ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เทวทหวรรค

๑. เทวทหสูตร

ว่าด้วยวาทะของพวกนิครนถ์และพระตถาคต

[๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สักยนิคม อันมีนามว่า

เทวทหะ ในสักกชนบท สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อม

เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ข้อ

นั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ดังนั้นเพราะกรรมเก่าหมด

ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จัก

สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอันไม่มีไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกนิครนถ์มักมีวาทะอย่างนี้.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้

แล้วถามอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ จริงหรือที่มีข่าวว่า พวกท่านมีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ว่าสุขทุกข์

หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดเป็นเพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่

ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป

เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะ

สิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอันไม่มี

ไปเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์นั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วก็ยืนยัน

เราจึงถามอย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้

มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว.

นิครนถ์เหล่านั้น ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาป

กรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลายได้ทำบาป

กรรมอย่างนี้บ้าง ๆ.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

เรา. ท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เรา

สลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้ เราต้องสละเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เราสลัด

ได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

เรา. ท่านนิครนถ์ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญ

กุศลธรรมในปัจจุบันละหรือ.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

[๔] เรา. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านไม่

ทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้ง

หลายได้ทำบาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลาย

ได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้าง ๆ ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว หรือว่า

ทุกข์เท่านี้ เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมด

ก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ไม่ทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมใน

ปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้

ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อ

นั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมด

ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จัก

สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา

เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงจักไม่มีไปเอง.

ท่านนิครนถ์ ก็ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เราทั้งหลายได้มีแล้วแต่ก่อน

มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้แต่ก่อน มิใช่ไม่

ได้ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้าง ๆ พึงทราบว่า

ทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้ เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์

เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็นอันไม่มีไปเอง พึงทราบการละอกุศล

ธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ ควรจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

พยากรณ์ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์

หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน

ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะ

ไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์

ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.

[๕] ท่านนิครนถ์ เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษอาบ

ไว้อย่างหนาแล้ว พึงเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เพราะเหตุการ

เสียดแทงของลูกศร มิตร สหาย ญาติสาโลหิตของเขาพึงให้หมอผ่าตัดรักษา

หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชำแหละปากแผลของเขา เขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้า

เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูกศรออก

เขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศรออก หมอผ่า

ตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เขาพึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้

เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล ต่อมา เขามีแผลหาย มีผิวหนังสนิท จึง

ไม่มีโรค มีความสุข เสรี อยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้ จึงมีความคิดอย่าง

นี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกยิงด้วยลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนา ได้เสวยทุกข-

เวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุการเสียดแทงของลูกศร มิตร สหาย

ญาติสาโลหิตของเราให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชำแหละปากแผล

เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกศัสตราชำแหละ

ปากแผล หมอผ่าตัดใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศร เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอัน

กล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถูกเครื่องตรวจค้นหาลูกศร หมอผ่าตัดถอนลูก

ศรออก เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุถอนลูกศร

ออก หมอผ่าตัดใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เรานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

เจ็บแสบ แม้เพราะเหตุใส่ยาถอนพิษที่ปากแผล เดี๋ยวนี้ เรานั้นมีแผลหาย

มีผิวหนังสนิท จึงไม่มีโรค มีความสุข เสรี อยู่ได้ตามลำพัง ไปไหนไปได้

ฉันใด.

ท่านนิครนถ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าพวกท่านพึงทราบว่า เรา

ทั้งหลาย ได้มีแล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำ

บาปกรรมไว้ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ พึงทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาป

กรรมอย่างนี้บ้าง ๆ พึงทราบว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่า

นี้ เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็น

อันไม่มีไปเอง พึงทราบการละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกนิครนถ์ ควรจะพยากรณ์ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวย

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมด

ก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ

ไม่ทำกรรมใหม่ จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม

เพราะสิ้นกรรม จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา

ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอันไม่มีไปเอง.

ท่านนิครนถ์ ก็เพราะเหตุที่พวกท่านไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้มี

แล้วในก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้

ในก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้ ไม่ทราบว่า เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ

ไม่ทราบว่า ทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้ เราต้องสลัดเสีย หรือ

ว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เราสลัดได้แล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็เป็นอันไม่มีไปเอง ไม่ทราบ

การละอกุศลธรรม การบำเพ็ญกุศลธรรมในปัจจุบัน ฉะนั้น ท่านนิครนถ์

จึงไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตน

ทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ จักไม่

มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์

เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอัน

ไม่มีไปเอง.

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ พวกนิครนถ์นั้น

ได้กล่าวกะเราดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านนิครนถ์นาฏบุตร เป็นผู้รู้ธรรมทั้งปวง

เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะตลอดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินก็ดี

ยืนก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะได้ปรากฏติดต่อเสมอไป ท่านกล่าว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนพวกนิครนถ์ผู้มีอายุ บาปกรรมที่พวกท่านทำไว้ในก่อนมีอยู่

พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสีย ด้วยปฏิปทาประกอบด้วยการกระทำที่ทำได้

ยากอันเผ็ดร้อนนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ

ในบัดนี้นั้น เป็นการไม่ทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้ เพราะกรรมเก่าหมดด้วย

ตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้น

กรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา เพราะ

สิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งหมดก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ก็แหละคำนั้นถูกใจและควร

แก่พวกข้าพเจ้า และเพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงได้ชื่นชม.

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวแล้วอย่างนี้ เราได้

กล่าวกะพวกนิครนถ์นั้น ดังนี้ว่า ท่านนิครนถ์ ธรรม ๕ ประการนี้แล

มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือความเชื่อ ความชอบใจ

การฟังตามเขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ ท่านนิครนถ์

เหล่านี้แล ธรรม ๕ ประการ มีวิบาก ๒ ทางในปัจจุบัน บรรดาธรรม ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ประการนั้น ท่านนิครนถ์ มีความเชื่ออย่างไร ชอบใจอย่างไร ร่ำเรียนมา

อย่างไร ได้ยินมาอย่างไร ตรึกตามอาการอย่างไร ปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิอย่างไร

ในศาสดาผู้มีวาทะเป็นส่วนอดีต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะอย่างนี้แล

จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไร ๆ ในพวกนิครนถ์.

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีก

อย่างนี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด

พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน

ย่อมเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่

สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น

พวกท่านย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบอันเกิดแต่ความพยายาม

แรงกล้า.

นิครนถ์รับว่า ท่านพระโคดม สมัยใด พวกข้าพเจ้ามีความพยายาม

แรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้าย่อมเสวยทุกขเวทนา

อันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า สมัยใด พวกข้าพเจ้า

ไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกข้าพเจ้า

ย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

[๙] พ. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้ เป็นอันว่า สมัยใด พวก

ท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านย่อม

เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด

พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่าน

ย่อมไม่เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า

เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านนิครนถ์ ไม่สมควรจะพยากรณ์ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้ง

หมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะกรรมเก่าหมดด้วย

ตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม

เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็จักสิ้นเวทนา ทุกข์ทั้งปวง

ก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.

ท่านนิครนถ์ ถ้าสมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรงกล้า มีความ

เพียรแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความ

พยายาม พึงหยุดได้เอง และสมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายามแรงกล้า

ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น ทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่

ความพยายามพึงหยุดได้เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพวกนิครนถ์ก็ควรพยากรณ์

ได้ว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือ

มิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้น ทั้งหมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้

เพราะกรรมเก่าหมดด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะ

ไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์

ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนาทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง.

ท่านนิครนถ์ ก็เพราะเหตุที่ สมัยใด พวกท่านมีความพยายามแรง

กล้า มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงเสวยทุกขเวทนาอันกล้า เจ็บ

แสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า แต่สมัยใด พวกท่านไม่มีความพยายาม

แรงกล้า ไม่มีความเพียรแรงกล้า สมัยนั้น พวกท่านจึงไม่เสวยทุกขเวทนา

อันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความพยายามแรงกล้า พวกท่านนั้นเสวยทุกข-

เวทนาอันกล้า เจ็บแสบ อันเกิดแต่ความเพียรเองทีเดียว ย่อมเชื่อผิดไป

เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะความหลงว่า บุรุษบุคคลนี้ย่อมเสวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าสุข ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ข้อนั้นทั้ง

หมดก็เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ทั้งนี้เพราะหมดกรรมเก่าด้วย

ตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จักไม่มีผลต่อไป เพราะไม่มีผลต่อไป ก็จักสิ้นกรรม

เพราะสิ้นกรรมก็จักสิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ก็จักสิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา

ทุกข์ทั้งปวงก็จักเป็นอันไม่มีไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีวาทะแม้อย่าง

นี้แล จึงไม่เล็งเห็นการโต้ตอบวาทะอันชอบด้วยเหตุอะไร ๆ ในพวกนิครนถ์.

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกะพวกนิครนถ์นั้นต่อไปอีกอย่าง

นี้ว่า ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่านจะพึง

ปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผลใน

ชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด พวกนิครนถ์นั้นกล่าวว่า

ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลใน

ชาติหน้า ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายามหรือด้วยความ

เพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน

จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผล

เป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเป็น

ทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุข ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน

จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอกรรมนั้นจง

ให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลยังไม่

เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงให้ผลเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียร

เถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พวกท่าน

จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อย

ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผลน้อย

ขอกรรมนั้นจงให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. ท่านนิครนถ์ พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวกท่าน

จะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดให้ผล ขอกรรมนั้นจงอย่าให้ผล ด้วย

ความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พ. และพวกท่านจะพึงปรารถนาได้ดังนี้หรือว่า กรรมใดไม่ให้ผล

ขอกรรมนั้นจงให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด.

นิ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

[๑๑] พ. ท่านนิครนถ์ เท่าที่พูดกันมานี้เป็นอันว่า พวกท่านจะพึง

ปรารถนาไม่ได้ดังนี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผลใน

ชาติหน้า ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลในชาติหน้า

ขอกรรมนั้น จงให้ผลในปัจจุบัน ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่า

กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์ ด้วยความพยายามหรือ

ด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุข

ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว ขอ

กรรมนั้นจงให้ผลอย่าเพ่อเสร็จสิ้น ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด

ว่ากรรมใดให้ผลยังไม่เสร็จสิ้น ขอกรรมนั้นจงให้ผลเสร็จสิ้นด้วยความพยายาม

หรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อย

ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้น

จงให้ผลมาก ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใดให้ผล ขอ

กรรมนั้นจงอย่าให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด ว่ากรรมใด

ไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผล ด้วยความพยายามหรือด้วยความเพียรเถิด

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความพยายามของพวกนิครนถ์ก็ไร้ผล ความเพียรก็ไร้ผล.

ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ การกล่าวก่อนและการ

กล่าวตาม ๑๐ ประการอันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ ผู้มีวาทะอย่างนี้น่า

ตำหนิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง

กรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้ทำกรรมชั่วไว้ก่อนแน่ ในบัด

นี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวย

สุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้

๑. คือวาทะของพวกครู และอนวาทะของศิษย์ที่ว่าตามกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ถูกพระผู้เป็นใหญ่ชั้นเลวเนรมิตมาแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนา

อันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์

กรรม พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีเคราะห์กรรมชั่วแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวย

ทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะ

เหตุอภิชาติ พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีอภิชาติเลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้

เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ต้องเป็นผู้มีความพยายามในปัจจุบัน

เลวแน่ ในบัดนี้ พวกเขาจึงได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเจ็บแสบเห็นปานนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุกรรมที่ตนทำ

ไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะ

เหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อม

เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ พวกนิครนถ์ต้องน่า

ตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิต

ให้ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุ

เคราะห์กรรม พวกนิครนถ์ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะ

เหตุเคราะห์กรรม พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุอภิชาติ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุอภิชาติ พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่

เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุพยายามในปัจจุบัน พวกนิครนถ์ก็ต้องน่าตำหนิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะอย่างนี้ วาทะของอาจารย์และวาทะ

ของศิษย์ ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของพวกนิครนถ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ น่า

ตำหนิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามไร้ผล ความเพียรไร้ผล อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล

ความเพียรจึงจะมีผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เอาทุกข์

ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้

หมกมุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่ง

ทุกข์ เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง

ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้

เธอพึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร

ย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียรและบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่

ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอ

นั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความ

เพียร แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มีไปเอง เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์

วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอัน

ไม่มีไปเอง.

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชายผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์

พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนพูดจา

กระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ

และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืน

พูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.

พวกภิกษุทูลว่า ต้องเป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้นกำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์พอใจ

อย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนโน้น ฉะนั้น ความโศก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ จึงเกิดขึ้นได้

แก่เขา เพราะเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาชายคนนั้น มีความดำริอย่างนี้ว่า เรา

กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ พอใจอย่างแรงกล้า มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคน

โน้น ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ

จึงเกิดขึ้นแก่เราได้ เพราะเห็นหญิงคนโน้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับ

ชายอื่น อย่ากระนั้นเลย เราพึงละความกำหนัด พอใจในหญิงคนโน้นที่เรา

มีนั้นเสียเถิด เขาจึงละความกำหนัดพอใจในหญิงคนโน้นนั้นเสีย สมัยต่อมา

เขาเห็นหญิงคนนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความรำพัน ความ

ทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ จะพึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เพราะ

เห็นหญิงคนโน้น ยืนพูดจากระซิกกระชี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่นบ้างหรือไม่.

ภิ. ข้อนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าขา.

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

ภิ. พระพุทธเจ้าข้า เพราะชายคนโน้น คลายกำหนัดในหญิงคนโน้น

แล้ว ฉะนั้น ถึงเห็นหญิงนั้นยืนพูดจากระซิกกระซี้ร่าเริงอยู่กับชายอื่น

ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจและความคับแค้นใจ ก็

ไม่เกิดแก่เขา.

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นแล ภิกษุไม่เอาทุกข์ทับถมตน

ที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑ ไม่สละความสุขที่เกิดขึ้นโดยธรรม ๑ ไม่เป็นผู้หมก

มุ่นในความสุขนั้น ๑ เธอย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า ถึงเรานี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์

เมื่อเริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความเพียร อนึ่ง ถึงเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

นี้ยังมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อวางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะก็ย่อมมีได้ เธอ

จึงเริ่มตั้งความเพียร ในทำนองที่ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร

ย่อมมีวิราคะ เพราะการเริ่มตั้งความเพียร และบำเพ็ญอุเบกขา ในทำนองที่

ภิกษุยังมีเหตุแห่งทุกข์ วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ ย่อมมีวิราคะ เมื่อเธอ

นั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์ เริ่มตั้งความเพียร วิราคะย่อมมีได้เพราะการตั้งความ

เพียร แม้อย่างนี้ทุกข์นั้นก็เป็นอันไม่มีไปเอง เมื่อเธอนั้นยังมีเหตุแห่งทุกข์

วางเฉย บำเพ็ญอุเบกขาอยู่ วิราคะย่อมมีได้ แม้อย่างนี้ ทุกข์นั้นก็เป็นอัน

ไม่มี่ ไปเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล แม้

อย่างนี้.

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็น

ดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตามสบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม

แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อม

เจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่ม

ตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อเธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรม

ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความ

ลำบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตน

เพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว

ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึงไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนช่างศร ย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้

เพราะเหตุที่ลูกศรเป็นของอันช่างศรย่างลนบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้

การได้แล้ว สมัยต่อมา ช่างศรนั้นไม่ต้องย่างลนลูกศรนั้นบนข่าไฟ ๒ อัน

ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะช่าง

ศรนั้นพึงย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ เพื่อประโยชน์ใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ประโยชน์นั้นของเขาเป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา ช่างศรจึงไม่ต้อง

ย่างลนลูกศรบนข่าไฟ ๒ อัน ดัดให้ตรงจนใช้การได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เมื่อเราอยู่ตาม

สบาย อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อเราเริ่มตั้งตน

เพื่อความลำบาก อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง อย่ากระนั้นเลย

เราพึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากเถิด เธอจึงเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เมื่อ

เธอเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากอยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

ยิ่ง สมัยต่อมา เธอไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุนั้นเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบาก เพื่อประโยชน์

ใด ประโยชน์นั้นของเธอ เป็นอันสำเร็จแล้ว ฉะนั้น สมัยต่อมา เธอจึง

ไม่ต้องเริ่มตั้งตนเพื่อความลำบากแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามมีผล

ความเพียรมีผล แม้อย่างนี้.

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี

รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม

โลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรม

งามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ

พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดี คนเกิด

ภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความ

เชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

เห็นดังนี้ ว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรา

ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจ

สังข์ที่เขาขัดแล้วนี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว ออกจากเรือนบวชเถิด สมัยต่อมา เขาละโภคสมบัติ

น้อยบ้าง มากบ้าง ละเครือญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม

ผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช เขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อม

ด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต

วางไม้ วางมีดแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูอนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล

ในสรรพสัตว์อยู่ ละอทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่

ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่ ละ

กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่าง

ไกล เว้นเมถุนอันเป็นเรื่องของชาวบ้าน ละมุสาวาท เป็นผู้เว้นขาดจาก

มุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริงดำรงอยู่ในคำสัตย์ เป็นหลักฐานเชื่อถือได้ ไม่พูด

ลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว

ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่บอกฝ่ายนี้

เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาแตกแยกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกัน หรือ

เมื่อเขาดีกันอยู่ก็ส่งเสริม ชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อม

เพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน

ละวาจาหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ

เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา

และชอบใจ ละการเจรจาเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าว

ถูกกาล กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอิงอรรถ กล่าวอิงธรรม กล่าวอิงวินัย

เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ตามกาล เธอเป็นผู้เว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว งด

การฉันในราตรี เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ

ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาด

จากการทัดทรงและตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็น

ฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ

เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับหญิงและกุมารี เป็น

ผู้เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เป็นผู้เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เป็น

ผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลา

เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูต

กรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เป็นผู้เว้นขาดจาก

การโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้

เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจาก

การตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชก เธอเป็น

ผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง

จะไปที่ใด ๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมด เหมือนนกมีปีก จะบินไปที่ใด ๆ

ย่อมมีแต่ปีกของตัวเท่านั้นเป็นภาระบินไป.

[๑๗] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุข

อันปราศจากโทษในภายใน เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต

และโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว

พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อม

รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต..... ได้ดม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

กลิ่นด้วยฆานะ... ได้ลิ้มรสด้วยชิวหา.. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิตและโดยอนุพยัญชนะ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศล

ธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความ

สำรวมในมนินทรีย์.

[๑๘] เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อม

เสวยสุขอันไม่เจือทุกข์ในภายใน เป็นผู้ทำความรู้สึกในเวลาก้าวไปและถอย

กลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลาคู้เข้าและเหยียดออก ในเวลาทรง

สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระ

และปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

[๑๙] เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ ประกอบด้วย

อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ

เช่นนี้แล้ว ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ป่าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น เฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว

มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ ละความ

ประทุษร้ายคือพยาบาท เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล

ในสรรพสัตว์อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท

ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถิ่นมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัม

ปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะได้ ละอุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว

เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะ-

กุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศล

ธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

[๒๐] เธอ ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการอันเป็นเครื่องทำให้เศร้า

หมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ

วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉย

เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน

ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียรมีผล.

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้

มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความ

พยายามมีผล ความเพียรมีผล.

[๒๔] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่

หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกถึงขันธ์

ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง

ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง

สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง

แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหาร

อย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาติ

นั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุ

เท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึงเข้าถึงในชาตินี้ เธอย่อมระลึกถึงขันธ์

ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

เช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความพยายามมีผล ความเพียร

มีผล.

[๒๕] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่

หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์

ทั้งหลาย มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบ

แล้วด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เชื่อมั่น กรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงได้เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบแล้วด้วยกายสุจริต

วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วย

อำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปจึงได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมมองเห็นหมู่

สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่

สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า ความ

พยายามมีผล ความเพียรมีผล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

[๒๖] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่

หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ รู้

ชัดตามเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ

นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น

แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว

ย่อม มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อย่างนี้แล ความพยายามจึงมีผล ความเพียรจึงมีผล.

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการ

อันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมถึงฐานะควรสรรเสริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง

กรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ตถาคตต้องเป็นผู้ทำกรรมดีแต่ก่อนแน่ ผลในบัดนี้

จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุที่พระผู้เป็นใหญ่เนรมิตให้ ตถาคตต้องเป็นผู้ที่พระผู้เป็นใหญ่ชั้นดี

เนรมิตแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่

สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุเคราะห์กรรม ตถาคตต้องเป็นผู้มีเคราะห์

กรรมดีแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่

สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องเป็นผู้มีอภิชาติดีแน่

ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็นปานนี้ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวย

สุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตต้องเป็นผู้มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

พยายามในปัจจุบันดีแน่ ผลในบัดนี้ จึงเสวยสุขเวทนาอันหาอาสวะมิได้เห็น

ปานนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่ง

กรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและ

ทุกข์ เพราะเหตุแห่งกรรมที่ตนทำไว้แต่ก่อน ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้า

หมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้ ตถาคตต้องน่า

สรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์เพราะเหตุที่อิศวรเนรมิตให้

ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุเคราะห์

กรรม ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะ

เหตุเคราะห์กรรม ตถาคตก็ต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุอภิชาติ ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์ย่อมเสวยสุขและทุกข์

เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตต้องน่าสรรเสริญ ถ้าหมู่สัตว์

ไม่ใช่เสวยสุขและทุกข์ เพราะเหตุแห่งความพยายามในปัจจุบัน ตถาคตก็ต้อง

น่าสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีวาทะอย่างนี้ วาทะ ๑๐ ประการ

อันชอบด้วยเหตุของตถาคตผู้มีวาทะอย่างนี้ จึงถึงฐานะควรสรรเสริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ เทวหสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ปปัญจสูทนี

อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

อรรถกถาเทวทหวรรค

อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑

เทวทหสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในเทวทหสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระราชาทั้งหลายเขา

เรียกว่าเทวะ ในบทว่า เทวทห นาม นี้. ก็ในนิคมนั้น พวกเจ้าศากยะ มี

สระโบกขรณีอันเป็นมงคลน่าเลื่อมใส พรั่งพร้อมด้วยการอารักขา. สระนั้นเขา

เรียกว่าเทวทหะ เพราะเป็นสระของเจ้าทั้งหลาย. อาศัยสระเทวทหะนั้น แม้

นิคมนั้นก็เรียกว่าเทวทหะเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยนิคมนั้น

ประทับอยู่ในลุมพินีวัน. บทว่า ทั้งหมดนั้นเพราะเหตุที่ทำไว้ในปางก่อน

ความว่า เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นปัจจัย. ด้วยคำนี้ทรงแสดงว่า

พวกนิครนถ์ก็ปฏิเสธการเสวยกรรม และการเสวยการกระทำ ย่อมรับการเสวย

วิบากอย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยคำว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มีวาทะ

อย่างนี้ ดังนี้ ทรงกำหนดแสดงพระดำรัสที่ตรัสไม่ได้กำหนดไว้ แต่ก่อน

บทว่า เราทั้งหลายได้มีแล้ว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

พวกนิครนถ์เหล่านั้นไม่รู้เลย ทรงประสงค์จะตรัสบอกคำสอนอันเป็นโทษ

ล้วน ๆ จึงตรัสคำนี้. เพราะชนเหล่าใดไม่รู้ว่าเราทั้งหลายได้มีมาแล้ว ชน

เหล่านั้นจะรู้ว่าทำกรรมไว้แล้ว หรือไม่ได้ทำไว้แล้วได้อย่างไร. แม้ในคำถาม

ที่สูง ๆ ขึ้นไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

บทว่า เอว สนฺเต ในจูฬทุกขักขันธสูตร ความว่า เมื่อคำของ

นิครนถ์ผู้ใหญ่ เป็นสัจจริงมีอยู่. แต่ในที่นี้ความว่า เมื่อพวกท่านไม่รู้ฐานะ

มีประมาณเท่านี้มีอยู่. บทว่า น กลฺล แปลว่า ไม่ควร.

บทว่า คาฬฺหูปเลปเนน แปลว่า ที่อาบยาพิษไว้มาก คือ อาบ

ด้วยยาพิษบ่อย ๆ แต่ไม่ใช่เหมือนทาด้วยแป้งเปียก. บทว่า เอสนิยา ได้

แก่ ชิ้นเครื่องมือทำแผลของศัลยแพทย์ จนชิ้นที่สุดหัว. บทว่า เอเสยฺย

ความว่า พึงพิจารณาว่า (แผล) ลึกหรือตื้น. บทว่า อคทงฺคาร ได้แก่

ผงสมอ หรือมะขามป้อมเผาไฟ. บทว่า โอทเหยฺย แปลว่า พึงใส่เข้าไป.

คำว่า อโรโค เป็นต้น ตรัสไว้แล้วในมาคัณฑิยสูตรนั่นแล. ในคำว่า เอว-

เมว โข นี้ เปรียบเทียบข้ออุปมา ดังนี้ เหมือนอย่างว่า เวลาที่นิครนถ์

เหล่านี้รู้ว่า เราได้มีแล้วในปางก่อนหรือหาไม่ เราได้ทำบาปกรรมไว้หรือไม่

ได้ทำ หรือเราทำบาปเห็นปานนี้ไว้แล้ว ก็เหมือนเวลาที่เวทนาในเวลาที่ลูกศร

แทง ปรากฏแก่คนที่ลูกศรแทงฉะนั้น เวลาที่รู้ว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้ของ

เรา ไม่มีแล้ว เมื่อทุกข์ประมาณเท่านี้ไม่มีแล้ว ทุกข์ทั้งหมดก็จักชื่อว่าตั้งอยู่

ในความบริสุทธิ์ ก็เหมือนเวลาที่เวทนาปรากฏในกาล ๔ ครั้ง มีกาลชำแหละ

ปากแผลเป็นต้น ฉะนั้น. เวลาที่จะรู้การละอกุศลธรรม ทำกุศลธรรมให้เกิด

ขึ้นในปัจจุบัน ก็เหมือนเวลาที่รู้ความผาสุขในเวลาต่อมาภายหลัง ฉะนั้น.

ในเรื่องนี้ ทรงแสดงข้อความ ๓ ข้อ ด้วยอุปมาข้อเดียว (และ) แสดงข้อ

ความเรื่องเดียวด้วยอุปมา ๔ ข้อ ด้วยประการฉะนี้.

ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น ไม่รู้ความ แม้แต่ข้อเดียว จากข้อความ

ที่กล่าวนั้น. เชื่อเรื่องนั้นทั้งหมดด้วยเพียงคำของนิครนถ์ผู้ใหญ่อย่างเดียว

เหมือนคนไม่ถูกลูกศรเลย เพราะลูกศรพลาดไป ก็สำคัญว่า เราถูกศรแทง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

โดยเพียงคำของข้าศึกที่พูดว่า ท่านถูกลูกศรแทงแล้ว ประสบทุกข์อยู่ฉะนั้น

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเทียบด้วยลูกศรอย่างนี้ ก็ไม่อาจ

โต้ตอบ ใส่วาทะเข้าในสมองของนิครนถ์ผู้ใหญ่กล่าวคำว่า ท่านนิครนถ์ ดัง

นี้เป็นต้น เหมือนสุนัขที่อ่อนแอลุกขึ้นไล่เนื้อให้วิ่งไปตรงหน้าเจ้าของ แล้ว

ตนเองก็หมดแรงไล่ฉะนั้น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงข่มนิครนถ์ศิษย์เหล่านั้น

พร้อมทั้งอาจารย์ จึงตรัสว่า ธรรม ๕ ประการนี้แล ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ตตรายสฺมนตาน ได้แก่ ธรรม ๕ ประการ เหล่านั้น ท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย. ด้วยคำว่า กา อตีตเส สตฺถริ สทฺธา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสถามว่า จะเชื่อถืออะไรในศาสดาผู้มีวาทะอันเป็นส่วนอดีต. คือ

ความเชื่อถือในนิครนถ์ผู้ใหญ่ของพวกท่าน ผู้ซึ่งเชื่อวาทะอันเป็นส่วนอดีต

นั้น เป็นไฉน. มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ มีผล ไม่มีผล อย่างไร แม้

ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สหธมฺมิก แปลว่า มีเหตุ คือ

มีการณ์. บทว่า วาทปฺปฏิหาร ได้แก่ วาทะที่สะท้อนมา (โต้ตอบ) ด้วย

พระดำรัสเพียงเท่านี้ ทรงแสดงวาทะที่ตัดความเชื่อของนิครนถ์เหล่านั้นว่า

พวกท่านจงเอาความเชื่อออกไปให้หมด ความเชื่อนี้อ่อน.

บทว่า อวิชฺชา อญฺาณา ได้แก่ เพราะอวิชชา เพราะไม่รู้.

บทว่า สมฺโมหา แปลว่า เพราะงมงาย. บทว่า วิปจฺเจถ ได้แก่เชื่อโดย

วิปริต. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถือเอาคลาดเคลื่อน.

บทว่า ทิฏฺธฺมมเวทนีย ความว่า ให้วิบากในอัตภาพนี้ทีเดียว.

บทว่า อุปกฺกเมน แปลว่า ด้วยความพยายาม. บทว่า ปธาเนน แปลว่า

ด้วยความเพียร. บทว่า สมฺปรายเวทนีย ความว่า ให้วิบากในอัตภาพที่ ๒

หรือที่ ๓. บทว่า สุขเวทนีย ความว่า กุศลกรรมที่ให้วิบากอันเป็นอิฏฐารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ที่ตรงกันข้าม (อกุศลกรรม) ให้ผลเป็นทุกข์. บทว่า ปริปกฺกเวทนีย

ความว่า ให้ผลในอัตภาพที่สุกงอมแล้ว คือสำเร็จแล้ว. บทว่า ปริปกฺกเวทนีย

นี้ เป็นชื่อของกรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน. บทว่า อปริปกฺกเวทนีย ได้แก่

ให้ผลในอัตภาพที่ยังไม่สุกงอม. บทว่า อปริปกฺกเวทนีย นี้เป็นชื่อของกรรม

ที่ให้ผลในภายหน้า. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ใจความที่แปลกกันในเรื่องนี้ มีดัง

ต่อไปนี้

กรรมใดที่ทำไว้ในตอนปฐมวัย ให้วิบากในปฐมวัย มัชฌิมวัยหรือ

ปัจฉิมวัย ที่กระทำไว้ในตอนมัชฌิมวัย ให้วิบากในมัชฌิมวัยหรือปัจฉิมวัย ที่

ทำไว้ในตอนปัจฉิมวัย ให้วิบากในปัจฉิมวัยนั้นเลย กรรมนั้นชื่อว่าให้ผลใน

ปัจจุบัน ส่วนกรรมใดที่ให้วิบากภายใน ๗ วัน กรรมนั้นชื่อว่า ให้ผลเสร็จ

แล้ว กรรมที่ให้ผลเสร็จแล้วนั้น เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล. ในเรื่องกรรมที่

ให้ผลภายใน ๗ วัน นั้นมีเรื่องราวดังต่อไปนี้ :-

ทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม

ได้ยินว่าคนเข็ญใจ ชื่อ ปุณณะ อาศัยท่านสุมนเศรษฐีอยู่ในเมือง

ราชคฤห์. วันหนึ่งเขาโฆษณาการเล่นนักขัตฤกษ์ในเมือง ท่านเศรษฐีจึง

กล่าวกะนายปุณณะนั้นว่า ถ้าวันนี้เจ้าจะไถนา จะได้โค ๒ ตัวกับไถ (ใหม่)

๑ คัน เจ้าจะเล่นนักขัตฤกษ์ หรือจะไถนา. นักขัตฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร

แก่ผม ผมจักไถนา. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเลือกเอาโคตัวที่ต้องการเอาไปไถนา.

เขาไปไถนา ในวันนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากนิโรธสมาบัติรำพึงว่า

เราจะสงเคราะห์ใคร เห็นนายปุณณะ จึงถือบาตรจีวรไปยังที่ที่เขาไถนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

นายปุณณะวางไถถวายไม้ชำระฟัน แล้วถวายน้ำบ้วนปากแก่พระเถระ

พระเถรปฏิบัติสรีระแล้ว นั่งในที่ไม่ไกลเขาซึ่งกำลังทำงาน คอยการนำ

ภัตตาหารมา. ทันทีนั้นท่านเห็นภรรยาของเขากำลังนำอาหารมา จึงได้แสดง

ตน (ให้เห็น) ในระหว่างทางทันที.

นางจึงเอาอาหารที่นำมาให้สามี ใส่ลงในบาตรของพระเถระแล้ว

กลับไปปรุงอาหารใหม่ ต่อเวลาสายจึงได้ไปถึง. นายปุณณะไถนาคราวแรก

แล้วนั่งลง. ฝ่ายภรรยาถืออาหารมาแล้วกล่าวว่า นายจ๋า ฉันนำอาหารมาให้

ท่านแต่เช้าตรู่ แต่ในระหว่างทางฉันเห็นพระสารีบุตร จึงถวายอาหารนั้น

แก่ท่าน แล้วไปหุงต้มอาหารชุดใหม่มา จึงสาย โกรธไหมนาย. นายปุณณะ

พูดว่า แม่มหาจำเริญ เธอทำดีแล้ว ตอนเช้าตรู่ ฉันก็ได้ถวายไม้ชำระฟัน

และน้ำบ้วนปากแก่พระเถระ. แม้บิณฑบาต พระเถระนี้ก็ได้ฉัน เพราะการ

ถวายทานของเรา วันนี้เรามีส่วนแห่งสมณธรรมที่พระเถระบำเพ็ญแล้ว ดังนี้

ได้ทำจิตให้เลื่อมใส. สถานที่ที่เขาไถครั้งแรก ก็กลายเป็นทองคำ เขาบริโภค

แล้วแลดูสถานที่ที่ไถไว้ เห็นโชติช่วง จึงลุกขึ้นเอาไม้เท้าเคาะดูรู้ว่าเป็นทองคำ

สีสุกปลั่ง คิดว่าเรายังไม่ได้ทูลพระราชาให้ทรงทราบแล้ว ไม่อาจจะใช้สอย

จึงไปกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งให้เอาเกวียนบรรทุกทองคำทั้งหมด

นั้นมากองที่พระลานหลวง แล้วตรัสถามว่า ในพระนครนี้ใครมีทองประมาณ

เท่านี้บ้าง. และเมื่ออำมาตย์กราบทูลว่า ของใคร ๆ ไม่มี จึงประทานตำแหน่ง

เศรษฐีแก่นายปุณณะนั้น. เขาจึงมีชื่อว่า ปุณณะเศรษฐี.

อีกเรื่องหนึ่ง ในพระนครราชคฤห์นั้นนั่นแหละ มีคนเข็ญใจคนหนึ่ง

ชื่อว่า กาฬวฬิยะ ภรรยาของเขาหุงข้าวยาคูกับผักดอง. พระมหากัสสปเถระ

ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วรำพึงว่า เราจะทำการสงเคราะห์ใคร เห็นภรรยา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ของนายกาฬวฬิยะ จึงได้ไปยืนที่ประตูบ้าน นางรับบาตรใส่ข้าวยาคูทั้งหมด

ลงในบาตรนั้นแล้ว ถวายพระเถระ. พระเถระไปยังวิหารแล้วน้อมถวายแด่

พระศาสดา. พระศาสดาทรงรับเอาแค่พอเป็นยาปนมัตต์สำหรับพระองค์.

ข้าวยาคูที่เหลือเพียงพอสำหรับพระภิกษุ ๕๐๐ รูป. แม้นายกาฬวฬิยะก็ได้

ตำแหน่งจูฬกเศรษฐี. พระมหากัสสปทูลถามวิบากของนายกาฬวฬิยะกะพระ-

ศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ไป เขาจักได้ฉัตรเศรษฐี.

นายกาฬวฬิยะฟังพระดำรัสนั้นแล้วไปบอกภรรยา.

ครั้งนั้น พระราชาเสด็จเลียบพระนครได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั่ง

อยู่บนหลาวสำหรับประหารชีวิต นอกพระนคร. บุรุษเห็นพระราชาจึงตะโกน

ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ได้โปรดส่งอาหารที่พระองค์เสวยมาให้

ข้าพระองค์เถิดพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่าจะส่งมาให้ ครั้นพวกวิเสทเตรียม

พระกระยาหารตอนเย็น จึงระลึกขึ้นได้ ตรัสว่า พวกเจ้าจงหาคนที่สามารถนำ

อาหารนี้ไป (ให้เขา). พวกราชบุรุษเอาห่อทรัพย์พันหนึ่งเที่ยว (ป่าวร้อง

หาผู้สามารถ) ในพระนคร. ครั้งที่ ๓ ภรรยาของนายกาฬวฬิยะได้รับเอา

(ห่อทรัพย์พันหนึ่งไป). พวกราชบุรุษได้กราบทูลเบิกตัวนางแด่พระราชา.

นางปลอมตัวเป็นชาย ผูกสอดอาวุธ ๕ ประการ ถือถาดอาหารออกจาก

พระนครไป. ยักษ์ ชื่อทีฆตาละสิงอยู่ที่ต้นตาลนอกพระนคร เห็นนางเดินไป

ตามโคนไม้จึงกล่าวว่า หยุด หยุด เจ้าเป็นอาหารของเรา เราไม่ได้เป็น

อาหารของท่าน เราเป็นราชทูต. จะไปไหน? ไปสำนักของบุรุษที่นั่งอยู่บน

หลาวสำหรับประหารชีวิต. เจ้าสามารถนำข่าวของเราไปสักข่าวหนึ่งได้ไหม?

ได้. ยักษ์กล่าวว่า เจ้าพึงบอกดังนี้ว่า นางกาฬีธิดาของเจ้าสุมนเทพ ผู้เป็น

ภริยาของทีฆตาลยักษ์คลอดบุตรเป็นชาย ที่โคนตาลต้นนี้ มีขุมทรัพย์อยู่ ๗ ขุม

เจ้าจงถือเอาขุมทรัพย์นั้นไป. นางได้ไปป่าวร้องว่า นางกาฬีธิดาของเจ้าสุมน-

เทพ ผู้เป็นภริยาของทีฆตาลยักษ์ คลอดบุตรเป็นชาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

สุมนเทพนั่งอยู่ในยักขสมาคมได้ยินจึงกล่าวว่า มนุษย์คนหนึ่งนำข่าว

อันน่ายินดีของพวกเรามาป่าวร้อง พวกท่านจงไปเรียกเขามา ได้ฟังข่าวนั้น

แล้ว เลื่อมใสจึงกล่าวว่า ขุมทรัพย์ในปริมณฑลแห่งร่มเงาของต้นไม้นี้แผ่ไปถึง

เราให้เจ้า. บุรุษผู้นั่งบนหลาวสำหรับประหารชีวิต บริโภคอาหารแล้ว ถึงเวลา

(นางเอาผ้ามา) เช็ดหน้า ก็รู้ว่าเป็นสัมผัสของหญิง จึงกัดมวยผม นางจึง

เอาดาบตัดมวยผมของตน แล้วกลับไปยังสำนักของพระราชาทันที. พระราชา

ตรัสว่า ภาวะที่บุรุษคนนั้นได้บริโภคอาหารแล้ว จะรู้ได้อย่างไร? นางทูลว่า

รู้ได้ด้วยเครื่องหมายของมวยผม (ที่ถูกตัดไป) แล้วกราบทูลพระราชาให้ขน

ทรัพย์นั้นมา. พระราชาตรัสถามว่า ชื่อว่าทรัพย์มีประมาณเท่านี้ของคนอื่น

มีไหม ตอบว่า ไม่มีพระเจ้าข้า. พระราชาจึงทรงตั้งสามีของนางให้เป็นธน-

เศรษฐีในพระนครนั้น. แม้เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวีก็ควร (นำมา) กล่าว.

เรื่องตามที่เล่ามานี้เริ่มด้วย เรื่องที่เกี่ยวกับกุศลกรรม ก่อน.

ส่วนนันทมาณพ ปฏิบัติผิดต่อพระอุบลวัณณาเถรี. เมื่อเขาลุกขึ้น

จากเตียงแล้วออกไป แผ่นดินใหญ่ได้สูบเขาลงสู่มหานรก ณ ที่ตรงนั้นเอง

แม้นายโคฆาตก์ชื่อ นันทะ ทำการฆ่าโคอยู่ถึง ๕๐ ปี วันหนึ่ง เขาไม่ได้

เนื้อในเวลาบริโภคอาหาร จึงตัดลิ้นโคทั้งเป็นตัวหนึ่งให้ปิ้งที่ถ่านไฟแล้ว เริ่ม

ลงมือเคี้ยวกิน. ทีนั้น ลิ้นของเขาขาดตรงโคนตกลงในภาชนะอาหารทันที

เขาร้อง (ดังเสียงโค) ตายไปเกิดในนรก. แม้นันทยักษ์ เหาะไป กับยักษ์

ตนอื่น เห็นพระสารีบุตรเถระมีผมที่ปลงไว้ใหม่ ๆ นั่งอยู่กลางแจ้ง ในเวลา

กลางคืน ใคร่จะตีศีรษะ จึงบอกแก่ยักษ์ที่มาด้วยกัน แม้จะถูกยักษ์นั้นห้าม

ปรามก็ตีจนได้ พลางร้องว่า ร้อนๆ แล้วก็จมลงในแผ่นดินตรงที่นั้นเอง เกิด

ในมหานรก เรื่องดังกล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอกุศลกรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ก็กรรมที่บุคคลกระทำแล้ว ชั้นที่สุดแม้ในเวลาใกล้จะตายให้ผลใน

ภพอื่นได้ ทั้งหมดนั้นชื่อว่า กรรมที่ให้ผลในภพต่อไป. ในเรื่องวิบาก

ของกรรมนั้น วิบากอันใดของฌานที่ไม่เสื่อม วิบากอันนั้นท่านกล่าวว่า

วิบากที่เกิดแล้ว ในที่นี้ ท่านไม่ได้วิจารณ์ไว้ว่า กรรมที่เป็นต้นเค้ามูลของ

วิบากนั้น ไม่ให้ผลในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในสัมปรายภพ. ท่านไม่วิจารณ์ไว้

ก็จริง แต่ถึงกระนั้นพึงทราบว่า กรรมนั้นให้ผลในสัมปรายภพแน่นอน.

วิบากคือผลสมาบัติอันใดในลำดับแห่งการเกิดของปฐมมรรคเป็นต้น วิบากคือ

ผลสมาบัติอันนั้น ท่านกล่าวว่า เป็นคุณความดีอันเกิดขึ้นแล้ว ในที่นี้. ท่าน

กล่าวไว้อย่างนั้นก็จริง แต่ถึงกระนั้น มรรคกรรม พึงทราบว่าให้ผลเสร็จสิ้น

ไปแล้ว เพราะมรรคเจตนาเท่านั้น ให้ผลเร็วกว่าเขาทั้งหมด เพราะเป็นผลใน

ลำดับติดต่อกันไปแล.

บทว่า พหุเวทนีย คือ เข้าถึงสัญญภพ. บทว่า อปฺปเวทนีย

คือ เข้าถึงอสัญญภพ. บทว่า สเวทนีย คือ กรรมที่มีผล. บทว่า อเวทนีย

คือ กรรมที่ไม่มีผล. บทว่า เอว สนฺเต ความว่า เมื่อกรรมที่ให้ผลใน

ปัจจุบันเป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้เหตุแห่งความเป็นกรรมที่ให้ผลในสัมปรายภพ

เป็นต้น ด้วยความพยายามมีอยู่. บทว่า อผโล คือไร้ผล ไร้ประโยชน์

ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความ

พากเพียรในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ไม่มีผล แล้วทรงแสดง

ถึงวาทะอันเป็นเครื่องตัดความเพียร (ที่ไร้ผล). บทว่า สหธมฺมิกา วาทานุ-

วาทา ได้แก่ วาทะของนิครนถ์อาจารย์ วาทะของนิครนถ์ศิษย์ที่มีเหตุกล่าว

ไว้. บทว่า คารยฺหฏฺาน อาคจฺฉนฺติ ได้แก่ มาถึงเหตุที่วิญญูชน

ทั้งหลายจะพึงติเตียน. ปาฐะว่า วาทานุปฺปตฺตา คารยฺหฏฺานา ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ใจความของปาฐะนั้นว่า วาทะ ของเหล่านี้ครนถ์ที่เป็นเหตุเพราะเหตุที่ผู้อื่น

กล่าว ทำวาทะที่ตามมาถึงเหือดแห้งไป ย่อมมาถึงฐานะที่น่าตำหนิ มีเป็น

ผู้ทำกรรมชั่ว เป็นต้น.

บทว่า สงฺคติภาวเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งศุภเคราะห์. บทว่า

อภิชาติเหตุ ได้แก่ เหตุแห่งอภิชาติ ๖. บทว่า ปาปสงฺคติกา ได้แก่

ผู้มีบาปเคราะห์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงว่า ความพยายามของพวก

นิครนถ์เป็นการไร้ผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงแสดงความว่า ความพยายาม

และความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ มีผล จึงตรัสว่า

กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนทฺธภูต คือ

อันทุกข์ไม่ครอบงำ. อัตภาพของมนุษย์ ท่านเรียกชื่อว่า อันทุกข์ไม่ทับถม

อธิบายว่า ทุกข์ย่อมไม่ทับถม คือไม่ครอบงำอัตภาพนั้น. บุคคลประกอบ

อัตภาพแม้นั้น ในการกระทำกิจที่ทำได้ยากมีประการต่างๆ ชื่อว่า เอาทุกข์

ทับถม ส่วนคนเหล่าใดบวชในพระศาสนาแล้ว อยู่ป่าหรืออยู่โคนไม้เป็นต้น

ก็ตามที คนเหล่านั้นได้ชื่อว่า ไม่เอาทุกข์ทับถม. เพราะว่าความเพียรใน

พระศาสนาอันเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ชื่อว่าเป็นสัมมาวายามะ ความ

พยายามชอบ.

ฝ่ายพระเถระกล่าวว่า บุคคลใดเกิดในตระกูลที่ยิ่งใหญ่ พอมีอายุ

ครบ ๗ ขวบ คนใช้ประดับตกแต่งร่างกายให้นั่งบนตักของบิดา เมื่อพระสงฆ์

นั่งฉันภัตตาหารเสร็จแล้วกล่าวอนุโมทนา ครั้นท่านแสดงสมบัติทั้ง ๓ (คือ

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) แล้วประกอบอริยสัจ ๔ เขา

บรรลุพระอรหัต. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ถูกบิดามารดาถามว่า จักบวชไหม ลูก

กล่าวว่า จักบวช บิดามารดาจึงให้อาบน้ำตบแต่งร่างกายนำไปยังวิหาร นั่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

รับตจปัญจกกรรมฐาน เมื่อเขากำลังโกนผม ก็บรรลุพระอรหัต ในขณะที่

จรดปลายมีดโกนนั่นแล ก็หรือว่า ยังเป็นผู้บวชใหม่ มีศีรษะทาน้ำมันผสม

มโนศิลา วันรุ่งขึ้น ฉันภัตตาหารที่บิดามารดาส่งไปให้นั่งอยู่ในวิหารนั่นแหละ

บรรลุพระอรหัต ผู้นี้ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตน. แต่ผู้นี้เป็นผู้ชื่อว่ามี

สักการะอย่างสูง. ผู้ใดเกิดในท้องของนางทาสี ประดับประดาชั้นที่สุดแม้แต่

แหวนเงิน ไล้ทาด้วยเพียงท่อนผ้าและข้าวฟ่าง ถูกนำไปโดยพูดว่า จงให้เขา

บวช ได้บรรลุพระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกน หรือในวันรุ่งขึ้น แม้ผู้นี้

ก็ไม่ชื่อว่า เอาทุกข์ทับถมตนที่ยังไม่ถูกทับถม.

สุขอันเกิดแต่ปัจจัย ๔ ที่เกิดจากสงฆ์ หรือคณะ ชื่อว่า สุขอัน

ชอบธรรม. บทว่า อนธิมุจฺฉิโต ได้แก่ ผู้ไม่หมกมุ่นด้วยความหมกมุ่น

คือตัณหา. คือไม่พึงทำความอยากได้ในสุขนั้น ด้วยความหวังว่า เราจะไม่

สละสุขอันชอบธรรม. จริงอยู่ ภิกษุกำหนดเอาสลากภัตหรือวัสสาวาสิกภัต

อันเกิดจากสงฆ์ว่า นี้เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งแล้วบริโภคอยู่ในระหว่างพวก

ภิกษุ ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและ

ผล อุปมาเหมือนดอกบัวเจริญงอกงามอยู่ในระหว่างใบฉะนั้น. บทว่า อิมสฺส

ได้แก่ เป็นมูลแห่งขันธ์ห้าอันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ทุกขฺนิทานสฺส ได้แก่

ตัณหา. จริงอยู่ ตัณหานั้นเป็นเหตุแห่งทุกข์ คือ เบญจขันธ์. บทว่า สงฺขาร

ปทหโต คือ กระทำความเพียรในการประกอบกิจ. บทว่า วิราโค โหติ

ได้แก่ ย่อมมีการคลายกิเลสด้วยมรรค. ท่านอธิบายว่า เราคลายเหตุแห่งทุกข์

นี้ ด้วยการเริ่มตั้งความเพียร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

ด้วยบทว่า เอว ปชานาติ นี้. ตรัสอาการที่เป็นกลาง ๆ แห่งความเพียรใน

การประกอบกิจนั้นด้วยทุติยวาร. ในคำว่า โส ยสฺส หิ ขฺวาสฺส นี้ มีความ

ย่อดังต่อไปนี้. บุคคลใด ย่อมคลี่คลายเหตุแห่งความทุกข์ด้วยการเริ่มตั้งความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

เพียร บุคคลนั้นย่อมเริ่มตั้งความเพียรในเหตุแห่งทุกข์นั้น ย่อมเริ่มตั้งความ

เพียรด้วยความเพียรในมรรค. ส่วนบุคคลใดเจริญอุเบกขาโดยเป็น อัชฌุ-

เบกขา ย่อมคลี่คลายเหตุแห่งทุกข์ได้ บุคคลนั้นย่อมเจริญอุเบกขา ในเหตุ

แห่งทุกข์นั้น ย่อมเจริญด้วยมรรคภาวนา. บทว่า ตสฺส ได้แก่ บุคคลนั้น.

บทว่า ปฏิพทฺธจิตโต ได้แก่ มีจิตผูกพันด้วยฉันทราคะ. บทว่า

ติพฺพจฺฉนฺโท ได้แก่ มีฉันทะหนา. บทว่า ติพฺพาเปกฺโข ได้แก่

มีความปรารถนาหนาแน่น. บทว่า สนฺติฏฺนตึ คือ ยืนอยู่ด้วยกัน. บทว่า

สญฺชคฺฆนฺตึ คือ หัวเราะใหญ่. บทว่า สหสนฺตึ คือ ทำการยิ้มแย้ม.

ในคำว่า เอวเมว โข ภิกขฺเว นี้ จะกล่าวให้แจ่มแจ้งด้วยข้ออุปมาดังต่อ

ไปนี้

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้หนึ่งมีความกำหนัดต่อหญิงผู้หนึ่ง ให้ของกิน

เครื่องนุ่งห่ม พวงมาลัย และเครื่องประดับเป็นต้น แล้วอยู่ครองเรือนกัน.

นางประพฤตินอกใจเขาคบหาชายอื่น. เขาคิดว่า เราคงไม่ให้ของขวัญอันเหมาะ

สมแก่นางเป็นแน่ (นางจึงมีชู้) จึงเพิ่มของขวัญให้. นางยิ่งประพฤตินอกใจ

หนักยิ่งขึ้น. เขาคิดว่า นางนี่แม้เราให้ของขวัญ ก็ยังประพฤตินอกใจอยู่นั่น

แหละ. ขืนอยู่ครองเรือนกันก็จะก่อกรรมทำเข็ญให้ เราจะไล่นางไปเสีย ดังนี้

จึงด่าเสียจนหนำใจ ท่ามกลางประชุมชน. แล้วปล่อยไปด้วยการกล่าวห้ามว่า

อย่าเข้ามาบ้านข้าอีกต่อไป. นางไม่อาจทำความสนิทสนมกับเขาไม่ว่าด้วยอุบาย

ไร ๆ จึงเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อนรำเป็นต้น. เพราะได้เห็นหญิงนั้น เขาไม่

เกิดความเสียใจเลย แต่กลับเกิดความดีใจ. พึงทราบความในข้อเปรียบเทียบ

นั้น. ความอาลัยในอัตภาพของภิกษุนี้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ชายเกิดกำหนัด

ในหญิง. เวลาที่ประคับประคองอัตภาพ พึงเหมือนเวลาที่ชายให้ของกินและ

เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แล้วอยู่ครองเรือนกัน. ความที่อัตภาพ อันภิกษุรักษา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

อยู่นั่นแหละ เกิดอาพาธด้วยโรคดีกำเริบเป็นต้น พึงเห็นเหมือนเวลาที่หญิง

นั้นประพฤตินอกใจ. เวลาที่กำหนดไว้ว่า โรคเมื่อไม่ได้ยาจึงเป็นอย่างนี้ จึง

กอบยา พึงเห็นเหมือนชายกำหนดได้ว่า (หญิงนี้) ไม่ได้ของขวัญ อัน

คู่ควรแก่ตน จึงประพฤตินอกใจ จึงเพิ่มของขวัญให้. ความที่เมื่อโรคอย่าง

หนึ่งมีดีกำเริบเป็นต้น ที่ภิกษุประกอบยารักษาอยู่กลับมีอาพาธด้วยโรคอย่าง

อื่นกำเริบขึ้น พึงเห็นเหมือนเมื่อชายเพิ่มของขวัญให้หญิงนั้น ก็ยังประพฤติ

นอกใจอีก. การถึงความหมดอาลัยในอัตภาพนั้นว่า เดี๋ยวนี้ เราไม่ได้เป็น

ทาส ไม่ได้เป็นกรรมกรของเจ้า เราเที่ยวบำรุงเจ้าถ่ายเดียว ในสังสารอันหา

เบื้องต้นมิได้ เราไม่ต้องการอะไรจากเจ้า เจ้าจงขาดสูญไป หรือแตกทำลาย

ไปก็ตามดังนี้ แล้วกระทำความเพียรให้มั่น ถอนกิเลสด้วยมรรค พึงเห็น

เหมือนการที่ชายด่าหญิงเสียจนหนำใจในท่ามกลางประชุมชน แล้วฉุดคร่าออก

จากเรือน เพราะเห็นหญิงนั้นเที่ยวฟ้อนรำกับพวกนักฟ้อนรำเป็นต้น ความ

เสียใจย่อมไม่เกิดแก่ชายนั้น มีแต่ความดีใจอย่างเดียวเกิดขึ้นฉันใด ภิกษุนี้ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุพระอรหัตแล้ว ความเสียใจย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะ

ได้เห็นอัตภาพมีความป่วยไข้ด้วยโรคดีกำเริบเป็นต้น เกิดความดีใจอย่างเดียว

ว่าเราจักพ้นจากทุกข์ อันเกิดแต่การฆ่า การจองจำ และการบริหารขันธ์. ก็

อุปมานี้พึงทราบว่า ยกมาเพื่อทำเนื้อความนี้ให้ชัดแจ้งว่า ชายย่อมละความ

กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจต่อหญิง เพราะรู้ว่าความเสียใจย่อมเกิดแก่ผู้มีจิต

ปฏิพัทธ์ เมือไม่มีจิตปฏิพัทธ์ ความเสียใจนั้น ก็ไม่มี ดังนี้ ฉันใด ภิกษุ

นี้รู้ว่า เมื่อเราเริ่มตั้งความเพียรหรืออบรมอุเบกขาอยู่ ย่อมละเหตุแห่งทุกข์

ได้ ไม่ใช่ละได้โดยประการอื่น ดังนี้ แล้วทำการเริ่มตั้งความเพียร และ

อบรมอุเบกขาทั้งสองอย่างนั้นให้สมบูรณ์ ย่อมละเหตุแห่งทุกข์ (คือตัณหา)

ได้ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

บทว่า ยถาสุข โข เม วิหรโต ความว่า อยู่ตามความสุข

ที่เราต้องการจะอยู่. บทว่า ปทหนฺตสฺส ได้แก่ ส่งไป. ก็ในคำว่า ยถาสุข

โข เม วิหรโต นี้ ภิกษุใดมีการปฏิบัติสะดวก (แต่) ไม่เป็นที่สบาย ภิกษุ

นั้น ครองจีวรเนื้อละเอียด อยู่ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส จิตย่อมฟุ้งซ่าน.

ภิกษุใด มีการปฏิบัติลำบาก (แต่) เป็นที่สบาย. ภิกษุนั้นครองจีวรเนื้อหยาบ

ทั้งขาดทั้งวิ่นอยู่ป่าช้าและโคนไม้เป็นต้น จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทรงหมายเอา

ภิกษุนั้น จึงตรัสคำนี้. ในคำว่า เอวเมว โข นี้ เทียบเคียงข้ออุปมา ดังต่อ

ไปนี้. ท่านผู้ประกอบความเพียรซึ่งกลัวต่อชาติ ชรา และมรณะ พึงเห็น

เหมือนช่างศร จิตอันคดโกง พึงเห็นเหมือนลูกศรอันคดโค้งและงอ ความ

เพียรทางกายและทางจิต พึงเห็นเหมือนดุ้นฟืนสองดุ้น. ศรัทธา พึงเห็น

เหมือนยางน้ำข้าว ของช่างศรผู้ดัดลูกศรให้ตรง โลกุตรมรรค พึงเห็น

เหมือนท่อนไม้สำหรับดัด. การที่ภิกษุเอาศรัทธาชโลมจิตที่คดโกงและงอแล้ว

ย่าง ด้วยความเพียรทางกายและทางจิต ทำให้ตรงด้วยโลกุตรมรรค พึงเห็น

เหมือนช่างศรเอายางน้ำข้าวชโลมลูกศรที่คดโค้งงอแล้วย่างในฟืน แล้วดัดให้

ตรงด้วยไม้สำหรับดัด. การเสวยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ของภิกษุผู้ประกอบ

ความเพียรนี้ แทงหมู่กิเลสด้วยจิตทำให้ตรงอย่างนั้น มีกำลังชั้นเยี่ยมด้วย

นิโรธ (อยู่) ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส พึงเห็นเหมือนช่างศรนั่นแลยิงข้าศึก

ด้วยลูกศรที่ดัดให้ตรงอย่างนั้น แล้วได้เสวยสมบัติในที่นี้ เพื่อจะตรัสข้อปฏิบัติ

สำหรับภิกษุผู้ปฏิบัติสะดวกและรู้เร็ว กับภิกษุผู้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ที่ยัง

ไม่ได้ตรัส สำหรับภิกษุสองพวกนอกนี้ พระตถาคตจึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้.

เมื่อตรัสข้อปฏิบัติทั้งสองเหล่านี้ (คือ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา และ

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา) แม้ข้อปฏิบัตินอกนี้ (คือ ทุกขาปฏิปทาทัน-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ธาภิญญา และสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา) ก็เป็นอันตรัสไว้ด้วย. ส่วน อาคม-

นียปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ มิได้ตรัสไว้. เพื่อตรัสอาคมนียปฏิปทา

นั้น จึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้. อีกอย่างหนึ่ง ข้อปฏิบัติแม้เป็น สหาคม-

นียะ ข้อปฏิบัตติที่ควรบรรลุพร้อมกัน ก็ตรัสไว้แล้วเหมือนกัน. แต่เพื่อ

ทรงแสดงพุทธุปปาทกาล สมัยอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า สมัยหนึ่ง ซึ่งยังไม่

ได้ทรงแสดงไว้ แล้วทรงแสดงว่าเราจักเปลี่ยนแปลงเทศนาว่าด้วยเนกขัมมะการ

ออกไป (จากกาม) แก่กุลบุตรผู้หนึ่ง ด้วยพระอรหัต ดังนี้ จึงทรงเริ่ม

เทศนากัณฑ์นี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

๒. ปัญจัตตยสูตร

ว่าด้วยความเห็นผิดต่างๆ

[๒๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์

ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่น

หลายประการ คือ พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่มีสัญญาเป็นของ

ยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาที่ไม่มี

สัญญาเป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า

อัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่เป็นของยั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป

อีกพวกหนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่

และอีกพวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน เป็นอันว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีอยู่ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไปพวกหนึ่ง บัญญัติ

ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่พวกหนึ่ง กล่าว

ยืนยันนิพพานในปัจจุบัน อีกพวกหนึ่ง รวมบทแห่งความเชื่อมั่น เหล่านี้

เป็น ๕ บท แล้วเป็น ๓ บท เป็น ๓ ขยายเป็น ๕ นี้อุเทศของบทห้า ๓

หมวด ของความเชื่อมั่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่าน

สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อม

บัญญัติอัตตาที่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๗) ชนิดมีสัญญาน้อย ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันวิญญาณกสิณของอัตตามีสัญญา

ชนิดใดชนิดหนึ่งเหล่านี้ ที่เป็นไปล่วงชนิดทั้ง ๗ ว่า หาประมาณมิได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์ พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้า

แต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๕) ชนิดมีสัญญาอย่างเดียวกัน ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๖) ชนิดมีสัญญาต่างกัน ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

(๗) ชนิดมีสัญญาน้อย ว่ายังยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๘) ชนิดมีสัญญาหาประมาณมิได้ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

แต่ยังมีอีกพวกหนึ่ง กล่าวยืนยันอากิญจัญญายตนะว่า หาประมาณ

มิได้ไม่หวั่นไหว ด้วยเหตุที่สัญญาอันบัณฑิตกล่าวว่าบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดไม่มี

สัญญาอื่นยิ่งกว่าสัญญาเหล่านี้ทั้งที่เป็นสัญญาในรูป ทั้งที่เป็นสัญญาในอรูป

ทั้งที่เป็นสัญญาอย่างเดียวกัน ทั้งที่เป็นสัญญาต่างกัน ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เรื่อง

สัญญาดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัย

ปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจาก

สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่าน

สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป

ย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์

พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณ-

พราหมณ์พวกอสัญญีวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรค

เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร สิ่งดี ประณีต นี้คือความไม่มีสัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืน เบื้องหน้า

แต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เราจักบัญญัติการมาเกิด หรือการไปเกิด การจุติ การอุปบัติ ความเจริญ

ความงอกงาม ความไพบูลย์ นอกจากรูป นอกจากเวทนา นอกจากสัญญา

นอกจากสังขาร นอกจากวิญญาณ คำกล่าวดังนี้ของสมณพราหมณ์นั้น ไม่ใช่

ฐานะที่มีได้ เรื่องไม่มีสัญญาดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึง

เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัย

ปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ท่าน

สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืน

เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์

พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณ-

พราหมณ์พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

อัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนเบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์

พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะสัญญาเป็นเหมือนโรค

เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร ความไม่มีสัญญาเป็นความหลง สิ่งดี

ประณีตนี้ คือ ความมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา

ก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่

ไม่มีสัญญาก็มิใช่

(๑) ชนิดมีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๒) ชนิดไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๓) ชนิดทั้งมีรูปและไม่มีรูป ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

(๔) ชนิดมีรูปก็มิใช่ไม่มีรูปก็มิใช่ ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บัญญัติ

การเข้าอายตนะนี้ ด้วยเหตุเพียงสังขารที่ตนรู้แจ้ง โดยได้เห็นได้ยินและได้

ทราบ การบัญญัติของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็น

ความพินาศของการเข้าอายตนะนี้ เพราะอายตนะนี้ ท่านไม่กล่าวว่า พึงบรรลุ

ด้วยความถึงพร้อมของสังขาร แต่ท่านกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความถึงพร้อม

ของขันธ์ที่เหลือจากสังขาร เรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะดังนี้นั้น อันปัจจัย

ปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคต

ทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง

นั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ที่กำหนดขันธ์

ส่วนอนาคตนั้น สมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญา ว่ายั่งยืนเบื้องหน้าหน้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

แต่ตายไป ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ

ความไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่ไม่มี

สัญญา ว่ายั่งยืน เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์พวก

อุจเฉทวาทะนั้น แม้ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่

ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่ายั่งยืนเบื้องหน้า แต่ตายไป ก็ย่อมคัดค้านสมณพราหมณ์

พวกอุจเฉทวาทะนั้น นั่นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านี้ แม้

ทั้งหมด ย่อมหมายมั่นกาลข้างหน้า กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า เรา

ละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ ๆ เปรียบเหมือนพ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังว่า

ผลจากการค้าเท่านี้ จักมีแก่เรา เพราะการค้าขายนี้เราจักได้ผลเท่านี้ ดังนี้

ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ชะรอยจะเห็น

ปรากฏเหมือนพ่อค้า จึงหวังว่า เราละโลกไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ ๆ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณพราหมณ์พวกบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความ

ไม่เกิดของสัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ยังวนเวียนไป

ตามสักกายะอยู่นั่นแล เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาผูกโซ่ล่ามไว้ที่เสาหรือที่หลักมั่น

ย่อมวนเวียนไปตามเสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด ท่านสมณพราหมณ์พวกนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกันเป็นผู้กลัวสักกายะ เกลียดสักกายะ แต่ก็ยังวนเวียนไปตาม

สักกายะอยู่นั่นแล เรื่องสักกายะดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็น

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัย

ปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำหนด

ขันธ์ส่วนอนาคต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ย่อมปรารภขันธ์ส่วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

อนาคต กล่าวยืนยันบทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ สมณพราหมณ์เหล่า

นั้นทั้งหมด ย่อมกล่าวยืนยันอายตนะ ๕ นี้ทั้งมวล หรือเฉพาะอายตนะใด

อายตนะหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วน

อดีต มีทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ย่อมปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวยืนยัน

บทแห่งความเชื่อมั่นหลายประการ คือ

พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง

อย่างอื่นเปล่า

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน....

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาน้อย...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว...

พวกหนึ่ง... ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

พวกหนึ่งกล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็

มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า.

[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-

พราหมณ์พวกใด. มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง นี้

เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณ-

พราหมณ์พวกนั้น จักมีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม

เขาว่า ความตรึกตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น ย่อมชำระได้เพียงส่วนของความรู้ในญาณนั้นเท่า

นั้น แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่า อุปาทานของท่านสมณพราหมณ์

พวกนั้น เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความ

ดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง

นั้นเสีย.

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-

พราหมณ์พวกใด มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง นี้

เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกทั้งเที่ยงและไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น

เปล่า...

ว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง

อื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ว่า อัตตาและโลกไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกทั้งมีที่สุดและไม่มีที่สุด นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น

เปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่าง

อื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาอย่างเดียวกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น

เปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาต่างกัน นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาน้อย นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสัญญาหาประมาณมิได้ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น

เปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีสุขโดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีทุกข์โดยส่วนเดียว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่า...

ว่า อัตตาและโลก มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น

เปล่า ข้อที่ญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของสมณพราหมณ์พวกนั้น ๆ จัก

มีเองได้ นอกจากความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตามเขาว่า ความตรึกตรอง

ตามอาการ ความปักใจดิ่งด้วยทิฏฐิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อไม่มีญาณเฉพาะตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ท่านสมณพราหมณ์พวกนั้น ๆ ย่อมให้เพียงส่วนของความรู้แม้ใดในญาณนั้น

แจ่มแจ้ง แม้ส่วนของความรู้นั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่านสมณ-

พราหมณ์พวกนั้น ๆ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็น

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุง

แต่งนั้นเสีย.

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้

เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตาม

ขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติ

อันเกิดแต่วิเวกอยู่ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่

วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ

ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เปรียบเหมือนร่ม

เงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อม

แผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ

ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดย

ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อย

ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ ย่อมเข้าถึงปีติอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรา

กำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือปีติเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติเกิดแต่วิเวกนั้นของเธอ

ย่อมดับไปได้ เพราะปีติเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดโทมนัส เพราะโทมนัสดับ

ย่อมเกิดปีติเกิดแต่วิเวก เรื่องปีติเกิดแต่วิเวกดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็น

ของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมี

อยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่ง

ที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้

เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตาม

ขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าว

ล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้าถึงสุขอันปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรา

กำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้น

ของเธอย่อมดับไปได้ เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิด

แต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส

เปรียบเสมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น แดดละที่แห่งใด

ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะสุขเสมือน

ปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่วิเวกดับ

ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่อง

นี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดย

ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อย

ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวกได้ ย่อมเข้า

ถึงสุขเสมือนปราศจากอามิสอยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี. ประณีต

คือนิรามิสสุขอยู่ สุขเสมือนปราศจากอามิสนั้นของเธอย่อมดับไปได้ เพราะ

สุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดปีติอันเกิดแต่วิเวก เพราะปีติอันเกิดแต่

วิเวกดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เรื่องสุขเสมือนปราศจากอามิสดังนี้

นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง

มีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่

ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้

เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตาม

ขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าว

ล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนา

อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่ ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต

คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อม

ดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือน

ปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็น

ทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เปรียบเสมือนร่มเงาละที่แห่งใด แดดย่อมแผ่ไปยังที่แห่ง

นั้น แดดละที่แห่งใด ร่มเงาก็ย่อมแผ่ไปยังที่แห่งนั้น ฉันใดฉันนั้นเหมือน

กันแล เพราะเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศ

จากอามิส เพราะสุขเสมือนปราศจากอามิสดับ ย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็

มิใช่สุขก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดย

ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อย

ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วง

สุขเสมือนปราศจากอามิสได้ ย่อมเข้าถึงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่อยู่

ด้วยสำคัญว่า เรากำลังเข้าถึงสิ่งที่ดี ประณีต คืออทุกขมสุขเวทนาอยู่ เวทนา

อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่นั้นของเธอ ย่อมดับไปได้ เพราะเวทนาอันเป็น

ทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดับ ย่อมเกิดสุขเสมือนปราศจากอามิส เพราะสุขเสมือน

ปราศจากอามิสดับย่อมเกิดเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ เรื่องเวทนาอัน

เป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่งเป็นของหยาบ และความดับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็นอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก

นี้ เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดยประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อย

ตามขันธ์ส่วนอดีตและทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะ

ก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วงสุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนา

อันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อมเล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้

ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมทราบเรื่องนี้ดี.

ท่านสมณะหรือพราหมณ์นี้แล เพราะไม่ตั้งกามสัญโญชน์ไว้โดย

ประการทั้งปวง เหตุสลัดทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต และทิฏฐิอันคล้อย

ตามขันธ์ส่วนอนาคตเสียได้ และเพราะก้าวล่วงปีติอันเกิดแต่วิเวก ก้าวล่วง

สุขเสมือนปราศจากอามิส ก้าวล่วงเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่ได้ ย่อม

เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทาน ท่านผู้

นี้ ย่อมกล่าวยืนยันปฏิปทาที่ให้สำเร็จนิพพานอย่างเดียวโดยแท้ แต่ก็ท่าน

สมณะหรือพราหมณ์นี้ เมื่อถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอดีต ก็ชื่อว่ายัง

ถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นทิฏฐิอันคล้อยตามขันธ์ส่วนอนาคต ก็ชื่อว่า ยังถือ

มั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นกามสัญโญชน์ ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่น

ปีติอันเกิดแต่วิเวก ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นสุขเสมือนปราศจาก

อามิส ก็ชื่อว่า ยังถือมั่นอยู่ หรือเมื่อถือมั่นเวทนาอันเป็นทุกข์ก็มิใช่สุขก็มิใช่

ก็ชื่อว่ายังถือมั่นอยู่ และแม้ข้อที่ท่านผู้นี้เล็งเห็นตัวเองว่า เป็นผู้สงบแล้ว

เป็นผู้ดับแล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปาทานั้น บัณฑิตก็เรียกว่าอุปาทานของท่าน

สมณพราหมณ์นี้ เรื่องอุปาทานดังนี้นั้น อันปัจจัยปรุงแต่ง เป็นของหยาบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

และความดับของสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งมีอยู่ ตถาคตทราบว่าสิ่งนี้ยังมีอยู่ จึงเห็น

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น เป็นไปล่วงสิ่งที่ปัจจัย

ปรุงแต่งนั้นเสีย.

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บทอันประเสริฐ สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่ง

กว่า ที่ตถาคตตรัสรู้เองด้วยปัญญาอันยิ่งนี้แล คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ

คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็น

จริง แล้วหลุดพ้นได้ด้วยไม่ถือมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทอันประเสริฐ

สงบ ไม่มีบทอื่นยิ่งกว่านี้นั้น คือ ความรู้เหตุเกิด เหตุดับ คุณ โทษ และอุบาย

เป็นเครื่องออกไปแห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง แล้วหลุดพ้นได้

ด้วยไม่ถือมั่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ปัญจัตตยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

อรรถกถาปัญจัตตยสูตร

ปัญจัตตยสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจัตตยสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า เอเก ได้แก่

บางพวก. บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ชื่อว่า สมณะ โดยเป็นนัก

บวช ชื่อว่า พราหมณ์ โดยชาติ. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่โลกสมมติไว้อย่างนี้ว่า

สมณะและว่าพราหมณ์ ดังนี้. ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกำหนดยึด

ซึ่งขันธ์ส่วนอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นมีการกำหนดยึดขันธ์ส่วนอนาคต ดังนี้ก็มี ก็ในคำว่า-

อปรันตกัปปิกะ นั้น ในที่นี้ ส่วน ท่านประสงค์เอาส่วนว่า อนฺต ดุจใน

ประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีอายุ สักกายะ (กายของตน) แล เป็นส่วนอันหนึ่ง

ดังนี้. ตัณหาและทิฏฐิ ชื่อว่า กัปปะ.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า โดยอุทานว่า กัปปะ ดังนี้ กัปปะ มี ๒

อย่าง คือ ตัณหากัปปะ และ ทิฏฐิกัปปะ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความใน

คำว่า กัปปะ นี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า อปรันตกัปปิกะ เพราะกำหนด ซึ่งส่วน

แห่งขันธ์อันเป็นอนาคต โดยตัณหาและทิฏฐิ. ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคต ยืนหยัดอยู่

อย่างนั้นแล้ว. มีความเห็นคล้อยตามส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั่นแหละ

โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ. สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนั้น เริ่มพึ่ง

พาอาศัยส่วนแห่งขันธ์อันเป็นอนาคตนั้น กระทำแม้คนอื่นให้ดำเนินไปตาม

ทิฏฐิ กล่าวยืนยัน อธิมุตติบท (บทคือ ความน้อมใจเชื่อ) หลายอย่าง.

บทว่า อเนกวิหิตานิ แปลว่า หลายอย่าง. บทว่า อธิมุตฺติปทานิ ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

แก่ บทเรียกชื่อ. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านเรียกว่า อธิมุตติ (เพราะ

ครอบงำความที่เป็นจริง ไม่ถือเอาตามเป็นจริงปฏิบัติ. บทแห่งอธิมุตติทั้ง

หลาย ชื่อว่า อธิมุตติบท อธิบายว่า คำที่แสดงทิฏฐิ. บทว่า สญฺี ได้แก่

พรั่งพร้อมด้วยสัญญา. บทว่า อโรโค ได้แก่ เป็นของเที่ยง บทว่า อิตฺเถเก

ตัดบทเป็น อิตฺถ เอเก อธิบายว่า พวกหนึ่ง (กล่าว) อย่างนี้. ตรัสสัญญี

วาทะ ๑๖ ด้วยบทว่า อิตฺเถเก นี้. ตรัส อสัญญีวาทะ ๘ ด้วย บทว่า

อสัญญี นี้. ตรัส เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ ด้วยบทว่า เนวลัญญีนาสัญญี

นี้. ตรัสอุจเฉทวาทะ ๗ ด้วยคำนี้ว่า สโต วา ปน สตฺตสฺส. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า สโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า อุจเฉท ได้แก่ ขาดสูญ.

บทว่า วินาส ได้แก่ ไม่เห็น. บทว่า วิภว ได้แก่ ไปปราศจากภพ. คำ

เหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น. ตรัสติฏฐธรรมนิพพาน-

วาทะ ๕ ด้วยบทนี้ว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพาน วา.

ในบทว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพาน วา นั้น ธรรมที่เห็นชัด เรียกว่า

ทิฏฐธรรม. คำว่า ทิฏฐธรรมนี้เป็นชื่อของอัตภาพที่ได้มาในภพนั้น ๆ. นิพ-

พานในปัจจุบัน ชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน. อธิบายว่า ความเข้าไปสงบ

ทุกข์ในอัตภาพนั้นนั่นแหละ. บทว่า สนฺต วา ความว่า สงบแล้วด้วย

อาการทั้ง ๓ ด้วยคำเป็นต้นว่า มีสัญญา ดังนี้. คำว่า ตีณิ โหนฺติ หมาย

ความว่า บทว่า สญฺี อตฺตา ดังนี้ เป็นต้น เป็น ๓ อย่างนี้ คือ เป็น ๑

เนื่องด้วยอัตตา สงบ นอกนี้ อีก ๒ (คือ ขาดสูญและนิพพานในปัจจุบัน).

บทว่า รูปึ วา ได้แก่ มีรูป ด้วยกรัชรูป หรือ กสิณรูป. ผู้ได้

ในอัตตามีรูปนั้น ย่อมถือเอากสิณรูป ว่า อัตตา ผู้ตรึกในกสิณรูป ย่อม

ถือเอารูปแม้ทั้งสองทีเดียว. บทว่า อรูปึ ความว่า ทั้งผู้ได้และผู้ตรึกทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

เมื่อบัญญัตินิมิตในอรูปสมาบัติ หรืออรูปธรรมที่เหลือ เว้นสัญญาขันธ์ย่อม

บัญญัติอย่างนั้น. ก็ทิฏฐิที่สาม เป็นไปด้วยอำนาจการถือเจือปนกัน ทิฏฐิที่สี่

เป็นไปด้วยการถือเอาด้วยการตรึกเอาเท่านั้น. พึงทราบว่า ในจตุกกะที่สอง

ตรัสทิฏฐิที่หนึ่งด้วยวาทะที่ถึงพร้อม ตรัสทิฏฐิที่สองด้วยวาทะที่ไม่ถึงพร้อม

ตรัสทิฏฐิที่สามด้วยอำนาจกสิณบริกรรม ขนาดกระด้ง หรือขนาดขันจอก

ตรัสทิฏฐิที่ ๔ ด้วยอำนาจกสิณที่กว้างใหญ่. คำว่า เอต วา ปเนเตส

อุปาติวตฺตต ดังนี้ ตรัสไว้โดยสังเขปด้วยบทว่า สัญญี อธิบายว่าก้าวล่วง

สัญญาทั้ง ๗ หมวด. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ๘ หมวด. คำทั้งสองนั้น

จักมีแจ้งข้างหน้า. ส่วนในที่นี้ มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้. ก็คนบางพวกอาจ

ก้าวล่วงสัญญา ๗ หรือ ๘ นี้ได้. ส่วนบางพวกไม่อาจ. ในสองพวกนั้น

บุคคลใดอาจ บุคคลนั้นเท่านั้น ก็ยึดไว้ได้ ก็เมื่อชนเหล่านั้น อาจก้าว

ล่วงสัญญาแต่ละชนิด ชนพวกหนึ่งกล่าวว่า วิญญาณัญจายตนะ หา

ประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวเหมือนในพวกมนุษย์ผู้ข้ามแม่น้ำคงคา ไปถึงแค่บึง

ใหญ่แล้วก็หยุดอยู่ ส่วนอีกคนหนึ่งไปถึงบ้านใหญ่ข้างหน้าบึงใหญ่นั้น แล้ว

หยุดอยู่ ฉะนั้น. บรรดาวิญญาณัญจายตนะ และอากิญจัญญายตนะนั้น เพื่อ

แสดงวิญญาณัญจายตนะก่อน จึงตรัสว่า พวกหนึ่ง (กล่าวยืนยัน) กสิณคือ

วิญญาณ ดังนี้. จักกล่าวคำว่า พวกหนึ่ง (กล่าวยืนยัน) อากิญจัญญายตนะ

ดังนี้ ข้างหน้า. บทว่า ตยิท ตัดบทเป็น ต อิท แปลว่า ทิฏฐิ และอารมณ์

ของทิฏฐินี้นั้น. บทว่า ตถาคโต อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ด้วยญาณ

อันวิเศษยิ่งว่า ทรรศนะชื่อนี้อันปัจจัยนี้ยึดแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำทรรศนะนั้นนั่นแล ให้

พิสดารจึงตรัสคำมีอาทิว่า เย โข เต โภนฺโต ดังนี้. บทว่า ยา วา ปเนส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

สญฺาน ความว่า ก็หรือว่า สัญญาใด (บัณฑิตกล่าวว่ายอดเยี่ยม) กว่า

สัญญาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่า (ทั้งที่) เป็นสัญญาในรูปเหล่านั้น. บทว่า

ปริสุทฺธา คือ หมดอุปกิเลส. บทว่า ปรมา คือ สูงสุด. บทว่า เลิศ คือ

ประเสริฐสุด บทว่า อนุตฺตริยา อกฺขายติ ความว่า กล่าวว่าไม่มีอะไร

เหมือน. ตรัสรูปาวจรสัญญา ๔ ด้วยบทนี้ว่า ยทิ รูปสญฺาน. ตรัส

อากาสานัญจายตันสัญญาและวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยบทนี้ว่า ยทิ อรูป-

สญฺาน. ตรัสสมาปันนกวาระและอสมาปันนกวาระด้วยบททั้งสองกับบท

นอกนี้ สัญญาเหล่านี้ จัดเป็น ๘ ส่วน อย่างที่กล่าวมาด้วยประการดังนี้.

แต่โดยใจความ สัญญามี ๗ อย่าง. จริงอยู่ สมาปันนกวาระสงเคราะห์ด้วย

สัญญา ๖ ข้างต้น เท่านั้น. บทว่า ตยิท สงฺขต ความว่า สัญญาแม้ทั้งหมด

นี้นั้นกับด้วยทิฏฐิอันปัจจัยปรุงแต่ง คือประมวลมาแล้ว. บทว่า โอฬาริก

ความว่า ชื่อว่า หยาบ เพราะปัจจัยปรุงแต่งเทียว. บทว่า อตฺถิ โข ปน

สงฺขาราน นิโรโธ ความว่า ก็ชี่อว่านิพพานที่นับได้ว่า ความดับสังขาร

ทั้งหลายที่ท่านกล่าวว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง เหล่านั้น มีอยู่. คำว่า อตฺเถตนฺติ

อิติ วิทิตฺวา ความว่า ก็เพราะรู้นิพพานนั้นแลอย่างนี้ว่า นิพพานนั่นมีอยู่.

คำว่า ตสฺส นิสฺสรณทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็นการสลัดออก คือ มี

ปกติเห็นความดับสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น. บทว่า ตถาคโต ตทุปาติวตฺโต

ความว่าก้าวล่วง อธิบายว่า ก้าวล่วงพร้อมซึ่งสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งนั้น.

บทว่า ตตฺร ได้แก่ บรรดา อสัญญีวาทะ ๘ ประการเหล่านั้น.

คำว่า อรูปี วา ดังนี้เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในสัญญีวาทะนั้นแล.

ก็เพราะวาทะนี้เป็นอสัญญีวาทะ ฉะนั้น จึงไม่กล่าวจตุกกะที่สองนี้ไว้.

บทว่า ปฏิกฺโกสนฺติ ได้แก่ห้าม คือ ปฏิเสธ. ในบทว่า สญฺา

โรโค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นดังโรค เพราะอรรถว่า เบียดเบียน. ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

เป็นเหมือนหัวฝี เพราะอรรถว่ามีโทษ. ชื่อว่า เป็นเหมือนลูกศร เพราะ

อรรถว่า ตามเข้าไป. ในบทว่า อาคตึ วา เป็นต้น ชื่อว่า การมาเพราะ

อำนาจปฏิสนธิ. ชื่อว่า การไป เพราะอำนาจคติ ชื่อว่า จุติ เพราะ

อำนาจการเคลื่อนไป. ชื่อว่า อุปบัติ เพราะอำนาจการเข้าถึง. ชื่อว่า เจริญ

งอกงามไพบูลย์ เพราะอำนาจการเข้าถึงบ่อย ๆ แล้วไป ๆ มา ๆ. ในภพที่มี

ขันธ์ ๔ แม้เว้นรูป ความเป็นไปของวิญญาณย่อมมีได้โดยแท้ แต่ในภพ

ที่เหลือ เว้นขันธ์ ๓ วิญญาณย่อมเป็นไปไม่ได้. แต่สำหรับปัญหานี้ท่านกล่าว

ด้วยอำนาจภพที่มีขันธ์ ๕ ก็ในภพที่มีขันธ์ ๕ เว้นขันธ์ทั้งหลายประมาณเท่านี้

ชื่อว่า ความเป็นไปของวิญญาณย่อมไม่มี ส่วนในอธิการนี้ นักพูดเคาะ

กล่าวในข้อนี้ว่า เพราะพระบาลีว่า เว้นจากรูป ดังนี้เป็นต้น แม้ในอรูปภพ

ก็มีรูป และแม้ในอสัญญีภพก็มีวิญญาณ.

สำหรับท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ ก็มีอย่างนั้น เหมือนกันซิ. ท่าน

ผู้ชอบพูดเคาะนั้นจะต้องถูกต่อว่า หากจะค้านความหมายตามรูปของพยัญชนะ

เพราะพระบาลีว่า อาคตึ วา เป็นต้น วิญญาณนั้นจะต้องกระโดดไปบ้าง

เดินไปด้วยเท้าบ้าง เหมือนนกและสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า และเลื้อยไปเหมือน

เถาแตง เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสภพ ๓ ไว้ในพระสูตรหลายร้อยสูตร

ภพเหล่านั้นก็ต้องเป็นสองภพเท่านั้น เพราะไม่มีอรูปภพ เพราะฉะนั้น ท่าน

อย่าได้กล่าวอย่างนั้น จงทรงจำข้อความตามที่กล่าวมาแล้วเถิด.

คำว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติลงในเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘ ประการ

แม้ในที่นี้พึงทราบคำว่า รูปึ เป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า

อสญฺา อสมฺโมโห ความว่า ชื่อว่า ความไม่มีสัญญานี้ เป็นที่ตั้งแห่ง

ความหลง. ก็ท่านกล่าวภพที่ไม่รู้อะไร ๆ นั้นว่า นั่นอสัญญีภพ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ทิฏฺสุตมุตวิญฺาตพฺพสงฺขารมตฺเตน ความว่า ด้วยสักว่าที่พึงรู้แจ้งด้วย

การเห็น ด้วยสักว่าที่พึงรู้แจ้งด้วยการฟัง ด้วยสักว่า ที่พึงรู้แจ้งด้วยการทราบ.

ก็ในบทว่า ทิฏมตฺเตน ธรรมชาติใดย่อมรู้ เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น

ชื่อว่า วิญญาตัพพะ พึงรู้แจ้ง โดยอาการสักว่ารู้แจ้งอารมณ์ที่เห็นได้ยิน

และทราบ คือด้วยเหตุสักว่า ความเป็นไปแห่งสัญญาทางทวารทั้ง ๕ ในคำนี้

มีความหมายดังกล่าวมานี้. บทว่า สงฺขารมตฺเตน ความว่า ด้วยความ

เป็นไปแห่งสังขารอย่างหยาบ. บทว่า เอตสฺสายตนสฺส ได้แก่เนวสัญญา-

นาสัญญายตนะนี้. บทว่า อุปสมฺปท ได้แก่ การได้เฉพาะ. บทว่า พฺยสน

เหต ความว่า นั้น เป็นความพินาศ อธิบายว่า นั้นเป็นการออก. เพราะ

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เป็นไปด้วยสัญญาทางทวาร ๕ พึงเข้าโดย

กระทำให้เป็นไปด้วยสังขารอย่างหยาบ หรือไม่ให้เป็นไป. ท่านแสดงว่า

ก็เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นเป็นไป การออกจากเนวสัญญานา-

สัญญายตนะนั้นย่อมมี. บทว่า สงฺขารสมาปตฺติปตฺตพฺพมกฺขายติ ความว่า

ย่อมกล่าวว่า พึงบรรลุด้วยความเป็นไปแห่งสังขารหยาบ. บทว่า สงฺขาราว-

เสสสมาปตฺติปตฺตพฺพ ความว่า บรรดาสังขารทั้งหลายนั่นแล สังขาร

ที่เหลือ ชื่อว่าถึงความเป็นสังขารที่ละเอียดกว่าสังขารทั้งปวง ด้วยอำนาจ

ภาวนา อายตนะนั้นพึงบรรลุด้วยความเป็นไปแห่งสังขารเหล่านั้น. เพราะ

เมื่อสังขารทั้งหลายเห็นปานนั้นเสียไปแล้ว อายตนะนั้นย่อมชื่อว่าเป็นอันพึง

บรรลุ. บทว่า ตยิท ความว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้นั้น แม้เป็น

ของละเอียดก็เป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่ง และเพราะเป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่งจึง

เป็นของหยาบ.

บทว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในความหมายว่า อุจเฉทวาทะ

(วาทะว่าขาดสูญ) ๗ ประการ. บทว่า อุทฺธ ปรามาสนฺติ ความว่า วาทะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

ว่าสัญญาอันยังไม่มาถึง เรียกว่า กาลข้างหน้า พวกสมณพราหมณ์ย่อม

หมายมั่น กาลอันยังไม่มาถึง คือ วาทะว่า สังสาระ (การเวียนว่าย). บทว่า

อาสตฺตึเยว อภิวทนฺติ ความว่า ย่อมกล่าวการติดอยู่อย่างเดียว. บาลีว่า

อาสตฺถึ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า กล่าวถึงความทะยานอยาก. บทว่า อิติ เปจฺจ

ภวิสฺสาม ความว่า เราละไปแล้ว จักเป็นอย่างนี้. ในบทนี้พึงนำเอานัยอย่างนี้

มาว่า เราจักเป็นกษัตริย์ จักเป็นพราหมณ์ ดังนี้. บทว่า วาณิชูปม มญฺเ

ความว่า ย่อมปรากฏแก่เราเหมือนพ่อค้า คือ เช่นกับพ่อค้า. บทว่า สกฺกายภยา

ได้แก่ เป็นผู้กลัวสักกายะะ ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อเกลียดสักกายะ

กล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิสามนั้นนั่นแหละ ย่อมกลัวสักกายะ ย่อม

เกลียดสักกายะ เหมือนสัตว์ ๔ จำพวกเหล่านี้ ย่อมกลัวต่อสิ่งที่ไม่ควรกลัว

(ดังมีที่มา) ว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์ ๔ จำพวกแล ย่อมกลัวต่อสิ่งที่ไม่ควร

กลัวแล จำพวกไหนบ้าง ข้าแต่มหาราช ไส้เดือนแล ย่อมไม่กินดิน

เพราะกลัวว่า แผ่นดินจะหมด ข้าแต่มหาราช นกกะเรียนย่อมยืนเท้าเดียว

(บนแผ่นดิน) เพราะกลัวว่าแผ่นดินจะทรุด ข้าแต่มหาราช นกต้อยตีวิด

นอนหงาย เพราะกลัวว่าฟ้าจะถล่ม ข้าแต่มหาราช พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม

แลย่อมไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (คือต้องมีภรรยา) เพราะกลัวว่าโลกจะขาด

สูญ ฉะนั้น. บทว่า สา คทฺทลพนฺโธ ความว่า สุนัขที่เขาเอาเชือกล่าม

ผูกไว้ที่ท่อนไม้. นบทว่า เอวเมวีเม นี้ พึงเห็นสักกายทิฏฐิ กล่าวคือ

ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนหลักแน่น และเหมือนเสาเขื่อน บุคคลผู้เป็น

ไปตามคติของทิฏฐิเหมือนสุนัข ทิฏฐิเหมือนท่อนไม้ ตัณหาเหมือนเชือก พึง

ทราบการวนเวียนของบุคคลผู้เป็นไปตามคติของทิฏฐิ ถูกผูกด้วยเชือกคือตัณหา

ที่สอดเข้าไปในท่อนไม้ คือทิฏฐิ แล้วมัดไว้ที่สักกายะเหมือนการวิ่งวนเวียน

ของสุนัขที่เขาเอาเชือกหนังล่ามแล้วผูกไว้ที่เสาหรือเขื่อน ไม่สามารถจะทำให้

ขาดไปได้โดยธรรมดาของตน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

บทว่า อิมาเนว ปญฺจายตนานิ ความว่า เหตุ ๕ ประการนี้เท่านั้น.

แม้เมื่อตั้งแม่บทคือหัวข้อ ก็ตั้งไว้ ๕ ข้อ แม้เมื่อสรุปก็สรุปไว้ ๕ ข้อ แต่

เมื่อแจกออก แจกออก ๔ ข้อ. ดังกล่าวฉะนี้ นิพพานในปัจจุบันจะจัดเข้า

ในข้อไหน. พึงทราบว่า จัดเข้าในบททั้งสอง คือ เอกัตตสัญญา และ

นานัตตสัญญา.

ก็ครั้นทรงแสดงการกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ๔๔ ประการอย่างนี้แล้ว

เพื่อจะทรงแสดงการกำหนดขันธ์ส่วนอดีต ๑๘ ประการในบัดนี้ จึงตรัสว่า

สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นต้นนั้น

ชื่อว่า กำหนดขันธ์ส่วนอดีต เพราะกะกำหนดขันธ์ส่วนก่อน กล่าวคือ ส่วน

อดีตแล้วถือเอา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากำหนดขันธ์ส่วนอดีต เพราะอรรถว่า

สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีการกำหนดขันธ์ส่วนอดีต. แม้ในบทที่เหลือ บทซึ่งมี

ประการดังกล่าวในก่อนพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการ

ดังกล่าวแล้ว บทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ถือเอาอายตนะ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอายตนะทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ว่าตนและว่าโลก

แล้วกล่าวยืนยันว่า เที่ยง ไม่ตาย แน่นอน ยั่งยืน สมดังตรัสไว้ ความ

พิสดารว่า ย่อมบัญญัติตนและโลกว่า รูปเป็นตนด้วย เป็นโลกด้วย เป็นความ

ยั่งยืนด้วย. แม้ในวาทะว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยงเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในบรรดาวาทะเหล่านี้ กล่าววาทะว่าเที่ยง ๔ ประการ ด้วยวาทะแรก.

กล่าววาทะว่าขาดสูญ ด้วยวาทะที่สอง. ถามว่า ก็วาทะเหล่านี้ มีมาแล้วใน

หนหลังมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงเอามาพูดในที่นี้อีก. ตอบว่า ที่เอามาพูด

ในหนหลัง เพื่อแสดงว่า สัตว์ตายในที่นั้นๆ ย่อมขาดสูญในที่นั้นๆ นั่นแหละ

แต่ในที่นี้ ผู้ที่ระลึกชาติได้เป็นไปตามคติของทิฏฐิ ย่อมเห็นอดีตไม่เห็นอนาคต

เขาผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ตนที่มาจากขันธ์ส่วนอดีต ย่อมขาดสูญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ในที่นี้แน่นอน ไม่ไปต่อไปอีก. เพื่อจะแสดงเนื้อความดังกล่าวนี้ จึงเอามา

(กล่าวอีก). กล่าววาทะว่าเที่ยงบางอย่าง ๔ ประการด้วยวาทะที่สาม. กล่าว

อมราวิกเขปิกวาทะ (คือวาทะที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว) ๔ ประการ ด้วยวาทะที่ ๔.

บทว่า อนฺตวา ได้แก่ มีที่สุด คือมีทางซึ่งกำหนดไว้. สำหรับผู้ไม่ได้

เจริญกสิณ ย่อมถือเอากสิณนั้นว่า เป็นตนและเป็นโลกแล้วเป็นอยู่อย่างนั้น.

วาทะที่สองกล่าวด้วยอำนาจของผู้ที่เจริญกสิณ วาทะที่สามกล่าวสำหรับผู้ที่

เจริญกสิณไปทางขวาง (คือทางด้านข้าง) แต่ไม่เจริญกสิณไปทางเบื้องบน

และเบื้องล่าง วาทะที่สี่กล่าวเนื่องด้วยคนผู้ใช้การตรึก อนันตรจตุกกะ ( ๔

หมวดที่ติดต่อกัน) มีนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า เอกนฺตสุขี

ความว่า มีสุขโดยส่วนเดียว คือ มีสุขเป็นนิรันดร. ทิฏฐินี้ย่อมเกิดขึ้นด้วย

อำนาจแห่งผู้ได้ (มี) ทิฏฐิ ผู้ระลึกชาติ และผู้คาดคะเน. เพราะทิฏฐิอย่างนี้

ย่อมเกิดแก่ผู้ได้ (มีทิฏฐิ) ผู้ระลึกชาติของตนซึ่งมีความสุขโดยส่วนเดียวใน

ตระกูลกษัตริย์ เป็นต้น ด้วยบุพเพนิวาสญาณ ย่อมเกิดแก่ผู้ระลึกชาติได้

ผู้กำลังเสวยสุขปัจจุบัน ระลึกถึงอัตภาพเช่นนั้นนั่นแหละในอดีตชาติ ๗ ชาติ

ก็เหมือนกัน. แต่สำหรับผู้ใช้การคาดคะเน (คือนักตรึก) พรั่งพร้อมด้วย

ความสุขในโลกนี้ ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นด้วยการคาดคะเนนั่นแลว่า แม้ในอดีต

เราก็ได้เป็นแล้วอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า มีทุกข์โดยส่วนเดียว ความว่า

ทิฏฐินี้ย่อมไม่เกิดแก่ผู้ได้ (มี) ทิฏฐิ. เพราะเขามีความสุขด้วยฌานสุขใน

โลกนี้โดยส่วนเดียว. ก็ทิฏฐินี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้การคาดคะเนเท่านั้น ผู้อัน

ทุกข์สัมผัสแล้วในโลกนี้ระลึกชาติได้อยู่. ทิฏฐิที่สามย่อมเกิดแก่คนเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด ผู้มีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกัน. ก็ทิฏฐิที่สี่ก็เหมือนกัน ย่อมเกิด

แก่ผู้ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ด้วยอำนาจจตุตถฌานในบัดนี้ ระลึกถึงพรหมโลกอันมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ด้วยฌานที่สี่เท่านั้น แม้ในกาลก่อน. ทิฏฐินี้ย่อมเกิด ทั้งแก่ผู้ระลึกชาติได้

ผู้วางตนเป็นกลาง (วางเฉย) อยู่ในปัจจุบัน ระลึกถึงฐานะอันเป็นกลาง ๆ

เท่านั้น ทั้งแก่ผู้ใช้การคาดคะเน ผู้วางตนเป็นกลางอยู่ในปัจจุบัน ถือเอา

อยู่ด้วยการคาดคะเนอย่างเดียวว่า แม้ในอดีตก็จักเป็นอย่างนี้ ดังนี้ ด้วยการ

กล่าวมาเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันกล่าวการกำหนดขันธ์ส่วนอดีตทั้ง ๑๘ ประการ

คือ วาทะว่าโลกเที่ยงยั่งยืน ๔ ประการ วาทะว่าโลกเที่ยงยั่งยืน บางอย่าง ๔

ประการ วาทะว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ ประการ กล่าววาทะที่ดิ้นได้

ไม่ตายตัว ๔ ประการ กล่าววาทะว่าเกิดขึ้นเลื่อนลอย ๒ ประการ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงขยาย (ความ) ทิฏฐิ จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺข-

เว ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ญาณที่ประจักษ์ ชื่อว่า ญาณ

เฉพาะตน. บทว่า ปริสุทฺธึ คือหมดอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาต คือประ

ภัสสร. ตรัสวิปัสสนาญาณอย่างเดียวด้วยบททุกบท. เพราะธรรม ๕ ประการ

มีศรัทธาเป็นต้น ย่อมมีในลัทธิภายนอก (ส่วน) วิปัสสนาญาณมีในพระ-

พุทธศาสนาเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าณภาคมตฺตเมว ปริ-

โยทเปนฺติ ความว่า ย่อมยังส่วนแห่งความรู้ในญาณนั้นให้หยั่งลงไปอย่างนี้

ว่า สิ่งนี้พวกเรารู้ ดังนี้ . บทว่า อุปาทนมกฺขายติ ความว่า ส่วนแห่ง

ความรู้นั้น ไม่ใช่ญาณ นั่นเป็นชื่อของมิจฉาทัสสนะ เพราะฉะนั้น บัณฑิต

จึงกล่าวส่วนแห่งความรู้แม้นั้น ว่าเป็นทิฏฐุปาทานของท่านสมณพราหมณ์

เหล่านั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความรู้นั้น เป็นเพียงส่วนของความรู้เท่านั้น

เพราะมีลักษณะเพียงสักว่ารู้. แม้ถึงเช่นนั้น ก็ชื่อว่าเป็นอุปาทานเพราะไม่พ้น

ไปจากวาทะ เพราะเป็นปัจจัยแห่งอุปทาน. บทว่า เป็นไปล่วงสิ่งที่

ปัจจัยปรุงแต่งนั้น ได้แก่ก้าวล่วงทิฏฐินั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

อันกล่าวทิฏฐิแม้ทั้ง ๖๒ ประการ ซึ่งมาในพรหมชาลสูตร คือวาทะว่า อัตตา

และโลกเที่ยง ๔ อย่าง วาทะว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง ๔ อย่าง วาทะว่ามีที่สุดและ

ไม่มีที่สุด ๔ อย่าง วาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว ๔ อย่าง วาทะว่าเกิดขึ้นเลื่อนลอย

๒ อย่าง วาทะว่ามีสัญญา ๑๖ อย่าง วาทะว่าไม่มีสัญญา ๘ อย่าง วาทะว่า

มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ๘ อย่าง วาทะว่าขาดสูญ ๗ อย่าง วาทะ

ว่านิพพานในปัจจุบัน ๕ อย่าง ก็เมื่อกล่าวพรหมชาลสูตรแล้ว สูตรนี้ย่อมเป็น

อันไม่กล่าวเลย เพราะสักกายทิฏฐิอันเกินกว่าพรหมชาลสูตรนั้น มีมาในสูตร

นี้ แต่เมื่อกล่าวสูตรนี้แล้วพรหมชาลสูตรย่อมเป็นอันกล่าวแล้วทีเดียว.

บัดนี้ เพื่อแสดงว่าทิฏฐิ ๖๒ ประการเหล่านั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นโดย

มีสักกายทิฏฐิเป็นใหญ่เป็นประธาน จึงตรัสว่า อิธ ภิกขเว เอกจฺโจ

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินิสฺสคฺคา ได้แก่

เพราะบริจาค. บทว่า กามสญฺโชนาน อนธิฏฺานา ได้แก่ เพราะ

สลัดตัณหาในกามคุณ ๕. บทว่า ปวิเวก ปีตึ ได้แก่ ปีติแห่งฌานทั้งสอง

ซึ่งมีปีติ. บทว่า นิรุชฌฺติ ได้แก่ ดับด้วยความดับด้วยฌาน. ก็สำหรับผู้

ออกจากสมาบัติ ปีติ ย่อมชื่อว่าเป็นอันดับแล้ว. เหมือนอย่างว่า ในคำนี้

ที่ว่า นิรามิสสุขเกิดเพราะอทุกขมสุขเวทนาดับ อทุกขมสุขเวทนาเกิดเพราะ

นิรามิสสุขดับ ดังนี้ ไม่มีความหมายอันนี้ว่า เพราะจตุตถฌานดับ จึงเข้าถึง

ตติยฌานอยู่. ก็ในคำนี้ มีความหมายนี้ว่า ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าตติย-

ฌาน ออกจากตติยฌานแล้วเข้าจตุตถฌาน. ดังนี้ ฉันใด พึงทราบข้ออุปไมย

นี้ฉันนั้น. บทว่า อุปปชฺชติ โทมนสฺส ได้แก่ โทมนัสที่ครอบงำฌาน

อย่างต่ำ ๆ ก็ท่านกล่าวถึงความคล่องตัว สำหรับท่านผู้มีจิตออกจากสมาบัติ.

บทว่า ปีติอันเกิดแต่วิเวก ได้แก่ ปีติในฌานทั้งสองนั้นเอง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ย ฉายา ชหติ ได้แก่ ย าน ฉายา ชหติ (แปลว่า ร่มเงาย่อมละทิ้ง

ที่ใดไป). คำนี้ท่านอธิบายว่า ร่มเงามีอยู่ในที่ใดแสงแดดย่อมไม่มีในที่นั้น

แสงแดดมีในที่ใดร่มเงาย่อมไม่มีในที่นั้น ดังนี้.

บทว่า นิรามิส สุข ได้แก่ สุขในตติยฌาน.

บทว่า อทฺกฺขมสุข ได้แก่ เวทนาในจตุตถฌาณ.

บทว่า อนุปาทาโนหมสฺมิ ความว่า เราเป็นผู้ไม่ยืดถือ. บทว่า

นิพฺพานสปฺปาย ความว่า เป็นสัปปายะ คือ เป็นอุปการะแก่พระนิพพาน. ก็

ธรรมดาการเห็นมรรคย่อมเกิดขึ้นในเมื่อความใคร่ในสิ่งทั้งปวงถูกทำให้แห้งหาย

ไปมิใช่หรือ ? ความเห็นนั้น ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นอุปการะแก่นิพพาน

ได้อย่างไร ? ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นอุปการะได้ ด้วยอำนาจไม่ถือมั่น

คือด้วยอำนาจการไม่ยึดถือในสิ่งทั้งปวง. บทว่า อภิวทติ ได้แก่ กล่าวด้วย

มานะจัด บทว่า ปุพฺพนฺตานุทิฏฺึ. ได้แก่ ทิฏฐิคล้อยตามขันธ์ ส่วนอดีต

ทั้ง ๑๘ อย่าง. บทว่า อปรนฺตานุทิฏฺึ ได้แก่ ทิฏฐิคล้อยตามขันธ์

ส่วนอนาคตทั้ง ๔๔ อย่าง. บทว่า อุปาทานมกฺขายติ ความว่า ย่อม

เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะการถือว่าเรามี เป็นการถือที่นับเนื่องในสักกายะ-

ทิฏฐิ บทว่า สนฺต วร ปท ได้แก่บทอันสูงสุด ชื่อว่า สงบ เพราะ

เป็นบทสงบระงับกิเลส.

บทว่า ฉนฺน ผสฺสายตนาน ความว่า ในบาลีนี้ที่ว่า อายตนะอัน

บุคคลควรรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้

เป็นต้น ทรงแสดงนิพพานด้วยการปฏิเสธอายตนะ ๒ ในพระบาลีนี้ที่ว่า

น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ใน

ที่ใด ภพหน้า (สงสาร) ย่อมกลับแต่ที่นี้

โทษ (วัฏฏ) ย่อมกลับในที่นี้ นามรูปย่อม

ดับหมดในที่นี้ ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ทรงแสดงนิพพานด้วยการปฏิเสธสังขาร ในบาลีนั้นที่ว่า

อาโปฐาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และ

วาโยธาตุ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด อุปาทายรูป

ที่ยาว สั้น ละเอียด หยาบ งาม และไม่

งาม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่นั้น (ใด) นามรูป

ย่อมดับหมดในที่นั้น ดังนี้เป็นต้น.

มีไวยากรณ์ (คือข้อความเป็นร้อยแก้ว) ว่า ในพระบาลีนี้ที่ว่า วิญญาณ

มองเห็นไม่ได้ หาที่สุดไม่ได้ ผ่องใสโดยประการทั้งปวง ดังนี้เป็นต้น ทรงแสดง

นิพพานโดยการปฏิเสธสังขารในที่ทุกแห่ง. แต่ในสูตรนี้ทรงแสดงโดยการ

ปฏิเสธอายตนะ ๖. ก็ในสูตรอื่นทรงแสดงเฉพาะนิพพานเท่านั้นด้วยบทว่า

อนุปาทา วิโมกฺโข ได้แก่ การหลุดพ้นโดยไม่ถือมั่น. แต่ในสูตรนี้ ทรง

แสดงอรหัตผลสมาบัติ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาปัญจัตตยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

๓. กินติสูตร

พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี

[๔๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าชัฏ สถานที่บวง

สรวงพลีกรรม ณ กรุงกุสินารา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมี

ความดำริในเราบ้างหรือว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะ

เหตุบิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพ

ใหญ่ด้วยอาการนี้.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ช้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่มี

ความดำริในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม

เพราะเหตุจีวรหรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะหรือเพราะ

เหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.

[๔๓] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดำริ

ในเราอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุ

บิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่

ด้วยอาการนี้ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดำริในเราอย่างไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์มีความดำริในพระผู้มี

พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงแสวงหา

ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

[๔๔] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริใน

เราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัย

ความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้ว

แก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ในธรรมเหล่านั้น ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน

ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป.

[๔๕] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง

สองนี้ มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดใน

สองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง

นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ

ความต่างกันนั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่าน

ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็น

ฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง

นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรด

ทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกัน โดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่

ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม

เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๖] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง

สองนี้แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้ว

กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถย่อมลงกันได้โดย

พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย

พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุ

อื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าว

แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกัน แต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดย

พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย

พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้อง

จำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก

โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๗] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง

สองนี้แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอ

สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น

แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกัน

แต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกัน

ได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย

ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญ

ภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น

แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่

โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้

โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่าน

ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอ

ต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูกโดยเป็นข้อถูก และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าว

ข้อนั้น.

[๔๘] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง

สองนี้แล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ

ภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าว

แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ

ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดย

อรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น

พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึง

เข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกัน

ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดย

อาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้อง

วิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดย

เป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดี

ต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวีติกกมโทษ พวก

เธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้

ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะ

บุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละ

คืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และ

ความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออก

จากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของ

บุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจาก

อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวก

เธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและ

ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่

มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้

เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่อง

เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่น

แล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้

ก็ควรพูด.

ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัด

ใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความ

ผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง

อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ

นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ใน

กุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความ

เห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.

แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความ

ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มี

ความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจาก

อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอนั้นที่พร้อมเพรียงกัน ยินดี

ต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น บรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน

ในที่นั้นหมายสำคัญเฉพาะรูปใดว่าเป็นผู้ว่าง่าย เธอพึงเข้าไปหารูปนั้น แล้ว

กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน

ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิกัน

ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียน

ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้มีอายุ เรี่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่

เกิดการยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกัน

ขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถาม

เธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มี

อายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ต่อนั้น พวกเธอ

สำคัญในเหล่าภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันเฉพาะรูปใดว่า เป็นผู้ว่าง่าย พึง

เข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเรา

พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน

ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น

พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ

ชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ

ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบ

จะพึงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถามเธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว

จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่น ๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้

ภิกษุเหล่านี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อ

จะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าพึงธรรมของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น

ฟังธรรมแล้ว ออกจากอกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรม

สมควรแก่ธรรมด้วย ทั้งวาทะของศิษย์อะไร ๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่

ประสบข้อน่าตำหนิด้วย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ กินติสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

อรรถกถากินติสูตร

กินติสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในกินติสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า กุสินาราย

ได้แก่ในมณฑลประเทศที่มีชี่ออย่างนี้ บทว่า พลิหรเณ ความว่า ชนทั้งหลาย

นำพลีมาเซ่นสรวงภูตทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้น เพราะฉะนั้นไพรสณฑ์นั้น

จึงเรียกว่า เป็นที่นำพลีมาเซ่นสรวง. บทว่า จีวรเหตุ แปลว่า เพราะ

เหตุจีวร อธิบายว่า หวังได้จีวร. บทว่า อิติ ภวาภวเหตุ ความว่า

พวกเธอได้มีความคิดอย่างนี้หรือว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมด้วยความหวัง

ว่า เราจักอาศัยบุญกิริยาวัตถุอันสำเร็จด้วยการแสดงธรรมแล้ว จักได้เสวยสุข

ในภพนั้น ๆด้วยประการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีว่าสติปัฏฐาน

๔ ดังนี้เป็นต้น ทั้งโลกิยะและโลกุตระทีเดียว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ใน

ธรรม ๓๗ ประการนั้น. บทว่า สิยุ แปลว่า พึงเป็น. บทว่า อภิธมฺเม ได้

แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านี้

บทว่า ตตฺร เจ แม้นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่า โพธิปักขิยธรรม

ทั้งหลายเท่านั้น. ในคำนี้ที่ว่า อตฺถโต เจว นาน พฺยญฺชนโต จ นาน

ดังนี้ เมื่อกล่าวว่า กายสติปัฏฐาน เวทนาสติปัฏฐาน เป็นการต่างกันโดยอรรถ

แต่เมื่อกล่าวว่า (กาย เวทนา) ในสติปัฏฐาน ดังนี้ ย่อมชื่อว่าต่างกันโดย

พยัญชนะ. บทว่า ตทิมินาปิ ความว่า พึงเทียบอรรถและพยัญชนะแล้ว

ชี้ถึงความที่อรรถถือเอาความเป็นอย่างอื่น และพยัญชนะที่ลงไว้ผิดว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ทั้งหลายจงทราบ (ความต่างกัน) นั้น ด้วยเหตุแม้นี้ อรรถและพยัญชนะ

เป็นเหตุให้เข้าใจความนั่นแล เป็นธรรมและวินัย ในคำว่า โย ธมฺโม โย

วินโย นี้.

ในคำว่า อตฺถโต หิ โข สเมติ นี้ ท่านถือเอาว่าสตินั่นแล เป็น

สติปัฏฐาน. บทว่า ต่างกันโดยพยัญชนะ ความว่า พยัญชนะอย่างเดียวเท่านั้น

ลงไว้ผิดว่า สติปัฏฐาโน หรือ สติปัฏฐานา ดังนี้. บทว่า อปฺปมตฺตก โข

ความว่า ครั้นพอถึงพระสูตร พยัญชนะย่อมชื่อว่าไม่เป็นประมาณเลย แม้ใน

การยกพยัญชนะที่มีเสียงเบา ทำให้มีเสียงหนัก (คือพยัญชนะที่เป็นธนิต)

อาจกลายเป็นพยัญชนะดับได้. ในข้อนี้ มีเรื่องต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

ได้ฟังมาว่า พระเถระขีณาสพรูปหนึ่ง อยู่ในวิชยารามวิหาร เมื่อนำ

เอาพระสูตรมาบอกกรรมฐานแก่พระภิกษุ ๒ รูป กล่าวให้มีเสียงหนักไปว่า

" ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า สมุทธะ สมุทธะ ดังนี้. ภิกษุ

รูปหนึ่งกล่าวว่า อะไร ชื่อสมุทธะขอรับ. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุเมื่อกล่าว

ว่า สมุทธะก็ดี กล่าวว่า สมุทธะก็ดี พวกเราก็ย่อมรู้ว่า (หมายถึง) ทะเล

น้ำเค็มนั่นแหละ. ก็พวกเธอไม่ค้นหาเนื้อความ ค้นหาแต่พยัญชนะ พวกเธอ

จงไปพิสูจน์พยัญชนะ ในสำนักของภิกษุผู้ชำนาญเรื่องพยัญชนะในมหาวิหาร

เถิด ดังนี้แล้ว ไม่บอกกรรมฐานเลย ลุกไปเสีย. ครั้นต่อมาท่านพระเถระ

ขีณาสพองค์นั้น ให้ตีกลองในมหาวิหาร (เป็นสัญญาณให้มาประชุมกัน) แล้ว

กล่าวปัญหาในมรรค ๔ แก่หมู่ภิกษุแล้วก็นิพพาน. พอถึงพระสูตร พยัญชนะ

ชื่อว่าไม่เป็นประมาณอย่างนี้.

แต่พอถึงพระวินัย จะชื่อว่าไม่เป็นประมาณไม่ได้. เพราะแม้การ

บวชเป็นสามเณรต้องบริสุทธิ์ ๒ อย่าง (คืออรรถและพยัญชนะ) จึงจะควร.

แม้กรรมมีการอุปสมบทเป็นต้น ก็ย่อมกำเริบได้ ด้วยเหตุเพียงทำเสียงเบา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ให้เป็นเสียงหนักเป็นต้น. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวคำนี้โดยหมายถึงพยัญชนะใน

พระสูตร.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ในจตุตถวาร กล่าวแย้งกันเพราะเหตุ

ไร ? ตอบว่า กล่าวแย้งกันเพราะสัญญาว่า เราย่อมกล่าวสตินั่นแหละว่าสติ-

ปัฏฐาน ท่านผู้นี้กล่าวว่า กายสติปัฏฐาน. แม้ในพยัญชนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า น โจทนาย โจทิตพฺพ ได้แก่ อย่าเพ่งโจทด้วยความต้อง

การโจท เพราะบุคคลบางคนถูกเขาพูดทักว่า มีต่อมเท่าเมล็ดผักกาดที่หน้า

ผาก (ของท่าน) ก็กล่าวว่า ท่านเห็นต่อมเท่าเมล็ดผักกาดที่หน้าผากของเรา

(แต่) ไม่เห็นหัวฝีใหญ่เท่าลูกตาลสุกที่หน้าผากของตัว ดังนี้. เพราะฉะนั้น

ตัวบุคคลควร (จะต้อง) สอบสวน. บทว่า ไม่มีทิฏฐิมั่น คือไม่มีทิฏฐิใน

การยึดถือ คือไม่ถือมั่น เหมือนใส่จระเข้ไว้ในหัวใจ.

บทว่า อุปฆาโต ความว่า ก่อความทุกข์ เพราะความเป็นคนดุ

เหมือนถูกเสียดสีที่แผล. บทว่า สุปฏินิสฺสคฺคี สละคืนได้ง่าย ความว่า

แม้กล่าวหนึ่งวาระสองวาระว่า ผมต้องอาบัติชื่อไร ต้องเมื่อไร ดังนี้ หรือ

ว่า ท่านต้องอาบัติแล้ว อุปัชฌาย์ของท่านต้องอาบัติแล้ว ดังนี้ แล้วเตือน

ให้ระลึกว่า ท่านขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อโน้น ในวันชื่อโน้น ท่านจงค่อยๆ

นึกเถิด ดังนี้ จักสละได้เพียงนั้นทีเดียว. บทว่า วิเหสา ความลำบาก

ได้แก่ ความลำบากกายและใจ ของบุคคลผู้ชักเอาความและเหตุเป็นอันมากมา.

บทว่า สกฺโกมิ ความว่า ก็บุคคลเห็นปานนี้ได้โอกาสแล้ว เมื่อใครกล่าวว่า

ท่านต้องอาบัติแล้วขอรับ จะกล่าวว่าต้องเมื่อไร ในเรื่องอะไร เมื่อเขากล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ว่า ในวันโน้น ในเรื่องโน้น จะกล่าวว่า ผมนึกไม่ได้ดอกคุณ. แต่นั้นอัน

คนอื่นกล่าวมากมายให้ระลึกว่า ท่านจงค่อย ๆ นึกเถิดขอรับ ดังนี้ พอระลึก

ได้ก็ย่อมสละเสีย (คือปลงอาบัติ). เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สกฺโกมิ ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในทุก ๆ บทโดยนัยนี้.

บทว่า อุเปกขา นาติมญฺิตพฺพา ไม่พึงละเลย อุเบกขา

ความว่า ไม่พึงล่วงเลยอุเบกขา อธิบายว่า พึงทำ พึงให้อุเบกขาเกิดขึ้น.

ก็บุคคลใดแม้เห็นบุคคลปานนี้ ยืนถ่ายปัสสาวะก็พูดว่า ควรนั่งมิใช่หรือคุณ

ดังนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่า ล่วงเลยอุเบกขา.

บทว่า วจีสงฺขาโร แปลว่า พูดยุแหย่ อธิบายว่า ชักนำคำที่คน

พวกนี้กล่าวในระหว่างคนพวกโน้น ชักนำคำที่คนพวกโน้นกล่าวในระหว่าง

คนพวกนี้ว่า ท่านทั้งหลายถูกคนพวกนี้กล่าวอย่างนี้ ๆ. ตรัสภาวะที่จิตไม่ยิน

ดีด้วยบททั้งหลาย มีอาทิว่า ทิฏฺิปลาโส ดังนี้. บทว่า ต ชานมาโน

สมาโน ครเหยฺย ความว่า พระบรมศาสดาเมื่อทรงทราบเรื่องนั้นพึงทรง

ตำหนิพวกเรา. บทว่า เอต ปนาวุโส ธมฺม ได้แก่ ธรรม คือความ

ทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น. บทว่า ตญฺเจ ได้แก่ ภิกษุผู้กระทำสัญญัติ (การ

ประกาศให้รู้) รูปนั้น. บทว่า เอว พฺยากเรยฺย ความว่า เมื่อจะแสดง

เหตุที่ภิกษุกระทำสัญญัติ ไม่พูดว่าภิกษุเหล่านั้น เราให้ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์

แล้วดังนี้ นั่นแหละ พึงพยากรณ์อย่างนี้. สาราณียธรรมท่านหมายว่า ธรรม

ในคำที่นี้ว่า ตสฺสาห ธมฺม สุตฺวา ดังนี้. ก็ในบทมีอาทิว่า น เจ อตฺตาน

ดังนี้ ภิกษุผู้กล่าวว่า ไฟประมาณเท่าพรหมโลกนี้ ตั้งขึ้นแล้ว เว้นเราเสีย

ใครจะสามารถให้ไฟนั้นดับได้ ดังนี้ ชื่อว่า ยกตน. ภิกษุผู้พูดว่า คน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ประมาณเท่านี้เทียวพูดกันไปก็ไม่ได้โอกาส ชื่อว่าผู้สามารถจะยังเรื่องราว

ประมาณเท่านี้ให้ดับลง ย่อมไม่มีแม้สักคนเดียว ดังนี้ ชื่อว่า ข่มคนอื่น

ภิกษุนี้ย่อมไม่ทำแม้ทั้งสองอย่าง. ก็การพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ชื่อว่า ธรรม ในที่นี้. การกระทำสัญญัติของภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรม

อันสมควร. ภิกษุนี้ชื่อว่า พยากรณ์ ธรรมอันสมควรแก่ธรรมนั้น คำว่า

น จ โกจิ สหธมฺมิโก ความว่า การกล่าวของอาจารย์หรือการกล่าวตาม

ของศิษย์ไร ๆ อื่นอันสมแก่เหตุที่ภิกษุนั้นกล่าวด้วยบททั้งหลาย ไม่น่าจะต้อง

ตำหนิ บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากินติสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

๔. สามคามสูตร

ว่าด้วยนครนถ์แตกเป็น ๒ พวกเพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร

[๕๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคามสักกชนบท

ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของ

นิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะ

วิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรา

รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เรา

ปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน

ท่านพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่ง

ของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่าน ที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้

คำพูดหรือจงถอนคำพูดเสียถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความ

ตายประการเดียวเท่านี้นั้นเป็นสำคัญเป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร

แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย

คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย

คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด

ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้.

[๕๒] ครั้งนั้นแล สมณุทเทสจุนทะ จำพรรษาที่เมืองปาวาแล้วเข้า

ไปยังบ้านสามคามหาท่านพระอานนท์ กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจ

ทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่ว

ถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก

ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง

คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลาย

เป็นผิด แม้วาทะของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูด

หรือจงถอนคำพูดเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตาย

ประการเดียวเท่านั้นเป็นสำคัญ เป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฎบุตร

แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อ

หน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่า

เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด

ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ เมื่อ

สมณุทเทสจุนทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวดังนี้ว่า ท่าน

จุนทะ เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสอง

จักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

สมณุทเทสจุนทะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว.

[๕๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง. ท่านพระอานนท์พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดังนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณุทเทสจุนทะนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร

นั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น ๒ พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกัน

ด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย

คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย

คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด

ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป ความ

วิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก

ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความ

ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.

[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความ

รู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูก่อนอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา

แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ในธรรมเหล่านี้หรือ

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ

สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันใน

ธรรมเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แลที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มี

พระภาคเจ้าอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้

เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้น

มีแค่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก

เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

พ. ดูก่อนอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือ

ปาติโมกข์อันยิ่งนั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะ

เหตุมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุข

ของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่

เทวดาและมนุษย์.

มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง

[๕๕] ดูก่อนอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่าง

เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์

(๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่

เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้

บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา

แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น

ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก

ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความ

ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุ

แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุ

แห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ

แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุ

แห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความ

วิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุ

แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้.

[๕๖] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

(๒) ภิกษุเป็นผู้มีความลบหลู่ มีความตีเสมอ....

(๓) ภิกษุเป็นผู้มีความริษยา มีความตระหนี่....

(๘) ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมายา....

(๕) ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด....

(๖) ภิกษุเป็นผู้ถือความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน มีความ

ถือรั้น สละคืนได้ยาก ภิกษุที่เป็นผู้มีความเห็นเอาเอง มีความเชื่อถือผิวเผิน

มีความถือรั้น สละคืนได้ยากนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้

บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา

แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น

ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ ซึ่งเป็นความวิวาทมีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก

ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความ

ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่ง

ความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุแห่ง

ความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่ง

ความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุ

แห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความ

วิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุ

แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ดูก่อนอานนท์ เหล่านี้

แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง.

อธิกรณ์ ๔ อย่าง

[๕๗] ดูก่อนอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง อย่างเป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูก่อนอานนท์

เหล่านี้แล อธิกรณ์ ๔ อย่าง.

อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง

ดูก่อนอานนท์ ก็อธิกรณสมถะนี้มี ๗ อย่าง คือ เพื่อระงับอธิกรณ์

อันเกิดแล้วเกิดเล่า สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกา สติวินัย อมูฬหวินัย

ปฏิญญาตกรณะ ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ.

[๕๘] ดูก่อนอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมโต้เถียงกัน ว่าธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าวินัยหรือมิใช่วินัย

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณา

แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่อง

ลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขาวินัย

ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัย

อย่างนี้.

[๕๙] ดูก่อนอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้น

ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า

ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกันประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณา

แบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลง

กันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา ก็แหละ

ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้.

[๖๐] ดูก่อนอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรม

วินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียง

ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้

คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้สติวินัยแก่ภิกษุ

นั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสติวินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์

บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสติวินัยอย่างนี้

[๖๑] ดูก่อนอานนท์ ก็อมูฬหวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียง

ปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุ จงระลึกดูเถิดว่าท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือ

ใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทนั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ

ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นบ้า ใจฟุ้งซ่านแล้ว กรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็น

อันมาก ข้าพเจ้าผู้เป็นบ้าได้ประพฤติล่วง และได้พูดพล่ามไป ข้าพเจ้าระลึก

มันไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าผู้หลงทำกรรมนี้ไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ สงฆ์ต้องให้

อมฬูหวินัยแก่ภิกษุนั้นแล ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นอมูฬหวินัย ก็แหละ

ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยอมูฬหวินัยอย่างนี้.

[๖๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิญญาตกรณะเป็นอย่างไร คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ถูกโจทหรือไม่ถูกโจทก็ตาม ย่อมระลึกและเปิดเผยอาบัติได้

เธอพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แก่กว่า ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วไหว้เท้า นั่ง

กระหย่งประคองอัญชลี กล่าวแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านเห็นหรือ เธอตอบว่า ข้าพเจ้าเห็น ภิกษุผู้แก่กว่านั้นกล่าวว่า ท่านพึง

ถึงความสำรวมต่อไปเถิด เธอกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักถึงความสำรวม ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อานนท์ อย่างนี้แล เป็นปฏิญญาตกรณะ ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่าง

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยปฏิญญาตกรณะอย่างนี้.

[๖๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ตัสสปาปิยสิกาเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้

เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้

คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้

ว่า เอาเถอะ ท่านผู้มีอายุจงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็น

ปานนี้คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้

มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้เลยว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้

คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิก แต่ข้าพเจ้าระลึกได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อ

นี้เพียงเล็กน้อย ภิกษุผู้โจทก์นั้นปลอบโยนเธอผู้กำลังทำลายอยู่นี้ว่า เอาเถอะ

ท่านผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย อันที่จริง ข้าพเจ้าต้องอาบัติ ชื่อนี้เพียงเล็กน้อย ไม่ถูกใครถามยังรับ

ไฉนข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว

ถูกถาม จักไม่รับเล่า ภิกษุผู้โจทก์นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ท่านต้อง

อาบัติชื่อนี้เพียงเล็กน้อยไม่ถูกถามยังไม่รับ ไฉนท่านต้องอาบติหนัก เห็นปาน

นี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ไม่ถูกถามจักรับเล่า เอาเถอะท่าน

ผู้มีอายุ จงรู้ตัวให้ดีเถิด เผื่อจะระลึกได้ว่าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ

ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย ข้าพเจ้ากำลังระลึกได้ ข้าพเจ้าต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

หรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว คำที่ว่า ข้าพเจ้าระลึกไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติ

หนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกนี้ ข้าพเจ้าพูดพลั้งพูดพลาด

ไป ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็นตัสสปาปิยสิกา ก็แหละความระงับ

อธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยทัสสปาปิยสิกาอย่างนี้.

[๖๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ติณวัตถารกะเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้พระพฤติล่วงและได้พูด

ละเมิดกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดพึงพร้อม

เพรียงกันประชุม ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน

พึงลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีประกาศให้สงฆ์

จงพึงข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ

ล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความ

พรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน

ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพันกับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังกลบ

ไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน

ต่อแต่นั้นภิกษุผู้ฉลาดในบรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่ง พึงลุกจาก

อาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ประกาศให้สงฆ์ทราบว่า

ข้าแต่สงฆ์ผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เราทั้งหลายในที่นี้ เกิดขัดใจทะเลาะ

วิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติล่วงกรรมอันไม่สมควรแก่สมณะเป็นอันมาก และ

ได้พูดพล่าม ถ้าสงฆ์มีความพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของ

ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และของตน ยกเว้นอาบัติที่มีโทษหยาบและอาบัติที่พัวพัน

กับคฤหัสถ์ ด้วยวินัยเพียงดังว่ากลบไว้ด้วยหญ้า ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ประโยชน์แก่ท่านผู้มีอายุเหล่านี้และแก่ตน ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เป็น

ติณวัตถารกะ ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้

ด้วยติณวัตถารกะอย่างนี้.

สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๖ อย่าง

[๖๕] ดูก่อนอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความ

รัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความ

พร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน

(๑) ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วย

เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพระพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้

คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป

เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน

หนึ่งอันเดียวกัน ประการหนึ่ง.

(๒) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วย

เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป

เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน

หนึ่งอันเดียวกัน.

(๓) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบ

ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่

ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ

เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอัน

เดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

(๔) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีลาภใด ๆ เกิดโดย

ธรรม ได้โดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร เป็นผู้ไม่แย่งกันเอาลาภ

เห็นปานนั้น ไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อน

ร่วมพระพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำ

ความรัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อ

ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

(๕) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอ

กันโดยศีล ในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท

อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ

เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็น

ไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็น

อันหนึ่งอันเดียวกัน.

(๖) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอ

กันโดยทิฏฐิ ในทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนำออก ชักนำผู้กระทำตามเพื่อ

ความสิ้นทุกข์โดยชอบ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่

ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี่ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความ

รัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความ

พร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดูก่อนอานนท์ นี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน

ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อ

ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

[๖๖] ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖

อย่างนี้ ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นทางว่ากล่าวพวกเราได้ น้อยก็ตาม

มากก็ตาม ซึ่งจะอดกลั้นไว้ไม่ได้ละหรือ.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณีย-

ธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความ-

สุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สามคามสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

อรรถกถาสูตรสามคามสูตร

สามคามสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.

ในสามคามสูตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สามคามเก ได้

แก่ ในบ้านอัน ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะชาวบ้านสามกะมีหนาแน่น. บทว่า อธุ-

นา กาลกโต คือ กระทำกาละบัดเดี๋ยวนี้เอง. บทว่า เทฺวฬหกชาตาเกิด

เป็นสองพวก คือ เกิด (แตกกัน) เป็นสองฝ่าย. บรรดาการขัดใจกัน เป็นต้น

การทะเลาะกันในเบื้องต้น ชื่อว่า ภัณฑนะ การบาดหมาง การทะเลาะ

กันที่ขยายออกไปด้วยการถือไม้เป็นต้น และด้วยอำนาจการละเมิดพระบัญญัติ

ชื่อว่า กลหะ การทะเลาะ. การพูดขัดแย้งกันเป็นต้นว่า ท่านไม่รู้ธรรม

วินัยข้อนี้ ดังนี้ ชื่อว่า วิวาทโต้เถียงกัน. บทว่า วิตุทนฺตา คือทิ่มแทง

กัน (ด้วยปาก). บทว่า สหิตมฺเม คือ คำของเราประกอบด้วยประโยชน์.

คำว่า อธิจิณฺณ เต วิปราวตฺต ความว่า ข้อปฏิบัติที่เคยชินยิ่งของท่าน

ซึ่งเป็นของคล่องแคล่วโดยเป็นระยะกาลนานนั้น มาถึงวาทะของเราเข้าก็เปลี่ยน

แปลงไป. คำว่า อาโรปิโต เต วาโท ความว่า เรายกโทษขึ้น

เหนือท่านแล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกขาย ความว่า ท่านจงถือห่อ

ข้าวเข้าไปหาคนนั้น ๆ เที่ยวหาให้ยิ่งขึ้น เพื่อต้องการแก้วาทะนั้น. บท

ว่า นิพฺเพเธหิ ความว่า จงปลดเปลื้องตนเสียจากวาทะที่เรายกขึ้น. บทว่า

สเจ ปโหสิ แปลว่า ถ้าท่านอาจ. บทว่า วโธเยว คือ ความตายเท่านั้น.

บทว่า นาฏปุตฺติเยสุ ได้แก่ ในพวกอันเตวาสิกของนาฏบุตร. บทว่า

นิพฺพินฺนรูปา คือ มีความระอาเป็นสภาวะ ไม่กระทำแม้แต่การกราบไหว้

เป็นต้น. บทว่า วิรตฺตรูปา คือ เป็นผู้ปราศจากความรัก. บทว่า ปฏิวาน-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

รูปา คือ มีสภาวะหวนกลับจากการกระทำนบนอบพวกนิครนถ์เหล่านั้น. บทว่า

ยถาต ได้แก่ พึงเป็นดุจเบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจท้อถอยในธรรมวินัยอัน

มีสภาวะที่กล่าวไว้ไม่ดีเป็นต้น. บทว่า ทุรกฺขาเต แปลว่า กล่าวชั่ว. บทว่า

ทุปฺปเวทิเต แปลว่า ให้เข้าใจผิด. บทว่า อนฺปสมสวตฺตนิเก คือ ไม่

สามารถกระทำความสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ภินฺนถูเป คือ

เป็นที่พึ่งที่แตก. เพราะในลัทธินี้นาฏบุตรเท่านั้นเป็นดุจสถูป เพราะเป็นที่พึ่ง

อาศัยของนิครนถ์เหล่านั้น ก็นาฏบุตรนั้นแตก ตายแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึง

ตรัสว่า เป็น สถูปที่แตก. บทว่า อปฺปฏิสฺสรเณ คือ ปราศจากที่พึ่ง

พาอาศัย เพราะไม่มีนาฏบุตรนั้นนั่นเอง.

ถามว่า ก็นาฏบุตรนี้ เป็นชาวนาลันทามิใช่หรือ เพราะเหตุไร เขา

จึงไปตายที่ปาวา. ตอบว่า ได้ยินว่า เขาได้ฟังอุบาลีคฤหบดีผู้แทงตลอดสัจจะ

กล่าวพระพุทธคุณ ๑๐ คาถา ถึงสำรอกโลหิตอุ่น ๆ (รากเลือด). ครั้งนั้น

พวกศิษย์ได้นำเขาผู้กำลังไม่สบาย ไปยังเมืองปาวา. เขาได้ตาย ณ เมืองปาวา

นั้น แต่เมื่อจะตายเขาคิดตกลงใจว่า ลัทธิของเรา ไม่เป็นนิยยานิกธรรมไร้สาระ

เราฉิบหายก่อน คนที่เหลืออย่าได้แออัดในอบายเลย ก็หากเราจักบอกว่า

คำสอนของเราไม่มีนิยยานิกธรรม (นำออกจากทุกข์ไม่ได้) พวกเขาจักไม่เชื่อ

ถ้ากระไรเราจะไม่ให้คนแม้ ๒ คนเรียนลัทธิโดยวิธีเดียวกัน ต่อเราล่วงลับไป

พวกเขาจักวิวาทกัน พระศาสดาจักทรงอาศัยวาทะนั้นแล้ว จักตรัสธรรมกถา

เรื่องหนึ่ง จากนั้น พวกเขาจักรู้ความที่ศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ ดังนี้. ครั้งนั้น

ศิษย์คนหนึ่งเข้าไปหานาฏบุตรนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมีกำลังอ่อน

เปลี้ย ขอโปรดบอกสาระในธรรมนี้แก่ข้าพเจ้าเท่า ๆ กับท่านอาจารย์เถิด.

ผู้มีอายุ ต่อเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอจงถือว่า "เที่ยง" (ยั่งยืน) (สัสสตทิฏฐิ)

ศิษย์อีกคนก็เข้าไปหา เขาก็ให้ศิษย์คนนั้นถือเอาการขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

เขาไม่กระทำศิษย์แม้ทั้งสองคนให้มีลัทธิอย่างเดียวกัน ได้ให้เรียนเอามากวิธี

ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วก็ตายไป. ศิษย์เหล่านั้นกระทำฌาปนกิจอาจารย์แล้ว

ประชุมกัน ต่างถามกันว่า ผู้มีอายุ อาจารย์บอกสาระแก่ใคร. ศิษย์คนหนึ่ง

ลุกขึ้นพูดว่า บอกแก่ข้าพเจ้า. บอกอย่างไร ? บอกว่า เที่ยงยั่งยืน. ศิษย์อีก

คนหนึ่งห้ามศิษย์คนนั้น แล้วกล่าวว่า บอกสาระแก่ข้าพเจ้า เมื่อเป็นอย่างนั้น

ศิษย์ทั้งหมดก็ขยายการวิวาทกันและกัน โดยกล่าวว่า อาจารย์บอกสาระแก่

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้า ดังนี้ แล้วก็ลุกลามเป็นการด่า การบริภาษ

และการประหารกันด้วยมือและเท้าเป็นต้น ๒ คนมา (ด้วยกัน) ตามทางสาย

เดียวกัน (ต่างก็) แยกกันไปคนละทิศ ศิษย์บางพวกก็เป็นคฤหัสถ์ไป. ก็แม้

ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ การวิวาทยังไม่เกิดขึ้นในหมู่

ภิกษุ. เพราะพระศาสดา เมื่อกรณีวิวาทกัน พอเกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น

ก็เสด็จไปเอง ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นแหละมา ตรัสเหตุอย่างหนึ่งในธรรม

คือ ขันติ เมตตา การพิจารณา การไม่เบียดเบียนและธรรมที่ให้ระลึกถึงกัน

ทรงระงับการวิวาทเสีย. เมื่อเป็นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงพระชนม์

อยู่ ก็ได้ทรงเป็นที่พึ่งอาศัยของพระสงฆ์ แม้เมื่อจะเสด็จปรินิพพานก็ทรง

กระทำเหตุแห่งการไม่วิวาทกันไว้ เสด็จปรินิพพาน. เป็นความจริง มหาปเทส

๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตร เป็นที่พึ่งและเป็นที่อาศัยแก่

ภิกษุทั้งหลาย มาจนตราบเท่าทุกวันนี้. มหาปเทส ๔ ที่ทรงแสดงไว้ในขันธกะ

และปัญหาพยากรณ์ ๔ ข้อที่ตรัสไว้ในพระสูตร เป็นที่พึ่งอาศัยของภิกษุ

ทั้งหลายได้เหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ จึงตรัสว่า "อานนท์ ธรรม

และวินัยอันใดที่เราตถาคตแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย เมื่อเรา

ตถาคตล่วงไป ธรรมและวินัยอันนั้น จะเป็นศาสดาของพวกเธอ" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

บทว่า อถ โข จุนฺโท สมณฺทฺเทโส ความว่า พระเถระรูปนี้

เป็นน้องชายคนเล็กของพระธรรมเสนาบดี. ในเวลายังเป็นอนุปสัมบัน (สาม

เณร) ภิกษุทั้งหลายเรียกท่านว่า จุนทะ สมณฺทเทส แม้ในเวลาท่านเป็น

พระเถระก็ยังคงเรียกอย่างนั้นอยู่. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จุนทะ

สมฌุทเทส ดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไร ได้ยิน

ว่า เมื่อนาฏบุตรตายแล้ว พวกมนุษย์ในชมพูทวีปก็ยังประกาศถ้อยคำใน

ที่นั้น ๆ ว่า นิครนถ์นาฏบุตร ปรากฏว่าเป็นศาสดาเอก. เพราะท่านกระทำ

กาละ เหล่าสาวกก็เกิดการโต้แย้งกัน เห็นปานนี้ ส่วนพระสมณโคดมปรากฏว่า

เป็นดุจพระจันทร์ และพระอาทิตย์ ในชมพูทวีป เมื่อพระสมณโคดมปริ-

นิพพานแล้ว เหล่าสาวกจักวิวาทโต้แย้งกันเช่นไรหนอ ดังนี้. พระเถระได้

สดับถ้อยคำนั้นแล้ว คิดว่า เราจักถือเอาถ้อยคำนี้ไปกราบทูลแก่พระทศพล

พระศาสดาจักทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องราว

แล้วจักตรัสเทศนาอย่างหนึ่ง. ท่านจึงออกไปแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่

สามคาม ท่านยังไม่ไปสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง เข้าไปหาท่าน

พระอานนท์ผู้เป็นอุปัชฌาย์. ได้ยินว่าท่านมีความคิดอย่างนี้ อุปัชฌาย์ของเรา

มีปัญญามาก ท่านจักกราบทูลข่าวนี้แด่พระศาสดา ทีนั้น พระศาสดาจักทรง

แสดงธรรมอันเหมาะสมกับวาทะ (ที่เกิดขึ้น).

บทว่า กถาปาภฏ แปลว่า ถ้อยคำอันเป็นต้นเรื่อง จริงอยู่ ต้นทุน

ท่านเรียกว่า ปาภฏะ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ

สมุฏฺาเปติ อตฺตาน อณุ อคฺคึว สนฺธม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วย

ทรัพย์ อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือน

คนก่อกองไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ ฉะนั้น

ดังนี้.

บทว่า ทสฺสนาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าเฝ้า. ถามว่า ก็

พระจุนทะไม่เคยเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ ? ตอบว่า ไม่ใช่ไม่เคยเฝ้า.

ก็ท่านผู้นี้ไปเฉพาะที่ปรนนิบัติวันหนึ่ง ๑๘ ครั้ง คือ กลางวัน ๙ ครั้ง กลาง

คืน ๙ ครั้ง. แต่วันหนึ่งประสงค์จะไปร้อยพันครั้งก็ได้ ( ท่าน ) จะไปเพราะ

ไม่มีเหตุก็หามิได้ ท่านถือเอาปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งเท่านั้นจึงจะไป. วันนั้น

ท่านประสงค์จะไปด้วยเรื่องนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า อหิตาย ทุกฺขาย

เทวมนุสฺสาน ความว่า ความวิวาทเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ในวิหารแห่งหนึ่ง

ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร.

ก็เมื่อภิกษุสองรูปวิวาทกัน ศิษย์ของภิกษุเหล่านั้นในวิหารนั้นก็ย่อมวิวาทกัน

เหมือนในโกสัมพิกขันธกะ ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาท

กัน. แต่นั้น อุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้นก็วิวาทกัน. ลำดับนั้น อารักขเทวดา

ของพวกมนุษย์ย่อมเป็นสองฝ่าย. ในสองฝ่ายนั้น อารักขเทวดาของพวกที่เป็น

ธรรมวาที ย่อมเป็นธรรมวาที. ของพวกที่เป็นอธรรมวาที ก็เป็นอธรรมวาที.

ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา ย่อมแตกกัน. เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกย่อมเป็นสองพวก ต่อ ๆ กันไปอย่างนี้

จนถึงพรหมโลก. ก็พวกอธรรมวาทีย่อมมากกว่าพวกธรรมวาที. ต่อแต่นั้นย่อม

ถือเอาสิ่งที่คนมากถือ พวกที่มากกว่านั้นแล สละธรรมเสีย ถือเอาแต่อธรรม

พวกที่ถืออธรรมเหล่านั้น ก็ทำอธรรมให้บริบูรณ์อยู่ ก็จะพากันไปบังเกิดใน

อบาย. ความวิวาทกันเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ในวิหารหนึ่ง ย่อมมีเพื่อสิ่งไม่

เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

บทว่า อภิญฺา เทสิตา ความว่า (เรา) นั่งที่โคนไม้มหาโพธิ์

กระทำให้ประจักษ์แล้วประกาศให้รู้. บทว่า ปฏิสฺสยมานรูปา วิหรนฺติ

คือ เข้าไปอาศัยอยู่. ด้วยคำว่า ภควโต อจฺจเยน ดังนี้ ท่านพระอานนท์

กล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นเชษฐบุคคล

มีความเคารพอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์เป็นผู้มีพระเดชกล้า

เพราะทรงเป็นผู้ที่ใคร ๆ เข้าเฝ้าได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่อาจก่อความวิวาท

ให้เกิดขึ้น แต่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงไปแล้ว พึงก่อวิวาทนั้นให้เกิดขึ้น.

เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ทำความวิวาทนั้นให้เกิด จึงตรัสว่า อชฺฌาชีเว วา

อธิปาฏิโมกฺเข วา. ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌาชีเว ได้แก่ เพราะ

เหตุแห่งอาชีวะ หรือ เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงชีพ. สิกขาบท ๖ ที่ทรงบัญญัติ

ไว้ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ต้อง

อาบัติปาราชิก ดังนี้ เว้นสิกขาบท ๖ เหล่านั้นเสีย สิกขาบททั้งมวลที่เหลือชื่อ

ว่าปาติโมกข์อันยิ่ง. บทว่า อปฺปมตฺตโก โส อานนฺท ความว่า ธรรมดาว่า

ความวิวาทที่เกิดขึ้น เพราะปรารภอาชีวะอันยิ่ง และปาติโมกข์อันยิ่ง ก็เพราะ

เหตุที่เป็นของละได้ง่าย เพราะกำหนดด้วยถ้อยคำของคนอื่นบ้าง ด้วยธรรมดา

ของตนบ้าง ฉะนั้นจึงตรัสว่า เล็กน้อย. ในบทว่า เล็กน้อยนั้น มีนัยดัง

ต่อไปนี้. ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้คิดเป็นต้นว่า ผู้ไม่อวดอุตตริมนุสสธรรม

ไม่อาจได้อะไร ๆ ดังนี้ เพราะเหตุอาชีวะ เพราะการเลี้ยงชีพ จึงพูดอวด

อุตตริมนุสสธรรมบ้าง เที่ยวชักสื่อบ้าง ทำการพูดเลียบเคียงโดยนัยเป็นต้นว่า

ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ ดังนี้บ้าง ไม่เป็นไข้

ขอบิณฑบาตอันประณีต เพื่อประโยชน์ตนมาบริโภคบ้าง ก็หรือว่า ภิกษุณี

ขอบิณฑบาตอันประณีตเหล่านั้น ย่อมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุรูปใดรูป

หนึ่ง ทำการขอแกงและข้าวสุกอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

บ้าง ก็หรือว่าทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนร่วม

พรหมจรรย์ จำเธอได้อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรของภิกษุนี้ ด้วยลาภที่ได้

นี้ ผู้ใดบวชในพระศาสนาแล้วเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ ผู้นั้นชื่อว่า กระทำ

การล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ แม้โดยธรรมดาของ

ตน. ภิกษุกำหนดว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยลาภนี้ เราบวชในธรรมวินัย

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้ เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพนั้น ย่อม

กระทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ ดังนี้ แล้วงดเว้นจากการกระทำนั้น. ความ

วิวาทย่อมเป็นอันละได้ง่าย เพราะกำหนดได้ด้วยถ้อยคำของคนอื่นบ้าง ด้วย

ประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสกะพระอานนท์

นั้นว่าเล็กน้อย ดังนี้.

คำว่า มคฺเค วา หิ อานนฺท ปฏิปทาย วา ความว่า ชื่อว่า

ความวิวาท พอถึงโลกุตรมรรคย่อมระงับไป โดยประการทั้งปวง ความวิวาท

ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้บรรลุมรรคทั้งหลาย คำนี้ตรัสหมายถึงมรรคอันเป็นส่วน

เบื้องต้น และปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น. ในคำนั้นมีนัยดังต่อไปนี้. คน

ทั้งหลายย่อมยกย่องภิกษุรูปนั้นไว้ในโลกุตรธรรม. ภิกษุนั้นถามสัทธิวิหาริก

เป็นต้น ผู้มาไหว้แล้วยืนอยู่ว่า พวกเธอมาทำไม. มาเพื่อจะถามกรรมฐานที่

ควรทำไว้ในใจ ขอรับ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า พวกเธอจงนั่งลง ฉันจักบอกกรรม

ฐานที่สามารถให้บรรลุพระอหัตทันทีทันใดได้อย่างไร แล้วกล่าวว่า ภิกษุใน

พระศาสนานี้ เข้าไปในที่อยู่ของตน แล้วนั่งกระทำไว้ในใจถึงมูลกรรมฐาน

เมื่อเธอทำไว้ในใจถึงซึ่งกรรมฐานนั้น โอภาสย่อมเกิดขึ้น นี้ชื่อว่าปฐมมรรค.

เธอทำญาณในโอภาสที่สองให้เกิดขึ้น. ทุติยมรรคย่อมเป็นอันบรรลุแล้ว ทำ

ญาณในโอภาสที่สามและที่สี่ให้เกิดขึ้นด้วยวิธีอย่างนี้ ย่อมเป็นอันบรรลุมรรค

และผล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ดังนี้. ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้น ตกลงใจว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

ธรรมดาผู้มิใช่พระขีณาสพ ย่อมไม่อาจบอกกรรมฐานข้อหนึ่งได้ ท่านผู้นี้เป็น

พระขีณาสพแน่ ดังนี้. สมัยต่อมาท่านบอกกรรมฐานแล้ว มรณภาพ. มนุษย์

ทั้งหลายในบ้านที่เที่ยวภิกขาจารโดยรอบมาถามว่า ท่านขอรับ ใคร ๆได้ถาม

ปัญหากะพระเถระหรือเปล่า. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย

ก็ในกาลก่อนพระเถระได้บอกปัญหาแก่พวกอาตมาไว้. พวกเขาจัดแจงมณฑป

ดอกไม้ เรือนยอดไม้ สร้างเครื่องปิดตาและเครื่องปิดหน้าด้วยทองคำ บูชา

ด้วยเครื่องหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น เล่นสาธุกีฬาตลอด ๗ วัน แล้วทำ

ฌาปนกิจ ถือเอาอัฐิไปทำเจดีย์ (บรรจุไว้). พระอื่นที่จรมา มายังวิหาร ล้าง

เท้าแล้ว คิดว่าจักเยี่ยมพระมหาเถระ จึงไปถามว่า ท่านผู้มีอายุ พระมหา-

เถระไปไหน. ปรินิพพานนานแล้วขอรับ. ท่านผู้มีอายุ พระเถระผู้ทำมรรค

และผลให้เกิด กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก ท่านผู้มีอายุ พวกท่านได้ถามปัญหาไว้

หรือ. ท่านผู้เจริญ พระเถระเมื่อบอกกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย บอกแล้ว

โดยทำนองนี้. ผู้มีอายุ นั่นไม่ใช่มรรค นั่นชื่อว่าวิปัสสนูปกิเลส พวกท่านไม่

รู้ ท่านผู้มีอายุ พระเถระเป็นปุถุชน. ภิกษุเหล่านั้นทำการทะเลาะกัน ลุกลาม

ขึ้นว่า ภิกษุทั้งหลายในวิหารทั้งสิ้น และมนุษย์ทั้งหลายในบ้านที่เที่ยวภิกขาจาร

ย่อมไม่รู้ พวกท่านเท่านั้นรู้ พวกท่านมาโดยหนทางไหน พวกท่านไม่เห็น

เจดีย์ที่ประตูวิหารหรือ. ก็ภิกษุผู้มีวาทะอย่างนี้ จะเป็นร้อยรูปพันรูปก็ตาม

ตราบใดยังไม่ละลัทธินั้น สวรรค์ก็ดี มรรคก็ดี ก็ถูกห้ามอยู่ตราบนั้น. คน

อื่น ๆ เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจะบอกกรรมฐานย่อมบอกอย่างนี้ว่า พึง

เอาจิตนั่นแหละ ยกกระเบื้อง ๓ แผ่นขึ้นวางบนเตา ๓ เตา แล้วก่อไฟข้างใต้

เอาจิตนั่นแหละ เบิกอาการ ๓๒ ของตนใส่ลงบนกระเบื้อง พึงเอาจิตนั่น

แหละใช้ท่อนไม้ให้พลิกไปพลิกมา แล้วพึงย่าง เมื่ออาการ ๓๒ ถูก

ไฟเผา เถ้าที่มี (เหลือ) อยู่นั้น พึงใช้ลมปากเป่าให้ปลิวไป ด้วยวิธี

๑. ม. ภชฺชิตพฺพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

การเท่านี้ สมณะนี้ย่อมชื่อว่ามีบาปอันขจัดแล้ว. คำที่เหลือพึงให้พิสดารโดย

นัยก่อนนั่นแล. อาจารย์อื่นอีกย่อมบอกอย่างนี้ว่า เอาจิตนั่นแหละวางภาชนะ

ใหญ่แล้วประกอบเนยเหลว เอาจิตนั่นแหละเบิกอาการ ๓๒ ของตนใส่ลงใน

ภาชนะใหญ่นั้น ใส่เนยเหลวลงแล้วกวน อาการ ๓๒ ที่ถูกกวนย่อมเหลว. เมื่อ

เหลว ฟองก็ย่อมผุดขึ้นข้างบน. ฟองนั้นพึงบริโภคได้. ด้วยการทำเพียงเท่า

นี้ อมตะจักชื่อว่าเป็นอันท่านทั้งหลายบริโภคแล้ว. เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำทั้ง

หมดมีคำว่า ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยก่อน

เหมือนกัน.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงมูลแห่งวิวาทที่จะพึงเกิดขึ้นอย่างนั้น จึงตรัสคำว่า

ฉยิมานิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารโว ได้แก่ เว้น

จากความเคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส คือ ไม่ยำเกรง ได้แก่ ไม่ประพฤติ

ถ่อมตน. ก็ในอธิการนี้พึงทราบความดังนี้ ภิกษุใด เมื่อพระศาสดายังทรง

พระชนม์อยู่ไม่ไปปรนนิบัติ ๓ เวลา. เมื่อพระศาสดาไม่มีฉลองพระบาท

เสด็จจงกรม สวมรองเท้าจงกรม เมื่อเสด็จจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ (ตัว)

อยู่ในที่สูง. ในที่ที่แลเห็นพระศาสดา คลุมไหล่ทั้งสองข้าง กั้นร่ม สวมรอง

เท้า ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ณ ที่ท่าอาบน้ำ. หรือว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จ

ปรินิพพานแล้ว ไม่ไปไหว้พระเจดีย์ กระทำกิจทั้งปวงดังกล่าว ในที่ที่พระ

เจดีย์ปรากฏและในที่ที่แลเห็นพระศาสดา. และเมื่อภิกษุทั้งหลายอื่นกล่าวว่า

เพราะเหตุไรท่านจึงทำอย่างนี้ การกระทำนี้ไม่ควร ธรรมดาละอายพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าย่อมควร ดังนี้ กลับกล่าวว่า ท่านจงนิ่งเสียเถิด ท่านพูดอะไรว่า

พระพุทธเจ้า ๆ ดังนี้ นี้ชื่อว่า ไม่มีความเคารพในพระศาสดา. ส่วน

ภิกษุใด เมื่อเขาป่าวร้องการฟังธรรม ไม่ไปโดยเคารพ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ

หลับเสีย หรือนั่งเจรจาอยู่ ไม่เรียน ไม่สอนโดยเคารพ. เมื่อกล่าวว่า ทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

ไมท่านไม่ทำความเคารพใน พระธรรม ก็กล่าวว่า ท่านจงเป็นผู้นิ่งเสีย ท่าน

ร้องว่า ธรรม ๆ อะไรชื่อว่าธรรม นี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม.

ส่วนภิกษุใดอันพระเถระไม่เธอเชิญแสดงธรรม กล่าวถามปัญหา เดิน ยืน

นั่ง เบียดเสียดพระผู้ใหญ่ เอาผ้ารัดเข่า หรือ เอามือรัดเข่า คลุมไหล่ทั้ง

สองข้าง ท่ามกลางสงฆ์ กั้นร่ม สวมรองเท้า เมื่อภิกษุทั้งหลายแม้จะพูดว่า

ควรละอายภิกษุสงฆ์ ก็กล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านจงนิ่งเสียเถิด ท่านร้องว่าสงฆ์ ๆ

อะไรเป็นสงฆ์ เนื้อสงฆ์ แพะสงฆ์หรือ นี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระสงฆ์. ก็เมื่อ

ทำความไม่เคารพแม้ในภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมเป็นอันทำความไม่เคารพในสงฆ์

ด้วย. ก็เมื่อไม่ทำสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา.

บทว่า อชฺฌตฺต วา คือ ในตนและบริษัทของตน. บทว่า พหิทฺธา วา

คือ ในคนอื่น หรือในบริษัทของคนอื่น.

บัดนี้ วิวาทที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยฐานะ ๖ ประการนี้ ขยายตัว ย่อม

ต้องอธิกรณ์ใด เพื่อจะทรงแสดงอธิกรณ์นั้น จึงตรัสว่า จตฺตารีมานิ ดังนี้

เป็นต้น. ก็ในพระดำรัสนั้น ชื่อว่า อธิกรณ์ เพราะต้องกระทำให้ยิ่งด้วย

สมถะทั้งหลายที่ดำเนินอยู่ เพื่อต้องการระงับ. วิวาทด้วย อธิกรณ์นั้นด้วย

ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์. แม้ในอธิกรณ์นอกนี้ ก็นัยนี้แหละ. บัดนี้ วิวาท แม้

นั้นเมื่อเป็นอธิกรณ์ ๔ แม้เหล่านี้แล้วก็ยังขยายเพิ่มขึ้น ย่อมระงับได้ด้วย

สมถะทั้งหลายเหล่าใด เพื่อจะทรงแสดงสมถะเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า สตฺต

โข ปนีเม ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น ที่ชื่อว่า อธิกรณสมถะ เพราะ

อธิกรณ์สงบระงับ. บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺนาน แปลว่า เกิดขึ้นแล้วเกิด

ขึ้นเล่า. บทว่า อธิกรณาน ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้นเหล่า

นั้น. บทว่า สมถาย วูปสมาย แปลว่า เพื่อสงบและเพื่อระงับ. พึงให้

อธิกรณสมถะ ๗ ประการเหล่านี้ คือ พึงให้สัมมุขาวินัย ฯลฯ ติณวัต-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ถารกะ. ในอธิกรณสมถะนั้น มีวินิจฉัยกถาดังต่อไปนี้. พึงทราบวินิจฉัยใน

อธิกรณ์ก่อน วิวาทอันใดของภิกษุทั้งหลายผู้วิวาทกันอยู่ด้วยเรื่อง ๑๘ เรื่อง

(มีเรื่อง) ว่าธรรมหรือไม่ใช่ธรรม นี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์. การโจท คือ

การว่ากล่าวและการทักท้วงของภิกษุทั้งหลาย ผู้โจทด้วยความวิบัติแห่งศีล

หรือความวิบัติแห่งอาจาระ ทิฏฐิ และอาชีวะ นี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์.

กองอาบัติ ๗ กอง คือ ที่มาในมาติกา ๕ กอง ในวิภังค์ ๒ กอง ชื่อว่า

อาปัตตาธิกรณ์. การทำสังฆกรรม ๔ อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น นี้ชื่อ

ว่า กิจจาธิกรณ์. ในอธิกรณ์ ๔ นั้น วิวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับได้ด้วย

สมถะ ๒ คือ สัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา. อธิกรณ์ที่สงบระงับด้วยสัมมุขา-

วินัยนั่นแหละ เกิดขึ้นในวิหารใด มอบให้สงฆ์ในวิหารนั้น นั่นแหละ หรือไป

ในที่ใด มอบให้แก่สงฆ์ในที่นั้นนั่นแหละหรือในระหว่างทาง สำหรับพวก

ภิกษุผู้ไปเพื่อระงับ (อธิกรณ์) ในที่อื่น สงฆ์หรือคณะในที่นั้นไม่อาจระงับ

ได้ ก็สมมติด้วยอุพพาหิกาญัตติ ยกเลิกเสีย หรืออันบุคคลทั้งหลายตัดสิน

ในที่นั้น ย่อมระงับได้. ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความ

พร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล ในอธิกรณ์ที่ระงับด้วยอาการอย่าง

นี้ นี้ชื่อว่า สัมมุขาวินัย. ก็บรรดาความพร้อมหน้านั้น ความที่การกสงฆ์

พร้อมหน้าด้วยอำนาจสังฆสามัคคี ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์. ความที่

เรื่องอันจะพึงระงับมี ชื่อว่า. ความพร้อมหน้าธรรม. การระงับโดยวิธีที่

อธิกรณ์จะพึงระงับได้ ชื่อว่า ความพร้อมหน้าวินัย. การที่มีผู้วิวาทกับมี

เรื่องวิวาทเกิดพร้อมหน้าคู่วิวาท ผู้มีประโยชน์ขัดกัน ชื่อว่า ความพร้อม

หน้าบุคคล. แต่เพราะอธิกรณ์ระงับด้วย อุพพาหิกาญัตติ ความพร้อมหน้า

สงฆ์ในที่นี้ก็ย่อมเสียไป. ก่อนอื่น อธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น

อย่างนี้ ก็หากว่า แม้อย่างนั้น อธิกรณ์ก็ไม่ระงับ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

สมมติด้วยอุพพาหิกาญัตติ พึงมอบอธิกรณ์นั้นแก่สงฆ์เท่านั้นว่า พวกกระผม

ไม่อาจระงับได้. แต่นั้น สงฆ์สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้แจก

สลาก ภิกษุผู้ได้รับสมมตินั้น ให้จับสลากด้วยอำนาจการจับสลากอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในบรรดาการจับสลาก ๓ อย่าง มีอย่างลับ อย่างเปิดเผย และ

อย่างกระซิบที่หูของตน เพราะธรรมวาทีบุคคลในบริษัทที่มาประชุมกันมีมาก

กว่า ธรรมวาทีบุคคลย่อมกล่าวโดยประการใด อธิกรณ์ที่ระงับโดยประการนั้น

ย่อมเป็นอันสงบระงับด้วย สัมมุขาวินัย และ เยภุยยสิกา. บรรดาอธิกรณ-

สมถะเหล่านั้น สัมมุขาวินัยมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็การกระทำกรรมโดยมี

พวกมากอย่างนี้ ชื่อว่า เยภุยยสิกา.

วิวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับ

ด้วยสมถะ ๔ อย่าง คือ ด้วย สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย

และตัสสปาปิยสิกา. เมื่อระงับด้วยสัมมุขาวินัยนั่นแล วินัยธรฟังคำของ

ผู้เป็นโจทก์และจำเลยเหล่านั้นแล้ว วินิจฉัยอย่างนี้ว่า ถ้าอาบัติไร ๆ ไม่มี

ให้ทั้งสองฝ่ายขอขมาโทษ ถ้ามี ในเรื่องนี้ก็เป็นอาบัติชื่อนี้ ดังนี้ (อธิกรณ์)

ย่อมระงับ. ในอธิกรณสมถะเหล่านั้น ลักษณะของสัมมุขาวินัย มีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล ก็ในกาลใด ภิกษุขีณาสพถูกกำจัดด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล

ขอสติวินัย สงฆ์ให้สติวินัยด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้นอธิกรณ์ย่อมเป็น

อันระงับด้วยสัมมุขาวินัย และสติวินัย. ก็เมื่อให้สติวินัยแล้ว ใคร ๆ ย่อม

โจทไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ในกาลใด ภิกษุเป็นบ้า เมื่อกระทำอัชฌาจาร

อันมิใช่ของสมณะ ด้วยอำนาจของความเป็นบ้า ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

ท่านผู้มีอายุ จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ดังนี้ แม้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ผมเป็น

บ้า กระทำกรรมนั้น ผมระลึกข้อนั้นไม่ได้ จึงถูกภิกษุทั้งหลายโจทเอา ย่อม

ขออมูฬหวินัย เพื่อต้องการมิให้โจทอีก แม้สงฆ์ก็ย่อมให้อมูฬหวินัยแก่เธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้นอธิกรณ์ย่อมเป็นอันระงับด้วยสัมมุขาวินัย และ

อมูฬหวินัย. แต่เมื่อให้อมูฬหวินัยแล้ว แต่เพราะความบ้านั้นเป็นปัจจัย

ใคร ๆ ก็โจทไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลถูกโจทด้วย

ปาราชิกหรือเฉียด (ฉายา) ปาราชิก ให้การกลับไปกลับมา เป็นคนเลวเพราะ

เป็นผู้มีความชั่วมาก สงฆ์สำคัญอยู่ว่า ถ้าผู้นี้จักไม่เป็นมูลเฉท (คือ ขาดจาก

พระ) ประพฤติชอบแล้ว จักได้การเรียกเข้าหมู่ ถ้าเป็นมูลเฉท ก็จักมีแต่นาสนะ

(คือการกำจัดออกไป) แก่เธอนี้เท่านั้นดังนี้ กระทำตัสสปาปิยสิกาด้วย ญัตติ-

จตุตถกรรม. ในกาลนั้น อธิกรณ์ย่อมเป็นอันระงับด้วยสัมมุขาวินัย และ

ตัสสปาปิยสิกา. อนุวาทาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ ประการอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย

ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ. อาปัตตาธิกรณ์นั้น ย่อมไม่มีการ

ระงับด้วยสัมมุขาวินัยอย่างเดียว. ก็ในกาลใด ภิกษุแสดงอาบัติเบาในสำนัก

ภิกษุรูปหนึ่ง หรือในท่ามกลางสงฆ์ ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ย่อมระงับ

ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ. ในสมถะ ๒ อย่างนั้น จะว่าโดยสัมมุขา-

วินัยก่อน ความพร้อมหน้าของผู้แสดงและผู้รับแสดงนั้น ชื่อว่า ความพร้อม

หน้าบุคคล. ที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแล.

ในเวลาแสดงแก่บุคคล และแก่คณะ ความพร้อมหน้าสงฆ์ย่อมเสียไป

ก็ในที่นี้ การกระทำ (แสดงอาบัติ) ว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป ดังนี้. ตาม

การปฏิญญาว่า ท่านขอรับ ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ดังนี้ และว่า ขอรับ ผมเห็น

ดังนี้ ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. การขออยู่ปริวาสเป็นต้น ในอาบัติสังฆา-

ทิเสส และการให้ปริวาสเป็นต้น ตามปฏิญญา ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ.

ส่วนภิกษุผู้กระทำความบาดหมางกันเกิดเป็นสองฝ่าย ประพฤติล่วงอัชฌาจาร

อันมิใช่ของสมณะเป็นอันมาก เมื่อกลับเกิดลัชชีธรรมขึ้นใหม่ เห็นโทษในการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ที่จะให้กันและกันกระทำ (คืน) อาบัติว่า ถ้าพวกเราจักให้กันและกันกระทำ

(คืน) จากอาบัติเหล่านี้ บางทีอธิกรณ์นั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์

ที่รุนแรงดังนี้แล้ว กระทำ ติณวัตถารกะ การประนีประนอม ดังกลบด้วยหญ้า

ในกาลใด ในกาลนั้น อธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสัมมุขาวินัย และด้วยติณ-

วัตถารกะ. ก็ในเรื่องติณวัตถารกะนั้น ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาสมีประมาณเท่าไร

ไม่ทำความเห็นแย้งออกไปอย่างนี้ว่า กรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้าแล้ว ไม่รื้อฟื้น

ว่า กรรมทำไม่ดี กรรมต้องทำใหม่ เป็นผู้กลับอาบัติทั้งปวง แม้ของ

ภิกษุทั้งปวง ยกเว้นอาบัติมีโทษหยาบ และอาบัติที่เกี่ยวกับคฤหัสถ์ ย่อม

ออกไป. อาปัตตาธิกรณ์ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ ด้วยประการอย่างนี้. กิจจา

ธิกรณ์ระงับด้วยสมถะเดียว คือ สัมมุขาวินัย เท่านั้น. อธิกรณ์ ๔ นี้

ย่อมระงับด้วยสมถะ ๗ อย่างนี้ ตามควร. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า พึงให้

สัมมุขาวินัย ฯลฯ ติณวัตถารกะ เพื่อสงบ เพื่อระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิด

ขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ดังนี้. นัยแห่งการวินิจฉัยในเรื่องอธิกรณสมถะนี้ เพียง

เท่านี้. ส่วนความพิสดารมาในสมถขันธกะ นั้นแล. แม้การวินิจฉัยอธิกรณ์

นั้น ก็ได้กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา.

ก็ในพระสูตรนี้ ความพิสดารมีเป็นต้น ว่า อิธานนฺท ภิกขู วิวทนฺติ

ดังนี้ ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วนั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้โดยนัยนั้น โดยสังเขปแท้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ธรรม เป็นต้น ในพระบาลีนั้นโดยปริยายแห่ง

พระสูตรก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรม อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า

อธรรม. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งมาในหนหลังว่า สติปัฏฐาน ๔

เป็นต้น ก็ชื่อว่า ธรรม เหมือนกัน. สภาวธรรมนี้คือ สติปัฏฐาน ๓ สัม-

มัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ ๖ โพชฌงค์ ๘ และ มรรคมีองค์ ๙

และสังกิลิฏฐธรรม มีอาทิว่า อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ ดังนี้ ชื่อว่า อธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ในบรรดาธรรมและอธรรมนั้น ภิกษุถือเอาส่วนแห่งอธรรมส่วนหนึ่งอย่างใด

อย่างหนึ่งแล้วปรึกษากันว่า พวกเราจักกระทำอธรรมนี้ว่า ธรรม เมื่อเป็น

อย่างนี้ ตระกูลอาจารย์ของพวกเราจักเป็นตระกูลนำออก (จากทุกข์) และพวก

เราจักเป็นผู้ปรากฏในโลก ดังนี้ แล้วกล่าวอธรรมนั้นว่า นี้เป็นธรรม ดังนี้

ย่อมโต้แย้งกันว่า ธรรม. ถือเอาส่วนแห่งธรรมส่วนหนึ่งในบรรดาส่วนแห่ง

ธรรมทั้งหลาย เหมือนอย่างนั้นแหละ แล้วกล่าวว่า นี้เป็นอธรรม โต้แย้ง

กันว่า อธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย กรรมที่ทักท้วงให้ระลึกด้วย

เรื่องที่เป็นจริง แล้วกระทำตามปฏิญญา ชื่อว่า ธรรม. ส่วนกรรมที่ทักท้วง

ให้ระลึกด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงแล้วทำตามปฏิญญา ชื่อว่า อธรรม. แม้ในธรรม

และอธรรมนั้น กล่าวอธรรมว่า นี้ธรรม ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องธรรม. กล่าว

ธรรม ว่า นี้อธรรม ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องอธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยาย

พระสูตร สภาวะนี้ คือการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะให้พินาศ การสำรวม

การละ การพิจารณา ชื่อว่า วินัย. สภาวะอันนี้ คือ การไม่กำจัดราคะ

เป็นต้นให้พินาศ การไม่สำรวม การไม่ละ การไม่พิจารณา ชื่อว่า อวินัย.

ว่าโดยปริยายพระวินัย สภาวะนี้ คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวน-

สมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่า วินัย. สภาวะนี้คือ วัตถุวิบัติ

ฯลฯ ปริสวิบัติ ชื่อว่า อวินัย. แม้ในวินัยและอวินัยเหล่านั้น กล่าวอวินัย

อย่างใดอย่างหนึ่งว่า นี้วินัย ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องวินัย. กล่าววินัยว่า

อวินัย ชื่อว่า วิวาทกันเรื่องอวินัย. บทว่า ธมฺมเนตฺติ สมนุมชฺชิตพฺพา

ความว่า สายเชือกคือธรรม พึงพิจารณา คือ พึงขัดสีสอบสวนด้วยญาณ

ก็แบบธรรมนี้นั้น ท่านกล่าวว่า มาแล้วในมหาวัจฉโคตตสูตรอย่างนี้ว่า วัจฉะ

ดังนั้นแล ธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นอกุศลธรรม ๑๐ ประการนี้เป็นกุศล ดังนี้.

แบบธรรมนั้น จะเป็นอย่าง (ที่ตรัสไว้ในพระสูตร) นี้ หรือเป็นธรรมและวินัย

ที่ตรัสไว้ในที่นี้ก็ได้. บทว่า ยถา ตตฺถ สเมติ ความว่า ย่อมลงกันในแบบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

แห่งธรรมนั้น ด้วยประการใด คือธรรมย่อมเป็นธรรม อธรรมย่อมเป็นอธรรม

วินัยย่อมเป็นวินัย และอวินัยย่อมเป็นอวินัย. ในบทว่า ตถา ต นี้ ความว่า

อธิกรณ์นั้น พึงระงับโดยประการนั้น. ในบทว่า เอกจฺจาน อธิกรณาน ดังนี้

ในที่นี้ทรงแสดงเฉพาะวิวาทาธิกรณ์ไว้อย่างเดียว ส่วนสัมมุขาวินัยย่อมไม่ได้

ในอธิกรณ์ไร ๆ หามิได้.

ก็วิวาทาธิกรณ์นี้นั้น เพราะเหตุที่ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ

สัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา ฉะนั้น ในบัดนี้ แม้เมื่อถึงวาระของสติวินัย ตาม

ลำดับหัวข้อที่วางไว้ในหนหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะไม่ตรัสถึงสติวินัยนั้น

เมื่อจะทรงแสดงสมถะที่สองของวิวาทาธิกรณ์นั้นแหละก่อน จึงตรัสว่า กถญฺ-

จานนฺท เยภฺยยสิกา ดังนี้เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น บทว่า พหุตรา คือ

อย่างต่ำเกินกว่า ๒, ๓ สมถะ. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลัง.

บัดนี้ เพื่อจะตรัสสมถะที่เหลือจากสมถะที่พิสดารแล้ว ให้พิสดารไป

ตามลำดับ ตั้งแต่สติวินัยที่ยังมิได้ตรัสให้พิสดารเป็นต้นไป จึงตรัสพระดำรัสว่า

กถญฺจนนิท สติวินโย ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า

ปาราชิกสามนฺเตน ความว่าใกล้เคียงมี ๒ คือ ใกล้เคียงขันธะ (กองอาบัติ) ๑

ใกล้เคียงตัวอาบัติ ๑ บรรดาใกล้เคียง ๒ อย่างนั้น ใกล้เคียงส่วนหลังของ

กองอาบัติส่วนหน้าอย่างนี้ คือ ปาราชิกาปัตติขันธ์ สังฆาทิเสสาปัตติขันธ์

ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ และทุพภาสิตาปัตติขันธ์ ชื่อว่า

ใกล้เคียงขันธ์. ใกล้เคียงอันนี้ คือ ในส่วนเบื้องแรกของปฐมปาราชิก

เป็นทุกกฎ สำหรับที่เหลือเป็น ถุลลัจจัย ชื่อว่า ใกล้เคียงอาบัติ. ในบรรดา

ใกล้เคียงนั้น ชื่อว่า ครุกาบัติ ย่อมมีในใกล้เคียงขันธ์ หรือในใกล้เคียง

ปาราชิก. บทว่า สรตายสฺมา ตัดบทเป็น สรตุ อายสฺมา (แปลว่าท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ผู้มีอายุจงระลึก). ในบทว่า เอกจฺจาน อธิกรณาน ทรงแสดงเฉพาะ

อนุวาทาธิกรณ์เท่านั้น.

บทว่า ภาสิตปริกนฺต ได้แก่ พูดด้วยวาจา และพยายามด้วยกาย

อธิบายว่า ทำรอบด้าน. ในบทว่า เอกจฺจาน นี้ก็ทรงประสงค์เอาเฉพาะ

อนุวาทาธิกรณ์เท่านั้น. ในปฏิญญาตกรณะ ทรงแสดงอาปัตตาธิกรณ์ด้วยคำว่า

" เอกจฺจาน "

บทว่า ทวา แปลว่า ผลุนผลัน. บทว่า รวา (พลั้งพลาด) ได้แก่

ต้องการพูดอย่างหนึ่ง แต่กลับพูดไปเสียอีกอย่างหนึ่ง.

คำว่า เอว โข อานนฺท ตสฺสปาปิยสิกา โหติิ ความว่า ความที่

บุคคลนั้นเป็นผู้มีบาปหนา ทรงแสดงวัตถุแห่งกรรมด้วยความเป็นคนมีบาป

หนานี้. เพราะต้องทำกรรม (คือสมถะ) อันนั้น แก่บุคคลเห็นปานนั้น เพราะ

อธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยกรรม มิใช่ระงับด้วยความเป็นบาปหนาของบุคคล.

อีกอย่างหนึ่ง อนุวาทาธิกรณ์นั่นแหละ พึงทราบว่า อธิกรณ์ ในที่นี้

ในคำว่า กถญฺจานนฺท ติณวตฺถารโก ดังนี้ ท่านกล่าวกรรมนี้ว่า

ชื่อว่า ติณวัตถารกะ เพราะเป็นเสมือนกลบไว้ด้วยหญ้า. เปรียบเทียบเหมือน

คูถหรือมูตร บุคคลกระทบเข้าย่อมโชยกลิ่น เพราะเป็นของเหม็น แต่เมื่อ

มันถูกปกปิดกลบไว้ด้วยหญ้า กลิ่นนั้นย่อมไม่โชยไป ฉันใด อธิกรณ์ที่ถึง

มูลเหตุน้อยใหญ่อันชั่วหยาบ ยังไม่สงบ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกสามัคคี

เพราะหยาบร้าย เมื่อสงบระงับด้วยกรรมนี้ ย่อมเป็นอันระงับดุจคูถที่ถูกกลบ

ปิดไว้ด้วยหญ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล. ด้วยคำว่า อิธานนฺท ภิกฺขูน

ภณฺฑนชาตาน ดังนี้ เป็นต้น ทรงแสดงเพียงอาการอธิกรณ์นั้นเท่านั้น.

ส่วนกรรมวาจาที่มาในขันธกะเท่านั้น เป็นประมาณในที่นี้. ก็ในคำนี้ว่า

เปตฺวา ถุลฺลวชฺช เปตฺวา คิหิปฏิยุตฺต ดังนี้ อาบัติปาราชิกและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

อาบัติสังฆาทิเสสอันมีโทษชั่วหยาบ ชื่อว่ามีโทษชั่วหยาบ อาบัติที่ต้อง

เพราะขู่ ตะเพิด และรับคำอันชอบธรรมด้วยถ้อยคำอันเลวต่อคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ชื่อว่า อาบัติที่เกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์. ในบทว่า อธิกรณ นี้ พึงทราบ

เฉพาะอาปัตตาธิกรณ์เท่านั้น. ก็ในที่นี้ ไม่ตรัสคำอะไร ๆ ด้วยอำนาจกิจจา.

ธิกรณ์. แม้ไม่ตรัสไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พึงทราบการระงับกิจจาธิกรณ์นั้น

ก็ด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น.

ในคำว่า ฉยิเม อานนฺท ธมฺมา สาราณียา ดังนี้ ทรงเริ่มพระสูตร

เนื่องด้วยการทะเลาะกันในหนหลัง สาราณียธรรมก็มาแล้วข้างหน้า ดังนั้น

เทศนาย่อมเป็นอันมาแล้วตามอนุสนธิ ก็ในโกสัมพิยสูตรหนหลัง ตรัสสัมมา

ทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสสัมมาทิฏฐิในโสดา-

ปัตติผล. บทวา อณุ คือ มีโทษน้อย. บทว่า ถูล. คือมีโทษมาก. คำที่

เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสามคามสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

๕. สุนักขัตตสูตร

ว่าด้วยภาวะแห่งอรหัตผล

[๖๗] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหา-

วัน กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๖๘] พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ได้ทราบว่า ภิกษุมากรูปได้ทูล

พยากรณ์อรหัตผล ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ทราบข่าวดังนี้ว่า ภิกษุมากรูป

ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พวกข้าพระองค์

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจ

อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุที่ทูลพยากรณ์

อรหัตผลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนั้น ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล

โดยชอบหรือ หรือว่าภิกษุบางเหล่าในพวกนี้ได้ทูลพยากรณ์อรหัตผล ด้วย

ความสำคัญว่าตนได้บรรลุ.

[๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ พวกภิกษุที่

พยากรณ์อรหัตผลในสำนักของเราว่า พวกข้าพระองค์รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

นี้มิได้มีนั้น มีบางเหล่าในพวกนี้ได้พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้ แต่ก็มี

ภิกษุบางเหล่าในที่นี้ได้พยากรณ์อรหัตผล ด้วยความสำคัญว่า ตนได้บรรลุ

ดูก่อนสุนักขัตตะ ในภิกษุเหล่านั้นภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลโดยชอบแท้

นั้น ย่อมมีอรหัตผลจริงทีเดียว ส่วนในภิกษุพวกที่พยากรณ์อรหัตผลด้วย

ความสำคัญว่าตนได้บรรลุนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ว่า จักแสดงธรรมแก่

เธอ ดูก่อนสุนักขัตตะ ในเรื่องนี้ตถาคตมีความดำริว่าจักแสดงธรรมแก่ภิกษุ

เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้ แต่ถ้าในธรรมวินัยนี้ มีโมฆบุรุษบางพวกคิดแต่ง

ปัญหาเข้ามาถามตถาคต ข้อที่ตถาคตมีความดำริในภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า จัก

แสดงธรรมแก่เธอนั้น ก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป.

พระสุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ขณะนี้เป็น

กาลสมควรแล้ว ๆ ี่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรม ภิกษุทั้งหลายได้

ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าวต่อไป.

พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร ทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ กามคุณ

นี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ

(๑) รูปที่รู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น

ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๒) เสียงที่รู้ด้วยโสตะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น

ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๓) กลิ่นที่รู้ด้วยฆานะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น

ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

(๔) รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็น

ที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

(๕) โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ดูก่อนสุนักขัตตะ นี้แลกามคุณ ๕ อย่าง.

[๗๑] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้

น้อมใจไปในโลกามิส นั้นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกา

มิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอัน

ควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมี

ใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้ง

จิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนคนที่จาก

บ้านหรือนิคมของตนไปนาน พบบุรุษใดคนหนึ่งผู้จากบ้านหรือนิคมนั้นไป

ใหม่ ๆ ต้องถามบุรุษนั้นถึงเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความเกษม ทำมาหากิน

ดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย บุรุษนั้นพึงบอกเรื่องที่บ้านหรือนิคมนั้นมีความ

เกษม ทำมาหากินดี และมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยแก่เขา ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอ

จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เขาจะพึงสนใจฟังบุรุษนั้น เงี่ยโสตสดับ ตั้ง

จิตรับรู้ คบบุรุษนั้นและใฝ่ใจกับบุรุษนั้นบ้างไหมหนอ.

สุ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่บุรุษบุคคลบางคน

ในโลกนี้ พึงเป็นผู้น้อมใจไปในโลกามิส นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคล

ผู้น้อมใจไปในโลกามิส ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่โลกามิสเท่านั้นย่อมตรึก ย่อม

ครองธรรมอันควรแก่โลกามิส คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

นั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสต-

สดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น บุคคล

ที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส.

[๗๒] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น

ผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อมใจ

ไปในอาเนญชสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อาเนญชสมาบัติเท่านั้น ย่อม

ตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่อาเนญชสมาบัติ คบแต่คนชนิดเดียวกัน และ

ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยวกับโลกามิส ย่อมไม่สนใจฟัง

ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น

เปรียบเสมือนใบไม้เหลือง หลุดจากขั้วแล้ว ไม่อาจเป็นของเขียวสดได้ ฉัน

ใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในโลกามิส

ของบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติหลุดไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้

พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอาเนญชสมาบัติ พรากแล้วจาก

ความเกี่ยวข้องในโลกามิส.

[๗๓] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็นผู้

น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้

น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่อากิญจัญญายตน-

สมาบัติเท่านั้น ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่อากิญจัญญายตนสมาบัติ

คบแต่คนชนิดเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดเรื่องเกี่ยว

กับอาเนญชสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบ

คนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนศิลาก้อน แตกออก

เป็น ๒ ซีกแล้ว ย่อมเชื่อมกันให้สนิทไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉัน

นั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ ของบุรุษบุคคลผู้น้อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติแตกไปแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึง

ทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในอากิญจัญญายตนสมาบัติ พราก

แล้วจากความเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ.

[๗๔] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี้ พึงเป็น

ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษ

บุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมตรึก ย่อมตรอง ธรรมอันควรแก่เนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ คบแต่คนเช่นเดียวกัน และใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่

เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ย

โสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบ

เหมือนคนบริโภคโภชนะที่ถูกอิ่มหนำแล้วพึงทิ้งเสีย ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เขาจะพึงมีความปรารถนาในโภชนะนั้นอยู่หรือ

หนอ.

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า

พ. นั่นเพราะเหตุไร.

สุ. เพราะว่าโภชนะโน้น ตนเองรู้สึกว่า เป็นของปฏิกูลเสียแล้ว.

พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องใน

อากิญจัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติคายเสียแล้ว บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่า เป็นบุรุษบุคคล

ผู้น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้อง

ในอากิญจัญญายตนสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

[๗๕] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่บุรุษบุคคลบางคนในโลกนี่ เป็นผู้

น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล บุรุษบุคคลผู้น้อม

ใจไปในนิพพานโดยชอบ ถนัดแต่เรื่องที่เหมาะแก่นิพพานโดยชอบเท่านั้น

ย่อมตรึก ย่อมตรองธรรมอันควรแก่นิพพานโดยชอบ คบแต่คนเช่นเดียวกัน

ใฝ่ใจกับคนเช่นนั้น แต่เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับเนวสัญญานาสัญญายตน

สมาบัติ ย่อมไม่สนใจฟัง ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ ไม่คบคนชนิดนั้น

และไม่ใฝ่ใจกับคนชนิดนั้น เปรียบเหมือนตาลยอดด้วนไม่อาจงอกงามได้อีก

ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อความเกี่ยวข้องในเนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อันบุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบตัด

ขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ไม่มีเหตุทั้งอยู่ได้ดังต้นตาล เป็นไปไม่ได้แล้ว มี

ความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลที่เป็นอย่างนี้นั้น พึงทราบเถิดว่าเป็น

บุรุษบุคคลผู้น้อมใจไปในนิพพานโดยชอบ พรากแล้วจากความเกี่ยวข้องใน

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ.

[๗๖] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ

ดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา

ย่อมกำเริบด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัด

โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่น

เป็นฐานะที่มีได้แล สิ่งที่เป็นผลเบื้องต้นพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้

แก่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนือง ๆ

ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบาย

ด้วยฆานะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งรสอัน ไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนือง ๆ

ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่

เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่

เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะ

อันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว

ราคะพึงตามกำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงตาย หรือทุกข์ปาง

ตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรที่มียาพิษอาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตรสหาย

ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา หมอผ่าตัดใช้ศัสตราแหละปากแผล

ของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหาลูกศรแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษ

คือพิษที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า

พ่ออมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่านเสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มี

เชื้อเหลือติดอยู่แล้ว ท่านหมดอันตราย และพึงบริโภคโภชนะที่สบายได้ เมื่อ

ท่านบริโภคโภชนะที่แสลง ก็อย่าให้แผลต้อกำเริบและท่านต้องชะแผลตาม

เวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมาน

ปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือดรัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยว

ตากลมตากแดดไปเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยวตากลมไปเนือง ๆ แล้วก็อย่าให้ละออง

และของสกปรกติดตามทำลายปากแผลได้ พ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษา

แผลอยู่จนกว่าแผลจะประสานกัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า หมอถอนลูกศร

ให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ หมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เราหมด

อันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลงอยู่ แผลก็

กำเริบ และไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่

ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาสมานปากแผลตามเวลา น้ำเหลืองและเลือดก็รัด

ปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ไปเนือง ๆ เมื่อเขาเที่ยวตากลม

ตากแดดไปเนือง ๆ แล้ว ปล่อยให้ละอองและของสกปรกติดตามทำลายปาก

แผลได้ ไม่คอยรักษาแผลอยู่ จนแผลประสานกันไม่ได้ เพราเขาทำสิ่งที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

แสลงนี้แล แผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ไม่กำจัดของไม่

สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ เขามีแผลถึงความบวมแล้ว พึง

เข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า

พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอกงามได้

ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน

เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น

ฐานะที่มีได้ สิ่งที่เป็นแผลเบื้องตันพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

อารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเสียง

อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วย

ฆานะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนือง ๆ

ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อัน

ไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนือง ๆ ซึ่งกาวะเห็นรูปอันไม่เป็น

ที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่

สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็น

ที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตาม

กำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปาง

ตาย.

ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ความตายนั้นวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะ

ที่ภิกษุบอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะ

ที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

[๗๗] ดูก่อนสุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความ

ดำริอย่างนี้ว่า พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา

ย่อมงอกงามได้ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว

กำจัดโทษอันเป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ

นั่นเป็นฐานะที่มีได้แล เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบนั่นแล เธอไม่

ประกอบเนืองๆ ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดย

ชอบแล้ว ได้แก่ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ

ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย

ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบาย

ด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วย

ชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่

สบายด้วยมโน ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตามกำจัดแล้ว

ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เปรียบเหมือนบุรุษถูกลูกศรมียาพิษ

อาบไว้อย่างหนาแล้ว มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาให้หมอผ่าตัดรักษา

หมอผ่าตัดใช้ศัสตราชำแหละปากแผลของเขา ครั้นแล้วใช้เครื่องตรวจค้นหา

ลูกศร แล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษคือพิษที่ยังมีเธอเหลือติดอยู่ จนรู้ว่า

ไม่มีเธอเหลืออยู่ จึงบอกอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ เราถอนลูกศรให้ท่าน

เสร็จแล้ว โทษคือพิษเราก็กำจัดจนไม่มีเธอเหลือติดอยู่ แล้วท่านหมดอันตราย

และพึงบริโภค. โภชนะที่สบายได้ เมื่อท่านจะบริโภคโภชนะที่แสลงก็อย่าให้แผล

ต้องกำเริบ และท่านต้องชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ท่านชะแผลตามเวลา ทายาสมานปากแผลตามเวลา อย่าให้น้ำเหลืองและเลือด

รัดปากแผลได้ และท่านอย่าเที่ยวตากลมตากแดดไปเนือง ๆ เมื่อท่านเที่ยว

ตากลมตากแดดไปเนือง ๆ แล้ว ก็อย่าให้ละอองและของโสโครกติดตามทำลาย

ปากแผลได้ พ่อมหาจำเริญ ท่านต้องคอยรักษาแผลอยู่จนกว่าแผลจะประสาน

กัน บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษคือพิษ

หมอก็กำจัดจนไม่มีเชื้อติดอยู่แล้ว เราหมดอันตราย เขาจึงบริโภคโภชนะที่

สบาย เมื่อบริโภคโภชนะที่สบายอยู่ แผลก็ไม่กำเริบ และชะแผลทุกเวลา

ทายาสมานปากแผลทุกเวลา เมื่อเขาชะแผลทุกเวลา ทายาสมานปากแผลทุก

เวลา น้ำเหลืองและเลือดก็ไม่รัดปากแผล และเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไป

เนืองๆ เมื่อเขาไม่เที่ยวตากลมตากแดดไปเนือง ๆ ละอองและของสกปรกก็ไม่

ติดตามทำอันตรายปากแผล เขาคอยรักษาแผลอยู่ จนแผลหายประสานกัน

เพราะเขาทำสิ่งที่สบายนี้แล แผลจึงหายได้ด้วย ๒ ประการคือ กำจัดของไม่

สะอาด และโทษคือพิษจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้ว เขามีแผลหาย ผิวหนัง

สนิทแล้ว จึงไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ

ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า

พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชา ย่อมกำเริบ

ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหาได้แล้ว กำจัดโทษอันเป็น

พิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็นฐานะ

ที่มิได้ เมื่อใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบอยู่นั่นแล เธอไม่ประกอบเนือง ๆ

ซึ่งอารมณ์อันไม่เป็นที่สบายของใจ อันน้อมไปในนิพพานโดยชอบแล้ว ได้แก่

ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ไม่ประกอบ

เนืองๆ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

กลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ด้วยชิวหา ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ไม่

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอไม่ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่

สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่

สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อัน

ไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะก็ไม่ตามกำจัดจิต เธอมีจิตไม่ถูกราคะตาม

กำจัดแล้ว ไม่พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย.

ดูก่อนสุนักขัตตะ เราอุปมาเปรียบเทียบดังนี้ เพื่อให้รู้เนื้อความใน

อุปมานี้ คำว่าแผล เป็นชื่อของอายตนะภายใน โทษคือพิษ เป็นชื่อของ

ตัณหา เครื่องตรวจเป็นชื่อของสติ ศัสตราเป็นชื่อของปัญญาของพระอริยะ

หมอผ่าตัดเป็นชื่อของตถาคตผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ดูก่อน

สุนักขัตตะ ข้อที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง

รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วใน

ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม ถึงพร้อมด้วยสี ด้วยกลิ่น ด้วยรสแต่

ระคนด้วยยาพิษ เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนาสุข เกลียด

ทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ

นั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็มเปี่ยมภาชนะนั้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ดื่มแล้วจะเข้าถึงความตาย

หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ.

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๘] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ

ความสำรวมในอายตนะอันเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จัก

น้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนสุนักขัตตะ

เปรียบเหมือนงูพิษ มีพิษร้ายแรง เมื่อบุรุษผู้รักชีวิต ยังไม่อยากตาย ปรารถนา

สุข เกลียดทุกข์ พึงมาพบเข้า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือหัวแม่มือให้แก่งูพิษ ที่มีพิษร้ายแรงนั้น

ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ถูกงูกัดแล้ว จะถึงตาย หรือทุกข์ปางตาย บ้างไหมหนอ.

สุ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๙] พ. ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุนั้นทำ

ความสำรวมในอายตนะเป็นที่กระทบ ๖ อย่าง รู้ดังนี้ว่า อุปธิเป็นรากเหง้า

แห่งทุกข์ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ พ้นวิเศษแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ จัก

น้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว พระสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สุนักขัตตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

อรรถกถาสุนักขัตตสูตร

สุนักขัตตสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้

ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในสุนักขัตตสูตรนั้นดังต่อไปนี้. พระอรหัตชื่อว่า

อัญญา. บทว่า พฺยากตา ความว่า อัญญา คือ พระอรหัต ท่านกล่าวด้วยบท

ทั้ง ๔ มีอาทิว่า อธิมาเนน ความว่า เป็นผู้มีความสำคัญธรรมที่ตนยังไม่ถึง

ว่าถึงแล้ว มีความสำคัญผิดว่า พวกเราได้บรรลุแล้วดังนี้.

บทว่า เอว เอตฺก สุนกฺขตฺต ตถาคตสฺส โหติ ความว่า ดูก่อน

สุนักขัตตะ ในการที่พวกภิกษุเหล่านี้ พยากรณ์พระอรหัตนี้ ตถาคตมีความดำริ

อย่างนี้ว่า ฐานะนี้ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังมืดอยู่สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

เหตุ ภิกษุเหล่านั้นจึงเป็นผู้มีความสำคัญในธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ

แล้ว เอาเถิด เราตถาคตแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ทำให้บริสุทธิ์ให้ปรากฏ.

บทว่า อถ จ ปนีเธกจฺเจ ฯปฯ ตสฺส โหติ อญฺถตฺต ความว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุผู้ปฏิบัติในเรื่องที่มีโมฆบุรุษบางพวก

ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเห็นว่าโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนปัญ-

หานี้แล้ว ไม่รู้เลย ก็ทำเหมือนรู้ เมื่อยังไม่ถึงก็สำคัญว่าถึง จักเที่ยวโพนทนา

คุณวิเศษไปในตามนิคมเป็นต้น ข้อนั้นก็จักไม่เป็นประโยชน์ จักเป็นทุกข์แก่

โมฆบุรุษเหล่านั้นตลอดกาลนาน. พระดำริที่เกิดขึ้นแต่พระตถาคตว่า เราจัก

แสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ย่อมจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุที่พวก

โมฆบุรุษตั้งอยู่ในอิจฉาจารด้วยอาการอย่างนี้ ทรงหมายเอาข้อความนั้นจึงได้

ตรัสคำนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต ความว่า น้อมไป คือโน้มไป โอนไป

เงื้อมไป ในกามคุณ ๕ อันเป็นเหยื่อล่อของวัฏฏะ เป็นเหยื่อล่อของกามและ

เป็นเหยื่อล่อของโลก. บทว่า ตปฺปฏิรูปี ได้แก่มีกามคุณเป็นสภาวะ. บทว่า

อาเนญฺชปฏิสยุตฺตาย แปลว่า เกี่ยวกับอาเนญชสมาบัติ. บทว่า สเสยฺย

แปลว่า พึงกล่าว. บทว่า อาเนญิชสโยชนน หิ โข วิสยุตฺโต ได้แก่

ไม่คลุกคลีด้วยการเกี่ยวข้องในอาเนญชสมาบัติ. บทว่า โลกามิสาธิมุตฺโต

ความว่า ก็พระเถระเห็นปานนี้ ครองจีวรปอน ๆ ถือบาตรดินไปยังปัจจันต-

ชนบทกับพระที่เหมือนกับคน ๒-๓ รูป ในเวลาเข้าบ้านไปบิณฑบาต พวก

มนุษย์เห็นแล้ว พากันกล่าวว่า ท่านผู้ถือมหาบังสุกุลมาแล้ว ต่างก็ตระเตรียม

ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น ถวายทานโดยเคารพ. เมื่อท่านฉันเสร็จ ได้ฟัง

อนุโมทนาแล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถึงวันพรุ่งนี้ก็ขอนิมนต์ท่านเข้ามา

บิณฑบาตในที่นี้แหละ. พระเถระกล่าวว่า อย่าเลย อุบาสกทั้งหลาย แม้วันนี้

ท่านก็ถวายมากแล้ว. ชนทั้งหลายกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้นขอท่านทั้ง

หลายพึงอยู่ในที่นี้ตลอดพรรษา ดังนี้ ให้พระเถระรับนิมนต์แล้วถามทางไปยัง

วิหาร. ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะในวิหารนั้นแล้ว เก็บบาตรและจีวร. ใน

เวลาเย็น ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่งได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านเที่ยวบิณฑบาต

ที่ไหน ? พระอาคันตุกะ ตอบว่า ในบ้านโน้น. ถามว่า ภิกษาสมบูรณ์

หรือ ตอบว่า สมบูรณ์ขอรับ มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเห็นปานนี้ยังมีอยู่.

ถามว่า คนเหล่านั้นจะเป็นเช่นนี้ เฉพาะวันนี้หรือหนอ ? หรือเป็นเช่นนี้

เป็นนิจเลย ? ตอบว่า มนุษย์เหล่านั้นมีศรัทธาเช่นนี้เป็นนิจ วิหารนี้อาศัยคน

เหล่านั้นเท่านั้นจึงเจริญดังนี้ ต่อแต่นั้น พวกภิกษุผู้ถือปังสุกูลิกจีวรกังคธุดงค์

เหล่านั้น กล่าวสรรเสริญคุณของคนเหล่านั้นบ่อย ๆ กล่าวตลอดหมดทั้งวัน

แม้กลางคืนก็กล่าว. ด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ ศีรษะของผู้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ก็หลุดไป ต้องก็แตก. พึงทราบบุคคลผู้น้อมใจไปในโลกามิส ด้วยประการ

ฉะนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้ได้อาเนญชสมาบัติ ผู้สำคัญผิด จึง

ตรัสว่า าน โข ปน ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อาเนญฺชาธิมุตฺตสฺส ความ

ว่า ผู้น้อมไป คือโน้มไป โอนไป เงื้อมไปในสมาบัติ ๖ มีในเบื้องต่ำอัน

เว้นจากเครื่องหวั่นไหว คือกิเลสะ บทว่า เส ปวุตฺเต แปลว่า นั้นหลุดไป

แล้ว. เพราะอามิส คือ กามคุณ ๕ ย่อมปรากฏแก่ผู้ได้สมาบัติ ๖ ผู้สำคัญผิด

เหมือนใบไม้เหลืองหลุดจากขั้วฉะนั้น. ด้วยเหตุนี้จึงตรัสคำนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงความลำบาก ของผู้ได้อากิญจัญญายตน-

สมาบัติซึ่งสำคัญผิด จึงตรัสคำว่า าน โข ปน ดังนี้ เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า เทวฺธา ภินฺนา (แตก ๒ ซีก) ได้แก่ แตกตรงกลาง

(หักกลาง). บทว่า อปฺปฏิสนฺธิกา ความว่า หินก้อนเล็ก ขนาดหลังแผ่น

หินอาจยาต่อให้ติดกันด้วยชันหรือยางเหนียว. แต่ท่านหมายเอาหินก้อนใหญ่

ขนาดเท่าเรือนยอด จึงกล่าวคำนี้ . บทว่า เส ภินฺนา ได้แก่ ภินฺน แปล

ว่า มันแตกแล้ว เบื้องต่ำย่อมเป็นเหมือนหินแตกออก ๒ ซีก (หัก ๒ ท่อน)

สำหรับผู้ได้สมาบัติสูงขึ้นไป. ย่อมไม่เกิดความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัตินั้นดัง

นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำนั้น . บทว่า อาเนญฺชสญฺโชเนหิ วิสยุตฺโต

ความว่า คลุกคลีด้วยการประกอบในอาเนญชสมาบัติ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความลำบากของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญ-

ญายตนสมาบัติผู้สำคัญผิด จึงตรัสว่า าน โข ปน ดังนี้เป็นต้น. ใน

บทเหล่านั้น บทว่า เส วนฺเต ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในอากิญจัญญายตนะ

นั้น อันผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติตายแล้ว เกิดขึ้น จริงอยู่ สมาบัติ

เบื้องต่ำ ย่อมปรากฏเป็นเหมือนตายแล้ว สำหรับผู้ได้สมาบัติ ๘ ย่อมไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ความคิดว่า เราจักเข้าสมาบัติอีก ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำ (ว่า เส วนฺเต)

นั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความลำบากของพระขีณาสพ จึงตรัสว่า

าน โข ปน ดังนี้เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เส อุจฺฉินฺเน

ได้แก่ ความเกี่ยวข้องในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นอันผู้น้อมใจไปใน

พระนิพพานโดยชอบ ตัดขาดแล้ว. เพราะสมาบัติเบื้องต่ำ ย่อมปรากฏเหมือน

ตาลรากขาด. สำหรับผู้ได้สมาบัติเบื้องสูง ย่อมไม่เกิดความคิดที่ว่า เราจัก

เข้าสมาบัตินั้น ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสคำนี้.

คำว่า าน โข ปเนต จ ดังนี้ เป็นอนุสนธิอันหนึ่ง จริงอยู่

พ ระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ทั้งที่สำคัญผิดทั้งที่

เป็นพระขีณาสพไว้ในหนหลัง. แต่สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งที่สำคัญผิด

ทั้งที่เป็นพระขีณาสพ มิได้ตรัสไว้. เพื่อทรงแสดงความลำบาก แห่งท่านแม้

ทั้งสอง (คือผู้ได้สมาบัติและสุกขวิปัสสก) เหล่านั้นจึงทรงเริ่มเทศนานี้ ก็คำ

นี้นั้นท่านคัดค้าน เพราะเมื่อกล่าวความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติ ที่สำคัญผิด

ย่อมเป็นอันกล่าว สำหรับท่านที่เป็นสุกขวิปัสสก ทั้งท่านที่สำคัญผิด และ

เมื่อกล่าวความลำบากของท่านผู้ได้สมาบัติที่เป็นพระขีณาสพ ก็เป็นอันกล่าว

สำหรับท่านที่เป็นสิกขวิปัสสกแม้ที่เป็นพระขีณาสพด้วย. แต่เพื่อจะตรัส

สัปปายะและอสัปปายะของภิกษุทั้งสองเหล่านั้น จึงทรงเริ่มเทศนานี้. ในข้อ

นั้น พึงมีอธิบายดังต่อไปนี้. สำหรับปุถุชน อารมณ์ยังไม่เป็นสัปปายะ ก็ช่าง

เถอะ แต่สำหรับพระขีณาสพอย่างไรจึงไม่เป็นสัปปายะเล่า ? ไม่เป็นสัปปายะ

แก่ปุถุชนด้วยอารมณ์ใด ก็ไม่เป็นสัปปายะเลยแม้แก่พระขีณาสพ แม้ด้วย

อารมณ์นั้น. ขึ้นชื่อว่ายาพิษ รู้แล้วกินก็ตาม ก็คงเป็นยาพิษอยู่นั่นเอง. อัน

พระขีณาสพจะพึงเป็นผู้ไม่สังวร เพราะคิดว่าเราเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ ก็หา

ไม่ แม้พระขีณาสพก็ควรจะเป็นผู้ขะมักเขม้นจึงจะควร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมเณน ได้แก่ พุทธสมณะ. บทว่า

ฉนฺทราคพฺยาปาเทน ความว่า โทษอันเป็นพิษ คือ อวิชชานั้น ย่อม

แปรปรวน ย่อมกำเริบด้วยฉันทราคะ และพยาบาท. บทว่า อสปฺปายานิ

ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่เจริญใจ. บทว่า อนุทธเสยฺย ได้แก่ พึงทำให้ร่วงโรย

คือให้เหี่ยวแห้ง. บทว่า สอุปาทิเสส ได้แก่ สิ่งที่ยึดถือเป็นส่วนเหลือ ก็

สิ่งที่พึงยึดมั่น คือสิ่งที่ยึดถือนี้ท่านเรียกว่า อุปาทิ. บทว่า อล จ เต

อนฺตภยาย ความว่าไม่สามารถทำอันตรายแก่ชีวิตของท่าน. ธุลีและละออง

มีละอองข้าวเปลือกเป็นต้น ชื่อว่า รโชสุก. บทว่า อสุจิวิสโทโส ได้แก่

โทษอันเป็นพิษนั้นด้วย. บทว่า ตทุภเยน ได้แก่ ด้วยกิริยาอันไม่เป็น

สัปปายะ และโทษอันเป็นพิษทั้งสองนั้น. บทว่า ปุถุตฺต ได้แก่ ความ

เป็นแผลใหญ่.

ในคำว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นโทษอันมีพิษ คือ อวิชชาที่ยัง

ละไม่ได้ เหมือนการถอนลูกศรอันมีเชื้อ พึงเห็นเวลาที่ไม่สำรวมในทวารทั้ง

๖ เหมือนภาวะคือการทรงอยู่ แห่งกิริยาอันไม่สบาย การบอกคืนสิกขาแล้ว

เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เหมือนการตาย เพราะแผลบวมขึ้นด้วยเหตุ ๒

ประการนั้น พึงเห็นการต้องอาบัติหนัก เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือน

ทุกข์ปางตาย. แม้ในฝ่ายขาว. พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยความอุปมา โดย

นัยนี้แหละ.

สติในคำว่า สติยา เอต อธิวจน นี้มีคติเหมือนปัญญา. โลกิย-

ปัญญา ย่อมมีได้ด้วยปัญญาอันเป็นโลกิยะ โลกุตรปัญญาย่อมมีได้ด้วยปัญญา

อันเป็นโลกุตระ บทว่า อริยาเยต ปญฺาย ได้แก่ วิปัสสนาปัญญา อัน

บริสุทธิ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงกำลังของพระขีณาสพ จึงตรัสคำว่า โส วต

ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สวุตการี ได้แก่ ผู้มีปกติปิด. บทว่า

อิติ วิทิตฺวา นิรุปธิ ความว่า เพราะรู้อย่างนี้แล้วละอุปธิคือกิเลส ย่อมเป็น

ผู้ไม่มีอุปธิ อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้ไม่มีอุปาทาน. บทว่า อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต

ความว่า น้อมไปแล้วโดยอารมณ์ในพระนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิทั้ง

หลาย. บทว่า อุปธิสฺมึ ได้แก่ ในอุปธิคือกาม. บทว่า กาย อุปสหริสฺสติ

ความว่า จักยังกายให้ติดอยู่. ท่านอธิบายว่า ข้อที่พระขีณาสพพ้นแล้วด้วย

อารมณ์ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา จักน้อมกายเข้าไปหรือจักยังจิตให้เกิด

ขึ้น เพื่อเสพกามคุณ ๕ นั่น มิใช่ฐานะที่จะมีได้. คำที่เหลือในทุกแห่งง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุนักขัตตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

๖ อาเนญชสัปปายสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาส่วนโลกิยะและโลกุตระ

[๘๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมชื่อกัมมาสธรรมของ

ชาวกุรุ ในแคว้นกุรุ. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาม

ไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา ลักษณะของกาม

ดังนี้ ได้ทำความล่อลวงเป็นที่บ่นถึงของคนพาล กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มี

ในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าทั้งสอง

อย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจร

ของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้ คือ อภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะ

บ้าง เป็นอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวก ผู้ตามศึกษา

อยู่ในธรรมวินัยนี้.

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นในเรื่องกาม

นั้นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มี

ในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ทั้งสองอย่างนี้ เป็นแก่งแห่งมาร เป็นวิสัย

แห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นโคจรของมาร บาปอกุศลทางใจเหล่านี้

คืออภิชฌาบ้าง พยาบาทบ้าง สารัมภะบ้าง เป็นไปอยู่ในกามนี้ กามนั่นเอง

ย่อมเป็นอันตรายแก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรรมวินัยนี้ ถ้ากระไรเราพึงมี

จิตเป็นมหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ เพราะเมื่อเรามีจิตเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

มหัคคตะอย่างไพบูลย์ อธิษฐานใจครอบโลกอยู่ บาปอกุศลทางใจ คืออภิชฌา

ก็ดี พยาบาทก็ดี สารัมภะก็ดี นั้นจักไม่มี เพราะละอกุศลเหล่านั้นได้ จิต

ของเราที่ไม่เป็นกามาวจรนั่นแหละ จักกลายเป็นจิตหาประมาณมิได้ อันเรา

อบรมดีแล้ว เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้น

อยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ

หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็น

ไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็น

ฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็น

ที่สบายข้อที่ ๑.

[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกพิจารณาเห็น

ดังนี้ ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีใน

ภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งรูปบางชนิดและรูปทั้งหมด คือ มหาภูต ๔

และรูปอาศัยมหาภูตทั้ง ๔ เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ด้วยประการนี้

เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะ

เข้าถึงอาเนญชสมาบัติหรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อ

ที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาพหาความ

หวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทา

มีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๒.

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มีใน

ภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า. รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และรูป

สัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งทีมีในภพภายหน้า ทั้งสองอย่างนี้ เป็นของไม่เที่ยง

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น ไม่ควรยินดี ไม่ควรบ่นถึง ไม่ควรติดใจ เมื่ออริยสาวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

นั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ

เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ใน

ปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภาพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณ

เข้าถึงสภาพหาความหวั่นไหวมิได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๓.

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มี

ในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าและ

รูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และอาเนญชสัญญาทั้งหมดนี้

ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั้นคืออากิญจัญญายตนะอันดีประณีต เมื่ออริย-

สาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอาย-

ตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปใน

ปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึง

เป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๑.

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกอยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สิ่งนี้ว่างเปล่า

จากตนหรือจากความเป็นของตน เมื่ออริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มาก

ด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึง

อากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่

วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ

นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญ-

ญายตนสมาบัติเป็นที่สบายข้อที่ ๒.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า เราไม่มีในที่ไหนๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ หามีในเรานั้นไม่ และ

สิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามีในที่ไหน ๆ ไม่ ในใคร ๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย

เมื่ออริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่อง

ใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใส ก็จะเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ หรือจะน้อม

ใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่วิญญาณอันจะเป็นไปในภพ

นั้นๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพอากิญจัญญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามีอากิญจัญญายตนะ สมาบัติเป็นที่

สบายข้อที่ ๓.

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า กามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญา ทั้งที่มี

ในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า. รูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้าอยู่ และรูป

สัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และอาเนญชสัญญา อากิญจัญญาย-

ตนสัญญา สัญญาทั้งหมดนี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ใด ที่นั่นคือเนวสัญญานา-

สัญญายตนะอันดี ประณีต เมื่ออริยสาวกปฏิบัติแล้วอย่างนี้ เป็นผู้มากด้วยปฏิ-

ปทานั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ เมื่อมีความผ่องใสก็จะเข้าถึงเนวสัญญา

นาสัญญายตนะ หรือจะน้อมใจไปในปัญญาได้ในปัจจุบัน เมื่อตายไป ข้อที่

วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงภพเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทามี

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบาย.

[๙๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น

ผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะ ด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมี

แก่เรา และจักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้น ๆ เสีย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนั้นพึงปรินิพพานหรือหนอ หรือว่าไม่พึงปริ-

นิพพาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุบางรูปพึงปรินิพพาน

ในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่พึงปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้

ภิกษุบางรูปปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี บางรูปไม่ปรินิพพานในอัตภาพนี้ก็มี.

[๙๐] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว

อย่างนี้ ย่อมได้อุเบกขาโดยเฉพาะด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และ

จักไม่มีแก่เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้น ๆ เสีย เธอยินดี

บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี บ่นถึง ติดใจอุเบกขานั้นอยู่

วิญญาณย่อมเป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น ยึดมั่น อุเบกขานั้น ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ

ผู้มีความยึดมั่นอยู่ ย่อมปรินิพพานไม่ได้.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา จะเข้าถือเอา

ที่ไหน.

พ. ดูก่อนอานนท์ ย่อมเข้าถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอทราบว่า ภิกษุนั้นเมื่อเข้า

ถือเอา ชื่อว่าย่อมเข้าถือเอาแดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาหรือ.

พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นเมื่อเข้าถือเอา ย่อมเข้าถือเอาแดนอัน

ประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้ ก็แดนอันประเสริฐสุดที่ควรเข้าถือเอาได้นี้

คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

[๙๑] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้

ย่อมได้เฉพาะอุเบกขาด้วยคิดว่า สิ่งที่ไม่มีก็ไม่พึงมีแก่เรา และจักไม่มีแก่

เรา เราจะละสิ่งที่กำลังมีอยู่ และมีมาแล้วนั้น ๆ เสีย เธอไม่ยินดี ไม่บ่น

ถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจอุเบกขานั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

อยู่ วิญญาณก็ไม่เป็นอันอาศัยอุเบกขานั้น และไม่ยึดมั่น อุเบกขานั้น ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุผู้ไม่มีความยึดมั่น ย่อมปรินิพพานได้.

อา. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ไม่น่าเป็นไปได้ พระพุทธ-

เจ้าข้า อาศัยเหตุนี้ เป็นอันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกปฏิปทาเครื่อง

ข้ามพ้นโอฆะแก่พวกข้าพระองค์แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิโมกข์ของพระ

อริยะเป็นไฉน.

[๙๒] พ. ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ ซึ่งกามทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า และกามสัญญาทั้งที่มี

ในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งรูปทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า

และรูปสัญญาทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพภายหน้า ซึ่งอาเนญชสัญญาซึ่งอากิญ-

จัญญายตนสัญญา ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ซึ่งสักกายะเท่าที่มีอยู่นี้

ซึ่งอมตะ คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนอานนท์ ด้วยประ-

การนี้แล เราแสดงปฏิปทามีอาเนญชสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เราแสดงปฏิปทา

มีอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว เราแสดงปฏิปทามีเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติเป็นที่สบายแล้ว อาศัยเหตุนี้ เป็นอันเราแสดงปฏิปทาเครื่อง

ข้ามพ้นโอฆะ คือวิโมกข์ของพระอริยะแล้ว ดูก่อนอานนท์ กิจใดอันศาสดา

ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวก

ทั้งหลาย กิจนั้นเราทำแล้วแก่พวกเธอ ดูก่อนอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือน

ว่างเธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง

นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสุภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ชื่นชม

ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

อรรถกถาอาเนญชสัปปายสูตร

อาเนญชสัปปายสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า อนิจฺจา คือ

ชื่อว่าไม่เทียง เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. บทว่า กามา หมายถึงวัตถุ

กามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า ตุจฺฉา คือ ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะเว้นจากแก่น

สาร คือ ความเที่ยง ความยั่งยืน และความเป็นตัวตน แต่ไม่ควรถือว่า

ไม่มี ท่านอธิบายว่า เพราะเมื่อพูดว่า กำมือเปล่า ชื่อว่ากำมือไม่มี หา

มิได้. ก็สภาวะอันใด ไม่มีอะไร ๆ ในภายใน สภาวะอันนั้นเรียกว่า ว่าง

เปล่า. บทว่า มุสา แปลว่า หายไป. บทว่า โมสธมฺมา ความว่า มีการ

หายไปเป็นสภาวะ คือ ไม่ปรากฏ เหมือนนา เหมือนสวน และเหมือนเงิน

ทอง ที่หายไป ไม่ปรากฏเหมือนเห็นในฝัน ๒ - ๓ วันก็หายไป ด้วยเหตุนั้น จึง

ตรัสว่า มีการหายไปเป็นธรรมดา. บทว่า มายากตเมต ความว่า ย่อม

ปรากฏ เหมือนท่าน้ำให้เห็นเป็นแก้วมณี ทำใบพุทราให้เห็นเป็นกหาปณะ

ก็หรือสิ่งอื่นๆ เมื่อคนยืนใกล้ ๆ มองดูสิ่งเห็นปานนั้น ของก็จะปรากฏเหมือน

อย่างนั้น แต่เมื่อเลยที่ใกล้ไป สิ่งนั้น ๆ ก็ปรากฏเป็นปกติอย่างเดิม. แม้กาม

ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ทำความลวง เพราะอรรถว่า

ปรากฏเป็นอีกอย่างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง นักเล่นกล เอาน้ำเป็นต้น มาแสดง

ลวงโดยทำให้เห็นเป็นแก้วมณีเป็นต้น ฉันใด แม้กามทั้งหลายก็ฉันนั้น

แสดงลวงสภาวะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น โดยให้เห็นว่า เที่ยง เป็นต้น เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ทำการลวง เพราะอรรถว่า เป็นตัวลวง. บทว่า พาลลาปน

ความว่า ชื่อว่าเป็นที่บ่นถึงของคนพาลเพราะทำให้คนพาลบ่นถึงอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

บุตรของเรา ธิดาของเรา เงินของเรา ทองของเรา ดังนี้. บทว่า ทิฏฺธมฺมิกา

กามา ได้แก่ กามคุณ ๕ อัน เป็นของมนุษย์. บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่

กามที่เหลือเว้น กามคุณ ๕. บทว่า ทิฏฺธมฺมิกา กามสญฺา ได้แก่

สัญญาอันปรารภกามของมนุษย์เกิดขึ้น. บทว่า อุภยเมต มารเธยฺย

ความว่า กามด้วย กามสัญญาด้วย เหล่านั้น แม้ทั้งสองนั้นก็เป็นบ่วงแห่ง

มาร. เพราะว่ามารย่อมใช้อำนาจอยู่เหนือชนทั้งหลายผู้ยึดถือกามและสัญญาทั้ง

สองนั้น. คำว่า อุภยเมต มารเธยฺย ดังนี้ ตรัสหมายเอาอำนาจของมารนั้น.

ชนเหล่าใด ยึดถือกามเหล่านั้น มารย่อมใช้อำนาจเหนือชนเหล่านั้น

ทรงหมายเอาอำนาจของมารนั้นจึงตรัสว่า นั่นเป็นวิสัยของมาร. แม้ในบาลีว่า

มารสฺเลส วิสโย เป็นต้น เหมือนอย่างวิสัยของโจฬะ ก็เรียกว่าโจฬวิสัย

วิสัยของปัณฑะ ก็เรียกว่า ปัณฑวิสัย วิสัยของสังวรทั้งหลายก็เรียกว่า สังวรวิสัย

ฉะนั้น มารก็ย่อมโปรยกามคุณ ๕ ประดุจพืชผักไว้ ก็ชนเหล่าใดยึดถือเอา

กามคุณ ๕ นั้น มารย่อมใช้อำนาจเหนือชนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัส

ว่านั่นเป็นเหยื่อของมาร ดังนี้. เหมือนอย่างว่า สัตว์ทั้งหลายมีช้าง เป็นต้น

ย่อมใช้อำนาจเหนือภูมิประเทศใด ภูมิประเทศนั้น เรียกว่า ถิ่นช้าง ถิ่นม้า

ถิ่นแพะ ฉันใด ชนเหล่าใดยึดถือกามคุณ ๕ เหล่านั้น มารย่อมใช้อำนาจ

เหนือชนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่านั่น เป็นโคจร (ถิ่น) ของมารดังนี้

ฉันนั้น. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ในกามเหล่านั้น. บทว่า มานสา คือ เกิด

ในจิต.

ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า อภิชฌามีลักษณะเพ่ง ปรารภกามทั้งสอง

อย่าง และสารัมภะ มีลักษณะแข่งดีเกินกว่าเหตุ จะเกิดขึ้นก็ช่างเถิด ส่วน

พยาบาทเกิดขึ้นอย่างไร ? พึงตอบว่า ย่อมเกิดขึ้นได้อย่างนี้ คือ เมื่อของเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

แม้ถูกชิงไปก็เศร้าโศก แม้ขาดไปก็เศร้าโศก. แม้มีความสำคัญว่าถูกชิงไปก็

เศร้าโศก ความขุ่นเคือง ความขัดแค้นของจิตเห็นปานนี้. บทว่า เตว

อริยสาวกสฺส ได้แก่ เตว อริยสาวกสฺส. ว อักษร เป็นเพียงอาคมสนธิ

(การต่อโดยลงตัวอักษร). บทว่า อิธ มนุสิกฺขโต ความว่า กิเลสทั้ง ๓

เหล่านั้น ย่อมทำอันตรายแก่พระอริยสาวกผู้ศึกษาอยู่ในพระศาสนานี้. บทว่า

อภิภุยฺย โลก ได้แก่ ครอบงำโลก คือ กามคุณ. บทว่า อธิฏฺาย มนสา

ได้แก่ อธิษฐานอารมณ์ของฌานด้วยจิต บทว่า อปริตฺต ได้แก่ กามาวจรจิต

ชื่อปริตตะ. มหัคคตจิต ชื่อว่า อปริตตะ เพราะปฏิเสธกามาวจรจิตนั้น.

แม้คำว่า ปมาณ ได้แก่ กามาวจรจิตนั่นเอง. รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต

ชื่อว่า อัปปมาณ. ก็คำว่า สุภาวิต นี้ ไม่ใช่ชื่อของกามาวจรจิตเป็นต้น แต่

เป็นชื่อของโลกุตรจิตเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ด้วยอำนาจของคำว่า สุภาวิต

นั้น คำว่า อปริตฺต อปฺปมาณ สุภาวิต ดังนี้ ทั้งหมด ควรเป็นชื่อของ

โลกุตระเท่านั้น. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า กระทำปฏิปทานั้นนั่น

แหละให้มากอยู่ด้วยการห้ามกามเสียได้. บทว่า อายตเน จิตฺต ปสีทติ ได้แก่

จิตย่อมผ่องใสในเหตุ. ก็เหตุในคำว่า อายตเน จิตฺต ปสีทติ นี้ คืออะไร ?

คือพระอรหัตหรือวิปัสสนาของพระอรหัต จตุตถฌาน หรือ อุปจารของ

จตุตถฌาน. ในคำว่า สมฺปสาเท สติ นี้ ความผ่องใสมี ๒ อย่าง คือ

ความผ่องใสด้วยการน้อมใจเชื่อ และความผ่องใสด้วยการได้มา. ก็เมื่อมหา-

ภูตรูปเป็นต้น ปรากฏแก่พระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งวิปัสสนา เพื่อพระอรหัตอยู่

มหาภูตรูปเหล่านั้น ย่อมปรากฏ อุปาทายรูปย่อมปรากฏ นามรูปย่อมปรากฏ

โดยทำนองใด. ปัจจัยทั้งหลายย่อมปรากฏโดยประการทั้งปวง วิปัสสนาอันมี

ลักษณะของคนเป็นอารมณ์ย่อมปรากฏโดยทำนองนั้น. ความหวังในพระอรหัต

ที่ยังไม่ได้นั่นแลว่า เราจักยึดเอาพระอรหัตให้ได้ในวันนี้ ดังนั้น ย่อมตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ชื่อว่า ย่อมได้ความน้อมใจเชื่อ อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรทำตติยฌานให้

เป็นบาท ทำกสิณบริกรรมเพื่อต้องการจตุตถฌาน พิจารณาเห็นการข่มนิวรณ์

เป็นต้น ย่อมข่มนิวรณ์เหล่านี้ได้ โดยทำนองใดกิเลสทั้งหลายย่อมสงบ สติ

ย่อมตั้งมั่น สังขารปรากฏชัดแจ่มแจ้ง เหมือนโลกอื่นปรากฏแก่ท่านผู้ได้

ทิพยจักษุ. จิตตุปบาทย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ เหมือนติดอยู่ ที่ก้อนปูน

ฉาบ ความหวังในฌานที่ยังไม่ได้ ว่าเราจักทำจตุตถฌานให้เกิด ในวันนี้แหละ

ดังนี้ ย่อมตั้งอยู่ ชื่อว่า ได้เฉพาะการน้อมใจเชื่อ โดยทำนองนั้น นี้ชื่อว่า

ความผ่องใส ด้วยการน้อมใจเชื่อ. เมื่อความผ่องใสนี้มีอยู่. ก็ท่านผู้ใด

ได้พระอรหัตหรือ จตุตถฌาน จิตของท่านผู้นั้น ย่อมผ่องใสแท้. ก็ในที่นี้

เพราะพระบาลีว่าก็จิตย่อมผ่องใสในอายตนะ การได้วิปัสสนาเพื่อพระอรหัต

และอุปจารแห่งจตุตถฌาน พึงทราบว่า ความผ่องใสด้วยการได้.

จริงอยู่ วิปัสสนาเป็นเหตุแห่งการน้อมใจเชื่อด้วยปัญญา อุปจารเป็น

เหตุแห่งการถึงอาเนญชสมาบัติ. ในคำนี้ที่ว่าเข้าถึงอาเนญชสมาบัติหรือน้อม

ใจเชื่อด้วยปัญญาในปัจจุบัน ดังนี้ พึงเปลี่ยนบทนี้ เสีย (บ้าง) ว่า น้อมใจ

เชื่อด้วยปัญญา หรือ เข้าถึงอาเนญชสมาบัติในปัจจุบัน ดังนี้ แล้วพึงทราบ

เนื้อความ (ตามนั้น ). ท่านอธิบายว่า เมื่อความผ่องใสนั้นมีอยู่ ย่อมน้อมใจ

เชื่อด้วยปัญญาในปัจจุบัน อธิบายว่า ทำให้แจ้งพระอรหัต. หรือว่า เมื่อยัง

ไม่รู้แจ้งพระอรหัตนั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ปญฺาย อธิมุจฺจติ ได้แก่ ทำอรหัตมรรคให้เกิดขึ้น. หรือว่าเมื่อยังไม่

รู้แจ้งอรหัตมรรคนั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ. เมื่อไม่อาจทำแม้อรหัต-

มรรคให้เกิด ย่อมทำให้แจ้งสัจจะ ๔ ในปัจจุบัน หรือว่า เมื่อยังไม่รู้แจ้ง

สัจจะ ๔ นั้น ย่อมเข้าถึงอาเนญชสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ในข้อนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำตติยฌาน

ให้เป็นบาท ทำกสิณบริกรรมเพื่อ (จะได้) จตุตถฌาน นิวรณ์ทั้งหลายของ

ภิกษุนั้นย่อมสงบ สติย่อมตั้งมั่น จิตย่อมตั้งมั่น โดยอุปจารสมาธิ. ภิกษุนั้น

กำหนดรูปและอรูปเป็นอารมณ์ กำหนดปัจจัยเป็นอารมณ์ กำหนดวิปัสสนา

อันมีลักษณะของตนเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ฌานของ

เรา พึงเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษด้วยอุปจารสมาธิ ความที่ฌานเป็นส่วนแห่ง

คุณวิเศษก็ช่างเถอะ เราจักทำความที่ฌานอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด

(ตรัสรู้) ดังนี้ เจริญวิปัสสนา ย่อมทำให้แจ้งพระอรหัต. กิจของภิกษุนั้น

ย่อมชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แต่เมื่อไม่สามารถทำให้

แจ้งพระอรหัต แต่นั้นก็จะมีใจท้อถอย ตั้งอยู่ในระหว่างไม่ได้ ก็เข้าจตุตถ-

ฌาน. ถามว่า เหมือนอะไร ? ตอบว่า เหมือนบุรุษคิดว่า จักฆ่าควายป่า

จึงถือหอกออกตามไป ถ้าฆ่ามันได้ ก็จะป่าวร้องแก่ชาวบ้านทั้งสิ้น แต่เมื่อ

ไม่อาจฆ่ามันได้ ก็ฆ่าเนื้อตัวเล็ก ๆ มีกระต่ายและเหี้ยเป็นต้นในกลางทาง

เต็มหาบแล้วก็กลับมาเท่านั้นฉันใด พึงทราบการที่ภิกษุนี้ทำตติยฌานให้เป็น

บาท ทำบริกรรมเพื่อจตุตถฌาน เหมือนบุรุษถือหอกออกติดตามควายป่า

พึงทราบการที่ภิกษุคิดว่า ฌานอันเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษจะพึงมีแก่ผู้พิจารณา

เห็นการข่มนิวรณ์เป็นต้น ความที่ฌานอันเป็นส่วนแห่งคุณวิเศษก็ช่างเถอะ

เราจักกระทำฌานอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด (ให้ได้) ดังนี้ แล้วเจริญ

วิปัสสนาทำให้แจ้งพระอรหัต เหมือนการจะฆ่าควายป่า พึงทราบการที่ภิกษุ

เมื่อไม่สามารถทำให้แจ้งพระอรหัต แต่นั้นก็ถอยมาเข้าจตุตถฌาน เหมือนบุรุษ

ไม่สามารถฆ่าควาย ก็ฆ่าเนื้อเล็ก ๆ มีกระต่ายและเหี้ยเป็นต้นในกลางทาง

เต็มหาบแล้วจึงไป ฉันนั้น. แม้ในการประกอบความแห่งการเจริญมรรคและ

การทำให้แจ้งสัจจะ ๔ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสถานที่เกิดของภิกษุ ผู้ไม่อาจทำให้แจ้งพระ

อรหัต จึงตรัสคำว่า กายสฺส เภทา ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ย แปลว่า เหตุใด อธิบายว่า วิญญาณอันจะเป็นไปในภพนั้น ๆ พึงมี

คือเหตุเครื่องเข้าถึงความไม่หวั่นไหว มีอยู่. ก็บทว่า ตสวตฺตนิก ในคำนี้

ได้แก่ เป็นไปพร้อมเพื่อภิกษุนั้น. ภิกษุนั้นย่อมเป็นไป คือ บังเกิดด้วย

วิญญาณอันเป็นวิบากใด วิญญาณนั้นพึงเป็น (วิญญาณอันเข้าถึงความไม่

หวั่นไหว). บทว่า อาเนญฺชูปคต ความว่า พึงเป็นวิญญาณเข้าถึงสภาวะ

อันไม่หวั่นไหวอันเป็นกุศล อธิบายว่า พึงเป็นเช่นนั้นทีเดียว. อาจารย์บาง

พวกกล่าวถึงวิญญาณที่เป็นกุศล. บทว่า ย ความว่า กุศลวิญญาณใดอันเป็น

ไปพร้อม คือ เป็นเหตุแห่งอุปบัติเพื่อภิกษุนั้น พึงเป็นวิญญาณเข้าถึง

ความไม่หวั่นไหว วิญญาณนั้นแม้ในเวลาเป็นวิบากก็พึงมีชื่อนั้นนั่นแหละ.

ก็เนื้อความนี้นั้นพึงทราบโดยนัยนี้ว่า "ก็หากว่าบุญปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณ

ย่อมเข้าถึงบุญ หากอกุศลปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงอกุศล หาก

อาเนญชะปรุงแต่งสังขารนั้นวิญญาณย่อมเข้าถึงอาเนญชะ" ดังนี้. บทว่า

อาเนญฺชสปฺปายา ความว่า เป็นสัปปายะแก่อาเนญชะคือจตุตถฌาน ก็

ปฏิปทานั้นเป็นสัปปายะแก่อาเนญชะอย่างเดียวก็หาไม่ พึงทราบว่าเป็นสัปปายะ

และเป็นอุปการะแม้แก่พระอรหัตอันมีในเบื้องบน. ในอาเนญชะที่หนึ่งนี้ตรัส

โอสักกนา การถดถอย ด้วยอำนาจสมาบัติ.

บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ถึงจตุตถฌานแล้ว

ย่อมพิจารณาอย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุรูปก่อน จึง

พิจารณากรรมฐานรวมกัน สำหรับภิกษุแม้ ๒ รูป คือสำหรับภิกษุนั้นด้วย

สำหรับตนด้วย. บทว่า ตพฺพหุลวิหารโน ความว่า กระทำปฏิปทานั้นนั่น

แหละให้มากขึ้นด้วยการห้ามรูปอยู่. บทว่า อาเนญฺช สมาปชฺชติ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ย่อมเข้าอาเนญชสมาบัติ คือ อากาสานัญจายตนะ. คำที่เหลือเป็นเหมือนคำ

ก่อน ๆ นั่นแหละ. ก็ในที่นี้ฉันใด ในที่ทุกแห่งก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าจักกล่าว

แต่ที่แปลกกันเท่านั้น ดังนี้ ในอาเนญชะที่ ๒ นี้ ท่านกล่าว โอสักกนา

การถดถอยด้วยอำนาจวิปัสสนา.

บทว่า ยงฺกิญฺจิ รูป ความว่า เมื่อจะทรงแสดงวิปัสสนาและมรรคจึง

ตรัสอย่างนี้. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ถึงอากาสานัญจายตนะ

แล้ว ย่อมพิจารณาอย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุรูปนี้ มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๒ รูป

ข้างต้น ย่อมพิจารณากรรมฐานรวมกันสำหรับภิกษุแม้ทั้ง ๓ รูป คือสำหรับ

ภิกษุเหล่านั้นด้วย สำหรับตนด้วย. ก็ในคำว่า อุภยเมต อนิจฺจ นี้ ตรัส

ว่า " ทั้งสองอย่าง " เพราะย่นส่วนหนึ่ง ๆ ที่ดีเข้าด้วยอำนาจภพนี้และภพภาย

หน้า. บทว่า นาล อภินนฺทิตฺ ความว่า ไม่ควรเพลิดเพลินด้วยอำนาจ

ตัณหาและทิฏฐิ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. บทว่า ตพฺพหุล-

วีหาริโน ความว่า ทำปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มากด้วยการห้ามกามและห้าม

รูปอยู่. บทว่า อาเนญฺซ สมาปชฺชติ ได้แก่ เข้าอาเนญชสมาบัติ คือ

วิญญานัญจายตนะ. ในอาเนญชะที่ ๓ นี้ ตรัสโอสักกนาการถดถอยด้วยอำนาจ

วิปัสสนาเท่านั้น.

บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ถึงวิญญานัญจายตนฌานแล้ว

พิจารณาอยู่อย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๓ รูป ข้างต้น ย่อม

พิจารณากรรมฐานรวมกันสำหรับภิกษุแม้ทั้ง ๔ รูป คือ สำหรับภิกษุเหล่านั้น

ด้วย สำหรับตนด้วย. บทว่า ยตฺเถตา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า

สัญญา ที่กล่าวไว้ข้างต้นเหล่านี้ ถึงอากิญจัญจายตนฌานอันใดแล้ว ย่อมดับ

ไป. บทว่า เอต สนฺต เอต ปณีต ความว่า อากิญจัญญายตนฌานนั้น

ชื่อว่า สงบ เพราะสงบโดยองค์ และสงบโดยอารมณ์ ชื่อว่า ประณีต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทำ

ปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มาก ด้วยการห้ามสัญญาเหล่านั้นอยู่. ในอากิญจัญญาย-

ตนฌานที่ ๑ นี้ ตรัสโอสักกนา ด้วยอำนาจสมาธิ. บทว่า ปฏิสญฺ-

จกฺขติ ความว่า ถึงวิญญาณัญจายตนฌานนั่นแล พิจารณาอยู่อย่างนั้น. ภิกษุ

นี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๔ รูปข้างต้น จึงพิจารณากรรมฐานรวมกันสำหรับ

ภิกษุทั้ง ๕ รูป คือ สำหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สำหรับตนด้วย. บทว่า

อตฺเตน วา อตฺตนิเยน วา ความว่า สูญ คือ ว่างเปล่าจากสิ่งที่จะพึงถือ

เอาว่า เรา ว่า ของเรา. ในที่นี้ทรงแสดงสุญญตาไว้ ๒ เงื่อนอย่างนี้ บทว่า

ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทำปฏิปทาที่กล่าวไว้ข้างต้น. และปฏิปทา

คือ สุญญตานี้ให้มากอยู่. ในอากิญจัญญายตนฌานที่ ๒ นี้ตรัส โอสักกนา

ด้วยอำนาจวิปัสสนา.

บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ถึงวิญญานัญจายตนะแล้ว

พิจารณาอย่างนี้. ก็ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๕ รูปข้างต้น จึงพิจารณา

กรรมฐานรวมกันสำหรับภิกษุทั้ง ๖ รูป คือสำหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สำหรับ

ตนด้วย. ก็ในคำนี้ที่ว่า เราไม่มีในที่ไหน ๆ สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ

หามีไม่ (เรานั้น) ไม่ และ สิ่งน้อยหนึ่งของเราก็หามีในที่ไหน ๆ

ไม่ ในใคร ๆ ย่อมไม่มีสิ่งน้อยหนึ่งเลย ดังนี้ ตรัสสุญญตาอัน

มี ๔ เงื่อน. ตรัสไว้อย่างไร (ตรัสไว้ว่า) อันภิกษุนี้ย่อมไม่เห็นตน ในที่

ไหน ๆ ว่า เราไม่มีในที่ไหน ๆ. ย่อมไม่เห็นตนของตนที่จะพึงน้อมเข้าไปใน

ภาวะน้อยหนึ่งของคนอื่นไร ๆ ว่า สิ่งน้อยหนึ่งของใคร ๆ หามีในอะไร ๆ

(เรานั้น) ไม่ อธิบายว่า ย่อมไม่เห็นที่น้องชายว่า ควรสำคัญน้อมเข้ามาใน

ฐานะพี่น้องชายของตน สหายในฐานะสหาย หรือบริขารในฐานะบริขารของ

ตน. ในคำว่า และสิ่งน้อยหนึ่งของเราก็ตาม ในที่ไหน ๆ ไม่ นี้งด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

มม ศัพท์ไว้ก่อนจะมีใจความว่า ย่อมไม่เห็นตนของคนอื่นในที่ไหน ๆ. ในที่นี้

นำเอา มม ศัพท์มาใส่เป็นรูป มม กิสฺมิญฺจิ กิญฺจน นตฺถิ ความว่า

ภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นว่า ตนของคนอื่นมีอยู่ในภาวะน้อยหนึ่งไร ๆ ของเรา.

อธิบายว่า ย่อมไม่เห็นตนของคนอื่นที่จะพึงน้อมเข้ามาด้วยภาวะน้อยหนึ่งนี้ใน

ฐานะไร ๆ ว่า พี่น้องชายในฐานะพี่น้องชายของตน สหายในฐานะสหาย

หรือบริขารในฐานะบริขาร. ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุนี้ เหตุที่ไม่เห็นตนใน

อะไร ๆ ไม่เห็นตนนั้นว่า จะพึงนำเข้าไปในภาวะน้อยหนึ่งของคนอื่น ไม่เห็น

ตนของคนอื่น และไม่เห็นตนขอคนอื่นที่จะพึงนำเข้ามาโดยภาวะน้อยหนึ่ง

ของตน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า สุญญตานี้มี ๔ เงื่อน. บทว่า ตพฺพ-

หุลวิหาริโน ความว่า กระทำปฏิปทาที่กล่าวแล้วในหนหลัง และสุญญตา ๔

เงื่อนนี้ให้มากอยู่. แม้ในอากิญจัญญายตนฌานที่ ๓ นี้ ก็ตรัสโอสักกนาด้วย

อำนาจวิปัสสนานั่นเอง.

บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ถึงอากิญจัญญายตนฌานแล้ว

จารณาอยู่ อย่างนี้. ก็ภิกษุนี้มีปัญญามากกว่าภิกษุ ๖ รูป ข้างต้น จึง

พิจารณากรรมฐานรวมกันสำหรับภิกษุแม้ทั้ง ๗ รูป คือ สำหรับภิกษุเหล่า

นั้นด้วยสำหรับตนด้วย. บทว่า ยตฺเถตา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า

สัญญาทั้งปวงซึ่งกล่าวแล้วในหนหลังเหล่านั้น ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานใด

แล้ว ย่อมดับไปในที่นี้. บทว่า ตพฺพหุลวิหาริโน ความว่า ผู้กระทำ

ปฏิปทานั้นนั่นแหละให้มาก ด้วยการห้ามสัญญาเหล่านั้นอยู่. ในเนวสัญญานา-

สัญญายตนฌานนี้ ตรัสโอสักกนาด้วยอำนาจสมาธิ.

บทว่า โน จสฺส โน จ เม สิยา ความว่า ถ้ากรรมวัฏ ๕ อย่าง

ในกาลก่อนจะไม่พึงประมวลเข้ามาแก่เราไซร้ วิปากวัฏ ๕ อย่างในปัจจุบันนี้

ของเรานั้น ก็จะไม่พึงมี คือ ไม่พึงเป็นไปแก่เรา. บทว่า น เม ภวิสฺสติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ความว่า ถ้ากรรมฐาน ๕ อย่างในปัจจุบัน จักไม่ประมวลกันมาไซร้ เมื่อ

กรรมฐานนั้นไม่มี วิปากวัฏ ๕ อย่าง จักไม่มีแก่เราในอนาคต. บทว่า ยทตฺถิ

ย ภูต ต ปชหามิ ความว่า ขันธปัญจกอันใดที่กำลังมีอยู่ มีมาแล้วเราละ

ขันธิปัญจกนั้นที่มีในบัดนี้เสีย. บทว่า เอว อุเปกข ปฏิลภติ ความว่า

ภิกษุนั้นย่อมได้อุเบกขาในวิปัสสนาอย่างนี้. บทว่า ปรินิพฺพาเยยฺย นุ โข

โส ภนฺเต ภิกฺขุ น วา ปรินิพฺพาเยยฺย ความว่า ย่อมถามว่า ข้าพระ-

องค์ย่อมถามอย่างไร คือ ย่อมถามว่า ตรัสพระอรหัตบ้าง โอสักกนาบ้าง

ปฏิปทาบ้าง ปฏิสนธิบ้าง สำหรับผู้กระทำตติยฌานให้เป็นบาทแล้วดำรงอยู่

ก็เหมือนกัน (แต่) ไม่ตรัสอะไร ๆ สำหรับผู้กระทำเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌานให้เป็นบาทแล้วดำรงอยู่ ข้าพระองค์ชื่อถามข้อนั้น. บทว่า อเปตฺถ

ตัดบทเป็น อปิ เอตฺถ บทว่า โส ต อุเปกฺข อภินนฺทติ ความว่า

ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ซึ่งอุเบกขา คือวิปัสสนานั้นด้วยความเพลิดเพลิน

ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ. บทว่า ตนฺนิสฺสิต

โหติ วิญฺาณ ความว่า ย่อมอาศัยวิปัสสนานั้น. บทว่า ตทุปาทาน

ความว่า วิญญาณนั้น ชื่อว่าถือเอาด้วยการยึดมั่นวิปัสสนานั้น บทว่า สอุปา-

ทาโน ได้แก่ มีการยึดถือ. บทว่า น ปรินิพฺพายติ ความว่า ภิกษุผู้มี

อาลัยในวิปัสสนา ย่อมไม่ปรินิพพานในศาสนาของเรา. ท่านแสดงว่า ก็ภิกษุ

ใดมีอาลัยในวิหาร บริเวณและอุปัฏฐาก เป็นต้น ข้อที่จะพึงกล่าวในภิกษุนั้น

ย่อมไม่มี บทว่า กห ปน คือ ในที่ไหนเล่า. บทว่า อุปาทิยมาโน

อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมถือเอาปฏิสนธิ. บทว่า อุปาทานเสฏฺ กิร โส

ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่าภิกษุนั้นย่อมยึดถือเอาที่ที่

จะพึงถือเอา อันประเสริฐสุด คือเป็นภพอันสูงสุด อธิบายว่า ย่อมยึดถือ

ปฏิสนธิในภพอันประเสริฐที่สุด. ตรัสปฏิสนธิของภิกษุนั้นด้วยคำนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

บัดนี้ เพื่อจะตรัสพระอรหัตของภิกษุนี้ จึงตรัสว่า อิธานนฺท ดัง

นี้เป็นต้น. บทว่า นิสฺสาย ได้แก่ อาศัยสมาบัตินั้น. บทว่า โอฆสฺส

นิตฺถรณา อกฺขาตา ท่านกล่าวว่า ตรัสการข้ามโอฆะ คือตรัสการข้ามโอฆะ

สำหรับภิกษุผู้ทำตติยฌานให้เป็นบาทแล้วดำรงอยู่ ตรัสการข้ามโอฆะสำหรับ

ภิกษุผู้ทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทแล้วดำรงอยู่. บทว่า กตโม

ปน ภนฺเต อริโย วิโมกฺโข ความว่า พระอานนที่ทูลถามอะไรในอธิการนี้.

พระอานนท์ทูลถามว่า ภิกษุทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัส-

สนาได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลำบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้น

ข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝั่งได้ฉะนั้น ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนา

ล้วน ๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต ย่อมลำบาก

เหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกำลังแขนไปถึงฝั่งฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูล

พระอรหัตของพระสุกขวิปัสสกนี้ด้วยประการดังกล่าว. บทว่า อริยสาวโก

ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นสุกขวิปัสสก. จริงอยู่ พระสุกขวิปัสสกนี้ มีปัญญา

มากกว่าภิกษุทั้ง ๘ รูปข้างต้น ย่อมพิจารณากรรมฐานรวมกัน สำหรับภิกษุ

แม้ทั้ง ๙ รูป คือ สำหรับภิกษุเหล่านั้นด้วย สำหรับตนด้วย บทว่า เอส

สกฺกาโย ยาวตา สกฺกาโย ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นว่า ชื่อว่า สักกา-

ยะกล่าวคือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ มี อยู่ประมาณเท่าใด สักกายะแม้ทั้งหมด

ก็มีเท่านี้เท่านั้น สักกายะที่ยิ่งไปกว่านั้นย่อมไม่มี. บทว่า เอต อมต ยทิท

อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ชื่อว่า

ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะความไม่ถือมั่น เป็นอมตะ ไม่ตาย เป็นสันตะ

สงบ เป็นปณีตะ ประณีต ก็ในที่อื่น ท่านเรียกพระนิพพานว่า ความหลุด

พ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสพระอรหัตของพระสุกข-

วิปัสสก. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ก็ในพระสูตรนี้ ทั้งหมดพึงทราบว่า ตรัสโอสักกนา ในฐานะ ๗

อย่าง ตรัสปฏิสนธิในฐานะ ๘ อย่าง ตรัสพระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง. ตรัส

อย่างไร ? ตรัสโอสักกนา สำหรับภิกษุผู้ทำตติยฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก่อน

(ต่อไป) ตรัสปฏิสนธิ ตรัสพระอรหัต สำหรับภิกษุผู้ทำจตุตถฌาน (และ)

อากาสานัญจายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก็เหมือนกัน (คือตรัสโอสักกนา ตรัส

ปฏิสนธิ และตรัสพระอรหัต) ส่วนสำหรับพระภิกษุ ๓ รูป ผู้ทำวิญญาณัญ-

จายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ ตรัสโอสักกนา ตรัสปฏิสนธิ ตรัสพระอรหัต

สำหรับภิกษุผู้ทำอากิญจัญญายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ก็เหมือนกัน. ส่วน

สำหรับภิกษุผู้ทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานให้เป็นบาทตั้งอยู่ ไม่มีโอสักกนา

แต่ตรัสปฏิสนธิ และพระอรหัต สำหรับพระสุกขวิปัสสก ตรัสเฉพาะพระ-

อรหัตเท่านั้น ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่า ตรัสโอสักกนาในฐานะ

๗ อย่าง ตรัสปฏิสนธิในฐานะ ๘ อย่าง ตรัสพระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง.

ก็อาเนญชสปัปายสูตรนี้ ตรัสรวมเอาโอสักกนาในฐานะ ๗ อย่าง ปฏิสนธิใน

ฐานะ ๘ อย่าง พระอรหัตในฐานะ ๙ อย่าง ย่อมชื่อว่า เป็นอันตรัสดีแล้วแล.

จบ อรรถกถาอาเนญชสัปปายสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

๗. คณกโมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นไปตามลำดับ

[๙๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา

มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์

คณกะโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทักทายปราศรัยกับพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตามธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบ

ร้อยแล้ว ไค้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ตัวอย่าง

เช่นปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ย่อมปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การ

กระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ถือกระทั่งโครงร่างของบันไดชั้นล่าง

แม้พวกพราหมณ์เหล่านี้ ก็ปรากฏมีการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ

การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่องเล่าเรียน แม้พวกนักรบเหล่านี้ ก็ปรากฏมี

การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือ ในเรื่อง

ใช้อาวุธ แม้พวกข้าพระองค์ผู้เป็นนักคำนวณมีอาชีพในทางคำนวณก็ปรากฏมี

การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ คือในเรื่อง

นับจำนวน เพราะพวกข้าพเจ้าได้ศิษย์แล้ว เริ่มต้นให้นับอย่างนี้ว่า หนึ่ง

หมวดหนึ่ง สอง หมวดสอง สาม หมวดสาม สี่ หมวดสี่ ห้า หมวดห้า

หก หมวดหก เจ็ด หมวดเจ็ด แปด หมวดแปด เก้า หมวดเก้า สิบ

หมวดสิบ ย่อมให้นับไปถึงจำนวนร้อย ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อาจ

ไหมหนอ เพื่อจะบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การที่กระทำโดยลำดับ การ

ปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยแม้นี้ ให้เหมือนอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

[๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราอาจบัญญัติ

การศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัย

นี้ได้ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้วเริ่มต้นทีเดียว

ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำสิ่ง ๆ ขึ้นไปฉันใด

ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น

ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย

ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษ

เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

[๙๕] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติ-

โมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็ก

น้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้น

ไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เธอเป็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ

จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวม

อยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุน-

ทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว. . . เธอ

ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว. . . เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว . . . เธอถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายแล้ว . . . เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว อย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือ

เอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์

เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและ

โทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด.

[๙๖] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลายได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

จงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดยแยบคาย

ว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่

เพื่อจะตกแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็น

ไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้

เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต

ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา.

[๙๗] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็น

ผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณีย-

ธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

อาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยานแห่งราตรี พึง

เอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้นไว้ในใจแล้วสำเร็จ

สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตไห้บริสุทธิ์

จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่ง

ราตรีเถิด.

[๙๘] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความ

เป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด

เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไป

และถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ใน

เวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ใน

เวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด

และนิ่งเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

[๙๙] ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเสพ

เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่

แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้

ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละ

อภิชฌาเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากอภิชฌาได้ ละโทษคือพยาบาทปองร้ายแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท

อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะง่วงเหงาหาวนอนแล้ว เป็นผู้มีจิต

ปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญาสำคัญว่าสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อม

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่านและรำคาญ

แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

อุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาความสงสัยแล้วเป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีปัญหา

อะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้

[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้า

หมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มี

ความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ

วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะ

หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เช้าตติยฌานที่พระ-

อริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยัง

ไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรม

อื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่

เป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ

ได้แล้ว ถึงประโยชน์ตนแล้วตามลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ

แล้วเพราะรู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบายในปัจจุบัน

และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

[๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ-

โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญอัน

ท่านพระโคดม โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมสำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จ

ล่วงส่วน ทุกรูปทีเดียวหรือ หรือว่าบางพวกก็ไม่สำเร็จ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้

บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่

สำเร็จ.

ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย

ในเมื่อนิพพานก็ยังมีอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังมีอยู่ ท่านพระโคดมผู้ชักชวน

ก็ยังมีอยู่ แต่สาวกของท่านพระโคดม อันท่านพระโคดม โอวาทสั่งสอนอยู่

อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงสำเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน

บางพวกก็ไม่สำเร็จ.

[๑๐๒] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่อง

นี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้นดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปกรุงราชคฤห์มิใช่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ค. แน่นอน พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้

ปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูด

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

ท่านพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน

จงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่

หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่า

รื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของ

กรุงราชคฤห์ บุรุษนั้น อันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จับทางผิดไพล่เดินไป

เสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปกรุงราชคฤห์ พึงมาใน

สำนักของท่านเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนา

จะไปกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปกรุงราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่าน

พึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ ท่าน

จงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่

หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่

น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

ของกรุงราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงกรุง

ราชคฤห์โดยสวัสดี ดูก่อนพราหมณ์ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย นี้

เมื่อกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ทางไปกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็มีอยู่ แต่ก็

บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้ คนหนึ่งจับทางผิด ไพล่เดินไปทางทรงกัน

ข้าม คนหนึ่งไปถึงกรุงราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.

ค. ข้าแต่ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไรได้

ข้าพระองค์เป็นแต่ผู้บอกทาง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

[๑๐๓] พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพาน

ก็มีอยู่ ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เราผู้ชักชวนก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเรา

โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย สำเร็จนิพพานอันมีความ

สำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่สำเร็จ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำ

อย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทาง.

[๑๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ-

โมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล

จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ประสงค์จะเลี้ยงชีวิต ออกบวช โอ้อวด มีมายา เจ้า

เล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า พูดพล่าม ไม่คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เครื่อง

ตื่น ไม่นำพาในความเป็นสมณะ ไม่เคารพแรงกล้าในสิกขา ประพฤติมักมาก

ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวโจกในทางเชือนแช ทอดธุระในวิเวกความสงัดเงียบ

เกียจคร้าน มีความเพียรเลว ลืมสติ ไม่รู้ตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีความ

รู้ทราม เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวก

นั้น ส่วนพวกกุลบุตรที่มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มายา ไม่เจ้าเล่ห์

ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยกตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเพลิน

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร

เครื่องตื่น นำพาในความเป็นสมณะ เคารพแรงกล้าในสิกขา ไม่ประพฤติมัก

มาก ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน ทอดธุระในทางเชือนแช เป็นหัวหน้าในวิเวกความ

สงัดเงียบ ปรารภความเพียร มอบตนไปในธรรม ตั้งสติไว้มั่น รู้ตัวมั่นคง

มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดังคนหนวก คนใบ้ ท่านพระโคดมย่อมอยู่

ร่วมกับกุลบุตรพวกนั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนบรรดาไม้ที่มีราก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

หอม เขายกย่องกฤษณาว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีแก่นหอม เขายกย่องแก่น-

จันทน์แดงว่าเป็นเลิศ บรรดาไม้ที่มีดอกหอม เขายกย่องดอกมะลิว่าเป็นเลิศ

ฉันใด โอวาทของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล บัณฑิตกล่าวได้ว่า

เป็นเลิศในบรรดาธรรมของครูอย่างแพะที่นับว่าเยี่ยม แจ่มแจ้งจริง ๆ พระ-

เจ้าข้า แจ่มแจ้งจริง ๆ พระเจ้าข้า ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดย

ปริยายเป็นอเนก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอก

ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้ง

หลายได้ ฉะนั้นข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระ

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ คณกโมกคัลลานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตร

คณกโมคคัลลานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า ยาว ปจฺฉิมา

โสปานกเฬวรา ได้แก่ จนกระทั่งพื้นบันไดขั้นแรก. พราหมณ์แสดง

ว่า ปราสาท ๗ ชั้น ไม่อาจสร้างได้เพียงวันเดียวแต่ปรากฏการกระทำโดยลำ-

ดับ (ขั้นตอน) เริ่มแต่การแผ้วถางพื้นที่แล้วยกตั้งเสา จนกระทั่งเขียนภาพ

จิตรกรรม ในปราสาทนั้น. ด้วยบทว่า ยทิท อชฺเฌเน พราหมณ์แสดงว่า

พระเวทแม้ทั้ง ๓ ก็ไม่อาจเล่าเรียนได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในการเล่า

เรียนพระเวทเหล่านั้น ก็ย่อมปรากฏการกระทำโดยลำดับเช่นเดียวกัน. ด้วย

บทว่า อิสฺสตฺเถ พราหมณ์แสดงว่า แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธ ขึ้นชื่อว่านัก

แม่นธนู ก็ไม่อาจทำได้โดยวันเดียวเท่านั้น ก็แม้ในวิชาว่าด้วยอาวุธนี้ย่อม

ปรากฏการกระทำโดยลำดับ โดยการจัดแจงสถานที่และทำเป้า (สำหรับยิง)

เป็นต้น. บทว่า สงฺขาเน ได้แก่ โดยการนับ. ในข้อนั้น เมื่อแสดงการ

กระทำโดยลำดับด้วยตัวเอง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกข้าพระองค์ให้นับ

อย่างนี้.

ในคำที่ว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ นี้ เพราะเหตุที่คนทั้งหลายเรียน

ศิลป ในลัทธิภายนอก โดยประการใดๆ ย่อมกลายเป็นคนเกเรไปโดยประการ

นั้น ๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย

ลัทธิภายนอก หากทรงเปรียบเทียบด้วยม้าอาชาไนยแสนรู้ จึงตรัสว่า เสยฺยถา-

ปิ ดังนี้เป็นต้น. อันม้าอาชาไนยแสนรู้ถูกเขาฝึกในเหตุใด ย่อมไม่ละเมิด

เหตุนั้น แม้เหตุแห่งชีวิตฉันใด กุลบุตรผู้ปฏิบัติชอบในพระศาสนา ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ล่วงละเมิดขอบเขตแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า มุขาธาเน แปลว่า

ที่เก็บปากม้า (บังเหียน)

บทว่า สติสมฺปชญฺาย ได้แก่เพื่อประโยชน์คือความพร้อมเพรียง

ด้วยสติสัมปชัญญะทั้งหลาย. ก็เหล่าพระขีณาสพ มี ๒ พวกคือ สตตวิหารี และ

โนสตตวิหารี ในพระขีณาสพ ๒ พวกเหล่านั้น พระขีณาสพผู้สตตวิหารี แม้

กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเข้าผลสมาบัติได้. ส่วนพระขีณาสพ

ผู้เป็นโนสตตวิหารี เป็นผู้ขวนขวายกิจในกิจการมีประมาณเล็กน้อย ก็ไม่อาจ

แนบสนิทผลสมาบัติได้ ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า

พระขีณาสพองค์หนึ่ง พาสามเณรขีณาสพองค์หนึ่งไปอยู่ป่า. ในการอยู่ป่านั้น

เสนาสนะตกถึงพระมหาเถระ ไม่ถึงสามเณร. พระเถระวิตกถึงเรื่องนั้น ไม่

อาจทำแนบสนิทผลสมาบัติได้แม้แต่วันเดียว. ส่วนสามเณรทำเวลาทั้ง ๓ เดือน

ให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติ ถามพระเถระว่า ท่านขอรับ การอยู่

ป่าเป็นความสบายหรือ ? พระเถระกล่าวว่า ไม่เกิดความสบายดอกเธอ. ดัง

นั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า พระขีณาสพแม้เห็นปานนั้น อาจเข้าสมาบัติได้โดย

นึกถึงธรรมเหล่านี้ ตั้งแต่ตอนต้นทีเดียว จึงตรัสว่า สติสมฺปชญฺาย จ

ดังนี้.

บทว่า เยเม โภ โคตม ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตกำลัง

ตรัสอยู่นั่นแล นัยว่า บุคคลเหล่านี้ย่อมไม่สำเร็จ ดังนี้ เกิดขึ้นแก่พราหมณ์

เมื่อจะแสดงนัยนั้น จึงเริ่มกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ปรมชฺชธมฺเมสุ ความว่า ธรรมของครูทั้ง ๖ ชื่อว่าธรรม

อย่างแพะ และวาทะของพระโคดมสูงสุดอย่างยิ่งในธรรมเหล่านั้น. คำที่เหลือ

ในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาคณกโมคคัลลานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยเหตุที่ไม่มีใครถึงธรรมเท่าเทียมพระพุทธเจ้า

[๑๐๕] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระ-

อานนท์ อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต

กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้าอชาตสัตรู เวเทหิบุตร แห่งมคธรัฐ ทรง

ระแวงพระเจ้าปัชโชต จึงรับสั่งให้ซ่อมแซมกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระ

อานนท์นุ่งสบง ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ในเวลาเช้า-

ขณะนั้น ท่านมีความดำริดังนี้ ว่า ยังเช้าเกินควรที่จะเที่ยวบิณฑบาตในกรุง-

ราชคฤห์ก่อน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาพราหมณ์ โคปกโมคคัลลานะยังที่

ทำงานและที่อยู่เถิด ครั้นแล้วท่านพระอานนท์จึงไปยังที่นั้น พราหมณ์

โคปกโมคคัลลานะแลเห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกล จึงได้กล่าวกะท่าน

พระอานนท์ดังนี้ว่า นิมนต์เถิด ท่านพระอานนท์ ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียว

ที่ท่านได้แวะเวียนมาที่นี่ นิมนต์นั่งเถิด นี่อาสนะแต่งตั้งไว้แล้ว ท่านพระ-

อานนท์นั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว ฝ่ายพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะก็ถือ

เอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่งลง.

[๑๐๖] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พราหมณ์โคปกโมคคัลลานะ ได้

กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้าง

ไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่ท่านพระ

โคดมพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว.

๑. พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้

ถึงพร้อมด้วยธรรมทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

องค์นั้นผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด

ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงทราบมรรค ทรงรู้มรรค และทรงฉลาด

ในมรรค ส่วนเหล่าสาวกในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมใน

ภายหลังอยู่ ก็แหละคำพูดระหว่างท่านพระอานนท์กับพราหมณ์โคปกโมคคัล

ลานะได้ค้างอยู่เพียงนี้

[๑๐๗] ขณะนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ เที่ยว

ตรวจงานในกรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปยังที่ทำงานของพราหมณ์โคปกโมคคัล-

ลานะ ที่มีท่านพระอานนท์อยู่ด้วย แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ข้าแต่ท่าน

อานนท์ผู้เจริญ ณ บัดนี้ พระคุณท่านนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และ

พระคุณท่านพูดเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องที่พูดกันอยู่นี้

พราหมณ์โคปกโมคคัลลานะ ได้ถามอาคมภาพอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระ

อานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุกๆข้อและทุกๆ

ประการที่ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึง

พร้อมแล้ว เมื่อพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะถามแล้วอย่างนี้ อาตมาภาพได้

ตอบ ดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม

ทุก ๆ ข้อ และทุก ๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

อรหันตสัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ทรงให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มี

ใครบอก ทรงทราบมรรค ทรงรู้มรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่า

สาวกในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมภายหลังอยู่ นี่แลคำพูดระหว่าง

อาตมภาพกับพราหมณ์โคปกโมคคัลลานะได้ค้างอยู่ ต่อนั้นท่านก็มาถึง.

[๑๐๘] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ

อันท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุ

รูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไป

หาได้ในบัดนี้.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้ง

ไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย

อันอาตมาภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้.

[๑๐๙] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า

อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้-

มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย

ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระ

มากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับ

ไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย อันอาตมภาพทั้งหลายจะ

พึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งพาอาศัยอย่างนี้ อะไรเล่า

จะเป็นเหตุแห่งความสามัคคีกันโดยธรรม.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาภาพทั้งหลายมิใช่ไม่มีที่พึ่งอาศัยเลย

พวกอาตมภาพมีที่พึ่งอาศัย คือ มีธรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

[๑๑๐] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าถามพระคุณเจ้าดังนี้ว่ามี

ภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันท่านพระโคดมพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้งไว้ว่า

เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งพระ-

คุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์-

ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุ

รูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย อันอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้

ในบัดนี้ ข้าพเจ้าถามต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า อันสงฆ์ที่ภิกษุ

ผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งพระคุณ

เจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์

ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว

แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่

พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ และ

ข้าพเจ้าถามต่อไปว่า ก็เมื่อไม่มีที่พึ่งอาศัยอย่างนี้ อะไรเล่าจะเป็นเหตุแห่ง

ความสามัคคีกันโดยธรรม พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ อาตมภาพ

ทั้งหลายมิใช่ไม่มีที่พึ่งอาศัย พวกอาตมภาพมีที่พึ่งอาศัย คือ มีธรรมเป็นที่พึ่ง

อาศัย ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็คำที่พระคุณเจ้ากล่าวแล้วนี้ ข้าพเจ้าจะพึง

เห็นเนื้อความได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

[๑๑๑] อา. ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงบัญญัติสิกขาบท

แก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย ทุก ๆ วันอุโบสถ

อาตมภาพทั้งหลายเท่าที่มีอยู่นั้น จะเข้าไปอาศัยตามเขตแห่งหนึ่งอยู่ ทุกๆรูป

จะประชุมร่วมกัน ครั้นแล้วจะเชิญภิกษุรูปที่สวดปาติโมกข์ได้ ให้สวด ถ้า

ขณะที่สวดปาติโมกข์อยู่ ปรากฏภิกษุมีอาบัติและโทษที่ล่วงละเมิด อาตมภาพ

ทั้งหลายจะให้เธอทำทามธรรม ตามคำที่ทรงสั่งสอนไว้ เพราะฉะนั้น เป็น

อันว่า ภิกษุผู้เจริญทั้งหลาย มิได้ให้พวกอาตมภาพกระทำ ธรรมต่างหากให้

พวกอาตมภาพกระทำ.

ว. ข้าแต่พระอานนท์ มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ซึ่งพระคุณ

เจ้าทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อม

เข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่รูปหนึ่งแล ซึ่งอาตมภาพทั้งหลาย สัก-

การะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัย

อยู่ในบัดนี้.

[๑๑๒] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าถามพระคุณเจ้าดังนี้ว่า

มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ อันท่านพระโคดมพระองค์นั้น ทรงแต่งตั้งไว้

ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่ง

พระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรง

รู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับ

ไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

จะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ กระผมถามต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมเล่า

อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย

ซึ่งพระคุณเจ้าทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปด้วยกัน

สมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ เมื่อพระมู้มีพระภาคเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูป

นี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจักพึงเข้าไปหาได้ใน

บัดนี้ ข้าพเจ้าถามต่อไปว่า มีภิกษุสักรูปหนึ่งบ้างไหมหนอ ซึ่งพระคุณเจ้า

ทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้า

ไปอาศัย อยู่ในบัดนี้ พระคุณเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่รูปหนึ่งแล

ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ครั้นสักการะ เคารพ

แล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ คำที่พระคุณเจ้า

กล่าวแล้วนี้ ข้าพเจ้าจะพึงเห็นเนื้อความได้อย่างไร.

[๑๑๓] อา. ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

องค์นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสบอกธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสไว้ ๑๐ ประการ บรรดาพวกอาตมาภาพ รูปใดมี

ธรรมเหล่านั้น อาตมภาพทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น

ครั้นสักการะ เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้ ธรรม ๑๐ ประการเป็น

ไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

และโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน

สิกขาบททั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

(๒) เป็นพหูสูต ทรงการศึกษา สั่งสมการศึกษา ธรรมที่งามใน

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น ย่อมเป็นอันเธอ

ได้สดับแล้วมาก ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก เพ่งตามได้ด้วยใจ แทงตลอดดี

ด้วยความเห็น

(๓) เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัคคตจิตเครื่องอยู่สบายในปัจจุ-

บัน ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง

นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงใน

แผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

เหาะไปในอากาศโดยขัดสมาธิเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์

ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึง

พรหมโลกก็ได้

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่

ไกลและที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือ จิต

มีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี

โทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ

ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัค-

คตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า-

จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต

ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้

ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง

ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัป

บ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่าง

นี้ มีผิวพรรณอย่างนี้. มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนด

อายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น

เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวย

สุขและทุกข์อย่างนี้ ก็มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว จึง

เข้าถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ เช่นนี้

(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้

(๑๐) ย่อมข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ดูก่อนพราหมณ์ เหล่านี้แล ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐

ประการ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสบอกไว้ บรรดาพวกอาตมภาพ รูปใดมีธรรมเหล่า

นี้อาตมภาพทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชารูปนั้น ครั้นสักการะ

เคารพแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอยู่ในบัดนี้.

[๑๑๔] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวแล้วอย่างนี้ วัสสการพราหมณ์

มหาอำมาตย์แหงมคธรัฐ ได้เรียกอุปนันทะเสนาบดีมาพูดว่า ดูก่อนเสนาบดี

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ที่พระคุณเจ้าเหล่านั้น สักการะธรรมที่ควร

สักการะ เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่

ควรบูชาอยู่อย่างนี้ ตกลงพระคุณเจ้าเหล่านี้ ย่อมสักการะธรรมที่ควรสักการะ

เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชา ก็

ในเมื่อพระคุณเจ้าเหล่านั้นจะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสิ่งนี้. พระ-

คุณเจ้าเหล่านั้น จะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสิ่งไร แล้วจะเข้าไปอาศัย

สิ่งไรอยู่ได้เล่า.

[๑๑๕] ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ถาม

ท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ก็เวลานี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ เวลานี้ อาตมภาพอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน.

ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็พระวิหารเวฬุวัน เป็นที่รื่นรมย์ เงียบ

เสียงและไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของมนุษย์

สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่หรือ.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ แน่นอน พระวิหารเวฬุวัน จะเป็นที่รื่นรมย์

เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของ

มนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีผู้รักษาคุ้มครองเช่นท่าน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

[๑๑๖] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ความจริง พระวิหารเวฬุวันจะ

เป็นที่รื่นรมย์ เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็น

ที่พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีพระคุณเจ้าทั้ง

หลายเพ่งฌานและมีฌานเป็นปกติต่างหาก พระคุณเจ้าทั้งหลายทั้งเพ่งฌานและ

มีฌานเป็นปกติทีเดียว ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้าขอเล่าถวาย สมัยหนึ่ง

ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน กรุง-

เวสาลี ครั้งนั้นแล ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้นยังที่ประทับ

ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนก

ปริยาย พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปกติ และก็ทรงสรร-

เสริญฌานทั้งปวง.

[๑๑๗] อา. ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง

สรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ พระองค์ไม่

ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจ

รัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอัน

เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมาย

เฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยา-

บาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภาย-

ใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่และไม่รู้จักสลัดถีน-

มิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่ง

หมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุก-

กุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำ

อุทธัจจกุกกจจะไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ

อยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่ง

เล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน ดูก่อน

พราหมณ์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล. ดู

ก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก

มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภาย

ใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วาง

เฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข

ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ดู

ก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล.

[๑๑๘] ว. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ เป็นอันว่า ท่านพระโคดม

พระองค์นั้น ทรงติเตียนฌานที่ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ

เอาละ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีกรณียะมาก จะขอลาไปในบัดนี้.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านโปรดสำคัญกาลอันควรในบัดนี้ เถิด

ต่อนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน

พระอานนท์แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๑๑๙]. ครั้งนั้น เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐหลีก

ไปแล้วไม่นาน พราหมณ์โคปกโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ดังนี้ว่า ปัญหาของข้าพเจ้า ซึ่งข้าพเจ้าได้ถามท่านพระอานนท์นั้นพระคุณเจ้า

ยังมิได้พยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเลย.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราได้กล่าวแก่ท่านแล้ว

มิใช่หรือว่า ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่งผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมทุก ๆ

ข้อ และทุกๆ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธทรงถึงพร้อมแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง

ให้มรรคที่ยังไม่อุบัติได้อุบัติ ที่ยังไม่เกิดได้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใคร

บอก ทรงทราบมรรค ทรงรู้มรรค และทรงฉลาดในมรรค ส่วนเหล่าสาวก

ในบัดนี้ เป็นผู้ดำเนินตามมรรค จึงถึงพร้อมในภายหลังอยู่.

จบ โคปกโมคลัลลานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

อรรถกถาโคปกโมคคัลลานสูตร

โคปกโมคคัลลานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า อจิรปรินิพฺพุเต

ภควติ ความว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว คือในกาลที่พระอานนท์

แบ่งพระธาตุแล้ว มายังกรุงราชคฤห์เพื่อจะทำการสังคายนาพระธรรม. บทว่า

รญฺโ ปชฺโชตสฺส อาสงฺกมาโน ความว่า พระราชาพระนามว่าจัณฑ-

ปัชโชตพระองค์นี้ เป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสารมหาราช. ก็ตั้งแต่เวลา

ที่ส่งหมอชีวกไปปรุงเภสัชถวาย ก็ยิ่งเป็นมิตรกันแน่นแฟ้นขึ้น. ท้าวเธอทรง

สดับว่า. พระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคำของพระเทวทัต ปลงพระชนม์พระบิดา จึง

ได้ตรัสในที่ประชุมว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนี้ฆ่าสหายรักของเราแล้ว สำคัญ

(มั่นหมาย) ว่าจักครองราชสมบัติ ดังนี้ เราจะให้เขารู้ว่า เรายังมีอยู่ในบรรดา

เหล่าสหายผู้มียศใหญ่. พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงเกิดความระแวง เพราะได้ทรง

สดับคำนั้น. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงระแวงพระเจ้าปัชโชต ดังนี้. บทว่า

กมฺมนฺโต ได้แก่ สถานที่ทำงาน เพื่อต้องการซ่อมแซมด้านนอกพระนคร.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พระอานนท์รู้อยู่ว่า พวกเราเที่ยวไป

ด้วยหมายใจว่า จักให้ทำการร้อยกรองพระธรรมวินัย พราหมณ์โคปก

โมคคัลลานะนี้เป็นข้าราชการผู้มีศักดิ์ใหญ่ เมื่อเขาสนับสนุน เขาพึงทำการ

อารักขาพระเวฬุวันดังนี้ จึงเข้าไปหา. บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ด้วยธรรม

คือ พระสัพพัญญุตญาณเหล่านั้น. บทว่า สพฺเพน สพฺพ ได้แก่ ทุกข้อ

โดยอาการทั้งปวง. บทว่า สพฺพถา สพฺพ ได้แก่ ทุกข้อโดยส่วนทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

พราหมณ์ กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอถามอะไร (สักอย่าง). ข้าพเจ้าขอถามข้อนี้ว่า ก็

ครูทั้ง ๖ เกิดก่อน ออกบวชจากตระกูลที่ไม่มีใครรู้จัก พวกเขาตายในเมื่อพระ

ตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ แม้สาวกทั้งหลายของพวกเขาก็ออกบวชจากตระกูลที่

ไม่มีใครรู้จัก เหมือนกัน. ต่อเมื่อพวกเขาล่วงลับไป สาวกทั้งหลายเหล่านั้น

ได้ก่อการวิวาทกันใหญ่. ส่วนพระสมณโคดมเสด็จออกผนวชจากตระกูลใหญ่

ต่อเมื่อพระสมณโคดมนั้นล่วงไปแล้ว พระสาวกทั้งหลายจักก่อการวิวาทกัน

ใหญ่ ถ้อยคำดังว่ามานี้ ได้เกิดแพร่ไปทั่วชมพูทวีป ด้วยประการดังนี้ ก็

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุทั้งหลายมิได้วิวาทกันเลย

แม้ความวิวาทที่ได้มีขึ้นนั้น ก็ได้สงบไปในที่นั้นแหละ. ก็ในเวลาที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายมากมายเกิดความสลดใจใหญ่หลวง

ว่า มัจจุราชไม่อดสูต่อพระศาสดา ผู้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศให้บริบูรณ์แล้ว

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณเหมือนใบไม้แก่ (จะตั้งอยู่ได้อย่างไร) ข้างหน้าลม

ที่สามารถพัดพาภูเขาสิเนรุอันสูงหกล้านแปดแสนโยชน์ให้เคลื่อนได้ จักอดสู

ต่อใครกัน ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน สงบราบเรียบยิ่ง ข้อนี้เพราะ

เหตุไร?

บทว่า อนุสญฺายมาโน แปลว่า ตรวจตราอยู่. อธิบายว่า รู้

การงานที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ติดตาม (ผลงาน).

บทว่า อตฺถิ นุ โข ได้แก่ วัสสการพราหมณ์นี้ถามเรื่องที่มีในหน

หลัง. บทว่า อปฺปฏิสฺสรเณ ได้แก่เมื่อธรรมวินัยไม่เป็นที่พึ่งอาศัย. บทว่า

โก เหตุ ธมฺมสามคฺคิยา ความว่า ใครเป็นเหตุ ใครเป็นปัจจัยแห่ง

ความพร้อมเพรียงของท่านทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ธมฺมปฏิสฺสรโณ แสดงว่า

ธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมเป็นที่อาศัยของเราทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

บทว่า วตฺเตติ (การสวดปาติโมกข์ย่อมเป็นไป) คือเป็นคุณที่คล่อง

แคล่วมา. คำทั้งสองนี้ว่า อาปตฺติ วา วีติกฺกโม วา ต้องอาบัติหรือล่วง

ละเมิด ดังนี้ เป็นการล่วงละเมิดพระบัญญัติของพระพุทธเจ้านั่นแหละ. บท

ว่า ยถาธมฺม ยถานุสิฏฺ กาเรม (พวกเราจะให้เธอทำตามธรรมตามที่

ทรงสั่งสอนไว้) อธิบายว่า พวกเราจะให้เธอทำตามธรรมและคำสั่งสอนที่ทรง

ตั้งไว้. โน อักษร แม้ใน ๒ บทว่า น กิร โน ภวนฺโต กาเรนฺติ

ธมฺโมว กาเรติ เป็นเพียงนิบาต. ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า นัยว่าเมื่อเป็น

อย่างนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายให้ทำหามิได้ แต่ธรรมให้ทำ.

คำว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ส่วนเดียว. บทว่า กห

ปน ภว อานนฺโท มีอธิบายว่า ย่อมไม่รู้ว่า พระเถระอยู่ในพระเวฬุวัน

หรือ ? รู้. ก็วัสสการพราหมณ์นี้ ให้การอารักขาพระเวฬุวัน เพราะฉะนั้น

ประสงค์จะยกตน จึงได้ถามอย่างนั้น. ก็เพราะเหตุไร วัสสการพราหมณ์นั้น

จึงให้การอารักขาในพระเวฬุวันนั้น ? (เพราะ) ได้ยินว่า วันหนึ่ง ท่านวัสส-

การพราหมณ์นั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระ ลงจากเขาคิชฌกูฏ จึงกล่าวว่า

นั่นเหมือนลิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สดับคำนั้นแล้วตรัสว่าเขาขอขมาโทษเสีย

ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ขอขมาโทษเขาจักเป็นลิงหางโคในพระเวฬุวันนี้. วัสส-

การพราหมณ์นั้นฟังพระดำรัสนั้นแล้ว คิดว่า ธรรมดาพระดำรัสของพระ

สมณโคดมไม่เป็นสอง ภายหลังเมื่อเวลาเราเป็นลิง จักได้มีที่เที่ยวหากิน จึง

ปลูกต้นไม้นานาชนิดในพระเวฬุวัน แล้วให้การอารักขา กาลต่อมา วัสส-

การพราหมณ์ถึงอสัญญกรรมแล้วเกิดเป็นลิง. เมื่อใครพูดว่า วัสสการ-

พราหมณ์ ก็ได้มายืนอยู่ใกล้ๆ. คำว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในคำว่า ส่วนเดียว

เท่านั้น ในทุก ๆ วาระ. บทว่า ตคฺฆ โถ อานนฺท ความว่า พราหมณ์

๑. ม. โคนงฺคลมกฺกโฏ ลิงหน้าดำหรือชะนี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

รู้ว่า พระเถระยกย่องตนในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า แม้เราก็

ยกย่องพระเถระ.

บทว่า น โข พฺราหฺมณ ความว่า นัยว่า พระเถระคิดว่า ฌาน

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญก็มี ที่ไม่สรรเสริญก็มี แต่พราหมณ์นี้สรร-

เสริญทั้งหมดเลย กล่าวปัญหาให้คลาดเคลื่อน เราไม่อาจมองหน้าพราหมณ์นี้

ได้ ไม่อาจรักษาบิณฑบาต เราจักกล่าวปัญหาให้ตรง ดังนี้ จึงเริ่มกล่าวคำนี้.

บทว่า อนนฺตร กริตฺวา แปลว่า กระทำไว้ภายใน. บทว่า เอวรูป

โข พฺราหฺมณ โส ภควา ณาน วณฺเณสิ ความว่า ในที่นี้ ตรัส

ฌานที่รวบรวมเอาไว้ทั้งหมด. บทว่า ยนฺโน มย ความว่า ได้ยินว่า

พราหมณ์นี้ริษยาวัสสการพราหมณ์ หวังจะไม่กล่าวถึงปัญหาที่วัสสการพราหมณ์

นั้นถาม ครั้นรู้ว่าเขากล่าวแล้วก็ไม่สบายใจว่า พระอานนท์เอาปัญหาที่วัสส-

การพราหมณ์ถาม มาเป็นชื่อของฌานนั้นบ่อยๆกล่าวอย่างกว้างขวาง แต่ปัญหา

ที่เราถาม ท่านกล่าวเป็นบางส่วนเท่านั้น เหมือนเอาปลายไม้เท้าจี้ ฉะนั้น

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือในทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาโคปกโมคคัลลานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

๙. มหาปุณณมสูตร

ว่าด้วยอุปาทานและอุปาทานขันธ์

[๑๒๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา-

มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้น

เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งลุกจากอาสนะ ห่มจีวรเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะขอกราบทูล

ถามปัญหาสักเล็กน้อยกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะประทาน

โอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหาแก่ข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงนั่งลง

ยังอาสนะของตน ประสงค์จะถามปัญหาข้อใด ก็ถามเถิด.

[๑๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ รูปูปาทาน-

ขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณู-

ปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล.

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ รูปูปาทาน-

ขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณู

ปาทานขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

ภิกษุนั้นกล่าวชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว

พระเจ้าข้า แล้วทูลถามปัญหากะผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล.

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่าง

เดียวกันหรือ หรือว่าอุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕.

พ ดูก่อนภิกษุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกัน

ก็มิใช่ อุปาทานจะเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่ ดูก่อนภิกษุ ความ

กำหนัดพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์

๕ นั้น.

[๑๒๒] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด

พอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี หรือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับว่า มี แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคล

บางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนา

อย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด

ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์

ทั้ง ๕.

ว่าด้วยเหตุเรียกชื่อว่าขันธ์

[๑๒๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์

ได้ด้วยเหตุเท่าไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น

อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ

ล เอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

รูปขันธ์. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็น

ปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว

หรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ที่เป็นเวทนาขันธ์. สัญญา

อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไป

ในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็

ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสัญญาขันธ์. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีใน

ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล

หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็นสังขารขันธ์. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

อดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็

ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่

ใกล้ก็ตาม นี่เป็นวิญญาณขันธ์ ดูก่อนภิกษุ ขันธ์ทั้งหลายย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

[๑๒๔] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์ แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ แห่งการบัญญัติ

สัญญาขันธ์ แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์.

พ. ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ

รูปขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์ ผัสสะเป็น

เหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสัญญาขันธ์ ผัสสะเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่ง

การบัญญัติสังขารขันธ์ นามรูปเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณ

ขันธ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิ จะมีได้อย่างไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระ

อริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะไม่ได้เห็น

สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม

เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอนัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปใน

อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา

บ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตา

ในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามี

สัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็ง

เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขาร

ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น

อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็ง

เห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แลสักกายทิฏฐิจึงมีได้.

[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฏฐิจะไม่มีได้อย่างไร.

พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้

เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ

ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็ง

เห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาใน

อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็น

อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่

เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น

วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็น

วิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้

แล สักกายทิฏฐิจึงไม่มี.

ว่าด้วยคุณและโทษของขันธ์ ๕

[๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ

เป็นทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา

อะไรเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณเป็นโทษ

เป็นทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ.

พ. ดูก่อนภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณใน

รูป อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็น

โทษในรูป อาการที่กำจัดฉันทราคะละฉันทราคะในรูปได้ นี้เป็นทางสลัด

ออกในรูป อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการ

ที่เวทนาไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษใน

เวทนา อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัด

ออกในเวทนา อาการที่สุขโสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการ

ที่สัญญาไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา

อาการที่กำจัดฉันทราคะละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา

อาการที่สุขโสมนัสอาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขารไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร

อาการที่กำจัดฉันทราคะละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร

อาการที่สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่วิญ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ญาณไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญ-

ญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัด

ออกในวิญญาณ.

ว่าด้วยเหตุละมานานุสัย

[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี

อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และใน

นิมิตทั้งหมดภายนอก.

พ. ดูก่อนภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดัง

นี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน

เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ

ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา

ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้

ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น

ปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม

เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของ

เรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

ดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็น

ปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม

เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตามทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของ

เรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็น

จริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่

เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็

ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่นไม่

ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน

เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ

ประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่

ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี

อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิต

ทั้งหมดในภายนอก.

ว่าด้วยปริวิตกเรื่องผู้รับผลของกรรม

[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้น

อย่างนี้ว่า ท่านผู้จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณเป็นอนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักสัมผัสตนได้อย่างไร. ครั้ง

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วย

พระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษ

บางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่ พึง

สำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างหุนหันพลันแล่น ด้วยความปริวิตกว่า ท่านผู้

จำเริญ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น

อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้น ๆ แล้วแล พวกเธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

สังขารเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ควรละหรือที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่น ของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิ. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่

เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม

หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็

ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็น

อดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก

ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่

ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีใน

ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกล

หรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

เรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน

หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่

ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่

อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น

ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีต

ก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา

ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน

วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด. จิตย่อม

หลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติ

สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ไค้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัสไวยากรณ์

ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือ

มั่นแล.

จบ มหาปุณณมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

อรรถกถามหาปุณณมสูตร

มหาปุณณมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตทหุ

แยกเป็น ตสฺมึ อหุ แปลความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า อุโบสถ เพราะ

อรรถว่า เป็นวันที่เข้าอยู่จำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่จำด้วยศีล

หรือด้วยการอดอาหาร. ก็ในที่นี้มีการขยายความดังต่อไปนี้ ก็การแสดงปาติโมกข์

ชื่อว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถ คมิส-

สาม ท่านกัปปินะมาเถิด พวกเราไปยังอุโบสถกัน. ศีลชื่อว่า อุโปสถ ในคำ

เป็นต้นว่า เอว อฏงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุตฺโถ

ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ แล อันบุคคลเข้าจำแล้วด้วย

อาการอย่างนี้. อุปวาส ชื่อว่า อุโปสถ (การจำศีลด้วยการอดอาหาร) ใน

คำเป็นต้นว่า สุทฺธสฺส สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุฤกษ์

(คือฤกษ์เดือนผัคคุ) สำหรับผู้หมดจดทุกเมื่อ แต่อุโบสถก็สำหรับผู้หมดจด

ทุกเมื่อ. ชื่อว่าเป็นบัญญัติ (คือชื่อที่เรียก) ในคำเป็นต้นว่า อุโปสโถ

นาม นาคราชา พระยาช้างชื่อว่า อุโบสถ. วันที่พึงเข้าไปอยู่ (จำศีล) ชื่อ

ว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้น ว่า น ภิกฺขเว ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสา

ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถวันนั้น ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ. แม้ในที่นี้

ก็ประสงค์เอาการเข้าอยู่ (จำศีล) นั้นนั่นแหล. ก็วันที่เข้าอยู่ (จำศีล) นี้

นั้นมี ๓ อย่าง โดยวันอัฏฐมี วันจาตุททสี และวันปัณณรสี เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า ปณฺณรเส (ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ) เพื่อจะห้ามบททั้งสองที่เหลือ

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วันอุโบสถ เพราะเป็นวันที่เข้าอยู่ (จำศีล)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ชื่อว่า ปุณฺณา เพราะเต็มแล้วคือ เต็มบริบูรณ์ เพราะเป็นวันเต็มเดือน

ท่านเรียกพระจันทร์ว่า มา. พระจันทร์นั้นเต็มดวงแล้วใน (วัน ) ดิถีนี้

เพราะเหตุนั้นดิถีนี้ จึงชื่อว่า ปุณณมา (วันพระจันทร์เต็มดวง). พึงทราบ

ความหมายในบททั้งสองนี้ว่า ปุณฺณาย ปุณฺณมาย (ในวันเพ็ญมีพระจันทร์

เต็มดวง) ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า เทส แปลว่า เหตุการณ์. บทว่า เตนหิ ตว ภิกฺขุ

สเก อาสเน นิสีทิตฺ วา ปุจฺฉ ความว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสแก่ภิกษุผู้ที่ยืน รับสั่งให้นั่งลง. ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระ

สังฆเถระของภิกษุเหล่านั้น เรียนกรรมฐานในสำนักของท่านแล้วพากเพียร

พยายามอยู่ กำหนดพิจารณา มหาภูตรูป (และ) อุปาทายรูป กำหนดพิจารณา

วิปัสสนา มีลักษณะของตนอันมีนามรูปเป็นปัจจัยให้เป็นอารมณ์ ครั้งนั้น

ภิกษุเหล่านั้นมายังที่ปรนนิบัติอาจารย์ในเวลาเย็น ไหว้แล้วนั่งอยู่ พระเถระ

จึงถามถึงเรื่องกรรมฐานทั้งหลาย มีการกำหนดพิจารณามหาภูตรูปเป็นต้น.

ภิกษุเหล่านั้นบอกได้ทั้งหมด. แต่ถูกถามปัญหาในมรรคและผล ไม่อาจบอก

ได้. ทีนั้น พระเถระจึงคิดว่า ในสำนักเรา ไม่มีการละเลยการให้โอวาทแก่

ภิกษุเหล่านี้ และภิกษุเหล่านี้ก็ปรารภความเพียรอยู่. กิริยาที่ประมาทก็ไม่มี

แก่ภิกษุเหล่านั้น แม้มาตรว่า ชั่วเวลาไก่กินน้ำ. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุ

เหล่านี้ก็ไม่อาจทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้. เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุเหล่านี้

ภิกษุเหล่านี้คงจะเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าต้องทรงแนะนำ เราจักพาภิกษุเหล่านั้น

ไปยังสำนักของพระศาสดา เมื่อเป็นอย่างนั้น พระศาสดาจักทรงแสดงธรรม

อันเกี่ยวเนื่องกับความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น (ครั้นคิดแล้ว) จึงพาภิกษุ

เหล่านั้นมายังสำนักของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

แม้พระศาสดาก็ทรงถือเอาน้ำที่พระอานนท์นำเข้าไปถวายในตอนเย็น

ทรงกระทำพระสรีระให้สดชื่นแล้วประทับนั่งบนเสนาสนะอันประเสริฐ ที่เขาปู

ลาดไว้ในบริเวณปราสาทของมิคารมารดา. แม้ภิกษุสงฆ์ก็นั่งแวดล้อมพระองค์.

เวลานั้น พระอาทิตย์กำลังอัสดงคต พระจันทร์กำลังขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่ง ณ ที่ท่ามกลาง. พระจันทร์ไม่มีรัศมี พระอาทิตย์ไม่มีรัศมี พระ

พุทธรัศมีเป็นคู่ ๆมีวรรณะ ๖ ประการ ข่มรัศมีของพระจันทร์และพระอาทิตย์

เสีย ส่องแสงโชติช่วงเป็นกลุ่มเป็นก้อน แล่นไปทั่วทิศานุทิศ. เรื่องทั้งหมด

นั้นพึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. นี้ชื่อว่าพื้นภูมิของการพรรณนา

ในอธิการนี้ กำลัง (ความสามารถ) ของพระธรรมกถึกเท่านั้นที่อาจกล่าวให้

พอควรแก่ประมาณได้ เรื่องที่ควรแก่ประมาณนั้น ควรกล่าวในการพรรณนา

พระพุทธรัศมีนั้น. ไม่ควรพูดว่า กล่าวยาก. เมื่อบริษัทประชุมกันอย่างนี้

แล้ว พระเถระลุกขึ้น ขอให้พระศาสดาประทานโอกาสเพื่อพยากรณ์ปัญหา.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ถ้าเมื่อภิกษุนี้ยืนถามปัญหา พวก

ภิกษุที่เหลือจักลุกขึ้นด้วยคิดกันว่า อาจารย์ของพวกเราลุกขึ้นแล้ว เมื่อเป็น

อย่างนั้น จักเป็นอันกระทำความไม่เคารพในพระตถาคต. ถ้าภิกษุเหล่านั้น

จักนั่งทูลถาม (ปัญหา) จักเป็นอันกระทำความไม่เคารพในอาจารย์ จักไม่

อาจทำจิตให้แน่วแน่รับธรรมเทศนา. แต่เมื่ออาจารย์นั่ง ภิกษุเหล่านั้นจักนั่ง

แต่นั้นจักเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ อาจรับพระธรรมเทศนาได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสแก่ภิกษุที่ยืน รับสั่งให้นั่งลง ฉะนี้แล.

บทว่า อิเม นุ โข ภนฺเต ความว่า กระทำเหมือนถามด้วยความ

สงสัย. ก็พระเถระกำหนดพิจารณาความเกิดแห่งเบญจขันธ์แล้ว บรรลุพระ-

อรหัต เป็นพระมหาขีณาสพ. ความสงสัยของพระเถระนี้ย่อมไม่มี ก็แม้รู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

อยู่ ทำเป็นเหมือนไม่รู้ตามก็ควร. ก็ถ้าทำเหมือนรู้ตาม เมื่อจะแก้แก่เขาย่อม

กล่าวแต่บางส่วนเท่านั้นด้วยสำคัญว่าผู้นี้รู้. แต่เมื่อทำเป็นไม่รู้ตาม เมื่อจะ

กล่าว ย่อมนำเอาเหตุการณ์ทุกด้านมากล่าวให้ปรากฏ. ก็บางคนแม้ไม่รู้ก็ทำเป็น

เหมือนรู้ตาม. พระเถระจะการทำอย่างไรกะคำเห็นปานนี้ ก็พระเถระรู้อยู่ที

เดียว พึงทราบว่า ถามเหมือนไม่รู้. บทว่า ฉนฺทมูลกา แปลว่า มีตัณหา

เป็นมูล. บทว่า เอว รูโป สย ความว่า ถ้าประสงค์เป็นคนขาว ย่อม

ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นคนมีวรรณะเหมือนหรดาล หรือเหมือนมโนศิลา

หรือเหมือนทอง. ถ้าประสงค์จะเป็นคนดำก็ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้มี

วรรณะเหมือนดอกอุบลเขียว เหมือนดอกอัญชัน หรือเหมือนดอกฝ้าย. บทว่า

เอวเวทโน ได้แก่ ปรารถนาว่า ขอเราจงเป็นผู้มีเวทนาเป็นกุศล หรือเป็น

ผู้มีเวทนาเป็นสุข. แม้ในสัญญาเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ. ก็เพราะธรรมดาว่า

ความปรารถนาในอดีต ย่อมมีไม่ได้ และแม้ถึงจะปรารถนาก็ไม่อาจได้มัน

แม้ในปัจจุบันก็ไม่ได้ คนขาวปรารถนาความเป็นคนดำ แล้วจะเป็นคนดำไป

ในปัจจุบันก็ไม่ได้ คนดำจะเป็นคนขาว คนสูงจะเป็นคนเตี้ย หรือคนเตี้ย

จะเป็นคนสูงก็ไม่ได้ แต่เมื่อบุคคลให้ทาน สมาทานศีลแล้วปรารถนาว่า ขอ

เราจงเป็นกษัตริย์หรือจงเป็นพราหมณ์ในอนาคตกาลเถิด ดังนี้ ความปรารถนา

ย่อมสำเร็จ ฉะนั้นท่านถือเอาแต่อนาคตเท่านั้น.

บทว่า ขนฺธาธิวจน ได้แก่ ถามว่า การบัญญัติว่าขันธ์แห่งขันธ์

ทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด. บทว่า มหาภูตเหตุ ความว่า

ก็เหตุท่านเรียกว่าเหตุ ในคำเป็นต้น ว่า กุศลเหตุ ๓ ประการ. อวิชชา ชื่อ

ว่า สาธารณเหตุ เพราะเป็นเหตุทั่วไปแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้น. กุศลกรรม

และอกุศลกรรมเป็นเหตุสูงสุดในการให้ผลของตนๆ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ปัจจัยเหตุในอธิการว่าด้วยปัจจัยเหตุนั้น มหาภูตรูป คือ ปฐวีธาตุเป็นเหตุ

เละเป็นปัจจัย เพื่อแสดงการบัญญัติภูตรูป ๓ นอกนี้ และอุปาทายรูป. พึง

ทราบ การประกอบความแม้ในบทที่เหลืออย่างนี้. บทว่า ผสฺโส ความว่า

ผัสสะ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติขันธ์ ๓ โดยพระบาลีว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลผู้ถูกกระทบย่อมรู้สึก ย่อมจำได้ ย่อมคิด (ปรุงแต่ง) ดังนี้.

ในบทว่า วิญฺาณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์ ๓ ที่

สัมปยุตกับวิญญาณ โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลาย

พร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติ

ปฏิสนธิวิญญาณ. ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูป กับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์

ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม. นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัย

แห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กถ ปน ภนฺเต ความว่า ในที่นี้ (ภิกษุ) เมื่อถามวัฏฏะ

ว่า มีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สกิกายทิฏฺิ

น โหติ ความว่า เมื่อจะถามวิวัฏฏะนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยคำว่า นี้

เป็นความชอบใจในรูป นี้ตรัสปริญญาปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการกำหนด

รู้และทุกขสัจด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นโทษในรูป ดังนี้ ตรัสปหานปฏิเวธการ

แทงตลอดด้วยการละ และสมุทัยสัจ ด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นการสลัดออกในรูป

ดังนี้ ตรัสสัจฉิกิริยปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งและนิโรธสัจ.

ธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ในฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ นี้เป็นภาวนา

ปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยภาวนา และเป็นมรรคสัจ แม้ในบทที่เหลือทั้ง

หลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า พหิทฺธา คือในกายที่มีวิญญาณของผู้อื่น. ก็ด้วย บทว่า

สพฺพนิมิตฺเตสุ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาแม้สิ่งที่ไม่เนื่องกับอินทรีย์. อีกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

หนึ่ง ในคำว่า สวิญฺาเณ กาเย ดังนี้ ถือเอากายทั้งของตนและของคน

อื่นด้วยเหมือนกัน. และถือเอาสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ด้วยการถือเอานิมิต

ทุกอย่างในภายนอก.

บทว่า อนตฺตกตานิ (ที่อนัตตาทำ) ได้แก่ ตั้งอยู่ในอนัตตากระทำ.

บทว่า กตมตฺตาน ผุสิสฺสนฺติ ความว่า หยั่งลงสู่ความเห็นว่าเที่ยง

(สัสสตทิฏฐิ) ว่า ตั้งอยู่ในตน เช่นไรจึงแสดงผลดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺเยน คือมีตัณหาเป็นใหญ่. บทว่า ตตฺร ตตฺร ได้

แก่ ในธรรมทั้งหลายนั้นๆ. บทว่า สฏฺิมตฺตาน ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละ

กรรมฐานตามปกติเสียแล้ว พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทำลายบัลลังก์

บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามหาปุณณมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

๑๐. จูฬปุณณสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๑๓๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา

มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วัน

นั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ.

[๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่ง

เงียบโดยลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ

จะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษ

ว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า.

ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.

พ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษ

ว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่าง

อสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็น

อย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ

อสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี

โอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ.

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อยสัตบุรุษอย่าง

ไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่

มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร

เป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อ

อสัตบุรุษ.

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัต

บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิด

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ.

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ

อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเตองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ.

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ

อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ

เจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อย

คำอย่างอสัตบุรุษ.

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ

อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักพระพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้

แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ.

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัต-

บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้

แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผล

วิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี

คุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน

ชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย

ตนเอง ในโลกไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มี

ความเห็นอย่างอสัตบุรุษ.

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ

อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่

ด้วยมือของตน ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างส่ง ๆ เป็นผู้มีความ

เห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่า ย่อม

ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิคอย่างอสัต

บุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้

มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่าง

อสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน.

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น

สัตบุรุษหรือไม่หนอ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าผู้

นี้เป็นสัตบุรุษ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จัก

อสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า.

ภิ. รู้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษ

ว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั้นก็เป็นฐานะที่มีได้.

[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อม

ให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ

สัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ

มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร

คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มี

สุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ.

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ

อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้

อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ

อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนเอง รู้เพื่อไม่เบียด

เบียนผู้อื่น รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ.

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำ

พูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ.

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ

อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจาก

อทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ.

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ

อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมี

ผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี

ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะ

มี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้

โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ.

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่าง

ไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน

ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ มีความ

คิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ

อย่างนี้ มีการงานอย่างนี้ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัต

บุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความ

เป็นใหญ่ในมนุษย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

จบ เทวทหวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

อรรถกถาจูฬปุณณมสูตร

จูฬปุณณมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในจูฬปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตุณฺหีภูต

ได้แก่ เป็นผู้นิ่งเงียบ คือ นิ่งเงียบ ในทิศที่ทรงเหลียวดูไป. บทว่า อนุ-

วิโลเกตฺวา ความว่าทรงลืมพระเนตรอันประดับด้วยประสาทรูปทั้ง ๕ แล้ว

ทรงเหลียวดุทั่วทิศ ทรงเห็นความไม่มี แม้โดยชั้นที่สุด การคะนองมือและ

การคะนองเท้า. บทว่า อสปฺปุริโส ได้แก่ บุรุษชั่ว. บทว่า โน เหต

ภนฺเต ความว่า เหตุที่อสัตบุรุษนั้นย่อมไม่อาจรู้อสัตบุรุษนั้น เหมือนคน

ตาบอดไม่รู้คนตาบอด เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนั้น พึง

ทราบเนื้อความในฐานะทั้ง ๓ แม้เบื้องหน้าจากนี้ไป โดยนัยนี้นั่นแล. บทว่า

อสทฺธมฺมสมนฺนาคโต ได้แก่ คบหากับอสัตบุรุษ บทว่า อสปฺปุริสภตฺตี

ได้แก่ คบหากับอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสจินฺตี ได้แก่ คิดแล้วด้วยการ

คิดอย่างอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสมนฺตี ได้แก่ รู้อย่างอสัตบุรุษ. บทว่า

อสปฺปุริสวาโจ ได้แก่ พูดอย่างอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสกมฺมนโต

ได้แก่ ทำการงานอย่างอสัตบุรุษ บทว่า อสปฺปุริสทิฏฺี ได้แก่ประกอบ

ด้วยทิฏฐิของอสัตบุรุษ. บทว่า อสปฺปุริสทาน ได้แก่ทานที่ พวกอสัตบุรุษ

พึงให้. บทว่า ตฺยสฺส มิตฺตา ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นมิตร

ของอสัตบุรุษนั้น. บทว่า อตฺตพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อ

ต้องการความทุกข์แก่ตนอย่างนี้ว่า เราจักฆ่าสัตว์ เราจักถือเอาของที่เขาไม่ให้

เราจักประพฤติมิจฉาจาร เราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้วประพฤติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

บทว่า ปรพฺยาพาธาย เจเตติ ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่

ผู้อื่นอย่างนี้ว่า เราจักบังคับมันโดยประการที่คนโน้นฆ่าสัตว์ตัวโน้น ลักเอา

ของๆ คนโน้นที่เขาไม่ได้ให้ สมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ. บทว่า

อุภยพฺยาพาธาย ความว่า ย่อมคิดเพื่อต้องการความทุกข์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่าง

นี้ว่า เราจักพาคนโน้นและคนโน้นไปสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ.

ในบทว่า อตฺตพฺยาพาธายปิ มนฺเตติ ดังนี้เป็นต้น ความว่า เมื่อรู้ว่า

เราจักสมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตน

เมื่อรู้ว่า เราจัก (ชักชวน) คนโน้นสมาทานอกุศลกรรมบถ ประพฤติ ดังนี้

ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อรู้ว่าเรากับคนอื่นแม้ทั้งสอง ร่วมกัน

สมาทานอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตน

และคนอื่นทั้งสองฝ่าย.

บทว่า อสกฺกจฺจ ทาน เทติ ความว่า ย่อมไม่ทำความเคารพทั้ง

ไทยธรรมทั้งบุคคล. ให้อาหารที่ประกอบด้วยข้าวสารที่เสียๆ ไม่กระทำให้

สมบูรณ์ (คือทำไม่สะอาด) ชื่อว่า ไม่ทำความเคารพไทยธรรม. ไม่ปัดกวาด

ที่สำหรับนั่ง ให้นั่งไม่เลือกที่ วางตั้งตามมีตามเกิดให้ทาน ชื่อว่าไม่ทำความ

เคารพบุคคล. บทว่า สหตฺถา ได้แก่ ไม่ให้ด้วยมือของตน ใช้ทาสและ

กรรมกรเป็นต้นให้. บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา ความว่า ไม่ทำความยำเกรงทั้งใน

ไทยธรรมทั้งในบุคคล ให้ทานโดยนัยดังกล่าวข้างต้น. บทว่า อปฺปวิฏฺ

ความว่า เป็นผู้ต้องการทิ้งให้เหมือนยัดเหี้ยเข้าจอมปลวก. บทว่า อนาคมน-

ทิฏฺิโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่หวังผลให้. บทว่า ตตฺถ อุปฺปชฺชติ ความว่า

ให้ทานแล้วย่อมไม่เกิดในนรก. ก็ความเห็นผิดอันใด ที่อสัตบุรุษนั้นถือเอา

เพราะความเป็นผู้มีลัทธิชั่ว ย่อมเกิดในนรกด้วยความเห็นผิดอันนั้น พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ธรรมฝ่ายขาวโดยปฏิปักขนัย (นัยฝ่ายตรงกันข้าม) ดังกล่าวแล้ว. บทว่า

เทวมหตฺตตา ได้แก่ เทวดาชั้นกามาวจร ๖. บทว่า มนุสฺสมหตฺตตา

ได้แก่ สมบัติแห่งตระกูลทั้ง ๓ (กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี) คำที่เหลือใน

ที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้น. ก็พระสูตรนี้ตรัสเนื่องด้วยวัฏฏะล้วนๆ แล.

จบ อรรถกถาจูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ปัญจัตตยสูตร ๓. กินติสูตร ๔. สามคาม-

สูตร ๕. สุนักขัตตสูตร ๖. อาเนญชสัปปายสูตร ๗.คณกโมคคัลลานสูตร

๘ โคปกโมคคัลลานสูตร ๙. มหาปุณณมสูตร ๑๐. จูฬปุณณมสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

อนุปทวรรค

๑. อนุปทสูตร

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสารีบุตร

[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง

มีปัญญาว่องไว มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาคม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารี-

บุตร เห็นแจ้งธรรม ตามลำดับบทได้ชั่วครึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตาม

ลำดับบทของพระสารีบุตรนั้น มีดังต่อไปนี้.

ธรรมในปฐมฌาน

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในข้อนี้ สารีบุตรสงัดจากกามทีเดียว

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้า ปฐมฌาน มี วิตก มี วิจาร มี ปีติ และ สุข

เกิดแต่วิเวกอยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา-

จิต ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ

สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้แล้ว ตามลำดับบท ธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

เหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป เธอ

รู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่าธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้

เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในธรรมเหล่านั้น

หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอ

รู้ชัดว่า คุณวิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ เธอ

ยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นยังมีอยู่. เพราะ

กระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในทุติยฌาน

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตรเข้า

ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ

ระงับ วิตก วิจาร ไม่มี วิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ ปีติ สุข เกิดแต่

สมาธิ อยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน ทุติยฌาน คือ ความผ่องใสแห่งจิต

ในภายใน ปีติ สุข เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา

วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน

สารีบุตรกำหนดได้แล้วตามลำดับบท ธรรมเหล่านั้นเป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว

ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป. เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่าธรรมที่ยัง

ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไปอย่างนี้ เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่

ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไป

ได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็น

เหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ และ เธอยังมีความเห็น

ต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ธรรมในตติยฌาน

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตร

เป็นผู้วางเฉย เพราะปีติคลายไป มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนาม-

กาย ซึ่งพระอริยเจ้า เรียกว่า เป็นผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข เข้าตติย-

ฌานอยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน ตติยฌาน คือ อุเบกขา สุข สติ สัมป-

ชัญญะ เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ

ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตร

กำหนดได้แล้ว ตามลำดับบท ธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิด

ขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป. เธอรู้ชัคอย่างนี้ว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา

ย่อมมี ที่มีแล้วก็เสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิ

อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูก

ทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป

(จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ (และ) เธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรม

เป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในจตุตถฌาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) สารีบุตรเข้า

จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้แล้ว และดับ โสม-

นัสโทมนัส ก่อนๆ ได้แล้ว มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรม

ทั้งหลายในจตุตถฌานคือ อุเบกขาอทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึง

ถึงแห่งใจเพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ เอกัคคาตาจิต ผัสสะ

เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ

อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้แล้ว ตามลำดับบท ธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

เหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และถึงความดับไป เธอรู้

ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เราย่อมมี ที่มีแล้วก็เสื่อมสิ้นไป อย่าง

นี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรม

เหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดน

แล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไป ยัง

มีอยู่ และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะ

กระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น

ธรรมในอากาสานัญจายตนฌาน

[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากา-

สานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงเลยรูปสัญญา

ไป โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ (และ) เพราะไม่มนสิการ

ถึง นานัตตสัญญา ก็ธรรมทั้งหลายใน อากาสานัญจายตนฌาน คือ

อากาสานัญจายตนสัญญ า เอกัคคตาจิต ผัสสะ เวทนา สัญญา

เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ

เป็นอันพระสารีบุตรกำหนดแล้ว ตามลำดับบท ธรรมเหล่านั้นเป็นอันสารีบุตร

รู้แจ้งแล้วทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า

ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่

ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้น

แล้วพรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ เธอรู้ชัดว่า

คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมี

ความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกไป ยังมีอยู่ เพราะกระทำความ

รู้นั้นให้มากขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตร

ล่วงเลย อากาสานัญจายตนฌาน ไป โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญา-

ณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่. ก็ธรรมทั้งหลาย

ใน วิญญาณัญจาตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตฌาน เอกัคคตาจิต

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ

สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้แล้วตามลำดับบท

ธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป.

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป

อย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่คิดใจใน

ธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขต

แดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้น

ไปอีกยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกยัง

มีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตร

ล่วงเลยวิญญาณัญจายตนฌานไป โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญาย-

ตนฌาน ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักหน่อยหนึ่ง อยู่. ก็ธรรมทั้งหลายใน

อากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตนฌาน เอกัคคตาจิต

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ

สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้แล้วตามลำดับบท

ธรรมเหล่านั้นที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับไป.

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า นัยว่า ธรรมที่ยังไม่มีย่อมมีแก่เรา ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

อย่างนี้. เธอไม่ยินดี. ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจใน

ธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขต

แดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้น

ไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไปว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก

ยังมีอยู่. เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

ธรรมในเนวสญัญานาสัญญายตนฌาน

[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตร

ล่วงเลย อากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญา

นาสัญญายตนฌาน อยู่. เธอเป็นผู้มีสติ ออกจากสมาบัตินั้น. ครั้นแล้ว

เธอพิจารณาเห็นธรรม ที่เป็นอดีตดับไปแล้ว เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ว่า นัยว่า

ธรรมที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป อย่างนี้. เธอไม่ยินดี

ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้น

แล้วพรากไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่า

คุณพิเศษเป็นเหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่ (และ) เธอ

ยังมีความเห็นต่อไปว่าธรรมเครื่องสลัดออกยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้

มากขึ้น.

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สารีบุตร

ล่วงเลย เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ไปโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ อยู่. อาสวะทั้งหลายของเธอ เป็นอันสิ้นไปแล้ว เพราะ

เห็นแม้ด้วยปัญญา. เธอมีสติ ออกจากสมาบัตินั้น. ครั้นแล้ว ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมที่เป็นอดีต ที่ดับไปแล้ว ที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ว่า นัยว่า ธรรม

ที่ยังไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไปอย่างนี้. เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ไม่ถูกตัณหาทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจในธรรมเหล่านั้น หลุดพ้นแล้ว พราก

ไปได้แล้ว มีใจที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่. เธอรู้ชัดว่าคุณพิเศษเป็น

เหตุสลัดออกไป (จากภพ) ยิ่งขึ้นไปอีก ยังมีอยู่. และเธอยังมีความเห็นต่อไป

ว่า ธรรมเป็นเครื่องสลัดออก ยังมีอยู่ เพราะกระทำความรู้นั้นให้มากขึ้น.

พระสารีบุตรเป็นผู้ชำนาญ

[๑๖๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า

เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงบารมี (คุณธรรมให้ถึงความสำเร็จ) ในอริยศีล

ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ ภิกษุรูปนั้น คือสารีบุตร

นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชม ว่าเป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงบารมี ใน

อริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ในอริยวิมุตติ.

พระสารีบุตรเป็นพระชิโนรส

[๑๖๕า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า

เป็นพุทธชิโนรส เกิดจากพระโอฐของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่ธรรม

เป็นผู้อันธรรมเนรมิตขึ้น เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่อามิสทายาท ภิกษุรูป

นั้น ก็คือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวโดยชอบ พึงกล่าวชมว่าเป็นพุทธชิโนรส

เกิดจากพระโอฐของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่ธรรม เป็นผู้อันธรรม-

เนรมิตขึ้น เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่อามิสทายาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตร ประกาศธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว

ไปตามลำดับโดยชอบทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น

ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ อนุปทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

อรรถกถาอนุปทสูตร

อนุปทสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในอนุปทสูตรนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ตรัสถ้อยคำสรรเสริญคุณของพระ

ธรรมเสนาบดีสารีบุตรโดยนัยว่า เป็นบัณฑิต เป็นต้นนี้.

ตรัสเพราะเหตุไร ?

เพราะ บรรดาพระเถระที่เหลือทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะปรากฏ

คุณความดีว่า มีฤทธิ์, พระมหากัสสปะ ปรากฏคุณความดีว่า ธุตวาทะ (ผู้กล่าว

ธุดงค์) พระอนุรุทธเถระ ปรากฏคุณความดีว่ามีทิพยจักษุ พระอุบาลีเถระ

ปรากฏคุณความดีว่าเป็นวินัยธร. พระเรวตเถระ ปรากฏคุณความดีว่า เป็นผู้

ยินดีในฌาน พระอานันทเถระ ปรากฏคุณความดีว่าเป็นพหูสูต, พระเถระ

ทั้งหลายนั้นๆ ปรากฏคุณงามความดีนั้น ๆ อย่างนี้ ดังพรรณนามานี้. แต่ว่า

คุณความดีของพระสารีบุตรเถระยังไม่ปรากฏ.

เพราะเหตุไร ?

เพราะคุณความดีทั้งหลายของพระเถระผู้มีปัญญา ใครไม่อาจรู้ เพราะ

ไม่ได้กล่าวไว้. เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า

เราจักบอกคุณความดีทั้งหลายของพระสารีบุตร จึงทรงรอให้บริษัทที่เป็นสภาค

กันประชุม. การกล่าวคุณในสำนักของบุคคลผู้เป็นวิสภาคกัน ย่อมไม่ควรแล.

คนที่เป็นวิสภาคกันเมื่อใครๆ กล่าวสรรเสริญ (เขา) ก็จะกล่าวตำหนิอย่าง

เดียว. ก็ในวันนั้น บริษัทที่เป็นสภาคกันกับพระเถระประชุมกัน. ครั้นทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

เห็นว่าบริษัทนั้นประชุมกันแล้ว เมื่อจะตรัสสรรเสริญตามความเป็นจริง จึง

ทรงเริ่มพระเทศนานี้.

เหตุให้เป็นบัณฑิต

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ เป็นบัณฑิตด้วยเหตุ

๔ ประการเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ

ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท (และ) ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ

อฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้ และเป็นไปไม่ได้).

ในบทว่า มหาปณฺโ เป็นต้น มีอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วย

ปัญญามาก. ในข้อนั้น ความต่างกันแห่งปัญญามากเป็นต้น มีดังต่อไปนี้.

ปัญญามาก

บรรดา ปัญญามาก เป็นต้นเหล่านั้น ปัญญามากเป็นไฉน ?

ชื่อว่า ปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือศีลมาก. ชื่อว่า

ปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาคุณคือสมาธิ คุณคือปัญญา คุณคือวิมุตติ

คุณคือวิมุตติญาณทัสสนะมาก. ชื่อว่ามีปัญญามาก เพราะกำหนดถือเอาฐานะ

และอฐานะมาก สมาบัติเป็นเครื่องอยู่มาก อริยสัจมาก สติปัฏฐาน

สัมมัปปธาน อิทธิบาทมาก อินทรีย์ พละ โพชฌงค์มาก อริยมรรคมาก

สามัญญผลมาก อภิญญามาก นิพพานอันเป็นปรมัตถ์มาก.

ปัญญากว้าง

ปัญญากว้างเป็นไฉน ?

ชื่อว่า ปัญญากว้าง เพราะญาณ (ปัญญา) กว้างเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ.

ชื่อว่าปัญญากว้าง เพราะญาณเป็นไปในธาตุต่าง ๆกว้าง ในอายตนะต่างๆกว้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆกว้าง ในการได้สุญญตาต่าง ๆ กว้าง ในอรรถ ธรรม

นิรุตติ ปฏิภาณต่าง ๆกว้าง ในคุณคือศีลต่างๆกว้าง ในคุณคือสมาธิ ปัญญา

วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะต่างๆกว้าง ในฐานะและมิใช่ฐานะต่างๆกว้าง

ในสมาบัติเครื่องอยู่ต่าง ๆ กว้าง ในอริยสัจต่างๆกว้าง ในสติปัฏฐานต่างๆ

กว้าง ในสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่าง ๆกว้าง ใน

อริยมรรค สามัญผล อภิญญาต่างๆกว้าง ในนิพพานอันเป็นปรมัตถ์

ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่างๆกว้าง.

ปัญญาร่าเริง

ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน ?

ชื่อว่าปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้มากด้วยความร่าเริง

มากด้วยความรู้ มากด้วยความยินดี มากด้วยความปราโมทย์ บำเพ็ญศีลบำเพ็ญ

อินทรีย์สังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์

ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะ

เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ รู้แจ้งฐานะและมิใช่ฐานะ. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง

เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริงบำเพ็ญสมาบัติเป็นเครื่องอยู่ให้บริบูรณ์ เป็นผู้

มากด้วยความร่าเริงแทงตลอดอริยสัจ. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะยังสติปัฎ-

ฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค ให้เจริญ.

เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ทำให้แจ้งสามัญผล. ชื่อว่า มีปัญญาร่าเริง เพราะ

แทงตลอดอภิญญาทั้งหลาย. ชื่อว่ามีปัญญาร่าเริง เพราะเป็นผู้มากด้วยความ

ร่าเริง มากด้วยความรู้ ความยินดีและความปราโมทย์ กระทำให้แจ้งพระ-

นิพพานอันเป็นปรมัตถ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ปัญญาว่องไว

ปัญญาว่องไวเป็นไฉน ?

ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็ว ยังรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็น

อดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ หรือรูปอยู่ในที่ใกล้ทั้งหมด โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วโดยความเป็น

ทุกข์. ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปสู่เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ

สู่วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งมวล

โดยความเป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อ

ว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วยังจักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ ที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เท่ยง โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า ปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในนิพ-

พาน อันเป็นที่ดับรูป เพราะใคร่ครวญพิจารณาทำให้แจ้ง ทำให้เด่นชัดว่า

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่าสิ้นไป

ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า น่ากลัว ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่

มีแก่นสาร. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็นที่ดับ

ชรามรณะ โดยทำให้แจ้งชัดว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ

ชรา มรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถ

ว่าสิ้นไป ฯลฯ. ชื่อว่าปัญญาว่องไว เพราะแล่นไปเร็วในพระนิพพานอันเป็น

ที่ดับชรา มรณะ โดยใคร่ครวญ พิจารณา ทำให้แจ้ง ทำให้เด่นชัดว่า รูป

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรา มรณะ ไม่

เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความ

สิ้นไปเป็นธรรมดา มีความคลายกำหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ปัญญาคม

ปัญญาคมเป็นไฉน ?

ชื่อว่าปัญญาคม เพราะตัดกิเลสได้เร็ว. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะไม่ให้

กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ที่ให้เกิดขึ้นแล้ว อาศัยอยู่ ไม่ให้อกุศล.

ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่ให้ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ

อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ

อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรม

อันนำไปสู่ภพทั้งปวง อาศัยอยู่ คือละ ได้แก่ บรรเทา หมายความว่า ทำ

ให้มีที่สุด ให้ถึงความไม่มี. ชื่อว่าปัญญาคม เพราะอริยมรรค ๔ สามัญ-

ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ ย่อมเป็นอันบุคคลนี้บรรลุแล้ว คือ

ทำให้แจ้งแล้ว ได้แก่ ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในอาสนะเดียว.

ปัญญาหลักแหลม

ปัญญาหลักแหลม เป็นไฉน ?

ชื่อว่า ผู้มีปัญญาหลักแหลม เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้

มากด้วยความหวาดเสียว มากด้วยความสะดุ้ง มากไปด้วยความรำคาญ มากไป

ด้วยความไม่ยินดี มากไปด้วยความไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งปวง เมินหน้าไม่

ยินดีในสังขารทั้งปวง ย่อมเจาะ คือทำลายกองโลภะที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลาย

มาก่อน. ชื่อว่าผู้มีปัญญาหลักแหลม เพราะเจาะ. คือทำลาย กองโทสะ

กองโมหะ โกธะ. อุปนาหะ ฯลฯ กรรมที่จะให้ไปสู่ภพทั้งหมด ที่ยังไม่เคย

ทำลายมาก่อน.

อุปมาพระอัครสาวกบรรลุธรรม

บทว่า อนุปทธมฺมวิปสฺสน ความว่า เห็นแจ้งวิปัสสนาในธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ตามลำดับ ๆด้วยสามารถแห่งสมาบัติ หรือองค์ฌาน. เมื่อเห็นแจ้งอยู่อย่างนี้ จึง

บรรลุพระอรหัต โดย (ในเวลา) กึ่งเดือน.. ส่วนพระมหาโมคคัลลานะบรรลุ

พระอรหัตโดย (เวลาล่วงไป) ๗ วัน. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระสารีบุตรก็เป็น

ผู้มีปัญญามากกว่า. แท้จริง พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อพิจารณาธรรมที่

จะต้องท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณสำหรับพระสาวกทั้งหลาย เพียงเอกเทศ

เท่านั้นเหมือนเอาปลายไม้เท้าจี้ พยายามถึง ๗ วัน จึงบรรลุพระอรหัต.

(ส่วน) พระสารีบุตรเถระ พิจารณาธรรมที่จะต้องท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสน-

ญาณ สำหรับสาวกทั้งหลายอย่างสิ้นเชิง เว้นไว้แต่ที่จะท่องเที่ยวไปด้วยสัมม-

สนญาณ สำหรับพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า. ท่านพิจารณาเห็นอยู่

อย่างนี้ ได้พยายามแล้วถึงครึ่งเดือน. ก็ว่ากันว่า ครั้นท่านบรรลุพระอรหัต

แล้วได้รู้ว่า เว้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเสีย ชื่อว่า

พระสาวกอื่น ชื่อว่าสามารถบรรลุสิ่งที่เราพึงบรรลุด้วยปัญญา จักไม่มี. เหมือน

อย่างว่า บุรุษคิดว่า จักเอาลำไม้ไผ่ ครั้นเห็นไผ่ มีชัฏ (เรียวหนาม) มาก

ก็คิดว่า เมื่อถางเรียวหนาม จักชักช้า (เสียเวลา) จึงสอดมือเข้าไปตามช่อง

ตัดเอาลำไม้ไผ่ที่พอจับถึงที่โคนและที่ปลาย ถือเอาได้แล้วก็หลีกไป บุรุษนั้น

ไปได้ก่อนกว่า (ใคร) ก็จริง แต่ไม่ได้ลำไม่ไผ่ที่แก่ หรือตรง. ส่วนคนอื่น

เห็นไม้ไผ่ดังนั้นเหมือนกัน คิดว่าถ้าจะถือเอาลำไผ่ที่พอจับถึง ก็จักไม่ได้ลำไผ่

ที่แก่หรือตรง จึงนุ่งหยักรั้ง แล้วเอามีดใหญ่ถางหนามไผ่ออก เลือกเอาลำทั้ง

แก่ ทั้งตรงแล้วไป บุรุษผู้นี้ไปถึงทีหลังก็จริง แต่ก็ได้ลำไผ่ทั้งแก่ทั้งตรง

ฉันใด พึงทราบข้อเปรียบเทียบนี้เหมือนกับการท่องเที่ยวไปด้วยสัมมสนญาณ

ของพระเถระทั้งสองเหล่านี้.

ก็พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ครั้นพยายามอยู่ถึงครึ่งเดือนอย่าง

นี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนขปริพาชก

๑. พม่าเป็น ปธาน ความเพียร

๒. ม.ม. ๑๓/ ๒๖๓ ทีฆนขสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ผู้เป็นหลาน ณ ที่ใกล้ประตูถ้ำสูกรขาตา ยืนพัดพระทศพลอยู่ ส่งญาณไปตาม

แนวพระธรรมเทศนา ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณในวันที่ ๑๕ จำเดิมตั้งแต่

วันบวช แทงตลอดญาณ ๖๗ ประการ ถึงปัญญา ๑๖ อย่างโดยลำดับ.

บทว่า ตตฺรีท ภิกฺขเว สารีปุตฺตสฺส อนุปทธมฺมวิปสฺสนาย

ความว่า ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับนั้น ข้อนสำหรับพระสารีบุตร. คำนี้ตรัสหมาย

เอาส่วนแห่งวิปัสสนานั้น ๆ ที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

บทว่า ปเม ฌาเน ได้แก่ ธรรมเหล่าใดในปฐมฌาน คือในภาย

ในสมาบัติ.

บทว่า ตฺยสฺส แยกเป็น เต อสฺส แปลว่า ธรรมเหล่านั้นเป็น

อันสารีบุตรนี้ (กำหนดได้แล้วตามลำดับบท).

บทว่า อนุปทววตฺถิตา โหนฺติ ความว่า เป็นอันกำหนดได้แล้วคือ

กำหนดตัดได้แล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว ตามลำดับ คือโดยลำดับ ๆ

ถามว่า พระเถระรู้ธรรมเหล่านั้นได้อย่างไร

ตอบว่า พระเถระตรวจดูธรรมเหล่านั้นแล้วรู้ว่า วิตกมีการยกจิตขึ้น

เป็นลักษณะ เป็นไป. อนึ่ง รู้ว่า วิจารมีการเคล้าอารมณ์เป็นลักษณะ ปีติมี

การซาบซ่านไปเป็นลักษณะ สุขมีความสำราญเป็นลักษณะ เอกัคคตาจิตมี

ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ ผัสสะมีการถูกต้องเป็นลักษณะ เวทนามีการเสวย

อารมณ์เป็นลักษณะ. สัญญามีการจำได้เป็นลักษณะ เจตนามีความจงใจเป็น

ลักษณะ. วิญญาณมีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ ฉันทะมีความประสงค์จะทำเป็น

ลักษณะ อธิโมกข์มีการน้อมใจเชื่อเป็นลักษณะ วิริยะมีการประคองจิตไว้เป็น

ลักษณะ สติมีการปรากฏเป็นลักษณะ อุเบกขามีความเป็นกลางเป็นลักษณะ

มนสิการมีการใส่ใจด้วยความยินดีเป็นลักษณะเป็นไป. พระสารีบุตรเมื่อรู้อยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

อย่างนี้ ย่อมกำหนดวิตกตามสภาวะเพราะอรรถว่า ยกจิตขึ้น ฯลฯ ย่อมกำหนด

มนสิการโดยความยินดี ตามสภาวะ ด้วยเหตุนั้น จึงได้ตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น

ย่อมเป็นอันพระสารีบุตรนั้น กำหนดได้แล้วโดยลำดับบท

บทว่า วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า เมื่อเกิดขึ้น ก็เป็นอันรู้

แจ้ง คือเป็นธรรมปรากฏชัดเกิดขึ้น.

บทว่า วิทิตา อุปฏฺหนฺติ ความว่า แม้ทั้งอยู่ก็เป็นอันรู้แจ้ง คือ

เป็นธรรมปรากฏชัดตั้งอยู่.

บทว่า วิทิตา อพฺภตฺถ คจฺฉนฺติ ความว่า แม้ดับไปก็เป็นอัน

รู้แจ้ง คือเป็นธรรมปรากฏชัดดับไป.

ก็ในข้อนี้ ต้องปล่อยวางความเป็นผู้มีญาณอันนั้น และความเป็นผู้

มากด้วยญาณ (จิต) เหมือนอย่างว่าใครๆ ไม่อาจถูกต้องปลายนิ้วมือนั้น ด้วย

ปลายนิ้วมือนิ้วนั้นนั่นแหละได้ ฉันใด พระโยคีก็ไม่อาจรู้ความเกิดขึ้นหรือความ

ตั้งอยู่ หรือความดับไปของจิตดวงนั้น ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแหละได้ฉันนั้น

เหมือนกัน ต้องปล่อยวางความเป็นผู้มีญาณนั้นก่อน ด้วยประการดังกล่าวมา.

ก็ถ้าจิต ๒ ดวง เกิดร่วมกัน ใคร ๆ ไม่พึงอาจรู้ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่

หรือความดับไป ของจิตดวงหนึ่งด้วยจิตดวงหนึ่งได้ อนึ่ง ผัสสะ เวทนา

สัญญา เจตนา หรือจิต ชื่อว่าเกิดร่วมกัน ๒ ดวงย่อมไม่มี ย่อมเกิดขึ้น

คราวละดวง ๆ เท่านั้น ต้องปล่อยวางภาวะที่จิต (เกิดร่วมกัน) มากดวงออกไป

เสียอย่างนี้.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ธรรม ๑๖ ประการในภายในสมาบัติย่อม

เป็นของแจ่มแจ้งปรากฏแก่พระมหาเถระได้อย่างไร ?

ตอบว่า พระมหาเถระกำหนดเอาวัตถุและอารมณ์. เพราะวัตถุและ

อารมณ์พระเถระท่านกำหนดได้ด้วยเหตุนั้น เมื่อท่านนึกถึงความเกิดขึ้นของ

ธรรมเหล่านั้น ความเกิดย่อมปรากฏ เมื่อนึกถึงความตั้งอยู่ ความตั้งอยู่ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ปรากฏ เมื่อนึกถึงความดับ ความดับย่อมปรากฏ เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า

วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ วิทิตา อุปฏฺหนฺติ วิทิตา อพฺภตฺถ คจฺฉนฺติ

(อันสารีบุตรผู้รู้แจ้งแล้วทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ถึงความดับไป) ด้วยคำว่า

อหุตฺวา สมฺโภนฺติ นี้ พระเถระเห็นความเกิดขึ้น. ด้วยคำว่า หุตฺวา

ปฏิเวนฺติ นี้ ท่านเห็นความเสื่อมไป.

บทว่า อนุปาโย ได้แก่ ไม่เข้าถึงด้วยอำนาจราคะ.

บทว่า อนปาโย ได้แก่ ไม่เข้าถึงด้วยอำนาจปฏิฆะ.

บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ อันตัณหานิสัย และทิฏฐินิสัย อาศัยอยู่

ไม่ได้.

บทว่า อุปฺปฏิพทฺโธ ได้แก่ ไม่ถูกฉันทราคะผูกพัน.

บทว่า วุปฺปมุตฺโต ได้แก่ หลุดพ้นจากกามราคะ.

บทว่า วิสยุตฺโต ได้แก่ พรากจากโยคะ ๔ หรือกิเลสทั้งปวง.

บทว่า วิมริยาทิกเตน คือทำไม่ให้มีเขตแดน.

บทว่า เจตสา คือ อยู่ด้วยจิตอย่างนั้น.

เขตแดนในคำว่า วิมริยาทิกเตน นั้นมี ๒ อย่าง คือเขตแดน คือ

กิเลส และเขตแดนคืออารมณ์. ก็ถ้าพระเถระนั้น ปรารภธรรม ๑๖ ประ-

การ อันเป็นไปในภายในสมาบัติ เกิดกิเลสมีราคะ เป็นต้น การเกิดกิเลสขึ้น

นั้น พึงมีด้วยเขตแดนคือกิเลส. แต่ในบรรดาธรรม ๑๖ เหล่านั้น แม้ข้อหนึ่ง

ก็ไม่เกิดแก่พระเถระนั้น เพราะเหตุนั้น เขตแดนคือกิเลสย่อมไม่มี เขตแดน

คืออารมณ์ก็ไม่มี. ก็ถ้าพระเถระนั้นนึกถึงธรรม ๑๖ ประการอันเป็นไปในภาย

ในสมาบัติ ธรรมบางข้อพึงมาตามครรลอง เนื้อเป็นอย่างนั้น เขตแดน คือ

อารมณ์ก็จะพึงมีแก่พระเถระนั้น ก็เมื่อพระเถระนั้นนึกถึงธรรม ๑๖ ประการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

เหล่านั้น ชื่อว่าธรรมที่จะไม่มาตามครรลอง ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น แม้

เขตแดนคืออารมณ์ก็ย่อมไม่มี.

เขตแดน ๒ อย่าง ประการอื่นอีก คือ เขตแดน คือ วิกขัมภนะ

(การข่มไว้) และเขตแดนคือ สมุจเฉท (การตัดขาด). ใน ๒ อย่างนั้น เขต

แดนคือ สมุจเฉท จักมีข้างหน้า. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาเขตแดนคือวิกขัม-

ภนะ เพราะพระเถระนั้นข่มข้าศึกได้แล้ว เขตแดนคือการข่มจึงไม่มี เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงอยู่ด้วยใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน.

บทว่า อุตฺตรินิสฺสรณ ได้แก่ เป็นเครื่องสลัดออกอันยิ่งไปกว่า

นั้น. ก็ในพระสูตรทั้งหลายอื่นๆ ท่านกล่าวพระนิพพานว่า เป็นเครื่องสลัด

ออกอันยิ่ง. แต่ในสูตรนี้พึงทราบว่า ประสงค์เอาคุณวิเศษอย่างยอดเยี่ยม.

บทว่า ตพฺพหุลีการา ได้แก่ เพราะทำความรู้นั้นให้มาก.

บทว่า อตฺถิ เตฺววสฺส โหติ ความว่า พระเถระนั้นย่อมมีความ

รู้นั้น นั่นแล มั่นคงยิ่งขึ้นอีกว่า ธรรมเครื่องสลัดออกที่ยิ่งขึ้นไป ยังมีอยู่.

แม้ในวาระที่เหลือก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.

ส่วนในวาระที่ ๒ ชื่อว่า ความผ่องใส เพราะอรรถว่า แจ่มใส.

พระสารีบุตรย่อมกำหนดธรรมเหล่านั้น ได้โดยสภาพ.

ในวาระที่ ๔ บทว่า อุเปกฺขา ได้แก่ อุเบกขาเวทนานั่นแล ใน

ฐานะที่เป็นสุข (เวทนา) บทว่า ปสิทฺธตฺตา (ปริสุทฺธตฺตา) เจตโส

อนาโภโค ความว่า ความสุขนี้ ท่านกล่าวว่าหยาบ เพราะมีการผูกใจไว้

ว่าในฌานนั้น ความสุขใดยังมีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสถึงการไม่ผูกใจไว้ เพราะความเป็นผู้มีสติบริสุทธิ์อย่างนี้. อธิบายว่า

เพราะไม่มีความสุขอย่างหยาบนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

บทว่า สติปาริสุทฺธิ คือ สติบริสุทธิ์นั่นแหละ. แม้อุเบกขาก็ชื่อ

ว่า อุเบกขาบริสุทธิ์.

บทว่า สโต วุฏฺหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติ คือ รู้

ด้วยญาณ ย่อมออก (จากฌาน).

บทว่า เต ธมฺเม สมนุปสฺสติ ความว่า เพราะในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌาน การเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทย่อมมีได้ เฉพาะพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายเท่านั้น สำหรับพระสาวกทั้งหลายย่อมมีไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อ

จะทรงแสดงวิปัสสนากลาป (การเห็นแจ้งเป็นหมวดเป็นหมู่) ในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌานนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปญฺาย จสฺส ทสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ

ความว่า เพราะเห็นสัจจะ ๔ ด้วยมรรคปัญญา อาสวะทั้ง ๔ ย่อมเป็นอันสิ้น

ไป. พระสารีบุตรเถระมีทั้งวาระบรรลุพระอรหัต ทั้งวาระเข้านิโรธสมาบัติ

เพราะนำเอาสมถะและวิปัสสนามาเจริญควบคู่กันไป. ในที่นี้ พระองค์ทรง

ถือเอาแต่วาระที่บรรลุพระอรหัต. บางท่านกล่าวว่า พระสารีบุตรเถระเข้า

นิโรธ แล้วๆ เล่าๆ ด้วยความชำนาญแห่งจิต.

ในวาระทั้งสองนั้น ท่านมีปกติเข้านิโรธสมาบัติในกาลใด ในกาล

นั้น วาระแห่งนิโรธย่อมมา ผลสมาบัติเป็นอันเก็บซ่อนไว้ ในกาลใด เข้าผล

สมาบัติเป็นปกติ ในกาลนั้น วาระของผลสมาบัติก็มา นิโรธสมาบัติเป็น

อันเก็บซ่อนไว้. ส่วนพระเถระชาวชมพูทวีปกล่าวว่า แม้พระสารีบุตรเถระก็นำ

เอาสมถะและวิปัสสนาทั้งคู่มา (บำเพ็ญ) ทำให้แจ้งอนาคามิผลแล้ว จึงเข้า

นิโรธสมาบัติ ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ รูปธรรมที่เกิดแต่สมุฏฐาน ๓ อันเป็นไป

ในภายในสมาบัติ หรือธรรมอันเป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติข้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ต้น. เพราะแม้ธรรมเหล่านั้น ก็เป็นธรรมที่จะต้องพิจารณาเห็นแจ้งในวาระ

นี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ตรัสคำนี้ เพื่อแสดงว่าพระสารีบุตรเถระ

ย่อมเห็นแจ้งธรรมเหล่านั้น.

บทว่า วสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ถึงความเป็นผู้ชำนาญคล่องแคล่ว.

บทว่า ปารมิปฺปตฺโต คือ เป็นผู้ถึงความสำเร็จ.

ในบทว่า โอรโส เป็นต้น ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะเกิด โดยฟัง

พระสุรเสียงอันเกิดในพระอุระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เกิดแต่พระโอฐ

เพราะเกิดโดยได้สดับ พระสุรเสียงอันเกิดแต่พระโอฐ

อนึ่ง พึงทราบว่า ชื่อว่าเกิดแต่ธรรม เพราะเป็นผู้เกิดโดยธรรม

และพึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรมเนรมิต เพราะธรรมเนรมิตขึ้น พึงทราบว่า

ชื่อว่า เป็นทายาททางธรรม เพราะถือเอาส่วนแบ่งคือ ธรรม พึงทราบว่า

ไม่ใช่ทายาททางอามิส เพราะไม่ได้ถือส่วนแบ่งคืออามิส. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอนุปสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๒. ฉวิโสธนสูตร

หลักการตรวจสอบจิตที่พ้นจากอาสวะ

[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน

อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีสมัยนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระดำรัสแล้ว.

โวหาร ๔

[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้ ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พยากรณ์อรหัตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

นี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ไม่ควรชมเชย ไม่ควรคัดค้าน

คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว. ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าตรัสโวหารไว้ ๔ อย่างเหล่านั้น โดยชอบ, ๔ อย่างคืออะไร? คือ

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นแล้ว ว่าได้เห็นแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินแล้ว ว่าได้ยินแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ทราบแล้ว ว่าได้ทราบแล้ว ๑

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้รู้แล้ว ว่าได้รู้แล้ว ๑

นี้แล โวหาร ๔ อย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

เห็น เป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่าน

รู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นใน

โวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.

การพยากรณ์อรหัตผลที่พระพุทธเจ้ารับรอง

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์

แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมี

ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี

ไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้เห็นแล้ว หลุด

พ้นแล้ว พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ข้าพเจ้า

จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย .... ในสิ่งที่ได้ยินแล้วแล... ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี ไม่

ยินร้าย... ในสิ่งที่ได้ทราบแล้วแล... ข้าพเจ้า จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่

ถูก ตัณหา และ ทิฏฐิ อาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้รู้แล้วแล หลุดพ้นแล้ว

พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่ ดูก่อนท่านผู้มี

อายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้ง

หลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุนั้น เธอทั้งหลายควรชมเชย

ควรอนุโมทนา ว่า สาธุ. ครั้นแล้วก็ควรถามปัญหาสูงขึ้นไปอีกว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้

ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว ๕ ประการ

๕ ประการคืออะไร คือ:-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

อุปาทานขันธ์ คือ รูป ๑

อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา ๑

อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา ๑

อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร ๑

อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ ๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้โดยชอบแล้ว.

ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะ

ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้ .

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรม

อันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแล

ว่าไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเรา

หลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะ

สลัดทิ้งซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจ และ

ความยึดมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า.. ข้าพเจ้ารู้แจ้ง

สัญญาแล้วแลว่า . . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า . . ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณ

แล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า

จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ

เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่น วิญญาณ และ อนุสัย

คือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของ

ข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าว

แล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถาม

ปัญหาให้ยิ่งในรูปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส ธาตุ ไว้

๖ อย่างโดยชอบ ธาตุ ๖ อย่าง คืออะไร คือ ปฐวีธาตุ ๑. อาโปธาตุ ๑.

เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาสธาตุ ๑ วิญาณธาตุ ๑ ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้

ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต

ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ

ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ เหล่านี้.

[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน

แล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ จึงมีธรรม

อันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าถึง ปฐวีธาตุ

แล โดยความเป็นอนัตตา และไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัย ปฐวีธาตุ และ

ทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ

เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่ง อุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัย ปฐวีธาตุ

และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมัน (ในปฐวีธาตุ). ข้าพเจ้าเข้าถึง

อาโปธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง เตโชธาตุ แล

โดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง วาโยธาตุ แล โดยความเป็น

อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง อากาสธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา....

ข้าพเจ้าเข้าถึง วิญญาณธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา ไม่ได้เข้าถึง

อัตตา อาศัย วิญญาณธาตุ และรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

สิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่ง อุปาทานขันธ์

ทั้งหลายที่ยึดมั่น อันอาศัย วิญญาณธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และ

ความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่

อย่างนี้แล พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในธาตุ ๖ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลาย ควรชื่นชม ควรอนุโมทนา

ว่า สาธุ ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้

มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ได้ตรัส อายตนะทั้งภายในภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แลไว้ โดย

ชอบ. ๖ อย่างคืออะไร ? คือ จักษุและรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะ

และกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กายและโผฏฐัพพะ ๑ มโนและธรรม ๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อายตนะทั้งภายใน และภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แล พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่

อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ใน อายตนะ ๖

เหล่านี้ ทั้งภายใน และภายนอก.

[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

โดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรม

อันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิต

ของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ

เพราะสลัดทิ้งซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอ-

ทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น และอนุสัย คือ ความตั้งใจและความเชื่อมั่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ (และ) ในธรรมที่จะพึงทราบได้ด้วยจักษุ-

วิญญาณ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....ในโสตะในเสียง ในโสต-

วิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในฆานะ ในกลิ่น ใน ฆานวิญญาณ ....

ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....

ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ.... ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของ

ข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะคับ เพราะสละ

เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอ-

ทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น (และ) อนุสัย คือความตั้งใจ และความเชื่อ-

มั่น ในมนะ ในธรรมารมณ์ (และ) ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ ด้วยมโน-

วิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แล

จึงหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะ ๖ ทั้งภายใน

และภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรชื่นชม อนุโมทนา คำที่

ภิกษุนั้นกล่าวแล้วว่า สาธุ. ครั้นแล้ว ก็ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า

เมื่อท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอน อนุสัย คือ อหังการ และ

มมังการ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ที่เป็นภายนอกออก

ได้ด้วยดี.

[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหม-

จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน

แล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมี

ธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อนข้าพเจ้า

เป็นผู้ครองเรือน ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้าง

แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ศรัทธาในพระ-

ตถาคต. ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยการได้ศรัทธานั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ว่า ฆราวาสดับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่

ครองเรือน จะพระพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์

ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่ง

ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก เถิด. ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ สมัยต่อมา ข้าพเจ้านั้นแล จึงละโภคสมบัติ น้อยบ้าง มากบ้าง

ละวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว

ออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก. ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึง

พร้อมด้วย สิกขา และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย เพราะละ ปาณาติบาต

จึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มี

ความเอ็นดูได้เป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลภูตและสรรพสัตว์. เพราะละ อทินนา-

ทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่

เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่. เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่

พรหมจรรย์ จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พระพฤติห่างไกล (และ) เว้น

จากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน. เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้น

ขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์เป็นหลักฐาน เชื่อถือ

ได้ ไม่พูดลวงโลก. เพราะ ละวาจาส่อเสียด จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อ

เสียด ได้ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือ

ได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้

เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริมชอบความ

พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกัน

เป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน. เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจาก

วาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะโสต ชวนให้รักใคร่ จับใจ

เป็นภาษาของคนเมืองที่คนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ. เพราะละการเจรจา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

เพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตาม

เป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มี

ที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้

เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผุ้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลา

ราตรีเว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง

เล่นดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรง

และตกแต่ง (แต่งตัว) ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็น

ฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอน บนที่นั่งที่นอนอันสูง

และใหญ่ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าว

เปลือกดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสตรี

และเด็กสาว เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เป็นผู้เว้นขาด

จากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากรับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้น

ขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการ

รับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง

โกงด้วยของปลอม. และโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน

การล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจอง

จำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไป

ยังที่ใด ๆ ก็ย่อมถือเอา (บริขาร) ไปได้หมด เหมือนนกมีแต่ปีกจะบินไปยังที่

ใด ๆ ก็ย่อมมีเฉพาะปีกของตนเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฉะนั้น.

[๑๗๓] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้แล้ว

จึงได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ข้าพเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ไม่เป็นผู้ถือเอาโดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวม-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

จักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สำรวมอยู่ จะพึงถูกอกุศล

ธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ รักษา จักขุนทรีย์

ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว .... ดมกลิ่นด้วย

ฆานะแล้ว....ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว.... ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้ธรรมา-

รมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอา โดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ

ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่

สำรวมอยู่ จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส

ครอบงำได้ รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์แล้ว.

[๑๗๔] ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้

แล้วจึงได้เสวยสุข อันไม่เจือทุกข์ภายใน ได้เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าว

ไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขน

ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยวและลิ้ม ในเวลา

ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

[๑๗๕] ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ ประกอบ

ด้วย อินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ

นี้แล้วจึงได้พอใจ เสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา

ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง และลอมฟาง.

ข้าพเจ้านั้น กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์

(นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า. ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌา

ในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

อภิชฌา ละความชั่ว คือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์

เกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูต ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

พยาบาท ละ ถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ มี อาโลก-

สัญญา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะ

ละ อุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่. ชื่อว่า

ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละ วิจิกิจฉา แล้วเป็นผู้ข้าม

ความสงสัยได้ ไม่มีคำถามแสดงความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่า

ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

[๑๗๖] ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำ

ใจให้เศร้าหมอง บั่นทอนปัญญาได้แล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรม ได้เข้าปฐมฌาน มี วิตก มีวิจาร มีปีติสุข เกิดแต่วิเวก ได้เข้า

ทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ

วิตกและวิจาร ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่

ได้เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย

ได้เข้าตติยฌาน.... ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์

ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.

[๑๗๗] ข้าพเจ้านั้น เมื่อจิตเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลส

ดุจเนิน ปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานดำรงอยู่แล้ว

ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิต เพื่ออาสวักขยญาณ. ข้าพเจ้า

นั้น ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์

นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับ

อาสวะ นี้ปฎิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้านั้น รู้อย่างนี้ เห็น

อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จาก อวิชชา-

สวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล้ว

อนุสัย คือ อหังการ และ มมังการ ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิต

ทั้งหมด ในภายนอก เป็นอันข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ.

ครั้นแล้ว พึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นโชคของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ได้เห็นท่านผู้มีอายุ ผู้เป็น

สพรหมจารีเช่นท่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น

ต่างชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ฉวิโสธนสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

อรรถกถาฉวิโสธนสูตร

ฉัพพิโสธนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

อย่างนี้.

พยากรณ์อรหัตผล ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดัง

ต่อไปนี้.

พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบท

บ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ใน

สูตรนี้ท่านนำเอาการพยากรณ์พระอรหัตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง ๔ บท.

ในบทที่ว่า ทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา (ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นใน

อารมณ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว. ด้วยเจตนาใด

เจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น แม้ในบทที่เหลือ

ก็นัยนี้นี่แหละ.

บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้.

บทว่า อภินนฺทิตพฺพ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว ก็เมื่อภิกษุนี้

ปรินิพพานแล้ว ควรทำสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ.

บทว่า อุตฺตรึ ปญฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจ

การพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น.

ในวาระทั้ง ๓ แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อพล แปลว่า ทุรพล.

บทว่า วราคุน คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ.

๑. บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

บทว่า อนสฺสาสิก ได้แก่ เว้นจากความโปร่งใจ.

บทว่า อุปายูปาทานา นี้เป็นชื่อของตัณหาและทิฏฐิ.

จริงอยู่ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลาย ชือว่า อุบาย เพราะเข้าถึงธรรมอัน

เป็นไปในภูมิทั้ง ๓ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะยึดถือ. ชื่อว่า อภินิเวสา

(การยึดมั่น) เพราะยึดมั่นรูปนั้นด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้น. เรียกว่าอนุสัย

เพราะนอนแนบสนิทอยู่กับรูปนั้น ด้วยตัณหาและทิฏฐิเหล่านั้นนั่นแล.

ในบทว่า ขยา วิราคา เป็นต้น ความว่า เพราะความสิ้นไป

เพราะความคลายกำหนัด. บทแม้ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นไวพจน์ของกันและกัน

ทั้งนั้น.

ความหมายของธาตุ

ธาตุที่ทำให้ตั้งอยู่ ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่ประสานให้ติดอยู่ ชื่อว่า

อาโปธาตุ. ธาตุที่ทำให้อบอุ่น ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว

ชื่อว่า วาโยธาตุ. ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ ชื่อว่าอากาศธาตุ. ธาตุที่รู้แจ้ง ชื่อว่า

วิญญาณธาตุ.

บทว่า อนตฺตโต อุปคจฺฉึ ความว่า เราย่อมไม่เข้าถึง (คือยึด

ครอง) โดยส่วนแห่งอัตตาว่า นี้เป็นอัตตา.

อนึ่ง ย่อมไม่เข้าถึงธาตุทั้งหลายที่เหลือซึ่งอาศัยปฐวีธาตุ และอุปา-

ทายรูป. แม้อรูปขันธ์ทั้งหลายก็อาศัยปฐวีธาตุโดยปริยายหนึ่งเหมือนกัน

เพราะวัตถุรูปทั้งหลายที่อรูปขันธ์ทั้งหลายนั้นอาศัย ก็อาศัยอยู่กับปฐวีธาตุ

เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวว่าย่อมไม่ยึดครองธาตุที่เหลืออันอาศัยปฐวีธาตุ ย่อม

กล่าวว่า เราย่อมไม่ยึดครองแม้รูปธรรมและอรูปธรรมที่เหลือทั้งหลาย ว่า

เป็นอัตตา. ก็ในบทที่ว่า อาศัยอากาศธาตุ ภูตรูปและอุปาทายรูปแม้ทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ

เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน

ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย

วิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป

อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.

รูป

ในบทว่า รูเป จกฺขุวิญฺาเณ จกฺขุวิญฺาเณน วิฺาตพฺเพสุ

ธมฺเมสุ นี้มีอธิบายว่า เมื่อกล่าวว่า รูปใดมาสู่คลองจักขุทวารแล้วดับไปใน

อดีต รูปใดที่มาสู่คลองจักขุทวาร แล้วจักดับไปในอนาคต และรูปใดมาแล้ว

ดับไปในปัจจุบันรูปทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป. ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวาร

ดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้ว แม้

ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ

ดังนี้ พระจุลลาภยเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอ

แยกรูปเป็น ๒ แล้ว เธอจะทำอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้า

ข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี. ที่ยิ่งไม่มา

ถึงก็ดี ในกาลทั้ง ๓ ทั้งหมด จัดเป็นรูปทั้งนั้น ส่วนขันธ์ ๓ ที่สัมปยุต

ด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ.

ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า "ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับ

จักขุวิญญาณ"

บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยตัณหา.

บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นราคะด้วยอำนาจ

ความกำหนัด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นนันทิ ด้วยอำนาจ

ความเพลิดเพลินยินดี.

บทว่า ตัณหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหา ด้วยอำนาจ

ความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะ

มมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละ เป็นมานานุสัย.

เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ

ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัส ปุพเพนิวาสญาณ

และทิพพจักขุญาณไว้ แต่กลับมาตรัสคำนี้ว่า อาสวาน ขยาณาย.

แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย ไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่

โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ ทูลถามเท่านั้น จึงตรัส

อย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธน-

สูตรบ้าง.

ฉัพพิโสธนิยธรรม

ในพระสูตรนี้ (ธรรม) ๖ หมวดนี้ คือ โวหาร ขันธ์ ๕ ธาตุ

๖ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ กายที่มีวิญญาณของตน ๑ กายที่

มีวิญญาณของคนอื่น ๑ เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียก

ว่า ฉัพพิโสธนิยะ

ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) ๖ หมวด โดยรวม

กายที่มีวิญญาณของตน กับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ก็หมวด (ธรรม) ๖ หมวดนี้ พึงชำระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยาย

ความไว้ในพระวินัยอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร ? บรรลุอย่างไร ? บรรลุ

เมื่อไร ? บรรลุที่ไหน ? ละกิเลสพวกไหน ? ได้ธรรมพวกไหน ?

ก็ในที่นี้ คำที่ว่า ท่านบรรลุอะไร ? เป็นคำถามถึงการบรรลุ

คือ (ถามว่า) ท่านบรรลุอะไร ในบรรดาฌาณและวิโมกข์เป็นต้น หรือใน

บรรดามรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

คำว่า ท่านบรรลุอย่างไร ? เป็นคำถามถึงอุบาย (วิธีทำให้บรรลุ)

เพราะว่าในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ จึงบรรลุ

หรือทำทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นธุระ จึงบรรลุ

อีกอย่างหนึ่ง ท่านยึดมั่นด้วยอำนาจสมาธิ หรือยึดมั่นด้วยอำนาจวิปัสสนา

อนึ่ง ยึดมั่นในรูป หรือยึดมั่นในอรูป อีกอย่างหนึ่ง ยึดมั่นในภายใน หรือ

ยึดมั่นในภายนอก จึงบรรลุ.

คำว่า ท่านบรรลุเมื่อไร ? เป็นการถามถึงเวลา (ที่ได้บรรลุ) มี

คำอธิบายว่า ท่านบรรลุในเวลาไหน ในบรรดาเวลาเข้า และเวลาเที่ยง

เป็นต้น

คำว่า ท่านบรรลุที่ไหน ? เป็นการถามถึงโอกาส (ที่บรรลุ) มี

คำอธิบายว่า ในโอกาสไหน คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคน

ไม้ ที่มณฑป หรือที่วิหารไหน.

คำว่า ท่านละกิเลสพวกไหน ? เป็นการถามถึงกิเลสที่ละได้ มี

คำอธิบายว่า ท่านละกิเลสที่มรรคไหนจะพึงฆ่า.

คำว่า ท่านได้ธรรมพวกไหน ? เป็นการถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ

มีคำอธิบายว่า บรรดาธรรมมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่าไหน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันนี้ แม้หากจะมีภิกษุบางรูปพยากรณ์การ

บรรลุธรรมอันยิงยวดของมนุษย์ ก็ยังไม่ควรทำความเคารพเธอด้วยเหตุเพียง

เท่านี้.

ก็ในฐานะ ๖ ประการนี้ ควรจะพูดเพื่อความบริสุทธิ์ ท่านบรรลุ

อะไร คือ ฌานหรือ หรือว่าวิโมกข์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ธรรม

ใด อันผู้ใดบรรลุแล้ว ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้า

บรรลุธรรมชื่อนี้ แต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุอย่างไร ? อธิบายว่า

ท่านทำอะไร ในบรรดาอนิจจลักษณะเป็นต้น ให้เป็นธุระ แล้วยึดถือโดยมุข

อะไร ในบรรดาอารมณ์ ๓๘ หรือในบรรดาธรรมทั้งหลาย ชนิดรูปธรรม

อรูปธรรม อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรมเป็นต้น แล้วจึงบรรลุ เพราะ

อภินิเวส (การยึดถือ การอยู่สำราญ) อันใด ของคนใด อภินิเวสอันนั้น

ย่อมปรากฏแก่คนนั้น.

ถ้ากล่าวว่า อภินิเวส ชื่อนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอย่างนี้ ต่อแต่นั้นก็จะต้อง

ถูกถามว่า ท่านบรรลุเมื่อไร คือ บรรลุในเวลาเช้าหรือเวลาเที่ยงเป็นต้น

เวลาใดเวลาหนึ่ง. เพราะเวลาบรรลุของตนย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน. ถ้ากล่าว

ว่า บรรลุในเวลาชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็ถูกถามว่า ท่านบรรลุที่ไหน คือบรรลุ

ในที่พักกลางวัน หรือในที่พักกลางคืนเป็นต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เพราะ

เวลาที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าบรรลุในโอกาสชื่อ

โน้น ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านละกิเลสพวกไหน คือ ท่านละกิเลส

ที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นจะพึงฆ่านะ เพราะกิเลสที่ละด้วย

มรรคอันตนบรรลุ ย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน.

ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ แต่นั้น ก็จะต้องถูกถามว่า ท่านได้

ธรรมเหล่าไหน คือได้โสดาปัตติมรรคหรือสกทาคามิมรรคเป็นต้นอย่างใดอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

หนึ่ง. เพราะธรรมที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกคน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าได้ธรรม

ชื่อนี้. แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ควรเชื่อคำของเธอ.

ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ฉลาดในการเล่าเรียนและการสอบถาม

ย่อมสามารถชำระฐานะ ๖ ประการเหล่านี้ให้หมดจด. แต่สำหรับภิกษุนี้ควร

ชำระปฏิปทา อันเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น. หากปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น

ยังไม่บริสุทธิ์ ควรปลีกออก (จากปฏิญญาของตน) ชื่อว่า โลกุตรธรรม ทั้ง

หลาย เราจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้.

แต่ถ้า ปฏิปทาเครื่องบรรลุขั้นต้น ของท่านหมดจด ปรากฏว่าภิกษุ

นี้ไม่ประมาทในสิกขา ๓ ประกอบความเพียร ไม่ติดในปัจจัย มีจิตเสมอ

เหมือนนกในห้วงอากาศอยู่ตลอดกาลนาน. การพยากรณ์ของภิกษุนั้นเทียบกัน

ได้สมกันกับข้อปฏิบัติ คือเป็นเช่นดังที่ตรัสไว้ว่า น้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำใน

แม่น้ำยมุนา ย่อมเข้ากันได้ เสมอเหมือนกัน ชื่อฉันใด ข้อปฏิบัติอันเป็น

เครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพานของพระสาวกทั้งหลาย คือ นิพพานและปฏิปทา

อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัญญัติไว้ดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเทียบ

กันได้ ย่อมลงกันได้.

ก็อีกอย่างหนึ่งแล ไม่ควรทำสักการะแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้

อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุบางรูปแม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ย่อมมีปฏิปทาเหมือน

ข้อปฏิบัติอย่างพระขีณาสพ ฉะนั้น ภิกษุนั้นควรใช้อุบายวิธีนั้น ๆ ทำให้สะดุ้ง

หวาดเสียว. ธรรมดาพระขีณาสพ เมื่ออสนีบาตตกลงเหนือกระหม่อมตัวย่อม

ไม่มีความกลัว ความสะดุ้ง หรือทำให้ขนลุก ส่วนสำหรับปุถุชนย่อมมี (ความ

กลัวเป็นต้น) ด้วยเหตุการณ์แม้เล็กน้อย.

ในข้อนั้น มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง:-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

เรื่องพระทีฑภาณกอภยเถระ

ได้ยินว่า พระทีฆภาณกอภยเถระ ไม่สามารถจะพิสูจน์ภิกษุรูป

หนึ่งที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรได้ จึงได้ให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มไว้. ภิกษุหนุ่มรูป

นั้นจึงดำน้ำอยู่ที่ปากน้ำกัลยาณี จับเท้าพระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปนั้นที่

กำลังอาบน้ำอยู่. พระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น เข้าใจว่าเป็นจรเข้ ก็ส่งเสียง

ร้องขึ้น. ตั้งแต่นั้นใคร ๆ เขาก็รู้ว่าท่านยังเป็นปุถุชน. แต่ในรัชสมัยของพระ

เจ้าจัณฑิมุขติสสะ พระสังฆเถระในมหาวิหารเป็นพระขีณาสพ แต่เสียจักษุ

อยู่ในวิหารนั้นแหละ. พระราชาคิดว่า จะพิสูจน์พระเถระ เมื่อภิกษุทั้งหลาย

ออกไปภิกษาจาร จึงย่องเข้าไปจับเท้าพระเกระทำเป็นเหมือนงูรัด. พระเถระ

นิ่งเหมือนเสาหิน ถามว่า ใคร ในที่นี้. พระราชาตรัสว่า กระผม ติสสะขอรับ.

ขอถวายพระพรมหาบพิตรติสสะ พระองค์ทรงได้กลิ่นหอมมิใช่หรือ. ชื่อว่า

ความกลัวย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้

ก็บุคคลบางคน แม้จะเป็นปุถุชนก็เป็นคนกล้าหาญไม่ขี้ขลาด. คนผู้

นั้นต้องพิสูจน์ด้วยอารมณ์ที่น่ารัก จริงอยู่ แม้พระเจ้าวสภะเมื่อจะพิสูจน์

พระเถระรูปหนึ่ง จึงนิมนต์ให้นั่งในพระราชมณเฑียร แล้วรับสั่งให้คนขยำผล

พุทราในสำนักของท่าน. พระมหาเถระน้ำลายสอ. แต่นั้นความที่พระเถระเป็น

ปุถุชนก็ชัดแจ้ง เพราะว่าธรรมดาความอยากในรสพระขีณาสพละได้หมด ชื่อ

ว่าความใคร่ในรสทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ก็ไม่มี. ฉะนั้น จึงพิสูจน์ด้วยอุบายเหล่า

นี้ ถ้าความกลัว ความหวาดเสียว หรือความอยากในรสยังเกิดแก่ท่านก็พึง

ตัดออกได้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์. แต่ถ้าไม่กลัว ไม่สะดุ้ง ไม่หวาด

เสียว คงนั่ง (สงบ) เหมือนราชสีห์ แม้ในอารมณ์อันเป็นทิพย์ ก็ไม่ทำ

ความใคร่ให้เกิดขึ้น ภิกษุนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ย่อมควรแก่เครื่อง

สักการะ ที่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ส่งมาโดยรอบแล.

จบ อรรถกถาฉวิโสธนสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

๓. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยอสัปปุริสธรรมและสัปปุริสธรรม

[๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจัก

แสดงสัปปุริสธรรมและอสัปปุริสธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรม

นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว (ต่อไป). ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พร้อมแล้วพระเจ้าข้า.

อสัปปุริสธรรม

[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

อสัปปุริสธรรมคืออะไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ อสัตบุรุษในโลกนี้เป็น

ผู้ออกจากสกุลสูง บวชแล้ว. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจาก

สกุลสูง บวชแล้วแล ส่วนภิกษุเหล่านี้อื่น ๆ ไม่ได้ออกจากสกุลสูงบวช. เธอ

จึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือ

อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป

เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย ถึงแม้ผู้ที่ไม่ได้ออกบวชจากตระกูลสูง เธอก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้ง

หลาย ก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้น ๆ. สัตบุรุษนั้น กระทำข้อปฏิบัติให้เป็น

ไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มี

สกุลสูงนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ออกบวชจากตระกูลที่มีโภคะมาก ออกบวช

จากตระกูลที่มีโภคะโอฬาร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ออกบวช

จาก (ตระกูลใหญ่ ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกุลมีโภคะโอฬารแล แต่ภิกษุ

อื่น ๆ เหล่านี้ ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่ ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูล

มีโภคะโอฬาร. เธอยกตนข่มขู่ผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้แลว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป

เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร ถึงแม้ภิกษุผู้ไม่ได้ออกบวชจาก (ตระกูลใหญ่

ตระกูลมีโภคะมาก) ตระกูลมีโภคะโอฬาร เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม คนทั้งหลายก็จะบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้น ๆ

สัตบุรุษนั้น กระทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น

ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีโภคะโอฬารนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นคนเด่น มียศ เขาพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้เด่น มียศ ส่วน

ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่เด่น ด้อยศักดิ์. อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น

เพราะความเป็นคนเด่นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้แลว่า ธรรม

คือความโลภ ธรรมคือความประทุษร้าย หรือธรรมคือความหลงไม่ถึงความ

เสื่อมสิ้นไปเพราะความเป็นคนเด่นนั้น ถึงแม้จะไม่เป็นคนเด่น มียศ แต่ก็

เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรม เธอเป็น

ผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชาสรรเสริญในที่นั้นๆ. เธอไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเลย

เพราะความเป็นคนเด่นนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. เธอ

พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเท่านั้น ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ จะไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเลย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

เพราะการได้ (นั้น) ถึงแม้เธอจะเป็นผู้ไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แต่ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ-

ชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา ควรสรรเสริญ ใน

ที่นั้น ๆ. เธอทำข้อปฏิบัติ ให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้นไม่ยก

ตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะการได้นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริธรรม

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

ผู้เป็นพหูสูต. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นพหูสูต ส่วนภิกษุอื่น ๆ

เหล่านั้น ไม่เป็นพหูสูต. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ หาถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะ

ความเป็นพหุสูตไม่เลย ถึงแม้เธอจะเป็นพหูสูต แต่เธอก็ปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรบูชา สรร-

เสริญ. เธอกระทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยก

ตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพหูสูตนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ

สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ เป็นพระวินัยธร (ทรง

วินัย). เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นพระวินัยธร ส่วนภิกษุอื่น ๆ

เหล่านั้น ไม่เป็นพระวินัยธร. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธร

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ หาถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะ

ความเป็นพระวินัยธรไม่ ถึงแม้เธอจะไม่เป็นพระวินัยธร แต่เธอก็ปฏิบัติ

ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย

ควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้น ๆ. เธอกระทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน

(เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธร

นั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัต-

บุรุษเป็นพระธรรมกถึก. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพระธรรมกถึก

แล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่เป็นพระธรรมกถึก เธอยกตน ข่มผู้อื่นเพราะ

เหตุที่เป็นพระธรรมกถึกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเพราะ

เหตุที่เป็นพระธรรมกถึกเลย ถึงแม้เธอจะไม่เป็นพระธรรมกถึก แต่เธอก็เป็น

ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คน

ทั้งหลายควรบูชาควรสรรเสริญ ในที่นั้นๆ เธอทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน

(เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นพระธรรมกถึก

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรแล

แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตระ เธอยกตน ข่มผู้อื่น เพราะ

เหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือโลภะ ธรรม

คือโทสะ ธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความสิ้นไป เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็น

วัตรเลย. ถึงแม้ภิกษุนั้น จะไม่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติ

ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย

ควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้น ๆ. เธอทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปภายใน (เป็น

การส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่ป่าเป็น

วัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้ถือผ้า

บังสุกุลเป็นวัตร แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น หาเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไม่

เธอยกตน ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรม

คือโลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไปเลย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ถึงแม้เธอจะไม่เป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควร

แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา

ควรสรรเสริญ ในที่นั้น ๆ. เธอกระทำข้อปฏิบัติเป็นไปในภายใน (เป็น

การส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือผ้า

บังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัต-

บุรุษเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถือ

บิณฑบาตเป็นวัตรแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็น

วัตร. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือ

โลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ จะไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุ

เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรเลย ถึงแม้ภิกษุเป็นผู้ไม่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร

เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เป็น

ผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญ. เธอทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภาย

ใน (เป็นการส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็น

ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปุริสธรรม

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

เป็นวัตรแล แต่ภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร. เธอยกตน

ข่มผู้อื่น เพราะเหตุที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล

คือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือ

โลภะ ธรรมคือโทสะ ธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุที่

เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่

เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ พระพฤติตามธรรม

เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญในที่นั้น ๆ. เธอทำชอบปฏิบัติให้

เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะเหตุ

ที่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เป็นผู้อยู่ป่าช้าเป็นวัตร. . . เป็นผู้อยู่กลางแจ้งเป็นวัตร. . . เป็นผู้ถือเนสัชชิก-

ธุดงค์ (การไม่นอน) เป็นวัตร. . .เป็นผู้ถือยถาสันถทิกธุดงค์ (การเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับ) เป็นวัตร. . . เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ (การฉัน

เวลาเดียว) เป็นวัตร. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ถือเอกาสนิกังค-

ธุดงค์เป็นวัตรแล แก่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร.

เธอยกตนข่มผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมคือ

โลภะ ธรรมคือโทสะ หรือธรรมคือโมหะ ไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

เหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุนั้นจะไม่เป็นผู้ถือเอกา-

สนิกังคธุดงค์เป็นวัตร แต่เธอก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ

ประพฤติสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ที่คนทั้งหลาย ควรบูชา ควรสรรเสริญ ใน

ที่นั้นๆ. เธอทำข้อปฏิบัติให้เป็นไปในภายใน (เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่

ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเหตุที่เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์เป็นวัตรนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีกคือ อสัตบุรุษ

สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน มีวิตก มี

วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็น

ผู้ได้สมาบัติคือ ปฐมฌานแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น ไม่ได้สมาบัติคือ

ปฐมฌาน. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้

ปฐมฌานสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มีตัณหา

เพราะคนทั้งหลายสำคัญตนด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ย่อมเป็นอื่นจากที่สำคัญ

นั้น. เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน (เป็นการ

ส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือปฐมฌานนั้น

นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

๑. บาลีในที่ทุกแห่งในสูตรนี้เป็น อคมฺมยตา ฉบับพม่า ยุโรป เป็น อตมฺมยตา

แปลตามคำหลัง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจ อันเป็นไปในภายใน มีความเป็นธรรม

เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีแต่ปีติและสุขเกิด

แต่สมาธิอยู่. . .เข้าตติยฌาน . . . เข้าจตุตถฌาณ. . . อยู่. เธอพิจารณาเห็น

อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติ คือจตุตถฌานแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น ไม่

เป็นผู้ได้สมาบัติคือจตุตถฌาน. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะสมาบัติคือจตุตถฌาน

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้

สมาบัติคือจตุตถฌานแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มี

ตัณหา เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ จะเป็นอย่างอื่น

จากที่สำคัญนั้น. เธอทำความเป็นผู้ไม่มีตัณหานั้นให้เป็นไปในภายใน (เป็น

ส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะสมาบัติคือจตุตถฌาณนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

เข้าอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า อากาสไม่มีที่สุดอยู่ เพราะ

ล่วงเลยรูปสัญญาไปแล้ว เพราะปฏิฆสัญญาดับไปแล้ว (และ) เพราะไม่มนสิ-

การถึงนานัตตสัญญา. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติคือ

อากาสานัญจายตนะแล้ว แค่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ไม่เป็นผู้ได้สมาบัติคืออากาสา-

นัญจายตนะ. เธอยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยสมาบัติคืออากาสานัญจายตนะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้

อากาสานัญจายตนสมาบัติแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มี

ตัณหา เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ก็เป็นอื่นไป

จากที่สำคัญนั้น . เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน

(เป็นส่วนด้วย) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะอากาสานัญจายตนะ

สมาบัตินั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก อสัตบุรุษล่วง

เลยอากาสานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญานัญจายตนฌานอยู่

ด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด. เธอพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ได้

สมาบัติคือ วิญญานัญจายตนะแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านี้ ไม่เป็นผู้ได้

วิญญานัญจายตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะวิญญานัญจายตนสมาบัติ

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้วิญญา-

นัญจายตนสมาบัติ ก็เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มี

ตัณหา เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ ก็เป็นอย่างอื่น

จากความสำคัญนั้น. เธอทำปฏิปทาที่ไม่มีตัณหานั้นแหละ ให้เป็นไปในภาย

ใน (เป็นการส่วนตัว) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะวิญญานัญจายตนสมาบัติ

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

ล่วงเลยวิญญานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌาน

อยู่ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรสักน้อยหนึ่ง. เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เรา

เป็นผู้ได้สมาบัติคืออากิญจัญญายตนะแล แก่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่ได้

อากิญจัญญายตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้

อากิญจัญญายตนสมาบัติแล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มี

ตัณหา เพราะคนทั้งหลายสำคัญกันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ เป็นอย่างอื่นจาก

ความสำคัญนั้น เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหา ให้เป็นไปในภายใน (เป็น

ส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะอากิญจัญญายตนสมาบัติ

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

อสัปปุริสธรรม

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) อสัตบุรุษ

ล่วงเลยอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนฌานอยู่ เธอพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้ได้สมาบัติ คือเนวสัญญา-

นาสัญญายตนะแล แต่ภิกษุอื่น ๆ เหล่านั้น ไม่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญา-

ยตนสมาบัติ. เธอยกตนข่มผู้อื่น เพราะเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ อสัปปุริสธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

สัปปุริสธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษแล พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า แม้

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เป็นปฏิปทาไม่มี

ตัณหา เพราะว่าคนทั้งหลายสำคัญรู้กันด้วยเหตุใด ๆ เหตุนั้น ๆ เป็นอย่างอื่น

จากความสำคัญนั้น. เธอทำความที่ปฏิปทาไม่มีตัณหานั้น ให้เป็นไปในภายใน

(เป็นส่วนตัว) เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเลย เพราะเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัตินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือ สัปปุริสธรรม.

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอยู่อีก (คือ) สัตบุรุษ

ล่วงเลย เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธอยู่. อาสวะทั้งหลายของเธอเสื่อมสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วย

ปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แลจะไม่สำคัญอะไร ๆ จะไม่สำคัญ

ในที่ไหน ๆ (และ) จะไม่สำคัญด้วยเหตุอะไร ๆ เลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

มีใจยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ สัปปุริสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตร

สัปปุริสธรรมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สปฺปุริสธมฺม ได้แก่ ธรรมของสดับ

บุรุษทั้งหลาย

บทว่า อสปฺปุริสธมฺม ได้แก่ ธรรมของคนเลวทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางแม่บทไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงแสดง

ธรรมที่ควรละก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตโม จ ภิกฺขเว อสปฺปุริสธมฺโม

ดังนี้ ไว้อีก เหมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางบอกทางที่ควรละก่อนว่า จงละทางซ้าย

ถือเอาทางขวา ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจากุลา ความว่า จากตระกูลกษัตริย์

หรือจากตระกูลพราหมณ์ด้วยว่า ตระกูลทั้งสองนี้เท่านั้น เรียกว่าตระกูลสูง.

บทว่า โส ตตฺถ ปุชฺโช ความว่า ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูป

นั้นเป็นผู้ควรบูชา.

บทว่า อนฺตร กริตฺวา ได้แก่ กระทำไว้ภายใน.

บทว่า มหากุลา ได้แก่ จากตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์

หรือตระกูลแพศย์. เพราะตระกูลทั้งสามนี้เท่านั้น เรียกว่า ตระกูลใหญ่

บทว่า มหาโภคกุลา คือ จากตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์มาก

มาย.

บทว่า อุฬารโภคกุลา คือ จากตระกูลที่พรั่งพร้อมด้วยโภคทรัพย์

อันโอฬาร คือประณีต.

ในบททั้งสองนี้ย่อมได้ ตระกูลแม้ทั้ง ๔ ตระกูล. เพราะผู้เกิดใน

ตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์มากบ้าง มีโภคทรัพย์โอฬารบ้าง

ด้วยผลบุญทั้งหลาย.

๑. บาลีเป็น สัปปุริสสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

บทว่า ยสสฺสี แปลว่า พรั่งพร้อมด้วยบริวาร.

บทว่า อปฺปญฺาตา ได้แก่ ย่อมไม่ปรากฏในท่ามกลางสงฆ์เป็น

ต้น เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน.

บทว่า อปฺเปสกฺขา แปลว่า มีบริวารน้อย.

บทว่า อารญฺิโก คือ สมาทานธุดงค์มีอยู่ในป่าเป็นวัตร. แม้ใน

ธุดงค์ที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแล. ก็ในบาลีพระสูตรนี้ธุดงค์มา ๙ ข้อเท่านั้น.

แต่โดยพิสดารธุดงค์นี้มี ๑๓ ข้อ . ในบรรดาธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ที่ควรจะพูด

ถึงทั้งหมดนั้นได้พูดไว้แล้วในธุดงคนิทเทสในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง.

ในบทว่า อตมฺมยตา ตัณหา เรียกว่า ตมฺมยตา อธิบายว่า ความ

เป็นผู้ไม่มีตัณหา.

บทว่า อตมฺมยต เจว อนฺตร กริตฺวา ความว่า ทำความเป็น

ผู้ไม่มีตัณหานั่นแลให้เป็นเหตุ หรือกระทำไว้ในภายใน อธิบายว่า ให้เกิด

ขึ้นในจิต.

พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวาระต่อไป ก็เพราะเหตุที่พระอนาคามีและ

พระขีณาสพทั้งหลายย่อมเข้า(นิโรธ) สมาบัตินั้นได้ ส่วนปุถุชนไม่มีสมาบัตินั้น

เพราะฉะนั้นวาระที่ว่าด้วยอสัตบุรุษจึงละไว้ (ไม่พูดถึง).

บทว่า น กิญฺจิ มญฺติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญบุคคลไร ๆ ด้วย

ความสำคัญ ๓ ประการ.

บทว่า น กุหิญฺจิ มญฺติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญในโอกาสไร ๆ.

บทว่า น เกนจิ มญฺติ ได้แก่ ย่อมไม่สำคัญบุคคลนั้นแม้ด้วย

วัตถุไร ๆ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสัปปุริสธรรมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรเสพและไม่ควรเสพ

[๑๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อา-

รามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระ

พุทธดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราตถาคตจักแสดงธรรมบรรยาย ที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เธอ

ทั้งหลายจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าพร้อมแล้ว พระเจ้าข้า.

ความประพฤติที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ๗ อย่าง

[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย เราตถาคตกล่าว กายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) ไว้ ๒ อย่าง

คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ แล้วทั้งสองอย่างนั้น แต่ละ

อย่างเป็น กายสมาจาร ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร (ความประพฤติ

ทางวาจา) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และ

ทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร (ความประ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

พฤติทางใจ) ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และ

ทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น มโนสมาจาร เหมือนกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว ความเกิดขึ้นแห่ง จิต ไว้

๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น

แต่ละอย่างก็เป็น จิตตุปบาท ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้ ๒

อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้นต่างก็เป็น

การกลับได้สัญญา ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต กล่าวการกลับได้ ทิฏฐิ ไว้ ๒

อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละ

อย่างก็เป็น การกลับได้ทิฏฐิ ด้วยกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้อัตภาพ ไว้

๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น

แต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้อัตภาพ ด้วยกัน.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๑

[๒๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารี-

บุตร ได้ทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยย่อ มิได้ทรงจำแนก

เนื้อความไว้โดยพิสดาร. ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้ (ว่า)

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

กล่าว กายสมาจาร ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑

และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น กายสมาจาร ด้วยกัน พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงอาศัยอะไร จึงตรัสข้อนี้ไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคเสพ กายสมาจาร แบบไหนอกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง กายสมาจาร แบบนี้

ไม่ควรเสพ.

การสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไหน

แล้ว อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

กายสมาจาร แบบนี้ ควรเสพ.

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเจริญแต่กุศลเสื่อม

[๒๐๑] ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบ

ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

ไป คือเป็นคนดุร้าย มีมือเปื้อนเลือด หมกหมุ่นในการประหัตประหาร ไม่

เอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย อนึ่ง มักเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้

คือถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ใน

บ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย อนึ่งมักเป็น

ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลายที่มารดารักษาบ้าง

ที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษา

บ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชาย

คล้องพวงมาลัยหมั้นไว้บ้าง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมา-

จาร แบบนี้อกุศลธรรมเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้กุศลเจริญ

[๒๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบ

ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เลิกละปาณาติบาตเว้น

ขาดจากปาณาติบาตแล้ว คือ เป็นผู้วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย มี

ความเอ็นดู เป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่ อนึ่ง

เลิกละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน คือไม่ถือเอาทรัพย์

ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า

ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย เลิกละกาเมสุมิจฉาจารแล้ว เป็น

ผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดจารีตในหญิงที่มารดารักษาบ้าง

ที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษา

บ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่พี่สามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชาย

คล้องพวงมาลัยหมั้นไว้บ้าง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจาร

แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ตถาคตกล่าว กายสมาจาร ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่างก็เป็น กายสมาจาร ด้วยกัน พระองค์

ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๒

[๒๐๓] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว วจีสมาจาร ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพ

อย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นวจีสมาจาร

ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง วจีสมาจาร แบบ

นี้ ไม่ควรเสพ.

วจีสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่บุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบไร อกุศล

ธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น วจีสมาจาร

แบบนี้ ควรเสพ.

วจีสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเจริญแต่กุศลเสื่อม

[๒๐๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จคือไป

ที่สภาก็ตาม ไปที่บริษัทก็ตาม ไปที่ท่ามกลางญาติก็ตาม ไปที่ท่ามกลาง

ขุนนางก็ตาม ไปที่ท่ามกลางราชตระกูลก็ตาม ก็ถูกนำไปซักถามเป็นพยานว่า

พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด พ่อรู้อย่างไร ต้องพูดอย่างนั้น. เขาไม่รู้ แต่บอก

ว่ารู้ หรือรู้แต่บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นแต่บอกว่าเห็น หรือเห็นแต่บอกว่าไม่เห็น

พูดเท็จทั้งที่รู้ ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิส

เล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ อนึ่ง เขาเป็นผู้กล่าวส่อเสียด คือได้ยินจาก

ฝ่ายนี้ แล้วบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินฝ่ายโน้นแล้ว บอก

แก่ฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้ เมื่อเขาสามัคคีกัน ก็ยุให้แตกกัน

หรือเมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็ช่วยซ้ำเติม ชอบแบ่งพรรคแบ่งพวก พูดจาให้

แตกหมู่แตกคณะ อนึ่งเป็นผู้มีวาจาหยาบคาย คือ กล่าวถ้อยคำเป็นเสี้ยน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

หนาม หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัคต่อคนอื่น ยั่วโทสะ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ

อนึ่ง เป็นผู้มักพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดไม่ถูกกาละ พูดไม่จริง พูดไร้ประโยชน์

พูดไม่ถูกธรรม ไม่ถูกวินัย พูดจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิงไม่มีขอบเขต

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลไม่ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคล

เสพ วจีสมาจาร แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้ง

หลายกลับเสื่อมลง.

วจีสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลเสื่อมแต่กุศลเจริญ

[๒๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ วจีสมาจาร แบบ

ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เลิกละมุสาวาทแล้ว

เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท ไปที่สภาก็ตาม ไปที่บริษัทก็ตาม ไปท่ามกลาง

หมู่ญาติก็ตาม ไปท่ามกลางขุนนางก็ตาม ไปท่ามกลางราชตระกูลก็ตาม ถูก

นำไปซักถามเป็นพยานว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด พ่อรู้อย่างไร ก็จงพูด

อย่างนั้น. เขาเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอก

ว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้ ๆ เพราะเหตุ

ตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ดังที่กล่าวมา

นี้ อนึ่ง เลิกละปิสุณาวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปิสุณาวาจา คือได้

ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินฝ่ายโน้นแล้ว

ไม่บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้เมื่อเขาแตกกันแล้วก็ช่วยประสาน

สามัคคี หรือเมื่อเขาพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ก็ช่วยส่งเสริม พอใจ รักใคร่

ชื่นชม ความสามัคคี กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เขาสมัครสมานกัน อนึ่ง เลิกละ

ผรุสวาจาแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากผรุสวาจา พูดจาถ้อยคำที่ไม่มีโทษ เสนาะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

โสต น่ารัก จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง เป็นที่รักใคร่พอใจ ของตนจำนวน

มาก และเลิกละสัมผัปปลาป (พูดเพ้อเจ้อ) เป็นผู้เว้นขาดจากสัมผัปปลาป

คือพูดถูกกาละ พูดคำเป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดถูกธรรม พูดถูกวินัย

พูดจามีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาลที่

ควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ข้อที่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าววจีสมาจารไว้ ๒

อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่าง

ก็เป็น วจีสมาจาร ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้

จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๓

[๒๐๖] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว มโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) ไว้ ๒

อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่

ละอย่างเป็น มโนสมาจาร ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัส

ไว้.

มโนสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจาร แบบไหน อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง มโนสมาจาร

แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

มโนสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหนอกุศล-

ธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง มโนสมาจารแบบนี้ ควรเสพ.

มโนสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๐๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วย

อภิชฌา (ความเพ่งเล็งสิ่งของ ๆ ผู้อื่น) คือ เป็นผู้เพ่งเล็งทรัพย์ที่เป็นเหตุ

ก่อให้เกิดความปลื้มใจของคนอื่นว่า ไฉนหนอ ของ ๆ ผู้อื่น จะพึงเป็นของ

เรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือมีความดำริทางใจอันชั่วร้าย ว่าขอให้สัตว์

เหล่านี้ จงถูกฆ่า หรือถูกทำลาย หรือขาดสูญไป หรือพินาศไป หรืออย่า

ได้มีเลย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ มโนสมาจาร แบบนี้

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

มโนสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๐๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพมโนสมาจารแบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากไปด้วย

อภิชฌา คือไม่เพ่งเล็งทรัพย์ที่เป็นเหตุก่อให้เกิดความปลื้มใจของคนอื่น ว่า

ไฉนหนอ ทรัพย์ของคนอื่น จะพึงเป็นของเรา อนึ่ง เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท

มีความดำริในใจไม่ชั่วร้าย ว่า ขอสัตว์เหล่านั้น อย่าพยาบาทกัน อย่ามีความ

เดือนร้อน มีแต่ความสุข บริหารตนเถิด. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

เสพมโนสมาจารอย่างนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น มโนสมาจาร

ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๔

[๒๐๙] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว จิตตุปบาท ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น

จิตตุปบาท ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

จิตตุปบาทที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหน อกุศล

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง จิตตุปบาท

แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

จิตตุปบาทที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จิตตุป-

บาท แบบนี้ ควรเสพ.

จิตตุปบาทที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบ

ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับจะเสื่อมลง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา

มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้รีบความพยาบาท มีจิตสหรคตด้วยความ

พยาบาทอยู่. เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบนี้ อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง

จิตตุปบาทที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบ

ไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มากไปด้วย

อภิซฌา มีใจไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่พยาบาท มีจิตสหรคต

ด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่เบียดเบียน มีจิตสหรคตด้วยความไม่เบียด

เบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ จิตตุปบาท แบบนี้

อกุศลธรรมทั้ง หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคตกล่าว จิตตุปบาท ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร

เสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็นจิตตุปบาทด้วยกัน พระผู้-

มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๕

[๒๑๒] ก็แล ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่

ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น การ

กลับได้สัญญา ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

การกลับได้สัญญาที่ไม่ควรเสพ (เจริญ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา แบบ

ไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง

การกลับได้สัญญา แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้สัญญาที่ควรเสพ (เจริญ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่า เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

การกลับได้สัญญา แบบนี้ ควรเสพ.

การกลับได้สัญญาที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ

แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมไป.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วย

อภิชฌา มีสัญญาติสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาท มีสัญญาสหรคต

ด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคตด้วยความเบียดเบียน

อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา แบบนี้ ธรรม

ที่เป็นอกุศลทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้สัญญาที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้สัญญา

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากไปด้วย

อภิชฌา มีสัญญาไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาท มีสัญญา

สหรคตด้วยความไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน มีสัญญาสหรคต

ด้วยความไม่เบียดเบียนอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การ

กลับได้สัญญาแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้ง

หลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคตกล่าว การกลับได้สัญญา ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น การกลับได้

สัญญา ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยเหตุนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๖

[๒๑๕] ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้ทิฏฐิ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่

ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ก็เป็น การกลับ

ได้ทิฏฐิ ด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไร จึงได้ตรัสไว้.

การกลับได้ทิฏฐิที่ไม่ความเสพ (สมาทาน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การกลับ

ได้ทิฏฐิ แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้ทิฏฐิที่ควรเสพ (สมาทาน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบ

ไร อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น การ

กลับได้ทิฏฐิ แบบนี้ ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่

ให้แล้วไม่มี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วไม่มี (ผล) การสังเวยที่บวงสรวงแล้วไม่

มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี และทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าก็

ไม่มี มารดาไม่มี (คุณ) บิดาไม่มี (คุณ) สัตว์ทั้งหลายที่เป็นโอปปาติกะ

ไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายในโลกผู้ดำเนินไปถูกต้อง ผู้ปฏิบัติชอบซึ่งประ-

กาศโลกนี้และโลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองไม่มี ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ แบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะ

เจริญ แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้ทิฏฐิ

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญ

ขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วมี (ผล) ยัญที่บูชาแล้วมี (ผล) การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมี

(ผล) ผลวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วแล้วนี้มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้าก็มี

มารดามี (คุณ) บิดามี (คุณ) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณะแลพราหมณ์ใน

โลกที่ดำเนินไปถูกต้องผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้และโลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การ

กลับได้ทิฏฐิแบบนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลาย

กลับเจริญขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคต กล่าว การกลับได้ทิฏฐิ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างต่างก็เป็น การกลับ

ได้ทิฏฐิ ด้วยกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความข้อนี้ จึงตรัสไว้อย่างนี้.

เรื่องที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ข้อที่ ๗

[๒๑๘) ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้อัตภาพ ไว้ ๒ อย่าง คือที่

ควรเสพอย่าง ๑ ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่างก็เป็น

การกลับได้อัตภาพด้วยกัน พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

การกลับได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ (ได้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อเสพ การกลับได้อัตภาพ แบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การกลับ

ได้อัตภาพแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่ควรเสพ (ได้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่า เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพ

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

การกลับได้อัตภาพ แบบนี้ ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ

แต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพ

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่เป็น

ทุกข์ให้เกิดขึ้น ยังไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่สิ้นภพ) อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเจริญ

ขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพ

แบบไหน อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการได้อัตภาพที่ไม่เป็น

ทุกข์ให้เกิดขึ้น สิ้นสุดลงแล้ว (สิ้นภพแล้ว) อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อม

สิ้นลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคต กล่าวการกลับได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ และทั้งสองอย่าง ต่างก็เป็น การกลับได้อัตภาพ ด้วยกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความข้อนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้ ข้าแต่พระ

องค์ผู้เจริญ เนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้โดยสังเขป ไม่ได้ทรงจำแนกเนื้อความไว้โดยพิสดาร ข้าพระองค์เข้าใจ

โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดีแล้ว ดีแล้ว สารีบุตร

เนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยสังเขป ไม่ได้จำแนก

เนื้อความไว้โดยพิสดาร เธอเข้าใจเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตได้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคตกล่าว กายสมาจารไว้ ๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

อย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น ต่างก็เป็นกายสมาจารด้วยกัน เราตถาคตอาศัย

อะไรจึงได้กล่าวไว้.

กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ (ประพฤติ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ กายสมาจาร แบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กายสมาจาร

แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กายสมาจารที่ควรเสพ (ประพฤติ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลาย จะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น กายสมาจารแบบนี้

ควรเสพ.

กายสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญแต่กุศลธรรมเสื่อม

[๒๒๒] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง. ดูก่อน

สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป คือ

เป็นคนดุร้าย มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่มีความเอ็นดู

ในหมู่สัตว์ที่มีชีวิต อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้

ให้ คือถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น ที่เป็นเครื่องก่อให้เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่

อยู่ในบ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้แก่ความเป็นขโมย อนึ่ง

เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลายที่มารดา

รักษาบ้าง ที่บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาและบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง

ที่พี่สาวรักษาบ้าง ที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวอยู่บ้าง

โดยที่สุดแม้พี่ชายคล้องพวงมาลัยหมั้นไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบนี้ อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลาย กลับเสื่อมลง.

การสมาจารที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมแต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๓] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารแบบไหน

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมสิ้นไป แต่กุศลธรรมจะเจริญขึ้น ดูก่อนสารีบุตร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต

คือเป็นผู้วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู เป็นผู้อนุ-

เคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลในสรรพสัตว์อยู่. เลิกละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้

เว้นขาดจากอทินนาทาน คือไม่เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เป็นเครื่องก่อให้

เกิดความปลื้มใจแก่ผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือในป่า ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว

ได้แก่ความเป็นขโมย เลิกละกาเมสุมิจฉาจารแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากกาเมสุ-

มิจฉาจาร คือไม่เป็นผู้ละเมิดจารีตในหญิงทั้งหลาย ที่มารดารักษาบ้าง ที่

บิดารักษาบ้าง ที่ทั้งมารดาบิดารักษาบ้าง ที่พี่ชายรักษาบ้าง ที่พี่สาวรักษาบ้าง

ที่ญาติรักษาบ้าง ที่มีสามีบ้าง ที่มีสินไหมติดตัวบ้าง โดยที่สุดแม้ที่ชายคล้อง

พวงมาลัยหมั้นไว้.

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกายสมาจาร แบบนี้ อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว

กายสมาจารไว้ ๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ และทั้ง

สองอย่างนั้น เป็นกายสมาจารด้วยกัน เราตถาคตอาศัยความข้อนี้ จึงได้กล่าว

ไว้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

วจีสมาจารเป็นต้นที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ

และกุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ

[๒๒๘] ก็แล ข้อที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

กล่าว วจีสมาจาร. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว มโนสมาจาร. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว ความเกิดขึ้นแห่งจิต. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การได้สัญญา. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว การกลับได้ทิฏฐิ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เราตถาคตกล่าว การได้อัตภาพ

ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ ทั้งสองอย่างนั้น

แต่ละอย่างเป็น การได้อัตภาพ ด้วยกัน เราตถาคตอาศัยอะไรจึงกล่าวไว้

แล้ว.

การกลับได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ (ได้)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญข้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง การได้อัตภาพ

แบบนี้ ไม่ควรเสพ.

การกลับได้อัตภาพที่ควรเสพ (ได้)

ดูก่อนสารีบุตร ก็แล เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมไป แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น การได้

อัตภาพแบบนี้ ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญ

แต่อกุศลธรรมเสื่อม

[๒๒๕] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การได้อัตภาพ แบบ

ไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

ดูก่อนสารีบุตร เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่เป็น

ทุกข์ให้เกิดขึ้นยังไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่สิ้นภพ) อกุศลธรรมทั้งหลาย จะเจริญ

ขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง.

การกลับได้อัตภาพที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเสื่อม

แต่กุศลธรรมเจริญ

[๒๒๖] ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ การกลับได้อัตภาพ

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญ

ขึ้น ดูก่อนสารีบุตร เพราะเหตุที่บุคคลผู้ยังการกลับได้อัตภาพที่ไม่เป็น

ทุกข์ให้เกิดขึ้น สิ้นสุดลงแล้ว (สิ้นภพแล้ว ) อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง

แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น.

ข้อที่เราตถาคต กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

กล่าวการกลับได้อัตภาพไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ และทั้งสองอย่างนั้น แต่ละอย่าง เป็นการกลับได้อัตภาพ ด้วย

กัน เราตถาคตอาศัยความข้อนี้ กล่าวไว้แล้วอย่างนี้.

สิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ๖ อย่าง

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยย่อ มิได้

จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้แล เธอพึงเห็นเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

[๒๒๗] ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงรูป ที่รู้ได้ทางจักษุ

ไว้ ๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะไว้ ๒ อย่าง

คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะไว้ ๒ อย่าง

คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงตรัสรู้ได้ทางชิวหาไว้ ๒ อย่าง

คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายไว้

๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้

๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

[๒๒๘] เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

สารีบุตร ได้ทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมบรรยายนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อ

ความให้พิสดารอย่างนี้

รูปที่ไม่ควรเสพ (ดู)

ก็แล ข้อนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคต กล่าวถึงรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย

อะไรตรัสแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรูป ที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รูปที่รู้ได้

ทางจักษุแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

รูปที่ควรเสพ (ดู)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อบุคคลเสพรูป ที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น รูปที่รู้ได้ทางจักษุ

แบบนี้ ควรเสพ.

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงรูปที่รู้ได้ทางจักษุ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเนื้อความดังที่ว่ามานี้แล้วตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคต กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้ ๒ อย่าง คือที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่

ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

เสียงที่ไม่ควรเสพ (ฟัง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสียงที่รู้

ได้ทางโสตะแบบนั้น ไม่ควรเสพ.

เสียงที่ควรเสพ (ฟัง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น เสียงที่รู้ได้ทาง

โสตะแบบนั้น ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่

ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้

กลิ่นที่ไม่ควรเสพ (ดม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กลิ่นที่รู้

ได้ทางฆานะแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กลิ่นที่ควรเสพ (ดม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะ

แบบใด อกุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

กลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงรส ที่รู้ได้ทางชิวหา ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่

ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

รสที่ไม่ควรเสพ (ลิ้ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รสที่รู้ได้.

ทางชิวหาแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

รสที่ควรเสพ (ลิ้ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบ

ไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น รส

ที่รู้ได้ทางชิวหาแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงรส ที่รู้ได้ทางชิวหา ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ นั่นพระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั้น พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง โผฏฐัพพะ

ที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

โผฏฐัพพะที่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารี-

บุตร เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (รู้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโน

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง

ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโน

แบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น ธรรมารมณ์

ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑

ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

โดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้

โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีแล้ว ๆ

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตมิได้จำแนกเนื้อความให้พิสดาร

นี้ เธอทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่ เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไรกล่าวไว้แล้ว.

รูปที่ไม่ควรเสพ (เห็น)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร. อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รูปที่รู้ได้ทาง

จักษุแบบนี้ไม่ควรเสพ.

รูปที่ควรเสพ (เห็น)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพรูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร อกุศล

ธรรมเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น รูปที่รู้ได้ทางจักษุ แบบนี้ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

รูปที่รู้ได้ทางจักษุ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่ เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไรกล่าวไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

เสียงที่ไม่ควรเสพ (ฟัง)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพเสียง ที่รู้ได้ทางโสตะแบบไร

อกุศลธรรมจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง เสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบนี้

ไม่ควรเสพ.

เสียงที่ควรเสพ (ฟัง)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสียงที่รู้

ได้ทางโสตะแบบนี้ ควรเสพ.

ก็แล. ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้กล่าวไว้แล้ว .

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ เราอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

กลิ่นไม่ที่ควรเสพ (สูด)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพกลิ่น ที่รู้ได้ทางฆานะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง กลิ่นที่รู้

ได้ทางฆานะแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

กลิ่นที่ควรเสพ (สูด)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น กลิ่นที่รู้

ได้ทางฆานะแบบนี้ ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงรสที่รู้ได้ทางชิวหา ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

รสที่ไม่ควรเสพ (ลิ้ม)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รสที่รู้ได้ทาง

ชิวหาแบบนี้ไม่ควรเสพ.

รสที่ควรเสพ (ลิ้ม)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพรสที่รู้ได้ทางชิวหาแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น รสที่รู้ได้

ทางชิวหาแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

รสที่รู้ได้ทางชิวหาไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรา

ตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกาย ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคตอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้.

โผฏฐัพพะที่ไม่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ทางกายแบบไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง

โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

โผฏฐัพพะที่ควรเสพ (ถูกต้อง)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบ

ไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น

โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกายแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อนั้นใด ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร

เสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (รู้)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่ร้ได้ทางมโนแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ธรรมา-

รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร

อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ธรรมา-

รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อนั้นใด ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงธรรมารมณ์ ที่รู้ได้ทางมโน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่

ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ดูก่อน สารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ เธอพึง

เห็นเนื้อความโดยพิศดารอย่างนี้.

[๒๓๐] ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้ ๒ อย่าง คือ ที่

ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาตไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะไว้ ๒ อย่าง คือ ที่

ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้านไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้ ๒ อย่าง คือ ที่ควร

เสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑.

ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึงบุคคล ไว้ ๒ จำพวกคือ ที่ควร

เสพจำพวกหนึ่ง ที่ไม่ควรเสพจำพวกหนึ่ง.

[๒๓๑] เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ

สารีบุตร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมบรรยายนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยย่อ มิได้ทรงจำแนก

เนื้อความโดยพิสดาร ข้าพระองค์ทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

จีวรที่ไม่ควรเสพ (ห่ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรมทั้ง.

หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง จีวรแบบนี้ ไม่ควร

เสพ.

จีวรที่ควรเสพ (ห่ม)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จีวรแบบนี้ ควรเสพ

ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงจีวรไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อน สารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาต ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร

เสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ (ฉัน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บิณฑบาตแบบนี้

ไม่ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

บิณฑบาตที่ควรเสพ (ฉัน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บิณฑบาต

แบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงบิณฑบาต ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร

เสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ (นั่งนอน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสนาสนะแบบนี้

ไม่ควรเสพ.

เสนาสนะที่ควรเสพ (นั่งนอน)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสนาสนะแบบ

นี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงเสนาสนะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควร

เสพอย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้าน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอะไรตรัสไว้แล้ว.

หมู่บ้านที่ไม่เสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง หมู่บ้านแบบนี้ ไม่

ควรเสพ.

หมู่บ้านที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น หมู่บ้านแบบนี้

ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงหมู่บ้าน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

นิคมที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง นิคมแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นิคมที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น นิคมแบบนี้ ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงนิคม ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง

๑ นั่นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

นครที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพนครแบบไร อกุศลธรรมทั้ง-

หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง นครแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นครที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่ตระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนครแบบใด อกุศลธรรม

เสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น นครแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงนคร ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพ

อย่าง ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพชนบทอย่างไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ชนบทแบบนี้ ไม่

ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ชนบทที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ชนบทแบบนี้ ควร

เสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงชนบท ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง

๑ พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

ก็แล ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราตถาคตกล่าวถึงบุคคล ไว้ ๒ จำพวกคือ ที่ควรเสพจำพวก ๑ ที่ไม่ควร

เสพจำพวก ๑ พระองค์ทรงอาศัยอะไรจึงได้ตรัสไว้.

บุคคลที่ไม่ควรเสพ (คบ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บุคคลแบบนี้ ไม่

ควรเสพ.

บุคคลที่ควรเสพ (คบ)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แล เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศล-

ธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บุคคลแบบนี้

ควรเสพ.

ข้อที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เรา

ตถาคตกล่าวถึงบุคคลไว้ ๒ จำพวกคือ ที่ควรเสพจำพวก ๑ ที่ไม่ควรเสพ

จำพวก ๑ นั่น พระองค์ทรงอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

แล้วโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร ข้าพระองค์ทราบความหมาย

ได้โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีแล้ว ๆ

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายนี้ ที่เรากล่าวโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความ

ให้พิสดาร เธอทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ถูกแล้ว.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงจีวร ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เรา

ตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

จีวรที่ไม่ควรเสพ (ห่ม)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง จีวรแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

จีวรที่ควรเสพ (ห่ม)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพจีวรแบบไรอกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น จีวรแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

จีวรไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคตอาศัย

เนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวบิณฑบาต ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง เรา

ตถาคตอาศัยอะไรจึงกล่าวไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

บิณฑบาตที่ไม่ควรเสพ (ฉัน)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลาย กลับเสื่อมลง บิณฑบาตแบบนี้ ไม่

ควรเสพ.

บิณฑบาตที่ควรเสพ (ฉัน)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบิณฑบาตแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น บิณฑบาตแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

บิณฑบาตไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ และไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเรา

อาศัยเนื้อความดังนี้มา จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงเสนาสนะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑

เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

เสนาสนะที่ไม่ควรเสพ (นั่งนอน)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง เสนาสนะแบบนี้

ไม่ควรเสพ.

เสนาสนะที่ควรเสพ (นั่งนอน)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพเสนาสนะแบบไร อกุศลธรรม

ทั้งหลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น เสนาสนะแบบนี้

ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

เสนาสนะ ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคต

อาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าว

ถึงหมู่บ้าน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคต

อาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

หมู่บ้านที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง หมู่บ้านแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

หมู่บ้านที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพหมู่บ้านแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น หมู่บ้านแบบนี้ ควรเสพ.

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

หมู่บ้าน ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ เราตถาคต

อาศัยเนื้อความดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงนิคม ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่น

เราตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

นิคมไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมกลับเสื่อมลง นิคมแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นิคมที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น นิคมแบบนี้ ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

นิคม ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคต

อาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคต

กล่าวถึงชนบทไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเรา

ตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง ชนบทแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

ชนบทที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพชนบทแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น ชนบทแบบนี้ ควรเสพ.

ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

ชนบท ไว้ ๒ อย่างคือ ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่ควรเสพอย่าง ๑ นั่นเราตถาคต

อาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ก็แล ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าว

ถึงบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ที่ควรเสพจำพวก ๑ ที่ไม่ควรเสพจำพวก ๑ เรา

ตถาคตอาศัยอะไร จึงได้กล่าวไว้.

บุคคลที่ไม่ควรเสพ (คบ)

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลาย

จะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง บุคคลแบบนี้ไม่ควรเสพ.

บุคคลที่ควรเสพ (คบ)

ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพบุคคลแบบไร อกุศลธรรมทั้ง

หลายจะเสื่อมลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น บุคคลแบบนี้ควรเสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ข้อที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวถึง

บุคคลไว้ ๒ จำพวกคือ ที่ควรเสพจำพวก ๑ ไม่ควรเสพจำพวก ๑ เราตถาคต

อาศัยเนื้อความดังว่ามานี้ จึงได้กล่าวไว้.

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมบรรยายที่เราตถาคตกล่าวแล้วโดยย่อนี้ เธอ

พึงเห็นเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้.

[๒๓๓] ดูก่อนสารีบุตร ถ้ากษัตริย์ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่ง

ธรรมบรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิศดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็น

ไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน.

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าพราหมณ์แม้ทั้งปวง....

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแพศย์แม้ทั้งปวง....

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าศูทรแม้ทั้งปวง พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรม-

บรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิสดารอย่างนี้ นั่นจะพึงเป็นไป

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรแม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน.

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์พึงรู้ทั่ว

ถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่เราตถาคตกล่าวโดยย่อนี้ได้ โดยพิสดารอย่างนี้

นั่นจะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทว-

โลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อม

ทั้งเทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรท่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมาจาร

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตญฺจ อญฺญมญฺ กายสมาจาร ความ

ว่า เราตถาคตกล่าวความประพฤติทางกายที่ควรเสพอย่างหนึ่ง และที่ไม่ควร

เสพอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า เราตถาคตมิได้กล่าวว่า กายสมาจารที่ควรเสพนั่น

แลไม่ควรเสพโดยปริยายไรๆ หรือกายสมาจารที่ไม่ควรเสพว่าควรจะเสพ.

แม้ในวจีสมาจารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

ทรงวางแม่บทไว้โดยบททั้ง ๗ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงจำแนกไว้โดย

พิสดาร ก็ทรงยุติเทศนาไว้.

เพราะเหตุไร ?

เพราะเพื่อจะให้โอกาสแก่พระสารีบุตรเถระ. ในมโนสมาจาร ท่านไม่

ได้ถือเอามิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิว่า เป็นองค์ที่แยกตั้งไว้ต่างหากด้วยสามารถ

แห่งการกลับได้ทิฏฐิ.

ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ ก็หา

มิได้. (คือถึงกรรมบถ)

ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้น ว่า อภิชฺฌา

สหคตาย ลญฺาย (มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดง

กามสัญญาเป็นต้น.

พระอนาคามียังมีภวตัณหา

บทว่า สพฺยาปชฺณ แปลว่า มีทุกข์. บทว่า อปรินิฏฺิตภาวาย

ได้แก่ เพราะภพทั้งหลายยังไม่หมดไป. ก็ในที่นี้ ชื่อว่าอัตภาพที่ถูกทุกข์เบียด

๑. บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

เบียนมี ๔ ประการ. เพราะบุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะหยุดภพ

โดยอัตภาพนั้นได้ จำเดิมแต่การปฏิสนธิของบุคคลนั้น อกุศลธรรมทั้งหลาย

ย่อมเจริญ และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป ชื่อว่าย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์

เท่านั้นให้เกิด. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็เหมือนกัน.

ถามว่า ปุถุชนทั้งหลายเป็นต้น รวมพระโสดาบัน และพระสกทาคา-

มี ขอยกไว้ก่อน แต่พระอนาคามีย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เบียดเบียนให้เกิดขึ้น

ได้อย่างไร.

ตอบว่า เพราะแม้พระอนาคามี บังเกิดในชั้นสุทธาวาส แลดูต้น

กัลปพฤกษ์ในวิมานอุทยาน (สวนสวรรค์) เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ.

ความโลภในภพ ตัณหาในภพ ย่อมเป็นอันพระอนาคามี ยังละไม่ได้เลย

เพราะพระอนาคามีนั้นยงละตัณหาไม่ได้ ชื่อว่า อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศล-

ธรรมเสื่อมไป ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์นั่นแลให้เกิดขึ้น พึงทราบว่า ยังเป็นผู้

มีภพไม่สิ้นสุดนั่นแหละ.

อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน

บทว่า อพฺยาปชฺฌ คือ ไม่มีทุกข์. แม้บุคคลนี้ ก็พึงทราบเนื่อง

ด้วยชน ๔ จำพวก. อธิบายว่า บุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ก็อาจทำภพให้สิ้นสุด

ลงด้วยอัตภาพนั้น ไม่ถือปฏิสนธิอีกต่อไป จำเดิมแต่บุคคลนั้นถือปฏิสนธิ

อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเท่านั้นเจริญ เขาย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์

นั่นแหละ ให้เกิดขึ้น เป็นผู้ชื่อว่ามีภพสิ้นสุดแล้วทีเดียว. พระโสดาบัน

พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็เหมือนกัน.

ถามว่า พระโสดาบันเป็นต้น พักไว้ก่อน (ไม่ต้องพูดถึง) ปุถุชน

ย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และเขามีการเสื่อมจาก

อกุศลธรรมเป็นต้น ได้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ตอบว่า แม้ปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้าย ก็ย่อมสามารถทำภพให้สิ้นสุด

ลงด้วยอัตภาพนั้นได้ อัตภาพของปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้ายนั้น แม้จะฆ่าสัตว์

ถึง ๙๙๙ ชีวิต เหมือนองคุลิมาล ก็ชื่อว่าไม่มีทุกข์ ชื่อว่าย่อมทำภพให้สิ้นสุด

ลง ชื่อว่าย่อมยังอกุศลนั่น แลให้เสื่อมไป ย่อมยังวิปัสสนานั่น แลให้ถือเอาห้อง

วิปัสสนาได้.

ราคะเกิดแก่บางคน

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺเยฺย เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-

เพราะเหตุที่ราคะเป็นต้น ในรูปนั่นแหละ ย่อมเกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคล

บางคนจึงเพลิดเพลินชอบใจ เมื่อเพลิดเพลินชอบใจย่อมถึงความเสื่อมและ

ความพินาศ. ย่อมไม่เกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเบื่อหน่าย

คลายกำหนัด ย่อมถึงความดับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ตญฺจ อญฺมญฺ

ในบททั้งปวงมีนัยนี้นั่นแล.

ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ

ในบทว่า เอว วิตฺถาเรน อตฺถ อาชาเนยฺยุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ถามว่า คนเหล่าไหน ย่อมรู้เนื้อความภาษิตนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ตอบว่า เบื้องต้น ชนเหล่าใดร่ำเรียนบาลี และอรรถกถาของพระ

สูตรนี้ แต่ไม่ทำตามที่ร่ำเรียนมานั้น ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา ตามที่กล่าว

แล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้. ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้กระทำตามที่เล่าเรียน

มานั้น ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้.

ถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น การรู้เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น

จะมีประโยชน์เกื้อกูลและความสุขตลอดกาลนาน สำหรับเหล่าสัตว์ผู้มีปฏิสนธิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

จงยกไว้ก่อน แต่สำหรับเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีปฏิสนธิ (อีกต่อไป) จะมีประโยชน์

สุขได้อย่างไร ?

ตอบว่า เหล่าชนผู้ไม่ปฏิสนธิ ย่อมปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเชื้อ

เมื่อกาลเวลาล่วงไป แม้ตั้งแสนกัป ชื่อว่าความทุกข์ย่อมไม่มีแก่คนเหล่านั้น

อีกต่อไป. คนเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมจะมีประโยชน์สุขชั่วกาลนาน โดยส่วน

เดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

๕. พหุธาตุกสูตร

ว่าด้วยธาตุมากอย่าง

[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-

ดำรัสแล้ว.

[๒๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิด

ขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่

คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

นั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่ง

เรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิท ปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อม

เกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น

ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่า

ชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่

บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า (แต่)

บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลจึงมีอุปัทวะ (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ

คนพาลจึงมีอุปสรรค (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปสรรค. ภัย อุปัทวะ อุปสรรค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ไม่มีแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้

อย่างนี้เถิดว่า เราทั้งหลายจักเป็นบัณฑิต.

เหตุที่เรียกว่าบัณฑิต

[๒๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระ-

อานนท์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วย

เหตุเท่าไรหนอแล. จึงควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาด

ในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและ

อฐานะ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็น

บัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.

[๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควร

เรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ ๑๘

พ. ดูก่อนอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ ๑

ธาตุคือรูป ๑ ธาตุคือจักษุวิญาณ ๑ ธาตุคือโสตะ ๑ ธาตุคือเสียง ๑

ธาตุคือโสตวิญญาณ ๑ ธาตุคือฆานะ ๑ ธาตุคือกลิ่น ๑ ธาตุคือ

ฆานวิญญาณ ๑ ธาตุคือชิวหา ๑ ธาตุคือรส ๑ ธาตุคือชิวหา-

วิญญาณ ๑ ธาตุคือกาย ๑ ธาตุคือโผฏฐัพพะ ๑ ธาตุคือกายวิญญาณ

๑ ธาตุคือมโน ๑ ธาตุคือธรรมารมณ์ ๑ ธาตุคือมโนวิญญาณ ๑

ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านี้แล ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึง

ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่

ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ธาตุ ๖

ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุที่มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือดิน ๑ ธาตุ

คือน้ำ ๑ ธาตุคือไฟ ๑ ธาตุคือลม ๑ ธาตุคืออากาศ ๑ ธาตุคือ

วิญญาณ ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่

เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

[๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกหรือไม่.

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือสุข ๑

ธาตุคือทุnข์ ๑ ธาตุคือโสมนัส ๑ ธาตุคือโทมนัส ๑ ธาตุคืออุเบก-

ขา ๑ ธาตุคืออวิชชา ๑ ดูก่อนอานนท์ เหล่านั้นแล ธาตุ ๖ อย่าง แม้

ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

[๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่

ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ

ธาตุ ๖ อีกอย่างหนึ่ง

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ ธาตุ ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑

ธาตุคือเนกขัมมะ ๑ ธาตุคือพยาบาท ๑ ธาตุคือความไม่พยาบาท ๑

ธาตุคือความเบียดเบียน ๑ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน ๑ ดูก่อน

อานนท์ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านั้นแล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควร

เรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่

ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

ธาตุ ๓

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่ ธาตุคือกาม ๑

ธาตุคือรูป ๑ ธาตุคืออรูป ๑ ดูก่อนอานนท์ ธาตุ ๓ อย่างเหล่านี้แล

แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่

ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ ๒

พ. ดูก่อนอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ สังขตธาตุ ๑ อสัง-

ขตธาตุ ดูกรอานนท์ ธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่

เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

[๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

อายตนะภายใน - ภายนอก อย่างละ ๖

พ. ดูก่อนอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖

แล คือ จักษุและรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหา

และรส ๑ กายและโผฏฐัพพะ ๑ มโนและธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อน

อานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้แล แม้ด้วยเหตุ

ที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ.

[๒๔๔] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไรจึงควรเรียกว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท.

ปฏิจจสมุปบาท

พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เมื่อ

เหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น เนื้อเหตุนี้ไม่มี ผล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

นี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะ

ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพ

เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่

เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้ เพราะสังขาร

ดับ จึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับ จึง

ดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับ จึงดับ

เวทนาได้ เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้

เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้ เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาคิดับจึง

ดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้ ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีมาอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึง

ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฎิจจสมุปบาท.

[๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควรเรียกว่า

ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ?

ภ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ฐานะและอฐานะอย่างละ ๒

(๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเพียง นั่นไม่ใช่ฐานะที่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชน พึงเข้าใจสังขารไร ๆ

โดยความเป็นของเที่ยง นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นสุข นั่นไม่ใช่ฐานะที่มี

ได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจสังขารอะไร ๆ

โดยความเป็นสุข นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมอะไร ๆ โดย

ความเป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตมารดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น

ฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตมารดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตบิดา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่

เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตบิดาได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

(๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิ พึงปลงชีวิตพระอรหันต์ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า

ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ได้ นั่นเป็นฐานะ

ที่มีได้.

(๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิ มีจิตคิดประทุษร้าย พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้น นั่นไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนมีจิตคิดประทุษ-

ร้าย พึงทำโลหิตแห่งตถาคตให้ห้อขึ้นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิ พึงทำลายสงฆ์ นั่น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะ

มีได้แล คือ ปุถุชนพึงทำลายสงฆ์ได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อม

ด้วยทิฏฐิจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่น นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่

เป็นฐานะมีได้แล คือ ปุถุชนจะพึงมุ่งหมายศาสดาอื่นได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่

หลังกัน นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่น

เป็นฐานะที่มีได้.

(๑๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ พระเจ้า-

จักรพรรดิ ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียวกัน ไม่ก่อนไม่หลังกัน

นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระเจ้าจักรพรรดิ

พระองค์เดียว พึงเสด็จอุบัติในโลกธาตุเดียว นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็น

ฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเป็นฐานะที่

มีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

(๑๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงเป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล

คือ บุรุษพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสำเร็จ

เป็นท้าวสักกะ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ

บุรุษพึงสำเร็จเป็นท้าวสักกะ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสำเร็จ

เป็นมาร นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษ

พึงสำเร็จเป็นมาร นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงสำเร็จ

เป็นพรหม นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ

บุรุษพึงสำเร็จเป็นพรหม นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง

กายทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่

มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายทุจริต พึงเกิด

เป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง

วจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีทุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่

น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๑๙) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง

มโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งมโนทุจริต พึงเกิดเป็นที่

ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๐) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่งกาย

สุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่ฐานะ

ที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งกายสุจริต พึง

เกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง

วจีสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่

ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ วิบากแห่งวจีสุจริต พึง

เกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่น เป็นฐานะที่มีได้

(๒๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ วิบากแห่ง

มโนสุจริต พึงเกิดเป็นที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ นั่นไม่ใช่

ฐานะที่มีได้. และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะที่มีได้แล คือ วิบากแห่งมโนสุจริต

พึงเกิดเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ นั่นเป็นฐานะที่มีได้

(๒๓) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยกายทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายทุจริต

นั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้

แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายทุจริตเมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เพราะกายทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๔) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีทุจริตนั้น

เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เพราะวจีทุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๕) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อม

ด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนทุจริตนั้น

เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล

คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เพราะมโนทุจริตนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

(๒๖) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า

ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อตายไป

พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกายสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็น

ฐานะที่มีได้.

(๒๗) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อ

ที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้า

ถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะวจีสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็นฐานะที่

มีได้.

(๒๘) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้พรั่ง

พร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป พึงเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เพราะมุโนสุจริตนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า

ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อตายไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะมโนสุจริตนั้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย นั่นเป็น

ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาด

ในฐานะและอฐานะ.

[๒๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่า

เป็นไปได้เลย ธรรมบรรยายนี้ชื่อไร พระพุทธเจ้าข้า ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอจงจำธรรม

บรรยายนี้ไว้ว่า ชื่อพหุธาตุกะ (ชุมนุมธาตุมากอย่าง) บ้าง ว่า ชื่อจตุปริวัฏฏ์

(แสดงอาการเวียน ๔ รอบ) บ้างว่า ชื่อธรรมาทาสะ (แว่นส่องธรรม) บ้าง

ว่า ชื่ออมตทุนทุภี (กลองบันลืออมฤตธรรม) บ้าง ว่า ชื่ออนุตตรสังคาม-

วิชัย (ความชนะสงความอย่างไม่มีความชนะอื่นยิ่งกว่า) บ้าง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสุภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนที่ชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ พหุธาตุกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

อรรถกถาพหุธาตุกสูตร

พหุธาตุกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในพระสูตรนั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภัย อุปัทวะ อุปมรรค

ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น มีอธิบายว่า ความสะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่า

ภัย. อาการแห่งจิตที่ไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า อุปัทวะ อาการที่ติดขัด

คืออาการที่ขัดข้องในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสรรค.

พึงทราบความต่างของอาการมีความกลัว (ภัย) เป็นต้น เหล่านั้น

อย่างนี้:- พวกโจรที่อาศัยอยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอมีภูเขาเป็นต้น ส่งข่าวแก่

ชาวชนบทว่า ในวันโน้น พวกเราจะเข้าปล้นบ้านของพวกท่าน. จำเดิมแต่

ได้ฟังพฤติการณ์นั้นแล้ว พวกชาวชนบทย่อมถึงความกลัว ความสะดุ้ง มีชื่อ

ว่า ความสะดุ้งแห่งจิต.

พวกชาวชนบทพากันคิดว่า ที่นี้พวกโจรนั้นโกรธจักนำเอาแม้ความ

พินาศมาสู่พวกเรา จึงถือเอาของสำคัญๆ เข้าป่าไปพร้อมกับสัตว์ ๒ เท้า และ

สัตว์ ๔ เท้า นอนบนพื้นดินในที่นั้น ๆ ถูกเหลือบยุงเป็นต้นกัด ก็เข้าไป

ระหว่างพุ่มไม้ เหยียบย่ำตอและหนาม ภาวะที่ชาวชนบทเหล่านั้นเที่ยวซัด

ส่ายไปอย่างนี้ ชื่อว่า อาการที่จิตไม่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

แต่นั้น เมื่อพวกโจรไม่มาตามวันที่พูด ก็พากันคิดว่า ข่าวนั้นคงจะ

เป็นข่าวลอย ๆ พวกเรา (ควร) จักเข้าบ้าน พร้อมทั้งสิ่งของ ก็พากันเข้า

ไปยังบ้าน. ที่นั้น พวกโจรรู้ว่าชาวบ้านกลับเข้าบ้าน จึงล้อมบ้านไว้ จุดไฟ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

ที่ประตูฆ่าพวกมนุษย์ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทุกสิ่งไป. บรรดามนุษย์เหล่านั้น

พวกที่เหลือจากถูกฆ่า พากันดับไฟแล้ว นั่งจับเจ่าเศร้าโศกถึงสมบัติที่พินาศ

ไปแล้วในที่นั้น ๆ ที่ร่มเงายุ้งข้าว และฝาเรือนเป็นต้น. อาการที่ติดขัด

ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอาการขัดข้อง.

ภัยเกิดจากคนพาล

บทว่า นฬาคารา แปลว่า เรือนที่มุงด้วยไม้อ้อ. ก็ในเรือนที่กั้น

ด้วยไม้อ้อนี้ แต่สัมภาระที่เหลือในเรือนนี้ ล้วนแล้วด้วยไม่ (เนื้อแข็ง) แม้

ในเรือนที่มุงด้วยหญ้าก็นัยนี้นั่นแหละ.

บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อาศัยคนพาลเท่านั้นจึง

เกิดขึ้น

เพราะคนพาลเป็นคนไม่ฉลาด ปรารถนาความเป็นพระราชา ความ

เป็นอุปราช หรือตำแหน่งใหญ่อย่างอื่น พาเอานักเลงโคที่เป็นเด็กขาดพ่อแม่

อบรมเช่นกับในจำนวนเล็กน้อย กล่าวว่า พวกท่านจงมา เราจักทำพวกท่าน

ให้เป็นใหญ่ ดังนี้แล้ว ไปอาศัยชัฏเขาเป็นต้นอยู่ ปล้นบ้านตามชายแดน

ประกาศให้รู้ว่าเป็นพวกดุร้าย (ทามริกะ) แล้วปล้นนิคมบ้าง ชนบทบ้าง

ตามลำดับ.

พวกมนุษย์พากันทั้งบ้าน ต้องการที่ปลอดภัย ย่อมหลีกไป. ภิกษุ

ก็ดี ภิกษุณีก็ดี ที่อาศัยพวกมนุษย์เหล่านั้นอยู่ ก็ละทิ้งที่เป็นที่อยู่ของตน ๆ

หลีกไป. ในที่ที่ผ่านไป ภิกษาก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเป็นของหายาก. ภัย

ย่อมจะมีมาแก่บริษัททั้ง ๔ ด้วยประการอย่างนี้. แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย

ภิกษุพาล ๒ รูป ก่อการวิวาทกันเริ่มฟ้องกันขึ้น. ดังนั้น การทะเลาะกันย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

เกิดขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ภัยย่อมมี่แก่บริษัททั้ง ๔ เป็นแน่แท้

ภัยแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น พึงทราบว่า เกิดจากคนพาล ด้วยประการดัง

พรรณนามานี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ (ตรัส) พระธรรมเทศนาให้ถึงที่สุด ก็ทรงจบเสีย ไฉนหนอเราพึงทูล

ถามพระทศพลแล้วกระทำเทศนาให้บริบูรณ์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั่นแล

จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต นี้.

รูปปริคคหะ - อรูปปริคคหะ

ในบรรดาธาตุ ๑๘ อย่าง การกำหนดธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง ชื่อว่า

รูปปริคคหะ (คือการกำหนดรูป) การกำหนดธาตุ ๗ อย่างครึ่ง เป็นอรูป-

ปริคคหะ (คือการกำหนดอรูป) ฉะนั้นจึงเป็นอันตรัสการกำหนดทั้งรูป และ

อรูปทีเดียว. ธาตุแม้ทั้งหมดเป็นเบญจขันธ์ ด้วยอำนาจขันธ์ แม้เบญจขันธ์

ก็เป็นทุกขสัจ ตัณหาอันยังเบญจขันธ์เหล่านั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจ ความ

ไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรจสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่อง

ให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจ ดังนั้นกรรมฐานมีสัจะจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ จึง

เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความ

ย่อในที่นี้. แต่โดยพิสดาร ธาตุเหล่านั้นได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ตรัสมรรคไว้พร้อมกับวิปัสสนา ด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ ตรัส

ปฐวีธาตุเป็นต้น เพื่อทรงแสดงกายที่มีวิญญาณโดยเป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์.

ด้วยว่าปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นจะต้องให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ ๑๘ อย่างหมวดแรก

เมื่อจะให้เต็มจำนวน ก็ควรให้เต็มโดยนำออกไปจากวิญญาณธาตุ. วิญญาณ-

ธาตุที่เหลือย่อมมี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจจักขุวิญญาณเป็นต้น. บรรดาวิญญาณ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ธาตุเหล่านั้น เมื่อกำหนดเอาจักขุวิญญาณธาตุ ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาธาตุทั้ง

สองเหมือนกันคือ จักขุธาตุ อันเป็นที่ตั้งของจักขุวิญญาณธาตุนั้น ๑ รูปธาตุ

ที่เป็นอารมณ์ ๑ แม้ในธาตุทั้งปวงก็นัยนี้นั่นแล. แต่เมื่อกำหนดมโนวิญญาณ

ธาตุ ธาตุทั้งสองคือมโนธาตุโดยเป็นธาตุที่มาก่อนมโนวิญญาณธาตุนั้น ๑

ธรรมธาตุ โดยเป็นอารมณ์ ๑ ก็เป็นอันทรงกำหนดเอาแล้วเหมือนกัน ด้วย

เหตุนี้บรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้น ธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง จึงเป็นรูปปริคคหะ

(คือการกำหนดรูป) เพราะเหตุนั้น ธาตุกรรมฐานแม้นี้ย่อมเป็นอันพระองค์

ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนเหมือนกัน.

อธิบายสุขธาตุ

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า สุขธาตุ เป็นต้นต่อไป ชื่อว่าสุขธาตุ

เพราะสุขนั้นด้วย ชื่อว่า เป็นธาตุด้วย เพราะอรรถว่า ไม่ใช่สัตว์และเป็น

ของสูญ. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในธาตุ ๖ อย่างนี้ ธาตุ ๔

ธาตุแรก ท่านถือเอาเนื่องด้วยเป็นสิ่งขัดกัน แค่ ๒ ธาตุหลังท่านถือเอาเนื่อง

ด้วยคล้ายกัน. ธาตุ คืออุเบกขาคล้ายกันกับธาตุคืออวิชชา แม้เพราะเป็นภาวะ

ที่ไม่ชัดแจ้ง. อนึ่งในธาตุ ๖ นี้ เมื่อทรงกำหนดเอาสุขธาตุ และทุกขธาตุ ก็

เป็นอันทรงกำหนดเอาวิญญาณธาตุด้วย. เมื่อทรงกำหนดเอาธาตุที่เหลือ ก็

เป็นอันทรงกำหนดเอามโนวิญญาณธาตุด้วย. ธาตุ ๖ อย่างแม้เหล่านี้ (คือ

สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา อวิชชา) ก็พึง (แจกออกไป) ให้

เต็ม (รูปแบบ) โดยธาตุ ๑๘ อย่างข้างต้นนั่นแล. เมื่อจะทำให้เต็ม (รูปแบบ)

ต้องทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากอุเบกขาธาตุดังกล่าวมานี้ในบรรดาธาตุ ๑๘

อย่างเหล่านี้ ธาตุ. ๑๐ อย่างครึ่งเป็นการกำหนดรูปแล. แม้กรรมฐานนี้ย่อม

เป็นอันตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย แก่ภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

อธิบายกามธาตุ

พึงทราบเนื้อความแห่งกามธาตุเป็นต้น โดยนัยที่ตรัสไว้ในกามวิตก

เป็นต้น ในเทวธาวิตักกสูตร. แม้ในพระอภิธรรม กามธาตุเป็นต้น เหล่านั้น

ท่านได้ให้พิสดารไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ?

ได้แก่ ความตรึก ความวิตก อันประกอบด้วยกามดังนี้. ธาตุ ๖ แม้เหล่านั้น

(คือกาม เนกขัมมะ พยาบาท อัพยาบาท วิหิงสา อวิหิงสา) ก็พึงทำให้

เต็มจำนวนด้วย ธาตุ ๑๘ อย่างข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวน

ควรทำให้เต็มโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ ๑๐ อย่างครึ่ง

ในธาตุ ๑๘ อย่าง จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์

ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั้นแหละ.

ขันธ์จัดเป็นธาตุ

ในบรรดากามธาตุเป็นต้น ขันธ์อันเป็นกามาวจร ๕ ชื่อว่ากามธาตุ

ขันธ์อันเป็นรูปาวจร ๕ ชื่อว่า รูปธาตุ ขันธ์อันเป็นอรูปาวจร ๔ ชื่อว่า อรูป-

ธาตุ. ก็ความพิสดารของธาตุเหล่านี้ มีมาในพระอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า

บรรดาธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ? เบื้องล่างทำอเวจีนรกให้เป็นที่สุด.

ธาตุ ๓ แม้เหล่านี้ ก็ควรทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ ๑๘ ข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อ

จะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมา

นั้น ธาตุ ๑๐ ครึ่งในบรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้นจึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้

กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูป

หนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

สังขตะ - อสังขตะ

บทว่า สงฺขตา แปลว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำ. คำนี้เป็น

ชื่อของขันธ์ ๕. ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ. คำนี้เป็นชื่อของพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

นิพพาน. ธาตุทั้งสองแม้เหล่านี้ ก็พึงทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ ๑๘ อย่างข้าง

ต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มโดยนำออกไปจากสังขต-

ธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ ๑๐ อย่างครึ่งโนบรรดาธาตุ ๑๘ อย่างเหล่านั้น

จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุดเป็น

การย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

อายตนะภายใน - ภายนอก

บทว่า อชฺฌตฺติกพาหิรานิ ได้แก่ ทั้งภายในและภายนอก. ก็ใน

คำนี้ จักษุเป็นต้น จัดเป็นอายตนะภายใน และรูปเป็นต้น จัดเป็นอายตนะ

ภายนอก. แม้ในที่นี้ก็ตรัสมรรคกับวิปัสสนาด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ

(ย่อมรู้ ย่อมเห็น) ดังนี้.

บทว่า อิมสฺมึ สติ อิท ดังนี้เป็นต้น ได้กล่าวไว้อย่างพิสดาร

แล้วในมหาตัณหาสังขยสูตร.

ฐานะ - โอกาส

บทว่า อฏฺาน ได้แก่ ปฏิเสธเหตุ.

บทว่า อนวกาโส ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย.

แม้บททั้งสองก็ห้ามเหตุด้วยกันนั่นแหละ. อันที่จริงเหตุท่านเรียกว่า

ฐานะ. และโอกาส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผลของตน เพราะผลเป็นไปเนื่องกับ

เหตุนั้น.

บทว่า ย แปลว่า เหตุใด.

บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระโสดาบันอริยสาวกผู้สมบูรณ์

ด้วยมรรคทิฏฐิ.

บทว่า กิญฺจิ สงฺขาร ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สังขาร

อย่างหนึ่งในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

บทว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย คือ พึงยึดถือว่าเที่ยง.

บทว่า เนต าน วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นไม่มี คือ จัดเข้าไม่ได้.

บทว่า ย ปุถุชฺชโน ได้แก่ เพราะเหตุใด ปุถุชน.

บทว่า านเมต วิชฺชติ ได้แก่ เหตุนั้นมีอยู่. อธิบายว่า แท้

จริงบุคคลนั้นพึงยึดสังขารอะไร ๆ ในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดย

ความเป็นของเที่ยง ด้วยสัสสตทิฏฐิ.

แม้ในบทว่า กิญฺจิ สงฺขาร สุขโต เป็นต้น ก็พึงทราบความ

หมายโดยนัยนี้ว่า ก็สังขารทั้งหลาย้อนเป็นไปในภูมิที่ ๔ (โลกุตรภูมิ) ย่อม

ไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิ หรือของอกุศลทั้งหลายอื่น เหมือนก้อนเหล็กที่ร้อน

ระอุด้วยอำนาจความร้อนที่ร้อนระอุขึ้นเป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ติดใจของพวก

แมลงวันฉะนั้น.

บทว่า สุขโต อุปคจฺเฉยฺย นี้ ตรัสหมายเอาความยึดถือว่าเป็น

สุขด้วยอำนาจอัตตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตน) อย่างนี้ว่า อัตตาเป็นสภาวะ

ที่มีสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค เบื้องหน้าแต่ตายไป ดังนี้เป็นต้น. ก็พระ

อริยสาวกเข้าไปยึดถือสังขารอย่างหนึ่งว่าเป็นสุข ด้วยจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุต

เปรียบเหมือนช้างตัวตกมันถูกความเร่าร้อนครอบงำ มีความเย็นเหลืออยู่น้อย

เพื่อระงับความเร่าร้อนจึงวิ่งเข้าอาศัยกองคูถและเปรียบเหมือนโปกขรพราหมณ์

วิ่งเข้าอาศัยกองคูถฉะนั้น. ในวาระที่ว่าด้วยเรื่องตน ไม่ตรัสว่า สังขาร

ตรัสว่า ธรรมไร ๆ ดังนี้ เพื่อจะรวมเอาบัญญัติมีกสิณเป็นต้นเข้าไว้ด้วย. แม้

ในที่นี้ (คือพระสูตรนี้ ) พึงทราบความหมายที่เนื่องด้วยสังขารอันเป็นไปใน

ภูมิ ๔ สำหรับพระอริยสาวก. ที่เนื่องด้วยสังขาร อันเป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น

สำหรับปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ในวาระทั้งปวง การกำหนดด้วยอำนาจสังขาร

๑. ฉบับพม่าเป็น อตฺตวาเร แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

ที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวกะ จริงอยู่ ปุถุชน

ย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ พระอริยสาวกย่อมคลายความยึดถือจากสิ่งนั้น ๆ. ก็แม้

ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา พระอริยสาวกถือเอา

สิ่งนั้น ๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมกลับความยึดถืออันนั้น.

พระอริยะอาจไม่รู้ว่าเป็นอริยะในชาติต่อไป

ในคำว่า มาตร เป็นต้น มีอธิบายว่า หญิงผู้ให้กำเนิดนั้นแล

ท่านประสงค์เอาว่า มารดา ชายผู้ให้กำเนิด ท่านประสงค์เอาว่าบิดา. และ

พระขีณาสพที่เป็นมนุษย์ ท่านประสงค์เอาว่า พระอรหันต์.

ถามว่า. ก็พระอริยสาวก พึงปลงชีวิตคนอื่นหรือ ?

ตอบว่า แม้ข้อนั้นก็ไม่ใช่ฐานะ (ที่มีได้)

ก็ถ้าใคร ๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยัง

เวียนว่ายตายเกิด) ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจง

ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนี้แล้ว ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน

ห้องจักรวาลทั้งหมด ดังนี้ท่านจะไม่ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนั้นเลย. แม้ถ้า

จะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน. แต่

ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คำนี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมาก

และเพื่อแสดงกำลังของพระอริยสาวก.

ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระ-

ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกำลังมาก

ตรงที่ไม่กระทำกรรมเหล่านี้ .

บทว่า ทุฏฺจิตฺโต แปลว่า มีจิตประทุษร้าย ด้วยจิตคิดจะฆ่า.

บทว่า โลหิต อุปฺปาเทยฺย ความว่า พึงทำพระวรกายที่มีชีวิตให้

ห้อพระโลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวเล็ก ๆ พอดื่มได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

บทว่า สงฺฆ ภินฺเทยฺย คือ พึงทำลายสงฆ์ ผู้มีสังวาสเสมอกัน ตั้ง

อยู่ในสีมาเดียวกัน โดยเหตุ ๕ ประการ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี

สงฆ์ย่อมแตกกันโดยอาการ ๕ คือ โดยกรรม ๑ โดยอุทเทส ๑ โดย

โวหาร ๑ โดยการสวดประกาศ ๑ โดยการให้จับสลาก ๑

ใน ๕ อย่างนั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรม ๔ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่งมีอุปโลกนกรรมเป็นต้น.

บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดา

ปาติโมกขุทเทส ๕.

บทว่า โวหรนฺโต ความว่า กล่าว คือ แสดงเรื่องที่ทำให้แตกกัน

๑๘ ประการ มีอาทิว่า แสดงสิ่งที่มิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ตามเหตุที่ให้เกิด

เรื่องนั้น ๆ.

บทว่า อนุสฺสาวเนน ความว่า ด้วยการเปล่งวาจาประกาศใกล้หู

โดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านรู้มิใช่หรือว่า ผมออกบวชจากตระกูลสูง และ

เป็นพหูสูต พวกท่านควรทำแม้ความคิดให้เกิดขึ้นว่า ธรรมดาคนอย่างผม

(หรือ) ควรจะให้ถือสัตถุศาสน์นอกธรรมนอกวินัย, อเวจีนรกเยือกเย็นเหมือน

ป่าดอกอุบลเขียว สำหรับผมหรือ ? ผมไม่กลัวอบายหรือ ?

บทว่า สลากคฺคาเหน ความว่า ด้วยการประกาศอย่างนั้น สนับ

สนุนความคิดภิกษุเหล่านั้นทำไม่ให้หวนกลับมาเป็นปกติแล้ว จึงให้จับสลาก

ว่า พวกท่านจงจับสลากนี้.

ก็ในเรื่องนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทสเป็นสำคัญ ส่วนการกล่าว

(ชักชวน) การประกาศและการให้จับสลาก เป็นวิธีการเบื้องต้น. เพราะเมื่อ

กล่าวเนื่องด้วยการแสดงเรื่อง ๑๘ ประการแล้วประกาศเพื่อทำให้เกิดความชอบ

ใจในเรื่องนั้น แล้วจึงให้จับสลาก สงฆ์ยังเป็นอัน (นับว่า) ไม่แตกกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

แต่เมื่อใด ภิกษุ ๔ รูป หรือเกินกว่า จับสลากอย่างนั้นแล้ว แยกทำกรรม

หรืออุเทส เมื่อนั้น สงฆ์ย่อมชื่อว่าแตกกัน. ข้อนี้ที่ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิอย่างนี้ พึงทำลายสงฆ์ ดังนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อนันตริยกรรม ๕

มีการฆ่ามารดาเป็นต้น ย่อมเป็นอันแสดงแล้วด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้.

วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕

เพื่อจะอธิบายอนันตริยกรรมที่ปุถุชนทำ แต่พระอริยสาวกไม่ทำให้

แจ่มแจ้ง

พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร

โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก และโดยสาธารณะ เป็นต้น____________

วินิจฉัยโดยกรรม

ใน ๕ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยโดย กรรม ก่อน. ก็ในเรื่อง

กรรมนี้ เมื่อบุคคลเป็นมนุษย์ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่เปลี่ยน

เพศ กรรมเป็นอนันตริยกรรม. บุคคลนั้นคิดว่า เราจักห้ามผลของกรรมนั้น

จึงสร้างสถูปทองประมาณเท่ามหาเจดีย์ ให้เต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวาย

ทานแก่พระสงฆ์ผู้นั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี เที่ยวไปไม่ปล่อยชายสังฆาฏิของ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ดี เมื่อแตกกาย (ทำลายขันธ์) ย่อมเข้าถึงนรกเท่า

นั้น. ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน

หรือตนเองเป็นเดรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือเป็นเดียรัจฉาน

เหมือนกัน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นเดียรัจฉาน กรรมของผู้นั้น ยังไม่เป็น

อนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก ตั้งอยู่ใกล้ชิดอนันตริยกรรม. แต่ปัญหา

นี้ท่านกล่าวเนื่องด้วยสัตว์ผู้มีกำเนิดเป็นมนุษย์.

ในปัญหานั้นควรกล่าว เอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และ

โจรจตุกกะ อธิบายว่า มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจะฆ่าแพะ ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่ฆ่า

แพะด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นแพะ หรือด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา

ย่อมไม่ต้องอนันตริยกรรม. ฆ่ามารดาบิดาด้วยความมุ่งหมายว่า เป็นมารดา

บิดา ย่อมต้องอนันตริยกรรมแน่. ใน ๒ จตุกกะแม้ที่เหลือก็มีนัยดังกล่าวนี้

นั่นแหละ. พึงทราบจตุกกะเหล่านี้แม้ในพระอรหันต์เหมือนในมารดาบิดา.

ฆ่าพระอรหันต์ ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ต้องอนันตริยกรรม. ที่เป็น

ยักษ์ (เทวดา) ไม่ต้อง (อนันตริยกรรม). แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่น

อนันตริยกรรมเหมือนกัน. ก็สำหรับพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์ เมื่อประหาร

ด้วยศัสตรา หรือแม้ใส่ยาพิษ ในเวลายังเป็นปุถุชน ถ้าท่านบรรลุพระอรหัต

แล้วตายด้วยการกระทำอันนั้น เป็นอรหันตฆาตแน่ ๆ. ส่วนทานที่ถวายใน

เวลาท่านเป็นปุถุชน ซึ่งท่านฉันแล้วบรรลุพระอรหัต ทานนั้นเป็นอันให้แก่

ปุถุชนนั่นแหละ. ไม่มีอนันตริยกรรม แก่คนผู้ฆ่าพระอริยบุคคลทั้งหลายที่

นอกเหนือจากพระอรหันต์ แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่นเดียวกับอนันตริย-

กรรมนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยใน โลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิต

ให้ห้อ) ต่อไป ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้ว

ทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่

พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ. แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็น

ไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต

พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระ-

เทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนัง

พระบาท ตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้

ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใด

ทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่

ชนเหล่านั้น ?

ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม.

แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ หรือพระปฏิมา ควร

ทำ แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือน

กัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่อง

ใช้สอยของพระพุทธเจ้า). แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ ที่ทั้งเจดีย์

จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อ

รักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มี

ไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือน

อาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่ง

โพธิ์เสียก็ได้. เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสีย

ออกไปก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พึงทราบวินิจฉัยในการทำ สังฆเภท ต่อไป. ความแตกกัน และ

อนันตริยกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมา ไม่ประชุมกัน พา

บริษัทแยกไป ทำการชักชวน การสวดประกาศ และการให้จับสลากผู้ทำ

กรรม หรือสวดอุทเทส. แต่เมื่อภิกษุทำกรรมด้วยคิดว่า ควร เพราะสำคัญว่า

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นความแตกกันเท่านั้น ไม่เป็นอนันตริยกรรม.

เพราะบริษัทหย่อนกว่า ๙ รูป ก็เหมือนกัน (เป็นความแตกกัน แต่ไม่เป็น

อนันตริยกรรม) โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด ในคน ๙ คน คนใดทำลายสงฆ์ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

อนันตริยกรรม ย่อมมีแก่คนนั้น. สำหรับพวกอธรรมวาทีผู้คล้อยตาม ย่อม

มีโทษมาก ผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ.

ในการทำลายหมู่ของภิกษุทั้ง ๙ รูปนั้น (สงฆ์ ๙ รูป) นั้น (ปรากฏ)

พระสูตรเป็นหลักฐานดังนี้ ว่า ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป อีกฝ่าย

หนึ่งมี ๘ รูป รูปที่ ๙ สวดประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุ

ศาสน์ พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ จงชอบใจสิ่งนี้ ดูก่อนอุบาลี ความร้าวราน

แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีอย่างนี้แล. ดูก่อนอุบาลี ความร้าวราน

แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีแก่ภิกษุจำนวน ๙ รูปหรือเกินกว่า ๙ รูป

ได้ดังนี้.

ก็บรรดาอนันตริยกรรมทั้ง ๕ ประการเหล่านั้น สังฆเภทเป็นวจีกรรม

ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม ด้วยประการดังนี้แล.

วินิจฉัยโดยทวาร

บทว่า ทฺวารโต ความว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมตั้ง

ขึ้นทางกายทวารบ้าง วจีทวารบ้าง ก็ในเรื่องนี้ กรรม ๔ ประการ เบื้องต้น

ถึงจะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค (การสั่งบังคับ) ก็ให้เกิดผลทาง

กายทวารได้เหมือนกัน สังฆเภทแม้จะตั้งขึ้นทางกายทวารของภิกษุ ผู้ทำการ

ทำลายด้วยใช้หัวแม่มือ ให้เกิดผลทางวจีทวารได้เหมือนกัน ในเรื่องที่ว่าด้วย

สังฆเภทนี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวาร ด้วยประการดังนี้.

วินิจฉัยโดยตั้งอยู่ชั่วกัป

บทว่า กปฺปฏฺิติยโต ความว่า ก็ในอธิการนี้ สังฆเภทเท่านั้นที่ตั้ง

อยู่ชั่วกัป. ด้วยว่าบุคคลทำสังฆเภทในคราวกัปเสื่อมหรือตอนกลางของกัป ใน

เมื่อกัปพินาศไป ย่อมพ้น (จากกรรมได้) ก็แม้ถ้าว่า พรุ่งนี้กัปเสื่อมพินาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

ทำสังฆเภทวันนี้ พอพรุ่งนี้ก็พ้น ตกนรกวันเดียวเท่านั้น. แต่เหตุการณ์

อย่างนี้ไม่มี. กรรม ๔ ประการที่เหลือ เป็นอนันตริยกรรมอย่างเดียว ไม่เป็น

กรรมที่ตั้งอยู่ชั่วกัป. พึงทราบวินิจฉัยโดยการตั้งอยู่ชั่วกัปในเรื่องนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

วินิจฉัยโดยวิปาก

บทว่า ปากโต ความว่า ก็บุคคลใดทำอนันตริยกรรมเหล่านี้ แม้ทั้ง

๕ ประการ สังฆเภทอย่างเดียวย่อมให้ผลเนื่องด้วยการปฏิสนธิแก่บุคคลนั้น

กรรมที่เหลือ ย่อมนับเข้าในข้อมีอาทิอย่างนี้ว่า "เป็นอโหสิกรรม แต่ไม่เป็น

อโหสิวิบาก "ในเมื่อไม่มีการทำสังฆเภท การทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นย่อมให้ผล

ในเมื่อไม่มีการทำพระโลหิตให้ห้อขึ้น อรหันตฆาตย่อมให้ผล. และในเมื่อไม่

มีอรหันตฆาต ถ้าบิดามีศีล มารดาไม่มีศีล ปิตุฆาตย่อมให้ผล หรือบิดาไม่มีศีล

แต่มารดามีศีลมาตุฆาตย่อมให้ผล เนื่องด้วยการให้ปฏิสนธิ ถ้ามาตาปิตุฆาตจะ

ให้ผลไซร้ในเมื่อท่านทั้งสองเป็นคนมีศีลด้วยกัน หรือเป็นคนไม่มีศีลด้วยกัน

มาตุฆาตเท่านั้น ย่อมให้ผลเนื่องด้วยปฏิสนธิ เพราะมารดาทำสิ่งที่ตนทำได้ยาก

กับทั้งมีอุปการะมากแก่พวกลูกๆ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยวิบากในเรื่องอนัน-

ตริยกรรมนี้ ด้วยประการอย่างนี้.

วินิจฉัยโดยสาธารณะเป็นต้น

บทว่า สาธารณาทีหิ ความว่า อนันตริยกรรม ๔ ประการข้อต้น ๆ

เป็นกรรมทั่วไปแก่คฤหัสถ์ และบรรพชิตแม้ทั้งหมด. แต่สังฆเภทเป็นกรรม

เฉพาะภิกษุผู้มีประการดังตรัสไว้โดยพระบาลีว่า "ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลาย

สงฆ์ไม่ได้ สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (เหล่านี้) ก็

ทำลายสงฆ์ไม่ได้. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเหล่านั้น ที่เป็นปกตัตตะมีสังวาสเสมอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

กันอยู่ในสีมาเดียวกัน จึงจะทำลายสงฆ์ได้ ดังนี้ (สังฆเภท) ไม่เป็นกรรม

สำหรับคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ทั่วไป (แก่คนพวกอื่น). ด้วยอาทิ

ศัพท์ (ในบทว่า สาธารณาทีหิ) บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ท่านประสงค์เอาว่า

เป็นผู้มีทุกขเวทนา สหรคตด้วยทุกข์ และสัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ. พึง

ทราบวินิจฉัยแม้โดย (เป็นกรรมที่) สาธารณะเป็นต้นในที่นี้อย่างนี้แล.

แก้บท อญฺ สตถาร

บทว่า อญฺ สตฺถาร ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึด

ถืออย่างนี้ว่า พระศาสดาของเรานี้ ไม่สามารถทำหน้าที่ของพระศาสดาได้และ

แม้ในระหว่างภพ จะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นศาสดาของเรา

ดังนี้ ข้อที่กล่าวมานั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

เขต ๓

บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ หมื่นโลกธาตุ. ก็เขตมี ๓

เขตคือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต. ในเขตทั้งสามนั้น หมื่นโลกธาตุ ชื่อ

ว่า ชาติเขต. เพราะหมื่นโลกธาตุนั้นย่อมไหว ในเวลาพระตถาคตเสด็จลงสู่

พระครรภ์ เสด็จออกทรงผนวช ตรัสรู้ ประกาศพระธรรมจักร ทรงปลงอายุ

สังขาร และเสด็จปรินิพพาน. ส่วนแสนโกฏิจักรวาฬ ชื่ออาณาเขต. เพราะ

อาณา (อำนาจ) ของอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร รัตนปริตร

และเมตตาปริตร เป็นต้น ย่อมแผ่ไป ในแสนโกฏิจักรวาลนี้. ส่วนวิสัยเขต

ไม่มีปริมาณ (คือนับไม่ได้) อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะชื่อว่า ไม่มี

วิสัยก็หามิได้ เพราะพระบาลีว่า พระญาณมีเท่าใด สิ่งที่ควรรู้ ก็มีเท่านั้น

สิ่งที่ควรรู้มีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น สิ่งที่ควรรู้มีพระญาณเป็นที่สุด พระ

ญาณมีสิ่งที่ควรรู้เป็นที่สุด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

พระพุทธเจ้าไม่อุบัติในจักรวาลอื่น

ไม่มีพระสูตรที่ว่า "ก็ในเขตทั้ง ๓ เหล่านี้ เว้นจักรวาลนี้แล้วพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น " ดังนี้ มีแต่พระสูตรว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น. ปิฎก ๓ คือ พระวินัยปิฎก

พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก การสังคายนาปิฎก ๓ ครั้ง คือการสัง-

คายนาของพระมหากัสสปเถระ การสังคายนาของพระยศเถระ การสังคายนา

ของพระโมคคัลลีบุตรเถรแล. ในพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎกที่ยกขึ้นสังคาย.

นา ๓ ครั้งเหล่านี้ ไม่มีสูตรว่า " พ้นจักรวาลนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัง

เกิดขึ้นในจักรวาลอื่นได้ " มีแต่ไม่ทรงบังเกิดขึ้น (ในจักรวาลอื่น).

บทว่า อปุพพ อจริม แปลว่า ไม่ก่อนไม่หลัง. อธิบายว่า ไม่

เกิดร่วมกัน คือ เกิดก่อนหรือภายหลัง. ก็ในคำนั้นไม่ควรเข้าใจว่า ในกาล

ก่อนเพียงเท่าที่ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา จนถึงเวลาที่ประทับนั่ง

ที่โพธิบัลลังก์ ด้วยทรงอธิษฐานว่า เรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณจักไม่ลุกขึ้น.

เพราะท่านทำการกำหนดเขตไว้ ด้วยการยังหมื่นจักรวาลให้หวั่นไหว ใน

เพราะการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์นั่นแล. เป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติของ

พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. ไม่ควรเข้าใจว่าในภายหลังตั้งแต่เสด็จปรินิพพาน

จนกระทั่งพระบรมธาตุมีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ยังประดิษฐานอยู่. เพราะ

เมื่อพระบรมธาตุยังดำรงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นอันยังอยู่ทีเดียว.

เพราะฉะนั้น ในระหว่างเวลาดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระ-

พุทธเจ้าพระองค์อื่นอย่างเด็ดขาด. แต่เมื่อพระบรมธาตุเสด็จปรินิพพานแล้ว

ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น.

อันตรธาน ๓

เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิ-

เวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฎก ๓ ซึ่งว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อ

ว่า ปฏิบัติ.

ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุ

ทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจน

ว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียว

ในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราว

ก็มีน้อย.

ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ

(ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.

พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธ

และปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และ

สมาบัติ ๗ ให้เกิดในสำนักของ อาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรม เนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่

นั้นพระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของ อุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้

บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรม เนวสัญญานาสัญญา-

ยตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเอง

พระบรมโพธิสัตว์ก็ทำ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้นให้สำเร็จ ฉันใด

ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ

แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระ

ศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.

อธิบายปริยัติอันตรธาน

ก็เมื่อใด ปริยัติ นั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้น พระอภิธรรม จัก

เสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน จะอันตรธานก่อนกว่าทุก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

คัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะ อันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อ

พระอภิธรรมปิฎกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฎกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระ-

ศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. ในปิฎกเหล่านั้น เมื่อ พระสุตตันตปิฎก จะ

อันตรธานหายไป อังคุตตรนิกาย ย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่

เอกาทสกนิบาต จนถึง เอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกาย ย่อม

อันตรธานหายไป เริ่มแต่ จักกเปยยาลสูตร จนถึง โอฆตรณสูตร.

ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ อินทริยภาวนาสูตร

จนถึง มูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้นทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่

ทสุตตรสูตร จนถึง พรหมชาลสูตร. ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำ

ถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจ

ทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา และ อาฬวกปุจฉา. ได้ยินว่า

ระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระ-

ศาสนาไว้ได้.

ก็เมื่อปิฎกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฎกยังคง

ดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไป

แล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่อ

อุภโตวิภังค์ อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็น

อันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกา อันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชา

และอุปสมบท จักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนิน

ไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาว ไม่อาจดำรงพระศาสนา

ไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอัน

เสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ และคนสุดท้ายที่ทำลายศีล.

จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.

๑. พม่า--สภิยปุจฉา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ปรินิพพาน ๓

ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ กิเลสปรินิพพาน ขันธปรินิพพาน

ธาตุปรินิพพาน. ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้ว

ณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปริ-

นิพพาน จักมีในอนาคต.

พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน

ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุม

กันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยัง

ราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์-

บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหม-

โลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ด

พันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่าง ๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม)

เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระ

ฉัพพรรณรังสี (รัสมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไป

ทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬ จักประชุมกัน

แสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพล-

ว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็น

การเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระ-

ขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้น

ในพระธาตุทั้งหลายแล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณ

เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุ

ทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันอันตรธานไป.

พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างนี้. ข้อ

ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะ

ที่จะมีได้.

เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติพร้อมกัน

ก็เพราะเหตุไร ? จึงไม่อุบัติไม่ก่อนไม่หลังกัน ?

เพราะไม่น่าอัศจรรย์.

เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นอัจฉริยมนุษย์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมเป็นมนุษย์

อัศจรรย์อุบัติขึ้น บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร ? คือ พระตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ก็ถ้า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ๔ พระองค์ ๘ พระองค์ หรือ ๑๖

พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นร่วมกัน ไม่พึงเป็นผู้น่าอัศจรรย์. เพราะลาภสักการะแม้

ของเจดีย์ ๒ องค์ในวิหารเดียวกัน ย่อมไม่เป็นของโอฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลาย

ก็ไม่เป็นผู้น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเป็นอย่าง

นั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เสด็จอุบัติ.

อนึ่ง ที่ไม่เสด็จอุบัติ (พร้อมกัน) เพราะพระธรรมเทศนาของพระ-

องค์ ไม่มีแปลกกัน. ด้วยว่าพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงแสดงธรรมใด

ต่างโดยสติปัฏฐานเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น เสด็จอุบัติแล้ว ก็

พึงทรงแสดงธรรมนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์. แต่เมื่อ

พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้เทศนาก็เป็นของอัศจรรย์

อนึ่ง พระธรรมเทศนาจะเป็นของอัศจรรย์ เพราะไม่มีการขัดแย้ง

กัน. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นหลายพระองค์ สาวกจะพึงวิวาทกันว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

พระพุทธเจ้าของพวกเราน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเราพระสุรเสียง

ไพเราะ มีบุญ. เหมือนพวกศิษย์ของอาจารย์หลายคน แม้เพราะเหตุนั้นจึง

ไม้เสด็จอุบัติขึ้นอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เหตุการณ์นี้ พระนาคเสนถูกพระเจ้า

มิลินท์ตรัสถาม ได้ขยายความพิสดารไว้แล้ว สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า:-

พระยามิลินท์ ตรัสถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ในเรื่อง

พระพุทธเจ้าหลายพระองค์นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส คือ ข้อที่พระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ เสด็จอุบัติ ไม่ก่อนไม่หลังกันใน

โลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ท่านนาคเสน อนึ่ง เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรม พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ก็จะทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗

ประการ เมื่อจะตรัสก็จะตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อจะให้ศึกษาก็จะทรงให้ศึกษาใน

สิกขา ๓ และเมื่อจะทรงสั่งสอน ก็จะทรงสั่งสอนการปฏิบัติเพื่อความไม่

ประมาท ข้าแต่พระคุณเจ้านาคเสน ถ้าว่า พระพุทธเจ้าแม้ทุกพระองค์

มีอุทเทสอย่างเดียวกัน มีกถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มี

อนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์ จึงไม่เสด็จ

อุบัติในคราวเดียวกัน เพราะการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแม้พระองค์

เดียว โลกนี้ก็จะเกิดแสงสว่าง ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ โลกนี้ก็จะ

พึงมีแสงสว่างยิ่งกว่าประมาณ ด้วยพระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์

และพระตถาคต ๒ พระองค์ เมื่อจะตรัสสอน ก็จะตรัสสอนได้ง่าย เมื่อจะ

ทรงอนุสาสน์ ก็ทรงอนุสาสน์ได้ง่าย ขอพระคุณเจ้าจงชี้แจงเหตุในข้อนั้น ให้

โยมฟังให้หายสงสัยด้วยเถิด.

พระนาคเสน ถวายวิสัชนาว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ รอง

รับพระพุทธเจ้าองค์เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตพระองค์เดียวเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ จะพึงอุบัติขึ้น. โลกธาตุนี้จะพึงรองรับไม่ได้ จะพึง

หวั่นไหวน้อมโน้ม พลิกกระจาย แตกทำลายไปเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ มหา-

บพิตร เรือบันทุกคนได้คนเดียว เมื่อคนผู้เดียวขึ้น เรือนั้นพึงใช้การได้ ถ้า

คนที่ ๒ ลงมา เขามี อายุ วรรณ วัย ขนาดผอม อ้วน มีอวัยวะน้อย

ใหญ่ทุกอย่าง เหมือนคนแรกนั้น คนผู้นั้นพึงขึ้นเรือลำนั้น มหาบพิตร เรือ

ลำนั้นจะรับคนแม้ทั้งสองไว้ได้หรือหนอ ?

รับไม่ได้ดอกพระคุณเจ้า เรือลำนั้นจะต้องโคลง น้อมโน้ม คว่ำ

กระจาย แตกทำลายไป เข้าถึงการลอยลำอยู่ไม่ได้ พึงจมน้ำไป ฉันใดฉันนั้น

เหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้าได้พระองค์

เดียว รองรับพระคุณของพระตถาคตได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าว่าพระ-

พุทธเจ้าองค์ที่ ๒ พึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุจะพึงรองรับไว้ไม่ได้พึงหวั่นไหว

น้อมโน้ม พลิกกระจาย แตก ทำลายไป เข้าถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ อีกอย่าง

หนึ่ง มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า คนบริโภคอาหารเต็มที่ จนถึงคอพอแก่

ความต้องการ ต่อแต่นั้น เขาจะอิ่ม เต็มที่ โงกง่วงตลอดเวลา เป็นเหมือน

ท่อนไม้ที่แข็งทื่อ. เขาพึงบริโภคอาหารมีประมาณเท่านั้นอีกครั้ง มหาบพิตร

คนผู้นั้นจะพึงมีความสุขหรือหนอ ?

ไม่มีเลย พระคุณเจ้า เขาบริโภคอีกครั้งเดียว ก็จะต้องตาย ฉันนั้น

เหมือนกันแล มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้รองรับพระพุทธเจ้า พระองค์

เดียว ฯลฯ พึงเข้าถึงการตั้งอยู่ไม่ได้.

พระคุณเจ้านาคเสน ด้วยการแบกธรรมอันยิ่งไว้ แผ่นดินจะไหว

ได้อย่างไร ?

ขอถวายพระพร มหาบพิตร ในข้อนี้ (ขออุปมาด้วย) เกวียน ๒ เล่ม

(บรรทุก) เต็มด้วยรัตนะจนถึงเสมอปาก จะเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่งไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

เกลี่ยใส่ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะพึงรองรับรัตนะ

ของเกวียนทั้งสองเล่มได้แลหรือ ?

ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า แม้ดุมของเกวียนเล่มนั้นก็จะคลอน แม้กำก็

จะแตก แม้กงก็จะหลุดตกไป แม้เพลาก็จะหัก.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร เกวียนหักเพราะการ (ที่บรรทุก) รัตนะ

เกินไปใช่หรือไม่ ?

ถูกแล้วพระคุณเจ้า

ขอถวายพระพร มหาบพิตร (ข้อนี้ฉันใด) แผ่นดินก็ฉันนั้นเหมือน

กัน หวั่นไหวเพราะภาระคือธรรมอันยิ่ง.

ขอถวายพระพร มหาบพิตร อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์จงทรงสดับ

เหตุการณ์นี้ อันเป็นที่รวมการแสดงพระกำลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(และ) เหตุการณ์แม้อย่างอื่นที่น่าสนใจในข้อนั้น ที่เป็นเหตุให้พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ๒ องค์ไม่อุบัติคราวเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ๒ พระองค์จะพึงอุบัติในคราวเดียวกันไซร้ ความวิวาทกันจะพึงเกิด

แก่บริษัท สาวกจะเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธ-

เจ้าของพวกเรา ขอพระองค์จงสดับเหตุการณ์ข้อแรกนี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอพระองค์

จงสดับเหตุการณ์แม้ข้ออื่นยิ่งไปกว่านี้ ที่เป็นเหตุไม่ให้้พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติขึ้นในคราวเดียวกัน. ขอถวายพระพร มหาบพิตร

ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติขึ้นในคราวเดียวกันไซร้

คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เลิศ ก็จะพึงผิดไป คำที่ว่า พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่

สุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้วิเศษสุด ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้สูงสุด ที่ว่าพระ-

พุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

เสมอเหมือนมิได้ ที่ว่าพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เปรียบเทียบ. ที่ว่าพระพุทธ-

เจ้าไม่มีผู้เทียมทัน ที่ว่าพระพุทธเจ้าหาผู้เปรียบมิได้ พึงเป็นคำผิดไป ขอ

ถวายพระพร มหาบพิตร ขอพระองค์จงรับเหตุการณ์แม้นี้แล โดยความหมาย

อันเป็นเหตุไม่ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ อุบัติขึ้นในคราวเดียว

กัน. อีกอย่างหนึ่ง ขอถวายพระพร มหาบพิตร ข้อที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์เดียวเท่านั้น อุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นสภาวปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เพราะเหตุไร ? เพราะพระคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็น

เหตุการณ์ใหญ่หลวง. ขอถวายพระพร มหาบพิตร สิ่งที่เป็นของใหญ่แม้

อย่างอื่น ย่อมมีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น แผ่นดินใหญ่มีแผ่นดินเดียวเท่านั้น

สาครใหญ่มีสาครเดียวเท่านั้น ขุนเขาสิเนรุใหญ่ประเสริฐสุดก็มีลูกเดียวเท่านั้น

อากาศใหญ่ (กว้าง) ก็มีแห่งเดียวเท่านั้น ท้าวสักกะใหญ่ก็มีองค์เดียว

เท่านั้น พระพรหมใหญ่ก็มีองค์เดียวเท่านั้น พระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น ท่านเหล่านั้นอุบัติขึ้นในที่ใด

คนเหล่าอื่นย่อมไม่มีโอกาสในที่นั้น เพราะเหตุนั้น พระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เดียวเท่านั้นอุบัติขึ้นในโลก. พระคุณเจ้านาคเสน

ปัญหาพร้อมทั้งเหตุการณ์ (ที่นำมา) เปรียบเทียบ ท่านกล่าวได้ดีมาก.

เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน

บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่น

จักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียว

เท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาล

นี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ในบทว่า อปุพฺพ อจริม นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่

ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะ

นั้นอันตรธาน ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไป

โดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออก

ทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปใน

วันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้น

ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรง

อุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.

ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และ

เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.

ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิด

ขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่ง

มี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้น

จะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถ

มอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็

จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักร-

วาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และ

เพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้.

หญิงเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้

ในคำนี้ว่า ย อิตฺถี อรห อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ (ข้อที่หญิง

พึงเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า) ดังนี้ ความเป็นพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ที่สามารถยังคุณคือสัพพัญญูให้เกิดขึ้นแล้วได้โลกุตระขอยกไว้ก่อน แม้เพียง

การตั้งปณิธานก็ย่อมไม่สำเร็จแก่สตรี.

บุญญาภินิหารจะสำเร็จได้ เพราะรวมเหตุ ๘ ประการ คือ

ความเป็นมนุษย์ ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ชาย) ๑ เหตุ (มโน

ปณิธาน) ๑ การได้พบเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึง

พร้อมด้วยคุณ ๑ อธิการ (คือสักการะอันยิ่งใหญ่) ๑ ความพอใจ

(ในพระโพธิญาณ) ๑

เหตุที่กล่าวมานี้แหละ เป็นเหตุแห่งปณิธานสมบัติ. เมื่อสตรีไม่

สามารถเพื่อยังแม้ปณิธานให้สำเร็จได้ ด้วยประการดังกล่าว ความเป็นพระ

พุทธเจ้าจะมีมาแต่ไหนเพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า ข้อที่หญิงพึงเป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. ก็การสั่งสมบุญให้บริบูรณ์

ด้วยอาการทั้งปวง จะให้เกิดอัตภาพที่บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงนั่นแหละ

เพราะเหตุนั้น บุรุษเท่านั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

หญิงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้

แม้ในบทเป็นต้นว่า ย อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ (ข้อที่

หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ) ดังนี้ มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ลักษณะ

ทั้งหลายของหญิงไม่บริบูรณ์โดยไม่มีของลับที่จะเก็บไว้ในฝัก เป็นต้น ความ

พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๓ ประการ ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีอิตถีรัตนะ (คือ

นางแก้ว) และไม่มีอัตภาพที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึง

ตรัสว่า ข้อที่หญิงพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ

มีได้. และเพราะฐานะ ๓ ประการ มีความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น เป็นฐานะ

สูงสุด แต่เพศหญิงเป็นเพศต่ำ เพราะเหตุนั้น แม้ฐานะที่หญิงจะเป็นท้าว-

สักกะเป็นต้น ก็เป็นอันระงับไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ไม่มีเพศหญิงเพศชายในพรหมโลก

ถามว่า แม้เพศหญิงไม่มีในพรหมโลกฉันใด ถึงเพศชายก็ฉันนั้นใน

พรหมโลกก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ไม่พึงพูดว่า ข้อที่บุรุษพึงเป็นพระพรหมนั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้ มิใช่หรือ

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ควรพูด.

เพราะผู้ชายในโลกนี้เกิดในพรหมโลกนั้น.

เพราะคำว่า ความเป็นพรหม หมายเอาท้าวมหาพรหม. ก็หญิง

บำเพ็ญฌานในโลกนี้แล้วตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมปาริสัชชา

(บริษัทบริวารของพระพรหม) ไม่ถึงท้าวมหาพรหม. ส่วนบุรุษไม่ควรกล่าว

ว่า ไม่เกิดในชั้นมหาพรหม. และในพรหมโลกนี้ แม้เมื่อไม่มีเพศทั้งสอง

พรหมทั้งหลายก็มีสัณฐานเป็นบุรุษอย่างเดียว ไม่มีสัณฐานเป็นหญิง เพราะ

ฉะนั้น คำนั้นจึงเป็นอันกล่าวดีแล้ว.

กายทุจริต กายสุจริต

ในบทว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายวา พืชสะเดาและพืช

บวบขมเป็นต้น ย่อมไม่ให้เกิดผลมีรสหวาน มีแต่จะใช้เกิดผลที่มีรสไม่หวาน

ไม่น่าชอบใจ อย่างเดียว ฉันใด กายทุจริตเป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไม่ยังผลดี

ให้เกิดขึ้น ย่อมยังผลไม่ดี ให้เกิดขี้นอย่างเดียว พืชอ้อยและพืชข้าวสาลี

เป็นต้น ย่อมยังมีผลมีรสหวานรสอร่อยอย่างเดียวให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่

ไม่น่ายินดี เผ็ดร้อน ไม่หวาน ให้เกิดขึ้นไม่ ฉันใด กายสุจริตเป็นต้น

ย่อมยังผลที่ดีทั้งนั้นให้เกิดขึ้น หาได้ยังผลที่ไม่น่ายินดี เผ็ดร้อน ไม่ดี ให้เกิด

ขึ้นไม่ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

หว่านพืชเช่นใด ย่อมนำผลเช่นนั้นมา

ทำดีได้ดี และทำชั่วก็ได้ชั่ว.

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ข้อที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกาย-

ทุจริต ตายแล้วจะเข้าถึงสุคติคือโลกสวรรค์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

สมังคี ๕

บทว่า สมงฺคี ในบทว่า กายทุจฺจริตสมงฺคี เป็นต้น ความว่า

ความพร้อมเพรียงมี ๕ อย่าง คือ ความพร้อมเพรียงแห่งการประมวล

มา ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม ๑

ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก ๑ ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏ

ขึ้น ๑

ในความพร้อมเพรียง ๕ อย่างนั้น ความพร้อมเพรียงในขณะประมวล

กุศลกรรมและอกุศลกรรมมา ท่านเรียกว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการ

ประมวลมา ความพร้อมเพรียงแห่งเจตนา ก็เหมือนกัน.

ก็สัตว์ทั้งหมดท่านเรียกว่าผู้พร้อมเพรียงด้วยกรรม เพราะหมายเอา

กรรมที่เหมาะแก่วิบากที่ได้สะสมไว้ในชาติก่อน ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุพระ-

อรหัต. นี้ชื่อว่า ความพร้อมเพรียงแห่งกรรม.

ความพร้อมเพรียงแห่งวิบาก พึงทราบในขณะแห่งวิบากเท่านั้น.

ก็ตราบเท่าที่สัตว์ทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัต นิมิตของการเกิดขึ้น

ย่อมปรากฏอย่างนี้ คือ สำหรับสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพนั้นก่อน นรกย่อม

ปรากฏ โดยอาการปรากฏมีเปลวไฟและโลหกุมภีเป็นต้น ท้องมารดาย่อมปรากฏ

สำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะเข้าถึงความเป็น "คัพภเสยยกสัตว์" เทวโลกย่อมปรากฏ

โดยอาการปรากฏแห่งต้นกัลปพฤกษ์และวิมานเป็นต้น สำหรับสัตว์ผู้จะบังเกิดใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

เทวโลก. ดังกล่าวมานั้น ชื่อว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏ

เพราะสัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นการปรากฏแห่งนิมิตของการเกิดนี้.

ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏนั้นย่อมเปลี่ยนได้ แต่ความ

พรอ้มเพรียงที่เหลือเปลี่ยนไม่ได้. เพราะเมื่อนรกแม้ปรากฏแล้ว เทวโลกก็ย่อม

ปรากฏได้ เมื่อเทวโลกแม้ปรากฏแล้ว นรกก็ย่อมปรากฏได้. เมื่อมนุษย์โลก

แม้ปรากฏแล้ว กำเนิดเดียรัจฉานก็ย่อมปรากฏได้ และเมื่อกำเนิดเดียรัจฉานแม้

ปรากฏแล้ว มนุษย์โลกก็ย่อมปรากฏได้เหมือนกัน ในข้อที่กล่าวนั้น มีเรื่องดัง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

ตัวอย่างนิมิตปรากฏ

ได้ยินว่า ในอเจลวิหาร ใกล้เคียงเชิงเขาโสภณ มีพระธรรมกถึก

รูปหนึ่ง ชื่อพระโสณเถระ โยมผู้ชายของท่านเป็นนายพรานสุนัข (อาศัย

สุนัขล่าเนื้อ) พระเถระห้ามโยม เมื่อไม่อาจจะให้ตั้งอยู่ในศีลสังวรได้ จึงคิดว่า

คนแก่ อย่าได้ฉิบหายเสียเลย จึงให้โยมบิดาบวชทั้งที่ไม่อยากบวช ในกาลเป็น

คนแก่. เมื่อโยมบิดานอนบนเตียงคนไข้ นรกก็ปรากฏขึ้น. (คือ) สุนัขทั้ง-

หลายตัวใหญ่ๆ มาจากเชิงเขาโสณะ ล้อมท่านไว้ ทำทีเหมือนจะกัด. ท่าน

กลัวต่อมหาภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะห้ามที พ่อโสณะห้ามที.

พระโสณเถระถามว่า อะไรครับหลวงพ่อ.

ท่านกล่าวว่า ท่านไม่เห็นหรือ แล้วจึงบอกเรื่องราวนั้น.

พระโสณะเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเราจักเกิดในนรกได้อย่างไร

เล่า เราจักช่วยท่าน แล้วจึงให้พวกสามเณรไปนำดอกไม้นานาชนิดมาให้

๑. บาลี เป็น วราโก แต่บางแห่งเป็น ชรโก แปลตามคำหลัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ตกแต่งเครื่องลาดพื้นสำหรับบูชาและอาสนะสำหรับบูชาที่ลานเจดีย์และลานโพธิ์

แล้วเอาเตียงหามหลวงพ่อไปยังลานเจดีย์ ให้นั่งบนเตียงแล้วกล่าวว่า หลวงพ่อ

ขอรับ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ บูชานี้จัดไว้เพื่อหลวงพ่อ ขอให้หลวงพ่อ

กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นทุคคตบรรณาการ. ของข้าพระ-

องค์ ดังนี้แล้ว ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทำจิตให้เสื่อมใส.

มหาเถระนั้นเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงทำอย่างนั้น ทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว ทันใด

นั้นเทวโลกปรากฏขึ้นแก่ท่าน สวนนันทวัน สวนจิตรลดาวัน สวน

มิสสกวัน สวนปารุสกวัน และวิมานทั้งหลาย และเหล่านางฟ้าฟ้อนรำ

ได้เป็นเหมือนประดิษฐานล้อมท่านไว้.

ท่านกล่าวว่า หลีกไปเถิดโสณะ หลีกไปเถิดโสณะ.

นี่อะไรกันหลวงพ่อ.

หญิงเหล่านี้ คือ โยมผู้หญิงของคุณ กำลังมา.

พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่หลวงพ่อแล้ว.

พึงทราบว่า ความพร้อมเพรียงแห่งการปรากฏขึ้นย่อมเปลี่ยน

ไปได้อย่างนี้ ในความพร้อมเพรียงเหล่านี้ ในที่นี้ ท่านกล่าวคำเป็นต้น

ว่า "ความพร้อมเพรียงแห่งกายทุจริต" ดังนี้ ด้วยอำนาจแห่งอายูหนสมังคี

เจตนาสมังคี และกัมมสมังคี.

บทว่า เอว วุตฺเต อายสฺมา อานนฺโท ความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสสูตรนี้อย่างนี้แล้ว พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประมวลสูตรทั้งหมดมาตั้งแต่ต้น กระทำให้งดงามอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงตั้งชื่อ

ของพระสูตรที่ทรงแสดงไว้ เอาเถิด เราจักขอให้ทรงตั้งชื่อของพระสูตรนี้ ดังนี้

จึงได้กราบทูลคำนั้นกับพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

ในบทเป็นต้นว่า ตสฺมาติห ตฺว มีการประกอบความหมาย ดังต่อ

ไปนี้.

ดูก่อน อานนท์ เพราะเหตุที่เราตถาคตจำแนกธาตุไว้มากในธรรม

บรรยายนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อน อานนท์ ธาตุเหล่านี้ ๑๘ ประการแล ดูก่อน

อานนท์ ธาตุเหล่านี้ ๖ ประการ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแล เธอจงทรงจำ

ธรรมบรรยายนี้ว่า พหุธาตุกสูตร ก็ได้. ก็เพราะเหตุที่ในธรรมบรรยายนี้

เราตถาคตจำแนกปริวัฏ (การเวียนรอบ) ๔ ประการ เนื่องด้วยธาตุ อายตนะ

ปฏิจจสมุปบาท และฐานาฐานะ เพราะฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้น

ว่า จตุปริวัฏฏสูตร ก็ได้ แลเพราะเหตุที่ข้อความมีธาตุเป็นต้นเหล่านี้

ย่อมปรากฏแก่ผู้ดูธรรมบรรยายนี้ เหมือนเงาหน้าปรากฏแก่ผู้ส่องกระจกเพราะ

ฉะนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นว่า ธรรมาทาสสูตร ก็ได้ อนึ่ง

เพราะเหตุที่พระโยคีเหยียบย่ำเสนาคือกิเลส เรียนเอาวิปัสสนาตามที่กล่าวไว้ใน

สูตรนี้ แล้วย่ำยีกิเลสทั้งหลายถือเอาชัยชนะคือพระอรหัตให้แก่ตนได้ เหมือน

ทหารทั้งหลายผู้จะปราบเสนาฝ่ายตรงข้าม ลั่นกลองศึกวิ่งเข้าใส่กองทัพฝ่ายอื่น

เข้าประจัญบาน คว้าเอาชัยด้วยตัวเอง ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำ

ธรรมบรรยายนั้นว่า ชื่ออมตทุนทุภีสูตร ก็ได้. และเพราะเหตุที่ ทหาร

ในสงครามถืออาวุธ ๕ ประการ กำจัดกองทัพฝ่ายอื่นได้ชัยชนะ ฉันใด แม้

พระโยคีทั้งหลายก็ฉันนั้น ถืออาวุธคือวิปัสสนาดังกล่าวไว้ในสูตรนี้ ถือเอาชัย

คือพระอรหัตไว้ได้ เพราะเหตุนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนั้นไว้ว่า ชื่อ

อนุตตรสังคามวิชัยสูตร ก็ได้แล.

จบ อรรถกถาพหุธาตุกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

๖. อิสิคิลิสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เรียกชื่อภูเขาอิสิคิลิ

[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลิ กรุง

ราชคฤห์ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.

[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดาเราทั้งหลายนี่ พวกเธอแลเห็นภูเขาเวภาระนั่นหรือไม่ ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภูเขาเวภาระนั่นแล มีชื่อเป็นอย่างหนึ่งมี

บัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาปัณฑวะ

นั่นหรือไม่ ?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาปัณฑวะนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง

หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขาเว-

ปุลละนั่นหรือไม่ ?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขาเวปุลละนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง

หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขา

คิชฌกูฏนั่นหรือไม ?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภูเขคิชฌกูฏนั่นแล ก็มีชื่อเป็นอย่าง

หนึ่ง มีบัญญัติเป็นอีกอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลเห็นภูเขา

อิสิคิลินี้หรือไม่ ?

ภิ. เห็น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ภูเขาอิสิคิลินี้แล มีชื่อก็เช่นนี้ มี

บัญญัติก็เช่นนี้.

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า

๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่ที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

เมื่อกำลังเข้าไปสู่ภูเขานี้คนแลเห็น แต่ท่านเข้าไปแล้วคนแลไม่เห็น มนุษย์

ทั้งหลายเห็นเหตุดังนี้นั้น จึงพูดกันอย่างนี้ว่า ภูเขาลูกนี้กลืนกินฤาษีเหล่านี้ ๆ

ชื่อว่า อิสิคิลิๆนี้แลจึงได้เกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักบอก จักระบุจัก

แสดงชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พวกเธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า.

พระนามพระปัจเจกพุทธเจ้า

[๒๕๐] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อ อริฏฐะ ๑ ชื่ออุปริฏฐะ ๑ ชื่อตครสิขี ๑ ชื่อ

ยสัสสี ๑ ชื่อสุทัสสนะ ๑ ชื่อปิยทัสสี ๑ ชื่อคันธาระ ๑ ชื่อปิณโฑละ ๑

ชื่ออุปาสภะ ๑ ชื่อนิถะ ๑ ชื่อตถะ ๑ ชื่อสุตวา ๑ ชื่อภาวิตัตะ ๑ ได้

อาศัยอยู่กินที่ภูเขาอิสิคิลินี้มานาน.

[๒๕๑] เธอจงฟังเราระบุชื่อของท่าน

ที่มีธรรมเป็นสาระกว่าสัตว์ ไม่มีทุกข์ หมดความ

อยากได้บรรลุโพธิญาณอย่างดี เฉพาะตนผู้เดียว

ผู้ปราศจากลูกศร สูงกว่านรชน ต่อไปเถิด พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้น

แล้ว คือ อริฏฐพุทธ ๑ อุปริฏฐพุทธ ๑

ตครสิขีพุทธ ๑ ยสัสสีพุทธ ๑ สุทัสสน-

พุทธ ๑ ปิยทัสสีพุทธ ๑ คันธารพุทธ ๑

ปิณโฑลพุทธ ๑ อุปาสภพุทธ ๑ นิถพุทธ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ตถพุทธ ๑ สุตวาพุทธ ๑ ภาวิตัตตพุทธ ๑

สุมภพุทธ ๑ สุภพุทธ ๑ เมถุลพุทธ ๑

อัฏฐมพุทธ ๑ อถัสสเมฆพุทธ ๑ อนิฆ-

พุทธ ๑ สุทาฐพุทธ ๑ พระปัจเจกพุทธ ผู้

มีอานุภาพมาก คือ หิงคูพุทธ ๑ หิงคพุทธ ๑

พระมุนีชื่อชาลีมี ๒ องค์ และ อัฏฐกพุทธ ๑

โกสัลลพุทธ ๑ อถพุทธ ๑ สุพาหุพุทธ ๑

อุปเนมิสพุทธ ๑ เนมิสพุทธ ๑ สันติจิตต-

พุทธ ๑ สัจจพุทธ ๑ ตถพุทธ ๑ วิรช-

พุทธ ๑ บัณฑิตพุทธ ๑ กาฬพุทธ ๑ อุป-

กาฬพุทธ ๑ วิชิตพุทธ ๑ ชิตพุทธ ๑

อังคพุทธ ๑ ปังคพุทธ ๑ คุติจฉิตพุทธ ๑

ปัสสีพุทธ ๑ ได้ละอุปธิอันเป็นมูลแห่งทุกข์แล้ว

อปราชิตพุทธ ๑ได้ชนะมารและพลมาร สัตถา-

พุทธ ๑ ปวัตตาพุทธ ๑ สรภังคพุทธ ๑

โลมหังสพุทธ ๑ อุจจังคมายพุทธ ๑ อลิต-

พุทธ ๑ อนาสวพุทธ ๑ มโนมยพุทธ ๑

พันธุมาพุทธ ๑ ผู้ตัดมานะได้ ตทาธิมุต-

พุทธ ๑ วิมลพุทธ ๑ เกตุมาพุทธ ๑

เกตุมพราคพุทธ ๑ มาตังคพุทธ ๑ อริย-

พุทธ ๑ อัจจุตพุทธ ๑ อัจจุตคามพยามก-

พุทธ ๑ สุมังคลพุทธ ๑ ทัพพิลพุทธ ๑

สุปติฏฐิตพุทธ ๑ อสัยหพุทธ ๑ เขมาภิรต-

พุทธ ๑ โสรตพุทธ ๑ ทุรันนยพุทธ ๑

สังฆพุทธ ๑ อุชุชยพุทธ ๑ พระมุนี ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

สัยหะ อีกองค์หนึ่ง ผู้มีความเพียรไม่ทราม

พระพุทธชื่ออานันทะ ชื่อนันทะ ชื่ออุป-

นันทะ ๑๒ องค์ และภารทวาชพุทธ ผู้ทรง

ร่างกายในภพสุดท้าย โพธิพุทธ ๑ มหานาม-

พุทธ ๑ อุตตรพุทธ ๑ เกสีพุทธ ๑ สิขี-

พุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ ภารทวาชพุทธ ๑

ติสสพุทธ ๑ อุปติสสพุทธ ๑ ผู้ตัดกิเลส

เครื่องผูกในภพได้ อุปสีทรีพุทธ ๑ และสีทรี-

พุทธ ๑ ผู้ตัดตัณหาได้ มังคลพุทธ ๑ เป็นผู้

ปราศจากราคะ อุสภพุทธ ๑ ผู้ตัดข่ายอันเป็น

มูลแห่งทุกข์ อุปณีตพุทธ ๑ ได้บรรลุบทอันสงบ

อุโปสกพุทธ ๑ สุนทรพุทธ ๑ สัจจนาม-

พุทธ ๑ เชตพุทธ ๑ ชยันตพุทธ ๑ ปทุม-

พุทธ ๑ อุปปลพุทธ ๑ ปุทุมุตตรพุทธ ๑

รักขิตพุทธ ๑ ปัพพตพุทธ ๑ มานัตถัทธ

พุทธ ๑ โสภิตพุทธ ๑ วีตราคพุทธ ๑

กัณหพุทธ ๑ ผู้มีจิตพ้นวิเศษดีแล้ว พระปัจ-

เจกพุทธ ผู้มีอานุภาพมากเหล่านี้และอื่น ๆ มี

ตัณหาเครื่องนำไปในภพสิ้นแล้ว เธอทั้งหลาย

จงไหว้พระปัจเจกพุทธเหล่านั้น ผู้ล่วงเครื่องข้อง

ทั้งปวงได้แล้ว ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้มีคุณนับไม่

ถ้วน ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

จบ อิสิคิลิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

อรรถกถาอิสิคิลิสูตร

อิสิติลิสูตรมีคำเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ประวัติภูเขาอิสิคิลิ

พึงทราบอธิบายในอิสิคิลิสูตรนั้นดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺาว สมญฺา อโหสิ ความว่า (ก่อน) ที่ภูเขาอิสิติลิ

จะได้ชื่อว่า อิสิคิลิ (นั้น ) ได้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เวภาระ.

บทว่า อญฺา ปญฺตฺติ นี้เป็นไวพจน์ของบทแรกเท่านั้น แม้

ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน

ได้ยินว่า คราวครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากนิโรธสมาบัติ

ในเวลาเย็น แล้วเสด็จออกจากพระคันธกุฎี มีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่ง ณ

ที่ที่เมื่อคนทั้งหลายนั่งแล้วเห็นภูเขา ๕ ลูก ปรากฏชัด แล้วตรัสบอกภูเขา ๕ ลูก

เหล่านี้โดยลำดับ. ในการตรัสบอกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้มีความต้อง

การด้วยเรื่องภูเขา. แต่เมื่อตรัสบอกภูเขาเหล่านี้โดยลำดับ ๆ ก็ย่อมเป็นอันจะ

ต้องตรัสบอกภาวะที่ภูเขาอิสิคิลิเป็น ภูเขา (มีชื่อว่า) อิสิคิลิ (ด้วย). เมื่อ

ตรัสบอกเรื่องภูเขาอิสิคิลินั้นก็จักต้องตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐

องค์ ผู้เป็นบุตรของนางปทุมวดี และความปรารถนาของนางปทุมวดี

เพราะเหตุดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสลำดับของภูเขานี้.

บทว่า ปวิสนฺตา ทิสฺสนฺติ ปวิฏฺา น ทิสฺสนฺติ ความว่า พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในสถานที่ตามสะดวก กระทำ

ภัตกิจแล้ว เข้าไปข้างในโดยกระทำภูเขานั้นให้เป็น ๒ ซีก เหมือนเปิดบาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ประตูใหญ่คู่ในห้องพระเจดีย์ สร้างที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน แล้วอยู่ ณ

ที่นั้น เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า อิเม อิสี ได้แก่ พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านี้.

ก็พระปัจเจกพุทธฤาษีเหล่านั้น ได้อยู่ในภูเขานั้นตั้งแต่เมื่อไร ?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล เมื่อพระตถาคตยังไม่อุบัติขึ้น กุลธิดาผู้หนึ่ง

ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชานเมืองพาราณสี เฝ้านาอยู่ ได้ถวายดอกบัวดอกหนึ่ง

กับข้าวตอก ๕๐๐ ดอกแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ตั้งความปรารถนาให้

ได้บุตร ๕๐๐ คน. ก็พอดีขณะนั้น พรานล่าเนื้อ ๕๐๐ คน ได้ถวายเนื้อ

(ย่าง) อันอร่อยแล้วตั้งความปรารถนาว่า ขอให้พวกเราได้เป็นบุตรของนาง.

นางดำรงตลอดกาลกำหนดชั่วอายุแล้วไปเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกมาเกิด

ในกลีบดอกบัวในชาตสระ (สระที่มีอยู่เองโดยธรรมชาติ). พระดาบสองค์หนึ่ง

ไปพบเข้าก็เลี้ยงไว้ เมื่อนางกำลังเที่ยวเล่นนั่นแหละ ดอกบัวทั้งหลายผุดขึ้น

จากพื้นดิน ทุก ๆ ย่างเท้า. พรานป่าคนหนึ่งพบเข้า จึงกราบทูลแด่พระเจ้า

พาราณสี. พระราชาทรงนำนางนั้นมาแต่งตั้งให้เป็นอัครมเหสี. พระนางทรง

ครรภ์ มหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระมารดา ส่วนกุมารนอกนั้นอาศัย

ครรภ์มลทินอุบัติขึ้น. กุมารเหล่านั้นเจริญวัย ได้เล่นในสระบัวในอุทยาน

นั่งที่ดอกบัวคนละดอก เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม ทำปัจเจกโพธิญาณให้

เกิดขึ้น คาถาพยากรณ์ของท่านได้มีดังนี้ว่า

ดอกบัวในกอบัวเกิดขึ้นในสระ

บานแล้ว ถูกหมู่แมลงภู่เคล้าคลึง ก็เข้าถึง

ความร่วงโรย บุคคลรู้แจ้งข้อนี้แล้ว พึง

เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้อยู่ในภูเขานั้นมาแต่กาลครั้ง

นั้น. และแต่ครั้งนั้นมา ภูเขานั้นจึงได้เกิดชื่อว่า อิสิคิลิ.

พระนามของพระปัจเจกพุทธเจ้า

บทว่า เย สตฺตสารา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชื่อของ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๓ พระองค์คือ พระอริฏฐะ พระอุปริฏฐะ พระ-

ตัคครสิขี พระยสัสสี พระสุทัสสนะ พระปิยทัสสี พระคันธาระ

พระปิณโฑละ พระอุปาสภะ พระนิถะ พระตถะ พระสุตวา

พระภาวิตัตตะ บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

กับชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยการผูกเป็นคาถา จึงตรัสคำเป็น

ต้นว่า เย สตุตสารา ดังนี้.

ในพระนามเหล่านั้น พระนามว่า สตฺตสารา แปลว่า เป็นหลัก

ของสัตว์ทั้งหลาย. พระนามว่า. อนีฆา แปลว่า ไม่มีทุกข์ พระนามว่า

นิราสา แปลว่า ไม่มีความอยาก.

พระนามว่า เทฺว ชาลิโน ความว่า พระนามว่า ชาลีมี ๒ องค์

คือ จุลลชาลี มหาชาลี. แม้คำว่า สันตจิตตะ ก็เป็นพระนามของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.

ข้อว่า ปสฺสี ชหิ อุปธึ ทุกขมูล นี้เป็นคำสรรเสริญพระปัจเจก-

พุทธเจ้าองค์นั้นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้นทรงพระนามว่า ปัสสี ก็

เพราะพระองค์ทรงละอุปธิอันเป็นรากเหง้าแห่งทุกข์ได้แล้ว.

แม้คำว่า อปราชิตะ ก็เป็นชื่อของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

เหมือนกัน. ท่านทั้ง ๕ เหล่านี้ คือ พระสัตถา พระปวัตตา พระสร-

ภังคะ พระโลมหังสะ พระอุจจังคมายะ ท่านทั้ง ๓ แม้เหล่านี้ คือ

พระอสิตะ พระอนาสวะ พระอโนมยะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

บทว่า พนฺธุมา ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรง

พระนามว่า พันธุมา เรียกกันว่าพระมานัจฉิทะ เพราะท่านตัดมานะได้

เด็ดขาด.

แม้บทว่า ตทาธิมุตตะก็เป็นพระนามพระปัจเจกพุทธเจ้าเหมือนกัน.

ท่านทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ พระเกตุมภราคะ พระมาตังคะ พระอริยะ.

บทว่า อถจฺจุโต แยกบทออกเป็น อถ อจฺจุโต (แปลว่า อนึ่ง

พระอัจจุตะ) ท่านทั้งสองเหล่านี้ คือ พระอัจจุตะ พระอจัจุตคาม-

พยามกะ ทั้งสองท่านเหล่านี้ คือ พระเขมาภิรตะ พระโสรตะ.

บทว่า สยฺโห อโนมนิกฺกโม ความว่า พระพุทธะองค์นั้นชื่อสัยหะ

แต่เขาเรียกกันว่า อโนมนิกกมะ เพราะมีความเพียรไม่ต่ำต้อย.

บทว่า อานนฺทนนฺโท อุปนนฺโท ทฺวาทส ความว่า พระปัจเจก-

พุทธ ๑๒ องค์อย่างนี้ คือ พระอานันทะ ๔ องค์ พระนันทะ ๔ องค์

พระอุปนันทะ ๔ องค์

บทว่า ภารทฺวาโช อนฺติมเทหธารี เป็นคำสรรเสริญว่า พระ

ปัจเจกพุทธะองค์นั้นชื่อภารทวาชะ ผู้ทรงพระสรีระเป็นครั้งสุดท้าย.

บทว่า ตณฺหจฺฉิโท ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระปสีทรี. แม้

บทว่า วีตราโค ก็เป็นคำสรรเสริญพระมังคละ

บทว่า อุสภจฺฉิทา ชาลินึ ทุกฺขมูล ความว่า พระพุทธะองค์นั้น

ชื่อ อุสภะ ได้ตัดตัณหาเพียงดังข่ายอันเป็นรากเหง่าแห่งทุกข์ได้แล้ว

บทว่า สนฺต ปท อชฺฌคมูปนีโต ความว่า พระปัจเจกพุทธะพระ

องค์นั้นชื่ออุปนียะ ได้บรรลุสันตบทแล้ว. แม้บทว่า วีตราคะ ก็เป็นพระ

นามของพระปัจเจกพุทธะพระองค์หนึ่งเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ นี้เป็นคำสรรเสริญพระกัณหะ.

บทว่า เอเต จ อญฺเ จ ความว่า พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย

เหล่านี้ ทั้งที่มาในพระบาลีและไม่ได้มาในพระบาลี กับพระปัจเจกพุทธะเหล่า

อื่น พระปัจเจกพุทธะเหล่านี้ มีพระนามอย่างเดียวเท่านั้น.

ก็บรรดาพระปัจเจกพุทธะ ๕๐๐ เหล่านี้ พระปัจเจกพุทธะ ๒ องค์ก็ดี

๓ องค์ก็ดี ๑๐ องค์ก็ดี ๑๒ องค์ก็ดี ได้มีพระนามอย่างเดียวกัน เหมือน

พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายมีพระอานันทะ เป็นต้น.

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมเป็นอันระบุพระนามของพระปัจเจก-

พุทธะทั้งหลายโดยพระนามอันมาในพระบาลีเท่านั้น เพราะเหตุนั้นต่อแต่นี้ไป

ไม่ตรัสแยกเป็นรายองค์ ตรัส (รวม) ว่า เหล่านี้และเหล่าอื่นดังนี้. คำที่

เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอิสิคิลิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ว่าด้วยมรรคที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ

[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-

ดำรัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย. พวก

เธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

องค์ประกอบอริยสมาธิ ๗

[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมา-

สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิที่เป็นอริยะ อัน

มีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง.

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร? คือ ภิกษุรู้จัก

มิจฉาทิฏฐิว่ามิจฉาทิฏฐิ รู้จักสัมมาทิฏฐิว่าสัมมาทิฏฐิ ความรู้ของเธอ

นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

มิจฉาทิฏฐิ ๑๐

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฏฐิเป็นไฉน ? คือ ความ

เห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล ๑

สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ๑ ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว

ไม่มี ๑ โลกนี้ไม่มี ๑ โลกหน้าไม่มี ๑ มารดาไม่มี (คุณ) ๑ บิดาไม่มี

(คุณ) ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน

ไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะ

รู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ๑ นี้มิจฉาทิฏฐิ.

สัมมาทิฏฐิ ๒

[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เรากล่าวสัมมาทิฏฐิไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก้ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น

อนาสวะเป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑

สัมมาทิฏฐิที่เป็นสาสวะ ๑๐

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็น

ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้

แล้วมีผล ๑ ยัญที่บูชาแล้วมีผล ๑ การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ๑

ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีอยู่ ๑ โลกนี้มี ๑ โลกหน้ามี ๑

มารดามี ๑ บิดามี ๑ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี ๑ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกมีอยู่ ๑ นี้ สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

สัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะ

[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ที่เป็น

อนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ๑

ปัญญินทรีย์ ๑ ปัญญาพละ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ ความเห็นชอบ ๑

องค์แห่งมรรค ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อม

ด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็น

อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฏฐิความ

พยายามของเธอนั้น เป็น สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ

เธอมีสติละมิจฉาทิฏฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของเธอนั้น

เป็น สัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาทิฏฐิ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้น.

สัมมาทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ?

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก

มิจฉาสังกัปปะว่าเป็นมิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าเป็น สัมมา-

สังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

มิจฉาสังกัปปะ

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน ? ดุก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความดำริในกาม ๑ ดำริในพยาบาท ๑ ดำริในความ

เบียดเบียน ๑ นี้คือมิจฉาสังกัปปะ.

สัมมาสังกัปปะ ๒

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาสังกัปปะไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะ

ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาสัง-

กัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

สัมมาสังกัปปะที่เป็นสาสวะ

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริ

ในเนกขัมมะ ๑ ดำริในความไม่พยาบาท ๑ ดำริในความไม่เบียดเบียน ๑

นี้คือสัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาสังกัปปะที่เป็นอนาสวะ

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะที่เป็น

อนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

ตรึก ๑ ความวิตก ๑ ความดำริ ๑ ความแน่ว ๑ ความแน่ ๑ ความปักใจ ๑

วจีสังขาร ๑ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วย

อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะเป็น

อนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

สัมมาวายามะ

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ

ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ

ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมที่ห้อมล้อมสัมมาสังกัปปะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายา-

มะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาลังกัปปะ ของภิกษุนั้น.

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก

มิจฉาวาจาว่าเป็นมิจฉาวาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าเป็นสัมมาวาจา ความรู้

ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาวาจา

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน ? คือพูดเท็จ ๑

พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ เจรจาเพ้อเจ้อ ๑ นี้คือ มิจฉาวาจา.

สัมมาวาจา ๒

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาวาจาไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ

ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนา-

สวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

สัมมาวาจาที่เป็นสาสวะ

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน

แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ ๑

งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้น

จากการเจรจาเพ้อเจ้อ ๑ นี้คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน

แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาวาจาที่เป็นอนาสวะ

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่เป็นอริยะ เป็นอนาสวะ

เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความงด ๑

ความเว้น ๑ ความเว้นขาด ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากวจีทุจริตทั้ง ๔

ของภิกษุ ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค

เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาวาจาที่เป็นอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็น

โลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ

พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอ

นั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาวาจา

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาวายา-

มะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น.

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ภิกษุรู้จัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

มิจฉากัมมันตะว่าเป็นมิจฉากัมมันตะ รู้จักสัมมากัมมันตะว่า เป็นสัม-

มากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉากัมมันตะ

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน ? คือ

ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ นี้คือ มิจฉา-

กัมมันตะ.

สัมมากัมมันตะ ๒

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะไว้ ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะ

ที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะ

ที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑

สัมมากัมมันตะที่เป็นสาสวะ

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนา

งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ งดเว้นจาก

กาเมสุมิจฉาจาร ๑ นี้คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน

แห่งบุญ ให้ผลแก้ขันธ์.

สัมมากัมมันตะที่เป็นอนาสวะ

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะที่เป็น

อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้น ๑ จากกายทุจริตทั้ง ๓ ของภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

ผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพรอ้มด้วยอริยมรรค เจริญอริย-

มรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมากัมมันตะที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ

เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัม

มันตะ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะ

อยู่ สติของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมากัมมันตะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวา-

ยามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของ

ภิกษุนั้น.

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จัก มิจฉา-

อาซีวะว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ความ

รู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.

มิจฉาอาชีวะ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การโกง ๑ การล่อลวง ๑ การตลบตะแลง ๑ การทำ

อุบายโกง ๑ การเอาลาภต่อลาภ ๑ นี้คือ มิจฉาอาชีวะ.

สัมมาอาชีวะ ๒

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาอาชีวะไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะ

ที่เป็นอริยะเป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑.

สัมมาอาชีวะที่เป็นสาสวะ

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ

เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน ? คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ สัม-

มาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์.

สัมมาอาชีวะที่เป็นอนาสวะ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่เป็นอริยะเป็น

อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความงด ๑ ความเว้น ๑ เจตนางดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ๑ ของ

ภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญ

อริยมรรคอยู่ นี้แลคือ สัมมาอาชีวะที่เป็นนอริยะเป็นอนาสวะ เป็น

โลกุตระ เป็นองค์มรรค.

ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ

ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ.

ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของเธอ

นั้น เป็นสัมมาสติ.

ธรรมะที่ห้อมล้อมสัมมาอาชีวะ

ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมา-

วายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุ

นั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็มีสัมมาสังกัปปะพอเหมาะ ฯลฯ

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอ

เหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ

ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มี

พอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ

สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะ

ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐.

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิ

ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้

ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็น

อันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้....

ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้....

ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้....

ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้....

ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้....

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้....

ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้....

ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้.....

ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรม

ลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมา-

วิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะ

สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย

อกุศล ๒๐ ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ

หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะ

ให้เป็นไปไม่ได้.

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึง

สำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อน

และการกล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้

นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียน สัมมาทิฏฐิ เขา

ก็ต้องบูชา สรรเสริญ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-

สังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใคร

ติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด

ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการ

งานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์

ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณ-

พราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรร-

เสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา

สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติเขาก็ต้อง

บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญ

ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการ

กล่าวตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น

ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะ

และพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ

นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตา

รีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้ายและถูกก่อความ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร

มหาจัตตารีสกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริย แปลว่า ไม่มีโทษ. เพราะว่าสิ่ง

ที่ไม่มีโทษ เรียกกันว่า อริยะ. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ สมาธิที่เป็นมรรค.

บทว่า สอุปนิส แปลว่า มีเหตุปัจจัย

บทว่า สปฺปริกฺขาร แปลว่า มีองค์ประกอบ

สัมมาทิฏฐิ ๒

บทว่า ปริกฺขตา แปลว่า แวดล้อมแล้ว.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ปุพฺพงฺคมา โหติ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่

เป็นหัวหน้ามี ๒ ส่วน คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่เป็นปุเรจาริก ๑ มรรค-

สัมมาทิฏฐิ ๑

วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กำหนดพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ ด้วย

อำนาจลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น. ส่วนมรรคสัมมาทิฏฐิให้ถอนวัฏฏะอันเป็น

เหตุให้ได้ภูมิคือทำให้สงบระงับเกิดขึ้นในที่สุดของการกำหนดพิจารณาเหมือน

เอาน้ำเย็นพันหม้อราดรดบนศีรษะฉะนั้น.

อุปมาเหมือนชาวนา เมื่อจะทำนา ย่อมตัดต้นไม้ในป่าก่อน ภายหลัง

จึงจุดไฟ ไฟนั้นจะไหม้ต้นไม้ที่ตัดไว้ก่อนให้หมดไปไม่มีเหลือ ฉันใด

วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วย

อำนาจลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อน มรรคสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ถอน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

สังขารทั้งหลายเสียได้ ด้วยอำนาจ (ที่สังขาร) เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพื่อ

การพิจารณาด้วยวิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ในที่นี้ประสงค์เอาทิฏฐิทั้งสองอย่าง.

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺึ มิจฺฉาทิฏฺีติ ปชานาติ ได้แก่ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ

โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดลักษณะว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. สัมมาทิฏฐิ

ย่อมรู้ชัด สัมมาทิฏฐิโดยกิจ (คือ) โดยความไม่หลง.

บทว่า สาสฺส โหติ สมฺมาทิฏิ ความว่า ความรู้อย่างนั้นนั้น

ของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ.

บทว่า ทฺวย วทามิ ความว่า เรากล่าว (สัมมาทิฏฐิ) ไว้สองส่วน.

บทว่า ปุญฺภาคิยา แปลว่า เป็นส่วนแห่งบุญ.

บทว่า อุปธิเวปกฺกา แปลว่า ให้วิบาก คือ อุปธิ.

ในบทว่า ปญฺา ปญฺณินฺทริย เป็นต้น ที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะ

จำแนกออกแล้ว ๆ ยังประตูแห่งอมตะให้ปรากฏ คือแสดงให้เห็น.

ชื่อว่า ปัินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอรรถ (ภาวะ) อันนั้น

ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา.

ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะบรรลุองค์แห่งการตรัสรู้แล้ว

ค้นคว้าสัจธรรม ๔.

ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นดีงามด้วยความสมบูรณ์แห่งมรรค.

ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะเป็นองค์แห่งอริยมรรค.

บทว่า " โส " แปลว่า ภิกษุนั้น.

บทว่า ปหานาย แปลว่า เพื่อต้องการละ.

บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อต้องการได้เฉพาะ.

บทว่า สมฺมาวายาโม ได้แก่ ความพยายามอันเป็นกุศลอันเป็นเหตุ

นำออกจากทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

บทว่า สโต คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ

บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ห้อมล้อมเป็นสหชาต.

ก็ในที่นี้ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม)

ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ. เหมือนราชองครักษ์ถือกระบี่ และเจ้า

พนักงานเชิญฉัตรยืนอยู่ในรถคันเดียวกันแวดล้อมพระราชาฉะนั้น. ส่วน

วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นปุเรชาต (เกิดก้อน) ห้อมล้อม เหมือนทหารเดินเท้า

เป็นต้น เดินไปหน้ารถฉะนั้น. ก็จำเดิมแต่บรรพ (ข้อ ) ที่ ๒ ไป ธรรม

แม้ทั้ง ๓ ประการ (คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ก็พึงทราบว่า

เป็นสหชาต เป็นบริวารแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น.

บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ ปชนาติ ความว่า ย่อมรู้ชัด มิจฉา-

สังกัปปะ โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดไตรลักษณ์ว่า อนิจจัง ทุกขัง

อนัตตา ย่อมรู้ชัดสัมมาสังกัปปะ โดยกิจ โดยความไม่หลง. แม้ในสัมมา

วาจาเป็นต้นต่อจากนี้ไป ก็พึงทราบการประกอบความอย่างนี้เหมือนกัน. ความ

ดำริในกามเป็นต้น กล่าวไว้แล้วในเทฺวธาวิตักกสูตร.

วิตก

บทว่า ตกฺโก ความว่า ชื่อว่า ตักกะด้วยอำนาจความตรึก ตักกะ

นั้นแหละเพิ่มบทอุปสรรค (คือวิ) เข้าไป เรียกว่า วิตักกะ (คือความตรึก) .

ความตรึกนั้นนั่นแล ชื่อว่า สังกัปปะ ด้วยอำนาจความดำริ.

ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน. ก็

เพราะเพิ่มบทอุปสรรค จึงเรียกว่า พฺยปฺปนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

บทวา เจตโส อภินิโรปนา แปลวา ยกจิตขึ้น. เพราะเมื่อมีวิตก

วิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์.

แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ตามธรรมดาของตนเองเหมือน

คนที่ชำนาญ มีชาติตระกูลสูง ย่อมเข้าพระราชวังได้ฉะนั้น เพราะสำหรับผู้

ไม่ชำนาญ (การเข้าพระราชวัง ย่อมต้องการคนนำทางหรือคนเฝ้าประตู. พระ

ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงรู้และรู้จักคนผู้ชำนาญ มีชาติอันสมบูรณ์

เพราะเหตุนั้น เขาจึงออกและเข้า (พระราชวัง) ได้ โดยธรรมดาของตน

(ฉันใด) พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.

ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะปรุงแต่งวาจา. ก็ในเรื่องวจีสังขารนี้โลกิย-

วิตก ย่อมปรุงแต่งวาจา โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง. โลกุตรวิตก ไม่

ปรุงแต่ง ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น วิตกนั้นก็ย่อมมีชื่อว่า วจีสังขารเหมือนกัน.

บทว่า สมฺมาสงฺกปฺป อนุปริธาวนฺติ ความว่า ย่อมห้อมล้อม

สัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกุตระ.

ก็ในการนี้ ธรรมแม้ ๓ ประการมีเนกขัมสังกัปปะ (ดำริในอันออก

จากกาม) เป็นต้น ย่อม (มี) ได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลอันเป็นเบื้องต้น.

แต่ในขณะแห่งมรรค สัมมาสังกัปปะองค์เดียวเท่านั้น ตัดทางดำเนินแห่งสัง-

กัปปะทั้ง ๓ มีกามสังกัปปะเป็นต้นให้เป็นการถอน (ราก) ขึ้น ทำองค์มรรค

ให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อเนื่องด้วยเนกขัมสังกัปปะเป็นต้น. แม้

ในสัมมาวาจาเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อารติ-วิรติ-ปฎิวิรติ-เวรมณี

แม้ในบทว่า มุทาวาทา เวรมณี ดังนี้เป็นต้น เป็นวิรัติก็ถูก เป็น

เจตนาก็ถูก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ในบทว่า อารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า อารติ

เพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.

ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.

ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้น ๆ แล้วงดเว้น

จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บท

ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.

ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร ได้แก่ ทำเวรให้พินาศไป แม้บท

นี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.

แม้คำทั้งสองว่า เจตนา ๑ วิรติ ๑ ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคำว่า

ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

อธิบกยกุหนาเป็นต้น

ในบทว่า กุหนา เป็นต้น

ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกใช้งงงวยด้วยวาจานั้น

ด้วยเรื่องหลอกลวง ๓ ประการ.

ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอ

ด้วยวาจานั้น.

ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบเป็นปกติ. ภาวะของผู้

ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้)

ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ

ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำ

อุบายโกง)

ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภ

ด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วย

ลาภ. ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ก็กิริยามีการล่อลวงเป็นต้น เหล่านี้ ข้าพเจ้านำเอามาทั้งพระบาลีและ

อรรถกถา กล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในสีลนิทเทสในวิสุทธิมรรคนั่นแล.

ในบทว่า มิจฺฉาอาชีวสฺส ปหานาย นี้ มิจฉาอาชีวะที่มาในพระ-

บาลีเท่านั้นยังไม่พอ ก็แม้เจตนาที่เป็นกรรมบถ ๗ ประการ มีปาณาติบาต

เป็นต้น ซึ่งเป็นไปเพราะอาชีวะเป็นเหตุก็เป็นมิจฉาอาชีวะด้วย.

วิรัติ (ความงดเว้น) อันกระทำการตัดทางดำเนินของเจตนา ๗ ประการ

นั้นนั่นแหละ ให้ถอนรากถอนโคน ทำองค์มรรคให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ชื่อว่า

สัมมาอาชีวะ.

ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ก็มีสัมมาสังกัปปะด้วย

บทว่า สมฺมาทิฏิสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิในมรรค.

บทว่า สมฺมาสงฺกปฺโป ปโหติ ความว่า สัมมาสังกัปปะ ใน

มรรคย่อมมีพอเหมาะ สัมมาสังกัปปะในผล ก็มีพอเหมาะแม้แก่ผู้มีสัมมา-

ทิฏฐิในผล พึงทราบความหมายในบททั้งปวง ด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้.

ผู้มีสัมมาสมาธิก็มีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย

ก็ในบทว่า สมฺมาาณ สมฺมาวิมุตฺติ นี้มีอธิบายว่า สัมมาญาณะ

อันเป็นเครื่องพิจารณามรรค ก็มีพอเหมาะพอดีกับบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิ

ในมรรค สัมมาญาณะอันเป็นเครื่องพิจารณาผล ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคลผู้

ตั้งอยู่ในสัมมาสมาธิในผล สัมมาวิมุตติในมรรค ก็มีพอเหมาะพอดีแก่บุคคล

ผู้ตั้งอยู่ ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณามรรค สัมมาวิมุตติในผลก็มีพอเหมาะ

พอดีแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณอันเป็นเครื่องพิจารณาผล.

ก็ในอธิการนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เว้นองค์แห่งผลทั้ง ๘ ประการเสีย

กระทำสัมมาญาณะให้เป็นเครื่องพิจารณาแล้วทำสัมมาวิมุตติให้เป็นผลก็ควร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ผู้มีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้

ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิสฺส ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺิ นิชฺชิณฺณา โหติ

(ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิ) ดังนี้เป็นต้น

ท่านอาจารย์ผู้กล่าวนิกายที่เหลือกล่าวว่า ตรัสถึงผล ส่วนอาจารย์ผู้กล่าว

มัชฌิมนิกาย กล่าวอาคตสถานของนิชชรวัตถุ ๑๐ ประการ ว่า ตรัสถึงมรรค.

บรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะ

อรรถว่าเห็น พระนิพพาน พึงทราบว่าชื่อว่า สัมมาญาณะ เพราะอรรถว่า

กระทำให้แจ่มแจ้งพระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ เพราะ

อรรถว่าน้อมใจไปในพระนิพพานนั้น.

บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐

ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และธรรม

๑๐ ประการ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มี

สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.

บทว่า วีสติ อกุสลปกฺขา ความว่า พึงทราบธรรมฝ่ายอกุศล

๒๐ ประการอย่างนี้ คือ ธรรม ๑๐ ประการมี มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นที่ตรัสไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเป็นเครื่องให้เสื่อมแล้ว และธรรม ๑๐ประการ

ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันลามกมิใช่น้อย มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.

บทว่า มหาจตฺตารสโก ความว่า ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ

(หมวด ๔๐ ใหญ่) เพราะประกาศธรรม ๔๐ ประการ อันเป็นฝ่ายกุศล และ

เป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก.

๑. อัง. ทสก. ๒๔/ข้อ ๑๐๖.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

สัมมาทิฏฐิ ๕

ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ วิปัสสนา-

สัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ

ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.

บรรดา สัมมาทิฏฐิ ๕ ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมี

อาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.

ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตา-

สัมมาทิฏฐิ.

ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ ๒ ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมา-

ทิฏฐิ ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสำหรับผู้

มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.

อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ ไว้ในคำนี้ว่า " สัม-

มาญาณะ ย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.

วาทะ ๓

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ เจ ภว ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า

มิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี

ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.

บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.

บทว่า วสฺสภญฺา ได้แก่ ชน ๒ พวก คือ พวกวัสสะ และ

พวกภัญญะ.

บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มี

ปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า

เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

บทว่า นตฺถิกวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วย่อม

ไม่มีผล.

ชนผู้มีวาทะดังกล่าวนั้น ย่อมเป็นผู้ก้าวลงแน่นอนในทัสสนะ ๓

ประการเหล่านี้.

ถามว่า ก็การกำหนดแน่นอนแห่งทัสสนะเหล่านี้ มีได้อย่างไร ?

ตอบว่า ก็บุคคลผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้ นั่งในที่พักกลางคืนและที่พัก

กลางวัน สาธยายอยู่ พิจารณาอยู่ มิจฉาสติของบุคคลผู้นั้นย่อมตั้งมั่น ใน

อารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ ทาน

ที่ให้แล้วไม่มีผล เมื่อกายแตกย่อมขาดสูญ จิตของผู้นั้นย่อมมีอารมณ์เป็น

หนึ่ง ชวนะทั้งหลายย่อมแล่นไป ในชวนะที่หนึ่ง ยังพอแก้ไขได้ ในชวนะ

ที่สองเป็นต้นก็ยังพอแก้ไขได้เหมือนกัน แต่ในชวนะที่เจ็ด แม้พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ก็ทรงแก้ไขไม่ได้ เป็นผู้มีปกติไม่หวนกลับ เช่นกับภิกษุชื่อ

อริฏฐกัณฏกะ.

ในบรรดาทัสสนะเหล่านั้น บางคนก้าวลงสู่ทัสสนะเดียว บางคน ๒

ทัสสนะ บางคน ๓ ทัสสนะ จึงเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลโดยแท้ ถึงการ

ห้ามทางไปสวรรค์และพระนิพพาน เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะไปสู่สวรรค์ในลำดับ

ต่อจากชาตินั้น จะป่วยกล่าวไปไยที่จะไปสู่พระนิพพาน สัตว์นี้ชื่อว่า เป็น

หลักตอแห่งวัฏฏะ เฝ้าแผ่นดิน โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ย่อมไม่มีการออก

ไปจากภพ แม้ชนพวกวัสสะและภัญญะก็ได้เป็นเช่นนี้.

บทว่า นินฺทาพฺยาโรสอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะกลัวตนจะ

ถูกนินทา ถูกกระทบกระทั่ง และถูกว่าร้าย. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้ง

นั้นแล.

จบ อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

๘. อานาปานสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

[๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา

วิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พร้อมด้วย

พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่าน

พระมหาโมคคลัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่าน

พระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็

สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระ

เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูป

บ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูป

บ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัด

ธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตนรู้มาก่อน.

[๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม

ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ์ ๑๕ ค่ำ

ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์

ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราปรารภในปฏิปทานี้ เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ

คุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งยิ่งกว่าประมาณเถิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

เราจักอยู่ในกรุงสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน

แห่งดอกโกมุท พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักรออยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน

แห่งดอกโกมุท จึงพากันหลังไหลมายังกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะเพิ่ม

ประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง

พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บาง

พวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระ

โอวาทพร่ำสอนอยู่ ย้อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน.

[๒๘๒] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม

ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน

เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียง

คุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้

บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ

ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่าง

หาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวาย

ของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัท

นี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้

บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่า

เดินทางไปชม นับเป็นโยชน์ ๆ.

๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

มีพระอรหันตขีณาสพ ในหมู่ภิกษุ

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระ

อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง

ภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว

พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีพระอนาคามี ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ

เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง จะได้ปรินิพพานในโลกนั้น ๆ มีอันไม้

กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ ภิกษุ นี้ ก็มีอยู่

มีพระสกทาคามี ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี

เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง

มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่

ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่.

มีพระโสดาบัน ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน

เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้

ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

มีภิกษุผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ในหมู่ภิกษุ

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้

ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุ

นี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอิทธิบาท ๔ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอินทรีย์ ๕ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ

ความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

มีภิกษุผู้เจริญพละ ๕ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ

ความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่

มีภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญมรรค ๘ ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้

ก็มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

มีภิกษุผู้เจริญเมตตา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญกรุณา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญมุทิตา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอุเบกขา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอสุภสัญญา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอนิจจสัญญา ในหมู่ภิกษุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ

เพียรในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่.

มีภิกษุผู้เจริญอานาปานสติ ในหมู่ภิกษุ

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้

ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก

แล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว จะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้. สติปัฏฐาน ์๔ ที่เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว จะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้. โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว จะให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้.

วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว

อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้

ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.

เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า

หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ

ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจ

เข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ

ออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่

ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร

หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เรา

จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนด

รู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า. สำเหนียก

อยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้

กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

หายใจออก ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เรา

จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิต หายใจ

เข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่า เราจัก

ทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจ

ออก ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเปลื้องจิต

หายใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจัก

เป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตาม

พิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตาม

พิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา

ความคลายกำหนัด หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้ตาม

พิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ

ดับกิเลส หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา

สละคืนกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน

กิเลส หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

เจริญอานาปานสติอย่างไร ? สติปัฏฐาน ๔ จึงจะบริบูรณ์

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหาย

ใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ

ออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก

ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจ

เข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย

มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ว่า เป็น

กายชนิดหนึ่งในจำพวกกายทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อ

ว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็น

ผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า.

สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้

กำหนดรู้สุข หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตต-

สังขารหายใจออก ว่า เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า.

สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับจิตต-

สังขาร หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการใส่ใจลม

หายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในจำพวกเวทนา

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ได้อยู่.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็น

ผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า.

สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักทำให้จิตร่าเริง หายใจออก ว่า เราจักทำให้จิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่า

เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเปลื้องจิต หาย

ใจออก ว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น

ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่กล่าว

(ว่ามี) อานาปานสติสำหรับภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่. เพราะฉะนั้นแล

ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้

ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ

ไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ

คลายกำหนัด หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลาย

กำหนัด หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความ

ดับกิเลส หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา ความดับกิเลส

หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส

หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี

ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่. เธอ

เห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉย ได้ดี.

เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี

ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มาก

แล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร โพชฌงค์ ๗ จึงจะบริบูรณ์

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้ว

อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะให้้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความ

เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น

สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่

เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น

ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ

นั้นจะถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น

คว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น

คว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธัมมวิจัย-

สัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ

ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม

ถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณา

ธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ

พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น

วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม

เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ

เจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความ

เพียรแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้

ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ

ปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติ-

สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ

ทั้งกายทั้งจิตก็ระงับได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ

ระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกายระงับ

แล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความ

สุข ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธ-ิ

สัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุนั้นย่อม

เป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น

ให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุ

ปรารภแล้ว. สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความ

เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น

สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มี

ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ใน

สมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอ-

เรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น

ภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ

ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้น

คว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อม

ค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า

ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของ

ภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ

พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงการ

พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น

วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อม

เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ

เจริญและความบริบูรณ์. ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ

ความเพียรแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้

ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์

ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ทั้งกาย

ทั้งจิตก็ระงับได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ

ระงับได้ในสมัยนั้น. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์. ภิกษุผู้มีกาย

ระงับแล้ว มีความสุข จิตก็ตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความ

สุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. สมัยนั้น สมาธิสัม-

โพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์ ภิกษุนั้นย่อมเป็น

ผู้วางจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่น

นั้นให้เฉยได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอัน

ภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. สมัย

นั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้

มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

เจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างไร วิชชาและวิมุตติจึงจะบริบูรณ์

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...

ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... ย่อม

เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ที่น้อมไปเพื่อความปลดปล่อย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้

มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อานาปานสติสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

อรรถกถาอานาปานสติสูตร

อานาปานสติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเหิ จ ความว่า พร้อมกับพระ

สาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียง แม้เหล่าอื่น ยกเว้นพระเถระ ๑๐ รูปที่มาใน

พระบาลี. ว่ากันว่า ในคราวนั้น ได้มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ นับจำนวนไม่ได้.

บทว่า โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ ความว่า สงเคราะห์ด้วยการ

สงเคราะห์ ๒ ประการ คือ สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรม แล้ว

โอวาทและพร่ำสอนด้วยการให้โอวาทและพร่ำสอนกรรมฐาน. อักษรในบท

ว่า เต จ นี้ เป็นเพียงอาคมสนธิ. บทว่า อุฬาร ปุพฺเพนาปร วิเสส

สญฺชานนฺติ ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษมีกสิณบริกรรมเป็นต้นอื่น ที่โอฬาร

กว่าคุณพิเศษเบื้องต้น มีความบริบูรณ์แห่งศีลเป็นต้น.

บทว่า อารทฺโธ เเปลว่า ยินดีแล้ว. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา

คือ เพื่อบรรลุพระอรหัตที่ยังไม่ได้บรรลุ แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีเนื้อความ

ดังกล่าวนี้เหมือนกัน ดิถีที่มีพระจันทร์เพ็ญครบ ๔ เดือน ท้ายเดือน ๑๒

ชื่อว่า โกมุที จาตุมาลินี. แท้จริงดิถีนั้น ชื่อว่า โกมุที เพราะมีดอก

โกมุทบาน. เรียกว่า จาตุมาสินี (ครบ ๔ เดือน) เพราะเป็นวันสุดท้ายของ

เดือนอันมีในฤดูฝน ๔ เดือน. บทว่า อาคเมสฺสามิ ความว่า เราจักคอย

อธิบายว่า เราปวารณาในวันนี้แล้วยังไม่ไป ที่ไหน จักอยู่ในที่นี้แหละจน

กว่าดิถีนั้น (คือวันเพ็ญเดือน ๑๒) จะมาถึง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

ปวารณาสงเคราะห์ (สงเคราะห์ด้วยปวารณากรรม) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย

ประการดังนี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.

๑. บาลีเป็น อาคนฺตฺวา ฉบับพม่า เป็น อคนฺตฺวา แปลตามคำหลัง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

ธรรมดาปวารณาสงเคราะห์ สงฆ์ย่อมให้ด้วยญัตติทุติยกรรม.

ถามว่า ปวารณาสงเคราะห์นี้สงฆ์จะให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร ?

ตอบว่า เบื้องต้น ไม่ให้แก่พาลปุถุชนผู้ไม่ใช่การกบุคคล ภิกษุผู้

เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา และพระอริยสาวก ก็ไม่ให้เหมือนกัน อนึ่ง ไม่ให้แก่

ภิกษุผู้มีสมถะหรือวิปัสสนายังอ่อน. ในคราวนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ได้ทรงพิจารณาวาระจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงทราบว่าสมถะและวิปัสสนา

ยังอ่อน จึงทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ ภิกษุทั้งหลายออก

พรรษาแล้ว จักเที่ยวไปในกรุงสาวัตถีนี้ (ต่างรูปต่างไป) ในทิศทั้งหลาย

แต่นั้นภิกษุเหล่านี้จักไม่สามารทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย

ผู้แก่พรรษากว่า ถือเอาเสนาสนะเสียเต็มหมด (ธรรมเนียมที่ทรงอนุญาตให้ผู้

แก่พรรษากว่าจับจองเสนาสนะได้ก่อน) ถ้าแม้เราออกจาริกไป ภิกษุเหล่านี้ก็

จักหาสถานที่อยู่ได้ยาก แต่เมื่อเราไม่ปวารณา แม้ภิกษุเหล่านี้จักไม่เที่ยวไป

ตลอดกรุงสาวัตถีนี้ แม้เราก็จักยังไม่ออกจาริก เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้

ก็จักไม่เป็นกังวล (เรื่อง) สถานที่อยู่ เธอทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุกในสถานที่

อยู่ของตน ๆ สามารถเพื่อจะทำสมถะและวิปัสสนาให้แก่กล้า แล้วยังคุณวิเศษ

ให้เกิดขึ้นได้. พระองค์จึงไม่ทรงทำปวารณาในวันนั้น ทรงอนุญาตปวารณา

สงเคราะห์แก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราจักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายได้ปวารณาสงเคราะห์แล้ว อาจารย์และอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปใด ผู้ยัง

ถือนิสัย พากันหลีกไปเสีย แม้ภิกษุรูปนั้นก็จะอยู่ได้จนถึงเดือนสุดท้ายของฤดู

ร้อน ด้วยความหวังว่า ถ้า (จักมี) ภิกษุผู้สมควรให้นิสัยมา เราจักถือนิสัย

ในสำนักของภิกษุนั้น. ถึงแม้จะมีภิกษุ ๖๐ พรรษามา ก็จะถือเอาเสนาสนะ

ของเธอไม่ได้. ก็แหละปวารณาสงเคราะห์ นี้แม้จะให้แก่ภิกษุรูปเดียว ก็ย่อม

เป็นการให้แก่ภิกษุทุกรูปทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่ง

ตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประ-

ปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทำอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แล้วพากัน

หลั่งไหลมา บทว่า ปุพฺเพนาปร ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทำกรรมใน

สมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทำให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกำลังขึ้นใน

ที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้นภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณา

สังขารทั้งหลาย บางเหล่าทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทำให้แจ้ง

อรหัตผล. นี้ชื่อว่า คุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง.

บทว่า อล แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า

โยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้ ๑๐ โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน

เกินกว่านั้นเรียกว้า โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์

เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง เสบียงสำหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏส

ในคำว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้.

ปาฐะว่า ปูฏเสน ดังนี้ก็มี อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏส (ผู้มี

เสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้น

อธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสพายบ่า.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็น

ปานนี้ มีอยู่ ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า จตุนฺน สติปฏฺานาน ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดง

กรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิ-

ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอันเป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ก็ในข้อนั้น ภิกษุ

เหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระ

สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ในบทว่า อนิจฺจสญฺาภาวนานุโยค นี้ ตรัสวิปัสสนาโดยมี

สัญญาเป็นตัวการสำคัญ. ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ภิกษุทั้งหลายสนใจมาก ด้วย

อำนาจแห่ง อานาปานกรรมฐานเท่านั้น มี (จำนวน) มาก เพราะฉะนั้น

เมื่อจะตรัสกรรมฐานที่เหลือโดยสังเขป แล้วตรัสอานาปานกรรมฐานโดย

พิสดาร จึงตรัสคำว่า อานาปานสติ ภิกฺขเว เป็นต้นไป ก็อานาปาน-

กรรมฐานนี้ ได้กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง

เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งพระบาลี และนัยแห่งการเจริญอานาปาน-

กรรมฐานนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นเทอญ.

บทว่า กายญฺตร ความว่า เรากล่าวกายชนิดหนึ่งในบรรดากาย

๔ มีปฐวีกายเป็นต้น อธิบายว่า เรากล่าวลมว่าเป็นกาย. อีกอย่างหนึ่ง

โกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ คือ รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า รูปกาย

บรรดาโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ นั้น อานาปนะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า)

เป็นกายชนิดหนึ่ง เพราะสงเคราะห์เข้าใน โผฏฐัพพายตนะ แม้เพราะเหตุนั้น

จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุย่อมตามเห็น

วาโยกายอันเป็นกายอย่างหนึ่งในกาย ๔ หรือย่อมตามเห็นอานาปานะอันเป็น

กายอย่างหนึ่งในโกฏฐาสแห่งรูป ๒๕ อันเป็นรูปกาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้

พิจารณาเห็นกายในกาย. พึงทราบเนื้อความในที่ทุกๆ บทเหมือนอย่าง

นั้น. บทว่า เวทนาญฺตร นี้ ตรัสหมายเอาสุขเวทนาอย่างหนึ่งในเวทนา

๓. บทว่า สาธุก มนสิการ ได้แก่ การใส่ใจดีอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่ง

การกำหนดรู้ปีติเป็นต้น.

ก็การใส่ใจเป็นสุขเวทนาได้อย่างไร ? ก็คำนี้เป็นหัวข้อเทศนา.

เหมือนอย่างว่า ตรัสปัญญาโดยชื่อว่าสัญญาในคำนี้ว่า อนิจฺจสญฺาภาวนา-

นุโยคมนุยุติโต (ประกอบความเพียรในการอบรมอนิจจสัญญา) ดังนี้ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าตรัสเวทนาโดยชื่อว่า มนสิการ (การใส่ใจ) ฉันนั้น

ก็ในจตุกกะนี้ ตรัสเวทนาไว้ในบทที่ ๑ โดยหัวข้อว่า ปีติ. ตรัสเวทนาโดย

รูปของตนเองว่า สุข ในบทที่ ๒. ในจิตตสังขารทั้ง ๒ บท ตรัสเวทนาไว้

โดยชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก

ธรรมเหล่านั้นเนื่องกับจิต ปรุงแต่งจิต (และ) เพราะพระบาลีว่า เว้นวิตก

และวิจารเสีย ธรรมที่ประกอบพร้อมกับจิตแม้ทั้งหมด สงเคราะห์

ลงในจิตตสังขาร. ทรงรวมเอาเวทนานั้นทั้งหมดโดยชื่อว่า มนสิการ แล้ว

ตรัสไว้ในที่นี้ว่า สาธุก มนสิการ ดังนี้.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่เวทนานี้ ไม่เป็นอารมณ์

เพราะฉะนั้น เวทนาจึงไม่ถูกต้อง ?

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะแม้ในการพรรณนาสติปัฏฐานก็กล่าวว่า

เวทนาย่อมเสวย (อารมณ์) เพราะทำที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็น

อารมณ์ ก็เพราะถือเอาความเป็นไปของเวทนาดังกล่าวนั้น คำที่ว่า เราเสวย

อารมณ์ย่อมเป็นสักแต่ว่าพูดกันไป. อีกอย่างหนึ่ง ในการพรรณนาเนื้อความ

ของบทว่า ปีติปฏิสเวที เป็นต้น ท่านได้กล่าวเฉลยคำถามนั้นไว้แล้วทีเดียว.

สมจริงดังคำที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ปีติย่อมเป็นอัน

กำหนดรู้แล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ ๑ โดยความไม่หลง ๑

ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?

พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌาน (คือปฐมฌาน ทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ ใน

ขณะที่พระโยคีนั้นเข้าสมาบัติ ปีติย่อมเป็นอันรู้แล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้

ฌาน เพราะได้กำหนดรู้อารมณ์.

ปีติย่อมเป็นอันได้กำหนดรู้ โดยความไม่หลงอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

พระโยคีเข้าฌาน ๒ ฌานอันมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาปีติอัน

สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ในขณะที่พระโยคีนั้น

เห็นแจ้ง ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วโดยความไม่หลง เพราะแทง

ตลอดไตรลักษณ์.

สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า สติย่อม

ปรากฏแก่พระโยคีผู้รู้ทั่วถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (แน่วแน่ )

ไม่ฟุ้งซ่าน เนื่องด้วยการหายใจเข้าออกยาว ปีตินั้นย่อมเป็นอันกำหนดรู้ด้วย

สตินั้น ด้วยญาณนั้น. แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้นั้นแล.

ดังกล่าวมานั้น ปีติ สุข และจิตตสังขารย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์

เพราะการได้ฌาน ฉันใด เวทนาย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์ เพราะการ

ได้มนสิการ (การใส่ใจ) กล่าวคือ เวทนาอันสัมปยุตด้วยฌานแม้นี้ ก็ฉันนั้น.

เพราะฉะนั้น คำนี้นั้นว่า ในสมัยนั้น ภิกษุมีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา

ทั้งหลายอยู่ จึงเป็นอันตรัสดีแล้ว.

ในคำนี้ที่ว่า นาห ภิกฺขเว มุฏฺสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส ดัง

นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้: -

เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิตหาย

ใจเข้า ดังนี้ ชื่อว่า ทำอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น

ภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน เพราะจิตของภิกษุนั้น

เข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป เพราะอานาปานสติภาวนา ย่อม

ไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น ภิกษุย่อมเป็นผู้

ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์.

ในคำนี้ที่ว่า โส ยนฺต อภิชฺฌาโทมนสฺสาน ปหาน ต ปญฺาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ทิสฺวา สาธุก อชฌเปกฺขิตา โหติ (ภิกษุนั้นเห็นการละอภิชฌาและ

โทมนัสนั้นด้วยปัญญา ย่อมเป็นผู้วางเฉยเป็นอันดี) ดังนี้ ทรงแสดง กาม-

ฉันทนิวรณ์ ด้วยอภิชฌา ทรงแสดงพยาบาทนิวรณ์ ด้วยโทมนัส. ก็

๔ หมวดนี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น.

ก็ธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง ด้วยอำนาจนิวรณบรรพ (คือการ

แบ่งเป็นข้อมีข้อที่ว่าด้วยนิวรณ์) เป็นต้น นิวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมา-

นุปัสสนานั้น นิวรณ์ ๒ อย่างนี้ (คืออภิชฌาและโทมนัส) เป็นข้อต้นของ

ธัมมานุปัสสนานั้น ดังนั้น เพื่อจะแสดงข้อต้นของธัมมานุปัสสนา จึง

ตรัสว่า อภิชฺฌาโทมนสฺสาน ดังนี้ บทว่า ปหาน ท่านประสงค์เอา

ญาณเป็นเครื่องทำการละอย่างนี้ว่า ละนิจจสัญญา (ความหมายว่าเที่ยง) ด้วย

อนิจจานุปัสสนา (การตามเห็นความไม่เที่ยง) ด้วยบทว่า ต ปญฺาย

ทิสฺวา ท่านแสดงวิปัสสนาที่สืบต่อกันอย่างนี้ คือ (แสดง) ปหาน-

าณ นั้น กล่าวคือ อนิจจญาณ. วิราคญาณ. นิโรธญาณ. และ

ปฏินิลสัคคญาณนั้น ด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีก แสดงปหานญาณแม้นั้น

ด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีกต่อไป. บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ความว่า

ชื่อว่าย่อมเพ่งดูโดยส่วนสอง คือ เพ่งดูผู้ปฏิบัติสมถะและเพ่งดูความปรากฏ

รวมกัน ในการเพ่งดูสองส่วนนั้น การเพ่งดููสหชาตธรรม ก็มี การเพ่งดู

อารมณ์ก็มี ในที่นี้ประสงค์เอาการเพ่งดููอารมณ์. บทว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว

ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักตามเห็นความไม่

เที่ยง หายใจออก ย่อมเป็นผู้เห็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นแล้วเพ่งดูอย่างเดียว

หามิได้ แต่แม้ญาณเป็นเครื่องละธรรมทั้งหลายที่กล่าวโดยหัวข้อ คือ อภิชฌา

และโทมนัส ก็ย่อมเป็นของอันภิกษุเห็นด้วยปัญญาแล้วเพ่งดูอยู่. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุมีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ใน

สมัยนั้น.

บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ ย่อมไตร่ตรอง ด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น.

สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปวิจินติ นี้นั่นแหละ. บทว่า นิรามิสา

แปลว่า หมดกิเลส. บทว่า ปสุสมฺภติ ความว่า เพราะกิเลสทางกายและ

ทางใจสงบ แม้กายและจิตก็ย่อมสงบ บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ ตั้งไว้โดย

ชอบ คือ เป็นเหมือนถึงความแนบแน่น (อัปปนา). บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา

โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้เพ่งดูด้วยการเพ่งดูสหชาตธรรม.

สติในกายนั้นของภิกษุนั้น ผู้กำหนดกายด้วยอาการ ๑๔ อย่างด้วย

ประการอย่างนี้ เป็นสติสัมโพชฌงค์. ญาณอันสัมปยุตด้วยสติ เป็น

ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์. ความเพียรทางกายและทางใจอันสัมปยุตด้วยธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละ เป็น วิริยสัมโพชฌงค์. ปีติ ปัสสัทธิและ

เอกัคคตาจิต เป็น สมาธิสัมโพชฌงค์ อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือ

สัมโพชฌงค์ ๖ ประการ ดังพรรณนามานี้ ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไป

เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหมือนอย่างว่า เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปได้เรียบ

สารถีย่อมไม่มีการกระตุ้นว่า ม้านี้วิ่งช้า หรือไม่มีการรั้งไว้ว่า ม้านี้วิ่งเร็วไป

สารถีจะมีอาการมองดูอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด อาการเป็นกลางๆ

กล่าวคือสัมโพชฌงค์ ๖ ประการเหล่านี้ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไป เหมือน

อย่างนั้นนั่นแหละ ย่อมชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร ?

กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียว

ว่า ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ บทเป็นต้นว่า วิเวกนิสฺสิต มีเนื้อความดังกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

แล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ สติกาหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติ

อันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิยสติ-

ปัฏฐานทำโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกุตรโพชฌงค์ทำ วิชชา

วิมุตติ ผล และนิพพานให้บริบูรณ์. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึง

โลกิยะในอาคตสถานของโลกิยะ กล่าวถึงโลกุตระในอาคตสถานของ

โลกตระแล. ล้วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตร

นี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิยอานาปานะทำโลกิยสติปัฏฐานให้

บริบูรณ์ โลกิยสติปัฏฐานทำโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกิยโพชฌงค์

ทำวิชชา วิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์. เพราะ

ในพระสูตรนี้วิชชา ผล และนิพพาน ท่านประสงค์เอาด้วยบทว่า วิชชาและ

วิมุตติแล.

จบ อรรถกถาอานาปานสติสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

๙. กายคตาสติสูตร

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วย

กันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐาน

ศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุ

เหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล.

[๒๙๒] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากสถานที่ทรง

หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับ

นั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไร และพวกเธอสนทนา

เรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวก

ข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันใน

อุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั่งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

สติที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลอานิสงส์มากนี้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้อสนทนากัน ในระหว่างของพวกข้าพระองค์ได้ค้างอยู่เพียงนี้ พอดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.

วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กาย-

คตาสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลอานิสงส์

มาก ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่ควงไม้

ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.

เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า

หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ

ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจ

เข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก

ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจัก

ระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า. เมื่อภิกษุ

นั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความ

ดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น

ไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัด

ว่ากำลังเดิน หรือยืนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน หรือนั่งอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง

หรือนอนอยู่ ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน. หรือเธอทรงกายโดยอาการใด ๆอยู่ ก็รู้

ชัดว่ากำลังทรงกายโดยอาการนั้น ๆ. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้.

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่

นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็

ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเป็นผู้

ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ใน

เวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลา

ฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา เดิน

ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ

เพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสีย

ได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่

แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณา

กายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่

โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้คือ ผม ขน

เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด

ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง

เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากทั้งสองข้าง เต็มไปด้วยธัญชาตินานา

ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วทอง งา และข้าวสาร บุรุษ

ผู้มีตาดี แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเหลือง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ

ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา

มีหนึ่งหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ ในกายนี้

คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม

หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก

ไขข้อ มูตร เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม

อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความ

ดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรม

เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญ-

กายคตาสติ.

[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณา

กายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้คือ ธาตุดิน

ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค

หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่

๔ แยก ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณา

เห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุ

ดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่ง

ตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสีย

ได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่

แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดงขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา

ทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพองเขียวช้ำ

มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเขามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แลก็เหมือนอย่างนี้

เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่

ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริ

พล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไป

ภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา

ทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกิน

อยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์

น้อยต่างๆชนิดย่อมกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล

ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อ

ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละ

ความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิต

อันเป็นไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขา

ทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างอยู่ด้วยกระดูก มีทั้งเนื้อและเลือดเส้นเอ็นผูกรัด

ไว้...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ไม่มีเนื้อ มีแต่

เลือดเปรอะเปื้อนอยู่ เส้นเอ็นยังผูกรัดไว้...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า ยังคุมเป็นรูปร่างด้วยกระดูก ปราศจากเนื้อ

และเลือดแล้ว แต่เส้นเอ็นยังผูกรัดอยู่...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่อง

ผูกรัดแล้ว กระจัดกระจายไปทั่วทิศต่างๆคือ กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูก

เท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูก

สะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง

กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง

กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระ-

โหลกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็

เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้. เมื่อ

ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป ในธรรมอย่างนี้ ย่อมละ

ความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้

จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่

เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูก สีขาวเปรียบดังสีสังข์...

เห็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกอง ๆ มี

อายุเกินปีหนึ่ง...

เห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เป็นแต่กระดูกผุเป็นจุณ จึงนำเข้ามา

เปรียบเทียบกับกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็น

อย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียรส่งตน

ไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็นเจ้าเรือนเสียได้

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า

เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุสงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

อยู่ เธอยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิด

แต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

จะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือ

ลูกมือของพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด โรยจุณสำหรับสรงสนานลงในภาชนะ

สำริดแล้ว เคล้าด้วยน้ำให้เป็นก้อนๆ ก้อนจุณสำหรับสรงสนานนั้นมียางซึม

เคลือบ จึงจับกันทั้งข้างในข้างนอกและกลายเป็นผลึกด้วยยาง ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า

บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุข เกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุก

ส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท

มีความเพียร ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่เป็น

เจ้าเรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น

ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้

ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ

วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอยังกายนี้แล ให้

คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไรๆ

แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำพุ ไม่มีทางระบายน้ำทั้งในทิศตะวันออก

ทั้งในทิศตะวันตก ทั้งในทิศเหนือ ทั้งในทิศใต้เลย และฝนก็ยังไม่หลั่งสาย

น้ำโดยชอบตามฤดูกาล ขณะนั้นแล ธารน้ำเย็นจะพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น แล้ว

ทำห้วงน้ำนั้นเอง ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศ

ไรๆ แห่งห้วงน้ำทุกส่วนนั้นที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่าน

ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไร ๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอ

ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร

ส่งตนไปในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้.

เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่

แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ

ก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉย

เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกายย่อมเข้าตติย-

ฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เธอยังกายนี้แล

ให้คลุกเคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ

แห่งกายทุกส่วนของเธอ ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนดอกบัวขาบ หรือดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว แต่ละชนิด

ในกอบัวขาบ หรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เนื่อง

อยู่ในน้ำ ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ คลุก เคล้า บริบูรณ์

ซึมซาบด้วยน้ำเย็นจนถึงยอดและเง่า ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งดอกบัวขาบ หรือ

ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมยังกายนี้แล ให้คลุก

เคล้า บริบูรณ์ ซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุก

ส่วนของเธอที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง. เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความ

เพียร ส่งตนไปแล้วในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัย

เรือนเสียได้. เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น

ย่อมคงที่ แน่นิ่งเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้

ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถ-

ฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส

ก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เธอย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์

ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอัน

บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษนั่งเอาผ้า

ขาวคลุมตลอดทั้งศีรษะ ไม่มีเอกเทศไรๆ แห่งกายทุกส่วนของบุรุษนั้นที่ผ้า

ขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ

ย่อมเป็นผู้นั่งเอาใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องแผ่ไปทั่วกายนี้แล ไม่มีเอกเทศไรๆ

แห่งกายทุกส่วนของเธอที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง เมื่อภิกษุนั้นไม่

ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้ว ในธรรม อยู่อย่างนี้ ย่อมละความ

ดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็น

ไปภายในเท่านั้นย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติ

แล้ว ทำให้มากแล้ว ชื่อว่าเจริญและทำให้มากซึ่งกุศลธรรมส่วนวิชชาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ใดอย่างหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

บุคคลไรๆ ก็ตาม นึกถึงมหาสมุทรด้วยใจแล้ว ชื่อว่านึกถึงแม่น้ำน้อยที่ไหล

มาสู่สมุทรสายใดสายหนึ่งอันรวมอยู่ในภายในด้วย ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ฉันนั้นก็เหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว

ชื่อว่าเจริญและทำให้มาก ซึ่ง กุศลธรรมส่วนวิชชา อย่างใดอย่างหนึ่ง

อันรวมอยู่ในภายในด้วย.

ผู้ไม่เจริญกายคตาสติมารจะได้ช่อง

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรๆ ก็ตาม ไม่เจริญ ไม่ทำให้

มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่

กองดินเหนียวที่เปียก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็น

ไฉน ? ก้อนศิลาหนักนั้น จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก (เจาะให้เป็นรู )

บ้างไหม ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่

เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์

[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ จึงมี

บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ? บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็น

ไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงติดไฟ จะพึงก่อไฟ ได้บ้างไหม ?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่

เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

เจริญกายคตาสติชื่อว่าเจริญกุศลธรรมฝ่ายวิชชา

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อน้ำว่างเปล่าอันเขา

ตั้งไว้บนเซิงรอง. จึงมีบุรุษมาถือเอาเป็นเครื่องตักน้ำ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้บ้างไหม ?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

ไม่เจริญ ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้อารมณ์.

ผู้เจริญกายคตาสติมารไม่ได้ช่อง

[๓๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไร ๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติ

แล้วทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษโยนกลุ่มด้ายเบา ๆ ลงบนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วย

ไม้แก่นล้วน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

บุรุษนั้นจะพึงได้ช่อง บนแผ่นกระดานเรียบอันสำเร็จด้วยไม้แก่นล้วน (จาก)

กลุ่มด้ายเบา ๆ นั้น บ้างไหม ?

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้สดมียาง จึงมีบุรุษ

มาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นถือเอาไม้สดมียางโน้นเป็น

ไม้สีไฟแล้วสีกันไป จะพึงติดไฟ จะพึงก่อไฟได้บ้างไหม ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนหม้อน้ำเต็ม

[๓๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อน้ำ มีน้ำเต็มเปี่ยม

เสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเชิงรอง. จึงมีบุรุษมาถือเอา

เป็นเครื่องตักน้ำ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ?

บุรุษนั้นจะพึงได้น้ำเก็บไว้ บ้างไหม ?

ภิ. ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ไม่ได้อารมณ์.

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไร ๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติ

แล้ว ทำให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ เพราะการทำให้แจ้งด้วย

อภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อน้ำ

มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้ อันเขาตั้งไว้บนเชิงรอง

บุรุษมีกำลังมายังหม้อน้ำนั้นโดยทางใด ๆ จะพึงมาถึงน้ำโดยทางนั้น ๆ ได้

หรือ ?

ภิ. ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใด ๆ ที่ควรทำ

ให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ เพราะ

การทำให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสระโบกขรณี

[๓๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณีสี่เหลี่ยมใน

ภูมิภาคที่ราบ เขาพูนคันไว้ มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบปาก พอที่กาจะดื่มกินได้

บุรุษมีกำลังเจาะคันสระโบกขรณีนั้นทางด้านใด ๆ น้ำจะพึงไหลมาทางด้าน

นั้น ๆ ได้หรือ ?

ภิ. ไหลมาได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม

เจริญกายคตาสติแล้ว ทำให้มากแล้ว เธอน้อมจิตไปในธรรมใด ๆ ที่ควรทำ

ให้แจ้งด้วยอภิญญา จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ เพราะ

การกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

เปรียบเทียบผู้เจริญกายคตาสติเหมือนสารถีขับรถ

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถม้าอาชาไนยเขาเทียม

ม้าแล้ว มีแส้เสียบไว้ในที่ระหว่างม้าทั้งสองจอดอยู่บนพื้นที่เรียบตรงทางใหญ่ ๔

แยก. นายสารถีผู้ฝึกม้า เป็นอาจารย์ขับขี่ผู้ฉลาด ขึ้นรถนั้นแล้ว มือซ้าย

จับสายบังเหียน มือขวาจับแส้ ขับรถไปยังที่ปรารถนาได้ ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไร ๆ ก็ตาม เจริญกายคตาสติแล้ว

ทำให้มากแล้ว เธอย่อมน้อมจิตไปในธรรมใด ๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

จะถึงความเป็นผู้สามารถในธรรมนั้น ๆ นั่นแหละ เพราะการกระทำให้แจ้ง

ด้วยอภิญญาได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

อานิสงส์การเจริญกายคตาสติ ๑๐ ประการ

[๓๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้

ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์

๑๐ ประการนี้ คือ

(๑) อดกลั้นต่อความยินร้ายและความยินดีได้ ไม่ถูกความยินร้าย

ครอบงำ ย่อมครอบงำความยินร้ายที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.

(๒) อดกลั้นต่อภัยและความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาด

กลัวครอบงำ ย่อมครอบงำภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ด้วย.

(๓) อดทน คือเป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความร้อน

ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด. และสัตว์

เสือกคลาน ต่อทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิด

ขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ เผ็ดร้อน ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่

ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้.

(๔) เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเกิดมีในมหัตคตจิต เครื่องอยู่สบายใน

ปัจจุบัน ตามความปรารถนา ไม่ยาก ไม่ลำบาก.

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอเนกประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ปรากฏตัวหรือหายตัวไปนอกฝา นอกกำแพง

นอกภูเขาได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำการผุดขึ้นและดำลงในแผ่น

ดินเหมือนน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปใน

อากาศโดยบัลลังก์เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากปานฉะนี้ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก

ก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกล

และที่ใกล้ได้ด้วยทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น และบุคคลอื่นได้ ด้วยใจ คือ

จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี

โทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมี

โมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่

ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตเป็น

มหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า

ก็รู้ว่าจิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

จิตตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้ว

ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ

คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง

ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัป

บ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้าง ว่าในชาติโน้น เรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุ

เท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในชาติโน้น แม้ในชาตินั้น

เราก็มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวย

สุขและทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุเท่านี้ เรานั้นเคลื่อนจากชาตินี้แล้ว จึงเข้า

ถึงในชาตินี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

(๙) ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี

ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วง

จักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมมองเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เช่นนี้.

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ

แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้

ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ กายคตาสติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

อรรถกถากายคตาสติสูตร

กายคตาสติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณ

ความดำริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดำริพล่าน) ก็ธรรมชาติ

ชื่อ สร เพราะพล่านไป อธิบายว่า แล่นไป. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ความว่า

ในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น. บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด

(พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา)

กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น

อันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะ และวิปัสสนา ด้วยบท

ทั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา ๑๔ อย่าง ในมหาสติปัฏฐาน มีคำว่า ปุน จ

ปร ฯเปฯ เอว โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ กายคต สตึ ภาเวติ (ข้ออื่นยังมีอีก

ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอัน

รวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบาย

ว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอำนาจสัมปโยค

ดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชา

ดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ ๑

มโนมยิทธิ ๑ อภิญญา ๖ ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่

สัมปยุตด้วยวิชชา ๘ เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา. (วิชชาภาคิยะ).

ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ใน

บรรดาวิชชา ๘ เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่ง-

๑. ม. กายคตาสตึ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

วิชชา. เมื่ออธิบายอย่างนี้ วิชชาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึง

ทราบว่า เป็นส่วนแห่งวิชชาทั้งนั้น. ในบทว่า เจตสา ผุโฏ นี้มีอธิบาย

ว่า การแผ่มี ๒ อย่าง คือ แผ่ด้วยอาโปกสิณ, แผ่ด้วยทิพยจักษุ, ใน

การแผ่ ๒ อย่างนั้น การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยน้ำ ชื่อว่า แผ่ด้วย

อาโปกสิณ แม่น้ำสายเล็กๆ (แคว) ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอัน

รวมอยู่ภายในทะเลใหญ่ แม้ที่อาโปกสิณถูกต้องแล้วอย่างนี้. ส่วนการเจริญ

อาโลกกสิณแล้วแลดูทะเลทั้งหมดด้วยทิพยจักษุ ชื่อว่าแผ่ไปด้วยทิพยจักษุ

เมื่อทะเลใหญ่แม้ที่ทิพยจักษุถูกต้องแล้วอย่างนี้ แม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่

ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทั้งนั้น.

บทว่า โอตาร ได้แก่ ระหว่าง คือ ช่อง. บทว่า อารมฺมณ

ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งการบังเกิดกิเลส. บทว่า ลเภถ โอตาร ความว่า

พึงได้การเข้าไป อธิบายว่า พึงแทงตลอดไปจนถึงที่สุด.

บทว่า นิกฺเขปน ได้แก่ (เนื้อ) ที่ที่จะเก็บน้ำไว้.

ทรงเปรียบบุคคลผู้ไม่เจริญกายคตาสติ ด้วยกองดินเปียกเป็นต้นอย่าง

นี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงเปรียบบุคคลผู้เจริญกายคตาสติด้วยแผ่นไม้แก่นเป็นต้น

จึงตรัสคำว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้นไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคฬผลก ได้แก่ บานประตู.

บทว่า กากเปยฺโย ความว่า อันกาจับที่ขอบปากแล้วก้มคอดื่มได้.

บทว่า อภิญฺาสจฺฉิกรณียสฺส แปลว่า พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.

บทว่า สกฺขิพฺยต ปาปุณาติ ได้แก่ ถึงความประจักษ์. บทว่า

สติ สติอายตเน คือ เมื่อเหตุแห่งสติมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุในที่นี้.

ตอบว่า อภิญญานั่นแหละเป็นเหตุ.

บทว่า อาฬิพทฺธา ได้แก่ กั้นเขื่อน.

บทว่า ยานีกตาย คือ ทำให้เหมือนยานที่เทียมไว้แล้ว บทว่า

วตฺถุกตาย คือ ทำให้เป็นที่พึ่งอาศัย (ที่จอด). บทว่า อนุฏฺิตาย คือ

เป็นไปเนือง ๆ. บทว่า ปริจิตาย คือ ทำการสั่งสมไว้. บทว่า

สุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว คือ ประคับประคองไว้อย่าง

ดี. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากายคตาสติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

๑๐. สังขารูปปัตติสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาให้สำเร็จความปรารถนา

[๓๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ตถาคตจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟัง

ความเกิดขึ้นแห่งสังขารนั้น จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าวต่อไป. ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์มหาศาล

[๓๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐาน

จิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญ

แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็น

สหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ปฏิปทาเพื่อเป็นพราหมณ์มหาศาล

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนา

อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง

พราหมณ์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี. . . ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว

พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น

อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้นอันเธอ

เจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะ

นั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จใน

ความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาล

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์

[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดา

ชั้นดาวดึงส์ มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนา

อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง

เทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.

ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มาก

แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

ดาวดึงส์.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นยามา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นยามา. . .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดุสิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นดุสิต . .

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นนิมมานรดี . .

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปรนิมมิต-

วสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่าง

นี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

ปรนิมมิตวสวัตดีเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.

ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มาก

แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

ปรนิมมิตวสวัตดี.

ปฏิปทาเพื่อเป็นสหัสสพรหม

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า สหัสส-

พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สหัสสพรหม ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลาย

ที่เกิดแล้วในสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางมะขามป้อมผลหนึ่งในมือแล้วพิจารณาได้

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อม

จิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน สหัสส-

พรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ !

เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหมเถิด เธอจึง

ตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่า

นั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความ

สำเร็จในความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นทวิสหัสสพรหม. . .ปัญจสหัสสพรหม

[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่าทวิสหัสส-

พรหม...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า ติสหัสสพรหม...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า จตุสหัสสพรหม....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า ปัญจสหัสสพรหม

มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญจสหัสส-

พรหม ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุห้าพันอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว

ในปัญจสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์-

ตาดี วางผลมะขามป้อม ๕ ผลในมือแล้วพิจารณาดูได้ ฉันใด. ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ทั้งหลาย ปัญจสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอด

โลกธาตุห้าพันอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในปัญจสหัสสพรหมก็น้อมจิตแผ่

ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึง

เข้าถึงความเป็นสหายแห่งปัญจสหัสสพรหมเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐาน

จิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญ

แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็น

สหายแห่งปัญจสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นทสสหัสพรหม

[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า ทสสหัสส-

พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทสสหัสส-

พรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิด

แล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยมอันเขาเจียระไนดีแล้ว

วางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง ย่อมส่องแสงเรืองไพโรจน์ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ทสสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลก

ธาตุหมื่นหนึ่งอยู่ แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในทสสหัสสพรหมนั้น ก็น้อม

จิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไป

แล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งทสสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น

อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อัน

เธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

ภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ

ในความเป็นสหายแห่งทสสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นสตสหัสสพรหม

[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่าสตสหัสส-

พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สต-

สหัสสพรหมย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลาย

ที่เกิดแล้วในสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท ที่เขาหลอมด้วยความชำนาญดีในเบ้าของช่าง

ทองผู้ฉลาดแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อมส่องแสงเรือง ไพโรจน์

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตสหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อม

น้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุแสนหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายเกิดแล้ว

ในสตสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้

ว่า ไฉนหนอ เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสตสหัสส-

พรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.... ความปรารถนา

และวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อม

เป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา

เป็นไปเพื่อความเป็นสหายแห่งสตสหัสสพรหม.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอาภา ๓ ชั้น

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้น

อาภา มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภา

เถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและ

วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา

เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปริตตาภา...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอัปปมา-

ณาภา....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรา

มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉน

หนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา

เถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและ

วิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็น

ไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภา ๓ ชั้น

[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้น

สุภา...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นปริตตสุ-

ภา...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอัปปมาณ-

สุภา...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภกิณหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นสุภกิณหา

มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉน

หนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น สุภกิณหา

เถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหาร

ธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็น

ไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นสุภกิณหา.

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นเวหัปผลา

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้น

เวหัปผลา...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอวิหา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอวิหา...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอตัปปา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นอตัปปา...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุทัสสา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นสุทัสสา...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุทัสสี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่าเทวดาชั้นสุทัสสี...

ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอกนิฏฐา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอกนิฏฐา

มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉน

หนอ ! เมื่อเราตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอกนิฏฐาเถิด.

เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรม

เหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความสำเร็จในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไป

เพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอกนิฏฐา.

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ

[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้

เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มากด้วยความสุข.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เมื่อเราตายไปแล้ว พึงเข้าถึง

ความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพเถิด เธอจึงตั้งจิต

นั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น

อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ

ในภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ

ในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานญจายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้

เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มากด้วยความสุข

เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพเถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น

อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อัน

เธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จใน

ภาวะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จ

ในความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อเข้าอากิญจัญญายตนภพ

[๓๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้

เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ..

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอได้ฟังว่า เทวดาผู้เข้าถึงเนว-

สัญญานาสัญญายตนภพ มีอายุยืน ดำรงอยู่นาน มากด้วยความสุข เธอ

มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพเถิด เธอจึงตั้งจิต

นั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น

อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่ง

เทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ.

ปฏิปทาเพื่อให้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้

ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอมีความปรารถนา

อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ใน

ปัจจุบันอยู่. เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่น

ชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐

จบ อนุปทวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

หัวข้อเรื่องของอนุปทวรรคนั้น ดังนี้

เรื่องบทโดยลำดับ ๑ เรื่องความบริสุทธิ์ ๑ เรื่องธรรมของคนดี ๑

เรื่องธรรมที่ควรเสพ ๑ เรื่องแจกธาตุมากอย่าง ๑ เรื่องประกาศชื่อ

พระพุทธะ ๑ กับเรื่องจัตตารีสะ ๑ เรื่องลมหายใจ ๑ เรื่องกายคตา-

สติ ๑ เรื่องสุดท้ายคือเรื่องความสำเร็จเกิดขึ้นในวันเพ็ญ ๒ เพ็ญ คราวที่

พระจันทร์บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ เป็น

ธรรมมิใช่กิจของพระองค์ รวมเป็นวรรคสำคัญชื่ออนุปทวรรคที่ ๒ มีธรรม

อันประเสริฐที่ชนจำนวนมากเสพแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตร

สังขารูปปัตติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

พึงทราบวินิจฉัย ในสังขารูปปัตติสูตรนั้นดังต่อไปนี้. ความว่า ความ

เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ ไม่ใช่การอุปบัติ

ของสัตว์ ของบุคคล. อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์

ทั้งหลาย ด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.

บทว่า สทฺธาย สมนฺนาคโต ความว่า ธรรม ๕ ประการ มีศรัทธา

เป็นต้น เป็นโลกิยะ. บทว่า ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า อธิฏฺาติ ได้แก่ ประ-

ดิษฐานไว้. บทว่า สงฺขารา จ วิหารา จ (แปลว่า ความปรารถนาและวิหารธรรม)

ได้แก่ ธรรม ๕ ประการมีศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ พร้อมด้วยความปรารถนา.

บทว่า ตตฺรูปปตฺติยา คือ เพื่อต้องการเกิดในที่นั้น. บทว่า มคฺโค ปฏิปทา

ได้แก่ ธรรม ๕ ประการนั่นแหละพร้อมกับความปรารถนา. อธิบายว่า บุคคลใด

มีธรรม ๕ ประการ แต่ไม่มีความปรารถนา คติของบุคคลนั้นไม่ต่อเนื่องกัน.

บุคคลใด มีความปรารถนา แต่ไม่มีธรรม ๕ ประการ คติแม้ของบุคคลนั้น

ก็ไม่ต่อเนื่องกัน บุคคลเหล่าใดมีธรรม ๕ ประการ และความปรารถนา

ทั้งสองอย่าง คติของบุคคลเหล่านั้นต่อเนื่องกัน อุปมาเหมือนบุคคลยิงลูกศร

ไปในห้วงอากาศ กำหนดไม่ได้ว่าจะเอาปลาย หรือตรงกลาง หรือเอาโคนลง

ฉันใด การถือปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ฉันนั้น เอาแน่นอนไม่ได้

เพราะฉะนั้น กระทำกุศลกรรมแล้วทำความปรารถนาในที่แห่งหนึ่งย่อมควร.

บทว่า อามณฺฑ ได้แก่ ผลมะขามป้อม. ผลมะขามป้อมนั้นย่อม

ปรากฏโดยประการทั้งปวงทีเดียว แก่บุรุษผู้มีตาดี ฉันใด พันแห่งโลกธาตุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

พร้อมทั้งสัตว์ผู้เกิดในนั้น ย่อมปรากฏแก่พรหมนั้น ฉันนั้น. ในทุกบทก็มี

นัยดังกล่าวนี้.

บทว่า สุโภ แปลว่า งาม. บทว่า โชติมา คือ ถึงพร้อมด้วย

อาการ. บทว่า สุปริกมุมกโต ได้แก่ มีบริกรรมอันทำไว้ดีแล้ว ด้วย

การเจียระไนเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑุกมฺพเล นิกฺขิตฺโต ได้แก่ วางไว้บน

ผ้ากัมพลแดง.

บทว่า สตสหสฺโส ได้แก่ พรหมผู้แผ่แสงสว่างไปในแสนโลกธาตุ.

บทว่า นิกฺข ได้แก่ เครื่องประดับที่ทำด้วยทองนิกขะ ๕ สุวัณณะ ทอง

เนื้อห้า ชื่อว่า นิกขะ ก็เครื่องประดับที่ทำด้วยทองหย่อนนิกขะ จะไม่ทน

ต่อการตี และการขัดสี แต่ที่ทำด้วยทองเกินนิกขะ จะทนต่อการตีและการ

ขัดสี แต่มีสีไม่สวย ปรากฏเป็นธาตุหยาบ. ที่ทำด้วยทองนิกขะจะทนต่อการ

ตีและการขัดสี บทว่า ชมฺโพนท คือ เกิดในแม่น้ำชมพู. ก็กิ่งหนึ่งๆ

ของต้นหว้าใหญ่ (มหาชมพู) แผ่กว้างไปกิ่งละ ๕๐ โยชน์. แม่น้ำสายใหญ่ๆ

ไหลผ่านไปทางพื้นที่ทั้งหลายเหล่านั้น หน่อทองคำเกิดขึ้นในที่ที่ผลชมพูตกลง

ณ สองฟากฝั่งของแม่น้ำเหล่านั้น ถูกน้ำในแม่น้ำนั้นพัดพาไหลเข้าไปสู่มหา-

สมุทรโดยลำดับ. ท่านหมายถึงทองเกิดดังกล่าวนั้น จึงกล่าวว่า ชมฺโพนท

(ทองนิกขะที่เกิดในแม่น้ำชมพู) ดังนี้.

บทว่า ทกฺขกมฺมารปุตฺตอุกฺกามุขสุกุสลสมฺปหฏฺ ความว่า

อันบุตรช่างทองผู้ฉลาด ผู้ขยัน หลอมในเบ้าให้ได้ที่แล้ว บทว่า อุกฺกามุเข

ได้แก่ ในเตา. บทว่า สมฺปหฏฺ คือ ทั้งสุม (ไล่ขี้) ทั้งตีและขัด. ก็

ในวัตถูปมสูตร และธาตุวิภังคสูตร ตรัสการทำทองทั้งก้อนให้บริสุทธิ์

แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสการทำทองรูปพรรณให้บริสุทธิ์ ก็ในคำว่า ผริตฺวา

อธิมุจฺจิตฺวา ซึ่งตรัสไว้ในทุกวาระนั้น การแผ่ไปมี ๕ อย่าง คือ แผ่ไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ด้วยจิต ๑ แผ่ไปด้วยกสิณ ๑ แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ ๑ แผ่ไปด้วย

แสงสว่าง ๑ แผ่ไปด้วยสรีระ ๑ ในการแผ่ ๕ อย่างนั้น การรู้จิต

ของสัตว์ทั้งหลายในพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยจิต. การแผ่กสิณไปใน

พันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยกสิณ. การขยายแสงสว่างออกไปแล้ว

ดูพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ. แม้การแผ่ไปด้วยแสงสว่าง

ก็คือการแผ่ไปด้วยทิพยจักษุนั่นแหละ การแผ่รัศมีแห่งสรีระไปในพันโลก

ธาตุ ชื่อว่า การแผ่ไปด้วยสรีระ. ในที่ทุกแห่ง ควรกล่าวการแผ่ ๕

ประการนี้ ไม่ให้แตกแยกกัน.

ส่วน พระติปิฎกจุลลาภยเถระ กล่าวว่า ในการเปรียบด้วยแก้วมณี

การแผ่ไปย่อมปรากฏเหมือนแผ่ด้วยกสิณ ในการเปรียบด้วยทองนิกขะ การ

แผ่ย่อมปรากฏเหมือนแผ่ไปด้วยรัศมีแห่งสรีระ ดูเหมือนท่านจะปฏิเสธวาทะ

ของท่านติปิฎกจุลลาภยเถระว่า ชื่อว่าอรรถกถา (การอธิบายความอย่างที่

ท่านว่านั้น) ไม่มี แล้วกล่าวว่า การแผ่รัศมีแห่งสรีระไม่มีตลอดกาล ควร

กล่าวโดยไม่ทำให้การแผ่ ๔ ประการเสียหาย. บทว่า อธิมุจฺจติ เป็นไวพจน์

(คำใช้แทนกันได้) ของบทว่า ผรณะ (คือการแผ่). อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ผรติ ได้แก่ แผ่ไป. บทว่า อธิมุจฺจติ ได้แก่ รู้อยู่.

ในบทว่า อาภา เป็นต้น เทวดาอีกเหล่าหนึ่งต่างหาก ชื่อว่า อาภา

เป็นต้น ไม่มี (มีแต่) เทวดา ๓ เหล่า มีเหล่าปริตตาภาเป็นต้น ชื่อว่า

อาภา. เทวดาเหล่าปริตตาสุภา เป็นต้น และเหล่าสุภกิณหา เป็นต้น ชื่อ

ว่า สุภา เทวดาเหล่าเวหัปผลา เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว.

บุคคลอบรมธรรม ๕ ประการเหล่านี้ จะเกิดในสวรรค์ชั้นกามาวจร

ได้ (ก็ไม่ว่ากระไร) ก่อน แต่ท่านจะบังเกิดในพรหมโลก และถึงความสิ้น

อาสวะได้ อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ธรรม ๕ ประการ (คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา) เหล่านี้

เป็นศีล. บุคคลนั้นตั้งอยู่ในศีลนี้แล้วกระทำกสิณบริกรรม ทำสมาบัติ

ทั้งหลายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในกาลนั้น ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่มีรูป.

ทำอรูปฌานทั้งหลายให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป.

เจริญวิปัสสนา อันมีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วทำให้แจ้งอนาคามิผล ย่อม

เกิดในชั้นสุทธาวาส ๕. เจริญมรรคให้สูงขึ้น ย่อมถึงความสิ้นอาสวะ

แล.

จบ อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุปทสูตร ๒. ฉวิโสธนสูตร ๓. สัปปุริสสูตร ๔. เสวิตัพ-

พาเสวิตัพพสูตร ๕. พหุธาตุกสูตร ๖. อิสิคิลิสูตร ๗. มหาจัต-

ตารีสกสูตร ๘. อานาปานสติสูตร ๙. กายคตาสติสูตร ๑๐. สัง-

ขารูปปัตติสูตร