาศ.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรเป็นอันมากไว้ในที่กลางแจ้ง.

[๔๖๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปแปลงเพศเป็นโคเดินไปยังที่บาตร

เหล่านั้นวางอยู่.

ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ภิกษุ ๆ โคนั้น

พึงทำบาตรทั้งหลายให้แตก.

เมื่อภิกษุนั้นพูดอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ภิกษุ นั่นมิใช่โค นั่นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อประสงค์จะยังปัญญาจักษุของ

พวกเธอให้พินาศ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

[๔๖๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมาร

ผู้มีบาป จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

พระอริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายในรูป

เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่ของเรา

แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่

ทั้งปวง ก็ไม่พบอริยสาวผู้เบื่อหน่ายแล้ว

อย่างนี้ มีอัตภาพอันเกษมล่วงพ้น.

สังโยชน์ทั้งปวงแล้ว.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

อรรถกถาปัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัตตสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า ปญฺจนฺน อุปาทานกฺขนฺธาน อุปาทาย ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงถือเอาอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นจำแนกแสดง โดยประการต่างๆ

ด้วยอำนาจสภาวะและสามัญลักษณะ. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงแสดง

สภาวะและลักษณะเป็นต้นของขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่

ทรงให้ถือไว้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ ทรงให้เกิดอุตสาหะในการสมาทาน

ถือเอา. บทว่า สมฺปหเสติ ได้แก่ ทรงให้ผ่องแผ้ว ให้สว่างด้วยคุณที่

แทงตลอดแล้ว. บทว่า อฏฺิกตฺวา แปลว่า ทำให้เป็นประโยชน์ ได้แก่

กำหนดอย่างนี้ว่า เราพึงได้ประโยชน์นี้ แล้วมีความต้องการด้วยเทศนานั้น.

บทว่า มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งไว้ในจิต. บทว่า สพฺพโส สมนฺนาหริตฺวา

ได้แก่ รวบรวมไว้ด้วยจิตที่ทำการนั้นทั้งหมด. บทว่า โอหิตโสตา ได้แก่

ตั้งโสตไว้. บทว่า อชฺโฌกาเส นิกฺขิตฺตา ได้แก่ บาตรที่เหล่าภิกษุวางไว้

กลางแจ้งเพื่อผึ่งแดด.

บทว่า รูป เวทยิต สญฺ ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น

ทรงถือเอาสังขารขันธ์ ด้วยบทนี้ว่า ยญฺจ สงฺขต. บทว่า เอว ตตฺถ วิรชฺชติ

ได้แก่ พระอริยสาวกเมื่อเห็นว่า เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา ย่อม

เบื่อหน่ายในขันธ์เหล่านั้นอย่างนี้. บทว่า เขมตฺต ได้แก่ อัตภาพที่มี

ความเกษม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขณะแห่งผลจิต ด้วยบทนี้. บทว่า

อนฺเวส ได้แก่ แสวงหาในที่ทั้งปวง กล่าวคือ ภพ กำเนิด คติ ฐิติและ

สัตตาวาส. บทว่า นาชฺฌคา ได้แก่ ไม่เห็น.

จบอรรถกถาปัตตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

๗. อายตนสูตร

ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖

[ ๔๖๔ ] ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยผัสสายตนะ ๖.

ก็ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็ม

ใจเงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ยังภิกษุ

ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยว

ด้วยผสัสายตนะ ๖ และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโ่ยชน์ น้อมนึกมา

ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไป หาพระสมณ-

โคดมถึงที่ประทับ เพื่อประสงค์ทำปัญญาจักษุให้พินาศ.

[๔๖๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครั้นแล้ว ได้ร้องเสียงดังพิลึกพึงกลัว ประดุจแผ่นดินจะถล่ม ในที่ใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ภิกษุ แผ่นดินนี้เห็นจะถล่มเสียละกระมัง.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ดูก่อนภิกษุ แผ่นดินนี้ย่อมไม่ถล่ม ดูก่อนภิกษุ นั่นมารผู้มีบาปมาแล้ว เพื่อ

ประสงค์ทำปัญญาจักษุของพวกเธอให้พินาศ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

[๔๖๖] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมาร

ผู้มีบาปจึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

และธรรมารมณ์ทั้งสิ้นนี้เป็นโลกามิสอัน

แรงกล้า โลกหมกมุ่นอยู่ในอารม เหล่านี้

ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้ามีสติก้าวล่วง

โลกามิสนั้น และก้าวล่วงบ่วงมารแล้ว

รุ่งเรื่องอยู่ดุจพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จัก

เรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถาอายตนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอายคนสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า ผสฺสายตนาน ได้แก่ อายตนะทั้งหลายแห่งผัสสะ ที่ชื่อว่า

เป็นไปในทวาร ๖ เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมโดยสัญชาติ. บทว่า ภยเภรว

สทฺท ได้แก่ เสียงที่ให้เกิดความกลัว เช่นเสียงเมฆเสียงกลองเสียงฟ้าผ่า. บท

ว่า ปวี มญฺเ อุทฺรียติ ได้แก่ ผืนแผ่นดินใหญ่ ได้เป็นประหนึ่งทำ

เสียงครืนครั่น. บทว่า เอตฺถ โลโก สมุจฺฉิโต ได้แก่โลกหมกมุ่นในอารมณ์

๖ เหล่านี้. บทว่า มารเธยฺย ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นที่ตั้งแห่ง

มาร.

จบอรรถกถาอายตนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

๘. ปิณฑิกสูตร

ว่าด้วยมารดลใจไม่ให้ใส่บิณฑบาต

[๔๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บ้านพราหมณ์

ในปัญจสาลคาม แคว้นมคธ.

ก็สมัยนั้นแล ที่บ้านพราหมณ์ ในปัญจสาลคาม มีนักขัตฤกษ์แจก

ของแก่พวกเด็ก ๆ ครั้นรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จเข้าไปสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อบิณฑบาต.

ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้คฤหบดีชาวปัญจสาลคามถูกมารผู้มีบาป

เข้าดลใจ ด้วยประสงค์ว่า พระสมณโคดมอย่าได้บิณฑบาตเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคามเพื่อ

บิณฑบาตด้วยบาตรเปล่าอย่างใด ก็เสด็จกลับมาด้วยบาตรเปล่าอย่างนั้น.

[๔๖๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สมณะ ท่านได้บิณฑบาตบ้างไหม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านได้กระทำให้เราไม่

ได้บิณฑบาตมิใช่หรือ.

มารผู้มีบาปกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จ

เข้าไปสู่บ้านพราหมณ์ในปัญจสาลคาม เพื่อบิณฑบาตครั้งที่สองอีกเถิด พระ-

เจ้าข้า ข้าพระองค์จักการทำให้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้บิณฑบาต.

[๔๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

มารมาขัดขวางตถาคต ได้ประสบ

สิ่งมิใช่บุญแล้ว ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่าน

เข้าใจว่า บาปย่อมไม่ให้ผลแก่เรา ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

หรือพวกเราไม่มีความกังวล ย่อมอยู่เป็น

สุขสบายหนอ พวกเราจักมีปีติเป็นภักษา

ดุจอาภัสสรเทพ ฉะนั้น.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้

จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถาปิณฑิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑิกสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า ปาหุนกานิ ภวนฺติ ความว่า ของขวัญที่พึงส่งไปในที่นั้นๆ

ในงานนักขัตฤกษ์เห็นปานนั้นหรือไทยทานเป็นบรรณาการสำหรับต้อนรับแขก

[อาคันตุกะ] ได้ยินว่า วันนั้นเป็นวันเที่ยวเตร่กันตามลำพัง [เสรี] พวกหนุ่มๆ

ที่มีวัยและชาติเสมอกันอันตระกูลคุ้มครองแล้วก่ออกไปชุมนุมกัน. แม้พวกสาว

ก็แต่งตัวด้วยเครื่องตกแต่งอันเหมาะแก่สมบัติตน ๆ เที่ยวเตร่กันไปในที่นั้น ๆ

ในจำพวกหนุ่มสาวเหล่านั้น แม้พวกสาว ๆ ก็ส่งของขวัญ ให้แก่พวกหนุ่ม ๆ ที่

ตนพอใจ. ถึงพวกหนุ่มๆ ก็ส่งของขวัญให้พวกสาว ๆ เหมือนกัน. เมื่อไม่มีของ

ขวัญอย่างอื่น โดยที่สุดก็คล้องแม้ด้วยพวงมาลัย. บทว่า อนฺวาวิฏฺา ได้แก่

เข้าไปสิงแล้ว. ได้ยินว่า วันนั้น พวกสาว ๕๐๐ คน กำลังเดินไปเล่นใน

สวน พบพระศาสดาสวนทางมาก็พึงถวายขนมอ่อน. พระศาสดาจึงทรงแสดง

ธรรมเบ็ดเตล็ด เพื่ออนุโมทนาทานของพวกสาวเหล่านั้น. เมื่อจบเทศนา พวก

สาวทั้งหมดพึงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนั้น มารจึงเข้าดลใจ ด้วยหมายจักทำ

อันตรายแก่สมบัตินั้น. แต่ในบาลี ท่านกล่าวไว้เพียงว่า ขอพระสมณโคดม

อย่าได้อาหารเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงทราบการดลใจของมารหรือจึงเสด็จเข้าไป.

ตอบว่าใช่ไม่ทรงทราบ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่ทรงนึกไว้. จริงอยู่ การนึก

ว่าเราจักได้หรือไม่ได้อาหารในที่โน้น ดังนี้ ไม่สมควรแก่พระพุทธทั้งหลาย.

ก็พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว ทรงเห็นความผิดแผกแห่งการปฏิบัติของเหล่าผู้คน

ทรงนึกว่า นี้อะไรกัน ก็ทรงทราบ ทรงพระดำริว่า การทำลายการดลใจของ

มาร เพื่ออามิสไม่สมควร จึงไม่ทรงทำลายเสด็จออกไปเสีย.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารดีใจเหมือนชนะศัตรู จึงแปลงเพศ

เป็นชาวบ้านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่ได้อาหารแม้เพียงทัพพีเดียว

ในบ้านทั้งสิ้น กำลังเสด็จออกไปจากหมู่บ้าน. คำว่า ตถาห กริสฺสามิ นี้เป็น

คำที่มารพูดเท็จ ได้ยินว่า มารนั้นคิดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พระ-

สมณโคดมเสด็จเข้าไปอีก ที่นั้น พวกเด็กชาวบ้านก็จักพูดเยาะเย้ยเป็นต้นว่า

พระสมณโคดมเที่ยวไปทั่วบ้าน ไม่ได้ภิกษาแม้แต่ทัพพีเดียว ออกจากหมู่บ้าน

แล้วยังเสด็จเข้าไปอีก ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ถ้ามารนี้

จักเบียดเบียนเราอย่างนี้ ศีรษะของเขาก็จักแตก ๗ เสี่ยงแน่ จึงไม่เสด็จเข้าไป

ด้วยทรงเอ็นดูในมารนั้นจึงตรัส ๒ พระคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสวิ ได้แก่ให้เกิด คือให้เกิดขึ้น. บทว่า

อาสชฺช น ได้แก่ขัดขวาง คือ กระทบแล้ว. ด้วยบทว่า น เม ปาป วิปจฺจติ

ทรงแสดงว่าท่านยังจะสำคัญอยู่อย่างนี้หรือว่า บาปจะไม่ให้ผลแก่เรา คือบาป

นั้นไม่มีผล ท่านอย่าสำคัญอย่างนั้น ผลของบาปที่ท่านทำมีอยู่ ดังนี้. บทว่า

กิญฺจน ได้แก่ ข่ายคือกิเลสมีกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ที่สามารถย่ำยีได้.

บทว่า อาภสฺสรา ยถา ความว่า เราจักเป็นเหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสสระ

ที่ดำรงอัตภาพด้วยฌานที่มีปิติ ชื่อว่ามีปีติเป็นภักษาหาร.

จบอรรถกถาปิณฑิกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

๙. กัสสกสูตร

ว่าด้วยมารแปลงเพศเป็นชาวนา

[๔๗๐] สาวัตถีนิทาน.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และ

ภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสต

ลงสดับธรรมอยู่.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยัง

ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

เกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ

เพื่อทำปัญญาจักษุให้พินาศ.

[๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่

ถือปฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสอง

เปื้อนโคลน เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่สมณะ ท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการ

อะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า.

มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็น

ของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเรา

ไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือ

วิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ

จมูกเป็นของเรา กลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยฆานสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็น

ของเรา อายตนะคือวิญาณอันอาศัยชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเรา

ไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะ

คือวิญญาณอันอาศัยกายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่

สมณะ ใจเป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันอาศัย

มโนสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น.

[๔๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป จักษุเป็น

ของท่าน รูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัสก็เป็นของ

ท่านแท้ ดูก่อนมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะ

คือวิญญาณอันอาศัยจักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน โสตเป็นของท่าน

เสียงเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ใน

ที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันอาศัยโสตสัมผัส ที่นั้น

มิใช่ทางดำเนินของท่าน จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือ

วิญญาณอันอาศัยฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็น

ของท่าน อายตนะคือวิญาณอันอาศัยชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ กายเป็น

ของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันอาศัยกายสัมผัสเป็น

ของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะ

คือวิญญาณอัน อาศัยมโนสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มี

ธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทาง

ดำเนินของท่าน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

[๔๗๓] มารกราบทูลว่า

ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของ

เรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่าน

มีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่

พ้นเราไปได้.

[๔๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่

มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้น

ไม่ใช่เรา ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้

อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

อรรถกถากัสสกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย ได้แก่ ที่อ้างพระนิพพานเป็นไปแล้ว.

บทว่า ทฏหฏเกโส ได้แก่ นำผมหน้าไว้ข้างหลัง นำผมหลังไว้ข้างหน้า

นำผมข้างซ้ายไว้ข้างขวา นำผมข้างขวาไว้ข้างซ้าย ชื่อว่า มีผมกระจายยุ่งเหยิง

บทว่า มม จกฺขุสมฺผสฺสวิญฺาณายตน ได้แก่ จักษุสัมผัสที่ประกอบด้วย

จักขุวิญญาณ. จักษุสัมผัสนั้นก็ดี วิญญาณายตนะก็ดี เป็นของเรา. ก็ในคำว่า

มเมว ของเรานี้ ท่านถือเอาธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยวิญญาณ ด้วยจักษุสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

ถือเอาวิญญาณทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่เกิดในจักษุทวารแม้ทั้งหมด

ด้วยวิญญาณายตนะ. ถึงในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร

ภวังคจิต เป็นไปโดยการรับอารมณ์ ชื่อว่ามโน. ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหลาย

ชื่อว่า ธรรม. สัมผัสที่ประกอบด้วยภวังคจิตอันเป็นไปด้วยอาวัชชนะ ชื่อว่า

มโนสัมผัส. ชวนจิต ชื่อว่า วิญญาณายตนะ แม้ตทารัมมณะก็เป็นไป.

บทว่า ตเวว ปาปิม จกฺขุ ความว่า จักษุใด อันโรคที่ทำความมืด

เป็นต้นในโลกเข้าขัดขวาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคมากอย่าง ทำให้แห้งให้กระด้าง ๆ

โดยที่สุด ตาก็บอด เหตุนั้น จักษุนั้นทั้งหมดเป็นอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ในรูป

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ย วทนฺติ จ ความว่า บุคคลเหล่าใดกล่าวถึง

สิ่งใด ว่านี้เป็นของเรา. บทว่า มมนฺติ จ ความว่า และบุคคลเหล่าใดกล่าวว่า

ของเรา. บทว่า เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ ความว่า ผิว่า จิตของท่านมีอยู่ใน

ฐานะเหล่านี้ไซร้. บทว่า น เม สมณ โมกฺขิสิ แปลว่า ท่านจักไม่หลุดพ้น

จากวิสัยของเรา. บทว่า ย วทนฺติ ความว่า บุคคลทั้งหลายกล่าวถึงสิ่งใด

สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา. บทว่า เย วทนฺติ ความว่า บุคคลแม้เหล่าใดกล่าว

อย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา. บทว่า น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ ความว่า

ท่านก็ไม่เห็นแม้แต่ทางไปของเรา ในภพกำเนิดและคติเป็นต้น.

จบอรรถกถากัสสกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

๑๐. รัชชสูตร

ว่าด้วยมารเชิญให้เสวยราชสมบัติ

[๔๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กระท่อมอัน

ตั้งอยู่ในป่า ในประเทศหิมวันต์ แคว้นโกศล.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ พักผ่อนอยู่ในที่ลับได้ทรง

ปริวิตกว่า เราจะสามารถเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง

ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำผู้อื่นให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม

ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศกได้หรือไม่.

[๔๗๖] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้น แล้วจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเสวย

รัชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่

เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขา

ทำคนอื่นให้เสื่อม ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ท่าให้ผู้อื่นเศร้าโศก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา

ทำไมจึงได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสวยรัชสมบัติเถิด

พระเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยรัชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง

ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเอง ไม่ใช้ให้เขาทำผู้อื่นให้เสื่อม

ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก.

มารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า อิทธิบาททั้ง ๔ พระองค์ทรงบำเพ็ญให้

เจริญ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง กระทำไม่หยุด

สั่งสมปรารภด้วยดีแล้ว พระเจ้าข้า ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์ ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

อธิษฐานภูเขาหลวงชื่อหิมพานต์ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็พึงเป็นทองคำ

ล้วน.

[๔๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมารด้วยพระคาถาว่า

ภูเขาทองคำล้วนมีสีสุกปลั่ง ถึง

สองเท่าก็ยังไม่พอแก่บุคคลหนึ่ง บุคคล

ทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ ผู้ใดได้

เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว ไฉนผู้นั้นจะ

พึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคลทราบอุปธิ

ว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษา

เพื่อกำจัดอุปธินั้นเสีย.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

จบรัชชสูตร

จบทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

อรรถกถารัชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรัชชสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า อหน อฆาฏย ได้แก่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้เขาเบียด

เบียน. บทว่า อชิน อชาปยได้แก่ไม่ทำความเสื่อมทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้

เขาทำความเสื่อม. บทว่า อโสจ อโสจาปย ได้แก่ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ทำ

ให้เขาเศร้าโศก. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นมนุษย์ทั้งหลาย ถูกผู้

ลงโทษเบียดเบียน ในรัชสมัยของเหล่าพระราชาผู้ไม่ทรงธรรม จึงทรง

พระดำริอย่างนี้ ด้วยอำนาจความกรุณา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มาร

คิคว่าพระสมณโคดม ทรงดำริว่า เราอาจครองราชสมบัติได้ คงจักอยากครอง

ราชสมบัติ ก็ขึ้นชื่อว่าราชสมบัตินี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อทรง

ครองราชสมบัติ เราอาจได้พบความผิดพลาด จำเราจักไปทำให้พระองค์เกิดความ

อุตสาหะ ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อิทฺธิปาทา ได้แก่ส่วนที่ให้สำเร็จ. บทว่า

ภาวิตา ได้แก่ให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่กระทำบ่อย ๆ. บทว่า

ยานีกตา ได้แก่การทำให้เป็นดุจยานที่เทียมไว้แล้ว. บทว่า วตฺถุกตา ได้

แก่กระทำให้มีที่ตั้ง เพราะอรรถาว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺิตา ได้แก่ ไม่

ละแล้ว ติดตามอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ปริจิตา ได้แก่สั่งสมดี ด้วยการกระทำ

ติดต่อกัน คือชำนาญเหมือนฝีมือยิงธนูไม่พลาดของนักแม่นธนู. บทว่า สุสมา

รทฺธา ได้แก่ เริ่มพร้อมดีแล้วมีภาวนาบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อธิมุจฺเจยฺย

ได้แก่พึงคิด.

บทว่า ปพฺพตสฺส แก้เป็น ปพฺพโต ภเวยฺย พึงมีภูเขา. บท

ทฺวิตาว ความว่า ภูเขาลูกเดียวยกไว้ก่อน ภูเขาทองขนาดใหญ่เพียงนั้นแม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

สองเท่า ก็ยังไม่พอคือไม่พอความต้องการสำหรับคน ๆ เดียวได้.

บทว่า อิติ วิทฺธา สมญฺจเร ได้แก่ เมื่อรู้อย่างนี้ พึงพระพฤติสม่ำเสมอ.

บทว่า ยโตนิทาน ได้แก่ขึ้นชื่อว่าทุกข์มีกามคุณ ๕ เป็นเหตุ. สัตว์ใดได้เห็น

อย่างนี้ว่า ทุกข์นั้นมีกามคุณใดเป็นเหตุ. บทว่า กถ นเมยฺย ความว่า สัตว์

นั้นพึงน้อมไปในกามเหล่านั้นอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เพราะเหตุอะไร. บทว่า

อุปธึ วิทิตฺวา ความว่า รู้อุปธิคือกามคุณอย่างนี้ว่า นั่นเป็นเครื่องข้อง นี่ก็

เป็นเครื่องข้อง. บทว่า ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเข ความว่าพึงศึกษา

เพื่อกำจัดอุปธินั้นนั่นแลเสีย ดังนี้.

จบอรรถกถารัชชสูตรที่ ๑๐

ทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. ปาสาณสูตร ๒. สีหสูตร ๓. สกลิกสูตร ๔. ปฎิรูปสูตร

๕. มานสสูตร ๖. ปัตตสูตร ๗. อายตนสูตร ๘. ปิณฑิกสูตร ๙.

กัสสกสูตร ๑๐. รัชชสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ตติยวรรคที่ ๓

๑. สัมพหุลสูตร

มารกวนภิกษุ

[๔๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นครศิลาวดี ในแคว้นสักกะ.

ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกัน เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

ใจมั่นอยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๗๙] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปนิรมิตเพศเป็นพราหมณ์มุ่นชฎาใหญ่

นุ่งหนังเสือ แก่ หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ

เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่าน

บรรพชิตผู้เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบ

ด้วยความหนุ่มแน่น ยังอยู่ในปฐมวัยไม่เบื่อในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจง

บริโภคกามอันเป็นของมนุษย์ อย่าละผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผลชั่วคราวเลย.

ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ พวกเราย่อมไม่ละผลอันเห็นเอง

วิ่งไปสู่ผลชั่วคราว แต่เราทั้งหลายละผลชั่วคราววิ่งไปสู่ผลอันเห็นเอง ดูก่อน

พราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นของชั่วคราว

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายมีมากยิ่ง ธรรมนี้มีผลอัน

เห็นเองให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นของควรเรียกกันมาดู ควรน้อมมาไว้ในตน อัน

วิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มารผู้มีบาปจึงสั่นศีรษะ แลบลิ้น

ทำหน้าขมวดเป็นสามรอย จดจ้องไม้เท้าหลีกไป.

[๔๘๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่

ประทับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุ

เหล่านั้นครั้นนั่งแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์

ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญความเพียร ตั้งใจมั่น อยู่ในที่ใกล้พระองค์

ณ ที่นี้พระเจ้าข้า มีพราหมณ์คนหนึ่ง มุ่นชฎาใหญ่ นุ่งหนังเสือ เป็นคนแก่

หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ เข้าไปหาข้า

พระองค์ยิ่งที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญทั้งหลาย

ล้วนแต่เป็นคนหนุ่มกระชุ่มกระชวย มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่มแน่น ยัง

อยู่ในปฐมวัยไม่เบื่อในกามารมณ์ทั้งหลาย ขอท่านจงบริโภคกามอันเป็นของ

มนุษย์ อย่าละผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผลชั่วคราวเลย พระเจ้าข้า เมื่อพราหมณ์

กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกข้าพระองค์ได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์

พวกเราย่อมไม่ละผลอันเห็นเอง วิ่งไปสู่ผลชั่วคราว แต่พวกเราละผลชั่วคราว

วิ่งไปสู่ผลอันเห็นเอง ดูก่อนพราหมณ์ เพราะกามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้ง

หลายนั้นมีมากยิ่ง ธรรมนี้มีผลอันเห็นเอง ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นของควร

ยกมาดู ควรน้อมไว้ในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นสั่นศรีษะ. แลบลิ้น ทำหน้าขมวด

เป็นสามรอย จดจ้องไม้เท้าหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นมิใช่

พราหมณ์ นั้นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อประสงค์จะทำปัญญาจักษุของพวกเธอให้

พินาศ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงภาษิต

พระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ใดได้เห็นทุกข์มีกามเป็นเหตุแล้ว

ไฉนผู้นั้นจะพึงน้อมใจไปในกามเล่า บุคคล

ผู้ทราบอุปธิว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก

แล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้นเสีย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

ตติยวรรคที่ ๓

อรรถกถาสัมพหุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป:-

บทว่า ชฏณฺฑุเวน ได้แก่เทริดเซิงผม. บทว่า อชินกฺขิปนิวตฺโถ

ได้แก่หนึ่งเสือที่มีเล็บเท้างาม นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง. บทว่า อุทุมฺพรทณฺฑ

ได้แก่ถือไม้เท้าไม้มะเดื่อ คดนิดหน่อย เพื่อประกาศความเป็นผู้มักน้อย. บทว่า

เอตทโวจ ความว่า มารถือเพศนักบวชพราหมณ์แก่ เพราะเป็นนักบวชใน

จำพวกพราหมณ์ก็ดี เป็นผู้แก่ในจำพวกนักบวชก็ดี ด้วยเข้าใจว่าธรรมดาถ้อยคำ

ของพราหมณ์ รับฟังกันด้วยดีในโลก แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำกิจ ณ

ที่สำหรับทำความเพียร ยกมือทั้งสองขึ้น ได้กล่าวคำว่า ทหรา ภวนฺโต

เป็นต้นนั้น. บทว่า โอกมฺเปตฺวา แปลว่า เอาคางจดท้องค้อมตัวตัวลงต่ำ.

บทว่า ชิวฺห นิลฺลาเฬตฺวา ได้แก่แลบลิ้นใหญ่รับคำข้าว เสียไปสองข้าง

ทั้งข้างบนทั้งข้างล่าง. บทว่า ติวิสาข ได้แก่ ๓ รอย. บทว่า นลาฏิก ความ

ว่ารอยย่น ปรากฏที่หน้าผากอันสยิ้ว. บทว่า ปกฺกามิ ความว่า พราหมณ์แก่

กล่าวว่า พวกท่านไม่เชื่อคำของผู้รู้ จงเข้าไปที่เร้นของตนเถิด แล้วจับทาง

ไปทางหนึ่ง.

จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

๒. สมิทธิสูตร

ว่าด้วยมารขู่พระสมิทธิ

[๔๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กรุงศิลาวดี แคว้นสักกะ.

ก็สมัยนั้นแล ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น

อยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านสมิทธิผู้พักผ่อนอยู่ในที่ลับ มีความปริวิตกแห่งจิต

เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

เป็นพระศาสดาของเรา เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้บวชในพระธรรมวินัย

อันพระศาสดาตรัสดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อนพรหมจรรย์

อันมีศีลมีกัลยาณธรรม.

[๔๘๓] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปทรามความปริวิตกแห่งจิตของท่าน

สมิทธิด้วยจิตแล้ว เข้าไปหาท่านสมิทธิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงทำเสียงดังน่ากลัว

น่าหวาดเสียวประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ.

[๔๘๔] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่

ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ท่าน

สมิทธิครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว จึงได้กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น อยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์อยู่ในที่ลับเร้น มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า

เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นพระศาสดา

ของเรา เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้บวชในพระธรรมวินัยอันพระศาสดาตรัส

ดีแล้วอย่างนี้ เป็นลาภของเราดีแท้ที่เราได้เพื่อนพรหมจรรย์ อันมีศีลมีกัลยาณ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

ธรรม พระเจ้าข้า ขณะนั้น ก็ได้มีเสียงดังน่ากลัว น่าหวาดเสียวประดุจแผ่นดิน

จะถล่ม เกิดขึ้นในที่ใกล้ข้าพระองค์.

[๔๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สมิทธิ นั้นไม่ใช่แผ่นดินจะถล่ม

นั้นเป็นมารผู้มีบาปมาเพื่อประสงค์จะทำปัญญาจักษุของเธอให้พินาศ เธอจง

ไปเถิด สมิทธิ จงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่นอยู่ในที่นั้นตาม

เดิมเถิด.

ท่านสมิทธิรับพระดำรัสแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๔๘๖] แม้ครั้งที่สอง ท่านสมิทธิเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

ตั้งใจมั่นอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แม้ในครั้งที่สอง ท่านสมิทธิไปในที่ลับเร้นอยู่

มีความปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ ฯลฯ แม้ในครั้งที่สอง มารผู้มีบาปทราบความ

ปริวิตกแห่งจิตของท่านสมิทธิด้วยจิตแล้ว ฯลฯ จึงทำเสียงดังน่ากลัว น่า-

หวาดเสียวประดุจแผ่นดินจะถล่ม ณ ที่ใกล้ท่านสมิทธิ.

[๔๘๗] ลำดับนั้น ท่านสมิทธิทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึงกล่าว

กะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

เราหลีกออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มี

เรือนด้วยศรัทธา สติและปัญญาของเรา

เรารู้แล้ว อนึ่ง จิตของเราตั้งมั่นดีแล้ว

ท่านจักบันดาลรูปต่างๆ อันน่ากลัวอย่างไร

ก็จักไม่ยังเราให้หวาดกลัวได้เลยโดยแท้.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า ภิกษุสมิทธิรู้จักเรา ดังนี้

ได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

อรรถกถาสมิทธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมิทธิสูตรที่ ๒ ต่อไป:-

บทว่า ลาภา เม กต สุลทฺธ วต เม ความว่า เป็นลาภของเรา

เราได้ดีแล้ว เพราะเราได้พระศาสดา พระธรรม และเพื่อนพรหมจารีเห็นปาน

นั้น. ได้ยินว่า ท่านสมิทธินั้น ภายหลัง พิจารณามูลกัมมัฏฐานแล้ว ก็ยืด

กัมมัฏฐานที่น่าเลื่อมใสไว้ก่อน ด้วยหมายจะยึดเอาพระอรหัตให้ได้ ระลึกคุณ

ของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ให้เกิดความที่จิตเหมาะแล้ว นั่ง

ทำจิตให้ร่าเริงยินดี ด้วยเหตุนั้น ท่านสมิทธินั้นจึงคิดอย่างนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ

ความว่า มารคิดว่า พระภิกษุสมิทธินี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับ ภิกษุที่นั่งถือกัมมัฏฐาน

ที่น่าเลื่อมใส ตราบใด ยังถือเอาพระอรหัตไม่ได้ ตราบนั้น จำเราจักทำ

อันตรายแก่เธอ ดังนี้ แล้วจึงเข้าไปหา. บทว่า คจฺฉ ตฺว ความว่า พระศาสดา

ทรงตรวจดูทั่วชมพูทวีป ทรงพบว่า กัมมัฏฐานจักเป็นสัปปายะสำหรับภิกษุนั้น

ในที่นั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า สติ ปญฺา จ เม

พุทฺธา ความว่า เรารู้สติและปัญญาของเรา. บทว่า กาม กรสฺสุ รูปานิ

ได้แก่ ท่านจะทำรูป ที่น่ากลัวแม้มากมาย. บทว่า เนว ม พฺยาธยิสฺสสิ

ได้แก่ ท่านไม่ทำเราให้หวั่นไหวได้.

จบอรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

๓. โคธิกสูตร

ว่าด้วยพระโคธิกะปรินิพพาน

[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

ก็สมัยนั้นแล ท่านโคธิกะ อยู่ที่กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ.

[๔๘๙] ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

ตั้งใจมั่น ได้บรรลุเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์ ภายหลังท่านโคธิกะได้เสื่อมจาก

เจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๒ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร ตั้งใจมั่น ได้บรรลุเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๒ ก็ได้

เสื่อมจากเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๓ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร ตั้งใจมั่นอยู่. ได้บรรลุเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๓ ก็

ได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๔ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่

ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น ได้บรรลุเจโตวิมุติอัน เป็นโลกีย์ แม้ในครั้ง

ที่ ๔ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๕ ท่านโคธิกะเป็นผู้

ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น ได้บรรลุเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์ แม้ใน

ครั้งที่ ๕ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๖ ท่านโคธิกะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น ได้บรรลุเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์

แม้ในครั้งที่ ๖ ก็ได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๗ ท่าน

โคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจมั่น ก็ได้บรรลุเจโควิมุตติอันเป็น

โลกีย์อีก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เสื่อมจาก

เจโตวิมุตติอันเป็นโลกีย์ถึง ๖ ครั้งแล้ว ถ้ากระไร เราพึงนำศัสตรามา.

[๔๙๐] ลำดับนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่าน

โคธิกะด้วยจิตแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ มีเพียรใหญ่

มีปัญญามาก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ

ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอ

ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ ข้าแต่พระองค์

ผู้มีเพียรใหญ่ สาวกของพระองค์อันมรณะ

ครอบงำแล้ว ย่อมคิดจำนงหวังความตาย

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรื่อง

ขอพระองค์จงห้ามสาวกะองพระองค์นั้น

เสียเถิด.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏ

ในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระ-

ศาสนา ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต ยัง

เป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงกระทำกาละ

เสียเล่า.

ก็เวลานั้น ท่านโคธิกะได้นำศัสตรามาแล้ว.

[๔๙๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป

จึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนี้แล

ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต โคธิกะภิกษุ ถอน

ตัณหาพร้อมด้วยราก นิพพานแล้ว.

[๔๙๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรามาไปสู่กาลศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ อันเป็นที่

โคธิกกุลบุตร นำศัสตรามาแล้ว

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุหลายรูปได้เข้าไปยัง

กาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นโคธิกะมีคออันพลิกแล้ว นอน

อยู่บนเตียงที่ไกลเทียว ก็เวลานั้นแล ควันหรือหมอกพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.

[๔๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นไหม ควันหรือหมอกนั้นพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับพระดำรัสแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่น

มารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณ. ของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของ

โคธิกกุลบุตรตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณ

อันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว.

[๔๙๔] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของ

โคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศ

เบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อย

ทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ

ที่ไหน.

[๔๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มี

ปกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ

พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความ

อาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว

ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือ

โคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อมด้วย

ราก ปรินิพพานแล้ว.

พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมารผู้มีความเศร้าโศก ในลำดับนั้น

ยักษ์นั้นมีความโทมนัส หายไปในที่นั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

อรรถกถาโคธิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโคธิกสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาชื่อ อิสิคิลิ. บทว่า กาฬสิลาย

ได้แก่ ก้อนหินสีดำ. บทว่า สามายิก เจโตวิมุตฺติ ความว่า สมาบัติฝ่าย

โกลิกะ ชื่อว่า สามายิกาเจโตวิมุตติ เพราะจิตหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก

ในขณะที่จิตแนวแน่แนบแน่น และน้อมไปในอารมณ์. บทว่า ผุสิ ได้แก่

กลับได้. ในบทว่า ปริหายิ ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านโคธิกะ จึงเสื่อมถึง

๖ ครั้ง. ตอบว่า เพราะท่านมีอาพาธ. ได้ยินว่า พระเถระมีอาพาธเรื้อรัง

[ประจำตัว] โดยเป็นโรคลมน้ำดีและเสมหะ. ด้วยอาพาธนั้น พระเถระจึงไม่

อาจบำเพ็ญอุปการธรรมให้เป็นสัปปายะของสมาธิได้ จึงเสื่อมจากสมาบัติที่แน่ว

แน่แนบแน่นไปเสีย.

บทว่า ยนฺนูนาห สตฺถ อาหเรยฺย ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ

คิดจะฆ่าตัวตาย. ผู้มีฌานเสื่อมการทำกาละ. [ตาย] คติไม่แน่นอน. ผู้มีฌาน

ไม่เสื่อม คติแน่นอนคือย่อมบังเกิดในพรหมโลก เพราะฉะนั้น พระเถระจึง

ประสงค์จะฆ่าตัวตายเสีย. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า สมณะนี้

ประสงค์จะฆ่าตัวตาย ก็ขึ้นชื่อว่า การฆ่าตัวตายนี้ ย่อมมีแก่ผู้ไม่เยื่อใยในร่างกาย

และชีวิต สมณะนั้นพิจารณามูลกัมมัฏฐานแล้ว ย่อมสามารถยึดแม้พระอรหัต

ไว้ได้ ถึงเราห้ามปราม เธอคงไม่ละเว้น ต่อพระศาสดาทรงห้ามปราม จึงจะ

เว้น ดังนี้ จึงทำเหมือนหวังดีต่อพระเถระ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ชล แปลว่า รุ่งเรืองอยู่. บทว่า ปาเท วนฺทามิ จกฺขุม

ความว่า ท่านผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้ง ๕ ข้าพระองค์ขอไหว้พระบาทของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

บทว่า ชุตินฺธร ได้แก่ ผู้ทรงอานุภาพ. บทว่า อปฺปตฺตมานโส ได้แก่

ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า เสกฺโข ได้แก่ผู้กำลังศึกษาศีลเป็นต้นชื่อว่า

ผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำ. บทว่า ชเน สุตา ได้แก่ ผู้ปรากฏในหมู่ชน. บทว่า

สตฺถ อาหริต โหติ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เราจะมีประโยชน์

อะไรด้วยชีวิตนี้ จึงนอนหงายเอามีดตัดหลอดคอ. ทุกขเวทนาทั้งหลายก็เกิก

ขึ้น. พระเถระข่มเวทนาแล้วกำหนดเวทนานั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ตั้งสติมั่น

พิจารณามูลกัมมัฏฐานก็บรรลุพระอรหัต เป็นสมสีสี ปรินิพพานแล้ว. ก็ชื่อ

ว่าสมสีสีมี ๓ ประเภท คืออิริยาปถสมสีสี โรคสมสีสี ชีวิตสมสีสี.

บรรดาพระอรหันต์ ๓ ประเภทนั้น พระอริยะรูปใดอธิษฐานอิริยาบถ

ทั้งหลายมียืนเป็นต้น อิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นด้วยหมาย

จะไม่เปลี่ยนอิริยาบถนี้แล้ว บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้น

บรรลุพระอรหัตและไม่เปลี่ยนอิริยาบถพร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้

ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี. อนึ่ง พระอริยะรูปใดเมื่อบรรดาโรคทั้งหลายมีโรคตาเป็น

ต้น อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นว่า ถึงไม่หายจากโรคนี้ ก็จัก

บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้นบรรลุพระหัต และหายโรค

พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ชื่อว่า โรคสมสีสี. แต่อาจารย์บางพวก

บัญญัติพระอรหันต์นั้นเป็นสมสีสีในข้อนี้ โดยปรินิพพาน ในเพราะอิริยาบถ

นั้นนั่นแหละ และในเพราะโรคนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง พระอริยรูปใด สิ้น

อาสวะและสิ้นชีพ พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ ชื่อว่าชีวิตสมสีสี

สมจริงดังที่ที่ในกล่าวไว้ว่า บุคคลใดสิ้นอาสวะและสิ้นชีพไม่ก่อนไม่หลัง บุคคล

นี้ เรียกว่า สมสีสี.

ก็ในคำว่า สมสีสี นี้ สีสะมี ๒ คือ ปวัตตสีสะและกิเลสสีสะ. บรรดา

สีสะทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตสีสะ อวิชชาชื่อว่า กิเลสสีสะ. บรรดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ชีวิตินทรีย์และอวิชชานั้น จุติจิตย่อมทำชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป มรรคจิต ทำ

อวิชชาทั้งหลายให้สิ้นไป. จิตสองดวงย่อมไม่เกิดพร้อมคราวเดียวกัน . แต่ผล

จิตเกิดในลำดับมรรคจิต ภวังคจิตเกิดในลำดับผลจิต ออกจากภวังคจิต ปัจจ-

เวกขณจิตก็เกิด. ปัจจเวกขณจิตนั้นบริบูรณ์บ้างไม่บริบูรณ์บ้าง. จริงอยู่แม้

เอาดาบอันคมกริบตัดศีรษะ ปัจจเวกขณจิตย่อมเกิดขึ้น ๑ วาระ หรือ ๒ วาระ

โดยแท้ แต่เพราะจิตทั้งหลายเป็นไปเร็ว การสิ้นอาสวะและการสิ้นชีพจึงปรากฏ

เหมือนมีในขณะเดียวกันนั่นเทียว.

บทว่า สมูล ตณฺห อพฺภุยฺห ได้แก่เพิกถอนตัณหาพร้อมทั้งมูล

โดยมูลคืออวิชชาเสียด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสปรินิพพาน.

บทว่า วิวตฺตกฺขนฺธ ได้แก่ พลิกตัว. บทว่า เสยฺยมาน ได้แก่

นอนหงาย. ก็พระเถระนอนหงายก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ศีรษะของท่านก็เปลี่ยน

ไปอยู่ข้างขวา เพราะนอนคุ้นแต่ข้างขวา. บทว่า ธุมายิตตฺต ได้แก่ ภาวะที่

เป็นควัน . จริงอยู่ ขณะนั้น เหมือนฝนควันและฝนมืดปรากฏขึ้นมา. บทว่า

วิญฺาณ สมนฺเวสติ ได้แก่ มารแสวงหาปฏิสนธิจิต. บทว่า อปฺปติฏฺิเตน

ได้แก่มีปฏิสนธิวิญญา มิได้ตั้งอยู่แล้ว อธิบายว่ามีเหตุแห่งปฏิสนธิวิญญาณ

ไม่ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า เวฬุวปณฺฑุ วีณ ได้แก่ พิณเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก

คือพิณใหญ่สีเหมือนทอง. บทว่า อาทาย ได้แก่หนีบรักแร้. บทว่า อุปสงฺกมิ

ความว่า มารคิดว่า เราไม่รู้ที่เกิดของพระโคธิกเถระ ต้องถามพระสมณโคดม

จึงจะหมดสงสัย แล้วแปลงเพศเป็นเด็กเล็กเข้าไปเฝ้า. บทว่า นาธิคจฺฉามิ

ได้แก่ไม่เห็น. บทว่า โสลปเรตสฺส ได้แก่ถูกความโศกกระทบแล้ว. บทว่า

อภสฺสถ ได้แก่ ตกไปที่หลังเท้า.

จบอรรถกถาโคธิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

๔. สัตตวัสสสูตร

มารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าสิ้น ๗ ปี

[๔๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ริ่มฝั่งแม่

น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา.

ก็สมัยนั้นแล มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า คอยมุ่งหาโอกาส

สิ้น ๗ ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส.

[๔๙๗] ภายหลังมารผู้มีบาป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครันแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้

มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจาก

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง

ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไร ๆ

ไว้ในบ้านหรือ เหตุไรท่านจึงไม่ทำมิตร

ภาพลับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านทำมิตร-

ภาพกับใคร ๆ ไม่สำเร็จ.

[๔๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนมารผู้เป็นเผ่าของบุคคลผู้

ประมาทแล้ว เราขุดรากของความเศร้า

โศกทั้งหมดแล้ว ไม่มีความชั่ว ไม่เศร้า

โศก เพ่งอยู่ เราชนะความติดแน่น กล่าว

คือความโลภในภพทั้งหมด เป็นผู้ไม่มี

อาสวะ เพ่งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

[๔๙๙] มารทูลว่า

ถ้าใจของท่านยังข้องอยู่ในสิ่งที่ชน

ทั้งหลาย กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นของเรา และว่า

สิ่งนี้เป็นเราแล้ว สมณะ ท่านจักไม่พ้น

เราไปได้.

[๕๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

สิ่งที่ชนทั้งหลายกล่าวว่าเป็นของเรา

นั้น ย่อมไม่เป็นของเรา และสิ่งที่ชนทั้ง

หลายกล่าวว่า เป็นเรา ก็ไม่เป็นเราเหมือน

กัน แนะมารผู้มีบาป ท่านจงทราบอย่าง

นี้เถิด แม้ท่านก็จักไม่เห็นทางของเรา.

[๕๐๑] มารทูลว่า

ถ้าท่านจักรู้ทางอันปลอดภัย เป็นที่

ไปสู่อมตมหานิพพาน ก็จงหลีกไปแต่คน

เดียวเถิด จะพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า.

[๕๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใดมุ่งไปสู่ฝั่ง ย่อมถึงพระ-

นิพพาน อันมิใช่โอกาสของมาร เราถูก

ชนเหล่านั้นถามแล้ว จักบอกว่า สิ่งใด

เป็นความจริง สิ่งนั้นหาอุปธิกิเลสมิได้.

[๕๐๓] มารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหมือนอย่างว่ามีสระโบก-

ขรณีในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น พวกเด็กชายหรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

พวกเด็กหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วเข้าไปถึงที่สระโบก

ขรณีนั้นตั้งอยู่ ครั้นแล้วจึงจับปูนั้นขึ้นจากน้ำให้อยู่บนบก พระเจ้าข้า ก็ปูนั้น

ยังก้ามทุก ๆ ก้ามให้ยื่นออก พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น พึงริดพึงหัก

พึงทำลายก้ามนั้นเสียทุก ๆ ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน พระเจ้าข้า ก็เมื่อเป็นอย่าง

นั้น ปูนั้นมีก้ามถูกริด ถูกหัก ถูกทำลายเสียหมดแล้ว ย่อมไม่อาจก้าวลงไป

สู่สระโบกขรณีนั้นอีกเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัย

ของมาร อันให้สัตว์เสพผิด ทำให้สัตว์ดิ้นรน อารมณ์นั้นทั้งหมด อันพระผู้

มีพระภาคเจ้าตัดรอนหักรานย่ำยีเสียหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้คอยหาโอกาส

ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อีก ฉันนั้น.

[๕๐๔] ครั้นแล้ว มารผู้มีบาปได้กล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

เบื่อหน่ายเหล่านั้น ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ฝูงกาเห็นก้อนหินมีสีดุจมันข้น จึง

บินเข่าไปใกล้ด้วยเข้าใจว่าเราทั้งหลาย พึง

ประสบอาหารในที่นี้เป็นแน่ ความยินดีพึง

มีโดยแท้.

เมื่อพยายามอยู่ไม่ได้อาหารสม

ประสงค์ในที่นั้น จึงบินหลีกไป.

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ก็เหมือน

กามาพบศิลา ฉะนั้น ขอหลีกไป.

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปครั้น กล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย

เหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงหลีกจากที่นั้น ไปนั่งขัดสมาธิที่

พื้นดินไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า

ซบเซา หมดปฏิภาณ เอาไม่ขีดแผ่นดินอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

อรรถกถาสัตตวัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัตตวัสสสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สตฺต วสฺสานิ ได้แก่ ก่อนตรัสรู้ ๖ ปี หลังตรัสรู้ ๑ ปี.

บทว่า โอตาราเปกฺโข ได้แก่ มารจ้องอยู่นาน อย่างนี้ว่า ถ้าเราเห็นกาย

ทวารเป็นต้น บางทวารของพระสมณโคดมไม่เหมาะสม เราก็จะท้วงเธอ ดังนี้.

บทว่า อลภมาโน ได้แก่ ไม่เห็นความผิดพลาดแม้เพียงละอองธุลี. ด้วย

เหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวว่า มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทุกฝีก้าวอายุ ๗ ปี ก็ไม่พบความผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสิริ. บทว่า

อุปสงฺกมิ ความว่า มารเข้าไปหาด้วยคิดว่า วันนี้ เราจักมาอภิวาทพระสมณ-

โคดม. ด้วยบทว่า ฌายสิ มารกล่าวว่า ท่านนั่งซบเซาอยู่. บทว่า วิตฺต

นุ ชินฺโน ความว่า ท่านเสื่อมเสียทรัพย์ไปร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง. บทว่า

อาคุนฺนุ คามสฺมึ ความว่า ได้กระทำกรรมชั่วไว้นับไม่ถ้วนภายในบ้าน

ท่านไม่อาจมองหน้าของคนอื่น ๆ ได้แต่นั่งซบเซา เที่ยวอยู่แต่ในป่าหรือ.

บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความเป็นมิตร.

บทว่า ปลิขาย แปลว่า ขุดแล้ว. บทว่า ภวโลภชปฺป ได้แก่

ตัณหา กล่าวคือความอยากได้ภพ. บทว่า อนาสโว ฌายามิ ความว่า เรา

ไม่มีตัณหา เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า

ปมัตตพันธุ จริงอยู่ มารนั้นเป็นพวกพ้องของตนบางพวกที่มัวเมาอยู่ในโลก.

บทว่า สเจ มคฺค อนุพุทฺธ ความว่า ผิว่า ท่านตรัสรู้ตามมรรคไซร้.

บทว่า อเปหิ ได้แก่ จงไปเสีย. บทว่า อมจฺจุเธยฺย ได้แก่ พระนิพพาน

อันไม่เป็นโอกาสแห่งมัจจุราช. บทว่า ปารคามิโน ความว่า ทั้งคนที่ถึง

ฝั่งแล้ว ทั้งคนที่ประสงค์จะไปสู่ฝั่ง ก็ชื่อว่า ปารคามิโน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

บทว่า วิสกายิกานิ ได้แก่ อันเป็นไปในส่วนลึกของมาร. บทว่า

วิเสวิตานิ ได้แก่ อันบุคคลเสพผิด คือมีเหตุอันกลับกันเสีย เป็นต้นว่า

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย วันและคืนย่อมล่วง

ไป ๆ มารกลับกล่าวเสียว่า อายุของเหล่ามนุษย์ยืนยาว วันและคืนไม่ล่วงไป ๆ.

บทว่า วิปฺผนฺทิตานิ ได้แก่ แสดงเพศเป็นพระยาช้างและเพศพระยางู เป็นต้น

ในกาลนั้น. บทว่า นิพฺเพชนียา ได้แก่ ควรเล่าเรียน.

ในคำว่า อนุปริยคา เป็นต้น ท่านทำเป็นคำอดีต ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ก็ควรทราบความ โดยกำหนดแน่นอน [ปัจจุบัน]. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า

กาเห็นก้อนหินสีเหมือนมันข้น จึงเข้าไปใกล้ก้อนหินนั้น ด้วยคิดว่า พวกเรา

พบของอ่อนเข้าแล้ว คงจะมีรสอร่อย ครั้นแล้ว กานั้นก็ไม่ได้รสอร่อยที่ก้อน-

หินนั้น จึงหลีกจากที่นั้น คือต้องหลีกไปเสียจากก้อนหินนั้น ฉันใด แม้พวก

ข้าพระเจ้า กระทบพระโคดมแล้ว ก็เหมือนกานั้นกระทบก้อนหิน เมื่อไม่ได้

ความยินดีหรือความชื่นชม ก็เบื่อหน่ายพระโคดม หลีกไปเสีย ฉันนั้น.

อักษรในคำว่า อภาสิตฺวา นี้ เป็นเพียงนิบาต ใจความว่ากล่าวแล้ว. ปาฐะว่า

ภาสิตฺวา ก็มี.

จบอรรถกถาสัตตวัสสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

๕. มารธีตุสูตร

ว่าด้วยธิดามารมาขอบำเรอพระพุทธเจ้า

[๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา

พากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า

ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจ

ด้วยเหตุอะไร หรือเศร้าโศกถึงผู้ชาย

คนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย

บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคล

ผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น ชายนั้นจักตกอยู่

ในอำนาจของคุณพ่อ.

[๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า

ชายนั้น เป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไป

ดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใคร ๆ พึงนำ

มาด้วยราคะได้ง่าย ๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไป

แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก.

[๕๐๗] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา

จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้น แล้วกราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาท

ของพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดา

เหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

[๕๐๘] ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา

จึงหลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์

ของบุรุษมีต่าง ๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนาง

กุมาริกาคนละร้อย ๆ.

ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากัน

นิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวก

หม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงใส่พระทัยถึงถ้อยคำของมารธิดา เพราะ

พระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม.

[๕๐๙] ลำดับนั้น มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา

พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์

ของบุรุษมีต่าง ๆ กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรพากัน จำแลงเพศเป็นหญิง

ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อย ๆ.

ลำดับนั้น มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง

พากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์.

ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะ

พระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม.

[๕๑๐] ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษทั้งหลายมีต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้วคราวเดียว

คนละร้อย ๆ

ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันจำแลงเพศ

เป็นหญิงคลอดแล้วคราวเดียวคนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวก

หม่อมฉันจะขอบำเรอพระบาทของพระองค์.

ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระ-

องค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม.

[๕๑๑] ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพา

กันจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว คนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลส

อย่างยอดเยี่ยม.

[๕๑๒] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน

จำแลงเพศเป็นหญิงกลางคน คนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย

เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม.

[๕๑๓] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน

จำแลงเพศเป็นหญิงผู้ใหญ่คนละร้อย ๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่

ประทับ ฯสฯ แม้ถึงอยู่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง

เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

[๕๑๔] ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา

พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงพูดกันว่า เรื่องนี้จริงดังบิดา

เราได้พูดไว้ว่า

ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ดำเนินไป

ดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใคร ๆ พึงนำ

มาด้วยราคะได้ง่าย ๆ ก้าวล่วงบ่วงแห่งมาร

ไปได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศก

มาก.

ก็ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์คนใดที่ยังไม่หมดราคะ

ด้วยความพยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นพึงแตก หรือ

โลหิตอุ่นพึงพลุ่งออกจากปาก หรือพึงถึงกับเป็นบ้า หรือถึงความมีจิตฟุ้งซ่าน

(จิตลอย) เหมือนอย่างไม้อ้อสดอันลมพัดขาดแล้ว ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้ง

แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

ครั้นแล้ว นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนขัางหนึ่ง.

[๕๑๕] นางตัณหามารธิดา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้

มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจาก

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง

ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไร ๆ

ไว้ในบ้านหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

มิตรภาพกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านทำ

มิตรภาพกับใคร ๆ ไม่สำเร็จ.

[๕๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เราชนะเสนาคือปิยรูปและสาตรูป

(รูปที่รักและรูปที่พอใจ) เป็นผู้ๆ เดียวเพ่ง

อยู่ ได้รู้ความบรรลุประโยชน์ และความ

สงบแห่งหทัย ว่าเป็นความสุข.

เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็น

มิตรกับชนทั้งปวง และความเป็นมิตรกับ

ใคร ๆ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่เรา.

[๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถาว่า

ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปกติอยู่

ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างไหนมา จึง

ข้ามโอฆะทั้ง ๔ แล้ว เวลามิได้ข้ามโอฆะ

ที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อม

ล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่งฌานอย่างไหน

มาก.

[๕๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุด

พ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มีปัจจัยอะไร ๆ เป็น

เครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

รู้ตัวซึ่งธรรม มีปกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔

อันหาวิตกมิได้ ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป

ไม่เป็นผู้ย่อท้อ.

ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปกติอยู่

ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้มาก จึงข้าม

โอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดมิได้ข้ามโอฆะที่

๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อม

ไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก.

[๕๑๙] ลำดับนั้นแล นางราคามารธิดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระศาสดาผู้เป็นหัวหน้าดูแลคณะ-

สงฆ์ ได้ตัดตัณหาขาดแล้วและชนผู้มี

ศรัทธาเป็นอันมาก จักประพฤติตามได้

แน่แท้ พระศาสดานี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย

ได้ตัดขาดจากมือมัจจุราชแล้ว จักนำหมู่

ชนเป็นอันมาก ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน.

[๕๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ตถาคตมีความแกล้วกล้าใหญ่ ย่อม

นำสัตว์ไปด้วยพระสัทธรรมแล เมื่อตถาคต

นำไปอยู่โดยธรรม ไฉนความริษยาจะพึงมี

แก่ท่านผู้รู้เล่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

[๕๒๑] ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นาง-

ราคาพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่.

พระยามารเห็นมารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา มาแต่

ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวพ้อด้วยคาถาทั้งหลายว่า

พวกคนโง่พากันทำลายภูเขาด้วยก้าน

บัว ขุดภูเขาด้วยเล็บเคี้ยวเหล็กด้วยฟันทั้ง

่ หลาย ท่านทั้งหลายจะทำพระโคดมให้

เบื่อเข้าต้องหลีกไป เป็นประดุจบุคคลวาง

หินไว้บนศีรษะแล้วแทรกลงไปในบาดาล

หรือดุจบุคคลเอาอกกระแทกตอฉะนั้น.

พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นาง

อรดี และนางราคา ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง

ซึ่งได้มาแล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลม

พัดปุยนุ่น ฉะนั้น.

จบมารธีตุสูตร

จบตติยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

อรรถกถามารธีตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมารธีตุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า ธิดามารเห็นบิดาเอาไม้ขีดพื้นดิน

เหมือนเด็กเลี้ยงโค คิดว่าบิดานั่งเสียใจยิ่งนัก มีเหตุอะไรหนอ จำเราจักถาม

ถึงเหตุ จึงรู้ได้แล้ว จึงเข้าไปหา.

บทว่า โสจสิ ได้แก่คิดแล้ว. บทว่า อรญฺมิว กุญฺฃร ความ

ว่า เปรียบเหมือนเหล่าช้างพังอันเป็นช้างต่อที่ควาญช้างส่งไป ประเล้าประโลม

ช้างป่าด้วยการแสดงมายาหญิง ผูกพันนำมาจากป่าฉันใด พวกเราก็จักนำบุรุษ

นั้นมาฉันนั้น. บทว่า มารเธยฺย ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓.

บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า ธิดามารปลอบบิดาว่า ท่านจงคอยสัก

หน่อยเถิด พวกเราจักนำบุรุษนั้น มาแล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อุจฺจาวจา

ได้แก่ต่าง ๆ อย่าง. บทว่า เอกสตเอกสต ได้แก่ แปลงตัวเป็นหญิงสาว

หนึ่งร้อย โดยนัยนี้ คือ ธิดาแต่ละคนแปลตัวเป็นหญิงสาวคนล่ะ ๑๐๐ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระอรหัตเท่านั้น ด้วยสองบทว่า อตฺถสฺส ปตฺตึ

หทยสฺส สนฺตึ. บทว่า เสน ได้แก่ กองทัพกิเลส. จริงอยู่กองทัพกิเลสนั้น

ชื่อว่าปิยรูป สาตรูป น่ารักน่าชื่นใจ. บทว่า เอกาห ฌาย ได้แก่ เราเพ่ง

ฌานอยู่ผู้เดียว. บทว่า สุขมานุโพธฺย ได้แก่เสวยสุขในพระอรหัตท่านอธิบาย

ไว้ดังนี้ว่า เรารู้จักกองทัพปิยรูปสาตรูปเพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เสวยสุขในพระอรหัต

ที่นับได้ว่าบรรลุถึงประโยชน์เป็นธรรมสงบแห่งใจ เพราะฉะนั้น เราจึง

ไม่ทำความชื่นชมฉันมิตรกับชน ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พยาน [ความเป็นมิตร]

ของเราจึงไม่ถึงพร้อมแม้ด้วยการไม่กระทำ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

บทว่า กถฺ วิหารีพหุโล ได้แก่ อยู่มากด้วยการอยู่อย่างไหน.

บทว่า อลทฺธา แปลว่าไม่ได้แล้ว. บทว่า โย เป็นเพียงนิบาต. ท่านอธิบาย

ไว้ดังนี้ว่า กามสัญญาทั้งหลาย ไม่ได้คือไม่รุมล้อมบุคคลนั้น ผู้เพ่งมากด้วย

ฌานอย่างไหน.

บทว่า ปสฺสทฺธกาโย ได้แก่ ที่ชื่อว่า มีกายสงบแล้วเพราะกายคือ

อัสสาสปัสสาสะงบแล้วด้วยจตุตถฌาน. บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า

มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ด้วยวิมิตติสัมปยุตด้วยพระอรหัตผล. บทว่า อสงฺขรา-

โน ได้แก่ไม่ปรุงแต่งอภิสังขารคือกรรม ๓. บทว่า อโนโก แปลว่า ไม่มี

ความอาลัย. บทว่า อญฺาย ธมฺม ได้แก่รู้ธรรม คือ สัจจะ ๔. บทว่า

อวิตกฺกชฺฌายี ได้แก่เพ่งด้วยจตุตถฌานอันไม่มีวิตก. ในบทว่า น กุปฺปติ

เป็นต้น เมื่อถือเอากิเลสที่เป็นมูล ๓ เหล่านี้คือ ไม่ขุ่นเคือง เพราะโทสะ ไม่

ฟุ้งซ่านเพราะราคะ ไม่หดหู่เพราะโมหะ ก็เป็นอันท่านถือเอากิเลส ๑,๕๐๐

นั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ท่านถือเอาพยาบาทนิวรณ์ ด้วยบทว่า ๑. กามฉันทนิวรณ์

ด้วยบทว่า ๒. นิวรณ์ที่เหลือมีถีนะเป็นต้น ด้วยบทที่ ๓ ทรงแสดงพระขีณาสพ

แม้ด้วยการละนิวรณ์นี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปญฺโจฆติณฺโณ ได้แก่ ข้ามโอฆะคือกิเลสที่เป็นไปในทวาร

ทั้ง ๕. บทว่า ฉฏฺ ได้แก่ ทรงข้ามโอฆะคือกิเลสที่ ๖ แม้ที่เป็นไปในมโน

ทวาร. พึงทราบสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ด้วยปัญโจฆศัพท์ สังโยชน์เบื้องบน ๕

ด้วยฉัฏฐศัพท์. บทว่า คณสงฺฆจารี ความว่า พระศาสดาชื่อว่า คณสังฆ-

จารี เพราะทรงเที่ยวไปในคณะและสงฆ์. บทว่า อทฺธา อจริสฺสนฺติ ได้แก่

ชนผู้มีศรัทธาแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็จักเที่ยวไป โดยส่วนเดียว บทว่า

อย ได้แก่ พระศาสดานี้. บทว่า อโนโก แปลว่าไม่อาลัย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

บทว่า อจฺเฉชฺช เนสฺสติ ได้แก่ จักตัดขาดแล้วนำไป ท่านอธิบาย

ว่า จักตัดขาดจากมือพระยามัจจุราชนำไปสู่ฝังคือพระนิพพาน. บทว่า นยมา-

นาน แก้เป็น นยมาเนสุ คือ เมื่อตถาคจนำไปอยู่.

บทว่า เสลว สิรสิ โอหจฺจ ปาตาเล คาธเมสถ ความว่า

เหมือนวางหินก้อนใหญ่ขนาดเรือนยอดไว้บนศีรษะแล้วเข้าไปยืนที่บาดาล. บทว่า

ว่า ขาณุว อุรสาสชฺช ได้แก่ เหมือนเอาตอกระทุ้งอก. บทว่า อเปถ

แปลว่า จงออกไป. ในที่นี้ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จบเทศนาด้วยคำว่า

อิทมโวจ แล้วกล่าวคาถาว่า ททฺทฬฺหมานา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ททฺทฬฺหมานา แปลว่า รุ่งเรื่องงามยิ่งนัก. บทว่า อาคญฺฉุ ได้แก่

มาแล้ว. บทว่า ปนุทิ แปลว่าขับไล่. บทว่า ตุล ภฏฺว มาลุโต

ความว่า ไล่ไปเหมือนลมพัดปุยงิ้วหรือปุยฝ้ายที่แตกออกจากผลพาไป ฉะนั้น.

จบอรรถกถามารธีตุสูตรที่ ๕

จบตติยวรรคที่ ๓ มารสังยุต เพียงเท่านี้

รวมสูตรในคติยวรรคที่สามมี ๕ สูตร คือ

๑. สัมพหุลสูตร ๒. สมิทธิสูตร ๓. โคธิกสูตร ๔. สัตตวัสสสูตร

๕. มารธีตุสูตร นี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้วกะมารธิดา พร้อม

ทั้งอรรถกถา

จบมารสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

ภิกขุนีสังยุต

๑. อาฬวิกาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนภิกษุณี

[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น เวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีนุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไป.

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาต มีความต้องการด้วยวิเวก จึงเข้าไปในป่าอันธวัน .

[๕๒๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อาฬวิกาภิกษุณีบังเกิดความ

กลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึง

เข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

ในโลก ไม่มีทางออกไปจากทุกข์ได้

ท่านจักทำอะไรด้วยวิเวก จงเสวยความ

ยินดีในกามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อน

ในภายหลังเลย.

[๕๒๔] ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ

กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ทันใดนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่

จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากวิเวก จึงกล่าวคาถา.

ครั้นอาฬวิกาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมาร

ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

ในโลกนี้มีทางออกไปจากทุกข์ได้

เรารู้ชัดดีแล้วด้วยปัญญา ดูก่อนมารผู้มี

บาปซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ท่าน

ไม่รู้จักทางนั้น กามทั้งหลายเปรียบด้วย

หอกและหลาว กองกามทั้งหลายนั้น

ประหนึ่งว่าฝีร้าย เราไม่ไยดีถึงความยินดี

ในกามที่ท่านกล่าวถึงนั้น.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อาฬวิกาภิกษุณีรู้จักเรา

ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ภิกขุนีสังยุต

อรรถกถาอาฬวิกาสูตร

ในภิกขุนีสังยุตอาฬวิกาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาฬวิกา ความว่า ผู้เกิดในเมืองอาฬวี และออกบวชจากเมือง

อาฬวีนั่นแล. บทว่า อนฺธวน ความว่า ป่าที่นับว่าอันธวัน ตั้งแต่เวลาที่

พวกโจร ๕๐๐ คน ควักนัยน์ตาทั้งสองของพระอริยบุคคล (อนาคามี) ผู้กล่าว

ธรรม นามว่ายโสธร ผู้รวบรวมทรัพย์มาเพื่อสร้างพระเจดีย์พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ตนเองก็ตาแตกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง. เขาว่าป่านั้น

เป็นป่าสงวนในเนื้อที่ประมาณคาวุตหนึ่ง ทางด้านทิศทักษิณกรุงสาวัตถี ผู้ที่

ต้องการวิเวกและภิกษุณีทั้งหลายก็พากันไปในป่านั้น. เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุณี

อาฬวิกานี้ ก็มีความต้องการวิเวก จึงเข้าไปทางป่านั้น. บทว่า นิสฺสรณ

ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า ปญฺาย ได้แก่ด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า

น ตฺว ชานาสิ ต ปท ความว่า ท่านไม่รู้ทางพระนิพพาน หรือทางสวรรค์

อันไปสู่พระนิพพาน. บทว่า สตฺติสูลูปมา ได้แก่ เสมือนกับหอกและหลาว

เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. บทว่า ขนฺธาส อธิกุฏฺานา ความว่า

กองกามเหล่านั้นเป็นเหมือนฝีร้าย.

จบอรรถกถาอาฬวิกาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

๒. โสมาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนโสมาภิกษุณี

[๕๒๕] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า โสมาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้นถึงป่า

อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๒๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้โสมาภิกษุณีบังเกิดความกลัว

ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า

ไปหาโสมาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะโสมาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

สตรีมีปัญญาเพียงสองนิ้ว ไม่อาจถึง

ฐานะอันจะพึงอดทนได้ด้วยยาก ซึ่งท่าน

ผู้แสวงทั้งหลายจะพึงถึงได้.

[๕๒๗] ลำดับนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว

คาถาจะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์

ทันใดนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ

ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.

ครั้นโสมาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมาร

ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ความเป็นสตรีจะทำอะไรได้ เมื่อจิต

ตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อญาณเป็นไปแก่ผู้เห็น

ธรรมอยู่โดยชอบ ผู้ใดพึงมีความคิดเห็น

แน่อย่างนี้ว่า เราเป็นสตรี หรือว่าเราเป็น

บุรุษ หรือจะยังมีความเกาะเกี่ยวว่า เรา

มีอยู่ มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า โสมาภิกษุณีรักเรา ดังนี้

จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาโสมาสูตร

ในโสมาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า าน ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ทุรภิสมฺภว ได้แก่

ทนได้ยาก. บทว่า ทฺวงฺคุลปญฺาย ได้แก่ ปัญญาเล็กน้อย อีกอย่างหนึ่ง

หญิงชื่อว่า ทฺวงฺคุลปญฺา เพราะใช้สองนิ้วหยิบปุยฝ้ายกรอด้าย. บทว่า

าณมฺหิ วตฺตมานมฺหิ ความว่า เมื่อญาณในผลสมาบัติเป็นไปอยู่. บทว่า

ธมฺม วิปสฺสโต ความว่า ผู้เห็นแจ้งธรรมคือสัจจะ ๔ หรือเห็นเฉพาะ

เบญจขันธ์ อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในส่วนเบื้องต้น. บทว่า กิญฺจิ วา

ปน อสฺมีติ ความว่า หรือความกังวลอื่น ๆ จะพึงมีแก่ผู้ใดด้วยตัณหามานะ

และทิฐิว่า เป็นเรา ดังนี้.

จบอรรถกถาโสมาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

๓. โคตมีสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนกิสาโคตมีภิกษุณี

[๕๒๘] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า กิสาโคตมีภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลา

ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้น

ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๒๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้กิสาโคตมีภิกษุณีบังเกิด

ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจาก

สมาธิ จึงเข้าไปหากิสาโคตมีภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะกิสา-

โคตมีภิกษุณีด้วยคาถาว่า

ท่านเสียลูกไปหรือมานั่งอยู่คนเดียว

มีหน้าเหมือนคนร้องไห้ มาอยู่กลางป่า

คนเดียว กำลังแสวงหาบุรุษหรือหนอ.

[๕๓๐] ลำดับนั้น กิสาโคตมีภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ

กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.

ทันใดนั้น กิสาโคตมีภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่

จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะ

ให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.

ครั้นกิสาโคตมีภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะ

มารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

เราเสียบุตรไปแล้ว เหมือนความ

ตายของบุตรถึงที่สุดแล้ว บุรุษทั้งหลาย

ก็มีความตายของบุตรนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน

เราไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ ไม่กลัวความ

ตายนั้นดอก.

ผู้มีอายุ ความเพลิดเพลินในส่วน

ทั้งปวง เรากำจัดแล้ว กองมืดเราทำลาย

แล้ว เราชนะเสนาแห่งมัจจุแล้ว ไม่มี

อาสวะอยู่.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า กิสาโคตมีภิกษุณีรู้จักเรา

ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

อรรถกถาโคตมีสูตร

ในโคตมีสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ก็คำว่า กิสาโคตมี เป็นชื่อของภิกษุณีนั้น เพราะเธอมีเนื้อและ

เลือดน้อย. ได้ยินว่า ครั้งก่อนทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ในเรือนตระกูลแห่ง

หนึ่ง ณ กรุงสาวัตถี กลายเป็นถ่านไปหมด. กุฏุมพีมิได้ขนถ่านไปทิ้ง คิดว่า

จักมีผู้มีบุญไร ๆ เป็นแน่ ด้วยบุญของผู้นั้นทรัพย์จักกลับเป็นปกติอีก จึงเอา

ทองและเงินใส่ถาดเต็มหลายถาดเอาไปวางไว้ที่ตลาดแล้วนั่งอยู่ใกล้ ๆ. ลำดับ

นั้น ธิดาของตระกูลยากจนคนหนึ่ง คิดว่า เราจักถือเอาทรัพย์ครึ่งมาสกแล้วนำ

กิ่งไม้มา เดินไปตามถนน เห็นทรัพย์นั้นจึงกล่าวกะกุฏุมพีว่า ทรัพย์ที่ตลาดมี

ถึงเพียงนี้ ที่เรือนจักมีเพียงไร. กุฏุมพีถามว่า แม่หนู เธอเห็นอะไรจึงได้

พูดอย่างนี้. นางตอบว่า เห็นเงินและทองนี้. กุฏุมพีคิดว่า หญิงคนนี้ชะรอย

จักเป็นผู้มีบุญ จึงถามถึงที่อยู่ของนาง เก็บงำสิ่งของไว้ที่ตลาดแล้วเข้าไปหา

มารดาบิดาของนาง กล่าวอย่างนี้ว่า ในเรือนของเรามีเด็กหนุ่มอยู่ ท่านจงให้

เด็กหญิงคนนี้แก่เขาเถิด มารดาบิดากล่าวว่า นายท่านจักหยอกล้อคนยากจน

ทำไม. กุฏุมพีกล่าวว่า ธรรมดาว่า ความสนิทสนมโดยฐานมิตร ย่อมมีกับคน

ยากจน ท่านทั้งหลายจงให้เถิด นางจักได้เป็นเจ้าของทรัพย์แล้วพานางนำมา

ครองเรือน. นางอยู่ร่วมกันจึงคลอดบุตรชาย. บุตรได้ตายในเวลาพอเดินได้.

นางเกิดในตระกูลเข็ญใจ แม้ได้อยู่ในตระกูลใหญ่ ก็เกิดความเศร้าโศกอย่าง

หนักว่า เราถึงความพินาศเพราะบุตร ไม่เผาศพบุตร อุ้มซากบุตรนั้นเที่ยว

พร่ำเพ้อไปทั่วนคร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

วันหนึ่ง นางไปสำนักพระทศพลตามทางที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดประทานยาเพื่อให้ลูก

หายจากโรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เจ้าจงเที่ยวไปยังกรุงสาวัตถี จงนำ

เมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีคนตายมา นั้นจักเป็นยาของลูก นางเข้าไป

สู่นคร ไปขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดโดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก ตั้งแต่เรือน

หลังไกล ถูกชาวบ้านทุก ๆ หลังเรือนกล่าวว่า เธอจักพบเรือนอย่างนี้แต่ที่ไหน

เที่ยวไปสองสามหลังคาเรือน คิดว่า นัยว่าความตายนี้เป็นธรรมดาของคนทุก

คน ไม่ว่าเราหรือลูก ดังนี้แล้ว จึงทิ้งศพไว้ที่ศาลาแล้วขอบรรพชา. พระศาสดา

ทรงส่งไปสำนักนางภิกษุณีด้วยพระดำรัสว่า จงให้หญิงนี้บวชเถิด. นางบรรลุ

พระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกนนั่นเอง. ท่านหมายเอาพระเถรีนี้จึงกล่าว

ว่า อถ โข กิสาโคตมี ดังนี้.

บทว่า เอกมาสี ตัดเป็น เอกา อาสี. บทว่า รุทมฺมุขี ได้แก่

มีหน้าดังร้องไห้. อนฺต ศัพท์ ในบทว่า อจฺจนฺต หตปุตฺตมฺหิ เป็นอัจ-

จันตะส่วนอดีต. บทว่า อจฺจนฺต นั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์. ท่านกล่าวอธิบาย

ว่าการตายของบุตร เป็นที่สุด คือเป็นอดีต ฉันใด บุตรที่ตายแล้วก็ฉันนั้น

บัดนี้เราไม่มีลูกตายอีก. บทว่า ปุริสา เอตทนฺติกา ความว่า แม้คนเหล่า

นี้ก็มีความตายนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน ที่สุดแห่งความตายของบุตรของเรานี้แหละ

เป็นที่สุดแม้ของคนทั้งหลาย เราจึงไม่ควรแสวงหาบุตรที่ตายในบัดนี้. บทว่า

สพฺพตฺถ วิหตา นนฺทิ ความว่า ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหาในขันธ์

อายตนะ ธาตุ ภพ กำเนิด คติ ฐิติและนิวาสทั้งหมด เราขจัดได้แล้ว. บทว่า

ตโมกฺขนฺโธ ได้แก่กองอวิชชา. บทว่า ปทาลิโต ความว่า ทำลายแล้ว

ด้วยญาณ.

จบอรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

๔. วิชยาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนวิชยาภิกษุณี

[๕๓๑] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า วิชยาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร ฯลฯ

จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๓๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วิชยาภิกษุณีบังเกิดความ

กลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึง

เข้าไปหาวิชยาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะวิชยาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

เธอยังเป็นสาวมีรูปงาม และฉันก็ยัง

เป็นหนุ่มแน่น มาเถิดนาง เรามาอภิรมย์

กันด้วยดนตรี มีองค์ห้า.

[๕๓๓] ลำดับนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว

คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.

ทันใดนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ

ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากสมาธิ จึงได้กล่าวคาถา.

ครั้นวิชยาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้

มีบาปด้วยคาถาว่า

ดูก่อนมาร รูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจ เ ราขอมอบให้

ท่านผู้เดียว เพราะเราไม่ต้องการมัน เรา

อึกอัดระอาด้วยกายเน่า อันจะแตกทำลาย

เปื่อยพังไปนี้ กามตัณหา เราถอนได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ความมืดในรูปภพที่สัตว์ทั้งหลายเข้าถึง

ในอรูปภพที่สัตว์ทั้งหลายเป็นภาคี และใน

สมาบัติอันสงบทั้งปวง เรากำจัดได้แล้ว.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วิชยาภิกษุณีรู้จักเราดังนี้

จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาวิชยาสูตร

ในวิชชาสูตรที่ ๔ มีวิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ความว่าประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้ คือ อาตตะ

กลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว วิตตะหุ้มทั้งสองหน้าคือตะโพน อาตตวิตตะ หุ้มทั้ง

หมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ฆนะคือ ฆ้อง สุสิระปี่และสังข์เป็นต้น. บทว่า

นิยฺยาตยามิ ตุยฺเหว ความว่า เราจะให้ดนตรีทั้งหมดแก่ท่านเท่านั้น. บทว่า

มาร น หิ เตน อตฺถิกา ความว่า เราไม่ต้องการดนตรีนั้น. บทว่า ปูติกาเยน

ความว่ากายแม้มีวรรณะดังทองคำ ก็ยังชื่อว่าเป็นกายเน่า เพราะอรรถว่าไหลเข้า

ไหลออกเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า ภินฺทเนน

ได้แก่มีอันแตกไปเป็นสภาวะ. บทว่า ปภงฺคุนา ได้แก่ถึงความแหลกเป็น

ผุยผงเป็นธรรมดา. บทว่า อฏฺฏิยามิ แปลว่า อึดอัดอยู่. บทว่า หรายามิ

แปลว่าระอาอยู่. บทว่า สนฺตา สมาปตฺติ ความว่าโลกิยสมาบัติ ๘ อย่าง

ท่านกล่าวว่าสงบ เพราะสงบโดยอารมณ์ และสงบโดยองค์. บทว่า สพฺพตฺถ

ได้แก่ ในรูปภพและอรูปภพทั้งหมด. วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวว่า แม้ความมืดคือ

อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว ในฐานะทั้งปวงเหล่านี้คือในกามภพ ที่ยึดถือเอาแล้ว

เพราะถือเอาภพ ๒ เหล่านั้น และในสมาบัติ ๘.

จบอรรถกถาวิชยาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

๕. อุบลวรรณาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนอุบลวรรณาภิกษุณี

[๕๓๔] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร

ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ต้นหนึ่ง.

[๕๓๕] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีบังเกิด

ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ

จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบลวรรณาภิกษุณี

ด้วยคาถาว่า

ดูก่อนภิกษุณี ท่านคนเดียว เข้ามา

ยังต้นสาลพฤกษ์ ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง

ตลอดยอด แล้วยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์

ฉวีวรรณของท่านไม่มีที่สอง คนทั้ง

หลายก็จะมาในที่นี้เช่นท่าน ท่านกลัวความ

เป็นพาลของพวกนักเลงหรือ.

[๕๓๖] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ

กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.

ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่

จะให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.

ครั้นอุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าว

กะมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ ก็ตาม

เถิด เราไม่สะเทือนขน ไม่สะดุ้ง ดูก่อน

มาร ถึงเราคนเดียว ก็ไม่กลัวท่าน. เรา

นี้จะหายตัวหรือเข้าท้องของท่าน แม้จะ

ยืนอยู่ ณ ระหว่างดวงตาบนดั้งจมูก ท่าน

จักไม่เห็นเรา.

เราเป็นผู้ชำนาญในจิต อิทธิบาทเรา

เจริญดีแล้ว เราพ้นแล้วจากเครื่องผูกทุก

ชนิด เราไม่กลัวท่านดอก ท่านผู้มีอายุ.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา

ดังได้อัน จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

อรรถกถาอุบลวรรณาสูตร

ในอุบลวรรณาสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุสุปฺผิตคฺค ความว่า ต้นสาละดอกบานสะพรั่งตั้งแต่ยอด.

ด้วยคำว่า น จตฺถิ เต ทุติยา วณฺณธาตุ มารกล่าวว่าวรรณธาตุที่ ๒ อัน

เสมือนกับวรรณธาตุของท่าน ย่อมไม่มี คือไม่มีภิกษุณีอื่นเสมือนกับท่าน. บทว่า

อิธาคตา ตามิสิกา ภเวยฺยุ ความว่า ท่านมาในที่นี้ย่อมไม่ได้ความ

สนิทสนมหรือความรักอะไร ฉันใด แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นเสมือนท่านฉันนั้น

เหมือนกัน. บทว่า ปขุมนฺตริกาย ความว่า แม้เราจะยืนอยู่บนดั้งจมูก

ระหว่างนัยน์ตาทั้งสอง ท่านก็ไม่เห็น. บทว่า วสีภูตมฺหิ แปลว่า ย่อมเป็น

ผู้ชำนาญ.

จบอรรถกถาอุบลวรรณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

๖. จาลาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนจาลาภิกษุณี

[๕๓๗] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า. จาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน

แล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๓๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้จาลาภิกษุณีบังเกิดความกลัว

ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป

หาจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะจาลาภิกษุณีว่า ดูก่อนภิกษุณี

ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ.

จาลาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย.

[๕๓๙] มารผู้มีบาปกล่าวว่า

เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ชอบ

ความเกิด ผู้เกิดมาแล้วย่อมบริโภคกาม

ใครหนอให้ท่านยึดถือเรื่องนี้ อย่าเลย

ภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิด.

[๕๔๐] จาลาภิกษุณีกล่าวว่า

ผู้เกิดมาก็ต้องตาย ผู้ที่เกิดมาย่อมพบ

เห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า ความ

เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบ

ความเกิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็น

เครื่องก้าวล่วงความเกิด พระองค์สอนให้

เราตั้งอยู่ในสัจจะ เพื่อละทุกข์ทั้งมวล สัตว์

เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดเป็น

ภาคีแห่งอรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้

นิโรธ ต้องมาสู่ภพอีก.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า จาลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้

จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาจาลาสูตร

ในจาลาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โก นุ ต อิทมาทปยิ ความว่า ใครหนอคือคนพาลมีความ

รู้น้อย ให้ท่านยึดถือเรื่องนี้. บทว่า ปริเกฺลส ได้แก่ ความวุ่นวายซึ่งมีประการ

ต่าง ๆ แม้อย่างอื่น บัดนี้มารกล่าวคำใดไว้ว่า ใครหนอจะให้เธอยึดถือเอาเรื่อง

นั้นจึงแสดงคำนั้นว่า คนอันธพาลไม่ให้เรายึดถือ แต่พระศาสดาผู้เป็นอัคร-

บุคคลในโลกแสดงธรรมแล้ว จึงกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า สจฺเจ นิเวสยิ ความว่าให้ตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ.

บทว่า นิโรธ อปฺปชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้นิโรธสัจจะ.

จบอรรถกถาจาลาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

๗. อุปจาลาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนอุปจาลาภิกษุณี

[๕๔๑] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า อุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า

ไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยงบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถุแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน

แล้ว จึงนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๔๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุปจาลาภิกษุณีบังเกิดความ

กลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ

จึงเข้าไปหาอุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุปจาลาภิกษุณีว่า

ดูก่อนภิกษุณี อย่างไรหนอท่านจึงอยากจะเกิด.

อุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราไม่อยากเกิดในที่ไหน ๆ

เลย.

[๕๔๓] มารผู้มีบาปกล่าวว่า.

ท่านจงตั้งจิตไว้ในพวกเทพชั้นดาว

ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี

และชั้นวสวัตตีเถิด ท่านจักได้เสวยความ

ยินดี.

[๕๔๔] อุปจาลาภิกษุณีกล่าวว่า

พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา

ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวัตตี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

ยังผูกพันอยู่ด้วยเครื่องผูกคือกาม จำต้อง

กลับมาสู่อำนาจมารอีก โลกทั้งหมด

เร่าร้อน โลกทั้งหมดคุเป็นควัน โลก

ทั้งหมดลุกโพลง โลกทั้งหมดสั่นสะเทือน.

ใจของเรายินดีแน่วในพระนิพพาน

อันไม่สั่นสะเทือน อันไม่หวั่นไหว ที่

ปุถุชนเสพไม่ได้ มิใช่คติของมาร.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา

ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาอุปจาลาสูตร

ในอุปจาลาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอนฺติ มารวส ปุน ความว่า มาสู่อำนาจ มรณมาร

กิเลสมาร และเทวบุตรมาร. บทว่า ปธูปิโต ได้แก่ ให้เดือดร้อน. บทว่า

อคติ ยตฺถ มารสฺส ความว่า ในพระนิพพานใด ท่านผู้เป็นมารไปไม่ได้.

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระนิพพานนั้น.

จบอรรถกถาอุปจาลาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

๘. สีสุปจาลาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนสีสุปจาลาภิกษุ

[๕๔๕] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า สีสุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลา

ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า

อันธวัน จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๔๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก

ครั้นแล้วได้กล่าวกะสีสุปจาลาภิกษุณีว่า ดูก่อนภิกษุณี ท่านชอบใจทิฐิของ

ใครหนอ.

สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจทิฐิของ

ใครเลย.

[๕๔๗] มารผู้มีบาปกล่าวว่า

ท่านจงใจเป็นคนโล้น ปรากฏ

ตัวเหมือนสมณะ แต่ไฉนท่านไม่ชอบใจ

ทิฐิ ท่านประพฤติเรื่องนี้ เพราะความ

งมงายหรือ.

[๕๔๘] สีสุปจาลาภิกษุณีกล่าวว่า

คนเจ้าทิฐิ ภายนอกพระศาสนา

นี้ ย่อมจมอยู่ในทิฐิทั้งหลาย เราไม่

ชอบใจธรรมของพวกเขา พวกเขาเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

คนไม่ฉลาดต่อธรรม ยังมีพระพุทธเจ้า

ผู้เสด็จอุบัติในศากยสกุล หาบุคคลอื่น

เปรียบมิได้ ทรงครอบงำส่วนทั้งปวง

ทรงบรรเทาเสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่

ทุกสถาน ทรงพ้นแล้วในส่วนทั้งปวง

เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยไม่ได้ มี

พระจักษุทรงเห็นธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุ

ธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงน้อม

ไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา

เราชอบใจคำสอนของพระองค์ท่าน.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา

ดังนี้ จงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

อรรถกถาสีสุปจาลาสูตร

ในสีสุปจาลาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยต่อไปนี้ :-

บทว่า สุมณี วิย ทิสฺสติ ความว่า ท่านปรากฏตัวเหมือนสมณะ.

บทว่า กิมิว จริสิ โมมูหา ความว่า เพราะเหตุไรท่านจึงประพฤติเหมือน

คนงมงาย. บทว่า อิโต พหิทฺธา ความว่า ภายนอกพระศาสนานี้ . บทว่า

ปาสณฺฑา ความว่า เจ้าลัทธิย่อมเหวี่ยงบ่วง คือทิฐิลงในจิตของสัตว์ทั้งหลาย.

แต่พระศาสนาย่อมปลดเปลื้องบ่วงทั้งหลาย ฉะนั้น จึงไม่กล่าวว่าเจ้าลัทธิ

เจ้าลัทธิมีภายนอกพระศาสนานี้ทั้งนั้น. บทว่า สสีทนฺติ ได้แก่ จน คือติด.

บัดนี้ สีสุปจาลาภิกษุณีเมื่อกล่าวแก้ปัญหาที่ว่า ท่านบวชอุทิศใคร

จึงกล่าวว่า อตฺถิ สกฺยกุเล ชาโต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

สพฺพาภิภู ความว่า ครอบงำส่วนทั้งหมด มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ภพ กำเนิด

ละคติเป็นต้น ชื่อว่า มารนุทะ เพราะบรรเทา คือขับไล่มรณมารเป็นต้น

บทว่า สพฺพตฺถมปราชิโต ความว่า ไม่แพ้ในกิเลสทั้งมวลมีราคะเป็นต้น

หรือในการรบมาร. บทว่า สพฺพตฺถ มุจฺโต ความว่า น้อมไปในธรรม

ทั้งปวงมีขันธ์เป็นต้น. บท อสฺสิโต ความว่า อันตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย

ไม่อาศัยแล้ว. บทว่า สพฺพกมฺมกฺขย ปตฺโต ความว่า บรรลุพระอรหัต

กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง. บทว่า อุปธิสงฺขเย ความว่า

ทรงน้อมเป็นอารมณ์ในพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ.

จบอรรถกถาสีสุปจาลาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

๙. เสลาสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนเสลาภิกษุณี

[๕๔๙] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น เวลาเช้า เสลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน

แล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๕๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะไห้เสลาภิกษุณีบังเกิดความกลัว

ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า

ไปหาเสลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะเสลาภิกษุณีด้วยคาถาว่า

รูปนี้ ใครสร้าง ผู้สร้างรูปอยู่ที่ไหน

รูปบังเกิดในที่ไหน รูปดับไปในที่ไหน.

[๕๕๑] ลำดับนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว

คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.

ทันใดนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ

ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.

ครั้นเสลาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมาร

ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

รูปนี้ ไม่มีใครสร้าง อัตภาพนี้ ไม่มี

ใครก่อ รูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ดับไป

เพราะเหตุดับ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่าน

ลงในนา ย่อมงอกขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยาง

ในพืช ฉันใด ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

๖ เหล่านี้ ก็เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ดับไป

เพราะเหตุดับ ฉันนั้น.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า เสลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้

จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

อรรถกถาเสลาสูตร

ในเสลาสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เกนท ปกต ความว่า ใครสร้างรูปนี้. ด้วยบทว่า พิมฺพ

ท่านกล่าวหมายเอาอัตภาพ. ด้วยบทว่า อฆ ท่านกล่าวเฉพาะอัตภาพ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. บทว่า เหตุภงฺคา ได้แก่ เหตุดับ เพราะปัจจยับกพร่อง.

จบอรรถกถาเสลาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

๑๐. วชิราสูตร

ว่าด้วยมารรบกวนวชิราภิกษุณี

[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน

แล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว

ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า

ไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า

สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่

ที่ไหน สัตว์บังเกิดในที่ไหน สัตว์ดับไป

ในที่ไหน.

[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว

คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมมุษย์.

ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู่มีบาปใคร่จะให้

เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้

เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา.

ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมาร

ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

ดูก่อนมาร เพราะเหตุไรหนอ ความ

เห็นของท่านจึงหวนกลับมาว่าสัตว์ ใน

กองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่า สัตว์

เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า

เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด.

เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติ

ว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ความจริง ทุกข์

เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่และ

เสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ.

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา

ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง

จบวชิราสูตร

จบภิกขุนีสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

อรรถกถาวชิราสูตร

ในวชิราสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นยิธ สตฺตุปลพฺภติ ความว่า ในกองสังขารล้วนนี้ ว่าโดย

ปรมัตถ์ จะได้แก่สัตว์ก็หาไม่. บทว่า ขนฺเธสุ สนฺเตสุ ความว่า เมื่อ

ขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ ท่านกำหนดเอาด้วยอาการนั้น ๆ. บท สมฺมติ คือเป็นเพียง

สมัญญาว่าสัตว์เท่านั้น. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์คือ ขันธ์ ๕. บทว่า

นาญฺตฺร ทุกฺขา ความว่า นอกจากทุกข์ สภาวะอย่างอื่นไม่มีเกิดไม่มีดับ.

จบอรรถกถาวชิราสูตรที่ ๑๐

จบภิกขุนีสังยุตเพียงเท่านี้

รวมพระสูตรในภิกขุนีสังยุตนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. อาฬวิกาสูตร ๒. โสมาสูตร ๓. โคตมีสูตร ๔. วิชยาสูตร

๕. อุบลวรรณาสูตร ๖. จาลาสูตร ๗. อุปจาลาสูตร ๘. สีสุปจาลาสูตร

๙. เสลาสูตร ๑๐. วชิราสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

พรหมสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. อายาจนสูตร

พรหมอาราธนาให้แสดงธรรม

[๕๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาล-

นิโครธ แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ.

ครั้งนั้น ความปริวิ กแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าที่สลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง

เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาคคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้

เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบาน

แล้วในอาลัย ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็น

ธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย

เบิกบานแล้วในอาลัย จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรม

เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้น

ตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม

แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย

ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความลำบากของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

อนึ่ง ได้ยินว่า คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ไม่เคยได้ทรงสดับมาแต่ก่อน เกิดแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บัดนี้ เราไม่ควรจะประกาศธรรม

ที่เราตรัสรู้แล้วโดยยาก ธรรมนี้ เหล่าสัตว์

ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำแล้ว จะตรัสรู้ไม่

ได้ง่าย เหล่าสัตว์ผู้ยินดีแล้วด้วยความ

กำหนัด ถูกลองแห่งความมืดหุ้มห่อแล้ว

จักไม่เห็นธรรมอันทวนกระแส ละเอียด

ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระหฤทัยก็ทรงน้อม

ไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

[๕๕๖] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจแล้ว ได้มีความดำริว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

โลกจะฉิบหายหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่

ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฎอยู่

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขน

ที่คู้อยู่ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ ฉะนั้น.

ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกชาณุ-

มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีไปพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

จงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มี

กิเลสสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นปกติก็มีอยู่ เพราะมิได้สดับย่อมเสื่อมจากธรรม

สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลเป็นนิคม

คาถาอีกว่า

เมื่อก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ซึ่งศาสดา

ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว ปรากฏขึ้นใน

หมู่ชนชาวมคธ ขอพระองค์จงทรงเปิด-

ประตูอมตะเถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟัง

ธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากมลทิน

ตรัสรู้แล้วเถิด ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญา

ดี มีพระจักษุโดยรอบ ปราศจากความ

โศกแล้ว จงเสด็จขึ้นสู่ปราศาทอันสำเร็จ

ด้วยธรรม จงพิจารณาชุมชนผู้จมอยู่ใน

ความโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว

อุปมาเหมือนบุคคลผู้อยู่บนยอดภูเขา อัน

ล้วนด้วยศิลา จะพึงเห็นชุมชนโดยรอบ

ฉะนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรง

ชนะสงความแล้ว ผู้ทรงนำพวก ผู้ไม่มีหนี้

ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จงเสด็จ

เที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

[๕๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการเชื้อเชิญของ

พรหม และทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงทรงสอดส่องดูโลกด้วย

พระพุทธจักษุ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้

ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลส

ดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวก

มีอาการดี บางพวกมีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวก

จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่.

ในกออุบลก็ดี กอปทุมก็ดี กอบุณฑริกก็ดี ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุม

ก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำ

จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงอยู่ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งอยู่

เสมอน้ำ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่

ติดแล้วแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ

ก็ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลส

ดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมี

อาการดี บางพวกมีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะ

พึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโ่ลกว่าเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น

ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงได้ตรัสตอบสหัมบดีพรหมด้วยพระคาถาว่า

ประตูอมตะ เราเปิดแล้วเพราะท่าน

ชนผู้ฟังจงหลั่งศรัทธามาเถิด ดูก่อนพรหม

เราจะไม่มีความสำคัญในความลำบาก

แสดงธรรมอันประณีตที่ชำนาญในหมู่

มนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

[๕๕๘] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมดำริว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำโอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พรหมสังยุต

อรรถกถาอายาจนสูตร

ปฐมวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ความปริวิตกทางใจที่พระ-

พุทธเจ้าทุกพระองค์เคยสั่งสมอบรมมาเกิดขึ้นดังนี้. ถามว่า เกิดขึ้นเมื่อไร.

ตอบว่า เกิดในสัปดาห์ที่ ๘ ที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ทรงเคี้ยวไม้ชำระฟัน

และชิ้นสมอเป็นโอสถที่ท้าวสักกะจอมเทพนำมาถวายที่โคนไม้เกต ทรงบ้วน

พระโอฐแล้ว เสวยปิณฑบาตของตปุสสะและภัลลิกะ ในบาตรหินที่ล้ำค่าอัน

ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ น้อมถวาย แล้วเสด็จกลับมาประทับนั่งที่ต้นอชปาลนิโครธ.

บทว่า อธิคโต แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรม

คือสัจจะ ๔. บทว่า คมฺภีโร นี้เป็นบทห้ามความตื้น. บทว่า ทุทฺทโส ความ

ว่า ชื่อว่าเห็นได้ยาก คือเห็นได้โดยลำบากอันใครๆ ไม่อาจเห็นได้สะดวกเพราะ

ลึกซึ้ง ชื่อว่ารู้ตามได้ยาก คือพึงหยั่งรู้ได้โดยลำบาก เพราะเห็นได้โดยยาก

ใคร ๆ ไม่อาจจะหยั่งรู้ได้สะดวก. บทว่า สนฺโต ได้แก่ดับสนิท บทว่า

ปณีโต ได้แก่ไม่รู้จักอิ่ม. สองบทนี้ท่านกล่าวหมายโลกุตระเท่านั้น. บทว่า

อตกฺกาวจโร ความว่า จะพึงค้นพึงหยั่งลงโดยการตรึกไม่ได้ พึงค้นได้ด้วย

ญาณเท่านั้น. บทว่า นิปุโณ ได้แก่ละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีโย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

ได้แก่อันบัณฑิตผู้ปฏิบัติโดยชอบพึงทราบ. บทว่า อาลยรามา ความว่า สัตว์

ทั้งหลาย ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่าอัลลยา.

ตัณหาวิปริต ๑๐๘ ก็ติดอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าอัลลยา. สัตว์ทั้งหลาย

ชื่อว่า อาลยรามา เพราะยินดีด้วยอาลัยเหล่านั้น. ชื่อว่า อาลยรตา เพราะยินดี

ในอาลัยทั้งหลาย. ชื่อว่า อาลยสมุทิตา เพราะเบิกบานในอาลัยทั้งหลาย.

เหมือนอย่างว่า พระราชาเสด็จประพาสพระราชอุทยานที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้มีดอก

ผลเต็มไปหมดเป็นต้น ซึ่งเขาจัดไว้อย่างดี ย่อมทรงยินดี คือทรงเบิกบานรื่นเริง

บันเทิงพระทัยด้วยสมบัตินั้น มิได้ทรงเบื่อ แม้เวลาเย็นก็ไม่ประสงค์จะเสด็จออก

ฉันใด สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดี คือเบิกบาน ไม่เบื่ออยู่ในสังสารวัฏ ด้วยอาลัย

คือกามและอาลัยคือตัณหาทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น. เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแสดงอาลัยทั้งสองอย่างของสัตว์เหล่านั้น ราวกะว่าพื้นที่พระราชอุทยาน

จึงตรัสว่า อาลยรามา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิท เป็นนิบาต. หมายเอาฐานะของ

บทว่า ยทิท นั้น คือหมายเอาว่า ย อิทนฺติปฏิจฺจสมุปฺปาท พึงทราบ

เนื้อความอย่างนี้ว่า โย อย ดังนี้. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท

ความว่า ปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นเหล่านี้ ชื่ออิทปฺปจฺจยา อิทุปุ-

ปจฺจยา นั่นแหละเป็น อิทปฺปจฺจยตา อิทปฺปจฺจยตา นั้นด้วยเป็น ปฏิจฺจ

สมุปฺปาทาด้วย ชื่อว่า อิทปฺปจฺจตาปฏิจฺจสมุปฺปาโท ความเป็นปัจจัยแห่ง

ธรรมมีสังขารเป็นต้นเป็นธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น. คำนี้เป็นชื่อแห่ง

เป็นปัจจัยมีสังขารเป็นต้น. บททั้งหมดมีบทว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น

ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง. ก็เพราะอาศัยพระนิพพานนั้น ความดิ้นรนแห่ง

สังขารทั้งหลายย่อมสงบระงับได้ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้ง

ปวง. และเพราะอาศัยพระนิพพานนั้นสละคืนอุปธิทั้งปวงได้ ตัณหาทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

สิ้นไป สำรอกราคกิเลสได้ ทุกข์ทั้งหมดดับไป ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า เป็น

ที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ. ก็ตัณหานี้นั้น

ท่านเรียกว่า วานะ เพราะร้อยรัดเย็บภพไว้กับภพ หรือกรรมไว้กับผล ชื่อ

ว่า นิพพาน เพราะออกจากวานะนั้น. บทว่า โส มมสฺส กิลมโถ ความ

ว่า การสอนคนที่ไม่รู้นั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา พึงเป็นความลำบาก

ของเรา ท่านอธิบายว่า พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยกายด้วย เป็นความลำบาก

กายด้วย. แต่ในพระหทัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีความเหน็ดเหนื่อยและ

ความลำบากทั้งสองอย่างนี้. บทว่า อปิสฺสุท เป็นนิบาต มีเนื้อความว่าเพิ่ม

พูน. นิบาตนั้น ส่องความว่า มิใช่เกิดปริวิตกนี้อย่างเดียว คาถาเหล่านี้ก็แจ่ม

แจ้ง. บทว่า อนจฺฉริยา ได้แก่น่าอัศจรรย์เล็กน้อย. บทว่า ปฏิภสุ.

ความว่า คาถาเหล่านั้นเป็นอารมณ์แห่งญาณกล่าวคือปฏิภาน คือถึงความเป็น

คาถาที่จะพึงปริวิตก.

บทว่า กิจฺเฉน ได้แก่ด้วยการปฏิบัติลำบาก. จริงอยู่ มรรคทั้ง ๔

ย่อมเป็นการปฏิบัติสะดวก สำหรับพระพุทธทั้งหลาย ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมาย

เอาปฎิปทาที่นำมรรคผลมา ของพระองค์ผู้ยังมีราคะโทสะและโมหะอยู่ในคราว

บำเพ็ญบารมี ทรงตัดศีรษะที่ประดับตกแต่ง นำเลือดในลำพระศอออก ควัก

พระเนตรที่หยอดดีแล้ว ประทานของรักเป็นต้น อย่างนี้คือ บุตรที่เป็นประทีปของ

วงศ์ตระกูล ภรรยาที่น่ารักและถึงการเสียสละอื่น ๆ มีการตัดอวัยวะในอัตภาพ

[ชาติ] เช่นเป็นขันติวาทีดาบสเป็นต้น แก่เหล่ายาจกที่มากันแล้ว. ห อักษร

ในบทว่า หล นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่าไม่ควร. บทว่า ปกาสิตุ ได้แก่

เพื่อแสดง. ท่านอธิบายว่า ไม่ควรแสดงธรรมที่เราบรรลุโดยยาก คือแสดง

ธรรมที่เราเรียนมาแล้ว ประโยชน์อะไรด้วยการแสดงธรรม. บทว่า ราคโทส-

ปเรเตหิ ความว่า อันราคะโทสะถูกต้องแล้ว หรือว่าไปตามราคะโทสะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

บทว่า ปฏิโสตคามึ ได้แก่ธรรมคือสัจจะ ๔ ที่ทวนกระแสสภาวะ

มีความเที่ยงเป็นต้น ที่ไปแล้วอย่างนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็น

อสุภะ. บทว่า ราครตา ได้แก่ยินดีแล้วด้วยกามราคะภวราคะและทิฏฐิราคะ.

บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เห็นโดยสภาวะอย่างนี้ว่าไม่

เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา เป็นอสุภะ. ใคร ๆ ก็ไม่อาจทำสัตว์ที่ไม่เห็นเหล่านั้น

ให้ยึดถืออย่างนี้ได้. บทว่า ตโมกฺขนฺเธน อาวุตา ได้แก่อันกองอวิชชาทับถม.

บทว่า อปฺโปสุกฺกตาย ความว่า เพื่อความเป็นผู้ไม่ประสงค์จะ

แสดงโดยปราศจากความขวนขวาย. ถามว่า ก็เหตุไร พระองค์จึงน้อมพระทัย

ไปอย่างนี้ พระองค์ทรงตั้งความปรารถนาไว้มิใช่หรือว่า เราหลุดพ้นแล้วจัก

ให้ผู้อื่นหลุดพ้น เราข้ามแล้ว จักให้ผู้อื่นข้าม

เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยเพศที่ผู้

อื่นไม่รู้จัก จะประโยชน์อะไรด้วยธรรมที่

เราทำให้แจ้งในโลกนี้ เราบรรลุพระ

สัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังมนุษยโลก

พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามฝั่ง ดังนี้

บำเพ็ญบารมีบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ. ตอบว่า นั่นเป็นความจริง. ก็จิตของ

พระองค์น้อมไปอย่างนี้นั้น ก็ด้วยอานุภาพปัจจเวกขณญาณ. จริงอยู่ เมื่อ

พระองค์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วพิจารณาความที่สัตว์รกชัฏไปด้วยกิเลส

และความที่ธรรมเป็นของลึกซึ้ง ความที่สัตว์รกชัฏไปด้วยกิเลสและความที่ธรรม

เป็นของลึกซึ้ง ก็ปรากฏโดยอาการทั้งปวง ลำดับนั้น พระองค์ทรงพระดำริว่า

สัตว์เหล่านี้ เหมือนน้ำเต้าที่เต็มด้วยน้ำข้าว เหมือนตุ่มที่เต็มด้วยเปรียง

เหมือนผ้าเก่าที่ชุ่มด้วยมันเหลวและน้ำมัน เหมือนมือที่เปื้อนยาหยอดตา เต็มไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ด้วยกิเลส เศร้าหมองอย่างยิ่ง กำหนัดเพราะราคะ ขัดเคืองเพราะโทสะ ลุ่ม

หลงเพราะโมหะ. สัตว์เหล่านั้นจักแทงตลอดได้อย่างไร จึงทรงน้อมพระทัยไป

อย่างนี้ แม้ด้วยอานุภาพการพิจารณาถึงความที่สัตว์รกชัฏคือกิเลส.

พึงทราบว่า ทรงน้อมพระทัยไปอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพการพิจารณา

ความที่ธรรมลึกซึ้งว่า ธรรมนี้ลึกซึ้งเหมือนลำน้ำรองแผ่นดิน เห็นได้ยาก

เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดถูกภูเขาบังไว้ แทงตลอดได้ยาก เหมือนเอาปลายต่อ

ปลายแห่งขนทรายที่แยกออก ๗ ส่วน จริงอยู่ เมื่อเราพยายามเพื่อแทงตลอดธรรม

ชื่อว่า ไม่ให้ทานไม่มี ชื่อว่า ไม่รักษาศีลแล้วไม่มี ชื่อว่าไม่ได้บำเพ็ญบารมีไรๆ

ก็ไม่มี เมื่อเรานั้นกำจัดกองทัพมาร เหมือหมดความพยายาม แผ่นดินไม่ไหว

แม้เมื่อระลึกบุพเพนิวาสานุสสติญาณในปฐมยาม ก็ไม่ไหว แม้เมื่อชำระทิพย

จักษุในมัชฌิมยาม ก็ไม่ไหว แต่เมื่อเราตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม

หมื่นโลกธาตุจึงหวั่นไหวแล้ว ดังนั้น แม้คนเช่นเราใช้ญาณอันแก่กล้า ก็ยัง

แทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียว โลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้

อย่างไร.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพรหมทูลอาราธนาแล้ว พระองค์ก็ทรงน้อมพระทัย

ไปอย่างนี้ แม้เมื่อเป็นผู้ประสงค์จะทรงแสดงธรรมโปรด จริงอยู่ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงทราบว่า เมื่อจิตของเราน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย

มหาพรหมก็จักอาราธนาเราให้แสดงธรรม และสัตว์เหล่านี้เป็นผู้เคารพต่อ

พรหมสัตว์เหล่านั้นสำคัญว่า ได้ยินว่า พระศาสดาไม่มีพระประสงค์จะทรงแสดง

ธรรม เมื่อเป็นอย่างนี้ มหาพรหมจะอาราธนาเราให้แสดงธรรมว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมนั้นสงบหนอ ประณีตหนอ ดังนี้ ก็จักตั้งใจฟัง ฉะนั้น

พึงทราบว่า เพราะอาศัยเหตุแม้นี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวน

ขวายน้อย มิได้น้อมไปเพื่อแสดธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

บทว่า สหมฺปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า พรหมนั้นเป็นพระเถระ

ชื่อว่าสหกะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสป ทำปฐมฌาน

ให้เกิด เกิดเป็นพรหมมีอายุกัปหนึ่งในปฐมฌานภูมิ. ในปฐมฌานภูมินั้น

ชนทั้งหลายรู้จักท่านว่า สหัมบดีพรหม ที่ท่านมุ่งหมายกล่าวถึงว่า พฺรหมุโน

สหมฺปคิสฺส ดังนี้. บทว่า นสฺสติ วต โภ ความว่า ได้ยินว่า พรหมนั้น

เปล่งเสียงนี้โดยที่พรหมหมื่นโลกธาตุได้ฟังแล้วมาประชุมกันหมด. บทว่า ยตฺร

หิ นาม ได้แก่ ในโลกชื่อใด. บทว่า ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า ได้

ปรากฏพร้อมกับพรหมหมื่นหนึ่งเหล่านั้น. บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า

สัตว์ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีธุลีคือราคะโทสะและโมหะ ใน

ดวงตาอันสำเร็จด้วยปัญญาน้อยคือนิดหน่อย เป็นสภาวะอย่างนี้. บทว่า

อสฺสวนตา ได้แก่ เพราะไม่ได้ฟัง. ด้วยบทว่า ภวิสฺสนฺติ ท่านแสดงว่า

ผู้บำเพ็ญบุญเก่ามาแล้ว ด้วยอำนาจบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ในพระ-

พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ถึงความแก่กล้า หวังแต่การแสดงธรรมเท่านั้น ดุจดอก

ปทุม หวังแต่จะสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์ฉะนั้น ควรหยั่งลงสู่อริยภูมิในที่สุด

แห่งคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน จักเป็นผู้รู้ทั่วถึงธรรมจำนวน

หลายแสน.

บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏแล้ว. บทว่า สมเลหิ จินฺติโต

ได้แก่ อันครูทั้ง ๖ ผู้มีมลทินคิดกันแล้ว. จริงอยู่ ครูทั้ง ๖ นั้น เกิดก่อน

แสดงธรรมคือมิจฉาทิฏฐิที่มีมลทิน เหมือนกระจายหนาม และราดยาพิษไปทั่ว

ชมพูทวีป. บทว่า อปาปุเรต ความว่า จงเปิดประตูอมตนครนั้น. บทว่า

อมตสฺส ทฺวาร ได้แก่ อริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตนครคือพระนิพพาน.

ด้วยคำว่า สุณนฺตุ ธมฺม วิมเลนานุพุทฺธ พรหมทูลอาราธนาว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนอื่นขอสัตว์เหล่านี้ จงสดับธรรม คือ สัจจะ ๔ ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่า ปราศจากมลทิน เพราะไม่มีมลทินมีราคะ

เป็นต้น ตามรู้แล้ว.

บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต ความว่า เหมือนยืนอยู่

บนยอดภูเขาอันล้วนแต่หินเป็นแท่งทึบ. จริงอยู่ กิจคือการชะเง้อคอยื่นออกไป

เป็นต้น เพื่อแสดงแก่ผู้ที่ยืนอยู่ในที่นั้น ย่อมไม่มี. บทว่า ตถูปม ความว่า

ส่วนเปรียบด้วยภูเขานั้น คือมีอุปมาเหมือนภูเขาหิน. ก็ความสังเขปในข้อนี้มี

ดังนี้ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหิน พึงมองเห็นประชุมชนโดยรอบ

ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีเมธา ผู้มีปัญญาดี ผู้มีจักษุโดยรอบ ด้วย

พระสัพพัญญุตญาณ แม้พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาท

อันสำเร็จด้วยธรรม สำเร็จด้วยปัญญา พระองค์เองก็ปราศจากความโศก

ทรงเพ่งพิจารณาเห็น หมู่ชนผู้คลาดคล่ำด้วยความโศก และถูกชาติชราครอบงำ.

ก็ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้. เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายทำนาแปลงใหญ่โดยรอบ

ณ เชิงภูเขา ปลูกกระท่อมหลายหลังที่แนวคันนาในที่นั้น ก่อไฟไว้ตลอดคืน

ในราตรี และพึงมีแต่ความมืดอันประกอบด้วยองค์ เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อ

บุรุษผู้มีจักษุนั้น ยืนอยู่บนยอดภูเขามองดูพื้นดิน แนวคันนาก็ไม่ปรากฏ

กระท่อมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ ผู้คนที่นอนอยู่ในที่กระท่อมนั้นก็ไม่ปรากฏ

ปรากฏแต่เพียงแสงไฟ ในกระท่อมเท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตขึ้นสู่

ปราสาทคือธรรม ตรวจดูหมู่สัตว์ก็ฉันนั้น เหล่าสัตว์ผู้ไม่กระทำคุณงาม

ความดีไว้ แม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวาในวิหารเดียวกัน ก็ไม่ปรากฏแก่

พุทธจักษุได้ ย่อมเป็นเหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน แต่เหล่าเวไนย-

บุคคลผู้ได้ทำคุณงามความดีไว้เท่านั้น แม้จะอยู่ในที่ไกล ก็มาปรากฏแก่พุทธ

จักษุนั้นได้ เวไนยบุคคลนั้นเป็นดุจไฟ และเป็นดุจภูเขาหิมวันต์ สมจริง

ตามที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

สัตบุรุษ ย่อมปรากฏในที่ไกล

เหมือนภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษอยู่ในที่นั้น

ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิ่งไปในเวลา

กลางคืน.

บทว่า อชฺเฌสน ได้แก่ การอาราธนา. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา

ได้แก่ ด้วยอินทริยปโรปริยญาณ และอาสยานุสยญาณ. จริงอยู่ คำว่า พุทฺธ-

จกฺขุ เป็นชื่อของญาณทั้ง ๒ นี้. คำว่า สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อของสัพพัญญุตญาณ.

คำว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อของมรรคญาณทั้ง ๓. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า

อปฺปรชกฺเข เป็นต้นดังต่อไปนี้ ก็ชนเหล่าใดมีธุลีคือกิเลสมีราคะเป็นต้นใน

จักขุคือปัญญาน้อยโดยนัยดังกล่าวแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อัปปรชักขะ

ผู้มีธุลีคือกิเลสในดวงตาน้อย. ชนเหล่าใด มีธุลีคือกิเลสในดวงตามาก ชน

เหล่านั้น ชื่อว่า มหารชักขะ ผู้มีกิเลสในดวงตามาก. ชนเหล่าใด มีอินทรีย์

มีศรัทธาเป็นต้น แก่กล้า ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ติกขินทรียะ มีอินทรีย์แก่กล้า.

ชนเหล่าใดมีอินทรีย์เหล่านั้นน้อย ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มุทินทรียะ มีอินทรีย์อ่อน.

ชนเหล่าใดมีอาการ มีศรัทธาเป็นต้นดี ชนเหล่านั้น ชื่อว่า สวาการ มีอาการดี.

ชนเหล่าใดกำหนดเหตุที่เขาแสดงแล้ว สามารถให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย ชนเหล่า

นั้น ชื่อว่า สุวิญญาปยะ จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย. ชนเหล่าใดเห็นปรโลก

และโทษว่าเป็นภัย ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ปรโลกวชฺชภยทสฺสาวี. ในข้อนี้มี

พระบาลีดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า อัปปรชักขะ มีกิเลสดุจธุลีใน

ดวงตาน้อย, บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า มหารชักขะ มีกิเลสดุจธุลีในดวงตา

มาก, ผู้ปรารภความเพียร ชื่อว่า อัปปรชักขะ, ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า มหารชักขะ,

ผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้มีสติหลงลืม ชื่อว่า มหารชักขะ ผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

ตั้งมั่น ชื่อว่า อัปปรชักชะ. ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่า มหารชักขะ, ผู้มีปัญญา

ชื่อว่า อัปปรชักขะ, ผู้ทรามปัญญา ชื่อว่า มหารชักขะ ผู้มีกิเลสดุจธุลีใน

ดวงตามาก อนึ่ง บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า ติกขินทริยะ มีอินทรีย์แก่กล้า

บุคคลผู้มีปัญญา ชื่อว่า มีปกติเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย บุคคลผู้ทราม

ปัญญา ชื่อว่า ไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย. บทว่า โลโก ได้แก่

ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สัมปัตติโลก วิปัตติภวโลก โลกหนึ่งได้

แก่สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ ได้แก่นามและรูป โลก ๓ ได้แก่

เวทนา ๓ โลก ๔ ได้แก่อาหาร โลก ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖

ได้แก่อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ ได้แก่วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ ได้แก่โลก

ธรรม ๘ โลก ๙ ได้แก่สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ ได้แก่อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒

ได้แก่อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ ได้แก่ธาตุ ๑๘. บทว่า วชฺช ความว่า กิเลส

ทั้งหมดชื่อว่าโทษ ทุจริตทั้งหมดชื่อว่าโทษ อภิสังขารทั้งหมดชื่อว่าโทษ

กรรมที่นำสัตว์ไปสู่ภพทั้งหมดชื่อว่าโทษ ความสำคัญว่าในโลกนี้และในโทษนี้

เป็นภัยทั้งหมดปรากฏเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ. รู้เห็นรู้ทั่วแทงตลอดอินทรีย์

๕ เหล่านี้ โดยอาการ ๕๐ เหล่านี้ นี้ชื่อว่าอินทริยปโรปริยัตตญาณของพระ-

ตถาคต.

บทว่า อุปฺปลินิย ได้แก่ ในดงอุบล. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนิ ได้แก่ ดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำอัน

น้ำหล่อเลี้ยงไว้. บทว่า อทก อจิจุคฺคมฺม ติฏฺนิต ได้แก่ ดอกบัวที่

โผล่ขึ้นพ้นน้ำ. ในดอกบัวเหล่านั้น ดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำ ย่อมรอคอยสัมผัส

รัศมีพระอาทิตย์ ซึ่งจะบานในวันนี้ แต่ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ ซึ่งจะบานใน

วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น่าอันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ จะบานได้ใน

วันที่ ๓ แม้ดอกบัวที่เกิดในน้ำเป็นต้นอื่น ๆ ที่ยังไม่พ้นน้ำก็มี จักไม่บาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

จักเป็นภักษาของปลาและเต่าเท่านั้น ดอกบัวเหล่านั้นมิได้ยกขึ้นสู่บาลี แต่ท่าน

นำมาแสดงไว้เข้าใจว่าควรแสดง. บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆติตัญญู วิปจิ

ตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เหมือนดอกบัว ๔ ชนิด เหล่านั้นนั่นเอง

ในบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น บุคคลใด ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่

ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า อุคฆตติตัญญู. บุคคลใด ตรัสรู้ธรรม

ในเมื่อท่านจำแนกอรรถแห่งธรรมที่กล่าวโดยย่อให้พิสดาร บุคคลนี้เรียกว่า

วิปจิตัญญู. บุคคลใดว่าโดยอุเทศโดยสอบถาม ใส่ใจโดยแยบคาย เสพ คบ

เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ บุคคลนี้เรียกว่า เนยยะ.

บุคคลใดสดับมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำได้มากก็ดี ให้ผู้อื่นสอนมากก็ดี

ยังตรัสรู้ธรรมในชาตินั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ปทปรมะ. ในบุคคล ๔ จำพวก

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุซึ่งเสมือนดงอุบลเป็นต้น

ได้ทรงเห็นว่า อุคฆคิตัญญูเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันนี้ วิปจิตัญญูเหมือน

ดอกบัวที่จะบานในวันพรุ่งนี้ เนยยะเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันที่ ๓

ปทปรมะเหมือนดอกบัวที่เป็นภักษาแห่งปลาและเต่า. และพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงเห็น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้

มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย สัตว์มีประมาณเท่านี้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก

ในสัตว์แม้เหล่านั้น สัตว์มีประมาณเท่านี้ เป็นอุคฆติตัญญู

ในบุคคล ๔ เหล่านั้น พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม

สำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จำพวก (แรก) ในอัตภาพนี้ทีเดียว สำหรับ

พวกปทปรมะ ย่อมเป็นวาสนา [อบรมบ่มบารมี] เพื่อสำเร็จประโยชน์ใน

อนาคตกาลข้างหน้า. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าการแสดงธรรม

จะนำประโยชน์มาแก่บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ จึงมีพระประสงค์จะทรงแสดง

ธรรม แล้วทรงแบ่งเหล่าสัตว์ในภพ ๓ ทั้งหมดเป็น ๒ ส่วน คือภัพบุคคล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

และอภัพบุคคลอีก ซึ่งท่านหมายถึงกล่าวไว้ว่า เหล่าสัตว์ผู้เป็นอภัพบุคคล

เป็นไฉน คือเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยกัมมาวรณะเครื่องกรรม คือกรรม ประกอบ

ด้วยวิปากาวรณะ ประกอบด้วยกิเลสาวรณะ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ

มีปัญญาทราม ไม่ควรจะหยั่งลงสู่นิยามธรรม ๆ ทำแน่นอนสู่สัมมัตตะความเป็น

ธรรมชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้คือเหล่าสัตว์ผู้เป็นอภัพบุคคลนั้น เหล่า

สัตว์ผู้เป็นภัพบุคคลเป็นไฉน คือเหล่าสัตว์ผู้ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณะ ฯลฯ

ีนี้คือเหล่าสัตว์ผู้เป็นภัพบุคคลนั้น ในบุคคล ๒ เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงละอภัพบุคคลทั้งหมด ทรงใช้พระญาณกำหนดภัพบุคคลเท่านั้น แบ่งเป็น

๖ พวก ว่าในที่นี้มีพวกราคจริตเท่านี้ พวกโทสจริตเท่านี้ พวกโมหจริต

วิตักกจริต สัทธาจริต และพุทธจริตเท่านี้. ครั้นทรงแบ่งอย่างนี้แล้ว จึงมี

พระพุทธดำริว่า จักทรงแสดงธรรม.

บทว่า ปจฺจภาส ได้แก่ ไค้ตรัสตอบ. บทว่า อปารุตา ได้แก่

เปิดแล้ว บทว่า อมตสฺส ทฺวารา ได้แก่ พระอริยมรรค. จริงอยู่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระอริยมรรคนั้น เป็นทวารแห่งพระนิพพานกล่าว

คืออมตนคร พระอริยมรรคนั้นเราเปิดสถาปนาไว้แล้ว บทว่า ปมุฺจนฺตุ

สทฺธ ความว่า ชนทั้งปวงจงหลั่งคือปล่อยศรัทธาของตนออกมา. ใน ๒ บท

หลัง มีเนื้อความดังนั้นว่า จริงอยู่ เราสำคัญว่าจะลำบากกายและวาจา จึงไม่

กล่าวธรรมอันประณีตสูงสุดนี้ที่คล่องแคล่วของตน แม้ที่เราพร้อมประกาศ

อยู่แล้ว ก็บัดนี้ชนทั้งปวงจงน้อมภาชนะคือศรัทธาเข้ามา เราจักทำความดำริ

ของพวกเขาให้เต็ม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

บทว่า อนฺตรธายิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมเอาของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น บูชาพระศาสดาแล้วอันตรธานไป อธิบายว่า ไปยังที่อยู่ของตน

นั่นเอง. ก็แลเมื่อท้าวสหัมบดีพรหมนั้นเสด็จไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่าอาฬารดาบส

เละอุททกดาบสทำกาละแล้ว และทราบว่าเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมาก

มีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น จึงเสด็จไป

ยังอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี แล้วทรงประกาศธรรมจักร ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอายาจนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

๒. คารวสูตร

ว่าด้วยทรงเคารพธรรม

[๕๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ

แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาประเทศ.

ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

เสด็จเข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ. เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใด

อยู่หนอ.

[๕๖๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า เราควรสัก-

การะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์

ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีล

ยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อม

ทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่

เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์

แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึง

พร้อมด้วยสมาธิยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน

หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ซึ่งเราควรสักการะเคารพ

แล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อ

ความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือ

พราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยปัญญายิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้ว

อาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็น

สมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะ

หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่

ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วย

วิมุตติญาณทัสสนะ ยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพ

แล้วอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้ว

อาศัยอยู่.

[๕๖๑] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจ ก็อันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏ

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออกซึ่งแขน

ที่คู้อยู่หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนเหยียดอยู่ ฉะนั้น.

ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม-

อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีมาแล้วตลอดกาล

อันล่วงแล้ว แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเอง

แล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจัก

มีตลอดกาลไกลอันยังไม่มาถึง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงสักการะ

เคารพธรรมนั่งเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละ

แล้วอาศัยอยู่.

[๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคม

คาถาอีก

พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่

ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่า

ใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชน

เป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้า

เหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัท-

ธรรมอยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อ

นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตนหวัง

ความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัท-

ธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

อรรถกถาคารวสูตร

ในคารวสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทปาทิ ความว่า ความตรึกนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๕. บทว่า

อคารโว ความว่า เว้นคารวะในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ

ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส ความว่า เว้นจากความยำเกรง

คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ ไว้ในฐานะเป็นผู้เจริญที่สุด.

ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย

ชื่อ สเทวกะ. เมื่อถือเอาพวกมารและพรหมด้วยเทวศัพท์ ก็ในคำนี้ ท้าว

วสวัตดีมารย่อมมีอำนาจเหนือมารและพรหมทั้งหมด ธรรมดาว่าพรหมมี

อานุภาพมาก ใช้นิ้วมือนิ้วหนึ่งแผ่รัศมีไปในหนึ่งจักรวาล ใช้ ๒ นิ้วแผ่

รัศมีไป ๒ จักรวาล ฯลฯ ใช้ ๑๐ นิ้วแผ่รัศมีไปหมื่นจักรวาล. พรหมผู้มี

อานุภาพมากนั้น อย่าได้กล่าวกันว่ามีศีลดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึง

แยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ดังนี้. อนึ่ง ธรรมดาสมณะทั้งหลาย

เป็นพหูสูตโดยรู้นิกายหนึ่งเป็นต้น มีศีลเป็นบัณฑิต แม้พราหมณ์ทั้งหลาย

เป็นพหูสูตโดยรู้วิชาดูพื้นที่เป็นต้น สมณพราหนณ์บัณฑิตเหล่านั้น

อย่าได้กล่าวกันว่าดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺ-

ราหฺมณิยา ปชาย ดังนี้. ก็คำว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ ตรัสรวบเพื่อแสดง

โดยสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้ ๓ บทข้างต้น ตรัสโดยมุ่งโลก. ๒ บทหลัง

ตรัสโดยมุ่งหมู่สัตว์. บทว่า สีลสมฺปนฺนตร ความว่า สมบูรณ์กว่าคือยิ่งกว่า

โดยศีล. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ธรรม ๔ ประการมีศีล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะ

เท่านั้น และวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเป็นปัจจเวกขณญาณ.

บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดานี้

ไม่ทรงเห็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์โดยศีลเป็นต้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม

ทรงดำริว่า เราจักเคารพโลกุตรธรรม ๙ ที่เราบรรลุแล้วนี่แหละอาศัยอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดถึงเหตุ ทรงคิดถึงประโยชน์พิเศษ จำเราจักไปทำ

อุตสาหะให้เกิดแก่พระองค์ ดังนี้แล้วได้ปรากฏองค์ต่อหน้า คือยืนในที่เฉพาะ

พระพักตร์. ในบทว่า วิหรึสุ วิหรนฺติ จ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ผู้ใดพึง

กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันก็มีพระพุทธเจ้ามาก โดยพระบาลีว่า วิหรนฺติ ดังนี้

ผู้นั้น พึงถูกคัดค้านด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้แม้พระผู้มี

พระภาคเจ้าก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พึงแสดงแก่ผู้นั้นว่าพระ-

พุทธเจ้าอื่น ๆ ไม่มี โดยพระบาลีเป็นต้นว่า

เราไม่มีอาจารย์ คนเสมือนเราไม่มี

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีคนทัดเทียม

เรา ดังนี้.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นผู้

เคารพพระสัทธรรม. บทว่า มหตฺตมภิกงฺขตา ได้แก่ปรารถนาความเป็น

ใหญ่. บทว่า สร พุทฺธานสาสน ได้แก่ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย.

จบอรรถกถาคารวสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

๓. พรหมเทวสูตร

ว่าด้วยพระพรหมเทวะโปรดมารดา

[๕๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออก

บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะเป็นผู้

เดียว หลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ ไม่

นานเท่าไร ก็ได้กระทำให้แจ้งประโยชน์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวช

เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องประสงค์อันนั้น อย่างยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหม-

จรรย์ เพราะรู้แจ้งชัดเองในปรัตยุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติ

สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ก็แหละท่านพรหมเทวะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

ในบรรดาพระอรหันต์แล้ว.

[๕๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ ในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว

ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี

ตามลำดับตรอก เข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตนแล้ว .

ก็สมัยนั้นแล นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะถือการ

บูชาบิณฑะแก่พรหมเป็นนิตย์.

ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า นางพราหมณีผู้มารดาของท่าน

พระพรหมเทวะนี้แล ถือการบูชาบิณฑะแก่พรหมเป็นนิตย์ ไฉนหนอ เรา

พึงเข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

[๕๖๕] ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลกปรากฏ

แล้วในนิเวศน์ของมารดาแห่งท่านพระพรหมเทวะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง

พึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าแล้ว หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น .

ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะนาง

พราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะด้วยคาถาทั้งหลายว่า

ดูก่อนนางพราหมณี ท่านถือการ

บูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด มั่นคงเป็น

นิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจาก

ที่นี้ ดูก่อนนางพราหมณี ภักษาของพรหม

ไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของพรหม

ทำไมจึงบ่นถึงพรหม.

ดูก่อนนางพราหมณ์ ก็ท่านพระ-

พรหมเทวะของท่านนั้น เป็นผู้หมดอุปธิ

กิเลส ถึงความเป็นอติเทพ ไม่มีกิเลสเป็น

เครื่องกังวล มีปกติขอ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น

ท่านพระพรหมเทวะที่เข้าสู่เรือนของท่าน

เพื่อบิณฑบาต เป็นผู้สมควรแก่บิณฑะที่

บุคคลพึงนำมาบูชา ถึงเวท มีตนอบรม

แล้ว สมควรแก่ทักษิณาทานของมนุษย์

และเทวดาทั้งหลาย ลอยบาปเสียแล้ว อัน

ตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้ว เป็นผู้

เยือกเย็นกำลังเที่ยวแสวงหาอาหารอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

อดีตอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหม

เทวะนั้น ท่านพระพรทมเทวะเป็นผู้สงบ

ระงับ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มี

ความหวัง วางอาชญาในปุลุชนผู้ยังมีความ

หวาดหวั่นและในพระขีณาสพผู้มั่นคงแล้ว

ขอท่านพระพรหมเทวะนั้นจงบริโภค

บิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของ

ท่าน.

ท่านพระพรหมเทวะซึ่งเป็นผู้มีเสนา

มารไปปราศแล้ว มีจิตสงบระงับ ฝึกตน

แล้ว เที่ยวไปเหมือนช้างตัวประเสริฐ ไม่

หวั่นไหว เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษ

แล้ว ขอท่านพระพรหมเทวะนั้น จง

บริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชา

พรหมของท่าน.

ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระ-

พรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้ง

ทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล

ดูก่อนนางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะ

อันข้ามแล้วจงทำบุญ อันจะนำความสุข

ต่อไปมาให้.

ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระ

พรหมเทวะนั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ตั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล

ดูก่อนนางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะ

อันข้ามแล้ว ได้ทำบุณอันจะนำความสุข

ต่อไปมาให้แล้ว.

อรรถกถาพรหมเทวสูตร

ในพรหมเทวสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอโก ความว่า เป็นผู้ผู้เดียว คืออยู่คนเดียวในอิริยาบถทั้งหลาย

มียืนเป็นต้น. บทว่า วูปกฏฺโ ได้แก่ปลีกตัวไป คือปราศจากการคลุกคลีด้วย

กาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ อยู่ในความเป็นผู้ไม่ปราศจากสติ. บทว่า

อาตาปี ได้แก่ ประกอบด้วยความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปหิตตฺโต

ได้แก่ มีตนส่งไปแล้ว. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมารยาท. บทว่า

สมฺมเทว ความว่า ไม่ใช่บวชเพราะเป็นหนี ไม่ใช่บวชเพราะมีภัย ไม่ใช่บวช

เลี้ยงชีพ. แม้ผู้ที่บวชไม่ว่าด้วยกรีใด ๆ บำเพ็ญปฏิปทาที่สมควร ก็ชื่อว่า

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบทั้งนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสาน

ได้แก่อริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่

ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ รู้ด้วยตนเอง

คือทำให้ประจักษ์. บทว่า อุปสมฺปชฺช ได้แก่ได้เฉพาะคือสำเร็จผลอยู่แล้ว.

ก็ท่านพระพรหมเทวะอยู่ด้วยประการฉะนี้ ได้รู้ชัดแล้ว ฉะนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงทรงแสดงปัจจเวกขณภูมิของท่าน ด้วยบทนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ถามว่า ก็ชาติไหนของท่านพรหมเทวะนั้นสิ้นแล้ว และท่านพรหมเทวะ

รู้ชัด ข้อนั้นได้อย่างไร. ตอบว่า ชาติส่วนอดีตของท่านพรหมเทวะนั้น ชื่อว่า

สิ้นแล้วไม่ได้ก่อน เพราะสิ้นไปในกาลก่อนเสียแล้ว ชาติส่วนอนาคต ชื่อว่า

สิ้นแล้ว ก็ไม่ได้ เพราะไม่มีความพยายามในชาตินั้น ชาติส่วนปัจจุบันก็ชื่อว่า

สิ้นแล้วไม่ได้เพราะยังมีอยู่. แต่ชาติใดโดยเป็นขันธ์เดียว ขันธ์ ๔ และ

ขันธ์ ๕ ในบรรดาเอกโวการภพ จตุโวการภพและปัญจโวการภพ พึงเกิดขึ้น

เพราะยังมิได้อบรมมรรค ชาตินั้นชื่อว่าสิ้นแล้ว เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา เพราะอบรมมรรคแล้ว. ท่านพรหมเทวะนั้นพิจารณากิเลสที่ละได้

ด้วยมรรคภาวนา ย่อมรู้ชาตินั้นว่า กรรมแม้มีอยู่ก็ไม่เป็นเหตุให้ปฏิสนธิต่อไป

เพราะไม่มีกิเลส.

บทว่า วุสิต ความว่า อยู่แล้ว อยู่รอบแล้ว อธิบายว่า กระทำแล้ว

ประพฤติแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์.

บทว่า กต กรณีย ความว่า กิจแม้ ๑๖ อย่าง คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ

สัจฉิกิริยากิจและภาวนากิจ ด้วยมรรคทั้ง ๔ ในสัจจะ ๔ [๔ x ๔ = ๑๖] ทำ

สำเร็จแล้ว. บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า บัดนี้ มรรคภาวนา

เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือเพื่อความเป็นกิจ ๑๖ อย่างอย่างนี้ หรือเพื่อความ

สิ้นกิเลส ไม่มีอีก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ได้แก่จากความเป็น

อย่างนี้ คือจากประการอย่างนี้ ท่านพรหมเทวะได้ทราบว่า ขันธสันดาน

อื่นจากธสันดานที่เป็นไปอยู่ในบัดนี้ไม่มี แต่เบญจขันธ์เหล่านี้ ท่านกำหนด

รู้แล้ว ยังตั้งอยู่ได้เหมือนต้นไม้มีรากขาดแล้ว. บทว่า อญฺตโร แปลว่า

องค์หนึ่ง. บทว่า อรหต ความว่า ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดา

พระอรหันต์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

บทว่า สปทาน ได้แก่ เที่ยวไปตามลำดับตรอก คือเที่ยวไปตาม

ลำดับไม่เลยเรือนที่ถึงแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิ ได้แก่เข้าไปอยู่. ก็มารดาของ

เขาพอเห็นบุตรก็ออกจากเรือนพาเข้าไปภายในที่อยู่ ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้.

บทว่า อาหุตึ นิจฺจ ปคฺคณฺหาติ ความว่า รับของบูชาคือบิณฑะ

ก้อนข้าวในกาลเป็นนิจ. ก็ในวันนั้นมีพลีกรรมเพื่อภูตในเรือนนั้น. ทุกเรือนทา

สีเขียวมีข้าวตอกเกลื่อนกลาด. แวดล้อมด้วยทรัพย์และดอกไม้ ยกธงชัยธงปฏาก

ขึ้นตั้งหม้อน้ำมีน้ำเต็มไว้ในที่นั้น ๆ จุดประทีปสว่าง ประดับด้วยผงของหอม

และดอกไม้เป็นต้น. ได้มีแว่นเวียนเทียนถือส่งต่อกันไปโดยรอบ. นางพราหมณี

แม้นั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ อาบน้ำหอม ๑๖ หม้อ ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ

พร้อมสรรพ. สมัยนั้น นางให้พระมหาขีณาสพนั่งแล้ว มิได้ถวายแม้เพียง

ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง คิดว่า เราจักให้มหาขี่พรหมบริโภค บรรจุข้าวปายาสเต็ม

ถาดทอง ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ที่หลังบ้านมีพื้นที่ที่

ประดับด้วยของทาสีเขียวเป็นต้น นางถือถาดนั้นไปที่นั้น วางก้อนข้าวปายาส

ตรงที่ ๔ มุมและตรงกลางแห่งละก้อน ถือไปก้อนหนึ่ง มีเนยใสไหลลงถึงข้อศอก

คุกเข่าบนแผ่นดิน กล่าวเชิญพรหมให้บริโภคว่า ขอท่านมหาพรหมจงบริโภค

ขอท่านมหาพรหมจงนำไป ขอมหาพรหมจงอิ่มหนำ ดังนี้.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความคิดนี้ได้มีแก่ท้าวสหัมบดีพรหม

ผู้สูดกลิ่นศีลของพระมหาขีณาสพ ซึ่งท่วมเทวโลกฟุ้งไปถึงพรหมโลก. บทว่า

สเวเชยฺย ได้แก่พึงตักเตือน คือพึงให้ประกอบในสัมมาปฏิบัติ. อธิบายว่า

จริงอยู่ นางพราหมณีนั้น ให้พระมหาขีณาสพผู้เป็นอัครทักขิไณยบุคคลเห็น

ปานนี้ นั่งแล้ว มิได้ถวายอาหารแม้เพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง คิดว่า เราจักให้

มหาพรหมบริโภค ดุจทิ้งตาชั่งเสียแล้วใช้มือชั่ง ดุจทิ้งกลองเสียแล้วประโคม

ท้อง ดุจทิ้งไฟเสียแล้วเป่าหิ่งห้อย เที่ยวทำพลีแก่ภูต เราจักไปทำลายมิจฉา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ทิฏฐิของนาง ยกนางขึ้นจากทางแห่งอบาย จะกระทำโดยวิธีให้นางหว่านทรัพย์

๘๐ โกฏิ ลงในพระพุทธศาสนาแล้วขึ้นสู่ทางสวรรค์.

บทว่า ทูเร อิโต ความว่า ไกลจากที่นี้. จริงอยู่ ก้อนศิลาขนาดเท่า

เรือนยอดตกจากพรหมโลก วันหนึ่งคืนหนึ่งสิ้นระยะทาง ๔๘,๐๐๐ โยชน์ ใช้

เวลาถึง ๔ เดือนโดยทำนองนี้ จึงตกถึงแผ่นดิน พรหมโลกขึ้น ที่ต่ำกว่าเขาหมด

อยู่ไกลอย่างนี้. บทว่า ยสฺสาหุตึ ความว่า โลกของพรหมที่นางพราหมณี

บูชาด้วยก่อนข้าว อยู่ไกล. ในบทว่า พฺรหฺมปถ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ท้าวมหาพรหมกล่าวว่า ชื่อว่า ทางของพรหม ได้แก่กุศลฌาน ๔ ส่วน

วิบากฌาน ๔ ชื่อว่า เป็นทางชีวิตของพรหมเหล่านั้น เธอไม่รู้ทางของพรหม

นั้น กระซิบอยู่ทำไม เพ้ออยู่ทำไม จริงอยู่ พรหมทั้งหลาย ย่อมยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยฌานที่มีปีติ หาได้ใส่ข้าวสารแห่งข้าวสาลี และเคี้ยวกินน้ำนมที่เคี่ยว

แล้วไม่ ท่านอย่าลำบากเพราะสิ่งที่ไม่ใช่เหตุเลย ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึง

ประคองอัญชลี แล้วย่อตัวเข้าไปชี้พระเถระอีกกล่าวว่า ดูก่อนนางพราหมณี

ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนี้ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

นิรูปธิโก ความว่า เว้นจากอุปธิ คือกิเลสอภิสังขารและกามคุณ. บทว่า

อติเทวปตฺโต ความว่า ถึงความเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ ถึงความเป็นพรหมยิ่ง

กว่าพรหม. บทว่า อนญฺโปสี ความว่า ชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่

เลี้ยงอัตภาพของผู้อื่นหรือบุตรและภรรยา นอกจากอัตภาพนี้.

บทว่า อาหุเนยฺโย ความว่า ควรเพื่อจะรับบิณฑะที่เขาบูชา ปิณฑะ

ที่เขาค้อนรับ . บทว่า เวทคู ได้แก่ถึงที่สุดทุกข์ด้วยเวทคือมรรค ๔. บทว่า

ภาวิตฺตฺโต ได้แก่อบรมตนให้เจริญทั้งอยู่. บทว่า อนูปลิตฺโต ได้แก่อัน

เครื่องฉาบคือตัณหาและทิฐิไม่ฉาบแล้ว. บทว่า ฆาเสสน อิริยติ ได้แก่

เที่ยวแสวงหาอาหาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

บทว่า น ตสฺส ปจฺฉา น ปุรตฺถมตฺถิ ความว่า ภายหลัง

เรียกว่าอดีต ภายหน้า เรียกว่าอนาคต. ท่านกล่าวไว้ว่า ภายหลังหรือภายหน้า

ย่อมไม่มีแก่ผู้เว้นจากฉันทราคะในขันธ์ส่วนอดีตและขันธ์ส่วนอนาคต ด้วย

ประการฉะนี้. ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สนฺโต

เพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า วิธูมะ เพราะปราศจากควันคือความ

โกรธ. ชื่อว่า อนีฆะ เพราะไม่มีทุกข์. แม้ถือไม้เท้าเป็นต้นเที่ยวไป ก็ชื่อว่า

วางไม้แล้ว เพราะไม่มีเจตนาจะฆ่า. ในคำว่า ตสถาวเรสุ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้

ปุถุชนทั้งหลายชื่อว่าผู้สะดุ้ง พระขีณาสพทั้งหลายชื่อว่าผู้มั่นคง. พระเสขบุคคล

๗ จำพวก ไม่อาจจะเรียกว่า ผู้สะดุ้งได้ ท่านเหล่านั้นมิใช่ผู้มั่นคง แต่เมื่อ

จะแบ่งพวก ก็แบ่งเป็นพวกมั่นคงนั่นแหละ. บทว่า โส ตฺยาหุตึ ตัดบท

เป็น โส ตว อาหุตึ.

บทว่า วิเสนิภูโค ความว่า เป็นผู้ปราศจากกองทัพโดยกองทัพคือ

กิเลส. บทว่า อเนโช ได้แก่ปราศจากตัณหา. บทว่า สุสีโล ได้แก่เป็น

ผู้มีศีลดี โดยศีลของพระขีณาสพ. บทว่า สุวิมุตฺตจิตโต ความว่า มีจิต

หลุดพ้นแล้วด้วยดี โดยผลวิมุตติ.

บทว่า โอฆติณฺณ ได้แก่ข้ามโอฆะ ๔ เสียได้ ด้วยกถามรรคเพียง

เท่านี้ พรหมสรรเสริญคุณของพระเถระ ประกอบนางพราหมณีไว้ในสัมมาทิฏฐิ.

ก็อวสานคาถา [คาถาสุดท้าย] พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายตั้งไว้แล้ว บทว่า

ปติฏฺเปสิ ทกฺขิณ ความว่า ดังทักษิณาคือปัจจัย ๔. บทว่า สุขมายติก

ความว่า มีสุขในอนาคต คือมีสุขเป็นผลในอนาคต อธิบายว่า นำสุขมาให้.

จบอรรถกถาพรหมเทวสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

๔. พกสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม

[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะ

แห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา

ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอัน

ยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

[๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่ง

ใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏ

ในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือ.

คู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.

พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้น

แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จง

เสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลก

นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่

มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ

ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

[๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้

กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของ

ไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อ

กัน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหม

ที่เป็นของความเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็น

ธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย เป็นที่จุติและ

อุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ

ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้.

[๕๖๙] พกพรหมทูลว่า

ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์

๗๒ คน บังเกิดในพรหมโลกนี้เพราะ

บุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติ

ชราได้แล้ว การอุปบัติในพรหมโลก ซึ่ง

ถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุดแล้ว ชนมิใช่

น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์.

[๕๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพกพรหม ท่านสำคัญอายุใด

ว่ายืน ก็อายุนั้นสั้น ไม่ยืนเลย ดูก่อน

พรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท ของ

ท่านได้ดี.

[๕๗๑] พกพรหมทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด

๑. นิรัพพุท เป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๘ สูญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

ล่วงชาติชราและความโศกได้แล้วดังนี้

อะไรเป็นวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ

ขอพระองค์จงตรัสบอกศีลวัตรซึ่งข้าพระ-

องค์ควรรู้แจ้งชัด.

[๕๗๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

๑. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้ซึงระหายน้ำอันแดดแผดเผาแล้ว ใน

ฤดูร้อนให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่

ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับ

แล้วตื้นขึ้นฉะนั้น.

๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประ-

ชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไปอยู่ที่ฝั่งแม้น้ำ

คงคา เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายัง

ระลึกได้อยู่ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.

๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้ว

ช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูกนาคผู้ร้ายกาจจับ

ไว้ในกระแสะองแม่น้ำคงคา เพราะความ

เอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่า

แก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจ

หลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.

๔. และเราได้เป็นอันเตวาสิกของ

ท่าน นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

แล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น

ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่

ประดุจหลับแล้วตื่นขึ้น ฉะนั้น.

พกพรหมทูลว่า

พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้า

พระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่น ๆ พระองค์ก็ทรง

ทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์

นี้ จึงยังพรหมโลกให้สว่างไสวตั้งอยู่.

อรรถกถาพกสูตร

ในพกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาปก ทิฏฺิคต ได้แก่สัสสตทิฏฐิที่ต่ำทราม. บทว่า อิท

นิจฺจ ความว่า พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ซึ่งไม่เที่ยงว่า

เที่ยง. บทว่า ธุว เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า นิจฺจ นั้นนั่นแหละ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุว ได้แก่มั่นคง. บทว่า สสฺสต ได้แก่มีอยู่

ทุกเมื่อ. บทว่า เกวล ได้แก่ไม่ขาดสายคือทั้งสิ้น. บทว่า อจวนธมฺม ได้

แก่มีความไม่จุติเป็นสภาวะ. ในคำว่า อิท หิ น ชายติ เป็นต้น ท่านกล่าว

หมายเอาว่า ในฐานะนี้ ไม่มีผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย ผู้จุติหรือผู้อุปบัติไร ๆ บทว่า

อิโต จ ปนญฺ ความว่า ชื่อว่าอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจาก

ฐานะแห่งพรหมพร้อมทั้งโอกาสนี้ไม่มี. พกพรหมนั้นเกิดสัสสติทิฏฐิอย่างแรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

ด้วยประการแม้อย่างนี้. ก็แลพกพรหมผู้มีทิฐิอย่างนี้นั้น ย่อมปฏิเสธคุณวิเสส

ทุกอย่างคือ ภูมิฌาน ๓ ชั้นสูง มรรค ๔ ผล ๔ และพระนิพพาน. ถามว่า

ก็ทิฐินั้นเกิดขึ้นแก่พรหมนั้นเมื่อไร. ตอบว่า เมื่อครั้งเขาเกิดในภูมิปฐมฌาน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เกิดในภูมิทุติยฌาน.

ในข้อนั้นมีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า พรหมนี้อุปบัติภายหลัง

เมื่อยังไม่มีสมัยเกิดพระพุทธเจ้าก็บวชเป็นฤาษี กระทำกสิณบริกรรมและทำ

สมาบัติให้เกิด ไม่เสื่อมฌานทำกาละแล้ว บังเกิดในพรหมโลกชั้นเวหัปผลาใน

ภูมิจตุตถฌาน. มีอายุอยู่ ๕๐๐ กัป. เขาดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นเวหัปผลานั้น

ตลอดอายุขัย ช่วงเวลาที่เกิดภายหลัง เจริญตติยฌานให้ประณีต บังเกิดใน

พรหมโลกชั้นสุภกิณหะ มีอายุ ๖๔ กัป. พกพรหมนั้นรู้กรรมที่ตนทำและสถาน

ที่ที่ตนเกิดในปฐมกาลเกิดครั้งแรก เมื่อกาลล่วงไป ๆ ลืมกรรมและสถานที่ทั้ง

๒ เสีย จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ.

บทว่า อวิชฺชาคโต ความว่า ไปด้วยอวิชชาคือประกอบด้วยความ

ไม่รู้ ไม่มีญาณ เป็นผู้มืดดังคนตาบอด. บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย นาม.

บทว่า วกฺขติ แปลว่า ย่อมกล่าว. ก็เพราะประกอบศัพท์นิบาตว่า ยตฺร

คำว่า วกฺขติ ก็กลายเป็นอนาคตกาลแปลว่าจักกล่าว

เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมนั้นถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าคุกคาม ได้สติ

กลัวว่าพระผู้มีภาคเจ้าทรงเพ่งเราทุกฝีก้าว ประสงค์จะบีบบังคับเรา เมื่อจะ

บอกสหายของตน จึงกล่าวคำว่า ทฺวาสตฺตติ เป็นต้น เหมือนโจรถกเฆี่ยน

๒ - ๓ ครั้งในระหว่าทาง อดกลั้นไม่ยอมซัดถึงพวกเพื่อน เมื่อถูกเฆี่ยนหนักขึ้น

จึงบอกว่า คนโน้น ๆ เป็นสหายของเรา ฉะนั้น. ความข้อนั้นมีอธิบายดังนี้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ๗๒ คนด้วยกันทำบุญไว้ จึงเกิดใน

ที่นี้ด้วยบุญกรรมนั้น เป็นผู้ใช้อำนาจตนเอง ไม่อยู่ในอำนาจของผู้อื่น ทำผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

อื่นให้อยู่ในอำนาจของตน ล่วงชาติและชราได้. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การ

อุปบัติในพรหมโลกเป็นครั้งสุดท้ายนี้ นับว่า เวทคู เพราะพวกข้าพระองค์

ไปถึงด้วยเวททั้งหลาย. บทว่า อสฺมาภิชปฺปนฺติ ชนา อเนกา ความว่า

ชนเป็นมากย่อมชอบใจพวกข้าพระองค์ ย่อมปรารถนาย่อมกระหยิ่มอย่างนี้ว่า

ท่านพรหมผู้นี้แล เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้

เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้

ประเสริฐสุด เป็นผู้จัด เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นบิดาของสิ่งที่เป็นแล้วและกำลัง

เป็น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพกพรหมนั้นว่า อปฺป หิ เอต

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอต ความว่า ท่านสำคัญอายุใดของ

ท่านในที่นี้ว่า ยืนอายุนั่นน้อย คือนิดหน่อย. บทว่า สตสหสฺสาน นิรพฺพุทาน

ได้แก่แสนนิรัพพุทะ โดยจำนวนนิรัพพุทะ (นิรัพพุทะเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวน

เลขสูญ ๖๘ สูญ). บทว่า อายุ ปชานามิ ความว่า เรารู้ว่าอายุของท่านในบัด

นี้เหลืออยู่เพียงเท่านี้. บทว่า อนนฺตทสฺสี ภความมสฺมิ ความว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด ล่วง

ชาติเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า กึ เม ปุราณ ความว่า ถ้าพระองค์เป็นผู้มี

ปกติเห็นไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อนี้แก่ข้า

พระองค์ คืออะไรเป็นวัตรเก่าของข้าพระองค์. ศีลนั่นแหละท่านเรียกว่าศีล

วัตร. บทว่า ยมห วิชญฺา ความว่า พกพรหมกล่าวว่า ข้าพระองค์ควร

ทราบข้อใดที่พระองค์ตรัส ขอพระองค์จงบอกข้อนั้นแก่ข้าพระองค์.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกแก่พกพรหมนั้น ได้ตรัส

พระพุทธพจน์เป็นต้นว่า ย ตฺว อปาเยสิ ดังนี้. ในข้อนั้นมีอธิบายดังนี้

ได้ยินว่า เมื่อก่อน พกพรหมนี้เกิดในเรือนมีตระกูล เห็นโทษในกาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ทั้งหลาย คิดจักทำชาติชราและมรณะให้สิ้นสุด จึงออกบวชเป็นฤาษี ทำสมาบัติ

ให้เกิดได้ฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ปลูกบรรณศาลาอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา

ให้เวลาล่วงไปด้วยความยินดีในฌาน. ก็ในครั้งนั้น มีพวกพ่อค้าเกวียนใช้

เกวียน ๕๐๐ เล่ม เดินทางผ่านทะเลทรายเสมอ ๆ. ก็ในทะเลทรายไม่มีใคร

สามารถเดินทางกลางวันได้ เดินได้แต่ตอนกลางคืน. ครั้งนั้น โคงานที่เทียม

แอกเกวียนเล่มหน้า เมื่อเดินทาง ได้วกกลับมายังทางที่มาแล้วเสีย เกวียน

ทุกเล่มก็วกกลับอย่างนั้นเหมือนกัน กว่าจะรู้ได้ก็ต่อเมื่ออรุณขึ้น. แลในครั้งนั้น

พวกพ่อค้าเกวียนจะข้ามพ้นทางกันดารได้ ใช้เวลาหนึ่งวัน ฟืนและน้ำก็หมดสิ้น

ทุกอย่าง. ฉะนั้น พวกมนุษย์เขาคิดว่า คราวนี้พวกเราตายหมด ผูกโคที่ล้อ

แล้วเข้าไปนอนที่ร่มเงาเกวียน.

แม้พระดาบสก็ออกจากบรรณศาลาแต่เช้าตรู นั่งที่ประตูบรรณศาลา

แลดูแม่น้ำคงคา ได้เห็นแม่น้ำคงคาเต็มเปี่ยมด้วยห้วงน้ำใหญ่ไหลมาเหมือน.

แต่งแก้วมณี ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า ในโลกนี้มีเหล่าสัตว์ที่ลำบากเพราะไม่มี

น้ำที่อร่อยเห็นปานนี้หรือหนอ. พระดาบสนั้นเมื่อรำพึงอยู่อย่างนั้น เห็นหมู่

เกวียนนั้นในทะเลทราย คิดว่า สัตว์เหล่านี้จงอย่าพินาศ จึงอธิษฐานด้วย

อภิญญาจิตว่า ขอท่อน้ำใหญ่จงเซาะข้างโน้นบ้างสู่ข้างนี้บ้าง แล้วไหลตรงไปยัง

หมู่เกวียนในทะเลทราย. พร้อมด้วยจิตตุบาท น้ำได้ไปในที่นั้นเหมือนไปสู่เหมือง

อันเจริญ พวกมนุษย์ลุกขึ้นเพราะเสียงน้ำ. เห็นน้ำแล้วต่างร่าเริง ยินดี อาบ

ดื่ม ให้โคทั้งหลายดื่มน้ำแล้ว ได้ไปถึงที่ที่ตนปรารถนาโดยสวัสดี. พระศาสดา

เมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพรหมนั้น ได้ตรัสคาถาที่ ๑. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อปาเยสิ ได้แก่ให้ดื่ม. อักษรเป็นเพียงนิบาต. บทว่า ฆมฺมนิ

ได้แก่ ในฤดูร้อน. บทว่า สมฺปเรเต ความว่า อันความร้อนในฤดูร้อน

ถูกต้อง คือติดตาม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

สมัยต่อมา ดาบสร้างบรรณศาลาที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา อาศัยหมู่บ้าน

ใกล้ป่าอยู่. ก็สมัยนั้น พวกโจรปล้นบ้านนั้น พาแม่โคและเชลยทั้งหลายไป

ทั้งโคทั้งสุนัขทั้งมนุษย์ทั้งหลายร้องเสียงดังลั่น. ดาบสได้ยินเสียงนั้นรำพึงว่า

นี่อะไรหนอ ทราบว่า พวกมนุษย์เกิดภัย คิดว่า เมื่อเราเห็นอยู่ สัตว์เหล่านั้น

จงอย่าพินาศ เข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วใช้อภิญญาจิต

เนรมิตกองทัพ ๔ เหล่า ตรงที่สวนทางพวกโจร มาเตรียมพร้อมอยู่. พวกโจร

เห็นแล้วคิดว่า ชรอยว่าพระราชาเสด็จมา จึงทิ้งสิ่งของที่ปล้นมาหนีไป. พระ-

ดาบสอธิษฐานว่า ทุกอย่างจงเป็นเหมือนเดิม. สิ่งนั้นได้เป็นเช่นนั้นทีเดียว.

มหาชนก็มีความสวัสดี. พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงบุรพกรรมของพกพรหม

นั้นแม้นี้ จึงได้ตรัสคาถาที่ ๒. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอณิกุลสฺมิ ได้แก่

ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา. บทว่า คยฺหก นียมาน ความว่า ถือนำไป. อธิบายว่า

พาไปเป็นเชลย ดังนี้ก็มี.

สมัยต่อมา ตระกูลหนึ่งอยู่ที่แม่น้ำคงคาด้านเหนือ ผูกสันถวไมตรีกับ

ตระกูลซึ่งอยู่ที่แม่น้ำคงคาด้านใต้ ผูกเรือขนานบรรทุกของกินของใช้ของหอม

และดอกไม้เป็นต้นเป็นอันมาก มาตามกระแสน้ำคงคา. พวกมนุษย์ เคี้ยวกิน

บริโภค ฟ้อนรำ ขับร้องได้เกิดโสมนัสเป็นอันมาก เหมือนได้ไปในเทพวิมาน.

คังเคยยกนาคราช เห็นเข้าก็โกรธ คิดว่า มนุษย์เหล่านี้ไม่ทำความสำคัญในเรา

คราวนี้เราจักให้พวกมันจมทะเลให้ได้ จึงเนรมิตอัตภาพใหญ่ แยกน้ำเป็น

๒ ส่วน ชูหัวแผ่พังพานส่งเสียงขู่สุ สุ ๆ. มหาชนเห็นเข้าพากันกลัวส่งเสียงดังลั่น.

ก็พระดาบสนั่งอยู่ที่ศาลา ได้ยินเข้า นึกว่ามนุษย์พวกนี้พากันขับร้องฟ้อนรำ

เกิดโสมนัสมา แต่บัดนี้ร้องแสดงความกลัว เหตุอะไรหนอ เห็นนาคราช คิดว่า

เมื่อเราเห็นอยู่ ขอพวกสัตว์จงอย่าพินาศ จึงเข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา

ละอัตภาพเนรมิตเป็นเพศครุฑแสดงแก่นาคราช. นาคราชกลัวหดพังพาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

จมน้ำไป. มหาชนก็มีความสวัสดี. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพก

พรหมแม้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลุทฺเธน ได้แก่

ผู้ร้ายกาจ. บทว่า มนุสฺสกมฺปา ความว่า เพราะความเอ็นดูต่อมนุษย์

อธิบายว่า เพราะความประสงค์จะปลดเปลื้องพวกมนุษย์.

สมัยต่อมา พกพรหมนั้นบวชเป็นฤาษี ได้เป็นดาบสชื่อเกสวะ.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเราเป็นมาณพชื่อว่า กัปปะ เป็นศิษย์ของท่าน

เกสวะ ปฏิบัติรับใช้อาจารย์ ประพฤติเป็นที่ชอบใจ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอรรถะ. เกสวดาบสไม่อาจจะอยู่แยกกับเธอได้. อาศัยเธอ

เท่านั้นเลี้ยงชีพ. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงบุรพกรรมของพกพรหมแม้น จึงตรัส

คาถาที่ ๔.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏจโร ได้แก่ อันเตวาสิก. ก็กัปป-

มาณพนั้นเป็นหัวหน้าอันเตวาสิก. บทว่า สมฺพุทฺธิวนฺต วติน อมญฺึ

ความว่า กัปปมาณพสำคัญเขาว่า ท่านเกสวะนี้มีปัญญาสมบูรณ์ด้วยวัตรโดยชอบ

จึงแสดงว่า โดยสมัยนั้น เรานั้นได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน. บทว่า อญฺเปิ

ชานาสิ ความว่า มิใช่รู้เฉพาะอายุของข้าพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น แม้สิ่ง

อื่น ๆ พระองค์ก็รู้. บทว่า ตถา หิ พุทฺโธ ความว่า เพราะพระองค์เป็น

พระพุทธเจ้า คือเพราะเป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น พระองค์จึงทรงทราบ. บทว่า

ตถา หิ ตฺยาย ชลิตานุภาโว ความว่า ก็เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

อย่างนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงมีอานุภาพรุ่งเรื่อง. บทว่า โอภาสย ติฏฺติ

ความว่า ทำพรหมโลกทั้งปวงให้สว่างไสวดำรงอยู่.

จบอรรถกถาพกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

๕. อปาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยพระอรหันต์ ๔ ทิศทรมานพรหม

[๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า

สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย.

[๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่ง

ใจของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้ว

ในพรหมโลกนั้นเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือ

พึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบน

ของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว .

[๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ไหนหนอ.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปใน

พระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียด

ออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัดสมาธิ

ในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุ

กสิณแล้ว.

[๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสปได้เห็น

แล้วเเลซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้

หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง

ฯลฯ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปอาศัยทิศทักษิณนั่งขัดสมาธิในเวหา

เบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

[๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปีนะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ

ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วใน

พรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปีนะอาศัยปัจฉิมทิศ นั่งขัดสมาธิใน

เวหาเบื้องบนพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว.

[๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นแล้วแล

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปใน

พระวิหารเชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ อาศัยทิศอุดรนั่งขัดสมาธิในเวหา

เบื้องบนของพรหมนั้น ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว

[๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคลลานะได้กล่าวกะพรหมด้วย

คาถาว่า

ผู้มีอายุ ทิฐิในก่อนของท่าน แม้ใน

วันนี้ก็ยังมีแก่ท่านหรือ ท่านเห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้อง

หน้าของสัตว์ในพรหมโลกหรือ.

[๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฐิในเก่า

ก่อนของข้าพเจ้ามิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

ย่อมเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นไปล่วง

วิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหม

โลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า

เราเป็นผู้เที่ยงเป็นผู้ติดต่อกัน ดังนี้เล่า.

[๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ายังพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว

ได้หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตวันปานดังบุรุษมีกำลัง

พึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น

ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะ องค์หนึ่งมาว่า แน่ะ

ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่

ครั้นแล้วจงกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

๑. คือพรหมสำหรับรับใช้ของมหาพรหม เพราะแม้มหาพรหมก็มีพรหมไว้รับใช้เหมือน

พระเถระมีภิกษุหนุ่ม ๆ ไว้ช่วยถือบริขาร ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มากมี

อานุภาพมาก เหมือนกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระ-

กัปปินะและท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่หรือหนอแล.

พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่าน ผู้นิรทุกข์แล้ว

หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปาน

ดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

[๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาที่ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พรหมปาริสัชชะนั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่าน

พระมหาโมคคัลลานะว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ

ก็ยังมีอยู่หรือหนอ.

[๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหม

ปาริสัชชะด้วยคาถาว่า

สาวกทั้งหลายะองพระพุทธเจ้า ซึ่ง

ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ และฉลาด

ในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจาก

กิเลส มีอยู่มาก ดังนี้.

[๕๘๔] ลำดับนั้นแล พรหมปาริสชัชะนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ

ท่านมหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้

กะพรหมนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระมหาโมคคัลลานะกล่าวเช่นนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่ง

ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ และฉลาด

ในเจโตปริยญาณ หมออาสวะ ไกล

กิเลส มีอยู่มาก ดังนี้.

[๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชม

ภาษิตของพรหมปาริสัชชะนั้นแล.

อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตร

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เตโชธาตุ สมาปชฺชิตา ความว่า พระเถระทำบริกรรมใน

เตโชกสิณแล้วออกจากฌานที่เป็นบาท อธิษฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจาก

สรีระ ด้วยอานุภาพจิตอธิษฐาน เปลวไฟพุ่งออกทั่วสรีระ. พระเถระชื่อว่าเข้า

เตโชธาตุสมาบัติอย่างนี้. ครั้นเข้าสมาบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ไปในพรหมโลกนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้ไปในที่นั้น. ตอบว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้า

สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์เห็นพระตถาคตประทับนั่งเหนือพรหมนั้น จึงได้มี

ความคิดดังนี้ว่าบุคคลนี้เป็นผู้แทงทะลุปรุโปร่งถึงอัฐิ ก็เราพึงไปในที่นั้น ฉะนั้น

จงได้ไปในที่นั้น. แม้ในการไปของพระเถระที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

แม้พรหมนั้นไม่ได้เห็นอานุภาพของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต จึงไม่

ควรเข้าถึงการแนะนำ. ด้วยเหตุนั้น จึงได้มีประชุมกันอย่างนั้นในที่ประชุมนั้น

เปลวไฟที่พุ่งออกจากสรีระของพระตถาคตล่วงเลยพรหมโลกทั้งสิ้นแล่นไปใน

อวกาศ ก็แลวรรณะเหล่านั้น ได้มี ๖ สี รัศมีของสาวกพระตถาคตก็มีวรรณะ

ธรรมดานั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ด้วยคำว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺต นี้ พระเถระถามว่า ท่านเห็นรัศมี

ที่เปล่งออกจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันล่วงเสียซึ่งรัศมีแห่ง

สรีระของพรหมวิมานและเครื่องประดับเป็นต้นอย่างอื่นในพรหมโลกนี้หรือ.

บทว่า น เม มาริส สา ทิฏฺิ ความว่า ทิฏฐินั้นใดของเราว่า คนอื่นไม่ว่า

สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามไม่สามารถจะมาในที่นี้ได้ ทิฏฐิของเรานั้นแต่ก่อนไม่

มี. บทว่า กถ วชฺช ความว่า เพราะเหตุไร เราจงกล่าว. บทว่า นิจฺโจมฺหิ

สสฺสโต ความว่า ได้ยินว่า พรหมนี้มีทิฏฐิ ๒ อย่าง คือ ลัทธิทิฏฐิและ

สัสสตทิฏฐิ. ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น พรหมนั้นเมื่อเห็นพระตถาคตและสาวกของ

พระตถาคต ย่อมเป็นอันละลัทธิทิฏฐิได้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-

ธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่องทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. ในที่สุดเทศนา พรหมตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล. อันพรหมนั้นละสัสสตทิฏฐิด้วยมรรค เพราะฉะนั้น พระ-

เถระจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า พฺรหฺมปาริสชฺช ได้แก่ พรหมปริจาริกาผู้ปรนนิบัติพรหม

จริงอยู่ ชื่อว่า พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลายก็เหมือนภิกษุหนุ่มและ

สามเณรผู้ถือห่อของพระเถระ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไร

พรหมจึงส่งพรหมปาริสัชชะ ไปสู่สำนักของพระเถระนั่นแล ได้ยินว่า พรหมนั้น

ได้เกิดความคุ้นเคยด้วยการเจรจาปราศรัยในพระเถระ เพราะฉะนั้น พรหมนั้น

จึงส่งไปยังสำนักของพระเถระนั้นแล. บทว่า อญฺเปิ ความว่า ชนทั้ง ๔ ก็

เหมือนพวกท่าน เหล่าสาวกแม้อื่น ๆ เห็นปานนั้นยังมีอยู่หรือ หรือมีแต่พวก

ท่านทั้ง ๔ เท่านั้นที่มีฤทธิ์มาก. บทว่า เตวิชฺชา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา

๓ คือ บุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณและอาสวักขยญาณ. บทว่า อิทฺธิปฺ-

ปตฺตา ได้แก่ บรรลุอิทธิวิธิญาณ. บทว่า เจโตปริยายโกวิทา ได้แก่ เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

ฉลาดในวารจิตของชนเหล่าอื่น. ในที่นี้ท่านกล่าวอภิญญา ๕ ไว้โดยสรุปด้วย

ประการฉะนี้. แต่ทิพยโสตญาณได้มาด้วยอำนาจอภิญญา ๕ เหล่านั้นเหมือน

กัน. บทว่า พหู ความว่า เหล่าพุทธสาวกผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้มีมากเหลือ

คณนานับ เที่ยวทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้รุ่งเรื่องด้วยผ้ากาสาวพัสตร์.

อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

๖. ปมาทสูตร

ว่าด้วยพรหมผู้ประมาท

[๕๘๖] สาวัตถีนิทาน.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวัน. หลีกเร้นอยู่.

ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไป

ใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.

ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าวกะสุทธาวาสปัจเจกพรหม

ว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่กาลอันควรที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์

และเบิกบานแล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้น ย่อมอยู่ด้วยความประมาท แน่ะ

ท่านผู้นิรทุกข์มาไปด้วยกัน เราทั้งหลายจักเข้าไปยังพรหมโลกนั้น ครั้นแล้ว

พึงยังพรหมนั้นให้สลดใจ.

สุทธาวาสปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมแล้ว.

ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หาย

ไปจากเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น

ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น.

พรหมนั้นได้เห็นแล้วแลซึ่งพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มาอยู่แต่ที่ไกล

เทียว ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพรหมเหล่านั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

เชิญเถิด พวกท่านมาแต่ที่ไหนหนอ.

พรหมเหล่านั้น กล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาแต่สำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่ะท่านผู้นิรทุกข์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ก็ท่านจะไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างหรือ.

[๕๘๗] เมื่อพรหมเหล่านั้นกล่าวแล้วเช่นนี้แล พรหมนั้นอดกลั้นคำ

นั้นไม่ได้ จึงนิรมิตตนเป็นพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะสุพรหมปัจเจกพรหมว่า

แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานดังนี้ ของเราหรือไม่.

สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่ง

อิทธานุภาพเห็นปานดังนี้ของท่าน.

พรหมนั้นกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เรานั้นแลเป็นผู้มีฤทธิ์มาก

อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะหรือพราหมณ์อื่นทำไม.

[๕๘๘] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมนิรมิตตนเป็นสองพันตน

แล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมว่า.

แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพ เห็นปานดังนี้ ของเราหรือไม่.

พรหมนั้นกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่งอิทธานุภาพ

เห็นปานดังนี้ของท่าน.

สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นเท่านั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากกว่า และมีอานุภาพใหญ่กว่าท่านและเรา

ด้วย.

แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

องค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

[๕๘๙] ครั้งนั้นแล พรหมนั้นได้กล่าวกะสุพรหมปัจเจกพรหมด้วย

คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

แน่ะพรหม ครุฑ ๓๐๐ หงส์ ๔๐๐

เหยี่ยวปากตะไกร ๕๐๐ และวิมานของเรา

ผู้มีฌานนี้นั้นย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ใน

ทิศอุดร.

[๕๙๐] สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า

วิมานของท่านนั้นถึงจะรุ่งโรจน์

ส่องสว่างอยู่ในทิศอุดรก็จริง ถึงเช่นนั้น

เพราะเห็นโทษในรูป [และ] เพราะเห็นรูป

อันหวั่นไหวด้วยความหนาวเป็นต้นอยู่

เป็นนิจ ฉะนั้น พระศาสดาผู้มีเมธาดีจึงไม่

ยินดีในรูป.

[๕๙๑] ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม

ยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้วหายไปในที่นั้นเอง.

ก็พรหมนั้น โดยสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

อรรถกถาปมาทสูตร

ในปมาทสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปจฺเจก ทฺวารพาห ความว่า ได้ยืนพิงบานประตูองค์ละบาน

เหมือนคนเฝ้าประตู. บทว่า อิทฺโธ ความว่า พรั่งพร้อมด้วยความสุขใจฌาน.

บทว่า ผีโต ได้แก่ บานสะพรั่งด้วยดอกไม้คืออภิญญา. บทว่า อนธิวาเสนฺโต

ได้แก่ อดกลั้นไม่ได้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นั่งในท่ามกลางพรหม

เนรมิตเหล่านั้น ได้กล่าวคำนี้ว่า ปสฺสสิ เม เป็นต้น

ในคาถาว่า ตโย สุปณฺณา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า

สตะ ในบทว่า ปญฺจสตา พึงประกอบโดยรูปหรือโดยแถว. จะว่าโดยรูป

ก่อน บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ รูปครุฑ ๓๐๐. บทว่า จตุโร จ

หสา ได้แก่รูปหงส์ ๔๐๐. บทว่า พยคฺฆินิสา ปญฺจสตา ได้แก่ มฤค-

บางเหล่าเช่นกับเสือโคร่ง ชื่อว่า พยัคฆินิสา. รูปมฤคที่เหมือนเสือโคร่ง

เหล่านั้นมีจำนวน ๕๐๐. ว่าโดยแถว บทว่า ตโย สุปณฺณา ได้แก่ครุฑ

๓๐๐ แถว. บทว่า จตุโร หสา ได้แก่หงส์ ๔๐๐ แถว. บทว่า พยคฺฆินิสา

ปญฺจสตา ได้แก่มฤคเหมือนเสือโคร่ง ๕๐๐ แถว. ด้วยบทว่า ฌายิโน

พรหมแสดงว่า ในวิมานของเราผู้ได้ฌานมีความรุ่งโรจน์ขนาดนี้. บทว่า

โอภาสย ได้แก่ สว่างไสว. บทว่า อุตฺตรสฺส ทิสาย ความว่า ได้ยินว่า

วิมานทองใหญ่นั้น ปรากฏในทิศอุดร แต่ที่ ๆ มหาพรหมเหล่านั้นสถิตอยู่

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พรหมนั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า เราอยู่ใน

วิมานทองเห็นปานนี้ จักไปสู่ที่บำรุงใครอื่นเล่า. บทว่า รูเป รณ ทสฺวา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

ได้แก่ เห็นโทษกล่าวคือเกิด แก่ และแตกดับในรูปะ บทว่า สทา ปเวธิต

ความว่า เห็นรูปที่หวั่นไหวและถูกวิโรธิปัจจัยมีความหนาวเป็นต้น กระทบอยู่

เป็นนิตย์. บทว่า ตสฺมา น รูเป รมตี สุเมโธ ความว่า เห็นโทษในรูป

และเห็นรูปที่หวั่นไหวอยู่ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น พระศาสดาผู้มีเมธาดี คือ

ผู้มีปัญญาดี จึงไม่ยินดีในรูป.

จบอรรถกถาปมาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

๗. ปฐมโกกาลิกสูตร

ว่าด้วยพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกษุ

[๕๙๒] สาวัตถีนิทาน.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว.

ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้

ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.

[๕๒๙๓] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกา

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึง

กำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณอันใคร ๆ

ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุต-

ธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้

มีคุณ อันใคร ๆ ประมาณมิได้.

อรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตร

ในปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปเมยฺย ปมินนฺโต ความว่า กำหนดนับบุคคลผู้เป็น

ขีณาสพ ผู้มีคุณอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ อย่างนี้ว่า ศีลมีประมาณเท่านี้

สมาธิมีประมาณเท่านี้ ปัญญามีประมาณเท่านี้. ด้วยคำว่า โกธ วิทฺวา วิกปฺปเย

ความว่า ใครผู้มีปัญญา ผู้มีเมธาในโลกนี้พึงกำหนด ท่านแสดงว่า พระ-

ชีณาสพเท่านั้น พึงกำหนดนับพระขีณาสพ. บทว่า นิธุตนฺต มญฺเ ความว่า

ก็ผู้ใดเป็นปุถุชน ปรารภจะวัดพระขีณาสพนั้น เรากล่าวผู้นั้นว่า ไม่มีธุตธรรม

คือมีปัญญาต่ำทราม.

จบอรรถกถาปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

๘. ติสสกสูตร

ว่าด้วยพรหมปรารภติสกภิกษุ

[๕๙๔] สาวัตถีนิทาน.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่

แล้ว.

ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไป

ใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูองค์ละข้าง.

[๕๙๕] ลำดับนั้นแล สุทธาวาสปัจเจกพรหมปรารภกตโมรกติสสก

ภิกษุได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้จะพึงกำหนด

วัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณ อันใคร ๆ

ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุต-

ธรรม เป็นคนไม่มีปัญญา วัดอยู่ซึ่งพระ-

ขีณาสพผู้มีคุณอันใคร ๆ ประมาณมิได้.

อรรถกถาติสสกสูตร

ในติสสกสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ปัญญาท่านเรียกว่า กิสฺสวา ในบทว่า อกิสฺสว ดังนี้. อธิบายว่า

ปราศจากปัญญา.

จบอรรถกถาติสสกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

๙. ตุทุพรหมสูตร

ว่าด้วยตุทุพรหมเข้าไปหาโกกาลิก

[๕๙๖] สาวัตถีนิทาน.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ เป็นผู้อาพาธ ถึงความลำบาก

เป็นไข้หนัก.

ครั้งนั้นแล ตุทุปัจเจกพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้วมีรัศมีอัน

งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาพระโกกาลิกภิกษุจนถึง

ที่อยู่ ครั้นแล้วได้ยืนในเวหาส กล่าวคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า

ข้าแต่ท่านโกกาลิก ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรและ

พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

พระโกกาลิกภิกษุถามว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร

ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า เราคือตุทุปัจเจกพรหม.

พระโกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์

ท่านแล้วว่าเป็นพระอนาคามี มิใช่หรือ ไฉนเล่า ท่านจึงยังมาเที่ยวอยู่ในที่นี้

จงเห็นเถิดว่า ก็นี่เป็นความผิดของท่านเพียงไร.

[๕๙๗] ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวว่า

ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิต

ชื่อว่าย่อมตัดตนด้วยศัสตราใด ก็ศัสตรา

นั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว.

ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้

ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่า

สั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขา

ย่อมไม่ประสบความสุข.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะ

การพนันทั้งหลาย พร้อมด้วยสิ่งของของ

ตนทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็น

โทษเพียงเล็กน้อย.

บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้ายในท่าน

ผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความประทุษร้ายแห่ง

ใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า บุคคล

ตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียน

พระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีปริมาณ

แห่งอายุถึงแสนสามสิบหกนิรัพพุท กับห้า

อัพพุท.*

อรรถกถาตุทุพรหมสูตร

ในตุทุพรหมสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาพาธิโก ความว่า ผู้มีอาพาธด้วยอาพาธอันมาในอนันตร

สูตรโดยนัยว่า สาสปมตฺตีหิ ปิฬกาหิ เป็นต้น. บทว่า พาฬฺหคิลาโน

ได้แก่มีความป่วยไข้มีประมาณยิ่ง. บทว่า ตุทุ ความว่า พระอุปัชฌาย์ ของ

ภิกษุโกกาลิก ชื่อว่า ตุทุ เถระบรรลุอนาคามิผลแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

ตุทุพรหมนั้น ได้ทราบข่าวบาปกรรม ของภิกษุโกกาลิกตั้งต้นแต่ภุมมัฏฐกเทวดา

โดยเล่าสืบ ๆ กันจนถึงพรหมโลกว่า ภิกษุโกกาลิกกล่าวตู่พระอัครสาวกด้วย

อันติมวัตถุ ทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว จึงมาปรากฏต่อหน้าภิกษุโกกาลิกนั้นด้วย

* อัพพุทะ เป็นสงขยา ซึ่งมีจำนวนเลขสูญ ๖๑ สูญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

หมายใจว่า เมื่อเราเห็นอยู่ เธออย่าเป็นคนกำพร้า [ปราศจากพวก] ต้องเสีย

หายไป. เราจักเตือนเธอเพื่อให้จิตเลื่อมใสในพระเถระ ท่านหมายเอาตุทุพรหมนั้น

จึงกล่าวว่า ตุทุปัจเจกพรหม. บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก . บทว่า

โกสิ ตฺว อาวุโส ความว่า นอนลืมตาฝ้าฟาง จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

ปสฺส ยาวญฺจเต ความว่า โกกาลิกะกล่าวว่า ท่านจงเห็นข้อที่ท่านผิด

เพียงไร ท่านไม่เห็นฝีใหญ่ที่หน้าผากของตน เห็นกระผมที่ควรตักเตือนด้วย

เพราะฝีเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ครั้งนั้น ตุทุพรหมรู้ว่า โกกาลิกนี้ได้ประสบสิ่งที่ตนไม่เคยเห็น [ไม่มี

ประสบการณ์ เป็นคนกำพร้าจักไม่เชื่อคำของใคร ๆ เหมือนกลืนยาพิษอยู่

ในลำคอ จึงกล่าวกะโกกาลิกว่า ปุริสสฺส หิ เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า กุธารี ได้แก่วาจาหยาบเช่นผึ่ง [ขวาน]. บทว่า ฉินฺทติ ได้แก่ตัด

รากกล่าวคือกุศลทีเดียว. บทว่า นินฺทิย ได้แก่บุคคลทุศีลที่ควรตำหนิ. ด้วย

บทว่า ปุสสติ ท่านกล่าวสรรเสริญในอรรถอันสูงสุดว่าพระขีณาสพ. บทว่า

ต วา นินฺทตฺ โย ปสสิโย ความว่า อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโจทย์พระขีณาสพ

ผู้ที่ควรสรรเสริญ. ด้วยอันติมวัตถุ ว่าผู้นี้เป็นผู้ทุศีล. บทว่า วิจินาติ มุเขน

โส กลึ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าก่อความผิดด้วยปาก. บทว่า กลินา เตน ความ

ว่า ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะความผิดนั้น. ก็การสรรเสริญผู้ที่ควรติและ

การติผู้ที่ควรสรรเสริญ มีผลเท่ากันแล.

บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา ความว่า ความปราชัยเสีย

ทรัพย์เพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมทั้งสิ่งของของตนทั้งหมดก็ดี พร้อมทั้ง

ตนเองก็ดี เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย. บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า ก็ผู้ใด

พึงมีจิตคิดประทุษร้ายในเหล่าบุคคลผู้ปฏิบัติดี ความประทุษร้ายแห่งจิตของผู้

นั้นเป็นโทษมากกว่าโทษในการพนันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความประทุษร้ายแห่งจิตนั้นว่ามีโทษมากกว่า

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สต สหสฺสาน ดังนี้. บรรดาเหล่านั้น บทว่า สต

สหสฺสาน ได้แก่จำนวนแสนนิรัพพุทะ. [นิรัพพุทะ ๑ เท่ากับจำนวน ๑ มีสูญ

ตามหลัง ๖๓ ตัว ถ้าแสนนิรัพพุทะเป็นเท่าไร]. บทว่า ฉตฺตึสติ ได้แก่ อีก

๓๖ นิรัพพุทะ. บทว่า ปญฺจ จ ได้แก่จำนวน ๕ อัพพุทะ. บทว่า ยมริเย

ครหี ความว่า ในข้อทีผู้ติเตียนพระอริยะย่อมตกนรก มีอายุประมาณเท่านี้.

จบอรรถกถาตุทุพรหมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

๑๐. ทุติยโกกาลิกสูตร

ว่าด้วยโกกาลิกภิกษุตกปทุมนรก

[๕๙๘] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระโกกาลิกภิกษุนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาลามก

ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก.

[๕๙๙] เมื่อพระโกกาลิกภิกษุกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า

โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้

โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ

ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

แม้ครั้งที่สองแล พระโกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า บุคคลผู้มีวาจาควรเชื่อได้ควรไว้ใจได้ของข้าพระองค์จะมี

อยู่ก็จริง ถึงเช่นนั้นแล พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ยังเป็นผู้ปรารถนา

ลามก ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก.

แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุ

ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้

โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ

ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

แม้ครั้งที่สามแล พระโกกาลิกภิกษุก็ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ฯลฯ ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก

แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสตำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า

ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าสารีบุจรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

[๖๐๐] ลำดับนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว.

ก็เมื่อพระโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นาน ย่อมทั้งหลายขนาดเมล็ด

พันธุ์ผักกาดได้ผุดขึ้นทั่วกายของเธอ ย่อมเหล่านั้นได้โตขึ้นเป็นขนาดถั่วเขียว

แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดถั่วดำ แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดเมล็ดพุดทรา แล้วก็โตขึ้น

เป็นขนาดลูกพุดทรา แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะชามป้อม แล้วก็โตขึ้นเป็น

ขนาดผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะตูม ต่อจากนั้นก็แตกทั่ว แล้ว

หนองและเลือดหลั่งไหลออกแล้ว.

ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุได้การทำกาละแล้ว เพราะอาพาธอัน

นั้นเอง ครั้นกระทำกาลแล้วก็เข้าถึงปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารี

บุตรและพระโมคคัลลานะ.

[๖๐๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงแล้ว

มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

๑.ปทุนนรก เป็นส่วนหนึ่งแห่งมหานรกอเวจี ผู้ที่เกิดในมหานรกอเวจีส่วนนี้จะต้อง

หมกไหม้อยู่สิ้นกาลปทุมหนึ่ง ปทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ สูญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละแล้ว และเข้าถึงแล้วซึ่ง

ปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ.

ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้ แล้วครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นแล.

[๖๐๒] ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้ง

หลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมเมื่อราตรีล่วงปฐมยาม

ไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาเราถึงที่อยู่

ครั้นแล้วไหว้เราแล้วได้ยืนอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วแล ได้กล่าวคำนี้กะเราว่า พระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุได้การทำกาละแล้ว

เข้าถึงแล้วซึ่งปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมค-

คัลลานะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว

ไหว้เรากระทำประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง.

[๖๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล

คำนี้กะพระผู้มีภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ประมาณแห่งอายุในปทุมนรกนาน

เท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ประมาณแห่งอายุในปทุมนรก

นานแล การที่จะนับว่าเท่านี้ปี หรือว่าเท่านี้ร้อยปี หรือว่าเท่านี้พันปี หรือ

ว่าเท่านี้แสนปี ไม่ใช่การทำได้ง่าย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ภิกษุนั้นทูลถามว่า พระเจ้าข้า พระองค์อาจที่จะทรงอุปมาได้หรือ.

[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราอาจอยู่ แล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงา

ได้ ๒๐ ขารี บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้นโดยล่วงร้อยปี ๆ ต่อเมล็ดหนึ่ง ๆ.

ดูก่อนภิกษุ เกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารี

นั้นพึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความเพียรนี้เร็วกว่า ส่วนอัพพุทนรกหนึ่ง

ยังไม่ถึงความสิ้นหมดไปเลย.

ดูก่อนภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก

เป็นหนึ่งอพพนรก ๒๐ อพพนรกเป็นหนึ่งกฏฏนรก ดูก่อนภิกษุ ๒๐ อฏฏนรก

เป็นหนึ่งอหหนรก ๒๐ อหหนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็นหนึ่ง

โสคันธิกนรก ดูก่อนภิกษุ ๒๐ โสคันธิกนรกเป็นหนึ่งอุปปลกนรก ๒๐ อุปป-

ลกนรกเป็นหนึ่งปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก ดูก่อนภิกษุ

ก็ภิกษุโกกาลิกเข้าถึงปทุมนรกแล้วแล เพราะจิตอาฆาตในภิกษุ ชื่อว่าสารีบุตร

และโมคคัลลานะ.

[๖๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิต

ชื่อว่าย่อมตัดตนด้วยศัสตราใด ก็ศัสตรา

นั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว ผู้

ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควร

* ๒๐ ขารีเท่า ๑ เกวียน คือ ๔ แล่งโดยแล่งที่เป็นของชาวมคธ เป็นหนึ่งแล่งใน

แคว้นโกศล ๔ แล่งโดยนั้นเป็นหนึ่งอาฬหก ๔ อาฬหกเป็นหนึ่งทะนาน ๔ ทะนานเป็นหมื่น

มาณิกา ๔ มาณิกาเป็นหนึ่งขารี ๒๐ ขารีเป็นหนึ่งเกวียน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมโทษ

ด้วยปากเพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ประสบ

ความสุข.

ความปราชัยด้วยทรัพย์ในเพราะ

การพนันทั้งหลาย พร้อมด้วยสิ่งของของ

ตนทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็น

โทษเพียงเล็กน้อย.

บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้ายในท่าน

ผู้ปฏิบัติดีทั้หลาย ความประทุษร้ายแห่ง

ใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า.

บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้

เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึง

นรกซึ่งมีปริมาณแห่งอายุถึงแสนสามสิบ

หกนิรัพพุทะ กับห้าอัพพุทะ.

จบทุติยโกกาลิกสูตร

จบปฐมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

อรรถกถาทุติยโกกาลิกสูตร

ในทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า

ถามว่า โกกาลิกนี้เป็นใคร และเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้า. ตอบว่า ได้ยินว่า ผู้นี้

เป็นบุตรโกกาลิกเศรษฐี ในโกกาลิกนคร โกกาลิกรัฐ บวชแล้วอาศัยอยู่ใน

วิหารที่บิดาสร้างไว้ มีชื่อว่า จูฬโกกาลิก มิใช่เป็นศิษย์ของพระเทวทัต.

ฝ่ายรูปที่เป็นศิษย์ของพระเทวทัตนั้นเป็นบุตรพราหมณ์ มีชื่อว่า มหาโกกาลิก.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี พระอัครสาวกทั้งสองพร้อม

ด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จาริกไปในชนบท เมื่อไกล้ถึงวันเข้าพรรษา

ประสงค์จะอยู่อย่างสงบ จึงส่งภิกษุเหล่านั้นไป ตนเองถือบาตรจีวร ถึงนคร

นั้นในชนบท ได้ไปสู่วิหารนั้น. แลในที่นั้น โกกาลิกภิกษุได้แสดงวัตรแก่

พระอัครสาวกทั้งสอง พระอัครสาวกทั้งสองชื่นชมกับพระโกกาลิกนั้นกล่าวว่า

อาวุโส พวกเราจักอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาส ท่านอย่าได้บอกแก่ใคร ๆ แล้วถือ

ปฏิญญาอยู่. ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาในวันปวารณาแล้ว พระอัครสาวก

ทั้งสองจึงบอกลาภิกษุโกกาลิกว่า อาวุโส เราจะไปละ. ภิกษุโกกาลิกกล่าวว่า

อาวุโส พวกท่านอยู่ในวันนี้วันเดียว พรุ่งนี้ก็จักไป ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น

จึงเข้าเมือง บอกพวกมนุษย์ว่า อาวุโส พระอัครสาวกมาอยู่ในที่นี้ พวกท่าน

ไม่รู้. ไม่มีใครถวายปัจจัยสี่เลย. พวกชาวเมืองกล่าวว่า ท่านขอรับ พระเถระ

อยู่ที่ไหน ทำไมจึงไม่บอกพวกเรา. ภิกษุโกกาลิกกล่าวว่า อาวุโส บอกแล้ว

จะมีประโยชน์อะไร พวกท่านไม่เห็นภิกษุ ๒ รูปที่นั่งบนเถระอาสน์หรือ

นั่นแหละพระอัครสาวก. พวกมนุษย์รีบประชุมกัน รวบรวมเนยใสน้ำอ้อย

เป็นต้นและผ้าจีวร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ภิกษุโกกาลิกคิดว่า พระอัครสาวกเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง จักไม่ยินดี

ลาภที่เกิดขึ้นด้วยวาจาที่ประกอบขึ้น เมื่อไม่ยินดี ก็จักบอกว่า ท่านทั้งหลาย

จงถวายแก่ภิกษุที่อยู่ประจำอาวาส ดังนี้ ให้พวกมนุษย์พากันถือลาภนั้น ๆ ไป

สำนักของพระเถระทั้งสอง. พระเถระทั้งสองเห็นดังนั้น จึงห้ามว่า ปัจจัยเหล่านี้

ไม่ควรแก่พวกเรา ไม่ควรแก่ภิกษุโกกาลิก ดังนี้แล้วหลีกไป. ภิกษุโกกาลิก

เกิดอาฆาตขึ้นว่า มันเรื่องอะไรกัน พระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อตนเองไม่รับ

ยังไม่ให้พวกมนุษย์ถวายแก่เราแล้วหลีกไป. แม้พระอัครสาวกทั้งสอง ไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วพาบริษัทของตนเที่ยวจาริกไปตามชนบท

แล้งกลับมายังเมืองนั้นในรัฐนั้นตามลำดับ. ชาวเมืองจำพระเถระได้ ตระเตรียม

ทานพร้อมทั้งเครื่องบริขารทั้งหลาย สร้างมณฑปกลางเมืองถวายทาน. และ

น้อมบริขารทั้งหลายเข้าไปถวายพระเถระ. พระเถระได้มอบถวายแก่ภิกษุสงฆ์

ภิกษุโกกาลิกเห็นดังนั้น คิดว่า เมื่อก่อนพระอัครสาวกเหล่านี้ได้เป็นผู้ปรารถนา

น้อย บัดนี้กลายเป็นผู้ปรารถนาลามก แม้ในกาลก่อน ทำทีเสมือนผู้มักน้อย

สันโดษและชอบสงัด จึงเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า อาวุโส เมื่อก่อนท่าน

เป็นเหมือนมักน้อย แต่บัดนี้ท่านกลายเป็นภิกษุลามก คิดว่า จำเราจักทำลาย

ที่พึ่งของพระอัครสาวกเหล่านั้นขึ้นรากในทีเดียว รีบออกไปยังกรุงสาวัตถี

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. ภิกษุโกกาลิกนี้พึงทราบว่า เข้าเฝ้า

เพราะเหตุนี้เอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทอดพระเนตรเห็นภิกษุโกกาลิกกำลังมาโดย

รีบด่วน ทรงรำพึงก็ทราบว่า ภิกษุโกกาลิกนี้ ประสงค์จะด่าพระอัครสาวกจึง

ได้มา. และทรงรำพึงว่า เราอาจห้ามได้ไหมหนอ ทรงเห็นว่าไม่อาจห้ามได้

ภิกษุโกกาลิกนี้ทำผิดในพระเถระทั้งหลายจึงมา ตายแล้วจักเกิดในปทุมนรก

โดยส่วนเดียว เพื่อจะเปลื้องวาทะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบบุคคลผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ติเตียนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะแล้วยังห้ามไม่ได้ และเพื่อจะแสดง

การกล่าวร้ายพระอริยะว่ามีโทษมาก จึงทรงห้ามว่า มา เหว ดังนี้ ถึง ๓ ครั้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหว ความว่า เธออย่าได้กล่าว

อย่างนี้เลย. บทว่า สทฺธายโก ความว่า ผู้ทำตนให้เป็นที่มาแห่งศรัทธา

ผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีคำอันบุคคลพึงเชื่อได้. บทว่า

ปจฺจยิโก ความว่า ผู้มีถ้อยคำที่จะพึงยึดเป็นที่อาศัยได้.

บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุโกกาลิกหลีกไปไม่นาน

นัก. บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโ อโหสิ ความว่า ต่อมทั้งหลายผุดขึ้น

ทำลายกระดูกทั่วร่าง ไม่เว้นที่ว่างแม้เพียงปลายเส้นผม. ก็เพราะกรรมเห็น

ปานนั้น ไม่ให้ผลในขณะที่อยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยพุทธา-

นุภาพ พอพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว ย่อมให้ผล ฉะนั้น เมื่อภิกษุโกกาลิกนั้นหลีก

ไปแล้วไม่นาน ต่อมทั้งหลายจึงผุดขึ้น.

บทว่า ปกฺกามิ ความว่า ภิกษุโกกาลิกถูกอานุภาพแห่งกรรมตักเตือน

จึงหลีกไป. จริงอยู่ใคร ๆ ไม่อาจที่จะห้ามกรรมที่ทำโอกาสแล้ว กรรมนั้นไม่

ให้ภิกษุโกกาลิกนั้นอยู่ในที่นั้น. บทว่า กฬายมตฺติโย ได้แก่ ประมาณเท่า

เมล็ดถั่วเขียว. บทว่า เวลุวสลาฏกุตฺติโย ได้แก่ ประมาณเท่าผลมะตูมอ่อน

บทว่า ปภิชฺชึสุ แปลว่า แตกแล้ว. เมื่อต่อมเหล่านั้นแตกแล้ว สรีระทิ้งสิ้น

ของภิกษุโกกาลิกนั้นก็สุกเละ เธอมีตัวสุกเละ นอนบนใบตองที่ซุ้มประตู

พระเชตวันเหมือนปลาที่ถูกยาพิษ ลำดับนั้น พวกมนุษย์ที่พากันมาฟังธรรม

กล่าวว่า ภิกษุโกกาลิกได้ทำกรรมที่ไม่สมควร ถึงความพินาศเพราะอาศัยปากคม

ดังมีดของตนนั่นเอง. พวกอารักขเทวดาได้ฟังพวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กระทำ

การติเตียน. อากาสเทวดาได้ฟังอารักขเทวดา ได้กระทำการติเตียน ได้เกิด

การติเตียนอย่างเดียวกัน จนถึงอกนิฏฐภพโดยอุบายนี้ ด้วยประการฉะนี้

ครั้งนั้น อุปัชฌาย์ของเธอ มารู้ว่า เธอไม่รับโอวาทติเตียนแล้วหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

บทว่า กาลมกาสิ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์หลีกไป ภิกษุโกกาลิกได้

ทำกาละแล้ว. บทว่า ปทุมนิรย ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกไม่มีเฉพาะแต่

อย่างเดียว. ภิกษุโกกาลิกเกิดในที่หนึ่งในอวิจีมหานรกที่จะพึงหมกไหม้ โดย

การคำนวณปทุมหนึ่ง (ปุทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ สูญ).

บทว่า วีสติขาริโก ได้แก่ ๔ แล่งชาวมคธ เป็น ๑ แล่ง ในโกศล

รัฐ. ๔ แล่ง โดยแล่งนั้น เป็น ๑ อาฬหกะ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ

(ทะนาน). ๔ โทณะ เป็น ๑ มานิกะ (เครื่องตวง). ๔ มานิกะ เป็น ๑ ขาริ

โดยขารินั้น เป็น ๒๐ ขาริกะ. บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา

เมล็ดเล็ก ๆ ของชาวมคธะ บทว่า อพฺพุโท นิรโย ได้แก่ ที่ชื่อว่า อัพพุทะ

มิใช่ส่วนหนึ่งแห่งนรก. แต่คำนี้เป็นชื่อสถานที่จะพึงไหม้ในอวิจีมหานรก

นั่นเองโดยการนับอัพพุทะ. แม้ในคำว่า นิรัพพุทะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

ก็แม้จำนวนปีในข้อนี้ ก็พึงทราบอย่างนี้. เหมือนอย่างว่า ร้อยแสน

เป็นโกฏิหนึ่ง ฉันใด ร้อยแสนโกฏิ ชื่อว่า เป็นปโกฏิหนึ่ง ฉันนั้น ร้อย-

แสนโกกิ เป็นโกฏิปโกฏิ ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็นเหตุหนึ่ง ร้อยแสนนหุต

เป็นนินนหุต ร้อยแสนนินนหุต เป็นอัพพุทะหนึ่ง จากนั้น เอายี่สิบคูณเป็น

นิรัพพุทะหนึ่ง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้เหมือนกันแล.

จบอรรถกถาทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในปฐมวรรคนี้ มี ๑๐ สูตร คือ

๑. อายาจนสูตร ๒. คารวสูตร ๓. พรหิมเทวสูตร ๔. พกพรหม

สูตร ๕. อปราทิฏฐิสูตร ๖. ปมาทสูตร ๗. ปฐมโกกาลิกสูตร ๘. ติสสกสูตร

๙. ตุทุพรหมสูตร ๑๐. ทุติยโกกาลิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. สนังกุมารสูตร

ว่าด้วยคำสุภาษิตของพรหม

[๖๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสัปปีนี กรุง-

ราชคฤห์.

ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหม เมื่อราตรีปฐมยาล่วงไปแล้ว มีรัศมี

อันงดงามยิ่ง ยังฝั่งแม่น้ำสัปปินิทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๐๗] สนังกุมารพรหม ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชน

ผู้รังเกียจด้วยโคตร แต่ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

วิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดใน

เทวดาและมนุษย์.

[๖๐๘] สนังกุมารพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอ

พระทัย.

ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยต่อ

เราถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

อรรถกถาสนังกุมารสูตร

ทุติยวรรคสนังกุมารสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สปฺปีนีตเร ความว่า ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อสัปปีนี. บทว่า สนงฺกุ-

มาโร ความว่า ได้ยินว่า สนังกุมารพรหมนั้น ในเวลาเป็นปัญจสิขกุมาร

เจริญฌานบังเกิดในพรหมโลก เที่ยวไปด้วยเพศกุมารนั่นเอง. เหตุนั้น คนทั้ง

หลายจึงจำเขาได้ว่ากุมาร. แต่เพราะเป็นคนเก่า จึงเรียกกันว่า สนังกุมาร.

บทว่า ชเนตสฺมึ ได้แก่ในประชุมชน อธิบายว่า ในหมู่ชน. บทว่า เย

โคตฺตปฏิสารโน ความว่า ในชุมชนผู้รังเกียจักนี้เรื่องโคตรเหล่านั้น ในโลก

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ความว่า ประกอบ

ด้วยวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นต้น โดยปริยายแห่งภยเภรวสูตร

หรือวิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิอภิญญา ๖ โดยปริยายแห่งอัมพัฏฐ

สูตร และด้วยจรณะ ๑๕ ประเภท อย่างนี้ คือ ความเป็นผู้การทำให้บริบูรณ์

ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก

ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ รูปฌาน ๔. บทว่า โส เสฏฺโ

เทวมานุเส ความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพนั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดคือสูง

สุด ในหมู่เทพและหมู่มนุษย์.

จบอรรถกถาสนังกุมารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

๒. เทวทัตตสูตร

ว่าด้วยสหัมบดีพรหมกล่าวตำหนิพระเทวทัต

[๖๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพะระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์

ในเมื่อพระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่นาน.

ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี

อันงดงามยิ่ง ยังภเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๑๐] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วปรารภ

พระเทวทัต ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่

ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สัก-

การะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว เหมือนลูกในท้องฆ่า

แม่ม้าอัสดร ฉะนั้น.

อรรถกถาเทวทัตตสูตร

ในเทวทัตตสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ความว่า เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้วจาก

พระเวฬุวันไปยังคยาสีสะประเทศไม่นานนัก. บทว่า อสฺสตรึ ได้แก่ลูกเกิด

แต่พ่อลาแม่ม้า.

จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

๓. อันธกวินทสูตร

ว่าด้วยสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

[๖๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอันธกวินทคาม

ในแคว้นมคธ.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในที่แจ้งในราตรี

คืนเดือนมืดและฝนกำลังตกประปรายอยู่.

ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มี

รัศมีอันงดงามยิ่ง ยังอันธกวินทคามทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ข้างหนึ่ง.

[๖๑๒] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

ภาษิตคาถาเหล่านั้นในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงเสพที่นอนและที่นั่งอันสงัด

พึงประพฤติเพื่อควานหลุดพ้นจากสัญโญชน์

ถ้าว่าภิกษุไม่พึงได้ความยินดีในที่นั้นไซร้

ก็พึงเป็นผู้มีตนรักษาแล้ว มีสติ พึงอยู่ใน

หมู่ภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่จากตระกูลสู่ตระกูล

เพื่อบิณฑบาต มีอันทรีย์อันคุ้มครองแล้ว

มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงเสพที่นอนและ

ที่นั่งอันสงัด ภิกษุพ้นแล้วจากภัย น้อม

ไปแล้วในธรรมอันไม่มีภัย ปราศจากความ

สยดสยอง นั่งอยู่แล้วในที่มีสัตว์เลื้อย-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

คลาน อันน่ากลัว สายฟัาฉวัดเฉวียน ฝน

ตกในราตรีอันมืด ก็ข้าพระองค์ไม่อาจ

กำหนดนับในใจของข้าพระองค์ได้เลยว่า

เหตุนี้ข้าพระองค์เคยเห็นแล้วแน่ ข้าพระ-

องค์ไม่กล่าวถึงเห็นนี้ว่าเป็นอย่างนี้ใน

พรหมจรรย์ (คือธรรมเทศนา) คราวหนึ่ง

เถิดมีพระขีณาสพผู้ละความตายได้มีจำนวน

พัน พระเสขะมากกว่าห้าร้อย และพระ-

เสขะทั้งสิบ ทั้งร้อย ทั้งหมดถึงถระแส

มรรคแล้ว ไม่ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เป็นผู้มีส่วนบุญดังนี้

เพราะกลัวมุสาวาท.

อรรถกถาอันธกวินทสูตร

ในอันธกวินทสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า อนฺธกวินฺท ความว่า บ้านมีชื่ออย่างนั้น . บทว่า อุปสงฺกมิ

ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดาทรงกระทำความเพียรอยู่แม้ใน

บัดนี้ ชนทั้งหลายประกอบความเพียรกันเนือง ๆ เราจะไปยืนอยู่ในสำนักแล้ว

จักกล่าวคาถาว่าด้วยเรื่องความเพียรที่เหมาะแก่คำสอน ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า.

บทว่า ปนฺตานิ ความว่า เสนาสนะที่อยู่นอกถิ่นมนุษย์เลยชุมชน

ออกไป. บทว่า สญฺโชนวิปฺปโมกฺขา ความว่า เมื่อเสพเสนาสนะเหล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

นั้น จะพึงเสพเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นก็หามิได้ ที่แท้พึงประพฤติเพื่อต้อง

การหลุดพ้นจากสังโยชน์ ๑๐. บทว่า สงฺเฆ วเส ความว่า เมื่อไม่ได้ความ

ยินดีในเสนาสนะเหล่านั้น ก็ไม่อยู่ในป่าซึ่งเกิดขึ้นเหมือนขี้ผงบนหลังลา พึง

อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อรักษาน้ำใจญาติโยมเป็นต้น. บทว่า รกฺขิตตฺโต

สติมา ความว่า ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในที่นั้นไม่เสียดสีไม่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหม-

จรรย์ รักษาตนมีสติปัฏฐานเป็นเบื้องหน้าอยู่เหมือนโคผู้ตัวดุในถิ่นของตน.

บัดนี้สหัมบดีพรหมนั้นบอกภิกขาจารวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ จึงกล่าว

คำว่า กุลา กุล เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑิกาย จรนฺโต

ได้แก่ เที่ยวไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ

ความว่า แม้หยั่งลงสู่ท่ามกลางสงฆ์อยู่ ปลูกต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้นใน

บริเวณใกล้ ไม่พึงเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอุปัฏฐากเป็นต้น ทำความคู่ควรแห่ง

จิตให้เกิด ให้จิตร่าเริงยินดี จึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอีกเท่านั้น เพราะฉะนั้น

จึงกล่าวสรรเสริญป่าอย่างเดียว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยในวัฏฏะ. บทว่า

อภเย ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ พึงเป็นผู้น้อมไปอยู่.

บทว่า ยตฺถ เภรวา ความว่า สัตว์ที่มีวิญญาณครองมีสีหะและเสือ

โคร่งเป็นต้นที่ก่อให้เกิดภัยในที่ใด สิ่งที่ไม่มีวิญญาณมีคอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น

มีมากในกลางคืน. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานมีงูเป็นต้น. บทว่า

นิสีทิ ตตฺถ ภิกขุ ความว่า ภิกษุนั่งในที่เช่นนั้น. ด้วยคำว่า นิสีทิ ตตฺถ

ภิกฺขุ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า บัดนี้พวกเธอนั่งไม่ใส่

ใจถึงอารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวที่อยู่ในที่นั้น สัตว์เลื้อยคลานและสายฟ้าแลบเป็น

ต้น โดยประการใด ภิกษุทั้งหลายย่อมนั่งประกอบความเพียรโดยประการนั้น

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

บทว่า ชาตุ เม ทิฏฺ แปลว่าที่เราเห็นแล้วโดยส่วนเดียว. คำว่า

อิท อิติห ในคำว่า นยิท อิติหีติห นี้ความว่า เรากล่าวเพราะเหตุแห่ง

ความตรึกเอา เพราะเหตุแห่งการคาดเอาหรือเพราะเหตุอ้างปิฎก คือตำราก็หา

ไม่. บทว่า เอกสฺมึ พฺรหฺมจริยสฺมึ ได้แก่ ในพระธรรมเทศนาอย่างหนึ่ง.

จริงอยู่ พระธรรมเทศนา ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในที่นี้. บทว่า

มจฺจุหายิน ได้แก่ พระขีณาสพผู้ละความตาย.

ในคำว่า ทสา จ ทสธา ทสา นี้ บทว่า ทสา ได้แก่จำนวน ๑๐

เท่านั้น. ชื่อว่า สต เพราะเอา ๑๐ คูณด้วย ๑๐ อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เราเห็น

ภิกษุเหล่าอื่นเป็นพระเสขะ ๑๑๐ รูป. บทว่า โสต สมาปนฺนา ได้แก่บรรลุ

กระแสแห่งมรรค. บทว่า อติรจฺฉานคามิโน นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา.

อธิบายว่า ผู้ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา. บทว่า สงฺขาตุ โนปิ สกฺโกมิ

ความว่า เราไม่อาจนับว่าเหล่าสัตว์ที่เป็นภาคีแห่งบุญมีเท่านี้ เพราะกลัวมุสาวาท

เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอาพรหมเทศนาเป็นอันมาก จึงกล่าวอย่างนี้.

จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

๔. อรุณวตีสูตร

ว่าด้วยตรัสเล่าเรื่องอรุณวตีราชธานี

[๖๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน

อารามของท่าน. อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ในที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๖๑๔ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระนามว่า อรุณวา ราชธานีของพระเจ้าอรุณวา

มีนามว่า อรุณวตี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

ทรงเข้าไปอาศัยราชธานีอรุณวตีประทับอยู่.

ก็พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ได้มีคู่พระ-

สาวกนามว่าพระอภิภูและพระสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกที่เจริญเลิศ.

[๖๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสเรียกภิกษุนามว่าอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์

มาเถิด เราจักไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วกาลกว่าจะถึงเวลาฉัน.

ภิกษุอภิภูทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าสิขีแล้ว.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

และภิกษุอภิภูได้หายไปจากอรุณวตีราชธานี ปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือน

อย่างบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้วออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออก

ไปแล้วเข้ามาฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

ตรัสกะภิกษุอภิภูว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหม

บริษัทและพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอภิภูรับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนานว่าสิขีแล้ว แล้ว

ยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว.

[๖๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหม

บริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า แน่ะท่าน

ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า

เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี

ตรัสเรียกภิกษุอภิภูมาว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหม

ปาริสัชชะเหล่านั้นติเตียนว่า แน่ะท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย

ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหม

ปาริสัชชะทั้งหลายสลดใจประมาณยิ่ง.

ภิกษุอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าสิขีแล้ว มีกายปรากฏแสดงธรรมบ้าง มีกายไม่ปรากฏแสดงธรรมบ้าง

มีกายปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่าง ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบนแสดงธรรมบ้าง มีกาย

ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบน ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่างแสดงธรรมบ้าง.

[๖๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พรหม พรหม

บริษัท และพรหมปาริสชัชะทั้งหลาย ได้มีจิตพิศวงเกิดแล้วว่า น่าอัศจรรย์จริง

ไม่เคยมีมาเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุอภิภูได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนานว่าสิขีว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมทราบ

ข้าพระองค์เป็นผู้กล่าววาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย เราอยู่ที่พรหมโลกสามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีตรัสว่า ดูก่อน

พราหมณ์ เป็นกาลของเธอที่เธอดำรงอยู่ที่พรหมโลก พึงยังหมื่นโลกธาตุให้รู้

แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระ

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า

ดังนี้แล้ว ดำรงอยู่ในพรหมโลก ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า

จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธ-

ศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุเหมือนช้าง

กำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาท

ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสาร

คือชาติ แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

[๖๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี และภิกษุอภิภูยังพรหม พรหมบริษัท และ

พรหมปาริสัชชะทั้งหลายให้สลดใจแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลกนั้น (มา)

ปรากฏในอรุณวตีราชธานี เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้ว

ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออกไปแล้วเข้ามาฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลก

กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลายได้ยินหรือไม่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าว

คาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลาย

อยู่ เธอทั้งหลายได้ยินว่าอย่างไร.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ใน

พรหมโลกกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า

จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธ-

ศาสนา จงกำจัดเสนาแต่งมัจจุเหมือนช้าง

กำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาท

ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสาร

คือชาติ แล้วจักกระทำที่สุดทุกข์ได้

พระเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ในพรหมโลกกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์

ทั้งหลายได้ยินแล้วอย่างนี้.

[๖๑๙] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัส

ว่าดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ดีแท้ ภิกษุทั้งหลาย เนื้อภิกษุอภิภูดำรงอยู่ใน

พรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลายได้ยินแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

อรรถกถาอรุณวตีสูตร

ในอรุณวตีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิภูสมฺภว ได้แก่ พระอภิภูและพระสัมภวะ. ในท่านทั้ง ๒

นั้น พระอภิภูเถระ เป็นผู้เลิศทางปัญญา ดุจพระสารีบุตรเถระ พระสัมภวเถระ

เป็นผู้เลิศทางสมาธิ ดุจพระมหาโมคคัลลานเถระ. บทว่า อุชฺฌายนฺติ ได้แก่

ย่อมดูหมิ่น คือ ย่อมคิดทางต่ำทราม. บทว่า ขียฺยนฺติ ได้แก่ พูดกันว่า

นี่อย่างไรกัน นี่อย่างไรกัน . บทว่า วิปาเจนฺติ ได้แก่ ย่อมพูดยืดยาว คือ

พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ. บทว่า เหฏฺิเมน อุปฑฺฒกาเยน ได้แก่ กายเบื้องล่าง

ตั้งแต่สะดือลงไป ในพระบาลีมาเพียงเท่านี้เอง. ฝ่ายพระเถระแสดงการทำฤทธิ์

ต่าง ๆ มากประการที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า ละเพศปกติ เเละเพศนาคบ้าง

แสดงเพศครุฑบ้าง. บทว่า อิมา คาถาโย อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า

พระเถระคิดว่า แสดงธรรมอย่างไร จึงจะเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งคนทั้งปวง

แต่นั้นเมื่อรำพึงถึงจึงรู้ว่า เจ้าลัทธิแม้ทั้งปวง เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง

จัดสรรเสริญความเพียรของบุรุษในลัทธิของตน ผู้ที่ไม่สรรเสริญ

ความเพียรไม่มี เราจักแสดงให้เกี่ยวด้วยความเพียร การแสดงธรรม

อย่างนี้จักเป็นที่รักที่ชอบใจของคนทุกจำพวก ได้เลือกเฟ้นในพระไตร-

ปิฎกแล้วจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ .

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภถ ได้แก่ จงเริ่มความเพียร.

บทว่า นิกฺกมถ ได้แก่ จงเพียรก้าวหน้า. บทว่า ยุญฺชถ ได้แก่ จงประกอบ

เพียร คือ จงบากบั่น. บทว่า มจฺจุโน เสน ความว่า กองทัพกิเลส ชื่อว่า

กองทัพมฤตยู. บทว่า ชาติสสาร ได้แก่ ชาติและสงสาร หรือสงสารกล่าว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

คือชาติ บทว่า ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสติ ได้แก่ จักกระทำการกำหนดวัฏทุกข์.

ถามว่า ก็พระเถระทำอย่างไร จึงทำให้หมื่นโลกธาตุรู้กันได้. ตอบว่า ก่อนอื่น

พระเถระเข้านีลกสิณแล้วแผ่ความมืดไปในที่มีแสงสว่างทั้งปวง. เข้าโอทาตกสิณ

แล้วทำที่มืดให้สว่าง แสดงอาโลกกสิณในเมื่อพวกสว่างเกิดคำนึงขึ้นว่า ทำไม

ถึงมืดอย่างนี้. ในที่มีแสงสว่าง ไม่มีกิจด้วยแสงสว่าง. เมื่อเหล่าสัตว์ต้นคว้า

อยู่ว่า แสงสว่างนี้คืออะไร จึงแสดงตน. ครั้งนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นพูดกันว่า

พระเถระ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้น. สัตว์ทั้งปวงฟังเสียงพระเถระประดุจนั่ง

แสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทผู้ประชุมกัน. แม้เนื้อความได้ปรากฏแก่สัตว์

เหล่านั้น.

จบอรรถกถาอรุณวตีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

๕. ปรินิพพานสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สาลวัน แห่ง

มัลกษัตริย์ทั้งหลาย อันเป็นทางกรุงกุสินารา ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์ทั้งคู่

ในสมัยจะเสด็จปรินิพพาน.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมี

ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความ

ไม่ประมาทเถิด ดังนี้ นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของพระตถาคต.

[๖๒๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจาก

ปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากททุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน

ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุติยฌาน ออกจากจตุตถาฌานแล้ว ทรงเข้า

อากาสานัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญา-

ณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญาย

ตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตน

ฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตน

ฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน

ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนฌาน ออกจาก

อากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าจตตุถฌาน ออกจากจุตตถฌานแล้ว

ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าททุติยฌาน ออกจากททุติยฌาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

แล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจาก

ทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับนั้น.

[๖๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหม

ได้กล่าวคาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า

สัตว์ทุกหมู่เหล่า จักทอดทิ้งร่างกาย

ไว้ในโลก พระตถาคตผู้ศาสดา ผู้หาบุคคล

เปรียบมิได้ในโลก ถึงแล้วซึ่งกำลังพระ-

ญาณเป็นพระสัมพุทธะเช่นนี้ ยังปรินิพพาน

แล้ว.

[๖๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่

ของทวยเทพได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มี

ความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา

เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไปสงบ

สังขารเหล่านั้นเป็นสุข.

[๖๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กล่าวคาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า

เมื่อพระสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วย

อาการอันประเสริฐทั้งปวงปรินิพพานแล้ว

ความสยดสยอง (และ) ความชูชันแห่งขน

ได้มีแล้วในกาลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

[๖๒๕] เมือพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธะ

ได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า

ลมอัสสาสปัสสาสะ (หายใจเข้า

ออก) มิได้มีแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีจิตตั้งมั่นคงที่ พระผู้มีพระภาคเจ้ามี

จักษุไม่ทรงหวั่นไหว ทรงปรารถสันติ

ปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจิต

ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาเสียได้ ความ

พ้นแห่งจิตได้มีแล้ว เหมือนความดับแห่ง

ประทีป ฉะนั้น .

จบปรินิพพานสูตร

จบพรหมปัญจกะ

อรรถกถาปรินิพพานสูตร

ในปรินิพพานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลาน สาลวเน ความว่า สาลโนทยาน

อยู่ฝั่งโน้มแห่งแม่น้ำ ชื่อว่าหิรัญญวดี เหมือนทางไปถูปารามทางประตูราช

มาตุวิหารแต่ฝั่งแม่น้ำกัทธัมพะ. สาลวโนทยานนั้น อยู่ในกรุงกุสินารา เหมือน

ถูปารามแห่งอนุราธบุรี. แถวต้นสาละจากสาลวโนทยานมุ่งไปทางทิศปราจีน

ออกทางทิศอุดร เหมือนทางที่ไปสู่พระนครโดยประตูด้านทิศทักษิณ จาก

ถูปารามตรงไปทางด้านปราจินทิศ ออกทางทิศอุดรฉะนั้น. เพราะฉะนั้น สาล-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

วโนทยานนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทางโค้ง. ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นทาง

โค้งนั้น. บทว่า อนฺตเรน ยมกสาลาน ความว่า ในระหว่างแห่งต้นสาละ

ที่ยืนต้นเกี่ยวกันและกัน ทางรากลำต้นค่าคบและใบ. บทว่า อปฺปมาเทน

สมฺปาเทถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่อยู่

ปราศจากสติ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมเหนือพระแท่นปรินิพนาน

จึงทรงใส่พระโอวาททั้งหมดที่ทรงประทานมา ๔๕ พรรษาลงในบทอัปปมาท-

ธรรมบทเดียวเท่านั้น เหมือนอย่างกุฏุมพีผู้มีทรัพย์มาก ผู้นอนบนเตียงเป็นที่

ตาย พึงบอกทรัพย์อันเป็นสาระแก่บุตรทั้งหลาย ฉะนั้น. ก็คำว่า อย

ตถาคตสฺส ปจฺฉิมวาจา นี้ เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

เบื้องหน้าแต่นี้ เพื่อจะแสดงถึงบริกรรมแห่งปรินิพพานที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงทำแล้วปรินิพพาน พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า อถโข ภควา

ปมฺฌาน ดังนี้เป็นต้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติ ในที่นั้น เทพดาและมนุษย์เห็นความไม่เป็นไปของลมอัสสาสปัสสาสะ

จึงได้ร้องขึ้นพร้อมกันด้วยเข้าใจว่า พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว. ฝ่ายพระ

อานนทเถระ ถามพระอนุรุทธเถระว่า ท่านอนุรุทธะเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรินิพพานแล้วหรือหนอ. พระอนุรุทธเถระ ตอบว่า อาวุโส อานนท์

พระตถาคตยังไม่ปรินิพพาน แต่พระองค์ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

ถามว่า ท่านพระอนุรุทะ รู้ได้อย่างไร. ตอบว่า เล่ากันมาว่า พระเถระเข้า

สมาบัตินั้น ๆ พร้อมกับพระศาสดาที่เดียว ไปจนถึงออกจากเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติ ได้รู้ว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติ

และชื่อว่า การทำกาละภายในนิโรธสมาบัติ ย่อมไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าปฐมฌานในฐานะ ๒๔ ในคำนี้ว่า ครั้ง

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ แล้วเข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ออกจากตติยฌาน แล้วเข้าจตุตถฌาน.

ในฐาน ๑๓ เข้าทุติยฌาน ตติยฌานก็เหมือนกัน ในฐาน ๑๕ ทรงเข้าจตุตถ

ฌาน. เข้าอย่างไร? ก่อนอื่น ทรงเข้าปฐมฌาน ในฐานะ ๒ เหล่านี้ คือ

อสุภ ๑๐ อาการ ๓๒* กสิณ ๘ เมตตา กรุณา มุทิตา อานาปานัสสติ ๑

ปริจเฉทากาสกสิณ ๑. แต่ทรงเว้นอาการ ๓๒ อสุภ ๑๐ ทรงเข้าทุติยฌานและ

ตติยฌาน ในบรรดาฌา น ๑๓ ที่เหลือ. อนึ่ง ทรงเข้าจตุตถฌานในฐานะ ๑๕

เหล่านี้ คือ กสิณ ๘ อุเบกขาพรหมวิหาร ๑ อานาปานัสสติ ๑ ปริจเฉทากาส

กสิณ ๑ อรูปฌาน ๔. ก็กถาโดยสังเขปเพียงเท่านี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

เจ้าของแห่งธรรมเสด็จเข้าสู่นครนิพพาน ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดนับได้ ๒๔

แสนโกฎิ แล้วเข้าเสวยสุขในสมาบัติทั้งหมด เหมือนคนไปสู่ต่างประเทศสวมกอด

คนที่เป็นญาติ.

ก็ในคำว่า จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา สมนนฺตรา ภควา

ปรินิพฺพุโต นี้ ความว่า. มีลำดับ ๒ อย่างคือ ลำดับแห่งฌาน ๑ ลำดับ แห่ง

ปัจจเวกขณญาณ ๑. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌาณหยั่งลงสู่ภวังค

จิต แล้วปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งฌาน. การที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าออกจากจตุตถฌานแล้วพิจารณาองค์ฌานซ้ำอีกหยั่งลงสู่ภวังคจิตเเล้ว

ปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง ชื่อว่าลำดับแห่งปัจจเวกขณญาณ. ลำดับ ๒

อย่างดังว่ามานี้. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าฌานแล้ว ออกจากฌานแล้ว

ทรงพิจารณาองค์ฌานปรินิพพานด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็นภวังคจิต. ก็ชน

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวก

โดยที่สุดกระทั่งมดดำมดแดงทั้งหมดย่อมทำกาละด้วยอัพยากตทุกขสัจจะอันเป็น

ภวังคจิตทั้งนั้น ฉะนี้แล.

บทว่า ภูตา แปลว่า หมู่สัตว์. บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล ได้แก่

เว้นจากบุคคลผู้จะเปรียบเทียบ. บทว่า พลปฺปตฺโต ได้แก่ ผู้บรรลุพลญาณ

* อาการ ๓๒ นับเป็น ๑ ฐาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

๑๐. บทว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ได้แก่ มีการเกิดและการดับเป็นสภาวะ.

บทว่า เตส วูปสโม สุโข ความว่า พระนิพพานกล่าวคือการเข้าไปสงบ

แห่งสังขารเหล่านั้นนั่นเองเป็นสุข. ด้วยคำว่า ตทาสิ ท่านกล่าวหมายเอาแผ่น

ดินไหวที่ท่านกล่าวไว้ในมหาปรินิพพานสูตรอย่างนี้ว่า แผ่นดินใหญ่ไหวย่อมมี

พร้อมกับปรินิพพาน ความจริงแผ่นดินใหญ่ไหว้นั้นให้เกิดขึ้นพองสยองเกล้า

และมีอาการน่าสะพึงกลัว. บทว่า สพฺพาการวรูเปเต ได้แก่ประกอบด้วย

การกระทำอันประเสริฐโดยอาการทั้งปวง. บทว่า นาหุอสฺสาสปสฺสาโส ได้แก่

ลม อัสฺสาสปัสสาสะ ไม่เกิด. บทว่า อเนโช ความว่า ชื่อว่า อเนชะ

เพราะไม่มีกิเลสชาติเครื่องหวั่นไหวกล่าวคือตัณหา. บทว่า สนฺติมารพฺภ

ได้แก่อาศัยคือหมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุ

ด้วยจักษุ ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานด้วยขันธปรินิพพาน.

บทว่า อสลฺลีเนน ได้แก่ มีจิตไม่หดหู่ ไม่คดงอ คือเบิกบานด้วยดีนั่นเอง.

บทว่า เวทน อชฺณาวสยิ ได้แก่ อดกลั้นเวทนา ไม่คล้อยตามเวทนากระสับ

กระส่ายไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ หลุดพ้น ไม่มีเครื่อง

กีดขวาง. อธิบายว่า เข้าถึงความไม่มีบัญญัติโดยประการทั้งปวง เป็นเสมือน

ไฟที่ลุกโพลงดับไป ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาปรินิพพานสูตรที่ ๕ วรรคที่ ๒

แห่งพรหมสังยุต เพียงเท่านี้

รวมพระสูตร

พรหมปัญจกะนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ แสดงด้วย ๑. สนังกุมาร

สูตร ๒. เทวทัตตสูตร ๓. อันธกวินทสูตร ๔. อรุณวตีสูตร ๕.

ปรินิพพานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

พราหมณสังยุต

อรหันตวรรคที่ ๑

๑. ธนัญชานีสูตร

ว่าด้วยผลของพระฆ่าความโกรธ

[๖๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็น

ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

ก็โดยสมัยนั้นแล นางพราหมณีชื่อธนัญชานีแห่งพราหมณ์ ผู้ภารทวาช

โคตรคนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.

[๖๒๗] ครั้งนั้นแล นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อ

พราหมณภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อม

แต่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ... ขอนอบน้อม

แด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น .

เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณภารทวาชโคตร

ได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้น

อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหน ๆ แน่ะหญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะต่อพระ-

ศาสดานั้นของเจ้า.

นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะ

พึงยกถ้อยคำต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโ่ลก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

พร้อมด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้.

[๖๒๘] ลำดับนั้นแล พราหมณภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พราหมณภารทวาชโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข

ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระ-

โคดม พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรม

อะไรเป็นธรรมอันเอก.

[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอน

เป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก

ดูก่อนพราหมณ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย

ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ อันมีราก

เป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่า

ความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

[๖๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณภารทวาช

โคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือน

บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ในที่มืด ด้วยคิดว่า คนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึง

พระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

พราหมณภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่

ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำ

ให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย

ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็น

เครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์

ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พราหมณสังยุต

อรรถกถาธนัญชานีสูตร

อรหันตวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธนญฺชานี ได้แก่ นางพราหมณี สกุลธนัญชานี ได้ยินว่า

นางพราหมณีมีสกุลสูง. เล่ากันมาว่า พวกพราหมณ์นอกนั้นเกิดแต่ปากของ

พรหม. พราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิดังนี้ว่า สกุลธนัญชานีทำลายกระหม่อมออกมา.

บทว่า อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ถามว่าเพราะเหตุไร พราหมณีจึงได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

เปล่งวาจา ได้ยินว่า พราหมณ์สามีนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อนางกล่าวว่า พุทฺโธ

ธมฺโม สงฺโฆ ก็ปิดหูเสีย เป็นคนกระด้างเสมือนตอไม้ตะเคียน ส่วนพราหมณี

เป็นอริยสาวกผู้โสดาบัน. พราหมณ์เมื่อให้ทาน ย่อมให้ข้าวปายาสมีน้ำน้อย

แก่พราหมณ์ ๕๐๐ คน. พราหมณีได้ให้โภชนะมีรสต่าง ๆ แก่หมู่ภิกษุมี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในวันที่พราหมณ์ให้ทาน พราหมณีได้อังคาสด้วย

มือของตน เพราะอยู่ในอำนาจของพราหมณ์นั้น และเพราะละความตระหนัก

เสียได้. แต่ในวันที่พราหมณีให้ทาน พราหมณ์ก็หนีออกไปจากเรือนแต่เช้าตรู่

ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์จึงปรึกษากับพราหมณี เชิญพราหมณ์ ๕๐๐ มาแล้ว

กล่าวกะพราหมณีว่า แน่ะแม่จำเริญ พรุ่งนี้ พราหมณ์ ๕๐๐ คน จักบริโภคใน

เรือนของเรานะ. นางถามว่า ฉันจะช่วยอะไรได้บ้างละพราหมณ์. พราหมณ์

กล่าวว่า ไม่มีกิจอะไรอื่นที่เจ้าจะต้องช่วยดอก คนเหล่าอื่นจักการทำการหุงต้ม

และอังคาสทั้งหมด ข้อที่เจ้ายืนก็ดี นั่งก็ดี จามก็ดี ไอก็ดี ทำการนอบน้อม

แก่สมณะโล้นนั้นว่า นโม พุทฺธสฺส นั้น พรุ่งนี้ เจ้าอย่าทำสิ่งนั้นสักวันหนึ่งเถิด

ด้วยว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้วจะไม่พอใจ เจ้าอย่าทำเราให้แตก

จากพราหมณ์ทั้งหลายเลย. นางกล่าวว่า ท่านจะแตกจากพราหมณ์ก็ดี จาก

เทวดาก็ดี ส่วนฉันระลึกถึงพระศาสดา ไม่นอบน้อม ไม่สามารถที่จะอดกลั้น

อยู่ได้ พราหมณ์กล่าวว่า แน่ะแม่มหาจำเริญ ก่อนอื่น เจ้าต้องพยายามปิด

ประตูบ้านในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล เมื่อไม่สามารถจะปิดปากที่จะพึงปิดด้วย

ทั้ง ๒ ชั่วเวลาที่พวกพราหมณ์บริโภค. พราหมณ์นั้นแม้พูดซ้ำซาก อย่างนี้

ก็ไม่อาจห้ามได้ด้วยความรัก จึงถือเอาพระขรรค์ที่วางไว้บนหัวนอนกล่าวว่า

แม่มหาจำเริญ เมื่อพราหมณ์นั่งประชุมกันพรุ่งนี้ ถ้าเจ้านมัสการสมณโล้น

นั้นไซร้ เราจะเอาพระขรรค์เล่มนี้สับเจ้า ตั้งแต่พื้นเท้าจนถึงปลายผม ทำให้

เป็นกองเหมือนหน่อไม้ ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ถ้าเจ้ายังอยู่ในเรือนของเรา ไม่ทำ

ตามสิ่งที่เราปรารถนา ยังจะพูดอยู่ว่า

พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ เราจะเอา

พระขรรค์เล่มนี้บั่นเจ้า ตั้งแต่เท่าจนถึง

ศีรษะ เหมือนบั่นหน่อไม้.

ส่วนพราหมณี ผู้เป็นอริยสาวิกา ไม่มีความหวั่นไหวเหมือนแผ่นดิน

ไม่มีความสะทกสะท้านเหมือนภูเขาสิเนรุ. เพราะฉะนั้น นางจึงกล่าวกะ

พราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า

ท่านพราหมณ์ ถ้าท่านจะตัดอวัยวะ

น้อยใหญ่ของเราก็ตาม เราจะไม่เว้นจาก

ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลย

ท่านไม่อาจห้ามเราจากพระชินเจ้าผู้ทรงคุณ

อันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอาศัยของเราได้

ดอก ท่านจะตัดหรือจะต้มเราก็ตามทีเถิด

เราก็ชื่อว่าเป็นธิดาของพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐแล้ว.

ธนัญชานีพราหมณี ขู่พราหมณ์ผู้คุกคาม จึงได้กล่าวคาถา ๕๐๐ คาถา

ด้วยประการฉะนี้. พราหมณ์ไม่อาจจับต้องหรือตีพราหมณี กล่าวว่า แม่มหา

จำเริญ เจ้าจงทำตามที่เจ้าชอบใจเถิด แล้วก็โยนพระขรรค์ไปบนที่นอน. ใน

วันรุ่งขึ้น จึงให้สร้างเรือนฉาบด้วยของเขียวสด ให้ประดับด้วยข้าวตอกหม้อ

เต็มด้วยน้ำดอกไม้และของหอมเป็นต้นในที่นั้น ๆ แล้วให้จัดข้าวปายาสมีน้ำน้อย

ปรุงด้วยเนยข้นเนยใสน้ำตาลกรวดและน้ำผึ้ง แล้วให้บอกเวลาแก่พราหมณ์

๕๐๐ คน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

ฝ่ายพราหมณีเองอาบน้ำหอมแต่เช้าตรู่ นุ่งผ้าใหม่มีราคา ๑,๐๐๐ เอา

ผ้ามีราคา ๕๐๐ เฉวียงบ่า ประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ถือทัพพีทอง

อังคาสเลี้ยงดูพวกพราหมณ์ในโรงอาหาร น้อมนำอาหารไปให้พราหมณ์นั้น

ผู้นั่งในแถวเดียวกับพราหมณ์เหล่านั้น ลื่นลงที่กองไม้ที่เขาเก็บไว้ไม่เรียบร้อย.

ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่นาง เพราะกระแทกในการลื่นล้มลง. ขณะนั้นนางระลึก

ถึงพระทศพล. แต่เพราะนางสมบูรณ์ด้วยสติ นางก็ไม่ทิ้งถาดข้าวปายาส ค่อยๆ

วางลงที่พื้น ประคองอัญชลีเหนือเศียร ในท่ามกลางพราหมณ์ ๕๐๐ คน

แล้วน้อมอัญชลีไปทางพระวิหารเชตวัน จึงได้เปล่งอุทานนี้.

ก็เวลานั้น บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บางพวกบริโภคเสร็จแล้ว

บางพวกกำลังบริโภค บางพวกพอลงมือ บางพวกเพียงวางโภชนะไว้ข้างหน้า

พราหมณ์เหล่านั้น พอได้ยินเสียงนั้น เป็นเสมือนถูกฆ้อนเท่าภูเขาสิเนรุฟาดลง

บนศีรษะ และเหมือนถูกหลาวแทงที่หู เสวยทุกข์โทมนัสโกรธว่า พวกเรา

ถูกคนนอกลัทธินี้ ลวงเราให้เข้าไปสู่เรือน จึงทิ้งก้อนข้าว คายสิ่งที่อมไว้

เป็นเหมือนกาเห็นธนู พลางด่าพราหมณ์พากันหลีกไปคนละทิศคนละทาง.

พราหมณ์เห็นพวกพราหมณ์ต่างพากันแยกไปอย่างนั้น มองดูนางพราหมณีตั้ง

แต่ศีรษะ คิดว่า พวกเราเห็นภัยนี้แล จึงขอร้องนางมหาจำเริญตั้งแต่วันวาน

ก็ไม่ได้ จึงด่านางพราหมณีโดยประการต่าง ๆ แล้วได้กล่าวกะนางมีอาทิว่า

เอวเมว ปน ดังนี้.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์ไปด้วยคิดว่าพระสมณโคดม

ผู้อันชาวบ้านชาวนิคมและชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจจะไปว่ากล่าว

คุกคามอย่างใด ๆ ได้ จำเราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่ง จึงได้แต่งคาถาว่า กึสุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

ฆตฺวา เป็นต้น แล้วคิดว่า ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราชอบใจการฆ่า

บุคคลชื่อโน้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านปรารถนาจะฆ่าเหล่าชน

ที่ท่านไม่ชอบใจ ท่านเกิดมาเพื่อจะฆ่าโลก ความเป็นสมณะของท่านจะมี

ประโยชน์อะไร ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราไม่ชอบใจการฆ่าใคร ๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะข่มท่านว่า ท่านไม่ปรารถนาจะฆ่ากิเลสมีราคะเป็นต้น

เพราะเหตุไร ท่านจึงเป็นสมณะเที่ยวไป ดังนั้น ปัญหา ๒ เงื่อนนี้ พระ-

สมณโคดมก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. บทว่า สมฺโมทิ

ความว่า พราหมณ์ไม่แสดงความโกรธ เพราะคนเป็นบัณฑิต จึงกล่าวถ้อยคำ

ไพเราะชื่นชมกัน. ท่านกล่าวปัญหาไว้ในเทวตาสังยุต. แม้คำที่เหลือท่านกล่าว

ไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาธนัญชานีสูตรที่ ๑

๒. อักโกสกสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าไม่รับคำด่าของพราหมณ์

[๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

อักโกสกภารทวาชพรหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภารทวาช

โคตรออกจากเรือบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้

ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

[๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน

ย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก

ของท่าน ย่อมมาบ้างไหม.

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและ

อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและ

อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่.

อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของ

ดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบาง

คราว.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก

เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร.

อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก

เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระ

อย่างเดิม.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่าน

โกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการ

ด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่าน

ผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้ว

ตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้

โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมการทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบ

ด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้

เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว.

อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้

ว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ

จึงยังโกรธอยู่เล่า.

[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็น

อยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ตอบ

สงบ คงที่อยู่ ความโกรธแล้ว ผู้นั้นเป็น

ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ แล้วผู้นั้นเป็น

ผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการ

โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล

ผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอัน

บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ

แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม

ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่

ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษา

ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ

ของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดใน

ธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา

ดังนี้.

[๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเจ้าอย่างนี้แล้ว อักโกสกภาร-

ทาวชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอ

ถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีก

ไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็

กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง

รู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล

กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ

ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์

ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาอักโกสกสูตร

ในอักโกสกสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกฺโกสกภารทฺวาโช ได้แก่พราหมณ์นั้น ชื่อว่าภารทวาชะ.

ก็พราหมณ์นั้นได้มาด่าพระตถาคตด้วยคาถาประมาณ ๕๐๐ เพราะเหตุนั้น พระ

สังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงตั้งชื่อว่า อักโกสกภารทวาชะ. บทว่า กุปิโต อนตฺ-

ตมโน ความว่า โกรธและไม่พอใจด้วยเคืองว่าพระสมณโคดมให้พี่ชายของ

เราบวช ทำให้เสื่อมเสียให้แตกเป็นฝักฝ่าย. บทว่า อกฺโกสติ ความว่า ด่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ คือ เจ้าเป็นโจร เป็นคนโง่ เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็น

โค เป็นลา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติ

เท่านั้น. บทว่า ปริภาสติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า สมณะโล้น

ข้อนั้นจงยกไว้ เจ้ายังทำว่า ข้าไม่มีโทษ บัดนี้ ข้าไปสู่ราชสกุลแล้วจะบอกเขา

ให้ลงอาชญาแก่เจ้า ดังนี้ ชื่อว่า บริภาษ.

บทว่า สมฺภุญฺชติ ได้แก่ บริโภคร่วมกัน . บทว่า วีติหรติ ได้

แก่ ทำคืนการที่ทำมาแล้ว. บทว่า ภวนฺต โข โคตม ถามว่า เพราะเหตุไร

พราหมณ์จึงกล่าวอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพราหมณ์ได้ฟังคำของพระสมณโคดม

นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ นั่นเป็นของ

ท่านผู้เดียว โดยได้ฟังกันสืบ ๆ มาว่า ขึ้นชื่อว่าฤาษีทั้งหลายโกรธแล้ว ย่อม

สาบให้เป็นเหมือนลูกโคผอมเป็นต้น จึงเกิดความกลัวแต่คำสาปว่า พระสมณ

โคดมเห็นที่จะสาปเราก็ได้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงได้กล่าวอย่างนี้.

บทว่า ทนฺตสฺส ได้แก่ผู้หมดพยศ. บทว่า ตาทิโน ได้แก่ผู้ถึง

ลักษณะผู้คงที่. บทว่า ตสฺเสว เตน ปาปิโย ความว่า บุคคลนั้นแลเป็น

เลวกว่าบุคคลผู้โกรธนั้น. บทว่า สโต อุปสงฺกมติ ความว่า บุคคลเป็นผู้

ประกอบด้วยสติย่อมอดกลั้นไว้ได้. บทว่า อุภินฺน ติกิจฺฉนฺตาน ได้แก่ผู้

อดกลั้นทั้ง ๒ ฝ่าย. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน บุคคลใดมีสติเข้า

ไปสงบ ประพฤติประโยชน์อดกลั้นให้สำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ชนทั้ง

หลายย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นชนพาล ชนทั้งหลายเป็นเช่นไร คือเป็นผู้ไม่

ฉลาดในธรรม. บุทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ธรรมคือ เบญจขันธ์ หรือสัจธรรม

๔. บทว่า อโกวิทา ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในธรรม คือเป็นปุถุชนอันธพาล.

จบอรรถกถาอักโกสกสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

๓. อสุรินทกสูตร

ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์ด่าพระพุทธเจ้า

[๖๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภาร-

ทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม โกรธ

ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ ด่า บริภาษ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ.

เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงนิ่งเสีย.

ลำดับนั้นแล อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว.

[๖๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อม

สำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ความอดกลั้นได้

เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใด

โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้

ลามกกว่าบุคคลผู้โกรธแล้ว เพราะการ

โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล

ผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงความอัน

บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่น

โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ชื่อว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง

ฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษา

ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ

ของผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม

ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่าเป็นคนเขลา ดังนี้.

[๖๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง

พระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ

อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอสุรินทกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล

หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร จิตมั่นคง ไม่นานเท่าไรนัก

ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตร

ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ก็แหละท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดา

พระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

อรรถกถาอสุรินทกสูตร

ในอสุรินทกสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุรินฺทกภารทฺวาโช ได้แก่ น้องชายของอักโกสกภาร-

ทวาชพราหมณ์. บทว่า กุปิโต ความว่า เป็นผู้โกรธ เพราะเหตุนั้นนั่นแล.

บทว่า ชยญฺเจวสฺส ต โหติ ความว่า นั้นเป็นชัยชนะของผู้นั้นนั่นเอง.

อธิบายว่า นั้นเป็นชัยชนะ. ถามว่า เป็นชัยชนะของบุคคลเช่นไร. ตอบว่า

ความอดกลั้นอันใดของผู้รู้แจ้ง ความอดกลั้น คือ ความอดทนของผู้รู้แจ้ง

คุณด้วยความอดกลั้นอันนั้น นี้เป็นชัยชนะของผู้รู้แจ้งนั้นนั่นแล. ส่วนชนพาล

กล่าวคำหยาบ ย่อมสำคัญชัยชนะอย่างเดียวว่า เป็นชัยชนะของเรา.

จบอรรถกถาอสุรินทกสูตรที่ ๓

๔. พิลังคิกสูตร

ว่าด้วยบาปกลับสนองผู้ประทุษร้าย

[๖๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภาร-

ทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม ดังนี้

โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

[๖๓๙] ลำดับนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตก

แห่งใจของพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระหฤทัยแล้ว ได้ตรัสกะพิลังคิก

ภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า

ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษ-

ร้ายซึ่งเป็นบุรุษผู้หมดจด ไม่มีกิเลสเป็น

เครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับสนองผู้นั้น

เป็นพาลนั่นเอง เปรียบเหมือนธุลีอัน

ละเอียด ที่บุคคลซัดไปสู่ที่ทวนลม ฉะนั้น

[๖๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง

พระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านพิลังคิกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล

หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร จิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก

ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตร

ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการด้วยปัญญา

เป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้ เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ก็แหละท่านภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์

ทั้งหลาย ดังนี้แล.

อรรถกถาพิลังคิกสูตร

ในพิลังคิกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พิลงฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ภารทวาชะ.

แต่เขาให้การทำน้ำข้าวล้วน ๆ และปรุงด้วยเครื่องปรุง มีประการต่าง ๆ ไว้ขาย

รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึง

ตั้งชื่อเขาว่า พิลังคิกภารทวาชะ. บทว่า ตุณฺหีภูโต ความว่า เขาคิดว่า

ผู้นี้ให้พี่ชายทั้ง ๓ ของเราบวช ก็โกรธอย่างยิ่ง เมื่อไม่อาจพูดอะไรได้ จึงได้

หยุดนิ่งเสีย ท่านกล่าวคาถาไว้แล้ว ในเทวตาสังยุตแล.

จบอรรถกถาพิลังคิกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

๕. อหิงสกสูตร

ว่าด้วยผู้ควรชื่อว่าอหิงสกะ

[๖๔๑] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นแล อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่า

อหิงสกะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ.

[๖๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ถ้าว่าท่านมีชื่อว่าอหิงสกะ ท่านพึง

เป็นผู้ไม่เบียดเบียนด้วยกายด้วยวาจาและ

ด้วยใจ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อหิงสกะ

โดยแท้ เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งผู้อื่น.

[๖๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อหิงสกภารทวาช-

พราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ฯลฯ ก็แหละพระอหิงสกภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ใน

บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

อรรถกถาอหิงสกสูตร

ในอหิงสกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อหึสกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า อหิงสก

ภารทวาชะ. แต่พราหมณ์นั้น ถามอหญิงสกปัญหา. เพราะเหตุนั้น พระสังคีติ-

กาจารย์ทั้งหลายจึงได้ตั้งชื่อเขาเช่นนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์นั้นว่าโดยชื่อ

ชื่อว่า อหิงสกะ ว่าโดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ. บทว่า อหึสกาห

ความว่า เขากล่าวว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ รู้จักเราว่า เราชื่อว่า อหิงสกะ.

บทว่า ตถา จสฺส ตัดบทเป็น ตถา เจ อสฺส ความว่า ท่านพึงกล่าว.

บทว่า น หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน คือไม่ให้ถึงความลำบาก.

จบอรรถกถาอหิงสกสูตรที่ ๕

๖. ชฏาสูตร

ว่าด้วยตัณหาพายุ่ง

[๖๔๔] สาวัตถีนีทาน.

ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่

ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

[๖๔๕] ชฎาภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ตัณหาหาพายุ่งในภายใน พายุ่งในภาย

นอก หมู่สัตว์ถูกตัณหาพายุ่งไขว่ให้นุง ข้า

แต่พระโคดม เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์

ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงสางตัณหา

พายุ่งมิได้.

[๖๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุใดเป็นคนมีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ใน

ศีล อบรมจิตและปัญญาให้เจริญ มีความ

เพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงสาง

ตัณหาพายุ่งนี้ได้ ราคะโทสะและอวิชชา

อันชนเหล่าใด สำรอกแล้ว ชนเหล่านั้น

เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้วตัณหา

พายุ่งอันชนเหล่านั้นสางได้แล้ว นามและ

รูปย่อมดับไปไม่เหลือในที่ใด ปฏิฆสัญญา

รูปสัญญา และตัณหาพายุ่งนั่น ย่อมขาด

ไปในที่นั้น.

[๖๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนักฯลฯ ก็แหละท่านชฏาภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์

รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

อรรถกถาชฏาสูตร

ในชฏาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชฏาภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้นชื่อภารทวาชะ แต่

เพราะเขาถามปัญหาที่ยุ่งๆ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือท่าน

กล่าวไว้แล้วในเทวตาสังยุตแล.

จบอรรถกถาชฏาสูตรที่ ๖

๗. สุทธิกสูตร

ว่าด้วยความหมดจด

[๖๔๘] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นแล สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังที่ประทับ ครั้นแล้วสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๔๙] สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

พราหมณ์บางคน ในโลกแม้เป็นผู้มี

ศีล กระทำตบะอยู่ ย่อมหมดจดไม่ได้

พราหมณ์นั้นถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและ

จรณะย่อมหมดจดได้ หมู่สัตว์อื่นนอกนี้

ย่อมหมดจดไม่ได้.

[๖๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พราหมณ์ผู้กล่าวถ่อยคำแม้มาก เป็น

ผู้เน่าและเศร้าหมองในภายใน อาศัยการ

โกหก (ลวงโลก) ย่อมไม่เป็นพราหมณ์

เพราะชาติ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร

คนจัณฑาล และคนเทหยากเยื่อ มีความ

เพียรอัน ปรารภแล้ว มีจิตมั่นคง มีความ

บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจด

อย่างยิ่ง ท่านจงรู้อย่างนี้เถิดพราหมณ์.

[๖๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ฯลฯ ก็แหละท่านพระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

อรรถกถาสุทธิกสูตร

ในสุทธิสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุทฺธกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์แม้นี้ก็ชื่อว่าภารทวาชะ

เหมือนกัน แต่เพราะเขาถามปัญหาที่หมดจด พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่าง

นั้น. บทว่า สีลวาปิ ตโป กร ความว่าแม้เขาสมบูรณ์ด้วยศีล ก็ยังบำเพ็ญ-

ตบะอยู่ ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน นี้ บทว่า วิชฺชา ได้แก่เวท ๓.

บทว่า จรณ ได้แก่ธรรมเนียมของตระกูล. ด้วยคำว่า โส สุชฺฌติ น อญฺา

อิตรา ปชา ท่านกล่าวว่า พราหมณ์นั้นได้วิชชา ๓ ย่อมบริสุทธิ์ แต่หมู่สัตว์

ที่นับว่าไม่มีความรู้ ย่อมไม่บริสุทธิ์. บทว่า พหุมฺปิ ปลป ชปฺป ความ

ว่า กล่าวถ้อยคำแม้มาก อธิบายว่า กล่าวแม้ตั้งพันคำว่า พราหมณ์เท่านั้น

บริสุทธิ์ . บทว่า ตนฺโตกสมฺพุ ความว่า เป็นผู้เน่าด้วยความเน่าคือกิเลส

ในภายใน. บทว่า สงฺกิลิฏฺโ ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นที่

เศร้าหมอง.

จบอรรถกถาสุทธิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

๘. อัคคิกสูตร

ว่าด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยไตรวิชชา

[๖๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนคหาชคฤห์

ก็โดยสมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาสด้วยเนยใส

ด้วยคิดว่า เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ.

[๖๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาตในเวลาเช้า เสด็จไปบิณฑบาต

ในกรุงราชคฤห์ตามลำดับตรอก เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์

ครั้นแล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๕๔] อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

ยืนเพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยไตร-

วิชชา มีชาติ ฟังคัมภีร์เป็นอันมาก ถึง

พร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์

นั้นควรบริโภคปายาสนี้.

[๖๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พรามหมณ์ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็น

ผู้เน่าและเศร้าหมองในภายใน อันความ

โกหกแวดล้อมแล้ว ย่อมไม่ชื่อว่าเป็น

พราหมณ์เพราะชาติ ผู้ใดรู้บุพเพนิวาส

และเห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบาย อนึ่ง ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

สิ้นไปแห่งชาติ เป็นมุนีผู้อยู่จบแล้วเพราะ

รู้ยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้มีไตรวิชชาด้วยวิชชาสาม

เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้ว

ด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์นั้นควร

บริโภคปายาสนิ.

อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ

บริโภคเถิด พระโคดมเป็นพราหมณ์ผู้เจริญ.

[๖๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราไม่พึงบริโภคโภชนะที่ได้เพราะ

การขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์นั่นไม่ใช่

ธรรมของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายย่อมรังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับ

กล่อม ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่

ความเลี้ยงชีพนี้ก็ยังมี อนึ่ง ท่านจงบำรุง

พระขีณาสพทั้งสิ้นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ผู้มีความคนองอันสงบแล้วด้วยข้าวน้ำอัน

อื่น เพราะว่าการบำรุงนั้น ย่อมเป็นเขต

ของผู้มุ่งบุญ.

[๖๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาช

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ฯลฯ ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

อรรถกถาอัคคิกสูตร

ในอัคคิกสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อคฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์แม้นี้ ก็ชื่อว่าภารทวาชะ

เหมือนกัน แต่โดยที่เขาบำเรอไฟ พระสังคีติกาจารย์จึงดังชื่อเขาอย่างนั้น.

บทว่า สนฺนิหิโต ได้แก่. อันเขาปรุงอย่างดี. บทว่า อฏฺาสิ ความว่า

เพราะเหตุไร จึงยืนอยู่ในที่นั้น. เล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจ

ดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นี้ ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ถือ

ข้าวปายาสอันเลิศเห็นปานนี้เอาไปเผาไฟ ด้วยตั้งใจจะให้มหาพรหมบริโภค

ย่อมกระทำสิ่งที่ไร้ผล ก้าวลงสู่ทางอบาย เมื่อไม่ละลัทธินี้ ก็จักทำอบายให้เต็ม

จำเราจักไปทำลายทิฎฐิของเขาด้วยธรรมเทศนาแล้วให้บรรพชา ให้มรรค ๔

ผล ๔ แก่เขา เพราะฉะนั้น ในเวลาเช้า จึงเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ ได้ประทับ

ยืนอยู่ ณ ที่นั้น.

บทว่า ตีหิ วิชฺชาหิ ได้แก่ ด้วยเวท ๓. บทว่า ชาติมา ความว่า

ประกอบด้วยชาติที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร. บทว่า สุตวา พหู ความว่า ฟัง

คัมภีร์ต่างๆ เป็นอันมาก. บทว่า โสม ภุญฺเชยฺย ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า

พราหมณ์นั้นได้วิชชา ๓ ควรบริโภคข้าวปายาสนี้ แต่ข้าวปายาสนี้ไม่ควรแก่

พระองค์.

บทว่า เวทิ ความว่า รู้ คือแทงตลอดด้วยบุพเพนิวาสญาณ. บทว่า

สคฺคาปาย ได้แก่ เห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบายด้วยทิพยจักษุ. บทว่า ชาติกฺขย

ได้แก่พระอรหัต. บทว่า อภิญฺาโวสิโต ความว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

เพราะรู้ยิ่ง. บทว่า พฺราหฺมโณ ภว ความว่า พราหมณ์ขีณาสพผู้สมบูรณ์

ด้วยชาติเช่นพระโคดมผู้เจริญนั้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหมไม่มี พระองค์

ผู้เจริญนี่แหละเป็นพราหมณ์.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ได้บรรจุข้าวปายาสเต็มถาดทอง

แล้วน้อมเข้าไปถวายพระทศพล. พระศาสดาทรงแสดงอุบัติเหตุเกิด ทรงห้าม

โภชนะเสีย จึงตรัสคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีต เม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า คาถาภิคีต ได้แก่ ขับกล่อมด้วยคาถาทั้งหลาย. บทว่า อโภชเนยฺย

ได้แก่ไม่ควรบริโภค. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พราหมณ์ ท่านไม่อาจให้อาหาร

เพียงทัพพีหนึ่งแก่เรา ผู้ดำรงอยู่ด้วยภิกขาจารวัตรตลอดกาลเท่านี้ แต่บัดนี้

เราประกาศพระพุทธคุณทั้งปวงแก่ท่าน เหมือนคนหว่านงาลงบนเสื่อลำแพน

ดังนั้นโภชนะนี้เหมือนได้มาเพราะขับกล่อม ฉะนั้น เราไม่ควรบริโภคโภชะที่

ได้มาด้วยการขับกล่อม. บทว่า สมฺปสฺสต พฺรหฺมณ เนส ธมฺโม ความว่า

พราหมณ์ ผู้ที่พิจารณาเห็นอรรถและธรรม ไม่มีธรรมเนียมนี้ว่า ควรบริโภค

โภชนะเห็นปานนี้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรังเกียจสุธาโภชนะที่ได้ด้วย

การขับกล่อม คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงขจัดออกซึ่งโภชนะที่ได้มา

เพราะขับกล่อม. บทว่า สมฺปสฺสต พฺราหฺมณ เนส ธมฺโม ความว่า

พราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ เมื่อบุคคลพิจารณาธรรม ดังอยู่ในธรรม เลี้ยงชีพอยู่

นี้เป็นความพระพฤติ คือนี้เป็นการเลี้ยงชีพว่า ควรขจัดโภชนะเห็นปานนี้เสีย

แล้วบริโภคโภชนะที่ได้มาโดยธรรมเท่านั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า เมื่อก่อนเราไม่รู้ถึงคุณหรือโทษของพระ-

สมณโคดม แต่บัดนี้เรารู้คุณของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จึงปรารถนาจะโปรย

ทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ในเรือนของเราลงในพระศาสนา ก็พระสมณโคดมนี้

จะตรัสว่า ปัจจัยที่เราถวาย เป็นอกัปปิยะ พระสมณโคดมคงไม่ทรงตำหนิเรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งพระสัพพัญญุตญาณพิจารณาวารจิตของ

พราหมณ์นั้น ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้กำหนดปัจจัยที่ตนให้แม้ทั้งหมด

ว่าเป็นอกัปปิยะ ความจริง กถาเกิดขึ้นเพราะปรารภโภชนะใด โภชนะนั้นแล

ไม่มี กถานอกนั้นนไม่มีโทษ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงประตูแห่งการถวายปัจจัย ๔

แก่พราหมณ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อญฺเน จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า กุกฺกุจฺจ วูปสนฺต ความว่า สงบความรำคาญเสียได้ด้วยอำนาจความ

คนองมือเป็นต้น. คำว่า อนฺเนน ปาเนน นี้เป็นเพียงเทศนา. ก็ความนี้

พึงทราบดังต่อไปนี้ ท่านจงบำรุงด้วยปัจจัยเหล่าอื่นมีจีวรเป็นต้น ที่ท่านกำหนด

ว่าจักบริจาค ข้อนั้นเป็นเขตของผู้มุ่งบุญ. ชื่อว่าคำสอนของพระตถาคตนี้

เป็นอันท่านผู้มุ่งบุญคือปรารถนาบุญตกแต่งแล้ว เหมือนพืชแม้น้อยที่หว่านลง

ในนาดี ย่อมให้ผลมาก ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอัคคิกสูตรที่ ๘

๙. สุนทริกสูตร

ว่าด้วยการบูชาไฟ

[๖๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา

ในโกศลชนบท.

ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการ

บูชาไฟ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟ

แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ด้วยคิดว่า ใครหนอควร

บริโภคปายาสอันเหลือจากการบูชานี้.

[๖๕๙] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงคลุมอวัยวะพร้อมด้วยพระเศียร ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้ว

ถือข้าวปายาสที่เหลือจากการบูชาไฟด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระเศียรด้วยเสียงเท้าของ

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์

ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า นี้พระสมณะโล้น

ผู้เจริญ นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ แล้วประสงค์จะกลับจากที่นั้นทีเดียว.

ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้ความดำริว่า พราหมณ์

บางพวกในโลกนี้เป็นผู้โล้นบ้างก็มี ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพระสมณะผู้โล้น

นั้นแล้ว ถามถึงชาติ.

ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านเป็นชาติอะไร.

[๖๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึง

ความประพฤติเถิด ไฟย่อมเกิดจากไม่แล

บุคคลแม้เกิดในตระกูลต่ำเป็นมุนี มีความ

เพียรเป็นผู้รู้ทั่วถึงเหตุ ห้ามโทษเสียด้วย

หิริ ฝึกตนแล้วด้วยสัจจะ ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

การปราบปราม ถึงที่สุดแห่งเวท มี

พรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว ผู้ใดมียัญอัน

น้อมเข้าไปแล้ว บูชาพราหมณ์ผู้นั้น ผู้นั้น

ชื่อว่าย่อมบูชาพระทักขิไณยบุคคลโดยกาล

[๖๖๑] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า

การบูชานี้ของข้าพระองค์เป็นอัน

บูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้วเป็นแน่ เพราะ

ข้าพระองค์ได้พบผู้ถึงเวทเช่นนั้น และ

เพราะข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์

ชนอื่นจึงบริโภคปายาสอันเหลือจากการ

บูชา.

สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญท่าน

พราหมณ์ผู้เจริญ เชิญบริโภคเถิด.

[๖๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราไม่บริโภคโภชนะที่ได้เพราะการ

ขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ธรรม

ของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมบรรเทาโภชนะที่ได้เพราะการขับ-

กล่อม ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่

นั่นเป็นความประพฤติ อนึ่ง ท่านจงบำรุง

พระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่

ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยสิ่งอื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

คือข้าวน้ำ เพราะว่าการบำรุงนั้นย่อมเป็น

เขตของผู้มุ่งบุญ.

[๖๖๓] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นข้าพระองค์จะให้ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้

แก่ใคร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า. ดูก่อนพราหมณ์ เรายังไม่แลเห็นบุคคล

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะบริโภคปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว จะพึงถึงความ

ย่อยไปโดยชอบ นอกจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต ดูก่อนพราหมณ์ ถ้า

อย่างนั้นท่านจงทิ้งปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว

หรือทิ้งให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์.

[๖๖๔] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งปายาสอันเหลือจาก

การบูชานั้น ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์.

ครั้งนั้นแล ปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น อันสุนทริกภารทวาช-

พราหมณ์เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันกลุ้ม

เหมือนอย่างผาลที่เผาตลอดวัน อันบุคคลใส่ลงแล้วในน้ำ ย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ

วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันคลุ้ม ฉะนั้น.

ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ หลากใจเกิดขนชูชัน เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ผู้

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเผาไม้อยู่อย่า

สำคัญซึ่งความบริสุทธิ์ ก็การเผาไม้นี้เป็น

ของภายนอก ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว

ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น ดูก่อน

พราหมณ์ เราละการเผาไม้ซึ่งบุคคล

พึงปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้

อันเป็นของมีในภายนอก แล้วยังไฟคือ

ญาณให้โพลงภายในตนทีเดียว เราเป็น

พระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์

มีจิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติ-

พรหมจรรย์อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ มานะแล

เป็นดุจภาระคือหาบของท่าน ความโกรธ

ดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็น

ประดุจภาชนะเครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้ง

กองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความรุ่ง-

เรืองของบุรุษ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้

ถึงเวททั้งหลายนั้นแล อาบให้ห้วงน้ำคือ

ธรรมของบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีลไม่ขุ่น

มัว อันบิณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มี

ตัวไม่เปียกแล้ว ย่อมข้ามถึงฝั่ง ดูก่อน

พราหมณ์ สัจธรรม ความสำรวม

พรหมจรรย์ การถึงธรรมอันประเสริฐ

อาศัยในท่ามกลาง ท่านจงกระทำความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

นอบน้อมในพระขีณาสพผู้ตรงทั้งหลาย

เรากล่าวคนนั้นว่าผู้มีธรรมเป็นสาระ.

[๖๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ฯลฯ ก็แหละท่านพระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้.

อรรถกถาสุตทริกสูตร

ในสุนทริกสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุนฺทริกภารทฺวาโช ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้นเพราะบูชาไฟที่

ฝั่งแม่น้ำ ชื่อว่า สุนทุริกา. บทว่า สุนฺทริกาย ได้แก่แม่น้ำมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า อคฺคึ ชุหติ ได้แก่ให้ไฟโพลงขึ้นด้วยการใส่ของบูชา. บทว่า อคฺคิหุตฺต

ได้แก่เข้าไปยังโรงไฟด้วยการขัดสีฉาบทา และพลีกรรมเป็นต้น. บทว่า โก

นุโข อิม หพฺยเสส ภุญฺเชยฺย ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเห็นข้าว

ปายาสที่เหลือจากการบูชาไฟแล้วคิดว่า ข้าวปายาสที่ใส่ลงในไฟ อันมหาพรหม

บริโภคก่อนแล้ว แต่ข้าวปายาสนี้ยังเหลืออยู่ ถ้าว่าเราพึงให้ข้าวปายาสนั้นแก่

พราหมณ์ผู้เกิดแต่ปากพระพรหม เนื้อเป็นเช่นนี้ แม้บุตรพร้อมทั้งบิดาก็เป็น

ผู้เราเลี้ยงอิ่มหนำสำราญแล้ว และทางไปพรหมโลกก็เป็นอันเราทำให้บริสุทธิ์

ดีแล้ว. สุนทริกภารทวาชพราหมณ์นั้นลุกจากอาสนะ เหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

รอบเพื่อจะดูพราหมณ์ ด้วยคิดว่า ใครหนอควรบริโภคข้าวปายาสอันเหลือ

จากการบูชานี้.

บทว่า รุกฺขมูเล ความว่า ที่โคนต้นไม้ใหญ่ในไพรสณฑ์นั้น. บทว่า

สสีส ปารุต นิสินฺน ความว่า ประทับนั่งคลุมพระวรกายพร้อมทั้งพระเศียร.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประทับนั่ง ณ ที่นั้น . ตอบว่าได้ยินว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง เห็นพราหมณ์นี้แล้วทรงพระ-

ดำริว่า พราหมณ์นี้ถือข้าวปายาสอันเลิศเห็นปานนี้เอาไปเผาไฟ ด้วยตั้งใจจะ

ให้มหาพรหมบริโภค ชื่อว่าทำสิ่งที่ไร้ผล ฯลฯ เราจะให้มรรค ๔ ผล ๔. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ทีเดียว ทรงชำระพระวรกาย

เสร็จแล้วทรงถือบาตรจีวร เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้นั่นโดยนัยดัง

กล่าวแล้วนั่นแล. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร พระองค์จึงทรงคลุมตลอด

พระเศียร. ตอบว่าเพื่อป้องกันหิมะตกและลมหนาว. พระตถาคตทรงสามารถ

อดทนหิมะตกและลมหนาวนั้นได้ แต่ถ้ามิได้ทรงนั่งคลุมพระวรกาย พราหมณ์

ได้แก่ไกลก็จะกลับเสีย. เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่ได้พูดจากัน ดังนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้ามีพระดำริว่า เมื่อพราหมณ์มา เราจักเปิดศีรษะ ทีนั้นพราหมณ์ก็

เห็นเรา จักได้พูดจากัน เราจักแสดงธรรมดามแนวที่พูดจากันแก่พราหมณ์

ดังนี้ จึงได้ทรงทำอย่างนั้นเพื่อจะได้พูดจากัน .

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์คิดว่า ท่านผู้นี้คลุมตลอด

ศีรษะประกอบความเพียรคืนยังรุ่ง เราจักถวายทักษิโณทกแล้วถวายข้าวปายาส

ที่เหลือจากการบูชาไฟนี้แก่ท่านผู้นี้ ดังนี้ มีความสำคัญว่าท่านเป็นพราหมณ์

จึงเข้าไปหา. บทว่า มุณฺโฑ อย ภว มุณฺฑโก อย ภว ความว่า พอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเปิดพระเศียร พราหมณ์เห็นพระองค์มีผมสั้น จึงกล่าวว่า

ผู้นี้เป็นสมณะโล้น. เมื่อตรวจดูตระหนักยิ่งกว่านั้น ก็มิได้เห็นแม้ปลายผมพอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

จะไหวได้ จึงกล่าวติว่า สมณะโล้น. บทว่า ตโตว ได้แก่ จากประเทศที่

คนยืนเห็นนั้นแหละ. บทว่า มุณฺฑาปิ หิ ความว่า ด้วยเหตุบางอย่าง

พราหมณ์มีศีรษะโล้นก็มี.

บทว่า มา ชาตึ ปุจฺฉ ความว่า ถ้าท่านหวังว่าทานมีผลมาก ก็

อย่าถามถึงชาติเลย. เพราะชาติไม่ใช่เหตุแห่งความเป็นพระทักขิไณยบุคคล

บทว่า จรณญฺจ ปุจฺฉ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง จงถามถึงความประพฤติ

คือประเภทแห่งคุณมีศีลเป็นต้น. เพราะข้อนั้นเป็นเหตุแห่งความเป็นพระทักขิ-

ไณยบุคคล. บัดนี้ เมื่อจะทรงทำความนั้นให้แจ่มแจ้งแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัส

ว่า กฏฺา หเว ชายติ ชาตเวโท เป็นต้น. ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

ในที่นี้ไฟย่อมเกิดจากไม้ และไฟที่เกิดจากไม้มีศาลาเป็นต้นนั้น มิได้ทำหน้าที่

ของไฟ ไฟที่เกิดจากไม้มีรางน้ำดื่มเป็นต้น มิได้ทำหน้าที่ของไฟ แต่ไฟซึ่งเกิด

แต่ที่ใดที่หนึ่งก็ตาม ย่อมทำหน้าที่ของไฟแท้ด้วยคุณสมบัติมีเปลวของตนเป็น

ต้น. ด้วยประการฉะนี้ ผู้ที่เกิดในตระกูลพราหมณ์เป็นต้น ย่อมเป็นทักขิไณย-

บุคคล ผู้ที่เกิดในตระกูลจัณฑาลเป็นต้น เป็นทักขิไณยบุคคลไม่ได้. อีกอย่าง

หนึ่ง ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำก็ตาม ผู้ที่เกิดในตระกูลสูงก็ตามเป็นมุนีผู้มีอาสวะสิ้น

แล้ว มีความเพียร กำจัดโทษด้วยหิริ เป็นผู้รู้ทั่วถึงเหตุ ย่อมเป็นผู้มีชาติ คือ

เป็นทักขิไณยบุคคลสูงสุด ด้วยคุณสมบัติซึ่งมีความเพียรและหิริเป็นประธานนี้

ด้วยว่าเขาย่อมทรงไว้ซึ่งคุณทั้งหลายด้วยความเพียร ย่อมหักห้ามโทษทั้ง

ด้วยหิริ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มุนิ ในที่นี้ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยโมนธรรม

(ความเป็นผู้นิ่ง). บทว่า ธิติมา ได้แก่มีความเพียร. บทว่า อาชานีโย

ได้แก่รู้ถึงเหตุ. บทว่า หิรินิเสโธ ได้แก่ห้ามจากความชั่วด้วยหิริ. บทว่า

สจฺเจน ทนฺโต ได้แก่ฝึกตนด้วยปรมัตถสัจจะ บทว่า ทมสา อุเปโต ได้

แก่เข้าถึงด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า เวทนฺตคู ความว่า ถึงที่สุดแห่งเวท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

คือมรรค ๔ หรือถึงที่สุดแห่งกิเลสด้วยเวทคือมรรค ๔ บทว่า วุสิตพฺรหฺม-

จริโย ได้แก่อยู่จบมรรคพรหมจรรย์. บทว่า ยญฺญูปนีโต ได้แก่น้อมนำยัญ

หรือจัดแจงยัญ. บทว่า ตมุปวฺหเยถ ความว่า ผู้ที่จัดแจงยัญนั้น ชื่อว่า

บูชาพราหมณ์นั้น คือพราหมณ์โดยปรมัตถ์. ก็คำว่า ข้าเรียกคือเรียกพระ-

อินทร์ เรียกพระโสมะ เรียกพระวรุณ เรียกพระอีสานะ เป็นคำเรียกร้องที่

ไร้ประโยชน์. บทว่า กาเลน ความว่า พราหมณ์เมื่อแสดงการบูชา พึงบูชา

พราหมณ์นั้นภายในเวลาเที่ยงเท่านั้น ด้วยคำว่า ถึงเวลาแล้วเจ้าข้า ภัตตาหาร

สำเร็จแล้ว. บทว่า โส ชุหติ ทกฺขิเณยฺเย ความว่า ผู้ใดนิมนต์พระขีณาสพ

มา ถวายทักขิณาคือปัจจัยสี่ในพระขีณาสพนั้น ผู้นั้นชื่อว่าบูชาพระทักขิไณย-

บุคคลในกาลด้วยประการฉะนี้ มิใช่ใส่เข้าในไฟซึ่งไม่มีจิตใจ.

พราหมณ์ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้ เลื่อม

ใสแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทำความเลื่อมใสของตนให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลว่า

อทฺธา สุยิฏฺ เป็นต้น. ข้อนั้นมีใจความดังต่อไปนี้ การบูชาของข้าพระองค์

นี้ บัดนี้จักเป็นการบูชาด้วยดี เช่นสรวงด้วยดีแน่แท้ แต่เมื่อก่อนข้าพระองค์

เอาเผาไฟเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์. บทว่า อญฺโ ชโน ได้แก่ ปุถุชนผู้

อันธพาลพูดอยู่ว่า เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นพราหมณ์. บทว่า หพฺยเสส

ได้แก่ เหลือจากการบูชา. คำว่า ภุญฺชตุ ภว เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่

กล่าวแล้วในสูตรก่อน

บทว่า น ขฺวาห ตัดเป็น น โข อห. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เล่ากันมาว่า พอพราหมณ์น้อม

โภชนะนั้นเข้าไปเท่านั้น เทวดาในทวีปใหญ่ ๔ ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ถือเอาดอก

ไม้ผลไม้และเนยใสเนยข้นน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น ด้วยสำคัญว่าพระศาสดา

จักเสวย จึงถือเอาโอชะที่ให้เกิดด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์ใส่เข้า เหมือนบีบรวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ผึ้งถือเอาน้ำผึ้ง. เพราะฉะนั้น โภชนะนั้นจึงถึงความเป็นของละเอียด. ก็โภชนะ

นั้นเป็นวัตถุหยาบสำหรับมนุษย์ ฉะนั้น จึงไม่ถึงความย่อยไปโดยชอบสำหรับ

มนุษย์เหล่านั้น เพราะเป็นวัตถุหยาบนั่นเอง. แต่ผสมพืช ๓ อย่างลงในนมโค

โภชนะนั้นจึงกลายเป็นเจือด้วยของหยาบ. อนึ่ง โภชนะนั้นเป็นวัตถุละเอียด

สำหรับหมู่เทพ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงความย่อยไปโดยชอบสำหรับเทวดาเหล่า

นั้น เพราะเป็นวัตถุละเอียด. แม้ในท้องของพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสกก็ไม่ย่อย

ไป. แต่พระขีณาสพผู้ได้สมาบัติแปด พึงย่อยไปด้วยอำนาจสมาบัติ. แต่สำหรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงย่อยไปด้วยเตโชธาตุเกิดแต่กรรมตามปกติอย่างเดียว.

บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียว. ก็ถ้าพึงใส่ลงในหญ้า

เขียว หญ้าทั้งหลายก็จะพึงเน่าด้วยข้าวปายาสที่ละเอียด ธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงละเมิดภูตคามสิกขาบท เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

แต่ควรใส่เข้าในที่มีหญ้าต้นใหญ่ ๆ สูงประมาณแค่คอ.

บทว่า อปฺปาณเก ความว่า ด้วยว่าเมื่อใส่ลงในน้ำน้อยที่มีตัวสัตว์

สัตว์ก็จะตาย เพราะน้ำนั้น จึงตรัสอย่างนั้น แต่ที่ใดมีน้ำลึกมาก แม้เมื่อใส่ตั้ง

๑๐๐ ถาด ๑,๐๐๐ ถาด น้ำย่อมไม่เสีย ควรใส่ในน้ำเช่นนั้น. บทว่า โอปิลาเปสิ

ความว่า ให้จมลงพร้อมกับถาดทอง. บทว่า วิจิฏายติ วิฏิจิฏายติ ความว่า

ย่อมทำเสียงอย่างนั้น. ถามว่า ก็นั่นเป็นอานุภาพของข้าวปายาส หรือเป็น

อานุภาพของพระตถาคต. ตอบว่า เป็นอานุภาพของพระตถาคต. ก็พราหมณ์นี้

ให้ข้าวปายาสจมลงแล้ว ก็จะเดินนอกทาง ไม่มายังสำนักพระศาสดา เดินเลยไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริว่า พราหมณ์เห็นข้ออัศจรรย์นี้

แล้วจักมาสู่สำนักของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะทำสายการยึดถือมิจฉาทิฏฐิ

ของเขาด้วยพระธรรมเทศนา ให้หยั่งลงในพระศาสนา ให้ดื่มน้ำอมฤตดังนี้

แล้วได้ทรงกระทำอย่างนั้นด้วยกำลังอธิษฐาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

บทว่า ทารุสมาทหาโน ได้แก่ เผาไม้. บทว่า พหิทฺธา หิ เอต

ความว่า ชื่อว่า การเผาไม้นี้ มีภายนอกแต่อริยธรรม ถ้าความบริสุทธิ์พึงมี

ด้วยการเผาไม้นี้ พวกเผาป่าเป็นต้น เผาไม้เป็นอันมาก ก็จะพึงบริสุทธิ์ก่อนเขา.

บทว่า กุสลา ได้แก่ผู้ฉลาดในขันธ์เป็นต้น. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ชลยามิ

โชตึ ความว่า เราจะยังไฟคือญาณให้โพลงภายในตน คือในสันดานของตน.

บทว่า นิจฺจคฺคินี ได้แก่ มีไฟโพลงเป็นนิตย์ ด้วยสัพพัญญุตญาณอันเนื่อง

ด้วยอาวัชชนจิต. บทว่า นิจฺจสมาหิตตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งอยู่โดยชอบ

เป็นนิตย์. บทว่า พฺรหฺมจริย จรามิ ได้แก่ พระองค์ทรงยึดถือพรหมจรรย์

ซึ่งทรงประพฤติที่โพธิมณฑลสถาน จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า มาโน หิ เต พฺราหฺมณ ขาริภาโร ความว่า ภาระ คือ

หาบอันบุคคลนำไปด้วยคอแม้อยู่ข้างบน ก็ย่อมถูกต้องกับแผ่นดินในที่ที่เหยียบ

ไป ๆ ฉันใด มานะที่ยกขึ้นเพราะอาศัยสิ่งที่ถือกันมี ชาติโคตรตระกูลเป็นต้น

ฉันนั้น เมื่อยังความริษยาให้เกิดขึ้นที่นั้น ๆ ย่อมให้จมลงในอบาย ๔. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า พราหมณ์ ก็มานะของเธอเป็นดังภาระ

คือหาบ. บทว่า โกโธ ธูโม ความว่า ความโกรธ ชื่อว่า เป็นดังควันไฟ

เพราะอรรถว่าเป็นความเศร้าหมองแห่งไฟคือญาณของเธอ. เพราะเหตุนั้น

นั่นแล ไฟคือญาณอัน เศร้าหมองของเธอ จึงไม่รุ่งเรือง. ด้วยบทว่า ภสฺมนิมฺ-

โมสวชฺช ท่านแสดงว่า มุสาวาท ชื่อว่า ขี้เถ้า. เพราะอรรถว่า ปราศจาก

โอชะ ท่านอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ไฟที่ขี้เถ้าปิดไว้ ย่อมไม่โชติช่วง

ฉันใด ญาณของเธออันมุสาวาทปิดไว้ก็ฉันนั้น . ด้วยคำว่า ชิวฺหา สุชา

ท่านกล่าวว่า ท่านมีทัพพีที่ทำด้วยทองเงินโลหะไม้และดินอย่างใดอย่างหนึ่ง

ไว้เพื่อจะบูชายัญ ฉันใด เรามีลิ้นใหญ่เป็นดุจทัพพีเครื่องบูชา เพื่อประโยชน์

แก่การบูชาธรรม ฉันนั้น. บทว่า หทย โชติฏฺาน ความว่า หทัยของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งกองกูณฑ์ ด้วยอรรถว่าเป็นที่แห่งการบูชาธรรม

ของเรา เหมือนหทัยของท่านเป็นที่ตั้งแห่งกองกูณฑ์ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ. บทว่า

อตฺตา ได้แก่ จิต.

บทว่า ธมฺโม รหโท ความว่า ท่านบำเรอไฟมีร่างกายเปื้อนด้วย

ควัน ขี้เถ้าและเหงื่อ ลงอาบน้ำในแม่น้ำสุนทริกา ฉันใด เราไม่ต้องการด้วย

ห้วงน้ำภายนอกเช่นแม่น้ำสุนทริกา แต่เรามีธรรมคือมรรคมีองค์ ๘ เป็นห้วงน้ำ

เราให้สัตว์ ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๘๔,๐๐๐ บ้าง ให้อาบในธรรมคือมรรคมีองค์

๘ นั้น พร้อมๆกัน ฉันนั้น. ด้วยบทว่า สีลติตฺโถ ท่านแสดงว่า ปาริสุทธิศีล

๔ เป็นท่าแห่งห้วงน้ำคือธรรมของเรานั้น. บทว่า อนาวิโล ความว่า แม่น้ำ

สุนทริกาของท่าน เมื่อคน ๔ - ๕ คนอาบพร้อมกัน มีทรายทั้งข้างล่างข้างบน

ขุ่นมัว ฉันใด ห้วงน้ำของเราหาเป็นเช่นนั้นไม่ แม้เมื่อสัตว์หลายพันลงไป

อาบห้วงน้ำนั้นก็ไม่ขุ่นมัวคงใสอยู่. บทว่า สพฺภิ สต ปสฏฺโ ความว่า

ธรรมของบัณฑิตทั้งหลาย อันพวกบัณฑิตสรรเสริญ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมนั้น

ของสัตบุรุษทั้งหลาย ท่านเรียกว่า สัพภิ เพราะอรรถว่าสูงสุด ท่านเรียกว่า

ปสัฏฐะ เพราะบัณฑิตสรรเสริญ. บทว่า ตรนฺติปาร ได้แก่ ถึงฝั่ง คือ

พระนิพพาน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงยกองค์แห่งห้วงน้ำคืออริยมรรค

ขึ้นแสดง จึงตรัสคำว่า สจฺจ ธมฺโม ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สจฺจ ได้แก่ วจีสัจ. ด้วยบทว่า ธรรมนี้ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ด้วยบทว่า สยโม นี้

ทรงหมายเอาสัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า สจฺจ นี้

ทรงหมายเอามรรคสัจ. ธรรมคือมรรคสัจนั้น โดยอรรถได้แก่สัมมาทิฏฐิ. สม

จริงดังคำที่ตรัสไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นทั้งตัวมรรค เป็นทั้งตัวเหตุ, แต่เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

หมายเอาสัมมาทิฏฐิ ก็ทรงหมายเอาสัมมาสังกัปปะเหมือนกัน เพราะมีคติ

เหมือนสัมมาทิฏฐินั้น. ด้วยบทว่า ธมฺโม นี้ ทรงหมายเอาสัมมาวายามะ

สัมมาสติและสัมมาสมาธิ. ด้วยบทว่า สยโม นี้ ทรงหมายเอาสัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ รวมความว่า ทรงแสดงมรรคมีองค์ ๘ ด้วย

ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สจฺจ ได้แก่ ปรมัตถสัจ. ปรมัตถสัจ

นั้นโดยความได้แก่พระนิพพาน. ด้วยบทว่า ธมฺโม ท่านหมายเอาองค์ ๕ คือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ด้วยบทว่า

สโม หมายเอาองค์ ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ย่อม

เป็นอันท่านแสดงมรรคมีองค์ ๘ แม้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า พฺรหฺมจริย นี้

ก็คือ ชื่อว่าพรหมจรรย์. บทว่า มชฺเฌ สิตา ได้แก่ เว้นสัสสตทิฏฐิและ

อุทเฉททิฏฐิ อาศัยอยู่ตรงกลาง. บทว่า พฺรหฺมปตฺติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้

ประเสริฐ. อักษรในคำว่า สตุชฺชุภูเตสุ นโม กโรหิ นี้ กระทำ

บทสนธิ. อธิบายว่า ท่านนั้นจงกระทำความนอบน้อมในพระขีณาสพทั้งหลาย

ผู้ตรง. บทว่า ตมห นร ธมฺมสารีติ พฺรูมิ ความว่า เราเรียกบุคคลผู้

ปฏิบัติอย่างนี้นั้นว่า ผู้นี้เป็นธรรมสารี และว่าผู้นี้ปฏิบัติเพื่อธรรมสารี หรือว่า

ผู้นี้ละอกุศลธรรมด้วยกุศลธรรมตั้งอยู่ ดังนี้.

จบอรรถกถาสุนทริกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

๑๐. พหุธิติสูตร

ว่าด้วยความสุข

[๖๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในชัฏป่าแห่งหนึ่ง

ในโกศลชนบท. ก็โดยสมัยนั้นแล โคงาน ๑๔ ตัว ของพราหมณภารทวาชโคตร

คนหนึ่งหายไป.

[๖๖๘] ครั้งนั้นแล พราหมณภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคงาน

เหล่านั้นอยู่ เข้าไปถึงชัฏป่านั้น ครั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ในชัฏป่านั้น ทรงนั่งสมาธิ ตั้งพระกายตรง ทรงดำรงพระสติเฉพาะ

พระพักตร์ ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ได้กล่าว

คาถาเหล่านั้นในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

โคงาน ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้

ไม่มีแน่ แต่ของเราหายไปได้ ๖๐ วันเข้า

วันนี้ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็น

ผู้มีความสุข งาทั้งหลายอันเลวมีใบหนึ่ง

และสองใบในไร่ ของพระสมณะนี้ไม่มี

เป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึง

เป็นผู้มีความสุข หนูทั้งหลายในฉางเปล่า

ย่อมไม่รบกวนแก่พระสมณะนี้ด้วยการยก

หูหางขึ้นแล้วกระโดดโลดเต้นเป็นแน่

เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มี

ความสุข เครื่องลาดของพระสมณะนี้ใช้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ตั้งเจ็ดเดือนไม่ดาดาษแล้ว ด้วยสัตว์

ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น

พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข หญิงหม้าย

บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและสองคนของ

พระสมณะนี้ย่อมไม่มีแน่ เพราะเหตุนั้น

พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข แมลงซึ่ง

มีตัวอันลาย ไต่ตอมบุคคลผู้หลับด้วยเท้า

ย่อมไม่ไต่ตอมพระสมณะนี้เป็นแน่ เพราะ

เหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข

ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่

ทวงพระสมณะนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้

ท่านทั้งหลายจงให้ ดังนี้เป็นแน่ เพราะ

เหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข.

[๖๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ภาษิตพระคาถาตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์ โคงาน ๑๔ ตัวของ

เราไม่มีเลย แต่ของท่านหายไปได้ ๖๐ วัน

เข้าวันนี้ ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น

เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูก่อนพราหมณ์ งา

ทั้งหลายอันเลวมีใบหนึ่งและสองใบในไร่

ของเราไม่มีเลย ดูก่อนพราหมณ์ เพราะ

เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูก่อน

พราหมณ์ หนูทั้งหลายในฉางเปล่า ย่อม

ไม่รบกวนเราเลย ด้วยการยกหูหางขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

กระโดดโลดเต้น ดูก่อนพราหมณ์ เพราะ

เหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูก่อน

พราหมณี เครื่องลาดของเราใช้ตั้งเจ็ด

เดือนไม่ดาดาษเลย ด้วยสัตว์ทั้งหลายที่

บังเกิดขึ้น ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุ

นั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูก่อนพราหมณ์

หญิงหม้าย บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและ

สองคน ของเราไม่มีเลย ดูก่อนพราหมณ์

เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข

แมลงซึ่งมีตัวอันลาย ไต่ตอมบุคคลผู้หลับ

ด้วยเท้า ย่อมไม่ไต่ตอมเราเลย ดูก่อน

พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มี

ความสุข ดูก่อนพราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง

เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมไม่ทวงเราเลยว่า ท่าน

ทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดูก่อน

พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มี

ความสุข.

[๖๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณภารชวาช-

โคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือน

บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป

ในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

โคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้

บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

พราหมณภารทวาชโคตรบรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว

ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้ง

ซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเครื่องรู้ยิ่งเองใน

ปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะ

ต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระ-

ภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบพหุธิติสูตร

จบ อรหันตวรรคที่ ๑

อรรถกถาพหุธิติสูตรที่ ๑๐

ในพหุธิติสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า อญฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นธรรมอันเป็นอุปนิสัยพระอรหัตของ

พราหมณ์นั้น ทรงพระดำริที่จะไปสงเคราะห์พราหมณ์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใน

ไพรสณฑ์นั้น. บทว่า ปลฺลงฺก ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ. บทว่า อาภุชิตฺวา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ได้แก่ผูกไว้. บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย ความว่า ตั้งกายตอนบนให้ตรง

ให้ปลายกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อจดกัน บทว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา

ความว่า ตั้งสติมุ่งต่อพระกรรมฐาน หรือทำพระกรรมฐานไว้ใกล้หน้า. ด้วย

เหตุนั้นแล ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า สตินี้ปรากฏแล้ว ตั้งอยู่ด้วยดีแล้ว

ที่ปลายจมูกหรือที่ใบหน้า เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงพระสติเฉพาะพระพักตร์.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริ ได้แก่ อาศัย. บทว่า มุข ได้แก่. นำออก. บทว่า

สติ ได้แก่ บำรุง. ก็ในข้อนี้พึงเห็นเนื้อความตามนัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์

ปฏิสัมภิทามรรคว่า เตน วุจฺจติ ปริมุข สตึ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ดำรง

สติเฉพาะหน้า ดังนี้. ในข้อนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ทำสติกำหนดธรรมเครื่อง

นำออกจากทุกข์. ก็แลเมื่อประทับนั่งอย่างนี้ ได้ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมี

ที่หนาทึบ ๖ สี. บทว่า นฏฺา โหนฺติ ความว่า โคที่พราหมณ์ใช้ไถนา

แล้วปล่อย เที่ยวไปปากดง หนีไปเมื่อพราหมณ์ไปบริโภคอาหาร. บทว่า.

อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์มีความโทมนัสครอบงำเที่ยวไป คิดว่า พระ-

สมณโคดมนี้ประทับนั่งเป็นสุขหนอ ดังนี้เข้าไปเฝ้า. บทว่า อชฺช สฏึ น

ทิสฺสนฺติ ความว่า หายไปประมาณ ๖๐ วัน เ ข้าวันนี้. บทว่า ปาปกา ได้แก่

ตอต้นงาที่เลว. ได้ยินว่า เมื่อพราหมณ์นั้นหว่านงาในไร่ ฝนได้ตกลงในวัน

นั้นเอง ทำเมล็ดงาจมลงในดินร่วน ไม่อาจผลิดอกออกผลได้. บนต้นที่เจริญ

งอกงามก็มีแมลงเล็ก ๆ บินมากินใบเป็นต้นเสีย เหลือไว้ต้นละใบสองใบ.

พราหมณ์ไปตรวจดูไร่เห็นดังนั้น จึงคิดว่า เราปลูกงาก็เพื่อหวังผลกำไร แต่งา

เหล่านั้นเสีย เสียแล้ว ได้เกิดโทมนัส เขาถือเอาเรื่องนั้น จึงกล่าวคาถานี้.

บทว่า อุสฺโสฬหิกาย ความว่า หนูทั้งหลายยกหูชูหางเป็นต้นเที่ยว

กระโดดโลดเต้นด้วยอุตสาหะ ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น เมื่อโภคะสิ้นลงตาม

ลำดับ มีฉางเปล่าเพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงใส่เข้าไป. หนูทั้งหลายมาทางโน้นทางนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

จาก ๗ หลังคาเรือน เข้าไปในฉางเปล่าของพราหมณ์นั้น กระโดดโลดเต้น

เหมือนเล่นกีฬาในสวน เ ขากำหนดเรื่องนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อุปฺปาทเกหิ สญฺฉนฺนโน ความว่า ดาดาษไปด้วยสัตว์เล็ก ๆ

ที่เกิดขึ้น ได้ยินว่าเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าและใบไม้ ที่ปูลาดไว้ให้พราหมณ์

นั้นนอน ไม่มีใคร ๆ ปัดกวาดเป็นครั้งคราวเลย. พราหมณ์ทำงานในป่าตลอด

วัน มาในเวลาเย็น นอนบนเครื่องปูลาดนั้น. ลำดับนั้น แมลงเล็ก ๆ ที่เกิด

ขึ้น ย่อมเกาะกินสรีระของพราหมณ์นั้นเต็มไปหมด เขาถือเอาเรื่องนั้นจึงกล่าว

อย่างนี้

บทว่า วิธวา ได้แก่หญิงสามีตาย. ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายแม้เป็น

หม้าย ก็ยังได้อยู่ในตระกูลสามีชั่วเวลาที่ยังมีสมบัติอยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น

แต่เมื่อใดเขาไร้ทรัพย์ เมื่อนั้นหญิงทั้งหลายที่ถูกแม่ผัวพ่อผัวเป็นต้นขับไล่ว่า

จงไปเรือนบิดา ดังนี้ ย่อมมาอยู่เรือนของพราหมณ์นั้นแหละ. ในเวลาพราหมณ์

บริโภค ชนเหล่าใดส่งบุตรไปว่า พวกเจ้าจงไปบริโภคร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อชนเหล่านั้นหย่อนมือลงในถาด พราหมณ์ใดไม่ได้โอกาสจะใช้มือ (หยิบ

อาหาร) เขาหมายถึงพราหมณ์นั้นจงกล่าวคาถานี้.

บทว่า ปิงฺคลา ได้แก่มดดำมดแดงมดเหลือง. บทว่า ติลกาหตา

ได้แก่ มีตัวตกกระ มีสีดำและขาวเป็นต้น. บทว่า โสตฺต ปาเทน โปเถติ

ได้แก่ ใช้เท้าไต่ตอมปลุกผู้ที่นอนหลับให้ตื่น. ได้ยินว่าพราหมณ์นี้รำคาญด้วย

เสียงหนูและถูกแมลงเล็ก ๆ กัด ไม่ได้หลับตลอดคืน มาหลับได้เมื่อใกล้สว่าง

ลำดับนั้น พราหมณ์พอลืมตาขึ้นเท่านั้น เจ้าหนี้คนหนึ่งก็กล่าวกะพราหมณ์นั้น

ว่าจะทำอย่างไรละพราหมณ์ หนี้ที่ท่านกู้ในภายหลังและเมื่อก่อน ดอกเบี้ยเพิ่ม

พูนขึ้น ท่านยังจะต้องเลี้ยงธิดา ๗ คน บัดนี้ พวกเจ้าหนี้มาล้อมเรือน ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

จงไปทำการงาน ดังนี้แล้ว ใช้เท้าถีบปลุกให้ตื่น เขาหมายเอาเรื่องนั้นจึงกล่าว

คาถานี้.

บทว่า อิณายิกา ได้แก่ผู้มีของให้เขากู้หนี้จากมือ. ได้ยินว่า พราหมณ์

นั้น กู้หนี้จากมือของตนบางคน ๑ กหาปณะ บางคน ๒ กหาปณะ บางคน

๑๐ กหาปณะ บางคน ๑๐๐ กหาปณะ รวมความว่า พราหมณ์ได้กู้หนี้จากมือ

ของคนหลายคน. เจ้าหนี้เหล่านั้นเมื่อไม่เห็นพราหมณ์ตอนกลางวัน คิดจะจับ

เขากำลังออกจากเรือนทีเดียว จึงไปทวงตอนใกล้รุ่ง พราหมณ์หมายเอาเรื่อง

นั้น จึงกล่าวคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพราหมณ์นั้นพรรณนาความทุกข์ด้วยคาถา ๗

คาถาเหล่านี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า พราหมณ์ ทุกข์ที่ท่านพรรณนามานั้นทั้งหมด

ไม่มีแก่เรา จึงใช้คาถาตอบพราหมณ์ขยายพระธรรมเทศนา. เพื่อจะแสดงว่า

พราหมณ์ฟังพระคาถาเหล่านั้น เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งอยู่ในสรณะ ๓

บวชแล้วบรรลุพระอรหัต. จึงตรัสพระดำรัสว่า เอว วุตฺเต ภารทฺวาโช

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลตฺล แปลว่า ได้แล้ว.

ก็แหละพระผู้มีพระภาคเจ้าให้พราหมณ์นั้นบวชแล้ว พาไปยังพระเชต

วันมหาวิหาร ในวันรุ่งขึ้นมีพระเถระนั้น เป็นปัจฉาสมณะได้เสด็จไปยังทวาร

พระราชมณเฑียรของพระเจ้าโกศล. พระราชาทรงสดับว่า พระศาสดาเสด็จมา

จึงเสด็จลงจากปราสาท ถวายบังคมแล้วทรงรับบาตรจากพระหัตถ์ อาราธนา

พระตถาคตให้เสด็จขึ้นบนปราสาท ให้ประทับนั่งเหนือพระแท่น ทรงล้างพระ-

ยุคลบาทด้วยน้ำหอม ทาด้วยน้ำมันที่หุงร้อยครั้ง ให้นำข้าวยาคูมา ทรงถือทัพพี

ทองด้ามเงิน ทรงน้อมเข้าไปถวายพระศาสดา. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิด.

พระราชาทรงหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระตถาคตกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์มีโทษ ขอพระองค์โปรดอดโทษ. พระศาสดาตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ไม่มีโทษดอกมหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร

พระองค์ไม่รับข้าวยาคู. ปลิโพธความกังวล มีอยู่มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ก็เหตุไรเล่า ผู้ไม่รับข้าวยาคูพึงได้ปลิโพธ ข้าพระองค์สามารถทำ

ปลิโพธหรือ โปรดรับข้าวยาคูเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงรับแล้ว แม้

พระเถระแก่หิวมานานจึงดื่มข้าวยาคูตามความต้องการ. พระราชาทรงถวาย

ขาทนียโภชนียะ. ในเวลาเสร็จภัตกิจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อุบัติในวงศ์โอกากราช ซึ่งมีมาตามประเพณี

ทรงละสิริราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงผนวชบรรลุความเป็นผู้เลิศใน

โลกแล้ว พระองค์ยังจะมีปลิโพธอะไรอีกเล่า พระเจ้าข้า. มหาบพิตร ความ

ปลิโพธของพระเถระผู้แก่รูปนี้ เป็นเช่นปลิโพธของอาตมาเหมือนกัน

พระราชา ทรงไหว้พระเถระตรัสถามว่า ท่านขอรับ ท่านมีปลิโพธ

อะไร. พระเถระถวายพระพรว่า มีความปลิโพธเรื่องหนี้ มหาบพิตร. เท่าไร

ขอรับ. ทรงนับดูเถิด มหาบพิตร. เมื่อพระราชาทรงนับว่า ๑, ๒, ๑๐๐, ๑,๐๐๐

ดังนี้ นิ้วพระหัตถ์ไม่พอ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่ง

ว่า พนายจงไปตีกลองร้องประกาศในพระนครว่า เจ้าหนี้ของพหุธิติกพราหมณ์

ทั้งหมด จงประชุมกันในพระลานหลวง. พวกมนุษย์ได้ยินเสียงกลองประชุม

กันแล้ว. พระราชาให้นำบัญชีมาจากมือของเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้พระราชทาน

ทรัพย์ไม่หย่อนกว่าหนี้ที่กู้มาทั้งหมด. ในที่นั้นทองมีราคาหนึ่งแสน. พระราชา

ตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ปลิโพธอื่นยังมีอีกไหม. พระเถระถวายพระพรว่า

พระมหาราชสามารถทรงใช้หนี้ให้แล้วตรัสถามจึงกล่าวว่า เด็กหญิง ๗ คนเหล่านี้

เป็นปลิโพธใหญ่ของอาตมา. พระราชาทรงส่งยานไปรับธิดาทั้งหลายของพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

นั้นมาทรงทำเป็นธิดาของพระองค์ แล้วทรงส่งไปยังเรือนตระกูลสามีนั้น ๆ

แล้วตรัสถามว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีกไหม. พระเถระถวายพระพรว่า

นางพราหมณี มหาบพิตร. พระราชาทรงส่งยานไปนำนางพราหมณีมาทรงตั้ง

ไว้ในตำแหน่งพระอัยยิกา แล้วตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีก

ไหม. พระเถระถวายพระพรว่า ไม่มี มหาบพิตร. พระราชามีรับสั่งให้

พระราชทานผ้าจีวร ตรัสว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงทราบความเป็นภิกษุของ

ท่านว่าเป็นของข้าพเจ้า. พระเถระถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร

มหาบพิตร. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านขอรับ ปัจจัยทุกอย่างมีจีวรเเละ

บิณฑบาตเป็นต้น จักเป็นของของพวกเราจัดถวาย ขอท่านจงยึดถือพระทัย

พระตถาคตบำเพ็ญสมณธรรมเถิด. พระเถระไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม

ตามนั้นทีเดียว ถึงความสิ้นอาสวะต่อกาลไม่นานนักแล.

จบอรรถกถาพหุฐิติสูตรที่ ๑๐

จบอรหันตวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๑๐ สูตร คือ

๑. ธนัญชานีสูตร ๒. อักโกสกสูตร ๓. อสุรินทกสูตร ๔. พิลังคิก

สูตร ๕. อหิงสกสูตร ๖. ชฏาสูตร ๗. สุทธิกสูตร ๘. อัคคิกสูตร ๙.

สุนทริกสูตร ๑๐. พหุธิติสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

พราหมณสังยุต

อุปาสกวรรคที่ ๒

๑. กสิสูตร

ว่าด้วยการทำนาทางธรรม

[๖๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ อยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่า

เอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์

เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาล (ฤดู) หว่านข้าว.

[๖๗๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวร เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า.

สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า).

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา)

ครั้นแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนบิณฑบาต

อยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถ

และหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์

ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน

ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล

ประตักหรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็

บริโภค.

[๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่

ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของพระองค์ พระ-

องค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจง

ตรัสบอก ไฉน ข้าพเจ้าจะรู้การทำนาของ

พระองค์นั้นได้.

[๖๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริเป็น

งอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล

และประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มี

วาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วใน

การบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า

(คือวาจาสับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะ

ของเราเป็นเครื่องให้แล้วเสร็จงาน ความ

เพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้

สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคลไปแล้วไม่

เศร้าโศก.

เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อม

มีผลเป็นอมตะ บุคคลทำนาอย่างนี้แล้ว

ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจง

บริโภคอมฤตผลที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด.

[๖๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้

เพราะความขับกล่อม ดูก่อนพราหมณ์

นี่เป็นธรรมของบุคคลผู้เห็นอรรถและ

ธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจ

โภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูก่อน

พราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความเป็นไป

(อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านจงบำรุง

ซึ่งพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่

มีความคะนองระงับแล้ว ด้วยข้าวน้ำอัน

อื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้

มุ่งบุญ.

[๖๗๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน

หลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่

พระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง

พระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อุปาสกวรรคที่ ๒

อรรถกถาสิสูตร

ในกสิสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มคเธสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ทกฺขิณา

คิริสฺมึ นั้นแล เป็นชื่อแม้แห่งวิหารในชนบทที่มีอยู่ด้านทิศใต้ แห่งภูเขา

ที่ตั้งล้อมกรุงราชคฤห์อยู่. บทว่า เอกนาลา ในคำว่า เอกนาลาย

พฺราหฺมณคาเม นี้เป็นชื่อของบ้านนั้น. ส่วนพวกพราหมณ์อาศัยอยู่ในบ้าน

นั้นเป็นอันมาก มีความร่าเริง ด้วยการปกครองของพราหมณ์ เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า พราหมณคาม.

บทว่า เตนโข ปน สมเยน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย

พราหมณคาม ชื่อว่า เอกนาล ในมคธรัฐ ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์

ของพราหมณ์ ในทักขิณาคิรีวิหาร ตลอดสมัยใด โดยสมัยนั้น. บทว่า

กสิภารทฺวาชสฺส ความว่า พราหมณ์นั้นอาศัยกสิกรรมเลี้ยงชีพ และโคตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

สกุลของเขาชื่อว่า ภารทวาชะ. บทว่า ปญฺจมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณ

๕. ท่านอธิบายไว้ว่า มีไถประมาณ ๕๐๐ ไม่หย่อนไม่เกิน. บทว่า ปยุตฺตานิ

แปลว่า ประกอบแล้ว อธิบายว่า เอาเชือกผูกคอโคทั้งหลาย. บทว่า วปฺปกาเล

ได้แก่ ในเวลาหว่านคือในสมัยซัดพืช. ในการหว่านนั้น มี ๒ อย่างคือหว่าน

ในเนื้อที่นาเป็นตม และหว่านในเนื้อที่เป็นฝุ่น ก็การหว่านในเนื้อที่เป็นฝุ่นนั้น

ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็การหว่านในพื้นที่เป็นฝุ่นนั้นแล เป็นการหว่านที่

เป็นมงคลในวันแรก ในการนั้นต้องมีเครื่องอุปกรณ์พร้อมมูล คือต้องใช้โค

ถึงสามพันตัว. โคทั้งหมดต้องสวมเขาทำด้วยทอง คล้องอกทำด้วยเงิน.

โคทั้งหมดประดับด้วยดอกไม้ขาว เจิมของหอมด้วยนิ้วทั้ง ๕ มีอวัยวะครบ

บริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยลักษณะดีทุกอย่าง บางพวกดำ มีสีคล้ายดอกอัญชัน

บางพวกขาว มีสีคล้ายเมฆ บางพวกแดง มีสีคล้ายแก้วประพาฬ บางพวกด่าง

มีสีคล้ายแก้วลาย. คนไถ ๕๐๐ คน ทุกคนประดับด้วยผ้าใหม่สีขาวและดอกไม้

ติดเทริดดอกไม้ที่บ่าขวา มีร่างกายรุ่งเรื่องด้วยลายเขียนด้วยหรดาลและมโนศิลา

เป็นต้น แบ่งเป็นพวก ๆ พวกหนึ่งมีไถ ๑๐ คัน งอนไถ แอก และปฏัก

ประดับทอง ไถคันแรกเทียมโคงาน ๘ ตัว ไถคันที่เหลือเทียมคันละ ๔ ตัว

ไถนอกนั้นนำมาสำหรับผลัดเปลี่ยนคนที่เหนื่อย

พวกหนึ่ง ๆ มีเกวียนบรรทุกเมล็ดพืชเล่มหนึ่ง คนไถคนหนึ่ง คนหว่าน

คนหนึ่ง.

ฝ่ายพราหมณ์ ชั้นแรกทีเดียวให้แต่งหนวด อาบน้ำ ไล้ทาด้วยของหอม

นุ่งผ้าราคา ๕๐๐ ห่มผ้าเฉวียงบ่าราคา ๑,๐๐๐ สวมแหวนนิ้วละ ๒ วง รวม

เป็นแหวน ๒๐ วง ประดับตุ้มหูรูปราชสีห์ที่หูทั้งสอง สวมผ้าโพกอย่างประเสริฐ

บนศีรษะ คล้องมาลัยทองที่คอ แวดล้อมไปด้วยหมู่พราหมณ์ สั่งการงาน.

ลำดับนั้น นางพราหมณีของเขาให้หุงข้าวปายาสใส่ภาชนะหลายร้อยใบ บรรทุก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

เกวียนใหญ่หลายเล่ม แล้วอาบน้ำหอม ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง

แวดล้อมไปด้วยหมู่พราหมณี ได้ไปสู่ที่การงาน. แม้เรือนของพราหมณ์นั้น

ก็ทาของเขียว โปรยข้าวตอกเกลื่อนกลาด ประดับด้วยหม้อเต็มน้ำ ต้นกล้วย

ธงชาย และธงประฏาก กระทำพลีกรรมอย่างดี ด้วยของหอมและดอกไม้

เป็นต้น. และที่นาก็ได้ยกธงชายและธงประฏากขึ้นในที่นั้น ๆ. ชนผู้เป็นบริวาร

และชนผู้ทำงานรวมเป็นบริษัทมีคนประมาณ ๒,๕๐๐ คน. คนทั้งหมดนำผ้ามา.

ทุกคนจัดเฉพาะข้าวปายาสมาเท่านั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์ให้ล้างถาดทองใส่ข้าวปายาสเต็ม ประดับด้วย

เนยใสน้ำผึ้งน้ำอ้อย ให้กระทำพลีกรรมไถ. นางพราหมณีให้แจกภาชนะ

ทองเงินสำริด ทองแดงและโลหะแก่ชาวนา ๕๐๐ คน ถือทัพพีทอง

เดินเลี้ยงข้าวปายาส. ฝ่ายพราหมณ์ให้กระทำพลีกรรมแล้ว คาดกายด้วยผ้าแดง

สวมรองเท้า ถือไม้เท้าทองสีแดงเที่ยวสั่งงานว่า ตรงนี้จงให้ข้าวปายาส ตรงนี้

จงให้เนยใส. ความเป็นไปในการงาน เท่านี้ก่อน.

ในที่ที่พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายประทับอยู่ในวิหาร พระสัมพุทธเจ้า

เหล่านั้นย่อมมีกิจประจำวัน ๕ อย่าง. อะไรบ้าง. กิจในปุเรภัต ๑ กิจใน

ปัจฉาภัต ๑ กิจในปุริมยาม ๑ กิจในมัชฌิมยาม ๑ กิจในปัจฉิมยาม ๑.

ใน ๕ อย่างนั้น กิจในปุเรภัต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลุก

แต่เช้าทีเดียว ทรงทำบริกรรมพระวรกายมีบ้านพระโอษฐ์เป็นต้น เพื่อ

อนุเคราะห์ภิกษุผู้อุปัฏฐาก และเพื่อสำราญพระวรกาย แล้วทรงให้เวลาล่วง

ณ เสนาสนะ ที่สงัดจนถึงเวลาเสด็จภิกขาจาร ถึงเวลาเสด็จภิกขาจารก็ทรง

นุ่งสบงคาดประคดเอวแล้วทรงห่มจีวร ทรงถือบาตร บางตรงเสด็จพระองค์

เดียว บางคราวแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังคามหรือนิคมเพื่อ

บิณฑบาต. บางครั้งก็เสด็จเข้าไปตามปกติ บางครั้งก็มีปาฏิหาริย์หลายอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

เป็นไปอยู่. คือ เมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ลมอ่อนพัดชำระ

แผ่นดินให้สะอาดไปข้างหน้า เมฆฝนหลั่งน้ำลงเป็นหยด ๆ ให้ละอองใน

หนทางเรียบราบกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน. ลมอีกอย่างพัดเอาดอกไม้มา

เบื้องบนเกลี่ยลงในหนทาง. ภูมิประเทศที่สูงขึ้นก็ต่ำลง ภูมิประเทศที่ต่ำลงก็

สูงขึ้น ในสมัยทอดพระบาทลง พื้นแผ่นดินย่อมเรียบเสมอ. ดอกปทุม

ที่เป็นสุขสัมผัส ย่อมรับพระบาท. พอพระองค์วางพระบาทขวาภายในเสาเขื่อน

รัศมีมีพรรณ ๖ สร้านออกจากพระสรีระ กระทำเรือนยอดปราสาท ให้มี

สี่เหลี่อมพรายด้วยน้ำทอง และให้เป็นเหมือนแวดล้อมด้วยแผ่นผ้าอันวิจิตร

สร้านไปข้างโน้นข้างนี้. ช้างม้าและวิหคเป็นต้นยืนอยู่ในที่ของตน ๆ ส่งเสียง

ด้วยอาการอันไพเราะ. ดนตรีมีกลองและพิณเป็นต้น และอาภรณ์ที่สวมกาย

พวกมนุษย์อยู่ ก็เป็นอย่างนั้น. ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้กันว่า

วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้ามาบิณฑบาตในที่นี้. พวกเขานุ่งห่มเรียบร้อย

ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจากเรือนเดินไประหว่างถนน บูชา

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพ ถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า

พระเจ้าข้า ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป แก่พวก

ข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป พระเจ้าข้า รับบาตรของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วให้ปูลาดอาสนะ ต้อนรับด้วยบิณฑบาตโดยเคารพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วทรงตรวจดูสันดาน

ของมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงแสดงธรรมอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุเคราะห์มหาชน โดยประการที่ชนบางพวกดำรงอยู่ในสรณคมน์ บางพวก

ดำรงอยู่ในศีล ๕ บางพวกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผลและ

อนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วดำรงอยู่ในอรหัตซึ่งเป็นผล

อันเลิศ ทรงลุกจากอาสนะเสด็จไปพระวิหาร. ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ที่ปูลาดไว้ในโรงกลมใกล้พระคันธกุฎี ทรงรอคอยให้ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ

ต่อแต่นั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ ภิกษุผู้อุปัฏฐากก็กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าให้ทรงทราบ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี.

นี้ เป็นกิจในปุเรภัตเป็นอันคับแรก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกิจในปุเรภัตอย่างนี้แล้ว

ประทับนั่งในที่บำรุงที่พระคันธกุฎี ทรงให้ทาพระบาทแล้วประทับยืนบนตั่ง

รองพระบาท ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง

ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าหาได้ยากในโลก

การได้อัตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก การ

บรรพชาหาได้ยาก การฟังพระสัทธรรมหาได้ยาก ดังนี้. ในที่นั้น บางพวก

ทูลถามกัมมัฏฐานกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน

กัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่จริยาของภิกษุเหล่านั้น. แต่นั้นภิกษุทั้งหมดถวาย-

บังคมพระมีพระภาคเจ้าแล้ว ไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน ๆ

บางพวกไปสู่ป่า บางพวกไปสู่โคนไม้ บางพวกไปสู่ภูเขาเป็นต้นแห่งใดแห่งหน

บางพวกไปสู่ภพชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกไปสู่ภพชั้นวสวัตตี ดังนี้แล

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้าพระองค์มีพระพุทธ

ประสงค์ ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาสน์ครู่หนึ่งโดยพระปรัศว์

เบื้องขวา. ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระวรกายกรูปรี้กระเปร่า ทรงลุกขึ้น

ตรวจดูโลกในภาคที่ ๒. ในภาคที่ ๓ ในบ้านหรือนิคมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ในปุเรภัต มหาชนถวายทาน ในปัจฉาภัตเขา

นุ่งห่มเรียบร้อยถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นประชุมกันในวิหาร. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทที่ประชุมกัน

ประทับนั่งเหนือบวรพุทธาอาสน์ที่เขาปูลาดไว้ในธรรมสภาแสดงธรรม นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

สมควรแก่กาล สมควรแก่สมัย ครั้นทรงทราบเวลาจึงทรงส่งบริษัทไป.

มนุษย์ทั้งหลายพากันถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป. นี้ เป็นกิจใน

ปัจฉาภัต.

ครั้นพระองค์เสร็จกิจในปัจฉาภัตอย่างนี้แล้ว ถ้ามีพระประสงค์จะ

โสรจสรงพระวรกาย ทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าซุ้มเป็นที่สรง ทำพระ

วรกายให้เหมาะกับฤดูกาลด้วยน้ำที่อุปัฏฐากจัดถวาย. ฝ่ายอุปัฎฐาก ได้นำ

พุทธอาสน์มาปูไว้ในบริเวณพระคันธุฎี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งผ้าที่ย้อม

แล้ว ๒ ชั้น คาดประคดเอว ทำเฉวียงบ่าเสด็จมาประทับนั่ง ณ ที่นั้น เร้นอยู่

ครู่หนึ่งแต่พระองค์เดียว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ ไปยังที่

อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า. บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา บางพวก

ขอกัมมัฏฐาน บางพวกขอฟังธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความประสงค์

ของภิกษุเหล่านั้นให้สำเร็จ ให้ปุริมยามล่วงไป. นี้ เป็นกิจในปุริมยาม.

ก็ในเวลาที่กิจในปุริมยามสิ้นสุดลง เมื่อภิกษุทั้งหลายถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป เหล่าเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นได้โอกาส

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถามปัญหาตามที่แต่งขึ้น โดยที่สุดถามถึงอักขระทั้ง ๔

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้น ก็ให้มัชฌิมยาม

ล่วงไป. นี้ เป็นกิจในมัชฌิมยาม.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งปัจฉิมยามออกเป็น ๓ ส่วนแล้ว ทรงให้

ส่วนหนึ่งล่วงไปด้วยการจงกรม เพื่อจะทรงปลดเปลื้องความบอบข้าแห่งพระ

วรกาย ซึ่งถูกการนั่งจำเดิมแต่ปุเรภัตบีบคั้น. ในส่วนที ๒ พระองค์เสด็จเข้าไป

ยังพระคันธกุฏีทรงมีพระสติ สัมปชัญญะ สำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้อง

ขวา. ในส่วนที่ ๓ พระองค์เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูสัตว์โลก ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

พุทธจักษุ เพื่อทรงเห็นบุคคลผู้ที่ได้สร้างบุญญาธิการไว้ โดยคุณมีทานและ

ศีลเป็นต้น ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย. นี้เป็นกิจในปัจฉิมยาม.

แม้ในกาลนั้น พระองค์ทรงตรวจดูอย่างนี้ทรงเห็นกสิภารทวาช-

พราหมณ์ ถึงพร้อมด้วยธรรมอัน เป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตแล้ว ทรงทราบ

ว่าเมื่อเราไปในที่นั้น จักมีการพูดจากัน เมื่อจบการพูดจากัน พราหมณ์นั้น

ฟังธรรมเทศนาแล้วพร้อมด้วยบุตรและภรรยา จักตั้งอยู่ในสรณะ ๓ จักหว่าน

ทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ในศาสนาของเรา ภายหลังจักออกบรรพชา จักบรรลุพระอรหัต

ดังนี้ จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรงตั้งเรื่องขึ้นแล้วแสดงธรรม. เพื่อจะแสดงความ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ภควา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ปุพฺพณฺหสมย นี้ เป็นทุติยาวิภัติ ลง

ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัติ. ความว่า เวลาเช้า. บทว่า นิวาเสตฺวา ได้แก่

ทรงนุ่ง. คำนั้น ท่านกล่าวโดยการผลัดเปลี่ยนจีวรในวิหาร. บทว่า ปตฺตจีวร-

มาทาย ความว่า ใช้มือถือบาตร ใช้กายถือจีวร อธิบายว่า รับคือทรงไว้.

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไปบิณฑบาต บาตรหิน

มีสีดังแก้วอินทนิลและแก้วมณีย่อมมาสู่ท่ามกลางพระหัตถ์ทั้งสอง ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าเหมือนแมลงภู่ มาสู่ท่านกลางดอกปทุมทั้ง ๒ ที่แย้มบานฉะนั้น.

อธิบายว่า รับบาตรนั้นที่มาถึงแล้วอย่างนี้ด้วยพระหัตถ์ทั้ง ๒ ทรงจีวรที่ห่มเป็น

ปริมณฑลด้วยพระวรกาย. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระองค์ผู้เดียวเสด็จ

เข้าไปโดยหนทางที่การงานจะพึงดำเนินไป. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรภิกษุทั้ง

หลายจึงไม่ติดตามพระองค์ไป. ตอบว่า เพราะในกาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมมีพระประสงค์จะเสด็จไปในที่ไหน ๆ แต่ผู้เดียว ในเวลาภิกษาจาร พระ-

องค์ทรงปิดพระทวาร ทรงประทับนั่งในภายในพระคันธกุฏี. ภิกษุทั้งหลายรู้

ด้วยสัญญานั้นว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

แต่พระองค์เดียว พระองค์ได้ทรงเห็นบุคคลทีควรแนะนำ สักคนหนึ่งเป็นแน่

แท้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นถือบาตรและจีวรของตน กระทำปทักษิณพระ-

คันธกุฏีถวายบังคมแล้วไปสู่ที่ภิกษาจาร. ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงกระทำอย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ติดตาม

บทว่า ปริเวสนา วตฺตติ ความว่า การเลี้ยงอาหาร ของชาวนา

๕๐๐ ผู้นั่งถือภาชนะทองเป็นต้นเหล่านั้นเป็นอันกระทำค้างไว้. บทว่า เอกมนฺต

อฏฺาสิ ความว่า ประทับยืนในที่ที่คนยืนแล้วพราหมณ์จะเห็นได้ คือในที่

สูงมีความผาสุกในทัสสนูปจารเห็นปานนั้น.

ก็แล ครั้นพระองค์ประทับยืนแล้วทรงเปล่งรัศมีพระวรกายมีสีเหลือง

ดังทองธรรมชาติโดยรอบ ไพโรจน์ล่วงรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ แผ่

คลุมโรงงาน ฝาเรือน ต้นไม้และก้อนดิน ที่ไถเป็นต้นของพราหมณ์ ได้

เป็นเสมือนทำด้วยทอง ลำดับนั้นพวกมนุษย์กำลังบริโภคอยู่ก็มี กำลังไถนำอยู่ก็

มี ต่างพากันละทิ้งกิจทุกอย่าง เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายประดับ

ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีอนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นบริวาร และคู่

พระพาหาซึ่งงดงามด้วยรัศมีที่แผ่สร้านออกวาหนึ่ง ทรงรุ่งเรื่องด้วยพระสิริ ราว

กะว่าสระปทุมที่เกิดบนแผ่นดิน เพียงดังท้องฟ้าที่มีหมู่ดาวส่องแสงระยิบระยับ

และเพียงดังสุวรรณบรรพตอันประเสริฐที่ห่อหุ้มด้วยสายฟ้า ต่างล้างมือและเท้า

เข้าไปยืนแวดล้อมประคองอัญชลีอยู่. กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแวดล้อมไปด้วยชนเหล่านั้น เสด็จบิณฑบาตด้วยอาการอย่างนี้

ครั้นเห็นแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า อห โข สมณ กสา-

มิ จ วปามิ จ ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พราหมณ์นี้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า จัดข้าวปายาสแก่

ชน ๒,๕๐๐ คน ด้วยความไม่เลื่อมใสในพระตถาคตผู้แม้ถึงการฝึกฝนและความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

สงบอย่างสูงสุด ผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบ เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส

หรือว่าด้วยความตระหนี่ภิกษาในทัพพี. ตอบว่า ไม่ใช่ทั้ง ๒ อย่าง แต่พราหมณ์

เห็นชนไม่อิ่มด้วยการดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดทิ้งการงานจึงไม่พอใจว่าพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จมาทำลายการงานของเรา ฉะนั้น พราหมณ์จึงกล่าวอย่างนั้น.

และเพราะพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ

คิดว่าถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้จักได้ประกอบการงานไซร้ พระองค์ก็จักได้เป็นดุจ

จุฬามณีบนศีรษะของพวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป ประโยชน์อะไรจักไม่สำเร็จแก่

พระองค์เล่า ด้วยอาการอย่างนี้แล พระองค์ไม่ประกอบการงานเพราะความ

เกียจคร้านเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในงานวัปปมงคลเป็นต้น ดังนี้ จึงเกิดความไม่

พอใจ. ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า อห โข สมณ กสามิ จ วปามิ

จ กสิตฺวา จ วปิตฺวา จ ภิญฺชามิ ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีความประสงค์ดังนี้ว่า การงานทั้งหลายแม้

ของเรายังไม่พินาศก่อน เรามิได้เป็นผู้มีลักษณะสมบูรณ์เหมือนท่าน แม้ท่าน

ไถและหว่านแล้วจงบริโภคเถิด ประโยชน์อะไรจะไม่พึงสำเร็จแก่ท่านผู้สมบูรณ์

ด้วยลักษณะอย่างนี้เล่า. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ได้ฟังว่า เล่ากันมาว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น เป็นกุมารเกิดในสักยราชตระกูล ละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ทรงผนวช เพราะเหตุดังนี้ พราหมณ์รู้ในบัดนี้ว่า ผู้นี้คือผู้นั้นยกขึ้นติเตียนว่า

ท่านละความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิลำบากแล้วจึงกล่าวอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง

พราหมณ์นี้มีปัญญาแก่กล้าจะกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยไม่เลื่อมใสก็หาไม่.

แต่ได้เห็นรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงสรรเสริญบุญสมบัติกล่าวอย่างนี้

เพื่อให้มีการพูดจากันบ้าง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระองค์

ว่าเป็นผู้ไถผู้หว่านชั้นเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลกโดยเป็นเวไนยสัตว์ จึงได้ตรัส

ว่า อหมฺปิ โข พฺราหฺมณ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า สมณะนี้กล่าวว่า แม้เราก็ไถก็หว่าน แต่

เราไม่เห็นเครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้นที่ใหญ่ ๆ ของสมณะนี้ สมณะนี้กล่าว

เท็จหรือหนอตรวจดูพระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่พื้นพระบาทจนถึงปลายพระเกศา

เพราะตนสำเร็จวิชาดูลักษณะ จึงรู้ว่าสมณะนั้นสมบูรณ์ด้วยลักษณะประเสริฐ

๓๒ ประการ เหตุได้สั่งสมบุญญาธิการไว้ เกิดมานะอย่างแรงกล่าว่า ข้อที่

สมณะเห็นปานนี้พูดมุสามิใช่ฐานะที่จะเป็นได้ จึงละวาทะว่าสมณะในพระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อจะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยโคตร จึงกล่าวว่า น โข ปน

มย ปสฺสาม โภโต โคตมสฺส เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงแสดงพุทธานุภาพ เพราะเหตุที่ขึ้นชื่อว่าการกล่าวด้วยเป็นผู้เทียบด้วยธรรม

มีในก่อน เป็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า สทฺธา

พีช ดังนี้.

ถามว่า ก็ในข้อนี้ ความเป็นผู้มีส่วนเสมอด้วยธรรมมีในก่อน คือ

อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพราหมณ์ถามถึงเครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้น

มิใช่หรือ แต่พระองค์ตรัสว่า สทฺธา พีช เป็นต้น เพราะพืชที่ไม่ถูกถาม

เทียบกันได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ถ้อยคำก็ต่อกัน ไม่ได้ ธรรมดาว่าถ้อยคำ

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ต่อกันไม่ได้ จะมีไม่ได้เลย. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จะตรัสด้วยความที่ธรรมมีในก่อนเทียบกันไม่ได้ ก็หาไม่. ก็ในข้อนี้ พึงทราบ

อนุสนธิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพราหมณ์ถามถึงการไถ โดย

เครื่องไถมีแอกและไถเป็นต้น. ด้วยความอนุเคราะห์พราหมณ์นั้น พระองค์

ประสงค์ให้พราหมณ์ทราบเรื่องการไถพร้อมทั้งมูล พร้อมทั้งอุปการะ พร้อม

ทั้งสัมภาระที่เหลือ พร้อมทั้งผล มิให้ลดน้อยลง ด้วยพระดำริว่า ข้อนี้เขา

มิได้ถาม เมื่อจะทรงแสดงจำเดิมแต่ต้นมา จึงตรัสคำมีอาทิว่า สทฺธา พีช

ดังนี้. พืชในเรื่องนั้น เป็นมูลของการไถ เพราะเมื่อพืชมีก็ควรทำ เมื่อพืช

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ไม่มี ก็ไม่ควรทำ แต่ควรทำให้พอเหมาะแก่พืชนั้น เพราะเมื่อมีพืช ชาวนา

ย่อมไถนา เมื่อไม่มีก็ไม่ไถ. ชาวนาผู้ฉลาดย่อมไถนาพอเหมาะแก่พืชเท่านั้น.

ไม่ทำให้พร่องด้วยคิดว่า ข้าวกล้าของเราอย่าเสียหาย ไม่ทำให้เกินด้วยคิดว่า

ความพยายามของเราอย่าได้ไร้ประโยชน์. ก็เพราะพืชนั่นแหละเป็นมูล ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการไถตั้งแต่มูล คือทรงแสดงธรรม

เบื้องต้นแห่งการไถของพระองค์ โดยความที่พืชคือธรรมเบื้องต้นเทียบได้กับ

การไถของพราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า สทฺธา พีช ดังนี้. ในข้อนี้แม้ความ

ที่การไถของพราหมณ์เทียบได้ด้วยธรรมเบื้องต้น ก็พึงทราบอย่างนี้.

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเฉพาะที่

พราหมณ์ถามเท่านั้น ไม่ตรัสข้อที่ไม่ถามภายหลัง. แก้ว่า เพราะพระองค์เป็น

ผู้อุปการะแก่พราหมณ์นั้น และเพราะพระองค์เป็นผู้สามารถเชื่อมพระธรรม.

จริงอยู่ พราหมณ์นี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเพราะเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิตระกูลหนึ่ง

แต่เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปฏิบัติในข้อที่มิใช่วิสัยของตนที่เกี่ยวถึงผู้อื่น จึงไม่ได้

บรรลุคุณวิเศษ. ก็ศรัทธาของพราหมณ์นั้นเพียงปราศจากกิเลสและธรรมฝ่ายดำ

ที่ฟูขึ้น มีลักษณะเพียงความผ่องใส มีกำลังน้อย เป็นไปกับด้วยปัญญาซึ่งมี

กำลัง จึงไม่ท่าให้สำเร็จประโยชน์ เหมือนโคที่เทียมในแอกเดียวกับช้าง ดังนั้น

ศรัทธาของเขาจึงเป็นเครื่องสนับสนุน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

สถาปนาพราหมณ์นั้นไว้ในศรัทธา จึงตรัสเนื้อความนี้ที่ควรจะตรัสแม้ใน

ภายหลัง เอามาตรัสเสียก่อน เพราะความที่ทรงเป็นผู้ฉลาดในเทศนา. ก็ฝน

เป็นอุปการะแก่พืช ฝนนั้นพระองค์ตรัสในลำดับนั่นเอง จึงเป็นธรรมชาติ

ที่สามารถ ความข้อนี้พระองค์ควรตรัสแม้ภายหลัง เพราะความที่ทรงสามารถ

เชื่อมพระธรรม. เครื่องไถอื่น ๆ มีงอนไถและเชือกเป็นต้น เห็นปานนี้ พึง

ทราบว่า ตรัสก่อนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ในข้อนั้น ศรัทธามีความผ่องใสเป็นลักษณะ หรือมีความปักใจลง

เป็นลักษณะ. บทว่า พีช ได้แก่ พืช ๕ อย่าง คือ พืชเกิดแต่ราก พืช

เกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ข้อ พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ ๕

ทั้งหมดนั้นนับว่า พืชเกิดแต่เมล็ดทั้งนั้น เพราะงอกได้.

ในข้อนั้น พืชเป็นมูลกสิกรรมของพราหมณ์ แยกออกเป็นสอง คือ

ข้างล่างออกราก ข้างบนออกหน่อ ฉันใด ศรัทธาเป็นมูลกสิกรรมของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ข้างล่างมีศีลเป็นราก ข้างบนมีสมถะและวิปัสสนาเป็นหน่อ

ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า พืชนั้นรับรสปฐวีธาตุ อาโปธาตุด้วยราก ย่อมเติบโต

ขึ้นเพื่อรับความแก่สุกแห่งธัญญชาติด้วยก้าน ฉันใด ศรัทธานี้รับรสคือสมถะ

และวิปัสสนาด้วยรากคือศีล เติบโตขึ้นเพื่อรับความแก่กล้าแห่งธัญญชาติคือ

อริยผล ด้วยก้านคืออริยมรรค ฉันนั้น. อนึ่ง พืชนั้นตั้งอยู่ในพื้นด้นที่ดี

เจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยราก หน่อ ใบ ก้านเง่าและใบอ่อน ให้เกิดน้ำนม

ให้สำเร็จเป็นรวงข้าวสาลี เต็มไปด้วยเมล็ดข้าวสาลีเป็นอันมาก ฉันใด ศรัทธานี้

ก็ฉันนั้น ตั้งมั่นอยู่ในจิตสันดาน เจริญงอกงามไพบูลด้วยวิสุทธิ ๖ ให้เกิด

น้ำนมคือญาณทัสสนวิสุทธิ ให้สำเร็จเป็นพระอรหัตผล อันเพียบไปด้วย

ปฏิสัมภิทาญาณเป็นอเนก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สทฺธา พีช ดังนี้

หากจะมีคำถามว่า ก็เมื่อกุศลธรรมกว่า ๕๐ เกิดร่วมกัน เหตุไรจึง

ตรัสว่า สทฺธา พีช ดังนี้. แก้ว่า เพราะทำหน้าที่เหมือนพืช. เหมือนอย่างว่า

บรรดากุศลธรรมเหล่านั้น วิญญาณนั่นแลทำหน้าที่รู้เจ้า ฉันใด ศรัทธาก็ทำ

หน้าที่เหมือนพืช (ต้นเหตุ) ฉันนั้น. ก็ศรัทธานั้นเป็นมูลเหตุแห่งกุศลธรรม

ทั้งปวง. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า บทว่า สทฺธาชาโต อุปสงฺกมิ ความว่า

ศรัทธาเมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ ฯลฯ และแทงตลอดกุศลธรรมนั้นเห็น

ด้วยปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

ชื่อว่า ตโป เพราะเผาอกุศลธรรมและกาย. คำว่า ตโป นี้เป็นชื่อ

ของอินทริยสังวร ความเพียร ธุดงค์และทุกกรกิริยา. แต่ในที่นี้ประสงค์เอา

อินทริยสังวร. บทว่า วุฏฺิ ได้แก่ ฝนหลายอย่าง เป็นต้นว่า น้ำฝน

ลมเจือฝน. ในที่นี้ประสงค์เอาน้ำฝน. เหมือนอย่างว่า ข้าวกล้าของพราหมณ์

มีพืชเป็นมูล มีน้ำฝนช่วยอย่างดี ย่อมงอกไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมผลิตผล ฉันใด

ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น มีศรัทธาเป็นมูล

มีอินทริยสังวรช่วยอนุเคราะห์ ย่อมงอกงามไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมผลิตผล เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตโป วุฏฺิ ดังนี้.

เม ศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า ปญฺา เม นี้ พึงประกอบแม้ใน.

บทต้น ๆ ว่า สทฺธา เม พีช ตโป เม วุฏฺิ. ด้วยคำนั้น ท่านแสดงไว้

อย่างไร. ท่านแสดงไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อนาที่ท่านหว่านไว้แล้ว

ถ้ามีฝน ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่มี ก็จำต้องให้น้ำก่อน ฉันใด เราใช้เชือก

คือใจผูกแอกและไถ ซึ่งมีงอนคือหิริให้ติดกัน เทียมโคคือความเพียร แทง

ด้วยประตักคือสติ เมื่อหว่านพืชคือศรัทธา ลงในนาคือจิตสันดานของตน

ชื่อว่า ฝนไม่มี เราก็ใช้ตบะคืออินทริยสังวรตลอดกาลเป็นนิจ เป็นน้ำฝนฉันนั้น.

บทว่า ปญฺา ได้แก่ ปัญญาหลายอย่าง ต่างโดยปัญญาฝ่ายกามาวจร

เป็นต้น. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์มรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า

ยุคนงฺคล ได้แก่ แอกและไถ. เหมือนอย่างว่า พราหมณ์มีแอกและ

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีปัญญา ๒ อย่าง ฉันนั้น. ใน ๒ อย่างนั้น

แอกย่อมเป็นที่อาศัยของงอนไถ ข้างหน้าติดด้วยงอนไถ เป็นที่อาศัยฉันนั้น.

ช่วยให้โคงานเดินไปพร้อมกัน ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น ย่อมเป็นที่อาศัยแห่ง

ธรรมทั้งหลาย อันมีหิริเป็นประธาน ฉันนั้น. อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า กุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ทั้งหมดยิ่งด้วยปัญญา และว่าผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด

ดุจบรรดาดวงดาวทั้งหลาย พระจันทร์ประเสริฐสุด ฉะนั้น ชื่อว่า อยู่ข้างหน้า

เพราะอรรถว่า เป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม. อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ศีลก็ดี

สิริก็ดี และธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมติดตามคือคล้อยตามผู้มีปัญญา.

แต่ปัญญาย่อมเนื่องด้วยหิริดุจงอนไถ เพราะไม่เกิดขึ้น โดยปราศจากหิริ

ย่อมเป็นที่อาศัยของเชือกทั้งหลาย โดยเป็นนิสัยปัจจัยของเชือกคือสมาธิ

กล่าวคือใจ ย่อมช่วยให้โคงานคือวิริยะ เดินไปพร้อมกัน เพราะห้ามการ

ปรารภเพียรเกินไปและความย่อหย่อนเกินไป. ไถประกอบด้วยผาล ย่อมทำลาย

ความทึบของแผ่นดินในการไถ ทำลายความสืบต่อแห่งมูลดิน ฉันใด ปัญญา

อันประกอบด้วยสติก็ฉันนั้น ย่อมทำลายความทึบแห่งธรรมทั้งหลายซึ่งมีกิจคือ

การประชุมแห่งสันตติเป็นอารมณ์ ในเวลาเจริญวิปัสสนา ย่อมทำลายความ

สืบต่อแห่งมูลแห่งกิเลสทั้งปวง. และปัญญานั้นแลเป็นโลกุตระอย่างเดียว.

ส่วนปัญญานอกนี้ พึงเป็นแต่โลกิยะ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ปญฺา เม ยุคนงฺคล.

ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ธรรมอันลามก. ด้วยการถือเอาหิรินั้น

แม้โอตตัปปะที่ไม่ประกอบด้วยหิรินั้น ก็เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยหิริศัพท์นั้น.

บทว่า อีสา ได้แก่ท่อนแห่งต้นไม้สำหรับทรงตัวแอกและไถ. เหมือนอย่าง

งอนไถของพราหมณ์ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถฉันใด แม้หิริของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ฉันนั้น ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถกล่าวคือโลกิยปัญญาและโลกุตร-

ปัญญา. ชื่อว่า ไม่มีหิริก็เพราะไม่มีปัญญา. เหมือนอย่างว่า แอกและไถ

ที่เนื่องด้วยงอนไถ กระทำหน้าที่ไม่ไหว ไม่หย่อน ฉันใด ปัญญาแม้

เนื่องด้วยหิริก็ฉันนั้น กระทำหน้าที่ไม่ไหว ไม่หย่อน ไม่ระคนด้วยความ

ไม่มีหิริ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า หิริ อีสา ดังนี้ . ชื่อว่า มนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

เพราะอรรถว่ารู้. คำว่า มนะ นี้ เป็นชื่อของจิต. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์

เอาสมาธิที่ประกอบด้วยมนะนั้นโดยยกมนะขึ้นเป็นประธาน. บทว่า โยตฺต

ได้แก่เครื่องผูกคือเชือก. เชือกนั้นมี ๓ อย่าง คือเป็นเครื่องผูกแอกกับงอนไถ ๑

เป็นเครื่องผูกโคงานกับแอก ๑ เป็นเครื่องล่ามโคงานต่อกันกับนายสารถี ๑.

ใน ๓ อย่างนั้น เชือกของพราหมณ์ ย่อมทำงอนไถแอกและโคงานให้ปฏิบัติ

ในกิจของตน ฉันใด สมาธิของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ผูกธรรมคือ

หิริปัญญาและวิริยะเหล่านั้นทั้งหมดไว้ในอารมณ์เดียวกัน โดยสภาวะคือ

ไม่ซัดส่าย ให้ปฏิบัติในหน้าที่ของตน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า มโน โนตฺต

ดังนี้.

ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า ระลึกถึงความมีกิจที่ทำไว้นานเป็นต้นได้.

ชื่อว่า ผาละ เพราะอรรถว่า ผ่า. ชื่อว่า ปาชนะ เพราะอรรถว่า เป็น

เครื่องขับไป. ในที่นี้ท่านกล่าวว่า ปาจนะ. บทว่า ปาจนะ นั้นเป็นชื่อ

ของประตัก. ผาลและประตักชื่อว่า ผาลปาจนะ. สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนา

และประกอบด้วยมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนผาลและประตัก

ของพราหมณ์. พึงทราบวินิจฉัยในข้อนั้นดังต่อไปนี้ สติค้นหาคติของกุศลธรรม

ทั้งหลาย หรือทำให้ปรากฏในอารมณ์ ย่อมรักษาไถคือปัญญา เหมือนผาล

รักษาไถ และไปข้างหน้าไถนั้น. ด้วยเหตุนั้นแหละ สตินั้นท่านจึงกล่าวว่า

อารกฺโข เครื่องรักษา ดุจในประโยคมีอาทิว่า สตารกฺเขน เจตสา วิหรติ

มีใจมีสติเป็นเครื่องรักษาอยู่ ดังนี้. ก็ปัญญานั้นมีสติอยู่ข้างหน้า ทำได้

ไม่หลงลืม ด้วยว่าปัญญาย่อมรู้ชัดด้วยธรรมที่สติอบรมแล้ว มิใช่ด้วยความ

หลงลืม. เหมือนอย่างว่า ประตักแสดงภัย คือการแทงโคงานทั้งหลาย ไม่ให้

เกียจคร้าน ป้องกันเดินนอกทาง ฉันใด สติก็ฉันนั้น แสดงภัยคืออบายแก่

โคงานคือวิริยะ ไม่ให้เกียจคร้าน ป้องกันอโคจรกล่าวคือกามคุณ แล้วประกอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ไว้ในกัมมัฏฐาน ป้องกันเดินออกนอกทาง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สติ เม ผาลปาจน ดังนี้ .

บทว่า กายคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยกายสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า

วจีคุตฺโต ได้แก่คุ้มครองด้วยวจีสุจริต ๔ อย่าง. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

เป็นอันท่านกล่าวปาติโมกขสังวรศีลแล้ว. ในข้อว่า อาหาเร อุทเร ยโต

นี้ มีความว่า สำรวมในปัจจัยทั้ง ๔ อย่าง เพราะท่านสงเคราะห์ปัจจัยทุกอย่าง

ด้วยมุขคืออาหาร อธิบายว่า สำรวมแล้ว คือปราศจากอุปกิเลส. ด้วยคำนี้

เป็นอันท่านกล่าวอาชีวปาริสุทธิศีลแล้ว. บทว่า อุทเร ยโต ได้แก่สำรวม

ในท้อง คือสำรวม คือบริโภคพอประมาณ. ท่านอธิบายไว้ว่า รู้จักประมาณ

ในอาหาร. ด้วยมุขคือความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ เป็นอัน

ท่านกล่าวการเสพเฉพาะปัจจัยสันนิสสิตศีลแล้ว. ถามว่า ด้วยข้อนั้น ท่าน

แสดงความอย่างไร. ตอบว่า ท่านแสดงความว่า พราหมณ์ ท่านหว่านพืช

แล้ว ล้อมด้วยรั้วหนามรั้วต้นไม้หรือกำแพง เพื่อรักษาข้าวกล้า ฝูงโคกระบือ

และเนื้อทั้งหลายเข้าไปไม่ได้ แย่งข้าวกล้าไม่ได้ เพราะการล้อมนั้น ฉันใด

เราตถาคตก็ฉันนั้น หว่านพืช คือ ศรัทธาเป็นอันมากแล้ว ล้อมรั้ว ๓ ชั้น

ได้แก่ควบคุมกาย ควบคุมวาจา และควบคุมอาหาร เพื่อรักษากุศลธรรม

นานาประการ ฝูงโคกระบือและเนื้อกล่าวคืออกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น เข้าไป

ไม่ได้ แย่งข้าวกล้าคือกุศลนานาประการของเราไปไม่ได้เพราะการล้อมรั้วนั้น.

การพูดไม่ผิดด้วยอาการ ๒ อย่าง ชื่อว่า สัจจะ ในคำว่า สจฺจ

กโรมิ นิทฺทาน นี้. บทว่า นิทฺทาน ได้แก่ ตัด เกี่ยว ถอน. แลคำนี้

พึงทราบว่าเป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ก็ในคำนี้มีเนื้อความ

ดังนี้ว่า เราดายหญ้า (คือวาจาสับปรับ ) ด้วยคำสัตย์. คำนี้มีอธิบายว่า

ท่านทำการไถภายนอก ใช้มือหรือมีดดายหญ้าที่ทำข้าวกล้าให้เสีย ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

แม้เราก็ฉันนั้น ไถในภายในแล้ว ใช้สัจจะดายหญ้าคือการกล่าวคลาดเคลื่อน

ที่ประทุษร้าย ข้าวกล้าคือกุศล. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะในคำว่า สจฺจ

กโรมิ นิทฺทาน นี้ หมายเอายถาภูตญาณ. ท่านแสดงว่า เราทำการ

ดายหญ้ามีอัตตสัญญาเป็นต้นด้วยถาภูตญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิทฺทาน

ความว่า ตัด เกี่ยว ถอนขึ้น. ท่านแสดงว่า ท่านใช้ทาสหรือกรรมกรให้ดาย

คือตัดเกี่ยวถอนหญ้าทั้งหลาย ด้วยคำว่า จงดายหญ้าทั้งหลาย ฉันใด เราก็

ฉันนั้นใช้สัจจะดายหญ้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สจฺจ ได้แก่ ทิฏฐิสัจจะ

ความว่า เราทำการดายหญ้านั้น คือ ตัดสิ่งที่ควรตัด เกี่ยวสิ่งที่ควรเกี่ยว

ถอนสิ่งที่ควรถอน. ในวิกัปทั้ง ๒ เหล่านี้ ควรประกอบเนื้อความด้วยทุติยา-

วิภัตติเท่านั้น.

ในคำว่า โสรจฺจ เม ปโมจน นี้ ศีลคือการไม่ล่วงละเมิดทางกาย

การไม่ล่วงละเมิดทางวาจานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า โสรัจจะ ข้อนั้นท่านไม่

ประสงค์. ก็คำว่า โสรจฺจ นั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยคำว่า กายคุตฺโต เป็นต้น

เท่านั้น. แต่ท่านประสงค์เอาอรหัตผล. ก็พระอรหัตผลนั้น ท่านเรียกว่า

โสรัจจะ เพราะความยินดีในพระนิพพานอันดี. บทว่า ปโมจน ได้แก่

สละโยคกิเลสเครื่องประกอบ. คำนี้มีอธิบายว่า การปลดเปลื้องของท่าน

ย่อมไม่เป็นการปลดเปลื้องเลย เพราะต้องประกอบในเวลาเย็น ในวันที่สอง

หรือในปีหน้าแม้อีก ฉันใด การปลดเปลื้องของเราหาเป็นฉันนั้นไม่. ขึ้นชื่อว่า

การปลดเปลื้องในระหว่างของเราหามีไม่. เพราะเราเทียมโคงานคือความเพียร

ที่ไถ คือปัญญา จำเดิมแต่ครั้งพระทศพลพระนามว่าทีปังกร ไถเป็นการใหญ่

สิ้นสี่อสงขัยแสนกัป ก็ยังไม่พ้น ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ.

ก็เมื่อใดเราใช้เวลาทั้งหมดนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์ ณ โคนโพธิพฤกษ์.

พระอรหัตผลที่มีคุณทั้งปวงเป็นบริวารก็เกิดขึ้น เมื่อนั้น เราปล่อยวาง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

พระอรหัตผลนั้นด้วยการระงับความขวนขวายทุกอย่าง บัดนี้จักไม่ประกอบ

ต่อไป ทรงหมายเนื้อความดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า โสรจฺจ เม ปโมจน.

บทว่า วิริย ในคำว่า วิริย เม ธุรโธรยฺห นี้ ได้แก่ การปรารภ

ความเพียรทางกายและทางจิต. บทว่า ธุรโธรยฺห ความว่า นำไปในธุระ

อธิบายว่า นำธุระไป. เหมือนอย่างว่า ไถที่พราหมณ์ชักไปและดึงไปในธุระ

ย่อมทำลายแผ่นของดินและการสืบต่อแห่งมูลดิน ฉันใด ไถคือปัญญาที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าชักมาด้วยความเพียร ก็ฉันนั้น ย่อมทำลายแผ่นกิเลสตามที่กล่าว

แล้ว และทำลายการสืบต่อแห่งกิเลส. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิริย เม

ธุรโธรยฺห. อีกอย่างหนึ่ง. สภาวะที่นำธุระเบื้องต้นไป ชื่อว่า ธุระ สภาวะที่นำ

ธุระเดิมไป ชื่อว่า โธรัยหา ธุระและโธรัยหะ ชื่อว่า ธุรโธรัยหะ ธุรโธ-

รัยหะ อันต่างด้วยโคงาน ๔ ตัว ในไถแต่ละไถของพราหมณ์ เมื่อนำไปทำ

หน้าที่กำจัดรากหญ้าที่เกิดขึ้น ๆ และทำความสมบูรณ์แห่งข้าวกล้าให้สำเร็จฉัน

ใด ธุรโธรัยหะ อันต่างด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ ของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าก็ฉันนั้น เมื่อนำมาย่อมทำหน้าที่กำจัดอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ เเละทำ

ความสมบูรณ์แห่งกุศลให้สำเร็จ. เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า วิริย เม ธุรโธรยฺห

ดังนี้.

ในคำว่า โยคกฺเขมาธิวาหน นี้มีวินิจฉัยว่า พระนิพพาน ชื่อว่า

โยคักเขมะ เพราะเป็นแดนเกษมจากโยคะทั้งหลาย. พระนิพพานนั้น ชื่อว่า

อธิวาหนะ เพราะนำไปเจาะจงหรือว่านำไปเฉพาะหน้า การนำไปเฉพาะหน้า

ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ. ชื่อว่า โยคักเขมาธิวาหนะ. ท่านกล่าวคำ

อธิบายไว้ดังนี้ว่า ธุรโธรัยหะของท่านที่นำมุ่งไปทิศใดทิศหนึ่งมีปุรัตถิมทิศเป็น

ต้น ฉันใด ธุรโธรัยหะของเรา ย่อมนำมุ่งตรงต่อพระนิพพานก็ฉันนั้น.

ธุรโธรัยหะที่เรานำไปอย่างนี้ ชื่อว่าไปไม่หวนกลับ คือ ไปจำเดิมแต่เวลาที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ไม่หวนกลับเหมือนธุรโรรัยหะ (ของท่าน) นำ

ไถไปถึงที่สุดนา ยังกลับมาอีก. อีกอย่างหนึ่ง เพราะกิเลสที่เราละได้ด้วยมรรค

นั้น ๆ ไม่จำต้องละร่ำไป เหมือนหญ้าที่ตัดด้วยไถของท่าน จำต้องตัดในเวลา

ต่อมาอีก ฉะนั้น ธุรโธรัยหะละไม้คือกิเลสที่เห็นแล้วด้วยปฐมมรรค ละกิเลส

หยาบ ๆ ด้วยทุติยมรรค ละกิเลสที่เป็นอนุสัยด้วยตติยมรรค ละกิเลสทุกอย่าง

ด้วยจตุตถมรรค ไปไม่หวนกลับด้วยอาการอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คจฺฉติ

อนิวตฺต ความว่า เป็นธรรมชาติเว้นการไม่กลับไปเลย. บทว่า ต โยคธุร-

โรธรยฺห ในคำว่า ธุรโธรยฺห นี้ พึงทราบความอย่างนี้ ก็ธุรโธรัยหะของ

เราเมื่อไปโดยประการที่ธุรโธรัยหะของท่านไม่ไปยังที่นั้น แต่ธุรโธรัยหะของ

เรานั้น ย่อมไปสู่ที่ชาวนาไปแล้ว ไม่เศร้าโศกปราศจากธุลี ไม่เสียใจ. บทว่า

ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจติ ความว่า ชาวนาเช่นเราเตือนการนำธุระไปด้วย

ความเพียรนั้นด้วยประตัก คือ สติไปในที่ใด ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี ไม่

เสียใจ ถึงที่นั้นทั้งหมด กล่าวคืออมตนิพพานอันเป็นที่ถอนลูกศรคือความโศก

บัดนี้ เมื่อจะทรงย้ำคำลงท้ายจึงตรัสคาถาว่า เอวเมสา กสี ดังนี้

เป็นต้น. ข้อนั้นมีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ จงเห็นเถิดท่านพราหมณ์ พืช

คือศรัทธานี้ น้ำฝนคือตบะช่วยเหลือแม้การไถ เราใช้เชือกคือใจผูกแอกและ

ไถคือปัญญาและงอนไถคือหิริไว้ด้วยกัน ใช้ไถคือปัญญาตอกผาลคือสติ ยึด

ประตักคือสติคุ้มครองด้วยการควบคุมกายวาจาและอาหาร ใช้สัจจะเป็นเครื่อง

ดายหญ้า นำธุรโธรัยหะคือความเพียรซึ่งให้เกิดโสรัจจะมุ่งตรงพระนิพพานอัน

เป็นแดนเกษมจากโยคะไม่ถอยกลับ ไถแล้วการไถให้ถึงสามัญญผล ๔ อย่าง

ซึ่งเป็นที่สุดแห่งการงาน ดังนี้. บทว่า สา โหติ อมตปฺผลา ความว่า

การไถนี้นั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ. พระนิพพานท่านเรียกว่าอมตะ. อธิบายว่า

การไถนั้นมีพระนิพพานเป็นอานิสงส์. การไถนี้นั้นจะมีผลเป็นอมตะเฉพาะเรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

ผู้เดียวเท่านั้นก็หามิได้ ใคร ๆ จะเป็นกษัตริย์พราหมณ์แพศย์สูทรก็ตาม

คฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ไถอย่างนี้ ครั้นไถอย่างนี้แล้ว เขาทั้งหมด ย่อม

พ้นทุกข์ทั้งปวงโดยแท้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาแก่พราหมณ์ ยกพระนิพพานแสดงเป็น

เรื่องสุดท้าย จบลงด้วยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้. ต่อแต่นั้น

พราหมณ์ฟังพระธรรมเทศนาซึ่งมีเนื้อความลึกซึ้งแล้ว ทราบว่าคนบริโภคผล

แห่งการไถนาของเรา ย่อมจะหิวในวันรุ่งขึ้นเป็นแน่ แต่คนบริโภคผลแห่งการ

ไถที่เป็นอมตะนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้ มีความเลื่อมใส เมื่อจะแสดงทำ

อาการเลื่อมใส จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภุญฺชตุ ภว โคตโม ดังนี้. คำทั้ง

หมดและคำนอกจากนั้น เราอธิบายเนื้อความไว้แล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากสิสูตรที่ ๑

๒. อุทัยสูตร

ว่าด้วยติดในรส

[๖๗๗] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวร เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์. ลำดับนั้น อุทัยพราหมณ์เอาข้าว

ใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าจนเต็ม.

[๖๗๘] แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ลำดับนั้น อุทัยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าจน

เต็ม.

[๖๗๙] แม้ครั้งที่ ๓ เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรง

ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ แม้ในครั้งที่ ๓ อุทัย

พราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมนี้ติดในรส (ติดใจในอาหาร) จึงเสด็จมาบ่อย ๆ.

[๖๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนย่อม

ตกบ่อย ๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อย ๆ แว่น

แคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อย ๆ ยา

จกย่อมขอบ่อย ๆ ทานบดีก็ให้บ่อย ๆ

ทานบดีให้บ่อย ๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์

บ่อย ๆ ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดนมบ่อย ๆ

ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อย ๆ บุคคล ย่อม

ลำบากและดินรนบ่อย ๆ คนเขลาย่อมเข้า

ถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ

บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้า

บ่อย ๆ ส่วนผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อย ๆ ก็

เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก ดังนี้.

[๖๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อุทัยพราหมณ์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน

หลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่

ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระ

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ของพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง

พระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒

ในอุทยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โอทเนน ปูเรสิ ความว่า พราหมณ์เอาข้าวพร้อมด้วยแกง

และกับที่เขาจัดไว้เพื่อคนใส่บาตรจนเต็มถวาย. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นั้น ทรงปฏิบัติพระสรีระแต่

เช้าทีเดียว เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงปิดประตูแล้วประทับนั่ง ทรงเห็นโภชนะ

ที่เขายกเข้าไปไว้ใกล้พราหมณ์ ลำพังพระองค์เดียวเท่านั้นทรงคล้องบาตรที่

จะงอยบ่า เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงประตูพระนครทรงนำบาตรออก

แล้วเสด็จเข้าภายในพระนคร ทรงดำเนินไปตามลำดับ ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู

บ้านพราหมณ์. พราหมณ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ถวายโภชนะที่เขาจัด

แจงมาเพื่อตน. คำว่า โอทเนน ปูเรสิ นี้ท่านกล่าวหมายเอาโภชนะนั้น . บทว่า

ทุติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๒. บทว่า ตติยมฺปิ ได้แก่แม้ในวันที่ ๓ ได้ยิน

ว่า ในระหว่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปประตูเรือนพราหมณ์ติด ๆ กัน

ตลอด ๓ วัน ไม่มีใคร ๆ ที่สามารถจะลุกขึ้นรับบาตรได้. มหาชนได้ยืนแลดู

อยู่เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พราหมณ์แม้ถวายจนเต็มบาตรตลอด ๓

วัน ก็มิได้ถวายด้วยศรัทธา. พราหมณ์บริโภคโดยมิได้ถวายแม้เพียงภิกษาแก่

บรรพชิตที่มายืนอยู่ยังประตูเรือน แต่ได้ถวายเพราะกลัวถูกติเตียนว่า บรรพชิต

มายืนถึงประตูเรือนแล้ว แม้เพียงภิกษาก็ไม่ถวาย กินเสียเอง ดังนี้. และเมื่อ

ถวาย ๒ วันแรกถวายแล้วมิได้พูดอะไร ๆ เลย กับเข้าบ้าน. ทั้งพระผู้มีพระ

ภาคเจ้ามิได้ตรัสอะไร ๆ เหมือนกัน เสด็จหลีกไป แต่ในวันที่ ๓ พราหมณ์ไม่

อาจจะอดกลั้นไว้ได้ จึงได้กล่าวคำนี้ว่า ปกฏฺโก ดังนี้เป็นต้น. แม้พระผู้

มีพระภาคเจ้าก็ได้เสด็จไปจนถึงครั้งที่ ๓ ก็เพื่อจะทรงให้เขาเปล่งวาจานั้นนั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฏฺโก ได้แก่ติดในรส.

พระศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์แล้ว ตรัสว่า ท่านพราหมณ์

ท่านถวายบิณฑบาตตลอด ๓ วัน ยังย่อท้ออยู่ ในโลกมีธรรม ๑๖ ประการที่

ควรทำบ่อย ๆ ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงทรงเริ่มพระธรรม

เทศนานี้ว่า ปุนปฺปุน เจว วปนฺติ พีช ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ปุนปฺปุน เจว วปนฺติ ท่านกล่าวไว้ในสัสสวารหนึ่งแล้ว แม้ในสัสสวารอื่น ๆ

ชาวนาย่อมหว่านโดยไม่ท้อแท้เลยว่า เท่านี้พอละ ดังนี้. บทว่า ปุนปฺปุน วสฺสติ

ความว่า มิใช่ตกวันเดียวหยุด. ตกอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ปี ชนบท

ย่อมมั่งคั่งด้วยอาการอย่างนี้. พึงทราบนัยแห่งเนื้อความในทุก ๆ บทโดย

อุบายนี้.

ในบทว่า ยาจกา นี้ พระศาสดาทรงแสดงอ้างถึงพระองค์ เพราะความ

ที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนา. บทว่า ขีรณิกา ได้แก่ผู้รีดนมโคเพราะน้ำ

นมเป็นเหตุ. จริงอยู่ ชนเหล่านั้นไม่ปรารถนาน้ำมันคราวเดียวเท่านั้น อธิบาย

ว่า ย่อมปรารถนารีดโคนมบ่อย ๆ. บทว่า กิลมติ ผนฺทติ จ ความว่า

สัตว์นี้ย่อมลำบากและดิ้นรนด้วยอิริยาบถนั้น ๆ. บทว่า คพฺภ ได้แก่ท้องสัตว์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ดิรัจฉานมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. บทว่า สีวถิก ได้แก่ป่าช้า.

อธิบายว่า นำสัตว์ตายแล้วไปในป่าช้านั้นบ่อย ๆ. บทว่า มคฺคญฺจ ลทฺธา

อปุนพฺภวาย ความว่า พระนิพพานชื่อว่ามรรค เพราะไม่เกิดอีก อธิบายว่า

ได้พระนิพพานนั้น.

บทว่า เอว วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่

ระหว่างถนนนั่นแหละ ทรงแสดงปุนัปปุนธรรม ๑๖ ประการ ได้ตรัสอย่างนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในที่สุดเทศนา พราหมณ์พร้อมด้วยบุตรภรรยา

พวกมิตรและญาติ เลื่อมใส ถวายบังคมแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า กล่าวคำนี้ว่า อภิกฺกนฺต โภ เป็นต้น.

จบอรรถกถาอุทยสูตรที่ ๒

๓. เทวหิตสูตร

ว่าด้วยการให้ไทยธรรม

[๖๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรด้วยโรคลม.

ท่านพระอุปวาณะ เป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า

อุปวาณะ เธอจงรู้ น้ำร้อนเพื่อฉัน ท่านพระอุปวาณะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว นุ่งสบงถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์ แล้วยืนนิ่ง

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

[๖๘๓] เทวหิตพราหมณ์ได้เห็นท่านพระอุปวาณะยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระอุปวาณะด้วยคาถาว่า

ท่านเป็นสมณะศีรษะโล้น ครองผ้า

สังฆาฏิยืนนิ่งอยู่ ท่านปรารถนาอะไร

แสวงหาอะไร มาเพื่อขออะไรหรือ.

[๖๘๔] ท่านพระอุปวาณะตอบว่า

พระสุคตมุนีเป็นอรหันต์ในโลก

ประชวรด้วยโรคลม ถ้ามีน้ำร้อน ขอท่าน

จงถวายแก่พระสุคตมุนีเกิดพราหมณ์ ฉัน

ปรารถนาจะเอาไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในบรรดาผู้ที่ควรแก่การบูชา.

[๖๘๕] ครั้งนั้น เทวหิตพราหมณ์ให้บุรุษ (คนใช้) ถือกาน้ำร้อน

และห่อน้ำอ้อย ( ตามไป) ถวายท่านพระอุปวาณะ.

ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

แล้วอัญเชิญให้พระผู้มีพระภาคเจ้าสรงสนาน และละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อน

แล้วถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายประชวรนั้น.

[๖๘๖] ต่อมา เทวหิตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่

ประทับแล้ว ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เทวหิตพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

พึงให้ไทยธรรมที่ไหน ทานอัน

บุคคลให้ที่ไหนมีผลมาก ทักษิณาสำเร็จ

ในที่ไหน แก่บุคคลผู้บูชาอย่างไร.

[๖๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผู้ใดรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยในก่อน แล

เห็นสวรรค์และอบาย บรรลุพระอรหัต

อันเป็นที่สิ้นชาติ อยู่จบแล้วเพราะรู้ยิ่ง

เป็นมุนี พึงให้ไทยธรรมในผู้นี้ ทานที่ให้

แล้วในผู้นี้มีผลมาก ทักษิณาย่อมสำเร็จ

แก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้แหละ.

[๖๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เทวหิตพราหมณ์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมอง

เห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับ

พระธรรม. และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า

เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

อรรถกถาเทวหิตสูตร

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า วาเตหิ ได้แก่ ด้วยลมในท้อง. เล่ากันมาว่า เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงกระทำทุกกรกิริยา ๖ พรรษา ทรงนำเอาถั่วเขียวและถั่วพู

เป็นต้นอย่างละฟายมือนาเสวย ลมในพระอุทรกำเริบเพราะเสวยไม่ดีและบรรทม

ลำบาก. สมัยต่อมา ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว แม้เสวยโภชนะประณีต

อาพาธนั้นก็ยังปรากฏตัวเป็นระยะ ๆ คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาอาพาธนั้น . บทว่า

อุปฏฺาโก โหติ ความว่า เป็นอุปัฏฐากในคราวยังไม่มีอุปัฏฐากประจำ

ตอนปฐมโพธิกาล. ได้ยินว่า ในเวลานั้น บรรดาพระอสีติมหาเถระ ผู้ที่ไม่

เคยเป็นอุปัฏฐากของพระศาสดาไม่มี. ก็พระเถระเหล่านี้ คือ พระนาคสุมนะ

พระอุปวาณะ พระสุนักขัตตะ พระจุนทะ พระสมณุทเทสะ พระสาคตะ

พระเมฆิยะ เป็นอุปัฏฐากที่มีชื่อมาในบาลี แต่ในเวลานี้ พระอุปวาณเถระ

ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เช่นกวาดบริเวณ

ถวายไม้ชำระพระทนต์ จัดถวายน้ำสรง ถือบาตรจีวรตามเสด็จ. บทว่า

อุปสงฺกมิ ด้วยยามว่า ได้ยินว่า ตลอดเวลา ๒๐ ปี ในปฐมโพธิกาล ป่าปราศจาก

ควันไฟ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังมิได้ทรงอนุญาต ที่ต้มน้ำแก่ภิกษุทั้งหลาย

ก็พราหมณ์นั้นให้ทำเตาเป็นแถว ยกภาชนะใหญ่ ๆ ขึ้นตั้งบนเตา ให้ทำน้ำร้อน

แล้วขายน้ำร้อนพร้อมกับผงสำหรับอาบน้ำเป็นต้นเลี้ยงชีพ. ผู้ประสงค์อาบน้ำ

ไปในที่นั้นแล้วให้ราคา (ซื้อ) อาบน้ำลูบไล้ด้วยของหอม ประดับดอกไม้

แล้วหลีกไป. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงเข้าไปในที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

บทว่า กึ ปตฺถยาโน ได้แก่ ปรารถนาอะไร บทว่า กึ เอส

ได้แก่แสวงหาอะไร. บทว่า ปูชิโต ปูชเนยฺยาน ความว่า พระเถระเริ่ม

กล่าวสดุดีพระทศพลนี้. ท่านกล่าวคำนี้ ไว้ว่า ได้ยินว่า พระเถระไปเพื่อ

คิลานเภสัช กล่าวสรรเสริญภิกษุไข้ ดังนี้. จริงอยู่ พวกมนุษย์ได้ฟังคำ

สรรเสริญแล้ว ย่อมสำคัญเภสัชที่ควรถวายโดยเคารพ. ภิกษุไข้ได้เภสัชอันเป็น

สัปปายะแล้ว ย่อมหายไข้ฉับพลันทีเดียว ความจริงเมื่อจะกล่าว ไม่ควรกล่าว

พาดพิงไปถึงฌานวิโมกข์สมาบัติและมรรคผล. แต่ควรกล่าวอาคมนียปฏิปทา

อย่างนี้ คือ ผู้มีศีล มีความละอาย มักรังเกียจ พหูสูต ทรงไว้ซึ่งนิกายเป็นที่มา

ผู้ตามรักษาอริยวงศ์. บทว่า ปูชเนยฺยาน ความว่า พระอสีติมหาเถระ ชื่อว่า

ปูชเนยฺยา เพราะโลกพร้อมทั้งเทวโลกควรบูชา. ท่านเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า

สกฺกเรยฺยา เพราะควรสักการะ ชื่อว่า อปจิเนยฺยา เพราะควรทำความ

นอบน้อมแก่ท่านเหล่านั้นทีเดียว. พระเถระเมื่อประกาศคุณของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นบูชา

สักการะนอบน้อม ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า หาตเว แปลว่า เพื่อนำไป.

บทว่า ผาณิตสฺส จ ปูฏ ได้แก่ก้อนน้ำอ้อยใหญ่ที่ปราศจากขี้เถ้า

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น ถามว่า พระสมณโคดมทรงไม่สบายเป็นอะไร ได้

ทราบว่า ลมในท้อง จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเรารู้จักยาในเรื่องนี้ ต่อแต่นี้

ขอท่านจงเอาน้ำหน่อยหนึ่งละลายน้ำอ้อยนี้ ถวายให้ทรงดื่มในเวลาสรงเสร็จ

พระเสโทจักซึมออกภายนอกพระสรีระด้วยน้ำร้อน ลมในท้องจักหายด้วยยานี้

ด้วยประการฉะนี้ พระสนณโคดมจักทรงสำราญ ด้วยอาการดัง ว่ามาน ดังนี้แล้ว

จึงได้ถวายใส่ลงในบาตรพระเถระ.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า เมื่ออาพาธนั้นสงบแล้ว ได้

เกิดเรื่องพิสดารว่า เทวหิตพราหมณ์ถวายเภสัชแด่พระตถาคต โรคสงบเพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

เภสัชนั้นนั่นเอง น่าอัศจรรย์ ทานของพราหมณ์เป็นบรมทาน. พราหมณ์

ผู้ประสงค์ชื่อเสียง ได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัสว่า กิตติศัพท์ของเรานี้ขจรไป

แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เอง ประสงค์จะให้เขารู้เรื่องที่ตนกระทำแล้ว ในขณะ

นั้นเอง เข้าไปเฝ้าทำความคุ้นเคยในพระทศพล.

บทว่า ทชฺชา แปลว่า พึงให้. บทว่า กถ หิ ยชมานสฺส ได้แก่

บูชาด้วยเหตุอะไร. บทว่า อิชฺฌติ ได้แก่มีผลมาก. บทว่า โย เวทิ ความว่า

ได้กระทำผู้ที่รู้ทั่วถึงให้ปรากฏชัด. ปาฐะว่า โย เวติ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า

ผู้ใดย่อมรู้ คือรู้ทั่วถึง. บทว่า ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นด้วยทิพยจักษุ. บทว่า

ชาติกฺขย ได้แก่พระอรหัต. บทว่า อภิญฺา โวสิโต ความว่า อยู่จบ

พรหมจรรย์ คือถึงที่สุดพรหมจรรย์ คือความเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะรู้.

บทว่า เอว หิ ยชมานสฺส ความว่า บูชาอยู่ด้วยอาการนี้ คืออาการบูชา

พระขีณาสพ.

จบอรรถกถาเทวหิตสูตรที่ ๓

๔. มหาศาลสูตร

ว่าด้วยบุตรขับบิดาออกจากเรือน

[๖๘๙] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลคนหนึ่ง เป็นคนปอน นุ่งห่มปอน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณมหาศาลนั้น ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่งแล้วว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทำไมท่านจึงเป็นคนปอน นุ่งห่มก็ปอน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

พราหมณมหาศาลกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกบุตรของข้า

พระองค์ ๔ คนในบ้านนี้คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน.

[๖๙๐] ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้แล้ว

เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมพร้อมแล้ว จง

กล่าวว่า

เราชื่นชม และปรารถนาความเจริญ

แก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้นคบคิดกันกับ

ภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขาว่า

พวกมัน เป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียกเราว่า

พ่อ ๆ พวกมันประดุจยักษ์แปลงเป็นบุตร

มา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้.

พวกมันกำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออก-

จากที่ (อาศัย) กิน ดังม้าแก่ที่เจ้าของ

ปล่อยทิ้งฉะนั้น.

บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอ

ในเรือนผู้อื่นได้ยินว่าไม่เท้าของเรายังจะ

ดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร

เพราะไม้เท้ายังป้องกันโค หรือสุนัขดุได้

ในที่มืดยังใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึก

ยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วย

อานุภาพไม้เท้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

[๖๙๑] ครั้งนั้นแล พราหมณมหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันในสภา และเมื่อพวกบุตร

มาประชุมแล้วจึงได้กล่าวว่า

เราชื่นชมและปรารถนาความเจริญ

แก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่านั้น คบคิดกัน

กับภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร

เขาว่าพวกมันเป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียก

เราว่าพ่อ ๆ พวกมันประดุจยักษ์แปลงเป็น

บุตรมา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้

พวกมัน กำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่

(อาศัย) กิน ดังม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้ง

ฉะนั้น.

บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอ

ในเรือนผู้อื่น ได้ยินว่าไม้เท้าของเรายังจะ

ดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร

เพราะไม้เท่ายังป้องกันโคหรือสุนัขดุได้

ในที่มืดยังใช้ยันไปข้างหน้าได้ ในที่ลึก

ยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วย

อานุภาพไม้เท้า.

[๖๙๒] ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณมหาศาลนั้นไปยังเรือนให้

อาบน้ำแล้วให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่ง ๆ ทุก ๆ คน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

พราหมณมหาศาลนั้น ถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่

ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าชื่อว่า

เป็นพราหมณ์ ย่อมแสวงหาทรัพย์สำหรับอาจารย์มาให้อาจารย์ ขอท่าน

พระโคดมผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าจงรับส่วนของอาจารย์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยความอนุเคราะห์.

[๖๙๓] ครั้งนั้น พราหมณมหาศาลนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม

โดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระ-

โคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัย

เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถามหาศาลสูตร

ในมหาศาลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ลูโข ลูขปาปุรโณ ได้แก่เป็นคนแก่ มีผ้าห่มเก่า. บทว่า

อุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงเข้าไปหา. เล่ากันมาว่า

ในเรือนของพราหมณ์นั้นได้มีทรัพย์ถึง ๘ แสน. พราหมณ์นั้นได้ทำอาวาห-

มงคลแก่บุตร ๔ คน จ่ายทรัพย์ถึง ๔ แสน. ลำดับนั้น เมื่อนางพราหมณี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ของพราหมณ์นั้น ทำกาละแล้ว บุตรทั้งหลายปรึกษากันว่า ถ้าบิดาจักนำ

นางพราหมณีอื่นมา ตระกูลจักแตก ด้วยอำนาจบุตรที่เกิดในท้องของนาง

เอาเถอะเราจักสงเคราะห์ท่าน. บุตรทั้ง ๔ คนนั้น บำรุงด้วยของกินและ

เครื่องนุ่งห่มเป็นต้นอันประณีต กระทำการนวดมือและเท้าเป็นต้น สงเคราะห์

วันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์นั้นนอนกลางวันแล้วลุกขึ้น จึงพากันนวดมือและเท้า

กล่าวโทษในการอยู่ครองเรือนเฉพาะอย่าง จึงอ้อนวอนว่า พวกฉันจักบำรุง

ท่านโดยทำนองนี้จนตลอดชีวิต ขอท่านจงให้ทรัพย์แม้ที่เหลือแก่พวกฉัน.

พราหมณ์ได้ให้ทรัพย์แก่บุตรคนละหนึ่งแสนอีก แล้วแบ่งเครื่องอุปโภคบริโภค

ทั้งหมดออกเป็น ๔ ส่วน นอกจากผ้านุ่งห่มของตน มอบให้ไป. บุตรคนโต

บำรุงพราหมณ์นั้น ๒-๓ วัน.

ครั้นวันหนึ่ง หญิงสะใภ้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู พูดกะพราหมณ์ผู้อาบน้ำ

แล้วมาอยู่อย่างนี้ว่า เหตุไรท่านจึงให้ทรัพย์แก่ลูกคนโตเป็นร้อยเป็นพันจน

เหลือเฟือ บุตรทั้งหมดท่านให้คนละสองแสนมิใช่หรือ ท่านไม่รู้ทางไปเรือน

ของบุตรคนอื่น ๆ หรือ. พราหมณ์โกรธ ว่าอีหญิงถ่อย จงฉิบหาย แล้วได้

ไปเรือนบุตรอื่น. แต่นั้น ๒-๓ วัน ก็หนีไปเรือนอื่นด้วยอุบายอย่างนี้

เหตุนั้น เมื่อไม่ได้เข้าไปแม้ในเรือนหลังหนึ่งก็บวชเป็นตาผ้าขาว เที่ยวภิกขาจาร

โดยกาลล่วงไปก็แก่ชราลง มีร่างกายเหี่ยวแห้งเพราะการกินไม่ดีและนอนลำบาก

กลับจากภิกขาจารนอนบนตั่งหลับไป ลุกขึ้นนั่งตรวจดูตนเมื่อไม่เห็นที่พึ่งในบุตร

จึงคิดว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดม มีพระพักตร์ไม่สะยิ้ว มีพระพักตร์เผย

พูดจาน่าสบายใจ ฉลาดในปฏิสันถาร เราอาจเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมได้

ปฏิสันถาร พราหมณ์จัดผ้านุ่งห่มเรียบร้อย ถือภิกขาภาชนะเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

บทว่า ทาเรหิ สปุจฺฉ ฆรา นิกฺขาเมนฺติ ความว่า บุตร

ทั้งหลายถือเอาทรัพย์อันเป็นของ ๆ ข้าพระองค์ทั้งหมด รู้ว่าข้าพระองค์ไม่มี

ทรัพย์จึงปรึกษากับภรรยาของตนแล้วขับไล่ข้าพระองค์ออกจากเรือน.

บทว่า นนฺทิสฺส ความว่า เราเกิดความเพลิดเพลิน ยินดี ปราโมทย์.

บทว่า ภาวมิจฺฉิส ความว่า เราปรารถนาความเจริญ. บทว่า สาว วาเทนฺติ สูกร

ความว่า พวกสุนัขเป็นฝูง ๆ เห่าไล่สุกร เห่าร้องขึ้นดัง ๆ บ่อย ๆ ฉันใด

บุตรทั้งหลายก็ฉันนั้น พร้อมกับภรรยาขับไล่เราผู้ร้องเสียงดัง ๆ ให้หนีไป.

บทว่า อสนฺตา ได้แก่ อสัตบุรุษทั้งหลาย. บทว่า ชมฺมา แปลว่า

ผู้ลามก. บทว่า ภาสเร แปลว่า ย่อมกล่าว. บทว่า ปุตฺตรูเปน ได้แก่

ด้วยเพศของบุตร. บทว่า วโยคต ได้แก่ ย่อมละ คือทอดทิ้งเราผู้ล่วงวัย

ทั้ง ๓ ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย.

บทว่า นิพฺโภโค แปลว่า ไม่มีเครื่องบริโภค. บทว่า ขาทนา

อปนียติ ความว่า คนทั้งหลายย่อมให้ของกินมีรสต่าง ๆ แก่ม้าชั่วเวลาที่มัน

ยังหนุ่มมีกำลังวิ่งไว ต่อแต่นั้น พอมันแก่หมดกำลังก็ทอดทิ้ง มันไม่ได้รับการ

ดูแล ต้องเที่ยวไปหาหญ้าแห้งในดงกับแม่โคทั้งหลาย บิดาชื่อว่า ไม่มีโภคะ

เพราะทรัพย์ทั้งปวงถูกปล้นไปหมด เวลาแก่เหมือนม้านั้น พระเถระผู้เป็น

บิดาของตนพาล ก็เสมือนเราต้องขออาหารในเรือนคนอื่น.

ศัพท์ว่า ยญฺเจ เป็นนิบาต. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เขาว่าไม้เท้า

ยังประเสริฐกว่า ดีกว่าบุตรของเราที่ไม่เชื่อฟัง ไม่ยำเกรง มีอยู่ในปกครอง.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่าไม้เท้านั้นเป็นของประเสริฐ จึงตรัสว่า จณฺฑปิ

โคณ ดังนี้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

บทว่า ปุเร โหติ ได้แก่ใช้นำหน้า อธิบายว่า เอาไม้เท้านั้นไว้

ข้างหน้าไป ย่อมสะดวก. บทว่า คาธเมติ ความว่า เวลาลงน้ำ ใช้ไม้เท้า

เป็นที่พึ่งในน้ำลึก.

บทว่า ปริยาปุณิตฺวา ได้แก่ เรียนจนคล่องปาก. บทว่า สนฺนิ-

สินฺเนสุ ความว่า ในวันที่พวกพราหมณ์ประชุมกันเช่นนั้น เมื่อพวกบุตร

ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงเข้าที่ประชุมนั้น นั่งบนอาสนะอันคู่ควรอย่าง

ใหญ่ ท่ามกลางพวกพราหมณ์. บทว่า อภาสิ ความว่า พราหมณ์แก่คิดว่า

นี้เป็นเวลาของเราแล้ว จึงเข้าไปกลางที่ประชุม ยกมือขึ้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย เรามีความประสงค์จะกล่าวคาถาแก่ท่านทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวแก่

พวกท่าน ท่านทั้งหลายจักฟังกันไหม เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวว่า กล่าวเถิด

กล่าวเถิด ท่านพราหมณ์ พวกเราจักฟัง ดังนี้ จึงได้ยืนกล่าวทีเดียว. ก็โดย

สมัยนั้นแล พวกมนุษย์มีประเพณีอยู่ว่า ผู้ใดกินของของบิดามารดา ไม่เลี้ยงดู

บิดามารดา ผู้นั้นควรให้ตายเสีย ดังนี้ เพราะฉะนั้น บุตรพราหมณ์เหล่านั้น

จึงหมอบลงที่เท้าทั้งสองของบิดา วิงวอนว่า พ่อจ๋า ขอพ่อจงให้ชีวิตแก่พวก

ฉันเถิด. เพราะหัวใจของบิดาอ่อนโยนต่อลูก ๆ พราหมณ์นั้นจึงกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายอย่าให้ลูกโง่ ๆ ของฉันพินาศเสียเลย

พวกเขาจักเลี้ยงดูเรา ดังนี้.

ลำดับนั้น คนทั้งหลายกล่าวกะลูก ๆ ของพราหมณ์นั้นว่า ผู้เจริญ

ทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ถ้าพวกเธอไม่ปรนนิบัติบิดาให้ดี พวกเราจักฆ่า

พวกเธอเสีย. ลูก ๆ เหล่านั้นมีความกลัว จึงนำบิดาไปยังเรือนปรนนิบัติ.

เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อถโข ต พฺราหฺมณมหา

สาล ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนตฺวา ความว่า ให้บิดานั่งบนตั่ง

แล้วยกขึ้น นำไปด้วยตนเอง. บทว่า นฺหาเปตฺวา ความว่า เอาน้ำมันทาตัว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

แล้วนวดฟั้น ให้อาบด้วยผงของหอมเป็นต้น. ให้เรียกนางพรหมณีทั้งหลายมา

กล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป พวกเธอจงปรนนิบัติบิดาของเราให้ดี ถ้าพวกเธอ

ประมาท พวกเราจักขับไล่พวกเธอออกจากเรือน ดังนี้แล้วให้บริโภคโภชนะ

อย่างประณีต.

พราหมณ์ได้อาหารดี นอนสบาย สองสามวันเท่านั้นก็มีกำลัง มี

ร่างกายเอิบอิ่ม แลดูอัตภาพแล้วคิดได้ว่า เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยพระ-

สมณโคดม จึงถือเครื่องบรรณาการไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพื่อจะแสดง

ความนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อถโข โส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พราหมณ์วางผ้าคู่หนึ่งแทบบาทมูล แล้วได้กล่าว

คำนี้ คือกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลารับสรณคมน์เสร็จนั่นเอง อย่างนี้

ว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ พวกลูก ๆ ให้ภัตตาหารประจำแก่ข้าพระองค์

๔ ส่วน ข้าพระองค์ขอถวายแด่พระองค์ ๒ ส่วนจาก ๔ ส่วนนั้น ข้าพระองค์

จักบริโภคเอง ๒ ส่วน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ท่านอย่ามอบให้

เฉพาะส่วนที่ดีเลย เราตถาคตจักไปสถานที่ชอบใจของเราเท่านั้น. พราหมณ์

กราบทูลว่า ผู้เจริญ อย่างนั้นสิ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปเรือน

เรียกพวกลูกมาบอกว่า ลูก ๆ ทั้งหลาย พระสมณโคดมเป็นเพื่อนของพ่อ

พ่อถวายภัตตาหารประจำของพ่อ ๒ ส่วนแก่พระสมโคดมนั้น เมื่อท่านมาถึง

บ้าน พวกเจ้าอย่าลืมเสียล่ะ พวกลูกพากันรับคำว่า ดีแล้วพ่อ. เช้าวันรุ่งขึ้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือบาตรจีวรเสด็จไปประตูนิเวศน์ ของลูกคนโต. พอ

เขาเห็นพระศาสดาเท่านั้น รับบาตรจากพระหัตถ์ นิมนต์ให้เสด็จเข้าเรือน

ให้ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ซึ่งคู่ควรมากแล้ว ได้ถวายโภชนะอันประณีต. วัน

รุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปเรือนของลูกอีกคนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นเสด็จไปเรือนของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

ลูกอีกคนหนึ่ง พระองค์เสด็จไปเรือนของลูกพราหมณ์ทุกคนตามลำดับ ด้วย

ประการฉะนี้. พวกลูกพราหมณ์ทุกคนได้กระทำสักการะเหมือน ๆ กัน.

อยู่มาวันหนึ่ง ที่เรือนของลูกคนโตมีงานมงคล. ลูกคนโตนั้นกล่าวกะ

บิดาว่า พ่อพวกเราจะถวายมงคลแก่ใคร. พราหมณ์กล่าวว่า พวกเราไม่รู้จัก

ใครอื่นเลย พระสมณโคดมเป็นสหายของพ่อมิใช่หรือ ลูกคนโตกล่าวว่า

ถ้าอย่างนั้น พ่อจงนิมนต์พระสมณโคดมมาฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้นพร้อมด้วย

ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พราหมณ์ได้ทำเหมือนอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับนิมนต์แล้ว แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ได้เสด็จไปสู่ประตูเรือนของ

ลูกชายคนโตนั้น ในวันรุ่งขึ้น. ลูกชายคนโตนั้น เชิญเสด็จพระศาสดาให้เข้า

ไปสู่เรือน ซึ่งทาด้วยของเขียวประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง นิมนต์

ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ได้ถวาย

ข้าวปายาสมีน้ำน้อย และของเคี้ยวต่างชนิด. ลำดับนั้น ลูกทั้งสี่คนของพราหมณ์

นั่งเฝ้าพระศาสดา กราบทูลในระหว่างเสวยภัตตาหารว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ปรนนิบัติบิดาของพวกข้าพระองค์ มิได้ประมาท ขอพระองค์

จงดูอัตภาพ. พระศาสดาตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า การเลี้ยงดูบิดามารดาที่พวกเธอทำ

แล้วเป็นความดี พวกโบราณบัณฑิตเคยประพฤติกันอย่างสม่ำเสมอทีเดียว

แล้วตรัสนาคราชชาดก ยกอริยสัจ ๔ แสดงธรรม ในเวลาจบเทศนาพราหมณ์

พร้อมด้วยลูก ๔ คน ลูกสะใภ้ ๔ คน ส่งญาณไปตามกระแสเทศนา ตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล. จำเดิมแต่นั้น พระศาสดามิได้เสด็จไปที่เรือนของชนเหล่านั้น

ในกาลทั้งปวง ดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาศาลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

๕. มานัตถัทธสูตร

ว่าด้วยการทำความเคารพในบุคคล ๔ พวก

[๖๙๔] สาวัตถีนิทาน.

สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่ามานัตถัทธะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขา

ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ พี่ชาย.

[๖๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมทรง

แสดงธรรมอยู่.

ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์มีความดำริว่า พระสมณโคดมนี้อัน

บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณ-

โคดมยังที่ประทับ ถ้าพระสมณโคดมตรัสกะเรา เราก็จะพูดกะท่าน ถ้าพระ

สมณโคดมไม่ตรัสกะเรา เราก็จะไม่พูดกะท่าน ลำดับนั้นแล มานัตถัทธ

พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสด้วย มานัตถัทธพราหมณ์ต้อง

การจะกลับจากที่นั้น ด้วยคิดว่าพระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร.

[๖๙๖] ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกในใจของ

มานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระหฤทัยแล้ว ได้ตรัสกะมานัตถัทธพราหมณ์ด้วย

พระคาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ใครในโลกนี้มี

มานะไม่ดีเลย ผู้ใดมาด้วยประโยชน์ใด

ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นแล.

[๖๙๗] ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมทราบ

จิตเรา จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นเอง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

แล้วจูบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปากและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์มีนามว่า มานัตถัทธะ.

ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีหนอ

มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ พี่ชาย แต่พระสมณโคดม

ทรงทำคนเห็นปานนี้ให้ทำนอบนบได้เป็นอย่างดียิ่ง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะมานัตถัทธพราหมณ์ว่า พอละ

พราหมณ์ เชิญลุกขึ้นนั่งบนอาสนะของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเรา

แล้ว.

[๖๙๘] ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนอาสนะของตนแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความ

เคารพในใคร พึงยำเกรงใคร บูชาใคร

ด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี.

[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย

และในอาจารย์เป็นที่ ๔ พึงมีความเคารพ

ในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคล

เหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้ว

จึงเป็นการดี บุคคลพึงทำลายมานะเสีย

ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้

เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้

ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะอนุสัยนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

[๗๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง

แก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับพระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง

พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถามานัตถัทธสูตร

ในมานัตถัทธสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มานตฺถทฺโธ ความว่า ผู้กระด้างเพราะมานะ เหมือน

ลูกโป่งเต็มไปด้วยลม. บทว่า อาจริย ความว่า ในเวลาเรียนศิลปะ อาจารย์

ไม่ให้ศิลปะแก่ผู้ไม่ไหว้. แต่ในกาลอื่น พราหมณ์นั้นไม่ไหว้อาจารย์. แม้

ผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ พราหมณ์ก็ไม่รู้. บทว่า นาย สมโณ ความว่า

พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระสมณะนี้ เมื่อพราหมณ์

ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นเรานาถึงเข้า ก็ไม่ทำกิจมาตรว่าปฏิสันถาร ฉะนั้น จึง

ไม่รู้อะไร.

บทว่า อพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ประกอบด้วยความยินดี อันไม่

เคยมีก็มามีขึ้น. บทว่า เกสฺ วสฺส ความว่า พึงเคารพในใคร. บทว่า

กฺยสฺส ความว่าพวกไหน เป็นที่เคารพของบุคคลนั้น. บทว่า อปจิตา อสฺสุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ความว่าพวกไหนพึงเป็นผู้ควรเพื่อแสดงความนบนอบ. ด้วยคาถานี้ว่า อรหนฺเต

เป็นต้น ทรงแสดงปูชนียบุคคล โดยยกพระองค์เป็นตัวอย่าง เพราะพระองค์

เป็นผู้ฉลาดในเทศนา.

จบอรรถกถามานัตถัทธสูตรที่ ๕

๖. ปัจจนิกสูตร

ว่าด้วยคำอันเป็นสุภาษิต

[๗๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่า

ปัจจนิกสาตะ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ปัจจนิกสาตพราหมณ์มีความดำริว่า

อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมยังที่ระทับเถิด พระสมณโคดม

จักตรัสคำใด ๆ เราจักเป็นข้าศึกคำนั้น ๆ ดังนี้.

[๗๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง

ลำดับนั้น ปัจจนิกสาตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว

เดินตามพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ขอท่านพระสมณะจงตรัสธรรม.

[๗๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

คำอันเป็นสุภาษิต อันบุคคลผู้ยินดี

จะเป็นข้าศึก มีจิตเศร้าหมอง มากไปด้วย

ความแข่งดี จะรู้แจ้งด้วยดีไม่ได้ ส่วนว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

บุคคลใด กำจัดความแข่งดี และความไม่

เลื่อมใสแห่งใจ ถอนความอาฆาตได้แล้ว

ผู้นั้นแลพึงรู้คำอันเป็นสุภาษิต.

[๗๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ปัจจนิกสาตพราหมณ์

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม

โดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ

ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาปัจจนิกสูตร

ในปัจจนิกสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

เมื่อเขากล่าวว่า สิ่งทั้งปวงขาว พราหมณ์นั้นก็ทำการขัดแย้ง โดยนัย

เป็นต้นว่าสิ่งทั้งปวงดำ ย่อมมีความสำราญ คือมีความสุข เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

ปจฺจนิกสาโต. บทว่า โย จ วิเนยฺย สารมฺภ ความว่า ผู้ใดกำจัด

ความแข่งดีมีลักษณะทำให้เกิดหน้ากันแล้วฟัง.

จบอรรถกถาปัจจนิกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

๗. นวกัมมิกสูตร

ว่าด้วยความยินดี

[๗๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์

แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.

สมัยหนึ่ง นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์

นั้น เขาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ)

ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ที่โคนสาลพฤกษ์ต้นหนึ่ง ครั้น

เห็นแล้ว เขามีความคิดว่า เราให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์นี้จึงยินดี ส่วน

พระสมณะนี้ ให้คนทำอะไรอยู่จึงยินดี.

[๗๐๖] ลำดับนั้น นวกัมมิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท่านภิกษุ ท่านทำงานอะไร

หรือ จึงอยู่ในป่าสาลพฤกษ์ พระโคดม

อยู่ในป่าผู้เดียว ได้ความยินดีอะไร.

[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราไม่มีกรณียกิจในป่าดอก เพราะ

เราถอนรากเง่าป่าอันเป็นข้าศึกเสียแล้ว

เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือ

กิเลส ละความกระลันเสียแล้ว จึงยินดี

อยู่ผู้เดียวในป่า.

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว นวกัมมิกภารทวาช-

พราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค จ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมอง

เห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับ

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น

อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถานวกัมมิกสูตร

ในนวกัมมิกสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นวกมฺมิกภารทฺวาโช ความว่า เล่ากันมาว่าพราหมณ์นั้น

ให้ตัดต้นไม้ในป่าประกอบเป็นปราสาทและเรือนยอดในป่านั้นเอง แล้วนำมา

ขายยังพระนครชื่อว่า นวกัมมิก เพราะอาศัยนวกรรมเลี้ยงชีพดังกล่าวแล้ว

โดยโคตรชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้นจึงชื่อว่า นวกัมมิกภารทวาชะ. บทว่า

ทิสฺวานสฺส เอตทโหสิ ความว่า พราหมณ์นั้นได้มีความคิดดังนี้ เพราะ

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง เปล่งพระฉัพพัณณรังสี. บทว่า วนสฺมึ

ได้แก่ในไพรสนฑ์นี้. บทว่า อุจฺฉินฺนมูล เม วน ความว่า ป่าคือกิเลส

อันเราถอนรากเสียแล้ว. บทว่า นิพฺพนโถ ได้แก่ ปราศจากป่าคือกิเลส.

บทว่า เอโก รเม ได้แก่ เรายินดีแต่ผู้เดียวเท่านั้น. บทว่า อรตึ วิปฺปหาย

ความว่า ละความระอาในการเสพเสนาสนะอันสงัดและการเจริญภาวนา.

จบอรรถกถานวกัมมิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

๘. กัฏฐหารสูตร

ว่าด้วยความเป็นพรหม

[๗๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์

แห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.

ก็สมัยนั้น พวกมาณพหลายคน ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์

ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เที่ยวหาฟืนพากันเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น แล้วได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้

เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์ ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่

แล้วบอกพราหมณ์ ภารทวาชโคตรว่า ขอท่านพึงทราบ พระสมณโคดมประทับ

นั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์.

[๗๑๐] ลำดับนั้น พราหมณ์ ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้น

เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ

ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้น แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่า

ปราศจากตนในป่าหนาทึบ น่าหวาดเสียว

นัก มีกายไม่หวั่นเป็นประโยชน์ งาม

เพ่งพินิจฌานอย่างดีหนอ ท่านเป็นมุนี

อาศัยป่า อยู่ในป่าผู้เดียว ซึ่งไม่มีการ

ขับร้อง และการบรรเลง การที่ท่านมีจิต

ยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้ ปรากฏเป็น

ข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

ปรารถนาไตรทิพย์อันสูงสุด จึงมุ่งหมาย

ความเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็น

อธิบดีของโลก เหตุไร ท่านจึงชอบใจป่า

ที่ปราศจากคน ท่านทำความเพียรในที่นี้

เพื่อบังเกิดเป็นพรหมหรือ.

[๗๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความมุ่งหวังหรือความเพลิดเพลิน

อย่างใด ๆ ในอารมณ์หลายชนิด ซึ่งมี

ประจำอยู่ทุกเมื่อ นานาประการ หรือ

ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่น ซึ่งมี

อวิชชาเป็นมูลราก ก่อให้เกิดทั้งหมด

เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว เราจึง

ไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาประจำ

ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจด

ในธรรมทั้งปวง บรรลุสัมโพธิญาณอัน

สูงสุด ประเสริฐ เราควรเป็นพรหม

แกล้วกล้าเพ่งอยู่.

[๗๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว พราหมณ์ ภารทวาช-

โคตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรง

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง

แก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง

พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถากัฏฐหารสูตร

ในกัฏฐหารสูตรที่ ๘ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนฺเตวาสิกา ได้แก่ มีผู้ทำการขวนขวายเล่าเรียนศิลปะ ซึ่ง

ว่า ธัมมันเตวาสิก. บทว่า นิสินฺน ได้แก่ ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีมีวรรณะ

๖. บทว่า คมฺภีรรูเป ได้แก่ มีสภาพลึก.

บทว่า พหุเภรเว ได้แก่อันน่าสะพึงกลัวมาก เพราะสิ่งที่มีวิญญาณ

และไม่มีวิญญาณที่น่าสะพึงกลัวซึ่งอยู่ในที่นั้น. บทว่า วิคาหิย ไดแก่ เข้า

ไปแล้วโดยลำดับ. บทว่า อนิญฺชมาเนน เป็นต้นเป็นกายพิเศษ. อธิบาย

ว่าด้วยทั้งกายเห็นปานนี้. ด้วยคำว่า สุจารุรูป วต ท่านกล่าวว่า ท่านแห่ง

ฌานดียิ่งหนอ.

บทว่า วนวสฺสิโต มุนิ ได้แก่ พระมุนีคือพระพุทธเจ้าทรงอาศัย

ป่า. บทว่า อิท ความว่า เหตุที่ท่านนั่งในป่าอย่างนี้นี่ ย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่

น่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า. บทว่า ปีติมโน ได้แก่ ผู้มีจิตยินดี. บทว่า วเน วเส

ได้แก่ อยู่ในป่า.

บทว่า มญฺามห ความว่าข้าพเจ้า ย่อมสำคัญ บทว่า โลกาธิปติ-

สหพฺยต ได้แก่ ความเป็นสหายของท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่ในโลก. บทว่า

อากงฺขมาโน แปลว่า ปรารถนาอยู่. คำว่า ติวิธ อนุตฺตร นี้ ท่านกล่าว

หมายพรหมโลกนั้นแหละ. บทว่า กสฺมา ภว วิชนมรญฺมสฺสิโต ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ว่า ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราเข้าใจว่าท่านหวังพรหมโลกอันดับแรก พราหมณ์

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจงบอกแก่เรา เหตุไร ท่านจึงชอบอยู่ป่า. บทว่า

พฺรหฺมปตฺติยา แปลว่า เพื่อถึงความเป็นผู้ประเสริฐในที่นี้ ข้อนี้ พราหมณ์

ถามโดยอาการอื่นอีกว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความเพียร.

บทว่า กงฺขา ได้แก่ตัณหา. ด้วยบทว่า อภินนฺทนา นี้ แม้ตัณหา

ท่านก็เรียกว่า อภินันทนา. บทว่า อเนกธาตูสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลาย

มีสภาวะมากมาย. บทว่า ปุถู ได้แก่ ตัณหาหรือกิเลสที่เหลือมีประการต่างๆ

บทว่า สทา สิตา ได้แก่ อยู่ในอำนาจตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อาณ-

มูลปฺปภวา ได้แก่ ตัณหาเป็นธรรมชาติมีอวิชชาเป็นมูลราก. ด้วยบทว่า

ปชปฺปิติ นี้ ก็ตัณหาท่านเรียกว่า ปชัปปิตา โดยเป็นเหตุให้กระซิบว่า

แม้นี้เป็นของเรา แม้นี้ เป็นของเรา. บทว่า สพฺพา มยา พยนฺตีกตา ความ

ว่าตัณหาทั้งหมดอันเราทำให้สิ้นสุดคือหมดที่สุดแล้วด้วยอรหัตมรรค. บทว่า

สมูลิกา ได้แก่ พร้อมด้วยสิ่งที่มีอวิชชาเป็นมูล.

บทว่า อนุปโย ได้แก่ไม่มีตัณหาเข้าไปใกล้. ด้วยบทว่า สพฺเพสุ

ธมฺเมสุ วิสุทฺธทสฺสโน นี้ ทรงแสดงถึงพระสัพพัญญุตญาณ. ด้วยบทว่า

สมฺโพธิมนุตฺตร ตรัสหมายเอาพระอรหัต. บทว่า สิว ได้แก่ ประเสริฐ

สุด. บทว่า ฌายามิ ความว่า เราย่อมเพ่งด้วยฌาน ๒. บทว่า วิสารโท

ได้แก่ ปราศจากความกำหนัด.

จบอรรถกถากัฏฐหารสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

๙. มาตุโปสกสูตร

ว่าด้วยการเลี้ยงมารดาและบิดา

[๗๑๓] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น ทาตุโปสกพราหมณ์ผู้เลี้ยงมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยกันตามทำเนียมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์

นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระ -

โคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพเจ้า

ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่า

ได้ทำกิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมแล้ว เลี้ยงมารดา

และบิดาผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก.

[๗๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดย

ธรรม เพราะการบำรุงมารดาและบิดานั่น

แล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลก

นี้ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้ว

ย่อมบันเทิงในสวรรค์.

[๗๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

โดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระ-

โคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็น

สรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป.

อรรถกถามาตุโปสกสูตร

ในมาตุโปสกสูตรที่ ๙ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ กลับไปจากโลกนี้.

จบอรรถกถามาตุโปสกสูตรที่ ๙

๑๐. ภิกขกสูตร

ว่าด้วยความเป็นภิกษุ

[๗๑๖] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกันตามธรรมเนียม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกขกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

เป็นคนขอ พระองค์ก็เป็นผู้ขอ ในความข้อนี้ เราจะต่างอะไรกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

[๗๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วย

การขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทานธรรม

เป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดใน

โลกนี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติ

พรหมจรรย์ด้วยถารพิจารณา ผู้นั้นแล

ชื่อว่าเป็น ภิกษุ.

[๗๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่าน

พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย

ปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม

ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมเเละพระสงฆ์เป็นสรณะตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาภิกขกสูตร

ในภิกขกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิธ ได้แก่ ในความเป็นภิกษุนี้นั่นแล. บทว่า วิส ธมฺม

ได้แก่ อกุศลธรรมที่มีกลิ่นเหม็น. บทว่า วาเหตฺวา ได้แก่ ละได้ด้วยอรหัต

มรรค. บทว่า สงฺขาย ได้แก่ญาณ. บทว่า ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ความ

ว่า ผู้นั้นแล ท่านเรียกชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสแล.

จบอรรถกถาภิกขกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

๑๑. สังครวสูตร

ว่าด้วยการอาบน้ำล้างบาป

[๗๑๙] สาวัตถีนิทาน.

สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความ

บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระ-

ร่างกายทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาต

ในกรุงสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมาเวลา

หลังอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๒๐] ท่านพระอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี

เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน่า ประพฤติ

การลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ข้าพระองค์ขอโอกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย ด้วยความ

อนุเคราะห์เถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.

ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จเข้าไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย แล้วประทับนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูลาดไว้.

[๗๒๑] ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยกันตามธรรมเนียม

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามสังครวพราหมณ์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ส่วนข้าง

หนึ่งว่า ดูก่อนพราหมณ์ เขาว่า ท่านมีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนา

ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านประพฤติการลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็น

เวลาเช้าเป็นนิตย์ จริงหรือ.

สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงได้มีลัทธิถือ

ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำ

ชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์.

ส. ท่านพระโคดม บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำในเวลากลางวัน ข้า

พระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำในเวลาเย็น บาปกรรมใดที่

ข้าพระองค์ทำในเวลากลางคืน ข้าพระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำ

ในเวลาเช้า ท่านพระโคดม ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แหละ จึงได้ชื่อ

ว่า มีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติ

การลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นในเวลาเช้าเป็นนิตย์.

[๗๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ห้วงน้ำคือธรรมมี

ศีลเป็นท่า ไม่ขุ่น สัตบุรุษสรรเสริญต่อ

สัตบุรุษ ซึ่งเป็นที่ที่บุคคลผู้ถึงเวทอาบ

แล้ว บุคคลผู้มีตัวไม่เปียกเท่านั้นจึงจะข้าม

ถึงฝั่งได้.

[๗๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย

อเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม

ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ

พระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อรรถกถาสังครวสูตร

ในสังครวสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปจฺเจติ ได้แก่ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมต้องการ. คฤหัสถ์

อ้อนวอนอยู่ จึงกล่าวว่า สาธุ ภนฺเต. ได้ยินว่า คฤหัสถ์นั่นเป็นสหายของ

พระเถระ. เพราะฉะนั้น พระเถระทูลขอร้องด้วยคิดว่า ผู้เป็นคนกำพร้าแม้ได้เรา

เป็นสหาย อย่าได้ถือมิจฉาที่ทิฏฐิแออัดอยู่ในอบายเลย. อีกนัยหนึ่ง พระเถระเข้า

ใจอยู่ว่า คฤหัสถ์ผู้นี้ มีบริวารมาก เมื่อเขาเลื่อมใส แล้ว ตระกูล ๕๐๐ ตระกูล

จักประพฤติตามคำสั่งสอน จงได้ทูลขอร้อง. บทว่า อตฺถวส ได้แก่ อานิสงส์

ของประโยชน์ คือ เหตุของประโยชน์. บทว่า ปาป ได้แก่ อกุศลกรรมมี

ปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า ปวาเหมิ ได้แก่ เราลงน้ำแค่คอแล้วให้ลอยไป

คือ ให้หนีไป. คาถาว่า ธมฺโม มีใจความดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสังครวสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

๑๒. โขมทุสสสูตร

ว่าด้วยธรรมของสภา

[๗๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า โขมทุสสะ

ของเจ้าศากยะ ในแคว้นสักกะ.

ครั้งในเวลาเช้า พระผู้มีพระเจ้าทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม.

สมัยนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวโชมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ใน

สภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนกำลังตกอยู่ประปราย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังสภานั้น.

พราหมณ์และคฤหบดีชาวโชมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และ

คนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา.

[๗๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวโขมทุสสนิคม ด้วยพระคาถาว่า

ในที่ใดไม่มีคนสงบ ที่นั้นไม่ชื่อว่า

สภา คนเหล่าไดไม่กล่าวธรรม คนเหล่า

นั้นไม่ชื่อว่าคนสงบ คนละราคะโทสะ

และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ คนเหล่านั้น

ชื่อว่าคนสงบ.

[๗๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และ

คฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิด

ของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคน

มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญกับ

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมทรงจำพวกข้าพระองค์

ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้.

จบโขมทุสสสูตรที่ ๑๒

จบอุปาสกวรรคที่ ๒

อรรถกถาโขมทุสสสูตร

ในโขมทุสสสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โขมทุสฺสนฺนาม ได้แก่ นิคมที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีผ้า

ไหมมาก. บทว่า สภาย ได้แก่ ในศาลา. บทว่า ผุสายติ ความว่า หลั่ง

หยาดน้ำคือตก ได้ยินว่า พระศาสดา มีพระประสงค์จะเข้าสู่สภานั้นทรงดำริว่า

เมื่อเราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ จะไม่มีความสะดวก เพราะเหตุนั้น เราอาศัย

เหตุอย่างหนึ่งแล้วจักเข้าไป ดังนี้แล้ว ทรงบันดาลให้เกิดฝนศกด้วยการ

อธิษฐาน. บทว่า สภาธมฺม ความว่า ได้ยินว่า การไม่ทำชนผู้นั่งอย่างสบาย

ให้ลุกขึ้นแล้วเข้าไปข้างหนึ่ง และการไม่ทำมหาชนให้เข้าไปตรง ๆ ที่เดียว

ชื่อว่า สภาธรรมของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ตรงไปทีเดียว. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นโกรธ กล่าวเย้ยหยัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชนเหล่าไหนเล่าเป็นสมณะโล้น และชนเหล่าไหนเล่า

จักรู้สภาธรรม. บทว่า สนฺโต ได้แก่ บัณฑิต คือ สัตบุรุษ. บทว่า ปหาย

ความว่า ชนที่ละราคะเป็นต้นเหล่านั่น กล่าวธรรมเพื่อกำจัดราคะเป็นต้น ชื่อว่า

สัตบุรุษ.

จบอรรถกถาโขมทุสสสูตรที่ ๑๒ อุ ปาสกวรรคที่ ๒

แห่งพราหมณสังยุตเพียงเท่านี้

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กสิสูตร ๒. อุทัยสูตร ๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาศาลสูตร

๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนิกสูตร ๗. นวกัมมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร

๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร ๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา

จบพราหมณสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

วังคีสสังยุต

๑. นิกขันตสูตร

ว่าด้วยบรรเทาความกระสัน

[๗๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ทีอัตตาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี กับท่าน

พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ก็สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่

บวชได้ไม่นาน ถูกละไว้ให้เฝ้าวิหาร.

[๗๒๘] ครั้งนั้น สตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกายแล้ว เข้าไป

ยังอารามเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ.

ครั้งนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิต

ของท่านพระวังคีสะ เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น.

ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ

ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่

เราเกิดความกระสัน ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เหตุที่คนอื่น ๆ จะพึง

บรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่

บังเกิดขึ้นแล้วนี้ เราจะได้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสัน

เสียแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด.

[๗๒๙] ในกาลนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันเสียแล้ว

ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

วิตกทั้งหลายเป็นเหตุให้คะนอง

(เกิดมา) แต่ฝ่ายธรรมดำเหล่านี้ ย่อมวิ่ง

เข้ามาสู่เราผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่

มีเหย้าเรือนแล้ว.

บุตรของคนชั้นสูงทั้งหลาย ผู้มีฝีมือ

อันเชี่ยวชาญ ศึกษาดีแล้ว ทรงธนูไว้

มั่นคง พึงทำคนที่ไม่ยอมหนีมีจำนวนตั้ง

พัน ๆ ให้กระจัดกระจายไปรอบด้าน

(ฉันใด) ถึงแม้ว่าสตรีมากยิ่งกว่านี้จักมา

สตรีเหล่านั้นก็จักเบียดเบียนเรา ผู้ตั้งมั่น

แล้วในธรรมของตนไม่ได้เลย (ฉันนั้น)

เพราะว่า เราได้ฟังทางเป็นที่ไปสู่พระ-

นิพพานนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระ

พุทธเจ้า ผู้เป็นเฝาพันธุ์พระอาทิตย์แล้ว

ใจของเรายินดีแล้วในทางเป็นที่ไปสู่

พระนิพพานนั้น.

แน่ะมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านจะเข้ามา

หาเราผู้อยู่อย่างนี้ แนะมฤตยุราช เราจัก

ทำโดยวิธีที่ท่านจักไม่เห็นแม้ซึ่งทางของ

เราได้เลย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

วังคีสสังยุต

อรรถกถานิกขันตสูตร

ในนิกขันตสูตรที่ ๑ วังคีสสังยุค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อคฺคาฬเว เจติเย ได้แก่ ที่อัคคเจดีย์เมืองอาฬวี. เมื่อ

พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้มีเจดีย์เป็นอันมาก อันเป็นถิ่นของยักษ์และ

นาคเป็นต้น มีอัคคาฬวเจดีย์ และโคตมกเจดีย์เป็นต้น . เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว มนุษย์ทั้งหลายพากันรื้อเจดีย์เหล่านั้นสร้างเป็นวิหาร. เจดีย์

เหล่านั้นนั่นแล จึงเกิดเป็นชื่อของคนเหล่านั้น . บทว่า นิโคฺรธกปฺเปน

ได้แก่ ด้วยพระกัปปเถระผู้อยู่ที่โคนต้นไทร. บทว่า โอหิยฺยโก ได้แก่

ถูกเหลือไว้ บทว่า วิหารปาโล ความว่า ได้ยินว่า ในครั้งนั้นท่านยังไม่ได้

พรรษา ไม่เข้าใจในการรับบาตรจีวร. ลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย จึงกล่าว

กะท่านว่า อาวุโส ท่านจงนั่งดูแลร่ม รองเท้าและไม้เท้าเป็นต้น ตั้งให้เป็น

ผู้เฝ้าวิหารแล้วเข้าไปบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหารปาโล.

บทว่า สมลงฺกริตฺวา ความว่า ประดับด้วยเครื่องประดับอันเหมาะสมแก่

สมบัติของตน บทว่า จิตฺต อนุทฺธเสติ ความว่า กำจัดคือทำกุศลจิตให้

พินาศ. บทว่า ต กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า เมื่อราคะเกิดขึ้นจะได้เหตุนั้น

แต่ที่ไหน. บทว่า ย เม ปเร ความว่า เพราะเหตุใดบุคคลหรือธรรมอย่างอื่น

พึงบรรเทาความกระสัน อยากสึกแล้ว ทำความยินดีในพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น

แก่เราในบัดนี้เล่า แม้อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ทิ้งเราไว้ในวิหารแล้วไปเสีย.

บทว่า อคารสฺมา ได้แก่ ออกจากเรือน. บทว่า อนคาริย ความว่า

เข้าถึงบรรพชา. บทว่า กณฺหโต ความว่า แล่นมาจากธรรมฝ่ายดำ คือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ฝ่ายมาร. บทว่า อุคฺคปุตฺตา ได้แก่ บุตรของบุคคลชั้นสูง เป็นเชื้อสาย

แห่งเจ้าผู้มีศักดิ์ใหญ่. บทว่า ทฬฺหธมฺมิโน ได้แก่ ผู้ทรงธนูมั่งคง. คือ

ถือธนูของอาจารย์ ซึ่งมีขนาดสูงสุด. บทว่า สหสฺส อปลายิน ความว่า

เมื่อแสดงจำนวนของผู้ไม่ยอมหนีไป ซึ่งเอาลูกศรสาดไปรอบด้าน จึงกล่าวว่า

สหสฺส ดังนี้ . บทว่า เอตฺตกา ภิยฺโย ความว่า สตรีมีเกินกว่าพันนี้. บทว่า

เนว ม พฺยาธยิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่อาจให้เราหวั่นไหวได้. บทว่า ธมฺเม

สมฺหิ ปติฏฺิต ความว่า ตั้งอยู่ในศาสนธรรมของตน อันสามารถบรรเทา

ความกระสันอยากสึก แล้วทำความยินดีอันพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น. ท่านกล่าว

คำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก่อนอื่นเมื่อนายขมังธนูตั้งพันยิงกราดลูกศรมารอบด้าน

คนที่ศึกษาชำนาญ ก็ใช้ท่อนไม้ปัดลูกธนูทั้งหมดในระหว่างไม่ให้ถูกตัว ให้

ตกลงที่ใกล้เท้า บรรดานายขมังธนูเหล่านั้น คนหนึ่งยิงลูกธนูได้ทีละ ๒ ลูก

ส่วนหญิงเหล่านี้ ยิงลูกศรได้ทีสะ ๕ ลูก โดยอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น. หญิง

ที่ยิงลูกศรได้อย่างนั้น แม้จะมีเกินพัน ก็จักไม่สามารถทำเราให้หวั่นไหวได้เลย.

บทว่า สกฺขี หิ เม สุต เอต ความว่า ทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนี้

เราได้ฟังแล้วเฉพาะพระพักตร์ ท่านกล่าวว่า นิพฺพานคมน มคฺค หมายเอา

วิปัสสนา. จริงอยู่ มรรคนั้นเป็นมรรคส่วนเบื้องต้นแห่งพระนิพพาน. แต่

ท่านกล่าวว่า มคฺค ด้วยลิงควิปัลลาส ความคลาดเคลื่อนของลิงค์ [เพศของ

ศัพท์]. บทว่า ตตฺถ เม ความว่า ใจของเราไม่ยินดีในทางไปสู่พระนิพพาน

กล่าวคือ วิปัสสนาอย่างอ่อน ๆ ของตนนั้น. ท่านเรียกกิเลสว่า ปาปิมา.

เรียกกิเลสนั้นแหละว่า มจฺจุ ก็มี. บทว่า น เม มคฺคมปี ความว่า เรา

จักทำโดยประการที่ท่านมองไม่เห็นแม้ทางที่เราไปในภพและกำเนิดเป็นต้น.

จบอรรถกถานิกขันตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

๒. อรติสูตร

ว่าด้วยการบรรเทาความกระสัน

[๗๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี

กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนิโครธกัปปะ

กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปสู่วิหาร ออกในเวลาเย็นบ้าง ใน

วันรุ่งขึ้นหรือในเวลาภิกษาจารบ้าง.

[๗๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันบังเกิดขึ้น ความกำหนัด

รบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า

ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เรา

ไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิดความกระสันขึ้นแล้ว ที่ความกำหนัดรบกวน

จิตเรา เราจะได้เหตุที่คนอื่น ๆ จะพึงบรรเทาความกระสันแล้วยังความยินดีให้

เกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่เกิดขึ้นแล้วนี้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เรา

พึงบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด.

[๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยัง

ความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้น ว่า

บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา)

และความยินดี (ในกามคุณทั้งหลาย) และ

วิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวงแล้ว

ไม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหน ๆ

เป็นผู้ไม่มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจ

ไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นภิกษุ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้ง

อยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้งอยู่ในเวหาสก็ดี

ที่อยู่ในแผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็น

ของไม่เที่ยงทั้งหมด บุคคลทั้งหลายผู้

สำนึกตน ย่อมถึงความตกลงอย่างนี้เที่ยว

ไป.

ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิ

ทั้งหลายคือ ในรูปอันตนเห็นแล้ว ใน

เสียงอันตนได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอัน

ตนได้กระทบแล้ว และในโผฏฐัพพารมณ์

อันตนทราบแล้ว ท่านจงบรรเทาความ

พอใจในถามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่

หวั่นไหว บุคคลใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕

เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น

ว่า เป็นมุนี.

วิตกของคนทั้งหลายอาศัยปิยรูปสาต

รูป ๖๐ เป็นอันมาก ตั้งลงแล้วโดยไม่เป็น

ธรรมในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวน

กิเลสในอารมณ์ไหน ๆ และบุคคลผู้ไม่

พูดจาชั่วหยาบ จึงชื่อว่าเป็นภิกษุ.

บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วตลอดกาล

นาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มีปัญญาแก่กล้า ผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ถึงบทอันระงับ

แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้

แล้ว ย่อมรอคอยกาล (เป็นที่ปรินิพพาน)

ดังนี้.

อรรถกถาอรติสูตร

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิกฺขมติ ได้แก่ออกจากวิหาร. บทว่า อปรชฺชุ วา กาเล

ได้แก่ในวันที่ ๒ หรือในเวลาภิกษาจาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นเคารพใน

วิหาร. บทว่า อรติญฺจ รติญฺจ ได้แก่ความไม่ยินดีในศาสนา และ

ความยินดีในกามคุณทั้งหลาย. บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺก

ความว่า และละวิตกลามกซึ่งอาศัยเรือนในกามคุณห้าโดยอาการทั้งปวง. บทว่า

วนถ ได้แก่ป่าใหญ่คือกิเลส. บทว่า กุหิญฺจิ ได้แก่ในอารมณ์ไร ๆ. บทว่า

นิพฺพนโถ ได้แก่ผู้ปราศจากป่าคือกิเลส. บทว่า อรโต ได้แก่เว้นจาก

ความยินดีด้วยอำนาจตัณหา.

บทว่า ปวิญฺจ เวหาส ความว่า รูปที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ได้แก่

รูปหญิงชาย ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น และรูปที่ตั้งอยู่ในอากาศมีแสงจันทร์

และอาทิตย์เป็นต้น. บทว่า รูปคต ได้แก่รูปนั่นเอง บทว่า ชคโตคธ

ได้แก่รูปที่อยู่ในแผ่นดิน อธิบายว่า ถึงนาคพิภพภายในแผ่นดิน. บทว่า

ปริชิยฺยติ ได้แก่ทรุดโทรม. บทว่า สพฺพมนิจฺจ ความว่า นั้นไม่เที่ยง

ทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นมหาวิปัสสนาของพระเถระ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

เอว สเมจฺจ ได้แก่มารวมกันอย่างนี้. บทว่า จรนฺติ มุตตฺตา ความว่า

ผู้มีอัตภาพอันรู้แจ้งแล้วอยู่.

บทว่า อุปธีสุ ได้แก่ ขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร. บทว่า คธิตา

ได้แก่ติดอยู่แล้ว. บทว่า ทิฏฺสุเต ได้แก่ในรูปที่จักษุเห็นแล้ว ในเสียงที่

โสตะได้ยินแล้ว. กลิ่นและรสท่านถือเอาด้วยบทว่า ปฏิฆะ โผฏฐัพพารมณ์

ท่านถือเอาด้วยบทว่า มุตะ ในคำว่า ปฏิเฆ จ มุเต จ นี้. บทว่า

โย เอตฺถ น ลิมฺปติ ความว่า บุคคลใดไม่ข้องติดอยู่ในกามคุณ ๕

เหล่านี้ด้วยกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า อถ สฏฺิสิตา สวิตกฺกา ปุถุชฺชนตาย อธมฺมนิวิฏฺา

ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น วิตกฝ่ายอธรรมเป็นอันมาก ที่อาศัยอารมณ์ ๖

ก็ตั้งลงในหมู่ชน. บทว่า น จ วฏฺฏคตสฺส กุหิญฺจิ ความว่า ไม่พึง

ตกไปในวนคือ กิเลสในที่ไหน ๆ ด้วยอำนาจวิตกฝ่ายอธรรมเหล่านั้น. บทว่า

โน ปน ทุฏฺฐุลฺลภาณี ความว่า ไม่พึงเป็นผู้กล่าววาจาชั่วหยาบ. บทว่า

ส ภิกฺขุ ความว่า ผู้มีจิตอย่างนี้นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นภิกษุ.

บทว่า ทพฺโพ ได้แก่บัณฑิตผู้มีชาติแห่งผู้มีปัญญา. บทว่า

จิรรตฺตสมาหิโต ได้แก่ผู้มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน. บทว่า นิปโก ได้แก่

ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องรักษาตน คือมีปัญญาแก่กล้า. บทว่า อปิหาลุ

ได้แก่ผู้ปราศจากตัณหา. บทว่า สนฺต ปท ได้แก่พระนิพพาน. บทว่า

อชฺฌคมา มุนิ ได้แก่มุนีผู้บรรลุแล้ว. บทว่า ปฏิจฺจ ปรินิพฺพุโต

กงฺขติ กาล ความว่า อาศัยพระนิพพาน ดับด้วยการดับกิเลสรอกาลเป็นที่

ปรินิพพาน.

จบอรรถกถาอรติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

๓. เปสลาติมัญญนาสูตร

ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีล

[๗๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี

กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้อุปัชฌาย์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะนึก

ดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ

ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้ว หนอ

ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน ดังนี้.

[๗๓๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะยังความวิปฏิสารให้เกิดขึ้น

แก่ตนด้วยตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนท่านโคดม ท่านจงละมานะ

เสีย ท่านจงละหนทางแห่งมานะในโลก

นี้เสีย ท่านจงเป็นผู้ละหนทางแห่งมานะ

ในโลกนี้เสีย อย่าให้มีส่วนเหลือได้

(เพราะ) หมู่สัตว์ผู้อันความลบหลู่ทำให้

มัวหมองแล้ว ย่อมเป็นผู้มีความเดือดร้อน

ตลอดกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้อันมานะ

กำจัดแล้วย่อมตกนรก ชนทั้งหลายผู้อัน

มานะกำจัดแล้ว เข้าถึงนรกแล้ว ย่อม

เศร้าโศกสิ้นกาลนาน ภิกษุผู้ชำนะกิเลส

ด้วยมรรคเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมไม่เศร้า-

โศกเลยในกาลไหน ๆ ย่อมได้รับเกียรติคุณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

และความสุข บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียก

ภิกษุผู้เช่นนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะ-

ฉะนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงตะปู

เครื่องตรึงใจในโลกนี้ เป็นผู้มีความเพียร

จงละนิวรณ์ทั้งหลายเสีย เป็นผู้บริสุทธิ์

และละมานะอย่าให้มีส่วนเหลือแล้ว ทำ

ที่สุดแห่งกิเลสด้วยวิชชา เป็นผู้สงบระงับ

ดังนี้.

อรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตร

ในเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อติมญฺติ ความว่า ท่านพระวังคีสะดูหมิ่นว่า พระแก่ ๆ

เหล่านี้จะรู้อะไร บาลีก็ไม่รู้ อรรถกถาก็ไม่รู้ ความไพเราะของบทและ

พยัญชนะก็ไม่รู้ ส่วนพวกเรา ทั้งบาลีทั้งอรรถกถาปรากฏตั้งร้อยนัยพันนัย.

เพราะตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้โคตมะ จึงเรียกตนว่าโคตมะ. บทว่า

มานปถ ได้แก่อารมณ์แห่งมานะ และธรรมที่เกิดกับมานะ. บทว่า

วิปฺปฏิสารีหุวา ความว่า ได้เป็นผู้มีความร้อนใจ. บทว่า มคฺคชิโน

ได้แก่ผู้ชนะกิเลสด้วยมรรค. บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่การกล่าว

สรรเสริญ และความสุขทางกายทางใจ. บทว่า อขีโลธ ปธานวา ความว่า

ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปู มีความเพียร คือสมบูรณ์ด้วยความเพียร.

บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า พึงเป็นผู้บริสุทธิ์. บทว่า อเสส ได้แก่ละมานะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลส

ทั้งหลายด้วยวิชชา. บทวา สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะ

เป็นต้นสงบ.

จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓

๔. อานันทสูตร

ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน

[๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร

เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ

ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่าน

พระวังคีสะ.

[๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วย

คาถาว่า

ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิต

ของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี

เป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่

ข้าพเจ้าด้วยเถิด โคดม.

[๗๓๗] ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า

จิตของท่านรุ่มร่อน เพราะสัญญา

อันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงาม

อันเกี่ยวด้วยราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

ทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดย

เป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน

ท่านจงดับราคะอันแรงกล้า ท่านจงอย่าถูก

ราคะเผาผลาญบ่อย ๆ ท่านจงเจริญจิตใน

อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็น

อันเดียวตั้งมั่นด้วยดีเถิด ท่านจงมีการ-

คตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย

ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอน

มานานุสัยเสีย เพราะการรู้เท่าถึงมานะ

ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.

อรรถกถาอานันทสูตร

ในอานันทสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ราโค เป็นต้น ความว่า ท่านพระอานนท์เป็นผู้มีปัญญามาก

อบรมตนดีแล้ว พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชานิมนต์ท่านให้นั่ง

ภายในนิเวศน์. พวกสตรีประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เข้าไปหาพระเถระ

ไหว้แล้วพัดด้วยพัดใบตาล. เข้าไปนั่งถามปัญหา ฟังธรรม. ในที่นั้น

เมื่อท่านพระวังคีสะ บวชใหม่ ไม่อาจที่จะกำหนดอารมณ์ได้ ความกำหนัด

ในรูปารมณ์คือสตรีรบกวนจิต. เพราะบวชด้วยศรัทธา ท่านจึงเป็นคนตรง

คิดว่า ความกำหนัดของเรานี้กำเริบมากขึ้น พึงทำประโยชน์ปัจจุบันและ

ประโยชน์ภายหน้าให้เสียไป. นั่งอยู่ถัดกันนั่นแหละ เมื่อจะเปิดเผยตนแก่

พระเถระ จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กามราเคน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปน ได้แก่เหตุดับราคะ. บทว่า

วิปริเยสา ได้แก่โดยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง. บทว่า ราคูปสญฺหิต

ได้แก่อิฏฐารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า ปรโต ปสฺส ความว่า จงเห็น

โดยความเป็นของไม่เทียง. บทว่า มา จ อตฺตโต ความว่า จงอย่าเห็น

โดยความเป็นอัตตา. บทว่า กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า ท่านจงมีสติไปใน

กาย. บทว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ ความว่า เพราะท่านเพิกนิจจนิมิตมีเที่ยง

เป็นต้นเสียได้ วิปัสสนาจึงชื่อว่าหานิมิตมิได้. พระอานนทเถระกล่าวกะท่าน

พระวังคีสะนั้นว่า ภาเวทิ ท่านจงเจริญ ดังนี้. บทว่า มานาภิสมยา

ได้แก่ เพราะรู้ด้วยการเห็นมานะอย่างหนึ่ง เพราะรู้ด้วยการละอย่างหนึ่ง.

บทว่า อุปลนฺโต ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สงบเพราะราคะเป็นต้นสงบ.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๔

๕. สุภาสิตสูตร

ว่าด้วยวาจาสุภาษิต ๔ ประการ

[๗๓๘] สาวัตถีนิทาน.

ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอัน

ประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มี

โทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้ว

เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่บุคคลกล่าวชั่วแล้ว ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

เท่านั้น ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักเท่านั้น

ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาจริงเท่านั้น ไม่กล่าววาจา

เท็จ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นวาจา

สุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชน

ทั้งหลายไม่ติเตียน.

[๗๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์-

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจา

สุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง บุคคลพึงกล่าววาจา

ที่เป็นธรรมไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม

เป็นที่สองบุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก

ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม

บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าววาจา

เท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์

ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด

วังคีสะ.

[๗๔๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุ

ยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียด-

เบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล

พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลาย

ชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย

กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น

คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็น

ของมีมาแต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลาย

เป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถ

และเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจา

ใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระ-

นิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจา

นั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้.

อรรถกถาสุภาสิตสูตร

ในสุภาสิตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ ด้วยเหตุหรือด้วยส่วนทั้งหลาย. จริงอยู่

เหตุแห่งวาจาเป็นสุภาษิต ๔ มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากพูดคำเท็จเป็นต้น

หรือส่วน ๔ มีสัจจวาจาเป็นต้น. ก็บทว่า จตูหิ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงใน

องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่าเหตุ เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน องฺค ศัพท์ ซึ่งแปลว่า

ส่วน. บทว่า สมนฺนาคตา ได้แก่ มาตามพร้อมแล้ว คือเป็นไปแล้วและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

ประกอบแล้ว. บทว่า วาจา ได้แก่วาจาที่สนทนากัน. วาจา ที่มาในบาลี

มีอาทิอย่างนี้ว่า วาจาที่ใช้พูดกัน วาจาที่เปล่ง คำเป็นคลองดังนี้ก็ดี และว่า

วาจาอันหาโทษมิได้ สบายหู ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า วาจา. แต่วิญญัติวาจ่าอย่างนี้ว่า

ถ้ากรรมอันบุคคลทำด้วยวาจาดังนี้ก็ดี วิรัติวาจาอย่างนี้ว่า ความงดเว้นจาก

วจีทุจริต ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา ดังนี้ก็ดี เจตนาวาจาอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย วาจาหยาบอันบุคคลส้องเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นทางแห่งนรกดังนี้ก็ดี นี้ใด วาจานั้น มาโดยชื่อว่า วาจา. วิญญัติวาจา

เป็นต้นนั้น ไม่ประสงค์เอาในบทว่า วาจานี้เพราะเหตุไร. เพราะไม่ใช่วาจา

ที่เขาพึงใช้พูดกัน. บทว่า สุภาสิตา ได้แก่ วาจา ที่เขาใช้พูดกันด้วยดี.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงความที่วาจาสุภาษิตนั้นว่านำมาซึ่ง

ประโยชน์. บทว่า โน ทุพฺภาสิตา ได้แก่ ไม่ใช่ทุพภาษิตวาจาที่เขาพูดชั่ว.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงแสดงความที่วาจาทุพภาษิตนั้น ไม่นำ

ประโยชน์มาให้. บทว่า อนวชฺชา ได้แก่เว้น จากโทษมีราคะเป็นต้น. ด้วย

คำว่า อนวชฺชา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความบริสุทธิ์แห่งเหตุของ

วาจานั้น และความไม่มีโทษ ประการ. บทว่า อนนุวชฺชา ได้แก่

พ้นแล้วจากคำติเตียน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมบัติแห่งเครื่อง

ประดับทั้งปวงของวาจานั้น. บทว่า วิญฺญูน ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนพาลถือเอาเป็นประมาณไม่ได้

ในการนินทาเเละสรรเสริญ. คำว่า สุภาสิต เยว ภาสติ นี้ เป็นคำแสดงไข

องค์แห่งวาจา ๙ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเทศนาเป็นปุคคลาธิฏฐาน.

บทว่า โน ทุพฺภาสิต นี้ เป็นการห้ามการพูดอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อองค์ของ

วาจานั้นนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า โน ทุพฺภาสิต นี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงการละมิจฉาวาจา. ด้วยคำว่า สุภาสิต นี้ แสดงถึงลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

แห่งคำที่ผู้ละมิจฉาวาจาได้แล้วพึงพูด. แต่เพื่อแสดงถึงองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มิไค้ตรัสคำที่ไม่ควรพูดก่อนแล้ว ตรัสแต่คำที่ควรพูดเท่านั้น. แม้ในคำว่า

ธมฺม เยว เป็นต้นก็นัยนี้. ก็ในองค์เหล่านั้น ด้วยองค์ที่หนึ่ง พระองค์ตรัส

ถึงคำที่กระทำความสมัครสมานอันเว้นจากโทษคือการส่อเสียด. ด้วยองค์ที่ ๒

ตรัสถึงคำประกอบด้วยเมตตา เว้นจากโทษสัมผัปปลาปะคือไม่ปราศจากธรรม.

ด้วย ๒ องค์นอกนี้ ตรัสถึงการกล่าวคำสัตย์ที่น่ารัก อันเว้นคำหยาบและคำ

เหลาะแหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงองค์เหล่านั้น มีคำว่า อิเมหิ

โข เป็นต้น โดยประจักษ์ จึงตรัสย้ำคำนั้น . ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปฏิเสธ แม้การกล่าวมุสาวาทเป็นต้น อันประกอบด้วยส่วนมีปฏิญญาเป็นต้น

ด้วยบทมีนามเป็นต้น และด้วยสัมบัติคือลิงค์ วจนะ วิภัตติ กาล และการก

เป็นต้น ที่คนเหล่าอื่นสำคัญว่าเป็นวาจาสุภาษิต. จริงอยู่ วาจาเห็นปานนั้น

แม้ประกอบด้วยส่วนเป็นต้น เป็นวาจาทุพภาษิต เพราะนำความเสียหายมาให้

ทั้งแก่ตน ทั้งแก่ชนเหล่าอื่น. ส่วนวาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้ แม้ถ้าเป็น

วาจานับเนื่องในภาษามิลักขะก็ดี เป็นวาจานับเนื่องในเพลงขับของเด็กหญิง

ผู้นำหม้อนำก็ดี วาจาเห็นปานนั้น ชื่อว่า เป็นวาจาสุภาษิต เพราะนำมาซึ่ง

ความสุขทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา

ประมาณ ๖๐ รูป กำลังเดินทางได้ยินเพลงขับของเด็กหญิงชาวสีหล ผู้รักษา

ไร่ข้าวกล้าข้างทาง กำลังขับเพลงขับที่เกี่ยวด้วยชาติชราและมรณะด้วยภาษา

ชาวสีหล ก็บรรลุพระอรหัต. อนึ่ง ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ชื่อว่า ติสสะ

กำลังเดินทางใกล้สระปทุม ได้ยินเพลงขับของเด็กหญิงผู้หักดอกปทุมในสระ-

ปทุมพลางขับเพลงนี้ว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

ดอกปทุมชื่อ โกกนทะ บานแต่เช้า

ตรู่ ย่อมเหี่ยวไปด้วยแสงอาทิตย์ ฉันใด

สัตว์หลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยว

แห้งไป ด้วยกำลังกล้าแห่งชรา ฉันนั้น

แล้วบรรลุพระอรหัต. อนึ่ง บุรุษผู้หนึ่งในพุทธันดร (ในเวลาว่างพระพุทธเจ้า)

๑ กลับ จากดงพร้อมกับบุตร ๗ คน ฟังเพลงขับของสตรีผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังเอา

สากตำข้าวสารดังนี้ว่า

สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูก

ชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส

คือเหยื่อของมฤตยู ย่อมแตกไป เพราะ

มรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน

เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็น

ภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วย

ท่อนต้นกล้วย

พิจารณาอยู่ก็บรรลุปัจเจกโพธิญาณ พร้อมด้วยบุตรทั้งหลาย. วาจาประกอบ

ด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ แม้ถ้านับเนื่องในภาษาของชาวมิลักขะ หรือนับเนื่องใน

เพลงขับของสตรีผู้ถือหม้อน้ำไปไซร้ ถึงกระนั้น ก็พึงทราบว่า เป็นวาจาสุภาษิต.

วาจาชื่อว่า ไม่มีโทษ ทั้งวิญญูชนผู้มุ่งประโยชน์ อาศัยแต่ใจความ ไม่ใช่อาศัย

แต่พยัญชนะ ไม่พึงติเตียน เพราะเป็นวาจาสุภาษิต.

บทว่า สรูปาหิ ได้แก่ สมควร. บทว่า อภิตฺกวิ ได้แก่ สรรเสริญ

แล้ว. บทว่า น ตาปเย ความว่า ไม่พึงทำตนให้เดือนร้อน คือไม่พึงเบียดเบียน

ตนให้ร้อนใจ. บทว่า ปเร ความว่า ไม่ทำลายผู้อื่นให้เดือนร้อน. พระวังคีสะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยอปิสุณาวาจาด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปฏินนฺทิตา ได้แก่ ประพฤติเป็นที่น่ารักใคร่. บทว่า ย อนาทาย

ความว่า ท่านพระวังคีสะชมเชยด้วยอำนาจวาจาที่น่ารักว่า บุคคลเมื่อกล่าว

วาจาใด ไม่ถือเอาคำหยาบอันลามก ไม่เป็นที่รักของตนเหล่าอื่น กล่าวแต่คำ

เป็นที่รักซึ่งไพเราะทั้งอรรถะและพยัญชนะเท่านั้น พึงกล่าวแต่วาจานั้น.

บทว่า อมตา ได้แก่ เป็นวาจาเสมือนน้ำอมฤตเพราะยังประโยชน์

ให้สำเร็จ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า สจฺจ หเว สาธุตร รสาน คำสัตย์แล

ดีกว่ารสทั้งหลาย ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อมตวาจา เพราะเป็นปัจจัย

แห่งพระอมตมหานิพพาน. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า ชื่อว่า

สัจจวาจานี้นั้นเป็นธรรม เป็นจรรยา เป็นประเพณีเก่า. จริงอยู่ คาสัจนี้แล

บัณฑิตปางก่อนประพฤติกันมาแล้ว. ท่านเหล่านั้นไม่กล่าวคำเหลาะแหละ.

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งอยู่

ในสัจจะที่เป็นอรรถและเป็นธรรม ดังนี้.

ในพระบาลีนั้น พึงทราบว่า สัจจวาจานั้น ชื่อว่าตั้งอยู่ในประโยชน์

ตนและประโยชน์ผู้อื่น เพราะตั้งอยู่ในสัจจะนั่นแล และชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม

เพราะตั้งอยู่ในประโยชน์นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อรรถะ และ ธรรม

ทั้งสองนั้น เป็นวิเสสนะของคำว่า สัจจะ นั่นเอง. ความจริง ท่านกล่าวคำ

อธิบายไว้ดังนี้ว่า วาจานั้นตั้งอยู่ในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะเช่นไร. ตั้งอยู่ใน

สัจจะที่เป็นอรรถและเป็นธรรม ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ คือทำไม่ผิดประโยชน์

เพราะไม่ปราศจากประโยชน์ผู้อื่น ให้สำเร็จประโยชน์ที่เป็นธรรม คือประกอบ

ด้วยธรรมนั่นแล เพราะไม่ปราศจากธรรม. ท่านพระวังคีสะชมเชยพระผู้มี

พระภาคเจ้า โดยคำสัจด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เขม ได้แก่

ปลอดภัย คือปราศจากอันตราย. หากจะถามว่า เพราะเหตุไร. พึงตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

เพราะถึงความดับ เพราะทำให้สิ้นทุกข์. อธิบายว่า เพราะให้ถึงความดับกิเลส

และเป็นไปเพื่อทำให้สิ้นทุกข์ในวัฏฏะ. อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสพระ-

วาจาใด ซึ่งเป็นวาจาเกษม เพราะประกาศมรรคอันเกษม เพื่อประโยชน์ของ

นิพพานธาตุทั้งสอง คือเพื่อถึงพระนิพพาน เพื่อทำให้สิ้นทุกข์. ในคำว่า

สา เว วาจานมุตฺตมา นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า วาจานั้นประเสริฐ

ที่สุดแห่งวาจาทั้งปวง ดังนี้. ท่านพระวังคีสะเมื่อชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคำประกอบด้วยปัญญา ด้วยคาถานี้ ให้จบเทศนาด้วยยอดธรรมคือพระ-

อรหัต ด้วยประการฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาสุภาสิตสูตรที่ ๕

๖. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยการสรรเสริญพระสารีบุตร

[๗๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย

ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง.

ส่วนภิกษุเหล่านั้นก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิต

ทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม.

[๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระ-

สารีบุตรนี้ แนะนำชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา

ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้

รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

ส่วนภิกษุเหล่านั้นเล่า ก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนด

ด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรสรรเสริญท่าน

พระสารีบุตรด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรในที่เฉพาะหน้าเถิด.

ลำดับนั้นแล ท่านพระวงคีสะลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่งแล้ว ประณมอัญชลีไปทางท่านพระสารีบุตรแล้ว ได้กล่าวกะท่าน

พระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ท่าน

สารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระวังคีสะว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้ง

กะท่านเถิด ท่านวังคีสะ.

[๗๔๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร

ต่อหน้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า

ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์ มี

ปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทางและมิใช่ทาง

มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดย

พิสดารก็ได้ เสียงของท่านไพเราะดังก้อง

เหมือนเสียงนกสาริกา ปฏิภาณเกิดขึ้นโดย

ไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุ

ทั้งหลายย่อมฟังเสียงอันไพเราะ เป็นผู้

ปลื้มจิตยินดีด้วยเสียงอันเพราะ น่ายินดี

น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

ในสารีปุตตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โปริยา ได้แก่บริบูรณ์ด้วยอักขระและบท. บทว่า วิสฏฺาย

ได้แก่ อันโรคไม่เกี่ยวเกาะไม่พัวพัน. ก็เมื่อพระธรรมเสนาบดีกล่าว ย่อมมี

ถ้อยคำไม่พัวพันด้วยโรคดีเป็นต้น ย่อมเปล่งเสียง เหมือนเสียงจากกังสดาล

ที่ถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก. บทว่า อเนลคฬาย ได้แก่ไม่มีโทษไม่คลาดเคลื่อน

คือปราศจากโทษและมีบทพยัญชนะไม่คลาดเคลื่อน. จริงอยู่ เมื่อพระเถระพูด

บทหรือพยัญชนะไม่เสื่อมเสีย. บทว่า อตฺถสฺส วิญฺาปนิยา ได้แก่สามารถ

ทำผู้พึงให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้ง. บทว่า ภิกฺขุน คือ แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า สงฺขิตฺเตนปิ ความว่า พระสารีบุตรเถระแสดงโดยย่ออย่าง

นี้บ้างว่า อาวุโส อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ คืออะไรบ้าง คือทุกขอริยสัจ

ฯลฯ อาวุโส อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ อาวุโส เธอพึงทำ

ความเพียรว่า นี้ทุกขอริยสัจ. บทว่า วิตฺถาเรนปิ ความว่า พระสารีบุตร

เมื่อจะจำแนกอริยสัจ ๔ เหล่านั้น จึงกล่าวแม้โดยพิสดารโดยนัยมีอาทิว่า

อาวุโส ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ดังนี้ . แม้ในเทศนาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า สาลิกา วิย นิคฺโฆโส ความว่า เมื่อพระเถระแสดงธรรม

ย่อมมีเสียงไพเราะกังวาน เหมือนเสียงของนางนกสาลิกาที่ลิ้มมะม่วงสุกมีรสหวาน

กระพือปีกเปล่งเสียงไพเราะ. บทว่า ปฏิภาณ มุทีริยิ ความว่า ปฏิภาณเกิด

ขึ้นไม่สิ้นสุด เหมือนลูกคลื่นเกิดจากทะเล. บทว่า โอเธนฺติ ได้แก่ภิกษุเหล่า

นั้นย่อมเงี่ยโสตสดับ.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

๗. ปวารณาสูตร

ว่าด้วยการทำปวารณา

[๗๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่พระวิหารบุพพาราม

ปราสาทของนางวิสาชาผู้เป็นมารดามิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี กับพระภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม

ประทับนั่งในที่แจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ.

ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูเห็นภิกษุสงฆ์เป็นผู้นิ่งอยู่

แล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณา

เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมไร ๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทาง

วาจาของเราบ้างหรือ.

[๗๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ลุกขึ้นจากอาสนะ. ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีไปทางพระผู้

มีพระภาคเจ้าแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์ทงั้หลายติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงยังทางที่ยังไม่เกิดไห้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดขึ้นพร้อมให้เกิด

ขึ้นพร้อม ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรง

ฉลาดในทางข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง

บัดนี้แลขอปวารณาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ทรรงติเตียน

กรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็น

ไปทางกายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร

เธอเป็นผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญา

ชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาแหลม

คม สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระ-

ราชบิดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไป

ตามได้โดยชอบแท้จริง.

ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจา

ของข้าพระองค์ไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ทรง

ติเตียนกรรมไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้าง

หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมไร ๆ อัน

เป็นไปทางกายหรือทางวาจา ของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ สารีบุตร เพราะ

บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ภิกษุ ๑๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูป

เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุตติ ส่วนที่ยังเหลือเป็น

ผู้ได้ปัญญาวิมุตติ.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้าง

หนึ่งแล้ว ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์

ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ.

[๗๔๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในที่เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาทั้งหลาย้อนสมควรว่า

วันนี้เป็นวันอุโบสถที่ ๑๕ ภิกษุ ๕๐๐

รูป มาประชุมกันเพื่อความบริสุทธิ์ ล้วน

เป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องประกอบและเครื่อง

ผูกได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็น

ผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณอัน

ประเสริฐ พระเจ้าจักพรรดิห้อมล้อมด้วย

อำมาตย์เสด็จเลียบพระมหาอาณาจักรนี้ ซึ่ง

มีสมุทรสาครเป็นขอบเขตโดยรอบ ฉันใด

สาวกทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา ผู้ละ

มฤตยุราเสียได้ ย่อมนั่งห้อมล้อมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ผู้ชนะสงความแล้ว เป็นผู้

นำพวกอันหาผู้นำอื่นยิ่งกว่าไม่มี ฉันนั้น

พระสาวกทั้งหมดเป็นบุตรของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ผู้ชั่วช้าไม่มีในสมาคมนี้ ข้าพระ-

องค์ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้

หักลูกศรคือตัณหาเสียได้ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์

พระอาทิตย์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

อรรถกถาปวารณาสูตร

ในปวารณาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทหุ ตัดเป็น ตสฺมึ อหุ ความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า

อุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้า

จำอยู่ด้วยศีล หรือด้วยอดข้าว. ก็วันอุโบสถนี้นั้น มี ๓ อย่างโดยแยกเป็นวัน

๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และวัน ๑๕ ค่ำ เพราะฉะนั้น เพื่อจะห้ามวันทั้ง ๒ ที่เหลือ

จึงกล่าวว่า ปณฺณรเส. บทว่า ปวารณาย ได้แก่ ออกพรรษาปวารณาแล้ว.

แม้คำว่า วิสุทฺธิปวารณา ดังนี้ ก็เป็นขอของปวารณานั้น. บทว่า นิสินฺโน

โหติ ความว่า ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควร

แก่กาล แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ทรงสรงพระวรกายที่ซุ้มน้ำ ทรงนุ่งห่ม ทำ

สุคตมหาจีวรเฉวียงบ่า ประทับนั่งชมสิริแห่งมณฑลพระจันทร์ ที่ตั้งขึ้นใน

ปุริมทิศ บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ อิงเสากลาง. บทว่า ตุณฺหีภูต ความว่า

เป็นผู้นิ่งแต่ทิศที่ทรงแลดู. ในหมู่ภิกษุเหล่านั้น แม้รูปเดียวก็มิได้มีความคะนอง

มือคะนองเท้า ทั้งหมดเงียบเสียงนั่งด้วยอิริยาบถสงบ. บทว่า อนุวิโลเกตฺวา

ความว่า ทรงใช้พระเนตรที่มีประสาททั้ง ๕ ปรากฏชำเลืองดู. ศัพท์ว่า

หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งอุปสรรค. อักษรในคำว่า น จ เม

กิญฺจิ ครหถ นี้ ใช้ในอรรถแห่งคำถามว่า น จ กิญฺจิ ดังนี้. อธิบายว่า

พวกเธอจะติเตียนอะไร ๆ เราหรือ ถ้าพวกเธอจะติเตียนว่ากล่าว เราต้องการ

ให้พวกเธอว่ากล่าว. ด้วยคำว่า กายิก วา วาจสิก วา นี้ พระองค์ปวารณา

กายทวารและวจีทวารเท่านั้น มิได้ปวารณาถึงมโนทวาร. เพราะเหตุไร. เพราะ

ปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในกายทวารและวจีทวารมีความผิดปรากฏ ในมโนทวาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

มิได้ปรากฏ แม้เมื่อนอนอยู่บนเตียงเดียวกัน ถามว่า เธอคิดอะไร จึงทราบ

วาระจิตได้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปวารณาถึงมโนทวาร เพราะความไม่

ปรากฏด้วยประการฉะนี้ มิใช่ไม่ทรงปวารณาเพราะไม่บริสุทธิ์ . จริงอยู่ มโน-

ทวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เป็นพระโพธิสัตว์ ในคราวเป็นภูริทัตต์

ฉัททันต์ สังขบาลและธรรมบาลเป็นต้น ก็บริสุทธิ์. บัดนี้ไม่มีคำที่จะต้อง

กล่าวในข้อนี้เลย.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า เพราะเธอดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรม-

เสนาบดี เธอรับหน้าที่ปกครองภิกษุสงฆ์ จึงได้กราบทูลอย่างนี้ บทว่า

น โข มย ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

ไม่ติเตียนอะไร ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า กายิก วา วาจสิก วา นี้

พระเถระกล่าวหมายเอาความบริสุทธิ์ ๔ อย่าง มีกายสมาจารที่บริสุทธิ์เป็นต้น

ที่ไม่ต้องรักษา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิต้องทรงรักษาความบริสุทธิ์

๔ อย่าง. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ที่ตถาคต

ไม่ต้องรักษา ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างอะไรบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

มีกายสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีกายทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้

สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ตถาคตไม่มี

วจีทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีมโนทุจริตที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่น

อย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ ตถาคต

ไม่มีมิจฉาชีวะที่จะพึงรักษาว่า ผู้อื่นอย่าได้รู้สิ่งนี้ของเราเลย ดังนี้.

บัดนี้ พระเถระเมื่อสรรเสริญพระคุณตามเป็นจริงของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภควา หิ ภนฺเต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า อันสมณะอื่นไม่เคยให้เกิดขึ้น ตั้งแต่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า อสญฺชาตสฺส นี้ เป็นไวพจน์ของ

บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส นั่นเอง. บทว่า อนกฺขาตสฺส ได้แก่คนอื่นมิได้

แสดง. บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ไปก่อนแล้ว พระสาวกมาประชุมกันภายหลัง. ดังนั้น พระเถระอาศัยพระอรหัต-

มรรคนั่นแล สรรเสริญพระคุณ เพราะเหตุที่พระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดเมาแล้ว เพราะอาศัยพระอรหัตมรรคเท่านั้น. ด้วย

เหตุนั้น พระคุณทั้งปวงย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วแล. คำว่า อหญฺจ โข ภนฺเต

นี้ พระเถระกล่าวปวารณาสมาจารทางกาย ทางวาจาทั้งของตนทั้งของสงฆ์

ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

บทว่า ปิตรา ปวตฺติต ความว่า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิสวรรคต

หรือทรงผนวชล่วงไป ๗ วัน จักรย่อมอันตรธาน ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรส

ทรงนั่งบำเพ็ญจักรวัตติวัตรสิบอย่างหรือสิบสองอย่าง จักรอื่นย่อมปรากฏ

พระโอรสนั้นทรงให้จักรนั้นเป็นไป แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำจักรนั้นแหละ

ให้เป็นวัตรเพราะมีอรรถอย่างเดียวกัน เหตุสำเร็จด้วยรัตนะ. ตรัสว่า ปิตรา

ปวตฺติต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระโอรสนั้นตรัสว่า ขอพระองค์

จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักปกครอง ดังนี้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า

ย่อมปกครองอาณาจักรที่พระบิดาปกครอง. บทว่า สมฺมเทว อนุปวตฺเตสิ

ความว่า จงให้เป็นไปตามโดยชอบ คือโดยนัย โดยเหตุ โดยการณะนั่นแล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมคือ อริยสัจ ๔ พระเถระก็กล่าวตามธรรมคือ

อริยสัจ ๔ นั้นนั่นแหละ. เหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุภโตภาควิมุตฺตา

ความว่า พ้นด้วยส่วนทั้ง ๒ คือพ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ พ้นจาก

นามกายด้วยอริยมรรค. บทว่า ปญฺาวิมุตฺตา ได้แก่หลุดพ้นด้วยปัญญา.

คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

บทว่า วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อต้องการความบริสุทธิ์. บทว่า

สญฺโชนพนฺธนจฺฉิทา ได้แก่ ตัดกิเลส กล่าวคือเครื่องประกอบ และกิเลส

กล่าวคือเครื่องผูกได้. บทว่า วิชิตสงฺคาม ได้แก่ ชนะสงความคือ ราคะ

โทสะ โมหะ. แม้ชนะกองทัพมาร ก็ชื่อว่าชนะสงความ บทว่า สตฺถวาห

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สัตถวาหะ เป็นผู้นำหมู่ เพราะทรง

นำหมู่เวไนยสัตว์ ยกขึ้นบนรถคือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ให้ข้ามสังสารวัฏ.

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำหมู่นั้น. บทว่า ปลาโป ได้แก่ภายในว่างเปล่า คือ

ทุศีล. ด้วยบทว่า อาทิจฺจพนฺธุน นี้ ท่านพระวังคีสะกล่าวว่า ข้าพระองค์

ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เป็นศาสดาผู้ทรง

ทศพลญาณ ดังนี้.

จบอรรถกถาปวารณาสูตรที่ ๗

๘. ปโรสหัสสสูตร

การสรรเสริญพระพุทธเจ้าโดยคาถาที่ไม่คิดไว้ก่อน

[๗๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน. อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

๑,๒๕๐ รูป.

ก็โ่ดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน.

ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ได้ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนด

ด้วยจิตทั้งปวง เงียโสตลงฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

[๗๔๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้ทรงแนะนำ ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ก็ทำธรรมนั้นให้

สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น อย่า

กระนั้นเลย เราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่เฉพาะพระพักตร์

ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรเถิด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้ง

กะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด

วังคีสะ.

[๗๔๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กราบทูลสรรเสริญพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า

ภิกษุมากกว่าพัน ย่อมนั่งห้อมล้อม

พระสุคตผู้ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี

คือพระนิพพาน ธรรมอันหาภัยแต่ไหน

มิได้ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังธรรมอันปราศ-

จากมลทิน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง

แสดงแล้ว พระสัมพุทธเจ้าผู้อันหมู่ภิกษุ

ห้อมล้อมแล้ว ย่อมงามจริงหนอ ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เป็นผู้ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

นามว่าพญาช่างอันประเสริฐ เป็นพระฤาษี

ที่ ๗ แห่งพระฤาษีทั้งหลาย เป็นผู้ดุจ

มหาเมฆยังฝนให้ตกในพระสาวก ข้าแต่

พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าใหญ่ วังคีสะ

สาวกของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวัน

ด้วยความใคร่เพื่อเฝ้าพระศาสดา ขอถวาย

บังคมพระบาท ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรอง

ไว้ก่อนหรือ ๆ ว่าแจ่มแจ้งกะเธอโดยฉับพลัน.

ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้

ข้าพระองค์มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์โดยทันที

เทียวแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วังคีสะ คาถาทั้งหลายที่เธอไม่ได้ตรึกตรอง

ไว้ในกาลก่อน จงแจ่มแจงกะเธอโดยประมาณยิ่งเถิด.

[๗๕๐] ท่านพระวังคีสะ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ได้พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายซึ่งตน

ไม่ได้ตรึกตรองไว้ในกาลก่อน โดยประมาณยิ่งว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด

ทรงครอบงำหนทางผิดตั้งร้อยของมารเสีย

ได้ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจเพียงดัง

ตะปูทั้งหลายเสียได้เสด็จเที่ยวไป ท่าน

ทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

นั้น ผู้ทรงทำการแก้เครื่องผูกเสียได้ ผู้อัน

กิเลสอาศัยไม่ได้แล้ว ผู้ทรงจำแนกธรรม

เป็นส่วน ๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

ใดได้ทรงบอกทางมีอย่างต่าง ๆ เพื่อเป็น

เครื่องข้ามโอฆะ เมื่อหนทางนั้น ซึ่งเป็น

ทางไม่ตาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

ตรัสบอกแล้ว พระสาวกทั้งหลายเป็นผู้

เห็นธรรมไม่ง่อนแง่น ตั้งมั่นแล้ว พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงทำความ

รุ่งเรืองแทงตลอดซึ่งธรรมแล้ว ได้ทรง

เห็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงทิฏฐิทั้งปวง พระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้นทรง

ทราบแล้วและทรงกระทำให้แจ้ง (ธรรม

นั้น) แล้ว ได้ทรงแสดงฐานะทั้ง ๑๐

อันเลิศ ความประมาทอะไร ในธรรมอัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยดี

อย่างนี้ จักมีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

แล บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ประมาท น้อมใจ

ศึกษาในพระศาสนาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นทุกเมื่อ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

อรรถกถาปโรสหัสสสูตร

ในปโรสหัสสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปโรสหสฺส ได้แก่เกิน ๑,๐๐๐. บทว่า อกุโตภย ความว่า

ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่

ที่ไหน ๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. บทว่า อิสีน

อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรง

พระนามว่าวิปัสสี.

คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น.

ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจ

อุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติ

ของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุ

เหล่านั้นรู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ

เต วงฺคีส ดังนี้.

บทว่า อุมฺมคฺคสต ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย. อนึ่ง ท่าน

กล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป. บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า

เทียวทำลายกิเลส ๕ อย่าง มีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น. บทว่า ต

ปสฺสถ ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้. บทว่า

พนฺธปมุญฺจกร ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก. บทว่า

อสิต ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ภาคโส ปวิภชฺช ความว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี

ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.

บทว่า โอฆสฺส ได้แก่โอฆะ ๔. บทว่า อเนกวิหิต ได้แก่ มี

หลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า

เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น. บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ผู้เห็น

ธรรม บทว่า ิตา อสหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.

บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว. บทว่า สพฺพทิฏฺีน ได้แก่

ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง. บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็น

พระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง. บทว่า อคฺค ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด.

ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า. บทว่า ทสฏฺาน ความว่า

ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรม

ในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้

อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น. บทว่า

อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา ๓.

จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

๙. โกณฑัญญสูตร

พระวังคีสะสรรเสริญพระอัญญาโกณฑัญญะ

[๗๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์

ครั้งนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับต่อกาลนานนักทีเดียว ครั้นแล้วได้หมอบลงแทบพระบาททั้งสอง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า จูบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอว่า โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์

ชื่อว่าโกณฑัญญะ ดังนี้.

[๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระ-

อัญญาโกณฑัญญะนี้ นานนักทีเดียวจึงได้เข้าเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้า

เฝ้าแล้ว ได้หมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

จูบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง

และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ

ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชย

ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คาถาทั้งหลายตามสมควรเถิด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว ประณมอัญชลีไป

ทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มเเจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่

พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด

วังคีสะ ดังนี้.

[๗๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ชมเชยท่านพระอัญญาโกณ-

ฑัญญะ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า

พระโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้

ตามพระพุทธองค์ เป็นผู้มีความเพียร

เครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้

ธรรมเครื่องอยู่ทั้งหลายอันเกิดแต่

วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดอันพระสาวกผู้

ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ

คุณอันนั้นทุกอย่างอันพระโกณฑัญญะ

เถระนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่บรรลุ

แล้วโดยลำดับ พระโกณฑัญญะเถระเป็น

ผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็น

ผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นทายาทของ

พระพุทธองค์ ไหว้อยู่ซึ่งพระบาททั้งสอง

ของพระศาสดา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

อรรถกถาโกณฑัญญสูตร

ในโกณฑัญญสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อญฺาโกณฺฑญฺโ ได้แก่ พระเถระที่ได้ชื่ออย่างนั้น

เพราะรู้ทั่วถึงธรรมก่อนเขา. บทว่า สุจิรสฺเสว ได้แก่ ต่อกาลนานเท่าไร.

ตลอดกาลประมาณ ๑๒ ปีนี้. ถามว่าอยู่ในที่ไหน. ตอบว่าอยู่ในสถานที่อยู่แห่ง

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ใกล้สระมันทากินีโปกขรณี ในถิ่นข้างตระกูล

ฉัททันตะ เพราะเหตุไร. เพราะเคารพในวิหาร. ก็ท่านเป็นพระมหาสาวก

ผู้มีบุญ พระคุณของท่านแผ่ไปในภายในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในหมื่น

จักรวาลเหมือนพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ไปยังสำนักของพระตถาคต กระทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น

คิดว่า ท่านเป็นพระสาวกผู้แทงตลอดธรรมเลิศ แล้วเข้าไปบูชาพระเถระถัดไป

จริงอยู่ ธรรมดาว่าผู้ที่มาสู่สำนักเป็นอันท่านต้องทำธรรมกถา หรือปฏิสันถาร

เห็นปานนี้. ก็พระเถระเป็นผู้หนักในวิหาร ด้วยเหตุนั้น ธรรมนั้นของท่าน

จึงปรากฏเป็นประหนึ่งเนิ่นช้า. เพราะท่านเป็นผู้เคารพในวิหารดังว่ามานี้

ท่านจึงไปอยู่ในที่นั้น.

อีกเหตุหนึ่ง ก่อนอื่นในเวลาภิกขาจาร พระสาวกทั้งปวง ย่อมไปตาม

ลำดับพรรษา. ก็ในเวลาแสดงธรรม เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนพุทธอาสน์

ที่เขาตกแต่งไว้ตรงกลาง พระธรรมเสนาบดีนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวา

พระโมคคัลลานะนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้าย. ส่วนเบื้องหลังแห่งพระสาวก

ทั้ง ๒ นั้น เขาปูอาสนะไว้สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะ. เหล่าภิกษุที่เหลือ

นั่งแวดล้อมท่าน. พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีความเคารพในพระเถระ เพราะท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

แทงตลอดธรรมอันเลิศ และเป็นพระเถระผู้เฒ่า. ภิกษุทั้งหลายสำคัญพระเถระ

เหมือนท้าวมหาพรหม เหมือนกองไฟ และเหมือนอสรพิษ นั่งอาสนะในที่

ใกล้ ก็ละอาย เกรงใจ. พระเถระคิดว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นบำเพ็ญบารมีสนอสงไขย

แสนกัป เพื่อต้องการอาสนะใกล้ บัดนี้นั่งในอาสนะใกล้ จึงยำเกรง ละอายใจ

ต่อเรา เราจะให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่โดยความสำราญ. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะอยู่

ในชนบท. พระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว.

พระเถระเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรไปยังริมสระมันทากินีโปกขรณี

ถิ่นช้างตระกูลฉัททันตะ. เมื่อกาลก่อนโขลงช้างตระกูลประเสริฐประมาณ ๘,๐๐๐

เคยชำนาญการปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พอเห็นพระเถระคิดว่า

บุญเขตของพวกเรามาถึงแล้ว จึงเอาเล็บเขี่ยที่จงกรม เอาหญ้าออก นำกิ่งไม้

เครื่องกีดขวางออก จัดแจงที่อยู่ของพระเถระ ทำวัตรทั้งหมด ประชุมปรึกษากัน

ตั้งเวรกันไว้ว่า ก็ถ้าเราจะเสียสละว่า ผู้นี้จักกระทำกิจที่ควรทำแก่พระเถระไซร้

พระเถระทั้งที่มีบาตรเปล่า จักไปเหมือนไปบ้านญาติโยมเป็นอันมาก โดยวาระ

ใด ๆ เราก็จักปรนนิบัติโดยวาระนั้น ๆ แต่เมื่อเวรของช้างหนึ่งมาถึงเข้า แม้

พวกนอกนั้นก็ไม่ควรละเลย.

ช้างตัวที่อยู่เวร ตั้งน้ำบ้วนปากและไม้สีฟันทำวัตรพระเถระแต่เช้าตรู่

ก็สระโปกขรณีชื่อมันทากินีนี้กว้าง ๕๐ โยชน์. สระนั้นไม่มีสาหร่าย

หรือจอกแหนในที่ประมาณ ๒๕ โยชน์. น้ำนั้นแล ย่อมใสเหมือนสีแก้วผลึก.

ต่อแต่นั้นมีดงปทุมขาวแผ่ขยายไปกึ่งโยชน์ในน้ำแค่ยืน ตั้งล้อมสระ ๕๐ โยชน์

ถัดจากนั้น อันดับแรกมีดงปทุมแดงขนาดใหญ่ ถัดจากนั้นดงกุมุทแดง ถัดจาก

นั้นดงกุมุทขาว ถัดจากนั้นคงอุบลเขียว ถัดจากนั้นคงอุบลแดง ถัดจากนั้นดง

ข้าวสาลีแดงมีกลิ่นหอม ถัดจากนั้นผลเกิดแต่ต้นไม้เถามีรสอร่อยมีฟักทอง น้ำ

เต้าและฟักเขียวเป็นต้น ถัดจากนั้นดงอ้อยแผ่ขยายไปกึ่งโยชน์ ในดงอ้อยนั้นมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

อ้อยแต่ละต้นขนาดเท่าต้นหมาก ถัดจากนั้นดงกล้วย ซึ่งมีตนกินผลสุกถึง ๒

ผลย่อมลำบาก. ถัดจากนั้นดงขนุนมีผลขนาดตุ่ม ถัดจากนั้นดงมะม่วง ป่าชมพู่

ดงมะขวิด. โดยย่อ ในสระนั้น ขึ้นชื่อว่าผลไม้ที่กินได้ ไม่พึงกล่าวว่าไม่มี. ใน

เวลาดอกไม้บาน ลมหอบละอองเกษรเป็นเกลียวไปไว้บนใบกอปทุม. ในใบ-

กอปทุมนั้นหยาดน้ำตกเป็นหยด ๆ สุกด้วยอาทิตย์เผาย่อมเป็นเหมือนน้ำตาล

เคี่ยว. นี่ชื่อว่าโปกขรมธุน้ำหวานบนใบบัว. ช้างทั้งหลายนำโปกขรมธุนั้นมา

ถวายพระเถระ. รากบัวขนาดเท่าหัวไถ แม้รากบัวนั้น ช้างทั้งหลายก็นำมา

ถวาย. เหง้าบัวมีขนาดเท่ากลองและใบบัวใหญ่. เหง้าบัวนั้นแต่ละข้อมีน้ำนม

ประมาณหม้อหนึ่ง เหง้าบัวนั้นช้างทั้งหลายก็นำมาถวาย ช้างทั้งหลายปรุงเมล็ด

บัวกับน้ำตาลกรวดถวาย. เอาอ้อยวางบนแผ่นหินแล้วใช้เท้าเหยียบน้ำหวานไหล

ออกขังเต็มแอ่งและบ่อ. สุกด้วยอาทิตย์เผากลาย. เป็นนมก้อนดั่งก้อนหิน นมก้อน

นั้นช้างทั้งหลายก็นำมาถวาย. ในขนุนกล้วยมะม่วงสุกเป็นต้น ไม่จำต้องกล่าวถึง

เทพบุตรชื่อนาคทันตะ อยู่ ณ เขาไกรลาส. พระเถระไปที่ประตูวิมานของ

เทพบุตรนั้น บางครั้งบางคราว เทพบุตรนั้นเอาข้าวปายาสไม่มีน้ำที่ปรุงด้วยเนยใส

ใหม่และผงน้ำหวานบนใบบัวบรรจุเต็มบาตรถวาย. ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัม

พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้ถวายสลากน้ำนมพร้อมด้วยเนยใสหอมระรื่น

ตลอด ๒ หมื่นปี. ด้วยเหตุนั้น โภชนะจึงเกิดขึ้นแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้.

พระเถระอยู่อย่างนี้ตลอด ๑๒ ปี ตรวจดูอายุสังขารของตน รู้ว่าสิ้นแล้ว คิดว่า

เราจักปรินิพพานที่ไหน เหาะไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า ช้างทั้ง

หลายบำรุงเราถึง ๑๒ ปี กระทำกิจที่ทำได้ยาก เราจักขออนุญาตพระศาสดา

ปรินิพานในที่ใกล้ ๆ ช้างเหล่านั้นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สุจิรสฺเสว เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

บทว่า นามญฺจ ความว่า พระเถระประกาศชื่อเพราะเหตุไร. เพราะ

คนบางพวกจำพระเถระได้ บางพวกจ่าไม่ได้. บรรดาคนเหล่านั้น พระเถระ

คิดว่าคนเหล่าใดไม่รู้จักเรา จักคิดร้ายว่า พระแก่ศีรษะขาวโพลนหลังโกงซี่โครง

คดรูปนี้ทำปฏิสันถารกับพระศาสดา คนเหล่านั้นจักเต็มในอบาย แต่คนเหล่าใด

รู้จักเรา จักเลื่อมใสว่า เป็นมหาสาวกปรากฏในหมื่นจักรวาลเหมือนพระศาสดา

คนเหล่านั้นจักเข้าถึงสวรรค์ ดังนี้ เมื่อจะปิดทางอบาย เปิดทางสวรรค์สำหรับ

สัตว์เหล่านั้น จึงประกาศชื่อ.

บทว่า พุทฺธานุพุทฺโธ ความว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจจะ ๔ ก่อน

พระเถระตรัสรู้ภายหลัง เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า พุทธานุพุทธะ ผู้ตรัสรู้

ตามพระพุทธองค์. บทว่า ติพฺพนิกฺกโม ได้แก่มีความเพียรมั่น. บทว่า

วิเวกาน ได้แก่วิเวก ๓. ด้วยบทว่า เตวิชฺโช เจโตปริยายโกวิโท นี้ท่าน

กล่าวถึงอภิญญา ๔ ในบรรดาอภิญญา ๖. อีก ๒ อภิญญานอกนี้ แม้มิได้กล่าว

ถึงก็จริง แต่พระเถระก็ได้อภิญญา ๖ แน่นอน และบริษัทได้ประชุมกันใน

เวลาจบคาถานี้. พระเถระรู้ว่า บริษัทประชุมกัน จึงทำปฏิสันถารกับพระศาสดา

ขออนุญาตกาลปรินิพพานว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์

สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักปรินิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า โกณฑัญญะ

เธอจักปรินิพพานที่ไหน. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็น

อุปัฏฐากของข้าพระองค์ได้กระทำกิจที่ทำได้ยาก ข้าพระองค์จักปรินิพพานในที่

ใกล้ ๆ ช้างเหล่านั้น. พระศาสดาทรงอนุญาต.

พระเถระทำประทักษิณพระทศพลแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ การเห็นครั้งนั้น เป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ ครั้งนี้เป็นการ

เห็นครั้งสุดท้าย ดังนี้ เมื่อมหาชนคร่ำครวญอยู่ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ออกมายืนที่ซุ้มประตู สั่งสอนมหาชนว่า ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

อย่าคร่ำครวญไว้เลย เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม เป็นพุทธสาวกก็ตาม สังขาร

ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าไม่แตกทำลาย ย่อมไม่มี ดังนี้ เมื่อมหาชนกำลังเห็นอยู่

นั่นแล ก็เหาะขึ้นไปยังเวหาส ลงที่ริมสระมันทากินี สรงน้ำในสระโบกขรณี

นุ่งสบงห่มจีวรแล้ว เก็บงำเสนาสนะ เข้าผลสมาบัติล่วง ๓ ยาม ปรินิพพาน

เวลาจวนสว่าง. ต้นไม้ทุกต้นในหิมวันตประเทศได้โน้มน้อมออกผลบูชา

พร้อมกับเวลาพระเถระปรินิพพาน. ช้างตัวเข้าเวรไม่รู้ว่าพระเถระปรินิพพาน

จัดน้ำบ้วนปากและไม้ชำระฟันทำวัตรปฏิบัติแต่เช้าตรู่. นำของควรเคี้ยวและ

ผลไม้มายืนอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ข้างนั้นไม่เห็นพระเถระออกมาจนพระอาทิตย์ขึ้น

คิดว่า นี่อะไรกันหนอ เมื่อก่อน พระผู้เป็นเจ้าจงกรม ล้างหน้าแต่เช้าตรู่

วันนี้ยังไม่ออกจากบรรณศาลา จึงเขย่าประตูกุฎี แลดูเห็นพระเถระกำลังนั่งจึง

เหยียดงวงออกลูบคลำค้นหาลมอัสสาสปัสสาสะ รู้ว่าลมอัสสาสปัสสาสะขาด

พระเถระปรินิพพานแล้ว จึงสอดงวงเข้าในปากร้องเสียงดังลั่น. ทั่วหิมวันต-

ประเทศได้มีเสียงบันลือเป็นอันเดียวกัน. ช้าง ๘,๐๐๐ ประชุมกัน ยกพระเถระ

ขึ้นนอนบนกระพองของหัวหน้าโขลง ถือกิ่งไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง แวดล้อม

แห่ไปทั่วหิมวันต์แล้วมายังที่ของตนตามเดิม.

ท้าวสักกเทวราชปรึกษาพระวิษณุกรรมเทพบุตรว่า พ่อ พี่ชายของพวก

เราปรินิพพานแล้ว เราจักกระทำสักการะ เธอจงเนรมิตเรือนยอดขนาด ๙ โยชน์

ล้วนแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง. พระวิษณุกรรมเทพบุตรทำตามเทวบัญชาแล้ว ให้

พระเถระนอนในเรือนยอดนั้น ได้มอบหมายให้แก่ช้างทั้งหลาย. ช้างเหล่านั้น

ยกเรือนยอดเวียนเขาหิมวันต์ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์หลายรอบ. พวกอากาศ

เทวดารับจากงวงของช้างเหล่านั้น แล้วเล่นสาธุกิฬาแสดงคารวะ. ต่อแต่นั้นวัสส-

พลาหกเทวดา สีตพลาหกเทวดา วาตพลาหกเทวดา เทพชั้นจาตุมหาราช เทพชั้น

ดาวดึงส์ รวมความว่า เรือนยอดได้ไปจนถึงพรหมโลกโดยอุบายนี้ ด้วยประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

ฉะนี้. พวกพรหมได้ให้เรือนยอดแก่พวกเทวดา พวกเทวดาได้ให้เรือนยอดแก่

ช้างทั้งหลายตามเดิม โดยลำดับด้วยประการฉะนี้อีก. เทวดาแต่ละองค์ได้นำ

ท่อนจันทน์ประมาณ ๔ องคุลีมา. ได้มีจิตกาธารประมาณ ๙ โยชน์. พวกเทวดา

ยกเรือนยอดขึ้นสู่จิตกาธาร. ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เหาะมาสาธยายตลอดคืน.

พระอนุรุทธเถระแสดงธรรม. เทวดาเป็นอันมากได้ตรัสรู้ธรรม. วันรุ่งขึ้น

เวลาอรุณขึ้นนั่นเอง เทวดาทั้งหลายให้ดับจิตกาธารแล้ว เอาพระธาตุมีสีดังดอก

มะลิตูมบรรจุผ้ากรองน้ำ นำมาวางไว้ในพระหัตถ์ของพระศาสดา ในเมื่อ

พระองค์เสด็จออกถึงซุ้มประตูพระวิหารเวฬุวัน. พระศาสดาทรงรับผ้ากรองน้ำ

บรรจุพระธาตุแล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ไปที่แผ่นดิน. พระเจดีย์เหมือนฟองเงิน

ชำแรกแผ่นดินใหญ่ออกมา. พระศาสดาทรงบรรจุพระธาตุในพระเจดีย์ด้วย

พระหัตถ์ของพระองค์. ได้ยินว่า พระเจดีย์นั้นก็ยังดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้แล.

จบอรรถกถาโกณฑัญญสูตรที่ ๙

๑๐. โมคคัลลานสูตร

พระวังคีสะสรรเสริญพระโมคคัลานะ

[๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ กาฬสิลา ข้างภูเขา

อิสิคิลิ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็น

พระอรหันต์ทั้งหมด.

ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ

(จากกิเลส) อันหาอุปธิมิได้ ของภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตอยู่.

[๗๕๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้แลประทับที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ภิกษุสงฆ์หมู่ให้ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ท่าน

พระมหาโมคคลัลานะก็ตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ (จากกิเลส) อันหา

อุปธิมิได้ของภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชยท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลาย

อันสมควรเถิด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้ง

กะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ.

[๗๕๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยท่านพระมหาโมค-

คัลลานะ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า

พระสาวกทั้งหลายผู้สำเร็จไตรวิชชา

ผู้ละมฤตยูเสียได้ ย่อมนั่งห้อมล้อมพระมุนี

ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ข้าง

แห่งภูเขา พระมหาโมคคัลานะผู้มีฤทธิ์

มาก ย่อมสอดส่องพระสาวกเหล่านั้น

ด้วยจิต ตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ

แล้ว อันหาอุปธิมิได้ของพระสาวกเหล่า-

นั้นอยู่ พระสาวกทั้งหลายย่อมนั่งห้อมล้อม

พระโคดม ผู้เป็นมุนี ซึ่งสมบูรณ์ด้วย

พระคุณทั้งปวงอย่างนี้ ผู้ลงฝั่งแห่งทุกข์

ผู้ประกอบด้วยพระคุณเป็นอเนกประการ

ดั้งนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

อรรรถกถาโมคคัลลานสูตร

ในโมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมนฺเวสติ ได้แก่แสวงหา คือพิจารณา. บทว่า นคสฺส

ได้แก่ ภูเขา. บทว่า มุนึ ได้แก่พุทธมุนี. บทว่า ทุกฺขสฺส ปารคุ ได้แก่

ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์. บทว่า สมนฺเวส ได้แก่พิจารณาอยู่. บทว่า เอว

สพฺพงฺคสมฺปนฺน ได้แก่สมบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า

อเนการสมฺปนฺน ได้แก่ ประกอบด้วยคุณมากมาย.

จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๑๐

๑๑. คัคคราสูตร

ว่าด้วยพระวังคีสะสรรเสริญพระพุทธเจ้า

[๗๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ริมฝั่งสระบัว

ชื่อว่าคัคครา นครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป

อุบาสกประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์.

นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรื่องล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดา

เหล่านั้น ด้วยพระวรรณะและด้วยพระยศ.

[๗๕๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้แล ประทับอยู่ที่ฝั่งสระบัวชื่อว่าคัคครา นครจัมปา พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป อุบาสกประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดา

หลายพันองค์ นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ารุ่งเรื่องล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดา

เหล่านั้น ด้วยพระวรรณะและด้วยพระยศ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้อแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะ

ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า เนื้อความนั่น จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด

วังคีสะ.

[๗๕๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า

ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรว่า

พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งปราศจาก

มลทิน ย่อมแจ่มกระจ่างในท้องฟ้า ซึ่ง

ปราศจากเมฆฝน ฉันใด ข้าแต่พระองค์

ผู้มีพระรัศมีซ่านออกแต่พระสรีรกาย ผู้

เป็นมทามุนี พระองค์ย่อมรุ่งเรืองล่วง

สรรพสัตว์โลก ด้วยพระยศ ฉันนั้น ดังนี้.

อรรถกถาคัคคราสูตร

ในคัคคราสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตฺยาสฺสุท ตัดบทเป็น เต อสฺสุท. คำว่า อสฺสุท เป็น

เพียงนิบาต. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สีแห่งสรีระ. บทว่า ยเสน ได้แก่

ด้วยบริวาร. บทว่า วีตมโลว ภานุมา ได้แก่ เหมือนพระอาทิตย์ปราศจาก

มลทิน.

จบอรรถกถาคัคคราสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

๑๒. วังคีสสูตร

ว่าด้วยพระวังคีสะภาษิตคาถา

[๗๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะ เป็นผู้บรรลุพระอรหัตแล้วไม่นาน

เสวยวิมุตติสุขอยู่ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า

ในกาลก่อน เราเป็นผู้มัวเมาด้วย

ความเป็นกวี ได้เที่ยวไปแล้ว สู่บ้าน

จากบ้าน สู่เมืองจากเมือง ครั้นเราได้เห็น

พระสัมพุทธเจ้า ศรัทธาจึงบังเกิดขึ้น

แก่เรา พระสัมพุทธเจ้านั้น ได้ทรงแสดง

ธรรมคือขันธ์ อายตนะ ธาตุแก่เรา เรา

ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ก็บรรพชา

เป็นผู้หาเรือนมิได้ พระมุนีได้ตรัสรู้พระ-

โพธิญาณ เพื่อประโยชน์แก่ประชุมชน

เป็นะอันมากแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย

ผู้ได้ถึง ได้เห็นนิยามธรรม การมาของเรา

ในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการ

มาดีจริงหนอ วิชชา ๓ อันเราได้บรรลุ

แล้วโดยลำดับ พระศาสนาของพระพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

องค์เราได้ทำแล้ว เราย่อมรู้ขันธสันดาน

อันเราเคยอยู่ในกาลก่อน ทิพยจักษุญาณ

เราทำให้หมดจดแล้ว เราเป็นผู้สำเร็จ

ไตรวิชชา บรรลุอิทธิวิธี ฉลาดในเจโต-

ปริยญาณ ดังนี้.

จบวังคีสสูตร

จบวังคีสสังยุต

อรรถกถาวังคีสสูตร

ในวังคีสสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยต่อไปนี้ :-

บทว่า อายสฺมา เป็นคำน่ารัก. บทว่า วงฺคีโส เป็นชื่อของ

พระเถระนั้น. ได้ยินว่า ในครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ในปางก่อน

พระเถระนั้น เห็นพระสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณจึงให้ทาน ทำความปรารถนา

บำเพ็ญบารมีถึงแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เขาบัง-

เกิดในครรภ์ของปริพาชิกานางหนึ่ง ซึ่งล้อมกิ่งหว้าไว้เพราะประสงค์จะโต้วาทะ

ทั่วชมพูทวีปแล้วได้วาทะกับปริพาชกนายหนึ่ง เพราะชนะบ้าง แพ้บ้างในวาทะ

จึงอยู่ร่วม [เป็นสามีภริยา] กับปริพาชกนายนั้น เจริญวัยแล้วเรียนวาทะตั้ง

๑,๐๐๐ คือฝ่ายมารดา ๕๐๐ ฝ่ายบิดา ๕๐๐ จาริกไป และท่านรู้วิชาอย่างหนึ่ง

ซึ่งร่ายแล้วเอานิ้วมือเคาะศีรษะผู้ตาย ก็รู้ว่าผู้นี้เกิดในที่โน้น. ท่านเที่ยวไปใน

บ้านและนิคมเป็นต้นโดยลำดับ ถึงกรุงสาวัตถีพร้อมมาณพ ๕๐๐ คน นั่งที่

ศาลาใกล้ประตูพระนคร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ในครั้งนั้น เวลาก่อนอาหาร ชาวพระนครพากันให้ทาน เวลาหลังอาหาร

นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วก็ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม.

มาณพเห็นเข้า ถามว่า พวกท่านไปไหนกัน. พวกเขาตอบว่า ไปฟังธรรม

ในสำนักของพระทศพล. แม้เขาพร้อมด้วยบริวารก็ไปกับชาวพระนครเหล่านั้น

กระทำปฏิสันถารแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสกะเขาว่า วังคีสะ ได้ยินว่าเธอรู้ศิลปะดีหรือ. เขาตอบว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้มาก พระองค์ตรัสหมายเอาศิลปะประเภทไหน.

พระศาสดาตรัสว่า ศิลปะที่เกี่ยวกับซากศพ. เชิญเถิด ท่านพระโคดม. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในนรก ด้วยอานุภาพของ

พระองค์แก่เขา แล้วตรัสถามว่า วังคีสะ ผู้นี้เกิดในที่ไหน. เขาร่ายมนต์แล้ว

เอานิ้วเคาะดู ทูลว่า เกิดในนรก. พระศาสดาตรัสว่า ดีละ วังคีสะ เธอตอบ

ดีแล้ว. พระองค์ทรงแสดงศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในเทวโลก แม่ศรีษะนั้นเขาก็

พยากรณ์ได้อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงแสดงศรีษะของ

พระขีณาสพแก่เขา. เขาร่ายมนต์แล้วร่ายมนต์อีกก็ดี เอานิ้วเคาะก็ดี ก็ไม่รู้ที่

สัตว์เกิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า ลำบากไหมวังคีสะ.

เขาทูลว่า ลำบาก ท่านโคดม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอใคร่ครวญบ่อย ๆ สิ.

เขาแม้เมื่อทำอย่างนั้น ก็ไม่เห็น จึงทูลว่า ท่านพระโคดม พระองค์ทรงรู้หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รู้วังคีสะ. บุคคลนั้น ชื่อว่าไปดีแล้ว เพราะไม่มีที่อาศัย

เรารู้คติของเขา. ทูลถามว่า พระองค์รู้ได้ด้วยมนต์ หรือท่านพระโคดม. ถูกแล้ว

วังคีสะ เราตถาคตรู้ได้ด้วยมนต์อย่างเดียวเท่านั้น. ทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ขอพระองค์ได้โปรดแลกเปลี่ยนมนต์กับข้าพระองค์เถิด. ตรัสว่า วังคีสะ มนต์ของ

เราไม่มีมูลค่าดอก. ทูลว่าข้าแต่ท่านพระโคดมขอพระองค์ได้โปรดประทานเถิด.

ตรัสว่า เราไม่อาจให้มนต์แก่ผู้ที่มิได้บวชในสำนักของเราได้. วังคีเรียกพวก

ลูกศิษย์มาสั่งว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระสมณโคดมรู้ศิลปะมากมาย เราจักบวช

ในสำนักของพระสมณโคดมนี้เรียนศิลปะ แต่นั้น จักไม่มีผู้ที่รู้ศิลปะมากกว่า

เราทั่วชมพูทวีป พวกเธออย่าเป็นห่วง จงอยู่กันจนกว่าเราจะกลับมา ดังนี้ แล้ว

ส่งลูกศิษย์เหล่านั้นไป แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดให้ข้าพระองค์บรรพชา

เถิด. พระศาสดาทรงมอบหมายให้เถระชื่อนิโครธกัปปะ. พระเถระน่าวังคีสะ

ไปยังที่อยู่ของตนแล้วให้บรรพชา. ท่านบรรพชาแล้วมาเฝ้าพระศาสดา ยืนถวาย

บังคมแล้ว ทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์โปรดประทานศิลปะแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระศาสดาตรัสว่าวังคีสะ เมื่อพวกเธอจะเรียนศิลปะ (ครั้งก่อน) ต้องทำบริกรรม

โดยไม่บริโภคของเค็มและนอนบนแผ่นดินเป็นต้น เรียนศิลปะนั้น แม้ศิลปะนี้ก็มี

บริกรรม เธอจงทำบริกรรมนั้นก่อน. พระวังคีสะกราบทูลว่า ดีละ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสบอกพระกัมมัฏฐาน คือ อาการ ๓๒ แก่เธอ. เธอ

มนสิการพระกัมมัฏฐานนั้นทั้งอนุโลมปฏิโลม เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต

โดยลำดับ.

บทว่า วิมุตฺติสุข ปฏิสเวที ความว่า เมื่อบรรลุพระอรหัตอย่างนี้

แล้วเสวยวิมุตติสุข. บทว่า กาเวยฺยมตฺตา ได้แก่ มัวเมาด้วยความเป็นกวี

คือการแต่งกาพย์กลอน. บทว่า ขนฺเธ อายตนานิ ธาตุโย ความว่า เมื่อ

ทรงแสดงธรรมประกาศขันธ์เป็นต้นเหล่านี้ . บทว่า เข นิยามคตทฺทสา

ได้แก่ ผู้ถึงนิยามธรรม และผู้เห็นนิยามธรรม. บทว่า สฺวาคต ได้แก่การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

มาดี. ด้วยคำว่า อิทฺธิปฺปตฺโตมฺหิ นี้ หมายเอาอิทธิวิธิญาณ. ด้วยคำว่า

เจโตปริยายโกวิโท นี้ หมายเอาเจโตปริยญาณ. ส่วนทิพยโสตแม้ท่านไม่

ได้กล่าวไว้ ก็สงเคราะห์เข้าได้เหมือนกัน. พระวังคีสะนี้บรรลุอภิญญา ๖

พึงทราบว่า เป็นมหาสาวก ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวังคีสสูตรที่ ๑๒

และวังคีสสังยุตเพียงเท่านี้

รวมพระสูตรแห่งวังคีสสังยุตมี ๑๒ สูตร คือ

๑. นิกขันตสูตร ๒. อรติสูตร ๓. เป สลาติมัญญนาสูตร ๔.

อานันทสูตร ๕. สภาสิตสูตร ๖. สารีปุตตสูตร ๗. ปวารณาสูตร ๘.

โรสหัสสสูตร ๙. โกณฑัญญสูตร ๑๐. โมคคัลลานสูตร ๑๑. คัคคราสูตร

๑๒. วังคีสสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

วนสังยุต

๑. วิเวกสูตร

เทวดาเตือนภิกษุ

[๗๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล

สมัยนั้นแล ภิกษุรูปนั้น พักผ่อนกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกลามกอิงอาศัยเรือน

[๗๖๒] ครั้งนั้น เทวดาที่สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์

ก็ภิกษุนั้น หวังจะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาแล้ว กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

ท่านใคร่วิเวก จึงเข้าป่า ส่วนใจ

ของท่านแส่ซ่านไปภายนอก ท่านเป็นคน

จงกำจัดความพอใจในคนเสีย แต่นั้น

ท่านจักเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความ

กำหนัด ท่านมีสติ ละความไม่ยินดีเสียได้

เราเตือนให้ท่านระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ

ธุลีคือกิเลสประดุจบาดาลที่ข้ามได้ยาก

ได้แก่ความกำหนัดในกามอย่าได้ครอบงำ

ท่านเลย นกที่เปื้อนฝุ่น ย่อมสลัดธุลีที่

แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด ภิกษุผู้มีเพียร

มีสติ ย่อมสลัดธุลีคือกิเลสที่แปดเปื้อนให้

ตกไป ฉันนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นเตือนให้สังเวช ถึงซึ่งความ

สลดใจแล้วแล.

วนสังยุตตวรรณนา

อรรถกถาวิเวกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิเวกสูตรที่ ๑ แห่งวนสังยุตต่อไปนี้ :-

บทว่า โกสเลสุ วิหรติ ความว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เรียน

กัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปอยู่ในแคว้นโกศลนั้น เพราะชนบท

นั้นหาภิกษาได้ง่าย. บทว่า สเวเชตุกามา ได้แก่ ใคร่เพื่อจะให้ภิกษุนั้น

ถึงวิเวก. บทว่า วิเวกกาโม คือ ปรารถนาวิเวก ๓. บทว่า นิจฺฉรติ

พหิทฺธา คือ เที่ยวไปในอารมณ์เป็นอันมากที่เป็นภายนอก. บทว่า ชโน

ชนสฺมึ ความว่า ท่านจงละฉันทราคะในคนอื่น. บทว่า ปชหาสิ แปลว่า

จงละ. บทว่า ภวาสิ แปลว่า จงเป็น. บทว่า สต ต สารยามเส ความว่า

แม้เราย่อมยังบิณฑิตผู้มีสติให้ระลึกถึงธรรมนั้น หรือว่า เราย่อมยังผู้นั้นให้ระลึก

ถึงธรรมของสัตบุรุษ. บทว่า ปาตาลรโช ความว่า ธุลีคือกิเลสที่เรียกว่า

บาดาลเพราะอรรถว่า ไม่มีที่ตั้ง. บทว่า มา ต กามรโช ความว่า ธุลี

คือกามราคะนี้อย่าครอบงำท่าน อธิบายว่า อย่านำไปสู่อบายเลย. บทว่า

ปสุกุณฺฑิโต แปลว่า เปื้อนฝุ่น. บทว่า วิธุน แปลว่า กำจัด. บทว่า

ปสุกุณฺฑิโต ได้แก่ ฝุ่นที่ติดตัว. บทว่า สเวคมาปาทิ ความว่า ชื่อว่า แม้

เทวดาย่อมยังเราท่านั้นให้ระลึกถึง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงวิเวก หรือว่าประคอง

ความเพียรอันสูงสุดแล้วปฏิบัติให้เป็นวิเวกอย่างยิ่ง.

จบอรรถกถาวิเวกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

๒. อุปัฏฐานสูตร

เทวดาเตือนภิกษุผู้นอนหลับกลางวัน

[๗๖๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุรูปนั้น ไปนอนหลับในที่พักกลางวัน.

[๗๖๔] ครั้งนั้น เทวดาที่สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์

แก่ภิกษุรูปนั้น หวังจะให้เธอสลดใจจึงเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

ท่านจงลุกขึ้นเถิด ภิกษุ ท่านจะต้อง

การอะไรด้วยความหลับ ท่านผู้เร่าร้อน

ด้วยกิเลส อันลูกศรคือตัณหาเสียบแทง

ดิ้นรนอยู่ จะมัวหลับมีประโยชน์อะไร

ท่านออกจากเรือนบวชด้วยความเป็นผู้ไม่มี

เรือนด้วยศรัทธาใด ท่านจงเพิ่มพูนศรัทธา

นั้นเถิด อย่าไปสู่อำนาจของความหลับเลย.

[๗๖๕] ภิกษุกล่าวตอบว่า

คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์

เหล่าใด กามารมณ์เหล่านั้น ไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต

ผู้พ้นแล้ว ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่ง

ยังสัตว์ให้ติดอยู่ได้อย่างไร เพราะกำจัด

ฉันทราคะเสียได้ และเพราะก้าวล่วง

อวิชชาเสียได้ ญาณนั้นเป็นของบริสุทธิ์

อย่างยิ่ง ไฉนความหลับจะแผดเผาบรรพ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

ชิตได้ ความหลับจะแผดเผาบรรพชิตผู้

ไม่มีโศก ไม่มีความแค้นใจ เพราะทำลาย

อวิชชาเสียด้วยวิชชา และเพราะอาสวะ

สิ้นไปหมดแล้วอย่างไรได้ ความหลับจะ

แผดเผาบรรพชิตผู้ปรารภความเพียร ผู้มี

ตนอันส่งไปแล้ว ผู้บากบั่นมั่นเป็นนิตย์

ผู้จำนงพระนิพพานอยู่อย่างไรได้.

อรรถกถาอุปัฏฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปัฏฐานสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สุปติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระขีณาสพท่านไปสู่

หมู่บ้านที่ภิกษาจารในที่ไกล กลับมาแล้ว เก็บบาตรและจีวรไว้ในบรรณศาลา

ลงสระที่เกิดเองในที่ไม่ไกล พอให้ตัวแห้งแล้ว กวาดที่พักกลางวัน ตั้งเตียง

ต่ำไว้ในที่นั้นแล้วหลับ. จริงอยู่ แม้พระขีณาสพก็มีความกระวนกระวายทางกาย

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ใช่อยู่ในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความ

กระวนกระวายทางกายนั้นว่า หลับ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาเข้า

ใจว่า ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วหลับกลางวัน ก็แล

ชื่อว่า การหลับกลางวันนั้นเจริญขึ้น แม้จะยังประโยชน์ที่เป็นไปในปัจจุบัน.

และที่เป็นไปในชาติหน้านั้นให้ฉิบหาย คิดว่า เราจักเตือนท่าน จึงได้กล่าว.

บทว่า อาตุรสฺส ความว่า ความเดือนร้อนมี ๓ อย่าง คือ เดือดร้อน

ด้วยความแก่ เดือดร้อนด้วยความเจ็บป่วย เดือนร้อนด้วยกิเลส ท่านกล่าวหมาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ถึงความเดือดร้อนด้วยกิเลสในความเดือนร้อน ๓ นั้น. บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส

ความว่า แทงที่หัวใจด้วยลูกศรคือตัณหาที่ถูกซัดไปด้วยอวิชชา เหมือนถูกแทง

ด้วยลูกศรคือหอกที่อาบด้วยยาพิษ. บทว่า รุปฺปโต แปลว่า ถูกเสียดสี. บัดนี้

เมื่อเทวดาจะกล่าวถึงโทษในกามของภิกษุนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "ไม่เที่ยง".

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสิต คือ ไม่อาศัยด้วยตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย.

บทว่า กสฺมา ปพฺพชิต ตเป ความว่า ท่านย่อมกล่าวว่า การหลับกลางวัน

ย่อมไม่เผาพระขีณาสพเห็นปานนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาพระขีณะสพเช่น

นั้น. ก็เพราะนี่เป็นคำของพระเถระ. นี้เป็นเนื้อความในข้อนี้ว่า. เมื่อถูกผูกแล้ว

การหลับกลางวัน จะพึงทำบรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นเรา ผู้หลุดแล้ว หมดกิเลส

จะพึงร้อน ก็ไม่ร้อนเพราะเหตุไร. แม้ในคาถาที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

จริงอยู่ ในฝ่ายถ้อยคำของเทวดามีอรรถว่า ความหลับกลางวัน ย่อมไม่เผา

บรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาบรรพชิตเช่นนั้น.

ในฝ่ายถ้อยคำของพระเถระมีอรรถว่า การหลับกลางวัน จะพึงเผาบรรพชิตผู้

ไม่มีอาสวะเช่นเราเห็นปานนี้ ก็ชื่อว่า ไม่เดือดร้อน เพราะเหตุไร. แต่นี้เป็น

การพรรณนาบทที่ลึกซึ้งในข้อนี้.

บทว่า วินยา แปลว่า เพราะกำจัด. บทว่า สมติกฺกมา แปลว่า

เพราะก้าวล่วงอวิชชาที่เป็นรากเง่าของวัฏฏะ. บทว่า ต าณ ได้แก่ รู้สัจจะ

๔ นั้น. บทว่า ปรโมทาต ได้แก่ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง. บทว่า ปพฺพชิต

คือ บรรพชิตผู้ประกอบด้วยความรู้เห็นปานนี้. บทว่า วิชฺชาย คือ วิชชา

ในมรรคที่ ๔. บทว่า อารทฺธวิริย คือ ประคองความเพียรไว้แล้ว มีความ

เพียรบริบูรณ์แล้ว.

จบอรรถกถาอุปัฏฐานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

๓. กัสสปโคตตสูตร

ว่าด้วยพระกัสสปโคตรกล่าวสอนพรานเนื้อ

[๗๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระกัสสปโคตร พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง

ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านอยู่ในที่พักกลางวัน กล่าวสอนนายพรานเนื้อ

คนหนึ่ง.

[๗๖๗] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์

แก่ท่านพระกัสสปโคตร หวังจะให้ท่านสลดใจจึงเข้าไปหา แล้วได้กล่าวกะท่าน

ด้วยคาถาว่า

ภิกษุผู้กล่าวสอนนายพรานเนื้อซึ่ง

เที่ยวไปตามซอกเขาผู้ทรามปัญญาไม่รู้เท่า

ถึงการณ์ ในกาลอันไม่ควร ย่อมปรากฏแก่

เราประดุจคนเขลา เขาเป็นคนพาลถึงฟัง

ธรรมอยู่ก็ไม่เข้าใจเนื้อความ แสงประทีป

โพลงอยู่ก็ไม่เห็น เมื่อท่านกล่าวธรรม

อยู่ ย่อมไม่รู้เนื้อความ ข้าแต่ท่านกัสสป

ถึงแม้ท่านจักทรงประทีปอันโพลงตั้ง ๑๐

ดวง เขาก็จักไม่เห็นรูป เพราะจักษุ (คือ

ญาณ) ของเขาไม่มี.

ลำดับนั้น ท่านกัสสปโคตร ผู้อันเทวดานั้นให้สังเวช ถึงซึ่งความสลด

ใจแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

อรรถกถากัสสปโคตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปโคตตสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เฉต คือพรานล่าเนื้อคนหนึ่ง. บทว่า โอวทิ ความว่า ได้

ยินว่า พรานล่าเนื้อนั้นกินข้าวเช้าแล้วคิดว่า เราจักล่าเนื้อ จึงเข้าไปสู่ป่า

เห็นละมั่งตัวหนึ่ง คิดว่า เราจักประหารมันด้วยหอก ติดตามไป หลีกไปไม่

ไกลที่พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน โดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๑. ลำดับนั้น

พระเถระจึงกล่าวกะเขาว่า อุบาสก ขึ้นชื่อว่า ปาณาติบาตนี้ เป็นไปเพื่ออบาย

เป็นไปด้วยเหตุให้มีอายุสั้น เขาอาจจะทำการเลี้ยงเมียด้วยการงานอย่างอื่น มี

การกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นก็ได้ ท่านอย่าทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เลย.

แม้เขาก็คิดว่า พระเถระผู้ถือผ้ามหาบังสุกุลพูด จึงเริ่มยืนฟังด้วยความเคารพ.

ลำดับนั้น พระเถระนั้น คิดว่า เราจักยังความใคร่พึงให้เกิดแก่เขา จึงยัง

นิ้วหัวแม่มือให้ลุกโพลงขึ้น. เขาเห็นแม้ด้วยตา ได้ยินแม้ด้วยหู แต่จิตใจ

ของเขาแล่นไปตามรอยเท้าเนื้ออย่างนี้ว่า เนื้อจักไปสู่ที่โน้น ลงท่าโน้น

เราจักไปฆ่ามันในที่นั้น กินเนื้อตามต้องการแล้ว จักหาบเนื้อที่เหลือไปฝาก

ลูก ๆ. บทว่า โอวทติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระเถระผู้แสดงธรรมนั้น

แก่พรานผู้ฟู้งซ่านอย่างนี้. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า พระเถระนี้ ยังการ

งานทั้งของตน ทั้งของพรานนั้นให้พินาศ เหมือนอย่างคนถากของคนอื่นที่ไม่

ใช่ไม้ฟืน เหมือนอย่างคนหว่านข้าวในที่ไม่ใช่นา คิดว่า เราจักเตือนเขา จึงกล่าว.

บทว่า อปฺปปญฺ แปลว่า ไม่มีปัญญา. บทว่า อเจตส ได้แก่ ปราศจาก

ความคิดที่สามารถรู้เหตุการณ์. บทว่า มนฺโทว แปลว่า เหมือนคนโง่เขลา.

บทว่า สุณาติ ได้แก่ ฟังธรรมกถาของท่าน. บทว่า น วิชานาติ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ไม่รู้เนื้อความแห่งธรรมนั้น. บทว่า อาโลเกติ ได้แก่ ยังนิ้วหัวแม่มือที่ลุก

โพลงอยู่ด้วยฤทธิ์ของปุถุชนของท่านให้สว่าง. บทว่า น ปสฺสติ ความว่า

ย่อมไม่เห็นเหตุการณ์นี้ว่า ในที่นี้ ไม่มีน้ำมัน ไม่มีไส้ ไม่มีตะเกียง แต่นิ้ว

หัวแม่มือนี้ลุกโพลงด้วยอานุภาพของพระเถระ. บทว่า ทส ปชฺโชเต คือ

ประทีป ๑๐ ดวง ในนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว. บทว่า รูปานิ ได้แก่ รูปที่เป็นเหตุ.

บทว่า จกขุ คือ ปัญญาจักษุ. บทว่า สเวคมาปาทิ ความว่า ท่านพระ-

กัสสปโคตรคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา กับพรานนี้ จึงประคองความ

เพียรดำเนินตามอรหัตมรรคที่เป็นธรรมวิเวก.

จบอรรถกถากัสสปโคตตสูตรที่ ๓

๔. สัมพหุลสูตร

ว่าด้วยเทวดาคร่ำครวญถึงภิกษุผู้จากไป

[๗๖๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้วหลีกไปสู่

จาริก.

[๗๖๙] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุ

เหล่านั้นก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ความสนิทสนมย่อมปรากฏประดุจ

ความไม่ยินดีเพราะเห็นภิกษุเป็นอันมากใน

อาสนะอันสงัด ท่านเหล่านั้น เป็นพหูสูต

มีถ้อยคำไพเราะ ท่านเป็นสาวกของพระ-

โคดม ไปที่ไหนกันเสียแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

[๗๗๐] เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าว

กะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่อาลัยที่อยู่

เที่ยวไปเป็นหมู่ ประดุจวานรไปสู่แคว้น

มคธและโกศล บางพวกก็บ่ายหน้าไปสู่

แคว้นวัชชี.

อรรถกถาสัมพหุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตร ที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลา คือ ผู้ทรงพระสูตร ผู้ทรงพระอภิธรรม ผู้ทรง

พระวินัย เป็นอันมาก. บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เรียนกัมมัฏฐานในสำนัก

พระศาสดาแล้วอยู่. บทว่า ปกฺกมึสุ ความว่า ได้ยินว่า คนทั้งหลายเห็น

ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งในชนบทนั้น ก็มีจิตเลื่อมใส ปู

ลาดผ้าขนแกะเป็นต้นไว้ที่หอฉัน ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวแล้วนั่งใกล้.

พระมหาเถระ กล่าวกะพระธรรมกถึกรูปหนึ่งว่า เธอจงกล่าวธรรม. พระธรรกถึก

นั้นจึงกล่าวธรรมกถาอย่างไพเราะ. คนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วได้ถวายโภชนะอัน

ประณีตในเวลาฉัน. พระมหาเถระได้กระทำอนุโมทนาอาหารอย่างพึงพอใจ.

คนทั้งหลายเลื่อมใสอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิมนต์จำพรรษา

อยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนเถิด ให้ท่านรับปฏิญญาแล้ว ให้สร้างเสนาสนะในที่

ซึ่งสะดวกด้วยการไปมาอุปฐากด้วยปัจจัย ๔.

พระมหาเถระสอนภิกษุในวันเข้าพรรษาว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พวกท่าน

เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาผู้เป็นครู ชื่อว่า ความปรากฏแห่งพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

พุทธเจ้าหายาก พวกท่านจงฟังธรรมเดือนละ ๘ วัน ละความคลุกคลีด้วยหมู่

คณะแล้วไม่ประมาทอยู่เถิด ดังนี้. จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้น ย่อมขวน

ขวายพากเพียร บางวันก็ทำการฟังธรรมตลอดคืน บางวัน ก็แก้ปัญหา บาง

คราวก็ทำความเพียร. ในวันธรรมสวนะ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวธรรมจนอรุณขึ้น

ในวันแก้ปัญหากระทำการถามและการแก้ คือ ภิกษุผู้ฉลาดถามปัญหา ผู้เป็น

บัณฑิตแก้ ในวันทำความเพียร ตีระฆังในเวลาพระอาทิตย์ตก ลงสู่ที่จงกรม

ทำความเพียร. ภิกษุเหล่านั้น จำพรรษาอย่างนี้ปวารณาแล้วหลีกไป. คำนี้ท่าน

กล่าวหมางถึงความข้อนั้น.

บทว่า ปริเทวมานา ความว่า เทวดากล่าวคำเป็นต้นว่า บัดนี้

เราจักได้ฟังธรรมและกล่าวปัญหาอันไพเราะเห็นปานนั้นแต่ไหนเล่า ดังนี้แล้ว

คร่ำครวญอยู่. บทว่า ขายติ แปลว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งไว้. บทว่า

โกเม แปลว่า (พระสาวก) เหล่านี้ (ไป) ไหน. บทว่า วชฺชิภูมิยา แปลว่า

บ่ายหน้าไปแคว้นวัชชี. บทว่า มกฺกุฏฺาวิย แปลว่า เหมือนลิง. ภิกษุท่อง

เที่ยวไปที่เชิงเขาหรือที่ราวป่านั้น ๆ ไม่ถือว่า ที่นี้เป็นสมบัติของมารดา. เป็น

สมบัติของบิดาของเรา ที่มาตามประเพณี ภิกษุเหล่านั้นมีความผาสุกด้วยโคจร

คามและความไม่มีอันตรายอยู่ในที่ใด ก็อยู่ในที่นั้น แม้ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่มี

เรือนอย่างนี้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ นี้เป็นสมบัติของอุปัชฌาย์อาจารย์ของ

เรา ที่มาตามประเพณี ดังนี้ จึงในถือเอา ภิกษุเหล่านั้นมีที่สบายด้วยอากาศ

สบายด้วยโภชนะ สบายด้วยเสนาสนะ สบายด้วยการฟังธรรม หาง่าย มีอยู่

ในที่ใด ย่อมอยู่ในที่นั้น.

จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

๕. อานันทสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนพระอานนท์

[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง

ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ เป็นผู้มากไปด้วยการรับแขก

ฝ่ายคฤหัสถ์เกินเวลาอยู่.

[๗๗๒] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู

ใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระอานนท์ ใคร่จะให้ท่านสังเวชจึงเข้าไปหาถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า

ท่านเข้าไปสู่ที่รกคือโคนต้นไม้แล้ว

จงใส่ใจถึงพระนิพพาน โคตมะ ท่านจง

เพ่งฌาน อย่าประมาท ถ่อยคำที่สนทนา

ของท่านจัก ทำอะไรได้.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ

สลดใจแล้วแล.

อรรถกถาอานันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อานนฺโท คือ พระเถระผู้เป็นคลังพระธรรม. บทว่า อติเวล

แปลว่า เกินเวลา. บทว่า คิหิสญฺตฺติพหุโล ความว่า ยังคฤหัสถ์

ให้รู้จักเวลาเป็นอันมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระกล่าวกะพระเถระว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ผู้มีอายุ เราจักไปเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์แล้วสังคายนาพระธรรม ท่านจงไป

จงเข้าไปสู่ป่ากระทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่มรรคทั้ง ๓ เบื้องบนเถิด.

พระอานันทเถระถือเอาบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังแคว้นโกศล อยู่

ในสำนักบ่าแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้น จึงเข้าไปยังบ้านแห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายเห็น

พระเถระแล้วกล่าวคำเป็นอันมากว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ในคราวก่อน

ท่านมากับพระศาสดา วันนี้มารูปเดียวเท่านั้น ท่านทอดทิ้งพระศาสดาไว้เสีย

ไหน บัดนี้ ท่านถือบาตรและจีวรของใครมา ท่านจะถวายน้ำล้างหน้า

จะปัดกวาดบริเวณ จะทำวัตรปฏิบัติแก่ใคร ดังนี้ พากันคร่ำครวญแล้ว

พระเถระกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย อยู่เศร้าโศกเลย อย่า

คร่ำครวญเลย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ยังเขาให้รู้พร้อมแล้ว ทำภัตกิจแล้ว

ไปสู่ที่พัก. แม้ในเวลาเย็น คนทั้งหลายไปในที่นั้น พากันคร่ำครวญอย่างนั้น

พระเถระก็สั่งสอนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น.

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า พระเถระนี้คิดว่า เรา

ฟังคำของภิกษุสงฆ์แล้วจักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ แล้วเข้าไปสู่ป่า บัดนี้

ยังคฤหัสถ์ให้รู้พร้อมกันอยู่ ยังไม่กระทำศาสนาของพระศาสดาที่ตั้งอยู่ให้เป็น

ประมวลธรรมเหมือนกองดอกไม้ที่ไม่ได้รวบรวม เราจะเตือนท่าน ดังนี้แล้ว

จึงกล่าว. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า หทยสฺมึ โอปฺปิย

ได้แก่ ใส่ไว้ในหทัยด้วยกิจและด้วยอารมณ์. พระเถระคิดว่า เราจะบรรลุ

พระนิพพาน ดังนี้แล้ว ทำความเพียรอยู่ ชื่อว่า ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย

ด้วยกิจ แต่เพื่อยังสมาบัติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แนบแน่นนั่งอยู่. (ชื่อว่า

ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย) ด้วยอารมณ์. เทวดานี้ย่อมกล่าวหมายถึงกิจและ

อารมณ์ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า ฌาย คือ จงเป็นผู้เพ่งด้วยฌานทั้งสอง. บทว่า

ปีฬิปีฬิกา แปลว่า นี้ถ้อยคำพูดกับคฤหัสถ์.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

๖. อนุรุทธสูตร

ว่าด้วยภรรยาเก่าของพระอนุรุทธะ

[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะพำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล.

[๗๗๔] ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินีเป็นภรรยา

เก่าของท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วย

คาถาว่า

ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่ทวย-

เทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วย

อารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง ที่ท่านเคยอยู่ใน

กาลก่อน ท่านจะเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวด-

ล้อมเป็นบริวาร ย่อมงดงาม

[๗๗๕] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า

เหล่านางเทพกัลยาผู้มีคติอันทราม

ดำรงมันอยู่ในกายของตน สัตว์ทั้งหลาย

เหล่านั้น แม้เป็นผู้มีคติอันทราม ก็ถูก

นางเทพกัลยาปรารถนา.

[๗๗๖] เทวดาชื่อชาลินีกล่าวว่า

เหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้เห็นที่อยู่อันเป็นที่

น่าเพลิดเพลินของนรเทพชั้นไตรทศผู้มียศ

ก็ชื่อว่าไม่รู่จักความสุข.

[๗๗๗] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า

ดูก่อนเทวดาผู้เขลา ท่านไม่รูแจ้ง

ตามคำของพระอรหันต์ว่า สังขารทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

ไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้

เป็นสุข บัดนี้ การอยู่ครอบครองของเรา

ไม่มีอีกต่อไป ตัณหาประดุจดังว่าข่ายใน

หมู่เทพของเราก็ไม่มี สงสารคือชาติสิ้น

ไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ ไม่มีอีกต่อไป.

อรรถกถาอนุรุทธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุรุทธสูตร ที่ ๖ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุราณทุติยิกา คือ อัครมเหสีในอัตภาพก่อน. บทว่า

โสภสิ ได้แก่ เมื่อก่อนก็งาม เดี๋ยวนี้ก็งาม. บทว่า ทุคฺคตา ความว่า

ไปชั่วด้วยคติอันชั่วก็หาไม่. จริงอยู่ เทวกัญญาอยู่ในสุคติย่อมเสวยสมบัติ.

แต่ไปชั่วด้วยคติชั่วทางปฏิบัติ. เพราะว่า เทวกัญญาเหล่านั้นจุติจากสุคตินั้น

แล้ว จะเกิดในนรกก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไปชั่ว. บทว่า ปติฏฺิตา

ความว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลตั้งอยู่ในสักกายทิฏฐิย่อมตั้งอยู่ด้วยเหตุ ๘ ประการ

คือรักด้วยอำนาจราคะ โกรธด้วยอำนาจโทสะ หลงด้วยอำนาจโมหะ ถือตัว

ด้วยอำนาจมานะ ถือผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ เพิ่มกำลังด้วยอำนาจอนุสัยไม่สิ้นสุด

ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉา ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอุทธัจจะ แม้เทวกัญญาเหล่านั้น

ก็ตั้งอยู่อย่างนี้.

บทว่า นรเทวาน ความว่า ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า

นตฺถิทานิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้น ได้มีความเสน่หาเป็นกำลังใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

พระเถระ ไม่อาจจะกลับไป. นางมาตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำ

ข้างหน้า ไม้สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้. พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ในวันหนึ่ง

พระเถระมีจีวรเก่าเที่ยวไป ขอท่อนผ้า นางวางผ้าทิพย์ไว้ที่กองขยะแล้ว

หลีกไป. พระเถระเห็นผ้านั้นแล้วยกขึ้นดูเห็นชายผ้า ก็รู้ว่านี่เป็นผ้า คิดว่า

เท่านี้ก็พอ ดังนี้แล้วถือเอา. จีวรของท่านสำเร็จด้วยผ้านั้นเอง. พระเถระ

๓ รูป คือพระอัครสาวก ๒ รูป และพระอนุรุทธเถระ ช่วยกันทำจีวร.

พระศาสดาทรงร้อยเข็มประทานให้. เมื่อพระอนุรุทธเถระทำจีวรเสร็จแล้ว เที่ยว

ไปบิณฑบาต เทวดาก็ถวายบิณฑบาต. เทพธิดานั้น บางคราวมาสู่สำนัก

พระเถระองค์เดียว บางคราว ๒ องค์. แต่ครั้งนั้นมา ๓ องค์ เข้าไปหาพระเถระ

ในที่พักกลางวันแล้วกล่าวว่า เราชื่อว่า มีร่างกายน่าพอใจ จะเนรมิตรูปที่ใจ

ปรารถนาแล้ว ๆ. พระเถระคิดว่า เทพธิดาเหล่านี้กล่าวอย่างนี้ เราจะทดลอง

เทพธิดาทั้งปวงจงเขียวเถิด ดังนี้. เทพธิดาเหล่านั้นรู้ใจของพระเถระแล้ว

ก็มีสีเขียวทั้งหมด (ทดลองว่า) มีสีเหลือง สีแดง สีขาว ก็เป็นอย่างนั้น

เหมือนกัน. ลำดับนั้น พวกเขาคิดว่า พระเถระจะพอใจเห็นพวกเราดังนี้แล้ว

ก็เริ่มจับระบำ คือ องค์หนึ่งขับร้อง องค์หนึ่งร่ายรำ องค์หนึ่งดีดนิ้ว.

พระเถระสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น เทพธิดารู้ว่า พระเถระไม่พอใจ

ดูพวกเรา เมื่อไม่ได้ความเสน่หาหรือความชมเชยก็เบื่อหน่าย เริ่มจะไป.

พระเถระรู้ว่า เขาจะไป จึงกล่าวว่า อย่ามาบ่อย ๆ เลย. เมื่อจะแจ้งความเป็น

พระอรหันต์ จึงกล่าวคาถานี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกฺขีโณ แปลว่า สิ้นแล้ว. บทว่า ชาติสสาโร

ความว่า การท่องเที่ยวไป ที่นับว่าเกิดในที่นั้น ๆ.

จบอรรถกถาอนุรุทธสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

๗. นาคทัตตสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนพระนาคทัตตะ

[๗๗๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง

ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปสู่บ้านแต่เช้าตรู่และ

กลับมาหลังเที่ยง.

[๗๗๙] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู

ใคร่ประโยชน์แก่ท่านพระนาคทัตตะ ใคร่จะให้ท่านสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า

ท่านนาคทัตตะ ท่านเข้าไปแล้วใน

กาลและกลับมาในกลางวัน (ท่าน) มีปกติ

เที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์

พลอยร่วมสุขร่วมทุกขกับเขา เราย่อมกลัว

พระนาคทัตตะ ผู้คะนองสิ้นดี และพัวพัน

ในสกุลทั้งหลาย ท่านอย่าไปสู่อำนาจของ

มัจจุราชผู้มีกำลัง ผู้กระทำซึ่งที่สุดเลย.

ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่ง

ความสลดใจแล้วแล.

อรรถกถานาคทัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคทัตตสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อติกาเลน ความว่า ภิกษุนาคทัตตะ นอนหลับตลอดคืน

ในเวลาใกล้รุ่ง เอาปลายไม้กวาดปัดกวาดเสียหน่อยหนึ่ง ล้างหน้าแล้ว เข้าไปขอ

ข้าวต้มแต่เช้า บทว่า อติทิวา ความว่า รับข้าวต้มไปโรงฉันดื่มแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

นอนหลับในที่แห่งหนึ่ง คิดว่า เราจะได้อาหารอย่างดีในเวลาบริโภคของ

คนทั้งหลาย ดังนี้ เมื่อใกล้เที่ยง ก็ลุกขึ้นเอาเครื่องกรองน้ำตักน้ำล้างตาแล้ว

ไปหาอาหารฉันตามต้องการ ครั้นเลยเที่ยงแล้วก็หลีกไป. บทว่า ทิวา จ อาคนฺ

ตฺวา ความว่า ชื่อว่า ผู้เข้าไปเกินเวลา พึงมาก่อนภิกษุทั้งหลายอื่น แต่ท่าน

มาสายเกินไป. บทว่า ภายามิ นาคทตฺต ได้แก่ เรากลัวท่านนาคทัตตะ

นั้น. บทว่า สุปคพฺภ ได้แก่ คะนองด้วยดี. บทว่า กุเลสุ คือ ในตระกูล

ผู้อุปัฏฐากมีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น.

จบอรรถกถานาคทัตตสูตรที่ ๗

๘. กุลฆรณีสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุรูปหนึ่งผู้คลุกคลี

[๗๘๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในสกุลเเห่งหนึ่งเกินเวลา.

[๗๘๑] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในราวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่

ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น ใคร่จะให้เธอสังเวช จึงเนรมิตเพศแห่งหญิงแม้เรือน

ในตระกูลนั้นเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนา

กันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และ

ในถนน ส่วนเราและท่านเป็นดังเรือ.

[๗๘๒] แท้จริงเสียงที่เป็นข้าศึกมีมากอัน

ท่านผู้มีตบะ พึงอดทน ไม่พึงเก้อเขิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

เพราะเหตุนั้น เพราะสัตว์หาได้เศร้าหมอง

ด้วยเหตุนั้นไม่ แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะ

เสียงประดุจเนื้อทรายในป่า นักปราชญ์

กล่าวผู้นั้นว่ามีจิตเบา วัตรของเขาย่อมไม่

สมบูรณ์.

อรรถกถากุลฆรณีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลฆรณีสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺโฌคาฬฺหปฺปตฺโต แปลว่า ถึงความคลุกคลี. ได้ยินว่า

ภิกษุนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วเข้าไปสู่ราวป่า เข้าไปบิณฑบาต

ยังหมู่บ้านในวันที่ ๒. ด้วยมารยาทที่น่าเลื่อมใสงดงาม. บางตระกูลเลื่อมใส

ในอิริยาบถของท่าน กราบไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์เเล้ว ถวายบิณฑบาต.

ก็แล เขาได้ฟังภัตตานุโมทนาแล้ว ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นิมนต์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

นิมนต์รับภิกษาในที่นี้ตลอดเวลาเป็นนิตย์เถิด. พระเถระนั้นรับแล้ว เมื่อ

บริโภคอาหารของเขาก็ประคองความเพียร พากเพียรจนบรรลุพระอรหัตแล้ว

คิดว่า ตระกูลนี้มีอุปการะแก่เรามาก เราจะไปในที่อื่นทำไม ดังนี้ จึงเสวย

ความสุขเเห่งผลสมาบัติอยู่ในที่นั้น .

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้นไม่รู้ว่า พระเถระ

เป็นพระขีณาสพ จึงคิดว่า พระเถระนี้ไม่ไปบ้านอื่น ไม่ไปเรือนอื่น ไม่นั่ง

ในที่อื่นมีโคนต้นไม้และหอฉันเป็นต้น เข้าไปนั่งยังเรือนเดียวตลอดกาล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

เป็นนิตย์ ก็แลภิกษุทั้ง ๒ นี้ ถึงความคลุกคลี บางที่ภิกษุนี้จะพึงประทุษร้าย

ตระกูลนี้ เราจักเตือนภิกษุนั้น ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าว.

บทว่า สณฺาเน ความว่า ในที่ใกล้ประตูเมืองซึ่งคนทิ้งสิ่งของไว้

ระเกะระกะ. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า มาประชุมกัน. บทว่า มนฺเตนฺติ

แปลว่า พูดกัน. บทว่า มญฺจ ตญฺจ แปลว่า กล่าวกะเราด้วย กล่าวกะ

เขาด้วย. บทว่า กิมนฺตร. แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า พหู หิ สทฺทา

ปจฺจูหา ความว่า เสียงที่เป็นข้าศึกเหล่านี้มีมากในโลก. บทว่า น เตน

แปลว่า เพราะเหตุนั้น หรืออันผู้มีตบะนั้นไม่พึงเก้อเขิน. บทว่า น หิ เตน

ความว่า ก็สัตว์จักเศร้าหมองเพราะคำที่คนอื่นกล่าวแล้วนั้นก็หาไม่. เทวดา

นั้นแสดงว่า ก็จักเศร้าหมองด้วยบาปกรรมที่คนเห็นแล้วเอง. บทว่า วาตมิโค

ยถา ความว่า เนื้อสมันในป่าย่อมสะดุ้งด้วยเสียงแห่งใบไม้เป็นต้น ที่ถูกลมพัด

ฉันใด เขาชื่อว่าเป็นผู้สะดุ้งด้วยเสียงนั้น ฉันนั้น. บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต วต

ความว่า วัตรของผู้มีจิตเบานั้น ย่อมไม่สมบูรณ์. ก็แล พึงทราบว่า พระเถระ

มีวัตรบริบูรณ์แล้ว เพราะเป็นพระขีณาสพ.

จบอรรถกถากุลฆรณีสูตรที่ ๘

๙. วัชชีปุตตสูตร

ภิกษุวัชชีได้ฟังดนตรีแล้วคร่ำครวญ

[๗๘๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่า

แห่งหนึ่ง ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้นแล วาระแห่งมหรสพตลอดราตรีทั้งปวง

ย่อมมีในเมืองเวสาลี.

[๗๘๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ฟังเสียงกึกก้องแห่งดนตรี อันบุคคล

ตีและบรรเลงแล้วในเมืองเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

เราเป็นคน ๆ เดียวอยู่ในป่า ประดุจ

ท่อนไม้ที่เขาทิ้งแล้วในป่า ฉะนั้น ใครจะ

เป็นผู้ลามกกว่าเราในราตรีเช่นนี้หนอ.

[๗๘๕] ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่

ประโยชน์แก่เธอ ใคร่จะยังเธอให้สลดจึงเข้าไปหาจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้

กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

ท่านเป็นคน ๆ เดียวเท่านั้นอยู่ในป่า

ประดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งแล้วในป่าฉะนั้น

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากย่อม

รักท่าน ประดุจสัตว์นรกรักผู้ที่จะพาไป

สวรรค์ ฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดาให้สังเวชถึงซึ่งความสลดแล้วแล.

อรรถกถาวัชชีปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัชชีปุตตสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-

บทว่า วชฺชีปุตฺตโก คือ ราชบุตรในแคว้นวัชชี. สละเศวตฉัตร

ออกบวช. บทว่า สพฺพรตฺติจาโร ความว่า การรื่นเริงที่เขาป่าวร้อง การ

เล่นในเดือนสิบสอง ตกแต่งด้วยธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นไปทั่วพระนคร ชื่อว่า

ผู้เที่ยวตลอดทั้งคืน. จริงอยู่ นักขัตฤกษ์นี้ มีติดต่อเป็นอันเดียวกันตลอด

ถึงชั้นจาตุมหาราชิกา. บทว่า ตุริยตาฬิตวาทิตนิคฺโฆสสทฺท คือ เสียง

กึกก้องแห่งดนตรีมีกลองเป็นต้นที่เขาตีแล้ว และเครื่องสายมีพิณเป็นต้นที่เขา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

บรรเลงแล้ว. บทว่า อภาสิ ความว่า ได้ยินว่า นกรุงเวสาลีมีพระราชาอยู่

๗,๗๐๗ องค์ อุปราชและเสนาบดีเป็นต้นของพระราชาเหล่านั้น ก็มีเท่านั้น

เหมือนกัน . เมื่อพระราชาเหล่านั้นแต่งตัวแล้วลงสู่ถนน เพื่อประสงค์จะเล้น

นักษัตร ภิกษุวัชชีบุตรเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมใหญ่ประมาณ ๖๐ ศอก เห็น

พระจันทร์ลอยอยู่บนท้องฟ้า ยืนอาศัยแผ่นกระดานปลายที่จงกรมกล่าวแล้ว.

บทว่า อปวิฏฺว วนสิ ทารุก ความว่า เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า

เพราะเป็นผู้เว้นจากเครื่องแต่งตัวคือผ้าโพก. บทว่า ปาปิโย ความว่า จะมี

ใครอื่นที่เลวไปกว่าเรา. บทว่า ปิหยนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์เป็น

อันมากปรารถนาต่อท่านว่า พระเถระอยู่ป่า ถือผ้าบังสุกุล ถือบิณฑบาต

ถือเดินบิณฑบาตตามลำดับ มีความปรารถนาน้อย มีความสันโดษ. บทว่า

สคฺคคามิน คือ กำลังไปสู่สวรรค์บ้าง ไปแล้วบ้าง.

จบอรรถกถาวัชชีปุตตสูตรที่ ๙

๑๐. สัชฌายสูตร

เทวดาเข้าหาพระสาธยายธรรม

[๗๘๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุนั้น นัยว่าเมื่อก่อนเป็นผู้มากไปด้วยการสาธยาย

เกินเวลาอยู่ สมัยต่อมา เธอเป็นผู้ขวนขวายน้อยเป็นผู้นิ่ง ยังกาลให้ล่วงไป.

[๗๘๗] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น ไม่ได้ฟังธรรม

ของเธอ จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ภิกษุ ท่านอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย

ย่อมไม่สาธยายบทแต่งพระธรรม เพราะ

เหตุไร บุคคลฟังธรรมแล้วย่อมได้ความ

เลื่อมใส ผู้กล่าวธรรมย่อมได้รับความ

สรรเสริญในทิฏฐธรรมเทียว.

[๗๘๘] ภิกษุกล่าวตอบว่า

ความพอใจในบทแห่งพระธรรมได้

มีแล้วในกาลก่อน จนถึงกาลที่เรามาร่วม

ด้วยวิราคะ และเพราะเรามาร่วมด้วยวิราคะ

แล้ว สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึง รูป เสียง

กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อย่างใด

อย่างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวการวางเสีย.

อรรถกถาสัชฌายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัชฌายสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ย สุท สักว่าเป็นนิบาต. บทว่า สชฺฌายพหุโล ความว่า

เมื่อท่องอยู่ด้วยอำนาจแห่งนิสสรณะและปริยัติ คือท่องตลอดเวลามากกว่า

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นปัดกวาดที่พักกลางวันของอาจารย์แล้วยืนดูอาจารย์. เมื่อเห็น

อาจารย์นั้นกำลังเดินมา จึงลุกขึ้นไปรับบาตรและจีวร. เมื่ออาจารย์นั่งบน

อาสนะที่ปูไว้แล้ว ก็เอาพัดใบตาลพัดให้ บอกน้ำฉันให้ ล้างเท้า ทาน้ำมัน

ไหว้แล้วยืนเรียนอุเทศทำการท่องตลอดถึงพระอาทิตย์ตก. ภิกษุนั้น เอาน้ำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

เข้าไปตั้งไว้ในซุ้ม จุดไฟในเตาก่อน. เมื่ออาจารย์อาบน้ำมาแล้ว ก็เช็ดน้ำ

ที่เท้า นวดหลัง ไหว้แล้วเรียนอุเทศ ทำการท่องในปฐมยาม พักผ่อน

ร่างกายในมัชฌิมยาม ลุกขึ้นในปัจฉิมยาม เรียนอุเทศทำการท่องจนถึง

อรุณขึ้นแล้ว จึงพิจารณาเสียงที่ดับไปแล้ว โดยความสิ้นไป. เจริญวิปัสสนา

ในขันธ์ ๕ คืออุปาทายรูปที่เหลือจากนั้น ภูตรูป นามรูปแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า อปฺโปสฺสุโก ความว่า ไม่ขวนขวายในการเรียนอุเทศและในการ

ทำการท่อง. บทว่า สกมายติ ความว่า ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ เราจะพึงทำการ

ท่องเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ จะเป็นประโยชน์

อะไรกับ การท่องของเราดังนี้แล้ว ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากผล

สมาบัติ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า ความไม่สบายเกิดแก่

พระเถระ หรือว่าแก่อาจารย์ของท่าน เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ท่องด้วย

เสียงอันไพเราะเหมือนในก่อน ดังนี้แล้วจึงไปยืนพูดอยู่ในที่ใกล้. พระพุทธ

วจนะทั้งปวงท่านประสงค์เอาในบทว่า ธมฺมปทานิ. บทว่า นาธิยสิ แปลว่า

ไม่ท่อง. บาลีว่า นาทิยสิ บ้าง ความว่า. ไม่ถือเอา. บทว่า ปสส คือ

ผู้กล่าวธรรมย่อมได้ความสรรเสริญ. ผู้ที่กล่าวธรรมนั้นย่อมมีผู้สรรเสริญว่า

ผู้ทรงจำอภิธรรม ผู้ทรงจำพระสูตร ผู้ทรงพระวินัย. บทว่า วิราเคน ได้แก่

ด้วยอริยมรรค. บทว่า อญฺาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า นิกฺเขปน ความว่า

ท่านแสดงแก่พระเถระนั้นว่า สัตบุรุษย่อมกล่าววิสัชนาสิ่งที่เห็นแล้วและฟัง

แล้วะเป็นต้น. ไม่ใช่ (แสดง) แก่พระพุทธเจ้า. อธิบายว่า พระเถระให้วิสัชนา

พุทธพจน์ด้วยคำประมาณเท่านี้. ไม่พึงเป็นผู้ท่องตลอดกาลเป็นนิตย์. แต่

ว่าภิกษุนั้นท่องแล้วรู้ว่า เราสามารถเป็นผู้ทรงจำอรรถหรือธรรมประมาณเท่านี้

ดังนี้แล้ว พึงปฏิบัติเพื่อทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์.

จบอรรถกถาสัชฌายสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร

อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย

[๗๘๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้นแล เธอไปที่พักในกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกอันลามก

คือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก.

[๗๙๐] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิ่งอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู

ใคร่ประโยชน์ หวังจะให้ภิกษุนั้นสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว

ได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า

ท่านถูกวิตกกิน เพราะมนสิการ

ไม่แยบคาย ท่านจงละมนสิการไม่แยบคาย

เสีย และจงใคร่ครวญโดยแยบคาย ท่าน

ปรารภพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์

และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความปรา-

โมทย์ ปีติและสุขโดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้น

ท่านจักเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ จัก

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ

สลดใจแล้วแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

อรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสเล วิตกฺเก คือ ซึ่งมหาวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น.

บทว่า อโยนิโสมนสิการา แปลว่า เพราะไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบาย. บทว่า

โส แปลว่า ท่านนั้น. บทว่า อโยนิโส ปฏินิสฺสชฺช คือ ท่านจง

เว้นการไม่ทำไว้ในใจด้วยอุบายนั้น. บทว่า สตฺถาร ได้แก่ กล่าวกัมมัฏฐาน

ที่น่าเลื่อมใสด้วยคาถานี้. บทว่า ปีติสุขมสสย ได้แก่ จักบรรลุปีติอันมี

กำลังและความสุขโดยส่วนเดียว.

จบอรรถกถาอโยนิโสมนสิการสูตร ที่ ๑๑.

๑๒. มัชฌันติกสูตร

ว่าด้วยเวลากำลังเที่ยงวัน

[๗๙๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล.

[๗๙๒] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เข้าไปหาถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของภิกษุนั้นว่า

ในกาลกำลังเที่ยงวัน เมื่อนกทั้ง-

หลายจับเจ่าแล้ว ภัยนั้นย่อมปรากฏแก่เรา

ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

ภิกษุตอบว่า

ในกาลกำลังเที่ยง เมื่อนกทั้งหลาย

จับเจ่าแล้ว ความยินดีนั้นย่อมปรากฏ

แก่เรา ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่ฉะนั้น.

อรรถกถามัชฌันติกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัชฌันติกสูตรที่ ๑๒. คำใดควรกล่าว คำนั้น

เรากล่าวไว้แล้วในนันทนวรรค ในเทวตาสังยุต.

จบอรรถกถามัชฌันติกสูตร ที่ ๑๒

๑๓. ปากตินทริยสูตร

ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้ฟุ้งซ่าน

[๗๙๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล ล้วนเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เห่อเหิม ขี้โอ่ ปากกล้า พูดเหลวไหล มีสติ

ฟั่นเฟือน ไม่รู้สึกตน ไม่หนักแน่น จิตไม่มั่นคง มีอินทรีย์อันเปิดเผย.

[๗๙๔] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่

ประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น หวังจะให้พวกเธอสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวกะพวกเธอด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ของพระ-

สมณะโคดมในกาลก่อนมีปกติเป็นอยู่ง่าย

ไม่มักได้ แสวงหาบิณฑบาต [ตามได้]

ไม่มักได้แสวงหาเสนาสนะ [ตามได้] ท่าน

เหล่านั้นรู้ความไม่เที่ยงในโลกแล้ว ได้

กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว [ส่วนพวกท่าน]

ทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงยาก ประดุจผู้เอาเปรียบ

ชาวบ้านในบ้าน กินแล้ว ๆ ก็นอนหมกมุ่น

อยู่ในเรือนของคนอื่น เราขอกระทำอัญชลี

แก่พระสงฆ์แล้ว ขอกล่าวถึงภิกษุที่ควร

กล่าวบางพวก ในพระศาสนานี้ ท่านเหล่า

นั้นถูกเขาทอดทิ้งหาที่พึ่งมิได้ เหมือน

อย่างคนที่ตายแล้ว ถูกเขาทอดทิ้งไว้ใน

ป่าช้า ฉะนั้น เรากล่าวหมายถึงภิกษุจำพวก

ที่เป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ท่านเหล่าใดเป็น

ผู้ไม่ประมาทอยู่ เราขอกระทำการนอบ-

น้อมแก่ท่านเหล่านั้น.

ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ

สลดใจแล้วแล.

อรรถกถาปากตินทริยสูตรที่ ๑๓

ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ มีพิสดารอยู่ในชันตุเทวปุตตสูตร ในเทวปุตต-

สังยุต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

๑๔. ปทุมปุปผสูตร

ว่าด้วยภิกษุขโมยกลิ่นปทุม

[๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน

แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่

สระโบกขรณีแล้วสูคดมดอกปทุม.

[๗๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่

ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หวังจะไห้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้

กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า

ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่ง

ใคร ๆ ไม่ได้ให้แล้ว นี้เป็นองค์อันหนึ่ง

แห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่าน

เป็นผู้ขโมยกลิ่น.

[๗๙๗] ภิกษุกล่าวว่า

เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เรา

ดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำห่าง ๆ เมื่อเป็น

เช่นนี้ ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่นด้วย

เหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเง่าบัว หักดอก

บัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่น

อย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็น

ขโมย.

[๗๙๘] เทวดากล่าวว่า

บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วย

ราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ

เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจ

เท่าก่อนเมฆในนภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลส

ดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหาไตรสิกขาอัน

สะอาดเป็นนิจ.

[๗๙๙] ภิกษุกล่าวว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านรู้จักเราแน่ละ

และท่านเอ็นดูเรา ดูก่อนเทวดา ท่านเห็น

ธรรมเช่นนี้ในกาลใด ท่านพึงกล่าวอีก

[ในกาลนั้น] เถิด.

[๘๐๐] เทวดากล่าวว่า

เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และ

เราไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน ดูก่อน

ภิกษุ ท่านพึงไปสุคติได้ด้วยกรรมที่ท่าน

พึงรู้.

ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สลด ถึงซึ่งความสังเวช

แล้วแล.

จบปทุมปุปผสูตร

วนสังยุต จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

อรรถกถาปทุมปุปผสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปทุมปุปผสูตร ที่ ๑๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัว

น้อมมา (ดม) จึงคิดว่า ภิกษุนี้ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว

เข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์ ภิกษุนี้นั้นวัน

นี้ ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่น

นั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้

พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว

จึงเข้าไปพูด.

บทว่า เอกงฺคเมต เถยฺยาน ความว่า นี้เป็นองค์หนึ่ง คือเป็นส่วน

หนึ่งแห่ง ๕ ส่วน มีรูปารมณ์เป็นต้นที่พึงลักเอา. บทว่า น หรามิ แปลว่า

ไม่ถือเอาไป. บทว่า อารา คือภิกษุกล่าวว่า เราจับก้านในที่ไกลน้อมมา

ยืนดมอยู่ในที่ไกล. บทว่า วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุ. บทว่า ยฺวาย

ตัดบทว่า โย อย (แปลว่า นี้ ใด). ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังพูดกับเทวดา

ดาบสคนหนึ่งก็ลงไปขุดเหงาบัวเป็นต้น. ท่านกล่าวหมายเอาความนั้น. บทว่า

อากิณฺณกมฺมนฺโต คือมีการงานไม่บริสุทธิ์อย่างนี้. บาลีว่า อขีณกมฺมนฺโต

บ้าง ความว่า มีการงานหยาบคาย. บทว่า น วุจฺจติ ความว่า เพราะเหตุไร

จึงไม่กล่าวว่า ขโมยกลิ่น หรือว่าขโมยดอกไม้. บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ

คือมีความชั่วมาก หรือว่ามีความชั่วช้า. บทว่า อติเวลว มกฺขิโต ความว่า

บุรุษนี้ผู้เปื้อนด้วยกิเลสมีราคะและโทสะเป็นต้น เหมือนอย่างผู้เศร้าหมอง

ที่แม่นมนุ่งแล้ว เปื้อนด้วยอุจจารปัสสาวะ ฝุ่นเขม่า และเปือกตมเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

บทว่า อรหามิ วตฺตเว แปลว่า ควรกล่าว. ได้ยินว่า การเตือนของเทวดา

ก็เช่นกับคำสอนของพระสุคต. บุคคลเลวน้อมไปเลว และปฏิบัติผิด ย่อมไม่ได้

รับการเตือนนั้น. ส่วนบุคคลควรแก่มรรคผลในอัตภาพนั้น ย่อมได้การเตือน

นั้น. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สุจิคเวสิโน คือ ผู้แสวงหาศีล

สมาธิและญาณที่สะอาด. บทว่า อพฺภามตฺตว คือเหมือนสักว่าก้อนเมฆ

บทว่า ชานาสิ ได้แก่ รู้ว่าผู้นี้บริสุทธิ์. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกล่าว.

บทว่า เนว ต อุปชีวามิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้คิดว่า มีเทวดาผู้หวังดี

แก่เราจักเตือนจักชี้แจงเอง ดังนี้ จึงประกอบความประมาทว่า เราจักไม่รับคำ

ของเขา เพราะฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า ตฺวเมว แปลว่า ท่าน

เอง. บทว่า ชาเนยฺย แปลว่า พึงรู้. บทว่า เยน คือด้วยกรรมใด. ความ

ว่า ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ท่านเองจะพึงรู้กรรมนั้น.

จบอรรถกถาปทุมปุปผสูตร ที่ ๑๔

จบอรรถกถาวนสังยุต ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี ๑๔ สูตร คือ

๑. วิเวกสูตร ๒. อุปัฏฐานสูตร ๓. กัสสปโคตตสูตร ๔. สัมพหุล

สูตร ๕. อานันทสูตร ๖. อนุรุทธสูตร ๗. นาคทัตตสูตร ๘. กุลฆรณีสูตร

๙. วัชชีปุตตสูตร ๑๐. สัชฌายสูตร ๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร ๑๒. มัชฌัน-

ติกสูตร ๑๓. ปากตินทริยสูตร ๑๔. ปทุมปุปผสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

ยักขสังยุต

๑. อินทกสูตร

ว่าด้วยสัตว์ตั้งอยู่ในครรภ์อย่างไร

[๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทก

ยักษ์ครอบครอง ในกรุงราชคฤห์.

[๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กราบ

ทูลด้วยคาถาว่า

ท่านผู้รู้ทั้งหลายไม่กล่าวรูปว่า

เป็นชีพ สัตว์นี้จะประสบร่างกายนี้ได้

อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อจะมา

แต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ได้

อย่างไร.

[๘๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

รูปนี้เป็นกลละล่อน จากกลละเป็น

อัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิ

เกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม

(ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ

(เป็นต้น ) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ใน

ครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด

สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพ

ให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

ยักขสังยุตตวัณณนา

อรรถกถาอินทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอินทกสูตรที่ ๑ แห่งยักขสังยุตต่อไปนี้ :-

บทว่า อินฺทกสฺส คือ ยักษ์อยู่ที่เขาอินทกูฏ. จริงอยู่ พระสูตรนี้

ได้ชื่อจากยักษ์กับยอด และจากยอดกับยักษ์. บทว่า รูป น ชีวนฺติ วทนฺติ

ความว่า ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่กล่าวรูปอย่างนี้ว่า สัตว์ บุคคล. บทว่า

กถ นฺวย ตัดบทว่า กถ นุ อย. บทว่า กุตสฺส อฏฺิยกปิณฺฑเมติ

ความว่า กระดูกและก้อนเนื้อของสัตว์นั้นจะมาแต่ไหน. ก็ในคำนี้ ท่านถือเอา

กระดูก ๓๐๐ ท่อนด้วยศัพท์ว่า อัฏฐิ ชิ้นเนื้อง ๙๐๐ ด้วยศัพท์ว่า ยกปิณฑะ.

ถามว่า ถ้ารูปไม่ใช่ชีวะ เมื่อเป็นเช่นนั้น กระดูกเหล่านี้และชิ้นเนื้อ

เหล่านี้ของเขาย่อมมาแต่ไหน. บทว่า กถ นฺวย สชฺชติ คพฺภสฺมึ ความว่า

สัตว์นี้ติดอยู่คือข้องอยู่ เกิดอยู่ในครรภ์ของมารดา ด้วยเหตุไรหนอ. ได้ยินว่า

ยักษ์นี้มักพูดแต่บุคคลถือว่า สัตว์เกิดในครรภ์ของมารดาโดยการร่วมครั้งเดียว

ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ตามความเห็นว่า มารดาของสัตว์ที่เกิดในท้องย่อมกินปลา

และเนื้อเป็นต้น ปลาและเนื้อเป็นต้นทั้งปวงถูกเผาเพียงคืนเดียวก็ละลายไป

เหมือนฟองน้ำ ถ้ารูปไม่พึงเป็นสัตว์ก็พึงละลายไปอย่างนี้. ลำดับนั้น เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงแก่ยักษ์นั้นว่า สัตว์ไม่ได้เกิดในครรภ์ของ

มารดาโดยการร่วมครั้งเดียวเท่านั้นว่า เจริญขึ้นโดยลำดับ จึงตรัสว่า ปม

กลล โหติ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปม ความว่า ชื่อว่า ติสสะ หรือว่า ปุสสะ

ย่อมไม่พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณทีแรก. โดยที่แท้ กลละมีประมาณเท่าหยาด

น้ำมันงาซึ่งตั้งอยู่ที่ปลายเส้นด้ายที่ทำด้วยเส้นขนสัตว์ ๓ เส้น ท่านกล่าวหมาย-

ความว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

หยาดแห่งน้ำมันงา เนยใส ใสไม่

ขุ่นมัว ฉันใดเขาเรียกกันว่า กลละมีสี

คล้ายกัน ฉันนั้น.

บทว่า กลลา โหติ อมฺพุท* ความว่า เมื่อกลละนั้นล่วงไป ๗ วัน

ก็มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ จึงชื่อว่า อัมพุทะ. ชื่อว่า กสละ ก็หายไป. สมดังคำ

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เป็นกลละอยู่ วัน ครั้นแก่ข้นขึ้น

เปลี่ยนภาวะนั้นเกิดเป็น อัมพุทะ.

บทว่า อมฺพุทา* ชายเต เปสิ ความว่า เมื่ออัมพุทะนั้นล่วงไป

๗ วัน ก็เกิดเป็นเปสิ คล้ายดีบุกเหลว. เปสินั้นพึงแสดงด้วยน้ำตาลเม็ดพริกไทย.

จริงอยู่ เด็กชาวบ้านถือเอาพริกไทยสุกทำเป็นห่อไว้ที่ชายผ้าขยำเอาแต่ส่วนที่ดี

ใส่ลงในกระเบื้องตากแดด. เม็ดพริกไทยนั้นแห้ง ๆ ย่อมหลุดตกเปลือกทั้งหมด.

เปสิมีรูปร่างอย่างนี้. ชื่อว่า อัมพุทะก็หายไป. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เป็นอัมพุทะอยู่ ๗ วัน แก่ข้นขึ้น

เปลี่ยนภาวะนั้น เกิดเป็นเปสิ.

บทว่า เปสิ นิพฺพตฺตติ ฆโน ความว่า เมื่อเปสินั้นล่วงไป ๗ วัน

ก้อนเนื้อชื่อ ฆนะ มีสัณฐานเท่าไข่ไก่เกิดขึ้น. ชื่อว่า เปสิก็หายไป. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เป็นเปสิอยู่ ๗ วัน ครั้นแก่ข้นขึ้น

เปลี่ยนภาวะนั้น เกิดเป็น ฆนะ สัณฐาน

แห่งฆนะเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งกรรม

เหมือนไข่ไก่ เกิดเป็นก้อนกลมโดยรอบ.

* บาลี เป็น อพฺพุท อพฺพุทา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

บทว่า ฆนา จ สาขา ชายนฺติ ความว่า ในสัปดาห์ที่ ๕ เกิดปุ่ม

ขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นมือและเท้าอย่างละ ๒ และเป็นศีรษะ ๑. มีคำที่พระพุทธ

เจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสัปดาห์ที่ ๕ ปุ่มตั้งขึ้น ๕ แห่ง ตามกรรม

ดังนี้. ต่อแต่นี้ไป ทรงย่อพระเทศนาผ่านสัปดาห์ที่ ๖ ที่ ๗ เป็นต้น เมื่อจะ

ทรงแสดงเอาเวลาที่ผ่านไป ๔๒ สัปดาห์ จึงตรัสว่า ผมเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เกสา โลมา นขาปิ จ ความว่า ผม

เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเกิดใน ๔๒ สัปดาห์. บทว่า เตน โส ตตฺถ ยาเปติ

ความว่า จริงอยู่ สายสะดือตั้งขึ้นจากสะดือของเด็กนั้น ติดเป็นอันเดียวกับ

แผ่นท้องของมารดา. สายสะดือนั้นเป็นรูเหมือนก้านบัว. รสอาหารแล่นไป

ตามสายสะดือนั้น ดังรูปซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐานให้ตั้งขึ้น. เด็กนั้นย่อมเป็น

อยู่ ๑๐ เดือน ด้วยประการฉะนี้. บทว่า มาตุ กุจฺฉิคโต นโร ความว่า

คนอยู่ในท้องมารดาคืออยู่ภายในท้อง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนยักษ์ สัตว์นี้เจริญขึ้นในท้อง

ของมารดาโดยลำดับ ไม่ใช่เกิดโดยการร่วมครั้งเดียว.

จบอรรถกถาอินทกสูตรที่ ๑

๒. สักกสูตร

ว่าด้วยการสอนคนอื่น

[๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ

กรุงราชคฤห์.

[๘๐๕] ครั้นนั้นแล ยักษ์มีชื่อว่าสักกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่

สมณะเช่นท่าน ผู้ละกิเลสได้ทั้งหมด ผู้

พ้นจากไตรภพ.

[๘๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน

ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมี

ปัญญาไม่ควรที่จะไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ

ถ้าค้นมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคล

นั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอก

จากจะอนุเคราะห์เอ็นดู.

อรรถกถาสักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สกฺกนามโก คือ ยักษ์มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นี้เป็น

ฝ่ายมาร. บทว่า วิปฺปมุตฺตสฺส ได้แก่ พ้นจากภพ ๓. บทว่า ยทฺ

ตัดบทว่า ย อญฺ (อื่นใด). บท วณฺเณน คือเพราะเหตุ. บทว่า

สวาโส คืออยู่ด้วยกัน. อธิบายว่า เป็นสหายธรรม มิตรธรรม. บทว่า

สปฺปญฺโ คือผู้มีปัญญา ผู้รอบรู้.

จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

๓. สูจิโลมสูตร

ว่าด้วยราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุ

[๘๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึง

ติดกับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ ในบ้านคยา.

สมัยนั้นแล ยักษ์ขอขระและยักษ์ชื่อสูจิโลมะเดินผ่านเข้าไปไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ.

นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อย

เราพอจะรู้ได้.

[๘๐๘] ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

น้อมกายเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย.

ครั้งนั้นแล สูจิโลนยักษ์ได้ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านกลัวเรา

หรือ ? สมณะ.

อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม.

สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจัก

ทำจิตของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้ว

เหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา.

อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเรา

ให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่ง

แม่น้ำคงคาได้ อาวุโส เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

[๘๐๙] สูจิโลมยักษ์ จึงถามว่า

ราคะและโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความ

ไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิด

แต่อะไรความตรึกในใจเกิดแต่อะไร แล้ว

ดักจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น.

[๘๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ

ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยด-

สยองเกิดแต่อัตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิด

แต่อัตภาพนี้แล้ว ดักจิตไว้ได้ เหมือน

พวกเด็กดักกา ฉะนั้น.

อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความ

เยื่อใยคือตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่าน

ไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร

เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วปกคลุมป่าไป ฉะนั้น.

ชนเหล่าใดย่อมรู้อัตภาพนั้นว่า เถิด

แต่สิ่งใด ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทาเหตุ

เกิดนั้นเสียได้ ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟัง

ชนเหล่านั้นย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งห้าม

ได้ยาก และไม่เคยข้าม เพื่อความไม่มีภพ

อีกต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

อรรถกถาสูจิโลมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูจิโลมสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า คยาย คือในบ้านคยา. อธิบายว่า เข้าไปอาศัยบ้านที่ตั้งไม่

ไกลจากคยา. บทว่า ฏงฺกิตมญฺเจ ความว่า เตียงที่เท้ายาวคือเตียงที่เขาเจาะ

ในท่ามกลางสอดทำด้วยแม่แคร่. เตียงนั้นไม่มีคำว่า นี้ข้างบน นี้ข้างล่าง. เตียง

นั้นจะเปลี่ยนไปเป็นเช่นนั้นก็ได้ตามต้องการ. เขาย่อมตั้งเตียงนั้นไว้ในเทวสถาน

โรงเรือนที่เขาปูลาดแผ่นหินไว้บนแผ่นหิน ๔ แผ่น เขาเรียกว่า เตียงซ้อนตั่ง.

บทว่า สูจิโลมสฺส คือมีชนเช่นหนามแข็ง. ได้ยินว่า ยักษ์นั้น บวชใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป มาแต่ที่ไกล มีเหงื่อไคล

ท่วมตัว ไม่ลาดเตียงของสงฆ์ที่เขาแต่งตั้งไว้ดีแล้ว นอนด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ.

ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้นได้มีการกระทำนั้น เหมือนสีดำที่ผ้าขาว. เธอไม่อาจยังคุณ

วิเศษให้เกิดขึ้นในอัตภาพนั้นได้ ทำกาละแล้วมาเกิดเป็นัยกษ์ที่ทิ้งขยะ ใกล้

ประตูบ้านคยา. ก็เมื่อเขาเกิดมาแล้ว ก็มีขนแหลมแข็งทั่วตัวคล้ายขนวัว. ต่อมา

วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแลดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นยักษ์นั้น

มาสู่ครองอาวัชชนจิตครั้งแรก จึงทรงดำริว่า ยักษ์นี้เสวยทุกข์ใหญ่ตลอดพุท-

ธันดรหนึ่ง ความสวัสดีจะพึงมีแก่เขาเพราะอาศัยเราหรือไม่หนอ ทรงเห็น

อุปนิสัยแห่งมรรคเบื้องต้น. ลำดับนั้น ทรงใคร่จะทำการสงเคราะห์ยักษ์นั้น

ทรงนุ่งผ้า ๒ ชั้นที่ย้อมแล้ว ห่มจีวรใหญ่ขนาดสุคตประมาณละพระคันธกุฎีดุจ

วิมานเทวดา เสด็จไปสู่ที่ทิ้งขยะ เหม็นด้วยทรากศพช้างวัวม้ามนุษย์และสุนัข

เป็นต้น ประทับนั่งในที่นั้นเหมือนนั่งในพระคันธกุฎีใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ท่านหมายเอาความข้อนั้นจึงกล่าวว่า ในที่อยู่ของยักษ์สูจิโลมะ ดังนี้.

บทว่า ขโร ความว่า มีรูปร่างแข็งทื่อเหมือนหลังจระเข้ เหมือนหลังคา

ไม่เรียบด้วยกระเบื้องมุงหลังคา. ได้ยินว่า เขาเป็นอุบาสกผู้ประกอบด้วยศีล

ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ วันหนึ่ง ไม่ได้ปูผ้าห่มของตนบนที่ปูลาด

ของสงฆ์ นอนบนพื้นที่ปูลาดไว้ด้วยเครื่องปูลาดอันวิจิตรในวิหาร. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า แบ่งน้ำมันของสงฆ์ทาสรีระด้วยมือของตน. เขาไม่อาจเกิด

ในสวรรค์ด้วยกรรมนั้น มาเกิดเป็นยักษ์ที่กองขยะใกล้ประตูบ้านแห่งบ้านคยา

นั้น. ก็แลสรีระทั้งสิ้นของเขาผู้เกิดแล้ว จึงมีประการดังกล่าวแล้ว. เขาทั้ง ๒

เป็นสหายกัน. ความแข็งทื่อของยักษ์นั้น พึงทราบด้วยประการฉะนั้นแล.

บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ความว่า ยักษ์ ๒ ตนนั้นแสวงหา

อาหารหรือไปสู่ที่สมาคม ไปในที่ใกล้กัน. ในยักษ์ ๒ ตนนั้น ยักษ์สูจิโลมะ

ไม่เห็นพระศาสดา. ยักษ์ขระเห็นก่อนจึงพูดกะยักษ์สูจิโลมะว่า นั่นสมณะ. ยักษ์

สูจิโลมะจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย สมณะนี้เข้ามายังที่อยู่ของท่านไปนั่งอยู่

คนเดียว. ยักษ์สูจิโลมะกล่าวว่า นั่นไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณกะ. ได้ยินว่า

เขาสำคัญว่า ผู้ใดเห็นเราแล้วกลัวหนีไป เขาเรียกผู้นั้นว่าสมณกะ. ผู้ใดไม่กลัว

เขาเรียกผู้นั้นว่า สมณะ. เพราะฉะนั้น ยักษ์สูจิโลมะสำคัญว่า ผู้นี้เห็นเรา

แล้วกลัวจักหนีไป ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า กาย อุปนาเมสิ ความว่า

เนรมิตรูปที่น่ากลัว อ้าปากกว้าง พองขนทั่วตัว น้อมเข้าไปหา. บทว่า

อปนาเมสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าหลีกไปหน่อยหนึ่ง เหมือนทองอัน

มีค่าประกอบด้วยรัตนะร้อยอย่าง. บทว่า ปาปโก คือเลว ไม่น่าชื่นใจ.

เขาควรจะถูกเว้นเหมือนคูถ เหมือนไฟ และเหมือนงูเห่า คือไม่ควรรับด้วย

สรีระอันมีผิวพรรณดุจทองนี้. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ยักษ์

สูจิโลมะโกรธต่อคำว่า ได้ยินว่า สัมผัสของเราเลว ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ปญฺห ต สมณ เป็นต้น. บทว่า จิตฺต วา เต ขิปิสฺสามิ ความว่า

จริงอยู่ อมนุษย์ต้องการจะซัดจิตของคนเหล่าใด มันก็เนรมิตอัตภาพที่น่ากลัว

ให้มีหน้าขาว ท้องเขียว มือและเท้าแดง ศีรษะโต นัยน์ตาถลน แสดงแก่

คนเหล่านั้น ส่งเสียงที่น่ากลัว ยัดมือเข้าในปากของพวกคนกำลังพูด ขยี้หัวใจ

สัตว์เหล่านั้นย่อมเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน. ยักษ์สูจิโลมะหมายถึงความข้อนั้น

จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปารคงฺคาย ความว่า เขากล่าวว่า หรือว่า เราจัก

จับเท้าทั้ง ๒ แห่งท่านขว้างข้ามฝั่งแม่น้ำคงคาไปอย่างที่จะกลับมาไม่ได้. บทว่า

สเทวเก เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า ปจฺฉ ยทา กงฺขสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปวารณาอย่างผู้รู้ว่า ท่านต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จงถามได้ทั้งหมด เราจัก

ชี้แจงแก่ท่านไม่ให้เหลือ. บทว่า กุโต นิทานา ความว่า มีอะไรเป็น

เค้ามูล มีอะไรเป็นปัจจัย. บทว่า กุมารกา ธงฺกมิโวสฺสชฺชนฺติ ความว่า

ถามว่า พวกเด็กจับกามาแล้วปล่อยขว้างไปฉันใด บาปวิตกที่ตั้งขึ้นจากที่ไหน

ก็ปล่อยจิตไปฉันนั้น. บทว่า อิโตนิทานา ความว่า อัตภาพนี้เป็นต้น เค้า

ของวิตกเหล่านั้น เหตุนั้น วิตกนั้นจึงชื่อว่าอิโตนิทานา (มีอัตภาพเเป็นต้นเค้า).

บทว่า อิโตชา แปลว่า เกิดจากอัตภาพนั้น. บทว่า อิโต สมุฏฺาย

มโนวิตกฺกา ความว่า พวกเด็กผูกเชือกที่ข้อขาของมันแล้วปล่อยกาที่ผูกไว้

ด้วยเชือกยาว แม้มันไปได้ไกลก็ตกลงมาแทบเท้าของเด็กเหล่านั้นอีกฉันใด.

บาปวิตกที่ตั้งขึ้นจากอัตภาพนี้ก็ปล่อยจิตฉันนั้น. บทว่า เสฺนหชา ได้แก่

เกิดจากยางคือตัณหา. บทว่า อตฺตสมฺภูตา แปลว่า เกิดในตน. บทว่า

นิโคฺรธสฺเสว ขนฺธชา คือ เหมือนรากที่เกิดจากต้นไทร. บทว่า ปุถู

คือ บาปวิตกและกิเลสที่ประกอบด้วยบาปวิตกนั้นมากคือหลายประการ. บทว่า

วิสตฺตา ได้แก่ ติด เกี่ยว ข้อง. บทว่า กาเมสุ ได้แก่ วัตถุกาม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

มาลุวา วิตฺถตา วเน ความว่า เถาย่านไทรในป่าอาศัยต้นไม้ใดเกิดขึ้น

มันพันต้นไม้นั้นทบไปมา ตั้งแต่โคนถึงยอด ตั้งแต่ยอดถึงโคน ปกคลุมห้อย

ย้อยขยายไปอยู่ฉันใด กิเลสกามเป็นอันมากข้องอยู่ในวัตถุกามหรือสัตว์เป็น

อันมากข้องอยู่ในวัตถุกามด้วยกิเลสกามนั้น ฉันนั้น . บทว่า เย น ปชานนฺติ

ความว่า ก็ผู้ใด ย่อมรู้อัตภาพตามที่กล่าวไว้ในบทว่า อตฺตสมฺภูตา

(เกิดในตน) นี้. บทว่า ยโตนิทาน ความว่า ย่อมรู้สิ่งที่เป็นต้นเค้าของ

อัตภาพนั้น. บทว่า เต น วิโนเทนฺติ ความว่า ผู้นั้นย่อมบรรเทาคือ

นำออกซึ่งสมุทัยสัจอันเป็นต้นเค้าของทุกขสัจกล่าวคืออัตภาพ ด้วยมรรคสัจ

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า เต ทุตฺตร ความว่า ผู้นั้นเมื่อนำสมุทัยสัจ

ออกได้จึงข้ามโอฆะคือกิเลสที่ข้ามยากนี้ได้. บทว่า อติณฺณปุพฺพ ความว่า

ไม่เคยข้ามสังสารวัฏที่มีเบื้องปลายที่ใคร ๆ รู้ไม่ได้ แม้ในภายในแห่งความฝัน.

บทว่า อปุนพฺภวาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่นิโรธสัจคือความไม่เกิดอีก.

เพราะเหตุนี้ เพื่อจะทรงประกาศอริยสัจ ๔ ด้วยคาถานี้ จึงทรงยัง

พระธรรมเทศนาให้จบลงด้วยธรรมมีพระอรหัตเป็นยอด. ในที่สุดแห่งเทศนา

ยักษ์สจิโลมะยืนอยู่ในที่นั้น เอง ส่งญาณไปตามกระแสพระธรรมเทศนาแล้ว

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ก็ชื่อว่า พระโสดาบันทั้งหลายย่อมไม่ตั้งอยู่ในอัตภาพ

ที่เศร้าหมอง เพราะฉะนั้น หัวหูด ขนแหลมอย่างเข็มทั้งปวงที่ร่างกายของ

ยักษ์สูจิโลมะ จึงร่วงไปพร้อมกับได้โสดาปัตติผล. ยักษ์สูจิโลมะนั้นจึงนุ่งผ้า

ทิพย์ ห่มผ้าทิพย์ โพกผ้าทิพย์ ทรงเครื่องประดับของหอมและมาลัยทิพย์

มีผิวพรรณดังทอง ได้ปกครองภุมมเทวดา.

จบอรรถกถาสูจิโลมสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

๔. มณิภัททสูตร

ผู้มีส่วนแห่งเมตตาไม่มีเวร

[๘๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ

อันเป็นที่ครอบครองของยักษ์ชื่อมณิภัททะ ในแคว้นมคธ.

[๘๑๒] ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อมณิภัททะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ

คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่

คนมีสติเป็นนิตย์ และคนมีสติย่อมหลุดพ้น

จากเวร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ

คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมี

แก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยังไม่

หลุดพ้นจากเวร.

[๘๑๓] ผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน

ตลอดวันและคืนทั้งหมด และเป็นผู้มี

ส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อม

ไม่มีเวรกับใคร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

อรรถกถามณิภัททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมณิภัททสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สุขเมธติ ได้แก่ ย่อมได้ความสุข. บทว่า สุเว เสยฺโย

ความว่า ประเสริฐเป็นนิตย์. บทว่า เวรา น ปริมุจฺจติ ความว่า

ย่อมไม่หลุดพ้นจากเวรด้วยเหตุเท่านี้ว่า เรามีสติ. บทว่า ยสฺส ได้แก่

ของพระอรหันต์ใด. บทว่า อหึสาย ได้แก่ ในกรุณา และในส่วนเบื้องต้น

แห่งกรุณา. บทว่า เมตฺต โส ความว่า พระอรหันต์นั้น เจริญเมตตา

และส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา. อีกอย่างหนึ่ง ส่วนเรียกว่า อโส. ชื่อว่า ส่วน

แห่งเมตตา เพราะอรรถว่า เขามีส่วนเมตตา. มีอธิบายดังนี้ว่า ใจของ

พระอรหันต์ใดยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียนตลอดกาลทั้งปวง. อนึ่ง ส่วน

แห่งเมตตาของพระอรหัตใด มีอยู่ในสรรพสัตว์ ดูก่อนยักษ์ ชื่อว่า เวร

ของพระอรหันต์นั้น จึงไม่มีกับบุคคลไรๆ.

จบอรรถกถามณิภัททสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

๕. สานุสูตร

ว่าด้วยสามเณรถูกยักษ์สิง

[๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.

สมัยนั้นแล บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง.

[๘๑๕] ครั้งนั้นแล อุบาสิกานั้นได้ปริเวทนาการกล่าวคาถาเหล่านี้

ในเวลานั้นว่า

ฉันได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย

ว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔

ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหา-

ริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้ง

หลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น บัดนี้

ฉันเห็นในวันนี้ ยักษ์เล่นกับสามเณรสานุ.

[๘๑๖] ยักษ์กล่าวว่า

ท่านได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลาย

ว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔

ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริ-

หาริกปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ยักษ์

ทั้งหลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น เป็น

การชอบ ท่านพึงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า ท่านอย่าได้กระทำ

ธรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ถ้า

ท่านจักกระทำกรรมอันลามกไซร้ ถึงท่าน

จะเหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากทุกข์.

[๘๑๗] สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า

โยม ญาติ และมิตรทั้งหลายย่อม

ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้วหรือยังเป็นอยู่แต่

หายไป โยมยังเห็นฉันเป็นอยู่ ไฉนโยม

จึงร้องไห้ถึงฉัน.

[๘๑๘] อุบาสิกากล่าวว่า

ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อม

ร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้วหรือยังเป็นอยู่แต่

หายไป แต่คนใดละกามทั้งหลายแล้วจะ

กลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและมิตร

ทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น เพราะเขา

เป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว แน่พ่อ

เรายกท่านขึ้นจากเถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว

ท่านอยากจะตลลงไปสู่เถ้ารึงอีก แน่พ่อ

เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว ท่านอยากจะ

ตกลงไปสู่เหวอีก เราจะโพนทะนาแก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

ใครเล่าว่า ขอท่านจงช่วยกัน ขอความ

เจริญจงมีแก่ท่าน ประดุจสิ่งของที่ขนออก

แล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แก่ท่านอยากจะ

เผามันเสียอีก.

อรรถกถาสานุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสานุสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ยกฺเขน คหิโต โหติ ความว่า เล่ากันว่า บุตรนั้นเป็นบุตร

คนเดียวของอุบาสิกานั้น. ครั้งนั้น นางให้บุตรนั้นบรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม

แล. สานุสามเณรนั้น ตั้งแต่เวลาบรรพชาแล้ว มีศีลถึงพร้อมด้วยวัตร. สามเณร

ได้ทำวัตรแก่อาจารย์ อุปัชฌายะและพระอาคันตุกะเป็นต้น เดือนละแปดวัน

ลุกแต่เช้าเข้าไปตั้งน้ำไว้ ในโรงน้ำ กวาดโรงฟังธรรม ตามประทีป ประกาศ

ฟังธรรมด้วยเสียงไพเราะ. พวกภิกษุทราบกำลังของสามเณรนั้น จึงเชื้อเชิญ

ว่า พ่อเณร จงกล่าวบทสรภัญญะเถิด. สามเณรนั้น ไม่นำอะไรมาอ้างว่า ลม

เสียดแทงหัวใจของผม หรือโรคไอรบกวน ขึ้นธรรมาสน์ กล่าวบทสรภัญญะ

เหมือนยังแม่น้ำคงคาในอากาศให้ตกลงอยู่ฉะนั้น ลงมากล่าวว่า ขอส่วนบุญใน

สรภัญญะนี้ จงมีแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้าเถิด. ส่วนมารดาบิดาของสามเณร

นั้นไม่รู้ว่าส่วนบุญสามเณรนั้นให้แล้ว. ก็มารดาของสามเณรในอัตภาพก่อน

นั้นเกิดเป็นนางยักษิณี นางมากับพวกเทวดาฟังธรรมแล้ว จึงกล่าวว่า

ลูก ข้าพเจ้าขออนุโมทนาส่วนบุญอันสามเณรให้แล้ว. ก็ธรรมดาพวกภิกษุผู้ถึง

พร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นที่รักของโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยประการฉะนี้. เหล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

เทวดามีความละอาย มีความเคารพในสามเณรนั้น ย่อมสำคัญสามเณรนั้น

เหมือนท้าวมหาพรหม และเหมือนกองไฟ ยกนางยักษิณีนั้นขึ้นเป็นที่เคารพ

ดูแล ด้วยความเคารพในสามเณร ได้ให้อาสนะ น้ำ ก้อนข้าวอันล้ำเลิศแก่

นางยักษิณีด้วยสำคัญว่า มารดาของสานุ ดังนี้ ในสถานที่ฟังธรรมและยักข-

สมาคม เป็นต้น พวกยักษ์ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ พบนางยักษิณีนั้นหลีกทางให้ลุก

จากอาสนะ.

ครั้งนั้น สามเณรนั้น ถึงความเจริญ มีอินทรีย์แก่กล้า ถูกความไม่

ยินดีบีบคั้น เมื่อไม่อาจจะบรรเทาความไม่ยินดีได้ จึงปล่อยให้ผมและเล็บยาว

รกรุงรัง ทั้งสบงและจีวรสกปรกเหลือเกิน ไม่บอกแก่ใคร ถือบาตรและจีวร

ไปยังประตูเรือนของมารดาแต่ผู้เดียวเท่านั้น. อุบาสิกาเห็นสามเณรไหว้แล้ว

ได้กล่าวว่า ลูก เมื่อก่อน เจ้ามาในที่นี้กับอาจารย์อุปัชฌายะ หรือภิกษุหนุ่ม

และสามเณร เพราะเหตุไร ในวันนี้ เจ้ามาแล้ว แต่ผู้เดียวเล่า. สามเณรนั้น

บอกความเป็นผู้กระสัน. อุบาสิกาเป็นคนมีศรัทธา แสดงโทษในการอยู่ครอง

เรือนโดยประการต่าง ๆ กล่าวสอนสามเณร เมื่อไม่อาจจะให้สามเณรนั้นยินยอม

ได้ คิดว่า กระไรเสีย สามเณรจักกำหนด แม้ตามธรรมดาของตนได้ จึง

ชักชวนกล่าวว่า ลูก เจ้าจงหยุดอยู่จนกว่าแม่จะให้จัดข้าวยาคูและภัตพร้อมแก่

เจ้า แม่จักถวายผ้าที่พอใจแก่เจ้าผู้ดื่มข้าวยาคูทำภัตกิจเสร็จแล้วดังนี้ แล้ว

จึงจัดอาสนะถวาย. สามเณรนั่งแล้ว. อุบาสิกาให้จัดข้าวยาคูและของขบเคี้ยว

ถวายเสร็จแล้วโดยครู่เดียวเท่านั้น. ต่อมา นางคิดว่า จักให้จัดภัตให้พร้อม

นั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกล. สมัยนั้น นางยักษิณีนั้น รำพึงอยู่ว่า สามเณรได้

อาหารอะไร ในที่ไหนหนอแล หรือไม่ได้ รู้ว่า สามเณรนั้นนั่งแล้วเพราะ

จะสึก คิดว่า สามเณรอย่าพึงให้ความละอายเกิดขึ้นระหว่างเทวดาของเรา เรา

จะไปทำอันตราย ในการสึกของสามเณรนั้น มาแล้วสิ่งที่ร่างบิดคอให้ล้มลงที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

พื้น. สามเณรนั้น มีนัยตาเหลือก น้ำลายไหล ดิ้นอยู่ที่พื้น. เพราะเหตุนั้น

ท่าน จึงกล่าวว่า บุตรชื่อว่าสานุของอุบาสิกาถูกยักษ์สิงแล้ว.

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า อุบาสิกา เห็นอาการแปลกนั้น ของบุตร

มาแล้วโดยเร็ว กอดบุตรให้นอนบนขา. ชาวบ้านทั้งสิ้นมาทำพิธีมีพลีกรรมเป็น

ต้น. อุบาสิกา เมื่อคร่ำคราญ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้. บทว่า ปาริหาริกปกฺ-

ขญฺจ ความว่า พวกมนุษย์คิดว่า เราจักทำการรับและการส่งอุโบสถดิถีที่ ๘

จึงสมาทานองค์อุโบสถในดิถีที่ ๗ บ้าง ดิถีที่ ๙ บ้าง. เมื่อทำการรับและการ

ส่งดิถีที่ ๑๔ และ ๑๕ สมาทานในดิถีที่ ๑๓ บ้าง ในวันปาฏิบทบ้าง. มนุษย์

คิดว่า พวกเราจักทำการส่งการอยู่จำพรรษา เป็นผู้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์ กึ่ง

เดือนระหว่างปวารณาทั้งสอง. อุบาสิกา หมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ปาริหา-

ริกปกฺขญฺจ. บทว่า อฏฺงฺคสุสมาคต ความว่า ประกอบด้วย คือ

ประกอบดีแล้วด้วยองค์ ๘. บทว่า พฺรหฺมจริย แปลว่า ประพฤติประเสริฐ.

บทว่า น เตหิ ยกฺขา กีฬนฺติ ความว่า พวกยักษ์ ย่อมไม่สิงชนเหล่านั้น

เล่น. นางยักษิณี สิ่งที่ร่างของสามเณรแล้ว จึงกล่าว คาถาเหล่านี้ว่า จาตุทฺทสึ

ดังนี้อีก. บทว่า อาวิ วา ยทิ วา รโห ความว่า ในที่ต่อหน้า หรือในที่

ลับหลังใคร ๆ. บทว่า ปมุตฺยตฺถิ ตัดบทว่า ปมุตฺติ อตฺถิ แปลว่า ความ

พ้น มีอยู่.

บทว่า อุปฺปจฺจาปิ แปลว่า แม้เหาะไป. นางยักษิณีกล่าวว่า ถ้า

เจ้าจะเหาะหนีไป เหมือนนก แม้อย่างนั้นเจ้าก็พ้นไปไม่ได้. ก็แลครั้นกล่าว

อย่างนี้แล้ว จึงปล่อยสามเณร. สามเณรลืมตา. มารดา สยายผม ร้องไห้

สะอึกสะอื้น. สามเณรนั้นไม่รู้ว่า เราถูกอมนุษย์สิงแล้ว. ก็สามเณร แลดูอยู่

คิดว่า ในก่อน เรานั่งบนตั่งแล้ว มารดานั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกลเรา แต่เดี๋ยว

นี้ เรานั่งแล้วบนพื้น ส่วนมารดาของเรา ร้องให้สะอึกสะอื้นอยู่ แม้ชาว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

บ้านทั้งสิ้นก็ประชุมกันแล้ว นั่นอะไรกันหนอแลดังนี้ ทั้งที่นอนนั่นแหละกล่าว

คาถาว่า มต วา อมฺม เป็นต้น.

บทว่า กาเม จชิตฺวาน ความว่า ละกามแม้สองอย่าง. บทว่า ปุน

อาคจฺฉเต ได้แก่ ย่อมมาด้วยอำนาจการสึก. บทว่า ปุน ชีว มโต หิ โส

ความว่า คนใดสึกแล้ว แม้จะเป็นอยู่ต่อไปอีก ก็เหมือนตายแล้ว เพราะฉะนั้น

ญาติและมิตรทั้งหลายย้อมร้องไห้ถึงบุคคลนั้น. บัดนี้ นางเมื่อแสดงโทษใน

การอยู่ครองเรือนแก่สามเณรนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กุกฺกุฬา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฬา ความว่า ได้ยินว่า การอยู่ครองเรือนชื่อ

ว่า เถ้ารึง เพราะอรรถว่าร้อนระอุ. บทว่า กสฺส อุชฺฌาปยามเส ความว่า

มารดา กล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านดังนี้

แล้วกล่าวอยู่ว่า เจ้าอยากสึกถูกยักษ์สิง เราจะยกโทษบอกอาการอันแปลกนี้

แก่ใครเล่า. บทว่า ปุน ฑยฺหิตุมิจฺฉติ ความว่า เจ้าออกจากเรือนบวช ใน

พระพุทธศาสนาแล้ว เหมือนสิ่งของที่เขาขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่

ท่านยังปรารถนาจะถูกเผาในการอยู่ครองเรือน เช่นถูกเผาใหญ่อีกหรือ. เมื่อ

มารดากล่าวอยู่ สามเณรนั้น กำหนดแล้ว กลับได้หิริและโอตตัปปะ จึงกล่าว

ว่า เราไม่ต้องการเป็นคฤหัสถ์. ครั้งนั้น มารดาของสามเณรนั้น ยินดีว่า ดี

ละลูกดังนี้ ถวายโภชนะอันประณีตให้ฉันแล้ว จึงถามว่า ลูก เจ้าอายุกี่ปี.

สามเณรตอบว่า แม่ ยี่สิบปีบริบูรณ์. อุบาสิกากล่าวว่า ลูก ถ้าเช่นนั้น ขอ

เจ้า จงทำการอุปสมบทเถิด ได้ถวายผ้าจีวรแล้ว. สามเณรนั้น ให้ทำจีวรแล้ว

อุปสมบท เรียนพระพุทธพจน์อยู่ ทรงพระไตรปิฎก ยังพระพุทธพจน์นั้นให้

บริบูรณ์ ในอาคตสถานแห่งศีลเป็นต้น ไม่นาน บรรลุความเป็นพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

เป็นพระธรรมกถึกผู้ใหญ่ ดำรงอยู่ได้ ๑๒๐ ปี ให้ชมพูทวีปทั้งสิ้นสั่นสู่เทือน

แล้วก็ปรินิพพาน.

จบ อรรถกถาสานุสูตรที่ ๕

๖. ปิยังกรสูตร

ว่าด้วยการปฏิบัติให้พ้นจากกำเนิดปีศาจ

[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.

สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบท

แห่งพระธรรมอยู่.

[๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระปลอบบุตร

น้อยอย่างนี้ว่า

ปิยังกระ อย่าวอึกทึกไป ภิกษุกำลัง

กล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบท

พระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา.

[๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เรา

ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนไห้

เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจากกำเนิด

ปีศาจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

อรรถกถาปิยังกรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปิยังกรสูตรที่ ๖ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เชตวเน ความว่า พระอนุรุทธะ อยู่ในวิหารชื่อโกสัมพกุฏี

ท้ายพระเชตวัน. ธรรม ๒๖ วรรคท่านยกขึ้นรวบรวมไว้แผนกหนึ่ง ประสงค์ว่า

ต ในบทนี้ว่า ธมฺมปทานิ. สมัยนั้น พระเถระ นั่งภายในวิหาร ณ ที่นั้น สวด

อัปปมาทวรรคเป็นสรภัญญะ ด้วยเสียงไพเราะ. บทว่า เอว โตเสส ความว่า

ได้ยินว่า นางยักษิณีนั้น อุ้มบุตรชื่อปิยังกระ แสวงหาอาหารอยู่ ตั้งแต่

ข้างหลังพระเชตวัน มุ่งตรงต่อพระนคร โดยลำดับ แสวงหาอยู่ซึ่งของกินที่เสีย

คือ อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก ถึงสถานที่อยู่ของพระเถระ ได้ฟังเสียง

อันไพเราะ. เสียงนั้น ตัดผิวหนังเป็นไปจดเยื่อในกระดูก เข้าไปถึงหัวใจของ

นางหยุดอยู่. ครั้งนั้น นางยักษิณีนั้น ไม่คิดในการแสวงหาอาหาร นางยืน

เงี่ยโสตลงฟังธรรม. ส่วนยกขทารก ไม่มีจิตในการฟังธรรมเพราะเป็นหนุ่ม.

เขาถูกความหิวเบียดเบียนแล้ว จึงเดือนมารดาแล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า เพราะเหตุไร

แม่จึงยืนไม่ไหวติงเหมือนตอ ในที่แม่มาแล้ว ไม่แสวงหาของเคี้ยว หรือของ

บริโภคสำหรับลูก. นางคิดว่า บุตรจะทำอันตรายแก่การฟังธรรมของเรา จึง

ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าส่งเสียงดัง. ในบทนั้น บทว่า มา

สทฺทมกริ ได้แก่ อย่าได้ส่งเสียงดัง. นางแสดงศีล ๕ ที่สมาทานแล้ว ตาม

ธรรมดาของคนด้วยคาถาว่า ปาเณสุ จ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

สญฺยมามเส ได้แก่เราสำรวม คือเป็นผู้สำรวมแล้ว. นางงดเว้นจากปาณาติบาต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

ด้วยบทนี้. งดเว้นจากมุสาวาทด้วยบทที่สอง. การงดเว้นสามอย่างที่เหลือด้วย

บทที่สาม. บทว่า อปิ มุจฺเจม ปิสาจโยนิยา นางยักษิณีกล่าวว่า ลูก

เราละเวร ๕ เหล่านี้ ที่เกิดขึ้นในยักขโลกเสียแล้ว ปฏิบัติโดยอุบายอันแยบคาย

แล้ว จึงจะพ้นจากกำเนิดยักษ์ปีศาจซึ่งมีภิกษาหายาก ทั้งจะพากันอดตาย.

จบอรรถกถาปิยังกรสูตรที่ ๖

๗. ปุนัพพนุสูตร

นางยักษิณีปลอบให้ลูกฟังธรรม

[๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี.

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน.

ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลง

สดับพระธรรม.

[๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุปลอบบุตร

น้อยอย่างนี้ว่า

นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูก

ปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟังธรรมของพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันเป็น

เครื่องเปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ร้อยรัดทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาใน

ธรรมนั้นจะล่วงเลยแม่ไปเสีย ของลูกตน

เป็นที่รักในโลก ผัวของตนเป็นที่รักในโลก

แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รัก

ของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูก

หรือผัวที่รัก พึงปลดเปลื้องจากทุกข์ไม่ได้

เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้องเหล่า

สัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์

วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ

แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่พระพุทธเจ้า

ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจาก

ชราและมรณะ จงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ.

[๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า

แม่จ๋า ฉันก็จักไม่พูด อุตราน้องสาว

ของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรม

อย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความ

สุขมาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรมจึง

ได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้

เป็นผู้ ทำความสว่างไสวแก่เทวดาและ

มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย

มีพระจักษุ แสดงธรรมอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

[๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า

น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนนอกของ

แม่เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ย่อมรักใคร่

พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริญ ปุนัพพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด

วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระศาสนา

แม่และเจ้าเห้นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตรก็

จงฟังแม่.

อรรถกถาปุนัพพสุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุนัพพสุสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้.

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ได้แก่ สมัยไหน. สมัยดวงอาทิตย์ตก.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่มหาชนภายหลัง

เสวยพระกระยาหาร ทรงส่งมหาชนแล้ว สรงสนานในซุ้มลงสรง ประทับนั่ง.

ตรวจดูโลกธาตุทางทิศตะวันออก บนบวรพุทธาสนะที่เขาจัดไว้ในบริเวณพระ-

คันธกุฏี. ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลและบิณฑบาตเป็นวัตร จาริกไป

รูปเดียว หรือสองรูปเป็นต้น ออกจากที่พักกลางวันและที่อยู่ของตน ๆ แล้ว

มาถวายบังคมพระทศพล นั่งประหนึ่งวงอยู่ด้วยม่านแดง. ครั้งนั้น พระศาสดา

ทรงทราบอัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสธรรมีกถา ประกอบด้วยนิพพาน.

บทว่า เอว โตเสสิ ความว่า ได้ยินว่า นางยักษิณีมารดาปุนัพพสุ

นั้น อุ้มธิดา จูงบุตร กำลังแสวงหาอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายและน้ำมูก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

เป็นต้นที่ริมกำแพงและริมคู. หลังพระเชตวัน ไปถึงซุ้มประตูพระเชตวัน

โดยลำดับ. ก็พระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอยู่ว่า อานนท์ เธอ

นำบาตรมาเถิด นำจีวรมาเถิด จงให้ทานแก่คนกินเดนเถิดดังนี้ แผ่ไปโดยรอบ

ได้ประมาณ ๑๒ ศอกเท่านั้น. ถ้าบริษัท นั่งอยู่ถึงที่สุดจักรวาล พระสุรเสียงของ

พระองค์ ผู้ทรงแสดงธรรมอยู่ ย่อมไปถึงบริษัท ย่อมไม่เลยออกไปภายนอก

บริษัท แม้เพียงองคุลีหนึ่งด้วยพระดำริว่า พระสุรเสียงอันไพเราะ อย่าเสียไป

โดยไม่ใช่เหตุเลย. นางยักษิณีนี้ ยืนอยู่ภายนอกบริษัท จึงไม่ได้ยินเสียงใน

ที่นั้น. เมื่อนางยืนที่ซุ้มพระทวาร ยืนเฉพาะพระพักตร์โดยพุทธวิถีอันใหญ่

พระคันธกุฏีย่อมปรากฏ. นางเห็นบริษัทไม่ไหวติง เว้นการคะนองมือเป็นต้น

ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า เหมือนเปลวประทีป ในที่ไม่มีลมแล้วคิดว่า

ก็ในที่นี้ จักมีสิ่งของบางสิ่ง แจกแน่ เราจักได้ซึ่งเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งและ

น้ำอ้อยเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแน่ ที่ไหลออกอยู่จากบาตรบ้าง จากมือบ้าง

ก็หรือที่ตกแล้วบนพื้น ดังนี้ จึงเข้าไปภายในวิหาร. อารักขเทวดาสิ่งอยู่ที่ซุ้ม

ประตูเพื่อห้ามอวรุทธกยักษ์ เห็นอุปนิสัยของนางยักษิณีแล้วจึงไม่ห้าม.

พระสุรเสียงอันไพเราะตัดผิวเป็นต้นไปจดเยื่อในกระดูกของนางพร้อมกับการไป

โดยความเป็นอันเดียวของบริษัทตั้งอยู่. บุตรน้อยทั้งหลาย เตือนนางยักษิณี

นั้น ผู้ยืนไม่ไหวติงเพื่อฟังธรรม โดยนัยก่อนนั่นแล. นางยักษีนั้นคิดว่า

บุตรน้อยทั้งหลายจะทำอันตรายแก่การฟังธรรมของเรา ดังนี้ จึงปลอบบุตรน้อย

ทั้งหลายอย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิด ลูกอุตรา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาว ความว่า ขอลูกจงนิ่งตลอดเวลา ที่แม่

ฟังธรรมเถิด. บทว่า สพฺพคนฺถปฺปโมจน ความว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด

ทั้งปวง ย่อมพ้นไป เพราะถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้น ท่านกล่าวว่า

เป็นที่พ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง. บทว่า อติเวลา ความว่า ล่วงเวลา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

คือเกินประมาณ. บทว่า ปิยายนา ได้แก่ ความแสวงหาคือปรารถนา. บทว่า

ตโต ปิยตร ความว่า ความแสวงหา ความปรารถนาธรรมนี้ใด ข้อนี้เป็น

ที่รักของเรากว่าลูกและผัวนั้น. อนึ่งพระบาลีว่า ปิยตรา ดังนี้ก็มี. บทว่า ปาณิน

ความว่า เหมือนการฟังพระสัทธรรม ย่อมเปลื้องเหล่าสัตว์จากทุกข์ได้. ย่อม

เปลื้องเหล่าสัตว์อะไระ ควรนำบทว่า ปาณิน มากล่าว. บทว่า ย ธมฺม

อภิสมฺพุธ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้ธรรมใด. บทว่า ตุณฺหี-

ภูตายมูตฺตรา ความว่า ปุนัพพสุกล่าวว่า ฉันจักไม่พูดเลย แม้อุตตรา

น้องสาวนี้ของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง. บทว่า สทฺธมฺมสฺส อนญฺาย ความว่า

เเม่ เราไม่รู้พระสัทธรรมนี้แล แม้ในกาลก่อน บัดนี้ จึงเสวยทุกข์ มีความหิว

กระหายเป็นต้นนี้ เที่ยวไปลำบาก คืออยู่ลำบาก.

บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ มีพระจักษุ ด้วยพระจักษุ ๕. พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรม ทรงกำหนดบริษัท ทรงเห็นอุปนิสัยแห่ง

โสดาปัตติผลของนางยักษิณีนั้น และยักขทารก เปลี่ยนเทศนาแล้ว จึงมาแสดง

เรื่องสัจจะ ๔. นางยักษิณีนั้น ยืนฟังธรรมอยู่ในประเทศนั้นแล กับบุตรตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนธิดาของนางยักษิณีนั้น ก็มีอุปนิสัย. แต่ไม่อาจจะ

รับเทศนาได้ เพราะเป็นเด็กเกินไป.

บัดนี้ นางยักษิณีนั้น เมื่อจะทำอนุโมทนาแก่บุตร จึงกล่าวคำว่าดีหนอ

ลูกขอว่าเป็นบัณฑิตดังนี้เป็นต้น. บทว่า อชฺชาหมฺหิ สมุคฺคตา ความว่า

แม่เป็นผู้ขึ้นพร้อมแล้ว แต่วันนี้ อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ย่างพร้อมแล้วในพระ-

ศาสนา แม้เจ้าจงมีความสุขเถิด. บทว่า ทิฏฺานิ ความว่า แม่และเจ้าเห็น

อริยสัจ ๔. บทว่า อุตฺตราปิ สุณาตุ เม นางยักษิณีกล่าวว่า ขอแม่อุตตรา

จงยืนฟังสจัจะ ๔ ที่แม่แทงตลอดเถิด. นางยักษีณีนั้น ละภาวะมีฝีและหิดเป็นต้น

ทั้งหมด เหมือนสูจิโลมยักษ์ พร้อมด้วยการแทงตลอดสัจจะนั่นแล จึงกลับได้

ทิพยสมบัติพร้อมด้วยบุตร. เมื่อมารดาและบิดาได้ความเป็นใหญ่ในโลก ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

เป็นใหญ่นั้น ก็มีแก่บุตรทั้งหลายด้วยชื่อฉันใด ส่วนธิดาของนางได้สมบัติแล้ว

ด้วยอานุภาพของมารดาฉันนั้น. จำเดินแต่นั้น นางกับด้วยบุตรน้อยทั้งหลาย

ได้ต้นไม้เป็นที่อยู่ ณ ต้นไม้ใกล้พระคันธกุฏีแล้ว ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรม

ทั้งเช้าเย็น อยู่จำเพาะในที่นั้นแล ตลอดกาลนาน.

จบอรรถกถาปุนัพพสุสูตรที่ ๗

๘. สุทัตตสูตร

อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก

[๘๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในสีตวัน กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง.

อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ

แล้วในโลก ในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควร

เพื่อจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตามเวลา ท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึงพระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นใน

ราตรีถึง ๓ ครั้ง.

ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิด

ประตูให้.

[๘๒๗] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่าง

ก่อนตรธานไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพอง

สยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียม

ด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอด

สวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อม

ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง

แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจง

ก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้า

ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน

ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ

บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๒๘] แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน

อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า

บังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.

แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียม

ด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอด

สวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อม

ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง

แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจง

ก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดี ท่านจงก้าวหน้า

ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน

ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ

บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๒๙] แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน

อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า

บังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก.

แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า

ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ

ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖

ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่งท่าน

จงก้าวหน้าไปเถิด คฤหบดีท่านจงก้าวหน้า

ไปเถิด คฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่าน

ประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย.

ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ-

บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป.

[๘๓๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน.

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี

เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้

มาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้น

แล้วได้ตรัสเรียกอนาบิณฑิกคฤหบดีว่า มานีเถิดสุทัตตะ.

ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทัก

เราโดยชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าในที่

นั้นเอง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระองค์ประทับ

อยู่เป็นสุขหรือพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

[๘๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า

พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติด

อยู่ในกามทั้งหลาย เป็นผู้เย็น ปราศจาก

อุปธิ ย่อมเป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัดตัณหา

เครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความ

กระวนกระวายในใจเสียได้ เป็นผู่สงบอยู่

เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ.

อรรถกถาสุทัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ได้แก่ ประสงค์เอาพาณิชยกรรม.

อนาถบิณฑิกคฤหบดี และราชคหเศรษฐี เป็นคู่เขยกันและกัน. เมื่อใด ใน

กรุงราชคฤห์ มีสินค้าส่งออกมีค่ามาก เมื่อนั้น ราชคหเศรษฐี พาเอาสินค้านั้น

ไปกรุงสาวัตถีด้วยเกวียนร้อยเล่ม พักอยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งให้ผู้อื่นรู้ว่าตน

มาแล้ว. อนาถบิณฑิกคฤหบดี ไปต้อนรับ ทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว

จึงขึ้นยานเดียวกันเข้าไปกรุงสาวัตถี. ถ้าว่า สินค้าจำหน่ายได้เร็ว เขาก็จำหน่าย

ถ้าจำหน่ายไม่ได้ ก็จะเก็บไว้ในเรือนพี่สาวแล้ว ก็หลีกไป. แม้อนาถบิณฑิก

คฤหบดี ก็กระทำอย่างนั้น เหมือนกัน . แม้ในกาลนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

นั้น ได้ไปด้วยกรณียกิจนั้นแล. ข้อนั้น ท่านหมายถึงกรณียกิจนั้น จึงกล่าว

แล้ว.

ก็ในวันนั้น ราชคหเศรษฐี ได้ฟังข่าว อันอนาถบิณฑิกคฤหบดีพัก

อยู่ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งส่งไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าคนมาแล้ว จึงได้ไปวิหาร

เพื่อฟังธรรม. เขาฟังธรรมกถาแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

เพื่อฉันในวันพรุ่ง จึงให้ช่วยกันขุดเตาไฟ และผ่าฟืนเป็นต้น ในเรือนของตน.

แม้อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า ท่านเศรษฐี จักทำการต้อนรับเราบัดนี้ จักทำ

เดี๋ยวนี้ แม้ที่ประเรือน ก็ไม่ได้การต้อนรับ จึงเข้าไปภายในเรือน ก็ได้การ

ปฏิสันถาร ไม่มากนัก. การปฏิสันถารได้มีประมาณเท่านี้ว่า ท่านมหาเศรษฐี

ท่านไม่เหน็ดเหนื่อยในหนทางของรูปทารกในตระกูลหรือ. อนาถบิณฑิก

คฤหบดีนั้น เห็นการขวนขวายมากของท่านเศรษฐีนั้นแล้ว ยังถ้อยคำให้เป็นไป

โดยนัยมาแล้วในขันธกะว่า ข้าแต่ท่านคหบดี ท่านจักมีอาวาหมงคลหรือ ดังนี้

ได้ฟังเสียงว่า พระพุทธเจ้า จากปากของท่านราชคหเศรษฐีนั้น ก็ได้ปีติมี

วรรณะ ๕. ปีตินั้นตั้งขึ้นที่ศีรษะของอนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้น จนถึงหลังเท้า

ตั้งขึ้นที่หลังเท้า แผ่ไปจนถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสองรวมลงท่ามกลาง ตั้ง

ขึ้นท่ามกลางแผ่ไปโดยข้างทั้งสอง. เขาอันปีติถูกต้องชั่วนิรันดร จึงกล่าวว่า

คหบดี ขอท่านได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าเถิด. ข้าพเจ้ากล่าวอยู่ว่า พระพุทธเจ้า.

ถามสามครั้งอย่างนี้แล้ว กล่าวว่า เสียงว่า พุทฺโธ นั้นแล หาได้ยากในโลก.

ท่านหมายถึงข้อนี้ จึงกล่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี ได้สดับว่า เขาลือกันว่า

พระพุทธเจ้า ทรงอุบัติแล้วในโลกดังนี้.

บทว่า เอตทโหาสิ อกาโล โข อชฺช ความว่า ท่านอนาถบิณฑิก

คฤหบดีถามท่านเศรษฐีว่า คหบดี พระศาสดา ประทับอยู่ที่ไหน. ครั้งนั้น ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

เศรษฐี จึงบอกแก่ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เข้าใกล้ได้ยากเช่นกับอสรพิษ พระศาสดา ประทับอยู่ในป่าช้า ผู้เช่นท่านไม่

อาจเพื่อจะไปเฝ้าในเวสานี้ในที่นั้นได้. ครั้งนั้น ท่านเศรษฐี ได้มีความดำรินั้น.

บทว่า พุทฺธคตาย สติยา นิปชฺชิ ความว่า ได้ยินว่า ในวันนั้น แม้จิตของ

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ไม่เกิดขึ้นในเกวียนบันทุกสิ้นค้าหรือในคนใช้ ไม่รับ

ประทานอาหารมื้อเย็น ได้ขึ้นปราสาท ๗ ชั้น เมื่อทำการสาธยายว่า พุทฺโธ

พุทฺโธ บนที่นอนอันประเสริฐที่จัดไว้ดีและตกแต่งไว้อย่างดี นอนหลับไป.

เพราะเหตุนั้น. ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อมีสติถึงพระพุทธเจ้า จึงหลับไป.

บทว่า รตฺติยา สุท ติกฺขตฺตุ อุฏฺาสิ ปภาตนฺติ มญฺมาโน

ความว่า เมื่อปฐมยามล่วงไป เขาลุกขึ้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า. ในกาลนั้น ความ

เลื่อมใสของอนาถบิณฑิกนั้น ได้เกิดมีกำลัง. แสงสว่างแห่งปีติได้มีแล้ว. ความ

มืดก็หมดไป. เหมือนประทีปพันดวงลุกโพลงและดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.

อนาถบิณฑิกคฤหบดีนั้นคิดว่า เราถึงแล้วซึ่งความเสื่อมใส ถูกเขาลวงแล้ว

ดวงอาทิตย์ขึ้น ดังนี้ แล้วลุกขึ้น ยืนบนพื้นอากาศ มองดูดวงจันทร์คิดว่า ยาม

หนึ่งล่วงไปแล้วยังเหลืออยู่อีกสองยาม จึงเข้าไปนอนอีก. โดยอุบายนั้น เขาลุก

ขึ้นสามครั้งคือ ในที่สุดมัชฌิมยามครั้งหนึ่ง ส่วนในที่สุดปัจฉิมยาม ลุกขึ้นใน

เวลาจวนสว่างมายังพื้นอากาศ มุ่งหน้าต่อประตูใหญ่. ประตู ๗ ชั้นได้เปิดเอง

ลงจากปราสาทเดินไประหว่างทาง.

บทว่า วิวรึสุ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายคิดกันว่า มหาเศรษฐีนี้

ออกไปด้วยคิดว่า เราจักไปอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล

ด้วยการเห็นครั้งแรกแล ได้เป็นอุปัฏฐากอันเลิศแห่งพระรัตนตรัย ทำสังฆาราม

ให้เป็นสถานที่หาที่เปรียบมิได้ แต่จักไม่เปิดประตูรับหมู่พระอริยะผู้มาจาก-

จาตุรทิศ มหาเศรษฐีนี้ ไม่ควรปิดประตูเลยดังนี้ จึงได้เปิดแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

อนฺตรธายิ ความว่า ได้ยินว่า กรุงราชคฤห์ มีมนุษย์เกลือนกล่นภายใน

เมือง เก้าโกฏิ ภายนอกเมือง เก้าโกฏิ รวมได้มนุษย์ ๑๘ โกฎิ เข้าไปอาศัย

กรุงราชคฤห์นั้นอยู่. พวกมนุษย์ ไม่สามารถ เพื่อจะน่าเอาคนตายออกไปภาย

นอกในมิใช่เวลาได้ วางไว้บนธรณีประตูทิ้งไปภายนอกประตู. มหาเศรษฐี

พอออกไปภายนอกเมือง เท้าก็เหยียบซากที่ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากที่

ยังสด. หลังเท้า ก็กระทบซากแม้อื่นอีก. ฝูงแมลงวัน ก็บินขึ้น กระจายออก

รอบ ๆ. กลิ่นเหม็น ก็กระทบโพรงจมูก. ความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็ถึง

ความลดน้อยลง. เพราะเหตุนั้น แสงสว่างของมหาเศรษฐีนั้น ก็อันตรธานไป.

ความมืดปรากฏขึ้น. บทว่า สทฺทมนุสฺสาเวสิ ความว่า สิวกยักษ์คิดว่า

เราจักยังความอุตสาหะให้เกิดแก่เศรษฐีได้ส่งเสียงให้ได้ยินด้วยเสียงอันไพเราะ

เหมือนคนเคาะกระดิ่งทองฉะนั้น.

บทว่า สต กญฺาสหสฺสานิ ความว่า แม้บทแรก เชื่อมกับบท

สหัสสะนี้แล ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า กับหญิงสาวแสนหนึ่ง ช้างแสนหนึ่ง

ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง. แต่ละแสนท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปทวีติหารสฺส ได้แก่ ขนาดศอกกำมาหนึ่งในระหว่างเท้าทั้งสอง ใน

การเดินไปสม่ำเสมอ ชื่อว่าการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง. บทว่า กล นาคฺฆนฺติ

โสฬสึ ความว่า ส่วนหนึ่งอันจำแนก ๑๖ ส่วนโดย ๑๖ ครั้งอย่างนี้คือ แบ่งการ

ย่างเท้าไปก้าวหนึ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น

๑๖ ส่วนอีก. จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งออกเป็น ๑๖ ส่วน ชื่อว่าเสี้ยวที่ ๑๖

สี่แสนเหล่านี้ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น มีคำอธิบายว่า เจตนาที่เป็นไปในส่วน

กล่าวคือเสี้ยวที่ ๑๖ นั้น ของบุคคลกำลังไปยังวิหาร เป็นเจตนาที่ยอดเยี่ยม

กว่า การได้นี้ประมาณเท่านี้คือ ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถแสนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

นางสาวแสนหนึ่ง ก็นางสาวเหล่านั้นแลที่สวมแก้วมณีและกุณฑลเป็น

ราชธิดาอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นเทียว. ถามว่า ก็การไปวิหารนี้ ท่านถือแล้ว

ด้วยอำนาจของใคร. ตอบว่า ของผู้ไปยังวิหารแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

โดยไม่มีอันตราย. ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ไปด้วยคิดว่า เราจักทำการบูชา

ด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น จักไหว้พระเจดีย์ จักฟังธรรม จักบูชาด้วย

เทียนและธูป นิมนต์สงฆ์ ถวายทาน จักตั้งอยู่ในสิกขาบท หรือว่า สรณะ

ดังนี้ ย่อมควรเหมือนกัน.

บทว่า อนฺธกาโร อนฺตรขายิ ความว่า นัยว่า ท่านเศรษฐีคิดว่า

เราทำความสำคัญว่า เราอยู่คนเดียว แม้การประกอบความเพียรก็มีแก่เรา

เพราะเหตุไร เราจึงต้องกลัวเล่า ดังนั้น จึงได้เป็นผู้กล้า. ครั้งนั้น ความ

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. เพราะฉะนั้น ความมืด จึง

อันตรธานไป. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้และ อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เดินไป

ข้างหน้า ๆ ได้เห็นซากศพหลายอย่างเป็นต้นว่า ร่างกระดูกมีเนื้อและเลือดติด

อยู่ในทางป่าช้าอันน่ากลัว ได้ยินเสียงสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. เขา

ยังความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าให้เจริญบ่อย ๆ ย่ำยีอันตรายทั้งหมดนั้นไปได้.

บทว่า เอหิ สุทตฺต ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นเดินคิดไปว่า ในโลกนี้มี

เดียรถีย์มีปูรณกัสสปะเป็นต้นเป็นอันมาก ก็กล่าวว่าเราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า

เราทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เราพึงรู้ความที่ศาสดาเป็นพุทธเจ้าได้อย่างไร หนอ

แล ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความดำรินั้นว่า มหาชน รู้จักชื่อซึ่งเกิดด้วย

อำนาจคุณของเรา แต่ใครๆ ยังไม่รู้จักกุลทัตติยะเป็นชื่อของเรา นอกจากเรา

หากว่าพระพุทธเจ้าจักมี พระองค์ก็ทรงเรียกเราโดยชื่อว่า กุลทัตติกะ. พระ-

ศาสดา ทรงรู้จิตของเขาแล้ว จึงตรัส อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า พราหมณ์ ผู้ดับแล้ว ด้วยความดับกิเลส.

บทว่า อาสตฺติโย แปลว่า ตัณหา. บทว่า สนฺตึ แปลว่า ความสงบ

ระงับกิเลส. บทว่า ปปฺปุยฺย แปลว่า ถึงแล้ว. ก็แลพระศาสดา ตรัสพระ-

ดำรัสนี้ จึงตรัสอนุปุพพีกถา แก่เศรษฐีนั้น แล้วก็ทรงประกาศสัจจะ ๔ ใน

ที่สุด. เศรษฐีฟังพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์ภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เริ่มถวายมหาทานตั้งแต่วันรุ่งขึ้น. อิสรชนมี

พระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น ส่งสาสน์ไปแก่เศรษฐีว่า ท่านเป็นอาคันตุกะ สิ่งใด

ไม่พอ ท่านจงให้นำสิ่งนั้นมาแต่ที่นี้เถิด. ท่านห้ามชนทั้งหมดว่า พอ พวก

ท่านมีกิจมาก ได้ถวายมหาทาน ๖ วัน ด้วยสมบัติที่ตนนำมาด้วยเกวียน ๕๐๐

เล่ม. ก็ในที่สุดแห่งการถวายทาน ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง

การอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีแล้ว ได้ถวายแสนหนึ่งทุก ๆ โยชน์ เมื่อให้

สร้างวิหาร ๔๐ แห่ง ระหว่างกรุงราชคฤห์กับกรุงสาวัตถี ได้ไปยังกรุงสาวัตถี

ให้สร้างเชตวันมหาวิหารเสร็จแล้ว ได้มอบถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข.

จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

๙. ปฐมสุกกาสูตร

ว่าด้วยยักษ์สรรเสริญสุกกาภิกษุณี

[๘๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล ภิกษุณีชื่อสุกกา อื่นบริษัทใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่.

[๘๓๓] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง

ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้

ในเวลานั้นว่า

มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่

เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี ผู้แสดงอมต-

บทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่ม

น้ำผึ้งหอมแล้วก็นอน ก็แลอมตบทนั้น

ใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของไม่ได้เจือ

ปรุง แต่มีโอชา ผู้มีปัญญาคงได้ดื่ม

อมตธรรม เหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝน

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

อรรถกถาปฐมสุกกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-

บทว่า รถิกาย รถิก ความว่า เมื่อถือเอาถนนสายหนึ่ง ไปจาก

ถนนสายนั้น ยังถนนอีกสายหนึ่ง ได้ชื่อว่า จากถนนหนึ่งเข้าไปหาถนนหนึ่ง.

แม้ในตรอก ก็มีนัยนี้แล. ก็บทว่า รถิกา ในบทว่า รถิกาย นี้ แปลว่า

ถนน. บทว่า สิงฺฆาฏก แปลว่า ทางสี่แพร่ง. บทว่า กิมฺเม กตา ความว่า

มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ทำอะไรกัน คือทำอะไรอยู่. บทว่า มธุปิตาว เสยเร

ความว่า ย่อมนอนเหมือนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอม. นัยว่า คนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอม

ไม่สามารถจะยกศรีษะขึ้นได้ นอนไม่รู้สึกเลย เพราะฉะนั้น ยักษ์จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ตญฺจ ปน อปฺปฏิวานีย ความว่า ก็แล สุกกาภิกษุณี

แสดงธรรมนั้น ใครจะคัดค้านไม่ได้. แท้จริง โภชนะข้างนอก แม้จะอร่อยจริง

แต่ย่อมไม่ชอบใจแก่คนที่บริโภคบ่อย ๆ พึงถูกห้าม คือ พึงถูกนำออกด้วย

คำว่า ท่าน จงนำไปเถิด ประโยชน์อะไรด้วยโภชนะนี้เล่า ธรรมนี้หาเป็น

อย่างนั้นไม่. แท้จริง บัณฑิตทั้งหลายเมื่อฟังธรรมนี้ ตลอดร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง

ก็ยังไม่อิ่มเลย เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า ใครจะคัดค้านไม่ได้. บท

อเสจนกโมชว ได้แก่มีโอชาซึ่งไม่ได้ปรุงแต่ง เหมือนอย่างว่า แม้ข้าวปายาส

ไม่เจือปนสิ่งภายนอกเป็นต้น แต่เอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดใส่ลงระคนให้

เข้ากันแล้ว ย่อมมีโอชารสอร่อยฉันใด ธรรมนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ก็ธรรมนี้

เป็นธรรมไพเราะและมีโอชาตามธรรมดาของตน จะเอาสิ่งอื่นมาใส่เข้าไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า มีโอชาโดยไม่ได้ปรุงแต่ง บทว่า

มญฺเ สปฺปญฺา ความว่า เหมือนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตดื่มอยู่. บทว่า

วลาหกมิว ปนฺถคู ความว่า เหมือนคนเดินทางฤดูร้อนจัด ดื่มน้ำไหลจาก

กลีบเมฆ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาปฐมสุกกาสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยสุกกาสูตร

ยักษ์สรรเสริญผู้ถวายอาหารแก่สุกกาภิกษุณี

[๘๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี.

[๘๓๕] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง

ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ใน

เวลานั้นว่า

อุบาสกผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกา

ภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัด

ทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสบบุญ

มากหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

อรรถกถาทุติยสุกกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุฺ วต ปสวิ พหุ ความว่า อุบาสกประสบบุญมากหนอ.

จบอรรถกถาทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐

๑๑. จีราสูตร

ยักษ์สรรเสริญผู้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี

[๘๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในพระวิหารเวฬุวัน

อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.

สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี.

[๘๓๗] ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในจีราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง

ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ใน

เวลานั้นว่า

อุบาสกผู้ได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณี

หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง

เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสบบุญมากหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

อรรถกถาจีราสูตร

สูตรที่ ๑๑ ง่ายทั้งนั้นแล

จบอรรถกถาจีวรสูตรที่ ๑๑

๑๒. อาฬวกสูตร

อาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา

[๘๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขต

เมื่องอาฬวี.

ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กล่าวว่า

ท่านจงออกมา สมณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา.

ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จเข้าไป.

แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ฯลฯ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ฯลฯ

[๘๓๙] ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปล่ะ ท่านจะทำอะไร

ก็จงทำเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เรา

จักทำจิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้ว

เหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น.

อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม

โลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเรา

ให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำ

คงคาฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด.

[๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า

อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

อันประเสริฐของตนในโลกนี้ อะไรหนอ

ที่บุคคประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้

อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็น

อยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด.

[๘๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธาเป็นที่ทรัพย์ อันประเสริฐของ

คนในโลกนี้ ธรรมอันบุคคลประพฤติ

ดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แล

เป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นัก-

ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่

ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

[๘๔๒] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า

คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้าม

อรรณพได้อย่างไร ล่วงทุกข์ได้อย่างไร

บริสุทธิ์ได้อย่างไร.

[๘๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้าม

อรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วงทุกข์

ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา.

[๘๔๔] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า

คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไร

จึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้ชื่อเสียงอย่างไร

หนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คน

ละโลกไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะ

ไม่เศร้าโศก.

[๘๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์

เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้

ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด เป็น

ผู้ทำเหมาะเจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น

ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะ

ความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคล

ใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

ธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ

ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป

แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เช่นท่านถามสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมาเหล่าอื่นดูซิว่าในโลก

นี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ และ

ขันติ.

[๘๔๖] อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า

ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถาม

สมณพราหมณ์เป็นอันมากในบัดนี้ วันนี้

ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระ-

พุทธเจ้าเสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี เพื่อ

ประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้ วันนี้ข้าพเจ้า

รู้ชัดถึงทานที่บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก

ข้าพเจ้าจักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรี

ไปสู่บุรี พลางนมัสการพระสัมพุทธเจ้า

และพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดี.

จบอาฬวกสูตร

จบยักขสังยุตบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

อรรถกถาอาฬวกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาฬวกสูตรที่ ๑๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อาฬวย ได้แก่ ที่อยู่นั้น เขาเรียกแว่นแคว้นบ้าง เมืองบ้าง

ชื่อว่าเมืองอาฬวี. สถานที่อยู่นั้นแล ตั้งอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุตไม่ไกลเมือง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในสถานที่นั้น เข้าไปอาศัยเมืองนั้น ท่านกล่าวว่า

ประทับ อยู่ในแว่นแคว้นอาฬวี. ก็ในบทว่า อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้

มีอนุบุพพีกถาต่อไปนี้ ได้ยินว่า อาฬวกราชา ทรงทั้งเครื่องใช้สำหรับนัก

ฟ้อนรำไว้หลายอย่าง เสด็จไปล่าเนื้อ ในวันที่ ๗ เพื่อปราบโจร เพื่อป้องกัน

พระราชาผู้เป็นศัตรูกัน และเพื่อกระทำความพยายาม ทำกติกากับกองพลใน

วันหนึ่งว่า เนื้อหนีไปช้างผู้ใด เนื้อนั้น เป็นภาระของผู้นั้นเท่านั้น. ครั้นนั้น

เนื้อหนีไปข้างพระราชานั้นเเล. พระราชาทรงถึงพร้อมด้วยเชาว์ ทรงธนู

ดำเนินตามเนื้อนั้นไปสิ้นสามโยชน์. ส่วนเนื้อทราย มีกำลังวิ่งได้เพียงสามโยชน์

เท่านั้น. ครั้งนั้น ท้าวเธอ ทรงฆ่าเนื้อนั้นที่หมดฝีเท้าเข้าไปสู่แหล่งน้ำยืนอยู่

ตัดออกเป็นสองท่อน แม้ไม่ต้องการด้วยเนื้อแต่หาบมาเพื่อได้พ้นความผิดว่า

พระราชาไม่สามารถจับเนื้อได้ ดังนี้ ทรงเห็นต้นไทรใหญ่มีใบหนาไม่ไกล

เมืองแล้ว จึงเสด็จไปถึงโคนต้นไทรนั้น เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย.

ณ ต้นไทรนั้น อาฬวกยักษ์ ได้ที่อยู่จากสำนักมหาราช กินสัตว์ที่เข้าไปยัง

โอกาสอันร่มเงาของต้นไม้นั้นถูกต้องแล้ว ในเวลาเที่ยง. ท้าวเธอทรงเห็นยักษ์

นั้น เข้ามาเพื่อจะกิน. พระราชาได้ทรงทำกติกากับยักษ์นั้นว่า ท่านปล่อย

เราเถิด เราจักส่งมนุษย์และถาดสำรับมาแก่ท่านทุก ๆ วัน. ยักษ์ทูลว่า พระองค์

มัวเมาด้วยเครื่องราชูปโภค จักทรงระลึกไม่ได้ แต่ข้าพระองค์ไม่ได้เพื่อจะกิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

สัตว์ที่ไม่เข้าไปถึงที่อยู่ และที่ไม่ได้รับอนุญาต ข้าพระองค์นั้น พึงเสื่อมจาก

ความเจริญดังนี้ จึงไม่ปล่อย. พระราชาตรัสว่า วันใด เราไม่ส่งไป วันนั้น

ท่านไปเรือนของเรา จับเรากินเถิด. ยักษ์จึงอนุญาตปล่อยพระองค์. แล้ว

พระองค์ได้เสด็จมุ่งทรงพระนคร.

กองพลตั้งค่ายอยู่ริมทาง เห็นพระราชาแล้วทูลอยู่ว่า ข้าแต่มหาราช

พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย เพราะพระองค์มีภัยมาถึงหรือ ดังนี้ ลุกขึ้นต้อนรับ.

พระราซาทรงเล่าความเป็นไปนั้น เสด็จไปยังพระนคร เสวยพระกระยาหารเช้า

แล้วเรียกผู้รักษาพระนครมา ทรงบอกเรื่องนั้น. ผู้รักษาพระนครทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ พระองค์กำหนดเวลาหรือเปล่า. พระราชาตรัสว่าพนาย เราไม่กำหนด

ไว้. ผู้รักษาพระนคร.. ข้าแต่พระองค์ พระองค์ทรงทำไม่ถูกเพราะ พวกอมนุษย์

ย่อมได้เพียงการกำหนดไว้เท่านั้น เมื่อไม่กำหนดไว้ ชนบทจักถูกเบียดเบียน

ข้าแต่พระองค์ จงยกไว้เถิด พระองค์ได้ทรงกระทำอย่างนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

พระองค์จงทรงมีความขวนขวายน้อยเสวยรัชสุชสมบัติเถิด ข้าพระองค์จักทำสิ่ง

ที่ควร ทำในข้อนี้. เขาลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนจำกล่าวว่า ผู้ใด

ต้องการมีชีวิต ผู้นั้นจงออกไปเถิด หมายเอาเหล่าชนที่ถูกประหาร ผู้ใดออกไป

ก่อนเขาก็นำผู้นั้นไปเรือนให้อาบน้ำให้บริโภค ส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงให้ถาด

สำรับนี้แก่ยักษ์เถิด. ยักษ์นิรมิตอัตภาพอันกลัวแล้วเคี้ยวกินผู้พอเข้าไปโคนไม้

นั้นนั่นแหละ เหมือนเหง้ามันฉะนั้น. ได้ยินว่า ด้วยอานุภาพของยักษ์สรีระ

ทั้งสิ้นมีผมเป็นต้นของพวกมนุษย์ เป็นเหมือนก้อนเนยใส. พวกคนที่เขาใช้ให้

ถือภัตไปให้แก่ยักษ์ เห็นยักษ์นั้นแล้วกลัวแล้ว จึงบอกแก่มิตรว่า พระราชา

จับพวกโจรให้ยักษ์จำเดิมแต่นั้น ดังนี้ . พวกมนุษย์เลิกทำโจรกรรม. สมัยต่อมา

เรือนจำว่าง เพราะโจรใหม่ไม่มี และเพราะโจรเก่าหมด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

ครั้งนั้น ผู้รักษาพระนครทูลพระราชาแล้ว. พระราชาจึงให้คนเอา

ทรัพย์ส่วนพระองค์ไปทิ้งไว้ที่ถนนในเมืองด้วยดำริว่า ถ้ากระไร ใคร ๆ พึงถือ

เอาด้วยความโลภ ใครๆ ไม่แตะต้องทรัพย์นั้นแม้ด้วยเท้า. ท้าวเธอ เมื่อไม่ได้

โจรจึงตรัสบอกแก่อำมาตย์ทั้งหลาย. พวกอำมาตย์ทูลว่า พวกข้าพระองค์จะส่ง

คนแก่ไปทีละคนตามลำดับตระกูล แม้ตามปกติ คนแก่นั้นใกล้จะตายอยู่แล้ว.

พระราชาตรัสห้ามว่า คนทั้งหลายจักทำการก่อกวนว่า พระราชาส่งพ่อของเรา

ส่งปู่ของเราไป ท่านทั้งหลายอย่าชอบใจข้อนั้นเลย. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ ถ้าอย่างนั้น พวกข้าพระองค์จะส่งเด็กที่ยังนอนแบเบาะไป ก็เด็กที่

เป็นอย่างนั้น ยังไม่มีความรักว่า แม่ของเรา พ่อของเราดังนี้ . พระราชา

ทรงอนุญาตแล้ว. พวกอำมาตย์ก็ได้ทำอย่างนั้นแล. มารดาของเด็กในเมือง

อุ้มเอาพวกเด็กไปและหญิงมีครรภ์หนีไป เลี้ยงเด็กให้เจริญเติบโตในชนบทอื่น

แล้วนำมา. ด้วยอาการอย่างนี้แล ล่วงไปแล้วได้ ๑๒ ปี.

ต่อมาวันหนึ่ง พวกอำมาตย์ค้นหาทั่วพระนครแล้ว ก็ไม่ได้เด็กแม้แต่

คนเดียว จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ เด็กในพระนครไม่มีเลย นอกจาก

อาฬวกกุมารโอรสของพระองค์ภายในบุรี. พระราชาตรัสว่า เรารักบุตรฉันใด

คนอยู่ในโลกทั้งหมดก็ฉันนั้นเหมือนกัน สิ่งที่น่ารักยิ่งกว่าตนไม่มีเลย ท่านจงไป

จงให้บุตรแม้นั้น แล้วรักษาชีวิตของเราเถิด. สมัยนั้น มารดาของอาฬวกกุมาร

ให้บุตรอาบน้ำแล้วตบแต่งทำเป็นเทริดสองชั้น นั่งให้บุตรนอนบนตักอยู่.

ราชบุรุษไปแล้วในที่นั้น ตามรับสั่งของพระราชา จับเอาบุตรนั้นกับแม่นม

ของมารดาผู้ร่ำไห้และของพระเทวีหนึ่งหมื่นหกพัน หลีกไปว่า พรุ่งนี้จักเป็น

ภิกษาของยักษ์. วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเข้า

มหากรุณาสมาบัติ ในมหาคันธกุฏีเขตวันวิหาร เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วย

พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยของอาฬวกกุมารบรรลุอนาคามิผล ของยักษ์บรรลุ

โสดาปัตติผล และสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดวงตาเห็นธรรมในที่สุดแห่งเทศนา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว เสวยพระกระ-

ยาหารก่อน ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันอุโบสถแห่งกาฬปักข์เป็นไปอยู่

เมื่อดวงอาทิตย์ตก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อนสอง ทรงบาตรและจีวร เสด็จจาก

กรุงสาวัตถีไป ๓๐ โยชน์ด้วยพระบาททีเดียว เสด็จเข้าไปที่อยู่ของยักษ์นั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่อยู่ของอาฬวก

ยักษ์.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่โคนต้นไทร หรือในที่อยู่ของ

อาฬวกยักษ์ ตอบว่า ในที่อยู่. เปรียบเหมือนพวกยักษ์ ย่อมเห็นที่อยู่ของตน

ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น . พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เสด็จไป ณ ที่นั้น ประทับยืนอยู่ใกล้ประตูที่อยู่. ในกาลนั้น อาฬวกยักษ์ได้

ไปสู่ยักขสมาคมในป่าหิมวันต์ ต่อมา ยักษ์มีนามว่า คัทรภะ ผู้รักษาประตูของ

อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาในเวลาวิกาลหรือ.

ภ. ใช่คัทรภะ เรามาเวลาวิกาล ถ้าท่านไม่หนักใจ เราพึงอยู่ ในที่อยู่

ของอาฬวกยักษ์คืนหนึ่ง.

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจพระเจ้าข้า อนึ่ง ยักษ์

นั้น หยาบคายร้ายกาจไม่ทำการอภิวาทเป็นต้นแม้แก่มารดาบิดา เขาก็ไม่ชอบใจ

การอยู่ในที่นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ภ. คัทรภะ เรารู้ที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น และอันตรายบางอย่างจัก

ไม่มีแก่เรา ถ้าท่านไม่หนักใจ เราพึงพักอยู่คืนเดียว.

คัทรภะยักษ์ ได้กราบทูลคำนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้งที่สองว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬวกยักษ์ เช่นกระเบื้องร้อนจัด ไม่รู้จักว่า มารดา

บิดา ว่าสมณพราหมณ์ หรือว่าธรรม ย่อมทำจิตของบุคคลผู้มาแล้ว ในที่นี้

ให้ฟุ้งซ่านบ้าง ฉีกหัวใจบ้าง จับที่เท้าบ้าง เหวี่ยงไปสมุทรฝั่งโน้น หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

จักรวาลข้างโน้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้ครั้งที่สองว่า คัทรภะ เรารู้ ถ้า

ท่านไม่หนักใจ เราพึงพักอยู่คืนเดียว.

ค. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพองค์ไม่หนักใจพระเจ้าข้า อนึ่ง

ยักษ์นั้นจักพึงฆ่าข้าพระองค์ ผู้ไม่บอกขออนุญาตเสียจากชีวิตก็ได้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพองค์จะบอกแก่ยักษ์นั้น.

ภ. คัทรภะ ขอท่านบอกได้ตามสบาย.

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงรู้เถิด ดังนี้

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า มุ่งหน้าต่อหิมวันต์หลีกไป. แม้ประตูที่อยู่ได้

เปิดช่องถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าเองทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป

ภายในที่อยู่ อาฬวกยักษ์นั่งแล้ว ในวันมงคลเป็นต้น ที่กำหนดไว้แล้ว ณ

บัลลังก์ใด เสวยสิริอยู่ ประทับนั่งแล้วบนบัลลังก์นั้น ซึ่งสำเร็จด้วยทิพยรัตนะ

เปล่งรัศมีทอง. หญิงทั้งหลายของยักษ์ เห็นรัศมีทอง มาถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้านั่งแวดล้อม. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปกิณณกธรรมกถาแก่หญิง

เหล่านั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในกาลก่อน พวกท่านถวายทาน สมาทานศีล

บูชาผู้ควรบูชา จึงได้สมบัตินี้ แม้ในบัดนี้ ขอพวกท่านจงทำอย่างนั้นแล อย่า

เป็นผู้มีอิสสาและมัจฉริยะกันและกันเลย. หญิงเหล่านั้น ฟังเสียงกึกก้อง

อันไพเราะของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ให้สาธุการพันหนึ่ง จึงนั่งแวดล้อม

พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้คัทรภะยักษ์ไปป่าหิมวันต์ บอกแก่อาฬวกยักษ์นั้นว่า

ขอเดชะ ข้าแต่ท่านนิรทุกข์ ท่านพึงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง

แล้วในวิมานของท่าน. อาฬวกยักษ์นั้น ทำสัญญาแก่คัทรภะยักษ์ว่า ท่านนิ่ง

เสียเถิด เราไปแล้วจักทำสิ่งที่ควรทำ. นัยว่า ยักษ์นั้น เกิดความอายในบริษัท

เพราะฉะนั้น จึงได้ทำอย่งนั้น ด้วยคิดว่า ใคร ๆ อย่าได้ยินในท่ามกลางบริษัท.

ในกาลนั้น สาตาคิริยักษ์และเหมวตายักษ์ คิดว่า เราถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าในพระเชตวันแล้วจักไปสมาคมยักษ์ พร้อมกับบริวาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

ไปทางอากาศด้วยยานต่าง ๆ กัน. ก็ในอากาศทุกแห่งไม่มีทางสำหรับพวกยักษ์

เลย. ทางกับทางจดกันถึงวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศ. ส่วนวิมานของอาฬวกยักษ่

ตั้งอยู่บนพื้นดินมีผู้รักษา ล้อมด้วยกำแพงมีซุ้มประตูจัดไว้ดีแล้ว สูงสามโยชน์

เช่นหีบดินคาดด้วยข่ายโลหะข้างบน เบื้องบนวิมานนั้น มีทางเดิน. ยักษ์

เหล่านั้นมาถึงประเทศนั้นแล้วไม่สามารถจะไปได้. ก็ในส่วนเบื้องบนโอกาสที่

พระพุทธเจ้าประทับนั่งแล้ว จนถึงภวัคคพรหม ใครๆไม่สามารถจะไปได้. ยักษ์

เหล่านั้นรำพึงว่า นี้อะไร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลงมาถวายบังคม

เหมือนก้อนดินที่เขาซัดไปในอากาศแล้วตกลง ฟังธรรม ทำประทักษิณกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จะไปยักขสมาคมเมื่อสรรเสริญวัตถุ

สามคือพระรัตนตรัยเเล้ว ได้ไปยังยักขสมาคม อาฬวกยักษ์เห็นยักษ์เหล่านั้น

ถอยไป ได้ทำโอกาสว่า ขอท่านทั้งหลายจงนั่งที่นี้. ยักษ์เหล่านั้นประกาศแก่

อาฬวกยักษ์ว่า อาฬวกะ ลาภของท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่

ของท่าน ขอท่านผู้มีอายุ จงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ประทับอยู่ในที่อยู่อย่างนี้ มิใช่ประทับอยู่ที่โคนต้นไทร ซึ่งเป็น

สถานที่อยู่ของอาฬวกยักษ์. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมัยหนึ่ง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ณ เมืองอาฬวี.

ครั้งนั้นแล อาฬกยักษ์ ฯลฯ ได้กล่าวคำนั้นว่า ท่านจงออกไป

สมณะ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อาฬวกยักษ์นี้ จึงได้กล่าวคำนั้น. ตอบว่า

เพราะประสงค์จะให้สมณะโกรธ. ในข้อนั้น พึงทราบความสัมพันธ์ จำเดิม

แต่ต้นไปอย่างนี้ ก็เพราะคนไม่มีศรัทธา จะพูดเรื่องศรัทธา พูดยาก. เหมือน

คนทุศีลเป็นต้น จะพูดเรื่องศีลเป็นต้น พูดยาก ฉะนั้น อาฬวกยักษ์นี้ ฟัง

การสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าจากสำนักของยักษ์เหล่านั้นแล้ว เป็นผู้มีใจ

ดังตะฏะตะฏะอยู่เพราะโกรธภายใน เหมือนก้อนเกลือที่ใส่ในไฟ จึงพูดว่า

ใครเล่าเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ซึ่งเข้าไปยังที่อยู่ของเรา. ยักษ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุไม่รู้จักพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของพวกเรา เมื่อ

กล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า ผู้อยู่ในภพดุสิตตรวจดูมหาวิโลก ๕ ครั้ง จนถึงยัง

ธรรมจักรให้เป็นไป กล่าวถึงบุรพนิมิต ๓๒ ประการในปฏิสนธิเป็นต้นแล้ว

จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่ได้เห็นอัศจรรย์ แม้เหล่านี้. อาฬวกยักษ์นั้น

แม้เห็นแล้ว ก็พูดว่า ไม่เห็น ด้วยอำนาจความโกรธ. ยักษ์ทั้งหลายกล่าวว่า

อาฬวกะผู้มีอายุ ท่านพึงเห็น หรือไม่เห็นก็ตาม ประโยชน์อะไรด้วยท่านจะเห็น

หรือไม่เห็น ท่านจักทำอะไรพระศาสดาของพวกเราได้ ท่านเปรียบพระศาสดา

นั้น ปรากฏเหมือนลูกโคเกิดในวันนั้น ในที่ใกล้โคใหญ่ที่ทรงกำลัง เหมือน

ลูกช้างรุ่น ในที่ใกล้ช้างซับมัน โดยส่วนสาม เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ ในที่ใกล้

พญาเนื้อ มีคองามด้วยขนห้อยมีแสงพราวแพรว เหมือนลูกกาปีกขาด ในที่

ใกล้พญาครุฑมีร่างใหญ่ ๑๕๐ โยชน์ ท่านจงไป จงทำกิจซึ่งท่านควรทำเถิด.

เมื่อพวกยักษ์กล่าวอย่างนี้ อาฬวกยักษ์โกรธ ลุกขึ้นกระทืบเท้าซ้าย บนแผ่นมโน

ศิลากล่าวว่า วันนี้ พวกเจ้าจะได้เห็นกัน พระศาสดาของพวกเจ้า มีอานุภาพ

มาก หรือว่า เรามีอานุภาพมากดังนี้ แล้วยกเท้าขวา เหยียบยอดภูเขาไกรลาส

ประมาณ ๖๐ โยชน์. เพราะฉะนั้น ก้อนเหล็กกระจายออกสะเก็ดกระเด็น เหมือน

ทุบด้วยค้อนเหล็ก เขายืนบนภูเขานั้น ประกาศว่าเราเป็นอาฬวกยักษ์. เสียง

กระจายไปทั่วชมพูทวีป.

ได้ยินว่า คนในชมพูทวีป ได้ยินเสียง ๔ อย่างทั่วกันคือ เสนาบดี

ยักษ์ ชื่อปุณณกะชนะการพนันของพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ปรบมือประกาศว่า

เราชนะแล้ว. ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพ เมื่อศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสปะ เสื่อมลง จึงให้วิศวกรรมเทพบุตรเป็นสุนัข ประกาศว่า เรา

จะกัดภิกษุชั่ว ภิกษุณีชั่ว อุบาสก อุบาสิกา และอธรรมวาทีบุคคลทั้งปวง.

เมื่อพระนครถูกพระราชา ๗ พระองค์ เข้าไปปิดแล้ว เพราะมีนางปภาวดีเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

เหตุ ในกุสชาดก พระมหาบุรุษ ยกนางปภาวดีขึ้นคอช้างกับตน ออกไปจาก

พระนครประกาศว่า เราเป็นสีหัสสรกุสมหาราช. อาฬวกยักษ์ ยืนบนยอดเขา

ไกรลาส. ความจริง ในคราวนั้นอาฬวกยักษ์ได้เป็นเช่นกันบุคคลยืนประกาศที่

ประตูในสกลชมพูทวีป. อนึ่ง ป่าหิมพานต์กว้างสามพันโยชน์ หวั่นไหวแล้ว

ด้วยอานุภาพของยักษ์.

ยักษ์นั้น บันดาลให้ลมบ้าหมู เกิดขึ้นด้วยคิดว่า เราจักให้สมณะหนีไป

ด้วยลมบ้าหมูนั้นแล. ลมเหล่านั้นต่างด้วยลมตะวันออกเป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว

ทำลายยอดภูเขาได้ประมาณกึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์ สามโยชน์ ถอนก่อ

ต้นไม้ในป่าเป็นต้น ทั้งรากพัดไปยังอาฬวีนคร ทำลายโรงช้างเก่าให้เป็นผุยผง.

กระเบื้องมุงหมุนลอยไปในอากาศ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิษฐานว่า

อันตรายจงอย่ามีแก่ใคร ๆ เลย. ลมเหล่านั้นถึงพระทศพล ไม่อาจแล้วเพื่อจะให้

แม้แต่เพียงชายจีวรไหวได้ แต่นั้น บันดาลให้ฝนใหญ่ตก ด้วยคิดว่า

เราจะให้น้ำท่วมสมณะตาย. เมฆตั้งขึ้นเบื้องบนยังฝนให้ตก ฝนร้อยห่า พันห่า

เป็นต้นด้วยอานุภาพของยักษ์นั้น. แผ่นดิน เป็นช่องด้วยกำลังสายฝน. ห้วง

น้ำใหญ่หลากมาบนต้นไม้ในป่าเป็นต้น ไม่อาจเพื่อจะให้แม้เพียงหยาดน้ำเปียก

ที่จีวรพระทศพลได้ แต่นั้น บันดาลให้ฝนแผ่นหินตก ยอดภูเขาใหญ่ ๆ มีควัน

ลุกโพลงลอยมาทางอากาศถึงพระทศพล กลายเป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์. แต่นั้น

บันดาลให้ฝนเครื่องประหารตก. ศัสตรามีดาบ หอก ลุกธนูเป็นต้น ที่มีคม

ข้างเดียว มีคมสองข้างมีควันลุกโพลงลอยมาทางอากาศถึงพระทศพล กลายเป็น

ดอกไม้ทิพย์. แต่นั้น บันดาลให้ฝนถ่านเพลิงตก. ถ่านเพลิงมีสีคล้ายดอกทอง

กวาว ลอยมาทางอากาศกระจายเป็นดอกไม้ทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่

นั้น บันดาลให้ฝนเถ้ารึงตก. เถ้ารึงร้อนจัดลอยมาทางอากาศตกลงเป็นผงจันทน์

ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่นั้น บันดาลให้ฝนทรายตก. ทรายละเอียดมาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

มีควันลุกโพลงลอยมาทางอากาศ ตกลงเป็นดอกไม้ทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล.

แต่นั้น บันดาลให้ฝนเปือกตมตก, ฝนเปือกตมนั้น มีควันลุกโพลงลอยมาทาง

อากาศตกลงเป็นของหอมทิพย์ใกล้พระบาทพระทศพล. แต่นั้น บันดาลให้

ความมืดตั้งขึ้นด้วยคิดว่า เราจักให้สมณะ กลัวแล้วหนีไป. ความมืดนั้น

เช่นกับความมืดประกอบด้วยองค์สี่ถึงพระทศพลก็หายไป เหมือนถูกแสงสว่าง

ดวงอาทิตย์กำจัดฉะนั้น.

ยักษ์ เมื่อไม่สามารถให้พระผู้มีพระภาคเจ้าหนีได้ด้วยลมบ้าหมู ฝน

ใหญ่ ฝนแผ่นหิน ฝนเครื่องประหาร ฝนถ่านเพลิง ฝนเถ้ารึง ฝนทราย

ฝนเปือกตม และด้วยความมืด รวม ๙ อย่างเหล่านี้ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยตนเอง ด้วยเสนามีองค์สี่ เกลื่อนกล่นด้วยพวกผีมีรูปหลายอย่าง เพื่อประหาร

มีอย่างต่าง ๆ กัน. พวกผีเหล่านั้น ทำอาการแปลกประหลาดหลายประการแล้ว

กล่าวว่า พวกเจ้าจงรับ จงฆ่าเสียเถิด ประหนึ่งว่า ต่างพากันมาอยู่เบื้องบน

พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ก็ไม่สามารถเข้าไปติดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ เหมือน

แมลงวันเกาะแท่งโลหะที่กำลังเป่าฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ มารกลับแล้วใน

เวลามาที่โพธิมัณฑ์เท่านั้น ฉันใด พวกผีไม่กล้าฉันนั้น ได้กระทำความยุ่งเหยิง

อยู่ประมาณครึ่งคืน. อาฬวกยักษ์ เมื่อไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าหวั่นไหวได้

แม้ด้วยการแสดงสิ่งที่น่ากลัวหลายประการประมาณครึ่งคืน ด้วยอาการอย่างนี้

แล้วจึงคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงปล่อยทุสสาวุธ อัน ใคร ๆ ทำให้แพ้ไม่ได้ดังนี้.

นัยว่า อาวุธ ๔ อย่างคือ วชิราวุธ

ของท้าวสักกะ ๑ คทาวุธของท้าวเวสวัณ ๑

นัยนาวุธของพญายม ๑ ทุสสาวุธของอาฬวก

ยักษ์ ๑ เป็นอาวุธประเสริฐในใลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

ก็ถ้าท้าวสักกะโกรธ พึงประหารวชิราวุธบนยอดภุเขาสิเนรุ พึงแทง

ทะลุลงไปภายใต้ได้ตลอด ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์. คทาวุธอันท้าวเวสวัณปล่อยไปใน

เวลาโกรธ ตีศีรษะของยักษ์หลายพันให้ตกลงแล้ว กลับนาตั้งอยู่ยังเงื้อมมืออีก

ด้วยเหตุเพียงพญายมโกรธ มองดูด้วยนัยนาวุธ พวกกุมภัณฑ์หลายพัน ล้ม

พินาศไป เหมือนหญ้าบนกระเบื้องร้อน. ถ้าอาฬวกยักษ์โกรธ พึงปล่อย

ทุสสาวุธไปในอากาศ ฝนไม่ตกตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยไปในแผ่นดิน รุกขชาติ

มีต้นไม้และหญ้าทั้งหมดเป็นต้น เหี่ยวแห้งแล้ว จะไม่งอกขึ้นอีกในระหว่าง

๑๒ ปี. ถ้าปล่อยไปในสมุทร น้ำจะแห้งหมด เหมือนหยาดน้ำบนกระเบื้อง

ร้อน. ถ้าปล่อยไปที่ภูเขาแม้เช่นสิเนรุ ภูเขาพึงกระจายออกเป็นชิ้นใหญ่ชิ้นน้อย.

อาฬวกยักษ์นั้น ปล่อยทุสสาวุธมีอานุภาพมากอย่างนี้ทำให้เป็นผ้าคลุม

จับไว้แล้ว. โดยมากเทวดาในหมื่นโลกธาตุ รีบประชุมกันว่า วันนี้พระผู้

พระภาคเจ้า จักทรมานอาฬวกยักษ์ พวกเรา จักฟังธรรมในที่นั้น. เทวดา

แม้ประสงค์จะชมยุทธวิธี ประชุมกันแล้ว อากาศแม้ทั้งสิ้น ได้เต็มแล้ว

ด้วยเทวดาอย่างนี้.

ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ เที่ยวไปแล้ว จึงปล่อยวัตถาวุธไปเบื้องบนใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า. วัตถาวุธนั้น ส่งเสียงน่ากลัวมีควันลุกโพลงในอากาศ

เหมือนฟ้าแลบ ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตกลงใกล้พระบาทกลายเป็นท่อน

ผ้าเช็ดเท้า เพื่อทำลายมานะของยักษ์. อาฬวกยักษ์ เห็นดังนั้น เป็นผู้หมด

อำนาจ หมดความจองหอง ลดมานะอันแข็งกระด้าง เปรียบเหมือนโคเขาขาด

เหมือนงูถูกถอนเขี้ยว จึงคิดว่า ทุสสาวุธของเราไม่ครอบงำสมณะ เหตุอะไร

หนอ เหตุนี้ สมณะประกอบด้วยเมตตาวิหารธรรม เอาเถิด เราแค้นสมณะ

นั้น จะพรากเสียจากเมตตา ข้อนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยสัมพันธ์ดังนี้ว่า ครั้งนั้นแล

อาฬวกยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ท่านจงออกไปเถิด สมณะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า เพราะท่านไม่ได้รับอนุญาตเรา เข้าไปยังที่อยู่ของ

เราแล้ว ยังนั่งในท่ามกลางเรือนสนมเหมือนเจ้าของเรือน ข้อนี้คือการบริโภค

สิ่งที่เขาไม่ได้ และการคลุกคลีกับหญิง ไม่ควรแก่สมณะ ฉะนั้น ถ้าท่าน

ตั้งอยู่ในสมณธรรม ขอท่านจงออกไปเถิดสมณะ. ส่วนอาจารย์บางคนกล่าวว่า

อนึ่ง อาฬวกยักษ์นี้แล กล่าวคำหยาบอื่นเหล่านั้นแล้ว จึงได้กล่าวคำนี้อย่างนี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ว่า เพราะอาฬวกยักษ์ เป็น

ผู้กระด้าง ใครไม่อาจแนะนำด้วยความกระด้างตอบได้ เพราะว่า เขาเมื่อใคร

ทำความกระด้างตอบ ก็กลับเป็นผู้กระด้างขึ้นกว่า เหมือนคนราดน้ำดีที่

จมูกของสุนัขดุร้าย สุนัขนั้น พึงดุร้ายขึ้นโดยประมาณยิ่งฉะนั้น ส่วนอาฬวก

ยักษ์ อาจแนะนำได้ด้วยควานอ่อนโยนดังนี้ ทรงรับคำเป็นที่รักของอาฬวกยักษ์

นั้น ด้วยพระดำรัสเป็นที่รักว่า ดีละ ผู้มีอายุ แล้วจึงเสด็จออกไป. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จออกไป ด้วยพระดำรัสว่า ดีละ

ผู้มีอายุ.

แต่นั้น อาฬวกยักษ์ เป็นผู้มีจิตอ่อนด้วยคิดว่า สมณะนี้ หนอว่าง่าย

พูดคำเดียว ก็ออกไป. เราพึงครอบงำสมณะผู้อยู่สบาย ให้ออกไปชื่ออย่างนี้

โดยไม่ใช่เหตุด้วยการรบ ตลอดคืนดังนี้ จึงคิดอีกว่า เราไม่อาจรู้ได้แม้บัดนี้

สมณะออกไป เพราะเป็นผู้ว่าง่ายหรือ หรือว่า โกรธออกไป เอาเถิด เราจัก

ทดลองดู. ลำดับนั้น จึงกล่าวว่า ท่านจงเข้าไปหาเถิด สมณะ. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสคำเป็นที่รักแก่อาฬกยักษ์ ผู้มีจิตอ่อนด้วยเข้าใจว่า

เป็นผู้ว่าง่ายอีก เพื่อทำการกำหนดจิต จึงตรัสว่า ดีละ ผู้มีอายุ ก็เสด็จเข้าไป.

อาฬวกยักษ์ทดลองความเป็นผู้ว่าง่ายนั้นแลบ่อยๆ จึงกล่าวครั้งที่สอง ครั้งที่สาม

ว่า ท่านจงออกมา ท่านจงเข้าไปดังนี้. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำตาม

นั้น. ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่พึงทำตามปกติ จิตของยักษ์กระด้างจะกลับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

กระด้างขึ้นกว่า ไม่พึงเป็นภาชนะแห่งธรรมกถา. เพราะฉะนั้น บุตรน้อยย่อม

ปรารถนาสิ่งใด มารดาให้ หรือกระทำสิ่งนั้นแล้ว จึงปลอบบุตรน้อยผู้ร้องไห้อยู่

ให้ยินยอมได้ ชื่อฉันใด ยักษ์นั้น กล่าวสิ่งใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำ

สิ่งนั้น เพื่อปลอบให้ยักษ์ ผู้ร้องไห้อยู่ด้วยการร้องไห้ คือกิเลสยินยอมฉันนั้น.

อนึ่ง แม่นมให้สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งกอดจูบทารก ผู้ไม่ดื่มน้ำนั้นแล้ว

ให้ดื่มฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น โอบรัดไว้ด้วยสรรหาถ้อยคำที่

กล่าวแล้วแก่ยักษ์นั้น เพื่อให้ยักษ์ได้ดื่มน้ำนมคือโลกุตรธรรม จึงได้ทรง

กระทำแล้ว. อนึ่ง บุรุษประสงค์จะบรรจุของอร่อย ๔ อย่าง ให้เต็มในน้ำเต้า

ย่อมชำระภายในน้ำเต้านั้นให้สะอาดฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะ

บรรจุของอร่อย ๔ อย่าง คือ โลกุตรธรรมให้เต็มในจิตของยักษ์ฉันนั้นได้ทรง

กระทำการออกและการเข้าจนถึงสามครั้ง ก็เพื่อให้มละคือความโกรธภายในของ

ยักษ์นั้นหมดจด.

ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ให้เกิดจิตลามกขึ้นว่า สมณะนี้ว่าง่าย เราสั่งว่า

ท่านจงออก ก็ออก. สั่งว่าท่านจงเข้าก็เข้า ถ้ากระไร เราให้สมณะนี้ลำบาก

ตลอดคืนยังรุ่งอย่างนี้แล้ว พึงจับที่เท้าเหวี่ยงไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคาดังนี้ จึงกล่าว

ครั้งที่ ๔ ว่า ท่านจงออก สมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบข้อนั้นแล้ว

จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺต. เมื่อยักษ์นั้น กล่าวอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่า ยักษ์แสวงหากรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จักสำคัญปัญหาที่ควร

ถาม ข้อนั้น จักเป็นมุขธรรมกถา จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺต. ศัพท์ว่า

ในบทนั้น ลงในอรรถว่า ปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โข ลงในอรรถว่า อวธารณะ.

บทว่า อห คือแสดงตน. บทว่า ต คือคำที่เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้นแล

พึงเห็นความในข้อนี้ อย่างนี้ว่า เพราะท่านคิดอย่างนี้ ฉะนั้น ผู้มีอายุ เรา

จักไม่ออกเด็ดขาด สิ่งใด ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

แต่นั้น เพราะอาฬวกยักษ์ ได้ถามปัญหาพวกดาบสและปริพาชก ผู้มี

ฤทธิ์มาสู่วิมานของตน ในเวลาไปโดยทางอากาศ แม้ในกาลก่อนด้วยการคิด

อย่างนี้ว่า วิมานทอง หรือวิมานเงิน หรือวิมานแก้วมณีอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่

อย่างไรหนอ เอาเถิด พวกเราจะดูวิมานนั้น ดังนี้ เมื่อตอบไม่ได้ จึงเบียดเบียน

ด้วยทำจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นต้น ฉะนั้นจึงสำคัญอยู่ว่า เราจักเบียดเบียนแม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าอย่างนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปญฺห ต ดังนี้.

ถามว่า ก็ปัญหา ยักษ์นั้น เรียนมาแต่ไหน. ตอบว่า ได้ยินว่า

มารดาบิดาของเขาเข้าไปหากัสสปะพระผู้มีพระภาคเจ้า เรียนได้ปัญหา ๘ ข้อ

พร้อมด้วยคำเฉลย. ท่านเหล่านั้น ให้อาฬวกยักษ์เรียนไว้แล้วในเวลาหนุ่ม. เขา

ลืมคำเฉลยหมดโดยกาลล่วงไป. ต่อแต่นั้นคิดว่า แม้ปัญหาเหล่านี้ จงอย่า

พินาศเสียดังนี้ จึงให้เขียนลงบนแผ่นทองด้วยชาด เสร็จแล้ว ก็เก็บไว้ในวิมาน.

ปัญหาเหล่านั้น ล้วนเป็นปัญหาของพระพุทธเจ้า เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฟังปัญหานั้น เพราะอันตรายแห่งลาภที่สละ

เพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี อันตรายชีวิตก็ดี การกำจัดพระสัพพัญญุตญาณและ

รัศมีวาหนึ่งก็ดี ใคร ๆ ไม่อาจทำได้ ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงพุทธานุภาพอันไม่

ทั่วไปนั้นในโลก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เราไม่เห็นใครเลยในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามความคิดเบียดเบียนของอาฬวกยักษ์นั้น

อย่างนี้แล้ว เมื่อให้เขาเกิดความอุตสาหะในการถามปัญหาจึงตรัสว่าเอาเถิด ท่าน

มีอายุ เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด. เนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า ถ้า

ท่านจำนง เชิญท่านถามเถิด ในการตอบปัญหาไม่เป็นเรื่องหนักสำหรับเรา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปวารณาพระสัพพัญญูปวารณาไม่ทั่วไปกับพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหาสาวกว่า เชิญถามตามที่ท่านจำนงเถิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

เราจักตอบปัญหานั้นทั้งหมดแก่ท่าน เมื่อพระสัพพัญญูปวารณา อันพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงปวารณาแล้วอย่างนี้ ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา.

บทว่า กึสูธ วิตฺต ความว่า อะไร เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้.

บทว่า วิตฺต แปลว่า ทรัพย์. ก็ทรัพย์นั้น ย่อมกระทำความปลื้มใจกล่าว

คือปีติ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ. บทว่า สุจิณฺณ

แปลว่า ทำไว้ดีแล้ว. บทว่า สุข ได้แก่ ความยินดีทางกายและทางจิต. บทว่า

อาวหาติ ได้แก่ ย่อมนำมา คือย่อมมา คือย่อมให้ ได้แก่ เอิ่บอิ่ม. บทว่า

หเว เป็นนิบาตลงในอรรถว่ามั่นคง. บทว่า สาทุตร ได้แก่ ดียิ่ง. พระ-

บาลีว่า สาธุตร ดังนี้ก็มี. บทว่า รสาน ได้แก่ ธรรม. ด้วยประการไร

คืออย่างไร. ชีวิตของผู้เป็นอยู่อย่างไร ชื่อว่า กถชีวีชีวิต. ก็เรียก สานุนาสิก

เพื่อสะดวกแก่การประพันธ์คาถา. อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีว่า กถชีวีชีวิต

ความว่า ความเป็นอยู่อย่างไรแห่งความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น. อาฬวกยักษ์ จึง

ทูลถามปัญหา ๔ ข้อเหล่านี้ ด้วยคาถานี้อย่างนี้ว่า อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้ม

ใจอันประเสริฐของตนในโลกนี้ อะไรที่บุคคลพระพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้

อะไรเป็นรสอันเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่

อย่างไรว่า ประเสริฐสุด.

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงวิสัชนาตามนัยที่พระกัสสป-

ทศพลทรงวิสัชนาแก่เขา จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺธีธ วิตฺต เป็นต้น. พึงทราบ

คำว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจในคาถานั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมีเงินทองเป็นต้น

ย่อมนำมาซึ่งความสุขในการใช้สอย ย่อมป้องกันความทุกข์ที่เกิดจากความหิว

กระหายเป็นต้น ย่อมระงับความยากจน ย่อมเป็นเหตุให้ได้แก้วมีมุกดาเป็นต้น

และย่อมนำมาซึ่งความสืบต่อแห่งโลกฉันใด แม้ศรัทธา ทั้งที่เป็นโลกิยะและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

โลกุตระ ย่อมนำมาซึ่งวิบากสุข ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตรตามที่เกิดขึ้น

ย่อมป้องกันทุกข์มีชาติและชราเป็นต้นของผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ศรัทธา ย่อมระงับ

ความยากจนแห่งคุณ และเป็นเหตุให้ได้แก่มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น ฉันนั้น

ศรัทธา ท่านกล่าวว่า เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ เพราะจัดว่า ย่อมนำมา ซึ่ง

ความสืบต่อแห่งโลกตามพระพุทธพจน์ว่า

ผู้มีศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีล เอิบอิ่ม

ด้วยยศ และโภคะไปสู่ถิ่นใด ๆ เขาบูชา

ในถิ่นนั้น ๆ.

ก็เพราะทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธานี้ เป็นเครื่องติดตามไป ไม่ทั่วไปแก่คน

อื่น เป็นเหตุแห่งสมบัติทั้งปวง เป็นเค้ามูลแห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีเงินและ

ทองเป็นต้นที่เป็นโลกิยะ. จริงอยู่ ผู้มีศรัทธา ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมได้

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ. ส่วนผู้ไม่มีศรัทธา ก็มีจิตใจเพียงเพื่อสิ่งอันไม่เป็น

ประโยชน์เท่านั้น เพราะฉะนั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธา ท่านจึงกล่าวว่า

ประเสริฐ. บทว่า ปุริสสฺส คือแสดงข้อกำหนดอย่างอุกฤษฏ์. เพราะฉะนั้น

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจคือศรัทธา แม้ของหญิงเป็นต้น ก็พึงทราบว่า ประเสริฐ

ไม่ใช่ของบุรุษฝ่ายเดียวเท่านั้น. บทว่า ธมฺโม คือกุศลธรรม ๑๐ หรือธรรม

มีทานและศีลเป็นต้น. บทว่า สุจิณฺโณ ได้แก่ กระทำดีแล้ว คือประพฤติ

ดีแล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ ความว่านำมาซึ่งความสุขของมนุษย์เช่นความสุข

ของโสณเศรษฐีบุตร และพระรัฐบาลเป็นต้น ซึ่งความสุขทิพย์ เช่นความสุข

ของท้าวสักกะเป็นต้น และนิพพานสุข เช่นความสุขของพระมหาปทุมเป็นต้น

ในปริโยสาน. สัจจะศัพท์นี้ ในบทว่า สจฺจ ย่อมปรากฏในหลายอรรถกล่าว

คือ ปรากฏในวาจาสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า พึงกล่าวคำสัจ ไม่พึงโกรธดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

ปรากฏในวิรัติสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า สมณพราหมณ์ ดังอยู่ในความสัจดังนี้.

ปรากฏในทิฏฐิสัจจะ ในบทเป็นต้นว่า เพราะเหตุไร คนทั้งหลาย จึงกล่าว

สัจจะต่างๆ กัน ผู้ตั้งอยู่ในความดี ย่อมขัดแย้งกันดังนี้ . ปรากฏในพราหมณสัจจะ

ในบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณสัจจะมี ๔ อย่างนี้. ปรากฏในปรมัตถ

สัจจะ ในบทเป็นต้นว่า ก็สัจจะมีอย่างเดียว ไม่มีที่ ๒ ดังนี้. ปรากฏในอริยสัจจะ

ในบทเป็นต้นว่า สัจจะ ๔ มีกุศลเท่าไร. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาวาจาสัจจะ

ทำปรมัตถสัจจะให้เป็นนิพพาน และทำวิรัติสัจจะให้เป็นภายใน. สมณพราหมณ์

ย่อมยังน้ำเป็นต้น ให้เป็นไปในอำนาจด้วยอานุภาพแห่งสัจจะใด ย่อมข้ามฝั่ง

แห่งชาติชราและมรณะได้. เหมือนสัจจะ (นั้น ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เขากั้นน้ำด้วยคำสัจ บัณฑิต ย่อม

กำจัดแม้พิษได้ด้วยสัจจะ ฝนฟ้าคะนองตก

ลงด้วยสัจจะ สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ใน

สัจจะย่อมปรารถนาความสงบ รสอย่างใด

อย่างหนึ่งเหล่านี้ มีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะดี

กว่ารสเหล่านั้น สมณพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ใน

สัจจะ ย่อมข้ามฝั่งแห่งชาติชราและมรณะ

ได้.

บทว่า สาธุตร ความว่า ดีกว่า ไพเราะกว่า ประณีตกว่า. บทว่า

รสาน ความว่า รสเหล่านี้ใด มีลักษณะซึมทราบโดยนัยเป็นต้นว่า รสที่

เกิดจากราก รสที่เกิดจากต้น. ธรรมมีการอยู่ด้วยกำจัดกิเลส เว้นโทษและ

พยัญชนะที่เหลือเป็นต้น เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมรส

โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรสผลไม้ทั้งปวง พระโคดม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ผู้เจริญ มีรูปไม่เป็นรส ดูก่อนพราหมณ์ รสแห่งรูป รสแห่งเสียงเหล่าใดแล

ไม่เป็นอาบัติในเพราะรสแห่งรส. ธรรมวินัยนี้ มีรสอย่างเดียวกัน มีวิมุตติ

เป็นรส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส แห่งธรรมรส. แห่งรส

เหล่านั้น. คำสัจนั่นแลดีกว่า คือความสัจเท่านั้น ดีกว่า. หรือว่า บทว่า

สาธุตร แปลว่า ประเสริฐกว่า ยิ่งกว่า. จริงอยู่ รสแห่งรากเป็นต้น ย่อม

ยังร่างกายให้เติบโต. ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุขอันประกอบด้วยสังกิเลส รส

แห่งสัจจะคือรสแห่งวิรัติสัจจะและวาจาสัจจะ ย่อมเพิ่มพูนจิตด้วยสมถะและ

วิปัสนาเป็นต้น ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุขอันไม่ประกอบด้วยสังกิเลส. วิมุตติรส

ชื่อว่า ดี เพราะมีรสคือปรมัตถสัจจะอบรมแล้ว. อรรถรสและธรรมรสก็

เหมือนกัน. เพราะอาศัยอรรถและธรรมที่เป็นอุบายบรรลุวิมุตติรสนั้น ย่อม

เป็นไป.

ก็ในบทว่า ปญฺาชีวึ นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ในบรรดาผู้มี

จักษุบอดข้างเดียวและมีจักษุสองข้าง บุคคลผู้มีจักษุสองข้างนี้นั้น

ที่เป็นคฤหัสถ์บำเพ็ญข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์มีการขยันทำการงานถึงสรณะแจก-

ทานสมาทานศีล และรักษาอุโบสถเป็นต้น หรือเป็นบรรพชิตบำเพ็ญข้อปฏิบัติ

ของบรรพชิตกล่าวคือ ศีลที่ไม่ให้เดือดร้อน ต่างด้วยจิตตวิสุทธิที่ยิ่งกว่านั้น

เป็นต้น ด้วยปัญญาเป็นอยู่ ท่านกล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น คือ

ท่านกล่าวชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้นว่า ประเสริฐที่สุด.

ยักษ์ได้ฟังปัญหาทั้ง ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาอย่างนี้แล้ว

ก็พอใจ เมื่อจะถามปัญหาที่ยังเหลืออีก ๔ ข้อ จึงกล่าวคาถาว่า กถสุ ตรติ

โอฆ ดังนี้ (คนจะข้ามโอฆะได้อย่างไร) เป็นต้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาโดยนัยก่อนจึงตรัสคาถาว่า สทฺธาย ตรติ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

(คนจะข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา). ในข้อนั้นผู้ใดข้ามโอฆะ ๔ อย่างได้ ผู้นั้นย่อม

ข้ามห้วงสงสารก็ได้ ล่วงพ้นวัฏทุกข์ก็ได้ ย่อมหมดจดจากมลทินคือกิเลสก็ได้

ก็จริง แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อไม่เชื่อก็แล่นไปสู่ที่ข้ามโอฆะไม่ได้.

ผู้ประมาทแล้วด้วยการปล่อยใจไปในกามคุณ ๕ ก็ข้ามห้วงสงสารไม่ได้ เพราะ

ติดอยู่ในกามคุณนั้น. ผู้เกียจคร้านคลุกเคล้าด้วยอกุศลธรรม ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ผู้ไม่มีปัญญา ไม่รู้ทางบริสุทธิ์ ย่อมไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าจะทรงแสดงข้อความที่เป็นปฏิปักษ์นั้น จึงตรัสคาถานี้. ก็เมื่อตรัส

คาถานี้อย่างนี้แล้ว เพราะสัทธินทรีย์เป็นปทัฏฐานแห่งโสดาปัตติยังคะ ฉะนั้น

จึงทรงประกาศโสดาปัตติมรรคอันเป็นเครื่องข้ามโอฆะคือทิฏฐิ และโสดาบัน

ด้วยบทนี้ว่า สทฺธาย ตรติ โอฆ (คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา). ก็เพราะ

พระโสดาบันประกอบด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือการกระทำที่ติดต่อกัน

ด้วยการเจริญกุศลธรรม บำเพ็ญมรรคที่ ๒ เว้นมรรคที่จะมาสู่โลกนี้เพียง

ครั้งเดียว ย่อมข้ามห้วงสงสารอันเป็นที่ตั้งแห่งภโวฆะที่เหลือยังข้ามไม่ได้ด้วย

โสดาปัตติมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศสกทาคามิมรรคอันเป็นเครื่องข้าม

ภโวฆะและพระสกทาคามี ด้วยบทนี้ว่า อปฺปมาเทน อณฺณว (บุคคลย่อม

ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ดังนี้ . และเพราะพระสกทาคามีบำเพ็ญ

มรรคที่ ๓ ด้วยความเพียร ย่อมล่วงกามทุกข์อันเป็นที่ตั้งแห่งกาโมฆะและ

กำหนดว่าเป็นกาโมฆะที่ไม่ล่วงแล้ว ด้วยสกทาคามิมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศ

อนาคามิมรรคอันเป็นเครื่องข้ามกาโมฆะและพระอนาคามีด้วยบทนี้ว่า วิริเยน

ทุกฺขมจฺเจติ (บุคคลย่อมล่วงความทุกข์ได้ด้วยความเพียงดังนี้). แต่เพราะ

พระอนาคามีบำเพ็ญปัญญาแห่งมรรคที่ ๔ อันบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ด้วยปัญญา

อันบริสุทธิ์ ปราศจากเปือกตมคือกาม ละมลทินอย่างยิ่ง กล่าวคืออวิชชาที่ยัง

ละไม่ได้ด้วยอนาคามิมรรค ฉะนั้น จึงทรงประกาศอรหัตมรรค และความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

เป็นพระอรหันต์ อันเป็นเครื่องข้ามอวิชชา ด้วยบทนี้ว่า ปญฺาย ปริสุชฺฌติ

(บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา) ดังนี้ . ก็แลในที่สุดแห่งคาถาที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสด้วยธรรมมีพระอรหัตเป็นยอดนี้ ยักษ์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

บัดนี้ ยักษ์ถือเอาบทว่า ปัญญา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบท

นี้ว่า ปญฺาย ปริสุชฺฌติ นั้น เมื่อจะถามปัญหาที่เจือด้วยโลกุตระด้วย

ปฏิภาณของตน จึงทูลถามคาถา ๖ บทนี้ว่า กถสุ ลภเต ปญฺ (บุคคล

ย่อมได้ปัญญาอย่างไรเล่า) เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า กถสุ เป็นคำถาม

ที่ไม่ยุติในที่ทั้งปวง. จริงอยู่ ยักษ์นี้รู้อรรถมีปัญญาเป็นต้นแล้ว จึงถามยุติแห่ง

อรรถนั้นว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร คือด้วยยุติอะไร ด้วยเหตุไร.

ในทรัพย์เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงแสดงการได้ปัญญาด้วยเหตุ ๔ อย่างแก่ยักษ์นั้น จึงตรัสคำว่า สทฺทหาโน

เป็นต้น. พึงทราบเนื้อความแห่งธรรมนั้น (ดังต่อไปนี้)พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้าถึงนิพพานด้วยธรรมอัน

ต่างด้วยกายสุจริตเป็นต้นในเบื้องต้น และต่างด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

ในเบื้องปลายอันใด บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์นั้น จึงได้ปัญญาทั้งที่

เป็นโลกิยะและโลกุตระเพื่อบรรลุพระนิพพาน. ก็แลการได้นั้น ย่อมไม่ได้

ด้วยธรรมเพียงศรัทธาเท่านั้น. ก็เพราะบุคคลเกิดศรัทธาแล้วก็เข้าไปหา เมื่อ

เข้าไปหาก็เข้าไปนั่งใกล้ เมื่อเข้าไปนั่งใกล้ย่อมเงี่ยหู เงี่ยหูแล้ว ย่อมฟังธรรม

ฉะนั้น จำเดิมแต่เข้าไปหา จนถึงการฟังธรรม ฟังด้วยดีย่อมได้ (ปัญญา).

ท่านกล่าวไว้อย่างไร. ท่านกล่าวไว้ว่า แม้เขาเชื่อธรรมนั้นแล้ว เข้าไปหา

อาจารย์อุปัชฌาย์ตามกาลเวลา เข้าไปนั่งใกล้ไหว้ด้วยการกระทำวัตรปฏิบัติ

เมื่อใดมีจิตใจยินดีในการเข้าไปนั่งใกล้ย่อมเป็นผู้ใคร่จะกล่าวอะไร ๆ เมื่อนั้น

เขาเงี่ยหูฟังเพราะความเป็นผู้ใคร่ฟังย่อมได้ (ปัญญา). ก็แล แม้เมื่อเขาตั้งใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ฟังอย่างนี้ ไม่ประมาทโดยไม่อยู่ปราศจากสติ เป็นผู้พิจารณาด้วยความเป็นผู้รู้

คำสุภาษิตและทุพภาษิตก็ย่อมได้(ปัญญา) เหมือนกัน. ไม่ใช่คนนอกนี้. เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้พิจารณาดังนี้.

เพราะเขาปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญาด้วยศรัทธา ฟังอุบายเป็น

เครื่องเข้าถึงปัญญาด้วยการตั้งใจฟัง คือด้วยความเคารพ ไม่หลงลืมข้อที่รับไว้

แล้วด้วยความไม่ประมาท ถือเอาไม่ยิ่งไม่หย่อนและความไม่ผิดทำให้พิสดาร

ด้วยความเป็นผู้พิจารณา หรือเป็นผู้เงี่ยหูลงด้วยความตั้งใจฟังแล้ว ฟังธรรมอัน

เป็นเหตุได้ปัญญา ครั้นฟังด้วยความไม่ประมาทแล้วทรงจำธรรม ใคร่ครวญ

เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้วด้วยความพิจารณา ทำปรมัตถสัจจะให้แจ้ง

โดยลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกถามว่า กถสุ ลภเต ปญฺ

(บุคคลจะได้ปัญญาอย่างไรเล่า) เมื่อจะทรงแสดงเหตุ ๔ อย่างนี้แก่อาฬวกยักษ์

นั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺทหาโน ฯลฯ วิจกฺขโณ ดังนี้ . บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงวิสัชนาปัญหา ๓ ข้ออื่นจากนั้น จึงตรัส คาถานี้ว่า ปฏิรูปการี เป็นต้น. ใน

คาถานั้น บุคคลใดไม่ท่าเทศะและกาละเป็นต้นให้เสียหาย ทำการงานให้

เหมาะสมคือให้เป็นอุบายที่จะได้ทรัพย์อันเป็นโลกิยะหรือโลกุตระ เหตุนั้น

บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปฏิรูปการี (ผู้ทำการงานให้เหมาะเจาะ). บทว่า ธุรวา

คือไม่ทอดธุระด้วยอำนาจความเพียรทางใจ. บทว่า อุฏฺาตา ความว่า

ประกอบด้วยความขยันด้วยอำนาจความเพียรทางกาย มีความบากบั่นไม่

ย่อหย่อนโดยนัยเป็นต้นว่า ก็ผู้ใดไม่สำคัญความเย็นและความร้อนให้ยิ่งไปกว่า

หญ้า. บทว่า วินฺทเต ธน ความว่า บุคคลย่อมได้โลกิยทรัพย์เหมือนลูกน้อง

ของจุลลกเศรษฐีได้ทรัพย์ ๔ แสนโดยไม่ช้า ด้วยหนูตัวเดียว และได้โลกุตร-

ทรัพย์ เหมือนพระมหาติสสเถระผู้เฒ่า. เขาคิดว่า เราจักอยู่ด้วยอิริยาบถ ๓

อย่างเท่านั้น ดังนี้แล้วทำวัตรปฏิบัติ ในเวลาง่วงนอนก็เอาใบไม้ชุบน้ำวางไว้บน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ศีรษะ ลงน้ำประมาณคอป้องกันความง่วงนอน บรรลุพระอรหัตโดยพรรษา

๑๐. บทว่า สจฺเจน ความว่า บุคคลย่อมได้รับชื่อเสียงอย่างนี้ว่า เป็นผู้กล่าว

คำสัตย์ กล่าวคำจริงด้วยวจีสัจจะบ้าง ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระอริยสาวกด้วยปรมัตถสัจจะบ้าง. บทว่า ทท ความว่า ผู้ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ที่เขาต้องการปรารถนา ย่อมผูก ย่อมเพิ่มพูน ย่อมกระทำไมตรีได้. หรือว่า

ผู้ให้ของไม่ดี ก็ย่อมได้ของไม่ดี. หรือว่า สังคหวัตถุ ๔ พึงทราบว่า ท่าน

ก็จัดเอาทานเป็นหัวหน้า. ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลย่อมทำไมตรีด้วยสังคหวัตถุ

๔ นั้น.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาปัญหา ๔ ข้อ โดยนัยที่เจือโลกิยะ

และโลกุตระปะปนกันทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงวิสัชนา

ปัญหาที่ ๕ นี้ ว่า กถ เปจฺจ น โสจติ (บุคคลตายไปแล้วจะไม่เศร้าโศก

อย่างไร) ด้วยอำนาจคฤหัสถ์ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ยสฺเสเต ดังนี้.

พึงทราบเนื้อความแห่งข้อนั้น (ดังนี้) คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามมีศรัทธา

เพราะประกอบด้วยศรัทธาที่ก่อให้เกิดกัลยาณธรรมทั้งปวง ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า

สทฺทหาโน อรหต (เธอธรรมของอรหันต์) เป็นผู้แสวงหาการครองเรือน

หรือกามคุณทั้ง ๕ ในคำนี้ว่า สทฺธสฺส ฆรเมสิโน (ผู้ครองเรือน) มีธรรม

๔ อย่างนี้ คือสัจจะอย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ

(บุคคลย่อมได้รับชื่อเสียงด้วยคำสัตย์) ธรรมดังที่ตรัสไว้แล้วด้วยชื่อแห่งปัญญา

ที่ได้ด้วยการตั้งใจฟังในบทนี้ว่า สุสฺสูส ลภเต ปญฺ (ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้

ซึ่งปัญญา) ธิติที่ตรัสไว้แล้วด้วยชื่อว่าธุระและด้วยชื่อว่าขยัน ในบทนี้ว่า

ธุรวา อุฏฺาตา (มีธุระ ขยัน) และจาคะอย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า ทท

มิตฺตานิ คนฺถติ (ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้. บทว่า ส เว ปจฺจ น โสจติ

ความว่า เขาละไปสู่โลกนี้และโลกอื่น ย่อมไม่เศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๕ อย่างนี้แล้ว จะเตือน

ยักษ์นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิงฺฆ อญฺเปิ (เชิญถาม) ธรรมแม้อย่างอื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตในอรรถแห่งคำเตือน. บทว่า อญฺเปิ

ความว่า จงถามธรรมแม้อย่างอื่นกะสมณพราหมณ์เป็นอันมาก. หรือว่า จง

ถามสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ที่ปฏิญญาตนว่าเป็นสัพพัญญู มีปูรณกสัสปเป็น

ต้น แม้เหล่าอื่น. หรือว่า หากจะมีเหตุที่ได้รับชื่อเสียงยิ่งไปกว่าสัจจะอย่างที่

เรากล่าวไว้แล้วในบทนี้ว่า สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ (บุคคลย่อมได้รับชื่อ

เสียงด้วยคำสัตย์). หรือว่ายังมีเหตุได้โลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญายิ่งกว่าทมะ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอ้างถึงปัญญา ว่า สุสฺสูสา ในบทว่า สุสฺสูส

ลภเต ปญฺ (ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้ปัญญา). หรือว่า เหตุเป็นเครื่องผูกไมตรี

ยิ่งกว่าจาคะ อย่างที่ตรัสไว้แล้วในบทนี้ว่า ทท มิตฺตานิ คนฺถติ (ผู้ให้ย่อม

ผูกไมตรีไว้ได้). หรือว่าเหตุที่เป็นเครื่องได้โลกิยะทรัพย์และโลกุตรทรัพย์ยิ่ง

กว่าขันติกล่าวคือความเพียรที่ถึงความพากเพียรโดยอรรถว่านำของหนักหน่วงไป

ตามที่ทรงอาศัยอำนาจแห่งเหตุนั้น ๆ ตรัสไว้ด้วยชื่อว่า ธุระและด้วยความขยัน

ในบทนี้ว่า ธุรวา อุฏฺาตา. หรือว่า เหตุที่ไม่เศร้าโศก เพราะละจากโลก

นี้ไปสู่โลกอื่นยิ่งกว่าธรรม อย่างนี้ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า สจฺจ ธมฺโม ธิติ

จาโค นี้เป็นพรรณนาความพร้อมกับการเธอความโดยย่อในบทนี้ว่า อิธ

วิชฺชติ ดังนี้ (มีอยู่ในโลกนี้) แต่พึงแยกบทหนึ่ง ๆ โดยนัยที่ยกอรรถ ยก

บทและพรรณนาบทแล้วทราบการพรรณนาอรรถโดยพิสดาร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ยักษ์จะพึงถามสมณพราหมณ์

อื่นด้วยความสงสัยใดเพราะเป็นผู้ละความสงสัยนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า บัดนี้

ข้าพระองค์จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากอย่างไรเล่า ดังนี้ เมื่อจะให้คน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ที่ยังไม่รู้เหตุที่ไม่ถามให้รู้ จึงกล่าวว่า โยห อชฺช ปชานามิ โย อตฺโถ

สมฺปรายิโก ดังนี้ (วันนี้เราได้รู้อยู่ว่า ประโยชน์ใดมีอยู่ในสัมรายภพ).

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช อธิบายว่า กำหนดเวลามีในวันนี้เป็น

ต้น. บทว่า ปชานามิ คือรู้โดยประการตามที่ตรัสแล้ว. บทว่า โย อตฺโถ

ความว่า ทรงแสดงข้อปฏิบัติในปัจจุบันที่ตรัสไว้แล้วโดยนัยว่า สุสฺสูส สภเต

ปญฺ (ผู้ตั้งใจฟังย่อมได้ปัญญา) ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ทรงแสดงข้อ

ปฏิบัติในโลกหน้า ซึ่งกระทำการละไปแล้ว ไม่มีความเศร้าโศก ซึ่งตรัส

ไว้แล้วว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา (ผู้ใดมีธรรม ๔ อย่างนี้) ด้วยบทว่า

สมฺปรายิโก ดังนี้. ก็บทว่า อตฺโถ นี้เป็นชื่อของเหตุ. จริงอยู่ศัพท์ว่า

อตฺถ นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งปาฐะ ในบททั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า

สาตฺถ สพฺยญฺชน (พร้อมด้วยอรรถ พร้อมด้วยพยัญชนะ). เป็นไปใน

ความต้องการในบทเป็นต้นว่า อตฺโถ เม คหปติ หิรญฺญสุวณฺเณน ดู

ก่อนคฤหบดี เราต้องการเงินและทอง. เป็นไปในความเจริญในบทเป็นต้นว่า

โหติ สีลวต อตฺโถ (ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีศีล). เป็นไปในทรัพย์ ในบท

เป็นต้นว่า พหุชดน ภชฺชเต อตฺถเหตุ (คนเป็นอันมากแตกกันเพราะทรัพย์).

เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูล ในบทเป็นต้นว่า อุภินฺนมตฺถ จรติ (ย่อม

ประพฤติประโยชน์แก่โลกทั้งสอง). เป็นไปในเหตุในบทเป็นต้นว่า อตฺเถ

ชาเต จ ปณฺฑิต (ก็เมื่อเหตุเกิดขึ้นย่อมต้องการบัณฑิต). ก็แลศัพท์ว่า อตฺถ

ในที่นี้ เป็นไปในเหตุ. เพราะฉะนั้น เหตุแห่งการได้ปัญญาเป็นต้นที่เป็นไป

ในปัจจุบันอันใด และเหตุแห่งความละไปแล้วไม่มีความเศร้าโศกเป็นไปใน

สัมปรายภพอันใด เราย่อมรู้เหตุนั้นเองตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วใน

วันนี้ บัดนี้ เรานั้นจะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากอย่างไรเล่า ดังนี้ พึง

ทราบเนื้อความโดยสังเขปในข้อนี้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

ยักษ์จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ปชานามิ โย อตฺโถ สมฺปรายิโก (เหตุใด

ที่มีในสัมปรายภพเรารู้) เมื่อจะแสดงความที่ญาณนั้นเป็นเค้ามูลของพระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงกล่าวว่า อตฺถาย วต เม พุทฺโธ (พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ

ณ เมืองอาฬวีเพื่อความประโยชน์แก่เรา).

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย คือเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อ

ความเจริญ. บทว่า ยตฺถ ทินฺน มหปฺผล ความว่า ทานที่ให้ในพระ-

พุทธเจ้าพระองค์ใดมีผลมาก เรารู้จักพระพุทธเจ้าผู้เป็นยอดทักขิไณยบุคคล

พระองค์นั้น ด้วยจาคะที่ตรัสไว้ในบทว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา (ผู้ใด

มีธรรม ๔ อย่างนี้). แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทรงหมายเอาพระสงฆ์จึง

ตรัสอย่างนี้. ครั้นยักษ์แสดงการบรรลุประโยชน์แก่ตนด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว

บัดนี้จะแสดงอปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เรานั้นจัก

ท่องเที่ยวไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คามา คาม ความว่า จากเทวคามสู่เทวคาม

จากเทวนครสู่เทวนคร. บทว่า นมสฺสมาโน สมฺพุทฺธ ธมฺมสฺส จ

สุธมฺมต ความว่า ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้าและซึ่งความเป็นธรรมดี

แห่งพระธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์

เองหนอ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว. ด้วยอำนาจ ศัพท์ก็

เป็นอันกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเที่ยวชมเชยแล้ว ๆ ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นมัสการประกาศธรรมด้วยบทเป็นต้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปฏิบัติดีแล้วหนอ ดังนี้ .

การสิ้นสุดแห่งคาถานี้ การแจ้งสว่างแห่งราตรี การส่งเสียงสาธุการ

การนำอาฬวกกุมารมายังที่อยู่ของยักษ์ ได้มีในขณะเดียวกันด้วยประการฉะนี้.

พวกราชบุรุษได้ยินเสียงสาธุการแล้ว นึกว่า เสียงสาธุการเห็นปานนี้ ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

บันลือลั่นแก่คนเหล่าอื่น เว้นพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วหนอ

ได้เห็นรัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ยืนอยู่ข้างนอกเหมือนก่อน

หมดความสงสัย หลบเข้าไปอยู่ข้างใน เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่

ในที่อยู่ของยักษ์และเห็น ยักษ์ยืนประคองอัญชลีอยู่ จึงกล่าวกะยักษ์ว่า ดูก่อน

มหายักษ์ พระราชกุมารนี้เขานำมาเพื่อพลีกรรมแก่ท่าน เชิญท่านจงเคี้ยวกิน

หรือเชิญกินเขาหรือทำตามต้องการเถิด. ยักษ์นั้นละอายเพราะความเป็น

พระโสดาบันและ เมื่อถูกเขากล่าวอย่างนี้ต่อพระพักตร์พระผู้มีภาคเจ้าด้วยคำ

แปลกประหลาด จึงเอามือทั้งสองประคองพระกุมารนั้นน้อมเข้าไปหาพระผู้มี

พระภาคเจ้าโดยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารนี้เขาส่งมาให้ข้าพระองค์

ข้าพระองค์ขอถวายกุมารนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเด็กนี้ เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อประโยชน์สุขแก่เด็กนี้เถิด พระเจ้าข้า. ก็แลยักษ์นั้นกล่าว

คาถานี้ว่า

ข้าพระองค์เต็มใจยินดีถวายกุมารนี้ผู้มี

ลักษณะบุญตั้งร้อยทั่วสรรพางค์กาย มีทรวด

ทรงบริบูรณ์ แต่พระองค์ ขอพระองค์ผู้มี

จักษุโปรดรับไว้เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลกเกิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับกุมารไว้แล้ว. ก็แล เมื่อจะทรงรับก็กล่าวคาถาหย่อน

บาท เพื่อทำมงคลแก่ยักษ์และแก่กุมาร. ยักษ์ยังกุมารนั้นให้ถึงพระองค์ เป็น

สรณะ ให้บริบูรณ์ด้วยบาทที่ ๔ ถึง ๓ ครั้ง คือ

กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์

เธอจงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

ไม่เจ็บไข้ดำรงอยู่เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก

กุมารนี้เข้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.

กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์ เธอ

จงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็นผู้ไม่

เจ็บไข้ดำรงอยู่ เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก

กุมารนี้ เข้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ.

กุมารนี้ จงมีอายุยืน ดูก่อนยักษ์ เธอ

จงเป็นผู้เจริญและมีความสุข จงเป็น

ผู้ไม่เจ็บไข้ดำรงอยู่เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก

กุมารนี้เข้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานกุมารแก่พวกราชบุรุษด้วยพระดำรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงยังกุมารนี้ให้เจริญแล้วส่งให้เราอีก. กุมารนั้นเกิดมีชื่อว่า

หัตถกะอาฬวกะ เพราะไปสู่มือยักษ์จากมือของพวกราชบุรุษ ไปสู่พระหัตถ์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจากมือยักษ์ แล้วไปสู่มือของพวกราชบุรุษจากพระหัตถ์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก. ชาวนาและคนทำงานในป่าเป็นต้น เห็นพวกราชบุรุษ

นำกุมารนั้นกลับมา กลัวแล้วถามว่า ยักษ์ไม่ต้องการกุมารเพราะเป็นเด็กเกินไป

หรือ. พวกราชบุรุษบอกเรื่องทั้งหมดว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย เพราะพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทำความปลอดภัยให้แล้ว ดังนี้ . แต่นั้นมา ชาวนครอาฬวีทั้งหมด

ก็กล่าวว่า ดีแล้ว ๆหันหน้าเข้าหายักษ์ด้วยเสียงอึกทึกกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.

เมื่อถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปภิกขาจาร แม้ยักษ์ก็ถือบาตรจีวรมาครึ่ง

ทางจึงกลับ . เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต ทรงทำภัตกิจแล้ว

ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสนะที่ปูลาดไว้ดีแล้วที่โคนไม้อันเงียบสงัดแห่งใดแห่ง

หนึ่งใกล้ประตูเมือง. ต่อจากนั้น พระราชาและชาวเมืองพร้อมด้วยชนหมู่ใหญ่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

รวมเป็นอันเดียวกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว นั่งแวดล้อม

แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทรมานยักษ์ผู้ร้ายกาจได้

อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการรณรงค์ของราชบุรุษเหล่านั้นให้เป็นต้น

แล้ว ตรัสว่า ยักษ์ยังฝน ๙ ชนิดให้ตกอย่างนี้ ทำให้น่าสะพึงกลัวอย่างนี้ ถาม

ปัญหาอย่างนี้ เราวิสัชนาแก่ยักษ์นั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสอาฬวกสูตรนั้น.

ในที่สุดแห่งถ้อยคำ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ประชาชน ๘๔,๐๐๐. แต่นั้นมา

พระราชาและชาวเมืองกระทำที่อยู่ของยักษ์ในที่ใกล้ที่อยู่ของท้าวเวสวัณมหาราช

เปลี่ยนเป็นเครื่องสักการะมีดอกไม้ของหอมเป็นต้น ให้เป็นเครื่องเซ่นประจำ.

และเขาปล่อยกุมารนั้นผู้ถึงความเป็นวิญญูชนแล้วว่า เธออาศัยพระผู้มีพระภาค.

เจ้า จึงได้ชีวิต จงไป เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. หัตถกะ

อาฬกะนั้น เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไม่นานก็ตั้งอยู่ใน

อนาคามิผลเรียนพระพุทธพจน์ทั้งปวง มีอุบาสก ๕๐๐ เป็นบริวาร. ก็แลพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงประกาศเข้าไว้ในตำแหน่งเอตทัคตะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายยอด

ของอุบาสกสาวกของเรา ผู้สงเคราะห์ชุมชนด้วยวัตถุ ๔ คือ หัตถกะอาฬวก.

จบอรรถกถาอาฬวกสูตรที่ ๑๒

จบอรรถกถายักขสังยุต ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรแต่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ

๑. อินทกสูคร ๒. สักกสูตร ๓. สูจิโลมสูตร ๔. มณิภัททสูตร

๕. สานุสูตร ๖. ปิยังกรสูตร ๗. ปุนัพพสุสูตร ๘. สุทัตตสูตร ๙. ปรมสุกกา

สูตร ๑๐. ทุติยสุกกาสูตร ๑๑. จีราสูตร ๑๒. อาฬวกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

สักกสังยุต

ปฐมวรรคที่ ๑

๑. สุวีรสูตร

ว่าด้วยสุวีรเทพบุตรมัวประมาท

[๘๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเขตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย

มีนาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูร

เหล่านี้ กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สุวีรเทพบุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอ

พระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้ครั้งที่ ๒ แล ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อ-

สุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูร

ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตรรับ บัญชาของท้าวสักกะ

จอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียก

สุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา

พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตร

รับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

แล้วมัวประมาทเสีย.

[๘๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา

ตรัสกะสุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า

บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม จะ

ประสบสุขได้ ณ ที่ใด ดูก่อนสุวีระ เจ้า

จงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ

ที่นั้นด้วยเถิด.

[๘๕๐] สุวีรเทพบุตรทูลว่า

บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น

และไม่ใช้ใคร ๆ ให้กระทำกิจทั้งหลาย

อีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง

ข้าแต่ท่าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอก

ฐานะอันประเสริฐนั้น แก่ข่าพระองค์.

[๘๕๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น

ถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุวีระ เจ้าจงไป

ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น

ด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

[๘๕๒] สุวีรเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา

ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด

โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ

ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอัน

ประเสริฐ ที่ไม่มีความแห้งใจ ไม่มีความ

คับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๘๕๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำ

การงาน ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ย่อม

ทรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่ง

นิพพาน สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และ

จงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้นด้วยเถิด.

[๘๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น

อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ

เป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงพรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความ

หมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้

พึงหมั่น เพียรพยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่

ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึง

งดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

สักกสังยุตตวัณณนา

อรรถกถาสุวีรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุวีรสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๑ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิยสุ คือ เตรียมไปต่อสู้. มีกำลังเมื่อใด ในสูตรนั้นมี

อนุบุพพิกถา ดังนี้ ได้ยินว่า ท้าวสักกะเป็นมาณพชื่อ มฆะ ในอจลคามใน

แคว้นมคธ พาบุรุษ ๓๐ คน ทำกัลยาณกรรมบำเพ็ญวัตรบท ๗ ทำกาละใน

ที่นั้นแล้วไปเกิดในเทวโลก. เทวดาพวกเก่าเจ้าถิ่นเห็นมฆมาณพนั้นพร้อมด้วย

บริษัท ประกอบไปด้วยฐานะ ๑๐ ด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันแรงกล้า คิดว่า

เทวบุตรผู้เป็นอาคันตุกะมาแล้ว จึงเตรียมน้ำคันธบานเพื่อดื่ม. ท้าวสักกะได้

ให้คำเตือนแก่บริษัทบริวารของตนว่า ดูก่อนผู้นิรทุกข์ อย่าดื่มน้ำคันธบาน

จงแสดงเพียงอาการดื่มเท่านั้น. พวกเขาได้ทำอย่างนั้น. เทวบุตรเจ้าถิ่นดื่มน้ำ

คันธบานที่เข้านำเข้าไปให้ด้วยจอกทองตามต้องการ เมาล้มลงนอนอยู่บนแผ่นดิน

ทองนั้น ๆ. ท้าวสักกะกล่าวว่า จงจับพร้อมทั้งแม่ทั้งลูกไปดังนี้แล้ว จับที่เท้า

ขว้างไปที่เชิงภูเขาสิเนรุ. เทวบุตรทั้งปวงแม้ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ก็ไปตกลงใน

ที่นั้น ด้วยเดชแห่งบุญของท้าวสักกะ. เทวบุตรเหล่านั้นได้ความรู้สึกตัวใน

เวลาที่อยู่กลางภูเขาสิเนรุ จึงกล่าวว่า พวกเราไม่ดื่มสุราละพ่อ. จำเดิมแต่นั้น

จึงได้ชื่อว่า อสูร. ภายหลังแดนอสุรมีประมาณหมื่นโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นตามฤดู.

เพราะปัจจัยแห่งกรรมของพวกเขา ก็เกิดขึ้นในพื้นภายใต้แห่งภูเขาสิเนรุ.

ท้าวสักกะตั้งอารักขาเพื่อต้องการไม่ให้เทวบุตรเหล่านั้นกลับมา. ท่านกล่าว

หมายความว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

การคุ้มครองรักษา อย่าง ตั้งอยู่

ในระหว่างเมืองที่ไม่มีใครรบได้ทั้งสอง

คือ นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์และ

มหาราชทั้ง ๔.

จริงอยู่ เมืองทั้งสองคือ เทวนครและอสุรนคร ชื่อว่า เป็นเมืองที่

ไม่มีใครรบได้ ก็เพราะเป็นเมืองที่ไม่อาจถูกยึดเอาด้วยการรบ ก็แล คราวใด

พวกอสุรมีกำลัง คราวนั้น เมื่อประตูถูกพวกเทวดาหนีเข้าไปสู่เมืองและปิดเสีย

แล้ว แม้พวกอสูรตั้งแสนก็ไม่อาจจะทำอะไรได้. คราวใด พวกเทวดามีกำลัง

คราวนั้น เมื่อประตูถูกพวกอสูรหนีเข้าไป ปิดเสียแล้ว แม้พวกท้าวสักกะ

ตั้งแสนก็ไม่อาจจะทำอะไรได้. เมืองทั้ง ๒ นี้ จึงชื่อว่า กรุงอยุธยา ด้วย

ประการฉะนี้.

ท้าวสักกะตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่ง มีนาคเป็นต้นนี้ ระหว่างเมืองทั้ง

๒ นั้น ในสถานที่ ๕ แห่ง. ในที่นั้น พวกนาค ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า น้ำ.

จริงอยู่ พวกนาคนั้นมีกำลังอยู่ในน้ำ. การป้องกันของพุวกนาคนั้นอยู่ที่แนวที่ ๑

แห่งภูเขาสิเนรุนั้น พวกครุฑถือเอาด้วยศัพท์ว่า กโรฏิ. ได้ยินว่า น้ำและข้าว

ของพวกครุฑนั้นชื่อ กโรฏิ. พวกครุฑได้ชื่อตามน้ำและข้าวนั้น. การป้องกัน

ของพวกครุฑนั้นอยู่ทีแนวที่ ๒. พวกกุมภัณฑ์ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปยสฺสุกริ.

ได้ยินว่า พวกกุมภัณฑ์นั้นเป็นพวกทานพและรากษส. การป้องกันของพวกนี้อยู่ที่

แนวที่ ๓. พวกยักษ์ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทมนยุทธ์ . ได้ยินว่า พวกยักษ์นั้นเป็นนัก

รบกองโจร. การป้องกันของพวกยักษ์นี้อยู่ที่แนวที่ ๔. บทว่า จตุโร จ มหตฺถา

คือ มหาราชทั้ง ๔ ที่กล่าวแล้ว. การป้องกันของมหาราชเหล่านี้ อยู่ที่แนวที่ ๕.

เพราะฉะนั้น ถ้าพวกอสูรโกรธ มีใจขุ่นมัว เข้าไปบุกรุกเมืองของพวกเทวดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ในการรบ. ที่ใด เป็นขอบเขตแรกแห่งภูเขา พวกนาคย่อมป้องกันที่นั้น. พวกอื่น

ที่ยังเหลือก็ป้องกันที่อื่นที่ยังเหลือ. ก็แล พวกอสูรนั้น เช่นเดียวกับเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ ด้วยสมบัติคืออายุ ผิวพรรณ เกียรติยศ และความเป็นใหญ่

เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงไม่รู้ตัว ในระหว่างเมื่อดอกแคฝอยบานจึงรู้ว่า นี่ไม่ใช่

เมืองของเทวดา ดอกปาริฉัตรบานในเมืองของเทวดานั้น แต่ในที่นี้มีต้นแคฝอย

พวกเราถูกพวกสักกะแก่หลอกลวงให้ดื่มสุรา ก็แลเราจะไปยังเทวนคร

พวกเราจักยึดไว้ เราจักรบกับเทวนครนั้น ดังนี้แล้ว ขึ้นช้างม้าและรถ

จัดทองเงินแก้วมณีและแก้วผลึก เตรียมรบ ลั่นกลองอสูร แยกน้ำในมหาสมุทร

ออกเป็น ๒ ส่วน เตรียมพร้อมอยู่. พวกอสูรนั้นเริ่มขึ้นภูเขาสิเนรุ คล้าย

แมลงเม่าขึ้นจอมปลวกเมื่อฝนตก. ในเวลานั้น พวกอสูรนั้นรบกับพวกนาค

เป็นครั้งแรก. ก็ในการรบนั้น ผิวหรือหนังของใคร ๆ ไม่ขาด. เลือดก็ไม่ออก.

เป็นเพียงยังกันและกันให้ร้อน เหมือนพวกเด็กเอาแพะไม้ชนกันอย่างเดียว

เท่านั้น. พวกนาคตั้งร้อยโกฏิ พันโกฏิรบกับพวกอสูรนั้น ขับไล่พวกอสูรนั้น

ไปสู่เมืองอสูรแล้วกลับมา.

ก็เมื่อใด พวกอสูรมีกำลัง เมื่อนั้น พวกนาคก็ล่าถอยไปร่วมกับพวก

ครุฑ รบในแนวที่ ๒. แม้ในครุฑเป็นต้นกันอย่างนี้. แต่เมื่อใดพวกอสูร

เหยียบย่ำที่ทั้ง ๕ แห่งนั้นได้ เมื่อนั้น ๕ กองพล ล่าถอยลงมารวมเป็นอันเดียว

กัน ทีนั้นมหาราชทั้ง ๔ จึงไปกราบทูลความเป็นไปแก่ท้าวสักกะ. ท้าวสกักะ

ฟังคำกราบทูลของมหาราชนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นเวชยันตรถ ๑๕๐ โยชน์ออก

ไปเอง หรือส่งพระโอรสองค์หนึ่งไป. ก็แลในเวลานั้น ท้าวสักกะผู้ต้องการ

จะส่งพระโอรสไป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนพ่อสุวีระ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

บทว่า เอว ภทฺทนฺตวาติ โข ความว่า (สุวีรเทวบุตรกล่าวว่า)

ได้พระเจ้าข้า ดังนี้แล. บทว่า ปมาท อาปาเทสิ แปลว่า ได้ทำความ

ประมาท. อธิบายว่า สุวีรเทวบุตรมีนางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม ลงสู่ถนนใหญ่

สำเร็จด้วยทองยาว ๖๐ โยชน์ เที่ยวเล่นนักษัตรอยู่ในสวนนันทนวันเป็นต้น.

บทว่า อนุฏฺห แปลว่า ไม่ขยัน. บทว่า อวายาม แปลว่า ไม่พยายาม.

บทว่า อลสฺวาย ตัดบทว่า อลโส อย แปลว่า นี้ เกียจคร้าน. บทว่า

น จ กิจฺจานิ การเย แปลว่า ไม่กระทำกิจอะไร ๆ. บทว่า สพฺพกาม-

สมิทฺธสฺส แปลว่า พึงเป็นผู้สำเร็จด้วยกามคุณทั้งปวง. บทว่า ตมฺเม สกฺก

วร ทิส ความว่า สุวีรเทวบุตรกล่าวว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐสุดของ

พวกเทวะ โปรดแจ้ง คือ บอกกล่าวซึ่งสิ่งประเสริฐ คือฐานะอันสูงสุด โอกาส

นั้นแก่ข้าพเจ้า. บทว่า นิพฺพานสฺส หิ โส มคฺโค ความว่า ทางแห่ง

นิพพาน ชื่อว่า ฐานะที่ไม่ทำกรรมเป็นอยู่.

จบอรรถกถาสุวีรสูตรที่ ๑

๒. สุสิมสูตร

การได้ความสุขเพราะความหมั่น

[๘๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย

มีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น

ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสเรียกสุสิมเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูร

เหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สุสิมเทพบุตรรับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุสิมเทพบุตร

มาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไป

ป้องกันพวกอสูรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตร

รับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้

แล้วมัวประมาทเสีย.

[๘๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดา

ตรัสกะสุสิมเทพบุตรด้วยคาถาว่า

บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม แต่

ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด ดูก่อนสุสิมะ

เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง

ณ ที่นั้นด้วยเถิด.

[๘๕๘] สุสิมเทพบุตรทูลว่า

บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น

และไม่ใช้ใคร ๆ ไห้กระทำกิจทั้งหลาย

อีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอก

ฐานะอันประเสริฐนั้นแก่ข้าพระองค์.

[๘๕๙] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น

ถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุสิมะ เจ้าจงไป

ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น

ด้วยเถิด.

[๘๖๐] สุสิมเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่า

เทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพึงได้

ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่

ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอก

ความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ

แห้งใจ ไม่มีความคับแค้นแก่ข้าพระองค์

เถิด.

[๘๖๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำ

การงาน ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ย่อม

ยังชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่ง

นิพพาน สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และ

จงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

[๘๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น

อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ

เป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงพรรณนาคุณแห่งความเพียร คือ

ความหมั่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยอันเรากล่าวชอบแล้ว

อย่างนี้ พึงหมั่นเพียร พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้

มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้ง

ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

อรรถกถาสุสิมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตร ที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สุสิม คือ บุตรองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ ในระหว่างบุตรพันองค์

ของท้าวสักกะ.

จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๒

๓. ธชัคคสูตร

อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย

[๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียก

เทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี

ความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดา

ผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่า

เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธง

ของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า

เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาด

สะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่าน

ไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของ

ท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่

ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น

ก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่าน

พึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของ

ท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง

สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็น

จอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของ

ท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี

ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น พึงหายไปได้บ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ

ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่.

[๘๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี

พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี

ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่

ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้

ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอ

ตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขึ้นพองสยองเกล้า

ก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึง

ตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บุคคล

พึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตน

อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะคน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า

เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึง

พระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม

เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษ

บุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะ

ที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า

เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่ง

อะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ

ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป.

[๘๖๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิต

นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่

ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง

เปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด

ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอ

ทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญ

ที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอ

ทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออก

จากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว

ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอัน

นำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง

ดีแล้ว ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระ-

สงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึก

ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์

อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี

ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

อรรถกถาธชัคคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง. บทว่า

ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว ๑๕๐ โยชน์

ตอนท้ายรถนั้น ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ฝากถึงหัวรถ

๕๐ โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น ๒ เท่า กล่าวว่า ยาว ๓๐๐

โยชน์บ้าง. ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด ๓ โยชน์

ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือ

ไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น ๒๕๐ โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้ว

คล้ายดุริยางค์ทั้ง ๕ ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น. ถามว่า เพราะ

เหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืน

อยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว.

บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้น มีผิวพรรณเหมือน

กับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ ๒. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน ก็แล

ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ ๓ ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ ๔. บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้

พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มีความหนีไปเป็น

ธรรมดา.

บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์

วิสุทธิมรรค บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคค-

ปริตนี้. อานุภาพของปริตรใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือ ในแสนโกฏิจักรวาล.

จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้. จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใส

แล้วนึกถึงปริตรนี้ย่อมไดที่พึ่งแม้ในอากาศ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปีเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่ง

ตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึง

กล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตาย จึงกล่าวว่า ธชัคคปริตร

ช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ ๒ ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที.

คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.

จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓

๔. เวปจิตติสูตร

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรม

[๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ

[๘๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน

พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะ

จอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ใน

สำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าวสักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

ชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความระหว่าง

เทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึงปราชัยไซร้ ท่าน

ทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ แล้ว

พึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสงความ

ครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้จับ

ท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายัง

สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา.

[๘๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติ

จอมอสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะ

จอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย

มิใช่ของสัตบุรุษ.

[๘๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์

ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะมฆวาฬ พระองค์

ได้ทรงสดับถ้อยคำอันหยาบคาย เฉพาะ

หน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง

อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะ

ไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า.

[๘๗๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของ

ท้าวเวปจิตติได้ เพราะความกลัวหรือ

เพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา

ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคบพาลเล่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

[๘๗๒] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

คนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่งกำเริบ

เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกำราบคนพาลด้วย

อาชญาอย่างรุนแรง.

[๘๗๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ

สงบระงับได้ เราเห็นว่าการสงบระงับได้

ของผู้นั้นแล เป็นการกำราบคนพาลละ.

[๘๗๔] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็น

โทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาล

ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น

ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมี

ปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่ง

ข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.

[๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้น

ต่อเราเพราะความกลัวหรือหาไม่ก็ตามที

ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น

อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใด

แลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนผู้ทุรพล

ไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คน

ทุรพลจำต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง

คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าว

โต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึงธรรมคุ้มครองแล้วได้

เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก

จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้

ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะ

สงความซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่น

โกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้น

ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย

คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ไม่ฉลาด

ในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์

ของทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคน

อื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้.

[๘๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น

เข้าไปอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย

ความเป็นอิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังพรรณนาคุณของขันติ และโสรัจจะ

ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าว

ชอบแล้วเช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

อรรถกถาเวปจิตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเวปจิตติสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า เวปจิตฺต ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นหัวหน้าของพวกอสูร. บทว่า

เยน สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า น แปลว่า นั้น . บทว่า กณฺปญฺเจเมหิ

ความว่า ที่มัด ๕ แห่ง คือที่มือ ๒ ที่เท้า ๒ และที่คอ ๑ ก็เครื่องมัดนั้นย่อมมา

สู่คลองจักษุ คือ ปิดกั้นอิริยาบถเหมือนใยบัว และเหมือนใยแมลงมุม. ก็ถูก

เขามัดด้วยเครื่องมัดเหล่านั้นไว้ด้วยจิต ก็ย่อมหลุดด้วยจิต. บทว่า อกฺโกสติ

ความว่า เขาย่อมด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ เหล่านั้นว่า เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นพาล

เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็น

สัตว์ดิรัจฉาน เจ้าไม่มีสุคติ เจ้าหวังแต่ทุคติเท่านั้น. บทว่า ปริภาสติ ความว่า

กล่าวคำเป็นต้นเหล่านี้ ขู่ว่า ดูก่อนเฒ่าสักกะ ท่านจักชนะทุกเวลาไม่ได้

เมื่อใดพวกอสูรจักชนะ. เมื่อนั้นเราจะมัดท่านอย่างนี้บ้าง จักให้นอนที่ประตูของ

แดนอสูรแล้วตี. ท้าวสักกะมีชัยชนะแล้ว ก็ใม่ใส่ใจคำของจอมอสูรนั้น. ก็แล

มีการรับของอย่างใหญ่ท้าวสักกะฉุดที่หัวของจอมอสูรนั้น เข้าไปสู่เทวสภาชื่อ

สุธัมมาและกลับออกมา. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มาตลีเทพบุตรพิจารณาว่า

ท้าวสักกะนี้อดทนต่อคำหยาบเหล่านี้ เพราะความกลัวหรือ หรือว่า เพราะเป็น

ผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ จึงทูลแล้ว.

บทว่า ทุพฺพเลฺยน แปลว่า ด้วยความอ่อนแอ. บทว่า ปฏิสยุเช

แปลว่า จะพึงสมคบ คือจะพึงคลุกคลี. บทว่า ปภิชฺเชยฺยุ แปลว่า จะพึง

ร้าวราน. บาลีว่า ปภุชฺเชยฺย บ้าง. บทว่า ปร แปลว่า ข้าศึก. บทว่า

โย สโต อุปสมฺมติ ความว่า ผู้ใดมีสติเข้าไประงับ อธิบายว่า เราเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

ระงับ คือห้ามคนพาลนั้น. บทว่า ยทา น มญฺติ ความว่า สำคัญโทษ

นั้น เพราะเหตุใด. บทว่า อชฺฌารูหติ แปลว่า กดขี่. บทว่า โคว ภิยฺโย

ปลายิน ความว่า พวกวัวย่นดูวัว ๒ ตัวกำลังชนกันในฝูงเพียงที่ตัวหนึ่งยัง

ไม่หนี แต่เมื่อใดตัวหนึ่งหนี เมื่อนั้นพวกวัวทั้งปวง ก็ช่วยกันไล่กวดวัวตัวที่

หนีนั้นยิ่งขึ้น ฉันใด คนโง่ก็ข่มทับผู้อดทน ฉันนั้น. บทว่า สทตฺถปรมา

แปลว่า มีประโยชน์ตนเป็นอย่างยิ่ง. บทว่า ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ

ความว่า ในประโยชน์ที่มีประโยชน์ของตนเป็นอย่างยิ่งนั้น ประโยชน์ที่ยิ่งกว่า

ขันติไม่มี. บทว่า ตมาหุ ปรม ขนฺตึ ความว่า ผู้ใดมีกำลังย่อมอดทนได้

ท่านกล่าวขัตินั้นของผู้นั้นว่า เป็นอย่างยิ่ง. กำลังที่เกิดจากความไม่รู้ ชื่อ

กำลังของคนโง่. กำลังของคนโง่นั้น เป็นกำลังของผู้ใด กำลังนั้นไม่เป็นกำลัง

ท่านไม่กล่าว คือ บอกแสดงกำลังนั้นว่า เป็นกำลัง. บทว่า ธมฺมคุตฺตสฺส

ความว่า ผู้อันธรรมรักษาแล้ว หรือผู้รักษาธรรม. บทว่า ปฏิวตฺตา แปลว่า

ผู้กล่าวโต้แย้ง. หรือว่า พึงกล่าวโต้แย้งว่า อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม. แต่ว่า

ชื่อว่า ผู้สามารถจะยังผู้ตั้งอยู่ในธรรมไม่หวั่นไหวไม่มี. บทว่า ตสฺเสว เตน

ปาปิโย ความว่า ความชั่วของบุคคลนั้นย่อมมี เพราะความโกรธนั้น. ถามว่า

เป็นความชั่วของใคร. ตอบว่า ของคนผู้โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ. บทว่า

ติกิจฺฉนฺตาน เป็นพหุวจนะใช้ในเอกวจนะ. อธิบายว่า รักษาประโยชน์ไว้ได้.

บทว่า ชนา มญฺนฺติ ความว่า ปุถุชนผู้โง่เขลาย่อมสำคัญว่า คนโง่เขลานี้

ย่อมสำคัญบุคคลผู้แก้ไขยังประโยชน์ ทั้ง ๒ ฝ่าย คือของตนและของผู้อื่นเห็น

ปานนี้ ให้สำเร็จ. บทว่า ธมฺมสฺอโกวิทา ความว่า ไม่ฉลาดในอริยสัจ ๔.

บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้. บทว่า โข ต เป็นเพียงนิบาต.

จบอรรถกถาเวปจิตติสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

๕. สุภาสิตชยสูตร

ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต

[๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

[๘๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอม

เทวดาว่า แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด.

ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะ

กันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกัน

ตั้งผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิตของพวกเรา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าว

สักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูร

ว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.

[๘๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวป-

จิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า

พวกคนพาลไม่มีผู้กำราบ มันยิ่ง

กำเริบ ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา พึง

กำราบคนพาลเสียด้วยอาญาอันรุนแรง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่า

อสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับ

นั้นแลท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา

ท่านจงกล่าวคาถาเถิด.

[๘๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าว-

สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถามนี้ว่า

ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ

ระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการระงับไว้ได้ของ

ผู้นั้น เป็นการกำราบคนพาล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวก

เทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล

ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่าน

จงตรัสคาถาเถิด.

[๘๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ

จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า

ดูก่อนท้าววาสวะ เราเห็นโทษของ

การอดกลั้นนี้แหละ เพราะว่าเมื่อใดคน

พาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเรา

เพราะความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทราม

ปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้นเหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัว

แพ้ที่หนีไป ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่า

อสูรพากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล

ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจง

ตรัสคาถาเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

[๘๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้

ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า

บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้น

ต่อเราเพราะความกลัว หรือหาไม่ก็ตามที

ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น

อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใด

แลเป็นคนมีกำลังอดกลั้นต่อคนทุรพลไว้

ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้นบัณฑิตทั้ง

หลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพล

ย่อมอดทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลาย

เรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่างคนพาลว่ามิ

ใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มี

กำลังอันธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะ

ความโกรธนั้น โทษอันลามกจึงมีแก่ผู้ที่

โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธ

ตอบผู้ที่โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงคราม

ซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธ

แล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่า

ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้ง

ฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ไม่ฉลาดในธรรม

ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของทั้ง

สองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็น

คนโง่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ แล้ว

พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง.

[๘๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดา

และพวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล

แต่คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา

เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าว

สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วย

อาชญา ไม่เกี่ยวเกาะด้วยศาสตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น

ความไม่แก่งแย่ง ความไม่ทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัส

คำสุภาษิต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าว

สักกะจอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาสุภาสิตชยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุภาสิตชยสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุรินฺท เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ ด้วยความเป็น

ผู้ฉลาด. ได้ยินว่า จอมอสูรนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การกล่าวแก้การถือของผู้

อื่นก่อน เป็นการหนัก แต่การกล่าวคล้อยตามคำของผู้อื่นในภายหลัง สบาย.

บทว่า ปุพฺพเทวา ความว่า ผู้อยู่มานานในเทวโลก ย่อมเป็นเจ้าของก่อน.

อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวคำที่มาตามประเพณีของท่านก่อน. บทว่า

อทณฺฑาวจรา ความว่า เว้นจากการถือตะบอง. อธิบายว่า ไม่มี เช่นใน

คำนี้ว่า พึงถือตะบองหรือมีด.

จบอรรถกถาสุภาสิตชยสูตรที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

๖. กุลาวกสูตร

ท้าวสักกะชนะอสูรโดยชอบธรรม

[๘๘๔] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างพวกเทวดา

และอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงความคราวนั้น พวก

อสูรเป็นฝ่ายมีชัย พวกเทวดาเป็นฝ่ายปราชัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดา

ผู้พ่ายแพ้ต่างพากันหนีไปทางทิศอุดร พวกอสูรได้ชวนกันไล่พวกเทวดาเหล่า

นั้นไปแล้ว.

[๘๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาได้

ตรัสกะมาตลีสังคาหกเทพบุตรด้วยคาถาว่า

ดูก่อนมา เธอจงหลีกเลี่ยงรังนก

ในป่าไม่งิ้ว โดยบ่ายหน้างอนรถกลับ ถึง

เราจะต้องเสียสละชีวิตในพวกอสูรก็ตามที

นกเหล่านี้อย่าได้ปราศจากรังเสียเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรรับพระดำรัสของท้าวสักกะ

จอมเทวดาว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว ให้รถซึ่งเทียมด้วยม้า

อาชาไนยพันตัวหันหลังกลับ.

[๘๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกอสูรคิดว่า บัดนี้รถ

ซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนยพันตัวของท้าวสักกะจอมเทวดาหันกลับมาแล้ว พวก

เทวดาจักทำสงความกับพวกอสูรแม้เป็นครั้งที่สองแล พวกอสูรต่างตกใจกลับ

เข้าไปสู่อสูรบุรี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะโดยธรรมแท้ ๆ ได้เป็นของท้าว-

สักกะจอมเทวดาแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

อรรถกถากุลาวกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลาวกสูตร ที่ ๖ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ยินว่า เสียงรถ เสียงม้าอาชาไนย

เสียงธง เหมือนเสียงฟ้าผ่ารอบด้านมีแก่ท้าวสักกะผู้บ่ายหน้าเข้าป่าไม้งิ้วนั้น

พวกครุฑผู้มีกำลังในป่างิ้วนั้น ได้ยินเสียงนั้นแล้ว ก็พากันหนี พวกครุฑที่

แก่เฒ่า ที่หมดแรงเพราะโรค และลูกนกที่ยังไม่เกิดขนปีก ไม่อาจจะหนีได้

กลัวตายตกใจร้องกันระเบ็งเซ็งแซ่. ท้าวสักกะได้ยินเสียงนั้นแล้วจึงตรัสถาม

สารถีมาตลีว่า เสียงอะไรพ่อ. สารถีมาตลีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พวกครุฑ

ได้ยินเสียงรถของพระองค์ ไม่อาจจะหนีได้จึงร้อง. ท้าวสักกะได้ฟังคำนั้นแล้ว

มีพระทัยประกอบด้วยพระกรุณา จึงตรัส.

บทว่า อีสามุเขน คือ ทางงอนของรถ. รถจะไม่บดขยี้รังนกทาง

งอน ฉันใด ท่านจงหลีกรังนกนั้นด้วยทางงอนรถ ฉันนั้น. เพราะว่า รถที่

เกิดด้วยบุญเป็นปัจจัยมุ่งหน้าไปที่ภูเขาจักรวาลก็ดี ที่ภูเขาสิเนรุก็ดี ย่อมไม่ขัด

ข้อง ย่อมไปด้วยอำนาจการไปในอากาศ. ถ้าจะพึงไปทางป่างิ้วนั้น เมื่อเกวียน

ใหญ่ไปกลางป่างาก็ดี กลางป่าลุหุงก็ดี ป่าทั้งหมดก็ถูกเหยียบย่ำแหลกฉันใด

แม้ป่างิ้วนั้น ก็พึงเป็น ฉันนั้น.

จบอรรถกถกุลาวกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

๗. นทุพภิยสูตร

ว่าด้วยการไม่ควรประทุษร้าย

[๘๘๗] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา

ผู้หลีกเร้นออกอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความตรึกนึกคิดขึ้นว่า เราไม่ควรประทุษร้าย

เเม้แก่ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติ

จอมอสูร ได้ทราบความดำริของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยใจของตนแล้ว เข้า

ไปหาท้าวสักกะจอมเทวดาจนถึงที่ประทับ .

[๘๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ทอดพระเนตร

เห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรผู้มาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วจึงตรัสกะท้าวเวปจิตติ

จอมอสูรว่า หยุดเถอะ ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับเสียแล้ว.

ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิด

เมื่อก่อนของท่านเสียแล้วหรือ.

ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ก็ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้าย

ต่อเรา.

[๘๘๙] ท้าวเวปจิตติตรัสคาถาว่า

แน่ะท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ

บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะเจ้า บาป

ของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร และบาปของ

คนอกตัญญู จงถูกต้องผู้ที่ประทุษร้าย

ต่อท่าน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

อรรถกถานทุพภิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนทุพภิยสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะนี้ดำริว่า เราไม่ควรประทุษร้าย

แม้แก่ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา. คิดต่อไปว่า ชื่อว่า ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อท้าวเวปจิตตินั้น

นอกจากเราไม่มี เราจักทดลองดูท้าวเวปจิตตินั้นก่อน เขาเห็นเราแล้วจะ

ประทุษร้าย หรือไม่ประทุษร้าย จึงเข้าไปหา. บทว่า ติฏฺ เวปจิตฺติ

คหิโตสิ ความว่า ท้าวสักกะตรัสร่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่านจงหยุด ณ

ที่นี้เถิด ท่านถูกเราจับแล้ว. พร้อมกับดำรัสของท้าวสักกะนั้น ท้าวเวปจิตติ

ก็ถูกผูกมัด โดยผูกมัดมีคอเป็นที่ ๕. บทว่า สปสฺสุ จ เม ความว่า

ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายในเรา.

บทว่า ย มุสา ภณโต ปาป ความว่า ท่านกล่าวหมายถึงบาปของพระเจ้า

เจติยราชในปฐมกัปในกัปนี้. บทว่า อริยูปวาทิโน ได้แก่ บาปดุจบาปของ

ภิกษุโกกาลิกะ. บทว่า มิตฺตทฺทุโน จ ย ปาป ได้แก่บาปของผู้มีจิต

ประทุษร้ายในพระมหาสัตว์ ในมหากปิชาดก. บทว่า อกตญฺญุโน ได้แก่

บาปของคนอกตัญญู เช่นเทวทัต. นัยว่า ในกัปนี้ มี ๔ มหากัป.

จบอรรถกถานทุพภิยสูตรที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

๘. วิโรจนอสุรินทสูตร

จอมอสูรกับท้าวสักกะแสดงคำสุภาษิต

[๘๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

กำลังเสด็จเข้าที่พักกลางวัน ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าววิโรจนะ-

จอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนพิงบานพระทวารองค์ละข้าง.

[๘๙๑] ลำดับนั้นเเล ท้าววิโรจนะจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ ในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-

โยชน์สำเร็จ ประโยชน์งดงามอยู่ที่ความ

สำเร็จ นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.

[๘๙๒] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า

เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประ-

โยชน์สำเร็จ ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่

ที่ความสำเร็จ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี.

[๘๙๓] ท้าววิโรจนะจอมอสูรตรัสว่า

สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการใน

สิ่งนั้น ๆ ตามควร ส่วนการบริโภคของ

สรรพสัตว์มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง

ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ

นี้เป็นถ้อยคำของวิโรจนะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

[๘๙๔] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า

สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการใน

สิ่งนั้น ๆ ตามควร ส่วนการบริโภคของ

สรรพสัตว์ มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง

ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ

ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี.

อรรถกถาวิโรจนอสุรินทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อฏฺสุ ได้แก่ ยืนดุจรูปคนเฝ้าประตู. บทว่า นิปฺปทา

เเปลว่า ความสำเร็จ. ท่านอธิบายว่า เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์

จะสำเร็จทีเดียว. คาถาที่ ๒ เป็นของท้าวสักกะ. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ขนฺตฺยา ภิยฺโย ความว่า บรรดาประโยชน์ทั้งหลายงามอยู่ที่ความสำเร็จ

ไม่มีประโยชน์ยิ่งกว่าขันติ. บทว่า อตฺถชาตา ได้แก่ มีกิจเกิดแล้ว.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า สัตว์ ที่ไม่มีกิจเกิดแล้ว แม้กระทั่งสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก

เป็นต้น ย่อมไม่มี. แม้เพียงเดินไปข้างนี้ ข้างโน้น ก็เป็นกิจเหมือนกัน .

บทว่า สโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณิน แปลว่า การบริโภค

ของสัตว์ทั้งปวงมีการปรุงเป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า เพราะข้าวค้างคืนเป็นต้น

ไม่ควรบริโภค. แต่ข้าวเหล่านั้น อุ่นให้ร้อน กระจายออกปรุงด้วยเนยใส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

น้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น เป็นของควรบริโภค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สโยคปรมาเตฺวว สมฺโภคา สพฺพปาณิน ดังนี้ . บทว่า นิปฺผนฺนโสภิโน

อตฺถา ความว่า ชื่อว่าประโยชน์เหล่านี้สำเร็จเเล้ว จึงงาม. คาถาที่ ๔

ก็เป็นของท้าวสักกะอีก แม้ในคาถาที่ ๔ นั้น พึงทราบความโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาวิดรจนอสุรินทสูตรที่ ๘

๙. อารัญญกสูตร

ว่าด้วยกลิ่นของผู้มีศีล

[๘๙๕] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมาก

รูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยใบไม้ ในราวป่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าวเวปจิตติจอมอสูร เข้าไปหาฤาษีผู้มีศีล

มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่.

[๘๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร

สวมรองเท้าหนาหลายชั้น สะพายดาบ มีผู้กั้นร่มให้ เข้าไปสู่อาศรมทางทวาร

อันเลิศ เข้าไปใกล้ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ครั้งนั้นแลท้าวสักกะจอมเทวดาทรงถอดฉลองพระบาท ประทาน

พระขรรค์ ให้แก่ผู้อื่นรับสั่งให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางทวารเข้า

ประทับยืน ประคองอัญชลีนมัสการฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นอยู่ใต้ลม.

[๘๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น แลฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม

เหล่านั้นได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมา

นาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม ดูก่อน

ท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจาก

ที่นี้ ดูก่อนท้าวเทวราช กลิ่นของพวก

ฤาษีไม่สะอาด.

[๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรต

มานาน ย่อมจะฟุ้งจากกายไปตามลม

ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่น

นี้เหมือนกับบุคคลนุ่งหวังระเบียบดอกไม้

อันวิจิตร งดงาม บนศีรษะ ฉะนั้น

ก็พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ

ผู้มีศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่.

อรรถกถาอารัญญกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ความว่า ฤาษีทั้งหลายอาศัยอยู่ ใน

บรรณศาลา สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น

ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ในหิมวันตประเทศ. เทพทั้งสองเหล่านั้นคือ ท้าวสักกะ

จอมเทพและท้าวเวปจิตติเป็นลูกเขยพ่อตากัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็

เที่ยวไปด้วยกัน แต่ในครั้งนี้เที่ยวไปด้วยกัน. บทว่า อฏลิโย ได้แก่ รองเท้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

หนาหลายชั้น. บทว่า ขคฺค โอลคฺเคตฺวา ได้แก่ สะพายดาบ. บทว่า

ฉตฺเตน ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา

แปลว่า ห่างไม่ถึงวา. บทว่า จิรทกฺขิตาน แปลว่า ประพฤติพรตมานาน.

ฤาษีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงถอยไปเสียจากนี้ จงเว้น เสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือ

ลม. บทว่า น เหตฺถ เทวา ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ

ผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่. ท่านแสดงไว้ว่า ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่น

ของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอารัญยกสูตรที่ ๙

๑๐. สมุททกสูตร

ว่าด้วยท้าวสมพรจอมอสูรถูกสาป

[๘๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ

[๙๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ใน

กุฏีที่มุงบังด้วยใบไม้แทบฝั่งสมุทร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแล สงคราม

ระหว่างพวกเทวดากับ อสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นพากันคิดเห็นว่า พวกเทวดาตั้งอยู่ใน

ธรรม พวกอสูรไม่ตั้งอยู่ในธรรม ภัยนั้นพึงเกิดแก่พวกเราเพราะอสูรโดยแท้

อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยทานเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

[๙๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม

เหล่านั้น ได้อันตรธานไปในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร ไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าว

สมพรจอมอสูรเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้

กล่าวกะท้าวสมพรจอมอสูรด้วยคาถาว่า

พวกฤาษีมาขออภัยทานกะท้าวสมพร

การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้

โดยแต่.

[๙๐๒] ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวตอบว่า

การอภัยไม่มีแก่พวกฤาษี ผู้ชั่วช้าคบ

หาท้าวสักกะ เราให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้น

แก่พวกท่านผู้ขออภัย.

[๙๐๓] พวกฤาษีกล่าวว่า

ท่านให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวก

เราผู้ขออภัย พวกเราขอรับเอาแต่อภัย

อย่างเดียว ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด

บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น

คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว แน่ะ

พ่อ ท่านหว่านพืชลงไปไว้แล้ว ท่านจัก

ต้องเสวยผลของมัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้

สาปแช่งท้าวสมพรจอมอสูร แล้วอันตรธานหายไปในที่ตรงหน้าท้าวสมพรจอม

อสูรแล้วไปปรากฏอยู่ในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง

เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๙๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤาษี

ผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า ในคืนวันนั้น ตกใจ

หวาดหวั่นถึงสามครั้ง.

จบสมุททกสูตร

จบวรรคที่ ๑

อรรถกถาสมุททกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมุตตกสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ ความว่า พวกฤาษีอาศัยอยู่ใน

บรรณศาลา มีประการดังกล่าวแล้วบนหาดทราย มีสีเหมือนแผ่นเงินหลังมหา-

สมุทรในจักรวาล. บทว่า สิยาปิ น แก้เป็น สิสยาปิ อมฺหาก แปลว่า

แม้พึงมีแก่พวกเรา บทว่า อภยทกฺขิณ ยาเจยฺยาม ได้แก่ พึงขออภัยทาน.

นัยว่า สงความระหว่างเทวดาและอสูร โดยมากมีขึ้นที่หลังมหาสมุทร. ชัยชนะ

มิได้มีแก่พวกอสูรในทุกเวลา. พวกอสูรเป็นฝ่ายแพ้เสียหลายครั้ง.

พวกอสูรเหล่านั้น แพ้เทวดาแล้วพากันหนีไปทางอาศรมบทของพวก

ฤาษี โกรธว่า ท้าวสักกะ ปรึกษากับ พวกฤาษีเหล่านี้ ทำเราให้พินาศ โดยพวก

ท่านจับทั้งแม่ทั้งลูก. พวกอสูรจึงพากัน ทำลายหม้อน้ำดื่มและศาลาที่จงกรม

เป็นต้นในอาศรมบทนั้น. พวกฤาษีถืออาผลาจากป่ากลับมาเห็นช่วยกันทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

ให้เหมือนเดิมด้วยความลำบากอีก. แม้พวกอสูรเหล่านั้นก็ทำให้พินาศอย่างนั้น

บ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พวกฤาษีสดับว่า บัดนี้ สงความระหว่างเทวดาและ

อสูรปรากฏขึ้นดังนี้ จึงคิดอย่างนั้น. บทว่า กาม กโร ได้แก่ กระทำตาม

ความปรารถนา. บทว่า ภยสฺส อภยสฺส วา แก้เป็น ภย วา อภย วา

แปลว่า ภัย หรือ อภัย. ท่านอธิบายข้อนี้ไว้ว่า หากท่านประสงค์จะให้อภัยก็

พอให้อภัยได้ หากท่านประสงค์จะให้ภัยก็พอจะให้ภัยได้ แต่สำหรับพวกอาตมา

ท่านจงให้อภัยทานเถิดดังนี้. บทว่า ทุฏาน แปลว่า ผู้ประทุษร้ายแล้ว คือ

ผู้โกรธแล้ว. บทว่า ปวุตฺต คืออันเขาหว่านไว้ในนา. บทว่า ติกฺขตฺตุ

อุพฺพิชฺชติ ความว่า จอมอสูรบริโภคภัตรในตอนเย็นแล้วขึ้นที่นอน นอนพอ

จะงีบหลับ ก็ลุกขึ้นยืนร้องไปรอบ ๆ. เหมือนถูกหอกร้อยเล่มทิ่มแทง. ภพอสูร

หนึ่งหมื่นโยชน์ถึงความปั่นป่วนว่า นี่อะไรกัน. ลำดับนั้น พวกอสูรพากันมา

ถามจอมอสูร นี่อะไรกัน. จอมอสูรไม่พูดอะไรเลย. แม้ในยามที่สองเป็นต้น

ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพวกอสูรพากันปลอบจอมอสูรว่า อย่ากลัวเลย

มหาราชดังนี้ จนอรุณขึ้น. ตั้งแต่นั้นมา จอมอสูร ก็มีใจหวั่นไหวเกิดอาการไข้

ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จอมอสูรนั้น จึงเกิดชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า

เวปจิตติ.

จบ อรรถกถาสมุททกสูตรที่ ๑๐

จบ วรรคที่ ๑

รวมพระสูตรแห่งสักกสังยุตมี ๑๐ สูตร คือ

๑. สุวีรสูตร ๒. สุสิมสูตร ๓. ธชัคคสูตร ๔. เวปจิตติสูตร

๕. สุภาสิตชยสูตร ๖. กุลาวกสูตร ๗. นทุพภิยสูตร ๘. วิโรจนอสุรินท-

สูตร ๙. อารัญญกสูตร ๑๐. สมุททกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. ปฐมเทวสูตร

ว่าด้วยวัตรบท ๗

[๙๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ

[๙๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท

๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ จึงได้ถึงความ

เป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการ เป็นไฉน คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอด

ชีวิต ๑ เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูด

วาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต ๑ เราพึงมีใจ

ปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว

มีฝ่ามืออันชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอด

ชีวิต ๑ เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความ

โกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตร

บท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ ดังนี้ จึง

ได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ.

[๙๐๗] พระผู้มีภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ

ลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชน

ผู้เป็นบุคคล เลี้ยงมารดาบิดามีปกติประ-

พฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจา

อ่อนหวาน กล่าวคำสมานมิตรสหาย ละ-

คำส่อเสียด ประกอบในอุบายเป็นเครื่อง

กำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำ

ความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษดังนี้.

อรรถกถาปฐมเทวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปรมเทวสูตรที่ ๑ แห่งทุติยวรรค ต่อไปดังนี้ :-

บทว่า วตฺตปทานิ ได้แก่ ส่วนแห่งวัตร. บทว่า สมตฺตานิ คือ

บริบูรณ์แล้ว. บทว่า สมาทินฺนานิ คือถือเอาแล้ว. บทว่า กุเล เชฏฺา-

ปจายี ความว่า กระทำความยำเกรงผู้เป็นใหญ่ในตระกูลเป็นต้นว่า ปู่ ย่า อา

น้า ลุง ป้า. บทว่า สณฺหวาโจ ได้แก่ มีวาจาน่ารักอ่อนหวาน. บทว่า

มุตฺตาจาโค ได้แก่ เสียสละ. บทว่า ปยตปาณี ได้แก่ ล้างมือเพื่อให้ไทย

ธรรม. บทว่า โวสฺสคฺครโต ได้แก่ ยินดีในการสละ. บทว่า ยาจโยโค

ได้แก่ เป็นผู้ควรที่คนอื่นจะพึงขอ หรือว่า ผู้ประกอบด้วยการบูชานั่นแล ชื่อว่า

ยาจโยโค. บทว่า ทานสวิภาครโต ได้แก่ ยินดีแล้วในการให้และการแจก.

จบ อรรถกถาปฐมเทวสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

๒. ทุติยเทวสูตร

ว่าด้วยวัตรบท ๗

[๙๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ

[๙๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ

เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวมฆวา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ

เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อนได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ท้าวปุรินททะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ใน

กาลก่อนได้ให้ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวสักกะ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นอยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พักอาศัย

เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าววาสวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ

ย่อมทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าว-

สหัสนัยน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีนางอสุรกัญญานามว่า

สุชาเป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ท้าวสักกะจอมเทพเสียราชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะ

เหตุนั้น จึงเรียกว่า เทวานมินทะ.

[๙๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่

ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทาน

วัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการ

เป็นไฉน คือเราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต ๑ ฯลฯ ถ้าแม้ความโกรธพึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

เกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗

ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ ดังนี้ จึงได้ถึงความ

เป็นท้าวสักกะ.

[๙๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ จึงได้ตรัสดาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เทวดาชั้นดาวดึงส์กล่าวนรชนผู้เป็น

บุคคลเลี้ยงมารดาบิดา...ว่าเป็น สัปบุรุษ

ดังนี้.

อรรถกถาทุติยเทวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุทิยเทวสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สนุสฺสภูโต ได้แก่ มฆมาณพเป็นมนุษย์ในหมู่บ้านอจลคาม

แคว้นมคธ. บทว่า อาวสถ อาทาสิ ความว่า มฆมาณพได้สร้างที่พักให้แก่

มหาชนในทางสี่แพร่ง. บทว่า สหสฺสมฺปิ อตฺถาน ได้แก่เหตุแม้พันหนึ่ง.

หรือว่าเมื่อคำพูดพันคำรวมลงด้วยคนพันคน ท้าวสักกะจอมเทพทั้งอยู่ในบท

เดียววินิจฉัยว่า นี้ ประโยชน์ของชนนี้ นี้ประโยชน์ของชนนี้.

จบ อรรถกถาทุติยเทวสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

๓. ตติยเทวสูตร

ว่าด้วยวัตรบท ๗

[๙๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผ้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่า

มหาวัน กรุงเวสาลี.

ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นแล้วทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อประทับนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงเห็นท้าวสักกะ

จอมเทพหรือ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้ที่พระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาลี อาตมาเห็นท้าวสักกะ

จอมเทพ ถวายพร.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นนั้น จักเป็นรูป

เปรียบของท้าวสักกะเป็นแน่ เพราะว่าท้าวสักกะจอมเทพยากที่ใคร ๆ จะเห็น

ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

[๙๑๓] พ. ดูก่อนมหาลี อาตมารู้จักท้าวสักกะด้วย รู้ธรรมเครื่อง

กระทำให้เป็นท้าวสักกะด้วย และรู้ถึงธรรมที่ท้าวสักกะได้ถึงความเป็นท้าว-

สักกะเพราะเป็นผู้สมาทานธรรมนั้นด้วย ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อ

ยังเป็นมนุษย์ในกาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ท้าวมฆวา ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน

ได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวปุรินททะ ดูก่อนมหาลี

ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานโดยเคารพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวสักกะ. ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยัง

เป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าว

วาสวะ ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดย

ครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์ ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะ

จอมเทพทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชาเป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า

ท้าวสุชัมบดี ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของ

ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เทวานมินทะ.

[๙๑๔] ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ใน

กาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตร

บท ๗ ประการ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการ เป็นไฉน

คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต ๑ เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่

ในตระกูลตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงพูด

วาจาส่อเสียดตลอดชีวิต ๑ เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่

ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควร

แก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต

๑ เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัด

มันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูก่อนมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์

อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทาน

วัตรบท ๗ ประการดังนี้ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ.

[๙๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิต

นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวนรชนผู้

เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติ

อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจา

อ่อนหวาน กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย

ละคำส่อเสียด ประกอบในอุบายเป็นเครื่อง

กำจัดความตระหนิ มีวาจาสัตย์ ครอบงำ

ความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ

ดังนี้.

อรรถกถาตติยเทวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยเทวสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้ามหาลีลิจฉวีคิดว่า ชนทั้งหลายพูด

กันว่า ท้าวสักกเทวราช เราจักทูลถามความนี้กะพระทศพลว่า ท้าวสักกะมีอยู่

หรือหนอ ผู้ใดเคยเห็นท้าวสักกะนั้นดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ตญฺจ ปชานามิ เป็นเอกพจน์ลงในพหุพจน์. อธิบายว่า เรารู้ธรรม

ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย. ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ ในบ้าน

อจลคามแคว้นมคธในอัตภาพก่อน เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด. มฆมาณพนั้น

ได้มีจริยาเหมือนจริยาของพระโพธิสัตว์ เขาพาคน ๓๓ คนไปทำกรรมดี.

วันหนึ่ง เขาใคร่ครวญด้วยปัญญาของตน ขนหยากเยื่อออกทั้งสองข้าง ในที่

ที่มหาชนประชุมกันท่ามกลางบ้าน แล้วได้ทำที่นั้นให้เป็นที่น่ารื่นรมย์. เขา

สร้างมณฑป ณ ที่นั้นอีก. เมื่อกาลล่วงไป เขาได้สร้างศาลาอีก. อนึ่ง เขาออก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

จากบ้านเที่ยวไป คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ สามคาวุตบ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง ได้ทำ

ที่ไม่เรียบให้เรียบกับสหายเหล่านั้น.

สหายทั้งหมดเหล่านั้น ร่วมใจกันสร้างสะพานในที่ที่ควรมีสะพาน

ในที่นั้น ๆ สร้างมณฑปเป็นต้นในที่ที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณี

สวนดอกไม้เป็นต้น ได้กระทำบุญมาก. มฆะบำเพ็ญวัตรบทเจ็ด ครั้นถึง

แก่กรรมได้ไปเกิดบนภพดาวดึงส์กับพวกสหาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ

เหตุทั้งปวงนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ท้าวสักกะได้ถึงความเป็น

ท้าวสักกะ เพราะถือธรรมเหล่าใด เรารู้ธรรมเหล่านั้นด้วย. นี้เป็นสังเขปกถา

ในการถึงความเป็นท้าวสักกะของท้าวสักกะ. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้

แล้ว ในสักกปัญหาวรรณนา อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี.

จบอรรถกถาตติยเทวสูตรที่ ๓

๔. ทฬิททสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ขัดสน

[๙๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.

[๙๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาเเล้ว กรุงราชคฤห์นี้แล ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็นมนุษย์

ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ครั้นเขายึดมั่นศรัทธา ศีล

สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายไป

ได้อุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตร

นั้น รุ่งเรื่องล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ.

[๙๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดา

ชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่า-

อัศจรรย์นัก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อ

ยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์

ยากไร้ เมื่อแตกกายตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหาย

ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แล เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน

ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง

ประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัย

ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลง จึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึง

ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรื่องล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมี

และยศ.

[๙๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อ

จะทรงพลอยยินดีกะพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ในพระตถาคต มีศีลงามที่พระอริยะเจ้า

พอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย

เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต

ของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ

เหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง

คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง

ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ

เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด.

อรรถกถาทฬิททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทฬิททสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า มนุสฺสทฬิทฺโท คือ คนขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ

คือ ถึงความเป็นมนุษย์ควรกรุณา. บทว่า มนุสฺสวราโก คือเป็นคนเลว.

บทว่า ตตฺร แปลว่า ในที่นั้น . หรือในความรุ่งเรื่องนั้น. บทว่า อุชฺฌายนฺติ

แปลว่า เพ่งโทษ ได้แก่ คิดเเต่ความลามก. บทว่า ขิยฺยนฺติ คือประกาศ.

บทว่า วิปาเจนฺติ คือพูดเปิดเผยในที่นั้น ๆ. ในบทนี้ว่า เอโส โข มาริส

มีอนุปุพพีกถาดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ ได้เป็น

พระเจ้ากรุงพาราณสี ในแคว้นกาสี ทรงกระทำประทักษิณพระนคร ซึ่งยกธงชัย

และธงแผ่นผ้าขึ้น ประดับด้วยเครื่องประดับพระนครอย่างดี ด้วยสิริสมบัติ

ของพระองค์ อันฝูงชนจ้องมองเป็นตาเดียวกัน. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า

องค์หนึ่ง มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ถึงพร้อมด้วยการฝึกตนอย่างดี มาจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

เขาคันธมาทน์ เที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองนั้น. ฝ่ายมหาชน ละความยำเกรง

พระราชา มองดูพระปัจเจกพุทธเจ้าอย่างเดียว. พระราชาทรงดำริว่า เดี๋ยวนี้

ในหมู่ชนนี้ แม้คนหนึ่ง ก็ไม่มองดูเรา นี่เรื่องอะไรกัน เมื่อมองดู ก็เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า. พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้นก็ชราอายุมาก. แม้จีวรของทาน

ก็คร่ำคร่า. เส้นด้ายห้อยย้อยจากที่นั้น ๆ. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดสองอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. เพียงจิต

เลื่อมใส หรือเพียงยกมือไหว้ก็ไม่มี. พระราชานั้น ทรงโกรธว่า ผู้นี้เห็นจะ

เป็นนักบวชไม่มองดูเราด้วยความริษยา ทรงดำริว่า นี่ใครห่มผ้าขี้เรือนแล้ว

ทรงถ่มเขฬะเสด็จหลีกไป. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระราชา จึงไปเกิดใน

มหานรก ด้วยวิบากที่เหลือ มาสู่มนุษยโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงที่

ยากจนข้นแค้น ในกรุงราชคฤห์. ตั้งแต่เวลาที่ถือปฏิสนธิ หญิงนั้น ไม่ได้

อาหารเต็มท้องเพียงน้ำข้าว. เมื่อทารกนั้นอยู่ในห้อง หูและจมูกแหว่งวิ่น.

เมื่อเด็กออกจากท้องมารดา เป็นโรคเรื้อน มีผมหงอกขาวโพลน. ชื่อว่า

มารดาบิดาเป็นผู้กระกำลำบาก. ด้วยเหตุนั้น มารดาของทารกนั้น ได้นำ

น้ำข้าวบ้าง น้ำบ้างให้แก่ทารกตลอดเวลาที่ไม่สามารถจะถือกระเบื้องเที่ยวไปได้

ก็เมื่อถึงคราวที่ทารกนั้น สามารถเที่ยวขอทานได้ มารดา จึงมอบกระเบื้อง

ให้ในมือกล่าวว่า เจ้าจักรับผิดชอบตามกรรมของตนแล้วหลีกไป. ตั้งแต่

นั้นมา เนื้อของทารกนั้นขาดไปจากตัวทั่วทั้งร่างกาย. น้ำเหลืองก็ไหล.

ได้รับเวทนาหนัก. อาศัยตรอกนอนร้องโหยหวนตลอดคืน. ด้วยเสียงปริเทวนา

น่าสงสารของเด็กนั้น พวกมนุษย์ในทุกถนนไม่ได้นอนตลอดคืน. ตั้งแต่

นั้นมา เขาจึงมีชื่อว่า สุปปพุทธะ เพราะอรรถว่า ทำคนนอนสบายให้ตื่น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

ครั้นสมัยต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงราชคฤห์

ชาวเมืองนิมนต์พระศาสดาสร้างมหามณฑป ท่ามกลางพระนคร ได้พากัน

ถวายทาน. แม้นายสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อนก็ได้ไปนั่ง ณ ที่ใกล้โรงทาน

ชาวเมืองอังคาสพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉัน

อันประณีต ได้ให้ข้าวยาคู และภัตรแก่สุปปพุทธะบ้าง. เมื่อสัปปพุทธะบริโภค

โภชนะอันประณีตแล้ว ก็มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. ในที่สุดภัตกิจ พระศาสดา

ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ทรงแสดงสัจธรรม. นายสุปปพุทธะนั่งในที่ที่ตน

นั่งนั้น เมื่อจบเทศนาส่งญาณไปตามกระแสของเทศนา ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

พระศาสดาทรงลุกขึ้นเสด็จไปสู่พระวิหาร. แม้นายสุปปพุทธะนั้น ก็สวมรองเท้า

มีเชิงถือกระเบื้อง ยันไม้เท้าไปที่อยู่ของตน ถูกแม่โคขวิดตาย ไปบังเกิดใน

เทวโลกในวาระจิตที่สอง ดุจทำลายหม้อดินแล้วได้หม้อทองคำอาศัยบุญของตน

จึงรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่น. ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดงถึงเหตุนั้น

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอโส มาริส ดังนี้. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธา

อันมาแล้วโดยมรรค. บทว่า สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณ ได้แก่ กัลยาณศีล

ที่ท่านกล่าวว่า อริยกันตศีลของพระอริยสาวก. ในลำดับนั้น ศีลแม้ข้อหนึ่ง

ของพระอริยสาวก ชื้อว่า ไม่น่าใคร่ ย่อมไม่มี ก็จริง ถึงดังนั้น ในความ

นี่ท่านประสงค์เอาเบญจศีลที่ไม่ละแม้ในภพต่าง ๆ.

จบอรรถกถาทฬิททสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

๕. รามเณยยกสูตร

ว่าด้วยภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์

[๙๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้วทรงถวายบังคมแล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับ

เรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สถานที่เช่นไรหนอ เป็น

ภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์.

[๙๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

อารามอันวิจิตร ป่าอันวิจิตร สระ

โบกขรณีที่สร้างอย่างดี ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่

๑๖ อันแบ่งออก ๑๖ ครั้ง แห่งภูมิสถาน

อันรื่นรมย์ของมนุษย์ พระอรหันต์ทั้งหลาย

อยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตาม เป็น

ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถาน

อันน่ารินรมย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

อรรถกถารามเณยยกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรามเณยยกสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อารามเจตฺยา ได้แก่ เจดีย์ในสวน. บทว่า วนเจตฺยา

ได้แก่ เจดีย์ที่ภูเขาและป่า. แม้ในบททั้งสองนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า เจดีย์

เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพ. บทว่า มนุสฺสรามเณยฺยสฺส คือ

ความเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ของมนุษย์. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ

ทรงแสดงถึงพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ด้วยสามารถเป็นพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ของมนุษย์

จึงตรัสว่า คาเม วา ดังนี้เป็นต้น .

จบอรรถกถารามเณยยกสูตรที่ ๕

๖. ยชมานสูตร

ว่าด้วยทานที่ให้ในอริยสงฆ์มีผลมาก

[๙๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงถวายบังคมแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

[๙๒๓] ท้าวสักกะจอมเทพประทับ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อย

แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์

ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

เป็นผล ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก

พระพุทธเจ้าข้า.

[๙๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ท่านผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่

ในผล ๔ จำพวก นั่นคือพระสงฆ์ เป็น

ผู้ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล

เมือมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญ

บูชาอยู่ กระทำบุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่

ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก.

อรรถกถายชมานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยชมานสูตรที่ ๖ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ยชมาน แปลว่า บูชาอยู่. มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งนั้นพวก

ชาวอังคะและมคธ. ได้ถือเอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นอย่างเลิศเป็น

ประจำปี เอาฟืนบรรทุกเกวียนประมาณ ๖๐ เล่ม กองสุมไว้ในที่แห่งหนึ่ง

แล้วก่อไฟ ขณะที่ไฟลุก ใส่ของเลิศทั้งหมดนั้นด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชา

ท้าวมหาพรหม. นัยว่าเป็นความเธอถือของพวกเขาว่า ใส่ลงไปครั้งหนึ่งจะให้

ผลแสนเท่า.

ท้าวสักกเทวราชดำริว่า พวกคนทั้งหมดนี้ถือเอาของเลิศทั้งปวงเผาใน

ไฟด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชาท้าวมหาพรหม ทำสิ่งไร้ผล เมื่อเราเห็นอยู่

พวกเขาอย่าได้พินาศเสียเลย เราจักกระทำโดยที่ให้พวกเขาถวายแด่พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

และพระสงฆ์เท่านั้น แล้วจะประสบบุญมากดังนี้ เมื่อพวกคนทำกองฟืน ให้

โชติช่วง แลดูอยู่จึงทรงแปลงเป็นพรหมในวัน ๑๕ ค่ำ เมื่อมหาชนแลดูอยู่

นั่นเอง ได้ทำเป็นเหมือนแหวกจันทมณฑลออกไป. มหาชน ครั้นเห็นแล้ว

ต่างก็คิดว่า ท้าวมหาพรหม เสด็จมารับเครื่องบูชานี้ จึงคุกเข่าลงกับพื้น

ประคองอัญชลี นอบน้อมอยู่. พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกท่านสำคัญว่า

เราพูดเล่นหรือ บัดนี้พวกท่านจงดูซิ พระพรหมองค์นี้ มารับเครื่องบูชา

ของพวกเราด้วยมือตนเอง. ท้าวสักกะเสด็จมายืนอยู่บนอากาศ เบื้องบน

กองฟืน ตรัสถามว่า สักการะนี้เพื่อโครกัน มีคนทูลว่า ข้าแต่ท้าวมหาพรหมผู้

เจริญ เพื่อพระองค์นี้ซิ ขอพระองค์จงทรงรับ เครื่องบูชาของพวกข้าพเจ้าเถิด.

มหาพรหมตรัสว่า ถ้ากระนั้น พวกท่านจงมา อย่าทิ้งเครื่องชั่งเสียแล้วชั่ง

ด้วยมือ พระศาสดาประทับอยู่ที่วิหารใกล้ ๆ พวกเราจักทูลถามพระองค์ว่า

ให้ทานแก่ใคร จึงจะมีผลมากดังนี้. ท้าวสักกะทรงพาพวกชาวแคว้นทั้งสอง

ไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อจะทูลถามจึงตรัสอย่างนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ปุญฺเปกฺขาน ได้แก่ ปรารถนาบุญ คือมีความต้องการบุญ. บทว่า

โอปธิก ปุญฺ ได้แก่ บุญมีอุปธิเป็นวิบาก. บทว่า สเฆ ทินฺน มหปฺผล

ความว่า ทานที่ถวายในพระอริยสงฆ์ ย่อมมีผลกว้างขวาง. เมื่อุเทศน์จบ

ชนแปดหมื่นสี่พันได้ดื่มน้ำคืออมฤตธรรม. ตั้งแต่นั้นมา พวกคนได้พากัน

ถวายทานอันเลิศทั้งปวงแก่ภิกษุสงฆ์.

จบอรรถกถายชมานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

๗. วันทนสูตร

ท้าวสักกะและท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวคำสุภาษิต

[๙๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมสัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในมราพักกลางวัน.

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมเสด็จเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้ว ได้ประทับยืนพิงบานพระทวารอยู่องค์ละบาน.

[๙๒๖] ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสพระคาถานี้ ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล่วกล้า ทรงชนะ

สงครามแล้ว ทรงปลงภาระลงแล้ว ไม่

ทรงมีหนี้ ขอเชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้น

เที่ยวไปในโลกเถิด อนึ่ง จิตของพระองค์

หลุดพ้นดีแล้ว เหมือนพระจันทร์ในราตรี

วันเพ็ญ ฉะนั้น.

[๙๒๗] ท้าวสหัมบดีพรหมตรัสค้านว่า ดูก่อนจอมเทพ พระองค์ไม่

ควรกราบทูลพระตถาคตอย่างนี้เลย แต่ควรจะกราบทูลพระตถาคตอย่างนี้แลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ทรงชนะ

สงครามแล้ว ทรงเป็นผู้นำพวก ไม่ทรง

มีหนี้สิน ขอเชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้น

เที่ยวไปในโลก ขอเชิยพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงธรรม จักมีผู้รู้ทั่วถึงพระธรรมเป็น

แน่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

อรรถกถาวันทนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวันทนสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อุฏฺาหิ แปลว่า จงลุกขึ้น คือจงเพียรพยายาม. บทว่า

วิชิตสงฺคาม ความว่า ท้าวสักกะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชำนะกิเลสมีราคะเป็นต้น และไพร่พลของมารประมาณ

๑๒ โยชน์. บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ มีภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร

อัน ปลงลงแล้ว. บทว่า ปณฺณรสาย รตฺตึ คือกลางคืนขึ้น ๑๕ ค่ำ.

จบอรรถกถาวันทนสูตรที่ ๗

๘. ปฐมสักกนมัสนสูตร

ท้าวสักกะทรงไหว้ผู้มีศีลธรรม

[๙๒๘] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะ

มาตลีสังคาหกเทพบุตรว่า ดูก่อนสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนย

ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพ

ว่า ขอเดชะ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว เตรียมจัดรถม้าอาชาไนย

ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวเสร็จแล้ว กราบทูลแต่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์เตรียม

จัดไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ได้ทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต-

ปราสาท ทรงประนมอัญชลีนมัสการทิศเป็นอันมาก.

[๙๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร

ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา

กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าว

มหาราชทั้งหลาย ๔ และทวยเทพชาวไตรทศผู้

มียศ ย่อมนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่ท้าว

สักกะ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรง

นอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่านผู้ควร

บูชาคนนั้นชื่อไรเล่า ขอเดชะ.

[๙๓๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา

กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าว

มหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาวไตรทศผู้

มียศ นอบน้อมท่านผู้ใดซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยศีล มีจิตตั้งมั่นตลอดกาลนาน ผู้บวช

แล้วโดยชอบ มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า

คฤหัสถ์เหล่าใดเป็นผู้ทำบุญ มีศีล เป็น

อุบาสกเลี้ยงดูภรรยาโดยชอบธรรม ดูก่อน

มาตลี เรานอบน้อมคฤหัสห์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

[๙๓๑] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่าพระองค์

ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด บุคคล

เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว

ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อม

บุคคลเหล่าใด ถึงข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อม

บุคคลเหล่านั้น.

[๙๓๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราชผู้เป็น

ประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้

แล้ว ทรงน้อมนมัสการทิศเป็นอันมาก

แล้วเสด็จขึ้นรถ.

อรรถกถาปฐมสักกนมัสสนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสักกนมัสสนสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุถุทฺทิสา ได้แก่ ทิศใหญ่ ๔ และทิศน้อย ๔. บทว่า

ภุมฺมา ได้แก่ ผู้อยู่บนพื้นดิน. บทว่า จิรรตฺต สนาหิเต ได้แก่ ผู้มีจิต

ตั้งมั่น แล้วด้วยอุปจาระและอัปปนา ตลอดราตรีนาน. บทว่า วนฺเท ได้แก่

ข้าพเจ้าขอไหว้. บทว่า พรหฺมจริยปรายเน อธิบายว่า อยู่ประพฤติ-

พรหมจรรย์ อันเป็นความประพฤติประเสริฐสุด เป็นต้นว่า นอนหนเดียว

ฉันหนเดียว ในที่สุดชีวิตตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ฯลฯ ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า

ปุญฺกรา ได้แก่ ผู้ทำบุญมีอาทิอย่างนี้ว่า ถวายปัจจัย ๔ บูชาด้วยดอกมะลิตูม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

จุดประทีปพันดวง. บทว่า สีลวนฺโต ความว่า ตั้งอยู่ในความเป็นอุบาสก

ประกอบด้วยศีล ๕ บ้าง ศีล ๑๐ บ้าง. บทว่า ธมฺเมน ทาร โปเสนฺติ

ได้แก่ ไม่กระทำโจรกรรมมีการทำลายอุโมงค์เป็นต้นแล้ว เลี้ยงดูบุตรภรรยา

ด้วยกสิกรรม โครักขกรรมและวานิชกรรมเป็นต้น. บทว่า ปมุโข รถมารุหิ

ได้แก่ เป็นประมุขคือเป็นผู้ประเสริฐ ของเทพทั้งหลาย เสด็จขึ้นรถ.

จบอรรถกถาปฐมสักกนมัสสนสูตรที่ ๘

๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร

ท้าวสักกะนมัสการพระพุทธเจ้า

[๙๓๓] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกะ

มาตลีสังคาหกเทพบุตรว่า ดูก่อนสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนย

ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า

ขอเดชะ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว จัดเตรียมรถม้าอาชาไนย

ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวเสร็จแล้ว กราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์ จัด

เตรียมไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ได้ทราบว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต-

ปราสาท ทรงประณมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

[๙๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร

ได้ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระองค์นั่นเทียว

ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเช่นนั้น พระองค์

ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่าน

ผู้ควรบูชาคนนั้น คือ ใครเล่า.

[๙๓๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ดูก่อนมาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใด ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก เรา

นอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น ผู้เป็นศาสดามีพระนามไม่ทราม

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดสำรอกราคะ

โทสะและอวิชชาแล้ว เป็นพระอรหันต

ขีณาสพ เรานอบน้อมท่านเหล่านั้น

ดูก่อนมาตลี ท่านเหล่าใดกำจัดราคะ และ

โทสะก้าวล่วงอวิชชา ยังเป็นพระเสขะ

ยินดีในธรรมเครื่องปราศจากการสั่งสม

เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่ เรา

นอบน้อมท่านเหล่านั้น.

[๙๓๖] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่าพระองค์

ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด บุคคล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว

ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อม

บุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบ-

น้อมบุคคลเหล่านั้น.

[๙๓๗] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็น

ประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้

แล้ว ทรงน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเสด็จขึ้นรถ.

อรรถกถาทุติยสักกนมัสสนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ภควนฺต นมสฺสติ ความว่า ท้าวสักกะ พาดผ้าสองชั้น

เฉวียงบ่านั่งคุกเข่าแบบพรหม ประณมมือเหนือพระเศียร. บทว่า โส ยกฺโข

ได้แก่ สัตว์นั้น. บทว่า อโนมนาม ได้แก่ มีพระนามไม่ทรามด้วย

พระนามอันเป็นนิมิตแห่งคุณ เพราะไม่มีความทรามด้วยคุณทั้งปวง. บทว่า

อวิชฺชาสมติกฺกมา ได้แก่ ก้าวล่วงอวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล อันปกปิด

อริยสัจ เป็นต้น. บทว่า เสกฺขา ได้แก่ พระเสกขะ ๗ จำพวก. บทว่า

อปจฺจยารามา คือยินดีในการกำจัดวัฏฏะ. บทว่า สิกฺขเร แปลว่า ย่อม

ศึกษา.

จบอรรถกถาทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

๑๐. ตติยสักกนมนัสสนสูตร

ท้าวสักกะนมัสการพระสงฆ์

[๙๓๘] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัส

กะมาตลีสังคหกเทพบุตรว่า ดูก่อนสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนย

ซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายมาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า ขอ

เดชะ ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว จัดเตรียมรถม้าอาชาไนยซึ่ง

เทียมด้วยม้าพันตัวเสร็จแล้ว กราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์ รถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้

เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ได้ทราบว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันตปราสาท

ทรงประณมอัญชลีน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์อยู่.

[๙๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้

ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่า

นี้ พึงนอบน้อมพระองค์นั่นเที่ยว พวกเขา

จมอยู่ในซากอันเต็มไปด้วยความหิวและ

ความกระหาย ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะ

เหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงโปรดปรานท่าน

ผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ขอพระองค์ตรัสบอก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

มรรยาทของฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์ขอ

ฟังพระดำรัสของพระองค์.

[๙๔๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า

ดูก่อนมาตลี เราโปรดปรานมรรยาท

ของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ท่านเหล่านั้น

เป็นผู้ไม่มีความห่วงใยในบ้านที่ท่านหลีก

ออกไป บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือกของท่าน

เหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี ผู้จะเก็บไว้ใน

หม้อก็ไม่มี ผู้จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี

ท่านเหล่านั้นมีวัตรอันงาม แสวงหาอาหาร

ที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้วเยียวยาอัตภาพด้วย

อาหารนั้น ท่านเหล่านั้น เป็นนักปราญ

กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้นิ่งประพฤติสม่ำ

เสมอ ดูก่อนมาตลี พวกเทวดายังโกรธ

กับพวกอสูร และสัตว์เป็นอันมากยังมี

โกรธกันและกัน เมื่อเขายังโกรธกัน ท่าน

เหล่านั้นไม่โกรธ ดับเสียได้ในบุคคลผู้มี

อาชญาในตน เมื่อชนทั้งหลายยังมีความ

ถือมั่น ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น ดูก่อน

มาตลี เราน้อมนมัสการท่านเหล่านั้น.

[๙๔๑] มาตลีเทพบุตรทูลว่า

ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่าพระองค์

ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด บุคคล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

เหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกเทียว

ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อม

บุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอ

นอบน้อมบุคคลเหล่านั้น.

[๙๔๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็น

ประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้

แล้ว ทรงน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์แล้ว

เสด็จขึ้นรถ ฉะนี้แล.

จบตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๒

อรรถกถาตติยสักกนมัสสนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เพราะเหตุไร มาตลิสังคาหกเทพบุตร

นี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้บ่อย ๆ. นัยว่าท้าวสักกะเทวราชมีพระสุรเสียงไพเราะใน

เวลาดำรัสช่องพระทนต์สนิท เปล่งพระสุรเสียงดุจเสียงกระดิ่งทอง. มาตลิสัง-

คาหกเทพบุตรพูดว่า เราจักได้ฟังพระสุรเสียงนั้นบ่อยๆ. บทว่า ปูติเทหสยา

ความว่า ชื่อว่า นอนทับกายเน่าเพราะนอนทับบนร่างกายของมารดาที่เน่า หรือ

สรีระของตนเอง. บทว่า นิมฺมุคฺคา กุณปเสฺมเต คือคนเหล่านี้จมอยู่ใน

ซากกล่าวคือท้องมารดาตลอด ๑๐ เดือน. บทว่า เอต เนส ปิหยามิ ได้แก่

เราชอบใจมารยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น. บทว่า น เตล โกฏฺเ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

โอเปนฺติ ความว่า บุคคลจะไม่เก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางคือ

ข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไม่มี. บทว่า น กุมฺภา ได้แก่ ไม่เก็บไว้ใน

หม้อ. บทว่า น กโฬปิย ได้แก่ ไม่เก็บไว้ในกระบุง. บทว่า ปรนิฏฺิตเมสนา

ได้แก่ เสาะแสวงหาของที่สุกแล้วในเรื่องนั้น ๆ ที่สำเร็จเพื่อคนเหล่าอื่นด้วย

ภิกขาจารวัตร. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการแสวงหาอย่างนี้นั้น. บทว่า

สุพฺพตา ได้แก่ สมาทานวัตรงามดีแล้ว ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า

สุมนฺตนฺติโน คือมีปกติกล่าวคำสุภาษิตตอย่างนี้ว่า เราจะสาธยายยธรรม จัก-

ปฏิบัติธุดงค์ จักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ . บทว่า ตุณฺหีภูตา สมญฺจรา

ความว่า แม้กล่าวธรรม ก็ยังกังวานอยู่เสมอตลอดทั้ง ๓ ยามเหมือนเสียงฟ้าร้อง.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีคำที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ปุถุมจฺจา จ

ได้แก่ สัตว์เป็นอันมากผิดใจกันและกัน . บทว่า อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตา

ได้แก่ ดับเสียได้ในอาชญาที่ถือเอาแล้ว เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น คือสละอาชญา

เสียแล้ว. บทว่า สาทาเนสุ อนาทานา ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีความ

ถือมั่น ไม่มีความถือมั่นเพราะไม่ถือมั่น แม้ส่วนหนึ่งของกำเนิดภพเป็นต้น.

จบอรรถกถาสักกนมัสสนสูตรที่ ๑๐

จบ ทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเทวสูตร ๒. ทุติยเทวสูตร ๓. ตติยเทวสูตร ๔. ทฬิททสูตร

๕. รามเณยยกสูตร ๖. ยชมานสูตร ๗. วันทนสูตร ๘. ปฐมสักกนมัสสนสูตร

๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร ๑๐. ตติยสักกนมัสสนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

สักกปัญจกะที่ ๓

๑. ฆัตวาสูตร

ว่าด้วยผลการฆ่าความโกรธ

[๙๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้วทรงถวายบังคม แล้วประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

[๙๔๔] ท้าวสักกะจอมเทพประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบ

ร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บุคคลฆ่าอะไรแล้ว จึงจะอยู่เป็นสุข

ฆ่าอะไรแล้ว จึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่

พระโคดม พระองค์ทรงชอบการฆ่าอะไร

อันเป็นธรรมอย่างเอก.

[๙๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อม

อยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธเสียแล้วย่อมไม่

เศร้าโศก ดูก่อนท้าววาสวะ พระอริยะเจ้า

ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ

อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

บุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก.

ฆัตวาสูตรที่ ๑ แห่งตติยวรรคมีเนื้อความกล่าวมาแล้ว.

๒. ทุพพัณณิยสูตร

ว่าด้วยความโกรธทำให้ผิวพรรณทราม

[๙๔๖] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม

ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่งท้าวสักกะจอมเทพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ได้ยินว่า ในที่นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ไม่เคยมีมา

แล้วหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่งท้าว-

สักกะจอมเทพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยกโทษตำหนิติเตียน

ด้วยประการใด ๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่า

เดิมด้วยประการนั้น ๆ.

[๙๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พา

กันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานโอกาสขอพระองค์ ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณ

ทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ได้ทราบว่า ณ ที่นั้นพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดู

ก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

มีมาหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของท้าว-

สักกะจอมเทพ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยกโทษตำหนิ

ติเตียนด้วยประการใด ๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใส

ยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ยักษ์นั้นจักเป็นผู้มี

ความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่เทียว ขอเดชะ.

[๙๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จ

เข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธเป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วทรงห่มผ้าเฉวียง

พระอังสาข้างหนึ่ง ทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวาลง ณ พื้นดิน ทรงประนม

อัญชลีไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ แล้วประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ดูก่อนท่านผู้

นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ... ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะ

จอมเทพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วย

ประการใด ๆ ยักษ์ตนนั้นยิ่งมีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์

นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิมแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น

นั่นเอง.

[๙๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพประทับ

นั่งบนอาสนะของพระองค์แล้ว เมื่อจะทรงยังพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้ยินดี

จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ไว้ในเวลานั้นว่า

เราเป็นผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ

กระทั่ง เป็นผู้อันความหมุน (มาร) นำ

ไปไม่ได้ง่าย เราไม่โกรธมานานแล ความ

โกรธ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในเรา ถึงเราโกรธ

ก็ไม่กล่าวคำหยาบ และไม่กล่าวคำไม่ชอบ

ธรรม เห็นประโยชน์ของตนจึงข่มตนไว้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

อรรถกถาทุพพัณณิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุพพัณณิยสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวเหมือนตอถูกไฟเผา. บทว่า

โอโกฏิมโก ได้แก่ ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ย. บทว่า อาสเน ได้เเก่ บัณฑุกัมพล-

ศิลา. บทว่า โกธภกฺโข ยกฺโข นี้ เป็นชื่อที่ท้าวสักกะตั้งให้. ก็ยักษ์

ตนหนึ่งนั้นเป็นรูปาวจรพรหม. นัยว่า ท้าวสักกะสดับมาว่า ยักษ์ถึงพร้อมด้วย

กำลังคือขันติ จึงเสด็จมาเพื่อทดลองดู. ก็อวรุทธกยักษ์ ไม่อาจเข้าไปยังที่ที่

อารักขาไว้เห็นปานนี้ได้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะฟังพวก

เทวดาแล้วคิดว่า ไม่สามารถให้ยักษ์นี้หวั่นไหวได้ ด้วยถ้อยคำหยาบ อันผู้

ประพฤติถ่อมตนตั้งอยู่ในขันติ จึงจะสามารถให้ยักษ์หนีไปได้ดังนี้ มีพระ

ประสงค์จะให้ยักษ์นั้นหนีไปด้วยประการนั้น จึงเสด็จเข้าไปหา. บทว่า

อนฺตรธายิ ความว่า เมื่อท้าวสักกะทรงดำรงอยู่ในขันติ ทำความเคารพ

อย่างแรงกล้าให้ปรากฏแสดงความถ่อมตน ยักษ์นั้น ไม่อาจจะอยู่บนอาสนะ

ของท้าวสักกะได้ จึงหนีไป. คำว่า สุ ในบทนี้ว่า น สุปหตจิตฺโตมฺหิ

เป็นเพียงนิบาต. ท่านกล่าวว่า เราเป็นผู้มีจิตอันโทษะไม่กระทบแล้ว. บทว่า

นาวฏฺเฏน สุวานโย ท่านกล่าวว่า เราเป็นผู้อันความหมุนไปด้วยความโกรธ

นำไปไม่ได้ง่าย คือเราเป็นผู้ไม่กระทำง่ายเพื่อเป็นไปในอำนาจด้วยความโกรธ.

คำว่า โว ในบทว่า น โว จิราห เป็นเพียงนิบาต. ท่านกล่าวว่า เรา

ไม่โกรธมานานแล้ว.

จบอรรถกถาทุพพัณณิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

๓. มายาสูตร

ว่าด้วยมายาเป็นเหตุให้ตกนรก

[๙๕๐] สาวัตถีนิทาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรป่วย

ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ

เสด็จไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูรถึงที่ประทับ ตรัสถามถึงความเจ็บไข้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพกำลังเสด็จมา

แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ

ขอจงช่วยรักษาหม่อมฉันด้วยเถิด.

ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท้าวเวปจิตติ ขอเชิญตรัสบอกสัมพริมายา

กะหม่อมฉันก่อน.

เว. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ หม่อมฉันยังกราบทูลไม่ได้จนกว่าจะได้

สอบถามพวกอสูรดูก่อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสสอบถาม

พวกอสูรว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราจะบอกสัมพริมายากะท้าวสักกะ

จอมเทพนะ.

พวกอสูรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอก

สัมพริมายากะท้าวสักกะจอมเทพเลย

[๙๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้

ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ข้าแต่ท้าวมฆวาสุชัมบดีสักกเทวราช

บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้าถึงนรกครบร้อยปี

เหมือนสัมพริจอมอสูร ฉะนั้น.

อรรถกถามายาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมายาสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า อาพาธิโก ได้แก่ มีความเจ็บไข้ ด้วยอาพาธ อันเกิด

แล้วในเวลาหมู่ฤษีสาปแช่ง. บทว่า วาเจหิสิ ม ความว่า ท้าวสักกะตรัสว่า

หากท่านบอกสัมพริมายากะเรา เราจึงจะเยียวยาท่าน. บทว่า มา โข ตฺว

มาริส วาเจสิ ความว่า พวกอสูรกล่าวว่า งดสัมพริมายาไว้ก่อน ท้าวสักกะ

จะเบียดเบียนพวกเรา ก็ผิว่า ท้าวสักกะจักรู้สัมพริมายานั้น พวกเราจะพากัน

ฉิบหาย ท้าวสักกะอย่าทำให้พวกเราฉิบหาย เพื่อประโยชน์ของคนผู้เดียวเลย

จึงห้ามไว้. บทว่า สมฺพโรว สต สม ความว่า เวปจิตติจอมอสูรกล่าวว่า

ก็พวกท่านเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม พวกท่านไม่ควรพอใจมายา จะหมกไหม้

เหมือนจอมอสูรมีมายาประกอบมายาเผาไหม้ในนรกตลอดร้อยปี. ถามว่า

ก็ท้าวสักกะสามารถ จะเยียวยาความโกรธของเวปจิตติจอมอสูรได้หรือ. ตอบว่า

สามารถซิ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เล่ากันมาว่า ในกาลนั้น หมู่ฤษี

ยังดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะ ก็จะนำเวปจิตติจอมอสูรไปหาฤษีให้ยกโทษ

ด้วยอาการอย่างนี้ ท้าวเวปจิตติจะพึงมีความผาสุก แต่ไม่ทำอย่างนั้นหลีกไป

เพราะถูกลวง.

จบอรรถกถามายาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

๔. อัจจยสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น

ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน.

ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับ

ผิดและขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ.

[๙๕๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปได้เถียงกัน ใน

การโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น

ภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้น

ไม่รับ พระพุทธเจ้าข้า.

[๙๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี

๒ จำพวกนี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ . ผู้ไม่รับตามสมควรแก่

ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

ผู้รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต

มี ๒ จำพวกนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

[๙๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ

เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึ้งได้ตรัส

พระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ขอความโกรธ จงอยู่ในอำนาจ

ของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายใน

มิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ ควร

ติเตียน และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย

ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยี

คนลามก.

อรรถกถาอัจจยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺปโยเชสุ แปลว่า ทะเลาะกัน. บทว่า อจฺจสรา ได้แก่

ล่วงเกิน. อธิบายว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวคำล่วงเกินภิกษุรูปหนึ่ง. บทว่า

ยถาธมฺม น ปฏิคฺคณฺหาติ ได้แก่ ไม่ยกโทษ. บทว่า โกโธ โว

วสมายาตุ ท่านแสดงว่า ความโกรธจงมาสู่อำนาจของพวกท่าน พวกท่าน

อย่าไปสู่อำนาจของความโกรธ. คำว่า หิ ในบทนี้ว่า มา จ มิตฺเต หิ โว

ชรา เป็นเพียงนิบาต. ความเสื่อมในมิตรธรรม อย่าเกิดแก่พวกท่าน. อีก

อย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ความเสื่อม

ในมิตรธรรมอย่าเกิดแล้ว คือว่าความเป็นโดยประการอื่นจากความเป็นมิตรจง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

อย่ามี. บทว่า อครหิย มา ครหิตฺถ ความว่า อย่าติเตียนผู้ไม่ควรติเตียน

คือบุคคลผู้เป็นขีณาสพ.

จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่ ๔

๕. อักโกธสูตร

ว่าด้วยความไม่โกรธ

[๙๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

[๙๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ความโกรธ อย่าได้ครอบงำท่าน

ทั้งหลาย และท่านทั้งหลายอยู่ได้โกรธ

ตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและ

ความไม่เบียดเบียน ย่อมมีในท่านผู้ประ-

เสริฐทุกเมื่อ ก็ความโกรธเปรียบปานดัง

ภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล.

จบอักโกธสูตรที่ ๕

จบสักกปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

อรรถกถาอักโกธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอักโกธสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-

บทว่า มา โว โกโธ อชฺฌภวิ ความว่า ความโกรธอย่าได้ครอบงำ

พวกท่าน พวกท่านนั่นแหละ จงครอบงำความ โกรธ. บทว่า มา จ กุชฺฌิตฺถ

กุชฺฌต ความว่า เมื่อเขาโกรธ อย่าโกรธตอบ. บทว่า อโกโธ ได้แก่

เมตตาและธรรมเป็นบุพภาคของเมตตา. บทว่า อหึสา ได้แก่ กรุณาและ

ธรรมเป็นบุพภาคของกรุณา. บทว่า อถ ปาปชน โกโธ ปพฺพโตวา-

ภิมทฺทติ ความว่า ความโกรธ ย่อมย่ำยีคนลามก เหมือนภูเขาขยี้ฉะนั้น.

จบอรรถกถาอักโกธสูตรที่ ๕ ตติยวรรค

จบอรรถกถาสักกสังยุต ด้วยประการฉะนี้

จบวรรณนาสารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคที่ คือ

๑. ฆัตวาสูตร ๒. ทุพัณณิยสูตร ๓. มายาสูตร ๔. อัจจยสูตร

๕. อักโกธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา สักกสูตร ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว.

จบสักกสังยุตบริบูรณ์

รวมสังยุตที่มีในสคาถวรรคนี้ ๑๑ สังยุต คือ

๑. เทวตาสังยุต ๒. เทวปุตตสังยุต ๓. โกศลสังยุต ๔ มารสังยุต

๕.ภิกขุนีสังยุต ๖.พรหมสังยุต ๗.พราหมณสังยุต ๘.วังคีสสังยุต ๙.วนสังยุต

๑๐. ยักขสังยุต ๑๑. สักกสังยุต

จบสคาถวรรค