ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1

มหายมกวรรค

๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร

[๓๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐใน

นาทิกคาม. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ

อยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่

หลีกเร้นแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน นายทายบาล (ผู้รักษาป่า)

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกับพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้เลย ในที่นี้มีกุลบุตร

๓ ท่าน ซึ่งเป็นใคร่ประโยชน์ตน เป็นสภาพอยู่ ท่านอย่าได้กระทำความไม่

ผาสุกแก่ท่านทั้ง ๓ นั้นเลย เมื่อนายทายบาลกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

อยู่ ท่านพระอนุรุทธะได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลว่า ดูก่อนนายทาย-

บาลผู้มีอายุ ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้เข้า

ไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้บอกว่า

ออกมาเถิด ท่านผู้มีอายุ ออกมาเถิด ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

ศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ

และท่านพระกิมิละ ได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า องค์หนึ่งรับบาตรและจีวร

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า องค์หนึ่งปูอาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย ครั้นแล้วทรงล้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 2

พระบาท ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อน

อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมิละ พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้

เป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ.

อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้

พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต.

พ. ก็พวกเธอ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็น

เหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังพร้อมเพรียงกัน

ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วย

จักษุอันเป็นที่รักอยู่.

พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพระเหตุอย่างไร.

การประพฤติในปฏิสันถาร

[๓๖๓] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ

ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรม

ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ในที่แจ้งและที่ลับ เข้าไปตั้ง

วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา... เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาใน

ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า

ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสีย แล้วประพฤติตามอำนาจจิตของท่านผู้มี

อายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 3

ของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายขอพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตเห็นจะ

เป็นอันเดียวกัน.

แม้ท่านพระนันทิยะ...แม้ท่านพระกิมิละ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส แม้ข้าพระองค์

ก็มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับ

เพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบ

ด้วยเมตตา เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา...เข้าไปตั้งมโนกรรม

ประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ข้าพระองค์

มีความดำริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงเก็บจิตของตนเสีย แล้วประพฤติ

ตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย

ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์

ต่างกันจริงแล แต่ดูกันจิตเห็นจะเป็นอันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือน

น้ำนมกับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่.

[๓๖๔] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

ส่งตนไปแล้วอยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียรส่งตนไปแล้วอยู่.

พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส บรรดาพวก

ข้าพระองค์ ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านก่อน ท่านผู้นั้นย่อมปูลาด

อาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ ท่านผู้ใดกลับจากบิณฑบาตแต่

บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หากประสงค์ ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 4

ก็ทิ้งเสียในที่ปราศจากของเขียว หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ท่านผู้นั้นเก็บ

อาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัตร ท่านผู้ใดเห็น

หม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หรือหม้อนำชำระว่างเปล่า ท่านผู้นั้นก็เข้าไปตั้งไว้ ถ้า

เหลือวิสัยของท่านก็กวักมือเรียกรูปที่สองแล้วช่วยกันยกเข้าไปตั้งไว้

พวกข้าพระองค์ไม่เปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุกวันที่ ๕

พวกข้าพระองค์นั่งสนทนาธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ เป็นผู้ไม่ประมาท มิความเพียร ส่งตนไปอยู่ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

ธรรมเครื่องอยู่สำราญ ๙

[๓๖๕] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร ส่งตนไปอยู่อย่างนี้คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ

ที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว มีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมีพระพุทธเจ้าข้า ขอประทาน

พระวโรกาส พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิด

แต่วิเวกอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรส่งตนไปอยู่

คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่า

ธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญนี้แล พวกข้าพระองค์ได้เข้าถึงแล้ว.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ

ที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็น

เครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 5

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอัน

สามารถการทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่อง

อยู่สำราญ เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้

อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถ

กระทำความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย

นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ

ว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือ

ญาณทัสสนะ. อันสามารถการทำความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถการทำ

ความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า พวกข้าพระองค์เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละ

สุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถการทำความเป็นพระอริยะ

...อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อัน

สามารถการทำความเป็นพระอริยะ. . .อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 6

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ใส่ใจ

ซึ่งปฏิฆสัญญา พวกข้าพระองค์เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน ด้วย

พิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณ

ทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง

พวกข้าพระองค์เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหา

ที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้ง

ปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าน้อยหนึ่ง

ไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความ

เป็นพระอริยะ...อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะ...อย่างอื่นมีอยู่หรือ

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้ง

ปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ อันนี้ได้แก่คุณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

วิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ... อย่างอื่น.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ

ความเป็นพระอริยะอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ

ที่พวกเธอได้เข้าถึงแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็น

เครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ.

อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์

หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญาณนาสัญญายตนะโดยประการ

ทั้งปวง พวกข้าพระองค์เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา

อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณ

ทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับแห่งธรรม

เป็นเครื่องอยู่อันนี้ ได้เข้าถึงแล้วพระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่

พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า

ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้.

พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่

ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่.

[๓๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระ-

นันทิยะ และท่านพระกิมิละ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ท่านพระอนุรุทธะ ท่าน

พระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นกลับจากที่

นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะว่า

พวกกระผมได้บอกคุณวิเศษอันนั้นแก่ท่านอนุรุทธะอย่างนี้หรือว่า พวกเรา

ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย. ท่านอนุรุทธะประกาศคุณวิเศษอันใดของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 8

พวกกระผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี

พระภาคเจ้า

อ. พวกท่านผู้มีอายุมิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้

วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย ๆ แต่ว่ากระผมกำหนดใจของพวกท่านผู้มีอายุด้วยใจ

แล้วรู้ได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แม้พวกเทวดาก็

ได้บอกเนื้อความข้อนี้เก่กระผมว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติเหล่า

นี้ด้วยๆ กระผมถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาแล้ว จึงทูลถวาย

พยากรณ์เนื้อความนั้น.

ชื่อเสียงของพระอนุรุทธะเป็นต้น

[๓๖๗] ลำดับนั้น ทีฆปรชนยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านเหล่านี้ คือ ท่าน

พระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่.

พวกภุมมเทวดาได้ส่งเสียงของทีฆปรชนยักษ์แล้วได้ประกาศ

(ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายเป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดี

แล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับอยู่ และกุลบุตร

๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิลิมะ มาพักอยู่.

พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วได้

ประกาศ (ต่อไป)...พวกชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราช

แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นยามาได้ส่งเสียงของพวกเทพชั้นดาว-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 9

ดึงส์แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกชั้นมายา

แล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวก

เทพชั้นดุสิตแล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีได้ฟัง

เสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้วได้ประกาศ (ต่อไป)...พวกเทพที่นับเข้า

ในจำพวกพรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้วได้

ประกาศ (ต่อไป) ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชน

ชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับ

อยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน

พระกิมิละ มาพักอยู่.

[๓๖๘] โดยขณะครู่หนึ่งนั้น เสียงได้เป็นอันรู้กันทั่วจนถึงพรหม-

โลก ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น ดูก่อนทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตจากสกุลใด ถ้าสกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้

ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สกุลนั้น ตลอดกาล

นาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากวงศ์สกุลใด

ถ้าวงศ์สกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่วงศ์สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านใด ถ้าบ้านนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึก

ถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่บ้านนั้น

ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนิคม

ใด ถ้านิคมนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นิคมนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนครใด ถ้านครนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตร

ทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นครนั้น ตลอด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 10

กาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากชนบท

ใด ถ้าชนบทนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนบทนั้น ตลอดกาลนาน ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมี

จิตเลื่อมใสระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อ

ความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล...ถ้าแพศย์

ทั้งมวล...ถ้าศูทรทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึง

เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ศูทรทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้า

โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไป

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม-

โลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาล

นาน ดูก่อนทีฆะ ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ปฏิบัติแล้วก็เพียงเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์

โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ทีฆปรชนยักษ์

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบจูฬโคสิงคสาลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 11

มหายมกวรรควรรณนา

อรรถกถาจูฬโคสิงคสาลสูตร

จูฬโคสิงคสาลสูตรมีบทเริ่มต้น เอวมฺเม สุต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาทิเก วิหรติ ความว่า ในบ้านแห่งหนึ่ง

ในบรรดาหมู่บ้านสองแห่งของบุตรของอาและของลุงทั้งสอง อาศัยสระน้ำ

หนึ่ง ชื่อ นาทิกา. บทว่า คิญฺชกาวสเถ ได้แก่ ที่พักทำด้วยอิฐ. โดยยินว่า

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทำการสงเคราะห์มหาชน เสด็จจาริก

ไปในแคว้นวัชชี เสด็จถึงนาทิกคาม. ชาวบ้านนาทิกคามถวายมหาทาน

แด่พระผู้มีพระภาคจ้า ฟังธรรมีกถา มีใจเลื่อมใส ปรึกษากันว่า เรา

จักสร้างที่ประทับถวายแด่พระศาสดา แสดงรูปสัตว์ร้ายเป็นต้น ที่ฝาบันได

และเสาด้วยอิฐทั้งนั้น สร้างปราสาทฉาบด้วยปูนขาว ยังมาลากรรม

และลดากรรมเป็นต้นให้สำเร็จ ปูลาดเครื่องลาดพื้นเสียงและตั่งเป็นต้น

มอบถวาย พระศาสดา. ต่อมา พวกชาวบ้านในที่นี้สร้างที่พักกลางคืน

ที่พักกลางวัน มณฑป และที่จงกรมเป็นต้น ถวายแด่ภิกษุสงฆ์. วิหาร

นั้นได้เป็นมหาวิหารด้วยประการฉะนี้. ท่านหมายเอาวิหารนั้น จึงกล่าวว่า

คิญฺชกาวสเถ ดังนี้.

ค่าคบไม้มีสัณฐานดังเขาโค ตั้งขึ้นแต่ลำต้นของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง

ในบทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย นั้น. ป่านั้นแม้ทั้งหมดอาศัยต้นไม้นั้น จึงชื่อ

ว่า โคสิงคสาลวัน ดังนี้. บทว่า ทาโย นี้เป็นชื่อของป่า โดยไม่ต่างกัน

เพราะฉะนั้น บทว่า โคสิงฺคสาลวนทาเย มีความว่า ในป่าชื่อ โคสิงคสาลวัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 12

บทว่า วิหรนฺติ ได้แก่ เสวยสามัคคีรสอยู่. เวลากุลบุตรเหล่านี้เป็นปุถุชน

ท่านกล่าวไว้ในอุปริณณาสก็แล้ว. ในที่นี้ ท่านกล่าวเวลาเป็นพระขีณาสพ.

จริงอยู่ ในเวลานั้น กุลบุตรเหล่านั้น ได้ความพอใจ ได้ที่พึ่ง บรรลุปฏิสัมภิทา

เป็นพระขีณาสพ เสวยสามัคคีรสอยู่ในที่นั้น. บทว่า เยน โคสิงคสาลวนทาโย

เตนุสงฺกมิ นี้ท่านกล่าวหมายถึงป่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้บอกอะไรๆในบรรดาพระธรรมเสนาบดี

พระมหาโมคคัลลานเถระ หรือพระอสีติมหาสาวก โดยที่สุดแม้พระ-

อานนทเถระ เป็นคลังธรรม ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

เหมือนช้างปลีกออกจากข้าศึก เหมือนไกรสรสีหราชออกจากฝูง เหมือน

เมฆถูกลมหอบ พระองค์ผู้เดียวเสด็จเข้าไปหาอย่างนี้แล. ถามว่า ก็เพราะ

เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้เสด็จไปด้วยพระองค์เองในนี้. ตอบว่า กุลบุตร

ทั้ง ๓ ย่อมเสวยสามัคคีรส เพราะจะทรงยกย่องกุลบุตรเหล่านั้น เพราะจะ

ทรงอนุเคราะห์หมู่ชนเกิดในภายหลัง และเพราะความหนักในพระธรรม.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า เราจักยกย่อง

สรรเสริญกุลบุตรเหล่านี้ ทำปฏิสันถาร แสดงธรรมแก่กุลบุตรเหล่านั้น เพราะจะ

ทรงยกย่องอย่างนี้เท่านั้น จึงเสด็จไป. พระองค์ได้มีพระดำริต่อไปว่า

ในอนาคต กุลบุตรทั้งหลาย สำคัญการควรอยู่พร้อมเพรียงกันว่า พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จสู่สำนักของกุลบุตรผู้อยู่พร้อมเพรียงกันด้วยพระองค์

เอง ทำปฏิสันถาร แสดงธรรมทรงยกย่องกุลบุตรทั้ง ๓ ใครจะไม่พึงอยู่พร้อม-

เพรียงกัน ดังนี้ จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เร็วพลัน ดังนี้ แม้เพราะจะทรง

อนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดในภายหลัง จึงได้เสด็จไป. ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้า

ทรงเป็นผู้หนักในธรรม ก็ความหนักในธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมาแล้ว

ในรถวินีตสูตร เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงดำริว่า เราจักยกย่องธรรม

แม้เพราะความหนักในธรรมนี้ ดังนี้. จึงได้เสด็จไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 13

บทว่า ทายปาโล แปลว่า ผู้รักษาป่า คนรักษาป่านั้น ย่อมนั่งรักษา

คุ้มครองที่ประตูป่านั้น ที่เขาล้อมรั้วประกอบไว้โดยประการที่พวกมนุษย์

ในประเทศที่เขาปรารถนาแล้วอยู่อมไม่นำดอกไม้ ผลไม้ ยางไม้ หรือ

ทัพสัมภาระในที่นั้นออกได้ เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวว่า ทายเปาโล. บทว่า

อตฺตกามรูปา ความว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตนเป็นสภาพอยู่. จริงอยู่

ผู้ใดแม้บวชแล้วในศาสนานี้ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ๒๐ มีเวชกรรมทูตกรรม

และการส่งข่าวเป็นต้น นี้ยังไม่ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน. ส่วนผู้ใด

บวชแล้วในศาสนานี้ ละอเนสนา ๒๑ แล้ว ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เรียน

พระพุทธวจนะ อธิษฐานธุดงค์พอสบายถือกรรมฐานที่ชอบใจในอารมณ์

๓๘ ละแวกบ้านเข้าป่า ยังสมาบัติให้เกิด เที่ยวทำวิปัสสนากรรมฐาน

นี้ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตน. กุลบุตรทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น ได้เป็นเห็น

ปานนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวว่า อตฺตกามรูป วิหรนฺติ. เขาขอร้อง

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์อย่าได้กระทำความไม่ผาสุกแก่กุลบุตร

เหล่านั้นเลย.

ได้ยินว่า นายทายบาลนั้นได้มีวิตกอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่านี้อยู่พร้อม-

เพรียงกัน ความบาดหมาง ทะเลาะและวิวาท ย่อมเป็นไปในที่คนบางพวกไป

แล้ว ทั้งสองไม่ไปทางเดียวกันเหมือนโคดุ เขาแหลม เที่ยวขวิดอยู่ บางครั้ง

พระพุทธเจ้าแม้นี้ เมื่อทรงกระทำอย่างนี้ พึงทำลายความอยู่อย่างพร้อม-

เพรียงของกุลบุตรเหล่านี้ ก็แหละพระองค์น่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณ

ดังทอง เห็นจะอยากในรส พึงทำลายอัปปมาทวิหารธรรมของกุลบุตรเหล่านี้

ด้วยการกล่าวสรรเสริญผู้ถวายของอันประณีต และผู้อุปัฏฐากตนตั้งแต่เสด็จ

ไปถึง แม้สถานที่อยู่ของกุลบุตรเหล่านี้ กำหนดไว้แน่นอน คือ บรรณศาลา ๓

ที่จงกรม ๓ ที่พักกลางวัน ๓ เตียงตั่ง ๓ ส่วนสมณะนี้ มีกายใหญ่เห็นจะแก่

กว่า และจักไล่กุลบุตรเหล่านี้ ออกจากเสนาสนะในกาลอันไม่ควร ความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 14

ไม่ผาสุกจักมีแก่กุลบุตรเหล่านั้น แม้ในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้ เขา

ไม่ปรารถนาอย่างนั้น จึงขอร้องพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระองค์อย่าได้ทำ

ความไม่ผาสุกแก่กุลบุตรเหล่านั้นเลย.

ถามว่า ก็นายทายบาลนั้น รู้อยู่ จึงห้าม หรือไม่รู้อยู่ จึงห้าม. ตอบว่า

จริงอยู่ ตั้งแต่พระตถาคตถือปฏิสนธิ ปาฏิหาริย์อันยังหมื่นจักรวาลให้

หวั่นไหวเป็นต้น เป็นไปแล้วแม้ก็จริง ถึงดังนั้น คนไม่มีกำลังชาวป่า ขวน-

ขวายแต่การงาน ไม่อาจจะกำหนดรู้ปาฏิหาริย์เหล่านั้นได้. ก็ธรรมดาว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใดมีภิกษุหลายพันเป็นบริวาร เที่ยวแสดง

พุทธานุภาพด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ และด้วยพระสิริ

คือ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ เมื่อนั้นเขาถามว่า นั่นใคร แล้วพึงจะรู้จัก. ก็ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิดพุทธานุภาพนั้นทั้งหมดไว้ในกลีบจีวร

ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จไปโดยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก

เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ที่ถูกปิดบังไว้ในกลีบเมฆ. นายทายบาล

ไม่รู้ข้อนั้น จึงห้ามด้วยประการฉะนี้. บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า

พระเถระฟังถ้อยคำของนายทายบาลว่า มา สมณ ดังนี้ จึงคิดว่า เราอยู่กัน

๓ คนในที่นี้ ไม่มีบรรพชิตอื่นเลย ก็นายทายบาลนี้พูดเหมือนกับพูดกับ

บรรพชิตจักเป็นใครหนอแลดังนี้แล้ว ออกจากที่พักกลางวัน ยืนอยู่ที่ประตู

มองดูทาง ก็ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเปล่ง

พระรัศมีจากพระวรกาย พร้อมกับที่พระเถระเห็นพระรัศมีวาหนึ่งส่องสว่าง

ด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ รุ่งเรืองเหมือนเผ่นทองที่คลี่ออก. พระเถระคิดว่า

นายทายบาลนี้ พูดกับบุคคลผู้เลิศในโลก ยังไม่รู้จัก พูดคล้ายกับภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง เหมือนเหยียดมือจับอสรพิษแผ่พังพานที่คอ เมื่อจะห้ามจึงได้กล่าวคำ

เป็นต้นนี้ว่า มา อาวุโส ทายปาล ดังนี้. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า

เพราะเหตุอะไร ไม่ทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 15

ได้ยินว่าท่านพระอนุรุทธะได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เรา ๓ คนอยู่พร้อมเพรียง

กันก็จักไม่มี เราจักพาเอามิตรเป็นที่รักไปทำการต้อนรับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นที่รักของเราฉันใด ก็เป็นที่รักแม้ของสหายของเราฉันนั้น ดังนี้ เป็นผู้ใคร่

จะทำการต้อนรับ พร้อมด้วยปิยมิตรเหลานั้น จึงไม่ทำด้วยตนเอง เข้าไปเฝ้า

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทางเป็นที่เสร็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

มีอยู่ในที่สุดแห่งที่จงกรม ใกล้ประตูบรรณศาลาของพระเถระเหล่านั้น

เพราะฉะนั้นพระเถระจึงไปให้สัญญาแก่พระเถระเหล่านั้น.บทว่า อภิกฺกมถ

แปลว่า มาทางนี้เถิด. บทว่า ปาเท ปกฺขาเลสิ ความว่า พระเถระถือเอาน้ำสี

แก้วมณีด้วยมือดุจตาข่ายคล้ายประทุมที่แย้ม รดน้ำที่หลังพระบาททั้ง ๒

มีสีดุจทองคำ ชำระขัดสีพระบาท ธุลีมิได้ต้องพระวรกายของพระพุทธเจ้า.

ถามว่า เพราะเหตุอะไร จึงต้องล้าง. ตอบว่า เพื่อกำหนดฤดูของพระวรกาย

และเพื่อให้จิตของภิกษุเหล่านั้นร่าเริง จิตของภิกษุเหล่านั้น เอิบอิ่มด้วย

โสมนัสอันมีกำลังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล้างพระบาทด้วยน้ำที่เรานำมา

แล้ว ได้ทรงทำการใช้สอย ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงล้าง.

บทว่า อายสฺมนฺต อนุรุทฺธ ภควา เอตทโวจ ความว่า ได้ยิน

ท่านพระอนุรุทธะนั้น เป็นผู้แก่กว่าภิกษุเหล่านั้น เมื่อทำการสงเคราะห์แก่

ท่านอนุรุทธะนั้น เป็นทำแก่ท่านที่เหลือด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสคำเป็นต้นนี้ว่า กจฺจิ โว อนุรุทฺธา ดังนี้ เพราะพระเถระองค์เดียว.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กจฺจิ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า คำถาม. บทว่า

โว เป็นฉัฏฐีวิภัติ. มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงภิกขาจารวัตร

ว่า ดูก่อน อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ พวกเธอพออดทนได้หรือ อิริยาบถของ

พวกเธอทนได้หรือ พอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอพอยังชีวิตให้เป็น คือสืบต่อไป

หรือ ไม่ลำบากด้วยก้อนข้าว บิณฑบาตหรือ พวกเธอหาก้อนข้าวได้ง่าย

หรือ พวกมนุษย์เห็นพวกเธอมาพร้อมกันแล้ว จึงสำคัญข้าวยาคูกระบวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 16

หนึ่งหรือ ภิกษาทัพพีหนึ่งที่ควรถวาย เพราะฉะนั้น ก็ผู้ไม่ลำบากด้วย

ปัจจัยสามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้ หรือว่านี้เป็นวัตรของบรรพชิต

เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ประทานคำตอบแล้ว เมื่อจะทรงถามถึงสามัคคีรส

ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ นันทิยะและกิมพิละ พวกเธอเป็นราชบรรพชิต มีบุญมาก

พวกมนุษย์ไม่ถวายแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าแล้ว จักสำคัญสิ่งที่ควรให้แกใครอื่น

เล่า ก็พวกเธอฉันของนี้แล้วอยู่ยัดเหยียดกันและกันเหมือนลูกเนื้อหรือ

หรือว่า พวกเธอยังมีความพร้อมเพรียงกันอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กจฺจิ

ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาขีโรทกีภูตา

ความว่า น้ำนมและน้ำผสมกันและกัน. ย่อมไม่แยกกัน เข้าถึงดุจเป็นอัน

เดียวกัน ตรัสถามว่า พวกเธออยู่ด้วยความสามัคคีอย่างนี้. เหมือนจิตตุปบาท

เข้าถึงความเป็นอันเดียวกันหรือ. บทว่า ปิยจกฺขูหิ ความว่า จักษุคือ

การเข้าไปตั้งเมตตาจิตมองดู ชื่อว่าปิยจักษุ. ตรัสถามว่า พวกเธอแลดูกัน

และกันด้วยจักษุเห็นปานั้นอยู่หรือ. บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

ส่วนเดียว ดังท่านกล่าวว่า มย ภนฺเต โดยส่วนเดียว. บทว่า ยถา ในบทว่า

ยถากถ ปน นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กถ แปลว่า ถามถึงเหตุ. มีอธิบายว่า

พวกเธออยู่กันอย่างนี้ได้อย่างไร คืออยู่ด้วยเหตุไร พวกเธอจงบอกเหตุนั้นแก่

เราเถิด. บทว่า เมตฺต กายกมฺม ได้แก่ กายกรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจจิต

เมตตา. บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ต่อหน้า และลับหลัง. แม้ในบทนอกนี้ก็

มีนัยนี้แหละ.

ในบทนั้น กายกรรมและวจีกรรม ย่อมได้ในการอยู่ร่วมกันต่อหน้า

นอกนี้ ย่อมได้ในการอยู่แยกกัน มโนกรรมได้ในที่ทั้งหมด จริงอยู่ เมื่ออยู่

ร่วมกัน เตียงตั่งก็ดี ภัณฑะไม้ก็ดี ภัณฑะดินก็ดี อันใดที่คนหนึ่งเก็บไว้ไม่ดีใน

ภายนอก เห็นสิ่งนั้น ไม่ทำความดูหมิ่นว่า สิ่งนี้ใครใช้แล้ว ถือเอามาเก็บ

ไว้เหมือนที่ตนเก็บไว้ไม่ดี ก็หรือว่า ประคับประคองฐานที่ควรประดับประคอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 17

ชื่อว่าเมตตากายกรรมต่อหน้า. เมื่อคนหนึ่งหลีกไป เก็บเสนาะบริขารที่เขา

เก็บไว้ไม่ดี หรือว่าเฝ้าที่ดูที่ควรเฝ้า ชื่อว่าเมตตากายกรรมลับหลัง. เมื่ออยู่

ร่วมกัน ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมต่อหน้า ย่อมมีในการทำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สัมโมทนีกถาอันไพเราะ ปฏิสันถาร สาราณียกถา ธรรมกถา สรภัญญะ

ถามปัญหาตอบปัญหากับพระเถระทั้งหลาย. ก็เมื่อพระเถระหลีกไป

กล่าว มีอาทิว่า พระนันทิเถระ พระกิมพิลเถระ เป็นสหายที่รักของ

เรา ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยอาจาระอย่างนี้ ชื่อว่า เมตตา

วจีกรรมลับหลัง. ก็เมื่อประมวลมาอย่างนี้ว่า ขอพระนันทิยเถระ กิมพิลเถระ

ผู้เป็นปิยมิตรของเรา จงเป็นผู้ไม่มีเวร จงเป็นไม่เบียดเบียน จงเป็นผู้มี

ความสุขเถิด ดังนี้ชื่อว่า เมตตามโนกรรมทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง

บทว่า นานา หิ โข โน ภนฺเต กายา ความว่า ใคร ๆ ไม่อาจทำกาย

ให้รวมกันได้ เหมือนขยำแป้ง และดินเหนียว. บทว่า อกญฺจ ปน มญฺเจิตฺต

ท่านแสดงว่า ส่วนจิตของพวกข้าพระองค์ ชื่อว่า เป็นอย่างเดียวกัน เพราะ

อรรถว่ารวมกัน ไม่ขาดสูญ ไม่ปราศจากกัน พร้อมเพรียงกัน ถามว่า

ก็ภิกษุเหล่านั้น เก็บจิตของตน ประพฤติตามอำนาจจิตของท่าน นอกนี้

อย่างไร. ตอบว่า สนิมขึ้นในบาตรของภิกษุรูปหนึ่ง จีวรของภิกษุรูปหนึ่ง

เศร้าหมอง บริภัณฑกรรมย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บรรดาภิกษุเหล่านั้น

สนิมขึ้นที่บาตรของผู้ใด เมื่อผู้นั้น บอกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ สนิมขึ้นที่บาตรของผม

ควรสุม ดังนี้ พวกนอกนี้ ไม่พูดว่าจีวรของผมเศร้าหมอง ควรซัก เครื่องใช้

ของผมควรกระทำ ดังนี้แล้ว เข้าป่านำฟืนมาตัดเป็นท่อนไว้บนบาตร

สุมบาตรแล้ว ต่อมาก็ซักจีวรบ้าง ทำของใช้บ้าง. เมื่อรูปใดรูปหนึ่งบอกก่อน

ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ จีวรของผมเศร้าหมองควรซัก บรรณศาลาของผมทรุด-

โทรมควรซ่อมใหม่ ดังนี้ มีนัยเหมือนกัน. บทว่า สาธุ สาธุ อนุรุทฺธา

ความว่า เมื่อภิกษุกราบทูลในหนหลังว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 18

ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประทานสาธุการ.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะชื่อว่ากวฬิงการาหารนี้ ของสัตว์

เหล่านี้ประพฤติกันมาเป็นอาจิณ ส่วนโลกสันนิวาสนี้ ขัดแย้งกันโดยมาก.

สัตว์เหล่านี้ผิดใจกัน ทั้งในอบายโลก ทั้งในเทวดาและมนุษยโลก เวลาที่สัตว์

เหล่านั้นพร้อมเพรียงกันหาได้ยาก มีได้บางคราวเท่านั้น เหตุดังนั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานสาธุการในที่นี้ เพราะการอยู่พร้อมเพรียงกัน

หาได้ยาก

บัดนี้ เมื่อตรัสถามลักษณะความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านั้น จึง

ตรัสคำเป็นต้นว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

โว เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นปฐมาวิภัติ ความว่า กจฺจิ ตุมฺเห

ดังนี้. บทว่า อมฺหาก คือ ในพวกเรา ๓ คน. บทว่า ปิณฺฑาย ปฏิกฺกมติ

ความว่า เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ภายหลัง. บทว่า อวกฺกการปาตึ

ความว่า ทิ้งบิณฑบาตที่เหลือเสีย ล้างสำรับๆหนึ่ง ตั้งไว้เพื่อเก็บไว้. บทว่า

โย ปจฺฉา ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเหล่านั้น เข้าไปภิกขาจารไม่พร้อมกัน.

ก็พระเถระเหล่านั้นออกจากผลสมาบัติชำระร่างกาย แต่เช้าตรู่บำเพ็ญ

ข้อปฏิบัติ เข้าไปยังเสนาสนะ กำหนดเวลานั่งเข้าผลสมาบัติ บรรดาพระเถระ

เหล่านั้น รูปใดที่นั่งก่อนลุกขึ้นก่อน ด้วย การกำหนดเวลาของตน รูปนั้น

เที่ยวบิณฑบาตกลับมาที่ฉันอาหาร ย่อมรู้ว่า ภิกษุ ๒ รูปมาภายหลัง

เรามาก่อน เมื่อเป็นเช่นนั้น จัดบาตร ปูอาสนะเป็นต้น ถ้าในบาตรมีพอดี

เธอก็นั่งฉัน ถ้ามีเหลือใส่ไว้ในถาดสำรับ ปิดถาดไว้ฉัน ทำภัตตกิจเสร็จแล้ว

ล้างบาตร เช็ดให้น้ำหมดใส่ไว้ในถุง เก็บอาสนะ ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่

ที่พักของตน. แม้รูปที่ ๒ มาแล้ว ย่อมรู้ได้ว่า รูปหนึ่งมาก่อน รูปหนึ่งภายหลัง

ถ้าในบาตรมีภัตพอประมาณ เธอก็ฉัน ถ้ามีน้อยถือเอาจากสำรับแล้ว

ฉัน ถ้ามีเหลือใส่ไว้ในสำรับฉันแต่พอประมาณข้าไปสู่ที่พักเหมือนพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 19

รูปก่อน. แม้รูปที่ ๓ มาแล้ว ย่อมรู้ว่า สองรูปมาก่อน เรามาภายหลัง

แม้เธอทำภัตตกิจเสร็จเหมือนพระเถระรูปที่ ๒ ก็ล้างบาตร เช็ดให้น้ำหมด

ใส่ไว้ในถุง ยกอาสนะขึ้นเก็บไว้ เทน้ำที่เหลือในหม้อน้ำดื่มหรือในหม้อน้ำใช้

แล้วคว่ำหม้อ ถ้ามีภัตเหลืออยู่ในสำรับ นำภัตนั้นไปโดยนัยอันกล่าวแล้ว

ล้างถาดเก็บกวาดโรงฉัน. ต่อมาเทหยากเยื่อ ยกไม้กวาดขึ้นเก็บในสถานที่พ้น

จากปลวก ถือบาตรและจีวรเข้าไปที่พัก นี้เป็นวัตรในโรงฉันในที่ทำภัตตกิจ

ในป่า ภายนอกวิหาร ของพระเถระทั้งหลาย ทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัส

คำเป็นต้นว่า โย ปจฺฉา ดังนี้.

ส่วนคำเป็นต้นว่า โย ปสฺสติ พึงทราบว่า เป็นวัตร ภายในวิหารของ

พระเถระทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจฺจฆฏ แปลว่าหม้อชำระ.

บทว่า ริตฺต คือว่างเปล่า. บทว่า ตุจฺฉก เป็นไวพจน์ของบทว่า ริตฺต นั้นแหละ.

บทว่า อวิสยฺห ได้แก่ ไม่อาจจะยกขึ้นได้คือหมักมาก. บทว่า หตฺถวิกาเรน

คือ ด้วยสัญญาณมือ ได้ยินว่า พระเถระเหล่านั้นถือหม้อน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีหม้อน้ำดื่มเป็นต้นไปสระโบกขรณี ล้างภายในและภายนอกแล้วกรองน้ำใส่

วางไว้ริมฝั่ง เรียกภิกษุรูปอื่นมาด้วยวิการแห่งมือ ไม่ส่งเสียงเจาะจงหรือ

ไม่เจาะจง ถามว่า เพราะเหตุไรไม่ส่งเสียงเจาะจง. ตอบว่า เสียง พึง

รบกวนภิกษุนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ส่งเสียงไม่เจาะจง ตอบว่า เมื่อให้

เสียงไม่เจาะจง ภิกษุ ๒ รูปพึงออกไปด้วยเข้าใจว่า เราก่อน เราก่อน

ดังนี้. ต่อจากนั้น ในการงาน ๒ รูปพึงทำ รูปที่ ๓ พึงว่างงาน เธอเป็นผู้

สำรวมเสียง ไปใกล้ที่พักกลางวันของภิกษุรูปหนึ่ง รู้ว่าเธอเห็นแล้วทำ

สัญญาณมือ ภิกษุนอกนี้ย่อมมาด้วยสัญญาณนั้น ต่อนั้นชนทั้งสองเอามือ

ประสานกันลุกขึ้นวางบนมือทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสหมายเอาข้อ

นั้นว่า หตฺถวิกาเรน ทุติย อามนฺเตตฺวา หตฺถวิลงฺฆิเกน อุฏฺเปม ดังนี้.

บทว่า ปญฺจาหิก โข ปน ความว่า คำนี้ว่า ในวัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดิถีที่ ๘ ค่ำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 20

เป็นวันธัมมัสสวนะตามปกติก่อน พระเถระทั้ง ๒ รูปอาบน้ำในเวลายังไม่มืด

มากนัก ทุกๆวัน ทำข้อนั้นไม่ให้ขาด ย่อมไปยังที่พักของพระอนุรุทธเถระ.

พระเถระแม้ทั้ง ๓ รูป นั่ง ณ ที่นั้น ถามปัญหาตอบปัญหา กันและกันใน

พระไตรปิฎก ปิฎกใดปิฎกหนึ่ง เมื่อพระเถระเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนี้จน

อรุณขึ้น. บทว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา อปฺปมตฺตา อาตาปิโน ปหิตตฺตา วิหรถ

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงข้อนั้น.

พระเถระถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามลักษณะของความไม่

ประมาทแล้วตอบลักษณะของความไม่ประมาทถวายในที่ตั้งแห่งความประมาท

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า คือ เวลาเข้าไปที่ภิกขาจาร เวลาออกไป การนุ่ง

สบง การห่มจีวร การเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ภายในหมู่บ้าน ธรรมกถา

อนุโมทนา การออกจากหมู่บ้านแล้วทำภัตตกิจ การล้างบาตร เก็บ

บาตรและจีวรให้เรียบร้อย เหล่านี้เป็นที่ทำให้เนิ่นช้า สำหรับ ภิกษุ

เหล่าอื่น เพราะฉะนั้น พระเถระเมื่อแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าเวลาประมาท

ย่อมไม่มีแก่เรา เพราะปล่อยที่ประมาณเท่านี้ได้แล้ว จึงตอบลักษณะของ

ความไม่ประมาทถวายในที่ตั้งแห่งความประมาท

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว

เมื่อจะตรัสถามปฐมฌานจึงตรัสอีกว่า อตฺถิ ปน โว ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อุตฺตริมนุสสธมฺมา คือ ธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

บทว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสโส ได้แก่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ สามารถ

ทำความเป็นพระอริยะบทว่า กึ หิ โน สิยา ภนฺเต ความว่า เพราะเหตุไร

คุณวิเศษที่บรรลุแล้ว จักไม่บรรลุเล่า.บทว่า ยาวเทว คือ เพียงใดนั่นเอง.

เมื่อการบรรลุปฐมฌานที่พระเถระตอบชี้แจงแล้ว อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเมื่อตรัสถามทุติฌานเป็นต้น จึงตรัสว่า เอตสฺ ส ปน โว ดังนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า สมติกฺกมาย คือ เพื่อความก้าวล่วง.บทว่า ปฏิปสฺสทฺธิยา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 21

คือ เพื่อความสงบระงับ. ที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในบททั้งปวง.

ส่วนในปัญหาสุดท้าย เมื่อตรัสถานนิโรธสมาบัติที่ได้บรรลุด้วยอำนาจ

โลกุตตรญาณทัสสนะ จึงตรัสว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสโส ดังนี้. พระเถระ.

ตอบชี้แจง ตามสมควรแก่การถาม. ในข้อนั้น พระเถระกล่าวว่า เพราะความสุข

ที่ไม่ได้เสวย สงบกว่า ประณีตกว่า ความสุขที่เสวยแล้ว ฉะนั้น พวก

ข้าพระองค์ยังพิจารณาไม่เห็นผาสุกวิหารอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าเลย.

บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า ภิกษุแม้ทั้งปวง สำเร็จกิจ ในสัจจะทั้ง ๔

ด้วยธรรมกถา ประกอบด้วยอานิสงส์แห่งสามัคคีรส ไม่มีคำอะไรที่ท่านจะ

พึงกล่าวเพื่อประโยชน์แก่การบรรลุสัจจะเหล่านั้น ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอานิสงส์แห่งสามัคคีรสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า นี้เป็นอานิสงส์และนี้เป็น

อานิสงส์ดังนี้ด้วยสามัคคีรส. บทว่า ภควนฺต อนุสาเรตฺวา คือ ตามเสด็จ.

ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น รับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ไปหน่อยหนึ่ง. ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นไปส่งเสด็จถึงที่สุดบริเวณแห่งวิหาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอาบาตรและจีวรของเรามาเถิด พวกเธอจงอยู่

ในที่นี้ แล้วทรงหลีกไป. บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่ไปแล้ว.

บทว่า กินฺนุ โข มย อายสฺมโต ความว่า ภิกษุทั้งหลาย อาศัยพระผู้มี

พระภาคเจ้า บรรลุคุณมีบรรพชาเป็นต้นแล้ว ก็รังเกียจด้วยการกล่าวคุณ

ของตน กล่าวแล้ว เพราะเป็นผู้ปรารถนาน้อยในมรรคผลที่บรรลุ. บทว่า

อิมาสญฺจ อิมาสญฺจ ได้แก่ โลกิยะและโลกุตตรธรรม มีปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ วิทิโต ความว่า พระเถระกำหนดจิตด้วยจิต

แล้วรู้อย่างนี้ว่า วันนี้ท่านผู้มีอายุ ของเรายังเวลาให้ล่วงไปด้วยโลกิจสมาบัติ

วันนี้ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยโลกุตตรสมาบัติ. บทว่า เทวตาปิ เม ความว่า

แม้พวกเทพดาบอกอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญอนุรุทธะวันนี้ พระนันทิยเถระ

ผู้เป็นเจ้า ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยสมาบัตินี้ วันนี้ พระกิมพิลเถระผู้เป็นเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยสมาบัตินี้ บทว่า ปญฺหาภิปุฏฺเน ความว่า เราเตรียม

ปากไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ว่า ข้อแม้นั้นเรารู้แล้วด้วยตนเอง หรือ

เทพดาบอก ดังนี้. ยกถ้อยคำที่ยังไม่ถาม ก็ไม่กล่าวถาม. ส่วนพระผู้มี

พระภาคเจ้าถูกถามปัญหาคือ ถูกถามปัญหาอยู่ ทรงตอบชี้แจงพระองค์จึง

ตรัสว่า พวกเธอยังไม่ชอบใจในข้อนั้นหรือ.

บทว่า ทีโฆ มาแล้วในคาถาอย่างนี้ว่า มณิ มานิจโร ทีโฆ อโถ

เสรีสโก สห เป็นเทวราชองค์หนึ่ง ในจำนวนยักษ์เสนาบดี ๒๘ องค์

ผู้ถูกถาม. บทว่า ปรชโน เป็นชื่อของยักษ์นั้น. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ

ความว่า ได้ยินว่า ยักษ์นั้นถูกท้าวเวสสวัณส่งไปแล้ว เมื่อไปยังที่แห่งหนึ่ง

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ออกจาก

ที่พัก สร้างด้วยอิฐระหว่างป่าโคสิงคสาลวัน คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์ เสด็จไปสำนักของกุลบุตรทั้ง ๓ ใน

ป่าโคสิงคสาลวัน พระธรรมเทศนาจักมีมากในวันนี้ แม้เราพึงเป็นผู้มีส่วนแห่ง

เทศนานั้น เดินตามรอยพระบาทของพระศาสดา ด้วยกายที่ปรากฏ ยืนฟัง

ธรรมในที่ไม่ไกล เมื่อพระศาสดาเสด็จไป ก็ไม่ไป ยืนอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อจะดู

ว่าพระเถระเหล่านั้น จักทำอะไรกัน ดังนี้ ในขณะนั้นเห็นพระเถระทั้งสอง

รูปนั้นห่วงใยพระอนุรุทธเถระ คิดว่า พระเถระเหล่านี้อาศัยพระผู้มี

พระภาคเจ้า บรรลุคุณทั้งปวงมีบรรพชาเป็นต้น ตระหนี่ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่กล้า ซ่อนเร้นเหลือเกิน ปกปิด บัดนี้เราจักไม่ให้ท่านปกปิด เราจัก

ประกาศคุณของพระเถระเหล่านั้นแต่แผ่นดิน จนถึงพรหมโลก. จึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. บทว่า ลาภา ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ คนชาวแคว้นวัชชี ย่อมได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้เห็นกุลบุตร

ทั้ง ๓ เหล่านี้ ย่อมได้ถวายบังคม ถวายไทยธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเป็น

ลาภของชาววัชชีเหล่านั้น. บทว่า สทฺท สุตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ยักษ์นั้นส่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 23

เสียงดังด้วยอานุภาพแห่งยักษ์ เปล่งวาจานั้นครอบแคว้นวัชชีทั้งสิ้น.

เพราะเหตุนั้น ภุมมเทวดาที่สถิตอยู่ที่ต้นไม้และภูเขาเป็นต้นเหล่านั้นๆ

ได้ยินเสียงของยักษ์นั้น. ท่านหมายเอาข้อนั้น กล่าวว่า สทฺท สุตฺวา ดังนี้.

บทว่า อนุสฺสาเวสุ ได้แก่ ได้ยินเสียงดังแล้ว ป่าวร้องไป. ในบททั้งปวงมีนัยนี้

บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา ได้แก่ จนถึงอกนิฏฐพรหมโลก. บทว่า ตญฺเจปิ

กุล ความว่า พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่านี้ออก

จากตระกูลของเราบวชแล้ว มีศีล มีคุณ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีกัลยาณ-

ธรรมอย่างนี้ ถ้าตระกูลนั้น มีจิตเลื่อมใส พึงระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ เหล่านั้น

อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาด้วยอนุสนธิ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาจูฬโคสิงคสาลสูตรที่ ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 24

๒. มหาโคสิงคสาลสูตร

[๓๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อม

ด้วยพระสาวกผู้เถระซึ่งมีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ

ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลา

เย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า มาไปกันเถิด

ท่านกัสสปะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม ท่านพระมหา-

กัสสปะรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระ-

สารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ท่านพระมหากัสสปะ และท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระ-

สารีบุตร เพื่อฟังธรรม ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วกล่าวว่า

ท่านเรวตะ ท่านสัตบุรุษพวกโน้น กำลังเข้าไปหาท่านพระเรวตะ เพื่อฟัง

ธรรม มาไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟัง

ธรรม ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้นท่านพระเรวตะ

และท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม.

[๓๗๐] ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์

กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จง

มาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อยู่ใกล้พระผู้มี

พระภาคเจ้า มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 25

ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้ง

ไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระอานน์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้เป็น

พหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะสั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหม-

จรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมาก

แล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความ

เห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่

ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วย

ภิกษุเห็นปานนี้แล.

[๓๗๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่าน

อานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน

เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่ว

ต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วย

ภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระเรวะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็น

ผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ

ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสนา

พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็น

ปานนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 26

สรรเสริญทิพยจักษุ

[๓๗๒] เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กลาวกะท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะปฏิภาณตามที่เป็นของ

ตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านอนุโทธะในข้อนั้นว่า

ป่าโคสิงคสาลวันป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบาน

สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวัน

จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านอนุรุทธะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจ

ดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือน

บุรุษผู้มีจักษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ฉัน

ใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็น

ปานนี้แล.

[๓๗๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะว่า ท่านกัสสปะปฏิภาณตามที่เป็นของตน

ท่านอนุรุธทธะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านมหากัสสปะในข้อนั้น

ว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละ

มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสปะ ป่าโคสิงค-

สาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร.

ท่านพระมหากัสสปะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้

ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็น

วัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 27

สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร

และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็น

ผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งสันโดษ

ด้วย ตนเองเป็นผู้สงัดและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็น

ผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็น

ผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร

ด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึง

พร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และ

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมวิมุตติด้วย ตนเองเป็นผู้

พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อม

ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุ

เห็นปานนี้แล.

[๓๗๔] เมื่อท่านพระมหากัสสปะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่

เป็นของตน ท่านมหากัสสปะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านมหาโมค-

คัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่ม

กระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่าน

โมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร.

ท่านพระมหาโมคคัลสานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ใน

พระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหา

กันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 28

ย่อมเป็นไปด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

สรรเสริญสมาบัติ

[๓๗๕] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระ-

สารีบุตรว่า ท่านสารีบุตรปฏิภาณตามที่เป็นของตน อันเราทั้งหมดพยากรณ์

แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านสารีบุตร ในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็น

สถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่น

คล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ

เห็นปานไร.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้

ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจและไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วย

วิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่

ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง

หวังจะด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลา

เย็น เปรียบเหมือนหีบผ้าของพระราชา หรือราชอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่

ย้อมแล้วเป็นสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิด

ใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลา

เที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลา

เย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นในอำนาจและ

ไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลา

เช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดใน

เวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติ

ใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน

ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 29

สรรเสริญความเป็นพหูสูต

[๓๗๖] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านผู้มีอายุเหล่านั้น

ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลายปฏิภาณตามที่เป็นของตนๆ พวกเราทุกรูปพยากรณ์

แล้ว มาไปกันเถิด พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

ครั้นแล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่าง

นั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

ลำดับนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง แล้วท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาข้าพระองค์ถึง

ที่อยู่เพื่อฟังธรรม ข้าพระองค์ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์

กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์

จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อยู่ใกล้พระผู้มี

พระภาคเจ้า มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่า

รื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์

ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ตอบข้าพระองค์ว่า

ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะสั่งสมสุตะ

ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ. ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรม

เห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่ง

ด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว ด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 30

ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่ขาดสายเพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย

ท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อานนท์ เมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้นด้วยว่า อานนท์เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรง

สุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม

ในที่สุดพร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้

แล้วสั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น อานนท์

นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบไม่ขาดสาย

เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย.

[๓๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของ

ตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า

ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอก

บานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน

จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่าน

พระเรวตะได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้

เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้นประกอบเนืองๆ

ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา

พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็น

ปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เรวตะเมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยเรวตะ เป็นผู้มีความหลีกเร้น

เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้นประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 31

ภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ ปฏิภาณตามที่เป็นของ

ตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านอนุรุทธะในข้อนั้นว่า

ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบาน

สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธะ ป่าโคสิงคสาลวัน

จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่าน

พระอนุรุทธะได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้

ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑล

แห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน

พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อนุรุทธะ เมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อนุรุทธะ ย่อมตรวจดูโลก

ตั้งพันด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

สรรเสริญภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

[๓๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้แล้ว

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปะว่า ท่านกัสสปะ ปฏิภาณตามที่

เป็นของตน ท่านพระอนุรุทธะพยากรณ์เล้ว บัดนี้ เราขอถามท่านมหากัสสปะ

ในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง

ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสปะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 32

ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าว

อย่างนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะ. ได้ตอบข้าพระองค์ว่า ท่านสารีบุตร

ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร และ

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้ถือ

ไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร

ด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

ความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ

ไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง

การปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าว

สรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

สมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อม

ด้วยวิมุตติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าว

สรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสะด้วย ท่านสารีบุตร

ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร กัสสปะ เมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้นด้วยว่ากัสสปะ ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่า

เป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

ด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 33

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนา

น้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย

ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษ

ด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย

ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย

ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความ

เพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึง

พร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และ

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิมุตติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วย ตนเอง

ผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึง

พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย.

[๓๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อท่านพระมหากัสสปะกล่าวอย่างนี้

แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ

ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสปะพยากรณ์แล้ว บัดนี้

เราจะขอถามท่านมหาโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถาน

น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้าย

ทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูก่อนท่านมหาโมคคัลลานะป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วย

ภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ได้ตอบข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้

กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้นถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้วย่อมแก้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 34

กันเองไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย

ดูก่อนท่านสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่าโมคคัลลานะเป็นธรรมกถึก

สรรเสริญสมาบัติอีก

[๓๘๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ในลำดับต่อ

ไป ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร

ปฏิภาณตามที่เป็นของตน เราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้เราจะขอถามท่าน

สารีบุตรในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง

ไม้สาละมีดอกบานสะพรั่งทั่วตัว กลิ่นคล้ายทิพย์ย่อมฟุ้งไป ดูก่อนท่านสารี-

บุตร ป่าโคสิงคสาลวันจะพึงงามด้วย ภิกษุเห็นปานไร เมื่อข้าพระองค์กล่าว

อย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ตอบข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านมหาโมคคัล-

ลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นตาม

อำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมา-

บัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วย

วิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลา

เย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัติในเวลาเย็น เปรียบเหมือนหีบผ้าของพระราชา

หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมเป็นสีต่าง ๆ พระราชาหรือ

ราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ใน

เวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดนั้น นั้นได้ในเวลาเย็นฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นไปใน

อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 35

เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมา-

บัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่

ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็นฉันนั้น

เหมือนกัน ก่อนท่านมหาโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุ

เห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ สารีบุตรเมื่อจะ

พยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า สารีบุตรยังจิตให้เป็นไปใน

อำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดใน

เวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมา-

บัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่

ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลา

เย็น.

สรรเสริญความสิ้นอาสวะ

[๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำของใครหนอ

เป็นสุภาษิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก่อนสารีบุตร คำของพวกเธอทั้ง

หมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา ถามว่า ป่าโคสิงค-

สาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น เราตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร

ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกาย

ให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 36

หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น

ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตแล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่า

นั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบมหาโคสิงคสาลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 37

อรรถกถามหาโคสิงคสาลสูตร

มหาโคสิงคสาลสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเมสุต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โคสิงคสาลวนทาเย นี้ ท่านกล่าวเพื่อ

แสดงที่อยู่ ก็สูตรอื่นท่านแสดงโคจรคามอย่างนี้ก่อนว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร โคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประจำ

ในมหาโคสิงคสาลสูตรนี้ แต่จักเป็นโคจรคามบางคราว เพราะฉะนั้น ท่าน

แสดงถึงที่อยู่อย่างเดียวว่า พระสูตรนั้นมีป่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า สมฺพหุเลหิ

คือมากมาย. บทว่า อภิญฺาเตหิ อภิญฺาเตหิ ได้แก่ มีชื่อเสียงปรากฏในที่

ทุกแห่ง. บทว่า เถเรหิ สาวเกหิ สทฺธึ ความว่า พร้อมคือร่วมด้วยผู้เป็นพระ

เถระ เพราะประกอบด้วยธรรม กระทำความมั่นคง มีความสำรวมใน

ปาฏิโมกข์ เป็นต้น เป็นพระสาวก เพราะเกิดในที่สุดการฟัง.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงพระเถระเหล่านั้น โดยสรุปจึงตรัสว่า อายสฺมตา

จ สารีปุตฺเตน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาพระเถระเหล่านั้น ท่านพระสารีบุตร

มีชื่อเสียงในพระพุทธศาสนาด้วยคุณมีศีลเป็นต้นของตน คือปรากฏ

แล้ว เหมือนพระอาทิตย์พระจันทร์อยู่ท่ามกลางท้องฟ้า ปรากฏแก่ผู้มีจักษุ

และเหมือนสาครปรากฏแก่ผู้ยืนอยู่บนฝั่งแห่งสมุทร. ก็พึงทราบความ

ที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งคุณที่มาแล้วในพระสูตรนี้อย่างเดียว

ไม่ได้. ควรจะทราบความที่พระเถระเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งพระสูตร

แม้เหล่านี้ อื่นจากพระสูตรนี้คือ ธัมมทายาทสูตร อนังคณสูตร

สัมมาทิฏฐิสูตร จุลลสีหนาทสูตร มหาสีหนาทสูตร รถวินีตสูตร

มหาหัตถิปโทปมสูตร มหาเวทัลลสูตร วัตถูปมสูตร ทีฆนขสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 38

อนุปทสูตร เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร สัจจวิภังคสูตร ปิณฑปาตปาริ-

สุทธิสูตร สัมปสาทนียสูตร สังคีติสูตร ทสุตตรสุตร ปวารณาสูตร สุลิม-

สูตร เถรปัญหสูตร มหานิเทส ปฏิสัมภิทามรรค เถรสีหนาทสูตร

การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีปัญญาของ

เรา.

แม้พระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียง

ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้.

อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ ด้วยอำนาจพระสูตรแม้

เหล่านี้คือ อนุมานสูตร จุลลตัณหาสังขยสูตร มารตัชชนียสูตร การยังปรา

สาทให้หวั่นไหว การทรมานนันโทปนันทนาคราช ประกอบด้วยอิทธิบาททั้ง

สิ้น. การไปสู่เทวโลกในคราวแสดงยมกปาฏิหาริย์ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ

การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาโมคคัลลานะ เป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มี

ฤทธิ์ของเรา.

แม้พระมหากัสสปะเป็นใหญ่ปรากฏมาเหมือนพระเถระ มีชื่อเสียง

ด้วยศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้. อนึ่ง ควรทราบความที่พระ

เถระนั้นเป็นใหญ่ด้วยอำนาจพระสูตรเหล่านี้คือ จีวรปริวัตตนสูตร จันโทปม-

สูตร กัสสปสังยุตต์ทั้งสิ้น มหาอริยวังสสูตร การบวชของพระเถระเอตทัคคะ

ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พระมหากัสสปะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกทรงธุดงค์ของเรา.

แม้พระอนุรุทธะเป็นผู้ใหญ่ปรากฏ เหมือนพระเถระมีชื่อเสียง ด้วย

ศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้ อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 39

นั้นเป็นใหญ่ด้วยสามารถแห่งพระสูตรแม้เหล่านี้คือ จุลลโคสิงคสูตร นฬก-

ปานสูตร อนุตตริยสูตร อุปักกิเลสสูตร อนุรุทธสังยุต มหาปุริสวิตักก-

สูตร การบวชของพระเถระ เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ในเอตทัคคะพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอนุรุทธะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มี

ทิพยจักษุของเรา.

ก็พระเรวตะมี ๒ รูปคือ ขทิรวนิยเรวตะ ๑ กังขาเรวตะ ๑ ในบท

ว่า อายสฺมตา จ เรวเตน นี้ ใน ๒ รูปนั้น ในที่นี้ไม่ประสงค์เอาพระขทิรวนิย

เรวตะ ซึ่งเป็นน้องชายของพระธรรมเสนาบดี. ส่วนพระเถระมากด้วยความ

สงสัยอย่างนี้ว่า น้ำอ้อยควรไหม ถั่วเขียวควรไหม ประสงค์แล้วว่า เรวตะใน

ที่นี้. ก็พระเรวตะนั้นเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียงด้วย ศีลาทิ

คุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้.

อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระนั้นเป็นใหญ่ในการบวช แม้ใน

เอตทัคคะนั้น. จริงอยู่ในเอตทัคคะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พระกังขาเรวตะเป็นยอดแห่งภิกษุสาวกผู้มีฌานของเรา.

แม้พระอานนทเถระเป็นผู้ใหญ่ปรากฏเหมือนพระเถระมีชื่อเสียงด้วย

ศีลาทิคุณ และด้วยคุณมาแล้วในพระสูตรนี้ อนึ่ง ควรทราบความที่พระเถระ

นั้นเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งพระสูตรเหล่านี้ คือ เสลสูตร พาหิติยสูตร อเนญช-

สัปปายะโคปกสูตร โมคคัลลานะ พหุธาตุกะ จุลลสุญญตะ มหาสุญญตะ

อัจฉริยัมภูตสูตร ภัทเทกรัตตะ มหานิทานะ มหาปรินิพพานะ สุภ-

สูตร จุลลนิยโลกธาตุสูตร การบวช เอตทัคคะ ดังนี้ จริงอยู่ ในเอตทัคคะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์เป็นยอดแห่ง

ภิกษุสาวกผู้พหูสูตของเรา.

บทว่า อญฺเญหิ จ อภิญฺาเตหิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 40

ทับอยู่ในป่าโคสิงคสาลวันพร้อมด้วยเถรสาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียงปรากฏ

เพราะเป็นผู้มีคุณใหญ่เหล่านี้และเหล่าอื่นก็หาไม่. จริงอยู่ ในคราวนั้น

ท่านพระสารีบุตรตนเองมีปัญญามาก หาพวกภิกษุผู้มีปัญญามาก แม้เหล่า

อื่นเป็นอันมากไปอยู่แวดล้อมพระทศพล. ท่านมหาโมคคัลลานะ ตนเองมีฤทธิ์

ท่านมหากัสสปะตนเองเป็นธุตวาทะ ท่านอนุรุทธะตนเองได้ทิพยจักษุ

ท่านเรวตะตนเองยินดีในฌาน ท่านอานนท์ตนเองเป็นพหูสูต พาพวกภิกษุ

ผู้พหูสูตรเหล่าอื่นไปอยู่แวดล้อมพระทศพลในกาลนั้น. พระมหาเถระผู้มีชื่อ

เสียงเหล่านั้น และเหล่าอื่นในกาลนั้น พึงทราบว่า พวกภิกษุประมาณสาม

หมื่นอยู่แวดล้อมพระทศพล ด้วยประการฉะนี้แล

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า ท่านมหาโมคคัลลานะออกจาก

วิเวกในผลสมาบัติ. บทว่า เยนายสฺมา มหากสฺสโป เตนุปสงฺกมิ ความว่า

ได้ยินว่า พระเถระออกจากที่หลีกเร้นแลดูโลกธาตุทางปัจฉิมทิศ ได้เห็น

สุริยมณฑล ๕๐ โยชน์ถ้วนกำลังอัสดงค์ เหมือนตุ้มหูกำลังตกจากพระกรรณ

กษัตริย์ผู้เมาอ่อนเพลียในราวป่า เหมือนผ้ากัมพลแดงที่เขารวบใส่ไว้ใน

หีบ เหมือนถาดทองคำ อันมีค่าแสนหนึ่ง กำลังตกจากงาที่ประดับด้วยแก้วมณี

ลำดับนั้น แลดูโลกธาตุทางปาจีนทิศ ได้เห็นจันทมณฑลขึ้นจากท้องสมุทร

มีสีเหมือนเมฆ อันประดับพร้อมทั้งลักษณะมี ๔๙ โยชน์ บนยอดภูเขาจักร-

วาลด้านปาจีนทิศ เหมือนล้อเงินยึดที่ดุมหมุนไป เหมือนธารน้ำนมไหล

จากรางเงิน และเหมือนหงส์ขาวที่กระพือปีกทั้งสองบินไปในท้องฟ้า. ต่อจาก

นั้นก็แลดูสาลวัน ก็ในสมัยนั้น ตั้งแต่โคนต้นสาละจนถึงปลาย ดอกบาน

สะพรั่ง รุ่งเรือง เหมือนคลุมด้วยผ้าปาวาร ๒ ชั้น เหมือนมัดไว้ด้วยช่อ

มุกดา เมื่อเกสรดอกไม้ตกไปในที่นั้น ๆ พื้นแผ่นดินเป็นเหมือนเครื่องบูชาที่ดาดาษ

ด้วยดอกไม้ เหมือนรดด้วยน้ำครั่ง ฝูงผึ้งพอเมาเกสรดอกไม้ บินไปใน

ป่าคล้ายส่งเสียงหึ่ง ๆ ก็วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 41

วันนี้เราจักยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีอะไรหนอ. ก็ธรรมดาว่าพระอริย-

สาวกรักการฟังธรรม พระเถระได้มีความดำริว่า วันนี้เราไปยังสำนักของ

พระธรรมเสนาบดีเถระผู้เป็นพี่ชายของเราแล้ว จักให้เวลาล่วงไปด้วยความ

ยินดีในธรรม. เมื่อไปก็ไม่ไปผู้เดียวคิดว่า เราจักเอาพระมหากัสสปเถระผู้

เป็นเพื่อนรักของเราไปด้วย ดังนี้ ลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง เข้าไปหา

ท่านมหากัสสปะ.

บทว่า เอวมาวุโสติ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ความว่า เพราะพระ

เถระเป็นอริยสาวกรักการฟังธรรม ฉะนั้น ได้ฟังคำของท่านมหาโมคคัลลานะ

แล้วไม่อ้างเลสอะไร ๆ ว่า ดูก่อนผู้มีอายุท่านไปเถิด กระผมปวดศีรษะ

หรือปวดหลัง กลับมีใจยินดี กล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมาวุโส. ก็เพราะเถระรับคำ

แล้วลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง ตามพระมหาโมคคัลลานะไป. สมัยนั้นพระ

มหาเถระ ๒ รูป รุ่งเรืองดุจดวงจันทร์ ๒ ดวง ขึ้นเรียงกัน ดุจดวง

อาทิตย์ ๒ ดวง ดุจพระยาช้างฉัททันต์ ๒ เชือก ดุจราชสีห์ ๒ ตัว และดุจเสือ

โคร่ง ๒ ตัว. สมัยนั้นพระอนุรุทธเถระนั่งในที่พักกลางวัน เห็นพระมหา

เถระ ๒ รูปไปยังสำนักของพระสารีบุตร เมื่อแลดูโลกธาตุด้านปัจฉิม

ทิศ ได้เห็นพระอาทิตย์กำลังลับป่า เมื่อแลดูโลกธาตุด้านปาจีนทิศ ได้เห็นดวง

จันทร์กำลังขึ้นจากชายป่า และเมื่อแลดูต้นสาละ ได้เห็นต้นสาละมีดอกบาน

สะพรั่ง คิดว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และพระมหาเถระเหล่านี้เป็นพี่ชายของ

เรา ไปยังสำนักของพระธรรมเสนาบดี การฟังธรรมพึงมีมาก แม้เราจักเป็น

ผู้มีส่วนการฟังธรรมดังนี้แล้ว ลุกจากที่นั่งสะบัดท่อนหนัง เดินตามรอย

เท้าพระมหาเถระไป. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าครั้งนั้นแล ท่านมหาโมค-

คัลลานะ ท่านมหากัสสปะ. และท่านอนุรุทธะ เข้าไปหาพระสารีบุตร ดัง

นี้. บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า พระมหาเถระทั้ง ๓ รูป ยืนเรียงกันรุ่ง

โรจน์ ดูจพระจันทร์ ดุจพระอาทิตย์ และดุจราชสีห์เข้าไปหา ก็ท่านอานนท์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 42

นั่งในที่พักกลางวันของตน เห็นพระมหาเถระเข้าไปหาอย่างนี้แล้วคิดว่า

การฟังธรรมเป็นอันมากจักมีในวันนี้ แม้เราก็พึงเป็นผู้มีส่วนการฟังธรรม

นั้น ก็แหละเราจักไม่ไปผู้เดียว จักพาเอาพระเรวตเถระเพื่อนรักของเรา

ไปด้วย. เรื่องทั้งหมดพึงทราบความพิสดารตามนัยที่กล่าวแล้ว ในการเข้า

ไปหาของพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะพระอนุรุทธะพระเถระ

ทั้ง ๒ รูปนั้น ยืนเรียงกันรุ่งโรจน์ ดุจพระจันทร์ ๒ ดวง ดุจพระอาทิตย์

๒ ดวง และดุจราชสีห์ ๒ ตัว เข้าไปหาด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า ท่านพระสารีบุตรได้เห็นแล้ว ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ทิสฺวาน

อายสฺมนฺต อานนฺท เอตทโวจ ความว่า ท่านพระสารีบุตรเห็นแต่ไกล จึง

ได้กล่าวคำเป็นต้นนี้ประกอบด้วยอุปจารกถา โดยลำดับว่าขอท่านจงมาเถิด

ดังนี้. ในบทว่า รมณีย อาวุโส นี้ได้แก่ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ๑ บุคคลที่น่า

รื่นรมย์ ๑

ใน ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า ป่าดาดาษ ด้วยต้นกากะทิง สาละ และจำปา

เป็นต้น มีร่มเงาหนามีต้นไม้ต่างๆ เผล็ดดอกออกผลมีน้ำพร้อม นอกหมู่

บ้าน ป่านี้ ชื่อว่า เป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านกล่าวหมายเอาว่า

ป่าทั้งหลายเป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้ง

หลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่ยินดีของชน เพราะท่าน

ผู้มีราคะไปปราศแล้วเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากาม

ดังนี้.

ถ้าว่าป่าเป็นที่ดอน น้ำไม่มี ร่มเงาโปร่งมีหนามรก ส่วนพระอริยะ มีพระพุทธ

เจ้าเป็นต้นประทับอยู่ในป่านี้ ป่านี้ ชื่อว่า บุคคลน่ารื่นรมย์ ท่านกล่าวหมาย

เอาว่า พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ ณ ที่ใด เป็นบ้านก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็

ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์ ดังนี้. ส่วนในที่นี้ได้ที่ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 43

๒ อย่างนั้น. ครั้งนั้น ป่าโคสิงคสาลวัน มีดอกบานสะพรั่ง กลิ่นดอกไม้หอม

ฟุ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลเลิศในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่

กับพวกภิกษุผู้มีชื่อเสียงประมาณสามหมื่นรูป.ท่านหมายเอาป่านนั้น จึงกล่าว

ว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้มีอายุ ป่าโคสิงคสาลวันเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ดังนี้.

บทว่า โทสินา รตฺติ คือปราศจากโทษ มีอธิบายว่า เว้นจากความมืด

มัว เหล่านี้คือ หมอก เมฆ ควัน ธุลี ราหู. บทว่า สพฺพผาลิผุลฺลา ความ

ว่า สาละมีดอกบานในที่ทุกแห่งตั้งแต่โคนจนถึงยอด ชื่อว่าที่ยังไม่บานแล้ว

ย่อมไม่มี. บทว่า ทิพฺพา มญฺเ คนฺธา สมฺปวนฺติ ความว่า กลิ่นหอมเป็น

ของทิพย์ ย่อมฟุ้งตลบทั่วไปเหมือนกลิ่นหอมของดอกมณฑารพ ทอง

กวาว แคฝอย และผงไม้จันทน์ มีอธิบายว่า ย่อมฟุ้งไป เหมือนสถานที่ชื่นชอบ

ของท้าวสักกะ. สุยาม สันดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัดดี และท้าว

มหาพรหม. บทว่า กถ รูเปน อาวุโส อานนฺท ความว่า พระอานนทเถระเป็น

สังฆนวกะแห่งพระเถระ ๕ รูปนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงถาม

ข้อนั้นก่อน. ตอบว่า เพราะนับถือกัน.

ก็พระเถระ ๒ รูปนั้นนับถือกันและกัน. พระสารีบุตรเถระคิดว่า

พระอานนทเถระอุปัฏฐากพระศาสนาซึ่งเราควรทำดังนี้ ได้นับถือพระ

อานนทเถระ. พระอานนทเถระคิดว่า พระสารีบุตรเถระเป็นยอดสาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ ได้นับถือพระสารีบุตรเถระ. ท่านให้ทารกในตระ

กูลบรรพชาแล้ว ให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักของพระสารีบุตรเถระ. แม้พระ

สารีบุตรเถระก็ได้ทำนั้นเหมือนกัน. ภิกษุที่องค์หนึ่งให้บาตรและจีวรของ

ตนให้บรรพชาแล้ว ให้อีกองค์หนึ่งเป็นอุปัชฌาย์ประมาณ ๕๐๐ รูป ท่าน

พระอานนท์ได้จีวรเป็นต้นที่ประณีตแล้วถวายพระเถระเท่านั้น ได้ยิน

ว่า พราหมณ์คนหนึ่งคิดว่า การบูชาพุทธรัตนะและสังฆรัตนะยังปรากฏ

ชื่อว่าการบูชา ธัมมรัตนะ จะเป็นอย่างไรหนอ. เขาจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

ภาคเจ้า ทูลถามเนื้อความนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ถ้าท่าน

ใคร่จะบูชา ธัมมรัตนะ จงบูชาภิกษุผู้พหูสูตรรูปหนึ่งเถิด. พราหมณ์ทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงบอกภิกษุพหูสูตรเถิด. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่า ท่านจงถามภิกษุสงฆ์เถิด. เขาเข้าไปหาภิกษุสงฆ์กล่าว

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงบอกภิกษุผู้พหูสูต. ภิกษุกล่าวว่า พระ

อานนทเถระซิ พราหมณ์. พราหมณ์บูชาพระเถระด้วยไตรจีวรมีค่าพัน

หนึ่ง. พระเถระรับไตรจีวรแล้ว ได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาค

เจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ได้ผ้ามาแต่ไหน อานนท์. พระอานนท์

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์คนหนึ่งถวาย แต่ข้าพระองค์

ใคร่จะถวายจีวรนี้แก่ท่านสารีบุตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายเถิด

อานนท์.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรหลีกไปสู่ที่ จาริกเสียแล้ว.

พ. จงถวายเวลาเธอมาเถิด.

อา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว.

พ. ก็พระสารีบุตรจักมาเมื่อไร.

อา. ประมาณ ๑๐ วันพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ด้วยพระดำรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ เราอนุญาตให้ภิกษุเก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็น

อย่างยิ่ง. แม้พระสารีบุตรเถระได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ชอบใจ ถวายสิ่งนั้นแก่พระ

อานนทเถระอย่างนั้นเหมือนกัน. พระเถระเหล่านั้นนับถือกันและกัน อย่าง

นี้. พระเถระจึงถามก่อนเพราะความนับถือกัน ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ชื่อว่า ถามความเห็นนั่น พึงถามตั้งแต่สิ่งน้อยไป เพราะฉะนั้น

พระเถระคิดว่า จักถามพระอานนท์ก่อน พระอานนท์จักตอบชี้แจงตาม

ปฏิภาณของตน ต่อมา จึงจักถามพระเรวตะอนุรุทธะ มหากัสสปะ มหาโมค-

คัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะจักตอบชี้แจงตามปฏิภาณของตน จากพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 45

เถระทั้ง ๕ รูป จึงจักถามเรา แม้เราจักตอบชี้แจงตามปฏิภาณของตน

พระธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุด ถึงความไพบูลย์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

ก็หามิได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราทั้งหมดจักเข้าไปทูลถามพระทศพล

พระศาสดาจักทรงตอบชี้แจงด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึง

ที่สุดถึงความไพบูลย์ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็หามิได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

พวกเราทั้งหมดจักเข้าไปทูลถามพระทศพล พระศาสนาจักทรงตอบชี้แจง

ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุดถึงความไพบูลย์ด้วยคำ

มีประมาณเท่านี้ เหมือนอย่างว่า เมื่อคดีเกิดในชนบท คดีย่อมถึงผู้ใหญ่

บ้าน เมื่อผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถจะตัดสินได้ ย่อมถึงเจ้าเมือง เมื่อเขาไม่

อาจ ย่อมถึงผู้พิพากษา เมื่อเขาไม่อาจย่อมถึงเสนาบดี เมื่อเสนาบดีนั้นไม่

อาจ ย่อมถึงอุปราช เมื่ออุปราชนั้นไม่อาจจะตัดสินได้ย่อมถึงพระราชา

ตั้งแต่เวลาพระราชามีพระราชวินิจฉัยแล้ว คดีย่อมเด็ดขาดด้วยพระราชโอง

การย่อมไม่เปลี่ยนแปลง ฉันใด เราก็ฉันนั้นจักถามพระอานนท์ก่อน...เมื่อเป็น

เช่นนั้น พวกเราทั้งหมด จักเข้าไปทูลถามพระทศพล พระศาสดาจักทรง

ตอบชี้แจงด้วยพระสัพพัญยุตญาณ ธรรมเทศนานี้จักถึงที่สุด ถึงความ

ไพบูลย์ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ดังนี้ พระเถระเมื่อถามความเห็นอย่างนี้

จึงได้ถามพระอานนทเถระก่อน.

บทว่า พหุสฺสุโต โหติ ความว่า ภิกษุนั้นฟังมาก อธิบายว่า

เรียนนวังคสัตถุศาสน์ด้วยอำนาจอักขระเบื้องต้น และเบื้องปลายแห่งบาลี

และอนุสนธิ. บทว่า สุตธโร คือเป็นผู้รองรับสุตะไว้ได้. จริงอยู่ พระพุทธพจน์

อันก็ได้เรียนแต่บาลีประเทศนี้ เลือนหายไปแต่บาลีประเทศนี้ ไม่คงอยู่ดุจ

น้ำในหม้อทะลุ เธอไม่อาจจะกล่าว หรือบอกสูตร หรือชาดกข้อเดียว ใน ท่าน

กลางบริษัทได้ ภิกษุนี้ หาชื่อว่าผู้ทรงสุตะไม่. ส่วนพระพุทธพจน์อันภิกษุใด

เรียนแล้ว ย่อมเป็นอย่างเวลาที่ตนเรียนมาแล้วนั่นแหละ เมื่อเธอไม่ทำการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

สาธยายตั้ง ๑๐ ปี ตั้ง ๒๐ ปี ก็ไม่เลือนหาย ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้ทรงสุตะ.บท

ว่า สุตสนฺนิจโย ได้แก่ ผู้สั่งสมสุตะ ก็สุตะอันภิกษุใดสั่งสมไว้ในหีบคือหทัย

คงอยู่ดุจรอยจารึกที่ศิลา และดุจมันเหลวราชสีห์ที่เข้าใส่ไว้ในหม้อทอง ภิกษุ

นี้ ชื่อว่า ผู้มีสุตะเป็นที่สั่งสม. บทว่า ธตา ได้แก่ ตั้งอยู่ ทรงจำไว้ ช่ำชอง

จริงอยู่ พระพุทธพจน์อันภิกษุบางรูปเรียนแล้ว ทรงจำไว้ช่ำชองไม่เคลื่อน

คลาด ภิกษุนั้นเมื่อใคร ๆ พูดว่าท่านจงกล่าวสูตร หรือชาดกโน้นดังนี้

ย่อมกล่าวว่าเราท่อง เทียบเคียง ซักซ้อมแล้ว จักรู้ แต่สำหรับบางรูปทรงจำ

ไว้ ช่ำชองเป็นเช่นกับภวังคโสต. เมื่อใครๆ กล่าวว่า ขอท่านจงกล่าวสูตร

หรือชาดกโน้น เธอย่อมยกขึ้นกล่าวสูตรหรือชาดกนั้นได้ทันที. บทว่า

ธตา ท่านหมายเอาภิกษุนั้น จึงกล่าวแล้ว. บทว่า วจสา ปริจิตา ได้แก่ เธอ

ท่องแล้วด้วยวาจาด้วยสามารถแห่ง สุตตทสกะ วัคคทสกะ ปัณณาสทส-

กะ. บทว่า มนสานุเปกฺขิตา ได้แก่ เพ่งด้วยจิต. เมื่อภิกษุใด คิดอยู่ด้วย

ใจ ซึ่งพระพุทธพจน์ที่ตนท่องแล้วด้วยวาจา พระพุทธพจน์ย่อมปรากฏในที่

นั้นๆ คือปรากฏดุจรูปปรากฏแก่บุคคลผู้ยืนตามไฟดวงใหญ่ไว้ฉะนั้น.บท

ว่า มนสานุเปกฺขิตา นั้น ท่านหมายเอาภิกษุนั้น จึงกล่าว. บทว่า ทิฏฺิยา

สุปฏิวิทฺธา ได้แก่ แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาโดยเหตุและผล. ในบท

ว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยญฺชเนหิ นี้ชื่อบทพยัญชนะ เพราะทำเนื้อความ

ให้ปรากฏ ทำบทนั้นให้บริบูรณ์ ด้วยอักขระ กล่าวพยัญชนะ ๑๐ อย่างไม่ให้

เสียไป ชื่อว่า บทพยัญชนะราบเรียบ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด เมื่อจะแสดง

ธรรมในบริษัทอ้างสูตร หรือชาดกแล้ว เอาพระสูตรหรือชาดกอื่นมา

อธิบาย กล่าวอุปมาของสูตรนั้น ให้เรื่องนั้นผ่านไป จับเรื่องนี้ วางเรื่องนั้น

เลี่ยงไปอธิบายไปทางหนึ่ง ได้เวลาก็ลุกขึ้น ส่วนสูตรที่เธออ้างไว้ก็เป็นสักแต่

ว่าอ้างไว้เท่านั้น. ถ้อยคำของภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่ราบเรียบ. ส่วนภิกษุใดอ้าง

สูตรหรือชาดกไม่เอาบทภายในแม้บทหนึ่ง มาลบล้างอนุสนธิ สละเบื้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

ต้น ปลายแห่งบาลี ตั้งอยู่ในนัยที่อาจารย์ให้ไว้ดำเนินไปเหมือนกำหนดด้วย

ตราชั่ง เหมือนส่งน้ำไปที่เหมืองลึก เหมือนสินธพอาชาไนยกระทืบเท้า

ถ้อยคำของภิกษุนั้น ชื่อว่าราบเรียบ ท่านหมายเอาถ้อยคำเห็นปานนี้

จึงกล่าวว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยญฺชเนหิ ดังนี้.

ในบทว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ความว่า ภิกษุใด กล่าวธรรม ตั้งแต่เวลา

เริ่มสูตร หรือชาดกปรารภ รีบด่วนเหมือนคนสีไฟ เหมือนคนเคี้ยวของ

ร้อน กระทำที่ถือเอาแล้ว ๆ และไม่ถือเอาแล้วๆ ในอนุสนธิเบื้องต้นเบื้องปลาย

แห่งบาลี อ้อมแอ้มในที่นั้นๆ จบลุกไป เหมือนคนเลี้ยงเหี้ยเที่ยวไปในระหว่าง

ใบไม้เก่า ภิกษุใด เมื่อกล่าวธรรม บางคราวก็เร็ว บางคราวก็ช้า บางคราว

ทำเสียงดัง บางคราวทำเสียงค่อย ไปเผาศพ บางคราวลุก บางคราวก็ดับฉันใด

ภิกษุนั้นชื่อว่าพระธัมมกถึกเปรียบด้วยไฟเผาศพฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบริษัท

ประสงค์จะลุก เริ่มขึ้นอีก. แม้ภิกษุใด เมื่อกล่าวให้พิสดารในที่นี้แม้แต่เธอ

กล่าวเหมือนถอนหายใจ เหมือนคร่ำครวญ ถ้อยคำของภิกษุเหล่านี้แม้ทั้งหมด

ชื่อว่าไม่ติดต่อกัน. ส่วนผู้ใดเริ่มสูตร ตั้งอยู่ในนัย ที่อาจารย์ให้ไว้ทำไม่ขาด

สายให้เป็นไป เหมือนกระแสน้ำยังถ้อยคำให้เป็นไม่ขาดตอนเหมือนน้ำตกจาก

คงคา ถ้อยคำของเขาชื่อว่า ติดต่อกันโดยลำดับ ท่านหมายเอาถ้อยคำนั้น

จึงกล่าวว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ดังนี้. บทว่า อนุสายสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อถอนอนุสัย

๗ อย่าง. บทว่า เอวรูเปน ความว่า ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุพหูสูต

เห็นปานนี้ หรือภิกษุแสดงรูปเห็นปานนั้นนั่งแล้ว ชายสังฆาฏิกับชาย

สังฆาฏิจดกัน หรือเข่ากับเข่าจดกันและกัน พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวง

โดยนัย. ภิกษุชื่อปฏิสัลลานารามา เพราะอรรถว่า ความหลีกเร้นเป็นที่มา

ยินดีของภิกษุนั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานรโต คือ ยินดีแล้วในการหลีกเร้น. บท

ว่า สหสฺสโลกาน คือ โลกธาตุพันหนึ่ง. จริงอยู่ การเสพธุระ เนื่องด้วยการ

พิจารณาของพระเถระมีประมาณเท่านี้. ส่วนพระเถระเมื่อหวัง ย่อมตรวจดูได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 48

หลายแสนจักรวาล. บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ได้แก่ บุรุษผู้ไปเบื้องบนปรา

สาท อันงาม ๗ ชั้น. หรือ ๙ ชั้น. บทว่า สหสฺส เนมิมณฺฑลาน โยโลเกยฺย

ความว่า พึงเปิดหน้าต่างแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพัน ตั้งอยู่ที่ดุม ปลายกง

กับปลายกงตั้งจดกัน ในบริเวณปราสาทได้ ดุมก็ดี กำก็ดี ระหว่างกำก็

ดี กงก็ดี จึงปรากฏแก่บุรุษนั้น. บทว่า เอวเมว โข อาวุโส ความว่า ภิกษุผู้มี

ทิพยจักษุแม้นี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุ ล่วงจักษุของ

มนุษย์ เขาสิเนรุพันหนึ่ง ในจักรวาลพันหนึ่งย่อมปรากฏ เหมือนดุมล้อ

ปรากฏแก่บุรุษผู้ยืนอยู่บนปราสาทนั้น ทวีป ปรากฏเหมือนกำ คนที่ยืน

อยู่บนทวีป ปรากฏเหมือนระหว่างกำ ภูเขาจักรวาลย่อมปรากฏเหมือน

กง. บทว่า อารญฺ โก คือ ผู้สมาทานอรัญธุดงค์.แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้

แล. บทว่า โน จ สสาเทนฺติ คือไม่ขัดแย้งกัน.จริงอยู่ บุคคลผู้สามารถจะถาม

ปัญหาทำให้มีเหตุมีผล ชื่อว่าย่อมขัดแย้งกัน. อธิบายว่าพวกภิกษุย่อม

ไม่กล่าวอย่างนี้. บทว่า ปวตฺตินี โหติ ได้แก่ ย่อมเป็นไป ดุจกระแสน้ำในแม่

น้ำ. บทว่า ยาย โวหารสมาปตฺติยา ความว่า ด้วยวิหารสมาบัติเป็นโลกิยะ

หรือโลกุตตระใด. บทว่า สาธุ สาธุ สารีปุตฺต ความว่า สาธุการนี้ พระผู้

มีพระภาคเจ้าประทานแก่พระอานนทเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระ

สารีบุตรเถระ. ในที่ทั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า ยถาต อานนฺโท ความว่า ก็

อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ฉันใด พยากรณ์แล้วฉัน

นั้น.อธิบายว่า พระอานนท์ พยากรณ์ตามสมควร คือ เหมาะสมแก่อัชฌาศัย

ของตนนั่นแล.

จริงอยู่ พระอานนทเถระ เป็นพหูสูตด้วยตนเอง แม้อัชฌาสัยของ

ท่าน ตั้งอยู่อย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ ในศาสนา พึงเป็นพหูสูตดัง

นี้. เพราะเหตุไร เพราะว่าสิ่งที่ควรหรือไม่ควร สิ่งที่มีโทษหรือไม่มี

โทษ โทษหนักหรือเบา แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ ย่อมปรากฏแก่ภิกษุพหูสูต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

ภิกษุผู้พหูสูตพิจารณาพระพุทธพจน์ที่ตนเรียนแล้ว คิดว่า ศีล ท่าน

กล่าวไว้แล้วในที่นี้ สมาธิท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ วิปัสสนาท่านกล่าว

ไว้แล้วในที่นี้ มรรคผลนิพพานท่านกล่าวไว้แล้วในที่นี้ บำเพ็ญศีลในที่

มาของศีล บำเพ็ญสมาธิในที่มาของสมาธิ ยังวิปัสสนาให้ถือเอาห้อง

ในที่แห่งวิปัสสนา เจริญมรรค ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งผล เพราะฉะนั้นอัชฌา-

สัยของพระเถระย่อมเป็นอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ของเรา เรียน

นิกายหนึ่ง หรือสอง สามหรือสี่ หรือห้านิกายแล้ว พิจารณาอยู่ บำเพ็ญศีลเป็น

ต้น ในที่มาแห่งศีลเป็นต้น พึงทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล และนิพพานโดยลำ-

ดับ. แม้ในวาระที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

จริงอยู่ ท่านเรวตะ พอใจในฌาน ยินดีแล้วในฌาน เพราะฉะนั้น

ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา นั่งผู้เดียว ทำ

กสิณบริกรรม ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนามีฌานเป็นปทัฏฐาน

พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์อย่างนี้.

ท่านพระอนุรุทธะมีทิพยจักษุ ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ

เพื่อนพรหมจรรย์ เจริญอาโลกกสิณเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ และอุปบัติใน

จักรวาลหลายพัน ด้วยทิพยจักษุ ยังจิตให้สังเวชเพราะวัฏฏภัย เจริญ

วิปัสสนา พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่าง

นี้.

ท่านมหากัสสปะ เป็นธุตวาท ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อน

พรหมจรรย์เป็นธุตวาท ยังตัณหาพร้อมทั้งปัจจัยให้เหี่ยวแห้ง ด้วยอานุภาพ

แห่งธุดงค์แล้ว กำจัดกิเลสมีประการต่างๆ แม้เหล่าอื่น เจริญวิปัสสนา

พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้

ท่านมหาโมคคัลลานะ ถึงที่สุดแห่งสมาธิบารมี ส่วนลำดับจิตอัน

สุขุม ลำดับขันธ์ ลำดับธาตุ ลำดับอายตนะ การเข้าฌาน ก้าวลงสู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

อารมณ์ การกำหนดองค์ การกำหนดอารมณ์ การตัดองค์ การตัด

อารมณ์ เจริญโดยส่วนเดียว เจริญโดย ๒ ส่วน ดังนั้น จึงปรากฏแก่ผู้เรียน

อภิธรรมเท่านั้น. ก็ผู้ไม่ได้เรียนอภิธรรม เมื่อจะกล่าวธรรม ย่อมไม่รู้ว่า

นี้เป็นสกวาทะ นี้เป็นปรวาทะ ยังแสดงปรวาทะว่าเราจักแสดงสกวาทะ

ยังแสดงสกวาทะว่าเราจักแสดงปรวาทะ ย่อมกล่าวลำดับธรรมให้ผิด

ส่วนผู้เรียนอภิธรรม ย่อมแสดงสกวาทะ โดยสกวาทะแน่นอน หรือปรวาทะ

โดยปรวาทะแน่นอน ย่อมไม่กล่าวลำดับธรรมให้ผิด เพราะฉะนั้น พระเถระ

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหมจรรย์ เป็นนักอภิธรรม ยังฌานให้

หยั่งลงในที่อันสุขุม เจริญวิปัสสนา พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะ

ฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้.

ท่านพระสารีบุตร ถึงที่สุดแห่งปัญญาบารมี ย่อมสามารถยังจิตให้

เป็นไปในอำนาจของตนได้ด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาทรามหาสามารถไม่.

จริงอยู่ ผู้มีปัญญาทราม เป็นไปในอำนาจแห่งจิตที่เกิดขึ้น ดิ้นรนไปแล้วข้าง

นี้ และข้างโน้น ๒-๓ วัน ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ประสบความฉิบหายมิใช่ประ

โยชน์ เพราะฉะนั้น พระเถระมีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เพื่อนพรหม

จรรย์ ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งจิต ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจของตน ปราบ

ความเสพติดข้าศึกและความดิ้นรนทั้งหมดของจิตนั้น ไม่ให้ออกไปภาย

นอก แม้เล็กน้อย. เจริญวิปัสสนา พึงทำให้แจ้งซึ่งโลกุตตรธรรม เพราะ

ฉะนั้น จึงพยากรณ์แล้วอย่างนี้.

บทว่า สพฺเพส โว สารีปุตฺต สุภาสิต ปริยาเยน ความว่า ดูก่อนสารี-

บุตร เหตุแห่งความงามด้วยพวกภิกษุ ผู้ยินดีในฌานบ้าง ผู้ได้ทิพยจักษุ

บ้าง ผู้ธุดงควาทะบ้าง ผู้นักอภิธรรมบ้าง ผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่ง

จิตบ้าง สำหรับสังฆารามมีอยู่. เพราะฉะนั้น คำของพวกเธอทั้งหมดเป็น

สุภาษิต โดยปริยาย คือเป็นสุภาษิตด้วยเหตุนั้นแล หาเป็นทุพภาษิตไม่. บท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 51

ว่า อปิจ มมาปิ สุณาถ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง พวกเธอจงฟังคำของเรา.

บทว่า น ตาวาห อิม ปลฺลงฺก ภินฺทิสฺสามิ ความว่า เราตั้งความเพียรมีองค์

๔ นี้แล้วจักไม่ทำลาย คือจักไม่เลิก นั่งขัดสมาธิเพียงนั้น. ได้ยินว่า พระผู้

มีพระภาคเจ้า ทรงละสิริราชสมบัตินี้ได้ด้วยพระญาณอันแก่กล้า ทรงออก

ภิเนษกรมณ์ เสด็จขึ้นโพธิมณฑล โดยลำดับ ทรงตั้งความเพียรมีองค์ ๔

ประทับนั่งขัดสมาธิ เป็นการชัยชนะ มีพระทัยมั่น ทรงทำลายล้างสมองของ

มารทั้ง ๓ แล้ว ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้บันลืออยู่ ทรงแทงตลอดพระ

สัพพัญญุตญาณ ในเวลาใกล้รุ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอามหาโพธิ-

บัลลังก์นั้นของพระองค์ จึงตรัสอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค

เจ้า แม้เมื่อทรงอนุเคราะห์ชนผู้เกิดในภายหลัง ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็น

สาระแก่กัลยาณปุถุชน จึงตรัสอย่างนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็น

ว่า ในอนาคตกุลบุตรผู้มีอัชฌาสัยอย่างนี้ จักสำเหนียกเห็น ด้วยประการ

ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมหาโคสิงคสูตร จึงตรัสว่า ดูก่อนสารี-

บุตร ภิกษุในศาสนานี้ในภายหลังภัต... ดูก่อนสารีบุตรป่าโคสิงคสาลวัน

พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักถือเอา

อัชฌาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัต

ตั้งความเพียรมีองค์ ๔ มีใจแน่วแน่ จักสำคัญสมณธรรม อันตนควรทำ

ว่า พวกเรายังไม่บรรลุอรหัต จักไม่ทำลายการนั่งขัดสมาธินี้ดังนี้ ภิกษุเหล่า

นั้น ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ จักทำที่สุดแห่งชาติ ชรา และมรณะได้โดยวันเล็กน้อย

เท่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงอนุเคราะห์ชนผู้เกิดภายหลัง

นี้ ทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นสาระแก่กัลยาณปุถุชน จึงตรัสอย่างนี้. บท

ว่า เอวรูเปน โข สารีปุตฺต ภิกฺขุนา โคสิงฺคสาลวน โสเภยฺย ความว่า ดูก่อน

สารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้โดยตรงแล จบพระ

ธรรมเทศนาด้วยอนุสนธิดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 52

๓. มหาโคปาลสูตร

[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในเชตวนารามของ

อนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระองค์ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้ง

หลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ.

องค์เป็นเหตุไม่เจริญ ๑๑ ประการ

[๓๘๔] พระองค์ตรัสธรรมปริยายนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประ

กอบด้วยองค์ ๑ ประการแล้ว ไม่ควรจะรักษาหมู่โคและทำหมู่โคให้เจริญ

ได้. องค์ ๑๑ ประการนั้นเป็นไฉน. นายโคบาลในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ไม่รู้

จักรูป ๒. เป็นไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้

ไม่ปิดแผล ๕. เป็นผู้ไม่สุมควัน ๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักให้ดื่ม ๘. ไม่รู้จัก

ทาง ๙. เป็นผู้ไม่ฉลาดในตำบลที่โคเที่ยวหากิน ๑๐. เป็นผู้รีดน้ำนมเสียหมด

ไม่มีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นผู้ไม่ปรนปรือเหล่าโคอุสุภ (คือดีกว่าโคทั้งปวง)

อันเป็นพ่อฝูงเป็นผู้นำฝูงด้วยการปรนปรือเป็นพิเศษ. นายโคบาลประกอบ

ด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ไม่ควรจะรักษาหมู่โคให้เจริญได้.

ภิกษุก็เหมือนกัน ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ไม่ควรจะถึง

ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. องค์ ๑๑ ประการเป็น

ไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ ๑. เป็นผู้ไม่รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะ

๓. เป็นผู้ไม่เขี่ยไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้ไม่ปิดแผล ๕. เป็นผู้ไม่สุมควัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 53

๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักให้ดื่ม ๘. ไม่รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ไม่ฉลาดในโคจร

๑๐. เป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็น

พระเถระเป็นรัตตัญญูมีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำ

ภิกษุสงฆ์ด้วย ด้วยบูชาอันล้นเหลือ.

[๓๘๕] ๑.ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้จักรูปเป็นอย่างไร. ภิกษุใน

ศาสนานี้ไม่รู้จักชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง รูปทั้งปวง ก็คือมหา-

ภูตรูปทั้งสี่ และอุปาทายรูป คือรูปอาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่ ภิกษุเป็นผู้ไม่

จักรูปอย่างนี้.

๒. ภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร ภิกษุใน

ศาสนานี้ไม่รู้จักชัดตามเป็นจริงว่าคนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย. ภิกษุ

เป็นผู้ไม่ฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล.

๓. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสียเป็นอย่างไร. ภิกษุใน

ศาสนานี้ให้กามวิตก คือความตรึกประกอบด้วยความอยากได้ พยาบาท

วิตก คือความตรึกประกอบด้วยความปองร้าย วิหึสาวิตก คือความตรึกประ

กอบด้วยความเบียดเบียน และอกุศลธรรมที่เป็นบาป ซึ่งเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อยู่

ทับถม ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ทำให้เกิดเนืองๆ ภิกษุไม่เขี่ยไข่ขางออกเสีย

อย่างนี้.

๔. ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผลเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้เห็น

รูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสิ่งที่จะพึง

ถูกต้องด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือไว้โดยนิมิต คือความ

หมาย ถือไว้โดยอนุพยัญชนะ คือความจำแนกออก ธรรมทั้งหลายที่เป็น

บาปอกุศล มีอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้นเค้า ย่อมไม่อาจไหลไปตามบุคคลผู้

อยู่ไม่สำรวมอินทรีย์ มีอินทรีย์ที่ไม่สำรวมแล้วใดเป็นเหตุ เธอไม่ปฏิบัติเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 54

จะสำรวมอินทรีย์นั้น ไม่รักษาอินทรีย์นั้น ไม่ถึงความสำรวมในอินทรีย์

นั้น ภิกษุเป็นผู้ไม่ปิดแผลอย่างนี้.

๕. ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควันเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่

แสดงธรรมตามที่ตนได้ฟังได้เรียนแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร. ภิกษุเป็นผู้ไม่สุมควัน

อย่างนี้.

๖. ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ไม่ไปหา

แล้วและไต่ถามไล่เลียงภิกษุทั้งหลายผู้มีพุทธวจนะฟังแล้วมาก เป็นผู้รู้

หลัก ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกาว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไรโดยระยะ

กาล. เธอผู้มีอายุทั้งหลายจึงไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่ทำข้อความอัน

ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในเหล่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ

สงสัย ซึ่งยังมีเป็นอันมากแก่เธอ. ภิกษุไม่รู้จักท่าอย่างนี้.

๗. ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อธรรม

วินัยที่พระตถาคตประกาศให้รู้แจ้งแล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ ย่อมไม่

ได้ความรู้ธรรมรู้อรรถและความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. ภิกษุไม่

รู้จักดื่มอย่างนี้.

๘. ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ไม่รู้ชัด

อัฏฐังคิกมรรคคือทางประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางอันประเสริฐตามเป็น

จริง ภิกษุไม่รู้จักทางอย่างนี้.

๙. ภิกษุผู้ไม่ฉลาดในโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่รู้

ชัดในสติปัฏฐาน คือสติเป็นที่ตั้งอย่างใหญ่ทั้งสี่ ตามเป็นจริงภิกษุเป็นผู้

ไม่ฉลาดในโคจรอย่างนี้.

๑๐. ภิกษุเป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้เป็นอย่างไร.

คฤหบดีทั้งหลายมีศรัทธา มาปวารณาคือเชิญภิกษุในศาสนาให้เลือกรับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 55

ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร. ในการ

ที่เขาปวารณาเช่นนั้น เธอไม่รู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวร

เป็นต้น. ภิกษุเป็นผู้รีดเสียหมดไม่มีส่วนเหลือไว้อย่างนี้.

๑๑. ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญู

มีพรรษาบวชนานแล้วเป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชา

อันล้นเหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไม่เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม

วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ

รัตตัญญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์

ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญูมี

พรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยการบูชา

อันล้นเหลือ อย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล

ไม่ควรจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

องค์เป็นเหตุให้เจริญ ๑๑ ประการ

[๓๘๖] (พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นโทษอย่าง

นี้แล้ว จึงทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่เป็นคุณต่อไปว่า)

ภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการแล้ว ควร

จะรักษาหมู่โคและทำให้หมู่โคเจริญได้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน. นายโค

บาลในโลกนี้ ๑. เป็นผู้รู้จักรูป ๒.เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ ๓.เป็นผู้เขี่ยไข่ขางออก

เสีย ๔.เป็นผู้ปิดแผล ๕.เป็นผู้สุมควัน ๖.รู้จักท่า ๗.รู้จักให้ดื่ม ๘.รู้จักทาง

๙. เป็นผู้ฉลาดในตำบลที่โคเที่ยวหากิน ๑๐. เป็นผู้รีดน้ำนมมีส่วนเหลือไว้

๑๑. เป็นพ่อฝูง ด้วยบูชาอันล้นเหลือ. นายโคบาล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 56

ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ควรจะรักษาหมู่โคและทำให้หมู่โค

เจริญได้.

ภิกษุก็เหมือนกัน ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการแล้ว ควรจะถึง

ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน.

ภิกษุในธรรมวินัย ๑. เป็นผู้รู้จักรูป ๒. เป็นผู้ฉลาดในลักษณะ ๓. เป็นผู้เขี่ย

ไข่ขางออกเสีย ๔. เป็นผู้ปิดแผล ๕. เป็นผู้สุมควัน ๖. รู้จักท่า ๗. รู้จักให้ดื่ม

๘. รู้จักทาง ๙. เป็นผู้ฉลาดในโคจร ๑๐. เป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้ ๑๑. เป็นผู้

บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระรัตตัญญู มีพรรษาผนวชนานแล้ว เป็นบิดา

ภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ ด้วยบูชาอันล้นเหลือ.

[๓๘๗] ๑. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างไร. ภิกษุใน

ศาสนานี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง และรูปทั้งปวง ก็คือมหา-

ภูตรูปทั้งสี่ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้งสี่. ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูป

อย่างนี้.

๒. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา

นี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็น

เครื่องหมาย. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะอย่างนี้.

๓. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขางออกเสียเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนา

นี้ไม่ให้กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลกรรมที่เป็นบาปอยู่ทับ

ถม ละเสีย บันเทาเสีย ทำให้สิ้นเสีย ไม่ให้เกิดได้เนืองๆ. ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่

ขางออกเสียอย่างนี้.

๔. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เห็น

รูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสิ่งที่จะพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

ถูกต้องด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือไว้โดยนิมิต ไม่ถือไว้

โดยอนุพยัญชนะ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลมีอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น

เค้า ย่อมอาจไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ มีอินทรีย์ที่ไม่สำรวมแล้ว

ใดเป็นเหตุ เธอปฏิบัติเพื่อจะสำรวมอินทรีย์นั้น. ภิกษุเป็นผู้ปิดแผลอย่าง

นี้.

๕. ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ แสดง

ธรรมตามที่ตนได้ฟังได้เรียนแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร. ภิกษุเป็นผู้สุมควันอย่าง

นี้.

๖. ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ไปหาแล้วและ

ไต่ถามไล่เลียงภิกษุทั้งหลายผู้มีพุทธวจนะฟังแล้วมาก เป็นผู้รู้หลัก ทรง

ธรรมทรงวินัยทรงมาติกาว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็น

อย่างไร โดยระยะกาล. เธอผู้มีอายุทั้งหลาย จึงเปิดเผยข้อความที่ยังลี้

ลับ ทำข้อความอันลึกซึ้งให้ตื้น และบันเทาความสงสัย ในเหล่าธรรมที่เป็นที่

ตั้งแห่งความสงสัย ซึ่งยังมีเป็นอันมากแก่เธอ. ภิกษุรู้จักท่าอย่างนี้แล.

๗. ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อธรรมและ

วินัยที่พระตถาคตให้รู้แจ้งแล้ว อันผู้ใดผู้หนึ่งแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้ธรรมรู้

อรรถและความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม. ภิกษุรู้จักดื่มอย่างนี้.

๘. ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ รู้ชัดอัฏฐังคิก

มรรคเป็นทางอันประเสริฐตามเป็นจริง. ภิกษุรู้จักทางอย่างนี้แล.

๙. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้รู้ชัด

สติปัฏฐานทั้งสี่ตามเป็นจริง. ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในโคจรอย่างนี้แล.

๑๐. ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้เป็นอย่างไร. คฤหบดีทั้ง

หลายผู้มีศรัทธา มาปวารณาคือเชิญภิกษุในคาสนานี้ให้เลือกรับ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 58

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริกขาร. ในการที่

เขาปวารณาเช่นนั้น เธอรู้จักประมาณเพื่อจะรับปัจจัยสี่มีจีวรเป็นต้น.

ภิกษุเป็นผู้รีดมีส่วนเหลือไว้อย่างนี้แล.

๑๑. ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเถระเป็นรัตตัญญูมี

พรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์ด้วยบูชาอันล้น

เหลือเป็นอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้เข้าไปตั้งไว้ซึ่งกายกรรม วจีกรรม

และมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นพระเถระ

รัตตัญญูมีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์

ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ภิกษุเป็นผู้บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ

รัตตัญญู มีพรรษาบวชนานแล้ว เป็นบิดาภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำภิกษุสงฆ์

ด้วยบูชาอันล้นเหลืออย่างนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ควร

จะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านี้มีใจเต็ม

ตื้นไปด้วยปีติโสมนัสเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้

แล.

จบมหาโคปาลสูตรที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 59

อรรถกถามหาโคปาลสูตร

มหาโคปาลสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต. เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้

ในมหาโคปาสูตรนั้น มี ๓ กถา คือ เอกนาลิกา จตุรสฺสา นิ

สินฺนวตฺติกา. การกล่าวบาลีในกถาทั้ง ๓ นั้น และกล่าวเนื้อความแต่ละ

บท ชื่อว่า เอกนาลิกา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาด แสดงภิกษุไม่ฉลาด

แสดงนายโคบาลผู้ฉลาด แสดงภิกษุผู้ฉลาด กล่าวประมวลไว้เป็น ๔

พวก ชื่อว่า จตุรสฺสา. การแสดงนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดไปถึงที่สุด การแสดง

ภิกษุผู้ไม่ฉลาด ไปถึงที่สุด การแสดงนายโคบาลผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด การ

แสดงภิกษุผู้ฉลาด ไปถึงที่สุด นี้ชื่อว่านิสินนวุตติกา. กถานี้อาจารย์ทั้งปวง

ในธรรมวินัยประพฤติกันมาแล้ว

บทว่า เอกาทสหิ ภิกฺขเว องฺเคหิ คือโดยส่วนแห่งโทษ ๑๑ อย่าง

บทว่า โคคณ แปลว่าฝูงโค. บทว่า ปริหริตุ ได้แก่ พาเที่ยวไป. บทว่า ผาติกาตุ

ได้แก่ ให้ถึงความเจริญ. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า น รูปญฺญู โหติ

ได้แก่ ย่อมไม่รู้จักรูปโดยการนับ หรือโดยสี. ชื่อว่าย่อมไม่รู้จักโดย

การนับ คือย่อมไม่รู้จักนับ โคของตนว่า ร้อยหนึ่ง หรือ พันหนึ่ง. นายโคบาล

นั้นเมื่อแม่โคถูกฆ่า หรือหนีไปนับฝูงโคแล้ว ทราบว่า วันนี้แม่โคประมาณ

เท่านี้ หายไปดังนี้ เที่ยวไปตลอด ๒-๓ ละแวกบ้าน หรือดง ย่อมไม่แสวง

หา เมื่อแม่โคของคนอื่นเข้าไปยังฝูงโคของตน นับจำนวนแล้วทราบว่า

โคเหล่านี้ประมาณเท่านี้ ไม่ใช่ของเราดังนี้ ไม่เอาไม้ตะพดตีออกไป แม่

โคของเขาที่หายไปแล้ว ก็เป็นอันหายไป. เขาต้อนแม่โคของคนอื่นเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 60

ไป. พวกเจ้าของโค เห็นแล้วคุกคามว่า นายโคบาลนี้ รีดน้ำนมแม่โคนมของ

พวกเรา ตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว พาเอาแม่โคของตนไป. แม้ฝูงโคของ

เขาย่อมเสื่อมไป เขาย่อมห่างไกลจากการบริโภคปัญจโครส.

นายโคบาลที่ชื่อว่าไม่รู้โดยสี คือไม่รู้ว่า โคสีขาวมีประมาณเท่านี้

สีแดงประมาณเท่านี้ สีดำประมาณเท่านี้ สีด่างประมาณเท่านี้ สีเขียวประ

มาณเท่านี้ นายโคบาลนั้น เมื่อแม่โคถูกฆ่าหรือหนีไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล

จากการบริโภคปัญจโครส. บทว่า น ลกฺขณกุสโล โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้

เครื่องหมายที่ต่างกันมีธนู หอก หลาวเป็นต้น ที่ตนทำเป็นเครื่องหมายไว้ที่ตัว

ของแม่โค นายโคบาลนั้น เมื่อแม่โคถูกฆ่าหรือหนีไป นับจำนวนโคแล้วรู้

ว่า วันนี้โคลักษณะโน้นหายไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล แม้จากการบริโภค

ปัญจโครส. บทว่า น อาสาฏิก สาเฏตา ความว่า แผลของโคมีในที่ถูกตอ

และหนามเป็นต้นทิ่มแทง แมลงวันหัวเขียวหยอดไข่ขางไว้ที่แผลนั้น ชื่อว่า

ไม่คอยเขี่ยไข่ขางของแมลงวันหัวเขียวเหล่านั้น นายโคบาลคอยเอาไม้เขี่ยไข่

ขางเหล่านั้นออกไปแล้ว พึงใส่ยา นายโคบาลโง่ หาทำอย่างนั้นไม่. เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ไม่คอยเขี่ยไข่ขาง. แผลของโคของเขาลุกลามเป็นแผลลึก

พวกสัตว์เล็กไช เข้าท้องได้ แม่โคเหล่านั้นถูกความเจ็บไข้ครอบงำไม่สามารถ

เพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า และดื่มน้ำได้ตามต้องการ น้ำนมของโคทั้งหลาย ในที่

นั้นก็ขาด พวกโคก็ถอยกำลัง แม้อันตรายแห่งชีวิตย่อมมีแก่โดยทั้ง ๒ ฝูง

โคของเขาย่อมเสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครสบ้าง ด้วยประการ

อย่างนี้. บทว่า น วณ ปฏิจฺฉาเทตา โหติ ความว่าแผลที่เกิดแล้วแก่โคโดยนัย

ที่กล่าวแล้วพึงเอาปอหรือป่านพันปิดไว้. นายโคบาลโง่ หาทำอย่างนั้น

ไม่. เมื่อเป็นเช่นนั้น หนองย่อมไหลจากแผลของโคของเขา โคเสียดสีกันและ

กัน เพราะการเสียดสีนั้น แผลเกิดแก่โคแม้เหล่าอื่น โคถูกความเจ็บไข้ครอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 61

งำแล้วอย่างนี้ ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า ๓ ตามต้องการได้ ฯลฯ เขา

ย่อมห่างไกล.

บทว่า น ธูม กตฺตา โหติ ความว่า ในเวลาภายในฤดูฝน เหลือบและ

ยุงเป็นต้นชุกชุมเมื่อฝูงโคเข้าคอกแล้ว ควรสุมด้วยควันให้ในคอกนั้น นายโค

บาลผู้ไม่ฉลาด ย่อมไม่สุมควันให้ฝูงโคถูกเหลือบเป็นต้นเบียดเบียนตลอดคืน

ยังรุ่ง ก็ไม่ได้หลับ ในวันรุ่งขึ้นนอนหลับที่โคนไม้เป็นต้น ในที่นั้นๆ ในป่า

ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้าตามความต้องการได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล

จากการบริโภคปัญจโครส. บทว่า น ติตฺถ ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักท่าว่าเรียบ

หรือไม่เรียบ มีสัตว์ร้ายหรือไม่มีสัตว์ร้าย ดังนี้. นายโคบาลนั้น ปล่อยแม่โค

ให้ลงไปโดยที่มิใช่ท่า เมื่อแม่โคเหล่านั้นเหยียบแผ่นหินเป็นต้นที่ท่าไม่

เรียบ เท้าย่อมแตก แม่โคลงที่ท่าลึกมีสัตว์ร้าย สัตว์ร้ายมีจรเข้เป็นต้น ก็กัด

เอา เขาจะต้องกล่าวว่า วันนี้โคหายไปแล้วประมาณเท่านี้ วันนี้ประมาณเท่า

นี้ ฝูงโคของเขาย่อมเสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญโครสบ้าง ด้วยประ

การอย่างนี้. บทว่า น ปิต ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักให้โคดื่ม ก็นายโคบาล

ควรรู้จักให้โคดื่มและไม่ดื่มอย่างนี้ว่า โคนี้ ดื่ม โคนี้ไม่ดื่ม โคนี้ได้โอกาสที่ท่า

น้ำ สำหรับดื่ม โคนี้ไม่ได้ดังนี้. แต่นายโคบาลนี้ รักษาฝูงโคในป่าตลอดทั้ง

วัน คิดว่าเราจักให้ดื่มน้ำดังนี้ ก็ต้อนไปแม่น้ำ หรือหนอง โคใหญ่ โคเล็กเอา

เขา หรือสีข้างกระแทกแม่โคที่ไม่มีกำลัง และโคที่กำลังน้อยและ แก่ ตนได้

โอกาสลงน้ำแค่อก ดื่มตามความปรารถนา โคที่เหลือ เมื่อไม่ได้โอกาสยืน

อยู่บนฝั่งดื่มน้ำเจือเปือกตมบ้าง ไม่ได้ดื่มบ้างเมื่อเป็นเช่นนั้น นายโคบาลตีที่

หลัง ต้อนให้โคเหล่านั้นกลับเข้าป่าอีก ในโคเหล่านั้น แม่โคที่ไม่ได้ดื่มอิดโรย

ด้วยความกระหาย ไม่สามารถจะเคี้ยวกินหญ้า ตามความต้องการได้

น้ำนมของแม่โคในที่นั้นก็ขาดไป ฝูงโค ก็ถอยกำลัง ฯลฯ เขาย่อมห่าง

ไกล. บทว่า น วิถึ ชานาติ ความว่า ไม่รู้จักว่า ทางนี้เป็นทางเรียบปลอด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 62

ภัย ทางนี้ไม่เรียบ น่าสงสัย มีภัยจำเพาะหน้า. เขาเว้นทางอันปลอดภัย

เรียบ ต้อนฝูงโคให้เดินไปอีกทางหนึ่ง โคได้กลิ่นราชสีห์และเสือเป็นต้น

หรืออันตรายแต่โจรครอบงำ เปรียบด้วยเนื้อตื่น ยืนชูคอ จะเคี้ยวกิน

หญ้า ดื่มน้ำไม่ได้ตามความปรารถนา น้ำนมของแม่โคในที่นั้น ก็ขาด

ไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น โคจรกุสโล โหติ ความว่า ก็นายโค

บาลพึงฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน พึงรู้คราวละ ๕ วัน หรือคราวละ

๗ วัน ให้ฝูงโคเที่ยวหากินในทิศหนึ่งแล้ว วันรุ่งขึ้น ไม่พึงให้เที่ยวไปที่

นั้น. ก็สถานที่ฝูงโคใหญ่เคยเที่ยวไป หญ้าหมดเรียบเหมือนหน้ากลอง แม้น้ำ

ก็ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๕ หรือที่ ๗ จึงควรต้อนให้ไปเที่ยวหากินในที่

นั้นอีก เพราะว่า แม้หญ้า ก็กลับงอกงาม แม้น้ำก็ใส ด้วยเหตุประมาณเท่า

นี้ ส่วนนายโคบาลนี้ไม่รู้จักคราวละ ๕ วัน หรือคราวละ ๗ วัน ย่อมรักษา

สถานที่ตนรักษาแล้วนั่นและทุกๆ วัน เมื่อเป็นเช่นนั้นฝูงโคของเขา

ไม่ได้เคี้ยวกินหญ้าอันเขียวสด เมื่อเคี้ยวกินหญ้าแห้ง ดื่มน้ำเจือเปือกตม

อยู่ น้ำนมของแม่โคในที่นั้นก็ขาดไป ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล.

บทว่า อนวเสสโทหี โหติ ความว่า เนื้อและเลือดของลูกโค จะตั้งอยู่

ได้เพียงใด นายโคบาลผู้ฉลาด พึงรีดน้ำนมให้เหลือไว้ ๑-๒ เต้า เพียง

นั้น นายโคบาลนี้ รีดน้ำนมมิได้เหลืออะไร. สำหรับลูกโคเลย ลูกโคที่ยังดูดน้ำ

นมย่อมอิดโรย ด้วยความกระหายน้ำนม เมื่อไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้

สั่นล้มลงตายต่อหน้าแม่ แม่เห็นลูกน้อยแล้วคิดว่า ลูกน้อยของเรา ไม่ได้แม้

เพื่อจะดื่มน้ำนมของแม่ตน ไม่สามารถเพื่อจะเคี้ยวกินหญ้า ดื่มน้ำ ตามความ

ต้องการได้ เพราะความโศกถึงลูก น้ำนมที่เต้าน้ำก็ขาดไป ฝูงโคของเขาย่อม

เสื่อมบ้าง เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครสบ้าง ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อ

ว่า พ่อโค เพราะอรรถว่าทำหน้าที่เป็นพ่อของโคทั้งหลาย. ชื่อว่าหัวหน้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 63

โค เพราะอรรถว่า นำฝูงโคคือพาไปได้ตามชอบใจ. บทว่า น อติเรกปูชาย

ความว่า จริงอยู่ นายโคบาล ผู้ฉลาด ปรนปรือโคใหญ่เห็นปานนี้ ด้วยการ

ปรนปรือเป็นพิเศษ คือย่อมให้อาหารอันประณีต ตกแต่งด้วยของหอมและ

การเจิม ๕ แห่ง ประดับดอกไม้ สวมปลอกทองคำและเงินที่เขา ตามดวงไฟ

ให้สว่างตลอดคืน ให้นอนภายใต้เพดานผ้า ส่วนนายโคบาลนี้ ย่อมไม่ทำการ

เอื้อเฟื้ออย่างเดียว จากการให้อาหารอันประณีตเป็นต้นนั้น โคใหญ่เมื่อไม่

ได้ปรนปรือ เป็นพิเศษก็ไม่รักษาฝูงโค ไม่ป้องกันอันตราย ฝูงโคของเขาย่อม

เสื่อมไป เขาย่อมห่างไกลจากปัญจโครส ด้วยประการอย่างนี้.

บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า น รูปญฺญู โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้

จักรูปที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า มหาภูตรูป ๔ โดยอาการ ๒ คือ โดยการ

นับ หรือโดยสมุฏฐาน. ชื่อว่าไม่รู้จักโดยการนับ คือไม่รู้ว่า ส่วนแห่งรูป

๒๕ มาแล้ว ในบาลีอย่างนี้ว่า อายตนะคือตา หู จมูก ลิ้น และกาย อายตนะ

คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์

กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ความเบาแห่งรูป ความอ่อน

แห่งรูป ความควรแก่การงาน ความก่อขึ้น ความสืบต่อ ความแก่ ความที่รูป

เป็นของไม่เที่ยง อาหารคือคำข้าว. ภิกษุนี้ เปรียบเหมือนนายโคบาล

นั้น ไม่รู้จักรูปแห่งโคทั้งหลายโดยการนับฉะนั้น เธอเมื่อไม่รู้จักรูปโดยการ

นั้นก็ไม่สามารถเพื่อจะกำหนดรูป ยึดถือรูป กำหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่สามัญ

ลักษณะ กำหนดรูป ยึดถือรูป กำหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่สามัญลักษณะ

แล้ว กำหนดอรูป กำหนดจับอรูป กำหนดปัจจัย ยกขึ้นสู่ลักษณะ ให้

กัมมัฏฐานถึงที่สุดได้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่เจริญด้วยศีล สมาธิ วิปัสสนา

มรรค ผล และนิพพานในศาสนานี้ เหมือนฝูงโคของนายโคบาลนั้น

ย่อมไม่เจริญฉะนั้น. เหมือนอย่างว่า นายโคบาลนั้นย่อมห่างไกลจากปัญจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 64

โครส ฉันใด ภิกษุนั้นก็ห่างไกลจากธรรมขันธ์ ๕ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์

ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะฉัน

นั้น ชื่อว่า ไม่รู้จักโดยสมุฏฐาน คือไม่รู้ว่า รูปประมาณเท่านี้ มีสมุฏฐาน

เดียว ประมาณเท่านี้ มีสองสมุฏฐาน ประมาณเท่านี้ มีสามสมุฏฐาน ประ

มาณเท่านี้ มีสี่สมุฏฐาน ประมาณเท่านี้ ย่อมไม่ตั้งขึ้น แต่สมุฏฐานไหน

เลย ดังนี้. ภิกษุนี้เปรียบเหมือนนายโคบาลนั้นไม่รู้จักรูปแห่งใดทั้งหลายโดย

สีฉะนั้น เธอไม่รู้จัดรูป โดยสมุฏฐาน ยึดถือรูป กำหนดรูป แล้ว ฯลฯ

ย่อมห่างไกล.

บทว่า น ลกฺขณกุสโล โหติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักว่า กุศลกรรม

อกุศลกรรมเป็นลักษณะพาล และบัณฑิตที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า คนพาลมี

กรรมเป็นลักษณะ คนเป็นบัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ เขาเมื่อไม่รู้จักอย่าง

นี้ ไม่เว้นคนพาล ไม่คบหาบัณฑิต เมื่อไม่เว้นคนพาล ไม่คบหาบัณฑิต

ไม่รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควร เป็นกุศล อกุศล สิ่งที่มีโทษไม่มีโทษโทษหนักโทษเบา

แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ เหตุมิใช่เหตุ เมื่อไม่รู้สิ่งนั้น ย่อมไม่สามารถเพื่อจะถือ

เอากัมมัฏฐานไปเจริญได้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เจริญด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตาม

ที่กล่าวแล้วในศาสนานี้ เหมือนฝูงโค ของนายโคบาลนั้นไม่เจริญ คือเป็นผู้

ห่างไกลจากธรรมขันธ์ เหมือนนายโคบาลห่างไกลจากปัญจโครสฉะนั้น.

บทว่า น อาสาฏิก สาเฏตา โหติ ความว่า ย่อมไม่บรรเทากามวิตกเป็น

ต้น ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแล้วดังนี้ ไม่คอยเขี่ยไข่ขางเป็น

อกุศลวิตกนี้ เมื่อเที่ยวประพฤติอยู่ในอำนาจของวิตก ย่อมไม่สามารถเพื่อจะ

ถือเอากัมมัฏฐานไปเจริญได้ ภิกษุนั้นย่อมห่างไกลเหมือนของนายโค

บาล ฯลฯ บทว่า น วณ ปฏิจฺฉาเทตา โหติ ความว่า เมื่อถือนิมิต ในอารมณ์

ทุกอย่างโดยนัยเป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือโดยนิมิตดังนี้ ย่อมไม่ยัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 65

ความสำรวมให้ถึงพร้อมเหมือนนายโคบาลนั้นไม่ปิดแผลฉะนั้นเมื่อเปิด

ทวารเที่ยวไป ย่อมไม่สามารถเพื่อถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขา

ย่อมห่างไกล.

บทว่า น ธูม กตฺตา โหติ ความว่า ภิกษุไม่สุมควันคือธรรมเทศนา

เหมือนนายโคบาลนั้นไม่สุมควันฉะนั้น คือไม่ทำธรรมกถา หรือสรภัญญะ

อุปนิสินนกถา หรืออนุโมทนา แต่นั้น พวกมนุษย์ไม่รู้จักคุณนั้นว่า ภิกษุผู้

เป็นพหูสูต มีคุณดังนี้ มนุษย์เหล่านั้น เมื่อไม่รู้จักคุณและโทษ ย่อมไม่กระ

ทำการสงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ เธอเมื่อลำบากด้วยปัจจัย ก็ไม่สามารถเพื่อ

จะทำการสาธยายพระพุทธพจน์ บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ ถือกัมมัฏฐานไปเจริญ

ได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น ติตฺถ ชานาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่เข้า

ไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้เป็นดุจท่า เมื่อเข้าไปหา ไม่ไต่ถาม ถือเอา สอบถาม

ให้รู้อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พยัญชนะนี้ พึงปลูกฝังอย่างไร เนื้อความ

แห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร บาลีในที่แห่งบาลีนี้ กล่าวไว้อย่างไร เนื้อความในที่

นี้ แสดงไว้อย่างไร ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเหล่านั้นอันเธอไม่ไต่ถามแล้วอย่าง

นี้ ย่อมไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่จำแนกออกแสดง ไม่ทำข้อความที่ลึก

ให้ตื้น ไม่ทำข้อความที่ไม่ปรากฏให้ปรากฏแก่เธอ. บทว่า อเนกวิหิ

เตสุ จ กงฺขาฏฺานีเยสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ย่อมไม่บรรเทาแม้ความสงสัยอย่าง

หนึ่ง ในความสงสัยหลายอย่าง มีอธิบายว่า ก็ความสงสัย ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้ง

แห่งความสงสัย ย่อมไม่นำแม้ความสงสัย อย่างหนึ่งในธรรมนั้นออกไป

ได้. เธอไม่เข้าไปหาท่าคือภิกษุผู้เป็นพหูสูตอย่างนี้ จึงเต็มด้วยความสง

สัย ไม่สามาร เพื่อจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ เหมือนอย่างว่า นายโค

บาล ย่อมไม่รู้จักท่าฉันใด ภิกษุนี้ไม่รู้จักท่าคือธรรมฉันนั้น เมื่อไม่รู้ได้ถาม

ปัญหาในมิใช่วิสัย เข้าไปหาพระนักอภิธรรม ได้ถามสิ่งที่ควรไม่ควร เข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

ไปหาพระวินัยธร ได้ถามการกำหนดรูปและอรูป ท่านเหล่านั้น ถูกเธอถาม

ในธรรมที่มิใช่วิสัย ย่อมไม่สามารถเพื่อจะตอบได้ เธอจึงเต็มไปด้วยความสง

สัย ด้วยตนเอง จึงไม่สามารถเพื่อจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขา

ย่อมห่างไกล.

บทว่า ปิต น ชานาติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ คือไม่ได้ความปรา

โมทย์ประกอบด้วยธรรม เหมือนนายโคบาลนั้น ย่อมไม่รู้จักให้โคดื่มและไม่

ดื่มฉะนั้น เธออาศัยบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยการฟัง ย่อมไม่ประสบอานิสงส์

ไปยังโรงฟังธรรมแล้ว ย่อมไม่ฟังโดยความเคารพ นั่งหลับย่อมพูดคุยเป็นผู้มี

ใจส่งไปอื่น เธอเมื่อไม่ฟังธรรมโดยความเคารพ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะถือ

กัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล. บทว่า น วีถึ ชานาติ ความ

ว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริงว่า ทางนี้เป็นโลกิยะ

ทางนี้เป็นโลกุตตระ ดังนี้ เหมือนนายโคบาลนั้น ไม่รู้อยู่ซึ่งทางและมิใช่ทาง

ฉะนั้น เมื่อเธอไม่รู้ตั้งมั่นแล้วในทางที่เป็นโลกิยะ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยัง

โลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯ เขาย่อมห่างไกล บทว่า น โคจรกุสโล

โหติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ชัดสติปัฏฐาน ๔ ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นโลกุตตระ เหมือนนายโคบาลนั้นไม่รู้อยู่ซึ่งคราวละ ๕ วัน และ ๗ วัน

ฉะนั้น เมื่อเธอไม่รู้ปลูกฝังญาณของตนไว้ในธรรมอันที่สุขุม ตั้งมั่นในสติ

ปัฏฐานเป็นโลกิยะ ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยังโลกุตตรธรรมให้เกิดขึ้นได้ ฯลฯ

เขาย่อมห่างไกล. บทว่า อนวเสสโทหี ความว่า ภิกษุ เมื่อไม่รู้จักประมาณ

ในการรับ ย่อมรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้ส่วนในนิทเทสวาร พวกคฤหบดีผู้มี

ศรัทธามาปวารณาแก่ภิกษุนั้นว่า อภิหฏฺฐุ ปวาเรนิตา ในที่ปวารณานี้ ปวารณา

มี ๒ คือ ปวารณาด้วยวาจา ๑ ปวารณาด้วยปัจจัย. พวกมนุษย์ไปยังสำ

นักของภิกษุแล้ว ปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพึงบอกสิ่งที่ต้องการดัง

นี้ ชื่อว่าปวารณาด้วยวาจา. พวกมนุษย์ถือผ้า หรือ เภสัชมีน้ำนมและน้ำอ้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 67

เป็นต้น ไปสำนักของภิกษุ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรับตาม

ความต้องการเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปวารณาด้วยปัจจัย. บทว่า ตตฺร ภิกฺขุ

มตฺต น ชานาติ มีอธิบายว่า ภิกษุ ไม่รู้จักประมาณในปัจจัยเหล่านั้น ไม่รับ

แต่พอประมาณโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตสูตรว่า พึงรู้ความสามารถ

ของทายก ความสามารถของไทยธรรม พึงรู้กำลังของตน รับสิ่งที่เขานำ

มาถวายทั้งหมด. มนุษย์ เดือดร้อนจะไม่มาปวารณาอีก. เธอเมื่อลำบากด้วย

ปัจจัย ย่อมไม่สามารถจะถือกัมมัฏฐานไปเจริญได้ ฯลฯ เขาย่อมห่าง

ไกล. บทว่า เต น อติเรกปูชาย ปูชิตา โหติ ความว่า ภิกษุ ไม่บูชาพระภิกษุ

เหล่านั้นผู้เป็นพระเถระด้วยบูชาเป็นอดิเรก มีเมตตากายกรรมเป็นต้น

นี้ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ เหมือนนายโคบาลไม่ปรนปรือโคใหญ่ด้วยการ

ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระเถระคิดว่า ภิกษุทั้งหลายไม่

ทำความเคารพและความยำเกรงในพวกเราเหล่านี้แล้ว จึงมิได้สงเคราะห์

พวกนวกภิกษุด้วยการสงเคราะห์ ๒ คือ ไม่สงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ด้วย

อามิส ๑ ไม่บำรุงนวกภิกษุผู้ลำบาก เหี่ยวแห้งอยู่ด้วยจีวร หรือบาตร สิ่งของ

เนื่องด้วยบาตร หรือที่อยู่ ไม่ให้ศึกษา บาลี หรืออรรถกถาคัมภีร์เนื่องด้วย

ธรรมกถา หรือคัมภีร์ที่ลี้ลับ พวกนวกภิกษุ เมื่อไม่ได้การสงเคราะห์

๒ อย่างเหล่านี้ แต่สำนักของพระเถระทั้งหลายโดยประการทั้งปวง ย่อมไม่

อาจเพื่อจะดำรงอยู่ในศาสนานี้ได้. พวกเธอย่อมไม่เจริญด้วยคุณมีศีลเป็น

ต้น เหมือนฝูงโคของนายโคบาล ย่อมไม่เจริญฉะนั้น. นายโคบาลนั้นย่อมเป็น

ผู้ห่างไกลจากปัญจโครสฉันใด เธอย่อมเป็นผู้ห่างไกลจากธรรมขันธ์ ๕

ฉันนั้น สุกกปักษ์ท่านประกอบไว้แล้ว พึงทราบด้วยสามารถตรงกัน

ข้ามที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์.

จบอรรถกถามหาโคปาลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 68

๔. จูฬโคปาลสูตร

[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา จังหวัด

อุกกเวลาแคว้นวัชชี. คราวนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย พระภิกษุเหล่านั้น จึงรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า.

[๓๘๙] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มี

มาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มีปัญญาทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้าย

ฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคข้ามไปฝั่งเหนือแห่ง

วิเทหรัฐฟากโน้น โดยไม่ถูกท่าเลย ทันใดนั้นแล ฝูงโคได้ว่ายเวียนวนในท่าม

กลางกระแสแม่น้ำคงคา ถึงความวอดวายเสียที่ตรงนั้นเอง ข้อนั้นเป็นเพราะ

เหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะค่าที่นายโคบาลชาวมคธเป็นผู้มีปัญญา

ทราม ไม่นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ไม่ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคา

ข้างนี้ เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยไม่ถูกท่า

เลย ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ไม่ฉลาดต่อโลก

นี้ ไม่ฉลาดต่อโลกหน้า ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำ

นาจมาร ไม่ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ไม่ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ

มฤตยู ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่า

นั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อไร้ประโยชน์เละทุกข์แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนานเช่น

นั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 69

[๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธผู้มี

ปัญญา นึกฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดูฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว

เริ่มต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟากโน้นโดยถูกท่าทีเดียว.

เขาขับต้อนเหล่าโคอสุภ เป็นโคพ่อสูง เป็นโคนำหน้าฝูง ข้ามไปก่อน มัน

ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงต้อนโคอื่น

อีก ที่ใช้การได้ ที่พอจะฝึกใช้ได้ มันได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคง

คา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นจึงไปต้อนโคผู้และโคเมียที่รุ่นคนอง มันก็ได้

(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี. ต่อนั้นไปจึงต้อนลูกโคและ

โคที่ซูบผอม มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี.

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตาม

เสียงร้องของแม่มันก็ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดย

สวัสดี. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เป็นเพราะเขาฉลาด จริงอย่างนั้น นายโค

บาลชาวมคธเป็นคนมีปัญญา นึกถึงฤดูสารทในเดือนท้ายฤดูฝน ตรวจตราดู

ฝั่งแม่น้ำคงคาข้างนี้แล้ว ขับต้อนฝูงโคให้ข้ามไปฝั่งเหนือแห่งวิเทหรัฐฟาก

โน้น โดยถูกท่าทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก

หนึ่ง ที่ฉลาดต่อโลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดต่อ

สิ่งเหนืออำนาจมาร ฉลาดต่อสิ่งที่ใต้อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจ

มฤตยู ชนเหล่าใดจักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อ ต่อสมณพราหมณ์เหล่า

นั้นข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน เช่นนั้น

เหมือนกัน.

[๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโคอุสุภ เป็นโคพ่อฝูง เป็นโคนำฝูง

ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดีแม้ฉันใด ภิกษุเหล่า

ใด เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จกิจที่ต้องทำ ปลงภาระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 70

แล้ว สำเร็จประโยชน์ตน สิ้นสังโยชน์ในภพ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบแม้ภิกษุ

เหล่านั้น ตัดตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นและ. ภิกษุทั้งหลายโคที่

ใช้การได้และที่พอจะฝึกใช้ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งโดย

สวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดซึ่งเกิดผุดขึ้นและปรินิพพานในชั้น (สุทธา

วาส) นั้น ไม่จำต้องวกกลับมาจากโลกนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕.

แม้ภิกษุเหล่านั้น จักตัดตรงกระแสมารแล้ว ถึงฝั่งโดยสวัสดี.

ภิกษุทั้งหลาย โคผู้และโคเมียที่รุ่นคนอง ได้(ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่

น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใด เป็นพระสกทาคามี เพราะ

สิ้นสังโยชน์ ๓ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง จักมาสู่โลกนี้อีกคราว

เดียวแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็จักตัดตรงกระแสมารถึงฝั่งโดย

สวัสดี.

ภิกษุทั้งหลาย ลูกโค (และ) โคที่ซูบผอม ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่

น้ำคงคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่าใดเป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้น

สังโยชน์ ๓ มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ต่อไปข้าง

หน้า แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้ตรัสตรงกระแสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี.

ภิกษุทั้งหลาย ลูกโคอ่อนที่เกิดในวันนั้น ว่ายไปตามเสียงร้องของ

แม่ ได้ (ว่าย) ตัดตรงกระแสแม่น้ำคา ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ภิกษุเหล่า

ใด ซึ่งหน่วงธรรมและศรัทธาเป็นหลักแม้ภิกษุเหล่านั้นก็จักตัดตรงกระ

แสมาร ถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นแหละ. ภิกษุทั้งหลายตัวเราเป็นผู้ฉลาดต่อ

โลกนี้ ฉลาดต่อโลกหน้า ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมาร ฉลาดสิ่งเหนืออำนาจ

มาร ฉลาดต่อสิ่งใต้อำนาจมฤตยู ฉลาดต่อสิ่งเหนืออำนาจมฤตยู ชนเหล่าใด

จักสำคัญสิ่งที่ควรฟังควรเชื่อต่อเรานั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์และ

สุขแก่ชนพวกนั้นตลอดกาลนาน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 71

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเวยยากรณพจน์นี้แล้ว ภายหลังจึงได้ตรัส

คาถาประพันธ์นี้ต่อไปว่า

โลกนี้ โลกหน้า เรารู้อยู่ ประกาศไว้ดี

แล้ว เราผู้เป็นสัมพุทธะ ทราบชัดโลกทั้งปวง

ซึ่งแออัดด้วยมาร และอ้างว้างจากมฤตยู

ด้วยปัญญาอันยิ่ง เปิดประตูอมฤตอันปลอด

โปร่ง เพื่อบรรลุพระนิพพาน กั้นกระแสมาร

ผู้ลามก ขจัด (กิเลส) และกระทำให้หมด

มานะ พวกเธอจงเป็นผู้มากไปด้วยปรา-

โมทย์ ปรารถนาพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่เกษมเถิด

ภิกษุทั้งหลาย.

จบจูฬโคปาลสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 72

อรรถกถาจูฬโคปาสสูตร

จูฬโคปาสสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุกฺกเจลาย คือ ในเมืองมีชื่ออย่างนั้น.

ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังสร้างเมืองนั้น ปลาจากกระแสแม่น้ำคงคา ขึ้นบกใน

เวลากลางคืน พวกมนุษย์ชุบผ้าในถาดน้ำมันให้เปียกทำเป็นคบเพลิงจับ

ปลา. เมื่อเมืองนั้นสร้างเสร็จแล้ว พวกเขาเมื่อจะตั้งชื่อเมืองนั้น จึงได้ตั้งชื่อ

เมืองนั้นว่า อุกกเจลา ด้วยคิดว่าในวันสร้างเมืองพวกเราจับปลาได้ด้วยคบ

เพลิงผ้า. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า แม่น้ำคงคาทั้งหมด ย่อมปรากฏ

แก่ผู้นั่งในสถานที่ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์เป็นอันมากห้อม

ล้อม ประทับนั่งในสถานที่เช่นนั้นเป็นหาดทรายฝั่งแม่น้ำคงคา เวลาเย็น

กำลังทอดพระเนตรแม่น้ำมหาคงคาเต็มเปี่ยมกำลังไหล ทรงใคร่ครวญว่ามี

ใคร ๆ หนออาศัยแม่น้ำคงคานี้แล้ว ได้รับความเจริญและความเสื่อมในกาล

ก่อน ได้ทรงเห็นว่าฝูงโคหลายพันอาศัยนายโคบาลโง่คนหนึ่ง ตกที่วนแม่น้ำ

คงคานี้เข้าไปสู่สมุทร ส่วนฝูงโคหลายแสนได้มีความสวัสดี ความเจริญ

ความไม่มีโรค เพราะอาศัยนายโคบาลผู้ฉลาดอีกคนหนึ่ง. ครั้นทรงเห็น

แล้ว ทรงดำริว่า เราจักอาศัยเหตุนี้ แสดงธรรมแก่พวกภิกษุนี้ดังนี้ จึงตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า มาคธโก คือชาวมคธรัฐ บทว่า ทุปฺปญฺชาติโก ได้แก่

มหาชนพวกไม่มีปัญญาเป็นสภาพ. บทว่า อสมเวกฺขิตฺวา ได้แก่ ไม่กำ

หนด คือไม่ใคร่ครวญ. บทว่า ปตาเรสิ เริ่มเพื่อจะให้ข้าม บทว่า อุตฺตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 73

ตีร สุวิเทหาน ความว่า ให้โคข้ามไปสู่ฝั่งเหนือด้วยคิดว่า เราจักนำชาวมคธ

รัฐที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคาไปยังวิเทหรัฐที่ฝั่งโน้น นำโคจากมคธรัฐไปยังวิ

เทหรัฐแล้วรักษา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอานายโคบาลนั้น จึง

ตรัสว่า อุตฺตร ตีร สุวิเทหาน ดังนี้. บทว่า อามณฺฑลิก กริตฺวา ได้แก่ทำ

ให้วน. บทว่า อนฺยพฺยสน อาปชฺชชึสุ ได้แก่ ถึงความพินาศ คือไม่

เจริญ คือเข้าไปสู่มหาสมุทร. ก็นายโคบาลนั้น เมื่อให้โคข้าม พึงตรวจดูท่าที

เสมอ และไม่เสมอที่ฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา พึงกำหนด เนินทรายไว้ ๒-๓

แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคงคา อนึ่งพึงกำหนดท่าไว้ ๓-๔

ท่า ที่ฝั่งโน้นว่าโคลงแล้วจากท่านนี้จักไปขึ้นเท่านี้ ลงจากท่านี้จักไม่ขึ้นท่านี้ดัง

นี้. ส่วนนายโคบาลโง่นี้ ไม่ตรวจดูท่าสำหรับโคที่ฝั่งนี้ เรียบหรือไม่เรียบ

ไม่กำหนดเนินทรายไว้ ๒-๓ แห่ง เพื่อเป็นสถานที่พักโคกลางแม่น้ำคง

คา ไม่พิจารณาหาที่เป็นที่ขึ้นไว้ ๔-๕ แห่งที่อีกฝั่งหนึ่ง ให้โคข้ามไปโดย

สถานที่มิใช่ท่า. ครั้งนั้นโคใหญ่ของเขาว่ายตัดกระแส แม่น้ำคงคาขวางไปถึง

ฝั่งโน้น เพราะถึงพร้อมด้วยความเร็ว และเพราะถึงพร้อมด้วยกำลัง เห็นเขา

ขาด และหนามพุ่งไม่หนาแน่น แล้วรู้ว่านั่น ออกไปได้ยากดังนี้ ไม่ได้ที่ว่าง

สำหรับยืนข้างบนก็ว่ายกลับ. โคทั้งหลายคิดว่า โคใหญ่ว่ายกลับแล้ว แม่พวก

เราจักว่ายกลับดังนี้ ก็ว่ายกลับด้วยกัน. ในที่ฝูงโคจำนวนมากกลับ น้ำวน

ตัดน้ำตั้งขึ้นกลางแม่น้ำคงคา ฝูงโคเข้าไปในน้ำวนถึงสมุทร โคตัวหนึ่งชื่อว่า

ไม่มีอันตราย มิได้มีแล้วแล. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

โคทั้งหลายถึงแล้วซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ในที่นั้นแล บทว่า

อกุสลา อิมสฺส โลกสฺส ได้แก่ สมณพราหมณ์ เป็นผู้ไม่ฉลาด คือเฉียบแหลม

ในโลกนี้ คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ. แม้ในปรโลกก็มีนัยนี้แล. บ่วงมารท่าน

เรียก เตภูมิกธรรม มิใช่บ่วงมารท่านเรียกว่า โลกุตตรธรรม แม้ที่ตั้งมัจจุท่าน

เรียกเตภูมิกธรรม แม้ที่ตั้งอมัจจุท่านเรียกนวโลกุตตรธรรม สมณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 74

พราหมณ์ ผู้ไม่ฉลาดคือเฉียบแหลมในธรรมเหล่านั้น ส่วนโดยเนื้อความของ

คำบ่วงมาร ชื่อว่า มารเธยฺยา โคจรอันเป็นฐานะที่อยู่และที่อาศัย ชื่อ

เธยฺยา แม้ในมัจจุเธยยา ก็มีนัยนี้แล. บทว่า เตส ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่า

นั้น คือเห็นปานนั้น. พึงทราบว่า ครูทั้ง ๖ ท่านแสดงไว้แล้วด้วยบทนี้. พระผู้

มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงจบกัณหปักษ์อย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงสุกกปักษ์

ตรัสคำเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวคาเว

คือ โคที่ฝึกแล้ว และแม่โคนม. บทว่า ทมฺมคาเว คือโคที่ควรฝึกและโคสาว

บทว่า วจฺฉตเร ได้แก่ ลูกโคมีกำลังที่ผ่านความเป็นลูกโค. บทว่า วจฺฉเก

คือ ลูกโคหนุ่มยังดื่มนม. บทว่า กีสพลิเก คือมีเนื้อและเลือดน้อย กำลัง

น้อย. บทว่า ตาวเทว ชาตโก คือ ลูกโคที่เกิดในวันนั้น. บทว่า มาตุ โครวเกน

วุยฺหมาโน ความว่า แม่โคส่งเสียงโค ข้างหน้าว่า หุง หุง ให้สัญญาณ

ว่ายตัดน้ำไป. ลูกโคว่ายไปตามน้ำตามแม่โคนั้นแล โดยเสียงร้องของแม่โค

นั้น ท่านเรียกว่าลอยตามเสียงร้องของแม่. บทว่า มารสฺส โสต เฉตฺวา ความ

ว่า ตัดกระแสแห่งตัณหาของมาร ด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า ปาร คตา ได้

แก่ ภิกษุถึงฝั่งสงสาร คือนิพพาน เหมือนโคใหญ่ว่ายไปถึงฝั่งแม่น้ำ

ฉะนั้น. บทว่า ปาร อคมสุ ความว่า ในขณะที่โคใหญ่ถึงฝั่ง โคทั้งหลายว่าย

ล่วง ๓ ส่วนกระแสะน้ำคงคาแล้วเห็นโคใหญ่ถึงฝั่ง จึงไปตามทางที่โคใหญ่

เหล่านั้นไปแล้ว. บทว่า ปาร คมิสฺสนฺติ ความว่า ผู้ยังกิเลสที่มรรค ๔ พึง

ฆ่า ๓ ส่วนให้สิ้นแล้วตั้งอยู่ บัดนี้ พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้

ว่า ภิกษุผู้ตัดกระแสตัณหาหมดสิ้นไป ด้วยอรหัตตมรรคแล้ว จักถึงฝั่งสง

สารคือ นิพพานเหมือนโคที่กำลังว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคา ถึงฝั่งแม่น้ำ

ฉะนั้น. ภิกษุ ๒ รูปเหล่านี้คือ ที่เป็นธัมมานุสารี สัทธานุสารี เป็นผู้พร้อม

เพรียงด้วยมรรคชั้นต้น. บทว่า ชานตา คือพระพุทธเจ้าทรงรู้อยู่ซึ่งธรรมทั้ง

ปวง. บทว่า สุปกาสิโต แปลว่า กล่าวไว้ดีแล้ว บทว่า วิวก แปลว่าเปิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 75

แล้ว. บท อมตทฺวาร ได้แก่ อริยมรรค.บทว่า นิพพานปตฺติยา คือ เปิดเพื่อ

ประโยชน์เก่นิพพานนั้น. บทว่า วินฬีกต คือ ทำมานะดุจไม้อ้อให้ปราศจาก

ไป. บทว่า เขม ปตฺเถถ ความว่า พวกเธอเป็นผู้ปรารถนาพระอรหัต

คือเป็นผู้ต้องการให้พระอรหัตเกิดขึ้นด้วยกัตตุกัมยตาฉันทะ. บาลีว่า ปตฺตตฺถ

ดังนี้ก็มี. มีอธิบายว่า พวกเธอได้พระศาสนาเห็นปานนี้ ชื่อว่า บรรลุ

แล้วเหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจบการแสดงธรรมตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจูฬโคปาลสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 76

๕. จูฬสัจจกสูตร

[๓๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระวิหารยอดในป่ามหา

วัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น บุตรแห่งนิครนถ์ผู้หนึ่ง ชื่อสัจจกะ อาศัยอยู่ใน

เมืองเวสาลี เป็นคนพอใจพูดสังสนทนาลัทธินั้น ๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้า

ปัญญา มหาชนสมมติว่าเป็นคนดีความรู้ดี. เขาได้กล่าววาจาในที่ประชุมชน

ในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ

เป็นคณาจารย์ ครูของหมู่ แม้ปฏิญญา (ยืนยัน) ตนว่า เป็นพระอรหันต์

ผู้ไกลจากกิเลสควรนับถือ ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคำแล้ว จะไม่ประหม่า

ตัวสั่นหวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำ

ด้วยถ้อยคำกับเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสะท้านหวั่นไหว จะกล่าว

อะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์.

[๓๙๓] ครั้งนั้น เวลาเช้าวันหนึ่ง พระอัสสชิผู้มีอายุ ครองผ้าตามสมณ

วัตรแล้วถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี. สัจจกะเดินเที่ยวมา

ในเมืองเวสาลี ได้แลเห็นพระอัสสชิผู้มีอายุมาอยู่แต่ไกล จึงเข้าไปใกล้

กล่าวปราศรัยกับท่านแล้วได้ยืนส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามท่านว่า พระ

อัสสชิ พระโคดมแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร แลคำสั่งสอนของพระ

โคดม ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างไร. พระอัสสชิผู้มีอายุตอบ

ว่า อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่าง

นี้ แลคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายมีส่วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 77

อย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่

เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตัว เวทนาไม่ใช่ตัว สัญญาไม่ใช่ตัว สังขาร

ทั้งหลายไม่ใช่ตัว วิญญาณไม่ใช่ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้ง

หลายทั้งปวงไม่ใช่ตัว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสั่งสอนสาวกทั้ง

หลายอย่างนี้ แลคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นไปมากในสาวกทั้ง

หลายมีส่วนอย่างนี้แล. สัจจกะตอบว่า ข้าพเจ้าได้ฟังว่า พระโคดมมีถ้อยคำ

อย่างนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังไม่ดีแล้ว ถ้าอย่างไรบางคราว ข้าพเจ้าจะได้พบกับพระ

โคดม จะได้เจรจากันสักหน่อย ถ้าอย่างไร จะเปลื้องจากความเห็นที่

เลวทรามนั้นเสียได้.

[๓๙๔] สมัยนั้น เจ้าลิจฉวี ประมาณห้าร้อยองค์ ประชุมกันอยู่ในศาลา

ที่ว่าราชการ ด้วยกิจอันหนึ่ง สัจจกะเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นแล้วพูด

ว่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วย

กัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจา กับพระสมณโคดม. ถ้าพระสมณโคดมจักตั้งอยู่

ตามคำที่ภิกษุชื่ออัสสชิผู้เป็นสาวกมีชื่อผู้หนึ่ง ได้พูดแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก

ชักลากถ้อยคำพระสมณโคดมมาตามถ้อยคำของข้าพเจ้าเหมือนบุรุษมีกำ

ลัง จับแกะอันมีขนยาวที่ขน ฉุดลากมาฉะนั้นหรือมิฉะนั้น เหมือนคนทำการ

ในโรงสุรา ผู้มีกำลัง วางลำแพนสำหรับรองแป้งสุราอันใหญ่ในห้วงน้ำอันลึก

แล้ว จับที่มุมชักลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะสลัดถ้อยคำของพระสมณโคดม

เสีย เหมือนบุรุษมีกำลังที่เป็นนักเลงสุรา จับภาชนะสำหรับตวงสุราที่มุม

ตวงสุราอยู่ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฟาดพระสมณโคดมเล่น เหมือนช้างที่มีวัยล่วง

หกสิบปี หยั่งลงสู่สระโบกขรณีอันลึกเเล้ว พ่นน้ำเล่นฉะนั้น. ขอเจ้าลิจฉวีทั้ง

หลายจงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงไปด้วยกัน วันนี้ข้าพเจ้าจักเจรจา

กับพระสมณโคดม ดังนี้. ในเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

พระสมณโคดมจักยกถ้อยคำของสัจจกะได้ ที่แท้สัจจกะกลับจะยกถ้อยคำ

ของพระสมณโคดมเสียอีก. บางพวกกล่าวว่า สัจจกะเป็นอะไรมา จึงจะยก

ถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับจะยกถ้อยคำ

ของสัจจกะได้อีก ลำดับนั้น สัจจกะ. อันเจ้าลิจฉวีประมาณห้าร้อยห้อมล้อม

ไปสู่พระวิหารยอดในป่ามหาวัน.

[๓๙๕] สมัยนั้น ภิกษุมากหลายรูป จงกรมอยู่ในที่แจ้ง. เขาเข้าไปถาม

เธอว่า เดี๋ยวนี้พระโคดมอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายปรารถนาจะเข้าไป

เฝ้าพระโคดม ภิกษุทั้งหลายนั้นตอบว่า นั่นแน่ะ อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสด็จลงสู่ป่ามหาวัน ประทับนั่งพักร้อนอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง สัจจกะ

พร้อมด้วยเจ้าลิจฉวีหมู่ใหญ่ เข้าไปสู่ป่ามหาวัน ถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประ-

ทับอยู่แล้ว ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง. แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาทตามอาการของผู้เลื่อม

ใส บางพวกก็เป็นแต่กล่าววาจาปราศรัยแสดงความยินดี บางพวกเป็น

แต่ประคองอัญชลีประณมมือ บางพวกก็ร้องประกาศชื่อแลโคตรของ

ตน ๆ บางพวกเป็นคนนิ่งเฉยอยู่ ต่างคนก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งๆ

แล้ว.

[๓๙๖] สัจจกะทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าขอถามปัญหากะ

พระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อการกล่าวแก้ปัญหา

แก่ข้าพเจ้า.

พ. ท่านประสงค์จะถามข้อใด ก็ถามเถิด อัคคิเวสสนะ.

ส. พระโคดมแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างไร แลคำสั่งสอนของ

พระโคดมเป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 79

พ. อัคคิเวสสนะ เราแนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่ง

สอนของเรา เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย มีส่วนอย่างนี้ว่า รูปไม่เที่ยง

เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่ใช่

ตัว สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวดังนี้ เรา

แนะนำสั่งสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเราเป็นไปมากใน

สาวกทั้งหลายมีส่วนอย่างนี้แล.

ส. อุปมาแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า พระโคดม.

พ. อุปมานั้น แจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด อัคคิเวสสนะ

ส. พระโคดม เหมือนหนึ่งพืชพรรณไม้ทั้งหลาย เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ พืชพรรณไม้ทั้งหลายนั้นทั้งหมดต้อง

อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ได้ หรือมิ

ฉะนั้น เหมือนหนึ่งการงานเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ต้องทำด้วยกำลังแขน ที่บุคคลทำ

อยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่ในแผ่น

ดิน จึงทำได้ฉันใด บุรุษ บุคคลมีรูปเป็นตัว มีเวทนาเป็นตัว มีสัญญาเป็น

ตัว มีสังขารเป็นตัว มีวิญญาณเป็นตัว ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ จึงเสวยผลแห่งบุญ หรือไม่ใช่บุญได้ฉันนั้น.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านว่าอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของ

เรา เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารเป็นตัวของเรา

วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้ไม่ใช่หรือ.

ส. พระโคดม ข้าพเจ้าก็กล่าวอย่างนั้น ประชุมชนหมู่ใหญ่นี้ก็กล่าว

อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 80

พ. อัคคิเวสสนะ ประชุมชนหมู่ใหญ่ จักทำอะไรแก่ท่าน เอาเถิด

ท่านแก้แต่ถ้อยคำของตัวเถิด.

ส. พระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตัวของเรา เวทนาเป็น

ตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของเรา วิญญาณ

เป็นตัวของเรา ดังนี้.

[๓๙๗] พ. อัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เราจักถามท่านเฉพาะในข้อนี้

ท่านเห็นอย่างไร จึงกล่าวแก้อย่างนั้น. ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน

อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดินใหญ่) ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว

(สรงน้ำทั่วพระองค์ตลอดถึงพระเศียร ในเวลาจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน) เหมือน

พระเจ้าปเสนทิโกศล แลพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคนที่ควรต้อง

ฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ต้องเป็นไป

ได้ ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ หรือมิใช่.

ส. พระโคดม อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษก

แล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู อาจฆ่าคน

ที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้อง

เนรเทศ ต้องเป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ เพราะว่าแต่อำนาจ

ของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ ที่อาจฆ่าคนที่ควรต้องฆ่า ริบราชบาทว์

คนที่ควรต้องริบ เนรเทศคนที่ควรต้องเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแคว้นของ

ตนๆ เหตุไฉนอำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิกเษก

แล้ว เหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล และพระเจ้ามคธราชอชาตศัตรู จักไม่เป็น

ไปได้เช่นนั้น อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว

นั้น ต้องเป็นไปได้ด้วย ควรจะเป็นไปได้ด้วย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 81

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าว

ว่า รูปเป็นตัวของเราดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของ

เรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้ สัจจกะได้นิ่งอยู่ พระองค์

ตรัสถามอย่างนี้ถึงครั้งที่สาม จึงได้ทูลตอบว่า ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้

พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเสียก่อนแล้ว จึงค่อยกล่าวแก้คำหลัง

ของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง.

[๓๙๘] อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าว

ว่า เวทนาเป็นตัวของเรา สัญญาเป็นตัวของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตัวของ

เรา วิญญาณเป็นตัวของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในเวทนา ในสัญญา

ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย

สละวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ.

ส. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเสียก่อนแล้วจึงค่อยกล่าวแก้ คำหลัง

ของท่านไม่ต่อกันกับคำก่อน คำก่อนไม่ต่อกันกับคำหลัง. อัคคิเวสสนะ

ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และ

วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ส. มันไม่เที่ยง พระโคดม.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทุกข์หรือสุข.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 82

ส. สิ่งนั้นทุกข์ พระโคดม.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของ

เรา ดังนี้.

ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ผู้ใดติดทุกข์อยู่

เข้าไปถึงทุกข์แล้ว ยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้นของเรา เราเป็นส่วน

นั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้ ผู้นั้นจะกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้

สิ้นได้ มีบ้างหรือ.

ส. จะมีได้ เพราะอะไร ข้อนี้ไม่มีได้เลย พระโคดม.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้

ท่านก็ติดทุกข์อยู่ เข้าไปถึงทุกข์แล้ว ยินดีทุกข์แล้ว ตามเห็นทุกข์ว่า สิ่งนั้น

ของเรา เราเป็นส่วนนั้น ส่วนนั้นตัวของเรา ดังนี้ ไม่ใช่หรือ.

ส. จะไม่มีเพราะอะไร ข้อนั้นต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดม.

[๓๙๙] พ. อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่งบุรุษ มีความต้องการแก่นไม้เที่ยว

หาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งสำหรับถากไม้ที่คมเข้าไปป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่

ในป่านั้นต้นหนึ่ง ซึ่งมีลำต้นตรง กำลังรุ่นยังไม่ทันตกเครือ ไม่เหลือวิสัยที่จะ

ตัด เขาก็ตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้นแล้ว ตัดยอดลิดใบออก เขาจะไม่ได้พบแม้แต่

เพียงกระพี้ จะได้พบแก่นมาแต่ข้างไหน ข้อนี้ฉันใด เราซักถามท่านให้กล่าว

แก้ในถ้อยคำของตัวเอง ท่านก็เปล่าว่างแพ้ไปเอง ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ

ท่านได้กล่าววาจานี้ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือ

พราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นคณาจารย์ แม้ปฏิญญาตนว่า เป็นพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 83

อรหันต์ผู้รู้ชอบเอง ที่เราโต้ตอบถ้อยคำด้วยถ้อยคำแล้วจะไม่ประหม่าตัว

สั่น หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลโทรมจากรักแร้เลย ถ้าแม้เราจะโต้ตอบถ้อยคำ

ด้วยถ้อยคำกับเสา ที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นก็จะสะท้านสั่นหวั่นไหวจะกล่าว

อะไร ถึงสัตว์ที่เป็นมนุษย์ ดังนี้ หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้า

ผาก ลงผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อในกายของเราเดี๋ยวนี้ ไม่มีเลย. เมื่อพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะได้นั่งนิ่งอั้นเก้อเขินคอตก ก้ม

หน้าหงอยเหงา ไม่มีปฏิภาณ ( ปัญญาอันแจ่มแจ้ง) ที่จะคิดโต้เถียงอีก.

[๔๐๐] เจ้าทุมมุขลิจฉวีรู้ดังนั้นแล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระผู้

มีพระภาคเจ้า อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสตอบว่า อุปมานั้นแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด ทุมมุข ดังนี้แล้ว เธอทูลว่า

เปรียบเหมือนในที่ใกล้แห่งบ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณีอยู่สระหนึ่ง ในสระ

นั้นมีปูตัวหนึ่ง มีเด็กชายหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึง

สระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็ลงจับปูนั้นขึ้นมาจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นน้อมก้าม

ไปข้างไหน เด็กเหล่านั้นก็จะคอยต่อยก้ามปูนั้น ด้วยท่อนไม้หรือท่อนกระ

เบื้อง ครั้นปูนั้นมีก้ามหักหมดอย่างนี้แล้ว ก็ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้

อีก เหมือนอย่างก่อน ข้อนี้ฉันใด ทิฏฐิที่เป็นเสี้ยนหนามปกคลุมอยู่ ยักไปยัก

มาไม่อยู่ในร่องรอย บางอย่างๆ ของสัจจกะอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหัก

เสียแล้ว ต่อนี้ไปสัจจกะไม่อาจจะเข้ามาใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประสงค์

จะโต้ตอบได้อีก ฉันนั้น เมื่อเจ้าทุมมุขลิจฉวีกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกะพูดกะ

เธอว่า เจ้าทุมมุขท่านหยุดเถิด ท่านหยุดเถิด ท่านเป็นคนปากมากนัก ข้าพเจ้า

ไม่ได้พูดหารือกับท่าน ข้าพเจ้าพูดหารือกับพระโคดมต่างหาก. ครั้นพูด

อย่างนี้แล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดมวาจาของข้าพเจ้าและของ

พราหมณ์ เป็นอันมากเหล่าอื่น ยกเสียเถิด เพราะเป็นแต่เครื่องพูดเพ้อ

ก็พูดเพ้อไปแล้วเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 84

[๔๐๑] ส่วนสาวกของพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรจึงชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำตามคำ

สั่งสอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ได้ปราศจากความแคลงใจที่เป็น

เหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้

อื่น ในคำสอนของศาสนาของตนอยู่ได้.

พ. อัคคิเวสสนะ สาวกของเราในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วย

ปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร อย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เกิดขึ้นเฉพาะ

ในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี

ดีก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ตัวของเรา

ดังนี้ ด้วยเหตุเท่านี้แล อัคคิเวสสนะ สาวกของเรา ชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำตามคำสั่ง

สอน ได้ทำตามโอวาท ข้ามความสงสัยได้ ไปปราศจากความแคลงใจที่

เป็นเหตุกล่าวว่า ข้อนี้อย่างไร ถึงความแกล้วกล้าปราศจากครั่นคร้าม

ไม่ต้องเชื่อแต่ผู้อื่น ในคำสอนของศาสดาของตนอยู่ได้.

[๔๐๒] ส. ด้วยเหตุเพียงไร พระโคดม ภิกษุ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกล

จากกิเลส และควรนับถือ) สิ้นอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดาน) อยู่จบพรหม-

จรรย์ (ศาสนา) มีกิจที่จำจะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ (ของหนัก) ลงได้

แล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชนธรรม (ธรรมอันประกอบสัตว์ไว้กับทุกข์)

อันจะนำไปเกิดในภพสิ้นแล้วรู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว.

พ. อัคคิเวสสนะ ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้น ด้วยปัญญา

อันชอบ ตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ดังนั้นแล้ว พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปา

ทาน (ความถือมั่น ความยึดมั่น กิเลสที่เป็นเครื่องถือมั่น เป็นเครื่องยึดมั่น) ด้วยเหตุ

เท่านี้แล อัคคิเวสสนะ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 85

จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว

มีสังโยชนธรรมอันจะนำไปเกิดในภพสิ้นแล้ว รู้ชอบจึงพ้นไปได้แล้ว. ภิกษุที่

พ้นจากอาสวะอย่างนี้แล้วแล อัคคิเวสสนะ ประกอบด้วยคุณที่เลิศไม่มีคุณอื่น

จะยิ่งกว่า ๓ ประการ คือ ญาณ เครื่องเห็นอันเลิศไม่มีญาณอื่นจะยิ่งกว่า

อย่าง ๑ ความปฏิบัติอันเลิศไม่มีความปฏิบัติอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง ๑ ความพ้นอัน

เลิศไม่มีความพ้นอื่นจะยิ่งกว่าอย่าง ๑ และเธอสักการะเคารพนับถือบูชาพระ

ตถาคตด้วยศรัทธาเลื่อมใสว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้เองแล้ว ทรงแสดง

ธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ทรงทรมาน ฝึกพระองค์ก่อนแล้วทรงแสดงธรรม

เพื่อทรมานฝึกสอนผู้อื่น ทรงสงบระงับกองกิเลส (สภาพที่เกิดในใจแล้ว

ทำใจให้เศร้าหมอง) ได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้สงบระงับกอง

กิเลส ทรงข้ามห้วงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ข้ามห้วง

กิเลส ทรงดับเพลิงกิเลสได้แล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อสอนผู้อื่นให้ดับเพลิง

กิเลส ดังนี้.

[๔๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกะทูลว่า ข้าพเจ้านั่น

เทียว พระโคดม เป็นคนคอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สำคัญถ้อยคำ

ของพระโคดมว่า ตัวอาจจะโต้เถียงได้ด้วยถ้อยคำของตัว บุรุษมาปะทะช้างอันซับมัน

เข้าก็ดี เจอะกองไฟอันกำลังลุกโชนก็ดี กระทบงูที่มีพิษร้ายก็ดี ยังมีเอาตัวรอดได้

บ้าง ก็แต่มาจดพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีเอาตัวรอดได้เลย ข้าพเจ้านั่นเทียว เป็นคน

คอยกำจัดคุณ เป็นคนคนองวาจา เพราะได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดมว่า ตัวอาจจะ

โต้เถียงได้ด้วยถ้อยคำของตัว. ขอพระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารของ

ข้าพเจ้า เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้. สัจจกะทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์

แล้ว จึงสั่งเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้นิมนต์พระ

สมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เพื่อจะฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจะนำอาหารใดมาเพื่อ

ข้าพเจ้า จงเลือกหาแต่ของที่ควรแก่พระสมณโคดม. ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 86

นั้นได้นำภัตตาหารไปให้แก่สัจจกะประมาณห้าร้อยหม้อ. สัจจกะให้จัดของเคี้ยวของ

ฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จแล้ว ให้กราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาค

เจ้าว่า เป็นกาลที่สมควรจะเสด็จพระพุทธดำเนิน ภัตตาหารพร้อมเสร็จแล้ว.

[๔๐๔] เวลาเช้าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าตามสมณวัตรแล้ว

ทรงบาตร จีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินไป ถึงอารามแห่งสัจจกะแล้วประ

ทับ ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย. สัจจกะอังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประ

ธาน ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนให้อิ่มด้วยดีให้ห้ามเสีย

แล้ว ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระหัตถ์จากบาตร

แล้ว นั่ง ณ อาสนะต่ำแห่งหนึ่งแล้ว ทูลว่า พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้จงมี

เพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลายเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อัคคิเวส

สนะ บุญและผลบุญในทานนี้ คืออาศัยทักขิเณยยบุคคล (คนควรรับทานที่ทายกให้

ด้วยความนับถือ) ซึ่งยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เหมือนกับท่าน จักเป็นของทายกทั้ง

หลาย ส่วนบุญและผลบุญที่อาศัยทักขิเณยยบุคคลซึ่งสิ้นราคะ โทสะ โมหะ

แล้ว เหมือนกับเราจักเป็นของท่าน ดังนี้แล.

จบจูฬสัจจกสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 87

อรรถกถาจูฬสัจจกสูตร

จูฬสัจจกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวเน กูฏาคารสาลาย ความว่า ป่า

ใหญ่มีกำหนดเกิดเอง มิได้ปลูก ชื่อว่า มหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกสักรุงกบิล-

พัสดุ์ เนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ แต่ไม่มีกำหนด ตั้งจดมหาสมุทร.

ป่านี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ชื่อว่า ป่ามหาวัน เพราะอรรถว่า เป็นป่าใหญ่มีกำ

หนด. ส่วนกูฏาคารศาลา เมื่อสร้างอารามเสร็จแล้ว จึงทำกูฏาคารไว้ภาย

ใน มุงหลังคาด้วยเครื่องมุงอย่างหงส์และนกกระจาบมุงแล้ว พึงทราบ

ว่า เป็นพระคันธกุฏีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง.

บทว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า ในกาลก่อน ชาย

นิครนถ์คนหนึ่ง หญิงคนหนึ่ง เรียนได้วาทะคนละ ๕๐๐ แล้ว คิดว่า เรา

จักยกวาทะ ดังนี้ เมื่อเที่ยวไปในชมพูทวีปมาอยู่ร่วมกันในกรุงเวสาลี.

พวกเจ้าลิจฉวีเห็นแล้ว จึงถามว่า ท่านเป็นใคร ท่านเป็นใคร ดังนี้. ชาย

นิครนถ์กราบทูลว่า ข้าพระองค์เที่ยวไปในชมพูทวีปด้วยคิดว่า ข้าพระองค์

จักยกวาทะ ดังนี้.หญิงนิครนถ์ก็ได้กราบทูลอย่างนั้น. เจ้าลิจฉวีตรัสว่า

ขอท่านจงยกวาทะ กันและกันในที่นี้เถิด. หญิงนิครนถ์ จึงได้ถามวาทะ

๕๐๐ ที่ตนเรียนแล้ว. ชายนิครนถ์ได้ตอบแล้ว เมื่อชายนิครนถ์ถาม หญิง

นิครนถ์ก็ตอบได้หมด. แม้คนหนึ่งไม่มีชนะ ไม่มีแพ้กัน ทั้ง ๒ คน ได้เป็นผู้

เสมอๆ กัน.เจ้าลิจฉวีตรัสว่า ท่านแม้ทั้ง ๒ คนเสมอๆ กัน จักเที่ยวไปทำ

อะไร จงอยู่ในที่นี้เถิด พระราชทานเรือน ทรงตั้งส่วยให้. เพราะการอยู่ร่วมกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 88

ของคนทั้ง ๒ เหล่านั้น เกิดธิดา ๔ คน คือ ชื่อสัจจาคนหนึ่ง ชื่อโลลาคน

หนึ่ง ชื่อปฏาจาราคนหนึ่ง ชื่อสิลาวตกาคนหนึ่ง ธิดาเหล่านั้นก็ได้เป็นบัณฑิต

ด้วยกัน ได้เรียนวาทะคนละ ๕๐๐ อันมารดาบิดาเรียนมาแล้ว. หญิงเหล่า

นั้นเจริญวัยได้กล่าวกะมารดาบิดาว่า แม่ชื่อว่า กุลทาริกาของเราไม่ต้องให้

เงินและทองเป็นต้นแล้ว ส่งไปยังเรือนแห่งตระกูล ส่วนผู้ใดอยู่ครอง

เรือน ย่อมสามารถเพื่อจะย่ำยีวาทะ ของหญิงเหล่านั้นได้ หญิงเหล่านั้นจะ

เป็นบาทบริจาริกาของผู้นั้น ผู้ใดเป็นนักบวช ย่อมสามารถเพื่อจะย่ำยีวาทะ

ของหญิงเหล่านั้นได้ หญิงเหล่านั้น ก็จะได้บวชในสำนักของผู้นั้น พ่อแม่จัก

ทำอย่างไร ดังนี้หญิง ๔ คน ถือเพศเป็นนักบวชด้วยคิดว่า แม้พวกพวกเรา

จักกระทำอย่างนี้แหละ คิดว่า ชื่อว่า ชมพูทวีปนี้ ย่อมปรากฏด้วยไม้หว้าดัง

นี้ ถือกิ่งไม้หว้าท่องเที่ยวไป ถึงหมู่บ้านใด ก็ปักธงไม้หว้า บนกองฝุ่น

หรือกองทรายแล้ว จึงกล่าวว่า ผู้ใดสามารถยกวาทะ เชิญผู้นั้น เหยียบธงนี้

เถิด เข้าไปหมู่บ้าน พวกเขาเที่ยวไปทุกๆ หมู่บ้านอย่างนี้ - ถึงกรุง

สาวัตถี ปักธงไม้หว้าไว้ที่ประตูหมู่บ้าน เหมืออย่างนั้น บอกแก่พวกมนุษย์ที่

มาถึงแล้ว เข้าไปภายในพระนคร.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่ใน

พระเชตวัน ครั้งนั้นท่านสารีบุตร ถามอาการที่ป่วย มัวจัดสถานที่ที่ เขายัง

ไม่ได้จัด เมื่อเข้าไปที่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต จึงสายกว่าภิกษุเหล่าอื่น เพราะมี

กิจมาก ได้เห็นธงไม้หว้าที่ประตูหมู่บ้าน จึงถามพวกเด็กว่า นี้อะไรกัน

พวกเขาได้บอกความนั้น. พระเถระกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบ

เถิด.พวกเด็กกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า ไม่สามารถ กลัว

อยู่. พระเถระกล่าวว่า พวกเจ้าไม่ต้องกลัว. พระเถระกล่าวว่า เมื่อนางปริพา-

ชิกาถามว่า ใครให้เหยียบธงไม้หว้าของเรา พวกเธอพึงบอกว่า พระสารี-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 89

บุตรผู้เป็นพุทธสาวกให้เหยียบ ท่านอยากจะยกวาทะ จงไปยังสำนักของ

พระเถระที่พระเชตวัน.

พวกเด็กฟังคำของพระเถระจึงพากันเหยียบธงไม้หว้าทิ้งไป. พระ

เถระเที่ยวบิณฑบาตแล้วกลับไปยังวิหาร. พวกปริพาชิกา ออกจากหมู่บ้าน

แล้ว จึงถามว่า ใครให้เหยียบธงของเรา. พวกเด็กบอกความนั้น.พวกปริพาชิกา

เข้าไปหมู่บ้านอีก ไปคนละทางบอกแล้วว่า ได้ยินว่า สารีบุตรเป็นพุทธ-

สาวกจักโต้วาทะ กับพวกเรา ท่านประสงค์จะฟังจงออกไปเถิด.มหาชน

ออกไปแล้ว. ปริพาชิกามาแล้ว สู่พระเชตวันกับมหาชนนั้น. พระเถระคิด

ว่า มาตุคามจะมาในที่พักของเราไม่เป็นความผาสุกดังนี้ จึงนั่งในท่ามกลาง

วิหาร. นางปริพาชิกาไปถามพระเถระว่า ท่านให้เหยียบธงของเรา

หรือ ? พระเถระกล่าวว่า ถูกแล้ว เราให้เหยียบเอง ดังนี้. นางปริพาชิกา

กล่าวว่า เราจักโต้วาทะกับท่าน. พระเถระกล่าวว่า ดีละ เชิญโต้เถิด ใคร

ถามใครตอบ. นางปริพาชิกากล่าวว่า เราถาม. พระเถระกล่าวว่า ก็ท่าน

เป็นมาตุคามเชิญถามก่อนเถิด. พวกนางปริพาชิกา ๔ คน เหล่านั้น ยืนอยู่

ใน ๔ ทิศ ได้ถามพันวาทะที่ได้เรียนในสำนักของมารดาบิดา. พระเถระ

กล่าวทำคำถามไม่ให้ยุ่งยาก ไม่ให้มีปม เหมือนตัดก้านบัวด้วยมีดฉะนั้น.

ครั้นกล่าวแล้ว จึงกล่าวเชิญถามอีก. นางปริพาชิกา กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ดิฉันรู้เท่านี้แหละ. พระเถระกล่าวว่า ท่านถามพันวาทะแล้ว เราก็

ได้ตอบแล้ว แต่เราจักขอถามปัญหาสักข้อหนึ่ง ท่านจงต้องตอบปัญหา

นั้น. นางปริพาชิกาเหล่านั้น เห็นวิสัยของพระเถระไม่อาจที่จะพูดว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ถามเถิด พวกดิฉันจักตอบชี้แจง ดังนี้จึงกล่าวอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ขอท่านจงถามเถิด เมื่อพวกดิฉันรู้จักตอบชี้แจง. พระเถระกล่าว

ว่า ปัญหานี้ต้องให้กุลบุตรบรรพชาให้ศึกษาเป็นครั้งแรกแล้ว จึงถาม

ว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง นางปริพาชิกาเหล่านั้น ไม่เห็นต้น ไม่เห็นปลาย. พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 90

เถระกล่าวว่า ตอบซิ.นางปริพาชิกากล่าวว่า พวกดิฉัน ไม่เห็นเจ้าค่ะ พระ

เถระกล่าวว่า ท่านถามตั้งพันวาทะ เราก็ตอบแล้ว ท่านไม่สามารถจะตอบ

ปัญหาข้อเดียวของเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ ใครเล่าเป็นฝ่ายชนะ ใครเล่าเป็นฝ่าย

แพ้. นางปริพาชิกากล่าวว่า ท่านเป็นฝ่ายชนะ พวกดิฉันเป็นฝ่ายแพ้เจ้าค่ะ

พระเถระกล่าวว่า คราวนี้ ท่านจักทำอย่างไร. นางปริพาชิกาบอกคำที่มารดา

บิดากล่าวแล้ว จึงกล่าวว่า พวกดิฉันจักบวชในสำนักของท่าน. พระเถระ

กล่าวว่า ท่านเป็นมาตุคาม ไม่ควรจะบวชในสำนักของเรา แต่ท่านถือสาส์น

ของเราไปยังสำนักภิกษุณีบวชเถิด. นางปริพาชิการับว่า สาธุ ถือสาส์น

ของพระเถระไปสำนักภิกษุณีสงฆ์บวชแล้ว ก็แลครั้นบวชแล้ว เป็นผู้ไม่

ประมาท มีความเพียร ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต.

สัจจกนิครนถ์นี้เป็นน้องชายของนางปริพาชิกา ๔ คนนั้น เป็นผู้มี

ปัญญายิ่งกว่านาง ๔ คนเหล่านั้น ได้เรียนพันวาทะแต่สำนักของมารดาบิดา

และต่อจากนั้นได้เรียนลัทธิภายนอกมากกว่า ไม่ไปไหน สอนราชกุมารให้

ศึกษาศิลปะอยู่ในกรุงเวสาลีนั้น เขากลัวว่า ท้องของเราน่าจะแตก เพราะ

เต็มด้วยปัญญาเกินไป เอาแผ่นเหล็กคาดท้องเที่ยวไป. ท่านหมายเอาผู้

นี้ จึงกล่าวว่า สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต ดังนี้.

บทว่า ภสฺสปฺปวาทิโก ได้แก่ กถามรรคท่านกล่าว ภัสสะ ชื่อว่า

เป็นนักโต้ตอบเพราะอรรถว่า พูดคือกล่าวตอบภัสสะนั้น. บทว่า ปณฺฑิตวาโท

ได้แก่ พูดยกตนว่าเป็นบัณฑิต. บทว่า สาธุ สมฺมโต พหุชนสฺส ความ

ว่า ย่อมอ้างสิ่งใด ๆ มาด้วยนักขัตตวาร. โดยมากสิ่งนั้นๆ ย่อมเป็นอย่าง

นั้น เพราะฉะนั้น ชนเป็นอันมากย่อมยกว่า เป็นเจ้าลัทธิดี เจริญ. บทว่า

วาเทน วาท สมารทฺโธ ได้แก่ ยกความผิดขึ้นด้วยกถามรรค. บทว่า

อายสฺมา อสฺสชิ ได้แก่ พระอัสสชิเถระเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตรเถระ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 91

บทว่า ชงฺฆาวิหาร อนุจงฺกมมาโน ความว่า จงกรมอยู่จากพระตำหนักของ

เจ้าลิจฉวีนั้นๆ เพื่อไปยังพระตำหนักนั้นๆ. บทว่า เยนายสฺมา อสฺสชิ

เต ปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า เข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพื่อรู้ลัทธิ.

ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดินด้วยคิดว่า เรา

จักยกวาทะของพระสมณโคดม ไม่ยกขึ้นว่า เราไม่รู้ลัทธิของพระสมณ-

โคดม ก็ผู้ที่รู้ลัทธิของผู้อื่น ยกวาทะขึ้น เป็นอันถือว่ายกขึ้นดีแล้ว ส่วนพระ-

อัสสชิเถระนี้ปรากฏเป็นสาวกของพระสมณโคดม ท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิ

ของศาสดาของตน เราถามลัทธินั้นแล้ว ยังถ้อยคำให้ตั้งอยู่แล้ว จักยกวาทะ

ต่อพระสมณโคดมดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงเข้าไปหา. บทว่า วิเนติ ความว่า

สัจจกนิครนถ์ถามว่า สมณโคดม แนะนำอย่างไร ให้ศึกษาอย่างไร ดังนี้.

ก็เพราะเมื่อพระเถระกล่าวว่า เป็นทุกข์ย่อมเป็นโอกาสแห่ง

การโต้แย้ง ก็มรรคผลมาแล้วโดยปริยายว่า เป็นทุกข์เมื่อพระเถระกล่าว

ว่า ทุกข์ ดังนี้ สัจจกนิครนถ์นี้ พึงถามพระเถระว่า อัสสชิผู้เจริญ ท่านบวช

เพื่ออะไร จากนั้น พระเถระตอบว่า เพื่อมรรคผล พึงยกความผิดขึ้นว่า

อัสสชิ นี้ไม่ใช่คำสอนของท่านนั้น ความอาฆาตอย่างแรง ความแออัด

ในนรกนั้น ไม่มีเพื่อความสุขของท่าน ท่านจะมาลุกลี้ลุกลนเที่ยวทำทุกข์ให้

เสื่อมโทรม ฉะนั้น ไม่ควรทำปริยายกถาแก่ผู้เป็นนักโต้ตอบ คิดว่า เขาจะตั้ง

อยู่ไม่ได้ ฉันใด เราจักกล่าวกถาโดยตรงแก่เขาฉันนั้น จึงยกพระดำรัสนี้

ว่า รูป ภิกฺขเว อนิจฺจ เป็นต้น ด้วยอำนาจอนิจจัง อัน อนัตตา. บทว่า ทุ สฺสุต

คือไม่ควรฟัง.บทว่า สณฺาคาเร ได้แก่ ศาลาคืออาคารที่ประชุมสอนอรรถ

แก่ราชตระกูล. บทว่า เยน เต ลิจฺฉวี เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า สัจจก-

นิครนถ์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ยกวาทะต่อพระสมณโคดม เพราะ

ไม่รู้ลัทธิในกาลก่อน แต่เดี๋ยวนี้ เรารู้ลัทธิอันพระมหาสาวกของสมณโคดม

นั้นกล่าวแล้ว ก็แหละ ลิจฉวี ๕๐๐ เหล่านี้ เป็นศิษย์เรา มาประชุมกันแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 92

เราจักไปพร้อมกับลิจฉวีเหล่านั้น แล้วจึงยกวาทะขึ้นต่อพระสมณโคดม ดังนี้

เพราะฉะนั้น จึงเข้าไปหา. บทว่า าตตเรน ความว่า บรรดาพระปัญจ-

วัคคีย์เถระผู้มีชื่อเสียงเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่ง. บทว่า ปติฏฺิต ความว่า

พระอัสสชิเถระนั้นยังดำรงอยู่ ฉันใด สมณโคดมจักดำรงอยู่ฉันนั้น เมื่อเป็น

เช่นนั้น เขาจักกล่าวข้ออื่นอีก. บัดนี้ เมื่อจะหันหลังกลับ จึงทูลว่า เราจะทำ

อะไรก็ได้ ในที่นั้น. บทว่า อากฑฺเฒยฺย ได้แก่ พึงกระชากให้หันหน้ามา

หาตน. บทว่า ปริกฑฺเฒยฺย ความว่า พึงดึงมาให้หมอบอยู่ข้างหน้า. บท

ว่า สมฺปริกฑฺเยฺย ความว่าฉุดกระชากอยู่ไปมา. บทว่า โสณฺฑิธุตฺโต

แปลว่า นักเลงสุรา. บทว่า ถาล กณฺเณ คเหตฺวา ความว่า ผู้ใคร่จะล้างกะทะ

สำหรับกลั่นสุรา จับที่หูทั้ง ๒ แล้วสลัดกากทิ้ง. บทว่า โอธุเนยฺย ได้แก่

เทคว่ำหน้า. บทว่า นิทฺธเมยฺย ได้แก่ หงายหน้าขึ้น. บทว่า นิปโปเยฺย

ได้แก่ พึงกระแทกบ่อยๆ มนุษย์นำเอาเปลือกป่านมัดเป็นกำๆ แช่น้ำเพื่อทำ

ผ้าป่าน.ในบทว่า สาณโธวิก นาม นี้ในวันที่ ๓ เปลือกป่านเหล่านั้น เป็นของ

เปียกชุ่มดี. ต่อมาพวกมนุษย์นำเอาน้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้นไปที่

นั้น ถือเอากำป่านไปทุบบนแผ่นกระดาน ๓ หน ข้างขวา ข้างซ้ายหรือข้าง

หน้าคือบนแผ่นกระดานข้างขวาหนหนึ่ง ข้างซ้ายหนหนึ่ง ข้างหน้าหน

หนึ่ง กินพลางดื่มพลางเคี้ยวกินพลาง น้ำส้มข้าวต้มและสุราเป็นต้น ช่วยกัน

ล้างสุราเป็นต้น เป็นกีฬาใหญ่ ช้างของพระราชาเห็นกีฬานั้นแล้ว ลงน้ำลึก

เอางวงดูดน้ำแล้ว เล่นพ่นบนกระพองหนหนึ่ง บนหลังหนหนึ่ง ที่สีข้างทั้งสอง

หนหนึ่ง บนระหว่างหลังหนหนึ่ง เพราะอาศัยเหตุนั้น การเล่นกีฬานั้น เรียกชื่อ

ว่า เล่นซักป่าน สัจจกนิครนถ์หมายเอาการเล่นนั้น จึงกล่าวว่า เล่นกีฬาซัก

ป่าน.

ในบทว่า กึ โส ภวมาโน สจฺจโก นิคนฺถปุตฺโต โย ภควโต วาท

อาโรเปสฺสติ นี้ มีอธิบายว่า สัจจกนิคันถบุตรจักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 93

เจ้า สัจจกนิครนถ์นั้นเป็นอะไร เป็นยักษ์หรือเป็นพระอินทร์ หรือเป็นพระ

พรหมที่จักโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนมนุษย์ตามปกติไม่อาจเพื่อจะ

โต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ดังนี้. บทว่า เตน โข ปน สนเยน ความ

ว่า ในสมัยที่สัจจกะเข้าไปสู่อาราม. ถามว่า เข้าไปในสมัยไหน ? ตอบ

ว่า ในสมัยเที่ยงตรง. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ภิกษุทั้งหลายจึงจงกรมอยู่ในสมัย

นั้น. ตอบว่า เพื่อบรรเทาถีนมิทธะมีโภชนะอันประณีตเป็นปัจจัย. อีกอย่าง

หนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ประกอบความเพียรในเวลากลางวัน. เมื่อภิกษุผู้เช่น

นั้น จงกรมอาบน้ำภายหลังอาหาร ให้ร่างกายได้รับความสบายแล้ว นั่งบำ

เพ็ญสมณธรรม จิตก็มีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่ง. บทว่า เยน เต ภิกฺขู ความว่า

ได้ยินว่า สัจจกนิคันถบุตรนั้นคิดว่า พระสมณโคดมอยู่ที่ไหนจึงเที่ยวไปรอบ

คิดว่า จักถาม แล้วเข้าไป เมื่อมองดูเห็นพวกภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร จงกรมอยู่บนจงกรมใหญ่เหมือนช้างป่า จึงได้ไปยังสำนักของภิกษุ

เหล่านั้น. คำมีอาทิว่า เยน เต ภิกฺขู สัจจกนิคันถบุตรกล่าวหมายเอาภิกษุ

นั้น. บทว่า กห นุโข โภ ความว่า พระโคดมผู้เจริญนั้นอยู่ในอาวาสในถ้ำ

หรือมณฑปไหน. บทว่า เอส อคฺคิเวสฺสน ภควา ความว่า ได้ยินว่า ในกาล

นั้นในเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงแผ่

ข่ายคือพระสัพพัญญุตญาณไปในหมื่นจักรวาล เมื่อทรงตรวจดูสัตว์ที่ควร

แนะนำให้ตรัสรู้ ทรงเห็นว่า พรุ่งนี้ สัจจกนิคันถบุตรต้องการพาเอาเจ้า

ลิจฉวีบริษัทเป็นจำนวนมากจักมาโต้วาทะกับเราดังนี้. ฉะนั้น ทรงชำระพระ

วรกายแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี

เสด็จกลับจากบิณฑบาตทรงดำริว่า เราจักนั่งในที่สบาย เพื่อจะประทับนั่ง

ในบริษัท มีจำนวนมาก จึงไม่เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ประทับนั่งพักกลาง

วันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในป่ามหาวัน. ภิกษุเหล่านั้นมาแสดงวัตรแด่พระผู้

มีพระภาคเจ้า ถูกสัจจนิครนถ์ถาม เมื่อจะแสดงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 94

นั่งแล้วในที่ไกล จึงกล่าวว่า อัคคิเวสสนะ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.

บทว่า มหติยา ลิจฺฉวิปริสาย สทฺธึ มีอธิบายว่า เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐

แวดล้อมข้างล่าง. เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น เป็นลูกศิษย์ของสัจจกะนั้น. ส่วนสัจจกะ

ภายในกรุงเวสาลี พาเอาเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ฟังแล้วว่า ผู้ต้องการจะโต้

วาทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ โดยมาก พวกมนุษย์พากันออก

ไปด้วยคิดว่า เราจักฟังการสนทนาของบัณฑิต ๒ คน.บริษัทมีจำนวนมาก

อย่างนี้ กำหนดนับไม่ได้เลย. คำนั้น สัจจกะกล่าวแล้วหมายถึงบริษัท

นั้น. บทว่า อญฺชลี ปณาเมตฺวา ความว่า ชนเหล่านั้น เป็น ๒ ฝ่าย พวกเขา

คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเป็นมิจฉาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า ท่านไหว้พระสมณ-

โคดมทำไม พวกเราจักบอกแก่เขาเหล่านั้นว่า ไหว้อะไรกันเพียงประนมมือ

เท่านั้น ถ้าพวกเป็นสัมมาทิฏฐิจักท้วงเราว่า ทำไมท่านไม่ถวายบังคมพระผู้

มีพระภาคเจ้าเล่า พวกเราจักบอกว่าทำไมการถวายบังคมจะต้องเอาศีรษะ

จดพื้นเล่า เพียงอัญชลีกรรม ก็เป็นการถวายบังคมมิใช่หรือ. บทว่า นาม

โคตฺค ความว่า บางพวกทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อทัตตะ

ชื่อมิตตะ เป็นบุตรของตนโน้นมาในที่นี้แล้วชื่อว่า ประกาศชื่อ. บางพวกทูล

ว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่า วาสิฏฐะ ชื่อว่า กัจจายนะ มาในที่นี้

แล้ว ชื่อว่าประกาศโคตร. ได้ยินว่า ชนยากจนเหล่านั้นได้ประกาศกระทำ

อย่างนั้นด้วยคิดว่า เราเป็นผู้เป็นบุตรของตระกูลเก่าจักปรากฏ ชื่อและ

โคตร ในท่ามกลางบริษัท. ส่วนพวกเหล่าใด นั่งนิ่ง พวกเหล่านั้น เป็นคนป่า

เถื่อน และอันธพาล. บรรดาชนเหล่านั้น คนป่าเถื่อนคิดว่า คนผู้ทำการสนทนา

กันคำสองคำเป็นผู้คุ้นเคยกัน เมื่อความคุ้นเคยมีอยู่เช่นนั้น จะไม่ถวายภิกษา

หนึ่ง สองทัพพี ไม่ควร เพื่อจะให้ตนพ้นจากความคุ้นเคยนั้น จึงพากันนั่ง

นิ่ง. พวกอันธพาล เป็นผู้นั่งนิ่งในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพราะไม่รู้ เหมือนก้อนดิน

ที่ถูกซัดไปข้างล่าง. บทว่า กิญฺจิเทว เทส ความว่า โอกาสอย่างหนึ่ง เหตุ

อย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 95

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิครนถ์นั้นเกิดความอุตสาหะ

ในการถามปัญหา จึงตรัสว่า อัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหา

ใด ก็ถามเถิด. บทนั้น มีเพื่อความว่า หากท่านประสงค์จะถามก็ถาม ใน

การตอบปัญหาไม่เป็นภาระหนักสำหรับเรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านประสงค์สิ่ง

ใด ก็จงถาม เราจักตอบสิ่งนั้นทั้งหมดแก่ท่าน เพราะฉะนั้น พระสมณโคดม

ปวารณาแล้ว ปวารณาพระสัพพัญญุตญาณที่ไม่ทั่วไปกับพระปัจเจกพุทธ

อัครสาวกและพระมหาสาวก. ก็ท่านเหล่านั้น ไม่กล่าวว่า หากท่านประสงค์

จะกล่าวว่า พวกเราฟังแล้ว จักทราบดังนี้. ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อม

ปวารณา ปวารณาสัพพัญญุตญาณแก่ยักษ์ จอมคน เทพ สมณพราหมณ์

และปริพาชกเหล่านั้นๆ ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ หากท่านประสงค์ก็จงถาม

เถิด หรือว่า ดูก่อนมหาราช หากพระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จง

ถาม หรือว่า ดูก่อนท้าววาสวะ ท่านสนใจปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งจงถามเรา

เถิด เราจะตอบปัญหานั้น ๆ ให้ถึงที่สุดแก่ท่าน หรือว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่าง

นั้น เธอนั่งบนอาสนะของตนแล้วหากประสงค์ก็จงถามเถิด หรือ พวกเธอยังมี

ใจสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นความสงสัยของพราหมณ์พาวรี และของ

ท่าน หรือของปวงชน เราให้โอกาสแล้ว จงถามเถิด หรือว่า ดูก่อนสภิยะ

เธอยังสนใจ ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง จงถามเรา เราจะตอบปัญหานั้นๆ

ให้ถึงที่สุดแก่เธอ ข้อนั้น ไม่อัศจรรย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิ

อันใด ทรงปวารณาพุทธภูมินั้นอย่างนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในประเทศญาณในภูมิพระ

โพธิสัตว์ ผู้อันฤษีทั้งหลายอาราธนาแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะเป็นต้น

อย่างนี้ว่า.

โกณฑัญญะ เธอจงตอบปัญหาทั้งหลาย

พวกฤษีผู้มีความรู้ดี ย่อมขอร้องเธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 96

โกณฑัญญะ ธรรมในหมู่มนุษย์นี้

ย่อมถึงความเจริญ นั่นเป็นภาระ.

เที่ยวไปสามครั้ง ในเวลาเป็นสรภังคดาบส ในสัมภวชาดกและในชมพูทวีป

อย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้โอกาสแล้ว

จงถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งตั้งใจไว้ ก็เรารู้โลกนี้ โลกหน้าด้วยตนเอง

จักตอบปัญหาให้ถึงที่สุด แก่พวกท่านดังนี้.

ไม่เห็นผู้ทำที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลาย ถูกสุจิรกพราหมณ์ ถามปัญหาเมื่อ

โอกาสอันพระองค์กระทำแล้วมีพระชนม์ ๗ พรรษาโดยกำเนิด ทรงเล่น

ฝุ่นที่ถนน ทรงนั่งขัดสมาธิระหว่างวิถี ทรงปวารณา ปวารณาพระ

สัพพัญญุตญาณว่า

เชิญเถิด เราจักบอกปัญหาแก่ท่านประกาศที่เป็นผู้ฉลาด

อนึ่ง พระราชา ทรงทราบข้อนั้น

หากจักทรงกระทำ หรือไม่ทรงกระทำดังนี้.

เมื่อปวารณาพระสัพพัญญุตญาณอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปวารณาอย่างนี้ สัจจกนิครนถ์มีใจชื่นชม เมื่อจะทูลถามปัญหา จึงได้กล่าวคำ

เป็นต้นว่า กถ ปน โภ โคตม ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่สัจจกนิครนถ์นั้นว่า ผู้เจริญท่านเห็น

สาวกกล่าวคำอื่น พระศาสดาตรัสคำอื่น เรากล่าวแล้วมิใช่หรือว่า สาวกของ

พระสมณโคดมตั้งอยู่แล้วฉันใด พระสมณโคดมจักตั้งอยู่ฉันนั้น เราก็ยกวาทะ

อย่างนั้น เมื่อจะตรัสโดยกำหนดที่พระอัสสชิเถระกล่าวแล้วในหนหลัง

ว่า โอกาสแห่งคำของนิครนถ์จงอย่ามีอย่างนี้ว่า ก็นิครนถ์นี้ ย่อมกล่าวคำ

อื่น เราอาจจะทำอะไรก็ได้ในที่นั้นได้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอว โข อห

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 97

อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. บทว่า อุปมา ม โภ โคตม ปฏิภาติ สัจจกนิครนถ์กล่าว

ว่า พระโคดมผู้เจริญ อุปมาข้อหนึ่งย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ข้าพระองค์จะ

นำอุปมานั้นมา. บทว่า ปฏิภาตุ ต อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า อัคคิเวสนะ อุปมาจงปรากฏแก่เธอ คือว่า สัจจกนิครนถ์คุ้นเคย

แล้ว จงนำอุปมานั้นมา. บทว่า พลกรณียา ความว่า การงานมีกสิกรรมและ

พาณิชยกรรมต้องทำด้วยกำลังแขน. บทว่า รูปตฺตาย ปุริสปุคฺคโล ความว่า

ชื่อว่ารูปัตตาเพราะอรรถว่า เขามีรูปเป็นตน ท่านแสดงบุคคลผู้ถือว่ารูปเป็น

ตนตั้งอยู่. บทว่า รูเป ปติฏฺาย ความว่า ตั้งอยู่ในรูปที่ถือว่าเป็นตนในรูปนั้น.

บทว่า ปุญฺ วา อปุญฺ วา ปสวติ คือ ย่อมได้กุศลหรืออกุศล แม้บทมี

เวทนาเป็นตน เป็นต้นก็มีนัยนี้แล.

บทนี้ ท่านแสดงไว้อย่างไร ? ท่านนำอุปมาพร้อมทั้งเหตุที่น่าฟัง

ว่า ปัญจขันธ์เหล่านี้ เป็นที่อยู่อาศัยเหมือนแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของหมู่สัตว์

เหล่านี้ สัตว์เหล่านั้นตั้งอยู่ในปัญจขันธ์เหล่านี้ ย่อมรวบรวมเอากุศลกรรม

แลอกุศลกรรมไว้ ท่านเมื่อปฏิเสธตนซึ่งมีอยู่เห็นปานนี้แสดงอยู่ว่า ปัญจขันธ์

ไม่ใช่ตนดังนี้. ก็ข้อที่นิครนถ์นำมาเปรียบแน่นอนแล้ว ไม่มีคนอื่นจากพระ

สัพพัญญูพุทธเจ้าที่ชื่อว่า สามารถ ตัดถ้อยคำของนิครนถ์นั้นแล้วให้โทษใน

วาทะได้ จริงอยู่ บุคคลมี ๒ จำพวก คือ พุทธเวไนย ๑ สาวกเวไนย ๑.

ในสาวกเวไนยพระสาวกแนะนำบ้าง พระพุทธเจ้าทรงแนะนำบ้าง ส่วนใน

พุทธเวไนย พระสาวกไม่สามารถแนะนำ พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแนะนำ

ได้นิครนถ์ผู้นี้ เป็นผู้พุทธเวไนย เพราะฉะนั้น ไม่มีคนอื่นที่ชื่อว่า สามารถ

ตัดถ้อยคำของนิครนถ์นั้นแล้วให้โทษในวาทะได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงโทษในวาทะของสัจจกนิครนถ์นั้นด้วยพระองค์

เอง จึงตรัสว่า นนุ ตฺว อคฺคิเวสฺสน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 98

ลำดับนั้น นิครนถ์คิดว่า พระสมณโคดม ย่อมยืนยันวาทะของเรายิ่ง

นัก ถ้าโทษบางอย่างจักมีในเบื้องบน พระองค์จักข่มแต่เราผู้เดียว เอา

เถอะ เราจะซัดวาทะนี้ไปบนศีรษะมหาชน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระ

โคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากล่าวอยู่อย่างนี้ว่า รูปเป็นคนของเรา ฯ เปฯ วิญญาณ

เป็นคนของเรา ประชุมชนเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้น.

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีวาทะดีกว่านิครนถ์ด้วยคูณตั้ง

ร้อย ตั้งพัน ตั้งแสน เพราะฉะนั้น จึงทรงดำริว่า นิครนถ์นี้จะให้ตนพ้นจึงซัด

วาทะไปบนศีรษะมหาชน เราจักไม่ให้ตัวเขาพ้นไปได้ เราจักเปลื้องวาทะ

ออกจากมหาชนแล้ว ข่มแต่เขาคนเดียว ลำดับนั้น จึงตรัสกะนิครนถ์ว่า

กึ หิ เต อคฺคิเวสฺสน ดังนี้เป็นต้น. บทนั้นมีอธิบายว่า ประชุมชนนี้ ไม่มาโต้

วาทะกับเรา ท่านเท่านั้น วนเวียนไปทั่วกรุงเวสาลี มาโต้วาทะกับเรา เพราะ

ฉะนั้น ท่านจงประกาศวาทะของตนให้ทั่วกัน ท่านซัดอะไรไปบนศีรษะ

มหาชน. นิครนถ์นั้น เมื่อรับความจริง จึงกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นจริงดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยืนยันวาทะ

ของนิครนถ์ทรงปรารภคำถามว่า เตนหิ อคฺคิเวสฺสน ด้วยประการฉะนี้

แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า เหตุ

เพราะท่านย่อมเข้าใจปัญจขันธ์โดยความเป็นคน ฉะนั้น. บทว่า สกสฺมึ

วิชิเต คือในแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่า ฆาเตตาย วา ฆาเตตุ ได้แก่

เพื่อให้ฆ่าคนที่ควรฆ่า คือ ผู้สมควรถูกฆ่า. บทว่า ชาเปตาย วา ชาเปตุ ความ

ว่าเพื่อริบราชบาตรในที่ควรริบ คือ คนที่ควรถูกริบ ได้แก่ เพื่อให้เสื่อมทรัพย์.

บทว่า ปพฺพาเชตาย วา ปพฺพาเชตุ ความว่า เพื่อเนรเทศ คือนำคนที่ควรเนรเทศ

ออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์. บทว่า วตฺติตุญฺ จ อรหติ ท่านแสดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 99

ว่า ย่อมเป็นไป คือควรเพื่อเป็นไป นิครนถ์แสดงเหตุที่นำมาเพื่อทำลายวาทะ

ของตนเองให้พิเศษดุจผู้ทำอาวุธให้คมเพื่อฆ่าคน เหมือนคนพาล. บทว่า

เอว เม รูป โหตุ ความว่า ขอรูปของเราจงมีอย่างนี้ คือ มีรูปน่าเลื่อมใสมี

รูปสวย เห็นเข้าก็ชอบใจ เหมือนเสาระเนียดทอง ที่ประดับประดาแล้ว

ตกแต่งแล้ว และผ้าวิจิตรที่จัดแจงไว้อย่างดี.บทว่า เอว เม รูป มา อโหสิ

ความว่า ขอรูปของเรา จงอย่ามีอย่างนี้ คือผิวพรรณทราม ทรวดทรงไม่

ดี หนังเหี่ยว ผมหงอก ตัวตกกระ. บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า นิครนถ์

รู้ความที่ตนพลาดในวาทะนี้ จึงคิดว่า พระสมณโคดมนำเหตุมาเพื่อต้องการ

ทำลายวาทะของเรา เราแสดงเหตุนั้นพลาดไป เพราะโง่ ถ้าจะพูดว่า เป็น

ไปดังนี้ คราวนี้ เราฉิบหายแล้ว อัคคิเวสสนะท่านได้ลุกขึ้นกล่าวกับเจ้าเหล่านี้

ว่า อำนาจย่อมเป็นไปในรูปของเรา ถ้าอำนาจเป็นไปในรูปของท่าน เพราะ

เหตุไร ท่านจึงไม่รุ่งเรือง เหมือนเจ้าลิจฉวีเหล่านี้ มีรูปสวยน่าเลื่อมใส ย่อมรุ่ง

เรืองด้วยอัตตภาพ เช่นเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถ้าเราจะกล่าวว่าเป็นไปไม่

ได้ พระสมณโคดมเสด็จลุกขึ้นยกวาทะว่า อัคคิเวสสนะ ในกาลก่อนท่านกล่าว

ว่าอำนาจเป็นไปในรูปของเรา มาวันนี้ค้านเสียแล้ว เมื่อเขากล่าวว่าเป็นไปก็มี

โทษอย่างหนึ่ง กล่าวเป็นไปไม่ได้ ก็มีโทษอย่างหนึ่งด้วยประการฉะนี้

ก็นิ่งเสียดังแล.พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามครั้งที่สอง สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสีย

ถึงสองครั้ง. ก็เพราะศีรษะของผู้ไม่ตอบชี้แจง เมื่อปัญหาอันพระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสถามแล้วถึงสามครั้ง ย่อมแตกโดย ๗ เสี่ยง. ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย มีความเอ็นดูเป็นกำลัง ในหมู่สัตว์ เพราะบำเพ็ญพระบารมี

ตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัปป์เพื่อประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งนั้น ฉะนั้น

ตรัสถามจนถึงสองครั้งแล้ว จึงได้ตรัสคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้กะสัจจกนิครนถ์บุตรว่า วันนี้ท่านจงตอบ

ชี้แจงดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 100

ในบทนั้น บทว่า สหธมฺมิก คือมีเหตุ มีผล. ชื่อว่า วชิรปาณี เพราะ

อรรถว่ามีวชิระในฝ่ามือ บทว่า ยกฺโข ความว่า พึงทราบว่าผู้นั้นใช่ยักษ์เป็น

ท้าวสักกเทวราช. บทว่า อาทิตฺต คือมีสีเหมือนไฟ. บทว่า สมฺปชฺชลิต คือลุก

โพลงด้วยดี. บทว่า สโชติภูต คือ สว่างทั่ว อธิบายว่า เป็นเปลวไฟอย่างเดียว

กัน. บทว่า ิโต โหติ ความว่า ยักษ์ยืนนิรมิตรูปน่าเกลียดเห็นปานนี้

คือ ศีรษะใหญ่ เขี้ยวเช่นกับหัวปลี ตาและจมูกเป็นต้นน่ากลัว. ถามว่า

ก็เพราะเหตุอะไร ยักษ์นั้นจึงมา. ตอบว่า มาเพื่อให้นิครนถ์ตอบความ

เห็น, อีกอย่างหนึ่ง ท้าวสักกะกับท้าวมหาพรหมเสด็จมาแล้ว เมื่อพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงความขวนขวายน้อยในการแสดงธรรมอย่างนี้ว่า เราพึงแสดง

ธรรมคนเหล่าอื่นก็พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเราไม่ได้ ได้ทรงกระทำปฏิญญา

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมเถิด เมื่ออาณาจักร

ไม่เป็นไปแด่พระองค์ เป็นไปแก่ข้าพระองค์พวกข้าพระองค์จักให้เป็น

ไป ธรรมจักรจงเป็นของพระองค์ อาณาจักรเป็นของข้าพระองค์ดังนี้.

เพราะฉะนั้นเสด็จมาแล้วด้วยทรงดำริว่า ในวันนี้เราจักให้สัจจกนิครนถ์สะดุ้ง

กลัว แล้วให้ตอบปัญหาดังนี้. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากับสัจจกนิคันถบุตร

เท่านั้นเห็นอยู่ ความว่า ถ้าคนเหล่าอื่นพึงเห็นเหตุนั้น เหตุนั้นก็ไม่พึง

หนัก. ชนทั้งหลายพึงพูดว่า พระสมณโคดมทรงรู้แล้ว ซึ่งสัจจกนิครนถ์ไม่

หยั่งลงในวาทะของตน ทรงใช้ยักษ์ให้นำมาแสดง แต่นั้น สัจจกนิครนถ์

กราบทูลแล้ว เพราะกลัวดังนี้. เพราะฉะนั้นพระผู้มี พระภาคเจ้ากับสัจจก-

นิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่. เพราะเห็นยักษ์นั้นเหงื่อก็ไหลทั่วตัวของสัจจกนิครนถ์

นั้น ภายในท้องป่วนปั่นร้องดัง เขาคิดว่าคนเหล่าอื่นเห็นอยู่ เมื่อแลดูก็ไม่เห็น

ใครแม้ขนชัน แต่นั้นความกลัวนี้เกิดแก่เราเท่านั้น จึงคิดว่า ถ้าเราจักกล่าว

ว่า ยักษ์ พวกคนพึงพูดว่า มีตาของท่านนั้นหรือ ท่านเท่านั้นเห็นยักษ์ ท่านไม่

เห็นยักษ์ก่อนถูกพระสมณโคดมซัดไปในการสืบต่อแห่งวาทะ จึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 101

ยักษ์ สำคัญอยู่ว่า คราวนี้ในที่นี้ เราไม่มีที่พึ่งอื่น นอกจากพระสมณโคดม

ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตร ฯ เปฯ จึงได้กราบทูลคำนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า. บทว่า ตาณ คเวสี คือแสวงหาอยู่ว่าที่ต้านทาน. บทว่า เลณ คเวสี คือ

แสวงหาอยู่ว่าป้องกัน. บทว่า สรณ คเวสี คือ แสวงหาอยู่ว่าที่พึ่ง. ก็ในบท

นี้ ชื่อว่า ตาณา เพราะอรรถว่า ต้านทานคือรักษา.ชื่อว่า เลณะ เพราะอรรถ

ว่า เป็นที่เร้นลับแห่งชน. ชื่อว่า สรณะ เพราะอรรถว่า ระลึกได้ อธิบาย

ว่า ย่อมเบียดเบียน คือกำจัดความกลัว. บทว่า มนฺสิกริตฺวา ความว่า กระทำ

ไว้ในใจ คือ พิจารณา ใคร่ครวญ. บทว่า เอว เม เวทนา โหตุ คือ ขอเวทนา

จงเป็นกุศล เป็นสุข. บทว่า เอว เม สญฺ โหตุ คือ ขอสัญญาจงเป็น

กุศล เป็นสุข คือ จงประกอบด้วยโสมนัส. แม้ในสังขารและวิญญาณก็มีนัยนี้

แล. ส่วนในบทว่า มา อโหสิ นี้ พึงทราบโดยกล่าวตรงกันข้าม. บทว่า

กลฺล นุ แปลว่า สมควรหรือหนอ. บทว่า สมนุปสฺสิตุ ความว่า พิจารณา

เห็นด้วยตัณหามานะ ทิฏฐิ. อย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตต

ภาพของเรา. บทว่า โน เหต โภ โคตม ได้แก่ ข้อนั้นไม่ควรแก่พระสมณ-

โคดมผู้เจริญ.

หมองูผู้ฉลาดให้งูนั้นกัดแล้ว ถอนพิษที่ถูกงูกัด ฉันใด พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงให้สัจจกนิคันถบุตรกล่าวในบริษัทนั้น ด้วยปากนั้นเองว่า ขันธ์

๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ทุกฺข

อลฺลีโน ความว่า ติด คือ เข้าถึงทุกข์ในปัญจขันธ์นี้ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ.

บทว่า อชฺโฌสิโต ความว่า พึงทราบด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิเท่า

นั้น. ในบทเป็นต้นว่า ทุกฺข เอต มม มีอธิบายว่า ย่อมพิจารณาเห็นทุกข์ใน

ปัญจขันธ์ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า ปริชาเนยฺย ความว่า

พึงกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา บทว่า ปริกฺ

เขเปตฺวา ความว่า นำความสิ้น ความเสื่อม ไม่ให้เกิด. บทว่า นว แปล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 102

ว่า รุ่น. บทว่า อกุกฺกุฏชาต ความว่า ปลีปลีหนึ่ง ประมาณองคุลี ย่อม

เกิดในภายในเวลาผลิดอก - อธิบายว่า เว้นปลีนั้นเสีย. บทว่า ริตฺโต

คือ ว่างเปล่า คือ เว้นจากแก่ภายใน ชื่อว่า เปล่าเพราะว่างเปล่า. บทว่า

อปรทฺโธ คือ พ่ายแพ้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความที่สัจจกนิคันถ-

บุตรนั้นมีปากกล้า เมื่อจะทรงข่มจึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ภาสิตา โข

ปน เต ดังนี้. ได้ยินว่า เมื่อก่อนสัจจกนิครนถ์นั้นเข้าไปหาครูทั้ง ๖ มีปูรณะ

เป็นต้น ย่อมถามปัญหา. พวกครูเหล่านั้น ไม่สามารถจะตอบได้. ครั้งนั้น

เขายกวิปการใหญ่ในท่ามกลางบริษัทของครูเหล่านั้นแล้วลุกขึ้นไปประกาศ

ความชนะ เข้าไปด้วยความสำคัญว่า เราจักเบียดเบียนแม้พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าอย่างนั้น ประกาศว่า ยอดแผ่ไปด้วยการประหารครั้งเดียว ในต้นไม้ชื่อ

อะไร ที่ขาดใบ มีแต่หนาม สัจจกนิครนถบุตรนี้ จรดสาระคือสัพพัญญุต-

ญาณ บรรลุประเภทจะงอยคือพระญาณ จึงได้รู้ความที่พระสัพพัญญุต-

ญาณแข็ง เหมือนนกมีจะงอยอ่อนเคยเจาะไม้ที่ไม่มีแก่น เจาะไม้ตะเคียน

เข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศข้อนั้น ในท่ามกลางบริษัทของ

สัจจกนิครนถ์นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภาสิตา โข ปน เต ดังนี้. ในบท

ว่า นตถิ เอตรหิ นี้ไม่ควรกล่าวว่า ชื่อว่าเหงื่อในอุปาทินนกสังขารจะไม่

มี เขาจะกล่าวว่า ก็ในบัดนี้ ไม่มี. บทว่า สุวณฺณวณฺณ กาย วิวริ คือ พระผู้

มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเปิดพระกายทั้งหมด. ธรรมดาพระพุทธเจ้าสรวมรัง

ดุม ทรงปิดพระกายทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงจับ (กด) จีวรที่ตรงหน้าหลุมคอให้หย่อนลงเพียง ๔ องคุลีแล้วเมื่อ

จีวรนั้น หย่อนลงแล้ว รัศมีมีสีดังทองเป็นกลุ่ม ๆ ซ่านออก เหมือนรสธารา

ทองแดงไหลออกจากหม้อทอง และเหมือนสายฟ้าแลบออกจากวลาหกสี

แดง กระทำจีวรมหาขันธ์เช่นกับกลองทองให้เป็นประทักษิณ แล่นไปในอา

กาศแล้ว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงการทำอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103

นี้. ตอบว่า เพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชน. ก็มหาชนพึงสงสัยว่า

พระสมณโคดมตรัสว่า เหงื่อของเราไม่มี. เหงื่อของสัจจกนิคันถบุตรไหล

อยู่ตลอดเหมือนเหงื่อของคนขึ้นเครื่องยนต์ พระสมณโคดมประทับนั่งห่มผ้า

จีวรหนา ใครจะรู้ได้อย่างไร ว่าเหงื่อภายในจะมี หรือไม่มีดังนี้ จึงทรงกระ

ทำอย่างนั้นเพื่อบรรเทาความสงสัยของมหาชนนั้น. บทว่า มงฺกุภูโต คือ

หมดอำนาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ คือ คอตก. บทว่า อปฺปฏิภาโณ คือ ไม่พบ

สิ่งที่ยิ่งกว่า.บทว่า นิสีทิ คือนั่งเอานิ้วเท้าเขี่ยแผ่นดิน. บทว่า ทุมฺมุโข ความ

ว่า มีหน้าไม่น่าเกลียด จริงอยู่ บุตรลิจฉวีนั้น มีรูปสวย น่าเลื่อมใส ก็ชื่อของ

เขาอย่างนั้น. บทว่า อภพฺโพ ต โปกฺขรณึ ปุน โอตริตุ ท่านแสดงว่า ปูชื่อ

ว่า เดินไม่ได้ เพราะก้ามหักหมด ไม่อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นได้ จึงเป็น

เหยื่อของกาและเหยี่ยวเป็นต้นในที่นั้นเอง. บทว่า วิสูกายิกานิ คือ ทิฏฐิอันเป็น

เสี้ยนหนาม. บทว่า วิเสวิตานิ คือ ประพฤติด้วยทิฎฐิ. บทว่า วิปฺผนฺทิตานิ

คือ ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ. บทว่า ยทิท ในบทว่า ยทิท วาทาธิปฺปาโย นี้

เป็นเพียงนิบาต. ท่านแสดงว่า เป็นการชี้แจงวาทะ ไม่ควรเข้าไปเฝ้าตาม

อัธยาศัยว่า เราจักโต้วาทะ แต่ควรเข้าไปเฝ้าเพื่อฟังธรรม. ถามว่า บท

ว่า ทุมฺมุข ลิจฺฉวิปุตฺต เอตทโวจ สัจจกนิคันถบุตรได้กล่าวแล้ว เพราะเหตุไร

ตอบว่า ได้ยินว่า ในเวลาบุตรลิจฉวีชื่อทุมมุขุนั้น นำเอาอุปมามาแม้ลิจฉวี

กุมารที่เหลือ คิดแล้วว่า นิครนถ์นี้ทำความดูหมิ่นพวกเราในสถานที่เรียนศิลปะ

ของพวกเรามานาน บัดนี้ ถึงเวลาที่จะเห็นหลังศัตรู แม้เรานำอุปมาข้อหนึ่ง

มาคนละข้อ จักกระทำสัจจกนิครนถ์นั้น ผู้ตกไปด้วยปรบฝ่ามือ ดุจโบย

ด้วยค้อน โดยประการที่สัจจกนิครนถ์จักไม่สามารถยกศีรษะขึ้นในท่าม

กลางบริษัทได้อีก. ลิจฉวีเหล่านั้นทำอุปมาทั้งหลายแล้ว นั่งคอยทุมมุขพูด

จบ. สัจจกนิครนถ์รู้ความประสงค์ของลิจฉวีเหล่านั้น จึงคิดว่า ลิจฉวีเหล่านี้

ทั้งหมด ชูคอยืนปากสั่น หากพวกลิจฉวีจักได้นำอุปมามาแต่ละอย่าง เราจัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 104

ไม่สามารถเงยหัวขึ้นในท่ามกลางบริษัทอีก เอาเถิดเรารุกรานทุมมุขะ

แล้ว ตัดวาระแห่งถ้อยคำโดยประการที่ผู้อื่นไม่มีโอกาส จักทูลถามปัญหากะ

พระสมณโคดม เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวคำนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า อาค

เมหิ แปลว่า หยุดก่อน อธิบายว่า อย่าถือเอาอีก. บทว่า ติฏฺเตสา โภ โคตม

ความว่า พระโคดมผู้เจริญ วาจานี้ของข้าพระองค์ และของสมณพราหมณ์

เป็นอันมากเหล่าอื่น จงยกไว้ก่อน. บทว่า วิลาป วิลปิต มญฺา ความว่า

คำนี้นี้เป็นดุจพร่ำเพ้อ อธิบายว่า เป็นเพียงพูดพร่ำ. อีกอย่างหนึ่ง ควรนำบท

ว่า กถามากล่าวในบทนี้ว่า ติฏเตสา. ส่วนในบทว่า วาจาวิลาป วิลปิต

มญฺเ นี้ มีอธิบายว่า การเปล่งวาจานี้เห็นจะเป็นเพียงพูดพร่ำ

บัดนี้ สัจจกนิครนถบุตร เมื่อทูลถามปัญหา จึงกล่าวคำเป็นต้น

ว่า กิตฺตาวตา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺโต คือ บรรลุญาณ.

บทว่า อปรปฺปจฺจโย คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงตอบปัญหาแก่สัจจกนิคันถบุตรนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิธ อคฺคิ-

เวสฺสน ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ก็เพราะเสขภูมิ ทรงแสดงแล้วเพราะตรัสว่า ปสฺสติ ในบทนี้ ฉะ

นั้น เมื่อทูลเสขภูมิให้ยิ่งขึ้นไปจึงทูลถามปัญหาข้อที่สองแล้ว. พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงตอบชี้แจงปัญหาแม้นั้นแก่เขา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ทสฺสนานุตฺตริย ในบทเป็นต้นว่า ทสฺสนานุตฺตริย ได้แก่ ปัญญาที่

เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ บทว่า ปฏิปทานุตฺตริย ได้แก่ ข้อปฎิบัติที่เป็น

โลกิยะ และโลกุตตระ. บทว่า วิมุตฺตานุตฺตริย คือ โลกุตตร-

วิมุตติ. อีกอย่างหนึ่งบทว่า ทสฺสนานุตฺตริย คือ สัมมาทิฏฐิ. อันเป็น

อรหัตตมรรค เพราะมุ่งถึงโลกุตตรธรรมล้วน. บทว่า ปฏิปทานุตฺตริย คือ

องค์มรรคที่เหลือ. บทว่า วิมุติตานุตฺตริย คือ วิมุตตฺเป็นมรรคผล. การเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 105

นิพพานของพระขีณาสพชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. องค์มรรค ๘ เป็นปฏิปทา

นุตตริยะ. มรรคผล พึงทราบว่าเป็นวิมุตตานุตตริยะ. บทว่า พุทฺโธ โส

ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งสัจจะ ๔

ด้วยพระองค์เอง. บทว่า โพเธตาย ความว่า ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์แม้เหล่า

อื่น เพื่อให้ตรัสรู้สัจจะ ๔ บทว่า ทนฺโต ในบทเป็นต้นว่า ทนฺโต คือ หมด

พยศ. บทว่า ทมถาย คือ เพื่อต้องการหมดพยศ. บทว่า สนฺโต คือ ทรงสงบ

แล้ว ด้วยความเข้าไปสงบกิเลสทั้งปวง. บทว่า สมถาย คือ เพื่อความสงบ

กิเลส. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามโอฆะ ๔ บทว่า ตรณาย คือ เพื่อข้ามโอฆะ

๔. บทว่า ปรินิพฺพฺโต ความว่า ทรงดับสนิทแล้วด้วยความดับสนิทแห่ง

กิเลส บทว่า ปรินิพฺพานาย ความว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความดับสนิทแห่ง

กิเลส. บทว่า ธสี คือ เป็นคนกำจัดคุณ. บทว่า ปคพฺภา คือ ประกอบด้วยความ

คะนองวาจา. บทว่า อาสาเทตพฺพ คือ พึงเสียดสี. บทว่า อาสชฺชคือ กระ

ทบ. บทว่า น เตฺวว ภวนฺต โคตม ท่านแสดงว่า หมดกำลังเพื่อจะถือเอาวาทะ

ของตนไปกระทบต่อใครๆ ทั้งสิ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงทำอัน

ตรายชีวิตใครๆ เหมือนช้างเป็นต้น ก็หามิได้. แต่นิครนถ์นี้ นำอุปมาสามข้อ

เหล่านี้มาแล้ว เพื่อจะยกพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็หามิได้เลย นำมาเพื่อยกตน

เท่านั้น เหมือนอย่างว่า พระราชาทรงปราบปรามข้าศึกบางพวก ลงได้

แล้ว เมื่อจะทรงชมเชยข้าศึกว่า คนกล้าอย่างนี้ จักเป็นคนถึงพร้อมด้วยกำลัง

อย่างนี้. ก็ชมเชยตนอยู่นั้นเองฉันใด สัจจกนิคันถบุตรแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อจะ

ยกวาทะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเป็นต้นว่า สิยา หิ โข โภ โคตม ทตฺถิป

ภินฺน ย่อมยกตนเท่านั้นว่า - เราเป็นคนกล้า เราเป็นบัณฑิต เราเป็นพหูสูต

เป็นผู้ต้องการโต้วาทะเข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนช้างซับ

มัน เหมือนกองไฟลุกโพลงและเหมือนอสรพิษแผ่พังพานดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 106

ครั้นยกตนอย่างนี้แล้ว เมื่อจะนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูล

คำเป็นต้นว่า อธิวาเสตุ เม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธวาเสตุ คือขอพระ

องค์จงทรงรับเถิด. บทว่า สฺวาตนาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่บุญ และ

ปีติปราโมทย์ ซึ่งจักมีในวันพรุ่งนี้แก่ข้าพระองค์ผู้กระทำอยู่ซึ่งสักการะในพระ

องค์. บทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้า ไม่ทรงให้อวัยวะส่วนพระกายและพระวาจาให้หวั่นไหว ทรงยับยั้งอยู่ไว้

เฉพาะภายใน ทรงรับแล้วด้วยดุษณีภาพ. คือทรงรับด้วยพระทัยเพื่อทำ

การอนุเคราะห์แก่สัจจกนิคันถบุตรแล ดังนี้.

บทว่า ยมสฺส ปฏิรูป มญฺเยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีเหล่า

นั้นนำถาดสำรับ ๕๐๐ ไปให้แก่สัจจกนิคันถบุตรนั้นเป็นนิตยภัตร สัจจก-

นิคันถบุตรหมายเอาภัตรนั้นแล จึงกล่าวว่า วันพรุ่งนี้ พวกท่านควรสำคัญ

ว่า สิ่งที่สมควรจึงเป็นของควรถวายแต่พระสมณโคดม ควรนำของที่สมควร

นั้นมา พวกท่านเป็นคนปรนนิบัติ ย่อมเข้าใจถึงสิ่งที่ควร ไม่ควร เหมาะไม่

เหมาะสำหรับสมณโคดม. บทว่า ภตฺตาภิหาร อภิหรึสุ ความว่า นำภัตร

ที่ควรนำไป. บทว่า ปณีเตน คือสูงสุด. บทว่า สหตฺถา คือ ด้วยมือของตน.

บทว่า สนฺตปฺเปตฺวา ความว่า อิ่มดี คือ อังคาสให้อิ่มหนำสำราญบริบูรณ์

ตามความต้องการ. บทว่า สมฺปวาเรตุวา คือ ปวารณาดี คือ ห้ามด้วย

หัตถสัญญาว่า พอ พอ ดังนี้. บทว่า ภุตฺตาวิ คือ เสวย. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ

คือชักพระหัตถ์ออกจากบาตร อธิบายว่า คือนำพระหัตถ์ออกแล้ว.บาลี

ว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึ ดังนี้ก็มี. บทนั้นมีความว่า ชื่อว่า โอนิตฺตปตฺตปาณึ

เพราะอรรถว่า มีบาตรต่างนำออกแล้วจากพระหัตถ์ อธิบายว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้านั้นผู้มีบาตรอันนำออกแล้วจากพระหัตถ์ คือทรงชำระพระหัตถ์และ

บาตรทรงเก็บบาตรไว้ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วประทับนั่ง. บทว่า เอก-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 107

มนต นิสีทิ ความว่า สัจจกนิครนถ์ รู้แล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวย

อย่างนี้ จึงนั่งในโอกาสแห่งหนึ่ง บทว่า ปุญฺญฺจ คือ บุญในทานนี้ อธิบาย

ว่า เป็นวิบากขันธ์ต่อไป. บทว่า ปญฺมหี ความว่า เป็นบริวารเฉพาะวิบาก

ขันธ์. บทว่า ต ทายกาน สุขาย โหตุ ความว่าบุญนั้น จงมีเพื่อประโยชน์สุข

แก่ลิจฉวีเหล่านี้.

ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น เมื่อจะมอบทานนี้แก่เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงกล่าว

อย่างนี้ว่า เราเป็นบรรพชิต ไม่ควรให้ทานของตน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า เพราะบุญเจ้าลิจฉวีให้แก่สัจจกนิครนถ์ ไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ส่วนสัจจกนิครนถ์ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงเนื้อ

ความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ย โข อคฺคิเวสฺสน ดังนี้. พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงมอบทักษิณาที่เขาถวายแก่ตนแก่นิครนถ์เพื่อรักษาน้ำใจ ทักษิณา

นั้น ก็จักเป็นวาสนาในอนาคตด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาจูฬสัจจกสูตร ที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 108

๖.มหาสัจจกสูตร

สัจจกนิคันถบุตรทูลถามปัญหา

[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

(เรือนยอดกว้างใหญ่) ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี. ก็แล สมัยนั้น ตอนเช้าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตรและจีวร มีพระพุทธประสงค์จะเสด็จ

เข้าไปทรงบาตร ณ กรุงเวสาลี. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตร เมื่อเดินเที่ยว

ไปมาอยู่ ่ ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ถึงกูฏาคารศาลา. พระอานนท์ได้เห็นสัจจก

นิคันถบุตรกำลังมาแต่ไกลก่อน ครั้นเห็นแล้ว จึงได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้เป็นคนพอใจนั่งสนทนา

ด้วยลัทธินั้นๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้าปัญญา มหาชนสมมติว่า เป็นคน

มีความรู้ดี มาอยู่ ณ บัดนี้. พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้แล ใคร่จะ

ติเตียนพระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์, พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า โปรดประทับนั่งสักครู่ เพื่อทรงอนุเคราะห์ จะเป็นการดี พระผู้

มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูไว้. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถ

บุตร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า, ครั้นเข้าไปถึงแล้วได้บันเทิง,

ปราศรัยแต่ล้วนถ้อยคำที่น่าบันเทิง น่าระลึกกับด้วยพระผู้มีพระภาค

เจ้า นั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง

[๔๐๖] ครั้นสัจจกนิคันถบุตรนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่พระโคดมสมณพราหมณ์พวก

หนึ่งประกอบเพียรแต่กายภาวนาอยู่, แต่ไม่ประกอบจิตตภาวนา พระ

โคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาอันเกิดในสรีระ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 109

พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้ว เมื่อบุคคลที่ทุกขเวทนาเกิดในสรีระ. ถูกต้อง

แล้ว ชื่อว่าการเมื่อยขาบ้างก็จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้าง จักแตกไป, โลหิตที่ร้อน

บ้าง จักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระโคดม จิตนี้ย่อม

เนื่องด้วยกาย, เป็นไปด้วยอำนาจของกาย ของบุคคลนั้นแล. ข้อนั้น เพราะ

อะไร เพราะยังไม่ได้อบรม. มีอยู่ พระโคดม ส่วนว่า สมณะและพราหมณ์

พวกหนึ่ง ประกอบความเพียรทางจิตตภาวนาอยู่ แต่ไม่ประกอบกายภาวนา.

พระโคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาทาง

จิตและเจตสิก. พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้ว เมื่อบุคคล ที่ทุกขเวทนาเป็นไปใน

จิตถูกต้องแล้ว ชื่อว่า การเมื่อยขา จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้าง จักแตกไป,

โลหิตที่ร้อนบ้าง จักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระ

โคดม กายนี้เนื่องด้วยจิต เป็นไปด้วยอำนาจของจิตของบุคคลนั้นแล. ข้อ

นั้น เพราะเหตุอะไร เพราะกายยังไม่ได้อบรม. พระโคดม ความสำคัญ

ของข้าพเจ้านั้น มีอยู่อย่างนี้ว่า "เหล่าสาวกของพระโคดม คงจะประกอบ

เพียรแต่จิตตภาวนาอยู่ ไม่ประกอบกายภาวนา อย่างแน่นอน"

[๔๐๗] พ. ก็กายภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากะไร

ส. พระโคดม ก็ท่านผู้มีชื่อเหล่านี้ คือชื่อนันทะเป็นวัจฉโคตร ชื่อกีสะ

เป็นสังกิจจโคตร ชื่อมักขลิเกิดในโรงโค ๑, ล้วนถือเพศเปลือย ไร้มารยาท

เลียมือ, ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลร้องว่ามานี่เจ้าข้า...หยุดก่อนเจ้าข้า,

ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลตรงเข้ามาให้...ที่บุคคลเจาะจงให้..ที่บุคคลนิมนต์,

ท่านเหล่านั้น ไม่รับภัตตาหารแต่ปากหม้อ...แต่ก้นกะทะ...ที่ยืนคร่อม

ประตูให้...ที่ยืนคร่อมท่อนไม้ให้...ที่ยืนคร่อมสากให้...เมื่อชนทั้งสองกำลัง

บริโภคอยู่...ของหญิงมีครรภ์...ของแม่ลูกอ่อนกำลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่...ของ

หญิงไปสู่ชายชู้แล้ว, ไม่รับภัตตาหารทั้งหลายที่เรี่ยไร ไม่รับภัตตาหารในที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 110

สุนัข มีสุนัขปรากฏ...ในที่แมลงวันตอมเป็นหมู่ ไม่รับปลา...เนื้อ, ไม่ดื่ม

สุรา...เมรัย...น้ำเจือด้วยแกลบ (น้ำอุ) คือ ท่านเหล่านั้น รับเรือนเดียว บริโภคคำ

เดียวบ้าง, รับสองเรือน บริโภคสองคำบ้าง ฯลฯ รับเจ็ดเรือน บริโภคเจ็ดคำ

บ้าง. ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยถาดใบเดียวบ้าง, ด้วยถาดสองใบบ้าง, ฯลฯ

...เจ็ดใบบ้าง, นำอาหารมาวัน ๑ บ้าง, ...๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง,

ท่านประกอบความเพียรด้วยการบริโภคตามวาระ สิ้นกาลประมาณกึ่งเดือน

บ้าง อยู่ด้วยประการดังนี้.

พ. อัคคิเวสสนะ ก็ท่านเหล่านั้น ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการบริโภค

ภัตตาหาร เพียงเท่านั้นหรือ

ส. ข้อนี้ หามิได้เลย, พระโคดม บางคราว ท่านก็ขบฉันของควรขบ

ฉันที่ประณีตๆ ฉันโภชนะที่ประณีต ๆ ลิ้มของลิ้มที่ประณีต ๆ ดื่มน้ำควรดื่ม

ที่ประณีตๆ ท่านเหล่านั้น ชื่อว่ายังกายนี้ให้ถือเอากำลัง ชื่อว่า ให้เติบโต

ให้เกิดไขมัน.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านเหล่านั้น ละการทำสิ่งที่ยากมีในก่อนเสีย

แล้ว ทำให้อิ่มหนำสำราญในภายหลัง ความเจริญแลความเสื่อมย่อมมีแก่กาย

นี้อย่างนี้.

ว่าด้วยกายภาวนา และจิตตภาวนา

[๔๐๘] อัคคิเวสสนะ ก็จิตตภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากระไรเล่า

สัจจกนิคันถบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามในจิตตภาวนาแล้ว

ไม่สามารถจะกราบทูลได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธพจน์

นี้ กะสัจจกนิคันถบุตรว่า "อัคคิเวสสนะ ถึงกายภาวนาใด มีอยู่แต่ก่อน

ที่ท่านได้เจริญแล้ว แม้กายภาวนานั้น ไม่เป็นธรรม ในอริยวินัย อัคคิเวส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 111

สนะ แม้แต่กายภาวนา ท่านยังไม่รู้เสียแล้ว, ไหนท่านจะรู้ไปถึงจิตตภาวนาได้

เล่า. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ว่า อย่างไรจะไม่ใช่เป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วก็ดี

จะไม่ใช่เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วก็ดี, จะเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วก็ดี จะเป็นผู้มี

จิตอันเจริญแล้วก็ดี, ท่านจงฟังอย่างนั้น ทำไว้ในใจ ให้สำเร็จประโยชน์,

เราจักกล่าวให้ฟัง, สัจจกนิคันถบุตร ยอมรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อย่างนั้นแลพระองค์.

[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า อัคคิเวสสนะอย่าง

ไร จะเป็นผู้ชื่อว่าไม่ใช่ผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย จะไม่ใช่เป็นผู้ชื่อว่าผู้มีจิตอัน

เจริญแล้วด้วย อัคคิเวสสนะ เมื่อปุถุชน ณ โลกนี้ ไม่ใช่เป็นผู้สดับแล้ว

สุขเวทนา เกิดขึ้น, เขาเป็นผู้ถูกสุขเวทนาถูกต้อง ย่อมเป็นผู้มีความกำหนัด

ต่อสุขเวทนา แลถึงความเป็นผู้มีความกำหนัดต่อสุขเวทนาด้วย, สุขเวทนานั้น

ของเขาดับไป, เพราะสุขเวทนาดับไป, ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น, เขาเป็นผู้ถูก

ทุกขเวทนาถูกต้อง ย่อมเศร้าใจ ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญทุบอก ถึงความ

หลงใหลไป, สุขเวทนานั้น แม้เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ก็ครอบงำ จิตตั้งอยู่ เพราะ

ความที่ภายเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้, ทุกขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำ

จิต ตั้งอยู่ เพราะความที่จิตเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา

แม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะความที่กายเป็นของที่ตนไม่ได้

เจริญไว้, ทุกขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะความที่จิต

เป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้. อัคคิเวสสนะ อย่างนี้แลเป็นผู้ชื่อว่า ไม่ใช่เป็นผู้มี

กายอันเจริญแล้วด้วย ไม่ใช่เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.

อัคคิเวสสนะ ก็อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย ชื่อว่า

เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย อัคคิเวสสนะ เมื่ออริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว

ในธรรมวินัยนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น, เธอถูกสุขเวทนาถูกต้อง มิได้เป็นผู้มีความ

กำหนัดสุขเวทนา มิได้ถึงความเป็นผู้มีความกำหนัดสุขเวทนา สุขเวทนาของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 112

เธอนั้นดับไป, เพราะสุขเวทนาดับไป ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอถูกทุกขเวทนา

ถูกต้อง ไม่เศร้าใจ ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญทุบอก ไม่ถึงความ

หลงใหลไป. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนานั้น แม้เกิดขึ้นแล้ว แก่เธอ ก็ไม่ครอบงำ

จิตตั้งอยู่ได้เพราะความที่กายเป็นของที่เธอได้เจริญไว้, ทุกขเวทนา แม้เกิด

ขึ้นแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ เพราะความที่จิตเป็นของที่เธอได้เจริญ

ไว้. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้ว เป็นสองฝ่ายแก่ใครๆ อย่างนี้

ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ เพราะความที่กายเป็นของที่ตนได้เจริญไว้. ทุกข

เวทนาแม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ครอบงำตั้งอยู่ได้ เพราะความที่จิตเป็นของที่ตนได้

เจริญ. อัคคิเวสสนะ อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย ชื่อว่าเป็น

ผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.

ส. ข้าพเจ้าได้เลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้ว่า อันที่จริง พระ

โคดม ได้เป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.

ทรงชี้แจงเรื่องเวทนา

[๔๑๐] พ. อัคคิเวสสนะ วาจานี้ ท่านนำเข้ามาพูดกระทบอย่างแน่

แท้ ก็แต่ว่า เราจักพยากรณ์แก่ท่าน, อัคคิเวสสนะ เมื่อใดแล เราได้ปลงผม

แลหนวดครองกาสาวพัสตร์ออกจากเรือน บวช สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว

จักครอบงำจิตของเราตั้งอยู่หรือ หรือทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงำจิต

ของเราอยู่หนอ ดังนี้ นี่มิใช่ฐานะอันจะมีได้.

ส. สุขเวทนาเห็นปานใด ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงครอบงำจิตตั้งอยู่, สุขเวทนา

เห็นปานนั้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พระโคดมเลยเป็นแน่, ทุกขเวทนาเห็นปาน

ใด ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงครอบงำจิตตั้งอยู่, ทุกขเวทนา เห็นปานนั้น จะไม่บังเกิด

ขึ้นแก่พระโคดมเลยเป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 113

[๔๑๑] พ. อัคคิเวสสนะ ทำไมจะไม่พึงมีเล่า, อัคคิเวสสนะ ในโลก

นี้ ก่อนแต่ตรัสรู้เทียว เมื่อเรายังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียว ความ

ปริวิตกเรื่องนี้ได้มีแก่เราว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี

เครื่องหมองใจ ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสอันแจ้ง การที่ผู้อยู่ครองเรือน

ประพฤติพรหมจรรย์ ให้เต็มที่ส่วนเดียว บริสุทธิ์ส่วนเดียว ดังสังข์ที่ขัดแล้ว

นี้ จะทำได้มิใช่ง่าย. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมแลหนวด ครองผ้ากาสาวพัสตร์

ออกจากเรือน บวช อัคคิเวสสนะ โดยสมัยอื่น เรากำลังหนุ่ม เกสายังดำ

สนิท ยังบริบูรณ์พร้อมด้วยเยาว์ เครื่องเจริญชั้นปฐมวัยอยู่ทีเดียว เมื่อมารดา

บิดาไม่ประสงค์จะให้บวช พากันร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผม

แลหนวดครองผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชแล้ว เราบวชแล้ว แสวงอยู่

แต่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐที่ไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่า คือพระ

นิพพาน, ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร จึงได้กล่าวข้อประสงค์อัน

นี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตรว่า ท่านกาลามะ เราปรารถนาประพฤติ

พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย. อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว

อาฬารดาบส กาลามโคตร ได้กล่าวตอบเราว่า เชิญอยู่เถิดท่าน ถ้า

เป็นบุรุษผู้รู้แจ้งธรรมนี้เป็นเช่นท่าน ไม่ช้าเลย พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันยิ่งของตน เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวสสนะ เรา

นั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะ เรานั้น

แล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะ ด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่านั้น

อนึ่ง เราย่อมปฏิญญาได้ว่า เรารู้เราเห็น ดังนี้, ใช่แต่เราผู้เดียว ถึงพวก

อื่น ก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน. อัคคิเวสสนะ ปริวิตกได้มีแก่เรา

ว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาอย่างเดียว

ว่า เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเข้าถึงอยู่ อาฬารดาบส

กาลามโคตร คงรู้เห็นอยู่ แต่เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่ อัคคิเวสสนะ เราตก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 114

อยู่ ณ ระหว่างปริวิตกฉะนี้ จึงได้เข้าไปหา อาฬารดาบส กาลามโคตร,

จึงได้กล่าวคำนี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตรว่า ท่านกาลามะ ท่านได้รู้

แจ้ง จนถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้ เพียงเท่านี้ดอกหรือ

อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงได้บอก

ให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราอีกว่า "ศรัทธา จะได้มี

แต่ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ผู้เดียวหามิได้, ถึงศรัทธาของเราก็มี,

วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญา จะได้มีแต่ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ผู้

เดียวหามิได้, ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญา ของเราก็มีอยู่.

ถ้ากระไร เราต้องตั้งความเพียร เพื่อจะทำให้แจ้ง เรื่องธรรมที่อาฬาร

ดาบส กาลามโคตร ปฏิญญาว่า เราได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแล

อยู่ เสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เราครั้งนั้นก็ได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ได้เอง

แล้วแลอยู่ ฉับไวแท้ ไม่นานเลย อัคคิเวสสนะ ครั้นแล้วเราได้เข้าไปหา

อาฬารดาบส กาลามโคตร ได้กล่าวคำนี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตร

ว่า ท่านกาลามะ ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล บอกให้

รู้ทั่วถึงได้เพียงเท่านี้ดอกหรือ.

อา. เพียงเท่านี้แล เราได้รู้ แจ้ง เข้าไปถึงที่ ธรรมนี้เองแล้ว

แล บอกให้รู้ทั่วถึงได้. แม้เราก็ได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้ว

แล อยู่ได้เพียงเท่านี้เหมือนกัน.

พ. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านซึ่งเป็น

เพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน. เรารู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมใด

เองแล้วแล ประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้น

เองแล้วแลอยู่, เราก็รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศให้

รู้ทั่วไปอย่างนี้. เรารู้ธรรมใดนั้น ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 115

ธรรมนั้นอย่างนี้. เราเช่นใดท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น อย่าง

นี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปกครองคณะนี้ด้วยกัน. อัคคิเวสสนะ อาฬาร

ดาบส กาลามโคตร เมื่อเป็นอาจารย์เรา ตั้งเราเป็นศิษย์ให้เสมอกับ

ตน ยังให้บูชาเราด้วยการบูชาที่ยิ่ง ดังนี้. อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกต่อ

ไปว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ

ดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อเพียงอุปบัติ

แห่งอากิญจัญญายตนะ เท่านั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น

เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไปเสีย.

[๔๑๒] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสำนักอาฬารดาบสกาลาม

โคตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐ ไม่

มีสิ่งไรยิ่งกว่า ได้เข้าไปหา อุททกดาบสรามบุตร ได้กล่าวกะอุททกดาบส

รามบุตรว่า ท่านรามะ เราปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัย

นี้ด้วย อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส รามบุตร

จึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่านถ้าเป็นบุรุษรู้แจ้งในธรรมเช่นท่านไม่นาน

เลย คงรู้จริงแจ้งกะจิต เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวส

สนะ เรานั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะ

เรานั้นแล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่า

นั้น. อนึ่งเราปฏิญญาได้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ใช่แต่เราผู้เดียว ถึงพวกอื่น

ก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เรา

ว่า อุททกดาบส รามบุตร ไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาว่า เรา

รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่" อุทกกกดาบส รามบุตร คงรู้เห็นอยู่แต่

เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่. อัคคิเวสสนะ เราจึงได้เข้าไปหาอุททก

ดาบส รามบุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 116

ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้ เพียงเท่า

นี้ดอกหรือ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส ราม

บุตร จึงได้บอกถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรารู้ดัง

นั้น จงเกิดปริวิตกอีกว่า ศรัทธา จะได้มีแต่ของท่านรามะผู้เดียวก็หา

ไม่ ถึงศรัทธาของเราก็มี วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญาจะได้มีแต่ของท่าน

รามะผู้เดียว ก็หาไม่ ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญาของเราก็มี

อยู่ ถ้ากระไรเราต้องตั้งความเพียร เพื่อจะการทำให้แจ้ง เรื่องธรรมที่

ท่านรามะปฏิญญาว่า เรารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่" ดังนี้นั้น

เสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เรานั้นก็ได้รู้จริงแจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้ว

แล อยู่ฉับไวแท้ ไม่นานเลย. ครั้นแล้ว เราได้เข้าไปหาอุททกดาบส ราม

บุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ ท่านได้รู้จริงแจ้ง

กะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไปได้ เพียงเท่านี้ดอกหรือ".

อุ. เพียงเท่านี้นั้นแล เราได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้ว

แลประกาศให้รู้ทั่วไป แม้เราก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล

อยู่ ได้เพียงนี้เท่านั้นเหมือนกัน.

พ. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านผู้เป็น

เพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน รามะได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรม

ใดเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมใด

เองแล้วแลอยู่ รามะก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศ

ให้รู้ทั่วไป อย่างนี้. รามะได้รู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น อย่างนี้, ท่านได้รู้

ธรรมใด รามะก็ได้รู้ธรรมนั้น รามะได้เป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้น

ท่านเป็นเช่นใด รามะก็ได้เป็นเช่นนั้นดังนี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปก

ครองคณะนี้กันเถิด อัคคิเวสสนะ อุททกดาบส รามบุตร เมื่อเป็นพรหมจารี

ของเรา ได้ตั้งเราในฐานะเป็นอาจารย์ ยังให้บูชาเรา ด้วยการบูชาที่ยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 117

อย่างนี้. อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราต่อไปว่า ธรรมนี้ ย่อมไม่

เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงอุปบัติแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเท่า

นั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป

เสีย.

[๔๑๓] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสำนักอุททกดาบสราม

บุตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาส่วนที่เป็นสิ่งประเสริฐ

ที่ไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ในมคธชนบททั้งหลาย

ได้อยู่ที่อุรุเวลาประเทศเสนานิคม ได้เห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวเป็น

ทิว เป็นที่โปร่งใจ, แม่น้ำกำลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดี น่ารื่นรมย์

บ้านโคจรคามตั้งอยู่รอบ. อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราว่า

" ภูมิประเทศนี้ ราบรื่นจริงหนอ แนวป่าเขียวเป็นทิว เป็นที่โปร่งใจ

แม่น้ำกำลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดี เป็นที่รื่นรมย์ บ้านโคจรคามก็ตั้ง

อยู่รอบ. ที่อันนี้สมควรเพื่อจะเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ตั้งความ

เพียรได้" อัคคิเวสสนะ เราครั้งนั้น ได้หยุดพักอยู่ที่นั้น ด้วยคิดเห็นว่า

" ที่นี้พอแล้วเพื่อจะตั้งความเพียร

อุปมา ๓ ข้อ

[๔๑๔] อัคคิเวสสนะ ที่ตรงนี้มีเรื่องอุปมา ๓ ข้อ ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่

เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อนได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่ง

ว่า ไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดแช่น้ำไว้, ยังมีบุรุษหนึ่ง พึงมาเอาไปทำ

เป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้ไฟเกิด ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้

ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็นไฉน. บุรุษนั้นเมื่อถือเอา

ไม่สดชุ่มอยู่ด้วยยางที่บุคคลตัดแช่น้ำไว้โน้น ทำเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ จะพึงให้

เกิดไฟ ทำเตโชธาตุให้ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 118

ส. ไม่ได้เลยข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระ

โคดม เพราะว่า โน้นก็เป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง มิหนำแช่น้ำไว้อีก, บุรุษนั้นมิ

ใยสีไป ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกาย คับใจเท่านั้นเอง.

พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวก

หนึ่ง แต่เพียงกายก็ยังหลีกออกจากกาม (คือวัตถุที่น่ารักใคร่) ทั้งหลายไปไม่

ได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลาย อันมีกามเป็นที่ตั้ง ความพอใจใน

กาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความ

กระวนกระวายในกาม ส่วนใดของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ส่วน

นั้น ยังไม่ได้ละเสียด้วยดี ยังไม่ได้ระงับซ้ำเสียด้วยดี ณ ภายใน. ถึงหากว่า

ท่านสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวย ซึ่งทุกขเวทนา

ที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณ

ทัสสนะ คือ ปัญญาตรัสรู้อันยอดเยี่ยมขึ้นไปเลย ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี้เป็น

อุปมาข้อแรกที่ไม่น่าอัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะ

เราแล้ว.

[๔๑๕] อัคคิเวสสนะ ยังอุปมาอื่นอีกเป็นข้อที่สอง ไม่น่าอัศจรรย์ เรา

ไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือน

หนึ่ง ว่า ไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดไว้บนบกไกลน้ำ ยังมีบุรุษคน

หนึ่ง พึงเอาไปทำเป็นไม้สีไฟสีอยู่ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้เกิดไฟทำ

เตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็น

ไฉน บุรุษนั้น เมื่อถือเอาไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ที่บุคคลวางไว้บนบกไกลน้ำ

โน้น ทำเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ ยังจะให้ไฟเกิด ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.

ส. ไม่ได้เหมือนกัน ข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุ

อะไร พระโคดม เพราะว่า โน้นก็ยังเป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ต่างแต่ที่วาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 119

ไว้บนบกไกลน้ำก็จริง ถึงดังนั้น บุรุษนั้น ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกาย

คับใจ เท่านั้นเอง.

พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะและพราหมณ์ พวกใดพวก

หนึ่ง ได้หลีกออกเสียจากกามแต่เพียงกายอย่างเดียวแล้วแลอยู่, บรรดา

กิเลสทั้งหลายอันมีกามเป็นที่ตั้งคือ ความพอใจในกาม ความเยื่อใยใน

กาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายใน

กามส่วนใด ของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ยังหาละได้เสียด้วย

ดี ยังหาระงับได้เสียด้วย ณ ภายในไม่. ถึงหากว่าสมณะและพราหมณ์

เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิด

เพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณทัสสนะ คือปัญญาตรัสรู้

อย่างยอดเยี่ยมขึ้นได้ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่ ๒ ที่ไม่น่า

อัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.

[๔๑๖] อัคคิเวสสนะ ยังอุปมาอื่นอีก เป็นข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์

เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือน

หนึ่งว่า ไม้แห้งผาก บุคคลวางไว้บนบกแต่ไกลน้ำ ยังมีบุรุษคนหนึ่ง พึงไป

เอามาทำเป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจะสีให้ไฟเกิด ทำเตโชธาตุ

ให้ปรากฏ ดังนี้ ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความที่ว่านั้นเป็น

ไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งผาก ที่วางไว้บนบกไกลแต่น้ำโน้น ทำเป็นไม้สี

ไฟ สีอยู่ คงจะให้ไฟเกิด ทำไฟให้ปรากฏขึ้นได้มิใช่หรือ.

ส. อย่างนั้น พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระ

โคดม เพราะว่าโน้นก็เป็นไม้แห้งผาก ไม้นั้น ยังวางอยู่บนบกไกลแต่น้ำ

อีก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 120

พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็เหมือนสมณะและพราหมณ์ พวกใดพวก

หนึ่ง หลีกออกจากกามทั้งหลายส่วนกายได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลาย

ที่มีกามเป็นที่ตั้ง คือ ความพอใจในกาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นใน

กาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายในกามส่วนใด ของสมณะ

และพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ก็ละเสียด้วยดี ระงับซ้ำเสียเป็นอันดี

ณ ภายในแล้ว. ถ้าหากว่าสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้

เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี สมณะหรือ

พราหมณ์นั้น ก็ควรแท้จริงเพื่อญาณทัสสนะ คือปัญญาตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยม

ได้ อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่

กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.

[๔๑๗] อัคคิเวสสนะ เราะนั้นได้เกิดปริวิตกว่า ถ้ากระไร เราพึงขบ

ฟันไว้ด้วยฟัน, กดเพดานไว้ด้วยลิ้น, ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่นให้ร้อนจัดอยู่

อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากำลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับ

จิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ฉะนั้น เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. อัคคิเวสสนะ

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึงจับบุรุษอันถอยกำลังกว่า ที่ศีรษะหรือ

ที่คอ แล้วจับบีบไว้แน่นให้ร้อนจัด ฉันใด. อัคคิเวสสนะ เมื่อเราแล กำลังขบ

ฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัด

อยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ ฉันนั้นเหมือนกัน. อัคคิเวสสนะ. ก็แต่ความเพียรที่

เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงอยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้ สติที่เราได้ตั้งไว้แล้วจะได้

ฟั่นเฟือนไปหามิได้ ก็แต่กายที่เราได้เริ่มตั้งไว้แล้ว ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลัง

ความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทง (ครอบงำ) แล้ว เราก็มีสติอยู่.

อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตเรา

ตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ. เรานั้นได้มีปริวิตกว่า ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌาน

เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์ทีเดียว อัคคิเวสสนะ เราครั้นปริวิตกดังนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 121

แล้ว จึงได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูก คือหายใจออกและ

หายใจเข้า. อัคคิเวสสนะ ครั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่เรากลั้นทางปากและ

ทางจมูกแล้ว เสียงลมที่ออกตามช่องหูดังเหลือประมาณ เสียงลมในลำสูบแห่ง

นายช่างทองกำลังสูบไปมาอยู่ฉันใด อัคคิเวสสนะ ครั้นลมที่เรากลั้นทางปาก

และทางจมูกแล้ว เสียงลมที่ออกตามช่องหู ดังเหลือประมาณก็ฉันนั้น.อัคคิ-

เวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิ

ได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ ย่อม

ไม่สงบได้, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นนั่นแลเจาะแทงเราอยู่.

อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำ

จิตเราตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า "ถ้ากระ

ไร เราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล." อัคคิเวสสนะ

ครั้นเราปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทาง

จมูกและช่องหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ทางปากทาง

จมูกและช่องหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ ก็ไปดังในสมอง. อัคคิเวสสนะ

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาเหล็กแหลมอันคมทิ่มสมองฉันใด. อัคคิเวส

สนะ. เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางหู

แล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ ก็ดังในสมองฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความ

เพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะ

ได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลังความ

เพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึง

ปานนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๔๑๘] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เรา

พึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้น

เราปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทางจมูก

และทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทาง

จมูกและทางหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมี

กำลัง พึงรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่นฉันใด อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลม

อัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูกและทางหูแล้ว ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน.

ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่จะได้ย่อ

หย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้ แต่กายที่เราเริ่ม

ตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั่นแลเจาะแทงเรา

อยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิต

เราตั้งอยู่ได้.

[๔๑๙] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึง

เพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้นเรา

มีปริวิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทางปากทางจมูกและ

ทางหู. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ. ทั้งทางปากทางจมูก

ทางหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้อง. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือน

นายโคฆาฏ หรือลูกมือนายโคฆาฏ ที่เป็นคนฉลาด พึงเชือดพื้นอุทรด้วยมีด

สำหรับเชือดโคอันคม ฉันใด. อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ

ทางปากทางจมูกและทางหู ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้องฉัน

นั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อน

ไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

ไว้ ย่อมไม่สงบ เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัค

คิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่

ได้.

[๔๒๐] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เรา

พึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล. อัคคิเวสสนะ ครั้นเราปริ-

วิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทางจมูกและทางหู

อยู่ ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกาย. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมี

กำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษที่ถอยกำลังกว่าคนเดียวเข้าที่แขนข้างละ

คน ลนย่างรมไว้ที่หลุมอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิง ฉันใด.

[๔๒๑] อัคคิเวสสนะ เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทาง

จมูกและทางหู ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกายฉันนั้น. อัคคิเวส

สนะ ก็แต่ความเพียรที่เราเริ่มตั้งไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิ

ได้, สติที่เราได้ตั้งไว้จะฟั่นเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อม

ไม่สงบ, เมื่อกำลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวส

สนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงำจิตเราตั้งอยู่

ได้

[๔๒๒] อัคคิเวสสนะ ยังไม่ทันไรสิ เทวดาทั้งหลาย ได้เห็นเราแล้วพา

กันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะโคดมทำกาละเสียแล้ว เทวดาบางพวกกล่าว

อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่ได้ทำกาละก่อน, แต่จะทำกาละ. เทวดา

บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละแล้วหรือ กำลังทำกาละก็

ไม่ใช่ ด้วยว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ที่อยู่ก็อย่างนั้นเอง ดังนั้น

พระอรหันต์ย่อมมีวิหารธรรมเป็นอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 124

[๔๒๓] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึง

ปฏิบัติเสียด้วยประการทั้งปวงเถิด อัคคิเวสสนะ ครั้งนั้น เทพยดาทั้งหลาย

ได้เข้ามาใกล้เราแล้ว กล่าวคำท้วงว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติเพื่อ

ตัดอาหารเสียด้วยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านพึงปฏิบัติ เพื่อจะตัดอาหารเสีย

ด้วยประการทั้งปวงให้ได้ เราทั้งหลายจะแทรกโอชะ อันเป็นทิพย์ลงตามขุม

ขนทั้งหลายของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น. อัคคิเวส

สนะ เรานั้น ได้มีปริวิตกเรื่องนี้ว่า เราเองพึงปฏิญญาการบริโภคด้วยประ-

การทั้งปวงไว้เอง และเทวดาเหล่านี้ จะพึงแทรกโอชะลงตามขุมขนของ

เรา และเราจะพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น อันนั้นก็จะพึงเป็นเท็จแก่เรา

ไป อัคคิเวสสนะ เรานั้นแล ได้บอกห้ามเทวดาเหล่านั้นเสียว่า "อย่าเลย"

ดังนี้.

[๔๒๔] อัคคิเวสสนะ เรานั้นแลได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า กระนั้น

เราพึงบริโภคอาหารให้น้อยลงๆ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง

เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เยื่อถั่วดำบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง. อัคคิเวสสนะ ครั้นเราบริโภค

อาหารให้น้อยลงดังนั้น เท่าฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพู

บ้าง เยื่อถั่วดำบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง กายเราก็ถึงความเป็นขอดเป็นเกลียวยิ่ง

นัก. อังคาพยพน้อยใหญ่ ของเราย่อมเป็นประหนึ่งเถาวัลย์ที่มีข้อมาก ๘๐

ข้อ หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำฉะนั้น, เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่าง

เดียว, ก้นกบแห่งเราแฟบเข้า มีอาการสัณฐานเหมือนกีบเท้าอูฐฉะนั้น

ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. กระดูกสันหลังแห่งเราผุดขึ้น

ระกะ ราวกะเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนา ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.

เปรียบซี่โครงแห่งเรานูนเป็นร่อง ๆ ดังกลอนในศาลาเก่าชำรุดทรุดโทรม

ฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. เปรียบเหมือนดวงตาแห่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 125

เราปรากฏกลมลึกเข้าในกระบอกตา ดูประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำ

อันลึกฉะนั้น ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. หนังศีรษะบนศีรษะ

แห่งเราสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้งไป ประหนึ่งผลน้ำเต้าขม ที่บุคคลตัดมาแต่ยัง

สด ถูกลมและแดดก็เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่าง

เดียว. อัคคิเวสสนะ เราเอง คิดว่าจะคลำหนังท้อง ก็จับถึงกระดูกสันหลัง

ตลอดไป, เราคิดว่าจะคลำกระดูกสันหลัง ก็จับถึงหนังท้อง, อัคคิเวส

สนะ หนังท้องของเราเหี่ยวแห้ง จนติดกระดูกสันหลัง ก็เพราะโทษที่อาหาร

น้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ เรานั้นแลคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ

ก็ซวนเซล้มอยู่ที่นั้นเอง, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวส

สนะ เรานั้นแล เมื่อจะให้กายนี้ มีความสบายบ้าง จึงนวดไปตามตัว ด้วยฝ่า

มือ, อัคคิเวสสนะ เมื่อเรานวดไปตามตัวด้วยฝ่ามือนั้น ขนทั้งหลายที่มีราก

เน่าก็ร่วงตกจากกาย, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวส

สนะ ยังไม่ทันไร มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้ว จึงกล่าวว่า พระสมณโคดมดำ

ไป. มนุษย์บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์

บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม จะว่าดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็

ไม่ใช่ พระสมณโคดมมีพระฉวีพร้อยไปเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ผิวพรรณของ

เราบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพียงนั้นมาถูกกำจัดออกไปเสียแล้ว ก็เพราะโทษที่มี

อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.

[๔๒๕] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกว่า ในสมนะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เสวยทุกขเวทนาเจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่

เพียงนี้ ไม่ได้ยิ่งไปกว่านี้แล้ว. กาลในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง จักเสวยทุกขเวทนาเจ็บปวดกล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียง

นี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. ในกาลบัดนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 126

เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนา เจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียง

นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ก็แต่เรา ไม่ได้บรรลุญาณทัสสนะวิเศษ เพื่อเป็นอริยบุคคล

อุตตริมนุสธรรม ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ พึงมีทางอื่นเพื่อตรัสรู้.

อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกว่า ก็เรายังจำได้ว่า ในงานของพระบิดา เราได้

นั่งแล้ว ณ ร่มเงาต้นหว้าเป็นที่ร่มเย็น ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้ว

จากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจารปิติและสุข อันเกิดแต่

วิเวกอยู่ ทางนี้พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้. อัคคิเวสสนะ เรานั้น ได้มีความรู้สึกอัน

แล่นไป ตามสติว่า นี่แล หนทางแห่งการตรัสรู้. อัคคิเวสสนะ เรานั้น

ได้ปริวิตกว่า เราจะกลัวความสุข ซึ่งเป็นความสุขนอกจากกามทั้ง

หลาย นอกจากอกุศลธรรมแลหรือ. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกต่อ

ไปว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขซึ่งเป็นสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศล

ธรรมเช่นนั้นเลย.

[๔๒๖] อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้ปริวิตกเรื่องนี้อีกว่า การบรรลุถึง

ความสุขด้วยกายอันถึงความลำบาก กระทำได้มิใช่ง่าย, ถ้ากระไรเราพึง

กลืนกินอาหารที่หยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด. อัคคิเวสสนะ เราจึง

กลืนกินอาหารที่อาบัติ คือข้าวสุกและขนมสด. อัคคิเวสสนะ โดยสมัยนั้น

แล ภิกษุทั้งหลาย ๕ รูป เป็นผู้บำรุงอยู่ ด้วยตั้งใจว่า พระสมณโคดม จัก

บรรลุถึงธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. อัคคิเวสสนะ ตั้งแต่เรา

ได้กลืนกินอาหารหยาบ มีข้าวสุกและขนมสดแล้ว ภิกษุทั้ง ๕ รูปเหล่า

นั้น ก็พากันหน่ายเรา หลีกไปเสีย ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดม เป็นคนมัก

มาก คลายจากความเพียร เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากไปเสียแล้ว.

[๔๒๗] อัคคิเวสสนะ เรานั้นครั้นกลืนกินอาหารหยาบ พาให้มีกำลัง

ขึ้นแล้ว ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว ได้สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

หลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่.

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิต เข้า

ฌานที่สอง อันยังใจให้ผ่องใส ณ ภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร เพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ

เข้าฌานที่สาม เข้าฌานที่สี่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิต ตั้งอยู่ได้. เรานั้น เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส

ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ถึงความไม่

หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์ที่

อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน. เรานั้นได้ตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน

ได้หลายประการ. คือ ตามระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ

บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง ฯลฯ เราตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วใน

ภพก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทสด้วยประการ

ฉะนี้ ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชาที่หนึ่ง กำจัดอวิชชาเสียได้

วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ แสงสวางก็เกิดขึ้น สมกับเมื่อเป็นบุคคล

ผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อน มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ฉะนั้น

อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงำจิตเรา

ตั้งอยู่.

[๔๒๘] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตควรแก่การงานตั้งอยู่ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อม

ไปเพื่อญาณในจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นมีจักษุทิพย์ หมดจด

วิเศษล่วงจักษุของมนุษย์ แลเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลว

ทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะงาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัด

สัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงตามกรรมอย่างไรว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้หนอ ประ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 128

กอบด้วยกายทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริต

กล่าวติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอำนาจ

มิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกไป ได้เข้าถึงอบายในทุคคติ วินิบาต นรก

แล้ว ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วยวจี

สุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

สมาทานกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตก ตายไป ได้เข้า

ถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว เรามีจักษุทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงจักษุของ

มนุษย์แลเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลวทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะ

งาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัดสัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึง

ตามกรรมอย่างนี้. นี้เป็นวิชาที่ ๒ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชา

ที่ ๒ กำจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ แสงสว่าง

ก็เกิดขึ้น สมกับเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อนมีตนส่งไป

แล้วแลอยู่ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่.

[๔๒๙] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว

อย่างนั้นแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. เราได้รู้ชัดตาม

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาดำเนินถึง

ความดับทุกข์ ได้รู้ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะทั้งหลาย นี้เหตุให้อาสวะทั้ง

หลายเกิดขึ้น นี้ความดับอาสวะทั้งหลาย นี้ปฏิปทาดำเนินถึงความดับอาสวะ

ทั้งหลาย. เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จาก

กามาสวะ แม้จากภวาสวะ ทั้งจากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณหยั่งรู้

ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจอื่นอีก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 129

เพื่อความเป็นเช่นนี้ไม่มี ดังนี้. อัคคิเวสสนะ วิชาที่สาม เราได้บรรลุใน

ยามที่สุดแห่งราตรี กำจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมือเสีย

ได้ แสงสว่างก็เกิดขึ้น สมกับที่เป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้.

[๔๓๐] อัคคิเวสสนะ เราแลเป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยยังจำ

ได้คนหนึ่งๆ ย่อมสำคัญเราอย่างนี้โดยแท้ว่า พระสมณโคดม ปรารภเราที

เดียวแสดงธรรม ดังนี้. อัคคิเวสสนะ ข้อนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนี้ ตถาคตย่อม

แสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ด้วยอาการอันชอบแท้ ในที่สุดเพียง

เพื่อให้รู้แจ้งเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ในที่สุดคาถานั้นๆ เรานั้นยังจิตอันเป็นภาย

ในอย่างเดียว ให้ตั้งพร้อมอยู่ ในสงบ ให้ตั้งมั่น ทำสมาธิเป็นธรรมมีอารมณ์

เป็นอันเดียวผุดขึ้นในสมาธินิมิต ที่เราอยู่ตลอดกัปเป็นนิจ

ส. นี่คำของพระโคดม ควรเชื่อได้ สมเป็นคำของพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้านั้น. พระโคดมทรงจำได้อยู่หรือ เรื่องทรงบรรทมหลับกลาง

วัน.

พ. เราจำได้อยู่ อัคคิเวสสนะ เมื่อเดือนท้ายฤดูคิมหะ เรากลับจาก

บิณฑบาตแล้ว ภายหลังภัตรให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น ลงแล้ว มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ หยั่งลงสู่ความหลับ โดยข้างขวา.

ส. พระโคดม สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ก็ติเตียนข้อนั้นได้ในเพราะ

อยู่ด้วยความลุ่มหลง.

พ. อัคคิเวสสนะ บุคคลจะเป็นผู้หลงหรือไม่เป็นผู้หลง ด้วยอาการเพียง

เท่านั้นก็หาไม่. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ว่าบุคคลจะเป็นผู้หลง หรือไม่เป็นผู้

หลง ด้วยอาการใด ท่านจงฟังอาการนั้น ทำไว้ในใจให้ดีเถิด. เรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 130

จักกล่าว สัจจกนิคันถบุตร ได้รับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น

พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว.

ตรัสความเป็นผู้หลงและไม่หลง

[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า "อัคคิเวส-

สนะ ก็บุคคลเป็นคนหลงนั้นอย่างไร อัคคิเวสสนะ อาสวะ เหล่าใดอันระคน

ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย

มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อันใครๆ ยังละเสียไม่ได้

แล้ว เรากล่าวว่าผู้นั้นเป็นคนหลง อัคคิเวสสนะ ด้วยว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นคน

หลง ก็เพราะยังละอาสวะทั้งหลายเสียไม่ได้. อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใด

อันระคนด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรน

ทุราย มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปอันใครๆ ละเสียได้

แล้ว เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่หลง อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใดอันระคน

ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย

มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทำใหม่

มูลรากอันขาด ทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจของตาล ทำไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อ

ไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดอันขาดเสีย

แล้ว ไม่ควรเพื่อจะงอกขึ้นได้อีกฉันใด อัคคิเวสสนะ อาสวะเหล่าใด อันระคน

ด้วยความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย มีทุกข์

เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะ ต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทำให้มีมูลราก

อันขาด ทำไม่ให้มีที่ตั้งอยู่ได้ดุจของตาล ทำไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป

เป็นธรรมดา เหมือนกันฉะนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 131

สัจจนิคันถบุตรสรรเสริญ

[๔๓๒ ] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิคันถบุตร

ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม น่าอัศจรรย์ เรื่องนี้ไม่เคยมี

พระโคดม. เมื่อพระโคดมถูกว่ากระทบอยู่ ถูกรุมด้วยถ้อยคำที่บุคคลนำเข้า

ไปกล่าว (ว่าเปรียบ) อยู่ ถึงเพียงนี้ ผิวพรรณคงผุดผ่อง สีพระพักตร์ก็ยังสด

ใสอยู่นั่นเอง สมกับเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระโคดม ข้าพระองค์

ยังจำได้อยู่ เรื่องปรารภถ้อยคำด้วยถ้อยคำกับครู แม้ครูปูรณกัสสปะ

นั้น ถูกข้าพระองค์ปรารภถ้อยคำด้วยถ้อยคำเข้าแล้ว ได้โต้ตอบคำอื่นด้วยคำ

อื่น นำถ้อยคำหลีกออกภายนอกเสีย ได้ทำความโกรธด้วยความประทุษร้าย

ด้วยความแค้นด้วยให้ปรากฏ. ส่วนเมื่อพระโคดม ถูกว่ากระทบๆ อยู่ ถูกรุม

ด้วยถ้อยคำที่บุคคลนำเข้าไปกล่าวอยู่ อย่างนี้ ผิวพรรณยังผุดผ่อง สีพระ

พักตร์ก็ยังสดใสอยู่นั่นเอง สมกับเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระ

โคดม ข้าพระองค์ยังจำได้อยู่ เรื่องปรารภถ้อยคำด้วยถ้อยคำกับมักขลิโคสาล

...อชติเกสกัมพละ...ปกุธะกัจจายนะ...สัญชยเวลัฏฐบุตร...นิคันถ-

นาฏบุตร...พระโคดม ข้าพระองค์จะขอทูลลาไปเดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์มีกิจ

มาก มีธุระมาก.

พ. อัคคิเวสสนะ ท่านสำคัญกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.

ลำดับนั้น สัจจกนิคันถบุตร เพลิดเพลินอนุโมทนาพระพุทธภาษิต

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วหลีกไป.

จบมหาสัจจกสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 132

อรรถกถามหาสัจจกสูตร

มหาสัจจกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย ๓ บทว่า เอก สมย ๑ เตน โข ปน สมเยน ๑

ปุพฺพณฺหสมย ๑ ท่านกล่าวเป็นสมัยหนึ่ง. ก็เวลาพวกภิกษุทำการปฏิบัติ

ตน ล้างหน้า ถือบาตรและจีวรไหว้พระเจดีย์แล้ว ยืนอยู่ในโรงวิตกว่าเรา

จักเข้าไปบ้านไหน. สมัยเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงผ้าแดง ๒

ชั้น รัดประคต ทรงจีวรบังสุกุล เฉวียงบ่า เสด็จจากพระคันธกุฏี อันหมู่ภิกษุ

ห้อมล้อม ประทับยืนที่มุขพระคันธกุฏี. สัจจกนิคันถบุตร หมายเอาข้อนั้น

แล้ว จึงกล่าวว่า เอก สมย เตน โข ปน สมเยน ปุพฺพณฺหสนย ดังนี้. บท

ว่า ปวิสิตุกาโม ได้แก่ ตกลงพระทัยอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปบิณฑบาต.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ถามว่า สัจจกนิคันถบุตรเข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบ

ว่า โดยอัธยาศัยเพื่อโต้วาทะ ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้

ว่า คราวก่อนเราเพราะไม่ได้เป็นบัณฑิตจึงพาเอาเวสาลีบริษัททั้งสิ้น ไปยัง

สำนักของพระสมณโคดม จึงเป็นผู้เก้อในท่ามกลางบริษัท แต่คราวนี้ เราไม่

ทำอย่างนั้น ไปผู้เดียว จักโต้วาทะ ถ้าเราจักสามารถให้พระสมณโคดมแพ้

ได้ จักแสดงลัทธิของตนแล้ว กระทำการชนะ ถ้าพระสมณโคดมจักชนะ

ใครๆ จักไม่รู้ เหมือนฟ้อนรำในที่มืด จึงถือเอาปัญหาคนเปลือยเข้าไปหาโดย

อัธยาศัยแห่งวาทะนี้.

บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ความว่า อาศัยความกรุณาแก่สัจจกนิคันถ

บุตร. ได้ยินว่า พระเถระได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประ-

ทับนั่งพักสักครู่ เขาจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้าและจักได้การฟังธรรม การ

เฝ้าพระพุทธเจ้าและการฟังธรรมจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 133

เขาตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น พระเถระทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว พับจีวรบังสุกุลเป็น ๔ ชั้น ปูลาด จึงได้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้าจงประทับนั่งเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดว่า อานนท์กล่าว

เหตุ จึงประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย. บทว่า ภควนฺต เอตทโวจ ความ

ว่า นิครนถ์ ห่อปัญหาอันเป็นสาระ ถือเอามาวางเลี่ยงไปข้างๆ. กราบทูลคำ

เป็นต้นนั้นว่า โภ โคตม. บทว่า ผุสนฺติ หิ โภ โคตม ความว่า สมณพราหมณ์

เหล่านั้น ย่อมถูกต้อง คือย่อมได้ คือประสบทุกขเวทนา อันเกิดในสรีระ

กาย.บทว่า อุรุกฺขมฺโภ ความว่า ความขัดขา อธิบายว่า ขาแข็งที่ทื่อ ในที่นี้

ด้วยอรรถว่า ทำให้งงงวย จึงทำเป็นคำอนาคตว่า ภวิสฺสติ.บทว่า กายนฺวย

โหติ คือ จิตไปตามกาย คือเป็นไปตามอำนาจกาย. ส่วน วิปัสสนา

เรียกว่า กายภาวนา คนถึงความฟุ้งซ่านทั้งกายและจิต ย่อมไม่มี นิครนถ์

กล่าวถึงที่ไม่มี ไม่เป็นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ สมถะเรียกว่า จิตภาวนา

ดังนี้ก็มี ความว่า ความขัดขาเป็นต้นของบุคคลที่ประกอบด้วยสมาธิย่อม

ไม่มี นิครนถ์ กล่าวเฉพาะสิ่งที่ไม่เป็นนี้ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในอรรถกถา

ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลกล่าวว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังกล่าวคำเป็นต้น

ว่า ชื่อ ความขัดขาก็จักมี ซึ่งเป็นคำอนาคต ไม่ถูกฉันใด ความหมายก็ไม่ถูก

ฉันนั้น นิครนถ์กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็น. บทว่า โน กายภาวน เขากล่าว

หมายเอาการปฏิบัติตนให้ลำบากมีการทำความเพียร ๕ ประการเป็น

ต้น. นี้ชื่อกายภาวนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ถามว่า ก็นิครนถ์นั้น

เห็นอะไร จึงได้กล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น มายังที่

พักตอนกลางวัน ก็แลสมัยนั้น พวกภิกษุเก็บบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปเพื่อ

หลีกเร้นในที่พักกลางคืนและกลางวันของตนๆ เขาเห็นพวกภิกษุเหล่านั้นหลีก

เร้น สำคัญว่า พวกภิกษุเหล่านั้น หมั่นประกอบเพียงจิตตภาวนา แต่กายภาวนา

ไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 134

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย้อนถามนิครนถ์นั้น จึง

ตรัสถามว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ กายภาวนาท่านฟังมาแล้วอย่างไร. นิครนถ์

นั้น เมื่อจะกล่าวกายภาวนานั้นให้พิสดาร จึงทูลคำเป็นต้นว่า คือท่านนันทะ

ผู้วัจฉโคตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺโท เป็นชื่อของเขา บทว่า วจฺโฉ

เป็นโคตร. บทว่า กีโส เป็นชื่อ บทว่า สุกิจฺโจ เป็นโคตร. ท่านมักขลิโค

สาลมาในหนหลังแล้วแล. บทว่า เอเต ได้แก่ ชน ๓ คนเหล่านั้น ได้ยิน

ว่า ชนเหล่านั้นได้บรรลุที่สุดแห่งตบะอันเศร้าหมอง บทว่า อุฬารานิ คือ

โภชนะอันประณีตๆ. บทว่า คาเหนฺติ นาม ชื่อว่า ย่อมให้ร่างกายได้กำ

ลัง. บทว่า พฺรูเหนฺติ คือให้เจริญ. บทว่า เมเทนฺติ คือทำให้เกิดมันข้น. บท

ว่า ปุริม ปหาย ได้แก่ เลิกการทำความลำบากอย่างก่อน. บทว่า ปุจฺฉา

อุปจินนฺติ ความว่า ให้อิ่มหนำคือให้เจริญด้วยของควรเคี้ยวอันประณีตเป็น

ต้น. บทว่า อาจยาปจโย โหติ คือ ความเจริญ และความเสื่อมย่อมปรากฏ

เพียงแต่ความเจริญและความเสื่อม กายนี้ก็มีความเจริญตามกาล ความเสื่อม

ตามกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า กายภาวนา ไม่ปรากฏ

ตรัสถามจิตตภาวนา ตรัสถามว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ จิตตภาวนา ท่านฟังมา

แล้วอย่างไร. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่า ไม่อาจทูลให้สมบูรณ์ได้ เหมือน

พาลปุถุชน. บทว่า กุโต ปน ตฺว ความว่า ท่านผู้ใดไม่รู้ความเจริญของร่าง

กาย ที่อ่อนกำลัง เป็นส่วนหยาบอย่างนี้ ท่านผู้นั้น จักรู้จิตตภาวนาอัน

ละเอียดสุขุมได้แต่ที่ไหนเล่า. ส่วนในที่นี้ พระโจทนาลยเถระคิดว่า บทนั้น

ชื่อพระพุทธพจน์ก็หามิได้ วางพัดวีชนีหลีกไป. ย่อมาพระมหาสิวเถระอ้าง

พระพุทธพจน์นั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญบ้าง ความเสื่อม

บ้าง ปฏิสนธิบ้าง จุติบ้าง ของกายอันเป็นมหาภูต ๔ นี้ จักปรากฏ พระเถระ

ฟังคำนั้นแล้ว กำหนดว่า ควรกล่าวว่า เมื่อกำหนดกายเป็นส่วนหยาบ

วิปัสสนาที่เกิดก็เป็นส่วนหยาบดังนี้. บทว่า สุขสาราคี คือ ผู้ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 135

ความยินดีด้วยความสุข บทว่า สุขาย เวทนาย นิโรธา อุปฺปชฺชติ ทุกฺขา

เวทนา คือ ย่อมเกิดในลำดับ สำเร็จแล้วในคัมภีร์ปัฏฐาน เพราะทุกขเวทนา

นั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่สุขและทุกข์ แต่เพราะเมื่อสุขเวทนายังไม่ดับ ทุกข

เวทนาก็ไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺติ ความว่า

ให้เวทนาสิ้นไป ยึดถือไว้. บทว่า อุภโต ปกฺข ความว่า เป็น ๒ ฝ่ายอย่างนี้คือ

สุขฝ่ายหนึ่ง ทุกข์ฝ่ายหนึ่ง. วินิจฉัยในบทนี้ว่า อุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิตฺตสฺส

ดังต่อไปนี้ กายภาวนา เป็นวิปัสสนา จิตตภาวนาเป็นสมาธิ ส่วนวิปัสสนา

เป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์ สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ใกล้ต่อสุข. อย่าง

ไร จริงอยู่ เมื่อพระโยคาวจรนั่งเริ่มวิปัสสนา เมื่อระยะกาลผ่านไปนาน

จิตของท่านย่อมเดือดร้อน ดิ้นรน ย่อมปรากฏเหมือนไฟที่ลุกโพลงในที่

นั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ เหมือนเกลียวความร้อนตั้งขึ้นแต่ศีรษะ ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ วิปัสสนาเป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์. ก็เมื่อทุกข์ทางกายหรือ

ทางจิตเกิดแล้ว ทุกข์ในขณะสมาบัติของท่านผู้ข่มทุกข์นั้นเข้าสมาบัติ ย่อม

ปราศจากทุกข์ หยั่งลงสู่สุขไม่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ สมาธิ จึงเป็นข้าศึกต่อทุกข์

ใกล้ต่อสุข. วิปัสสนา เป็นข้าศึกต่อสุข ใกล้ต่อทุกข์ ฉันใด สมาธิหาเป็นฉัน

นั้นไม่. สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ ใกล้ต่อสุขฉันใด ส่วนวิปัสสนาหาเป็นฉันนั้น

ไม่. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิาตฺตสฺส. บทว่า

อาสชฺช อุปนีย ได้แก่ เกี่ยวข้องและนำเข้าไปสู่คุณ. บทว่า ต วต เม ได้

แก่ จิตของเรานั้นหนอ. บทว่า กิญฺหิ โน สิยา อคฺคิเวสฺสน ความว่า ดูก่อนอัคคิ

เวสสนะ อะไรจักไม่มี อะไรจักมี ท่านอย่าสำคัญอย่างนี้ สุขเวทนาก็ดี

ทุกขเวทนาก็ดี ย่อมเกิดแก่เรา แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะไม่ให้ครอบงำ

จิต.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีประสงค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนา

เป็นที่มาแห่งความเลื่อมใสอย่างสูง เพื่อประกาศเนื้อความนั้น แก่นิครนถ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 136

นั้น จึงทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งแต่ต้นในบทว่า อิธ ฯเปฯ ปธานาย

นั้น นี้ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตรหนหลัง.

ส่วนความต่างกันดังนี้คือ การนั่งบนโพธิบัลลังก์นั้นเป็นการกระทำที่ทำได้

ยากในข้อนี้. บทว่า อลฺลกฏ คือไม้มะเดื่อสด. บทว่า สเสฺนห คือมียาง

เหมือนน้ำนม. บทว่า กาเมหิ คือจากวัตถุกาม. บทว่า อวูปกฏฺา คือไม่

หลีกออก. กิเลสกาม ในบทเป็นต้นว่า กามฉนฺโท พึงทราบว่าฉันทะด้วย

อำนาจทำความพอใจ สิเนทะ ด้วยอำนาจทำความเยื่อใย มุจฺฉา ด้วยอำนาจทำ

ความสยบ ปิปาสา ด้วยอำนาจทำความกระหาย ปริฬาห ด้วยอำนาจการ

ตามเผา. บทว่า โอปกฺกมิกา คือ เกิดเพราะความเพียร. บทว่า าณาย

ทสฺสนาย อนุตฺตราย สมฺโพธาย ทั้งหมด เป็นไวพจน์โลกุตตรมรรค.

ก็ มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออก

จากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่

แช่ไว้ในน้ำ การไม่บรรลุโลกุตตรมรรค ด้วยเวทนาอันเกิดเพราะความ

เพียร ของบุคคลที่มีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟไฟก็ไม่

เกิด. การไม่บรรลุโลกุตตรมรรคของบุคคลเหล่านั้น เว้นจากเวทนาอันเกิด

เพราะความเพียรเหมือนไม่สีไม้สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด แม้อุปมาข้อที่ ๒ พึงทราบโดย

นัยนี้แล. ส่วนความต่างกันดังนี้คือ ข้อแรกเป็นอุปมาของการบวชพร้อมกับ

บุตรและภรรยา ข้อหลัง เป็นอุปมาของการบวชของพราหมณ์ผู้ทรง

ธรรม. บทว่า โกลาป ในอุปมาข้อที่สาม ได้แก่ ผักที่ไม่มียาง บทว่า ถเล

นิกฺขิตฺต คือที่เขาวางไว้บนภูเขา หรือบนพื้นดิน ก็มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อ

นี้ดังนี้คือ ก็บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียก

ชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ การบรรลุโล-

กุตตรมรรคด้วยเวทนา แม้เกิดเพราะความเพียร มีการนั่งในกลางแจ้งเป็นต้น

ของบุคคลมีกิเลสกาม ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟ ไฟก็เกิด การบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 137

โลกุตตรมรรค ด้วยสุขาปฏิปทาเว้นจากเวทนาอันเกิดเพราะความ

เพียร เหมือนเกิดไฟด้วยเพียงการสีกับกิ่งต้นไม้อื่น. อุปมานี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงนำมาเพื่อประโยชน์แก่องค์. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทุกกรกิริยา

ของพระองค์ จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺห เป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงทำทุกกรกิริยาแล้ว ไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้หรือ ทรงทำก็

ตามไม่ทำก็ตาม สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้. ถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น

ทรงทำเพราะเหตุไร ตอบว่า เราจักแสดงความพยายามของตนแก่

โลกพร้อมทั้งเทวโลก และคุณคือความย่ำยีด้วยความเพียรนั้น จักให้เรายินดี

ได้. จริงอยู่ กษัตริย์ประทับนั่งบนปราสาท แม้ทรงได้รับราชสมบัติสืบต่อ

ตามพระราชประเพณี ไม่ทรงยินดีอย่างนั้น ราชสมบัติที่พาเอาหมู่พลไป

ประหารข้าศึก ๒ - ๓ คน ทำลายข้าศึกได้มา โสมนัสอันมีกำลังย่อมเกิด

แก่พระองค์ผู้ได้เสวยสิริราชสมบัติอย่างนั้น ทรงแลดูบริษัท ทรงรำลึกถึง

ความพยายามของตนแล้ว ทรงดำริต่อว่า เราทำกรรมนั้น ในที่โน้น แทง

อย่างนี้ ประหารอย่างนี้ ซึ่งข้าศึกโน้นและโน้น จึงได้เสวยสิริราชสมบัติ

นี้ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงดำริว่า เราจักแสดง

ความพยายามแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ความพยายามนั้นจักให้เรายิน

ดี ให้เกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทำทุกกรกิริยาอีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อจะ

ทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดในภายหลัง ก็ได้ทรงกระทำเหมือนกัน หมู่ชนผู้

เกิดในภายหลังจักสำคัญความเพียรที่ควรทำว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ยังทรงบำเพ็ญพระบารมีตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ทรงตั้งความ

เพียร บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ จะป่วยกล่าวไปใย ถึงพวกเราเล่า เมื่อเป็น

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า หมู่ชนจักกระทำที่สุดแห่งชาติ

ชรา และมรณะได้ เร็วพลัน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิด

ภายหลัง จึงได้ทรงกระทำเหมือนกัน. บทว่า ทนฺเตหิ ทนฺตมาธาย ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 138

กดพระทนต์บนด้วยพระทนต์ล่าง บทว่า จตสา จิตฺต ได้แก่ ข่มอกุศล

จิต ด้วยกุศลจิต. บทว่า อภินิคฺคณฺเหยฺย คือ พึงข่ม. บทว่า อภินิปฺปีเฬยฺย

คือพึงบีบคั้น. บทว่า อภินิสนฺตาเปยฺย ความว่า พึงทำให้เดือดร้อนแล้วทำ

ลาย ย่ำยีด้วยความเพียร. บทว่า สารทฺโธ คือมีกายกระวนกระวาย. บท

ว่า ปธานาภิตุนฺนสฺส ความว่า มีสติอันความเพียรเสียดแทงคือแทงแล้ว.

บทว่า อปฺปาณก คือไม่มีลมหายใจ. บทว่า กมฺมารคคฺคริยา ได้แก่ กระบอกสูบ

ช่างทอง. บทว่า สีสเวทนา โหนฺติ ความว่า เวทนาเกิดแต่ศีรษะมีกำลัง

ถูกลมอู้ออกไปจากไหนไม่ได้. บทว่า สีสเปฬ ทเทยฺย ได้แก่ พึงรัดที่ศีรษะ

บทว่า เทวตา ความว่า เทวดาสถิตอยู่ในที่สุดจงกรมของพระโพธิ-

สัตว์ และใกล้บริเวณบรรณศาลา. ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อความเร่าร้อนใน

พระวรกายอันมีประมาณยิ่งของพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น หมดสติ พระองค์ประ-

ทับนั่งล้มบนที่จงกรม. เทวดาเห็นพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่าพระโพธิ-

สัตว์ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พวกเทวดาเหล่านั้น จึงไป กราบทูลต่อพระเจ้าสุท-

โธทนมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว. พระเจ้า

สุทโธทนมหาราชตรัสว่า บุตรของเรา เป็นพระพุทธเจ้า จึงทำกาละ ยังไม่

เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่ทำกาล เทวดา. จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ล้มไป

อยู่บนพื้นที่ทำความเพียรสิ้นพระชนม์ชีพเสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.

เราไม่เชื่อ การสิ้นพระชนม์จะไม่มีแก่โอรสของเรา เพราะยังไม่บรรลุโพธิ-

ญาณ. ในเวลาต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป

เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุท

โธทนมหาราชทรงรับบาตรนำเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ถวายข้าวต้มและของขบ

เคี้ยวทูลเรื่องนั้น ในเวลาระหว่างภัตรว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใน

เวลาพระองค์ทรงทำความเพียร เทวดามาบอกว่า ดูก่อนมหาราช โอรสของ

พระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนมหา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 139

บพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ข้าแต่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่เชื่อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนมหาบพิตร บัดนี้

พระองค์ทรงเห็นอัศจรรย์ตั้งแต่ถือพระสุบิน ยังจักเชื่อหรือ แม้อาตมาเป็น.

พระพุทธเจ้า แม้มหาบพิตรก็ทรงเป็นพระพุทธบิดา ส่วนในกาลก่อน เมื่อ

ญาณของอาตมายังไม่แก่กล้า บำเพ็ญโพธิจริยาอยู่ ไปแล้ว เพื่อศึกษาศิลปะ

แม้ในเวลาเป็นธรรมบาลกุมาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมหาธรรมปาล

ชาดก เพราะความอุบัติขึ้นแห่งเรื่องนี้ว่า ชนทั้งหลายนำกระดูกแพะมาแสดง

ว่า ธรรมปาลกุมารบุตรของท่าน ทำกาละแล้ว นี้กระดูกของเขาดังนี้. ดู

ก่อนมหาบพิตร แม้ในกาลนั้น พระองค์ได้ตรัสว่า ชื่อว่า ความตายใน

ระหว่างของบุตรเราย่อมไม่มี เราไม่เชื่อดังนี้.

บทว่า มา โข ตฺว มาริส ได้แก่ พวกเทวดาผู้รักใคร่มากราบทูล

ไดยินว่า โวหารน่ารัก น่าชอบใจของพวกเทวดาคือมาริส. บทว่า อชชฺชิต

คือ ไม่ใช่โภชนะ. บทว่า หลนฺติ วทามิ คือ เรากล่าวว่า พอละ อธิบายว่า

เราห้ามอย่างนี้ว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ด้วยบทนี้ เราจักยังอัตตภาพให้เป็น

ไปได้. บทว่า องฺคุรจฺฉวี คือ มีพระฉวีพร้อย. บทว่า เอตาวปรม ความ

ว่า ประมาณนั้น เป็นอย่างยิ่ง คือสูงสุดแห่งเวทนาเหล่านั้น. บทว่า ปิตุ

สกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯ เปฯ ปม ฌาน อุปสมฺปชฺช วิหรตา ความว่า ได้ยิน

ว่า ในวันนั้น ชื่อว่าเป็นวันวัปปมงคลของพระราชา พระราชาทั้งหลายจัด

ของควรเคี้ยวของกินเป็นอเนกประการ ล้างถนนพระนครให้สะอาดตั้งหม้อ

เต็มด้วยน้ำ ให้ยกธงแผ่นผ้าเป็นต้นขึ้น ประดับไปทั่วพระนคร เหมือนเทพ

วิมาน ทาสและกรรมกรเป็นต้นทั้งปวงนุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในราชตระกูลในราชพิธี เขาประกอบคันไถพัน

หนึ่ง แต่ในวันนั้นราชบุรุษประกอบคันไถ ๘๐๐ หย่อนหนึ่ง คันไถทั้งหมด

พร้อมทั้งเชือกผูกโคหนุ่มหุ้มด้วยเงิน เหมือนรถของชานุโสณิพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 140

คันไถของพระราชามีพู่ห้อยย้อยหุ้มด้วยทองสุกปลั่ง เขาของโคหนุ่มก็ดี เชือก

และปฏักก็ดี หุ้มด้วยทองคำ พระราชาเสด็จออกไปด้วยบริวารใหญ่ รับเอา

โอรสไปด้วย ในที่ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ ได้มีต้นหว้าต้น

หนึ่ง มีใบหนาทึบ มีร่มเงาร่มรื่นภายใต้ต้นหว้านั้น พระราชารับสั่งให้ปูที่

บรรทมของกุมาร ข้างบนคาดเพดานขจิตด้วยดาวทอง ล้อมด้วยกำแพงม่าน

ตั้งอารักขา ทรงเครื่องสรรพาลังการ แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ เสด็จ

ไปสู่พระราชพิธีแรกนาขวัญ ณ ที่นั้น พระราชาทรงถือคันไถทอง พวกอำ

มาตย์ถือคันไถเงิน ๘๐๐ หย่อนหนึ่ง ชาวนาถือคันไถที่เหลือ. เขาเหล่า

นั้น ถือคันไถเหล่านั้นไถไปทางโน้นทางนี้. ส่วนพระราชา เสด็จจากข้างนี้

ไปข้างโน้นหรือจากข้างโน้นมาสู่ข้างนี้. ในที่นี้เป็นมหาสมบัติ พระพี่เลี้ยงนั่ง

ล้อมพระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักเห็นสมบัติของพระราชา จึงพากันออก

ไปนอกม่าน พระโพธิสัตว์ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ ไม่เห็นใครๆ จึงรีบลุกขึ้น

นั่งขัดสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้าออก ยังปฐมฌานให้เกิด. พระพี่เลี้ยงมัว

เที่ยวไปในระหว่างโรงอาหารช้าไปหน่อยหนึ่ง เงาของต้นไม้อื่น ก็คล้อย

ไป แต่เงาของต้นไม้นั้น ยังตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระพี่เลี้ยงคิดว่า พระราช

บุตรอยู่ลำพังพระองค์เดียว รีบยกม่านขึ้นเข้าไปภายในเห็นพระโพธิสัตว์ประ

ทับนั่งขัดสมาธิบนที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว จึงไปกราบทูลพระ

ราชาว่า ข้าแต่พระองค์ พระกุมารประทับอย่างนี้ เงาของต้นไม้อื่นคล้อยไป

เงาต้นหว้าเป็นปริมณฑลอยู่ พระราชาเสด็จไปโดยเร็ว ทรงเห็นปาฏิหาริย์

ทรงไหว้พระโอรสด้วยพระดำรัสว่า นี้เป็นการไหว้ลูกเป็นครั้งที่สอง. บทว่า

ปิตุ สกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯเปฯ ปม ฌาน อุปสมฺปชฺช วิหรตา นี้ ท่านกล่าว

หมายเอาคำนี้. บทว่า สิยา นุ โข เอโส มคฺโค โพธาย ความว่า อานาปาน

สติปฐมฌานนี้ จะพึงเป็นทางเพื่อประโยชน์การตรัสรู้หนอ.บทว่า สตานุสา-

ริวิาณ ความว่า วิญญาณที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งสติที่เกิด ๑-๒ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 141

อย่างนี้ว่า การทำสิ่งทำได้ยากนี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปาน

สติปฐมฌานจักเป็นแน่ ชื่อว่า สาตานุสาริวิญญาณ. บทว่า ย ต สุข ได้

แก่ ความสุขในอานาปานสติปฐมฌาน. บทว่า ปจฺจปฏฺิตา โหนฺติ ความว่า

บำรุงด้วยการทำวัตรมีการกวาดบริเวณบรรณศาลาเป็นต้น. บทว่า พาหุลฺลิโก

คือมักมากในปัจจัย. บทว่า อาวฏฺโฏ พาหุลฺลาย ความว่า เป็นผู้ติด

ในรส เวียนมาเพื่อต้องการอาหารที่ประณีตเป็นต้น. บทว่า นิพฺพิชฺช ปกฺกมึสุ

พวกปัญจวัคคีย์เบื่อหน่าย หลีกไป โดยธรรมนิยาม อธิบายว่า ไปตาม

ธรรมดาเพื่อให้โอกาสแก่พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวกในกาลบรรลุพระสัมโพธิ

ญาณ และเมื่อไปก็ไม่ไปที่อื่น ได้ไปเมืองพาราณสีนั้นเอง. เมื่อปัญจวัคคีย์ไป

แล้ว พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวก ตลอดกึ่งเดือน ประทับนั่งอปราชิตบัล-

ลังก์ ณ โพธิมณฑล ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว. บทมีคำเป็นต้น

ว่า วิวิจฺเจร กาเมหิ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน ภยเภรวสูตร.

บทว่า อภิชานามิ โข ปนาห คือนี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง. ได้ยินว่า

นิครนถ์ คิดว่า เราทูลถามปัญหาข้อหนึ่งกะสมณโคดม พระสมณโคดมตรัสว่า

ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เทวดาแม้อื่นอีกถามเรา ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เทวดาแม้อื่น

อีกถามเรา เมื่อไม่ทรงเห็นที่สุด ตรัสอย่างนั้น พระองค์มีความกริ้วหรือ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อัคคิเวสสนะ เมื่อตถาคต แสดง

ธรรมอยู่ในบริษัทหลายร้อย แม้คนหนึ่งที่จะกล่าวว่า พระสมณโคดม กริ้ว

แล้ว มิได้มี อนึ่ง ตถาคตแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เพื่อประโยชน์แก่การ

ตรัสรู้ เพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอด เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงเริ่มพระ

ธรรมเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารพฺภ คือหมายเอา. บทว่า

ยาวเทว คือเป็นคำกำหนดวิธีใช้ มีอธิบายว่า การยังบุคคลเหล่าอื่นให้รู้นั่น

แหละ เป็นการประกอบพระธรรมเทศนาของพระตถาคต เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 142

พระตถาคตจึงมิได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดียว ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้

รู้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ตสฺมึ เยว

ปุริมสฺมึ นี้ ไว้อย่างไร ได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ คิดว่า พระสมณโคดม มีพระ

รูปงาม น่ารัก พระทนต์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน การสนทนาก็ไพเราะเห็น

จะเที่ยวยังบริษัทให้ยินดี. ส่วนเอกัคคตาจิตของพระสมณโคดมนั้น ไม่มี

แก่พระองค์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อทรงแสดง

ว่า ดูก่อน อัคคิเวสสนะ พระตถาคตเที่ยวยังบริษัทให้ยินดี พระตถาคตทรง

แสดงธรรมแก่บริษัททั่วจักรวาล พระตถาคตมีพระทัยไม่หดหู่ ไม่แปด

เปื้อน ประกอบเนืองๆ ซึ่งผลสมาบัติเป็นสุญญตะ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่

อย่างหนึ่ง ประมาณเท่านี้ดังนี้. บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ อารมณ์ อันเป็นภายใน

เท่านั้น บทว่า สนฺนิสีทามิ คือยังจิตให้สงบ. จริงอยู่ในขณะใด บริษัทย่อมให้

สาธุการ ในขณะนั้น พระตถาคตทรงกำหนดส่วนเบื้องต้น ทรงเข้าผลสมา

บัติ เมื่อเสียงกึกก้องแห่งสาธุการยังไม่ขาด ออกจากสมาบัติแสดงธรรม

อยู่ ตั้งแต่ที่พระองค์ทรงตั้งไว้แล้ว. ด้วยว่าการอยู่ในภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้ง

หลายย่อมเป็นไปเร็วพลัน ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ในคราวหายใจเข้า ในคราว

หายใจออก. บทว่า เยน สุท นิจฺจกปฺป ความว่า เราอยู่ด้วยผลสมาธิ อันเป็น

สุญญตะได้ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือแสดงว่า เราประคองจิตตั้งมั่นในสมาธิ

นิมิตนั้น.บทว่า โอกปฺปนิยเมต นั้น เป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ.

สัจจกะนั้น รับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้มีเอกัคคตาจิต บัดนี้

เมื่อจะนำปัญหาที่ตนซ่อนไว้ในพก มาทูลถาม จึงกล่าวว่า อภิชานาติ

ปน ภว โคตโม ทิวา สุปิตา. เหมือนอย่างว่า ขึ้นชื่อว่า สุนัขแม้กินอาหาร

ข้าวปายาสที่หุงด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสจนเต็มท้อง เห็นคูถแล้ว เคี้ยวกินไม่

ได้ ก็ไม่อาจเพื่อจะไป เมื่อเคี้ยวกินไม่ได้ ก็จะดมกลิ่นก่อนจึงไป ได้ยิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 143

ว่า เมื่อมันไม่ได้ดมกลิ่นไป ก็ปวดหัวฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ตั้งแต่การเสด็จออกมหา

ภิเนษกรมณ์ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เช่นกับสุนัขเห็นข้าวปายาสที่เขา

หุงด้วยน้ำนมล้วน ส่วนสัจจกะนั้นฟังพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้ ก็ไม่เกิดแม้

เพียงความเลื่อมใสในพระศาสดา เพราะฉะนั้น เมื่อเขาไม่ทูลถามปัญหาที่

ซ่อนไว้ในพกนำมา ก็ไม่อาจเพื่อจะไป จึงได้กล่าวอย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่น

นั้น เพราะถีนมิทธะ ที่พระขีณาสพทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค. ก็ความ

กระวนกระวายทางกายย่อมมีในอุปาทินนกรูปบ้าง ในอนุปาทินนกรูปบ้าง

จริงอย่างนั้น ดอกบัวขาวเป็นต้น แย้ม ในเวลาหนึ่ง ตูม ในเวลาหนึ่ง ในเวลา

เย็นใบไม้บางอย่างหุบ ในเวลาเช้าก็บาน. อุปาทินนกรูปเท่านั้น มีความกระ

วนกระวายก็ภวังคโสตที่เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย ท่านประสงค์ว่า

หลับในที่นี้ ภวังคโสตนั้น มีแก่พระขีณาสพ หมายเอาความหลับนั้น จึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า อภิชานามห. บทว่า สมโมหวิหารสฺมึ วทนฺติ อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า สมฺโมหวิหาโร แปลว่าอยู่ด้วยความหลง. บทว่า อาสชฺช

อาสชฺช คือ เสียดสีๆ บทว่า อุปนีเตหิ คือที่ตนนำมากล่าว บทว่า วจนป-

เถหิ แปลว่า ถ้อยคำ. บทว่า อภินนฺทิตฺวา ความว่า ยินดีรับด้วยใจ อนุโมทนา

สรรเสริญด้วยถ้อยคำ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ พระสูตรนี้ แก่

นิครนถ์นี้. พระสูตรต้นมีภาณวารเดียว พระสูตรนี้ มีภาณวารครึ่ง ถาม

ว่า นิครนถ์นี้ แม้ฟัง ๒ ภาณวาร ครึ่งแล้ว ยังไม่บรรลุธรรมาภิสมัย ยัง

ไม่บวช ยังไม่ตั้งอยู่ในสรณะ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาค

เจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่เขาอีก ตอบว่า เพื่อเป็นวาสนาในอนาคต. จริง

อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า บัดนี้อุปนิสัยของนิครนถ์นี้ ยังไม่มี แต่เมื่อ

เราปรินิพพานล่วงไปได้ ๒๐๐ ปี-เศษ ศาสนาจักประดิษฐานอยู่ตัมพปัณ-

ณิทวีป นิครนถ์นี้จักเกิดในเรือนมีสกุลในตัมพปัณณิทวีปนั้น บวชในเวลาถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 144

พร้อมแล้ว เรียนพระไตรปิฎก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่า กาลพุทธรักขิต พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงเห็นเหตุนี้ จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.

เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้น สัจจกะแม้นั้น

เคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอำมาตย์ สกุลหนึ่ง. ในบ้านสำหรับภิกขา

จารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชา

ได้เรียนพระไตรปิฎก คือ พระพุทธพจน์ บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมาก

แวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่า

เราจักท้วงสัทธิวิหารริก จึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฎกคือพระ

พุทธพจน์มาแล้ว ไม่ได้กระทำสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง

ไปสำนักพระเถระ ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทำคันถกรรมมาสำ

นักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปาก ไม่พูดด้วย กระผมมีโทษอะไร

หรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทำความสำคัญว่า ชื่อว่า

บรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้ว ด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธ

รักขิต. กระผมจะทำอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัด

ปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหาร กระทำสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ใน

โดยวาทขอพระอุปัชฌาย์กระทำอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัม

ภิทา เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมากเป็นบริวาร

อยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.

ก็ในกาลนั้น พระเจ้าติสสมหาราช ทรงรักษาอุโบสถกรรม ย่อมอยู่

ในที่เร้นของพระราชา ณ เจติยบรรพต ท่านได้ให้สัญญาแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐาก

ของพระเถระว่า เมื่อใดพระผู้เป็นเจ้าของเราจะแก้ปัญหา หรือกล่าว

ธรรม เมื่อนั้นท่านพึงให้สัญญาแก่เราด้วย. ในวันธัมมัสสวนะวันหนึ่ง แม้พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 145

เถระอันหมู่ภิกษุแวดล้อม ขึ้นสู่ลานกัณฑกเจติยะ ไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงยืนอยู่

ที่โคนต้นไม้มะพลับดำ. ครั้นนั้นพระเถระถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ถามปัญ-

หากะท่านพุทธรักขิตนั้น ในกาลามสูตร. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

วันนี้เป็นวันธัมมัสสวนะ มิใช่หรือ. ภิกษุนั้น เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญวันนี้

เป็นวันธัมมัสสวนะขอรับ. พระเถระกล่าว ถ้าอย่างนั้น เธอจงนำเอาตั่ง

มา เราจักนั่งในที่นี้ แล้วจักกระทำการฟังธรรม. ลำดับนั้น พวกภิกษุจึงปูลาด

อาสนะที่โคนไม้ ถวายพระเถระนั้น. พระเถระกล่าวคาถาเบื้องต้นแล้ว

จึงเริ่มกาลามสูตร. ภิกษุหนุ่มผู้อุปัฏฐากพระเถระนั้น จึงให้สัญญาแก่พระราชา

พระราชาเสด็จไปถึง เมื่อคาถาเบื้องต้นยังไม่ทันจบ ก็ครั้นเสด็จถึงประ

ทับยืนท้ายบริษัทด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จักเลย ประทับยืนทรงธรรม

อยู่ตลอด ๓ ยามแล้ว ได้ประทานสาธุการในเวลาพระเถระกล่าวว่า พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ดังนี้. พระเถระทราบแล้ว จึงถามว่า มหา

บพิตรพระองค์เสด็จมาแต่เมื่อไร. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเวลาใกล้จะ

จบคาถาเบื้องต้นนั่นแหละ. พระเถระ. มหาบพิตร พระองค์ทรงทำกรรมที่ทำ

ได้ยาก. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้ไม่ชื่อว่ากระทำสิ่งที่ทำได้ยาก

ความที่ข้าพเจ้าไม่ส่งใจไปในที่อื่น แม้ในบทหนึ่งตั้งแต่ที่พระผู้เป็นเจ้าเริ่ม

ธรรมกถา ได้ทำปฏิญาณว่า ชื่อว่า ความเป็นเจ้าของของเราจงอย่ามี แก่

ตัมพปัณณิทวีปในที่แม้เพียงจะทิ่มด้วยไม้ปฏัก ดังนี้.

ก็ในพระสูตรนี้ พระกาลพุทธรักขิต ได้แสดงพระพุทธคุณทั้ง

หลาย เพราะฉะนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระพุทธคุณ

มีประมาณเท่านี้หรือ หรือว่า อย่างอื่นยังมีอยู่อีก. พระเถระ.

มหาบพิตร พระพุทธคุณที่ยังไม่ได้กล่าวมีมากว่าที่อาตมากล่าวประมาณมิ

ได้. พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงอุปมา. พระเถระ. มหาบพิตร ข้าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 146

สาลีที่ยังเหลือมีมากกว่ารวงข้าวสาลีรวงเดียว ในนาข้าวสาลี ประมาณพัน

กรีส ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้ว น้อยนัก ที่เหลือมีมากฉันนั้น พระราชา.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงทำอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร มหาคงคา

เต็มด้วยห้วงน้ำ บุคคลพึงเทใส่ในรูเข็ม น้ำที่เข้าไปในรูเข็มมีน้อย น้ำที่

เหลือมีมาก ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากฉันนั้น.

พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จงทำอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร ธรรมดา

ว่านกเล่นลมเที่ยวบินเล่นในอากาศในโลกนี้ สกุณชาติตัวเล็ก ๆ สถาน

มีปรบปีกของนกนั้น ในอากาศมีมาก หรืออากาศที่เหลือมีมาก. พระราชา.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอะไร โอกาสเป็นที่ปรบปีกของนกนั้น

น้อย ที่เหลือมีมาก พระเถระ. มหาบพิตรอย่างนั้นแหละ พระพุทธคุณที่

อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากไม่มีที่สุด ประมาณไม่ได้. พระราชา

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวดีแล้ว พระพุทธคุณ ไม่มีที่สุด ท่านอุปมาด้วย

อากาศไม่มีที่สุดนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าเลื่อมใส แต่ไม่อาจทำสักการะอันสม

ควรแก่พระผู้เป็นเจ้าได้. ข้าพเจ้าขอถวายราชสมบัติประกอบด้วยร้อยโยชน์

ในตัมพปัณณิทวีปนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้า นี้เป็นทุคตบรรณาการของ

ข้าพเจ้า พระเถระ. มหาบพิตร บรรณาการอันมหาบพิตรทรงเลื่อมใส กระทำ

แล้ว อาตมาขอถวายราชสมบัติที่ทรงถวายแก่อาตมาคืนแก่มหาบพิตร

ทั้งหมด ขอมหาบพิตรจงทรงปกครองแว่นแคว้นโดยธรรม โดยสม่ำเสมอเถิด

ดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาสัจจกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 147

๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร

[๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา

ในวิหารบุพพารามใกล้นคราวัตถี ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติ

เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำ

เร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็น

พรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย.

[๔๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้น

ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วย

ปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

แล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็

ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็น

ความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็น

ดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาด

หวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัด

ว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านั้น

แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 148

ส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารี

ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณและหายไปในที่นั้น

นั่นเอง.

ท้าวสักกะเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

[๔๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า มีความดำริว่า ท้าวสักกะนั้นทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า แล้วจึงยินดี หรือว่าไม่ทราบก็ยินดี ถ้ากระไรเราพึงรู้เรื่องท้าวสักกะ

ทราบความพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงยินดี หรือว่าไม่ทราบ

แล้วก็ยินดี ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายไปในปราสาทของ

มิคารมารดา ในวิหารบุพพารามปรากฏในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประ

หนึ่ง บุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่งอออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา

ฉะนั้น สมัยนั้นท้าวสักกะจอมเทพ กำลังอิ่มเอิบ พร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วย

ทิพยดนตรีห้าร้อยในสวนดอกบุณฑริกล้วน ท้าวเธอได้เห็นท่านพระมหา

โมคคัลลานะมาอยู่แต่ไกล จึงให้หยุดเสียงทิพยดนตรีห้าร้อยไว้ เสด็จเข้าไปหา

แล้วรับสั่งว่า นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว นานแล้วท่านได้ทำปริยายเพื่อจะมา

ในที่นี้ นิมนต์นั่งเถิด อาสนะนี้แต่งตั้งไว้แล้ว. ส่วนท้าวสักกะจอมเทพ

ก็ถืออาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๔๓๖] ท่านพระโมคคัลลานะได้ถามท้าวสักกะผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่งว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงความน้อมไปใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 149

ธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ท่านอย่างไร ขอโอกาสเถิด แม้

ข้าพเจ้า จักขอมีส่วนเพื่อจักฟังกถานั้น.

ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่

จะต้องทำมาก ทั้งธุระส่วนตัว ทั้งธุระของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ พระภาษิต

ใดที่ข้าพเจ้าฟังแล้วลืมเสียเร็วพลัน พระภาษิตนั้น ท่านฟังดี เรียนดี ทำไว้ใน

ใจดี ทรงไว้ดีแล้ว ข้าแต่พระโมคคัลลานะ เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง

เทวดาและอสูรได้ประชิดกันแล้ว ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะพวกอสูร

แพ้ ข้าพเจ้าชนะเทวาสุรสงครามเสร็จสิ้นแล้ว กลับจากสงครามนั้น

แล้ว ให้สร้างเวชยันตปราสาท เวชยันตปราสาทมีร้อยชั้น ในชั้นหนึ่ง ๆ

มีกูฏาคารเจ็ดร้อย ๆ ในกูฏาคารแห่งหนึ่งๆ มีนางอัปสรเจ็ดร้อยๆ นางอัปสรผู้

หนึ่งๆ มีเทพธิดาผู้บำเรอเจ็ดร้อย ๆ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ท่าน

ปรารถนาเพื่อจะชมสถานที่น่ารื่นรมย์ แห่งเวชยันตปราสาทหรือไม่.

ท่านมหาโมคคัลลานะรับด้วยดุษฏีภาพ.

[๔๓๗] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวเวสวัณมหาราช นิมนต์

ท่านมหาโมคคัลลานะออกหน้าแล้ว ก็เข้าไปยังเวชยันตปราสาท พวก

เทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะ เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะมาอยู่แต่ที่

ไกล เกรงกลัวละอายอยู่ ก็เข้าสู่ห้องเล็ก ของตนๆ คล้ายกะว่าหญิงสะใภ้เห็น

พ่อผัวเข้าก็เกรงกลัวละอายอยู่ ฉะนั้น ครั้นนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าว

เวสวัณมหาราช เมื่อให้ท่านมหาโมคคัลลานะเที่ยวเดินไปใน

เวชยันตปราสาทได้ตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ขอท่านจงดูสถานที่

น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ ขอท่านจงดูสถานที่น่ารื่นรมย์แห่ง

เวชยันตปราสาทแม้นี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 150

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ของท่านท้าว

โกสีย์นี้ย่อมงดงามเหมือนสถานที่ของผู้ที่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อน แม้มนุษย์

ทั้งหลายเห็นสถานที่น่ารื่นรมย์ไหนๆ เข้าแล้วก็กล่าวกันว่างามจริง ดุจสถาน

ที่น่ารื่นรมย์ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.

ในขณะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ มีความดำริว่า ท้าวสักกะนี้

เป็นผู้ประมาทอยู่มากนัก ถ้ากระไร เราพึงให้ท้าวสักกะนี้สังเวชเถิด จึง

บันดาลอิทธาภิสังขาร เอาหัวแม่เท้ากดเวชยันตปราสาทเขย่าให้สั่นสะท้านหวั่น

ไหว ทันใดนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวเวสวัณมหาราช และพวกเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ มีความประหลาดอัศจรรย์จิต กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญทั้ง

หลาย นี่เป็นความประหลาดอัศจรรย์ พระสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุ

ภาพมาก เอาหัวแม่เท้ากดทิพยพิภพ เขย่าให้สั่นสะท้านหวั่นไหวได้.

วิมุตติกถา

[๔๓๘] ครั้นนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะทราบว่า ท้าวสักกะจอม

เทพมีความสลดจิตขนลุกแล้ว จึงถามว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ พระผู้มีพระภาค

เจ้า ได้ตรัสความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหาโดยย่นย่ออย่างไร ขอโอกาส

เถิด แม้ข้าพเจ้าจักขอมีส่วนเพื่อจะฟังกถานั้น.

ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นฤทุกข์

ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว

จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วใน

ความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจาก

กิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151

ส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้าทูลถามอย่าง

นี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจอมเทพภิกษุในธรรมวินัยนี้

ได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้น

ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วย

ปัญญา อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดัง

นั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่

สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณา

เห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณา

เห็นดังนั้น ก็ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาด

หวั่น เมื่อไม่สุดสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัด

ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียง

เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า พ้นแล้วเพราะความสิ้นแห่งตัณหามีความสำเร็จล่วง

ส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารี

ล่วงส่วนมีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ข้าแต่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสความพ้นเพราะ

ความสิ้นแห่งตัณหาโดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้แล.

ครั้นนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ชื่นชมยินดีภาษิตของท้าว

สักกะ แล้วได้หายไปในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ มาปรากฏที่ปราสาทของ

มิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม ประหนึ่งว่าบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน

ที่ออกไป หรืองอแขนที่เหยียดเข้ามา ฉะนั้น.

ครั้งนั้น พวกเทพธิดาผู้บำเรอของท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อท่านพระ

มหาโมคคัลลานะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้ทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 152

ผู้นฤทุกข์ พระสมณะนั้น เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาของพระองค์

หรือหนอ

ท้าวสักกะตรัสบอกว่า ดูก่อนเหล่าเทพธิดาผู้นฤทุกข์ พระสมณะ

นั้น ไม่ใช่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระศาสดาของเรา เป็นท่านพระมหาโมคคัล

ลานะผู้เป็นสพรหมจารีของเรา

พวกเทพธิดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นฤทุกข์ เป็นลาภของพระองค์ๆ

ได้ดีแล้วที่ได้สมณะที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ เป็นสพรหมจารี

ของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระศาสดาของพระองค์ คงมีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมากเป็นอัศจรรย์เป็นแน่.

[๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า พระองค์เป็นผู้ตรัส

ความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่เทพผู้มีศักดิ์มากผู้ใดผู้

หนึ่งบ้างหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เรารู้เฉพาะอยู่

จะเล่าให้ฟัง ท้าวสักกะจอมเทพเข้ามาหาเรา อภิวาทเราแล้ว ได้ไปยืน

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่

สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประ-

เสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อท้าวสักกะนั้น

ถามอย่างนี้แล้ว เราบอกว่า ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับ

ว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอัน

นี้แล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวย

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุกก็ดี เธอย่อมพิจารณา

เห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณา

เห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น

สิ่งอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาด

หวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตน ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้

มี ดังนี้ ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่า

พ้นไปแล้วเพราะสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่ง

จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงสวน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วง

ส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนโมคคัลลานะ

เราจำได้อยู่ว่า เราเป็นผู้กล่าวความพ้นเพราะสิ้นแห่งตัณหาโดยย่อ แก่ท้าว

สักกะจอมเทพอย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้จบแล้ว ท่านพระมหาโมคคัล

ลานะ ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ จูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 154

อรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตร

จูฬตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในข้อว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ

ปาสาเท ได้แก่ปราสาทของมิคารมารดาในวิหาร ชื่อว่า บุพพาราม. ในข้อ

นั้น มีการพรรณนาความตามลำดับดังต่อไปนี้. -

ครั้งอดีตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปป์ มีอุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์พระผู้

มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระแล้ว ถวายทานแสนหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหมอบลงใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค

เจ้า ทำการปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้าเป็นอัคคอุปัฏฐายิกา

ของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ ดังนี้. เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนแห่งกัปป์แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนทวี

ในเรือนเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะในภัททิยนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย. ในเวลาคลอด พวกญาติได้ตั้งชื่อเขาว่าวิสา-

ขา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังภัททิยนคร นางวิสาขานั้นพร้อม

ด้วยเหล่าทาริกา ๕๐๐ ได้ทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เป็นพระ

โสดาบันในการเห็นครั้งแรกทีเดียว. ในกาลอื่นอีกนางไปสู่เรือนของปุณณ-

วัฑฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ในที่นั้น มิคารเศรษฐีได้

ตั้งนางไว้ในตำแหน่งแห่งมารดา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคารมารดา.

ก็เมื่อนางจะไปสู่ตระกูลสามี บิดาของนางได้ให้ทำเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดา

ให้. เครื่องประดับนั้นประกอบไว้ด้วยเพชร ๔ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑

ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน เครื่องประดับ

นั้นสำเร็จแล้วด้วยรัตนะเหล่านี้ และด้วยรัตนะอื่นมีวรรณะ ๗ ด้วยประการ

ฉะนี้. เครื่องประดับนั้นสวมศีรษะยาวพาดไปถึงหลังเท้า. ก็หญิงผู้มีกำลังถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 155

ช้างพลาย ๕ เชือก จึงสามารถประดับได้ ครั้นต่อมา นางได้เป็นอัคคอุปัฏฐา-

ยิกาของพระทศพล สละเครื่องประดับนั้นสร้างวิหารเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยทรัพย์ ๙ โกฏิ ให้ทำปราสาทพื้นที่ประมาณหนึ่งกรีส. ประดับด้วยห้อง

พันหนึ่ง คือ ชั้นบนของปราสาทนั้น มี ๕๐๐ ห้อง ชั้นล่างมี ๕๐๐ ห้อง. นาง

วิสาขานั้นคิดว่า ปราสาทล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่งาม จึงให้สร้างเรือนทวิกูฏะ

๕๐๐ จุลลปราสาท ๕๐๐ ห้อง. ศาลาทีปฆระ ๕๐๐ แวดล้อมปราสาท

ใหญ่นั้น ได้ทำการฉลองวิหาร ๔ เดือน.

ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ในพระพุทธศาสดาของหญิงอื่นเหมือนนาง

วิสาขา ผู้ดำรงอยู่ในอัตตภาพแห่งมาตุคาม มิได้มี. ชื่อว่า การบริจาคทรัพย์ไว้

ในพระพุทธศาสนาของบุคคลอื่นเหมือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ตั้งอยู่ในอัตต

ภาพแห่งบุรุษ ก็ไม่มี. จริงอยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิ

สร้างมหาวิหารชื่อว่า เชตวัน เช่นกับมหาวิหารของอนุราธบุรี ในที่ส่วน

อันมีในทิศทักษิณแห่งพระนครสาวัตถี. นางวิสาขา สร้างวิหารชื่อว่า

บุพพาราม ในที่เช่นกับเทววิมานอันยอดเยี่ยม ในส่วนแห่งทิศปาจีน แห่งพระ

นครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่เพื่อ

อนุเคราะห์ตระกูลทั้งสองเหล่านี้ จึงได้ประทับอยู่ในปราสาททั้งสองเหล่านี้

เนืองนิตย์. คือว่า ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ในพระเชตวัน พรรษา

หนึ่ง ประทับอยู่ในบุพพาราม. แต่ในสมัยนั้น ประทับอยู่ในบุพพาราม.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ดังนี้.

บทว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อ

ปฏิบัติเพียงเท่าไร. บทว่า สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความ

ว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ชื่อว่า น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

เพราะความที่ภิกษุนั้นมีจิตน้อมไปกระทำข้อปฏิบัตินั้นเป็นไปใน

อารมณ์นิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพทูล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 156

ว่า ขอพระองค์จงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้มีอาสวะนั้น

แล้ว ด้วยข้อปฏิบัติโดยย่อที่น้อมไปเพื่อความสิ้นตัณหา. บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺ-

โ ความว่า ล่วงส่วนกล่าวคือสิ้นและเสื่อม ชื่อว่า อัจจันตนิฏฐะ เพราะ

มีความสำเร็จล่วงส่วนๆ อธิบายว่า สำเร็จล่วงส่วน คือสำเร็จเนืองๆ.บท

ว่า อจฺจนฺตโยคกฺเขมี ความว่า มีความปลอดโปร่งจากิเลสเป็นเครื่องประ

กอบล่วงส่วนเนื่องๆ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี ได้แก่ เป็นพรหมจารีเป็นนิตย์.

ชื่อว่า อัจจันตปริโยสาน โดยนัยก่อนเพราะมีจบลงล่วงส่วน. บทว่า เสฏฺ-

โ เทวมนุสฺสาน ได้แก่ ประเสริฐสุด คือ สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้ง

หลาย. อธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุเห็นปานนี้ย่อมเป็นผู้มีข้อปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร. ขอพระองค์

ตรัสบอกข้อปฏิบัติโดยย่อของภิกษุนั้นเร็วพลันเถิด. ถามว่า ก็เพราะเหตุ

ไร ท้าวสักกะจอมเทพนั้น จึงปรารถนาความรีบเร่งอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะ

ทรงประสงค์จะไปเล่นกีฬา. ได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น รับสั่งการเล่น

กีฬาในอุทยานแล้วให้มหาราชทั้ง ๔ อารักขาใน ๔ ทิศ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพ

แวดล้อมแล้ว เทวโลกทั้งสอง ทรงช้างเอราวัณกับนางฟ้อน ๒ โกฏิครึ่ง

ประทับอยู่ที่ประอุทยาน กำหนดปัญหานี้ว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่

บุคคลพึงบรรลุของพระขีณาสพผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา โดยย่อมี

เท่าไรหนอ. ทีนั้น ท้าวเธอได้มีความดำริว่า ปัญหานี้เป็นไปกับด้วยศิริยิ่ง

นัก ถ้าเราไม่ได้เรียนเอาปัญหานี้แล้ว จักเข้าไปยังอุทยานไซร้ ถูกอารมณ์อัน

เป็นไปในทวารทั้ง ๖ ย่ำยีแล้ว จักกำหนดปัญหานี้อีกไม่ได้ การเล่นกีฬาใน

อุทยานงดไว้ก่อนเถิด เราจะไปสำนักของพระศาสดาทูลถามปัญหานี้ เรา

เรียนปัญหานี้แล้ว จักเล่นกีฬาในอุทยานดังนี้ แล้วหายไปในที่คอแห่งช้าง

ได้ปรากฏในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้เหล่านั้นก็

อารักขายืนอยู่ในที่ประทับตรงนั้นแหละ หมู่ทวยเทพผู้บำเรอก็ดี นางฟ้อนทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 157

หลายก็ดี ช้างเอราวัณก็ดี นาคราชก็ดี ได้ยืนอยู่ที่ประตูทวารนั้นนั่นแหละ.

ท้าวสักกะจอมเทพนั้น เมื่อมีความปรารถนาโดยเร็ว เพื่อประสงค์จะเล่นกีฬา

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนั้น.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ

๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือ

ไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบได้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหา

และทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอา

ได้. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของ

เที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่า

นั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะ

ฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น. บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วย

ญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ได้

แก่ ย่อมกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า

ย กิญฺจิ เวทน ได้แก่ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย โดยที่

สุดแม้สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงการกำ

หนดอรูปธรรม อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเวทนาแก่ท้าวสักกะจอมเทพ

ด้วยบทนี้. ก็ถ้าว่า เวทนากัมมัฏฐานเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ได้ตรัสไว้ในหนหลังไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวไว้ในที่นี้. แต่ว่ากัมมัฏฐานนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น พึงทราบเวทนากัมมัฏฐาน

โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐาน.

ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้พึงทราบว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนิจจานุ

ปัสสนา และอนิจจานุปัสสี. ในที่นี้มีอธิบายว่า ในบรรดาบทเหล่านั้น ได้แก่

เบญจขันธ์ ชื่อว่า อนิจจัง จริงอยู่ เบญจขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า เป็นของไม่

เที่ยง เพราะอรรถว่า มีความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไป. ความเห็นความรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 158

เบญจขันธ์ทั้งหลาย โดยความสิ้น ไปเสื่อมไป ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา. บุคคล

ผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี. เพราะฉะนั้น บทว่า อนิจฺจา-

นุปสฺสี วิหรติ ได้แก่ เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ในบทว่า วิราคานุปสฺสี ได้แก่ วิราคะ ๒ อย่างคือ ขยวิราคะ อัจจันต-

วิราคะ.. ในสองบทนั้น วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความสิ้น

ไป เสื่อมไป ชื่อว่า ขยะวิราคะ. ฝ่ายมรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพานอัน

เป็นอัจจันตวิราคะโดยวิราคะ ชื่อว่า วิราคานุปัสสนา บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

วิราคะทั้งสองนั้น ชื่อว่า วิราคานุปัสสี. บทว่า วิราคานุปสสฺสี ท่านกล่าว

หมายถึงบุคคลนั้น อธิบายว่า บุคคลผู้ตามเห็นอยู่โดยความเป็นวิราคะ. แม้

ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้นิโรธก็มี ๒ อย่าง

เหมือนกันคือ ขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ.

โวสัคคะ (การสละแล้ว) ท่านเรียกว่า การสละคืน ในบทว่า ปฏิ-

นิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้. ก็โวสสัคคะ มี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ปักขันทนโวส

สัคคะ. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะว่า

วิปัสสนานั้น ย่อมสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งตทังคะ.

มรรคชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ เพราะมรรคนั้นย่อมแล่นไปสู่นิพพานโดย

อารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง การสละด้วยเหตุแม้ทั้งสอง คือเพราะการสละขันธ์ทั้ง

หลาย กิเลสทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทะและเพราะการแล่นไปใน

นิพพาน ฉะนั้นชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะอรรถว่าสละกิเลสทั้งหลาย

และขันธ์ทั้งหลาย นิโรธชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ เพราะอรรถว่า จิตย่อม

แล่นไปในนิพพานธาตุ. ทั้งสองนั้นย่อมเสมอกันในมรรค บุคคลผู้พรั่งพร้อม

ด้วยโวสสัคคะ. แม้ทั้งสองนั้นชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี เพราะความที่บุคคลนั้น

เป็นผู้ประกอบด้วยความเห็น โดยการสละคืนนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายเอาคำที่กล่าวนั้น จึงตรัสว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 159

บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ ไม่ลูบ

คลำธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง อันถึงความเป็นสังขาร ด้วยอำนาจแห่งตัณหา

ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดถือ จึงไม่สะดุ้งเพราะความ

สะดุ้งด้วยตัณหาทั้งหลาย ย่อมดับไปเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้นจึงชื่อว่า ย่อมดับ

ด้วยการดับกิเลสเองทีเดียว. ปัจจเวกขณะของพระขีณาสพนั้นแหละ ท่าน

แสดงไว้ด้วย บทว่า ขีณา ชาติ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันท้าวสักกะ

จอมเทพทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพโดยย่อ

ทรงกระทำให้เบาพระทัยพร้อมตรัสตอบปัญหาโดยย่อเร็วพลัน ด้วยประการ

ฉะนี้.

บทว่า อวิทูเร นิสินฺโน โหติ ความว่า พระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ใน

กูฏาคารถัดไป. บทว่า อภิสเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อมด้วยญาณ อธิบาย

ว่า รู้แล้ว. มีอธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรู้ปัญหาแล้วจึงยินดีหรือ หรือ

ว่า ไม่รู้แล้วสั่นศีรษะ เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้มีความคิดอย่างนี้ได้ยิน

ว่า พระเถระไม่ได้ยินเสียงแก้ปัญหาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ได้ยินเสียง

อนุโมทนาของท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็น

อย่างนั้นๆ ดังนี้. นัยว่า ท้าวสักกะเทวราชทรงอนุโมทนาด้วยเสียงอัน

ดัง. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงไม่ได้ยินเสียงพระผู้มีพระภาค

เจ้า. ตอบว่า เพราะยังบริษัทให้รู้. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง

แสดงธรรมอยู่ อันบริษัทในที่สุดแห่งจักรวาล ย่อมได้ยินพระสุรเสียงเป็นอัน

เดียวกัน. แต่เลยที่สุดแห่งบริษัทแล้ว พระสุรเสียงจะไม่แผ่ไปในภายนอกแม้

สักองคุลี เพราะเหตุไร มธุรกถาเห็นปานนี้ จึงไม่มีประโยชน์.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในห้องอันเป็นศิริ ในกูฏาคาร

อันสำเร็จแล้ว ด้วยแก้ว ๗ ประการ บนปราสาทของมิคารมารดา กูฏาคาร

อันเป็นที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระ อยู่ข้างขวา ของพระมหาโมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 160

เถระ อยู่ข้างซ้าย ไม่มีช่องว่างติดต่อในภายใน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่

ได้ยินเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินแต่เสียงของท้าวสักกะจอมเทพเท่า

นั้น.

บทว่า ปญฺจหิ ตุริยสเตหิ ได้แก่ ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ มีประ

มาณห้าร้อย. เครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้คือ อาตต กลองหุ้ม

หนังหน้าเดียว, วิตต คือตะโพน, อาตตวิตต คือ บัณเฑาะว์. สุสิร คือ ปี่หรือ

สังข์เป็นต้น และฆน คือ ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕. ใน

เครื่องดนตรีเหล่านั้น ในบรรดากลองทั้งหลายมีกลองที่หุ้มหนังหน้า

เดียว ชื่อว่า อาตตะ.. กลองที่หุ้มหนังสองหน้า ชื่อว่า วิตตะ...กลองที่หุ้มด้วย

หนังทั้งหมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ชื่อว่า อาตตวิตตะ. เครื่องเป่ามีปี่เป็น

ต้น ชื่อว่า สุสิระ. ฉิ่งเป็นต้น ชื่อว่า ฆน.

บทว่า สมปฺปิโต ได้แก่ เข้าถึงแล้ว. บทว่า สมงฺคีภูโต เป็นคำไวพจน์

ของ สมปฺปิโตนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปริจาเรติ ได้แก่ เสวยอยู่ซึ่งสมบัติ ให้บำ

เรออินทรีย์ทั้งหลายจากสมาบัตินั้นๆ อธิบายว่า ประกอบด้วยดนตรีห้าร้อย

บำรุงบำเรออยู่ เสวยอยู่ซึ่งทิพยสมบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวา ได้แก่ ให้หยุด

เสีย คือทำไม่ให้มีเสียงดนตรี. เหมือนอย่างว่า ในบัดนี้ พระราชาทั้งหลายผู้

มีศรัทธาทอดพระเนตรเห็นภิกษุผู้ควรแก่การเคารพยกย่อง จึงตรัสว่า

พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้นมา พวกเธอทั้งหลายอย่าให้ขับร้อง อย่าประโคมดนตรี

อย่าฟ้อนรำ แล้วให้งดการแสดงเสีย ฉันใด แม้ท้าวสักกะทอดพระเนตร

เห็นพระเถระก็ได้กระทำ ฉันนั้น.

บทเห็นปานนี้ว่า จิรสฺส ข มาริส โมคฺคลฺลาน อิม ปริยายมกาสิ

เป็นคำร้องเรียกด้วยวาจาเป็นที่รักโดยปกติในโลก. จริงอยู่ชาวโลกเห็นผู้ที่มา

นานแล้วบ้าง ไม่เคยมาบ้าง มาในชาติของผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ พากันถามเป็น

ต้นว่า ท่านมาจากไหนขอรับ มานานแล้วหรือ ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 161

ไร ท่านหลงทางมาหรือเปล่า. แต่ท้าวสักกะ ก็ตรัสอย่างนี้กะท่านพระมหา

โมคคัลลานะเถระ เพราะเคยมาแล้ว. จริงอยู่ พระเถระย่อมเที่ยวจาริกไปใน

เทวโลกตลอดกาลทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยายมกาสิ แปล

ว่าได้กระทำวาระ. บทว่า ยทิท อิธาคมนาย มีอธิบายว่า วาระเพื่ออันมาใน

ที่นี้ อันใด ได้ทำวาระนั้นสิ้นกาลนาน. บทว่า อิทมาสน ปญฺตฺต ความ

ว่า ท้าวสักกะปูบัลลังก์แก้วมณีโยชน์หนึ่ง จึงตรัสอย่างนี้ดังนี้.

บทใน พหุกิจฺจา พหุกรณียา นี้ ความว่า กิจทั้งหลายของชนเหล่าใด

มาก ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มีกิจมาก. บทว่า พหุกรณียา นี้ เป็นคำไวพจน์ของ

บทว่า พหุกิจฺจา นั้นนั่นเอง. บทว่า อุปฺเปว สเกน กรณีเยน ได้แก่ กรณียกิจ

ของตนนั่นแหละ. ก็กรณียกิจของสักกะนั้นน้อยไม่มาก แต่กรณียกิจของ

เทวดาทั้งหลายมีมาก จริงอยู่ คดีความตั้งแต่พื้นดินไป เพื่อต้องการต้นกัลป-

พฤกษ์ และมาตุคามเป็นต้น ย่อมตัดสินในสำนักของท้าวสักกะ เพราะ

ฉะนั้น เมื่อท้าวเธอกำหนดอยู่ จึงตรัสว่า มีกรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้น

ดาวดึงส์อีก ดังนี้. แท้จริง ธิดาและบุตรย่อมเกิดขึ้นที่ตักของเทวดาทั้งหลาย

หญิงผู้เป็นบาทบริจาริกาย่อมเกิดขึ้นในที่นอน ผู้ประดับตกแต่งเทวดาเหล่า

นั้น ก็เกิดแวดล้อมที่ตนของเทพธิดา ผู้ช่วยเหลือกิจการงานทั้งหลายเกิดขึ้น

ภายในวิมาน จึงไม่มีคดีความเพื่อต้องการสิ่งเหล่านั้น แต่ว่า มาตุคามเหล่านั้น

ใดย่อมเกิดขึ้นในระหว่างเขตแดน เขาไม่สามารถตัดสินว่า มาตุคามเหล่านั้น

เป็นสมบัติของเราหรือว่าของท่าน เมื่อจะทำคดีจึงทูลถามท้าวสักกะ

เทวราช. ท้าวสักกะเทวราชนั้นย่อมตรัสว่า วิมานของผู้ใดอยู่ใกล้กว่าก็เป็น

สมบัติของผู้นั้น. ถ้าว่า วิมานแม้ทั้งสองมีอยู่ในระหว่างเท่ากัน ท้าวสักกะก็จะ

ตรัสว่า ผู้ที่เกิดมานั้นยืนแลดูวิมานของผู้ใดก็เป็นสมบัติของผู้นั้น. ถ้าไม่แลดู

แม้สักวิมานเดียว เพื่อต้องการตัดการวิวาทของเทวดาทั้งหลายนั้น ก็กระทำ

มาตุคามนั้นให้เป็นสมบัติของพระองค์เอง. ท้าวสักกะจอมเทพตรัสคำว่า มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 162

กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ หมายเอาคำที่กล่าวแล้วนั้น อีก

อย่างหนึ่ง แม้กิจคือการเล่นในอุทยานเห็นปานนี้ก็เป็นกรณียกิจของท้าว

สักกะเหมือนกัน.

บทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนฺตรธายติ ความว่า คำใดที่ข้าพเจ้าฟัง

แล้ว คำนั้นหายไปแล้วเร็วพลัน เหมือนรูปไม่ปรากฏในที่มืด คือว่า ท้าว

สักกะจอมเทพนั้น ย่อมแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมกำหนดไม่ได้ถึง

การแก้ปัญหานั้น ด้วยบทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนุตรธายติ นี้. พระเถระ

พิจารณาอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท้าวสักกะนี้จักแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้กำ

หนดไม่ได้ ทราบว่า จะรักษาประโยชน์อันเป็นส่วนข้างตนไว้ ขึ้นชื่อว่า

พวกเทพย่อมเป็นผู้หลงลืม ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ บีบคั้น

อยู่ ย่อมไม่รู้แม้ความที่ตนเป็นผู้บริโภคแล้วหรือยังไม่บริโภค ย่อมไม่รู้

แม้ความที่ตนเป็นผู้ดื่มแล้วหรือยังไม่ได้ดื่ม จักหลงลืมกิจอันตนกระทำแล้ว

ในที่นี้ ดังนี้.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ควรเคารพ ควรยกย่อง

ของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนั้น ด้วยเกรงกลัวพระเถระ

จะพึงคุกคามเราอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท้าวสักกะเรียนปัญหาในสำนักของบุคคลผู้

เลิศในโลกมาแล้ว บัดนี้ก็เข้าไปสู่ระหว่างนางฟ้อนรำทั้งหลาย ดังนี้. ก็ขึ้นชื่อ

ว่า ความพิศวงอย่างนี้ มีอยู่. ชื่อว่า ความพิศวง เห็นปานนี้ของพระอริยสาวก

ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น กำหนด

ไม่ได้สลัวด้วยความเป็นผู้หลงลืม. ถามว่า เพราะเหตุไร ในภายหลังจึงกำหนด

ได้เล่า. ตอบว่า เพราะพระเถระได้ยังความโสมนัส และความสังเวชให้เกิดแก่

ท้าวเธอแล้วนำควานมืดออกไป จึงกำหนดได้.

บัดนี้ ท้าวสักกะเพื่อจะบอกเหตุอันน่าพิศวงอย่างหนึ่งของตนในกาล

ก่อนแก่พระเถระ จึงตรัสคำว่า ภูตปุพพ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 163

ว่า สมุปพฺยฺฬโห แปลว่า ประชิดกันแล้ว คือเป็นกองทัพ. บทว่า อสุรา

ปรายึสุ ได้แก่ พวกอสูรถึงความปราชัย. ถามว่า ก็พวกอสูรเหล่านั้น ถึง

ความปราชัยในกาลไร. ตอบว่า ในกาลที่ท้าวสักกะทรงอุบัติขึ้น.

ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพ เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม

ชื่อว่า มาฆะในบ้าน อจลคาม ในมคธรัฐ ในอัตตภาพถัดไป ความประพฤติ

ของเขาได้เหมือนความประพฤติของพระโพธิสัตว์. นายมฆะมาณพ

นั้นพาเอาบุรุษ ๓๓ คนให้สร้างความดี. วันหนึ่งเขาใคร่ครวญด้วยปัญญา

ของตนแล้วขนขยะทั้งสองข้างในที่มหาชนประชุมกัน ในท่ามกลาง

บ้านออกไป ได้กระทำที่นั้นให้เป็นที่รื่นรมย์ ได้สร้างมณฑปในที่นั้นนั่นแหละ

อีก เมื่อกาลผ่านไปก็สร้างศาลาอีก เขาออกจากบ้านเที่ยวไปพร้อมกับ

สหายเหล่านั้น ได้กระทำที่อันไม่เสมอกันให้เสมอกัน มีประมาณคาวุตหนึ่ง

บ้าง ครึ่งโยชน์บ้าง สามคาวุตบ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง ชนทั้งหมดแม้เหล่า

นั้น มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน เมื่อจะสร้างสะพานในที่ควรสร้างสะพาน

สร้างมณฑปเป็นต้น ในที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณีและปลูก

ไม้ดอก ไม้กอเป็นต้น ได้กระทำบุญเป็นอันมาก. นายมฆะมาณพได้บำเพ็ญ

วัตตบท ๗ ประการ ครั้นถึงแก่กรรมย่อมไปบังเกิดในภพดาวดึงส์พร้อมกับ

สหาย. ในกาลนั้น พวกอสูรอาศัยอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก. พวกอสูรเหล่านั้น

ทั้งหมดมีอายุและวรรณะเสมอเทพทั้งหลาย พวกเขาเห็นท้าวสักกะพร้อมทั้ง

บริษัทเพิ่งเกิดขึ้น จึงคิดว่า พวกเทวบุตรใหม่มาแล้ว จึงจัดแจงน้ำมหาปานะ

มาต้อนรับ. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาคือบอกอุบายแก่เทวบุตรทั้งหลายว่า

พวกเรากระทำกุศล แต่ไม่ได้กระทำกุศลทั่วไปร่วมกับชนเหล่าอื่น พวกท่าน

อย่าดื่มน้ำ คัณฑบาน จงทำเพียงดื่มเท่านั้นดังนี้. พวกเขาได้กระทำเหมือน

อย่างนั้น พวกอสูรโง่พากันดื่มน้ำคัณฑบานเมาแล้วหลับไป. ท้าวสักกะให้

สัญญาแก่พวกเทพแล้วพากันจับเท้าพวกอสูรขว้างไปยังเชิงเขาสิเนรุ. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 164

ว่า พิภพของอสูรมีอยู่ ณ พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ มีประมาณเท่าดาวดึงส์

เทวโลกทีเดียว. พวกอสูรอยู่ในที่นั้น มีต้นไม้ของพวกอสูร ชื่อว่า จิตตปาฏลิ

(ต้นไม้ประจำอสูรพิภพ). พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมรู้ได้ในเวลาที่ต้นจิตตปาฏลิ

บานว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้ประจำภพดาวดึงส์ พวกเราถูกท้าวสักกะลวง

แล้ว. พวกเขากล่าว่า พวกท่านจงจับท้าวสักกะนั้น ดังนี้ แล้วคุ้มครองรักษา

เขาสิเนรุอยู่ ครั้นเมื่อฝนตกแล้ว ก็พากันขึ้นไปเหมือนตัวปลวกออก

ไปจากจอมปลวก. ในการรบกันนั้น บางคราวพวกเทพชนะ บางคราวพวก

อสูรชนะ. เมื่อใดพวกเทพชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกอสูรไปจนถึงหลัง

สมุทร. เมื่อใด พวกอสูรชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกเทพไปจนถึงชาน

ชาลา(คือนอกกำแพงเมือง).แต่ว่าในการรบนั้น พวกเทพชนะ .พวกเทพจึง

ตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. ท้าวสักกะยังพวกอสูรให้หนีไปแล้ว

จึงตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่ง. ได้ให้อารักขาอย่างนี้ ทรงตั้งรูปเหมือนพระอินทร์

มีมือถือวชิระ ณ เชิงชาน. อสูรทั้งหลายยกกันมาทีไร ก็เห็นรูปเปรียบ

พระอินทร์นั้น จึงพากันกลับแต่ที่นั้นนั่นแหละ. ด้วยสำคัญว่า ท้าวสักกะ.

ไม่ประมาทประทับยืนอยู่ดังนี้.

บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่อันท้าวสักกะนั้นชนะ

แล้ว. บทว่า ปริจาริกาโย แปลว่า นางอัปสรทั้งหลาย ได้แก่ นางผู้ทำกิจการ

งานทั้งหลาย มีการทำพวงดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า เวสฺสวโณ

จ มหาราช ความว่า ได้ยินว่า ท้าวเวสสวัณนั้นเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้

คุ้นเคยมากของท้าวสักกะ. เพราะฉะนั้น จึงได้ไปกับท้าวสักกะ.

บทว่า ปุรกฺขตฺวา คือ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า ปวิสึสุ ความ

ว่า ก็เทพธิดาผู้บำเรอท้าวสักกะเหล่านั้น เข้าไปสู่ห้องแล้วปิดประตูไว้ครึ่ง

หนึ่ง ยืนแลดูอยู่. บทว่า อิทมฺปิ มาริส โมคฺคลฺลาน ปสฺส เวชยนฺตปา-

สาทสฺส รามเณยฺยก ความว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 165

จงดูสถานที่เป็นที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ คือว่า จงดูรูปสัตว์ร้าย

ที่เสาทอง เสาเงิน เสาแก้วมณี เสาแก้วประพาฬ เสาแก้วทับทิม เสาแก้ว

ลาย เสาแก้วมุกดา เสารัตนะ ๗ ประการเป็นแท่งอันสำเร็จด้วยทองเป็น

ต้น ของเสาเหล่านั้นทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดง

สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์กระทำถ่องแถวแห่งเสาด้วยอาการอย่างนี้ให้เป็น

ต้น จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า ยถาต ปุพฺเพ กตปุญฺสฺส อธิบายว่า สถานที่ของบุคคลผู้มี

บุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน พึงงามด้วยการตั้งไว้ซึ่งเครื่องอุปโภค ฉัน

ใด ของท้าวสักกะก็ย่อมงามฉันนั้นเหมือนกัน.บทว่า อติพาฬฺห โข อย

ยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ ความว่า ท้าวสักกะนี้ มัวเมายิ่งนักด้วยปราสาท

ด้วยนักฟ้อนเป็นบริวาร ด้วยสมบัติ ด้วยยศของตน. บทว่า อิทฺธาภิสขาร

อภิสขาเรติ คือว่า ได้กระทำอิทธิ. อธิบายว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระเข้า

อาโปกสิณแล้วอธิฐานว่า ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาท จงเป็นน้ำ

แล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท. ปราสาทนั้น สั่นสะท้านหวั่นไหว

ไปมา เหมือนบาตรตั้งไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตรก็หวั่นไหว

ไปมา ตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น. วัตถุทั้งหลาย มีหลังเสาเขื่อน ช่อฟ้า จันทันเป็นต้นส่ง

เสียงดังกระกระ ราวกะเริ่มเพื่อจะตกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สกมฺเปสิ สมฺปกมฺเปสิ สมฺปเวเธสิ ดังนี้.

บทว่า อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ มีความอัศจรรย์ไม่เคยมี เกิดขึ้น

อย่างนี้ว่า โอหนอ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา และมีความยินดี คือมีโสมนัส

ที่มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า สวิคฺค ได้แก่ ตกใจกลัวแล้ว คือหวั่นไหว

แล้ว. บทว่า โลมหฏชาต ได้แก่ ขนชูชันขึ้น คือ มีสรีระสะพรั่งด้วยขนทั้ง

หลายตั้งขึ้นไปเบื้องบน เหมือนขอแขวนแก้วมณีที่เขาติดตั้งไว้ที่ฝาเรือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 166

ทอง. อนึ่ง ชื่อว่า ขนชูชันนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยโสมนัสบ้าง ด้วยโทมนัสบ้าง.

แต่ในที่นี้ เกิดขึ้นด้วยความโสมนัส. นัยว่า พระเถระได้ทำปาฏิหาริย์นั้น

เพื่อให้ท้าวสักกะเกิดความสังเวชด้วยความโสมนัสและความสลดใจ.เพราะ

ฉะนั้น พึงทราบอรรถว่า พระมหาโมคคัลลานเถระนั้นรู้ว่าท้าวสักกะจอม

เทพนั้น มีความสลดจิตขนลุกแล้ว ด้วยความโสมนัสและความสลดใจ ดัง

นี้.

บทว่า อิธาห มาริส ความว่า บัดนี้ พระเถระยังโสมนัสและความ

สลดจิตของท้าวสักกะให้เกิดขึ้น ทำลายความมืดได้แล้ว เพราะฉะนั้น

กำหนดได้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า เอโส นุ เต มาริส โส ภควา สตฺถา ความว่า เมื่อนาง

เทพอัปสรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จไปไหน ท้าวสักกะ

ตรัสตอบว่า ไปสำนักของพระศาสนาของเรา พระองค์ตรัสอย่างนี้

ราวกะที่นั้นตั้งอยู่พื้นเดียวกันกับเทวโลกนี้. ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ พระสมณะนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสนาของพระองค์หรือ

หนอ. ในบทว่า สพฺรหฺมจารี เม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็น

บรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เป็นพระอัครสาวก แต่ท้าวสักกะเป็น

ผู้ครองเรือน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารีด้วยอำนาจ

แห่งมรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า

อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึง

อย่างนี้. พวกนางปริจาริกา ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์

ของพระศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่. บทว่า าตญฺตรสฺส ความ

ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ปรากฏ จริงอยู่บรรดาผู้ที่ปรากฏมีชื่อเสียงทั้งหลาย ท้าวสัก-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 167

กะเป็นผู้หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดเจนแล้ว พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อสาติผู้

เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้

ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่น

แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น.

ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามก

เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหา

สาติภิกษุแล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้

เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ.

เธอตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตาม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่น

ไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง.

ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐิ

นั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่าง

นี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ

วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดย

ปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 169

ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน

อยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง และกล่าวอยู่ว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้.

ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก

[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร

จากทิฏฐิลามกนั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิ

อันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้ง

นั้นพวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยิน

ว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวไป แล่น

ไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุ

ได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง

ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง

เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะ

ปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน

ว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

เจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

มิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด

ขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ

เว้นจากปัจจัยมิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 170

ไซ้ไล่เลียงสอบสวน อยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุน

แรง และกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรม

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่อง

เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์

ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่ง มาแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของ

เราว่า ดูก่อนท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้

มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูก่อนท่านสาติ พระ

ศาสดารับสั่งให้หาท่าน.

สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอัน

ลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ไม่ใช่อื่น ดัง

นี้ จริงหรือ.

สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง

เที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่าง

ไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 171

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้ง

หลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้น ๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เรา

แสดงแก่ใครเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด

ขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ

เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุด

ตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอจักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประ

โยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.

ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น

[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏ-

บุตร จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่.

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้มีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย

พระพุทธเจ้าข้า.

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง

กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏ-

บุตร มีความเป็นดังนั้นแล้วจึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจัก

ปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 172

ด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่ว

แล้ว ดังนี้หรือ.

ภิกษุเหล่านั้น ทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลยพระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณ

อาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์

โดยอเนกปริยาย ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่ว

ถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัย

ประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยอเนกปริยาย ความเกิดแห่งวิญญาณเว้น

จากปัจจัยมิได้มี ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสีย

ด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ความเห็น

นั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อทุกข์

ตลอดกาลนาน.

ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ

อาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้นก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ วิญญาณอาศัยจักษุและ

รูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและ

เสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและ

กลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและ.

รสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและ

โผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณวิญญาณอาศัยมนะ

และธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ เปรียบ

เหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ ไฟอาศัยไม่ติด

ขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟฟืน ไฟอาศัยสะเก็ดไม่ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟสะเก็ด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 173

ไม้ ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหญ้า ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึง

ความนับว่า ไฟโคมัย ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟแกลบ ไฟอาศัย

หยากเหยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟหยากเหยื่อ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใด ๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วย

ปัจจัยนั้น ๆ วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าจักษุ

วิญญาณ วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสต-

วิญญาณ วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า

ฆานวิญญาณ วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับ

ว่า ชิวหาวิญญาณ วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึง

ความนับว่ากายวิญญาณ วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น

ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ.

[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเห็นขันธปัญจกที่เกิด

แล้วหรือไม่ ?

ภ. เห็นพระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นเกิดเพราะอาหารหรือ ?

ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายย่อมเห็นว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับเป็นธรรมดา

เพราะความดับแห่งอาหารนั้นหรือ ?

ภ. เห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่าขันธปัญจกนี้มี

หรือหนอ ?

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 174

พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจก

เกิดเพราะอาหารนั้นหรือหนอ

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น เพราะความเคลือบแคลงว่า ขันธปัญจก

มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นหรือหนอ ?

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก

นี้เกิดแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ.

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก

เกิดเพราะอาหารนั้น ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ ?

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจก

นั้นมีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น ย่อมละความสงสัย

ที่เกิดขึ้นเสียได้หรือ

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะ

อาหารนั้นแม้ดังนี้หรือ

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ขันธปัญจกนั้นมีความดับ

เป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้น แม้ดังนี้หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 175

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

ว่า ขันธปัญจกนี้เกิดแล้วดังนี้หรือ.

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้ว ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

ว่า ขันธปัญจกเกิดเพราะอาหารนั้น ดังนี้หรือ ?

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

ว่า ขันธปัญจกนั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหาร

นั้น ดังนี้หรือ.

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. หากว่าเธอทั้งหลาย พึงติดอยู่ เพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถือเป็น

ของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐินี้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ (ด้วยตัณหาและทิฏฐิ) เธอทั้ง

หลายพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอัน

สลัดออก มิใช่แสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ ?

ภ. ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. หากว่า เธอทั้งหลาย ไม่ติดอยู่ ไม่เพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึด

ถือเป็นของเราอยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงรู้ธรรมที่

เปรียบด้วยทุ่นอันเราแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์ในอันสลัดออก ไม่ใช่แสดงแล้ว

เพื่อประโยชน์ในอันถือไว้ บ้างหรือหนอ ?

ภ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 176

อาหาร ๔

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร

๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความ

อนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร ๔ อย่าง เป็นไฉน ?

อาหาร ๔ อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียดเป็นที่ ๑

ผัสสาหารเป็นที่ ๒ มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓ วิญญาณาหารเป็นที่ ๔ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ

มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร

เป็นแดนเกิด ตัณหา มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็น

แดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย

มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็น

สมุทัยมีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะนี้

มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด

ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ

มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็น

เหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด สฬายตนะ

มีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดน

เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไร

เป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็น

สมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

วิญญาณนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดน

เกิด วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 177

เป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร

เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็น

เหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณมี เพราะสังขาร

เป็นปัจจัย นามรูปมีเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีเพราะนามรูป

เป็นปัจจัย ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปทานมีเพราะตัณหาเป็น

ปัจจัย ภพมีเพราะอุปทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ด้วย

ประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.

นัยอันเป็นปัจจัย

[๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็ข้อว่า ชราและมรณะมี เพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็น

ปัจจัยนั่นแล ชราและมรณะจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติเป็นปัจจัย

ชราและมรณะจึงมีในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภพเป็นปัจจัยนั่นแล ชาติจึงมี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้

หรือ ๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 178

พ. ก็ข้อว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยนั่นแล ภพจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาเป็นปัจจัยนั่นแล อุปาทานจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี

ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเวทนาเป็นปัจจัยนั่นแล ตัณหาจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะเป็นปัจจัยนั่นแล เวทนาจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้ หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมี ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยนั่นแล ผัสสะจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 179

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีใน

ข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าว

แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปเป็นปัจจัยนั่นแล สฬายตนะจึง

มี ในข้อนี้เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึง

มี ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนั่นแล นามรูปจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

ในข้อนี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารเป็นปัจจัยนั่นแล วิญญาณจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่าง นี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

ในข้อนี้มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นแล สังขารจึงมี ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในข้อ

นี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 180

[๔๔๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าว

อย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น

สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ เพราะอวิชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพระสังขารเป็น

ปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็น

ปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ

ปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็น

ปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปานทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็น

ปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้อย่างนี้ เพราะ

อวิชชาดับหมดมิได้เหลือ สังขารก็ดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะ

สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนา

ดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปทานจึงดับ เพราะอุปทานดับ ภพจึง

ดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้

อย่างนี้.

นัยแห่งความดับ

[๔๔๙] ก็ข้อว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าว

แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติดับนั่นแล ชรา มรณะ จึงดับ ในข้อ

นี้ เป็นอย่างนี้หรือ เป็นอย่างไร

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ ก็ดับ ในข้อ

นี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 181

พ. ก็ข้อว่า เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะภพดับนั่นแล ชาติจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้หรือ

เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ ในข้อนี้ มีความเป็น

อย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอุปาทานดับนั่นแล ภพจึงดับ ในข้อนี้ เป็นอย่างนี้

หรือ ๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอุปทานดับ ภพก็ดับ ในข้อนี้ มีความ

เป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตัณหาดับนั่นแล อุปาทานจึงดับ ในข้อนี้

เป็นอย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ในข้อ

นี้ มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะผัสสะดับนั่นแล เวทนาจึงดับ ในข้อนี้ เป็น

อย่างนี้หรือ ๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ ในข้อนี้มีความ

เป็นอย่างนี้แล

พ. ก็ข้อว่า เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสฬายตนะดับนั่นแล ผัสสะจึงดับ ในข้อนี้เป็น

อย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 182

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนามรูปดับนั่นแล สฬายตนะจึงดับ ในข้อนี้

เป็นอย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะวิญญาณดับนั่นแล นามรูปจึงดับ ในข้อนี้เป็น

อย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสังขารดับนั่นแล วิญญาณจึงดับ ในข้อนี้เป็น

อย่างนี้หรือๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พ. ก็ข้อว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้ว

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับนั่นแล สังขารจึงดับ ในข้อนี้เป็น

อย่างนั้นหรือๆ เป็นอย่างไร.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะอวิชชาดับ สังขารก็ดับ ในข้อนี้

มีความเป็นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 183

[๔๕๐] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าว

อย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็

ดับ ดือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึง

ดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึง

ดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทาน

ดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้ง

สิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.

กถาว่าด้วยธรรมคุณ

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วน

เบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีแล้ว หรือว่า ไม่ได้มีแล้ว เราได้เป็นอะไร

แล้ว หรือว่าเราได้เป็นแล้วอย่างไร หรือเราได้เป็นอะไรแล้ว จึงเป็น

อะไร ดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงแล่นไปสู่ส่วน

เบื้องปลายว่า ในอนาคตกาล เราจักมี หรือว่าจักไม่มี เราจักเป็นอะไร

หรือว่าเราจักเป็นอย่างไร หรือเราจักเป็นอะไรแล้ว จึงจักเป็นอะไร ดังนี้บ้าง

หรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ปรารภถึงปัจจุบัน

กาลในบัดนี้ ยังสงสัยขันธ์เป็นภายในว่า เราย่อมมี หรือว่าเราย่อมไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 184

เราย่อมเป็นอะไร หรือว่าเราย่อมเป็นอย่างไร สัตว์นี้มาแล้วจากไหน สัตว์นั้น

จักไป ณ ที่ไหน ดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้

ว่า พระศาสดาเป็นครูของพวกเรา พวกเราต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยความ

เคารพต่อพระศาสดาเท่านั้น ดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวว่า พระสมณะ

ตรัสอย่างนี้ พระสมณะทั้งหลายและพวกเรา ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้

ดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดา

อื่นดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ พึงเชื่อถือสมาทาน

วัตร ความตื่นเพราะทิฏฐิ และทิฏฐาทิมงคล ของพวกสมณะและพราหมณ์

เป็นอันมาก ดังนี้บ้างหรือไม่.

ภ. ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่พวกเธอรู้เห็นทราบเองแล้วพวกเธอ

พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นมิใช่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185

ภ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกละ พวกเธออันเรานำเข้าไป

แล้วด้วยธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ซึ่งให้ผลไม่มีกาล ควรเรียกให้

มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ อันเห็นได้ด้วยตนเอง ให้ผลไม่มีกาลควรเรียกให้

มาชม ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ เราอาศัยความข้อ

นี้กล่าวแล้ว.

การก้าวลงสู่ครรภ์

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย

๓ ประการ ความเกิดแห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วม

กัน แต่มารดายังไม่มีระดู และสัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่ง

ทารกก็ยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน มารดามีระดู

แต่สัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อใดมารดา บิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย สัตว์ที่จะมา

เกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่าง

นี้ ความเกิดแห่งสัตว์จึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้น

ด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือน หรือสิบเดือน

มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความสงสัยใหญ่ และเลี้ยงทารก

ผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้วด้วยโลหิตของตนด้วยความสงสัยใหญ่.

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริย-

วินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุมารนั้นอาศัยความเจริญ และความเติบโตแห่ง

อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็ก ตีไม้หึ่ง

หกขะเมน จังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุมารนั่นนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 186

อาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย พรั่งพร้อมบำเรออยู่

ด้วยกามคุณ ๕ คือ รูปที่รู้แจ้งด้วยจัก อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบ

ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก เสียงที่รู้

แจ้งด้วยโสต... กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ...รสที่รู้แจ้งด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะที่รู้แจ้ง

ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่

ตั้งแห่งความกำหนัดและความรัก กุมารนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัด

ในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น

และมีจิตเป็นกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัดเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับ

หมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามก ตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่ง

ความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี

ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็

เพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิด

เพลินในเวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น

นั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ กุมารนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ...ดมกลิ่นด้วยฆานะ....

ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว ย่อมกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่า

ชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นอกุศลอยู่ ย่อมไม่ทราบชัด

เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งเหล่าอกุศลธรรมอันลามกตาม

ความเป็นจริง เขาเป็นผู้ถึงพร้อมซึ่งความยินดียินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนา

อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ย่อมเพลิด

เพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินใน

เวทนาทั้งหลายเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 187

เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้

อย่างนี้.

กถาว่าด้วยพุทธคุณ

[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ

อรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง

โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ตถาคตนั้น ทำโลกนี้พร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว

สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม แสดงธรรม

งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง

อรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิด

ภายหลัง ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธา

ในตถาคต เมื่อได้ศรัทธานั้นแล้ว ย่อมตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทาง

มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประ

พฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่เขาขัด ไม่ใช่

ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออก

บวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติ

น้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น

บรรพชิต.

ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ

[๔๕๕] เมื่อเขาบวชแล้วถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้ง

หลาย ละการฆ่าสัตว์เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางไม้ วางมีดแล้ว มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 188

ละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เข้าให้

ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นสะอาดอยู่.

ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ

ห่างไกล เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นกิจของชาวบ้าน.

ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำ

สัตย์ เป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอก

ข้างโน้น เพื่อทำลายข้างนี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำ

ลายข้างโน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสรินคนที่พร้อมเพรียงกัน

แล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลิน

ในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

ละคำหยาบ เว้นขาดคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวน

ให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง อันคนส่วนมากใคร่ พอใจ.

ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล แต่คำที่เป็น

จริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่

กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.

เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.

ฉันหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรี เว้นจากการฉันในเวลาวิกาล.

เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอัน

เป็นข้าศึกแก่กุศล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 189

เว้นขาดจากการทัดทรงประดับเละตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของ

หอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงและใหญ่.

เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.

เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกง

ด้วยเครื่องตวงวัด.

เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการ

กรรโชก.

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต

เป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีก จะบิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 190

ไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น

แล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง

บริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะเช่นนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่มี

โทษในภายใน.

ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอ

ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล

ธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุน-

ทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ได้ยินเสียงด้วยโสต...ดมกลิ่นด้วย

ฆานะ...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่

สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคือ อภิชฌาและโทมนัสครอบ

งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสวย

สุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล

ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ

บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ

การตื่น การพูด การนิ่ง.

การชำระจิต

[๔๕๖] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร และสติสัมปชัญญะ

อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 191

ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตใน

กาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิด

พยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้

บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศ

จากถิ่นมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่

ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอุทธัจกุกกุจะ

ได้ ละวิจีกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรม

ทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง

จิต อันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าถึง

ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะวิตกและ

วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เข้าถึง

ตติยฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอยู่.

[๔๕๘] ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่า

รัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประ

มาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่ง

อกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้

แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่

สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 192

เพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจ เวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็

ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็

ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น

นั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต... ดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่

น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัด

เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความ

เป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่าง

หนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่น

ถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนา

นั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ

อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติ

ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็

ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พวกเธอจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุติ โดยย่อของเรานี้ อนึ่ง พวกเธอจง

ทรงจำสาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่ายตัณหาและกองตัณหา

ใหญ่ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทูพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ มหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 193

อรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตร

มหาตัณหาสังขยสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิคต นี้ ในอลคัททสูตร

กล่าวบทว่า ทิฏฐิว่าเป็นลัทธิ. ในที่นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นสัสสตทิฏฐิ. ก็ภิกษุนั้น

เป็นผู้สดับมาก แต่ภิกษุที่สดับน้อยกว่าชาดก ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ประชุมเรื่องชาดกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้เป็นเวสสันดร ได้เป็น

มโหสถ ได้เป็นวิธูรบัณฑิต ได้เป็นเสนกบัณฑิต ได้เป็นพระเจ้ามหาชนก

ดังนี้. ทีนั้น เธอได้มีความคิดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขารเหล่านี้ ย่อมดับไป

ในที่นั้น ๆ นั่นแหละ แต่วิญญาณย่อมท่องเที่ยว ย่อมแล่นไปจากโลกนี้สู่โลก

อื่น จากโลกอื่นสู่โลกนี้ ดังนี้ จึงเกิดสัสสตทิฏฐิ. เพราะเหตุนั้น เธอจึงกล่าว

ว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมแล่นไป ไม่ใช่อย่างอื่น ดัง

นี้. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่ความเกิดขึ้นแห่ง

วิญญาณจึงมี เว้นจากปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมไม่มี ดังนี้. เพราะ

ฉะนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ย่อมกล่าวคำที่พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้ ย่อมให้การประ

หารชินจักร ย่อมคัดค้านเวสารัชชญาณ ย่อมกล่าวกะชนผู้ใคร่เพื่อจะฟังให้

ผิดพลาด ทั้งกีดขวางทางอริยะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความ

ทุกข์แก่มหาชน มหาโจรเมื่อเกิดในราชสมบัติของพระราชา ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ

สิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่มหาชนชื่อฉันใด บัณฑิตพึงทราบ

ว่า โจรในคำสั่งของพระชินเจ้า เกิดขึ้นแล้วเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อ

ความทุกข์แก่มหาชน ฉันนั้น.

บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรผู้มีปกติอยู่

ในชนบท. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า ภิกษุสาตินี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 194

ได้พวกแล้ว จะพึงยังพระศาสนาให้อันตรธานไป เธอยังไม่ได้พวกเพียง

ใด พวกเราจักปลดเปลื้องเธอจากความเห็นผิดเพียงนั้น ดังนี้ จึงไม่ยืนไม่

นั่ง เข้าไปหาจากที่ที่ตนฟังแล้วๆ นั่นแหละ.

บทว่า ย กตมนฺต สาติ วิญฺาณ ความว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ เธอกล่าวหมายเอาวิญญาณใด วิญญาณนั้น

เป็นไฉน. ข้อว่า ยฺวาย ภนฺเต วโท เวเทยฺโย ตตฺร ตตฺร กลฺยาณปาปกาน

กมฺมาน วิปากป ปฏิสเวเทติ ความว่า สาติภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ สภาวะใด ย่อมพูดได้ ย่อมเสวยอารมณ์ได้ ก็ ภาวะนั้น ย่อมเสวย

วิบากของกุศลกรรม และอกุศลกรรมในที่นั้นๆ ได้ข้าพระองค์กล่าวหมายถึง

วิญญาณอันใด ข้าแต่พระองค์เจริญ นี้เป็นวิญญาณนั้นดังนี้. บทว่า

กสฺส นุ โข นาม ความว่า ก็ใครคือว่า แก่กษัตริย์หรือว่า พราหมณ์ หรือ

ว่าแก่แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คนใดคน

หนึ่ง.

บทว่า อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลาย. ตอบว่า ได้ยินว่า สาติภิกษุได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

พระศาสดาตรัสเรียกเราว่า โมฆบุรุษ ดังนี้จะไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและ

ผลทั้งหลายโดยสักแต่คำที่กล่าวแล้วว่า โมฆบุรุษนี้เท่านั้น ก็หามิได้ เพราะ

ว่า แม้พระอุปเสนเถระ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส อย่างนี้ว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ

เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเร็วนักดังนี้ ภายหลังสืบต่ออยู่ พยายาม

อยู่ ก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ แม้เราประคองความเพียรแล้ว ก็จักกระ

ทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลทั้งหลายดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ

แสดงแก่เธอว่า สาติภิกษุนี้ มีปัจจัยอันขาดแล้ว เป็นผู้มีธรรมอันไม่งอกงาม

ในศาสนาดังนี้จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. บทว่า อุสฺมีกโต เป็นต้น

บัณฑิตพึงทราบอธิบายตามที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 195

บทว่า อถโข ภควา ความว่า อนุสนธิแม้นี้เป็นของเฉพาะบุคคล.

ได้ยินว่าสาติภิกษุได้มีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ธรรมอันเป็น

อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายของเราไม่มี ดังนี้ เมื่อธรรมอันเป็น

อุปนิสัยไม่มีอยู่ เราอาจเพื่อจะแก้ไขธรรมอันเป็นอุปนิสสัยได้หรือ เพราะ

ว่า พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีอุปนิสสัย เท่า

นั้น แสดงอยู่แก่ใคร ๆ นั่นแหละ เราได้โอวาทของพระสุคตจากสำนักของ

พระพุทธเจ้าแล้วจักกระทำกุศล เพื่อสวรรค์สมบัติดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า ตรัสแก่สาติภิกษุนั้นว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ให้โอวาท

หรืออนุสาสนีแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะทรงระงับโอวาทของพระสุคตเจ้า จึงเริ่ม

เทศนานี้. เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง

นั่นแหละ. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชำระลัทธิในบริษัท จึงตรัส

คำว่า อิธาห ภิกฺขู ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ เป็นต้น. ถ้อยคำแม้ทั้งหมด บัณฑิตพึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

จบสาติกัณฑ์

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่วิญญาณมีปัจจัย

จึงตรัสคำว่า ย ยเทว ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนญฺจ

ปฏิจฺจ ธมฺเม จ ได้แก่ วิญญาณอาศัยภวังคจิต พร้อมทั้งอาวัชชนะ และ

ธรรมดันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า กฏฺญฺจ ปฏิจฺจ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เจ้าตรัสแล้วเพื่อแสดงชี้แจงด้วยอุปมา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่าง

ไร ด้วยอุปมานั้น. ทรงแสดงถึงความไม่มีความพอใจในทวาร. เหมือนอย่าง

ว่า ไฟอาศัยไม่จึงลุกโพลงอยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อยังมีอยู่นั่นแหละ ก็ยังลุก

อยู่ เมื่อปัจจัยคือเชื้อไม่มีอยู่ ก็ย่อมดับไปในที่นั้นนั่นเอง เพราะความขาด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 196

แคลนปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้นว่า ไฟสะเก็ดไม่เป็นต้น เพราะก้าว

ล่วงวัตถุทั้งหลายมีสะเก็ดไม่เป็นต้น ฉันใด วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ

และรูปฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปัจจัยกล่าวคือ จักขุประสาท รูป อาโลกะ

และมนสิการในทวารนั้น ยังมีอยู่ ย่อมเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยนั้นไม่มีอยู่ ย่อมดังไป

ในที่นั้นแหละ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับเป็นต้น

ว่า โสตวิญญาณเป็นต้น เพราะก้าวล่วงโสตประสาทเป็นต้น. ในวาระทั้งปวง

ก็มีนัยนี้แหละ. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงติเตียนภิกษุสาติด้วย

พระดำรัสว่า เราย่อมไม่กล่าวเหตุแม้สักว่าความพอใจในทวาร ในความเป็น

ไปแห่งวิญญาณ ก็สาติภิกษุโมฆบุรุษนี้ ย่อมกล่าวถึงความพอใจในภพ

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่วิญญาณมีปัจจัยแล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความที่ขันธ์แม้ทั้งห้ามีปัจจัย จึงตรัสคำว่า ภูตมิท

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูตมิท นี้ ได้แก่ ขันธปัญจกะ อันเกิด

แล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พวกเธอเห็นว่า ขันธปัญจกะที่เกิดแล้วหรือ. บทว่า ตทาหารสมฺภว

ความว่า ก็ขันธปัญจกะนั่นนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหาร เกิดขึ้นเพราะปัจจัย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า พวกเธอเห็นปานนี้ว่า เมื่อปัจจัยมีอยู่

ขันธปัญจกะย่อมเกิดขึ้นหรือดังนี้. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะความ

ดับแห่งปัจจัยนั้น. บทว่า ภูตมิท โนสุ ได้แก่ ขันธปัญจกะนี้เกิดขึ้นแล้ว.

คือเป็นแล้ว มีอยู่หรือหนอ. บทว่า ตทาหารสมฺภว โนสุ ความว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ตรัสถามว่า ก็ขันธปัญจกะที่มีแล้วนี้ เกิดขึ้น เพราะปัจจัยหรือ

ไม่หนอ. บทว่า ตทาหารนิโรธา ได้แก่ เพราะการดับแห่งปัจจัยนั้น. บท

ว่า นิโรธธมฺม โนสุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถามว่า ขันธปัญจกะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 197

มีความดับไปเป็นธรรมดาหรือไม่หนอ. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสโต

ความว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่โดยชอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยลักษณะ อัน

มีรสตามความเป็นจริงว่า ขันธปัญจกะนี้ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว

ดังนี้. บทว่า ปญฺาย สุทิฏฺ ได้แก่ เห็นแล้วโดยชอบ ด้วยวิปัสสนาปัญญา

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. บุคคลเหล่าใดๆ กำหนดคำถามนั้น ด้วยอา

การอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงรับปฏิญญาของคนเหล่านั้นๆ

ก็จักแสดงถึงความที่ขันธ์ห้ามีปัจจัย ดังนี้.

บัดนี้ พวกภิกษุมีความเป็นขันธ์ปัญจกะนั้นมีปัจจัย และมีนิโรธเป็น

อย่างดี ด้วยปัญญาใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความที่ขันธ-

ปัญจกะนั้นไม่มีตัณหาในที่นั้น จึงตรัสคำว่า อิม เจ ตุมฺเห เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น. บทว่า ทิฏฺิ ได้แก่ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะเห็น

โดยสภาวะ ชื่อว่า ผุดผ่อง เพราะเห็นปัจจัย. บทว่า อลฺลิเยถ ได้แก่ พึงติดด้วย

ตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายอยู่. บทว่า เกฬาเยถ ได้แก่ พึงเพลิดเพลินอยู่ ด้วยตัณหา

และทิฏฐิ. บทว่า ธเนยฺยาถ ได้แก่ ถึงถึงความอยากได้ เหมือนผู้ปรารถนา

ทรัพย์. บทว่า มมาเยถ ได้แก่ พึงยังเหตุสักว่าตัณหาและทิฏฐิให้เกิด

ขึ้น. บทว่า นิตฺถรณตฺถาย โน คหณตฺถาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ธรรมใด เปรียบด้วยทุ่น (แพชนิดหนึ่ง) ที่เราแสดงแล้ว เพื่อประ

โยชน์ในอันสลัดออกจากโอฆะ ๔ พวกเธอพึงรู้ธรรมนั้น มิใช่เพื่อประโยชน์

ในอันถือเอาด้วยสามารถแห่งความใคร่ บ้างหรือหนอ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบ

ธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงปัจจัยแห่งขันธ์เหล่า

นั้น จึงตรัสคำว่า จตฺตาโร เม ภิกฺขเว อาหารา เป็นต้น. คำนั้น มีอรรถตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 198

ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. มีอธิบายว่า เหมืออย่างว่า ธรรมอย่าหนึ่ง ที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เธอย่อมรู้ธรรมนี้ คือว่า บุคคลเมื่อรู้ด้วยสามารถ

แห่งประเพณีเป็นมาอย่างนี้ว่า เราย่อมไม่รู้มารดาของบุคคลนี้อย่าง

เดียว ย่อมรู้แม้ซึ่งมารดาของมารกา ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมรู้อย่างดี ฉันใด พระผู้

มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงทราบชัดแต่เพียงขันธ์อย่างเดียว

เท่านั้นก็หาไม่ ทรงทราบความสืบต่อเนื่องๆ กันมาแห่งธรรมที่เป็นปัจจัยทั้ง

ปวง อย่างนี้ว่า ย่อมทรงทราบชัดแม้ปัจจัยแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมทรงทราบ

แม้ปัจจัยแห่งปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า เพื่อทรง

แสดงความสืบเนื่องต่อๆ กันมาแห่งปัจจัยในบัดนี้ จึงตรัสคำว่า อิเม จ ภิกฺขเว

จตฺตาโร อาหารา เป็นต้น. แม้คำนั้น ก็มีอรรถเหมือนที่กล่าวแล้ว. กถาว่า

ด้วยปฏิจจสมุปบาทในพระบาลีนี้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลายสังขารทั้ง

หลาย มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้แล ความเกิดขึ้น

แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ดังนี้ พึงให้พิสดาร ก็กถานั้นกล่าว

พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อิมสฺมึ สติ อิท โหติ ได้แก่ เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี

อยู่ ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็มี. บทว่า อิมสฺสุปฺปาทา อิทิ อุปฺปชฺชติ ได้แก่

เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิดขึ้นผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็เกิดขึ้น. ด้วยเหตุ

นั้นเหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้ง

หลาย จึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 199

ทรงแสดงถึงวิวัฏฏะจึงตรัสคำว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เป็น

ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว คือ อวิชชานั่นแหละ. บท

ว่า อเสสวิราคนิโรธา คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เพราะสังขารดับ

ไป วิญญาณจึงดังดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดงว่า ก็เพราะความดับไปแห่งสังขาร

ทั้งหลาย อันดับไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะความดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค

กล่าวคือ วิราคะ ความดับไม่เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย จึงมี ดังนี้ วิญญาณ

ก็ดับ และเพราะความดับแห่งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น ชื่อว่า ธรรม

ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ก็ย่อมดับไปเหมือนกัน ดังนี้ แล้วจึงตรัสว่า ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมิได้อย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส

ได้แก่ ทั้งสิ้น อธิบายว่า กองทุกข์ล้วน ๆ เว้นจากความเป็นสัตว์. บทว่า

ทุกฺขกฺขนฺธสฺส แปลว่า กองทุกข์. บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ ความไม่เกิด

ขึ้น. บทว่า อิมสฺมึ อสติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำ

ที่กล่าวแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสปฏิจจสมุปบาททั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่มีแห่งการท่องเที่ยว

ไป อันบุคคลผู้รู้อยู่ซึ่งความหมุนเวียนไปแห่งปัจจัย ๑๒ นี้พร้อมด้วยมรรค

ในวิปัสสนาญาณที่ละได้แล้วนั้น จึงตรัสคำว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เป็น

ต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว ชานนฺตา ได้แก่ รู้อยู่อย่างนี้พร้อม

ด้วยวิปัสสนามรรค. บทว่า เอว ปสฺสนฺตา เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแหละ.

บทว่า ปุพฺพนฺต อธิบายว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะทั้งหลายในอดีต. บท

ว่า ปฏิธาเวยฺยาถ คือว่า พึงแล่นไปด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ. คำที่

เหลือพิสดารแล้วในสัพพาสวสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 200

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามถึงความไม่หวั่นไหวของ

ภิกษุเหล่านั้น ในที่นั้นจึงตรัสคำว่า อปินุ ตุมฺเห ภิกฺขเว เอว ชานนฺตา เอว

ปสฺสนฺตา เอว วเทยฺยาถ สตฺถา โน ครุ ดังนี้เป็นต้น. แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พวกเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระศาสดาเป็น

ครูของพวกเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ครุ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยภาระ เป็นผู้คล้อย

ตามความใคร่ก็มิได้. บทว่า สมโณ ได้แก่ สมณะผู้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า

อญฺ สตฺถาร อุทฺทิเสยฺยาถ ความว่า พวกเธอพึงเป็นผู้สำคัญอย่างนี้ว่า

พระศาสดานี้ ไม่สามารถยังกิจของพวกเราให้สำเร็จดังนี้ แล้วพึงยกย่อง

ศาสดาอื่น คือภายนอกพระศาสนาบ้างหรือ. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณาน

คือ สมณะเดียรถีย์และพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า วตกุตุหลมงฺคลานิ ได้

แก่ สมาทานข้อปฏิบัติอย่างหนึ่ง ตื่นความเห็นอย่างหนึ่ง และทิฏฐมงคล

สุตมงคล มุตตมงคลอย่างหนึ่ง. บทว่า ตานิ สารโต ปจฺจาคจฺเฉยิยาถ ความ

ว่า พึงเป็นผู้สำคัญเหล่านั้น อย่างนี้ว่าเป็นสาระ ดังนี้ ยึดถือเอา อธิบาย

ว่า แม้สละออกแล้วอย่างนี้ แล้วก็ยึดถือเอาอีก. บทว่า สมม าต ได้แก่

รู้ได้เองด้วยญาณ. บทว่า สาม ทิฏ ได้แก่ เห็นได้เองด้วยปัญญาจักษุ.

บทว่า สาม วิทิต ได้แก่ กระทำให้แจ้ง คือทำให้ปรากฏได้เอง. บทว่า อุปนี-

ตา โข เม ตุมฺเห ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออันเรานำเข้าไปสู่

นิพพานโดยธรรมอันมีสภาวะที่ตนพึงเห็นเองเป็นต้นนี้. อธิบายว่า อันเรา

ให้ ถึงแล้ว เนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายมีสนฺทิฏิโก เป็นต้น พิสดารแล้วใน

วิสุทธิมรรค. บทว่า อิทเมต ปฏิจฺจ วุตฺต ความว่า คำนี้ อย่างนี้ เรากล่าว

แล้ว เพราะอาศัยความที่พวกเธอรู้เองเป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคาถาว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 201

ทั้งหลาย ก็เพราะการประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการดังนี้. พระองค์ทรง

ยังเทศนาให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะในหนหลังมิใช่หรือ. ตอบ

ว่า ใช่ให้ถึงที่สุดแล้ว. แต่ว่าอนุสนธินี้เป็นของเฉพาะบุคคล. จริงอยู่ โลกสัน

นิวาสนี้ หลงใหลแล้วในปฏิสนธิ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่ม

เทศนานี้ว่า เราจักกำจัดฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงใหลของโลกสัน-

นิวาสนั้นทำให้ปรากฏ. อีกอย่างหนึ่ง อวิชชามีวัฏฏะเป็นมูล ความบังเกิดขึ้น

แห่งพุทธะมีวิวัฏฏะเป็นมูล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงแสดง

อวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล และพุทธุปบาทอันมีวิวัฏฏะเป็นมูลแล้ว ทรงดำริ

ว่า เราจักยังเทศนาให้ถึงที่สุดอีกครั้งเดียว ด้วยสามารถแห่งวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ดังนี้ จึงเริ่มเทศนานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนิปาตาได้แก่ เพราะการประชุม

คือว่า เพราะประมวลมา. บทว่า คพฺภสฺส ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดขึ้นในครรภ์.

บทว่า อวกฺกนฺติ โหติ ได้แก่ ความเกิดย่อมมี. จริงอยู่ในที่บางแห่งท้องแห่ง

มารดาท่านเรียกว่า ครรภ์. เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า :-

ยเมกรตฺตึ ปม คพฺเภ วสติ มาณโว

อพฺภุฏฺิโตว สยติ ส คจฺฉ น นิวตฺตติ.

แปลว่า สัตว์อยู่ในท้องเเม่ ตลอดราตรีหนึ่งก่อน เขาลุกขึ้นแล้ว

ก็นอน เขาไปไม่กลับ. ในที่บางแห่ง ท่านเรียกสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ว่า ครรภ์.

เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ยถา โข ปนานนฺท อิตฺถิโย อญฺา นว วา ทส วา

มาเส คพฺภ กุจฺฉินา ปริหริตฺวา วิชายนฺติ แปลว่า ก่อนอานนท์ หญิงอื่นๆ

ย่อมรักษาทารกผู้เกิดในครรภ์ด้วยท้อง เก้าเดือน หรือว่า สิบเดือนแล้วจึง

คลอด. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสัตว์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 202

คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ ดังนี้ หมายถึงสัตว์นั้น.บทว่า อิธ ได้แก่ ในสัตว์โลก

นี้. บทว่า มาตา จ อุตุนี โหติ นี้ ตรัสหมายเอาเวลามีระดู. ได้ยินว่า ทารก

ย่อมเกิดแก่มาตุคามในโอกาสใด ในโอกาสนั้น เม็ดโลหิตใหญ่ตั้งอยู่แล้ว

แตกไหลไป เป็นวัตถุบริสุทธิ์ เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ มารดาบิดาอยู่ร่วมกันครั้ง

เดียวมีเขตเจ็ดวันทีเดียว ในสมัยนั้น ทารกย่อมเกิดขึ้นได้ แม้ด้วยการลูบคลำ

อวัยวะ มีการจับมือ จับมวยผมเป็นต้น. บทว่า คนฺธพฺโพ ได้แก่ สัตว์ผู้เข้าถึง

ในที่นั้น. บทว่า ปจฺจุปฏฺิโต โหติ นี้ มีอธิบายว่า ชื่อว่า สัตว์ผู้จ้องดูการอยู่

ร่วมมารดาและบิดา ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ย่อมไม่มี แต่ว่า สัตว์หนึ่ง ผู้อันกรรม

ซัดส่งไปแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นในโอกาสนั้น มีอยู่ ดังนี้. บทว่า สสเยน ความ

ว่า ด้วยการสงสัยในชีวิตอย่างใหญ่ อย่างนี้ว่า เราหรือว่าบุตรของเราจัก

ปราศจากโรคไหมหนอดังนี้.

บทว่า โลหิตญฺเหต ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า โลหิตของแม่ในครั้ง

นั้น ถึงพร้อมแล้วและถึงพร้อมแล้วซึ่งฐานะนั้น คือว่า ย่อมเป็นของขาวด้วย

ความสิเนหาในบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า วงฺก ได้แก่ ไถเล็กของทารกในผู้เล่นอยู่. การเล่นประหารไม้สั้น

ด้วยไม้ยาว ท่านเรียกว่า ฆฏิกา. บทว่า โมกฺขจิก ได้แก่ การเล่นหมุนเวียน.

มีอธิบายว่า การเล่นจับท่อนไม้ในอากาศ หรือว่า เล่นเอาหัวตั้งที่พื้นดิน

แล้วพลิกไปมาข้างล่างข้างบน. จักรหมุนไปด้วยการกระทบลม ที่ทำด้วย

วัตถุทั้งหลายมีใบตาลเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิงคุลิกะ. ทะนานทำด้วยใบ

ไม้ ท่านเรียกว่า ปัตตาฬหกะ ได้แก่ การเล่นตวงวัตถุทั้งหลายมีทรายเป็น

ต้น ด้วยทะนานใบไม้นั้น. บทว่า รถก ได้แก่ รถเล็ก. แม้ธนู ก็ได้แก่ธนูเล็ก

นั่นแหละ. บทว่า สารชฺชติ ได้แก่ ย่อมยังราคะให้เกิดขึ้น. บทว่า พฺยาปชฺชติ

ได้แก่ ย่อมยังความพยาบาทให้เกิดขึ้น. บทว่า อนุปฏฺิตกายสติ ความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 203

ว่า สติในกาย เรียกว่า กายสติ อธิบายว่า ตั้งกายสตินั้น. บทว่า ปริตฺตเจตโส

ได้แก่ อกุศลจิต. บทว่า ยตฺถสฺส เต ปาปกา ความว่า อกุศลธรรมอัน

ลามกเหล่านั้นย่อมดับไป ในผลสมาบัติใด ย่อมไม่รู้ย่อมไม่บรรลุสมาบัติ

นั้น. บทว่า อนุโรธวิโรธ ได้แก่ ราคะ และโทสะ. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่

ย่อมเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลกล่าวด้วยอำนาจแห่งตัณหา

ว่า โอ สุขหนอ เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมบ่น. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺติ ได้แก่

กลืนกิน คือยังกิจให้สำเร็จแล้วถือเอาด้วยความติดใจในตัณหา. อธิบาย

ว่า จงยินดียิ่งซึ่งสุข หรือว่าอทุกขมสุข ก่อนหรือว่าย่อมยินดียิ่งซึ่งทุกข์อย่าง

ไร. เมื่อบุคคลยึดถือว่า เรามีทุกข์ ทุกข์เป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง

ในทุกข์. บทว่า อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น.บทว่า ตทุปา-

ทาน ความว่า ตัณหานั้นเอง ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดถือ. ก็ปัจจยา-

การอันเป็นวัฏฏะมีสนธิสามและสังเขปนี้นี้ว่า ตสฺส อุปาทานปจฺจยา ภโว

ฯเปฯ สมุทโย โหติ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอีกครั้งหนึ่ง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอันเป็นส่วนวิวัฏฏะ จึง

ตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่าอุปฺปมาณเจตโส ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาประมาณมิได้ เพราะมีจิตเป็น

โลกุตตระอันประมาณมิได้ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต.

บทว่า อิม โข เม ตุมฺเห ภิกฺขเว สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ธาเรถ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำ

เทศนาตัณหาสังขยวิมุตติของเรา อันเราแสดงโดยย่อนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์

เถิด อย่าหลงลืม. จริงอยู่ เทศนาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

วิมุตติ เพราะเป็นเหตุได้วิมุตติ. บทว่า มหาตณฺหาชาลตณฺหาสฆาฏิปฏิ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 204

มุกฺก ความว่า ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข่ายตัณหาใหญ่

เพราะอรรถว่า ร้อยรัดไว้ ตรัสว่า สังฆาฏะ เพราะอรรถว่า เสียดสี อธิบาย

ว่า พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เป็นบุตรนายเกวัฏฏ์นี้ว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่าย

แห่งตัณหาใหญ่ และในร่างตัณหานี้ พึงทรงจำภิกษุนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปแล้ว

อยากอยู่ภายใน ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น

แล.

จบอรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 205

๙. มหาอัสสปุรสูตร

[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่

เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม

รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น

อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก

เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง

หลายจักสมาทานประพฤติกรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น

พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา

ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย

นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา

อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ

ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง

หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ

ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้

พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ

(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 206

ไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง

หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ

ญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์

ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ

เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเรา

เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียง

เท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จเเล้วสามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำ

ดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียง

เท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำ

ให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสีย

เลย.

[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์

ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ

เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็น

ผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร และวจีสมาจารบริสุทธิ์

แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง

แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี

ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย

เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้

เสื่อมไปเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 207

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์

ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วย

ความ เป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า

พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมา

จาร และมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละพวกเราทำเสร็จ

แล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ

ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง

หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ

ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ

เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะ

บริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริ

และโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะบริสุทธิ์

แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง

แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี

ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย

เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้

เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอิน

ทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 208

ชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้

อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ชื่อว่ารักษาจัก-

ขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ได้ยินเสียงดสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ..

ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว, จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมมนิน-

ทรีย์ ที่เมื่อสำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ

โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์

บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัป-

ปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้

มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเรา

ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้

ยิ่งขึ้นไป ได้มีพวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอ

ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ

ญัตตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะ

จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหาร จักไม่กลืนเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา

เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เป็นไป ห่างไกลจา

ความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบำบัดเวทนา

เก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้อัตภาพดำเนินไป ไม่มีโทษ

อยู่สบายด้วยประการฉะนี้ บางทีพวกเธอจะมีความดำเนินไป ไม่มีโทษ

เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมา-

จาร อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้

จักประมาณในโภชนะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละพวกเราทำเสร็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 209

และ สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ

ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง

หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ

ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ในความ

เป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วย

การจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดังราชสีห์

โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความ

สำคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตให้

บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอด

ปัจฉิมยามแห่งราตรี บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบ

ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์

แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณใน

โภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ

พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ

ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น

เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนเธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น

ไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร

พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญ-

ญะ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ใน

การคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 210

ฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัว

ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง บางทีพวก

เธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมา

จาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็น

ผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเรา

ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไร ๆ ที่ควรทำให้

ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกเก่เธอ

ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ-

ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.

[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจาก

บิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ

หน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระ

จิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว

ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็น

ผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสำคัญหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้

ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ

ได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศล

ธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 211

[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไประ

กอบการงาน การงานเหล่านั้นของเราจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็น

ต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับ

เลี้ยงภรรยา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ

การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิม

ให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา

ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็น

เหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึง

ความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ละไม่มีกำลังกาย สมัยต่อ

มา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึง

มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บ

หนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้น

แล้ว บริโภคอาหารได้สละมีกำลังกาย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปรา

โมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือน

จำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยและไม่ต้องเสีย

ทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่

ในเรือนจำ บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสีย

ทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการ

พ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่

ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 212

เป็นทาสนั้น พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามความ

พอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่

ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็น

ทาสนั้นแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ความความ

พอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทแก่

ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์ มีโภคสมบัติ จะพึง

เดินทางไกลกันดาร สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ โดยสวัสดี

ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ เดินทางไกลกันดาร บัดนี้ เราข้ามพ้นทาง

กันดารนั้นแล้ว โดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย ดังนี้ เขาจะ

พึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ

ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่า

นี้ ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือเรือนจำ เหมือนความเป็น

ทาส เหมือนทางไกลกันดาร และพิจารณาเป็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่า

นี้ ที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการ

พ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้น

แล.

[๔๗๑] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง

จิตอันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำ

กายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 213

ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูก

ต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือของพนักงานสรงสนาน

ผู้ฉลาด ใส่จุณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อนจุณสี-

ตัวนั้นมียางซึมไปจับติดกันทั้งข้างในข้างนอก ย่อมไม่กระจายออก ฉะ

นั้น.

[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบ

ไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่ม

ชื่น อิ่มเอิบ ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบ

เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้าน

ตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล

แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่น เอิบ

อาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำเย็นจะ

ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมป-

ชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยะทั้ง

หลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้

แลให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบ

ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบ

เหมือนในกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก แต่ละชนิด ในกออุบล กอปทุม

หรือกอบุณฑริก ดอกบัวบางชนิด เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นจาก

น้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้อันน้ำเย็นหล่อเลี้ยงเอิบอาบซึมซาบไปแต่ยอดและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 214

เหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกออุบล กอปทุม หรือกอบุณฑริก ที่น้ำเย็นจะ

ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าจตุตถฌานไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสในก่อนได้

มีความบริสุทธิ์แห่งสติที่อุเบกขาให้เกิดขึ้นอยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล

ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่จิตอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอด

ศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะ

ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น.

[๔๗๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่เคยอยู่

อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ ด้วยประ

การฉะนี้ เปรียบเหมือนบุรุษออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้าน

แม้นั้นไปสู่บ้านอื่น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของตนตาม

เดิม เขาจะพึงระลึกได้ว่า เราออกจากบ้านของตนไปสู่บ้านโน้น ในบ้าน

นั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจาก

บ้านแม้นั้นไปสู่บ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่าง

นั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น ออกจากบ้านแม้นั้นแล้ว กลับมาสู่บ้านของ

ตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในกาล

ก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติที่

เคยอยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง

อุทเทศ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 215

[๔๗๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมโน้ม

จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย

จักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรม เปรียบเหมือนเรือนสองหลังมีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุ ยืนอยู่ท่าน

กลางเรือน พึงเห็นหมู่มนุษย์ กำลงเข้าสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือน

บ้าง กำลังเดินไปบ้าง กำลังเที่ยวไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง

จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตก

ยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้

เป็นไปตามกรรม ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๔๗๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม

โน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี้ปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ

นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอยู่

อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชา

สวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ

ได้มี เปรียบเหมือนห้วงน้ำบนยอดภูเขา มีน้ำใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มี

จักษุดี ยืนอยู่ที่ขอบห้วงน้ำนั้น พึงเห็นหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระ-

เบื้อง ฝูงปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง เขามีความดำริว่า ห้วงน้ำนี้ มีน้ำ

ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีหอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด กระเบื้อง และฝูง

ปลา หยุดอยู่บ้าง เคลื่อนไปบ้าง ฉันใด ภิกษุย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 216

ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่แล้ว กิจ

ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฉันนั้นเหมือนกัน

แล.

[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์

บ้าง นหาตกะบ้าง เวทคูบ้าง โสตติยะบ้าง อริยะบ้าง อรหันต์บ้าง.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า สมณะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นระงับเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า

สมณะ.

ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า พราหมณ์ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นลอยเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า

พราหมณ์.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า นหาตกะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นอาบล้างเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุ

ชื่อว่านหาตกะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเวทคู เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเวทคู.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าโสตติยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 217

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นให้หลับไปหมดแล้ว อย่างนี้แล

ภิกษุ ชื่อว่าโสตติยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าอริยะ. เหล่าอกุศลธรรมอันลามก อันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป ห่างไกลภิกษุนั้น อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าอริยะ.

ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่า อรหันต์. เหล่าอกุศลธรรม อันลามกอันให้

เศร้าหมอง นำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์

ใหม่ ชาติ ชรา มรณะต่อไป อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อ

ว่า อรหันต์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่น

ชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ มหาอัสสปุรสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 218

อรรถกถามหาอัสสปุรสูตร

มหาอัสสปุรสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในมหาอัสสปุรสูตรนั้น. บทว่า องฺเคสุ ได้แก่ พวก

เจ้าชาวชนบท นามว่า อังคะ. ที่ประทับอยู่แห่งเจ้าอังคะเหล่านั้น แม้เป็นชนบท

เดียว ก็เรียกว่า อังคาดังนี้ เพราะศัพท์ขยายความถึง ในอังคชนบทนั้น.

บทว่า อสฺสปุร นาม องฺคาน นิคโม ความว่า นิคมหนึ่งแห่งอังคชนบท มี

โวหารอันได้แล้ว โดยนามเมืองว่า อัสสปุระ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงกระทำนิคมนั้นให้เป็นโคจรคามแล้ว ประทับอยู่ บทว่า ภควา

เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอว่าเป็นสมณะๆ ดังนี้ เป็นต้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า

ในนิคมนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธาเลื่อมใส มีความนับถือพระพุทธเจ้าว่า

เป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือพระสงฆ์ว่าเป็นของ

เรา เห็นแม้สามเณรผู้บวชในวันนั้น ก็ทำให้เป็นเช่นกับพระเถระมีพรรษาตั้ง

ร้อย. พวกเขาเห็นภิกษุสงฆ์เข้าไปบิณฑบาตในเวลาเช้า แม้ถือพืชและคันไถ

เป็นต้นไปยังนา แม้ถือวัตถุมีขวานเป็นต้น เข้าไปยังป่า ก็จะวางอุปกรณ์เหล่า

นั้น แล้วปัดกวาดที่สำหรับนั่งของภิกษุสงฆ์หรืออาสนศาลา หรือมณฑป

หรือว่าโคนไม้ แล้วปูลาดอาสนะทั้งหลาย ตั้งเชิงรองบาตรและน้ำดื่ม แล้ว

นิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์นั่ง ถวายข้าวยาคูและของที่ควรเคี้ยวเป็นต้น ส่งภิกษุ

สงฆ์ผู้ทำภัตตกิจเสร็จแล้วไป จึงถืออุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จากที่นั้นไปสู่

นาหรือว่าป่ากระทำการงานทั้งหลายของตน. ในที่ทำงานเขาก็ไม่พูดกัน

อย่างอื่น พวกเขาเหล่านั้น ย่อมกล่าวคุณความดีของภิกษุสงฆ์นั่นแหละ

ด้วยคำว่า บุคคล ๘ คือผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ชื่อว่า อริยสงฆ์ พระอริยสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 219

เหล่านั้นประกอบด้วยศีลเห็นปานนี้ ด้วยอาจาระเห็นปานนี้ ด้วยข้อปฏิบัติเห็น

ปานนี้ เป็นผู้ละอาย เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้มีคุณอันโอฬารดังนี้ มาจากที่

ทำการงานแล้ว บริโภคอาหารเย็นแล้วนั่งอยู่ที่ประตูเรือนก็ดี เข้าไปห้องนอน

นั่งแล้วก็ดี ก็ย่อมกล่าวคุณความดีของพระภิกษุสงฆ์นั่นแหละ. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเห็นความนับถือของพวกมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงประกอบ

ภิกษุสงฆ์ไว้ ในความเคารพในบิณฑบาต จึงได้ตรัสพระดำรัสนั้น.

บทว่า เย ธมฺมา สมณกรณา จ พฺราหฺมณกรณา จ ความว่า ธรรม

เหล่าใด อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำให้เป็นสมณะ มีบาปอัน

สงบ และให้เป็นพราหมณ์ มีบาปอันลอยแล้ว ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสธรรมอันสมณะควรทำไว้ในข้อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจของสมณะ

อันสมณะพึงกระทำเหล่านี้ มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน คือการสมา

ทานอธิศีลสิกขา ๑. การสมาทานอธิจิตตสิกขา ๑ การสมาทานอธิปัญญา

สิกขา ๑ ดังนี้. แม้ธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นธรรมกระทำให้เป็นสมณะ

เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เทศนาพิสดารแล้วด้วยอำนาจ

แห่งหิริโอตตัปปะเป็นต้น.

ในบทว่า เอว โน อย อมฺหาก นี้บทว่า โน สักว่าเป็นนิบาต อธิบาย

ว่า ธรรมนี้จักมีแก่พวกเรา ด้วยอาการอย่างนี้. แม้บททั้งสอง คือ มหปฺผลา

และ มหานิสสา ว่าโดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน. บทว่า อวญฺา ได้แก่

ไม่เป็นโมฆะ. บทว่า สผลา เนื้อความนี้ ก็มีอรรถแห่งอโมฆะนั่นแหละ.

จริงอยู่ ผลแห่งความไม่เป็นหมันไม่มี ผลนั้น ชื่อว่า มีโทษ. บทว่า สอุทฺรยา

แปลว่า มีกำไร คำนี้ เป็นไวพจน์กัน เพราะมีผล. บทว่า เอวญฺหิ

โว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่าง

นี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 220

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญธรรม มีหิริและโอตตัปปะเป็น

ต้น ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุไร เพราะ

เพื่อตัดทางแห่งคำพูด. จริงอยู่ ถ้าใครๆ บวชไม่นานเป็นภิกษุโง่พึงกล่าว

อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอสมาทานธรรมมีหิริและ

โอตตัปปะเป็นต้น แล้วประพฤติเถิดดังนี้ ก็อะไรหนอ เป็นอานิสงส์ใน

การสมาทานธรรมเหล่านั้นประพฤติ เพื่อตัดทางแห่งคำ ของภิกษุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่า ธรรมเหล่านี้ บุคคลสมาทานทำ

ให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำให้มีชื่อว่า สมณะผู้มีบาปสงบแล้ว ให้มีชื่อว่า

พราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้วทั้งให้เกิดลาภคือปัจจัยสี่ ย่อมยังความมีผล

มากให้ถึงพร้อมแก่ผู้ให้ปัจจัย ย่อมกระทำการบรรพชาไม่ให้เป็นหมัน

ให้มีผล ให้มีกำไร ที่เป็นอานิสงส์ดังนี้. พึงทราบเนื้อความโดยสังเขปใน

ที่นี้เพียงนี้ แต่โดยพิสดาร พึงทราบการกล่าวสรรเสริญโดยนัยที่กล่าวไว้

ในสติปัฏฐาน.

บทว่า หิโรตฺตปฺเปน ได้แก่ ด้วยหิริและโอตตัปปะที่ท่านขยายออกไป

อย่างนี้ว่า สิ่งใดอันบุคคลผู้ควรละอายย่อมละอาย สิ่งใด อันบุคคลผู้ควร

เกรงกลัวย่อมเกรงกลัว ดังนี้ อีกอย่างหนึ่งในข้อนี้ หิริมีภายในเป็นสมุฏ-

ฐาน โอตตัปปะมีภายนอกเป็นสมุฏฐาน หิริเป็นอัตตาธิปไตย โอตตัปปะเป็น

โลกาธิปไตย. หิริดำรงอยู่ในสภาพความละอาย โอตัปปะดำรงอยู่ในสภาพ

ความกลัว. ก็กถาพิสดารในธรรมทั้งสองนี้ กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคโดย

อาการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งสองเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อ

ว่า ธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก เพราะรักษาโลก. เหมือนอย่างที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ ย่อมคุ้ม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 221

ครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ และโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุกกธรรม ๒ เหล่านี้ไม่พึงคุ้มครองโลก ไม่พึงปรากฏในที่นี้ไซร้ โลก

ไม่ว่ามารดา หรือ ป้า น้า ภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู ก็จักถึง

การเจือปนกันเหมือนแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก. ธรรม

เหล่านี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในชาดกว่า เป็นเทวธรรม. เหมือน

อย่างที่ตรัสไว้ว่า

หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา

สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเรา.

แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบแล้วในโลก ผู้ถึง

พร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ ประกอบ

ด้วยสุกกธรรม ท่านกล่าวว่า เป็นผู้มี

เทวธรรม ดังนี้.

หิริและโอตตัปปะธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แก่พระมหาจุนทเถระ ว่าเป็นปฏิปทาเครื่องขัดเกลากิเลส. เหมือนอย่างที่ตรัส

ไว้ว่า เธอพึงทำการขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่น จักเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ เราจัก

เป็นผู้มีโอตตัปปะในที่นี้ ดังนี้. ก็หิริและโอตตัปปะธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงแสดงสำหรับกระทำให้เป็นโอวาทูปสัมปทา จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึง

ศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้า ใน

พระเถระ ในพระนวกะ ในพระมัชฌิมะทั้งหลาย ดังนี้ ดูก่อนกัสสปะ เธอ

พึงศึกษาอย่างนี้แล. แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหิริและโอตตัป-

ปะธรรมเหล่านี้ว่า ชื่อว่าสมณธรรม. ก็เพราะประโยชน์แห่งความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 222

เป็นสมณะ ย่อมไม่ถึงซึ่งที่สุด ด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงธรรมอันกระทำความเป็นสมณะ

แม้อื่นๆ จึงตรัสคำว่า ยา โข ปน ภิกฺขเว ตุมฺหาก เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น ในบทว่า สามญฺตฺโถ ก่อนอื่นในคัมภีร์สังยุตนิกาย ที่ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สามัญญะความเป็นสมณะเป็นไฉน อริยมรรค ประ

กอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล เราเรียกว่า สามัญญะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ โทสะ โมหะ อันใด อันนี้ เราเรียกว่า

ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ. มรรคท่านเรียกว่า สามัญญะ ผลและ

นิพพานท่านเรียกว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ. แต่ในที่นี้ บัญฑิตพึง

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ เพราะ

รวมทั้งมรรคและผลเข้าด้วยกัน. บทว่า อาโรจยามิ แปลว่า ย่อมบอก.

บทว่า ปฏิเวทยามิ ได้แก่ เตือนให้รู้.

ในบทว่า ปริสุทฺโธ โน กายสมาจาโร นี้ ได้แก่ กายสมาจาร ๒

อย่างคือ บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์. จริงอยู่ ภิกษุใดฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่ง

ของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ประพฤติผิดในกาม กายสมาจารของภิกษุ

นั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. ก็กายสมาจารนี้ท่านห้ามไว้โดยเป็นกรรมบถ.

ก็ภิกษุใดย่อมตี ย่อมเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยฝ่ามือ หรือด้วยก้อนดิน

ด้วยท่อนไม้ หรือด้วยศาตรา กายสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่

บริสุทธิ์. กายสมาจารแม้นี้ ท่านก็ห้ามไว้ โดยเนื่องด้วยสิกขาบทที่

เดียว ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อความทั้งสองนั้น ตรัสแต่ชื่อ

เป็นธรรมขัดเกลาอย่างยิ่ง.

จริงอยู่ ภิกษุใด เงื้อก้อนดิน หรือท่อนไม้ โดยไล่กาทั้งหลาย

ซึ่งกำลังดื่มน้ำในหม้อน้ำ หรือจิกกินข้าวสุกในบาตร กายสมาจาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 223

ของภิกษุนั้น ไม่บริสุทธิ์. ตรงกันข้ามชื่อว่าสมาจารบริสุทธิ์. บทว่า

อุตฺตาโน ได้แก่ ขึ้นไปแล้ว คือปรากฏแล้ว. บทว่า วิวโฏ ได้แก่ เปิดเผย

คือ ไม่ปกปิด ย่อมแสดงความบริสุทธิ์ด้วยธรรมแม้ทั้งสองนั่นเอง. บท

ว่า น จ ฉิทฺทวา ได้แก่ เป็นเช่นเดียวกันในกาลทุกเมื่อ คือ ไม่มีช่องในระ

หว่างๆ. บทว่า สวุโต ได้แก่ ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดประตูของกิเลสทั้ง

หลาย มิใช่เพื่อต้องการปกปิดโทษ.

แม้ในวจีสมาจาร ภิกษุใด พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ

พูดเพ้อเจ้อ วจีสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. ก็วจีสมาจารนี้

ท่านห้ามไว้โดยเป็นกรรมบถแล้ว. ก็ภิกษุใดเมื่อกล่าวดูหมิ่นด้วยคำ

ทั้งหลายมีคำว่า คฤหบดีหรือว่าทาส หรือว่า คนรับใช้เป็นต้น วจีสมาจาร

ของภิกษุนั้น ก็ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. วจีสมาจารนี้ ท่านห้ามไว้โดยเนื่องด้วย

สิกขาบท ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสวจีสมาจารทั้งสองนั้น

ตรัสแต่ชื่อเป็นธรรมขัดเกลาอย่างยิ่ง.

ก็เมื่อภิกษุหนุ่ม หรือว่า สามเณรกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้ง

หลายเห็นพระอุปัชฌาย์ ของพวกกระผมบ้างหรือดังนี้ ภิกษุใด แม้มีความ

ประสงค์เพียงหัวเราะ กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้อยู่โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย ภิกษุณีมากรูปอยู่แล้วในถิ่นนี้ พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน

จักไปช่วยยกห่อใส่ผักขายดังนี้ วจีสมาจารของภิกษุนั้น ย่อมไม่บริสุทธิ์.

วจีสมาจารตรงกันข้ามชื่อว่า บริสุทธิ์.

ในมโนสมาจาร ภิกษุใด เป็นผู้มีอภิชฌา มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีความ

เห็นผิด มโนสมาจารของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. ก็มโนสมาจารอัน

นี้ ท่านห้ามไว้แล้วโดยเป็นกรรมบถ. ก็ภิกษุใดยินดีทองและเงิน

ที่เขาเก็บไว้เพื่อตน มโนสมาจารของภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. มโนสมาจาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 224

แม้นี้ ก็ห้ามไว้แล้ว โดยเนื่องด้วยสิกขาบท ในสูตรนี้ ไม่ตรัสถึง

มโนสมาจารทั้งสองนั้น โดยตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง. ภิกษุ

ใด ย่อมตรึกถึงกามวิตก หรือพยาบาทวิตก หรือวิหญิงสาวิตก มโนสมาจาร

ของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. มโนสมาจารที่ตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.

ในอาชีวะ ภิกษุใด เพราะอาชีวะเป็นเหตุย่อมเลี้ยงชีพด้วยอำนาจ

อเนสนา ๒๑ อย่าง เช่นทำเวชกรรมรับใช้ค่าฝี การให้น้ำมันทาขา ย่อมหุง

น้ำมันเป็นต้น หรือว่า ภิกษุใด ทำวิญญัติบริโภค อาชีวะของภิกษุนั้นชื่อว่า

ไม่บริสุทธิ์. ก็อาชีวะอันไม่บริสุทธิ์นี้ ตรัสห้ามไว้โดยเนื่องด้วย

สิกขาบท. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถึงอาชีวะอันไม่บริสุทธิ์

ทั้งสอง ได้ตรัสแต่ธรรมชื่อขัดเกลาอย่างยิ่ง.

จริงอยู่ ภิกษุใด ได้ปัจจัยมีเนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย

เป็นต้นแล้วคิดว่า จักฉันในวันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ แล้วฉันสิ่งที่ตนสั่งสมไว้. หรือ

ว่า ภิกษุใด เห็นช่อสะเดาเป็นต้น แล้วกล่าวกะพวกสามเณรว่า พวกเธอจง

เคี้ยวกินช่อสะเดา ดังนี้. พวกสามเณรคิดว่า พระเถระอยากจะเคี้ยวกิน จึงทำให้

เป็นกัปปิยะแล้วถวาย. ภิกษุกล่าวกะภิกษุหนุ่มหรือสามเณรว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

พวกเธอจงดื่มน้ำดังนี้. ภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรเหล่านั้น คิดว่า พระเถระ

ต้องการจะดื่มน้ำ จึงทำน้ำนั้นให้สะอาดแล้วถวาย. อาชีวะของภิกษุผู้บริโภค

น้ำนั้น ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์. อาชีวะตรงกันข้าม ชื่อว่า บริสุทธิ์.

บทว่า มตฺตญฺ ได้แก่ ผู้รู้จักพอดี รู้จักพอควร รู้จักพอประ

มาณ ในการแสวงหาการรับและการบริโภค.

บทว่า ชาคริยมนุยุตฺตา ได้แก่ ทำการแบ่งกลางคืนกลางวันออก

เป็น ๖ ส่วนแล้วกระทำโอกาสเพื่อการหลับส่วนหนึ่ง ประกอบขวนขวายแล้ว

ในธรรมเป็นเครื่องตื่น ๕ ส่วน. ในบทว่า สีหเสยฺย นี้ได้แก่ การนอน ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 225

คือ กามโภคิไสยา เปตไสยา สีหไสยา ตถาคตไสยา. ในบรรดาการนอน

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้

บริโภคกามโดยมาก ย่อมนอนตะแคงข้างซ้าย เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงชื่อ

ว่า กามโภคีไสยา จริงอยู่ในบรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมาก

ไม่นอนตะแคงข้างขวา. ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมาก ย่อมนอน

หงาย เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึงเรียกว่า เปตไสยา. จริงอยู่ เพราะมีเนื้อและ

เดือดน้อย เปรตมีร่างกระดูกยุ่งเหยิง ย่อมไม่อาจนอนตะแคงข้างหนึ่งได้

จึงนอนหงายเท่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่อาจนอนตะแคงข้างหนึ่งได้

ในระหว่างขาอ่อนแล้วนอนตะแคงข้างขวา เพราะฉะนั้น การนอนนี้ จึง

เรียกว่า สีหไสยา. จริงอยู่ สีหมิคราชเพราะมากด้วยอำนาจ วางสอดเข้าข้าง

หน้าไว้ในที่หนึ่ง วางสองเท้าหลังไว้ที่หนึ่ง เอาหางสอดเข้าในระหว่างขา

อ่อน กำหนดโอกาสอันตั้งอยู่แห่งเท้าหน้า เท้าหลังและหางแล้วนอนวางศีรษะ

พาดเท้าหน้าทั้งสอง หลับไปแม้ตลอดวัน เมื่อตื่นก็ไม่มีการหวาดผวาตื่น

ยกศีรษะขึ้นแล้วกำหนด โอกาสอันเป็นที่ตั้งแห่งเท้าหน้าเป็นต้น ถ้าฐานะ

อะไรๆ ที่ตนตั้งไว้แล้วผิดปกติไป ก็เป็นผู้เสียใจว่า ฐานะนี้ไม่สมควรแก่ชาติ

และความเป็นผู้กล้าหาญของท่านดังนี้ ก็จะนอนในที่นั้นนั่นแหละ ไม่ออกไป

เพื่อหาอาหาร. ก็ครั้นเมื่อฐานะที่ตนตั้งไว้ไม่ผิดปกติไป ก็จะเป็นผู้ร่าเริงพอใจ

ว่า ฐานะนี้สมควรแก่ชาติและแก่ความเป็นผู้กล้าหาญของท่านดังนี้ ลุกขึ้น

แล้วก็เอี้ยวตัว สะบัดขนสร้อยบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงออกไปเพื่อหา

อาหาร. ก็การนอนด้วยฌานที่สี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ตถาคต

ไสยา ในบรรดาการนอนสี่เหล่านั้น การนอนอย่างสีหะมาแล้วในที่นี้ เพราะ

ว่าการนอนนี้ ชื่อว่า การนอนอย่างประเสริฐ เพราะเป็นอิริยาบถของผู้

มากด้วยอำนาจ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 226

บทว่า ปาเทน ปาท ได้แก่ เอาเท้าซ้ายทับเท้าขวา. บทว่า อุจฺจาธาย

ได้แก่ วางไว้เหลื่อมกันหน่อยหนึ่ง. เพราะว่า ข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า

เข่ากระทบกับเข่า เวทนาย่อมเกิดเนืองๆ จิตย่อมไม่สงบ การนอนก็ไม่

ผาสุก ก็ข้อเท้ากับข้อเท้า เข่ากับเข่าย่อมไม่เสียดสีกัน โดยประการใด เมื่อวาง

ไว้เหลื่อมโดยประการนั้น เวทนาย่อมไม่เกิดขึ้น จิตย่อมสงบ การนอนย่อม

ผาสุก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า อภิชฺณ โลเก เป็นต้น กล่าวพิสดารแล้วในจุลลหัตถิปทสูตร.

บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว เป็นอุปมา บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อิณมาทาย - ได้แก่ ถือเอาทรัพย์โดยเสียดอกเบี้ย(กู้). บทว่า พฺยนฺตีกเรยฺย

ได้แก่ พึงกระทำให้หมดไป อธิบายว่า พึงใช้คืนไปทั้งหมด. บทว่า ตโตนิทาน

ได้แก่ เหตุแห่งความไม่มีหนี้ จริงอยู่ บุรุษนั้น เมื่อระลึกว่า เราเป็นผู้ไม่

มีหนี้ ดังนี้ ก็จะได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เขาพึงได้ความปราโมทย์ พึงถึงความ

โสมนัส ดังนี้. ชื่อว่า อาพาธ เพราะเกิดเวทนาอันเป็นข้าศึกเพราะตัดอยู่

ซึ่งอิริยาบถ - ดุจถูกตัดด้วยเลื่อยเบียดเบียนอยู่ อาพาธนั้น มีอยู่

แก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้มีอาพาธ. ชื่อว่า มีทุกข์

เพราะทุกข์อันมีอาพาธนั้นเป็นสมุฏฐาน. ชื่อว่า เจ็บหนัก เพราะป่วยมีประ

มาณยิ่ง. บทว่า นจฺฉาเทยฺย ได้แก่ ไม่พึงชอบใจ เพราะมีพยาธิหนักเป็น

เบื้องหน้า. บทว่า พลมตฺตา ได้แก่ กำลังนั่นแหละ อธิบายว่า เขาพึงมีกำลัง

กาย. บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่ เหตุความไม่มีโรค. จริงอยู่ เมื่อเขาระลึกอยู่

ว่า เราเป็นผู้ไม่มีโรค ดังนี้ เหตุทั้งสองนั้น ย่อมเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ลเภถ ปาโมชฺช อธิคจฺเฉยฺย โสมนสฺส ดังนี้.

บทว่า น จสฺส กิญฺจิ โภคาน วโย ความว่า ไม่พึงเสื่อมโภคะทั้งหลายแม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 227

เพียงว่า กากณิกหนึ่ง. บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่ เหตุพ้นจากการจองจำ

คำที่เหลือในบททั้งปวง พึงประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้ว. บทว่า อนตฺตาธีโน

ได้แก่ ตัวเองไม่ได้เป็นใหญ่ คือว่า ย่อมทำอะไรๆ ไม่ได้ตามชอบใจของตน.

บทว่า ปราธีโน ได้แก่ ผู้อื่นเป็นใหญ่ คือว่า เป็นไปตามความชอบใจของผู้อื่น

บทว่า น เยนกามงฺคโม ความว่า เขาใคร่จะไป ต้องการไปโดย

ทิสาภาคใด ย่อมไม่ได้โดยทิสาภาคนั้น. บทว่า ทาสพฺยา ได้แก่

ความเป็นทาส. บทว่า ภุชิสฺโส ได้แก่ เป็นไทแก่ตน. บทว่า ตโตนิทาน

ได้แก่ เหตุความเป็นไท. บทว่า กนฺตารทฺธานมคฺค ได้แก่ ทางไกลกันดาร

อธิบายว่า ทางไกลปราศจากน้ำ. บทว่า ตโตทิทาน ได้แก่ เหตุแดน

อันเกษม.

ในบทว่า อิเม ปญฺจ นีวรเณ อปฺปหีเน นี้ ความว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้า ย่อมทรงแสดงกามฉันทนิวรณ์ที่ยังละไม่ได้ เป็นเช่นกับความเป็นหนี้

นิวรณ์ที่เหลือเป็นเช่นกับโรคเป็นต้น. ในข้อนั้น พึงทราบความเป็นเช่น

เดียวกัน ดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ บุคคลใด กู้หนี้เขาไปแล้วไม่ใช้ บุคคลนั้น ถูกเจ้าหนี้ทวง

ว่า เจ้าจงใช้หนี้ ดังนี้ก็ดี ถูกเขาพูดคำหยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประ-

หารก็ดี ย่อมไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ ย่อมอดกลั้นทุกอย่าง เพราะว่า หนี้นั้นมี

การอดกลั้นเป็นเหตุ ฉันใด บุคคลใด ย่อมยินดีสิ่งใด ด้วยกามฉันทะย่อมถือเอา

ซึ่งสิ่งนั้น ด้วยการถือเอาด้วยตัณหา ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลนั้น ถูกเขากล่าว

คำหยาบก็ดี ถูกเขาจับไปก็ดี ถูกเขาประหารก็ดี ย่อมอดทนทุกอย่าง เพราะ

ว่า กามฉันทะนั้น มีการอดกลั้นเป็นเหตุ ดุจความพอใจในกามของหญิงทั้ง

หลายที่ถูกสามีในเรือนฆ่า เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบกามฉันทะ ราวกะ

ความเป็นหนี้ อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 228

เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้กระสับกระส่ายเพราะโรคดี เมื่อใคร ๆ ให้

วัตถุทั้งหลายมีน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น ก็ย่อมไม่ได้รสแห่งวัตถุ

เหล่านั้น เพราะความที่ตนกระสับกระส่ายด้วยโรคดี ย่อมอาเจียนออกนั่น

เทียว ด้วยสำคัญว่า รสขม ๆ ดังนี้ ฉันใด บุคคลผู้มีจิตพยาบาท ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อถูกอาจารย์ หรืออุปัชฌาย์ผู้หวังประโยชน์กล่าวสอนอยู่เพียง

เล็กน้อย ก็ไม่รับโอวาท จะกล่าวว่า พวกท่านย่อมขัดใจเราเหลือ

เกิน แล้วก็สึกออกไป เขาย่อมไม่ประสบรสแห่งพระศาสนาอันต่างด้วยความ

สุขในฌานเป็นต้น เพราะความกระสับกระส่ายด้วยความโกรธ เหมือนบุคคล

นั้น ผู้ไม่ประสบอยู่ซึ่งรสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้น เพราะความกระสับ

กระส่ายด้วยโรคดี. บัณฑิตพึงเห็นความพยาบาท เหมือนโรคอย่างนี้.

ภิกษุผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำแล้ว ครั้นเมื่อธรรมสวนะการฟังธรรม

แม้มีนัยอันวิจิตกำลังเป็นไปอยู่ก็ย่อมไม่รู้เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง

ธรรมสวนะนั้น เหมือนบุรุษผู้ถูกจองจำในเรือนจำในวันนักขัตฤกษ์ ย่อมไม่

เห็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งงานนักขัตฤกษ์ เขาพ้นเรือนจำในวันที่

สองแล้ว แม้ได้ฟังคำว่า โอ เมื่อวันวานได้มีงานรื่นเริงสนุกสนาน มีฟ้อนรำ

ขับร้องเป็นต้น ก็ไม่กล่าวตอบ. เพราะเหตุไร เพราะความที่ตนไม่ได้ประ

สบ งานนักขัตฤกษ์ ฉะนั้น ภิกษุนั้น เมื่อธรรมสวนะตั้งขึ้นแล้ว แม้ฟังผู้

อื่นกล่าวสรรเสริญธรรมสวนะว่า โอ ฟังธรรม โอ การณะ โอ อุปมา เป็น

ต้น ก็ไม่ให้ตอบ. เพราะเหตุไร. เพราะความที่ตนไม่ประสบธรรม

กถา ด้วยอำนาจแห่งถีนมิทธะ. ถีนมิทธะ บัณฑิตพึงทราบ ดุจเรือนจำอย่าง

นี้.

เหมือนอย่างว่า ทาสแม้จะเล่นงานนักขัตฤกษ์ ถูกนายสั่งว่า ชื่อ

ว่า กรณีเร่งด่วนนี้มีอยู่เจ้าจงไปในที่นั้นทันที ถ้าเจ้าไม่ไป เราจะตัดมือและ

เท้า หรือว่า หู จมูกของเจ้าดังนี้ เขาย่อมรีบไปทีเดียว ย่อมไม่ได้เพื่อประสบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 229

เบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของงานนักขัตฤกษ์. เพราะเหตุไร เพราะตน

มีผู้อื่นเป็นใหญ่ ฉันใด ภิกษุผู้ไม่รู้ข้อปฏิบัติในพระวินัยแม้เข้าไปสู่ที่อื่น

ด้วยวิเวกกถาเรื่องวิเวก เมื่อมีความสำคัญในอกัปปิยะอย่างใดอย่างหนึ่ง

เกิดขึ้นแล้ว โดยที่สุดแม้ในกัปปิยะมังสะ ก็ละวิเวก ไปในสำนักพระวินัยธร

เพื่อชำระศีล เพราะฉะนั้น เธอย่อมไม่ได้เพื่อเสวยความสุกอันเกิดแต่วิเวก.

เพราะเหตุไร เพราะถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบ

อุทธัจจกุกกุจจะ ดุจทาสอย่างนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษเดินทางไกลกันดาร เห็นโอกาสที่พวกมนุษย์ถูก

โจรปล้นแล้ว ก็ระแวงสงสัยว่า พวกโจรมาแล้ว ด้วยเสียงของท่อนไม้บ้าง

ด้วยเสียงของพรานนกบ้าง ดังนี้ ย่อมเดินไปบ้าง หยุดอยู่บ้าง ย่อมกลับบ้าง

ที่ที่มามากกว่าที่ไป บุคคลนั้นย่อมไปถึงที่อันเป็นแดนเกษมได้โดยยาก

ลำบาก หรือไม่ถึง ฉันใด วิจิกิจฉา คือความสงสัยของบุคคลใด ในฐานะ

๘ อย่างเกิดขึ้นแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขาเมื่อสงสัยว่า พุทฺโธ นุโข น

นุโข พุทฺโธ ใช่พระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่พระพุทธเจ้าหนอ เป็นต้น ไม่อาจน้อม

เพื่อจะถือเอาด้วยศรัทธา เมื่อไม่อาจก็ย่อมไม่บรรลุมรรคผล. เมื่อบุคคลยัง

ความลังเลสงสัย ความไม่เชื่อมั่น ความเป็นผู้สะดุ้งให้เกิดแก่จิตบ่อย ๆ ว่า

พวกโจรมีอยู่ในทางไกลกันดาร หรือไม่หนอดังนี้ ย่อมกระทำอันตรายแก่การ

ถึงที่ปลอดภัย ฉันใด แม้วิจิกิจฉา ก็ฉันนั้น ยังความลังเลสงสัย ความไม่เชื่อมั่น

ความสะดุ้งให้เกิดแก่จิตบ่อย ๆ โดยนัยว่า พุทฺโธ เป็นต้น ย่อมกระทำอันตราย

แก่การบรรลุอริยมรรค บัณฑิตพึงทราบ ดุจบุคคลผู้เดินทางไกลกันดาร.

บัดนี้ ในบทว่า เสยิยถาปิ ภิกฺขเว อานณฺย นี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่งกามฉันทะอันละได้แล้ว ให้เป็นเช่นกับความไม่มี

หนี้ และซึ่งนิวรณ์ที่เหลืออันภิกษุละได้แล้ว ให้เป็นเช่นกับความไม่มีโรคเป็น

ต้น. ในข้อนั้น ความเป็นเช่นเดียวกัน พึงทราบดังต่อไปนี้. -

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 230

เหมือนอย่างว่า บุรุษกู้หนี้มาแล้วประกอบการงาน เสร็จการงานแล้ว

คิดว่า ขึ้นชื่อว่าหนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้กังวลใจดังนี้ จึงใช้หนี้คืนพร้อม

ทั้งดอกเบี้ยแล้วฉีกหนังสือทิ้งเสีย. ทีนั้น ก็ไม่มีใครๆ มาทวงหนี้ หรือส่งหนัง-

สือมาทวงเขาจำเดิมแต่กาลนั้น. เขาเห็นเจ้าหนี้แล้ว ถ้าปรารถนาจะนั่ง

หรือจะลุกขึ้นจากที่นั่ง หรือไม่ปรารถนาจะนั่ง ไม่ต้องการจะลุกขึ้นก็

ได้. เพราะเหตุไร เพราะความที่เขาหมดหนี้แล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับด้วยเจ้า

หนี้เหล่านั้น ฉันใด ภิกษุนี้ คิดว่า ชื่อว่า กามฉันทะมีความกังวลใจเป็นเหตุดัง

นี้ แล้วเจริญธรรมทั้ง ๖ อย่าง โดยนัยที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานแล้ว

ละกามฉันทนิวรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน. ความกลัว ความสะดุ้งย่อมไม่มีแก่

บุรุษหมดจากหนี้แล้ว เพราะเห็นเจ้าหนี้ฉันใด ความข้องเกี่ยวความผูกพันของ

ภิกษุผู้มีกามฉันทะอันละได้แล้ว ย่อมไม่มีในวัตถุอื่น ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อ

เห็นรูปทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ กิเลสก็ไม่ฟุ้งขึ้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า จึงตรัสการละกามฉันทะ เหมือนผู้หมดหนี้.

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้กระสับกระส่ายด้วยโรคดีนั้น ทำโรคนั้น

ให้สงบระงับไปด้วยการทำเภสัช จำเดิมแต่นั้น ย่อมรู้รสแห่งน้ำตาลกรวด

เป็นต้น ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ขึ้นชื่อว่า พยาบาทนี้ กระ

ทำความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ดังนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ อย่างละพยาบาท

นิวรณ์ได้. ภิกษุนั้น ชื่อว่า ละความพยาบาทได้อย่างนี้. บุรุษผู้หายจากโรค

ดี ชอบเสพของหวานมีน้ำตาลกรวดเป็นต้น ฉันใด ภิกษุนั้น อันอาจารย์ให้

ศึกษาอยู่ซึ่งอาจาระและพระวินัยบัญญัติเป็นต้น รับด้วยศีรษะชอบศึกษาอยู่

ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละพยาบาทดุจความไม่มีโรค.

บุรุษผู้ถูกจับเข้าไปสู่เรือนจำในวันนักขัตฤกษ์ แม้ในวันนัก

ขัตฤกษ์อื่นอีก เขาคิดว่า เราเคยถูกจองจำด้วยโทษแห่งความประมาท

จึงไม่ได้เล่นงานวันนักขัตฤกษ์ เพราะโทษนั้น บัดนี้ เราจักเป็นผู้ไม่ประมาท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 231

ดังนี้ ฉันใด ศัตรูของเขาย่อมไม่ได้โอกาส เขาเป็นผู้ไม่ประมาท จึงได้เล่นงาน

นักขัตฤกษ์แล้วเปล่งอุทานว่า อโห วันนักขัตฤกษ์ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน คิดว่า ขึ้นชื่อว่า ถีนมิทธะนี้ กระทำความฉิบหายใหญ่ดัง

นี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่าง ละถีนมิทธะได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าละถีนมิทธะแล้ว

อย่างนี้ บุรุษผู้พ้นจากเครื่องจองจำเล่นงานนักขัตฤกษ์ตลอดเบื้องต้น

ท่ามกลาง และที่สุดได้แม้ทั้ง ๗ วัน ก็เสวยอยู่ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด

แห่งธรรมนักขัตต์ ฉันใด บรรลุพระอรหัต พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา ฉันนั้น

เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสการละถีนมิทธะ เหมือน

การพ้นจากเครื่องจองจำ.

เหมือนอย่างว่า ทาสเข้าไปอาศัยมิตรคนใดคนหนึ่ง ให้ทรัพย์แก่

นาย กระทำตนให้เป็นไทได้แล้ว จำเดิมแต่นั้นมา พึงทำสิ่งที่ตนปรารถนา

ได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่าขึ้นชื่อว่า อุทธัจจกุกกุจจะกระทำ

ความฉิบหายใหญ่ ดังนี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่าง แล้วละอุทธัจจกุกกุจจะ

ได้. ภิกษุนั้นชื่อว่า ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุรุษผู้เป็นไท

แก่ตัว ปรารถนาจะทำสิ่งใดก็ทำสิ่งนั้นได้ ใครจะยับยั้งเขาจากการกระทำ

นั้นโดยพลการไม่ได้ ฉันใด ภิกษุย่อมปฏิบัติเนกขัมมปฏิปทาตามสบาย

ฉันนั้นเหมือนกัน อุทธัจจกุกกุจจะใครๆ จะยังเธอให้กลับจากเนกขัมมปฏิปทา

นั้นมาสู่อุทธัจจกุกกุจจะโดยพลการไม่ได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า จึงตรัสการละอุทธัจจกุกกุจจะได้เหมือนความเป็นไท.

เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มีกำลังถือสะเบียงกรังตระเตรียมอาวุธพร้อม

กับบริวารดำเนินไปสู่ทางกันดาร พวกโจรเห็นเขาแต่ไกลพึงหนีไป บุรุษ

นั้น ก็ผ่านทางกันดารนั้นไปถึงความปลอดภัยได้ด้วยความสวัสดี พึงเป็นผู้

ร่าเริงยินดีแล้ว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน คิดว่า ชื่อว่า วิจิกิจฉานี้

ย่อมกระทำความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ดังนี้ จึงเจริญธรรม ๖ อย่างแล้วละ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 232

วิจิกิจฉาได้ ภิกษุนั้นชื่อว่าละวิจิกิจฉาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ บุรุษผู้มีกำลัง

มีอาวุธอันตระเตรียมไว้แล้ว พร้อมกับบริวารเห็นโจรแล้ว ไม่กลัว ไม่คำนึง

พวกโจรเท่าเส้นหญ้า ออกไปถึงสถานที่อันปลอดภัยโดยความสวัสดี ฉัน-

ใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผ่านพ้นทางกันดารคือทุจริตแล้ว ถึงอมตนิพพาน

อันเกษมอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสการละวิจิกิจฉา

ดุจผู้ที่ถึงสถานที่ปลอดภัย.

บทว่า อิมเมว กาย ได้แก่ กรชกายนี้. บทว่า อภิสนฺเทติ ได้แก่

ทำให้ชุ่มชื่น ทำให้สิเนหา คือว่า ย่อมกระทำปีติและสุขเป็นไปในกรชกายทั้ง

ปวง. บทว่า ปริสนฺเทติ ได้แก่ ย่อมหลั่งไหลไปโดยรอบ. บทว่า ปริปูเรติ

ได้แก่ ย่อมเต็มเหมือนถูกลมเป่า. บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่ ย่อมถูกต้อง

โดยรอบ. บทว่า สพฺพาวโต กายสฺส ความว่า ที่แม้น้อยหนึ่งตามผิดเนื้อโลหิต

ในที่สืบต่อเป็นไปของอุปาทินนกรูป อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งกายทุกส่วนของ

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ถูกต้องด้วยความสุขในปฐมฌาน ย่อมไม่มี. บทว่า ทกฺโข

ได้แก่ ผู้ฉลาด สามารถ เพื่อกระทำ เพื่อประกอบ เพื่อผสมซึ่งจุณสำหรับ

อาบ. บทว่า กสถาเล ได้แก่ ภาชนะที่กระทำด้วยโลหะอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ก็ภาชนะที่ทำด้วยดินเหนียว เป็นภาชนะไม่มั่นคง เมื่อบุคคลทุบอยู่

ย่อมแตกได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่แสดงภาชนะที่ทำด้วยดิน

เหนียวนั้น. บทว่า ปริปฺโผสก ปริปฺโผสก แปลว่า ประพรม. บทว่า

สนฺเนยฺย ความว่า ถือถาดสำริดด้วยมือซ้าย พรมแล้วพรมอีกซึ่งน้ำพอประ

มาณด้วยมือขวาแล้วขยำกระทำให้เป็นก้อน. บทว่า สิเนหานุคตา ได้

แก่ ติดกันด้วยยางเหนียวคือน้ำ. บทว่า สิเนหปเรตา ได้แก่ ซึมไปด้วยยาง

เหนียวคือน้ำ. บทว่า สนฺตรพาหิรา ความว่า พร้อมทั้งส่วนข้างใน

ข้างนอก. ย่อมถูกต้องส่วนทั้งหมดทีเดียวด้วยยางเหนียวคือน้ำ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 233

น จ ปคฺฆารณี ความว่า น้ำย่อมไม่ไหลไปเป็นหยด ๆ อธิบายว่า สามารถเพื่อถือ

เอา แม้ด้วยมือ แม้ด้วยนิ้วเพียงสองนิ้ว เพื่อกระทำให้วนได้.

พึงทราบข้ออุปมาความสุขในทุติยฌาน. บทว่า อุพฺภิโตทโก ได้

แก่ น้ำที่ไม่ไหลไป คือไม่ไหลไปข้างล่าง ไม่ไหลไปข้างบน อธิบายว่า เป็นน้ำ

เกิดอยู่ในภายในนั่นแหละ. บทว่า อายมุข ได้แก่ ทางมา. บทว่า เทโว ได้

แก่ เมฆ. บทว่า กาเลน กาล ได้แก่ ทุกกึ่งเดือน หรือทุกสิบวัน. บทว่า

ธาร แปลว่า ฝน. บทว่า อานุปเวจฺเฉยฺย ได้แก่ ไม่พึงเข้าไป คือว่า ไม่พึง

ตกลงไป. อธิบายว่า ธารน้ำเย็นผุพุขึ้น คือทำห้วงน้ำเย็นที่ขังอยู่ให้เต็มแล้ว.

จริงอยู่ น้ำที่พุขึ้นแต่ข้างล่าง ทำน้ำที่พุขึ้นไม่ให้แตกกระเพื่อมออกไป

น้ำที่ไหลเข้าไปโดยทิศทั้งสี่ ย่อมกระเพื่อมด้วยใบไม้ หญ้า เศษไม้ ท่อนไม้

เก่าเป็นต้น น้ำย่อมกระเพื่อมเพราะฟองน้ำฝน ธารน้ำที่ตกลงมา แต่น้ำ

สงบนิ่งเกิดขึ้นอยู่ ย่อมแผ่ไปสู่ประเทศนี้ ย่อมไม่แผ่ไปสู่ประเทศนี้ เหมือน

เนรมิตไว้ด้วยฤทธิ์ เพราะฉะนั้น โอกาสอันน้ำนั้นไม่ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

มี หามิได้. ในข้อนั้น กรชกาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำ ความสุขในทุติยฌาน

เหมือนน้ำ. คำที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อน.

พึงทราบคำอุปมาในความสุขแห่งตติยฌาน ดอกอุบลทั้งหลายมี

อยู่ ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ที่นี้จึงชื่อว่า กออุบล. แม้สองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือน

กัน. ก็พึงทราบวินิจฉัยในข้อนี้ว่า ในคำนี้ บรรดาดอกอุบล มีสีขาว สีแดง

สีเขียว ดอกอุบลอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จัดเป็นอุบลทั้งนั้น ดอกอุบลที่มีใบเก้าสิบ

เก้าใบ เรียกว่า บุณฑริกมีใบร้อยใบ เรียกว่า ประทุม อีกอย่างหนึ่ง ดอกอุบล

สีขาว แม้ไม่กำหนดใบ ก็เรียกว่า ประทุม ดอกอุบลสีแดง เรียกว่า บุณฑริก.

บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ ไม่โผล่จากน้ำ. บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสิตานิ

ความว่า จมอยู่ภายในพื้นน้ำเท่านั้น ย่อมถูกต้อง คือย่อมเจริญ. คำที่

เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 234

พึงทราบความอุปมาความสุขในจตุตถฌานต่อไป ในบทว่า ปริสุทฺ-

เธน เจตสา ปริโยทาเตน นี้ พึงทราบชื่อว่า บริสุทธิ์แล้ว เพราะอรรถว่าหมด

อุปกิเลส ชื่อว่าผ่องแผ้วแล้ว เพราะอรรถว่า ประภัสสร. บทว่า โอทา-

เตน ตวฺเถน นี้ ท่านกล่าวเพื่อการแผ่ไปแห่งโอกาส. พึงทราบความในข้อนี้

อย่างนี้ว่า ผ้าที่เศร้าหมองความอบอุ่นย่อมไม่แผ่ไป. ทันใดที่ผ้าขาวซักบริสุทธิ์

สะอาด ความอบอุ่นย่อมมีกำลังแผ่ไป. จริงอยู่ สำหรับอุปมานี้ กรชกายเปรียบ

เหมือนผ้า ความสุขในจตุตถฌาน เปรียบเหมือนการแผ่ไปแห่งโอกาส

เพราะฉะนั้น เมื่อบุรุษอาบน้ำชำระดีแล้ว นั่งห่มผ้าขาวคลุมศีรษะ อุตุจากสรีระ

ย่อมแผ่ไปตลอดผ้าทั้งหมดทีเดียว โอกาสอะไร ๆ ไม่เป็นโอกาสที่จะถูกผ้า มิได้

มี ฉันใด โอกาสอะไรๆ อันความสุขในจตุตถฌานไม่ถูกต้องกรชกายของภิกษุ

ย่อมไม่มี ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง จิตในจตุตถฌานนั่นแหละ เปรียบเหมือนผ้า

ที่ห่มแล้ว รูปที่มีจิตนั้นเป็นสมุฏฐานเปรียบเหมือนการแผ่ไปแห่งโอกาส.

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อผ้าขาวในที่

บางแห่งแม้ไม่ถูกกาย กายก็เป็นอันโอกาสซึ่งมีกายนั้นเป็นสมุฏฐานถูก

ต้องแล้วทั้งหมดทีเดียวฉันใด กายของภิกษุก็เป็นอันสุขุมรูป ซึ่งจตุตถฌานให้

เกิดขึ้นถูกต้องทั่วไปหมด ก็ฉันนั้น.

พึงทราบอุปมาในปุพเพนิวาสญาณ กิริยาอันภิกษุนั้นทำแล้วในวัน

นั้น ย่อมปรากฏชัด เพราะฉะนั้น ในวันนั้นเธอยึดเอาบ้านสามหลัง ในข้อนั้น

บัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุผู้ได้ปุพเพนิวาสญาณ เหมือนบุรุษไปสู่บ้านสาม

หลัง. ภพสาม บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบ้านสามหลัง. ความแจ่มแจ้งแห่งกิริยา

อันภิกษุผู้มุ่งจิตไปในปุพเพนิวาสญาณนั่งทำแล้วในภพสาม บัณฑิตพึง

ทราบ เหมือนความแจ่มแจ้งแห่งกิริยาอันบุรุษนั้นกระทำแล้วในวันนั้นในบ้าน

สามหลัง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 235

พึงทราบอุปมาในทิพยจักษุ บทว่า เทฺว อคารา ได้แก่ บ้านสอง

หลัง. บทว่า สทฺวารา ได้แก่ มีประตูข้างหน้า. บทว่า อนุจงฺกมนฺเต ได้

แก่ เดินไปมา. บทว่า อนุวิจรนฺเต ได้แก่ เที่ยวไปข้างโน้น ข้างนี้ อธิบายว่า

พึงทราบด้วยสามารถแห่งการออกจากบ้านหลังนี้ แล้วเข้าไปสู่บ้านหลังนั้น

หรือออกจากบ้านหลังนั้น แล้วเข้าไปสู่บ้านหลังนี้.

ในข้อนั้น จุติและปฏิสนธิ เปรียบเหมือนบ้านสองหลัง มีประตูร่วมกัน

ภิกษุได้ทิพยจักษุญาณ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุ กาลเวลาที่สัตว์ผู้กำลัง

จุติและปฏิสนธิปรากฏ แก่ภิกษุผู้ได้ทิพยจักษุ ผู้เจริญอาโลกกสิณ ตรวจดูอยู่

เปรียบเหมือนเวลาที่บุรุษเดินเข้าและเดินออกตลอดบ้านสองหลัง ปรากฏแก่

บุรุษมีผู้จักษุผู้ยืนแลดูอยู่ในระหว่างบ้านสองหลัง. ถามว่า ก็กาลเหล่านั้น

ปรากฏแก่ญาณ หรือแก่บุคคล ตอบว่า แก่ญาณ. แต่ว่า เพราะปรากฏแก่

ญาณนั้น จึงปรากฏแก่บุคคลเหมือนกัน.

พึงทราบอุปมาแห่งอาสวักขยญาณ ดังนี้ บทว่า ปพฺพตสงฺเขเป

ได้แก่ ยอดภูเขา. บทว่า อนาวิโล ได้แก่ ไม่มีเปือกตม. หอยโข่งด้วย

หอยกาบด้วย ชื่อว่าหอยโข่งและหอยกาบ. ก้อนกรวดด้วย กระเบื้อง

ด้วย ชื่อว่า ก้อนกรวดและกระเบื้อง. ชื่อว่า ฝูงปลา เพราะปลาเป็นหมู่เป็น

ฝูง. ในบทว่า ติฏฺนฺตปิ จรนฺตปิ นี้ ได้แก่ ก้อนกรวดและกระเบื้องหยุด

อยู่ แต่นอกนี้ มีหอยโข่งเป็นต้น เดินไปบ้าง หยุดอยู่บ้าง. เหมือนอย่าง

ว่า เมื่อแม่โคยืนบ้าง หมอบบ้าง นอนบ้าง ในระหว่างๆ ฝูงโคเหล่านี้ย่อม

เที่ยวไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาโคที่เที่ยวไป จึงตรัสว่า โคนอกนี้

ย่อมเที่ยวไป ฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา ก้อนกรวดและกระ-

เบื้องที่หยุดอยู่นั่นเองจึงตรัสว่า สองหมวดนอกนี้หยุดอยู่. ทรงหมายเอาสอง

หมวดนี้ เคลื่อนไปจึงตรัสว่า แม้ก้อนกรวดและกระเบื้องก็เคลื่อนไป ดัง

นี้. ในข้อนั้น พึงทราบกาลที่สัจจะ ๔ แจ่มแจ้งแล้วแก่ภิกษุผู้นั่งน้อมจิตไปเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 236

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ดุจกาลที่หอยโข่งและหอยกอบเป็นต้นแจ่ม

แจ้งแล้วแก่บุรุษผู้มีจักษุยืนดูอยู่ที่ฝั่ง ฉะนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงถือเอาชื่อพระขีณาสพ ทั้ง

เพศ ทั้งคุณ ด้วยอาการ ๗ อย่าง จึงตรัสบทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ

สมโณ อิติปิ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในบทว่า เอว โข

ภิกฺขเว ภิกฺขุ สมโณ โหติ เป็นต้น อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า สมณะ เพราะมีบาปอันสงบแล้วด้วยอาการ

อย่างนี้. ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว. ชื่อว่า นหาตกะ

(ผู้อาบ) เพราะมีกิเลสล้างออกแล้ว คือมีกิเลสอันกำจัดออกแล้ว. ชื่อว่า

เวทคู เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไปแล้ว ด้วยเวททั้งหลาย คือ มรรคญาณ

๔ อธิบายว่า เพราะรู้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

วิทิตสฺส โหนฺติ เป็นต้น. ชื่อว่า โสตติยะ เพราะกิเลสทั้งหลายหลับไปแล้ว

คือว่า เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ไหลออกไปมา. ชื่อว่า อริยะ เพราะไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดแล้ว. ชื่อว่า อรหันต์

เพราะไกล คือว่า เป็นผู้ห่างไกลแล้ว. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏแจ่มแจ้ง

แล้วแล.

จบอรรถกถามหาอัสสปุรสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 237

๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร

[๔๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในอังคชนบท มีนิคมของชาว

อังคะ ชื่ออัสสปุระ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาค

เจ้าได้ตรัสดำนี้ไว้ว่า คนเขารู้จักท่านทั้งหลายว่าสมณะๆ ดังนี้ ถึงท่านทั้งหลาย

เล่า เมื่อมีคนมาไต่ถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ท่านทั้งหลายก็ปฏิญญาตัวว่า

เราเป็นสมณะ เมื่อท่านทั้งหลายมีชื่อว่าสมณะ และปฏิญญาตัวว่าเป็นสมณะ

อยู่อย่างนี้แล้ว ก็จำต้องสำเหนียกว่า ข้อปฏิบัติสิ่งใดสมควรแก่สมณะ เราจัก

ปฏิบัติข้อปฏิบัติสิ่งนั้น เมื่อความปฏิบัติของเราอย่างนี้มีอยู่ ชื่อแลคำปฏิญญา

ของเรานี้ก็จักเป็นจริง อนึ่ง เราบริโภคจีวรบิณฑบาตเสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจัยเภสัชชบริกขาร ของทายกเหล่าใด ความอุปการะเกื้อหนุนของเขาใน

เราทั้งหลายก็จักมีผลใหญ่ มีอนิสงส์ใหญ่ อนึ่ง บรรพชาของเรา ก็จักไม่

เป็นหมัน ไม่เปล่าจากประโยชน์ และจักประกอบด้วยผล ประกอบด้วยกำไร ดังนี้.

[๔๘๐] ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาชอบเป็นอย่างไร ดูกรภิกษุทั้ง

หลาย รูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้มีอภิชฌา คือความเพ่งเล็งพัสดุของผู้อื่น

มาก ละอภิชายังไม่ได้ เป็นผู้มีใจพยาบาท คือคิดล้างผลาญสัตว์ให้ฉิบ

หาย ละพยาบาทยังไม่ได้ เป็นผู้มักโกรธ ละความโกรธยังไม่ได้ เป็นผู้มักถือ

โกรธ ละความถือโกรธยังไม่ได้ เป็นผู้มักมีความลบหลู่คุณ ละความลบหลู่ยัง

ไม่ได้ เป็นผู้มักถือเป็นคู่แข่งดี ละความถือเป็นคู่แข่งดียังไม่ได้ เป็นผู้มักริษยา

ละความริษยายังไม่ได้ เป็นผู้ตระหนี่ ละความตระหนี่ยังไม่ได้ เป็นผู้

มักอวดตัว ละความอวดตัวยังไม่ได้ เป็นผู้มีมายา คือบังโทษตนไว้ ละมายายัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 238

ไม่ได้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ละความปรารถนาชั่วยังไม่ได้ และเป็นผู้

มีความเห็นผิด ละความเห็นผิดยังไม่ได้ เพราะยังละไม่ได้ซึ่งกิเลส เครื่อง

เศร้าหมองใจ ๒ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ ที่เป็นเครื่องหมองใจเป็นโทษ

เป็นของจับใจดุจน้ำฝาดของสมณะ เป็นเหตุจะให้สัตว์เกิดใน บาย มีวิบากอัน

สัตว์ทั้งหลายจะต้องเสวยในทุคคติ เราไม่กล่าวว่าเธอเป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควร

แก่สมณะ เปรียบเหมือนอาวุธอย่างหนึ่งชื่อว่า มะตะชะ มีคมสองข้าง ทั้งกำ

ซาบด้วยยาพิษทั้งคมกล้า เขาปิดคลุมหุ้มห่อไว้ด้วยผ้าสำหรับห่อ ฉันใด

เราก็กล่าวการบรรพชาของภิกษุนี้ฉันนั้น

[๔๘๑] ภิกษุทั้งหลาย ถึงบุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิอยู่ เราก็หากล่าวว่า

เป็นสมณะด้วยอาการสักว่า ครองผ้าสังฆาฏิไม่ ถึงบุคคลถือเพศเป็น

ชีเปลือย ไม่นุ่งห่มผ้า เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ไม่มีผ้านุ่งห่ม

ไม่ ถึงบุคคลถือการหมักหมมเหงื่อไคล ไม่อาบน้ำชำระกาย เราก็หากล่าวว่า

เป็นสมณะด้วยอาการที่หมักหมมเหงื่อไคลไม่ ถึงบุคคลถือการลงอาบน้ำ(วัน

ละสามครั้ง) เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ลงอาบน้ำไม่ ถึงบุคคลถือ

การอยู่ใต้ต้นไม้เป็นนิตย์ เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่อยู่ใต้ต้นไม้

ไม่ ถึงบุคคลถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นนิตย์เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอา

การที่อยู่ ณ ที่แจ้งไม่ถึงบุคคลถือการอบกายด้วยหมายจะทรมานกิเลสเป็น

นิตย์ เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยการที่อบกายไม่ ถึงบุคคลถือการ

บริโภคอาหารมีการกำหนดเป็นครั้งคราว เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วย

อาการที่ยักย้ายผ่อนผันบริโภคอาหารเป็นครั้งเป็นคราวไม่ ถึงบุคคลที่ท่องบ่น

จำมนต์ได้มาก เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ท่องบ่นจำมนต์

ไม่ ถึงบุคคลเกล้าผมเป็นเซิง เราก็หากล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการเกล้าผม

ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า บุคคลผู้ครองสังฆาฏิมีอภิชฌามาก ละอภิชฌา

เสียได้ มีจิตพยาบาทอยู่ ละพยาบาทเสียได้ มีความโกรธอยู่ ละความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 239

เสียได้ เป็นผู้มักถือโกรธ ละความถือโกรธเสียได้ เป็นผู้ลบหลู่อยู่ ละ

ความลบหลู่เสียได้ เป็นผู้ถือเป็นคู่แข่งดีอยู่ ละความถือเป็นคู่แข่งดีเสีย

ได้เป็นผู้มักริษยาอยู่ ละความริษยาเสียได้ เป็นตระหนี่อยู่ ละความตระหนี่

เสียได้ เป็นผู้มักโอ้อวดตัวอยู่ ละความโอ้อวดตัวเสียได้ เป็นผู้มีมายาอยู่

ละมายาเสียได้ เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ละความปรารถนาชั่วเสียได้

และเป็นผู้มีความเห็นผิดอยู่ ละความเห็นผิดเสียได้ด้วยอาการที่ครองผ้า

สังฆาฏิ ตั้งแต่แรกเกิดมาและจะพึงชักชวนให้ผู้นั้นครองผ้าสังฆาฏิเท่านั้น

ด้วยคำชักชวนว่า มาเถิดท่านจงครองผ้าสังฆาฏิเถิด เมื่อท่านครองผ้าสังฆาฏิ

อยู่ เครื่องเศร้าหมองทั้ง ๑๒ อย่าง มีอภิชฌามาก จักละอภิชฌาเสียได้

ด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏินั้นแล. เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลก

นี้ ถึงครองผ้าสังฆาฏิอยู่ ก็มีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดฉะนั้น เมื่อครองผ้า

สังฆาฏิ เราก็ไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่ครองผ้าสังฆาฏิเลย

ฯลฯ ถ้าว่าคนเปลือย ผู้เกล้าผม มีอภิชฌามาก ละอภิชฌาเสียได้แล้ว ผู้มีความ

เห็นผิด ละความเห็นผิดเสียได้ ด้วยอาการที่เกล้าผม มิตร สหาย ญาติ

สาโลหิตทั้งหลายก็จะพึงทำผู้นั้นให้เป็นคนเกล้าผม แต่แรกเกิดมา และจะพึง

ชักชวนให้เกล้าผม ด้วยคำชักชวนว่า มาเถิด เจ้าเกล้าผมเสียเถิด เมื่อท่าน

เกล้าผมอยู่ มีอภิชฌามาก จักละอภิชฌาได้ มีความเห็นผิด ละความเห็นผิด

เสียได้ ด้วยอาการที่เกล้าผมนั้นแล. เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลก

นี้ ถึงเกล้าผมอยู่ ก็ยังมีอภิชฌามาก มีความเห็นผิดอยู่ฉะนั้น เราผู้ที่เกล้าผม

เราก็ยังหาละมลทินได้ไม่ จึงไม่กล่าวว่าเป็นสมณะด้วยอาการที่เกล้าผม

เลย.

[๔๘๒] ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเป็นผู้ปฏิบัติชอบ สมควรแก่สมณะ

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีอภิชฌาอยู่มาก ละอภิชฌาเสียได้ มีจิตพยาบาท

อยู่ ละพยาบาทเสียได้ เป็นผู้มักโกรธอยู่ ละความโกรธเสียได้ เป็นผู้มักถือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 240

โกรธอยู่ ละความถือโกรธเสียได้ เป็นผู้มักลบหลู่อยู่ ละความลบหลู่เสีย

ได้ เป็นผู้มักถือเป็นคู่แข่งดีอยู่ ละความถือเป็นคู่แข่งดีเสียได้เป็นผู้มักริษยา

อยู่ ละความริษยาเสียได้ เป็นผู้ตระหนี่อยู่ ละความตระหนี่เสียได้ เป็นผู้มัก

โอ้อวดตัวอยู่ ละความโอ้อวดตัวเสียได้ เป็นผู้มีมายาอยู่ ละมายาเสียได้ เป็นผู้

มีความปรารถนาชั่วออยู่ ละความปรารถนาชั่วเสียได้ และเป็นผู้มีเห็นผิด

อยู่ ละความเห็นผิดเสียได้ เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลส ๑๒ อย่างเหล่านี้ ที่

เป็นทินโทษ เป็นของจับใจดุจน้ำฝาดของสมณะ เป็นเหตุจะให้สัตว์เกิดใน

อบายมีวิบากอันสัตว์ทั้งหลายจะต้องเสวยในทุคคติ เรากล่าวว่าเป็นผู้

ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะ

ผู้ปฏิบัติชอบนั้น ย่อมพิจารณาเห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นจากบาป

อกุศลธรรมเหล่านี้แล้ว เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ พ้นบาปจาก

อกุศลธรรมเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ ปราโมช คือความบันเทิงใจก็บังเกิดขึ้น เมื่อเธอ

บันเทิงใจแล้ว ปีติก็เกิดขึ้น เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติด้วยนามกาย

ก็สงบ เธอมีนามกายสงบระงับกระวนกระวายแล้ว ก็ได้เสวยสุข เมื่อเธอมี

สุขแล้วจิตของเธอก็ตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยกรุณา คือปรารถนาให้หมู่สัตว์

พ้นจากทุกข์ทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยมุทิตา คือร่าเริงบันเทิงใจต่อสมบัติของ

ผู้อื่น คือไม่มีริษยา มีใจประกอบด้วยอุเบกขา คือความเฉยเป็นกลาง คือไม่มี

ยินดียินร้าย แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหาร คือภาวนาที่แผ่ไปในหมู่สัตว์ไม่

มีประมาณ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ของคนประเสริฐ ทั้ง ๔ ประการนี้ ตลอดทิศที่

หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ มีใจประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ไพบูลย์เต็มที่ เป็นจิตใหญ่ มีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ ไม่มีเวรไม่มีความ

เบียดเบียน แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารนั้น ตลอดโลกอันสัตว์ทั้งปวงในที่

ทั้งปวง ด้วยความเป็นผู้มีใจโอบอ้อมเสมอไปในสัตว์ทั้งปวง ทั้งทิศเบื้อง

บน เบื้องต่ำเบื้องขวางอยู่เสมอ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 241

เปรียบเหมือนสระบัว มีน้ำใสและ จืดเย็นขาวสะอาด มีท่าเรียบราบ

ควรรื่นรมย์ ถ้าว่าบุรุษจะพึงมาแต่ทิศตะวันออก ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศ

ใต้ อันความร้อนกระวนกระวายเผาระงมครอบงำ เหน็ดเหนื่อยลำบาก

กระหายหิว บุรุษนั้น มาถึงสระนั้นแล้วจะพึงทำความกระหายน้ำ และความ

ร้อนกระวนกระวายให้เสื่อมสูญได้ ฉันใด. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ถ้า

กุลบุตรออกบวชจากตระกูลกษัตริย์ถือเพศเป็นบรรพชิต และภิกษุทั้งหลาย

นั้น อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา

อุเบกขา ได้ความระงับสงบใจ ในภายในสันดานตน ฉันนั้น เรากล่าวว่า

บรรพชิตนั้น เป็นผู้ปฏิบัติชอบสมควรแก่สมณะ ถ้าออกบวชจากตระกูล

พราหมณ์ จากตระกูลแพศย์ จากตระกูลศูทร หรือออกบวชจากตระกูลไหน

ก็ตาม และบรรพชิตนั้น ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญ

พรหมวิหารทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้น ได้ความระงับสงบใจ ในภายใน อย่าง

นี้ เรากล่าวว่า บรรพชิตนั้นปฏิบัติสมควรแก่สมณะ. ถ้าว่ากุลบุตรออกบวช

จากตระกูลกษัตริย์ จากตระกูลพราหมณ์ จากตระกูลแพศย์ จากตระกูล

ศูทร หรือตระกูลไหนก็ตาม ครั้นบวชแล้ว เธอทำเจโตวิมุตติ คือความมีจิตพ้น

จากเรื่องมองด้วยกำลังฌาน และปัญญาวิมุติ คือความที่จิตพ้นจากเครื่อง

หมองด้วยกำลังปัญญา อันไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม เพราะสิ้นอาสวะ

แล้วให้แจ้งประจักษ์ด้วยปัญญาที่รู้ยิ่งลำพังตนได้แล้ว เข้าถึงพร้อมอยู่ใน

อัตภาพนี้ เรากล่าวบรรพชิตนั้นว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระสูตรนี้จบ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

มีใจยินดีเพลิดเพลินรับภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้.

จบจูฬอัสสปุรสูตรที่ ๑๐

จบมหายมกวรรคที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 242

อรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร

จูฬอัสสปุรสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต

เหตุแห่งการแสดงพระสูตรนั้น เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. บท

ว่า สมณสามีจิปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาอันสมควรแก่สมณะทั้งหลาย คือ

ปฏิปทาอันเกื้อกูลแก่สมณะทั้งหลาย. ในบทว่า สมณมลาน เป็นต้น ความ

ว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมกระทำสมณะทั้งหลาย ให้มีมลทิน

คือมลทินจับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เป็นมลทินของสมณะ

สมณะทั้งหลายย่อมเสียหาย ย่อมประทุษร้าย ด้วยมลทินเหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นโทษของสมณะ. และธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นแล้วย่อมกระ

ทำสมณะทั้งหลายให้เป็นเหมือนหยากเยื่อหมดโอชะ ให้เหี่ยวแห้ง เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นดังน้ำฝาดของสมณะ ดังนี้. บทว่า อาปายิกาน

านาน ความว่า เหตุให้เกิดในอบาย. บทว่า ทุคฺคติเวทนียาน ความว่า เป็น

ปัจจัยแห่งการเสวยวิบากในทุคคติ.

บทว่า มตชนฺนาม ความว่า พวกมนุษย์ตะไบเหล็กกล้าด้วยเหล็กแล้ว

ขยำผงเหล็กนั้นเข้ากับเนื้อให้นกกระเรียนกิน นกกะเรียนเหล่านั้น ไม่อาจ

ถ่ายอุจจาระก็ตาม ถ้าไม่ตาย ก็จะประหารให้ตาย. เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะผ่า

ท้องของนกกะเรียนเหล่านั้น เอาน้ำล้างผงเหล็กเหล่านั้น ถือเอาผงละเอียด

คลุกกับเนื้อให้นกกระเรียนทั้งหลายกิน ดังนั้นจึงให้นกกระเรียนกิน

อย่างนี้ ๗ ครั้ง แล้วกระทำอาวุธด้วยผงเหล็กที่ถือเอาแล้ว ช่างเหล็กศึกษาดี

แล้ว ได้มูลเหตุหัตถกรรมเป็นอันมาก ย่อมกระทำอาวุธนั้น เขาจึงเรียก

อาวุธนั้นว่า มตชะ เพราะเกิดจากนกที่ตายแล้ว. อาวุธนั้นเป็นอาวุธคมยิ่ง

นัก. บทว่า ปีตินิสฺสิต ได้แก่ ชุ่มด้วยน้ำ และลับด้วยหิน. บทว่า สฆาฏิยา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 243

ได้แก่ ฝัก. บทว่า สปารุต ได้แก่ หุ้มไว้แล้ว. บทว่า สมฺปลิเวิต ได้แก่

พันไว้โดยรอบ.

บทว่า รโชชลฺลิกสฺส ได้แก่ ผู้หมักหมมด้วยธุลี. บทว่า อุทโก-

โรหกสฺส ได้แก่ ลงอาบน้ำวันละสามครั้น. บทว่า รุกฺขมูลิกสฺส ได้แก่ อยู่

โคนไม้. บทว่า อพฺโภกาสิกสฺส ได้แก่ อยู่กลางแจ้ง. บทว่า อุพฺภฏฺกสฺส

ได้แก่ การอบกาย. บทว่า ปริยายภตฺติกสฺส ได้แก่ การบริโภคอาหารเดือน

ละครั้น หรือว่า ครึ่งเดือนต่อครั้ง. คำทั้งหมดนั่นตรัสถึงลัทธิภายนอก. เพราะ

ในพระศาสนานี้ ภิกษุผู้ทรงจีวร ไม่เรียกว่า ครองสังฆาฏิ. อนึ่ง วัตรมีการ

หมักหมมด้วยธุลีเป็นต้น ในพระศาสนานี้ก็ไม่มี พระดำรัสของพระพุทธเจ้า

เท่านั้น เป็นชื่อของพระพุทธพจน์ ไม่ใช่มนต์ เพราะฉะนั้น ก็บทว่า รุกฺขมฺลิโก

อพฺโภกาสิโก ย่อมได้เพียงนี้เท่านั้น. แม้คำที่กล่าวแล้วนั้น ก็ตรัสไว้โดย

ลัทธิภายนอก. บทว่า ชาตเมว น ได้แก่ สักว่าเกิดแล้วในวันนั้นทีเดียว.

บทว่า สงฺฆาฏิก กเรยฺยุ ความว่า นุ่งแล้ว ห่มแล้ว ซึ่งผ้าสังฆาฏิ พึงทำให้เป็น

สังฆาฏิ. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า วิสุทฺธมตฺตาน สมนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมเห็นตน

ว่า บริสุทธิ์. แต่ว่า บทว่า บริสุทธิ์ ดังนี้ ไม่พึงกล่าว. บทว่า ปาโมชฺช

ชายติ ได้แก่ อาการแห่งความยินดีย่อมเกิดขึ้น. อธิบายว่า ปีติอันยังสรีระทั้ง

สิ้นของผู้บันเทิงแล้ว ร่าเริงแล้วด้วยปีติ ให้หวั่นไหวเกิดขึ้นอยู่. บทว่า

ปีติมนสฺส กาโย ได้แก่ นามกายของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยปีติ. บทว่า

ปสฺสมฺภติ ได้แก่ ปราศจากความกระวนกระวาย. บทว่า สุข เวเทติ ความ

ว่า ย่อมเสวยความสุขอันเป็นทางกายบ้าง ทางใจบ้าง. บทว่า จิตฺต สมาธิยติ

ความว่า จิตของบุคคลผู้มีความสุข ด้วยเนกขัมมสุขนี้ย่อมตั้งมั่น ย่อมเป็น

เหมือนบรรลุอัปปนา. บทว่า โส เมตฺตาสหคเตน เจตสา ความว่า เทศนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 244

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแล้ว ด้วยอำนาจแห่งกิเลสในหนหลัง หยั่งลง

แล้วสู่การเจริญพรหมวิหารตามอนุสนธิ ดุจฝนที่ตกแล้ว ตกเล่า บนภูเขา

ไหลลงสู่แม่น้ำฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำที่ควรกล่าวทั้งหมด ได้กล่าว

ไว้ในวิสุทธิมรรค. บทว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว โปกฺขรณี นี้ พึงทราบว่า

ในมหาสีหนาทสูตร มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบด้วยสระโบกขรณี

ใหญ่ พระศาสดาก็ทรงเปรียบไว้ในที่นี้. บทว่า อาสวาน ขยา สมโณ

โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นสมณะอย่างยิ่ง เพราะกิเลสทั้งหมดสงบแล้ว.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายนั้นแล.

จบอรรถกถาจูฬอัสสปุรสูตร ที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 245

จูฬยมกวรรค

๑. สาเลยยกสูตร

[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อม

กับหมู่ภิกษุจำนวนมาก มาประทับอยู่ที่หมู่บ้านพราหมณ์แห่งแคว้นโกศลชื่อ

สาละ พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละได้ฟังข่าวว่า นี่แน่ เขาว่าพระ

สมณโคดมผู้เจริญ โอรสเจ้าศากยะบวชจากตระกูลศากยะกำลังท่องเที่ยวอยู่ใน

แคว้นโกศล ได้มาถึงหมู่บ้านสาละพร้อมกับหมู่ภิกษุจำนวนมาก ก็แลเกียรติ-

ศัพท์อันงามได้ขจรขึ้นไปยังพระโคดมผู้เจริญนั้นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุ

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ถูกต้องด้วย

พระองค์เอง สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ เป็นผู้ไปดีแล้ว รู้จักโลก

เป็นผู้ฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้สอนพวกเทวดาและมนุษย์

เป็นพุทธะ เป็นผู้จำแนกธรรม พระโคดมนั้นได้กระทำให้แจ้งโลกนี้รวมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่คนรวมทั้งสมณะและพราหมณ์รวมทั้ง

เทวดาและมนุษย์ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วชี้แจง. ท่านแสดงธรรมงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุดพร้อมทั้งใจความ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ

พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ก็แหละการเห็นหมู่พระอรหันต์

เห็นปานนั้นย่อมเป็นการดีแท้.

ครั้นนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวสาละ ก็พากันเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บันเทิงกับพระผู้มีพระภาค

เจ้า เมื่อพูดจาปราศรัยกันพอเป็นที่ระลึกนึกถึงกันเสร็จแล้ว ก็นั่งลงในที่ควร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 246

ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็ประณมอัญชลีหันไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

นั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็บอกชื่อและนามสกุลในสำนักพระผู้

มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกไม่พูดว่าอะไรแล้วนั่ง

ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาว

สาละก็ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า "ท่านโคดมผู้เจริญ...ขอถามสัก

หน่อยเถิดว่า อะไรล่ะ เป็นเหตุ? อะไรเป็นปัจจัย ซึ่งเหล่าสัตว์บางพวกใน

โลกนี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ? พระโคดมผู้เจริญ และก็อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เหล่า

สัตว์บางพวกหลังจากตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ?

ภ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความไม่ประพฤติธรรม

และความประพฤติไม่สม่ำเสมอ เป็นเหตุโดยแท้ เหล่าสัตว์บางพวกในโลก

นี้ หลังจากตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

อย่างนี้ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติธรรมและความ

ประพฤติเรียบร้อยเป็นเหตุโดยแท้ที่ทำให้หมู่สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ หลังจากตายเพราะกายแตกอย่างนี้.

พ. "พวกข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจ ใจความของคำพูดที่ท่านพระ

โคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคำพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็เข้าใจ

ใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงยังไม่ได้ พวกข้าพเจ้าขอโอกาสให้พระโคดมผู้

เจริญแสดงธรรมโดยประการที่พวกข้าพเจ้าจะพึงเข้าใจใจความของคำพูดที่

ท่านพระโคดมกล่าวโดยย่อนี้อย่างพิสดารได้ และคำพูดที่ท่านยังไม่แจกแจงก็

เข้าใจใจความอย่างพิสดารโดยทั่วถึงได้."

ภ. "พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี

ฉันจะกล่าว."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 247

พ. "อย่างนั้นท่าน." พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละ รับ

สนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๔๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและ

ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง ความประพฤติไม่เป็นธรรม

และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง ความประพฤติไม่เป็น

ธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง."

"พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติไม่เป็นธรรมและ

ความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ? คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้เป็นผู้ชอบฆ่า

สัตว์ เป็นคนหยาบ มือเปื้อนเลือด ตั้งมั่นในการเข่นฆ่า ไม่ละอาย ไม่สงสาร

ในหมู่สัตว์ทั้งปวง.

๒. และก็เป็นผู้ชอบลักขโมยของสิ่งใดเป็นของคนอื่น เป็นอุปกรณ์

เครื่องปลื้มใจของคนอื่น ไม่ว่าอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า เป็นผู้ถือเอาของที่เขา

ไม่ได้ให้ อันเป็นส่วนแห่งขโมยนั้น.

๓. อีกทั้งชอบประพฤติผิดในของรักของใคร่ทั้งหลาย เป็นผู้ละเมิด

จารีตในผู้หญิงที่ไม่รักษา พ่อรักษา ทั้งแม่และพ่อรักษา พี่น้องชายรักษา

พี่น้องหญิงรักษา ญาติรักษา หญิงมีผัว หญิงมีอาชญาโดยรอบ โดยที่

สุดแม้แต่หญิงที่คล้องพวงมาลังให้ (เสี่ยงพวงมาลัย) เห็นปานนี้.

อย่างนี้แลพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่

เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางกาย ๓ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 248

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็น

ธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร?

คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคนชอบ

พูดเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ในบริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรค

พวก หรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูกนำมาซักเป็นพยานว่า ''มานี่ซิ

นาย ขอให้คุณจงพูดสิ่งที่คุณรู้." เขาไม่รู้ก็พูดว่า "ผมรู้" หรือรู้อยู่ก็กลับพูด

ว่า " ผมไม่รู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมเห็น " หรือเห็นอยู่ก็ไพล่พูดไปว่า " ผมไม่

เห็น " ทั้งนี้เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือ เพราะเหตุแห่ง

อามิสลางสิ่งลางอย่าง จึงเป็นกล่าวเท็จทั้งๆ ที่รู้อยู่.

๒. และก็เป็นคนพูดส่อเสียด คือ ได้ฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทาง

โน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้ หรือได้ฟังจากทางโน้นแล้วก็มาบอกพวกนี้

เพื่อทำลายพวกโน้น ดังนี้ก็เป็นอันว่า ทำผู้ที่พร้อมเพรียงกันอยู่แล้วให้แตก

กัน หรือส่งเสริมให้คนที่แตกกันอยู่แล้วแตกกันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่แตกกันเป็น

พรรคเป็นพวก ยินดีกับที่แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก ชอบผู้ที่แตกกันเป็น

พรรคเป็นพวก เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก

๓. ทั้งเป็นคนพูดคำหยาบ คือ เป็นผู้พูดคำชนิดที่ค่อนขอด หยาบช้า

ต่อคนอื่น เผ็ดร้อน คนอื่นเหน็บความเจ็บใจ ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไม่เพื่อ

ให้จิตใจตั้งมั่นเห็นปานนั้น.

๔. อีกทั้งเป็นผู้ชอบพูดสำรากเพ้อเจ้อ ชอบพูดไม่ถูกเวลา ชอบพูด

ไม่จริง ( พูดไม่เป็น) ชอบพูดไร้ประโยชน์ ชอบพูดไม่เป็นธรรม ชอบพูดไม่

เป็นวินัย เป็นผู้พูดไม่มีหลักฐาน ไม่เป็นเวลา ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 249

อย่างนี้แล พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติที่ไม่

เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางวาจา ๔ อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติที่ไม่เป็น

ธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไร คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มาก

ไปด้วยความเพ่งเล็ง เป็นผู้เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของคนอื่น ไฉนหนอ ขอสิ่งที่

เป็นของคนอื่นนั้นพึงเป็นของเราเถิด.

๒. และก็เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นผู้มีใจคิดแต่จะประทุษร้ายว่า " ขอ

ให้สัตว์พวกนี้ จงถูกฆ่า จงถูกเขาฆ่า จงขาดสูญ หรืออย่าได้มีเลย."

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้มีความเห็นคลาดเคลื่อนว่า "ทาน

ที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลคือวิบากของ

กรรมที่ทำดีและชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีบุญคุณ บิดาไม่

มีบุญคุณ พวกสัตว์ที่ผุดเกิดไม่มี ในโลกไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี

ปฏิบัติชอบชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลก

หน้า "

อย่างที่ว่ามานี่แหละ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความ

ประพฤติที่ไม่เป็นธรรมและความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอทางใจ ๓

อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติไม่เป็นธรรม

และความประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกใน

โลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 250

[๔๘๕] " พราหมณ์และคฤหบดีทั่งหลาย ความประพฤติเป็นธรรมและ

ความประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่างแล. ความประพฤติเป็นธรรม

และความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง. ความประพฤติเป็นธรรม

และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลความประพฤติเป็นธรรมและ

ความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ อย่าง เป็นอย่างไร คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละการฆ่า

สัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์วางกระบองลง วางศัสตราลง มีความ

ละอายประกอบด้วยความเอ็นดูเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อและความสงสารในสัตว์

ทั้งหมดอยู่.

๒. ละการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้ไม่ถือ

เอาทรัพย์สมบัติของคนอื่น จะอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ซึ่งเขาไม่ได้ให้อันเป็น

ส่วนแห่งการขโมยนั้น.

๓. ละความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย เป็นผู้เว้นขาดจากความประ

พฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่ละเมิดจารีตในผู้หญิงที่แม่ปกครอง พ่อ

ปกครอง ทั้งพ่อและแม่ปกครอง พี่น้องชายปกครอง พี่น้องหญิงปกครอง หญิงมี

ผัว หญิงที่อยู่ในเขตหวงห้ามโดยที่สุดแม้แต่หญิงที่ชายคล้องพวงมาลัย

ให้ เห็นปานนั้น.

อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความประพฤติเป็น

ธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ๓ อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ความประพฤติเป็นธรรมและความ

ประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 251

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ละ

การกล่าวเท็จเป็นผู้เว้นขาดจากการกล่าวเท็จไม่ว่าอยู่ในที่ประชุม อยู่ใน

บริษัท อยู่กลางญาติ อยู่กลางพรรคพวกหรืออยู่กลางราชตระกูลก็ตาม เมื่อถูก

นำมาซักเป็นพยานว่า "มานี่ซินายขอให้คุณจงพูดไปตามที่คุณรู้" เขาไม่

รู้ ก็พูดว่า " ผมไม่รู้ " หรือรู้อยู่ ก็พูดว่า " ผมรู้ " ไม่เห็นก็พูดว่า " ผมไม่

เห็น " หรือ เห็นอยู่ก็พูดว่า " ผมเห็น " ทั้งนี้ไม่ว่าเพราะตนเป็นเหตุ เพราะคน

อื่นเป็นเหตุ หรือเพราะอามิสลางสิ่งลางอย่างเป็นเหตุ เป็นผู้ไม่พูดเท็จทั้ง ๆ

ที่รู้อยู่.

๒. ละคำพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดส่อเสียด คือไม่เป็นผู้ฟัง

จากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น เพื่อทำลายพวกเหล่านี้ หรือไม่เป็นผู้ฟังจาก

ทางโน้นแล้วก็มาบอกทางนี้ เพื่อทำลายพวกโน้น ดังนี้ ก็เป็นอันว่า เป็นผู้

เชื่อมคนที่แตกกันแล้วให้สนิทกัน หรือเป็นผู้ส่งเสริมผู้ที่สนิทกันแล้วให้สนิท

กันยิ่งขึ้น พอใจผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีกับผู้ที่พร้อมเพรียงกัน ชอบผู้ที่พร้อม

เพรียงกัน เป็นผู้พูดวาจาที่ทำให้สมัครสมานกัน.

๓. ละคำพูดหยาบ เป็นผู้เว้นขาดจากคำพูดหยาบ เป็นผู้พูดแต่คำที่ไม่

มีโทษ สบายหู น่ารัก ดื่มด่ำในหัวใจ เป็นภาษาชาวกรุง คนส่วนมากรัก

ใคร่ คนส่วนมากชอบใจเห็นปานนั้น.

๔. ละคำสำรากเพ้อเจ้อ เป็นผู้เว้นขาดจากคำสำรากเพ้อเจ้อ พูดเป็น

เวลา พูดคำที่เป็นจริง พูดคำมีประโยชน์ พูดเป็นธรรมพูดเป็นวินัย เป็นผู้พูด

คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิงตามเวลา มีที่สิ้นสุดประกอบด้วยประโยชน์.

อย่างนี้แล พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย จักเป็นความประพฤติเป็น

ธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา ๔ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 252

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แหละ ความประพฤติเป็นธรรม

และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง คือ

๑. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นผู้

มากไปด้วยความเพ่งเล็ง ไม่ใช่เป็นผู้เพ่งเล็งในสิ่งที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้ม

ใจของคนอื่นๆ นั้นว่า โอหนอ ขอสิ่งที่เป็นของคนอื่นนั้น พึงเป็นของเรา.

๒. และก็ไม่ใช่เป็นผู้มีจิตพยาบาทไม่ใช่เป็นผู้มีจิตคิดแต่จะแก้แค้น

ว่า " ขอให้สัตว์พวกนี้จงเป็นผู้ไม่พยาบาท ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด. "

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นผู้มีความเห็นที่คลาด

เคลื่อนว่า " ทานที่ให้แล้วมีผล, การเซ่นสรวงมีผล, การบูชามีผล, ผลคือ

วิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี, โลกนี้มี, โลกหน้ามี, มารดามีบุญ

คุณ, บิดามีบุญคุณ, พวกสัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดมี, ในโลกมีสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติ

ดีปฏิบัติชอบ, ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศโลกนี้และโลก

หน้า.

" อย่างนี้ว่ามานี้และพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จัดเป็นความ

ประพฤติเป็นธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ ๓ อย่าง. "

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติเป็นธรรมและ

ความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. "

[๔๘๖] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ

ประพฤติเรียบร้อยเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะ

กายแตกไป. ขอให้เราเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาล

เถิด, ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 253

เดียวกันกับเหล่ากษัตริย์มหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุ

ไร ? เพราะเขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรมโดยปกติ ประพฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ

อย่างนั้น.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ

สม่ำเสมอเป็นปกติ ถ้าพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

ไปขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหล่าพราหมณ์มหา-

ศาล ฯลฯ เหล่าคฤหบดีมหาศาลเถิด." ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกพราหมณ์มหา-

ศาล ฯลฯ พวกคฤหบดีมหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะเหตุ

ไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ

อย่างนั้น."

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประ

พฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ พึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นอันเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา...

ชั้นดาวดึงส์...ชั้นยามา... ชั้นดุสิต...ชั้นนิมานรดี...ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี...

ชั้นพรหมกายิกา (พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา) เถิด,

ข้อที่เขาหลังจากตายเพราะกายแตกไป พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับ

เหล่าเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ฯลฯ ชั้นพรหมกายิกานี้ ย่อมเป็นไปได้โดย

แท้, นั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ

สม่ำเสมอเป็นปกติอย่างนั้น."

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประ

พฤติสม่ำเสมอเป็นปกติพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 254

ไป ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภา (ปริตตาภา

อัปปมาณาภา อาภัสสรา) เถิด, ข้อที่หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป เขาพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับเหล่าเทพชั้นอาภานี้ ย่อมเป็นไปได้

โดยแท้, นั้นเพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ ประพฤติ

สม่ำเสมอเป็นปกติอย่างนั้น."

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติ

ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป ขอให้เราเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้นปริตตสุภา...ชั้น

อัปปมาณสุภา...ชั้นสุภกิณหกา...ชั้นเวหัปผลา...ชั้นอวิหา...ชั้นอตัปปา...

ชั้นสุทัสสา...ชั้นสุทัสสี...ชั้นอกนิฏฐา...เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ...เข้า

ถึงวิญญานัญจายตนะ....เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, ข้อที่หลังจาก

ตายเพราะกายแตกไปเข้าพึงเข้าถึงความเป็นเพื่อนกับพวกเหล่าเทพชั้น

ปริตตสุภา ฯลฯ ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ, นี้ย่อมเป็นไปได้โดย

แท้, นั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม มีปกติประพฤติ

เรียบร้อยอย่างนั้น."

พราหมณ์เละคฤหดีทั้งหลาย ถ้าผู้มีปรกติประพฤติธรรม มีปรกติ

ประพฤติสม่ำเสมอพึงหวังว่า " โอหนอ...หลังจากตายเพราะกายแตก

ไป ขอให้เราพึงทำเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะ

สิ้นไป ให้แจ้งด้วยความรู้อย่างยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่เถิด,

ข้อที่เขาเป็นผู้ปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ พึงทำ

๑. พวกอาภา มี ปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา แล้วทำไมบาลีถัดไปจึงเรียงระบุว่า

ปริตตาภา, อัปปมาณาภา, อาภัสสรา อีก ผู้แปลจึงตัดบาลีถัดไปตามแบบพรหมกายิกาที่ไม่

ระบุพรหม ๓ ชั้นไว้อย่างที่แปลมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 255

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ เพราะพวกอาสวะสิ้นไปให้แจ้งด้วย

ความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้แล แล้วเข้าถึงอยู่ นี้ย่อมเป็นไปได้โดยแท้, นั้นเพราะ

เหตุไร เพราะเขาเป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอเป็นปกติ

อย่างนั้น."

[๔๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้เสร็จแล้ว พวกพราหมณ์

และคฤหบดีชาวบ้านสาละ ได้พากันทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ว่า

" ไพเราะจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญไพเราะจริง ๆ ธรรม

ที่พระโคดมผู้เจริญได้ประกาศแล้วหลายแบบ เหมือนหงายภาชนะที่คว่ำ

เปิดสิ่งที่ปิด บอกทางแก่คนหลง หรือส่องตะเกียงน้ำมันในที่มืดด้วยคิด

ว่า " พวกผู้มีตาดี ๆ จะได้เห็นรูป " ฉะนั้นแลพระโคดมผู้เจริญ พวกข้า-

พระองค์ขอเข้าถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ

ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะ

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสาเลยยกสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 256

พรรณนาความในจุลลยมกวรรค

อรรถกถาสาเลยยกสูตร

สาเลยยกสูตรมีคำขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ในแคว้นโกศล" ความว่า ในแคว้นของชาว

โกศลทั้งหลาย คือพวกชาวจังหวัด หรือ พวกราชกุมารชื่อโกศล. จังหวัดที่

เป็นถิ่นอาศัยของคนเหล่านั้น แม้เพียงจังหวัดเดียว ก็เรียกด้วยเสียงคล่อง

ปากว่า " โกศลทั้งหลาย " ได้. ในจังหวัดของพวกชาวโกศลนั้น. ฝ่ายพวก

คนรุ่นเก่าท่านว่า เพราะแต่ก่อนพระราชาได้ทรงฟังว่า มหาปนาทราช-

กุมาร ทอดพระเนตรท่าตลกต่าง ๆ แม้แต่ยิ้มก็ไม่ทรงทำ จึงตรัสว่า ใครทำ

ให้ลูกฉันหัวเราะได้ ฉันจะเอาเครื่องสำอางทุกอย่างมาแต่งให้คนนั้น.

เมื่อกลุ่มมหาชนทิ้งแม้แต่ไถมาประชุมกัน พวกคนก็พากันแสดงการละเล่น

ต่าง ๆ ตั้งเจ็ดปีกว่า ก็ยังไม่อาจทำให้พระราชกุมารนั้นทรงพระสรวล

ได้. ลำดับนั้น พระอินทร์ทรงส่งตัวตลกเทวดาไป เทพองค์นั้นแสดงท่าตลก

แบบทิพย์จนทำให้ทรงพระสรวลได้. ลำดับนั้น คนเหล่านั้นก็พากันบ่าย

หน้าหลีกไปยังถิ่นของตนๆ เมื่อพบเพื่อนฝูงที่สวนทางมา พวกนั้นก็ทักทาย

ปราศรัยกันว่า " ดีไหม ?," ฉะนั้น เพราะอาศัยคำว่า " ดีๆ " นั้น ประเทศนั้น

จึงเรียกว่า " โกศล "

คำว่า " เสด็จเที่ยวจาริก " คือ กำลังเสด็จเที่ยวจาริกแบบไม่

รีบร้อน. คำว่า " กับหมู่ภิกษุจำนวนมาก " คือ กับหมู่ภิกษุจำนวนมากที่

ไม่ได้กำหนดชัดลงไปอย่างนี้ว่า ร้อย พัน หรือแสน. คำว่า " หมู่บ้านของ

พราหมณ์ " ได้แก่ หมู่บ้านชุมชนพวกพราหมณ์ เรียกว่า หมู่บ้านของ

พราหมณ์. แม้หมู่บ้านโภคของพวกพราหมณ์ก็เป็นหมู่บ้านชุมชนในที่

๑. บาลีใช้ จูฬยมกวรรค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 257

นี้ ไม่ใช่ประสงค์เอาบ้านอยู่ของพวกพราหมณ์. คำว่า " ระลึกลงที่

นั้น " คือระลึกลงไปในที่นั้น หมายถึงความ พร้อมแล้ว. ส่วนวิหาร ไม่ได้

จำกัดให้แน่ลงไปในที่นี้. ฉะนั้น จึงคงจะเป็นป่าชัฏแห่งหนึ่งที่เหมาะแก่พระ

พุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านของพวกพราหมณ์นั้น. พึงทราบ

ว่า พระศาสดาได้เสด็จพระพุทธดำเนินไปถึงไพรดงนั้น. คำว่า " ได้ยิน

แล้ว " แปลว่า ฟังแล้ว คือเข้าไปได้ ได้แก่ ทราบโดยทำนองเสียงก้องแห้ง

คำที่ถึงโสตทวาร. " โข " เป็นนิบาตลงในอรรถอวธารณะ คือเป็นเพียงทำ

บทให้เต็ม. พึงทราบอธิบายในข้อนี้อย่างนี้ว่า ได้ฟังแล้วด้วยอาวธารณะ

อรรถในที่นี้เท่านั้น อันตรายแห่งการฟังไรๆ ไม่ได้มีแก่พวกเขา. ด้วยการทำ

ให้บทเต็มก็เพียงให้พยัญชนะมีความสละสลวยเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศข้อความที่ได้ฟังนั้น. ท่านจึงได้กล่าวว่า " เออนี่

แน่ะ เขาว่าพระสมณโคดม" ดังนี้เป็นต้น. พึงทราบว่า ชื่อว่า สมณะ เพราะ

ระงับบาป. ในบทเหล่านั้น. " ขลุ " เป็นนิบาตลงในอรรถว่าฟังตาม. " โภ "

เป็นคำร้องเรียกกันและกันของพวกนั้น. " โคดม " เป็นคำแสดงด้วยพระ

โคตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น ในคำเหล่านี้ว่า " นี่แน่ะเขาว่าพระสมณะ

โคดม " จึงพึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า " นี่แน่ะท่าน เขาเล่ากันว่า พระ-

สมณะผู้เป็นโคดมโคตร " ส่วนคำว่า " โอรสศากยะ " นี้เป็นคำแสดงตระกูล

อันสูงของพระผู้มีพระภาคเจ้า. คำว่า " บวชจากตระกูลศากยะ " เป็นคำแสดง

ความเป็นผู้บวชด้วยศรัทธา. มีคำที่กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ไม่ถูกความฉิบหายอย่าง

ใดอย่างหนึ่งครอบงำ มาละตระกูลที่ยังไม่สูญสิ้น (อะไรๆ ไปเลย) ชื่อว่าบวช

ด้วยศรัทธา. คำต่อจากนั้นไปก็มีใจความที่ได้กล่าวไว้แล้วทีเดียว. คำว่า

" ก็นั่นแล " เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถ บอกอิตถัมภูตะ ใจความก็คือ " ของพระ

โคดมเจริญแล ". คำว่า " อันงาม " ได้แก่ผู้ประกอบด้วยพระคุณอัน

งดงาม มีอธิบายว่าผู้ประเสริฐสุด. เกียรตินั่นแหละ หรือ เสียงชมเชยชื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 258

ว่า " เกียรติศัพท์ ". คำว่า " ฟุ้งขึ้น " คือขจรขึ้นทับโลกรวมทั้ง (โลกของ

พวก) เทวดา. ว่าอย่างไร ? ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ฯลฯ ทรงเป็นผู้ตื่น (ผู้ปลุก ผู้เบิกบานด้วยพระคุณ) ทรงเป็นผู้มีโชคดี (ทรงมี

ส่วนแห่งการจำแนกธรรม, ทรงจำแนกแจกธรรม).

ต่อไปนี้พึงทราบความเกี่ยวข้องแห่งบทในคำเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้

เองโดยชอบ แม้เพราะเหตุนี้ ฯลฯ ทรงเป็นผู้มีโชคดี แม้เพราะเหตุนี้. มีคำ

อธิบายว่า เพราะเหตุนี้และนี้. บททั้งหมดนี้เองที่ท่านยกขึ้นเป็นแม่บทโดยทำนอง

เป็นต้นว่า พึงเข้าใจว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุ

เหล่านี้ก่อน คือ ทรงไกลจากข้าศึก เพราะทรงหักกำ (แห่งล้อภพ) เพราะ

ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น เพราะไม่มีความลับในการทำชั่ว " ได้ให้พิสดารแล้ว

แล ในพุทธานุสสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. พึงถือเอาความพิสดาร

แห่งบทเหล่านั้นจากที่นั้นเถิด.

คำว่า " ก็แลเป็นการดีโข " คือ ก็เป็นความงามโข. มีคำอธิบาย

ว่า เป็นการนำเอาประโยชน์มาให้ เป็นการนำเอาความสุขมาให้. คำว่า

" เหล่าพระอรหันต์เห็นปานนั้น." คือ พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ได้ความเชื่อถือ

ว่า ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายในโลก ก็เพราะการบรรลุคุณพิเศษตามที่

เป็นจริงของเหล่าพระอรหันต์ ซึ่งเห็นได้ยากด้วยแสนโกฏิกัป แม้ไม่ใช่

น้อย มีร่างกายเป็นที่รื่นรมย์ซึ่งเกลื่อนกล่นด้วยรัศมีแห่งมหาปุริสลักษณะ

สามสิบสองประการ ประดับด้วยแก้ว คือ อนุพยัญชนะแปดสิบอย่าง แวด

ล้อมด้วยรัศมีวาหนึ่ง มีการเห็นที่ไม่เร่าร้อน มีเสียงแห่งธรรมที่ไพเราะ

ยิ่ง เหมือนอย่างที่พระโคดมผู้เจริญนั้นท่านเป็น. คำว่า "ย่อมเป็นการ

เห็น" คือ กระทำอัธยาศัยอย่างนี้ว่า การลืมตาที่มีประสาทหยาดเยิ้มขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 259

ดูก็เป็นการดี (ยังประโยชน์ให้สำเร็จ) และถ้าเมื่อท่านกำลังแสดงธรรมด้วย

เสียงดุจเสียงพรหมที่ประกอบพร้อมไปด้วยองค์แปด ได้ฟังแม้บทเดียว ก็จะเป็น

การดีกว่า. คำว่า " เข้าไปเฝ้าถึงที่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ " ได้แก่ เลิกกิจ

ทุกอย่าง มีใจยินดีมาแล้ว. คำว่า " ได้กล่าวคำนี้ " ได้แก่ ก็การถามมีสอง

อย่างคือ การถามแบบชาวบ้าน ๑ การถามแบบนักบวช ๑ ในการถามทั้ง

สองอย่างนั้น การถามแบบชาวบ้าน มาแล้วโดยแบบนี้ว่า " พระคุณเจ้า

อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล " การถามแบบนักบวชมาแล้วอย่างนี้

ว่า " ท่านผู้เจริญ เหล่านี้หรือหนอ เป็นอุปาทานขันธ์ ๕ " ส่วนพราหมณ์

และคฤหบดีเหล่านี้ เมื่อจะทูลถามแบบการถามของชาวบ้านที่เหมาะ

แก่ตน จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า " พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็น

เหตุ อะไรเป็นปัจจัย? " กะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแก้ปัญหาโดยย่อจริงๆ ก่อน แก่พวกเขาชนิดที่พวกเขายังไม่

สามารถกำหนดได้จึงตรัสคำเป็นต้นว่า " พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย

เพราะความประพฤติที่ไม่ถูกต้องและความประพฤติ ที่ไม่สมควรเป็น

เหตุ " ถามว่า " ทำไมเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแก้อย่างที่คนพวกนั้นยัง

ไม่ทันกำหนด " ตอบว่า " มีผู้กล่าวว่า เพราะคนเหล่านั้นถือตัวว่าเป็น

บัณฑิต ย่อมตั้งตัวแม่บทแล้วกำหนดไว้แต่ต้นทีเดียวโดยประการใด เมื่อพระองค์

ทรงขยายความให้พิสดารโดยประการนั้น ก็พากันสำคัญเทศนาว่า ตื้นๆ

จะพากันดูถูกว่า " แม้เมื่อพวกเราจะกล่าว ก็พึงกล่าวอย่างนี้เหมือน

กัน " เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแก้ปัญหาอย่างย่อๆ ก่อนชนิด

ที่พวกนั้นไม่สามารถจะกำหนดได้. ต่อจากนั้น เมื่อทรงถูกพวกที่ไม่อาจจะ

กำหนดได้นั้นคะยั้นคะยอขอให้แสดงพิสดาร เมื่อทรงแสดงโดยพิสดารจึง

ตรัสดำเป็นต้นว่า " ถ้าอย่างนั้นพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 260

ในคำเหล่านั้น คำว่า " ถ้าอย่างนั้น " เป็นนิบาตลงในเหตุ หมายความ

ว่า เพราะเหตุที่พวกท่านขอร้องเรา. คำว่า " สามอย่าง " คือ สามส่วน.

คำว่า " ด้วยกาย " คือด้วยกายทวาร. คำว่า " ความประพฤติไม่ถูกต้องและ

ความประพฤติไม่สมควร " คือความประพฤติไม่สมควรอันได้แก่ความประ-

พฤติที่ไม่ถูกต้อง. และต่อไปนี้เป็นความหมายของบทในคำเหล่านี้.

" ความประพฤติอธรรม ชื่อว่า อธรรมจริยา, หมายความว่า การ

กระทำที่ไม่เป็นธรรมที่ชื่อว่า วิสมจริยา เพราะประพฤติขรุขระ หรือ

ประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ความประพฤติไม่เป็นธรรม และความประพฤติ

ที่ขรุขระนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ความประพฤติไม่เป็นธรรมและความ

ประพฤติที่ไม่สม่ำเสมอ พึงทราบความหมายในบทฝ่ายดำและฝ่ายขาวทุก

บทโดยอุบายนี้.

คำว่า " โหดร้าย " ได้แก่ หยาบคาย เหี้ยมโหด หุนหัน พลัน

แล่น. คำว่า " มีมือเปื้อนเลือด " ได้แก่ เปื้อนด้วยเลือดที่มือของผู้ที่กำลัง

ปลงสัตว์อื่นจากชีวิต ถึงแม้จะไม่เปื้อนคนแบบนั้น ท่านก็ยังเรียกว่า "มีมือ

เปื้อนเลือด" อยู่นั่นเอง. คำว่า " ตั้งมั่นอยู่ในการฆ่าการประหาร " ได้แก่ตั้ง

มั่นในการฆ่า การให้ประหารสัตว์อื่น และในการเข่นฆ่า คือการทำให้สัตว์

อื่นตาย. คำว่า " ไม่ประกอบด้วยความสงสาร " คือมาถึงความเป็นผู้ไม่

มีความสงสาร. คำว่า " ของคนอื่นนั้นใด " คือ สิ่งที่มีอยู่ของคนอื่นนั้น

ใด. คำว่า " อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ " ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของคน

อื่นนั่นเอง คือเครื่องบริขารที่ก่อให้เกิดความยินดีแก่คนอื่นนั้น. คำว่า " หรือ

อยู่ในหมู่บ้าน " คือหรือที่ตั้งไว้ภายในหมู่บ้าน.คำว่า " หรืออยู่ในป่า "

คือตั้งไว้ในป่า หรือบนยอดไม้ยอดภูเขาเป็นต้น. คำว่า " ที่ไม่ให้ " คือพวก

เขาไม่ได้ให้ด้วยกายหรือด้วยวาจา. ผู้ลักชื่อว่า " ขโมย " ในที่นี้. ภาวะแห่ง

ขโมย ชื่อว่า ความเป็นขโมย. คำนี้เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะขโมย. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 261

" ส่วน " นี้ เป็นชื่อของส่วนหนึ่งโดยใจความ. เหมือนในคำเป็นต้นว่า " ก็ส่วน

แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าอันสัญญาเป็นเค้ามูล " ส่วนนั้นด้วย ความเป็น

ขโมยด้วย เหตุนั้น ชื่อว่าส่วนแห่งความเป็นขโมย หมายความว่า ส่วนแห่ง

จิตหนึ่งกล่าวคือจิตคิดจะขโมย. และคำว่าส่วนแห่งความเป็นขโมยนี้ เป็น

ปฐมาวิภัติลงในอรรถตติยาวิภัติ ฉะนั้น จึงควรเห็นโดยความว่า " ด้วยส่วน

แห่งความเป็นขโมย " ดังนี้.

ในคำว่า " อันแม่ปกครอง " เป็นต้น มีอธิบายว่า เมื่อพ่อหายหรือ

ตายไปแล้ว แม่ดูแลด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น คิดว่าจะให้มีครอบ

ครัวเมื่อเติบโตแล้ว แล้วย่อมปกครองลูกหญิงคนใดไว้คนนี้ชื่อว่า อันแม่

ปกครอง. แม้ที่พ่อปกครองเป็นต้น ก็พึงทราบโดยอุบายนี้. ส่วนตระกูลที่ชอบ

พอกัน ทำข้อตกลงกันตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องว่า ถ้าฝ่ายฉันเป็นลูกชาย

ฝ่ายแกเป็นลูกหญิง ไปที่อื่นไม่ได้ ต้องเป็นของลูกชายฉันเท่านั้น" หญิงที่

จับจองตั้งแต่อยู่ในท้องทำนองนี้ ชื่อว่ามีผัว. ส่วนหญิงที่เขาเจาะจงหมู่

บ้าน เรือน หรือ ถนนแล้ววางโทษอย่างนี้ว่า " ใครไปหาหญิงชื่อนี้ จะถูก

ปรับโทษเท่านี้ " ชื่อว่า มีทัณฑ์โดยรอบ. คำว่า " โดยที่สุดแม้แต่หญิงที่ซัด

พวงมาลัยไป " คือ โดยกำหนดอย่างต่ำสุดกว่าเขาหมด หญิงที่ชายคนใดคน

หนึ่งกำลังเหวี่ยงพวงมาลัยไปบนนางด้วยสำคัญว่า " นางนี้จะเป็นภริยาของ

เรา " แล้วก็ถูกเอาเพียงพวงมาลัยเท่านั้นซัดไป. คำว่า " ย่อมเป็นผู้ละเมิด

จารีต ในพวกหญิงเห็นปานนั้น " ได้แก่ ย่อมเป็นผู้กระทำความก้าวล่วง

ในเพราะหญิงเห็นปานนั้น ด้วยอำนาจลักษณะความประพฤติผิดอันกล่าว

แล้วในสัมมาทิฏฐิสูตร.

คำว่า " อยู่ในที่ประชุม " คือ ยืนอยู่ในสภา. คือ " อยู่ในบริษัท "

คือยืนอยู่ในบริษัท. คำว่า " อยู่กลางญาติ " คือ อยู่ท่ามกลางพวก

ทายาท. คำว่า " อยู่ท่ามกลางพรรคพวก " คือ อยู่ท่ามกลางกองทหาร. คำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 262

ว่า "อยู่กลางราชตระกูล" คืออยู่ในท้องพระโรงใหญ่กลางราชตระกูล.

คำว่า "ถูกนำพาไป" คือถูกนำไปเพื่อต้องการซัก. คำว่า "ถูกซักพยาน"

คือ ถูกทำเป็นพยานแล้วซัก. คำว่า "มานี่แน่ะ นาย" นี้เป็นคำสำหรับร้อง

เรียก. คำว่า "เพราะตนเป็นเหตุหรือเพราะคนอื่นเป็นเหตุ" คือเพราะเหตุ

แห่งมือและเท้าเป็นต้นของตนหรือของตนอื่น หรือเพราะเหตุแห่งทรัพย์.

คำว่า "ลาภ" ท่านประสงค์ว่า อามิส ในบทว่า "หรือเพราะเห็นแก่อามิส

เล็กน้อยเป็นเหตุ" นี้ เพราะฉะนั้น คำว่า "เล็กๆ น้อยๆ" จึงหมายความถึง

ของไม่สำคัญ คือ เล็กๆ น้อยๆ อธิบายว่าโดยที่สุดเพราะเหตุแห่งสินบนซึ่ง

มี แค่นกกระทา นกคุ่ม ก้อนเนยใส และก้อนเนยแข็งเป็นต้น.

คำว่า "ย่อมเป็นผู้พูดเท็จทั้งที่รู้อยู่" คือ ทั้งๆ ที่รู้อยู่แท้ๆ ก็ยังเป็น

ผู้กระทำให้เป็นคำเท็จ. คำว่า "เพื่อทำลายพวกนี้" คือได้ยินในสำนักของ

คนเหล่าใดที่ท่านเรียกว่า "จากนี้" เพื่อทำลายพวกนั้น. คำว่า "เพื่อทำลาย

พวกโน้น" คือได้ฟังคำของพวกใดที่ท่านว่า "โน้น" เพื่อทำลายพวก

นั้น. คำว่า "หรือเป็นผู้ทำลายคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วอย่างนี้" ได้แก่

หรือเป็นผู้ทำให้สหายสองฝ่ายที่สมัครสมานกันอย่างนี้แตกกัน. คำว่า

"หรือส่งเสริมคนที่แตกกันแล้ว" คือเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อให้ผู้ที่

แตกกันแล้วสมานกันอีกไม่ได้อย่างนี้ว่า คุณทำดีแล้วที่สละมันได้อีกสอง

สามวันเท่านั้นมันจะทำให้คุณฉิบหายใหญ่" อธิบายว่าเป็นผู้ชี้เหตุให้.

"พวกเป็นที่มายินดี" คือเป็นที่ตั้งแห่งความยินดียิ่งของเขา เหตุนั้นขาจึงชื่อ

ว่ามีพวกเป็นที่มายินดี. คำว่า "ผู้ยินดีแล้วในพวก" คือยินดีแล้วในพวกทั้ง

หลาย. ชื่อว่าบันเทิงในพวกเพราะเห็นหรือได้ยินว่าพวกก็ย่อมบันเทิง. คำ

ว่า "วาจาทำให้เป็นพวก" คือ วาจาใดทำสัตว์ให้เป็นพวก คือทำลายสัตว์

แม้ที่พร้อมเพรียงกันแล้ว เป็นผู้พูดวาจาที่ก่อการทะเลาะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 263

คำว่า "เป็นปม" คือชื่อว่าตะปุ่มตะป่ำ ด้วยคำขู่และคำข่มเป็น

ต้น เพราะเป็นวาทที่มีโทษ เหมือนปมที่ตั้งขึ้นที่ต้นไม้มีโทษ (เสีย)ฉะนั้น. คำ

ว่า "หยาบ " คือเสีย เป็นวาจาที่หยาบคาย เหมือนต้นไม้ที่เสีย เป็นต้นไม้ที่

ขรุขระมีขุยไหลออกฉะนั้น. วาจานั้น ย่อมเหมือนกับครูดหูเข้าไปฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า หยาบคาย. คำว่า เผ็ดร้อนแก่คนอื่น" คือเป็นวาจาที่เผ็ด

ร้อนไม่น่าชื่นใจของคนเหล่าอื่น คือเป็นวาจาที่ก่อโทษ. คำว่า "ทิ่มแทงผู้

อื่น" คือได้แก่วาจาที่แทงไปในของรักเหมือนกิ่งไม้คดมีหนามกระทบกระ

แทกคนเหล่าอื่น ทำให้เกิดความติดขัด เพราะไม่ให้เพื่ออันไปแม้แก่ผู้ที่อยาก

ไป. คำว่า "ใกล้ต่อความโกรธ" คือใกล้ชิดต่อความโกรธ. คำว่า "ไม่เป็นไป

เพื่อสมาธิ" คือเป็นวาจาที่ไม่เป็นไปเพื่ออัปปนาสมาธิ หรือ อุปจารสมาธิ.

อย่างที่ว่ามาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นคำใช้แทนวาจาที่มีโทษทั้งนั้นแล.

คำว่า "มีปกติพูดไม่เป็นเวลา" คือเป็นผู้พูดโดยไม่ใช่เวลา. คำว่า

ว่า "มีปกติพูดไม่จริง" คือเป็นผู้พูดสิ่งที่ไม่มี. คำว่า "มีปกติพูดไม่เป็น

ผลประโยชน์" คือเป็นผู้พูดถ้อยคำไม่อาศัยเหตุ. คำว่า "มีปกติพูดไม่เป็น

ธรรม" คือเป็นผู้พูดไม่เป็นสภาวะ.(ไม่มีผล?). คำว่า "มีปกติพูดไม่เป็น

วินัย" คือเป็นผู้พูดคำที่ไม่ประกอบด้วยสังวรวินัยเป็นตน. คำว่า "ไม่มีหลัก

ฐาน" คือย่อมเป็นผู้พูดวาจาที่ไม่สมควรจะเก็บไว้ในตู้คือหัวใจ. คำว่า "โดย

ไม่เลือกเวลา" คือย่อมเป็นผู้พูดในเวลาที่สมควรก่อนหรือหลังเวลาที่ต้อง

พูด. คำว่า "ไม่มีที่อ้าง" คือเว้นจากที่อ้างอิงคือสูตร. คำว่า "ไม่มีที่จบ"

คือยกเอาพระสูตรหรือขาดกที่ไม่มีขั้นตอนมาแล้วชักเอาเรื่องที่พอจะเข้า

กับพระสูตรหรือชาดกนั้น ได้ข้อเปรียบหรือวัตถุมาแล้วกลับไปกล่าวถ้อยคำ

ที่ตกเรื่องไปเสียหมด. คำที่ยกมาแล้วก็สักแต่ว่ายกขึ้นมาเท่านั้นเอง. เขา

ย่อมถึงความเป็นผู้อันผู้อื่นพึงต่อว่า "เขาย่อมกล่าวสูตรหรือหนอ? หรือ

ชาดก. พวกเราไม่เห็นการจบหรือที่สุดของสูตรหรือชาดกนั้น" แม้ผู้นี้ก็ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 264

ชื่อว่าเป็นธรรมกถึกย่านไทร ย่อมทำบทที่ยกขึ้นมาตั้งให้สักแต่ว่ายกมาตั้งไว้

เท่านั้นแล้วก็ไปเรื่อยเปื่อยแบบข้าง ๆ คูๆ อย่างนั้นแหละ เหมือนอย่างราก

ย้อยของกิ่งต้นไทร ย้อยลงไปในที่ๆ มันไปแล้วๆ ถึงที่ซึ่งมัน หย่อนลง

แล้วๆ แล้วก็ย่อมเจริญอีกนั่นเทียวมันไปได้แบบนี้นั่นแหละ ตั้งกึ่งโยชน์

บ้าง หรือโยชน์บ้าง ตั้งอยู่เป็นแนวทีเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น. ส่วนผู้ใด แม้จะพูด

มากก็ยังสามารถเพื่อให้ชักเอามาๆ แล้วรู้ได้ว่า "ท่านพูดคำนี้เพื่อสิ่งนี้"

ผู้นั้นจะกล่าวก็ควร. คำว่า "ไม่ประกอบด้วยประโยชน์" คือ หาประกอบ

ด้วยประโยชน์ไม่.

คำว่า "ย่อมเป็นผู้เพ่งเล็ง" ได้แก่ ย่อมเป็นผู้แลดูด้วยความเพ่ง

เล็ง. คำว่า "โอ้หนอ" เป็นนิบาตลงในอรรถว่าปรารถนา. ก็ในข้อนี้ ด้วยอาการ

เพียงแต่แลดูด้วยความเพ่งเล็งเท่านั้น การแตกกรรมบถยังไม่มี ต่อเมื่อน้อมมา

เป็นของตนว่า "ทำอย่างไรหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของของฉัน ฉันพึงวาง

อำนาจให้เป็นไปในของสิ่งนี้" ดังนี้ กรรมบถจึงแตก. ท่านหมายการเพ่งเล็งแบบ

นี้ในที่นี้.

คำว่า "มีจิตพยาบาท" คือมีจิตเสียได้แก่ มีจิตบูดเน่า. คำว่า

"มีความดำริด้วยใจร้าย" ได้แก่มีความดำริด้วยจิตที่ถูกโทสะประทุษร้าย. คำ

ว่า "จงถูกฆ่า" คือ จงถูกทำให้ตาย. คำว่า "จงถูกทำให้ตาย" คือจงถึงการ

ฆ่า. คำว่า "หรืออย่าได้มีแล้ว" คือแม้แต่อะไรๆ ก็อย่าได้แล้ว. แม้ในข้อ

นี้ ด้วยเหตุเพียงความกำเริบ (โกรธ) กรรมบถก็ไม่มีแตก. จะมีแตกก็เพราะ

คิดเป็นต้นว่า "จงถูกฆ่า" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

คำว่า "ผู้มีความเห็นผิด" คือ ผู้มีความเห็นเป็นอกุศล. คำว่า

"มีความเห็นวิปริต" คือมีความเห็นในใจคลาดเคลื่อนไป. คำว่า "ทานที่ให้

แล้วไม่มีผล" คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความไม่มีผลของทานที่ให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 265

แล้ว. การบูชาใหญ่ท่านเรียกว่า "ยิฏฐะการบูชา สักการะที่เพียงพอทรง

ประสงค์ว่า "หุตะ = การเซ่นสรวง" เขาหมายเอาความไม่มีผลเท่านั้นจึงห้าม

สิ่งทั้งสองแม้นั้น. คำว่า "แห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่ว" หมายความว่าแห่ง

กุศลและอกุศลที่ทำดีและทำไม่ดี. คำที่ว่า "ผลวิบาก" นั้น จะเรียกว่าผลหรือ

เรียกว่าวิบากก็ได้. เขาพูดว่า ผล (หรือวิบาก) นั้น ไม่มี. คำว่า "โลกนี้ไม่มี"

คือไม่มีโลกนี้สำหรับผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่น.คำว่า "โลกอื่นไม่มี" คือไม่มีโลก

อื่นแม้สำหรับผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้. เขาชี้แจงว่า ทั้งหมดย่อมขาดสูญในที่

นั้นนั่นแหละ.คำว่า "ไม่มีแม่ ไม่มีพ่อ" หมายถึงว่า เขาย่อมพูดด้วยอำนาจ

ความไม่มีผลแห่งการปฏิบัติชอบและปฏิบัติผิดในท่านเหล่านั้น. คำว่า "ไม่มี

สัตว์ที่ลอยเกิด" นั้นคือเขาพูดว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ที่เคลื่อนแล้วเกิดไม่มี. คำ

ว่า "ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วประกาศ" คือเขาแสดงถึงความไม่มี

แห่งหมู่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าว่า ผู้ที่ทำให้แจ่มแจ้งเองด้วยปัญญาอันอันพิเศษยิ่ง

แล้วประกาศโลกนี้และโลกหน้านั้นไม่มี. ดังนี้.

ด้วยคำมีประมาณพียงเท่านี้ ความเห็นผิดซึ่งมีตั้ง ๑๐ อย่าง เป็นอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้ว. กรรมบถ ๗ ข้อเป็นต้นว่า "ล่ะการฆ่า

สัตว์" ได้ขยายให้พิสดารในจุลลหัตถิปทสูตรแล้ว. ความไม่เพ่งเล็งเป็น

ต้น ก็มีใจความที่ง่ายแล้วแล.

คำว่า "ขอให้เราเข้าถึงความเป็นอันเดียวกัน" คือ ขอให้เราเข้าถึง

สหภาพ (ความเป็นพวก เป็นเพื่อน เป็นหนึ่งอันเดียวกัน) คำว่า "แห่ง

หมู่เทพที่เป็นพวกพรหม" ได้แก่ แห่งหมู่เทพชั้นปฐมฌาน. คำว่า "แห่งหมู่

เทพชั้นอาภา" คือชื่ออาภา ที่เป็นแผนกหนึ่งต่างหากไม่มี, คำนี้เป็นชื่อแห่งหมู่

เทพชั้น ปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา. แต่คำ "ปริตตาภา" เป็น

ต้น เป็นการไม่ถือเอารวมกัน แต่ถือด้วยการแยกหมู่เทพเหล่านั้นนั่น

เอง. แม้ในบทเป็นต้นว่า "ชั้นสุภา ชั้นปริตตสุภา" ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 266

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความสิ้นอาสวะด้วยประการฉะนี้แล้ว

ก็ทรงจบเทศนาลงด้วยยอดคือพระอรหัตตผล.

สำหรับในที่นี้ ควรรวมเอาเทวโลกมาตั้งไว้ด้วย คือ

ก. พรหมโลก ๑๘ ชั้น คือ

พรหมโลกด้วยอำนาจฌานภูมิ ๓ ชั้นแรก(ชั้นละ ๓)รวมเป็น ๙

สุทธาวาส ๕ รวมกับอรูปภูมิอีก ๔ รวมเป็น ๙

(รวมทั้งหมดเป็น ๑๘)

ข. พรหมโลก ๒๐ ชั้น คือ

เอาพรหมโลกในข้อ ก. ๑๘

พร้อมกับชั้นเวหัปผลาอีก ๑+๑๘=๑๙

ใส่อสัญญีภพเข้ามาใน ๑๙ นั้นอีก ๑+๑๙=๒๐

(รวมทั้งหมดเป็น ๒๐)

ค. เทวโลก ๒๖ ชั้น คือ

เอาพรหมโลกในข้อ ก. และ ข. ๒๐

กับกามาวจรอีก ๖

(เทวโลกทั้งหมดเป็น ๒๖ ชั้น)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเกิดของพวกเทพแม้ทั้งหมดนั้นด้วย

กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. ใน ๒๖ ชั้น การเกิดในกามาวจร ๖ ชั้น ย่อม

มีได้ ด้วยวิบากแห่งสุจริตทั้งสามอย่างนั่นเอง. ส่วนกรรมบถเหล่านี้ตรัสด้วย

อำนาจเป็นอุปนิสัยแห่งเทวโลกชั้นบน. จริงอยู่ กุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ข้อ

ก็คือศีล, การบริกรรมกสิณ ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีศีลเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อตั้งอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 267

ศีล แล้วก็ทำการบริกรรมกสิณ เมื่อยังปฐมฌานให้เกิดแล้วก็ย่อมเกิดใน

ปฐมฌานภูมิ. อบรมทุติยฌานเป็นต้นแล้วก็ย่อมเกิดในทุติยฌานภูมิเป็น

ต้น ครั้นทำรูปาวจรฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในอนาคามิ-

ผลแล้ว ก็ย่อมเกิดในสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้น เมื่อได้ทำรูปาวจรฌานให้เป็นบาท

แล้ว ยังอรูปาวจรสมาบัติให้เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดในอรูปภพ ๔ ชั้น ครั้นทำ

รูปฌานและอรูปฌานให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุอรหัตตผล.

ส่วนอสัญญภพ พวกดาบสและปริพาชกภายนอกสะสมกัน ฉะนั้น จึง

ไม่ทรงแสดงในที่นี้. ที่เหลือในที่ทุกแห่ง ตื้นแล้วแล.

จบอรรถกถาสาเลยยกสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 268

๒. เวรัญชกสูตร

[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่พระเชตวันอารามของ

อนาถปิณฑิกะ ใกล้กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนี้แล พวกพราหมณ์เละคฤหบดี

ชาวเมืองเวรัญชาพักแรมอยู่ในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง

พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้ฟังว่า "ท่านผู้เจริญ ดังได้

ข่าวมาว่า พระสมณโคดม ผู้ศากยบุตร ทรงผนวชจากตระกูลศากยะ

ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี ก็เกียรติ-

ศัพท์อันงดงามของพระโคดมผู้เจริญนั้นแลฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า ''แม้เพราะ

เหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง

โดยถูกต้อง สมบูรณ์ความรู้และความประพฤติเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้จักโลก

เป็นสารถีฝึกคนที่พอจะฝึกได้อย่างเยี่ยม เป็นผู้สั่งสอนพวกเทพและมนุษย์

เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกแจกธรรม พระองค์ทรงทำให้แจ้งด้วยพระปัญญา

อันยิ่งของพระองค์เองแล้วประกาศโลกนี้รวมทั้งเทวโลก พร้อมทั้งมาร

พร้อมทั้งพรหม หมู่สัตว์ที่รวมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

พระองค์ทรงแสดงธรรมที่ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ

ในที่สุด ประกาศหลักครองชีวิตอันประเสริฐ.บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงพร้อมทั้ง

อรรถ (หัวข้อ) พร้อมทั้งพยัญชนะ (คำอธิบาย) ก็การได้เห็นพวกพระอรหันต์

เห็นปานนั้นเป็นการดี".

ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้เข้าเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วบางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-

เจ้า, บางพวกก็ชื่นชมยินดีกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่งถ้อยคำเป็นที่น่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 269

บันเทิงทำให้ระลึกนึกถึงกัน, บางพวกเป็นแต่ประณมมือหันไปทางที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับ, บางพวกเป็นแต่ร้องประกาศชื่อสกุลในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า, บางพวกไม่พูดจาว่ากระไรแล้วต่างก็นั่งลงในที่

ควรส่วนหนึ่ง, เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาต่างนั่งลงใน

ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า :-

" พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ, อะไรเป็นปัจจัยที่สัตว์บาง

พวกในโลกนี้เข้าถึงอบายทุคติวินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย

แตก และ พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ, อะไรเป็นปัจจัย ที่สัตว์บางพวก

ในโลกนี้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก "

ภ. " พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย เพราะความประพฤติไม่ถูกต้อง

และประพฤติไม่เรียบร้อยเป็นเหตุ, สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงอบาย

ทุคติวินิบาตนรกหลังจากที่แตกกายตายไป, พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย

เพราะเหตุที่ประพฤติถูกต้องและประพฤติเรียบร้อย สัตว์บางพวกในโลกนี้จึง

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หลังจากที่แตกกายตายไป "

พ. คำที่พระโคดมผู้เจริญพูดไว้โดยย่อ ยังไม่ได้จำแนกเนื้อความ

อย่างพิสดารนี้ พวกข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจเนื้อความอย่างพิสดารเลย จึงขอ

ความกรุณาให้พระโคดมผู้เจริญได้โปรดแสดงธรรมโดยประการที่พวกข้าพ-

เจ้าจะพึงเข้าใจเนื้อความของคำที่พระโคดมผู้เจริญพูดไว้โดยย่อนี้โดยพิสดาร

ด้วยเถิด "

ภ. พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่านจงตั้งใจ

ฟังให้ดี เราจะว่าให้ฟัง "

พราหมณ์เละคฤหบดีชาวเมืองเวรัญชารับสนองพระดำรัสของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า " อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 270

อกุศลกรรมบถ ๑๐

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำนี้ว่า :-

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูก-

ต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางกายมี ๓ อย่างแล. เป็นผู้ประพฤติไม่ถูก-

ต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจามี ๔ อย่าง. เป็นผู้ประพฤติไม่ถูก-

ต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจมี ๓ อย่าง

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่

ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง ?

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นคนชอบฆ่าสัตว์ คือเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือดมุ่งแต่

เข่นฆ่าไร้ยางอาย ไม่มีความสงสารในหมู่สัตว์ทุกชนิด

๒. เป็นคนชอบลักทรัพย์ คือถือเอาทรัพย์สมบัติของคนอื่นที่เขายัง

ไม่ให้ ซึ่งเป็นอาการแห่งขโมย

๓. เป็นคนชอบประพฤติผิดในของรักของใคร่ทั้งหลาย คือล่วง

ละเมิดจารีต (ประเวณี) ในพวกผู้หญิงที่แม่ปกครอง ฯลฯ เห็นปานนั้น

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง

ประพฤติไม่เรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างนี้แล

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่

ถูกต้อง ประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง อย่างไรบ้าง

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

๑. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ, ฯลฯ* เป็นผู้พูดเท็จทั้งๆที่รู้อยู่

๒. เป็นผู้กล่าวส่อเสียด คือฟังจากทางนี้แล้วไปบอกทางโน้น ฯลฯ

เป็นผู้กล่าววาจาเป็นเครื่องทำให้แตกกันเป็นพรรคเป็นพวก

๓. และก็เป็นคนกล่าวคำหยาบ คือชอบพูดคำที่ค่อนขอด หยาบช้า

ฯลฯ เป็นผู้พูดคำเห็นปานนั้น.

๔. อีกทั้งเป็นผู้ชอบกล่าวคำพูดเพ้อเจ้อ คือพูดในเวลาไม่ควร

พูด คำไม่จริง ฯลฯ ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง

ประพฤติไม่เรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง อย่างนี้แล.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง

ประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง ?

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็งว่า ฯลฯ นั้นพึงเป็นของเร่า

๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือมีความคิดในใจที่ร้ายว่า " ขอให้สัตว์เหล่านี้

จงเดือดร้อน ฯลฯ หรืออย่าได้มีแล้ว ".

๓. อีกทั้งเป็นผู้มีความเห็นผิด คือเห็นคลาดเคลื่อนไปว่า "ทานที่ให้

แล้วไม่มีผล, การบูชาไม่มีผล, การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯลฯ ทำให้แจ้ง

แล้วประกาศ ไม่มี"

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติไม่ถูกต้อง

ประพฤติไม่เรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

๑. ข้อความที่ ฯลฯ ทุกแห่ง เหมือนที่กล่าวแล้วในสาเลยยกสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 272

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุที่ประพฤติไม่ถูกต้อง

และประพฤติไม่เรียบร้อยดังที่ว่ามานี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึง

อบายทุคติวินิบาตนรกเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกไปอย่างนี้.

กุศลกรรมบถ ๑๐

[๔๙๐] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลบุคคลเป็นผู้ประพฤติ

ถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อยทางกายมี ๓ อย่าง,.....ทางวาจา มี ๔ อย่าง,

......ทางใจมี ๓ อย่าง.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็แลบุคคลเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อยทางกาย ๓ อย่าง อย่างไรบ้าง

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ละการฆ่าสัตว์ งดเว้นการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด วางท่อนไม้เสียแล้ว

วางศัสตราเสียแล้ว ฯลฯ เป็นผู้มีการเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวกอยู่

๒. ละการลักทรัพย์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ได้เด็ดขาด ไม่ถือ

เอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นที่เขายังไม่ได้ให้อันเป็นส่วนแห่งขโมย

๓. ละการประพฤติผิดในเรื่องของรักของใคร่ทั้งหลาย ฯลฯ

ไม่เป็นผู้ล่วงละเมิดจารีต (ประเวณี) ในพวกหญิงเห็นปานนั้น

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อย ทางกาย ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างไรบ้าง ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 273

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ละการกล่าวเท็จ เว้นจากการกล่าวเท็จได้อย่างเด็ดขาด คืออยู่ใน

ที่ประชุมก็ดี ฯลฯ เป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งๆที่รู้อยู่.

๒. ละคำส่อเสียด เว้นจากคำส่อเสียดได้อย่างเด็ดขาด ฯลฯ เป็น

ผู้กล่าวคำที่ทำให้เกิดสมัครสมานกันเห็นปานนั้น

๓. ละคำหยาบ ฯลฯ เป็นผู้กล่าวคำเห็นปานนั้น

๔. ละคำสำรากเพ้อเจ้อ ฯลฯ โดยเลือกเวลา มีที่อ้างมีที่สิ้นสุด

ประกอบด้วยประโยชน์

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อยทางวาจา ๔ อย่าง อย่างนี้แล.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างไรบ้าง?

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. ไม่เป็นผู้มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คือไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของ

ผู้อื่นว่า " ไฉนหนอ ทรัพย์ของคนอื่นพึงเป็นของเรา "

๒. ไม่เป็นผู้มีจิตพยาบาท ไม่มีจิตคิดร้าย (คิดในใจ) ว่า " ขอให้

สัตว์เหล่านี้จงอย่ามีเวร อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีทุกข์ จงมีแต่สุข รักษา

ตนเถิด "

๓. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นคลาดเคลื่อน (คือเห็น) ว่า

" ทานที่ให้แล้วมีผล, การบูชามีผล, การเซ่นสรวงมีผล ฯลฯ ทำให้แจ้งด้วย

ความรู้อย่างยิ่งของตนเองแล้วประกาศ (แก่สัตว์อื่น) มี "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 274

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลย่อมเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อยทางใจ ๓ อย่าง อย่างนี้แล.

" พราหมณ์เละคฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งการประพฤติถูกต้อง

และประพฤติเรียบร้อยดังว่ามานี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้จึงเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์หลังจากที่แตกกายตายไปแล้ว.

ผลของธรรมจริยาและสมจริยา

[๔๙๑] พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าบุคคลที่ประพฤติถูกต้อง

ประพฤติเรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอ ขอให้เราพึงเข้าถึงความเป็นพวก

เดียวกันกับพวกกษัตริย์มหาศาล... พวกพราหมณ์มหาศาล... พวก

คฤหบดีมหาศาล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกเถิด" ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้า

แต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกกษัตริย์มหาศาล

...พวกพราหมณ์มหาศาล... พวกคฤหบดีมหาศาลนี้ ย่อมเป็นไปได้.

นั้น เพราะเหตุไร? เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย.

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติ

เรียบร้อย พึงหวังว่าไฉนหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายเถิด ขอให้เราพึง

เข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา... ชั้น

ดาวดึงส์ ... ชั้นยามา ... ชั้นดุสิต ... ชั้นนิมมานรดี ... ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

... ชั้นพรหมกายิกา (พวกพรหมมี ๓ ชั้น คือ พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิ-

ตา มหาพรหมา) เถิด" ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พึงเข้าถึง

ความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ฯลฯ ชั้นพรหมกายิกา

นี้ ย่อมเป็นไปได้ นั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเขาประพฤติถูกต้อง ประพฤติ

เรียบร้อย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 275

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติ

เรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ขอให้เราพึง

เข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นอาภา (พวกมีรัศมี มี

๓ ชั้น คือ ปริตตา อัปมาณาภา อาภัสสรา) เถิด " ก็ข้อที่เขาเบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตกพึงเข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับหมู่เทพชั้นอาภานี้ ย่อม

เป็นไปได้นั้น เพราะเหตุไร เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติถูกต้องประพฤติ

เรียบร้อย.

" พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้อง ประพฤติ

เรียบร้อย พึงหวังว่า"ไฉนหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ขอให้เราพึง

เข้าถึงความเป็นพวกเดียวกันกับพวกเทพชั้นปริตตสุภา... ชั้นอัปปมาณสุภา...

ชั้นสุภกิณหา... ชั้นเวหัปผลา... ชั้นอวิหา ... ชั้นอตัปปา... ชั้นสุทัสสา . .

ชั้นสุทัสสี... ชั้นอกนิฏฐา....ชั้นผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ.....ชั้นผู้เข้าถึง

วิญญาณัญจายตนะ... ชั้นผู้เข้าถึงอากิญจัญญาตนะ....ชั้นผู้เข้าถึงเนวสัญ

ญานาสัญญายตนะเถิด ก็ข้อที่เบื้องหน้าตายเพราะกายแตก เขาพึงเข้าถึง-

ความเป็นพวกเดียวกันกับหมู่เทพชั้นปริตตสุภา ฯลฯ ชั้นผู้เข้าถึงเนวสัญญา

นาสัญญายตนะนี้ ย่อมเป็นไปได้. นั้น เพราะเหตุไร ? เพราะเขาเป็นผู้

ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าผู้ที่ประพฤติถูกต้องประพฤติ

เรียบร้อย พึงหวังว่า " ไฉนหนอ ขอให้เราพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติที่หาอาสวะไม่ได้ เพราะพวกอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเอง

แล้วอยู่ในปัจจุบันนี้เองเถิด " ก็ข้อที่เขาพึงทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 276

หาอาสวะไม่ได้ เพราะพวกอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเองแล้วอยู่

ในปัจจุบันนี้เองนี้ ย่อมเป็นไปได้. นั้น เพราะเหตุไร เพราะเหตุที่เขาเป็น

ประพฤติถูกต้อง ประพฤติเรียบร้อย

[๔๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้จบแล้ว พวกพราหมณ์และ

คฤหบดีชาวเมืองเวรัญชาได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า "ไพเราะ

เหลือเกิน พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญ ไพเราะจริงๆ" พระโคดม

ผู้เจริญได้ประกาศธรรมหลายแบบ เหมือนคนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่

ปิดบอกทางแก่ผู้หลง ตามตะเกียงน้ำมันไว้ในที่มืด ด้วยคิดว่า " คนมีตาดีๆ

จะได้เห็นรูป" พวกข้าพเจ้าเหล่านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม

และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพเจ้าว่า

เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป "

จบเวรัญชกสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 277

อรรถกถาเวรัญชกสูตร

เวรัญชกสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้"

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ชาวเวรัญชา" ได้แก่ พวกผู้อยู่ที่เมือง

เวรัญชา. คำว่า " ด้วยกรณียะบางอย่างทีเดียว" ได้แก่ด้วยกิจที่ไม่กำหนด

ให้แน่ลงไปบางอย่างนั่นแล คำที่เหลือทั้งหมด พึงทราบตามแบบที่ว่าไว้แล้ว

ในสูตรก่อน. ก็เพียงแต่ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการ

แสดงชนิดยกเอาบุคคลมาเป็นที่ตั้งอย่างนี้ว่า "บุคคลมีปกติประพฤติไม่เป็น

ธรรม มีปกติประพฤติไม่เรียบร้อย แต่ในพระสูตรก่อน เป็นชนิดยกเอา

ธรรมมาเป็นที่ตั้งเท่านั้น. แตกต่างกันเท่านี้ ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเวรัญชกสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 278

๓.มหาเวทัลลสูตร

[๔๘๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับที่พระเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะ

ออกจากที่เร้นในเวลาบ่ายแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่พัก แล้วก็ชื่น

ชมกับท่านพระสารีบุตร เมื่อเสร็จถ้อยคำที่ทำให้เกิดความชื่นชม เป็นที่ตั้ง

แห่งความระลึกนึกถึงกันแล้ว ก็นั่งลงในควรส่วนหนึ่ง."

[๔๙๔] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะ นั่งลงในที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว

ก็ได้พูดกับท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า " ท่าน คำที่เขาเรียกกันว่า " คนมี

ปัญญาชั่วๆ " (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า

" คนมีปัญญาชั่ว "

สา. " ที่เขาเรียกว่า คนมีปัญญาชั่ว (คนโง่) ก็เพราะเขาไม่รู้ชัดไม่

เข้าใจแจ่มแจ้งนั่นแหละคุณ ก็เขาไม่รู้ชัดอะไรเล่า ? เขาไม่รู้ชัดว่า " นี้ทุกข์ "

" นี้เหตุให้เกิดทุกข์ขึ้น ". ไม่รู้ชัดว่า " นี้ความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ",

ไม่รู้ชัดว่า " นี้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ ", ที่เรียกว่า

" คนโง่." ก็เพราะเขาไม่รู้ชัด ไม่เข้าใจ(อริยสัจ) นี่แหละคุณ "

" ดีมาก ครับท่าน " ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ชื่นชมอนุโมทนาภาษิต

ของท่านพระสารีบุตร แล้วก็ถามปัญหากับท่านพระสารีบุตรให้ยิ่งขึ้น

ไปว่า " ท่านครับ คำที่เขาว่า คนมีปัญญาๆ (นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียง

ไรหนอท่าน เขาจึงเรียกว่า " คนมีปัญญา "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 279

สา. "คุณ ! ที่เขาเรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะ "เขาเข้าใจชัดเข้าใจ

แจ่มแจ้ง" นั่นแหละ. เข้าใจแจ่มแจ้งอะไรเล่า เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ทุกข์",

เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" เข้าใจแจ่มแจ้งว่า "นี้ความดับทุกข์

ได้โดยไม่เหลือ". ที่เรียกว่า "คนมีปัญญา" ก็เพราะเข้าใจชัด เข้าใจแจ่ม

แจ้ง (อริยสัจ) นี่แหละคุณ"

โก. "ท่านครับ ที่เขาเรียกว่า "วิญญาณๆ (ความรู้แจ้ง)"(นั้น),

เขาเรียกว่า "วิญญาณ" ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน ?"

สา. "คุณ ! ที่เรียกว่า"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมรู้

แจ่ม ย่อมรู้แจ้ง นั่นแหละ. รู้แจ้งอะไรเล่า ย่อมรู้แจ้งว่า "สุข" บ้าง ย่อมรู้

แจ้งว่า "ทุกข์" บ้าง, ย่อมรู้แจ้งว่า "ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข*"บ้าง. ที่เรียกว่า

"วิญญาณ" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ ย่อมรู้แจ้ง ดังนี้แหละคุณ!"

โก. "เอ๊ะ ท่านครับ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้

แจ้งเหล่านี้ มันคละกัน หรือมันแยกกัน และก็ เราจะแยกแยะธรรมเหล่า

นี้แล้วบัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"

สา. "คุณ ธรรมคือปัญญาความรู้ชัดและวิญญาณความรู้แจ้งเหล่านี้

มันคละกันแยกกันไม่ได้ และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก

ต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะอันใดเป็นความรู้ชัด. อันนั้นเป็นความรู้แจ้ง

อันใดเป็นความรู้แจ้ง อันนั้นเป็นความรู้ชัด, ฉะนั้น ธรรมเหล่านี้จึงคละกัน

แยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะแล้วบัญญัติให้แตกต่างกันก็ไม่ได้ด้วย"

๑. เคยเห็นมา วิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ เป็นต้น, ในที่นี้รู้แจ้งเวทนา น่าคิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 280

โก. "อ้าวท่านครับ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้

มันคละกัน แยกจากกันไม่ออก แล้วอะไรล่ะ ที่ทำให้แตกต่างกัน"

สา. "คุณ เมื่อธรรมคือปัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละ

กัน แยกจากกันไม่ได้. ปัญญาอันบุคคลต้องอบรม วิญญาณอันบุคคล

ต้องกำหนดรู้ นี้ เหตุที่ทำให้แตกต่างกันของธรรมเหล่านั้น."

[๔๙๕] "ท่านครับ ที่เรียกว่า เวทนา เวทนา (ความรู้สึกๆ)"

(นั้น) ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอ ท่าน เขาจึงเรียกว่า เวทนา?"

สา. "ที่เขาเรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย

ย่อมรู้สึกนั่นแหละ. ณ รู้สึกอะไรเล่า? รู้สึกสุขบ้าง รู้สึกทุกข์บ้าง รู้สึกไม่

ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ที่เรียกว่า "เวทนา" ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่ย่อมเสวย

ย่อมรู้สึกนั่นแหละคุณ.

โก. "ที่เรียกกันว่า "สัญญาๆ (ความจำได้หมายรู้)" ล่ะครับท่าน

เขาเรียกว่า "สัญญา" กันด้วยเหตุมีประมาณเพียงไร ครับ"

สา. "ที่เรียกกันว่า "สัญญา" (นั้น) นะคุณ ก็เพราะเป็นธรรมชาติที่

ย่อมจำได้ย่อมหมายรู้ จำได้หมายรู้อะไรเล่า? ย่อมจำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง ..

สีเหลืองบ้าง... แดงบ้าง...สีขาวบ้าง. ที่เรียกว่า "สัญญา" ก็เพราะเป็น

ธรรมชาติที่ย่อมจำได้ ย่อมหมายรู้นั่นแหละคุณ"

โก. "ท่านครับ ธรรมคือ เวทนา สัญญา และวิญญาณ เหล่านี้

มันคละกัน หรือแยกออกจากกัน และเราพอจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้ว

บัญญัติให้แตกต่างกันได้ไหม"

สา. "คุณ ธรรมคือ เวทนา สัญญาและวิญญาณเหล่านี้ มันคละ

กัน แยกจากกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 281

ต่างกันก็ไม่ได้ด้วย. คุณ เพราะเวทนารู้สึกสิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น

สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น. ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเกี่ยวข้อง

กัน แยกกันไม่ออก และเราจะแยกแยะธรรมเหล่านี้แล้วบัญญัติให้แตก

ต่างออกไป ก็ไม่ได้ด้วย."

[๔๙๖] โก. "ท่านครับ ก็มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทาง

ใจ) ที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนำอะไรมา ?"

สา. "คุณ มโนวิญญาณที่สละหมดจดแล้วด้วยอินทรีย์ห้า พึงนำ

อากาสานัญจายตนะที่บริกรรมว่า "อากาศไม่มีที่สุด" มา, นำวิญญาณัญ-

จายตนะที่บริกรรมว่า "วิญญาณไม่มีที่สุด" มา, นำอากิญจัญญายตนะที่

บริกรรมว่า "อะไรๆ ก็ไม่มี (หรือ น้อยหนึ่ง ก็ไม่มี) มา."

โก. "ท่านครับ ก็บุคคลจะทราบไนยธรรม (สิ่งที่ถูกนำมา-ไป)

ได้ด้วยอะไร"

สา. "ทราบไนยธรรมได้ด้วยปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) ซิคุณ"

โก. "ปัญญา (มี) เพื่อประโยชน์อะไรล่ะท่าน"

สา. "ปัญญาที่แล มีเพื่อประโยชน์แก่การรู้ยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การ

รู้รอบ (กำหนดรู้) เพื่อประโยชน์แก่การละซิคุณ"

[๔๙๗] โก. "ก็แลปัจจัยเพื่อจะทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมา

ทิฏฐิ) ขึ้นมีเท่าไรล่ะครับ"

สา. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้นมี ๒ อย่างแหละคุณ

คือ เสียง(ก้อง)จากคนอื่น และการเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเหล่านี้แลคุณ

คือปัจจัย ๒ อย่างที่ทำให้เกิดความเห็นที่ถูกต้องขึ้น"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 282

โก. "ด้วยองค์เท่าไรล่ะครับท่าน ความเห็นที่ถูกต้องที่ประดับประ-

คองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยใจ) เป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลา-

นิสงส์, มีปัญญาวิมุตติ (หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น

ผลานิสงส์"

สา. "ก็ด้วยองค์ห้านี่แลคุณ ความเห็นที่ถูกต้องที่บุคคลประดับประ-

คองแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผลและมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์, มีปัญญา-

วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์. คุณ ในองค์ทั้งห้าคือ ความ

เห็นที่ถูกต้องอันศีลประดับประคองไว้ ๑ อันสุตะ (การฟัง, ศึกษาเล่า

เรียน) ประคับประคองไว้ ๑ อันสากัจฉา (คุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน) ประคับ

ประคองไว้ ๑ อันสมถะ (อุบายเครื่องเรื่องปัญญา) ประคับประคองไว้ ๑.

คุณ ก็แลความเห็นที่ถูกต้องซึ่งองค์ทั้งห้าเหล่านี้แลประดับประคองแล้ว

ย่อมมีผลเป็นเจโตวิมุตติ และย่อมมีผลานิสงส์เป็นเจโตวิมุตติ ย่อมมีผลเป็น

ปัญญาวิมุตติ และย่อมมีผลานิสงส์เป็นปัญญาวิมุตติ."

[๔๙๘] โก. "ภพมีเท่าไรครับท่าน"

สา. "ภพมี ๓ อย่างซิคุณ. เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพและอรูปภพ."

โก. "การเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป จะมีได้อย่างไร ครับท่าน?"

สา. "สำหรับพวกสัตว์ที่ยังมีความไม่รู้กางกั้น มีความทะยานอยาก

ผูกไว้ ก็ยังมีความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นะคุณเอ๋ย. แบบนี้ก็ยังมีการ

เกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปอีก."

โก. "ทำอย่างไรครับท่าน. จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."

สา. "เพราะสำรอกความไม่รู้ทำความรู้ให้เกิดขึ้น ดับความทะยาน

อยากได้โดยไม่เหลือ แบบนี้ซิคุณ จึงจะไม่มีการเกิดภพใหม่ขึ้นมาอีกต่อไป."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 283

[๔๙๙] "ท่านครับ ก็ฌานที่ ๑ เป็นไฉน"

สา. "คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย

ได้จริงๆ เพราะสงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลาย จึงเข้าถึงฌานที่ ๑ ที่ยังมีความ

ตรึก ยังมีความตรอง มีความอิ่มเอิบและความสบายที่เกิดจากความสงัดแล้ว

แลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าฌานที่ ๑"

โก. "ฌานที่ ๑ มีองค์เท่าไรครับท่าน ?"

สา. "ฌานที่ ๑ แลมีองค์ห้าซิคุณ คือ คุณในกรณีนี้ ความตรึก

๑ ความตรอง ๑ ความอิ่มเอิบ ๑ ความสบาย ๑ ความที่จิตมีอารมณ์อย่าง

เดียว ๑ ย่อมเป็นไปแก่ภิกษุผู้เข้าฌานที่ ๑ ซึ่งมีองค์ ๕ คุณ ฌานที่ ๑ แล

มีองค์ ๕ อย่างนี้.

โก. "ก็ฌานที่ ๑ ละองค์เท่าไร? ประกอบด้วยองค์เท่าไรครับท่าน"

สา. "คุณ ฌานที่ ๑ แล ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ คุณ

ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุเข้าสู่ฌานที่ ๑ ความพอใจในกาม ก็เป็นอันละได้ ความ

คิดปองร้ายก็เป็นอันละได้, ความง่วงเหงาหาวนอน (ความท้อใจและความ

ท้อ (นาม) กาย) ก็เป็นละได้, ความฟุ้งซ่านและรำคาญก็เป็นละได้, ความสง-

สัยก็เป็นละได้. ความตรึก ๑ ความตรอง ๑ ความเอิบอิ่ม ๑ ความสบาย

๑ ความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ๑. คุณ ฌานที่ ๑ นี่แล ละองค์ ๕ ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ อย่างนี้."

[๕๐๐] โก. "ท่านครับ เหล่านี้คืออินทรีย์ห้า ที่มีวิสัย (อารมณ์)

ต่างกันคือ มีโคจร (อารมณ์สำหรับเที่ยวไป) ต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัย

(อารมณ์) ของกันและกัน คือ อินทรีย์คือตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก

อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย. ท่านครับ อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย ของอินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 284

ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่เสวยโคจรวิสัยของกัน

และกัน และอะไร เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของอินทรีย์เหล่านั้น"

สา. "คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้ ที่มีวิสัยต่างกัน คือมีโคจรต่างกัน ไม่

เสวยเฉพาะโคจรวิสัยของกันและกันคือ อินทรีย์คือตา...หู...จมูก...ลิ้น...

กาย. คุณ อะไร เป็นที่พึ่งอาศัยของอินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้แล ซึ่งมีวิสัยต่าง

กัน คือมีโคจรต่างกัน ใช้ทำหน้าที่รับอารมณ์แทนกันไม่ได้. และใจใช้ทำหน้า

ที่รับอารมณ์แทนอินทรีย์เหล่านั้นได้ (คือใจคิดถึงรูปเป็นต้นได้)."

[๕๐๑] โก. "ท่านครับ อินทรีย์ห้าเหล่านี้คือ อินทรีย์คือ ตา...หู...

จมูก...ลิ้น...กาย. คุณ อินทรีย์ห้าเหล่านี้แลอาศัยอายุตั้งอยู่ได้."

โก. "ก็อายุอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ครับท่าน"

สา. "อายุอาศัยไออุ่น (เตโชธาตุ) จึงตั้งอยู่ได้ (คุณ)"

โก. "ก็ไออุ่นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่ได้ ครับท่าน"

สา. "ไออุ่นก็อาศัยอายุจึงตั้งอยู่ได้ (คุณ)"

โก. "พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง อย่างนี้

ว่า "อายุอาศัยไออุ่น ตั้งอยู่". พวกเราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเมื่อกี้

นี้เองอย่างนี้ว่า "ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่". ท่านครับ พวกเราจะพึงทราบใจ

ความของคำที่ท่านกล่าวนี้ได้อย่างไร"

สา. "คุณ ถ้าอย่างนั้น ผมจะทำการเปรียบเทียบให้คุณ(ฟัง). รู้บาง

ท่าน ในโลกนี้ย่อมเข้าใจเนื้อความของคำที่กล่าวแล้ว ด้วยการเปรียบเทียบก็

มี คืออายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ (และ) ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่เหมือนตะเกียง

น้ำมันที่กำลังไหม้ แสงย่อมอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ (และ) เปลวไฟก็ย่อม

อาศัยแสงจึงจะปรากฏ ฉันใด ก็ฉันนั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 285

โก. "ท่านครับ อายุสังขาร ก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็อันนั้นหรือ

หนอ? หรือว่า อายุสังขาร เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น?"

สา. "หามิได้เลยคุณ ที่อายุสังขาร ก็อันนั้นแหละ สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็น

อันนั้น, คุณ ถ้าอายุสังขารจะได้เป็นอันนั้น, สิ่งที่จะพึงรู้ก็จะได้เป็นอัน

นั้น, การออกของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ ก็จะพึงปรากฏไม่ได้ แต่

เพราะอายุสังขารก็เป็นอันอื่น สิ่งที่จะพึงรู้ก็เป็นอันอื่น, ฉะนั้น การออกของ

ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ (ดับสัญญาและเวทนา=ดับจิตใจ) จึงปรากฏ."

[๕๐๒] โก. "ท่านครับ เมื่อไรหนอ สิ่งกี่อย่างจึงจะละร่างนี้

ไป แล้วก็ตอนนั้น ร่างนี้ ก็ถูกทิ้ง ถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิต

ใจหรือ"

สา. "คุณ เมื่อใดแล สิ่งสามอย่างคืออายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละร่าง

นี้ไป, เมื่อนั้นร่างนี้ก็ถูกทิ้งถูกวางลง นอนเหมือนกับท่อนไม้ที่ไร้จิตใจ.

โก. "อะไรที่เป็นเครื่องทำให้แตกต่างกันระหว่างคนที่ตาย ผู้ทำกาละ

แล้ว กับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เหล่านี้ครับท่าน"

สา. "คุณ สำหรับผู้ที่ตายทำกาละแล้วนี้นั้น เครื่องปรุงกาย (ลมหาย

ใจเข้าออก) ดับ สงบไปแล้ว, เครื่องปรุงจิต (ความรู้สึก ความจำได้)

ดับ สงบไปแล้ว, อายุก็หมดสิ้นแล้ว, ไออุ่นก็ระงับไปแล้ว, อินทรีย์ทั้ง

หลาย ก็พังทะลายแล้ว, และสำหรับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้นั้น เครื่อง

ปรุงกายก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุงวาจาก็ดับสงบไปแล้ว, เครื่องปรุง

จิต ก็ดับสงบไปแล้ว; (แต่) อายุยังไม่หมดสิ้น, ไออุ่นก็ยังไม่ระงับ, อินทรีย์ทั้ง

หลาย กลับผ่องใสเป็นพิเศษ, นี้คือข้อที่ทำให้แตกต่างกันระหว่างผู้ที่ตายทำ

กาละแล้วกับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธเหล่านั้น."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 286

[๕๐๓] โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทุกข์และไม่

ใช่สุขมีเท่าไร ครับท่าน?"

สา. "มีสี่อย่างแหละคุณ ปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติ ที่ไม่ใช่ทุกข์

และไม่ใช่สุข. คือ ภิกษุในพระศาสนานี้ คุณ เพราะละสุข และละทุกข์

ได้ เพราะความดีใจและความเสียใจดับไปได้ก่อน, เข้าถึงฌานที่สี่ที่ไม่ใช่ทั้ง

ทุกข์ทั้งสุข มีความรู้สึกเฉยๆ เพราะมีสติหมดจดแล้วแลอยู่. นี้แล คุณ ปัจจัยสี่

อย่างแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติที่ไม่ใช่ทั้งทุกข์ทั้งสุข."

โก. "ก็แลปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดหาเครื่องหมายไม่

ได้ มีเท่าไร ครับท่าน"

สา. "สำหรับปัจจัยแห่งการเข้าถึงเจโตวิมุตติชนิดไม่มีเครื่อง

หมาย มีสองอย่างได้แก่ ความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่างและความสนใจ

ธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย. นี้แลคุณ ปัจจัยสองอย่างแห่งการเข้าถึงเจโต-

วิมุตติชนิดไม่มีเครื่องหมาย.

โก. "สำหรับปัจจัยแห่งการดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่อง

หมาย มีเท่าไร ครับท่าน"

สา. "มีสามอย่างซิคุณ ปัจจัยแห่งการดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มี

เครื่องหมาย คือ ความไม่สนใจเครื่องหมายทุกอย่าง ความสนใจธาตุที่ไม่มี

เครื่องหมาย และการตระเตรียมไว้ล่วงหน้านี้แล คุณ ปัจจัยสามอย่างแห่ง

การดำรงอยู่แห่งเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย."

โก. "ก็แหละปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่อง

หมาย มีกี่อย่างครับท่าน"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 287

สา. "ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมายมีสอง

อย่าง คุณ คือ ความสนใจเครื่องหมายทุกอย่าง และความไม่สนใจธาตุที่ไม่มี

เครื่องหมาย. นี้แล คุณ ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติที่ไม่มีเครื่องหมาย

สองอย่าง"

[๕๐๔] โก. "ท่านครับ สิ่งที่เป็นเจโตวิมุตติ ที่ไม่จำกัดขอบ

เขต, ที่เป็นเจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี, ที่เป็นเจโต-

วิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ และที่เป็นเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มี

อะไรเป็นเครื่องหมายเหล่านี้ ใจความก็ต่างกันและพยัญชนะก็ต่างกันหรือ

ใจความเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น"

สา. "คุณ เจโตวิมุตติที่ไม่จำกัดขอบเขต อันใด, เจโตวิมุตติที่เกิดจาก

บริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มีอันใด, เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็น

อารมณ์อันใด และเจโตวิมุตติชนิดที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายอันใด,

คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้วสิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะต่าง

กัน ก็มี, และแบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ก็มีนะคุณ".

"แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และมีพยัญชนะก็

ต่างกัน เป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-

"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ ใช้จิตที่ไปด้วยกันกับความรัก แผ่

ไปตลอดทิศหนึ่งแล้วแลอยู่, ทิศที่สองก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่

สี่ก็อย่างนั้น. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรัก อันกว้างขวาง ยิ่งใหญ่

หาขอบเขตไม่ได้ ไม่มีแวว ไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้อง

ล่าง เบื้องขวาง ทุกหนทุกแห่ง ทั่วโลกทั้งหมด อย่างหมดสิ้นด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 288

แล้วแลอยู่. เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความสงสาร...ที่ประกอบด้วยความรู้

สึกพลอยยินดีด้วย. . . ที่ประกอบด้วยความรู้สึกวางเฉย แผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง

แล้วแลอยู่. ทิศที่สอง ก็อย่างนั้น, ทิศที่สามก็อย่างนั้น, ทิศที่สี่ก็อย่างนั้น.

เธอใช้จิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกเฉยๆ อันกว้างขวางยิ่งใหญ่ ไร้ขอบ

เขต ไม่มีเวร ไม่มีความคิดแก้แค้น แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง

ทุกแห่งหน จนหมดสิ้นทั่วทั้งโลก ดังที่ว่ามานี้แล้วแลอยู่. นี้คุณ เรียกว่าเจโต-

วิมุตติที่ไม่จำกัดขอบเขต.

"ก็เจโตวิมุตติที่เกิดจากบริกรรมว่า อะไรน้อยหนึ่งไม่มีเป็นไฉน

เล่าคุณ คือ :-

"คุณ ภิกษุในพระคาสนานี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดย

ประการทั้งปวงได้เป็นอย่างดีจึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยบริกรรม

ว่า "น้อยหนึ่งก็ไม่มี" แล้วแลอยู่. คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เกิดจาก

บริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งก็ไม่มี.

"ก็เจโตวิมุตติที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ เป็นไฉน เล่า

คุณ คือ :-

"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ อยู่ในป่า อยู่ที่โคนไม้หรืออยู่ที่เรือน

ว่าง มาพิจารณาอย่างนี้ว่า นี้เป็นของว่างจากตนหรือจากของตน".

คุณ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติชนิดที่มีแต่ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์.

"สำหรับเจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิตเป็นไฉน เล่าคุณ คือ :-

"คุณ ภิกษุในพระศาสนานี้ เพราะเลิกสนใจนิมิตทุกอย่าง จึงเข้าถึง

เจโตสมาธิ (ความตั้งมั่นของจิตใจ) ที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต แล้วแลอยู่. คุณ

นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่ไม่มีอะไรเป็นนิมิต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 289

"นี้แล ณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความต่างกัน และ

มีพยัญชนะต่างกัน.

"คุณ แบบที่เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้มีใจความเป็นอย่างเดียวกัน

พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกันเป็นไฉน คือ :-

"ความรักเทียวคุณ เป็นเครื่องทำประมาณ (ขอบเขตจำกัด), ความ

คิดประทุษร้าย เป็นเครื่องทำประมาณ, ความหลง เป็นเครื่องทำประมาณ,

ความรัก โกรธ หลงเหล่านั้น อักภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดองได้ละแล้ว

ถอนรากได้แล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้ง

หลาย ที่หาขอบเขตไม่ได้ อันไม่กำเริบ มีประมาณเพียงใดแล, ท่าน

ย่อมกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นเลิศกว่าเจโตวิมุตติเหล่านั้น เพราะเจโต

วิมุตติที่ไม่กำเริบนั้นแล เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ

(โทสะ) ว่างจากความหลง. ความรักเทียวคุณ เป็นความกังวล, ความโกรธ

(โทสะ)เป็นความกังวล, ความหลงเป็นความกังวล, ความรัก โกรธ หลงเหล่า

นั้น อันภิกษุผู้กิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้ว ถอนรากได้แล้ว ทำให้

เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น

ธรรมดา. คุณ เจโตวิมุตติทั้งหลาย ที่เกิดจากบริกรรมว่าอะไรน้อยหนึ่งไม่

มี (ไม่มีความกังวล) อันไม่กำเริบ มีประมาณเพียงใดแล, เจโตวิมุตติอันท่าน

ย่อมกล่าวว่าเป็นยอดแห่งเจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ

นั้น เป็นธรรมชาติที่ว่างจากความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ), ว่างจาก

ความหลง ความรักเทียวคุณเป็นเครื่องทำนิมิต, ความโกรธ (โทสะ)

เป็นเครื่องทำนิมิต, ความหลงเป็นเครื่องทำนิมิต, ความรัก โกรธ

หลง เหล่านั้นอันภิกษุผู้สิ้นกิเลสเครื่องหมักดอง ละได้แล้ว ถอนราก

ได้แล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีไม่เป็นแล้ว มีความไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 290

ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ณ เจโตวิมุตติทั้งหลายชนิดที่ไม่มีเครื่องหมาย

อันไม่กำเริบมีประมาณเพียงใดแล ท่านกล่าวเจโตวิมุตติว่าเป็นยอดแห่ง

เจโตวิมุตติเหล่านั้น. เพราะเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบนั้นเป็นธรรมชาติที่ว่างจาก

ความรัก, ว่างจากความโกรธ (โทสะ), ว่างจากความหลง. นี้แล คุณ แบบที่

เมื่ออาศัยแล้ว สิ่งเหล่านี้ ก็มีใจความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้น ที่แตก

ต่างออกไป.

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ท่านพระมหา-

โกฏฐิกะก็เพลิดเพลินกับภาษิตของท่านพระสารีบุตรเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประ

การฉะนี้.

จบมหาเวทัลลสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 291

อรรถกถามหาเวทัลลสูตร

มหาเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ผู้มีอายุ" นี้เป็นคำแสดงความเคารพและความ

ยำเกรง. คำว่า "มหาโกฏฐิกะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น. คำว่า "ออกจากที่

เร้น" คือออกจากผลสมาบัติ. ในคำว่า "มีปัญญาทราม" นี้ คือ ขึ้นชื่อว่า

ปัญญาที่ชั่วทราม ไม่หมายความว่า ไม่มีปัญญา คือไร้ปัญญา. คำว่า

"ด้วยเหตุมีประมาณเพียงไรหนอแล" คือคำถามกำหนดเหตุ. หมายความว่า

ที่เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล. ก็แลชื่อว่าการถามนี้ มี ๕ อย่าง คือ

๑. ถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็น

๒. ถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.

๓. ถามเพื่อตัดความสงสัย.

๔. ถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ (ให้ยอมรับรู้, ให้อนุมัติ).

๕. ถามเพื่อต้องการแสดง (เสียเอง ถามเอง ตอบเอง).

ต่อไปนี้เป็นเหตุที่ทำให้การถามเหล่านั้น แตกต่างกันออกไป.

การถามเพื่อส่องสิ่งที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน

โดยปกติ ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็น ยังไม่ชั่ง ยังไม่ไตร่ตรอง ยังไม่

แจ่มแจ้ง ยังไม่อบรมลักษณะ ก็ถามปัญหาเพื่อเข้าใจ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง

(เทียบ) เพื่อไตร่ตรอง เพื่อแจ่มแจ้ง เพื่ออบรมลักษณะนั้น นี้คือการถามเพื่อ

ส่องถึงสิ่งที่ยังไม่เห็น.

การถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 292

โดยปกติ ผู้ที่เข้าใจได้เห็น ได้ชั่ง ได้ไตร่ตรอง ได้ทราบ ได้แจ่ม

แจ้ง ได้อบรมลักษณะไว้แล้ว ก็ยังถามปัญหาเพื่อต้องการเทียบเคียงกับ

หมู่ปราชญ์พวกอื่น นี้คือการถามเพื่อเทียบเคียง.

การถามเพื่อตัดความสงสัย เป็นไฉน

โดยปกติ ผู้ที่แล่นไปในความสงสัย แล่นไปในความเคลือบแคลง

เกิดความคิดสองจิตสองใจว่า "เป็นอย่างนี้ หรือไม่หนอ เป็นอะไร อย่าง

ไรหนอ " ก็ถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้คือ การถามเพื่อตัด

ความสงสัย.

ส่วนการถือเอาความยอมรับรู้แล้วถามในเวลาแสดงธรรมอย่างนี้

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าการถามเพื่อซ้อมความเข้าใจ.

การถามของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงถามภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์

เองแท้ๆ แล้วทรงต้องการตอบเสียด้วยพระองค์เอง แบบนี้ว่า "ภิกษุทั้ง

หลาย หลักตั้งมั่นของความระลึกเหล่านี้ มีสี่อย่าง สี่อย่างเป็นไฉน" ดังนี้เป็น

ต้น ชื่อว่าการถามเพื่อต้องการจะตอบ.

ในการถามห้าอย่างนั้น ในที่นี้ประสงค์เอาการถามเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่

เห็นแล้ว.

จริงอยู่พระเถระ นั่งในที่พักกลางวันของตนแล้วตั้งปัญหาขึ้นเอง

เมื่อจะตัดสินเสียเอง ก็ทำพระสูตรนี้ตั้งแต่เริ่มต้นให้จบได้ ก็แหละบางคนอาจ

ตั้งปัญหาขึ้นได้ แต่ตัดสินไม่ได้ บางคนตัดสินได้ แต่ตั้งขึ้นไม่ได้ บางคนไม่

ได้ทั้งสองอย่าง บางคนก็ได้ทั้งสองอย่าง ในคนเหล่านั้น พระเถระเป็นได้ทั้ง

สองอย่างทีเดียว เพราะเหตุไร เพราะมีปัญญามาก ก็เพราะอาศัยปัญญา

มาก จึงได้พระเถระหลายรูปที่บรรลุฐานะพิเศษในศาสนานี้คือ พระสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 293

เถระ พระมหากัจจายนะเถระ พระปุณณเถระ พระกุมารกัสสปเถระ

พระอานนทเถระ และพระคุณท่านรูปนี้แหละ.

จริงอยู่ ภิกษุที่มีปัญญาน้อย จะสามารถถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ

ไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญามากจะสามารถถึงได้ เพราะความมีปัญญามาก

ดังที่ว่ามานี้ พระสารีบุตรเถระ จึงได้บรรลุตำแหน่งนั้น. ผู้มีปัญญา

เหมือนพระเถระไม่มีเลย. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศกว่าเหล่า

ภิกษุผู้มีปัญญามาก ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ สารีบุตร.

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย แค่ขนาดนิดหน่อยก็แบบนั้น จะสามารถ

รวบรวมเอามาเทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ แล้วจำแนกเนื้อ

ความของพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างย่อๆ โดยพิสดารไม่

ได้ แต่ผู้มีปัญญามากอาจทำได้. เพราะความเป็นผู้มีปัญญามากดังที่ว่ามา

นี้ พระมหากัจจายนะเถระจึงเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนั้น. เพราะเหตุนั้น

เอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้ง

หลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้จำแนกเนื้อความ ของคำที่เรากล่าวไว้

อย่างย่อ ๆ โดยพิสดารได้ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คือมหากัจจายนะ."

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น จะกล่าวธรรมกถา ปรารภเรื่อง

ที่พึงกล่าว ๑๐ ประการ แล้วแจกแจงวิสุทธิ ๗ ประการ จะไม่สามารถ

กล่าวธรรมกถาได้ แต่ผู้มีปัญญามากทำได้ เพราะความเป็นมี

ปัญญามากดังว่ามานี้ พระปุณณเถระจึงแสดงลีลาเหมือนพระจันทร์

วันเพ็ญนั่งจับพัดที่วิจิตรบนที่นั่งแสดงธรรมที่ตกแต่งแล้วกล่าวธรรมกถา

กลางบริษัทสี่ เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงตั้งท่านไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 294

ตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุแสดงธรรม ซึ่งเป็น

สาวกของเรานั้น คือ ปุณณะ ลูกชายนางพราหมณ์มันตานี."

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น เมื่อจะกล่าวธรรมกถาก็ดำเนิน

ไปอย่างสะเปะสะปะ เหมือนคนตาบอดถือไม้เท้าเดินสะเปะสะปะ และ

เหมือนคนไต่สะพานไม้ที่เป็นไปได้เพียงคนเดียว. แต่ผู้มีปัญญามาก

ยกเอาคาถาแค่สี่บทมาตั้ง แล้วชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมารวม

ทำให้พระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส ซึ่งมีทั้งแบบต่ำและแบบสูงแสดง

อยู่. ก็เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก พระกุมารกัสสปเถระ จึงยกเอาคาถา

แค่สี่บทมาตั้ง แล้วนำเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุผลมาประกอบเข้ากับบท

เหล่านั้น ทำให้พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นพระพุทธดำรัส มีทั้งแบบต่ำและแบบสูง

แสดงอยู่ เหมือนทำให้ดอกไม้ห้าสีบานอยู่ในสระธรรมชาติ หรือเหมือนจุด

ตะเกียงน้ำมัน พันไส้ให้โพลงอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเลิศ

กว่าเหล่าภิกษุผู้กล่าวอย่างวิจิตร ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ กุมารกัสสปะ."

ภิกษุที่มีปัญญาน้อย ก็แบบนั้น ถึงใช้เวลาตั้งสี่เดือน ก็ไม่สามารถ

เรียนคาถาเพียงสี่บทได้. ส่วนผู้มีปัญญามากยืนอยู่บนก้าวเดียวก็เรียน

ได้ตั้งร้อยตั้งพันบท ก็พระอานนทเถระ ท่านยืนบนก้าวที่กำลังยกก้าว

เดียวได้ ฟังครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ถามซ้ำอีก ก็รับเอาได้ตั้งหกหมื่นบท

ตั้งหนึ่งหมื่นห้าพันคาถา ในขณะเดียวกันนั่นเอง, เหมือนเอาเถาวัลย์

ดึงเอาดอกไม้มาถือไว้, และที่ท่านได้เล่าเรียนมาแล้ว ก็ตั้งอยู่โดยอาการ

ที่ได้รับไว้ เหมือนรอยขีดบนแผ่นหิน และเหมือนมันเหลวราชสีห์ที่ใส่ใน

หม้อทองเพราะเหตุที่ท่านมีปัญญามาก. เหตุนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 295

มีคติ ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้น คืออานนท์ ผู้มีสติ, ผู้มีธิติ (ปัญญาเครื่องทรงจำ),

ผู้ได้ฟังมาก, ผู้อุปัฏฐาก (รับใช้) นั่นคืออานนท์."

อันภิกษุที่มีปัญญาน้อย ไม่สามารถที่จะถึงยอดประเภทปัญญา

ที่แตกฉานทั้งสี่อย่างได้เลย ต่อเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะสามารถ.

เพราะความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังที่ว่ามานี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ

จึงถึงปัญญาที่แตกฉานทั้งสี่ประเภท ที่แน่นหนาไปด้วยนัยไม่มีที่สุด

ด้วยอำนาจการประกอบไว้ในเบื้องต้นด้วยการบรรลุ การสอบถาม

และการฟัง. เหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเลิศ

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย. ตำแหน่งอันเลิศแห่งเหล่าภิกษุบรรลุปัญญาที่แตก

ฉาน ซึ่งเป็นสาวกของเรานั้นคือ มหาโกฏฐิกะ" ดังนี้.

ด้วยความเป็นผู้มีปัญญามากดังกล่าวมานี้ พระเถระจึงตั้งปัญหาขึ้นก็

ได้ ชี้ขาดก็ได้ทั้งสองอย่างก็ได้. ขณะที่ท่านนั่งในที่พักกลางวัน ท่านเองได้

ตั้งปัญหาทุกข้อขึ้นมาแล้ว ท่านเองจะวินิจฉัยพระสูตรนี้ตั้งแต่ต้นจนถึง

จบ (ก็ได้แต่) คิดว่า "ธรรมเทศนานี้งามเหลือเกิน จำเราจะเทียบเคียงกับท่าน

แม่ทัพธรรมผู้พี่ชายใหญ่ ต่อจากนั้น พระธรรมเทศนา ที่เราสองคนใช้มติอย่าง

เดียวกัน ใช้อัธยาศัยอย่างเดียวกันตั้งไว้นี้ จะกลายเป็นธรรมเทศนาที่หนัก

แน่น ปานร่มหิน และจะกลายเป็นธรรมเทศนาที่มีอุปการะมาก เหมือนเรือ

ที่จอดไว้ที่ท่า สำหรับผู้ต้องการข้ามห้วงน้ำทั้งสี่แห่ง (มหาสมุทรทั้งสี่)

และเหมือนรถเทียมม้าอาชาไนยพันตัว สำหรับต้องการไปสวรรค์."

ดังนี้แล้ว จึงถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว. เหตุนั้นจึงว่า ในบรรดา

การถามเหล่านั้น ในที่นี้มุ่งเอาการถาม เพื่อเทียบเคียงสิ่งที่เห็นแล้ว.

ในบทว่า "ไม่เข้าใจแจ่มแจ้งนี้" มีใจความว่า ผู้ที่ถูกเรียกว่า "ไม่มี

ปัญญา" ก็เพราะไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง. ทุกแห่งมีนัยเหมือนกันนี้. คำว่า "ไม่เข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 296

ใจชัดเจนว่า นี้เป็นทุกข์" คือไม่เข้าใจชัดเจนซึ่งความจริงเกี่ยวกับทุกข์

ว่า นี้เป็นทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ที่นอกเหนือไปจากนี้ โดยลักษณะ

พร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. คำว่า "นี้เหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น" คือ ไม่เข้า

ใจชัดเจนโดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าที่ตามความเป็นจริงว่า ความทะยาน

อยากที่เป็นตัวการให้เกิดมีทุกข์อันเป็นไปว่า "ทุกข์ย่อมโผล่มาจากความ

ทะยานนี้" เป็นความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิดขึ้น. คำว่า "นี้เป็นความดับทุกข์

ได้โดยไม่เหลือ" คือ ไม่รู้แจ่มแจ้ง โดยลักษณะพร้อมทั้งหน้าตามความเป็น

จริงว่า ความจริงเกี่ยวกับความดับโดยไม่เหลือ คือความดับที่ทุกข์และเหตุ

เกิดขึ้นแห่งทุกข์ทั้งสองเลิกเป็นไปว่า "นี้ทุกข์ และนี้คือตัวการที่ทำให้ทุกข์

เกิดขึ้น" เมื่อถึงตำแหน่งนี้แล้วย่อมดับไปโดยไม่เหลือ". คำว่า "นี้ข้อปฏิบัติให้

ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ" คือ ไม่เข้าใจชัดเจนความจริงที่เกี่ยวกับ

ทางว่า ข้อปฏิบัตินี้ ย่อมไปถึงความดับทุกข์โดยไม่เหลือได้ โดยลักษณะ

พร้อมกับหน้าที่ตามความเป็นจริง. แม้ในอนันตรวาระ (วาระแห่งอนันตร

ปัจจัย) ก็พึงทราบใจความโดยนัยนี้. สำหรับในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึง

บุคคลผู้ทำกัมมัฏฐาน ที่ยึดเอาความจริงสี่อย่างมาเป็นอารมณ์อย่างย่อ.

จริงอยู่ บุคคลนี้เรียนความจริงสี่ประการในสำนักอาจารย์ด้วยการ

ฟัง เมื่อเรียนเสร็จแล้ว ก็ยึดมั่นอย่างนี้ว่า ยกเว้นความทะยานอยากเสียแล้ว

สิ่งที่เกี่ยวกับภูมิสามชื่อว่าเป็นความจริงเกี่ยวกับทุกข์, ที่ชื่อว่าความจริงเกี่ยว

กับเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นคือ ความทะยานอยาก, ความดับคือความไม่เป็นไป

แห่งทุกข์และเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์, ชื่อว่าความจริงเกี่ยวกับความดับทุกข์ได้

โดยไม่เหลือ, เมื่อกำหนดรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกและความจริงเกี่ยวกับเหตุเกิด

ขึ้นแห่งทุกข์ ก็จัดเป็นทางที่ความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ให้บรรลุ ก็ชื่อว่า

เป็นความจริง คือทาง (ให้ถึงความดับทุกข์ได้โดยไม่เหลือ) ในความจริงทั้ง

สี่ประการนั้น ความจริงสองประการแรก เป็นวัฏฏะ สองประการหลังเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 297

วิวัฏฏะ ความยึดมั่นในวัฏฏะก็มี ไม่ใช่ความยึดมั่นในวิวัฏฏะ. ฉะนั้นเมื่อยึด

มั่น ก็ชื่อว่ายึดมั่นในความจริงเกี่ยวกับทุกข์ด้วยประการฉะนี้. ที่ชื่อว่า

ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ ก็คือ ขันธ์ทั้งห้า มีรูปเป็นต้น. เพื่อจะกำหนดขันธ์ห้า

นั้น ก็หยั่งลงด้วยอำนาจกัมมัฏฐานที่มีธาตุสี่เป็นอารมณ์ แล้วจึงกำหนดมหา

ภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ว่า รูป. เมื่อกำหนดอย่างนี้ว่า เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มีธาตุสี่นั้นเป็นอารมณ์ เป็นนาม จึงชื่อว่ากำ

หนดว่า สองสิ่งนี้แหละ คือ นามรูป เหมือนตัดต้นตาลคู่ เมื่อได้กำหนดปัจจัย

และสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยว่า "ก็สิ่งนี้ไม่ใช่ ไม่มีเหตุ มันมีเหตุมีปัจจัย,

ก็อะไรเล่าที่เป็นปัจจัย สิ่งทั้งหลายมีความไม่รู้เป็นต้น (เป็นปัจจัย)" อย่างนี้

แล้ว ก็ยกขึ้นสู่ลักษณะที่ไม่เที่ยงว่า สิ่งทั้งหมดนี้ เป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถ

ว่าไม่มี. ต่อจากนั้นก็ยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ อย่างว่า เป็นทุกข์เพราะอาการ

เกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้น, ว่าเป็นของไม่มีตัวตน เพราะอาการไม่เป็นไป

ในอำนาจ, แล้วพิจารณาอยู่ตามลำดับวิปัสสนา ก็ย่อมบรรลุทางที่อยู่เหนือ

โลกได้ ในขณะแห่งทาง (มรรคขณะ) ก็ย่อมแทงตลอดความจริงทั้งสี่ประ

การ ด้วยการแทงตลอดเพียงครั้งเดียว. ย่อมตรัสรู้ ด้วยความตรัสรู้เพียงครั้ง

เดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วยอำนาจการกำหนดรู้, ย่อม

แทงตลอดเหตุเกิดขึ้น ด้วยการแทงตลอดคือการละ ย่อมแทงตลอดความดับ

โดยไม่เหลือให้แจ่มแจ้ง, ย่อมแทงตลอดทางด้วยการแทงตลอดการอบรม. ย่อม

ตรัสรู้ทุกข์ด้วยความตรัสรู้การกำหนดรู้. ย่อมตรัสรู้เหตุให้ทุกข์เกิด ด้วยความ

ตรัสรู้การละ, ย่อมตรัสรู้ความดับโดยไม่เหลือ ด้วยความตรัสรู้ทำให้แจ้ง, ย่อม

ตรัสรู้หนทาง ด้วยความตรัสรู้การอบรม. เขาแทงตลอดความจริงทั้งสามอย่าง

โดยหน้าที่ แทงตลอดความดับโดยไม่เหลือ โดยอารมณ์. ส่วนในขณะแห่งผล

ของเขานั้น ไม่ต้องมีความผูกใจ ความรวบรวมใจ ความเอาใจใส่ และการ

พิจารณาว่า "เรากำหนดรู้ทุกข์ กำลังละเหตุให้เกิดทุกข์ กำลังทำให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 298

ความดับโดยไม่เหลือ กำลังอบรมหนทาง. แต่สำหรับผู้ที่กำลังกำหนดถืออยู่นั้น

หนทางของผู้ที่กำลังกำหนดถืออยู่นั้นแล ทำหน้าที่มีการกำหนดรู้เป็นต้นใน

ความจริงสามประการ ให้สำเร็จอยู่ทีเดียว แทงตลอด ความดับโดยไม่เหลือ

โดยอารมณ์.

ในคำว่า "เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าผู้มีปัญญา" นี้ โดยต่ำที่สุด พระ-

โสดาบัน สูงที่สุด พระขีณาสพ ท่านแสดงว่าเป็นผู้มีมีปัญญา ส่วนผู้ที่เล่า

เรียนคำของพระพุทธเจ้า (จบ) สามปิฎก โดยบาลีบ้าง โดยอรรถกถา

บ้าง โดยอนุสนธิบ้าง โดยก่อนหลังบ้าง แล้วเที่ยวทำให้เป็นชั้นต่ำและชั้น

สูง แต่ไม่มีแม้แต่การกำหนดเอาด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์

และความไม่มีตัวตนเลยนี้ หาได้ชื่อว่า ผู้มีปัญญาไม่ ยังชื่อว่าผู้ไม่มี

ปัญญา(อยู่ตามเดิม) อย่าไปเรียกผู้ที่เที่ยวเอาแต่ความรู้แจ้ง (วิญญาณจริต )

นั้นว่าเป็นผู้มีปัญญาเข้านะ. คราวนี้ ผู้ที่ได้ยกขึ้นสู่ลักษณะสามอย่างแล้ว

พิจารณาตามลำดับวิปัสสนาอยู่ เที่ยวคิดว่า วันนี้ วันนี้แหละ อรหัตนี้ชื่อว่า

เป็นผู้มีปัญญา ไม่ใช่ไม่มีปัญญา. ผู้มีปัญญา เมื่อใครยอมให้พบด้วย

ก็พบ (แต่) ฝ่าย (ที่มีปัญญาด้วยกัน) ส่วนในพระสูตร ท่านกล่าวแต่ความ

แทงตลอดเท่านั้น ในคำว่า "ความรู้แจ้ง" นี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ ย่อมถาม

ถึงอะไร ผู้ที่เอาความรู้แจ้งอันใดมาพิจารณาสังขารนั้น ก็เป็นผู้มี

ปัญญา ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามวิปัสสนาที่

ต้องมา ความรู้แจ้ง และจิตผู้ทำงานของการพิจารณาสังขารนั้นกับ

ท่าน. คำว่า "ย่อมรู้แจ้ง สุขบ้าง" คือ ย่อมรู้แจ้ง ความรู้สึกเป็นสุขบ้าง.

แม้ในสองบทข้างบน ก็ทำนองเดียวกันนั่นแล. ด้วยบทว่า "ย่อมรู้แจ้ง

สุขบ้างนี้" แสดงถึงกัมมัฏฐานที่ไม่ได้ใช้รูปเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจความรู้

สึกที่มาโดยนัยเป็นต้นว่า "เมื่อเราเสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่ก็รู้แจ้งว่าเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 299

เสวยความรู้สึกที่เป็นสุขอยู่" ควรทราบใจความของบทนั้นตามนัยที่กล่าวไว้

ในสูตรที่ว่าด้วยหลักตั้งสติ (=สติปัฏฐานสูตร) นั่นแล.

คำว่า "คละกัน" คือพระเถระย่อมถามว่า ที่ชื่อคละกันเพราะอรรถ

ว่า ประกอบพร้อมด้วยลักษณะมีการเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นต้น หรือ

แยกออกจากกัน สำหรับข้อนี้ไม่พึงเข้าใจไปว่า พระเถระเอาสิ่งที่เป็นของ

โลกและที่อยู่เหนือโลกทั้งสองสิ่งคือปัญญาในมรรคและความรู้แจ้งแห่ง

วิปัสสนาเหล่านี้มาระคนปนเปกัน แล้วทำลายเสียระหว่างชั้น แล้วถามอย่างผู้

ไม่รู้จักสมัย แต่พึงทราบว่า ท่านถามถึงความคละกัน พร้อมกับความรู้

แจ้ง หนทาง ในความรู้ชัดหนทาง และกับความรู้แจ้งวิปัสสนา ในความรู้ชัด

วิปัสสนาเท่านั้น ถึงพระเถระเมื่อจะตอบใจความนั้นแลแก่พระมหาโกฏฐิกะ

นั้น ก็กล่าวคำเป็นต้นว่า "สิ่งเหล่านี้คละกัน" คำว่า และในกรณีนั้นบุคคล

ไม่พึงได้แห่งสิ่งเหล่านี้" คือแห่งสิ่งสองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ทั้งในขณะ

โลกิยมรรค ทั้งในขณะโลกุตรมรรคเหล่านี้. คำว่า "จำแนกเเยกแยะ" หมาย

ความว่า ไม่มีใครสามารถ เพื่อจะแยกเป็นแผนกและพลิกแพลงแสดงให้เห็น

ถึงความแตกต่างกันโดยอารมณ์ โดยที่ตั้ง โดยการเกิดขึ้น หรือโดยการดับ

ไปได้.

ก็ธรรมดาว่าอารมณ์ของสิ่งนั้นๆ มีอยู่. จริงอยู่ เมื่อบรรลุสิ่งที่เป็น

ของแบบโลกๆ จิตย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า เมื่อบรรลุสิ่งที่อยู่เหนือโลกความ

รู้ชัดย่อมเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า. จริงอย่างนั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ

ตรัสถามถึงสิ่งที่เป็นของแบบโลกๆ ก็ไม่ตรัสถามอย่างนี้ว่า "ภิกษุ เธอบรรลุ

ความรู้ชัดชนิดไหน เป็นความรู้ชัดในทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้ชัดใน

ทางชั้นที่สอง ที่สาม และที่สี่" แต่จะตรัสถาม ด้วยอำนาจจิตว่า "ภิกษุ เธอมี

จิตอย่างไร" และไม่ตรัสถามว่า "ภิกษุเธอมีผัสสะอย่างไร ? มีเวทนาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 300

ไร มีสัญญาอย่างไร มีเจตนาอย่างไร" แม้เมื่อจะทรงบัญญัติกุศลและ

อกุศล ก็ทรงบัญญัติด้วยอำนาจจิตอย่างนี้ว่า " สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า

มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ" และว่า "สิ่งที่เป็นกุศลเป็นไฉน ในสมัย

ใด จิตเป็นกุศลที่ท่องเที่ยวอยู่ในชั้นกาม ย่อมเป็นของเกิดขึ้นแล้ว" แต่เมื่อจะ

ทรงถามถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลก จะไม่ทรงถามว่า ภิกษุ เธอมีสิ่งที่ทำหน้า

ที่กระทบอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไร มีความรู้จำอย่างไร มีความจงใจ

อย่างไร" จะทรงถามด้วยอำนาจความรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ภิกษุ ความรู้ชัดที่

เธอบรรลุแล้วเป็นไฉน เป็นความรู้ชัดในหนทางชั้นต้น หรือเป็นความรู้

ชัดในหนทางชั้นที่สอง ชั้นที่สามและชั้นที่สี่" แม้ในอินทรีย์สังยุต ก็ตรัสแต่

สิ่งแบบโลกๆ และที่อยู่เหนือโลก ในอารมณ์เท่านั้นอย่างนี้ว่า " ภิกษุทั้ง

หลาย อินทรีย์ห้าเหล่านี้. ห้าอะไรบ้าง? คือ อินทรีย์คือความเชื่อถือ, อินทรีย์

คือความเพียร, อินทรีย์คือความระลึก, อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น, อินทรีย์คือ

ความรู้ชัดเจน, ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์คือความเชื่อถือ อันบุคคลพึงเห็นได้ที่

ไหน พึงเห็นอินทรีย์ คือความเชื่อถือ ในส่วนประกอบ สำหรับการถึง

กระแสสี่อย่างนี้. ก็ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์คือความเพียร อันบุคคลพึงได้ที่

ไหน พึงเห็นอินทรีย์ คือ ความเพียรในความเพียรชอบสี่อย่างนี้. ก็แลภิกษุ

ทั้งหลาย อินทรีย์คือความระลึก อันบุคคลพึงเห็นที่ไหน พึงเห็นอินทรีย์คือ

ความรู้ชัดเจนได้ที่ความจริงอันประเสริฐ ๔ นี้" ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกเพื่อนซึ่งมีพระราชาเป็นที่ห้าคือลูกชายเศรษฐี

๔ คน พระราชา ๑ คิดว่า พวกเราจะเล่นนักขัตฤกษ์แล้วพากันเดิน

ไปตามถนน เมื่อถึงเรือนลูกชายเศรษฐีคนหนึ่ง อีก ๔ คน ก็พากันนั่ง

นิ่ง. ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นที่เที่ยวสั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกิน

แก่พวกนี้ จงให้ของหอม พวงมาลัยและเครื่องสำอางเป็นต้น แก่พวกนี้.

เมื่อไปถึงเรือนของคนที่สอง...ที่สาม...ที่สี่ อีกสี่คนก็พากันนั้นนิ่ง ผู้เป็นเจ้าของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 301

เรือนเท่านั้นที่เที่ยวได้สั่งว่า "พวกเธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่พวกนี้ จง

ให้ของหอมพวงมาลัยและเครื่องสำอางเป็นต้นแก่พวกนี้." คราวนี้หลัง

เขาหมด เมื่อไปถึงพระราชวัง พระราชาเท่านั้นถึงจะทรงเป็นใหญ่ในที่ทั้ง

ปวงก็จริง ถึงอย่างนั้นในเวลาแห่งพระราชานี้ ก็จะทรงเที่ยวได้สั่งว่า "พวก

เธอจงให้ของเคี้ยวของกินแก่คนพวกนี้ จงให้ของหอมและพวงมาลัยและ

เครื่องสำอาง เป็นต้นแก่พวกนี้." ในพระราชวังของพระองค์นั่นเอง ฉัน

ใด. ฉันนั้นนั่นแล เมื่ออินทรีย์อันมีความเชื่อถือเป็นที่ห้า แม้กำลังเกิดขึ้นอยู่ใน

อารมณ์เดียวกัน เหมือนเมื่อเพื่อนเหล่านั้นหยั่งลงสู่ถนนสายเดียวกัน ในเรือน

แรก อีก ๔ คนพากันนั่งนิ่ง ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงานฉัน

ใด, ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อส่วนประกอบสำหรับถึงกระแส อินทรีย์คือความ

เชื่อถือที่มีลักษณะตัดสินอารมณ์ได้เด็ดขาดเท่านั้น ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัว

หน้า, อินทรีย์ที่เหลือกลายเป็นคล้อยไปตามอินทรีย์คือความเชื่อถือนั้น. เมื่อถึง

สัมมัปปธาน อินทรีย์คือความเพียร อันมีความประดับประคองเป็นลักษณะ

เท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยตามอินทรีย์

คือความเพียรนั้น, เหมือนในเรือนของคนที่ ๒ อีก ๔ คนนอกนี้ก็นั่งนิ่ง

ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวได้สั่งงาน ฉะนั้น.

เมื่อถึงหลักตั้งความระลึก อินทรีย์คือความระลึก ที่มีความปรากฏ

เป็นลักษณะเท่านั้นที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอยคล้อย

ไปตามอินทรีย์คือความระลึกนั้น เหมือนในเรือนของคนที่ ๓ อีก ๔ คนนั่ง

นิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้สั่งงานฉะนั้น.

เมื่อถึงความหลุดพ้นเพราะอำนาจฌาน อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น

อันมีความไม่ซัดส่ายเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า

ไป ที่เหลือก็พลอยคล้อยไปตามอินทรีย์คือความตั้งใจมั่นนั้น, เหมือนในเรือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 302

ของคนที่ ๔ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเป็นธุระเที่ยวได้จัด

การ ฉะนั้น.

เมื่อมาถึงความจริงอันประเสริฐ อินทรีย์คือความรู้ชัดเจนที่มีความรู้

ชัดเจนเป็นลักษณะเท่านั้น ที่กลายเป็นใหญ่เป็นหัวหน้าไป ที่เหลือก็พลอย

คล้อยไปตามอินทรีย์ คือความรู้ชัดเจนเท่านั้น, เหมือนเมื่อถึงพระราชวัง

ในตอนท้ายเขาหมด อีก ๔ คนก็นั่งนิ่ง พระราชาเท่านั้นที่ทรงเที่ยวสั่งงานใน

พระราชวัง ฉะนั้น.

พระมหาโกฏฐิกเถระ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งในตำแห่งเลิศแห่งภิกษุสาวก

ถึงความแตกฉาน เมื่อจะถามเรื่องแบบโลกๆ ก็ทำจิตให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า

แล้วจึงถาม เมื่อจะถามถึงเรื่องที่อยู่เหนือโลก ก็ยกเอาความรู้ชัดเจนมาให้เป็น

ใหญ่ เป็นหัวหน้าแล้วจึงถาม. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระเป็นแม่ทัพธรรม

ก็แก้อย่างนั้นเหมือนกันด้วยประการฉะนี้แล.

คำว่า "ย่อมรู้ชัดเจนอันใด ท่านผู้มีอายุ ?" คือ ความรู้หนทางชัดเจน

ย่อมรู้ชัดเจนซึ่งสิ่งที่เป็นความจริงสี่ประการอันใด โดยทำนองเป็นต้น

ว่า นี้ทุกข์. คำว่า "ย่อมรู้แจ้ง อันนั้น" คือ แม้ความรู้แจ้งในหนทาง ก็ย่อมรู้

แจ้งอันนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. คำว่า ย่อมรู้แจ้งอันใด" คือความรู้แจ้งใน

วิปัสสนาโดยทำนองเป็นต้นว่า "สิ่งใดที่เป็นผู้ปรุง ผู้ถูกปรุง (สิ่งนั้น) ไม่

เที่ยง" คำว่า "ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้น" คือ แม้ความรู้ชัดด้วยวิปัสสนา ก็ย่อมรู้ชัด

สิ่งนั้นเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำว่า "เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้" คือ

เพราะเหตุนั้นสิ่งเหล่านี้. คำว่า "คละกัน" คือ เจือกันเพราะความที่เกิด

พร้อมกัน มีที่ตั้งอย่างเดียวกัน และมีอารมณ์อย่างเดียวกัน. คำว่า "พึงอบรม

ความรู้ชัด" นี้ ท่านกล่าวประสงค์เอาความรู้ชัดในหนทาง ส่วนความรู้แจ้ง

ที่ประกอบพร้อมกับความรู้ชัดนั้น ก็ต้องอบรมให้พร้อมกันกับความรู้ชัดนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 303

ด้วย. คำว่า "ความรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้" นี้ ท่านกล่าวหมาย

เอาความรู้แจ้งในวิปัสสนา ส่วนความรู้ชัดประกอบกับความรู้แจ้งใน

วิปัสสนา ก็พึงกำหนดไปพร้อมๆ กับความรู้แจ้งนั้นด้วย. ทำไมท่านจึงถามคำ

ว่า "ความรู้สึก ความรู้สึก ?" แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องกำหนดว่าท่านหมาย

เอาแต่ความรู้สึกที่สำหรับใช้พิจารณาไตร่ตรองซึ่งเป็นไปในภูมิสามเท่า

นั้น. คำว่า "ย่อมเสวยสุขบ้าง" คือย่อมเสวยต่อตามเสวยอารมณ์ที่เป็น

สุข. ทำนองอย่างเดียวกันนี้แหละ. ย่อมใช้ได้ในสองบทหน้าด้วย.

จริงอยู่ ท่านกล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นสุข ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ในที่นี้

ตามมหาลิสูตรนี้ว่า " มหาลิ ก็แลถ้ารูปนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เป็นทุกข์

ถูกทุกข์ตกต้อง ถูกทุกข์เหยียบย่ำ สุขกล้ำกรายเข้ามาไม่ได้ ถ้าเป็นเสียแบบ

นี้ หมู่สัตว์ก็ไม่พึงกำหนัดหนักในรูป. มหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปแล เป็น

สุข ถูกสุขตกต้อง ถูกสุขเหยียบย่างเข้ามา ทุกข์กล้ำกรายเข้ามาไม่ได้

ฉะนั้น หมู่สัตว์จึงกำหนัดหนักในรูป เพราะกำหนัดหนัก จึงประกอบจน

ติด, เพราะประกอบจนติดจึงแปดเปื้อน. ก็แล ถ้าเวทนานี้ ฯลฯ สัญญา

ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ มหาลิ ก็แล ถ้าวิญญาณนี้จะได้เป็นทุกข์โดยส่วน

เดียว ฯลฯ จึงแปดเปื้อน." ด้วยประการฉะนี้.

และก็อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบใจความในเรื่องความรู้สึกนี้อย่างนี้

ว่า "ความรู้สึกที่เป็นสุขอีกอันหนึ่งก็ย่อมจะทำความรู้สึกที่เป็นสุขอันก่อนให้

เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกเป็นทุกข์อันหลังก็ย่อมจะทำความรู้สึกที่

เป็นทุกข์อันก่อนให้เป็นอารมณ์แล้วจึงเสวย. ความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ที่ไม่ใช่สุข

อันหลังก็ย่อมจะกระทำความรู้สึกที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขอันก่อนให้เป็นอารมณ์

แล้วจึงเสวย. มีคำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ก็ความรู้สึกนั่นแล ย่อมเสวย

ไม่มีใครอื่นที่ชื่อว่าเป็นผู้เสวย."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 304

พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงอะไรในบทนี้ว่า "ความจำได้หมาย

รู้ ความจำได้หมายรู้" คำว่า "ลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ก็ดี ว่า

"ลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ" ก็ดี แห่งปัญหา

ว่า อะไรเป็นลักษณะแห่งความจำได้หมายรู้ อะไรเป็นลักษณะแห่งความจำ

ได้หมายรู้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ นี้เป็นอย่างเดียวกันนั่นเอง. ถึงแม้จะ

เป็นเช่นนี้ ก็พึงกำหนดไว้ว่า ท่านหมายเอาแต่ความจำได้หมายรู้ที่เกิดพร้อม

กับความพิจารณาไตร่ตรองที่เป็น ไปในภูมิทั้งสามเท่านั้น คำว่า "ย่อมจำ

สีเขียวบ้าง" คือ เมื่อทำบริกรรมในดอกไม้สีเขียว หรือในผ้าแล้วให้ถึงอุปจาระ

หรืออัปปนา ชื่อว่า ย่อมรู้จำ ก็ในอรรถนี้ ใช้ได้ทั้งความรู้จำในบริกรรม

(ตระเตรียม) ทั้งความรู้จำในอุปจาระ (ฌานที่เฉียดๆ เข้าไป) ทั้งความ

รู้จำในอัปปนา (ฌานที่แนบแน่น) ถึงความรู้จำที่เกิดขึ้นในสีเขียวว่า "สี

เขียว" ก็ใช้ได้เหมือนกัน. ในสีเหลืองเป็นต้น ก็ทำนองนี้แหละ. ทำไม ท่านจึง

ไม่ถือเอาความรู้ชัดที่ถือเอาสิ่งทั้งสามนี้ คือ ความรู้สึก ความรู้จำ ความรู้

แจ้ง ในบทเหล่านี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แลความรู้สึก" ความรู้จำ ความรู้แจ้งอันใด

ด้วยเล่า "เพราะไม่ใช่เป็นการรวบรวมเอามาทั้งหมด." จริงอยู่ เมื่อถือเอา

ด้วยความรู้ชัด ความรู้สึกเป็นต้นที่ประกอบด้วยความรู้ชัดจึงจะได้ ที่ไม่ประ

กอบหาได้ไม่. แต่เมื่อไม่ถือเอาความรู้ชัดนั้น, เมื่อสิ่งเหล่านั้นได้รับการถือเอา

แล้ว. ความรู้สึกเป็นต้น ทั้งที่ประกอบด้วยความรู้ชัดทั้งที่ไม่ประกอบ ชั้นที่

สุดแม้แต่สิ่งที่ทำหน้าที่รู้แจ้งทั้ง ๑๐ ดวง ก็เป็นอันได้ด้วย. เหมือนอย่าง

ว่า ชาย ๓ คน พึงกล่าวว่า "ด้าย ด้าย" คนที่ ๔ ว่า "ด้ายร้อยแก้ว" ในคน

เหล่านั้น, ๓ คน ย่อมได้การเดาบ้าง การคิดคาดคะเนเป็นต้นบ้าง และ

ด้วยจำนวนมากอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดเมื่อแสวงหาแม้แต่ใยแมงมุมหรือ

ด้ายร้อยแก้ว ก็ย่อมได้นิดหน่อย ฉันใด, พึงทราบข้อเปรียบเทียบฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บางท่านก็กล่าวว่า "ท่านแก้ไว้แล้ว เพราะได้การประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 305

ไปพร้อมๆ กันกับความรู้ชัดและความรู้แจ้งมาแต่เบื้องล่างแล้ว และเพราะ

ฉะนั้น จึงไม่จัดเข้าในที่นี้ เพราะความที่ท่านได้แก้ไว้แล้ว คำว่า "ผู้มีอายุ

ก็แล ย่อมเสวยความรู้สึกใด" คือ ความรู้สึกย่อมเสวยอารมณ์ใด แม้ความรู้

สึก ก็ย่อมจำอารมณ์นั้นเหมือนกัน. คำว่า "ย่อมรู้จำอารมณ์ใด" หมายความ

ว่า ความรู้จำ ย่อมรู้จำอารมณ์ใด แม้ความรู้แจ้ง ก็ย่อมรู้แจ้งอารมณ์นั้น

เหมือนกัน.

คราวนี้ พึงทราบความแตกต่างและความไม่แตกต่างในคำเหล่า

นี้ คือ "ย่อมรู้จำ ย่อมรู้แจ้ง ย่อมรู้ชัด" ในคำทั้ง ๓ นั้น ต่างก็แต่เพียงคำนำ

หน้า (อุปสรรค) เท่านั้น. ส่วนบทว่า "ย่อมรู้" ไม่มีความแตกต่างกัน.

แม้ในอรรถว่ารู้ของบทนั้นก็พึงทราบความแตกต่างกัน. จริงอยู่ ความรู้

จำ สักแต่ว่ารู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น เท่านั้น ไม่อาจให้ถึงการ

แทงทะลุลักษณะทั้งสาม คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนได้ ความรู้แจ้ง

ย่อมรู้แจ้งอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นและให้ถึงการแทงทะลุลักษณะมี

ไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้ แต่จะให้ขวนขวายแล้วถึงความปรากฏของมรรคไม่

ได้ ความรู้แจ้งย่อมรู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นก็ได้ ให้ถึงการแทง

ทะลุลักษณะด้วยอำนาจความไม่เที่ยงเป็นต้นก็ได้ และขวนขวายแล้วสามารถ

ให้บรรลุความปรากฏของมรรคได้ด้วย. เหมือนอย่างว่า เราเอากหาปณะมา

กองไว้บนกระดานของเหรัญญิก (เจ้าหน้าที่การเงิน) เมื่อคน ๓ คน คือ

เด็กที่ยังไม่มีความรู้, ชายชาวบ้าน และเหรัญญิกใหญ่มายืนดู เด็กที่ยังไม่

มีความรู้ ย่อมได้แต่เพียงความวิจิตรงดงามและชนิดสี่เหลี่ยมหรือกลมของ

กหาปณะเท่านั้น ไม่รู้ว่า นี้เขายอมรับรู้กันทั่วว่าเป็นแก้วเครื่องอุปโภคบริโภค

ของคนทั้งหลาย. ชายชาวบ้าน ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วย รู้ถึงความที่

เขายอมรับรู้ทั่วกันว่าเป็นแก้วสำหรับใช้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคของคนทั้ง

หลายด้วย แต่ไม่รู้ว่า "ก็กหาปณะนี้ปลอม นี้ไม่ปลอม นี้หยาบ นี้ละเอียด"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 306

เหรัญญิกใหญ่ ย่อมรู้ถึงความวิจิตรเป็นต้นด้วย รู้ถึงความที่เขายอมรับรู้กัน

ว่าเป็นแก้วด้วย รู้ถึงความเก๊เป็นต้นด้วย. และก็เมื่อรู้อยู่ ก็ดูรูปนั้นบ้าง

ฟังเสียงบ้าง ดมกลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง เอามือหยิบสำรวจดูความหนัก และเบา

บ้าง แล้วก็รู้ว่าผลิตที่หมู่บ้านโน้นบ้าง รู้ว่าผลิตในจังหวัดโน้น ในเมือง

โน้น ใกล้สระธรรมชาติโน้น ใต้เงาภูเขาโน้น ที่ฝั่งแม่น้ำโน้น ผลิตโดย

อาจารย์คนโน้นบ้าง ฉันใด, ความรู้จำก็เหมือนเด็กที่ยังไม่มีความรู้ดู

กหาปณะ ย่อมรู้จำแต่อารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้นเท่านั้น. ความรู้แจ้งก็

เหมือนชายชาวบ้านดูกหาปณะ ย่อมรู้จำอารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็นต้น

ด้วย ให้ถึงความแทงทะลุลักษณะด้วยสามารถไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย. ความรู้

ชัด ก็เหมือนเหรัญญิกใหญ่ดูกหาปณะ ย่อมรู้อารมณ์ด้วยอำนาจสีเขียวเป็น

ต้นด้วย ให้ถึงการแทงทะลุลักษณะด้วยอำนาจไม่เที่ยงเป็นต้นด้วย ให้ขวน

ขวายแล้วถึงความปรากฏแห่งหนทาง (มรรค) ด้วย ฉันนั้นนั่นแล. ส่วนความ

แตกต่างแห่งสิ่งเหล่านั้น นั้น เจาะทะลุได้ยาก.

เพราะเหตุนั้น ท่านพระนาคเสน จึงกล่าวว่า "มหาบพิตร พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว" "ท่านนาคเสนผู้เจริญ สิ่งที่ทำ

ได้ยากอะไรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำแล้ว" "มหาบพิตร สิ่งที่ทำ

ได้ยาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำแล้ว คือข้อที่ทรงบอกการกำ

หนดสิ่งที่เป็นจิตและสิ่งที่เกิดกับจิตซึ่งไม่มีรูปร่างเป็นไปในอารมณ์อย่าง

เดียวกันว่า "นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่กระทบ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่รูสึก นี้คือสิ่งที่ทำ

หน้าที่รู้จำ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่จงใจ นี้คือสิ่งที่ทำหน้าที่คิด". ขนาดคนที่เอาน้ำ

มัน ๕ ชนิด นี้คือ น้ำมันงา น้ำมันผักกาด น้ำมันมะซาง น้ำมันละหุ่ง น้ำมัน

เหลวมาใส่รวมในภาชนะเดียวกัน แล้วเอาไม้คนคู่มาคนทั้งวัน แล้วก็ตักแยก

จากกันแต่ละอย่าง ๆ ว่า นี้น้ำมันงา นี้น้ำมันผักกาด นี้ก็นับว่าทำได้ยากอยู่

แล้ว นี้ยิ่งทำให้ยากยิ่งกว่านั้นเสียอีก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 307

ธรรมราชา พระธรรมเมศวร เพราะความที่ทรงแทงทะลุพระสัพพัญ-

ญุตญาณอย่างดีแล้วตรัสบอกการกำหนดสิ่งหารูปร่างไม่ได้ที่กำลังเป็นไปใน

อารมณ์อย่างเดียวกันเหล่านี้. พึงทราบความข้อนี้ว่า เหมือนกับตักน้ำมาแยก

เป็นส่วนๆ อย่างนี้ว่า นี้เป็นน้ำของแม่น้ำคงคา นี้ของแม่น้ำยมุนา ในที่ที่แม่น้ำ

ใหญ่ทั้ง ๕ สายไหลเข้าสู่ทะเลแล้วฉะนั้น. คำว่า "ที่สละออกแล้ว" คือสลัด

ออกไปแล้ว หรือที่ถูกทิ้งไปแล้ว. เมื่อใน คำว่า "ที่สละออกแล้ว" นั้น

ทั้งห้า" เมื่อมีความหมายว่า "ที่ถูกทิ้งไปแล้ว" ก็พึงทราบว่าเป็นตติยา-

วิภัติ. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า อันความรู้แจ้งที่สลัดออกไปจากอินทรีย์ทั้ง

๕ แล้วเป็นไปในประตูใจ หรือที่ถูกอินทรีย์ทั้ง ๕ ทอดทิ้งไปแล้ว เพราะความ

ที่ความรู้แจ้งนั้นไม่เข้าถึงความเป็นที่ตั้งได้. คำว่า "หมดจด" คือไม่มีอะไร

เข้าไปทำให้แปดเปื้อน คำว่า ด้วยความรู้แจ้งทางใจ" คือ ด้วยจิตที่มีฌานที่

สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์. คำว่า "พึงแนะนำอะไร " คือพึง

รู้อะไร เพราะสิ่งที่พึงรู้ในคำเป็นต้นว่า "ธรรมดาสิ่งที่พึงแนะนำบางสิ่ง

บางอย่างยังมีอยู่...ธรรม" ท่านเรียกว่า "เนยฺย = พึงแนะนำ พึงรู้" พึงรู้

อากาสานัญจายตนะอย่างไร อรูปาวาจรสมาบัติ อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจิตที่มี

ฌานที่สี่ชนิดที่ยังท่องเที่ยวไปในรูปเป็นอารมณ์; เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในฌาน

ที่สี่ที่ท่องเที่ยวไปในรูป ย่อมสามารถทำให้อรูปาวจรสมาบัติ (การเข้าถึง

ฌานที่ไม่ท่องเที่ยวไปในรูป หรือท่องเที่ยวไปในสิ่งที่ไม่ใช่รูป) เกิดขึ้น

ได้. เพราะอรูปาวจรสมาบัติย่อมสำเร็จแก่ผู้ที่อยู่ในฌานที่สี่ที่ท่องเที่ยว

ไปในรูปได้. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ จึงตอบว่า "พึงรู้ (หรือแนะนำ)

อากาสานัญจายตนะ" ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนั้น ทำไมจึงไม่กล่าวถึง เนวสัญ-

ญานาสัญญายตนะด้วยเล่า เพราะไม่มีการยึดไว้เป็นอีกแผนกหนึ่งต่างหาก

ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น บุคคลจะพิจารณาโดยเป็นหมวดๆ (และ)

โดยเป็นนัยๆ ก็ได้. การยึดเป็นแผนกๆ ย่อมไม่เกิดแก่ภิกษุ แม้ขนาดพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 308

ธรรมเสนาบดีก็ตามที. เพราะฉะนั้น แม้พระเถระก็พิจารณาโดยเป็น

หมวดๆ (และ)โดยเป็นนัยๆ แล้วก็แก้ว่า "ได้ยินเขาว่ามาว่า สิ่งเหล่านี้ไม่มี

แล้ว ย่อมมีพร้อม ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไปอย่างนี้" ด้วยประการฉะนี้. ส่วนพระผู้

มีพระภาคเจ้า เพราะความที่พระสัพพัญญุตญาณอยู่ในกำพระหัตถ์ ทรงยก

สิ่งมากกว่าห้าสิบอย่าง แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยการยกขึ้น

เป็นองค์จักไว้เป็นแผนกๆ แล้วตรัสว่า "การแทงทะลุอรหัตตผลมีประมาณ

เท่ากับการเข้าถึงความรู้จำ (สัญญาสมาบัติ)" ดังนี้.

คำว่า "ย่อมรู้ชัดด้วยตาคือปัญญา" คือ ย่อมรู้ด้วยปัญญาที่ชื่อว่า

เป็นดวงตา เพราะอรรถว่าเป็นผู้นำทุกทางในการเห็น. ในคำว่า "ย่อมรู้ชัด

ด้วยตาคือปัญญา" นั้น ปัญญามี ๒ อย่าง คือ ปัญญาในสมาธิ และปัญญาใน

วิปัสสนา. ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ด้วยปัญญาใน

สมาธิ. ท่านกล่าวความรู้โดยอารมณ์ด้วยการแทงลักษณะได้ทะลุด้วยปัญญาใน

วิปัสสนา. คำว่า "เพื่อต้องการอะไร คืออะไร เป็นความต้องการแห่งปัญญา

นี้. ในคำเป็นต้นว่า "มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ" คือ ชื่อว่ามีความรู้ยิ่งเป็นที่

ต้องการ เพราะย่อมรู้ยิ่งซึ่งสิ่งที่จะพึงรู้เป็นอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่ามีความกำหนดรู้

เป็นที่ต้องการเพราะย่อมกำหนดรู้สิ่งที่จะต้องกำหนดให้รู้. ชื่อว่ามีการละ

เป็นที่หมาย ก็เพราะย่อมละสิ่งที่จะต้องละ. ก็แลปัญญานี้ แม้ที่เป็นปัญญา

แบบโลกๆ ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกำหนดรู้เป็นที่

ประสงค์ และมีการละโดยการข่มไว้เป็นที่หมาย. ที่เป็นแบบอยู่เหนือ

โลก ก็มีความรู้ยิ่งเป็นที่ต้องการ มีความกำหนดรู้เป็นจุดประสงค์ และมีการ

ละโดยการตัดขาดเป็นเป้าหมาย. ในปัญญาทั้งสองนั้น ปัญญาแบบ

โลกๆ ย่อมรู้ชัดทั้งโดยหน้าที่ ทั้งโดยความไม่หลงลืม ปัญญาที่อยู่เหนือ

โลก ย่อมรู้ชัดโดยความไม่หลงลืม. คำว่า "อาศัยความเห็นที่ถูกต้อง" คือ

อาศัยความเห็นที่ถูกต้องในวิปัสสนา, และความเห็นที่ถูกต้องในมรรค. คำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 309

ว่า "และเสียงจากผู้อื่น" คือ การฟังเสียงที่เป็นที่สบาย. คำว่า "ความเอาใจ-

ใส่อย่างมีเหตุผล" คือ เอาใจใส่ในอุบาย (วิธีการ) ของตน. แม้ในหมู่พระสาวก

เหล่านั้นเล่า ปัจจัยทั้งสองย่อมควรได้แก่ท่านแม่ทัพธรรม (พระสารี-

บุตร) เท่านั้น. เพราะพระเถระ ถึงจะบำเพ็ญบารมีมาตั้งหนึ่งอสงไขยกำไร

อีกแสนกัป ก็ยังไม่สามารถละกิเลสแม้แต่นิดเดียวโดยธรรมดาของตน

ได้. ต่อเมื่อได้ฟังคาถานี้จากพระอัสสชิเถระ ที่ขึ้นต้นว่า "สิ่งเหล่าใด มีเหตุ

เป็นแดนเกิด (=เกิดมาจากเหตุ) " จึงแทงทะลุได้. สำหรับเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า

และเหล่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ไม่มีงานเกี่ยวกับเสียงจากคนอื่น. ผู้ที่

ดำรงอยู่ในความเอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเท่านั้น จึงจะให้เกิดปัจเจกโพธิญาณ

และสัพพัญญูคุณทั้งหลายได้. คำว่า "อัน...ช่วยเกื้อหนุนแล้ว"

คือ ได้รับอุปการะแล้ว. คำว่า "ความเห็นที่ถูกต้อง" คือ ความเห็นที่ถูกต้อง

ในอรหัตตมรรค (ทางแห่งความเป็นพระอรหันต์) ความเห็นที่ถูกต้องใน

อรหัตตมรรคนั้นเกิดในขณะแห่งผล. ที่ชื่อว่า มีความเห็นหลุดพ้นเพราะจิต

เป็นผล เพราะความหลุดพ้นเพราะปฏิบัติทางจิตเป็นผลของท่าน ที่ชื่อว่ามีผล

คือสิ่งที่ไหลออกมาจากความหลุดพ้นในทางจิตใจ เพราะผลคือสิ่งที่ไหลออก

มากล่าวคือความหลุดพ้นในทางจิตใจของท่านมีอยู่. แม้ในบทที่สองก็ท่านอง

เดียวกันนี้แหละ. และพึงทราบว่าในผลเหล่านี้ผลที่ ๔ ชื่อว่า ความหลุดพ้น

เพราะความรู้ชัด สิ่งที่เหลือเป็นความหลุดพ้นเพราะจิตใจ. ในคำเป็นต้น

ว่า "อันศีลเกื้อหนุนแล้ว" ศีลอันมีความบริสุทธิ์ ๔ อย่างชื่อว่าศีล. คำ

ว่า "การฟัง" คือการฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย (ถูกอารมณ์). คำว่า

"สากัจฉา" ได้แก่ ถ้อยคำที่ตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏ-

ฐาน. คำว่า "สมถะ (ความสงบ)" ได้แก่สมาบัติ ๘ ที่มีวิปัสสนารอง

รับ. คำว่า "วิปัสสนา (ความเห็นแจ่มแจ้ง)" คือการตามเห็น

(อนุปัสสนา) ๗ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 310

ก็แหละ พระอรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้นแล้วให้ผลแก่ผู้ที่กำลังบำเพ็ญ

ศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง ฟังเรื่องราวอันเป็นที่สบาย ตัดความผิดพลาด

คลาดเคลื่อนในกัมมัฏฐาน ทำงานในสมาบัติแปดที่มีวิปัสสนารองรับ อบรม

การตามพิจารณาเห็น ๗ อย่างอยู่. พึงทราบข้อเปรียบเทียบที่เหมือนอย่างคน

ที่อยากกินมะม่วงสุกหวาน ติดซุ้มน้ำไว้รอบลูกต้นมะม่วงอย่างมั่นคง, ถือ

หม้อน้ำรดน้ำเป็นบางครั้งบางคราว, สร้างคันเพื่อกันน้ำไม่ให้ไหลออกอย่าง

มั่นคง, เอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ท่อนไม้แห้งๆ รังมดแดงหรือใยแมลงมุมออก

ไป. เอาจอบ (หรือเสียม)ไปขุดรอบๆโคนเป็นบางเวลา, เมื่อเขาระแวดระวังทำ

เหตุครบ ๕ อย่าง ดังที่กล่าวมานี้อยู่ มะม่วงก็เจริญแล้วให้ผล.

พึงเห็นศีลอันมีความหมดจดสี่อย่าง เหมือนการติดซุ้มรอบต้น

ไม้, การฟังเรื่องราว (ธรรม) เหมือนการรดน้ำเป็นบางเวลา, สมถะ เหมือน

การกระทำความมั่นคงด้วยคัน, การตัดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกัมมัฏ-

ฐาน เหมือนการเอาเถาวัลย์ที่อยู่ใกล้ๆ ออก, การอบรมปัญญาเครื่องตาม

พิจารณาเห็น ๗ อย่าง เหมือนการเอาจอบมาขุดรอบๆ โคนเป็นบางเวลา,

พึงทราบการให้ผลคือความเป็นพระอรหันต์เพราะความเข้าใจที่ถูกต้อง

ซึ่งสิ่งห้าอย่างเหล่านี้ของภิกษุนี้ตามเกื้อหนุนแล้ว เหมือเวลาต้นมะม่วงที่เหตุ

ทั้งห้าอย่างเหล่านั้นตามเกื้อหนุนแล้วให้ผลหวานอร่อย ฉะนั้น.

ท่านพระมหาโกฏฐิกเถระ ย่อมถามถึงอะไรในคำนี้ว่า "ผู้มีอายุ

ก็แลภพมีเท่าไร" พระเถระย่อมถามว่า ความสืบต่อไปถึงรากทีเดียว

คนโง่ย่อมไม่ขึ้นจากภพเหล่าใด ข้าพเจ้าจะขอถามถึงภพเหล่านั้น" ในภพ

เหล่านั้น คำว่า "กามภพ" เพราะพระเถระท่านรวมเอาสิ่งทั้งสองคือการกระ

ทำที่เข้าถึงกามภพและขันธ์ที่ตัณหามานะและทิฏฐิยึดเอาไว้ ซึ่งเกิดขึ้นมา

เพราะการกระทำเป็นอันเดียวกันแล้วจึงกล่าวว่า "กามภพ"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 311

แม้ในรูปภพและอรูปภพ ก็มีทำนองเดียวกันนี้แหละ. คำว่า "ต่อไป"

ได้แก่ในอนาคต. การเกิดขึ้นในภพใหม่อีก ชื่อว่า "การเกิดขึ้นอย่างยิ่งในภพ

ใหม่อีก" ในที่นี้ท่านถามถึงการเวียนว่ายตายเกิด. ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่ง

นั้นๆ อย่างนี้คือ ความยินดีอย่างยิ่งในรูป ความยินดีอย่างยิ่งในเสียงเป็น

ต้น ชื่อว่า "ความยินดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ "คำนี้เป็นปฐมาวิภัติ ลงในตติยา-

วิภัตินั่นเทียว จึงมีอธิบายว่า "การเกิดขึ้นในภพใหม่อีกย่อมมี เพราะความยิน-

ดีอย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ. ก็แล ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็เป็นอันว่าพระเกระทำ

ให้ความหมุนเวียน (แห่งชีวิต ) ถึงที่สุดแล้วแสดงว่า "การไปมี, การมาก็

มี การไปและการมาก็มี ความหมุนเวียนก็ย่อมหมุนไป" ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงความเลิกหมุนเวียน พระมหาโกฏิฐิกเถระ จึง

ได้กล่าวคำเป็นต้นว่า "ก็อย่างไร ท่านผู้มีอายุ" ในการตอบคำถามนั้น

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า "เพราะสำรอกความไม่รู้" ได้แก่เพราะความสิ้นไป และจืด

จางแห่งความไม่รู้. คำว่า "เพราะเกิดความรู้ขึ้น" ได้แก่เพราะเกิดความรู้ใน

พระอรหัตตมรรค. อย่าไปกล่าวคำทั้งสองนี้ว่า "ความไม่รู้ดับก่อน หรือ

ความรู้เกิดก่อน" เพราะเกิดความรู้ขึ้น ความไม่รู้จึงเป็นอันดับไปโดย

แท้ เหมือนความมืดหายไป เพราะแสงโพลงของตะเกียง. คำว่า "เพราะความ

ทะยานอยากดับไปโดยไม่เหลือ" ได้แก่ เพราะความดับไปโดยไม่เหลือคือ

ความสิ้นไปแห่งความทะยานอยาก. คำว่า "ไม่มีความเกิดขึ้นในภพใหม่

อีก" คือความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่อีกต่อไปอย่างนี้ย่อมไม่มี, การไป การ

มา ทั้งการไปและการมาก็ย่อมไม่มี. วงกลม (ของชีวิต) ก็หยุดหมุนไป

ด้วยประการฉะนี้. ก็เป็นอันว่า พระเถระทำให้วงกลม (ของชีวิต ) ถึงที่สุด

แล้วแสดง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 312

พระเถระย่อมถามถึงอะไรในคำนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ ก็เป็นไฉนเล่า?"

ภิกษุผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน (คือทั้งเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ) ย่อมเข้า

นิโรธเป็นบางครั้งบางคราว. พระเถระย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าขอถามฌานที่

หนึ่งซึ่งมีนิโรธเป็นเครื่องรองรับของภิกษุนั้น" ในคำนี้ว่า "ผู้มีอายุ ก็แล

ฌานที่หนึ่งนี้" พระเถระย่อมถามถึงอะไร? ธรรมดาภิกษุผู้เข้านิโรธ

ต้องเข้าใจถึงขอบเขตส่วนกำหนดองค์ว่า ฌานนี้มีองค์ห้า นี้มีองค์สี่ นี้มีองค์

สาม นี้มีองค์สอง. พระเถระจึงถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามถึงขอบเขตส่วนสำ-

หรับกำหนดองค์. ในองค์เป็นต้นว่า "ความตรึก" (นี้) ความตรึกมีการยก

ขึ้น (คือยกอารมณ์ขึ้นสู่จิต หรือยกจิตขึ้นสู่อารมณ์) เป็นลักษณะ ความ

ตรองมีการเคล้าคลึง (อารมณ์) เป็นลักษณะ, ความเอิบอิ่มมีการแผ่ไปเป็น

ลักษณะ. ความสบายมีความชื่นใจเป็นลักษณะ. ความที่จิตมีอารมณ์

เดียว มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ สิ่งทั้งห้าอย่างนี้ ย่อมเป็นไปด้วยประ

การฉะนี้.

ในคำว่า "ที่องค์นั้นละได้แล้ว" นี้ พระเถระย่อมถามถึงอะไร?

ท่านถามว่า ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้านิโรธ ต้องเข้าใจองค์ที่เป็นอุปการะและที่

ไม่ใช่เป็นอุปการะ ข้าพเจ้าจะขอถามองค์เหล่านั้น. สำหรับคำตอบในคำถาม

นี้ ปรากฏแล้วแล. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันว่าท่านได้ถือเอาฌานที่หนึ่งซึ่ง

มีนิโรธเป็นที่รองรับไว้ในชั้นล่างแล้ว พระเถระจึงจะถามการเข้าเนวสัญญา-

นาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งฌานที่หนึ่งนั้นในชั้นบน. ก็แล

สมาบัติทั้ง ๖ ในระหว่างแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น พึงทราบว่าท่าน

ได้ย่อไว้ หรือท่านชี้นัยแก้ไว้แล้ว.

บัดนี้ เมื่อจะถามประสาททั้งห้าที่อาศัยวิญญาณพระมหาโกฏฐิก-

เถระจึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ห้าเหล่านี้" เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า "โคจร-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 313

วิสัย" คือ วิสัยอันเป็นโคจร. คำว่า "ของกันและกัน" ได้แก่ไม่ยอมเสวย

เฉพาะโคจรวิสัย (อารมณ์เป็นที่เที่ยวไป) ของแต่ละอย่างๆ อย่างนี้ คือ

หู (รับอารมณ์ได้ทั้ง) ของตาและของหู หรือ (รับอารมณ์) ของตา. หากรวม

เอาอารมณ์ที่เป็นรูปต่างด้วยสีเขียวเป็นต้น แล้วโอนไปให้อินทรีย์คือหูแล้วพูด

ว่า " เอ้า... แกลองกำหนดมันก่อนซิ...ลองว่าให้แจ่มแจ้งมาซิว่า นี้มันชื่อ

อารมณ์อะไร " ถึงวิญญาณทางตาก็เถอะ ยกปากออกแล้ว มันก็จะพึงพูด

ตามธรรมดาของตนอย่างนี้ว่า "เฮ้ย...ไอ้บอดแล้วโง่ด้วย ต่อให้มึงวิ่งวนอยู่ตั้ง

ร้อยพันปีก็เถอะ นอกจากกูแล้ว มึงจะได้ผู้รู้จักสิ่งนี้ที่ไหน เอามันมาน้อม

ใส่ในประสาทตาซิ กูจะรู้จักอารมณ์นั้นไม่ว่ามันจะเขียวหรือเหลือง นั่นมัน

ไม่ใช่วิสัยของผู้อื่น เลยมันต้องเป็นวิสัยของกูเท่านั้น "แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัย

อย่างเดียวกันนี้แล. อย่างนี้ชื่อว่าอินทรีย์ เหล่านี้ไม่ยอมรับเสวยโคจรวิสัยของ

กันและกัน. คำว่า "อะไรเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ ท่านถามว่า "อะไรเป็นที่

พึ่งอาศัยของอินทรีย์เหล่านี้ คืออินทรีย์เหล่านี้อาศัยอะไร-" คำว่า "มีใจ

เป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ มีใจเป็นที่แล่นไป (เสพอารมณ์ หรือ ทำกรรม)

เป็นที่พึ่งอาศัย. คำว่า "ใจนั่นแหละ...ของ...เหล่านั้น" ได้แก่ใจที่แล่น

ไปตามมโนทวาร หรือใจที่แล่นไปทางทวารทั้งห้า ย่อมเสวยโคจรวิสัยแห่ง

อินทรีย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น. จริงอยู่ ความรู้แจ้งในทาง

ตา ย่อมเป็นสักแต่ว่าเห็นรูปเท่านั้น ไม่มีความกำหนัดความคิดประทุษ-

ร้าย หรือความหลงในการเห็นรูปเป็นต้น แต่จิตที่แล่นไปในทวารนี้ต่าง

หาก ย่อมกำหนัด ย่อมประทุษร้าย หรือ ย่อมหลง. แม้ในความรู้แจ้งทางหู

เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบในเรื่องอินทรีย์เหล่านั้น คือ

มีเรื่องเล่าว่า มีกำนันอ่อนแอ ๕ คน พากันส้องเสพพระราชา แล้วก็

ได้กำไรเล็กน้อยในหมู่บ้าน ๕ ตระกูล แห่งหนึ่งด้วยความยากลำบาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 314

ของเพียงเท่านี้แหละ คือปรับเป็นปลาหนึ่งส่วน เนื้อหนึ่งส่วน กหาปณะพอซื้อ

เชือกได้หนึ่งเส้น กหาปณะพอซื้อเชือกผูกช้างได้ ๑ เส้น สี่กหาปณะ แปด

กหาปณะ สิบหกกหาปณะ สามสิบสองกหาปณะ หรือหกสิบสี่กหาปณะ

ในหมู่บ้านนั้น ย่อมถึงพวกกำนันเหล่านั้น. พระราชาเท่านั้นทรงรับพลีใหญ่โต

เป็นหมวดสิ่งของร้อยสิ่ง ห้าร้อยสิ่ง พันสิ่ง.

พึงทราบว่าประสาททั้งห้าเหมือนหมู่บ้านห้าตระกูล ในที่นั้น. ความรู้

เเจ้ง (วิญญาณ) ทั้งห้า เหมือนกำนันอ่อนแอห้าคน การแล่นไปเสพ

อารมณ์ (ชวนะ)เหมือนพระราชา หน้าที่แต่การเห็นรูปเป็นต้นแห่งความรู้แจ้ง

ในทางตาเป็นต้น เหมือนกำนันอ่อนแอได้รับกำไรเล็กน้อย. ส่วนความกำหนัด

เป็นต้นไม่มีในประสาทเหล่านี้. พึงทราบความกำหนัดเป็นต้นของจิตที่ทำ

หน้าที่แล่นไปเสพอารมณ์ในทวารเหล่านั้น เหมือนการรับพลีจำนวนมากของ

พระราชา.

ในคำว่า "ห้าเหล่านี้ ผู้มีอายุ" นี้ พระเถระย่อมถามถึงอะไร ท่าน

ถามถึงประสาททั้งห้าภายในนิโรธว่า สำหรับพวกสิ่งที่หารูปร่างไม่ได้

(นั้น) เมื่อความเป็นไปที่สำเร็จมาจากกิริยา (จิต) กำลังดำเนินไปอยู่ ก็จะเป็น

ปัจจัยที่เข้มแข็งแก่ประสาททั้งหลาย ก็ผู้ใดดับประสาทที่เป็นไปแล้วนั้นแล้ว

เข้านิโรธสมาบัติ ประสาททั้งห้าภายในนิโรธของผู้นั้นอาศัยอะไรจึงตั้งอยู่

ได้ ข้าพเจ้าขอถามสิ่งนี้ด้วยประการฉะนี้ คำว่า "อาศัยอายุ" ได้แก่

อาศัยธรรมชาติที่เป็นใหญ่ทำหน้าที่เป็นอยู่ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่. คำว่า "อาศัย

ไออุ่น" ได้แก่สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ อาศัยไฟที่เกิดจากกรรมตั้ง

อยู่. ก็เพราะแม้ไฟที่ผลิตมาจากกรรม เว้นสิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่

ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น ท่านจึงว่า ไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่. คำว่า "ลุกไหม้

อยู่" ได้แก่โพลงอยู่. คำว่า "อาศัยเปลวไฟ" ได้แก่อาศัยเปลวแสง. คำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 315

ว่า "แสงย่อมปรากฏ" ได้แก่แสงสว่างย่อมปรากฏ. คำว่า "เปลวไฟอาศัย

แสง" ได้แก่เปลวไฟอาศัยแสงสว่างจึงปรากฏ. ในคำว่า "ฉันนั้น นั่นแล

ท่านผู้มีอายุ อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่" นี้คือ ไฟที่เกิดจากกรรมเหมือน

เปลวไฟ, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ เหมือนแสงสว่าง, จริงอยู่ เปลวไฟ

เมื่อจะเกิด ก็ถือเอาแสงสว่างนั่นแหละ เกิดขึ้น. แม้เปลวไฟเองนั้นก็ย่อมเป็น

ของปรากฏเป็นเล็กใหญ่ยาวสั้น ตามแสงสว่างที่ตนนั้นให้เกิดนั่นแหละ

การใช้สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ซึ่งเกิดพร้อมกับมหาภูตรูปที่เกิดจากกรรม

ซึ่งอาศัยไออุ่น ตามรักษาไออุ่น ก็เหมือนความปรากฏแห่งความเป็นไปของ

เปลวไฟนั้นเอง เพราะแสงสว่างที่ความเป็นไปแห่งเปลวไฟในแสงสว่างนั้นให้

เกิด จริงอยู่ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ ย่อมรักษาไออุ่นที่เป็นไปอันเกิดจาก

กรรมไว้ สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง ฯลฯ ร้อยปีบ้าง. ด้วยประการฉะนี้

มหาภูตรูป จึงเป็นปัจจัยด้วยอำนาจนิสสัยปัจจัยเป็นต้นแห่งรูปอาศัย.

ฉะนั้น จึงเป็นอันว่า อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่. ความเป็นใหญ่ในความ

เป็นอยู่ย่อมรักษามหาภูตรูปทั้งหลายไว้ ด้วยเหตุนี้จึงควรเข้าใจว่า ไออุ่นย่อม

อาศัยอายุตั้งอยู่.

คำว่า "อายุสังขาร" ก็คือ อายุนั่นเอง. คำว่า "สิ่งที่มีความรู้-

สึก" คือสิ่งที่เป็นเครื่องรู้สึก. คำว่า "การออกย่อมปรากฏ" คือการออก

จากสมาบัติก็ปรากฏ. จริงอยู่ ภิกษุใด เกิดพอใจในอรูปที่เป็นไป

แล้ว จึงดับความรู้จำและความรู้สึกแล้วเข้าสู่นิโรธ สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งมีสิ่งที่

เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปเป็นปัจจัยก็เกิดแก่ภิกษุนั้น ตามอำนาจเวลา

ตามที่กะไว้ ส่วนสิ่งทั้งที่มีรูปและไม่มีรูปที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นก็คงเป็น

ไป. เหมือนอะไร ? เหมือนชายคนหนึ่งเกิดกลุ้มขึ้นมา ในเพราะเปลวไฟที่เป็น

ไปจึงเอาน้ำมาสา ทำให้เปลวไฟเลิกเป็นไป เอาขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วก็

นั่งนิ่ง. เมื่อเขาอยากให้มีเปลวอีก ก็เขี่ยขี้เถ้าออกแล้วพลิกถ่านกลับ เติมเชื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 316

แล้วเป่าลมด้วยปาก หรือพัดลมด้วยก้านตาล (เอาพัดใบตาลพัด) ทีนั้นเปลว

ไฟที่เป็นไปก็เป็นไปอีกฉันใด, ฉันนั้นนั่นแล สิ่งที่ไม่มีรูป ก็เหมือนเปลวไฟที่

เป็นไป, การที่ภิกษุเกิดกลุ้มใจขึ้นมา ในเพราะอรูป (ฌาน) ที่เป็นไป

แล้ว จึงดับความรู้จำและความรู้สึก เข้านิโรธ ก็เหมือนการที่คนเกิดรำคาญ

ในเพราะเปลวไฟที่เป็นไปแล้ว จึงเอาน้ำมาสาดทำให้เปลวไฟเลิกเป็นไปเอา

ขี้เถ้ามากลบถ่านไว้แล้วนั่งนิ่ง, สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปคือธาตุไฟที่

เกิดจากกรรม ก็คงเป็นไปเหมือนกับถ่านที่เอาขี้เถ้ากลบไว้, การไปตามเวลา

ที่ภิกษุกะไว้ เหมือนกับการที่เมื่อคนต้องการเปลวไฟอีก เขี่ยขี้เถ้าเป็นต้นออก

ไป, ความเป็นไปของสิ่งที่มีรูปและไม่มีรูปในเมื่อสิ่งที่ไม่มีรูปเกิดขึ้นอีก

พึงทราบว่า เหมือนความเป็นไปของแสงไฟ. คำว่า "อายุ ไออุ่นและวิญ-

ญาณ" หมายความว่าสิ่งสามอย่างเหล่านี้คือ สิ่งที่เป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของ

รูป ๑ ธาตุไฟที่เกิดจากกรรม ๑ จิต ๑ ละทิ้งรูปกายนี้เมื่อไร เมื่อนั้น -

ก็ ถูกทอดทิ้งนอนบนแผ่นดินเหมือนท่อนไม้ที่ไร้จิตใจฉะนั้น สมจริงดัง

คำที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

"อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละร่างนี้ไปเมื่อใด เมื่อนั้น

ก็ถูกทิ้งให้นอนอย่างไร้จิตใจ กลายเป็นอาหารของสัตว์อื่นไป".

การหายใจเข้าและการหายใจออก ชื่อว่า "เครื่องปรุงกาย" ความ

ตรึกและความตรองชื่อว่า "เครื่องปรุงวาจา" ความรู้จำและความรู้สึก

ชื่อว่า "เครื่องปรุงจิต" ความเป็นใหญ่ในการเป็นอยู่ของรูปชื่อว่า

"อายุ". คำว่า "แตกไปโดยรอบ" ได้แก่ถูกกำจัด ฉิบหายแล้ว ในเรื่องของ

นิโรธ (ความดับ) นั้น บางท่านกล่าวว่า จิตยังไม่ดับเพราะคำ (บาลี) ว่า

"เครื่องปรุงจิตของผู้เข้านิโรธเท่านั้น ที่ดับไป, ฉะนั้นจึงเป็นการเข้าถึงกาย

พร้อมกับจิต" พึงกล่าว (ค้าน) ท่านเหล่านั้นว่า "คำพูดก็ไม่ดับน่ะซี เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 317

คำ (บาลี)ว่า แม้เครื่องปรุงคำพูดของเธอ ก็ดับไปด้วย ฉะนั้น ผู้เข้านิโรธ-

สมาบัติ พึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็ได้ พึงนั่งทำการท่องหนังสืออยู่ก็ได้ ละจิต

ของผู้ที่ทำกาละตายไปแล้ว ก็พึงไม่ดับ เพราะคำ (บาลี) ว่า "แม้เครื่องปรุง

จิตของเขาก็ดับไปแล้ว" ฉะนั้น ผู้เผา แม่พ่อ หรือพระอรหันต์ที่ตายไป

แล้ว ก็จะพึงเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมน่ะซี" ...เพราะฉะนั้นอย่าไปทำความยึด

มั่นในพยัญชนะ พึงตั้งอยู่ในแบบแผน (นัย) แล้วพิจารณาใจความให้รอบคอบ

จริงอยู่ ใจความเป็นหลักที่พึ่งอาศัย ไม่ใช่พยัญชนะ คำว่า "อินทรีย์ทั้ง

หลายผ่องใสแล้ว" ความว่า จริงอยู่ เมื่อความเป็นไปที่สำเร็จมาจากกิริยา

จิต กำลังเป็นไป เมื่ออารมณ์ภายนอกกำลังกระทบประสาท อินทรีย์ทั้งหลาย

ย่อมเหนื่อยเป็นเหมือนกับถูกกระแทกถูกทำ เหมือนกับกระจกที่ตั้งไว้ในทาง

ใหญ่สี่แยก ถูกละอองฝุ่นที่ฟุ้งขึ้นเพราะลมเป็นต้นทำให้แปดเปื้อนฉะนั้น.

ประสาททั้งห้าที่อยู่ภายในนิโรธของภิกษุผู้เข้านิโรธ ย่อมรุ่งเรืองเหลือที่

จะเปรียบ เหมือนกระจกที่ใส่ไว้ในถุงแล้วตั้งไว้ในตู้เป็นต้น ย่อมรุ่งเรืองใน

ภายในนั่นเอง ฉันใด ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงได้กล่าว

ว่า "อินทรีย์ทั้งหลายผ่องใสแล้ว". ในคำว่า "ผู้มีอายุ ก็ปัจจัย มีเท่าไร"

พระมหาโกฏฐิกเถระย่อมถามถึงอะไร ท่านย่อมถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอ

ถามถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อันเป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ. สำหรับใน

การแก้ปัญหานั้น พระสารีบุตรเถระได้กล่าวถึงปัจจัยที่ไปปราศไว้สี่อย่าง

ว่า "และเพราะละสุขเสียได้" เป็นต้น.

ในคำว่า "ไม่มีเครื่องหมาย" นี้ ท่านย่อมถามถึงอะไร ท่านถาม

ว่า ข้าพเจ้าจะขอถามถึงผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธ. ก็แหละการออก

จากสมาบัติที่เหลือย่อมมีเพราะภวังค์. ส่วนการออกจากนิโรธ ย่อมมีเพราะ

ผลสมาบัติอันหลั่งไหลมาจากวิปัสสนา. ฉะนั้น พระเถระจึงถามถึงการออก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 318

จากนิโรธนั้นแล. คำว่า "มีเครื่องหมายทุกอย่าง" ได้แก่อารมณ์ทั้งหมดมีรูป

เป็นต้น. คำว่า "และการใส่ใจในธาตุที่ไม่มีเครื่องหมาย" ได้แก่การใส่ใจใน

นิพพานธาตุที่ปราศจากเครื่องหมายทุกชนิด. พระเถระกล่าวหมายเอาความ

ใส่ใจที่เกิดพร้อมกับผลสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. เป็นอันว่าท่านถือเอาฌาน

ที่หนึ่งที่มีนิโรธเป็นที่รองรับในชั้นล่างแล้ว. เนวสัญญานาสัญญายตนะที่

เป็นอนันตรปัจจัยของนิโรธ ท่านก็ถือเอาแล้ว. ผลสมาบัติของผู้ออกจาก

นิโรธ ท่านก็ถือเอาในบทนี้แล้วแล. ในที่นี้พึงกล่าวถึง นิโรธกถา (ถ้อยคำว่า

ด้วยความดับ) นิโรธกถานั้นมาแล้วในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า ''ความรู้ชัด

สำหรับใช้อบรมบ่มความชำนิชำนาญ ย่อมมีได้ด้วยความสงบ ระงับเครื่อง

ปรุงแต่งตั้งสามอย่าง เพราะผู้ประกอบด้วยผลสองอย่าง ด้วยการดำเนินไป

ในความรู้ทั้งสิบหกอย่าง และการดำเนินไปในสมาธิเก้าอย่าง ความรู้

(ญาณ) ย่อมมีได้ด้วยการเข้านิโรธ" ส่วนคำวินิจฉัยทุกแง่ทุกมุมของนิโรธ-

กถานั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงสมาบัติสำหรับใช้สอย พระเถระจึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า "ผู้มีอายุ ก็แลปัจจัยมีเท่าไร" ก็ธรรมดาการหยุดของผลสมาบัติของ

ผู้ออกจากนี้โรธไม่มี. การหยุด (ฐิติ ได้แก่ ฐิติขณะ) เป็นไปหนึ่งหรือสองวาระจิต

เท่านั้น แล้วก็หยั่งลงสู่ภวังค์ สำหรับภิกษุที่นั่งดับสิ่งที่ไม่มีรูปที่เป็นไป

แล้วตลอดเจ็ดวันนี้ จะตั้งอยู่ในผลสมาบัติของผู้ออกจากนิโรธได้ไม่นาน.

แต่ในสมาบัติสำหรับใช้สอย การกำหนดเวลา เป็นเรื่องสำคัญแท้. ฉะ-

นั้น ชื่อว่าการหยุดนั้น จึงย่อมมีได้. เพราะเหตุนั้น พระมหาโกฏฐิกเถระ

จึงกล่าวว่า "ด้วยการตั้งอยู่ (ฐิติ) แห่งผลสมาบัติที่ไม่มีเครื่องหมาย" หมาย

ความว่า "ปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่ได้นานแห่งผลสมาบัตินั้นมีเท่าไร" ส่วนใน

การแก้ปัญหานั้น ท่านกล่าวถึงการกะเวลาว่า "และการปรุงแต่งอย่างยิ่งใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 319

กาลก่อน" พระมหาโกฏฐิกเถระ ถามถึงการออกจากภวังค์ในคำว่า "แห่ง

การออก" นี้. แม้ในการแก้ปัญหานั้น ท่านก็ได้กล่าวถึงความใส่ใจที่เกิดขึ้น

พร้อมกับภวังค์ด้วยอำนาจเครื่องหมายมีรูปเป็นต้นว่า "และการใส่ใจเครื่อง

หมายทุกชนิด" ในคำว่า "ผู้มีอายุ...ก็แลนี้ใด" นี้ พระมหาโกฏฐิกเถระ

ถามถึงอะไร ท่านถามว่าในที่นี้ไม่มีข้อใหม่อย่างอื่น ข้าพเจ้าจะขอเอาสิ่ง

ที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเป็นอันเดียวกันแล้วจึงถาม.

ก็แล สิ่งเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ที่ไหน ท่านกล่าวความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีขอบ

เขตจำกัดไว้ในที่นี้แลว่า "ย่อมจำสีเขียวก็ได้ ย่อมจำเหลือง สีแดง สีขาวก็

ได้." ท่านกล่าวถึงความเป็นของว่างเปล่าในสูตรนี้ว่า "ย่อมรู้ชัดอากิญจัญญา"

ในที่นี้ว่า "พึงรู้อากิญจัญญายตนะที่บริกรรมว่า" "ไม่มีอะไรๆ (หรืออะไร

น้อยหนึ่งก็ไม่มี)" ด้วยตาคือความรู้ชัด. ท่านกล่าวถึงความหลุดพ้นทางใจที่

ไม่มีเครื่องหมายในพระสูตรนี้ว่า "ผู้มีอายุ...ก็ปัจจัยของความหยุดอยู่

ของการออกแห่งความหลุดพ้นทางใจซึ่งไม่มีเครื่องหมายมีเท่าไร" ท่าน

ย่อมเอาสิ่งที่กล่าวเสร็จแล้วในหนหลังนั่นแหละมารวมเข้าเป็นอันเดียวกันในที่

นี้ แล้วจึงถามอย่างนี้. เพราะกล่าวว่า "ก็และท่านใส่ความหลุดพ้นนั้นแล้วจึง

แสดงความหลุดพ้นนี้ไว้ในที่นั้นๆ หรือ "จึงยังมีสิ่งเหล่าอื่นอีกสี่อย่างที่มีชื่อ

อย่างเดียวกัน. สิ่งอย่างเดียวกันชื่อถึง ๔ อย่างก็มี. ท่านจึงถามเพื่อให้ผู้ตอบ

ทำสิ่งหนึ่งให้แจ่มแจ้งแล้วบอกในที่นี้. ในอรรถกถาท่านทำความตกลงใจดัง

นี้. คำในการตอบคำถามนั้นว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าความหลุดพ้นทางใจที่

ไม่มีประมาณ (ไม่มีขอบเขตจำกัด)" คือ นี้ชื่อว่าความหลุดพ้นทางใจที่ไม่

มีประมาณเพราะไม่มีประมาณแห่งการแผ่ไป. จริงอยู่ ความหลุดพ้นทางใจที่

ไม่มีประมาณนี้ ย่อมแผ่ไปในสัตว์ไม่จำกัดจำนวน หรือแผ่ไปในสัตว์

หนึ่ง จนถึงไม่มีสัตว์เหลืออยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 320

คำว่า "ผู้มีอายุ...นี้เรียกว่าอากิญจัญญา" คือ ที่ชื่อว่าอากิญจัญญา

เพราะไม่มีความกังวลในอารมณ์. คำว่า "หรือจากตน" คือว่าง

จากตน กล่าวคืออัตภาพบุรุษและบุคคลเป็นต้น. คำว่า "หรือจากของ

ตน" ได้แก่ว่างจากของตน กล่าวคือ เครื่องเครามีจีวรเป็นต้น. คำว่า "ไม่มี

เครื่องหมาย" ได้แก่ ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมายเพราะไม่มีเครื่องหมายมีความ

กำหนัดเป็นต้น. พระเถระกล่าวหมายเอาการเข้าถึงอรหัตตผล. คำว่า "ใจความ

ก็ต่างกัน และ พยัญชนะก็ต่างกัน" ได้แก่ ทั้งพยัญชนะทั้งใจความของสิ่ง

เหล่านั้นแตกต่างกัน. ในความแตกต่างกันเหล่านั้น ความแตกต่างกันแห่ง

พยัญชนะแจ่มแจ้งแล้ว. ส่วนใจความ คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่จำกัด

จำนวน (อปฺปมาณา เจโตวิมุตฺติ) เป็น มหัคคตะ. เป็นรูปาวจรโดยภูมิ แต่โดย

อารมณ์มีสัตว์บัญญัติเป็นอารมณ์. อากิญจัญญาโดยภูมิเป็นอรูปาวจร

โดยอารมณ์มีอารมณ์ที่ไม่พึงกล่าว. ความเป็นของว่าง (สุญฺตา) โดยภูมิ

เป็นกามาวจร โดยอารมณ์ มีสังขารเป็นอารมณ์. สำหรับในที่นี้ท่านหมาย

เอาวิปัสสนาว่า ความเป็นของว่าง. ความไม่มีนิมิต (อนิมิตฺตา) โดยภูมิเป็น

โลกุตตระ โดยอารมณ์มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในคำเป็นต้นว่า "ผู้มี

อายุ ความกำหนัดแล เป็นสิ่งทำความประมาณ" ท่านกล่าวสิ่งที่ทำความประ

มาณไว้ว่า เหมือนอย่างว่าที่เชิงเขา มีน้ำเน่าสิบห้าชนิด เป็นน้ำมีสีดำ

ปรากฏราวกับว่าลึกตั้งร้อยวา แก่ผู้มองดู ไม่มีแม้แค่ท่วมหลังเท้าของผู้เอาไม้

เท้าหรือเชือกวัดอยู่ฉันใด. ฉันนั้นเหมือนกัน กิเลสมีความกำหนัดเป็นต้น

ยังไม่เกิดขึ้นตราบใด ตราบนั้น ก็ไม่มีใครสามารถรู้จักบุคคลได้ ต่าง

ก็ปรากฏเหมือนพระโสดาบัน เหมือนพระสกทาคามี และเหมือนพระอนาคามี

ต่อเมื่อความกำหนัดเป็นต้น เกิดขึ้นแก่เขา จึงปรากฏออกมาว่า เป็นผู้กำหนัด

ผู้ดุร้าย ผู้หลง. ความกำหนัดเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นแสดงประ-

มาณของบุคคลว่า "คนนี้เพียงเท่านี้" ดังที่ว่ามานี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 321

คำว่า "ผู้มีอายุ ความหลุดพ้นทางใจที่มีสัตว์อันบุคคลพึงประมาณ

ไม่ได้ มีประมาณเท่าใดแล" คือความหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณ

มีประมาณเพียงใด ก็แลการหลุดพ้นทางใจที่ไม่มีประมาณเหล่านั้นมีเท่า

ไร มี ๑๒ อย่าง คือ พรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔. ใน ๑๒ อย่างนั้น

พรหมวิหารชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะความที่การแผ่ไปไม่มีประมาณ

ที่เหลือชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำประมาณ.แม้พระ

นิพพานก็ประมาณไม่ได้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้นทางใจไม่มี (ในพระ

นิพพานนั้น). ฉะนั้น ท่านจึงไม่จัดเข้า. คำว่า "ไม่กำเริบ" หมายเอาความ

หลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผล. ก็แล ความหลุดพ้นทางใจคือพระอรหัตตผล

นั้น เป็นใหญ่กว่าอะไรๆ หมด. ฉะนั้น ท่านจึงว่า "อันท่านย่อมกล่าวว่าเป็น

เลิศ" คำว่า "ผู้มีอายุ ความกำหนัดแล เป็นตัวเบียดเบียน" คือความกำหนัด

แม้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเบียดเบียน ย่ำยี รบกวน บุคคล ฉะนั้น ท่านจึง

ว่า เป็นตัวเบียดเบียน (ตัวก่อให้เกิดความกังวล, ความยุ่ง). เล่ากันมาว่า

พวกคนกำลังพากันเอาวัวนวดลานข้าวอยู่ ต่างพากันพูดว่า "ไอ้ดำ..เบียดเข้า

ไป เบียดไอ้แดงเข้าไป" พึงทราบอรรถว่า ย่ำยี อรรถว่า เบียดเบียน ดังที่ว่า

มานี้. แม้ในความประทุษร้ายและความหลง ก็มีทำนองเดียวกันนี้เหมือน

กัน. สิ่งเก้าอย่างคือ อากิญจัญญายตนะ ๑ มรรคและผลอย่างละหนึ่งๆ (รวม

เป็นแปด) ชื่อ อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ. ใน ๙ อย่างนั้น อากิญจัญญาย-

ตนะ ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความกังวล (ความเบียด

เบียน, ความย่ำยี, ความรบกวน, ความยุ่งยาก, หรือน้อยหนึ่ง, อะไรๆ

น้อยหนึ่ง) แก่ใจ. มรรค (๔) และผล (๔) ชื่ออากิญจัญญา เพราะไม่มีความ

เบียดเบียน คือเพราะความไม่มีกิเลสเครื่องย่ำยีและเครื่องก่อให้เกิดความ

กังวล, แม้พระนิพพานก็เป็นอากิญจัญญา. แต่ไม่มีความหลุดพ้นแห่งใจ

(เพราะใจไม่มีในพระนิพพาน พระนิพพานไม่มีใจ) เพราะฉะนั้นจึงไม่จัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 322

เข้า. ในคำว่า "ผู้มีอายุ ความกำหนัดแลเป็นเครื่องทำเครื่องหมาย" เป็น

ต้น ความว่า เมื่อความกำหนัดยังไม่เกิดตราบใด ตราบนั้น ไม่มีใครสามารถ

รู้ได้ว่าเป็นอริยะหรือเป็นปุถุชน. ก็แลความกำหนัดเมื่อจะเกิดขึ้นก็เกิดขึ้น

เหมือนกำลังทำเครื่องหมายสำหรับจำได้ว่า "บุคคลนี้ ชื่อว่า ผู้มีความ

กำหนัด" เพราะฉะนั้น ท่านจึงว่า "เป็นเครื่องทำเครื่องหมาย เหมือนลูกวัว

๒ ตัว ที่เหมือนกันของ ๒ ตระกูล ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำเครื่องหมายแก่

ลูกวัวทั้ง ๒ ตัวนั้น ก็ย่อมไม่มีใครที่สามารถรู้ได้ว่า "นี้เป็นลูกวัวของตระกูล

โน้น นี้ของตระกูลโน้น" แต่เมื่อใดเอาเหล็กแหลมที่ปลายหอกเป็นต้น มาทำ

เครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีผู้สามารถรู้ได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน. แม้ในความดุร้ายและความหลง ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้เหมือนกัน.

วิปัสสนา๑ อรูป ๔ มรรค ๔ และผล ๔ รวมเป็น ๑๓ สิ่ง (นี้) ชื่อ

ว่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ในสิบสามสิ่งนั้น

วิปัสสนา ชื่อว่าไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย ก็เพราะเพิกถอนเครื่องหมายว่า

เที่ยง เครื่องหมายว่าสุข เครื่องหมายว่าตัวตนเสียได้. อรูป ๔ ชื่อว่าไม่มีอะไร

เป็นเครื่องหมาย เพราะไม่มีรูปเป็นเครื่องหมาย. มรรคผล ชื่อว่าไม่มีอะไร

เป็นเครื่องหมายก็เพราะไม่มีกิเลสที่เป็นเครื่องทำเครื่องหมาย. แม้พระ

นิพพานก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายเหมือนกัน แต่พระนิพพานนั้น ไม่เป็น

ความหลุดพ้นแห่งใจ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ได้จัดเข้าไว้. แล้วทำไมจึงไม่จัด

ความหลุดพ้นแห่งใจชนิดที่เป็นของว่างไว้ด้วยเล่า ความหลุดพ้นแห่งใจที่เป็น

ของว่างนั้น ชื่อว่าไม่เข้าไปในกิเลสทุกชนิดเลย เพราะคำ (บาลี) เป็นต้น

ว่า "ว่างจากความกำหนัด" เพราะฉะนั้นจึงไม่จัดเข้าไว้เป็นแผนกหนึ่งต่าง

หาก. คำว่า "มีใจความเป็นอันเดียวกัน" ได้แก่ และด้วยอำนาจ

อารมณ์ ก็มีใจความเป็นอันเดียวกัน. ก็แล คำทั้งหมดนี้คือ "ไม่มีประ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 323

มาณ, ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวล, ความเป็นของว่าง, ไม่มีอะไรเป็น

เครื่องหมาย" เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น.

จึงเป็นอันสรุปได้ว่า ก็แลตามแบบนี้ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่มีประ

มาณในที่อื่น ความเป็นของไม่มีเครื่องกังวลในที่อื่น ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่

มีอะไรเป็นเครื่องหมายในที่อื่น (ทั้งหมดนั้นล้วนแต่) มีใจความเป็นอันเดียว

กัน, ตามแบบนี้ ต่างกันแต่พยัญชนะ (เท่านั้น).

พระเถระ จบเทศนาลงตามอนุสนธิแท้ ดังที่ได้แสดงมาด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหาเวทัลลสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 324

๔. จูฬเวทัลลสูตร

[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเวฬุวันซึ่งเป็นที่ประทาน

เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์.

ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีธรรมทินนา

ถวายนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.

[๕๐๖] วิสาขะอุบาสกถาม นางธรรมทินนาภิกษุณี ปรารภจตุ-

สัจจธรรมว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายะ สักกายะ

กายของตน กายของตน ดังนี้ ธรรมอย่างไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กายของตน.

นางธรรมทินนาภิกษุณี วิสัชนาว่า วิสาขะอุบาสกผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง

หลายที่เป็นอุปาทานเหล่านี้ คือกองรูปที่ยังมีความยึดมั่น กองเวทนาที่ยัง

มีความยึดมั่น กองสัญญาที่ยังมีความยึดมั่น กองสังขารที่ยังมีความยึด

มั่น กองวิญญาณที่ยังมีความยึดมั่น อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล พระองค์

ตรัสว่า กายของตน.

วิสาขะอุบาสก อนุโมทนาชื่นชมตามภาษิต ของนางธรรมทินนา

ภิกษุณีว่า ถูกละ พระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว จึงถามยิ่งขึ้นไปกับนางธรรมทินนา

ภิกษุณีว่า พระแม่เจ้า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายสมุทัย

สักกายสมุทัย ธรรมเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น

พร้อมแห่งสักกายะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.

ธ. ตัณหา อันใดไปพร้อมด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความ

เพลิน มักเพลินเฉพาะในภพนั้น ๆ ตัณหานั้น ๓ อย่าง กามตัณหาหนึ่งภวตัณ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 325

หาหนึ่ง วิภวตัณหาหนึ่ง นี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น

พร้อมแห่งสักกายะ..

วิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธ

ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ก็ธรรมสิ่งไรเล่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ แม่เจ้า

ธ. ความดับด้วยความคลายเสียโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นอันใด

ความสละ สละคืน ความปล่อยวาง ความพ้นไป ความไม่พัวพันนี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าสักกายนิโรธ.

วิ. พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึง

สักกายนิโรธ ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ ข้อปฏิบัติอย่างไร

พระองค์ตรัสว่า ทางปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ แม่เจ้า?

ธ. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ

กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ

ระลึกชอบ ความตั้งจิตไว้เสมอชอบ อันนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทาง

ปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า ! อุปาทานก็นั้นแล อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็นั้นแล หรือ

อุปาทานอื่นจากุปาทานขันธ์ทั้ง ๕.

ธ. วิสาขะ อุปาทานก็นั้นแล ปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็นั้นแล หาใช่

ไม่ อุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ คุณวิสาขะ ความกำหนัด

ด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันใด ฉันทราคะนั้นแล เป็น

ปาทาน ในปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 326

[๕๐๗] วิ. พระแม่เจ้า ความเห็นว่ากายแห่งตน ย่อมเป็นอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ปุถุชชนไม่ได้สดับแล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้พบเห็น

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้ฝึกใจในธรรม

ของพระอริยเจ้าแล้ว และเป็นผู้ไม่ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน

ธรรมของสัตบุรุษ มิได้ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษ ผู้นั้นย่อมตามเห็น

รูป โดยความเป็นตนหรือตามเห็นตนว่า มีรูป พิจารณาเห็นรูปในตน หรือ

พิจารณาเห็นตนในรูป อนึ่งปุถุชชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมตามเห็นเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นคน หรือตามเห็นตนว่า มีเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือพิจารณาเห็น เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณในตน หรือพิจารณาเห็นตนใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญ-

ญาณ คุณวิสาขะ สักกายทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้.

วิ. พระแม่เจ้า สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอย่างไรเล่า

ธ. คุณวิสาขะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้พบ

เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ฝึกใจในธรรมของ

พระอริยเจ้าดีแล้ว และเป็นผู้ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของ

สัตบุรุษ ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว ท่านย่อมไม่ตามเห็นรูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นตนว่า มี

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือไม่ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณในตน หรือไม่ตามเห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ คุณวิสาขะ. สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีอย่างนี้.

[๕๐๘] วิ. พระแม่เจ้า ก็ทางมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นธรรมไปพ้นกิเลสเป็น

อย่างไร ?

ธ. คุณวิสาขะ ก็หนทางมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นอริยะทางเดียวนี้

แล คือปัญญาเห็นชอบอย่างหนึ่ง ความดำริชอบอย่างหนึ่ง เจรจาชอบอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 327

หนึ่ง ทำการงานชอบอย่างหนึ่ง เลี้ยงชีวิตชอบอย่างหนึ่ง เพียรชอบอย่าง

หนึ่ง ระลึกชอบอย่างหนึ่ง ตั้งจิตไว้ชอบอย่างหนึ่ง.

วิ. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่งหรือเป็นธรรมที่

หาใช่ปัจจัยประชุมแต่งไม่เล่า.

ธ. คุณวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่ง.

วิ. พระแม่เจ้า ขันธ์ทั้ง ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์

แล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงย่นเข้าถือเอาด้วยขันธ์ทั้ง ๓.

ธ. คุณวิสาขะ ขันธ์ทั้ง ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงสงเคราะห์

ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หามิได้ ก็แลอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง ๓ ต่างหาก คุณวิสาขะ สัมมาวาจา สัมมา-

กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์

ด้วยกองศีล. สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ ธรรมเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองสมาธิ. สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสัง

กัปปะ ๑ ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองปัญญา.

วิ. พระแม่เจ้า ธรรมอะไรเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าไรเป็นนิมิตแห่ง

สมาธิ? ธรรมเหล่าไรเป็นปริกขารของสมาธิ สมาธิภาวนาอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ความที่จิตเป็นสภาพมีอารมณ์อันเดียว อันนี้เป็นสมาธิ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตแห่งสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นปริกขารของสมาธิ

ความเสพธรรมเหล่านั้นเนืองๆ การให้ธรรมเหล่านั้นเจริญ การทำให้

ธรรมนั้นมากขึ้น อันนี้เป็นสมาธิภาวนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 328

[๕๐๙] วิ. ธรรมที่ได้ชื่อว่าสังขารมีเท่าไร พระแม่เจ้า-

ธ. สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ๓ ประการ คือกายสังขาร ๑ วจี

สังขาร ๑ จิตตสังขาร ๑ คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารแลจิตตสังขาร

เป็นอย่างไร

ธ. คุณวิสาขะ ลมหายใจออกแลหายใจเข้ากลับเป็นกายสังขาร

วิตกแลวิจาร เป็นวจีสังขาร สัญญา ๑ เวทนา ๑ เป็นจิตตสังขาร.

วิ. พระแม่เจ้า ! เพราะเหตุอะไร ลมหายใจออกแลหายใจเข้า จึงเป็น

กายสังขาร วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาแลเวทนาจึงเป็นจิตต

สังขาร

ธ. คุณวิสาขะ สภาพคือลมหายใจออกแลหายใจเข้าเป็นส่วนมีใน

กาย ติดเนื่องด้วยกาย เพราะฉะนั้นจึงเป็นกายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรอง

แล้วจึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้นวิตกแลวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร. สภาพทั้ง

๒ นี้คือความจำอารมณ์ได้ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความเสวยอารมณ์ เป็นส่วนมี

ในจิต เพราะเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้นสัญญาแลเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร

[๕๑๐] วิ. พระแม่เจ้า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมมีด้วยอย่าง

ไร

ธ. คุณวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จะได้คิดว่า เราจัก

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ดี ว่าบัดนี้เราจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ดังนี้ก็

ดี หรือว่าเราสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วดังนี้ก็ดี หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำ

เข้าไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.

วิ. พระเจ้า เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าใดย่อม

ดับไปก่อน กายสังขารดับไปก่อน หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับไปก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 329

ธ. เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับไปก่อน ต่อนั้น

กายสังขาร ภายหลังจิตสังขาร คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า การออกจากสัญญาเวทยิ นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร?

ธ. คุณวิสาขะ เมื่อภิกษุออกอยู่จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

จะมีสำคัญหมายรู้ว่า เราจักออกก็ดี เราออกอยู่ก็ดี เราออกแล้วก็ดี จากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติดังนี้หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำเข้าไปเพื่อความเป็น

เช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.

วิ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าใดเกิด

ขึ้นก่อน กายสังขาร หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขาร พระแม่เจ้า.

ธ. คุณวิสาขะ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตต-

สังขารเกิดขึ้นก่อน ต่อนั้นกายสังขาร แล้ววจีสังขาร.

วิ. พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไรถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.

ธ. ผัสสะ ๓ ประการ คือผัสสะคือรู้สึกว่างหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกไม่มี

นิมิตหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกหาที่ตั้งมิได้หนึ่ง เหล่านี้ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.

วิ. พระแม่เจ้า. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

แล้ว ย่อมน้อมไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งไร.

ธ. คุณวิสาขะ. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

แล้ว ย่อมน้อมไปในความสงัด โอนไปในความสงัด เงื้อมไปในความสงัด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 330

[๕๑๑] วิ. พระแม่เจ้า ก็ความเสวยอารมณ์มีเท่าไร.

ธ. คุณวิสาขะ ความเสวยอารมณ์มี ๓ ประการเหล่านี้ คือความ

เสวยอารมณ์เป็นสุขอย่างหนึ่ง ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง ความ

เสวยอารมณ์ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์อย่างหนึ่ง

วิ. พระแม่เจ้า. สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นไฉน อทุกขมสุข

เวทนาคือสิ่งอะไร.

ธ. คุณวิสาขะ. ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ ซึ่งเป็นไปใน

กาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่

สำราญ ซึ่งเป็นไปในกาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นทุกขเวทนา ความเสวย

อารมณ์ที่มิใช่ความสำราญแลมิใช่ความไม่สำราญ เป็นไปในกาย หรือเป็น

ไปในจิต อันนี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สุขเวทนาคงเป็นสุขอยู่ได้เพราะอะไร กลายเป็นทุกข์

เพราะอะไร.

ธ. คุณวิสาขะ สุขเวทนาคงเป็นสุขเพราะทรงอยู่ กลายเป็นทุกข์

เพราะแปรไป ทุกขเวทนาคงเป็นทุกข์เพราะทรงอยู่ กลายเป็นสุขเพราะแปร

ไป อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ไม่ชอบ.

วิ. พระแม่เจ้า อนุสัยอะไรย่อมตามนอนอยูในสุขเวทนา อนุสัยอะไร

ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไรตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.

ธ. คุณวิสาขะ. กามราคานุสัย ย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนา

ปฏิมานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ในอทุกขม-

สุขเวทนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 331

วิ. พระแม่เจ้า. ก็ราคานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด

หรือ ปฏิฆานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งสิ้น หรือว่าอวิชชานุสัยย่อม

ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งปวง.

ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะได้มา

ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา แลอทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมดหามิได้.

วิ. พระแม่เจ้า ! อะไรอันสุขเวทนาจะพึงละได้ด้วย อะไรจะพึงละได้

ด้วยทุกขเวทนา อะไรจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัยจะพึงละได้ด้วยสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยจะพึง

ละได้ด้วยทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.

วิ. พระแม่เจ้า. ราคานุสัยจะพึงละเสียในสุขเวทนาทั้งนั้น ปฏิฆานุสัย

จะพึงละเสียด้วยทุกขเวทนาทั้งนั้น อวิชชานุสัยจะพึงละเสียด้วยอทุกขมสุข

เวทนาทั้งนั้นหรือ

ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะพึงละได้

ด้วยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทั้งนั้น หามิได้.

วิ. พระแม่เจ้า ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย พึงละเสียได้ด้วย

สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหรือ

ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย จะพึงละได้ด้วยสุข

เวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหามิได้. ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้วเทียว ได้บรรลุ

ปฐมฌาน อันประกอบด้วยวิตกวิจารมีปิติแลอกุศลเกิดแต่ความสงัดจากนิวรณ์

แล้วแลอยู่ ท่านย่อมละราคะด้วยปฐมฌานนั้น, ราคานุสัย จะได้มาตามนอน

อยู่ในปฐมฌานนั้นหามิได้. อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาอยู่ว่า เมื่อไร

เราจักได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุแล้วแลอยู่บัดนี้ แล้วแลอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 332

เหมือนท่าน ดังนี้ เมื่อภิกษุเข้าไปตั้งความรักใคร่ทยานไว้ในวิโมกข์ ซึ่งเป็น

อนุตรธรรมทั้งหลายอย่างนี้ เพราะความรักใคร่ทยานในวิโมกข์เป็นปัจจัย

โทมนัสย่อมเกิดขึ้น ท่านละปฏิฆะได้เพราะความทยานในอนุตรวิโมกข์

นั้น ปฏิฆานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่ในความทยานในอนุตรวิโมกข์นั้น คุณวิสาขะ

อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละความสุขความทุกข์เสีย เพราะความ

โสมนัสแลความโทมนัสทั้ง ๒ ดับสูญในก่อนเทียว แล้วได้บรรลุฌานที่ ๔

อันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีความที่สติเป็นคุณบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแล

อยู่ ท่านย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่

ในจตุตถฌานนั้น.

[๕๑๒] วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา

ธ. คุณวิสาขะ. ความกำหนัด เป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา

วิ. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา พระแม่เจ้า

ธ. คุณวิสาขะ. โทษะกระทบใจ เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา

วิ. พระแม่เจ้า. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา

ธ. ความไม่รู้แจ้ง เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.

ธ. คุณวิสาขะ. ความที่ไม่รู้แจ้งชัด เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.

ธ. คุณวิสาขะ. ความพ้นกิเลส เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่าเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.

ธ. คุณวิสาขะ. พระนิพพาน เป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 333

วิ. พระแม่เจ้า ก็อะไรเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน.

ธ. วิสาขะ ท่านล่วงเกินปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่

สุดรอบ แห่งปัญหาทั้งหลายได้ ด้วยว่าการประพฤติพรหมจรรย์ ก็ย่อม

หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงในเบื้องหน้า มีที่สุดจบลงเพียง

พระนิพพานเท่านั้น. ถ้าหากท่านจำนงอยู่ไซร้ พึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลถามความเรื่องนี้เถิด และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสพยากรณ์

แก่ท่านฉันใด ท่านก็พึงทรงจำข้อพยากรณ์นั้นไว้ ฉันนั้นเถิด.

[๕๑๓] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชมอนุโมทนาข้อภาษิตแห่งนาง

ธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะที่นั่ง ถวายนมัสการทำประทัก

ษิณ นางธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ

พับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรแล้ว กราบทูลข้อปุจฉาแลพยากรณ์ ที่ตนไต่

ถามและข้อความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีวิสัชนาทุกประการ ให้พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงทราบ แต่เบื้องต้นตลอดถึงที่สุด. ครั้นวิสาขอุบาสกกราบ

ทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิสาขะ. นางธรรมทินนาภิกษุณี

เป็นบัณฑิตมีปัญญายิ่งใหญ่ และข้อความอันนี้ แม้หากว่าท่านจะถามเรา

ผู้ตถาคต ตถาคต ก็จะพึงพยากรณ์กล่าวแก้ข้อวิสัชนาอย่างนี้ เหมือนข้อ

ความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีได้พยากรณ์แล้ว ไม่แปลกกันเลย อันนี้แล

เป็นเนื้อความนั่นแล้ว ท่านจงจำทรงไว้ให้แน่นอนเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระพุทธพจน์อันนี้แล้ว วิสาขอุบาสกก็ได้ชื่นชมเพลินเฉพาะภาษิต

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้.

จบจูฬเวทัลลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 334

อรรถกถาจุลลเวทัลลสูตร

จุลลเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้".

ในคำเหล่านั้น คำว่า "วิสาขอุบาสก" ได้แก่ อุบาสกผู้มีชื่ออย่างนั้น

ว่า "วิสาข". คำว่า "โดยที่ใดนางธรรมทินนา" คือเข้าไปหาถึงที่ซึ่งภิกษุณี

ชื่อธรรมทินนาอยู่.

วิสาขะนี้คือใครกันเล่า

นางธรรมทินนาเป็นใคร

ทำไมจึงเข้าไปหา

เมื่อนางธรรมทินนายังเป็นคฤหัสถ์ วิสาขะเป็นเจ้าของเรือน (เป็นสามี)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

แล้วทรงหมุนล้อพระธรรมอันประเสริฐ ได้ทรงแนะนำกุลบุตรมียศเป็นต้น

เสด็จบรรลุถึงตำบลอุรุเวลา. ในที่นั้นได้ทรงแนะนำชฏิลพันคนแล้วเสด็จดำเนิน

ไปยังกรุงราชคฤห์กับหมู่ภิกษุณีขีณาสพชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวาย

พระเจ้าพิมพิสารมหาราชซึ่งเสด็จดำเนินมาพร้อมกับบริษัทแสนสองหมื่นคน

เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า. ในแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น

หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก. อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับ

พระเจ้าพิมพิสาร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. อุลาสกนี้เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น

เมื่อดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง พร้อมกับคนเหล่านั้น

แล้ว ในอีกวันหนึ่งก็ได้ฟังธรรมสำเร็จสกทาคามิผล แต่นั้นมาในภายหลัง

วันหนึ่ง ได้ฟังธรรมจึงได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล เมื่อได้เป็นพระอนาคามีแล้ว

มาสู่เรือน ไม่ได้มาอย่างวันเหล่าอื่นที่มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดิน

เข้ามา. หากแต่กลายเป็นคนสงบอินทรีย์มีใจสงบเดินเข้าไป.

๑. พระสูตร-จูฬเวทัลลสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 335

นางธรรมทินนาแง้มหน้าต่างพลางมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ใน

การมาของเขาแล้วก็คิดว่า "นี่อะไรกันหนอ" เมื่อยืนที่หัวบันไดทำการต้อน

รับเขาพลางก็เหยียดเมื่อยื่นออกไป. อุบาสกกลับหดมือของตนเสีย. นางคิด

ว่า "เราจงรู้ในเวลารับประทานอาหารมื้อเช้า". แต่ก่อนอุบาสกย่อมรับ

ประทานพร้อมกันกับนาง แต่วันนั้น ไม่ยอมมองนาง ทำราวกะว่าโยคาวจร

ภิกษุ รับประทานคนเดียวเท่านั้น. นางคิดว่า "เวลานอนเราจะรู้" อุบาสก

ไม่ยอมเข้าห้องพระศรีนั้น, สั่งให้จัดห้องอื่นให้ตั้งเตียงน้อยที่สมควรแล้วนอน.

อุบาสิกามาคิดว่า "อะไรกันหนอ เขามีความปรารถนาข้าง

นอก หรือคงถูกผู้ชอบยุแหย่คนใดคนหนึ่ง ยุให้แตก ? หรือว่า เรานี่แหละ

มีความผิดอะไรๆ" แล้วก็เกิดเสียใจอย่างแรง ตัดสินใจว่า "ตลอดเวลาวัน

สองวันที่เขาอยู่นี่แหละ จะต้องรู้ให้จนได้" แล้วจึงไปสู่ที่บำรุงเขาไหว้แล้วก็ยืน

อยู่. อุบาสกถามว่า "ธรรมทินนา ทำไมจึงมาผิดเวลาล่ะ"

ธรรม. "ค่ะ ลูกเจ้า. ดิฉันมา, ท่านไม่เหมือนคนเก่า, ขอถามหน่อย

เถิดค่ะว่า ท่านมีความปรารถนาภายนอกหรือคะ?"

อุ. "ไม่มีหรอก ธรรมทินนา."

ธรรม. "มีใครอื่นเป็นคนยุแหย่หรือคะ"

อุ. "แม้นี้ก็ไม่มี"

ธรรม. "เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัวดิฉันเองคงจะมีความผิดไรๆ หรือคะ?"

อุ. "ถึงเธอเอง ก็ไม่มีความผิด"

ธรรม. "แล้วทำไมท่านจึงไม่ทำแม้เพียงการพูดจาปราศรัยตามปกติ

กับดิฉันเล่าคะ"

เขาคิดว่า "ชื่อว่าโลกุตตรธรรมนี้เป็นภาระหนัก ไม่พึงเปิดเผย แต่ถ้า

แลเราไม่บอก, ธรรมทินนานี้จะพึงหัวใจแตกตายในที่นี้เอง" เพื่ออนุเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 336

นางจึงบอกว่า "ธรรมทินนา ฉันฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วได้บรรลุ

โลกุตตรธรรม, ผู้ได้บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นแล้ว การกระทำแบบ

โลกๆ อย่างนี้ ย่อมไม่เป็นไป, ถ้าเธอต้องการ, ทรัพย์ส่วนของเธอ ๔๐๐

ล้าน ส่วนของฉันอีก ๔๐๐ ล้าน รวมแล้วก็มีทรัพย์อยู่ ๘๐๐ ล้าน, เธอเป็น

ใหญ่ในที่นี้แล้วจงอยู่ดำรงตำแหน่งแม่ หรือตำแหน่งน้องสาวของฉันก็ได้

ฉันจะขอเลียงชีพด้วยเพียงก้อนข้าวที่เธอให้, ถ้าเธอจะไม่ทำอย่างที่ว่ามานี้

ก็จงเอาโภคะเหล่านี้ไปเรือนตระกูลก็ได้, และก็ถ้าเธอมีความต้องการขาย

ภายนอก ฉันก็จะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งน้องสาว หรือตำแหน่งลูกสาวแล้วเลี้ยง

ดู".

นางคิดว่า "ผู้ชายปกติ จะไม่มีใครพูดอย่างนี้, เขาคงแทงทะลุโลกุตตร

ธรรมเป็นแน่ ก็ผู้ชายเท่านั้นหรือที่พึงแทงทะลุธรรมนั้นได้ หรือแม้เป็นผู้หญิง

ก็สามารถแทงทะลุได้" จึงพูดกับวิสาขะว่า "ธรรมนั้นผู้ชายเท่านั้นหรือหนอ

ที่พึงได้คะ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถได้ด้วยค่ะ"

อุ. "พูดอะไร ธรรมทินนา ผู้ที่เป็นนักปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทายาทของ

ธรรมนั้น ผู้ที่มีอุปนิสัยก็ย่อมได้รับธรรมนั้น"

ธรรม. "เมื่อเป็นอย่างนั้น ขอให้ท่านยินยอมให้ดิฉันบวชค่ะ"

อุ. "ดีแล้วที่รัก ฉันเองก็อยากจะแนะนำในทางนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้

ใจเธอจึงไม่พูด" แล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารในทันที ถวายบังคมแล้วก็ได้

ยืนอยู่ พระราชาตรัสถามว่า "คฤหบดี ทำไมจึงได้มาผิดเวลาล่ะ"

วิ. "ขอเดชะ นางธรรมทินนาพูดว่า "ดิฉันจะบวช".

ร. "นางสมควรจะได้อะไรเล่า"

วิ. "ไม่มีอะไรอื่น, ได้วอทอง และรับสั่งให้จัดตกแต่งพระนครก็

เหมาะ ขอเดชะ".

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 337

พระราชาประทานวอทองแล้วรับสั่งให้ตบแต่งพระนครแล้ว.

วิสาขะให้นางธรรมทินนาอาบน้ำหอม ให้ประดับประดาด้วยเครื่องสำ

อาทุกอย่าง ให้นั่งบนวอทอง แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บูชาด้วยดอกไม้หอมเป็น

ต้นพลางเหมือนทำแก่พวกชาวกรุง ไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วเรียนว่า "ขอให้

นางธรรมทินนาบวชเถิด แม่เจ้า" พวกภิกษุณี พูดว่า "คฤหบดี กะความผิด

อย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ก็ควรจะอดทนได้"

วิสาขะจึงเรียนว่า "ไม่มีความผิดอะไรหรอก แม่เจ้า เธอบวชด้วย

ศรัทธา" ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้สามารถรูปหนึ่ง จึงบอกกัมมัฏฐานหมวดห้า

แห่งหนัง ให้โกผมแล้วให้บวช. วิสาขะ พูดว่า "แม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสพระธรรมไว้ดีแล้ว, ท่านจงยินดีเถิด" ไหว้แล้วหลีกไป.

ตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว ลาภสักการะก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นนางจึง

ยุ่งจนหาโอกาสทำสมณธรรมไม่ได้. ทีนั้น พวกพระเถรีที่เป็นอาจารย์และ

อุปัชฌาย์จึงพานางไปบ้านนอก แล้วก็ให้เรียนกัมมัฏฐานตามชอบใจใน

อารมณ์สามสิบแปดอย่างเริ่มทำสมณธรรม สำหรับนางลำบากไม่นาน

เพราะเป็นผู้มีอภินิหารสมบูรณ์.

ความสังเขปมีว่า ท้ายแสนกัปจากภัทรกัปนี้ไป พระศาสดาทรงพระ-

นามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติในโลก. ครั้งนั้น นางธรรมทินนานี้ เป็นหญิงคน

ใช้ในตระกูลหนึ่ง ขายผมของตนแล้วถวายทานแด่พระอัครสาวกชื่อสุชาต-

เถระแล้วได้ทำความปรารถนาไว้. เพราะถึงพร้อมด้วยอภินิหารแห่งความ

ปรารถนานั้น นางจึงไม่เหนื่อยมาก สองสามวันเท่านั้นเองก็ได้สำเร็จเป็นพระ

อรหันต์แล้วมาคิดว่า "เราได้บวชในศาสนาเพราะประโยชน์อันใด เราถึงที่

สุดประโยชน์อันนั้นแล้ว, เราอยู่บ้านนอกหาประโยชน์อะไร ? พวกญาติเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338

จะทำบุญ, ถึงภิกษุณีสงฆ์ ก็จะไม่ลำบากด้วยปัจจัย เราจะไปกรุงราชคฤห์"

แล้วก็ได้พาภิกษุณีสงฆ์ไปกรุงราชคฤห์นั่นเอง.

วิสาขะได้ฟังว่า "เขาว่านางธรรมทินนามา" จึงคิดว่า "นางบวชแล้ว

ไปบ้านนอกยังไม่นานเลย ก็กลับมาเมื่อไม่นานนี่เอง จักเป็นอย่างไรหนอ?"

แล้วก็ได้ไปสำนักนางภิกษุณีด้วยการไปเป็นครั้งที่สอง. เพราะเหตุนั้น

พระอานนท์จึงว่า "ครั้งนั้นแลวิสาขอุบาสก ได้เข้าไปหานางธรรมทินนาถึงที่

อยู่" ดังนี้.

คำว่า "ได้กล่าวคำนี้แล้ว" คือได้กล่าวคำเป็นต้นว่า กายของ

ตน" นี้. ทำไมจึงได้กล่าว เล่ากันมาว่า เขามีความคิดอย่างนี้ว่า "การจะ

ถามอย่างนี้ว่า แม่เจ้า ยังยินดีอยู่หรือ หรือไม่ยินดี " ไม่ใช่หน้าที่ของบัณฑิต

เราจะน้อมเข้าไปในอุปาทานขันธ์ห้าแล้วถามปัญหา, ด้วยการแก้ปัญหา

นั่นแหละ เราก็จะทราบว่านางมีความยินดีหรือไม่ยินดี ฉะนั้นจึงได้กล่าว.

พอนางธรรมทินนาได้ฟังคำนั้น ไม่กล่าวว่า "คุณวิสาขะ! ดิฉันเพิ่งบวช

มาไม่นานจะทราบกายตนหรือกายคนอื่นแต่ไหน" หรือว่า "คุณจงไปหาแล้ว

ถามพระเถรีรูปอื่นเถิด" เมื่อดำรงอยู่ในวิสัยแห่งปัญญาเครื่องแตกฉานแก้

ปัญหาอยู่ เหมือนรับของที่เขาฝาก, เหมือนแก้เงื่อนบ่วงข้างหนึ่ง, เหมือนถาง

ทางช้างในที่รก เหมือนแงะกะติ๊บด้วยปลายดาบ จึงกล่าวว่า " คุณ

วิสาข อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล" ดังนี้เป็นต้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ห้า" เป็นคำกำหนดนับ คำว่า "อุปาทานขันธ์"

ได้แก่ พึงทำให้อรรถกถาอุปาทานขันธ์พิสดารแล้วกล่าวในที่นี้โดยนัยเป็นต้น

อย่างนี้ว่า "ขันธ์อันมีอุปาทานเป็นปัจจัย" ก็แลอรรถกถาแห่งอุปาทานขันธ์

นั้น ท่านขยายไว้อย่างพิสดารในวิสุทธิมรรคนั่นเหละ เพราะฉะนั้นพึงทราบ

โดยนัยที่ท่านทำให้พิสดารเสร็จแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด. คำที่จะพึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 339

แม้ในสักกายสมุทัยเป็นต้นนั้น ก็ได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในที่นั้นๆ ในหนหลัง

เหมือนกัน. เมื่อวิสาขะได้ฟังการแก้สัจจะสี่นี้แล้ว ก็ทราบว่าพระเถรียินดี

แล้ว เพราะว่าผู้ที่กระสันไม่ยินดีในพระพุทธศาสนานั้น ไม่สามารถจะแก้

ปัญหาที่ถามแล้วถามเล่าได้ เหมือนเอาแหนบมาถอนผมหงอกทีละเส้นๆ

เหมือนขนทรายออกจากเชิงเขาสิเนรุ. ก็เพราะสัจจะสี่อย่างนี้ปรากฏแล้วใน

พระพุทธศาสนาเหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ปรากฏในโลก ด้วยว่าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี พระมหาเถระทั้งหลายก็ดี ที่อยู่ในท่ามกลางบริษัทย่อม

ประกาศแต่สัจจะเท่านั้น, ภิกษุสงฆ์ก็ให้พวกกุลบุตรเรียนปัญหาว่า ''อะไร

ชื่อว่าสี่? อริยสัจจ์สี่" ตั้งแต่วันที่บวชไปวิสาขะคิดว่า และนางธรรมทินนานี้ก็

เป็นบัณฑิตที่ฉลาด ดำรงอยู่ในความเป็นผู้ฉลาดในอุบาย ได้นำเอามาแล้ว

ก็สามารถกล่าวแม้ด้วยแนวที่ได้ฟังมาแล้ว ฉะนั้นใครๆ จึงไม่สามารถจะ

รู้ความแทงตลอดสัจจะของนางด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ทั้งเราก็อาจรู้ได้

ด้วยการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจำแนกสัจจะ เมื่อจะพลิกกลับไปยังสัจจะทั้ง

สองที่กล่าวไว้ในหนหลังทำให้ลี้ลับแล้วถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามปัญหาที่มี

เงื่อนงำ" จึงกล่าวคำว่า "แม่เจ้า! อุปาทานนั้นแหละ หนอแล" ดังนี้เป็นต้น.

ในการแก้ปัญหานั้นว่า "คุณวิสาขะ ! นั้นแล ไม่ใช่อุปาทานเลย"

มีคำอธิบายว่า นั้นไม่ใช่เป็นอุปาทานเลย แต่เป็นขันธ์ ๕ ต่างหาก เพราะเป็น

สภาพที่เป็นเอกเทศจากกองสังขารของอุปาทาน และอุปาทานก็ไม่ใช่นอก

ไปจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕. เพราะถ้าสิ่งนั้นแลพึงเป็นอุปาทานไซร้สภาพมี

รูปเป็นต้น ก็พึงเป็นอุปาทานไปด้วย. ถ้าอุปาทาน พึงเป็นสิ่งนอกเหนือ

(ไปจากรูปเป็นต้น) ไซร้ ก็จะเป็นขันธวิมุตติ (หลุดไปจากขันธ์) เหมืออนุสัย

เหมือนบัญญัติ และเหมือนนิพพานที่ไม่ประกอบกับจิตในสมัยอื่น. หรือ

ไม่ก็จะต้องบัญญัติขันธ์ที่ ๖ เพิ่มอีก, เพราะฉะนั้น นางธรรมทินนาจึงแก้

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 340

เมื่อได้ฟังคำพยากรณ์ของนาง, วิสาขะก็ถึงความแน่ใจว่า "นางนี้ได้

บรรลุความแทงตลอดแล้ว" แล้วคิดว่า "ผู้ที่ไม่ใช่ขีณาสพไม่พบเห็นไม่เป็นผู้รู้

จักทำให้พิสดาร เปรียบปานแกว่งประทีปพันดวงให้สั่นไหว จะไม่สามารถ

แก้ปัญหาที่มิดชิดปิดซ่อนไว้ ไตรลักษณ์นำมาถึงลึกซึ้งเห็นปานนี้ได้

เลย, แต่นางธรรมทินนานี้ถึงที่สุด (คือพระนิพพาน) ได้ที่พึ่งในศาสนา

บรรลุปัญญาแตกฉาน ถึงความกล้าหาญ กำจัดภพเป็นขีณาสพผู้ยิ่ง

ใหญ่ สามารถไขปัญหาที่ข้าถาม" จึงคิดว่า บัดนี้ เราจะถามปัญหา ที่แสน

จะสลับซับซ้อนกะนางอีก" เมื่อจะถามปัญหานั้นจึงกล่าวคำว่า "อย่างไร

เล่า แม่เจ้า" ดังนี้ เป็นต้น.

ในการแก้ปัญหานั้น คำเป็นต้นว่า "ผู้ไม่ได้ฟังแล้ว" ท่านได้ให้

พิสดารแล้วในมูลปริยายสูตรนั่นเอง. คำว่า " ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความ

เป็นต้น" คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็น

ตน ย่อมพิจารณาเห็นรูปและตนเป็นสิ่งไม่ใช่สองว่า "รูปอันใดฉันก็อัน

นั้น ฉันอันใด รูปก็อันนั้น". เปรียบเหมือนเมื่อตะเกียงน้ำมันกำลังลุกไหม้

อยู่ เปลวอันใดสีก็อันนั้น สีอันใดเปลวก็อันนั้น แม้ฉันใด, ฉันนั้นนั่นแล บุคคล

บางคนในโลกนี้ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตนแล พิจารณาเห็น...ไม่

ใช่สองอย่าง" ดังนี้ฉะนั้นจึงชื่อว่าย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาในทิฏฐิว่า "รูปเป็น

ตัวตน" อย่างนี้. หรือย่อมพิจารณาเห็นว่าตัวตนมีรูป จึงถือเอารูปว่าเป็นตน

แล้วย่อมพิจารณาเห็นตนมีรูป เหมือเห็นต้นไม้มีร่ม หรือเห็นว่ารูปในตนจึง

ถือเอาอรูปนั่นแหละว่าเป็นตน จึงชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็นรูปในตนเหมือน

ดมกลิ่นในดอกไม้ หรือเห็นว่าตนในรูปจึงถือเอาอรูปนั่นแหละว่าเป็นตน

จึงชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็นตนนั้นในรูปเหมือนเห็นแก้วมณีในขวด แม้ในการ

พิจารณาว่าเวทนาโดยความเป็นตนเป็นอาทิ ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนั่น

เอง ในคำเหล่านั้น คำว่า "ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน" ท่านกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 341

ถึงรูปล้วนๆ เท่านั้นว่าเป็นตน. ท่านกล่าวถึงอรูปว่าเป็นตนในที่เจ็ดแห่งเหล่านี้

คือ ย่อมพิจารณาเห็นตนมีรูป, หรือรูปมีในตน, หรือตนมีในรูป, เวทนาโดย

ความเป็นตน, สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน ท่านกล่าวถึงรูป

และอรูปที่ปนกันว่าเป็นตนในที่สิบสองแห่งด้วยอำนาจแห่งขันธ์ทั้งสามใน

จำนวนสี่ขันธ์อย่างนี้ คือ ตนมีเวทนา เวทนามีในตน ตนมีในเวทนาดังนี้.

ในคำว่า ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมพิจารณาเห็น

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน" นั้น ท่านแสดงความเห็น

ว่าขาดสูญในที่ห้าแห่ง, ในแห่งที่เหลือ ท่านแสดงความเห็นว่าเที่ยง. ด้วยประ

การฉะนี้ในที่นี้จึงมีภวทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีว่าเป็น) ๑๕ อย่าง. วิภวทิฏฐิ

(ความเห็นว่าไม่มีไม่เป็น) ๕ อย่าง. ในบทว่า "ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความ

เป็นตน" นี้, ได้แก่ย่อมไม่พิจารณาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน" ด้วยอาการ

ทุกอย่าง คือย่อมไม่พิจารณาเห็น ๕ อย่างเหล่านี้ ด้วยแบบอย่างใดอย่าง

หนึ่ง อันได้แก่ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตน แต่พิจารณาเห็นว่า "ไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน ไม่พิจารณาเห็นตนมีรูป ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นตนใน

วิญญาณ" ดังนี้. เมื่อพระเถรีแก้ปัญหาข้อแรกอย่างนี้ว่า "คุณวิสาข ! ความ

เห็นว่ากายของตน ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล" ดังนี้ ด้วยถ้อยคำมีประมาณ

เพียงเท่านี้อยู่, คำว่า "ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การไปก็มี การมาก็มี การูปและ

การมาก็มี วัฏฏะ (วงจรแห่งชีวิต) ก็ย่อมหมุนไป" ก็เป็นอันว่านางได้ทำวัฏฏะ

ให้ถึงที่สุดแล้วแสดงไว้. เมื่อแก้ปัญหาข้อหลังว่า "คุณวิสาขะ ความเห็นว่ากาย

ตน ย่อมไม่มีด้วยอาการอย่างนี้แล" ดังนี้อยู่, คำว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

การไปก็ไม่มี การมาก็ไม่มี การไปและการมาก็ไม่มี วัฏฏะก็หยุดหมุน" ก็เป็น

อันว่านางได้ทำวิวัฏฏะให้ถึงที่สุดแสดงไว้แล้ว. ปัญหาว่า "แม่เจ้า ก็แล

ทางประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นไฉน" พึงเป็นอันพระเถรีพึงถาม

กลับแล้วจึงตอบว่า "อุบาสก! คุณถามถึงทางเบื้องต่ำแล้ว ทำไมในที่นี้จึงมา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 342

ถามถึงทางอยู่อีกล่ะ" ก็พระเถรีนั้นกำหนดความประสงค์ของอุบาสกนั้น

ได้ ก็เพราะความที่ตนฉลาดเป็นบัณฑิต. นางคิดว่า "อุบาสกนี้ คงจะถามถึง

ทางขั้นต่ำด้วยอำนาจปฏิบัติแต่ในที่นี้ คงอยากจะถามถึงทางนั้นแห่ง

สังขตะ (ถูกปรุง) อสังขตะ (ไม่ถูกปรุง) โลกิยะ (แบบโลกๆ) โลกุตตระ (อยู่

เหนือโลก, ข้ามขึ้นจากโลก) อันท่านจัดรวมเข้าไว้(สงเคราะห์) และไม่จัดรวม

เข้าไว้ (ไม่สงเคราะห์) ฉะนั้นอุบาสกถามข้อใด ๆ มาก ก็แก้ข้อนั้นๆ โดยไม่

ถามกลับเลย.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ถูกปรุง" ความว่า ถูกคิด ถูกตรึก ถูก

ตรอง ถูกรวบรวมไว้ ถูกให้เกิด อันผู้เข้าถึง พึงเข้าถึง. ในคำว่า "ก็แล

คุณวิสาขะหนทางประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ท่านจัดรวมเข้าไว้ด้วย

ขันธ์ ๓" นื้มีคำอธิบายว่า เพราะทางมีประเทศ ขันธ์ทั้ง ๓ ไม่มีประ

เทศ ฉะนั้นท่านจึงเอาทางนี้มารวมเข้าด้วยขันธ์ ๓ ที่ไม่มีประเทศ เหมือน

เอากรุงมารวมเข้ากับราชย์ เพราะความที่ทางมีประเทศ. ในองค์มรรคเหล่า

นั้น องค์มรรค ๓ มีการพูดจาถูกต้องเป็นต้น เป็นศีลแท้ฉะนั้นจึงยกเอาองค์

มรรคเหล่านั้นมารวมเข้ากับกองศีล เพราะมีชาติเสมอกัน. ถึงแม้ในบาลี

ท่านยกเอามาแสดงทำเหมือนสัตตมีวิภัติว่า " ในกองศีล" ดังนี้ก็จริง ถึงดัง

นั้น ก็พึงทราบใจความด้วยอำนาจตติยาวิภัติ. ส่วนสมาธิในองค์มรรคอีก ๓

มีความพยายามชอบเป็นต้น โดยธรรมดาของตนแล้ว ย่อมไม่สามารถจะแนบ

แน่นได้ เพราะเป็นภาวะที่เลิศเดี่ยวในอารมณ์ แต่เมื่อความเพียรกำลังทำหน้า

ที่ประคับประคองให้สำเร็จ ความระลึกก็กำลังทำหน้าที่เคล้าคลึงให้สำเร็จ

อยู่, สมาธิกลายเป็นธรรมชาติที่ได้อุปการะ จึงจะสามารถให้แนบแน่นได้.

ในเรื่ององค์มรรคนั้น มีคำเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ :-

เหมือนอย่างว่า ในสามเกลอที่ชวนกันเข้าไปสู่อุทยานด้วยตั้งใจ

ว่า "พวกเราจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ (งานประจำปี) คนหนึ่งพบต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 343

จัมปาดอกบานนี้ ยกมือขึ้นไปก็ไม่อาจเก็บได้ ทีนั้น คนที่สองจึงก้มหลังให้

เขา แม้เขาได้ยินบนหลังของคนที่สองนั้น ก็ยังเด็ดไม่ได้, ทีนั้น อีกคน

หนึ่ง ก็ยื่นจงอยบ่าให้เขา. เมื่อเขาได้ยืนบนหลังของคนหนึ่งแล้วเหนี่ยวจงอย

บ่าของอีกคนหนึ่ง จึงเก็บเอาดอกไม้มาประดับตามชอบใจแล้วเล่นงาน

นักขัตฤกษ์ฉันใด. พึงเห็นคำที่นำมาเปรียบนี้ ฉันนั้น คือ ธรรมทั้งสาม

มีความ พยายามชอบเป็นต้นซึ่งเกิดร่วมกัน เหมือนสามเกลอ ที่เข้าสวมด้วย

กัน, อารมณ์เหมือนต้นจัมปาดอกบานสะพรั่ง สมาธิ ที่ไม่สามารถจะถึงฌาน

ได้เพราะเป็นภาวะที่เด่นเดี่ยวในอารมณ์โดยลำพังตนเอง เหมือนคนที่ถึงแม้จะ

ได้ยกมือขึ้นแล้วก็ยังไม่อาจเก็บได้, ความพยายามชอบเหมือนเกลอที่น้อมหลัง

ให้, ความระลึกเหมือนเกลอที่ยืนให้จับจงอยบ่า. สมาธิที่เมื่อวิริยะ กำลังทำ

หน้าที่ประดับประคองให้สำเร็จ (และ) สติก็กำลังทำหน้าที่คลึงเคล้าให้สำเร็จ

อยู่อย่างนี้, ได้อุปการะแล้ว ก็ย่อมอาจบรรลุฌานได้เพราะความเป็นภาวะที่

โดดเด่นในอารมณ์เหมือนคนนอกนี้ที่ยืนบนหลังของคนหนึ่งในสามคนนั้นและ

จับจงอยบ่าของอีกคนหนึ่ง จึงสามารถเด็ดดอกไม้ได้ตามพอใจ ฉันใด ก็ฉัน

นั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเอาสมาธิมารวมเข้ากับกองสมาธิ ตามกำเนิดของ

ตน. ส่วนความพยายามชอบและความระลึกชอบ ท่านก็เอามารวมเข้ากับกิริยา.

แม้ปัญญาในความเห็นชอบและความดำริชอบ ก็ไม่สามารถตัดสิน

อารมณ์ว่า "ไม่เที่ยง ไม่ทนทาน ไม่ใช่ตัวตน" ตามลำพังตนเองได้. แต่เมื่อ

วิตก อาโกฏเฏตฺวา ค่อยๆ ทุบแล้วทะยอยส่งให้ ก็สามารถ อย่างไร ? เหมือน

อย่างว่า เจ้าหน้าที่การเงิน เอาเหรียญกษาปณ์มาวางบนมือ แม้อยากจะสำ

รวจดูทุกส่วน ก็ไม่สามารถจะพลิกด้วยสายตาได้เลย ต่อเมื่อใช้ข้อนิ้วมือพลิก

แล้วจึงจะสามารถสำรวจดูได้ทุกด้าน ฉันใด, ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกันไม่

สามารถชี้ขาดอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยง เป็นต้นตามลำพังของตน

เองได้ แต่จะสามารถชี้ขาดแต่อารมณ์ที่วิตกซึ่งมีความยกขึ้นเป็นลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 344

มีความจดจ่อและจอดจับเป็นหน้าที่ เหมือนกำลังจับทุบ และกำลังจับพลิก

แล้วส่งมาให้เท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงจัดเอาแต่สัมมาทิฏฐิเท่านี้มารวมไว้

กับกองปัญญาเพราะมีกำเนิดเท่ากัน แม้ในที่นี้. ส่วนสัมมาสังกัปปะ ก็ถูกจับ

มารวมเข้าเพราะการกระทำ. มรรคย่อมถึงซึ่งการรวมเข้ากับของทั้งสามนี้

ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น นางธรรมทินนาจึงได้กล่าวว่า "คุณ

วิสาขะ ก็แล ทางอันมีองค์แปดอันประเสริฐ ท่านสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง ๓"

ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงสมาธิในมรรคที่เป็นไปเพียงขณะจิตเดียว พร้อม

กับเครื่องหมายรวมทั้งเครื่องเครา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "เป็นไฉนเล่า

แม่เจ้า ?"

ในการแก้ปัญหานั้น ท่านว่า สติปัฏฐาน ๔ คือสัมมาสติ เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจยังหน้าที่สี่อย่างในมรรคขณะให้สำเร็จ. สัมมาสตินั้น กลายเป็น

เครื่องหมายเพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยแห่งสัมมาสมาธิ. สัมมัปปธาน ๔

คือตัววิริยะ เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจการทำหน้าที่สี่อย่างให้สำเร็จ, วิริยะนั้น

กลายเป็นเครื่องเครา (ปริขาร) เพราะอรรถว่าแวดล้อม. คำว่า "ของธรรม

เหล่านั้นแล" คือของธรรมที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคเหล่านั้นในคำเป็นต้น

ว่า "การเสพคุ้น" คือ ท่านกล่าวความเสพคุ้นที่เป็นไปเพียงหนึ่งขณะ

จิต. ส่วนผู้ชอบพูดเคาะเล่น ก็พูดว่า "ชื่อว่ามรรคที่เป็นไปเพียงหนึ่งขณะ

จิต ไม่มี. ถ้าพึงเป็นอย่างนั้นจะมีการอบรมมรรคเสียตั้งเจ็ดปี เพราะคำ

ว่า "เจ็ดปี" ฝ่ายพวกกิเลสเมื่อจะขาด ก็ย่อมขาดไปด้วยญาณทั้งเจ็ดโดยฉับ

พลัน". พึงพูดกะเขาว่า "นำพระสูตรมาซิ" แน่นอนเมื่อเขามองไม่เห็นทาง

อย่างอื่น ก็จะนำข้อความว่า "การเสพคุ้น การอบรม การทำให้มาก ธรรม

เหล่านั้นแลอันได" นี้แลมา กล่าวว่า "ย่อมเสพคุ้นด้วยจิตดวงอื่น อบรมด้วย

จิตดวงอื่น ทำให้มากก็ด้วยจิตดวงอื่น. ต่อจากนั้น เขาพึงถูกกล่าวว่า "ก็แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 345

สูตรนี้ มีใจความที่พึงรู้ (แนะนำ) มีใจความที่นำไปอย่างไร?" เขาก็จะกล่าว

ต่ออีกว่า "สูตรมีใจความอย่างที่นำไปนั่นแหละ" อย่างมากของเขาก็เท่า

นี้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะมีแต่ความเสพคุ้นเท่านั้น แม้ทั้งวันอย่างนี้คือ จิตดวง

หนึ่งเกิดเสพคุ้นอยู่แล้ว จิตอีกดวงหนึ่งเกิดเสพคุ้นอยู่แล้ว แม้อีกดวง ก็เกิดเสพ

คุ้นอยู่แล้ว, จะมีการอบรมแต่ที่ไหน? จะมีการทำให้มาก แต่ที่ไหน? หรือ

เมื่อดวงหนึ่งก็เกิดอบรมอยู่แล้ว ดวงอื่นอีกก็เกิดอบรมอยู่แล้ว อีกดวงหนึ่งก็

เกิดอบรมอยู่แล้ว ดังนี้ แบบนี้ทั้งวันก็จะมีแต่การอบรมเท่านั้น. ความเสพคุ้น

จะมีแต่ที่ไหน? การทำให้มากจะมีแต่ที่ไหน? หรือดวงหนึ่งก็เกิดทำให้มากอยู่

แล้ว ดวงอื่นอีกก็เกิดทำให้มากอยู่แล้ว อีกดวงหนึ่งก็เกิดทำให้มากขึ้นอยู่

แล้ว ดังนี้ แบบนี้ทั้งวันก็จะมีแต่การทำให้มากเท่านั้น จะมีการเสพคุ้นแต่ที่

ไหน? จะมีการอบรมแต่ที่ไหน? อีกอย่างหนึ่ง เขาอาจจะกล่าวอย่างนี้

ว่า "ย่อมเสพคุ้นด้วยจิตดวงหนึ่ง ย่อมอบรมด้วยจิตสองดวง ย่อมทำให้มาก

ด้วยจิตสามดวง หรือย่อมเสพคุ้นด้วยจิตสองดวง ย่อมอบรมด้วยจิตสาม

ดวง ย่อมทำให้มากด้วยจิตหนึ่งดวง หรือย่อมเสพคุ้นด้วยจิตสามดวง

ย่อมอบรมด้วยจิตหนึ่งดวง ย่อมทำให้มากด้วยจิตสองดวง". เขาพึงถูกกล่าว

ว่า "ท่านอย่ากล่าวเลอะเทอะว่า "ผมก็ได้สูตรนะ" ธรรมดาผู้จะแก้ปัญหา

ต้องอยู่ในสำนักอาจารย์เล่าเรียนพุทธพจน์ให้ทราบอรรถรสแล้ว จึงค่อย

พูด ก็การเสพคุ้นนี้ ประกอบด้วยขณะจิตเดียว การอบรมก็ประกอบด้วย

ขณะจิตเดียว และการทำให้มาก ก็ประกอบด้วยขณะจิตเดียว ธรรมดา

โลกุตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไปที่มีหลายขณะจิตไม่มี มีแต่ที่ประกอบด้วยขณะ

จิตเดียวเท่านั้น" พึงทำให้เขายอมรับดังที่ว่ามานี้. ถ้าเขายอมรับ ก็ยอมรับ

ไป, ถ้าไม่ยอมรับ ก็พึงส่งไปว่า "จงไปเข้าวัดแต่เช้าแล้วดื่มข้าวต้มเสีย".

ในคำว่า "สังขารมีกี่อย่างเล่า แม่เจ้า?" นี้ วิสาขะถามถึงอะไร

ถามว่าบุคคลดับสังขารเหล่าใดแล้ว จึงเข้านิโรธ ข้าพเจ้าขอถามสังขารเหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 346

นั้น เมื่อพระเถรีได้ทราบความประสงค์ของเขาด้วยประการนั้นนั่นแล

บอกกายสังขารเป็นต้น ในสังขารจำนวนมากมีปุญญาภิสังขารเป็นต้นที่มีอยู่

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "คุณ สังขารเหล่านี้มีสามอย่าง".

ในสังขารเหล่านั้น ชื่อกายสังขารเพราะอันกายย่อมปรุง คือย่อมให้

เกิด เพราะเป็นสภาพที่เกี่ยวข้องกับกาย, ชื่อวจีสังขาร เพราะถูกปรุงคือถูก

ให้เกิด โดยวาจา เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวาจา, ชื่อว่าจิตตสังขารเพราะ

ถูกปรุง คือถูกให้เกิดโดยจิต เพราะเป็นของที่เกี่ยวข้องกับจิต. วิสาขะย่อมถาม

ถึงอะไรในคำว่า "เป็นไฉนเล่า แม่เจ้า" นี้ ย่อมถามว่า "สังขารเหล่านี้มัน

ปนกันและกัน มัว ไม่แจ่ม แจ้งยาก". จริงอย่างนั้นที่เรียกเจตนา ๒๐ อย่างอัน

เป็นกุศลอกุศลอย่างนี้ คือ เจตนาในกามาวจรกุศล ๘ อย่าง เจตนาใน

อกุศล ๒ อย่าง ที่ยังบุคคล ให้ถึงการยึด การถือ การหลุด การปล่อย ใน

กายทวารบ้าง ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าบ้างว่า เป็นกายสังขาร.

ท่านเรียกเจตนา ๒๐ อย่าง มีประการที่ได้กล่าวแล้วซึ่งยังการไหวแห่งคาง

ให้ถึงวจีเภทในวจีทวารบ้าง วิตกวิจารบ้างว่าเป็นวจีสังขาร, ท่านเรียก

เจตนา ๒๐ อย่างนั้น กุศลและอกุศลที่เกิดแก่ผู้ยังไม่ถึงการสั่นไหวในกาย

ทวารและวจีทวารแล้วนั่งคิดอยู่ในที่สงัดธรรมสองอย่างคือ สัญญา และเวทนา

บ้างว่าเป็นจิตตสังขารทีเดียว ธรรมเหล่านี้ มันปนเปกัน มัว ยังไม่

แจ่ม แจ้งยาก. ข้าพเจ้าขอให้ทำธรรม เหล่านั้นให้แจ่งแจ้งแล้วบอก".

ในบทว่า "ก็ทำไมเล่า แม่เจ้า " นี้ วิสาขะย่อมถามถึงใจความของบท

แห่งชื่อกายสังขารเป็นต้น. ในการแก้ปัญหานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบความหมาย

นี้ว่า กายสังขารชื่อว่าอาศัยกาย เพราะเกี่ยวข้องกับกาย เมื่อมีกาย ก็มีกาย

สังขาร เมื่อกายไม่มี กายสังขารก็มีไม่ได้ จิตตสังขารชื่อว่าอาศัยจิต เพราะ

เกี่ยวข้องกับจิต เมื่อมีจิต ก็มีจิตตสังขาร เมื่อจิตไม่มีจิตตสังขารก็มีไม่

ได้. บัดนี้เมื่อวิสาขะจะถามเพื่อความรู้ว่า "สมาบัตินี้ ย่อมใช้สัญญาเวทยิต-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 347

นิโรธหรือหนอ หรือไม่ใช้ หรือเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญในสัญญาเวท-

ยิตนิโรธหรือหนอ หรือไม่ใช่ หรือเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญในสัญญา-

เวทยิตนิโรธนั้น หรือไม่ต้องเป็นผู้สะสมความชำนิชำนาญ?" จึงกล่าวคำเป็น

ต้นว่า "แม่เจ้า ทำอย่างไรเล่าจึงจะเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติได้?" ใน

การตอบปัญหานั้น ข้อความมีว่า ท่านได้กล่าวถึงเวลาแห่งเนวสัญญานา-

สัญญายตนสมาบัติด้วยบททั้ง ๒ ว่า "เราจักเข้า" หรือ "เรากำลังเข้า".

ท่านกล่าวนิโรธภายในด้วยบทว่า "เข้าแล้ว". เวลาที่มีจิต ท่านก็กล่าวด้วยบท

ก่อนทั้งสองเหมือนกันนั้น เวลาที่ไม่มีจิต ท่านกล่าวด้วยบทหลัง. คำว่า "จิตก็

เป็นอันอบรมไว้แล้วอย่างนั้นมาก่อนทีเดียว" ได้แก่จิตที่มีกาลเวลาเป็นเครื่อง

กำหนดเป็นอันได้อบรมแล้วว่า "ตลอดเวลาเท่านี้ เราจะเป็นไม่มีจิต ในกาล

ที่มีระยะเวลาเป็นเครื่องกำหนดก่อนนิโรธสมาบัติ. คำว่า "ย่อมน้อมบุคคลนั้น

ได้เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น" คือ ย่อมน้อมบุคคลที่อบรมจิตไว้แล้วอย่างนี้

นั้นเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้แก่เพื่อความเป็นผู้ไม่มีจิต. คำว่า "วจี-

สังขารย่อมดับไปก่อน" คือวจีสังขารย่อมดับจากสังขารที่เหลือในฌานที่สอง

ก่อน. คำว่า "ต่อจากนั้นกายสังขาร" คือต่อจากนั้นกายสังขารก็ดับไปใน

ฌานที่สี่. คำว่า "ต่อจากนั้นจิตตสังขาร" คือต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ

ไปภายในนิโรธ. ท่านกล่าวเวลาภายในนิโรธด้วยสองบทว่า "เรา

จักออก" หรือ "เรากำลังออก" เวลาแห่งผลสมบัติท่านกล่าวด้วยบทว่า "ออก

แล้ว" เวลาเป็นผู้ไร้จิต ท่านกล่าวด้วยสองบทก่อนเหมือนกันนั้น. ด้วยบทหลัง

ท่านกล่าวเวลาที่มีจิต. คำว่า "จิตก็เป็นอันได้อบรมมาแล้วอย่างนั้นก่อน

ทีเดียว" คือจิตที่มีเวลาเป็นเครื่องกำหนดเป็นอันได้อบรมแล้วว่า ตลอดเวลาเท่า

นี้เราจะเป็นผู้ไร้จิต ในกาลที่มีระยะเวลาเป็นเครื่องกำหนดไว้ก่อนเข้าถึงนิโรธ-

สมาบัติแล้ว ต่อจากนั้นจึงจะเป็นผู้มีจิต. คำว่า "ย่อมน้อมบุคคลนั้นได้เข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น" คือย่อมน้อมบุคคลที่อบรมจิตไว้แล้วอย่างนี้นั้นเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 348

เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความเป็นผู้มีจิต. เวลาแห่งการเข้า

นิโรธท่านกล่าวไว้ในหนหลัง ในที่นี้ ท่านกล่าวเวลาแห่งการออกจากนิโรธด้วย

ประการฉะนี้.

บัดนี้เป็นวาระเพื่อจะกล่าวนิโรธกถา ฉะนั้น นิโรธกถาจึงเป็นเรื่องที่

ต้องกล่าว

ก็แหละนิโรธกถานั้น ท่านได้ตั้งแม่บทกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคทุกแง่

ทุกมุมว่า "ปัญญาที่ความชำนิชำนาญอบรมไว้ด้วยความรำงับสังขาร

สาม เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยกำลังสอง, ด้วยความประพฤติในญาณ

สิบหก, ด้วยความประพฤติในสมาธิเก้าปัญญาที่ความชำนิชำนาญอบรมแล้ว

และญาณในการเข้าถึงนิโรธ". เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการทราบพึงถือเอาตาม

แบบที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด. ที่ชื่อว่า นิโรธนี้ได้แก่อะไรเล่า?

ได้แก่ความไม่เป็นไปแห่งการพิจารณาขันธ์ทั้งสี่. ถ้าจะมีการถามว่า "เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เข้าสมาบัติกันเพื่ออะไร? ก็ตอบว่า เข้าสมาบัติกันเพื่อสิ่งนี้

คือ "เรากลุ้มในความเป็นไปแล้วในสังขาร จะเป็นผู้ไม่มีจิตสักเจ็ดวันอยู่

สบาย นิโรธนี้นั้นชื่อว่าเป็นนิพพานในปัจจุบัน". คำว่า "จิตสังขารย่อมเกิด

ขึ้นก่อน" คือจริงอยู่เมื่อจะออกจากนิโรธ จิตในผลสมาบัตินั้นย่อมเกิดขึ้น

ก่อน. ท่านหมายเอาสัญญาและเวทนาที่ประกอบด้วยผลสมาบัตินั้นจึงกล่าว

ว่า "จิตตสังขารย่อมเกิดขึ้นก่อน" คำว่า "ต่อจากนั้น กายสังขาร" คือ

ต่อจากจิตตสังขารนั้นไป กายสังขารย่อมเกิดขึ้นในสมัยแห่งภวังค์. ถาม

ว่า "ก็ผลสมาบัติไม่ยังลมหายใจออกและลมหายใจเข้าให้ตั้งขึ้นหรือ? ตอบ

ว่าให้ตั้งขึ้น แต่ผลสมาบัติของผู้นี้ประกอบด้วยฌานที่สี่อยู่ ผลสมาบัตินั้นจึงทำ

ให้ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าตั้งขึ้นไม่ได้. หรือเพราะเหตุนี้หรือ? ผลสมา-

บัติจะประกอบด้วยฌานที่หนึ่ง หรือประกอบด้วยฌานที่สอง ที่สาม หรือที่สี่ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 349

ตามทีเถิด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าของภิกษุออกจากสมาบัติ

ที่สงบ ย่อมเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ (คือมีเหมือนไม่มี) หรือ? ความที่ลมหายใจออก

และลมหายใจเข้านั้นเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ พึงทราบด้วยเรื่องพระสัญชีวเถระ :-

ความสังเขปมีว่า เมื่อพระสัญชีวเถระออกจากสมาบัติแล้วก็เดินลุย

ไปบนถ่านที่เขากระจายไว้เหมือนดอกทองกวาว แม้แต่เพียงแสงในจีวรก็ไม่

ลุกไหม้ แม้แต่เพียงอาการแห่งไออุ่น ก็ไม่ได้มี. พวกคนก็กล่าวกันว่า นี่แหละ

ผลของสมาบัติ. ลมหายใจออกสละลมหายใจเข้าของภิกษุผู้ออกจากสมาบัติ

ที่สงบ ย่อมเป็นสิ่งที่พูดไม่ได้ ดังที่ว่ามานี้แล ฉะนั้นพึงทราบว่า คำนี้

ท่านกล่าวด้วยสมัยแห่งภวังค์เท่านั้น.

คำว่า "จากนั้น ก็วจีสังขาร" คือ ถัดจากกายสังขารนั้นมา วจี-

สังขารก็ย่อมเกิดขึ้นในเวลาแห่งการใช้ที่สำเร็จมาจากกิริยาจิตเป็นไป ถาม

ว่า ภวังค์จะให้วิตกวิจารตั้งขึ้นไม่ได้หรือ? ตอบว่าให้ตั้งขึ้นได้, แต่วิตกและ

วิจารยังแต่ที่ประกอบด้วยภวังค์นั้น ยังแต่งวาจาไม่ได้ เพราะฉะนั้น คำ

นั้น ท่านกล่าวตามเวลาใช้ที่สำเร็จนาจากกิริยาจิตที่เป็นไปแล้วเท่านั้น.

สมาบัติเป็นต้นว่า "ผัสสะเป็นของสูญ" ก็พึงกล่าวโดยผัสสะที่มีคุณและโดย

อารมณ์. ผลสมาบัติชื่อว่าเป็นของสูญโดยผัสสะที่มีคุณก่อน เพราะท่านประ-

สงค์เอาผัสสะที่เกิดพร้อมกับสุญญตผลสมาบัตินั้นจึงกล่าวคำว่า "ผัสสะเป็น

ของสูญ" แม้ในอนิมิตตผลสมาบัติและอัปปณิหิตผลสมาบัติก็ทำนองอย่าง

เดียวกันนี้เหมือนกัน ก็โดยอารมณ์พระนิพพานที่ชื่อว่าสูญ ก็เพราะสูญ

จากราคะเป็นต้น. ชื่อว่าไม่มีเครื่องหมายเพราะไม่มีเครื่องหมายแห่งราคะ

เป็นต้น เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าไม่มีที่ตั้ง. ผัสสะในผลสมา-

บัติที่ทำพระนิพพานซึ่งเป็นของสูญให้เกิดเป็นอารมณ์ชื่อว่าเป็นของ

สูญ. แม้ในอนิมิตตผลสมาบัติและอัปปณิหิตผลสมาบัติก็ทำนองอย่างเดียวกันนี้

เหมือนกัน. ยังมีถ้อยคำที่จะต้องเพิ่มเติมอย่างอื่นอีก คือแม้วิปัสสนาท่านก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 350

เรียกว่า สุญญตา อนิมิตตา อัปปณิหิตา ในข้อเหล่านี้ภิกษุใดกำหนดสังขาร

โดยความไม่เที่ยงเห็นโดยความไม่เที่ยงแล้ว ย่อมออกโดยความไม่เที่ยง.

วิปัสสนาที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอนิมิตตาวิปัสสนา.

ภิกษุใดกำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์แล้วย่อมออก

โดยความเป็นทุกข์ วิปัสสนาที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า

อัปปณิหิตาวิปัสสนา. ภิกษุใด กำหนดสังขารโดยความเป็นของไม่ใช่ตน เห็น

โดยความเป็นของไม่ใช่ตนแล้วย่อมออกโดยความเป็นของไม่ใช่ตน วิปัสสนา

ที่พาไปถึงการออกของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า สุญญตาวิปัสสนา. มรรคใน

อนิมิตตวิปัสสนาของภิกษุนั้น ชื่ออนิมิตตมรรค. ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อ

อนิมิตตผล เมื่อถูกต้องผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติก็เรียกว่า

อนิมิตต์ ย่อมถูกต้อง แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้

เหมือนกัน. ด้วยคำที่จะต้องเพิ่มเติมที่ได้กล่าวไว้แล้ว ผัสสะก็พึงมาถึงการ

เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งว่า "สุญญตผัสสะก็ได้ อนิมิตตผัสสะก็ได้ หรือ

อัปปณิหิตผัสสะก็ได้, เพราะฉะนั้นจึงควรกล่าวสมาบัติเป็นต้นโดยผัสสะที่มีคุณ

และโดยอารมณ์. เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้คำก็จะเข้ากันได้ว่า "ผัสสะสาม

อย่างย่อมถูกต้อง". พระนิพพานชื่อวิเวกในคำเป็นต้นว่า "โน้มไปใน

วิเวก" ที่ว่าโน้มไปในวิเวกก็เพราะโน้มคือโอนไปในวิเวกนั้น. ที่ชื่อว่าชะโงกไป

ในวิเวก. ในคำว่า "ชะโงกไปในวิเวก" ก็เพราะมาจากทีอื่นแล้ว ก็ตั้งอยู่เป็น

เหมือนกับเข้าไปหาวิเวกนั้น. ที่ชื่อว่ามีวิเวกเป็นเงื้อม ก็เพราะว่าตั้งอยู่เหมือน

กับจะตกไปหาวิเวกนั้น.

บัดนี้เมื่อวิสาขะจะถามว่า "ข้าพเจ้าจะขอถามเวทนาที่ภิกษุดับได้แล้ว

จึงเข้านิโรธสมาบัติได้" จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "แม่เจ้า ก็เวทนามีเท่าไร?"

ความสุขที่เป็นไปในทวารห้าในคำเป็นต้นว่า "หรือเป็นไปในทาง

กาย" ชื่อกายิกสุข, ที่เป็นไปในมโนทวาร พึงทราบว่าชื่อเจตสิกสุข. ในเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 351

ของเวทนานั้น คำว่า "สุข" เป็นคำชี้แจงสภาพ. คำว่า "ความชื่นใจ" เป็น

คำสำหรับใช้แทนกันแสดงถึงความเอร็ดอร่อยแห่งสุขนั้นนั่นเอง. คำว่า

"ความเสวย" เป็นคำทั่วไปแก่เวทนาทุกอย่างที่แสดงความเป็นคือความ

เสวย แม้ในบทที่เหลือก็เป็นทำนองเดียวกันนี้แหละ. ในคำเป็นต้นว่า "ความ

คงอยู่เป็นสุข ความแปรปรวนเป็นทุกข์" มีความหมายว่า ความมีแห่งสุขเวทนา

ชื่อว่าสุข, ความไม่มีชื่อว่าทุกข์, ความมีแห่งทุกขเวทนาชื่อว่าทุกข์,

ความไม่มีชื่อว่าสุข, ความรู้อทุกขมสุขเวทนาชื่อว่าสุข, ความไม่รู้ชื่อว่าทุกข์.

ในคำว่า "อนุสัยอะไร ย่อมนอนเนื่อง" นี้ วิสาขะย่อมถามถึงอนุสัยว่า

อนุสัยเป็นไฉน ย่อมนอนเนื่องคือเป็นเหมือนกะว่าผู้นอนเพราะอรรถว่ายังละ

ไม่ได้. คำว่า "คุณวิสาข กามราคานุสัย ไม่ใช่จะนอนเนื่องในสุขเวทนาทั้ง

หมดดอก" ความว่า ราคานุสัยไม่ใช่นอนเนื่องในสุขเวทนาทั้งหมดราคา

นุสัยนั้นที่ยังละไม่ได้ในสุขเวทนาทุกอย่าง ก็ย่อมไม่ปรารภสุขเวทนาทุกชนิด

แล้วเกิดขึ้น. ในที่ทุกแห่ง ก็มีทำนองอย่างเดียวกันนี้. คำว่า "พึงละอะไร?"

นี้เป็นคำถามถึงการละ นางธรรมทินนา แก้คำถามสองข้อด้วยคำตอบนี้

แหละ ในบทว่า "ย่อมละราคะด้วยฌานที่หนึ่งนั้น" นี้.ภิกษุในพระธรรม-

วินัยนี้ข่มกามราคานุสัยได้แล้วย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง ทำราคานุสัยที่ฌานข่ม

ไว้แล้ว ให้เป็นอันข่มไว้แล้วอย่างนั่นแหละแล้วเจริญวิปัสสนา จึงถอนได้เด็ด

ขาดด้วยอนาคามิมรรค. ราคานุสัยนั้นแม้จะถูกละได้ด้วยอนาคามิมรรค

แล้ว ก็ยังชื่อว่าย่อมนอนเนื่องกับฌานที่หนึ่ง เพราะความที่มันถูกฌานที่หนึ่ง

นั้นข่มไว้อย่างนั้น. เพราะฉะนั้น นางธรรมทินนาจึงกล่าวว่า "ราคานุสัยย่อม

ไม่นอนเนื่องในสุขเวทนานั้น".

บทว่า ตทายตน ตัดเป็น ต อายตน ความว่า พระอรหัตตผลอันชื่อว่า

เป็นที่พึ่ง เพราะเป็นที่โล่งใจอย่างยิ่ง. คำว่า "อันยอดเยี่ยมด้วยประการฉะ

นี้" คือผู้ตั้งความปรารถนาในพระอรหัตตผลที่ได้ชื่อว่า "วิโมกข์อันยอดเยี่ยม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

ด้วยประการฉะนี้". คำว่า "โทมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะความกระหยิ่มเป็น

ปัจจัย" คือ ย่อมเกิดโทมนัส อันเป็นมูลให้ความปรารถนาตั้งขึ้น แต่โทมนัสอัน

เป็นมูลให้ความปรารถนาตั้งขึ้นนั้นจะไม่เกิดขึ้นเลย, แต่ท่านกล่าวว่า โทมนัสที่

มีความไม่ได้เป็นมูล เมื่อจะเกิดแก่ผู้ปรารถนาแล้วไม่ได้ ก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะ

ความกระหยิ่มเป็นปัจจัย. บางท่านกล่าวว่า "ถึงแม้ว่าชื่อว่าโทมนัสในความ

ปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเป็นอกุศลโดยส่วนเดียวก็จริง ถึงอย่างนั้นก็พึงเสพ

โทมนัสนี้ไว้. โทมนัส(นี้) ควร" จริงอยู่พวกโยคี (พระนักปฏิบัติ ) ย่อมรับเอา

ข้อปฏิบัติ ระยะ ๓ เดือนบ้าง ระยะ ๖ เดือนบ้าง ระยะ ๙ เดือนบ้าง. ในโยคี

เหล่านั้น ผู้ที่รับเอาข้อปฏิบัตินั้นๆ ไปแล้ว ก็สืบต่อพยายามอยู่ด้วยคิดว่า

"ภายในเวลาที่กะไว้นี่แหละเราคงจะบรรลุพระอรหัตตผล (แต่) ก็ไม่สามารถ

บรรลุตามเวลาที่กะไว้ จึงเกิดความเสียใจอย่างรุนแรงขึ้นมา สายน้ำตาหลั่ง

ไหลเหมือนของพระมหาปุสสเถระชาวบ้านระเบียง.

มีเรื่องเล่ากันมาว่า พระเถระบำเพ็ญวัตรเดินไปเดินมาตั้ง ๑๙ ปี

เมื่อท่านผูกใจว่า "คราวนี้เราจะยึดพระอรหัตตผลให้ได้" ว่า "คราวนี้เราจะ

ปวารณาชนิดวิสุทธิปวารณา" แล้วกระทำสมณธรรมอยู่นั่นแหละ ๑๙

ปีผ่านไป ครั้นมาถึงวันปวารณา ก็ไม่มีวันของผู้หลุดพ้น เพราะหยาดน้ำ

ตาของพระเถระ แต่ในปีที่ ๒๐ จึงได้บรรลุพระอรหัตตผล.

ในคำว่า "ย่อมละปฏิฆะด้วยโทมนัสนั้น" นี้มีความว่า จะเอาโทมนัส

ไปละปฏิฆะไม่ได้ จะเอาปฏิฆะนั่นเองไปละปฏิฆะก็ไม่ได้ หรือการเอา

โทมนัสไปละโทมนัส ก็ย่อมไม่ได้. แต่ภิกษุนี้ รับเอาข้อปฏิบัติอย่างใดอย่าง

หนึ่งในข้อปฏิบัติมีระยะ ๓ เดือนเป็นต้น แล้วพิจารณาอย่างนี้ว่า "ภิกษุ

ดูซิเธอมีฐานะเลวด้วยศีล ด้วยวิริยะ หรือด้วยปัญญา? ศีลของเธอหมดจดดี

แล้วมิใช่หรือ?" เธอประคองวิริยะดีแล้วมิใช่หรือ? หรือปัญญาเป็นธรรมชาติ

ที่กล้าย่อมนำไป?" เมื่อท่านพิจารณาอย่างนี้ก็เห็นว่า " บัดนี้ เราจะไม่ยอมให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 353

โทมนัสนี้เกิดขึ้นอีก จึงทำความเพียรให้หนักหน่วง ภายใน ๓ เดือน ภาย

ใน ๖ เดือน หรือไม่ก็ภายใน ๙ เดือน ก็ย่อมถอนปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรคได้

เด็ดขาด ตามแบบนี้ ชื่อว่าท่านย่อมใช้ปฏิฆะนั่นเองละปฏิฆะ (และ) ใช้โทมนัส

นั่นเองละโทมนัส. ในคำว่า "ปฏิฆานุสัย ย่อมไม่นอนเนื่องในโทมนัส

นั้น" นั้น มีความว่า ในโทมนัสแบบนั้น ปฏิฆานุสัย ย่อมไม่นอน

เนื่อง ปฏิฆานุสัยก็ไม่ปรารภโทมนัสนั้นเกิดขึ้น, ปฏิฆานุสัยเป็นอันถูกละได้

ในโทมนัสนั้น. คำว่า "ย่อมละอวิชชาได้ด้วยอรหัตตมรรคนั้น" คือ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ ข่มอวิชชานุสัยได้แล้ว ก็เข้าสู่ฌานที่สี่ ทำอวิชชานุสัยที่ถูก

ฌานข่มไว้แล้วให้เป็นอันถูกข่มไว้อย่างนั้นนั่นแหละแล้วจึงเจริญ

วิปัสสนา แล้วจึงจะถอนได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค. ถึงแม้อวิชชานุสัยนั้น

ถูกอรหัตตมรรคละได้แล้วก็ตาม ก็ยังชื่อว่านอนเนื่องด้วยฌานที่สี่เพราะ

ความที่ถูกฌานที่สี่นั้นข่มได้แล้ว เพราะเหตุนั้น นางธรรมทินนาจึงกล่าว

ว่า "อวิชชานุสัยย่อมไม่นอนเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น" ดังนี้.

บัดนี้เมื่อจะถามคำถามที่เป็นปฏิภาค, (ส่วนปรับกัน) วิสาขะจึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า "แม่เจ้า ! ก็แห่งสุขเวทนา" ในการแก้ปัญหานั้น (พึงทราบข้อ

ความดังต่อไปนี้) เพราะทุกข์เป็นข้าศึกของสุข และสุขเป็นข้าศึกของทุกข์,

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าววิสภาคปฏิภาคไว้ในเวทนาทั้งสอง ส่วนอุเบกขาเป็น

ธรรมชาติที่ถูกความมืดครอบงำ ยากที่จะชี้แจง เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวทั้ง

สภาคและปฏิภาคในที่นี้ว่า แม้อวิชชา ก็เช่นนั้นแท้. ก็แหละ บุคคลย่อมกระ

ทำความมืดคืออวิชชา ในที่มีประมาณเท่าใด ก็ย่อมบรรเทาความมืดคืออวิชชา

ในที่มีประมาณเท่านั้น ฉะนั้นจึงกล่าวทั้งวิสภาคและปฏิภาคไว้ในที่

นี้. ในคำว่า "แห่งอวิชชาและคุณ" นี้ คือและท่านกล่าวทั้งสภาคและ

ปฏิภาคว่า "ธรรมทั้งสองแม้นี้ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ" ท่านกล่าวทั้งสภาค

และปฏิภาค เพราะอรรถว่าไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าเป็นโลกุตตระและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 354

เพราะอรรถเป็นอัพยากฤตในบทนี้ว่า "คุณ แห่งวิมุตติแล" ในคำว่า "คุณ

ข้ามไป" นี้มีความว่า คุณเป็นผู้ข้ามปัญหาไป คำว่า "คุณไม่สามารถถือเอา

ที่สุดแห่งปัญหาได้" ความว่า คุณไม่สามารถถือเอาประมาณแห่งการ

กำหนดปัญหาได้ จึงถามปฏิภาคของอัปปฏิภาคธรรม พระนิพพานนี้เป็นอัป-

ปฏิภาคธรรม ที่ไม่มีใครสามารถเพื่อจะกระทำปฏิภาคพร้อมกับธรรมบาง

อย่างคือ สีเขียว สีเหลือง หรือสีแดง แล้วแสดงได้ และคุณก็ย่อมถามพระ

นิพพานนั้นด้วยความประสงค์นี้เสียด้วย ก็ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้ อุบาสกผู้จะ

ถามปฏิภาคแห่งอัปปฏิภาคธรรมนี้ จึงเป็นอันบุคคลพึงทราบว่า ย่อมเป็นผู้

เริ่มผิดในคำถามที่มีส่วนปรับแม้ทุกข้อ เหมือภิกษุที่ได้สลากภัตในเรือนที่

เจ็ด แล้วเดินเลยไปตั้งเจ็ดหลังคาเรือนมายืนที่ประตูเรือนที่แปด เริ่มผิดไปตั้ง

เจ็ดหลังคาเรือน ไม่รู้ (อะไรเลย) ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. คำว่า "หยั่งลง

สู่พระนิพพาน" คือเข้าไปภายในพระนิพพาน คือเข้าไปตามพระ

นิพพาน. คำว่า "มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า" คือพระนิพพานเป็นที่มาข้าง

หน้า คือเป็นที่ไปข้างหน้าของเขา อธิบายว่า เขาไม่ไปที่อื่นจากพระนิพพาน

นั้น. ชื่อว่า มีพระนิพพานเป็นที่สุด เพราะพระนิพพานเป็นที่สุดของเขา.

ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความเป็นบัณฑิต ชื่อที่ "บัณฑิต" หมายความว่า ผู้ฉลาด

ในธาตุฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในฐานะและอฐานะ

คำว่า "ผู้มีปัญญายิ่งใหญ่" ได้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาที่สามารถกำ-

หนดถือเอาอรรถอันยิ่งใหญ่ ธรรมอันยิ่งใหญ่ นิรุตติอันยิ่งใหญ่ ปฏิภาณอัน

ยิ่งใหญ่. คำว่า "อย่างที่ธรรมทินนานั้น" คือ แม้ฉันเองก็จะพึงพยากรณ์อย่าง

ที่ภิกษุณีธรรมทินนาพยากรณ์แล้วเหมือนกันนั่นเอง.

ก็แล เพราะพระดำรัสเพียงเท่านี้ พระสูตรนี้ก็กลายเป็นภาษิตของ

พระชินเจ้าไป. ไม่ใช่ภาษิตของสาวกเหมือนอย่างว่า หนังสือที่ราชเลขานุการ

เขียนแล้ว ยังไม่จัดเป็นพระราชสาส์น ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ประทับพระราช

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 355

ลัญชกร พอประทับพระราชลัญชกรของในหลวงแล้ว หนังสือย่อมชื่อว่าเป็น

พระราชสาส์น ฉันใด, พระสูตรนี้ได้กลายเป็นภาษิตของพระชินเจ้า ด้วย

การจรดแล้วตรัส เพราะความที่พระความคือพระดำรัสของพระชินเจ้าดวงนี้

ได้ประทับแล้วว่า "ฉันเองก็จะพึงพยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ฉะนั้น

เหมือนกัน. คำที่เหลือทุกแห่ง ตื้นแล้วแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจุลลเวทัลลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 356

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

[๕๑๔] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว อย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเขตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกะ ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น รับสนองพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระพุทธเจ้าข้า".

[๕๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสคำนี้ว่า. -

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทาน มี ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่าง อะไรบ้าง

คือ.-

๑. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมานานที่เป็นสุข

ในปัจจุบัน (แต่) แต่ไปให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี.

๒. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน

เป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ ก็มี

๓. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน

เป็นทุกข์ (แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข ก็มี.

๔. ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ปัจจุบัน

ก็เป็นสุข และต่อไปก็ให้ผลเป็นสุขก็มี.

[๕๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่เป็นสุขในปัจจุบัน (แต่)

ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 357

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็น

อย่างนี้ว่า "โทษในกามทั้งหลาย หามีอยู่ไม่" พวกเขาจึงพากันถึงความเป็นผู้

ดื่มด่ำในกามทั้งหลาย. พวกเขาแลย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่ขมวดมวยผม

บำรุงบำเรอ (ตน), พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า " อะไรกันนะ ที่พวกสมณ-

พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคต ในกามทั้งหลายอยู่ มาพา

กันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย" แล้วก็ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้ง

หลายไว้ สัมผัสแขนที่มีขนนุ่มของปริพพาชิการุ่นๆ นี้ ช่างเป็นสุขเสียนี่กระ

ไร พวกเขาย่อมถึงความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย เมื่อพวกเขาถึงความดื่มด่ำ

ในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ แข็งกล้า เผ็ด

ร้อนในที่นั้น, พวกเขาจึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า "นี้แล ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้

เจริญ เหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่ พากันกล่าวถึงการ

ละกามทั้งหลายแล้ว ย่อมบัญญัติการกำหนดรู้กามทั้งหลายไว้. ก็พวกเรา

เหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์แข็งกล้า เผ็ดร้อนก็เพราะกามเป็น

เหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.

ภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ผลสุกของย่างทราย (ย่านไทร)

พึงแตกในเดือนท้ายฤดูร้อน. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พืชย่างทราย

นั้น ก็จะพึงตกไปที่โคนสาละ (รังแบบอินเดีย) ต้นใดต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแล

ภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็เกิดกลัว ตกใจ พึงถึงความ

สะดุ้ง. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ของเทวดาผู้สิงอยู่ที่

ต้นสาละนั้น พวกเทวดาที่สิงอยูในสวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้น

ไม้ เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อมีผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้

ใหญ่ๆ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วก็ปลอบโยนย่างนี้ว่า "ผู้เจริญ อย่ากลัว

ไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ. อย่างไรเสีย พืชย่างทรายนี้ นกยูงก็จะพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 358

กลืน, เนื้อก็จะพึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานในป่า ก็จะพึง

ถอน, พวกปลวกก็จะพึงขึ้น, หรือก็จะพึงเป็นพืชที่ไม่งอกอีกแล้ว. ภิกษุทั้ง

หลาย ครั้งนั้นแล นกยูงก็ไม่กลืนพืชย่างทรายนั้นเลย เนื้อก็ไม่เคี้ยวกิน

ไฟป่าก็ไม่ไหม้ พวกคนงานในป่าก็ไม่ถอน พวกปลวกก็ไม่ขึ้น, และพืชก็ยัง

จะงอกได้. พืชนั้นถูกฝนที่เมฆหลั่งลงรด ก็งอกได้งอกดี เถาย่างทรายนั้นก็

เป็นต้นอ่อนๆ มีขนอ่อนนุ่ม เลื้อยทอดยอดไปเรื่อย แล้วมันก็เข้าไปเกาะต้น

สาละนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนี้แล เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็พึงมีความ

คิดอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตาม

สวน เทวดาที่อยู่ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อ

ผลแก่) ที่ต้นหญ้าและที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตใน

พืชย่างทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกัน แล้วก็ปลอบโยนอย่างนี้ว่า "ผู้

เจริญ! อย่ากลัวไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย พืชย่างทราย

นี้ นกยูงก็จะพึงกลืน, เนื้อก็พึงเคี้ยวกิน, ไฟป่าก็จะพึงไหม้, พวกคนงานใน

ป่าก็จะพึงถอน พวกปลวกก็จะพึงขึ้น หรือก็มันจะต้องหมดสภาพเป็น

พืช. สัมผัสของเถาย่างทราย ที่อ่อนๆ มีขนนุ่มๆ เลื้อยทอดยอดไปเรื่อยนี้

ช่างเป็นสุขเสียนี่กระไร. เถาย่างทรายนั้น ก็ล้อมรัดต้นสาละนั้น. เมื่อมันล้อม

รัดต้นสาละนั้น สูงจนถึงค่าคบแล้ว ก็ทำให้เกิดความทึบลง ซึ่งจะพึงทำลาย

ลำต้นใหญ่ๆ ของต้นสาละนั้นได้.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสาละนั้น ก็จะพึงมีความ

คิดอย่างนี้ว่า นี้เองที่พวกเพื่อฝูง ญาติพี่น้อง เทวดาที่อยู่ตามสวน เทวดาที่อยู่

ในป่า เทวดาที่อยู่ตามต้นไม้ เทวดาที่อยู่ต้นไม้ (ที่ตายเมื่อลูกแก่) ที่ต้น

หญ้า และที่ต้นไม้ใหญ่ๆ ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในพืชย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 359

ทรายอยู่ ต่างก็มาประชุมพร้อมกันแล้วปลอบโยนอย่างนี้ว่า " ผู้เจริญ

อย่ากลัวไปเลย อย่ากลัวไปเลย ผู้เจริญ, อย่างไรเสีย นกยูงก็จะพึงกลืนกิน

พืชย่างทรายนี้ ฯลฯ หรือมันก็จะต้องหมดสภาพเป็นพืช. เรานั้น ย่อมเสวย

เวทนาที่เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ก็เพราะพืชย่างทรายเป็นเหตุ โดย

แท้ แม้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่าง

นี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า โทษในกามทั้งหลายหามีอยู่ไม่ พวกเขาจึงพากันถึง

ความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย พวกเขาแล ย่อมใช้ให้พวกปริพพาชิกาที่

เกล้ามวยผมบำรุงบำเรอ (ตน) พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า "อะไรกันนะ ที่พวก

สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลายอยู่

มาพากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลายแล้ว ก็บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้ง

หลายไว้. สัมผัสแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพพาชิการุ่น ๆ นี้ ช่างเป็นสุขเสีย

นี่กระไร แล้วพวกเขาก็ย่อมถึงความดื่มด่ำในกามทั้งหลาย. เมื่อพวกเขาถึง

ความดื่มด่ำในกามทั้งหลายแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็ย่อมเข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. พวกเขาย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ กล้า

แข็ง เผ็ดร้อนในที่นั้น. พวกเขาจึงพากันกล่าวในที่นั้นอย่างนี้ว่า "นี้เอง

ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น มองเห็นภัยในอนาคตในกามทั้งหลาย

อยู่ พากันกล่าวถึงการละกามทั้งหลาย แล้วย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม

ทั้งหลายไว้. ก็พวกเราเหล่านี้ ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นทุกข์ แข็งกล้า เผ็ด

ร้อน ก็เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเค้ามูล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การยึดมั่นสิ่งที่เป็นสุขในปัจจุบัน

(แต่) ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 360

[๕๑๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และ

ต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน คือ:-

ภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ มีชีเปลือยบางคน ปล่อยมรรยาททิ้งเสีย

แล้ว ใช้มือเช็ดอุจจาระไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญมา, ไม่รับ

อาหารที่เขาร้องเชิญว่า "ผู้เจริญจงหยุดก่อน ไม่ยินดีอาหารที่เขานำมา

จำเพาะ ไม่ยินดีอาหารที่เขาเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขานิมนต์, ไม่รับอาหาร

จากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู

ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารของสอง

คนที่กำลังกินอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่

กำลังให้ลูกดื่มนมอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงที่อยู่ระหว่างชาย ไม่รับอาหารของสอง

อาหารที่คนชักชวนร่วมกันทำ ไม่รับอาหารในที่ที่สุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับ

อาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับ

สุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำดองด้วยแกลบ รับเรือนเดียว ก็กินคำเดียวบ้าง

รับสองเรือน ก็กินสองคำบ้าง ฯลฯ รับเจ็ดเรือน ก็กินเจ็ดคำบ้าง, เลี้ยงร่าง

กายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารใน

ภาชนะน้อยๆ สองภาชนะบ้าง ฯลฯ เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะ

น้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง, กินอาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บ

ไว้สองวันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง, ประกอบความเพียรใน

ภัตรและโภชนะในแบบอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือน ด้วยอาการอย่างนี้. กินผัก

บ้าง กินหญ้ากับแกบ้าง กินลูกเดือยบ้าง กินเปลือกไม้บ้าง กินสาหร่าย

บ้าง กินรำข้าวบ้าง กินข้าวตังบ้าง กินข้าวสารหักบ้าง กินหญ้าบ้าง กิน

ขี้วัวบ้าง, กินรากไม้และผลไม้ในป่าบ้าง กินผลไม้ที่หล่นเองบ้าง นุ่งห่มผ้าป่าน

บ้าง นุ่งห่มผ้าที่เจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้ที่ซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 361

ดานกรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากำพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากำพลทำด้วยขนหางสัตว์

บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง ตัดผมและหนวด ตามประกอบความเพียรในการ

ตัดผมและหนวด ยืนกระหย่งห้ามเสียซึ่งการนั่ง, เดินกระหย่ง ตามประกอบ

ความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง, ประกอบความเพียรในการยืน การ

เดินบนหนาม สำเร็จการนอนบนที่นอนที่เอาหนามมาทำ ตามประกอบความ

เพียรในการลงน้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง เป็นผู้ตามประกอบความเพียร

ในการทำกายให้เหือดแห้งเร่าร้อนด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ด้วยอาการอย่าง

นี้. เขาเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นธรรมที่ปัจจุบันก็เป็น

ทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์

[๕๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่)

แต่ไปให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ:-

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติ เป็นผู้มีราคะค่อน

ข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ, โดยปกติ เป็นผู้มี

โทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโทสะเนืองๆ, โดยปกติ

เป็นผู้มีโมหะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนือง ๆ,

เขาถูกกระทบพร้อมทั้งทุกข์บ้าง พร้อมทั้งโทมนัสบ้าง ถึงจะร้องไห้มีน้ำ

ตานองหน้าอยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้. เบื้องหน้า

แต่ตายเพราะกายแตก เขาก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

"ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็น

ทุกข์(แต่) ต่อไปให้ผลเป็นสุข''

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 362

[๕๑๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุขและ

ต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติก็ไม่ใช่เป็นคนมีราคะ

ค่อนข้างจะรุนแรง เขาก็ไม่ใช่เสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ,

โดยปกติ ก็ไม่ใช่เป็นคนมีโทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่

เกิดจากโทสะเนืองๆ, ก็หามิได้. โดยปกติไม่ใช่เป็นคนมีโมหะค่อนข้างจะรุน

แรง. เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนืองๆ ก็หามิได้. เขาสงัดจากกาม

ทั้งหลายได้จริงๆ สงัดจากเรื่องอกุศลทั้งหลายได้แล้ว ก็เข้าถึงฌานที่

หนึ่ง ซึ่งยังมีตรึก ยังมีตรอง มีความเอิบอิ่มใจและความสบายที่เกิดจากความ

สงัดแล้วแลอยู่. เพราะเข้าไประงับความตรึก และความตรองได้ ก็เข้าถึงฌาน

ที่สองซึ่งไม่มีความแจ่มใสในภายใจโดดเด่น ไม่มีความตรึก ไม่มีความ

ตรอง มีความอิ่มเอิบใจและความสบายที่เกิดจากใจตั้งมั่นแล้วแลอยู่.......

เข้าถึงฌานที่สาม......เข้าถึงฌานที่สี่แล้วแลอยู่. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย

แตกไปเขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุข

และยังมีสุขเป็นผลต่อไป.

ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั่งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมบรรยายนี้จบแล้ว. ภิกษุเหล่า

นั้น มีความยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่ง ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบ จูฬธัมมสมาทานสูตร ที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 363

อรรถกถาจูฬธัมมสมาทานาสูตร

จูฬธัมมสมาทานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "สมาทานธรรม" ได้แก่การถือที่ท่านถือ

เอาด้วยบทว่า ธรรมดังนี้.

บทว่า "ความสุขที่เกิดในปัจจุบัน" ได้แก่ "ความสุขในปัจจุบัน".

ความสุขในการประมวลมาทำได้ง่าย คือ อาจให้เต็มได้โดยง่าย.

บทว่า "ผลที่เป็นทุกข์ข้างหน้า" ได้แก่ ผลที่เป็นทุกข์ ในกาลให้ผล

ในอนาคต". พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงโดยอุบายนี้.

บทว่า "ไม่มีโทษในกามทั้งหลาย" ความว่า "ไม่มีโทษในวัตถุกาม

บ้าง กิเลสกามบ้าง".

บทว่า "ถึงความเป็นเป็นผู้ดื่มด่ำ" ความว่า สมณพราหมณ์เหล่า

นั้น ถึงความดื่มด่ำ คือความเป็นสิ่งที่ตนพึงดื่ม ได้แก่ ความเป็นสิ่งที่ตนพึง

บริโภคตามชอบใจ ด้วยกิเลสกามในวัตถุกาม.

บทว่า "ผูกให้เป็นจุก" ได้แก่ "พวกดาบสและปริพาชกผู้เกล้าผมทำ

ให้เป็นจุก.

บทว่า "กล่าวอย่างนี้" คือ "ย่อมกล่าวอย่างนี้."

บทว่า "ย่อมบัญญัติการกำหนดรู้" ได้แก่ ย่อมบัญญัติการละคือ

การก้าวล่วง."

บทว่า "ฝักเถายางทราย" ได้แก่ "ฝักเถาที่สุกแล้ว จะมี

สัณฐานยาว."

บทว่า "พึงแตก" ความว่า แห้งด้วยแดดแล้วแตก."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 364

บทว่า "โคนต้นรัง" ได้แก่ ใกล้ต้นรัง.

บทว่า "พึงถึงความสะดุ้ง" ความว่า "ย่อมถึง (ความสะดุ้ง) เพราะ

เหตุไร? เพราะกลัวความพินาศไปแห่งที่อยู่ เพราะว่า เถาย่างทรายที่ตกไปที่

ต้นไม้ เกิดขึ้นแล้วจากพืช ย่อมเลื้อยขึ้นต้นไม้. เถายางทรายนั้น มีใบใหญ่

และหนา ประกอบด้วยใบเช่นกับใบทองหลาง ลำดับนั้นถาย่างทราย เมื่อกำ

จัดต้นไม้นั้น ตั้งแต่โคนไปทะลุค่าคบทั้งปวง ให้เกิดน้ำหนักอย่างมากตั้งอยู่เถา

ย่างทรายนั้น เมื่อลมพัดมา หรือเมื่อฝนตก สร้างความทึบ หักกิ่งน้อยใหญ่ทั้ง

ปวงของต้นไม้นั้นให้ตกไปบนพื้นดิน แต่นั้น เมื่อต้นไม้นั้นล้มไป วิมานย่อม

แตกพินาศไป เทวดานั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง เพราะกลัวความพินาศไปแห่ง

วิมาน ด้วยประการฉะนี้. "

บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในสวน" ความว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ตามสวน

ดอกไม้และสวนผลไม้นั้น ๆ."

บทว่า "เทวดาผู้สิงอยู่ในป่า" ได้แก่เทวดาผู้สิงอยู่ในป่าอันธวันและ

สุภควันเป็นต้น.

บทว่า "รุกขเทวดา" ได้แก่ เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นสะเดาเป็นต้น ที่หวง

แหนไว้."

บทว่า "ต้นสมุนไพร หญ้าและไม้เจ้าป่าเป็นต้น" ความว่า เทวดาได้

สิง แล้วที่ต้นสมุนไพรมีต้นสมอและมะขามป้อมเป็นต้น ที่ต้นหญ้ามีตาลและ

มะพร้าวเป็นต้น และไม้เจ้าป่าอันเป็นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในป่า.

บทว่า "คนทำงานในป่า" ความว่า "พวกมนุษย์ที่เที่ยวทำงานอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง บรรดาคนงานมีการไถ เกี่ยว ขนไม้และเฝ้าโคเป็นต้นในป่า. "

บทว่า "พึงลุกขึ้น" ได้แก่ "พึงเคี้ยวกิน."

บทว่า "เป็นระย้า" ได้แก่ "ห้อยย้อย ดุจล้อเล่นในที่ที่ถูกลมพัด."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 365

บทว่า "เถายางทรายนี้มีสัมผัสเป็นสุข" ความว่า เถาย่างทราย

อย่างนี้ แม้ถูกต้องก็เป็นสุข ถึงมองดูก็ให้เกิดความสุข ย่อมให้เกิดความพอ

ใจ แม้ในเพราะการดูและการถูกต้องเถาว่า พวกเด็กๆ ของเราจักมีโรง

ดื่ม จักมีที่เล่น เราได้วิมานที่สองแล้ว" พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วอย่างนี้.

บทว่า "ทำให้เป็นคบ" ความว่า "พึงตั้งอยู่ด้วยอาการคล้ายฉัตร

ข้างบนกิ่งทั้งหลาย."

บทว่า "สร้างความทึบ" ความว่า "ให้เกิดความทึบข้างล่าง." เถา

ย่างทรายนั้น เมื่อเลื้อยขึ้นข้างบน ก็ม้วนต้นไม้ทั้งสิ้นไว้ข้างล่างอีก.

บทว่า "ทำลาย" ความว่า "เพราะทำให้ทึบอย่างนี้ แต่นั้น เถาย่าง

ทรายนี้ก็จะเลื้อยไต่ขึ้นไปตั้งแต่โคนตามกิ่งที่งอกขึ้นไปแล้ว ม้วนกิ่งทุกกิ่ง

ไว้ ครั้นถึงยอดแล้ว ก็จะห้อยลงโดยทำนองนั้นนั่นแหละอีก และเลื้อยขึ้น

ไปรวบต้นไม้ทั้งหมดไว้ให้กิ่งทั้งหมดอยู่ข้างล่าง ตนเองอยู่ข้างบน ครั้น

เมื่อลมพัด หรือฝนตก ก็จะทำลายกระจัดกระจายไป วิมานนั้นพึงตั้งอยู่เพียง

เข่าเท่านั้น ที่โคนต้นไม้นั้น ย่อมมีวิมานซึ่งอยู่บนกิ่งไม้ ครั้นเมื่อกิ่งหักอยู่ได้

ทำลายที่กิ่งนั้นๆ เมื่อทุกกิ่งหักหมด วิมานทั้งปวงก็ย่อมพังพินาศ ก็วิมานที่

ตั้งอยู่บนต้นไม้ ก็จะตั้งอยู่เพียงโคนต้นไม้ ตราบเท่าที่ยังไม่พินาศนี้เป็นวิมาน

ที่อยู่บนกิ่งไม้. เพราะฉะนั้น เมื่อทุกกิ่งหักหมดแล้ว เทวดาได้อุ้มลูกน้อยยืน

ที่ตอไม้แล้วเริ่มคร่ำครวญ.

บทว่า "ผู้มีชาติราคะกล้า" ได้แก่ "ผู้มีราคะหนาเป็นสภาวะ."

บทว่า "เสวยทุกข์และโทมนัสที่เกิดจากราคะ" ความว่า "เพราะ

ความเป็นผู้มีชาติราคะกล้า ย่อมถือเอานิมิตรในอารมณ์ที่เห็นแล้วๆ."

ครั้งนั้น พวกอาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ สั่งลงทัณฑกรรม ภิกษุ

นั้น เมื่อทำทัณฑกรรมอยู่เนืองๆ ย่อมเสวยทุกขโสมนัส จึงไม่ทำการก้าวล่วง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 366

อีกนั่นเทียว. สำหรับผู้มีชาติโทสะกล้าย่อมกำเริบ ก็ด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่า

นั้น และเขาเมื่อจับมือเป็นต้น คุยกับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย ก็ย่อม

เสวยทุกขโสมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.

ส่วนบุคคลผู้มีชาติโมหะ ไม่กำหนดกิจที่ทำแล้ว โดยที่ทำแล้ว หรือกิจ

ที่ยังไม่ได้ทำโดยกิจที่ยังไม่ได้ทำ ในศาสนานี้ ย่อมให้หน้าที่คลาด

เคลื่อน ถึงเขาก็ย่อมเสวยทุกขโทมนัส เพราะทัณฑกรรมเป็นปัจจัย.

คำว่า "ผู้มีชาติราคะไม่กล้าเป็นต้น" พึงทราบตามนัยตรงกันข้ามกับ

ที่กล่าวแล้ว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในโลกนี้ บางคนจึงเป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อน

ข้างกล้า บางคนจึงไม่ใช่เป็นผู้มีราคะเป็นต้นค่อนข้างกล้า? ตอบว่า เพราะ

ว่า ในขณะสั่งสมกรรม ตามกฏของกรรม ความโลภของผู้ใดมีกำลัง ความ

ไม่โลภอ่อนกำลัง ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมีกำลัง ความประ

ทุษร้ายและความหลงอ่อนกำลัง ความไม่โลภของผู้นั้นอ่อนกำลัง ไม่

สามารถจะครอบงำความโลภได้. ส่วนความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลงมี

กำลัง สามารถครอบงำความประทุษร้ายและความหลงได้. เพราะฉะนั้น เขา

เกิดแล้วด้วยอำนาจปฏิสนธิที่กรรมนั้นให้ผลแล้วย่อมเป็นคนโลภ มีปกติเป็น

สุข ไม่โกรธ มีปัญญา มีความรู้เปรียบด้วยเพชร ก็ในขณะสั่งสมกรรมความ

โลภและความประทุษร้ายของผู้ใดมีกำลัง ความไม่โลภและความไม่ประทุษ

ร้ายอ่อนกำลัง ความไม่หลงมีกำลัง ความหลงอ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคน

โลภ และเป็นผู้ประทุษร้าย ตามนัยก่อนนั่นแหละ เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ดุจ

เพชร ดุจพระทันตาภยเถระ. ส่วนขณะสั่งสมกรรม ความโลภความหลงของ

ผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคนโลภ และโง่เขลาตามนัยก่อนนั่น

เอง เป็นผู้มีปกติเป็นสุข ไม่โกรธ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 367

ก็อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความโลภ ความโกรธและความหลง

ทั้ง ๓ ของผู้ใดมีกำลัง ความไม่โลภเป็นต้นอ่อนกำลัง เขาย่อมไม่โลภ ไม่ประ

ทุษร้าย และไม่หลงตามนัยก่อนนั่นเทียว แต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่

โลภ ความไม่ประทุษร้ายและความไม่หลง ของผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำ

ลัง เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสน้อย ครั้นเห็นอารมณ์อย่างทิพย์ ก็ไม่หวั่นไหวตาม

นัยก่อนนั่นแหละ แต่เป็นผู้ประทุษร้าย และมีปัญญาโง่เขลา. ในขณะสั่งสม

กรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษร้าย และไม่หลงของผู้ใดมีกำลังนอกนี้อ่อนกำ

ลัง เขาย่อมเป็นคนไม่โลภ มีปกติเป็นสุข ไม่โกรธ แต่เป็นคนโง่เขลา ตามนัย

ก่อนนั่นเทียว. อย่างนั้น ในขณะสั่งสมกรรม ความไม่โลภ ไม่ประทุษ

ร้าย และไม่หลงของผู้ใดมีกำลัง นอกนี้อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นคนไม่

โลภ มีปัญญา แต่เป็นผู้ประทุษร้าย และมักโกรธ ตามนัยก่อนนั่นแหละ.

แต่ว่า ในขณะสั่งสมกรรม กิเลสทั้ง ๓ มีความไม่โลภ เป็นต้นของผู้ใดมีกำ

ลัง ความโลภเป็นต้น อ่อนกำลัง เขาย่อมเป็นผู้ไม่โลภ ไม่ประทุษร้าย และมี

ปัญญา ดุจพระมหาสังฆรักขิตเถระ เนื้อความในทุกบทแห่งบททั้งปวงตื้นนั่น

เทียวแล.

จบอรรถกถาจูฬธัมมสมาทานสูตรที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 368

๖. มหาธรรมสมาทานสูตร

[๕๒๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

"สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระเชตวันอารามของ

อนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถุ ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย"

"พระพุทธเจ้าข้า" ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดำรัสของพระผู้มี

พระภาคเจ้า.

[๕๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า:-

"ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ส่วนมาก มีความใคร่อย่างนี้ มีความพอใจอย่าง

นี้ มีความประสงค์อย่างนี้ว่า "ไฉนหนอ ขอให้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า

ใคร่ ไม่น่าพอใจ พึงเสื่อมไป, ขอให้สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

พึงเจริญแทนที่เถิด" แต่ทั้งๆ ที่สัตว์เหล่านั้น มีความใคร่อย่างนั้น มีความพอ

ใจอย่างนั้น มีความประสงค์อย่างนั้น, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่

น่าพอใจ ก็ยังเจริญขึ้นมาจนได้, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กลับ

เสื่อมไป. ในข้อนั้นพวกเธอเข้าใจว่าเพราะเหตุไร"

ภิ. "พระพุทธเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่

พึงอาศัย, พระพุทธเจ้าข้า ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแต่กับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด, เมื่อพวกภิกษุได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว จะทรงจำไว้"

พ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดี ๆ

เราตถาคตจะว่าให้ฟัง"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 369

ภิ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า " ภิกษุเหล่านั้นสนองพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า :-

"ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้รับการศึกษา ไม่เห็นพวกพระอริย

เจ้า ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในคุณธรรม

ของพระอริยเจ้า. ไม่เห็นพวกคนดี ไม่ฉลาดต่อคุณธรรมของคนดี ไม่ได้รับ

การแนะนำในคุณธรรมของคนดี, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรเสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควร

เสพ, ไม่รู้จักสิ่งที่ควรคบ, ไม่รู้จักสิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขาไม่รู้จักสิ่งที่ควร

เสพ,...ไม่ควรเสพ,..ควรคบ,...ไม่ควรคบ, ก็เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่เสพสิ่ง

ที่ควรเสพ; คบสิ่งที่ไม่ควรคบ. ไม่คบสิ่งที่ควรคบ, เมื่อเขาเสพสิ่งที่ไม่ควร

เสพ ไม่เสพสิ่งที่ควรเสพ, คบสิ่งที่ไม่ควรคบ ไม่คบสิ่งที่ควรคบเข้า, สิ่งที่ไม่

น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญยิ่งขึ้น, สิ่งที่น่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมหายไป. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

เหตุ เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวก ผู้ได้รับการศึกษา ได้เห็นพวกพระ

อริยเจ้ามา ฉลาดต่อคุณธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในคุณธรรม

ของพระอริยเจ้าเป็นอย่างดีมาแล้ว, ได้เห็นพวกคนดีมา ฉลาดต่อคุณธรรม

ของคนดี ได้รับการแนะนำในคุณธรรมของคนดีเป็นอย่างดีมาแล้ว, ย่อมรู้จัก

สิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ. เมื่อเขารู้จัก

สิ่งที่ควรเสพ...สิ่งที่ไม่ควรเสพ...สิ่งที่ควรคบ...สิ่งที่ไม่ควรคบ; ก็ไม่เสพสิ่งที่

ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควรคบ คบแต่กับสิ่งที่ควร

คบ. เมื่อเขาไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรเสพ เสพแต่สิ่งที่ควรเสพ; ไม่คบสิ่งที่ไม่ควร

คบ คบแต่สิ่งที่ควรคบ, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 370

เสื่อมหายไป; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็ย่อมเจริญขึ้นมา ข้อ

นั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"

[๕๒๓] "ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มี ๔ อย่าง.

๔ อย่างอะไรบ้าง คือ:-

๑. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ให้ผล

เป็นทุกข์อีก ก็มี,

๒. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็น

ทุกข์ ก็มี,

๓. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปมีผลเป็น

สุข ก็มี,

๔. ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ให้ผล

เป็นสุขอีก ก็มี.

[๕๒๔] "ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือ

มั่นสิ่งที่ผู้ไม่รู้ อยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า ''การ

ถือมั่นสิ่งแบบนี้แล ที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็เป็นทุกข์อีก" นี้เป็นการ

ถือมันสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์ และต่อไปก็ยังเป็นทุกข์อีก เมื่อไม่รู้

มัน อยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่งดเว้น

มัน เมื่อเขาเสพมันไม่งดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่

น่าพอ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป

ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่

รู้ ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล เป็นการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 371

ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์" นี้เป็นการถือมั่นสิ่ง

ชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอำนาจ

ความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่งดเว้นมัน. เมื่อเขา

เสพมันไม่งดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญ

ขึ้นมา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป. ข้อนั้น เพราะเหตุ

ไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่

รู้ ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แลเป็นการถือ

มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้เป็นการถือมั่นสิ่ง

ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อไม่รู้มัน ตกอยู่ในอำนาจ

ความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมัน. เมื่อเขา

เสพมัน ไม่ยอมงดเว้นมันอยู่. สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอ

ใจ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เสื่อมลง

ไป. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่เป็นจริง

เช่นนั้น.

"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้ไม่

รู้ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือ

มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก." นี้คือการถือ

มั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก. เมื่อไม่รู้

มัน ตกอยู่ในอำนาจความโง่ ไม่เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เสพมันไม่ยอมงด

เว้นมัน. เมื่อเขาเสพมันไม่ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่า

ใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมา; สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็พลอย

เสื่อมลงไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขาไม่รู้ตามที่

เป็นจริงเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 372

[๕๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่น

สิ่งที่ผู้รู้ อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือ

การ ถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์

อีก" นี้คือการถือมั่นสิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นทุกข์และต่อไปก็มีผลเป็นทุกข์

อีก. เมื่อรู้มัน อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิก

เสพมัน ย้อมงดเว้นมัน, เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่

น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป. สิ่งที่น่าปรารถนา น่า

ใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมาแทนที่. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุทั้ง

หลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้

อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่นสิ่ง

ชนิดที่ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์ นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่

ปัจจุบันเป็นสุข แต่ต่อไปให้ผลเป็นทุกข์. เมื่อรู้มันอยู่ในอำนาจความรู้...

ฯลฯ เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น"

"ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้

รู้ อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่น

สิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข" นี้คือการถือมั่นสิ่ง ชนิดที่

ปัจจุบันเป็นทุกข์แต่ต่อไปให้ผลเป็นสุข. เมื่อรู้มันอยู่ในอำนาจความรู้...ฯลฯ

เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริงเช่นนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ในจำพวกการถือมั่นสิ่งเหล่านั้น การถือมั่นสิ่งที่ผู้รู้

อยู่ในอำนาจความรู้ เข้าใจชัดเจนได้ตามที่เป็นจริงว่า "นี้แล คือการถือมั่น

สิ่ง ชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นสุขอีก" นี้คือการถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 373

สิ่งชนิดที่ปัจจุบันก็เป็นสุข และต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เมื่อรู้มันอยู่ใน

อำนาจความรู้เข้าใจได้ชัดเจนตามที่เป็นจริง ก็เลิกเสพมัน ผอมงดเว้นมัน.

เมื่อเขาเลิกเสพมัน ยอมงดเว้นมันอยู่, สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่

น่าพอใจ ก็เสื่อมลงไป, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็เจริญขึ้นมา

แทนที่ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่เขารู้ตามที่เป็นจริง

เช่นนั้น.

[๕๒๖] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งใน

ปัจจุบัน และต่อไปก็ยังให้ผลเป็นทุกข์อีก เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,

และเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๒. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ

โทมนัสบ้าง, และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๓. เป็นผู้ชอบประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อม

กับโทมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวย

ทุกข์โทมนัส.

๔. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,

และเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๕. เป็นผู้พูดส่อเสียด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง.

และเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง

และเพราะการ คำหยาบเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 374

๗. เป็นผู้พูดสำรากเพ้อเจ้อ พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส

บ้าง, และเพราะการพูดสำรากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๘. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ

โทมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส

บ้าง และเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ

โทมนัสบ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติ

วินิบาต นรก. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่ในปัจจุบันก็เป็น

ทุกข์ และต่อไปก็ยังมีผลเป็นทุกข์อีก.

[๕๒๗ ] "ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง การถือมั่นสิ่งที่มีสุขในปัจจุบันแต่ต่อ

ไปมีผลเป็นทุกข์ เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย คือบุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้ชอบฆ่าสัตว์ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ

เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๒. เป็นผู้ชอบลักทรัพย์พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,

และเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๓. เป็นผู้ชอบพระพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับสุขบ้าง พร้อม

กับโสมนัสบ้าง, และเพราะความประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวย

สุขโสมนัส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 375

๔. เป็นผู้ชอบพูดเท็จ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ

เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๕. เป็นพูดส่อเสียด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง, และ

เพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๖. เป็นผู้พูดคำหยาบ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง และ

เพราะการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๗. เป็นผู้ชอบพูดคำสำรากเพ้อเจ้อ พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส

บ้าง, และเพราะการพูดสำรากเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๘. เป็นผู้มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับ

โสมนัสบ้าง, และเพราะความเพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๙. เป็นผู้มีจิตพยาบาท พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัสบ้าง,

และเพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นผิด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส

บ้าง, และเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

(แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบายทุคติ

วินิบาต นรก.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการยึดถือสิ่งที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อ

ไปมีผลเป็นทุกข์.

[๕๒๘] "ภิกษุทั้งหลาย ก็แลการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มี

สุขเป็นวิบากต่อไป เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 376

๑. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับ

โทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์

โทมนัส.

๒. เป็นผู้เว้นจากการลักทรัพย์ได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อม

กับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย เขาย่อม

เสวยทุกข์โทมนัส.

๓. เป็นผู้เว้นจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย พร้อมกับทุกข์

บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากความประพฤติผิดในกาม

เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๔. เป็นผู้เว้นจากการพูดเท็จได้เด็ดขาด พร้อมกับ ทุกข์บ้าง พร้อมกับ

โทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์

โทมนัส.

๕. เป็นผู้เว้นจากการพูดส่อเสียดได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง

พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็น

ปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๖. เป็นผู้เว้นจากการพูดคำหยาบได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์บ้าง

พร้อมกับโทมนัสบ้าง และเพราะการเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย

เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๗. เป็นผู้เว้นจากการพูดคำสำรากเพ้อเจ้อได้เด็ดขาด พร้อมกับทุกข์

บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการพูดคำสำรากเพ้อเจ้อ

เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 377

๘. เป็นผู้ไม่มากด้วยความเพ่งเล็ง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส

บ้าง, และเพราะความไม่เพ่งเล็งเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๙. เป็นผู้ไม่มีจิตคิดพยาบาท พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง,

และเพราะความไม่พยาบาทเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส

บ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยทุกข์โทมนัส.

(แต่) เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

"ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อ

ไปมีสุขเป็นผล.

[๕๒๙] "อนึ่ง, ภิกษุทั้งหลาย การถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและ

ต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก เป็นไฉน

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ :-

๑. เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ได้เด็ดขาด พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับ

โสมนัสบ้าง, และเพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุข

โสมนัส ..ฯลฯ...

๑๐. เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง พร้อมกับสุขบ้าง พร้อมกับโสมนัส

บ้าง, และเพราะความเห็นถูกต้องเป็นปัจจัย เขาย่อมเสวยสุขโสมนัส.

(และ) เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก, เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อ

ไปก็ยังมีสุขเป็นผลอีก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 378

"ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือการถือมั่นสิ่งทั้งหลาย ๔ ประการ.

[๕๓๐] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำเต้าขมเจือยาพิษ แล้วทีนั้น

มีคนอยากเป็น ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง. พวกคนก็กล่าวกะเขา

อย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้เป็นน้ำเต้าขมเจือยาพิษนะ, ถ้าคุณประสงค์ก็จงดื่ม

เถิด, เพราะว่าขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ จะไม่อาเจียนเพราะสี

เพราะกลิ่น หรือเพราะรสเลย, แต่ทว่า เมื่อคุณดื่มเสร็จแล้ว จะถึงความ

ตาย หรือไม่อย่างนั้นก็จะถึงทุกข์ปางตาย" เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่พิจารณา

และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และขณะที่เขากำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่า

สี ไม่ว่ากลิ่น หรือรส ไม่ทำให้เขาอาเจียนเลย แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จ เขาจะพึง

ถึงความตายหรือถึงทุกข์เจียนตาย แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

กล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้ คือการถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยัง

มีผลเป็นทุกข์อีกนี้ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๑] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่น

ก็หอม รสก็อร่อย. แต่ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลเจือยาพิษ. คราวนี้ก็มีคนที่

อยากเป็นไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์มาถึง พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้

ว่า "นี่แน่ะ นาย มีหม้อน้ำสัมฤทธิ์สีก็งาม กลิ่นก็หอม รสก็อร่อย. แต่

ทว่า หม้อน้ำสัมฤทธิ์นั้นแลมันเจือยาพิษ ถ้าคุณต้องการก็ดื่มเถิด. เพราะ

ว่าขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสี ไม่ว่ากลิ่น หรือรส จะทำให้

อาเจียนออก, แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้วคุณจะถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน

ตาย เขาก็ดื่มมันโดยที่ยังไม่ทันได้พิจารณา และก็ไม่ยอมบ้วนทิ้ง และเมื่อ

เขากำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ เกิดอาเจียนออกมา เพราะสี เพราะกลิ่น หรือ

เพราะรส แต่ทว่า เมื่อดื่มเสร็จแล้ว เขาก็ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์ปาง

ตาย แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการถือมั่นสิ่งนี้คือถือมั่นสิ่ง

ที่มีสุขในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีผลเป็นทุกข์ว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 379

[๕๓๒] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีน้ำมูตรเน่าที่ระคนด้วยตัวยา

ต่างๆ ทีนั้น ก็มีคนเป็นโรคผอมเหลืองมาถึง, พวกคนก็พูดกะเขาอย่างนี้

ว่า "นี่แน่ะ นาย นี้น้ำมูตรเน่าที่เอาตัวยาต่างๆ มาระคน ถ้าคุณต้องการก็ดื่ม

เถิด, และขณะที่คุณกำลังดื่มมันอยู่นั้นแหละ จะไม่อาเจียน เพราะสี เพราะ

กลิ่น หรือเพราะรสเลย อีกทั้งเมื่อดื่มเสร็จแล้ว คุณก็จะมีความสุขด้วย"

เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณาแล้ว และก็ไม่บ้วนทิ้งด้วย. และตอนที่เขากำลัง

ดื่มมันอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทำให้อาเจียน แต่ทว่าเมื่อ

ดื่มเสร็จแล้ว เขาก็มีความสุขแม้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึง

การถือมั่นสิ่งนี้ คือถือมั่นสิ่งที่มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่ต่อไปมีสุขเป็นผลว่ามีการ

เปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๓] "ภิกษุทั้งหลาย (สมมติว่า) มีนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำ

อ้อย ที่เอามาระคนข้าด้วยกัน. ตอนนั้น มีคนที่เป็นโรคลงแดงมาถึง พวกคน

ก็พูดกะเขาอย่างนี้ว่า "นี่แน่ะ นาย!นี้เป็นนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยที่

เอามาระคนเข้าด้วยกัน. ถ้าคุณต้องการ ก็ดื่มเถิด และทั้งตอนที่คุณกำลังดื่ม

ของเหล่านั้นอยู่นั้นแหละ ไม่ว่าสีไม่ว่ากลิ่น หรือรส ก็ไม่ทำให้อาเจียน,

แต่ทว่าเมื่อดื่มเสร็จแล้ว คุณจะมีความสุข" เขาก็ดื่มมันโดยที่ได้พิจารณา

แล้ว และไม่บ้วนทิ้งเสียด้วย อีกทั้งเมื่อเขากำลังดื่มมันอยู่นั้น แหละ เพราะ

สี เพราะกลิ่น หรือเพราะรสก็ไม่ทำให้อาเจียนออกมาเลย, แต่ทว่า เมื่อดื่ม

เสร็จแล้ว เขาก็มีความสุข แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวถึงการ

ถือมั่นสิ่งนี้ คือการถือมั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบัน และต่อไปก็ยังมีความสุขเป็น

ผลอีกว่ามีการเปรียบเป็นฉันนั้น.

[๕๓๔] ''ภิกษุทั้งหลาย ในฤดูสารท เดือนท้ายฤดูฝน เมื่อฝน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 380

ซาลง เมฆก็ปราศไปแล้ว พระอาทิตย์สู่ท้องฟ้า กำจัดความมืดในอากาศย่อม

ส่องแสงแผดแสง และแจ้งจ้า แม้ฉันใด; ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย การถือ

มั่นสิ่งที่มีสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปก็ยังมีผลเป็นสุขอีก ขจัดคำติเตียนของ

สมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นได้ แล้วย่อมสว่างแจ่มแจ้ง และรุ่งเรือง."

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่าง

มีความพอใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประการ

ฉะนี้

จบมหาธัมมสมาทานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 381

อรรถกถามหาธรรมสมาทานสูตร

มหาธรรมสมาทานสูตร ขึ้นต้นว่า " ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้."

ในบทเหล่านั้น บทว่า "มีความอยากอย่างนี้" คือมีความต้องการ

อย่างนี้. บทว่า "มีความพอใจอย่างนี้" คือมีความโน้มเอียงไปอย่างนี้. บท

ว่า " มีความประสงค์อย่างนี้" คือมีลัทธิอย่างนี้. บทว่า "ใน...นั้น" คือ

ในความเจริญแห่งอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และในความเสื่อมไปแห่งอารมณ์ที่

น่าพอใจนั้น. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล" คือ ชื่อว่ามีพระผู้

มีพระภาคเจ้าเป็นรากเง่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูลแห่งสิ่ง

เหล่านี้. มีคำที่กล่าวไว้ว่า " พระพุทธเจ้าข้า! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ของพวก

ข้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงให้เกิดขึ้น

เมื่อพระองค์ท่านปรินิพพานแล้ว ไม่ได้มีสมณะหรือพราหมณ์ที่ขึ้นชื่อว่าผู้

สามารถให้ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นอีกเลย สิ้นพุทธันดรหนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงให้ธรรมเหล่านี้ของพวกข้าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว พวกข้าพระพุทธเจ้า

ได้อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ จึงเข้าใจทั่วถึง คือรู้เฉพาะธรรมเหล่า

นี้ได้ พระพุทธเจ้าข้า! เพราะเหตุนี้ ธรรมของพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า

มีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นเค้ามูล ด้วยประการฉะนี้. คำว่า "มีพระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้นำ" คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้แนะ ผู้นำ

ผู้คอยชักจูงเกี่ยวกับเรื่องของธรรมโดยแท้. ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ทรงตั้ง

ชื่อเป็นหมวดๆ ตามที่เป็นจริง จึงย่อมชื่อว่ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้

ชักนำ. คำว่า "มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย" ได้แก่ ธรรมทั้ง ๔

ชั้น มาสู่คลองพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมจับกลุ่มรวมประชุมลงอย่างพร้อม

เพรียงในพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อตอนที่พระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 382

เจ้าประทับนั่งที่ควงมหาโพธิ์ เมื่อจะทรงถือเอาชื่อเป็นหมวดๆ ตามความเป็น

จริงของธรรมทั้ง ๔ ชั้นอย่างนี้ คือ ผัสสะมาด้วยอำนาจปฏิเวธ (ก็ทรงคิด

ว่า) "ฉันเป็นผู้จำแนกธรรม แกชื่อไร " (แล้วทรงตั้งชื่อว่า) " แกชื่อ

ผัสสะ เพราะอรรถว่าถูกต้อง." เวทนา (สัญญา) สังขาร วิญญาณมา (ก็ทรง

คิดว่า) "ฉันเป็นผู้จำแนกธรรม แกล่ะ ชื่อไร " (แล้วก็ทรงตั้งชื่อว่า) "แกชื่อ

เวทนา (สัญญา) สังขาร (เพราะอรรถว่า รู้สึกอารมณ์...(รู้จำอารมณ์)...

ปรุงแต่งอารมณ์) แกชื่อวิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง" พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงเอาธรรมมาจัดรวมเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อ

ว่า มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย (คือรวมเป็นหมวดเป็นหมู่ได้ เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า). คำว่า "จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น

เถิด" ได้แก่ ขอให้ใจความของภาษิตบทนี้ จงปรากฏแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เท่านั้นเถิด คือ ขอให้พระองค์นั่นแหละ โปรดทรงแสดงประทานให้แก่พวก

ข้าพระองค์ด้วยเถิด. คำว่า "ิ" คือพึงอาศัย คำว่า "พึงคบ" คือ

พึงเข้าใกล้ คำว่า "เหมือนผู้ไม่รู้แจ้ง" คือเหมือนปุถุชนที่บอดโง่. คำว่า

"เหมือนผู้รู้แจ้ง" คือเหมือนบัณฑิตที่รู้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางแม่บท

ตามแบบที่ค่อยขยับสูงขึ้นตามลำดับในสูตรก่อนว่า "ภิกษุทั้งหลาย มีการยึด

ถือธรรม" แต่ในพระสูตรนี้ พระศาสดาทรงตั้งแม่บทตามรสแห่งธรรมเท่า

นั้น.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "การยึดถือธรรม" ได้แก่ การถือธรรมมีการ

ฆ่าสัตว์เป็นต้น คำว่า "ผู้อยู่ในความไม่รู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยความ

ไม่รู้. คำว่า "ผู้อยู่ในความรู้" ได้แก่ผู้ประกอบพร้อมด้วยควานรู้คือ ผู้มี

ปัญญา. สิ่งทั้งสามนี้ก่อนคือมิจฉาจาร อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ ในคำเหล่านี้คือ

"พร้อมด้วยทุกข์บ้าง" เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเจตนาทั้งสองคือ บุพเจตนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 383

และอปรเจตนา. ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วย

สุข หรือประกอบด้วยอุเบกขา. ส่วนเจตนาที่เหลือมีการฆ่าสัตว์เป็นต้น

อีก ๗ ข้อ เป็นทุกขเวทนาด้วยอำนาจเวทนาครบทั้งสาม พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงหมายเอาความข้อนี้ จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์บ้าง พร้อมกับโทมนัส

บ้าง" ดังนี้. ก็แหละโทมนัสในพระพุทธดำรัสนี้ พึงเข้าใจว่าเป็นทุกข์

เมื่อคนมาถึงการแสวงหา แม้ทุกข์ในทางกาย ก็ย่อมถูกทั้งในส่วนเบื้องต้น

และเบื้องปลายโดยแท้. สิ่งสามอย่างนี้ก่อนคือ การฆ่าสัตว์ การพูดคำ

หยาบ พยาบาท ในบทนี้คือ "พร้อมกับแม้สุขบ้าง" เป็นสุขเวทนา ด้วยอำนาจ

เจตนาสองอย่างคือ บุพเจตนาและอปรเจตนา ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จ

เรียบร้อย เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์ ที่เหลืออีก ๗ อย่าง ย่อมเป็นสุขเวทนา

ด้วยอำนาจเจตนาครบทั้ง ๓. ก็แล โสมนัสนั่นแล ก็พึงเข้าใจว่าสุขในที่

นี้. หรือสำหรับผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยโผฏฐัพพารมณ์ที่น่าพอใจ แม้สุขในทาง

กาย ก็ย่อมถูกในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายโดยแท้. ในการยึดถือ

ธรรมข้อที่สามนี่แหละ บางคนในโลกนี้เป็นคนตกปลา (ชาวประมง) หรือ

เป็นคนล่าเนื้อ อาศัยการฆ่าสัตว์เท่านั้นเลี้ยงชีวิต ภิกษุผู้อยู่ในตำแหน่งเป็นที่

เคารพของเขาแสดงโทษการฆ่าสัตว์ และอานิสงส์การงดเว้นจากการฆ่า

สัตว์แล้วให้สิกขาบทแก่เขาผู้ไม่ต้องการเลย เมื่อเขาจะรับก็ย่อมรับทั้งๆ

ที่เป็นทุกข์โทมนัสทีเดียว. ภายหลังเมื่อล่วงมาสองสามวัน เมื่อเขาไม่สามารถ

รักษาได้ก็เกิดเป็นทุกข์อีก บุพเจตนาและอปรเจตนาของเขาย่อมควบคู่กัน

ไปกับทุกข์ทีเดียว. ส่วนเจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อย ไปด้วยกันกับ

สุขบ้าง ไปด้วยกันกับอุเบกขาบ้าง. ในที่ทุกแห่งพึงเข้าใจใจความอย่าง

นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเจตนาทั้งที่เป็นส่วนเบื้องต้นและส่วน

เบื้องปลายนี่แหละ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสว่า "พร้อมกับทุกข์

บ้าง พร้อมกับโทมนัสบ้าง, ดังนี้. แหละก็พึงทราบว่าโทมนัสนั่นเองเป็นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 384

ในการยึดถือธรรมข้อที่สี่ เจตนาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ส่วนเบื้องปลายและ

เจตนาที่ให้สำเร็จเรียบร้อยครบทั้งสาม ในบทครบทั้งสิบ ย่อมประกอบด้วย

สุขโดยแท้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความข้อนั้น จึงได้ตรัสว่า

พร้อมด้วยสุขบ้าง พร้อมด้วยโสมนัสบ้าง แหละก็โสมนัสนั่นเอง ก็พึงทราบ

ว่าสุขในที่นี้."

คำว่า "ติตฺตกาลาพุ" แปลว่า น้ำเต้าขม. คำว่า "เจือด้วยยาพิษ"

ได้แก่ระคน ปน เคล้ากับยาพิษชนิดร้ายแรง. คำว่า "ไม่ ชอบใจ" คือจะ

ไม่ชอบใจ จะไม่ทำความยินดี. คำว่า "จะถึง" คือจะบรรลุ. คำว่า "ไม่พิจารณา

แล้วพึงดื่ม" คือพึงดื่มอย่างไม่พิจารณา. คำว่า "ภาชนะน้ำดื่ม" คือภาชนะ

เต็มปริ่มไปด้วยเครื่องดื่มอร่อยน่าดื่ม. คำว่า "สมบูรณ์ด้วยสี" คือเป็น

ภาชนะประกอบด้วยสีแห่งเครื่องดื่มเป็นต้น ที่คนพูดอย่างนี้ว่า "ภาชนะที่

สมบูรณ์ด้วยเครื่องประสมที่ใส่ไว้แล้ว. คำว่า "จะชอบใจ" ได้แก่ ก็แลยาพิษ

ร้ายแรงนั้น ย่อมเป็นอันใส่ไว้แล้วในเครื่องดื่มใดๆ ย่อมให้รสของเครื่องดื่ม

นั้นๆ แล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าจะชอบใจ. คำว่า "น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตร

นั่นแหละ. เหมือนอย่างว่า ร่างกายของตนเราต่อให้เป็นสีทอง ก็ยังถูกเรียกว่า

ตายเน่าอยู่นั่นแหละ และเถาอ่อนที่แม้แต่เพิ่งเกิดในวันนั้น ก็ย่อมถูก

เรียกว่า เถาอ่อนอยู่นั่นแหละ ฉันใด; น้ำมูตรอ่อนๆ ที่รองเอาไว้ในทันทีทัน

ใด ก็เป็นน้ำมูตรเน่าอยู่นั่นเองฉันนั้น. คำว่า "ด้วยตัวยาต่างๆ" คือ ด้วยตัวยา

นานาชนิดมีสมอและมะขามป้อมเป็นต้น. คำว่า "จงเป็นสุข" คือจงเป็นผู้มีสุขไร้

โรค มีสีเหมือนทอง.คำว่า "นมส้ม น้ำผึ้ง" คือ นมส้มที่แสนบริสุทธิ์ และน้ำ

ผึ้งที่อร่อยหวาน. คำว่า "เจือเคล้าเข้าด้วยกัน" ได้แก่ ปนระคนเข้าเป็นอัน

เดียวกัน. คำว่า "นั้นแก่เขา" คือ พึงชอบใจแก่เขา ผู้ดื่มเภสัชที่มีรสหวานสี่

อย่าง ก็แล อันใดที่เจือด้วยโรคบาทโรค อันนี้ พึง (ทำให้) ลงแดง ยาของเขา

ทำให้อาหารแข็งกระด้าง ถ่ายไม่ออก. (ฤทธิ์ยาทำให้ท้องผูก ถ่าย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 385

ไม่ออก) ส่วนเลือดที่ประสมกับดี ยาของเขานี้นั้น ลงท้ายก็ทำให้ร่างกายเย็น

ยะเยือก. คำว่า "ลอยไป" คือลอยลงขึ้น คือไม่มีเมฆ หมายความว่า เมฆอยู่

ไกล. คำว่า "ปราศจากวลาหก" คือ เมฆหลีกไปแล้ว. คำว่า "เมื่อเทพ"

ได้แก่ เมื่ออากาศ. คำว่า "ความมืดอยู่ในอากาศ" คือ ความมืดใน

อากาศ. คำว่า "ปรับปวาทของสมณพราหมณ์ส่วนมาก" ได้แก่ วาทะของตน

เหล่าอื่น อันได้แก่สมณพราหมณ์ส่วนใหญ่. คำว่า "เบียดเบียนยิ่ง" ได้

แก่ เข่นฆ่า.คำว่า "ส่อง ส่งแสง และรุ่งเรื่อง" ได้แก่ ตอนกลางวันในฤดู

สารท พระอาทิตย์ย่อมเปล่งแสง คือส่งแสงร้อนจ้า สว่างไสว. ก็แล สูตร

นี้ พวกเทวดารักใคร่ชอบใจเหลือเกิน. ดังมีเรื่องต่อไปนี้:-

เขาเล่ากันมาว่า ทางทิศใต้ ในจังหวัดหัสดิโภค มีวัดบังกูรอยู่ ที่ประตู

โรงอาหารของวัดนั้น มีเทวดาสิงอยู่ที่ต้นบังกูร ตอนกลางคืนได้ฟังภิกษุหนุ่ม

รูปหนึ่งกำลังสรุปพระสูตรนี้ด้วย ทำนองสวดบท จึงให้สาธุการ

ภิกษุหนุ่ม : "นั่นใคร"

เทวดา : "ข้าพเจ้า เป็นเทพสิงอยู่ที่ต้นไม้นี้ครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ท่านเลื่อมใสในอะไร คือในเสียงหรือในสูตร ?"

เทวดา : "ท่านผู้เจริญ ใครๆ ก็มีเสียงทั้งนั้นแหละ ข้าพเจ้าเลื่อมใส

ในสูตร, ในวันที่พระศาสดาทรงนั่งกลางในพระเชตวัน และในวันนี้ไม่มีความ

แตกต่างแม้แต่พยัญชนะตัวเดียว"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ ในวันที่พระศาสดาตรัสท่านได้ยินหรือ"

เทวดา : " ครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "ท่านยืนฟังที่ไหน"

เทวดา : "ท่านครับ ข้าพเจ้าไปพระเชตวัน แต่เมื่อเหล่าเทพผู้บุญ

หนักศักดิ์ใหญ่พากันมา, ข้าพเจ้าเลยหมดโอกาสจึงยืนฟังในที่นี้แหละ"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 386

ภิกษุหนุ่ม : "ยืนอยู่ที่นี้ แล้วจะได้ยินเสียงพระศาสดาหรือ"

เทวดา : "แล้วท่านล่ะ ยินเสียงข้าพเจ้าไหม"

ภิกษุหนุ่ม : "ยินจ้ะ เทพ"

เทวดา : "เป็นเหมือนกับเวลานั่งพูดข้างหูขวา ครับท่าน"

ภิกษุหนุ่ม : "เทพ! แล้วท่านเห็นพระรูปพระศาสดาไหม"

เทวดา : " ข้าพเจ้าเข้าใจว่า พระศาสดาทอดพระเนตรดูแต่ข้าพเจ้า

เท่านั้นแหละ เลยตั้งตัวไม่ติด ครับท่าน "

ภิกษุหนุ่ม : "แล้วท่านมีคุณพิเศษเกิดขึ้นบ้างไหม เทวดา"

เทวดาหายไปในที่นั้นนั่นแหละ ว่ากันว่า วันนั้น เทพองค์นี้ ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล.

เทวดาทั้งหลาย ต่างรักใคร่ชอบใจ พระสูตรนี้ดังที่ว่ามานี้. คำที่เหลือ

ในที่ทั้งหมด ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาธัมมสมาทานสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 387

๗. วีมังสกสูตร

เรื่องสอบสวนพระธรรม

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า "ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระ

ดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า "พระพุทธเจ้าข้า"

[๕๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้ง

หลาย! ภิกษุผู้ใคร่ครวญ เมื่อไม่รู้กระบวนจิตของผู้อื่น จะพึงทำความสอบ

สวนในพระตถาคตเจ้าว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ

ด้วยความรู้แจ่มแจ้ง ด้วยประการฉะนี้ หรือไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สิ่งทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง พระพุทธเจ้าข้า ดีหนอ

ขอเนื้อความภาษิตนั่นจงเเจ่มแจ้งกับพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด" พวกภิกษุ

ฟัง (เนื้อความภาษิตนั้น) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักจำไว้.

พ. "ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงฟัง ตั้งใจให้ดี เรา

จักกล่าว" ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า"

[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้จะสอบสวน เมื่อไม่รู้กระบวนจิตผู้อื่น พึงสอบสวนพระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 388

เจ้า ในสิ่งทั้ง ๒ คือ ในสิ่งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและฟังด้วยหูว่า "สิ่งเหล่าใด

เศร้าหมองที่จะพึงรู้ด้วยตาและฟังด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพรตถาคตเจ้ามีหรือไม่ ?"

"ภิกษุ เมื่อสอบสวนพระตถาคตเจ้า นั่นจะรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใด

เศร้าหมอง พร้อมพึงรู้แจ้งด้วยตาและฟังด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่

มี" เพราะเมื่อภิกษุสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น จะรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใด

เศร้าหมองที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าย่อมไม่

มี." ภิกษุจะสอบสวนให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า สิ่งเหล่าใดที่ยังเป็นความ

มืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้น ของพระตถาคตเจ้ามีอยู่หรือ

ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่าใด

ยังเป็นความมืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคต

เจ้า ไม่มี" เพราะภิกษุ เมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้

ว่า สิ่งเหล่าใดเป็นความมืด ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของ

พระตถาคตเจ้าไม่มี." ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้นใหญ่ยิ่งขึ้น

ไปกว่านั้นว่า "สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้น

ของพระตถาคตเจ้ามีอยู่หรือไม่"

ภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "สิ่งเหล่า

ใด ที่แจ่มแจ้งพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้า

มีอยู่พร้อม." เพราะภิกษุเมื่อจะสอบสวนพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมรู้อย่างนี้

ว่า สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้งที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นของพระ

ตถาคตเจ้ามีอยู่พร้อม." ภิกษุจะสอบสวนคนอื่นนั้น ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น

ว่า "ท่านผู้นี้ถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมนี้ตลอดกาลนานหรือว่าเข้าถึงอกุศล

ธรรมนอกนี้. "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 389

ภิกษุนั้น เมื่อสอบสวนผู้นั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ท่านผู้นี้เข้าถึงกุศล

ธรรมนี้สิ้นกาลนานแล้ว, ท่านผู้นี้ไม่ใช่เข้าถึงกุศลธรรมนอกนี้." เพราะภิกษุ

นั้น เมื่อสอบสวนผู้นั้นจะรู้อย่างนี้ว่า "ท่านผู้นี้เข้าถึงกุศลธรรมนี้สิ้นกาลนาน

แล้ว, ท่านผู้นี้ไม่ได้เข้าถึงอกุศลธรรมนอกนี้." เมื่อจะสอบสวนให้ยิ่งขึ้น

ไปกว่านั้นว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้ปรากฏชื่อเสียง มียศ โทษบางอย่างของเธอยัง

มีอยู่ในเรื่องนี้."

"ภิกษุทั้งหลาย! โทษบางอย่างไม่มีแก่ภิกษุในเรื่องนี้ ตราบเท่าที่

เธอยังไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฏ(และ) ภิกษุทั้งหลายเมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีชื่อ

เสียงปรากฏ(และ) มียศ เมื่อนั้นโทษบางอย่าง ของเธอในเรื่องนี้จึงมี."

ภิกษุนั้นเมื่อจะสอบสวนผู้นั้นนั่นแหละย่อมรู้อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีอายุนี้ เป็น

ปรากฏชื่อเสียงเป็นผู้ได้ยศ, โทษบางอย่างของเธอไม่มีในเรื่องนี้." เพราะ

ภิกษุนั้นเมื่อสอบสวนนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นผู้ปรากฏ

ชื่อเสียง เป็นผู้ได้ยศ โทษบางอย่างไม่มีแก่เธอในกรณีนี้.

เพราะเมื่อภิกษุนั้น. เมื่อจะสอบสวนผู้นั้น ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นว่า

ท่านผู้นี้เข้าถึงความยินดีในสิ่งไม่น่ากลัว, ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่เข้าถึงความยินดีใน

สิ่งที่น่ากลัว, เธอย่อมไม่เสพกามเพราะปราศจากความกำหนัด เพราะความ

กำหนัดสิ้นไป." เพราะฉะนั้น เมื่อจะสอบสวนผู้นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า "ท่านนี้

เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่ไม่น่ากลัว, ไม่เป็นผู้เข้าถึงความยินดีในสิ่งที่

น่ากลัว, ไม่เสพกามเพราะปราศจากความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด."

"ภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากคนพวกอื่นจะพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

อะไรเป็นอาการของท่าน, อะไรเป็นที่คล้อยตามท่าน ซึ่งเป็นเหตุที่ให้ท่าน

กลัวอย่างนี้ว่า. "ท่านเข้าถึงความยินดีในสิ่งที่ไม่น่ากลัว ท่านผู้นี้ไม่เข้าถึง

ความยินดีในสิ่งที่น่ากลัว, เธอย่อมไม่เสพกามเพราะปราศจากความกำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 390

หนัด เพราะสิ้นความกำหนัด." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพยากรณ์โดยชอบ

พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้อยู่ในหมู่ หรือเป็นผู้เที่ยวอยู่, พวกใดไปดีแล้ว

ในที่นั้น, พวกใดไปไม่ดีแล้วในที่นั้น, พวกใดตามสั่งสอนคณะในที่นั้น,

บางเหล่าบางพวกปรากฏในอามิส และบางเหล่าบางพวกถูกอามิสแปด

เปื้อน ท่านผู้นี้ย่อมไม่ดูหมิ่นผู้นั้นเพราะเหตุนั้น. ก็คำนี้เราได้ฟังได้รับเฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " เราเป็นผู้เข้าไปยินดีในสิ่งที่ไม่

น่ากลัว ไม่เข้าไปยินดีในสิ่งที่น่ากลัว เราไม่เสพกามเพราะปราศจากกำ

หนัด เพราะสิ้นความกำหนัด."

เรื่องทวนถาม

[๕๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ครั้นพระตถาคตเจ้าถูกถามกลับยิ่งขึ้น

ไปอีกว่า "สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่า

นั้นอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้า

เมื่อพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สิ่งเหล่าใดเศร้าหมองพร้อมที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า." (ภิกษุทั้ง

หลาย. พระตถาคตเจ้าจะพึงกลับถูกถามยิ่งขึ้นไปอีกว่า) "สิ่งเหล่าใดมืดที่จะ

พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู สิ่งเหล่านั้นมีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคต-"

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตเจ้าพยากรณ์จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

"สิ่งเหล่าใดมืดที่จะพึงรู้แจึงได้ด้วยตาและด้วยหูเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคต

เจ้า."

(ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้ากลับถูกถามให้ยิ่งขึ้นอีกว่า) " สิ่งเหล่า

ใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู เหล่านี้มีอยู่หรือว่าไม่มีแก่พระตถาคต

เจ้า" ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระตถาคตจะพยากรณ์ก็จะพึงพยากรณ์อย่างนี้

ว่า สิ่งเหล่าใดแจ่มแจ้ง พึงรู้แจ้งด้วยตาและด้วยหู, เหล่านั้นมีอยู่แก่ตถาคต."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

ภิกษุทั้งหลาย สาวกควรเข้าไป พระศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้

มีศีลนั่นเป็นทาง มีศีลนั่นเป็นอารมณ์ และไม่มีตัณหาเพราะศีลอันบริสุทธิ์นั้น

ดังนี้ เพื่อฟังธรรม, พระศาสดาย่อมแสดงธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอันประณีตและ

ประณีต เปรียบเทียบให้เห็นทั้งดำทั้งขาวแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายพระ

ศาสดาย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุยิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป พร้อมกับส่วน

เปรียบให้เห็นทั้งดำทั้งขาว โดยประการใดๆ ภิกษุนั้น เพราะรู้ยิ่งธรรมบาง

ชนิดในธรรมนั้น ถึงความตั้งลงในธรรมในพระศาสนานี้ ย่อมเลื่อมใสในพระ

ศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยชอบ. พระธรรมอันพระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว โดยประการนั้นๆ."

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนทั้งหลายพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้อีกว่า อะไร

เป็นอาการของท่าน อะไรเป็นเครื่องคล้อยตามท่าน ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านกล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า " พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติแล้ว." ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

จะพยากรณ์ก็ควรพยากรณ์อย่างนี้ว่า " คุณ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้าถึงที่ประทับ เพื่อฟังธรรมในศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมแก่เรายิ่งๆ ขึ้นไป ประณีตยิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งเปรียบเทียบให้เห็นทั้ง

ขาวและดำ คุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เราให้ยิ่งขึ้นไป

ให้ประณีตยิ่งขึ้น ให้เป็นส่วนเปรียบเทียบพร้อมให้เห็นทั้งดำและขาว โดย

ประการใดๆ เรารู้ยิ่งในบางสิ่งบางอย่าง ในสิ่งนั้น ที่ให้ถึงความตัดสินใจได้เด็ด

ขาดในธรรมในศาสนา จึงเลื่อมใสพระศาสดาว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้

เองโดยชอบ พระธรรมพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดี

แล้ว ฉันนั้นๆ" ดังนี้.

[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้

หนึ่งมีศรัทธาตั้งมั่นในพระตถาคตเจ้าด้วยอาการเหล่านี้ บทเหล่านี้ พยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 392

เหล่านี้ เป็นรากเหง้า เป็นที่พึ่ง ภิกษุทั้งหลายศรัทธาที่มีอาการอย่างนี้

ที่ใครๆ เป็นสมณะก็ตาม, พราหมณ์ก็ตาม เทวดา พรหม หรือว่ามารก็

ตาม ในโลกกล่าวว่า มีความเห็นเป็นรากเหง้า มั่นคง ไม่ง่อนแง่น ภิกษุทั้ง

หลาย การปรึกษาธรรมในพระตถาคตเจ้าย่อมมีอย่างนี้แล. ก็แลพระตถาคต

เจ้าย่อมเป็นผู้อันบุคคลสอบสวนแล้วโดยชอบธรรมอย่างนี้."

ภิกษุเหล่านั้นต่างพอใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบวีมังสกสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 393

อรรถกถาวีมังสกสูตร

วีมังสกสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ผู้สอบสวนอยู่" ความว่า "ผู้จะสอบสวน

มี ๓ คือ ผู้สอบสวนในอรรถ ผู้สอบสวนในสังขาร ผู้สอบสวนในพระศาสดา."

ในผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนเนื้อความมาแล้วในบทนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ

มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ผู้สอบสวนในสังขารมาแล้ว

ในบทนี้ว่า "พอละด้วยคำว่า "อานนท์" เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ

ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิ

ใช่ฐานะ อานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุผู้ฉลาดย่อมเป็นผู้สอบสวน. ส่วน

ผู้ฉลาดในพระศาสดาท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

บทว่า "กระบวนจิต" ความว่า "วาระแห่งจิต คือ การกำหนดจิต"

บทว่า "ตามแสวงหาพร้อม" ความว่า "แสวงหา คือ เสาะหา ได้แก่

ใคร่ครวญหา."

บทว่า "เพื่อรู้แจ้ง ด้วยประการฉะนี้" ความว่า "เพื่อประโยชน์รู้แจ้ง

อย่างนี้."

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรในคำนี้

ว่า "ภิกษุ พึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในเหตุทั้ง ๒ เพราะว่า พระตถาคตเจ้านี้

ชื่อว่าเป็นที่พึ่ง คือกัลยาณมิตรผู้ใหญ่ พึงทราบความที่พระตถาคตเจ้านั้นเป็น

กัลยาณมิตรอย่างใหญ่หลวงนี้."

สมัยหนึ่ง ท่านอานนท์คิดว่า "พรหมจรรย์ครึ่งหนึ่ง มีเพราะอานุ

ภาพตน ครึ่งหนึ่งมีได้เพราะอานุภาพกัลยาณมิตร แล้ว ไม่อาจจะวินิจฉัยตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 394

ธรรมดาของตนได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า " พระพุทธเจ้า

ข้า กึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์นี้ คือความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหาย

งาม ๑ ความเป็นผู้โน้มเข้าไปในมิตรที่งาม ๑" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า "อานนท์! เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลยๆ อานนท์ พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนี้

คือ ความเป็นผู้มีมิตรงาม ๑ ความเป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มไปใน

มิตรงาม ๑ อานนท์ เหตุนั้น อันภิกษุผู้มีมิตรอันงาม มีสหายงาม โน้มไปใน

มิตรที่งาม พึงหวังได้เฉพาะ เธอจักเจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคมีองค์ ๘ ที่เป็น

ของพระอริยะ อย่างไร อานนท์ ก็ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ฯลฯ เจริญ ทำให้

มากซึ่งมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นของพระอริยะ. อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ เจริญสัมมาสมาธิที่อาศัยวิเวก. อานนท์ อย่างนี้

แล ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ฯลฯ ทำให้มาก อานนท์ เหตุนี้นั้นพึงทราบโดยทำ

นองนี้ เหมือนอย่างพรหมจรรย์นี้ทั้งสิ้น คือ ความเป็นผู้มีมิตรที่งาม ๑ ความ

เป็นผู้มีสหายงาม ๑ ความเป็นผู้โน้มไปในมิตรทั้งงาม ๑ อานนท์ ก็สัตว์ทั้ง

หลาย ผู้มีการเกิดเป็นธรรมดาอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ย่อมพ้นจากชาติ.

สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ มีความโศก ความร่ำไร

ทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความ

โศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อจะตรัสความถึงพร้อมด้วยองค์ใน

ภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำสิ่งใน

ภายนอกว่าเป็นองค์แล้ว เราไม่พิจารณาเห็นองค์อื่น แม้สักองค์เดียวที่เป็นไป

เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรงามนี้ ภิกษุทั้ง

หลาย ความเป็นผู้มีมิตรงาม เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่."

แม้เมื่อจะตรัสข้อปฏิบัติเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส แก่พระมหาจุนทะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 395

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายควรทำความขัดเกลาว่า " คนเหล่าอื่นจักมีคนชั่ว

เป็นมิตร พวกเราจักมีมิตรที่งาม."

แม้เมื่อจะตรัสธรรมสำหรับบ่มวิมุตติ แก่พระเมฆิยะเถระ จึงตรัส

ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรให้วิเศษนั่นเทียวว่า "เมฆิยะ

ธรรมทั้ง ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุกหง่อม แห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่

สุกหง่อม ๕ อย่าง เป็นไฉน คือ เมฆิยะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

กัลยาณมิตร.

แม้เมื่อจะประทานโอวาทเป็นเครื่องพิจารณาเนืองๆ แก่พระราหุล

เถระปิยบุตร จึงตรัสธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนั่นแหละ

ก่อนธรรมทั้งหมดว่า.

"เธอจงคบกัลยาณมิตร ที่นอนที่นั่งอันสงัด ที่อันเงียบปราศจากเสียง

กึกก้อง เธอจงเป็นผู้รู้ประมาณในการกิน. เธออย่าได้ทำความ

อยากในปัจจัยเหล่านี้ คือ จีวรบิณฑบาต ปัจจัยคือที่นอนและที่นั่ง

เธอจงอย่ามาสู่โลกอีก."

ขึ้นชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรนี้ เป็นธรรมมีคุณมาก

อย่างนี้.

เมื่อจะทรงแสดงธรรมแม้ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง

ปรารภเทศนาว่า ภิกษุทั้งหลายพึงแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้ง ๒."

อธิบายว่า ภิกษุผู้ฉลาด จงเสาะหาคือแสวงหาพระตถาคตเจ้าในสิ่งทั้ง

สอง ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งสีหนาทว่า "กิจด้วยการคิด

อย่างนี้ว่า" พระพุทธเจ้านี้มีชาติใหญ่ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ รูปงาม

น่าชม มีชื่อเสียง ที่เขาถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง หรือเราอาศัยผู้นี้แล้วจะได้ปัจจัยมี

จีวรเป็นต้นแล้วอยู่อาศัยเราไม่มี" ส่วนผู้ใดมากำหนดอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 396

นี้พอจะเป็นศาสดาที่ทำหน้าที่ศาสดาให้สำเร็จแก่เราได้ บุคคลนั้นจงคบกับ

เราเถิด." ชื่อว่าการเปล่งอย่างสีหะของพระพุทธเจ้ากลายเป็นพระสูตร.

บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงสิ่งทั้งสองเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ที่พึงรู้แจ้งด้วยตาและหูในธรรมนั้น มารยาทที่เป็นไปทางกายของ

พระศาสดา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยตาของผู้จะสอบสวน มารยาทที่เป็น

ไปทางวาจา ชื่อว่าธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยหู. บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอาการที่จะ

พึงสอบสวนในธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "สิ่งเหล่าใด

เศร้าหมองพร้อมแล้วเป็นต้น."

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เศร้าหมองพร้อมแล้ว "ได้แก่ประกอบ

ด้วยกิเลส และสิ่งเหล่านั้น จะพึงรู้แจ้งด้วยตาและหูหามิได้." เหมือนเมื่อน้ำ

ปั่นป่วน ฟองน้ำผุดขึ้น บุคคลย่อมรู้ว่า ภายในมีปลาฉันใด บุคคลเห็นและได้

ยินกาย มารยาททางกาย และทางวาจา ของผู้ทำการฆ่าสัตว์หรือกล่าวเท็จ

เป็นต้น ก็ย่อมรู้ว่าจิตที่ให้อกุศลธรรมมีการฆ่าเป็นต้นตั้งขึ้นเศร้าหมองพร้อม

แล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า "สำหรับผู้ที่มีจิต

เศร้าหมอง แม้มารยาททางกายและทางวาจาก็ชื่อว่าพลอยเศร้าหมองไปด้วย."

บทว่า "สิ่งเหล่านั้นไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า" ความว่า "เขาย่อมรู้อย่าง

นี้ว่า "สิ่งเหล่านั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี คือหาไม่ได้." ก็เพราะความที่สิ่ง

เหล่านั้นไม่มีแน่เทียว คือเพราะไม่ได้ปกปิดไว้ จึงหาสิ่งเหล่านั้นไม่ได้.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงปวารณาหมู่ภิกษุในสิ่งเหล่า

นี้ ในวันหนึ่ง จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราจะปวารณาต่อพวก

เธอว่า "ก็พวกเธอย่อมไม่ติเตียนมารยาททางกาย และทางวาจาของเราบ้าง

หรือ" เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ลุกขึ้น

จากอาสนะ ทำผ้าจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 397

ภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์

เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกายและทาง

วาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงให้มรรคที่ยังไม่เกิดขึ้นแล้วให้เกิดขึ้น ทรงให้รู้มรรคที่พวกใครๆ ไม่รู้

แล้ว ทรงบอกมรรคที่ใครๆ บอกไม่ได้แล้ว ทรงเป็นผู้รู้หนทาง ทรงเป็นผู้รู้

แจ้งซึ่งหนทาง ทรงเป็นผู้ฉลาดในหนทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลบัด

นี้พวกสาวก เป็นผู้ดำเนินไปตามมรรคอยู่ ภายหลังมาตามพร้อมแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีมารยาททางกายและทางวาจาหมดจดอย่างนี้."

ได้ยินว่า แม้อุตตรมาณพ คิดว่า "เราจักเห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีใน

กายทวาร และวจีทวารของพระตถาคตเจ้า." แล้วติดตามอยู่ ๗ เดือน ก็ไม่ได้

เห็นแม้เท่ากับเล็นหรือว่าอุตตรมาณพนี้เป็นมนุษย์ จักเห็นโทษอะไรที่ไม่น่า

ยินดี ในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้า ถึงแม้

เทวปุตตมาร ก็ติดตามตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์ แสวงหาอยู่ตลอด ๖ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายิน

ดี โดยที่สุดแม้เพียงความปริวิตกทางใจ. มารคิดแล้วว่า ถ้าว่าเราจักเห็น

อกุศลแม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึกแล้ว ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละ

เราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป." มารนั้นไม่ได้เห็นแล้ว

ตลอด ๖ ปี ติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ๑ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษ

ไรๆ จึงไหว้แล้วในเวลาเป็นที่ไป จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นมหาวีระ มีปัญญามาก ผู้รุ่งเรืองด้วยพระฤทธิ์

ด้วยยศ ผู้ทรงก้าวล่วงเวรภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาท" ดังนี้

แล้วหลีกไป.

บทว่า "เจือกัน" ความว่า "ปนกันอย่างนี้ คือ บางเวลาก็ดำ บาง

เวลาก็ขาว."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 398

บทว่า "ขาว" ได้แก่ "บริสุทธิ์ไม่มีกิเลส."

บทว่า "มีอยู่" ความว่า "ธรรมที่ผ่องแผ้วมีอยู่ คือ หาได้อยู่." จริง

อยู่พระตถาคตเจ้า ย่อมมีมารยาททางกายเป็นต้นบริสุทธิ์. เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ ที่ตถาคต

ไม่ต้องการระมัดระวัง ๔ อย่างอะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้า

เป็นผู้มีมารยาททางกายบริสุทธิ์. พระตถาคตเจ้าทรงไม่มีกายทุจริต ที่ตถาคต

เจ้าต้องระมัดระวังว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทรงมีมารยาททางวาจาบริสุทธิ์

มีมารยาททางใจบริสุทธิ์ มีอาชีวบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีมิจฉาชีพ ที่ตถาคต

จะต้องระมัดระวังว่า ขอให้ผู้อื่นอย่าได้รู้มิจฉาชีพของเราเลย."

ข้อว่า "ธรรมที่เป็นกุศลนี้" ได้แก่ "ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘." อธิบาย

ว่า "ท่านผู้มีอายุนี้จงแสวงหาอย่างนี้ว่า " พระศาสดาทรงเข้าตลอด

เวลานาน ทรงสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ ตั้งแต่กาลที่นานยิ่ง หรือว่า "ทรงเข้าเวลาเล็ก

น้อยจึงทรงเข้าเมื่อวันวาน พรุ่งนี้หรือมะรืนนี้." เพราะว่า คนบางพวกอยู่ในที่

หนึ่ง ได้ทำกรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีพที่ผิดอย่างมาก กรรมนั้นย่อมปรากฏใน

การล่วงเวลานั้น ย่อมปรากฏแล้ว เธอเมื่อไปหมู่บ้านชายแดน หรือ

ฝั่งมหาสมุทรแห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วให้ทำบรรณศาลาอยู่ดุจชาวป่า. พวกมนุษย์

เกิดความยกย่องแล้วถวายปัจจัยแก่เธอ. พวกภิกษุชาวบ้านนอกเห็นความ

เป็นอยู่ของเธอจึงกำหนดว่า ท่านผู้นี้รื่นเริงเหลือเกิน นี่ใครหนอ. ได้รู้แล้ว

ว่า พวกภิกษุผู้ทำมิจฉาชีพชื่อโน้น ในที่โน้นหลีกไป แล้วนั่งปรึกษากัน

ว่า "พวกเราไม่อาจจะทำอุโบสถหรือปวารณาร่วมกับภิกษุนี้ได้" จึงกระทำ

กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมมีอุกเขปนียกรรมเป็นต้น โดยชอบ

ธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ เพื่อทรงให้ภิกษุเหล่านั้นสอบ

สวนถึงข้อปฏิบัติที่ปกปิดเห็นปานนั้นว่ามีหรือไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 399

ข้อว่า "ย่อมรู้อย่างนี้" ความว่า "รู้ว่าทรงเข้าตลอดเวลานาน มิ

ใช่ทรงเข้าตลอดเวลาเล็กน้อย." ก็ข้อที่ศีลอันมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ของพระ

ตถาคตเจ้า ผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณในบัดนี้พึงบริสุทธิ์ตลอดกาล

นานนี้ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในเวลาเป็นพระโพธิสัตว์ศีลของพระองค์ก็ได้เป็น

อย่างนี้.

ทราบว่าในอดีตพระราชา ๒ พระองค์ คือ พระราชาในแคว้นคันธาระ

และพระราชาในแคว้นวิเทหะ ทรงเป็นสหายกัน ทรงเห็นโทษในกามทั้ง

หลาย จึงมอบราชสมบัติแก่พระโอรส ทรงผนวชเป็นฤาษีแล้วเที่ยว

บิณฑบาตในหมู่บ้านป่าหมู่หนึ่ง. ก็ชายแดนหาเกลือได้ยาก ฤาษีทั้งสองนั้น

ได้ข้าวต้มไม่ได้ใส่เกลือแล้วนั่งดื่มบนศาลาหลังหนึ่ง. พวกมนุษย์ในระ

หว่าง ๆ ได้ทำเกลือป่นมาถวาย. วันหนึ่ง คนหนึ่งใส่เกลือป่นบนใบไม้ให้แก่

เวเทหะฤาษี. เวเทหะฤาษีรับแล้วแบ่งไว้ในสำนักของคันธาระฤาษี กึ่ง

หนึ่ง สำนักของตนกึ่งหนึ่ง. แต่นั้น ฤาษีนั้นเห็นเกลือที่เหลือจากบริโภคหน่อย

หนึ่ง จึงกล่าวว่า "เกลือนี้อย่าเสียเลย" แล้วเอาใบไม้ห่อไว้ในดงหญ้า ในเวลา

ดื่มข้าวต้มวันหนึ่ง เวเทหฤาษี ระลึกได้ เมื่อดูไปก็เห็นเกลือนั้นจึงเข้าไปหา

คันธารฤาษี กล่าวว่า ท่านอาจารย์! ขอท่านจงถือเอาหน่อยหนึ่ง จากส่วนนี้.

ค. "เวเทหฤาษี ท่านได้เกลือนี้มาจากไหน"

ว. "เกลือที่เหลือจากการบริโภคในวันนั้น กระผมเก็บไว้ด้วยคิด

ว่า อย่าเสียไปเลย."

คันธารฤาษีไม่ปรารถนาที่จะรับ ได้ดื่มข้าวต้มไม่มีเกลือนั้น

แหละ แล้วกล่าวกับเวเทหฤาษีว่า

ท่านละหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ ที่บริบูรณ์ ท้องพระคลังที่มั่งคั่ง แล้วบัดนี้

มาทำการสั่งสม (เกลือ)."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 400

เวเทหฤาษีได้กล่าวว่า "ท่านละราชสมบัติบวชแล้ว บัดนี้เพราะเหตุ

อะไร จึงไม่ทำกรรมที่สมควรแก่การบวช. เพราะเหตุสั่งสมเพียงเกลือป่น?"

ค. "ผมได้ทำอะไรไว้ล่ะ ท่านเวเทหฤาษี"

ลำดับนั้น เวเทหฤาษี จึงกล่าวกับคันธารฤาษีว่า

"ท่านละแคว้นคันธาระในกรุงที่มีทรัพย์มาก ออกมาแล้วจากการ

ปกครอง แล้วบัดนี้มาปกครองในที่นี้อีก."

ค. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะกล่าวธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ธรรม ข้าพเจ้า

ไม่ชอบใจ เมื่อข้าพเจ้ากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปพัวพัน."

ว. บุคคลอื่น ย่อมได้ความย่อยยับ เพราะการสรรเสริญ อย่างใด

อย่างหนึ่ง หากบัณฑิตไม่พึงกล่าวคำนั้น ที่มีประโยชน์ใหญ่".

ค. "ความใคร่จงย่อยยับไป หรืออย่าย่อยยับไป จงเรี่ยรายไปเหมือน

โปรยแกลบ เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าไปติดพัน."

ลำดับนั้น เวเทหฤาษี คิดว่า "ผู้ใดไม่มีความรู้แม้ของตน ไม่ศึกษา

ระเบียบแบบแผนในสำนักอาจารย์ เขาย่อมเที่ยวไป เหมือนกระบือบอดเที่ยวไป

ในป่า. แล้วกล่าวว่า

"ถ้าความรู้สำหรับตนไม่พึงมีไซร้ หรือไม่ได้ศึกษาวินัยไว้ให้ดี

คนเป็นอันมากจะพึงเที่ยวไป ดุจกระบือบอดเที่ยวไปในป่า. ก็เพราะบุคคล

บางพวก ศึกษาดีแล้วในสำนักอาจารย์ ฉะนั้น เป็นผู้มีวินัยที่บุคคลแนะนำได้

แล้ว มีสติตั้งมั่นเที่ยวไปอยู่."

ก็แลครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ เวเทหฤาษีจึงกล่าวว่า

"เหตุนี้เราไม่รู้กระทำแล้ว. "แล้วให้คันธารฤาษีอดโทษแล้ว. ฤาษี

แม้ทั้ง ๒ ประพฤติตบะแล้วไปสู่พรหมโลก. ถึงในกาลที่พระตถาคตเจ้าเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 401

พระโพธิสัตว์ อาชีวัฏฐมกศีล ก็ได้บริสุทธิ์ตลอดกาลนานอย่างนี้.

บทว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้ปรากฏชื่อเสียง มียศ" ความว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า "ภิกษุผู้มีอายุนี้เป็นครูของเรา ถึงความเป็นผู้อันเขา

รู้แล้ว คือมีชื่อเสียง ได้แก่ ปรากฏแล้ว และตนเองบรรลุบริวารสมบัติหรือ

ไม่หนอ เพราะเหตุนั้น เธอจงสอบสวนอย่างนี้ว่า "โทษบางเหล่าจัก

ปรากฏ โดยความที่ตนปรากฏชื่อเสียง และโดยความที่ตนอาศัยยศ หรือ

ไม่ปรากฏ."

บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพียงนั้นหามิได้" ความว่า ตลอดเวลาที่ภิกษุ

เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียง ในพระราชาและอำมาตย์ของพระราชาเป็น

ต้น หรือซึ่งบริวารสมบัติ โทษบางอย่างมีมานะและมานะจัดเป็นต้นย่อมไม่

มี เธอเป็นดุจว่า ผู้เข้าไปสงบระงับแล้ว ดุจพระโสดาบัน และดุจพระสกทาคามี

อยู่ เธอย่อมเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชี้ชัดว่า เธอเป็นพระอริยะ

หรือ เป็นปุถุชนหนอแล."

บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล" ความว่า ก็เมื่อใดแลภิกษุบาง

พวกในศาสนานี้ เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงแล้ว หรือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย

บริวาร เมื่อนั้น เธอเมื่อจะเบียดเบียนภิกษุเหล่าอื่น ในที่นั้นๆ ดุจโคตัวดุ ไล่เอา

เขาที่แหลมขวิดฝูงโค และดุจเสือเหลืองย่ำยีฝูงเนื้อเป็นผู้ไม่มีความ

เคารพ มีความประพฤติไม่สมประกอบเที่ยวไป ดุจเอาปลายเท้าแตะแผ่นดิน."

ก็กุลบุตรบางพวก เป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงมียศ โดยประการใดๆ

โน้มลงด้วยดีดุจข้าวสาลีที่เต็มด้วยผลพวง โดยประการนั้นๆ เมื่อพระราชา

และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้นเข้าไปหาอยู่ เธอยอมพิจารณาเห็น

ความไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล เข้าไปตั้งความสำคัญ ในความเป็นสมณะ

ไว้ เป็นผู้สงบเสงี่ยม. ไม่เบ่ง มีจิตต่ำ ดุจโคอุสภมีเขาขาด และดุจเด็ก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 402

จัณฑาล ปฏิบัติ แล้วเพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ภิกษุสงฆ์ และแก่ชาว

โลกพร้อมทั้งเทวโลก พระผู้มีพระภาคเจ้า. ทรงหมายเอาการปฏิบัติเห็นปาน

นี้ จึงตรัสว่า "โทษบางอย่างในโลกนี้ ไม่มีแก่เธอ."

ก็พระตถาคตเจ้า ทรงเป็นผู้คงที่ในโลกธรรม ๘ เพราะพระองค์เป็น

ผู้คงที่ในลาภบ้าง ในความไม่มีลาภบ้าง ในยศบ้าง ในความไม่มียศบ้าง

ในนินทาบ้าง ในสรรเสริญบ้าง ในสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ฉะนั้น โทษทั้งหลาย

บางอย่างในโลกนี้จึงไม่มีแก่พระองค์โดยประการทั้งปวงทีเดียว.

บทว่า "เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว" ความว่า เป็นผู้มีภัยหามิ

ได้ เข้าไปยินดีแล้ว อธิบายว่า "เป็นผู้เข้าไปยินดีแล้วโดยส่วนเดียว คือเป็นผู้

เข้าไปยินดีโดยติดต่อ."

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้

เข้าไปยินดีโดยความเป็นภัยหามิได้ ดังนี้บ้าง. ก็ภัยมี ๔ อย่าง คือ ภัยเกิดจาก

กิเลส ๑ ภัยเกิดจากวัฏฏะ ๑ ภัยเกิดจากทุคติ ๑ ภัยเกิดจากการติเตียน

๑ แม้ปุถุชนย่อมกลัวภัย ๔ ประการ, เสขบุคคลทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย ๓

ประการ เพราะว่า พระเสขบุคคลเหล่านั้น ละภัยที่เกิดจากทุคติได้ พระ

เสขบุคคล ๗ จำพวก เป็นผู้ยังไม่ปลอดภัย ดังนี้แล. พระขีณาสพชื่อว่า

เป็นผู้ปลอดภัย ก็ภัยอย่างหนึ่งของท่าน ย่อมไม่มี ภัยที่เกิดจากการ

ติเตียนของผู้อื่นก็ไม่มีแล. ก็เธอย่อมอาศัยความเอ็นดูผู้อื่น แล้วรักษา

ความเข้าไปติเตียนผู้อื่นว่า "สัตว์ทั้งหลาย อาศัยพระขีณาสพเช่นกับ

เรา จงอย่าพินาศเลย ดุจพระเถระผู้อยู่ในมุลุปปลวาปีวิหาร."

ได้ยินว่า พระเถระเข้าไปหมู่บ้านมุลุปปลวาปี เพื่อบิณฑบาต.

ลำดับนั้น คนทั้งหลายรับบาตรของท่านผู้ถึงประตูบ้านตระกูลอุปัฏฐาก

แล้วปูอาสนะอิงเก้าอี้นอน ฝ่ายธิดาของอำมาตย์ อาศัยเก้าอี้นั้นนั่นแล ให้ปู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 403

อาสนะต่ำในส่วนข้างหนึ่งนั่งแล้ว ภิกษุเจ้าถิ่นรูปหนึ่ง เข้าไปบิณฑบาตภาย

หลัง ยืนแลดูที่ประตูบ้านนั่นเทียว กำหนดแล้วว่า "พระเถระนั่งบนเตียงเดียว

กับธิดาอำมาตย์" จึงคิดว่า " ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลนี้ อยู่ในวิหาร เหมือนสงบ

เสงี่ยม แต่นั่งบนเตียงเดียวกันกับธิดาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐากภายในบ้าน"

แล้วตรวจดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า " อะไรหนอ เราเห็นระยำเสียแล้ว'' เป็นผู้สำคัญ

อย่างนั้นแล้วหลีกไป ฝ่ายพระเถระฉันเสร็จแล้ว ไปวัด เข้าที่อยู่ของตน

ปิดประตูนั่งแล้ว. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่น ฉันเสร็จแล้วก็ไปวัด คิดว่า ''เราจักข่มขู่

เธอ แล้วขับภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลออกจากวัด" แล้วไปที่อยู่ของพระเถระโดย

ทำนองการเที่ยวไปอย่างผู้ไม่สำรวมแล้ว เอากระบวยตักน้ำจากหม้อน้ำสำ

หรับฉัน. ทำเสียงดังแล้วล้างเท้า. พระเถระรำพึงอยู่ว่า ''ผู้นี้ใครหนอแล

เป็นผู้เที่ยวไปไม่สำรวมแล้ว" รู้เรื่องทั้งหมดแล้วคิดว่า ''ผู้นี้อย่าได้เป็นผู้ให้ใจ

ประทุษร้ายในเราแล้วเข้าถึงอบายเลย." แล้วเหาะขึ้นนั่งขัดสมาธิ

ใกล้มณฑลช่อฟ้า. ภิกษุเจ้าถิ่นจึงยกหม้อโดยอาการที่จะประทุษร้าย

ได้เปิดประตูเข้าไปข้างในไม่พบพระเถระ คิดว่า ''พระเถระจักเข้าไปใต้

เตียง" จึงตรวจดูไม่พบพระเถระ แม้ในที่นั้นอีก เริ่มจะออกไป. พระเถระจึง

กระแอมขึ้น ภิกษุเจ้าถิ่นนอกนี้ แลขึ้นไปข้างบนเห็นแล้ว ไม่อาจจะอดทนได้

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้มีอายุ การนั่งบนเตียงเดียวกันกับ

ธิดาอำมาตย์ผู้อุปัฏฐาก สมควรแก่ท่าน ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอานุภาพอย่างนี้

หรือ ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่า บรรพชิตทั้งหลาย นั่งบนเตียงเดียวกันกับมาตุ

คามไม่ได้ ก็เหตุนี้ท่านเห็นว่าไม่ดีหรือ" พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมรักการ

เข้าไปติเตียนผู้อื่นอย่างนี้."

บทว่า "เพราะสิ้นราคะ" ความว่า "เพราะความสิ้นไปแห่งราคะนั่น

เอง ย่อมไม่เสพกามทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ อธิบายว่า "ห้ามแล้ว

เสพด้วยการพิจารณาหามิได้."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 404

บทว่า "หากว่า ...ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "คนเหล่าอื่นพึงถามอย่างนี้

กะภิกษุผู้จะสอบสวนนั้น ผู้รู้การละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ แล้ว

นั่งบนธรรมาสน์ที่ตกแต่งแล้วท่ามกลางบริษัท ๔ แม้ในเวลายืนและนั่งเป็น

ต้นนั้นๆ กล่าวสรรเสริญการละกิเลสของพระตถาคตเจ้าอย่างนี้ว่า "แม้

เพราะอย่างนี้ พระศาสดา ทรงเป็นผู้ปราศจากราคะ. โทสะ โมหะ คาย

กิเลศ ละมลทินได้ ทรงบริสุทธิ์อย่างดี เหมือนพระจันทร์เพ็ญพ้นจากหมอก

ฉะนั้น."

บทว่า "อาการ" ได้แก่ "เหตุ."

บทว่า "ไปตาม" ได้แก่ "รู้ตาม."

บทว่า "หรือว่า อยู่ในสงฆ์" ความว่า "บางคราวอยู่ท่ามกลางภิกษุ

ที่กำหนดนับไม่ได้."

บทว่า "หรือว่า ผู้เดียวเสด็จประทับอยู่" ความว่า "ผู้เดียว ประทับ

อยู่ในที่หลีกเร้น และในชัฏป่าปาริเลยยกะอย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย!

เราปรารถนาเพื่อจะหลีกเร้นกึ่งเดือน (บ้าง) ๓ เดือน (บ้าง)."

บทว่า "ผู้ไปดีแล้ว" ความว่า "ผู้ไปดีแล้ว คือเป็นผู้ปฏิบัติดี ได้แก่

เป็นผู้ที่ประกอบสมควรแก่เหตุ." ก็ภิกษุบางพวกแม้ เห็นปานนี้ก็มีอยู่."

บทว่า "ไปไม่ดีแล้ว" ความว่า "ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยว

หนักมาก ละกรรมฐาน ภิกษุบางรูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่."

บทว่า "ตามสอนคณะ" ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องเพราะเกี่ยว

ข้องด้วยคณะเป็นผู้ยินดีในคณะ มากในคณะ บริหารคณะอยู่." ภิกษุบาง

รูป แม้เห็นปานนี้ก็มีอยู่. ภิกษุเหล่านั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อภิกษุพวกนั้น เป็นผู้

แล่นออก สลัดออกจากคณะ ไม่ประกอบอยู่ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 405

บทว่า "ย่อมปรากฏในอามิส" ความว่า "พวกภิกษุผู้มุ่งในอามิสทั้ง

หลาย เป็นผู้โลภในอามิส มีจักษุเพ่งแต่อามิส เที่ยวไปเพื่ออามิส คือปัจจัย

๔ เท่านั้นก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ถูกอามิสฉาบทาแล้ว มีใจผ่องใสจากปัจจัย

๔ เป็นเช่นกับดวงจันทร์ที่พ้นจากหมอกอยู่ก็มีอยู่.

บทว่า "ท่านผู้นี้ย่อมดูหมิ่นผู้นั้น ด้วยอามิสหามิได้" ความว่า

" ความยกขึ้นด้วยอำนาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธออย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ

นี้ เป็นครู ย่อมไม่ดูหมิ่นบุคคลนั้นๆ ด้วยข้อปฏิบัตินั้นๆ ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติดี

เป็นนักปฏิบัติ นี้ชื่อว่าเป็นผู้แล่นออก สลัดออกจากคณะ ผู้นี้เป็นผู้ที่อามิสไม่

ฉาบทาแล้ว เป็นผู้มีจิตใจผ่องใสจากจากปัจจัยทั้งหลาย เหมือนดวงจันทร์ที่พ้น

จากหมอกฉะนั้น ดังนี้บ้าง." ความข่มขู่ด้วยอำนาจอาศัยเรือนย่อมไม่มีแก่เธอ

อย่างนี้ว่า "ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติไม่ดี ไม่ใช่นักปฏิบัติ เป็นผู้มีกายหนักแน่น สละ

กรรมฐาน ผู้นี้เป็นผู้เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่ โลภในอามิส โลเล มีจักษุจ้องแต่

อามิส ดังนี้บ้าง." ถามว่า "คำอะไรเป็นอันภิกษุนี้กล่าวไว้" ตอบว่า "ท่านย่อม

เป็นผู้กล่าว ความเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคตเจ้า."

ก็พระผู้เป็นมุนีนี้ มีพระทัยเสมอต่อเหล่าสัตว์ทั้งปวง คือ

ต่อพระเทวทัต นายขมังธนู โจรองคุลิมาล ในช้างธนบาล

และในพระราหุล.

บทว่า ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุผู้จะสอบสวนเหล่านั้น" ความว่า

"ก็ในบรรดาภิกษุผู้จะสอบสวนทั้งสองนั้น ภิกษุนี้ใดได้มาถึงแล้วในเพราะ

การถามว่า "ก็อะไรเป็นอาการของท่าน นี้ชื่อว่า ผู้สอบสวนข้อขอด."

อนึ่ง ผู้ใดมาแล้วด้วยคิดว่าท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีภัยเข้าไปยินดีแล้ว ชื่อว่า ผู้สอบ

สวนข้อมูล. ในบุคคลทั้ง ๓ ผู้สอบสวนเหล่านั้น ผู้สอบสวนข้อมูลจะพึงกลับ

ถามพระตถาคตเจ้าให้หนักขึ้นไปอีกเทียว. อธิบายว่า "ข้อแรก แม้เธอก็จะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 406

ถึงความตกลงใจด้วยถ้อยคำของผู้อื่น ก็ขึ้นชื่อว่า ผู้อื่นเมื่อรู้บ้าง ไม่รู้

บ้าง ก็จะพึงกล่าว, ถ้อยคำของเธอเป็นถ้อยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้างอย่าง

นี้ เพราะฉะนั้น เธอไม่ถึงความตกลงใจในถ้อยคำของผู้อื่นนั่นเอง จะพึงถาม

พระตถาคตเจ้าใหญ่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีกเทียว.

ในคำว่า "เมื่อพยากรณ์ นี้ เพราะขึ้นชื่อว่า พระตถาคตเจ้าไม่

มีพยากรณ์ผิดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ถูก ผิด (แต่)

ตรัสว่า "ทรงพยากรณ์อยู่."

บทว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้นเป็นหนทาง มีอาชีวัฎฐมกศีลนั้น

เป็นโคจร" ความว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีลบริสุทธิ์ว่า "นี่เป็นทางของ

เรา นี่เป็นโคจรของเรา บาลีว่า "เอตาปาโถ ดังนี้บ้าง."

บทว่า "เอตาปาโถ" นั้นมีอธิบายว่า "เราเป็นผู้มีอาชีวัฎฐมกศีล

บริสุทธิ์ เรานั้นชื่อว่าเป็นผู้อาชีวัฎฐมกศีลเป็นทาง ด้วยมุขคือญาณของภิกษุผู้

ชื่อว่าสอบสวนนั้น เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีคำอธิบายว่า ''เรา

มาปรากฏตัวอย่างนี้."

ด้วยบทว่า "เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชีวัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลนั้นหา

มิได้" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "ก็เราเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยอาชี

วัฎฐมกศีลนั้น ด้วยศีลที่บริสุทธิ์แม้นั้นหามิได้ เป็นผู้มีตัณหาหามิได้ ชื่อว่า

เป็นผู้หมดตัณหา เพราะความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์นั่นเอง."

บทว่า "ยิ่งๆ ขึ้นไป และประณีตยิ่งขึ้น" ความว่า "พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงให้ยิ่งขึ้นไป และให้ประณีตยิ่งขึ้นไป."

บทว่า "ที่มีส่วนเทียบทั้งฝ่ายดำและขาว" ความว่า "ทั้งดำและขาว."

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ทั้งฝ่ายดำและขาวนั้นมีส่วนเทียบกัน ให้มี

วิบากเท่ากันแล้วทรงห้ามส่วนที่ดำ ทรงแสดงทั้งฝ่ายดำและขาว ให้มีส่วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 407

เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ขาว และทรงห้ามส่วนที่ขาวแล้ว แสดงทั้งส่วนดำและ

ขาวให้มีส่วนเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ดำ ดังนี้."

ก็แม้เมื่อทรงแสดงส่วนที่ดำ ก็ทรงแสดงพร้อมทั้งอุตสาหะและ

วิบาก. เมื่อทรงแสดงส่วนที่ขาว ก็ย่อมทรงแสดงพร้อมทั้งความอุตสาหะและ

วิบาก.

บทว่า "ถึงความตกลงใจในธรรมทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบาง

อย่างในศาสนานี้" ความว่า ถึงความตกลงใจในพระธรรมเทศนา ด้วย

ธรรมคือการแทงตลอดที่รู้ยิ่งแล้วนั้น ด้วยความรู้ยิ่งซึ่งธรรมบางอย่างใน

ธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น."

บทว่า "เลื่อมใสในพระศาสดา" ความว่า "ถึงความตกลงใจในธรรม

อย่างนี้ แล้วเลื่อมใสในพระศาสดาโดยประมาณ โดยยิ่งว่า "พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ" ย่อมเลื่อมใสในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์ก็อย่าง

นี้ว่า "ก็พระธรรมใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว พระธรรมแม้

นั้น ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะเป็นเครื่องนำออก.

พระสงฆ์ใดปฏิบัติธรรมนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระสงฆ์

แม้นั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว เพราะปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เว้นจากโทษมีการคดเป็น

ต้น."

บทว่า "ถ้าว่า.....ซึ่งภิกษุนั้น" ความว่า "ซึ่งภิกษุนั้น ผู้เลื่อมใสแล้ว

อย่างนี้ กล่าวสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยในที่นั้นๆ."

บทว่า "อาการเหล่านี้" ความว่า "ด้วยเหตุเป็นเครื่องสอบสวนพระ

ศาสดาเหล่านี้."

บทว่า "ด้วยบทเหล่านี้" ได้แก่ "บทเป็นเครื่องรวบรวมอักขระเหล่า

นี้."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 408

บทว่า "มีความเชื่อตั้งมั่น" ได้แก่ "ความแนบแน่นตั้งมั่นแล้ว."

บทว่า "มีความเกิดเป็นมูล" ได้แก่ "มีมูลเกิดพร้อมแล้วด้วยอำนาจ

โสดาปัตติมรรค." ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า เป็นมูลแห่งศรัทธา.

บทว่า "มีอาการ" ได้แก่ "ชื่อว่ามีเหตุ เพราะท่านแสวงหาเหตุแล้วจึง

ถือเอา."

บทว่า "มีความเห็นเป็นมูล" ได้แก่ เป็นมูลแห่งโสดาปัตติมรรค.

ก็โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า "ความเห็น."

บทว่า "มั่น" ได้แก่ ยั่งยืน."

บทว่า "อันใครนำไปไม่ได้" ได้แก่ "อันใครๆ ไม่อาจนำไปได้."

บทว่า "หรือสมณะ" ได้แก่ หรือว่าสมณะผู้มีบาปอันสงบแล้ว.

บทว่า "หรือว่าพราหมณ์" ได้แก่ "หรือว่าพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว."

บทว่า "หรือว่า เทพ" ได้แก่ "อุปบัติเทพ."

บทว่า "หรือว่า มาร" ได้แก่ "หรือว่าวสวัตตีมาร. ก็ความเชื่อของ

พระโสดาบันนั้นเป็นสภาพที่เทวดา แม้วสวัตตีมารก็ลักไปไม่ได้ ดุจความเชื่อ

ของนายสูรผู้อยู่ป่ามะม่วง.

ทราบว่า นายสูระนั้น ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นพระ

โสดาบันแล้วไปเรือน. ลำดับนั้นจึงเนรมิตเป็นรูปเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า

ที่ประดับด้วยพระลักษณะอย่างเลิศ ๓๒ ประการ แล้วยืนที่ประตูเรือน

ของสูรอุบาสก ส่งข่าวไปว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว." สูรอุบาสก คิดแล้ว

ว่า "เราฟังธรรมจากสำนักของพระศาสดาแล้วเดี๋ยวนี้เอง จักมีเหตุอะไรหนอ

แล" จึงเข้าไปเฝ้าแล้วได้ยืนถวายบังคมด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดา.

มารกล่าวแล้วว่า "สูรัมพัฏฐ คำใดที่เรากล่าวแล้วกับท่านว่า "รูปไม่

เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง เพราะคำนั้น เรากล่าวแล้วไม่ถูก เราไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 409

ใคร่ครวญกล่าวแล้วอย่างนี้ ฉะนั้น ท่านจงถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณ

เที่ยง."

สูรอุบาสก จึงคิดว่า "ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงใคร่ครวญ

แล้ว พึงตรัสคำไรๆ ไม่ให้แจ่มแจ้งแล้วนั้นเป็นไปไม่ได้. ผู้นี้จักเป็นมารมาเพื่อ

ให้เราเข้าใจผิดแน่แท้. ลำดับนั้น จึงกล่าวกะมารนั้นว่า "ท่านเป็นมารหรือ"

มารนั้นไม่อาจจะกล่าวเท็จได้จึงรับว่า "เออ...เราเป็นมาร." ถูกสูร

อุบาสกกล่าวว่า "มาเพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า "เพื่อให้ศรัทธาของท่านคลอน

แคลน."

สูรอุบาสกจึงดีดนิ้วให้รู้ว่า เจ้ามารดำผู้มีบาป เจ้าผู้เดียวจงหยุด

ก่อน มารเช่นเจ้าตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจให้ศรัทธาของเราหวั่นไหวได้

ขึ้นว่าศรัทธาที่มาแล้วโดยมรรคย่อมไม่หวั่นไหว ดุจภูเขาสิเนรุที่ตั้งอยู่บน

แผ่นดินที่เป็นศิลา เจ้าจะอยู่ในที่นี้ทำไม" มารนั้นไม่อาจดำรงอยู่ในที่

นั้น ได้อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเทียว.

บทว่า "หรือว่า พรหม" ความว่า "หรือว่าบรรดาพรหมมีพรหม

กายิกะเป็นต้น พรหมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง."

บทว่า "หรือว่าใครๆ ในโลก" ความว่า "เว้นสมณะเป็นต้นเหล่า

นี้ หรือว่า ใครๆ แม้อื่นในโลกก็ไม่สามารถนำไปได้.

การสอบสวนภาวะของตน ชื่อว่า การสอบสวนธรรม.

บทว่า "ตั้งมั่นในการสอบสวนอย่างดี ตามธรรมดา" ได้แก่ ดำรงอยู่

ในการสอบสวนอย่างดีโดยธรรมดา." อธิบายว่า " เป็นผู้ถูกสอบสวนแล้ว

อย่างดี ตามภาวะของตนทีเดียว. คำทีเหลือในทุกบทตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวีมังสกสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 410

๘. โกสัมพิยสูตร

เรื่องพระเถระวิวาทกัน

[๕๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม

เขตพระนครโกสัมพี.

สมัยนั้น พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกัน

และกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความเข้าใจ

กัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน

ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาท

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ขอประ

ทานพระวโรกาส พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกัน

และกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความเข้าใจ

กัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วรับ

สั่ง ว่า "ภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า

พระศาสดาของพวกเรารับสั่งให้หาพวกท่านผู้มีอายุ."

ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "อย่างนั้น พระ-

พุทธเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้วบอกว่า พระศาสดารับ

สั่งให้หาท่านผู้มีอายุทั้งหลาย."

ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า "อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ" ดังนี้ แล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 411

[๕๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้ง

หลาย! ได้ยินว่าพวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือ

ปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกันไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ทำให้ปรอง

ดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน จริงหรือ."

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด พวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วย

หอกคือปากอยู่ สมัยนั้น พวกเธอเข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจี

กรรม และเมตตามโนกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับ

หลัง บ้างหรือหนอ."

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า "ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า"

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัย

ใดพวกเธอเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่

สมัยนั้นพวกเธอมิได้เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตา

มโนกรรม ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง โมฆบุรุษทั้ง

หลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่ม

แทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ปรับความเข้าใจกัน ไม่ปรารถนาความ

เข้าใจกัน ไม่ทำให้ปรองดองกัน ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน โมฆบุรุษ

ทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เธอทั้ง

หลายตลอดกาลนาน".

เรื่องสาราณิยธรรม ๖ ประการ

[๕๔๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกภิกษุทั้งหลาย

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 412

กัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท

กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ๖ ประการเป็น

ไฉน. ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบ

ด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็น

เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกันทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ

สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น

พวกเดียวกัน".

"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วย

เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็น

เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ

สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น

พวกเดียวกัน".

"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรม อันประกอบ

ด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้

นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อ

ความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อ

ความเป็นพวกเดียวกัน".

"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดย

ธรรม ที่สุดเป็นลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้

เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับเพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้เป็นเหตุ

ให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกันทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์

กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวก

เดียวกัน".

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 413

"ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง

ไม่พร้อย เป็นไทย อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาเป็นต้นไม่ครอบงำ เป็นไป

เพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้ง

หลายทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความ

รักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาท

กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน".

ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยา-

นิกธรรม อันนำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึง

ความเป็นผู้เสมอด้วยทิฏฐิเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและ

ในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความ

เคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ

พร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน".

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน

ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ

ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ภิกษุทั้ง

หลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้

ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖ ประการ

นี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้ ดังว่าเป็นยอดยึดคุมกูฏาคารไว้ ฉะนั้น".

[๕๔๓] ภิกษุทั้งหลาย! ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยา

นิกธรรม นำออกซึ่งบุคคลทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็น

ไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็

ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส

ใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 414

เรายังละไม่ได้มีอยู่หรือหนอ. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้ม

รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันพยาบาทกลุ้ม

รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้ม

รุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะ

กลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันวิจิกิจฉา

กลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็นผู้ขวนขวาย

ในการคิดเรื่องโลกหน้า ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้ว

เทียว และเกิดขัดใจทะเลาะวิวาททิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่

ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้

ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้วไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง

ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว

เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับ

พวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว".

[๕๔๔] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อิรยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้

ว่า เมื่อเราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน

ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้

ว่า เมื่อเราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อม

ได้ความดับกิเลสเฉพาะตน นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับ

ปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว."

[๕๔๕] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง

นี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรม

วินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือหนอ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้

ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 415

นี้ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่ว

ไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[๕๔๖] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง

นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ

ด้วยธรรมดาเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วย

ธรรมดาอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ คือความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่น

นั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่ง

อาบัตินั้นในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้ง

หลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบ

เหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนี

เร็วพลัน ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น

นี้ญาณที่ ๔ เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวก

นั้นบรรลุแล้ว".

[๕๔๗] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง

นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ

ด้วยธรรมดาเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ธรรมดาอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิ คืออริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอยู่ซึ่งไร ของ

เพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา

อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่ เปรียบเหมือนแม่

โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วย ฉะนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 416

ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด

ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็น

โลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชนอันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[๕๔๘] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง

นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ. ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย

พละเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละ

อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น

เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ฉันบัณฑิตแสดงอยู่ ทำให้มีประโยชน์

ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้

ว่า บุคคลผูถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย

พละเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๖ เป็นอริยะ เป็นโลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวก

ปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[๕๔๙] "ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดัง

นี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วย

พละเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย! ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละ

อย่างไร ภิกษุทั้งหลาย! พละนี้ของบุคคลผูถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวก

นั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้

อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม อริย

สาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่น

ใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ เป็น

โลกุตตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว".

[๕๕๐] "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์

๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้วด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 417

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบ

พร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ โกสัมพิยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 418

อรรถกถาโกสัมพิยสูตร

โกสัมพิกสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ใกล้กรุงโกสัมพี" ความว่า ใกล้พระ

นครมีชื่ออย่างนี้. ทราบว่า ได้มีต้นเล็บเหยี่ยวอย่างหนาแน่นในที่มีสวนและสระ

โบกขรณีเป็นต้นเหล่านั้นๆ แห่งพระนครนั้น เพราะฉะนั้น พระนครนั้นได้ถึง

การนับว่า โกสัมพี. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่า โกสัมพี เพราะฤาษี

ชื่อ กุสัมพะ ให้สร้างไว้ไม่ไกลจากอาศรม. บทว่า "โฆสิตาราม" ได้แก่

อารามที่โฆสิตเศรษฐีให้สร้างไว้.

ได้ยินว่า ในครั้งก่อนได้มีแว่นแคว้นชื่อว่า อทิละ ลำดับนั้น คนเข็ญ

ใจคนหนึ่งชื่อ โกตุหลิก ก็เพราะเกิดฉาตกภัยจึงพร้อมด้วยบุตรและภรรยาไป

แว่นแคว้นที่กำหนดตามคันนา เมื่อไม่อาจจะพาบุตรไปได้ จึงทิ้งแล้วไป

มารดาได้กลับมาอุ้มบุตรนั้นไป. ทั้งสองคนนั้นเข้าไปยังบ้านผู้เลี้ยงโคหลัง

หนึ่ง. ก็ครั้งนั้น คนทั้งหลายได้จัดแจงข้าวปายาสอย่างมากไว้เพื่อผู้เลี้ยงโค

ทั้งหลาย สามีภรรยาทั้งสองนั้นได้ข้าวปายาสจากบ้านนั้นบริโภคแล้ว

ขณะนั้น เมื่อบุรุษนั้นบริโภคข้างปายาสมาก ไม่อาจจะให้ย่อยได้ ตายลง

ตอนกลางคืน ถือปฏิสนธิเกิดเป็นลูกสุนัขในท้องของสุนัขตัวเมียในบ้าน

นั้น. ลูกสุนัขนั้นได้เป็นที่รัก ที่โปรดปรานของผู้เลี้ยง. ก็ผู้เลี้ยงโคได้บำรุง

พระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่. ถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อฉันเสร็จแล้ว ก็ให้ก้อน

ข้าวก้อนหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น. มันทำความรักให้เกิดในพระปัจเจกพุทธเจ้า

ไปบรรณศาลากับผู้เลี้ยงโค. เมื่อผู้เลี้ยงโคไม่ได้ตระเตรียม ลูกสุนัขนั้นก็ไปใน

เวลาฉันด้วยตนเองแล้วเห่าที่ประตูบรรณศาลา เพื่อจะบอกเวลา แม้เมื่อเห็น

เนื้อร้ายระหว่างทางก็เห่าให้หนีไป. ลูกสุนัขนั้น มีจิตอ่อนโยนในพระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 419

พุทธเจ้า ตายแล้วเกิดในเทวโลก. ครั้งนั้นเทพบุตรนั้นได้มีชื่อว่า โฆสก-

เทพบุตร. เมื่อเคลื่อนจากเทวโลกได้เกิดในเรือนตระกูลหลังหนึ่งในกรุงโกสัมพี

เศรษฐีเป็นผู้ไม่มีบุตร จึงให้ทรัพย์แก่บิดามารดาของเด็กนั้น พามาเป็น

บุตร.

ลำดับนั้น เมื่อบุตรของตนเกิด เศรษฐีนั้นได้พยายามเพื่อจะฆ่าถึงเจ็ด

ครั้ง. เด็กนั้น เพราะตนมีบุญไม่ถึงความตายในที่ ๗ แห่ง ครั้งสุดท้ายได้ชีวิต

เพราะความฉลาดของธิดาเศรษฐีคนหนึ่ง. ต่อมา เมื่อบิดาล่วงไปจึงได้

ตำแหน่งเศรษฐีชื่อว่า โฆสิตเศรษฐี. ในกรุงโกสัมพี มีเศรษฐีอื่นอยู่แล้ว

๒ คน คือ กุกกุฏเศรษฐี ๑ ปาวาริกเศรษฐี ๑ รวมโฆสิตเศรษฐีนี้เข้าด้วยจึง

มี ๓ คน.

ครั้งนั้น พวกเศรษฐีผู้เป็นสหายกันนั้นมีฤาษี ๕๐๐ เป็นชีต้นอยู่เชิง

ภูเขา. บางครั้ง บางคราว พวกฤาษีนั้นจะมาถิ่นของมนุษย์เพื่อต้องการเสพรส

เค็มและเปรี้ยว. คราวหนึ่งในฤดูร้อน เมื่อไปถิ่นมนุษย์ได้ก้าวถลำที่กันดาร

อย่างมาก หาน้ำมิได้ เมื่อสุดที่กันดารแล้ว เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง คิดกัน

ว่า "ในต้นไม้นี้น่าจะมีเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่สิงอยู่แน่ จะเป็นความดีหนอ

ถ้าเทวดานั้นจะพึงให้น้ำดื่มและของควรบริโภคแก่พวกเรา". เทวดารู้อัธยาศัย

ของพวกฤาษีนั้น จึงคิดว่า "เราจะสงเคราะห์พวกฤาษีนี้" ด้วยอานุภาพ

ตน จึงบันดาลให้สายน้ำประมาณงอนไถ ไหลจากระหว่างคบไม้ หมู่

ฤาษีเห็นเกลียวน้ำเหมือนลำแท่งเงิน จึงเอาภาชนะของตนตักน้ำบริโภค

พากันคิดว่า "พวกเราเทวดาให้น้ำดื่ม ก็ป่าใหญ่นี้ไม่มีหมู่บ้าน จะพึง

เป็นความดีหนอ ถ้าเทวดาจะให้อาหารแม้แก่พวกเรา. เทวดาจึงให้ข้าวต้ม

และของขบเคี้ยวที่เป็นทิพย์เป็นต้นให้อิ่มหนำแล้วด้วยอำนาจการเข้าไป

สำเร็จแก่พวกฤาษี. พวกฤาษีต่างพากันคิดว่า "พวกเราเทวดาให้ของทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 420

ไม่ว่าเป็นน้ำดื่มและอาหาร ถ้าเทวดาจะพึงแสดงตนแก่พวกเราก็จะดีหนอ.

พวกฤาษีนั้นจึงกล่าวว่า ท่านเทวดา สมบัติของท่านมาก ทำกรรมอะไร

ไว้ จึงบรรลุสมบัตินี้"

ท. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำกรรมนิดหน่อยไม่ใหญ่โตอะไร

ก็เทวดาอาศัยอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่งจึงได้สมบัตินั้น.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น เทพบุตรนี้ได้เป็นคนตนในเรือนของท่านอนาถบิณ-

ฑิกะ. เพราะว่าในเรือนของเศรษฐี ทุกวันอุโบสถ คนทั้งหมดโดยที่สุดทาส

และคนงานก็เป็นผู้รักษาอุโบสถ. วันหนึ่ง คนงานนี้ผู้เดียวเท่านั้น ลุกขึ้นแต่

เช้าตรู่ไปทำงาน. มหาเศรษฐีเมื่อได้กำหนดมนุษย์ผู้ที่ควรจะได้อาหารทั้งหลาย

ได้รู้ว่า "เขาคนเดียวเท่านั้นไปป่าเสียแล้ว" จึงได้ให้จัดอาหารไว้เพื่อเวลา

เย็น. หญิงรับใช้ผู้เป็นแม่ครัวหุงข้าวเพื่อเขาคนเดียวเท่านั้น เมื่อเขากลับจาก

ป่าจึงได้คดข้าวไปให้. คนงานจึงกล่าวว่า "เวลานี้วันอื่นๆ ทั้งเรือนได้มีเสียง

อย่างเดียว วันนี้เงียบสนิทเหลือเกิน นี่เหตุอะไรหนอแล". แม่ครัวนั้น บอกแก่

เขาแล้วว่า วันนี้ในเรือนนี้คนทั้งหมดเป็นผู้รักษาอุโบสถ มหาเศรษฐีได้ให้

จัดอาหารเฉพาะท่านผู้เดียว"

ก. จริงหรือแม่.

ท. จริงจ๊ะ.

ก. ผู้สมาทานอุโบสถเวลานี้จะเป็นอุโบสถกรรมหรือไม่ แม่ ท่าน

จงถามมหาเศรษฐีอย่างนี้เถิด".

มหาเศรษฐีถูกหญิงรับใช้ไปถามจึงกล่าวว่า "ไม่เป็นอุโบสถทั้งหมด

หรอก แต่จะเป็นอุโบสถกึ่งหนึ่ง เขาจงรักษาอุโบสถเถิด." คนงานนั้นจึง

ไม่บริโภคอาหาร บ้วนปาก รักษาอุโบสถไปที่อยู่ของตน แล้วนอน

เมื่อเขามีร่างกายสิ้นอาหาร ลมได้กำเริบแล้วในกลางคืน ตายเวลาเช้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 421

มืด เกิดเป็นเทพบุตรที่ต้นไทรในดงไทรใหญ่ เพราะผลเป็นเครื่องไหลแห่ง

อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง เทพบุตรนั้น บอกความเป็นไปนั้นแก่พวกฤาษี.

ฤ. ท่านประกาศบอกสิ่งที่เราไม่เคยได้ยิน ว่าพระพุทธ พระ

ธรรม และพระสงฆ์ให้ได้ยินว่า "พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้วหรือ

หนอ.

ท. ทรงอุบัติขึ้นแล้วครับท่านผู้เจริญ.

ฤ. บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหน

ท. ทรงอาศัยกรุงสาวัตถีประทับอยู่ในพระเชตวัน ท่านผู้เจริญ.

ฤ. ท่านจงหยุดูก่อนเถิด พวกข้าพเจ้าจักเฝ้าพระศาสดา ต่างร่าเริง

ยินดี ออกไปถึงพระนครโกสัมพีโดยลำดับ. พวกมหาเศรษฐีทราบว่า

ฤาษีทั้งหลายมาแล้ว จึงต้อนรับแล้วว่า ท่านขอรับ. พรุ่งนี้ ขอจงรับภิกษา

ของพวกข้าพเจ้า ครั้งถึงวันรุ่งขึ้นก็ได้ถวายมหาทานแก่คณะฤาษี.

พวกฤาษีฉันแล้วจึงถามกันว่า พวกเราจะไปกันนะ.

ศ. ท่านผู้เจริญ. พระคุณเจ้าเวลาอื่นละก็พักอยู่เดือน ๑ บ้าง ๒

เดือนบ้าง ๓ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง จึงจะไป แต่ครั้งนี้มาเมื่อวานนี้กล่าว

ว่า พวกเราจะไปวันนี้จริงๆ นี้เหตุอะไร.

ฤ. ใช่แล้ว ท่านคฤหบดี. พระพุทธเจ้าทรงอุบัติในโลกแล้ว เราไม่

สามารถรู้อันตรายชีวิตได้ เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงรีบไป.

ศ. ท่านครับ ถ้าเช่นนั้น แม้พวกข้าพเจ้าก็จะไปด้วย ขอพวกท่านจง

ไปรวมกับพวกข้าพเจ้าเถิด.

ฤ. พวกท่านชื่อว่า เป็นมหาชนอยู่ครองเรือน จงหยุดก่อน พวก

ข้าพเจ้าจะไปก่อน ดังนี้ พากันออกไป ไม้พักที่หนึ่งเกิน ๒ วัน ได้ไปอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 422

รีบร้อนนั่นเทียว ถึงเมืองสาวัตถีแล้วจึงมาสำนักพระศาสดาในพระเชตวัน

วิหาร. ทั้งหมดนั่นเทียว ฟังธรรมกถาอย่างไพเราะในที่นั้น บวชแล้ว ได้

บรรลุพระอรหัต.

ฝ่ายเศรษฐีทั้ง ๓ ขับเกวียนไปคนละ ๕๐๐ เล่มบรรทุกเนยใส น้ำ

ผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเปลือกไม้เป็นต้น ออกจากกรุงโกสัมพีถึงเมืองสาวัตถีโดย

ลำดับ ผูกค่ายใกล้พระเชตวัน พากันไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคมทำ

ปฏิสันถารแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอย่าง

ไพเราะแก่สหายแม้ทั้ง ๓. พวกเศรษฐีเหล่านั้นเกิดโสมนัสอย่างแรง ทูล

นิมนต์พระศาสดา วันรุ่งขึ้นได้ถวายมหาทาน. พวกเขาถวายแล้วทุกวันรุ่ง

ขึ้นๆ รวมความแล้วได้ถวายอย่างนี้ตลอดครึ่งเดือนทีเดียว หมอบที่ใกล้พระ

บาทกราบทูลว่า "ขอพระองค์จงประทานปฏิญาณเพื่อเสด็จมาชนบทของ

พวกข้าพระองค์." พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คฤหบดีทั้งหลาย พระ

ตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมยินดีอย่างยิ่งในเรือนอันว่างเปล่า". พวกคฤหบดีต่าง

กำหนดกันว่า "เหตุเท่านี้ ก็เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานปฏิญาณ

แล้ว" แล้วคิดว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานปฏิญาณแก่พวกเรา

แล้ว ถวายบังคมพระทศพลออกไปให้สร้างวิหารทุกๆ หนึ่งโยชน์ระหว่าง

หนทางถึงกรุงโกสัมพีโดยลำดับ ต่างพากันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

ในโลกแล้ว. ฝ่ายเศรษฐีทั้ง ๓ บริจาคทรัพย์จำนวนมากในอารามของ

ตน ให้สร้างวิหารสำหรับเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เศรษฐี

ทั้ง ๓ นั้น กุกกุฏเศรษฐีให้สร้างกุกกุฏาราม.ปาวาริกเศรษฐีให้สร้างปาวาริ

กัมพวัน ในป่ามะม่วง. โฆสิตเศรษฐีให้สร้างโฆสิตาราม. พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงหมายเอาโฆสิตารามนั้น จึงตรัสว่า ในอารามที่โฆสิตเศรษฐี

ให้สร้างไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 423

ในบทเป็นต้นว่า "เกิดความบาดหมาง" ควรทำวิเคราะห์ว่า เบื้องต้น

แห่งความทะเลาะชื่อว่าความบาดหมาง ความบาดหมางนั้นเกิดแก่ภิกษุเหล่า

นั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า มีความบาดหมางเกิด. การทะเลาะที่ถึงที่สุดด้วย

อำนาจการประมือเป็นต้น เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้น เหตุนั้น ชื่อว่า ผู้มีความทะเลาะ

เกิดแล้ว.

สองบทว่า "วาทะที่ผิดกัน" ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ถึงการวิวาท

นั้น เหตุนั้น ชื่อว่าถึงการกล่าวต่างกัน. บทว่า "ด้วยหอกคือปาก" ได้

แก่ ด้วยหอกคือวาจาทั้งหลาย.

บทว่า "เจาะอยู่" คือ แทงอยู่.

หลายบทว่า "ภิกษุเหล่านั้นไม่ยังกันและกันให้ยินยอม และไม่เข้าถึง

ความยินยอม" ความว่า ภิกษุเหล่านั้น แสดงเหตุผลแล้วไม่ยินยอมกันและ

กัน. อธิบายว่า ถ้าปรารถนาจะให้กันและกันยินยอมไซร้. พวกเธอก็จะไม่

เข้าถึงความยินยอมแม้อย่างนั้น (ทั้ง) ไม่ปรารถนาเพื่อจะยินยอม. แม้ในการ

เพ่งเล็งก็นัยนี้. คำว่า เห็นในคำว่า เพ่งเล็งนั้น เป็นไวพจน์ของคำว่า "รู้พร้อม"

ทราบว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ พระฝ่ายทรงวินัย และพระฝ่ายทรงพระ

สูตร อยู่วัดเดียวกัน. ทั้ง ๒ รูปนั้นภิกษุฝ่ายทรงพระสูตร วันหนึ่งเข้าเวจกุฎี

เหลือน้ำสำหรับล้างไว้ในภาชนะแล้วออกไป ภิกษุผู้ทรงวินัยเข้าไปภาย

หลัง เห็นน้ำนั้น ออกมาแล้วถามภิกษุนั้นว่า คุณ น้ำนี้คุณเหลือไว้หรือ.

ส. ใช่ คุณ.

ว. ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติในเพราะเหตุนั้นหรือ.

ส. ครับ ไม่ทราบ.

ว. ช่างเถอะคุณ เป็นอาบัติในข้อนี้.

ส. ถ้ามี ผมจะแสดง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 424

ว. คุณ ก็ถ้าคุณไม่จงใจทำลงไปเพราะขาดสติ คุณก็ไม่เป็นอาบัติ.

ภิกษุผู้ทรงพระสูตร ได้เป็นผู้เห็นว่า ไม่เป็นอาบัติในสิ่งที่เป็น

อาบัติ. ภิกษุผู้ทรงวินัย จึงบอกแก่พวกนิสิตของตนว่า ท่านผู้ทรงพระสูตร

นี้ แม้ต้องอาบัติก็ยังไม่รู้". พวกภิกษุนิสิตของภิกษุฝ่ายวินัย เห็นพวกนิสิต

ของภิกษุผู้จำพระสูตรจึงกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่าน แม้ต้องอาบัติ

แล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ. ภิกษุผู้นิสิตของภิกษุผู้ทรงจำพระสูตรเหล่า

นั้น จึงไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน. ภิกษุผู้ทรงจำพระสูตรจึงกล่าวอย่างนี้

ว่า พระวินัยธรนี้ ครั้งก่อนกล่าวว่าไม่เป็นอาบัติ บัดนี้กล่าวว่าเป็น

อาบัติ เขาเป็นคนกล่าวเท็จ". พวกนิสิตของภิกษุผู้ทรงพระสูตร จึงไปกล่าว

ว่า อุปัชฌาย์ของพวกท่านกล่าวเท็จ ดังนี้ แพร่ความทะเลาะไปสู่กันและ

กัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความทะเลาะนั้น จึงตรัสคำนี้ไว้.

บทว่า "ได้กราบทูลอย่างนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า" ความว่า

ได้กราบทูลคำเบื้องต้นนั้นว่า พระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ขอประทาน

โอกาส พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีเกิดความบาดหมางกันแล้ว. ก็ภิกษุนั้นไม่

ได้กล่าวคำนั้น เพราะประสงค์เป็นที่รัก ทั้งไม่ได้กล่าวเพราะต้องการการ

แตกแยก แต่ที่แท้เพราะต้องการประโยชน์ (และ) ความเกื้อกูล.

นัยว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ทำให้เกิดสามัคคีกัน ฉะนั้น จึงได้มีความคิดอย่าง

นี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ปรารภการบาดหมางและวิวาท อย่างที่เราและภิกษุอื่นก็

ไม่อาจทำให้พร้อมเพรียงกันได้ แม้ไฉนพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงไม่มีผู้

เปรียบในโลกพร้อมทั้งเทวโลกเสด็จไปเอง หรือว่ารับสั่งให้เรียกมาสำนัก

ของพระองค์ตรัสธรรมเทศนาเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ประกอบด้วยขันธ์และ

เมตตาแก่ภิกษุเหล่านั้น ก็จะพึงทำให้สมัครสมานกันได้ จึงได้ไปกราบ

ทูล เพราะใคร่ประโยชน์ (และ) ความเกื้อกูล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 425

บทว่า "ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง ๖ เหล่า

นี้" ความว่าปรารภเทศนาด้วยอำนาจความทะเลาะและความบาดหมาง

ในหนหลัง.

หลายบทว่า "ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง ๖ มาแล้วในฐานะ

นี้" ความว่า โกสัมพิกสูตรนี้เป็นอันมาแล้ว ตามความสืบต่ออย่างนี้.

ในบทนี้ บทว่า "เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง" ความว่า เมื่อกาลล่วง

ไปนาน ไม่ควรลืมเพราะประกอบด้วยธรรมที่ควรระลึกถึง ผู้ใดบำเพ็ญธรรม

เหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ย่อมทำผู้นั้นให้เป็นที่รักของเพื่อผู้ประพฤติพรหม-

จรรย์ร่วมกัน เหตุนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องทำให้เป็นที่รัก. ชื่อว่าเป็นเครื่อง

กระทำความเคารพ เพราะทำความเคารพ.

บทว่า "เพื่อสงเคราะห์" ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์

บทว่า "เพื่อไม่วิวาท" ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความไม่วิวาท.

บทว่า "เพื่อความพร้อมเพรียง ได้แก่ เพื่อประโยชน์สมัครสมาน

กัน.

บทว่า "เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" ความว่า เพื่อประโยชน์

แห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ เพื่อไม่ทำให้ต่างกัน.

บทว่า "เป็นไปพร้อม" ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า "เมตตากายกรรม" ได้แก่ กายกรรมที่พึงทำด้วยจิตประ

กอบด้วยเมตตา. แม้ในวจีกรรม และมโนกรรมก็นัยนี้นั่นเทียว เมตตาจิต

เหล่านี้มาแล้วด้วยอำนาจภิกษุทั้งหลาย ย่อมหาได้แม้ในพวกคฤหัสถ์. เมตตา

เป็นเครื่องบำเพ็ญอภิสมาจาริกธรรมด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาของภิกษุ

ทั้งหลาย ชื่อว่า กายกรรม. กรรมเป็นอย่างนี้คือ การไปเพื่อประโยชน์ไหว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 426

เจดีย์ ๑ ไหว้ต้นโพธิ์ ๑ นิมนต์พระสงฆ์ ๑ การเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไปโคจร

คามเพื่อบิณฑบาตแล้วต้อนรับ ๑ การรับบาตร ๑ การปูอาสนะ ๑ การตาม

ส่ง ๑ ของพวกคฤหัสถ์ ชื่อว่า เมตตากายกรรม. ชื่อว่าเมตตาวจีกรรม

คือ การบอกสิกขาบท คือบัญญัติเกี่ยวกับมารยาท การบอกกัมมัฏฐาน

การแสดงธรรม การบอกพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ด้วยจิตเมตตาของภิกษุ

ทั้งหลาย. อนึ่ง กรรมในกาลเป็นที่กล่าวเป็นต้นว่า เราจะไปไหว้พระ

เจดีย์ ๑ ไหว้ต้นโพธิ์ ๑ จักให้ทำการฟังธรรม ๑ จักบูชาด้วยประทีปมาลัยดอก

ไม้ ๑ จักประพฤติสมาทานสุจริตสาม ๑ ถวายสลากภัตรเป็นต้น ๑ ถวายผ้า

จำนำพรรษา ๑ ถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์ในวันนี้ ๑ พวกท่านจงนิมนต์พระสงฆ์

แล้วจัดแจงของเคี้ยวของฉันเป็นต้น ๑ จงปูอาสนะ ๑ จงตั้งน้ำดื่ม ๑ จงต้อน

รับแล้วนำพระสงฆ์นั้นมาด้วยตนเอง ๑ จงนิมนต์พระสงฆ์ให้นั่งบนอาสนะ

ที่ปูไว้ เกิดความพอใจ ขมักเขม้นแล้วจงทำความขวนขวายดังนี้ของ

พวกคฤหัสถ์ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม. การลุกขึ้นแต่เข้าแล้วปฏิบัติร่างกาย

ทำวัตรเจดีย์และคณะเป็นต้น นั่งบน อาสนะ อันสงัด คำว่า "ขอพวกภิกษุ

ในวิหารนี้ จงมีสุขไม่มีเวร ไม่พยาบาทกันเถิด" ชื่อว่า เมตตามโนกรรม.

บทว่า "ที่แจ้ง และที่ลับ" ความว่า ต่อหน้าด้วย ลับหลังด้วย.

บรรดากรรมนั้น การถึงความเป็นเพื่อนในจีวรกรรมเป็นต้น ของภิกษุ

ทั้งหลายผู้ใหม่ ชื่อว่า เมตตากายกรรมต่อหน้า.

อนึ่ง สามีจิกรรมทั้งหมด ต่างด้วยกรรม มีการล้างเท้าและพัดให้

เป็นต้น ของพระเถระชื่อว่าเมตตากายกรรมต่อหน้า.

การไม่ทำความดูดายในเครื่องไม้เป็นต้น ที่ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ไม่ดีแล้ว

เก็บ ดุจเก็บของที่ตนเก็บไว้ไม่ดี ชื่อว่า เมตตากายกรรมลับหลัง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 427

การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า "พระเทวเถระ พระติสสะเถระ" ชื่อ

ว่า เมตตาวจีกรรมต่อหน้า.

ก็การที่บุคคลถามเฉพาะภิกษุที่ไม่อยู่ในวิหารเทียว กล่าวอ้างว่าเป็น

ของตนอย่างนี้ว่า "พระเทวเถระของพวกเราไปไหน จะมาเวลาใดหนอ

พระติสสะเถระของพวกเราไปไหน จะมาเวลาใดหนอ" ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา

วจีกรรม ลับหลัง.

อนึ่ง การลืมนัยตาซึ่งสนิทด้วยความรักประกอบด้วยเมตตาแล้ว

ดูด้วยใบหน้าที่ผ่องใสดี ชื่อว่า เมตตามโนกรรมต่อหน้า.

การประมวล มาว่า "ขอพระเทวเถระ พระติสสะเถระ จงไม่มี

โรค มีอาพาธน้อย" ชื่อว่า เมตตามโนกรรมลับหลัง.

บทว่า "ลาภ" ได้แก่ ปัจจัยที่ได้มีจีวรเป็นต้น.

บทว่า "เป็นธรรม" ความว่า ปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยวัตรคือการเว้น

เลี้ยงชีพผิดต่างด้วยการโกหกเป็นต้น แล้วเที่ยวไปเพื่ออาหารโดยธรรม

โดยเสมอ.

บทว่า "โดยที่สุด แม้เป็นเพียงอาหารที่รวมลงในบาตร" ความ

ว่า แม้เป็นเพียงอาหาร ๒-๓ ทัพพี ที่รวมลงในบาตร คืออยู่ในภายใน

บาตร โดยส่วนสุดข้างหลัง.

ในบทว่า "ผู้บริโภค (อาหาร) ที่ยังมิได้แบ่งไว้นี้" ชื่อว่า ผู้มีอาหารที่

แจกจ่ายแล้วมี ๒ คือ แจกจ่ายอามิส ๑ แจกบุคคล ๑.

ในการแบ่งแจก ทั้ง ๒ นั้น การแบ่งด้วยจิตอย่างนี้ว่า เราจะให้เท่า

นี้ จะไม่ให้เท่านี้. ชื่อว่า แบ่งแจกอามิส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 428

การแบ่งด้วยจิตอย่างนี้ว่า "เราจะให้แก่คนโน้น ไม่ให้แก่คน

โน้น" ชื่อว่า แบ่งแจกบุคคล.

ข้อที่บุคคลไม่ทำแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นและบริโภคอาหารที่มิได้แบ่งไว้

นี้ ชื่อว่า ผู้มีปกติบริโภคอาหารที่ยังมิได้แบ่งไว้.

ในคำว่า "ผู้มีปกติบริโภคทั่วไป กับเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วม

กัน ผู้มีศีล" มีอธิบายว่า "ภิกษุผู้มีปกติบริโภคทั่วไปมีลักษณะดังนี้ เธอได้สิ่ง

ใดๆ ประณีต ก็ไม่ให้สิ่งนั้นๆ ด้วยลาภ เธอจะให้ลาภแก่คฤหัสถ์ทั้งหลายก็

ด้วยการมุ่งหน้าแสวงหา ทั้งตนก็ไม่บริโภค เมื่อจะรับก็รับเอาด้วยคิด

ว่า "จงเป็นของทั่วไปแก่สงฆ์" เคาะระฆังแล้ว แลดูดุจของสงฆ์ที่ควรบริโภค.

ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญธรรมเป็นเครื่องให้ระลึกถึงกัน (และ) ใครไม่

บำเพ็ญ" ตอบว่า ผู้ทุศีลไม่บำเพ็ญก่อน เพราะว่า ผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมไม่

ถือเอาสิ่งของที่เป็นของผู้นั้น. ส่วนว่า ผู้มีศีล บริสุทธิ์ ไม่ทำวัตรให้ขาด

ให้เต็มอยู่. ในข้อนั้น มีธรรมเนียมนี้ (เป็นอุทาหรณ์)

ก็ผู้ที่ทำเจาะจงแล้วจึงให้แก่มารดาบิดาหรือว่าอาจารย์และอุปัชฌาย์

เป็นต้นนั้น ให้สิ่งที่ควรให้. ผู้นั้นย่อมไม่มีธรรมเป็นเครื่องให้ระลึกถึง

กัน. มีแต่การรักษาความกังวล เพราะว่า ผู้พ้นจากความกังวลเท่านั้น

จึงจะสมควรกับธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน. ผู้นั้น เมื่อจะให้เจาะจง

ควรให้แก่ภิกษุผู้เป็นไข้ ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ผู้จรมา ผู้เตรียมจะไปบ้าง

แก่ผู้บวชใหม่ที่ไม่รู้วัตรสำหรับรับสังฆาฏิและบาตร เมื่อจะถวายแก่ภิกษุ

เหล่านั้น ตั้งแต่อาสนะสำหรับพระเถระลงมาไม่ควรถวายให้เหลือนิด

หน่อย ถวายเท่าที่ท่านถือเอานั้น. เมื่อไม่เหลือ ไม่มี ก็ควรเที่ยวไปบิณฑบาต

แล้วถวายของที่ประณีตนั้นๆ ตั้งแต่อาสนะพระเถระลงมา แล้วฉันของที่เหลือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 429

เพราะกล่าวอย่างนี้ว่า "ผู้มีศีล" ดังนี้ ถึงการไม่ให้แก่ผู้ไม่มีศีล

ก็ควร. ด้วยว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันนี้เป็นอันบริษัทที่มิได้

ศึกษาไม่บำเพ็ญแล้ว เพราะว่า เมื่อบริษัทได้ศึกษาแล้ว ผู้ที่ได้แต่ผู้อื่น

นั้น ย่อมไม่ถือเอา แม้เมื่อไม่ได้จากผู้อื่น ก็ถือเอาพอประมาณเท่านั้น ไม่ถือ

เอาเกิน. ก็แล ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันนี้ ภิกษุผู้เมื่อจะให้วัตถุที่ตน

เที่ยวไปบิณฑบาตซ้ำซากได้แล้วๆ. ประพฤติให้เต็มตั้ง ๑๒ ปี ไม่หย่อนกว่า

นั้น. ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันวางบาตรที่

เต็มด้วยบิณฑบาต ที่โรงฉันแล้วไปอาบน้ำ. พระสังฆเถระ ถามว่า "นี้บาตร

ใคร" เมื่อเขากล่าวว่า "ของภิกษุผู้บำเพ็ญธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง

กัน" จึงกล่าวว่า "พวกท่านจงนำบาตรนั้นมา" แล้วจัดแจงบิณฑบาตทุก

อย่าง ฉันแล้ววางบาตรเปล่าไว้.

ภิกษุนั้น เกิดความเสียใจว่า "ภิกษุทั้งหลายฉัน (อาหาร) ของเรา

แล้ว ให้เหลือแต่บาตรเปล่าไว้." สาราณิยธรรมย่อมแตก เป็นอันเธอต้อง

บำเพ็ญอีก ๑๒ ปี. ก็สาราณิยธรรมนี้ เช่นกับ ติตถิยปริวาส เมื่อขาดคราวเดียว

ก็พึงประพฤติอีก. ภิกษุใดเกิดความดีใจว่า "ข้อที่ภิกษุผู้ประพฤติพรหม-

จรรย์ร่วมกับเราไม่ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงอาหารที่อยู่ในบาตรแล้วฉัน นั้นเป็น

ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ." ภิกษุนั้นชื่อว่า มีสาราณิยธรรมเต็ม

แล้ว. ส่วนความริษยา และความตระหนี่ จะไม่มีแก่ภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณิย-

ธรรมอย่างนี้แน่นอน. เธอเป็นที่รักของพวกมนุษย์ ทั้งปัจจัยก็หาได้ง่ายกว่า

นัก ถึงสิ่งของที่อยู่ในบาตรที่เขาถวายแก่เธอก็ไม่สิ้นไป. ย่อมได้สิ่งของดี

เลิศ ในส่วนสิ่งของที่พึงแบ่ง ครั้นถึงความหวาดกลัว หรือความหิวโหย

พวกเทพย่อมขวนขวาย. ในข้อนั้น มีเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์.

ฟังมาว่า พระติสสะเถระผู้อยู่ที่เสลาคิรีวิหาร อาศัยบ้านมหาคิรี.

อยู่ เมื่อพระมหาเถระ ๕๐ รูป กำลังไปเกาะนาคเพื่อไหว้เจดีย์ เที่ยวบิณฑ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 430

บาตในบ้านคิรีไม่ได้อะไรออกไปแล้ว. เมื่อพระเถระเข้าไปเห็นพระมหา

เถระเหล่านั้น ถามว่า ท่านได้อะไรบ้างครับ.

ม. คุณ พวกเราได้เที่ยวไปแล้ว.

พระเถระนั้น รู้ว่า พระมหาเถระเหล่านั้น ไม่ได้อะไร จึงกล่าว

ว่า ท่านครับ ขอท่านทั้งหลาย จงอยู่ที่นี้จนกว่ากระผมจะมา.

ม. คุณ พวกเราตั้ง ๕๐ คน ก็ยังไม่ได้พอให้เปียกบาตร.

ถ. ท่านครับ ธรรมดาผู้อยู่ประจำเป็นผู้สามารถ แม้เมื่อไม่ได้ ก็ยัง

รู้สภาพประมาณ ภิกษาจาร พวกพระเถระมาแล้ว. พระเถระจึงเข้าไปหมู่

บ้าน มหาอุบาสิกาในเรือนที่ห่างไกลได้จัดแจงน้ำนมและข้าวสวย ยืนคอย

ดูพระเถระ เมื่อพระเถระถึงประตูเท่านั้น ก็ได้บรรจุบาตรให้เต็มถวาย

แล้ว. พระเถระถือบาตรนั้นไปสำนักพระเถระทั้งหลาย กล่าวกับพระสังฆ-

เถระว่า ท่านครับ ขอท่านจงรับเถิด. พระเถระมองดูหน้าพระเถระที่

เหลือพลางคิดว่า พวกเราตั้งเท่านี้ไม่ได้อะไรเลย ภิกษุนี้ถือเอามาแล้ว

เร็วทีเดียว นี่อะไรกันหนอ.

พระเถระทราบด้วยอาการแลดูเทียว จึงกล่าวว่า "บิณฑบาต

กระผมได้มาโดยชอบธรรม ขอพวกท่านจงหมดรังเกียจรับเอาเถิด" แล้ว

ได้ให้แก่พระเถระทั้งหมดตามต้องการตั้งแต่ต้น ถึงตนก็ฉันตามต้องการ.

ลำดับนั้น เมื่อฉันเสร็จ พวกพระเถระจึงถามว่า "คุณแทงตลอดโลกุตตร-

ธรรมเมื่อไร คุณ".

ถ. ท่านครับ กระผมยังไม่มีโลกุตตรธรรมหรอกครับ.

ม. คุณ ได้ฌานหรือ

ถ. แม้นั่นก็ไม่มี ครับ".

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 431

ม. คุณ ได้ปาฏิหาริย์มิใช่หรือ.

ถ. ท่านครับ กระผมบำเพ็ญสาราณิยธรรม ตั้งแต่กระผมบำเพ็ญ

สาราณิยธรรมมา ถึงมีภิกษุตั้ง ๑,๐๐๐ รูป อาหารในบาตร ก็ยังไม่หมดไป.

ม. ดีแล้ว ๆ ท่านสัตบุรุษ นี้สมควรแก่ท่าน. ในคำว่า อาหารใน

บาตรของท่านก็ยังไม่หมดไปก่อน มีเรื่องดังต่อไปนี้.

พระเถระองค์นี้อีกนั่นแหละ ได้ไปที่ถวายทาน ในที่บูชาใหญ่แห่ง

คิรีภัณฑ์วิหารที่เจดีย์บรรพต ถามว่า "ทานนี้มีอะไรเป็นของอย่างดี''

"ผ้า ๒ ผืนครับท่าน. "ผ้าทั้งสองผืนนั้นถึงแก่เรานะ." อำมาตย์ฟังคำ

นั้น จึงกราบทูลพระราชาว่า "พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุหนุ่มกล่าวอย่างนี้ ''

ร. "ความคิดของภิกษุหนุ่มสมควรทีเดียว แต่ว่า พระมหาเถระ

ทั้งหลายก็เหมาะแก่ผ้าเนื้อดี แล้วทรงวางได้ด้วยทรงดำริว่า "เราจะถวาย

พระมหาเถระทั้งหลาย. เมื่อพระภิกษุยืนตามลำดับ ผ้า ๒ ผืนที่ทูนได้บน

พระเศียรของพระองค์ผู้กำลังถวาย ไม่ลงมาสู่พระหัตถ์สักผืนหนึ่ง (ส่วน)

ผ้าผืนอื่น ๆ เท่านั้น ที่ลงมา แต่ว่าเวลาถวายพระหนุ่ม ผ้าทั้ง ๒ ผืนนั้นก็ลงมาสู่

พระหัตถ์. ท้าวเธอทรงวางมือภิกษุหนุ่มนั้น มองหน้าอำมาตย์ทรงให้ภิกษุ

หนุ่มนั่งแล้วถวายทาน ทรงละพระสงฆ์มาประทับใกล้ภิกษุหนุ่ม ตรัส

ว่า ท่านครับ ธรรมนี้ ท่านแทงตลอดเมื่อไร เมื่อไม่กล่าวแบบไม่

อ้อมๆ จึงถวายพระพรว่า "มหาบพิตร อาตมาภาพไม่มีโลกุตตรธรรม".

ร. พระคุณเจ้าได้กล่าวไว้ก่อนมิใช่หรือ ขอรับ.

ถ. ถวายพระพร มหาบพิตร อาตมาภาพบำเพ็ญสาราณิย-

ธรรม ตั้งแต่เวลาอาตมาภาพบำเพ็ญธรรมนั้นมา ก็ได้สิ่งของอย่างดีเลิศในที่

ที่พึงแบ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 432

ร. "ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านครับ นี้ควรแก่ท่าน" ทรงไหว้แล้วหลีกไป

ในคำว่า "ได้ของดีเลิศในที่ที่พึงแบ่ง" นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.

ก็ภิกษุทั้งหลาย มีปกติอยู่ในบ้านภาตระในจัณฑาลติสสภยะวิหาร

ไม่บอกพระเถรีชื่อว่านาคาหลีกไปแล้ว. พระเถรีกล่าวกับพวกภิกษุณีสาว

เวลาเช้ามืดว่า "หมู่บ้านสงัดเสียงเหลือเกิน พวกท่านจงสอบสวนดูก่อนซิ."

ภิกษุณีสาวเหล่านั้น ไปรู้ว่าภิกษุทั้งหมดไปแล้ว จึงกลับมาบอกพระ

เถรี. พระเถรีนั้น ได้ฟังแล้ว กล่าวว่า "พวกท่านอย่าคิดว่าภิกษุเหล่านั้นไป

แล้ว จงทำความเพียรในการเล่าเรียนบาลี สอบถามและการใส่ใจโดยแยบคาย

เถอะ" เมื่อถึงเวลาเที่ยวภิกษาจึงห่มผ้า ได้เป็นรูปที่ ๑๒ ยืนที่โคนต้นไทรใกล้

ปากดง. เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นไม้ก็ได้ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุณี ๑๒ รูป

จึงกล่าวว่า "พระแม่เจ้า ขออย่าไปที่อื่นเลย มาประจำที่นี้เท่านั้นเถิด".

ก็พระเถรีมีน้องชายคนเล็กชื่อว่า นาคเถระ. พระนาคเถระนั้นคิดว่า

"เราไม่อาจให้ภัยอย่างใหญ่เป็นไปในที่นี้ พวกเราจะไปยังฝั่งอื่น" เป็น

รูปที่ ๑๒ เทียว ออกจากที่อยู่ของตน แล้วมาหมู่บ้านภาตระด้วยคิดว่า "เราจะ

เยี่ยมพระเถรีแล้วก็จะไป."

พระเถรีได้ฟังว่า พวกพระเถระมา จึงไปสำนักพระเถระเหล่า

นั้น ถามว่า " อะไรกัน พระผู้เป็นเจ้า" ท่านจึงบอกความเป็นไปนั้น.

พระเถรีนั้นจึงกล่าวว่า "ตลอดวันหนึ่ง วันนี้พวกท่านจักพักในวิหาร ต่อพรุ่งนี้

จึงค่อยไป." พวกพระเถระมาวิหาร. รุ่งขึ้นพระเถรีเที่ยวบิณฑบาตที่โคน

ต้นไม้แล้วเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า "ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงฉันบิณฑ-

บาตนี้เถิด." พระเถระกล่าวว่า "เถรี สมควรหรือ" จึงได้ยินนิ่งเสีย.

เถรี. "พ่อ บิณฑบาตนี้ชอบธรรม พระคุณเจ้าทั้งหลาย อย่า

รังเกียจ ฉันเถิด."

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 433

เถระ. "เถรี สมควรหรือ"

นางจับบาตรแล้วโยนไปบนอากาศ บาตรได้ลอยอยู่ในอากาศ พระ

เถระกล่าวว่า "อาหารของภิกษุณีลอยอยู่ประมาณเจ็ดชั่วลำตาล" เมื่อกล่าว

ว่า "ขึ้นชื่อว่า ภัยมิใช่มีอยู่ทุกเวลา ภัยสงบ" เมื่อจะกล่าวอริยวงศ์ก็จะกล่าว

ว่า " ท่านครับ ท่านฉันอาหารของนางภิกษุณีที่ได้จากบิณฑบาตแล้ว

ปล่อยเวลาให้ล่วงไป" ดังนี้ เมื่อจะประพฤติตามความคิดก็ไม่อาจจะสนับสนุน

ได้ เถรี ขอพวกท่านจงไม่ประมาทเถิด." แล้วเดินขึ้นหนทาง. ฝ่ายรุกขเทวดา

ยืนคิดอยู่ว่า "หากพระเถระจะบริโภคบิณฑบาตจากมือพระเถรี เราก็จะไม่

ให้เธอกลับ" เห็นพระเถระเดินไป จึงลงจากต้นไม้กล่าวว่า ''ท่านเจ้า

ข้า ขอจงให้บาตร" แล้วรับบาตรนำพระเถระมาโคนต้นไม้นั่นแหละ ปู

อาสนะถวายบิณฑบาต ให้พระเถระซึ่งฉันแล้วทำปฏิญญา แล้วบำรุงภิกษุณี

๑๒ รูป ภิกษุ ๑๒ รูป ตลอด ๗ ปี. ในคำว่า "เทวดาขวนขวาย" นี้มีเรื่องนี้

เป็นอุทาหรณ์. ก็ในเรื่องนี้ พระเถรีได้เป็นผู้บำเพ็ญสาราณิยธรรม.

ในบทว่า "ไม่ขาด" เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุใด มีสิกขาบททำลาย

ในเบื้องต้นและที่สุดในกองอาบัติทั้ง ๗ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลขาด ดุจผ้า

ขาดรอบๆ ริม. อนึ่ง ภิกษุใดมีสิกขาบททำลายท่ามกลาง ภิกษุนั้นชื่อว่า

มีศีลทะลุ ดุจผ้าทะลุตรงกลาง. ภิกษุใดทำลาย ๒, ๓ สิกขาบท ตามลำดับภิกษุ

นั้นชื่อว่า มีศีลด่าง ดุจแม่โคที่มีสีดำหรือแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

ด้วยสีที่ตัดกันตั้งขึ้นบนหลังหรือท้อง. ภิกษุใดมีสิกขาบททำลายระหว่างๆ

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ศีลพร้อย ดุจแม่โคที่มีจุดลายไปทั้งตัว.

ส่วนภิกษุใด มีสิกขาบทไม่ทำลายหมด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลเหล่านั้น

ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. ก็สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่าเป็นไท เพราะ

พ้นจากความเป็นทาสแห่งตัณหาแล้วทำให้เป็นอิสระ ชื่อว่าวิญญูชนสรร-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 434

เสริญ เพราะวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้วชื่อ

ว่า อะไรๆ ลูบคลำไม่ได้ เพราะตัณหาเป็นต้น ลูบคลำไม่ได้ และเพราะ

กิเลสอะไรๆ ไม่อาจเพื่อจะลูบคลำว่า "ท่านเคยต้องสิกขาบทชื่อนี้" ย่อมเป็นไป

เพื่อสมาธิอย่างเฉียดๆ หรือสมาธิอย่างแนบแน่น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น.

บทว่า "ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันอยู่" ความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ

เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในส่วนทิศเหล่านั้นๆ อยู่. เพราะว่า ศีลของ

พระโสดาบันเป็นต้น สม่ำเสมอกันด้วยศีลของพระโสดาบันเป็นต้นเหล่า

อื่น. ที่อยู่ระหว่างทะเลบ้าง เทวโลกบ้างแน่แท้ (แต่) ไม่มีความแตกต่างกัน

โดยมรรคและศีล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาศีลนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.

บทว่า "ทิฏฐินี้ใด" ความว่า สัมมาทิฏฐิที่ประกอบพร้อมด้วยมรรค.

บทว่า "อริยะ" ได้แก่ ไม่มีโทษ.

บทว่า "นำออก" คือ นำออกไป.

บทว่า "ผู้ทำกรรมนั้น" ได้แก่ ผู้ใดเป็นผู้ทำอย่างนั้น.

บทว่า "เพื่อสิ้นทุกข์" ได้แก่ เพื่อความสิ้นทุกข์ทั้งหมด.

บทว่า "ถึงความเสมอกันด้วยความเห็น" ความว่า เป็นผู้เข้าถึงความ

เป็นผู้มีความเห็นเสมอกันอยู่.

บทว่า "เลิศ" ได้แก่ เจริญที่สุด.

บทว่า "รวมไม้กลอนทั้งปวงไว้" ได้แก่ ยึดไว้ดี อธิบายว่า "ทำ

กลอนทุกอันให้จดกัน เหตุนั้น ชื่อว่า ให้ต่อๆ กัน."

บทว่า "ยอดนี้ใด" ความว่า ที่ต่อเรือนยอดกับช่อฟ้า เหตุนั้น ชื่อ

ว่า ยอด. ก็ปราสาท ๕ ชั้นเป็นต้นที่ยอดนั้นตรึงไว้เทียวจึงตั้งอยู่ได้ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 435

ยอด นั้นตกไป ปราสาททั้งหมดตั้งต้นแต่ดินเหนียวก็ตกไป. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า "ฉันนั้นนั่นเทียวแล" ความว่า ความเห็นอย่างประเสริฐและ

เลิศแห่งสาราณิยธรรมเหล่านี้นั้น พึงเห็นว่า เป็นตัวรวบรวม และตัวเชื่อม

ดุจยอดของเรือนยอดฉะนั้น.

ในบทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเห็นนี้ใด อย่างไร" อธิบายว่า

ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ท่านกล่าวว่า ไกลจากข้าศึก คือเป็น

สภาพนำออก ย่อมนำออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของนักปฏิบัติ."

ทิฏฐินั้นนำออกอย่างไร นำออกเพราะเหตุอะไร"

บทว่า "หรือว่า เป็นผู้มีจิตถูกรุมแล้ว" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มี

จิตถูกรุมแล้ว แม้ด้วยเหตุเท่านี้." ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า "ใจของเราตั้งมั่นดีแล้ว" ความว่า จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว.

บทว่า "เพื่อรู้สัจจะทั้งหลาย" ได้แก่ เพื่อประโยชน์รู้สัจจะ ๔.

ในบทเป็นต้นว่า "ประเสริฐ" มีอธิบายว่า เพราะญาณนั้นย่อมมีแก่

ผู้ประเสริฐ หามีแก่ปุถุชนไม่ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "ประเสริฐ." ส่วน

ว่า แม้โลกุตตรธรรมของคนพวกใดมีอยู่ก็เป็นของคนพวกนั้นเท่านั้น หามี

แก่พวกอื่นไม่ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยอดเยี่ยมในโลก. มีคำอธิบาย

ว่า "ชื่อว่า ไม่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย เพราะไม่มีแก่ปุถุชน. ในวาระทั้ง

หมดก็นัยนี้.

บทว่า "เราได้ความสงบเฉพาะตน" ความว่า เราได้ความสงบในจิต

ของตน. แม้ในความดับก็นัยนี้. ในบทว่า "ดับแม้นี้" ย่อมได้ทั้งความ

สงบ ทั้งความเป็นผู้มีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง.

บทว่า "ดับ" ได้แก่ เข้าไปสงบกิเลส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 436

บทว่า "ทิฏฐิเห็นปานนั้น" ได้แก่ โสดาปัตติมรรคทิฏฐิเห็นปานนั้น.

บทว่า "โดยธรรมดา" คือ โดยสภาพ.

สภาพนี้ ชื่อว่า ธรรมดานี้.

บทว่า "ย่อมปรากฏการตั้งขึ้น" ความว่า การตั้งขึ้นด้วยอำนาจสังฆ-

กรรม หรือเทศนาย่อมปรากฏ. จริงอยู่ อริยสาวก เมื่อต้องอาบัติ ก็ต้องอาบัติ

ด้วยไม่จงใจ เหมือนการสร้างกุฏีในครุกาบัติ (และ) เหมือนต้องอาบัติใน

เพราะการนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันเป็นต้นในลหุกาบัติ แน่นอน พระอริย-

สาวกนั้น ไม่แกล้ง คือ ไม่จงใจต้องอาบัตินั้น ต้องแล้วก็ไม่ปกปิด เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า "ครั้งนั้นแล........นั้นพลันทีเดียว."

บทว่า "หนุ่ม" ได้แก่ ยังอ่อน.

บทว่า "กุมาร" ได้แก่ มิใช่คนแก่.

บทว่า "เขลา" คือชื่อว่า เขลา เพราะตาและหูยังไร้เดียงสา.

บทว่า "นอนหงาย" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้นอนหงาย เพราะยังอ่อน

นัก ไม่อาจจะนอนข้างขวาหรือข้างซ้ายได้.

บทว่า "ได้เหยียบถ่าน" ความว่า เอามือหรือเท้าที่เหยียดไปทางนี้

บ้าง ทางโน้นบ้าง ถูกแล้ว ก็เมื่อพวกมนุษย์ถูกอยู่อย่างนี้ มือจะชักออก

เร็ว ทำช้าไม่ได้แม้ครั้งนั้น คนทั้งหลายเอามือข้างหนึ่งข้างใด จับถ่านเปลี่ยน

ไปเปลี่ยนมาย่อมไปได้ไกล. แต่ว่า มือและเท้าของเด็กอ่อนยังละเอียด

อ่อน. เด็กนั้น เพียงถูกไฟลวกเอาเท่านั้น ก็จะร้องกรี๊ด ทิ้งไปโดยเร็ว

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเด็กอ่อนไว้ในที่นี้เทียว. คนแก่เมื่อ

ถูกไหม้ย่อมทนได้. แต่ว่าเด็กอ่อนนี้ทนไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดง

เด็กอ่อนเทียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 437

บทว่า "แสดง" ความว่า เมื่อบุคคลที่พอๆ กันเป็นผู้รับอาบัติ ก็

ไม่รอว่ากลางวันหรือกลางคืนไปที่อยู่ของภิกษุที่พอๆ กันนั้น แม้ในกลางคืน

ประกอบด้วยองค์ ๔ แสดงทีเดียว

บทว่า "สูง ต่ำ" ได้แก่ สูงๆ ต่ำๆ.

กิจที่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจะทำอย่างไร แล้วทำชื่อว่า กิจที่ควร

จะทำอย่างไร ".

ในกิจเหล่านั้น กิจเป็นต้นอย่างนี้ คือ การทำหรือย้อมจีวร ๑ การงาน

ที่พระเจดีย์ ๑ การงานที่ควรทำที่โรงอุโบสถ ๑ เรือนพระเจดีย์ ๑ เรือน

โพธิ์ ๑ ชื่อว่าการงานอย่างสูง. การงานเล็กน้อยมีการล้างและทาเท้าเป็น

ต้น ชื่อว่า การงานอย่างต่ำ. อีกอย่างหนึ่ง การงานมีการฉาบทาปูนขาวเป็น

ต้นที่เจดีย์ ชื่อว่า การงานอย่างสูง. ในการงานเหล่านั้น การสุผ้ากาสาวะ

๑ การชักน้ำมา ๑ การทำเกรียง ๑ การพาดบันได ๑ ชื่อว่า การงาน

อย่างต่ำ.

บทว่า "ถึงความขวนขวาย" ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติความขวนขวาย

ที่ควรทำ.

บทว่า "เป็นผู้เพ่งอย่างกล้า" ความว่า เป็นผู้มีความปรารถนาอย่าง

หนาแน่น.

บทว่า "และถอนหญ้า" ได้แก่ เล็มหญ้าเคี้ยวกินอยู่.

บทว่า "ใส่ใจถึงลูกโค" ความว่า คอยแลดูลูกโคอยู่ด้วย. เหมือน

อย่างว่า โคแม่ลูกอ่อน จะไม่ทิ้งลูกโคที่รวมกันมาป่า แล้วนอนในที่หนึ่งไป

ไกล แม่โคนั้นจะเที่ยวไปในที่ใกล้ๆ ลูกโคและเล็มหญ้าแล้ว ก็ชูคอขึ้นชำเลือง

ดูลูกโคไปด้วยทีเดียว. พระโสดาบันก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกิจที่ควรทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 438

ทั้งสูงต่ำ น้อมไปในกิจนั้น เป็นผู้บำเพ็ญไม่ย่อหย่อน มีความพอใจอย่าง

แรงกล้า เป็นผู้มีความปรารถนาอย่างหนาแน่นกระทำ. ในข้อนั้น มีเรื่องนี้

เป็นอุทาหรณ์.

เล่ากันว่า เมื่อกำลังฉาบทาปูนที่มหาเจดีย์ พระอริยสาวกรูปหนึ่ง

มือข้างหนึ่งถือภาชนะใส่ปูน ข้างหนึ่ง ถือเกรียง คิดว่า "ฉาบปูนแล้วขึ้น

ฐานพระเจดีย์" ภิกษุรูปหนึ่ง กายมีน้ำหนักมาก ได้ไปยืนใกล้พระเถระ

พระเถระในที่อื่นเป็นผู้ล่าช้าอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นจึงจากที่นั้นไปที่อื่น.

ถึงภิกษุนั้น ก็ได้ไปที่นั้นนั่นเทียว. พระเถระได้ไปที่อื่นอีกดังนี้แล. พระเถระ

ได้กล่าวกะภิกษุผู้มาในที่ ๒-๓ แห่งอย่างนี้ว่า ท่านสัตบุรุษ เนินพระเจดีย์

ใหญ่ ท่านไม่ได้โอกาสที่อื่นหรือ. พระเถระนอกนี้ก็ไม่ยอมหลีกไป.

บทว่า "ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง" ได้แก่ ประกอบด้วย

กำลัง.

บทว่า "ทำให้มี" ความว่า ทำความเป็นผู้มีประโยชน์คือ เป็นผู้

มีประโยชน์.

บทว่า "ทำให้มี" ความว่า ทำไว้ในใจ คือรวบรวมสิ่งทั้งหมดมาด้วย

ใจ ชื่อว่า ไม่ทำความฟุ้งซ่านแม้เพียงเล็กน้อย รวบรวมมาด้วยจิตทั้งสิ้น.

บทว่า "เงี่ยโสต" ความว่า มีโสตอันตั้งไว้แล้ว.

ก็พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นผู้รักการฟังธรรม เมื่อจะไปฟัง

ธรรม ก็ไม่นั่งหลับ สนทนากับใครๆ หรือมีจิตฟุ้งซ่าน. โดยที่เเท้ท่านเป็นผู้

ไม่อิ่มในการฟังธรรม เหมือนบริโภคน้ำอมฤต จนถึงอรุณขึ้นไปในการฟัง

ธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้.

บทว่า "ธรรมดา เป็นอันตั้งไว้ดีแล้ว" ความว่า สภาวะเป็นอันท่าน

แสวงหาไว้ดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 439

คำว่า "เพราะกระทำให้แจ้งในโสดาปัตติผล" นี้เป็นคำกล่าวถึง

เหตุ อธิบายว่า เพราะญาณที่ทำให้แจ้งแล้วด้วยโสดาปัตติผล.

บทว่า "มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๗ อย่างนี้" ความว่า ประกอบ

ด้วยญาณเป็นเครื่องพิจารณาอย่างใหญ่เหล่านี้ อย่างนี้. อาจารย์ทั้งหลายมี

ถ้อยคำที่เสมอกันนี้ก่อน. ส่วนโลกุตตรมรรคที่ชื่อว่า มีขณะจิตมาก ไม่มี.

ส่วนอาจารย์ผู้ชอบกล่าวเคาะเล่น ย่อมกล่าวว่า มรรคที่ชื่อว่า มีขณะ

จิตหนึ่งไม่มี การเจริญมรรคมีได้ตลอด ๗ ปี ส่วนกิเลสทั้งหลาย เมื่อจะขาด

สูญโดยเร็ว ก็ย่อมขาดสูญด้วยญาณทั้ง ๗ เพราะคำว่า "พึงให้เจริญ

ตลอด ๗ ปี." อาจารย์นั้นจะถูกเขากล่าวว่า จงนำพระสูตรมา. เมื่อไม่เห็น

สูตรอื่นเขาก็จะนำพระสูตรนี้มาแสดงอย่างแน่นอนว่า "ญาณที่เราบรรลุนี้

เป็นที่หนึ่งแห่งพระสูตรนั้น ญาณที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นที่สองแห่งพระสูตร

นั้น ฯลฯ ญาณที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นที่เจ็ดแห่งพระสูตรนั้น." ลำดับนั้น

อาจารย์นั้นก็จะถูกกล่าวว่า ก็พระสูตรนี้ มีเนื้อความที่พึงนำไป มีเนื้อความที่

นำไปแล้วหรือ. แต่นั้นก็จะกล่าวว่า มีเนื้อความที่นำไปแล้ว. พระสูตรฉัน

ใด เนื้อความก็ฉันนั้น.

อาจารย์นั้นก็จะพึงถูกกล่าวว่า ความเป็นธรรม ก็จะตั้งมั่นด้วย

ดี ประโยชน์มีประมาณเท่านี้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. อาจารย์นั้น

ย่อมกล่าวว่า "ประโยชน์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีแน่นอน. แต่นั้นก็

จะถูกถามว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคย่อมทำผลให้แจ้ง แล้วกลายเป็นผู้พรั่ง

พร้อมด้วยผลหรือ. เมื่อรู้ก็ตอบว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ย่อมทำให้แจ้ง

ผล กลายเป็นพรั่งพร้อมด้วยผล. แต่นั้นถูกซักอีกว่า "เพราะท่านยัง

ไม่อบรมมรรค" ในพระพุทธดำรัสนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้

ประกอบด้วยองค์ ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล". จึงกระโดด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 440

ไปกล่าวสะเปะสะปะเหมือนกับว่า ผมยังไม่ได้พระสูตรว่า อริยสาวกจะยึด

เอาผลให้ได้ ธรรมดาภิกษุผู้จะแก้ปัญหาควรอยู่ในสำนักอาจารย์ เรียน

เอาพระพุทธพจน์ทราบอรรถรสแล้วกล่าวถ้อยคำ.

ญาณ ๗ เหล่านี้ จัดเป็นญาณเครื่องพิจารณาของพระอริยสาวก

ทีเดียว. โลกุตตรมรรค ที่ชื่อว่า มีขณะจิตมากย่อมไม่มี พึงให้ยอมรับว่า

" มีขณะจิตเตียวเท่านั้น" ถ้าเขาจะรู้ก็จงรู้หาก ไม่รู้ ก็จงส่งไปว่า "ท่านจงไป

เข้าวิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มข้าวต้มเสีย." คำที่เหลือในบททั้งปวงตื้นนั่นเทียว

แล.

จบอรรถกถาโกสัมพิกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 441

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

[๕๕๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

[๕๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้ง

หลาย. สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน เมืองอุกกัฏฐา

ก็สมัยนั้นแล พกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้

เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้

แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละสถานที่ออกไปจากทุกข์

อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เรา

รู้ความปริวิตกแห่งใจพกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ใน

สุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มี

กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย พกพรหม

ได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญมาเถิด

ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำทางจะมาในที่นี้ ท่านผู้นิรทุกข์.

พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา

พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็น

ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ภิกษุทั้งหลาย.

เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ท่านผู้

เจริญ. พกพรหมตกอยู่ในวิชชาแล้วหนอ พกพรหมตกอยู่ในอวิชชาแล้วหนอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 442

เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่ไม่ยั่งยืนนั่นแล

ว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงนั้นแลว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงนั้นแล

ว่า แข็งแรง กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า มีความไม่เคลื่อน

เป็นธรรมดา ก็แหละสัตว์ทั้งเกิด ทั้งแก่ ทั้งตาย ทั้งจุติ ทั้งอุบัติอยู่ในพรหม

สถานใด พกพรหมก็กล่าวพรหมสถานนั้นอย่างนี้ว่า พรหมสถานนี้แล

ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์

อย่างอื่นที่ยิ่งขึ้นไปอันมีอยู่ว่า เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ยิ่งขึ้น

ไป ไม่มี.

[๕๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามกเข้าสิงร่างของพรหม

ปาริสัชะองค์หนึ่งแล้ว กล่าวกะเราว่า ภิกษุๆ . อย่ารุกรานพกพรหมนี้

เลย อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย ภิกษุ เพราะว่าพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหมเป็น

ใหญ่ (ปกครองคณะพรหม) หาใช่ผู้อื่นปกครองไม่ เป็นผู้ดูโดยแท้ ทำ

สรรพสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก เป็นผู้ประ

เสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วและกำลัง

จะเกิด ภิกษุ. สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติดิน เกลียดดิน

เป็นผู้ติน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติลม เกลียดลม เป็นผู้ติ

สัตว์เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติปชาบดี เกลียดปชาบดี

เป็นผู้ติพรหม เกลียดพรหมในโลก (ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกายแตกขาดลมปราณ ต้องไปเกิดในหมู่

สัตว์ที่เลว (จตุราบาย) ภิกษุ. ส่วนสมณะพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ชม

ดิน เพลินดิน เป็นผู้ชมน้ำ เพลินน้ำ เป็นผู้ชมไฟ เพลินไฟ เป็นผู้ชมลม

เพลินลม เป็นผู้ชมสัตว์ เพลินสัตว์ เป็นผู้ชมเทวดา เพลินเทวดา เป็นผู้ชม

ปชาบดี เพลินปชาบดี เป็นผู้ชมพรหม เพลินพรหม สมณพราหมณ์เหล่า

นั้น เมื่อกายแตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในกายประณีต หมู่สัตว์ชั้นดี (พรหม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 443

โลก) ภิกษุ. เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกกะท่านอย่างนี้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์

เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่างฝ่าฝืนคำของ

พรหมเลย ภิกษุ. ถ้าท่านจักฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบ

เหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ตีไล่สิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้จะตก

เหวนรก ชักมือและเท้าให้ห่างแผ่นดินเสีย ฉะนั้น ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญ

เถิด ท่านจงทำอย่างที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น อย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย

ภิกษุ. ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ. ภิกษุทั้งหลาย. มารผู้

ลามกย่อมเปรียบเทียบเรากะพรหมบริษัทดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อ

มารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้ลามกนั้นว่า แน่ะมาร เราย่อมรู้

จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า พระสมณะไม่รู้จักเรา แน่ะมาร. ท่านเป็น

มาร พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั่น

และอยู่ในมือของท่าน ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านมีความดำริว่า

แม้สมณะนี้ก็ต้องอยู่ในมือของเรา ต้องตกอยู่ในอำนาจของเรา ก็แต่ว่าเราไม่

ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของท่าน.

[๕๕๔] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าว

ว่า ท่านผู้นิรทุกข์. ก็เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงนั่นแลว่า เที่ยง กล่าวสิ่งที่มั่นคงนั่นแล

ว่า มั่นคง กล่าวสิ่งที่ยั่งยืนนั่นแลว่า ยั่งยืน กล่าวสิ่งที่แข็งแรงนั่นแลว่า แข็ง

แรง กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดานั่นแลว่า ไม่มีความเคลื่อนเป็น

ธรรมดา ก็แหละสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ในพรหม

สถานใด เรากล่าวพรหมสถานนั้นแหละว่า พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่

แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวเหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้น

ไปไม่มีว่า เหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นยิ่งขึ้นไปไม่มี ภิกษุ. สมณะ

พราหมณ์พวกที่มีก่อนท่านได้มีแล้วในโลก อายุทั้งสิ้นของท่านเท่าไร กรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 444

ที่ทำด้วยตบะของท่านเท่านั้น สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นแล พึงรู้เหตุเป็น

ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปมีอยู่ว่า เหตุที่ออกไปจากทุกข์อย่างยิ่ง

อื่นมีอยู่ หรือพึงรู้เหตุเป็นที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปไม่มีอยู่

ภิกษุ เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้ เพราะว่าท่านจักไม่เห็นเหตุ

ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นอันยิ่งขึ้นไปเลย และท่านจักเป็นผู้รับส่วนแห่ง

ความลำบาก แห่งความคับแค้นอย่างเดียวเท่านั้น ภิกษุ. ถ้าแลท่านจักกลืนกิน

แผ่นดินได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา เราพึง

ทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ถ้าและท่านจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์

เทวดา ปชาบดี พรหมได้ไซร้ ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่

อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ดังนี้ เรากล่าวว่า

พรหม แม้เราย่อมรู้เหตุนี้ ถ้าเราจักกลืนกินแผ่นดินได้ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็น

ผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้าม

ได้ ถ้าและเราจักกลืนกินน้ำ ไฟ ลม เหล่าสัตว์ เทวดา ปชาบดี พรหมได้

ไซร้ เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้

ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้พรหม ใช่แต่เท่านั้น เราย่อมรู้ความสำเร็จและ

ย่อมรู้อานุภาพของท่านว่า พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุ-

ภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้พกพรหมถามเราว่า ท่านผู้นิร-

ทุกข์ ก็ท่านรู้ความสำเร็จ และรู้อานุภาพของเราว่า พกพรหมมีฤทธิ์มาก

อย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้ได้อย่าง

ไร เรากล่าวว่า

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด

อำนาจของท่านย่อมเป็นไปในพันจักรวาลเท่านั้น ท่านย่อมรู้จัก

สัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 445

ราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักความมาและ

ความไปของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้

พรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จ และย่อมรู้อานุภาพของท่านอย่างนี้

ว่า พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมี

ศักดิ์มากอย่างนี้พรหม กาย หมู่สัตว์ ๓ อย่างอื่นมีอยู่ ท่านไม่รู้ไม่เห็นในกาย

๓ อย่างนั้น เรารู้เห็นกายเหล่านั้น พรหม กายหมู่สัตว์ชื่ออาภัสสระมี

อยู่ ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติแล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะ

ความอยู่อาศัยนานเกินไป เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ไม่เห็นกายนั้น เรารู้

เห็นกายนั้น พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้

ที่ไหนเราจะเป็นผู้ต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พรหม

กายชื่อสุภกิณหะ กายชื่อเวหัปผละมีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นกายนั้น

เรารู้เห็นกายนั้น พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้

อย่างนี้ ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พรหม เรารู้ยิ่งดินแลโดยความ

เป็นดิน รู้นิพพานอันสัตว์ถึงไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน

ไม่ได้มีความยึดถือแล้วในดิน ไม่ได้มีความยืดถือแล้วแต่ดิน ไม่ได้มีความยึด

ถือแล้วว่าดินของเรา ไม่ได้ชมดิน พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่ได้

ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ที่ไหนเราจะต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้

สูงกว่าท่าน พรหม เรารู้จักน้ำ... รู้จักไฟ...รู้จักลม...รู้จักเหล่าสัตว์...รู้จัก

เทวดา...รู้จักปชาบดี...รู้จักพรหม ...รู้จักพวกอาภัสสรพรหม...รู้จักพวก

สุภกิณหพรหม...รู้จักพวกเวหัปผลพรหม...รู้จักอภิภูพรหม...พรหม เรารู้

จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง รู้จักนิพพานอันสัตว์ถึงไม่ได้โดยความ

ที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง แล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วในสิ่ง

ทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วแต่สิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีความยึดถือแล้วว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 446

สิ่งทั้งปวงของเรา ไม่ได้ชมสิ่งทั้งปวง พรหม เราเป็นผู้อันท่านเทียบเทียมไม่

ได้ด้วยความรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ที่ไหนเราจะต่ำกว่าท่าน ที่แท้ เรานี่แหละเป็นผู้

สูงกว่าท่าน พกพรหมกล่าวกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าและเพราะท่านรู้

นิพพานที่สัตว์ถึงไม่ได้โดยความที่สิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่าน

อย่าได้ว่างเสียเลย อย่าได้เปล่าเสียเลย นิพพานอันผู้บรรลุพึงรู้แจ้งได้ เป็น

อนิทัสสนะ(เห็นไม่ได้ด้วยจักษุวิญญาณ) เป็นอนันตะ (ไม่มีที่สุดหรือ หาย

ไปจากความเกิดขึ้นและความเสื่อม) มีรัศมีในที่ทั้งปวง อันสัตว์ถึงไม่ได้

โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความ

ที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา

โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหมเป็นพรหม โดยความที่

อาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณหพรหมเป็นสุภกิณห-

พรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม โดยความที่อภิภูพรหม

เป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง พกพรหมกล่าวกะเรา

ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ผิฉะนั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน เรากล่าวว่า พรหม.

ผิฉะนั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจจะหายไปได้ก็จงหายไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น

แล พกพรหมกล่าวว่า เราจักหายไปจากพระสมณโคดม เราจักหายไปจาก

พระสมณโคดม แต่ก็ไม่อาจหายไปจากเราได้โดยแท้ ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า พรหม ผิฉะ-

นั้น บัดนี้ เราจะหายไปจากท่าน พกพรหมกล่าวว่า ท่านผู้นฤทุกข์ผิฉะ-

นั้น บัดนี้ ถ้าท่านอาจหายไปได้ ก็จงหายไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย ลำดับ

นั้น เราบันดาลอิทธาภิสังขารให้เป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียง

เรา แต่มิได้เห็นตัวเรา ดังนี้ เราหายไปแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า-

เราเห็นภัยในภพ และเห็นภพของสัตว์ผู้แสวง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 447

หาวิภพแล้ว ไม่ชมภพ อะไรเลย

ทั้งไม่ยืดมั่นนันทิความเพลิดเพลินด้วย ดังนี้.

[๕๕๕] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พวกพรหมบริษัทก็ดี

พวกพรหมปาริสัชชะก็ดี ได้มีความแปลกปลาดอัศจรรย์จิตว่า ท่านผู้

เจริญ น่าอัศจรรย์ น่าแปลกประหลาดหนอ พระสมณโคดม มีฤทธิ์มากมี

อานุภาพมาก ก่อนแต่นี้พวกเราไม่ได้เห็นไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่

มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดมนี้ ผู้ออกผนวชแต่ศากย-

สกุล ถอนภพพร้อมทั้งรากแห่งหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ยินดีในภพ เพลิดเพลินในภพ.

[๕๕๖] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารผู้ลามก เข้าสิง พรหมปาริสัชชะ

องค์หนึ่งแล้วกล่าวกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าท่านรู้จักอย่างนี้ ตรัสรู้

อย่างนี้ ก็อย่าแนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดีกะพวกสาวกและ

พวกบรรพชิตเลย ภิกษุ สมณะและพราหมณ์พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่า

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก สมณะและพราหมณ์พวกนั้น

แนะนำแสดงธรรม ทำความยินดีกะพวกสาวกและพวกบรรพชิต ครั้นกาย

แตกขาดลมปราณ ก็ไปเกิดในหีนกายหมู่สัตว์ชั้นเลว ส่วนสมณะและพราหมณ์

พวกก่อนท่าน ผู้ปฏิญญาว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สมณะและ

พราหมณ์พวกนั้น ไม่แนะนำไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดีกะพวกสาวก

บรรพชิต ครั้นกายแตกขาดลมปราณก็ไปเกิดในปณีตกายหมู่สัตว์ชั้นดีภิกษุ.

เพราะฉะนั้น เราจึงบอกกะท่านอย่างนี้ ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญท่านเป็นผู้มัก

น้อย ตามประกอบความอยู่สบายในชาตินี้ อยู่เถิด เพราะการไม่บอกเป็น

ความดี ท่านอย่าสั่งสอนสัตว์อื่นๆ เลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้

แล้ว เราจึงกล่าวว่า มารผู้ลามก เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่าพระสมณะไม่

รู้จักเรา ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอณุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 448

เราอย่างนี้ ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูล จึงกล่าวกะเราอย่าง

นี้ ท่านมีความดำริว่า พระสมณโคดมจักแสดงธรรมแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่า

นั้นจักล่วงวิสัยของเราไป ก็พวกสมณะและพราหมณ์นั้นมิได้เป็นพระสัมมา

สัมพุทธเจ้า ปฏิญญาว่า เราทั้งหลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มารผู้

ลามก เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ

มารผู้ลามก! ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น

แม้เมื่อไม่แสดงธรรมแก่พวกสาวก ก็เป็นเช่นนั้น ตถาคต แม้เมื่อแนะนำพวก

สาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่แนะนำพวกสาวกก็เป็นเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะ

เหตุอะไร เพราะอาสวะเหล่าใด อันให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความ

กระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ มีชาติ ชรา มรณะ ต่อไป อาสวะเหล่า

นั้น ตถาคตละเสียแล้ว มีรากเหง้าอันถอนขึ้นแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาล

แล้ว ทำไม่ให้มีต่อไปแล้ว มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เหมือนต้นตาล

มียอดถูกตัดเสียแล้ว ไม่ควรงอกอีกได้ ฉะนั้น.

ไวยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยมารมิได้

เรียกร้องและโดยพรหมเชื้อเชิญดังนี้ เพราะฉะนั้น ไวยากรณภาษิตนี้

จึงมีชื่อว่าพรหมนิมันตนิกสูตร ฉะนี้แล.

จบ พรหมนิมันตนิกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 449

อรรถกถาพรหมนิมันตนิกสูตร

พรหมนิมันตนิกสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "ทิฏฐิอันชั่ว" ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยงอัน

ลามก คำว่า "นี้เป็นของเที่ยง" คือพูดว่า ฐานะของพรหมพร้อมกับโอกาสอัน

เป็นของไม่เที่ยงนี้ว่า เที่ยง. คำว่า "แน่นอน" เป็นต้น ก็เป็นคำใช้แทนคำ

ว่า "เที่ยง" นั้นนั่นเอง. ในคำเหล่านั้น คำว่า "แน่นอน" คือมั่นคง. คำ

ว่า "เที่ยงแท้" คือมีอยู่ทุกเมื่อ. คำว่า "ล้วน" คือทั้งหมดไม่มีขาด. คำว่า

"มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา" คือมีสภาพไม่เคลื่อนไป. ถึงฐานะในคำเป็นต้น

ว่า "นี้แล ย่อมไม่เกิด" นี้คือพูดหมายเอาว่า ผู้เกิด ผู้แก่ ผู้ตาย ผู้เคลื่อน

ผู้บังเกิดขึ้น ย่อมไม่มี. คำว่า "และก็อื่นจากนี้" คือความเห็นว่าเที่ยงแท้อย่าง

แรง ย่อมเป็นของที่เกิดขึ้นแล้ว แก่เขาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเหตุแห่งการออกไป

อย่างอื่นที่นอกเหนือจากฐานะของพรหม พร้อมทั้งโอกาสนี้ไม่มี. ก็

แหละ ผู้พูดเช่นนี้นั้นย่อมป้องกันทุกอย่างคือ ชั้นของฌานข้างบน ๓ มรรค

๔ ผล ๔ นิพพาน ๑. คำว่า "ผู้ไปในความไม่รู้" ความว่า ผู้ไปคือประกอบ

ในความไม่รู้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้คือ เป็นผู้บอด. คำว่า "ก็ชื่อใน...ใด" คือ

ชื่อใด. มารในบททั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร ?

เล่ามาว่า มารนั้นนั่งคำนึงถึงพระศาสดาในบ้านตัวเองตลอดเวลา

ว่า "วันนี้พระโคดมผู้สมณะอยู่ที่ตำบล หรืออำเภออะไร ? และตอนที่กำลัง

คำนึงอยู่นี้ รู้ว่า "กำลังอาศัยเมืองอุกกัฏฐะอยู่ที่ป่าสุภคะ จึงสำรวจดู แล้วจะไป

ไหนอีกหนอ? ก็เห็นว่ากำลังไปพรหมโลก จึงคิดว่า พระโคดมผู้สมณะกำลัง

ไปพรหมโลก เราจะไปทำให้พอใจในธรรมเทศนาอย่างผิดๆ ตลอดเวลาที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 450

มารกล่าวธรรมกถาในที่นั้นแล้ว ยังไม่ทำให้คณะพรหมก้าวพ้นวิสัยของเรา"

จึงเดินสะกดรอยพระศาสดาแล้วมายืนกำบังตัวในระหว่างหมู่พรหม. แกรู้

ว่า "พวกพรหมถูกพระศาสดารุกราน, จึงได้ยืนทำตัวเป็นผู้ค้ำชูพรหม

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มารผู้มี

บาป" ดังนี้ คำว่า "เข้าสิงพรหมปาริสัชชะแล้ว" คือ "มารเข้าสู่ร่างของพรหม

ปริสัชชะองค์หนึ่ง ก็ยังไม่สามารถเข้าสอดแทรกมหาพรหม หรือพวกพรหม

ปุโรหิตได้. คำว่า "อย่ารุกรานผู้นี้" คืออย่าได้รุกรานพกพรหมนี้. คำว่า

"ครอบงำ (เป็นผู้ยิ่งใหญ่)" คือเป็นผู้ครอบงำตั้งอยู่ คือเจริญที่สุด (ใหญ่ที่

สุด หัวหน้า). คำว่า "ไม่ถูกครอบงำ" คือพวกอื่นครอบงำไม่ได้. คำว่า

"โดยแท้" เป็นนิบาตลงในคำที่ระบุว่าส่วนเดียว ทรงแสดงว่า ผู้เห็นด้วย

อำนาจการเห็น ย่อมเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง. คำว่า "ผู้หมุนอำนาจ" คือ "ย่อมยังชน

ทั้งหมดให้เป็นไปในอำนาจ. คำว่า "เป็นอิศวร" คือเป็นใหญ่ในโลก. คำ

ว่า ผู้สร้าง ผู้นิรมิต คือเป็นผู้สร้าง และผู้นิรมิตโลกไว้ ท่านแสดงว่าแผ่นดิน

หิมพานต์ เขาสิเนรุ จักรวาล มหาสมุทร พระจันทร์ และพระอาทิตย์

มหาพรหมองค์นี้นิรมิตไว้. คำว่า "ผู้ประเสริฐสุด ผู้จัดแจง" คือ มหา

พรหมองค์นี้ เป็นผู้ประเสริฐสุด และเป็นผู้จัดแจง ท่านแสดงว่า มหาพรหมองค์

นี้ ได้จัดหมู่สัตว์ไว้อย่างนี้ว่า เธอเป็นกษัตริย์ เธอเป็นพราหมณ์ เป็น

แพศย์ เป็นศูทร เป็นชาวบ้าน เป็นนักบวช กระทั่งเป็นอูฐ เป็นโค ท่านกล่าว

ว่า มหาพรหมองค์นี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจ เพราะสะสมอำนาจไว้ มหา

พรหมองค์นี้ เป็นพระบิดาของพวกภูต และพวกภัพย์ ด้วยบทว่า เป็นผู้มี

อำนาจ เป็นพระบิดาของพวกภูตและภัพย์. ในคำว่าพวกภูตและภัพย์นั้น พวก

สัตว์ที่เกิดในไข่และในมดลูก ชื่อว่าภัพย์ ตอนอยู่ภายในกะเปาะไข่ และภาย

ในลำไส้ (มดลูก) ตั้งแต่เวลาที่ออกมาข้างนอกแล้ว ชื่อว่า ภูต พวกที่เกิดตาม

เหงื่อไคล (เช่นในน้ำครำ เป็นต้น) ในขณะจิตแรก เป็นภัพย์ ตั้งแต่ขณะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 451

จิตที่สองไปเป็นภูต. พวกผู้ผุดเกิด เป็นภัพย์ในอิริยาบถแรก ตั้งแต่อิริยาบถ

ที่สองไป พึงทราบว่า เป็นภูต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นพระบิดา

ของพวกภูตและภัพย์ ด้วยทรงสำคัญว่า พวกสัตว์แม้ทั้งหมดนั้น เป็นลูก

ของมหาพรหมองค์นี้. ด้วยบทว่า "ผู้ตำหนิแผ่นดินนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่า พวกเขาได้เป็นผู้ตำหนิแผ่นดินมาแล้ว เหมือนที่เธอกำลังตำหนิ

เกลียดแผ่นดินว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่เป็นตัวตน ในบัดนี้ และไม่ใช่แต่เธอ

เท่า นั้นหรอก. แม้ในคำเป็นต้นว่า ผู้ตำหนิน้ำ ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

คำว่า "ตั้งอยู่ในกายอันทราม" ได้แก่เกิด ในอบายทั้งสี่. ด้วยบทว่า "ผู้ชม

แผ่นดิน" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าพวกเขาได้เป็นผู้ชมแผ่นดิน คือเป็นผู้

พูดสรรเสริญคุณแผ่นดินมาแล้วอย่างนี้ คือพวกเขาไม่ตำหนิ (แต่ชมว่า)

แผ่นดินเที่ยงแท้ แน่นอน ถาวร ไม่ขาด ไม่สิ้น เหมือนที่เธอกำลังตำหนิ.

คำว่า "ผู้มีความเพลิดเพลินในแผ่นดิน" ได้แก่ เป็นผู้มีความเพลิดเพลินใน

แผ่นดินด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็ทำนองเดียว

กันนี้แหละ. คำว่า "ดำรงอยู่ในกายที่ประณีต" ได้แก่ "เกิดในพรหม-

โลก. คำว่า "ฉะนั้น ฉัน...กะเธอ" คือ เพราะเหตุนั้น ฉัน.. กะเธอ คำ

ว่า "เอาเถอะ" เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน. คำว่า "เข้าไปเป็นไปล่วง"

คือก้าวล่วง ปาฐะว่า อุปาติวตฺติโต เข้าไปประพฤติล่วง บ้างก็มี. ใจความ

ก็อย่างเดียวกันนี้แหละ คำว่า "ให้โดดหนีไปด้วยกระบอง" คือเอาดุ้นกระ

บองยาวสี่ศอกตีให้หนีไป. คำว่า "ในเหวนรก" คือ ในบึงใหญ่ ลึกร้อยชั่ว

คน. คำว่า "พึงพลาด" ได้แก่ ไม่พึงอาจเพื่อจะทำเป็นที่ยึดที่เหยียบในที่ซึ่งพอ

จะเอามือจับ หรือพอจะวางเท้าได้. ด้วยคำว่า "ภิกษุ เธอเห็นมิใช่หรือ?"

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอิทธานุภาพของผู้ที่ดำรงอยู่ในโอวาทของ

พรหมว่า "ภิกษุ" เธอก็ย่อมเห็นพรหมปริษัท ที่ประชุมกัน กระจ่างสว่าง

๑. กำลังชมกระมัง?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 452

ไสว รุ่งเรือง โชติช่วงนี้ มิใช่หรือ. คำว่า "ภิกษุทั้งหลาย มารผู้มีบาป ได้น้อม

เอาพรหมบริษัทมาสู่เรา อย่างนี้แล" ความว่า "ภิกษุทั้งหลาย มารผู้มี

บาป กล่าวอยู่อย่างนี้ว่า "ภิกษุ เธอก็ย่อมเห็นพรหมบริษัทที่สว่างไสว

ด้วยยศ และด้วยสิริมิใช่หรือ? ถึงเธอก็เถอะ ถ้าไม่ก้าวล่วง คำมหาพรหม

ทำตามที่พรหมกล่าวกับเธอแล้ว เธอเองก็จะต้องรุ่งเรื่องด้วยยศ และสิริ

แบบนี้เหมือนกัน" ก็น้อม คือนำเอาพรหมบริษัทมาสู่เรา. คำว่า "แกอย่าสำคัญ

ไป" คือมารผู้มีบาป แกอย่าสำคัญไปเลย. คำว่า "แกเป็นมารผู้ลามก"

คือมาร ฉันรู้จักแกว่าแกชื่อว่ามาร เพราะฆ่ามหาชน แกชื่อว่าผู้สกปรก

เพราะกระทำพร้อมด้วยเหล็กอย่างสกปรก คือลามก แก่มหาชน. คำ

"อายุ ทั้งหมด" คือ อายุทั้งสิ้น. คำว่า "เขาเหล่านั้นแลพึงทราบอย่างนี้"

คือพรหมมากล่าวสืบไปว่า พวกเขาถึงพร้อมด้วยการทำตบะใหญ่อย่างนี้

เธอ ก็ยังมีกลิ่นน้ำนมพัดมา (ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม). คำว่า "จะกลืนกิน

แผ่นดิน" คือจักกลืนกินแผ่นดินจนหมดเกลี้ยงแล้วถือเอาด้วยตัณหา มานะ

และทิฏฐิ. คำว่า "แกจะเป็นผู้ติดสอยห้อยตามฉัน." คือแกจะเป็นผู้ติดฉัน

แจ หมายความว่า เมื่อฉันเดินแกก็เดินตาม ฉันยืนแกก็ยืนข้าง, ฉันนั่ง แกก็นั่ง

ข้าง, ฉันนอนแกก็นอนข้าง. คำว่า "เป็นผู้นอนเฝ้าโยง" คือเป็นผู้นอนใน

เรือนฉัน. คำว่า "เป็นผู้พึงกระทำตามความใคร่ เป็นผู้พึงแบกขน" ความว่า

แกเป็นผู้ต้องทำสิ่งที่ฉันต้องการตามความพอใจของตัวฉันเอง และเมื่อจะ

แบกขนมา แกก็จะเป็นผู้ต้องทำให้ต่ำกว่า เตี้ยกว่า แม้แต่พุ่มผักไห่เสีย

อีก. พรหมย่อมพูดรวน ย่อมระราน พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ด้วยคำนี้

ชื่อว่า ย่อมพูดรวน คือพรหมชื่อว่าย่อมพูดรวนก่อนอย่างนี้ว่า "ภิกษุ

ถ้าเธอจะกลืนกินแผ่นดินนั้นด้วยตัณหา เป็นต้น เธอก็จะเป็นผู้นอนใกล้

ฉัน เมื่อฉันเดิน เธอก็จะเดิน ฉันยืน เธอก็จะยืนฉันนั่ง เธอก็จะนั่ง ฉันนอนเธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 453

ก็จะนอน ฉันจะปกป้องเธอ แล้วทำเธอให้เป็นคนสนิท เป็นคนภายใน. ส่วน

ด้วยบทที่เหลือ ชื่อว่าย่อมระราน. ในบทเหล่านี้แล มีอธิบายดังต่อไปนี้

พรหมชื่อว่ายอมระรานอย่างนี้ว่า "ถ้าเธอจะกลืนกินแผ่นดิน เธอก็จะกลาย

เป็นผู้นอนในเรือนฉัน คอยฉันเดินเป็นต้นแล้ว จึงจะเดิน จะยืน จะนั่ง หรือจะ

นอน จะถืออารักขาฉันในเรือนฉัน ฉันจะทำเธอตามความใคร่ และจะทำเธอ

ให้แบกขนอะไรไปต่ำเสียยิ่งกว่ากอผักไห่". แต่พรหมนี้อาศัยความถือ

ตัว ฉะนั้นในที่นี้จึงหมายเอาเพียงการระรานเท่านั้น ในเรื่องน้ำเป็นต้น

ก็ทำนองนี้เหมือนกัน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคำเป็นต้นว่า อีกอย่างหนึ่ง ของ

เธอ ฉัน พรหม แล้วมาทรงคิดว่า พรหมนี้อาศัยความถือตัว จึงสำคัญ

ว่า "ข้า ย่อมรู้" เป็นผู้ถูกสมมติโดยยศของตัวเอง จึงไม่เห็นอะไรสักนิด

ที่สามารถจะถูกต้องร่างกายได้ ควรข่มอีกหน่อย แล้วจึงทรงเริ่มเทศนานี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "ย่อมรู้ชัดคติด้วย" ความว่า ฉัน ย่อมรู้ชัดซึ่ง

ความสำเร็จด้วย. คำว่า "และความรุ่งเรือง" คือฉันย่อมรู้ชัดซึ่งอานุ-

ภาพด้วย. คำว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ขนาดนี้ "คือเป็นผู้มียศใหญ่ มีบริวารมาก."

คำว่า "พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมบริหาร มีประมาณเพียงไร"

คือ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมท่องเที่ยวไปในที่มีประมาณเพียง

ใด. คำว่า "ทิศทั้งหลาย สว่างรุ่งเรือง" คือ ส่องแสงสว่างรุ่งเรืองในทิศทั้ง

หลาย หรือว่า ทิศทั้งหลาย ย่อมส่องแสงสว่างรุ่งเรือง เพราะพระจันทร์และ

พระอาทิตย์เหล่านั้น. คำว่า "เพียงนั้น พันโลก" คือโลก (ธาตุ) หนึ่งพันโดย

ประมาณเพียงนั้น อธิบายว่า พันจักรวาล รวมทั้งจักรวาลนี้ด้วย. คำว่า

"อำนาจของเธอย่อมเป็นไปในพันจักรวาล" คืออำนาจของเธอย่อมเป็นไปใน

พันจักรวาลนี้. คำว่า "เธอย่อมรู้ ซึ่งสัตว์อื่นที่ยิ่งกว่าสัตว์อื่น" (คือต่างชั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 454

กับ, แตกต่างกัน) คือ เธอย่อมรู้จักสัตว์ที่มีระดับต่างกันคือ สูง ต่ำ เลว

ประณีต ในพันจักรวาลนี้. คำว่า "และผู้มีราคะและผู้ไม่มีราคะ" คือไม่ใช่แต่

รู้จักสัตว์ที่มีระดับแตกต่างกันว่า คนนี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ คนนี้เป็นคนปกติ (คน

ธรรมดาสามัญ) ดังนี้เท่านั้น หากแต่ยังรู้จักคนที่ยังมีราคะ และปราศจากราคะ

อย่างนี้ว่า "คนนี้ยังมีราคะ คนนี้ปราศจากราคะแล้ว". คำว่า "ความเป็น

อย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น" คือ จักรวาลนี้เรียกว่า ความเป็นอย่าง

นี้ จักรวาล ๙๙๙ ที่เหลือจากนี้เรียก ความเป็นอย่างอื่น. คำว่า "การมา

การไป ของเหล่าสัตว์นี้" คือเธอยังรู้ชัดการมาของพวกสัตว์ด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิ และคติ ด้วยอำนาจจุติ ในพันจักรวาลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่ม

ว่า "ความสำคัญ ก็แลฉันย่อมเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าเธอ เธอแต่เป็นพรหมในพัน

จักรวาล ส่วนพรหมเหล่าอื่นจะหาขนาดที่เกินเธอ ๒๐๐๐,๓๐๐๐,๔๐๐๐,

๕๐๐๐,๑๐,๐๐๐ และ ๑๐๐,๐๐๐ ก็ไม่มี, ยังมาทำความสำคัญว่า ข้าใหญ่

เหมือนพยายามเอาผ้าขี้ริ้ว ๔ ศอกมาทำเป็นขนาดผ้า. คำว่า "เข้าถึงใน

ที่นี้" คือ เข้าถึงชั้นของฌานที่หนึ่งนี้. คำว่า "เพราะเหตุนั้นเธอจึงไม่รู้จักอัน

นั้น" คือ เพราะเหตุนั้น เธอจึงไม่รู้จักกายนั้น. คำว่า "ผู้ที่พอๆ กับเธอก็ไม่

เลย." คือผู้ที่แม้ถึงฐานะที่พึงรู้เท่ากับเธอ ก็ไม่ใช่เป็นฉัน. คำว่า "รู้ยิ่ง"

คือรู้อย่างทั่วถึง. คำว่า "พึงต่ำ แต่ที่ไหน" คือ ก็แหละความเป็นผู้ต่ำ

กว่า เธอจะมีแก่ฉัน แต่ที่ไหน? ได้ยินว่า พรหมองค์นี้ เป็นผู้เกิดในหน

หลัง เมื่อยังไม่เกิดการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าได้บวชเป็นฤาษี ทำการ

บริกรรมกสิณ ทำให้เกิดสมาบัติ ไม่เสื่อมจากฌาน ตายแล้วก็เกิดถือเอา

อายุ ๕๐๐ กัปในพรหมโลกชั้นเวหัปผลา ในชั้นฌานที่สี่ ครั้นดำรงอยู่ในที่

นั้น จนตลอดอายุแล้ว ก็ทำในกำเนิดหนหลัง อบรมฌานที่สามอย่างประณีต

แล้ว จึงเกิดถือเอาอายุ ๖๔ กัป ในพรหมโลก ชั้นสุภกิณหา. อบรมฌาน

ที่สองในชั้นนั้น เกิดถือเอาอายุ ๘ กัปในชั้นอาภัสสร. ในชั้นนั้น ได้อบรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 455

ฌานที่หนึ่งแล้วก็เกิดเป็นผู้มีอายุกัปหนึ่งในชั้นฌานที่หนึ่ง. ในตอน

แรกๆ เขารู้ได้อย่างทั่วถึงทั้งกรรมที่ได้สร้าง ทั้งสถานที่เกิด. แต่เมื่อเวลาล่วง

ไป เขาลืมหมดทั้งสองอย่าง จึงบังเกิดความเห็นว่าเที่ยงขึ้นมา. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า "เพราะเหตุนั้น เธอจึงไม่รู้ถึงอัน

นั้น ฯลฯ ฉันพึงต่ำแต่ไหน ?.

ทีนั้น พรหมคิดว่า "พระโคดม ผู้สมณะ มารู้ทั้งอายุ ที่เกิดและกรรม

ที่สร้างไว้เมื่อก่อนของฉัน, เอาละ ฉันจะถามถึงกรรมที่สร้างไว้เมื่อก่อนกะ

แก" ดังนี้แล้ว จึงทูลถามบุพกรรมของตนกะพระศาสดา. พระศาสดาจึง

ตรัสว่า :-

ได้ยินว่า เมื่อก่อน พรหมนี้ได้เกิดในเรือนแห่งตระกูล เห็นโทษใน

กามทั้งหลายแล้ว จึงคิดว่า "ฉันจะทำที่สุดของความเกิด ความแก่ และความ

ตาย" แล้วออกไปบวชเป็นฤาษี ยังสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้ได้ฌาน

ที่มีอภิญญารองรับ ให้สร้างโรงมุงใบไม้ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเวลาด้วยความ

ยินดีในฌาน.

ก็แล ในครั้งนั้น บางครั้งบางคราว ก็มีพวกพ่อค้า ขับเกวียน ๕๐๐

เล่มผ่านทะเลทรายมา. ก็แหละในทะเลทราย (นั้น) กลางวันจะไปไม่ได้

ไปได้แต่กลางคืน. ครั้งนั้น โคที่เทียมคู่แอกของเกวียนเล่มแรกเดินไปแล้ว

ก็กลับหันหน้ามาตามทางที่มาอีก เกวียนเล่มถัด ๆ มา ก็กลับไปตามๆ กันต่อ

เมื่อสว่างจึงได้รู้ว่ากลับ. และครั้งนั้น เป็นวันข้ามพ้นทะเลทรายของพวกเขา

เสียด้วย จึงคิดกั้นว่า "ฟืน และน้ำหมดเกลี้ยงทั้งนั้น เพราะฉะนั้น คราวนี้พวก

เราตายแน่" แล้วก็เอาโคผูกไว้ที่ล้อ พวกคนต่างก็เข้าไปนอนที่ร่มเกวียน.

ฝ่ายดาบส เช้าขึ้นมาก็ออกจากบรรณศาลา นั่งมองดูแม่น้ำคงคา

ที่ประตูบรรณศาลานั่นเอง ได้เห็น (พวกพ่อค้า) แล้ว ครั้นได้เห็นแม่น้ำคงคา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 456

มีห้วงน้ำใหญ่เต็มไหลมาเหมือนลำแก้วมณี จึงคิดว่า "ในโลกนี้ มีบ้างไหม

หนอ พวกสัตว์ที่กำลังลำบาก เพราะไม่ได้น้ำอร่อยเห็นปานนี้.? เมื่อท่าน

พิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็ได้เห็นกองเกวียนนั้นในทะเลทราย จึงคิดว่า "ขอสัตว์

เหล่านี้จงอย่าฉิบหาย" แล้วก็อธิษฐานด้วยอภิญญาจิตว่า ขอให้ลำน้ำใหญ่จง

ตัดขาดจากนี้หันหน้าไปหากองเกวียนในทะเลทรายเถิด. พร้อมกับเกิดความ

คิดขึ้น น้ำก็ไหลไปทะเลทรายนั้น ราวกะว่าขึ้นมาตามคลอง. พวกคนต่างลุก

ขึ้นเพราะเสียงน้ำได้พบน้ำต่างร่าเริงยินดี ได้อาบดื่มกันแล้วให้พวกโค

ดื่มน้ำ เสร็จแล้วก็พากันไปสู่ที่ซึ่งตนต้องการ โดยความปลอดภัย.

เมื่อพระศาสดาจะทรงแสดงบุพกรรมนั้น ของพรหมจึงตรัสคาถานี้

ว่า :-

"เธอได้ให้พวกคนที่กระหาย ไปเผชิญหน้าเอา

ในทะเลทรายร้อนจำนวนมากดื่มน้ำได้

นั่นเป็นพรตและศีลวัตรเก่าของเธอ.

ฉันตามระลึกได้ คล้ายกะคนหลับแล้วตื่น."

ในสมัยอื่นอีก ดาบสให้สร้างโรงมุงใบไม้ อยู่อาศัยหมู่บ้านชาว

ป่า. ก็แหละสมัยนั้นพวกโจรโจมตีหมู่บ้านนั้น ถือเอาของมีค่าติดมือ (ต้อน

ช้างสาร ) แล้วต้อนวัวและเชลยไปทั้งวัวทั้งหมา ทั้งคนก็ร้องดังลั่น. ดาบสได้

ยินเสียงนั้น ก็ใคร่ครวญว่า มันอะไรกันหนอ ก็รู้ว่า "ภัยเกิดขึ้นแก่พวก

คน" จึงคิดว่า "เมื่อเราเห็นอยู่ ขอสัตว์เหล่านี้ จงอย่าฉิบหาย" แล้วก็เข้าฌาน

ซึ่งมีอภิญญารองรับ ออกแล้วก็นิรมิตกองทัพสี่เหล่าที่เตรียมพร้อมกำลังเดิน

มาสวนทางมากับพวกโจรด้วยอภิญญาจิต. พวกโจรได้เห็นก็พากันเข้าใจ

ว่า "พระราชา" จึงทิ้งการปล้นหลีกไป ดาบสอธิษฐานว่า "อันใดเป็นของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 457

ผู้ใด อันนั้น ก็จงเป็นของของผู้นั้นนั่นแล. ของนั้นก็ได้เป็นอย่างนั้นนั่นแล.

มหาชนก็ถึงความปลอดภัย. พระศาสดาเมื่อจะทรงชี้บุพกรรมแม้นี้ของ

พรหมนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"เธอได้ปล่อยคนที่ถูกต้อน ของที่พึงเอา

ซึ่งกำลังถูกนำไปที่ตระกูลเนื้อทรายใด,

นั้นเป็นพรต และศีลวัตรเก่าของเธอ,

ฉันตามระลึกได้คล้ายกะคนหลับแล้วตื่น".

คำที่ว่าตระกูลเนื้อทรายในที่นี้ หมายถึงที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา.

สมัยอื่นอีก ตระกูลที่อยู่ตามแม่น้ำคงคาตอนบน การทำสันถวไมตรี

กับตระกูลที่อยู่ทางแม่น้ำคงคาตอนล่าง พากันผูกแพ เรือ ให้ติดกัน แล้วช่วย

กันขนเอาของเคี้ยวของกิน และระเบียบของหอมเป็นอันมากมาใส่ แล้วก็มา

ตามกระแสแม่คงคา. พวกคนก็พากันเคี้ยวกิน ฟ้อนรำ ทำเพลง สนุกสนาน

กันเต็มที่ เหมือนกะขี่เทพวิมานไป. นาคที่เกิดในแม่น้ำคงคาเห็นเข้าก็เดือด

ดาลว่า "คนเหล่านี้ ไม่ทำแม้แต่สัญญาในเรา คราวนี้ เราจะให้พวกมันถึง

ทะเลให้ได้." แล้วก็นิรมิตร่างกายใหญ่โต แยกน้ำออกเป็นสองส่วน โผล่มาแผ่

พังพาน พ่นเสียงฟู่ ๆ อยู่. มหาชนได้เห็นก็กลัว ส่งเสียงหลง. ดาบสนั่งที่

บรรณศาลาได้ยินเข้า ใคร่ครวญว่า "คนพวกนี้ร้องเพลง ฟ้อนรำ เกิดความ

สนุกสนานมา แต่บัดนี้ ร้อง ชนิดเสียงร้องกลัวตาย, อะไรกันหนอ? ได้เห็น

พญานาคจึงคิดว่า "เมื่อเราเห็นอยู่ ขอสัตว์ทั้งหลาย จงอย่าฉิบหาย" แล้วก็

เข้าฌานที่มีอภิญญารองรับ ละร่างแล้วแปลงเป็นเพศครุฑ แล้วแสดงต่อพญา

นาค, พญานาคกลัวหุบพังพานดำนั้นไป (เข้าสู่น้ำ). มหาชนก็ถึงความ

๑. บาลี อโมจยึ เข้าใจเป็น อโมจยิ จึงแปลตามนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 458

สวัสดี. เมื่อพระศาสดาจะทรงชี้บุพกรรมนี้ของพรหมนั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า :-

"เธอได้ใช้กำลังครอบงำเข้าแก้เรือนที่ถูกนาคโหดร้าย

ยึดไว้ในกระแสคงคา เพราะงานของคน

นั้นเป็นพรต และศีลวัตรเก่าของเธอ.

ฉันตามระลึกได้คล้ายกะคนที่หลับแล้วตื่น."

ในสมัยอื่นอีก พรหมองค์นี้ บวชเป็นฤาษี เป็นดาบสชื่อ เกสวะ. โดย

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพ ชื่อ กัปป์ เป็นลูกศิษย์ติดสอยห้อย

ตามท่านเกสวะ รับสนองกิจการงาน ประพฤติถูกอกถูกใจ ถึงพร้อมด้วย

ความรอบรู้ เป็นผู้ประพฤติประโยชน์. เว้นนายกัปป์แล้วเกสวะ ก็ไม่

สามารถจะเป็นไปได้. เพราะได้อาศัยนายกัปป์นั้นแหละ เกสวะจึงเลี้ยงชีพ

ได้. พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงบุพกรรมแม้นี้ ของพรหมนั้น จึงตรัสพระ

คาถานี้ว่า:-

"ก็ฉันเป็นนายกัปป์ ติดสอยห้อยตามเธอ,

เธอก็ได้เข้าใจว่าฉันมีความรอบรู้ มีพรต,

นั้นเป็นพรต เป็นศีลวัตรเก่าของเธอ,

ฉันตามระลึกได้ คล้ายกะหลับแล้วตื่น"

พระศาสดาได้ทรงประกาศกรรมที่ทำแล้วในอัตภาพต่างๆ ของ

พรหมดังที่ว่ามานี้. ขณะที่พระศาสดากำลังตรัสอยู่นั่นเอง พรหมก็กำหนด

แล้ว. กรรมทุกอย่างของพรหมนั้น ปรากฏเหมือนรูปที่ปรากฏเมื่อประทีป

พันดวงลุกโพลงขึ้นฉะนั้น. พรหมนั้น มีจิตเลื่อมใสกล่าวคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 459

"เธอรู้ชัดอายุของฉันนี้แน่นอนเธอรู้แม้สิ่งอื่น ๆ

เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า

อานุภาพอันเธอให้ลุกโพลงแล้วนี้

ก็อย่างนั้นแล ย่อมยังพรหมโลกให้สว่าง ตั้งอยู่."

ที่นั้น เมื่อจะทรงประกาศความเป็นผู้เท่าเทียมกับผู้หาใครเท่าเทียมไม่

ได้ แม้ยิ่งขึ้นไปแก่พรหมองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้น

ว่า ซึ่งแผ่นดินแล ฉัน พรหม. ในคำเหล่านั้น คำว่า "ไม่เป็นไปตาม เพราะอรรถ

ว่าเป็นแผ่นดินแห่งแผ่นดิน" ความว่า ไม่เป็นไปตามได้แก่ ไม่ถึงเพราะ

ความเป็นแผ่นดินแห่งแผ่นดิน. ถามว่า นั้น ได้แก่อะไรเล่า? ตอบว่า ได้

แก่พระนิพพาน. ก็แลพระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่ถึงโดยความเป็นแผ่นดิน

เพราะความที่พระนิพพานนั้น พ้นจากสภาวะที่ถูกปัจจัยทุกอย่างปรุง

แต่ง. คำว่า "รู้ยิ่งซึ่งพระนิพพานนั้น" ความว่า "รู้คือทำพระนิพพานนั้นให้

แจ่มแจ้งแล้ว. คำว่า "ไม่เพียงพอกะแผ่นดิน" ความว่า "เราไม่ถือเอาแผ่นดิน

ด้วยการถือเอาด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ. แม้ในน้ำเป็นต้น ก็ทำนอง

เดียวกันนี้แหละ. ส่วนความพิสดารพึงทราบตามแบบที่กล่าวแล้วในมูล

ปริยายสูตรนั่นแล. พรหมนี้ แสดงอักขระว่า "ทั้งหมด เพราะความที่ตนเป็น

ผู้กล่าวคำนี้ว่า "ถ้า แล ของเธอ ผู้นิรทุกข์ แห่งทั้งหมด" เพราะอรรถว่าทั้ง

หมด แล้วเอาความผิดในอักขระมากล่าว. แต่พระศาสดาทรงเป็นผู้

สามารถจึงทรงหมายเอาสิ่งใดมาตรัสว่า "ทั้งหมด. พรหมจึงกล่าวว่า เธอหมาย

เอาหมดทั้งหมดมากล่าวว่า ทั้งหมด เธอพูดว่า ไม่เป็นไปตาม เพราะอรรถ

ว่า ทั้งหมด ถ้าสิ่งที่ไม่เป็นไปตามทั้งหมดไม่มี สิ่งที่ไม่เป็นไปตามของสิ่ง

นั้นก็มี ขอให้คำของเธอจงอย่าเป็นคำที่เปล่าๆ เท่านั้นเลย อย่าเป็นคำที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 460

ว่างๆ เท่านั้นเลย แล้วก็ข่มพระศาสดาด้วยมุสาวาท (คือหาว่าทรงพูด

เท็จ) ว่า ขอให้คำของท่านจงอย่าเป็นคำที่เปล่าๆ จงอย่าเป็นคำที่ว่างๆ

ดังนี้

ส่วนพระศาสดาทรงเป็นนักพูดเสียยิ่งกว่าพรหมนี้ ตั้งร้อยเท่าพัน

เท่า ฉะนั้น เมื่อจะทรงนำเอาเหตุมาเพื่อย่ำยีคำพูดของพรหมนั้นว่า ฉันจะ

กล่าวถึงสภาวะทั้งหมดฉันจะกล่าวสภาวะที่ไม่มีอะไรเป็นไปตาม จงฟัง

ฉัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า วิญญาณ ในคำเหล่านั้น คำว่า "วิญญาณ" ความ

ว่า พึงเข้าใจแจ่มแจ้ง. คำว่า "เห็นไม่ได้" ความว่า ชื่อว่าเห็นไม่ได้ เพราะไม่

เข้าสู่คลองแห่งจักขุวิญญาณ. แม้ด้วยบททั้งสอง (นี้) พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสถึงพระนิพพานนั่นเอง. คำว่า "ไม่มีที่สุด" ความว่า "ชื่อว่าหาที่สุด

ไม่ได้ เพราะพระนิพพานนี้นั้น เว้นจากระหว่างแห่งการเกิดและการ

เสื่อม. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ตรัสไว้แล้วว่า

"สัตว์ทั้งหลายมีที่สุด พระนิพพานที่ไม่เกิด ไม่มีที่สุด

สัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฏในที่สุด

เราได้ประกาศที่สุดในสัตว์แล้ว."

คำว่า "เข้าถึงแสงทั้งหมด" ได้แก่สมบูรณ์ด้วยแสงโดยประการทั้ง

ปวง. จริงอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นที่มีแสงกว่า มีความโชติ

ช่วงกว่า มีที่สุดที่หมดจดกว่า หรือขาวกว่า อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพาน เป็น

แดนเกิดจากที่ทั้งปวงทีเดียว ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่ใช่ไม่มี เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นแดนเกิดโดยประการทั้งปวง จริงอยู่ ในทิศตะวันออกเป็น

ต้น ชื่อว่าในทิศโน้น ไม่พึงกล่าวว่า ไม่มีพระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 461

คำว่า "แสง" เป็นชื่อของท่า. ชื่อว่ามีท่าทุกแห่ง เพราะทุกแห่งมีท่า. เขาเล่า

เกี่ยวกับพระนิพพานว่า ผู้อยากจะข้ามมหาสมุทรโดยที่ใดๆ ที่นั้นๆ แล้ว

ย่อมเป็นท่า, ชื่อว่าที่ที่ไม่ใช่ท่า ย่อมไม่มี ฉันใด ในกัมมัฏฐาน ๓๘ อย่าง

ผู้ประสงค์จะข้ามไปพระนิพพานด้วยหัวข้อสำคัญใดๆ หัวข้อนั้นๆ แล ย่อม

เป็นท่า, ไม่มีกัมมัฏฐานที่ชื่อว่าไม่เป็นท่าของพระนิพพาน ฉันนั้นเหมือน

กัน, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เป็นท่าทุกแห่ง". คำ

ว่า "นั้นแห่งแผ่นดิน เพราะอรรถว่าแผ่นดิน" ความว่า "พระนิพพาน

นั้น เป็นสภาพที่ไม่เป็นไปตามแผ่นดิน เพราะอรรถว่าแผ่นดิน และไม่เป็น

ไปตามน้ำเป็นต้น อื่นจากแผ่นดินนั้น เพราะสภาพแห่งน้ำเป็นต้น. พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระดำรัสว่า ธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดอัน

เป็นวิสัยของบุคคลแบบเธอ อันใด ธรรมชาตินั้น เป็นธรรมชาติที่พึงรู้

แจ้ง เห็นไม่ได้ไม่มีที่สุด ท่าทุกแห่งเป็นธรรมชาติที่ไม่เป็นไปตาม

(อะไร ๆ) เพราะอรรถว่าทั้งหมดของธรรมชาติ ทั้งหมดนั้น ดังนี้.

ลำดับนั้น พรหมถูกพระศาสดาบังคับให้สละสิ่งที่ถือไว้แล้วๆ เมื่อมอง

ไม่เห็นอะไรที่พึงถือเอาก็ใคร่จะทำลัทธิไว้ จึงพูดว่า "เอาเถิดถ้าอย่าง

นั้น ฉันจะหายตัวแก่แก นะผู้นิรทุกข์!" ในคำเหล่านั้น คำว่า "ฉันจะหาย

ตัว" ความว่า พรหมกล่าวว่า ฉันจะกระทำปาฏิหาริย์ไม่ให้ใครเห็นตัว.

คำว่า "ถ้าเธอสามารถ" ความว่า ถ้าเธอสามารถ ก็จงทำปาฏิหาริย์ที่หายตัว

ได้จริงๆ เพื่อความหายตัวแก่ฉันซิ. คำว่า "เธอไม่สามารถจะหายตัวแก่ฉัน

หรอก" ความว่า เธอจะไม่สามารถเพื่อจะหายตัวแก่ฉันได้หรอก. ถาม

ว่า ก็แล พรหมนี้ เป็นผู้ใคร่จะทำอะไร? ตอบว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะไปสู่ปฏิสนธิ

ดังเดิม. จริงอยู่ อัตภาพที่ได้จากปฏิสนธิดั้งเดิมของพวกพรหมเป็นสิ่ง

ละเอียดเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นไม่ได้ ย่อมดำรงอยู่ด้วยกายที่ถูกสร้างอย่างยิ่ง (อภิสัง

ขาร) นั่นเอง. พระศาสดาไม่ได้ประทานเพื่อไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิมแก่พรหม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 462

นั้น. หรือเมื่อไม่ไปสู่ปฏิสนธิดั้งเดิม พรหมพึงทำตัวให้หายไปแล้วเป็นผู้ที่ไม่มี

ใครมองเห็นด้วยความมืดใด. พระศาสดาก็ทรงบรรเทาความมืดนั้นเสีย

แล้ว เพราะฉะนั้นพรหมจึงไม่สามารถจะหายตัวได้. เมื่อเขาไม่สามารถ

แอบซ่อนในวิมาน จึงแอบซ่อนที่ไม้กัลปพฤกษ์ นั่งกระหย่งอยู่. พวกพรหมก็

ทำการเยาะเย้ยว่า พกพรหมนี้แล แอบซ่อนในวิมาน แอบซ่อนที่ไม้

กัลปพฤกษ์ นั่งกระหย่งอยู่. พรหม ท่านชื่อว่า ย่อมก่อให้เกิดสัญญาว่า "ข้าจะ

หายตัว" เขาถูกพวกพรหมเยาะเย้ยเอา ก็แสนจะอับอายขายหน้า.

คำว่า เมื่อพรหมพูดอย่างนั้น "ฉัน ภิกษุทั้งหลาย" ความว่า ภิกษุทั้ง

หลาย เมื่อพรหมนั้นกล่าวอย่างนั้นว่า "เอาละ ถ้าอย่างนั้น แก่เธอ ผู้นิรทุกข์

ฉันจะหายตัว ฉันมองเห็นว่าพรหมนั้นไม่สามารถจะหายตัวได้ จึงได้กล่าวคำ

นี้. คำว่า "ฉันได้กล่าวคาถานี้" ความว่า ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้ตรัสพระคาถา? ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดว่า พวกพรหมจง

อย่ามีโอกาสพูดอย่างนี้ว่า "ใครจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า ในที่นี้

มีพระโคดมผู้เป็นสมณะ หรือไม่มี จึงได้ตรัสพระคาถาแล้วเสด็จหายพระองค์

ไป.

ในคำเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า "ฉันได้มองเห็นภัยในภพนั่น

แล" ความว่า ฉันได้มองเห็นภัยในภพโดยแท้. บาทพระคาถาว่า "ภพและผู้

แสวงหาวิภพ" ความว่า เห็นภพของสัตว์แม้ทั้งสามอย่างมีกามภพเป็นต้น

นี้ เห็นผู้แสวงหาวิภพ คือแสวงหาอยู่ ได้แก่ เสาะหาอยู่ ซึ่งวิภพ และเห็น

(ภัย) ในภพนั่นแลเนืองๆ.คำว่า "ไม่พร่ำหาภพ" ความว่า ไม่บ่นพร่ำ คือไม่

แสวงหาภพไร ๆ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ บาทคาถาว่า "และไม่ยึดมั่น

ความเพลิดเพลิน" ความว่า ไม่เข้าถึง คือไม่ได้ถือเอาตัณหาในภพ. พระ

ศาสดา เมื่อทรงประกาศความจริงสี่ประการ ทรงแสดงพระธรรมด้วยประ

การฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 463

เมื่อทรงเทศน์จบ พรหมประมาณหมื่นองค์ ยังวิปัสสนาให้ถือเอาครรภ์

(ตั้งท้องแล้วก็คลอดเหมือนข้าวกล้าตั้งท้องแล้วก็ออกรวง) ตามแนวแห่งเทศนา

แล้วก็ดื่มน้ำอมฤตคือมรรคผล.

คำว่า "เป็นผู้เกิดจิตเป็นอัศจรรย์พิลึก พิลั่นแล้ว" ความว่า เป็นผู้เกิด

อัศจรรย์ เกิดความหลากใจ และเกิดความยินดีแล้ว. บาทพระคาถาว่า "ทรง

ถอนภพพร้อมทั้งรากเหง้าได้แล้ว" ความว่า ทรงถอน คือทรงรื้อ ได้

แก่ทรงกระชากภพพร้อมทั้งรากเหง้า ของเทวดาและมนุษย์เป็นอัน

มาก แม้เหล่าอื่น ด้วยเทศนานั้นๆ ของพระองค์ควงไม้โพธิ์.

ก็แลในสมัยนั้น มารผู้มีบาป เป็นผู้อันความโกรธครอบงำแล้ว คิด

ว่า "เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่นั่นแหละ พรหมประมาณหมื่นองค์ เป็นไปล่วงอำนาจ

เราไปได้ เพราะพระโคดมผู้สมณะแสดงธรรม จึงเข้าสิงในร่างของพรหม-

ปาริสัชชะองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะความเป็นผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว

เพื่อทรงแสดงมารนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "ครั้งนั้นแล" ภิกษุทั้งหลาย, ดังนี้.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า "หากแกตามตรัสรู้อย่างนี้" ความว่า หากแกมา

ตามตรัสรู้ความจริงสี่อย่างด้วยตนอย่างนี้. คำว่า "อย่าน้อมหมู่สาวกเข้า

ไป" ความว่า อย่าน้อมเอาธรรมนั้นเข้าไปในสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ หรือสาวกที่

เป็นบรรพชิต. คำว่า "ตั้งอยู่ในกายทราม" ความว่า ดำรงอยู่ในอบาย

ทั้ง ๔. คำว่า "ตั้งอยู่ในกายประณีต" ความว่า ดำรงอยู่ในพรหมโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้หมายเอาพวกใคร? ตรัสหมายเอาพวกดาบส

และปริพพาชกที่เป็นนักบวชในลัทธิภายนอก. ความจริงมีอยู่ว่า เมื่อยังไม่

เกิดยุคแห่งการเกิดพระพุทธเจ้า พวกกุลบุตรบวชเป็นดาบส ไม่เลือก

อะไรๆ ของใครๆ เที่ยวเร่ร่อนไปคนเดียว บังเกิดสมาบัติ แล้วก็เข้าถึงพรหม

โลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพวกเหล่านั้น บาทคาถาว่า ผู้นิรทุกข์ !

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 464

แกไม่ได้เอ่ยถึงกุศลเลย ความว่า ผู้นิรทุกข์ แกไม่ได้เอ่ยถึงกุศล ไม่สั่ง

สอน ไม่กล่าวธรรมกถา แก่คนเหล่าอื่น ข้อนั้นเป็นการดีกว่า. คำว่า "จงอย่า

สั่งสอนผู้อื่น ความว่า แกอย่าเที่ยวแสวงหามนุษยโลก เป็นเวลา

เทวโลก เป็นเวลา พรหมโลกเป็นเวลา นาคโลกเป็นเวลา จงนั่งฆ่าเวลาด้วยความ

สุขในฌานในมรรค และในผลในที่เดียว. คำว่า "เพราะความเป็นผู้ไม่พูดพร่ำ"

ความว่า เพราะความเป็นผู้ไม่คุยโว. คำว่า "และเพราะความเป็นการเชื้อเชิญ

ของพรหม" ความว่า และเพราะคำเชื้อเชิญของพกพรหม ด้วยตำแหน่งแห่ง

พรหม ผู้มีโอกาสพร้อมโดยนัยเป็นต้นว่า "ผู้นิรทุกข์ นี้แล เป็นของ

เที่ยง. คำว่า "ตสฺมา" แปลว่า เพราะเหตุนั้น. คำว่า "พรหมนิมันตนิก"

นั่นแล เป็นชื่อ เป็นคำสำหรับนับ เป็นคำที่รู้พร้อมกัน เป็นคำแต่งตั้ง เกิด

แล้ว แต่คำร้อยแก้วนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นแล้วทั้งนั้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาพรหมนิมันตนิกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 465

๑๐. มารตัชชนียสูตร

[๕๕๗ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในเภสกลาวัน

เขตเมืองสุงสุมารคีระ ในภัคคชนบท.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจงกรมอบยู่ในที่แจ้ง ถูกมารผู้ลามก

เข้าไปในท้องในไส้ ได้มีความดำริว่า "ท้องเราเป็นดั่งว่ามีก้อนหินหนักๆ

และเป็นเช่นกะทออันเต็มด้วยถั่วหมัก เพราะเหตุอะไรหนอ. จึงลงจากจงกรม

แล้วเข้าไปสู่วิหาร นั่งอยู่บนอาสนะที่ปูไว้. ครั้นนั่งแล้ว ได้ใส่ใจถึงมารที่

ลามกด้วยอุบายอันแยบคายเฉพาะตน.

[๕๕๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นมารผู้ลามก เข้าไปในท้อง

ในไส้แล้ว ครั้นแล้วจึงเรียกว่า "มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออก

มา ท่านอย่างเบียดเบียน พระตถาคตเจ้าและสาวกของพระตถาคต เจ้า

เลย การเบียดเบียนนั้นอย่าได้มีเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์แก่ท่าน

ตลอดกาลนาน"

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปมีความดำริว่า "สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา

จึงกล่าวว่า "มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ท่านจงออกมา ท่านอย่าเบียดเบียน

พระตถาคตเจ้าและสาวกของพระตถาคตเจ้าเลย การเบียดเบียนนั้น อย่าได้มี

เพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน" ดังนี้ แล้วจึงดำริ

ว่า "แม้สมณะที่เป็นศาสดายังไม่พึงรู้จักเราได้เร็วไว ก็สมณะที่เป็นสาวก

ไฉนจักรู้จักเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 466

ในขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บอกมารชั่วว่า "มารผู้

ลามก เรารู้จักท่านแม้ด้วยเหตุนี้แล" ท่านอย่าเข้าใจว่า สมณะนี้ไม่รู้จัก

เรา ท่านเป็นมาร ท่านมีความดำริว่า " สมณะนี้ไม่รู้และไม่เห็นเรา จึงกล่าว

ว่า "มารผู้ลามก ท่านออกมา ฯลฯ ก็สมณะที่เป็นสาวกไฉนจักรู้จักเรา."

ลำดับนั้น มารผู้ชั่วได้มีความดำริว่า "สมณะนี้รู้จักและเห็นเรา

จึงกล่าวว่า มารผู้ลามก ท่านจงออกมา ฯลฯ การเบียดเบียนนั้น อย่าได้มี

เพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ท่านตลอดกาลนาน" ดังนี้ แล้วจึงออก

จากปากท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้วยืนอยู่ที่ข้างบานประตู.

[๕๕๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นมารผู้ลามกยืนอยู่ที่ข้าง

บานประตู ครั้นแล้วจึงกล่าวว่า " มารผู้ลามก เราเห็นท่าน แม้ที่ข้างบานประตู

นั้น ท่านอย่าเข้าใจว่า "สมณะนี้ไม่เห็นเรา" ท่านยืนอยู่แล้วที่ข้างบานประตู

"มารผู้ลามก เรื่องเคยมีแล้ว เราเป็นมารชื่อทูสี มีน้องหญิงชื่อกาลี ท่าน

เป็นบุตรน้องหญิงของเรานั้น ท่านนั้นได้เป็นหลานชายของเรา ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์มีคู่พระมหาสาวกชื่อวิธุระและชื่อสัญชีวะ

เป็นคู่เจริญเลิศ. พระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีประมาณเท่าใด ในพระสาวกมีประ

มาณเท่านั้น ไม่มีองค์ใดที่จะสม่ำเสมอด้วยท่านพระวิธุระในทางธรรมเทศนา

ด้วยเหตุนี้ ท่านพระวิธุระจึงมีนามเกิดขึ้นว่า "วิธุระ วิธุระ" ส่วนท่าน

พระสัญชีวะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมเข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธ ด้วยความลำบากเล็กน้อย มารผู้ลามก เรื่องเคยมี

แล้ว ท่านพระสัญชีวะ นั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่ง

หนึ่ง. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกคนไถนา และพวกคนเดิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 467

ทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะ นั่งเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ที่โคนต้นไม้แห่ง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้พูดกันว่า "ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์แปสกปลาดหนอ

พระสมณะนี้ นั่งทำกาละเสียแล้ว ฉะนั้น พวกเราจงเผาท่านเถิด" ครั้ง

นั้น คนเหล่านั้นจึงหาหญ้า ไม้ และโคมัยมากองสุมกายท่านพระสัญชีวะ

เอาไฟจุดเผาแล้วหลีกไป เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว ท่านพระสัญชีวะออกมา

จากสมาบัตินั้นแล้วก็สลัดจีวร เวลาเช้านุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่

บ้านเพื่อบิณฑบาต พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวกคนไถนา

และพวกคนเดินทาง ได้เห็นท่านพระสัญชีวะ เที่ยวบิณฑบาต แล้วก็พูดกัน

ว่า "ท่านผู้เจริญ นี่น่าอัศจรรย์ แปลกปลาดหนอ พระสมณะนี้นั่งทำกาละ

แล้ว พระสมณะนี้นั้นกลับมีสัญญาอยู่แล้ว" ด้วยเหตุนี้ ท่านพระสัญชีวะ

จึงได้มีชื่อเกิดขึ้นว่า "สัญชีวะ สัญชีวะ."

[๕๖๐] "มารผู้ลามก ครั้งนั้นแหละ ทูสีมารมีความดำริว่า "เราไม่

รู้จักความมาและไปของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ ถ้ากระไร เรา

พึงดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า "มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ

เสียดสี เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ถ้าไฉนภิกษุเหล่า

นั้น ถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น

โดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง."

ครั้งนั้น ทูสีมารก็ดลใจพวกพราหมณ์และคฤหบดีตามดำรินั้น

พวกพราหมณ์และคฤหบดี ฯลฯ ถูกทูสีมารดลใจแล้ว ก็ด่า บริภาษ เสียดสี

เบียดเบียน พวกภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมว่า "ภิกษุเหล่านี้เป็นสมณะหัว

โล้น เป็นคฤหบดี เป็นค่าง เป็นผู้เกิดแต่หลังเท้าของพรหม" พูดว่า "พวกเรา

เจริญฌาน พวกเราเจริญฌาน" เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ย่อม

รำพึง ซบเซา หงอยเหงาอยู่ เหมือนนกเค้าจ้องหาหนูที่กิ่งไม้ ฯลฯ และเหมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 468

สุนัขจิ้งจอกจ้องหาปลาใกล้ฝั่งน้ำ ฯลฯ และเหมือนแมวจ้องหาหนูที่ที่ต่อเรือนอัน

รุงรัง และกองหยากเยื่อ ฯลฯ และเหมือนลาที่ปลดต่างแล้ว ต่างก็รำพึง

ซบเซา เหงาหงอยอยู่ฉะนั้น มารผู้ลามก ครั้งนั้นมนุษย์เหล่าใดทำกาละ

ไป มนุษย์เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรกโดยมาก.

[๕๖๑] "มารผู้ลามก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนาม

ว่ากกุสันธะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว

รับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์และคฤหบดีถูกทูสีมารดลใจชักชวน

ว่า มาเถิด พวกท่านจงด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีลมี

กัลยาณธรรม ถ้าไฉนภิกษุเหล่านั้นถูกพวกท่านด่า บริภาษ เสียดสี เบียดเบียน

อยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่นโดยอาการที่ทูสีมารพึงได้ช่อง ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด

พวกเธอจงมีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด แผ่ไปสู่ทิศที่

๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นมีจิตสหรคต

ด้วยเมตตา อันกว้างขวางเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่ มีเวร ไม่มีพยาบาท

แผ่ไปสู่โลก มีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน

เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา... มีจิตสหรคต

ด้วยมุทิตา... มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่เถิด ไปสู่ทิศ

ที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น มี

จิตสหรคตด้วยอุเบกอันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไปในที่

ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง อยู่ดังนี้เถิด. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 469

ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่

ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่าง

นั้น มีจิตสหรคตด้วยเมตตาอันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไปในที่

ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ดังนี้. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา...มี

จิตสหรคตด้วยมุทิตา...มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่

ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้นแผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น

มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มี

เวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกมีสัตว์ทั้งมวล โดยความมีตนทั่วไป ในที่

ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางอยู่ ดังนี้.

[๕๖๒] "มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูลสีมารมีความดำริว่า "เราทำอยู่

แม้ถึงอย่างนี้แล ก็มิได้รู้ความมาหรือความไปของภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม

เหล่านี้เลย ถ้ากระไร เราพึงชักชวนพวกพราหมณ์และคฤหบดีว่า "เชิญท่าน

ทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีล มีกัลยาณ-

ธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะ

เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้

ช่อง มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารจึงชักชวนพราหมณ์และคฤหบดีเหล่า

นั้นว่า "เชิญท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มี

ศีลมีกัลยาณธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้น อันท่านทั้งหลายสักการะ

เคารพ นับถือ บูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้

ช่อง ดังนี้ มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น ถูกทูสี

มารชักชวนแล้วพากันสักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมี

กัลยาณธรรม มารผู้ลามก สมัยนั้นแลมนุษย์เหล่าใดกระทำกาละไป มนุษย์

เหล่านั้น เมื่อกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์โดยมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 470

[๕๖๓] มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่ง

ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์และคฤหบดีอันทูสีมารชักชวนว่า "เชิญ

ท่านทั้งหลายมาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลมีกัลยาณ-

ธรรมกันเถิด แม้ไฉน เมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านทั้งหลายสักการะ

เคารพ นับถือบูชาอยู่ พึงมีจิตเป็นอย่างอื่น โดยประการที่ทูสีมารพึงได้

ช่อง ดังนี้." "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาพิจารณาเห็นในกายว่าไม่

งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่า

ไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เถิด. "มารผู้

ลามก ภิกษุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ไปสู่ป่าก็

ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ก็พิจารณาเห็นในกายว่าไม่

งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่า

ไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่."

[๕๖๔] มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ

นามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองสบง แล้วทรง

บาตร และจีวร มีท่านพระวิธุระเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑ-

บาต มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ทูสีมารเข้าสิงเด็กคนหนึ่ง แล้วเอาก้อนหิน

ขว้างที่ศีรษะท่านพระวิธุระศีรษะแตก. มารผู้ลามก ครั้งนั้นแล ท่านพระ

วิธุระศีรษะแตกเลือดไหลอยู่ เดินตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไปข้างหลัง. มารผู้ลามก ครั้งนั้น

แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงชำเลืองดูเหมือนช้างชายตาดูด้วยตรัสว่า "ทูสีมารนี้มิได้รู้ประมาณเลย"

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 471

มารผู้ลามก ก็แหละทูสีมารเคลื่อนแล้วจากที่นั้น และเข้าถึงมหานรก

พร้อมด้วยพระกิริยาที่ชำเลืองดู.

[๕๖๕] มารผู้ลามก ก็มหานรกนั้นแลมีชื่อ ๓ อย่าง ชื่อฉผัสสายตนิกะ

ก็มี ชื่อสังกุสมาหตะก็มี ชื่อปัจจัตตเวทนียะก็มี มารผู้ลามก ครั้งนั้น

แล พวกนายนิรยบาลเข้ามาหาเราแล้วบอกว่า "เมื่อใดแลหลาวเหล็กกับหลาว

เหล็กมารวมกันที่กลางหทัยของท่าน เมื่อนั้นท่านพึงรู้ว่า "เราไหม้อยู่ในนรก

พันปีแล้ว." มารผู้ลามก เรานั้นแล หมกไหม้อยู่ในมหานรกนั้นหลายปี

หลายร้อยปี หลายพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุสสทะนรกแห่งมหานรกนั้น

แล เสวยทุกขเวทนาหนักกว่าก่อนอีกหมื่นปี มีศีรษะเหมือนศีรษะมนุษย์ก็

มี เหมือนศีรษะปลาก็มี."

[๕๖๖] ทูสีมารประทุษร้ายพระสาวกชื่อวิธุระ และ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่ากกุสันธะ แล้ว

ไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นไร ทูสีมารประทุษร้ายพระ

สาวกชื่อวิธุระและพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐพระนามว่า

กกุสนะ แล้วไหม้อยู่ในนรกใด นรกนั้นเป็นเช่นนี้ คือมีหลาว

เหล็กร้อยหนึ่ง ล้วนให้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุใดเป็น

พระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักนรกนั้น มารประทุษร้ายภิกษุ

เช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก วิมานทั้งหลายตั้งอยู่ใน

ท่ามกลางสระ มีความตั้งอยู่ตลอดกัป มีสีเหมือนแก้วไพฑูรย์

มีความรุ่งเรือง มีรัศมีโชติช่วง เป็นประภัสสร พวกนาง

อัปสรมีวรรณะต่างๆ เป็นอันมาก ฟ้อนรำอยู่ที่วิมานเหล่านั้น

ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักวิมานนั้น มาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 472

ประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใด

แล อันพระพุทธเจ้าทรงเตือนแล้ว เมื่อภิกษุสงฆ์เห็นอยู่ ยัง

ปราสาทของมิคารมารดาให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า ภิกษุใดเป็น

สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุ

เช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใดเข้มแข็งด้วยกำลัง

ฤทธิ์ ยังเวชยันตปราสาทให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า และยังพวก

เทวดาให้สังเวช ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จัก

เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่าง

หนัก ภิกษุใดทูลสอบถามท้าวสักกะในเวชยันตปราสาท

ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านย่อมรู้ความน้อมจิตไปในธรรมเป็นที่

สิ้นตัณหาบ้างหรือ". ท้าวสักกะถูกถามปัญหาแล้วพยากรณ์

แก่ภิกษุนั้นตามควรแก่กถา ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์

อย่างหนัก ภิกษุใด ย่อมสอบถามพรหม ณ ที่ใกล้สุธรรมาสภา

ว่า "ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิของท่านในวันนี้ และทิฏฐิของท่านมี

ในวันก่อน ท่านย่อมเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้วและรัศมีเป็น

ประภัสสรในพรหมโลกบ้างหรือ" พรหมพยากรณ์แก่ภิกษุนั้นตาม

ลำดับ โดยควรแก่กถาว่า "ท่านผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าไม่มีทิฏฐิ

นั้น และทิฏฐิในวันก่อน ข้าพเจ้าเห็นทิฏฐินั้นล่วงไปแล้ว

แหละเห็นรัศมีเป็นประภัสสรในพรหมโลก (ฉะนั้น) วัน

นี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน ได้อย่างไร"

ภิกษุใดเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมรู้จักเหตุนั้น มารประทุษ

ร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์อย่างหนัก ภิกษุใด

ได้กระทบยอดภูเขามหาเนรุด้วย ชมพูทวีปและ ปุพพวิเทหะทวีป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 473

พวกนรชนผู้อยู่ในแผ่นดิน ( ชาวอมรโคยานทวีปและชาว

อุตตระกุรุทวีป) ด้วยวิโมกข์ ภิกษุเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ย่อมรู้เหตุนั้น มารประทุษร้ายภิกษุเช่นนั้น ย่อมประสบทุกข์

อย่างหนัก ก็คนพาลมาเข้ากองไฟที่กำลังลุกโชน ย่อมเดือด

ร้อนอยู่ว่า "ไฟย่อมไม่คิดจะเผาเรา แต่เราย่อมเผาตนผู้เป็นคน

พาลเอง มาร! ท่านเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าแล้ว ต้องประสบ

บาปมิใช่บุญ ท่านอย่าสำคัญว่า "บาปไม่ให้ผลแก่เราหรือ

หนอ" การกชนที่สั่งบาป ย่อมโอดครวญตลอดกาลนาน

มาร ท่านเบื่อหน่ายพระพุทธเจ้า อย่าได้ทำความหวัง (ซึ่ง

ความพินาศ) ในภิกษุทั้งหลายเลย. ภิกษุได้คุกคามมารใน

เภสกลาวัน ด้วยประการฉะนี้ ลำดับนั้น มารนั้นมีความเสีย

ใจ ได้หายไปในที่นั้น ฉะนี้แล."

จบมานตัชชนียสูตรที่ ๑๐

จบจูฬยมกวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 474

อรรถกถามารตัชชนียสูตร

มารตัชชนียสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้นบทว่า "เข้าไปตามลำไส้" ความว่า เข้าท้องไปแล้ว

เข้าไปตามลำตับภายในลำไส้ใหญ่แล้วนั่งที่กระเพาะอาหาร.

บทว่า "เหมือนหนักกว่า" ความว่า กระด้างเหมือนหนักนัก เช่นกับ

ก้อนแผ่นหิน. อธิบายว่า อาหารที่ทำด้วยถั่ว เห็นจะเหมือนถั่วที่ชุ่ม (ด้วยน้ำ

มัน) ดุจท้องของคนที่กินข้าวแล้ว ดุจกระสอบที่เต็มด้วยถั่ว และดุจถั่วที่ชุ่ม

แล้ว.

บทว่า "เข้าไปวิหาร" ความว่า ถ้านี้เป็นความหนักเพราะโทษของ

อาหาร การจงกรมในที่แจ้งก็จะไม่เป็นความสบาย. ฉะนั้น พระเถระจึงลง

จากที่จงกรมเข้าไปบรรณศาลา นั่งบนอาสนะที่ปูไว้ตามปกติ.

บทว่า "ใส่ใจโดยแยบคายเฉพาะตน" ความว่า เมื่อรำพึงว่า นี่

อะไรหนอแล พระเถระจึงได้ใส่ใจด้วยอุบายของตนทีเดียว. ก็ถ้าพระเถระระลึก

ถึงศีล เอามือลูบท้องรำพึงอยู่ว่า อาหารที่เราบริโภควันวาน วันซืน หรือก่อน

วันซืนนั้นไม่สุก หรือว่า โทษที่เกิดจากอาหารที่ไม่ถูกส่วนกันอย่างอื่น

ไรๆ มีอยู่ อาหารนั้นทั้งหมดจงย่อยไป จงผาสุกเถิด. มารผู้มีบาปก็จะได้

ละอายหายไป. พระเถระหาได้ทำอย่างนั้นไม่จึงได้แต่ใส่ใจโดยแยบคาย.

บทว่า "ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าเลย" ความว่า เหมือนอย่าง

ว่า เมื่อลูกๆถูกเบียดเบียนมารดาและบิดาก็เป็นอันถูกเบียดเบียนด้วย เมื่อสัทธิ-

วิหาริกและอันเตวาสิถูกเบียดเบียน อุปัชฌาย์และอาจารย์ก็เป็นอันถูกเบียด

เบียนด้วย เมื่อชาวชนบทถูกเบียดเบียน พระราชาก็เป็นอันถูกเบียดเบียน

ด้วย ฉันใด เมื่อสาวกของพระตถาคตเจ้าถูกเบียดเบียน พระตถาคตเจ้าก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 475

อันถูกเบียดเบียนด้วยทีเดียวฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น พระมหาโมคคัลลานะเถระ

จึงกล่าวว่า ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคตเจ้าเลย.

บทว่า "ได้ยืนที่บานหน้าต่าง" ได้แก่ยืนที่บานประตู บานประตูท่าน

เรียกว่า "อัคคฬะ" มารได้ลอยออกไปทางปากไปจากบรรณศาลาแล้ว

ยืนอิงประตูบรรณศาลาอยู่.

เพราะเหตุไร พระเถระจึงปรารภเทศนานี้ว่า "มารผู้มีบาป เรื่องเคย

มีมาแล้ว "

นัยว่า พระเถระคิดว่า "กลิ่นของพวกมนุษย์ย่อมเบียดเบียนพวก

อากาศเทวดาตั้งร้อยโยชน์ก่อน."

ก็คำนั้น พระเถระกล่าวว่า "เจ้านคร กลิ่นพวกมนุษย์ ย่อมเบียด-

เบียนพวกเทวดาตั้งร้อยโยชน์ ก็เพราะเหตุนั้น มารผู้เป็นชาวเมือง มี

บริวารรักษา ถึงพร้อมด้วยอานุภาพเป็นราชาของพวกเทพเข้าไปในท้องของ

เรานั่งอยู่ในกระเพาะอาหารภายในลำไส้ ดุร้ายเหลือเกิน. ก็เมื่อพระเถระ

กล่าวว่า หน้าที่อื่นไรจักมีแก่ผู้ที่อาจเข้าโอกาสที่น่ารังเกียจน่าขยะแขยงเห็น

ปานนี้ ไม่ละอายสิ่งอื่นไร ท่านมิใช่ญาติของเรา. มารจึงคิดว่า ขึ้นชื่อว่า

"ผู้ที่ไม่ถึงความอ่อนโยนย่อมไม่มี เอาเถิดจักแทงข้างหลังญาติของพระเถระ

นั้นแล้วปล่อยเธอด้วยอุบายที่สุภาพทีเดียว จึงปรารภการแสดงนี้.

บทว่า "ท่านนั้นเป็นหลานของเรา" ความว่า ท่านนั้นเป็นหลานของ

เราในเวลานั้น. พระเถระกล่าวคำนี้ด้วยอำนาจธรรมเนียม. ก็ชื่อว่าเหล่ากอ

ของบิดามารซึ่งเป็นเชื้อสายของปู่ครองราชย์ไม่มีในเทวโลก. บิดาของมาร

นั้นเกิดเป็นราชาแห่งเทวดาในเทวโลกด้วยอำนาจของบุญ ดำรงอยู่ชั่วอายุ

แล้วจุติ เทวดาอื่นอีกตนหนึ่งซึ่งเกิดเป็นใหญ่ในที่นั้นด้วยกรรมที่ตนทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 476

แล้ว. ถึงมารนั้นก็พึงทราบว่า "เวลานั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้น ทำกุศล

อีก เกิดในตำแหน่งอธิบดีเวลานี้ ดังนี้แล.

บทว่า "มีธุระไปปราศแล้ว" คือ ปราศจากธุระ อธิบายว่า ไม่

เหมือนคนพวกอื่นๆ.

คำว่า "มีทุกข์น้อย" คือ ลำบากน้อย.

คำว่า "คนเลี้ยงสัตว์" คือ คนเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ.

คำว่า "ผู้เดินทาง" คือ ผู้ดำเนินไปตามทาง.

บทว่า "ค้นหาที่กาย" ความว่า ผูกเชิงตะกอนรอบๆ.

บทว่า "จุดไฟแล้วก็หลีกไป" ความว่า "ชาวนาทั้งหลายกำหนด

ขนาดของเชิงตะกอนว่า "เชิงตะกอนเท่านี้ร่างกายก็จักถือเอารอบ (ไหม้ทั่ว

ถึง) แล้วจุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ทิศ หลีกไปแล้ว. เชิงตะกอนก็ได้ลุกโพลงเหมือน

เปลวประทีป (และ) ได้เป็นเหมือนเวลาที่พระเถระเข้าถ้ำมีน้ำแล้วนั่งลง."

บทว่า "สลัดจีวร" ความว่า "พระเถระเมื่อออกจากสมาบัติแล้วย่ำถ่าน

เพลิงที่ไม่มีควันมีสีเหมือนดอกทองกวาวได้สลัดจีวรแล้ว ก็แม้เพียงไออุ่นก็มิ

ได้มีในร่างกายของท่าน. แม้เพียงไออุ่นก็ยังไม่ไหม้จีวร. นี้ชื่อว่าเป็นผลของ

สมาบัติ.

บทว่า "จงด่า" ความว่า พวกท่านจงด่าด้วยวัตถุสำหรับด่า ๑๐

ข้อ.

บทว่า "บริภาษ" ได้แก่ กล่าวด้วยวาจา.

บทว่า "จงด่าประชด" ได้แก่ จงกระทบกระเทียบ.

บทว่า "จงเบียดเบียน" ได้แก่ ให้ถึงทุกข์. คำทั่งหมดนี้เป็นชื่อของ

การกระทบกระเทียบทางวาจา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 477

บทว่า "เหมือนมารชื่อว่า ทูสี...ช่องนั้น" ความว่า เหมือนมารชื่อ

ว่าทูสี (ได้ช่อง) ของพวกพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น.

บทว่า "จงได้ช่อง" ความว่า พวกท่านจงได้รู้ คือพึงได้อารมณ์ที่

เป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นของกิเลส.

ในบทเป็นต้นว่า "โล้น" ดังนี้ พวกพราหมณ์และคฤหบดีกล่าวว่า

"มารพึงสมควรกล่าวกะผู้มีศีรษะโล้นว่า "โล้น" และกับพวกสมณะว่า

"สมณะ" ก็พวกสมณะโล้นเหล่านี้ดูหมิ่นอยู่.

คำว่า "มั่งคั่ง" ได้แก่ เจ้าเรือน

คำว่า "ดำ" ได้แก่ มืด.

พรหม ท่านประสงค์เอาว่า "ญาติ" ในบทนี้ว่า "เหล่ากอของ

ท้าวมหาพรหม." พวกพราหมณ์ย่อมร้องเรียกพรหมแม้นั้นว่า "ปู่." อธิบาย

ว่า เหล่ากอของพวกที่เกิดจากเท้าทั้งหลาย ชื่อว่า เหล่ากอของพวกที่เกิดจาก

เท้า. คือพวกที่เกิดจากหลังเท้าของพระพรหม.

ได้ยินว่า พวกพราหมณ์นั้นได้มีลัทธิอย่างนี้ว่า พวกพราหมณ์เกิด

จากปากพระพรหม กษัตริย์เกิดจากอก. พวกพ่อค้าเกิดจากสะดือ. พวกศูทร

เกิดจากแข้ง. พวกสมณะเกิดจากหลังพระบาท.

บทว่า "เราเป็นผู้เพ่ง เป็นผู้จ้อง" ความว่า พวกเราเป็นผู้เพ่ง พวก

เราเป็นผู้เล็ง.

บทว่า "เกิดความอร่อย" ได้แก่ เกิดความเกียจคร้าน.

บทว่า "เพ่ง" ได้แก่ คิด.

บทว่า "เพ่งทั่ว" เป็นต้น ท่านขยายด้วยอำนาจอุปสัค.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 478

บทว่า "หาหนูอยู่" ความว่า เสาะหาหนูบนกิ่งไม้ ตัวที่ออกจากต้น

ไม้ที่มีโพรง เพื่อหาอาหารเวลาเย็น.

นัยว่า นกฮูกนั้นยืนนิ่งเหมือนสงบเสงี่ยมแล้ว จะจับหนูอย่างรวดเร็วใน

เวลาที่พบกัน.

บทว่า "หมาป่า" ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

เหยี่ยวบ้าง.

บทว่า "ที่ต่อเรือน บ่อน้ำครำ และกองหยากเยื่อ" ความว่า ที่

ฝาเรือนด้วยบ่อน้ำครำด้วย กองหยากเยื่อด้วย. ในที่เหล่านั้น ที่ต่อเรือน ชื่อว่าที่

ต่อแห่งเรือน บ่อน้ำครำเป็นที่ฝังคูถ ชื่อว่าบ่อน้ำครำ ที่เป็นที่ทิ้งหยาก

เยื่อ ชื่อ กองหยากเยื่อ.

บทว่า "มีโคคอขาดแล้ว" ความว่า เมื่อออกจากที่กันดาร มีโคคอ

ขาดแล้ว.

บทว่า "ที่ต่อเรือน บ่อน้ำครำ และกองหยากเยื่อ" ได้แก่ ที่ต่อ

เรือน บ่อน้ำครำ หรือกองหยากเยื่อ. ก็ลาแม้นั้น ถ้าเผาก็ไม่ไหวติง ดุจ

แข็งกระด้าง

บทว่า "เข้าถึงนรก" ความว่า. ถ้ามารเข้าสิงในร่างของพวก

มนุษย์ พวกมนุษย์ไม่พึงมีอกุศลกรรม จะพึงมีแก่มารเท่านั้น แต่มารไม่ได้สิง

ในร่างกายแล้วแสดงวัตถุที่ไม่ถูกส่วนกัน และอารมณ์ที่ให้เกิดความเดือด

ร้อน.

ทราบว่า ครั้งนั้น มารนั้น แสดงภิกษุทั้งหลายทำให้เป็นเหมือนผู้จะ

จับปลาก็จับโดยเร็ว ๑ ให้เป็นเหมือนผู้ถือข่ายแล้วดักปลา ๑ ให้เป็นเหมือนผู้

ดักแร้วแล้วผูกนกไว้ ๑ ผู้เที่ยวต้อนเนื้อในป่ากับสุนัข ๑ ผู้พาหญิงมานั่งในนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 479

ดื่ม ๑ ผู้ฟ้อนอยู่ ๑ ผู้ขับอยู่ ๑ ให้เป็นเหมือนพวกมนุษย์ที่ไม่ถูกกันนั่งและยืน

ในที่พักกลางคืนและกลางวันของภิกษุทั้งหลาย ๑.

คนทั้งหลายไปป่าบ้าง ไปดงบ้าง ไปวัดบ้าง เห็นอารมณ์ที่ทำให้เร่า

ร่อน แล้วมากล่าวแก่คนพวกอื่นว่า พวกสมณะทำกิจที่ไม่เหมาะแก่สมณะ

ไม่สมควรเห็นปานนี้ เมื่อพวกเราได้ถวายทานแก่สมณะพวกนั้น ที่ไหนจะได้

บุญกุศล พวกท่านอย่าได้ถวายอะไรๆ แก่สมณะพวกนั้น. คนเหล่านั้น

ด่าภิกษุผู้มีศีลทั้งหลายในที่ที่ตนเห็นแล้วๆ ได้ประสบบาป เป็นผู้ที่ยังอบายให้

เต็ม เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า พวกมนุษย์ได้เข้าถึงนรก.

บทว่า "อันมารให้หมุนไปตาม" ได้แก่ ถูกมารให้หมุนไปทั่ว.

บทว่า "แผ่ไปแล้วอยู่" ได้แก่ แผ่ไปแล้วอยู่อย่างเดียวหามิได้. ก็คนผู้

ดำรงอยู่ในโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ให้

พรหมวิหารธรรม ๔ เหล่านี้ เกิดแล้วเจริญวิปัสสนาซึ่งมีฌาณเป็นที่รองรับ ได้

ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

คำว่า "ที่มา หรือ ที่ไป" ความว่า เราไม่รู้ที่เป็นที่มาด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิ หรือที่เป็นที่ไปด้วยอำนาจคติ.

บทว่า "จิตจะพึงมีความเป็นโดยประการอื่น" ความว่า พึงมีความ

เป็นไปโดยประการอื่นด้วยอำนาจความพอใจ.

แม้ในบทนี้ว่า " เข้าถึงโลกสวรรค์ " ก็พึงทราบเนื้อความตามนัยก่อน

นั่นเทียว. เหมือนอย่างว่า มารย่อมแสดงอารมณ์ที่ทำให้เดือดร้อนในกาลก่อน

ฉันใด ในบัดนี้ก็ฉันนั้น แสดงอารมณ์ทำให้ผ่องใสได้.

ทราบว่า ครั้งนั้น มารนั้นได้แสดงภิกษุทั้งหลายไว้ในที่ที่ปรากฏ

แก่คนทั้งหลาย ทำให้เป็นดุจไปในอากาศ ยืนในอากาศ. นั่งคู้บัลลังก์ ดุจเย็บ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 480

ผ้าในอากาศ ดุจบอกคัมภีร์ในอากาศ ดุจคลี่จีวรให้กายรับฤดูในอากาศ

ดุจบรรพชิตแก่เที่ยวไปในอากาศ ดุจสามเณรหนุ่มยืนเก็บดอกไม้ใน

อากาศ. พวกมนุษย์ไปป่าบ้าง ไปดงบ้าง ไปวัดบ้าง เห็นการปฏิบัตินั้นของ

พวกบรรพชิต ย่อมมาบอกแก่พวกคนเหล่าอื่นว่า ในพวกภิกษุโดยที่สุดแม้

สามเณรก็มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ท่านที่ถวายทานเหล่านี้ชื่อว่า

มีผลมาก พวกท่านจงถวายจงทำสักการะ พวกท่านเหล่านี้เถิด. ลำดับ

นั้น พวกมนุษย์ได้สักการะภิกษุสงฆ์ ด้วยปัจจัย ๔ ทำบุญไว้มากเป็นผู้ที่ยัง

หนทางสวรรค์ให้เต็ม เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า "ย่อมเข้าถึงโลก

สวรรค์."

คำว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมาพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่

งามอยู่ในกายนี้" ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเที่ยวไปตลอดชมพู

ทวีปทั้งสิ้น โดยที่สุดก็ยังได้เสด็จไปที่อยู่ของภิกษุ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง

ทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมด้วยความ

สำคัญในของที่ไม่งามมากอยู่ จิตย่อมหดหู่ ครอบงำ ถอยกลับ ไม่

เหยียดออก ความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อม จาก

ความถึงพร้อมด้วยเมถุนธรรม. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมด้วย

ความสำคัญในของที่ไม่งามมากอยู่ จิตย่อมหดหู่ ครอบงำ ถอยกลับ ไม่

เหยียดออก ความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อมจากความ

อยากในรส ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้มีใจที่อบรมแล้วด้วยความสำคัญว่าไม่

น่ายินดียิ่งในโลกทั้งปวงมากอยู่ จิตย่อมสลดหดหู่ ถอยกลับ ไม่เหยียด

ออก ความวางเฉย หรือความเป็นของปฏิกูล ย่อมตั้งอยู่พร้อมในจิตที่ประ

กอบด้วยความโลภ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยความสำคัญ

ว่าไม่เที่ยงมากอยู่ จิตย่อมสลดหดหู่ ถอยกลับไม่เหยียดออก ความวาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 481

เฉย หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่พร้อมในความโลภในลาภและสักการะ

แล้วตรัสกัมมัฏฐาน ๔ เหล่านี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงมาพิจารณา

เห็นเป็นของไม่งาม เป็นผู้มีความสำคัญในความปฏิกูลในอาหาร เป็นผู้

มีความสำคัญในความไม่ยินดียิ่งในโลกทั้งปวง เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นว่าไม่

เที่ยงในสังขารทั้งปวงในกายอยู่.

ภิกษุแม้เหล่านั้น ทำกรรมในกัมมัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้. ให้อาสวะทั้ง

หมดสิ้นไป ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์. กัมมัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ให้

ราคะ โทสะ และ โมหะสงบ กำจัดราคะ โทสะ และโมหะ ได้แน่นอนแล.

บทว่า "ถือก้อนกรวด" ความว่า ถือเอาก้อนหินประมาณเท่ากำมือ.

ก็มารนี้ได้ให้พวกพราหมณ์เละคฤหบดีด่าภิกษุบ้าง บันดาลให้ภิกษุ

สงฆ์เกิดลาภและสักการะด้วยอำนาจพราหมณ์ และคฤหบดีบ้าง เมื่อไม่ได้

ช่อง บัดนี้ ได้มีความประสงค์เพื่อจะพยายามด้วยมือของตนจึงสิงในร่างของ

เด็กคนใดคนหนึ่ง แล้วได้ถือเอาก้อนหินขนาดนั้น. พระเถระหมายเอาเด็ก

นั้น จึงกล่าวว่า "จับก้อนหินแล้ว."

บทว่า "ต่อยศีรษะของท่าน" ความว่า ทำลายศีรษะของท่าน

ความว่า ทำลายศีรษะ. เนื้อฉีกไปถึงหนังใหญ่เป็น ๒ ส่วน. ก็ก้อนกรวดไม่

ทำลายกระโหลกศีรษะจดกระดูกแล้วหยุดนั่นเอง.

บทว่า "ได้ทรงแลดูแล้วโดยดูอย่างช้าง" ได้แก่ ได้ยินเสียงดัง.

ช้างตัวประเสริฐ เมื่อประสงค์จะหลีกไปข้างนี้หรือข้างโน้น จะไม่

เอี้ยวคอแต่จะถอยร่างทั้งสิ้นกลับแลดูอยู่นั่นเทียว ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากกุสันธะก็ฉันนั้น ได้ทรงกลับสรีระทั้งสิ้นแลดูแล้ว กระดูก

ทั้งหลายของมหาชนปลายจดกันตั้งอยู่ ของพระปัจเจกพุทธเจ้าตรงปลายเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 482

ขอ. แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นฉันนั้นหามิได้ เป็นพืดเดียวกันตั้ง

อยู่ ดุจปลอกเหล็ก เพราะฉะนั้น เวลาทรงแลดูข้างหลัง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จึงไม่อาจเอี้ยวพระศอไปได้ ก็ช้างตัวประเสริฐ. เมื่อประสงค์จะแลดูส่วนข้าง

หลังจึงหมุนร่างกายทั้งสิ้นนั่นเทียว พระพุทธเจ้าก็พึงหมุนไปเช่นนั้น. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถอยกลับพระสรีระทั้งสิ้นเทียวชำเลืองดู

ดุจพระพุทธรูปทองคำที่หมุนไปด้วยเครื่องยนต์ ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้ประทับยืนชำเลืองดูตรัสว่า " หรือว่า มารชื่อทูสีนี้ไม่ได้รู้ประมาณ."

คำนั้น มีเนื้อความว่า มารทูสีนี้กระทำบาป ไม่ได้รู้ประมาณนั่น

เอง ได้ทำการก้าวล่วงประมาณแล้ว.

บทว่า "ทรงชำเลืองพร้อมกัน" ความว่า ขณะนั้นนั่นเอง พร้อมกับ

การแลดูของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ.

บทว่า "เคลื่อนจากที่นั้นด้วย" ความว่า เคลื่อนจากที่ในเทวโลก

นั้น เข้าถึงมหานรกแล้วด้วย.

ก็มารเมื่อจะเคลื่อนจึงยืนที่ใดที่หนึ่งเคลื่อน เพราะฉะนั้น มารนั้นจึงไม่

มาเทวโลกชั้นวสวัตดีเคลื่อนแล้ว. มารนั้นไม่พึงทราบว่า เคลื่อนแล้ว เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า. มารนั้นมิได้อำลาแล้ว เพราะคำว่า ด้วยการแลดูร่วม

กัน.

ก็คำนี้ เป็นเพียงการแสดงเวลาจุติเท่านั้น. ก็อายุของมารนั้นพึงทราบ

ว่าขาดไปแล้วในเทวโลกชั้นวสวัตดีนั้นเอง เหมือนการประหารด้วย

ขวาน เพราะผิดในพระมหาสาวกผู้ใหญ่.

บทว่า "มีชื่อ ๓ ชื่อ" ได้แก่ มี ๓ นาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 483

บทว่า "ชื่อว่า มีผัสสายตนะ ๖ (นรกชื่อว่า ผัสสายตนิกะ)" ความ

ว่า ในผัสสายตนะ ๖ เวทนาเฉพาะอย่างย่อมมีปัจจัย.

บทว่า "ชื่อว่า นำไปพร้อมด้วยขอ (นรกชื่อว่า สังกุสมาหตะ)" ความ

ว่า อันเขานำไปพร้อมด้วยขอเหล็ก.

บทว่า "เสวยอารมณ์เฉพาะตน (นรกชื่อว่า ปัจจัตตเวทนิยะ)" ได้

แก่ ตนเองนั่นแหละให้เกิดเวทนา.

บทว่า "ขอกับขอพึงมารวมกันที่หทัย" ความว่า ขอเหล็กกับขอ

เหล็กมารวมกันที่ท่ามกลางหัวใจ.

ได้ยินว่า เมื่อคนเหล่านั้นเกิดในนรกนั้นมีอัตตภาพ ๓ คาวุต แม้ของ

มารก็เป็นเช่นนั้นนั่นแหละ ครั้งนั้นพวกนายนิรยบาลถือหลาวเหล็กประมาณ

เท่าต้นตาลที่ไฟติดลุกโพลงโชติช่วงเอง กล่าวว่า " ก็เจ้านี่ คิดแล้วจึงทำความ

ชั่วไว้โดยที่นี้" แล้วทุบกลางหัวใจ เหมือนคนทุบขนมในรางทำขนม. ทำ

คน ๕๐ คนให้มีหน้าที่เท้า ๕๐ คนให้มีหน้าที่บนศีรษะไป เมื่อหลาวเหล็กไป

อยู่อย่างนี้ ๕๐๐ ปี ถึงข้างทั้งสองกลับมาอีก ๕๐๐ ปี ถึงกลางหัวใจ. พระ

เถระหมายเอาหลาวเหล็กนั้น จึงกล่าวคำนี้ไว้.

บทว่า "เวทนาที่ตั้งขึ้น" ความว่า เวทนาที่ตั้งขึ้นจากวิบาก.ได้ยินว่า

การเสวยอารมณ์นั้นมีทุกข์มากกว่าการเสวยผลในมหานรก.อาจารย์ทั้ง

หลายกล่าวว่า เหมือนอย่างว่า การรักษาตลอด ๗ วัน ลำบากกว่าการดื่ม

ความเยื่อใยตลอด ๗ วัน ฉันใดการเสวยอารมณ์ที่ตั้งขึ้นแห่งวิบาก ในตัณหา

ซึ่งฟูขึ้นมีทุกข์มากกว่าทุกข์ในมหานรก.

บทว่า ".....ของปลาแม้ฉันใด" ความว่า ศีรษะของคนกลม เมื่อบุคคล

ประหารด้วยหลาว การประหารย่อมไม่ตรงที่ ย่อมคลาดเคลื่อนไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 484

ศีรษะของปลายาวหนา การประหารย่อมตรงที่ การประหารย่อมเป็น

อันกระทำไว้ดี เพราะทำกรรมไม่ผิด. ฉะนั้น ศีรษะจึงมีรูปนี้.

บทว่า "จรดพระสาวกชื่อว่า วิธุระ" ความว่า กระทบพระสาวกชื่อ

ว่า วิธุระ.

บทว่า "การเสวยอารมณ์เฉพาะตน" ความว่า ให้เกิดการเสวย

อารมณ์อย่างหนึ่งเฉพาะตนเอง.

บทว่า "นรกเป็นเช่นนี้" ความว่า พึงแสดงนรกด้วยเทวทูตสูตรในที่

นี้.

บทว่า "ท่านถึงทุกข์ที่เกิดจากบาป" คือ ประสบทุกข์ที่เกิดจากมาร

ตายแล้ว.

บทว่า "กลางสระ" ได้แก่ ได้ยินว่า วิมานที่ทำให้น้ำเป็นที่รองรับ

แล้วเกิดในท่ามกลางมหาสมุทร ตั้งอยู่ตลอดกัป. วิมานเหล่านั้น มีสีเหมือน

แก้วไพฑูรย์ มีเปลวไฟลุกโพลงอยู่ เหมือนกองไฟที่ไหม้ไม้อ้อลุกโพลงบนยอด

เขา มีรัศมีซ่านไป. สมบูรณ์ด้วยรัศมีในวิมานเหล่านั้น มีนางฟ้าสีสรร

ต่างๆ กันฟ้อนรำอยู่.

บทว่า "ผู้ใดรู้เฉพาะเรื่องนี้" ความว่า ผู้ใดรู้เรื่องวิมานวัตถุนี้

ในเรื่องนี้ ก็ควรแสดงเนื้อความด้วยเรื่องวิมานวัตถุและเปตวัตถุ

เหมือนกัน.

คำนี้ว่า "ให้ไหวด้วยปลายนิ้วเท้า" ควรแสดงด้วยปาสาทกัมปนสูตร

นี้.

คำนี้ว่า "ผู้ใด (ให้) ไพชยนต์ไหวแล้ว" ควรแสดงด้วยจุลลตัณหา

สังขยสูตรและวิมุตติสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 485

คำนี้ว่า "พระเถระนั้นสอบถามท้าวสักกะอยู่" ก็ควรแสดงด้วยจุลล-

ตัณหาสังขยสูตรและวิมุตติสูตรนั้นเหมือนกัน.

บทว่า "ที่ประชุมใกล้สุธรรมสภา" ความว่า ใกล้ที่ประชุมชื่อ

ว่า สุธรรมา. ก็สุธรรมสภานี้อยู่ในพรหมโลก ไม่ใช่ในชั้นดาวดึงส์ ขึ้นชื่อ

ว่าเทวโลกที่เว้นจากสุธรรมสภาไม่มี.

บทว่า "รัศมีที่ซ่านไปในพรหมโลก" ความว่า แสงสว่าง ของพระผู้

มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จไปกับเหล่าสาวก มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

และพระมหากัสสปะ. เป็นต้นในพรหมโลก แล้วนั่งเข้าเตโชธาตุอยู่แล้ว.

ด้วยว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบจิตของหมู่พรหม ผู้นั่งประ

ชุมในสุธรรมเทวสภาในพรหมโลก คิดอยู่ว่า " มีอยู่หรือหนอแลที่สมณะหรือ

พราหมณ์ไรๆ ผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้อาจมาในที่นี้" จึงเสด็จไปที่นั้นประทับนั่งที่

สุดคณะของพรหม ทรงเข้าเตโชธาตุได้ทรงดำริถึงการมาของพระมหาโมค-

คัลลานะเป็นต้น.

พระสาวกแม้เหล่านั้น ได้ไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วจึงนั่งเข้า

เตโชธาตุในทิศละ ๑ องค์ พรหมโลกทั้งสิ้นจึงได้มีแสงอย่างเดียวกัน.

พระศาสดาได้ทรงแสดงธรรมที่ประกาศสัจจะ ๔. เวลาจบเทศนา

พรหมหลายพันดำรงอยู่ในมรรคและผล. พระเถระหมายเอาธรรมนี้

จึงกล่าวคาถานี้. ก็เนื้อความนั้นควรแสดงด้วยพกพรหมสูตร.

บทว่า "ได้ถูกต้องด้วยความหลุดพ้น" ได้แก่ ถูกต้องด้วยความหลุด

พ้นคือฌานนั่นเอง.

บทว่า "ดง" ได้แก่ ชมพูทวีป.

บทว่า "ปุพพวิเทหทวีป" ได้แก่ ทวีปที่ชื่อว่า ปุพพวิเทหะด้วย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 486

คำว่า "เหล่านระผู้นอนบนพื้นดินใด" ความว่า ชาวอมรโคยานทวีป

และชาวอุตตรกุรุทวีป ชื่อว่าเหล่านระผู้นอนบนแผ่นดิน มีคำอธิบายว่า

ถูกต้องนระเหล่านั้นทั้งหมด.

ก็ความนี้ ควรแสดงด้วยการทรมานนันโทปนันทนาคราช เรื่องนี้ท่าน

ให้พิสดารแล้วด้วยกถาว่าฤทธิ์ ในปกรณ์วิเศษชื่อว่าวิสุทธิมรรค.

บทว่า "ประสบสิ่งที่มิใช่บุญ" ได้แก่ ได้เฉพาะสิ่งที่มิใช่บุญ.

บทว่า "อย่าได้ทำความหวังในภิกษุทั้งหลาย" ความว่า อย่าได้ทำ

ความหวังนี้ว่า เราจะให้ภิกษุนี้พินาศ เราจะเบียดเบียนภิกษุ . คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงตื้นนั่นเทียวแล.

จบอรรถกถามารตัชชนียสูตร ที่ ๑๐

จบจุลลยมกวรรคที่ ๕

การขยายความพระสูตรมูลปัณณาสก์ แห่งอรรถกถามัชฌิม

นิกายชื่อปปัญจสูทนี แล้วด้วยประการฉะนี้

และอรรถกถาที่รวมพระสูตรในคัมภีร์ปัณณาสก์ ที่ประดับ

ด้วย ๕ วรรค จบแล้ว.