ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สีหนาทวรรค

๑. จูฬสีหนาทสูตร

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับสนองพระพุทธพจน์

แล้ว.

สมณะ ๔ จำพวก

[๑๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะ

ที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

เปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบันลือสีหนาท

โดยชอบอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะ

มีได้แล ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ในโลกนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อะไรเป็น

ความมั่นใจของพวกท่าน อะไรเป็นกำลังของพวกท่าน พวกท่านพิจารณาเห็น

ในตนด้วยประการไร จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะ

ที่สองมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนา

นี้ ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลายธรรม ๔ ประการ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้ว มีอยู่ ที่พวกเราเห็นธรรมเหล่านี้ในตน

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนา

นี้ สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดา

อื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน ๔ อย่าง คือ ความ

เลื่อมใสในพระศาสดาของพวกเรา มีอยู่ ความเลื่อมใสในพระธรรมมีอยู่ ความ

กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีอยู่ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้ประพฤติธรรม

ร่วมกัน เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ มีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔

ประการเหล่านั้นแล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว ที่พวกเราเล็งเห็นธรรมเหล่านี้ในตน

จึงกล่าวอย่างนี้ สมณะมีในพระศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่สองมีในพระศาสนานี้

สมณะที่สามมีในพระศาสนานี้ สมณะที่สี่มีในพระศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่น

ว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล

ที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ผู้ใดเป็นศาสดาของ

พวกเรา ความเลื่อมใสในศาสดาแม้ของพวกเราก็มีอยู่ คำสอนใดเป็นธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

พวกเรา ความเลื่อมใสในธรรมแม้ของพวกเราก็มีอยู่ ศีลเหล่าใดเป็นศีลของ

พวกเรา แม้พวกเราก็กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน แม้ของพวกเราก็เป็นที่น่ารัก น่าพอใจ. ผู้มีอายุ

ในข้อเหล่านี้อะไรเป็นข้อที่แปลกกัน อะไรเป็นข้อประสงค์ อะไรเป็นข้อที่

การทำให้ต่างกัน ในระหว่างของท่านและของเราดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวตอบอย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุ ความสำเร็จมีอย่างเดียวหรือมีมากอย่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ

สำเร็จมีอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีมากอย่าง. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ

ก็ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีราคะหรือของผู้ปราศจากราคะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะมิใช่ของผู้มีราคะ. พวกเธอพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้น เป็นของผู้มีโทสะหรือของผู้ปราศจากโทสะ. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยา-

กรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ของผู้มีโทสะ.

พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีโมหะหรือของผู้ปราศจาก

โมหะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดย

ชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากโมหะ มิใช่

ของผู้มีโมหะ. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้มีตัณหา

หรือของผู้ปราศจากตัณหา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์

เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้

ปราศจากตัณหา มิใช่ของผู้มีตัณหา. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จ

นั้นเป็นของผู้มีอุปาทาน หรือของผู้ไม่มีอุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความ-

สำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่มีอุปาทาน มิใช่ของผู้มีอุปาทาน. พวกเธอพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้งหรือของผู้ไม่รู้แจ้ง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้รู้แจ้ง มิใช่ของผู้ไม่รู้แจ้ง. พวกเธอพึง-

กล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดียินร้ายหรือของผู้ไม่ยินดียินร้าย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ไม่ยินดียินร้าย มิใช่ของผู้ยินดี

ยินร้าย. พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดีในความ

เนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี หรือของผู้ยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความ

ไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียร์ถีย์

เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ความสำเร็จนั้นเป็นของผู้ยินดี

ในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มิใช่ของผู้ยินดีในความ

เนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.

ทิฐิ ๒

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ภวทิฐิ และ

วิภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้

แอบอิงภวทิฐิเข้าถึงภวทิฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อ

ว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง เป็นผู้แอบอิงวิภวทิฐิเข้าถึงวิภวทิฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฐิ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

และการถ่ายถอนแห่งทิฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้น ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ ยังมีตัณหา ยังมีอุปาทาน ไม่ใช่

ผู้รู้แจ้ง ยังยินดีและยินร้าย เป็นผู้ยินดีในความเนิ่นช้า มีความเนิ่นช้าเป็นที่มา

ยินดี พวกเขาย่อมไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร

ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้น

ไปจากทุกข์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมรู้ทั่วถึงความเกิดความ-

ดับ คุณ โทษ และการถ่ายถอนแห่งทิฐิ ๒ อย่างเหล่านี้ ตามความเป็นจริง

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก

โมหะ ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทาน เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีและ

ยินร้าย มีความยินดีในความไม่เนิ่นช้า มีความไม่เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี พวก

เขาย่อมหลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ความโศก ความร่ำไร ทุกข์กาย

ทุกข์ใจ และความคับแค้นทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อนหลุดพ้นไปจากทุกข์.

อุปาทาน ๔

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างเป็น

ไฉน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง

แต่พวกเขาย่อมไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติ

ความรอบรู้กามุปาทานไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้

สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นรู้ไม่ทั่วถึงฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ตามความเป็น

จริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงมีลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่

บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติ

ความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทาน

ทุกอย่างโดยชอบ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน

ไม่บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน

ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะ ๒ ประการ

เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้

อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ

คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ไม่บัญญัติ

ความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง

แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความ

รอบรู้กามุปาทาน. บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติดวามรอบรู้สีลัพ-

พตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ทั่วถึงฐานะอย่างหนึ่งนี้ เพราะฉะนั้น พวกเขา

จึงปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้

อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความ

รอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรู้

อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใส

นั้น เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสในธรรมใด ความเลื่อมใส

นั้นเราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้น

เราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่าพอใจในหมู่สหธรรมิกใด

ข้อนั้นเราไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในธรรมวินัยเห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

เหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่

ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ประกาศชั่วแล้ว มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไป

เพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้.

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เท่านั้นแล เป็นผู้มีวาทะรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความ

รอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน ย่อม

บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ย่อมบัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ย่อม

บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสใน

ศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสใน

ธรรมใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความกระทำให้

บริบูรณ์ในศีลใด ข้อนั้นเรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ความเป็นที่รักและน่า

พอใจในหมู่สหธรรมิกใด ข้อนั้นเรากล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ ในพระธรรมวินัย

เห็นปานนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้นเป็น

ความเลื่อมใสในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นสภาพนำ

ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ อันท่านผู้รู้เองโดยชอบ ประกาศแล้ว.

ตัณหาเป็นเหตุเกิดอุปาทาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุปาทาน ๔ เหล่านี้ มีอะไรเป็น

ต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. อุปาทาน

๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด มี

ตัณหาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มี

อะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. ตัณหามีเวทนา

เป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนานี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด

มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด. เวทนามีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะ

เป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผัสสะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด. ผัสสะมีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มี

สฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สฬาย-

ตนะนี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด. สฬายตนะมีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด

มีนามรูปเป็นกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนามรูปนี้เล่า

มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด. นามรูปมีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด

มีวิญญาณเป็นกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ

นี้เล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไร

เป็นแดนเกิด. วิญญาณมีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขาร

เป็นกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนี้เล่า มีอะไร

เป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด

สังขารมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด มี

อวิชชาเป็นแดนเกิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนั้น เพราะสำรอกอวิชชาเสียได้ เพราะวิชชา

บังเกิดขึ้น ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นทิฏฐุปาทาน. ย่อมไม่ถือมั่น

สีลัพพตุปาทาน ย่อมไม่ถือมั่นอัตตวาทุปาทาน เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง

เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดี ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแล.

จบ จูฬสีหนาทสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี

พรรณนามูลปัณณาสก์

ภาคที่ ๒

พรรณนาสีหนาทวรรค

อรรกถาจุลลสีหนาทสูตร

จุลลสีหนาทสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ก็เพราะจุลลสีหนาทสูตรนั้น มีการสรุปถึงความอุบัติของเรื่อง เพราะ

ฉะนั้น ข้าพเจ้าแสดงการสรุปนั้นแล้ว จักทำการพรรณนาบทโดยไม่ตามลำดับ

แห่งจุลลสีหนาทสูตรนั้น. ก็เรื่องนี้ได้ยกขึ้นกล่าวในความอุบัติของเรื่องอะไร.

ในเรื่องที่เดียรถีย์คร่ำครวญ เพราะลาภสักการะเป็นปัจจัย. ได้ยินว่า ลาภ-

สักการะใหญ่ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยนัยที่กล่าวแล้วในธัม-

มทายาทสูตร.

ก็โลกสันนิวาสนี้มีประมาณ ๔ ดำรงอยู่แล้วโดย ๔ อย่าง ด้วยอำนาจ

แห่งบุคคลเหล่านี้คือ บุคคลผู้มีประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป มีประมาณใน

เสียง เลื่อมใสในเสียง มีประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้า-

หมอง มีประมาณในธรรม เสื่อมใสในธรรม. ข้อการทำให้ต่างกันของบุคคล

เหล่านั้นดังนี้. ก็บุคคลผู้มีประมาณในรูป เลื่อมใสในรูปเป็นไฉน บุคคลบาง

คนในโลกนี้เห็นความเจริญขึ้น หรือเห็นความเจริญเต็มที่ เห็นความบริบูรณ์

หรือเห็นทรวดทรง ถือประมาณในรูปนั้นแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น

บาลี. จูฬสีหนาทสุตฺต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป. ก็บุคคลผู้มีประมาณในเสียง

เลื่อมใสในเสียงเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือประมาณในเสียงนั้น ด้วย

การพรรณนาของคนอื่น ด้วยการชมเชยของคนอื่น ด้วยการสรรเสริญของคน

อื่น ด้วยคนผู้นำคุณของคนอื่นแล้วยังความเสื่อมใสให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า

บุคคลผู้มีประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง. ก็บุคคลผู้มีประมาณในความ

เศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมองเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็น

ความเศร้าหมองในจีวร หรือเห็นความเศร้าหมองในบาตร หรือเห็นความ

เศร้าหมองในเสนาสนะ หรือเห็นการบำเพ็ญทุกกรกิริยาต่าง ๆ แล้ว ถือประ-

มาณในความเศร้าหมองนั้น ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้

มีประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง. ก็บุคคลผู้มีประมาณ

ในธรรม เลื่อมใสในธรรมเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นศีล หรือ

เห็นสมาธิ หรือเห็นปัญญาแล้ว ถือประมาณในธรรมนั้น ยังความเลื่อมใสให้

เกิดขึ้น นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม.

ในบุคคล ๔ พวกนี้ ฝ่ายบุคคลมีประมาณในรูปเห็นความเจริญขึ้น

และความเจริญเต็มที่ ทรวดทรง ความบริบูรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมี

พระฉวีวรรณสวยงาม ดุจวิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ เพราะประดับประดาด้วยอนุ-

พยัญชนะ ๘๐ อย่าง ดุจแผ่นใหญ่แห่งทองคำอันรุ่งเรืองด้วยหมู่ดาว เพราะ

เกลื่อนกล่นด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และดุจท้องฟ้าอันแจ่มจำรัส

โดยประการทั้งปวงฉะนั้น มีพระสรีระหาที่เปรียบมิได้ มีปาริฉัตรสูงร้อยโยชน์

มีพระสิริแวดล้อมด้วยรัศมีประมาณหนึ่งวา สูงสิบแปดศอกแล้ว เลื่อมใสใน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว.

ฝ่ายบุคคลมีประมาณในเสียง ได้ฟังเสียงที่เป็นไปแล้วแห่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โดยนัยเป็นต้นว่า ตลอดสี่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป พระองค์ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

บำเพ็ญบารมีสิบ อุปปารมีสิบ ปรมัตถปารมีสิบ ทรงกระทำอังคบริจาค บุตร

ทารบริจาค รัชชบริจาค ธนบริจาค และนัยนบริจาคแล้วเลื่อมใสในพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว.

ฝ่ายบุคคลมีประมาณในความเศร้าหมอง เห็นความเศร้าหมองในจีวร

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว คิดว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ครองสมบัติ ก็จัก

ทรงแต่ผ้าที่ทำจากเมืองกาลีเท่านั้น แต่พระองค์ครั้นทรงผนวชแล้ว ทรงยินดี

ด้วยจีวรบังสุกุลอันทำด้วยป่าน ทรงกระทำการหนัก ดังนี้ ย่อมเลื่อมใสใน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว. เห็นแม้ความเศร้าหมองในบาตรแล้ว คิดว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เมื่อทรงครองเรือนได้เสวยโภชนะแห่งข้าวสาลี

อันมีกลิ่นหอม สมควรแก่โภชนะของพระเจ้าจักรพรรดิ ในภาชนะทองคำอัน

ประเสริฐสีแดง แต่ครั้นทรงผนวชแล้วทรงถือบาตรหิน เสด็จบิณฑบาตตาม

ตรอกในประตูของตระกูลสูง ทรงยินดีด้วยก้อนข้าวที่ได้แล้ว กระทำกิจหนัก

ดังนี้ ย่อมเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว. แม้ได้เห็นความเศร้าหมอง

ในเสนาสนะแล้ว คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ เมื่อทรงครองเรือน

มีนางฟ้อน ๓ พวกเป็นบริวาร เสวยราชสิริ ดุจสมบัติทิพในปราสาททั้ง ๓

อันสมควรแก่ฤดูทั้ง ๓ บัดนี้ ทรงผนวชแล้ว ทรงยินดีด้วยวัตถุ มีกระดานไม้

แผ่นศิลาและเตียงไม้ไผ่ เป็นต้น ในรุกขมูลและเสนาสนะเป็นต้น ทรงกระทำ

การหนัก ดังนี้ ย่อมเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว. แม้ได้เห็นการ

บำเพ็ญทุกกรกิริยาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว คิดว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงยังชีพให้เป็นไปด้วยวัตถุ มี น้ำต้มถั่วเขียว น้ำต้มถั่วพู และน้ำ-

ต้มหเรณุ เป็นต้น เพียงฟายมือ ๆ จักเจริญฌานอันไม่มีประมาณ ไม่ทรง

ห่วงใยในสรีระและชีวิตอยู่ตลอดหกปี โอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกิจที่

ทำได้ยาก ดังนี้ ย่อมเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

ฝ่ายบุคคลมีประมาณในธรรม เห็นศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ

ฌานวิโมกข์ สมาธิสมบัติ สัมปทา ความบริบูรณ์แห่งอภิญญา ยมกปาฏิหาริย์

เทโวโรหณะ และความอัศจรรย์หลายประการ มีการทรมานปาฏิกบุตรเป็นต้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเทียว.

บุคคลเหล่านั้น เลื่อมใสอย่างนี้แล้ว ย่อมนำลาภสักการะใหญ่ถวายแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ลาภสักการะของเดียรถีย์ทั้งหลายก็เสื่อมไป ดุจกาใน

พาเวรุชาดก. เหมือนอย่างท่านกล่าวว่า

นางนกยูงร้องเสียงไพเราะ เพราะ

ไม่เห็นนกยูง จึงบูชากาในพาเวรุนั้น

ด้วยเนื้อและผลไม้ ก็ในกาลใด นกยูงที่

ถึงพร้อมด้วยเสียงสู่พาเวรุ ในกาลนั้น

ลาภและสักการะของกาก็เสื่อมไป ในกาล

ใด พระพุทธเจ้าผู้ธรรมราชา ทรงกระทำ

แสงสว่างยังไม่อุบัติขึ้น ในกาลนั้น ชนอื่น

เป็นอันมาก ได้บูชาสมณพราหมณ์ทั้ง

หลาย แต่ในกาลใด พระพุทธเจ้าทรงถึง

พร้อมด้วยเสียง ทรงแสดงธรรม ในกาล

นั้น ลาภและสักการะของเดียรถีย์ทั้งหลาย

ก็เสื่อมไป.

เดียรถีย์เหล่านั้น เสื่อมจากลาภและสักการะอย่างนี้แล้ว แม้จะยังราตรี

ให้สว่างเพียงหนึ่งนิ้ว สองนิ้ว ก็เป็นผู้เสื่อมจากรัศมี ดุจหิงห้อยทั้งหลายใน

เวลาพระอาทิตย์ขึ้นฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

หิงห้อยทั้งหลายย่อมแสดงออกซึ่ง

แสงในราตรีข้างแรม ก็นั้นเป็นนิสัยของ

หิงห้อยเหล่านั้น ในเวลาใด พระอาทิตย์

ที่ถึงพร้อมด้วยรัศมีขึ้นอยู่ ในเวลานั้น

แสงของหมู่หิงห้อยทั้งหลายก็หายไปฉันใด

แม้เดียรถีย์ทั้งหลายในโลกนี้ ส่วนมาก

เป็นเช่นกับหิงห้อยฉันนั้น ย่อมแสดงคุณ

ตนในโลกที่เปรียบเหมือนข้างแรม แต่ใน

เวลาใด พระพุทธเจ้ามีรัศมีหาที่เปรียบ

มิได้ อุบัติขึ้นในโลก ในเวลานั้น เดียรถีย์

ทั้งหลายก็หมดรัศมี ดุจหิงห้อยทั้งหลาย

ในพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากรัศมีอย่างนี้ สรีระเกลื่อนกล่นด้วยหิด และ

ต่อมเล็ก ๆ เป็นต้น ถึงความเสื่อมอย่างยิ่ง ไปหาพระพุทธเจ้า พระธรรม

พระสงฆ์ และที่ประชุมของมหาชนแล้ว ยืนคร่ำครวญในระหว่างถนนบ้าง

ในตรอกบ้าง ในทางสี่แพร่งบ้าง ในสภาบ้าง ร้องประการต่าง ๆ อย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้เจริญ สมณโคดมเท่านั้นหรือเป็นสมณะ พวกเราไม่เป็นสมณะ สาวก

ของพระสมณโคดมเท่านั้นเป็นสมณะ สาวกแม้ของพวกเราก็ไม่เป็นสมณะ ทาน

ที่ให้สมณโคดมและสาวกของสมณโคดมนั้น มีผลมาก ทานที่ให้แก่พวกเรา

ไม่มีผลมาก สมณโคดมก็เป็นสมณะด้วย พวกเราก็เป็นสมณะด้วย สาวกของ

สมโคดมก็เป็นสมณะด้วย สาวกของพวกเราก็เป็นสมณะด้วย ทานที่ให้แก่

สมโคดมและแก่สาวกของสมณโคดมนั้นก็มีผลมากด้วย ทานที่ให้แก่พวกเรา

และแก่สาวกของพวกเรา ก็มีผลมากด้วย มิใช่หรือ ท่านทั้งหลายจงให้จงทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

แก่สมณโคดมแก่สาวกของสมณโคดมนั้นด้วย จงให้จงทำแก่พวกเราและแก่

สาวกของพวกเราด้วย สมณโคดมอุบัติแล้วตลอดวันก่อน ๆ มิใช่หรือ แต่

พวกเราเมื่อเกิดขึ้นในโลกเทียว ก็ได้เกิดแล้วดังนี้. ลำดับนั้น บริษัทสี่ คือ

ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ได้ฟังเสียงของเดียรถีย์เหล่านั้นแล้ว กราบ

ทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เดียรถีย์ทั้งหลาย กล่าวคำ

นี้และคำนี้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธออย่าสำคัญว่า สมณะมีในที่อื่น ตามคำพวกเดียรถีย์ เมื่อ

จะทรงปฏิเสธความเป็นสมณะในอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย และเมื่อจะทรงอนุญาต

ความเป็นสมณะในศาสนานี้เท่านั้น จึงตรัสพระสูตรแห่งความเกิดขึ้นของเรื่องนี้

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น.

ในบทนั้น บทว่า อิเธว คือ ในศาสนานี้เท่านั้น. ก็ความจำกัดนี้

พึงทราบแม้ในบทที่เหลือ. ก็สมณะทั้งหลายแม้มีสมณะที่ ๒ เป็นต้น ก็มีใน

ศาสนานี้เท่านั้น ไม่มีในที่อื่น. บทว่า สมโณ ได้แก่ พระโสดาบัน. ด้วย

เหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น

โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีการตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้สมณะ. สกทาคามี ชื่อว่า สมณะที่ ๒. ด้วยเหตุนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป

เพราะความที่ราคะ โทสะ และโมหะ เบาบางกลับมาสู่โลกนี้ ครั้งเดียวเท่านั้น

ก็จะทำที่สุคแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้สมณะที่ ๒ ดังนี้. พระอนาคามี

ชื่อว่า สมณะที่ ๓. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในภพ

นั้น ไม่เวียนกลับมาจากโลกนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้สมณะที่ ๓. พระอรหันต์

ชื่อว่า สมณะที่ ๔ ด้วยเหตุนั้นเเล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ กระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลายด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงอยู่ในทิฏฐธรรมเทียว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้สมณะที่ ๔. ท่านประสงค์เอาสมณะที่ตั้งอยู่ในผลสี่ในที่นี้เทียว

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า สุญฺา ได้เเก่ ว่าง คือ เปล่า. บทว่า ปรปฺปวาทา

ความว่า วาทะว่าเที่ยง ๔ วาทะ.ว่าเที่ยงเป็นบางส่วน ๔ วาทะว่ามีที่สุดและไม่

มีที่สุด ๔ วาทะที่ห้ามความไม่ตาย ๔ วาทะที่เกิดขึ้นเฉพาะ ๒ สัญญีวาทะ ๑๖

อสัญญีวาทะ ๘ เนวสญัญีนาสัญญีวาทะ ๘ อุจเฉทวาทะ ๗ ทิฏฐธัมนนิพพาน

วาทะ ๕ แม้ทั้งหมดดังกล่าวมานี้ มาแล้วในพรหมชาลสูตร วาทะของเหล่า

พาเหียรอื่นจากนี้ ๖๒ ชื่อว่า ปรัปปวาทะ. วาทะเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ว่างเปล่า

จากสมณะผู้ตั้งอยู่ในผลสี่เหล่านี้. ก็วาทะเหล่านั้น ไม่มีในสมณะนั้น. ก็วาทะ

เหล่านั้นไม่มีอย่างเดียวก็หาไม่ แต่สูญจากสมณะเหล่านั้นนั่นเทียว. อนึ่ง สูญ

จากสมณะแม้สิบสองนั่นเทียว คือ จากสมณผู้ตั้งอยู่ในมรรคสี่บ้าง จากสมณะ

ผู้วิปัสสกซึ่งปรารภเพื่อประโยชน์แก่มรรคสี่บ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงเนื้อความนี้นั้นเอง จึงตรัสไว้ในมหา

ปรินิพพานสูตรว่า

ดูก่อนสุภัททะเรามีวัยได้ ๒๙ ปี บวช

แล้วตามแสวงหาอะไรเป็นกุศล ดูก่อน

สุภัททะตั้งแต่เราบวชแล้วได้ ๕๐ ปีเศษ

แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

เป็นเครื่องนำออก ไม่มีในภายนอกแต่

ธรรมวินัยนี้.

สมณะแม้ที่ ๒ ก็ไม่มี สมณะแม้ที่ ๔ ก็ไม่มี ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจาก

สมณะผู้รู้ทั่วถึง. ก็ท่านประสงค์เอาผู้ปรารภวิปัสสนาว่า ปเทสวตฺตี ในมหา

ปรินิพพานสูตรนั้น. เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงกระทำผู้ปรารภวิปัสสนาเพื่อ

โสดาปัตติมรรคผู้ตั้งอยู่ในมรรค ผู้ตั้งอยู่ในผล แม้ทั้ง ๓ ดังกล่าวเข้าด้วยกัน

แล้ว ตรัสว่า แม้สมณะก็ไม่มีดังนี้. ทรงกระทำผู้ปรารภวิปัสสนาเพื่อสกทา-

คามิมรรคผู้ตั้งอยู่ในมรรค ผู้ตั้งอยู่ในผล แม้ทั้ง ๓ ดังกล่าวเข้าด้วยกัน

ตรัสว่า สมณะแม้ที่ ๒ ก็ไม่มี. ในบททั้ง ๒ แม้นี้ ก็นัยนี้เช่นเดียวกัน. ก็สมณะ

เหล่านั้น ไม่มีในลัทธิอื่น เพราะเหตุไร. เพราะลัทธิอื่นนั้นไม่มีเขต.

ก็เมล็ดผักกาดย่อมไม่ตั้งอยู่ในปลายเหล็กแหลม ไฟไม่ลุกโพลงในหลังน้ำ พืช

ทั้งหลายย่อมไม่งอกในแผ่นหิน ฉันใด สมณะเหล่านี้ย่อมไม่เกิดในลัทธิเดียรถีย์

ภายนอก ฉันนั้นเหมือนกัน. ในศาสนานี้เท่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะ

ศาสนานี้มีเขตดี. ก็ความที่ลัทธิเดียรถีย์ไม่มีเขต และความที่ศาสนานี้มีเขตนี้นั้น

พึงทราบโดยความไม่มี และความมีอริยมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐอันบุคคลไม่ได้ในธรรม

วินัยใดแล แม้สมณะก็ไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะแม้ที่ ๒ ก็ไม่ได้ใน

ธรรมวินัยนั้น สมณะแม้ที่ ๓ ก็ไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะแม้ที่ ๔ ก็ไม่ได้ใน

ธรรมวินัยนั้น ดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐย่อมได้ในธรรม

วินัยใดแล แม้สมณะย่อมได้ในธรรมวินัยนั้น สมณะแม้ที่ ๒ ก็ย่อมได้ใน

ธรรมวินัยนั้น ฯลฯ สมณะแม้ที่ ๔ ก็ย่อมได้ในธรรมวินัยนั้น ดูก่อนสุภัททะ

มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐย่อมได้ในธรรมวินัยนั้นแล ดูก่อนสุภัททะ

สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ ก็มีในศาสนานี้ สมณะที่ ๓ ก็มีใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ศาสนานี้ สมณะที่ ๔ ก็มีในศาสนานี้ ลัทธิของศาสดาอื่น สูญจากสมณะผู้รู้

ทั่วถึง ดังนี้. เพราะลัทธิเดียรถีย์ไม่มีเขต ศาสนามีเขตอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

ไกสรสีหะมีแสงสว่างพราวแพรว เป็นพระยาเนื้อ ซึ่งมีเท้าหน้าและเท้าหลัง

แดงจัด ย่อมไม่อาศัยอยู่ในป่าช้า หรือกองหยากเยื่อ แต่เข้าไปสู่หิมวันต์ซึ่ง

กว้างสามพันโยชน์ อยู่ในถ้ำแก้วมณีฉันใด. พระยาช้างฉัททันต์ ย่อมไม่เกิด

ในตระกูลช้าง ๙ มีตระกูลช้างโคจริยะเป็นต้น แต่เกิดในตระกูลช้างฉัททันต์

เท่านั้นฉันใด. พระยาม้าวลาหกไม่เกิดในตระกูลลา หรือในตระกูลอูฐ แต่เกิด

ในตระกูลม้าสินธพที่ฝั่งแม่น้ำสินธุเท่านั้น ฉันใด. มณีรัตนะอันนำความพอใจ

ให้สิ่งของที่ประสงค์ทุกอย่าง ย่อมไม่เกิดในกองหยากเยื่อ หรือในภูเขา มีภูเขา

ดินเป็นต้น ย่อมเกิดในระหว่างภูเขาวิบุลบรรพตเท่านั้นฉันใด. พระยาปลา

ติมิรมิงคละ ย่อมไม่เกิดในบ่อและสระโบกขรณีเล็ก ๆ ย่อมเกิดในมหา-

สมุทรที่ลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์เท่านั้นฉันใด. พระยาครุฑใหญ่ ๑๕๐ โยชน์

ย่อมไม่อาศัยอยู่ในป่ามีป่าละหุ่งเป็นต้น ที่ใกล้ประตูบ้าน แต่บินข้ามมหาสมุทร

แล้ว อาศัยอยู่ในสิมพลิทหวันเท่านั้นฉันใด. พระยาหงส์ทองธตรัฏฐะ ไม่

อาศัยอยู่ในที่ทั้งหลาย มีบ่อน้ำเป็นต้นที่ใกล้ประตูบ้าน แต่มีหงส์ ๙๐,๐๐๐ ตัว

เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในภูเขาจิตตกูฏบรรพตเท่านั้นฉันใด. และพระเจ้าจักร-

พรรดิผู้เป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่ ย่อมไม่เกิดในตระกูลต่ำ แต่ย่อมเกิดในตระกูล

กษัตริย์ที่ไม่เจือปนเท่านั้นฉันใด. ในสมณะเหล่านี้ แม้สมณะหนึ่ง ก็ไม่เกิด

ในลัทธิของอัญญเดียรถีย์ แต่ย่อมเกิดในพระพุทธศาสนา ซึ่งแวดล้อมด้วย

อริยมรรคเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น ฯลฯ ลัทธิของศาสดา

อื่นว่างเปล่า จากสมณะทั้งหลาย ผู้รู้ทั่วถึง ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

บทว่า สมฺมา ในบทว่า สมฺมา สีหนาท นทถ นั้น ได้แก่

โดยเหตุ โดยนัย โดยการณ์. บทว่า สีหนาท คือ การบันลือที่ประเสริฐ

ที่สุด คือ การบันลือที่ไม่น่ากลัว การบันลือที่ไม่ติดขัด. ก็เพราะความที่

สมณะสี่เหล่านี้มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น การบันลือนี้เป็นการบันลือสูงสุด ชื่อว่า

การบันลือที่ประเสริฐที่สุด. การบันลือของภิกษุผู้กล่าวว่า สมณะเหล่านี้มีใน

ศาสนานี้เท่านั้น ชื่อว่า การบันลือที่ไม่น่ากลัว เพราะภัยหรือความหวาดระแวง

จากที่อื่นไม่มี. การบันลือนี้ว่าสมณะเหล่านี้มีอยู่ในศาสนาแม้ของพวกเรา ชื่อว่า

การบันลือไม่ติดขัด เพราะความที่บรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลายมีปูรณะเป็นต้น แม้

คนหนึ่งก็ไม่สามารถเพื่อจะลุกขึ้นกล่าวได้. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า

สีหนาท คือ การบันลือที่ประเสริฐที่สุด คือ การบันลือที่ไม่น่ากลัว การ

บันลือที่ไม่ติดขัด ดังนี้. บทว่า าน โข ปเนต วิชฺชติ ความว่า ก็

การณ์นี้แลมีอยู่. บทว่า ย อญฺติตฺถิยา คือ พวกอัญญเดียรถีย์ โดย

การณ์ใด. อนึ่ง. พึงทราบติดถะ พึงทราบติตถกร พึงทราบเดียรถีย์ พึงทราบ

ติดถิยสาวกในที่นี้. ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง ชื่อว่า ติตถะ. ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมข้าม

ย่อมลอยไป ย่อมกระทำการผุดขึ้น ดำลงในท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

ติตถะ แปลว่า เป็นที่ข้ามของสัตว์ทั้งหลาย. ความที่ให้ทิฏฐิเหล่านั้น เกิดขึ้น

ชื่อว่า ติตถกร แปลว่า เจ้าลัทธิ. ผู้ถือลัทธิของเจ้าลัทธินั้นแล้ว บวช ชื่อ

ว่าเดียรถีย์. ผู้ให้ปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้น พึงทราบว่า ติตถิยสาวก แปลว่า

สาวกของเดียรถีย์. ผู้ที่ละความผูกพันทางฆราวาสแล้ว ถึงการบวชชื่อว่า

ปริพาชก. ที่พึ่ง การดำรง การบำรุง ชื่อว่า อัสสาสะ เรี่ยวแรง ชื่อว่า

พละ. บทว่า เยน ตุมฺเห ความว่า พวกเธอจงกล่าวอย่างนี้ด้วยอัสสาสะ

หรือพละใด. ในบทนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

ตรัสแล้วมีอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ใด บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัด กำจัดกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้โดยชอบยิ่ง ซึ่งสัมมา-

สัมโพธิอันยวดยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้อาสยานุสัยของสัตว์

เหล่านั้น ๆ ผู้เห็นธรรมที่ควรรู้ทั้งหมด เหมือนมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ

ฉะนั้น. อนึ่ง ทรงรู้ด้วยญาณทั้งหลายมีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ทรงเห็น

ด้วยทิพยจักษุ. อนึ่ง ทรงรู้ด้วยวิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๖ ทรงเห็นด้วยสมันต-

จักษุ อันไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง. ทรงรู้ด้วยปัญญาอันสามารถที่จะรู้ธรรมทั้งปวง

ทรงเห็นรูปทั้งหลายที่ล่วงจักษุวิสัยของสัตว์ทั้งปวง หรือที่อยู่ในกำแพงเป็นต้น

ด้วยมังสจักษุอันหมดจดยิ่ง ทรงรู้ด้วยปฏิเวธปัญญาอันเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ

อันยิ่งประโยชน์ตนให้สำเร็จ ทรงเห็นด้วยเทศนาปัญญา อันเป็นปทัฏฐานแห่ง

กรุณา อันยังประโยชน์คนอื่นให้สำเร็จ. ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะความ

ที่กิเลสอันเป็นข้าศึกทั้งหลายทรงละได้แล้ว และเพราะความที่พระองค์เป็นผู้

สมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะความที่สัจจะทั้งหลาย

อันพระองค์ตรัสรู้แล้วโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง. อนึ่ง ทรงรู้ธรรมอัน

ประกอบด้วยอันตรายทั้งหลาย ทรงเห็นธรรมอันเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจาก

ทุกข์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะความที่ข้าศึกคือกิเลศทั้งหลาย

อันพระองค์ละได้แล้ว ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะความที่ธรรมทั้งปวง

อันพระองค์ตรัสรู้แล้ว ด้วยพระองค์เอง อันมหาชนชมเชยแล้วด้วยอาการ ๔

ด้วยสามารถแห่งเวสารัชชะ ๔ ได้ตรัสธรรม ๔ ด้วยประการฉะนี้. พวกเรา

ใด เห็นธรรมเหล่านี้ในตน จงกล่าวอย่างนี้ จงอย่ากล่าวถึงการบำรุงช่วยเหลือ

หรือกำลังกายของพระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น. บทว่า สตฺถริ

ปสาโท ได้แก่ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึงพุทธคุณโดยนัยมีอาทิว่า

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า ธมฺเม ปสาโท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

ได้แก่ ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึง โดยนัยมีอาทิว่า พระธรรมอันพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า สีเลสุ ปริปูรการิตา คือ ความเป็น

ผู้กระทำบริบูรณ์ในศีลทั้งหลายอันพระอริยเจ้าใคร่แล้ว. ศีลห้า ชื่อว่า อริย-

กันตศีล จริงอยู่ พระอริยสาวก แม้อยู่ในระหว่างภพ แม้เมื่อไม่รู้ความที่ตน

เป็นพระอริยเจ้า ก็ไม่ล่วงละเมิดศีลห้าเหล่านั้น ถ้าจะมีใครพึงกล่าวกะอริยสาวก

นั้นว่า ขอให้ท่านรับเอาราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ทั้งสิ้นนี้แล้ว จง

ปลงแมลงวันตัวเล็กจากชีวิต ดังนี้. ข้อที่พระอริยสาวกจะพึงทำตามคำของผู้นั้น

นั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้. ศีลทั้งหลาย เป็นที่ใคร่ คือ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ

ของพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ทรงหมายถึงศีลเหล่านั้น จึงตรัสว่า

ความเป็นผู้ทำบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า สหธมฺมิกา โข ปน

ได้แก่ ผู้มีปกติประพฤติธรรมร่วมกัน ๗ พวก นั่น คือ ภิกษุ ภิกษุณี

สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา. จริงอยู่ ในสหธรรมจารี

เหล่านั้น ภิกษุ ชื่อว่า ประพฤติธรรมร่วมกับภิกษุทั้งหลาย เพราะความเป็น

ผู้มีสิกขาเสมอกัน ภิกษุณี ก็ประพฤติธรรมร่วมกับภิกษุณีทั้งหลายเช่นเดียวกัน

ฯลฯ อุบาสิกา ก็ประพฤติธรรมร่วมกับอุบาสิกาทั้งหลาย พระโสดาบันก็

ประพฤติธรรมร่วมกับพระโสดาบันทั้งหลาย พระสกทาคามีฯลฯ พระอนาคามี

ก็พระพฤติธรรมร่วมกับพระอนาคามีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น สหธรรมจารี

เหล่านั้นทั้งหมดแล เรียกว่า สหธัมมิก. อนึ่ง ในที่นี้ ท่านประสงค์พระ-

อริยสาวกอย่างเดียว. เพราะพระอริยสาวกเหล่านั้น ไม่มีความวิวาทในการเห็น

มรรคแม้ในระหว่างแห่งภพ เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกเหล่านั้น จึงชื่อว่า

สหธัมมิก. เพราะมีปกติพระพฤติธรรมอันเดียวกันโดยแท้. ท่านแสดงความ

เลื่อมใสที่เกิดแก่ผู้ระลึกถึงพระสงฆ์โดยนัยมีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี ด้วยบทนี้. องค์ทั้งหลายแห่งพระโสดาบันสี่เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

อันท่านแสดงแล้ว ด้วยประการเพียงนี้. บทว่า อิเม โข โน อาวุโส

ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ธรรมสี่เหล่านี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น

ตรัสว่า เป็นความมั่นใจ และเป็นกำลังของพวกเรา. พวกเราใด เล็งเห็น

ธรรมเหล่านี้ในตน จงกล่าวอย่างนี้. ปริพาชกแสดงอ้างศาสดาทั้งหก มี

ปูรณกัสสป เป็นต้น ด้วยบทนี้ว่า ผู้ใด เป็นศาสดาของพวกเรา. ก็บัดนี้

มีความรักอันอาศัยเรือนว่า อาจารย์ของพวกเรา อุปัชฌาย์ของพวกเรา ในบุคคล

ทั้งหลายมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้นในศาสนา โดยประการใด ปริพาชก

กล่าวว่า ความเลื่อมใสในศาสดา หมายถึงความรัก เห็นปานนั้น. ก็พระเถระ

กล่าวว่า เพราะพระศาสดาไม่ใช่เป็นของคนเดียว ไม่ใช่เป็นของสองคน แต่

เป็นพระศาสดาพระองค์เดียวเท่านั้น ของโลก พร้อมกับเทวโลก เพราะฉะนั้น

เดียรถีย์ทั้งหลายได้แบ่งศาสดาออกเป็นแผนก ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า ศาสดา

ของพวกเรา เป็นอันพลาดแล้ว แพ้แล้วด้วยบทนี้เทียว ดังนี้. ก็ในบทว่า

ธมฺเม ปสาโท นี้ ปริพาชกทั้งหลายสำคัญว่า ทีฆนิกายของพวกเรา

มัชฌิมนิกายของพวกเราในศาสนาในบัดนี้ ฉันใด ย่อมกล่าวหมายถึงความรัก

อันอาศัยเรือนในปริยัติธรรมของตน ๆ ฉันนั้น. บทว่า สีเลสุ คือ ในศีล

ทั้งหลาย มีศีลแพะ ศีลโค ศีลแกะ และศีลสุนัขเป็นต้น. ปริพาชกทั้งหลาย

กล่าวหมายถึงความเลื่อมใสว่า อิธ ในบทนี้ว่า อิธ โน อาวุโส ดังนี้.

บทว่า โก อธิปฺปาโย ได้แก่ การประกอบข้อประสงค์อะไร. บทว่า ยทิท

ความว่า ปริพาชกทั้งหลายเป็นผู้มีธุระเสมอกันดำรงอยู่ด้วยถ้อยคำว่า ท่าน

พึงกล่าวข้อที่กระทำให้ต่างกันระหว่างของพวกท่านและของพวกเรานี้ใด ข้อนั้น

เป็นความเลื่อมใสในฐานสี่แม้ของพวกท่าน ชื่อไร ก็เป็นความเลื่อมใสในฐาน

เดียวกันกับของพวกเราด้วยมิใช่หรือ พวกท่านและพวกเราเป็นเช่นกับพวก

เดียวกัน ดุจทองคำที่แตกออกเป็น ๒ ส่วนแล้ว ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำลายความเป็นผู้มีธุระเสมอกันนั้นของปริพาชก

เหล่านั้น จึงตรัสว่า เอว วาทิโน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

เอกา นิฏฺา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงถามอย่างนี้ว่า

ความสำเร็จอันเป็นที่สุดแห่งความเลื่อมใสนั้นใด ความสำเร็จนั้นมีอย่างเดียว

หรือมีมากอย่าง. ก็เพราะชื่อผู้บัญญัติความสำเร็จในลัทธินั้น ๆไม่มี อสัญญีภพ

จึงถูกกำหนดอย่างนี้ว่า ก็พรหมโลกเป็นของพวกพราหมณ์ ความสำเร็จ คือ

ความดับมีอย่างเดียว อาภัสสราเป็นของพวกดาบส สุภกิณหาเป็นของพวกปริ-

พาชก โดยที่สุดเป็นของพวกอาชีวก. ก็อรหัต คือ ความสำเร็จในศาสนานี้.

ก็พวกปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมดย่อมกล่าวว่า อรหัตเท่านั้น คือความสำเร็จ.

อนึ่ง ย่อมบัญญัติโลกทั้งหลายมีพรหมโลกเป็นต้น ด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะ

ฉะนั้น จึงบัญญัติความสำเร็จมีอย่างเดียวเท่านั้นด้วยอำนาจแห่งลัทธิของตน ๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความสำเร็จนั้น จึงตรัสว่า เมื่อจะพยากรณ์

โดยชอบ ดังนี้เป็นต้น.

บัดนี้ ครั้นเมื่อความสำเร็จ ๒ อย่าง คือ ความสำเร็จมีอย่างเดียวใน

ศาสนานี้สำหรับภิกษุทั้งหลายด้วย ความสำเร็จมีอย่างเดียวสำหรับเดียรถีย์ทั้ง

หลายด้วย ดำรงอยู่เหมือนลูกความทั้งหลายฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงแสดงวัตรแห่งการประกอบเนืองๆ จึงตรัสว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ความ

สำเร็จนั้นเป็นของผู้มีราคะ หรือของผู้ปราศจากราคะ ดังนี้เป็นต้น. ในที่นี้

เพราะธรรมดาความสำเร็จของผู้มีกิเลสทั้งหลายมีผู้อันราคะย้อมเป็นต้นไม่มี

เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงพยากรณ์โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ความ

สำเร็จนั้นเป็นของผู้ปราศจากราคะแก่เดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้เห็นโทษนี้ว่า ผิว่าแม้

สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นจะพึงมีไซร้ ก็จะพึงมี ดังนี้. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า วิทฺทสุโน ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า อนุรุทฺธปฏิวิรุทฺธสฺส ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

แก่ ผู้ยินดีด้วยราคะผู้ยินร้ายด้วยความโกรธ. ในบทว่า ปปญฺจารามสฺส

ปปญฺจรติโน นั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในความเนิ่นช้านั้น เพราะฉะนั้น

ความเนิ่นช้านั้น จึงชื่อว่า อาราโม เป็นที่มายินดี. ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี

ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจาราโม แปลว่าผู้มี

ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี. ความยินดีในความเนิ่นช้าของบุคคลนั้น เพราะ

ฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจรตี ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า. บทว่า ปปญฺโจ

นั้น เป็นชื่อของตัณหาทิฏฐิและมานะ อันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของ

ผู้มัวเมาและผู้ประมาทแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์เฉพาะตัณหาและทิฏฐิเท่า

นั้น. กิเลสอย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะ ๕ ว่าของผู้มีราคะเป็นต้น พึง

ทราบอาการและความเป็นต่าง ๆ ของกิเลสนั้น. ก็ท่านถือเอากิเลสด้วยอำนาจ

ราคะที่เจือด้วยกามคุณห้า ในที่ท่านกล่าวว่า สราคสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจ

ภวตัณหาในบทว่า สตณฺหสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการยึดถือในบทว่า

สอุปาทานสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจคู่ในบทว่า อนุรุทฺธปฏิวิรุทฺธสฺส.

ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการแสดงความเกิดขึ้นของกิเลสเครื่องเนิ่นช้าในบทว่า

ปปญฺจรามสฺส. อีกอย่างหนึ่ง ถือเอากิเลสด้วยอำนาจอกุศลมูลในบทนี้ว่า

สราคสฺส. ถือเอากิเสสด้วยอำนาจอุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัยให้บทนี้ว่า

สตณฺหสฺส. บทที่เหลือก็เช่นกับบทก่อนนั้นเทียว. ก็พระเถระกล่าวว่า ท่าน

จงกำจัดอย่างนี้เพราะเหตุไร เพราะโลภตัวเดียวนี้เท่านั้นกล่าวว่า ราคะ ด้วย

อำนาจแห่งความยินดี ก็ชื่อว่า ตัณหา ด้วยอำนาจการกระทำความทะยานอยาก

ชื่อว่า อุปาทาน ด้วยอรรถว่ายึดถือ ชื่อว่า ความยินดีและความยินร้าย ด้วย

อำนาจคู่ ชื่อว่า ปปัญจะ ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้นแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า. บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงทิฏฐิวาทะอันเป็นรากเหง้าของกิเลสเหล่านี้

จึงตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว ทิฏฺิโย ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

บทว่า ภวทิฏฺิ ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยง. บทว่า วิภวทิฏฺิ ได้แก่

ความเห็นว่าขาดสูญ. บทว่า ภวทิฏฺิ อลฺลีนา ความว่า ผู้แอบอิง ความ

เห็นว่าเที่ยงด้วยอำนาจตัณหาทิฏฐิ. บทว่า อุปคตา ความว่า เข้าถึงด้วย

อำนาจตัณหาทิฏฐิเทียว. บทว่า อชฺโฌสิตา ความว่า ตามเข้าไปด้วยอำนาจ

ตัณหาทิฏฐินั้นเทียว. บทว่า วิภวทิฏฺิยา เต ปฏิวิรุทฺธา ความว่า สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้ยินร้ายว่า พวกท่านโง่เขลาพร้อมด้วยผู้

กล่าวว่าขาดสูญ ไม่รู้ว่า โลกนี้เที่ยง โลกนี้ไม่ขาดสูญ ขวนขวายในการทะเลาะ

เป็นนิตย์อยู่. แม้ในวาระที่สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบทมีว่า สมุทยญฺจ

เป็นต้น แดนเกิดของทิฏฐิทั้งหลายมีสองอย่าง คือ ขณิกสมุทัย ๑ ปัจจยสมุทัย

๑. ความเกิดของทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่า ขณิกสมุทัย ฐานะที่ตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง

ทิฏฐิทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจจยสมุทัย. อย่างไร. คือ ขันธ์ก็ดี อวิชชาก็ดี ผัสสะ

ก็ดี สัญญาก็ดี วิตกก็ดี อโยนิโสมนสิการก็ดี ปาปมิตรก็ดี เสียงกึกก้องอย่างอื่นก็ดี

จัดเป็นทิฏฐิฐานะ. ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัย แห่งความ

เกิดขึ้นของทิฏฐิทั้งหลาย เพราะอรรถว่าตั้งขึ้นพร้อม. แม้ขันธ์ทั้งหลายชื่อว่า

ทิฏฐิฐานะ ด้วยประการฉะนี้. อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ

ปาปมิตร เสียงกึกก้องฝ่ายอื่น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความเกิดขึ้นของทิฏฐิ

ทั้งหลาย เพราะอรรถว่าตั้งขึ้นพร้อม. แม้เสียงกึกก้องฝ่ายอื่น ชื่อว่า ทิฏฐิฐานะ

ด้วยประการฉะนี้. แม้การตั้งอยู่ไม่ได้มีสองอย่างเท่านั้น คือ ขณิกัตถังคมะ ๑

ปัจจัยตถังคมะ ๑. ความสิ้น ความเสื่อม ความแตก ความสลาย ความไม่เที่ยง

ความหายไป ชื่อว่า ขณิกัตถังคมะ โสดาปัตติมรรค ชื่อ ปัจจัยตถังคมะ.

ก็โสดาปัตติมรรค ท่านกล่าวว่า ทำลายพร้อมซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า อสฺสาท

คือ กล่าวหมายถึงอานิสงส์อันมีทิฏฐิเป็นมูล. อธิบายว่า พระศาสดาทรงมีทิฏฐิใด

สาวกทั้งหลายก็เป็นผู้มีทิฏฐินั้น สาวกทั้งหลาย ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

บูชาย่อมได้พระศาสดาทรงมีทิฏฐิใด ทิฏฐินั้นเป็นต้นเหตุแห่งจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ. คิลานปัจจัย เภสัชและบริขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

อานิสงส์ที่ประกอบด้วยทิฏฐิธรรมแห่งทิฏฐิ. บทว่า อาทีนว ได้แก่ อุปัททวะ

ซึ่งมีการยึดถือทิฏฐิเป็นมูล. อาทีนพนั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งวัตรทั้งหลายมี

อาทิว่า วัคคุลิวัตร อุกกุฏิกปธานะ กัณฏกาปัสสยตา ปัญจาตปตัปปนะ

มรุปปปาตปตนะ เกสมัสสุโลจนะ อัปปาณกฌาน. บทว่า นิสฺสรณ ได้แก่

นิพพาน ชื่อว่า สลัดออกซึ่งทิฏฐิทั้งหลาย. บทว่า ยถาภูต นปฺปชานนฺติ

ความว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้สมุทัยเป็นต้นนั้นทั้งหมด ตาม

สภาวะ. บทว่า น ปริมุจฺจนฺติ ทุกฺขสฺมา ความว่า ไม่หลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์

ทั้งสิ้น. ด้วยบทนี้ ทรงแสดงว่า ชื่อว่า ความสำเร็จของสมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นไม่มี. บทว่า ปริมุจฺจนฺติ ทุกฺขสฺมา ความว่า ย่อมหลุดพ้นจาก

วัฏฏทุกข์ทั้งสิ้น. ด้วยบทนี้ ทรงตั้งไว้ซึ่งความสำเร็จมีในศาสนาเท่านั้น ดุจ

ทรงตัดสินคดีของลูกความทั้งสองว่า ความสำเร็จของสมณะหรือพราหมณ์เหล่า

นั้น มีอยู่ ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการตัดทิฏฐิ จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้เป็นต้น. กถาว่าด้วยความพิสดาร

ของอุปาทานเหล่านั้น ได้กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเทียว. บทว่า สพฺพูปา-

ทานปริญฺาวาทา ปฏิชานมานา ความว่า ปฏิญาณอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

ย่อมกล่าวความรอบรู้ คือ ความก้าวล่วงอุปาทานทุกอย่าง. บทว่า น สมฺมา

สพฺพูปาทานสฺส ปริญฺ ปญฺเปนฺติ ความว่า ย่อมไม่บัญญัติการก้าวล่วง

อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ. บางพวกบัญญัติความรอบรู้เพียงกามูปาทานเท่านั้น

บางพวกบัญญัติความรอบรู้เพียงทิฏฐุปาทาน บางพวกบัญญัติความรอบรู้แม้

เพียงสีลัพพตูปาทาน. แต่ผู้ชื่อว่าบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทูปาทานไม่มี. ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

เมื่อจะทรงแสดงการจำแนกอุปาทานเหล่านั้น จึงตรัสว่า บัญญัติความรอบรู้

กามูปาทานดังนี้เป็นต้น. ในอุปาทานเหล่านั้น สมณพราหมณ์แม้ทั้งหมด

บัญญัติความรอบรู้กามูปาทานเท่านั้น. ก็แม้ความเห็นนอกรีตนอกรอย ๙๖

ประการ ก็คือ กามแล อันบรรพชิตไม่พึงเสพ เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์

จึงไม่บัญญัติว่าผู้เสพวัตถุ ย่อมควร กระทำให้เป็นอกัปปิยเท่านั้นแล้ว จึง

บัญญัติ. ก็บุคคลเหล่าใดเสพ บุคคลเหล่านั้นเสพโดยไถยจิต. เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า ย่อมบัญญัติความรอบรู้กามูปาทาน ดังนี้. เพราะสมณพราหมณ์

ถือว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ดังนี้เป็นต้นเที่ยวไป ย่อมถือว่า ความบริสุทธิ์ด้วย

ศีล ความบริสุทธิ์ด้วยวัตร ไม่ใช่ความบริสุทธิ์ด้วยภาวนา ชื่อว่าไม่สละ

อัตตุปลัทธิ เพราะฉะนั้น จึงไม่บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐูปาทานอัตตวาทูปา-

ทาน. บทว่า ต กิสฺส เหตุ ความว่า การไม่บัญญัตินั้นเป็นเหตุไร เเห่ง

อุปาทานเหล่านั้น คือ เพราะเหตุไร. บทว่า อิมานิ หิ เต โภนฺโต ความ

ว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้การณ์ ๓ อย่างนี้ตามสภาวะ. ก็สมณ

พราหมณ์เหล่าใด ย่อมรู้ตามสภาวะในบทนั้นว่า เหตุแห่งการบัญญัติความ

รอบรู้สองอย่างคือ ทิฏฐิและสีลัพพตะ นั้นพึงละ ทรงหมายถึงสมณพราหมณ์

เหล่านั้น จึงตรัสวาระสองอย่างไว้ข้างหน้า. บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมณ์เหล่าใด ถือว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ดังนี้เป็นต้น สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติความรอบรู้ทิฎฐูปาทาน. ส่วนเหล่าใด ถือว่า

ความบริสุทธิ์ด้วยศีล ความบริสุทธิด้วยวัตร ความบริสุทธิด้วยภาวนา เหล่านั้น

ย่อมบัญญัติความรอบรู้แม้สีลัพพตูปาทาน. แม้แม้ผู้หนึ่งไม่อาจเพื่อบัญญัติ

ความรอบรู้อัตตวาทูปาทานข้างหน้า. ก็เดียรถีย์ทั้งหลายผู้ได้สมาบัติแปดก็ดี

ผู้เอามือลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์อยู่ก็ดี ย่อมบัญญัติความรอบรู้ ๓

อย่าง แต่ไม่อาจเพื่อจะเปลื้องอัตตวาทะได้ เพราะฉะนั้น จึงตกอยู่ในวัฏฏะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

บ่อย ๆ นั้นเทียว. ก็เดียรถีย์เหล่านั้น ก็เหมือนกระต่ายรังเกลียดแผ่นดิน.

อุปมาเกี่ยวกับการสนทนาเนื้อเรื่องในที่นี้ดังนี้. ได้ยินว่า แผ่นดินกล่าวกะ

กระต่ายว่า แนะกระต่าย. กระต่ายพูดว่า นั้นใคร. แผ่นดิน. เจ้าสำเร็จ

อิริยาบถทั้งหมด ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะบนเราเทียว ทำไมจึงไม่รู้เรา

กระต่าย. ท่านเห็นเราด้วยดี ก็ที่อันเราเหยียบเป็นเหมือนที่ถูกต้องด้วยปลาย

นิ้ว น้ำที่ปล่อยออกมาก็มีประมาณน้อย กรีสก็เพียงเมล็ดตุมกา แต่แม้ที่อัน

ช้างและม้าเป็นต้นเหยียบแล้วเป็นที่ใหญ่ แม้ปัสสาวะของสัตว์เหล่านั้น

ประมาณเต็มหม้อ อุจจาระก็ประมาณกระเช้า เราพอละกับท่าน จึงกระโดดไป

อยู่ในที่อื่น. แต่นั้นแผ่นดินกล่าวกะกระต่ายนั้นว่า โอ ถึงเจ้าไปไกล เจ้าก็อยู่บน

เราแล้ว มิใช่หรือ. กระต่ายนั้นเกลียดแผ่นดินนั้นอีก จึงกระโดดไปอยู่ในที่อื่น.

กระต่ายกระโดดแล้วกระโดดอีกอยู่แม้พันปีอย่างนี้ ก็ไม่อาจพ้นแผ่นดินได้

เดียรถีย์ทั้งหลายก็เหมือนอย่างนั้น แม้บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่าง ก็ย่อม

บัญญัติการก้าวล่วงอุปาทาน ๓ อย่าง มีกามูปทานเป็นต้นเท่านั้น. แต่ไม่อาจ

เพื่อจะพ้นอัตตวาทะได้ เมื่อไม่อาจจึงตกอยู่ในวัฏฏบ่อย ๆ นั่นเที่ยว. ด้วย

ประการฉะนี้ เดียรถีย์ทั้งหลายไม่อาจเพื่อก้าวล่วงอุปาทานใด พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสถึงวาทะที่ตัดขาดทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งอุปาทานนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงแสดงวาทะอันตัดความเลื่อมใส จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม

วินัยเห็นปานนี้แล ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมวินเย

ได้แก่ ในธรรมและวินัย. ทรงแสดงศาสนาซึ่งไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจาก

ทุกข์ ด้วยบทแม้ทั้งสอง. บทว่า โย สตฺถริ ปสาโท โส น สมฺมคฺคโต

ความว่า ก็ศาสดาในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ทำกาละแล้ว

เป็นสีหะบ้าง เสือโคร่งบ้าง เสือเหลืองบ้าง หมีบ้าง เสือดาวบ้าง.

ส่วนสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นเนื้อบ้าง สุกรบ้าง กระต่ายบ้าง. มันไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

ทำความอดทน หรือความหวังดี หรือความเอ็นดูว่า สัตว์เหล่านี้ เคยเป็น

อุปัฏฐาก ผู้ให้ปัจจัยแก่เรา ฆ่าสัตว์เหล่านั้นแล้ว ดูดเลือดบ้าง กินเนื้อสัน

ทั้งหลายบ้าง. ก็อีกประการหนึ่ง ศาสดาเกิดเป็นแมว. สาวกทั้งหลายเป็นไก่

หรือหนู. ลำดับนั้น แมวก็จะไม่ทำความอนุเคราะห์ย่อมกินไก่หรือหนูเหล่านั้น

โดยนัยกล่าวแล้วนั้นเทียว. อนึ่ง ศาสดาเป็นนายนิรยบาล สาวกทั้งหลายเป็น

สัตว์นรก. นายนิรยบาลนั้น จะไม่ทำความอนุเคราะห์ว่า สัตว์เหล่านี้ เคยให้

ปัจจัยแก่เรา ย่อมทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ ใส่ในรถที่ร้อนจัดบ้าง ให้ขึ้นภูเขาไฟ

บ้าง ทิ้งศีรษะลงในหม้อโลหะบ้าง ประกอบด้วยทุกขธรรมหลายอย่างบ้าง.

ก็หรือสาวกทั้งหลายตายไปเป็นสัตว์มีสีหะเป็นต้น. ศาสดาเป็นสัตว์อย่างใด

อย่างหนึ่งมีเนื้อเป็นต้น. สัตว์เหล่านั้นไม่ทำความอดทน หรือความหวังดี

หรือความเอ็นดูในสัตว์นั้นว่า เราเคยอุปัฏฐากสัตว์นี้ด้วยปัจจัยสี่ สัตว์นี้เคย

เป็นศาสดาของพวกเรา ดังนี้ ย่อมให้ถึงความพินาศ โดยนัยกล่าวแล้วนั้น

เทียว. ในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้ ความ

เลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้นไม่ไปแล้วโดยชอบ แม้ไปสู่กาละอย่าง

ไรแล้ว จะพินาศในภายหลังนั้นเทียว. บทว่า โย ธมฺเม ปสาโท ความว่า

ก็ธรรมดาความเลื่อมใสในธรรม ในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์

เป็นความเลื่อมใสในตันติธรรม เพียงเรียน เล่าเรียน ทรงไว้และบอกแล้ว

แต่ความพ้นจากวัฏฏะไม่มีในความเลื่อมใสนั้น เพราะฉะนั้น ความเลื่อมใสใน

ธรรมนั้นใด ความเลื่อมใสนั้นรังแต่จะทำวัฏฎะให้ลึกบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น

เรากล่าวว่าไม่ไปแล้วโดยชอบ คือ ไม่ไปแล้วโดยสภาวะ. บทว่า ยา สีเลสุ

ปริปูรการิตา ความว่า ความกระทำให้บริบูรณ์ด้วยอำนาจแห่งศีลทั้งหลาย

มีศีลแพะเป็นต้น ในศาสนาที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์แม้ใด ความกระทำให้

บริบูรณ์แม้นั้น ไม่ยังให้ถึงความพ้นจากวัฏฏะ คือ ความสลัดออกจากภพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ได้ แต่เนื้อถึงพร้อม ย่อมนำมาสู่กำเนิดเดียรัจฉาน เมื่อให้ผลย่อมนำมาสู่นรก

เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าไปแล้วโดยชอบ. บทว่า ยา สหธมฺมิเกสุ

ความว่า ก็ในศาสนาอันไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ หมู่สหธรรมิกบาง

พวกทำกาละแล้ว เป็นสัตว์แม้มีสีหะเป็นต้น บางพวกเป็นสัตว์มีเนื้อเป็นต้น

ในสัตว์เหล่านั้น พวกที่เป็นสัตว์มีสีหะเป็นต้น ไม่ทำกิจมีความอดทนเป็นต้น

ในสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเนื้อเป็นต้นว่า สัตว์เหล่านี้เป็นสหธรรมิกของพวกเรา

ดังนี้แล้ว ยังมหาทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย มีเนื้อเป็นต้นเหล่านั้น โดย

นัยกล่าวแล้วในบทก่อนนั้นเทียว เพราะฉะนั้น แม้ความเป็นที่รักและน่าพอใจ

ในหมู่สหธรรมิกนั้น เราจึงกล่าวว่า ไม่ไปแล้วโดยชอบ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงประเภทแห่งการณ์แม้ทั้งหมดนี้รวมกัน จึงตรัสว่า ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนั้น ดังนี้เป็นต้น. ความสังเขป

ในบทนั้น ดังนี้. บทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อที่เรากล่าวว่าความ

เลื่อมใสในศาสดาใด ไม่ไปแล้วโดยชอบนั้นย่อมเป็นอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้นนั้น

ย่อมเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุอะไร เพราะความเลื่อมใสเป็นต้นเหล่านั้น ใน

ธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวชั่วแล้ว ฯลฯ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้. ก็

ในบทนั้น บทว่า ยถาต เป็นนิบาตลงในอรรถเเห่งตติยาวิภัตติ. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ทูรกฺขาเต ได้แก่ กล่าวไว้ไม่ดี. ชื่อว่า ประกาศไม่ดี

แล้ว เพราะความที่ธรรมวินัยนั้นกล่าวไว้ไม่ดีนั้นเทียว. ก็ธรรมวินัยนี้นั้น

ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่มรรคและผล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนิยฺยา-

นิโก แปลว่า ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ

เพราะไม่เป็นไปเพื่อความสงบกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า ไม่ใช่อันผู้

รู้เองโดยชอบประกาศไว้ เพราะอันผู้รู้เองโดยชอบ คือ สัพพัญญู ไม่ประ-

กาศไว้. ในธรรมวินัยนั้น มิใช่สภาพนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

สงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบประกาศไว้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

ความเลื่อมใสในเดียรถีย์ทั้งหลายไร้ประโยชน์ ดุจความเลื่อมใสในสุนัขจิ้งจอก

ดื่มสุราฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า สุนัขจิ้งจอก ตาบอดข้างเดียวตัวหนึ่งเข้าสู่นครในกลางคืน

กินส่าสุราแล้วนอนหลับในป่าบุนนาค ตื่นขึ้นในเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นแล้วคิดว่า

เราไม่อาจไปในเวลานี้ได้ สัตว์ที่เป็นเวรกับเรามีมาก สมควรหลอกลวงคนหนึ่ง

ดังนี้. สุนัขจิ้งจอกนั้นเห็นพราหมณ์ผู้หนึ่งเดินไป จึงคิดว่าเราจักหลอกลวง

พราหมณ์นี้ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์. พราหมณ์พูดว่า นั่นใคร

เรียกพราหมณ์. สุนัขจิ้งจอกตอบว่า เรา นาย ท่านจงมานี้ก่อน. พราหมณ์.

อะไรนาย. สุนัขจิ้งจอก. ท่านจงนำเราไปนอกบ้าน เราจักให้กหาปณะสอง

ร้อยแก่ท่าน. พราหมณ์นั้นพูดว่า เราจักนำไป แล้วจับที่เท้าทั้งหลาย. สุนัข

จิ้งจอกพูดว่า แน่ะพราหมณ์โง่ เราไม่มีกหาปณะทอดทิ้งไว้ กหาปณะเป็น

ของหาได้ยาก เจ้าจงจับเราดี ๆ. พราหมณ์. เราจะจับอย่างไร นาย. สุนัข

จิ้งจอก. ท่านจงเอาผ้าห่มสพายเราแล้วจับ. พราหมณ์จับสุนัขจิ้งจอกอย่างนั้น

แล้วไปสู่สถานใกล้ที่ประตูทางทิศใต้ แล้วถามว่า เราจักปล่อยในที่นี้. สุนัข

จิ้งจอก. นั่นที่ไหน. พราหมณ์. นั่นประตูใหญ่. สุนัขจิ้งจอก. เอ้ย

พราหมณ์โง่ ญาติของท่านเก็บกหาปณะไว้ในภายในประตูหรือ จงนำเราไปที่

อื่น. พราหมณ์นั้นบ่อย ๆ ไปพลางถามว่า เราจักปล่อยที่นี้ ๆ ถูกสุนัขจิ้งจอก

คุกคามแล้วบอกว่า ท่านจงไปที่ปลอดภัยแล้ว ปล่อยในที่นั้น ดังนี้แล้วปล่อย

ไป ถือผ้าสาฎก. กาณสิงคาลกล่าวว่า เราได้พูดไว้ว่า เราจักให้กหาปณะ

สองร้อยแก่ท่าน แต่เรามีกหาปณะมาก ไม่ใช่มีเพียงสองร้อยกหาปณะเท่านั้น

ท่านจงยืนดูพระอาทิตย์จนกว่าเราจะนำกหาปณะทั้งหลายมาให้ท่านแล้วค่อย ๆ

ไป กลับมาพูดกะพราหมณ์อีกว่า ท่านพราหมณ์ ท่านอย่ามองดูแต่ที่นี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

จงยืนมองดูพระอาทิตย์อย่างเดียว. ก็แลสุนัขจิ้งจอก ครั้นพูดอย่างนี้แล้ว ก็

เข้าไปสู่ป่าการะเกต หนีไปตามชอบใจ. ฝ่ายพราหมณ์มองดูพระอาทิตย์นั้น

เทียว จนเหงื่อไหลออกจากหน้าผาก เเละรักแร้. ลำดับนั้น รุกขเทวดาได้

กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขจิ้งจอก

ดื่มสุรา สุนัขจิ้งจอกทั้งร้อยไม่มีศิลปะ

กหาปณะตั้งสองร้อยจะมีแต่ที่ไหน.

ด้วยประการฉะนี้ ความเลื่อมใสในกาณสิงคาล ไร้ประโยชน์ ฉันใด

ความปีติอย่างดีในเดียรถีย์ ก็ไร้ประโยชน์ฉันนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่ความเลื่อมใสในศาสนาที่ไม่

เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นสิ่งไร้ประโยชน์แล้ว เพื่อทรงแสดงความที่

เลื่อมใสนั้นในศาสนาที่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ว่า เป็นสิ่งมีประโยชน์ จึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตแล ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า กามูปาทานสฺส ปริญฺ ปญฺาเปติ ความว่า ทรงบัญญัติความ

รอบรู้ในการละ คือ การก้าวล่วงกามูปาทาน ด้วยอรหัตตมรรค ทรงบัญญัติ

ความรอบรู้อุปทาน ๓ อย่างนอกนี้ ด้วยโสดาปัตติมรรค. บทว่า เอวรูเป

โข ภิกฺขเว ธมฺมวินเย ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมและวินัย

เห็นปานนี้ ทรงแสดงศาสนาที่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ด้วยบทแม้ทั้งสอง.

บทว่า สตฺถริ ปสาโท ความว่า ในศาสนาเห็นปานนี้ ความเลื่อมใสใน

พระศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้น เรากล่าวว่า ไปแล้วโดยชอบ คือ ย่อมเป็น

ไปเพื่อสลัดออกจากทุกข์ในภพ. ในข้อนั้นมีเรื่องเหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอยู่ในถ้ำอินทศาล ณ เวทิสสก

บรรพต. ครั้งนั้นนกฮูกตัวหนึ่ง ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่บ้าน

เพื่อบิณฑบาต ก็บินตามได้ครึ่งทาง ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมา ก็ทำ

การต้อนรับครึ่งทาง. ในวันหนึ่ง นกฮูกนั้นลงจากภูเขาไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ซึ่งมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งในเวลาเย็น โดยป้องปีก ประคองอัญชลี

ทำศีรษะให้ต่ำลง ยืนนมัสการพระทศพลอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูนกฮูก

นั้นแล้ว ทรงกระทำการยิ้มแย้ม. พระอานนทเถระทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยแห่งการทรงยิ้มแย้มให้ปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงดูนกฮูกนี้ นกฮูกนี้ยังจิตให้

เลื่อมใสในเราและในพระภิกษุสงฆ์แล้วท่องเที่ยวในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ตลอดแสนกัป จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าโสมนัส ดังนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถาว่า

ดูก่อนนกฮูกตากลม อยู่เป็นเวลายาว

นานในภูเขาเวทิสสกะ เจ้านกฮูก เจ้ามี

ความสุขแล้ว เจ้านั้นเห็นพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐผู้ลุกขึ้นตามกาล ยังจิตให้เลื่อมใส

ในเรา และในพระภิกษุสงฆ์อันยอดเยี่ยม

จะไม่ไปสู่ทุคติตลอดแสนกัป ครั้นเคลื่อน

จากเทวโลกแล้ว อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว

จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้มีญาณอันหาที่

สุดมิได้ปรากฏนามว่า โสมนัส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ก็เรื่องทั้งหลายมีเรื่องสุมนมาลาการ ในนครราชคฤห์ เรื่องมหา

เภริวาทกะ เรื่องโมรชาดก เรื่องวีณาวาทะ เรื่องสังขธมกะ ดังนี้เป็นต้น

แม้อื่นๆ พึงให้พิสดารในเรื่องนั้น. ความเลื่อมใสในพระศาสดาในศาสนาที่เป็น

เครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นอันไปแล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ธมฺเม ปสาโท ความว่า ความเลื่อมใสในธรรม ในศาสนา

ที่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นอันไปแล้วโดยชอบ ความเลื่อมใสนั้นย่อม

ให้สมบัติแม้แก่ดิรัจฉานทั้งหลายที่ถือนิมิตในสักว่าเสียง ฟังอยู่. เนื้อความนี้

พึงทราบด้วยอำนาจแห่งเรื่องของมัณฑูกเทวบุตรเป็นต้น. บทว่า สีเลสุ ปริ

ปูรการิตา ความว่า แม้ความกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ในศาสนาที่เป็น

เครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นอันไปแล้วโดยชอบ คือ ย่อมนำมาซึ่งสวรรค์สมบัติ

และโมกขสมบัติ. ในที่นั้น พึงแสดงเรื่องทั้งหลายมีเรื่องฉัตตมาณวกะ และ

เรื่องสามเณรเป็นต้น. บทว่า สหธมฺมิเกสุ ความว่า แม้ความเป็นที่รักและ

น่าพอใจในหมู่สหธรรมิก ในศาสนาที่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เป็นอันไป

แล้วโดยชอบ คือ ย่อมนำมาซึ่งมหาสมบัติ. เนื้อความนี้พึงแสดงด้วยเรื่องวิมาน

เปรตทั้งหลาย ก็ท่านได้กล่าวคำนั้นไว้ว่า เราได้ให้น้ำนมแก่ภิกษุผู้เที่ยว

บิณฑบาต เราให้น้ำอ้อย ฯลฯ ลำอ้อย มะพลับ แตง ฟักทอง วัลลิปักกะ

หัตถปตากะ กำผัก ข้าวเม่า เผือก กำสะเดา น้ำส้ม ขนมทอด ประคตเอว

ผ้าอังสะ ผ้าสำหรับทำความเพียร การพูด พัดใบตาล โมรหัตถ์ ร่ม รอง

เท้า ขนม ก้อนขนม เครื่องผูก แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ท่านจงดูวิมานของ

เรานั้น เรามีนางฟ้าผู้มีวรรณน่าใคร่ ดังนี้ คำว่า ต กิสฺส เหตุ เป็นต้น

พึงทราบประกอบโดยแนวแห่งนัยที่กล่าวแล้ว เถิด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงปัจจัยแห่งอุปาทานทั้งหลาย

ที่เดียรถีย์ทั้งหลายไม่บัญญัติความรอบรู้โดยชอบ ตถาคตทรงบัญญัติ จึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ว่า อิเม จ ภิกฺขเว เป็นต้น. คำทั้งหลายมีนิทานเป็นต้น ในบททั้งหลาย

มีว่า กึนิทานา เป็นต้นในบทนั้น. ทั้งหมดเทียวเป็นไวพจน์ของการณ์ จริงอยู่

การณ์ย่อมมอบให้ซึ่งผล เหมือนส่งให้ว่า เอาเถอะ ท่านทั้งหลายจงถือเอาผลนั้น

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่านิทาน. เพราะนิทานนั้น ย่อมเกิด ตั้งขึ้น ผลิตออกจาก

การณ์นั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สมุทัย ชาติ ปภวะ. ก็เนื้อความแห่งบทใน

ที่นี้ ดังนี้. อะไรเป็นต้นเหตุแห่งอุปาทานเหล่านั้น เพราะฉะนั้น อุปาทาน

เหล่านั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ. อะไรเป็นเหตุเกิดแห่งอุปาทานเหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้น อุปาทานเหล่านั้น มีอะไรเป็นเหตุเกิด. อะไรเป็นกำเนิดของอุปทาน

เหล่านั้น เพราะฉะนั้น อุปาทานเหล่านั้น มีอะไรเป็นกำเนิด. อะไรเป็นแดน

เกิดของอุปทานเหล่านั้น เพราะฉะนั้น อุปทานเหล่านั้น มีอะไรเป็นแดนเกิด.

ก็เพราะตัณหาเป็นต้นเหตุ เป็นเหตุเกิด เป็นกำเนิดและเป็นแดนเกิดของอุปา-

ทานเหล่านั้น โดยเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า มี

ตัณหาเป็นต้นเหตุ ดังนี้เป็นต้น . พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้ ก็.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ปัจจัยแห่งอุปาทานอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้

ย่อมทรงรู้ถึงปัจจัยของตัณหาซึ่งเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานด้วย ของธรรมทั้งหลาย

มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งมีตัณหาเป็นต้นเป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ ดังนี้เป็นอาทิ. บทว่า ยโต จ โข ได้แก่

ในกาลใด. บทว่า อวิชฺชา ปหีนา โหติ ความว่า อวิชชาซึ่งเป็นราก

เหง้าของวัฏฏะ เป็นอันละเเล้วด้วยอนุปปาทนิโรธ. บทว่า วิชฺชา อุปฺปนฺนา

ได้แก่ วิชชาคืออรหัตมรรคเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า โส อวิชฺชาวิราคา วิชฺ

ชุปฺปาทา ความว่า ภิกษุนั้น เพราะความที่อวิชชาละได้แล้ว และเพราะ

ความที่วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถือมั่นกามูปาทาน บทว่า เนว กามูปาทาน

อุปาทิยติ ความว่าย่อมไม่ถือมั่น คือ ไม่เข้าสู่กามูปาทาน ย่อมไม่ถือมั่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ย่อมไม่เข้าสู่อุปาทานทั้งหลายที่เหลือ. บทว่า อนุปาทิย น ปริตสฺสติ

ความว่า เมื่อไม่ถือมั่นอุปาทานไรๆ อย่างนี้ เชื่อว่าไม่สะดุ้ง ด้วยความสะดุ้ง

คือตัณหา. บทว่า อปริตสฺส ได้แก่เมื่อไม่สะดุ้ง คือไม่ยังตัณหาให้เกิดขึ้น.

บทว่า ปจฺจตฺตเยว ปรินิพฺพายติ ความว่า ย่อมปรินิพพานด้วยการดับ

กิเลส เฉพาะตนนั่นเทียว ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่ภิกษุนั้น

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงปัจจเวกขณะญาณแก่ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

จึงตรัสว่า ชาติสิ้นแล้ว ดังนี้เป็นต้น. บทที่เหลือมีเนื้อความดังกล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาจุลลสีหนาทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

๒. มหาสีหนาทสูตร

[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าด้านตะวันตกนอก

พระนครเขตพระนครเวสาลี.ก็โดยยสมัยนั้นแล สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีก

ไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน. ได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้

ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ

ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลด้วยความ

ตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรง

แสดงเพื่อประโยชน์อะไร ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่ง

บุคคลผู้ทำตาม.

[๑๖๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวรเข้าไปในเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต. ได้สดับข่าวว่า สุนักขัตตลิจฉวี-

บุตรได้กล่าววาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์

ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี

พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการ

ค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้น

ย่อมดิ่งไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม. ลำดับนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรเที่ยวไปในเมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลา

ปัจฉาภัต จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ สุนักขัตตลิจฉวีบุตรเป็นผู้หลีกไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ไม่นาน ได้กล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

วาจาในบริษัท ณ เมืองเวสาลีว่าธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอัน

วิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรง

แสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึกที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้

เอง แต่ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเพื่อประโยชน์ใด ธรรมนั้นย่อมดิ่งไปเพื่อ

ความสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม.

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตลิจฉวี

บุตรเป็นบุรุษเปล่ามักโกรธ และวาจาที่เธอกล่าวนั้น ก็เพราะโกรธ ดูก่อน

สารีบุตร สุนักขัตตะนั้นเป็นบุรุษเปล่า คิดว่าเราจักพูดติเตียนแต่กล่าวสรรเสริญ

คุณของตถาคต แท้จริงข้อนี้เป็นคุณของพระตถาคต ที่บุคคลใดกล่าวอย่างนี้ว่า

ธรรมอันพระตถาคตแสดงเพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบ

แห่งบุคคลผู้ทำตามดังนี้.

[๑๖๒] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าว

สรรเสริญนี้จักไม่เป็นความรู้โดยธรรม ในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย

วิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่

มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น

ผู้จำแนกธรรม ดังนี้.

[๑๖๓] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่า กล่าว

สรรเสริญนี้ จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า เเม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี

พระผู้มีพระภาคเข้าพระองค์นั้นทรงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการคือคนเดียวเป็น

หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้

ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น ดำลง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้

เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มี

อานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๖๔] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าว

สรรเสริญนี้จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นย่อมทรงสดับเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์

ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

แสดงพุทธคุณเป็นเอกเทศ

[๑๖๕] ดูก่อนสารีบุตร ก็การที่สุนักขัตตะผู้เป็นบุรุษเปล่ากล่าว

สรรเสริญนี้จักไม่เป็นความรู้โดยธรรมในเราว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นย่อมทรงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ

จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ.

จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ.

จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ. ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ.

จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ.

ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต. จิตมี

จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มี

จิตอื่นยิ่งกว่า. จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่

เป็นสมาธิ. จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่

หลุดพ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

กำลังของตถาคต

[๑๖๖] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อม

ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก ย่อมบันลือสีหนาทในบริษัทยังพรหมจักรให้เป็น

ไป. กำลังเหล่านั้นของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล. ๑๐ ประการเป็นไฉน.

ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตย่อมรู้ฐานะในโลกนี้โดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่

ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคต

รู้ฐานะโดยเป็นฐานะ และรู้เหตุมิใช่ฐานะโดยเป็นเหตุมิใช่ฐานะ ตามความ

เป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณ

ฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วิบากของกรรมสมาทาน

ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง.

ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้วิบากของกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต

ปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้เป็นกำลังของตถาคต

ประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท

ในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันจะยัง

สัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัด

ซึ่งปฏิปาทาอันจะยังสัตว์ให้ไปสู่ภูมิทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ

ตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือ

สีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งโลก มีธาตุมิใช่

อย่างเดียว และมีธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคต

รู้ชัดซึ่งโลกมีธาตุมิใช่อย่างเดียว และมีธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริงนี้ เป็น

กำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็น

โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มี

อธิมุตติต่าง ๆ กัน ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์มีอธิมุตติ

ต่าง ๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต

อาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหม-

จักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความที่สัตว์และ

บุคคลทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร

ข้อที่ตถาคตรู้ชัดความที่สัตว์และบุคคลทั้งหลายอื่นมีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ตาม

ความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณ

ฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง

ความผ่องแผ้ว และความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย

ตามความเป็นจริง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งความเศร้าหมอง ความ

ผ่องแผ้วและความออกแห่งฌาณ วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย ตาม

ความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว

ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

ดูก่อนสารีบุตร อีกประประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติ

บ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง

ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็น

อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฎกัปเป็นมากบ้างว่า

ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียง

เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็

ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว

ได้มาเกิดในภพนี้ ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ . ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตระลึกถึงชาติ

ก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ

ฉะนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคตอาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะ

แห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร ประการหนึ่ง ตถาคตย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป

ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่

ตายไป เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบ

ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายไป เขาย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลัง

อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ฯสฯ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต

อาศัยแล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักร

ให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนสารีบุตร ข้อที่ตถาคตกระทำให้แจ้งซึ่งเจโต-

วิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต

อาศัยแล้วปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักร

ให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร กำลังของตถาคต ๑๐ ประการเหล่านี้แล ที่ตถาคต

ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยัง

พรหมจักรให้เป็นไป.

ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้

ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ

ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความ

ตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละ

วาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อน

สารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละ

ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

เวสารัชชธรรม ๔

[๑๖๗] ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรม [ความ

แกล้วกล้า] เหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท

ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของตถาคตเหล่านี้มี ๔ ประการ. ๔

ประการเป็นไฉน. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ที่รักทักท้วงเราโดยสหธรรมในข้อ

ว่า ท่านปฎิญาณตนว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้

แล้วดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย

ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุ

นี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกที่จักทักท้วง

เราโดยสหธรรมในข้อว่า ท่านปฏิญาณตนว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้

ของท่านยังไม่สิ้นไปแล้ว ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็น

ผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารี-

บุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ

ใครๆในโลก ที่จักทักท้วงเราโดยสหธรรม ในข้อว่า ท่านกล่าวธรรมเหล่าใด

ว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มี

ภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ

พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ที่จักทักท้วงเราโดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

สหธรรมในข้อว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่

เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งคนผู้ทำตาม ดังนี้ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อไม่เห็นเหตุนี้

เราก็เป็นผู้ถึงความปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อน

สารีบุตรตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชธรรมเหล่าใด จึงปฏิญาณฐานะของผู้เป็น

โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป เวสารัชชธรรมของ

ตถาคต ๔ ประการเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่

อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ

พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม

ที่ประมวลด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อน

สารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย

ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล

ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว

ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้น

เสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

[๑๖๘] ดูก่อนสารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล ๘ จำพวกเป็น

ไฉน คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท

จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท ดูก่อน

สารีบุตร บริษัท ๘ จำพวกเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตประกอบด้วย

เวสารัชชธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเข้าไปหา ย่อมหยั่งลงสู่บริษัท ๘

จำพวกเหล่านี้. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมเข้าใจเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลาย ๆ

ร้อย แม้ในขัตติยบริษัทนั้น เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนา

กัน ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัวหรือความสะทกสะท้าน

จักกล้ำกลายเราในขัตติยบริษัทนั้นเลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ปลอดภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง

เราย่อมเข้าใจเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลาย ๆ ร้อย คฤหบดีบริษัท สมณ

บริษัท จาตุมหาราชิกบริษัท ดาวดึงสบริษัท พรหมบริษัท จำพวกละหลาย ๆ

ร้อย แม้ในบริษัทนั้น ๆ เราเคยนั่งใกล้ เคยทักทายปราศรัย เคยสนทนากัน

ดูก่อนสารีบุตร เราไม่เห็นเหตุนี้ว่า ความกลัว หรือความสะทกสะท้านจัก

กล้ำกลายเราในบริษัทนั้น ๆ เลย เมื่อไม่เห็นเหตุนี้ เราก็เป็นผู้ถึงความปลอด

ภัย ถึงความไม่มีภัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าอยู่. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล

พึงว่าซึ่งเรา ผู้รู้อยู่อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็น

ญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ของพระสมณโคดมไม่มี พระ-

สมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการ

ค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความ

คิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร

เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา

พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าว

ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่

สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก.

กำเนิด ๔

[๑๖๙] ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ อัณฑชะกำเนิด ชลาพุชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด โอปปาติ-

กะกำเนิด. ดูก่อนสารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น

ใด ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด. ดูก่อนสารีบุตร

ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ [มดลูก] เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด. ดูก่อนสารีบุตร สังเสทชะกำเนิดเป็นไฉน

สัตว์ทั้งทั้งหลายเหล่านั้นใด ย่อมเกิดในปลาเน่า ในซากศพเน่า ในขนมบูด

หรือในน่าครำ ในเถ้าไคล [ของสกปรก] นี้เราเรียกว่าสังเสทชะกำเนิด. ดูก่อน

สารีบุตร โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน เทวดา สัตว์นรก มนุษย์บางจำพวก

และเปรตบางจำพวก นี้เราเรียกว่าโอปปาติกะกำเนิด. ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด

๔ ประการเหล่านี้แล. ดูก่อนสารีบุตร ผู้ใดแล พึงว่าซึ่งเราผู้รู้อยู่อย่างนี้

ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่

ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประ-

มวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารี-

บุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย

ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผล ในปัจจุบัน

ทีเทียว ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่

ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงเเท้ที่จะ

ตกนรก.

[๑๗๐] ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการเหล่านี้แล ๕ ประการเป็นไฉน

คือนรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ เทวดา. ดูก่อนสารีบุตร เรา

ย่อมรู้ชัดซึ่งนรก ทางยังสัตว์ให้ถึงนรก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงนรก

อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตร

เราย่อมรู้ชัดซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน ทางยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน ปฏิปทาอัน

จะยังสัตว์ให้ถึงกำเนิดดิรัจฉาน อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเปรตวิสัย ทางไปสู่เปรตวิสัย และปฏิปทาอัน

จะยังสัตว์ให้ถึงเปรตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย. ดูก่อน

สารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเหล่ามนุษย์ ทางอันยังสัตว์ให้ถึงมนุษยโลกและปฏิ-

ปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงมนุษย์โลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด เบื้องหน้า

แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมอุบัติในหมู่มนุษย์ เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้น

ด้วย. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งเทวดาทั้งหลาย ทางอันยังสัตว์ให้ถึง

เทวโลก และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเทวโลก อนึ่ง สัตว์ผู้ปฏิบัติประการใด

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมรู้ชัดซึ่ง

ประการนั้นด้วย. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้ชัดซึ่งพระนิพพาน ทางอันยัง

สัตว์ให้ถึงพระนิพพาน และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน อนึ่ง สัตว์

ผู้ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย.

อุปมาข้อที่ ๑

[๑๗๑] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้

ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง

นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

เข้าถึงแล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ด

ร้อนโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ดูก่อน

สารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา

ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหายมุ่งมาสู่หลุมถ่านเพลิงนั้น

แหละ โดยบรรดาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษ

ผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น ขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุม

ถ่านเพลิงนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุม

ถ่านเพลิงนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนโดยส่วนเดียวแม้ฉันใด

ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ ด้วยใจ ฉันนั้น

เหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง

นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

โดยสมัยต่อมา เราได้เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึง

แล้วซึ่งอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน

โดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๒] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดบางคนในโลกนี้ ด้วยใจว่า

บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักเข้าถึงกำเนิด

ดิรัจฉาน เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้น

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกข

เวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ

ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทก

สะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดยบรรดาสายเดียว บุรุษผู้มี

จักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนิน

อย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงหลุมคูถนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา

บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึ่งเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

เผ็ดร้อน แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลก

นี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น

และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน

โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เช้าถึง

แล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๓] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้

ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อม

เห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย

เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบ

แก่อันเบาบาง มีเงาอันโปร่ง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา

ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ

โดยบรรดาสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้

เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงต้นไม้

นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนในเงา

ต้นไม้นั้น เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อม

กำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันแล ว่าบุคคลนี้ปฏิบัติ

อย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

จักเข้าถึงเปรตวิสัย โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งเปรตวิสัย เสวยทุกขเวทนาเป็นอันมาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

[๑๗๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้

ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น

เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติในหมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เรา

ย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์

เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนต้นไม้เกิดในพื้นที่อันเสมอมีใบอ่อนและใบแก่

อันหนามีเงาหนาทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ

เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ต้นไม้นั้นแหละ โดยมรรคา

สายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนี้ปฏิบัติอย่างนั้น

ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนี้ จักมาถึงต้นไม้นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมา

บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่ง หรือนอนในเงาต้นไม้นั้น เสวยสุขเวทนา

เป็นอันมาก แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนใน

โลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่าบุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนิน

อย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักอุบัติใน

หมู่มนุษย์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย

แตก อุบัติแล้วในหมู่มนุษย์ เสวยสุขเวทนาเป็นอันมาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

อุปมาข้อที่ ๕

[๑๗๕] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้

ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทาง

นั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา

เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

โลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุของมนุษย์. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนปราสาท ในปราสาทนั้นมี

เรือนยอด ซึ่งฉาบทาดีแล้วมีวงกรอบอันสนิท หาช่องลมมิได้ มีบานประตู

และหน้าต่างอันปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์อันลาดด้วยผ้าโกเชาว์-

ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนเจียมเป็นแผ่นทึบ มีเครื่องลาด

อย่างดีทำด้วยหนึ่งชะมด มีเพดานกั้นในเบื้องบน มีหมอนแดงวาง ณ ข้าง

ทั้งสอง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย

สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่ปราสาทนั้นแหละ โดยบรรดาสายเดียว

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติอย่างนั้น

ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงปราสาทนี้ทีเดียว โดยสมัยต่อ

มา บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์ในเรือนยอด ณ

ปราสาทนั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เรา

ย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือนกันแล อย่างนี้ว่า

บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็น

บุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์

เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.

[๑๗๖] ดูก่อนพระสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลก

นี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น

จะกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อ

มา เราย่อมเห็นบุคคลนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิ

ได้เพราะอาสาวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญหาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เสวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

สุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนสระโบกขรณี มีน้ำอัน

ใสสะอาดเย็น ใสตลอด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ และในที่ไม่ไกลสระโบกขรณี

นั้น มีแนวป่าอันทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผา ครอบงำ

เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวระหาย มุ่งมาสู่สระโบกขรณีนั้นแหละ โดย

บรรดาสายเดียวบุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น จักมาถึงสระโบกขรณี

นี้ทีเดียว โดยสมัยต่อมาบุรุษผู้มีจักษุนั้นพึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น อาบ

และดื่มระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อยและความร้อนหมดแล้ว

ขึ้นไปนั่งหรือนอนในเเนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด ดู

ก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคน ในโลกนี้ด้วยใจฉันนั้นเหมือน

กันแล อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หน

ทางนั้น จักกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยสมัยต่อ

มา เราย่อมเห็นบุรุษนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว. ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการนี้แล. ดู

สารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของ

มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดม

ไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย

การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสียไม่ละ

ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก. ดูก่อนสารีบุตร

เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา

พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ฉันนั้น. ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย

ก็เที่ยงที่จะตกนรก.

พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์ ๔

[๑๗๗] ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์

ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะและเป็นเยี่ยมกว่าผู้บำเพ็ญตบะทั้ง

หลาย เราประพฤติเศร้าหมองและเป็นเยี่ยมกว่าผู้พระพฤติเศร้าหมองทั้งหลาย

เราเป็นผู้เกลียดบาปและเป็นเยี่ยมกว่าผู้เกลียดบาปทั้งหลาย เราเป็นผู้สงัดและ

เป็นเยี่ยมกว่าผู้สงัดทั้งหลาย.

[๑๗๘] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น วัตรต่อ

ไปนี้เป็นพรหมจรรย์ของเราโดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ คือเราเป็นอเจลก

คนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด

ก็ไม่หยุดไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดี

ภิกษาที่เขานิมนต์. เรานั้นไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว ไม่

รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้

ให้ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาที่ของคนสองคนผู้กำลัง

บริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูด

นม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะการทำไว้ ไม่

รับภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่มๆ

ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง. เรานั้นรับ

ภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสอง

หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง ฯลฯ รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง

เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง. เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

เดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ฯลฯ ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒

วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความขวนขวายในการบริโภค

ภัตตาหาร ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. เรานั้นเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา

บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา

บ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าว

ตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็น

ภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ.

เรานั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือก

ไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าปอบ้าง ผ้า

ผลไม้บ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยชน

ปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการ

ถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือยืน คือ ห้ามอาสวะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง คือ

ประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [เดินกระโหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง

เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ประกอบความ

ขวนขวายในการลงน้ำวันละสามครั้งบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการ

ย่างและบ่มกายมีประการมิใช่น้อยเห็นปานนี้ ด้วยประการฉะนี้อยู่ ดูก่อนสารี-

บุตร นี้แหละเป็นพรหมจรรย์ของเรา โดยความที่เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ.

พรหมจรรย์เศร้าหมอง

[๑๗๙] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหม-

จรรย์นี้เป็นวัตรในการประพฤติเศร้าหมองของเรา. มนทิน คือ ธุลีละอองสั่ง

สมในกาย เรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเป็นสะเก็ด เปรียบเหมือนตอตะโก มีธุลี

ละอองสั่งสมนับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันใด มนทิน คือ ธุลี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ละอองสั่งสมในกายเรานับด้วยปีมิใช่น้อย จนเกิดเป็นสะเก็ด ฉันนั้นเหมือนกัน

กัน. ดูก่อนสารีบุตร เรามิได้คิดที่จะลูบคลำปัดละอองธุลีนี้ด้วยฝ่ามือ ดูก่อน

สารีบุตร ความคิดแม้อย่างนี้ไม่ได้มีแก่เราเลย ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละ เป็น

วัตรในความประพฤติเศร้าหมองของเรา.

[๑๘๐] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น

พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา. เรานั้นมีสติก้าวไป

ข้างหน้า มีสติถอยกลับ. ความเอ็นดูของเราปรากฏเฉพาะ จนกระทั่งในหยด

น้ำว่า เราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย. ดูก่อน

สารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติเกลียดบาปของเรา.

[๑๘๑] ดูก่อนสารีบุตร บรรดาพรหมจรรย์มีองค์ ๔ เหล่านั้น

พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความสงัดของเรา. เรานั้นเข้าอาศัยชายป่าแห่งใด

แห่งหนึ่งอยู่ ในกาลใด. เราได้พบคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือ

คนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหาผลไม้เป็นต้นในป่า จากชัฏไป

สู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ

เราคิดว่า คนเหล่านั้น อย่าได้เห็นเราเลยและเราก็อย่าได้เห็นคนเหล่านั้นเลย.

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนเนื้อที่เกิดในป่า เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้วก็วิ่ง

หนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน

แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราก็ฉันเหมือนกัน ในกาลใด เราได้พบคนเลี้ยง

โค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนหาบหญ้า หรือคนหาฟืน หรือคนเที่ยวหา

ผลไม้เป็นต้น ในป่าในกาลนั้น เราก็เดินหนีจากป่าไปสู่ป่า จากชัฏไปสู่ชัฏ

จากที่ลุ่มไปสู่ที่ลุ่ม จากที่ดอนไปสู่ที่ดอน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเรา

คิดว่า คนเหล่านั้นอย่าได้เห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนทั้งหลายเลย. ดู

ก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในความประพฤติสงัดของเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

ความแตกต่างในการบำเพ็ญเพียร

[๑๘๒] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคลานเข้าไปในคอกที่เหล่าใดออก

ไปแล้วและปราศจากคนเลี้ยงโค กินโคมัยของลูกโคอ่อนที่ยังไม่ทิ้งแม่. มูตร

และกรีสของเรายังไม่หมดสิ้นไปเพียงไร เราก็กินมูตรและกรีสของตนเองเป็น

อาหาร. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในโภชนะมหาวิกัฏของเรา.

[๑๘๓] ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล เข้าอาศัยแนวป่าอันน่ากลัวแห่ง

ใดแห่งหนึ่งอยู่. นี้เป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่านั้น. บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่

ปราศจากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแล

ในราตรีที่หนาว ฤดูเหมันต์ ตั้งอยู่ในระหว่างเดือน ๓ ต่อเดือน ๔ เป็นสมัย

มีหิมะตก ในราตรีเห็นปานนั้น [เรา] อยู่ในที่แจ้งตลอดคืน กลางวันเราอยู่

ในแนวป่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ใน

แนวป่า. ดูก่อนสารีบุตร เป็นความจริง คาถาอันน่าอัศจรรย์เล็กน้อยนี้ ที่

เราไม่ได้ยินมาก่อน ปรากฏแก่เราว่า

นักปราชญ์ผู้เสาะแสวงหา ความ

หมดจด อาบแดด อาบน้ำค้าง เป็นคน

เปลือย ทั้งมิได้ผิงไฟ อยู่คนเดียวในป่า

อันน่ากลัว.

ความแตกต่างแห่งการบำเพ็ญทุกกรกิริยา

[๑๘๔] ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมสำเร็จการนอนแอบอิงกระดูกศพใน

ป่าช้า. พวกเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เราแล้ว ถ่มน้ำลายรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรด

บ้าง โปรยฝุ่นรดบ้าง เอาไม้ยอนที่ช่องหูบ้าง. เราไม่รู้สึกว่า ยังจิตอันลามก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

ให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดูก่อนสารีบุตร นี้แหละเป็นวัตรในการอยู่

ด้วยอุเบกขาของเรา.

[๑๘๕] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า พวก

เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยอาหารขนาดเท่าผลพุทรา. พวกเขาย่อมเคี้ยวกินผล

พุทราบ้าง ผลพุทราป่นบ้าง ดื่มน้ำพุทราบ้าง บริโภคผลพุทราที่ทำเป็น

ชนิดต่าง ๆ บ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เรารู้สึกว่า กินผลพุทราผลเดียวเท่านั้น.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า พุทราในสมัยนั้น ชะรอยจะผลใหญ่

เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาลนั้น ผลพุทราที่เป็นขนาดใหญ่

นั่นเทียวก็เหมือนในบัดนี้ . ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเรากิน [อาหารเท่า] ผลพุทรา

ผลเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยิ่งนัก. อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเปรียบ

เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถาสะบ้า เพราะความที่เรามี

อาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้นเหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือน

กลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตา เหมือนเงาดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น

เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนังศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้วก็

เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้วแต่ยังอ่อนอันลมแดดสัมผัสแล้ว

ย่อมเป็นของเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อน

สารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิวหนังท้อง ก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว

คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำถูกผิวหนังท้องทีเดียว ดูก่อนสารีบุตร

ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ชวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความ

ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นเมื่อจะยังร่างกายให้คล่องแคล่ว ก็ลูบตัวด้วย

ฝ่ามือ. เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกาย เพราะ

ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

วาทะและทิฐิของสมณพราหมณ์บางพวก

[๑๘๖] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่าง

นี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาหาร. พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า

เราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยถั่วเขียว ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยงา

ฯลฯ พวกเราย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสาร ดังนี้. พวกเขาเคี้ยวกิน

ข้าวสารบ้าง ข้าวสารป่นบ้าง ดื่มน้ำข้าวสารบ้าง ย่อมบริโภคข้าวสารที่จัดทำ

ให้แปลกมีประการมิใช่น้อยบ้าง. ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้สึกว่า กินข้าวสาร

เมล็ดเดียวเท่านั้น. ดูก่อนสารีบุตร เธอจะพึงมีความสำคัญว่า ข้าวสารในสมัย

นั้น ชะรอยจะเมล็ดใหญ่เป็นแน่. ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น. แม้ในกาล

นั้น ข้าวสารที่เป็นขนาดใหญ่นั้นเทียว ก็มีเมล็ดเท่าข้าวสารในบัดนี้. ดูก่อน

สารีบุตร เมื่อเรากินข้าวสารเมล็ดเดียวเท่านั้น ร่างกายก็ถึงความซูบผอมยี่งนัก.

อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา เปรียบเหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมากและข้อดำ เพราะความ

ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ตะโพกของเราเปรียบเหมือนรอยเท้าอูฐ เพราะความ

ที่เรามีอาหารน้อยนั่งเอง. กระดูกสันหลังของเรานูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ เหมือนเถา

สะบ้า เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. กระดูกซี่โครงของเราเหลื่อมขึ้น

เหลื่อมลงเห็นปรากฏเหมือนกลอนแห่งศาลาเก่าเหลื่อมกันฉะนั้น เพราะความ

ที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดวงตาของเราลึกเข้าไปในเบ้าตาเหมือนเงาดวงดาว

ปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. หนัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ศีรษะของเราอันลมถูกต้องแล้ว ก็เหี่ยวแห้งเปรียบเหมือนน้ำเต้าขมที่ถูกตัดขั้ว

แต่ยังอ่อน อันลมแดดสัมผัสแล้ว ย่อมเป็นของที่เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เพราะ

ความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. ดูก่อนสารีบุตร เรานั้นแลคิดว่าจะลูบคลำผิว

หนังท้องก็คลำถูกกระดูกสันหลังทีเดียว คิดว่าจะลูบคลำกระดูกสันหลัง ก็คลำ

ถูกผิวหนังท้องทีเดียว. ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราติดกระดูกสันหลัง

เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง. เรานั้นคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็

ซวนล้ม ณ ที่นั้นเอง เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง เรานั้นเมื่อจะยัง

ร่างกายให้คล่องแคล่วก็ลูบตัวด้วยฝ่ามือ เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนทั้งหลาย

มีรากอันเน่าก็หลุดร่วงจากกาย เพราะความที่เรามีอาหารน้อยนั่นเอง.

ดูก่อนสารีบุตร ด้วยการปฏิบัติอย่างไม่มีใครสู้แม้นั้น ด้วยปฏิปทาแม้

นั้น ด้วยความเพียรที่กระทำได้แสนยากนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุธรรมอันยิ่งของ

มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะ ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร เพราะมิใช่ปฏิปทาที่เป็นเหตุบรรลุปัญญาอันประเสริฐ ปัญญานี้แล

ที่ซึ่งเราได้บรรลุแล้วเป็นของประเสริฐ นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เป็นทางสิ้น

ทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้กระทำอยู่ตามนั้น.

[๑๘๗] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยสังสารวัฏ. ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสาร-

วัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไปโดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่เทวโลกชั้นสุทธาวาส

เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้น

สุทธาวาส เราก็จะไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๘๘] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มี

ทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยอุปบัติ. ดูก่อนสารีบุตร ความอุปบัติ

ที่เราไม่เคยเข้าถึงแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอุบัติในเทวโลกชั้นสุทธาวาส

เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๘๙] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยอาวาส ดูก่อนสารีบุตร ก็อาวาสที่

เราไม่เคยอยู่อาศัยแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นจากเทวโลกชั้นสุทธาวาส

เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเราพึงอยู่อาศัยในเทวโลกชั้น

สุทธาวาส เราก็ไม่พึงมาสู่โลกนี้อีก.

[๑๙๐] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อมมีได้ด้วยการบูชายัญ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ยัญ

ที่เราไม่เคยบูชาแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก แต่ยัญ

นั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์ผู้มหา-

ศาลจึงบูชา.

[๑๙๑] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยการบำเรอไฟ. ดูก่อนสารีบุตร ก็

ไฟที่เราไม่เคยบำเรอแล้ว โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เป็นของหาไม่ได้ง่ายนัก

แต่ไฟนั้น อันเราเป็นพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือเป็นพราหมณ์

ผู้มหาศาลจึงบำเรอ.

[๑๙๒] ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้

มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุรุษรุ่นหนุ่มผู้เจริญนี้ มีเกศาดำสนิทประกอบด้วยวัยหนุ่มอัน

เจริญ ประกอบด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่งสมกับวัยต้น ต่อมา บุรุษผู้เจริญ

นี้เป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ คือมี

อายุถึง ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง โดยชาติ ย่อมเสื่อมจากปัญญา

ความเฉลียวฉลาดนั้น ในภายหลัง. ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ เธอไม่พึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

อย่างนั้น. ก็บัดนี้เราเป็นคนแก่ เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย

โดยลำดับ อายุของเราแปดสิบปีเข้านี่แล้ว. สาวกบริษัททั้ง ๔ ของเรา

ในธรรมวินัยนี้มีอายุถึงร้อยปี เป็นอยู่ได้ตั้งร้อยปี ประกอบด้วยสติ คติ ฐิติ

อันยอดเยี่ยม และปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือน

นักธนูมั่นคง ได้รับการฝึกหัดแล้ว ช่ำชอง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือมาแล้ว

พึงยิงงวงตาลโดยขวางให้ตกลงด้วยลูกศรขนาดเบาโดยง่ายดาย แม้ฉันใด สาวก

บริษัท ๔ ของเราเป็นผู้มีสติอันยิ่ง มีคติอันยิ่ง มีปัญญาทรงจำอันยิ่ง ประกอบ

ด้วยปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง ฉันนั้น พวกเธอพึงถามปัญหาอิงสติปัฏฐาน ๔

กะเรา เราถูกถามปัญหาแล้ว ๆ พึงพยากรณ์แก่พวกเธอ พวกเธอพึงทรงจำคำ

ที่เราพยากรณ์แล้ว โดยเป็นคำพยากรณ์ มิได้สอบถามเราให้ยิ่งกว่า ๒ ครั้ง

เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

เว้นจากการหลับและบรรเทาความเหนื่อยล้า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของ

ตถาคตนั้นไม่รู้จักจบสิ้น บทและพยัญชนะแห่งธรรมของตถาคตนั้นไม่รู้จัก

จบสิ้น ความแจ่มแจ้งแห่งปัญหาของตถาคตนั้น ไม่รู้จักจบสิ้น. เมื่อเป็นดังนั้น

สาวกบริษัท ๔ ของเราเหล่านั้น จึงมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี พึง

กระทำกาละโดยล่วงไปแห่ง ๑๐๐ ปี. ดูก่อนสารีบุตร ถ้าแม้พวกเธอจะพึงหาม

เราไปด้วยเตียงน้อย ความเป็นอย่างอื่นแห่งปัญญาเฉลียวฉลาดของตถาคตย่อม

ไม่มีเลย. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวคำใดว่า สัตว์

ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ

พึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า สัตว์ผู้มีความไม่ลุ่มหลงเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้น

ในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ดังนี้.

คำนิคม

[๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ

เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามี

โลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้

ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ เพราะเหตุนี้แหละ

เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ

มีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร

มหาสีหนาทสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ ดังนี้ :-

ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิย ความว่า ใกล้พระนคร

ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น . ได้ยินว่า พระนครนั้น ถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็น

นครเจริญไพศาลบ่อย ๆ. ในมหาสีหนาทสูตรนั้น มีการกล่าวตามลำดับดังนี้.

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระครรภ์. พระนาง

ทรงทราบแล้ว ทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาได้พระราชทานเครื่อง

บริหารพระครรภ์. พระนางเมื่อทรงได้รับการบริหารโดยชอบ ก็เสด็จเข้าสู่

เรือนเป็นที่ทรงประสูติ ในกาลทรงมีพระครรภ์แก่. ในสมัยใกล้รุ่ง ผู้มีบุญ

ทั้งหลายก็ได้คลอดออกจากพระครรภ์. ก็พระนางนอกจากพระเทวีเหล่านั้น ทรง

ประสูติชิ้นเนื้อเป็นเช่นกับกลีบดอกชบาที่ไม่เหี่ยวแห้งในสมัยใกล้รุ่งนั้น. พระเทวี

เหล่าอื่นจากพระอัครมเหสีนั้น ทรงประสูติพระโอรสทั้งหลายเป็นเช่นกับ

พิมพ์ทอง. พระนางอัครมเหสีทรงรู้ว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงทรงดำริว่า ความอัปยศ

ของเรา พึงเกิดขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ดังนี้ เพราะความทรงกลัว

ต่อความอัปยศนั้น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นในภาชนะหนึ่ง ทรงปิด ทรงประทับ

ตราพระราชลัญจกร ทรงให้ทิ้งลงในกระแสน้ำคงคา. ครั้นเมื่อภาชนะนั้นสักว่า

มนุษย์ทิ้งแล้ว เทพดาทั้งหลายก็เตรียมการรักษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้จารึก

แผ่นทองคำด้วยชาดสีแดง ผูกไว้ในภาชนะนั้นว่า ราชโอรสของพระอัครมเหสี

แห่งพระเจ้าพาราณสี. แต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ถูกภัยทั้งหลายมีภัยแต่คลื่นเป็นต้น

เบียดเบียนเลย ได้ลอยไปตามกระแสน้ำคงคา. ก็โดยสมัยนั้น ยังมีดาบสตนหนึ่ง

อาศัยตระกูลผู้เลี้ยงโคอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. ดาบสนั้นลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ได้เห็นภาชนะนั้นลอยมา จึงจับยกขึ้นด้วยสำคัญว่าเป็นบังสุกุล. ลำดับนั้น

ได้เห็นแผ่นอักษรและรอยพระราชลัญจกรนั้นในภาชนะนั้นแล้ว แก้ออกดูเห็น

ชิ้นเนื้อนั้น. ดาบสนั้นครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า พึงเป็นครรภ์. แต่ทำไมครรภ์นั้น

จึงไม่เหม็นและไม่เน่าเล่า จึงนำมาสู่อาศรมตั้งไว้ในโอกาสอันหมดจด. ลำดับ

นั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เป็นสองส่วน. ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ในที่ดีกว่า.

โดยล่วงไปอีกกึ่งเดือนจากนั้น ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็แบ่งเป็นปมอย่างละห้าปม

เพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ. ลำดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือนจากนั้น

ชิ้นเนื้อหนึ่งเป็นเด็กชายเช่นกับพิมพ์ทอง ชิ้นหนึ่งเป็นเด็กหญิง. ดาบสได้เกิด

ความรักดุจบุตรในเด็กเหล่านั้น. น้ำนมได้เกิดแม้แต่หัวแม่มือของดาบสนั้น.

ก็จำเดิมแต่นั้น ได้น้ำนมเป็นภัต. ดาบสนั้น บริโภคภัตแล้ว หยอดน้ำนมใน

ปากของทารกทั้งหลาย. สถานที่ซึ่งดาบสเข้าไปทั้งหมด ปรากฏแก่ทารก

เหล่านั้น เหมือนอยู่ในภาชนะแก้วมณี. ทารกทั้งสองปราศจากฉวีอย่างนี้ .

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทารกเหล่านั้น มีฉวีเร้นลับกันและกันดุจเย็บตั้งไว้.

ด้วยประการฉะนี้ ทารกเหล่านั้นจึงปรากฏว่า ลิจฉวี เพราะความที่ทารก

เหล่านั้น ปราศจากผิว หรือมีผิวเร้นลับ . ดาบสเลี้ยงดูทารกทั้งหลาย เข้าไปสู่

บ้านในกลางวันเพื่อภิกษา. กลับมาเมื่อสายมาก. คนเลี้ยงโคทั้งหลายรู้ความ

กังวลนั้นของดาบสนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงดูทารกย่อม

เป็นกังวลแก่นักบวช ขอท่านจงให้ทารกเหล่านั้นแก่พวกผมเถิด พวกผมจัก

เลี้ยงดู. ท่านจงทำการงานของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีแล้ว. ในวันที่สอง

นายโคบาลทั้งหลายทำทางให้ราบเรียบ โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ยกธงผ้า

มีดุริยางค์บรรเลง มาสู่ทางอันไม่ราบเรียบ. ดาบสกล่าวว่า ทารกเป็นผู้มีบุญมาก

ท่านทั้งหลายจงให้เจริญด้วยความไม่ประมาท และครั้นให้เจริญแล้ว จงทำ

อาวาหวิวาหะแก่กันและกัน ท่านทั้งหลายต้องให้พระราชาทรงพอพระทัยด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ปัญจโครส จับจองพื้นที่สร้างนคร อภิเษกกุมารในนครนั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้

ทารกทั้งหลาย. นายโคบาลเหล่านั้นรับว่า ดีละ นำทารกทั้งหลายไปเลี้ยงดู.

ทารกทั้งหลายอาศัยความเจริญ เล่นอยู่ก็ประหารเด็กนายโคบาลเหล่าอื่นด้วยมือ

บ้าง ด้วยเท้าบ้าง ในที่ทะเลาะกัน. ก็เด็กของนายโคบาลเหล่านั้นร้องไห้อยู่

ผู้อันบิดามารดาพูดว่า พวกเจ้าร้องไห้เพื่ออะไร จึงบอกว่า เด็กผู้ไม่มีบิดา

มารดาซึ่งดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ประหารพวกผมเหลือเกิน. แต่นั้นบิดามารดาของเด็ก

เหล่านั้น จึงกล่าวว่า เด็กสองคนนี้ ยังเด็กพวกอื่นให้พินาศ ให้ถึงความทุกข์

พวกเราไม่พึงสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ ควรไล่เด็กเหล่านี้ออกไปเสีย ดังนี้. ได้ยิน

ว่า จำเดิมแต่กาลนั้น ประเทศนั้น จึงเรียกว่า วัชชี. ลำดับนั้น นายโคบาล

ทั้งหลายยังพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ได้รับประเทศนั้นโดยปริมาณหนึ่งร้อย

โยชน์. และได้สร้างนครในประเทศนั้นแล้ว อภิเษกกุมาร ซึ่งมีอายุได้สิบหกปี

ให้เป็นพระราชา. ได้ให้พระราชานั้นทรงทำวิวาหะกับเด็กหญิงแม้นั้นแล้ว

ทำกติกาว่า พวกเราไม่พึงนำเด็กหญิงมาจากภายนอก ไม่พึงให้เด็กชายจาก

ตระกูลนี้แก่ใคร ดังนี้. ด้วยการอยู่ร่วมกันครั้งแรก เขาทั้งสองคนนั้นมีบุตร

แฝดสองคน คือ ธิดา ๑ บุตร ๑ โดยประการฉะนี้ จึงมีบุตรแฝดถึงสิบหกครั้ง.

ต่อแต่นั้น ทารกเหล่านั้นเจริญขึ้นตามลำดับ จึงขยายนครซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อ

เอาเป็นอารามอุทยานสถานที่อยู่ และบริวารสมบัติ ถึง ๓ ครั้ง โดยห่างกัน

ครั้งละหนึ่งคาวุต. นครนั้นจึงมีชื่อว่า เวสาลี เพราะความเป็นนครที่มีความ

เจริญกว้างขวางบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิย ความว่า

ใกล้พระนครที่มีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า พหินคเร ความว่า ในภายนอกแห่งพระนคร คือไม่ใช่

ภายในพระนครเหมือนอัมพปาลีวัน. ก็นี้คือ ราวป่าภายนอกพระนคร เหมือน

ชีวกัมพวัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในภายนอกพระนคร. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

อปรปุเร ความว่า ตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก คือ ในทิศตะวันตก. บทว่า

วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า ราวป่านั้นอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุต ในทิศ

ตะวันตกแห่งพระนคร. ในราวป่านั้น มนุษย์ทั้งหลายทำพระคันธกุฏิถวายแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้อมพระคันธกุฏินั้น ตั้งที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน

ที่จงกรม ที่เร้น กุฏิ มณฑปเป็นต้น. ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ในราวป่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในราวป่า

ด้านตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก. คำว่า สุนักขัตตะ นั้นเป็นชื่อของเขา

ก็สุนักขัตตะนั้นเรียกว่า ลิจฉวีบุตร เพราะความที่เขาเป็นบุตรของลิจฉวีทั้ง

หลาย. บทว่า อจิรปุกฺกนโต ความว่า สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์หลีกไปไม่

นาน. บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า

มนุษยธรรม ในบทนี้ว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา สุนักขัตตะไม่อาจเพื่อจะ

ปฏิเสธกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่คำตำหนิ.

ด้วยว่า ในเมืองเวสาลี มนุษย์จำนวนมากเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย นับถือ

พระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ มนุษย์เหล่านั้น ครั้นเมื่อ

สุนักขัตตะกล่าวว่า แม้สักว่า กุศลกรรมบถสิบของพระสมณโคดมไม่มี ดังนี้

ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฆ่าสัตว์ในที่ไหน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาของที่ไม่ได้ให้ในที่ไหน แล้วพึงกล่าวว่า ท่าน

ไม่รู้ประมาณของตน ท่านกินหินและก้อนกรวด ด้วยคิดว่าฟันทั้งหลายของ

เรามีหรือ ท่านพยายามเพื่อจะจับหางงู ท่านปรารถนาเพื่อจะเล่นพวงดอกไม้

ในฟันเลื่อย พวกเราจักยังฟันทั้งหลายของท่านให้หลุดร่วงจากปาก ดังนี้.

เขาไม่อาจเพื่อจะกล่าวอย่างนี้เพราะกลัวแต่การตำหนินั้น. ก็เขาเมื่อจะปฏิเสธ

การบรรลุคุณพิเศษนอกจากอุตตริมนุษยธรรมนั้น จึงกล่าวว่า ญาณทัสสนะ

พิเศษอันควรเป็นพระอริยเจ้านอกจากมนุษยธรรม ดังนี้. ในบทนั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

อลมริยะ เพราะควรเพื่อรู้อริยะ อธิบายว่า อันสามารถเพื่อความเป็นพระอริย

เจ้า. ญาณทัสสนะนั้นเทียว ชื่อว่า ญาณทัสสนะวิเศษ ญาณทัสสนวิเสส

นั้นด้วย เป็นอันควรแก่พระอริยเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อลมริยญาณ.

ทัสสนวิเสส ทิพยจักษุก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ปัจจเวกขณ

ญาณก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี เรียกว่า ญาณทัสสนะ. จริงอยู่ ทิพยจักษุ

ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมบรรลุญาณทัสสนะ.

ก็วิปัสสนาญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า นำไปเฉพาะ น้อมไป

เฉพาะซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. มรรค ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า

เขาเหล่านั้น ไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ผลญาณ

ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรแก่พระอริยเจ้า

นอกจากอุตริมนุษยธรรมนี้ อันเป็นการอยู่ผาสุก ได้บรรลุแล้วกระมัง.

ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้น

แก่เราแล้ว วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะของเราได้

เกิดขึ้นแล้ว อาฬารดาบส กาฬามโคตร ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ๗ วัน. ส่วน

โลกุตตรมรรค ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็สุนักขัตตะนั้นปฏิเสธโลกุตตรมรรค

แม้นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ห้ามอาจารย์ด้วยบทนี้ว่า ตกฺกปริยาหต.

นัยว่า เขามีปริวิตกอย่างนี้ ธรรมดาพระสมณโคดมทรงเข้าหาอาจารย์ทั้งหลาย

แล้ว ถือเอาลำดับธรรมอันละเอียดไม่มี ก็พระสมณโคดม ทรงแสดงธรรม

ยึดความตรึก คือ ทรงตรึก ทรงตรองแล้ว แสดงธรรมยึดความตรึกว่าจัก

เป็นอย่างนี้ จักมีอย่างนั้น ดังนี้. ย่อมรับรู้โลกิยปัญญาของพระสมณโคดมนั้น

ด้วยบทนี้ว่า วีมสานุจริต. พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา. พระสมณ

โคดมนั้น ทรงยังพระวิมังสาอันเปรียบเหมือนอินทวิเชียร กล่าวคือปัญญานั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ให้เที่ยวไปข้างนั่นและข้างนี้ว่า จักเป็นไปอย่างนั้น จักเป็นไปอย่างนี้ ย่อม

ทรงแสดงธรรมคล้อยตามพระวิมังสา. ห้ามความที่พระสมณโคดมนั้น ทรง

ประจักษ์ในธรรมทั้งหลาย ด้วยบทนี้ว่า สย ปฏิภาน. ก็สุนักขัตตะนั้นมีความ

คิดอย่างนี้ว่าวิปัสสนา หรือมรรค หรือผล อันเป็นลำดับแห่งธรรมอันละเอียด

ของพระสมณโคดมนั้น ชื่อว่า ประจักษ์ย่อมไม่มี ก็สมณโคดมนี้ ทรงได้

บริษัท วรรณ ๔ ย่อมแวดล้อมพระองค์เหมือนพระจักรพรรดิ ก็ไรพระทนต์

ของพระองค์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน พวะสุรเสียงอ่อนหวาน พระวาจา

ไม่มีโทษ พระองค์ทรงถือเอาสิ่งที่ปรากฏแก่เทพแล้ว ตรัสพระดำรัสตาม

ไหวพริบของพระองค์ทรงยังมหาชนให้ยินดี. บทว่า ยสฺส จ ขฺวสฺส อตฺถาย

ธมฺโม เทสิโต ความว่า ก็ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่

บุคคลใดแล. อย่างไร. คือ อสุภกรรมฐาน เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดราคะ

เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโทสะ ธรรม ๕ ประการ เพื่อ

ประโยชน์แก่การกำจัดโมหะ อานาปานัสสติ เพื่อตัดวิตก. บทว่า โส นิยฺยาติ

ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย ความว่า สุนักขัตตะแสดงว่า ธรรมนั้น

ย่อมนำออก คือ ไป เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์โดยชอบ คือ โดยเหตุ

โดยนัย โดยการณ์ แก่ผู้ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น คือ ยังประโยชน์นั้น

ให้สำเร็จ. แก่สุนักขัตตะไม่กล่าวถึงเนื้อความนี้นั้น ด้วยอัธยาศัยของตน.

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเครื่องไม่นำออกจาก

ทุกข์ ดังนี้. แต่ไม่สามารถจะกล่าวได้. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่การถูก

ตำหนิ. จริงอยู่ ในเมืองเวสาลี มีอุบาสกเป็นโสดาบัน สกทาคามีและอนาคามี

จำนวนมาก. อุบาสกเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะสุนักขัตตะ ท่านกล่าวว่า

ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ดังนี้

ผิว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ไซร้ เพราะเหตุไร ในนครนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

อุบาสกเหล่านี้ เป็นโสดาบันประมาณเท่านี้ เป็นสกทาคามีประมาณเท่านี้ เป็น

อนาคามีประมาณเท่านี้เล่า. อุบาสกเหล่านั้น พึงกระทำการคัดค้าน โดยนัยที่

กล่าวแล้วในบทก่อน. สุนักขัตตะนั้น เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวว่า ธรรมนี้ไม่

เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เพราะกลัวถูกตำหนินี้ จึงกล่าวว่า ธรรมของ

พระสมณโคดมนั้น ไม่เป็นโมฆะ ย่อมนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เหมือนท่อนไม้

ที่เขาทิ้งไว้โดยไม่ถูกเผา แต่พระสมณโคดมนั้น ไม่มีอะไรในภายในเลย ดังนี้.

บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า เมื่อ สุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ ในท่ามกลาง

บริษัทนั้น ๆ ในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลพราหมณ์และตระกูลเศรษฐีเป็นต้น

ในพระนครเวสาลี ท่านพระสารีบุตรได้ฟังคำพูดนั้นแล้ว ไม่คัดค้าน. เพราะ

เหตุไร. เพราะท่านมีความกรุณา. นัยว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดำริ

อย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้ กระเสือกกระสนด้วยอำนาจแห่งความโกรธ เหมือน

ไม้ไผ่ถูกเผา และเหมือนเกลือที่ถูกใส่ในเตาไฟ ก็สุนักขัตตะถูกเราคัดค้าน

แล้ว จักผูกความอาฆาตแม้ในเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนักขัตตะนั้น ก็จัดผูก

อาฆาตเป็นภาระอย่างยิ่ง ในชนทั้งสอง คือ ในพระตถาคตและในเรา เพราะ

ฉะนั้น จึงไม่คัดค้านเพราะท่านมีความกรุณา. อนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั้น

มีความดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาการกล่าวตำหนิพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่น

กับโปรยโทษในพระจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ใครเล่าจักถือเอาถ้อยคำของสุนักขัตตะนี้

เขาเองนั้นแหละ ครั้นหมดน้ำลาย ปากแห้งแล้วจักงดการกล่าวตำหนิ เพราะ

ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คัดค้าน เพราะความกรุณานี้. บทว่า ปิณฺฑ-

ปาตปฏิกฺกนฺโต ความว่า กลับจากการแสวงหาบิณฑบาตแล้ว. บทว่า

โกธโน คือ เป็นผู้ดุร้าย คือ เป็นผู้หยาบคาย. บทว่า โมฆปุริโส ความว่า

บุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค

และผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาด

อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ. บทว่า โกธา จ ปนสฺส

เอสา วาจา ภาสิตา ความว่า ก็วาจาของสุนักขัตตะนั้นนั่นและ ได้กล่าว

แล้วด้วยความโกรธ.

ก็เพราะเหตุไร สุนักขัตตะนั้นจึงโกรธพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะใน

กาลก่อน สุนักขัตตะนี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงการบริกรรม

ทิพยจักษ . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่สุนักขัตตะนั้นแล้ว. สุนัก

ขัตตะนั้น ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เจริญอาโลกสัญญา เมื่อมองดูเทวโลก ก็ได้

เห็นเทพบุตรทั้งหลาย และเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งกำลังเสวยทิพยสมบัติในนันทน-

วัน จิตตลดาวัน ปารุสกวัน และมิสสกวัน เป็นผู้ประสงค์จะฟังเสียงของ

เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ที่ดำรงอยู่ในอัตภาพสมบัติเห็นปานนั้นว่า จักมี

เสียงอ่อนหวานอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วทูลถามการบริกรรม

ทิพยโสตธาตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า สุนักขัตตะนั้น ไม่มีอุปนิสัย

แห่งทิพยโสตธาตุ จึงไม่ตรัสบอกการบริกรรมแก่เขา. เพราะพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมไม่ตรัสบริกรรมแก่ผู้เว้นจากอุปนิสสัย. เขาได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค

เจ้าแล้ว คิดว่า เราได้ทูลถามการบริกรรมถึงทิพยจักษุครั้งแรกกะพระสมณโค-

ดม พระองค์ได้ตรัสแก่เราว่า ทิพยจักษุบริกรรมนั้น จงสำเร็จ หรือว่าจง

อย่าสำเร็จ แต่เรายังทิพยจักษุบริกรรมนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำของบุรุษจำเพาะ

ตนแล้ว จึงถามถึงการบริกรรมโสตธาตุ พระองค์ไม่ตรัสบอกการบริกรรรม

โสตธาตุนั้นแก่เรา ชะรอยพระองค์จะมีพระดำริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้บวช

จากราชตระกูล ยังทิพยจักษุญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ยังทิพยโสตธาตุญาณให้เกิด

ยังเจโตปริยญาณให้เกิด ยังญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้เกิดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

จักทัดเทียมเราแน่แท้ พระองค์จึงไม่ตรัสบอกแก่เราด้วยอำนาจแห่งความ

ริษยาและความตระหนี่ ดังนี้. สุนักขัตตะผูกอาฆาตโดยประมาณยิ่งแล้ว ทิ้งผ้า

กาสายะทั้งหลายแล้วแม้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่นิ่งเที่ยวไป. แต่เขากล่าว

ตู่พระทศพล ด้วยความเปล่าไม่เป็นจริงเที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วาจานั้นเขากล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้. บทว่า

วณฺโณ เหโส สารีปฺตฺต ความว่า ดูกรสารีบุตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี

ทั้งหลายอยู่สิ้นสื่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์

แห่งบารมีเหล่านั้น เทศนาธรรมของเราจักเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้

เพราะฉะนั้น ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวสรรเสริญตถาคตนั่นเทียว.

พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็การสรรเสริญนั้นเป็นคุณ นั้นเป็นคุณ

ของตถาคต. ทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นต้นว่า อยปิ หิ นาม สารีปุตฺต

ดังนี้. ทรงแสดงความที่อุตตริมนุษยธรรม ที่สุนักขัตตะปฏิเสธมีอยู่ในพระองค์.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ โดยนัยว่า อยปิ หิ นาม

สารีปุตฺต เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอรรถนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนี้

เป็นโมฆบุรุษ ย่อมกล่าวว่า อุตตริมนุษยธรรมของพระตถาคตไม่มี ดังนี้

ก็เรามีสัพพัญญุตญาณ มีอิทธิวิธญาณ มีทิพยโสตธาตุญาณ มีเจโตปริยญาณ

มีทศพลญาณ มีจตุเวสารัชชญาณ มีญาณที่ไม่ครั้นคร้ามในบริษัทแปด

มีญาณกำหนดกำเนิดสี่ มีญาณกำหนดคติห้า ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ก็คือ อุตตริมนุษยธรรมนั้นเทียว ก็ธรรมดา แม้สักว่า ความคล้อยตาม

ธรรมที่สามารถรู้อุตตริมนุษยธรรมแม้ข้อหนึ่งในบรรดาอุตตริมนุษยธรรมเห็น

ปานนี้ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น ดังนี้. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า อันวยะ

เพราะอรรถว่า คล้อยตาม อธิบายว่ารู้คือรู้ตาม ความคล้อยตามธรรม ชื่อ

ธัมมันวยะ. นั้นเป็นชื่อของปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมมีสัพพัญญุตญาณ

เป็นต้นนั้น ๆ. ทรงแสดงว่า แม้ธัมมันวยะ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ให้รู้อุตตริมนุษยธรรม กล่าวคือ สัพพัญญุตญาณแม้เห็นปานนี้ ของเรา

มีอยู่นั่นเทียวว่า มีอยู่ ด้วยบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น. พึงทราบ

การประกอบอย่างนี้ แม้ในญาณทั้งหลายมีอิทธิวิธญาณ เป็นต้น. อนึ่ง พึง

กล่าววิชชา ๓ ในลำดับแห่งเจโตปริยญาณในบทนั้นโดยแท้.

ถึงกระนั้นครั้นเมื่อวิชชา ๓ เหล่านั้นกล่าวแล้ว ธรรมดาทศพลญาณ

เบื้องสูง ย่อมบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสวิชชา ๓ นั้น ทรงแสดงกระทำ

ให้บริบูรณ์ด้วยทสพลญาณของตถาคตจึงตรัสว่า ทส โข ปนิมานิ สารี-

ปุตฺต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่พละของ

ตถาคตเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับบุคคลเหล่าอื่น คือ พละที่มาแล้วโดยประการที่พละ

ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ซึ่งมาด้วยบุญสมบัติและอิสสริยสมบัติ.

ในพละเหล่านั้น พละของตคถาคตมี ๒ อย่าง คือ กายพละ ๑ ญาณพละ ๑.

ในพละเหล่านั้น กายพละ พึงทราบโดยทำนองแห่งตระกูลช้าง. สมดังคาถา

ประพันธ์ที่โบราณกาจารย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า

ตระกูลช้าง ๑๐ ตระกูล นี้คือ กาฬา-

วกะ ๑ คังเคยยะ ๑ ปัณฑระ ๑ ตัมพะ๑

ปิงคละ ๑ คันธะ ๑ มังคละ ๑ เหมะ ๑

อุโบสถ ๑ ฉัททันตะ ๑.

ก็ตระกูลแห่งช้าง ๑๐ ตระกูลเหล่านี้. ในตระกูลช้างเหล่านั้น พึงเห็นตระกูลช้าง

ธรรมดาว่า กาฬาวกะ. กำลังกายของบุรุษ ๑๐ คน เท่ากับกำลังช้างกาฬาวกะ ๑

เชือก. กำลังของช้างกาฬาวกะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างคังเคยยะ ๑ เชือก.

กำลังช้างคังเคยยะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างปัณฑระ ๑ เชือก. กำลังช้างปัณฑระ

๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างตัมพะ ๑ เชือก. กำลังช้างตัมพะ ๑๐ เชือก เท่ากับ

กำลังช้างปิงคละ ๑ เชือก. กำลังช้างปิงคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้าง

คันธะ ๑ เชือก. กำลังช้างคันธะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างมังคละ ๑ เชือก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

กำลังช้างมังคละ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างเหมวัต ๑ เชือก. กำลังช้างเหมวัต

๑๐ เชือก เท่ากับกำลังช้างอุโบสถ ๑ เชือก. กำลังช้างอุโบสถ ๑๐ เชือก เท่า-

กับกำลังช้างฉัททันตะ ๑ เชือก. กำลังช้างฉัททันตะ ๑๐ เชือก เท่ากับกำลัง

พระตถาคต ๑ พระองค์. ตถาคตพละนี้นั้นเทียวเรียกว่ากำลังรวมของพระนาราย-

นะบ้าง. กำลังนี้นั้น เป็นกำลังช้างพันโกฏิ ด้วยการนับช้างธรรมดา เป็นกำลัง

บุรุษสิบพันโกฏิ ด้วยการนับบุรุษ. นี้เป็นกำลังกายของพระตถาคตก่อน. ส่วน

ญาณพละมาแล้วในบาลีก่อนเทียว. ญาณหลายพันแม้เหล่าอื่นอย่างนี้คือ ทศพล

ญาณ จตุเวสารัชชญาณ ญาณในไม่ทรงครั้นคร้ามในบริษัทแปด ญาณกำหนด

กำเนิดสี่ ญาณกำหนดคติห้า ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ ที่มาในสังยุตตนิกาย

นั่นชื่อ ญาณพละ. ญาณพละนั้นเทียวท่านประสงค์แล้ว แม้ในที่นี้. ก็ญาณท่าน

กล่าวว่า พละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว และอรรถว่า อุดหนุน. บทว่า เยหิ พเลหิ

สมนฺนาคโต ความว่า ทรงถึง คือ ทรงถึงพร้อมด้วยญาณพละ ๑๐ ประการ

เหล่าใด. บทว่า อาสภณฺาน คือ ฐานะซึ่งประเสริฐที่สุด คือฐานะอุดม.

อธิบายว่า ฐานะแห่งพระพุทธเจ้าในปางก่อน ซึ่งเป็นผู้นำเหล่านั้น. อนึ่ง

โคโจกในโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในโคพันตัวชื่อ วสภะ อีกประการหนึ่ง โค

โจกในคอกโคร้อยตัว ชื่อ อุสภะ โคโจกในคอกโคพันตัว ชื่อ วสภะ โคที่

เป็นโจกในโคทั้งปวง เป็นตัวนำฝูงโคทั้งหมด ขาวปลอด น่าเลื่อมใส นำภาระ

มาก ไม่หวั่นไหว ด้วยเสียงฟ้าผ่าร้อยครั้ง ชื่อ นิสภะ นิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า

อุสภะในที่นี้. จริงอยู่แม้คำนี้ เป็นคำโดยทางอ้อมของอุสะนั้น. ชื่อว่า อาสภะ

เพราะอรรถว่า นี้ของอุสภะ. บทว่า าน ความว่า ก็ฐานะที่ทำลายแผ่นดิน

ด้วยเท้าทั้ง ๔ แล้วไม่หวั่นไหว นี้เป็นราวกะโคอุสภะ เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า อาสภะ. ก็โคอุสภะกล่าวคือ นิสภะ ถึงพร้อมด้วยกำลังแห่งใดอุสภะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ทำลายแผ่นดินด้วยเท้าทั้งสี่ แล้วยืนอยู่โดยไม่หวั่นไหวฉันใด แม้พระตถาคต

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ทรง

ทำลายแผ่นดินคือ บริษัทแปด ด้วยพระบาทคือเวสารัชชะ ๔ ประการแล้ว ไม่

พลันพลึงต่อข้าศึก คือปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมกับเทวโลก ทรงดำรง

อยู่โดยไม่หวั่นไหว. ก็เมื่อทรงดำรงอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า ทรงประกาศ คือ ทรง

เข้าถึงฐานะแห่งความเป็นผู้นำนั้น คือทรงยกไว้ในพระองค์โดยไม่ประจักษ์.

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า อาสภณฺาน ปฏิชานาติ. บทว่า ปริสาสุ คือ

ในบริษัทแปด. บทว่า สีหนาท นทติ ความว่า ทรงบันลือถึงการบันลือ

อันประเสริฐที่สุด คือ ที่ไม่มีใครกลัว หรือ ทรงบันลือถึงการบันลืออันเป็น

เช่นกับการบันลือของสีหะ. เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสีหนาทสูตร. อีกประการ

หนึ่ง ราชสีห์เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำและเพราะฆ่าฉันใด พระตถาคต

เรียกว่า สีหะ เพราะครอบงำโลกธรรมทั้งหลาย และเพราะฆ่าลัทธิของศาสดา

อื่น ๆ ฉันนั้น. การบันลือของสีหะตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีหนาทะ.

ในบทนั้นมีอธิบายว่า สีหะถึงพร้อมด้วยกำลังของสีหะแล้ว แกล้วกล้า

ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาทในที่ทั้งปวงฉันใด แม้สีหะ คือ พระ

ตถาคต ถึงพร้อมด้วยกำลังของพระตถาคตทั้งหลายแล้ว แกล้วกล้า ปราศจาก

ขนพอง ทรงบันลือสีหนาท ที่ถึงพร้อมด้วยความกว้างขวางแห่งพระเทศนา

มีวิธีต่าง ๆ โดยนัยเป็นอาทิว่า รูป ด้วยประการฉะนี้ ในบริษัทแปดฉันนั้น.

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทรงบันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้.

ในบทว่า พฺรหมฺจกฺก ปวตฺเตติ นี้ บทว่า พฺรหฺม ได้แก่ ประเสริฐ

ที่สุด คือ อุดม สละสลวย. ก็ศัพท์แห่งจักรนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

ย่อมปรากฏในสมบัติ ลักษณะ องค์

แห่งรถ อิริยาบถ ทาน รัตนะ และใน

จักรทั้งหลาย มีธรรมจักรเป็นต้น ท่าน

ประสงค์เอาในธรรมจักรนี้ ก็ธรรมจักร

นั้นแบ่งเป็น ๒ อย่าง.

จริงอยู่ ศัพท์จักรนี้ ย่อมปรากฏในสมบัติ ในบททั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายถึงพร้อมด้วยจักรเหล่าใด จักรทั้งหลาย ๔ นี้. ใน

ลักษณะในบทนี้ว่า จักรทั้งหลายเกิดแล้วในพื้นแห่งพระยุคลบาท ในองค์แห่งรถ

ในบทนี้ว่า จักรเทียว ชื่อว่า เป็นบทเพราะนำไป. ในอิริยาบถในบทนี้ว่า

จักรสี ทวารเก้า. ในทานในบทนี้ว่า เมื่อให้ทาน จงบริโภค และอย่าประมาท

จงหมุนจักรเพื่อสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. ในรัตนจักรในบทนี้ว่า จักรรัตนะอันเป็น

ทิพย์ได้ปรากฏแล้ว. ในธรรมจักรในบทนี้ว่า จักรอันเราให้เป็นไปแล้ว. ใน

ขรุจักรในบทว่า จักรหมุนบดศีรษะของคนผู้อันริษยาครอบงำแล้ว. ในปหรจักร

ในบทนี้ว่า ถ้าแม้โดยจักรอันมีคมแข็งเป็นที่สุดรอบ. ในอสนิมณฑล ในบทนี้

ว่า อสนิจักร. ส่วนศัพท์จักรนี้ท่านประสงค์ในธรรมจักรนี้. ก็ธรรมจักรนั้น

มี ๒ อย่างคือปฏิเวธญาณ ๑ เทสนาญาณ ๑. ในธรรมจักร ๒ อย่างนั้น ธรรมจักร

ที่ปัญญาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผลแก่ตนชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ธรรมจักรที่

กรุณาอบรมแล้ว นำมาซึ่งอริยผล แก่สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า เทสนาญาณ.

ในญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ อย่าง คือ เกิดขึ้นอยู่ เกิดขึ้นแล้ว. ก็

ปฏิเวธญาณนั้น ตั้งแต่การเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า

เกิดขึ้นอยู่. ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. อนึ่งปฏิเวธญาณ

ตั้งแต่ชั้นดุสิต จนถึงพระอรหัตมรรคในมหาโพธิบัลลังก์ ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่.

ปฏิเวธญาณในขณะแห่งผล ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว. ปฏิเวธญาณตั้งแต่พระเจ้า-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

ทีปังกรจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า เกิดขึ้นอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า

เกิดขึ้นแล้ว. ฝ่ายเทสนาญาณก็มี ๒ อย่าง คือ เป็นไปอยู่ เป็นไปแล้ว.

จริงอยู่ เทสนาญาณนั้น ตั้งแต่พระอัญญาโกญฑัญญะบรรลุพระโสดาปัตติมรรค

ชื่อว่า เป็นไปอยู่. ในขณะแห่งผล ชื่อว่า เป็นไปแล้ว. ในญาณทั้ง ๒ อย่าง

นั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณ เป็นโลกิยะ. ก็ญาณแม้ทั้งสอง

นั้น ไม่ทั่วไปแก่บุคคลเหล่าอื่น เป็นญาณของโอรสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อย่างเดียว.

พระตถาคตทรงถึงพร้อมด้วยพละเหล่าใด ทรงประกาศฐานะแห่งความ

เป็นผู้นำ และพละเหล่าใดที่ยกขึ้นในเบื้องต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็ตถาคต

พละของตถาคต ๑๐ อย่างนี้แล บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพละเหล่านั้นโดยพิสดาร

จึงตรัสว่า กตมานิ ทส อิธ สารีปุตฺต ตถาคโต านญฺจ านโต

ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า านญฺจ านโต ความว่า ซึ่งการณ์

โดยการณ์. จริงอยู่ การณ์เรียกว่า ฐานะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผล คือ เป็นที่

เกิดและเป็นที่เป็นไปแห่งผล เพราะความที่ผลเป็นไปเนื่องจากการณ์นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงรู้ชัดฐานะนั้นว่า ธรรมเหล่าใด ๆ เป็นเหตุปัจจัย

แก่ธรรมเหล่าใดๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า ฐานะ ธรรม เหล่าใด ๆ

ไม่เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมเหล่าใด ๆ เพราะอาศัยธรรมนั้น ๆ จึงชื่อว่า อฐานะ

ชื่อว่า ทรงรู้ชัดฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะ ตามความเป็นจริง. ก็

การณ์นั้นได้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า ในญาณเหล่านั้น การ

รู้ฐานะโดยฐานะ และอฐานะโดยอฐานะตามความเป็นจริง ของตถาคตเป็นไฉน

ดังนี้. บทว่า ยปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทปิ สารีปุตฺต ตถาคตสฺส

ความว่า ก็ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นกำลังของตถาคต. พึงทราบโยชนา

ในบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า กมฺมสมาทานาน ความว่า แห่งกุศลกรรมและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

อกุศลกรรมที่สมาทานแล้วกระทำ หรือกรรมนั้นเทียว เป็นกรรมสมาทาน. บทว่า

านโส เหตุโส ได้แก่ โดยปัจจัยและโดยเหตุ. ในบทนั้น คติ อุปธิ กาล

และปโยคเป็นฐานะ คือ เป็นกรรม เป็นเหตุ ของวิบาก. ก็กถาโดยพิสดาร

แห่งญาณนี้มาแล้วในอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า กรรมสมาทานอันเป็นบาป

บางอย่างมีอยู่ อันคติสมบัติห้ามไว้ จึงไม่ให้ผล ดังนี้. บทว่า สพฺพตฺถคามินึ

ความว่าอันให้ไปสู่คติในที่ทั้งปวง และอันไม่ให้ไปสู่คติ. บทว่า ปฏิปท ได้แก่

มรรค. บทว่า ยถาภูต ปชานาติ ความว่า ทรงรู้สภาพโดยไม่ผิดเพี้ยน

แห่งการปฏิบัติทั้งหลาย กล่าวคือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา แม้ในวัตถุ

หนึ่ง โดยนัยนี้ว่า ครั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายแม้มากฆ่าสัตว์แม้ตัวหนึ่ง เจตนา

ของคนนี้ จักยังให้ไปสู่นรก เจตนาของคนนี้ จักยังให้ไปสู่กำเนิดดิรัจฉาน.

ก็กถาโดยพิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอธิธรรมนั่นเทียว โดยนัยเป็นต้นว่า

ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความเป็นจริง อันเป็นปฏิปทาให้ไปในที่ทั้งปวง

ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย้อมรู้ชัดว่า นี้มรรค นี้ปฏิปทาอันยัง

สัตว์ให้ไปสู่นรก. บทว่า อเนกธาตุ ความว่า ธาตุเป็นอันมากด้วยธาตุ

ทั้งหลายมีจักขุธาตุเป็นต้น หรือ กามธาตุเป็นต้น. บทว่า นานาธาตุ

ความว่า ธาตุมีประการต่าง ๆ เพราะความที่ธาตุเหล่านั้น มีลักษณะพิเศษ.

บทว่า โลก คือ โลกอันได้แก่ขันธ์ อายตน และธาตุ. บทว่า ยถาภูต

ปชานาติ ความว่า ทรงแทงตลอดสภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนแห่งธาตุทั้งหลาย

เหล่านั้น ๆ. ญาณแม้นี้ให้พิสดารแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า

ในญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริงซึ่งโลกอันเป็นอเนกธาตุ นานาธาตุของ

ตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดถึงความเป็นต่าง ๆ แห่งขันธ์.

บทว่า นานาธิมุตติกต ได้แก่ความมีอธิมุตติต่าง ๆ ด้วยอธิมุตติทั้งหลายมี

เลวเป็นต้น. ญาณแม้นี้ก็ให้พิสดารในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ญาณเหล่านั้น ความรู้ตามความจริง ซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติต่าง ๆ

ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ย่อมรู้ชัดว่า สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติ

เลวมีอยู่. บทว่า ปรสตฺตาน ได้แก่ สัตว์เป็นประธานทั้งหลาย. บทว่า

ปรปุคฺคลาน คือ สัตว์เลวทั้งหลายเหล่าอื่นจากสัตว์เป็นประธานนั้น. อนึ่ง

สองบทนั้นมีอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่กล่าวไว้เป็น ๒ อย่าง ด้วยสามารถ

แห่งเวไนยสัตว์. บทว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺต ได้แก่ ความที่อินทรีย์

ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นยิ่งและหย่อน ได้แก่ความเจริญและความเสื่อม. กถา-

พิสดารแห่งญาณแม้นี้ มาแล้วในอภิธรรมนั่นเทียว โดยนัยมีอาทิว่า ในญาณ

เหล่านั้น ความรู้ตามความจริงถึงความที่สัตว์อื่นทั้งหลายบุคคลอื่นทั้งหลายมี

อินทรีย์หย่อนและยิ่ง ของตถาคตเป็นไฉน ตถาคตในโลกนี้ ย่อมรู้อาลัย

ย่อมรู้อนุสัย ของสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีน

ความว่า ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น วิโมกข์ ๘ มีอาทิว่า ผู้มีรูปย่อมเห็นรูป

ทั้งหลาย สมาธิ ๓ ที่มีวิตก และมีวิจารเป็นต้น และอนุปุพพสมาบัติ ๙ มี

ปฐมฌานสมาบัติเป็นต้น. บทว่า สงฺกิเลส ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายเสื่อม.

บทว่า โวทาน ได้แก่ ธรรมอันเป็นส่วนฝ่ายพิเศษ. บทว่า วุฏฺาน

ความว่า ฌานที่คล่องแคล้วและภวังคผลสมาบัติ ที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า แม้

ความผ่องแผ้ว ก็คือ ความออก แม้ความออกจากสมาธินั้น ๆ ก็เป็นความ

ออก. จริงอยู่ ฌานที่คล่องแคล้วอันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ย่อมเป็นปทัฏฐานของ

ฌานสูง ๆ แม้ความผ่องแผ้วจากฌานนั้น เรียกว่า ความออก. ความออก

จากฌานทั้งปวงย่อมมีโดยภวังคะ. ความออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีโดยผล

สมาบัติ ท่านหมายถึงความออกนั้น จึงกล่าวว่า แม้ความออกจากสมาธินั้นๆ

ว่า เป็นความออก. ญาณแม้นี้ให้พิสดารในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ใน

ญาณเหล่านั้น ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌานวิโมกข์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย อันเป็นยถาภูตญาณของตถาคตเป็นไฉน ผู้มีฌานสี่

ชื่อว่า ฌายี ฌายีบางคนมีอยู่ ย่อมเสวยสมบัติที่มีอยู่นั้นเทียว. ก็การวินิจฉัย

ถึงสัพพัญญุตญาณ ด้วยการกล่าวโดยพิสดาร ได้กล่าวแล้วในวิภังคอรรรถกถา

ชื่อ สัมโมหวิโนทนี. กถาว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติ และทิพยจักษุญาณ ให้

พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะให้พิสดารแล้ว

ในภยเภรวสูตร. บทว่า อิมานิ โข สารีปุตฺต ความว่า ย่อมทำอัปปนาว่า

เราได้กล่าวว่า ดูก่อนสารีบุตร ตถาคตพละของตถาคต ๑๐ ในกาลก่อนเหล่า

ใด ตถาคตพละเหล่านี้นั้น.

ในบทนั้น มีปรวาทิกถา ดังนี้. ชื่อว่า ทศพลญาณ ไม่มีการแยก

ออกเป็นส่วนหนึ่ง สัพพัญญุตญาณเท่านั้นมีการแยกประเภทอย่างนี้. ข้อนั้นไม่

พึงเห็นอย่างนั้น . จริงอยู่ทศพลญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญานเป็นอย่าง

หนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้เฉพาะกิจของตน ๆ เท่านั้น สัพพัญญุตญาณย่อมรู้

กิจของตน ๆ นั้นบ้าง กิจที่เหลือจากกิจของตน ๆ นั้นบ้าง. ก็ในทศพลญาณ

ทั้งหลาย ญาณที่หนึ่ง ย่อมรู้เฉพาะเหตุ และไม่ใช่เหตุเท่านั้น. ญาณที่สอง

ย่อมรู้ลำดับแห่งกรรมและลำดับแห่งวิบากเท่านั้น. ญาณที่สาม ย่อมรู้การกำหนด

กรรมเท่านั้น. ญาณที่สี่ย่อมรู้เหตุแห่งความที่ธาตุเป็นต่าง ๆ กันเท่านั้น. ญาณ

ที่ห้าย่อมรู้อัธยาศัย และอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่หกย่อมรู้

ความที่อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าและอ่อนเท่านั้น. ญาณที่เจ็ดย่อมรู้กิจมีความเศร้า

หมองเป็นต้นแห่งอินทรีย์เหล่านั้น พร้อมกับฌานเป็นต้นเท่านั้น. ญาณที่แปด

ย่อมรู้ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เคยอยู่ในชาติปางก่อนเท่านั้น. ญาณที่เก้าย่อมรู้จุติ

และปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. ญาณที่สิบย่อมรู้การกำหนดสัจจะเท่านั้น.

ส่วนสัพพัญญุตญาณย่อมรู้ชัดกิจที่ควรรู้ด้วยญาณเหล่านั้น และสิ่งอันยิ่งกว่ากิจ

นั้น. ก็กิจแห่งญาณเหล่านั่น ย่อมไม่ทำกิจทุกอย่าง. เพราะญาณนั้นเป็นฌาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

แล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อเป็นอัปปนา เป็นอิทธิแล้ว ย่อมไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ได้

เป็นมรรคก็ไม่อาจเพื่อยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปได้. อีกประการหนึ่ง ปรวาที

พึงถูกถามอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทศพลญาณนั้นมีวิตกหรือมีวิจาร สักแต่ไม่มีวิตก

มีแต่วิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นโลกียะ เป็น

โลกุตตระ ดังนี้ เมื่อรู้ก็จักตอบว่า ญาณ ๗ ตามลำดับ มีวิตกมีวิจาร. จัก

ตอบว่า ญาณสองอื่นจากญาณ ๗ นั้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. จักตอบว่า

อาสวักขยญาณพึงมีวิตกมีวิจาร พึงสักว่าไม่มีวิตกมีวิจาร. จักตอบว่า ญาณ

๗ ตามลำดับอย่างนั้น เป็นกามาวจร ญาณสองจากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณหนึ่ง

สุดท้ายเป็นโลกุตตระ. จักตอบว่า ส่วนสัพพัญญุตญาณ มีวิตกมีวิจารด้วย เป็น

กามาวจรด้วย เป็นโลกิยะด้วย. บัณฑิตรู้การพรรณนาตามลำดับบทในที่นี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบทศพละเหล่านี้ว่า ได้กล่าวแล้วตามลำดับนี้

เพราะพระตถาคตทรงเห็นภาวะมีกิเลสเป็นเครื่องกั้น อันเป็นฐานะและอฐานะ

แห่งการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะและการไม่บรรลุ ของเวไนยสัตว์ ด้วยฐานา

ฐานญาณก่อนทีเดียว เพราะทรงเห็นฐานะแห่งความเห็นชอบเป็นโลกิยะ และ

ทรงเห็นความเป็นฐานะแห่งความเห็นผิดดิ่งลงไป ลำดับนั้น ทรงเห็นภาวะมี

วิบากเป็นเครื่องกั้นของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยกรรมวิปากญาณ เพราะทรง

เห็นเหตุปฏิสนธิสาม ทรงเห็นภาวะมีกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยสัพพัตถคามินี

ปฏิปทาญาณเพราะทรงเห็นความไม่มีแห่งอนันตริยกรรม ทรงเห็นจริยพิเศษ

เพื่อทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอาลัยอย่างนี้ ด้วย

อเนกธาตุนานาธาตุญาณ เพราะทรงเห็นความเป็นไปต่างๆแห่งธาตุ ลำดับนั้น

ทรงเห็นอธิมุตติของเวไนยสัตว์เหล่านั้น ด้วยนานาธิมุตติกตาญาณ เพื่อแม้ไม่

ทรงประกอบความเพียรก็ทรงแสดงพระธรรม ด้วยอำนาจแห่งอธิมุตติ ลำดับ

นั้น เพื่อทรงแสดงธรรมตามสติ ตามกำลัง แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ได้เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมทรงเห็นความที่สัตว์มีอินทรีย์หย่อนและยิ่ง ด้วยอินทริย

ปโรปริยัตติญาณ เพราะทรงเห็นความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น

เป็นธรรมชาติแก่กล้าและอ่อน ก็ถ้าความที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นมีอินทรีย์ที่

กำหนดรู้แล้วอย่างนี้หย่อนและยิ่ง ย่อมอยู่ในที่ไกล เพราะความที่เวไนยสัตว์

เป็นผู้ชำนาญในฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น แต่เข้าถึงได้รวดเร็ว ด้วย

อิทธิพิเศษนั้นเทียว และครั้นเข้าถึงแล้ว ก็เข้าถึงชั้นบุรพชาติ ของสัตว์เหล่า

นั้น ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เมื่อทรงเห็นสมบัติจิตพิเศษ ด้วยเจโต-

ปริยญาณ อันทรงบรรลุโดยอานุภาพทิพยจักษุ ชื่อว่า ทรงแสดงธรรม เพื่อ

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะความที่พระองค์ทรงปราศจากความหลุ่มหลงด้วย

ปฎิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยอานุภาพแห่งอาสวักขยญาณ.

ก็ในบทเป็นต้นว่า ต สารีปุตฺต วาจ อปฺปหาย ดังนี้ บุคคลกล่าวว่า

เราจักไม่กล่าววาจาเห็นปานนี้ ชื่อว่า ละวาจานั้น. เมื่อคิดว่า เราจักไม่ยังความ

คิดเห็นปานนี้ เกิดขึ้นอีกชื่อว่า สละความคิด. เมื่อสละว่า เราจักไม่ยึดถือ

ความเห็น เห็นปานนี้อีก ชื่อว่า สลัดความเห็น. เมื่อไม่กระทำอย่างนั้น ชื่อ

ว่า ไม่สละ ไม่สลัด. บุคคลนั้นก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

ดำรงอยู่ในนรกนั้นเทียว เหมือนถูกนายนิรยบาลทั้งหลายนำมาตั้งอยู่ในนรก.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาอันให้สำเร็จประโยชน์แก่เขา จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ

เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น พึงทราบศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะและ

โลกุตตระในบทเป็นต้นว่า สีลสมฺปนฺโน ดังนี้. ภิกษุย่อมควรแม้เพื่อจะให้

หมุนกลับด้วยอำนาจแห่งโลกุตตระนั่นเทียว. ก็ภิกษุนี้ ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วย

วาจาชอบ การงานชอบ และการเลี้ยงชีพชอบ. ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ด้วยความ

เพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ. ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยความเห็น

ชอบ และความดำริชอบ. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้นอย่างนี้นั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

กระหยิ่มอรหัต คือ ย่อมบรรลุอรหัตในทิฏฐธรรมเทียว คือในอัตภาพนี้นั้น

เทียวฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกล่าวข้ออุปไมย์นี้ คือ การณ์แม้นี้ เห็น

ปานนี้ฉันนั้น. ทรงแสดงว่า ก็ผลไม่คลายในลำดับแห่งมรรค ย่อมเกิดขึ้น

ฉันใด ปฏิสนธิในนรก ไม่คลายในลำดับแห่งจุติของบุคคลแม้นี้ ก็ย่อมมีได้

ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ขึ้นชื่อว่า อุปมาที่ตรัสให้หนักแน่นยิ่งขึ้นด้วยอุปมานี้ย่อม

ไม่มีในพุทธพจน์ทั้งสิ้น. ในบทว่า เวสารชฺชานิ ความปฏิปักษ์ต่อความ

ครั่นคร้าม ชื่อว่า เวสารัชชะ นั้นเป็นชื่อของญาณอันสำเร็จแต่โสมนัส ซึ่ง

เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาถึงความครั่นคร้ามในฐานะสี่. บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

เต ปฏิชานโต ความว่า ท่านปฎิญญาณอย่างนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งหมดเราได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว. บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความ

ว่า ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ตตฺร วต ความว่าในธรรม

ที่แสดงอย่างนี้ว่า ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว เหล่านั้นหนอ. บทว่า สห ธมฺเมน

ความว่าโดยคำที่มีเหตุมีการณ์ เหมือนสุนักขัตตะ บ่นเพ้อไม่มีประมาณฉะนั้น.

บุคคลก็ดี ธรรมก็ดี ท่านประสงค์ว่า นิมิต ในบทว่า นิมิตฺตเมต นี้. ใน

บทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นบุคคลที่ทักท้วงว่า เราไม่เห็น ธรรมที่เขา

แสดงแล้ว ทักท้วงเราว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า เขมฺป-

ปตฺโต ได้แก่ถึงความเกษม. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทนี้นั้นเทียว.

ก็บทนั้นทั้งหมด ตรัสหมายถึงเวสารัชชญาณเท่านั้น. ก็เมื่อพระทศพลไม่เห็น

บุคคลผู้ทักท้วง หรือ ธรรมอันเป็นเหตุทักท้วง ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้แล้วว่า

ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ หรือ เมื่อพิจารณาว่า เราเป็น

พระพุทธเจ้าโดยสภาพนั้นเทียว กล่าวว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ความ

โสมนัสอันมีกำลังยิ่ง ก็ย่อมเกิดขึ้น. ญาณที่สัมปยุตด้วยโสมนัสนั้น ชื่อว่า

เวสารัชชะ. ทรงหมายถึงเวสารรัชชะนั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เขมปฺปตฺโต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

ดังนี้. พึงทราบอธิบายในบททั้งปวงดังนี้. ก็ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าอันตรายิกะ

เพราะอรรถว่า ทำอันตรายในบทนี้ว่า อนฺตรายิกาธมฺมา ดังนี้. ธรรมเหล่า

นั้นโดยเนื้อความก็ได้แก่ กองอาบัติ ๗ ที่แกล้งล่วงละเมิด. จริงอยู่ กองอาบัติ

ที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรค

และผลทั้งหลายได้. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เมถุนธรรม. ก็ความปราศจาก

ความสงสัยอย่างเดียวของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เสพเมถุนย่อมเป็นอันตรายแก่

มรรคและผลทั้งหลายได้. บทว่า ยสฺส โข ปน เตสุ อตฺถาย ความว่า

เพื่อประโยชน์ใดในประโยชน์ทั้งหลายมีความสิ้นไปแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า

ธมฺโม เทสิโต ความว่า ธรรมมีการเจริญอสุภเป็นต้น อันท่านแสดงแล้ว.

บทว่า ตตฺร วต ม ได้แก่ กะเราในธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์นั้น.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทียว.

บทว่า อถโข อิเม สารีปุตฺต นี้ ทรงปรารภ เพราะเหตุอะไร.

เพราะเพื่อทรงแสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ. เหมือนอย่างพระธรรมกถึกหยั่ง

ลงสู่บุรุษผู้ฉลาดแล้ว ย่อมปรากฎเป็นผู้ฉลาด ด้วยถ้อยคำที่สามารถยังจิตของ

วิญญูชนทั้งหลายให้ยินดีฉันใด ความที่เวสารัชชญาณเป็นธรรมชาติให้แกล้ว

กล้า แม้อันบริษัท ๘ เหล่านี้อาจเพื่อรู้ได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง

แสดงกำลังแห่งเวสารัชชญาณ จึงตรัสพระดำรัสว่า อถโข อิมา สารีปุตฺต

ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ สถานที่นั่ง

ประชุมของกษัตริย์ทั้งหลาย. ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นเดียวกัน . ก็สถานที่ที่หมู่

มารทั้งหลายนั่งประชุม พึงทราบว่า มารบริษัท อนึ่ง บริษัทนั้นแม้ทั้งหมด

ของมารทั้งหลาย ไม่ได้ถือเอาด้วยสามารถแห่งการเห็นสถานที่เลิศ. เพราะ

มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่อาจเพื่อจะกล่าวแม้คำปกติว่า พระราชาประทับนั่งใน

ที่นี้ เหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออกจากรักแร้. ขัตติยบริษัทเลิศอย่างนี้. พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในเวทสาม. คหบดีทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดใน

โวหารต่าง ๆ และในการคิดอักษร. สมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาดในวาทะของ

ตนและวาทะของคนอื่น. ชื่อว่า การกล่าวธรรมกถาในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น

เป็นภาระหนักอย่างยิ่ง. แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นผู้เลิศ. เพราะครั้นแม้เพียง

กล่าวว่า อมนุษย์ สรีระทั้งสิ้นย่อมสั่น. สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูป หรือฟังเสียง

ของอมนุษย์นั้น ย่อมปราศจากสัญญาได้. บริษัทของอมนุษย์เลิศอย่างนี้. ชื่อว่า

การแสดงธรรมกถาในอมนุษย์บริษัทแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นภาระหนักมาก.

อมนุษย์บริษัทเหล่านั้น พึงทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการเห็น

ฐานะอันเลิศ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อชฺโฌคาหติ คือ ตามเข้าไป. บทว่า

อเนกสต ขตฺติยปริส คือ เช่น สมาคมพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมพระญาติ

และสมาคมเจ้าลิจฉวี. ย่อมได้ในจักรวาลแม้เหล่าอื่น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปสู่แม้จักรวาลเหล่าอื่นหรือ. เออ เสด็จ

ไป. เป็นเช่นไร. เขาเหล่านั้นเป็นเช่นใด พระองค์ก็เป็นเช่นนั้นเทียว. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็เราเข้าไปหาขัตติยบริษัท

หลายร้อย ย่อมรู้เฉพาะแล ว่า ในบริษัทนั้น พวกเขามีวรรณะเช่นใด เราก็

มีวรรณะเช่นนั้น พวกเขามีเสียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น และเราให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา และพวกเขาไม่รู้เราผู้

กล่าวอยู่ว่า ผู้กล่าวนี้เป็นใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ และครั้นให้เห็น

แจ้งแล้ว ให้สมาทานแล้ว ให้อาจหาญแล้ว ให้รื่นเริงแล้ว ด้วยธรรมีกถาก็

หายไป และพวกเขาไม่รู้เราผู้หายไปว่า ผู้ที่หายไปนี้เป็นใครหนอแล เป็นเทพ

หรือมนุษย์ ดังนี้. เหล่ากษัตริย์ทรงประดับประดาด้วยสังวาลมาลา และของ

หอมเป็นต้น ทรงผ้าหลากสี ทรงสวมกุณฑลแก้วมณี ทรงโมลี ฝ่ายพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงประดับพระองค์เช่นนั้นหรือ กษัตริย์แม้เหล่านั้นมีพระฉวีขาว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

บ้าง ดำบ้าง คล้ำบ้าง แม้พระศาสดาทรงเป็นเช่นนั้นหรือ. พระศาสดาเสด็จ

ไปด้วยเพศบรรพชิตของพระองค์เอง แต่ทรงปรากฏเป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่า

นั้น ครั้นเสด็จไปแล้วทรงแสดงพระองค์ซึ่งประทับนั่งบนพระราชอาสน์ ย่อม

เป็นเช่นกับกษัตริย์เหล่านั้นว่า ในวันนี้พระราชาของพวกเรารุ่งโรจน์ยิ่งนัก

ดังนี้. ถ้ากษัตริย์เหล่านั้น มีพระสุรเสียงแตกพร่าบ้าง ลึกบ้าง ดุจเสียงกาบ้าง

พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมด้วยเสียงแห่งพรหมนั้นเทียว ก็บทนี้ว่า เราก็มี

เสียงเช่นนั้น ตรัสหมายถึงลำดับภาษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังเสียงนั้นแล้ว

ย่อมมีความคิดว่า วันนี้ พระราชาตรัสด้วยเสียงอันอ่อนหวาน. ก็ครั้นเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไป เห็นพระราชาเสด็จมาอีก ก็เกิดการ

พิจารณาว่า บุคคลนี้ใครหนอแล. พระองค์จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า บุคคลนี้ใคร

หนอแล อยู่ในที่นี้ บัดนี้ แสดงด้วยเสียงอ่อนหวาน ด้วยภาษามคธ ด้วยภาษา

สีหล หายไป เป็นเทพหรือมนุษย์ ดังนี้. ถามว่า ทรงแสดงธรรมแก่บุคคล

ทั้งหลายผู้ไม่รู้อย่างนี้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อประโยชน์แก่วาสนา. พระองค์

ทรงแสดงมุ่งอนาคตว่า ธรรมแม้ได้ฟังอย่างนี้ ย่อมเป็นปัจจัยในอนาคตนั้น

เทียว. บทว่า สนฺนิสินฺนปุพฺพ ได้แก่ เคยร่วมนั่งประชุม. บทว่า สลฺล-

ปิตปุพฺพ คือ เคยทำการสนทนา. บทว่า สากจฺฉา ความว่า เคยเข้า

สนทนาธรรม. ก็พึงทราบการเข้าร่วมประชุม ด้วยอำนาจสมาคมมีสมาคม

โสณฑัณฑพราหมณ์ เป็นต้น และด้วยสามารถแห่งจักรวาลอื่น ด้วยบทเป็น

ต้นว่า อเนกสต พฺรหฺมณปริส.

คำว่า โยนิ ในบทนี้ว่า จตสฺโส โข อิมา สารีปุตฺต โยนิโย

เป็นชื่อของส่วนขันธ์บ้าง ของการณ์บ้าง ของทางปัสสาวะบ้าง. ส่วนของ

ขันธ์ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ขันธ์ของนาค ๔ ขันธ์ของครุฑ ๔. การณ์ ชื่อว่า

โยนิ ในบทนี้ว่า ก็การณ์นั้น เป็นภูมิแห่งการบรรลุพืชผล. ทางปัสสาวะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ชื่อว่า โยนิ ในบทนี้ว่า ก็เราไม่เรียกเปตติสมภพทางปัสสาวะว่าเป็นพราหมณ์.

ก็ในที่นี้ส่วนของขันธ์ ท่านประสงค์เอาว่า โยนิ. ในกำเนิดเหล่านั้น สัตว์ที่

เกิดในไข่ ชื่อว่า อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ชื่อว่าชลามพุชะ. สัตว์ที่เกิด

ในเหงื่อไคล ชื่อ สังเสทชะ. สัตว์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเว้นเหตุเหล่านั้น ดุจผุดขึ้น

เกิด ชื่อว่า อุปปาติกะ. บทว่า อภินิพฺภชฺช ชายนฺติ คือ ย่อมเกิดด้วย

อำนาจแห่งการทำลายแล้วออกมา. ท่านแสดงฐานะอันไม่น่าปรารถนาทั้งหลาย

ด้วยบทเป็นต้น ว่า ปูติกุณเป. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดในฐานะที่น่าปรารถนามี

เนยใส น้ำตาล น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นเหมือนกัน. เทพชั้นสูงตั้งแต่จาตุม-

มหาราชิก ในบทเป็นต้นว่า เทวา จัดเป็นอุปปาติกะเหมือนกัน . ส่วนภุมม

เทวดาทั้งหลาย มีกำเนิด ๔. บทว่า เอกจฺเจ จ มนุสฺสา ความว่า ใน

มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์บางพวกเป็นอุปปาติกะเหมือนเทวดา. แต่มนุษย์เหล่า

นั้น โดยมากเกิดจากครรภ์. ในที่นี้ แม้ที่เกิดจากไข่ ก็เหมือนภาติยเถระ ๒ รูป

ผู้เป็นบุตรของโกนตะ. แม้ที่เกิดจากเหงื่อไคล ก็มีโปกขรสาติพราหมณ์และ

พระนางปทุมวดีเทวี ที่เกิดในกลีบประทุมเป็นต้น. ในวินิปาติกะทั้งหลาย

นิชฌามเปรต และตัณหิกเปรต เป็นอุปปาติกเหมือนกัน ดุจสัตว์นรกทั้งหลาย.

ที่เหลืองมีกำเนิด ๔. ยักษ์ทั้งหลายก็ดี สัตว์ทั้งหลายมีสัตว์ ๔ เท้า นก และ

งูทั้งปวงเป็นต้น ก็ดี ทั้งหมดมีกำเนิด ๔ เหมือนวินิปาติกะเหล่านั้น

คติทั้งหลายแม้พึงไปด้วยสามารถแห่งกรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ชั่วในบทนี้

ว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ ๔ อย่างนี้แล. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า คติ มีหลาย

อย่างคือ คติคติ นิพพัตติคติ อัชฌายคติ วิภวคติ และนิปผัตติคติ ใน

คติเหล่านั้น คตินี้ว่า เราละไปสู่คติอะไร และว่า เทวดาคนธรรพ์ และ

มนุษย์ ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด ดังนี้ ชื่อว่า คติดติ. คตินี้ว่าเราไม่รู้คติ

หรืออคติของภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า นิพพัตติคติ. คตินี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ว่า ดูก่อนพรหม เรารู้ชัดคติ และรู้ชัดจุติของท่านอย่างนี้แล ชื่อว่า อัชฌา

สยคติ. คตินี้ว่า วิภวะเป็นคติธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติของพระอรหันต์

ชื่อว่า วิภวคติ. คตินี้ว่า คติมี ๒ อย่างเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ชื่อว่า

นิปผัตติคติ. ในคติเหล่านั้นท่านประสงค์เอา คติคติในที่นี้. ชื่อว่า นิรยะ

ด้วยอรรถว่า ปราศจากความยินดี ด้วยอรรถว่าไม่มีความสบายใจ ในบทเป็น

ต้นว่า นิรโย. ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะอรรถว่า เดินขวาง. กำเนิดของ

ดิรัจฉานเหล่านั้น ชื่อว่า ดิรัจฉานโยนิ. ชื่อว่า เปรตวิสัย เพราะอรรถว่า

เป็นวิสัยแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ถึงความละไปแล้ว. ชื่อว่า มนุษย์ เพราะความ

เป็นผู้มีใจสูงแล้ว. ชื่อว่า เทพ เพราะวิเคราะห์ว่า เล่นกับกามคุณ ๕ และ

อานุภาพของตน ๆ. ขันธ์ทั้งหลายพร้อมกับโอกาส ชื่อว่า นิรยะ ในบทเป็น

ต้นว่า นิรย จาห สารีปุตฺต. ในบทว่า ติรจฺฉานโยนึ จ แม้เป็นต้นก็

นัยนี้เหมือนกัน. ทรงแสดงกรรมอันเป็นไปสู่คติเท่านั้นที่ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งสอง

ว่า มคฺค ปฏิปท. บทว่า ยถา จ ปฏิปนฺโน ความว่า ดำเนินไปโดย

ทางใด โดยปฏิปทาใด เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง ๒ บทรวมเข้ากัน ย่อมปรากฏ

ชื่อว่า อบาย เพราะความเป็นที่ปราศจากความงอกงาม กล่าวคือความเจริญ

หรือ ความสุขในบทเป็นต้นว่า อปาย ดังนี้. ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถ

ว่าเป็นคติ คือ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ตกไปแห่ง

สัตว์ทั้งหลายที่ทำความชั่ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ว่า นิพฺพานฺจาห

เพื่อทรงแสดงว่า เราย่อมรู้คติคติอย่างเดียวก็หามิได้ เราย่อมรู้แม้นิพพานอัน

เป็นเครื่องสลัดออกจากคติด้วย. ท่านกล่าวอริยมรรคด้วยบทแม้ทั้งสอง คือ

มรรค และปฏิปทาในที่นี้. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอาการ

ที่เป็นไปแล้วแก่ญาณของพระองค์ในฐานะทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสว่า

อิธาห สารีปุตฺต เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตทุกฺขา คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

มีทุกข์เป็นนิจ ได้แก่มีทุกข์ชั่วนิรันดร์. บทว่า ติปฺปา คือ มาก. บทว่า

กฏุกา ได้แก่กล้าแข็ง. บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น ตรัสแล้ว เพื่อทรง

แสดงข้อเปรียบเทียบ. หลุมก็ดี กองก็ดี เรียกว่า กาสุ ในบทนั้น. ก็หลุมชื่อ

ว่า กาสุ ในคาถานี้ว่า

ดูก่อนสารถี ท่านเดือดร้อนอะไร

หนอจึงขุดหลุม ดูก่อนเพื่อน ท่านผู้อันเรา

ถามแล้วจงบอก จักทำอะไรในหลุม.

กองชื่อว่า กาสุในคาถานี้ว่า

คนทั้งหลายอื่นร้องไห้อยู่ มีตัวร้อน

รุมขุดหลุมถ่านอยู่.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาหลุม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

ว่า สาธิกโปริส ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ. ในบทนั้น หลุมนั้น ลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ

เป็นประมาณ เพราะฉะนั้น จึงเชื่อว่าลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ อธิบายว่า ลึกเกิน

กว่าห้าศอก. บทว่า ปราศจากเปลว ปราศจากควัน นั้น ตรัสเพื่อทรง

แสดงความที่ความเร่าร้อนเป็นธรรมชาติมีกำลัง. ครั้นเมื่อเปลวมีอยู่ หรือควัน

มีอยู่ ลมย่อมตั้งขึ้น เพราะเหตุนั้น ความเล่าร้อนจึงไม่มีกำลัง. บทว่า

ฆมฺมปเรโต ได้แก่ ถึงความร้อนแผดเผา. บทว่า ตสิโต ความว่า เกิด

ความทะยานอยาก. บทว่า ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า

เอกายเนน มคฺเคน ความว่า โดยทางสายเดียวซึ่งมีหนาม ต้นไม้รกชัฏชั่ว

นิรันดร์ในข้างทั้งสองที่จะพึงเดินตาม. บทว่า ปณิธาย ความว่า ชื่อว่า

ความปรารถนาในหลุมถ่านเพลิงไม่มี ทรงปรารภถึงหลุมถ่านเพลิงจึงตรัสอย่าง

นั้นเพราะความที่อิริยาบถตั้งแล้ว. การแสดงข้ออุปมาในบทว่า เอวเมว โข

นั้นมีดังนี้. ก็พึงเห็นนรกเหมือนหลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นกรรมอันเป็นเหตุเข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ถึงนรก เหมือนทางไปสู่หลุมถ่านเพลิง. พึงเห็นบุคคลผู้สะพรั่งด้วยกรรม

เหมือนคนขึ้นสู่หนทาง. พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษ

มีจักษุ. บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่หนทางเทียว ย่อมรู้ว่า บุคคลนี้ไปโดยทาง

นี้ จักตกในหลุมถ่านเพลิงฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้กรรมอย่างใดอย่าง

หนึ่งซึ่งฆ่าอายุในการฆ่าสัตว์เป็นต้นอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ทำกรรมนี้แล้ว จักตก

นรกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้นเห็นบุคคลนั้นตกลงในหลุม

ถ่านเพลิงฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังแสงสว่างให้เจริญ

แล้วว่า บุรุษนั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในที่ไหนทรงแลดูด้วยทิพยจักษุ

ย่อมเห็นบุรุษผู้เกิดแล้วในนรก ซึ่งเสวยมหาทุกข์มีการจองจำ ๕ ประการเป็น

ต้นฉันนั้นเหมือนกัน . เมื่อทรงแลดูว่า ในนรกนั้น สัตว์นั้นมีวรรณะอย่างอื่น

ในเวลาสั่งสมกรรม สัตว์ที่เกิด ในนรกมีวรรณะเป็นอย่างอื่น แม้ก็จริง ถึง

อย่างนั้น สัตว์นั้นทำกรรมนั้นแล้ว เกิดแล้วในนรกนั้น สัตว์นี้แม้ดำรงอยู่ใน

ท่ามกลางสัตว์หลายแสน เพราะฉะนั้น สัตว์นั้นเทียว ย่อมมาสู่ทาง เพราะเหตุนั้น

อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า นั้นชื่อว่า กำลังแห่งทิพยจักษุ.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๒ เพราะความเร่าร้อนในหลุมคูถ เหมือน

ในหลุมถ่านเพลิงไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เอกนุ-

ตทุกฺขา ตรัสคำว่า ทุกฺขา เป็นต้น. พึงทราบการเปรียบเทียบอุปมาโดย

นัยก่อนนั้นเที่ยวแม้ในบทนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลแม้นี้

เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง ในบรรดากำเนิดทั้งหลายมีกำเนิดช้างเป็นต้น

เสวยทุกข์มากด้วยการฆ่า การจองจำ การคร่ามา และการคร่าไปเป็นต้น.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๓ ก็บทว่า ตนุปตฺตปลาโส ได้แก่

ใบอ่อน ไม่เหมือนแผ่นหมอกเมฆ แต่บทนี้ ตรัสหมายถึงมีใบบางเบา.

บทว่า กพรจฺฉาโย ได้แก่มีเงาห่าง. บทว่า ทุกฺขพหุล ความว่า ก็ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ในเปรตวิสัยมีมาก แต่พึงเสวยสุขนิดหน่อยในบางเวลา เพราะฉะนั้น จึงตรัส

อย่างนี้. พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมาโดยนัยก่อนในที่นี้นั่นเทียว.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๔ บทว่า พหลปตฺตปลาโส ได้แก่

มีใบเนืองนิจ คือ ปกปิดด้วยใบ. บทว่า สณฺฑจฺฉาโย ความว่า มีเงาหนา

ดุจร่มหีน. บทว่า สุขพหุลา เวทนา ความว่า เวทนาในตระกูลทั้ง

หลายมีขัตติยตระกูลเป็นต้นในมนุษยโลกเป็นอันพึงทราบว่า เวทนามากด้วย

ความสุข ทรงแสดงว่า เราเห็นบุคคลนอนหรือนั่งเสวยเวทนานั้น. พึงทราบ

ข้อเปรียบเทียบอุปมาแม้นี้โดยนัยก่อนนั้นเทียว.

พึงทราบอธิบายในอุปมาข้อที่ ๕ บทว่า ปาสาโท ได้แก่ ปราสาทยาว.

บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺต ความว่า ฉาบทาข้างในและฉาบทาข้างนอก. บทว่า

ผุสิตคฺคฬ ได้แก่บานประตูหน้าต่าง ปิดสนิทดีพร้อมกับรอบวงกบ. บทว่า

โคนกตฺถโต ความว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์สีดำ ขนยาวเกินกว่าสี่นิ้ว. บทว่า

ปฏิกตฺถโต ได้แก่ลาดด้วยเครื่องลาดสีขาวอันสำเร็จแต่ขน. บทว่า ปฏลิ-

กตฺถโต คือ ลาดด้วยเครื่องลาดอันสำเร็จด้วยขนมีพื้นหนา. บทว่า กทฺทลิมิค-

ปวรปจฺจตฺถรโณ ความว่า ลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นสูง อันสำเร็จด้วยหนัง

ชะมด. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายลาดหนึ่งชะมดเบื้องบนผ้าขาวแล้วเย็บทำเครื่อง

ปูลาดนั้น. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท ความว่า มีเพดานกั้นในเบื้องบน คือมี

เพดานสีแดงกั้นไว้เบื้องบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ มีหมอน

แดงวาง ณ ข้างทั้งสองของบัลลังก์ คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนวางเท้า.

พึงทราบการเปรียบเทียบข้ออุปมา โดยนัยก่อนแม้ในที่นี้.

ก็โยชนาส่วนอื่นในบทนี้มีดังนี้. บุรุษนั้นย่อมรู้บุคคลที่ขึ้นสู่ทางนั้น

เทียวว่า บุคคลนี้ไปโดยทางนั้น ขึ้นสู่ประสาท เข้าไปยังกูฏาคาร จักนั่งหรือ

จักนอนบนบัลลังก์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้สั่งสมกุศลกรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ มีทานเป็นต้น ย่อมทรงรู้ว่า บุคคล

นี้ทำกรรมนี้แล้ว จักเกิดในเทวโลกฉันนั้นเหมือนกัน. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น

ย่อมเห็นบุคคลนั้นขึ้นสู่ปราสาทนั้นแล้ว เข้าไปสู่กุฏาคาร นั่งหรือนอนบน

บัลลังก์เสวยเวทนามีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ทรงเจริญอาโลกสัญญาว่าบุคคลนั้นทำกรรมดีนั้นแล้ว เกิดในที่ไหน

เมื่อทรงแลดูด้วยทิพย์จักษุ ย่อมทรงเห็นบุคคลนั้นเกิดในเทวโลก อันหมู่นาง

ฟ้าแวดล้อมในสวนทั้งหลาย มีนันทนวันเป็นต้น เสวยทิพย์สมบัติอยู่ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยวาร หากจะมีคำถามว่า ข้อนั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า ด้วยทิพยจักษุ แต่ตรัสว่า เราเห็นบุคคลนั้นนั่น

เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีการกำหนด. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงเห็น

บุคคลนี้ ด้วยทิพยจักษุบ้าง จักทรงรู้ด้วยเจโตปริยญาณบ้าง จักทรงรู้ด้วย

สัพพัญญุตญาณบ้าง. คำว่า เอกนฺตสุขา เวทนา นี้ โดยพยัญชนะเป็นสุข

อันเดียวกันกับสุขในเทวโลกแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โดยอรรถเป็นสุขต่างกัน

เพราะสุขในเทวโลก ไม่เป็นเอกันตสุขโดยส่วนเดียว เพราะยังมีความเร่าร้อน

มีความเร่าร้อนเพราะราคะเป็นต้น. แต่สุขในนิพพาน เป็นเอกันตสุข โดย

อาการทั้งปวง เพราะเข้าไปสงบความเร่าร้อนทั้งหมด. สุขใดที่กล่าวแม้ในข้อ

อุปมาว่า สุขโดยส่วนเดียวในปราสาท ก็สุขนั้น ชื่อว่า สุขโดยส่วนเดียว

เหมือนกัน เพราะความที่ความเร่าร้อนในทาง ยังไม่สงบ เพราะยังมีความ

หิวแผดเผา เพราะยังมีความกระหายครอบงำ. แต่ในราวป่าก็ชื่อว่า เป็นสุข

โดยส่วนเดียว โดยอาการทั้งปวง เพราะความที่มลทินคือ ธุลี อันบุคคลนั้น

ลงสู่สระโบกขรณี ลอยหมดแล้ว เพราะความที่ความเหน็ดเหนื่อยในทางสงบ

ระงับแล้ว เพราะความที่หิวกระหายทั้งหลายถูกกำจัดแล้วด้วยการกินเหง้าบัว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

และด้วยการดื่มน้ำอร่อย และเพราะความที่เขาผลัดผ้าอาบน้ำแล้ว นุ่งผ้าเนื้อ

ละเอียดนอนหนุนถึงข้าวสาร บีบผ้าอาบน้ำ วางไว้ที่หฤทัย ถูกลมอ่อน ๆ พัด

นอนหลับ. ในบทนี้ว่า เอวเมว โข มีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังนี้. พึง

เห็นอริยมรรค เหมือนสระโบกขรณี. พึงเห็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น

เหมือนทางไปสระโบกขรณี. พึงเห็นบุคคลพร้อมพรั่งด้วยการปฏิบัติ เหมือน

บุคคลขึ้นสู่ทาง พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีทิพยจักษุ เหมือนบุรุษผู้มี

จักษุ พึงเห็นนิพพาน เหมือนราวป่า บุรุษนั้นเห็นบุคคลผู้ขึ้นสู่ทางเทียว

ย่อมรู้ว่าบุคคลนี้ไปโดยทางนี้ อาบน้ำในสระโบกขรณีแล้ว จักนั่ง หรือจัก

นอน ที่โคนต้นไม้ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ทรงรู้บุคคลผู้บำเพ็ญปฏิปทา กำหนดนามรูป กระทำการกำหนด

ปัจจัย กระทำการงานด้วยวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ว่า บุคคลนี้บำเพ็ญ

ปฏิปทานี้แล้ว ยังอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เข้าถึงผลสมาบัติที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้อยู่. ในกาลส่วนอื่น บุรุษนั้น เห็น

บุคคลนั้นอาบน้ำในสระโบกขรณีนั้นแล้ว เข้าไปสู่ราวป่าแล้วนั่งหรือนอน

เสวยเวทนาอันมีความสุขโดยส่วนเดียวฉันใด ในกาลส่วนอื่น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลนั้นบำเพ็ญปฏิปทา เจริญมรรค กระทำให้แจ้งซึ่งผล

บรรลุผลสมาบัติ ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ อันถึงการนอนที่ประเสริฐ คือ

นิโรธ เสวยเวทนาอันมีสุขโดยส่วนเดียวฉันนั้นเหมือนกัน.

บทนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร อนึ่ง เราย่อมเข้าใจประพฤติพรหมจรรย์

ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้ ทรงปรารภเพราะเหตุไร. ทรงปรารภด้วยอำนาจ

การต่อเนื่องเป็นขั้นตอน. ได้ยินว่า สุนักขัตตะนี้ มีลัทธิอย่างนี้ว่า ความหมดจด

ย่อมมีด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ

เทศนานี้ เพื่อทรงแสดงแก่สุนักขัตตะนั้นว่า เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้กระทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

ทุกกรกิริยาอันประกอบด้วยองค์สี่ แล้ว บุคคลที่ชื่อว่า ทำทุกกรกิริยาเช่นกับ

เราไม่มี เมื่อความหมดจดมีด้วยการทำทุกกรกิริยา เราเองพึงเป็นพระพุทธเจ้า

ดังนี้. อนึ่ง สุนักขัตตะนี้ เลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ความที่เขาเป็นผู้

เลื่อมใสแม้นั้น พึงทราบโดยนัยอันมาแล้วในปาฏิกสูตร มีอาทิอย่างนี้ว่า

สุนักขัตตลิจฉวีบุตรได้เห็น ชีเปลือยชื่อโกรกขัตติกะ ประพฤติวัตรคลาน

เคี้ยว กินภักษาที่เขาเทลงในแผ่นดินด้วยปาก เขาครั้นเห็นแล้ว ได้มีความ

คิดนี้ว่า สมณะผู้คลาน เคี้ยว กินภักษาที่เทลงในแผ่นดินด้วยปากนั้นเทียวนี้ดี

หนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า สุนักขัตตะเลื่อมใส

ในทุกกรกิริยา ก็เราดำรงในอัตภาพหนึ่งได้การทำทุกกรกิริยาอันประกอบ

ด้วยองค์สี่แล้ว สุนักขัตตะนี้แม้เมื่อจะเลื่อมใสในการทำทุกกรกิริยา ก็ควร

เลื่อมใสในเรา เขาหามีความเลื่อมใสในเรานั้นไม่ดังนี้ ได้ทรงปรารภเทศนานี้.

ทานก็ดี ไวยาวัจจ์ก็ดี สิกขาบทก็ดี พรหมวิหารก็ดี ธรรมเทศนาก็ดี

เมถุนวิรัติก็ดี สทารสันโดษก็ดี วิริยก็ดี อุโบสถก็ดี อริยมรรคก็ดี ศาสนา

ทั้งสิ้นก็ดี อัชฌาสัยก็ดี เรียกว่า พรหมจรรย์ ในที่นี้.

ก็ ทาน เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปุณณกชาดกนี้ว่า

อะไรเป็นวัตรของท่าน ก็อะไรเป็น

พรหมจรรย์ ความสำเร็จ ความรุ่งเรือง

พละ ความเพียร และอุบัตินี้ เป็นวิบาก

ของผู้ประพฤติดีอะไร ข้าแต่ท่านผู้ประ-

เสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้า

เถิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ข้าพเจ้าและภริยาทั้งสอง เป็นผู้มี

ศรัทธาเป็นทานบดีในมนุษยโลก ในกาล

นั้น เรือนของข้าพเจ้าเป็นโรงงาน และ

สมณพราหมณีทั้งหลาย อันเราได้เลี้ยงดู

ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นั้นเป็นวัตรของ

ข้าพเจ้า ก็นั้นเป็นพรหมจรรย์ ความสำเร็จ

ความรุ่งเรือง พละ ความเพียรและอุบัตินี้

เป็นวิบากของผู้ประพฤติดีนั้น ท่านธีระ

ก็นี้เป็นมหาวิมานของข้าพเจ้า.

ไวยาวัจจ์ เรียกว่า พรหมจรรย์ ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า

ฝ่ามือของท่านให้สิ่งที่น่าปรารถนา

เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ

ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของท่าน เพราะพรหม-

จรรย์อะไร

ฝ่ามือของเราให้สิ่งที่น่าปรารถนา

เป็นที่ไหลออกแห่งวัตถุมีรสอร่อย ผลบุญ

ย่อมสำเร็จที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหม-

จรรย์นั้น.

สิกขาบทห้า เรียกว่า พรหมจรรย์ ในติตติรชาดกนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ชื่อว่า ติตติริยวัตร์นี้แล เป็นพรหมจรรย์ ดังนี้. พรหมวิหาร เรียกว่า

พรหมจรรย์ ในมหาโควินทสูตรนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ ก็พรหมจรรย์นั้นแล

ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ย่อมไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ย่อม

เป็นไปเพียงเพื่อความอุบัติในพรหมโลกเท่านั้น. ธรรมเทศนา เรียกว่า พรหม-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

จรรย์ ในบทนี้ว่า ในพรหมจรรย์หนึ่ง มีผู้ละมัจจุได้พันคน. เมถุนวิรัติ

เรียกว่า พรหมจรรย์ ในสัลเลขสูตรว่า พวกอื่นจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์

พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้. สทารสันโดษ เรียกว่า พรหม-

จรรย์ ในมหาธัมมาปาลชาดกว่า

เราไม่นอกใจภริยา และภริยาก็ไม่

ล่วงเกินเรา เราประพฤติพรหมจรรย์เว้น

ภริยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล เด็ก ๆ

ของเรา จึงไม่พึงตาย.

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด ที่รักษาแล้วด้วยอำนาจในการฝึกตน

เรียกว่า พรหมจรรย์ ในนิมิชาดก อย่างนี้ว่า

บุคคลย่อมเกิดในขัตติยะ ด้วยพรหม-

จรรย์ที่เลว และย่อมเกิดในเทพทั้งหลาย

ด้วยพรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมหมดจด

ด้วยพรหมจรรย์ชั้นสูง.

อริยมรรค เรียกว่า พรหมจรรย์ ในมหาโควินสูตรนั้นเทียวว่า ดูก่อนปัญจสิกขะ

ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความ

คลายกำหนัด ฯลฯ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้นั้นเทียว. ศาสนาทั้งสิ้น

อันสงเคราะห์เข้ากับสิกขา ๓ อย่าง เรียกว่า พรหมจรรย์ ในปาสาทิกสูตรว่า

พรหมจรรย์นี้นั้น กว้างขวาง และแพร่หลาย อันพิสดาร ชนรู้มาก เป็นปึกแผ่น

จนมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้วนั้นเทียว. อัธยาศัย เรียกว่า พรหมจรรย์

ในบทนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

อนึ่ง ความหวังในผลเทียว ย่อม

สำเร็จแก่คนผู้ไม่รีบร้อน เราเป็นผู้มี

พรหมจรรย์ สุกแล้ว ดูก่อนคามิณี ท่านจงรู้

อย่างนี้.

ก็ความเพียร ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในสูตรนี้. ก็สูตรนี้นั้นเทียว

เป็นสูตรแห่งพรหมจรรย์ คือ ความเพียร ความเพียรนี้นั้น ท่านกล่าวว่า

ประกอบด้วยองค์สี่ เพราะความที่ทุกกรกิริยา ๔ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบำเพ็ญแล้วในอัตตภาพหนึ่ง.

คำว่า สุท ในบทว่า ตปสฺสี สุท โหมิ เป็นเพียงนิบาต อธิบาย

ว่า เราเป็นผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ปรมตปสฺสี ความว่า

มีความเพียรเครื่องเผากิเลสยอดเยี่ยม คือ สูงสุดของบุคคลทั้งหลายผู้อาศัย

ความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า ลูโข สุท โหมิ ความว่า เราเป็นผู้

เศร้าหมอง. บทว่า เชคุจฺฉิ ได้แก่ ผู้เกลียดชังบาป. บทว่า ปวิวิตฺโต สุท

โหมิ ความว่า เราเป็นผู้สงัด. บทว่า ตตฺรสฺส เม อิท สารีปุตฺต

ความว่า ในพรหมจรรย์มีองค์ ๔ นั้น พรหมจรรย์นี้เป็นวัตรในความที่มี

ความเพียรเครื่องเผากิเลสของเรา ทรงแสดงว่า พรหมจรรย์นี้เป็นอันเรา

กระทำแล้วในความที่มีความเพียรเผากิเลสมีของชีเปลือยเป็นต้น ในความที่

พระองค์ทรงอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส. ในบทเหล่านั้น บทว่า อเจลโก

ได้แก่ ผู้ปราศจากผ้า คือ คนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร ได้แก่ เรามี

มารยาทสละแล้ว คือ เว้นจากมรรยาทของกุลบุตรชาวโลกในกรรมทั้งหลาย

มีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น เป็นผู้ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เคี้ยว บริโภค.

บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า ทรงแสดงว่า ครั้นเมื่อก้อนข้าวอยู่ในมือ

เราก็ใช้ลิ้นเลียมือ ครั้นถ่ายอุจจาระ เราก็เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นเทียวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

เป็นท่อนไม้ใช้มือเช็ด ดังนี้. ได้ยินว่า พวกเขาบัญญัติท่อนไม้ว่า เป็นสัตว์

เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงบำเพ็ญปฏิปทาของพวกเขา จึงทรงกระทำอย่างนั้น.

ทรงแสดงว่า ผู้อันเขากล่าวเพื่อให้รับภิกษาว่า มาเถิด ท่านก็ไม่มา เพราะ-

ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา แม้ผู้อันเขากล่าวว่า ถ้าอย่าง

นั้น จงหยุด ๆ เถิดท่าน ก็ไม่หยุด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เขาเชิญให้หยุด

ก็ไม่หยุด ก็เดียรถีย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กระทำการแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า

คำของเขาจักกระทำแล้ว แม้เราก็ได้กระทำอย่างนี้. บทว่า อภิหต ได้แก่

ภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อนแล้วนำมาให้. บทว่า อุทฺทิสฺส กต คือ ภิกษาที่

เขาบอกอย่างนี้ว่า ได้ทำเจาะจงท่านนี้. บทว่า นิมนฺตน ความว่า เราไม่

ยินดี ไม่ถือ แม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า ท่านพึงเข้าไปสู่ตระกูล ถนน

หรือบ้านชื่อโน้น. บทว่า น กุมฺภิมุขา คือ เราไม่รับภิกษาอันเขาตักจาก

หม้อให้. บทว่า น กโฬปิมุขา ความว่า หม้อข้าว หรือ ปัจฉิ ชื่อว่า

กโฬปิ เราไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า เจ้าของ

หม้อข้าว อาศัยเรา จะได้การประหารด้วยทัพพี. บทว่า น เอฬกมนฺตร

ความว่า เราไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูให้ เพราะเหตุไร เพราะว่า

บุคคลนี้อาศัยเราแล้ว ย่อมได้กระทำในระหว่าง. แม้ในท่อนไม้และสากทั้งหลาย

ก็นัยนัเเหมือนกัน. บทว่า น ทฺวินฺน ความว่า ครั้นเมื่อคนสองคน

กำลังบริโภค คนหนึ่งลุกขึ้นให้ เราก็ไม่รับ เพราะเหตุไร เพราะว่า จะมี

อันตรายจากการทะเลาะ. ก็ในบททั้งหลายมีบทว่า น คพฺภินิยา เป็นต้น

ทารกในท้องของหญิงมีครรภ์ จะลำบาก เมื่อหญิงให้ดื่มน้ำมันอยู่ ทารกก็จะ

มีอันตรายแต่น้ำนม. บทว่า ปุริสนฺตรคตาย ความว่า เราไม่รับด้วยคิดว่า

จะมีอันตรายแต่ความยินดี. บทว่า น สกิตฺตีสุ ความว่า ไม่รับภิกษาที่

นัดแนะกันทำไว้ ได้ยินว่า ในเวลาข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ก็จะชักชวนกันรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้น ๆ หุงภัตเพื่อประโยชน์แก่

อเจลกทั้งหลาย อเจลกผู้เคร่งครัดไปแล้ว ไม่รับ. บทว่า น ยตฺถ สา

ความว่า ในที่ใด สุนัขได้รับการเลี้ยงดูว่า เราจักได้ก้อนข้าว เราไม่รับภิกษา

ที่เขาไม่ให้แก่สุนัขในที่นั้นแล้วนำมา เพราะเหตุไร. เพราะว่า สุนัขนั้นจะมี

อันตรายจากก้อนข้าว. บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี ความว่า มีแมลงวันไต่ตอม

เป็นกลุ่ม ๆ ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักให้ภิกษาแก่

อเจลกนี้ เข้าไปสู่โรงครัว ก็ครั้นพวกเขาเข้าโรงครัว แมลงวันทั้งหลายที่จับ

อยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้น ก็จะบินไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ เราไม่รับภิกษาที่เขานำ

มาจากหม้อข้าวนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า แมลงวันทั้งหลายจะมีอันตราย

จากอาหาร เพราะอาศัยเรา แม้เราก็ได้ทำอย่างนั้นแล้ว. บทว่า น ถุโสทก

ความว่า น้ำที่หมักเกลือที่เขาทำด้วยข้าวหมักทั้งหมด ก็ในที่นี้ การดื่มสุรา

นั้นเทียว มีโทษ ก็คนนั้นมีความสำคัญว่ามีโทษ. ผู้ได้ภิกษาในเรือนเดียว

เท่านั้นแล้ว กลับ ชื่อว่า เอกาคาริกะ. ผู้เลี้ยงชีพด้วยภิกษาคำเดียวเท่านั้น

ชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในบททั้งหลายมี ทฺวาคาริกา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ความว่า ด้วยถาดใบน้อยหนึ่ง ถาดเล็ก ๆ ใบหนึ่ง

ซึ่งเขาใส่ภิกษาอย่างเลิศไว้ ชื่อว่า ทัตติ. บทว่า เอกาหิก ได้แก่ภิกษาที่

เก็บค้างในระหว่างหนึ่งวัน. บทว่า อฑฺฒมาสิก ได้แก่ภิกษาที่เก็บค้างใน

ระหว่างกึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชน ความว่า บริโภคภัตตวาระ คือ

บริโภคภัตที่เวียนมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ วาระหนึ่งวัน วาระสองวัน

วาระเจ็ดวัน วาระกึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข ได้แก่ มีผักดองสดเป็น

ภักษา. บทว่า สามากภกฺโข ได้แก่ มีข้าวสารแห่งข้าวฟ่างเป็นภักษา.

ข้าวเหนียวที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย ในบททั้งหลายมีนีวาราเป็นต้น.

บทว่า ททฺทุล ได้แก่ กากข้าวซึ่งเขาขัดเอาเปลือกออกหมดแล้วทิ้ง. เปลือก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

ไม้ก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีกรรณิกาเป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณ

ได้แก่ รำข้าว. บทว่า อาจาโม ได้แก่ ข้าวที่ไหม้เกรียมติดหม้อข้าว ถือ

เอาข้าวดังนั้นในที่ซึ่งเขาทิ้งแล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า น้ำข้าว

ดังนี้บ้าง. วัตถุทั้งหลายมีแป้งเป็นต้น ปรากฏแล้ว. บทว่า ปวตฺตผลโภชี

ได้แก่ บริโภคผลไม้ที่หล่นแล้ว. บทว่า สาณานิ ได้แก่ ผ้าเปลือกป่าน.

บทว่า มสาณานิ คือ ผ้าแกมกัน. บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่เขา

ทิ้งจากศพ. หรือผ้าที่เขาถักวัตถุมีหญ้าตะไคร้น้ำเป็นต้นทำเป็นผ้านุ่ง. บทว่า

ปสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าเปื้อนที่เขาทอดทิ้งในแผ่นดิน. บทว่า ติริฎานิ

ได้แก่ ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชิน คือ หนังเสือ. บทว่า อชินกฺขิป คือ

หนังเสือนั้นเอง มีทาฬิกะในท่ามกลาง บางท่านกล่าวว่า มีเล็บ ดังนี้บ้าง.

บทว่า กุสจีร คือ ผ้าที่เขาถักหญ้าคาทำเป็นผ้า. แม้ในผ้าเปลือกปอ และ

ผ้าที่ทำจากผลไม้ทั้งหลาย ก็มีนัยเช่นเดียวกัน . บทว่า เกสกมฺพล ได้แก่ ผ้า

กัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ทั้งหลาย. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงว่า ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย ผ้าบางอย่างที่เขาทอแล้ว ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์ เลวกว่าผ้าเหล่า

นั้น ในเวลาหนาวก็จะเย็น ในเวลาร้อนก็จะร้อน มีราคาน้อย มีสัมผัสหยาบ

และระเหยกลิ่นเหม็น. บทว่า วาลกมฺพล คือ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยขนม้า

เป็นต้น. บทว่า อุลูกปกฺข ได้แก่ ผ้าที่เขาถักขนปีกนกเค้าทำเป็นผ้านุ่ง.

บทว่า อุพฺภฏฺโก ได้แก่ เป็นผู้ยืนขึ้น. บทว่า อุกฺกุฎิกปฺปธานมนุ-

ยุตฺโต คือ ผู้ตามประกอบความเพียรนั่งกระโหย่ง แม้เมื่อจะเดินก็เป็นผู้กระ-

โหย่ง เหยียบพื้นไม่เต็มเท้าเดินไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า

ทรงแสดงว่า เราตอกหนามเหล็ก หรือหนามปกติในแผ่นดินแล้ว ลาดหนึ่ง

บนหนามนั้นแล้วทำกิจมีการยืนและการจงกรมเป็นต้น. บทว่า เสยฺย ความว่า

เราแม้เมื่อจะนอน ก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเทียว. บทว่า สายตติยก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

คือ วันละสามครั้ง ทรงแสดงว่า เราขวนขวายการประกอบเนืองๆ ซึ่งการลง

น้ำอยู่ว่า เราจักลอยบาปวันละสามครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น.

บทว่า เนกวสฺสคณิก ได้แก่สั่งสมในการนับด้วยปีมิใช่น้อย. บทว่า

รโชชลฺล ได้แก่ มลทินคือธุลี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกาลแห่งสมา-

ทานรโชชัสลกวัตรของพระองค์ จึงตรัสถึงมลทินคือ ธุลีนี้. บทว่า เชคุจฺ-

ฉิสฺมึ คือ ในภาวะทรงเกลียดบาป. บทว่า ยาว อุทกพินฺทุมฺหิปิ ความว่า

เราได้ตั้งความเอ็นดูแม้ในหยดน้ำ ก็จะกล่าวไปใยในก่อนกรวด ก้อนดิน ท่อน

ไม้ และทรายเป็นต้นเหล่าอื่นเล่า. ได้ยินว่า เขาเหล่านั้นบัญญัติหยดน้ำ และ

วัตถุทั้งหลายมีก้อนกรวดและก้อนดินเป็นต้นเหล่านั้นว่าเป็นสัตว์เล็กๆ. ด้วย

เหตุนั้น จึงตรัสว่า เราได้ตั้งความเอ็นดูเพียงในหยดน้ำ ดังนี้. เราไม่ฆ่า

ไม่ล้างผลาญแม้หยดน้ำ เพราะเหตุไร. เพราะเราอย่าได้ล้างผลาญสัตว์เล็ก ๆ

ที่อยู่ในที่อันไม่สม่ำเสมอเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่ล้างผลาญ คือ ฆ่าสัตว์

เล็กๆ กล่าวคือ หยดน้ำที่อยู่ในที่เสมอดุจในเนิน บนบก ปลายหญ้า และ

กิ่งไม้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงเนื้อความนั่นว่า เรามีสติก้าวไป

ข้างหน้า ดังนี้. นัยว่า ในอเจลกทั้งหลาย อเจลก ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล จำเดิม

แต่กาลแห่งตนเหยียบแผ่นดินไม่มี อเจลกทั้งหลายถึงไปสู่ภิกษาจารก็เป็น

ผู้ทุศีลไป ถึงบริโภคในเรือนอุปัฏฐากทั้งหลาย ก็เป็นผู้ทุศีลบริโภค แม้กลับ

มาก็เป็นผู้ทุศีลกลับมา. แต่ในเวลาอเจลกทั้งหลายเข้าสู่กระดานโดยแววหาง

นกยูง อธิษฐานศีลนั่งอยู่ ในเวลานั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีศีล. บทว่า วนกมฺมิก

ได้แก่ผู้เที่ยวไปในป่า เพื่อประโยชน์แก่เหง้ารากเเละผลไม้เป็นต้น. บทว่า

วเนน วน คือ จากป่าสู่ป่า. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า ปปตามิ คือ

เราไป. บทว่า อารญฺโก คือ เนื้ออยู่ประจำในป่า ทรงหมายถึงกาลแห่ง

อาชีวกของพระองค์ จึงตรัสคำนี้. นัยว่า พระโพธิสัตว์บวชเป็นอาชีวกนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

เพื่อประโยชน์แก่ทรงยึดการอยู่ป่าเป็นวัตร แม้ทรงรู้ถึงความบรรพชานั้นไม่มี

ประโยชน์แต่ก็ไม่ได้สึก เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับจาก

ฐานะที่เข้าถึงเป็นธรรมดา แต่ครั้นบวชแล้ว ก็ทรงคิดว่า ใครๆ อย่าได้เห็น

เรา แต่นั้นเทียวจึงเสด็จเข้าป่า เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ชนเหล่านั้น

อย่าได้เห็นเรา และเราก็อย่าได้เห็นชนเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า โคฏฺา ได้

แก่ ดอกโค. บทว่า ปติฏฺิตคาโว คือ เหล่าใดออกไปแล้ว. ในบท

เหล่าห็น บทว่า จตุกุณฺฑิโก ความว่า เที่ยวไป ยืนมองเห็นคนเลี้ยงโค

ออกไปพร้อมกับโคทั้งหลายแล้ว วางมือทั้งสองข้าง และเข่าทั้งสองลงบนแผ่น

ดินคลานเข้าไปอย่างนี้. บทว่า ตานิ สุท อาหาเรมิ ความว่า กากโคมัย

ของลูกโคแก่ย่อมไม่มีโอชารส เพราะฉะนั้น เว้นกากโคมัยเหล่านั้น จึงกิน

โคมัยที่มีรสโอชะของลูกโคอ่อนซึ่งยังดื่มน้ำนมเต็มท้องดีแล้ว เข้าสู่ราวป่าอีกนั้น

เทียว. ทรงหมายถึงคำนี้ จึงตรัสว่า นัยว่า เรากินโคมัยเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า

ยาว กีวญฺจ เม ความว่า มูตร และกรีสของตนของเรา ยังไม่สิ้นไปตลอด

กาลใด รอยเท้าที่ประตูของเรายังเป็นไปเพียงใด เราก็กินมูตรและกรีสนั้นเทียว

ตลอดกาลเพียงนั้น . ก็ครั้นเมื่อกาลล่วงไป ๆ เนื้อและโลหิตสิ้นไป รอยเท้าใน

ประตูหมดไป เราก็กินโคมัยของลูกโคอ่อน. บทว่า มหาวิกฏโภชนสฺมึ

ได้แก่ในโภชนะชนิดใหญ่ อธิบายว่า ในโภชนะผิดปกติ.

คำว่า ตตฺร ในบทว่า ตตฺร สุท สารีปุตฺต ภึสนกสฺส วนสณฺ

ฑสฺส ภีสนกสฺมึ โหติ เป็นคำบ่งถึงคำต้น. ศัพท์ว่า สุท เป็นนิบาตใน

คำสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นคำร้องเรียก. ก็อรรถโยชนา

ในบทนั้นมีดังนี้. บทว่า ตตฺร ความว่า เป็นความน่ากลัวแห่งราวป่าที่น่า

กลัวที่ตรัสไว้ในบทว่า ในราวป่าอันน่ากลัว แห่งใดแห่งหนึ่ง อธิบายว่า เป็น

การการทำที่น่ากลัว. เป็นอย่างไร เป็นอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

จากราคะเข้าไปสู่ป่านั้น โดยมากขนพอง ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตตฺร

เป็นสัตตมีวิภัติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. คำว่า สุ เป็นนิบาต เหมือนในคำเป็น

ต้นว่า กึสุ นาม โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา. บทว่า อิท เป็นคำแสดง

ทำเนื้อความที่ประสงค์แล้วดุจให้ประจักษ์. บทว่า สุอิท เป็น สุท พึงทราบ

การลบอิอักษร ด้วยอำนาจสนธิ ดุจในคำเป็นต้นว่า จกฺขุนฺทฺริย อิตฺถินฺทฺริย

อนญฺตญฺสฺสามีตินฺทฺริย กึสูธ วิตฺต ดังนี้. ก็โยชนา ในบทนั้น

ดังนี้. ดูก่อนสารีบุตร นี้แลเป็นความน่ากลัวแห่งแนวป่าอันน่ากลัวนั้น. บทว่า

ภึสนกตสฺมึ ความว่า ในภาวะอันน่ากลัว. พึงเห็นการลบ ต อักษรตัวหนึ่ง.

บาลีว่า ภึสนกตสฺมึเยว ดังนี้ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง ครั้นเมื่อกล่าวว่า

ภึสนกตาย เป็นอันกระทำความคลาดเคลื่อนทางลิงค์. ก็ในบทนี้ เป็นสัตต-

มีวิภัตติ ลงในอรรถว่าเครื่องหมาย. เพราะฉะนั้น พึงทราบความสัมพันธ์

อย่างนี้. นี้แลเป็นความน่ากลัว คือ มีความน่ากลัวเป็นนิมิต มีความน่ากลัว

เป็นเหตุ มีความน่ากลัวเป็นปัจจัย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไป

สู่ป่านั้น โดยมากขนพอง คือ ขนมากกว่า ย่อมพอง มีปลายตั้งขึ้นเป็นเช่น

กับเข็ม และเป็นเช่นกับหนามตั้งอยู่ ที่ไม่พองมีน้อย หรือขนของสัตว์ทั้ง

หลายมากกว่า ย่อมพอง ขนของบุรุษผู้กล้าหาญมาก มีน้อย ย่อมไม่พอง

ดังนี้. บทว่า อนฺตรฏฺกา ความว่า แปดราตรีในระหว่างสองเดือนอย่างนี้

คือ ในสุดท้ายเดือนสาม สี่ราตรี ในต้นเดือนสี่ สี่ราตรี. บทว่า อพฺโภกาเส

ความว่า พระมหาสัตว์ประทับอยู่ในกลางแจ้ง ตลอดราตรีในสมัยหิมะตก. ลำดับ

นั้น หยดหิมะทั้งหลาย ปกคลุมขุมพระโลมาทุกขุมขนของพระมหาสัตว์นั้น

ดุจแก้วมุกดา สรีระทั้งหมดเป็นเหมือนคลุมด้วยผ้าหยาบสีขาวฉะนั้น. บทว่า

ทิวา วนสณฺเฑ ความว่า ครั้นเมื่อหยดหิมะทั้งหลายไปปราศแล้ว เพราะ

สัมผัสแสงพระอาทิตย์ในกลางวัน แม้พระอัสสาสะพึงมี แต่พระมหาสัตว์นี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นอยู่ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า. แม้ในราวป่านั้น หิมะละลาย

เพราะแสงพระอาทิตย์ก็ตกลงในพระสรีระของพระโพธิสัตว์นั้นเทียว. บทว่า

ทิวา อพฺโภกาเส วิหรามิ รตฺตึ วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า พระ-

โพธิสัตว์นั้นประทับในกลางแจ้งตลอดวันในคิมหกาล. ด้วยเหตุนั้น สายพระ

เสโทจึงไหลออกจากพระกัจฉะทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น พึงมีพระอัสสา-

สะตลอดคืน ก็พระโพธิสัตว์นี้ ครั้นพระอาทิตย์อัศดงคต ก็เสด็จเข้าไปสู่ราวป่า.

ลำดับนั้น ในราวป่าที่มีไอร้อนระอุในกลางวัน อัตตภาพของพระองค์ก็เร่า

ร้อนเหมือนถูกใส่ในหลุมถ่านเพลิงฉะนั้น. บทว่า อนจฺฉริยา ได้แก่อัศจรรย์

น้อย. บทว่า ปฏิภาสิ ได้แก่ปรากฏแล้ว. บทว่า โส ตตฺโต ความว่า

ร้อนแผดเผาด้วยแสงแดดในกลางวัน ด้วยไอร้อนระอุในป่าใหญ่ในกลางคืน.

บทว่า โส สิโน ความว่า เปียกชุ่มด้วยดีด้วยหิมะในกลางคืน ด้วยน้ำหิมะ

ในกลางวัน. บทว่า ภิสนเก ได้แก่ อันให้เกิดความกลัว. บทว่า นคฺโค

ได้แก่ปราศจากผ้า ท่านแสดงว่า ก็ครั้นเมื่อมีผ้านุ่งแลผ้าห่ม หนาว หรือร้อน

ไม่พึงเบียดเบียนยิ่ง ผ้านุ่ง และผ้าห่ม แม้นั้นของเราก็ไม่มี. บทว่า น

จคฺคิมาสิโน คือ ไม่ได้ผิงแม้ไฟ. บทว่า เอสนาปสุโต ได้แก่ขวน

ขวาย คือ ประกอบเพื่อประโยชน์แก่การแสวงหาความหมดจด. บทว่า

มุนี ความว่า ในกาลนั้นพระองค์ทรงทำพระองค์เป็นมุนีแล้วตรัส. บทว่า

ฉวฏฺิกานิ ได้แก่ กระดูกทั้งหลายที่ทอดทิ้งเรี่ยราด. บทว่า อปณิธาย

คือ ทรงแสดงว่า หมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้าย่อมปรากฏฉันใด

พระองค์ทรงลาดแล้วสำเร็จการบรรทมบนกองกระดูกนั้นฉันนั้น. บทว่า

โคมณฺฑลา ได้แก่ พวกเด็กเลี้ยงโค ได้ยินว่า เด็กเหล่านั้นไปสู่สำนักของ

พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่สุเมธะ ท่านนั่งกล่าวอยู่ในที่นี้ เพราะเหตุไร.

พระโพธิสัตว์ทรงนั่งก้มพระพักตร์ ไม่ตรัส. ลำดับนั้น เด็กเลี้ยงโคเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

ล้อมพระโพธิสัตว์นั้นแล้วร้องตะโกนว่า พวกเราจักไม่ให้เพื่อให้ตรัส จึงถ่ม

น้ำลายรดพระสรีระ. พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสแม้อย่างนั้น. ลำดับนั้น พวกเด็ก

เลี้ยงโคโกรธพระโพธิสัตว์ว่า ท่านไม่ยอมกล่าว จึงถ่ายปัสสาวะรดเบื้องบน

พระโพธิสัตว์นั้น. แม้อย่างนั้น พระโพธิสัตว์ก็ไม่ตรัสเลย. แต่นั้นจึงโปรยฝุ่น

รดพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านจงพูด ท่านจงกล่าว ดังนี้. แม้อย่างนี้ พระโพธิสัตว์

ก็ไม่ตรัสนั้นเทียว. ลำดับนั้น จึงกล่าวว่า ท่านไม่พูด แล้วเอาคิ้วไม้ยอนที่ช่อง

พระกรรณทั้งสองข้างของพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงอดกลั้นทุกข

เวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ย่อมปรารถนาเหมือนคนตายว่า เราจักไม่กล่าว

คำอะไรแก่ใครเลย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็เราไม่รู้สึกว่า ยัง

จิตอันลามกให้เกิดขึ้นในพวกเด็กเหล่านั้นเลย. ดังนี้. อธิบายว่าแม้จิตชั่วอันเรา

ไม่ให้เกิดแล้วในพวกเด็กเหล่านั้น. บทว่า อุเปกฺขาวิหารสฺมึ โหติ คือ เป็น

ผู้อยู่ด้วยอุเบกขา. ก็วิหารเทียว เรียกว่า วิหารสฺมึ ก็ด้วยบทนั้นเทียว พึง

ทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า อยสุ เม แม้ในบทนี้ว่า อิทสุ เม ในที่นี้. พึง

ทราบแม้บทเห็นปานนี้แม้เหล่าอื่นโดยนัยนี้. ทรงแสดงอุเบกขาวิหารที่ทรง

บำเพ็ญแล้วตลอด ๙๑ กัปแต่นี้ ด้วยบทนี้. ทรงหมายถึงอุเบกขาวิหาร จึงตรัส

ว่า

เมื่อประสบสุข เราก็ไม่ยินดี เมื่อ

ประสบทุกข์ เราก็ไม่เสียใจ เราไม่ติดใน

สุขและทุกข์ทั้งปวง นั่นเป็นอุเบกขาบารมี

ของเรา.

บทว่า อาหาเรน สุทฺธิ คือ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้ง

หลายอาจเพื่อหมดจดด้วยอาหารนิดหน่อยบางอย่างเช่น พุทราเป็นต้น. บทว่า

เอวมาหสุ ได้แก่ พูดอย่างนี้. บทว่า โกเลหิ ได้แก่ พุทราทั้งหลาย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

โกโลทก คือ น้ำดื่มที่เขาขยำผลพุทราทั้งหลายแล้วทำ. บทว่า โกลวิกตึ

ได้แก่ ชนิดแห่งพุทรา เช่นสลัดพุทรา ขนมพุทรา และก้อนพุทราเป็นต้น.

บทว่า เอตปรโม ความว่า นั่นเป็นประมาณอย่างยิ่งของพุทรานั้น เพราะ

ฉะนั้น พุทรานั้นจึงชื่อว่า เอตปรโม มีผลใหญ่ อธิบายว่า ก็ในกาลนั้น ใน

ที่สุด ๙๑ กัป พุทราไม่ใหญ่เท่าผลมะตูมสุก และผลตาลสุก คงใหญ่เท่าพุทรา

ในบัดนี้เท่านั้น. บทว่า อธิมตฺตกสีมาน ความว่า ทรงผอมอย่างยิ่ง.

บทว่า อสีติกปพฺพานิ วา กาฬปพฺพานิ วา คือ ทรงแสดงว่า เถาวัลย์ที่มี

ข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ที่เหี่ยวแห้งในที่ต่อ ย่อมนูนขึ้นและแฟบลงใน

ท่ามกลางฉันใด อวัยวะน้อยใหญ่ของเราก็เป็นฉันนั้น. บทว่า โอฏฺปท

ความว่า เท้าอูฐ เป็นธรรมชาติลึกในท่ามกลางฉันใด ครั้นเมื่อเนื้อและเลือด

เหือดแห้ง ตะโพกของพระโพธิสัตว์ก็ลึกในท่ามกลาง เพราะความที่วัจจทวาร

เข้าไปในภายในฉันนั้นเหมือนกัน. ทีนั้น สถานที่นั่งในแผ่นดินของพระโพธิสัตว์

นั้น ก็จะนูนขึ้นในท่ามกลาง เหมือนประทับด้วยกระบอกลูกศร. บทว่า วฏฺฏนา-

วลี ความว่า เถาสะบ้าที่เขาฟันทำเป็นเชือกก็จะแฟบในระหว่าง ๆ แห่งเถา

สะบ้า จะนูนขึ้นในที่เป็นเกลียวฉันใด กระดูกสันหลังนูนขึ้นเป็นปุ่ม ๆ ฉันนั้น.

บทว่า ชรสาลาย โคปานสิโย ได้แก่ กลอนแห่งศาลาเก่า. กลอนเหล่า

นั้นหลุดจากโครงแล้วตั้งอยู่ในบริเวณ กลอนที่อยู่ในบริเวณก็จะหลุดอยู่ในที่

พื้นดิน เพราะฉะนั้น ก็จะเหลื่อมขึ้นและเหลื่อมลง คือ ตัวหนึ่งอยู่บน

ตัวหนึ่งอยู่ข้างล่าง ก็กระดูกซี่โครงของพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอย่างนั้น. เพราะ

ครั้นพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง พระโพธิสัตว์นั้นก็มีพระจัมมะ

โดยระหว่างกระดูกซี่โครง เหลื่อมลง ทรงหมายถึงกระดูกซี่โครงนั้น

จึงตรัสบทนี้. บทว่า โอกฺขายิกา ได้แก่ ลึกเข้าไปในเบื้องล่าง. นัยว่า

ครั้นเมื่อพระโลหิตขาด พระมังสะเหี่ยวแห้ง เบ้าตาของพระโพธิสัตว์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ก็ลึกจดมันสมอง เพราะเหตุนั้น ดวงตาของพระโพธิสัตว์นั้นจึงเป็นอย่างนั้น.

บทว่า อามกจฺฉินฺโน ได้แก่ ตัดแล้วในเวลายังอ่อน. ก็น้ำเต้าขมนั้นสัมผัส

กับลมและแดดย่อมเหี่ยวแห้ง. บทว่า ยาวสฺสุ เม สารีปุตฺต ความว่า

ดูก่อนสารีบุตร ผิวหนังท้องของเราเหี่ยวติดกระดูกสันหลัง. อีกประการหนึ่ง

พึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร การบำเพ็ญทุกกรกิริยา

ของเรา ยังเป็นภาระหนักเพียงใด ผิวหนังท้องของเราก็เหี่ยวติดกระดูกสันหลัง

เพียงนั้น. บทว่า ปิฏฺิกณฺฏกญฺเว ปริคฺคณฺหามิ ความว่า เราคิดว่า

จะจับผิวหนังท้อง ลูบคลำผิวหนังท้องอย่างเดียว ก็คลำถูกกระดูกสันหลังที

เดียว. บทว่า อวกุชฺโช ปปตามิ ความว่า เมื่อพระองค์นั้นนั่งเพื่อประโยชน์

แก่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออกเลย แต่วัจจะมีเพียงเม็ดตุมกา ๑-๒

ก้อน ก็ยังทุกข์อันมีกำลังให้เกิดขึ้น เหงื่อทั้งหลายก็ไหลออกจากสรีระ. พระองค์

ก็ชวนล้มลงในพื้นดินในที่นั้นเอง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราชวนล้ม ดัง

นี้. บทว่า ตเมว กาย ได้แก่ กายที่สุดใน ๙๑ กัป. ก็ทรงหมายถึงกาย

ในภพสุดท้ายในมหาสัจจกสูตร จึงตรัสว่า อิมเมว กาย ดังนี้. บทว่า

ปูติมูลานิ ความว่า เมื่อพระมังสะ หรือพระโลหิตยังมีอยู่ พระโลมาทั้งหลาย

ก็ตั้งอยู่ได้ แต่ในเพราะไม่มีพระมังสะพระโลหิตนั้น พระโลมาทั้งหลายดุจติด

อยู่ในเเผ่นหนึ่ง ก็หลุดติดพระหัตถ์ด้วย ทรงหมายถึงอาการนั้น จึงตรัสว่า

ขนทั้งหลายมีรากอันเน่าก็หลุดจากกายดังนี้. บทว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสส

ได้แก่ โลกุตตรมรรคอันสามารถเพื่อการทำความเป็นอริยะได้. บทว่า อิมิสสฺ-

สาเยว อริยาย ปญฺาย ความว่า เพราะไม่บรรลุวิปัสสนาปัญญา. บทว่า

ยาย อริยา ได้แก่ บรรลุมรรคปัญญานี้ใด. ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ชื่อว่า

บรรลุมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาได้บรรลุแล้วในบัดนี้ฉันใด

เราไม่บรรลุโลกุตตรมรรคปัญญา เพราะความที่วิปัสสนาปัญญาไม่ได้บรรลุแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

ในที่สุด ๙๑ กัป ฉันนั้น. ส่วนมัชฌิมภาณกเถระกล่าวว่า ปัญญาที่กล่าวว่า

อิมิสฺสาเยว ก็ดี ปัญญาที่กล่าวว่า ยาย อริยา ก็ดี คือ มรรคปัญญานั้น

เทียว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะมัชฌิมภาณกเถระนั้นว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า เราไม่ได้บรรลุมรรคเพราะความที่มรรคได้

บรรลุแล้วนี้ ท่านได้กล่าวแล้ว. พระเถระตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราไม่อาจเพื่อ

แสดงก็จริง แต่ปัญญาแม้สองอย่างนั้น คือ มรรคปัญญานั้นเทียว. ก็คำนั้น

เทียวสมควรแล้วในที่นี้. ก็โดยประการนี้ นิทเทสว่า ยา อย ก็ไม่สมควร.

บทว่า สสาเรน สุทฺธิ คือ กล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวมาก

ย่อมหมดจด. บทว่า อุปปตฺติยา สุทฺธิ ได้แก่กล่าวว่า เกิดขึ้นมาก ย่อมหมด

จด. บทว่า อาวาเสน สุทฺธิ คือกล่าวว่าอยู่ในที่ทั้งหลายมาก ย่อมหมดจด.

ท่านกล่าวถึงขันธ์ทั้งหลายนั้นเทียวในฐานะแม้สามว่า สังสารด้วยสามารถผู้ท่อง

เทียว อุบัติด้วยสามารถผู้เกิด อาวาสด้วยสามารถผู้อยู่. บทว่า ยญฺเน

ได้แก่ กล่าวว่า บูชายัญมากย่อมหมดจด. บทว่า มุทฺธาวสิตฺเตน ความว่า

อภิเษกเป็นกษัตริย์ ด้วยสังข์สาม. บทว่า อคฺคิปาริจริยาย ได้แก่ กล่าวว่า

ย่อมหมดจดด้วยการบำเรอไฟมาก. บทว่า ทหโร คือ หนุ่ม. บทว่า ยุวา ได้แก่

ถึงพร้อมด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า สุสุกาฬเกโส คือ มีผมดำสนิท. บทว่า

ปญฺาเวยฺยตฺติเยน ได้แก่ ความเป็นผู้มีสัญญาเฉียบแหลม. บทว่า ชิณฺโณ

คือ ผู้อันชราครอบงำ. บทว่า วุฑฺโฒ ได้แก่มีอวัยวะน้อยใหญ่เจริญเต็มที่

แล้ว. บทว่า มหลฺลโก คือ ผู้ใหญ่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคโต ได้แก่

ถึงกาลมาก คือ ผ่านกาลนาน. บทว่า วโย อนฺปฺปตฺโต ความว่า ผ่าน

ปัจฉิมวัยอันเป็นส่วนที่สามแห่งร้อยปี. บทว่า อสีติโก เม วโย วตฺตติ

ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้ในปีแห่งปรินิพพาน เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ปรมาย คือ อุดม. ย่อมกล่าวถึงร้อยบทบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

พันบทบ้างในบทว่า สติยา เป็นต้น ความเป็นผู้สามารถเรียนชื่อว่า สติ.

ความเป็นผู้สามารถทรงไว้และผูกไว้ ชื่อว่า คติ. ความเพียรที่สามารถเพื่อ

ทำการสาธยายที่เรียนแล้ว ทรงจำแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า ธิติ. ความเป็นผู้

สามารถเห็นเนื้อความและการณ์แห่งธิตินั้น ชื่อว่า ปัญญาเวยยัตติยะ. บทว่า

ทฬฺหธมฺโม ธนุคฺคโห ความว่า นักธนูยืนจับธนู มั่นคง. กำลังสองพัน

เรียกชื่อว่า ทัฬหธนู ธนูใดที่ยกขึ้นแล้ว มีสายผูก มีความหนักเท่าท่อนเหล็ก

เป็นต้น จับคันยกขึ้นพ้นจากดิน ประมาณคอ ธนูนั้น ชื่อว่า มีกำลังสองพัน.

บทว่า สิกฺขิโต ความว่า มีศิลปะที่เรียนแล้วในตระกูลอาจารย์ถึงสิบสองปี.

บทว่า กตหตฺโถ ความว่า บางคนเรียนเพียงศิลปะเท่านั้น ไม่ได้รับการ

ฝึกหัด แต่นายธนูนี้ได้รับการฝึกหัดแล้วชำช่อง ชำนิชำนาญ เคยแสดงฝีมือ

มาแล้ว คือ มีศิลปะที่ได้แสดงแล้วในที่ทั้งหลายมีราชตระกูลเป็นต้น. บทว่า

ลหุเกน อสเนน ความว่า ด้วยลูกศรขนาดเบา ซึ่งบริกรรมด้วยครั่งที่ทำร่อง

ไว้ภายในทำให้เต็มสายเป็นต้น ก็ลูกศรที่ทำอย่างนี้ ผ่านโคอสุภหนึ่งตัว ทะลุ

โคอสุภสองตัวได้ ศรที่ผ่านโคอสุภแปดตัวทะลุโคอสุภสิบหกตัวได้. บทว่า

อปฺปกสิเรน ได้แก่โดยไม่ยาก บทว่า อติปาเตยฺย คือ พึงให้ทะลุ.

บทว่า เอว อธิมตฺตสติมนฺโต ความว่า นักธนูนั้นย่อมยิงเงาหนึ่งคืบสี่นิ้ว

ได้รวดเร็วฉันใด สามารถเพื่อเรียน เพื่อทรงจำ เพื่อสาธยาย ร้อยบทบ้าง

พันบทบ้าง และเพื่อใคร่ครวญเนื้อความและเหตุทั้งหลายได้ฉันนั้น. บทว่า

อญฺตฺร อสิตปีตขายิตสายิตา ความว่า ก็กิจทั้งหลายมีการกินและการดื่ม

เป็นต้น เป็นกิจอันพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ภิกษุทั้งหลายก็ดี พึงทำ เพราะ

ฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า เว้นเวลาสักว่าทำกิจทั้งหลายมีการกินและการดื่มเป็น

ต้นนั้น. บทว่า อปริยาทินฺนาเยว ความว่า อันไม่รู้จักจบสิ้น. ก็ถ้าภิกษุ

รูปหนึ่งถามกายานุปัสสนา อีกรูปถามเวทนานุปัสสนา อีกรูปถาม จิตตานุ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

ปัสสนา อีกรูปถามธัมมานุปัสสนา ภิกษุแต่ละรูปย่อมไม่มองดูกัน ว่า

เราถูกภิกษุนี้ถามแล้วก็จักถาม. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น วาระของภิกษุ

เหล่านั้น ย่อมปรากฏ. แต่วาระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏอย่าง

นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายานุปัสสนาโดยสิบสี่วิธี เวทนานุปัสสนาโดย

เก้าวิธี จิตตานุปัสสนาโดยสิบหกวิธี ธัมมานุปัสสนาโดยห้าวิธี ก่อนกว่าการ

ยิงเงาหนึ่งคืบสี่นิ้วอย่างรวดเร็วเสียอีก. สติปัฏฐาน ๔ นั้น จงยกไว้ก่อน. ก็

ถ้าภิกษุสี่รูปอื่นพึงถามปัญหาในสัมมัปปธานทั้งหลาย อีกพวกหนึ่งถามปัญหาใน

อิทธิบาท อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในอินทรีย์ห้า อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหา

ในพละห้า อีกพวกหนึ่งพึงถามปัญหาในโพชฌงค์เจ็ด อีกพวกหนึ่งพึงถาม

ปัญหาในองค์มรรคแปดไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้.

อนึ่ง องค์มรรคแปดนั่นจงยกไว้. ถ้าชน ๓๗ คนอื่น พึงถามปัญหาในโพธิปัก-

ขิยธรรมทั้งหลายไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัสปัญหาแม้นั้นได้ก่อนทีเดียว.

เพราะเหตุไร. เพราะมหาชนชาวโลกย่อมกล่าวได้บทหนึ่งโดยประมาณเท่าใด

พระอานนทเถระย่อมกล่าวได้แปดบทโดยประมาณเท่านั้น. ก็ครั้นเมื่อพระ

อานนทเถระกล่าวได้บทเดียวเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสได้สิบหกบท.

เพราะเหตุไร. เพราะพระชิวหาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอ่อน ไรพระทนต์เรียบ

สนิท พระวจนะไม่ติดขัด ภวังคปริวาสเบา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมเทศนาของตถาคตนั้น จึงไม่รู้จักจบสิ้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมเทสนา ได้แก่ วางระเบียบแบบแผน. บทว่า

ธมฺมปทพฺยญฺชน ความว่า บทพยัญชนะแห่งบาลี คืออักษรอันเป็นตัว

พยัญชนะแห่งอรรถนั้น ๆ. บทว่า ปญฺหปฏิภาน ได้แก่ ปัญหาพยากรณ์.

ทรงแสดงอะไรด้วยบทนี้. ทรงแสดงอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเวลายังหนุ่ม ตถาคต

ย่อมอาจเพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบทได้ ย่อมอาจเพื่อประมวลบท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

ทั้งหลายกล่าวเป็นคาถาได้ ย่อมอาจเพื่อกล่าวอรรถะ ด้วยคาถาอันประกอบ

ด้วยบท มีสี่อักษรบ้าง มีสิบหกอักษรบ้าง แต่ในเวลาแก่ ณ บัดนี้ ไม่อาจ

เพื่อประมวลอักษรทั้งหลายกล่าวเป็นบท หรือประมวลบททั้งหลาย กล่าวเป็น

คาถา หรือกล่าวอรรถะด้วยคาถาได้ ดังกล่าวมานี้ย่อมไม่มี ในเวลาหนุ่ม

และในเวลาแก่ ธรรมเทศนาเป็นต้นทั้งหมดนั้นของตถาคตไม่รู้จักจบสิ้น. บทว่า

มญฺจเกน เจ ม ความว่า ทรงกำหนดบทนี้แล้วตรัส เพื่อทรงแสดงกำลัง

ของพระพุทธเจ้านั้นเอง. ก็ชื่อว่ากาลในการยกพระทศพลขึ้นสู่เตียงน้อยแล้ว

บริหารทั่ว คาม นิคม และราชธานี ไม่มี. ก็พระตาถาคตทั้งหลายผู้อัน

ลักษณะมี ฟันหลุด เป็นต้น ไม่ครอบงำแล้วในส่วนแห่งอายุที่ห้า เมื่อ

ความเปลี่ยนแปลงทางวรรณะของสรีระอันมีวรรณะดุจทองไม่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม

ปรินิพพานในกาลเป็นที่รักเป็นที่ชอบของเทวดาแสะมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว.

บทว่า นาคสมาโล เป็นชื่อของพระเถระนั้น. ก็ในปฐมโพธิกาลระหว่าง

ภายใน ๒๐ ปี พระนาคสมาละแม้นี้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือน

พระอุปวานเถระ พระนาคิตเถระและพระเมฆิยเถระ. บทว่า วีชยมาโน คือ

ยังความสุขในฤดูให้ตั้งขึ้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยลมจากพัดใบตาลอันอ่อน.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระเถระฟังพระสูตรทั้งสิ้นจบแล้ว อาศัยการบำเพ็ญ

ทุกกรกิริยา ซึ่งเคยบำเพ็ญแล้วในกาลก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลื่อมใสแล้ว

จึงกราบทูลคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นอัศจรรย์ ดังนี้. ในบท

นั้น ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแล้วเพื่อปรบมือ. ชื่อว่า อภูตะ เพราะ

ไม่เคยมีกลับมีแล้ว. พระเถระแสดงความแปลกประหลาดของตนเทียว ด้วยบท

แม้ทั้งสอง. กราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ด้วยความประสงค์ว่า ธรรมปริยายนี้ดีหนอ เอาเถิด เราจักทูลขอพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าให้ทรงระบุชื่อธรรมปริยายนี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

ระบุชื่อธรรมปริยายนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมา ติห ตฺว เป็นต้น. เนื้อความแห่ง

ธรรมปริยายนั้นว่า ขนทั้งหลายของเธอพองขึ้น เพราะฟังพระสูตรนี้ เพราะ

เหตุนั้นแล นาคสมาละ เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ว่า โลมหังสนปริยาย

ดังนี้แล.

จบอรรถกถามหาสีหนาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

๓. มหาทุกขักขันธสูตร

[๑๙๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูป

ด้วยกัน ในตอนเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร

สาวัตถี. ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความคิดร่วมกันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไป

บิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวก

ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด ดังนี้แล้ว. ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่า

นั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง. พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ได้กล่าวกะพวกภิกษุผู้นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควร

กำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณ

โคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้

รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็

บัญญัติข้อกำหนดรู้เวทนาได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่า

เป็นข้อวิเศษ เป็นผลที่มุ่งหมาย หรือกระทำให้ต่างกันระหว่างพระสมณโคดม

กับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรมกับการแสดงธรรม อนุสาสนีกับอนุสาสนี.

พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น

กล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่ง

ภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

วาทะอัญญเดียรถีย์

[๑๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนคร

สาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เช้าวันนี้ พวกข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี พวกข้าพระองค์ต่างมีความคิดร่วม

กันว่า ยังเช้าอยู่นัก อย่าเพิ่งเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีเลย ทางที่ดี

พวกเราควรเข้าไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เถิด. พวกข้าพระ-

องค์ต่างก็มุ่งตรงไปยังอารามของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ครั้นแล้วได้สนทนา

ปราศรัยกับพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์

เหล่านั้นได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนผู้มี

อายุทั้งหลาย พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ แม้พวกข้าพเจ้า

ก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้กามได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้

แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้รูปได้ พระสมณโคดมบัญญัติข้อควร

รู้กำหนดเวทนาได้ แม้พวกข้าพเจ้าก็บัญญัติข้อควรกำหนดรู้เวทนาได้ ดูก่อน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ อะไรเล่าเป็นข้อวิเศษ เช่นผลที่มุ่งหมาย หรือ

กระทำให้ต่างกัน ระหว่างพระสมณโคดมกับพวกข้าพเจ้า เช่นการแสดงธรรม

กับการแสดงธรรม อนุสาสนีกับอนุสาสนี. พวกข้าพระองค์ไม่ยินดีไม่คัดค้าน

คำที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นกล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไป

ด้วยคิดว่า เราจักทราบข้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

[๑๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกปริพา-

ชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย

อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย อะไร

เป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลาย. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถูกพวกเธอถามอย่างนี้ จักไม่พอ

ใจเลย และจักต้องคับแค้นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะข้อนั้นมิใช่

วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นผู้ที่จะพึงยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์

ปัญหาเหล่านี้ ในโลกเป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

เป็นไปกับด้วยสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เว้นไว้แต่ตถาคต หรือ

สาวกของตถาคต หรือมิฉะนั้นก็ฟังจากนี้.

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่พึง

รู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต. . .กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วย

ฆานะ. . .รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล. ความสุข ความโสมนัส

ใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

โทษของกาม

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย.

กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

คะแนนก็ดี ด้วยการคำนวนก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วย

การค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษ

ก็ดี ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตราก

ตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์

เลื้อยคลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า ก็เป็น

โทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น

ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่า

นั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความ

หลงเลือนว่าความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็น

กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ

แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้

โภคะเหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะ

เหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่า

นั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาท

อัปรีย์พึงนำไปไม่ได้. เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา

ทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสีย

ก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก

รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเล่าเคยเป็นของเรา

แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าเป็นโทษของกาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกาม

เป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า

มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลาย

ก็วิวาทกันกับพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวก

พราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี

แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร

แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชาย

ก็วิวาทกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย

ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้น ๆ ทำร้ายซึ่งกัน

และกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง

ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า

ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกาม

เป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า

มีกามเป็นด้วยบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและ

โล่สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ฝ่าย เมื่อลูกศรทั้งหลาย

ถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกวัดแกว่งอยู่

บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบ

ตัดศีรษะเสียบ้างในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็น

กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ

แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้น

เค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและ

โล่สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปลือกตมร้อน เมื่อลูกศร

ถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง ชนเหล่านั้น

ต่างถูกลูกศรเสียบบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้ายโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับด้วย

คราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง

ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย

เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ

เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น

ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่

ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำให้เป็นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักทางบ้าง

สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลายจับคนนั้น ๆ ได้แล้ว ให้กระทำกรรม

กรณ์ต่าง ๆ เฆียนด้วยแซ่บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง ตัดมือ

เสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง ตัดจมูกเสีย

บ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกเสียบ้าง กระทำกรรมกรณ์ ชื่อพิลังคถาลิกะ [หม้อเคี่ยว

น้ำส้ม] บ้าง ชื่อสังขมุณฑกะ [ขอดสังข์] บ้าง ชื่อราหูมุข [ปากราหู]

บ้าง ชื่อโชติมาลิกะ [พุ่มเพลิง] บ้าง ชื่อหัตถปัชโชติกะ [มือไฟ] บ้าง ชื่อ

เอรกวัตติกะ [นุ่งหนังช้าง] บ้าง ชื่อจีรกวาสิกะ [นุ่งสาหร่าย] บ้าง ชื่อเอ-

เณยยกะ [ยืนกวาง] บ้าง ชื่อพลิสมังสิกะ [กระชากเนื้อด้วยเบ็ด] บ้าง

ชื่อกหาปณกะ [ควักเนื้อทีละกหาปณะ] บ้าง ชื่อขาราปฏิจฉกะ [แปรงแสบ]

บ้าง ชื่อปลิฆปริวัตตีกะ [วนลิ่ม] บ้าง ชื่อปลาลปีฐกะ [ตั่งฟาง] บ้าง

รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกินบ้าง เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง ใช้ดาบตัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกัน

อยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่ง

กามทั้งหลายทั้งนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้น

เค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล ฝูงชนต่างประ

พฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกาย

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกาม

ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มี

กามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในกามทั้งหลาย การละฉันทราคะใน

กามทั้งหลายใดเล่า นี้เป็นการถ่ายถอนกามทั้งหลาย.

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง

ไม่รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลายโดยความเป็น

โทษและการถ่ายถอนกามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้

ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือจักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองหรือว่า

จักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลายได้ ข้อนี้

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งรู้ชัดคุณของกามทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษขอกามทั้งหลายโดยความ

เป็นโทษและการถ่ายถอนกามทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าว

นี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแล จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

จักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลายได้ ข้อนี้

เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นคุณของรูปทั้งหลาย ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์ หรือ

เผ่าคฤหบดี มีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ ๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป

ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ในสมัยนั้น นางคนนั้นงดงามเปล่งปลั่ง เป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่ พวก

ภิกษุพากันกราบทูลว่าเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุข

ความโสมนัสอันใดแล ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณ

ของรูปทั้งหลาย.

โทษของรูป

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของรูปทั้งหลาย. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น

มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอน

เรือนร่างคดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินไปกระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์

ไปแล้ว มีพันหลุด ผมหงอก. ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัวตกกระ.

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจักสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความ

เปล่งปลั่งที่มิในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นสาวคนนั้นแหละ

มีอาพาธ มีทุกข์ เจ็บหนัก นอนจมกองมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้น

อย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏ

แล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า

พระ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้น

แหละเป็นซากศพ ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี

ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพองก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่ง-

ปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้น

แหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกิน

บ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง ฝูงสุนัขรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุม

กันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่าง ๆ รุนกันกัดกินบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้น

หายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้น

แหละเป็นซากศพถูกทิ้งในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

เอ็นยืดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ปราศจากเนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ

มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อเเละเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ เป็นแต่กระดูก

ปราศจากเอ็นยึดกระจัดกระจายไปในทิศน้อยใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง

กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอว

ทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอก

ทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทางหนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง

กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกระโหลกทางหนึ่ง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มี

ในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ

เป็นซากศพถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับ

สีสังข์ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปี เรียงรายเป็นหย่อม ๆ ฯลฯ เหลือแต่

กระดูกผุแหลกยุ่ย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความ

งดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ.

ภิกษุ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้เล่า ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในรูปทั้งหลาย การละฉันทราคะใน

รูปทั้งหลายใด นี้เป็นการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

การกำหนดรู้รูป

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง

ไม่รู้ชัดคุณของรูปทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลายโดยความเป็นโทษ

และการถ่ายถอนรูปทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้

ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือจักรอบรู้รูปทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่า

จักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของรูปทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลายโดยความ

เป็นโทษ และการถ่ายถอนรูปทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่

กล่าวนี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นแหละ จักรอบรู้รูปทั้งหลายด้วยตนเอง

ได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รปทั้งหลายได้.

ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของเวทนาทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ในสมัยใด

ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ

และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตนบ้าง ย่อมไม่คิด

เพื่อจะทำลายผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายทั้งสองฝ่ายบ้าง ในสมัยนั้น

ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ย่อมกล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. ในสมัยใด ภิกษุบรรลุทุติย-

ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตนบ้าง

ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยที่เดียว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็น

อย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวว่า มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. ในสมัยใด ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ-

สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ

ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา

อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณแห่งเวทนา

ทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ในสมัยใด ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น

ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตนบ้าง ไม่คิดเพื่อทำลายผู้อื่นบ้าง ไม่คิดเพื่อทำลาย

ทั้งสองบ้าง ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลาย ว่ามีความไม่เบียดเบียน

เป็นอย่างยิ่ง.

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น

ธรรมดานี้เป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนเวทนา

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะในเวทนา

ทั้งหลายเสียได้ นี้เป็นการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลาย.

การกำหนดรู้เวทนา

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง

ไม่รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลายโดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลายโดยความ

เป็นโทษและการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่

กล่าวมานี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นหรือจักรอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วย

ตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้เวทนาทั้งหลาย

ได้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลายโดยความเป็นคุณ โทษของ

เวทนาทั้งหลายโดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนเวทนาทั้งหลายโดยความเป็น

การถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ตามความเป็นจริง พวกเหล่านั้นแหละ จักรอบรู้

เวทนาทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติ

แล้ว จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาทุกขักขันธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

อรรถกถามหาทุกขักขันธสูตร

มหาทุกขักขันธสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-

ในมหาทุกขักขันธสูตรนั้น ในวินัยปริยาย ชน ๓ คน เรียกว่า

สัมพหุลา มากกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์. ในสุตตันตปริยาย ชน ๓ คน คงเป็น

๓ นั้นเทียว เกินกว่า ๓ นั้น เรียกว่า สัมพหุลา. พึงทราบสัมพหุลาโดยสุต-

ตันตปริยายในสูตรนี้. บทว่า ปิณฺฑาย ปวิสึสุ ได้แก่เข้าไปแล้ว. ก็ภิกษุ

เหล่านั้น ไม่ได้เข้าไปแล้วก่อนด้วยคิดว่า พวกเราจักเข้าไป แต่เมื่อออกมาจึง

กล่าวว่า ปวิสึสุ. เหมือนอย่างใด. เหมือนอย่างบุรุษผู้ออกไปว่า เราจักไป

สู้บ้านแม้ไม่ถึงบ้านนั้น ครั้นเขากล่าวว่า บุรุษชื่อนี้ไปไหน เรียกว่า ไปสู่

บ้านแล้วฉันใด ภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น. บทว่า ปริพฺพาชกาน อาราโม

ความว่า มีอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกในที่ไม่ไกลจากพระเชตวัน

หมายถึงอารามนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สมโณ อาวุโส ความว่า

ดูก่อนผู้มีอายุ พระสมณโคดมพระศาสดาของพวกท่าน. บทว่า กามาน ปริญฺ

ความว่าพระสมณโคดมทรงบัญญัติการละ คือการก้าวล่วงกามทั้งหลาย. แม้ใน

รูปเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ในข้อนั้น พวกเดียรถีย์ผู้รู้ลัทธิของตน

พึงบัญญัติความรอบรู้กามทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงปฐมฌาน พึงบัญญัติความรอบ

รู้รูปทั้งหลาย เมื่อกล่าวถึงอรูปภพ พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนา เมื่อกล่าวถึง

อสัญญิภพ ก็พึงบัญญัติความรอบรู้เวทนาทั้งหลาย. แต่เดียรถีย์เหล่านั้น

ย่อมไม่รู้ว่านี้ปฐมฌาน นี้รูปภพ นี้อรูปภพ เมื่อไม่อาจบัญญัติ จึงพูดว่า

พวกเราจะบัญญัติ ๆ อย่างเดียว. พระตถาคตทรงบัญญัติความรอบรู้กามทั้ง

หลาย ด้วยอนาคามิมรรค ทรงบัญญัติความรอบรู้รูปและเวทนาทั้งหลาย ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

อรหัตมรรค. เดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อมีข้อแปลกกันอย่างนี้ จึงกล่าวว่า อิธ

โน อาวุโส โก วิเสโส ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ

คือในการบัญญัตินี้ หรือในการแสดงธรรมนี้. บทว่า ธมฺมเทสน ความว่า

เดียรถีย์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านกล่าวข้อกระทำให้ต่างกัน ปรารภธรรม

เทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือปรารภธรรมเทศนา

ของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนาของพวกเรานี้ใด นั้นชื่ออะไรเล่า. แม้ใน

บทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. เดียรถีย์เหล่านั้น ตั้งธุระเสมอกันด้วยเหตุสักว่ากล่าว

ลัทธิของตนกับศาสนา เหมือนทองคำแตกในท่ามกลางด้วยประการฉะนี้. บทว่า

เนว อภินนฺทึสุ คือ ไม่ยอมรับว่า คำนั้นเป็นอย่างนั้นเทียว. บทว่า

นปฺปฏิกฺโกสึสุ ได้แก่ไม่ปฏิเสธว่า คำนั่นไม่เป็นอย่างนี้. เพราะเหตุไร.

ได้ยินว่า ธรรมดาเดียรถีย์เหล่านั้น เป็นเช่นคนตาบอด รู้แล้วก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม

ก็พึงกล่าว เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ยินดี. ไม่คัดค้านว่า กลิ่นของ

ศาสนามีนิดหน่อย ด้วยคำว่า ปริญฺ. ได้ทำทั้งสองอย่างด้วยคิดว่า

เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นชาวชนบท ไม่ฉลาดพอในลัทธิของตนและลัทธิอื่น.

บทว่า น เจว สมฺปายิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่อาจเพื่อที่จะให้ความพอใจ

กล่าว. บทว่า อุตฺตริญฺจ วิฆาต ความว่า และจักถึงทุกข์ยิ่งกว่า ความไม่

พอใจ. ก็ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่เดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้ไม่อาจเพื่อที่จะให้พอ

ใจกล่าว. คำว่า ต ในบทนี้ว่า ยถาต ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ เป็นเพียงนิบาต

คำว่า ยถา เป็นตติยาวิภัตติ อธิบายว่า เพราะเป็นผู้ถูกถามแล้วในปัญหาอัน

มิใช่วิสัย. บทว่า สเทวเก ได้แก่ เป็นไปกับด้วยเทวโลก. แม้ในบทว่า

สมารกะ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเพิ่มฐาน ๓ เข้า

เป็นโลกอย่างนี้แล้ว ทรงกำหนดสัตว์โลกนั้นเทียวว่า หมู่สัตว์สอง รวมเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ห้าแล้ว ทรงแสดงว่า เราไม่เห็นเทพ หรือ มนุษย์ไร ๆ ในโลกอันต่างโดย

เทวโลกเป็นต้นนั้น. บทว่า อิโต วา ปน สุตฺวา ความว่า ก็หรือ ฟังจาก

นี้ คือจากศาสนาของเรา. ทรงแสดงว่า ผู้ไม่ได้เป็นตถาคตก็ดี สาวกของผู้

ไม่ได้เป็นตถาคตก็ดี ฟังจากนี้แล้วพึงยินดี พึงพอใจ ขึ้นชื่อว่า ความยินดีโดย

ประการอื่นไม่มี.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการยังจิตให้ยินดีด้วยการ

พยากรณ์ปัญหาเหล่านั้นของพระองค์ จึงตรัสว่า โก จ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า กามคุณา ความว่า ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่าอันบุคคลพึงยินดี

ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า เครื่องผูก อรรถว่า ชั้น ชื่อว่าคุณอรรถ ใน

บทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิสองชั้นสำหรับผ้าที่ได้มา. อรรถ

ว่าอยู่ ชื่อว่า คุณอรรถ ในบทนี้ว่า กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้น

แห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ. อรรถว่าอานิสงส์ ชื่อว่า คุณอรรถ ในบทนี้ว่า

ทักษิณาอันมีคุณทั้งร้อย อันบุคคลพึงหวัง อรรถว่า เครื่องผูก ชื่อว่า คุณอรรถ

ในบทนี้ว่า พึงทำที่สุด กลุ่มที่สุด กลุ่มมาลามีมาก. ท่านประสงค์เอาอรรถว่า

เครื่องผูกนั้นอย่างเดียว แม้ในบทนี้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า คุณ

เพราะอรรถว่าเครื่องผูก ดังนี้. บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา ความว่า พึงเห็นด้วย

จักขุวิญญาณ. พึงทราบอรรถ แม้ใน โสต วิญฺเยฺย เป็นต้น โดยทำนองนี้.

บทว่า อิฎฺา ความว่า จงยินดีก็ตาม ไม่ยินดีก็ตาม ก็เป็นอิฏฐารมณ์. บทว่า

กนฺตา ได้แก่ พึงให้ยินดี. บทว่า มนาปา คือ ให้ใจเจริญ. บทว่า ปิยรูปา

คือ เกิดความรัก. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่าประกอบแล้วด้วยกามซึ่ง

ทำอารมณ์เกิดขึ้น. บทว่า รชนียา ได้แก่พึงกำหนัด อธิบายว่า เป็นเหตุ

เกิดขึ้นแห่งราคะ. ในบททั้งหลายมีว่า ยทิ มุทฺธาย เป็นต้น บทว่า มุทฺธาย

ได้แก่ ด้วยการตั้งสัญญาในข้อนี้ทั้งหลายแล้วนับมือ. บทว่า คณนาย ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

แก่ ด้วยการคำนวณไม่ผิด. บทว่า สงฺขา ความว่า ชนทั้งหลายแลดูนาด้วย

การนับข้าวว่า ในนานี้จักมีข้าวประมาณเท่านี้ แลดูต้นไม้ก็รู้ว่า ในต้นไม้

นี้จักมีผลเท่านี้ แลดูอากาศก็รู้ว่า ในอากาศจักมีนกประมาณเท่านี้. บทว่า กสิ

ได้แก่ กสิกรรม. บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทางการค้าขายมีการค้าขายทางน้ำ

และการค้าขายทางบกเป็นต้น. บทว่า โครกฺข ได้แก่ การรักษาโคของตน

หรือของคนเหล่าอื่นทำการเลี้ยงชีพ ด้วยการขายปัญจโครส. การถืออาวุธแล้ว

ทำการปฎิบัติ เรียกว่าการยิงธนู. บทว่า ราชโปริส ได้แก่การทำราชการ

ด้วยอาวุธให้ปรากฏ. บทว่า สิปฺปญฺตร ได้แก่ ศิลปะมีศิลปะเพราะช้าง

หรือศิลปะเพราะม้าเป็นต้น ที่เหลือจากที่ระบุไว้แล้ว. บทว่า สีตสฺส ปุรกฺขโต

ความว่า เผชิญกับความหนาว เหมือนเป้าเผชิญกับลูกศรฉะนั้น อธิบายว่า

ผู้ถูกความหนาวเบียดเบียน. แม้ในความร้อนก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบทว่า ทสา

เป็นต้น บทว่า ทสา ได้แก่ เหลือบ. บทว่า มกสา ได้แก่ แมลงทุก

ชนิด. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื้อยคลานไป. บทว่า

ริสฺสมาโน ได้แก่ หวั่นไหว กระสับกระส่าย. บทว่า มิยฺยมาโน ได้แก่

ตาย. บทว่า อย ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความลำบาก

ซึ่งอาศัยการเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะมีการนับคะแนนเป็นต้น มีความหนาวเป็นต้น

เป็นปัจจัย. บทว่า กามาน อาทีนโว คือ เป็นอันตราย ความว่า เป็น

อุปสรรคในกามทั้งหลาย. บทว่า สนฺทิฏฺิโก คือ ประจักษ์ ได้แก่พึงเห็น

เอง. บทว่า ทุกฺขกฺขนฺโธ ได้แก่ เป็นกองทุกข์. ในบททั้งหลายมีกามเหตุ

เป็นต้น กามทั้งหลายชื่อว่าเป็นเหตุแห่งโทษนั้น เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัย

เพราะฉะนั้น โทษนั้น จึงชื่อว่ากามเหตุ แปลว่ามีกามเป็นเหตุ. กามทั้งหลาย

ชื่อว่า เป็นต้นเค้าของโทษนั้น เพราะอรรถว่า เป็นรากเหง้า เพราะฉะนั้น

โทษนั้น จึงชื่อว่า กามนิทาน แปลว่า มีกามเป็นต้นเค้า แต่ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

กามนิทาน เพราะคลาดเคลื่อนทางลิงค์. กามทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นตัวบังคับ

ของโทษนั้น เพราะอรรถว่า การณ์ เพราะฉะนั้น โทษนั้น จึงชื่อว่า

กามาธิกรณะ แปลว่า มีกามเป็นตัวบังคับ. แต่ท่านกล่าวว่า กามาธิกรณ

เพราะความคลาดเคลื่อนทางลิงค์. บทว่า กามานเมว เหตุ นี้เป็นคำกำหนด

อธิบายว่า โทษเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัยนั้นเทียว. บทว่า อุฏฺหโต คือ

ขยันด้วยความเพียรเป็นเหตุให้มีอาชีพเป็นหลักฐานะ บทว่า ฆฏโต ได้แก่

สืบต่อความเพียรนั้นให้มากขึ้นกว่าในวันก่อน ๆ. บทว่า วายมโต ความว่า

กระทำความพยายาม ความบากบั่น ความประกอบ. บทว่า นาภินิปฺผชฺชนฺติ

ความว่า โภคะนั้นย่อมไม่สำเร็จ คือ ไม่ขึ้นสู่เงื้อมมือ. บทว่า โสจติ คือ

ย่อมเศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกอันแรงกล้าเกิดขึ้นในจิต. บทว่า กิลมติ ได้แก่

ย่อมลำบากด้วยทุกข์ที่เกิดขึ้นในกาย. บทว่า ปริเทวติ ได้แก่ ย่อมคร่ำครวญ

ด้วยวาจา. บทว่า อุรตฺตาฬึ คือ ตีอก. กนฺทติ ได้แก่ ย่อมร้องไห้.

บทว่า สมฺโมห อาปชฺชติ ความว่า เป็นผู้เลอะเลือน ดุจปราศจากความ

รู้สึก. บทว่า โมฆ แปลว่า เปล่า. บทว่า อผโล ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า

อารกฺขาทิกรณ คือ มีการคุ้มครองเป็นเหตุ. บทว่า กินฺติ เม คือ ด้วย

อุบายอะไรหนอแล. บทว่า ยปิ เม. ความว่า ทรัพย์ที่เราทำการงานมีกสิกรรม

เป็นต้น ให้เกิดแล้วแม้ใด. บทว่า ตปิ โน นตฺถิ ความว่า บัดนี้ ทรัพย์

แม้นั้นของเราก็ไม่มี. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการณ์ด้วยบทแม้มีอาทิว่า

ปุน จ ปร ภิกฺขเว เหตุ ดังนี้แล้วทรงแสดงโทษ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กามเหตุ ความว่า แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาท

กันกับพวกษัตริย์ เพราะกามเป็นปัจจัย. บทว่า กามนิทาน เป็นภาวน-

ปุงสกลิงค์ อธิบายว่า ทำกามทั้งหลายให้เป็นต้นเค้าแล้ววิวาทกัน. แม้บทว่า

กามาธิกรณ ก็เป็น ภาวนปุงสกลิงค์ เหมือนกัน อธิบายว่า ทำกามทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

เป็นตัวบังคับแล้ววิวาทกัน. บทว่า กามานเมว เหตุ ความว่า วิวาทกัน

เพราะเหตุแห่งบ้าน นิคม เสนาบดี ปุโรหิต และฐานันดร เป็นต้น. บทว่า

อุปกฺกมนฺติ คือ ประหาร. บทว่า อสิจมฺม ได้แก่ ดาบและวัตถุมีโล่

เป็นต้น. บทว่า ธนุกลาป สนฺนยฺหิตฺวา ความว่า ถือธนูแล้วสอดแล่งธนู.

บทว่า อุภโต พฺยุฬฺห ได้แก่ รบกันทั้งสองฝ่าย. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ

คือ เข้าไป. บทว่า อุสูสุ คือ เมื่อลูกศรทั้งหลาย. บทว่า วิชฺโชตลนฺเตสุ

คือ พุ้งไป. บทว่า เต ตตฺถ คือ ฝูงชนเหล่านั้นในสงครามนั้น. ในบทว่า

อฏฺฏาวเลปนา อุปการิโย นั้น ก็มนุษย์ทั้งหลาย ก่อเชิงกำแพงด้วยอิฐ

ทั้งหลาย โดยมีสัณฐานเหมือนกลีบม้า แล้วฉาบปูนขาวเบื้องบน เชิงกำแพง

ทั้งหลายที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า อุปการิโย เชิงกำแพงเหล่านั้น ฉาบด้วย

เปือกตมร้อน จึงชื่อว่า อฏฺฎาวเลปนา. บทว่า ปกฺขนฺทนฺติ ความว่า

ชนเหล่านั้น เมื่อถูกยิงด้วยอาวุธมีลูกศรเหล็กแหลมคมเป็นต้น ภายใต้เชิง

กำแพงเหล่านั้นบ้าง เมื่อไม่อาจเพื่อปีนหนี เพราะกำแพงลื่นเป็นมันบ้าง จึง

วิ่งพล่านไปมา. บทว่า ฉกณฏิยา คือ ด้วยโคมัยอันร้อน. บทว่า อภิวคฺเคน

ความว่า ชนทั้งหลายยืนที่ประตูชั้นบนอันมาถึงว่า พวกเราจักทำคราดนั้น

พร้อมกับฟันโดยอาการมีฟันแปดซี่ ทำลายประตูนครเข้าไป แล้วตัดเครื่องผูก

และเชือกแห่งคราดนั้นแล้วสับด้วยคราดนั้น. บทว่า สนฺธึปิ ฉินฺทนฺติ คือ

ตัดที่ต่อแห่งเรือนบ้าง. บทว่า นิลฺโลป ความว่า โจมตีบ้านเป็นต้นแล้ว

กระทำการปล้นใหญ่ บทว่า เอกาคาริก ความว่า ฝูงชนประมาณ ๕๐ คน

บ้าง ประมาณ ๖๐ คนบ้าง โจมตีแล้ว จับเป็นให้นำออกมา. บทว่า ปริปนฺเถ

ติฏฺนฺติ ความว่า กระทำการดักตีในระหว่างทาง. บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ

ความว่า ด้วยค้อนทั้งหลาย หรือ ด้วยท่อนไม้ที่เขาตัดท่อนไม้ประมาณ ๔ ศอก

เพื่อให้สำเร็จการประหารให้เป็นสองส่วนถือไว้. บทว่า พิลงฺคถาลิก ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

กรรมกรณ์ คือต้มด้วยหม้อข้าว. พระราชาทั้งหลายเมื่อจะทรงทำกรรมกรณ์นั้น

ก็ถลกกะโหลกศีรษะออก เอาคีมปากนกแก้วจับก้อนเหล็กร้อนวางบนกะโหลก

ศีรษะนั้น เอาคีมเหล็กนั้นคีบมันสมองยกขึ้นเบื้องบน. บทว่า สขมุณฺฑก

ได้แก่ กรรมกรณ์ คือ ขอดสังข์. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้น ลอกหนังด้วย

การกำหนดจอนหูและโคนคอ ทั้งสองข้างให้ตั้งไว้เบื้องบน รวบผมทั้งหมดให้

เป็นกำหนึ่ง พันกับท่อนไม้ยกขึ้น หนังพร้อมกับผมทั้งหลายหลุดออก แต่นั้น

ก็เคาะหัวกะโหลกศีรษะด้วยก้อนหินหนา ล้างทำให้มีสีเหมือนสังข์. บทว่า

ราหุมุข ได้แก่ กรรมกรณ์ คือ ปากราหู. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้นก็เปิดปาก

ด้วยขอเหล็ก ตามประทีปภายในปาก หรือเจาะปากด้วยเหล็กแหลม จนถึง

จอนหูทั้งสองข้าง. เลือดไหลออกเต็มปาก. บทว่า โชติมาลก ได้แก่

พันสรีระทั้งสิ้นด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วจุดไฟ. บทว่า หตฺถปชฺโชติก ได้แก่

พันมือทั้งสองข้างด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้ว ตามประทีปให้โพลง. บทว่าเอรกว-

ตฺติก ได้แก่ กรรมกรณ์ คือนุ่งหนังช้าง. เมื่อทำกรรมกรณ์นั้นตัดแผ่นหนัง

ตั้งแต่คอขึ้นไปวางไว้ที่จอนผม ลำดับนั้น ก็ผูกมันด้วยเชือกทั้งหลายแล้วดึงไป

เขาเหยียบแล้วเหยียบอีกซึ่งแผ่นหนังของตน ก็ล้มลง. บทว่า จีรกวาสิน

ได้แก่ กรรมกรณ์ คือนุ่งสาหร่าย. เมื่อทำกรรมกรณ์นั้นก็ลอกแผ่นหนังเหมือน

อย่างนั้นให้จดสะเอว ลอกตั้งแต่แต่สะเอวจดข้อเท้าทั้งสองข้าง สรีระล่างกับข้างบน

เป็นเหมือนผ้านุ่งที่ทำด้วยเปลือกปอ. บทว่า เอเณยฺยก ได้แก่ กรรมกรณ์

คือ ยืนกวาง. เมื่อจะทำกรรมกรณ์นั้น ก็มัดลวดเหล็กที่ข้อศอก และเข่า

ทั้งสองข้างแล้ว ก็ตอกเหล็กแหลมทั้งหลาย. เขายืนอยู่ในแผ่นดิน ด้วยเหล็ก-

แหลม ๔ อัน ลำดับนั้น ก็แวดล้อมเขา ก่อเพลิงเป็นเหมือนกวางล้อมไฟ

สมดังที่ท่านกล่าวไว้แม้ในที่มาแล้วอย่างนี้ว่า เขาถอดเหล็กแหลมตามเวลาอัน

สมควรนั้น ตอกไว้กับกระดูกสะเอว ๔ แห่ง นั้นเทียว ขึ้นชื่อว่า การกระทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

ที่เห็นปานนี้ไม่มี. บทว่า พฬิสมสิก ได้แก่ ตีด้วยเบ็ดมีขอทั้งสองข้างแล้ว

กระชากหนัง เนื้อและเอ็น. บทว่า กหาปณก ได้แก่ ควักสรีระทั้งสิ้นให้

ตกออกไปทีละประมาณกหาปณะ ตั้งแต่สะเอวด้วยมีดคมกริบทุบตี. บทว่า

ขาราปฏิจฺฉก ได้แก่ ตีสรีระในที่นั้น ๆ ด้วยอาวุธทั้งหลาย ลาดน้ำด่าง

ขัดด้วยแปรง หนึ่งเนื้อ และเอ็น ก็ไหลออก คงเหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น.

บทว่า ปลิฆปริวตฺตก ได้แก่ ให้นอนข้างเดียวแล้ว ตอกหลาวเหล็กแหลม

ในช่องหูทำให้ติดกับดิน ลำดับนั้น จึงจับเท้าของเขาแล้ววนเวียน. บทว่า

ปลาลปีก ได้แก่ ผู้ทำกรรมกรณ์ที่ฉลาด แล่ผิวหนังออกทุบกระดูกทั้งหลาย

ด้วยลูกหินบดแล้ว จับผมทั้งหลายยกขึ้น คงมีแต่กองเนื้อเท่านั้น ลำดับนั้น

ก็รวบผมของเขาเท่านั้น จับบีดทำเหมือนเกลียวฟาง. บทว่า สุนเขหิ ได้แก่

ยังสุนัขทั้งหลายที่หิวจัดเพราะไม่ให้อาหาร ๒- ๓วัน ให้พึงกัดกิน สุนัขเหล่านั้น

ก็ทำให้เหลือโครงกระดูกครู่เดียวเท่านั้น. บทว่า สมฺปรายิโก ความว่า เป็น

วิบากในสัมปรายภพในอัตตภาพที่สอง.

การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ คือนิพพาน. จริงอยู่ ฉันทราคะ

ในกามทั้งหลายย่อมถูกกำจัดและถูกละได้ เพราะอาศัยนิพพาน เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ คือ นิพพาน. บทว่า

สาม วา กาเม ปริชานิสฺสนฺติ ความว่า พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กาม

ทั้งหลายด้วยตนเอง ด้วยปริญญา ๓. บทว่า ตถตฺตาย ได้แก่ เพื่อความเป็น

อย่างที่ผู้ปฎิบัติ. บทว่า ยถาปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติแล้วด้วยปฏิปทาใด.

บทว่า ขตฺติยกญฺา วา เป็นต้น ตรัสแล้วเพื่อทรงแสดงสตรีที่เกิดแล้วใน

ฐานะที่ได้วัตถุทั้งหลายมีผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น ซึ่งมีปฎิสนธิอันกุศล

ไม่น้อย คือ ไพบูลย์ให้รับแล้ว. บทว่า ปณฺณรสวสฺสุทฺเทสิกา คือ มีวัย

๑๕ ปี. แม้ในบทที่สองก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ถามว่า ทำไมจึงทรงถือระยะวัย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ตอบว่า เพื่อทรงแสดงสมบัติคือผิวพรรณ เพราะอายตนะ คือผิวพรรณของ

ของสตรีแม้เกิดในตระกูลทุกข์ยาก ย่อมค่อย ๆ งดงามเปล่งปลั่ง ในกาลหนึ่ง

ส่วนอายตนะคือผิวพรรณของบุรุษทั้งหลาย ย่อมงดงามเปล่งปลั่งในเวลามีอายุ

ได้ ๒๐ ปี หรือ ๒๕ ปี. ทรงแสดงสมบัติ คือ สรีระ อันปราศจากโทษ ๖

ประการ ด้วยบททั้งหลายมีว่า ไม่สูงนัก เป็นต้น. บทว่า วณฺณนิภา คือ

มีวรรณะนั้นเทียว. บทว่า ชิณฺณ คือ แก่เพราะชรา. บทว่า โคปานสิวงฺก

ได้แก่ มีซี่โครงคดเหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺค ได้แก่ ร่างคดงอ.

ทรงแสดงความที่ร่างกายนั้นคด ด้วยบทแม้นี้นั้นเทียว. บทว่า ทณฺฑปรายน

คือ อาศัยไม้เท้า ได้แก่ มีไม้เท้าเป็นที่สอง. บทว่า ปเวธมาน ได้แก่

ตัวสั่น. บทว่า อาตุร ได้แก่ เดือดร้อนเพราะชรา. บทว่า ขณฺฑทนฺต

คือ มีฟันหลุด เพราะความเป็นคนแก่. บทว่า ปลิตเกส ได้แก่ มีผมหงอก.

บทว่า วิลูน ได้แก่ ผมโกร๋นดุจผมที่ถูกถอนเอาไปฉะนั้น. บทว่า ขลิตสิร

คือ ศีรษะล้านมาก. บทว่า วิลน ได้แก่ หนังเหี่ยวอันเกิดพร้อมแล้ว. บทว่า

ติลกาหตคตฺต คือ มีร่างกายเกลื่อนกล่นด้วยตกกระสีขาวและสีดำ. บทว่า

อาพาธิก ได้แก่ มีพยาธิ. บทว่า ทุกฺขิต คือ ถึงแล้วซึ่งทุกข์. บทว่า

พาฬฺหคิลาน ได้แก่ มีความป่วยไข้อันมีประมาณยิ่ง. บทว่า สีวถิกาย

ฉฑฺฑิต คือ ให้ตกแล้วในป่าช้าผีดิบ. บทที่เหลือได้กล่าวแล้วในสติปัฏฐาน

นั้นเทียว. นิพพานนั้นเทียว ชื่อว่า ฉันทราควินัยแม้ในที่นี้. บทว่า เนว

ตสฺมึ สมเย อตฺตพฺยาพาธาย ความว่า ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิด เพื่อ

ประโยชน์แห่งทุกข์แม้ของตน. บทว่า อพฺยาปชฺฌเยว ได้แก่ ไม่มีความทุกข์

นั้นเทียว. บทว่า ยปิ ภิกฺขเว เวทนา อนิจฺจา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเวทนาไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น อาการมีความไม่เที่ยงเป็นต้นนี้ เป็นโทษ

แห่งเวทนา. การสลัดออกไป มีประการดังกล่าวแล้วนั้นเทียวแล.

จบอรรถกถามหาทุกขักขันธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

[๒๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. ณ นิโครธาราม เขตกรุง

กบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ. ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า

โสภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น

โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้

ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า

ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี

โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว.

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล

ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรม

ก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว. ดูก่อนมหานาม

ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว. ท่านก็ไม่พึงอยู่ครอง

เรือน ไม่พึงบริโภคกาม. แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดใน

ภายใน ฉะนั้น ท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม.

[๒๑๑] ดูก่อนมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดย

ชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก

โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. แต่อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะยังเป็นผู้ไม่

เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน. แต่เมื่อใด เธอได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบอย่าง

นี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง

ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศล

ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้.

ดูก่อนมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้

ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. และเราก็เว้นจากกาม

เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น

เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน. แต่เมื่อใด เราเล็งด้วยปัญญา

โดยชอบ ตามเป็นจริงนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ-

แค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม

บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า

เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.

[๒๑๒] ดูก่อนมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย ดูก่อน

มหานาม กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วย

จักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต. . . กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ. . . รสที่

พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . . โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า

พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนมหานาม

กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้แล. ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ

๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

โทษของกาม

[๒๑๓] ดูก่อนมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย กุลบุตร

ในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน

ก็ดี ด้วยการคำนวนก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้า

ขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยินธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี

ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำ

ต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือก

คลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของ

กามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า

มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนมหานาม

ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อพยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล

เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า

ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ. ดูก่อน

มหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มี

กามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม

ทั้งหลายทั้งนั้น. ดูก่อนมหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อพยายามอยู่

อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษา

โภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายไม่พึงริบโภคะ

เหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาท

อัปรีย์พึงนำไปไม่ได้. เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา

ทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี โจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำ

พัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก

คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเล่าเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

เรา. ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่

เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะ

เหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๒๑๔] ดูก่อนมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น

ต้นเค้า มืกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชา

ทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา แม้พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์

แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกันกับพวก

คฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกันกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกันกับมารดา แม้บิดา

ก็วิวาทกันกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกันกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับ

พี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็วิวาทกันกับน้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกันกับพี่ชาย

แม้สหายก็วิวาทกันกับสหาย. ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน

ในที่นั้น ๆ ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อน

ไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง.

ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกัน

อยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุ

แห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๒๑๕] ดูก่อนมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น

ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือ

ดาบและโล่ สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั่ง ๒ ฝ่าย. เมื่อลูกศร

ทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลายถูกกวัด

แกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรเสียบเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง

ถูกดาบตัดศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ตายบ้าง. ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เกิดเพราะ

เหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๒๑๖] ดูก่อนมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น

ต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบ

และโล่สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน. เมื่อ

ลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งบ้าง ชนเหล่า

นั้นต่างถูกลูกศรเสียบบ้าง ถูกหอกเสียบบ้าง ถูกรดด้วยโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับ

ด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง

ถึงทุกข์ปางตายบ้าง. ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย

เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

[๒๑๗] ดูก่อนมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกาม

เป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่

ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำให้เป็นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักทาง

บ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลายจับคนนั้น ๆ ได้แล้ว ให้กระ-

ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง

ฯลฯ กระทำกรรมกรณ์ชื่อโชติมาลิกะบ้าง ชื่อหัตถปัชโชติกะบ้าง ชื่อเอรก-

วัตติกะบ้าง ชื่อจีรกวาสิกะบ้าง ชื่อเอเณยกะบ้าง ชื่อพลิสมังสิกะบ้าง ชื่อ

กหาปณกะบ้าง ชื่อขาราปฏิจฉกะบ้าง ชื่อปลิฆปริวัตติกะบ้าง ชื่อปลาลปีฐกะ

บ้าง รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง ให้สุนัขกัดกินบ้าง เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง

ใช้ดาบตัดศีรษะเสียบ้าง คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตาย

บ้าง. ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์

ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้ง

หลายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

[๒๑๘] ดูก่อนมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกาม

เป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่าง

ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก. ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่า ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกอง

ทุกข์ในสัมปรายภพ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ

เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

พวกนิครนถ์ที่ถือการยืนเป็นวัตร

[๒๑๙] ดูก่อนมหานาม สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขต

พระนครราชคฤห์. สมัยนั้น ณ ตำบลกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พวกนิครนถ์

จำนวนมากเป็นผู้ถือการยืนเป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า

เผ็ดร้อนอันเกิดแต่ความพยายาม. ครั้งนั้นแล เราออกจากที่หลีกเร้นในเวลา

เย็น เข้าไปหาพวกนิครนถ์ ถึงประเทศกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ได้กล่าวความ

ข้อนี้กะพวกนิครนถ์เหล่านั้นว่า ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ไฉนเล่า พวก

ท่านจึงถือการยืนเป็นวัตร ห้ามการนั่ง เสวยทุกขเวทนา แรงกล้า เผ็ดร้อนอัน

เกิดแต่ความพยายาม ดูก่อนมหานาม เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกนิครถ์

เหล่านั้นได้กล่าวกะเราว่า ดูก่อนผู้มีอายุ นิครนถนาฏบุตรรู้ธรรมทั้งปวง เห็น

ธรรมทั้งปวง ยืนยันญาณทัสสนะหมดทุกส่วนว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี ยืนก็ดี

หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสสนะปรากฏอยู่ ติดต่อเสมอไป นิครนถนาฏบุตรนั้น

กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนนิครนถ์ทั้งหลายผู้เจริญ บาปกรรมที่พวกท่านทำแล้ว

ในกาลก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นเสีย ด้วยปฏิปทาอันประกอบ

ด้วยการกระทำที่ทำได้ยาก อันลำบากนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลายสำรวมกาย วาจา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ใจ ในบัดนี้นั้น เป็นการไม่กระทำบาปกรรมต่อไป ทั้งนี้ เพราะหมดกรรม

เก่าด้วยตบะ. เพราไม่ทำกรรมใหม่ ความไม่ถูกบังคับต่อไปจึงมี เพราะไม่ถูก

บังคับต่อไป ความสิ้นกรรมจึงมี เพราะสิ้นกรรม ความสิ้นทุกข์จึงมี เพราะ

สิ้นทุกข์ ความสิ้นเวทนาจึงมี เพราะสิ้นเวทนา จักเป็นอันพวกท่านสลัดทุกข์

ได้ทั้งหมด. คำที่นิครนถนาฏบุตรกล่าวแล้วนั้น ชอบใจและควรแก่พวก

ข้าพเจ้าแล เพราะเหตุนั้น พวกข้าพเจ้าจึงเป็นผู้มีใจยินดี ดังนี้.

การกล่าวถึงผู้อยู่สบายดีกว่า

[๒๒๐] ดูก่อนมหานาม เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้

กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้นว่า ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า

เราทั้งหลายได้มีแล้วในกาลก่อน มิใช่ไม่ได้มีแล้ว .

นิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลาย

ได้ทำบาปกรรมไว้ในกาลก่อน มิใช่ไม่ได้ทำไว้.

นิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า เราทั้งหลาย

ได้ทำบาปกรรมอย่างนี้บ้างๆ

นิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบละหรือว่า ทุกข์เท่านี้

เราสลัดได้แล้ว หรือว่าทุกข์เท่านี้เราต้องสลัดเสีย หรือว่าเมื่อทุกข์เท่านี้ เรา

สลัดได้แล้วจักเป็นอันสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด.

นิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

พระ. ดูก่อนนิครถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบการละอกุศลธรรม การ

บำเพ็ญกุศลธรรม ในปัจจุบันละหรือ.

นิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้อนี้หามิได้เลย.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ ตามที่ได้ฟัง พวกท่านไม่รู้ว่า ในปาง

ก่อนเราได้มีมาแล้วหรือไม่ ไม่รู้ว่าในปางก่อนเราได้ทำบาปกรรมไว้หรือไม่

ทั้งไม่รู้ว่าเราได้ทำบาปกรรมไว้อย่างนั้นอย่างนี้ ไม่รู้ว่าทุกข์เท่านี้เราสลัดได้

แล้ว ทุกข์เท่านี้จำต้องสลัด เมื่อสลัดทุกข์อย่างนี้ได้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงจักเป็นอัน

สลัดไปด้วย ไม่รู้จักการละอกุศลธรรม และการยังกุศลธรรมให้เกิดในปัจจุบัน

ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนทั้งหลายจักบวชในสำนักของท่าน

ก็เฉพาะแต่คนที่มีมารยาทเลวทราม มือเปื้อนโลหิต ทำกรรมชั่วช้า เป็นผู้

เกิดสุดท้ายภายหลังในหมู่มนุษย์.

นิ. ดูก่อนท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสบความสุขได้ด้วย

ความสุข แต่จะประสบสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจักประสบความ

สุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คงประสบ

ความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขกว่าท่าน

พระโคดม.

พระ. เป็นการแน่นอน ที่พวกท่านนิครนถ์ทั้งหลายหุนหันไม่ทัน

พิจารณาจึงพูดว่า ดูก่อนท่านพระโคดมผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสบความสุข

ด้วยความสุข แต่จะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจัก

ประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็คง

ประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุขยิ่ง

กว่าท่านโคดม เออก็เราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักไซร้ไล่เลียงในเรื่องสุขเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ทุกข์นั้นสิว่าใครเล่าหนอจะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่น-

ดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง.

นิ. ดูก่อนท่านพระโคดมผู้มีอายุ เป็นการแน่นอนที่พวกข้าพเจ้าหุน-

หันไม่ทันพิจารณา จึงพูดว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลมิใช่จะประสบความ

สุขด้วยความสุข แต่จะประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์แท้ ก็ถ้าหากบุคคลจัก

ประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ ก็

คงประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ อยู่เป็นสุข

ยิ่งกว่าท่านพระโคดม เอาละ หยุดไว้เพียงเท่านี้ บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจะต้อง

ถามท่านพระโคดมดูบ้างว่า ใครเล่าหนอจะอยู่สบายดีกว่ากัน พระเจ้าพิมพิ-

สารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ หรือท่านพระโคดมเอง.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น เราจะต้องถามพวกท่าน

ในเรื่องสุขเรื่องทุกข์นั้นดูบ้าง ท่านเข้าใจอย่างใด ก็พึงแถลงอย่างนั้น ดูก่อน

ท่านนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าพิมพิสาร

จอมทัพ เจ้าแผ่นดินมคธจะทรงสามารถ ไม่ทรงไหวพระกาย ไม่ทรงพระดำรัส

ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๗ คืน ๗ วัน ได้หรือ.

นิ. ไม่ไหวล่ะท่าน.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่าน จะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ จะทรงสามารถ ไม่ทรงไหว

พระกาย ไม่ทรงพระดำรัส ทรงเสวยพระบรมสุขส่วนเดียวอยู่ ๖ คืน ๖ วัน

๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ...๓ คืน ๓ วัน ...๒ คืน ๒ วัน ... เพียง

คืนหนึ่ง วันหนึ่ง ได้หรือ.

นิ. ไม่ไหวละท่าน.

พระ. ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ เราแหละสามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด

เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ เพียงคืนหนึ่งวันหนึ่ง. สามารถไม่ไหวกาย ไม่พูด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

เสวยความสุขส่วนเดียวอยู่ ๒ คืน ๒ วัน ...๓ คืน ๓ วัน...๔ คืน ๔ วัน...

๕ คืน ๕ วัน...๖ คืน ๖ วัน...๗ คืน ๗ วัน ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวก

ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะอยู่สบายกว่ากัน

พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธหรือเราเอง.

นิ. เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมสิ อยู่สบายกว่าพระเจ้าพิมพิสาร

จอมทัพเจ้าแผ่นดินมคธ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ แล้ว เจ้าศากยะมหานามทรงมีพระทัย

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ จูฬทุกขักขันธสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

อรรถกถาจุลลทุกขักขันสูตร

จุลลทุกขักขันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺเกสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น .

ก็ชนบทนั้นถึงอันนับว่า สักยา เพราะเป็นสถานที่อยู่ของราชกุมารชาวสักยะ

ทั้งหลาย. ก็ความอุบัติแห่งสักยะทั้งหลาย มาแล้วในอัมพัฏฐสูตรเทียว บทว่า

กปิลวตฺถุสฺมึ คือ ในนครที่มีชื่ออย่างนั้น. จริงอยู่ นครนั้นเรียกว่า กบิลพัสดุ์

เพราะเป็นนครที่สร้างขึ้นในสถานเป็นที่อยู่ของฤาษีชื่อว่า กปิล. ทำนครนั้น

เป็นที่โคจรคาม. บทว่า นิโคฺรธาราเม ความว่า เจ้าศากยะพระนามว่า

นิโครธ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ในกาลแห่งญาติ

สมาคม พระองค์ทรงให้สร้างวัดในสวนของพระองค์ มอบถวายแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามนั้น. บทว่า

มหานาโม ได้แก่ พระเจ้าพี่ของพระอนุรุทธเถระ ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าอา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้ คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้า

สุกโกทนะ พระเจ้าสักโกทนะ พระเจ้าโธโตทนะ พระเจ้าอมิโตทนะ ทรงเป็น

พระเจ้าพี่พระเจ้าน้อง พระเทวีพระนามว่า อมิตา ทรงเป็นพระภคินีของ

พระเจ้าเหล่านั้น พระติสสเถระเป็นบุตรของพระนางอมิตานั้น พระตถาคต

และพระนันทเถระเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้ามหานามะ และ

พระอนุรุทธเถระ เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ พระอานนทเถระเป็น

พระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอานนทเถระนั้นเป็นพระกนิษฐ์ของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระเจ้ามหานามะทรงแก่กว่า เป็นสกทาคามีอริยสาวก. บทว่า

ทีฆรตฺต ความว่า ทรงแสดงว่า ข้าพระองค์รู้จำเดิมแค่ข้าพระองค์บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

สกทาคามิผลตลอดกาลนาน. บทว่า โลภธมฺมา ได้แก่ ธรรมกล่าวคือโลภะ.

ทรงกล่าวหมายถึงโลภะเท่านั้น มีประการต่าง ๆ. ในสองบทแม้นอกนี้ ก็มีนัย

เช่นเดียวกัน . บทว่า ปริยาทาย ติฏฺนฺติ ความว่า ยังครอบงำอยู่. ก็

ธรรมดา ปริยาทาน (การครอบงำ) นี้มาแล้วในการถือในบทนี้ว่า (พระอัคร-

มเหสีทรง) ถือกำลังช้าง กำลังม้า กำลังรถ กำลังพลรบ ทั้งหมดนั้น ที่มีชีวิตนั้น

เทียว. มาในความทิ้งในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา เจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมทิ้งกามราคะทั้งปวง ดังนี้. ท่านประสงค์อรรถะว่า ทิ้ง ใน

บทแม้นี้. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า บทว่า ปริยาทิยิตฺ วา ได้แก่ ทิ้งแล้ว. บทว่า

เยน เม เอกทา โลภธมฺมาปิ ความว่า ทรงทูลถามว่า แม้โลภธรรมทั้งหลาย

ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้ในบางเวลา เพราะเหตุใด. ได้ยินว่า

พระราชานี้ทรงมีความสำคัญว่า โลภะ โทสะ และโมหะ ได้ละหมดไม่มีเหลือ

ด้วยสกทาคามิมรรค. พระราชานี้ทรงรู้ว่า สิ่งที่ยังละไม่ได้ของเรามีอยู่ ทรงถือ

เอาสิ่งที่ยังละไม่ได้ เป็นผู้มีความสำคัญว่า สิ่งที่ละได้แเล้วย่อมเป็นไปภายหลัง

ดังนี้. พระอริยสาวกเกิดความสงสัยอย่างนี้หรือ. เออ ความสงสัยย่อมเกิดขึ้น.

เพราะเหตุไร. เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในบัญญัติ. จริงอยู่ แม้อริยสาวก

ผู้ไม่ฉลาดในบัญญัตินี้ว่า กิเลสนี้ถูกฆ่าด้วยมรรคโน้น ย่อมมีความสงสัย

อย่างนี้. อริยสาวกนั้นไม่มีการพิจารณาหรือ. มี แต่การพิจารณานั้น ย่อมไม่

บริบูรณ์แก่อริยสาวกทั้งปวง. ด้วยว่า บางคนพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้แล้ว

เท่านั้น บางคนพิจารณากิเลสที่ไม่ละเอียดเท่านั้น บางคนพิจารณาเฉพาะมรรค

บางคนพิจารณาเฉพาะผล บางคนพิจารณาเฉพาะนิพพาน ก็ในการพิจารณา

๕ ประการนี้ การพิจารณาประการหนึ่ง หรือสองประการ ไม่ควรเพื่อจะได้

ก็หามิได้ ด้วยประการฉะนี้ อริยสาวกผู้ใดมีการพิจารณาไม่บริบูรณ์ อริยสาวก

นั้นย่อมมีความสงสัย อย่างนี้ เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในกิเลสบัญญัติ อัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

พึงฆ่าด้วยมรรค. บทว่า โส เอว โข เต ความว่า ทรงแสดงว่า โลภะ โทสะ

และโมหะนั้นเอง ยังละไม่ได้ในสันดานของท่าน แต่ท่านเป็นผู้มีความ

สำคัญว่าละได้แล้ว. บทว่า โส จ หิ เต ความว่า ธรรมคือ โลภะ

โทสะ และโมหะของท่านนั้น. บทว่า กาเม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง. บทว่า

น ปริภุญฺเชยฺยาสิ คือ ทรงแสดงว่า ท่านก็พึงบวชดุจพวกเรา. บทว่า

อปฺปสฺสาทา ได้แก่ มีสุขนิดหน่อย. บทว่า พหฺทุกฺขา ได้แก่ ทุกข์อัน

เป็นไปในปัจจุบัน และในสัมปรายภพนั้นเทียว เป็นอันมากในที่นี้. บทว่า

พหูปายาสา ได้แก่ กิเลสคืออุปายาส อันเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

นั้นเทียว เป็นของมากในที่นี้. บทว่า อาทีนโว คือ อุปัททวะ อันเป็นไป

ในปัจจุบันและสัมปรายภพ. บทว่า เอตฺถ ภิยฺโย ความว่า ในกามเหล่านั้น

มีโทษมากอย่างนี้เทียว แต่ให้ความยินดีน้อย คือ นิดหน่อย ดุจเมล็ดผักกาด

อาศัยภูเขาหิมพานต์ให้ผลน้อยฉะนั้น. บทว่า อิติ เจปิ มหานาม ความว่า

ดูก่อนมหานาม แม้ถ้าอริยสาวกอย่างนี้. บทว่า ยถาภูต ได้แก่ ทรงแสดงว่า

เล็งเห็นด้วยดีด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริง คือ โดยนัย โดยการณ์. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ปญฺาย ได้แก่ ด้วยวิปัสสนาปัญญา อธิบายว่า

ด้วยญาณคือมรรค ๒ อย่างในขั้นต่ำ. บทว่า โสว คือ อริยสาวกผู้เห็นโทษ

ของกามด้วยมรรค ๒ อย่างนั้นเทียว. ทรงแสดงญาณ ๒ อย่างที่มีปีติ ด้วยบท

นี้ว่า ปีติสุข. บทว่า อญฺ วา ตโต สนฺตตร ได้แก่ ฌาน ๒ อย่าง

และมรรค ๒ อย่าง ชั้นสูงอื่นที่สงบกว่าฌาน ๒ อย่างนั้น. บทว่า เนว ตาว

อนาวฏฺฏี กาเมสุ โหติ ความว่า อริยสาวกแม้แทงตลอดมรรคทั้งสองดำรง

อยู่นั้น ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามทั้งหลายไม่ได้ก่อน โดยแท้แล เพราะความ

ที่ยังไม่บรรลุฌาน หรือมรรคชั้นสูง ย่อมไม่เป็นอาโภค (ความผูกใจ) แก่ผู้ไม่

เวียนมา ก็หามิได้ แต่จะมีอาโภคแก่ผู้เวียนมาเท่านั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

วิกขัมภนปหานด้วยฌานสี่ ไม่มีสมุจเฉทปหานด้วยมรรค ๒. บทว่า มยฺหปิ

โข ความว่า ไม่ใช่ท่านอย่างเดียวเท่านั้น โดยแท้แม้เรา. บทว่า ปุพฺเพว

สมฺโพธา ได้แก่ ก่อนตรัสรู้ด้วยมรรคทีเดียว. ท่านประสงค์เอาโอโรธนา-

ฎกาปชหนปัญญา (ปัญญาในการเสียสละนางสนม และนางฟ้อน) ในบทนี้ว่า

ปญฺาย สุทิฏฺ อโหสิ ดังนี้. บทว่า ปีติสุข นาชฺฌคมึ ได้แก่ เรา

ไม่ได้ฌาน ๒ อย่างที่มีปีติ. ท่านประสงค์เอาฌานชั้นสูง ๒ อย่าง และมรรค ๔

ในบทนี้ว่า อญฺ วา ตโต สนฺตตร ดังนี้. บทว่า ปจฺจญฺาสึ ได้แก่

ปฏิญญาณแล้ว.

เพราะเหตุไร จึงทรงปรารภว่า ดูก่อนมหานาม ในสมัยหนึ่ง เรา ดังนี้.

เพราะมีอนุสนธิเป็นแผนกดังนี้. ทรงแสดงความยินดีบ้าง อาทีนพบ้าง แห่ง

กามทั้งหลายในเบื้องต่ำ ไม่ได้ตรัสถึงความสลัดออก ทรงปรารภเทศนานี้

เพื่อทรงแสดงถึงความสลัดออกนั้น เพราะการประกอบตนให้พัวพันกับสุขใน

กามเป็นที่สุดอันหนึ่ง การประกอบตนให้ลำบากเป็นที่สุดอันหนึ่ง ศาสนาของ

เราพ้นจากที่สุดเหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้ แม้เพื่อทรงแสดง

ศาสนาทั้งสิ้น ด้วยหัวข้อแห่งผลสมาบัติชั้นสูง. บทว่า คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต

ความว่า ภูเขานั้นมียอดคล้ายอีแร้ง เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า คิชฌกูฎ

หรืออีแร้งทั้งหลายอาศัยอยู่ ในยอดทั้งหลายของภูเขานั้นบ้าง เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า คิชฌกูฏ. บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาอิสิคิลิ. บทว่า

กาฬสิลาย ได้แก่ หลังหินมีสีดำ. บทว่า อุพฺภฏกา โหนฺติ ความว่า

เป็นผู้ถือการยืนเป็นวัตร ไม่นั่ง. บทว่า โอปกฺกมิกา ความว่า อันเกิด

แต่ความพยายามของตน มีการยืนเป็นวัตรเป็นต้น. บทว่า นิคนฺโถ อาวุโส

ความว่า เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวเหตุอื่น จึงโยนให้กับนิครนถ์. บทว่า สพฺพญฺญู

สพฺพทสฺสาวี ความว่า นิครนถ์ทั้งหลายแสดงว่า ศาสดาของพวกเรานั้น

รู้ทุกอย่าง เห็นทุกอย่าง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. บทว่า อปริเสส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

าณทสฺสน ปฏิชานาติ ความว่า ศาสดาของพวกเรานั้น ย่อมรู้ชัดญาณ-

ทัสสนะ กล่าวคือหมดทุกส่วน เพราะรู้ธรรมหมดทุกส่วน และเมื่อยืนยัน

ก็ยืนยันอย่างนี้ว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี ยืนก็ดี ฯลฯ ญาณทัสสนะปรากฎอยู่

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตต ได้แก่ เนืองนิตย์. บทว่า สมิต

เป็นไวพจน์ของบทนั้นเทียว. คำนี้ว่า ดูก่อนนิครนถ์ผู้มีอายุ พวกท่านทราบ

ละหรือว่า ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมดา

บุรุษย่อมรู้กิจที่ทำ กู้หนี้ ๒๐ กหาปณะ ชำระแล้ว ๑๐ กหาปณะ ก็รู้ว่า เรา

ชำระแล้ว ๑๐ กหาปณะ ยังคงเป็นหนี้ ๑๐ กหาปณะ ครั้นชำระกหาปณะแม้เหล่า

นั้นหมดแล้ว ย่อมรู้กิจทั้งปวงว่า หนี้ทั้งหมดเราชำระแล้ว เกี่ยวส่วนที่สาม

แห่งนา ก็รู้ว่า ส่วนหนึ่งเกี่ยวแล้ว ยังเหลือสองส่วน ครั้นเกี่ยวส่วนหนึ่งอีก

ก็รู้ว่า ส่วนหนึ่งยังเหลือ ครั้นส่วนแม้นั้นเกี่ยวแล้ว ก็รู้ว่า กิจทุกอย่างเสร็จ

แล้ว ย่อมรู้กิจที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำในกิจทั้งปวงอย่างนี้ แม้พวกท่านก็พึงรู้

อย่างนั้น. ด้วยคำนี้ว่า การละอกุศลธรรมทั้งหลาย ตรัสถามว่า ชื่อว่า

นิครนถ์ผู้ละอกุศล เจริญกุศล ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว มีอยู่ในศาสนาของ

พวกท่านหรือ. บทว่า เอว สนฺเต ความว่า ครั้นความที่พวกท่านรู้อย่างนี้

มีอยู่. บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ มีมรรยาทเลวทราม. บทว่า โลหิตปาณิโน

ได้แก่ ผู้พรากสัตว์จากชีวิต ชื่อว่า มีมือเปื้อนด้วยเลือด. ก็ธรรมดามือของ

ผู้ฆ่าสัตว์แม้ใด ย่อมเปื้อนด้วยเลือด ผู้แม้นั้นเรียกว่า มีมือเปื้อนเลือดเหมือนกัน.

บทว่า กุรูรกมฺมนฺตา ได้แก่ ทารุณกรรม คือกระทำความผิดในมารดา บิดา

และสมณพราหณ์ผู้มีธรรมเป็นต้น หรือ กรรมอันหยาบช้ามีพรานเนื้อ

เป็นต้น. นิครนถ์ทั้งหลายสำคัญว่า สมณโคดมนี้ให้โทษในวาทะของพวกเรา

แม้พวกเราจะยกโทษแก่สมณโคดมนั้น จึงปรารภคำนี้ว่า ดูก่อนท่านพระโคดม

ผู้มีอายุ ดังนี้. บทนั้นมีเนื้อความว่า ดูกรท่านพระโคดมผู้มีอายุ พระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ทรงจีวรอันประณีต เสวยข้าวสาลี เนื้อ และ น้ำ ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี

มีสีดังเทพวิมาน ประสบความสุขได้ด้วยความสุขฉันใด บุคคลไม่พึงประสบ

ความสุขด้วยความสุขฉันนั้น. อนึ่ง พวกข้าพเจ้าเสวยความทุกข์นานับประการ

ด้วยความเพียรทั้งหลาย มีความเพียรในการนั่งกระโหย่งเป็นต้นฉันใด

บุคคลพึงประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์ฉันนั้น ดังนี้. บทว่า สุเขน จ

อาวุโส นี้ กล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ถ้าบุคคลพึงประสบความสุขได้ด้วยความ

สุขไซร้ พระราชาก็พึงประสบดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาคโธ

ได้แก่ ทรงมีอิสระแห่งแคว้นมคธ. บทว่า เสนิโย คือ พระนามของพระเจ้า

แผ่นดินมคธนั้น. บทว่า พิมฺพิ ได้แก่ พระนามของอัตตภาพ. พระองค์เป็นสาระ

แห่งแคว้นมคธนั้น ทรงน่าดู เป็นที่น่าเลื่อมใส จึงขนานพระนามว่า พิมพิสาร

เพราะความสำเร็จในอัตภาพ. พวกนิครนถ์นั้นหมายถึงการเสวยสมบัติพร้อม

กับนางฟ้อนรำทั้งหลาย ซึ่งมีวัยทั้ง ๓ ในปราสาททั้ง ๓ ของพระราชา จึงกล่าว

คำนี้ว่า ทรงอยู่เป็นสุขดีกว่า ดังนี้. บทว่า อทฺธา ได้แก่โดยส่วนเดียว.

บทว่า สหสา อปฺปฏิสงฺขา ได้แก่ ทรงแสดงว่า พวกนิครนถ์หุนหันไม่

ทันพิจารณา จึงพูดวาจาอย่างนั้น เหมือนคนกำหนัดแล้วพูดด้วยอำนาจราคะ

คนโกรธแล้วพูดด้วยอำนาจโทสะ คนหลงแล้วพูดด้วยอำนาจโมหะฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ ความว่า เราจักถามในอรรถะ

นั้น. บทว่า ยถา โว ขเมยฺย ความว่า พวกท่านพึงชอบใจฉันใด. บทว่า

ปโหติ ได้แก่ ย่อมอาจ. บทว่า อนิญฺชมาโน ได้แก่ ไม่หวั่นไหว. บทว่า

เอกนฺตสุขปฏิสเวที ได้แก่ เสวยความสุขชั่วนิรันดร์. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงความสุขในผลสมาบัติของพระองค์ จึงตรัสคำนี้ ว่าดูก่อนนิครนถ์

ผู้มีอายุ เราแหละสามารถ ฯลฯ เสวยความสุขส่วนเดียว ดังนี้. ก็ทรงกระทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

วาระแห่งพระราชาให้เป็นต้นถึงเจ็ดวาระแล้วทรงกระทำคำถามเพื่อให้จบถ้อยคำ

ในที่นี้. ก็ครั้นกล่าวว่า ไม่สามารถถึงเจ็ดคืน เจ็ดวันได้ จึงมีคำถามความสุข

หกคืนหกวัน ห้าคืนห้าวัน สี่คืนสี่วัน ดังนี้. แต่ในพุทธวาระ ครั้นตรัส

ถึงเจ็ดคืน เจ็ดวัน จะตรัสอีกว่า หกคืนหกวัน ห้าคืนห้าวัน สี่คืนสี่วัน ก็

จะไม่เป็นที่อัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสรวมเป็นอันเดียวกันแล้ว ทรงกระทำ

เทศนา. บทที่เหลือในบททั้งหมดมีความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาจุลลทุกขักขันธสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

๕. อนุมานสูตร

[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคลลานะพำนักอยู่ ณ เภสกฬาวัน อันเป็น

สถานที่ให้อภัยแก่เนื้อ ตำบลสุงสุมารคิระ ภัคคชนบท ณ ที่นั้นแล ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ ภิกษุ

เหล่านั้นรับคำของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.

[๒๒๒] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย ถ้าแม้ภิกษุปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ เป็นผู้ควรที่ท่าน

จะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่ายาก ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้เป็นคนว่า

ยาก เป็นผู้ไม่อดทนไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพื่อน

พรหมจรรย์ต่างไม่สำคัญภิกษุนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรพร่ำสอน ทั้งไม่สำคัญ

ว่า ควรถึงความไว้วางใจในบุคคล นั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายากเป็นไฉน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก

แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก

นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่ม

ผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมัก

โกรธ อันความโกรธครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ อันความโกรธ

ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมัก

โกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ ผูก

โกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ

มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ มัก

ระแวง นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนมักโกรธ

เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อ

ความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ

โต้เถียงโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ

รุกรานโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้คนว่ายาก.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับ

ปรักปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์

โจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคน

ว่ายาก.

๑๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์

ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๑๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคน

ลบหลู่ ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนลบหลู่ ดีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็น

คนว่ายาก.

๑๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนริษยา

เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ นี้ก็เป็นธรรมที่

ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๑๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคน

โอ้อวดเจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนโอ้อวด เจ้ามายา นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้

เป็นคนว่ายาก.

๑๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคน

กระด้างดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรม

ที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

๑๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นคนถือแต่

ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคนถือแต่ความเห็น

ของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่ายาก.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมที่ทำให้เป็น

คนว่ายาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

ธรรมทำความเป็นคนว่าง่าย

[๒๒๓] ถ้าแม้ภิกษุไม่ปวารณาไว้ว่า ขอท่านจงว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ

เป็นผู้ควรที่ท่านจะว่ากล่าวได้ แต่ภิกษุนั้นเป็นคนว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม

ที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ เมื่อเป็นเช่นนี้

เพื่อนพรหมจรรย์ต่างสำคัญภิกษุนั้นว่าควรว่ากล่าวได้ ควรพร่ำสอนได้ ทั้ง

สำคัญว่าควรถึงความไว้วางใจในบุคคลนั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ก็ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย เป็นไฉน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้

๑. ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนา

ลามก แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความ

ปรารถนาลามก นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน

ไม่ข่มผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้

เป็นคนว่าง่าย.

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมัก

โกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ อัน

ความโกรธไม่ครอบงำแล้ว นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคนมัก

โกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ

ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

มักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

มักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้

เป็นคนว่าง่าย.

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

มักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่

เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียงโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่โต้เถียง

โจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง ไม่รุกรานโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่รุกราน

โจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง ไม่ปรักปรำโจทก์ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่ปรัก-

ปรำโจทก์ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็น

โจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์

ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

๑๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุถูกภิกษุผู้

เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ แม้ข้อที่ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์

ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่งภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่

ไม่ตีเสมอ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ดีเสมอ นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้

เป็นคนว่าง่าย.

๑๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

ริษยาไม่เป็นคนตระหนี่ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ นี้ก็

เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

โอ้อวด มิใช่เจ้ามายา แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนโอ้อวด มิใช่เจ้ามายา นี้ก็เป็น

ธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็

เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคนว่าง่าย.

๑๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นคน

ถือแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นคนถือ

แต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย นี้ก็เป็นธรรมที่ทำให้เป็นคน

ว่าง่าย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าธรรมทำให้เป็นคน

ว่าง่าย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

เอาใจเขาใส่ใจเรา

[๒๒๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุพึง

เทียบเคียงตน ด้วยตนเองอย่างนี้ว่า บุคคลที่มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ

แห่งความปรารถนาลามก หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึง

เป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกบ้างเล่า เรา

คงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่

อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมีความปรารถนาลามก

ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ถึงบุคคลที่ยกตนข่มผู้อื่นก็หาเป็นที่รักใคร่

พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนยกตนข่มผู้อื่นบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่

รักใคร่พอใจของคนอื่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยัง

ความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ

อันความโกรธครอบงำ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็น

คนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของ

คนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิด

ขึ้นว่า จักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ให้ความโกรธครอบงำ. บุคคลที่เป็นคนมัก

โกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่

ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า

เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่

อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ

เพราะความโกรธเป็นเหตุ. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธมักระแวงจัด เพราะ

ความโกรธเป็นเหตุ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคน

มักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุบ้างเล่า. เราก็คงไม่เป็นที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยัง

ความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความ

โกรธเป็นเหตุ. ถึงบุคคลที่เป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจา

ใกล้ต่อความโกรธบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็น

คนมักโกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์

ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูก

บุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจ

ของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้

เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่โต้เถียงโจทก์. ถึงบุคคลที่ถูก

บุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่

ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้องกลับรุกรานโจทก์บ้างเล่า เราคงไม่เป็น

ที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้

พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่รุกรานโจทก์.

ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์ ก็หาเป็นที่รักใคร่

พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์

บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง

จักไม่ปรักปรำโจทก์. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมา

กลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อ

ฟังให้ปรากฏ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้

เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอ

ใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้

เกิดขึ้นว่า เราถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง จักไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่

พูดนอกเรื่อง ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้

ปรากฏ. ถึงบุคคลที่ถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ

ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงถูกบุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง

ไม่พอใจตอบในความพระพฤติ เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราถูก

บุคคลผู้เป็นโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ. ถึงบุคคลที่เป็นคนลบหลู่

ตีเสมอ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนลบหลู่ตีเสมอ

บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนลบหลู่ ตีเสมอ.

ถึงบุคคลที่เป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่ ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่

ก็หากเราจะพึงเป็นคนริษยา เป็นคนตระหนี่บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่

พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความ

คิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่. ถึงบุคคลที่เป็น

คนโอ้อวด เจ้ามายา ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็น

คนโอ้อวด เจ้ามายาบ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่

เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมายา ถึงบุคคลที่เป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น นี้ก็หาเป็น

ที่รักใคร่พอใจของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นบ้างเล่า

เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่

อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ถึงบุคคลที่ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก ก็หาเป็นที่รักใคร่พอใจ

ของเราไม่ ก็หากเราจะพึงเป็นคนถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยาก

บ้างเล่า เราคงไม่เป็นที่รักใคร่พอใจของคนอื่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ พึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักไม่เป็นคนถือแต่ความเห็น

ของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่ายดังนี้.

การพิจารณาตัวเอง

[๒๒๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ในธรรมทั้ง ๑๖ ข้อนั้น ภิกษุ

พึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคนมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ

แห่งความปรารถนาลามกหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมี

ความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามกจริง ก็ควรพยายามเพื่อ

ที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่ใช่คน

มีความปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ภิกษุนั้นพึงอยู่

ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาคนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนยกตนข่มผู้อื่นหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนยกตนข่ม

ผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณา

อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและ

ปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็นคน

มักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรา

เป็นคนมักโกรธ อันความโกรธครอบงำแล้วจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมัก

โกรธ อันความโกรธไม่ครอบงำ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นที

เดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้

อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุจริง ก็

ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้

ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่ผูกโกรธ เพราะความโกรธเป็นเหตุ ภิกษุนั้น

พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุหรือไม่. หากพิจารณา

อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนมักโกรธ มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ

จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่

รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่มักระแวงจัด เพราะความโกรธเป็นเหตุ

ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน

ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธหรือไม่. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

เราเป็นคนมักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะ

ละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนมัก

โกรธ ไม่เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น

ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก

โจทก์ฟ้อง ไม่กลับโต้เถียงโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว

หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก

โจทก์ฟ้อง ไม่กลับรุกรานโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว

หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

อกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูก

โจทก์ฟ้อง ไม่กลับปรักปรำโจทก์ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น

ทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดง

ความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏหรือไม่. หากพิจารณา

อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน

พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏจริง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่าง

นี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อน ไม่พูดนอกเรื่อง

ไม่แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ ภิกษุนั้นพึง

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล-

ธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

จำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติหรือไม่ หากพิจารณาอยู่

รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติจริง

ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมที่ชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

เราเป็นจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง พอใจตอบในความประพฤติ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วย

ปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนลบหลู่ ตีเสมอหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนลบหลู่

ตีเสมอจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณา

อยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและ

ปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนริษยา เป็นคนตระหนี่หรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนริษยา

เป็นคนตระหนี่จริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หาก

พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนริษยา ไม่เป็นคนตระหนี่ ภิกษุนั้นพึง

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนโอ้อวด เจ้ามายาหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคนโอ้อวด

เจ้ามายาจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หาก

พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่เป็นคนเจ้ามายา ภิกษุนั้น

พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนกระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเป็นคน

กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่นจริง ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย.

หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราไม่เป็นคนกระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ภิกษุนั้น

พึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงพิจารณาตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า เราเป็น

คนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากหรือไม่ หากพิจารณาอยู่รู้

อย่างนี้ว่า เราเป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ถือรั้น ถอนได้ยากจริง

ก็ควรพยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสีย. หากพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้

ว่า เราไม่เป็นคนถือเอาแต่ความเห็นของตน ไม่ถือรั้น ถอนได้ง่าย ภิกษุ

นั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากภิกษุพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรม

อันชั่วช้าเหล่านี้ ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควรพยายามเพื่อที่จะละ

อกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้นทั้งหมด หากพิจารณาอยู่ เห็นชัดอกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

อันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติและปราโมทย์

นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อุปมาเหมือนสตรีหรือบุรุษ รุ่นกำดัด

ชอบโอ่อ่า ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงา หรือในภาชนะน้ำใสสะอาด

บริสุทธิ์ ถ้าเห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้านั้น ย่อมพยายามที่จะให้ธุลีหรือสิวนั้น

หายไป หากไม่เห็นธุลีหรือสิวบนใบหน้า ก็จะรู้ลึกพอใจว่า ช่างเป็นลาภ

ของเรา ใบหน้าของเราบริสุทธิ์สะอาดดังนี้ ฉันใด แม้ภิกษุหากพิจารณาอยู่

เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ยังละไม่ได้ในตน ภิกษุนั้นก็ควร

พยายามเพื่อที่จะละอกุศลธรรมอันชั่วช้านั้นเสียทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อพิจารณาอยู่

เห็นชัดอกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านี้ทั้งหมด ที่ละได้แล้วในตน ภิกษุนั้นพึงอยู่

ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นทีเดียว หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ฉันนั้น นั่นแล.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวภาษิตดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วแล.

จบ อนุมานสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

อรรถกถาอนุมานสูตร

อนุมานสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับดังนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภคฺเคสุ ได้แก่ ในชนบทมีชื่ออย่างนั้น.

ก็เนื้อความแห่งคำพึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วในที่นี้ . บทว่า สสุมารคิเร

ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า ในวันเป็นที่กำหนดพื้นที่สร้างนครนั้น

จระเข้ในสระอันไม่ไกลได้ร้องขึ้น เปล่งเสียงว่า คิระ ครั้นสร้างนครนั้น

เสร็จแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อนครนั้นว่า สังสุมารคิร. บทว่า เภสก-

ฬาวเน ได้แก่ ในป่าอันมีชื่อว่า เภสกฬา. บาลีว่า เภสกวัน ดังนี้ก็มี.

บทว่า มิคทาเย ความว่า ป่านั้นได้เกิดในที่เป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อและนกทั้ง

หลาย เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มิคทายะ. บทว่า ปวาเรติ ได้แก่ ย่อม

ปรารถนา. บทว่า วทนฺตุ ความว่า จงว่ากล่าว คือ จงโอวาท จงพร่ำสอน

ด้วยสามารถแห่งโอวาทและอนุสาสนี. บทว่า วจนีโยมฺหิ ความว่า เราอัน

ท่านพึงว่ากล่าว คือ พึงพร่ำสอน พึงโอวาท. บทว่า โส จ โหติ ทุพฺพโจ

ความว่า ก็ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก คือ กล่าวแล้วไม่อดทน. บทว่า

โทวจสฺสกรเณหิ ความว่า ด้วยธรรม ๑๖ ประการ อันมาแล้วในข้างหน้า

ซึ่งเป็นธรรมทำให้เป็นผู้ว่ากล่าวโดยยาก. บทว่า อปทกฺขิณคฺคาหี อนุ-

สาสนึ ความว่า ก็ภิกษุใด เมื่อถูกว่ากล่าว จึงพูดว่า ท่านทั้งหลายว่ากล่าว

ผมเพราะเหตุไร ผมย่อมรู้สิ่งที่ควรและไม่ควร โทษและไม่ใช่โทษ ประโยชน์

และไม่ใช่ประโยชน์ของตน ภิกษุนี้ ชื่อว่าไม่รับคำพร่ำสอนโดยเบื้องขวา ย่อม

รับโดยเบื้องซ้าย เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ. บทว่า

ปาปกาน อิจฺฉาน คือ ความปรารถนาอันก่อให้เกิดความไม่สงบลามก.

บทว่า ปฏิปฺผรติ ย่อมดำรงตนเป็นผู้โต้ตอบเป็นข้าศึก. บทว่า อปสาเทติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ความว่า ย่อมพยายามอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแก่ท่านผู้พาล ไม่ฉลาด

ธรรมดาแม้ท่านจักสำคัญคำที่พึงกล่าวมิใช่หรือ. บทว่า ปจฺจาโรเปติ

ความว่า กลับปรักปรำอย่างนี้ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืน

อาบัตินั้นก่อน. บทว่า อญฺเนญฺ ปฏิจรติ คือ ปกปิดด้วยเรื่องอื่น

ด้วยคำอื่น หรือกลบเกลื่อนเรื่องอื่น คำอื่น. ครั้นภิกษุอื่นกล่าวว่า ท่านต้อง

อาบัติ ก็พูดว่า ใครต้อง ต้องอาบัติอะไร ต้องในที่ไหน ท่านพูดกะใคร

ท่านพูดอะไร ดังนี้ ครั้นภิกษุอื่นพูดว่า ท่านได้เห็นอะไรๆ เห็นปานนี้ ก็

เบือนหู ว่าเราจะไม่ฟัง ดังนี้. บทว่า พหิทฺธา กถ อปนาเมติ ความ

ว่า ภิกษุนั้น ถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ ถามว่า ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ ก็พูดว่า เรา

ไปสู่เมืองปาตลิบุตร ครั้นภิกษุผู้โจทก์กล่าวอีกว่า พวกเราไม่ได้ถามถึงการไป

เมืองปาฏลีบุตรของท่าน พวกเราถามถึงอาบัติ แต่นั้นก็กล่าวคำมีอาทิว่า

ข้าพเจ้าไปสู่เมืองราชคฤห์ ท่านจงไปสู่เมืองราชคฤห์ หรือท่านต้องอาบัติใน

บ้านพราหมณ์ ท่านได้เนื้อสุกรในบ้านพราหมณ์นั้น ดังนี้ ชื่อว่า พูดนอก

เรื่อง. บทว่า อปทาเน คือ ในความประพฤติของตน. บทว่า น สมฺ-

ปายติ ความว่า ภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นโจทก์ถามถึงความประพฤติโดยนัยมีอาทิว่า

ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านอยู่ที่ไหน ท่านอาศัยใครอยู่. หรือว่าท่านพูดกะผู้ใด ผู้นั้น

ต้องอาบัติอันข้าพเจ้าเห็นแล้ว ๆ หรือว่า ในสมัยนั้น ท่านทำอะไร ข้าพเจ้าทำ

อะไร หรือ ท่านอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ดังนี้ ก็ไม่อาจเพื่อให้พอใจกล่าว.

บทว่า ตตฺราวุโส ความว่า ดูก่อนุผู้มีอายุ ในธรรม ๑๖ ประการนั้น. บทว่า

อตฺตนาว อตฺตาน เอว อนุมานิตพฺพ ความว่า พึงอนุมาน พึงชั่ง พึง

เทียบเคียง พึงพิจารณาตนด้วยตนเองเทียว อย่างนี้. บทว่า อโหรตฺ-

ตานุสิกฺขินา ความว่า ภิกษุเมื่อศึกษาแม้ตลอดวันตลอดคืน พึงศึกษากุศล

ธรรมทั้งหลายทั้งกลางคืนและกลางวัน ยังปีติและความปราโมทย์นั้นเทียวให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

เกิดขึ้น. บทว่า อจฺเฉ วา อุทกปตฺเต คือ ในภาชนะน้ำอันใส. บทว่า

มุขนิมิตฺต ได้แก่ เงาหน้า. บทว่า รช ได้แก่ ธุลีที่จรมา. บทว่า องฺคณ

ได้แก่จุคตกกระหรือต่อมที่เกิดบนใบหน้านั้น. พระเถระแสดงการละทั้งหมด

ด้วยบทนี้ว่า ซึ่งอกุศลธรรมอันชั่วเหล่านี้แม้ทั้งหมดที่ยังละไม่ได้. อย่างไร.

อย่างนี้คือ พระเถระแสดงปฏิสังขานปหานะแก่ภิกษุผู้ยังการพิจารณาให้เกิดขึ้น

ว่า อกุศลธรรมประมาณเท่านี้ ไม่สมควรแก่บรรพชิต แสดงวิกขัมภนปหานะ

แก่ภิกษุผู้ทำศีลให้เป็นปทัฏฐานแล้ว ปรารภกสิณบริกรรม ยังสมาบัติแปดให้

เกิดขึ้น แสดงตทังคปหานะแก่ภิกษุผู้ทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานแล้ว เจริญ

วิปัสสนา แสดงสมุจเฉทปหานะแก่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาแล้ว อบรมมรรค

แสดงปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว เแสดงนิสสรณปหานะ เมื่อนิพพาน

มาแล้ว เพราะฉะนั้น ปหานะทั้งหมดเป็นอันพระเถระแสดงแล้วเทียวในสูตร

นี้ด้วยประการฉะนี้. โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็สูตรนี้ ชื่อว่า ภิกขุ

ปาฏิโมกข์.

โบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ภิกษุพึงพิจารณาวันละ ๓ ครั้ง

ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุเข้าไปสู่สถานที่อยู่ แต่เช้าตรู่เทียว แล้วนั่งพิจารณา

ว่า กิเลสมีประมาณเท่านี้ ของเรามีอยู่ไม่หนอแล ถ้าเห็นว่า มี พึงพยายาม

เพื่อละกิเลสเหล่านั้น ถ้าเห็นว่า ไม่มี พึงเป็นผู้มีใจเป็นของตนว่า เราบวช

ดีแล้ว ทำภัตกิจนั่งในที่พักกลางคืน หรือในที่พักกลางวันแล้ว พึงพิจารณา

บ้าง นั่งในที่อยู่ในเวลาเย็น พึงพิจารณาบ้าง เมื่อไม่อาจพิจารณาถึงวันละ ๓ ครั้ง

ก็พึงพิจารณาเพียง ๒ ครั้ง แต่เมื่อไม่อาจถึง ๒ ครั้ง ก็พึงพิจารณาเพียง ๑

ครั้ง ที่เหลือ ไม่พิจารณาเลย ไม่สมควร ดังนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอนุมานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

๖. เจโตขีลสูตร

[๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแหละ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูป

ใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ

ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้.

[๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ

ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบ

แคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร

ที่ตั้งมั่น. ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่า

ตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่

ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย

เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

ความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส

เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่าง

นี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่

ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย

เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

ความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส

เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้

ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่

ปลงใจเชื่อไม่เลื่อมใสในสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบ

แคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร

เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆเพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร

ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่า

ตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอ

ใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ

กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

ความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส

เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่าง

นี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ตะปูตรึงใจ ๕

ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.

เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ

[๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็น

ไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจาก

ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจาก

ความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยาน

ในกาม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่

ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่

ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานในกาม ย่อมไม่น้อม

ไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆเพื่อความทำติดต่อ

เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น. ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา

กิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น

อย่างนี้ ชื่อว่า เครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความ

กำหนด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ

กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานในร่างกาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ

พอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

ความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส

เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่าง

นี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความ

กำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ

กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานในรูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ

พอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความ

เร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ

เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ

ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อ

ว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความ

ประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขใน

ความหลับอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์

แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับ

อยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ

เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๔. ที่ภิกษุนั้นยังถอน

ไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักพระพฤติพรหมจรรย์

เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใด

องค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์

อันนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ

ปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์-

หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์

อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ

เนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น. ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อม

ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติด

ต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่

ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุ

นั้นยังถอนไม่ได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ

เหล่านี้ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านั้น ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความ

เจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕

ประการเสียได้ ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึง

ความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็น

ไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบ

แคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมน้อม

ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติด

ต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น. ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่อง

เผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง

มั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง

ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย

ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเธอ เลื่อมใสในพระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความ

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ

เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ

ความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้

ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง

ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย

ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความ

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ

เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ

ความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น อย่างนี้

ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง

ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุไม่สงสัย ไม่

เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในสิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียร

เครี่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ

ความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้

ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง

ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่

ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง

ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่

ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส

เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น ข้อที่จิต

ของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ

เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ

ที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น

ละได้แล้ว.

[๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษนั้นถอนได้ดีแล้วเป็น

ไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความ

กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย

ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานในกาม ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก

ความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความ

ทะเยอะทะยานในกามนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของ

ภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อ

ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการ

ที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความ

กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย

ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานในร่างกาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศ

จากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความ

ทะเยอทะยานในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ

ความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อวามเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิต

ของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ

เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ

ประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความ

กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย

ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานในรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก

ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน

ในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ

เนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไป

เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ

เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้น

ถอนได้ดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภค อิ่มพอความ

ประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

ในความหลับอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความ

ประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข

ในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุ

น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความ

ทำติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓

ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหม-

จรรย์ปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใด

องค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์

อันนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา

เทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง

ด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น

ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อ

ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น. ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ

เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อ

ความเพียรตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้น ถอน

ได้ดีแล้ว. เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ

เหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจัก

ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

อุปมาเหมือนไข่ของแม่ไก่

[๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑

วิริยสมาธิปธานสังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธาน

สังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประ-

กอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควรแก่ความ

เบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอด

โปร่งจากโยคะอย่างสูงเยี่ยม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมัก-

เขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควรแก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้

ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่

ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่น

โดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้

จงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็

ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก

ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบโจโตขีลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

อรรถกถาเจโตขีลสูตร

เจโตขีลสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-

ในเจโตขีลสูตรนั้น ความที่จิตเป็นชาติแข็งกระด้าง ความที่จิตเป็น

ดุจเกราะ ความที่จิตเป็นดุจตอไม้ ชื่อว่า เจโตขีลา. บทว่า เจตโส วินิ-

พนฺธา ความว่า กิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวจิต เพราะอรรถว่า ผูกพันจิตยึดไว้

เหมือนทำไว้ในกำมือ. ความเจริญด้วยศีล ความงอกงามด้วยมรรค ความไพบูลย์

ด้วยนิพพาน หรือความเจริญด้วยศีลและสมาธิ ความงอกงามด้วยวิปัสสนา-

มรรค ความไพบูลย์ด้วยผลและนิพพานในบทเป็นต้นว่า วุฑฺฒึ. บทว่า

สตฺถริ กงฺขติ ความว่า ภิกษุสงสัยในพระสรีระหรือพระคุณของพระศาสดา.

ภิกษุเมื่อสงสัยในพระสรีระ ก็ย่อมสงสัยว่า พระสรีระที่ประดับประดาด้วยพระ

ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการมีอยู่หนอแล หรือไม่มี. เมื่อสงสัยในพระคุณ

ก็ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน

มีอยู่หรือไม่หนอ. บทว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อวิจัยย่อมเคลือบแคลงคือ

ย่อมถึงทุกข์ ย่อมไม่อาจวินิจฉัย. บทว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ย่อมไม่ได้

รับความน้อมไปว่า นั่นต้องเป็นอย่างนี้. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า

ย่อมไม่อาจเพื่อหยั่งลงในพระคุณทั้งหลายแล้วเลื่อมใส โดยความเป็นผู้ปราศจาก

ความเคลือบแคลง คือ เพื่อเป็นผู้หมดความสงสัย. บทว่า อาตปฺปาย

ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า อนุโยคาย

ความว่า เพื่อประกอบความเพียรบ่อย ๆ. บทว่า สาตจฺจาย ความว่า เพื่อ

กระทำต่อเนื่อง. บทว่า ปธานาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การตั้งมั่น.

บทว่า อย ปโม เจโตขีโล ความว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติแข็งกระด้าง ่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

กล่าวคือ ความเคลือบแคลงในพระศาสดาข้อที่ ๑ นี้ ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละยัง

ไม่ได้แล้ว ด้วยเหตุอย่างนี้. บทว่า ธมฺเม คือ ในปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม

และปฏิเวธธรรม. เมื่อสงสัยในปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวว่า พระพุทธพจน์ คือ ไตรปิฏกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นั่นมีอยู่

หนอแล หรือไม่มี. เมื่อสงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวว่า ความไหลออกแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า มรรค ความไหลออกแห่งมรรค

ชื่อว่า ผล การสลัดออกซึ่งสังขารทั้งปวง ชื่อว่า นิพพาน ดังนี้ นั้นมีอยู่

หรือไม่หนอแล. บทว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่า ชื่อว่า

พระสงฆ์ซึ่งเป็นหมู่แห่งบุคคล ๘ คือ ผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ ผู้

ปฏิบัติปฏิปทา เห็นปานนี้ ด้วยอำนาจแห่งบททั้งหลายมีว่า ผู้ปฏิบัติดี เป็นต้น

มีอยู่หรือไม่หนอแล. เมื่อสงสัยในสิกขา ก็ย่อมสงสัยว่า บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวว่า ชื่ออธิสีลสิกขา ชื่ออธิจิตตสิกขา ชื่ออธิปัญญาสิกขา ดังนี้ สิกขา

นั้นมีอยู่หรือไม่หนอแล. บทว่า อย ปญฺจโม ความว่า ความที่จิตเป็นธรรม

ชาติแข็งกระด้าง เป็นดุจเกราะ เป็นดุจตอไม้ กล่าวคือ ความกำเริบในเพื่อน

สพรหมจารีนี้ เป็นที่ห้า.

พึงทราบวินิจฉัยในกิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวทั้งหลาย. บทว่า กาเม

ได้แก่ วัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า กาเย ความว่า ในกายของตน.

บทว่า รูเป ความว่า ในรูปภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถ ความว่า มีประมาณ

เท่าที่ต้องการ. บทว่า อุทราวเทหก ได้แก่ เต็มท้อง. จริงอยู่ ท้องนั้น

เรียกว่า อุทราวเทหก เพราะไม่ย่อย. บทว่า เสยฺยสุข ความว่า ความ

สุขบนเตียงและบนตั่ง หรือความสุขในฤดู. บทว่า ปสฺสสุข ความว่า

ความสุขที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างความสุขตะแคงขวาและตะแคงซ้ายของผู้นอนพลิก

ไปมาฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุข ได้แก่ ความสุขในการหลับ. บทว่า อนุยุตฺโต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ความว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรอยู่. บทว่า ปณิธาย ความว่า ปรารถนา

แล้ว. จริงอยู่ จตุปาริสุทธสีล ชื่อว่า สีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน ดังนี้.

การสมาทานวัตร ชื่อว่า วตะ. การประพฤติดวามเพียรเครื่องเผากิเลส ชื่อว่า

ตบะ. การงดเว้นเมถุน ชื่อว่า พรหมจรรย์. บทว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ

ความว่า เราจักเป็นเทพเจ้าผู้มเหศักดิ์. บทว่า เทวญฺตโรวา ความว่า

หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งในบรรดาเทพผู้มีศักดิ์น้อย. สมาธิที่ถึงแล้วเพราะ

อาศัยความพอใจในอิทธิบาททั้งหลาย ชื่อว่า ฉันทสมาธิ. สังขารทั้งหลายที่

เป็นปธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. บทว่า สมนฺนาคต ความว่า ประกอบ

ด้วยธรรมเหล่านั้น. บาทแห่งฤทธิ์ หรือบาทที่เป็นฤทธิ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่า อิทธิบาท. ในบททั้งหลายแม้ที่เหลือ ก็มีนัยเช่นนั้นเทียว. ความสังเขป

ในพระสูตรนี้เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร มาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั้นแล.

ส่วนเนื้อความแห่งอิทธิบาทนั้นได้แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ได้กล่าวการละ

ด้วยการข่มไว้ด้วยอิทธิบาท ๔ นี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเพียรอันพึงกระทำในที่ทั้งปวงว่า

อุสฺโสฬฺหิ ในบทนี้ว่า อุสฺโสฬหิเยว ปญฺจมี ดังนี้. บทว่า อุสฺโสฬฺ-

หิปณฺณรสงฺคสมนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ ประการ

พร้อมกับความเพียรอย่างนี้ คือ การละตะปูตรึงใจ ๕ การละกิเลสเครื่องรึงรัด

จิต ๕ อิทธิบาท ๔ ความเพียร ๑. บทว่า ภพฺโพ ความว่า อนุรูป คือ

สมควร. บทว่า อภินิพฺภิทาย ความว่า เพื่อทำลายกิเลสด้วยญาณ. บทว่า

สมฺโพธาย ความว่า เพื่อตรัสรู้ดีซึ่งมรรคสี่. บทว่า อนุตฺตรสฺส ความว่า

ประเสริฐที่สุด. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ความว่า ความเกษมจากโยคะสี่ คือ

พระอรหัต. บทว่า อธิคมาย ความว่า เพื่อได้รับ. ศัพท์ว่า เสยฺยถา

เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเปรียบเทียบ. ศัพท์ว่า ปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ยกย่อง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด ดังนี้

ด้วยบทแม้ทั้งสอง. ก็ในบทนี้ว่า ไข่ของแม่ไก่มี ๘ ฟองบ้าง ๑๐ ฟองบ้าง.

๑๒ ฟองบ้าง ดังนี้ จะเป็นไข่ของแม่ไก่แม้น้อยกว่าหรือมากกว่าจากประการที่

กล่าวแล้วก็ตาม. แต่คำนั้นท่านกล่าวด้วยความสละสลวยแห่งถ้อยคำ. จริงอยู่

ถ้อยคำที่สละสลวยย่อมมีในโลกอย่างนี้. บทว่า ตานสฺสุ แยกบทเป็น ตานิ

อสฺสุ ความว่า ไข่เหล่านั้นพึงมี. บทว่า กุกฺกุฎิยา สมฺมา อธิสยิตานิ

ความว่า เมื่อแม่ไก่นั้นป้องปีกทั้งสองกกไข่เหล่านั้น ไข่เหล่านั้นเป็นอันแม่ไก่

กกดีแล้ว. บทว่า สมฺมา ปริเสทิตานิ ความว่า อันแม่ไก่ให้อบอุ่นตลอด

กาลอันสมควร เป็นอันอบอุ่นด้วยดี คือ โดยชอบ ได้แก่กระทำให้มีไออุ่น.

บทว่า สมฺมา ปริภาวิตานิ ความว่า เป็นอันฟักด้วยดี คือโดยชอบตลอดกาล

อันสมควร อธิบายว่า ให้ได้รับกลิ่นของไก่. บทว่า กิญฺจาปิ ตสฺส กุกฺกุฏิยา

ความว่า แม่ไก่นั้นทำความไม่ประมาทด้วยการทำกิริยาสามอย่างนี้ ไม่พึงเกิด

ความปรารถนาอย่างนี้โดยแท้. บทว่า อถโข ภพฺพาว เต ความว่า ลูกไก่

เหล่านั้น ควรแท้เพื่อออกมาโดยสวัสดี โดยนัยที่กล่าวแล้ว. จริงอยู่ เพราะ

ไข่ทั้งหลายอันแม่ไก่นั้นเพียรฟักด้วยอาการ ๓ อย่างนี้ ย่อมไม่เน่า ยางเหนียว

ของไข่เหล่านั้น ก็จะถึงความแก่ขึ้น เปลือกไข่ก็จะบาง ปลายเล็บเท้าและ

จะงอยปากก็จะแข็ง ไข่ทั้งหลายก็จะแก่รอบ แสงสว่างข้างนอกก็จะปรากฏข้างใน

เพราะเปลือกไข่บาง เพราะฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้นจึงใคร่จะออกด้วยคิดว่า เรา

งอปีกงอเท้าอยู่ในที่คับแคบ เป็นเวลานานแล้วหนอ และแสงสว่างภายนอกนี้

ก็ปรากฏ บัดนี้ พวกเราจักอยู่เป็นสุขในที่มีแสงสว่างนั้น ดังนี้ แล้วกะเทาะ-

เปลือกด้วยเท้า ยื่นคอออก แต่นั้น เปลือกนั้นก็จะแตกออกเป็นสองส่วน

ลำดับต่อมา ลูกไก่ทั้งหลาย ขยับปีก ร้อง ออกมาตามสมควรแก่ขณะนั้น

นั้นเทียว ครั้นออกมาแล้ว ก็จะเที่ยวหากิน ตามคามเขต. บทว่า เอวเมว โข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

นี้ มีอรรถว่าเปรียบเทียบ นักปราชญ์เปรียบเทียบด้วยอรรถอย่างนี้แล้ว

พึงทราบ. ก็พึงทราบความที่ภิกษุนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้ง

ความอุตสาหะเหมือนแม่ไก่นั้นทำกิริยา ๓ อย่างในไข่ทั้งหลายฉะนั้น ความ

ไม่เสื่อมแห่งวิปัสสนาญาณ เพราะความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา ๓ อย่าง

ของภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ เหมือนความที่ไข่ทั้งหลายไม่เน่า

เพราะความถึงพร้อมด้วยกิริยา ๓ อย่างของแม่ไก่ฉะนั้น การถือเอายาง

เหนียวคือความใคร่อันเป็นไปในภพ ๓ ด้วยความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา ๓

อย่างของภิกษุนั้น เหมือนการแก่รอบแห่งยางเหนียวของไข่ทั้งหลาย ด้วยการ

กระทำกิริยา ๓ อย่างของแม่ไก่ฉะนั้น ความที่เปลือกไข่คือ อวิชชา ของภิกษุ

เป็นธรรมชาติเบาบาง เหมือนความที่เปลือกไข่เป็นธรรมชาติบางฉะนั้น ความ

ที่วิปัสสนาญาณของภิกษุเป็นธรรมชาติคมแข็ง ผ่องใสและกล้า เหมือนความที่

ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากของลูกไก่ทั้งหลายเป็นธรรมชาติกระด้างและแข็ง

ฉะนั้น กาลเปลี่ยนแปลง กาลอันเจริญแล้ว กาลแห่งการถือห้องแห่งวิปัสสนา

ญาณของภิกษุ เหมือนกาลแปรไปแห่งลูกไก่ทั้งหลายฉะนั้น กาลที่ภิกษุนั้นให้

ถือห้องคือวิปัสสนาญาณเที่ยวไปได้อุตุสัปปายะ โภชนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ

หรือธรรมสวนสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น นั่งบนอาสนะเดียว

เจริญวิปัสสนา ทำลายเปลือกไข่คืออวิชชา ด้วยอรหัตมรรค ที่บรรลุแล้ว

โดยลำดับ ขยับปีกคืออภิญญาแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยสวัสดี เหมือนกาล

ที่ลูกไก่ทั้งหลายกะเทาะเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากแล้ว

ขยับปีกทั้งหลายออกมาโดยความสวัสดีฉะนั้น. ก็ฝ่ายแม่ไก่รู้ความที่ลูกไก่ทั้ง

หลายแก่จัดแล้ว ทำลายเปลือกไข่ฉันใด แม้พระศาสดาก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ทรงรู้ความแก่งอมแห่งญาณของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ทรงแผ่โอภาสแล้ว

ทรงทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาด้วยพระคาถามีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

บุคคลพึงตัดความรักของตน ดุจเด็ด

ดอกโกมุทในสารกาลด้วยมือ แล้วพอก

พูนเฉพาะทางสันติเท่านั้น พระนิพพาน

อันพระสุคต แสดงไว้แล้ว.

ภิกษุนั้นทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาแล้ว บรรลุพระอรหัตในเวลาจบ

พระคาถา. จำเดิมแต่นั้น ลูกไก่เหล่านั้น ยังคามเขตให้งามเที่ยวไปในคาม

เขตนั้นฉันใด ภิกษุแม้นี้เป็นพระมหาขีณาสพบรรลุผลสมาบัติ อันมีนิพพาน

เป็นอารมณ์แล้ว ยังสังฆารามให้งามอยู่เที่ยวไปฉันนั้น. ท่านแสดงปหานะ ๔

อย่าง ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. อย่างไร. ก็ท่านแสดงปฏิสังขาปหานะ

ด้วยการละตะปูตรึงใจทั้งหลาย ละกิเลศเครื่องรึงรัดใจทั้งหลาย แสดงวิขัมภน

ปหานะ ด้วยอิทธิบาททั้งหลาย แสดงสมุจเฉทปหานะ เมื่อมรรคมาแล้ว

แสดงปฏิปัสสัทธิปหานะ เมื่อผลมาแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้นดังนี้.

จบอรรถกถาเจโตขีลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

๗. วนปัตถสูตร

[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราจะแสดงวนปัตถปริยาย [เหตุของการอยู่ป่าชัฏ] แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้ง

หลายจงพึงปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อ

เธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น

ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุ

ธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุด

หนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้

อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่

ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเรา

ไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย

เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น

ได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ใน

เวลากลางคืน หรือในเวลากลางวันก็ตามไม่ควรอยู่.

ตรัสเหตุของการอยู่ป่าชัฏ

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป

อาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่

ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึง

ความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยัง

ไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำเป็นต้องนำมาบริโภค ปัจจัย

เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชักนี้อยู่ สติ

ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็

ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยัง

ไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัย

เหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพ-

ชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่

ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป

และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดู-

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัย

ป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ

ก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ

ภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น

ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น พึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็

ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ

เราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ส่วน

ปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิด

ขึ้นได้โดยยาก. แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุ

บิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น

เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้ง

มั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอด-

โปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้

แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่า

ชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็

ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุ

นั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย

เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

บริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้

โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามา

อาศัยป่าชัฏน้อย เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ

จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อม

ได้บรรลุความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง

อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภคปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่

ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรอยู่ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่

ควรหลีกไปเสีย.

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัย

บ้านแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. . . เข้าไปอาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. . . เข้าไปอาศัย

นครแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่...เข้าไปอาศัยชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่. . . เข้าไปอาศัย

บุคคลใคบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็

ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป

และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น

ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ

ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป

และไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วน

ปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีก

ไปเสียในเวลากลางวันหรือกลางคืน ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย.

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัย

บุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลผู้นั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่

ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป

และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น

ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ

ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป

และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วน

ปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิด

ขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร

เหตุบิณฑบาต เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น

เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น

ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรม

อันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นั้นแม้รู้แล้ว ไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย ไม่ควรพัวพันกะบุคคล

นั้นเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ตรัสเหตุเข้าไปอาศัยคนใดคนหนึ่งอยู่

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัย

บุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ

ก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ

ภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วน

ปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย

เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิด

ขึ้นได้โดยยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้า

มาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็

ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ

เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย

เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช

บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้

โดยยาก แต่ว่าเราในได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เหตุจีวร เหตุบิณฑบาต

เหตุเสนาสนะ เหตุคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามา

อาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยิ่งไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ

ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ

อย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วก็ควรพัวพัน

กะบุคคลนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย.

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไป

อาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่

ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย

ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อม

เกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเรานั้นเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ

ก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ

เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย

เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช

บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้

โดยไม่ยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพัวพันอยู่กะบุคคลนั้นจนตลอด

ชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ วนปัตถสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

อรรถกถาวนปัตถปริยายสูตร

วนปัตถปริยานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-

บทว่า วนปตฺถปริยาย ได้แก่ เหตุของการอยู่ป่าชัฏหรือ การแสดง

การอยู่ป่าชัฏ. บทว่า วนปตฺถ นิสฺสาย วิหรติ ความว่า ภิกษุอาศัย

เสนาสนะในราวป่า อันพ้นจากสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ประพฤติสมณธรรมอยู่.

ในบทว่า อนุปฏฺิตา เป็นต้น มีอธิบายว่า เมื่อเธอแม้เข้าไปอาศัยป่าชัฏ

นั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏในกาลก่อน ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นในกาลก่อน

ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไปในกาลก่อน ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และ

ภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุอรหัต กล่าวคือ ความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่

บรรลุในกาลก่อน. บทว่า ชีวิตปริกฺขารา คือ เครื่องบำรุงชีวิต. บทว่า

สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ อันพึงนำมาพร้อม. บทว่า กสิเรน สมุทาคจฺฉนฺติ

คือ เกิดขึ้นโดยยาก. บทว่า รตฺติภาค วา ทิวสภาค วา ได้แก่ ในส่วน

กลางคืน หรือในส่วนกลางวัน. ก็ในที่นั้น ภิกษุพิจารณาอยู่ในส่วนกลางคืน

รู้แล้วควรหลีกไปในกลางคืนนั้นเทียว ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวแห่งสัตว์ดุร้ายเป็นต้น

ในกลางคืนมีอยู่ ควรรออรุณขึ้น รู้ในส่วนกลางวัน ควรหลีกไปในกลางวันเทียว

ครั้นเมื่อทางเปลี่ยวในกลางวันมีอยู่. ก็ควรรอพระอาทิตย์ตก. บทว่า สขาปิ

ความว่า รู้ความที่สมณธรรมไม่สำเร็จอย่างนี้. บทว่า อนนฺตรวาเร ปน

สขาปิ ความว่า รู้ความที่สมณธรรมสำเร็จอย่างนี้. บทว่า ยาวชีว ความว่า

ชีวิตยังเป็นไปตราบใด ควรอยู่ตราบนั้นเทียว. บทว่า โส ปุคฺคโล เชื่อมกับ

บทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ. ก็ในบทว่า อนาปุจฺฉา มีอธิบายว่า ภิกษุนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย. บทว่า สขาปิ ความว่า ภิกษุรู้ความ

ที่สมณธรรมไม่สำเร็จอย่างนี้ ไม่ควรพัวพันกับบุคคลนั้น ควรบอกบุคคลนั้น

หลีกไปเสีย. บทว่า อปิ สมุชฺชมาเนนปิ ได้แก่ แม้จะถูกฉุดคร่าก็ตาม. ก็บุคคล

เห็นปานนี้ แม้ถ้าจะให้นำไม้ร้อยกำ น้ำร้อยหม้อ หรือทราบร้อยถุง หรือให้

ฉุดคร่าว่า เจ้าอย่าอยู่ในที่นี้ ก็ควรให้บุคคลนั้นขอโทษ พึงอยู่ตลอดชีพนั้น

เทียวแล.

จบ อรรถกถาวนปัตถปริยายสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

๘. มธุปิณฑิกสูตร

[๒๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต-

พระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อ

บิณฑบาต. ครั้นเสร็จจากการเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่า

มหาวัน เพื่อทรงพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงประทับนั่งพักกลางวัน

ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม. แม้ทัณฑปาณิศากยะ กำลังเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้

เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังต้นมะตูมหนุ่ม ได้

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามว่า พระสมณะมีปรกติ

กล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าว

อย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ดำรง

อยู่ในโลก และสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลาย

นั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่

ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปรกติบอกอย่างนั้น. เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำ

หน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ

[๒๔๔] ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่

หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไปยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย

ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่า

ให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์เพื่อ

บิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อ

พักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่า

มหาวัน ครั้นแล้วเข้าไปหาเรายังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะมีปรกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะกล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า

ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่ง

ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำ

พราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว

ผู้ปราศจากตัณหาในภพ น้อยภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปรกติกล่าวอย่างนั้น มี

ปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะสั่นศีรษะ

แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป

[๒๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล

ถามขึ้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปรกติตรัสอย่างไร

จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

อนึ่งสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่

ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้วผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่อง

เนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ

กล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิ-

ฆานุสัย เป็นที่สุคแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่ง

มานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุด

แห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง

การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้

ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตเจ้าได้

ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.

ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ

[๒๔๖] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่า

นั้น ก็บังเกิดความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งสัญญาเครื่อง

เนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ

กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง

ปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุด

แห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่

สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง

การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามากเหล่านี้

ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่าท่านพระมหากัจจานะนี้แล อัน

พระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่าน

พระมหากัจจานะ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้ง

หลายควรพากันไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่าน

พระมหากัจจานะ. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันไปแล้ว พากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพูดกะท่านมหากัจจานะว่า

ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า

ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด

ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว

เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย

เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย

เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ

ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าว

เท็จ อกุศลธรรมเหล่านี้ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรง

ชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่ท่าน

พระกัจจานะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกไปไม่นาน พวกผมได้บังเกิด

ความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศ

นี้ไว้โดยย่อ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่

ประทับเสีย ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

แสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ

ผมเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่อง

แล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะนี้สามารถจะ

ชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจง

โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาท่าน

กัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านมหากัจจานะดู ขอท่านมหา-

กัจจานะจงชี้แจงไปเถิด.

[๒๔๗] ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยว

แสวงหาแก่นไม้อยู่ ก็ล่วงเลยโคนต้นและลำต้นของต้นไม้ใหญ่อันมีแก่นเสีย

สำคัญว่าจะพึงแสวงหาแก่นที่กิ่งและใบฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระ-

ศาสดาทรงปรากฏอยู่เฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ล่วงเลยพระองค์

ไปเสีย แล้วกลับจะมาได้ถามเนื้อความนี้กะผม ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ

มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็น

ผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลา

อันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแท้ พระ-

องค์ทรงแก้ไขอย่างไร ท่านทั้งหลายก็ควรจำไว้อย่างนั้น.

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ เป็นผู้มีธรรม

เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมต

ธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอัน

สมควรที่กระผมทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแท้ พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

องค์ทรงแก้ไขอย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล แต่ว่า

ท่านพระมหากัจจานะอันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้

สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจ้งเนื้อความแห่งอุเทศ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้

ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.

แสดงอุเทศโดยพิสดาร

[๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว

ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อม

ครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน

ไม่มีในเหตุนั่นแล อันนี้เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น

ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย

เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อน

ไม้ การจับศาสตรา การทะเลา การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การ

ส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดย

ไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุก

จากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่ง

อุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดย

พิสดารนี้ ให้พิสดารได้อย่างนี้-

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและ

รูป เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

เกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด

ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น

บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ

เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตา เป็นอดีตก็ดี

เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและ

เสียง. . .

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูก

และกลิ่น. . .

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้น

และรส. . .

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย

และโผฏฐัพพะ. . .

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์ เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็น

ปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนา

อันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอัน

นั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำ

บุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึง

รู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี

เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจัก

บัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

บัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักมีบัญญัติ

ว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตก เขาจักบัญญัติว่าการ

ครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูมี เสียงมี. . .

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี. . .

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี. . .

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี. . .

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มีและมโน-

วิญญาณมี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะ

มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี

เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขา

จักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติ

ว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และจักขุวิญญาณ

ไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี

เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี

เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขา

จักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติ

ว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี. . .

๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี. . .

๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี. . .

๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี. . .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มีและ

มโนวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการ

บัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ

เวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ

สัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตกข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้เมื่อการบัญญัติวิตกไม่มี

เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้ไว้

โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะ

เหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือกล้ำกลืนไม่มีในเหตุนั้น อันนี้

เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฎิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย

เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย

เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ

ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยงและการ

กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือในเพราะเหตุ

นั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับ

เสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้

อย่างนี้ ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ทูลถามเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้ง

หลายพึงทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

สอบถามเนื้อความที่พระมหากัจจานะชี้แจง

[๒๔๙] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหา-

กัจจานะ แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า

ดูก่อนภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด

ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว

เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็น

ที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย

เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การ

ทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยงและการ

กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุ

นั้น ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าหลีกไบ่ไม่นาน พวกข้าพระองค์

ได้บังเกิดความสงสัยว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ. . . ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้ว เสด็จลุกจาก

อาสนะเข้าที่ประทับเสียย่อ ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดาร

ได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระ-

มหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญ

แล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้

พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะยังที่อยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะดู. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่

แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน

พระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านั้น ด้วย

พยัญชนะเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะ

เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อ

ความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้นเหมือนกับที่พระมหากัจจานะ

พยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอทั้งหลายจงจำทรงข้อนั้น

ไว้เถิด.

[๒๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึง

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูก

ความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ขนมหวาน แล้วกินในเวลาใด ก็พึง

ได้รับรสอันอร่อยหวานชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

นักคิด ชาติบัณฑิตพึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาใน

เวลาใด ก็พึงได้ความพอใจและได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจง

ทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจ

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

อรรถกถามธุปิณฑิกสูตร

มธุปิณฑิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาวน ได้แก่ ป่าที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มี

ใครปลูก ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ ไม่เหมือนป่าเกี่ยวกับป่าที่

ปลูกแล้ว และยังไม่ได้ปลูกในเมืองเวสาลี. บทว่า ทิวาวิหาราย ได้แก่

เพื่อประโยชน์แก่การทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน. บทว่า เวลุวลฏฺิกาย

ได้แก่ ต้นมะตูมหนุ่ม. บทว่า ทณฺฑปาณิ คือ ทรงถือไม้เท้าเพราะความ

เป็นผู้ทุรพลด้วยชราก็หาไม่. เพราะทัณฑปาณิศากยะนี้ ยังเป็นหนุ่มเทียว

ดำรงอยู่ในปฐมวัย แต่ทรงถือไม้เท้าทองคำ เพราะความที่มีจิตในไม้เท้าเทียวไป

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ทัณฑปาณิ. บทว่า ชงฺฆาวิหาร ได้แก่ เดินเล่น

เพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยของแข้ง. บทว่า อนุจงฺกมมาโน คือกำลังเสด็จ

เที่ยวข้างโน้น และข้างนี้ เพื่อประโยชน์แก่การทรงชมสวน ชมป่า และชม

ภูเขา เป็นต้น. ได้ยินว่า ทัณฑปาณิศากยะนั้น เมื่อจะเสด็จออกไป

ก็เสด็จออกในบางเวลาเท่านั้น เที่ยวไป. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภา

ความว่า ทรงยันไม้เท้า คือวางไม้เท้าข้างหน้า เหมือนเด็กเลี้ยงโค วางพระ

หัตถ์ทั้งสองไว้บนปลายไม้เท้า ทรงแนบหลังพระฝ่าพระหัตถ์ ไว้กับพระหณุ

แล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. บทว่า กึวาที ได้แก่ ทรงมีความเห็น

อย่างไร. บทว่า กิมกฺขายิ คือ ตรัสบอกอย่างไร. พระราชานี้ไม่ทรงไหว้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำสักว่า ปฏิสันถานเท่านั้น แล้วทูลถามปัญหา

แต่ก็ทูลถามโดยความจำใจ เพราะความที่ไม่ประสงค์จะรู้. นัยว่าพระราชานี้

ทรงเป็นพวกของพระเทวทัต เพราะเหตุไร. เพราะพระเทวทัตแตกในพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

ตถาคตผู้เสด็จมาสู่สำนักของพระองค์. ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

พระสมณโคดมมีเวรกับตระกูลพวกเรา ไม่หวังความเจริญแก่ตระกูลพวกเรา

แม้พระภคินีของเรา สมควรเสวยสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ พระนางละสมบัติ

นั้นย่อมเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น สมณโคดมจึงเสด็จออกทรงผนวชทรงรู้ว่า

แม้พระภาคิไนยของเรา จักเป็นหน่อพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ไม่ทรงยินดีกับความ

เจริญของตระกูลพวกเรา ทรงคิดว่า นั้นย่อมเสื่อมเสีย จึงทรงยังให้พระ-

ภาคิไนยแม้นั้นให้บรรพชาในเวลายังเป็นเด็กนั้นเทียว ส่วนเราเว้นจากภาคิไนย

นั่น ก็ไม่อาจจะเป็นไป จึงได้ออกบวชตาม ตั้งแต่วันบวช ก็ไม่ทรงมองดู

เราแม้ผู้บวชอย่างนี้ ด้วยดวงพระเนตรตรง ๆ และแม้เมื่อตรัสในท่ามกลางบริษัท

ก็เหมือนประหารด้วยคำเท็จมากหลาย เช่นตรัสว่า เทวทัตเป็นสัตว์อบายดังนี้

เป็นต้น. พระราชาแม้นี้ ถูกพระเทวทัตยุยงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงทรง

กระทำดังนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสคำที่สมควรแก่พระ-

ราชานั้น. ด้วยพระดำริว่า เราจักตรัสบอกแก่พระราชานั้น โดยประการที่

พระราชานี้ไม่อาจเพื่อจะตรัสว่า พระสมณโคดมจะไม่ตรัสบอกปัญหาที่เราทูล

ถามและโดยประการที่ไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิต จึงตรัสว่า ยถาวาที โข

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เกนจิ โลเก วิคฺคยฺห ติฏฺติ

ความว่า ไม่ทำคำโต้เถียง คือไม่ทะเลาะกันผู้ใดผู้หนึ่งในโลก. จริงอยู่

พระตถาคตย่อมไม่ทรงทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลก ครั้นตรัสว่า ไม่เที่ยง

ก็กล่าวว่า เที่ยง เมื่อตรัสว่า ทุกข์ อนัตตา ไม่งาม ก็กล่าวว่า งาม ชื่อว่า

ทะเลาะกับพระตถาคต ดังนี้. ด้วยเหตุนั้นเที่ยว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่ทะเลาะกับชาวโลก แต่ชาวโลกทะเลาะกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ทะเลาะ

กับใคร ๆ เช่นกัน แต่อธรรมวาทีย่อมทะเลาะ ดังนี้. บทว่า ยถา ได้แก่

โดยการณ์ใด. บทว่า กาเมหิ คือ วัตถุกามบ้าง กิเลสกามบ้าง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ต พฺราหฺมณ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ขีณาสพนั้น. บทว่า อกถกถึ ได้แก่

ปราศจากความสงสัย. บทว่า ฉินฺนกุกฺกุจฺจ คือ ชื่อว่า ตัดความคะนอง

ได้แล้ว เพราะความที่ความคะนองเกี่ยวกับความเดือดร้อน และความคะนอง

มือและเท้าตัดขาดแล้ว. บทว่า ภวาภเว ได้แก่ ในภพแล้วภพอีก หรือภพ

เลวประณีต. จริงอยู่ ภพอันประณีตถึงแล้วซึ่งความเจริญเรียกว่า อภพ.

บทว่า สญฺา ได้แก่ กิเลสสัญญา. กิเลสทั้งหลายนั้นเทียว ท่านกล่าวแล้ว

โดยชื่อว่า สัญญาในที่นี้ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายในบทนี้อย่างนี้ว่า กิเลส-

สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้มีปกติ

กล่าวความดับจากโลกทั้งหลายโดยการณ์ใด และเราย่อมกล่าวการณ์นั้น ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่พระองค์เป็นพระขีณาสพด้วยประการฉะนี้.

บทว่า นิลฺลาเฬตฺวา คือ นำลิ้นออกเล่น. บทว่า ติวิสาข ได้แก่ ๓ รอย.

บทว่า นลาฏิก ความว่า หน้าผากย่น ทรงแสดงรอยย่น ๓ สายในหน้าผาก

ทำหน้าผากย่น. บทว่า ทณฺฑโมลุพฺภา ได้แก่ ยันไม้เท้า. บทว่า

ทณฺฑมาลุพฺภ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ถือแล้วหลีกไป. บทว่า อญฺตโร

ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อ.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นฉลาดในการเชื่อมเนื้อเรื่อง ครั้นเมื่อพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่า เจ้าทัณฑปาณิไม่ทรงรู้โดยประการใด เราจะแสดงโดยประการ

นั้น จึงถืออนุสนธิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปัญหาที่ไม่พึงรู้ว่าเป็นอย่างไร

หนอแล จึงทูลขอพระทศพลด้วยคิดว่า เราจักทำปัญหานี้ให้ปรากฏแก่พระ-

ภิกษุสงฆ์ ลุกจากอาสนะทำอุตตรสงค์เฉลี่ยงบ่า ประคองอัญชลีที่รุ่งเรืองด้วย

นิ้วทั้งสิบ จึงกราบทูลว่า ข้อแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติ

ตรัสอย่างไรเป็นต้น. บทว่า ยโตนิทาน นั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์ อธิบายว่า

ครั้น เมื่อการณ์ใดมีอยู่ด้วยการณ์ใด. บทว่า สขา ในบทว่า ปปญฺจสญฺา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

สขา นั้น ได้แก่ส่วน. บทว่า ปปฺจสญฺา ได้แก่ สัญญาอันประกอบ

ด้วยเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ. อนึ่ง เครื่องเนิ่นช้านั้น

เทียว ตรัสด้วยชื่อว่า สัญญา เพราะฉะนั้น ในบทนี้จึงมีอธิบายอย่างนี้ว่า

ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า สมุทาจรนฺติ คือ ย่อมเป็นไป. บทว่า

เอตฺถ เจ นตฺถิ อภินนฺทิตพฺพ ความว่า ครั้นการณ์กล่าวคืออายตนะสิบสอง

ใดมีอยู่ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำ ถ้าแม้อายตนะหนึ่ง อัน

บุคคลพึงเพลิดเพลิน พึงยึดถือ พึงกล้ำกลืน ไม่มีในการณ์นั้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อภินนฺทิตพฺพ ความว่า พิงเพลิดเพลิน ว่าเรา ของเรา.

บทว่า อภิวทิตพฺพ ได้เเก่ พึงกล่าวว่า เรา ของเรา. บทว่า อชฺโฌสิตพฺพ

ได้แก่ ประกอบการที่กล้ำกลืน กลืนแล้ว ให้จบสิ้นแล้ว พึงถือเอา. ทรง-

แสดงความไม่เป็นไปแห่งตัณหาเป็นต้น นั้นเที่ยวในที่นี้ ด้วยบทนั้น. บทว่า

เอเสวนฺโต คือ ความที่การเพลิดเพลินเป็นต้นไม่มีนี้เทียว เป็นที่สุดแห่ง

อนุสัยทั้งหลาย มีราคานุสัย เป็นต้น. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ใน

ทัณฑาทานเป็นต้น บุคคลจับท่อนไม้ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นชื่อว่า ทณฺฑา-

ทาน แปลว่า การจับท่อนไม้ บุคคลจับศาสตราด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า

สตฺถาทาน แปลว่า เจตนาถือศาสตรา การถือผิด การทะเลาะอันถึงที่สุด

การโต้เถียงอันถึงการถือต่าง ๆ การวิวาทอันถึงวาทะต่าง ๆ. บทว่า ตุว ตุว

ได้แก่ แม้วาจาว่า มึง มึง อันเป็นไปแล้วอย่างนี้. การทำความส่อเสียด ชื่อว่า

เปสุญฺ แปลว่า การส่อเสียด. วาจาที่กระทำการพูดเท็จที่มีสภาวะไม่เป็นความ

จริงนั้น พึงทราบว่า มุสาวาท. บทว่า เอตฺเถเต ความว่า อกุศลธรรม

อันลามกเหล่านี้ในเพราะอายตนะสิบสองนั้น. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายแม้เมื่อจะ

เกิดขึ้น ย่อมเกิดเพราะอาศัยอายตนะสิบสอง แม้เมื่อจะดับก็ย่อมดับในเพราะ

อายตนะสิบสองเช่นเดียวกัน. กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นในที่ใด ก็ย่อมดับใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ที่นั้น ด้วยประการฉะนี้. เนื้อความนี้นั้น พึงแสดงด้วยสมุทยสัจจปัญหา.

จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อ

ดับ ย่อมดับในที่ไหน ดังนี้แล้ว จึงกล่าวความเกิดขึ้น และความ

ดับแห่งตัณหานั้น ในเพราะอายตนะสิบสอง โดยนัยมีอาทิว่าปียรูป สาตรูป

ในโลกใด ตัณหานั่นเมื่อเกิด ย่อมเกิดในปียรูป สาตรูปนั้น เมื่อดับ

ย่อมดับในปียรูป สาตรูปนั้น ปียรูป สาตรูป ในโลกคืออะไร

คือ จักษุเป็นปียรูป สาตรูปในโลก ดังนี้ ตัณหาเกิดขึ้นแล้วในอายตนะ

สิบสอง อาศัยนิพพานก็ดับไป แต่เพราะไม่มีความครอบงำในอายตนะทั้งหลาย

ท่านกล่าวว่า ดับแล้วในเพราะอายตนะทั้งหลายนั้นเทียวฉัน ใด อกุศลธรรม

อันลามกแม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ย่อมดับในเพราะอายตนะทั้งหลาย ฉันนั้น

อนึ่ง ความไม่มีแห่งความเพลิดเพลินเป็นต้นนี้ใด ท่านกล่าวว่าเป็นที่สุดแห่ง

อนุสัยทั้งหลายมีราคานุสัยเป็นต้น อกุศลธรรมอันลามกทั้งหลายย่อมดับโดย

ไม่เหลือในนิพพานอันมีโวหารที่ได้แล้วว่า เอตฺเถเต ราคานุสยาทีน อนุ-

โต ก็สิ่งใดไม่มีในนิพพานใด สิ่งนั้นเป็นอันชื่อว่าดับแล้วในนิพพานนั้น. เนื้อ

ความนี้นั้น พึงแสดงด้วยนิโรธปัญหา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวแล้วเป็นอาทิ

ว่า วิตกวิจาร วจีสังขารของภิกษุนั้นผู้เข้าถึงทุติยฌาน ย่อมสงบระงับ. บทว่า

สตฺถุเจว สวณฺณิโต คือ ผู้อันพระศาสดาเทียว ทรงสรรเสริญแล้ว. แม้

คำนี้ว่า วิฺญูน เป็นสัตตมีวิภัตติ์ลงในอรรถตติยวิภัตติ์ อธิบายว่า ผู้อัน

สพรหมจารีทั้งหลายผู้บัณฑิตสรรเสริญแล้ว. บทว่า ปโหติ คือ ย่อมอาจ.

บทว่า อติกฺกมฺเมว มูล อติกฺกมฺม ขนฺธ ความว่าธรรมดาแก่นไม้พึงมี

ในลำต้นหรือโคนต้น ล่วงเลยโคนต้นและลำต้นแม้นั้น. บทว่า เอว สมฺปท

ความว่า ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น อธิบายว่า เป็นเช่นนี้. บทว่า อติสิตฺวา ได้

แก่ ก้าวล่วงแล้ว. บทว่า ชาน ชานาติ ได้แก่ รู้สิ่งที่พึงรู้นั้นเทียว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ปสฺส ปสฺสติ ได้แก่ เห็นสิ่งที่ควรเห็น นั้นเทียว. อนึ่ง บุคคลบางคนถือ

ควานวิปริต แม้เมื่อรู้ก็ว่าไม่รู้ แม้เมื่อเห็นก็ว่าไม่เห็นฉันใด ส่วนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่เช่นนั้น เมื่อทรงรู้ก็ว่ารู้ เมื่อทรงเห็นก็ว่าเห็น อย่างเดียว. พระผู้-

มีพระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีพระจักษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้นำในทัสสนะ

ชื่อว่าเป็นผู้มีพระญาณ เพราะอรรถว่ากระทำสิ่งที่ทรงรู้แล้ว ชื่อว่ามีธรรม

เพราะอรรถว่ามีสภาวะอัน ไม่วิปริต หรือเพราะทรงมีพระธรรมวินัยที่ทรงคิด

ด้วยพระหฤทัย ทรงเปล่งด้วยพระวาจาเพราะเป็นไปในปริยัติธรรม ชื่อว่า

เป็นพรหม เพราะอรรถว่าประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีพระ-

จักษุ เพราะเป็นผู้มีดุจจักษุ เเม้ในบทเหล่านั้น ก็มีเนื้อความอย่างนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้นั้น เป็นผู้เผยแผ่ เพราะทรงเผยแผ่พระธรรม เป็นผู้ประกาศ

เพราะทรงประกาศพระธรรม เป็นผู้ขยายเนื้อความ เพราะความที่พระองค์ทรง

สามารถในการนำแล้วนำอีกซึ่งเนื้อความมาทรงแสดง เป็นผู้ให้อมตธรรม

เพราะพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมแล้วทรงให้ปฏิบัติ. บทว่า อครุกริตฺวา

มีอธิบายว่า ก็พระมหากัจจานะ เมื่อถูกร้องขอบ่อย ๆ ชื่อว่า ทำความหนักใจ

แม้ดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณของตนแสดงทำให้รู้ได้ยาก ดุจขนทรายจากเชิง

เขาพระสิเนรุ ชื่อว่า ความหนักใจเหมือนกัน ขอท่านอย่าทำอย่างนั้น โปรด

ให้พวกกระผมร้องขอบ่อย ๆ แล้วแสดงธรรมให้แม้รู้ได้โดยง่ายแก่พวกกระผม

เถิด ในบทนี้ว่า ย โข โน อาวุโส พระมหากัจจานะควรกล่าวว่า ย

โข โว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น เมื่อจะสงเคราะห์ภิกษุเหล่านั้นพร้อมกับตน

จึงกล่าวว่า ย โข โน ดังนี้. หรือเพราะอุทเทสได้แสดงแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงแก่พระเถระบ้าง แก่ภิกษุเหล่านั้น ๆ บ้าง

เพราะฉะนั้น ท่านหมายถึงบทนี้ว่า ภควา จึงกล่าวอย่างนั้น อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ทรงแสดงอุเทศโดยย่อใดแลแก่พวกท่าน ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ในบทนี้ว่า จกฺขุญฺจาวุโส เป็นต้น มีอธิบายอย่างนี้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย

ก็ธรรมดาจักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุปสาทโดยความเป็นนิสสัย

และรูปอันประกอบด้วยสมุฏฐาน ๔ อย่าง โดยความเป็นอารมณ์. บทว่า

ติญฺณ สงฺคติ ผสฺโส ความว่า เพราะประชุมธรรม ๓ ประการนั้นจึงเกิด

ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจเกิดขึ้นพร้อมแล้วเป็นต้น เพราะ

อาศัยผัสสะนั้นจึงเกิดเวทนา และด้วยเวทนานั้น บุคคลเสวยอารมณ์อันใด

สัญญาก็จำอารมณ์นั้น สัญญาจำอารมณ์ใด วิตกก็ตรึกถึงอารมณ์นั้นเทียว วิตก

ตรึกถึงอารมณ์ใด เครื่องเนิ่นช้าก็เนิ่นช้าถึงอารมณ์นั้นเทียว. บทว่า ตโตนิ-

ทาน ได้แก่ เพราะการณ์มีจักขุรูปเป็นต้นนั้น. บทว่า ปุริส ปปญฺจสญฺา-

สงฺขา สมุทาจรนฺติ ความว่า ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษผู้

ไม่รอบรู้การณ์นั้น อธิบายย่อมเป็นไปแก่บุรุษนั้น. ในข้อนั้น ผัสสะ เวทนา

และสัญญา เป็นอันเกิดขึ้นพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ พึงเห็นวิตกในจิตที่มีวิตก

มีในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น. ถามว่า ส่วนแห่งเครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อม

กับชวนะ ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จะทำการถืออดีตและอนาคตเล่า.

ตอบว่าเพราะเกิดขึ้นอย่างนั้น. เหมือนอย่างว่า เครื่องเนิ่นช้าอันเป็นไปทาง

จักขุทวารเกิดขึ้นแล้ว ในบัดนี้ เพราะอาศัยจักขุ รูป และสัมผัส เวทนา

สัญญา วิตก ฉันใด ท่านพระมหากัจจานะเมื่อจะแสดงความเกิดขึ้นของเครื่อง

เนิ่นช้านั่น ในรูปทั้งหลายอันพึงรู้ด้วยจักษุแม้ที่เป็นอดีตและอนาคตจึงกล่าว

อย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. ในบทแม้เป็นต้นว่า โสตญฺจาวุโส มีนัยเช่น

เดียวกัน. ก็พึงทราบวินิจฉัยในฉัฏฐทวาร บทว่า มน ได้แก่ ภวังคจิต.

บทว่า ธมฺเม ได้แก่ ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า มโนวิญฺาณ

ได้แก่ อาวัชชนะ หรือ ชวนะ. ครั้นอาวัชชนะถือแล้ว ผัสสะ เวทนาสัญญา

และวิตก ย่อมเกิดพร้อมกับอาวัชชนะ เครื่องเนิ่นช้าเกิดพร้อมกับชวนะ ครั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ชวนะถือแล้ว ภวังคจิต ซึ่งมีพร้อมกับอาวัชชนะ ชื่อว่า เป็นมโน แต่นั้น

ผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมดก็เกิดพร้อมกับชวนะ ส่วนในมโนทวาร อารมณ์แม้

ทั้งหมดอันต่างโดยเป็นอดีตเป็นต้นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น คำนี้ว่า เป็นที่อดีต

อนาคต และปัจจุบัน เป็นอันเหมาะสมแล้ว.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงวัฏฏะ. จึงปรารภเทศนาว่า โส วตาวุโส

ดังนี้. บทว่า ผสฺสปญฺตฺตึ ปญฺเปสฺสติ ความว่า จักบัญญัติจะแสดง

ผัสสะบัญญัติอย่างนี้ว่า ธรรมอันหนึ่ง ชื่อว่า ผัสสะ ย่อมเกิดขึ้น. ในบททั้ง

ปวงก็มีในนี้. พระเถระครั้นแสดงวัฏฏะทั้งสิ้นด้วยอำนาจอายตนะสิบสองว่า ครั้น

อายตนะนี้มี อายตนะนี้ก็มี ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิวัฏฏะ

ด้วยอำนาจปฏิเสธอายตนะสิบสอง จึงปรารภเทศนาว่า โส วตาวุโส จกฺขุสฺมึ

อสติ ดังนี้. พึงทราบอรรถโดยนัยที่กล่าวแล้วในบทนี้นั้นเทียว.

พระเถระครั้นวิสัชชนาปัญหาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงกล่าวส่งไปว่า

ปัญหาอันสาวกกล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าเป็นผู้สงสัย พระผู้มี-

พระภาคเจ้าองค์นี้ ทรงถือการเปรียบเทียบด้วยสัพพัญญุตญาน ประทับนั่ง

แล้ว ท่านทั้งหลายเมื่อปรารถนา ก็จงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ก็จะหมดความสงสัย ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า อากงฺขมานา จ ปน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อิเมหิ อากาเรหิ ความว่า ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ ด้วยการณ์ เฉพาะ

แห่งความเกิดขึ้นเอง เครื่องเนิ่นช้า และการณ์เกี่ยวกับวัฏฏ และวิวัฏฏ. บทว่า

อิเมหิ ปเทหิ คือ ด้วยประมวลอักขรเหล่านี้. บทว่า พฺยญฺชเนหิ ได้แก่

ด้วยอักขระเฉพาะอย่าง. บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ประกอบพร้อมด้วยความ

เป็นบัณฑิต หรือเป็นบัณฑิตด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ฉลาดในธาตุ ฉลาดใน

อายตนะ ฉลาดในปัจจยาการ ฉลาดในการณ์ และอการณ์. บทว่า มหาปญฺ-

โ ความว่า ถึงพร้อมด้วยปัญญามาก ซึ่งสามารถที่จะกำหนดอรรถะมาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ธรรมมาก นิรุติมาก ปฏิภาณมาก. บทว่า ยถา ต มหากจฺจาเนน

ความว่า กัจจานะพยากรณ์โดยประการใด ทรงหมายถึงพยากรณ์นั้น จึงตรัส

ว่า ต. ความว่า พยากรณ์นั้นมหากัจจานะพยากรณ์แล้วโดยประการใด แม้

เราก็พยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน . บทว่า มธุปิณฺฑิก ได้แก่ ขนมหวาน

มาก หรือขนมสัตตุที่ปรุงแล้ว. บทว่า อเสจนก ได้แก่ อันพึงชื่นชูใจ

คือ รสที่ปรุงดี ซึ่งไม่ควรกล่าวว่า ในบรรดาเนยใส น้ำอ้อย น้ำผึ้ง และน้ำ

ตาล เป็นต้น ชื่อนี้น้อย สิ่งนี้มาก. บทว่า เจตโส ได้แก่ ผู้มีชาตินักคิด.

บทว่า ทพฺพชาติโก คือ มีสภาพเป็นบัณฑิต. พระเถระเป็นผู้หนักในเหตุ

ผลอย่างยิ่ง จึงคิดว่า นี้เป็นธรรมปริยาย เราจักทูลให้ทรงตั้งชื่อธรรมปริยาย

นั้น ด้วยสัพพญุตญาณของพระทศพลนั้นเทียว จึงทูลคำนี้ว่า ธรรมปริยาย

นี้ ชื่ออะไร. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะธรรมปริยายอ่อนหวาน เหมือน

ขนมหวาน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เธอจงทรงจำธรรม

ปริยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้ เถิดคำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามธุปิณฑิกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

๙. เทวธาวิตักกสูตร

เรื่องวิตก

[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ทรงแยกวิตกเป็น ๒ ส่วน

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว

ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น ๒ ส่วน ๆ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออก

เป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออก

เป็นส่วนที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่อง

เผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด

อย่างนี้ว่า กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อ

เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อ

เบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น

ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา

เห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญ

ไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น

ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ได้ทำ

ให้มันหมดสิ้นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร

เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสา

วิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เรา

แล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำ

ให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญ

ไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง

มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้

เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพานดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น

แล้ว ๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็

มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรอง

ถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก

จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก

ยิ่งครองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย

มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คนเลี้ยงโคต้องคอย

ระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้น ๆ

กั้นไว้ ห้ามไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโค

มองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลาย

เป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แล

เห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ

เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรม

ทั้งหลายแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่อง

เผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบ

ชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า เนกขัมมวิตกนั้น

ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อ

เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น

เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมม

วิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้น

ได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่

ตลอดวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน

และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกกขัมมวิตกนั้น

ได้เลย. ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อ

ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ

ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเรา

อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความ

เพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้ อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น

ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตก

นี้บังเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและ

บุคคลอื่น] เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไป

เพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้น

อยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี

เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน

ก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ก็แต่ว่า

เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย

จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล

ดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร เพราะหมายในใจว่าจิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจ

น้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรอง

ถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียว

ให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาท

วิตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยังตรึก ยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็

จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็

น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน

คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปคู่โคน

ต้นไม้หรือไปสู่ที่แจ้งจะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่าเหล่านี้เป็นธรรม [คือ

กุศลวิตก] ดังนี้.

ว่าด้วยวิชชา ๓

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียร

ไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคงไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบไม่กระสับกระส่าย

แล้ว มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ

และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ

สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน. . . บรรลุจตุตถฌาน. . . เรานั้น เมื่อจิต

เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ

อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป

เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาน ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติ

หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม

ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่ง

นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

บังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่

ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้น เมื่อจิต

เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ

อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว เรานั้นจึงโน้มน้อม

จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป

เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต

วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็น

หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สองนี้แล

เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิด

ขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มี

ความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น. เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อน ควร

แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ

ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสว-

นิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ

หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว

วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะ

เราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น.

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไป

อาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่ ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ

ไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นแก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย

สะดวก ไปได้ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทางที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อ

ต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย

ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมากก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แต่ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย

แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ

ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก จึงถึงความ

เจริญคับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้นแล

เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มี

ความหมายดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของ

กามคุณทั้งหลาย. คำว่า หมู่เนื้อเป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย.

คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล จำนงความไม่

ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป. คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้เป็นชื่อของ

ทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฐิ ๑ มิจฉาสังกับปะ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑

มิจฉาสมาธิ ๑. คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัด

ด้วยความเพลิน). คำว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา. คำว่า บุรุษคน

ที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย (แก่เนื้อเหล่านั้น)

นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำว่า ทางอันปลอดภัยสะดวก

ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งเป็น

ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมา

กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอัน

ว่าทางอันปลอดภัยซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความ

ปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้

แล้วทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้

แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลเอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึง

ทำ กิจอันนั้น เราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้

นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มี

ความเดือดร้อนในภายหลัง. นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิใจ

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ เทวธาวิตักกสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

อรรถกถาเทวธาวิตักกสูตร

เทวธาวิตักกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

ในบทเหล่านี้ บทว่า เทฺวธา กตฺวา เทฺวธา กตฺวา ความว่า

ทำให้เป็นสองภาค. วิตกที่ประกอบด้วยกาม ชื่อ กามวิตก. วิตกที่ประกอบ

ด้วยความปองร้าย ชื่อ พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วยความเบียดเบียน

ชื่อ วิหิงสาวิตก. บทว่า เอก ภาค ความว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมด ทั้งภายใน

หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ก็เป็นฝ่ายแห่งอกุศลนั้นเทียว เพราะฉะนั้น

เราจึงทำกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก แม้ทั้งสามให้เป็นส่วนหนึ่ง.

วิตกที่สลัดออกจากกามทั้งหลายแล้ว ประกอบพร้อมด้วยเนกขัมมะ ชื่อ เนก-

ขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้น ย่อมควรถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อม

ด้วยความไม่ปองร้าย ชื่อ อัพยาบาทวิตก. อัพยาบาทวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่

เมตตาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน. วิตกที่ประกอบพร้อมด้วยความไม่เบียดเบียน

ชื่ออวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น ย่อมควรตั้งแต่กรุณาบุรพภาคจนถึงปฐมฌาน.

บทว่า ทุติยภาค ความว่า ท่านแสดงกาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์

ด้วยบทนี้ว่า วิตกนี้แม้ทั้งหมดเป็นฝ่ายกุศลทั้งนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงทำให้

เป็นส่วนที่สอง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี วิตก

ทั้งหลาย มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น ได้เป็นไปแล้ว เหมือนห้วงแม่น้ำใหญ่เต็ม

ตะลิ่งฉะนั้น ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นรวดเร็ว เพราะความ

หลงลืมสติ ตัดรอนวาระแห่งกุศล กลายเป็นวาระแล่นไปแห่งอกุศลเองตั้งอยู่

แต่นั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ก็วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นนี้ของเราได้

ตัดรอนวาระแห่งกุศลตั้งอยู่ เอาละ เราจักทำวิตกเหล่านี้ให้เป็นสองส่วนอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

เพราะฉะนั้น เราจึงทำส่วนหนึ่งว่า วิตกมีกามวิตกเป็นต้น เป็นฝ่ายอกุศล

ทำส่วนหนึ่งว่า เนกขัมมวิตกเป็นต้น เป็นฝ่ายกุศล ลำดับนั้น เราจักข่มวิตก

ที่มาจากฝ่ายอกุศลด้วยความรู้ เหมือนบีบงูเห่าแล้วจับ และเหมือนเหยียบคอ

ศัตรูฉะนั้น เราจักไม่ให้อกุศลวิตกนั้นเจริญ เราจักยังวิตกที่มาจากฝ่ายกุศลให้

เจริญรวดเร็ว เหมือนเมฆในสมัยเมฆ และเหมือนนาดีมีพืชงอกงาม ฉะนั้น

พระโพธิสัตว์นั้นทรงกระทำดังนั้นแล้ว ข่มอกุศลวิตกทั้งหลายไว้ ยังกุศลวิตก

ทั้งหลายให้เจริญ. กาลเวลาในการข่มวิตกของพระโพธิสัตว์ พึงทราบว่า ท่าน

แสดงแล้วด้วยบทนี้ ด้วยประการฉะนี้.

วิตกเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์นั้นโดยประการใด และพระโพธิ-

สัตว์ทรงข่มวิตกเหล่านั้นโดยประการใด บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

แสดงประการนั้น จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺห ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตสฺส ความว่า ดำรงอยู่ในความไม่อยู่ปราศจาก

สติ. บทว่า อาตาปีโน ความว่า มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. บทว่า

ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีจิตส่งไปแล้ว. บทว่า อุปปชฺชติ กามวิตกฺโก

ความว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงเริ่มตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี ชื่อกามวิตก ซึ่ง

ปรารภความสุขในการครองราชสมบัติ ปราสาท นางฟ้อนรำ ตำหนักนางสนม

กำนัล หรือปรารภสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เคยเกิดขึ้นแล้ว. ก็พระโพธิสัตว์

นั้นทรงถึงการสมาทานอันยิ่งยวด ด้วยทรงอดพระกระยาหารในการบำเพ็ญทุกกร

กิริยา ทรงมีพระดำริว่า บุคคลอดอาหารไม่อาจ เพื่อยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้

อย่าเลย เราพึงนำอาหารอย่างหยาบมาเสวย ดังนี้. พระโพธิสัตว์นั้นเสด็จเข้าสู่

อุรุเวลาเพื่อก้อนข้าว. มนุษย์ทั้งหลายคิดว่า ในกาลก่อน มหาบุรุษไม่ทรงรับ

อาหาร แม้นำมาถวาย บัดนี้ ชะรอยมโนรถของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว เพราะ

ฉะนั้น จึงเสด็จมาเอง ดังนี้ จึงพากันนำอาหารอันประณีต ๆ ไปถวาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

อัตภาพของพระโพธิสัตว์ก็กลับเป็นปกติโดยไม่นานนัก. จริงอยู่ อัตภาพที่

คร่ำคร่าเพราะชรา แม้จะได้โภชนะที่สบาย ก็ไม่กลับเป็นปกติได้. แต่พระ-

โพธิสัตว์ยังหนุ่มแน่น เพราะเหตุนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้น เสวยพระกระยาหาร

ที่สบาย อัตภาพจึงเป็นปกติโดยไม่นานนัก. พระอินทรีย์ทั้งหลายก็ผ่องใส

พระฉวีวรรณก็บริสุทธิ์ พระสรีระซึ่งประดับประดาด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒

ประการก็บริบูรณ์ ดุจหมู่ดวงดาวขึ้นสู่ท้องฟ้าฉะนั้น. พระโพธิสัตว์นั้นทรงแลดู

อัตภาพนั้นแล้ว ทรงคิดว่า อัตภาพชื่อว่า ลำบากเพียงนั้น กลับเป็นปกติ

อย่างนี้ ทรงถือวิตกแม้นิดหน่อยอย่างนี้ เพราะความที่พระองค์ทรงมีปัญญามาก

จึงทรงกระทำด้วยดำริว่า กามวิตก. พระองค์ประทับนั่งข้างหน้าพระบรรณศาลา

ทรงเห็นหมู่เนื้อมีเนื้อทราย กวาง ฟาน โค ละมั่ง เป็นต้น หมู่นก

มีนกยูงไก่ป่าเป็นต้น ซึ่งร้องเสียงไพเราะน่าจับใจ บึงทั้งหลายซึ่งดาดาษ

ด้วยอุบลเขียว โกมุทและกมลเป็นอาทิ ราวป่าเงียบสงัดดาดาษด้วยดอกไม้

นานาชนิด และแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งไหลพัดน้ำขุ่นเหลือแต่น้ำใสดุจก้อนแก้วมณี.

พระโพธิสัตว์นั้น ทรงมีพระดำริว่า ฝูงเนื้อ หมู่นก บึง ราวป่า แม่น้ำ

เนรัญชราเหล่านี้ สวยงามหนอ ดังนี้. พระองค์ทรงถือวิตกนิดหน่อยอย่างนี้

แม้นั้น ทรงกระทำกามวิตก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กามวิตก ย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. บทว่า อตฺตพฺยาพาธายปิ ความว่า เพื่อ

ความทุกข์แก่ตนบ้าง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นเดียวกัน. ถามว่า ก็ชื่อว่า

วิตกที่เป็นไปเพื่อความทุกข์แก่ทั้ง ๒ ฝ่ายของพระมหาสัตว์ มีหรือ. ตอบว่า

ไม่มี. ก็เมื่อพระมหาสัตว์ดำรงอยู่ในความไม่กำหนดรู้ วิตกย่อมเป็นไปจนถึง

การเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อ ๓ อย่าง นั้นอย่างนี้

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ปญฺานิโรธิโก

ความว่า ย่อมไม่ให้เพื่อเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระ ที่ยังไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

เกิดขึ้นแล้ว. ก็วิตกตัดโลกิยปัญญา แม้เกิดขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติแปด

และอภิญญาห้าให้สิ้นไป เพราะฉะนั้น จึงทำให้ปัญญาดับ. บทว่า วิฆาตปกฺ-

ขิโก ความว่า เป็นส่วนแห่งทุกข์. ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะวิตก

ไม่ให้เพื่อกระทำชื่อนิพพานอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งนั้นให้ประจักษ์. บทว่า

อพฺภตฺถ คจฺฉติ ความว่า ถึงความสิ้นไป คือ ความไม่มี คือ ดับไป

ดุจฟองน้ำฉะนั้น. บทว่า ปชหเมว คือ ทิ้งแล้วนั้นเทียว. บทว่า วิโน-

ทนเมว คือ นำออกไปแล้วนั้นเทียว. บทว่า พฺยนฺตเมว น อกาสึ

ความว่า เราทำวิตกนั้นให้ไปปราศ ไม่มีเหลือหมุนกลับ ปกปิดนั้นเทียว.

บทว่า พฺยาปาทวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ชื่อว่าประกอบพร้อมด้วยการ

เบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่เกิดในพระหฤทัยของพระโพธิสัตว์. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงความที่พระโพธิสัตว์นั้นทรงน้อมจิตไป เพราะ

อาศัยเหตุทั้งหลายมีฝนจัด ร้อนจัด และหนาวจัดเป็นต้นนั้น จึงตรัสว่า

พยาบาทวิตก ดังนี้. บทว่า วิหึสาวิตกฺโก ความว่า วิตกที่ประกอบพร้อม

ด้วยการยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนเหล่าอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์. แต่

อาการแห่งความฟุ้งซ่านในพระหฤทัย เป็นอาการแห่งอารมณ์หลายประการ

พระโพธิสัตว์ ทรงถือเอาอาการนั้น ทำวิหิงสาวิตก. เพราะพระองค์ประทับนั่ง

ณ พระทวารแห่งพระบรรณศาลา ทรงเห็นเนื้อร้ายมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น

กำลังเบียดเบียนเนื้อตัวเล็ก ๆ มีสุกร เป็นต้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ทรง

ดำริว่า ศัตรูทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เดียรัจฉานเหล่านี้ ในป่าซึ่งไม่มีภัย

แต่ไหนชื่อแม้นี้ พวกสัตว์มีกำลังกินสัตว์มีกำลังน้อย พวกสัตว์กินสัตว์มีกำลัง

น้อยย่อมเป็นอยู่ได้ ดังนี้ ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้น ทรงเห็นสัตว์แม้เหล่าอื่น

มีแมวเป็นต้น กำลังกินสัตว์มีไก่และหนูเป็นต้น. เสด็จเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต

ทรงยังพระกรุณาให้เกิดขึ้นว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกข้าราชการเบียดเบียน สวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

ทุกข์มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น ย่อมไม่ได้ เพื่อทำการงานของตนมีการทำ

นา และการค้าขายเป็นต้น เลี้ยงชีพ. ทรงหมายถึงพระกรุณานั้น จึงตรัสว่า

วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตถา ตถา ความว่า โดยเหตุนั้น ๆ. ท่าน

อธิบายอย่างนี้ว่า ทรงตรึกวิตกใด ๆ ในกามวิตกเป็นต้น และทรงยังวิตกใด ๆ

ให้เป็นไป พระโพธิสัตว์นั้นไม่มีพระหฤทัยด้วยความมีกามวิตกเป็นต้นนั้นเลย

โดยอาการนั้นๆ. บทว่า ปหาสิ เนกฺขมฺมวิตกฺก ความว่า ละเนกขัมมวิตก.

บทว่า พหุลมกาสิ ความว่า ได้ทำให้มาก. บทว่า ตสฺส ต กามวิตกฺกาย

จิตฺต ความว่า พระหฤทัยนั้นของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อประโยชน์

แก่กามวิตก โดยประการที่ประกอบพร้อมด้วยกามวิตกนั้นเทียว. แม้ในบทที่

เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปมาที่แสดงถึงเนื้อความ จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิฏฺสมฺพาเธ ความว่า ในที่คับแคบ

ด้วยข้าวกล้า. บทว่า อาโกฏฺเฏยฺย ความว่า ตีหลงโดยตรง. บทว่า ปฏิโกฏฺ

เฏยฺย ความว่า ตีซี่โครงโดยทางขวาง. บทว่า สนฺนิรุทฺเธยฺย ความว่า

ห้ามแล้วให้หยุด. บทว่า สนฺนิวาเรยฺย ความว่าไม่พึงให้เพื่อไปทางนั้นและ

ทางนี้. บทว่า ตโตนิทาน ความว่า โดยเหตุนั้น คือ โดยเหตุที่โคทั้ง

หลายที่ไม่ได้รักษาอย่างนั้น กินข้าวกล้าของคนเหล่าอื่น. ก็นายโคบาลโง่ เมื่อไม่

รักษาโคทั้งหลายอย่างนี้ ย่อมถึงทุกข์มีการฆ่าเป็นต้น จากสำนักของเจ้าของโค

ทั้งหลายว่า คนเลี้ยงโคนี้กินข้าวและค่าจ้างของเรา ไม่สามารถแม้เพื่อรักษาโค

ทั้งหลายโดยตรง กลับให้เปลี่ยนเวรกับตระกูลทั้งหลายบ้าง จากเจ้าของข้าว

กล้าบ้าง. แต่นายโคบาลผู้ฉลาด เมื่อเห็นภัย ๔ อย่างนี้ ย่อมรักษาโคทั้งหลาย

ให้ผาสุก บทนั้นท่านกล่าวหมายถึงเหตุนั้น. บทว่า อาทีนว ได้แก่อุปัททวะ.

บทว่า โอการ คือ ความลามก คือความต่ำทรามในขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

สงฺกิเลส ได้แก่ ความเป็นของเศร้าหมอง. บทว่า เนกฺขมฺเม ความว่า

ในเนกขัมมะ. บทว่า อานิสส ได้แก่ อันเป็นฝ่ายแห่งความหมดจด. บทว่า

โวทานปกฺข นี้เป็นไวพจน์ของอานิสงส์นั้น. อธิบายว่า ก็เราได้เห็นเนก-

ขัมมะเป็นฝ่ายความหมดจดแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย. อนึ่ง คำว่า เนกขัมมะ

คือ นิพพานนั้นเทียว เมื่อสงเคราะห์กุศลทั้งหมดซึ่งสลัดออกแล้วจากกามทั้ง

หลายลงในธรรมบทเดียว. ในบทนั้นมีการเปรียบเทียบดังนี้ ก็อารมณ์มี

รูปเป็นต้น ดุจที่คับแคบด้วยข้าวกล้า จิตโกงดุจโคโกง พระโพธิสัตว์ดุจนาย

โคบาลผู้ฉลาด วิตกที่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตน คนอื่นและทั้ง ๒ ฝ่าย

เปรียบเหมือนภัย ๔ ชนิด การที่พระโพธิสัตว์ทรงตั้งความเพียรตลอด ๖ ปี

ทรงเห็นภัยแห่งการเบียดเบียนตนแล้ว รักษาพระหฤทัยในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูป

เป็นต้น โดยประการที่วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นไม่เกิดขึ้น เปรียบเหมือน

การที่นายโคบาลผู้ฉลาดเห็นภัย ๔ ชนิด แล้วรักษาโคด้วยความไม่ประมาทใน

ที่คับแคบด้วยข้าวกล้าฉะนั้น. ในบทว่า ปญฺาวุฑฺฒิโก เป็นต้น ชื่อว่า

ปัญญาวุฑฒิกะ เพราะเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตตระที่ยังไม่เกิดขึ้น และเพื่อความเจริญแห่งปัญญาทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุต

ตระที่เกิดขึ้นแล้ว. ชื่อว่า อวิฆาตปักขิกะ เพราะไม่เป็นไปเพื่อส่วนแห่ง

ความทุกข์. ชื่อว่า นิพพานสังวัตตนิกะ. เพราะเป็นไปเพื่อความทำให้แจ้ง

ซึ่งนิพพานธาตุ. บทว่า รตฺติญฺเจปิ ต ภิกฺขเว อนุวิตกฺเกยฺย ความว่า

แม้ถ้าเราพึงยังวิตกนั้นให้เป็นไปตลอดคืนทั้งสิ้น. บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่

มีวิตกนั้นเป็นมูล. บทว่า โอหญฺเยฺย ความว่า พึงฟุ้งซ่าน คือเป็นไป

เพื่อความฟุ้งซ่าน. บทว่า อารา คือ ในที่ไกล. บทว่า สมาธิมฺหา คือ

จากอุปจารสมาธิบ้าง จากอัปปนาสมาธิบ้าง. บทว่า โส โข อห ภิกฺขเว

อชฺฌตฺตเมว จิตฺต ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นตั้งมั่นซึ่งจิตอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

เป็นไปในภายในว่า จิตของเราอย่าอยู่ในที่ไกลจากสมาธินั้นเทียว คือ ดำรงจิต

ไว้ในภายในอารมณ์. บทว่า สนฺนิสิเทมิ ความว่า เรายังจิตนั้นให้สงบอยู่

ในอารมณ์นั้นเทียว. บทว่า เอโกทึ กโรมิ คือ ทำให้มีอารมณ์เดียว. บท

ว่า สมาทหามิ ความว่าตั้งมั่นโดยชอบ คือ ยกขึ้นโดยดี. บทว่า มา เม

จิตฺต อุคฺฆาฏี ความว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน คืออย่าเป็นไปเพื่อความฟุ้ง-

ซ่าน. ในบทว่า อุปฺปชฺชติ อพฺยาปาทวิตกฺโก อวิหึสาวิตกฺโก นั้น

วิตกที่เกิดขึ้นพร้อมกับดรุณวิปัสสนาที่ได้กล่าวแล้วในหนหลังนี้นั้นใด ท่าน

กล่าวว่า เป็นเนกขัมมวิตก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อกาม วิตกนั้นแล

ท่านกล่าวว่า เป็นอัพยาบาทวิตก เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึกต่อความปองร้าย

และว่าเป็นอวิหิงสาวิตก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อความเบียดเบียน. ท่าน

แสดงกาลแห่งการตั้งวิปัสสนาอาศัยสมาบัติของพระโพธิสัตว์ ด้วยประมาณเท่านี้.

ก็พระโพธิสัตว์นั้นมีสมาธิบ้าง ดรุณวิปัสสนาบ้าง เมื่อพระโพธิสัตว์

นั้นตั้งวิปัสสนาประทับนั่งนานเกินไป พระวรกายย่อมลำบาก ย่อมร้อนดุจไฟ

ในภายใน พระเสโททั้งหลายย่อมไหลออกจากพระกัจฉะ ไออุ่นจากพระเศียร

เป็นดุจเกลียวตั้งขึ้น พระหฤทัยย่อมเดือดร้อน กระสับกระส่าย เป็นจิตฟุ้งซ่าน.

แต่พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว บริกรรมสมาบัติ นั้น ทำให้อ่อน

ทรงเบาพระหฤทัย ทรงตั้งวิปัสสนาอีก ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่งนาน

นัก พระวรกายก็เป็นอย่างนั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว ทรง

กระทำอย่างนั้น เพราะสมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา. เปรียบเหมือน

ธรรมดาโล่ มีอุปการะมากแก่ทหาร ทหารนั้นอาศัยโล่นั้น เข้าสงคราม ครั้น

เมื่ออาวุธทั้งหลายที่ใช้การรบรวมทั้งเหล่าช้าง เหล่าม้า และเหล่าทหารใน

สงครามนั้น หมดไป คงมีแต่ความเป็นผู้ใคร่จะบริโภคเป็นต้นเท่านั้น กลับ

แล้วเข้าไปยังค่ายพักแล้ว จับอาวุธทั้งหลายบ้าง ทดลองบ้าง บริโภคบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ดื่มน้ำบ้าง ผูกสอดเกราะบ้าง ทำกิจนั้น ๆ แล้ว เข้าสงครามอีก หรือ ทำการ

รบในสงความนั้น เกิดปวดอุจจาระเป็นต้นเข้าไปค่ายพัก ด้วยกิจอันควรทำบาง

อย่างอีก ครั้นทำธุระเสร็จในค่ายพักนั้นแล้ว ก็เข้าสงครามอีก. สมาบัติมี

อุปการะมากแก่วิปัสสนา เหมือนค่ายพักมีอุปการะมากแก่ทหารฉะนั้น. อนึ่ง

วิปัสสนามีอุปการะแก่สมาบัติมากกว่าค่ายพักของทหารที่ประสงค์จะระงับ

สงคราม. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยสมาบัติ เจริญวิปัสสนาแม้ก็จริง แต่

วิปัสสนามีกำลังย่อมรักษาแม้สมาบัติ กระทำสมาบัติให้เกิดกำลัง. ก็ชนทั้งหลาย

ย่อมทำเรือในทางบกบ้าง สินค้าในเรือบ้างให้เป็นภาระของเกวียน แต่ถึงน้ำแล้ว

ย่อมทำเกวียนบ้าง สินค้าในเกวียนบ้าง โคเทียมเกวียนบ้าง ให้เป็นภาระของเรือ

เรือตัดกระแสทางขวางแล่นไปสู่ท่าโดยสวัสดีฉันใด วิปัสสนาอาศัยสมาบัติ ย่อม

เป็นไปแม้โดยแท้ แต่วิปัสสนามีกำลัง ย่อมรักษาแม้สมาบัติ ย่อมทำสมาบัติ

ให้เกิดกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ก็สมาบัติเปรียบเหมือนเกวียนถึงบก วิปัสสนา

เปรียบเหมือนเรือถึงน้ำ. กาลเวลาในการอาศัยสมาบัติแล้วตั้งวิปัสสนาของ

พระโพธิสัตว์ ท่านแสดงแล้วด้วยประมาณเท่านี้ ด้วยประการดังนี้.

บทว่า ยญฺจเทว เป็นอาทิ พึงทราบตามแนวที่กล่าวแล้วในฝ่ายดำ

นั้นเทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น เพื่อทรงแสดง

อุปมาที่แสดงเนื้อความแม้ในพระสูตรนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า คามนฺตสมฺภ-

เวสุ ได้แก่ นำมาใกล้บ้าน. บทว่า สติกรณียเมว โหติ ความว่า กิจสัก

ว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั้น โค ดังนี้เทียว พึงทำ คือ กิจมีการไปทางโน้น

และทางนี้แล้วตีเป็นไม่มี. กิจสักว่ายังสติให้เกิดขึ้นว่า เหล่านั่น ธรรมะ

เหล่านั้น สมถธรรมและวิปัสสนาธรรมนั้นเทียว เป็นกิจพึงทำ. กาลแห่งสมถ

และวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์เกิดกำลัง ได้แสดงแล้วด้วยบทนี้. ได้ยินว่า ใน

กาลนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่ง เพื่อประโยชน์แก่สมาบัติและอัปปนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

สมาบัติ ๘ ก็มาสู่ทางด้วยการระลึกอย่างเดียว. ทรงตั้งวิปัสสนาประทับนั่งแล้ว

ทรงขึ้นสู่อนุปัสสนาทั้ง ๗ โดยขณะเดียวกันนั้นเอง. ทรงแสดงอะไรในบทนี้ว่า

เสยฺ ยถา ปิ. อนุสนธิเฉพาะอย่างนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงอุปจาระที่เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย และสัมปทา คือ ความที่พระองค์

ทรงเป็นพระศาสดา จึงทรงปรารภเทศนานี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อรญฺเ ได้แก่ ในดง. บทว่า ปวเน ได้แก่ ราวป่า. ก็สองบทนี้

โดยอรรถก็เป็นไวพจน์อย่างเดียวกัน. บทว่า อโยคกฺเขมกาโม ความว่า

ผู้ไม่ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ๔ คือ สถานที่ปลอดภัย ได้แก่ประสงค์

ภัยนั้นเทียว. บทว่า โสวตฺถิโก ได้แก่ อันนำมาซึ่งความสวัสดี.

บทว่า ปิติงฺคมนีโย คือ ควรไปสู่ความยินดี. อีกประการหนึ่ง บาลีว่า

ปีติคมนีโย. บทว่า ปิทเหยฺย คือ พลางด้วยวัตถุทั้งหลายมีกิ่งไม้เป็นต้น.

บทว่า วิวเรยฺย ความว่า พึงทำปากทางให้สะดวกแล้ว ทำทางเปิดไว้.

บทว่า กุมฺมคฺค คือ ไม่ใช่ทางซึ่งปิดกั้นด้วยน้ำป่าและภูเขาเป็นต้น. บทว่า

โอทเหยฺย โอกจร ความว่า วางเนื้อเสือเหลืองตัวหนึ่งราวกะเที่ยวไปใน

ที่อยู่ของเนื้อฝูงนั้นไว้ในที่เดียวกัน. บทว่า โอกจาริก ความว่า แม่เนื้อซึ่ง

ล่ามเชือกยาวไว้. จริงอยู่ นายพรานเนื้อไปสู่ป่าคือสถานที่เป็นที่อยู่ของเนื้อ

ทั้งหลายคอยสังเกตว่า ฝูงเนื้ออยู่ในที่นี้ ออกไปทางนี้ เที่ยวในที่นั้น ดื่มใน

ที่นั้น เข้าไปทางนี้ ดังนี้แล้ว ปิดทาง เปิดทางร้ายไว้ ตั้งเนื้อตัวผู้และเนื้อ

ตัวเมียล่อไว้ ถือหอกยืนซ่อนตัวในที่กำบัง. ลำดับนั้น ในเวลาเย็น เนื้อ

ทั้งหลายเที่ยวในป่าที่ปลอดภัย ดื่มน้ำ เล่นกับลูกเนื้อทั้งหลาย มาสู่ถิ่นซึ่งเป็น

ที่อยู่ เห็นเนื้อตัวผู้และเนื้อตัวเมียที่ล่อไว้ ก็นึกว่า สหายของพวกเราจักมาแล้ว

ไม่สงสัยเข้าไป. เนื้อเหล่านั้นเห็นทางที่ปิดแล้วก็คิดว่า นี้ไม่ใช่ทาง นี้จักเป็น

ทาง แล้วดำเนินไปทางร้าย. นายพรานเนื้อจะไม่ทำอะไรก่อน แต่ครั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

เนื้อเหล่านั้นเข้าไปแล้วจึงค่อย ๆ ตีเนื้อตัวสุดท้าย เนื้อนั้นตกใจตื่น แต่นั้น

เนื้อทั้งหมดก็แตกตื่น มองดูข้างหน้าว่า ภัยเกิดขึ้นแล้ว เห็นทางที่ปิดกั้น

ด้วยน้ำ หรือป่า หรือภูเขา ก็ไม่อาจเพื่อจะเข้าไปสู่ป่าที่รกดุจนิ้วมือทั้งสอง

ข้างได้ ก็วกกลับปรารภที่จะออกไปทางที่เข้าแล้ว. ต่อแต่นั้น นายพรานรู้ว่า

ฝูงเนื้อเหล่านั้นกลับมาแล้ว จึงฆ่าเนื้อ ๓๐ ตัวบ้าง ๔๐ ตัวบ้าง.

บทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล โดยสมัยอื่นฝูงเนื้อ

นั้น พึงถึงความร่อยหรือดังนี้ พระศาสดาตรัสแล้ว ในบทนี้ว่า นั่นเป็นชื่อของ

นันทิราคะ เป็นชื่อแห่งอวิชชานั้นเทียว เพราะสัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีญาณ

เพราะอวิชชา พัวพันด้วยนันทิราคะ นำเข้าสู่รูปารมณ์เป็นต้น ย่อมถูกฆ่า

เพราะหอก คือ วัฏฏทุกข์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดง

ท่านเนื้อล่อตัวผู้เป็นดุจนันทิราคะ ทำเนื้อล่อตัวเมียเป็นดุจอวิชชา. จริงอยู่ แม้ใน

เวลาหนึ่ง นายพรานเนื้อปกปิดร่างด้วยกิ่งไม้ เพื่อเนื้อเหล่านั้น กำจัดกลิ่นมนุษย์

วางเนื้อล่อตัวผู้ในที่หนึ่ง ปล่อยเนื้อล่อตัวเมียพร้อมกับเชือก พรางตน ถือหอก

แล้วยืนอยู่ในที่ใกล้เนื้อล่อตัวผู้. เนื้อล่อตัวเมียก็จะบ่ายหน้าไปยังที่เที่ยวไป

แห่งหมู่เนื้อ. เนื้อทั้งหลายเห็นเนื้อล่อตัวเมียนั้นแล้ว ก็ยืนเงยหัว. ฝ่ายเนื้อ

ล่อตัวเมียนั้น ก็ยืนเงยหัว. เนื้อเหล่านั้นก็คิดว่า แม่เนื้อนี้เป็นพวกเดียวกัน

กับพวกเรา จึงกินหญ้า. ฝ่ายเนื้อล่อตัวเมียแม้นั้น ก็ทำที่เหมือนกินหญ้า

ค่อย ๆ เข้าไปหา. เนื้อจ่าฝูงที่อยู่ในป่า ได้กลิ่นเนื้อล่อตัวเมียนั้น ก็จะละฝูง

ของตน มุ่งหน้าต่อเนื้อล่อตัวเมียนั้น. จริงอยู่ สิ่งใหม่ ๆ นั้นเทียว ย่อมเป็น

ที่รักของสัตว์ทั้งหลาย เนื้อล่อตัวเมียที่มุ่งหน้าต่อเนื้อป่านั้น ก็จะไม่ให้เนื้อป่า

เข้าใกล้ จะหันหลังกลับไปยังที่อยู่ของเนื้อล่อตัวผู้ จะขวิดด้วยกลีบเล็บในที่ที่

มีเชือกคล้องไว้ให้หนีไป. เนื้อป่าเห็นเนื้อล่อตัวผู้แล้ว ก็มัวเมากับเนื้อล่อตัวเมีย

ทำความหึงในเนื้อล่อตัวผู้ น้อมหลัง ยืนส่ายหัว. ในขณะนั้น แม้เลียหอกอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

ก็ไม่รู้ว่า นี้อะไร. ฝ่ายเนื้อล่อตัวผู้ ถ้าเนื้อป่านั้นมีความสุขเพื่อชีวิตเนื้อนั้น

โดยส่วนบน ก็จะน้อมหลัง ถ้าเนื้อป่านั้นมีความสุขเพื่อขวิดโดยส่วนข้างล่าง

ก็จะน้อมหัวใจขึ้น. ลำดับนั้น พรานก็จะเอาหอกแทงเนื้อป่า ฆ่าในที่นั้นเทียว

แล้ว ถือเอาชิ้นเนื้อไป. ด้วยประการฉะนี้ เนื้อนั้นมัวเมาอยู่กับเนื้อล่อตัวเมีย

ทำความหึงในเนื้อล่อตัวผู้ แม้เลียหอกอยู่ ก็ไม่รู้อะไรฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็

ฉันนั้น เป็นผู้มัวเมา มืดมนเพราะอวิชชา เมื่อไม่รู้อะไร อาศัยความกำหนัด

ด้วยความเพลิดเพลิน ในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น ย่อมได้การฆ่าด้วย

หอกคือ ทุกข์ในวัฏฏะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงทำเนื้อ

ล่อตัวผู้เป็นนันทิราคะ ทรงกระทำเนื้อล่อตัวเมียเป็นอวิชชา. บทว่า อิติ โข

ภิกฺขเว วิวโฏ มย เขโม มคฺโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อันเกษม คือ ประเสริฐ อันเราบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยการประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์เหล่านี้ ไม่ได้เป็นผู้นั่งนิ่งด้วยอันคิด

ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า แสดงธรรมตั้งแต่การยังธรรมจักรให้เป็นไปได้เปิดแล้ว

ทางชั่วเราได้ปิดแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล เนื้อล่อตัวผู้ คือ นันทิราคะ อัน

ภัพพบุคคลทั้งหลายมีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นอันได้ละแล้ว เนื้อล่อตัวเมีย คือ

อวิชชา ถูกตัดเป็นสองส่วนให้พินาศแล้วจากผู้มีบาป ทั้งหมดถูกถอนหมดแล้ว

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอุปจาระอันเกื้อกูลแก่พระองค์.

คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเทวธาวิตักกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

เรื่องนิมิต ๕

[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตาม

เวลาอันสมควร. นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน

เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบ

ด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่

วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ

ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

ได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

เหมือนช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็กตอก โยก ถอน

ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัย

นิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ

ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบ

ด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอัน

เป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อม

ละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้

จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่น

จากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย

ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล

แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์

เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้. เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก

อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ

ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

ได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึกอึดอัด

ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ

(ของตน) แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น

อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง

โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควร

พิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้

วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก

แม้อย่างนี้ ดังนี้. เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้

ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม

ตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษ

ของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง

โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก

ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก

อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ

ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล

เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน

นั้นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการจะเห็นรูปที่ผ่าน

เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสียแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อ

เธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย

ฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นภายในนั้นแล.

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึกไม่

ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะ

บ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิ-

การสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่ง

วิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ

บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั่นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษ

พึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำไมหนอ ถ้ากระไร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อย ๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ

เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน. เขาพึงมีความคิดอย่างนี้

อีกว่า เราจะยืนทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง. เขาพึงมีความ

คิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ ถ้ากระไรเราควรนอน เขาพึงลงนอน. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถหยาบๆเสีย พึงสำเร็จอิริยา-

บถละเอียด ๆ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่าเมื่อเธอ

มนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล

ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐาน

แห่งวิตก สังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ

ด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ภิกษุนั้น

พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต

เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่

วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน

เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า

นั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้

แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่นแม้ฉันใด ภิกษุก็

ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตก สังขารของวิตกแม้เหล่านั้น

อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

ยังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่มบีบคั้น

บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น

บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน

เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง

มั่นในภายในนั่นแล.

ความเป็นผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการ

นิมิตใดอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ

บ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล

วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน

เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล

เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน

นั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล

ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึง

ความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่

ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นถึง

ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย

ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่

ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่ง

วิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง

โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะ

ละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ

บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม

เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า

เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนงวิตกใด ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จัก

ไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลายสังโยชน์

ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้ได้โดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแล.

จบ วิตักกสัณฐานสูตร ที่ ๑๐

จบ สีหนาทวรรค ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

อรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตร

วิตักกสัณฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺเตน ความว่า

จิตที่เกิดขึ้น ด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง เป็นจิตเท่านั้น จิตในสมาบัติ ๘ มี

วิปัสสนาเป็นบาท เป็นจิตยิ่งกว่าจิตนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสเรียกจิตนั้นว่า อธิจิต.

บทว่า อนุยุตฺเตน ได้แก่ หมั่นประกอบอธิจิตนั้น อธิบายว่า

ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในอธิจิต. ในข้อนั้นภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตใน

เวลาปุเรภัต กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วถือเอาผ้านิสีทนะออก

ไปด้วยคิดว่า เราจักทำสมณธรรมที่โคนต้นไม้โน้น หรือที่ไพรสณฑ์ หรือว่า

ที่เชิงเขา หรือว่าที่เงื้อมเขา ดังนี้ แล้วก็นำหญ้าใบไม้ออกจากที่สำหรับ

ประกอบอธิจิต ก็ครั้นเธอล้างมือและเท้าแล้วก็มานั่งคู้บัลลังก์ ถือเอามูลกรรม

ฐาน ประกอบเนือง ๆ อยู่ซึ่งอธิจิตนั่นแหละ.

คำว่า นิมิต ได้แก่ การณะ (คือ เหตุ).

คำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ได้แก่ ตามสมัยอันสมควร.

ถามว่า ก็ธรรมดาว่า กรรมฐานนั้นพระโยคีมิได้ทอดทิ้งแม้สักครู่

หนึ่ง คือ มนสิการติดต่อกัน ไป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ดังนี้.

ตอบว่า ก็เพราะพระบาลีจำแนกกรรมฐานไว้ ๓๘ ในกรรมฐานเหล่า

นั้น ภิกษุผู้นั่งปฏิบัติกรรมฐาน จำเดิมแต่อุปกิเลสอะไร ๆ ยังมิได้เกิดขึ้น

กิจที่จะต้องมนสิการด้วยนิมิตอื่น ๆ ยังมิได้มีก่อน แต่เมื่อใดกิเลสเกิดขึ้น เธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ก็พึงถือเอานิมิตทั้งหลาย นำกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เห็นเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

ว่าด้วยเขตแดน และอารมณ์ของอกุศลวิตก

พึงทราบเขตแดน และ อารมณ์ของวิตกเหล่านี้ คือ :-

วิตกที่ประกอบด้วย ฉันทะ

วิตกที่สหรคตด้วย ฉันทะ

วิตกที่สัมปยุตด้วย ราคะ

ในสามอย่างนั้น จิตอันสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง เป็นเขตแดนของ

วิตกที่ประกอบด้วยฉันทะ จิตที่สหรคตด้วยโทสะ ๒ ดวง เป็นเขตแดนของ

วิตกที่ประกอบด้วยโทสะ อกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นเขตแดนของวิตกที่ประกอบ

ด้วยโมหะ. แต่ว่าจิตที่สัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นเขตแดนเฉพาะ

บุคคลผู้มีวิตกอันสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเท่านั้น. สัตว์ทั้งหลายและ

สังขารทั้งหลาย แม้ทั้งหมด ก็เป็นอารมณ์ของวิตกได้ทั้งนั้น เพราะว่า เมื่อ

ภิกษุไม่เพ่งดูอารมณ์ที่ชอบและที่ไม่ชอบแล้ว วิตกในสัตว์และสังขารเหล่านั้น

ก็ไม่เกิดขึ้น.

ว่าด้วยมนสิการนิมิตอื่น ๆ

คำว่า ภิกษุนั้น ควรมนสิการนิมิตอื่นอันประกอบด้วยกุศล

ได้แก่ ควรมนสิการนิมิตอันอาศัยกุศลอื่น โดยเว้นจากอกุศลนิมิตนั้น.

ในข้อนั้น ชื่อว่า นิมิตอื่น คือเมื่อวิตกประถอบด้วยฉันทะเกิดขึ้นใน

สัตว์ทั้งหลาย การเจริญอสุภะ (อสุภสัญญา) ชื่อว่า นิมิตอื่น เมื่อวิตกเกิด

ขึ้นพอใจในสังขารทั้งหลาย (มีจีวรเป็นต้น ) มนสิการถึงความเป็นของไม่เที่ยง

(อนิจจสัญญา) ชื่อว่า นิมิตอื่น. ก็เมื่อวิตกประกอบด้วยโทสะในสัตว์ทั้งหลาย

เกิดขึ้น การเจริญเมตตา ชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อวิตกในสังขารทั้งหลายเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

การมนสิการถึงธาตุ ชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อวิตกประกอบด้วยโมหะเกิดขึ้นใน

ธรรมใด ภิกษุอาศัยธรรม ๕ อย่าง ชื่อว่า นิมิตอื่น.

อธิบายว่า เมื่อโลภะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลายโดยนัย มีคำว่า มือ หรือ

เท้าของผู้นี้งาม ดังเป็นต้น เธอก็นำมาพิจารณาด้วยอสุภะ คือสิ่งที่ไม่งามว่า

ท่านยินดีกำหนัดในอะไร ในผมทั้งหลายหรือ หรือว่าในขนทั้งหลาย ฯลฯ

หรือว่าในน้ำมูตร ธรรมดาว่า อัตตภาพนี้ประกอบขึ้นด้วยกระดูก ๓๐๐ ท่อน

ยกขึ้นผูกไว้ด้วยเอ็น ๙๐๐ เส้น ฉาบทาด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น หุ่มห่อด้วย

หนังสด อันความยินดีพอใจในผิวปกปิดไว้แล้ว อนึ่งเล่า ของไม่สะอาดทั้ง

หลาย ย่อมไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ (ทวาร ๙) และจากขุมขนประมาณ

๙๙,๐๐๐ ขุม มีกลิ่นเหม็นเต็มไปด้วยซากศพ เป็นสิ่งน่ารังเกียจ เป็นของปฎิกูล

อันสะสมไว้ซึ่งสิ่งปฏิกูล ๓๒ ประการ จะหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งที่ประ-

เสริฐในกายนี้มิได้มี เมื่อพระโยคีนำความงามออกด้วยอสุภะอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว ย่อมละความโลภที่เกิดในสัตว์ทั้งหลายได้ เพราะเหตุนั้น

การนำความงามออกได้ด้วยอสุภะนี้ จึงชื่อว่า นิมิตอื่น. เมื่อความโลภเกิดขึ้น

ในบริขารทั้งหลายมีบาตรและจีวรเป็นต้น ก็มนสิการด้วยสามารถแห่งการ

พิจารณาถึงความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ และเป็นของชั่วคราว โดยนัยที่กล่าว

ไว้ในสติปัฏฐานวรรณนาว่า ภิกษุย่อมวางเฉยในสังขารทั้งหลายมีบาตรและจีวร

เป็นต้น ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือโดยความเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของโดยแท้จริง

และเป็นของชั่วคราว เธอก็ย่อมละความโลภนั้นได้. เพราะเหตุนั้น การ

มนสิการโดยอาการ ๒ อย่างในสังขารนั้น จึงชื่อว่า นิมิตอื่น.

เมื่อโทสะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย พระโยคีพึงเจริญเมตตาด้วยสามารถ

แห่งสูตรทั้งหลายที่นำความอาฆาตออกมีกกโจปมสูตรเป็นต้น เมื่อเจริญเมตตา

อยู่ ก็ย่อมละโทสะนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น การเจริญเมตตานั้น จึงชื่อว่า นิมิตอื่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

เมื่อโทสะเกิดขึ้นในเพราะวัตถุทั้งหลายมีการกระทบกับตอ หนาม ใบไม้ที่

แหลมคมเป็นต้น เธอก็พึงมนสิการถึงธาตุโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านย่อมโกรธ

ใคร ย่อมโกรธปฐวีธาตุหรือ หรือว่าอาโปธาตุเป็นต้น เมื่อมนสิการธาตุอยู่

อย่างนี้ เธอย่อมละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น การมนสิการถึงธาตุอยู่ จึงชื่อว่า

นิมิตอื่น.

เมื่อโมหะเกิดขึ้นในธรรมใด เธออาศัยธรรม ๕ เหล่านี้ คือ

๑. การอยู่ร่วมกับครู

๒. การเรียนธรรม (อุทเทส)

๓. การสอบถามธรรม

๔. การฟังธรรมตามกาลอันควร

๕. การวินิจฉัยธรรมที่เป็นฐานะและอฐานะ

ก็ย่อมละโมหะได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอาศัยธรรม ๕ เหล่านี้.

เพราะว่า เมื่อเธออาศัยอาจารย์ผู้ควรแก่การเคารพ อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรม

แก่เธอมีการให้ตักน้ำสักร้อยหม้อ เพราะไม่ถามถึงการเข้าสู่บ้าน หรือไม่ทำวัตร

ในกาลอันควรเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว

เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.

แม้เมื่อเรียนธรรม (อุทเทส) อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรมแก่เธอผู้ไม่

เรียนในเวลาอันสมควร หรือสาธยายไม่ดี หรือไม่สาธยาย เป็นต้น เธอย่อม

เป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว แม้เช่นนี้ เธอก็ย่อมละโมหะธรรมนั้น

ได้.

ภิกษุเข้าไปหาภิกษุผู้ควรเคารพแล้ว สอบถามว่า ท่านขอรับ ข้อนี้

เป็นอย่างไร อรรถของธรรมนี้เป็นอย่างไร เป็นต้น เธอย่อมกำจัดความสงสัย

ได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

แม้เมื่อภิกษุไปสู่ที่เป็นที่ฟังธรรมดามกาลเวลาอันควร ฟังอยู่โดยเคารพ

อรรถธรรมในที่นั้น ๆ ย่อมจะแจ่มแจ้งแก่เธอ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็

ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.

บุคคลผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในสิ่งที่เป็นฐาน คือสิ่งที่เป็นไปได้ และ

อฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่า นี้เป็นเหตุของสิ่งนี้ นี้ไม่ใช่เหตุของสิ่งนี้

ดังนี้เป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้. เพราะ

เหตุนั้น การอาศัยธรรม ๕ ของเธอนั้น จึงชื่อว่า เป็นนิมิตอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓๘ เธอ

ย่อมละอกุศลวิตกเหล่านี้ได้ เพราะนิมิต ๕ ที่มีลักษณะอย่างนี้ เป็นข้าศึกและ

ปฎิปักษ์โดยตรงต่อกิเลสทั้งหลายนีราคะเป็นต้น กิเลสที่มีราคะเป็นต้นที่ละได้

ด้วยนิมิต ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นการละอย่างดี. เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ดับไฟ

โดยใช้ไม้สดโบยบ้าง ฝุ่นบ้าง กิ่งไม้อื่น ๆ บ้าง ย่อมทำให้ดับ แต่น้ำซึ่ง

เป็นข้าศึกโดยตรงของไฟ เมื่อเขาดับไฟด้วยน้ำซึ่งเป็นข้าศึกโดยตรง ย่อมเป็น

การดับดีแล้ว ฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่ละได้ด้วยนิมิต ๕ เหล่านี้

ชื่อว่า เป็นการละอย่างดี ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบคำเหล่านี้

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.

บทว่า กุสลูปสญฺหิต คือว่า อาศัยกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล.

บทว่า อชฺฌตฺตเมว คือว่า เป็นอารมณ์ภายนั่นแล.

บทว่า ปลคณฺโฑ แปลว่า นายช่างไม้.

บทว่า สุขุมาย อาณิยา ความว่า นายช่างไม้ หรือลูกมือของ

นายช่างไม้ผู้ฉลาดต้องการจะนำลิ่มอันใดออก ก็ตอกด้วยลิ่มไม้อันแข็งกว่าลิ่ม

อันนั้นเข้าไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

บทว่า โอฬาริก อาณึ ได้แก่ สิ่มที่ไม่เสมอกันที่นายช่างตอกเข้า

ไปในแผ่นกระดานไม้จันทน์ หรือกระดานไม้เนื้อแข็ง.

บทว่า อภิหเนยฺย คือว่า เมื่อตอกด้วยไม้ค้อนแล้วก็นำออกมา.

บทว่า อภินีหเนยฺย คือว่า เมื่อโยกอยู่อย่างนั้น ก็พึงนำลิ่มออก

จากแผ่นกระดานได้.

บทว่า อภินิวฏฺเฎยฺย ความว่า บัดนี้ เมื่อนายช่างรู้ว่าลิ่มเป็นอัน

มากเหล่านี้เขยื้อนออกแล้ว จึงเอามือจับคลอนไปมาแล้วดึงออก.

บัณฑิตพึงทราบความในที่นี้ว่า จิตเหมือนแผ่นกระดาน. อกุศลวิตก

เปรียบเหมือนลิ่มที่ทำให้แผ่นกระดานไม่เสมอกัน. กุศลนิมิตมีการเจริญอสุภะ

คือความไม่งามเป็นต้นเปรียบเหมือนลิ่มเล็ก. การนำอกุศลวิตกเหล่านั้นออก

ด้วยกุศลนิมิตทั้งหลายมีการเจริญอสุภะเป็นต้น เปรียบเหมือน การตอก โยก

ถอนลิ่มใหญ่ออกได้ด้วยลิ่มอันเล็กที่แข็งกว่าฉะนั้น.

บทว่า อหิกุณเปน เป็นอาทิ แปลว่า ซากงูเป็นต้นนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงถึงซากศพทั้งหลายว่าล้วนเป็นของปฏิกูล น่า

รังเกียจอย่างยิ่ง.

บทว่า กณฺเ อาลคฺเคน คือว่า นำเอาซากศพ ที่ใดที่หนึ่งซึ่ง

หาประโยชน์มิได้มาผูก คือมาสวมใส่ไว้ที่คอ.

บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ ความละอาย.

บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย คือว่า พึงรังเกียจอันเกิดขึ้นเอง.

บทว่า ปหียนฺติ ความว่า เมื่อเธอรังเกียจด้วยเหตุแม้นี้แล้ว ใคร่

ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนว่า อกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก

ก็จะละเสียได้ เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม รังเกียจซากงูเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ฉะนั้น. ก็เมื่อภิกษุใด ไม่อาจเพื่อจะใคร่ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนได้

เธอพึงเข้าไปหาอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ควรแก่การเคารพ

หรือพระสังฆเถระ รูปใดรูปหนึ่ง แล้วตีระฆังให้ภิกษุมาประชุมกันบอกให้ทราบ

ถึงเหตุนั้น เพราะว่ามนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งจักมีในที่ประชุมนั้น ก็บัณฑิต

นี้จักบอกว่า ท่านพึงเห็นโทษในอกุศลวิตกอย่างนี้ ๆ หรือว่า จักข่มอกุศลวิตก

เหล่านั้น ด้วยกถาทั้งหลาย มีกายวิจฉินทนียกถาเป็นต้น.

บทว่า อสติมนสิกาโร อาปชฺชิตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุนั้นไม่พึง

นึก ไม่พึงใส่ใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๆ

เหมือนบุคคลผู้ไม่ประสงค์จะเห็นรูป พึงหลับตาทั้งสอง ฉันใด ภิกษุผู้ถือมูล

กรรมฐานมานั่งแล้ว เมื่อวิตกเกิดขึ้นในจิต ก็พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น

ฉันนั้น. ภิกษุนั้น ย่อมละอกุศลวิตกได้ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อเธอประสงค์จะ

ละก็พึงถือเอากรรมฐานมาแล้วนั่งลงเถิด. ก็ถ้าเธอยังละไม่ได้ ก็ควรสาธยาย

พระบาลีธรรมกถาที่เรียนมาด้วยเสียงอันดัง. ถ้าเธอใส่ใจไปในอารมณ์อื่นอย่าง

นี้ยังละไม่ได้ ก็จงหยิบสมุดเปล่าออกจากย่ามเขียนพรรณนาความดีของพระ-

พุทธเจ้าข้อใดข้องหนึ่ง เธอพึงเป็นผู้นำอกุศลวิตกนั้นออกด้วยการส่งใจไปใน

อารมณ์อื่น อย่างนี้.

ถ้าแม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้ ก็พึงหยิบไม้สี

ไฟออกมาจากย่ามแล้วพิจารณา หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า นี้ไม้สีไฟอันบน

นี้ไม้สีไฟอันล่าง ดังนี้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกไม่ได้ ก็พึงเอากล่อง

เล็กออกมารวมบริขารไว้ หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า อันนี้ ชื่อว่า กล่องเข็ม

อันนี้ ชื่อว่า มีดเล็ก อันนี้ ชื่อว่า เครื่องตัดเล็บ อันนี้ ชื่อว่า เข็ม เป็นต้น

เธอก็จะพึงละอกุศลวิตกนั้นได้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้พึงหยิบ

เอาเข็มมาเย็บจีวรที่ขาด เพื่อส่งใจไปในอารมณ์อื่น ตราบใดที่เธอยังละอกุศล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

วิตกไม่ได้ ก็พึงส่งใจไปในอารมณ์อื่น โดยการทำกุศลกรรมนั้น ๆ ก็เมื่อเธอ

ละอกุศลวิตกได้แล้ว ก็พึงถือเอามูลกรรมฐานมานั่งลง ไม่พึงเป็นผู้เริ่มนว-

กรรม (การก่อสร้าง).

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะว่า เธอทำลายอกุศลวิตกยังไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสมน-

สิการกรรมฐานได้. แม้บัณฑิตในกาลก่อนจะทำนวกรรม ก็ต้องทำลายอกุศล

จิตก่อน. ในข้อนี้นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้.-

เรื่องติสสสามเณร

ได้ยินว่า พระอุปัชฌาย์ของสามเณรอาศัยอยู่ในมหาวิหารชื่อว่า ติสสะ

สามเณรกล่าวกับท่านอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ กระผมกระวนกระวาย (อยาก

ลาสิกขาบท). ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะสามเณรว่า ในวิหารนี้หาน้ำ

อาบได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต. สามเณรได้กระทำเหมือน

อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะสามเณรในที่นั้นว่า วิหารนี้เป็นของเฉพาะสงฆ์

เธอจงทำ (สร้างที่อยู่ใหม่) ให้เป็นที่อาศัยอยู่เฉพาะบุคคลคนหนึ่ง. สามเณร

รับคำว่า ดีแล้วขอรับ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อม ๆ กัน คือ การ

เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเชา และการบริกรรม

เตโชกสิณและได้ยังกรรมฐานนั้นให้ถึงอัปปนา ยังการเรียนสังยุตตนิกายให้

จบลงแล้วเริ่มนวกรรมในถ้ำ เธอได้ทำกิจนวกรรมทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงได้

แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ. พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล

คนหนึ่งเธอทำสำเร็จในวันนี้ได้โดยลำบาก เธอนั่นแหละจงอยู่ ดังนี้.

สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนา

ให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้นนั่นแหละ. ชนทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

หลายถือเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้. เจดีย์ของพระติสสะเถระได้

ปรากฏมาจนทุกวันนี้แล.

บัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) นี้ ชื่อว่า อสติบัพพะ (แปลว่าข้อกำหนด

ว่าด้วยการระลึกไม่ได้).

ว่าด้วยข้อทำลายมูลราก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะแสดงการทำลายมูลรากของอกุศลวิตกว่า

เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในข้อนี้ (คืออสติบัพพะ) แล้วยังไม่อาจข่มอกุศลวิตกได้ ก็ต้อง

ตั้งอยู่ในข้อที่ทำลายมูลรากของอกุศลวิตกนี้ ดังนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ

ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึง

ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ เป็นต้น.

ในข้อนี้ พึงทราบวิเคราะห์คำว่า สังขาร ในคำว่า พึงมนสิการ

สัณฐานสังขารของตน นั้นว่า สภาวะใด ย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้น สภาวะนั้น

จึงเชื่อว่า สังขาร. อธิบายว่า เป็นปัจจัย (คือเป็นเหตุเครื่องอาศัย) เป็น

การณะ (คือเป็นเหตุกระทำ) เป็นมูล (คือเป็นราก).

ชื่อว่า สัณฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งอยู่ดี. สัณฐานของ

วิตกสังขาร ชื่อว่า วิตักกสังขารสัณฐาน. ภิกษุพึงมนสิการสัณฐานอันนั้น.

คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า ภิกษุพึงมนสิการถึงเหตุและมิใช่เหตุ

ของวิตกทั้งหลายว่า วิตกนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไร

จึงเกิดขึ้น ดังนี้.

บทว่า กึ นุ โข อหึ สีฆ คจฺฉามิ ความว่า บุรุษผู้เดิน

เร็วนั้นย่อมคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยการเดินเร็วของเรานี้ เราจักค่อย ๆ ไป

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

บทว่า โส สนิก คจฺเฉยฺย คือว่า ครั้นเขาคิดอย่างนั้นแล้ว

จึงค่อย ๆ เดิน. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้แหละ.

บัณฑิตพึงทราบความในข้อนั้นว่า เวลาเกิดขึ้นแห่งวิตกของภิกษุนี้

เปรียบเหมือนการเดินเร็วของบุรุษ. เวลากำหนดการเที่ยวไปแห่งวิตกของภิกษุ

นี้ เปรียบเหมือน การค่อย ๆ เดินไปในที่นั้น. กาลที่ภิกษุนี้กำหนดการเที่ยว

ไปของวิตกได้แล้ว นำวิตกมาสู่มูลกรรมฐาน เปรียบเหมือการตรึกของบุรุษ

นั้น. กาลที่ภิกษุนี้ ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือน

กาลที่บุรุษนั้นนั่งลงแล้ว. กาลที่ภิกษุนี้ให้เวลาผ่านไปตลอดวันด้วยผลสมาบัติ

ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นนอนแล้ว.

ในข้อว่า วิตกเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย ความว่า

การเที่ยวไปของวิตก ย่อมเป็นของเบาบางแล้วแก่ผู้ถึงเหตุและมิใช่เหตุของวิตก

ทั้งหลาย เมื่อวิตกนั้นเป็นของเบาบางถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมดับไปโดยประการทั้ง

ปวง. บัณฑิตพึงแสดงข้อความนี้ด้วยทุททุภชาดก (คือเรื่องกระต่ายตื่นตูม).

เรื่องกระต่ายตื่นตูม

ได้ยินว่า กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ที่ใกล้ต้นมะตูม ลูกมะตูมสุก

หลุดจากขั้วหล่นลงมาใกล้หูของกระต่าย. กระต่ายนั้นก็ผลุดลุกขึ้นหนีไปโดย

เร็วด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่ม เพราะเสียงดังของลูกมะตูมนั้น. สัตว์จตุ-

บาท (๔ เท้า) ทั้งหลายแม้อื่น ๆ ข้างหน้าเห็นกระต่ายวิ่งมาโดยเร็ว ก็พากัน

วิ่งหนีไปด้วย. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเกิดเป็นราชสีห์. ราชสีห์นั้น

คิดว่า ธรรมดาว่าแผ่นดินนี้จะถล่มพินาศไปก็เพราะกัปพินาศ ชื่อว่าการที่

แผ่นดินนี้จะแตกทำลายไปในระหว่างมิได้มี เราจะต้องไปสืบดูต้นเหตุให้ได้

ดังนี้. ราชสีห์ จึงเริ่มถามสัตว์ทั้งหลายตั้งแต่ช้างใหญ่ไปจนถึงกระต่ายตัวนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ว่า เจ้าเห็นแผ่นดินถล่มหรือ ดังนี้ กระต่ายกล่าวว่า ข้าแต่นายผู้เป็นใหญ่

ข้าพเจ้าเห็น. ราชสีห์จึงกล่าวว่า เจ้าจงพาเราไปดู. กระต่ายกล่าวว่า ข้าพเจ้า

ไม่อาจ. ราชสีห์จึงตวาดว่า เฮ้ยเจ้ากระต่าย จงพาเราไปเจ้าอย่ากลัว แล้วก็

ปลอบใจกระต่ายด้วยคำสุภาพเรียบร้อยแล้วก็พากระต่ายไป. กระต่ายยืนอยู่ในที่

ไม่ไกลของต้นมะตูมแล้วได้กล่าว เป็นคาถาว่า

ข้าแต่ท่านผู้สง่างาม ข้าพเจ้าอยู่

ในที่นั้น ได้ยินเสียงถล่ม ข้าพเจ้าไม่รู้จัก

สิ่งนั้นว่าเป็นเสียงอะไร.

พระโพธิสัตว์กล่าวกะกระต่ายว่า เจ้าจงยืนอยู่ในที่นี้แหละ แล้วก็ไปที่

โคนต้นมะตูม ได้เห็นที่เป็นที่นอนของกระต่าย และได้เห็นลูกมะตูมสุก จึง

แลดูข้างบนได้เห็นขั้วของมะตูม ครั้นเห็นแล้ว ก็รู้ว่า กระต่ายตัวนี้นอนที่นี้

กำลังหลับ เมื่อลูกมะตูมสุกนี้หล่นลงมาใกล้หู จึงมีความสำคัญว่า เสียงแผ่นดิน

ถล่ม จึงรีบหนีไปโดยเร็ว ดังนี้ แล้วจึงถามถึงเหตุนั้น. กระต่ายรับคำว่า

ถูกแล้วท่านผู้เป็นนาย. พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคำเป็นคาถาว่า

เวลฺว ปติต สุตฺวา ทุทฺทุภนฺติ สโส ชวิ

สสสฺส วจน สุตฺวา สนฺตตฺตา มิควาหนี

แปลว่า กระต่ายฟังเสียงลูกมะตูม

หล่นลง สำคัญว่าเสียงแผ่นดินถล่ม จึง

วิ่งไปโดยเร็ว พวกมฤคทั้งหลาย ปานดัง

กองทัพเป็นผู้เล่าร้อนแล้ว เพราะฟังถ้อย

คำของกระต่าย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงปลอบใจพวกมฤคทั้งหลายว่า พวกท่านอย่ากลัว

เลย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

เมื่อภิกษุค้นหาต้นเหตุของอกุศลวิตกทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ ก็ย่อม

ละได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงการณะ (เหตุ) แม้นี้ว่า อันภิกษุผู้ดำรง

อยู่ในข้อทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตกนี้แล้ว ก็ยังไม่อาจเพื่อข่มวิตกนั้นได้ ก็พึง

ข่มอย่างนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ ภิกฺขเว เป็นอาทิ แปลว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานของวิตกดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ทนฺเตภิ ทนฺตมาธาย ได้แก่ พึงกดฟันบนลงที่ฟันข้างล่าง.

บทว่า เจตสา จิตฺต ได้แก่ พึงป้องกันอกุศลจิต ด้วยกุศลจิต.

บทว่า พลวา ปุริโส เป็นต้น ความว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้

สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าแล้วบีบ กด เค้น

ที่ศีรษะ หรือที่ก้านคอไว้ให้แน่น พึงกระทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก

ให้สยบ มีความตายเป็นที่สุด ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเป็น

นักมวยปล้ำซึ่งเป็นคู่ต่อสู้กับอกุศลวิตกทั้งหลายว่า พวกเจ้าเป็นอะไร เราเป็น

อะไร ดังนี้ ครั้นครอบงำแล้ว พึงประคองความเพียรใหญ่อย่างนี้ว่า

กาม ตโจ นหารู จ อฏฺิ จ อวสุสฺสตุ

อวสฺสิสฺสตุ เม สรีเร สพฺพนฺต มสโลหิต

แปลว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดใน

ร่างกายของเรานี้จะเหือดแห้งไป เหลือแต่

หนึ่งเอ็นกระดูก ก็ตามที.

เธอก็พึงข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้. เมื่อจะแสดงอย่างนี้ จึงตรัสคำอุปมาอัน

แสดงอรรถะนี้ว่า ยโต จ โข ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุอาศัยนิมิตใด แล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ เป็นต้น. ข้อนี้ ชื่อว่ามริยาทภาชนีย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

(คือคำจำแนกเขตแดน). คำนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. พึงทราบคำอุปมา

ต่อไปนี้.

เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ให้คำแนะนำสั่งสอนพระราชกุมารซึ่งมาจาก

แว่นแคว้นภายนอก ให้เรียนเอาซึ่งศิลปะว่าด้วยอาวุธ ๕ แล้วแสดงสิ่งที่ควร

กระทำด้วยอาวุธแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ว่า ท่านจงกลับไปครองราชสมบัติในแว่นแคว้น

ของตน ถ้าพวกโจรปรากฏในระหว่างทางแก่ท่าน ท่านจงใช้ธนูนี้ แล้วก็จงไป

ถ้าธนูของท่านหายหรือหัก จงใช้หอก หอกหัก จงใช้ดาบดังนี้เป็นต้นแล้วให้

กลับไป. พระราชกุมารนั้น ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ครั้นไปถึงแว่นแคว้น

ของตนแล้ว ได้ครองสิริราชสมบัติ ฉันใด ข้อนี้ก็ ฉันนั้นแหละ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงส่งภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต เพื่อถือเอาซึ่งพระอรหัต

และทรงแสดงบัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) ๕ เหล่านี้ว่า

ถ้าว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่เธอในระหว่าง ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยนิมิต

อื่น (เรียกว่า อัญญนิมิตตบัพพะ) ครั้นเธอข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้แล้ว ก็

จักยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วจักบรรลุพระอรหัต เมื่อไม่อาจในข้อนั้น (คือใน

อัญญนิมิตตบัพพะ) ก็จะตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยอาทีนพ เมื่อไม่อาจในข้อนั้น ก็จะ

ตั้งอยู่ในข้อด้วยอสติบัพพะ เมื่อไม่อาจในข้อนี้ ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยการ

ทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตก เมื่อไม่อาจแม้ในข้อนี้ ก็จะตั้งอยู่ในชื่อว่าด้วยการ

ข่ม ครั้นข่มวิตกทั้งหลายเหล่านั้นได้แล้ว จักยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วจักบรรลุ

พระอรหัต ดังนี้.

บทว่า วสี วิตกฺกปริยายปเถสุ แปลว่า ผู้ชำนาญในทางเดินของ

วิตก ได้แก่ ผู้ชำนาญตามที่ตนสั่งสมไว้แล้ว คือ เป็นผู้ชำนาญคล่องแคล่ว

ในทางเป็นไปของการตรึก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

บทว่า ย วิตกฺก อากงฺขิสฺสติ แปลว่า เธอจักจำนงวิตกใดนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงถึงลักษณะของความเป็นผู้ชำนาญ. เพราะว่า

บุคคลนี้ ครั้งก่อน อยากจะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นไม่ได้ ไม่ประสงค์

จะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นได้ แต่บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ชำนาญแล้ว

เธอเป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรึกถึงวิตกใด ย่อมตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ต้องการตรึก

วิตกใด ก็ไม่ต้องตรึกวิตกนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เธอจักจำนงวิตกใดก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกโคก็จักไม่ตรึกวิตกนั้น

ได้ ดังนี้.

บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺห แปลว่า ตัดตัณหาได้แล้วเป็นต้นนี้ ได้

กล่าวไว้ในสัพพาสวสูตรแล้ว แล.

จบอรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในเล่มนี้

๑. จูฬสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. มหาสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มหาทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. อนุมานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. เจโตขีลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. วนปัตถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. มธุปิณฑิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. เทวธาวิตักกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

โอปัมมวรรค

๑. กกจูปมสูตร

[๒๖๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นท่านพระโมลิยผัคคุนะ

อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินขอบเขต ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ

ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระ-

โมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี. อนึ่ง ถ้าภิกษุ

รูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีก็พากัน

โกรธขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ

ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้นภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกิน

ขอบเขต ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้ ถ้าภิกษุรูปไร

ติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ขัดใจ ถึง

กระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อ

หน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์

ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้.

[๒๖๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่ง มา

ตรัสสั่งว่า มานี่ภิกษุ เธอจงบอกโมลิยผัคคุนะภิกษุ ตามคำของเราว่า พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ศาสดารับสั่งให้หาท่าน. ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว เข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุนะ

พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. ท่านพระโมลิยผัคคุนะ รับคำภิกษุรูปนั้นแล้วก็

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโมลิยผัคคุนะว่า ดูก่อนผัคคุนะ ได้

ทราบว่าเธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินขอบเขต ดูก่อนผัคคุนะ. เธออยู่

คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนั้น ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ

เธอก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิการณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียน

เธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็น

อธิกรณ์ก็มี ผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเช่นนี้จริงหรือ พระ-

โมลิยผัคคุนะทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสถามต่อไปว่า ผัคคุนะ เธอเป็น

กุลบุตรออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธามิใช่หรือ

โม. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินขอบเขต ไม่

สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาเลย ผัคคุนะ

เพราะฉะนั้น ถ้าแม้ภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น

เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จัก

อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน เธอ

พึงศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ประหารภิกษุณีเหล่านั้น

ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น

เธอพึงละความพอใจและวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่วจักอนุ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

เคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิตไม่มีโทสะภายใน เธอพึง

ศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ติเตียนตัวเธอเอง ต่อหน้า

เธอ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ

แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจัก

ไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต

ไม่มีโทสะภายใน เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ

ประหารเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตรา ผัคคุนะ แม้

ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว

จักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน ผัคคุนะ

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ดังนี้แล.

[๒๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก

เราขอเตือนภิกษุทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว

เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย

มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียว

เถิด แม้พวกเธอฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย

เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุ

เหล่านั้น มีกิจแต่จะทำสติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว ก็เดิน

ไปตามพื้นที่เรียบ หรือเดินไปตามหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ไม่ต้องใช้แส้เพียง

แต่นายสารถีผู้ฝึกหัดที่ฉลาดขึ้นรถ แล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

มือขวาแล้วก็เตือนให้ม้าวิ่งตรงไปบ้าง ทั้งเลี้ยวกลับไปตามความปรารถนาบ้าง

ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน

มีแต่กิจที่จะการทำสติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียรแต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้สาละป่าใหญ่ ใกล้บ้านหรือนิคม และป่านั้น

ปกคลุมไปด้วยเหล่าต้นละหุ่ง ชายไร ๆ พึงหวังดีหวังประโยชน์และหวังความ

ปลอดภัยของต้นสาละนั้น เขาจึงตัดต้นรังเล็ก ๆ ที่คดที่ต้นละหุ่ง คอยแย่ง

โอชาออกนำไปทิ้งเสียภายนอก แผ้วถางภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อยแล้ว คอย

บำรุงรักษาต้นรังเล็ก ๆ ที่ต้นตรงขึ้นแรงดีไว้ได้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ด้วย

การกระทำดังที่กล่าวมานี้ สมัยต่อมา ป่าไม้รังนั้นก็เจริญงอกงามไพบูลย์ขึ้น

โดยลำดับ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำ

ความพากเพียรอยู่แต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้

พวกเธอ ก็จักเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ถ่ายเดียว.

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่กรุงสาวัตถีนี้แหละ

มีแม่บ้านคนหนึ่งชื่อว่าเวเทหิกา เกียรติศัพท์อันงามของแม่บ้านเวเทหิกาขจร

ไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่บ้านเวเทหิกา เป็นคนเสงี่ยม เจียมตน เยือกเย็น

ภิกษุทั้งหลาย ก็แม่บ้านเวเทหิกา มีทาสีชื่อกาลี เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน

จัดการงานดี ต่อมานางกาลีได้คิดอย่างนี้ว่า เกียรติศัพท์อันงามของนายหญิง

ของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่บ้านเวเทหิกา เป็นคนเสงี่ยม เจียมตน

เยือกเย็น ดังนี้ นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ หรือ

ไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือว่านายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน

ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

อย่ากระนั้นเลย จำเราจะต้องทดลองนายหญิงดู วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสี ก็แสร้ง

ลุกขึ้นสาย ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายแม่บ้านเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีทาสีขึ้นว่า

เฮ้ย อีคนใช้กาลี นางกาลีจึงขานรับว่า อะไรเจ้าข้า.

เว. เฮ้ย ทำไมเองจึงลุกจนสาย.

กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะแม่นาย

นางจึงกล่าวอีกว่า อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึงลุกขึ้น

จนสาย ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ ก็หน้านิ่วคิ้วขมวด.

ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นนางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเราไม่ทำ

ความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำ

ความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี

ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลองนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย ถัดจากวันนั้นมา นางกาลีทาสี จึงลุกขึ้นสายกว่านั้นอีก ครั้งนั้น

แม่บ้านเวเทหิกา ก็ตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า เฮ้ย อีกาลี.

กา. อะไร เจ้าขาแม่นาย.

เว. เช้ ทำไมเองจึงนอนตื่นสาย.

กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ.

นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีตัวร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึง

นอนตื่นสายเล่า ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ ก็แผดเสียงวาจาที่ขัดใจ ภิกษุทั้งหลาย

ทีนั้น นางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเรา ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน

ให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน

ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายให้เรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ

อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ดังนี้ แต่นั้นมา

นางกาลีทาสีก็ลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน ครั้งนั้น แม่บ้านเวเทหิกาผู้นาย ก็ร้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ด่ากราด โกรธจัด จึงคว้าลิ่มประตูปาศีรษะ ด้วยหมายจะทำศีรษะทาสีให้แตก

ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้น นางกาลีทาสีศรีษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยว

โพนทะนา แก่คนบ้านใกล้เคียงว่า แม่พ่อทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของ

คนเสงี่ยม เจียมตัว เยือกเย็นเอาเถิด ทำไมจึงทำแก่ทาสีคนเดียวอย่างนี้เล่า

เพราะโกรธว่านอนตื่นสหาย จึงคว้าลิ่มประตูปาเอาศรีษะ ด้วยหมายจะทำลาย

หัวข้า ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่นั้นมา เกียรติศัพท์อันชั่วของแม่บ้านเวเทหิกา

ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า แม่เรือนเวเทหิกา เป็นคนดูร้าย ไม่เจียมตัว ไม่เยือกเย็น

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น เป็นคน

สงบเสงี่ยมจัด เป็นคนเจียมตัวจัด เป็นคนเยือกเย็นจัด ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยัง

ไม่ได้กระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดเธอ

กระทบถอยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม เจียมตัว เยือกเย็น

อยู่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละควรทราบว่า เธอเป็นคนสงบเสงี่ยม

เป็นคนเจียมตัว เป็นคนเยือกเย็นจริง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกภิกษุรูปที่

เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

แลคิลานปัจจยเภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

ภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช

บริขารนั้น ก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย จะไม่ถึงความเป็นคนว่าง่ายได้ ภิกษุทั้งหลาย

อนึ่ง ภิกษุรูปใดแล มาสักการะเคารพ นอบน้อมพระธรรมอยู่ เป็นคนว่าง่าย

ถึงความเป็นคนว่าง่าย เราเรียกภิกษุรูปนั้นว่า เป็นคนว่าง่าย ดังนี้ เพราะ

ฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สักการะ

เคารพ นอบน้อมพระธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นคนว่าง่าย ดังนี้.

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าว

กะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑ กล่าว

ด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือ

มีโทสะในภายในกล่าว ๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอัน

สมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าว

ถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์

หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว

ก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน

เราจักไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา

ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตา

จิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก

ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาจอบและ

ตะกร้ามาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน

ดังนี้ เขาขุดลงตรงที่นั้น ๆ โกยขี้ดินทิ้งในที่นั้น ๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้น ๆ

แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็นแผ่นดิน ๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้

หรือไม่. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้

ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่า

เป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่น

จะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่

สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

หยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุคคล

อื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือ

ไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าว

ถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิต

เมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักไม่แปรปรวนเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประ-

โยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคล

นั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของ

จิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบบุรุษถือเอาครั้งก็ตาม สีเหลือง

สีเขียว หรือสีแดงอ่อนก็ตาม มาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเขียนรูปต่าง ๆ

ในอากาศนี้ กระทำให้รูปปรากฏชัด ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้รูปปรากฏ

ชัดได้หรือไม่. ไม่ได้พระเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะธรรมดาอากาศ

นี้ย่อมเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะเขียนรูปในอากาศนั้น ทำ

ให้รูปเด่นปรากฏชัดไม่ได้ง่ายเลย ก็แหละบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบาก

เสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคล

อื่นจะพึงกล่าวกะท่าน มีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่

สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบ

คาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มี

จิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

บุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริง

หรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำ

ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือ

มีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิต

ของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์

เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น

และเราจะแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

พยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังกล่าวมานี้แล.

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่

จุดไฟมาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควัน

พลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง

ด้วยคบหญ้าคบที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่. ไม่ได้พระเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่คงคานั้นให้

ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟเเล้วไม่ได้ง่ายเลย ก็แล

บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ภิกษุ

ทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ

กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑

กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์

หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะะในภายในกล่าว ๑

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควร

หรือไม่สมควรก็ตาม เขาจะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม

แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจัก

ไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ

ในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอ

ด้วยแม่น้ำคงคาไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแนวที่นาย

ช่างหนังฟอกดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี เป็นกระสอบที่ดีได้

ไม่ดังก้อง ถ้ามีบุรุษถือเอาไม้หรือกระเบื้องมาพูดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักทำกระสอบ

หนังแมว ที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำสี ที่ตีได้ไม่ดัง

ก้องนี้ให้เป็นของมีเสียงดังก้อง ด้วยไม้หรือกระเบื้องดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะทำกระสอบหนังแมวที่เขา

ฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้

ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้น ด้วยไม้หรือกระเบื้องได้หรือไม่. ไม่ได้

พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะเหตุว่า กระสอบหนังแมวนี้

เขาฟอกดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ซึ่งเป็นของที่ตีได้ไม่

ดังก้อง เขาจะทำกระสอบหนังแมวนั้น ให้กลับเป็นของมีเสียงดังก้องขึ้นด้วย

ไม้หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย บุรุษคนนั้น จะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบาก

เสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคล

อื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการคือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร

๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย ๑

กล่าวด้วยคำมีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

กล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคนอื่นจะกล่าวโดยกาลอัน

สมควร หรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าว

ด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำมีประโยชน์หรือ

ไร้ประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะะในภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น

พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่าจิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว

เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะในภายใน

เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยกระสอบ

หนังแมว ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไป

ตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติ

ต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีด้ามสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้น

ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น

ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น ภิกษุ

ทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่

แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยประโยชน์

เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึ่งบุคคลนั้น และ

เราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาทอันเปรียบ

ด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย

หรือโทษมาก ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง. ไม่มีพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทอันเปรียบได้ ด้วย

เลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาล

นาน ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ กกจูปมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

โอปัมมวรรค

อรรถกถากกจูปมสูตร

กกจูปมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน กกจูปมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า โมลิย-

ผัคคุนะ นี้ มวยผม ท่านเรียกว่า โมลี. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เฉตฺวาน โมลี วรคนฺธวาสิต

เวหาสย อุกฺขิปิ สากฺยปุงฺคโว

รตนจงฺโกฏวเรน วาสโว

สหสฺสเนตฺโต สิรสา ปฏิคฺคหิ.

จอมศากยะผู้ประเสริฐสุด ทรงตัดพระเมาลี

(คือมวยผม) อันอบด้วยของหอมอย่างดีแล้ว

โยนขึ้นไปในอากาศ ท้าววาสวะสหัสสเนตรทรง

เอาผอบแก้ว อันประเสริฐ ทูนพระเศียร รับไว้

ดังนี้.

ในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์มีมวยผมใหญ่ เพราะเหตุนั้น เขาจึงเรียกท่านว่า

โมลิยผัคคุนะ. แม้บวชแล้วชนทั้งหลายก็ยังจำชื่อนั้นได้.

บทว่า อติเวล แปลว่า เกินขอบเขต. ในบทว่า อตเวล นั้น

เวลามี ๓ คือ

๑. กาลเวลา ขอบเขตคือเวลา

๒. สีมเวลา ขอบเขตคือเขตแดน

๓. สีลเวลา ขอบเขตคือศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

จริงอยู่ ในคำว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ดังนี้ เวลานี้ชื่อว่า

กาลเวลา. ในคำว่า ภิกษุผู้มีธรรมอันตั้งอยู่แล้วจะไม่ก้าวล่วงแดน ดังนี้

เวลานี้ ชื่อว่า ลีมเวลา. ในคำว่า การไม่ล่วงละเมิดเวลา คือที่ชื่อเสตุฆาต-

วิรัติ อริยมรรคผู้ฆ่า ซึ่งบาปธรรมอันเป็นนับเนื่องแล้วในพระอริยมรรค ชื่อว่า

เสตุ และในคำว่า ชื่อว่า เวลา เพราะอรรถว่าการไม่ล่วงละเมิดนี้ ดังนี้

เวลานี้ชื่อว่า สีลเวลา.

พระโมลิยผัคคุนะนั้นย่อมก้าวล่วงขอบเขตตามที่กล่าวแล้วนั้นทั้ง ๓

ทีเดียว. จริงอยู่ กาลเวลาสำหรับการให้โอวาทภิกษุณีทั้งหลาย มีอยู่. เมื่อ

พระอาทิตย์อัศดงคตตกแล้ว พระโมลียผัคคุนะนั้นก็ยังกล่าวสอนอยู่ จึงชื่อว่า

เกินกาลเวลาแม้นั้น. ชื่อว่า ประมาณ (การกำหนด) ในการกล่าวสอนภิกษุณี

ทั้งหลาย มีอยู่ ชื่อว่า สีมมริยาทา แปลว่า เขตแดน พระโมลิยปัคคุนะนั้น

กล่าวสอนเกินกว่าห้าหกคำขึ้นไป จึงชื่อว่า เกินสีมเวลาแม้นั้น. ก็พระโมลิย-

ผัคคุนะเมื่อกล่าวธรรมอยู่. ก็กระทำเป็นเล่น (มีการพูดตลกเป็นต้น) ย่อม

กล่าวคำมากเพียงพอที่จะเป็นอาบัติหยาบได้. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า เกิน

แม้ซึ่งสีลเวลา.

บทว่า สสฏฺโ คือว่าเป็นผู้ปะปนกัน ร่วมสุขทุกข์กัน. บทว่า สมฺมุขา

คือ ข้างหน้า. บทว่า อวณฺณ ภาสติ ความว่า ภิกษุรูปไร ๆ เห็นพวก

ภิกษุณีเหล่านั้นทำกิจ มีการตำข้าวเป็นต้น ก็จะกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นเป็นคุณว่า

ภิกษุณีพวกนี้พระพฤติไม่ดี ว่ายาก เป็นผู้คะนอง คงไม่ต้องอาบัติ ดังนี้.

บทว่า อธิกรณปิ กโรติ ความว่า พระโมลิยผัคคุนะ ย่อมชัดอธิกรณ์

(เรื่องราว) แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ว่า จำเดิมแต่เห็นภิกษุณีทั้งหลายเหล่านี้แล้ว

ขัดลูกตา การบูชาด้วยดอกไม้ในวิหารนี้ หรือว่า การกระต่าง ๆ มีการชำระ

ล้างอาสนะ. และการประพรมเป็นต้น ย่อมดำเนินโดยภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้

เป็นกุลธิดา เป็นผู้มีความละอาย พวกท่านกล่าวอย่างนี้ ๆ แก่ภิกษุณีเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

พวกท่านเป็นอาบัติชื่อนี้ พวกท่านจงมาสำนักพระวินัยธร แล้วให้วินิจฉัย

แก่เรา. บทว่า โมลิยผคฺคุนสฺส อวณฺณ ภาสติ ความว่า ภิกษุไร ๆ

ย่อมกล่าวสิ่งอันมิใช่คุณว่า ชื่อว่า อาบัติ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ ที่บริเวณของ

พระโมลิยผัคคุนะนี้ ไม่ว่างภิกษุณีตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้. บทว่า อธิกรณปิ

กโรนฺติ ความว่า ย่อมชักอธิกรณ์แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ว่า จำเดิมแก่เรา

เห็นพระโมลิยผัคคุนะเถระแล้ว ย่อมขัดลูกตา ใคร ๆ ไม่อาจแม้แต่จะแลดูที่อยู่

ของพวกภิกษุอื่นในวิหารนี้ได้ พวกภิกษุณีที่มาสู่วิหารนี้ ได้อาศัยพระเถระ

(พระโมลิยผัคคุนะ) รูปเดียวแท้ ๆ จึงได้โอวาทบ้าง การต้อนรับบ้าง

บทอุทเทสบ้าง ท่านเป็นบุตรของผู้มีตระกูล มีความละอาย มีความรำคาญ

พวกท่านจงกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ ๆ เห็นปานนี้ พวกท่านจงมา ให้พระวินัยธร

วินิจฉัยแก่เรา ดังนี้. ข้อว่า โส ภิกฺขุ ภควนฺต เอตทโวจ ความว่า ได้

กราบทูลเพื่อต้องการจะให้เป็นที่รักก็หาไม่ หรือด้วยประสงค์เพื่อให้เขาแตกกัน

ก็หาไม่ ที่แท้เพื่อมุ่งประโยชน์เท่านั้น.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นคิดว่า เมื่อภิกษุ (โมลิยผัคคุนะ) นี้คลุกคลีอยู่

อย่างนี้ ความเสื่อมยศ จักเกิดขึ้น สิ่งที่มิใช่ยศนั้นเป็นโทษแม้แก่พระศาสนา

ก็พระโมลิยผัคคุนะนี้ถูกภิกษุอื่นตักเตือนแล้วก็จักไม่ยอมงดเว้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงธรรมให้โอวาทแล้วก็จักงดเว้น ดังนี้. เพราะภิกษุนั้นเป็น

ผู้มุ่งประโยชน์ จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อายสฺมา ภนฺเต

เป็นต้น แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะ คลุกคลีอยู่

กับพวกภิกษุณีเกินขอบเขต เป็นต้น. บทว่า อามนฺเตหิ คือว่า จงให้ทราบ.

บทว่า อามนฺเตติ แปลว่า ตรัสเรียก. บทว่า สทฺธา แปลว่า ด้วยศรัทธา

บทว่า ตสฺมา ความว่า ก็เพราะเหตุที่เธอเป็นบุตรผู้มีตระกูล เป็นผู้บวช

ด้วยศรัทธา หรือเหตุที่เธอคลุกคลีอยู่กับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนั้น คนพวกใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ด่าภิกษุณีหรือประหารภิกษุณี เกิดความโทมนัสขัดใจในคนพวกนั้น เมื่อเธอ

ละความคลุกคลีได้แล้ว ความโทมนัสก็จักไม่เกิด ดังนี้. บทว่า ตตฺร คือว่า

ในการติเตียนนั้น. บทว่า เคหสิตา คือว่า อาศัยเบ็ญจกามคุณ. บทว่า ฉนฺทา

คือว่า พอใจด้วยตัณหาบ้าง พอใจด้วยปฏิฆะบ้าง. บทว่า วิปริณต ความว่า

จิตกำหนัดด้วยอำนาจตัณหาก็แปรปรวน ทั้งจิตที่โกรธ ทั้งจิตที่หลง ก็แปร-

ปรวนเป็นอื่น. แต่ในที่นี้ จิตที่กำหนัดโดยความพอใจด้วยอำนาจตัณหา ก็ควร

แม้จิตที่โกรธโดยความพอใจ ด้วยอำนาจปฏิฆะก็ควร. บทว่า หิตานุกมฺปิ

ได้แก่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล คือว่าแผ่ออกไปด้วยประโยชน์เกื้อกูล.

บทว่า น โทสนฺตโร คือว่า เราจักไม่เป็นผู้มีโทสจิต.

เพราะเหตุไร ท่านจึงเริ่มคำว่า อถ โข ภควา เป็นต้น. ได้ยินว่า

แม้ความคิดว่า เราให้โอวาทเพียงนี้แล้ว จักงดเว้นจากการคลุกคลีกับภิกษุณี

ทั้งหลาย ดังนี้ ของพระโมลิยผัคคุนะมิได้เกิด. ก็พระโมลิยผัคคุนะนั้นเป็นผู้

ขัดแย้งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ราวกะว่าเป็นลิ่มสลัก ผ้าสะดึง. ในครั้งนั้น

เพราะทรงเห็นภิกษุผู้ว่ายากรูปนี้ ภาพเหล่าภิกษุผู้ว่าง่าย ครั้งปฐมโพธิกาลก็มา

ปราฎแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุคคลผู้หิว ปรารถนาอาหาร ผู้กระหาย

น้ำปรารถนาน้ำดื่ม ผู้กระทบความหนาว ปรารถนาความอุ่น ผู้ประสบทุกข์

ปรารถนาสุขฉะนั้น. ลำดับนั้น ทรงประสงค์จะสรรเสริญพวกภิกษุผู้ว่าง่าย

เหล่านั้น จึงเริ่มเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาราธยึสุ เเปลว่า

ให้ยินดีคือให้ถือเอา. บทว่า เอก สมย แปลว่า สมัยหนึ่ง. บทว่า เอกา

สนโภชน ได้แก่ การฉันอาหารในเวลาปุเรภัตครั้งเดียว. จริงอยู่ ตั้งแต่

พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลาเที่ยงวัน แม้ภิกษุจะฉันอาหาร ๑๐ ครั้ง ท่านก็

ประสงค์เอาในข้อว่า ฉันอาหารหนเดียวนี้. บทว่า อปฺปาพาธต คือ ปราศ-

จากอาพาธ. บทว่า อปฺปาตงฺกต คือปราศจากทุกข์. บทว่า ลหุฏฺาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

ได้แก่ มีร่างกายคล่องแคล่ว. บทว่า พล แปลว่า มีกำลังกาย. บทว่า

ผาสุวิหาร คือ ร่างกายอยู่เป็นสุข.

ถามว่า ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ด้วยสูตรนี้.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหารในเวลา

วิกาลในเวลากลางวันในสูตรนี้ แต่ในภัททาลิสูตรตรัสถึงกาลให้ละการฉันอาหาร

ในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้ภิกษุละการฉัน

อาหารในเวลาวิกาลทั้งสองนี้พร้อมกัน.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า ก็เพราะอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองนี้ สัตว์ทั้งหลายประพฤติ

มาจนชินในวัฏฏะแล้ว กุลบุตรผู้สุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อน) มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้น

ถ้าละอาหารในเวลาวิกาลทั้งสองพร้อมกัน ย่อมลำบาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรง

ให้ละพร้อมกัน คือให้ละการฉันอาหารนั้นคนละคราว คือให้ละอาหารในเวลา

วิกาลในเวลากลางวันคราวหนึ่ง และให้ละอาหารในเวลาวิกาลในเวลากลางคืน

คราวหนึ่ง.

ในสองคราวนั้น ในสูตรนี้ ตรัสให้ละการฉันอาหารในเวลาวิกาล

ในเวลากลางวัน. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทรงชี้ภัย ให้ละการฉันอาหารใน

เวลาวิกาลเท่านั้น แต่ทรงแสดงอานิสงส์แล้วจึงให้ละ ด้วยเหตุนั้นแหละ สัตว์

ทั้งหลาย จึงละได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงอานิสงส์ จึงตรัสคุณ

ประโยชน์ ๕ เหล่านี้ (คือ มีอาพาธน้อย มีความลำบากน้อยเป็นต้น ).

บทว่า อนุสาสนี กรณียา ความว่า ต้องพร่าสอนบ่อย ๆ ว่า

พวกเธอ จงทำสิ่งนี้ อย่าทำสิ่งนี้ คือ มีแต่กิจทำให้เกิดสติเท่านั้น และตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งปฐมโพธิกาล ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ภิกษุเหล่านั้น

ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ได้ละสิ่งที่ควรละ ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ว่าง่าย เชื่อฟัง

รับสนองโอวาท.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

บัดนี้ เมื่อจะทรงนำอุปมาอันสอนถึงความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ว่าง่าย

จึงตรัสคำว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภูมิย

ได้แก่ พื้นที่ดีเรียบ เหมือนในประโยคที่ว่า บุคคลพึงหว่านพืชในพื้นที่ดี

ในนาดีอันปราศจากตอไม้เป็นต้น และคำที่มาในประโยคว่า พื้นที่สะอาด

เป็นพื้นที่ดี เป็นต้น. บทว่า จตุมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสาย

ตัดผ่านกันไป. บทว่า อาชญฺรโถ ได้แก่ รถที่เทียมด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว.

บทว่า โอธสฺตปโตโท ความว่า นายสารถีผู้ฉลาดก้าวขึ้นบนรถเเล้ว.

สามารถเพื่อจะถือแซ่ที่วางไว้ทางขวางแล้วห้อยลง. บทว่า โยคฺคาจริโย

ได้แก่ นายสารถี. ผู้ใดย่อมฝึกม้า ผู้นั้น ชื่อว่า อสฺสทมฺมสารถิ.

บทว่า เยนิจฺฉก คือ ย่อมปรารถนาไปทางใด. บทว่า ยทิจฺฉก คือ ย่อม

ต้องการออกไปที่ใด. บทว่า สาเรยฺย คือ พึงไปทางทรงข้างหน้า. บทว่า

ปจฺฉา สาเรยฺย คือให้กลับ. บทว่า เอวเมว โข ความว่า เหมือนอย่างว่า

นายสารถีนั้น ย่อมปรารถนาจะไปทางใด ๆ ม้าก็จะขึ้นทางนั้น ๆ ย่อมปรารถนา

โดยคติใด ๆ ก็ถือเอาคตินั้น ๆ นั่นแหละไป ม้าลากรถไป ก็ไม่ห้ามไม่เฆี่ยน

แต่ม้าวางกีบไปในพื้นอันเรียบอย่างดีเท่านั้น. คำที่เราพึงกล่าวซ้ำซากในภิกษุ

ทั้งหลายเหล่านั้นมิได้มีแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ว่าจงทำการนี้ อย่าทำการนี้

มีกิจที่ควรกระทำก็เพียงเตือนสติเท่านั้น ดังนี้ กิจที่ควรทำก็เป็นอันภิกษุแม้

เหล่านั้น ทำมาก่อนแล้วทั้งนั้น กิจไม่ควรทำเธอก็ละเสียแล้ว. บทว่า ตสฺมา

ความว่า เหล่าภิกษุผู้ว่าง่าย เปรียบเทียบด้วยยานที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ก็ละ

อกุศลธรรมได้ด้วยเพียงให้เกิดสติเท่านั้น เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอจงละอกุศล

ธรรมเสีย. บทว่า เอลณฺเฑหิ ได้ยินว่า ต้นละหุ่งทั้งหลายย่อมประทุษ

ร้ายต้นสาละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแล้วอย่างนั้น. บทว่า

วิโสเธยฺย คือ พึงตัดต้นละหุ่งทั้งหลาย และเถาวัลย์อื่นเสีย แล้วก็ทำความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

สะอาดโดยนำไปทิ้งภายนอก. บทว่า สุชาตา ได้แก่ ตั้งอยู่ด้วยดี. บทว่า

สมฺมา ปริหเรยฺย คือว่า พึงกั้นเขตทำให้เจริญ เลี้ยงดูให้ถูกต้อง โดยการ

รดน้ำบ้าง พรวนดินที่ใกล้โคนตามเวลาอันควรบ้าง ตัดเครือเถาวัลย์และ

กอไม้เป็นต้นบ้าง นำรังมดดำออกไปบ้าง เอาใยแมลงมุมและท่อนไม้แห้งออก

ไปบ้าง. ความเจริญ เป็นต้น มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งความไม่อดทน

จึงตรัสคำว่า ภูตปุพฺพ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น บทว่า เวเทหิกา นี้

เป็นชื่อ กุลธิดา ผู้อาศัยอยู่ในเวเทหรัฐ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกปัญญาว่า

เวทะ. ผู้ใดย่อมไป ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า เวเทหิกา

อธิบายว่า บัณฑิต. บทว่า คหปตานิ คือ หญิงเจ้าเรือน. บทว่า กิตฺติ

สทฺโท คือ เกียรติก้อง. บทว่า โสรตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม.

บทว่า นิวาตา คือ ประพฤติถ่อมตน. บทว่า อุปสนฺตา คือ เป็นผู้

เยือกเย็น. บทว่า ทกฺขา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในการงานทั้งหลาย มีการหุงข้าว

ปูที่นอนและตามไฟ เป็นต้น. บทว่า อนลสา คือ เป็นผู้ลุกขึ้น (ขยัน).

บทว่า สุสวิหิตกมฺมนฺตา คือ มีการงานอันจัดไว้แล้วอย่างดี. ท่านแสดงว่า

ทาสีคนหนึ่งไม่เกียจคร้าน แต่จับภาชนะใด ๆ ก็ทำให้ภาชนะนั้น ๆ แตกหรือ

บิ่น ทาสีผู้นี้ไม่เป็นเช่นนั้น. บทว่า ทิวา อุฏาสิ ความว่า ลุกขึ้นในเวลา

ที่พระอาทิตย์ขึ้นโด่งแล้ว ไม่กระทำการงานแม้การรีดนมโคเป็นต้น ที่ควร

กระทำแต่เช้าตรู่. บทว่า เห เช กาฬิ ความว่า เฮ้ยอีกาลี เพราะเหตุไร

เจ้าจึงลุกขึ้นสาย เจ้าไม่สบายเป็นอะไรหรือ. บทว่า โน วต เร กิญฺจิ

ความว่า ความไม่ผาสุกอะไร ๆ มีการปวดหัวปวดหลังเป็นต้น มิได้มี เมื่อ

เป็นเช่นนั้น นางนั้น จึงได้กล่าวว่า แนะอีชาติชั่ว เพราะเหตุไร เจ้าจึงลุก

ขึ้นสาย ดังนี้ แล้วโกรธ ขัดใจ หน้านิ่วคิ้วขมวด. บทว่า ทิวาตร อุฏฺาสิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

คือ ในวันรุ่งขึ้น ก็ลุกขึ้นสายกว่า. บทว่า อนตฺตมน วาจ ความว่า แม่บ้าน

นั้นกล่าวว่า เฮ้ยอีคนชาติชั่ว เจ้าไม่รู้จักประมาณของตนเอง สำคัญว่าหนาวจัด

หรือ บัดนี้ เมื่อจักให้นางกาลี ทาสีนั้นสำนึกตน จึงเปล่งเสียงถ้อยคำของคน

ที่โกรธ. บทว่า ปฏิวิสฺสกาน แปลว่า ผู้อยู่บ้านใกล้เคียง. บทว่า อุชฺฌาเปสิ

คือว่า เที่ยวโพนทะนาให้เขาดูหมิ่น บทว่า จณฺฑี คือ ไม่สงบเสงี่ยมเป็น

คนชั่ว. อธิบายว่า คุณทั้งหลายมีเพียงเท่านี้ด้วยอาการอย่างนี้ แต่โทษเกิดขึ้น

เป็นทวีคูณ มากกว่าคุณนั้น. ธรรมดาว่าคุณทั้งหลายย่อมค่อย ๆ มา. แต่โทษ

นั้นเพียงวันเดียวก็แผ่ขยายไป. บทว่า โสรตโสรโต แปลว่า เป็นคน

สงบเสงี่ยมอย่างยิ่ง. ถึงกับเขากล่าวว่าเป็นพระโสดาบันหรือหนอ พระสกทาคามี

พระอนาคามี พระอรหันต์หรือหนอ. บทว่า ผุสนฺติ ได้แก่ แห่งถ้อยคำที่

ปรากฏมาถูก กระทบ ทีนั้น จึงรู้ได้ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้สงบเสงี่ยม. อีกอย่างหนึ่ง

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติ พึงทราบว่า เป็นภิกษุผู้สงบเสงี่ยม. บทว่า โย

จีวร ฯ เป ฯ ปริกฺขารเหตุ ความว่า ภิกษุรูปใด เมื่อได้ปัจจัยทั้งหลายมีจีวร

เป็นต้น ที่ประณีต ๆ เหล่านี้ ย่อมทำการนวดเท้านวดหลังเป็นต้น โดยพูด

คำเดียวเท่านั้น. บทว่า อลภมาโน คือว่า เมื่อไม่ได้อย่างที่เคยได้มาก่อน.

บทว่า ธมฺมเยว สกฺกโรนฺโต คือว่า เมื่อกระทำสักการะ คือการที่กระทำ

ให้ดีต่อธรรมนั้นนั่นแหละ. บทว่า ครุกโรนฺโต คือว่า กระทำเคารพ คือ

ให้เป็นภาระ. บทว่า มาเนนฺโต คือว่า กระทำให้เป็นที่รักด้วยความนอบน้อม.

บทว่า ปูเชนฺโต ได้แก่ บูชาด้วยปัจจัย. บทว่า อปจายมาโน ได้แก่

นอบน้อม แสดงความยำเกรง ถ่อมตน ต่อธรรมนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

ทางแห่งถ้อยคำ ๕ ประการ

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโทษแห่งความไม่อดทนอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางแห่งถ้อยคำ ๕ ประการ ด้วยพระดำรัสว่า เหล่าชน

ย่อมอดกลั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสคำว่า ปญฺจีเม ภิกฺขเว เป็นต้น บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า กาเลน แปลว่า โดยถึงกาลเวลาอันสมควร. บทว่า ภูเตน

แปลว่า ด้วยคำอันเป็นจริง. บทว่า สณฺเหน คือว่า ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ.

บทว่า อตฺถสญฺหิเตน ด้วยถ้อยคำอันอาศัยประโยชน์ อาศัยเหตุการณะ.

บทว่า อกาเลน เป็นอาทิ แปลว่า โดยกาลอันไม่สมควรเป็นต้น บัณฑิต

พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นปฎิปักษ์ต่อธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า

เมตฺตจิตฺตา คือ เกิดเมตตาจิต. บทว่า โทสนฺตรา คือ จิตอันโทสะ

ประทุษร้ายแล้ว คือ เกิดโทสะขึ้นแล้วในภายใน. บทว่า ตตฺราปิ คือ ใน

ทางแห่งถ้อยคำเหล่านั่น. บทว่า ผริตฺวา คือ น้อมไป. บทว่า ตทารมฺมณจ

คือ กระทำถ้อยคำให้เป็นอารมณ์ของจิตนั้นไปทั่วโลก ภิกษุกระทำบุคคลผู้ถือ

เอาทางแห่งถ้อยคำ ๕ มาแล้วให้เป็นอารมณ์ของเมตตาจิต เมื่อกระทำสัตว์ที่

เหลือให้เป็นอารมณ์ของเมตตาจิต นั้นนั่นแหละอีก จึงชื่อว่า กระทำให้เป็น

อารมณ์ของจิตนั้นไปทั่วโลก. ในข้อนั้น พึงทราบความหมายแห่งถ้อยคำดังนี้

บทว่า ตทารมฺมณญฺจ ว่า ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์แห่งเมตตาจิตนั้น

นั่นแหละ. บทว่า สพฺพาวนฺต ได้แก่ มีสัตว์ทั้งหมด. บทว่า โลก ได้แก่

สัตว์โลก. บทว่า วิปุเลน ได้แก่ มีสัตว์มิใช่น้อยเป็นอารมณ์. บทว่า

มหคฺคเตน คือ ประกอบด้วยจิตมหัคคตภูมิ. บทว่า อปฺปมาเณน คือ

เจริญดีแล้ว. บทว่า อเวเรน คือ ไม่มีโทษ. บทว่า อพฺยาปชฺเฌน คือ

ไม่มีทุกข์. บทว่า ผริตฺวา วิหริสฺสาม ความว่า พวกเราน้อมนึกถึงบุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

นั้นและสัตว์โลกทั้งหมด กระทำให้เป็นอารมณ์ของจิตนั้น ด้วยจิตอันสหรคต

ด้วยเมตตาเห็นปานนี้แล้วอยู่.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงนำอุปมาอันชี้แจงถึงอรรถนั้น

จึงตรัสคำว่า เสยฺยยาปิ เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปวึ

ได้แก่ จักกระทำไม่ให้มีแผ่นดิน อธิบายว่าจักให้ถึงความไม่มีแผ่นดิน. บทว่า

ตตฺร ตตฺร แปลว่า ที่นั้น ๆ. บทว่า วิกิเรยฺย คือเอากระเช้ายกดินขึ้น

โปรย ดุจพืชทั้งหลาย. บทว่า โอฏฺเภยฺย คือ ถ่มน้ำลาย. บทว่า อปฐฺวึ

กเรยฺย ความว่า ใครถึงแม้จะทำความเพียรด้วยกายและวาจาอยู่อย่างนี้ ก็

ไม่อาจกระทำแผ่นดินใหญ่ไม่ให้เป็นแผ่นดินเลย.

แผ่นดินหนาลึก ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์

บทว่า คมฺภีรา แปลว่า ลึก คือว่าโดยส่วนที่หนาลึก สองแสน-

สี่หมื่นโยชน์. บทว่า อปฺปเมยฺย แปลว่า หาประมาณมิได้ คือว่า กำหนด

ไม่ได้ในทางขวาง. บทว่า เอวเมว โข นี้เป็นการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมา

ในที่นี้ เมตตาจิต พึงเห็นเหมือนแผ่นดิน. บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำ ๕

อย่างมาแล้ว เหมือนบุรุษถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว. บุรุษนั้นย่อมไม่อาจ

เพื่อทำแผ่นดินใหญ่ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้ ด้วยจอบและตะกร้า ฉันใด บุคคล

ผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้ว ก็จักไม่อาจเพื่อกระทำเมตตาจิตของ

ท่านทั้งหลายให้.แปรปรวนได้ฉัน นั้น.

๑. แผ่นดินนี้แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ ตอนบนครึ่งหนึ่ง เรียกว่า บังสุปฐวี ตอนล่างครึ่งหนึ่ง

เรียกว่า ศิลาปฐวี. ในอังคุตตนิกาย พระบาลีว่า อย โข อานนฺท มหาปถวี อุทเก ปติฏ-

ิตา อุทก วาเต ปติฏฺิต วาโต อากาสฏฺโ โหติ แปลว่า ดูก่อนอานนท์ มหาปฐวีนี้แล

ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สองดังต่อไปนี้. บทว่า หลิทฺทึ ได้แก่

สีเหลืองอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า นีล ได้แก่ สีเขียว สำริด หรือสีเขียว

ใบไม้. บทว่า อรูปี แปลว่า ไม่มีรูป.

ถามว่า ก็ปริจฉินนากาส ในระหว่างแห่งหมู่ไม้ทั้งสอง หรือต้นไม้

หรือที่นอน หรือศิลา ก็ปรากฏว่า รูป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า อากาศเป็นของไม่มีรูปร่าง ดังนี้.

ตอบว่า เพราะปฏิเสธการเห็นรูป. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัส

คำว่า อนิทสฺสโน แปลว่า ชี้ให้เห็นไม่ได้. จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจเขียน

รูป แสดงรูปให้ปรากฏในอากาศนั้นได้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า อรูปี แปลว่า

ไม่มีรูป ดังนี้. บทว่า อนิทสฺสโน คือ ไม่ใช่วิถีของจักขุวิญญาณที่ทำ

หน้าที่เห็น. ก็ในการเปรียบเทียบอุปมาในข้อที่สองนี้ เมตตาจิต เปรียบเหมือน

อากาศ ทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างเปรียบเหมือนเครื่องเขียนสี ๔ อย่าง มีปุยฝ้าย

เป็นที่ ๕. บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษ

ผู้ถือเอาเครื่องเขียนสีทั้งหลาย มีปุยฝ้ายเป็นที่ ๕ มาแล้ว. บุรุษนั้น ย่อมไม่

อาจทำรูปภาพให้ปรากฏในอากาศได้ด้วยเครื่องเขียนสีทั้งหลาย ซึ่งมีปุยฝ้ายเป็น

ที่ ๕ ฉันใด บุคคลผู้ถือเอาทางแห่งถ้อยคำทั้ง ๕ มาแล้ว ก็จักไม่อาจกระทำ

เมตตาจิตของท่านทั้งหลายให้แปรปรวน คือให้เป็นโทสะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาที่สามดังต่อไปนี้. บทว่า อาทิตฺต

คือว่า ไฟลุกขึ้นโพลงแล้ว. บทว่า คมฺภีรา อปฺปเมยฺยา ความว่า ส่วน

ที่ลึกแห่งแม่น้ำคงคานี้มีคาวุตหนึ่ง (หนึ่งร้อยเส้น) ก็มี กึ่งโยชน์ก็มี หนึ่ง

๑. อากาศมี ๔ ประเภท คือ อัชฏากาส ได้แก่ อากาศในท้องฟ้า ปริจฉินนากาส ได้แก่ อากาศ

ที่กำหนดได้ในระหว่างแห่งวัตถุ กสิณุคฆาปฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่ได้มาเนื่องจากเพิกกสิณ

๙ ปริจเฉทากาส ได้แก่ อากาศที่ขั้นระหว่างรูปกับรูป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

โยชน์ก็มี ส่วนกว้างของแม่น้ำคงคานี้ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. แต่โดยส่วนยาว

ประมาณ ๕๐๐ โยชน์.

ถามว่า ส่วนลึกนั้น ประมาณไม่ได้ เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะเปลี่ยนแปลงด้วยความพยายามนั้น ไม่อาจทำแม่น้ำนั้น

ให้ร้อนได้ เหมือนอย่างน้ำเอาตั้งเตาไฟ. ก็น้ำประมาณ หนึ่งองคุลี หรือ ๘ องคุลี

ใครก็อาจทำมันให้ร้อนได้ด้วยอุบายบางอย่าง แต่แม่น้ำคงคานี้ ใคร ๆ ไม่อาจ

ทำให้ร้อนได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. ก็ในการ

เทียบเคียงอุปนาในข้อนี้มีดังนี้ เมตตาจิตเปรียบเหมือน แม่น้ำคงคา. บุคคล

ผู้ถือเอาทางแห่งวาจา ๕ อย่างมาแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถือคบหญ้ามาแล้ว.

บุรุษนั้นไม่อาจทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนด้วยคบหญ้า ฉันใด บุคคลผู้ถือเอาทาง

แห่งวาจา ๕ อย่างมาแล้ว ก็จักไม่อาจกระทำเมตตาจิตให้แปรปรวน (คือเป็น

โทสะ) ได้ฉันนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยอุปมาที่ ๔ ดังต่อไปนี้ บทว่า วิฬารภสฺตา แปลว่า

กระสอบหนังแมว. บทว่า สุมทฺทิตา แปลว่า ขยำดีแล้ว. บทว่า สุปริม-

ทฺทิตา คือ ขยำเรียบร้อยแล้วโดยรอบ ทั้งภายในและภายนอก. บทว่า ตูลินี

คือว่า เป็นของเสมอกับปุยงิ้ว ปุยเถาวัลย์. บทว่า ฉินฺนสสฺสรา แปลว่า ขาด

สุ้มเสียง. บทว่า ฉินฺนปพฺภรา แปลว่า ขาดเสียงกังวาน. ก็ในการเปรียบเทียบ

อุปมาในข้อนี้มีดังนี้ เมตตาจิตเปรียบเหมือนกระสอบหนังแมว. บุคคลผู้ถือเอา

ทางแห่งถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถือเอาไม้ หรือกระเบื้อง

มาแล้ว. บุรุษนั้นย่อมไม่อาจเอาไม้หรือกระเบื้องตีกระสอบหนังแมวให้มีเสียงดัง

ก้องฉันใด บุคคลผู้ถือเอาทางของถ้อยคำ ๕ อย่างมาแล้วก็จักไม่อาจกระทำ

เมตตาจิตให้แปรปรวน คือให้เป็นไปตามโทสะได้ฉันนั้น ดังนี้. บทว่า โอจรา

คือ ประพฤติต่ำ อธิบายว่า ผู้ทำกรรมอันต่ำ. บทว่า โย มโน ปโทเสยฺย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ความว่าผู้ใดไม่ว่าภิกษุ หรือ ภิกษุณี เคืองใจ อดกลั้นการเลื่อย ด้วยเลื่อยนั้นไม่ได้.

บทว่า น เม โส เตน สาสนกโร ความว่า ผู้นั้น ไม่ชื่อว่า เป็นผู้กระทำ

ตามคำสอนของเรา เหตุอดกลั้นไม่ได้นั้น ก็แต่ว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่เธอใน

เพราะอดกลั้นไม่ได้นั้น. บทว่า อณุ วา ถูล วา แปลว่า มีโทษน้อย หรือว่า

มีโทษมาก. บทว่า ย ตุมฺเห นาธิวาเสยฺยาถ ความว่า บุคคลใดที่พึงเป็น

ผู้ที่พวกเธออดกลั้นไม่ได้. บทว่า โน เหต ภนฺเต อธิบายว่า พวกข้าพระองค์

ไม่เห็นทางแห่งถ้อยคำที่ข้าพระองค์อดกลั้นไม่ได้หามิได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอายอดด้วยพระอรหัต จึงให้เทศนาจบลง

ตามลำดับอนุสนธิว่าข้อนั้น จักเป็นประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่พวกเธอ

สิ้นกาลนาน ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถากกจูปมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

๒. อลคัททูปมสูตร

[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้ บังเกิด

ขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วว่าเป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย

แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ภิกษุมากหลายได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปาน

นี้ บังเกิดแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเเล้ว. โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย

แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของ

คนฆ่าแร้ง แล้วได้กล่าวกะเธอว่า ท่านอริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้

บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย

ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย

ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้จริงหรือ อริฏฐ

ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งรับว่า จริง ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ

ทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้อง

อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง จากทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนั้น จึงซักไซ้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

ไล่เลียง สอบสวนด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่า

กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรม

เหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระเจ้าตรัสกามทั้ง

หลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น

มีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูกมีทุกข์

มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย

มีอุปมาด้วยคบหญ้า. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหลุม

ถ่านเพลิง. . .พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยความฝัน. . .พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยของขอยืม. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

กามทั้งหลายมีอุปมาด้วยผลไม้...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วย

เขียงหั่นเนื้อ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหอกและหลาว...

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความ

คับเเค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของ

คนฆ่าแร้ง ถูกภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยัง

กล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเองด้วยกำลังทิฏฐิว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง.

[๒๗๕] กาลใดแล ภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐ

ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้

บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าเเร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้

ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ทีนั้นแล

ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปหาอริฏฐภิกษุแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านอริฏฐะ ได้ยินว่า

ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า

เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพ

ได้จริง ดังนี้ จริงหรือ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุ

ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย

แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ที่นั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐ

ภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น จึงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ

ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระ-

ภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรม

ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำอันตรายโดยอเนก-

ปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น

มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

อุปมาด้วยร่างกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วย

ศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง สอบ

สวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเอง ด้วยกำลังทิฏฐิว่า

ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย

ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่ง

อันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กาลใดแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะปลดเปลื้อง

อริฏฐภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย จึงกราบทูลเนื้อ

ความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า

มานี่ภิกษุ เธอจงเรียกอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งมาตามคำของเราว่า

พระศาสดาเรียกท่าน. ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหา

อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ พระ-

ศาสดาเรียกท่าน อริฏฐภิกษุรับคำภิกษุนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอริฏฐ

ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า อริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้

บังเกิดขึ้นแก่เธอว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย

ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่ง

อันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้ จริง

หรือ. อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ถึงธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ถึง

ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครเล่า ธรรมทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นธรรม

กระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ก็แหละ ธรรมเหล่านั้นสามารถ

ทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง เรากล่าวกาม

ทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก...มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ. . . มีอุปมาด้วยคบหญ้า...

มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง... มีอุปมาด้วยความฝัน... มีอุปมาด้วยของขอยืม...

มีอุปมาด้วยผลไม้... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ... มีอุปมาด้วยหอกและหลาว... มี

อุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมิอยู่

อย่างยิ่ง โมฆบุรุษ เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเองและประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก

ด้วยทิฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอเพื่อสิ่งไม่เป็น

ประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้นนั้นเป็นไฉน เออ

ก็อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ เเม้จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระ-

ธรรมวินัยนี้ได้หรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูง

ขึ้นแห่งญาณอะไรเล่า จะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้นแห่งญาณนั้นจักมีไม่ได้เลย.

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่งเก้อเขินนั่งคอตกก้ม

หน้าซบเซา หมดปฏิภาณ.

[๒๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อริฏฐภิกษุ

เป็นผู้นิ่งเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาหมดปฏิภาณ จงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วของตนนั้นเองแล เราจักสอบ

ถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

ประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเองและ

ประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฎฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้วดังนี้ หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรม

ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยอันเนกปริยาย

ว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตราย

แก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ

แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาม

ทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม

เหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าว

แล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายแก่ท่านทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ

ธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายมี

ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่

โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ

แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมา

ด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่

อย่างยิ่ง เออก็แล อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา

ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือ

เอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอผู้เป็นโมฆบุรุษ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม

นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรม

วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน

อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรม

นั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่า

นั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความ

ด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น ข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าว

ร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียน

ธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้น

แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็น

ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร

เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ

ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษ

ตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน

หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปาง

ตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พวกโมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น

นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ...อัพภูตธรรม อวทัลละ โมฆ

บุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม

เหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆะบุรุษเหล่า

นั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น หมายข่มผู้อื่น

เป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม

ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น

ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

นั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ. . . อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร

เหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น

ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่-

ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์

และไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร

เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง

ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม

ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ

งูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้น

ไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัญฐานเหมือน

เท้าแพะแล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่

น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่พึงถึง

ความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะ

เหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกใน

ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-

กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร

เหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย

ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรอง

ซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

ไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร

เหล่านั้นย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง

ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม

ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึง

เนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล ท่าน

ทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเราหรือถามภิกษุ

ผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการ

สลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือ ท่านทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจ

ไว้ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

บุรุษผู้เดินทางไกล พบท้วงน้ำใหญ่ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า

ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละ เรือหรือสะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่

ฝั่งโน้นไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝั่งข้างนี้น่า

รังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือ

สะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้นย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า

ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น แล้วอาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า

พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ทีนั้นแล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้

และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น อาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่ง

โดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะ

แก่เรามากแล เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความ

สวัสดี ถ้ากระไร เรายกทุ่นนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไป

ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นบ้างหรือหนอ. ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น. ใน

ข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแล

เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้า

กระไร เราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไป

ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระ

ทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น

เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึง

ธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย

จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฐิ ๖ ประการเหล่านั้น ๖ ประ-

การเป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด

ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ

ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม

พิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น

สัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร

ทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น

รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่

รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็น

นั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตา

ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

อัตตาของเรา ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยาสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย

ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็น

สัตบุรุษฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของ

เรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียง

ที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว

แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น

ไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ใน

ปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น

ไม่ใช่อัตตาของเรา พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ใน

เพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่.

[๒๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขาร

ในภายนอก ไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พึงมีได้สิ ภิกษุ บางคนในโลกนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ

สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคล

นั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ

เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่าง

นี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศแห่งบริขาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ

สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอ

บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญ ตีอก ไม่ถึง

ความลุ่มหลง ดูก่อนภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความ

ไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งพึงมีหรือ. พระภาคเจ้าตรัส

ว่าพึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา

ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

จักตั้งอยู่ เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือ

สาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้ง

มั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้มรุมด้วยทิฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับ

สังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความ

สำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาด

สูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก

ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารใน

ภายในไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้ง

พึงมีได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้

ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง

ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง

อย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือต่อสาวกต่อตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่

เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้นรุมด้วยทิฐิ และ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

เชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด

เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้น

ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่

แท้ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่

ถึงความลุ่มหลง เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งย่อม

มิได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดถือเอาบริขาร

ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็น

ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความ

เที่ยงอย่างนั้นหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ไม่พิจารณาเห็นบริขาร

ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลายพึงเข้าไปยึดถืออัตตาทุปาทาน

ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่ จะพึง โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอ

ทั้งหลายเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิด โสกะปริเทวะ

ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่.

ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

ดีละ. ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นอัตตาทุปาทาน ซึ่งเมื่อ

บุคคลยึดถืออยู่จะไม่พึงบังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส

เธอทั้งหลายพึงอาศัยทิฐินิลัย ซึ่งเมื่อเธออาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดความโสกะ

ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อเธอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

อาศัยยึดถือจะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือ

ไม่.

ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อบุคคล

อาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส.

[๒๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อ

อัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่องด้วยอัตตามีก็พึงมีว่าของเราหรือ.

ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องด้วยอัตตามีอยู่ อัตตาพึงมีว่าของเรา

หรือ.

ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า เมื่ออัตตาและบริขารเนื่องด้วยอัตตาบุคคลถือเอาไม่ได้ โดย

ความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ คือเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้น

อัตตา แม้ตายไปแล้ว เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. นี้เป็นธรรมของคนเปล่า

บริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ.

ทูลว่า ข้อนี้ ไฉนจะไม่พึงเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า เป็นธรรมของ

คนเปล่าบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว.

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ

ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นไฉน เวทนา. . .

สัญญา. . . สังขารทั้งหลาย. . . วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ

ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ

ประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือในที่ใกล้ รูปทั้งปวง เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สังขาร

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง. . . วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน

เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล

หรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งปวง เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม

ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของ

เรา.

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขารทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อม

หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติ

สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้มีลิ่มคือ

อวิชชาอันยกขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสีย

แล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้ไม่มี

สลักประตูคือสังโยชน์ดังนี้บ้าง ว่าอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว

มีภาระอันตกแล้ว ไม่มีมานะแล้วดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มี

ลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอวิชชา

ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มิแล้วเป็นธรรมดา ไม่บังเกิดขึ้น

ต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วอย่าง

ไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธะรรมวินัยนี้ ละสังขารเครื่องปรุง

แต่งชาติ อันให้เกิดในภพใหม่ ที่มีรากขาดแล้วเป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว

เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิ-

สังขารอันรื้อเสียแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระ

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ละตัณหา ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว

เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้น

แล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือ

สังโยชน์อย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่มี

รากขาดแล้วเป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือสังโยชน์ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐมีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มี

มานะแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอัสมิมานะ ที่มีรากขาด

แล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป

ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มี

มานะแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล.

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทั้งพระอินทร์ ทั้งพรหม

ทั้งปชาบดิ แสวงหาภิกษุผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อนไม่พบว่า

วิญญาณของตถาคตอาศัยแล้วซึ่งที่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรียกว่าตถาคต

[บุคคลเช่นนั้น] ในปัจจุบันว่า อันใคร ๆ ไม่พบคือไม่มี สมณพราหมณ์

พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้แล ผู้บอกอย่างนี้ ด้วยมุสาวาทเปล่า ๆ

อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติ

ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่ทำให้สัตว์พินาศด้วยเหตุใด และไม่บัญญัติความขาดสูญแห่งสัตว์

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังกล่าวตู่เราด้วยมุสาวาทเปล่า ๆ อันไม่มีจริง

อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ

ความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อม

บัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ ถ้าว่าบุคคล

เหล่าอื่นย่อมด่า บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบตถาคต ในการ

ประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่มีความโทมนัส

ไม่มีจิตยินร้าย ถ้าว่าชนเหล่าอื่นย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต

ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความโสมนัส

ไม่มีใจเย่อหยิ่งในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้น ถ้าว่าชนเหล่าอื่น ย่อม

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

ตถาคตมีความดำริ ในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะ

เห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราในขันธปัญจกที่เรากำหนดรู้แล้วแต่กาลก่อน.

[๒๘๗] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่า ชนเล่าอื่นพึงด่า

บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่

พึงกระทำความอาฆาต ไม่พึงกระทำความโทมนัส ไม่พึงกระทำความไม่ชอบ

ใจ ในชนเหล่าอื่นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่น

พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงกระทำ

ความยินดี ความโสมนัส ไม่พึงกระทำความเย่อหยิ่งแห่งใจในปัจจัยทั้งหลาย

มีสักการะเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่น

สักการะ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงดำริ ในปัจจัยทั้งหลายมี

สักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราทั้งหลาย

ในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อนๆ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น

ท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์ สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่า ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์

สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สัญญา

ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่-

ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสีย

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์

สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ชนพึงนำไป พึงเผาหรือ พึงกระทำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

วิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลายพึงดำริอย่างนี้บ้างหรือหนอว่า

ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำเราทั้งหลาย ตามความปรารถนา.

ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่านั้นไม่ใช่อัตตา หรือบริขารที่เนื่องด้วย

อัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

อย่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์ สุขสิ้น

กาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์

สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่

ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสีย

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์

สุขสิ้นกาลนาน.

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์

มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ

ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้น

แล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ

แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจาก

โลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓

ประการได้แล้วกับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็น

พระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ

แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น

ทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญา

เครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว

อย่างนี้เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดผู้เป็น

ธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดมีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี

เป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็น

ของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อ

เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้แล.

จบอลคัททูปมสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

อรรถกถาอลคัททูปมสูตร

อลคัททูปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในอลคัททูปมสูตรนั้นต่อไปนี้

ชนทั้งหลายเหล่าใด เบียดเบียนแร้ง เหตุนั้นชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้

เบียดเบียนแร้ง บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้งของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่ามี

บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้ง. บุตรของสกุลผู้เคยฆ่าแร้งนั้น อธิบายว่า ผู้

ขวนขวายแห่งสกุลผู้ฆ่าแร้ง. ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์

และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก

อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ. ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม

๕ ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม. ภิกษุณีทูสกกรรมก็เหมือนกัน. แต่ภิกษุณีทูสก-

กรรมนั่น กระทำอันตรายต่อพระนิพพานอย่างเดียว หากระทำอันตรายต่อ

สวรรค์ไม่. ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือกิเลส.

ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรา-

ยิกธรรม คือ วิบาก. ธรรม คือ การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรา-

ยิกรรม คือ อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำ

อันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้น

ให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทำอันตรายไม่. อาบัติ ๗ กองที่ภิกษุจงใจ

ล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกก-

มันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว

ยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี

เบื้องหน้าแต่นั้น หากระทำอันตรายไม่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ในเรื่อง อันตรายยิกธรรมนั้น ภิกษุนี้ เป็นพหุสูต เป็นพระธรรม-

กถึก ย่อมรู้อันตรายิกธรรมที่เหลือ แต่เพราะคนไม่ฉลาดในพระวินัย จึงไม่รู้

อันตรายิกธรรม คือการล่วงละเมิดพระบัญญัติ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้อยู่ในที่

ลับจึงคิดอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เหล่านั้น บริโภคกามคุณ ๕ เป็นพระโสดาบันก็มี

พระสกทาคามีก็มี พระอนาคามีก็มี ฝ่ายพวกภิกษุพิจารณาเห็นรูปที่น่าพอใจที่

พึงรู้สึกด้วยจักษุ ถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ ที่พึงรู้สึกด้วยกาย ย่อมใช้สอย

เครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มที่อ่อนนุ่ม ข้อนั้นทั้งหมด ควร เพราะเหตุไร

รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของหญิงเท่านั้น ไม่ควร ฝ่ายรูปเป็นต้น

เหล่านี้จึงควร อริฏฐภิกษุเทียบเคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว รวมการบริโภคด้วย

อำนาจราคะที่มีฉันทะ กับการบริโภคด้วยอำนาจราคะที่ไม่มีฉันทะแล้วเกิดทิฏฐิ

ลามก เหมือนเทียบด้วยผ้าที่ละเอียดอย่างยิ่งกับปอหยาบ ประหนึ่งเทียบเขา

สิเนรุกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ขัดแย้งกับพระสัพพัญญุตญาณว่า ทำไมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยพระอุสาหะอย่างใหญ่ ประหนึ่งกั้นมหา-

สมุทร โทษในพระบัญญัตินั้นไม่มี คัดค้านพระเวสารัชชญาณ ใส่ตอและ

หนามเป็นต้น ลงในอริยมรรค ประหารอาณาจักรของพระชินเจ้าว่า โทษใน

เมถุนธรรมไม่มี. ด้วยเหตุนั้น อริฏฐภิกษุนั้นจึงกล่าวว่า ตถาห ภควตา ธมฺม

เทสิต อาชานามิ เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแล้วอย่างนั้น

เป็นต้น. บทว่า เอว พฺยาโข เท่ากับ เอว วิยโข. ในคำว่า สมนุยุญฺชนติ

เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่านมีลัทธิอะไร จึงกล่าวลัทธิ ชื่อว่า สอบ

ถาม. ยกทิฏฐิขึ้นชื่อว่ายึดถือทิฏฐิ. สอบถามเหตุว่า เพราะเหตุไร ท่านจึง

กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า สมนุภาสน์. ในคำว่า อฏฺิกงฺขลูปมา เป็นต้น อุปมา

ด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่า มีอัสสาทะน้อย อุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เพราะ

อรรถว่า เป็นของทั่วไปแก่คนเป็นอันมาก อุปมาด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

อรรถว่า ตามเผา อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ทำให้เร่าร้อน

มาก อุปมาด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า ปรากฏนิดหน่อย อุปมาด้วยของที่

ขอยืมเขามา เพราะอรรถว่า เป็นไปชั่วคราว อุปมาด้วยผลต้นไม้มีพิษ เพราะ

อรรถว่า ทำลายทั่วสรรพางค์ อุปมาด้วยคมดาบ เพราะอรรถว่า ตัดรอน

อุปมาด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถทิ่มแทง อุปมาด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า

น่ารังเกียจ และมีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า ถามสา ได้แก่ด้วยกำลังแห่งทิฏฐิ.

บทว่า ปรามาสา ได้แก่ ลูบคลำด้วยทิฏฐิ. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ

ได้แก่มุ่งมั่นกล่าวหรือแสดง. บทว่า ยโต โข เต ภิกฺขู ได้แก่ ครั้งใด

ภิกษุเหล่านั้น. อริฏฐภิกษุนี้แม้ใคร่จะกล่าวว่า ไม่มี ดังนี้ตามอัธยาศรัยของ

ตนก็ยอมรับคำนี้ว่า เอว พฺยา โข อห ภนฺเต ภควตา ด้วยอานุภาพของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ยินว่า ชื่อว่า ผู้สามารถจะกล่าวคำ ๒ คำต่อพระ-

พักตร์ของพระพุทธทั้งหลายไม่มี. บทว่า กสฺส โข นาม ตฺว โมฆปุริส

ความว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ท่านรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้แก่ใคร กษัตริย์

หรือพราหมณ์ แพทย์ หรือ สูทร คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต เทวดา หรือ

มนุษย์.

บทว่า อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง

โดยเฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกเราว่า

โมฆปุริส แต่เธอจะไม่มีธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ด้วยเหตุเพียง

ตรัสว่า โมฆปุริส หามิได้แล จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุปเสนวัง

คันตบุตรด้วยวาทะว่าโมฆปุริส ว่าดูก่อนโมฆปุริส เธอเป็นผู้เวียนมาเพื่อความ

มักมากเร็วเกินไป ภายหลังพระเถระเพียรพยายามกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖

ด้วยคิดว่า แม้เราก็จักประคองความเพียรเห็นปานนั้นทำมรรคผลให้เกิด. ลำดับ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่อริฏฐภิกษุเป็นผู้ไม่งอกงาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

เหมือนใบไม้เหลืองที่หลุดจากขั้ว จึงเริ่มแสดงพระธรรมเทศนานี้. บทว่า อุสฺมี

กโตปิ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร อริฏฐภิกษุ

นี้มีลัทธิอย่างนี้ ขัดแย้งกับสัพพัญญุตญาณ ปฏิเสธเวสารัชชญาณ ประหาร

อาณาจักรพระตถาคต แม้เธอก็อบรมญาณในธรรมวินัยนี้ได้บ้าง เธออาศัย

ความอบรมญาณแม้มีประมาณน้อย พยายามอยู่ พึงทำมรรคผลให้เกิดขึ้นได้

บ้าง เหมือนกองไฟใหญ่ที่จะพึงมีได้ เพราะอาศัยลูกไฟแม้มีประมาณเท่าหิ้ง

ห้อยในกองไฟใหญ่แม้ที่ดับไปแล้วฉันนั้น. บทว่า โน เหต ภนฺเต ความ

ว่า ภิกษุทั้งหลายกล่าวคัดค้านความที่อริฏฐภิกษุอบรมญาณ เพื่อประโยชน์แก่

มรรคผลที่มีปัจจัยเสมอกันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุผู้มีลัทธิอย่าง

นี้ จะอบรมญาณเช่นนั้นได้แต่ที่ไหน. บทว่า มงฺกุภูโต ได้แก่เป็นผู้ไร้

อำนาจ. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ ได้แก่ คอตก. บทว่า อปฺปฏิภาโณ ได้

แก่ ไม่เห็นอะไร ๆ แจ่มชัด คือขาดปฎิภาณ. อริฏฐภิกษุพิจารณาความที่ตน

เป็นอภัพพบุคคลว่า ได้ยินว่า เราได้คำสอนที่นำออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว

ยังไม่งอกงาม เรามีปัจจัยถูกถอนเสียแล้ว ดังนี้ นั่งเอาปลายนิ้วเท้าขุดดินอยู่.

แม้บทว่า ปญฺายิสฺสสิ โข นี้ ก็เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่งโดย

เฉพาะ. ได้ยินว่า อริฏฐภิกษุคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้ขาด

ธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผล ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทรงแสดง

ธรรมเฉพาะผู้มีอุปนิสัยเท่านั้น ทรงแสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีอุปนิสัยด้วย เราได้

สุคโตวาทจากสำนักพระศาสดาแล้ว จักกระทำกุศลอันจะเข้าถึงสมบัติของตน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะระงับพระโอวาท จึงตรัสว่า ปญฺายิสฺสสิ

เป็นต้น. คำนั้นมีความว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ท่านนั่นแล จักปรากฏในนรก

เป็นต้น ด้วยทิฏฐิอันชั่วช้านี้ ขึ้นชื่อว่าสุคโตวาทของท่านย่อมไม่มีจากสำนัก

ของเรา ท่านไม่มีประโยชน์สำหรับเรา เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

ความว่า อถ โข ภควา นี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง. จริงอยู่ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงชำระบริษัทในที่นี้ จึงทรงขับพระอริฏฐออกเสียจากหมู่

ก็ถ้าหากว่า บรรดาบริษัททั้งหลาย ภิกษุบางรูปจะพึงคิดอย่างนี้ว่า อริฏฐะนี้

หรือจักอาจกล่าวคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เริ่มกถา ก็รีบตรัสในท่ามกลางสงฆ์เลยหรือ ก็คำที่ตรัสอย่างนี้ พระอริฏฐะเท่า

นั้นไม่ฟัง แต่จักเป็นพระดำรัสที่ภิกษุแม้อื่นฟังกันแล้ว แม้เช่นนั้นภิกษุบางรูป

นั้นพึงคิดว่า พระศาสดาทรงนิคคหะภิกษุอริฏฐะฉันใด พึงทรงนิคคหะแม้เรา

ฉันนั้น แม้ฟังแล้วก็ต้องนิ่ง จักไม่ทำการนั้นทั้งหมด คำที่แม้เราไม่กล่าว แม้

คำที่คนอื่นฟังก็ไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระลัทธิในบริษัท

ด้วยพระดำรัสว่า ตุมฺเหปิ เม ภิกฺขเว เป็นต้น พระอริฏฐะชื่อว่าเป็นอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่จากคณะ ด้วยการชำระลัทธิในบริษัทนั่นแหละ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประกาศลัทธิของภิกษุอริฏฐะจึง

ตรัสคำมีอาทิว่า โส วต ภิกฺขเว ดังนี้. พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า

อญฺตเรว กาเมหิ ในบาลีนั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด

มีลัทธิอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง ภิกษุนั้น

หนอจักเสพวัตถุกามทั้งหลาย คือจักประพฤติเมถุนสมาจาร เว้นกิเลสกามและ

สัญญาวิตกที่ประกอบด้วยกิเลสกาม ละธรรมเหล่านั้น คือเว้นจากธรรมเหล่า

นั้น. บทว่า เนต าน วิชฺชติ ความว่า ชื่อว่า ชื่อเหตุนี้ไม่มี คือเหตุนี้

มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศลัทธิของพระอริฏฐะ

ว่า อริฏฐะนี้เปรียบเหมือนช่างย้อม ถือเอาผ้าที่หอมบ้าง เหม็นบ้าง เก่าบ้าง

ใหม่บ้าง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง มาห่อรวมเป็นห่อเดียวกัน ฉันใด เธอ

ก็กระทำการบริโภคจีวรประณีตเป็นต้นที่ไม่มีฉันทราคะสำหรับภิกษุ กระทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

การบริโภคที่มีฉันทราคะอันกระทำอันตราย สำหรับคฤหัสถ์ที่มีศีลไม่ประจำ

และทำการบริโภคที่มีฉันทราคะอันกระทำป้องกัน สำหรับภิกษุมีที่ศีลประจำ

รวมเป็นอันเดียวกันทั้งหมด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษของปริยัติที่เรียนมาไม่

ดี จึงตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺเจ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ปริยาปุณนฺติ แปลว่าเล่าเรียน. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุต เป็นต้น

อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะและบริวารมงคลสูตร รัตนสูตร นาฬกสูตร

ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และตถาคตวจนะ แม้อื่นที่มีชื่อว่าสูตร พึงทราบว่า

สูตร. สูตรที่มีคาถาทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สคาถวรรค

ทั้งสิ้นในสังยุตตนิกาย พึงทราบว่า เคยยะ. อภิธรรมปิฏกทั้งสิ้น สูตรที่ไม่มีคาถา

และพุทธพจน์แม้อื่นที่สงเคราะห์ด้วยองค์ ๘ พึงทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรม

บท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนที่ไม่ชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบ

ว่า คาถา. พระสูตร ๘๒ สูตร ที่เกี่ยวด้วยคาถาที่สำเร็จมาแต่โสมนัสญาณ

พึงทราบว่า อุทาน. พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่เป็นไปโดยอาทิว่า วุตฺตมิท

ภตวตา พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดกเป็น

ต้น พึงทราบว่า ชาดก. พระสูตรที่เกียวด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมแม้ทั้งหมด

ที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว อจฺฉริยา อพฺภูตธมฺมา

อานนฺเท พึงทราบว่า อัพภูตธรรม. พระสูตรที่ตรัสถามแล้ว ได้ความรู้

ได้ความยินดีทั้งหมด มีจุลลเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร

สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร มหาปุณณสูตรเป็นต้น พึงทราบว่า

เวทัลละ.

บทว่า อตฺถ น อุปริกฺขนฺติ ได้แก่ ไม่เห็น และกำหนดไม่ได้

ซึ่งอรรถแห่งสูตร ซึ่งอรรถแห่งเหตุ. บทว่า อนุปปริกฺขต ได้แก่ กำหนด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ไม่ได้. บทว่า น นิชฺฌาน ขมนฺติ ได้แก่ ไม่ปรากฏ คือไม่มาปรากฎ.

อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะรู้อย่างนี้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญ า มรรค ผล

วัฏฏะ. หรือวิวัฏฏะ ตรัสไว้แล้วในที่นี้. บทว่า เต อุปารมฺภานิสสา เจว

ความว่า กุลบุตรเหล่านั้น เป็นผู้ไม่ยกโทษในวาทะของคนเหล่าอื่นเป็นอานิสงส์

เล่าเรียน. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสสา จ ได้แก่ มีการปลดเปลื้อง

วาทะอย่างนี้เป็นอานิสงส์ เล่าเรียน อธิบายว่า ไม่เล่าเรียนด้วยเหตุนี้ว่า เมื่อ

คนอื่นยกโทษวาทะของตน เราจักเปลื้องโทษนั้นอย่างนี้. บทว่า ตญฺจสฺส

อตฺถ นานุโภนฺติ ความว่า กุลบุตรทั้งหลาย เล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์

มรรคหรือผลอันใด เรียนไม่ดี ย่อมไม่ได้รับประโยชน์นั้นของธรรมนั้น อนึ่ง

แม้เมื่อไม่อาจจะยกโทษในวาทะของผู้อื่น และปลดเปลื้องวาทะของตน ย่อม

ไม่ได้รับประโยชน์นั้นเหมือนกัน. บทว่า อลคทฺทตฺถิโก ได้แก่ ผู้ต้อง

การอสรพิษ. ก็คำว่า คทฺโท เป็นชื่อของพิษ. พิษนั้นของงูนั้น มีพอ คือ

บริบูรณ์ เหตุนั้น อสรพิษนั้น จึงชื่อว่าอลคัททะ มีพิษพอตัว. บทว่า โภเค

ได้แก่ ตัว. ข้อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรบางพวกในโลกนี้ เล่า

เรียนธรรม ได้แก่เล่าเรียนด้วยอำนาจนิตถรณปริยัติ.

จริงอยู่. ปริยัติมี ๓ คือ อลคัททปริยัติ นิตถรณปริยัติ ภัณฑาคา-

ริกปริยัติ. บรรดาปริยัติทั้ง ๓ นั้น ภิกษุใดเล่าเรียนพุทธวจนะ เหตุปรารภ

ลาภสักการะว่า เราจักได้จีวรเป็นต้นหรือคนทั้งหลายจักรู้จักเราในท่ามกลาง

บริษัท ๔ อย่างนี้ ปริยัตินั้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า อลคัททปริยัติ. จริงอยู่ การ

ไม่เล่าเรียนพุทธวจนะ แล้วนอนหลับเสีย ยังดีกว่าการเล่าเรียนอย่างนี้. ส่วน

ภิกษุใดเล่าเรียนด้วยคิดว่า เล่าเรียนพุทธวจนะ บำเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึง

เข้า ให้ถือเอาห้องสมาธิในฐานะที่สมาธิมาถึงเข้า เริ่มตั้งวิปัสสนาในฐานะ

ที่วิปัสสนามาถึงเข้า ทำมรรคให้เกิด ทำให้แจ้งผล ในฐานะที่มรรคผลมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ปริยัตินั้นของภิกษุนั้นชื่อว่า นิตถรณปริยัติ. ปริยัติของพระขีณาสพ ชื่อว่า

ภัณฑาคาริกปริยัติ. จริงอยู่ ทุกขสัจที่ยังไม่กำหนดรู้ สมุทัยสัจที่ยังละไม่ได้

มรรคสัจที่ยังไม่ได้เจริญ หรือนิโรธสัจที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ

นั้น ด้วยว่า พระขีณาสพนั้น กำหนดรู้ขันธ์แล้ว ละกิเลสได้แล้ว เจริญ

มรรคแล้ว ทำให้แจ้งผลแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเล่าเรียนพุทธวจนะ จึงเล่าเรียน

เป็นผู้ทรงแบบแผน รักษาประเพณี อนุรักษ์วงศ์ ดังนั้น ปริยัตินั้นของท่าน

จึงชื่อว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ. ถามว่า ก็เมื่อพวกคันถธุระ ไม่สามารถจะอยู่

ในที่แห่งหนึ่งในเพราะฉาตกภัยเป็นต้น ปุถุชนใดเมื่อไม่ลำบากด้วยภิกษาจารเอง

เล่าเรียนด้วยคิดว่า ขอพระพุทธวจนะที่ไพเราะยิ่งอย่าสูญเสียไป เราจักดำรง

แบบแผน จักรักษาประเพณีไว้ ปริยัติของปุถุชนนั้นเป็นภัณฑาคาริกปริยัติ หรือ

ไม่เป็น. ตอบว่า ไม่เป็น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะความที่ตน

มิได้ตั้งอยู่ในฐานเล่าเรียน จริงอยู่ ชื่อว่า ปริยัติของปุถุชน เป็นอลคัททะ

บ้าง เป็นนิตถรณะบ้าง. ปริยัติของพระเสขะทั้ง ๗ เป็นนิตถรณะอย่างเดียว

ปริยัติของพระขีณาสพ เป็นภัณฑาคาริกปริยัติเท่านั้น แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอา

นิตถรณปริยัติ.

บทว่า นิชฺฌาน ขมนฺติ ความว่า ธรรมทั้งหลายย่อมมาปรากฏ

ในอาคตสถานแห่งธรรมมีศีลเป็นต้นว่า ศีล ตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิในที่นี้. วิปัส-

สนาในที่นี้ มรรคในที่นี้ ผลในที่นี้ วัฏฏะในที่นี้ วิวัฏฏะในที่นี้. บทว่า

ตญฺจสฺส อตฺถ อนุโภนฺติ ความว่า กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนเพื่อ

มรรคผลอันใด กุลบุตรเหล่านั้นอาศัยปริยัติที่เล่าเรียนดีแล้ว ทำมรรคให้เกิด

ทำผลให้แจ้ง และเสวยประโยชน์นั้นของธรรมนั้น. แม้ไม่สามารถจะยกโทษ

ในวาทะของผู้อื่นก็ดีไม่สามารถจะถือเอาฐานะที่ตนปรารถนาแล้วปรารถนาอีก

เปลื้องโทษที่เขายกในวาทะของตนก็ดี ชื่อว่า เสวยประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า

ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย สวตฺตนฺติ ความว่า เมื่อบำเพ็ญศีลเป็นต้นใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ฐานะแห่งศีลเป็นต้นมาแล้วก็ดี ยกโทษในวาทะของผู้อื่นโดยชอบธรรมก็ดี

เปลื้องโทษจากวาทะของตนก็ดี บรรลุอรหัตต์แล้วแสดงธรรม ในท่ามกลาง

บริษัท บริโภคปัจจัย ๔ ที่คนผู้เลื่อมใสในพระธรรมเทศนาน้อมเข้าไปถวายก็ดี

ธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในพระพุทธวจนะที่เรียนดีอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงประกอบบริษัทไว้ในพุทธวจนะนั้นนั่นแล จึงตรัสคำอาทิว่า ตสฺมา

ติห ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า

เพราะเหตุที่ปริยัติที่เรียนมาไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์

ตลอดกาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไม่ดีฉะนั้น ส่วนปริยัติที่เรียนมาดี ย่อมเป็น

ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไว้ดี

ฉะนั้น. บทว่า ตถา น ธาเรยฺยาถ ความว่า พึงทรงปริยัตินั้นไว้อย่าง

นั้นนั่นแล คือทรงไว้โดยอรรถนั้นนั่นแล. บทว่า เย วา ปนสฺสุ พฺยตฺตา

ภิกฺขู ความว่า ก็หรือว่าพึงสอบถามเหล่าภิกษุผู้ฉลาดผู้บัณฑิตมีพระสารีบุตร

พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ และพระมหากัจจานะเป็นต้น แต่ภิกษุ

ไม่พึงเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุใส่เปือกตมหรือหยากใย่ลงในศาสนาของเรา. บทว่า

กุลฺลูปม แปลว่า เหมือนทุ่น. บทว่า นิตฺถรณตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์

แก่การข้ามโอฆะ ๔. บทว่า อุทกณฺณว ความว่า ก็น้ำใดลึกแต่ไม่กว้าง

หรือ กว้างแต่ไม่ลึก น้ำนั้นท่านไม่เรียกว่า อัณณพ ส่วนน้ำใดทั้งลึกทั้งกว้าง

น้ำนั้นท่านเรียกว่า อัณณพ เพราะฉะนั้น อรรถในบทว่า มหนฺต

อุทกณฺณว นี้จึงมีความดังนี้ว่า น้ำใหญ่คือกว้าง ลึก. ที่ใดมีโอกาสที่โจรอยู่

ยืน นั่ง นอน ปรากฏอยู่ ที่นั้น ชื่อว่า สาลังกะ น่าสงสัย. ที่ใดมีเหล่ามนุษย์ถูก

พวกโจรมาปล้น ตีชิง ปรากฏอยู่ ที่นั้น ชื่อว่าสัปปฏิภยะมีภัยปรากฏเฉพาะหน้า.

สะพานที่เขาผูกไว้เบื้องบนห้วงน้ำ ชื่อว่า อุตตรเสตุ แปลว่า สะพานข้าม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

กุลฺล พนฺธิตฺวา ความว่า กอไม้เป็นต้น ที่เขามัดเป็นกำเพื่อประโยชน์แก่

ข้ามน้ำ ชื่อว่า ทุ่น ส่วนกอไม้เป็นต้นที่เขามัดแผ่ ๆ ท่านเรียกว่า แพ. บทว่า

อุสฺสาเปตฺวา แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า กิจฺจการี ความว่า ทำกิจที่ถึงแล้ว

ทำกิจที่ควร ทำกิจที่เหมาะ. ในคำว่า ธมฺมาปิ โว ปทาตพฺพา นี้ ธรรม

ทั้งหลาย ชื่อว่า สมถะ และวิปัสสนา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้

ละฉันทราคะ ทั้งในสมถะ ทั้งในวิปัสสนา. ทรงให้ละฉันทราคะในสมถะไว้

ในที่ไหน. ทรงให้ละฉันทราคะไว้ในสมถะ ในที่นี้ว่า ดูก่อนอุทายี

เพราะเหตุนี้แล เรากล่าวการละแม้เนวสัญญานาสัญายตนะ ดูก่อนอุทายี

เธอไม่เห็นสังโยชน์ อันละเอียดหรือหยาบ ที่เรามิได้กล่าวการละไว้. ทรงให้ละ

ฉันทราคะไว้ในวิปัสสนา ในที่นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอไม่เกาะ

ไม่ยึด ไม่ถือทิฏฐินี้ ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้. แต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงให้ละฉันทราคะในสมถะ และวิปัสสนาทั้ง ๒ จึงตรัสว่า แม้ธรรม

ทั้งหลายพวกเธอพึงละ จะป่วยกล่าวไปไย ถึงอธรรมทั้งหลาย. ในข้อนั้นมีอธิ-

บายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการละฉันทราคะในธรรมทั้งหลาย

อันสงบ และประณีตเห็นปานนี้ ก็จะป่วยกล่าวไปไยในอัสสัทธรรมนี้ ซึ่งเป็น

ของชาวบ้าน เป็นของถ่อย เป็นธรรมชั่วหยาบ เป็นธรรมเหลวไหล ซึ่ง

อริฏฐะ โมฆบุรุษนี้ สำคัญว่าไม่มีโทษ กล่าวฉันทราคะในกามคุณทั้ง ๕ ว่า

เป็นธรรมไม่อาจทำอันตรายได้ พวกเธอไม่พึงเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุ ใส่

โคลนหรือหยากเยื่อลงในศาสนาของเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิคคหะอริฏฐภิกษุผู้เดียว ด้วยโอวาทแม้นี้ ด้วย

ประการฉะนี้ บัดนี้เมื่อทรงแสดงว่า ผู้ใดยึดว่าเรา ของเรา ด้วยอำนาจการยึดถือ

สามอย่างในขันธ์ ๕ ผู้นั้นชื่อว่าใส่โคลนหรือหยากเยื่อ ลงในศาสนาของเรา

เหมือนอริฏฐภิกษุนี้ จึงตรัสว่า ฉยิมานิ ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

เหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิฏฺานานิ ความว่า แม้ทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

ทั้งอารมณ์ของทิฏฐิ ทั้งปัจจัยของทิฏฐิ ก็ชื่อว่า ที่ตั้งของทิฏฐิ ในบทว่า

รูป เอต มม เป็นต้น การถือว่า นั่นของเรา เป็นตัณหาคาหะ การถือ

ว่าเราเป็นนั่นเป็นมานคาหะ การถือว่า นั่นเป็นตัวของเราเป็นทิฏฐิคาหะ เป็น

อันตรัส ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ด้วยประการฉะนี้

ส่วนรูปไม่ควรกล่าวว่าเป็นอัตต. เเม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฐะ สัททายตนะ ชื่อว่า สุตะ คันธายตนะ รสายตนะ

และโผฏฐัพพายตนะ ชื่อว่า มุตะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

นั้น ท่านกล่าวว่า มุตะ เพราะพบแล้วยึดไว้. อายตนะ ๗ ที่เหลือชื่อว่า

วิญญาตะ. บทว่า ปตฺต ได้แก่ ที่แสวงหาก็ดี ไม่แสวงหาก็ดี พบแล้ว.

บทว่า ปริเยสิต ได้แก่ที่พบหรือไม่พบก็แสวงหาแล้ว. บทว่า อนุวิจริต

มนสา ได้แก่ ติดตามด้วยจิต. จริงอยู่ ในโลกของที่แสวงหาแล้วพบก็มี

แสวงหาแล้วไม่พบก็มี ไม่แสวงหาแล้วพบก็มี ไม่แสวงหาแล้วไม่พบก็มี. ใน

ที่ตั้งแห่งความเห็นนั้น ของที่แสวงหาแล้วพบ ชื่อว่า ปัตตะ ของที่แสวงหา

แล้วไม่พบชื่อว่า ปริเยสิตะ ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหา

แล้วไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริต. อีกนัยหนึ่ง ของที่แสวงหาแล้วพบก็ดี ของ

ที่ไม่แสวงหาไม่พบก็ดี ชื่อว่า ปัตตะ เพราะอรรถว่าพบแล้ว. ของที่แสวงหาไม่พบ

อย่างเดียว ชื่อว่า ปริเยสิตะ ของที่ไม่แสวงหาแล้วพบ และของที่ไม่แสวงหาแล้ว

ไม่พบ ชื่อว่า มนสานุจริตะ หรือว่า ของนั้นทั้งหมด ชื่อว่า มนสานุจริตะ เพราะ

เป็นของติดตามด้วยใจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิที่มีวิญญาณเป็นอารมณ์ ตรัสด้วยบทนี้

วิญญาณ ตรัสด้วยอ่านาจทิฏฐิเป็นต้นเป็นอารมณ์ ในหนหลังด้วยอำนาจการ

ยักย้ายแห่งเทศนา.

บทว่า ยปิ ต ทิฏฺิฏฺาน ได้แก่ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ที่เป็นไปโดยนัยมี

อาทิว่า ยปิ ต เอต โส โลโก. บทว่า โส โลโก โส อตฺตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

ทิฏฐิที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ผู้นั้นเห็นรูปโดยเป็นอัตตา ย่อมยึดถือว่า เป็น

โลก เป็นอัตตา ท่านหมายเอาทิฏฐินั้นจึงกล่าวไว้ดังนี้. บทว่า โส เปจฺจ ภวิ-

สฺสามิ ความว่า เรานั้นไปปรโลกแล้ว จักอยู่เป็นนิจ ยั่งยืนเที่ยง มีความ

ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความยั่นยืน ดุจภูเขาสิเนรุ

มหาปฐพีและมหาสมุทรเป็นต้นฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ตปิ เอต มม

ความว่า ย่อมตามเห็นว่าทัสสนะแม้นั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นอัตตา

ของเรา. ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่มีทิฏฐิเป็นอารมณ์ ตรัสด้วยบทนี้. เวลา

ถือทิฏฐิครั้งแรก มีได้ด้วยทิฏฐิครั้งหลังอย่างนี้ เหมือนเวลากับเห็นแจ้งด้วย

วิปัสสนา. ในสุกกปักข์ ฝ่ายขาว ทรงคัดค้าน การยึดถือด้วยตัณหา มานะ

และทิฏฐิในรูปว่า นั่นไม่ใช่รูปของเราเป็นต้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้

เหมือนกัน. ก็บทนี้ว่า สมนุปสฺสติ ความว่า สมนุปัสสนามี ๔ คือ ตัณหา

สมนุปัสสนา มานสมนุปัสสนา ทิฏฐิสมนุปัสสนา ญาณสมนุปัสสนา. เนื้อ

ความแห่งสมนุปัสสนาเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจ สมนุปัสสนา ๓ อยู่ใน

กัณหปักข์ ญาณสมนุปัสสนา อยู่ในสุกกปักข์. บทว่า อสติ น ปริตสฺสติ

ความว่า เมื่อความยึดถือไม่มี เธอย่อมไม่สะดุ้ง ด้วยความสะดุ้งด้วยภัย หรือด้วย

ความสะดุ้งด้วยตัณหา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ไม่

สะดุ้ง เพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายใน จึงทรงจบเทศนาด้วยบทนี้.

บทว่า เอว วุตฺเต อญฺตโร ภิกฺขุ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิรูปหนึ่งคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ไม่สะดุ้ง เพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายใน ทรง

จบเทศนาก็เมื่อพระขีณาสพไม่สะดุ้งภายในอยู่ ภิกษุผู้สะดุ้งภายใน ภิกษุผู้สะดุ้ง

ภายนอก ภิกษุผู้สะดุ้งเพราะความพินาศในบริขาร และแม้ผู้ไม่สะดุ้ง พึงมี

เราจะถามปัญหานี้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ ดังกล่าวมา แล้วจึงทำจีวรเฉวียงบ่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

ประคองอัญชลีกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้. บทว่า พหิทฺธา อสติ ได้แก่

ในภายนอก คือเพราะความพินาศแห่งบริขาร. บทว่า อหุ วต เม ความว่า

สิ่งของ ยาน พาหนะ เงิน ทอง ของเรา ได้มีแล้วหนอ. บทว่า ต วต เม นตฺถิ

ความว่า บัดนี้ สิ่งของนั้นหนอของเราไม่มี คือ ถูกพระราชาริบเอาเสียบ้าง

พวกโจรลักไปบ้าง ไฟใหม้บ้าง ถูกน้ำพัดไปเสียบ้าง คร่ำคร่าเพราะใช้สอยบ้าง.

บทว่า สิยา วต เม ความว่า ยาน พาหนะ เงิน ทอง ข้าวสาลี ข้าวเปลือก

ข้าวเหนียว ข้าวละมานของเรามีหนอ. บทว่า ต วตาห น ลภามิ ความว่า

เศร้าโศกว่า เราเมื่อไม่ได้ของนั้น บัดนี้เราก็ไม่ได้เพราะไม่ทำงานที่สมควร

แก่ทรัพย์นั้นนั่นเอง นี้ชื่อว่า ความเศร้าโศกของผู้ครองเรือน (คฤหัสถ์). ความ

เศร้าโศกของผู้ไม่ครองเรือน (บรรพชิต) พึงทราบด้วยอำนาจบาตรจีวรเป็นต้น.

พึงทราบในอปริตัสสนาวาร ดังต่อไปนี้ บทว่า น เอว โหติ ความ

ว่า ความสะดุ้งพึงมีอย่างนี้ เพราะกิเลสเหล่าใด ย่อมไม่มีอย่างนี้ เพราะกิเลส

เหล่านั้นได้ละแล้ว. บทว่า ทิฏฺิฏฺานาธิฏฺานปริยุฏฺานาภินิเวสานุ-

สยาน ความว่า ซึ่งทิฏฐิ ที่ตั้งทิฏฐิ ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ที่กลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ

และที่นอนเนื่องแห่งความถือมั่น. บทว่า สพฺพสงฺขารสมถาย ได้แก่ เพื่อ

ประโยชน์แก่ความดับ. จริงอยู่ ความหวั่น ความไหว ความผันแปรแห่งสังขาร

ทั้งปวง มาถึงพระนิพพานย่อมสงบระงับไป เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้นท่าน

จึงเรียกว่า เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง. อนึ่ง อุปธิเหล่านี้ คือ อุปธิ คือ ขันธ์

อุปธิ คือ กิเลส อุปธิคืออภิสังขาร อุปธิคือกามคุณ ๕ มาถึงพระนิพพานนั้น

นั่นแล ก็สลัดคืนไป ตัณหา ก็สิ้น ก็คลาย ก็ดับ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนั้น

ท่านจึงเรียกว่า สัพพูปธิปฏินิสสัคคะ. เป็นที่สลัดคืนอุปธิทั้งปวง ตัณหักขยะ

เป็นที่สิ้นตัณหา วิราคะ คายราคะ นิโรธดับ. ศัพท์ว่า นิพฺพานาย นี้เป็น

นิเทสสรุปแห่งพระนิพพานนั้น. ดังนั้น ท่านแสดงความนี้ว่า เมื่อทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

ธรรมเพื่อประโยชน์แก่การกระทำให้แจ้งพระนิพพาน ด้วยบทเหล่านั้นทั้งหมด

ทีเดียว. บทว่า ตสฺเสว โหติ ความว่า ภิกษุผ้มีทิฏฐินั้นย่อมมีความคิด

อย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญ เราจักพินาศ เราจักไม่มี. จริงอยู่ ภิกษุผู้มีทิฏฐิ

ฟังธรรมที่ทรงยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์แสดงให้เกี่ยวด้วยสุญญตาอยู่ เกิดความสะดุ้ง.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่สดับ

ย่อมมีความสะดุ้งอย่างนี้ว่า มีเราและไม่มีเรา.

ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ ตรัสสุญญตา มี ๔ เงื่อนด้วยสามารถ

แห่งภิกษุเหล่านี้คือภิกษุผู้สะดุ้ง และผู้ไม่สะดุ้งเพราะความพินาศแห่งปริขารภาย

นอก คู่ ๑ และภิกษุผู้สะดุ้งและผู้ไม่สะดุ้งเพราะความพินาศแห่งขันธ์ภายในคู่ ๑.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสุญญตา ๓ เงื่อน คือ จัดปริกขารภายนอก

ให้ชื่อว่า ทิฏฐิปริคคหะ จัดสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ ๒๐ ให้ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน

จัดทิฏฐิ ๖๒ ซึ่งมีสักกายทิฏฐิเป็นหัวหน้าให้ชื่อว่า ทิฏฐินิสสยะ จึงตรัสว่า

ภิกฺขเว ปริคฺคห เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริคฺคห ได้แก่

ปริกขารภายนอก. บทว่า ปริคฺคณฺเหยฺย ความว่า มนุษย์วิญญูชน พึง

กำหนดยึดถือ. ด้วยบทว่า อหปิ โข ต ภิกฺขเว ทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุ

แม้พวกเธอก็ไม่เห็น แม้เราก็ไม่เห็น ดังนั้น ความกำหนดเห็นปานนั้น ก็ไม่มี.

พึงทราบความในบททั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสุญญตา ๓ เงื่อนอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดง ๒ เงื่อน คือ อัตตา ในขันธ์ภายใน และที่เนื่องด้วยตนใน

ปริขารภายนอก จึงตรัสคำอาทิว่า อตฺตนิ วา ภิกฺขเว สติ เป็นต้น. ในคำ

นั้นมีความสังเขปดังนี้ว่า เมื่อตนมีอยู่ บริขารของเรานี้ก็เนื่องในตนหรือว่า

เมื่อปริขารที่เนื่องกับตนมีอยู่ อัตตาของเรานี้ก็เป็นเจ้าของบริขารนี้ เราก็

เหมือนกัน พึงประกอบคำว่า เมื่อวัตถุมีอยู่ ของ ๆ เราก็มี เราก็มี ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

ฯบทว่า สจฺจโต แปลว่า โดยความเป็นจริง. บทว่า เถตโต แปลว่า โดย

เป็นแท้ หรือมั่นคง.

บัดนี้ เมื่อไม่ทรงถือเบญขันธ์ด้วยปริวัฏฏ ๓ อย่างนี้คือ อนิจฺจ

ทุกฺข อนตฺตา เมื่อจะทรงแสดงว่า ภิกษุนี้ก็เหมือนอริฏฐภิกษุ ใส่เปือกตม

หยากไย่ ลงในศาสนาของเรา จึงตรัสว่า ต กึ มฺถ ภิกฺขเว รูป นิจฺจวา

เป็นต้น. บทว่า อนิจฺจ ภนฺเต ความว่า พระเจ้าข้า เพราะเหตุที่รูปมีแล้ว

ไม่มี ฉะนั้นรูปจึงไม่เที่ยง ที่ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ เพราะ

เกิดแล้วก็เสื่อมไป หรือเพราะอรรถว่าแปรปรวน เป็นไปชั่วคราว และปฏิเสธ

ความเที่ยง. บทว่า ทุกฺข ภนฺเต ความว่า พระเจ้าข้า รูปชื่อว่าทุกข์โดยอาการ

คือ เบียดเบียน ชื่อว่าเป็นทุกข์ด้วยเหตุ ๔ อย่างคือ เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน

ทนได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์และปฏิเสธความสุข. บทว่า วิปริณามธมฺม

ความว่า มีอันก้าวลงและเข้าถึงภพเป็นสภาวะ คือมีอันละความเป็นปกติเป็น

สภาวะ. บทว่า กลฺล นุ ต สมนุปสฺสิตุ เอต มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม

อตฺตา ความว่า สมควรหรือที่จะมายึดถือรูปนั้นอย่างนี้ว่า เรา ของเรา ด้วย

อำนาจแห่งการ ยึดถือแห่งตัณหา มานะ และทิฏฐิ ทั้ง ๓ เหล่านี้. ด้วยบทนี้ว่า

โน เหต ภนฺเต ภิกษุเหล่านั้นย่อมปฏิญาณว่า รูปเป็นอนัตตา พระเจ้าข้า

ด้วยอาการไม่เป็นไปในอำนาจ รูปชื่อว่าเป็นอนัตตา ด้วยเหตุ ๔ คือ ด้วย

อรรถว่าเป็นของสูญ ไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นใหญ่ และปฏิเสธอัตตา. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นอนัตตาด้วยอำนาจเป็นของไม่เที่ยง ไว้

ในที่ไหน ด้วยอำนาจความเป็นทุกข์ไว้ในที่ไหน ด้วยอำนาจความเป็นของ

ไม่เที่ยง และความเป็นทุกข์ไว้ในที่ไหน. จริงอยู่ ทรงแสดงความเป็นอนัตตา

ด้วยอำนาจความไม่เที่ยงไว้ในฉฉักกสูตรนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นอัตตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

จักษุของผู้นั้นย่อมไม่เกิด ทั้งความเกิดทั้งความเสื่อมของจักษุ ย่อมปรากฏ

แต่ทั้งความเกิดทั้งความเสื่อมของจักษุใด ย่อมปรากฏ จักษุนั้น ย่อมมาอย่าง

นี้ว่า อัตตาของเราเกิด และเสื่อม เพราะฉะนั้น จักษุนั้น จึงไม่เกิด. ผู้ใด

พึงกล่าวว่า จักษุเป็นอนัตตา ดังนั้น จักษุจึงเป็นอนัตตา ดังนี้. ทรงแสดง

ความเป็นอนัตตา ด้วยอำนาจความเป็นทุกข์ไว้ ในอนัตตลักขณสูตรนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้เป็นอัตตา รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ จะพึง

ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้ง

ไม่ได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าเป็นอย่างนี้เลย ดังนี้.

ทรงแสดงความเป็นอนัตตา ด้วยอำนาจความไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ทั้งสองไว้

ในอรหัตตสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น

ก็เป็นทุกข์ รูปใดเป็นทุกข์ รูปนั้นก็เป็นอนัตตา รูปใดเป็นอนัตตา รูปนั้นก็ไม่ใช่

ของเรา เราก็ไม่เป็นรูปนั้น รูปนั้นก็ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นรูปนั้น ด้วย

ปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ดังกล่าวมานี้. เพราะเหตุไร. เพราะ อนิจฺจ

และ ทุกฺข ปรากฏแล้ว อนัตตายังไม่ปรากฏ. จริงอยู่ เมื่อภาชนะใส่ของ

บริโภคเป็นต้นแตกไป คนทั้งหลายก็กล่าวว่า อโห อนิจฺจ โอ ไม่เที่ยงหนอ

ไม่มีคนกล่าวว่า อนัตตา. หรือเมื่อต่อมฝีทั้งหลายเกิดขึ้นที่ร่างกาย หรือคนถูก

หนามแทง ก็กล่าวกันว่า อโห ทุกข โอ ทุกข์หนอ แต่ไม่มีคนกล่าวว่า

อโห อนตฺตา โอ ไม่ใช่อัตตาหนอ. เพราะเหตุไร. เพราะชื่อว่าอนัตต-

ลักขณะนี้ ไม่ชัด เห็นยาก รู้กันยาก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงแสดงความเป็นอนัตตานั้น ด้วยอำนาจไม่เที่ยงบ้าง ทุกข์บ้าง ทั้งไม่เที่ยง

ทั้งทุกข์ทั้งสองบ้าง. รูปนี้นั้น ทรงแสดงด้วยอำนาจไม่เที่ยงเป็นทุกข์เท่านั้น

ในปริวัฏ ๓ แม้นี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะรูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ทั้งในบัดนี้ ทั้งในกาลอื่น ๆ.

คำว่า ยงฺกิญฺจิ รูป เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในขันธนิทเทส วิสุทธิ-

มรรค. บทว่า นิพฺพินฺทติ แปลว่า เบื่อหน่าย. ก็ในคำว่า นิพพินฺทติ

ในบาลีนี้ ท่านประสงค์เอาวุฏฐานคามินีวิปัสสนา (วิปัสสนาอันให้ถึงความ

ออกจากความยึดถือตัณหา). แท้จริง วุฏฐานคามินีวิปัสสนามีมากชื่อ บางแห่ง

เรียกว่า สัญญัคคะ บางแห่งว่า ธรรมฐีติญาณ บางแห่งว่า ปาริสุทธิปธานิยังคะ

บางแห่งว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ บางแห่งว่า ตัมมยปริยาทาน บางแห่ง

ก็มี ๓ ชื่อ บางแห่งก็ ๒ ชื่อ. บรรดาอาคตสถานเหล่านั้น ในโปฏฐปาทสูตร

ก่อน ตรัสเรียกว่า สัญญัคคะ อย่างนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ สัญญาเกิดขึ้น

ก่อน. ภายหลัง ญาณจึงเกิดขึ้น ดังนี้. ในสุสิมสูตร ตรัสเรียกว่า ธรรม-

ฐิติญาณ อย่างนี้ว่า ดูก่อนสุสิมะ ธรรมฐิติญาณมีก่อน ภายหลังญาณในนิพพาน

จึงมี ดังนี้. ในทสุตตรสูตร ตรัสเรียกว่า ปาริสุทธิปธานิยังคะ ว่า ปฏิปทา-

ญาณทัสสนวิสุทธิปธานิยังคะ ดังนี้. ในรถวินีตสูตร ท่านเรียกว่า ปฎิปทา-

ญาณทัสสนวิสุทธิ อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี

พระภาคเจ้า เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หรือหนอ ดังนี้. ในสฬายตน

วิภังคสูตร ท่านเรียกว่า ตัมมยปริยาทาน อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุเบกขานี้ใด พึงพาความไม่มีตัณหา อาศัยความไม่มีตัณหา มีอารมณ์อันเดียว

อาศัยอารมณ์อันเดียว พวกเธอจงละอุเบกขานั้นเสีย จงก้าวล่วงอุเบกขานั้นเสีย

การละอุเบกขานี้มีอย่างนี้ การก้าวล่วงอุเบกขานี้มีอย่างนี้ดังนี้. ในปฏิสัมภิทา-

มรรค ท่านระบุไว้ ๓ ชื่ออย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ มุญจิตุกัมยตา ปฏิสังขา

นุปัสสนา และสังขารุเปกขา มีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ในคัมภีร์ปัฏฐาน ท่านระบุไว้ ๒ ชื่ออย่างนี้ คือ อนุโลมญาณ เป็นปัจจัยแห่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

โคตรภูญาณ โดยเป็นอนันตรปัจจัย อนุโลมญาณเป็นปัจจัยแห่งโวทาน

(มรรคจิต-ผลจิต) โดยเป็นอนันตรปัจจัย. ส่วนในอลคัททูปรสูตรนี้ วุฏฐาน

คามินิวิปัสสนา มาโดยชื่อว่า นิพพิทา ในบทว่า นิพฺพินฺทติ. มรรคชื่อว่า

วิราคะ ในบทนี้ว่า นิพฺพินฺทนฺโต วิรชฺชติ. ในบทว่า วิราคา วิมุจฺจติ

นี้ท่านกล่าวผลว่า ย่อมหลุดพ้น เพราะวิราคะ คือ มรรค. ในที่นี้ ท่าน

กล่าวปัจจเวกขณญาณไว้ว่า เมื่อหลุดพ้น ก็มีญาณรู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงพระมหาขีณาสพ ผู้มีจิตหลุดพ้น

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงระบุชื่อของพระมหาขีณาสพนั้นโดยเหตุ ๕ ประการ

ตามเป็นจริง จึงตรัสว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว เป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา

ได้แก่ อวิชชามีวัฏฏะเป็นมูล. จริงอยู่ อวิชชานี้ท่านเรียกว่า ปลิฆะ เพราะ

อรรถว่า ยกขึ้นได้ยาก. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนี้ ท่านจึงเรียกว่า อุกขิตตปลิฆะ

เพราะอวิชชานั้นถูกยกขึ้น. บทว่า ตาลาวตฺถุกตา ได้แก่ กระทำให้เป็น

เหมือนหนึ่งตาลยอดด้วน อธิบายว่า หรือถอนตาลพร้อมทั้งราก ทำให้เหมือน

ที่ตั้งแห่งตาล คือนำไปให้ถึงความไม่มีบัญญัติอีก เหมือนต้นตาลนั้นไม่ปรากฏ

พื้นที่ตั้ง. บทว่า โปโนพฺภวิโก ได้แก่ ให้ภพใหม่. บทว่า ชาติสสาโร

ได้แก่ อภิสังขารคือกรรม อันเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ในภพใหม่ ที่ได้ชื่ออย่างนี้

โดยการเกิดและท่องเที่ยวไปในชาติทั้งหลาย. จริงอยู่ อภิสังขารคือกรรมนั้น

ท่านเรียกว่า ปริกขา เพราะตั้งแวดล้อมไว้โดยการกระทำให้เกิดบ่อย ๆ ด้วย

เหตุนั้น ภิกษุนั้น เรียกว่า สังกิณณปริกขะ เพราะอวิชชานั้นเกลื่อนกล่นไป.

บทว่า ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาที่มีวัฏฏะเป็นมูล. จริงอยู่ ตัณหานี้ท่านเรียกว่า

เอสิกา เพราะอรรถว่า ตามไปโดยลึกซึ้ง. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นท่านเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

อัพภุฬเหสิกะ เพราะตัณหานั้นเขายกทิ้ง คือ เพราะเขาตัดทิ้ง. บทว่า โอร-

มฺภาคิยานิ ได้แก่ ให้เกิดต่ำลง คือเป็นปัจจัยให้เกิดในกามภพ. จริงอยู่

สังโยชน์เหล่านี้ ท่านเรียกว่า อัคคฬะ เพราะตั้งปิดจิต เหมือนบานประตูปิด

ประตูเมือง. ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า นิรัคคฬะ เพราะสังโยชน์

เหล่านั้น อันเธอกระทำให้ไม่มี คือ ทำลายไป. บทว่า อริโย ได้แก่ ผู้

ไม่มีกิเลส คือ หมดจด. บทว่า ปนฺนทฺธโช ได้แก่ มีธงคือมานะอันตก

ไปแล้ว. บทว่า ปนฺนภาโร วิเคราะห์ว่า ชื่อว่าปันนภาระ. เพราะภิกษุนั้น

มีภาระ คือ ขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณห้า ตกแล้ว คือยกลงแล้ว.

อีกนัยหนึ่ง ในที่นี้ท่านประสงค์ว่าปันนภาระ เพราะปลงภาระคือมานะเท่านั้น.

บทว่า วิสยุตฺโต ได้แก่ พรากเสียแล้วจากโยคะสี่และกิเลสทั้งหมด. แต่ใน

ที่นี้ ท่านประสงค์ว่า วิสังยุตตะ เพราะพรากจากสังโยชน์คือมานะอย่างเดียว.

บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่ มีมานะว่า เรามีในรูป มีมานะว่า เรามีในเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกาลของพระขีณาสพ ผู้ทำกิเลสให้สิ้นไป

ด้วยมรรค ผู้อยู่บนที่นอนคือนิโรธอันประเสริฐ ผู้เข้าผลสมาบัติที่มีนิพพาน

เป็นอารมณ์อยู่. เปรียบเหมือนนคร ๒ นคร นครโจร ๑ นครเกษม ๑ เมื่อเป็น

ดังนั้น นักรบใหญ่ผู้หนึ่งพึงคิดอย่างนี้ว่า นครโจรนี้ตั้งอยู่ตราบใด นครเกษม

ก็ไม่ปลอดภัยอยู่ตราบนั้น เราจักท่านครโจรไม่ให้เป็นนครแล้ว จึงสวมเกราะถือ

พระขรรค์เข้าไปยังนครโจร เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียดที่ยกขึ้นใกล้ประตูนคร

ทำลายบานประตูพร้อมกับกรอบประตู แล้วยกสลักขึ้นทำลายกำแพง รื้อค่าย

คูล้มธงที่ยกขึ้นเพื่อความงามของนคร เอาไฟเผานครแล้วเข้านครเกษม ขึ้น

ปราสาท แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บริโภคโภชนะมีรสอร่อย ฉันใด ข้อนี้ก็

ก็ฉันนั้น สักกายะเหมือนนครโจร นิพพานเหมือนนครเกษม พระโยคาวจร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

เหมือนนักรบใหญ่ พระโยคาวจรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ความหมุนเวียนแห่ง

สักกายะยังเป็นไปอยู่ตราบใด ความหลุดพ้นจากกรรมกรณ์ ๓๒ โรค ๙๘ มหาภัย

๒๕ ก็มีไม่ได้ตราบนั้น พระโยคาวจรเปรียบเหมือนนักรบใหญ่นั้น สวมเกราะ

คือเกราะศีล จับพระขรรค์คือปัญญา เอาพระอรหัตตมรรคตัดเสาระเนียดคือ

ตัณหา ดุจเอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด พระโยคาวจรนั้นยกสลักคือ สังโยชน์

เบื้องต่ำ ๕ ดุจนักรบยกบานประตูนครพร้อมทั้งกรอบประตู พระโยคาวจร

นั้นยกสลักคือ อวิชชาดุจนักรบยกสลัก พระโยคาวจรทำลายอภิสังขารคือกรรม

รื้อค่ายดูคือชาติสงสาร ดุจนักรบทำลายกำแพงรื้อค่ายคู พระโยคาวจรล้มธงคือ

มานะ. เผานครคือ สักกายะ. ดุจนักรบล้มธงที่ยกขึ้นเพื่อทำนครให้สวยงาม

พระโยคาวจรเข้านครคือกิเลสนิพพาน เสวยสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ อันมีอมต-

นิโรธเป็นอารมณ์ ยังกาลให้ล่วงไป เหมือนนักรบบริโภคโภชนะมีรสดีใน

ปราสาทชั้นบนในนครเกษม.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความที่พระขีณาสพผู้มีจิตหลุด

พ้นอย่างนี้ เป็นผู้มีวิญญาณอันผู้อื่นพบไม่ได้ จึงตรัสว่า เอว วิมุตฺตจิตฺตโข

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเวสนฺตา ได้แก่ เสาะแสวงหา.

บทว่า อิท นิสฺสิต ได้แก่ อาศัยชื่อสิ่งนี้. แม้สัตว์ ท่านก็ประสงค์เอาว่า

ตถาคตในคำว่า ตถาคตสฺส นี้. แม้พระขีณาสพก็เป็นบุคคลสูงสุด. บทว่า

อนนุวชฺโช แปลว่า ผู้ไม่มี หรือผู้ที่ใครไม่พบ. จริงอยู่ เมื่อถือว่า สัตว์

เป็นตถาคต ก็ควรจะมีความว่า ไม่มี. เมื่อถือว่าขีณาสพ ก็ควรจะมีความว่า

ใครพบไม่ได้. ในนัยทั้งสองนั้น นัยแรกมีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่บัญญัติพระขีณาสพที่ยังดำรงซีวิตอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นว่า ตถาคต สัตว์

บุคคล แต่เราบัญญัติพระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีปฏิสนธิว่า สัตว์

หรือบุคคลได้อย่างไร อธิบายว่า ตถาคตไม่มีอยู่ จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

ชื่อว่า สัตว์ไร ๆ ไม่มี เมื่อสัตว์นั้นไม่มีอยู่ เทวดาทั้งหลายแม้เสาะแสวงว่า

วิญญาณอาศัยอะไร ดังนี้ จักประสบได้อย่างไร คือ จักพบได้อย่างไร. ใน

นัยที่สอง อธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าพระขีณาสพผู้ยัง

ดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น อันเทวดาทั้งหลายมีพระอินทร์เป็นต้นพบไม่

ได้โดยวิญญาณ จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พร้อมทั้งพระ-

พรหม พร้อมทั้งปชาบดี แม้เสาะแสวงอยู่ ก็ไม่อาจจะรู้วิปัสสนาจิต มรรคจิต

หรือผลจิต ของพระขีณาสพ ว่าอาศัยอารมณ์ชื่อนี้เป็นไป เทวดาเหล่านั้น จัก

รู้อะไรของพระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ไม่มีปฏิสนธิ. บทว่า อสตา แปล

ว่าไม่มีอยู่. บทว่า ตุจฺฉา แปลว่า ว่างเปล่า. บทว่า มุสา แปลว่า พูด

เท็จ. บทว่า อภูเตน แปลว่า ด้วยเรื่องที่ไม่มี. บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ

ได้แก่ ใส่ความ กล่าวตู่. บทว่า เวนยิโก ความว่า ชื่อว่า วินัย เพราะกำจัด

ทำให้พินาศ วินัยนั่นแหละชื่อเวนยิกะ อธิบายว่า ผู้ทำสัตว์ให้พินาศ. บทว่า

ยถา จาห ภิกฺขเว เน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เป็นผู้ทำสัตว์ให้

พินาศด้วยเหตุใด. บทว่า ยถา จาห น วทามิ ความว่า หรือเราไม่

บัญญัติการทำสัตว์ให้พินาศด้วยเหตุใด. ท่านอธิบายไว้ว่า เราไม่ทำสัตว์ให้

พินาศโดยประการใด และไม่บัญญัติการทำสัตว์ให้พินาศโดยประการใด สมณ-

พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นกล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด และกล่าว

หาว่า พระสมณะโคดมทำสัตว์ให้พินาศ ว่าเราบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ

ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ทั้งกล่าวตู่ด้วยเรื่องที่ไม่มี ว่างเปล่า เท็จ และไม่

เป็นจริงว่า ตถาคตบัญญัติความพินาศแห่งสัตว์. บทว่า ปุพฺเพ จ ได้แก่

ในกาลก่อน คือครั้งตรัสรู้ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน. บทว่า เอตรหิ จ

ได้แก่ ในบัดนี้ คือ ในเวลาแสดงธรรม. บทว่า ทุกฺข เจว ปญฺเปมิ

ทุกฺขสฺส นิโรธ ความว่า ตถาคตอยู่ที่โพธิมณฑสถาน ยังไม่ประกาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

พระธรรมจักรก็ดี แสดงธรรมทั้งแต่ประกาศพระธรรมจักรก็ดี ย่อมบัญญัติ

สัจจะ ๔ เท่านั้น. จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ นั้น สมุทัยอันเป็นมูลแห่งทุกข์นั้น

พึงทราบว่า ทรงถือเอาด้วยทุกขศัพท์ ส่วนมรรค*ที่ให้ถึงนิโรธนั้น พึงทราบ

ว่าทรงถือเอาด้วยนิโรธศัพท์. บทว่า ตตฺร เจ ได้แก่ ในการประกาศสัจจะ

๔ นั้น. บทว่า ปเร ได้แก่ บุคคลผู้ไม่สามารถรู้แจ้งแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย.

บทว่า อกฺโกสนฺติ ได้แก่ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า ปริภาสนฺติ

ได้แก่ ปริภาษด้วยวาจา. บทว่า โรเสนฺติ วิเหเสนฺติ ได้แก่ ประสงค์ว่า

เราจักโกรธขึ้น จักเบียดเบียน. บทว่า ฆฏฺเฏนฺติ ได้แก่ ให้ประสบทุกข์.

บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในการด่าเป็นต้นเหล่านั้น หรือในบุคคลอื่นเหล่านั้น.

บทว่า อาฆาโต ได้แก่ ความโกรธ. บทว่า อปฺปจฺจโย ได้แก่ ความ

เสียใจ. บทว่า อนภินนฺทิ ได้แก่ ความไม่ยินดี. บทว่า ตตฺร เจ ได้

แก่ ในการประกาศสัจจะ ๔ นั้นแหละ. บทว่า ปเร ได้แก่ บุคคลผู้รู้แจ้ง

แทงตลอดการประกาศสัจจะ ๔. บทว่า อานนฺโท ได้แก่ ความดื่มด่ำด้วย

ความยินดี. บทว่า อุพฺพิลาวิตตฺต ได้แก่ ความดื่มด่ำด้วยอำนาจความปลาบ

ปลื้ม. บทว่า ตตฺเร เจ ได้แก่ในการประกาศสัจจะ ๔ นั้นแหละ. บทว่า ตตฺร

ได้แก่ ในสักการะเป็นต้น. บทว่า ย โข อิท ปุพฺเพ ปริญฺาต ความว่า

ขันธปัญจกนี้ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้แล้วด้วยปริญญา ๓ ที่โพธิมัณฑ

สถานก่อน. บทว่า ตตฺถ เม แปลว่า สักการะเหล่านี้ อันเขากระทำในขันธปัญจก

นั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ความคิดว่าสักการะเหล่านี้

จักมีในเรา หรือว่า เราจะเสวยสักการะเหล่านี้ไม่มีแก่พระตถาคตในขันธ

ปัญจกแม้นั้น และมีความดำริเท่านี้ว่า ตถาคตย่อมเสวยสักการะของขันธปัญจก

ที่กำหนดรู้แล้วแต่ก่อนนั้น และขันธปัญจกย่อมเสวยสักการะเหล่านี้. บทว่า

ตสฺมา ความว่า ก็เพราะเหตุที่สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ผู้ไม่สามารถแทงตลอด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

สัจจะทั้งหลาย จึงพากันด่าซึ่งพระตถาคตฉะนั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่

กล่าวมาแล้วนั้นแล.

บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ย น ตุมฺหาก ความว่า การละฉันท

ราคะ แม้ในสิ่งที่ไม่เนื่องกับตน เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอด

กาลนาน เพราะฉะนั้น พวกเธอจงละสิ่งที่ไม่ใช่ของพวกเธอเสีย. บทว่า

ยถาปจฺจย วา กเรยฺย ความว่า เธอปรารถนาโดยประการใด ๆ พึงกระทำ

โดยประการนั้น ๆ. บทว่า น หิ โน เจติ ภนฺเต อตฺตา วา ความว่า

พระเจ้าข้า สมณพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวหญ้าไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้นว่า ไม่ใช่

ตัวของเรา ไม่ใช่รูปของเรา ไม่ใช่วิญญาณของเรา. บทว่า อตฺตนิย วา

ความว่า แม้บริขารมีจีวรเป็นต้นไม่ใช่ของเรา. บทว่า เอวเมว โข ภิกฺขเว

ย น ตุมฺหาก ต ปชหถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขันธปัญจก

นั้นแลว่า ไม่ใช่ของท่าน จึงทรงให้ละเสีย แต่ก็มิใช่ให้เพิกถอนหรือตัดขันธ-

ปัญจก แต่ให้ละมันเสียด้วยการกำจัดฉันทราคะ. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า

เอว สฺวากฺขาโต นี้ดังนี้ แม้จะนำมาแต่ปริวัฏฏ ๓ รอบ จึงถึงฐานะนี้ก็ควร

โดยปฏิโลม จะย้อนกลับมา ตั้งแต่เปมมัตตสัคคปรายนะ จนถึงฐานะนี้ก็ควร.

บทว่า สฺวากฺขาโต ความว่า ตรัสไว้ดีแล้ว คือง่าย เปิดเผย ประกาศแล้ว

เพราะเป็นธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้ว. ผ้าฉีก ผ้าขาด ที่เขาเย็บทำเป็นปมไว้ในที่นั้น ๆ

ผ้าคร่ำคร่า ท่านเรียกว่าผ้าเก่า ในคำว่า ฉินฺนปิโลติโก ผู้ใดไม่มีผ้าเก่านั้น

ผู้นั้นนุ่งผ้าใหม่ ๘ ศอกบ้าง ๙ ศอกบ้าง ชื่อว่า ผู้ขาดผ้าเก่า. ธรรมแม้นี้ก็เป็น

เช่นนั้น ก็ในคำนี้ ไม่มีภาวะ อย่างผ้าที่ขาดที่ฉีกที่เย็บที่ทำเป็นปม โดยการ

ล่อล่วงเป็นต้น. อนึ่ง หยากไย่ ท่านก็เรียก ปิโลติกะ แต่ขึ้นชื่อว่า สมณะ

หยากไย่ จะอยู่ในศาสนานี้ไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

พวกเธอ จงขจัดสมณะหยากไย่ จง

กวาดสมณะกองขยะ จงลอยสมณะแกลบ

ผู้มิใช่สมณะ แต่สำคัญตัวว่าเป็นสมณะ

เสียจากพระศาสนานั้น ครั้นกำจัดสมณะผู้

มีความปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและ

โคจรลามก จงเป็นอยู่บริสุทธิ์อยู่ร่วมกับผู้

บริสุทธิ์ มีสติจำเพาะหน้า แต่นั้นมีความ

พร้อมเพรียงกัน มีปัญญารักษาตัว จะทำ

ที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ธรรมนี้ ย่อมชื่อว่า ขาดผ้าเก่า เพราะขาดสมณะหยากไย่ ด้วยประการฉะนี้

บทว่า วฏฺฏนฺเตส นตฺถิ ปญฺญาปนาย ความว่า วัฏฏะของภิกษุ

เหล่านั้นถึงความไม่มีบัญญัติหาบัญญัติไม่ได้. พระมหาขีณาสพเห็นปานนั้น

ย่อมเกิดขึ้นในศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วอย่างนี้เท่านั้น. ก็พระ-

ขีณาสพเป็นฉันใด พระอริยบุคคลมีพระอนาคามีเป็นต้นก็เป็นฉันนั้น. บรรดา

พระอริยบุคคลเหล่านั้น พระอริยบุคคล ๒ นี้ คือ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี ย่อม

เป็นผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธัมมานุสารีบุคคลเป็น

ไฉน ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาบัตติผลมีประมาณ

ยิ่ง. ย่อมเจริญอริยมรรคมีปัญญาเป็นเครื่องนำ มีปัญญาเป็นประธาน บุคคลผู้นี้

ท่านเรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เป็น

ธัมมานุสารี ผู้ตั้งอยู่ในผล ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ ก็สัทธานุสารีบุคคล

เป็นไฉน สัทธินทร์ย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

ประมาณยิ่ง เจริญอริยมรรค มีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน

บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า สัทธานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

เป็นสัทธานุสารีบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้น้อมไปด้วยศรัทธา. ด้วยคำว่า เยส

มย สทฺธามตฺต เปมมตฺต นี้ท่านประสงค์เอาเหล่าบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาที่

ไม่มีอริยธรรมอย่างอื่น แต่มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในพระตถาคต

เท่านั้น. จริงอยู่ เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่ออย่างหนึ่ง ความรัก

อย่างหนึ่งในพระทศพล เธอก็เป็นเสมือนความเชื่อนั้น ความรักนั้น จับมือไป

วางไว้ในสวรรค์. นัยว่า ภิกษุเหล่านั้น มีคติที่แน่นอน. ส่วนเหล่าพระเถระ

เก่า ๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้ง

นั้นแล.

จบอรรถกถาอลคัททูปสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

๓. วัมมิกสูตร

[๒๘๙] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพัก

อยู่ที่ป่าอันธวัน. ครั้งนั้นเทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยิ่ง เมื่อราตรีล่วงปฐมยาม

แล้ว ยังป่อันธวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะได้ยืน ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระกุมารกัสสปะว่า ดูก่อนภิกษุ จอมปลวก

นี้พ่นควันในกลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อ

สุเมธะ เจ้าจงเอาศาสตราไปขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึง

เรียนว่า ลิ่มสลักขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลัก

ขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นอึ่ง จึงเรียนว่าอึ่งขอรับ.

พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกอึ่งขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะ

เอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นทาง ๒ แพร่ง จึงเรียนว่าทาง ๒ แพร่งขอรีบ. พราหมณ์

กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงก่นทาง ๒ แพร่งเสีย เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะ

เอาศาตราขุดลงไปได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ.

พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้น เอาศาสตรา

ขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นเต่า จึงเรียนว่า เต่าขอรับ. พราหมณ์

กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเต่าขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตรา

ขุดดูไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงเรียนว่า เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ. พราหมณ์กล่าว

อย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอา

ศาสตราขุดลงไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียนว่าชิ้นเนื้อขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลง

ไปได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจงอยู่

เจ้าอย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมต่อนาค. ดูก่อนภิกษุ ท่านพึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญญา ๑๕ ข้อเหล่านี้แล ท่านพึงจำ

ทรงปัญหาเหล่านั้น ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์. ดูก่อนภิกษุ

ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการ

พยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ นอกจากพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือ

เพราะฟังจากสำนักนี้. เทวดานั่นครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้หายไปในที่นั้นแล.

ทูลถามปัญหา ๑๕ ข้อ

[๒๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปะ เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้เทวดาองค์หนึ่ง มี

วรรณงามยิ่ง ราตรีล่วงปฐมยามไปแล้ว ยังป่าอันธวันทั้งสิ้นให้สว่างแล้วเข้า

ไปหาข้าพระองค์ ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อน

ภิกษุ จอมปลวกนี้พ่นควัน ในเวลากลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์

ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไป

ได้เห็นลิ่มสลัก จึงเรียนว่า ลิ่มสลักขอรับ. พราหมณ์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อ

สุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลักขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็น

อึ่ง จึงเรียนว่า อื่นขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกอึ่ง

ขึ้น เอาศาสตราขุดดู สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นทาง ๒ แห่ง จึงเรียน

ว่า ทาง ๒ แพร่งขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ. เจ้าจงก่นทาง

๒ แพร่งเสีย เอาศาสตราขุดดู สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นหม้อกรองน้ำ

ด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่างขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

เจ้าจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นเอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็น

เต่า จึงเรียนว่า เต่าขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยก

เต่าขึ้น เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้อจึงเรียน

ว่า เขียงหั่นเนื้อขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียง

หั่นเนื้อขึ้นเอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียน

ว่า ชิ้นเนื้อขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ. เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น

เอาศาสตราขุดดู. สุเมธะเอาศาสตราขุดลงไปได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ.

พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจงอยู่เถิด เจ้าจงอย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำ

ความนอบน้อมต่อนาค. ดูก่อนภิกษุ ท่านพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูล

ถาม ปัญหา ๑๕ ข้อเหล่านี้เเล ท่านพึงจำทรงปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์. ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและ

มนุษย์ ที่ยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ นอกจากพระตถาคต

หรือสาวกของพระตถาคต หรือเพราะฟังจากสำนักนี้. เทวดานั้นครั้น กล่าวคำนี้

แล้วได้หายไปในที่นั้นแล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลชื่อว่าจอมปลวก อย่างไรชื่อว่า

พ่นควันในกลางคืน อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน อะไรชื่อว่าพราหมณ์

อะไรชื่อว่าสุเมธะ อะไรชื่อว่าศาสตรา อย่างไรชื่อว่าการขุด อะไรชื่อว่าลิ่มสลัก

อะไรชื่อว่าอึ่ง อะไรชื่อว่าทาง ๒ แพร่ง อะไรชื่อว่าหม้อกรองน้ำด่าง อะไร

ชื่อว่าเต่า อะไรชื่อว่าเขียงหั่นเนื้อ อะไรชื่อว่าชิ้นเนื้อ อะไรชื่อว่านาค ดังนี้.

ทรงพยากรณ์ปัญหา ๑๕ ข้อ

[๒๙๑] ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าจอม

ปลวกนั่นเป็นชื่อของกายนี้ อันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ซึ่งมีมารดาบิดา

เป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องอบรม ต้องนวด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา. ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่า

พ่นควันในกลางคืนนั้น ดูก่อนภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลขมักเขม้นการงานใน

กลางวัน แล้วตรึกถึงตรองถึงในกลางคืน นี้ชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน. ปัญหา

ข้อว่า อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวันนั้น ดูก่อนภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลตรึก

ถึงตรองถึง (การงาน) ในกลางคืน แล้วย่อมประกอบการงานในกลางวัน

ด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน. ดูก่อนภิกษุ คำว่าพราหมณ์

นั้น เป็นชื่อของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำว่าสุเมธะนั้น เป็น

ชื่อของเสขภิกษุ. คำว่าศาตรานั้นเป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ. คำว่าจงขุดนั้น

เป็นชื่อของการปรารภความเพียร. คำว่าลิ่มสลักนั้น เป็นชื่อของอวิชชา. คำนั้นมี

อธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาสตรา ยกลิ่มสลักขึ้น คือ

จงละอวิชชาเสีย จงขุดมันขึ้นเสีย. คำว่าอึ่งนั้นเป็นชื่อแห่งความคับแค้น ด้วย

อำนาจความโกรธ. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดัง

ศาสตรา ยกอึ่งขึ้นเสีย คือจงละความคับแค้นด้วยอำนาจความโกรธเสีย จงขุด

มันเสีย. คำว่าทาง ๒ แพร่งนั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า

พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาสตรา ก่นทาง ๒ แพร่งเสีย คือจงละวิจิกิจฉา

เสีย จงขุดมันเสีย. คำว่าหม้อกรองน้ำด่างนั้น เป็นชื่อของนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันท-

นิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์.

คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาสตรา ยกหม้อ

กรองน้ำด่างขึ้นเสีย คือจงละนิวรณ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย. คำว่าเต่านั้น เป็น

ชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์

สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ

เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาสตรา ยกเต่าขึ้นเสียคือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ เสีย

จงขุดขึ้นเสีย. คำว่าเขียงหั่นเนื้อนั้น เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คือ รูปอันจะพึงรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสต. . . กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยฆานะ. . .รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา...โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง

แห่งความกำหนัด. คำนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดัง

ศาสตรา ยกเขียงหั่นเนื้อเสีย คือ จงละกามคุณ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย. คำว่า

ชิ้นเนื้อนั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจง

ใช้ปัญญาเพียงดังศาสตรา ยกชิ้นเนื้อขึ้นเสีย คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นเสีย.

คำว่านาคนั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้ขีณาสพ. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า นาคจงหยุด

อยู่เถิด เจ้าอย่าเบียดเบียนนาค จงทำความนอบน้อมต่อนาคดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะ

มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้แล.

จบ วัมมิกสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

อรรถกถาวัมมิกสูตร

วัมมิกสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในวัมมิกสูตรนั้น คำว่า อายสฺมา นี้เป็นคำกล่าว

แสดงถึงความน่ารัก. คำว่า กุมารกสฺสโป เป็นชื่อของท่าน. แต่เพราะท่าน

บวชในเวลายังเด็ก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จงเรียกกัสสปมา จงให้

ผลไม้ หรือของเคี้ยวนี้แก่กัสสป เพราะภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า กัสสป องค์ไหน

จึงขนานนามท่านอย่างนี้ว่า กุมารกัสสป ตั้งแต่นั้นมา ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่า

ก็ยังเรียกว่า กุมารกัสสปอยู่นั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง คนทั้งหลายจำหมายท่านว่า

กุมารกัสสป เพราะเป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา. จะกล่าวให้แจ่มแจ้งตั้งแต่

บุพพประโยคของท่าน ดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา พระเถระเป็นบุตรเศรษฐี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ. ต่อมาวันหนึ่ง พระเถระเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาสาวก

ของพระองค์รูปหนึ่ง ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรไว้ในฐานันดร ถวายทาน ๗ วัน

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำความปรารถนาว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้า-

พระองค์ ก็พึงเป็นสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตรเหมือนพระเถระรูปนี้ ของ

พระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งในอนาคตกาล ดังนี้แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย

บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่ากัสสป ไม่อาจทำคุณวิเศษ

ให้บังเกิดได้. ได้ยินว่า ครั้งนั้นเมื่อพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ปรินิพพานแล้วเสื่อมลง ภิกษุ ๕ รูปผูกบันไดขึ้นภูเขา กระทำสมณธรรม.

พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตต์วันที่ ๓. พระอนุเถระเป็นพระอนาคามี

วันที่ ๔. ฝ่ายพระเถระอีก ๓ รูปไม่อาจทำคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ไปบังเกิด

ในเทวโลก. เมื่อเทพเหล่านั้นเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ตลอดพุทธันดร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

หนึ่ง องค์หนึ่งก็ไปเกิดในราชตระกูล กรุงตักกสิลา เป็นพระราชา

พระนามว่า ปุกกุสาติ บวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่กรุงราชคฤห์ ฟัง

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โรงช่างหม้อ บรรลุอนาคามิผล.

องค์หนึ่ง บังเกิดในเรือนสกุลใกล้ท่าเรือแห่งสุปารกะแห่งหนึ่ง ขึ้นเรือ เรือ

อัปปาง นุ่งท่อนไม้แทนผ้า ถึงลาภสมบัติเกิดความคิดขึ้นว่า ข้าเป็นพระอรหันต์

ถูกเทวดาผู้หวังดีตักเตือนว่า ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ดอก ไปทูลถามปัญหากะ

พระศาสดาเถิด ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น บรรลุอรหัตตผล. องค์หนึ่งเกิดในท้อง

ของหญิงผู้มีสกุลคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์. นางได้อ้อนวอนมารดาบิดา เมื่อ

ไม่ได้บรรพชาก็แต่งงาน ไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ อ้อนวอนสามี สามีอนุญาตก็บวช

ในสำนักภิกษุณี. ภิกษุณีทั้งหลายเห็นนางตั้งครรภ์จึงถามพระเทวทัต. พระ-

เทวทัตตอบว่า นางไม่เป็นสมณะแล้ว. เหล่าภิกษุณีจึงไปทูลถามพระทศพล.

พระศาสดาโปรดให้พระอุบาลีรับเรื่องไว้พิจารณา พระเถระให้เชิญสกุลชาว

พระนครสาวัตถีและนางวิสาขาอุบาสิกา ให้ช่วยกันชำระ (ได้ข้อเท็จจริงแล้ว)

จึงกล่ววว่า นางมีครรภ์มาก่อน บรรพชาจึงไม่เสีย. พระศาสดาประทานสาธุการ

แก่พระเถระว่า อุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตรมีประพิม

ประพายดังเเท่งทอง. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรับเด็กนั้นมาชุบเลี้ยง. ประทาน

นามเด็กนั้นว่า กัสสป ต่อมาทรงเลี้ยงเจริญวัยแล้ว นำไปยังสำนักพระศาสดา

ให้บรรพชา. ดังนั้น คนทั้งหลายจึงหมายชื่อเด็กนั้นว่า กุมารกัสสป เพราะ

เป็นบุตรเลี้ยงของพระราชา แล.

บทว่า อนฺธวเน ได้แก่ ป่ามีชื่ออย่างนี้. เขาว่า ป่านั้น มีชื่อ

อย่างนี้ในครั้งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ปรากฏชื่อว่า อันธวัน นั่นแล. ในป่า

อันธวันนั้นจะกระทำเรื่องราวให้แจ่มแจ้งดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

จริงอยู่ สรีรธาตุของพระพุทธเจ้าผู้มีชนมายุน้อย ไม่เป็นแท่งเดียวกัน

ย่อมกระจัดกระจายไปด้วยอานุภาพแห่งการอธิษฐาน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงอธิษฐานว่า เราดำรงอยู่ได้ไม่ยั่งยืน เหล่า

สัตว์เป็นจำนวนน้อยเห็นเรา ที่ไม่เห็นเราจำนวนมากกว่า สัตว์เหล่านั้นถือเอา

ธาตุของเราบูชาอยู่ในที่นั้น จักมีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น คราว

ปรินิพพาน ขอสรีรธาตุของเราจงกระจัดกระจายไป. ส่วนพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-

ชนมายุยืน พระสรีรธาตุตั้งอยู่เป็นแห่งเดียวกัน เหมือนแท่งทองคำ. พระสรีร-

ธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระนามว่ากัสสปะ ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน.

แต่นั้น มหาชนก็ประชุมปรึกษากันว่า เราไม่อาจจะแยกพระธาตุที่เป็นแท่งเดียว

กันได้ พวกเราจะทำอย่างไร จึงตกลงกันว่า เราจักทำพระธาตุแท่งเดียวนั้นแล

ให้เป็นพระเจดีย์ จะมีขนาดเท่าไหร่. พวกหนึ่งบอกว่า เอา ๗ โยชน์ แต่ตกลง

กันว่า นั่นใหญ่เกินไป ใคร ๆไม่อาจจะบำรุงได้ในอนาคตกาล เอา ๖ โยชน์ ๕

โยชน์ ๔ โยชน์ ๓ โยชน์ ๒ โยชน์ ๑ โยชน์ ปรึกษากันว่า จะใช้อิฐเช่นไร ตก

ลงกันว่า ภายนอกเป็นอิฐแท่งเดียวทำด้วยทองสีแดงมีค่า ๑๐๐๐๐๐, ภายใน มีค่า

๕๐,๐๐๐ ฉาบด้วยหรดาล และมโนสิลาแทนดิน ชะโลมด้วยน้ำมันแทนน้ำ แยก

มุขทั้ง ๔ ออกด้านละ ๔. พระราชาทรงรับมุขหนึ่ง ปฐวินธรกุมานราชบุตรรับ

มุขหนึ่ง เสนาบดีหัวหน้าอำมาตย์รับมุขหนึ่ง เศรษฐีหัวหน้าชาวชนบทรับมุข

หนึ่ง. บรรดาชนเหล่านั้น เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์ แม้พระราชาให้ขน

ทองมา ทรงเริ่มงานที่มุขที่พระองค์รับไว้ ทั้งอุปราชทั้งเสนาบดีก็เหมือนกัน.

ส่วนงานที่มุขที่เศรษฐีรับไว้หย่อนไป. ครั้นนั้นอุบาสกคนหนึ่ง ชื่อยโสธร เป็น

อริยสาวกชั้นอนาคามีทรงพระไตรปิฏก รู้ว่า เศรษฐีนั้นทำงานหย่อนไป จึง

ให้เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่มไปในชนบทชักชวนคนทั้งหลายว่า พระกัสสปสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ทรงพระชนม์ ๒๐,๐๐๐ ปี ปรินิพพานนานแล้ว พวกเราจักทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

รัตนเจดีย์โยชน์หนึ่งของพระองค์ ผู้ใดจะสามารถจะให้สิ่งใด จะเป็นทองหรือ

เงิน แก้ว ๗ ประการ หรดาล หรือมโนสิลา ก็ตามที ผู้นั้นจงให้สิ่งนั้น. ชน

ทั้งหลายได้ให้เงินและทองเป็นต้น ตามกำลังของตน ๆ เมื่อไม่สามารถจะให้

ก็ให้น้ำมันและข้าวสารเป็นต้นเท่านั้น. อุบาสกส่งน้ำมันและข้าวสารเป็นต้น

เพื่อเป็นอาหารประจำวัน แก่กรรมกรทั้งหลาย ที่เหลือจงใจจะให้ทองส่งไป

ได้ป่าวร้องไปทั่วชมพูทวีปด้วยอาการอย่างนี้. งานที่พระเจดีย์เสร็จแล้ว เพราะ

ฉะนั้น พวกเขาส่งหนังสือไปจากเจดีย์สถานว่า การงานเสร็จแล้ว ขออาจารย์

จงมาไหว้พระเจดีย์. แม้อาจารย์ก็ส่งหนังสือไปว่า เราชักชวนชมพูทวีปทั่วแล้ว

สิ่งใดที่มีอยู่ จงถือเอาสิ่งนั้นทำการงานให้สำเร็จ. หนังสือ ๒ ฉบับมาประจวบกัน

ระหว่างทาง แต่หนังสือจากเจดีย์สถานมาถึงมือของอาจารย์ก่อนหนังสือของ

อาจารย์. อาจารย์นั้นอ่านหนังสือแล้วก็คิดว่า จักไหว้พระเจดีย์ ก็ออกไปตาม

ลำพัง. ระหว่างทางโจร ๕๐๐ ก็ปรากฏขึ้นที่ดง. บรรดาโจรเหล่านั้นบางพวก

เห็นอาจารย์นั้น คิดว่า คนผู้นี้รวบรวมเงินและทองจากชมพูทวีปทั้งสิ้น คน

ทั้งหลาย ผู้รักษาขุมทรัพย์คงมากันแล้ว จึงบอกแก่โจรที่เหลือแล้ว จับอาจารย์

นั้น. อาจารย์ถามว่า พ่อเอ๋ย เหตุไรพวกเจ้าจึงจับเรา. พวกโจรตอบว่า ท่าน

รวบรวมเงินและทองทั้งหมดจากชมพูทวีป ท่านจงให้ทรัพย์เล็ก ๆ น้อย ๆ แก่

พวกเราเถอะ. อาจารย์ถามว่า พวกเจ้าไม่รู้หรอกหรือว่า พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว พวกเรากำลังสร้างพระรัตนเจดีย์โยชน์หนึ่งสำหรับ

พระองค์ ก็ข้าชักชวนเขาเพื่อประโยชน์นั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ ของตน ฉะนั้น

จำส่งของที่เก็บไว้ๆ แล้วไปในที่นั้นแหละ ส่วนผ้านอกจากที่นุ่งมา ก็ไม่มีอะไร

อย่างอื่นแม้แต่กากณึกหนึ่ง. โจรพวกหนึ่งกล่าวว่า ข้อนั้นจริงอย่างนั้น ก็จง

ปล่อยอาจารย์ไปเสีย. โจรพวกหนึ่งกล่าวว่า อาจารย์ผู้นี้ พระราชาก็บูชา

อำมาตย์ก็บูชา เห็นบางคนในพวกเราที่ถนนพระนคร พึงบอกพระราชา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น จะทำให้พวกเราถึงความย่อยยับได้.

อุบาสกกล่าวว่า พ่อเอ๋ย ข้าจักไม่ทำอย่างนั้นแน่ ก็ข้อนั้นแล มีด้วยความกรุณา

ในโจรเหล่านั้น ไม่ใช่มีด้วยความรักในชีวิตของตน. เมื่อเป็นเช่นนั้น บรรดา

โจรเหล่านั้นซึ่งกำลังทุ่มเถียงกันว่า ควรจับไว้ ควรปล่อยไป พวกโจรเหล่าที่มี

ความเห็นว่าควรจับ มีจำนวนมากกว่า ก็ฆ่าอาจารย์นั้นเสีย. ดวงตาของโจร

เหล่านั้น ก็อันตรธานไปเหมือนประทีปด้ามที่ดับ เพราะผิดในพระอริยสาวกผู้มี

พลังคุณ. โจรเหล่านั้นรำพันว่า ดวงตาอยู่ไหน ดวงตาอยู่ไหน บางพวกญาติ

ก็นำกลับบ้าน บางพวกไม่มีญาติ ก็กลายเป็นเป็นคนอนาถา เพราะฉะนั้นจึง

อาศัยอยู่ที่บรรณศาลาที่โคนไม้ในดงนั้นเอง. เหล่ามนุษย์ที่มาในดง ก็ให้ข้าว

สารบ้าง ห่อข้าวบ้าง เสบียงบ้าง แก่โจรเหล่านั้นด้วยความความกรุณา.

เหล่ามนุษย์ที่ไปแสวงหาไม้และใบไม้เป็นต้นกลับมากันแล้ว เมื่อถูกถามว่า

พวกท่านไปไหนกัน ตอบว่าพวกเราไปป่าคนตาบอด. ป่านั้นปรากฏชื่อว่า

อันธวัน ครั้งพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ด้วยประการฉะนี้.

ก็ป่านั้นครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ได้กลายเป็นดง ใน

ชนบทที่ร้างไป. แต่ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ได้กลายเป็นเรือนสำหรับ

ทำความเพียร เป็นสถานที่อยู่ของเหล่ากุลบุตรผู้ต้องการความสงัด อยู่หลัง

พระเชตวันไม่ไกลกรุงสาวัตถี. สมัยนั้นท่านกุมารกัสสปก็บำเพ็ญเสกขปฎิปทา

อยู่ที่อันธวันนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าวว่า อนฺธวเน วิหรติ.

บทว่า อญฺตรา เทวตา ความว่า เทวดาองค์หนึ่งไม่ปรากฏนาม

และโคตร. แม้ท้าวสักกเทวราชที่รู้กันชัดแจ้ง ท่านก็ยังเรียกว่า อญฺตโร

ในบาลีนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบหรือไม่ว่า

พระองค์ได้ตรัส ตัณหาสังขยวิมุตติ โดยสังเขปแก่ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่องค์หนึ่ง.

แม้คำว่า เทวตา นี้เป็นคำเรียกทั่วไป แม้สำหรับเทวดาทั้งหลาย. แต่ในที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

นี้ท่านประสงค์เอาเทพในคำว่า เทวตา นั้น. อภิกกันตศัพท์ ในคำว่า

อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ปรากฏในอรรถทั้งหลายมี สิ้นไป งาม สวย และความ

ยินดียิ่งยวดเป็นต้น. ในอรรถเหล่านั้น อภิกกันตศัพท์ปรากฎในอรรถว่าสิ้นไป

ได้ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามล่วงไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่ง

คอยนานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงปาฎิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย

เถิด พระเจ้าข้า. ปรากฏในอรรถว่า งาม ได้ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ผู้นี้งาม

กว่า ประณีตกว่า บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้. ปรากฏในอรรถว่า สวย ได้ในคำ

เป็นต้นอย่างนี้ว่า

ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ยศ มีวรรณ

สวยงาม ทำทิศทั้งปวงให้สว่างมาไหว้เท้า

ทั้ง ๒ ของเรา.

ปรากฏในอรรถว่า ยินดีอย่างยิ่งยวด ได้ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ

น่ายินดีจริงๆ. แต่ในที่นี้อภิกกันตศัพท์ปรากฎในอรรถว่า สิ้นไป. เพราะเหตุ

นั้น บทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ท่านจึงอธิบายว่า เมื่อราตรีสิ้นไปเเล้ว.

ในข้อนั้นพึงทราบว่า เทพบุตรนี้มาในระหว่างมัชฌิมยาน.

อภิกกันตศัพท์ ในบทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ปรากฎในอรรถว่า สวย

ส่วนวัณณศัพท์ปรากฏในอรรถมีอาทิว่า ผิว น่าชมเชย พวกตระกูล เหตุ ทรวด

ทรง ประมาณและรูปายตนะ. ในอรรถเหล่านั้น อภิกกัตนศัพท์ปรากฎในอรรถ

ว่า ผิว ได้ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มีวรรณ

ดังทองคำ. ปรากฏในอรรถว่า น่าชมเชย ได้ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

คฤหบดี ในกาลไหนวรรณะของพระสมณโคดมอันท่านควรชมเชย. ปรากฏใน

อรรถว่า พวกตระกูล ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ตระกูล ๔

เหล่านี้. ปรากฏในอรรถว่า เหตุ ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้

เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านจึงกล่าวว่าขะโมยกลิ่น. ปรากฎในอรรถว่า ทรวด

ทรง ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า นิรมิตทรวดทรงพญาช้างใหญ่. ปรากฏในอรรถ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ว่าประมาณ ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า บาตร ๓ ขนาด. ปรากฏในรูปายตนะ ได้

ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า รูปายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะ.

อภิกกันตศัพท์นั้น พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า ผิวในที่นี้. ด้วยเหตุนั้น บทว่า

อภิกฺกนฺตวณฺณา ท่านอธิบายไว้ว่า มีผิวสวย มีผิวน่าปรารถนาน่าชอบใจ.

จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่มนุษยโลกละผิวอย่างปกติฤทธิ์ปกติ ทำ

อัตภาพให้หยาบ เนรมิตผิวเกินปกติ ฤทธิ์เกินปกติ มาด้วยกายที่ปรุงแต่ง

แล้ว เหมือนมนุษย์ไปสู่ที่ชุมนุมฟ้อนรำเป็นต้น. เทพบุตรแม้นี้ ก็มาโดย

อาการอย่างนั่นนั้นแล. เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา.

เกวลศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺป นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นไม่มี

ส่วนเหลือ โดยมาก ไม่ผสม ไม่เกิน แน่นหนา ไม่ประกอบเป็นต้น. จริงอย่างนั้น

เกวลศัพท์นั้น มีอรรถว่าไม่เหลือ ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ โดยไม่เหลือ. มีอรรถว่า โดยมาก ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โดย

มาก ชาวอังคะ และมคธ ถือของเคี้ยว ของกินเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้า.

มีอรรถว่าไม่ผสม ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า กองทุกข์ล้วน ๆ ย่อมเกิดขึ้น. มี

อรรถว่าไม่เกิน ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มีศรัทธาเพียงอย่างเดียวแน่แท้ ท่าน

ผู้นี้. มีอรรถว่า แน่นหนา ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สัทธิวิหาริกของท่านพระ

อนุรุทธ ชื่อว่า พาหิกะ ตั้งอยู่ในสังฆเภทตลอดวันแน่แท้. มีอรรถว่า ไม่

ประกอบ ได้ในคำมีอาทิว่า ผู้อยู่ อยู่จบพรหมจรรย์เสร็จแล้ว ท่านเรียกว่า

บุรุษสูงสุด. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาว่า มีอรรถว่า ไม่เหลือ. ส่วน กัปปะ

ศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่น เชื่ออย่างยิ่ง-โวหาร-กาล-บัญญัติ-ตัด-วิ-

กัปป์-เลสโดยรอบ. จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์นั้น มีอรรถว่าน่าเชื่ออย่างยิ่ง

ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า คำนี้ของท่านพระโคดมผู้เป็นเสมือนพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธ น่าเชื่อจริง. มีอรรถว่า โวหาร ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ โดยสมณโวหาร ๕ อย่าง. มีอรรถว่า กาละ

ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ด้วยเหตุที่เราอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มีอรรถว่า

บัญญัติได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านบัญญัติดังนี้. มีอรรถว่า ตัดได้ในคำมี

อาทิอย่างนี้ แต่งตัว ตัดผม และหนวด. มีอรรถว่า วิกัปป์ ได้ในคำมีอาทิ

อย่างนี้ว่า วิกัปป์ ๒ องคุลีควร. มีอรรถเลิศ ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า มีเลิศ

เพึ่อจะนอน. มีอรรถว่า โดยรอบ ได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ทำให้สว่างโดย

รอบพระเชตวัน. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากัปปศัพท์นั้นว่า มีอรรถะว่า

โดยรอบ. เพราะฉะนั้น ในคาว่า เกวลกปฺป อนฺธวน นี้ พึงเห็นเนื้อความ

อย่างนี้ว่า โดยรอบอันธวัน ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า โอภาเสตฺวา ความว่า

แผ่ไปด้วยรัศมีที่เกิดขึ้นจากสรีระอันประดับด้วยผ้าทำให้มีโอภาสเป็นอันเดียวกัน

เหมือนดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. บทว่า เอกมนฺต อฏฺาสิ ได้แก่ ยืน

ณ ส่วนข้างหนึ่ง คือในโอกาสหนึ่ง. บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ ตรัสกะภิกษุ

นั่นว่า ภิกษุ ภิกษุ ดังนี้เป็นต้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เทวดานี้ไม่ไหว้ กล่าวโดยสมณโวหารอย่างเดียว.

ตอบว่า โดยการร้องเรียกด้วยสมณสัญญา. ได้ยินว่า เทพบุตร ได้มีความคิด

อย่างนี้ว่า ผู้นี้ อยู่ในระหว่างกามาวจรภูมิ ส่วนเราเป็นพรหมจารี ตั้งแต่

กาลนั้นในเวลานั้น. แม้สมณสัญญาของเทพบุตรนั้น ยังปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น

เทพบุตรนั้นจึงไม่ไหว้ กล่าวโดยสมณโวหารอย่างเดียว. ถามว่า ได้ยินว่า

เทพบุตรนั้น เป็นบุรพสหายของพระเถระ ตั้งแต่ครั้งไหน. ตอบว่า ตั้งแต่

กาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ. จริงอยู่ บรรดาสหายทั้ง ๕ ที่

มาในครั้งก่อน สหายนั้นใด ที่ท่านกล่าวว่า พระอนุเถระ ได้เป็นพระอนาคา

มี ในวันที่ ๔ สหายนั้นก็คือ ผู้นี้. ได้ยินว่า ครั้งนั้นบรรดาพระเถระเหล่านั้น

อภิญญา กับพระอรหัตต์นั้นแลมาถึงแก่สังฆเถระ. พระสังฆเถระนั้นคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

กิจของเราถึงที่สุดแล้ว จึงเหาะสู่นภากาศ บ้วนปากที่สระอโนดาด รับบิณฑ-

บาตจากอุตตรกุรุทวีป กลับมาแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ จงฉันบิณฑบาตนี้

อย่าประมาท กระทำสมณธรรม. เหล่าภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกเราไม่มี

กติกาอย่างนี้ว่า ผู้ใดบังเกิดคุณวิเศษก่อนก็นำบิณฑบาตมา พวกที่เหลือ ฉัน-

บิณฑบาตที่ผู้นั้นนำมากระทำสมณธรรม พวกท่านบรรลุที่สุดกิจด้วยอุปนิสสัย

ของตน ถ้าว่าพวกเราจักมีอุปนิสสัยก็จักบรรลุที่สุดกิจ นั่นเป็นความชักช้าของ

พวกเราเอง พวกท่านจงไปเถิด. สังฆเถระนั้นไปตามความผาสุก ปรินิพพาน

เมื่อสิ้นอายุ. วันรุ่งขึ้น พระอนุเถระกระทำให้แจ้งพระอนาคามิผล อภิญญา

ทั้งหลายก็มาถึงท่าน. แม้ท่านก็นำบิณฑบาตมาเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน

ถูกภิกษุเหล่านั้นปฏิเสธ ก็ไปตามความผาสุก เมื่อสิ้นอายุก็บังเกิดในชั้นสุทธาวาส.

พระอนุเถระนั้นครั้นดำรงอยู่ในชั้นสุทธาวาสแล้ว ตรวจดูสหายเหล่านั้น ก็เห็นว่า

สหายผู้หนึ่งปรินิพพานในครั้งนั้นแล ผู้หนึ่งบรรลุอริยภูมิในสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โดยไม่นาน ผู้หนึ่งอาศัยลาภสักการะเกิดความคิดขึ้นว่า เราเป็น

พระอรหันต์ อยู่ที่ท่าเรือชื่อสุปปารกะนั่นแล แล้วเข้าไปหาเขา สั่งเขาไปด้วย

กล่าวว่า ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ยังปฏิบัติไม่ถึงพระอรหัตตมรรค จงไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังธรรมเสีย. แม้สหายผู้นั้นทูลขอโอวาทกะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในละแวกบ้าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทโดยสังเขปว่า พาหิยะ

เพราะฉะนั้นแล เธอพึงศึกษาในสิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จงเป็นสักแต่ว่าเห็นก็บรรลุ

อริยภูมิ. สหายผู้หนึ่งนอกจากนั้นมีอยู่ เขาตรวจดูว่า อยู่ที่ไหน ก็เห็นว่ากำลัง

บำเพ็ญเสกขปฏิปทาอยู่ในอันธวัน จึงคิดว่า เราจักไปยังสำนักของสหาย แต่เมื่อ

ไปไม่ไปมือเปล่า ควรจะถือเครื่องบรรณาการบางอย่างไปด้วย แต่สหายของเรา

ไม่มีอามิสอยู่บนยอดเขา แต่สหายนั้นจักไม่ฉันแม้บิณฑบาต ที่เรายืนอยู่บน

อากาศถวาย ได้กระทำสมณธรรม บัดนี้ท่านจักรับอามิสบรรณาการหรือจำเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

จักถือธรรมบรรณาการไป แล้วดำรงในพรหมโลกนั่นแล จำแนกปัญหา ๑๕ ข้อ

เหมือนร้อยรัตนวลีพวงแก้วถือธรรมบรรณาการนั้นมา ยืนอยู่ในที่ไม่ไกลสหาย

ไม่อภิวาทพระเถระนั้นโดยกล่าวด้วยสมณสัญญาเรียกว่า ภิกษุ ภิกษุ จึงกล่าวว่า

อย วมฺมิโก เป็นต้น. ในคำนั้นพึงทราบคำที่ท่านกล่าวซ้ำว่า ภิกษุ ภิกษุ

โดยเรียกเร็ว ๆ. หน้าผากย่อมไม่งามด้วยการเจิมจุดเดียวเท่านั้น ต่อเมื่อเจิมจุด

อื่น ๆ ล้อมจุดนั้น จึงจะงามเหมือนประดับด้วยดอกไม้ที่บานฉันใด ถ้อยคำ

จะไม่งามด้วยบท ๆ เดียวเท่านั้น ต่อประกอบด้วยบทแวดล้อมจึงจะงามเหมือน

ตกแต่งด้วยดอกไม้ที่บานฉะนั้น เพราะฉะนั้น เทพบุตรผู้นั้น กระทำถ้อยคำ

โดยบทแวดล้อมนั้นกระทำให้เหมือนตกแต่งดอกไม้ที่บานจึงกล่าวอย่างนี้.

ขึ้นชื่อว่า จอมปลวก ที่ตั้งอยู่ตรงหน้าไม่มี แต่เทพบุตรเหมือนจะ

แสดงจอมปลวกที่ตั้งอยู่ตรงหน้า ด้วยอำนาจเทศนาวิธี จึงกล่าวว่า อย ในบทว่า

อย วมฺมิโก. บทว่า ลงฺคึ ความว่า ถือศัสตราขุดพบกลอนเหล็ก. บทว่า

อุกฺขิป ลงฺคึ อภิกฺขน สุเมธ ได้แก่ พ่อบัณฑิต ชื่อว่า กลอนเหล็ก

กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นไฟ เมื่อยกกลอนเหล็กขึ้นขุดต่อ พึงเห็นความ

ในบททั้งปวงอย่างที่กล่าวมานี้. บทว่า อุทฺธูมายิก ได้แก่ อึ่ง. บทว่า ปงฺกวาร

ได้แก่ หม้อกรองน้ำด่าง. บทว่า กุมฺม ได้แก่ เต่า. บทว่า อสิสูน ได้แก่

เขียงหั่นเนื้อ. บทว่า มสเปสึ ได้แก่ ชิ้นเนื้อสดขนาดลูกหินบด. บทว่า

นาค ได้แก่ ได้เห็นพญานาคแวดล้อมด้วยดอกจันทร์ ๓ ดอก มีพังพานใหญ่

เช่นกับกำดอกมะลิ. บทว่า มา นาค ฆฏฺเฏสิ ได้แก่ อย่าใช้ปลายไม้

ปลายเถาวัลย์ หรือโปรยฝุ่นลงไปกระทบกระทั่งนาค. บทว่า นโม กโรหิ

นาคสฺส ความว่า จงหลีกไปเหนือลม นุ่งผ้าสะอาดกระทำการนอบน้อม

พญานาค ขึ้นชื่อว่า ทรัพย์ที่พญานาคปกครอง กิน ๗ ชั่วตระกูลก็ไม่หมด

พญานาคจักให้ทรัพย์ที่ตนปกครองแก่เธอ เพราะฉะนั้น เธอจงกระทำความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

นอบน้อมแก่พญานาค. บทว่า อิโต วา ปน สุตฺวา ความว่า หมดความ

สงสัยในกองทุกข์จากสำนักเรานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมดความสงสัยใน

ศาสนาอย่างใด ในที่นี้หาเป็นอย่างนั้นไม่ แต่ในที่นี้หมดความสงสัยในเพราะ

เทพบุตร เพราะฉะนั้นในข้อนี้ จึงมีใจความดังนี้ว่า บทว่า อิโต วา ปน

ได้แก่ ก็หรือว่า เพราะฟังจากสำนักของเรา.

บทว่า จาตุมฺมหาภูมิกสฺส ได้แก่ สำเร็จด้วยมหาภูตทั้ง ๔. บทว่า

กายสฺส อธิวจน แปลว่า เป็นชื่อของสรีระ. เหมือนอย่างว่า กายภายนอก

ท่านเรียกว่า วัมมิกะ เพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ จอมปลวกย่อมคาย ๑ ผู้คาย

๑ ผู้ตายร่างที่ประชุมธาตุ ๔ ๑ ผู้คายความสัมพันธ์ด้วยเสน่หา ๑ จริงอยู่

สภาพนั้นย่อมคายสัตว์เล็ก ๆ มีประการต่าง ๆ เช่นงู พังพอน หนู งูเหลือม

เป็นต้น เพราะฉะนั้น กายนั้น ชื่อว่า วัมมิกะ กายอันตัวปลวกคายแล้ว เหตุนั้น

จึงชื่อว่า วัมมิกะ กายอันตัวปลวกก่อขึ้นด้วยผงฝุ่น ที่ตัวคายยกขึ้นด้วยจะงอย

ปากประมาณเพียงสะเอวบ้าง ชั่วบุรุษบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วัมมิกะ กาย

เมื่อฝนตก ๗ สัปดาห์ อันตัวปลวกเกลี่ย เพราะเนื่องด้วยยางน้ำลายที่คายออก

แม้ในฤดูแล้งมันก็คายเอาฝุ่นจากที่นั้น บีบที่นั้นให้เป็นกอง ยางเหนียวก็ออก

แล้วก็ติดกันด้วยยางเหนียวที่คาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า วัมมิกะ ฉันใดนั้นแล แม้

กายนี้ก็ฉันนั้น ชื่อว่า วัมมิกะ เพราะคายของไม่สะอาด ของมีโทษและมลทิน

มีประการต่าง ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า ขี้ตาออกจากลูกตา เป็นต้น และชื่อว่า

วัมมิกะ เพราะอันพระอริยเจ้าคายแล้ว เหตุพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธะ

และพระขีณาสพ ทิ้งอัตภาพไป เพราะหมดความเยื่อใยในอัตตภาพนี้ ชื่อว่า

วัมมิกะ เพราะคายหมดทั้งร่างที่ประชุมธาตุ ๔ เหตุที่พระอริยเจ้าคายร่างทั้งหมด

ที่กระดูก ๓๐๐ ท่อน ยกขึ้นรัดด้วยเอ็น ฉาบด้วยเนื้อ ห่อด้วยหนังสด

ย้อมผิว ลวงสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า วัมมิกะ เพราะผูกด้วยเสน่หา ที่คาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

เสียแล้ว เหตุกายนี้ผูกด้วยใยยางคือตัณหา ที่พระอริยทั้งหลายตายแล้ว

เพราะตัณหาก่อให้เกิดตามพระบาลีอย่างนี้ว่า ตัณหาทำคนให้เกิด จิตของคน

นั้น ย่อมแล่นไป. อนึ่ง สัตว์เล็ก ๆ มีประการต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อม

เกิด ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. นอนป่วย ย่อมตายตกไปในจอมปลวกนั้นนั่นเอง

ดังนั้นจอมปลวกนั้น จึงเป็นเรือนเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็น

สุสานของสัตว์เล็กๆ เหล่านั้นฉันใด กายแม้ของกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น ก็ฉัน

นั้น เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว หนึ่ง เนื้อ เอ็น กระดูก เหยื่อในกระดูก มิได้คิด

ว่า กายนี้ถูกคุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว เป็นกายของผู้มีอานุภาพ

ใหญ่ รวมความว่า หมู่หนอนโดยการนับตระกูลมีประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตระกูล

ย่อมเกิด ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่าย เพราะความป่วยไข้

ตายตกคลักอยู่ในกายนี้เอง เหตุนั้น จึงนับได้ว่าเป็นจอมปลวก เพราะ

เป็นเรือนตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า วัมมิกะนี้เป็น

ชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.

บทว่า มาตาเปติกสมฺภวสฺส ความว่า ที่เกิดจากการรวมตัวของ สุกกา

ซึ่งเกิดจากมารดาบิดา ที่ชื่อว่า มาตาเปติกะ. บทว่า โอทน กมฺมาสูปจยสฺส

ความว่า ก่อเติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า

อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธสนธมฺมสฺส ดังต่อไปนี้ กายนี้ชื่อว่า

มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถาว่า มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่ามีการฉาบ

ทาเป็นธรรมดา เพราะฉาบทาด้วยหนังบางเพื่อประโยชน์แก่การกำจัดกลิ่นเหม็น

ชื่อว่า มีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะมีการนวดฟั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อประ-

โยชน์แก่การบันเทา ความเจ็บป่วยทางอวัยวะน้อยใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยการหยอดยาตาและบีบเป็นต้น เพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

สมบูรณ์แห่งทรวดทรง แห่งอวัยวะเหล่านั้น ที่ตั้งอยู่ไม่ดี โดยให้นอนอยู่บน

ขาให้นอนแต่ในห้องในเวลาเป็นเด็ก อธิบายว่า แม้ถึงจะถูกประคบประหงมอยู่

อย่างนี้ ก็ยังมีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา กายมีสภาพอย่างนี้. ท่าน

กล่าวกายที่ตั้งขึ้นด้วย บทคือ มาตาเปติกสัมภวะ โอทนะ กุมมาสอุปัจยะ

อุจฉาทนะ และปริมัททนะ ในคำนั้น. ท่านกล่าวการดับด้วยบทคือ อนิจจะ

อุจฉาทนะ เภทนะ วิทธังสนะ ภาวะที่สูงต่ำ ความเจริญ ความเสื่อม ความเกิด

และความดับ แห่งกายอันเกิดแต่มหาภูตทั้ง ๔ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ด้วย

บททั้ง ๗ อย่างด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ทิวา กมฺมนฺเต ได้แก่ การงานที่จะพึงทำในกลางวัน.

ธูมศัพท์นี้ในบทว่า ธูมายนา นี้เป็นไปในอรรถเหล่านี้ คือ ความโกรธตัณหา

วิตก กามคุณ ๕ ธรรมเทศนา ควันตามปกติ. จริงอยู่ ธูมศัพท์เป็นไปใน

ความโกรธ ในคำนี้ว่า ความโกรธเป็นดังควันไฟ โทษของโจรกรรมเป็น

ดังเถ้า. เป็นไปในตัณหา ในคำนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีตัณหาดังควันไฟ.

เป็นไปในวิตก ได้ในคำนี้ว่า สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนั่งตรึกดังควันไฟในที่ไม่

ไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า. เป็นไปในกามคุณ ๕ ได้ในคำนี้ว่า

กามเป็นดังเปือกตูม กามเป็นดังทาง

อ้อมและเป็นภัย ภัยนั้น เรากล่าวว่ามีมูล

๓ เราประกาศกิเลสเป็นดังธุลี และเป็นดัง

ควัน ไฟ ดูก่อนท่านท้าวพรหมทัต ขอ

พระองค์โปรดละมันเสียแล้วทรงผนวช.

เป็นไปในธรรมเทศนา ได้ในคำนี้ว่า เป็นผู้กระทำธรรมเป็นดังควัน. เป็นไป

ในควันตามปกติได้ในคำนี้ว่า ธงเป็นเครื่องหมายของรถ ควันเป็นเครื่องหมาย

ของไฟ. แต่ในที่นี้ ธูมศัพท์นี้ ท่านประสงค์เอาว่าเป็นไปในวิตก ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า นี่การหวนควันในกลางคืน. บทว่า ตถาคตสฺ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

เสต อธิวจน ความว่า แท้จริง พระตถาคตชื่อว่า พราหมณ์ เพราะทรงลอย

ธรรมทั้ง ๗ ได้แล้ว. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุชื่อว่า พราหมณ์

เพราะลอยธรรมทั้ง ๗ ได้แล้ว ธรรมทั้ง ๗ คืออะไร คือ ราคะ โทสะ โมหะ

มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลีพพตปรมาส ที่ภิกษุชื่อว่า พราหมณ์

เพราะลอยธรรมทั้ง ๗ เหล่านี้ได้แล้ว. บทว่า สุเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาดี.

ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ชื่อว่าเสกขะ เพราะยังต้องศึกษา. เหมือนที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุยังต้องศึกษา ๆ อยู่เพราะเหตุฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

เสกขะ ศึกษาอะไรเล่า ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิศีลจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญา

บ้าง. บทว่า ปญฺาเยต คือ คำนี้เป็นชื่อของปัญญา ที่เป็นโลกิยะ และ โลกุตตระ

ไม่ใช่เป็นชื่อของอาวุธและศาสตรา. บทว่า วิริยารมฺภสฺส ได้แก่ ความ

เพียรทางกายและทางใจ. ความเพียรนั้น ย่อมเป็นคติแห่งปัญญาทีเดียว ความ

เพียรที่เป็นคติแห่งโลกิยปัญญา จัดเป็นโลกิยะ เป็นคติแห่งโลกุตตรปัญญา

จัดเป็นโลกุตตระ. ในข้อนี้ ขอชี้แจงความดังนี้.

เล่ากันมาว่า พราหมณ์ชาวชนบทคนหนึ่ง ออกจากบ้านแต่เช้าตรู่

พร้อมด้วยเหล่ามาณพ ตอนกลางวันสอนมนต์ในป่า ตอนเย็นก็กลับบ้าน.

ระหว่างทางมีจอมปลวกจอมหนึ่ง จอมปลวกนั้น กลางคืนเป็นควัน กลางวัน

เป็นไฟ พราหมณ์จึงพูดกะสุเมธมาณพศิษย์ว่า พ่อเอ๋ย จอมปลวกนี้ กลางคืน

เป็นควัน กลางวันเป็นไฟ เราจักเห็นความผิดปกติของจอมปลวกนั้น เจ้าจง

ทำลายมันแบ่งเป็น ๔ ส่วน ทิ้งไป. ศิษย์นั้นก็รับคำ จับจอบใช้ ๒ เท้าเหยียบ

เสมอกันยืนหยัดที่พื้นดินแล้วได้กระทำอย่างนั้น. ใน ๒ อาจารย์และศิษย์นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนพราหมณ์ผู้อาจารย์ เสกขภิกษุเปรียบเหมือน

สุเมธมาณพศิษย์ กายเปรียบเหมือนจอมปลวก เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงแบ่งกายที่เกิดแต่มหาภูตรูปทั้ง ๔ ส่วน กำหนดถือเอา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

เป็นอารมณ์ ก็เปรียบเหมือนเวลาที่พราหมณ์ผู้อาจารย์กล่าวว่า พ่อเอย จอม

ปลวกนี้กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็นไฟ เราจักเห็นความผิดปกติของจอม

ปลวกนั้น เจ้าจงทำลายมันแบ่งเป็น ๔ ส่วน แล้วทิ้งไป. พึงทราบกำหนด

กายสำหรับเสกขภิกษุโดยกำหนดธาตุ ๔ เป็นอารมณ์ อย่างนี้ คือ ความที่กาย

เป็นของแข้น ๒๐ ส่วนจัดเป็นปฐวีธาตุ ความที่กายเอิบอาบ ๑๒ ส่วน จัดเป็น

อาโปธาตุ ความที่กายอบอุ่น ๔ ส่วน จัดเป็นเตโชธาตุ ความที่กายเคลื่อนไหว

๖ ส่วน จัดเป็นวาโยธาตุ เปรียบเหมือนสุเมธมาณพศิษย์ รับคำแล้วจับจอบ

แล้วกระทำอย่างนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอวิชชาชื่อว่า

กลอนเหล็กในคำว่า ลงฺคีติ โข ภิกฺขุ. ตอบว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อปิดประตู

พระนคร ใส่ลิ่มสลัก มหาชนก็ขาดการไป เหล่าชนที่อยู่ภายในพระนครก็คงอยู่

ภายในนั่นเอง พวกที่อยู่ภายนอกพระนครก็อยู่ภายนอกฉันใด กลอนเหล็กคือ

อวิชชาดกไปในปากคือ ญาณ ของผู้ใด การไปคือญาณที่ให้ถึงพระนิพพานของ

ผู้นั้นก็ขาด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอวิชชาให้เป็นดังกลอน

เหล็ก ในคำว่า ปชหถ อวิชฺช นี้ท่านกล่าวการละอวิชชาด้วยอำนาจการเรียน

และการสอบถามกัมมัฏฐานะ ในบทว่า อุทฺธูมายิกาติ โข ภิกฺขุ นี้ขึ้นชื่ออึ่งที่

พองขึ้นไม่ใหญ่ประมาณเท่าหลังเล็บอยู่ในระหว่างใบไม้เก่า ๆ ในระหว่างกอไม้

หรือระหว่างเถาวัลย์ มันถูกปลายไม้ปลายเถาวัลย์หรือละอองฝุ่นเสียดสีขยายออก

มีปริมณฑลใหญ่ ขนาดเท่าแว่นมะตูม ๔ เท้าขวักไขว่ในอากาศขาดการไป

(เดินไม่ได้) ตกอยู่ไม่อำนาจของศัตรู เป็นเหยื่อของกาและนกเค้า เป็นต้น

ฉันใด ความโกรธนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดขึ้นคราวแรก ก็เป็นเพียง

ความขุ่นมัวแห่งจิตเท่านั้น ไม่ถูกข่มเสียในขณะนั้นก็ขยายให้ถึงการหน้านิ้วคิ้ว-

ขมวด ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึงคางสั่น ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

การเปล่งวาจาหยาบ ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ก็ให้ถึงการมองไม่เห็นทิศ ไม่

ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการยื้อกันมายื้อกันไป ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้นก็

ให้ถึงการจับมือ ก้อนดิน ท่อนไม้และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึง

การประหารด้วยท่อนไม้ และศาสตรา ไม่ถูกข่มเสียในเวลานั้น ให้ถึงการฆ่า

ผู้อื่นบ้าง ฆ่าตัวเองบ้าง. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความโกรธนี้ ฆ่าผู้อื่น

แล้ว ฆ่าตนเพียงใด ความโกรธเพียงนี้ ก็จะหนาแน่นยิ่งขึ้น กำเริบเสิบสาน

อย่างยิ่ง. ในข้อนั้น เมื่อเท้าทั้ง ๔ ของตัวอึ่ง ขวักไขว่ในอากาศ ก็ขาดการไป

(เดินไม่ได้) ตัวอึ่งก็ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เป็นเหยื่อของสัตว์มีกาเป็นต้น

ฉันใด บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจของความโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่สามารถ

จะกำหนดกัมมัฏฐานให้ขยายไปได้ ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู เป็นผู้อันปวงมาร

พึงทำได้ตามความปรารถนา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ คำว่า อุทฺธูมายิกา นี้เป็นชื่อของความโกรธและความคับแค้นใจ.

ในข้อนั้นความโกรธจัด ชื่อว่าแค้นด้วยอำนาจความโกรธ ท่านกล่าวการละ

ด้วยการพิจารณา ในคำว่า ปชห โกธูปายาส.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เทฺวธาปโถ ดังต่อไปนี้ บุรุษผู้มีทรัพย์-

โภคะ เดินทางไกลอันกันดาร ถึงทาง ๒ แพร่ง ไม่อาจตัดสินใจว่า ควรไป

ทางนี้ หรือไม่ควรไปทางนี้ หยุดอยู่ในที่นั้นนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น เหล่าโจร

ปรากฏตัวขึ้นมาก็จะทำผู้นั้นให้ถึงความย่อยยับฉันใด ภิกษุผู้นั่งกำหนดกัมมัฏฐาน

เบื้องต้น ก็ฉันนั้นนั่นแล เมื่อเกิดความสงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ไม่อาจ

เจริญกัมมัฏฐานได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ปวงมารมีกิเลสมารเป็นต้น ย่อมทำภิกษุ

นั้นให้ถึงความย่อยยับ วิจิกิจฉา จึงเสมอด้วยทาง ๒ แพร่ง ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ทาง ๒ แพร่งนี้

เป็นชื่อของวิจิกิจฉา. ในคำว่า ปชห วิจิกิจฺฉ นี้ ท่านกล่าวการละวิจิกิจฉา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ด้วยการเรียนและการสอบถามกัมมัฏฐาน. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปงฺกวาร

ดังต่อไปนี้ เมื่อช่างย้อมใส่น้ำลงในหม้อกรองน้ำด่าง หม้อน้ำ ๑ หม้อ ๒ หม้อ

บ้าง ๑๐ หม้อบ้าง ๒๐ หม้อบ้าง ๑๐๐ หม้อบ้าง ก็ไหลออก น้ำแม้ฟายมือเดียว

ก็ไม่ขังอยู่ฉันใด กุศลธรรมภายในของบุคคลผู้ประกอบด้วยนีวรณ์ ย่อมไม่

ตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ คำว่า หม้อกรองน้ำด่างนี้ เป็นชื่อของนีวรณ์ทั้ง ๕. ในคำว่า ปชห

ปญฺจ นีวรเณ นี้ ตรัสการละนีวรณ์ด้วยวิกขัมภนปหานและตทังคปหาน.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กุมฺโม ดังต่อไปนี้ เต่ามีอวัยวะ ๕ คือ เท้า ๔

ศีรษะ ๑ ฉันใด สังขตธรรมทั้งหมด เมื่อรวบรัดก็มีขันธ์ ๕ เท่านั้น ฉันนั้น

เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า

เต่านี้เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕. ในคำว่า ปชห ปญฺจูปาทานกฺขนฺเธ นี้

ตรัสการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในขันธ์ ๕. พึงทราบวินิจฉัย ใน

คำว่า อสิสูนา ดังต่อไปนี้ เอาเนื้อวางบนเขียง เอามีดสับ ฉันใด สัตว์

เหล่านี้ เมื่อถูกกามกิเลสกระทบ เพื่อประโยชน์แก่ทำไว้บนวัตถุกาม ถูกกิเลส

กาม ตัด สับ ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

คำว่าเขียงมีด นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้ง ๕. ในคำว่า ปชห ปญฺจ กามคุเณ

นี้ตรัสการละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในกามคุณ ๕ พึงทราบวินิจฉัย

ในคำว่า มสเปสีติ โข ภิกฺขุ ดังต่อไปนี้ ขึ้นชื่อว่าชิ้นเนื้อนี้ คนเป็น

อันมากปรารถนากันแล้ว ทั้งเหล่ามนุษย์ มีกษัตริย์เป็นต้น ทั้งสัตว์ดิรัจฉาน

มีกาเป็นต้น ต่างปรารถนามัน สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยอวิชชา อาศัยความ

กำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ต่างก็ปรารถนาวัฏฏะ ชิ้นเนื้อย่อมติดอยู่

ในที่วางไว้ ๆ ฉันใด สัตว์เหล่านี้ ถูกความกำนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน

ผูกไว้ ก็ติดอยู่ในวัฏฏะ แม้ประสบทุกข์ ก็ไม่เบื่อฉันนั้น ความกำหนัดด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

อำนาจความเพลิดเพลินย่อมเสมือนชิ้นเนื้อด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่าชิ้นเนื้อนี้ เป็นชื่อของความ

กำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน. ในคำว่า ปชห นนฺทิราค นี้ ตรัสการ

ละความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ด้วยมรรคที่ ๔.

ในคำว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า นาคนี้เป็นชื่อของพระขีณาสพนี้ พระ-

ขีณาสพท่านเรียกว่านาค ด้วยอรรถใด อรรถนั้นท่านประกาศไว้แล้วใน

อนังคณสูตร. ในคำว่า นโม กโรหิ นาคสฺส นี้มีเนื้อความดังนี้คือ ท่าน

จงกระทำการนอบน้อมพระพุทธนาคผู้พระขีณาสพว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ตรัสรู้แล้ว ย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง

ฝึกแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสงบแล้ว

ทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงข้ามแล้ว แสดง

ธรรมเพื่อข้าม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นดับสนิทแล้ว แสดงธรรมเพื่อ

ดับสนิท. พระสูตรนี้ได้เป็นกัมมัฏฐานของพระเถระด้วยประการฉะนี้ ฝ่าย

พระเถระ ทำพระสูตรนี้แล ให้เป็นกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระ-

อรหัตต์. บทว่า อยเมว ตสฺส อตฺโถ ความว่า นี้เป็นใจความของปัญหา

นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนทรงถือเอายอดมณีในกองรัตนะ ทรงจบเทศนา

ตามลำดับ อนุสนธิด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาวัมมิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

๔. รถวินีตสูตร

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่

พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้นภิกษุชาวชาติภูมิจำนวน

มาก จำพรรษาแล้วในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาท

แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ชาติภูมิ ภิกษุรูปไหนหนอ ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิยกย่อง

อย่างนี้ว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภ

ความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว

ยังกล่าวความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่

ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ

วิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้สอน แนะให้เข้าใจชี้ชวน

พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง.

ภิกษุชาวชาติภูมิเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใน

ชาติภูมิ ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาว

ชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุก

คลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล. สมาธิ ปัญญา วิมุตติและ

วิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวเรื่องความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด

เงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็น

ผู้สอน แนะให้เข้าใจ ชี้ชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง.

[๒๙๓] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรีนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ณ

ที่ใกล้จึงดำริว่า เป็นลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่าน

ปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน กล่าว

ยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุ-

โมทนาการกระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนา

ปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง.

[๒๙๔ ] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่สำราญพระอัธยาศัย

ณ กรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหาร-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุง

สาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

กรุงสาวัตถี ท่านจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร จาริกไปโดยลำดับตาม

ทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถี ถึงพระวิหารเชตวันแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นนั่ง

เรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยังพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมิกถา.

ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถาแล้ว ชื่นชม อนุ-

โมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท ทำประทักษิณ

แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

[๒๙๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้ง

ข่าวว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญ

อยู่เนืองๆนั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมิกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ

หลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่าน

พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลัง ๆ พอเห็นศีรษะกัน. ครั้งนั้นท่านพระปุณณ-

มันตานีบุตรเข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้

ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง

เหมือนกัน.

ปัญหาว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

[๒๙๖] เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหา

ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่าน

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราหรือ.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า อย่างนั้นสิผู้มีอายุ.

สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิ

หรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิ

หรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

ทิฐิวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้

มีพระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบว่า ไม่ใช่ เมื่อผมถามว่า ท่าน

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิ-

สุทธิ หรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่

ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไร

เล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ปุ. ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

อนุปาทาปรินิพพาน.

สา. สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. จิตตวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ป. ไม่ใช่.

สา. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน.

ปุ. ไม่ใช่.

สา. ผู้มีอายุ ผมถามว่า สีลวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน จิตต-

วิสุทธิ หรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน

กังขาวิตรณวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคมัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ

เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน

ญาณทัสสนวิสุทธิหรือเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะพึง

เห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า.

[๒๙๗] ปุ. ผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิ

ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานี้ ว่าเป็น

อนุปาทาปรินิพพาน ถ้าจักทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิ-

สุทธิ มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ

ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็น

อนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทา-

ปรินิพพานแล้ว ปุถุชนจะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้

ผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่านฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้

เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.

อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด

[๒๙๘] ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับ

อยู่ในกรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และ

ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่

ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึง

ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถพระ-

ที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง

ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัด

ที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จที่รถ

พระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัด

ที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถ

พระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด

เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวก

มิตรอำมาตย์หรือพระญาติสาโลหิตจะพึงทูลถามพระองค์ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

พระองค์เสด็จมาจากกรุงสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระ-

ที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร

จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.

สา. ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็น

อันตรัสตอบถูกต้อง คือ เมื่อเรากำลังอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วน

บางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะ

ต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้นเราจึงออกจากกรุงสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่

ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถ

ผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สามด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถ

ผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถ

ผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้าด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า

ไปถึงรถผลัดที่หกด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อยรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลสัดที่หก ไปถึง

รถผลัดที่เจ็ดด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึง

เมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะต้อง

ตรัสตอบอย่างนี้จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.

ปุ. ผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ

จิตตวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณ

วิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

มัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณ-

ทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิเป็นประโยชน์

แก่อนุปาทาปรินิพพาน ผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

สารีบุตรจึงถามว่า ผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์

รู้จักท่านว่าอย่างไร.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวก

ภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์รู้จักผมว่ามันตานีบุตร ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มี

อายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมัน-

ตานีบุตร เลือกเฟ้นมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับ

แล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าวแก้ ฉะนั้น เป็น

ลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์

ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเซิดผ้า

จึงจะได้พบเห็นนั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความ

เป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็น

การได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร.

[๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมัน-

ตานีบุตรจึงถามว่า ผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายรู้จัก

ท่านว่าอย่างไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวก

เพื่อนพรหมจรรย์รู้จักผมว่าสารีบุตร ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับพระศาสดา มิได้ทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

เลยว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไปเพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้

เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้งอันท่านพระสารีบุตร

เลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว

รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของ

เพื่อนพรหมจรรย์ ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้

พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระ-

สารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเซิดผ้า จึงจะได้พบเห็นนั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภ

มากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง

นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้

ท่านพระสารีบุตร.

พระมหานครทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกันด้วยประการ

ฉะนี้แล

จบ รถวินีตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

อรรถกถารถวินีสูตร

รถวินีตสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในรถวินีสูตรนั้น บทว่า ราชคเห ได้แก่นครมีชื่อ

อย่างนี้. จริงอยู่ นครนั้น ท่านเรียกว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามนธาตุราช

และมหาโควินทศาสดาเป็นต้น คุ้มครองรักษาไว้. แต่ท่านอาจารย์พวกอื่น

พรรณนาไว้หลายประการในคำนี้. ท่านพรรณนาไว้อย่างไร ท่านพรรณนาไว้ว่า

คำนี้เป็นชื่อของนครนั้น ก็กรุงราชคฤห์นั้น เป็นนครทั้งในกาลแห่งพระ-

พุทธเจ้า ทั้งในกาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ในเวลานอกนั้น ก็เป็นนครร้าง

มีแต่ผีเฝ้าแหนไว้ กลายเป็นป่าที่อยู่ของผีพวกนั้นไป. คำว่า เวฬุวัน ในคำว่า

เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อของอุทยานนั้น. นัยว่า อุทยานนั้น มี

ไม้ไผ่ล้อมไว้รอบ มีกำแพงสูง ๑๘ ศอก ประกอบด้วยซุ้มประตูและป้อม มี

สีเขียวสดใสน่ารื่นรมย์ ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน. อนึ่ง คนทั้งหลายได้ให้เหยื่อ

แก่เหล่ากระแตในเวฬุวันนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า กลันทกนิวาปะ

เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต.

เล่ากันว่า แต่ก่อน พระราชาพระองค์หนึ่ง เสร็จมาเพื่อทรงกีฬาใน

พระราชอุทยานนั้น แต่ทรงเมาด้วยน้ำจัณฑ์ ก็บรรทมหลับไปเวลากลางวัน.

แม้ชนที่อยู่ข้างเคียงท้าวเธอ รู้ว่าพระราชาบรรทมหลับแล้ว ก็หยิบฉวยดอกไม้

ผลไม้เป็นต้น ต่างแยกย้ายกันไป. คราวนั้น งูเห่าตัวหนึ่ง ได้กลิ่นสุรา ก็เลื้อย

ออกมาจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง บ่ายหน้ามาทางพระราชา. รุกขเทวดาเห็นงูเห่า

นั้นแล้ว ก็แปลงเพศเป็นกระแต หมายจะช่วยชีวิตพระราชา มากระทำเสียงที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ใกล้พระกรรณ. พระราชาก็ทรงตื่นบรรทม. งูเห่าก็เลื้อยกลับไป. ท้าวเธอ

ทอดพระเนตรเห็นกระแตนั้น ก็ทรงทราบว่า กระแตนี้ช่วยชีวิตเราไว้ ก็ทรง

วางเหยื่อไว้ในพระราชอุทยานนั้น เพื่อกระแตทั้งหลาย และโปรดให้ประกาศ

ประทานอภัยแก่กระแตทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา พระราชอุทยานนั้น

จึงนับได้ว่า กลันทกนิวาปะ. เป็นที่ประทานเหยื่อแก่กระแต. ด้วยว่า คำว่า

กลนฺทก เป็นชื่อของกระแตทั้งหลาย.

บทว่า ชาติภูมิ ๓ ได้แก่ ชาวชาติภูมิ. ในคำว่า ชาติภูมิ ๓ นั้น

บทว่า ชาติภูมิ แปลว่าที่เกิด. ก็ที่เกิดนั้น ไม่ใช่ที่เกิดของพระเจ้าโกศลมหาราช

เป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของจังกีพราหมณ์เป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของท้าวสักกะ ท้าว

สุยาม และท้าวสันดุสิต เป็นต้น ไม่ใช่ที่เกิดของพระอสีติมหาสาวกเป็นต้น

ไม่ใช่ที่เกิดของสัตว์เหล่าอื่น ที่เรียกว่า ชาติภูมิ. แต่ในวันที่พระสัพพัญญู-

โพธิสัตว์เจ้าพระองค์ใดเกิดแล้ว หมื่นโลกธาตุ เกลื่อนกล่นด้วยธง และ

ดวกไม้เป็นอันเดียวกัน หอมตระหลบด้วยกลิ่นดอกไม้และจุณอบ รุ่งเรือง

ดังนันทนวันที่มีดอกไม้บานสะพรั่งไปทั่ว ได้ไหวดุจหยาดน้ำบนใบบัว ปาฏิหาริย์

เป็นอันมาก เช่นคนตาบอดเห็นรูปเป็นต้น เป็นไปแล้ว ที่เกิดแห่งพระสัพพัญญู

พระโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้น คือกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบทนั้นแล เรียกว่า

ชาติภูมิ. บทว่า วสฺส วุฏฺา ได้แก่ อยู่จำพรรษา ๓ เดือน ปวารณาแล้ว.

บทว่า ภควา เอตทโว จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์ว่า

โก นุ โข ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นต้นนั้น ทรงกระทำปฏิสันถารต้อนรับอาคันตุกะ

ด้วยพระดำรัสเป็นต้นว่า กิจฺจิ ภิกฺขเว ขมนีย. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามโดยการปฏิสันถารว่า ภิกษุทั้งหลาย พอทน

ได้ไหม พอเป็นไปได้ไหม พวกเธอมาไกลไม่ลำบากหรือ ไม่ลำบากด้วย

บิณฑบาต หรือ พวกเธอมาแต่ไหน จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

พวกข้าพระองค์มาจากชาติภูมิ คือ กบิลพัสดุ์สักกชนบท. ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิตรัสถามถึงความไม่มีโรค ของพระเจ้าสุทธธทนมหาราช ของ

เจ้าสุกโกทนะ ของเจ้าสักโกทนะ ของเจ้าโธโตทนะ ของเจ้าอนิโตทนะ

ของพระนางอมิตาเทวี ของพระนางมหาปชาบดี ของวงศ์เจ้าศากยะทั้งสิ้นเลย

ที่แท้เมื่อตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ด้วยตนเอง และผู้อื่นผู้ชักชวนในข้อ

ปฏิบัตินั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติ จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โก นุ โข

ภิกฺขเว เป็นต้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสถามความไม่มีโรค

ของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นต้น ตรัสถามเฉพาะภิกษุเห็นปานนั้นเท่านั้น. เพราะ

เป็นที่รัก. จริงอยู่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผู้ปฏิบัติ ย่อมเป็นที่รัก

ที่ชอบพอพระทัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร. เพราะทรงเป็นผู้

หนักในธรรม. จริงอยู่ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม. ก็ภาวะที่

พระตถาคตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้หนักในธรรมนั้น พึงทราบ โดยอัธยา-

ศัยที่เกิด ณ โคนแห่งต้นอชปาลนิโครธนี้ว่า ผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ

ยำเกรงอยู่เป็นทุกข์. จริงอยู่ เพราะความเป็นผู้หนักในธรรม พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงกระทำการต้อนรับในวันออกบวชของพระมหากัสสปเถระได้เสด็จ

ไปตลอดหนทางประมาณ ๓ คาวุต. เสด็จเดินทางเกิน ๓๐๐ โยชน์ แสดงธรรม

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา สถาปนาพระเจ้ามหากักปินะ พร้อมบริษัทไว้ในพระอรหัต.

ภายหลังภัตรครั้งหนึ่ง เสร็จเดินทาง ๔๕ โยชน์ ตรัสธรรมตลอด ๓ ยาม ณ

ที่อยู่ของช่างหม้อ ทรงสถาปนา ปุกกุสาติกุลบุตร ไว้ในอนาคามีผล. เสด็จ

ไปตลอดทาง ๒,๐๐๐ โยชน์ ทรงอนุเคราะห์สามเณรที่อยู่ป่า. เสด็จไปตลอดทาง

๖๐ โยชน์ แสดงธรรมโปรดพระขทิวรนิยเถระ. ทรงทราบว่า พระอนุรุทธเถระ

นั่งอยู่ ที่ปาจีนวังสทายวัน ตรึกถึงมหาปุริสวิตก แล้วเหาะไปในที่นั้น และ

เสด็จลงข้างหน้าของพระเถระประทานสาธุการ. ให้ปูเสนาสนะที่คันธกุฏีเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

สำหรับพระกุฏีกัณณโสณเถระ ในเวลาใกล้รุ่ง เชื้อเชิญแสดงธรรม ในเวลาจบ

สรภัญญะได้ประทานสาธุการ. เสด็จเดินทาง ๓ คาวุต ตรัสอานิสงส์สามัคคีรส

ณ โคสิงคสาลวันที่อยู่ของกุลบุตร ๓ คน. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ เกิดความสนิทสนมว่าพระอริยสาวกผู้นี้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปที่

อยู่ของนายช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฎิการะ รับอามิสด้วยพระหัตถ์ของพระองค์

เสวย. พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เมื่อจวนเข้าพรรษา ภิกษุสงฆ์แวด-

ล้อมเสด็จออกจาริกจากพระเชตวัน. พระเจ้าโกศลมหาราช และอนาถบิณฑิก

เศรษฐีเป็นต้น ไม่อาจจะทำให้เสด็จกลับได้. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กลับ

มาบ้าน แล้วก็นั่งเสียใจ. ทาสีชื่อว่า ปุณณา กล่าวกะอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า

นายเสียใจหรือ. อนาถบิณฑิกเศรษฐีตอบว่า เออว่า ข้าไม่อาจจะทำให้พระ-

ศาสดาเสด็จกลับได้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าก็คิดว่า ข้าก็คงไม่ได้ฟังธรรม

ถวายทานตามประสงค์ ตลอด ๓ เดือนนี้. นางปุณณาทาสี กล่าวว่า นาย

ฉันจะนำพระศาสดากลับมาเอง. เศรษฐีพูดว่า ถ้าเจ้าสามารถนำพระศาสดากลับ

มาได้ เจ้าก็จะเป็นไทแก่ตัว. นางไปหมอบแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระ-

ทศพล ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จกลับเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ปุณณา เจ้าเป็นคนอาศัยเขาเลี้ยงชีพ จักทำ

อะไรแก่เราได้. นางกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ไม่มี

ไทยธรรมดอก แม้พระองค์ก็ทรงทราบ แต่เพราะพระองค์เสด็จกลับเป็นเหตุ

ข้าพระองค์จักตั้งอยู่ในสรณะ ๓ ศีล ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสาธุการว่า

ดีละ ปุณณา แล้วเสด็จกลับเข้าสู่พระเชตวันนั้นแล. เรื่องนี้ปรากฏจริงขึ้นแล้ว.

เศรษฐีฟังแล้วคิดว่า เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับเพราะนางปุณณา

แล้วให้นางปุณณาเป็นไทแล้วตั้งไว้ในฐานะเป็นธิดา. นางขอบวชแล้วก็บวช

ครั้นแล้วกะเริ่มวิปัสสนา. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า นางเริ่มวิปัสสนา

แล้ว ทรงเปล่งโอภาสและตรัสคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ปุณฺเณ ปูเรสิ สทฺธมฺม จนฺโท ปณฺณรโส ยถา

ปริปุณฺณาย ปญฺาย ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสสิ

ดูก่อนปุณณา เจ้าบำเพ็ญพระสัท-

ธรรมให้เต็ม เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ

จักกระทำที่สุดทุกข์ด้วยปัญญาที่บริบูรณ์

ได้.

เมื่อจบคาถา นางก็บรรลุพระอรหัตได้เป็นพระสาวิกา ผู้มีชื่อเสียง. พระ-

ตถาคตทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรมด้วยประการฉะนี้.

เมื่อพระนันทเถระ แสดงธรรมอยู่ในโรงฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

นำอะไรไป ประทับยืนฟังธรรมกถาตลอด ๓ ยาม เมื่อจบเทศนา ได้ประทาน

สาธุการ. พระเถระ มาถวายบังคม ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระองค์มาเวลาไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อเธอพอเริ่มสูตร. ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำกิจที่ทำได้ยาก ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

สุขุมาลชาติ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นันทะ ถ้าเธอพึงอาจแสดงอยู่ได้ถึง

กัปป์ เราก็จะยืนฟังอยู่ตลอดกัปป์. พระตถาคตทั้งหลายหนักในธรรม

อย่างนี้ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักของพระตถาคตเหล่านั้น เพราะเป็นผู้

หนักในธรรม เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามผู้ปฏิบัติทั้งหลาย.

ขึ้นชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ มี ๔ ประเภท คือ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์ตน ๑ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑ ไม่

ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑. บรรดาผู้ปฏิบัติ

เหล่านั้น ผู้ใดได้กถาวัตถุ ๑๐ เอง ไม่กล่าวไม่สอนผู้อื่นในกถาวัตถุ ๑๐ นั้น

เหมือนอย่างท่านพากุละ ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ประโยชน์ผู้อื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถามภิกษุเช่นนี้. เพราะเหตุไร. เพราะ

ภิกษุนั้นไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา. ส่วนผู้ไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ สอน

ภิกษุอื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เพื่อยินดีข้อวัตรที่ภิกษุนั้นการทำแล้ว เหมือนท่าน

อุปนันทสักยบุตร ผู้นี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสถามแม้ภิกษุเช่นนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะ

ภิกษุนั้นละตัณหาไม่ได้ เหมือนกระเช้าใหญ่. ผู้ใดไม่ได้กถาวัตถุ ๑๐ แม้ด้วย

ตนเอง ไม่ชักชวน ไม่สอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น เหมือนพระโลฬุทายีผู้นี้

ชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น. ไม่ตรัสถาม

ภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะกิเลศทั้งหลายในภายใน

ของเธอมีมาก เหมือนจะต้องตัดทิ้งด้วยขวาน. ส่วนภิกษุใด ตนเองได้กถาวัตถุ

๑๐ ทั้งสอนผู้อื่นด้วยกถาวัตถุ ๑๐ นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

และประโยชน์ผู้อื่นเหมือนพระอสีติมหาเถระ มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

และพระมหากัสสปะเป็นต้น. ตรัสถามภิกษุเห็นปานนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะภิกษุนั้นตั้งอยู่ในฝ่ายเจริญแห่งศาสนาของเรา. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะตรัสถามเฉพาะภิกษุเห็นปานนั้น แม้ในที่นี้ จึงตรัสว่า โก นุ โข

ภิกฺขเว เป็นต้น.

ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ในชาติภูมิของตน. ได้มีความคิดหรือปรึกษากันและกันว่า ในภิกษุเหล่านั้น

รูปไหนจะเป็นเช่นนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะท่านมันตานีบุตรปรากฏมีชื่อ

เสียงในชนบทนั้น เหมือนพระจันทร์ และพระอาทิตย์ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลาง

อากาศ. เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นประดุจฝูงนกยูง ได้ฟังเสียงเมฆก็

เกาะกลุ่มประชุมกัน และเป็นดุจภิกษุผู้เริ่มทำคณะสาธยาย เมื่อจะกราบทูลถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

พระปุณณเถระผู้เป็นอาจารย์ของตนแด่พระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงจะมีปากก็ไม่พอ

ที่จะกล่าวสรรเสริญคุณของพระเถระ จึงได้กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ปุณฺโณ

นาม ภนฺเต อายสฺมา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ปุณฺโณ

เป็นชื่อของพระเถระนั้น ก็เพราะท่านเป็นบุตรของมันตานีพราหมณี ฉะนั้น

จึงเรียกกันว่า มันคานีบุตร. บทว่า สมฺภาวิโต ได้แก่ ยกย่องโดยกล่าว

สรรเสริญคุณ. บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ ปราศจากความปรารถนา หมดความ

อยาก หมดตัณหา. ก็ในคำนี้เหมือนจะเหลือแต่พยัญชนะ ส่วนเนื้อความไม่มี

เหลือเลย. ก็ท่านปุณณมันตานีบุตรนั้นไม่มีปรารถนาเหลืออยู่เลยแม้น้อยนิด

เพราะท่านเป็นพระขีณาสพ ละตัณหาได้โดยประการทั้งปวง.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า อปฺปิจฺโฉ นี้ พึงทราบความแตกต่างกัน

ดังนี้ว่า ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต ความเป็นผู้ปรารถนาลามก ความ

เป็นผู้มักมาก ความเป็นผู้มักน้อย. ใน ๔ ประเภทนั้น ผู้ไม่อิ่มในลาภของตน

มุ่งลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาไม่มีขอบเขต. ผู้ที่ประกอบด้วย

ความปรารถนาไม่มีขอบเขต ย่อมมองเห็นขนมที่สุกแล้วในภาชนะเดียวกัน

ที่ตกลงในบาตรของตนว่าเป็นเหมือนยังไม่สุกและเป็นของเล็กน้อย ของอย่าง

เดียวกันนั่นแหละ ที่เขาใส่ลงในบาตรของผู้อื่น ย่อมมองเห็นว่าเป็นเหมือนของ

สุกดี และเป็นของมาก. อนึ่ง ความอวดอ้างคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จัก

ประมาณในการรับ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก. ข้อนั้นมาแล้ว

ในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา

ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้

ปรารถนาลามกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นคนล่อลวง. ส่วนการกล่าวสรรเสริญ

คุณที่มีอยู่ก็ดี และการไม่รู้จักประมาณในการรับก็ดี ชื่อว่า ความเป็นผู้มักมาก.

แม้ความเป็นผู้มักมากนั้นก็มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็น

ผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้ว่าเรามีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ย่อมปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักมากนั้น

ย่อมเป็นที่รักของคนชั่ว. แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าก็ไม่สามารถจะเอาใจเขาได้.

ด้วยเหตุนั้นท่านจงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

อคฺคิกฺขนฺโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล

สกเฎน ปจฺจย เหตุ ตโย เจเต อตปฺปิยา

กองไฟ ๑ ทะเล ๑ คนมักมาก ๑

ทั้ง ๓ ประเภทนี้ ถึงจะให้ของจนเต็ม

เล่มเกวียนก็ไม่ทำให้อิ่มได้.

ส่วนการปกปิดคุณที่มีอยู่ และความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่า

ความเป็นผู้มักน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักน้อยนั้น เพราะ

ประสงค์จะปกปิดคุณ แม้ที่มีอยู่ในตน ถึงจะสมบูรณ์ด้วยศรัทธา ก็ไม่ปรารถนา

จะให้คนรู้ว่าเรามีศรัทธา เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สงัด เป็นพหูสูต เป็นผู้ปรารภ

ความเพียร สมบูรณ์ด้วยสมาธิ มีปัญญา เป็นพระขีณาสพ ก็ไม่ปรารถนาจะ

ให้คนรู้ว่าเราเป็นพระขีณาสพ เหมือนอย่างพระมัชฌันติกเถระฉะนั้น.

เล่ากันว่า พระเถระเป็นพระมหาขีณาสพ. ก็บาตรจีวรของท่านมีราคา

เพียงบาทเดียวเท่านั้น. ท่านได้เป็นประธานสงฆ์ในวันฉลองวิหารของพระเจ้า

ธรรมาโศกราช. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นท่านมีจีวรเศร้าหมองเกินไป จึง

กล่าวว่า ขอท่านจงรออยู่ข้างนอกสักหน่อยเถิดเจ้าข้า. พระเถระคิดว่า เมื่อ

พระขีณาสพเช่นเราไม่สงเคราะห์พระราชา ผู้อื่นใดใครเล่าจักสงเคราะห์ได้ จึง

ดำลงไปในแผ่นดิน รับอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับพระเถระผู้เป็นประธานสงฆ์

แล้วโผล่ขึ้น. ขนาดท่านเป็นพระขีณาสพอย่างนี้ ยังไม่ปรารถนาว่า ขอประ-

ชาชนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพ. ส่วนภิกษุผู้มักน้อย ย่อมยังลาภที่ยังไม่

เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง ทำจิตของเหล่าทายกให้

ยินดีด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ภิกษุผู้มีความมักน้อยนั้น ย่อมรับเอาแต่น้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

เพราะตนเป็นผู้มักน้อย โดยประการใดๆ เหล่ามนุษย์ผู้เลื่อมใสในวัตรของท่าน

ย่อมถวายมากโดยประการนั้น ๆ.

อีกนัยหนึ่ง ภิกษุผู้มักน้อย มี ๔ ประเภท คือ ภิกษุผู้มักน้อยใน

ปัจจัย ๑ ผู้มักน้อยในธุดงค์ ๑ ผู้มักน้อยในปริยัติ ๑ ผู้มักน้อยในอธิคม ๑. ใน ๔

ประเภทนั้น ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ ชื่อว่า ผู้มักน้อยในปัจจัย. ภิกษุผู้มัก

น้อยในปัจจัยนั้น ย่อมรู้ความสามารถของทายก ย่อมรู้ความสามารถของไทย

ธรรม ย่อมรู้กำลังของตน. ก็ผิว่า ไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการถวาย

น้อย ก็รับเอาแต่น้อยตามความสามารถของทายก ไทยธรรมมีน้อย ทายกต้อง

การจะถวายมาก ก็รับเอาแต่น้อย ตามความสามารถของไทยธรรม ทั้งไทย-

ธรรมก็มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะถวายมาก ก็รู้กำลังของตน รับเอาแต่พอ

ประมาณ. ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ต้องการจะให้เขารู้ความที่ธุดงค์

สมาทานมีอยู่ในตน ชื่อว่าผู้มักน้อยในธุดงค์. เพื่อจะทำความในข้อนั้นให้แจ่ม

แจ้ง มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง.

เล่ากันมาว่า พระมหาสุมเถระ ผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์อยู่ป่าช้ามา ๖๐ ปี

แม้แต่ภิกษุสักรูปหนึ่งอื่น ๆ ก็ไม่รู้. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจีงกล่าวว่า

สุสาเน สฏฺิวสฺสานิ อพฺโพกิณฺโณ วสามห

ทุติโย ม น ชาเนยฺย อโห โสสานิกุตฺตโม

เราอยู่ลำพังคนเดียว ในป่าช้ามา

๖๐ ปี เพื่อนก็ไม่รู้เรา โอ ยอดของผู้รักษา

โสสานิกังคธุดงค์.

พระเถระ ๒ พี่น้อง อยู่ในเจติยบรรพต. พระเถระองค์น้องรับท่อนอ้อยที่อุปฐาก

เขาส่งมา ได้ไปยังสำนักของพระเถระผู้พี่พูดว่า หลวงพี่ฉันเสียซิ. เป็นเวลาที่

พระเถระฉันแล้วบ้วนปาก. พระเถระผู้พี่กล่าวว่า พอละเธอ. พระผู้น้องชาย

ถามว่า หลวงพี่ถือเอกาสนิกังคธุดงค์หรือ. พระเถระผู้พี่กล่าวว่า เธอนำท่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

อ้อยมา แม้เป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์มาถึง ๕๐ ปี ก็ปกปิดธุดงค์ไว้ ฉันแล้ว

บ้วนปาก อธิษฐานธุดงค์ใหม่แล้วไป. ส่วนภิกษุผู้มักน้อยรูปใด ไม่ประสงค์

จะให้เขารู้ ความที่ตนเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตกติสสเถระ ภิกษุนี้ชื่อ

ว่าผู้มักน้อยในพระปริยัติ. เล่ากันมาว่า พระเถระ ไม่ทำโอกาสในอุเทศ

และปริปุจฉาว่า ไม่มีเวลา ถูกเตือนว่า ท่านคงจะมีแต่เวลาตาย ละหมู่แล้ว

ไปวิหารใกล้สมุทรที่มีทรายดังดอกกัณณิกา เป็นผู้อุปการะเหล่าภิกษุชั้นเถระ

นวกะ และมัชฌิมะ ตลอดพรรษา ยังชุมชนให้เสทือนด้วยธรรมกถาใน

วันมหาปวารณา วันอุโบสถแล้วไป. ส่วนภิกษุผู้มักน้อยรูปใด เป็นพระอริย

บุคคลองค์หนึ่ง ในบรรดาพระอริยบุคคลผู้โสดาบันเป็นต้น ย่อมไม่ปรารถนา

ให้รู้ความเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุผู้มักน้อยรูปนี้ ชื่อว่าผู้มักน้อยในอธิคม

เหมือนกุลบุตร ๓ คน และเหมือนช่างหม้อ ชื่อว่า ฆฎิการ. ส่วนท่านปุณณะ

ละความปรารถนาเกินขอบเขต ความปรารถนาลามก และความมักมาก ได้ชื่อว่า

เป็นผู้มักน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยความมักน้อยอันบริสุทธิ์ กล่าวคือ

ความไม่โลภอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความปรารถนาโดยประการทั้งปวง. ท่านปุณณะ

แสดงโทษในธรรมเหล่านั้นว่า ผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้คือ ความปรารถนาเกิน

ขอบเขต ความปรารถนาลามก ความเป็นผู้มักมาก อันภิกษุควรละ ดังนี้แล้ว

จึงกล่าวอัปปิจฉกถาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุควรสมาทาน ประพฤติ ความ

เป็นผู้มักน้อย เห็นปานนี้. ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุ

ผู้มักน้อยด้วยตนเอง และสอนเรื่องเป็นผู้มักน้อย แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บัดนี้ ข้าพเจ้าจักแสดงอรรถอันพิเศษในคำว่า อตฺตนาว สนฺตุฏฺโ

เป็นต้น. แต่พึงทราบการประกอบความโดยนัยดังกล่าวมาแล้ว .บทว่า สนฺตุฏฺโ

ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสันโดษในปัจจัยตามมีตามได้. ก็สันโดษนี้นั้นมี ๑๒

อย่าง คืออะไรบ้าง อันดับแรกในจีวร มี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ. ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็เหมือนกัน.

การพรรณนาประเภทปัจจัย คือจีวรนั้นดังนี้ ภิกษุในศาสนานี้ได้จีวร ไม่ว่าดี.

หรือไม่ดี ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาจีวรอื่น

ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ ในจีวรของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใด

ทุพลภาพโดยปกติหรือถูกความเจ็บป่วยและชราครอบงำ ครองจีวรหนักก็

ลำบาก ภิกษุนั้น เปลี่ยนนีวรกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ยังอัตตภาพให้เป็นไป

ด้วยจีวรเบา ก็เป็นผู้สันโดษเหมือนกัน นี้ชื่อ ยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุ

นั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยอันประณีต เธอได้จีวรมีค่ามากผืนหนึ่ง

บรรดาจีวรแพรเป็นต้น ก็หรือว่าได้จีวรเป็นอันมาก คิดว่า จีวรนี้เหมาะแก่

พระเถระผู้บวชนาน ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้พหูสูต ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้เป็นไข้

ผืนนี้เหมาะแก่ภิกษุผู้มีลาภน้อย ถวายแล้วเลือกจีวรเก่า ๆ บรรดาผ้าเหล่านั้น

หรือชิ้นผ้าจากกองขยะเป็นต้น กระทำสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านั้น แม้ครอง

อยู่ก็เป็นผู้สันโดษอยู่นั่นแล นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในจีวรของภิกษุ

นั้น.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้บิณฑบาตไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอ

ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นเท่านั้น ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึง

ได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. แต่ภิกษุใด

ได้บิณฑบาตที่แสลงแก่ปกติของตนหรือแสลงแก่โรค ซึ่งเธอฉันแล้วไม่ผาสุก

ภิกษุนั้นถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุที่ชอบกัน ฉันโภชนะที่สบายจากมือของ

ภิกษุนั้น แม้กระทำสมณธรรมอยู่ ก็ยังชื่อว่า ผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาพลสัน-

โดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตประณีตเป็น

อันมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้นแก่เหล่าภิกษุผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มี

ลาภน้อย แล้วภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ฉันบิณฑบาตที่เหลือของภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

หรือเที่ยวบิณฑบาตแล้วฉันอาหารคละกัน ก็ยังชื่อว่า ผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า

ยถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เสนาสนะไม่ว่าน่าพอใจ หรือไม่น่า

พอใจ เธอไม่เกิดโสมนัส ไม่เกิดปฏิฆะ ด้วยเสนาสนะนั้น ยินดีด้วยเสนาสนะ

ตามที่ได้โดยที่สุดแม้เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษใน

เสนาสนะของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุใดได้เสนาสนะที่แสลงแก่ปกติของตนหรือ

แสลงแก่โรค เมื่ออยู่ก็ไม่มีความผาสุก ภิกษุนั้นถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุที่

ชอบกัน แม้อยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะอันเป็นส่วนของเธอ ก็ยังชื่อว่า

ผู้สันโดษ นี้ชื่อว่ายถาพลสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง

มีบุญมาก ได้เสนาสนะมาก มีที่เร้น มณฑป และเรือนยอดเป็นต้น เธอถวาย

เสนาสนะเหล่านั้นแก่ภิกษุผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย และภิกษุไข้

เหมือนจีวรเป็นต้น แม้อยู่ที่ใดที่หนึ่ง ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด พิจารณาว่า เสนาสนะอันอุดม

เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อนั่งในที่นั้น ย่อมง่วงเหงาหาวนอน เมื่อหลับ

แล้วตื่นขึ้น ความวิตกอันลามกก็ปรากฏ แล้วไม่รับเสนาสนะเช่นนั้นแม้มาถึง

แล้ว เธอปฏิเสธแล้วแม้อยู่กลางแจ้งโคนไม้เป็นต้น ก็ยังชื่อว่าผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า

ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.

อนึ่ง ภิกษุในพระศาสนานี้ได้เภสัชไม่ว่าปอนหรือประณีต เธอยินดี

ด้วยเภสัชที่ได้ ไม่ปรารถนาเภสัชแม้อย่างอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า

ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัยของเธอ. อนึ่ง ภิกษุใดต้องการน้ำมัน แต่

ได้น้ำอ้อย เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบกัน ถือเอาน้ำมันจากมือ

ของภิกษุนั้น หรือแสวงหาอย่างอื่น แม้กระทำเภสัชด้วยปัจจัยเหล่านั้น

ก็ยังชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัย

ของเธอ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง มีบุญมาก ได้เภสัชประณีต มีน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

เป็นต้น เป็นอันมาก เธอถวายเภสัชนั้นแก่ภิกษุบวชนาน พหูสูต มีลาภน้อย

และภิกษุไข้เหมือนจีวร แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่ได้มาจากคิลานปัจจัยเหล่านั้น ก็ยังชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ. อนึ่ง ภิกษุใดอัน

ภิกษุทั้งหลายวางสมอดองไว้ในภาชนะหนึ่ง วางของมีรสอร่อย ๔ อย่างไว้ใน

ภาชนะหนึ่ง แล้วกล่าวว่า นิมนต์ถือเอาสิ่งที่ต้องการเถิดขอรับ ถ้าว่าโรคของ

เธอจะระงับไปด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่งในของเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น

เธอก็ห้ามว่า ขึ้นชื่อสมอดองอันพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว กระทำ

เภสัชด้วยสมอดองเท่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่า ยถสารุปป-

สันโดษในคิลานปัจจัย. ก็ยถาสารุปปสันโดษเป็นยอดของสันโดษแต่ละสาม ๆ

ในปัจจัยแต่ละอย่าง ๆ เหล่านี้ ท่านพระปุณณะได้เป็นผู้สันโดษด้วยสันโดษ

แม้ทั้งสามเหล่านี้ ในปัจจัยแต่ละอย่าง.

บทว่า สนฺตฎฺิกถญฺจ ได้แก่ สั่งสอนเรื่องสันโดษนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิเวก ๓ เหล่านี้ คือ กายวิเวก

จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. ในวิเวก ๓ นั้น ภิกษุเดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว

นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว บิณฑบาตรูปเดียว กลับรูปเดียว จงกรม

รูปเดียว เที่ยวรูปเดียว อยู่รูปเดียว นี้ชื่อว่า กายวิเวก. ส่วนสมาบัตื ๘

ชื่อว่า จิตตวิเวก. นิพพานชื่อว่า อุปธิวิเวก. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

กายวิเวกสำหรับบุคคลผู้ปลีกกายยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวกสำหรับบุคคลผู้มี

จิตบริสุทธิ์ มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกสำหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิ

ผู้ถึงวิสังขาร. บทว่า ปวิเวกกถ ได้แก่ สั่งสอนเรื่องวิเวกนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า อสสฏฺโ ได้แก่ เว้นการคลุกคลี ๕ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

การคลุกคลี ๕ อย่าง คือ

๑. สวนสังสัคคะ

๒. ทัสสนสังสัคคะ

๓. สมุลลาปสังสัคคะ

๔. สัมโภคสังสัคคะ

๕. กายสังสัคคะ.

ในการคลุกคลี ๕ อย่างนั้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ฟังว่า ผู้หญิงหรือ

หญิงสาวในบ้านหรือตำบลนั่นงาม น่าชม สดใส มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง

ฟังเรื่องนั้นแล้ว สยบซึมเซา ไม่อาจสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ไม่ลาสิกขา

สึกเลย เมื่อเธอฟังคนอื่นเขาพูดถึงรูปสมบัติเป็นต้น หรือเสียงหัวเราะด้วยตน

เกิดราคะด้วยโสตวิญญาณวิถี ชื่อว่าสวนสังสัคคะ. สวนสังสัคคะนั้น พึงทราบ

โดยอำนาจพระโพธิสัตว์ผู้ไม่เคยได้กลิ่นหญิง และพระติสสะหนุ่มผู้อยู่ในถ้ำ

ปัญจัคคฬะ. เขาว่า ภิกษุหนุ่มเหาะไปได้ยินเสียงลูกสาวช่างทองชาวบ้านคิริคาม

ไปสระปทุมกับหญิงสาว ๕ คน อาบน้ำประดับดอกปทุม ขับร้องด้วยเสียงอัน

ไพเราะ ถูกกามราคะเสียบเอา เสื่อมฌานถึงความพินาศ.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ยินเสียงเลย แต่ตนเองเห็นผู้หญิงหรือ

หญิงสาวที่สวยน่าชม สดใส มีผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอเห็นแล้ว สยบซึมเซา

ไม่อาจสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ ไม่ลาสิกขา สึกเลย เมื่อเธอแลดูรูปที่เป็น

ข้าศึกอย่างนี้ เกิดราคะด้วยจักขุวิญญาณวิถี ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ. ทัสสน-

สังสัคคะนั้นพึงทราบดังนี้.

เขาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งไปยังทูรวิหารใกล้บึงกาลทีฆะ เพื่อเรียน

อุทเทส. อาจารย์เห็นอันตรายของท่าน ก็ไม่ให้โอกาส. เธอก็พยายามติดตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

ไป. อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเธอไม่เที่ยวไปในบ้าน เราก็จักสอนอุทเทสแก่เธอ.

เธอรับคำแล้ว เมื่อเรียนอุทเทสจบ ก็ไหว้อาจารย์ไป คิดว่า อาจารย์ไม่ให้

เราเที่ยวไปในบ้านนี้ ทำไมหนอ ห่มจีวรเข้าบ้าน. กุลธิดาคนหนึ่งนุ่งผ้า

สีเหลืองยืนที่เรือนเห็นภิกษุหนุ่มก็เกิดราคะ เอากระบวยนำยาคูมาใส่ลงในบาตร

แล้วกลับไปนอนเตียง. ครั้งนั้น มารดาบิดาจึงถามว่า อะไรกันลูก. กุลธิดานั้น

ตอบว่า เมื่อฉันได้ภิกษุหนุ่มที่ไปทางประตู จึงจักมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อไม่ได้ ฉัน

จักตาย. มารดาบิดารีบไปพบภิกษุหนุ่มที่ประตูบ้าน ไหว้เเล้วบอกว่า กลับมา

เถิดท่าน โปรดรับภิกษา. ภิกษุหนุ่มบอกว่า พอละโยม จะไปละ. มารดา

บิดาอ้อนวอนว่า เรื่องมันเป็นอย่างนี้ท่าน ในเรือนของเรามีทรัพย์อยู่เท่านี้

เรามีลูกสาวอยู่คนเดียวเท่านั้น ท่านมาเป็นลูกชายคนโตของเราเถิด สามารถ

อยู่ได้อย่างสบาย. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ฉันไม่ต้องการกังวลอย่างนี้ ไม่ใยดีแล้ว

ผละไป. มารดาบิดาไปบอกลูกสาวว่า ลูก พ่อแม่ไม่อาจจะนำภิกษุหนุ่มกลับ

มาได้ เลือกสามีอื่นที่เจ้าต้องการเถิด จงลุกขึ้นมากินข้าวกินน้ำเถิด. กุลธิดา

นั้นก็ไม่ปรารถนานางอดข้าว ๗ วัน ตาย. มารดาบิดาทำการฌาปนกิจนางแล้ว

ถวายผ้าสีเหลืองผืนนั้นแก่ภิกษุสงฆ์ในทูรวิหาร. ภิกษุทั้งหลายก็ฉีกเป็นชิ้นเล็ก

ชิ้นน้อยแบ่งกัน. ภิกษุแก่รูปหนึ่งรับส่วนของตนไป มายังกัลยาณวิหาร.

ภิกษุหนุ่มแม้นั้นคิดจะไปไหว้พระเจดีย์ ก็ไปที่กัลยาณวิหารนั้น นั่งในที่พัก

กลางวัน. ภิกษุแก่หยิบชิ้นผ้านั้นมาแล้วบอกภิกษุหนุ่มว่า ท่านขอรับ โปรด

ใช้ผ้าผืนนี้ของผมเป็นผ้ากรองน้ำ. ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านมหาเถระได้มา

แต่ไหนขอรับ. ภิกษุแก่ก็เล่าเรื่องนั้นทั้งหมด. ภิกษุหนุ่มฟังเรื่องนั้นแล้ว คิดว่า

เราไม่ได้อยู่ร่วมกับหญิงคนนี้ ถูกไฟราคะเผา มรณภาพในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

ส่วนราคะที่เกิดโดยการสนทนาปราศรัยกะกันและกัน ชื่อสมุลลาป

สังสัคคะ. ราคะที่เกิดโดยภิกษุรับของของภิกษุณี หรือภิกษุณีรับของของภิกษุ

แล้วบริโภค ชื่อสัมโภคสังสัคคะ. สัมโภคสังสัคคะนั้นพึงทราบดังนี้.

เล่าว่า ครั้งฉลองมริจิวัตติยวิหาร มีภิกษุแสนรูป ภิกษุณีเก้าหมื่นรูป.

สามเณรรูปหนึ่งรับ ข้าวยาคูร้อนไปพักไว้ที่ชายจีวรครั้งหนึ่ง ที่พื้นดินครั้งหนึ่ง.

สามเณรีรูปหนึ่งเห็น ถวายถลกบาตร ด้วยกล่าวว่า วางบาตรไว้ในนี้แล้ว

ค่อยไป. ภายหลังต่อมา เมื่อเกิดภัยขึ้น ทั้งสองก็ไปยังปรสมุททวิหาร. ทั้ง

สองรูปนั้น ภิกษุณีไปก่อน. ภิกษุณีนั้นได้ยินว่า ภิกษุชาวสิงหลรูปหนึ่งมา

ก็ไปยังสำนักพระเถระกระทำปฏิสันถารแล้วนั่งถามว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อครั้ง

ฉลองมริจิวัตติยวิหาร ท่านพรรษาเท่าไร. พระเถระตอบว่า ครั้งนั้น ฉันเป็น

สามเณรอายุ ๗ ขวบ ท่านเล่า พรรษาเท่าไร. ภิกษุณีตอบว่า ครั้งนั้น ดิฉันก็

เป็นสามเณรอายุ ๗ ขวบเหมือนกัน ดิฉันได้ถวายถลกบาตรแก่สามเณรรูปหนึ่ง

ซึ่งรับข้าวยาคูร้อนไปเพื่อพักบาตร. พระเถระบอกว่า สามเณรองค์นั้นคือ

ฉัน นำถลกบาตรออกมาแสดง. ด้วยสังสัคคะอันนี้นี่เอง แม้ทั้งสองท่านก็ไม่อาจ

จะสืบพรหมจรรย์ต่อไปได้ สึกในเวลามีอายุ ๖๐.

ก็ราคะที่เกิดขึ้นโดยการจับมือเป็นต้น ชื่อว่ากายสังสัคคะ. ในข้อนั้น

มีเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง. เขาว่า ที่มหาเจติยังคณะ. พวกภิกษุหนุ่มทำการสาธยาย

พวกภิกษุณีสาวพึงธรรมอยู่ข้างหลังของพวกภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ในภิกษุหนุ่ม

เหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดแขนออกไปถูกกายภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง.

ภิกษุณีสาวจับมือมาทาบไว้ที่อกของตน. ด้วยสังสัคคะอันนั้น แม้ทั้งสองก็สึก

เป็นคฤหัสถ์.

ก็ในสังสัคคะ ๕ อย่างเหล่านี้ การฟัง การเห็น การเจรจา การร่วม

การถูกต้องกายของภิกษุกับภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีเป็นนิจทีเดียว เว้นกาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

สังสัคคะ สังสัคคะที่เหลือกับภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมมีได้เป็นครั้งคราว. สังสัคคะ

แม้ทั้งหมดกับอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก็มีได้เป็นครั้งคราวเหมือนกัน. ก็พึง

รักษาจิตจากการเกิดกิเลสในสังสัคคะเหล่านั้น. ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคาหคาหกะ

รูปหนึ่งเป็นคาหมุตตกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตคาหกะ รูปหนึ่งเป็นมุตตมุตตกะ.

ในภิกษุเหล่านั้น พวกมนุษย์เข้าไปหาภิกษุด้วยการเอาเหยื่อล่อจับไว้ก็ดี ภิกษุ

เข้าไปหามนุษย์ด้วยการเอาดอกไม้ผลไม้เป็นต้น ล่อจับไว้ก็ดี นี้ชื่อว่าคาหคาหกะ

ต่างคนต่างจับ. ส่วนมนุษย์เข้าไปหาภิกษุโดยนัยที่กล่าวแล้ว ภิกษุเข้าไปหา

โดยเป็นทักขิเณยยบุคคล นี้ชื่อว่า คาหมุตตกะ พ้นจากผู้จับ. มนุษย์ทั้งหลาย

ถวายปัจจัยสี่โดยเป็นทักขิเณยยบุคคล ฝ่ายภิกษุเข้าไปหาโดยเอาดอกไม้ผลไม้

เป็นต้นล่อจับไว้ นี้ชื่อว่า มุตตคาหกะจับผู้ปล่อย. มนุษย์ทั้งหลายถวายปัจจัยสี่

โดยเป็นทักขิเณยยบุคคลก็ดี ภิกษุบริโภคโดยเป็นทักขิเณยยบุคคลเหมือนพระ-

จุลลปิณฑปาติยติสสเถระก็ดี นี้ชื่อว่า มุตตมุตตกะ ต่างคนต่างปล่อย. เขาว่า

อุบาสิกาคนหนึ่ง อุปัฏฐากพระเถระมา ๑๒ ปี. วันหนึ่งไฟไหม้เรือนที่หมู่บ้าน

นั้น. ภิกษุประจำตระกูลของคนอื่น ๆ ก็มาถามว่า อุบาสิกา ไฟสามารถทำสิ่ง

ของอะไร ๆ ให้ไม่เสียหายมีบ้างหรือ. คนทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระประจำ

ตระกูลมารดาของเราจักมาเวลาฉันเท่านั้น. วันรุ่งขึ้นแม้พระเถระกำหนดเวลา

ภิกษาจารแล้วก็มา. อุบาสิกานิมนต์ให้นั่งที่ร่มยุ้ง จัดภิกษาถวาย. เมื่อพระ-

เถระฉันเสร็จแล้วไป คนทั้งหลายก็พูดว่า พระเถระประจำตระกูลมารดาของ

เรามาเวลาฉันเท่านั้น. อุบาสิกากล่าวว่า พระประจำตระกูลของพวกท่านก็

เหมาะแก่พวกท่านเท่านั้น พระเถระของเราก็เหมาะแก่เราเท่านั้น. ก็ท่านพระ-

มันตานีบุตรไม่คลุกคลีกับบริษัทสี่ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้ จึงเป็นทั้งคาหมุตตกะ

ทั้งมุตตมุตตกะ ท่านไม่คลุกคลีเองฉันใด ก็ได้สั่งสอนเรื่องการไม่คลุกคลีนั้น

แม้แก่ภิกษุทั้งหลายฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ ประคองความเพียร อธิบายว่า มี

ความเพียรทางกายและทางใจ บริบูรณ์. จริงอยู่ ภิกษุใด กิเลสเกิดขึ้นใน

ขณะเดิน ก็ไม่ยอมยืน (หยุด) กิเลสเกิดขึ้นในขณะยืน ก็ไม่ยอมนั่ง กิเลส

เกิดขึ้นในขณะนั่ง ก็ไม่ยอมนอน ย่อมเที่ยวไป เหมือนร่ายมนต์บังคับงูเห่า

จับไว้ และเหมือนเหยีอบคอศัตรู ภิกษุนี้ชื่อว่า ผู้ปรารภความเพียร. พระเถระ

ก็เป็นเช่นนั้น สอนเรื่องปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนั้นเหมือนกัน.

จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ศีล ในคำว่า สีลสมฺปนฺโน เป็นต้น. สมาบัติ ๘

เป็นบาทของวิปัสสนา ชื่อว่าสมาธิ. ญาณที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระชื่อว่า

ปัญญา. วิมุตติที่เป็นอริยผล ชื่อว่า วิมุตติ. ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ชื่อว่า

ญาณทัสสนะ. พระเถระสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น สอนเรื่องศีลเป็นต้นแม้แก่

ภิกษุทั้งหลาย. พระมันตานีบุตรนี้นั้น ชื่อว่า โอวาทกะ เพราะโอวาทด้วยกถา-

วัตถุ ๑๐ ภิกษุรูปหนึ่งย่อมสอนตนได้อย่างเดียว ไม่สามารถจะยักเยื้องข้อความที่

ละเอียดให้คนอื่นรู้ได้อย่างใด พระเถระไม่เป็นอย่างนั้น. แต่พระเถระชื่อว่า

วิญญาปกะ เพราะทำผู้อื่นให้รู้กถาวัตถุ ๑๐ เหล่านั้นด้วย. ภิกษุรูปหนึ่งสามารถ

ทำผู้อื่นให้รู้ ไม่สามารถจะแสดงเหตุได้. พระเถระชื่อว่า สันทัสสกะ เพราะ

แสดงเหตุได้ด้วย. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงเหตุที่มีอยู่ แต่ไม่สามารถจะให้เขาเชื่อถือ

ได้. พระเถระชื่อว่า สมาทปกะ เพราะสามารถให้เขาเธอถือได้. ก็พระเถระชื่อ

ว่า สมุตเตชกะ เพราะครั้นชวนเขาอย่างนั้นแล้ว ทำภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ

โดยทำให้เกิดอุตสาหะในกถาวัตถุเหล่านั้น. ชื่อว่า สัมปหังสกะ เพราะ

สรรเสริญภิกษุที่เกิดอุตสาหะแล้วทำให้ร่าเริง. บทว่า สุลทฺธลาภา ได้แก่

ย่อมชื่อว่าได้คุณมีอัตภาพเป็นมนุษย์และบรรพชาเป็นต้น ของภิกษุแม้เหล่าอื่น

อธิบายว่า คุณธรรมเหล่านี้เป็นลาภอย่างดีของท่านปุณณะผู้ซึ่งมีชื่อเสียงขจรไป

อย่างนี้ ต่อพระพักตร์ของพระศาสดา. อนึ่ง การกล่าวสรรเสริญโดยผู้มิใช่บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ไม่เป็นลาภอย่างนั้น ส่วนการสรรเสริญโดยบัณฑิต เป็นลาภ อีกอย่างหนึ่ง

การสรรเสริญโดยคฤหัสถ์ก็ไม่เป็นลาภอย่างนั้น. ก็คฤหัสถ์คิดว่า เราจักสรรเสริญ

กำลังกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าของเราเป็นผู้มีวาจาละเอียดอ่อน มีวาจาน่าคบเป็น

สหาย มีวาจาไพเราะ สงเคราะห์ผู้ที่มาวิหารด้วยข้าวต้มข้าวสวย และน้ำอ้อย

เป็นต้น เท่ากับพูดติเตียนนั่นเอง. คฤหัสถ์คิดว่าเราจักติเตียน พูดว่า พระเถระนี้

เป็นเหมือนคนปัญญาอ่อน เป็นเหมือนคนไม่มีเรี่ยวแรง เป็นเหมือนคนหน้านิ่ว

คิ้วขมวด ไม่มีความคุ้นเคยกับพระเถระนี้ เท่ากับสรรเสริญนั่นเอง. แม้เพื่อน

พรหมจารีพูดสรรเสริญลับหลังพระศาสดา ก็ไม่เป็นลาภอย่างนั้น ส่วนผู้

สรรเสริญเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา เป็นลาภอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์แม้ดังกล่าวมาฉะนี้จึงตรัสว่า สุลทฺธลาโภ ดังนี้.

บทว่า อนุมสฺส อนุมสฺส ได้แก่ กำหนดเจาะจงกถาวัตถุ ๑๐. บทว่า

ตญฺจ สตฺถา อพฺภนุโมทติ ความว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคุณของภิกษุ

นั้นนั้น คือ คุณนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้มักน้อย และเป็นผู้สันโดษ.

ท่านหมายเอาลาภ ๕ อย่างนี้ คือ การที่ผู้รู้สรรเสริญเป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่

เพื่อนพรหมจารีสรรเสริญ เป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่เพื่อนพรหมจารีสรรเสริญ

เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาเป็นลาภอย่างหนึ่ง การกำหนดเจาะจงกถาวัตถุ ๑๐

เป็นลาภอย่างหนึ่ง การที่พระศาสดาทรงอนุโมทนาอย่างยิ่ง เป็นลาภอันหนึ่ง

จึงกล่าวว่า สุลทฺธลาภา ดังนี้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กทาจิ คือในกาล

บางคราว. บทว่า กรหจิ เป็นไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั่นเอง. บทว่า

อปฺเปว นาม สิยา โกจิเทว กถาสลฺลาโป ได้แก่ไฉนหนอ แม้การเจรจา

อวดอ้างบางอย่างจะพึงมี. เขาว่า พระเถระไม่เคยเห็นท่านพระปุณณะมาเลย

ไม่เคยสดับธรรมกถาของท่าน ดังนั้น ท่านจึงปรารถนาจะเห็นท่านพระปุณณะ

บ้าง การกล่าวธรรมของท่านบ้าง จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

บทว่า ยถาภิรนฺต ได้แก่ประทับอยู่ตามพระอัธยาศัย. จริงอยู่

พระพุทธะทั้งหลาย เมื่อประทับอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ชื่อว่า ไม่มีความไม่ยินดี

เพราะอาศัยความวิบัติแห่งร่มเงาและน้ำเป็นต้น เสนาสนะอันไม่ผาสุก หรือ

ความไม่ศรัทธาเป็นต้นของเหล่าผู้คน ไม่มีแม้ความยินดีว่า เราจะอยู่เป็นผาสุก

ในที่นี้แล้วอยู่นาน ๆ เหตุสิ่งเหล่านั้นมีพรั่งพร้อม. แต่เมื่อตถาคตประทับ

อยู่ในที่ใด สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ในสรณะ สมาทานศีล หรือบรรพชา ก็หรือว่าแต่

นั้น สัตว์เหล่านั้น มีอุปนิสสัยแห่งโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. พระพุทธะทั้งหลาย

ย่อมประทับอยู่ในที่นั้น ตามอัธยาศัยที่จะทรงสถาปนาสัตว์เหล่านั้นไว้ในสมบัติ

เหล่านั้น เพราะไม่มีสัตว์เหล่านั้นจึงเสด็จหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ยถาอชฺฌาสย วิหริตฺวา.

บทว่า จาริกญฺจรมาโน ความว่า เสด็จพุทธดำเนินทางไกล. ก็ชื่อ

ว่าการจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้มี ๒ อย่าง คือ รีบจาริก ๑ ไม่รีบจาริก ๑.

บรรดาจาริกทั้ง ๒ นั้น การที่ทรงเห็นบุคคลผู้ควรตรัสรู้แม้ในที่ไกล

แล้วรีบเสด็จไปเพื่อโปรดให้เขาตรัสรู้ ชื่อว่ารีบจาริก. การรีบจาริกนั้น พึง

เห็นเช่นเสด็จออกต้อนรับท่านมหากัสสปะเป็นต้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อเสด็จอันรับพระมหากัสสปะ เสด็จไปตลอดหนทาง ๓ คาวุต โดยครู่เดียว.

เสด็จไป ๓๐ โยชน์ เพื่อโปรดอาฬวกยักษ์ โปรดองคุลิมาลก็เหมือนกัน แต่

โปรดปุกกุสาติ ๔๕ โยชน์ โปรดพระเจ้ามหากัปปิน ๒,๐๐๐ โยชน์ โปรด

ขทิรวนิยเถระ ๗๐๐ โยชน์ โปรดวนวาสีติสสสามเณร สัทธิวิหาริกของพระธรรม

เสนาบดี ๒,๐๐๐ โยชน์ ๓ คาวุต. ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระทูลว่า พระเจ้าข้า

ข้าพระองค์จะไปสำนักติสสสามเณร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถึงเราก็จักไป

แล้วตรัสสั่งท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอจงบอกภิกษุผู้ได้อภิญญาหก

๒๐,๐๐๐ รูป ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จไปสำนักของวนวาสีติสสสามเณร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

รุ่งขึ้นจากวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ รูปแวดล้อมเหาะ

ไปทางอากาศ เสด็จลงใกล้ประตูโคจรคามของติสสสามเณรนั้นสุดทาง ๒,๐๐๐

โยชน์ ทรงห่มจีวร. พวกผู้คนไปทำงานเห็นเข้าก็กล่าวกันว่า ท่านผู้เจริญ

พระศาสดาเสด็จมา พวกท่านมาทำงานกันแล้วช่วยกันปูอาสนะ. ถวายข้าว

ยาคู ทำทานวัตร แล้วถามภิกษุหนุ่มทั้งหลายว่า ท่านขอรับ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจะเสด็จไปไหน. อุบาสกทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จ

ในที่อื่นดอก เสด็จมาเยี่ยมติสสสามเณรในที่นี้นี่แหละ. ผู้คนเหล่านั้นเกิดโสม-

นัสว่า ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาเยี่ยมพระเถระประจำตระกูลของพวกเรา

พระเถระของพวกเรา ไม่ใช่ต่ำต้อยเลยหนอ. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำภัตกิจเสร็จ สามเณรก็เข้าบ้านบิณฑบาต ถามว่า มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

หรือ. ครั้งหนึ่ง อุบาสกเหล่านั้นบอกแก่สามเณรว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดา

เสด็จมาแล้ว. สามเณรนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เอื้อเฟื้อด้วยอาหาร

บิณฑบาต. พระศาสดาเอาพระหัตถ์จับบาตรของสามเณร แล้วตรัสว่า พอละ

สามเณร เราเสร็จภัตตกิจแล้ว. แต่นั้น สามเณรก็กราบเรียนพระอุปัชฌายะ

นั่งเหนืออาสนะที่ถึงแก่ตน แล้วกระทำภัตกิจ. ครั้นสามเณรเสร็จภัตกิจแล้ว

พระศาสดาตรัสมงคลแล้ว เสด็จออกไปประทับยืนใกล้ประตูบ้าน ตรัสถามว่า

ติสสะ ทางไปที่อยู่ของเธอทางไหน. สามเณรกราบทูลว่า ทางนี้พระเจ้าข้า.

ตรัสว่า ติสสะ เธอจงชี้ทางเดินไปข้างหน้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เป็นผู้แสดงทางแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก แต่ทรงกระทำสามเณรนั้นให้เป็นมัค-

คุเทสก์ ด้วยพุทธประสงค์ว่า จักได้เห็นสามเณรตลอดทางสิ้น ๓ คาวุต. สามเณร

ไปยังที่อยู่ของตนได้กระทำวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสถามสามเณรนั้นว่า ติสสะ ที่จงกรมตรงไหน แล้วเสด็จไปที่จงกรม

นั้น ประทับนั่งบนหินสำหรับนั่งของสามเณรแล้วตรัสถามว่า ติสสะ เธออยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

เป็นสุขในที่นี้หรือ. สามเณรนั้นทูลว่า พระเจ้าข้าขอรับ ข้าพระองค์อยู่ใน

ที่นี้ ได้ยินเสียงราชสีห์ เสือ ช้าง เนื้อ และนกยูงเป็นต้นก็เกิดอรัญญสัญญา

ว่าเราจะอยู่เป็นสุขด้วยสัญญานั้น. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งสามเณร

นั้นว่า ติสสะ เธอจงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน เราจะให้ตำแหน่งพุทธทายาทแก่

เธอ ทรงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันกึ่งโยชน์ ให้สามเณรอุปสมบทแล้วได้เสด็จไป

ยังที่อยู่ของพระองค์นั้นแล เหตุนั้น จาริกนี้จึงชื่อว่ารีบจาริก.

ส่วนการเสด็จของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์โลก ด้วยการ

เสด็จบิณฑบาตเป็นต้น โดยทางโยชน์หนึ่ง และกึ่งโยชน์ ทุก ๆ วัน ตามลำดับ

คามนิคาม ชื่อว่า ไม่รีบจาริก. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกอย่างนี้ ย่อม

เสด็จจาริกไปในมณฑล ๓ มณฑลใดมณฑลหนึ่งอย่างนี้ คือ มหามณฑล มัชฌิม-

มณฑล อันติมมณฑล. ในมณฑลทั้ง ๓ นั้น ที่ ๙๐๐ โยชน์ จัดเป็นมหา

มณฑล ที่ ๖๐๐ โยชน์ จัดเป็นมัชฌิมมณฑล ที่ ๓๐๐ โยชน์ จัดเป็นอันติม-

มณฑล. ครั้งใดมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในมหามณฑล ทรงปวารณา

ในวันมหาปวารณาแล้ว ในวันปาฎิบท มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จออกไป

ได้เกิดโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ตลอดเนื้อที่ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ. พวกที่มา

ก่อน ๆ ได้นิมนต์ให้กลับ. ในมณฑล ๒ นอกนี้ สักการะย่อมรวมลงในมหา

มณฑล. ถ้าในที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่วันสองวันในคามนิคมนั้นๆ

ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยการทรงรับอามิสทาน และทรงเจริญกุศลส่วนที่อาศัย

วิวัฏฏะ ด้วยการประทานธรรมแก่มหาชนนั้น ๙ เดือน จึงเสด็จการจาริก.

ก็ถ้าภายในพรรษาภิกษุทั้งหลายมีสมถวิปัสสนายังอ่อน ก็ไม่ทรงปวารณาใน

วันมหาปวารณา แต่จะทรงเลื่อนปวารณาออกไปปวารณา ในวันปวารณากลาง

เดือนกัตติกา (เดือน ๑๒) วันแรกของเดือนมิคสิระ (เดือน ๑) มีภิกษุหมู่

ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกเที่ยวไปตลอดมัชฌิมมณฑล. เมื่อทรงมีพระพุทธ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

ประสงค์จะเสด็จจากริกในมัชฌิมมณฑล ด้วยเหตุแม้อย่างอื่น ก็ประทับอยู่ ๔

เดือน แล้วจึงเสด็จออกไป. ในมณฑลทั้งสองนอกนี้ ลาภสักการะย่อมรวมลง

ในมัชฌิมมณฑล โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์

โลกด้วยนัยข้างต้น ๘ เดือน จึงเสร็จการจาริก. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

ประจำ ๔ เดือนแล้ว เหล่าเวไนยสัตว์มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็จะทรงคอย

อินทรีย์ของเวไนยสัตว์เหล่านั้นแก่กล้า จะประทับอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ เดือน

๑ บ้าง ๒-๓ เดือนบ้าง แล้วทรงมีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไป

ในมณฑลสองนอกนี้ ลาภสักการะย่อมรวมลงในอันติมมณฑล โดยนัยที่กล่าว

แล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงอนุเคราะห์โลก โดยนัยข้างต้น ๗

เดือนบ้าง ๖ เดือนบ้าง ๕ เดือนบ้าง ๔ เดือนบ้าง จึงเสร็จการจาริก. ดังนั้น

เมื่อทรงจาริกไปในมณฑล ๓ มณฑลใดมณฑลหนึ่ง จึงไม่ใช่จาริกไปเพราะ

เหตุแห่งปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. โดยที่แท้ เสด็จจาริกไปเพื่อทรงอนุเคราะห์ ด้วย

พระพุทธประองค์อย่างนี้ว่า คนเหล่าใด เป็นทุคคตะ เป็นพาล เป็นคนแก่

เป็นคนเจ็บป่วย ครั้งไร คนเหล่านั้น จักมาเห็นตถาคต ก็เมื่อเราจาริกไป

มหาชนก็จักได้เห็นตถาคต ในที่นั้น คนบางพวกก็จักทำจิตให้เลื่อมใส บาง

พวกก็จักบูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น บางพวกจักถวายภิกษา สักทัพพีหนึ่ง บาง

พวกก็จักสะความเห็นผิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ข้อนั้นก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่ตนเหล่านั้นตลอดกาลนาน.

อนึ่ง พระพุทธะผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกด้วยเหตุ ๔

ประการ คือ เพื่อประโยชน์แก่ความสุขของสรีระ โดยการยึดพักแข้งขา ๑

เพื่อประโยชน์คือคอยการเกิดอัตถุปปัตติ (เกิดเรื่องเป็นเหตุให้ตรัสธรรมเทศนา)

๑ เพื่อประโยชน์แก่การทรงบัญญัติสิกขาบทสำหรับภิกษุทั้งหลาย ๑ เพื่อประ-

โยชน์โปรดสัตว์ที่ควรตรัสรู้ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าแล้วในที่นั้น ๆ ให้ตรัสรู้ ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

พระพุทธผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกด้วยเหตุ ๔ ประการ อย่างอื่น

อีกคือ สัตว์ทั้งหลายจักถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะบ้าง จักถึงพระธรรมเป็น

สรณะบ้าง จักถึงพระสงฆ์เป็นสรณะบ้าง เราจักทำบริษัท ๔ ให้เอิบอิ่มด้วย

การฟังธรรมครั้งใหญ่บ้าง. พระพุทธะผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริก

ด้วยเหตุ ๕ ประการ อย่างอื่น คือ เหล่าสัตว์จักเว้นจากปาณาติบาตบ้าง จาก

อทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากสุราเมรัยมัชชปมาทัฏฐาน

บ้าง. พระพุทธะผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกไปด้วยเหตุ ๘ ประการ

อย่างอื่น คือ เขาจักได้ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เนวสัญญานาลัญ-

ญายตนสมาบัติบ้าง. พระพุทธะผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จจาริกไปด้วย

เหตุ ๘ ประการอย่างอื่นอีก คือ เขาจักบรรลุโสดาปัตติมรรคบ้าง โสดาปัตติผล

บ้าง ฯลฯ จักกระทำให้แจ้งพระอรหัตตผลบ้าง. นี้ชื่อว่า อตุริตจาริก ไม่รีบจาริก

ท่านประสงค์ในที่นี้. จาริกนั้นมี ๒ อย่าง คือ นิพันธจาริก การจาริกโดยมี

ข้อผูกพัน ๑ อนิพันธจาริก การจาริกโดยไม่มีข้อผูกพัน ๑. ในจาริก ๒ อย่างนี้

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ผู้ควรตรัสรู้ ผู้เดียวเท่านั้น ชื่อว่า

นิพันธจาริก. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไป ตามลำดับคามนิคมนคร

ชื่อว่า อนิพันธจาริก. อนิพันธจาริกนี้ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า เสนาสน สสาเมตฺวา แปลว่า เก็บงำเสนาสนะ. พระ

เถระเมื่อเก็บเสนาสนะนั้น ก็เอาบาตรเล็กบาตรใหญ่ ถลกเล็กถลกใหญ่ จีวรแพร

และจีวรผ้าเปลือกไม้เป็นต้นทำเป็นห่อ บรรจุเนยใสและน้ำมันเป็นต้น เต็มหม้อ

เก็บไว้ในห้อง ปิดประตู ให้ประกอบกุญแจ (ลูกดาล) ตีตรา เก็บงำโดยเพียง

อาปุจฉา บอกกล่าวภิกษุเจ้าถิ่น ตามพระบาลีว่า ถ้าไม่มี ภิกษุหรือสามเณร

คนวัด หรือเจ้าของวิหาร ก็เอาเตียงซ้อนเตียง เอาตั่งซ้อนตั่ง วางไว้บนหิน ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

แผ่น กองสายระเดียงจีวร หรือเชือกห้อยจีวรวางไว้ข้างบน ปิดประตูหน้าต่าง

แล้ว พึงหลีกไป.

บทว่า เยน สาวตฺถี เตน จาริก ปกฺกามิ ความว่า ท่านพระ-

ปุณณมันตานีบุตร ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงหลีกไปโดยทิศทางที่กรุง

สาวัตถี ตั้งอยู่. ก็เมื่อหลีกไป ท่านก็ให้กราบทูลแด่พระเจ้าสุทโธทนมหาราช

ให้ทรงรับเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้นไปแล้ว เมื่อหลีกไป

ก็นำเพียงบาตร จีวร หลีกไปลำพังผู้เดียว เหมือนช้างตกมันละโขลงหลีกไป

เหมือนราชสีห์ ไม่มีกิจด้วยเพื่อน. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านมากรุงราชคฤห์

พร้อมด้วยอันเตวาสิกของตน ๕๐๐ รูป แต่บัดนี้ หลีกไปผู้เดียว. ตอบว่า

กรุงราชคฤห์ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์ ส่วนกรุงสาวัตถีไกล ๕๐ โยชน์

พระศาสดาเสด็จมาจากกรุงราชคฤห์ ๔๕ โยชน์ ประทับอยู่กรุงสาวัตถี ท่าน

ฟังมาว่า บัดนี้ใกล้เข้ามาแล้ว เราจักหลีกไปผู้เดียว ดังนั้น ข้อนี้จึงไม่เป็น

เหตุ. แท้จริงท่านเมื่อไปยังสำนักพระพุทธะทั้งหลาย พึงไปสิ้นทางแม้ ๑,๐๐๐

โยชน์ แต่ในครั้งนั้น ท่านไม่อาจได้กายวิเวก ฉะนั้น เพราะต้องการจะไป

กับคนมาก เมื่อกล่าวว่า เราจะไปคนเดียว ก็กล่าวเสียว่า เราจะอยู่ในที่นี้ลำพัง

คนเดียว เมื่อพูดว่า เราจะอยู่คนเดียว ก็พูดเสียว่า เราจะไปคนเดียว เพราะ

ฉะนั้น ท่านไม่อาจจะนั่งเข้าสมาบัติ ในขณะที่ปรารถนาแล้วปรารถนาเล่า

หรือได้กายวิเวก ในเสนาสนะที่ผาสุก แต่เมื่ออยู่ลำพังผู้เดียว ก็จะได้สิ่งนั้น

ทั้งหมดโดยง่าย ดังนั้น ท่านจึงไม่ไปในครั้งนั้นหลีกไป ณ บัดนี้.

ในคำว่า จาริก จรมาโน นี้ ชื่อว่า จาริกนี้ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเท่านั้น เพื่อสงเคราะห์มหาชนก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ได้แม้แก่สาวก

ทั้งหลายด้วย ศัพท์ขยายกินความถึงพระพุทธทั้งหลาย เหมือนพัดใบตาลที่เขา

ทำด้วยเสื่อลำแพนเป็นต้น. บทว่า เยน ภควา ความว่า พระปุณณมันตานี-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

บุตร เที่ยวบิณฑบาตไปในบ้านแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงสาวัตถีทำภัจกิจแล้ว เข้า

ไปสู่พระเชตวันไปยังที่อยู่ของพระสารีบุตรเถระ หรือของพระมหาโมคคัลลาน

เถระล้างเท้าแล้วทาน้ำมัน ฉันน่าดื่มหรือน้ำปานะ พักหน่อยหนึ่ง ไม่เกิด

จิตคิดว่าจะเฝ้าพระศาสดา แล้วเดินตรงแน่วไปยังบริเวณพระคันธกุฏี. ด้วยว่า

พระเถระประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่มีกิจกับภิกษุอื่น เพราะฉะนั้นท่านจึง

ไม่เกิดจิตคิดเเม้อย่างนี้ว่า เราจักพาพระราหุลหรือพระอานนท์ให้ทำโอกาสเฝ้า

พระศาสดา. จริงอยู่ เถระเป็นผู้สนิทสนมในพระพุทธศาสนาเองทีเดียว เหมือน

นักรบใหญ่ผู้มีชัยชนะในสงครามของพระราชา. เหมือนอย่างว่า นักรบเช่นนั้น

ประสงค์จะเฝ้าพระราชา ชื่อว่า ไม่มีกิจที่จะคบคนอื่น เฝ้าพระราชาย่อมเฝ้า

ได้เอาทีเดียว เพราะเป็นผู้สนิทสนมฉันใด แม้พระเถระก็ฉันนั้น เป็นผู้คุ้นเคย

ในพระพุทธศาสนา ท่านก็ไม่มีกิจที่จะคบภิกษุอื่นเเล้ว เฝ้าพระศาสดา เพราะ

ฉะนั้น ท่านล้างเท้าแล้วก็เช็ดที่เช็ดเท้าเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเล็งเห็นว่าเวลารุ่งเช้า มันตานีบุตร จักมา เพราะฉะนั้น จึง

เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏีไม่ใส่กลอน ระงับความกระวนกระวาย ลุกขึ้น

ประทับนั่ง. พระเถระผลักบานประตูเข้าไปยังพระคันธกุฏี ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสธรรมีกถา ตรัสอานิสงส์สามัคคีรสแก่กุลบุตร ๓ คน

ในจุลลโคสิงคสูตร ตรัสอานิสงส์ถวายที่พักในเสขสูตร ตรัสกถาที่เกี่ยวด้วย

บุพเพนิวาสานุสติญาณ อันทำให้ได้สติในฆฏิการสูตร ตรัสธัมมุทเทส ๔ ใน

รัฏฐปาลสูตร ตรัสเรื่องอานิสงส์ถวายน้ำดื่มในเสลสูตร เมื่อตรัสธรรมกถา

ตรัสอานิสงส์ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว แก่พระภคุเถระในสกิเลสิยสูตร. แต่ใน

รถวินีตสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ท่านพระปุณณ ทรงแสดงเรื่องกถา

ชื่ออนันตนัย อันเป็นที่อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ ว่า ดูก่อนปุนณะ แม้นี้ก็ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

อัปปิจฉกถา สันโตสกถาเหมือนกัน ประหนึ่งประทับยืนอยู่ที่สุคเหยียด

พระหัตถ์ไปในมหาสมุทรแก่พระสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทา. บทว่า เยนนฺธว

ความว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้น เวลาหลังอาหาร พระเชตวันพลุกพล่าน คนเป็น

อันมากมีกษัตริย์ พราหมณ์ เป็นต้น หลั่งไหลมาสู่พระเชตวัน เหมือนสถาน

ค่ายของพระเจ้าจักรพรรดิ ภิกษุไม่อาจเพื่อได้ความสงัด ส่วนอันธวัน สงัด

เสมือนเรือนทำความเพียร เพราะฉะนั้น ท่านปุณณมันตานีบุตร จึงเข้าไปยัง

อันธวัน. ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่เห็นเหล่าพระมหาเถระ. เขาว่าเพราะท่าน

คิดอย่างนี้ว่า เรามาเวลาเย็นจักเห็นเหล่าพระมหาเถระ แล้วจักเฝ้าพระทศพลอีก

การปรนนิบัติพระมหาเถระอย่างนี้ก็จะมีครั้งเดียว สำหรับพระศาสดาจักมี ๒ ครั้ง

แต่นั้นเราถวายบังคมพระศาสดาแล้วก็จักกลับที่อยู่ของเราเลย.

บทว่า อภิณฺห กิตฺตยมาโน อโหสิ ได้แก่ สรรเสริญบ่อย ๆ อยู่.

ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เขาว่า บุตรนางมันตานี ชื่อปุณณะ ไม่คลุกคลีกับ

บริษัท ๔ ท่านจักมาเฝ้าพระทศพล ท่านไม่ทันพบเราก็จักไปแล้วหรือหนอ

แล้วสรรเสริญท่านพระปุณณะท่ามกลางสงฆ์ ทุก ๆ วันตั้งแต่นั้นมา เพื่อ

เตือนสติแก่เหล่าพระเถระ พระนวกและพระมัชฌิมะ. ได้ยินว่า ท่านมีความ

คิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า ภิกษุแก่ ๆ ไม่อยู่ภายในวิหารทุกเวลา แม้เมื่อเรา

กล่าวคุณของท่าน ก็ผู้ใดจักเห็นภิกษุนั้น ผู้นั้นก็จักมาบอก. ครั้งนั้น สัทธิ

วิหาริก ของพระเถระผู้นั้น ได้เห็นท่านพระปุณณมันตานีบุตร กำลังถือบาตร

จีวรเข้าไปยังพระคันธกุฎี. ถามว่า ก็ท่านได้รู้จักท่านพระปุณณมันตานีบุตรนั้น

อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุรูปนั้นได้รู้ทั่วถึงพระธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้ ชื่อ ปุณณะ ปุณณะว่า พระเถระ ที่พระอุปัชฌาย์ ของเราสรรเสริญ

อยู่บ่อย ๆ รูปนี้นี่เอง ดังนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงมาบอกแก่พระเถระ. บทว่า

นิสีทน อาทาย ได้แก่ ท่อผ้าที่มีชาย ท่านเรียก ชื่อว่า นิสีทนะ. ก็พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

เถระถือท่อนหนังไป. บทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต แปลว่า ข้างหลัง ๆ. บทว่า

สีสานุโลกิ ความว่า ภิกษุใดเดินไปเห็นหลังในที่ดอน เห็นศีรษะในที่ลุ่ม

ภิกษุนี้เรียกว่า มองเห็นศีรษะ คือ ภิกษุเป็นเช่นนั้นติดตามไป. ก็พระ

เถระแม้เดินไปใกล้ชิดเพราะมีเสียงฝีเท้าที่ย่างไปก็ไม่ลำบากเพราะเสียงเท้า

แต่ท่านรู้ว่า นี้ไม่ใช่เวลาที่จะแสดงความบันเทิงกัน จึงไม่ไปใกล้ชิด

ธรรมดาอันธวันเป็นป่าใหญ่ คนที่มองไม่เห็นคนที่นั่งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ต้อง

กระทำเสียงอันไม่ผาสุก (ตะโกน) ว่าผู้มีอายุ ปุณณะ ปุณณะ เพราะฉะนั้น

พระเถระ จึงอยู่ไม่ไกลนัก เพื่อจะรู้สถานที่ท่านนั่ง จึงเดินไปพอมองเห็น

ศีรษะ. บทว่า ทิวาวิหาร นิสีทิ ได้แก่ นั่ง เพื่อประโยชน์แก่การพักกลางวัน.

ทั้ง ๒ ท่านนั้น ทั้งท่านปุณณะ ทั้งพระสารีบุตรเถระก็เป็นชาติแห่งอุทิจจ-

พราหมณ์ ทั้งพระปุณณะเถระ ทั้งพระสารีบุตรเถระ ก็มีวรรณะเหมือนทอง

ทั้งพระปุณณะเถระ ทั้งพระสารีบุตร ก็ถึงพร้อมด้วยสมาบัติ สัมปยุตด้วย

พระอรหัตตผล ทั้งพระปุณณะเถระ ก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหารแสนกัปป์

ทั้งพระสารีบุตรเถระ. ก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหารหนึ่งอสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัปป์

ทั้งพระปุณณะเถระทั้งพระสารีบุตรเถระ ก็เป็นพระมหาขีณาสพผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทา. ดังนั้น จึงเป็นเหมือนราชสีห์สองตัวเข้าไปยังถ้ำทองถ้ำ

เดียวกัน เหมือนเสือโคร่งสองตัวลงสู่ที่สะบัดแข้ง สะบัดขาแห่งเดียวกัน เหมือน

พญาช้างฉัททันต์สองเชือกเข้าสู่สาลวันที่มีดอกบานดีแล้วแห่งเดียวกัน เหมือน

พญาสุบรรณสองตัวเข้าสู่ฉิมพลีวันแห่งเดียวกัน เหมือนท้าวเวสสวัณ สององค์

ประทับยานนรพาหนอันเดียวกัน เหมือนท้าวสักกะสององค์ ประทับร่วม

ปัณทุกัมพลแท่นเดียวกัน เหมือนท้าวหาริตมหาพรหมสององค์ ประทับอยู่

ภายในวิมานเดียวกัน พระมหาเถระนั้นเป็นชาติพราหมณ์ทั้งสองรูป มีวรรณะ

เหมือนทองทั้งสองรูป ได้สมาบัติทั้งสองรูป ถึงพร้อมด้วยอภินิหารทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

รูป เป็นพระมหาขีณาสพ ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาทั้งสองรูป เข้าไปไพรสณฑ์

เเห่งเดียวกัน ทำไพรสณฑ์นั้นให้สง่างาม.

บทว่า ภควติ โน อาวุโส พฺรหฺมจริย วุสฺสติ ความว่า ท่าน

พระสารีบุตรทั้งที่รู้อยู่ว่า ท่านพระปุณณะมันตานีบุตรนั้น อยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ถามเพื่อตั้งเรื่องขึ้นดังนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่าน

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราหรือ.

จริงอยู่ เมื่อกถาแรกยังไม่ตั้งขึ้น กถาหลังก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระเถระ

จึงถามอย่างนี้. พระเถระก็กล่าวคล้อยตามว่า อย่างนั้นซิ ผู้มีอายุ. ครั้งนั้น

ท่านพระสารีบุตรใคร่จะฟังคำตอบปัญหาของท่านพระปุณณมันตานีบุตรนั้น จึง

ถามวิสุทธิ ๗ ตามลำดับว่า ผู้มีอายุ ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี

พระภาคเจ้า เพื่อสีลวิสุทธิ หรือหนอ. เรื่องพิสดารของวิสุทธิ ๗ นั้น กล่าว

ไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ก็เพราะเหตุที่การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของผู้ที่

แม้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลเป็นต้น ยังไม่ถึงที่สุด ฉะนั้น ท่านพระปุณณะจึง

ปฏิเสธทั้งหมดว่าไม่ใช่อย่างนี้ดอกผู้มีอายุ. บทว่า กิมตฺถ จรหาวุโส ความว่า

ท่านพระสารีบุตรถามว่า ผิว่า ท่านไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์

แก่สีลวิสุทธิเป็นต้น เมื่อเป็นดังนั้น ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่ออันใดเล่า.

ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ชื่อว่า อนุปาทาปรินิพพาน ในคำว่า อนุปาทา-

ปรินิพฺพานตฺถ โข อาวุโส อุปาทานมี ๒ ส่วน คือ คหณุปาทาน ๑

ปัจจยุปาทาน ๑. อุปาทาน ๔ อย่าง มีกามุปาทานเป็นต้น ชื่อว่า คหณุปาทาน.

ปัจจัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า สังขารเกิดมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ชื่อว่า ปัจจยุ

ปาทาน. บรรดาอุปาทานเหล่านั้น อาจารย์ทั้งหลายผู้ถือคหณุปาทาน เรียก

อรหัตตผลที่ไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ แม้ด้วยอุปาทาน ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็น

ไปว่า อนุปาทาปรินิพพาน ในคำนี้ ว่า อนุปาทาปรินิพพาน. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

พระอรหัตผลนั้น หาประกอบด้วยอุปาทาน ยึดธรรมอะไรไม่ และท่าน

กล่าวว่าปรินิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งกิเลสปรินิพพาน. ส่วนอาจารย์ผู้ถือ

ปัจจยุปาทาน เรียกปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้ ที่ไม่เกิดขึ้นโดยปัจจัย ที่ปัจจัย

ไม่ปรุงแต่ง ได้แก่อมตธาตุนั่นเอง ว่าอนุปาทาปรินิพพาน ในคำว่า

อนุปาทาปรินิพพาน. นี้เป็นที่สุด นี้เป็นเงื่อนปลาย นี้เป็นที่จบ ด้วยว่า การอยู่

จบพรหมจรรย์ ของผู้ถืออปัจจยปรินิพพานย่อมชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น

พระเถระจึงกล่าวว่า อนุปาทาปรินิพพาน.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอนุปาทาปรินิพพาน

นั้น เริ่มถามอีกว่า ผู้มีอายุ สีลวิสุทธิ หรือชื่อว่า อนุปาทาปรินิพพาน. ฝ่าย

พระเถระปฎิเสธคำนั้นทั้งหมดในปริวัฏ คือรอบทั้งหลายอย่างนั้นเหมือนกัน

เมื่อแสดงโทษในที่สุด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สีลวิสุทฺธิญฺเจ อาวุโส. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า ปญฺเปยฺย แปลว่า ถ้าพึงบัญญัติไซร้. บทว่า สอุปาทาน

เยว สมาน อนุปาทาปรินิพพาน ปญฺเปยฺย ความว่า พึงบัญญัติเฉพาะ

สคหณธรรมว่า นิคคหณธรรม พึงบัญญัติ เฉพาะสปัจจยธรรม ว่าอปัจจยธรรม

พึงบัญญัติ เฉพาะสังขตธรรมว่า อสังขตธรรม. ก็พึงถือเนื้อความในญาณ

ทัสสนวิสุทธิ์อย่างนี้ว่า พึงบัญญัติเฉพาะสัปปัจจัยธรรมว่า อปัจจัยธรรม พึง

บัญญัติเฉพาะสังขตธรรมว่า อสังขตธรรม. พึงเห็นโลกิยพาลปุถุชน ผู้เดิน

ไปตามวัฏฏะ ในคำว่า ปุถุชฺชโน หาวุโส นี้. จริงอยู่ ปุถุชนนั้นเว้นธรรม

เหล่านี้โดยประการทั้งปวง เพราะแม้เพียง จตุปาริสุทธิศีลก็ไม่มี. บทว่า เตนหิ

ความว่า บัณฑิตบางพวกย่อมรู้ทั่วถึงอรรถได้โดยอุปมา ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุนั้น

เราจึงอุปมาแก่ท่าน. บทว่า สตฺต รถวินีตานิ ได้แก่ รถ ๗ ผลัด ที่เทียม

ด้วยม้าอาชาไนย ที่ฝืกแล้ว. บทว่า ยาวเทว จิตฺตวิสุทฺธตฺถา ความว่า

ท่านผู้มีอายุ ชื่อว่า สีลวิสุทธินี้ย่อมมีเพียงเพื่อประโยชน์แห่งจิตตวิสุทธิ. บทว่า

จิตฺตวิสุทฺธตฺถา นี้เป็นปัญจมีวิภัตติ. ก็ในข้อนี้ มีใจความดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

ประโยชน์กล่าวคือจิตตวิสุทธิ มีอยู่เพียงใด ชื่อว่า สีลวิสุทธินี้ ก็พึงปรารถนา

เพียงนั้น ก็จิตตวิสุทธินี้นั้น เป็นประโยชน์ของสีลวิสุทธิ นี้เป็นที่สุด นี้เป็น

เบื้องปลาย จริงอยู่ ผู้ตั้งอยู่ในจิตตวิสุทธิย่อมชื่อว่า ทำกิจแห่งสีลวิสุทธิ.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

ในข้อนี้มีการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาดังต่อไปนี้ พระโยคาวจรผู้

ขลาดกลัวต่อชรา และมรณะ พึงเห็นเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศล สักกายนคร

พึงเห็นเหมือนสาวัตถีนคร นครคือพระนิพพาน พึงเห็นเหมือนนครสาเกต

เวลาที่พระโยคีเกิด คือการตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ที่ยังไม่รู้ พึงเห็นเหมือนเวลา

พระราชาผู้นำความเจริญ กิจรีบด่วนที่จะพึงรีบไปถึงเมืองสาเกต วิสุทธิ ๗

พึงเห็น เหมือนรถ ๗ ผลัด เวลาที่ตั้งอยู่ในสีลวิสุทธิ พึงเห็นเหมือนเวลาขึ้น

รถผลัดที่หนึ่ง เวลาที่ตั้งอยู่ในจิตตวิสุทธิเป็นต้น โดยสีลวิสุทธิเป็นต้น พึงเห็น

เหมือนเวลาที่ขึ้นสู่รถผลัดที่ ๒ โดยรถผลัดที่ ๑ เป็นต้น เวลาที่พระโยคาวจร

ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ แล้วขึ้นไปบนปราสาท คือธรรม

ประเสริฐ ผู้มีกุศลธรรม ๕๐ เป็นเบื้องหน้าเป็นบริวาร เข้าผลสมาบัติอันมี

พระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วนั่งในที่นอนคือ นิโรธ พึงเห็นเหมือนเวลาที่

เสวยโภชนะมีรสดีของพระราชาผู้เสด็จลงที่ภายในประตูเมืองสาเกตด้วยรถผลัด

ที่ ๗ แล้วแวดล้อมไปด้วยหมู่ญาติมิตร ณ. เบื้องบนปราสาท.

พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ถามถึงวิสุทธิ ๗ กะท่านพระปุณณะ

ผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ประการ ด้วยประการฉะนี้. ท่านพระปุณณะก็วิสัชชนากถา

วัตถุ ๑๐ ประการ.

ก็พระธรรมเสนาบดีเมื่อถามอย่างนี้ รู้หรือไม่รู้จึงถาม ก็หรือว่า

ท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิ จึงถามในวิสัย หรือไม่ฉลาดในลัทธิ จึงถามในอวิสัย

ฝ่ายพระปุณณเถระ รู้หรือไม่รู้จึงวิสัชชนา ก็หรือว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในลัทธิ

จึงวิสัชชนาในวิสัย หรือไม่ฉลาดในลัทธิ จึงวิสัชชนาในอวิสัย. ก็ท่านพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

เสนาบดีสารีบุตรรู้เป็นผู้ฉลาดในลัทธิ จึงถามในวิสัย เพราะฉะนั้น ท่านพระ-

ปุณณะเมื่อกล่าวจึงกล่าวกะพระธรรมเสนาบดีเท่านั้น ท่านพระปุณณะรู้ เป็น

ผู้ฉลาดในลัทธิจึงแก้ในวิสัย เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

เมื่อกล่าว พึงกล่าวกะท่านพระปุณณะเท่านั้น. ก็ข้อที่ท่านย่อไว้ในวิสุทธิทั้งหลาย

ท่านก็ให้พิสดารแล้วในกถาวัตถุทั้งหลาย ข้อที่ท่านย่อไว้ในกถาวัตถุทั้งหลาย

ท่านก็ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิทั้งหลาย ข้อนั้นพึงทราบโดยนัยนี้. จริงอยู่

ในวิสุทธิทั้งหลาย สีลวิสุทธิอย่างเดียวก็มาเป็นกถาวัตถุ ๔ คือ อัปปิจฉกถา

สันตุฏฐิกถา อสังสัคคกถา สีลกถา. จิตตวิสุทธิอย่างเดียวก็มาเป็นกถาวัตถุ ๓

คือ ปวิเวกกถา วิริยารัมภกถา สมาธิกถา. อันดับแรกข้อที่ท่านย่อไว้ใน

วิสุทธิทั้งหลาย ท่านก็ให้พิสดารแล้วในกถาวัตถุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. ส่วน

บรรดากถาวัตถุทั้งหลาย ปัญญากถาอย่างเดียวมาเป็นวิสุทธิ ๕ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ

กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณทัสสนวิสุทธิ. ข้อที่ท่านย่อไว้ในกถาวัตถุ ท่านให้พิสดารแล้วในวิสุทธิ

ทั้งหลายด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระ เมื่อถามวิสุทธิ ๗

ไม่ถามอย่างอื่น ถามเฉพาะกถาวัตถุ ๑๐ เท่านั้น. ฝ่ายพระปุณณเถระ เมื่อจะ

วิสัชชนาวิสุทธิ ๗ ก็ไม่วิสัชชนาอย่างอื่น วิสัชชนาเฉพาะกถาวัตถุ ๑๐ เท่านั้น.

แม้ท่านทั้ง ๒ นั้น รู้แล้วเป็นผู้ฉลาดในลัทธิ พึงทราบว่า ถามและวิสัชชนา

ปัญหาในวิสัย เท่านั้น.

บทว่า โก นาม อายสฺมา ความว่า พระเถระไม่รู้ชื่อของท่าน ก็หามิได้

แต่เมื่อรู้ก็ถาม ด้วยหมายจะได้ความบรรเทิง. ก็พระเถระเมื่อจะบรรเทิงจึงกล่าว

คำนี้ว่า กถญฺจ ปน อายสฺมนฺต. บทว่า มนฺตานีปุตฺโต ได้แก่ เป็น

บุตรของนางพรหมณี ชื่อว่า มันตานี. บทว่า ต ในคำว่า ยถาต นี้ เป็น

เพียงนิบาต. ความสังเขปในข้อนี้มีดังนี้ว่า ท่านพยากรณ์แล้ว เหมือนอย่าง

พระสาวกผู้สดับพยากรณ์. บทว่า อนุมสฺส อนุมสฺส คือยังกำหนดกถาวัตถุ ๑๐.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ผ้าโพกคือ เทริด เรียกว่า เวละ ในคำว่า เวลญฺฑุเกน ถ้าหากเพื่อน

พรหมจารีทั้งหลายให้ท่านนั่งในที่นั้น บริหารผ้าโพกอยู่บนศีรษะ ก็จะพึงได้

เห็น แม้การเห็นที่ได้แท้อย่างนี้ก็เป็นลาภของเพื่อนพรหมจารีทีเดียว เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงแสดงอุบายแห่งการเห็นเนือง ๆด้วยการกำหนดที่อันไม่ใช่ฐานะ.

ก็พระเถระเมื่อไม่บริหารอย่างนี้ ต้องการจะถามปัญหา หรือต้องการจะฟังธรรม

แสวงหาอยู่ว่า พระเถระยืนที่ไหน นั่งที่ไหน จะพึงประพฤติ. แต่เมื่อบริหาร

อย่างนี้ ก้มศีรษะลงในขณะที่ต้องการให้พระเถระนั่งบนอาสนะ ที่สมควรอย่าง

ใหญ่ จึงอาจถามปัญหา หรือฟังธรรมได้. ท่านจึงแสดงอุบายแห่งการเห็นเนืองๆ

ด้วยการกำหนดสิ่งซึ่งมิใช่ฐานะด้วยประการฉะนี้. บทว่า สารีปุตฺโตติ จ ปน ม

ความว่า ก็แลเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักเราอย่างนี้ว่า เป็นบุตรของนาง

พรหมณี ชื่อว่าสารี. บทว่า สตฺถุกปฺเปน ได้แก่ เสมือนพระศาสดา.

ท่านพระปุณณะยกพระสารีบุตรเถระ. ประดุจตั้งไว้จดจันทรมณฑลด้วยบทเดียว

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความที่พระเถระเป็นพระธรรมกถึก โดย

ส่วนเดียวปรากฏแล้วในที่นี้ ก็เมื่อเรียกอมาตย์ว่าผู้ใหญ่ พึงเรียกว่า เสมือน

พระราชา เรียกโค ว่าขนาดเท่าช้าง เรียกว่าบึงขนาดเท่ามหาสมุทร เรียก

แสงสว่างว่าขนาดเท่าแสงสว่างของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์. ต่อแต่นั้น ก็ไม่มี

การเรียกเพื่อนพรมณจารีเหล่านั้นว่าใหญ่. เมื่อจะเรียกแม้พระสาวกว่าใหญ่

ก็พึงเรียกว่าเทียบเท่าพระพุทธเจ้า. ต่อแต่นั้น ก็ไม่มีพระเถระนั้นเป็นใหญ่.

ท่านพระปุณณะ ยกพระเถระเหมือนตั้งไว้จรดจันทรมณฑล ด้วยบทเดียวเท่า

นั้น ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า เอตฺตกปิ โน นปฺปฏิภาเสยฺย นี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า ไม่

มีความไม่มีไหวพริบสำหรับพระเถระ ผู้ไม่ประมาท ซึ่งบรรลุปฏิสัมภิทา ก็

ข้ออุปมานี้อันใด ท่านนำมาแล้ว ไม่ควรนำข้ออุปมานั้นมา ควรกล่าวแต่ใจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

ความเท่านั้น แต่จะนำข้ออุปมามาได้ ก็สำหรับผู้ไม่รู้ด้วยอุปมาทั้งหลาย แต่

ในอรรถกถา ท่านปฏิเสธข้อนี้กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ข้ออุปมา นำมาได้แม้ใน

สำนักของพระพุทธะทั้งหลาย ก็ท่านยำเกรงพระเถระ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

อนุมสฺส อนุมสฺส ปุจฺฉิตา ได้แก่กำหนดไว้ถนัดถนี่ ถามกถาวัตถุ ๑๐.

ถามว่า ก็การปุจฉาหรือวิสัชชนาปัญหา เป็นของหนัก. ตอบว่า การเล่าเรียน

แล้วปุจฉา ไม่หนัก ส่วนการวิสัชชนาหนัก ทั้งปุจฉา ทั้งวิสัชชนา มีเหตุหรือ

มีการณ์ ก็หนักทั้งนั้น. บทว่า สมฺโมทึสุ ได้แก่มีจิตเสมอกัน บันเทิง.

เทศนาจบลงตามลำดับ อนุสนธิ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาวินีตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

๕. นิวาปสูตร

[๓๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พระองค์ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับ

ฝูงเนื้อด้วยคิดว่า เมื่อฝูงเนื้อกินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้ จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณ

มีชีวิตอยู่ยืนนาน โดยที่แท้ พรานเนื้อปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยมีความ

ประสงค์ว่า ฝูงเนื้อเข้ามาสู่ป่าหญ้าที่เราปลูกไว้นี้แล้ว จักลืมตัวกินหญ้า เมื่อ

เข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักมัวเมา เมื่อมัวเมา ก็จักประมาท เมื่อประมาท

ก็จักถูกเราทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านี้.

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น ฝูงเนื้อฝูงแรก

เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ

ทำเอาได้ตามซอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอด

พ้นอำนาจของพรานเนื้อได้.

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สอง คิดเห็นร่วมกันอย่าง

นี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่

เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท

ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูง

แรกก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกิน

หญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่

เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า. ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่

สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม

กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้า

ที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีกฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัว

กินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อได้.

อุปมาฝูงเนื้อฝูงที่สาม

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สาม คิดเห็นร่วมกันอย่าง

นี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้า

อยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อ

ประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สองก็

คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ

ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็

ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ ทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้า

นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานไปได้. ถ้า

กระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็น

ภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้า

เสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึง

เดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกาย

ซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรง

หมดไปจึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

เหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ

ทำเอาได้ตามใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้น

อำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้าที่ปลูก

ไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไป

สู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้ว

ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็จักไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จักไม่ประมาท เมื่อไม่

ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทำได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ครั้นคิดดังนี้แล้ว

ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น

ครั้นเข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้

ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท

ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น

พรานเนื้อกับบริวารได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้คงเป็นสัตว์แกมโกงคล้ายกับมี

ฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไป

ของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัด ไม้หลาย ๆ อัน ล้อม

ป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามใน

ที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้. ครั้นคิดฉะนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้

เป็นอันมาก ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า. พรานเนื้อกับบริวารก็ได้

พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเขาไปจับเอาได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูง

เนื้อฝูงที่สามนั้นก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้.

อุปมาฝูงเนื้อฝูงที่สี่

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า

ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพราน

เนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกก็ไม่รอดพ้น

อำนาจของพรานเนื้อได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า

ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อ

เข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท

ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้น

ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้า

เสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า

ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่

เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลา

สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม

กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้า

ที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประ-

มาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็น

เช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง

ฝูงเนื้อฝูงที่สาม ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่

ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่

ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตาม

ชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้นก็ไม่รอดพ้นอำนาจของ

พรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า เนื้อฝูง

แรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกไม่รอดพ้น

อำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า

ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อ

ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพราน

เนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงเเรกก็ไม่

รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสีย

ทั้งสั้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้น

คิดดังนี้แล้วจึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัย

แล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้า

และน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลัง

เรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูก

ไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปสู่ป่าหญ้านั้น ลืมตัวกิน

หญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้อง

ซุ้มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ ๆ

ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น จะ

ไม่ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็จักไม่มัวเมา เมื่อ

ไม่มัวเมา ก็จักไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาได้

ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่ม

อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น

ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่

มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทำเอา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

ได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พรานเนื้อและบริวาร

ได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้คงเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์

ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน

อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลาย ๆ อันล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้

รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเราจะไป

จับเอาได้ ครั้นคิดดังนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมากล้อม

ป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า พรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อ

ฝูงที่สาม ในที่ซึ่งเขาจะไปจับเอาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้น

ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่ง

พรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึงครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ต้องไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้า

ที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้า ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา

ก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจใน

ป่าหญ้านั้น. ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็พากันอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพราน

เนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูก

ไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืม

ตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท

ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น

พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็นว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับ

มีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ อนึ่ง เราก็ไม่ทราบทาง

มาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลาย ๆ อัน

ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกนี้ไว้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สี่

ในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดดังนี้แล้ว พวกเขาจึงเอาตาข่ายขัดไม้เป็น

อันมาก ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า แต่ก็หาได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

ฝูงที่สี่ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอาได้ไม่ ทีนั้น พรานเนื้อกับบริวารจึงคิดตกลงใจว่า

ถ้าเราขืนรบกวนฝูงเนื้อฝูงที่สี่ให้ตกใจแล้ว ก็จะพลอยทำให้ฝูงเนื้ออื่น ๆ ตก

ใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคงไปจากป่าหญ้าปลูกไว้นี้หมดสิ้น อย่ากระนั้นเลย

เราเพิกเฉยฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสียเถิด ครั้นคิดดังนี้แล้ว พรานเนื้อกับบริวารก็เพิกเฉย

ฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ก็รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อ

ไปได้.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอุปมาให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ

ได้ชัดขึ้น. ในคำอุปมานั้น มีอธิบายดังนี้. คำว่าป่าหญ้าเป็นชื่อของปัญจกามคุณ.

คำว่าพรานเนื้อเป็นชื่อของมารผู้มีบาปธรรม. คำว่าบริวารของพรานเนื้อ เป็น

ชื่อของบริวารของมาร. คำว่าฝูงเนื้อเป็นชื่อของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณ-

พราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว

บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภค

ปัญจกามคุณก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้

ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น

ก็ไม่พ้นอำนาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์

พวกที่หนึ่งนี้ว่า เปรียบเหมือนเนื้อฝูงที่หนึ่งนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สอง

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วม

กันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็น

โลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจ

กามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามความชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็น

เช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น

เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ครั้น

คิดดังนี้แล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น

เมื่องดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น งดเว้นจาก

การบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดอง

เป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าว

เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็น

ภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษา

บ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพ

อยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอ

เหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างการซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป

เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้ว พวก

เธอก็หันกลับเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว

ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็

ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณ-

พราหมณ์พวกที่สองนั้นก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้ว่าเปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สาม

[๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สามคิดเห็นร่วม

กันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็น

โลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจ-

กามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาตามความชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่น

นี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

สมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง

เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ

เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก่มวั-

เมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามความชอบใจ

ในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุด

พ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณ

อันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้วต้องเข้าไป

อาศัยอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณ

อันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็เข้าไปอยู่

ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มี

ลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มี

รำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็น

ภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง

บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิม-

หันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยว

แรงก็หมดไป เมื่อเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อม

แล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อ

เข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร

เราจะต้องอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย

อยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่

ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท

เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจ ในปัญจกามคุณนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

ครั้นคิดฉะนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณ

ของมารอันเป็นโลกามิสนั้น. ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกาม-

คุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา

เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจ

ในปัญจกามคุณนั้น. แต่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลก

เที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุดชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพ

อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้ว

เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้

สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวพวกสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูง

ที่สามนั้น.

สมณพราหมณ์พวกที่สี่

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่คิดเห็นรวมกัน

อย่างนี้ว่าสมณพราหม์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส

แล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น

ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท

ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ-

พราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้นก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์

พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกาม-

คุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อ

มัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณ

นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของ

มารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกานคุณอันเป็นโลกา-

มิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง

มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง

มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้า

เป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร

บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์

เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบ-

ผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม

เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อมแล้วพวกเธอกลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโล-

กามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อ

มัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณ

นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจ

ของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สามคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณ-

พราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว

บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริ-

โภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำเอา

ได้ตามชอบใจในกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น

ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วนพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่าง

นี้ว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว

ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว

บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำ

เอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง

นั้นก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภค

ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

แล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษา

บ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา

บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง

มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง

มีเง่าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ

อยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและ

น้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็

หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุตติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุตติเสื่อม

แล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อ

เข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท

เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้

แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร

เราจะต้องอาศัยอยู่ใกล้ ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย

อยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่

ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท

เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิด

ดังนี้แล้วสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใกล้ ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็น

โลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอัน

เป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่

ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น.

แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง

โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ

อย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

ก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์

พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ อย่ากระนั้นเลยเราต้องอาศัย

อยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่

เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น จะไม่ลืมตัวบริโภคปัญจ-

กามคุณ เมื่อไม่เข้าไปหา ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อ

ไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจ

ในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใน

ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เมื่ออาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหา

ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่

มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้

ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สี่นั้น

ก็หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์

พวกที่สี่นี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สี่นั้น.

มารและบริวารของมารไปไม่ถึง

[๓๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง

เป็นอย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของ

มารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความ

ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็น

ร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมาร

ให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมาร

ผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญ-

จายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสีย

ทั้งสิ้น เพราะปฏิฆสัญญาไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญาอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุ

ของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนญาน ซึ่งมี

บริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุ

ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่

เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า

อะไร ๆ ไม่มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด

คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอกิญจัญญายตน-

ฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุ

ของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะ

เห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า

ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความ

ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ

ในโลกเสียได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมี

ความยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบ นิวาปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

อรรถกถานิวาปสูตร

นิวาปสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในนิวาปสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมปลูกพืชคือ

หญ้าไว้ในป่าเพื่อต้องการจะจับเนื้อด้วยตั้งใจว่า เราจะจับพวกเนื้อที่มากินหญ้า

นี้ได้สะดวก ผู้นั้น ชื่อว่า เนวาปิกะ. บทว่า นิวาป ได้แก่ พืชที่พึงปลูก.

บทว่า นิวุตฺต ได้แก่ ปลูก. บทว่า มิคชาตา ได้แก่ ชุมเนื้อ. บทว่า

อนุปขชฺช แปลว่า ไม่เข้าไปเบียดเบียน. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ สยบด้วย

อำนาจตัณหา อธิบายว่า หยั่งเข้าไปสู่หทัยด้วยตัณหาแล้วให้ถึงอาการสยบ.

บทว่า มท อาปชฺชิสฺสนฺติ ได้แก่ จักถึงความมัวเมาด้วยอำนาจมานะ.

บทว่า ปมาท ได้แก่ภาวะ คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า ยถากาม-

กรณียา ภวิสฺสนฺติ ความว่า เราปรารถนาโดยประการใด จักต้องกระทำ

โดยประการนั้น. บทว่า อิมสฺมึ นิวาเป ได้แก่ ในที่เป็นที่เพาะปลูกนี้.

ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าหญ้าที่เพาะปลูกไว้นี้ มีความงอกงามในฤดูแล้งก็มี. ฤดูแล้ง

ย่อมมีโดยประการใด ๆ หญ้านั้นย่อมเป็นกลุ่มทึบอันเดียวกันเหมือนหญ้าละมาน

และเหมือนกลุ่มเมฆโดยประการนั้นๆ. พวกพรานไถในที่สำราญด้วยน้ำแห่งหนึ่ง

แล้วปลูกหญ้านั้น กั้นรั้วประกอบประตูรักษาไว้. ครั้นเมื่อใดในเวลาแล้งจัด

หญ้าทุกชนิดย่อมขาว น้ำเพียงชุ่มลิ้นก็หาได้ยาก ในเวลานั้นเนื้อทั้งหลาย

พากันกินหญ้าขาวและใบไม้เก่า ๆ เที่ยวไปอย่างหวาดกลัวอยู่ ดมกลิ่นหญ้าที่

เพาะปลูกไว้ ไม่คำนึงถึงการฆ่าและการจับเป็นต้น ข้ามรั้วเข้าไป. จริงอยู่

หญ้าที่เพาะปลูกไว้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจอย่างยิ่งของพวกเนื้อเหล่านั้น. เจ้าของ

หญ้าเห็นพวกเนื้อเหล่านั้น ทำเป็นเหมือนเผลอไป ๒-๓ วัน เปิดประตูไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

ภายในที่เพาะปลูก แม้บ่อน้ำก็มีในที่นั้น ๆ พวกเนื้อเข้าไปทางประตูที่เปิดไว้

กินและดื่มเท่านั้นก็หลีกไป. ในวันรุ่งขึ้นก็ไม่มีใครทำอะไร ๆ เพราะฉะนั้น

จึงกระดิกหูกินดื่มแล้วไม่รีบไป. วันรุ่งขึ้นไม่มีใครทำอะไร กิน ดื่มตามพอใจ

เข้าไปนอนยังสุมทุมพุ่มไม้. พวกพรานรู้ว่าเนื้อเผลอ ก็ปิดประตูล้อมไว้ทุบตี

ตั้งแต่ชายป่าไป. เนื้อเหล่านั้นถูกเจ้าของหญ้ากระทำได้ตามชอบใจในป่าหญ้า

นั้นด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตตฺร ภิกฺขเว ได้แก่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เนื้อ

เหล่านั้น. บทว่า ปฐมา มิคชาตา ได้แก่ขึ้นชื่อว่าหมู่เนื้อที่หนึ่งและที่สอง

ย่อมไม่มี. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดตามลำดับหมู่เนื้อที่มาถึง แสดง

ระบุชื่อว่า เนื้อที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่. บทว่า อิทฺธานุภาวา ได้แก่

เพราะจะต้องกระทำตามประสงค์. จริงอยู่ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญนั่นแล ท่าน

ประสงค์เอาว่าฤทธิ์ และว่าอำนาจในที่นี้. บทว่า ภยโภคา ได้แก่ จากการ

บริโภคด้วยความกลัว. บทว่า พลวิริย ได้แก่ วาโยธาตุที่พัดไปมา อธิบายว่า

วาโยธาตุ นั้นหายไป. บทว่า อุปนิสฺสาย อาสย กปฺเปยฺยาม ความว่า

เมื่อพวกเนื้อนอนกินในภายในก็ดี มาแต่ภายนอกเคี้ยวกินก็ดี ย่อมมีแต่ความ

กลัวเท่านั้น เนื้อเหล่านั้นคิดว่า ก็พวกเราอาศัยที่เพาะปลูกโน้น จึงอยู่อาศัย

ณ ที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อุปนิสฺสาย อาสย กปฺปยึสุ ความว่า ขึ้นชื่อว่า

พวกพรานย่อมไม่มีความพลั้งเผลอทุก ๆ เวลา พวกเนื้ออาศัยที่เพาะปลูก (ไร่

ผักหญ้า) ด้วยตั้งใจว่า พวกเรานอนในสุมทุมพุ่มไม้ และเชิงรั้วในที่นั้น ๆ เมื่อ

พรานเหล่านั้นหลีกไปล้างหน้า หรือไปกินอาหาร จึงเข้าไปสู่ที่เพาะปลูก

พอกิน ดื่มเสร็จแล้วก็เข้าไปสู่ที่อยู่ของตน แล้วอาศัยอยู่ในที่รกชัฏมีพุ่มไม้และ

เชิงรั่วเป็นต้น. บทว่า ภุญฺชึสุ ได้แก่ รู้เวลาที่พวกพรานพลั้งเผลอโดยนัย

ดังกล่าวแล้ว ตะลีตะลานเข้าไปกิน. บทว่า เกฏุภิโน ได้แก่ เกราฏิกศาสตร์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ที่ศึกษามา. บทว่า อิทฺธิมนฺตา แปลว่า เหมือนผู้มีฤทธิ์. บทว่า ปรชนา

ได้แก่ ยักษ์ ยักษ์เหล่านี้ไม่ใช่เนื้อ. บทว่า อาคตึ วา คตึ วา ได้แก่

พวกเราไม่รู้ความคิดของพรานเหล่านั้นดังนี้ว่า พวกเนื้อเหล่านี้ย่อมมาทางที่

ชื่อนี้ ไปในที่โน้น. บทว่า ทณฺฑวาคุราหิ ได้แก่ ข่าย คือท่อนไม้และ

ไม้ค้อน. บทว่า สมนฺตาสปฺปเทสมนุปริวาเรสุ ความว่า คนปลูกฝักมี

มายามาก คิดว่า เนื้อเหล่านี้ จักไม่ไปไกล จักนอนอยู่ในที่ไกล้นี่แหละ จึง

ล้อมถิ่นที่ของตนคือโอกาสที่ใหญ่รอบไร่ผัก บทว่า อทฺทสาสุ ความว่า ล้อม

อย่างนี้แล้วก็เขย่าข่ายโดยรอบจ้องดู. บทว่า ยตฺถ เต ได้แก่ พวกพราน

เหล่านั้นได้ไปจับในที่ใด ได้เห็นที่นั้น. บทว่า ยนฺนูน มย ยตฺถ อคติ

ความว่า ได้ยินว่า พรานเหล่านั้นคิดอย่างนี้ว่า พวกเนื้อที่นอนกินอยู่ภายใน

ก็ดี มาจากภายนอกกินอยู่ก็ดี อยู่ในที่ใกล้กินอยู่ก็ดี ย่อมมีความกลัวทั้งนั้น

จริงอยู่ แม้เนื้อเหล่านั้นถูกล้อมจับด้วยข่าย เพราะฉะนั้น เนื้อเหล่านั้นจึงคิด

ดังนี้ว่า ถ้ากระไร เราจะพึงนอนในที่ที่พวกทำไร่และคนของพวกทำไร่ไม่ไปไม่

อยู่ บทว่า อญฺเ ฆฏฺเฏสฺสนฺติ ได้แก่ เบียดเนื้ออื่น ๆ ที่อยู่ไกลแต่ที่

นั้น ๆ. บทว่า เต ฆฏฺฏิตา อญฺเ ได้แก่ เนื้อที่ถูกเบียดเหล่านั้นก็จะ

ถูกเบียดตัวอื่น ๆ ที่อยู่ไกลกว่านั้น. บทว่า เอว อิม นิวาป นิวุตฺต

สพฺพโส มิคชาตา ริญฺจิสฺสนฺติ ได้แก่ ชุมเนื้อหมู่เนื้อทั้งหมดจักละทิ้ง

ไร่ผักที่พวกเราปลูกไว้. บทว่า อชฺฌุเปกฺเขยฺยาม ได้แก่ พึงขวนขวาย

จับเนื้อเหล่านั้น. ก็เมื่อเนื้อทั้งหลายพากันมาด้วยอาการอย่างไรก็ตาม พวกเรา

ก็จะได้ลูกเนื้อบ้าง เนื้อแก่บ้าง เนื้อกำลังน้อยบ้าง เนื้อพลัดฝูงบ้าง เมื่อไม่มา

ย่อมไม่ได้อะไร ๆ. บทว่า อชฺฌุเปกฺขึสุ โข ภิกฺขเว ได้แก่ คิดอย่างนี้

แล้วจึงได้ขวนขวาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ในคำว่า อมุ นิวาป นิวุตฺต มารสฺส อมูนิ จ โลกามิสานิ นี้

คำว่า นิวาปะก็ดี คำว่า โลกามิสานิก็ดี เป็นชื่อของกามคุณ ๕ ที่เป็นเหยื่อ

ของวัฏฏะ. ก็มารมิได้เที่ยวหว่านกามคุณเหมือนพืช แต่แผ่อำนาจคลุมผู้ที่ยินดี

ในกามคุณ. ฉะนั้น กามคุณจึงชื่อว่า เป็นเหยื่อล่อของมาร. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อมุ นิวาป นิวุตฺต มารสฺส ดังนี้. บทว่า น ปริมุจฺจึสุ

มารสฺส อิทฺธานุภาวา ได้แก่ เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารกระทำได้

ตามชอบใจ. นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชาพร้อมด้วยบุตรและภรรยา.

ชื่อว่า เจโตวิมุตติ ในคำว่า เจโตวิมุตติ ปริหายิ นั้น ได้แก่ อัธยาศัย

ที่เกิดขึ้นว่า พวกเราจักอยู่ในป่า อธิบายว่า อัธยาศัยนั้นเสื่อมแล้ว. ข้อว่า

ตถูปเม อห ภิกฺขเว อิเม ทุติเย นี้เป็นการเปรียบเทียบด้วยการบรรพชา

ประกอบด้วยธรรมของพราหมณ์. จริงอยู่ พราหมณ์ทั้งหลายประพฤติโกมาร

พรหมจรรย์ ๔๘ ปี คิดว่าจักสืบประเพณี เพราะกลัววัฏฏะขาด แสวงหาทรัพย์

ได้ภรรยา ครองเรือน เมื่อเกิดบุตรคนหนึ่ง คิดว่า เรามีบุตรแล้ว วัฏฏะ

ไม่ขาดแล้ว สืบประเพณีแล้ว จึงออกบวชอีกหรือมีเมียตามเดิม. บทว่า เอว

หิ เต ภิกฺขเว ตติยา สมณพฺรหฺมณา น ปริมุจฺจึสุ ความว่า สมณ-

พราหมณ์แม้เหล่านั้นไม่พ้นจากฤทธิ์ และอำนาจของมารเหมือนก่อน ได้เป็น

ผู้ถูกมารกระทำตามชอบใจ. ถามว่า ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทำอย่างไร.

ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปยังบ้านนิคมและราชธานี ให้สร้างอาศรม

อยู่ในอารามและสวนนั้น ๆ ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายศึกษาศิลปะมีประการต่างๆ

เช่น ศิลปะช้าง ม้า และรถเป็นต้น . ดังนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกข่าย

คือทิฏฐิของมารผู้มีบาปรวบรัด ถูกมารกระทำได้ตามชอบใจ เหมือนฝูงเนื้อ

ที่สามที่ถูกล้อมด้วยตาข่าย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

ข้อว่า ตถูปเม อห ภิกฺขเว อิเม จตุตฺเถ นี้ เป็นเครื่องนำมาเปรียบเทียบ

ศาสนานี้. บทว่า อนฺธมกาสิ มาร ความว่า ไม่ทำลายนัยน์ตาของมาร

แต่จิตของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนา ย่อมอาศัยอารมณ์นี้เป็นไป

ฉะนั้น มารจึงไม่สามารถจะเห็นได้ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อนฺธมกาสิ

มาร ดังนี้. บทว่า อปท วธิตฺวา มารจกฺขุ ความว่า โดยปริยายนี้เอง

เธอจึงฆ่าโดยประการที่จักษุของมารไม่มีทางหมดหนทาง ไม่มีที่พึ่ง ปราศจาก

อารมณ์. บทว่า อทสฺสน ตโต ปาปิมโต ได้แก่ โดยปริยายนั้นเอง มาร

ผู้มีบาปจึงมองไม่เห็น. จริงอยู่ มารนั้นไม่สามารถจะมองเห็นร่าง คือญาณ

ของภิกษุผู้เข้าฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนานั้น ด้วยมังสจักษุของตนได้. บท

ว่า ปญฺาย จสฺส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ ความว่า เพราะเห็น

อริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา อาสวะ ๔ จึงสิ้นไป. บทว่า ติณฺโณ โลเก

วิสตฺติก ได้แก่ ถึงการนับอย่างนี้ว่า วิสตฺติกา เพราะข้องอยู่และซ่านไป

ในโลก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิสตฺติกา ความว่า ที่ชื่อว่า วิสตฺติกา

เพราะอรรถว่าอะไร ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะอรรถว่า ซ่านไป แผ่ไป ขยาย

ไปไพบูลย์ กว้างขวาง ปราศจากความสามารถ นำสิ่งที่เป็นพิษมา มีวาทะ

เป็นพิษ มีรากเป็นพิษ มีผลเป็นพิษ มีเครื่องบริโภคเป็นพิษ ก็หรือว่า

ตัณหานั้นกว้างขวาง ในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า วิสตฺติกา. ผู้ข้าม ข้ามออก ข้ามขึ้นซึ่งตัณหา ซึ่งนับว่า

วิสตฺติกา ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺโณ

โลเก วิสตฺติก ดังนี้.

จบอรรถกถานิวาปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

๖. ปาสราสิสูตร

[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนุ่งสบงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต. ครั้ง

นั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านอานนท์ พวกข้าพเจ้า

ได้ฟังธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเวลานานมาแล้ว ขอ

ให้พวกข้าพเจ้าได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงไปสู่อาศรมของ

พราหมณ์ชื่อรัมมกะ จึงจะได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ภิกษุเหล่านั้น ได้รับคำท่านพระอานนท์แล้ว.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่กรุงสาวัตถี กลับ

จากบิณฑบาตในเวลาปัญจฉาภัตนี้แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า

อานนท์เราจะไปพักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (นางวิสาขา) ที่

บุพพาราม. ท่านพระอานนท์ได้ทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้ากับ

ท่านพระอานนท์ได้เสด็จไปพักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดาที่บุพ-

พาราม เวลาเย็นเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัส

ว่า อานนท์ เรามาไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ ท่านพระอานนท์ได้ทูลรับ

พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ากับท่านพระอานนท์ได้เสด็จไปสรงน้ำที่ท่า

บุพพโกฏฐกะ. สรงเสร็จแล้วจึงกลับขึ้นมาทรงจีวรผืนเดียวประทับยืนผึ่งพระองค์

อยู่. ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระเจ้าข้าอาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะอยู่

๑. ท่าอาบน้ำตั้งอยู่ด้านปราจีน มีหาดทราบขาวสะอาดเป็นที่อาบน้ำ ๔ ที่ สำหรับ

กษัตริย์ ชาวเมือง พวกภิกษุ และพระพุทธเจ้า ไม่อาบรวมกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

ไม่ไกล เป็นที่รื่นรมย์ น่าเลื่อมใส ขอโปรดเสด็จไปที่นั้นเพื่อทรงอนุเคราะห์

เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ แล้วจึงเสด็จไปที่อาศรมของ

พราหมณ์ชื่อรัมมกะ. สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปนั่งสนทนาธรรมีกถากันอยู่ที่นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก คอยให้ภิกษุเหล่านั้น

สนทนากันจบ.

ว่าด้วยการแสวงหา ๒ อย่าง

[๓๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น

สนทนากันจบแล้ว จึงทรงกระแอมแล้วเคาะบานประตู ภิกษุเหล่านั้นได้เปิด

ประตูรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ

ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ แล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอ

สนทนากันค้างไว้. ภิกษุเหล่านั้นทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมีกถาปรารภ

ถึงพระผู้มีพระผู้มีภาคเจ้านั้นแล พวกข้าพระองค์พูดกันค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จมาถึง. จึงตรัสว่า ดีละ. ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอผู้เป็น

กุลบุตร ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา นั่งสนทนาธรรมีกถากัน

เป็นการสมควร พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือสนทนา

ธรรมกันหรือนั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามี

สองอย่าง คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาที่ประเสริฐ

อย่างหนึ่ง.

ว่าด้วยการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน. คน

บางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติ

เป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีชราความแก่เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมี

ชราความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีพยาธิความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

ก็ยังแสวงหาสิ่งนี้พยาธิความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีมรณะความ

ตายเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะความตายเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็น

ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีโศกเศร้าเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ

เป็นผู้มีสังกิเลสความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสความ

เศร้าหมองเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหมว่าอะไรคือสิ่งมีชาติเป็น

ธรรมดา. บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง

โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งนี้ชาติเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งมีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้องในสิ่ง

มีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ยังแสวงหา

สิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหมว่าอะไรคือ สิ่งมีชราเป็น

ธรรมดา. บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค

ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งมีชราเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งมี

ชราเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีชรา

เป็นธรรมดาเหล่านั้นชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งนี้ชรา

เป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหมว่า อะไรเล่า คือ สิ่งมีพยาธิเป็น

ธรรมดา. บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง

โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพันลุ่มหลงเกี่ยวข้อง

ในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา

ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหมว่า อะไรเล่า

คือสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา. บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ

ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่ม

หลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีนรกเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีมรณะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

เป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหม

ว่าอะไรคือสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา. บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย

แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งมีความโศก

เป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้นเป็น

อุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้น

ชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีความโศกเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา

อยู่นั่นแหละ. เธอบอกได้ไหมว่าอะไรคือสิ่งมีกิเลสเป็นธรรมดา. บุตร ภรรยา

ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน

เรียกว่าสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา

เหล่านั้นเป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา

เหล่านั้น ชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็น

ธรรมดาอยู่นั่นแหละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ.

ว่าด้วยการแสวงหาสิ่งประเสริฐ

[๓๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน. คน

บางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็น

ธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษม

จากโยคะ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา

ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ ตนเอง

เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา

พระนิพพาน หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะตนเอง

มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา

พระนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ ตนเองเป็น

ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระ-

นิพพาน ที่หาโศกมิได้ เกษมจากโยคะ ตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่

เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้แล

คือการแสวงที่ประเสริฐ.

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

เป็นโพธิสัตว์อยู่ ตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็น

ธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดา

นั่นแล เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดานั่นแล

เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มี

โศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มี

สังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดานั่นแล เราจึงคิด

ดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทำไมจึงยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา

อยู่เล่า เรามีชราเป็นธรรมดา ทำไมจึงแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่เล่า

เราเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดาทำไมจึงยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่เล่า

เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทำไมจึงยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่เล่า

เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทำไมจึงยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่เล่า

เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทำไมจึงยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่เล่า

ถ้ากระไร เราเมื่อเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติ

เป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัด โทษในสิ่งมีชรา

เป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมี

พยาธิเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่น

ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดาก็ควรทราบชัด

โทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรม แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่ตาย หาธรรมอื่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

ยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษ

ในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรม

อื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัด

โทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง

หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้เกษมจากโยคะ.

เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส

[๓๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่ม มีเกศา

ดำสนิท ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้

บวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ จึงปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหา

ว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประเสริฐซึ่งหาทางอื่นยิ่ง

กว่ามิได้ ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้ว กล่าวว่า ท่านกาลามะ

ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้

อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่าน ธรรมนี้ก็เป็น

ธรรมเช่นเดียวกับที่วิญูชนทำให้แจ้งลัทธิของอาจารย์ตนด้วยความรู้ยิ่งเอง

เข้าถึงอยู่ไม่ช้าเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเรียนธรรมนั้นได้โดยรวดเร็ว

ไม่นานเราเพียงเปิดปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น เราก็กล่าวญาณวาทและเถรวาท

ได้ และทั้งเราทั้งผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น. เราจึงคิดว่า อาฬาร

ดาบส กาลามโคตร ย่อมบอกธรรมนี้มิใช่โดยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า

เรากระทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเองเข้าถึงอยู่ โดยที่แท้ อาฬารดาบส

กาลพโคตร ก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ต่อนั้นเราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร

แล้วถามว่า ท่านกาลามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่งโดย

ตนเอง เข้าถึง บอกโดย ด้วยเหตุเพียงเท่าใด. เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบส

กาลามโคตร จึงบอกอากิญจัญญายตนสมาบัติแก่เรา. เราจึงคิดว่า มิใช่แต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้นที่มีศรัทธาวิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แม้

เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนกันผิฉะนั้น เราต้องเริ่ม

บำเพ็ญเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรบอกว่ากระทำให้แจ้ง

ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึงอยู่ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก

เราก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึงอยู่ได้ ต่อนั้น

เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า ท่านกาลามะ ท่านกระ-

ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึง บอกได้ ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้หรือ.

อา. ผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่งโดย

ตนเอง เข้าถึง บอกได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แหละ.

พ. ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่ง

โดยตนเอง เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เหมือนกัน.

อา. เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้เห็นสพรหม-

จารีเช่นท่าน เพราะข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมดา ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง

เข้าถึง บอกได้ ท่านก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง

เข้าถึงอยู่ได้ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึงอยู่ได้ ข้าพเจ้าก็กระทำให้

แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าจึง บอกได้ ข้าพเจ้าทราบ

ธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น

เป็นอันว่า ข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้า

ก็เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเราก็ยกย่อง

เราผู้เป็นศิษย์ให้สม่ำเสมอกับตน และบูชาเราอย่างโอฬาร ด้วยประการฉะนี้.

แต่เราคิดว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

สัมโพธะ และนิพพาน ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น.

เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป.

เสด็จเข้าไปหาอุททกดาบส

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเป็นผู้เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร

ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประเสริฐ ซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ ได้เข้าไป

หาอุททกดาบส รามบุตร แล้วกล่าวว่า ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประ-

พฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อุททกดาบส รามบุตร

จึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่าน ธรรมนี้เป็นเช่นเดียวกับธรรมที่วิญญูชนทำ

ให้แจ้งลัทธิของอาจารย์ตนด้วยความรู้ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ไม่ช้าเลย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราเรียนธรรมนั้นได้โดยรวดเร็ว ไม่ช้าเลยเพียงเปิดปากเจรจา

ปราศรัยเท่านั้น เราก็กล่าวญาณวาท และเถรวาทได้ และทั้งเราทั้งผู้อื่นก็

ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น. เราจึงคิดว่า รามบุตรย่อมบอกธรรมนี้ มิใช่โดย

เหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เรากระทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง

เข้าถึงอยู่ได้ โดยที่แท้ รามบุตรก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ต่อนั้นเราจึงเข้าไปหา

อุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้

ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึง บอกได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าใด. เมื่อเราถาม

อย่างนี้ อุททกดาบส รามบุตร จึงบอกเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแก่

เรา. เราจึงคิดว่า มิใช่แต่เพียงอุททกดาบส รามบุตรเท่านั้นที่มีศรัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ ปัญญา แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือน

กัน ผิฉะนั้น เราต้องเริ่มบำเพ็ญเพียรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่อุททกดาบส

รามบุตร บอกว่า การทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึงอยู่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งโดย

ตนเอง เข้าถึงอยู่ ต่อนั้นเราจึงเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วถาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

ว่า ท่านรามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึง

บอกได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.

อุ. ผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่ง

โดยตนเอง เข้าถึง บอกได้ โดยเหตุเพียงเท่านี้แหละ.

พ. ท่านรามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่ง

ด้วยตนเอง ด้วยเหตุเท่านี้เหมือนกัน.

อุ. เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้เห็นสพรหม-

จารีเช่นท่าน เพราะท่านรามะกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่งโดย

ตนเอง เข้าถึง บอกได้ ท่านก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่ง

โดยตนเอง เข้าถึง บอกได้ ท่านรามะทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่ง

โดยตนเอง เข้าถึงอยู่ได้ ท่านรามะก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมนั้น ด้วย

ความรู้ยิ่งโดยตนเอง เข้าถึง บอกได้ ท่านรามะได้ทราบธรรมใด ท่านก็

ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ท่านรามะก็ได้ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า

ท่านรามะเป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ท่านรามะก็ได้

เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกัน บริหารคณะนี้. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อุททกดาบส รามบุตร ทั้งที่เป็นสพรหมจารีของเรา ก็ยกย่อง

เราไว้ในฐานอาจารย์ และบูชาเราอย่างโอฬารด้วยประการฉะนี้. แต่เราคิดว่า

ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ

และนิพพาน ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น

เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป.

[๓๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเป็นผู้ชอบเสาะหาว่ากุศลเป็น

อย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประเสริฐ ซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้

เมื่อเที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ได้เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำไหลเอื่อย มีท่าน้ำ

สะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามตั้งอยู่โดยรอบ. เราจึงคิดว่า ภูมิภาคเป็นที่

น่ารื่นรมย์หนอ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำไหลเอื่อย มีท่าน้ำสะอาดดี

น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามตั้งอยู่โดยรอบ เป็นที่สมควรเริ่มบำเพ็ญเพียรของกุลบุตร

ผู้ต้องการจะบำเพ็ญเพียร เราจึงนั่ง ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญ

เพียร.

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราโดยตนเอง เป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา

ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิดหา

ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษ

ในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่น

ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่ง

มีพยาธิเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่หาพยาธิมิได้ หาธรรม

อื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษใน

สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่น

ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุ

นิพพานที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. เป็นผู้มีสังกิเลส

เป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุ

นิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. และญาณ

ทัสสนะได้เกิดแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ไม่มีภพใหม่

ต่อไป.

ทรงระลึกถึงธรรม

[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริว่า ธรรมที่เราได้

บรรลุนี้ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต หยั่งไม่ได้

ด้วยความตรึก ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้เป็นผู้ยินดีเพลิดเพลิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ใจในอาลัย ยากที่จะเห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้ และ

ยากที่จะเห็นธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็น

ที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่น

ไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา เราก็จะลำบากเหน็ดเหนื่อยเปล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทั้งคาถาอันอัศจรรย์น้อย ที่เราไม่เคยได้สดับมาแต่ก่อน ก็ได้แจ่มแจ้งแก่เรา

ดังนี้ว่า

บัดนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เรา

บรรลุได้โดยยาก ธรรมนี้ชนผู้มีราคะโทสะ

หนาแน่น ตรัสรู้ไม่ได้โดยง่ายตนผู้กำหนัด

ด้วยอำนาจราคะ ถูกต้องอวิชชาความมืด

หุ้มห่อไว้ ย่อมไม่เห็นธรรมที่ทวนกระแส

โลก อันละเอียดเป็นอณุลึกซึ้ง เห็น

ได้ยาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราคิดเห็นเช่นนี้ ก็มีจิตน้อมไปเพื่อ

ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

สหัมบดีพรหมทูลให้ทรงแสดงธรรม

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สหัมบดีพรหมทราบความดำริ

ของเรา จึงได้มีความปริวิตกว่า โอ โลกจะฉิบหายแหลกลาญเสียแล้วหนอ

เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระทัยน้อมไปเพื่อขวนขวายน้อย

ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม. สหัมบดีพรหมจึงอันตรธานจากพรหมโลกมา

ปรากฏตัวตรงหน้าเรา คล้ายกับบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่งอเข้า หรืองอแขน

ที่เหยียดออก ฉะนั้น. แล้วจึงเฉวียงผ้าห่มประคองอัญชลีมาทางเรา กล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม ขอพระ-

สุคตโปรดทรงแสดงธรรม สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีที่ดวงตาน้อยเป็นปกติมีอยู่ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ไม่ได้สดับธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อม ผู้ที่รู้ธรรมจักมีอยู่. ครั้นสหัมบดีพรหม

กล่าวดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปดังนี้ว่า

แต่ก่อนในแคว้นมคธ ได้ปรากฏมี

ธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งชนพวกที่มีมลทิน

คิดกันไว้ ขอพระองค์โปรดทรงเปิดประตู

อมฤตนครเถิด ขอสัตว์ทั้งหลาย จงสดับ

ธรรมที่พระองค์ผู้ทรงหมดมลทินตรัสรู้

ชนผู้อยู่บนยอดเขาศิลาพึงเห็นประชุมชน

ได้โดยรอบ ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มี

พระปรีชา มีพระเนตรคือปัญญาโดยรอบ

ขอพระองค์ผู้ปราศจากโศก โปรดเสด็จ

ขึ้นปราสาทที่สำเร็จด้วยธรรม ซึ่งมีอุปมา

ฉันนั้น ทรงตรวจดูประชุมชนผู้ระงมด้วย

โศก ถูกชาติชราครอบงำ ข้าแต่พระองค์

ผู้ทรงความเพียร ทรงพิชิตสงคราม ผู้นำ

หมู่สัตว์ ผู้หากิเลสมิได้ โปรดเสด็จลุกขึ้น

จาริกโปรดสัตว์ในโลก ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึง

จักมีอยู่.

[๓๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้การอาราธนาของสหัมบดีพรหม

และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็น

เหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มี

อินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

พึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษและ

ภัยในปรโลก เปรียบเหมือนในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอบุณฑริก

ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับ

น้ำจมอยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ

อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้น

มาแล้วตั้งอยู่ น่าซึมเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เราขณะที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมี

กิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน

บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บาง

พวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าว

กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า

เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมแล้ว ขอ

เหล่าชนผู้สดับจงปล่อยศรัทธาออกรับ

ดูก่อนพรหม เราสำคัญว่าจะลำบาก

จึงไม่กล่าวธรรมที่ประณีตซึ่งเราคล่อง-

แคล่วในหมู่มนุษย์.

เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอกาส

เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาท กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.

ทรงระลึกถึงการแสดงธรรมครั้งแรก

[๓๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราดำริว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรก

แก่ใครหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว. เราจึงคิดว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร

นี้แล เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้า

กระไร พึงแสดงธรรมครั้งแรกแก่เธอ เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว. ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วบอกว่า พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลาม-

โคตร มรณภาพไปแล้วได้ ๗ วัน. อนึ่ง เราก็เกิดญาณทัสสนะรู้เห็นว่า อาฬาร-

ดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้สดับ

ธรรมนี้ไซร้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้เร็ว. เราจึงคิดว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่

ใครหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว. เราจึงคิดว่า อุททกดาบส รามบุตร

นี้แล เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้า

กระไร เราพึงแสดงธรรมครั้งแรกแก่เธอ เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว ครั้งนั้น

เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วบอกว่า พระองค์ผู้เจริญ อุททกดาบส รามบุตร

ได้มรณภาพไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้. อนึ่ง เราก็เกิดญาณทัสสนะรู้เห็นว่า

อุททกดาบส รามบุตร ได้มรณภาพไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้ เราจึงคิดว่า

อุทกดาบส รามบุตร เป็นผู้เสื่อมใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้สดับ

ธรรมนี้ไซร้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้โดยเร็ว. เราจึงคิดว่าเราจะแสดงธรรมครั้งแรก

แก่ใครหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็ว. เราจึงคิดว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์

ได้อุปัฏฐากเรา ผู้กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่ เป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก ถ้ากระไร

เราพึงแสดงธรรมครั้งแรกแก่พวกเธอ เราจึงคิดว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่

ไหนหนอ เราก็รู้ได้ว่าภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี

ด้วยทิพยจักษุที่บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นเราอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาพอ

สมควรแล้ว จึงได้ออกจาริกไปกรุงพาราณสี.

[๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวกชื่ออุปกะ ได้พบเราผู้กำลังเดิน

ทางไกลที่ระหว่างตำบลคยาและต้นมหาโพธิ์ จึงถามเราว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์

ของท่านผ่องใสนัก ฉวีวรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชเฉพาะใคร

ใครเป็นศาสดาของท่านหรือท่านชอบใจธรรมของใคร. เมื่ออุปกะชีวกถามอย่าง

นี้ เราจึงได้กล่าวคาถาตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้

ธรรมทั้งปวง ได้ติดข้องในธรรมทั้งปวง ละ

เว้นธรรมทั้งปวงไปในธรรมเป็นสิ้นตัณหา

เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง เราจะพึงแสดงใครเล่า

ว่าเป็นอาจารย์ อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่

เหมือนเราไม่มี ผู้ที่เทียบเสมอเราไม่มี ใน

โลกทั้งเทวโลก ความจริงเราเป็นพระอร-

หันต์เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยมเป็นเอกเป็นสัม-

มาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เย็น ดับกิเลศแล้ว

เราจะไปราชธานีของชาวกาสีเพื่อประกาศ

ธรรมจักร โดยหมายจะย่ำอมฤตเภรีกลอง

ธรรม ในโลกที่มืดมน.

อุปกอาชีวกถามเราว่า เหตุใดท่านจึงปฏิญาณณว่าเป็นอรหันตอนันต

ชินะ เราจึงกล่าวคาถาตอบว่า

ผู้ที่ถึงอาสวักขัยเช่นเรา ย่อมเป็น

ผู้มีนามว่าชินะ เพราะเราชนะบาปธรรมทั้ง

หลายแล้ว ฉะนั้น เราจึงมีนามว่า ชินะ.

เมื่อเรากล่าวตอบอย่างนี้ อุปกอาชีวกนั้นได้กล่าวว่า เป็นเช่นนั้น

หรือ ท่าน แล้วสั่นศีรษะ แยกทางไป.

โปรดปัญจวัคคีย์

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิ

ปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี เข้าไปหาพวกภิกษุปัญจวัคคีย์. พวกภิกษุ

ปัญจวัคคีย์เห็นเราเดินทางมาแต่ไกล จึงได้นัดหมายกันว่า ท่านพระสมณโคดม

พระองค์นี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

กำลังเสด็จมา พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับบาตรจีวร

แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง. เมื่อเราเข้าไปใกล้

พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน บางรูปลุกขึ้นรับ

บาตรจีวร บางรูปปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่พูดกับเราโดยระบุนาม

และใช้คำพูดว่า "อาวุโส". เราจึงบอกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธออย่าได้พูดกับตถาคตโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส" ตถาคต

ได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤต

ธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่

นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุล

บุตรออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชโดยชอบ มุ่งหมาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวกะเรา

ว่า อาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้น

เพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมที่

พอจะเป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษ ก็บัดนี้ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก

คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม

ที่พอจะเป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษได้. เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้

แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้

คลายความเพียร เวียนนาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมา-

สัมพุทธะ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะ

แสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรออกจากเรือนไม่มีเรือน

บวชโดยชอบ มุ่งหมาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. พวก

ภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

เธอทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน พวกภิกษุ

ปัจวัคคีย์กล่าวว่า พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย. เรา

จึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความ

เพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ

พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดง

ธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่

สุดพรหมจรรย์อันเป็นคุณยอดเยี่ยมที่กุลบุตร ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชโดย

ชอบ มุ่งหมาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. เราจึงสามารถให้

พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเข้าใจ. เรากล่าวสอนภิกษุทั้งสองรูป ภิกษุสามรูปก็เที่ยว

ไปบิณฑบาต เราทั้งหกรูปฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสามรูปนำมา เรากล่าวสอนภิกษุ

สามรูป ภิกษุสองรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกรูปฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ

สองรูปนำมา. ครั้งนั้น พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ซึ่งเราโอวาทอนุศาสน์อยู่อย่างนี้ โดย

ตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวง

หาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ,

เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้

บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ, เป็นผู้มี

พยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้

บรรลุนิพพาน ที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ, เป็น

ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา แสวงหาจน

ได้บรรลุนิพพานที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ, เป็นผู้มี

โศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุ

นิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ, เป็นผู้มีสั่ง

กิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

บรรลุนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ. และ

พวกภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้นได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นมาว่า วิมุตติของพวกเรา

ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ไม่มีภพใหม่ต่อไป.

[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก้านคุณเหล่านั้นมี ๕ กามคุณ ๕ เป็น

ไฉน คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งเป็นที่นำปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงทราบชัดได้ด้วย

โสต...กลิ่นที่พึงรู้สึกได้ด้วยฆานะ... รสที่พึงรู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่

พึงรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ

ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕

เหล่านี้แล สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ

ไม่มีปัญญาที่จะคิดนาตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์

พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาป

กระทำได้ตามต้องการ.

อุปมาด้วยเนื้อ ๓ อย่าง

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ติดบ่วงนอน

ทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกพรานกระทำ

ได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปไม่ได้ ตามปรารถนา ฉันใด

สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มี

ปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวก

นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาป

กระทำได้ตามต้องการ ฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกใด

พวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำ

ตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึง

ทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

ต้องการ. เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอนทับกองบ่วง พึงทราบ

ว่า เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานกระทำได้ตามต้อง

การ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์

พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝันไม่ลุ่มหลง ไม่คิดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตน

ออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า

เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ

ฉันนั้น.

อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ ย่อมเดิน

ยืน นั่ง นอน เบาใจ เพราะพรานป่าไม่พบ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัด

จากกาม จากอกุศลธรรม ย่อมบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ

สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุ

ของมาร ไม่ให้มารมองเห็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด

ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ภิกษุนี้

เรียกว่า ได้ทำมารให้มืดไม่มีร่องรอยทำลายจักษุของมารไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย

ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจาย-

ตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่

มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด

ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจาย

ตนฌาน เสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน วิญญาณ

หาที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุของ

มารไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจาย

ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌานว่า อะไรหน่อยหนึ่ง

ไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุของมาร

ไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌาน

เสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า

ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้มารมองเห็นรอย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญาย

ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็น

แม้ด้วยปัญญา เธอย่อมสิ้นอาสวะ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้มืด ไม่มีร่องรอย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ทำลายจักษุของมาร ไม่ให้มารมองเห็น. เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาเครื่องข้องในโลก

เสียได้ ย่อมเดิน ยืน นั่ง นอน อย่างเบาใจ เพราะมารมองไม่เห็น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น

ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ ปาสราสิสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

อรรถกถาปาสราสิสูตร

ปาสราสิสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในปาสราสิสูตรนั้น บทว่า สาธุ มย อาวุโส ได้แก่

กล่าวขอร้อง. เล่ากันมาว่า ภิกษุชาวชนบทประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น คิดจะ

เฝ้าพระทศพล จึงไปถึงเมืองสาวัตถี. ก็ภิกษุเหล่านั้นได้เฝ้าพระศาสดาแล้ว

ยังมิได้ฟังธรรมีกถาก่อน. ด้วยความเคารพในพระศาสดา ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่

สามารถจะกราบทูลว่า พระเจ้าข้าขอพระองค์โปรดแสดงธรรมีกถาแก่พวก

ข้าพระองค์เถิด. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นครู ยากที่จะเข้าพบ เหมือน

พญาราชสีห์ ตัวเที่ยวไปตามลำพัง เหมือนกุญชรที่ตกมัน เหมือนอสรพิษที่แผ่

พังพาน เหมือนกองไฟใหญ่. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงได้ยาก

เหมือนงูพิษ เหมือนไกรสรราชสีห์

เหมือนพญาช้าง.

ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะวิงวอนพระศาสดาผู้ที่เข้าพบได้ยาก อย่างนี้ด้วยตนเอง

จึงขอร้องท่านพระอานนท์ว่า สาธุ มย อาวุโส ดังนี้. บทว่า อปฺเปว นาม

ได้แก่ ไฉนหนอ พวกเราจะพึงได้.

ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พวกเธอพึงเข้า

ไปยังอาศรมของรัมมกพราหมณ์. เพราะมีกิริยาปรากฏ. เพราะกิริยาของพระ-

ทศพลย่อมปรากฏแก่พระเถระ. พระเถระทราบว่า วันนี้พระศาสดาประทับอยู่

ที่พระเชตวัน ทรงพักผ่อนกลางวันในปุพพาราม วันนี้เสด็จเข้าบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

ลำพังพระองค์ วันนี้แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เวลานี้เสด็จจาริกไปในชนบท.

ถามว่า ก็เจโตปริยญาณ ย่อมมีเพื่อให้ท่านรู้อย่างนี้ได้อย่างไร. ตอบว่าไม่มี.

ท่านรู้โดยถือนัยตามกิริยาที่ทำไว้โดยรู้ตามคาดคะเน. จริงอยู่ วันนั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน มีพระพุทธประสงค์จะทรงพักผ่อน

กลางวันในปุพพาราม ในเวลาใด ในเวลานั้น ทรงแสดงอาการ คือการ

เก็บงำเสนาสนะและเครื่องบริขาร. พระเถระเก็บงำไม้กวาดและสักการะที่เขา

ทิ้งไว้เป็นต้น. แม้ในเวลาที่ประทับอยู่ในปุพพารามแล้วเสด็จมาพระเชตวัน

พักกลางวันก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็คราวใดมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเที่ยวไป

บิณฑบาตตามลำพัง คราวนั้นก็จะทรงปฏิบัติสรีรกิจแต่เช้า เข้าพระคันธกุฏี

ปิดพระทวารเข้าผลสมาบัติ. พระเถระทราบด้วยสัญญานั้นว่า วันนี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับนั่งตรวจเหล่าสัตว์ที่ควรตรัสรู้ แล้วจึงให้สัญญาแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะเข้าไปตาม

ลำพัง พวกท่านจงเตรียมภิกษาจาร. ก็คราวใดมีพระประสงค์จะมีภิกษุเป็น

บริวารเสด็จเข้าไป คราวนั้นจะทรงแง้มทวารพระคันธกุฏี ประทับนั่งเข้าผล

สมาบัติ. พระเถระทราบด้วยสัญญานั้น จึงให้สัญญาแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อรับ

บาตรจีวร. แต่คราวใด มีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในชนบท คราวนั้น

จะเสวยเกินคำสองคำ และเสด็จจงกรมไป ๆ มา ๆ ทุกเวลา. พระเถระทราบ

ด้วยสัญญานั้น จึงให้สัญญาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในชนบท พวกท่านจงทำกิจที่

ควรทำของท่านเสีย. พระผู้มีพระภาคเจ้าในปฐมโพธิกาลประทับอยู่ไม่ประจำ

๒๐ พรรษา ภายหลังประทับประจำกรุงสาวัตถี ๒๕ พรรษาเลียด วันหนึ่ง ๆ

ทรงใช้สองสถาน. กลางคืนประทับอยู่ในพระเชตวัน รุ่งขึ้นแวดล้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าบิณฑบาตกรุงสาวัตถีทางประตูทิศใต้ เสด็จออกทางประตู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ทิศตะวันออก ทรงพักผ่อนกลางวันในปุพพาราม. กลางคืนประทับอยู่ใน

ปุพพาราม รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตยังเมืองสาวัตถี ทางประตูด้านทิศ

ตะวันออก แล้วเสด็จออกทางประตูด้านทิศใต้ ทรงพักผ่อนกลางวันในพระ-

เชตวัน. เพราะเหตุไร. เพราะจะทรงอนุเคราะห์แก่ ๒ ตระกูล. จริงอยู่ ธรรมดา

ว่า คนใดคนหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในความเป็นมนุษย์ เหมือนท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี

และหญิงคนอื่นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นมาตุคาม เหมือนนางวิสาขามหาอุบาสิกาที่

จะทำบริจาคทรัพย์อุทิศพระตถาคตย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงใช้ฐานะ ๒ เหล่านั้น ในวันเดียวกัน เพราะอนุเคราะห์แก่ตระกูลนั้น.

ก็ในวันนั้น พระองค์ประทับอยู่ในพระเชตวัน. เพราะฉะนั้น เถระจึงคิดว่า วันนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ในเวลาเย็น จักเสด็จ

ไปยังซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก เพื่อจะทรงสรงสนานพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนี้

เราจึงทูลวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนสรงสนานพระองค์แล้วไปยึด

อาศรมของรัมมกพราหมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุเหล่านี้จึงจักได้ฟังธรรมีกถา

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้น

อย่างนี้.

บทว่า มิคารมาตุปาสาโท ได้แก่ ปราสาท ของนางวิสาขาอุบาสิกา.

จริงอยู่ นางวิสาขานั้น ท่านเรียกว่า มิคารมาตา เพราะมิคารเศรษฐี สถาปนาไว้

ในฐานเป็นมารดา. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า เขาว่า ใน

ปราสาทนั้น ได้มีห้องอันทรงศิริสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงกลางห้องอัน

ทรงศิริสำหรับพระมหาสาวกทั้ง ๒. พระเถระเปิดทวาร กวาดภายในห้อง

นำซากมาลาออก จัดเตียงและตั่งแล้วได้ถวายสัญญาแด่พระศาสดา. พระศาสดา

เสด็จเข้าสู่ห้องอันทรงศิริ มีสติสัมปชัญญะทรงบรรทมสีหไสยาสน์โดยประปรัศว์

เบื้องขวา ทรงระงับความกระวนกระวาย ลุกขึ้นประทับ นั่งเข้าผลสมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ออกจากผลสมาบัติในเวลาเย็น. ท่านหมายเอาคำนั้นจึงกล่าวว่า ปฏิสลฺลานา

วุฏฺิโต. บทว่า ปริสิญฺจิตุ ความว่า กู้ผู้ใดขัดสีตัวด้วยผงดินเป็นต้น หรือ

ขัดสีด้วยหินขัดเป็นต้น จึงอาบ ผู้นั้น ท่านเรียกว่า ย่อมอาบ. ผู้ใดไม่กระทำ

อย่างนั้น. อาบตามปกตินั่นเอง ผู้นั้นท่านเรียกว่า ย่อมรด. ขึ้นชื่อว่าน้ำอันเจือ

ด้วยธุลีที่จะพึงนำไปเช่นนั้น ไม่ติดอยู่ในพระสรีระแม้ของพระตถาคต แต่เพื่อ

จะถือตามฤดูกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมลงสรงน้ำอย่างเดียว. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า คตฺตานิ ปริสิญฺจิตุ ทรงรดพระกาย. บทว่า ปุพฺพโกฏฺโก

แปลว่า ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก.

เล่าว่า ในกรุงสาวัตถี บางคราววิหารก็ใหญ่ บางคราวก็เล็ก. ครั้ง

นั้นแล วิหารนั้น ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี มีขนาดโยชน์

๑ ครั้งพระสิขีพุทธเจ้า ขนาด ๓ คาวุต ครั้งพระเวสสภูพุทธเจ้า ขนาดกึ่งโยชน์

ครั้งพระกกุสันธพุทธเจ้า ขนาด ๑ คาวุต ครั้งพระโกนาคมนพุทธเจ้าขนาดครึ่ง

คาวุต ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ขนาด ๒๐ อุสภะ. ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของ

เราทั้งหลาย มีขนาด ๘ กรีส. แม้นครนั้น บางครั้งก็อยู่ทิศตะวันออกของ

วิหารนั้น บางครั้งก็ทิศใต้ บางครั้งก็ทิศตะวันตก บางครั้งก็ทิศเหนือ. ก็ใน

พระคันธกุฎีเชตวันวิหาร สถานที่ประดิษฐ์เท้าพระแท่นสี่เท้าแน่นสนิท. จริงอยู่

ขึ้นชื่อว่า เจตียสถานอันติดแน่น ๔ แห่ง คือ สถานที่ตั้งมหาโพธิบัลลังก์ ๑

สถานที่ประกาศพระธรรมจักรในป่าอิสิปตนะ ๑ สถานที่เป็นที่ประดิษฐานบันได

ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก ณ สังกัสสนคร ๑ สถานที่ตั้งพระแท่น (ปรินิพพาน)

๑. ก็ซุ้มประตูด้านหน้านี้เป็นซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ครั้งพระวิหาร ๒๐

อสุภของพระกัสสปทศพล. แม้บัดนี้วิหารนั้นก็ยังปรากฏว่า ซุ้มประตูด้านหน้า

อยู่นั้นเอง. ครั้งพระกัสสปทศพล แม่น้ำอจีรวดี ไหลล้อมนคร ถึงซุ้มประตู

ด้านหน้า ถูกน้ำเซาะทำให้เกิดสระน้ำใหญ่มีท่าเรียบลึกไปตามลำดับ. ณ ที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

มีท่าน้ำน่ารื่นรมย์ มีทรายเสมือนแผ่นเงินหล่นเกลื่อนแยกกันเป็นส่วน ๆ

อย่างนี้คือ ท่าน้ำสำหรับพระราชาท่า ๑ สำหรับชาวพระนครท่า ๑ สำหรับ

ภิกษุสงฆ์ท่า ๑ สำหรับ พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่า ๑. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

กับท่านพระอานนท์ จึงเสด็จเข้าไปยังที่ซุ้มประตูด้านหน้าอันนี้ตั้งอยู่ เพื่อ

สรงสนาน พระองค์. ครั้งนั้นท่านพระอานนท์น้อมผ้าสรงน้ำเข้าไปถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปลื้องผ้าแดง ๒ ชั้น ทรงนุ่งผ้าอาบน้ำ. พระเถระ

รับจีวรผืนใหญ่กับผ้า ๒ ชั้น ไว้ในมือของตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง

สรงน้ำ. ฝูงปลาและเต่าในน้ำก็มีสีเหมือนทองไปหมด พร้อมกับที่พระองค์

เสด็จลงสรงน้ำ. กาลนั้นได้เป็นเหมือนเวลาเอาทะนานยนต์รดสายน้ำทอง และ

เหมือนเวลาแผ่แผ่นทอง. ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมเนียม

การสรงน้ำ ทรงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว พระเถระก็น้อมผ้าผืนแดง ๒ ชั้นถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งผ้านั้น ทรงคาดประคดเอวเสมือนสายฟ้า ทรงจับ

จีวรผืนใหญ่ที่ชายทั้งสองรวบชายน้อมเข้ามาทำให้เป็นเหมือนกลีบปทุมประทับ

ยืนอยู่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรงพระองค์ที่

ซุ้มประตูด้านหน้า เสด็จขึ้นประทับยืนมีจีวรผืนเดียว. ก็พระสรีระของพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอย่างนี้ รุ่งโรจน์เหมือนสระที่เต็มไปด้วยดอกบัว เเละ

อุบลกำลังแย้ม เหมือนต้นปาริฉัตตกะที่มีดอกบานสะพรั่ง และเหมือนท้องฟ้า

ที่ระยิบระยับไปด้วยดาวและพยับแดด เหมือนจะเรียกร้องเอามิ่งขวัญ แลกลุ่ม

ลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ของพระองค์ ซึ่งงดงามแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง

ไพโรจน์อย่างยิ่งเหมือนดวงจันทร์ ๓๒ ดวง ดวงอาทิตย์ ๓๒ ดวงที่ร้อยวางไว้

เหมือนพระเจ้าจักพรรดิ ๓๒ องค์ เทวราช ๓๒ องค์ และมหาพรหม ๓๒ องค์

ที่สถิตอยู่ตามลำดับ. นี้ชื่อว่าวรรณภูมิ พึงทราบกำลังของพระธรรมกถึกใน

ฐานะเห็นปานนี้ว่า พระธรรมกถึกผู้สามารถควรจะนำเนื้อความอุปมาและเหตุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

มากล่าวสรรเสริญพระสรีระและพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในฐานะเห็น

ปานนี้ ด้วยจุณณิยบท หรือ คาถาทั้งหลายให้บริบูรณ์.

บทว่า คตฺตานิ ปุพฺพาปยมาโน ความว่า รอความเป็นปกติ

กระทำให้พระกายหมดน้ำ อธิบายว่า ทำให้แห้ง. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามี. พระวรกายชุ่มด้วยน้ำ ทรงห่มจีวรก็เกิดเป็นดอก. เครื่องบริขารก็เสีย.

แต่น้ำที่เจือธุลีย่อมไม่ติดในพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย น้ำก็กลิ้งกลับ

ไปเหมือนหยาดน้ำที่ใส่บนใบบัว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะความเคารพใน

สิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงจับจีวรผืนใหญ่ทั้งสองมุม ด้วยทรงพระดำริ

ว่า นี่ ชื่อว่าธรรมเนียมของบรรพชิตประทับยืนปิดพระกายเบื้องหน้า. ขณะนั้น

พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มจีวรใหญ่ จักกลับพระองค์ลำบาก

ตั้งแต่เริ่มเสด็จสู่มิคารมาตุปราสาท ชื่อว่าเปลี่ยนพุทธประสงค์ย่อมหนัก เหมือน

เหยียดมือจับราชสีห์ ที่เที่ยวตัวเดียว เหมือนจับงวงช้างตกมันและเหมือนจับ

คออสูรพิษที่กำลังแผ่แม่เบี้ย จึงพรรณนาคุณอาศรมของรัมมกพราหมณ์ ทูล

วอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสด็จไป ณ ที่นั้น. พระเถระได้กระทำอย่างนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา อานนฺโท ฯเปฯ อนุกมฺป

อุปาทาย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ได้แก่

อาศัยความอนุเคราะห์ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้ไปสู่อาศรมนั้นด้วยตั้งใจจักฟังธรรมีกถา

เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อธิบายว่า กระทำความกรุณาในภิกษุ

ทั้งหลาย. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า นั่งประชุมกันชมพระบารมี ๑๐

ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง และมหาภิเนษกรมณ์. บทว่า อาคยมาโน ได้แก่

ชะเง้อดู อธิบายว่า ไม่ผลุนพลันเสด็จเข้าไปด้วยถือพระองค์ว่า เราเป็น

พระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่จนกว่าเขาจะพูดกันจบ บทว่า อคฺคฬ อาโกเฏสิ

ได้แก่ เคาะประตู. บทว่า วิวรึสุ ความว่า ทันใดนั้นนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายก็มา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

เปิดประตู. เพราะนั่งคอยเงี่ยหูฟังอยู่แล้ว. บทว่า ปญฺตฺเต อาสเน ความว่า

ได้ยินว่า ครั้งพุทธกาล ภิกษุถึงอยู่รูปเดียวในที่ใด ๆ ก็จัดพุทธอาสน์ไว้ในที่

นั้นๆ ทั้งนั้น.

เพราะเหตุใด. เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใส่พระทัยถึงภิกษุที่

เรียนกรรมฐานในสำนักของพระองค์แล้วอยู่ในที่ผาสุกว่า ภิกษุรูปโน้น รับ

กรรมฐานในสำนักของเราไปแล้ว สามารถทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นหรือไม่หนอ.

ลำดับนั้น ทรงเห็นภิกษุนั้นละเลยกรรมฐาน กำลังตรึกอกุศลวิตก แต่นั้นก็ทรง

พระดำริว่า อย่างไรเล่า อกุศลวิตกทั้งหลายจึงครอบงำกุลบุตรผู้นี้ซึ่งเรียน

กรรมฐานในสำนักของศาสดาเช่นเรา ให้จมลงในวัฏฏทุกข์ ซึ่งติดตามไปรู้ไม่

ได้ จึงทรงแสดงพระองค์ในที่นั้นนั่นแหละ เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ทรง

โอวาทกุลบุตรนั้นแล้ว เสด็จเหาะกลับไปที่ประทับของพระองค์. ลำดับนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายได้รับโอวาทอย่างนั้น จึงคิดว่า พระศาสดาทรงทราบใจของพวกเรา

จึงเสด็จมาแสดงพระองค์ประทับยืนอยู่ใกล้ ๆ พวกเรา ในขณะนั้น ชื่อว่าการ

แสวงหาอาสนะเป็นภาระด้วยกราบทูลว่า พระเจ้าข้า โปรดประทับนั่งในที่นี้

โปรดประทับนั่งที่นี้ จึงจัดอาสนะไว้อยู่. ภิกษุใดมีตั่ง ภิกษุนั้นก็จัดตั่ง ภิกษุใด

ไม่มี ภิกษุนั้นก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน ไม้หินหรือกองทราย. เมื่อไม่ได้

ก็ดึงเอาใบไม้เก่า ๆ มาลาดตั้งเป็นกองไว้ในที่นั้น. แต่ในเรื่องนี้มีอาสนะที่จัด

ไว้ตามปกติทั้งนั้น. ท่านหมายเอาอาสนะนั้น จึงกล่าวว่า ปญฺตฺเต อาสเน

นิสีทิ ดังนี้.

บทว่า กายนุตฺถ ความว่า ท่านทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร

หนอ. บาลีว่า กายเนตฺถ ดังนี้ ก็มี. แม้บาลีนั้นก็มีเนื้อความว่า พวกเธอนั่ง

ประชุมกันในที่นี้ด้วยเรื่องอะไรหนอ. บาลีว่า กายโนตฺถ ได้แก่ เรื่องอื่นอย่างหนึ่ง

เนื้อความอย่างข้อนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺตรากถา ได้แก่ เรื่องอื่นอย่างหนึ่ง

ระหว่างการใส่ใจการเรียน การสอบถามกรรมฐานเป็นต้น. บทว่า วิปฺปกตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

ได้แก่ ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุดเพราะการมาของเราเป็นปัจจัย. บทว่า

อถ ภควา อนุปฺปตฺโต ความว่า ครั้งนั้น คือกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมา. บทว่า ธมฺมี กถา วา ได้แก่ หรือธรรมีกถาที่อิงกถาวัตถุ ๑๐.

ก็ในคำว่า อริโย วา ตุณฺหีภาโว นี้ ทั้งทุติยฌาน ทั้งมูลกรรมฐาน พึง

ทราบว่า อริยดุษณีภาพ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั่งเข้าฌานนั้นก็ดี นั่งกำหนด

มูลกรรมฐานเป็นอารมณ์ก็ดี พึงทราบว่านั่งโดยอริยดุษณีภาพ. คำว่า เทฺวมา

ภิกฺขเว ปริเยสนา มีอนุสนธิเป็นอันเดียวกัน. ภิกษุเหล่านั้นได้กระทำให้

เป็นภาระของพระเถระด้วยตั้งใจจักฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์. พระเถระได้

กระทำที่ไปอาศรมของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่นั้น มิใช่สนทนา

กันด้วยเรื่องดิรัจฉานกถา หากนั่งสนทนากันด้วยเรื่องธรรมะ. ครั้งนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนานี้ เพื่อแสดงว่า การแสวงหาของพวกเธอนี้ ชื่อว่า

อริยปริเยสนา.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า กตมา จ ภิกฺขเว อนริยปริเยสนา

นี้ ความว่า บุรุษผู้ฉลาดในหนทาง เมื่อแสดงทางอุบายที่ควรเว้นก่อน จึงกล่าว

ว่า จงละทางซ้าย ถือเอาทางขวา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น เพราะ

ความที่ทรงเป็นผู้ฉลาดเทศนา จึงทรงบอกการแสวงหาอันมิใช่อริยะที่พึงละเว้น

เสียก่อน ตอนหลังจึงทรงแยกลำดับอุทเทสก่อนว่า เราจักบอกการแสวงหา

นอกนี้ ดังนี้แล้วจึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีการเกิดเป็นสภาวะ.

บทว่า ชราธมฺโม แปลว่า มีความแก่เป็นสภาวะ.

บทว่า พฺยาธิธมฺโม แปลว่า มีความเจ็บไข้เป็นสภาวะ.

บทว่า มรณธมฺโม แปลว่า มีความตายเป็นสภาวะ.

บทว่า โสกธมฺโม แปลว่า มีความโศกเป็นสภาวะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

บทว่า สงฺกิเลสธมฺโม แปลว่า มีความเศร้าหมองเป็นสภาวะ. บทว่า

ปุตฺตภริย ได้แก่ บุตรและภรรยา. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. ก็ในคำว่า ชาตรู-

ปรชฏ นี้ ชาตรูป ได้แก่ ทอง. รชฏ ได้แก่ มาสกโลหะเป็นต้นอย่างใด

อย่างหนึ่งที่เขาสมมติกัน. ด้วยบทว่า ชาติธมฺมา เหเต ภิกฺขเว อุปธโย

ทรงแสดงว่า กามคุณ ๕ เหล่านั้น ชื่อ อุปธิ อุปธิทั้งหมดนั้นมีความเกิดเป็น

ธรรม. ทองและเงินท่านไม่ถือเอาใน พฺยาธิธมฺมวาร เป็นต้น เพราะทอง

และเงินนั้นไม่มีพยาธิมีโรคศีรษะเป็นต้น ไม่มีมรณะกล่าวคือจุติเหมือนสัตว์

ทั้งหลาย ไม่เกิดความโศก แต่ย่อมเศร้าหมองด้วยสังกิเลสมีชราเป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงถือเอาในสังกิเลสสิกธรรมวาระ ทั้งถือเอาในชาติธรรมวาระ

ด้วย เพราะมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ทั้งถือเอาในชราธรรมวาระด้วย เพราะสนิมจับ

จึงคร่ำคร่า. บทว่า อย ภิกฺขเว อริยปริเยสนา ความว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย การแสวงหานี้ พึงทราบว่า การแสวงหาของพระอริยะ เพราะไม่มี

โทษในตัวเองบ้าง เพราะพระอริยะพึงแสวงหาบ้าง.

ถามว่าเพราะเหตุไร จึงเริ่มคำว่า อหปิ สุท ภิกขเว. แก้ว่า เพื่อ

แสดงการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ตั้งแต่เดิม. ได้ยินว่า พระองค์มีพระดำริ

อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็เสาะแสวงสิ่งที่ไม่ใช่อริยะมาแต่ก่อน เรานั้นละ

การแสวงหาอันไม่ใช่อริยะนั้นแล้วแสวงหาสิ่งที่เป็นอริยะจึงบรรลุสัพพัญญุตญาณ

แม้พระปัญจวัคคีย์ก็แสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่อริยะพวกเธอก็ละสิ่งที่ไม่ใช่อริยะนั้นแสวง

หาสิ่งที่เป็นอริยะ บรรลุขีณาสวภูมิ แม้พวกท่าน ก็ดำเนินตามทางเราและของ

พระปัญจวัคคีย์ การแสวงหาอันเป็นอริยะจึงจัดเป็นการแสวงหาของพวกท่าน

เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงการออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระองค์ตั้งแต่

เดิมมา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหโรว สมาโน แปลว่า กำลังรุ่นหนุ่ม.

บทว่า สุสุกาฬเกโส ได้แก่ ผมดำสนิท อธิบายว่ามีผมสีดังดอกอัญชัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

บทว่า ภทฺเรน แปลว่างาม. บทว่า ปเมน วยสา ได้แก่ตั้งอยู่โดยปฐมวัย

บรรดาวัยทั้ง ๓. บทว่า อกามกาน ได้แก่เมื่อไม่ปรารถนา. บทว่า อกาม-

กาน นี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง อนาทร. ชื่อว่า อัสสุมุขา

เพราะมีน้ำเนตรนองพระพักตร์แห่งพระมารดาและบิดา ผู้มีพระพักตร์นองด้วย

น้ำพระเนตร อธิบายว่า ผู้มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตร. บทว่า รุทนฺตาน

ได้แก่ ร้องไห้คร่ำครวญอยู่. บทว่า กึกุสล คเวสี ได้แก่แสวงหากุศลอะไร.

บทว่า อนุตฺตร สนฺติวรปท ความว่า แสวงหาบทอันประเสริฐ กล่าวคือ

ความสงบอันสูงสุด ได้แก่พระนิพพาน. บทว่า อาฬาโร ในคำว่า เยน

อาฬาโร นี้เป็นชื่อของดาบสนั้น. ได้ยินว่า ดาบสนั้น ชื่อว่า ทีฆปิงคละ.

ด้วยเหตุนั้นเขาจึงมีนามว่า อาฬาระ. บทว่า กาลาโม เป็นโคตร. บทว่า

วิหารตายสฺมา แปลว่าขอท่านผู้มีอายุเชิญอยู่ก่อน. บทว่า ยตฺถ วิญฺญูปุริโส

ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตในธรรมใด. บทว่า สก อาจริยก ได้แก่ ลัทธิ-

อาจารย์ของตน. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺย ได้แก่ พึงเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุ

เท่านี้เป็นอันเขาได้ทำโอกาสแล้ว. บทว่า ต ธมฺม ได้แก่แบบแผนลัทธิของ

เขาเหล่านั้น. บทว่า ปริยาปุณึ ได้แก่ พอได้ฟังเรียนเอา. บทว่า โอฏฺ-

ปหตมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุเพียงหุบปาก เพื่อรับคำที่เขากล่าว อธิบาย

ว่าเพียงเจรจาปราศรัยกลับ ไปกลับมา. บทว่า ลปิตลาปนมตฺเตน ได้แก่

ด้วยเหตุเพียงถือเอาถ้อยคำที่เขาบ่นเพ้อ. บทว่า าณวาท ได้วาทะว่าเราจะ

รู้ชัด. บทว่า เถรวาท ได้แก่ วาทะว่ามั่นคง. คำนี้หมายความว่าข้าพเจ้า

เป็นผู้มั่นคงในข้อนี้. บทว่า อหญฺเจว อญฺเ จ ความว่า ไม่ใช่แต่เราจะ

กล่าวเพียงคนเดียวเท่านั้น แม้คนอื่นเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนี้. บทว่า เกวล

สทฺธามตฺตเกน ความว่า ด้วยเหตุเพียงศรัทธา อันบริสุทธิ์เท่านั้น มิใช่

กระทำให้แจ้งด้วยปัญญา. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ เรียนธรรมด้วยวาจาเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ได้รู้ว่า ท่านกาลามะได้เพียงปริยัติ ด้วยวาจาเพียงอย่างเดียวในธรรมนี้ก็หาไม่

ท่านยังได้สมาบัติ ๗ อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนั้นท่านจึงมีความคิดอย่างนี้. บทว่า

อากิญฺจญฺายตน ปเวเทสิ ความว่า ได้ให้เรารู้สมาบัติ ๗ อันมีอากิญ-

จัญญายตนสมาบัติเป็นที่สุด. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาเพื่อให้เกิดสมาบัติ

๗ เหล่านี้. แม้ในความเพียรเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปทเหยฺย

ได้แก่พึงการทำความพยายาม. บทว่า น จิรสฺเสว ต ธมฺม สย อภิญฺา

สจฺฉิกตฺวา อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ได้แก่นัยว่าพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญความ

เพียรทำสมาบัติ ๗ ให้เกิดขึ้นเพียงเวลา ๒-๓ วันเท่านั้น เหมือนคลี่ม่านทอง

๗ ชั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า ลาภา โน อาวุโส ความว่า ได้ยินว่า ท่านกาลามะนี้

เป็นคนไม่ริษยา เพราะฉะนั้น ท่านคิดว่าผู้นี้เพิ่งมาทำอะไรทำธรรมนี้ให้บังเกิด

ได้ดังนี้แล้ว ก็ไม่ริษยา กลับเลื่อมใส เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสจึงกล่าว

อย่างนี้. บทว่า อุโภ วสนฺตา อิม คณ ปริหราม ความว่า ท่านกล่าวว่า

คณะนี้เป็นคณะใหญ่ เราสองคนมาช่วยกันบริหารเถิด แล้วได้ให้สัญญาแก่คณะ

ท่านกล่าวว่า แม้เราก็ได้สมาบัติ ๗ พระมหาบุรุษก็ได้สมาบัติ ๗ เหมือนกัน

คนจำนวนเท่านี้เรียนบริกรรมในสำนักของพระมหาบุรุษ จำนวนเท่านี้เรียนใน

สำนักของเรา ดังนี้แล้วได้แบ่งให้ครั้งหนึ่ง. บทว่า อุฬาราย แปลว่า สูงสุด.

บทว่า ปูชาย ได้แก่ เขาว่า ทั้งหญิงทั้งชายที่เป็นอุปัฏฐากของท่านกาลามะ

ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมา. ท่านกาลามะบอกว่า ท่านทั้งหลายจงไปบูชา

พระมหาบุรุษเถิด. คนเหล่านั้นบูชาพระมหาบุรุษแล้วบูชาท่านกาลามะด้วยของ

ที่เหลือ. คนทั้งหลายนำเตียงตั่งเป็นต้นที่มีค่ามากมาให้เเม้ของเหล่านั้นแก่พระ-

มหาบุรุษ ถ้ามีเหลือ ตนเองจึงรับ. ในที่ที่ไปด้วยกัน ท่านกาลามะสั่งให้จัด

เสนาสนะะอย่างดีแก่พระโพธิสัตว์ ตนเองรับส่วนที่เหลือ. ในคำว่า นาย

ธมฺโมนิพฺพิทาย เป็นต้น ความว่า ธรรมคือสมาบัติ ๗ นี้ ไม่เป็นไปเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

เบื่อหน่ายในวัฏฏะ ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับราคะ

เป็นต้น ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้สัจจะ ๔ ไม่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน. บทว่า

ยาวเทว อากิญฺจญฺายตนูปปตฺติยา ความว่า เป็นไปเพียงเกิดในอากิญ-

จัญญายตนภพ ซึ่งมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัปป์ ไม่สูงไปกว่านั้น ธรรมนี้

เป็นธรรมเวียนมาอีก ทั้งให้ถึงฐานะอันใด ฐานะอันนั้น ก็ไม่พ้นจากชาติชรา-

มรณะไปได้เลย ถูกล้อมไว้ด้วยบ่วงมฤตยูทั้งนั้น. ก็แลบุรุษผู้หิวโหยได้โภชนะ

ที่น่าพอใจ บริโภคอิ่มหนำสำราญแล้วทิ้งด้วยอำนาจน้ำดีบ้าง เสลดบ้าง โดยหลง

ลืมเสียบ้าง ไม่เกิดความรู้ว่า เราจักบริโภคข้าวก้อนเดียวกันอีก เปรียบฉันใด

ตั้งแต่นั้นมา พระมหาสัตว์ ก็เปรียบฉันนั้นเหมือนกัน แม้ทำสมาบัติ ๗ ให้

บังเกิดด้วยอุตสาหะอย่างมาก เห็นโทษต่างโดยการเวียนมาอีกเป็นต้นนี้ ใน

สมาบัติเหล่านั้น มิได้เกิดจิตคิดว่า เราจักคำนึง หรือจักเข้า จักตั้ง จักออก

หรือ จักพิจารณาธรรมนี้อีก. บทว่า อนลงฺกริตฺวา ได้แก่ ไม่พึงพอใจ

บ่อย ๆ ว่า จะพออะไรด้วยสิ่งนี้ จะพอใจอะไรด้วยสิ่งนี้. บทว่า นิพฺพิชฺช

เเปลว่าระอา. บทว่า อปกฺกมึ แปลว่าได้ไปแล้ว. บทว่า น โข ราโม

อิม ธมฺม ความว่า พระโพธิสัตว์เรียนธรรมแม้ในที่นี้ รู้ทั่วแล้วว่า ธรรม

คือสมาบัติ ๘ นี้ เป็นธรรมอันอุททกดาบสรามบุตรตั้งไว้เพียงเรียนด้วยวาจา

เท่านั้น แต่ที่แท้ อุททกดาบสฐานบุตร ผู้นี้เป็นผู้ได้สมาบัติ ๘ ด้วยเหตุนั้น

พระโพธิสัตว์ จึงคิดอย่างนี้ว่า น โข ราโม ฯเปฯ ชาน ปสฺส วิหาสิ.

คำที่เหลือในข้อนี้พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในวาระต้นนั่นแล. เขตใหญ่

อธิบายว่ากองทรายใหญ่ ชื่อว่า อุรุเวลา ในคำว่า เยน อุรุเวลา เสนา-

นิคโม นี้. อีกนัยหนึ่ง ทรายท่านเรียกว่า อุรุ เขตแดนเรียกว่า เวลา.

พึงทราบในคำนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขานำมา เหตุล่วงขอบเขตชื่อว่า อุรุเวลา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ กุลบุตรประมาณ

๑๐,๐๐๐ บวชเป็นดาบส อยู่ในประเทศนั้น วันหนึ่งประชุมกัน ตั้งกติกากัน

ไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า กายกรรมและวจีกรรมปรากฏแก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น ส่วน

มโนกรรมไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ผู้ใด ตรึกกามวิตก พยาบาทวิตก หรือ

วิหิงสาวิตก คนอื่นที่จะเตือนผืนนั้นไม่มี ผู้นั้นจงเตือนตนด้วยตนเอง จงเอา

ภาชนะใส่ทรายให้เต็มมาเกลี่ยไว้ในที่นี้ อันนี้เป็นการลงโทษผืนนี้. ตั้งแต่นั้นมา

ผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นก็ต้องเอาภาชนะใส่ทรายมาเกลี่ยลงในที่นั้น กองทราย

ใหญ่เกิดขึ้นโดยลำดับในที่นั้นด้วยประการฉะนี้ ต่อแต่นั้นคนที่เกิดมาในภายหลัง

จึงล้อมกองทรายใหญ่นั้นไว้ทำเป็นเจดีย์สถาน ท่านหมายเอากองทรายใหญ่นั้น

จึงกล่าวว่า อุรุเวลาติ ฯเปฯ อตฺโถ ทฏฺพฺโพ.

บทว่า เสนานิคโม แปลว่า นิคมของเสนา. เล่าว่า เหล่าชนครั้ง

ปฐมกัปได้มีการพักกองทัพ อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น ที่นั้นเขาจึงเรียกว่า

เสนานิคม ก็มี. ปาฐะว่า เสนานิคาโม ก็มี. อธิบายว่า บิดาของนางสุชาดา

ชื่อว่าเสนานิ บ้านของนายเสนานีนั้น. บทว่า ตทวสรึ แปลว่า รวมลงใน

ที่นั้น. บทว่า รมฺมณีย ภูมิภาค ได้แก่ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ ที่งดงามด้วย

ดอกไม้น้ำและบก มีประการต่าง ๆ ที่บานสะพรั่ง. บทว่า ปาสาทิก วนสณฺฑ

ความว่า ได้เห็นไพรสณฑ์ที่ให้เกิดความเลื่อมใสเช่นกับกำหางนกยูง. บทว่า

นทิญฺจ สนฺทนฺตึ ความว่า ได้เห็นแม่น้ำเนรัญชรา มีน้ำใสสีเขียวเย็น เช่น

กับกองแก้วมณีกำลังไหลเอื่อย. บทว่า เสตก ได้แก่สะอาดปราศจากเปือกตม.

บทว่า สุปติตฺถ ได้แก่ประกอบด้วยท่าอันดีที่ลุ่มลึกโดยลำดับ. บทว่า รมฺ-

มณีย ได้แก่ มีทิวทัศน์น่ารื่นรมย์ มีทรายที่เกลี่ยไว้เสมือนแผ่นเงิน มีปลา

และเต่ามาก. บทว่า สมนฺตา จ โคจรคาม ความว่า ได้เห็นโคจรคาม

ที่หาภิกษาได้ง่าย สำหรับบรรพชิตผู้มาถึงแล้วสมบูรณ์ไปด้วยคมนาคมในที่ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

ไกลโดยรอบประเทศนั้น. บทว่า อล วต แปลว่า สามารถหนอ บทว่า

ตตฺเถว นิสีทึ ท่านกล่าวหมายเอาประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์. จริงอยู่

บทว่า ตตฺเถว ในพระสูตรก่อนท่านประสงค์เอาสถานที่ทรงบำเพ็ญทุกกร-

กิริยา ส่วนในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาโพธิบัลลังก์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ตตฺเถว นิสีทึ ดังนี้. บทว่า อลมิท ปธานาย ความว่า ประ-

ทับนั่ง ทรงดำริอย่างนี้ว่า ที่นี้สามารถทำความเพียรได้. บทว่า อชฺฌคมึ

ได้แก่บรรลุคือได้เฉพาะแล้ว. บทว่า าณญฺจ ปน เม ทสฺสน ความว่า

ก็แลพระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถเห็นธรรมทั้งปวง เกิดขึ้นแก่เรา. บทว่า

อกุปฺปา เม วิมุตฺติ ความว่า วิมุตติอันประกอบด้วยพระอรหัตผลของเรา

ชื่อว่า อกุปปะ เพราะไม่กำเริบและเพราะมีอกุปปธรรมเป็นอารมณ์ วิมุตตินั้น

ไม่กำเริบด้วยราคะเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอกุปปะ แม้เพราะไม่

กำเริบ เป็นอกุปปธรรมที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อกุปปะ แม้เพราะมีอกุปปธรรมเป็นอารมณ์. บทว่า อยมนฺติมา ชาติ

แปลว่า นี้เป็นชาติสุดท้ายทั้งหมด. ด้วยบทว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว

ท่านแสดงว่า แม้ปัจจเวกขณญาณก็เกิดขึ้นแก่เราอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราไม่มี

ปฏิสนธิอีก. บทว่า อธิคโต แปลว่า แทงตลอดแล้ว. บทว่า ธมฺโม ได้

แก่ธรรมคือสัจจะ ๔. คำว่า คมฺภีโร นี้ เป็นคำปฏิเสธความตื้น. บทว่า

ทุทฺทโส ได้แก่ชื่อว่าเห็นยาก พึงเห็นได้โดยลำบาก ไม่อาจเห็นได้โดยง่าย

เพราะเป็นธรรมอันลึก ชื่อว่า รู้ตามได้ยาก รู้ได้โดยลำบาก ไม่อาจรู้ได้โดยง่าย

เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยาก. บทว่า สนฺโต ได้แก่ดับ. บทว่า ปณีโต ได้แก่

ไม่เร่าร้อน. คำทั้งสองนี้ ท่านกล่าวหมายเอาโลกุตตรธรรมเท่านั้น. บทว่า

อตกฺกาวจโร ได้แก่ เป็นธรรมที่ไม่พึงสอดส่องหยั่งลงด้วยความตรึก คือ

พิจารณาด้วยญาณเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

บทว่า นิปุโณ แปลว่าละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีโย ได้แก่

อัน เหล่าบัณฑิตผู้ปฏิบัติสัมมาปฏิบัติพึงรู้.

บทว่า อาลยรามา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมข้องกามคุณ ๕ เพราะ

ฉะนั้นกามคุณ ๕ นั้น เรียกว่าอาลัย. สัตว์ทั้งหลายย่อมข้องตัณหาวิปริต ๑๐๘

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอาลัย. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าอาลยรามา เพราะยินดีด้วย

กามคุณอันเป็นที่อาลัยนั้น. ชื่อว่า อาลยรตา เพราะยินดีในกามคุณอันเป็น

ที่อาลัย. ชื่อว่า อาลยสมฺมุทิตา เพราะยินดีด้วยดีในกามคุณอันเป็นที่อาลัย.

เหมือนอย่างว่า พระราชาเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้อัน

เต็มไปด้วยดอกและผลเป็นต้นที่ตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงยินดีด้วยสมบัตินั้น ๆ.

ย่อมทรงบันเทิงรื่นเริงเบิกบานไม่เบื่อ แม้เย็นแล้วก็ไม่ปรารถนาจะออกไปฉันใด

สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัย คือกามและอาลัยคือตัณหาเหล่านี้ก็ฉันนั้น

ย่อมเบิกบานไม่เบื่ออยู่ในสังสารวัฏ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงแสดงอาลัย ๒ อย่างแก่สัตว์เหล่านั้น ให้เหมือนอุทยานภูมิ จึงตรัสคำ

มีอาทิว่า อาลยรามา ดังนี้. บทว่า ยทิท เป็นนิบาต. หมายเอาฐานะ

แห่งอาลัยนั้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ย อิท หมายเอาปฏิจจสมุปบาท

พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า โย อย ดังนี้. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจ-

สมุปฺปาโท ความว่า ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา. อิทปฺ-

ปจฺจยา นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา อิทปฺปจฺจยตา นั้นด้วย ปฏิจจ-

สมุปบาทด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท. คำว่า

อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปปาโท นี้เป็นชื่อของปัจจัยมีสังขารเป็นต้น. บทว่า

สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้นทุกบทเป็นไวพจน์ของพระนิพพาน ทั้งนั้น.

ก็เพราะเหตุที่ความดิ้นรนแห่งสังขารทั้งหมด อาศัยพระนิพพานนั้น ย่อมสงบ

ระงับฉะนั้นนิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นที่สงบสังขาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ทั้งปวง. อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งหมดอาศัยพระนิพพานนั้น ย่อมสละคืน ตัณหา

ทั้งปวงย่อมสิ้นไป ราคะคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป.

ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค สละคืนอุปธิทั้งปวง

ตณฺหกฺขโย เป็นที่สิ้นตัณหา วิราโค ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส. นิโรโธ ความ

ดับ. ก็ตัณหาท่านเรียกวานะเพราะร้อยรัดเย็บภพกับภพ หรือกรรมกับผล. ชื่อว่า

นิพพานเพราะออกจากตัณหา คือ วานะนั้น.บทว่า โสมมสฺส กิลมโถ ความว่า

ชื่อว่า การแสดงธรรมแก่ผู้ไม่รู้เป็นความลำบากแก่เรา ความลำบากอันใดพึง

มีแก่เรา ความลำบากอันนั้นพึงเป็นความเบียดเบียนแก่เรา. ท่านอธิบายว่า พึง

เป็นความลำบากกายและเป็นการเบียดเบียนกาย ดังนี้. แต่ทั้ง ๒ อย่างนั้น

ไม่มีในจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า อปิสฺสุ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเพิ่มพูน. พระเถระนั้นย่อม

แสดงว่า มิได้มีคำนั้นเท่านั้น แม้คาถาเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้ว. บทว่า ม

แปลว่า แก่เรา. บทว่า อนจฺฉริยา เป็น อนุอจฺฉริยา เป็นอัศจรรย์เล็ก

น้อย. บทว่า ปฏิภสุ ได้แก่ เป็นทางเดินของญาณกล่าวคือปฏิภาณ คือถึง

ความเป็นข้อที่จะพึงปริวิตก.

บทว่า กิจฺเฉน ได้แก่ ไม่ใช่เป็นทุกขาปฏิทา. จริงอยู่ มรรค ๔

ย่อมเป็นสุขาปฏิปทาสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียว. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอา

อาคมนียปฏิปทา แห่งพระองค์ผู้ยังมีราคะยังมีโทสะและยังมีโมหะอยู่ทีเดียว

ในกาลทรงบำเพ็ญพระบารมี ทรงตัดศีรษะอันประดับแล้วตกแต่งแล้ว นำเลือด

ในลำพระศอออกควักนัยน์ตาอันหยอดยาตาดีแล้ว ให้ทานวัตถุอย่างอื่นมีอย่างนี้

เป็นต้น คือบุตรผู้เป็นประทีปแห่งตระกูลวงศ์ ภริยาผู้มีจรรยาน่าพอใจแก่ยาจก

ผู้มาแล้วมาเล่า และถึงความตัดถูกทำลายเป็นต้นในอัตตภาพทั้งหลายเช่นกับ

ขันติวาทีดาบส. อักษรในคำว่า หล นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่าอย่าเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

บทว่า ปกาสิตุ แปลว่า เพื่อแสดง คือ อย่าจำแนก อย่าแสดงสอนธรรม

ที่เราบรรลุแล้วโดยยากอย่างนี้เลย อธิบายว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว จะมี

ประโยชน์อะไร. บทว่า ราคโทสปเรเตหิ ได้แก่ ผู้อันราคะและโทสะ

ถูกต้องแล้ว หรืออันราคะและโทสะครอบงำแล้ว. บทว่า ปฏิโสตคามึ

ได้แก่สัจจธรรม ๔ ที่ไปแล้วอย่างนี้ว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา อสุภ

(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม) อันทวนกระแสแห่งธรรมมี

ความเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ราครตา ได้แก่ผู้ยินดีแล้วด้วยกามราคะ ภวราคะ

และทิฏฐิราคะ. บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า ย่อมไม่เห็นโดยสภาวะนี้

ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม ดังนี้. ใครแล จักอาจ

เพื่อทำบุคคลผู้ไม่เห็นเหล่านั้นให้ถือเอาอย่างนี้ได้. บทว่า ตโมกฺขนฺเธน

อาวุตา ความว่า ผู้อันกองอวิชชาท่วมทับแล้ว. บทว่า อปฺโปสฺสุกฺก

ตาย ได้แก่เพื่อไม่มีความขวนขวาย อธิบายว่า เพื่อไม่ประสงค์จะเทศนา.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จิตของพระองค์จึงน้อมไปอย่างนี้ว่า เรานี้พ้น

แล้วจักทำผู้อื่นให้พ้น ข้ามแล้วก็จักทำผู้อื่นให้ข้ามมิใช่หรือ พระองค์ตั้ง

ความปรารถนาไว้ว่า

เราผู้มีเพศที่ไม่มีใครรู้จัก กระทำให้

แจ้งธรรมในโลกนี้ยังจะต้องการอะไร เรา

บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จักทำโลก

พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้าม

ดังนี้แล้วบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็บรรลุสัพพัญญุตญาณ. ตอบว่า

ข้อนี้เป็นความจริง จิตของพระองค์น้อมไปอย่างนี้ด้วยอานุภาพแห่ง

ปัจจเวกขณญาณ ก็พระองค์บรรลุสัพพัญุญุตญาณ พิจารณาถึงความที่สัตว์ยัง

ยึดกิเลส และความที่ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง จึงปรากฏว่าสัตว์ยังยึดกิเลสและ

ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง โดยอาการทั้งปวง เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงพระดำริ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

ว่า สัตว์เหล่านั้นเพียบไปด้วยกิเลสเศร้าหมองเหลือเกิน กำหนัดเพราะราคะ

โกรธเพราะโทสะ หลงเพราะโมหะ เหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยน้ำข้าว เหมือน

ตุ่มเต็มด้วยเปรียง เหมือนผ้าเก่าชุ่มด้วยมันข้น และเหมือนมือเปื้อนยาหยอด

ตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจักตรัสรู้ได้อย่างไรเล่า จึงทรงน้อมจิตไปอย่างนั้น

แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาถึงการยึดกิเลส ก็ธรรมนี้พึงทราบว่า

ลึกเหมือนลำน้ำที่รองแผ่นดิน เห็นได้ยาก เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เอา

ภูเขามาวางปิด รู้ตามได้แสนยากเหมือนปลายแห่งขนทรายที่แบ่งออกเป็น

๗ ส่วน ชื่อว่า ทานที่เราพยายามเพื่อแทงตลอดธรรมนี้ไม่ให้แล้วไม่มี ชื่อว่า

ศีลที่เราไม่ได้รักษาแล้วก็ไม่มี. ชื่อว่าบารมีไร ๆ ที่เรามิได้บำเพ็ญ ก็ไม่มี

เมื่อเรานั้น กำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ แผ่นดิน ก็ไม่ไหว เมื่อ

ระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม ก็ไม่ไหว เมื่อชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยาม

ก็ไม่ไหว แต่เมื่อแทงตลอดปฏิจจสมุปบาท ในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุ

จึงไหว ดังนั้น ผู้ที่มีญาณกล้าแม้เช่นเรายังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียว

โลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร พึงทราบว่า ทรงน้อมจิตไป

อย่างนี้ แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาความลึกซึ้งแห่งพระธรรมด้วยประการ

ดังนี้.

อนึ่ง เมื่อสหัมบดีพรหมทูลอาราธนา พระองค์ก็ทรงน้อมจิตไปอย่างนี้

เพราะมีพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรม. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

ว่า เมื่อเราน้อมจิตไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ท้าวมหาพรหมก็

จักอาราธนาเราแสดงธรรม. ด้วยว่า สัตว์เหล่านี้เคารพพรหม สัตว์เหล่านั้น

สำคัญอยู่ว่า พระศาสดาไม่ประสงค์จะทรงแสดงธรรม แต่ท้าวมหาพรหม

อาราธนาให้เราแสดงธรรม ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมนี้สงบประณีตหนอ

จักตั้งใจฟังด้วยดี อาศัยเหตุนี้พึงทราบว่า พระองค์น้อมจิตไปเพื่อความเป็น

ผู้ขวนขวายน้อยมิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

บทว่า สหมฺปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น

ครั้งศาสนาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เป็นพระเถระชื่อสหกะ ทำ

ปฐมฌานให้บังเกิดแล้วไปเกิดเป็นพรหมอายุกัปหนึ่งในภูมิแห่งปฐมฌาน. ชนทั้ง

หลายย่อมหมายถึงท้าวมหาพรหมนั้นว่า สหัมบดีพรหมในคำนั้น. ท่านหมาย

เอาสหัมบดีพรหมนั้น จึงกล่าวว่า พฺรหฺมุโน สหมฺปติสฺส. บทว่า นสฺสติ

วต โภ ความว่า ได้ยินว่า สหัมบดีพรหมนั้น เปล่งเสียงนี้ออกโดยที่พรหมใน

หมื่นโลกธาตุ ได้ยินแล้วประชุมกันทั้งหมด. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า

ในโลกใด. บทว่า ปุรโต ปาตุรโหสิ ปรากฏพร้อมกับพรหมพันหนึ่งนั้น.

บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่ ธุลี คือ ราคะโทสะและโมหะในนัยน์ตา

อันสำเร็จด้วยปัญญามีประมาณเล็กน้อยของสัตว์เหล่านี้ มีสภาวะอย่างนี้ เพราะ

ฉะนั้นสัตว์เหล่านี้ จึงชื่อว่า อปฺปรชกฺชาติกา มีธุลี คือกิเลสในนัยน์ตาน้อย.

บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า เพราะไม่ได้สดับ. ด้วยบทว่า ภวิสฺสนฺติ ท่าน

แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้กระทำบุญโดยบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ในพระพุทธเจ้าองค์

ก่อน ๆ หวังการแสดงธรรมประหนึ่งดอกปทุมที่แก่ต้องแสงอาทิตย์ ควรจะ

หยั่งลงในอริยภูมิเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน แต่หลาย

แสน ที่จักตรัสรู้ธรรม.

บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏ. บทว่า สมเลหิ จินฺติโต

ได้แก่ ที่พวกศาสดาทั้ง ๖ ผู้มีมลทินคิด. จริงอยู่ ศาสดาเหล่านั้น เกิดขึ้น

ก่อน พากันแสดงธรรมคือมิจฉาทิฏฐิที่มีมลทินเหมือนลาดหนามไว้ และเหมือน

ราดยาพิษไว้ทั่วชมพูทวีป. บทว่า อปาปุเรต ได้แก่เปิดประตูอมตะนั้น.

บทว่า อมตสฺส ทฺวาร ได้แก่อริยมรรคอันเป็นประตูอมตนิพพาน. บทว่า

สุณนฺตุ ธมฺม วิมเลนานุพุทฺธ ความว่า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ก่อนอื่นขอสัตว์เหล่านี้จงสดับธรรมคืออริยสัจจ์ ๔ ที่พระสัมมา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีมลทิน เพราะไม่มีมลทินมีราคะเป็นต้น ตรัสรู้แล้ว. บทว่า

เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต ความว่า อุปมาเหมือนบุคคลผู้ยืนอยู่บน

ภูเขาอันเป็นแท่งทึบล้วนศิลา ไม่จำเป็นที่จะต้องชูเหยียดคอ เพื่อจะดูคนที่ยืน

อยู่บนยอดภูเขา ที่เป็นเท่งทึบล้วนศิลา. บทว่า ตถูปม เทียบอย่างนั้น หรือ

อุปมาด้วยภูเขาหิน.

ก็ความย่อในข้อนี้มีดังนี้ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาหินพึงเห็นหมู่

ชนได้โดยรอบฉันใด ดูก่อนสุเมธผู้มีปัญญาดี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ

ด้วยสัพพัญญุตญาณ แม้พระองค์ โปรดขึ้นปราสาทธรรมคือปัญญาไม่เศร้าโศก

ด้วยพระองค์เอง โปรดใคร่ครวญพิจารณาตรวจตราหมู่ชนผู้ระงมด้วยความโศก

และถูกชาติชราครอบงำ ก็ฉันนั้น. ในข้อนี้มีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชน

ทั้งหลายทำนามากรอบเชิงเขา ปลูกกะท่อมไว้ที่เขตคันนา ในที่นั้น กลางคืน

ตามไฟไว้ ก็ความมืดมิดที่ประกอบด้วยองค์ ๔ พึงมี เมื่อเป็นดังนั้น บุรุษผู้มี

จักษุ ยืนบนยอดเขานั้น มองดูพื้นดิน ไร่นาก็ไม่ปรากฏ เขตคันนาก็ไม่ปรากฏ

กะท่อมก็ไม่ปรากฏ ผู้คนที่นอนอยู่ในที่นั้นก็ไม่ปรากฏ ปรากฏก็แต่เพียงแสง

ไฟที่กระท่อมเท่านั้นฉันใด เมื่อพระตถาคตขึ้นธรรมปราสาทตรวจดูหมู่สัตว์ หมู่

สัตว์ผู้ไม่ได้ทำกรรมดีแม้จะนั่งอยู่ใกล้พระชาณุเบื้องขวาในวิหารเดียวกัน ก็ไม่

ปรากฏแก่พระพุทธจักษุ เหมือนยิงธนู ในเวลากลางคืน ส่วนเวไนยบุคคล

ผู้กระทำกรรมดีแม้จะอยู่ในที่ไกล ก็มาปรากฏแก่พระองค์เปรียบเหมือนไฟ และ

เหมือนหิมวันตบรรพตฉันนั้น. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต

อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือน

หิมวันตบรรพต อสัตบุรุษอยู่ในที่นั้นเอง ก็

ไม่ปรากฏ เหมือนลูกธนูที่ยิงไปในเวลา

กลางคืนฉะนั้น.

บทว่า อุฏฺเหิ พรหมทูลวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จจาริกแสดง

ธรรม. ในคำว่า วีรเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าวีระ เพราะทรงมีความ

เพียร. ชื่อว่า ผู้ชนะสงคราม เพราะทรงชำนะเทวบุตมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร

ผู้เป็นดังนายกองเกวียน เพราะเป็นผู้สามารถในอันนำหมู่เวไนยสัตว์ ให้ข้าม

ชาติกันดารเป็นต้น พึงทราบว่า ผู้ไม่เป็นหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันท์.

บทว่า อชฺเฌสน แปลว่า ทูลวอน. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ได้

แก่ รู้อินทรีย์ของสัตว์อ่อนแก่ และรู้อัธยาศัยและกิเลส ก็คำว่าพุทธจักษุเป็น

ชื่อของญาณ ๒ เหล่านี้ สมันตจักษุ เป็นชื่อของ สัพพัญญุตญาณ ธรรม

จักษุเป็นชื่อของมรรคญาณ ๓. ในคำว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น กิเลสธุลีมีราคะ

เป็นต้น ในปัญญาจักษุของสัตว์เหล่าใด มีน้อย โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า อัปปรชักขะ สัตว์เหล่าใดมีกิเลสธุลีนั้นมาก สัตว์เหล่านั้น

ชื่อว่า มหารชักขะ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์ต่อศรัทธาเป็นต้นกล้า สัตว์เหล่านั้น

ชื่อว่า คิกขินทริยะะ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์เหล่านั้นอ่อน สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า

มุทินทริยะ สัตว์เหล่าใดมีอาการคือศรัทธา เป็นต้นเหล่านั้น ดี สัตว์เหล่านั้น

ชื่อว่า สวาการะ สัตว์เหล่าใด กำหนดรู้เหตุที่ตรัส สามารถรู้ได้ง่าย สัตว์

เหล่านั้น ชื่อว่า สุวิญญาปยะ สัตว์เหล่าใดเห็นปรโลกและโทษโดยเป็นภัย

สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย.

ก็ในที่นั้นมีบาลีดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า มีกิเลสธุลีใน

ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า ผู้มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุมาก

ผู้ปรารภความเพียรชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า มหารชักขะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

ผู้มีสติมั่นคง ชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้มีสติหลงลืม ชื่อว่ามหารชักขะ ผู้มีจิต

ตั้งมั่นชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามหารชักขะ ผู้มีปัญญา ชื่อ

ว่า อัปปรชักขะ ผู้มีปัญญาทรามชื่อว่า มหารชักขะ บุคคลผู้มีศรัทธาอย่าง

นั้น ชื่อว่ามีอินทรีย์กล้า ฯลฯ บุคคลผู้ปัญญาชื่อว่า ผู้เห็น ปรโลกและโทษว่า

เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่า ไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย. บทว่า

โลโก ได้แก่โลก คือขันธ์ โลกคือธาตุ โลกคืออายตนะ โลกคือสัมปัตติภพ

โลกคือสัมปัตติสมภพ โลกคือวิปัตติภพ โลกคือวิปัตติสมภพ. โลก ๑ คือสัตว์

ทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร. โลก ๒ คือ นามและรูป. โลก ๓ คือเวทนา

๓ โลก ๔ คืออาหาร ๔ โลก ๕ คืออุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คืออายตนะ

ภายใน ๖ โลก ๗ คือวิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ

สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘

คือ ธาตุ ๑๘. บทว่า วชฺช ความว่า กิเลสทั้งปวงจัดเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวง

จัดเป็นโทษ อภิสังขารทั้งปวง จัดเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุนำสัตว์ไปสู่ภพ

ทั้งปวงจัดเป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้ และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า

ปรากฏแล้ว เหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ พระตถาคต ย่อมรู้เห็น รู้ตัว รู้ตลอด

อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้ ชื่อว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ

ของพระตถาคต.

บทว่า อุปฺปลิย แปลว่า ในป่าอุบล. แม้ในคำนอกนี้ก็นัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า อนฺโต นิมุคฺคโปสี ได้แก่ ดอกอุบลที่อยู่ใต้น้ำที่ธรรมชาติ

เลี้ยงไว้. บทว่า อุทก อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺนฺติ ได้แก่ โผล่น้ำตั้งอยู่. ในดอก

อุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่ เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะ

บานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจม

อยู่ใต้น้ำ จมอยู่ในน้ำธรรมชาติเลี้ยงไว้ เหล่านั้นก็จะบาน ในวันที่ ๓. ส่วน

ดอกอุบลที่อยู่ในสระเป็นต้น แม้เหล่าอื่นอยู่ใต้น้ำยังมีอยู่ เหล่าใดจักไม่บาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

เหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้

ยังไม่ขึ้นสู่บาลี ก็พึงแสดง. เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ ๔ อย่างเหล่านั้นฉันใด

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน. ในบุคคล ๔ เหล่านั้น บุคคลใดตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลายกหัวข้อ

ธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆฏิตัญญู. บุคคลใดตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจก

อรรถแห่งภาษิตสังเขปได้โดยพิสดาร บุคคลนี้ท่านเรียกว่า วิปัจจิตัญญู. บุคคล

ใดใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดยอุเทศทั้งโดยปริปุจฉา ซ่องเสพคบหาเข้าใกล้กัลยาณ-

มิตรจึงตรัสรู้ธรรมบุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ. บุคคลใด ฟังมากก็ดี กล่าว

มากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่าน

เรียกว่า ปทปรมะ. บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู

หมื่นโลกธาตุ ซึ่งเป็นเสมือนดอกบัวเป็นต้น ก็ได้ทรงเห็นว่าอุคฆฏิตัญญู เปรียบ

เหมือนดอกไม้บานในวันนี้ วิปัจจิตัญญู เปรียบดอกไม้บานในวันพรุ่งนี้ เนยยะ

เปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันที่ ๓ ปทปรมะ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่เป็นภักษา

ของปลาและเต่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็น ก็ทรงเห็นโดยอาการทุกอย่าง

อย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้ มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อย เหล่านี้มีกิเลสธุลี

ในปัญญาจักษุมาก บรรดาสัตว์เหล่านั้น เหล่านี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ดังนี้เป็นต้น.

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้สำเร็จประโยชน์ในอัตภาพนี้

เท่านั้น แก่บุคคล ๓ ประเภท ในจำนวนบุคคลเหล่านั้น ปทปมะ มีวาสนา

เพื่อประโยชน์ในอนาคตกาล. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระ-

ธรรมเทศนาจะนำประโยชน์มาให้แก่บุคคล ๔ประเภทจึงทรงทำให้เกิดพระพุทธ

ประสงค์ที่จะทรงแสดงธรรม จึงทรงจำแนกเหล่าสัตว์ใน ๓ ภพ ทั้งหมด อีก

สองคือ ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล. ท่านหมายเอาสัตว์เหล่าใด จึงกล่าวคำ

นี้ไว้ ว่าเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน สัตว์

เหล่านี้นั้นจัดเป็นอภัพพะ. เหล่าสัตว์ผู้เป็นภัพพะเหล่านั้นเป็นไฉน คือเหล่าสัตว์

ผู้ไม่ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ฯลฯ สัตว์เหล่านี้นั้น จัด

เป็นภัพพะ. ในสัตว์สองประเภทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละอภัพพบุคคล

ทั้งหมด ทรงกำหนดถือเอาด้วยพระญาณ เฉพาะภัพพบุคคลเท่านั้น ทรงจำแนก

ออกเป็น ๖ ส่วน คือ เหล่านี้มีราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต ศรัทธา-

จริต และพุทธิจริต. ครั้นจำแนกอย่างนี้แล้ว ก็ทรงพระดำริจักทรงแสดง

ธรรมโปรด.

บทว่า ปจฺจภาสึ แปลว่า ตรัสเฉพาะ. บทว่า อปารุตา แปลว่า

เปิด. บทว่า อมตสฺส ทฺวารา ได้แก่ อริยมรรค. จริงอยู่ อริยมรรคนั้น

เป็นประตูแห่งพระนิพพาน กล่าวคืออมติะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

อริยมรรคนั้นเราเปิดตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปมุญฺจนตุ สทฺธึ ได้แก่ ขอสรรพ

สัตว์ จงปล่อย จงหลั่งศรัทธาของตน. ในสองบทหลังมีความดังนี้ว่า แม้เรา

เข้าใจว่าจะลำบากทางกายและวาจา จึงไม่กล่าวธรรมสูงสุดอันประณีตนี้ ที่คล่อง

แคล่ว แม้ที่เป็นไปด้วยดีของตน แต่มาบัดนี้ ขอชนทั้งปวง จงน้อมนำภาชนะ

คือศรัทธาเข้ามา เราจะทำความดำริของสัตว์เหล่านั้นให้เต็ม. บทว่า ตสฺส

มยฺห ภิกฺขเว เอตทโหสิ ความว่า เราได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจะพึง

แสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ความวิตกอันเกี่ยวด้วยการแสดงธรรมนี้เกิดขึ้น

แล้ว. ถามว่าก็ความวิตกนี้เกิดขึ้นเมื่อไร. ตอบว่า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า

สัปดาห์ที่ ๘. ในข้อนั้นจะกล่าวลำดับความดังนี้

ดังได้สดับมา ในวันมหาภิเนษกรมณ์ พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็น

เรือนสนมกำนัลเปิดก็สลดพระทัย จึงตรัสเรียกนายฉันนะมาสั่งว่า นำม้ากัณฐ-

กะมาซิ มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จขึ้นทรงหลังพญาม้า ออกจากพระนคร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ทรงแสดงเจติยสถานที่ให้ม้ากัณฐกะกลับ ทรงละราชสมบัติ ทรงผนวชใกล้ฝั่ง

แม่น้ำอโนมานที เสด็จจาริกไปตามลำดับเที่ยวแสวงหาอาหารในกรุงราชคฤห์

ประทับนั่ง ณ ปัณฑวบรรพต ถูกพระเจ้าพิมพิสารตรัสถามถึงนามและโคตร

ตรัสขอให้ทรงรับราชสมบัติ แต่ทูลว่า อย่าเลยมหาบพิตร อาตมภาพไม่ต้องการ

ราชสมบัติ อาตมภาพละราชสมบัติ มาประกอบความเพียร เพื่อต้องการเกื้อกูล

แก่โลก ออกบวชด้วยหมายจักเป็นพระพุทธเจ้าตัดความหมุนเวียนในโลก ทรง

รับปฏิญาณของพระเจ้าพิมพิสารที่ว่า ถ้าอย่างนั้น พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

แล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นหม่อมฉันก่อนดังนี้ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส

กาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตร เมื่อไม่พบสาระแห่งธรรมเทศนาของ

ดาบสทั้ง ๒ นั้น จึงหลีกออกไปบำเพ็ญทุกกรกิริยาถึง ๖ ปีที่อุรุเวลา เมื่อ

ไม่อาจแทงตลอดอมตธรรม ทำพระกายให้เอิบอิ่มด้วยการเสวยอาหารหยาบ ๆ.

ครั้งนั้น ธิดากุฏุมพี ชื่อว่า สุชาดาในอุรุเวลคาม ตั้งความปรารถนา ณ ต้น

นิโครธต้นหนึ่งว่า ถ้าเราแต่งงานกับคนมีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายท้องแรก

จักกระทำการบวงสรวง. นางสำเร็จความปรารถนานั้นแล้ว. วันวิสาขปุรณมี

นางตระเตรียมข้าวมธุปายาสอย่างดีเวลาใกล้รุ่งราตรี ด้วยหมายจะทำการบวง-

สรวงแต่เช้าตรู่. เนื้อกำลังหุงข้าวมธุปายาสอยู่นั้น ฟองข้าวมธุปายาสฟองใหญ่ๆ

ผุดขึ้นวนเวียนไปทางขวา. แม้ส่วนที่ถูกสัมผัสอย่างหนึ่ง ก็ไม่กระเด็นออกไป

ข้างนอก. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร. ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ถือพระขรรค์อารักขา.

ท้าวสักกะ รวบรวมไม้แห้ง (ฟืน) มาติดไฟ. เทวดาใน ๔ ทวีป ก็รวบ

รวมโอชะมาใส่ลงในมธุปายาสนั้น. พระโพธิสัตว์ คอยเวลาภิกษาจารเสด็จไป

แต่เช้าตรู่ ประทับนั่ง ณ โคนไม้. แม่นมนาเพื่อแผ้วถางโคนไม้ บอกแก่นาง

สุชาดาว่า เทวดามานั่งอยู่โคนไม้แล้ว. นางสุชาดาประดับเครื่องประดับทั้งปวง

แล้ว บรรจงจัดข้าวมธุปายาสใส่ลงในถาดทองมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ ปิดด้วยถาดทอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

อีกถาดหนึ่ง แล้วยกขึ้นเดินไป เห็นพระมหาบุรุษ จึงวางไว้ในมือพร้อมกับ

ถาดนั่นแหละ ไหว้แล้วกล่าวว่า มโนรถของดิฉัน สำเร็จแล้วฉันใด ขอ

มโนรถแม้ของท่านก็จงสำเร็จ ฉันนั้นเทอญ แล้วก็กลับไป.

พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้ววางถาดทองไว้

ริมฝั่งลงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว ทรงปั้นข้าวมธุปายาส จำนวน ๔๙ ก้อน เสวย

ข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงเสี่ยงทายว่า ถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าวันนี้ ขอถาด

จงลอยทวนกระแสน้ำ ดังนี้แล้ว ทรงเหวี่ยงถาดไป. ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำ

แล้วหยุดหน่อยหนึ่ง เข้าไปสู่ภพของท้าวกาฬนาคราช วางทับถาดของพระ-

พุทธเจ้า ๓ พระองค์. พระมหาสัตว์ประทับพักกลางวัน ณ แนวป่า ตกเวลา

เย็น ทรงรับหญ้า ๘ กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย แล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน

ประทับยืน ณ ส่วนทิศใต้. ประเทศนั้น ได้ไหว เหมือนหยาดน้ำในใบปทุม.

พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ตรงนี้ไม่อาจทรงคุณของเราได้ ก็เสด็จไปส่วนทิศ

ตะวันตก. แม้ที่นั้นก็ไหวเหมือนอย่างนั้น. ได้เสด็จไปส่วนทิศเหนือ. แม้ที่นั้น

ก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไปส่วนทิศตะวันออก ณ ที่นั้นฐานที่ทำเป็นบัลลังก์

ไม่ไหวเลยเหมือนเสาหลักที่ปักไว้ดีแล้ว. พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ที่นี้เป็น

สถานที่รื้อบัญชรกิเลส ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงจับยอดหญ้าเหล่านั้น

เขย่า ยอดหญ้าเหล่านั้น ก็ได้เป็นเหมือนช่างจิตรกรรม วาดด้วยปลายนุ่น.

พระโพธิสัตว์ทรงเข้าประชิดต้นโพธิ ทรงอฐิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ว่าจัก

ไม่ทรงทำลายบัลลังก์นี้ แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ.

ทันใดนั้นเอง มารเนรมิตแขน ๑,๐๐๐ ขึ้น ช้างชื่อคิริเมขละสูง ๑๕๐

โยชน์ พาพลมาร ๙ โยชน์ มองดูครึ่งดวงตา เข้าประชิด ประหนึ่งภูเขา.

พระมหาสัตว์ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เรากำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ ไม่มีสมณะ

พราหมณ์เทวดามารหรือพรหมเป็นพยาน แต่ในอัตตภาพที่เป็นพระเวสสันดร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

มหาปฐพีได้เป็นพยานของเรา ใน ๗ ฐานะ แม้บัดนี้ มหาปฐพีที่ไม่มีใจ

และอุปมาด้วยท่อนไม้ ก็เป็นสักขีพยาน. ทันทีนั่นเอง มหาปฐพีก็เปล่งเสียง

ร้อง ร้อยครั้งพันครั้ง เหมือนกังสดาลที่ถูกดีด้วยท่อนเหล็ก แล้วกลิ้งม้วน

เอาพลมารไปกองไว้ที่ขอบปากจักรวาล. เมื่อดวงอาทิตย์ดำรงอยู่นั่นแล พระ-

มหาสัตว์ ก็ทรงกำจัดพลมารได้ ทรงชำระปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม

ทิพย์จักษุญาณในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งญาณลงในปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม

ทรงพิจารณาวัฏฏและวิวัฏฏะ เวลารุ่งอรุณ ก็เป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำริว่า

เราทำความพยายาม เพื่อบัลลังก์นี้มาตลอดหลายแสนโกฏิกัลป์ ดังนี้แล้ว

ประทับนั่งขัดสมาธิท่าเดียวตลอดสัปดาห์.

ต่อมาเทวดาบางเหล่าเกิดสงสัยว่า ยังมีธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า

อยู่อีกหรือ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออกจากสมาบัติในวันที่ ๘

ทรงทราบความสงสัยของเหล่าเทวดา จึงเสด็จเหาะแสดงยมกปาฏิหารย์เพื่อ

กำจัดความสงสัย ครั้นทรงกำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับ

ยืนที่ส่วนทิศเหนือเยื้องทิศตะวันออกจากบัลลังก์หน่อยหนึ่ง ทรงสำรวจสถานที่

บรรลุผลแห่งพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไขยกำไรแสนกัปป์ พระ-

บัลลังก์และโพธิพฤกษ์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบ ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง.

สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมมิสเจดีย์. ต่อมาเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมที่ต่อจาก

ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ในระหว่างพระบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน

ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์. ต่อนั้น เหล่า

เทวดาในส่วนทิศตะวันตก เนรมิตเรือนทำด้วยแก้วไว้. ประทับนั่งขัดสมาธิ

ณ เรือนนั้น ทรงเฟ้นอภิธรรมปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมันตปัฏฐานอนันตนัย

ในอภิธรรมนั้น ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์. ณ ที่

ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นเอง ล่วงไป ๔ สัปดาห์ ด้วยอาการอย่างนี้ ในสัปดาห์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

ที่ ๕ เสด็จออกจากโคนโพธิพฤกษ์ เสด็จเข้าไปยัง อชปาลนิโครธ. ทรงเฟ้น

ธรรมแม้ในที่นั้น ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่. เมื่อทรงเฟ้นธรรม ก็ทรง

พิจารณาเพียงนัยแห่งอภิธรรมในธรรมนั้นคือ คัมภีร์แรก ชื่อธัมมสังคณีปกรณ์

ต่อนั้น ก็วิภังคปกรณ์ ธาตุกถาปกรณ์ บุคคลบัญญัติปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์

ยมกปกรณ์ ต่อนั้น มหาปกรณ์ ชื่อปัฏฐาน.

เมื่อจิตของพระองค์หยั่งลงในปัฏฐานอันละเอียดสุขุม ในพระอภิธรรม

นั้น ปีติก็เกิดขึ้น. เมื่อปีติเกิดขึ้นพระโลหิตก็ใส เมื่อพระโลหิตใส พระฉวี

ก็สดใส เมื่อพระฉวีสดใส พระรัศมีขนาดเท่าเรือนยอดเป็นต้นก็ผุดขึ้นจาก

พระกายส่วนหน้า แล่นไปตลอดอนันตจักรวาล ทางทิศตะวันออก เหมือน

โขลงพญาฉัททันต์แล่นไปในอากาศ. พระรัศมีผุดขึ้นจากพระกายส่วนพระ-

ปฤษฏางค์ ก็แล่นไปทางทิศตะวันตก ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องขวา ก็

แล่นไปทางทิศใต้ ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องซ้าย แล่นไปตลอดอนันต-

จักรวาลทางทิศเหนือ. พระรัศมีมีวรรณะดังหน่อแก้วประพาฬก็ออกจากพื้น

พระบาททะลุมหาปฐพี แหวกน้ำเป็นสองส่วน ทำลายกองลม แล่นไปตลอด

อัชฎากาส เกลียวพระรัศมีสีเขียว เหมือนพวงแก้วมณีหมุนเป็นเกลียวผุด

ขึ้นจากพระเศียร ทะลุเทวโลก ๖ ชั้น เลยพรหมโลก ๙ ชั้น แล่นไปตลอด

อชฎากาส วันนั้น เหล่าสัตว์ไม่มี ประมาณในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ ก็

พากันมีวรรณะดังทองไปหมด. ก็แลวันนั้น พระรัศมีเหล่านั้นที่สร้างออก

จากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยังดำเนินไปอยู่ตลอดอนันตโลกธาตุ

แม้กระทั่งทุกวันนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธ ล่วงไป

สัปดาห์หนึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ต่อแต่นั้น ก็ประทับนั่ง ณ มุจจลินท์

อีกสัปดาห์หนึ่ง. พอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับนั่งเท่านั้น มหาเมฆซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

มิใช่ฤดูกาล ก็เกิดตกทำให้ห้องสกุลจักรวาลเต็มเปี่ยมไป. เล่าว่า มหาเมฆเช่นนั้น

ตกในกาลทั้งสองเท่านั้น คือเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระพุทธเจ้าอุบัติ

มหาเมฆนั้นเกิดในพุทธกาลนี้. ก็เมื่อมหาเมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว พญานาค ชื่อ

มุจจลินท์ ก็ดำริว่า เมฆนี้เกิดขึ้นเมื่อพระศาสดาเสด็จเข้ามายังภพเรา พระองค์

ควรจะได้อาคารบังฝน. พญานาคนั้นยังดำริว่า ถึงจะสามารถเนรมิตปราสาท

เป็นรัตนะ ๗ ประการ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ก็จักไม่มีผลใหญ่ จำเราจัก

ทำความขวนขวาย ด้วยการถวายแด่พระทศพล แล้วจึงขยายอัตภาพให้ใหญ่

เอาขนดล้อมรอบพระศาสดาไว้ ๗ ชั้น กั้นพังพานไว้ข้างบน. โอกาสภายในขนด

เบื้องล่างมีขนาดเท่าโลหะปราสาท. พญานาคมีอัธยาศรัย น้อมไปว่า พระ-

ศาสดาจักประทับอยู่ตามอิริยาบถที่ทรงต้องการ. เพราะฉะนั้นจึงล้อมโอกาสที่

ใหญ่ไว้อย่างนี้. ตกแต่งรัตนบัลลังก์ไว้ตรงกลาง มีเพดานผ้ามีพวงของหอม

พวงดอกไม้พรั่งพร้อม วิจิตรด้วยดาวทอง อยู่เบื้องบน. ประทีปน้ำมันหอม

สว่างทั้ง ๔ มุม ตั้งกล่องจันทน์เปิดไว้ ๔ ทิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

ณ มุจจลินท์นั้น ล่วงไปสัปดาห์หนึ่งด้วยอาการอย่างนั้น ต่อแต่นั้น ประทับนั่ง

ณ ราชายตนพฤกษ์อีกสัปดาห์หนึ่ง. สัปดาห์ที่ ๘ ต่อจากราชายตนพฤกษ์

ทรงเคี้ยวไม้สีฟันและสมอยาที่ท้าวสักกะจอมเทพนำมาถวาย ทรงบ้วนพระโอฐ

แล้ว เมื่อท้าวจตุโลกบาลน้อมบาตรศิลามีค่าพิเศษถวาย ก็เสวยบิณฑบาตของ

ตปุสสะและภัลลิกะสองพาณิชแล้วเสด็จกลับมาประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธอีก

ทรงเกิดปริวิตกนี้ที้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ทรงเคยปริวิตกกันมาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ

เป็นบัณฑิต. บทว่า พยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความฉลาด. บทว่า

เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาขั้นมูลฐาน. บทว่า อปฺปรชกฺชชาติโก

คือสัตว์บริสุทธิ์หมดกิเลส เหตุข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ. บทว่า อาชานิสฺสติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

คือ กำหนดรู้ แทงตลอด. บทว่า าณญฺจ ปน เม ได้แก่ พระสัพพัญ-

ญุตญาณเกิดขึ้นแม้แก่เรา. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตกลงพระทัยตาม

ถ้อยคำที่เทวดาทูลเท่านั้น ทรงตรวจดูด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ

ก็ทรงทราบว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร ทำกาละ (มรณภาพ) ได้ ๗ วัน นับ

แต่วันนี้ บังเกิดในอากิญจัญญายตนภพแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง

ข้อนั้น จึงตรัสว่า าณญฺจ ปน เม ทสฺสน อุทปาทิ ดังนี้. บทว่า

มหาชานิโย คือ ชื่อว่ามหาชานิยะ เพราะมีความเสื่อมใหญ่ เหตุเป็นผู้เสื่อม

จากมรรคผล ที่พึงบรรลุระหว่าง ๗ วัน. อาฬารดาบส กาสามโคตรนั้น ก็

ไม่มีโสตประสาทที่จะฟังธรรมแม้ที่พระองค์เสด็จไปแสดงโปรด เพราะท่านบังเกิด

ในอขณะ (อสมัย เวลาที่ยังไม่ควรจะตรัสรู้) แม้บทที่จะชักมาเป็นฐานแห่ง

พระธรรมเทศนานี้ก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้ จึงทรงแสดงว่า มหาชานิโย ชาโต

เกิดเสื่อมใหญ่ ดังนี้. บทว่า อภิโทสกาลกโต คือกระทำกาละ เสียแล้ว

เมื่อเที่ยงคืน. บทว่า าณญฺจ ปน เม ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ ก็เกิด

ขึ้นแล้วแม้แก่เรา. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงตกลงพระทัยตามคำของ

เทวดา ทรงตรวจดูด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็ทรงเห็นว่า อุททกดาบส

รามบุตร กระทำกาละเสียเมื่อเที่ยงคืนวานนี้ บังเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตน

ภพ. เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. คำที่เหลือก็เหมือนนัยแรกนั่นแหละ. บทว่า

พหุการา แปลว่า มีอุปการะมาก. บทว่า ปธานปหิตตฺต อุปฏฺหึสุ

ความว่า เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์บำรุงเราผู้ตั้งความมุ่งมาดเพื่อทำความเพียร ด้วย

การปัดกวาดบริเวณที่อยู่ ด้วยถือบาตรจีวรติดตามไป และด้วยการให้น้ำ

บ้วนปากไม้สีฟันเป็นต้น.

ก็ใครที่ชื่อปัญจวัคคีย์นั้น. คือพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายพระสุบิน

และทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด ตามคาถาประพันธ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺตี

ยญฺโ สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต

เอเต ตทา อฏฺ อเหสุ พฺราหฺมณา

ฉฬงฺควา มนฺต วิยากรึสุ

ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้

คือ รามะ ธชะ ลักษณะ โชติมันติ ยัญญะ

สุโภชะ สุยามะ สุทัตตะ ใช้ฉฬังควมนต์

พยากรณ์ (พระลักษณะ).

บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น ๓ คน พยากรณ์เป็น ๒ คติว่า ผู้ประกอบด้วย

ลักษณะเหล่านี้ อยู่ครองเรือน ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ออกบวชก็จะเป็น

พระพุทธเจ้า. พราหมณ์ ๕ คน พยากรณ์คติเดียวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ

เหล่านี้ จะไม่ครองเรือน จะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว. บรรดาพราหมณ์

เหล่านั้น ๓ คนแรก ถือตามบทมนต์. ส่วน ๕ คนนี้ ก้าวล่วงบทมนต์. พวก

เขาจึงสละของรางวัลเต็มภาชนะที่ตนได้มาแก่เหล่าญาติ หมดความสงสัยว่า

พระมหาบุรุษนี้ จักไม่อยู่ครองเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว จึง

บวชเป็นสมณะอุทิศพระโพธิสัตว์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกที่บวชเป็น

บุตรของพราหมณ์เหล่านี้ดังนี้ก็มี. คำนั้นอรรถกถาค้านี้. เล่ากันว่า พราหมณ์ ๕

คนนั้น เวลายังหนุ่มรู้มนต์มาก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงอยู่ในฐานะ

อาจารย์. ภายหลัง พราหมณ์เหล่านั้น คิดกันว่า พวกเราไม่อาจตัดคนที่เป็นบุตร

ภรรยาบวชได้ จึงบวชเสียในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มทีเดียว ใช้สอยเสนาสนะที่น่า

รื่นรมย์เที่ยวกันไป. แต่ต่อ ๆ มา ถามกันว่า ผู้เจริญ พระมหาบุรุษออกบวช

แล้วหรือ. ผู้คนทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านจักพบพระมหาบุรุษได้ที่ไหน ท่าน

เสวยสมบัติอย่างกะเทวดา ท่ามกลางนางรำ ๓ ประเภท บนปราสาท ๓ ฤดู.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

พราหมณ์ทั้ง ๕ คน คิดว่า ญาณของพระมหาบุรุษ ยังไม่แก่กล้า แล้วพากัน

ขวนขวายน้อยอยู่.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปัญจวัคคีย์มี

อุปการะแก่เรามาก พระองค์จะทรงแสดงธรรมแก่เหล่าคนที่มีอุปการะเท่านั้น

ไม่ทรงแสดงธรรมแก่พวกคนที่ไม่มีอุปการะหรือ. ตอบว่า มิใช่ไม่ทรงแสดง

ธรรม ความจริง พระองค์ทรงตรวจดูอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุททก-

ดาบสรามบุตร โดยการสั่งสมบารมี แต่เว้นท่านพระอัญญาโกณทัญญะเสีย

ก็ไม่มีผู้สามารถกระทำให้แจ้งธรรมได้ก่อน ในพุทธเขตนี้. เพราะเหตุไร.

เพราะท่านพระอัญญาโกณทัญญะมีอุปนิสสัย ๓ อย่าง. เล่ากันว่า ในชาติก่อน

มีพี่น้องสองคน ในเวลาทำบุญ. ผู้พี่คิดจะถวายทานข้าวอย่างเลิศ ๙ ครั้ง ใน

ฤดูข้าวฤดูหนึ่ง. เขาก็ถวายทานเมล็ดข้าวอย่างเลิศในเวลาหว่าน เวลาข้าวตั้งท้อง

ก็ปรึกษากับผู้น้องว่า น้องเอ๋ย เวลาข้าวตั้งท้องพี่จะผ่าท้องข้าวถวายทาน. ผู้น้อง

บอกว่า พี่ต้องการจะทำข้าวอ่อนให้เสียหรือ. ผู้พี่รู้ว่า น้องไม่ยินยอม ก็แบ่ง

นากัน ผ่าท้องข้าวจากนาส่วนของตน คั้นน้ำนมปรุงกับเนยใสและน้ำอ้อย

ถวายทาน. เวลาเป็นข้าวเม่า ก็ให้ทำข้าวเม่าอย่างเลิศถวายทาน เวลาเก็บเกี่ยว

ก็ให้ทำข้าวที่เก็บเกี่ยวอย่างเลิศถวายทาน เวลาทำคะเน็ด ก็ให้ทำข้าวคะเน็ด

อย่างเลิศถวายทาน เวลาทำกำเป็นต้นก็ให้ถวายทานอันเลิศเวลาทำกำ ทานอัน

เลิศเวลาขนข้าวเช้าลาน ทานอันเลิศเวลานวด ทานอันเลิศ เวลาข้าวเช้ายุ้ง

ถวายทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในฤดูข้าวฤดูหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. ส่วนผู้น้องของเขา

หมดฤดูข้าวแล้ว จึงถวายทาน. ทั้งสองคนนั้น ผู้พี่ก็คือท่านพระอัญญาโกณ-

ฑัญญะ ผู้น้องก็คือ สุภัททปริพาชก. เว้นพระเถระเสียก็ไม่มีตนอื่น ๆ ที่จะ

สามารถทำให้แจ้งธรรมได้ก่อนเพราะท่านถวายทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในฤดูข้าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

ฤดูเดียว. ก็คำว่า พหุการา โข เม ปญฺจวคฺคิยา นี้ ตรัสโดยเพียงทรงระลึก

ถึงอุปการะเท่านั้น.

บทว่า อิสิปตเน มิคทาเย ความว่า นัยว่า ณ ประเทศที่นั้น

เมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ยับยั้งอยู่ด้วย

นิโรธสมาบัติตลอดสัปดาห์ ณ คันธมาทนบรรพต ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว

เคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา บ้วนปากที่สระอโนดาดถีอบาตรจีวรเหาะไปแล้ว

ลงห่มจีวรในที่นั้นแล้วเที่ยวไปบิณบาตในพระนคร ฉันเสร็จแล้วถึงเวลาก็เหาะ

จากที่นั้นไป. ดังนั้นฤษีทั้งหลายลงและเข้าไปในที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้นจึงนับว่า

อิสิปตน ส่วนที่เรียกว่า มิคทายะ เพราะให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงเรียกว่า อิสิปตเน มิคทาเย. บทว่า อนฺตรา จ คย อนุตรา จ

โพธึ ได้แก่ ในสถานระหว่าง ๓ คาวุต ในช่วงของตำบลคยา และโพธิพฤกษ์.

ตั้งแต่โพธิมัณฑสถานถึงตำบลคยา ๓ คาวุต กรุงพาราณสี ๑๘ โยชน์. อุปกา

ชีวก ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าระหว่างโพธิสถานและตำบลคยา. แต่เพราะ

ประกอบด้วยอันตราศัพท์ ท่านจึงทำเป็นทุติยาวิภัติ. แต่ในที่นี้นักอักษรศาสตร์

ประกอบอันตราศัพท์อย่างเดียวเท่านั้นว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ

ไประหว่างบ้านและแม่น้ำ อันตราศัพท์นั้นก็ประกอบแม้ด้วยบทที่ ๒ เมื่อไม่

ประกอบ ก็ไม่ถึงทุติยาวิภัติ แต่ในที่นี้ ท่านประกอบแล้วจึงได้กล่าวอย่างนี้.

บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺน ความว่า เดินทางที่นับว่าไกล อธิบาย

ว่าเดินทางยาว. จริงอยู่ สมัยที่เดินทางไกลแม้กึ่งโยชน์ ก็ชื่อว่า ทางไกล

เพราะพระบาลีในวิภังค์เป็นต้นว่า พึงฉันเสียด้วยคิดจะเดินทางกึ่งโยชน์. ตั้งแต่

โพธิมัณฑสถานถึงตำบลคยา ทาง ๓ คาวุต. บทว่า สพฺพาภิภู ได้แก่

ครอบงำทางที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดตั้งอยู่. บทว่า สพฺพวิทู ความว่าได้รู้

ได้แก่ ตรัสรู้ทั่วถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมด. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

อนูปลิตฺโต ได้แก่ ไม่ติดอยู่เพราะสิ้นกิเลสในธรรมอันไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด.

บทว่า สพฺพญฺชโห ได้แก่ ละธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมดตั้งอยู่. บทว่า

ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นจากอารมณ์ในพระนิพพาน เป็นที่สิ้นตัณหา.

บทว่า สย อภิญฺาย ได้แก่ รู้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งหมดด้วยตนเอง.

บทว่า กมุทฺทิเสยฺย ความว่า เราจะพึงยกใครอื่นว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา.

บทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ ความว่า เราไม่มีอาจารย์ในโลกุตตรธรรม. บทว่า

นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล ความว่า ไม่มีบุคคลที่จะเทียบเรา. บทว่า สมฺมา-

สมฺพุทฺโธ ได้แก่ ตรัสรู้เองซึ่งสัจจะ ๔ โดยชอบ โดยเหตุ โดยนัยทีเดียว.

บทว่า สีติภูโต ชื่อว่า เป็นผู้เย็นเพราะดับไฟคือกิเลสหมดสิ้น ชื่อว่า ดับ

เพราะกิเกสทั้งหลายดับไป. บทว่า กาสีน ปุร ได้แก่ นครในแคว้นกาสี.

บทว่า อาหญฺึ อมตทุนฺทุภึ ความว่า เดินทางหมายจะตีอมตเภรี เพื่อให้

สัตว์ได้ดวงตาเห็นธรรม. บทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน ได้แก่. ท่านควรจะ

เป็นอนันตชินหรือ. บทว่า หุเวยฺยาวุโส ความว่า อุปกาชีวกกล่าวว่า ผู้มี

อายุ จะพึงมีชื่ออย่างนั้นหรือ. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ ได้ไปยังชนบทชื่อว่า

วังกหาร.

เรื่องอุปกาชีวก

ในชนบทนั้น อุปกาชีวกอาศัยหมู่บ้านพรานล่าเนื้ออยู่. หัวหน้าพราน

บำรุงเขาไว้. ในชนบทนั้น มีชาวประมงดุร้าย ให้เขาอยู่ด้วยภาชนะใบเดียว.

พรานล่าเนื้อ จะไปล่าเนื้อในที่ไกล จึงสั่งธิดาชื่อ นาวา ว่าอย่าประมาทใน

พระอรหันต์ของพวกเรา แล้วไปกับเหล่าบุตรผู้เป็นพี่ ๆ. ก็ธิดาของพรานนั้น

มีรูปโฉมน่าชม สมบูรณ์ด้วยส่วนสัด. วันรุ่งขึ้น อุปกะมาเรือนพบหญิงรุ่นนั้น

เข้ามาเลี้ยงดูทำการปรนนิบัติทุกอย่าง เกิดรักอย่างแรง ไม่อาจแม้แต่จะกินถือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ภาชนะอาหารไปที่อยู่ วางอาหารไว้ข้างหนึ่ง คิดว่า ถ้าเราได้แม่นาวา จึงจะ

มีชีวิต ถ้าไม่ได้ก็จะตายเสีย แล้วนอนอดอาหาร. วันที่ ๗ นายพรานกลับมา

ถามเรื่องอุปกะกับธิดา. ธิดาบอกว่า เขามาวันเดียวเท่านั้น แล้วไม่เคยมาอีกจ้ะ.

โดยขุดที่มาจากป่านั่นแหละ. นายพรานบอกธิดาว่า พ่อจักเข้าไปถามเขาเอง

แล้วไปทันที จับเท้าถามว่า ท่านเจ้าข้า ไม่สบายเป็นอะไรไป. อุปกะถอนใจ

กลิ้งเกลือก็ไป. นายพรานกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า บอกสิ ข้าอาจทำได้ก็จักทำทุก

อย่าง. อุปกะจึงบอกว่า ถ้าเราได้แม่นาวา ก็จะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็จะตายใน

ที่นี่แหละประเสริฐกว่า. นายพรานถามว่า ท่านเจ้าข้า ท่านรู้ศิลปะอะไรบ้างละ.

อุปกะตอบว่าเราไม่รู้เลย. นายพรานกล่าวว่า เมื่อไม่รู้ศิลปะอะไรๆ จะอยู่ครอง

เรือนได้หรือ. อุปกะนั้นจึงกล่าวว่า เราไม่รู้ศิลปะจริง ๆ แต่เราจักเป็นคนแบก

เนื้อของท่านมาขายได้นะ. นายพรานคิดว่า เขาชอบกิจการนี่ของเรา จึงให้

ผ้านุ่งผืนหนึ่ง นำไปเรือนมอบธิดาให้. อาศัยการสมสู่ของคนทั้งสองนั้น ก็เกิด

บุตรขึ้นมาคนหนึ่ง. ทั้งสองสามีภรรยาจึงตั้งชื่อบุตรว่า สุภัททะ. เวลาบุตรร้อง

นางจะพูดว่า เจ้าลูกคนแบกเนื้อ เจ้าลูกพรานเนื้อ อย่าร้องดังนี้เป็นต้น เย้ย

หยันอุปกะ ด้วยเพลงกล่อมลูก. อุปกะกล่าวว่า แม่งาม จักเข้าใจว่าข้าไม่มีที่พึ่ง

อยู่หรือ ข้ามีสหายคนหนึ่ง ชื่ออนันตชินะ ข้าจะไปยังสำนักเขา. นางนาวา

รู้ว่า สามีอึดอัดใจด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวบ่อย ๆ. วันหนึ่ง อุปกะนั้นไม่

บอกกล่าวก็มุ่งหน้าไปยังมัชฌิมประเทศ.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุง

สาวัตถี ทรงสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ก่อนว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด มาถามหา

อนันตชินะ พวกท่านจงชี้แจงแก่เขา. แม้ชีวกก็ถามเรื่อย ๆ ไปว่า อนันตชินะ

อยู่ไหนมาถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ ยืนอยู่กลางพระวิหาร ถามว่า อนันตชินะอยู่

ไหน. ภิกษุทั้งหลายก็พาเขาไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. อุปกะนั้นเห็นพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

พระภาคเจ้า ทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจำข้าได้ไหม. ตรัสว่า เออ อุปกะ

จำได้ซิ ก็ท่านอยู่ไหนละ. ทูลว่า วังกหารชนบท เจ้าข้า. ตรัสว่า อุปกะ. ท่าน

แก่แล้วนะ บวชได้หรือ. ทูลว่า พอจะบวชได้เจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าให้บวช

ประทานกรรมฐานแก่เขา. อุปกะนั้นกระทำกิจในกรรมฐาน ตั้งอยู่ในอนาคามิผล

กระทำกาละแล้ว บังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา แล้วบรรลุพระอรหัตในขณะที่เกิด

นั่นเอง. จริงอยู่ ชน ๗ คน พอเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา ก็บรรลุพระอรหัต.

ในจำนวน ๗ คนนั้น อุปกะก็เป็นคนหนึ่ง. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า

ภิกษุ ๗ รูปพ้นแล้ว สิ้นราคะโทสะ

แล้ว ข้ามกิเลสที่ซ่านไปในโลก เข้าถึง

สุทธาวาสพรหมชั้นอวิหา คือ คน ๓ คน

ได้แก่ อุปกะ ปลคัณฑะ ปุกกุสาติ ๔

คนคือ ภัททิยะ ขัณฑเทวะ พาหุทัตติ

และปิงคิยะ ทั่ง ๗ คนนั้น ละกายมนุษย์

แล้ว เข้าถึงกายทิพย์.

บทว่า สณฺเปสุ ได้แก่ กระทำกติกา. บทว่า พาหุลฺลิโก ได้แก่

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความมักมากในจีวรเป็นต้น. บทว่า ปธานวิพฺภนฺโต

ได้แก่ พรากเสื่อมจากความเพียร. บทว่า อาวตฺโต พาหุลฺลาย ได้แก่

เวียนมาเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นมาก ๆ. บทว่า อปิจ โข อาสน เปตพฺพ

ความว่า ปัญจวัคคีย์กล่าวว่า พึงวางเพียงอาสนะไว้สำหรับ ท่านผู้เกิดในตระกูล

สูง. บทว่า นาสกฺขึสุ ความว่า ปัญจวัคคีย์ถูกอานุภาพอำนาจของพระพุทธ

เจ้าครอบงำไว้ จึงตั้งอยู่ในกติกาของตนไม่ได้. บทว่า นาเมน จ อาวุโส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

วาเทน จ สมุทาจรนฺติ ความว่า เรียกว่า โคตมะ เรียกว่า อาวุโส

อธิบายว่า กล่าวคำเห็นปานนี้ว่า อาวุโสโคดม เวลาที่ท่านบำเพ็ญเพียร ณ

อุรุเวลา พวกเราช่วยกันถือบาตรจีวรเที่ยวไป ถวายน้ำบ้วนโอษฐ์และไม้ชำระ

ฟัน กวาดบริเวณที่อยู่ ภายหลังใครทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ครั้นพวกเรา

หนีไปแล้ว ท่านไม่คิดบ้างหรือ. บทว่า อิริยาย ได้แก่ ด้วยการ

ดำเนินไปที่ท่าได้ยาก. บทว่า ปฏิปทาย ได้แก่ ด้วยการปฏิบัติที่ทำ

ได้ยาก. บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยการกระทำที่ทำได้ยาก มีทำ

อาหารด้วยถั่วเขียวถั่วพูฟายมือหนึ่ง หรือกึ่งฟายมือเป็นต้น. บทว่า อภิชานาถ

เม โน ได้แก่ พวกท่านเคยรู้ถึงคำที่เรากล่าวน หรือ. บทว่า เอวรูป จ

ภาสิตเมต ความว่า การเปล่งถ้อยคำเห็นปานนี้. อธิบายว่า ผู้มีอายุ เรามา

กลางคืนหรือกลางวันเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ท่าน อย่าวิตกไปเลยในการ

บำเพ็ญเพียร ณ อุรฺเวลา โอภาส หรือนิมิตปรากฏแก่เราอยู่ เพราะฉะนั้น

จึงได้กล่าวคำบางคำเห็นปานนี้. พวกใครได้สติด้วยพระดำรัสบทเดียวเท่านั้น

เกิดความเคารพเชื่อว่า เอาเถิด ท่านผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว แล้วกล่าวว่า

โน เหต ภนฺเต คำนั้นไม่เคยได้ฟังพระเจ้าข้า. บทว่า อสกฺขึ โข อห

ภิกฺขเว ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู สญฺาเปตุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

สามารถทำให้ภิกษุปัจวัคคีย์รู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์. ก็ครั้ง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในวันอุโบสถ ทรงทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้รู้

ความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรทำพระโกณฑัญญะ

ให้เป็นกายสักขี. เวลาจบพระสูตร พระเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วย

พรหม ๑๘ โกฏิ. พระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตเทศนาจบลงแล้ว. พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จเข้าจำพรรษาในป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั่นเอง. คำว่า เทฺวปิ- .

สุท ภิกฺขเว ภิกฺขู โอวทามิ เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงการไม่เสด็จเข้าบ้าน

แม้เพื่อบิณฑบาต ตั้งแต่วันปาฏิบทแรมค่ำหนึ่ง. เพื่อจะทรงชำระมลทินที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

ขึ้นในพระกรรมฐานของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ประ-

ทับอยู่ภายในพระวิหารเท่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงมลทินของพระกรรมฐานที่เกิดขึ้น ๆ. ฝ่ายพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเสด็จไปยังที่ที่ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ทรงบรรเทามลทิน. ลำดับนั้น บรรดา

ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำภัตรออกไปอย่างนี้

โอวาทอยู่ พระวัปปเถระได้เป็นพระโสดาบันในวันปาฏิบท. แรม ๒ ค่ำพระ-

ภัททิยะ แรม ๓ ค่ำพระมหานามะ แรม ๔ ค่ำพระอัสสชิ. ในวันแรม ๕ ค่ำ

ของปักษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทั้งหมดประชุมรวมกัน

ตรัสอนัตตลักขณสูตร. เวลาจบพระสูตร ภิกษุทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตผล.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อถโข ภิกฺขเว ปญฺจวคฺคิยา

ภิกฺขู ฯเปฯ อนุตฺตร โยคกฺเขม นิพฺพาน อชฺฌคมสุ ดังนี้. บทว่า

นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามมรรคใดไว้

ก่อน เมื่อทรงแสดงอนุสนธิเป็นอันเดียวกันดังนี้ว่า แม้พวกเธอก็ขึ้นสู่ทางของ

เราและของปัญจวัคคีย์ การแสวงหาของพวกเธอ ชื่อว่าอริยปริเยสนา ดังนี้

จึงทรงนำกถามรรคเพียงเท่านั้น.

บัดนี้ ก็เพราะเหตุที่การแสวงหากามคุณ ๕ เป็นอนริยปริเยสนาของ

คฤหัสถ์ทั้งหลาย เป็นอนริยปริเยสนา แม้ของเหล่าบรรพชิตผู้ไม่พิจารณา

บริโภคปัจจัย ๔ ด้วยโดยอำนาจกามคุณ ๕ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงข้อนั้น

จึงตรัสว่า ปญฺจิเม ภิกฺขเว กามคุณา เป็นต้น. ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น

กามคุณ ๔ มีรูปที่พึงรู้ด้วยจักษุเป็นต้น ย่อมได้ในปัจจัย มีบาตรและจีวร

เป็นต้นที่ได้มาใหม่. ส่วนรสในกามคุณนั้น ก็คือรสในการบริโภค กามคุณ

แม้ทั้ง ๕ ย่อมได้ในบิณฑบาตและเภสัชที่พอใจ. กามคุณ ๔ ย่อมได้ในเสนา

สนบริขารเหมือนในจีวร. ส่วนรสในเสนาสนบริขารแม้นั้น ก็คือรสในการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

บริโภคนั้นเอง. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า เย หิ เกจิ

ภิกฺขเว ดังนี้. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกามคุณ ๕ อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เพื่อต้องการจะปฏิเสธพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าอนริยปริเยสนา

ตั้งแต่บวช จะเป็นอริยปริเยสนาของบรรพชิตได้ที่ไหน จึงทรงเริ่มเทศนานี้

เพื่อแสดงว่า การบริโภคด้วยการไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ เป็นอนริยปริเยสนา

แม้ของบรรพชิต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คธิตา ได้แก่ กำหนัดด้วย

ความกำหนัดด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ สยบด้วยความสยบด้วย

อำนาจตัณหา. บทว่า อชฺฌาปนฺนา ได้แก่ ถูกตัณหาครอบงำแล้ว. บทว่า

อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่เห็นโทษ. ปัจจเวกขณญาณ ท่านเรียกว่า

นิสสรณะ ในคำว่า อนิสฺสรณปฺปญฺา เว้นปัจจเวกขณญาณนั้น.

บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอุปมาที่จะสาธกเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ

ภิกฺขเว เป็นอาทิ พึงทราบข้อเปรียบเทียบในคำนั้นดังนี้ . ความว่า สมณ-

พราหณ์เหมือนเนื้อในป่า ปัจจัย ๔ เหมือนบ่วงที่พรานดักไว้ในป่า เวลาที่

สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่พิจารณาบริโภคปัจจัย ๔ เหมือนเวลาที่พรานนั้นดัก

บ่วงแล้วนอน เวลาที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายถูกมารกระทำตามชอบใจตกไปสู่

อำนาจมาร เหมือนเวลาที่เมื่อพรานมาเนื้อไปไม่ได้ตามชอบใจ. อนึ่ง การ

พิจารณาในปัจจัย ๔ แล้วบริโภค ของสมณพราหมณ์ พึงเห็นเหมือนเวลาที่

เนื้อยังไม่ติดบ่วงนอนทับบ่วงเสีย การไม่ตกไปสู่อำนาจมารของสมณพราหมณ์

พึงทราบเหมือนเมื่อพรานมาเนื้อก็ไปได้ตามชอบใจ. บทว่า วิสฏฺโ ได้แก่

ปลอดความกลัว ปลอดความระแวง. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้น .

จบอรรถกถาปาสราสิสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร

[๓๒๙] ข้าพเจ้าได้ถึงมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ ออก

จากกรุงสาวัตถีด้วยรถที่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่าง ในเวลา

เที่ยงวัน ได้เห็นปิโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล แล้วได้กล่าวกะปิโลติกปริพาชก

ดังนี้ว่า เออแน่ะ ท่านวัจฉายนะมาจากไหนแต่เที่ยงวันเทียว. ปิโลติกปริพาชก

ตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดมนั่นแล.

ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านผู้เจริญ บัณฑิตย่อมสำคัญความมีปัญญาและ

ความฉลาดของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร. ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ

ก็ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่

จะพึงรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของท่านพระสมณโคดมได้ ก็ต้องเป็นเช่น

ท่านพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว. ชาณุโสณีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านวัจฉายนะ

สรรเสริญท่านพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง. ปิโลติกปริพาชก

กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักสรรเสริญท่านพระสมณโคดมได้อย่างไรเล่า

เพราะท่านพระสมณโคดมนั้น ใคร ๆ ก็สรรเสริญแล้วสรรเสริญเล่า ท่านเป็น

ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่าน

วัจฉายนะเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า จึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดม

ถึงเพียงนี้.

รอยเท้า ๔ อย่าง

[๓๓๐] ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ทำไมข้าพเจ้าจึงเป็นผู้

เลื่อมใสยิ่งในท่านพระสมณโคดมถึงอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนคน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

ต่อช้างผู้ฉลาดเข้าไปในป่าที่อยู่แห่งช้าง เห็นรอยเท้าช้างรอยใหญ่ แม้ว่าโดย

ส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนขวาง และที่เสียดสี ในป่าช้าง เขาก็สันนิษฐานได้ว่า

ช้างขนาดใหญ่หนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อใด

ได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐาน

ได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้

ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ ร่องรอย ๔ เป็นไฉน ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นขัตติย

บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดละออ ผู้ปราบปรับปวาทได้แล้ว ประหนึ่ง

นายขมังธนูยิงขนทรายได้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นชรอยเที่ยวทำลายทิฐิทั้งหลาย

(ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ได้ยินว่า

พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้านหรือนิคมชื่อโน้น ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น

พากันคิดผูกปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้

หากว่าพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้

พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเรา

ถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่

พระองค์ ดังนี้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า

พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้นแล้ว ขัตติยบัณฑิต

เหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดม

ก็ทรง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ถูกพระสมณโคดมทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้

อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณ-

โคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมกลายเป็นสาวก

ของพระสมณโคดมไปโดยแท้ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่หนึ่งนี้ ใน

พระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้ว่าพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นพราหมณบัณฑิตบางพวกใน

โลกนี้ ผู้ละเอียดละออ ผู้ปราบปรัปปวาท ประหนึ่งนายขมังธนูยิงขนทรายได้

พราหมณบัณฑิตเหล่านั้นชรอยเที่ยวทำลายทิฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา

(ของตน) พราหมณบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดมจัก

เสด็จเที่ยวไปสู่บ้านหรือนิคมชื่อโน้น พราหมณบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูก

ปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากว่า

พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเรา

จักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถาม

แล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์

ดังนี้ พราหมณบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จ

เที่ยวไปถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้นแล้ว พราหมณบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้า

ไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา พราหมณบัณฑิตเหล่านั้น

ถูกพระสมณโคดมทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่

พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมกลายเป็นสาวกของพระสมณโคดมไปโดยแท้

เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่สองนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น

ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า เป็นผ้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นคฤหบดีบัณฑิตบางพวก

ในโลกนี้ ผู้ละเอียดละออ ผู้ปราบปรัปปวาทได้แล้ว ผู้ประหนึ่งนายขมังธนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

ยิงขนทรายได้ คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้นชรอยเที่ยวทำลายทิฐิทั้งหลาย (ของ

ผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ได้ยินว่า

พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้านหรือนิคมโน้น คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น

พากันคิดผูกปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถาม

ปัญหานี้ หากว่าพระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์

อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดม

นั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้

อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้ คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น ได้ฟังว่า ได้ยินว่า

พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้นแล้ว คฤหบดีบัณฑิต

เหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดม

ก็ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา คฤหบดี

บัณฑิตเหล่านั้น ถูกพระสมณโคดมทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะ พระสมณโคดมเลย แล้ว

จักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมกลายเป็นสาวกของพระสมณโคดม

ไปโดยแท้ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรองที่สามนี้ในพระสมณโคดมแล้ว

เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นสมณบัณฑิตบางพวกใน

โลกนี้ผู้ละเอียดละออ ผู้ปราบปรัปปวาทได้แล้ว ผู้ประหนึ่งนายขมังธนูยิงขน

ทรายได้ สมณบัณฑิตเหล่านั้น ชะรอยเที่ยวทำลายทิฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น)

ด้วยปัญญา (ของตน) สมณบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดม

จักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้านหรือนิคมชื่อโน้น สมณบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูก

ปัญหา ด้วยหมายใจว่า จักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเรา

จักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นถูกพวกเราถาม

แล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์

ดังนี้ สมณบัณฑิตเหล่านี้ ได้ฟังว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยว

ไปถึงบ้านหรือนิคมชื่อโน้นแล้ว สมณบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ

ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา สมณบัณฑิตเหล่านั้นถูกพระสมณ

โคดม ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

แล้ว. ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดม

นั้นที่ไหนได้ ย่อมพากันทูลขอโอกาสกะพระสมณโคดมนั้นแหละ ออกจาก

เรือนไม่มีเรือนบวชโดยแท้. พระสมณโคดมก็ยังสมณบัณฑิตเหล่านั้นให้บวช

สมณบัณฑิตเหล่านั้น บวชในธรรมวินัยนั้นแล้ว ปลีกตัวออก (จากหมู่) ไม่

ประมาท มีความเพียรมุ่งมั่นปฏิบัติอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผล

เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่กุลบุตร

ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชโดยชอบ มุ่งหมายด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย

ตนเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันเทียว สมณบัณฑิตเหล่านั้นจึงพากันกล่าวอย่างนี้

ว่า ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายไม่เสียหายสักหน่อยหนอ เพราะว่าแต่ก่อน

เราทั้งหลายไม่เป็นสมณะเลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์เลย

ก็ปฏิญาณว่า เป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่า เป็นพระ-

อรหันต์ บัดนี้แล พวกเราเป็นสมณะแล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพราหมณ์

แล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ดังนี้ ท่านผู้เจริญ เมื่อใด

ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่สี่นี้ในสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

แล้ว ดังนี้ ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ เหล่านี้ในพระ

สมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

ชาณุโสณีพราหมณ์เปล่งอุทาน

[๓๓๑] เมื่อปีโลติกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์

ได้ลงจากรถที่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่างแล้ว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว เปล่ง

อุทานวาจาสามครั้งว่า

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอ

นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อม

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้ากระไร ในบางครั้งบางคราว เราพึงสมาคมกับพระสมณโคดมพระองค์นั้น ถ้า

กระไร การสนทนาปราศรัยบางอย่างนั่นแหละจะพึงมี. ครั้งนั้นแล ชาณุโสณี

พราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า สนทนาปราศรัยกันตามธรรมเนียม

ไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลเล่าถ้อยคำสนทนาปรา-

ศรัยกับปิโลติกปริพาชก ตามที่ได้มีแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

เมื่อชาณุโสณีพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะชาณุโสณีพราหมณ์ดังนี้ว่าดูก่อนพราหมณ์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ข้อ

ความเปรียบด้วยรอยเท้าช้าง ยังมิได้บริบูรณ์โดยพิสดาร ดูก่อนพราหมณ์

ก็แลท่านจงฟังข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้างโดยประการที่บริบูรณ์โดยพิสดาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว บัดนี้ ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

อุปมารอยเท้าช้าง ๔ อย่าง

[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า พราหมณ์

เปรียบเหมือนคนต่อช้างเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ แม้ว่าโดยส่วน

ยาวส่วนกว้างส่วนขวางในป่าช้าง คนต่อช้างผู้ฉลาด ย่อมไม่ตกลงใจก่อนว่า

เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อ

ว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้

จะเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้นก็ได้ คนต่อช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้น

ไป เขากำลังตามรอยเท้านั้นอยู่ ก็พบรอยเท้าช้างใหญ่ ไม่ว่าโดยส่วนยาว

ส่วนกว้างและส่วนขวาง ที่ซึ่งถูกเสียดสีที่อยู่ประจำในที่สูงในป่าช้าง ซึ่งคนต่อ

ช้างผู้ฉลาด ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่าอุจจากฬาริกา มีรอย

เท้าใหญ่มีอยู่ในป่าช้าง รอยเท้านี้พึงจะเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้นก็ได้ คนต่อ

ช้างนั้นก็เดินตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขากำลังเดินตามรอยเท้าช้างนั้นอยู่ ก็จะพบ

รอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวทั้งกว้างทั้งส่วนขวางที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่ง

ขนายแทงไว้ในที่สูง คนต่อช้างผู้ฉลาด ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างใหญ่หนอ

ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนพราหมณ์ เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อ

อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่มีอยู่ในป่าที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะเป็นรอยเท้า

ช้างพังเหล่านั้นก็ได้ คนต่อช้างนั้นก็เดินตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขากำลังเดิน

ตามรอยเท้าช้างนั้นอยู่ ก็จะพบรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาว ทั้งกว้าง ทั้งขวาง

ที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง ที่ซึ่งขนายแทงไว้ในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็น

ตัวช้างนั้นอยู่โคนต้นไม้ อยู่กลางแจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่หรือนอน เขาย่อม

ตกลงใจว่า ช้างเชือกนี้เองคือช้างใหญ่เชือกนั้น ดังนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่นแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาแสะจรณะ ไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่

ควรฝึก ไม่มีมีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่น

แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้พร้อมด้วยเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ทั้งเทวดาและมนุษย์

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ตถาคตนั้นย่อมแสดงธรรม

งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง

อรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิด

มาภายหลังแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว

ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธาแม้

นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส

เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจ

อันใคร ๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชเถิด ต่อมา เขาละกองโภค-

สมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวดนุ่มห่มผ้ากาสาว-

พัสตร์ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช.

ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ

[๓๓๓] กุลบุตรนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของ

ภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะไม้ วางศาสตรา

มีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง

อยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่

ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหม-

จรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

เท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง พูดคำสัตย์ตลอดมีถ้อยคำเป็น

หลักฐาน ควรเธอถือได้ ไม่พูดคลาดเคลื่อนต่อโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาด

จากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน

หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมาน

คนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้

พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียง

กัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ

กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วน

มากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่

เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่

อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการ

พรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉัน

ในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรี และดูการเล่น

อันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกายด้วย

ดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เธอ

เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เธอเว้นขาดจากการรับทอง

และเงิน เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส

เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เธอ

เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่

ดิน เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เธอเว้นขาดจากการ

ซื้อการขาย เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการ

โกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบ

ตะแลง เว้นขาดจากการตัดการฆ่า การจองจำ การตีชิง และปล้นและกรรโชก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่อง

บริหารท้อง เธอไปทางทิสาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทาง

ทิสาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกขอตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็น

ผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง

เธอจะไปทิสาภาคใด ๆ ก็คือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษ

มิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วย

จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจัก-

ขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌา

และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจัก-

ขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-

พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็น

เหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา

มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวร

อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ภิกษุนั้น

ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ใน

การคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน

การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวใน

การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

[๓๓๔] ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์นี้ อินทรียสังวรสติสัมป-

ชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในเวลา

ภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ

ไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจากความเพ่งเล็งอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท

ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถิ่นมิทธะได้แล้วเป็นผู้

ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อม

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน

มีจิตสงบ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิ-

กิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย

อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

รูปฌาน ๔

[๓๓๕] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่ง

จิตอันเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อน

พราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต) ดังนี้บ้าง

ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสพแล้ว) ดังนี้บ้าง ว่า

ตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันขนายคือญาณของตถาคตแทงแล้ว) ดังนี้บ้าง

อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

ดูก่อนพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุ ทุติยฌาน มีความผ่อง

ใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ

จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

ได้ เป็นผู้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียก

ว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตรัญชิตะบ้าง ดังนี้ อริยสาวก

ก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

[๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบูชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ

ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก

บ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ใน

ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่าง

นั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ

นั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร

อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม

ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เรา

เรียกตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยัง

ไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

[๓๓๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์

ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี

ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ

ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึด

ถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต

วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อน

พราหมณ์ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวีตะบ้าง ถ้าคตา-

รัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผ้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ .

อาสวักขยาญาณ

[๓๓๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม

น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนีโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็น

จริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

ดูก่อนพราหมณ์ แม่ข้อนี้เรากล่าวว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง

ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

ย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.

เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้

จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมณ์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จ

แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ

บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง ดังนี้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูก่อนพราหมณ์

อริยสาวก ย่อมตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูก่อนพราหมณ์

ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้.

[๓๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ พระธรรม

เทศนาแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลพึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิด

ของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า

ผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประกาศพระ

ธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม

พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็น

อุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไปเถิด

จบ จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

อรรถกถาจุลลหัตถิปโทปมสูตร

จุลลหัตตถิปโทปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในจุลลหัตถิปโทปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า สพฺ-

พเสเตน วฬวาภิรเถน ความว่า รถที่เทียมด้วยลา ๔ จำพวก ขาวสิ้นที่

ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ม้าขาว มีเครื่องประดับขาวที่เทียมแล้ว รถขาว

มีเครื่องประดับขาว มีบริวารขาว รัศมีขาว แส้ขาว ฉัตรขาว อุณหิสขาว

ผ้าขาว รองเท้าขาว พัดด้วยพัดวาลวิชนีขาว. ก็ธรรมดาว่ารถนี้มี ๒ อย่าง

คือ รถรบกับรถประดับ. บรรดารถทั้ง ๒ นั้น รถรบมีทรง ๔ เหลี่ยม ไม่

ใหญ่นัก สามารถจุคนได้ ๒-๓ คน รถประดับคันใหญ่ทั้งยาวทั้งกว้าง. ในรถ

ประดับ คน ๘ คน หรือ ๑๐ คน คือคนกั้นร่ม คนถือพัดวีชนี คนถือพัดใบตาล

สามารถจะยืน นั่ง หรือนอนได้ตามสะดวก แม้รถนี้ชื่อว่ารถประดับอย่างเดียว.

รถนั้นทั้งหมด พร้อมด้วยล้อ หน้าต่างและธูปรถ ขลิบด้วยเงิน. ลาตามปกติ

ก็สีขาว แม้เครื่องประดับลาเหล่านั้น ก็ทำด้วยเงิน แม้เชือกที่ชุบน้ำประสาน

เงิน แม้แส้ก็ขลิบด้วยเงิน แม้พราหมณ์ก็นุ่งผ้าขาวห่มผ้าขาว ลูบไล้เครื่อง

ไล้ขาว ประดับมาลัยขาว สรวมแหวนทั้ง ๑๐ นิ้ว ติดตุ้มหูทั้ง ๒ ข้าง รวม

ความดังกล่าวมานี้เป็นต้น แม้เครื่องประดับของรถนั้น ก็เป็นเงินทั้งนั้น. แม้

พราหมณ์ผู้เป็นบริวารของพราหมณ์นั้น ก็ประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้ของหอม

และมาลัยขาวอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพเสเตน

วฬวาภิรเถน.

บทว่า สาวตฺถิยา นิยฺยาติ ความว่า ได้ยินว่า ทุก ๖ เดือน

พราหมณ์นั้น จะทำประทักษิณพระนครครั้งหนึ่ง. จะมีการโฆษณาล่วงหน้าไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

พราหมณ์จะทำประทักษิณ พระนครวันเท่านี้นับจากวันนี้. คนทั้งหลายฟังเรื่อง

นั้นแล้ว พวกที่ไม่ไปจากพระนครก็ไม่ไป แม้พวกที่ไปแล้วก็กลับมาด้วยหมาย

จะชมสิริสมบัติของผู้มีบุญ. วันใด พราหมณ์ทำประทักษิณพระนคร วันนั้น

แต่เช้าตรู่ ผู้คนก็จะกวาดถนนในพระนคร เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้พร้อม

ข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม ยกต้นกล้วยและธง ทำพระนครทั้งสิ้นให้หอม

ตระหลบไปด้วยกลิ่นธูป. แต่เช้าตรู่ พราหมณ์ก็อาบน้ำดำเกล้า กินอาหาร

เบาก่อนอาหารหนัก แต่งตัวด้วยผ้าขาวเป็นต้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

ลงจากปราสาทแล้วขึ้นรถ. ครั้งนั้นพราหมณ์เหล่านั้น ประดับด้วยผ้าเครื่อง

ลูบไล้และมาลาขาวทั้งสิ้น ถือร่มขาวล้อมชาณุโสณิพราหมณ์นั้น. ต่อแต่นั้น

ก็แจกผลไม้น้อยใหญ่แก่พวกเด็กรุ่น ๆ ก่อนทีเทียว เพื่อให้มหาชนประชุมกัน

ต่อแต่นั้นก็โปรยมาสก และกหาปณะ มหาชนก็ชุมนุมกัน ต่างก็ส่งเสียงโห่ร้อง

กึกก้องและยกผ้าโบกสะบัดไปทั่ว. ลำดับนั้น เมื่อมังคลิกพราหมณ์และโสวัตถิก

พราหมณ์เป็นต้น ทำการมงคลและสวัสดิ์มงคล ทำประทักษิณพระนครด้วย

สมบัติอันใหญ่. มนุษย์ผู้มีบุญทั้งหลายก็ขึ้นไปปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น เปิด

หน้าต่างและประตูเสมือนภาชนะขาวมองดู. ฝ่ายพราหมณ์มุ่งหน้าไปทางประตู

ด้านทิศใต้ ประหนึ่งครอบพระนครไว้ด้วยสมบัติ คือ ยศและสิริของตน.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สาวตฺถิยา นิยฺยาติ.

บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่าวันของวัน อธิบายว่า เวลากลางวัน .

บทว่า ปิโลติก ปริพฺพาชก ได้แก่ ปริพาชกผู้ได้ชื่อโดยเรียกเป็นเพศหญิง

อย่างนี้ว่า ปิโลติกา. ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นเป็นหนุ่มอยู่ในปฐมวัย มีวรรณ

ดังทองคำเป็นพุทธอุปฐาก กระทำอุปัฏฐากพระตถาคต และพระมหาเถระแต่

เช้าตรู่ ถือเอาไม้ ๓ อันและเครื่องบริขารมีคณโฑน้ำเป็นต้น ออกจากพระ

เชตวัน เดินมุ่งหน้าไปทางพระนคร. ชาณุโสณิพราหมณ์นั้นเห็นปิโลติกปริ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

พาชกนั้นเดินมาแต่ไกล. บทว่า เอตทโวจ ความว่า ชาณุโสณิพราหมณ์

จำได้ว่า ปิโลติกปริพาชก เคยมาสำนักโดยลำดับ จึงกล่าวคำระบุโคตร

ตระกูลว่า เชิญซิ ท่านวัจฉายนะไปไหนมา. ในบทว่า ปณฺฑิโต มญฺติ

นี้ มีความอย่างนี้ว่า ท่านวัจฉายนะยังสำคัญพระสมณโคดมว่าเป็นบัณฑิตอยู่

หรือไม่เล่า. บทว่า โก จาห โภ ความว่า ข้าพเจ้าจะรู้ความมีปัญญาและ

ความฉลาด ของพระสมณโคดม ได้แต่ไหนเล่า. ด้วยคำว่า โก จ สมณสฺส

โคตมสฺส ปญฺาเวยฺยตฺติย ชานิสฺสามิ นี้ ปิโลติกปริพาชกแสดงว่า

คนไม่รู้ แม้ทุกประการอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าจักรู้ความมีปัญญาและความฉลาด

ของพระสมณโคดมได้แต่ที่ไหน จักรู้ด้วยเหตุไร. ด้วยบทว่า โสปิ นูนสฺส

ตาทิโส จ นี้ ปิโลติกปริพาชก แสดงว่า ผู้ใดจะพึงรู้ความมีปัญญาและ

ความฉลาดของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้น ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ บรรลุพระ

สัพพัญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ผู้ต้องการจะวัดภูเขาสิเนรุ ภูเขา

หิมวันต์ แผ่นดิน หรืออากาศควรจะได้ไม้หรือเชือกประมาณเท่านั้น แม้ผู้จะรู้

พระปัญญา ของพระสมณโคดม ก็ควรจะได้พระสัพพัญญุตญาณเสมือนพระญาณ

ของพระองค์นั่นเทียว. ท่านกระทำการกล่าวย้ำไว้ในที่นี้ โดยความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า อุฬาราย แปลว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า โก จาห โภ

ความว่า เราจะพึงสรรเสริญพระสมณะโคดม ได้แต่ไหน. บทว่า โก จ

สมณ โคตม ปสสิสฺสามิ ความว่า ข้าพเจ้าจักสรรเสริญด้วยเหตุไร. บทว่า

ปสฏฺปฺปสฏฺโ ความว่าเป็นผู้ประเสริฐ โดยคุณของตนเหนือคนอื่น โดย

คุณทั้งปวงที่ชาวโลกเขาสรรเสริญเเล้ว

พระองค์ไม่มีกิจคือสรรเสริฐด้วยคุณอย่างอื่น เปรียบเหมือน

ดอกจัมปา ดอกอุบล ดอกปทุม หรือจันทน์แดง ย่อมสดใสและมี

กลิ่นหอมโดยสิริแห่งสีและกลิ่นของมัน มันไม่มีกิจที่จะชมเชยโดยสีและกลิ่นที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

จรมา และเปรียบเหมือนแก้วมณีหรือดวงจันทร์ ย่อมโอภาสโดยแสงสว่าง

ของตนเท่านั้น มันหามีกิจด้วยแสงสว่างด้วยอย่างอื่นไม่ ฉันใด พระสมณ

โคดม ก็ฉันนั้น เป็นผู้อันบัณฑิตสรรเสริญ ชมเชยโดยคุณของตน

ที่โลกทั้งปวงเขาสรรเสริญแล้ว คือให้ถึงความประเสริฐสุดแห่งโลกทั้งปวง

พระองค์หามีกิจคือการสรรเสริญด้วยการสรรเสริญอย่างอื่นไม่ อีกนัยหนึ่ง

เป็นผู้ประเสริฐ กว่าผู้ประเสริฐทั้งหลาย แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปสัฏฐัปป-

สัฏฐะ ผู้ประเสริฐสุดกว่าผู้ประเสริฐสุดทั้งหลาย. ก็คนอื่น ๆ เหล่าไรเล่า

ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด. พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสี

และโกศลทั้งหลาย พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและชาว

มคธะ เจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลี ประเสริรกว่าชาวแคว้นวัชชี เจ้ามัลละกรุงปาวา

เจ้ามัสละกรุงโกสินารา แม้เจ้านั้น ๆ องค์อื่น ประเสริฐกว่าชาวชนบทนั้น ๆ

พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้น ประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย อุบาสก

มีท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น ประเสริฐกว่าหมู่อุบาสก อุบาสิกา มีนาง

วิสาขาอุบาสิกาเป็นต้นประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย ปริพาชก มีสกุลุทายิ

เป็นต้น ประเสริฐกว่า ปริพาชกหลายร้อย. มหาสาวิกา มีอุบลวรรณาเถรี

เป็นต้น ประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย พระมหาสาวก มีพระสารีบุตรเถระ

เป็นต้น ประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย เทพทั้งหลาย มีท้าวสักกะเป็นต้น

ประเสริฐกว่าเทพทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย มีมหาพรหมเป็นต้น ประเสริฐ

กว่าพรหมหลายพัน ท่านเหล่านั้น ย่อมชมเชย ยกย่อง สรรเสริญ พระทสพล

หมดทุกคน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านจึงเรียกว่า ปสัฏฐัปป

สัฏฐะ ประเสริฐกว่าผู้ประเสริฐ. บทว่า อตฺถวส แปลว่า อานิสงส์ประโยชน์.

ครั้งนั้น ปริพาชก เมื่อบอกเหตุแห่งความเลื่อมใสของตนแก่

ชาณุโสณิพราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า เสยฺยถาปิ โภ กุสโล นาควนิโก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาควนิโก ได้แก่บุรุษ ผู้เรียนศิลปะ

ชาวนาควัน. ก็บุรุษผู้เรียนศิลปะจากผู้อื่น เรียกว่า นาควนิกะ. บทว่า

จตฺตาริ ปทานิ ได้แก่บทคือญาณ คือรอยคือญาณ ๔ อธิบายว่า ฐานที่

ญาณเหยียบ. บทว่า ปณฺทิเต ในคำว่า ขตฺติยปณฺทิเต เป็นต้น ได้แก่

ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า นิปุเณ แปลว่า ผู้ละเอียดคือผู้รู้

อรรถอันละเอียด ได้แก่ผู้สามารถแทงตลอดอรรถอันละเอียดอื่น ๆ. บทว่า

กตปรปฺปวาเท ได้แก่ รู้ปรัปปวาท และทำการย่ำยีปรัปปวาทะ. บทว่า

วาลเวธิรูเป แปลว่า เสมือน นายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า เต ภินฺทนฺตา

มญฺเ จรนฺติ ความว่า เที่ยวไปประหนึ่งทำลายทิฏฐิของผู้อื่น แม้อย่าง

ละเอียดด้วยปัญญาของตนเหมือนนายขมังธนูผู้ยิงขนทราย. บทว่า ปญฺห

อภิสงฺขโรนฺติ ได้แก่ ตั้งปัญหา ๒ บทบ้าง ๓ บทบ้าง ๔ บทบ้าง. บทว่า

วาท อาโรเปสฺสาม ได้แก่ยกโทษขึ้น. บทว่า น เจว สมณ โคตม ปญฺห

ปุจฺฉนฺติ ความว่า เพราะเหตุไรจึงไม่ถาม.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท

จึงทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัท แต่นั้นก็ทรงเห็นว่า ขัตติยปัณฑิตเหล่านั้น

มาแต่งปัญหาที่ลี้ลับ ชื่อว่า โอวัฏฏิกสารูปัญหาวกวน พระองค์มิได้ถูก

ขัตติยบัณฑิตถามเลย เมื่อตรัสถามปัญหาเหล่านี้ว่า ในการถามปัญหา มีโทษ

เพียงเท่านี้ ในการตอบปัญหา มีโทษเพียงเท่านี้ ในอรรถ บท อักขระ

มีโทษเพียงเท่านี้ พึงตรัสถามอย่างนี้ เมื่อจะทรงตอบ พึงตอบอย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงทรงใส่ไว้ในระหว่างธรรมกถา แล้วทรงกำจัดปัญหา

ที่ขัตติยบัณฑิตนำมาแต่งเป็นโอวัฏฏิกปัญหาเสียด้วยประการฉะนี้. เหล่าขัตติย

บัณฑิตย่อมจะดีใจว่า เป็นการดีสำหรับเราหนอ ที่พวกเราไม่ต้องถาม

ปัญหานี้ ก็ถ้าพึงถามไซร้ พระสมณโคดมพึงทอดทิ้งพวกเราให้หมดที่พึง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อแสดงธรรมย่อมแผ่

เมตตาไปยังบริษัท มหาชนย่อมมีจิตเลื่อมใสในพระทศพล ด้วยการแผ่

เมตตา. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระรูปพระโฉมเลอเลิศ น่าชม มีพระ-

สุรเสียงไพเราะ มีพระชิวหาอ่อนนุ่ม มีไรพระทนต์เรียบสนิท ตรัสธรรม

เหมือนโสรจสรงหทัยด้วยน้ำอมฤต. ณ ที่นั้น คนเหล่านั้นที่มีจิตเลื่อมในเพราะ

ทรงแผ่เมตตา ก็มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราไม่อาจทำตัวเป็นข้าศึกกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ผู้ตรัสพระวาจาไม่เป็นสอง พระวาจาไม่เป็นโมฆะ พระวาจา

ที่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานฉะนี้ จึงไม่ทูลถาม เพราะตนเลื่อมใสเสียแล้ว.

บทว่า อญฺทตฺถุ แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า สาวกา สมฺปชฺชนฺติ ได้แก่

เป็นสาวกโดยการถึงสรณะ. บทว่า ตทนุตฺตร ตัดบทเป็น ต อนุตฺตร. บทว่า

พฺรหฺมจริยปริโยสาน ได้แก่ พระอรหัตผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหม

จรรย์. จริงอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบวชเพื่ออรหัตผลนั้น. บทว่า

มน วต โภ อนสฺสาม ความว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเราไม่พึงเข้าไปเฝ้าไซร้

เราจะพึงเสียหา เพราะเพียงไม่ได้เข้าใกล้เล็กน้อยเท่านี้ แต่พวกเราไม่ได้เสีย

หายเลย ด้วยเหตุเพียงเข้าเฝ้า. บทที่ ๒ ก็เป็นไวพจน์ของบทต้นนั่นแหละ ใน

คำว่า อสฺสมณาว สมานา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า ไม่เป็นสมณะเพราะไม่

สงบบาป ชื่อว่า ไม่เป็นพราหมณ์เพราะไม่ลอยบาป และไม่ได้เป็นอรหันต์

เพราะไม่กำจัดข้าศึก คือกิเลส. บทว่า อุทาน อุทาเนสิ ได้แก่ น้ำขึ้นซึ่งสิ่ง

ควรน้ำขึ้น. เหมือนอย่างว่า น้ำมันใดไม่สามารถจะจับเครื่องตวงอยู่ได้ ไหล

เลยไป น้ำมันนั้นท่านเรียกว่า อวเสกะ ซึมไปเอง และน้ำใดไม่อาจะติดสระอยู่

ได้ล้นไปเอง น้ำนั้นเรียกว่า โอฆะน้ำหลาก ฉันใด ถ้อยคำที่เกิดจากปีติอันใด

ย่อมไม่สามารถจะยึดหทัยไว้ได้ก็ล้นออกไปข้างนอก ไม่อยู่ข้างใน คำนั้นก็เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

อุทาน ฉันนั้น. อธิบายว่า เปล่งคำที่เกิดจากปีติ เห็นปานฉะนี้. บทว่า

หตฺถิปโทปโม วิเคราะห์ว่า ร้อยเท้าช้างเป็นอุปมาของธรรมะนั้น เหตุนั้น

ธรรมะนั้นชื่อว่า มีรอยเท้าช้างเป็นอุปมา. ท่านแสดงว่า ธรรมนั้นย่อมไม่

บริบูรณ์กว้างขวางอย่างนี้. บทว่า นาควนิโก ได้แก่ คนต่อช้างผู้ศึกษาศิลป

ช้างแล้ว. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ในที่นี้จึงไม่กล่าวว่า ผู้ฉลาด.

ตอบว่า เพราะจะแสดงแบ่งให้รู้ว่า คนใดฉลาดไว้ข้างหน้า. จริงอยู่ ผู้ที่จะเข้าไป

ถ้าเป็นผู้ฉลาด เขาจะยังไม่ตกลงใจก่อน เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ท่านจึงไม่

กล่าวว่า ผู้ฉลาด แต่กล่าวไว้ข้างหน้า.

บทว่า วามนิกา ได้แก่ ช้างพังท้องใหญ่ สั้น ไม่ยาวว่าโดยส่วนยาว.

บทว่า อุจฺจา จ นิเสวิต ได้แก่ ที่ที่ช้างสีในที่ลำต้นไทรเป็นต้น ซึ่งสูง ๗-

๘ ศอก. บทว่า อุจฺจา กฬาริกา ได้แก่ มีเท้าสูงเหมือนไม้เท้าและที่ชื่อว่า

กฬาริกา เพราะมีขนายดำแดง. เขาว่า ช้างพังเหล่านั้นมีขนายอันหนึ่งงอนขึ้น

อันหนึ่งงอนลง และทั้งสองห่างกัน ไม่ใกล้กัน. บทว่า อุจฺจา จ ทนฺเตหิ

อารญฺชิตานิ ความว่า ที่ที่กรามตัดขาดเหมือนกับเอาขวานฟัน ในที่ลำต้น

ไทรเป็นต้น ซึ่งสูง ๗-๘ ศอก. บทว่า อุจฺจา กเรณุกา นาม ได้แก่ มีเท้า

ยาวเหมือนไม้เท้า และที่ชื่อว่า กเรณุกา เพราะมีขนายตูม. ได้ยินว่า ช้างพัง

เหล่านั้น มีงาตูม เพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า กเรณุกา. บทว่า โส ทิฏฺ

คจฺฉติ ความว่า คนต่อช้างนั้นยังไม่ตกลงใจว่า เรามาตามรอยเท้าช้างใด

ช้างนั้น คือตัวนี้แหละ ไม่ใช่ตัวอื่น เราเห็นรอยเท้าแรกใด ยังไม่ตกลงใจว่า

จักเป็นรอยเท้าของพังค่อม เราไปเห็นรอยเท้าใดในที่ต่ำก็ยังไม่ตกลงใจว่า จักเป็น

รอยเท้าของช้างพังกฬาริกา หรือของช้างพังกเรณุกา ครั้นเห็นช้างใหญ่เท่านั้น

ก็ตกลงใจว่า รอยเท้านั้นทั้งหมด เป็นรอยเท้าของช้างใหญ่ตัวนี้นี่เอง. ในคำ

ว่า เอวเมว โข นี้ เทียบข้ออุปมาดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

พึงทราบพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงละนีวรณ์ว่า เหมือน

ดงช้าง. โยคาวจรเหมือนคนต่อช้างผู้ฉลาด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือน

พญาช้าง ฌานและอภิญญาเหมือนรอยเท้าช้างใหญ่ ข้อที่พระโยคาวจรไม่ตกลง

ใจว่า ธรรมดาว่า ฌานและอภิญญาเหล่านี้ ย่อมมีแม้แก่ปริพาชกนอกพระศาสนา

เหมือนข้อที่คนต่อช้าง แม้เห็นรอยเท้าในที่นั้น ๆ ก็ไม่ตกลงใจว่า จักเป็นรอย

เท้าของช้างพังวามนิกา ของช้างพังกฬาริกาหรือของช้างพังกเรณุกา ข้อที่

พระอริยสาวกบรรลุพระอรหัตต์แล้วตกลงใจ ก็เหมือันคนต่อช้าง เห็นช้างใหญ่

แล้วก็ตกลงใจว่า รอยเท้าที่เราเห็นในที่นั้น ๆ ต้องเป็นรอยเท้าของช้างใหญ่

เชือกนี้เท่านั้น ไม่ใช่เชือกอื่น ก็แลจะทำการเทียบเคียงข้ออุปมานี้จนจนก็ควร.

แม้ในที่นี้ก็ควรเหมือนกัน. แต่ต้องยึดบทบาลีที่มาตามลำดับกระทำในที่นี้

อย่างเดียว.

ศัพท์ว่า อิธ ในคำนั้นเป็นนิบาต ใช้ในอรรถอ้างเทศะที่อยู่. อิธศัพท์

นี้นั้น บางแห่งท่านกล่าวอ้างถึงโลก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระตถาคต

ย่อมอุบัติในโลกนี้. บางแห่งท่านกล่าวอ้างถึงศาสนาเหมือนอย่างที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้เท่านั้น มีสมณที่ ๑ สมณที่ ๒.

บางแห่งท่านกล่าวอ้างโอกาส เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อเราเป็นเทพอยู่ในโอกาสนี้นั่นแล

เราก็ได้อายุมาอีก ผู้นิรทุกข์ท่านจงรู้อย่างนี้.

บางแห่ง ท่านกล่าวอ้างถึงเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันแล้วพึงห้ามภัตเสีย. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า

ท่านกล่าวหมายเอาโลก. ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้

เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม. ในศพท์เหล่านั้น

ศัพท์ว่าตถาคต ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในมูลปริยายสูตร ศัพท์ว่าอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. ก็ในคำว่า โลเก อุปฺปชิชติ

นี้ บทว่า โลกมี ๓ คือ โอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์เอาสัตว์โลก.

พระตถาคตแม้เมื่อเกิดในสัตว์โลกย่อมไม่เกิดในเทวโลก ไม่เกิดใน

พรหมโลก ย่อมเกิดแต่ในมนุษย์โลกเท่านั้น แม้ในมนุษย์โลก ก็ไม่เกิดใน

จักรวาลอื่นเกิดในจักรวาลนี้เท่านั้น. แม้ในจักรวาลนั้นก็ไม่เกิดในที่ทุกแห่ง

ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศ ซึ่งยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ โดยรอบ

๙๐๐ โยชน์ ท่านกำหนดไว้อย่างนี้คือ ทิศบูรพา มีนิคมชื่อว่า กชังคละ

ต่อแต่นั้นเป็นมหาสาละ ต่อแต่นั้นเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม

ชนบท ทิศอาคเนย์มีแม่น้ำ ชื่อว่า สัลลวดี ต่อแต่นั้นเป็นปัจจันตชนบท

ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศทักษิณมีนิคม ชื่อว่า เสตกัณณิกะ ต่อนั้น

เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศปัจฉิม มีบ้านพราหมณ์

ชื่อว่า ถูนะ ต่อนั้นเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศ

อุดรมีภูเขา ชื่อว่า อุสีรธชะ. ต่อนั้นเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม

ชนบท. ไม่ใช่แต่พระตถาคตอย่างเดียวเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัคร

สาวก พระอสีติมหาเถระ พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ

และพราหมณ์มหาศาล คหบดีมหาศาลเหล่าอื่น ย่อมเกิดในมัชฌิมประเทศนี้

ทั้งนั้น. ในมัชฌิมประเทศนั้น พระตถาคต ชื่อว่า อุบัติ นับตั้งแต่เสวยข้าว

มธุปายาสทั้นางสุชาดาถวายจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า ผู้อุบัติ ในอรหัตผล

ชื่อว่า ย่อมอุบัติตั้งแต่ออกมหาอภิเนษกรมณ์ จนถึงพระอรหัตต์ ตั้งแต่ดุสิต

ภพ จนถึงอรหัตมรรค หรือตั้งแต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

ทีปังกรจนถึงพระอรหัตมรรค ชื่อว่า ผู้อุบัติในอรหัตผล ในที่นี้ท่านหมาย

เอาภาวะที่พระตถาคตอุบัติก่อนกว่าเขาทั้งหมด จึงกล่าวว่า อุปฺปชฺชติ. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ในที่นี้ได้ความว่า ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน โหติ พระตถาคต ย่อม

อุบัติในโลก.

บทว่า โส อิม โลก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดง

โลกนี้ว่า ควรกล่าว ณ บัดนี้. บทว่า สเทวก แปลว่า พร้อมด้วยเทพ

ชื่อว่า สเทวกะ. พร้อมด้วยมารชื่อว่า สมารกะ พร้อมด้วยพรหมชื่อว่า สพรหมกะ

พร้อมด้วยสมณและพราหมณ์ ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี ชี่อว่า ปชา เพราะ

เกิดทั่วไป พร้อมด้วยเทพและมนุษย์ ชื่อว่า สเทวมนุสสะ. ในคำเหล่านั้น

พึงทราบ ศัพท์ว่ากามาวจรเทพ ๕ ด้วยคำว่า สเทวกะ. ศัพท์ว่า กามาวจรเทว

ที่ ๖ ด้วยคำว่า สมารกะ ศัพท์ว่า พรหมกายิกะเป็นต้น ด้วยคำว่า สพรหมกะ

ศัพท์ว่า สมณและพราหมณ์ ผู้เป็นข้าศึกศัตรูของพระศาสนา และผู้สงบบาป

ผู้ลอยบาป ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี ศัพท์ว่า สัตตโลก ด้วยคำว่า ปชา

ศัพท์ว่า เทพโดยสัมมุติเทพและมนุษย์ที่เหลือด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ. สัตว์โลก

กับโอกาสโลก พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วย ๓ บท สัตว์โลกอย่างเดียวพึงทราบว่า

ท่านถือเอาด้วยอำนาจปชา ด้วยบททั้ง ๒ ในคำนี้ด้วยประการฉะนี้.

อีกนัยหนึ่ง. อรูปาวจรโลก ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ ฉกามา-

วจรเทวโลก ด้วยศัพท์สมารกะ รูปีพรหมโลก ด้วยศัพท์สพรหมกะ มนุษยโลก

หรือสัตว์โลกที่เหลือกับเทวดาโดยสมมุติ ท่านถือเอาด้วยอำนาจบริษัท ๔ ด้วย

ศัพท์ว่า สัสสมณพราหมณ์เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ท่านกล่าวความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้

แจ้งโลกทั้งมวล โดยกำหนดอย่างสูง ด้วยคำว่าสเทวกะ. ลำดับนั้น เมื่อจะทรง

กำจัดความสงสัยของเหล่าชนผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า วสวัตตีมารผู้มีอานุภาพมาก

ผู้เป็นใหญ่ในฉกามาวจรเทพแม้นั้น พระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้วหรือ ดังนี้

จึงตรัสว่าสมารก. อนึ่ง เมื่อจะทรงกำจัดความสงสัยของเหล่าชนผู้มีความคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

พรหมผู้มีอานุภาพมากใช้องคุลีหนึ่ง แผ่รัศมีไปใน ๑,๐๐๐ จักรวาล แผ่รัศมี

ไปใน ๑๐,๐๐๐ จักรวาลด้วย ๒ องคุลี ฯล ฯ ๑๐ องคุลี และเสวยสุขอันเกิด

แต่ฌานสมาบัติอันยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้นพระองค์ทรงการทำให้แจ้งแล้วหรือ

ดังนี้ จึงตรัสว่า สพฺรหฺมก. แต่นั้นเมื่อจะทรงกำจัดความสงสัยของเหล่าชน

ผู้มีความคิดว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมากเป็นข้าศึกต่อพระศาสนาแม้เหล่านั้น

พระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้วหรือดังนี้ จึงตรัสว่า สสฺสมณฺพฺรหฺมณึ ปช.

ก็แลครั้นพระองค์ทรงประกาศความที่พระองค์ทรงทำให้แจ้งมารและสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นอย่างสูงสุดอย่างนี้แล้ว ลำดับนั้นเมื่อจะทรงประกาศความที่

พระองค์ทรงทำให้แจ้งสัตว์โลกที่เหลือ โดยกำหนดอย่างสูง หมายถึงสมมติเทพ

และมนุษย์ที่เหลือ จึงตรัสว่า สเทวมนุสฺส. ในคำนี้มีลำดับ ความแจ่มแจ้ง

ดังนี้ . ก็พระโบราณาจารย์กล่าวว่า บทว่า สเทวก ได้แก่ โลกที่เหลือกบ

เหล่าเทวดา. บทว่า สมารก ได้แก่ โลกที่เหลือกับมาร. บทว่า สพฺรหฺมก

ได้แก่ โลกที่เหลือกับเหล่าพรหม. ท่านใส่เหล่าสัตว์ที่เข้าถึงไตรภพแม้ทั้งหมด

ลงในบททั้งสามด้วยอาการสามด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะกำหนดถือเอาด้วยบท

ต้นทั้งสองอีก จึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺรหฺมณึ ปช สเทวมนุสฺส ดังนี้

เป็นอันว่า ท่านกำหนดถือเอาไตรธาตุเท่านั้น ด้วยอาการนั้น ๆ ด้วยบททั้งห้า

ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า สย อภิญญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ บทว่า สย แปลว่า

เอง. บทว่า อภิญญา แปลว่า รู้ อยิบาย รู้ด้วยญาณยิ่งของ. บทว่า

สจฺฉิกตฺวา ได้แก่ ทำให้ประจักษุ. เป็นอันท่านปฏิเสธการคาดคะเนเป็นต้น

ด้วยข้อนี้. บทว่า ปเวเทติ ได้แก่ ทำให้ตื่น ให้รู้ให้แจ้งประกาศ. บทว่า โส

ธมฺม เทเสติ อาทิมชฺฌปริโยสานกลฺยาณ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้นทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ทรงแสดงธรรมมีสุขอันเกิดแต่วิเวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

อันยอดเยี่ยม เมื่อทรงแสดงธรรมนั้นไม่ว่าน้อยหรือมาก ก็ทรงแสดงประการ

มีความงามในเบื้องต้นเป็นต้น. อธิบายว่า ทรงแสดงความงามความเจริญไม่มี

โทษในเบื้องต้น ทรงแสดงความงามความเจริญไม่มีโทษทั้งในเบื้องกลาง ทั้ง

ในเบื้องปลาย.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โส ธมฺม เทเสติ เป็นต้นนั้น ดังต่อไปนี้

เทศนาก็มีเบื้องต้นเบื้องกลางเบื้องปลาย ศาสนาก็มีเหมือนกัน. ก่อนอื่น คาถา

แม้ ๔ บาท บาทแรกชื่อว่าเบื้องต้นของเทศนา ต่อจากนั้น ๒ บาท ชื่อว่า

เบื้องกลาง บาทสุดท้ายชื่อว่าเบื้องปลาย. พระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว คำนิทาน

เป็นเบื้องต้น คำว่า อิทมโวจ เป็นเบื้องปลาย ระหว่างคำทั้งสอง ชื่อว่า

เบื้องกลาง. พระสูตรที่มากอนุสนธิ อนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น อนุสนธิท้าย

เป็นเบื้องปลาย ตรงกลางอนุสนธิเดียว สองอนุสนธิ หรือมากอนุสนธิเป็น

เบื้องกลาง. ส่วนศาสนา ศีลสมาธิวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นเบื้องต้น. สมจริงดังคำที่

ท่านกล่าวไว้ว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม ศีลที่บริสุทธิ์ดีและทิฏฐิที่ตรง.

อริยมรรคที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มีมัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคต

ตรัสรู้เองยิ่งแล้ว ชื่อว่าเบื้องกลาง ผลและนิพพานชื่อว่าเบื้องปลาย. จริงอยู่

ผลท่านเรียกว่าเบื้องปลายในคำนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหมจรรย์นี้มีประโยชน์

อย่างนี้ มีสาระอย่างนี้ มีเบื้องปลายอย่างนี้. นิพพานท่านเรียกว่าเบื้องปลาย

ในคำนี้ว่า ท่านวิสาขะ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่หยั่งในพระนิพพาน มีนิพพาน

เป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นเบื้องปลาย. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเบื้องต้น

เบื้องกลางและเบื้องปลายของเทศนา. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง

เแสดงธรรม ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดงมรรคเป็นเบื้องกลาง แสดง

นิพพานเป็นเบื้องปลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โส ธมฺม เทเสติ

อาทิกลฺยาณ มชฺเฌกลฺยาณ ปริโยสานกลฺยาณ ดังนี้. เพราะฉะนั้น

พระธรรมกถึกแม้อื่นเมื่อกล่าวธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

พึงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดง

มรรคเป็นเบื้องกลาง แสดงนิพพานเป็น

เบื้องหลาย นี้เป็นจุดยืน (หลัก) ของ

พระธรรมกถึก.

บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ความว่า เทศนาของพระธรรมกถึกใด

อาศัยพรรณนาเรื่องข้าวต้มข้าวสวยผู้หญิงผู้ชายเป็นต้น พระธรรมกถึกนั้นชื่อว่า

ไม่แสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา

เช่นนั้น ทรงแสดงเทศนาอาศัยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น เพราะฉะนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ทรงแสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์. อนึ่ง เทศนาของภิกษุใด

ประกอบด้วยพยัญชนะเดี่ยวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะบอดทั้งหมด หรือมี

พยัญชนะเปิดทั้งหมดกดทั้งหมด เทศนาของภิกษุนั้น ชื่อว่า อพยัญชนะ

เพราะไม่มีความบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เหมือนภาษาของคนมิลักขะเช่น เผ่า-

ทมิฬเผ่าคนป่าและคนเหลวไหลเป็นต้น. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา

เช่นนั้น ทรงไม่แตะต้องพยัญชนะ ๑๐ อย่าง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

๑. ลิถิล ๒. ธนิต ๓. ทีฆะ ๔. รัสสะ

๕. ลหุ ๖. ครุ ๗. นิคคหิต ๘. สัมพันธะ

๙. ววัตถิตะ ๑๐. วิมุตตะ ซึ่งเป็นหลักการ

ขยายตัวพยัญชนะ ๑๐ ประการ

ทรงแสดงธรรมมีพยัญชนะบริบูรณ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ทรงแสดง

ธรรมเป็นสพยัญชนะพร้อมพยัญชนะ. คำว่า เกวล ในคำว่า เกวลปริปุณฺณ

นี้ แปลว่า สิ้นเชิง. บทว่า ปริปุณฺณ แปลว่า ไม่ขาดไม่เกิน. ท่าน

อธิบายไว้ดังนี้ว่า ทรงแสดงธรรมุบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว แม้เทศนาสักอย่างหนึ่ง

ที่ไม่บริบูรณ์ไม่มี. บทว่า ปริสุทฺธ แปลว่า ปราศจากความหม่นหมอง.

จริงอยู่ พระธรรมกถึกใดอาศัยธรรมเทศนานี้ แสดงธรรมด้วยมุ่งจักได้ลาภหรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

สักการะ เทศนาของพระธรรมกถึกนั้นไม่บริสุทธิ์. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงมุ่งโลกมิสแสดงธรรม มีพระหทัยอ่อนโยนด้วยเมตตาภาวนา ด้วยการแผ่

ประโยชน์เกื้อกูล ทรงแสดงด้วยจิตที่ตั้งอยู่ในสภาพที่จะยกให้สูงขึ้น เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์. สกลศาสนาที่สงเคราะห์สิกขา ๓

ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์ ในคำนี้ว่า พฺรหฺมจริย ปกาเสติ ดังนี้ เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ทรงประกาศพรหมจรรย์. ในคำว่า โส ธมฺม เทเสติ

อาทิกลฺยาณ ฯเปฯ บริสุทฺธ นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ชื่อว่าทรงประกาศพรหมจรรย์ คือสกลศาสนาที่

สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. ท่านอธิบายว่า ความประพฤติอย่างประเสริฐ หรือ

ความประพฤติของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ประเสริฐ เพราะ

อรรถว่าประเสริฐสุด ชื่อว่า พรหมจรรย์. บทว่า ต ธมฺม ได้แก่ ธรรม

ที่ถึงพร้อมด้วยประการดังกล่าวแล้วนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงชี้เอาคหบดีก่อนว่า

สุณาติ คหปติ. ตอบว่า เพราะคหบดีขจัดมานะเสียได้และมีจำนวนมาก.

จริงอยู่ โดยมากคนที่บวชจากขัตติยตระกูลย่อมอาศัยชาติกระทำมานะ ที่บวช

จากตระกูลพราหมณ์อาศัยมนต์กระทำมานะ ที่บวชจากตระกูลที่มีชาติต่ำก็ตั้งอยู่

ไม่ได้เพราะตนมีชาติต่างออกไป. ส่วนเด็ก ๆ ตระกูลคหบดีมีเหงื่อไหลไคลย้อย

หลังขึ้นส่าเกลือไถดิน กำจัดมานะและความกระด้างได้ เด็กเหล่านั้นบวชแล้ว

ก็ไม่มีมานะหรือกระด้าง เรียนพระพุทธวจนะตามกำลัง กระทำกิจในวิปัสสนา

ย่อมสามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตต์ได้ ก็คนที่ชื่อว่าออกบวชจากตระกูล นอก

จากนี้ มีไม่มาก พวกคหบดีเท่านั้น มีมาก ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงชี้คหบดีก่อน เพราะกำจัดมานะได้และมีมาก. บทว่า อญฺตรสฺมึ วา

ได้แก่ หรือในตระกูลนอกนี้ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. บทว่า ปจฺฉา ชาโต

แปลว่า เกิดภายหลัง. บทว่า ตถาคเต สทฺธ ปฏิลภติ ความว่า ฟังธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

ที่บริสุทธิ์แล้ว กลับได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นเจ้าของธรรมว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า เป็นสัมมาสัมพุทธะหนอ. บทว่า อิติปฏิสญฺจิกฺขติ ได้แก่

พิจารณาเห็นอย่างนี้. บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ความว่า แม้ถ้าว่า

สองสามีภรรยาอยู่ในเรือนห่าง ๖๐ ศอก หรือระหว่างร้อยโยชน์ แม้เช่นนั้น

ฆราวาสก็ชื่อว่า คับแคบ เพราะอรรถว่าสองสามีภรรยานั้นมีความกังวลมีความ

ห่วงใยกัน. คำว่า รชาปโถ ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถว่า ได้แก่ฐานที่ตั้งขึ้น

แห่งธุลีคือราคะเป็นต้น. แม้จะกล่าวว่า ทางมา ก็ควร. บรรพชาเป็นประหนึ่ง

กลางเเจ้ง เพราะอรรถว่า ไม่ข้อง ฉะนั้น จึงชื่อว่า อัพโภกาส. จริงอยู่ ผู้

บวชแล้ว แม้อยู่ในเรือนยอดปราสาทแก้วและเทพวิมานเป็นต้น ที่มีประตู

หน้าต่างปิด ที่เขาปกปิดไว้ก็ไม่ข้องไม่ขัดไม่ติด. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

บรรพชาว่างอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาสชื่อว่า คับแคบ เพราะไม่มีโอกาส

ทำบุญ. ชื่อว่า รชาปถะ เพราะเป็นที่รวมแห่งธุลี คือกิเลส ดุจสถานที่กอง

ขยะที่เขาไม่ระวัง บรรพชา ชื่อว่า อัพโภกาส เพราะมีโอกาสทำบุญได้ตาม

สะดวก.

ในคำว่า นยิท สุกร ฯ เป ฯ ปพฺพเชยฺย นี้ จะกล่าวอย่างสังเขป

ดังนี้ พรหมจรรย์ คือสิกขา ๓ นี้ใด ชื่อว่า บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะ

ทำไม่ขาดแม้วันเดียวพึงให้ถึงจริมกจิต และชื่อว่าบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เพราะ

ไม่หม่นหมองด้วยมลทินคือกิเลสแม้แต่วันเดียวให้ถึงจริมกจิต. บทว่า สงฺข-

ลิขิต ได้แก่ พึงประพฤติเช่นเดียวกับสังข์ขัด คือเทียบด้วยสังข์ที่ขัดแล้ว.

ผู้อยู่ครองเรือน คือผู้อยู่ท่ามกลางเรือนประพฤติพรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์

โดยส่วนเดียวดังสังข์นี้ กระทำไม่ได้ง่าย. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด

ครองคือนุ่งห่มผ้าที่ชื่อกาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาดที่เหมาะสำหรับผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. ก็เพราะเหตุที่การงานมีไถนาและ

ค้าขายเป็นต้น เกื้อกูลแก่เรือน เรียกว่า อคาริยะ และอคาริยกิจนั้นไม่มีใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

บรรพชา ฉะนั้นบรรพชาพึงทราบว่า อนคาริยะ ในคำนี้. ไม่มีกิจของผู้ครอง

เรือนนั้น. บทว่า ปพฺพเชยฺย แปลว่า พึงปฏิบัติ. บทว่า อปฺป วา

ความว่า โภคะต่ำกว่าพันลงมา ชื่อว่าน้อย สูงกว่าพันขึ้นไป ชื่อว่ามาก.

เครือคือญาติ ชื่อว่า เครือญาติ เพราะอรรถว่า เกี่ยวพัน เครือญาตินั้นต่ำกว่า

๒๐ ลงมา ชื่อว่าน้อย สูงกว่า ๒๐ ขึ้นไป ชื่อว่า มาก. บทว่า ภิกฺขูน

สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า ภิกษุผู้ชื่อว่า สมาปันนะ เพราะศึกษาใน

สิกขากล่าวคืออธิศีล และสาชีพกล่าวคือสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมกัน มีชีวิตเป็นอันเดียวกัน มีความ

ประพฤติเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สิกขาสาชีวสมาปันนะ สำหรับ

ภิกษุทั้งหลาย. ความว่า ทำสิกขาบทให้บริบูรณ์ และไม่ล่วงละเมิดสาชีพ เข้า

ถึงสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้น. กถาว่าด้วยปาณาติบาตเป็นต้น ในคำว่า

ปาณาติปาต ปหาย เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง. บทว่า

ปหาย ได้แก่ ละความทุศีล กล่าวคือเจตนาฆ่าสัตว์นี้. บทว่า ปฏิวิรโต โหติ

ความว่า งดเว้นจากความทุศีลนั้น ตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว. บทว่า นิหิตทณฺโฑ

นิหิตสตฺโถ ความว่า ชื่อว่า ทิ้งไม้ทิ้งมีด เพราะไม่ถือไปเพื่อจะฆ่าเขา. ก็ใน

ที่นี้เครื่องมือที่เหลือแม้ทั้งหมดเว้นไม้เสีย พึงทราบว่า มีด เพราะเป็นเครื่อง

เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายถือไม้เท้าหรือมีดเหลาไม้สีฟันหรือมีดพับ

ไม่ใช่เพื่อจะฆ่าเขา ฉะนั้นจึงนับว่า ทิ้งไม้ทิ้งมีด. บทว่า ลชฺชี ได้แก่ผู้ประกอบ

ด้วยความละอาย มีความเกลียดบาปเป็นลักษณะ. บทว่า ทยาปนฺโน ได้แก่

ถึงความเอ็นดู คือความเป็นผู้มีจิตเมตตา. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปิ

ได้แก่เป็นผู้อนุเคราะห์สรรพสัตว์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล อธิบาย่ว่า ชื่อว่า

เป็นผู้มีจิตเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์เพราะเป็นผู้มีความเอ็นดูนั้น. บทว่า วิหรติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ได้แก่ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปคือเลี้ยงอัตภาพ. บุคคลผู้ชื่อว่า ทินฺนาทายี

เพราะถือเอาสิ่งของที่เขาให้แล้วเท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะหวัง

เฉพาะแต่สิ่งที่เขาให้ด้วยจิตเหล่านั้น. บุคคลใดย่อมลักบุคคลนั้นชื่อว่า ขโมย

ด้วยขโมย หามิได้ ชื่อว่า อถเนน มิใช่ด้วยขโมย ชื่อว่าเป็นผู้สะอาดเพราะ

เป็นผู้ไม่ขโมยนั่นเอง. บทว่า อตฺตนา แปลว่า ด้วยทั้งอัตภาพ ท่าน

อธิบายไว้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้เขาย่อมทำอัตภาพให้สะอาดอยู่. บทว่า อพฺรหฺม-

จริย แปลว่า ประพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า พฺรหฺมจารี เพราะประพฤติ

อาจาระอันประเสริฐ คือประเสริฐสุด. บทว่า อาราจารี ได้แก่ผู้ประพฤติ

ห่างไกลจากอพรหมจรรย์. บทว่า เมถุนา ได้แก่ อสัทธรรม ที่นับว่าเมถุน

เพราะส้องเสพ โดยได้โวหารว่า เมถุนกะ เพราะเป็นเสมือนถูกราคะกลุ้มรุม.

บทว่า คามธมฺมา แปลว่า ธรรมของชาวบ้าน. ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูด

คำจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะเอาสัจจะ กับสัจจะเชื่อมต่อกัน อธิบายว่า

ไม่พูดปนเท็จ. ความจริงบุรุษใดบางครั้งพูดเท็จ บางครั้งพูดจริง ไม่เอา

สัจจะกับสัจจะเชื่อมต่อกัน เพราะสัจจะกับมุสาวาทไม่อยู่ในภายใน เพราะเหตุนั้น

บุรุษนั้นไม่ชื่อว่าเอาสัจจะกับสัจจะเชื่อมต่อกัน แต่ผู้นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่. ผู้ไม่

กล่าวมุสาวาท แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต แต่เอาสัจจะกับสัจจะเชื่อมต่อกันพูดจริง

ตลอดเรื่อง เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า สัจจสันธะ. บทว่า เถโต แปลว่า

มั่นคง อธิบายว่าผู้พูดมั่นคง. จริงอยู่ บุคคลผู้หนึ่งเป็นผู้มีถ้อยคำไม่มั่นคง

เหมือนย้อมด้วยขมิ้น เหมือนปักหลักไว้ที่กองแกลบและเหมือนฟักที่เขาวางไว้

บนหลังม้าฉะนั้น. ผู้หนึ่ง มีถ้อยคำมั่นคง เหมือนรอยจารึกในหินและเหมือน

เสาเขื่อน แม้เมื่อเขาเอาดาลฟันศีรษะ ก็ไม่กล่าวถ้อยคำให้เป็น ๒ ผู้

นี้ชื่อว่า เถตะ ผู้มีถ้อยคำมั่นคง. บทว่า ปจฺจยิโก แปลว่า บุคคลผู้ที่ควร

เชื่อได้ อธิบายว่า ผู้น่าเชื่อ. ความจริง บุคคลบางคน เป็นผู้ไม่ควรเชื่อ เมื่อ

เขาถามว่าคำนี้ใครกล่าว คนโน้นหรือกล่าว ย่อมถูกเขาต่อว่า ว่าอย่าชื่อคำของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

ผู้นั้น. คนหนึ่งเป็นคนที่ควรเชื่อได้ เมื่อเขาถามว่า คำนี้ใครกล่าว คนโน้นหรือ

กล่าว ย่อมถูกต่อว่า ว่าถ้าเขาพูดไซร้ คำนี้เท่านั้นเป็นประมาณ บัดนี้ไม่มีคำที่

ต้องสอบสวน คำนี้ต้องเป็นอย่างนั้นเอง ผู้นี้ท่านเรียกว่าผู้ที่ควรเชื่อได้.

บทว่า อวิสวาทโก โลกสฺส ความว่าย่อมไม่กล่าวคำเป็นพิษกะ

ชาวโลก เพราะมีปกติกล่าวแต่คำสัตย์นั้น. บทว่า อิเมส เภทาย ความว่า

เพื่อทำลายเหล่าชนที่ได้ยินในสำนักของคนที่พูดว่าได้ฟังมาจากข้างนี้. บทว่า

ภินฺนาน วา สนฺธาตา ความว่า เมื่อคน ๒ ฝ่ายเป็นมิตรกันหรือเป็นผู้ที่

เกี่ยวข้องกันมีร่วมอุปัชฌายะเดียวกันเป็นต้น แตกกันด้วยกิจบางอย่างแล้ว

ผู้ที่ควรเชื่อได้เข้าไปหาที่ละฝ่ายแล้ว พูดทำความสมานเป็นต้นว่า การอย่างนี้

หาสมควรแก่พวกท่านผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้เป็นพหุสูตอย่างนี้ไม่ดังนี้. บทว่า

อนุปฺปทาตา ได้แก่ผู้สนับสนุนบุคคลที่ปรองดองแล้ว อธิบายว่าผู้ที่ควร

เชื่อได้เห็นคนทั้งสองผู้สามัคคีกันอยู่แล้ว พูดทำให้มั่นเช้าว่า การอย่างนี้ เป็น

การสมควรแก่พวกท่าน ผู้เกิดในตระกูลเห็นปานนั้น ผู้ประกอบด้วยคุณเห็น

ปานนี้ ดังนี้เป็นต้น. ชื่อว่า สมคฺคาราโม เพราะมีคนมีสามัคคีเป็นที่มายินดี

อธิบายว่า คนผู้สามัคคีกัน ไม่มีในที่ใด ย่อมไม่ปรารถนา จะอยู่ในที่นั้น.

บาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า สมคฺครโต

ได้แก่ ผู้ยินดีในเหล่าคนผู้พร้อมเพรียงกัน อธิบายว่า ย่อมไม่ปรารถนาละ

คนผู้สามัคคีกันเหล่านั้นไปในที่อื่น. ชื่อว่า ผู้ชื่นชมในคนผู้สามัคคีกัน เพราะ

ผู้ที่ควรเชื่อได้นั้น เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ซึ่งเหล่าคนผู้สามัคคีกัน ย่อมยินดี.

บทว่า สมคฺคกรณึ วาจ ภาสิตา ความว่า บุคคลผู้ที่ควรเชื่อได้นั้น ย่อม

กล่าววาจาที่ทำคนให้สามัคคีกัน ซึ่งเป็นวาจาแสดงคุณของสามัคคีอย่างเดียว

หากล่าววาจาตรงกันข้ามจากนี้ไม่. โทษท่านเรียกว่า เอล ในบทว่า เนลา

ดังนี้ วาจา ชื่อว่า หาโทษมิได้ เพราะโทษของวาจานั้นไม่มี อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

วาจาไม่มีโทษ บทว่า เนลา นั้นเหมือน เนละ ศัพท์ ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสไว้ในคาถานี้ว่า เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท ดังนี้เป็นต้น. บทว่า

กณฺณสุขา ได้แก่วาจาสบายหู คือไม่เกิดความเสียดแทงหูเหมือนถูกเข็มแทง

เพราะเป็นวาจาไพเราะโดยพยัญชนะ ชื่อว่า วาจา เป็นที่ตั้งแห่งความรัก เพราะ

วาจานั้นไม่ทำให้เกิดความโกรธ ท่าควานรักให้เกิดทั่วสรีระ เพราะเป็นวาจา

ไพเราะโดยอรรถ. ชื่อว่า เป็นวาจาจับใจ เพราะวาจานั้นย่อมถึงใจ คือไม่

กระทบกระทั่ง เข้าไปถึงจิตโดยสะดวก. ชื่อว่าเป็นวาจาชาวเมือง เพราะวาจา

นั้นมีอยู่ในเมืองเหตุเป็นวาจาที่บริบูรณ์ด้วยคุณ. ชื่อว่า โปริ เพราะวาจานั้น

เป็นวาจาอ่อนโยนประหนึ่งว่า หญิงผู้เจริญในบุรี ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า โปรี

เพราะวาจานั้นเป็นวาจาของชาวเมืองดังนี้ก็มี อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาว

เมือง. ด้วยว่า ชาวเมืองย่อมเป็นผู้มีถ้อยคำสมควร คือเรียกคนปูนพ่อว่าพ่อ

คนผู้ปูนแม่ว่าแม่ ปูนพี่ว่าพี่. ชื่อว่าผู้มีวาจาอันคนเป็นอันมากรักใคร่ เพราะ

ถ้อยคำเห็นปานนั้น ย่อมเป็นวาจาอันคนเป็นอันมากชอบใจ. ชื่อว่า เป็นวาจา

เป็นที่พอใจของชนเป็นอันมาก เพราะวาจานั้น เป็นที่พอใจคือทำความเจริญ

ใจแก่ชนเป็นอันมาก เพราะเป็นวาจาที่คนทั้งหลายรักใคร่นั่นเอง. บุคคลผู้ชื่อ

ว่า กาลวาทีเพราะกล่าวโดยกาล อธิบายว่าบุคคลนั้นย่อมกำหนดกาลอันควร

กล่าวแล้วกล่าว. ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวคำจริง เพราะย่อมกล่าวคำที่จริง คือคำแท้

ได้แก่คำเป็นจริงอย่างเดียว. ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวอาศัยประโยชน์ เพราะบุคคล

นั่นกล่าวกระทำให้เป็นคำอาศัยอรรถอันเป็นประโยชน์ในภพนี้และภพหน้าอย่าง

เดียว. ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวอาศัยธรรม เพราะบุคคลนั้นย่อมกล่าวทำให้เป็น

คำอาศัยโลกุตตรธรรม ๙. ชื่อว่า ผู้มีปกติกล่าวอาศัยวินัย เพราะกล่าวกระทำ

ให้เป็นคำอาศัยสังวรวินัย. และปหานวินัย โอกาสที่ตั้ง ท่านเรียกว่าหลักฐาน

หลักฐานของวาจานั้นมีอยู่ เหตุนั้น วาจานั้น ชื่อว่า มีหลักฐาน อธิบายว่า บุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

ผู้ที่ควรเชื่อได้นั้น ย่อมเป็นผู้กล่าววาจาอันสมควรที่จะพึงเก็บไว้ในหทัย. บทว่า

กาเลน ความว่า ก็บุคคลผู้ควรเชื่อได้นั้นแม้เมื่อกล่าวคำเห็นปานนั้น ย่อมไม่

กล่าวโดยกาลอันไม่สมควรด้วยถือว่า จักกล่าวคำมีหลักฐานดังนี้ แต่พิจารณา

กาลอันสมควรแล้ว จึงกล่าว. บทว่า ลาปเทส ความว่า มีอุปมา มีเหตุ.

บทว่า ปริยนฺตวตึ มีความว่า ที่สุดของวาจานั้น จะปรากฏด้วยประการใด

บุคคลผู้เชื่อได้นั้นกล่าวแสดงที่สุด โดยประการนั้น. บทว่า อตฺถสญฺหิต

ความว่า ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยประโยชน์ เพราะวาจานั้นอันบุคคลผู้จำแนกอยู่โดย

นัยแม้เป็นอันมากไม่อาจจะให้ถือเอาที่สุดได้ อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า บุคคลผู้

ควรเชื่อนั้น ย่อมกล่าววาจาอันชื่อว่าประกอบด้วยประโยชน์ เพราะวาจานั้น

เป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ที่เขากล่าว ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า บุคคลผู้

ควรเชื่อนั้น หายกคำอย่างหนึ่งแล้ว ไพล่ไปกล่าวเสียอีกอย่างหนึ่งไม่.

บทว่า วีชคามภูตคามสารมฺภา ความว่า เว้นจากการพรากพืช

คาม ๕ อย่าง คือพืชเกิดแต่ราก พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ข้อ พืชเกิดแต่

ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด และภูตคามมีของเขียวหญ้าและต้นไม้เป็นต้นชนิดใด

ชนิดหนึ่ง คือทำลายโดยตัดและเผาเป็นต้น. บทว่า เอกภตฺติโก ความว่า

ภัตร ๒ อย่าง คือ ภัตรที่จะพึงบริโภคในเวลาเช้า ภัตรที่จะพึงบริโภคในเวลา

เย็น ในสองอย่างนั้น ภัตรที่จะพึงบริโภคในเวลาเช้า กำหนดภายในเที่ยงวัน

ภัตรที่จะพึงบริโภคในเวลาเย็น กำหนดตั้งแต่เที่ยงวันถึงภายในอรุณ เพราะ

ฉะนั้น แม้จะบริโภคภายในเที่ยงวันตั้งแต่ ๑๐ ครั้ง ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีภัตรหน

เดียว ท่านหมายเอาความเป็นผู้มีภัตรหนเดียวนั้นกล่าวว่า เอกภตฺติโก ดังนี้.

ชื่อว่า รตฺตูปรโต เพราะเว้นจากการบริโภคในเวลากลางคืนนั้น. การบริ-

โภคในเวลาเลยเที่ยงไปแล้วจนถึงพระอาทิตย์ตก ชื่อว่าบริโภคในเวลาวิกาล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

เพราะเว้นจากวิกาลโยชน์นั้น จึงชื่อว่าเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.

ชื่อว่า วิสูกทสฺน เพราะเป็นการดีที่เป็นข้าศึกศัตรูเพราะไม่อนุโลมตามพระ-

ศาสนา. ชื่อว่า นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เพราะการฟ้อน การขับ การประ-

โคนด้วยการอำนาจฟ้อนเองและให้ผู้อื่นฟ้อนเป็นต้น และการดูที่เป็นข้าศึกซึ่ง

การฟ้อนเป็นต้นที่เป็นไปแม้อย่างต่ำมีนกยูงรำแพนเป็นต้น. การประกอบเองก็

ดี การให้ผู้อื่นประกอบก็ดี ซึ่งการฟ้อนเป็นต้นหรือการดูการฟ้อนเป็นต้นที่ผู้อื่น

ประกอบย่อมไม่ควรแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งนั้น. บทว่า มาลา ในคำว่า มาลา

เป็นต้น ได้แก่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง. บทว่า คนฺธ ได้แก่ของหอมชนิดใด

ชนิดหนึ่ง. บทว่า วิเลปน ได้แก่ เครื่องประเทืองผิว. ผู้ประดับในเครื่อง

ประดับเหล่านั้น ชื่อว่าทัดทรง. ผู้ทำที่พร่องให้เต็ม ชื่อว่า ประดับ. ผู้ยินดี

ด้วยของหอมและเครื่องประเทืองผิว ชื่อว่า ตกแต่ง. เหตุท่านเรียกว่าฐานะ.

อธิบายว่า เพราะฉะนั้น มหาชนทำการทัดทรงดอกไม้เป็นต้นเหล่านั้นด้วย

เจตนาเครื่องทุศีลใด เป็นผู้งดเว้นจากเจตนาเครื่องทุศีลนั้น. ที่นอนอันเกิน

ประมาณ ท่านเรียก อุจจาสยนะ. เครื่องลาดที่ไม่สมควร ชื่อว่า มหาสยนะ.

อธิบายว่า งดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่นั้น. บทว่า ชาตรูป ได้แก่

ทอง. บทว่า รชฏ ความว่า วัตถุเหล่าใดถึงการบัญญัติว่า กหาปณะ มาสกโลหะ

มาสกยาง มาสกไม้ งดเว้นจากการรับวัตถุทั้งสองนั้น. อธิบายว่า ไม่รับเอง

ไม่ให้คนอื่นรับวัตถุทั้งสองนั้น ไม่ยินดีวัตถุทั้งสองที่คนอื่นเก็บไว้.

บทว่า อามกธญฺปฏิคฺคหณา ได้แก่ จากการรับ ธัญญชาติดิบ

๗ อย่างคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูก

เดือย หญ้ากับแก้. มิใช่ห้ามการรับธัญญชาติเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แม้

การถูกต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย. ในบทว่า อามกมสปฏิคฺคหณา นี้

ความว่า การรับเนื้อและปลาดิบ ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย การถูกต้องก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

ควร นอกจากที่ทรงอนุญาตไว้โดยเฉพาะ. คำว่า อิตฺถี ในคำว่า อิตฺถี

กุมาริกปฏิคฺคหณา นี้ได้แก่หญิงที่กำลังอยู่กับผู้ชาย นอกนั้นจัดเป็นหญิง

สาว. การรับก็ดี การจับต้องก็ดี ซึ่งหญิงเหล่านั้น. ในบทว่า ทาสีทาส

ปฏิคฺคหณา นี้ ความว่า ไม่ควรรับชนเหล่านั้น ไว้โดยเป็นทาสหญิงทาส

ชายเลย แต่เมื่อเขาพูดว่าฉันถวายเป็นกัปปิยะการก ฉันถวายเป็นคนวัด ก็ควร

ได้รับ. ในแพะและแกะเป็นต้น มีนาและสวนเป็นที่สุดพึงใคร่ครวญนัยที่

สมควรและไม่สมควร ตามวินัย. ในบรรดานาและสวนนั้น ชื่อว่า นา คือ

ที่ปลูก-ปุพพัณณชาติ ซึ่งว่า ที่สวน คือที่ปลูกอปรัณณชาติ. อีกอย่างหนึ่ง

ที่ที่ปุพพัณณชาติและอปรัณณชาติทั้งสองงอกขึ้นนั้น ชื่อว่า นา ภูมิภาค

ที่มิได้ทำไว้เพื่อประโยชน์นั้น ชื่อว่า สวน. ก็ในที่นี้ท่านรวมแม้บึงและหนอง

เป็นต้น โดยมีนาและสวนเป็นสำคัญ. งานทูตคือการถือหนังสือหรือข่าวสาร

ของคฤหัสถ์ไปในที่นั้น ๆ เรียกว่า ทูเตยะ (การส่งข่าวสาร). การไปด้วยกิจ

เล็ก ๆ น้อยๆ ของผู้ที่เขาส่งไปจากเรือน (นี้) สู่เรือนโน้น ท่านเรียกว่าการรับ

ใช้. การกระทำทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่าอนุโยค เพราะฉะนั้นพึงเห็นความในข้อ

นี้ว่า การประกอบเนืองๆ ซึ่งการส่งข่าวสารและการรับใช้. บทว่า กยวิกฺกยา

ได้แก่การซื้อและการขาย. บทว่า กูฏ ในคำว่า ตุลากูฏเป็นต้น ได้แก่การ

โกง. ก่อนอื่นในการโกงเหล่านั้น การโกงด้วยตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ โกงโดยรูป

โกงโดยอวัยวะ โกงโดยรับ โกงโดยปกปิด. ในการโกงอย่างนั้น ชื่อว่า

การโกงโดยรูป คือ การทำตาชั่ง ๒ อัน ให้รูปเท่ากัน เมื่อรับก็รับด้วยตาชั่ง

อันใหญ่ เมื่อให้ก็ให้ด้วยตาชั่งอันเล็ก. ชื่อว่าโกงโดยอวัยวะคือเมื่อรับก็เอามือ

กดตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อให้ก็เอามือกดตาชั่งข้างหน้าไว้. ชื่อว่าการโกงโดยรับ

คือเมื่อรับก็จับเชือกที่ต้น เมื่อให้ก็จับเชือกที่ปลาย. ชื่อว่าโกงโดยปกปิด คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

กระทำตาชั่งกลวงแล้วใส่ผงเหล็กไว้ข้างใน เมื่อรับก็กระทำตาชั่งนั้นไว้ทางหลัง

เมื่อให้ก็กระทำตาชั่งไว้ทางปลาย.

ถาดทองคำเรียกว่าสำริด. การโกงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่าโกงด้วย

สำริด. อย่างไร ? คือกระทำถาดทองขึ้นใบหนึ่ง แล้วกระทำถาดโลหะอย่างอื่น

๒-๓ ใบให้มีสีเหมือนทอง แต่นั้นไปยังชนบทเข้าไปหาตระกูลที่มั่งคั่งตระกูล

ใดตระกูลหนึ่ง กล่าวว่า ท่านจงซื้อภาชนะทอง เมื่อเขาถามราคาเป็นผู้ประ-

สงค์จะให้สิ่งที่มีราคามากกว่า. แต่นั้นเมื่อคนเหล่านั้นพูดว่า บอกที่เถิดข้าพเจ้า

จะทราบว่าถาดเหล่านี้เป็นทองคำได้อย่างไร จึงบอกว่า ท่านจงทดลองเอาเถอะ

แล้วเอาถาดทองครูดที่หิน แล้วนอบถาดทั้งหมดให้ไป.

ชื่อการโกงด้วยเครื่องตวงวัดมี ๓ อย่างคือ หทยเภท ๑ สิขาเภท ๑

รัชชุเภท ๑. ใน ๓ อย่างนั้น หทยเภทะ ใช้ในเวลาตวงเนยใสและน้ำมันเป็นต้น.

คือเมื่อจะซื้อเนยใสและน้ำมันเป็นต้นเหล่านั้น ก็บอกว่า จงค่อยๆริน แล้วให้เนย

ใสและน้ำมันเป็นอันมากไหลลงในภายในภาชนะ ด้วยเครื่องตวงที่มีช่องอยู่ภายใน

รับเอา เมื่อจะขายก็ปิดช่องเสียทำให้เต็มเร็ว ๆ ให้ไป. สิขาเภทะ ใช้ในเวลา

ตวงงาและข้าวสารเป็นต้น. คือเมื่อจะตวงซื้องาและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้นก็

ค่อย ๆ ยอดพูนสูงขึ้นถือเอา เมื่อตวงขายก็รีบตวงให้เต็มแล้วปาดขายไป.

รัชชุเภทะ ใช้ในเวลาวัดที่นาและที่สวน. คือเมื่อไม่ได้สินจ้างก็วัดทำนาที่แม้ใน

ใหญ่ก็ให้ใหญ่ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อักโกฏนะ เป็นต้น. บทว่า อุกฺโกฏน

หมายเอาการโกง เพื่อทำคนผู้เป็นเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ. บทว่า วญฺจน ได้แก่

การลวงคนอื่น ด้วยอุบายนั้น ๆ. ในข้อนั้นมีเรื่องหนึ่งเป็นอุทาหรณ์ดังต่อไปนี้

เล่ากันมาว่า นายพรานคนหนึ่ง จับเนื้อและลูกเนื้อมา. นักเลงคนหนึ่ง พูดกะ

เขาว่า ผู้เจริญเนื้อราคาเท่าไรลูกเนื้อราคาเท่าไร. เมื่อเขาตอบว่าเนื้อ ๒ กหาปณะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ลูกเนื้อ ๑ กหาปณะ จึงให้ ๑ กหาปณะแล้ว พาเอาลูกเนื้อไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ

มาพูดว่าฉันไม่ต้องการลูกเนื้อละ ท่านจงให้เนื้อแก่ฉัน. ถ้าเช่นนั้นท่านจงให้ ๒

กหาปณะ. นักเลงนั้นพูดว่า ผู้เจริญ เราให้ ๑ กหาปณะ แก่ท่านก่อนแล้วมิ

ใช่หรือ. รับว่า เออให้แล้ว. จึงกล่าวว่า ท่านจงเอาลูกเนื้อแม้นี้ไป เมื่อเป็น

เช่นนั้น กหาปณะนั้น และลูกเนื้อซึ่งได้ราคา ๑ กหาปณะ นี้ จึงรวมเป็น

๒ กหาปณะ นี้ จึงรวมเป็น ๒ กหาปณะ. นายพรานกำหนดว่า เขากล่าวมีเหตุ

ผลจึงรับเอาลูกเนื้อไว้แล้วให้เนื้อไป. บทว่า นิกติ ได้แก่การลวงด้วยวิธี

ปลอม โดยทำสิ่งซึ่งไม่ใช่สังวาลว่าเป็นสังวาล ที่ไม่ใช่แก้วมณี ว่าเป็นแก้ว

มณี ที่มีใช่ทองว่าเป็นทอง ด้วยการตลบตะแลงหรือด้วยกลลวง. บทว่า สา-

วิโยโค แปลว่า การตลบตะแลงด้วยการโกง. คำว่าสาวิโยโคนี้ เป็นชื่อของ

การคดโกงเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในคำว่า สาวิโยโค

นี้ว่า ตลบตะแลงด้วยการกดโกง ตลบตะแลงด้วยหลอกลวง. อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า การแสดงสิ่งหนึ่งแล้ว เปลี่ยนเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ชื่อว่าสาวิโยคะ ตลบ

ตะแลง. แต่คำนั้นท่านก็รวมเข้าด้วยการหลอกลวงเหมือนกัน. พึงทราบวินิจฉัย

ในข้อว่า เฉทนะเป็นต้น คำว่า เฉทน ได้แก่การัดมือเป็นต้น. บทว่า

วโธ ได้แก่การทำให้ตาย. บทว่า พนฺโธ ได้แก่การจองจำด้วยเครื่องจำคือ

เชือกเป็นต้น. บทว่า วิปราโมโส ได้แก่การบังมี ๒ อย่าง คือ บังด้วยหิมะ

และบังด้วยพุ่มไม้. ใน ๒ อย่างนั้น บังด้วยหิมะ ในเวลาหิมะตกแล้วพูดเท็จกะชน

ผู้เดินไป นี้ เรียกว่า หิมวิปราโมส หิมะบังด้วยหิมะ. บังด้วยพุ่มไม้เป็นต้นแล้ว

พูดเท็จนี้ เรียกว่า คุมพวิปราโมสะ บังด้วยพุ่มไม้. การปล้นสะดมชาวบ้าน

และชาวนิคมเป็นต้นท่านเรียกว่า อาโลโป การปล้น. บทว่า สหสากาโร

ได้แก่ การกระทำอย่างฉับพลันคือเข้าไปสู่เรือนแล้ว จี้อกของตนทั้งหลายแล้ว

ฉวยสิ่งของตามปรารถนาไป เป็นผู้เว้นขาดจากอาการตัด ฆ่า จองจำ บัง ปล้น

จี้นั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

บทว่า โส สนฺตุฏฺโ โหติ ความว่า ภิกษุนั้นประกอบด้วย

อิตริตรปัจจัยสันโดษ ๑๒ อย่าง ในปัจจัย ๔ ดังกล่าวแล้วในหนหลัง. อนึ่ง

บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดน้อยสำหรับเหลาไม้สีฟัน เข็มเล่มหนึ่ง

ประคตเอว ผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยสันโดษในปัจจัยตามมี

ตามไค้ ๑๒ อย่างนี้. สมจริงดังพระโปราณาจารย์ กล่าวไว้

บริขารเหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร

มีดน้อย เข็ม และประคตเอว เป็น ๘ ทั้ง

ผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบ

ความเพียรด้วย.

บริขารเหล่านั้น แม้ทั้งหมด เป็นเครื่องบริหารกายก็ได้ บริหารท้อง

ก็ได้ อย่างไร ก่อนอื่น ไตรจีวร ย่อมบริหาร คือเลี้ยงกาย ในคราวที่

นุ่งและหุ่ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นเครื่องบริหารกาย ย่อมบริหารคือ

เลี้ยงท้อง ในคราวที่กรองน้ำด้วยมุมจีวรแล้วดื่มและในคราวที่ห่อผลไม้ใหญ่

น้อย ที่ควรเคี้ยวกินได้ด้วยชายจีวรนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นเครื่อง

บริหารท้อง แม้บาตรก็เป็นเครื่องบริหารกาย โนคราวที่ตักน้ำด้วยบาตรนั้น

อาบและในคราวตักน้ำด้วยบาตรนั้นประพรมกุฏี. เป็นเครื่องบริหารท้อง ใน

คราวรับอาหารด้วยบาตรนั้นฉัน. แม้มีดน้อย ย่อมเป็นเครื่องบริหารกาย ใน

คราวที่เหลาไม้สีฟันและในคราวที่ทำขาเตียงตั่งและคันกลด เป็นเครื่องบริหาร

ท้อง ในคราวที่ตัดอ้อยและปอกมะพร้าวเป็นต้น. แม้เข็มย่อมเป็นเครื่องบริหาร

กาย ในคราวที่เย็บจีวร เป็นเครื่องบริหารท้อง ในคราวจิ้มขนมหรือผลไม้

ฉัน. แม้ประคดเอว ย่อมเป็นเครื่องบริหารกายในคราวคาดเที่ยวไป เป็นเครื่อง

บริหารท้อง ในคราวมัดอ้อยเป็นต้นถือเอาไป. แม้ผ้ากรองน้ำ ย่อมเป็นเครื่อง

บริหารกาย ในคราวที่กรองน้ำด้วยผ้านั้นอาบ และในคราวที่กรองน้ำด้วยผ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

นั้นแล้วทำการประพรมเสนาสนะ เป็นเครื่องบริหารท้อง ในคราวที่กรองน้ำดื่ม

และในคราวที่ห่องาข้าวสารและข้าวเม่าเป็นต้นด้วยผ้านั้นแล้วฉัน. นี้เป็น

ประมาณบริขารของภิกษุผู้มีบริขาร ๘ เท่านั้น.

ส่วนภิกษุผู้มีบริขาร ๙ เข้าไปสู่ที่นอนจะมีเครื่องลาดสำหรับเสนาสนะ

นั้น หรือลูกกุญแจก็ควร. ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๐ จะมีผ้านิสีทนะ หรือ แผ่น

หนังก็ควร. ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๑ จะมีไม้เท้าคนแก่ หรือทะนานน้ำมันก็ควร.

ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๒ จะมีร่มหรือรองเท้าก็ควร. ก็ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มี

บริขาร ๘ เท่านั้น ชื่อว่าผู้สันโดษ นอกนั้นใครๆ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่สันโดษ

เป็นผู้มักมาก เป็นผู้อยากใหญ่ ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มักน้อย สันโดษ

เลี้ยงง่าย และมีความพระพฤติเบาทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้

ทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยสามารถแห่งภิกษุเหล่านั้น ทรงแสดงด้วยอำนาจแห่ง

ภิกษุผู้มีบริขาร ๘. จริงอยู่. ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ นั้น ห่อมีดน้อยและเข็มไว้ใน

ผ้ากรองน้ำเก็บไว้ในบาตรแล้วคล้องบาตรไว้ที่จะงอยบ่านุ่งห่มไตรจีวร คาด

ประคดเอวแล้วหลีกไป สบายตามประสงค์. เธอไม่ต้องกลับมาเอาอะไรอีก.

ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงความประพฤติเบาพร้อมของ

ภิกษุนี้ จึงตรัสว่า สนฺตุฏฺโ โหติ กายบริหาริเยน จีวเรน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายบริหาริเยน คือเพียงเป็นเครื่องบริหารกาย.

บทว่า กุจฺฉิปริหาริเยน ได้แก่ เพียงเป็นเครื่องบริหารท้อง. บทว่า สมาทา-

เยว ปกฺกมติ ความว่า เธอถือเอาเพียงเครื่องบริขาร ๘ ทั้งหมดนั้นติดตัวไป

ย่อมไม่ข้องหรือติดอยู่ว่า วิหาร บริเวณ อุปัฏฐากของเรา ภิกษุผู้มีบริขาร ๘

นั้น ใช้สร้อยเสนาสนะ ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ คือไพรสณฑ์ โคนไม้ ชายป่า

อยู่คนเดียว นั่งคนเดียวไม่มีเพื่อนในอิริยาบถทั้งปวง ดุจลูกศรที่พ้นจากแหล่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

และดุจช้างตกมัน ปลีกไปจากโขลงฉะนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้เหมือนนอแรด

ที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ

สนฺตุสฺสมาโน อตรีตเรน

ปริสฺสยาน สหิตา อจฺฉมฺภี

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

ภิกษุผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้อยู่เป็นสุข

ในทิศทั้ง ๔ และเป็นผู้ไม่หงุดหงิดสันโดษ

ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำอันตราย

ทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว เที่ยวไปคนเดียว

ดังนอแรด.

บัดนี้ เมื่อทรงสาธกความข้อนั้น ด้วยอุปมาจึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ เป็น

ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขี สกุโณ ได้แก่ นกมีปีก. บทว่า

เฑติ แปลว่า บิน. ก็ความสังเขปในข้อนี้มีดังนี้. ธรรมดาว่านกทั้งหลายรู้ว่า

ต้นไม้ในถิ่นโน้นมีผลสุก จึงพากันมาจากทิศต่าง ๆ เจาะจิก กินผลของต้นไม้

นั้น ด้วยเล็บ ปีกและจงอยปากเป็นต้น. นกเหล่านั้นไม่มีความคิดว่า นี้สำหรับ

วันนี้ๆสำหรับวันพรุ่งนี้ แต่เมื่อผลไม้หมด มันก็ไม่ต้องรักษาต้นไม้ไว้ ไม่ต้อง

เอาปีก เล็บ หรือจงอยปากเก็บไว้ที่ต้นไม้นั้น โดยที่แท้ ไม่มีความอาลัยใน

ต้นนั้น ตัวใด ปรารถนาทิศภาคใด ตัวนั้นมีภาระคือปีกของตนเท่านั้นบินไปทาง

ทิศนั้น ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีความคิดปราศจากความอาลัย

หลีกไป มุ่งมั่นแต่จะหลีกไปอย่างเดียว. บทว่า อริเยน แปลว่า ไม่มีโทษ.

บทว่า อชฺฌตฺต แปลว่า ในอัตภาพของตน. บทว่า อนวชฺชสุข แปล

ว่า สุข ที่ไม่มีโทษ. บทว่า โส จกฺขุนา รูป ทิสฺวา ความว่า ภิกษุนั้น

คือผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ เห็นรูปด้วยวิญญาณจักษุ. คำที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

จะพึงกล่าวในบทที่เหลือทั้งหมดกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า อพฺยา-

เสกสุข ได้แก่ สุขที่ไม่ระคนด้วยกิเลส. ท่านกล่าวว่า สุขที่ไม่คาบเกี่ยวด้วย

กิเลสก็มี. จริงอยู่ สุขในอินทรียสังวรชื่อว่า ไม่คาบเกี่ยว เพราะเป็นไปด้วย

อำนาจเพียงรูปที่เห็นแล้วในอารมณ์มีรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น. บทว่า โส อภิกฺ-

กนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ความว่า ภิกษุนั้น คือผู้ประกอบ ด้วยการสำรวมอินทรีย์

มีใจเป็นที่ ๖ เป็นผู้มีปกติกระทำด้วยความรู้ตัวด้วยสติและสัมปชัญญะ ในฐานะ

ทั้ง ๗ นี้มีการก้าวไปและการถอยกลับเป็นต้น. คำที่จะพึงกล่าวในข้อนั้น

ได้กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐานสูตรนั้นแล.

ด้วยคำว่า โส อิมินา จ เป็นต้น ท่านแสดงไว้อย่างไร. ท่านแสดง

ถึงปัจจัยสมบัติแห่งการอยู่ป่า. จริงอยู่ การอยู่ป่าของผู้ที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้ย่อม

ไม่สำเร็จ จะถูกค่อนว่าเหมือนกับสัตว์ดิรัจฉาน หรือพรานไพร. เหล่าเทวดา

ผู้สิงอยู่ในป่า ช่วยกันประกาศก้องด้วยเสียงที่น่ากลัว ว่าภิกษุชั่วเห็นปานนี้ อยู่

ป่าไปทำไม เอามือตีศีรษะ. กระทำอาการให้หนีไป. ความไม่มีเกียรติยศก็แพร่

ไปว่า ภิกษุโน้นเข้าไปป่า กระทำกรรมชั่วเช่นนี้. แต่การอยู่ป่าของภิกษุผู้ที่

มีปัจจัย ๔ เหล่านั้น ย่อมสำเร็จ. แท้จริงเธอเมื่อพิจารณาถึงศีลของตนอยู่

ไม่เห็นความต่างพร้อยไร ๆ ก็ทำให้เกิดปีติพิจารณาเห็นสิ่งนั้นโดยความสิ้นไป

ย่อมก้าวลงสู่อริยภูมิ. เหล่าเทวดาผู้สิงอยู่ในป่าดีใจ ก็สรรเสริญ เกียรติยศ

ของภิกษุนั้น ย่อมแผ่ออกไป เหมือนหยาดน้ำมันงาที่ใส่ลงในน้ำฉะนั้นด้วย

ประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวิตฺต แปลว่า ว่าง อธิบายว่าไม่มีเสียง

คือไร้เสียง. ก็ท่านหมายเอาคำนี้เอง จึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า บทว่า วิวิตฺต

ความว่า แม้หากว่า เสนาสนะมีในที่ใกล้ไซร้ และเสนาสนะนั้น ไม่เกลื่อนด้วย

คฤหัสถ์ แลบรรพชิต เพราะฉะนั้น เสนาสนะนั้น ชื่อว่า วิวิตตะ. ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

เสนาสนะ เพราะเป็นที่นอนและเป็นที่นั่ง คำนั่น เป็นชื่อของเตียงและตั่ง

เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า เสนาสนะได้แก่เสนาสนะคือ

ที่นอน ที่นั่ง ตั่ง ฟูก หมอน วิหาร เพิง ปราสาท เรือนแถว ถ้ำ

ป้อม ศาลา ที่เร้น พุ่มไผ่ โคนไม้ มณฑป อันเป็นที่ที่ภิกษุต้องอาศัย

ทั้งหมดนั่น จัดเป็นเสนาสนะ. อนึ่ง วิหาร เพิง ปราสาท เรือนแถว ถ้ำ

นี้ชื่อว่า วิหารเสนาสนะ เสนาสนะ คือที่อยู่. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้ชื่อว่า

มัญจปีฐเสนาสนะ แผงจาก ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า เครื่องลาด

ทำด้วยใบไม้ นี้ชื่อว่า สันถัตเสนาสนะ เสนาสนะคือสันถัด อันเป็นที่ ๆ

ภิกษุอาศัย นี้ชื่อว่า โอกาสเสนาสนะ เสนาสนะคือที่ว่าง รวมทั้ง ๔ ดังว่า

มานี้ จัดเป็นเสนาสนะ. เสนาสนะนั้นทั้งหมด ท่านรวมความไว้ด้วยศัพท์ว่า

เสนาสนะเหมือนกัน.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเสนาสนะอันสมควรแก่ภิกษุผู้

จาริกไปในทิศทั้ง ๔ ซึ่งเสมือนนกนี้ จึงตรัสคำว่า อรญฺ รุกฺขมูล ดังนี้เป็น

ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺ ได้แก่ ที่ทั้งหมดนอกเสาเขื่อนออก

ไปนั่น ชื่อว่าป่า. ข้อนี้มาโดยเรื่องสองเหล่าภิกษุณี. เสนาสนะชั่ว ๕๐๐ ลูกธนู

เป็นที่สุด ชื่อว่า เสนาสนะป่า ก็เสนาสนะป่านี้ สมควรแก่ภิกษุนี้. ลักษณะ

ของเสนาสนะนั่น กล่าวไว้แล้วในธุดงคนิเทศ ในวิสุทธิมรรค. บทว่า รุกฺขมูล

ได้แก่ โคนต้นไม้อันสงัดมีร่มเงาเย็นแห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า ปพฺพต แปลว่า

ภูเขาสิลา. จริงอยู่ เมื่อภิกษุใช้น้ำที่แอ่งน้ำที่ภูเขาศิลานั้น นั่ง ณ ร่มเงา

ของต้นไม้อันเย็น ต้องลมเย็นที่โชยมาในทิศต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ จิตก็มีอารมณ์

เป็นอันเดียว. น้ำท่านเรียกว่า ก ในคำว่า กนฺทร ที่อันน้ำกัด ที่อันน้ำเซาะ

ได้แก่ประเทศแห่งภูเขา ที่อาจารย์บางพวกเรียกว่า นทีตุมพะ บ้าง นทีกุฏฏะ

บ้าง. แท้จริงในประเทศแห่งภูเขานั้น มีทรายเสมือนแผ่นเงิน น้ำเสมือนแท่ง

แก้วมณี ย่อมไหลผ่านชัฏแห่งป่าเหมือนเพดานแก้วมณีบนยอด ภิกษุลงสู่ห้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

ละหานเห็นปานนั้น ดื่มน้ำ ลูบตัวให้เย็น ยกทรายขึ้น ปูผ้าบังสุกุลจีวรนั่งทำ

สมณธรรม จิตตก็มีอารมณ์เดียว. บทว่า คิริคุห ได้แก่ มีช่องใหญ่เช่นกับอุมงค์

ระหว่างภูเขา ๒ ลูก หรือ ภูเขาลูกเดียวกัน. ลักษณะสุสานกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิ

มรรค. บทว่า วนปตฺถ ได้แก่ สถานที่ใกล้เคียงที่พวกมนุษย์ไม่ไถไม่หว่าน.

ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของเสนาสนะที่ห่างไกล.

บทว่า อพฺโภกกาส ได้แก่ที่ไม่มุ่งบัง. แต่ภิกษุประสงค์ก็กั้นกลดอยู่ในที่นั้นได้.

บทว่า ปลาลปุช ได้แก่ ลอมฟาง จริงอยู่ เหล่าภิกษุชักฟางจากลอมฟาง

ใหญ่ ทำที่อยู่เสมือนเงื้อมภูเขาและที่เร้นวางฟางไว้ข้างพุ่มไม้เป็นต้น แล้วนั่ง

ทำสมณธรรมภายใต้ ท่านหมายเอาลอมฟางนั้นจึงกล่าวคำนี้. บทว่า ปจฺฉา-

ภฺตต คือ ภายหลังภัต. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต แปลว่า กลับจาก

บิณฑบาต. บทว่า ปลฺลงฺก ได้แก่ นั่งพับขาโดยรอบ. บทว่า อาภุชิตฺวา

แปลว่า ติดกัน. บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย ได้แก่ ตั้งกายข้างบนให้ตรง

เอาปลายกับปลายกระดูกสันหลัง ๑๘ ชิ้น ให้จดกัน. จริงอยู่ ภิกษุนั่งอย่างนี้

หนังเนื้อเอ็นไม่ขัดกัน เมื่อเป็นอย่างนั้นเวทนาทั้งหลายที่พึงเกิดทุกขณะ เพราะ

ความขัดกันแห่งหนึ่งเนื้อเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัย ก็ไม่เกิดแก่ภิกษุนั้น เมื่อ

เวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เดียว. กัมมัฏฐานก็ไม่ตกไป ก็เข้าถึง

ความเจริญงอกงาม. บทว่า ปริมุข สติ อุปฏฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่ง

ตรงต่อพระกัมมัฏฐานหรือกระทำไว้ใกล้หน้า. ด้วยเหตุนั้นแลท่านจึงกล่าวไว้

ในวิภังค์ว่า สตินี้ย่อมตั้งมั่น ตั้งมั่นด้วยดีที่ปลายจมูกหรือเงาหน้า ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้รอบหน้า. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ปริ มีอรรถว่า

ถือเอาโดยรอบ ศัพท์ว่า มุข มีอรรถว่า นำออก ศัพท์ว่า สติ มีอรรถว่า

ปรากฏ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปริมุข สตึ พึงเห็นความในคำนี้โดยนัย

ที่กล่าวมาแล้ว ในปฏิสัมภิทามรรคด้วยประการฉะนี้. ในคำนั้นมีความสังเขป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ดังนี้ว่า ปริคฺคหิตนิยฺยาน สตึ กตฺวา ทำสติเครื่องนำออกจากทุกข์ที่กำหนด

ไว้เป็นอารมณ์.

อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก ในคำว่า อภิชฺฌ โลเก นี้ เพราะ

อรรถว่าชำรุดทรุดโทรม เพราะฉะนั้น ในคำนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ละ ราคะ ใน

อุปาทานขันธ์ ๕ ข่มกามฉันทะ. บทว่า วิคตาภิชฺเฌน ความว่า ชื่อว่า

ปราศจากอภิชฌา เพราะละด้วยวิกขัมภนปหานะ. ไม่ใช่เสมือน จักขุวิญญาณ.

บทว่า อภิชฺฌาย จิตต ปริโสเธติ ความว่า ย่อมเปลื้องจิตจากอภิชฌา คือ

กระทำโดยประการที่อภิชฌานั้นปล่อยและครั้นปล่อยแล้วก็ไม่จับจิตนั้นอีก. แม้

ในคำว่า พฺยาปาทปโทสมฺปหาย ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ชื่อว่า

พยาปาทะ เพราะเป็นเครื่องเบียดเบียน คือ จิตละปกติเดิมเหมือนขนมกุมมาสบูด

เป็นต้น. ชื่อว่า ปโทสะ เพราะประทุษร้ายด้วยถาวรให้ถึงวิการหรือประทุษร้าย

ผู้อื่นให้พินาศ. คำทั้ง ๒ นี้เป็นชื่อของโกรธเหมือนกัน. ถิ่นะ เป็นความป่วย

ทางจิต มิทธะเป็นความป่วยทางเจตสิก. ทั้งถีนะทั้งมิทธะ ชื่อว่าถิ่นมิทธะ.

บทว่า อาโลกสญฺี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ ปราศจาก

นีวรณ์ เพราะสามารถจำแสงสว่างที่ตนเห็นทั้งกลางคืนและกลางวันได้. บทว่า

สโต สมฺปชาโน ได้แก่ ประกอบด้วยสติและญาณ (ปัญญา). ทั้ง ๒ นี้

ท่านกล่าวไว้ เพราะเป็นธรรมอุปการะแต่อาโลกสัญญา. ทั้งอุทธัจจะ ทั้งกุก-

กุจจะ ชื่อว่า อุทธัจจกุกกุจจะ. บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ แปลว่า ข้าม

พ้นความสงสัยได้แล้ว. ชื่อว่า อกถกถี ผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่า

อย่างไร เพราะไม่เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้เป็นอย่างไร. บทว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ

ได้แก่ธรรมไม่มีโทษ. อธิบายว่า ไม่สงสัยไม่เคลือบแคลงอย่างนี้ว่า ธรรม

เหล่านี้เป็นกุศล หรือธรรมเหล่านั้นจัดเป็นกุศลได้อย่างไร. ในข้อนี้มีความ

สังเขปดังนี้. แต่เมื่อว่าโดยแยกตามอรรถและลักษณะแห่งคำเป็นต้น ในนีวรณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

เหล่านี้ คำที่ควรกล่าวทั้งหมด ก็กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า ปญฺาย

ทุพฺพลีกรเณ ความว่า นีวรณ์ ๕ เหล่านี้. เมื่อเกิด ย่อมไม่ให้เกิดปัญญา

ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุทตระ ที่ยังไม่เกิด แม้ที่เกิดแล้วก็ตัดสมาบัติ ๘

อภิญญา ๕ ให้ขาดตกไป เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺาย ทุพพลี-

กรณา กระทำปัญญาให้อ่อนกำลัง. บทว่า ตถาคตปท อิติปิ ความว่า ทาง

คือ ญาณ ร่องรอยคือญาณ ของพระตถาคตแม้นี้ ท่านเรียกว่า ฐาน อันญาณ

เหยียบแล้ว. บทว่า ตถาคตนิเสวิต ได้แก่ฐาน อันสี่ข้างคือญาณของพระ-

ตถาคตสีแล้ว. บทว่า ตถาคตารญฺชิต ได้แก่ ฐานอันพระเขี้ยวแก้วคือญาณ

ของพระตถาคตกระทบแล้ว. บทว่า ยถาภูต ปชานาติ ได้แก่ย่อมรู้ตามสภาวะ

ความเป็นจริง. บทว่า น เตฺวว ตาว อริยสาวโก นิฏฺ คโต โหติ ความว่า

ฌานและอภิญญาเหล่านี้ย่อมทั่วไปแม้กับคนภายนอกพระศาสนา เพราะฉะนั้น

พระอริยสาวกจึงไม่สำเร็จก่อน ที่ชื่อว่ายังไม่สำเร็จก่อนก็เพราะยังไม่สำเร็จแม้

ในขณะแห่งมรรคจิต. บทว่า อปิจ โข นิฏฺ คจฺฉติ ความว่า ก็อีกอย่าง

หนึ่งแล ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมถึงความสำเร็จในรัตนะ ๓ โดยอาการ นี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ เหมือนคนต่อช้าง เห็นช้าง

ใหญ่ฉะนั้น. บทว่า นิฏฺ คโต โหติ ความว่า เมื่อถึงความสำเร็จในขณะ

แห่งมรรคจิตอย่างนี้ ย่อมถึงความสำเร็จในรัตนะ ๓ โดยอาการทั้งปวง เพราะมี

กิจทั้งหมดเสร็จแล้วในขณะแห่งอรหัตผลจิต. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีความ

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาจุลลหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร

[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระ-

สารีบุตรแล้ว.

พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใด

เหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เทียวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของ

รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อม

สงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเหมือนกันแล. อริยสัจสี่เหล่าไหน. คือ

ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจ.

[๓๔๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน. แม้ความ

เกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก

ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ แม้

ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ก็

อุปาทานขันธ์ห้าเป็นไฉน. คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา

อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ก็อุปาทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน. คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ.

ว่าด้วยปฐวีธาตุ

[๓๔๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน. คือ ปฐวีธาตุ

ที่เป็นไปภายในก็มี ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายใน

เป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง

เป็นของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่

อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายในเป็นของ

เฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ

เป็นไปภายใน. ก็ปฐวีธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และปฐวีธาตุอันใด เป็น

ไปภายนอก นั่นเป็นปฐวีธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นปรวีธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่

เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดใน

ปฐวีธาตุ. สมัยที่ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล ในสมัยนั้น

ปฐวีธาตุอันเป็นภายนอกจะเป็นของอันตรธานไป. ก็ชื่อว่าความที่แห่งปฐวีธาตุ

อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้

ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็น

ธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้.

ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่

อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็น

ธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไป

เป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

มานะและทิฐิในปฐวีธาตุนั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าชนเหล่าอื่นจะด่า จะ

ตัดเพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัด

อย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกข-

เวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนานี้ อาศัย

อะไรจึงมีได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้. ภิกษุแม้นั้นแล ย่อมเห็นว่า

ผัสสะ เป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าเวทนานั้นเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า

สัญญานั้นเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายนั้นเป็นของไม่เที่ยง

ย่อมเห็นว่าวิญญาณนั้นเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของ

ภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมผ่องใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น. หากว่า

ชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่

ไม่น่าชอบใจ คือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดิน

บ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง ภิกษุ

นั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยฝ่ามือ

บ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการ

ประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง. อนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดอวัยวะใหญ่น้อย

ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในพวกโจรแม้นั้น

ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียร

อันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติ ไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว

จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวน

กระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว

คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

ด้วยก้อนดินทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย

จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาสตราทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี

ตามที่เถิด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ เราจะทำให้จงได้ ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้

ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย

กุศลธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่พร้อมได้. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ

เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดี

แล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้

ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย

กุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. เปรียบเสมือนหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว

ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้

ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี. ภิกษุ

นั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.

หากว่าเมื่อภิกษุนั้น ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย

กุศลธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

ว่าด้วยอาโปธาตุ

[๓๔๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คือ

อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุที่

เป็นไปภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น

ของเอิบอาบ ถึงความเอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใด

สิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของ

เอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน. ก็อาโปธาตุอันใดแล

เป็นไปภายใน และอาโปธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นอาโปธาตุแล.

บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. ครั้นเห็น

อาโปธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย

ในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในอาโปธาตุ. สมัยที่อาโปธาตุ ที่เป็น

ไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล อาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอา

บ้านไปบ้าง พัดเอานิคมไปบ้าง พัดเอาเมืองไปบ้าง พัดเอาชนบทไปบ้าง

ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. สมัยที่น้ำในมหาสมุทรย่อมลึกลงไป

ร้อยโยชน์บ้าง สองร้อยโยชน์บ้าง สามร้อยโยชน์บ้าง สี่ร้อยโยชน์บ้าง ห้าร้อย

โยชน์บ้าง หกร้อยโยชน์บ้าง เจ็ดร้อยโยชน์บ้าง ย่อมมีได้แล. สมัยที่น้ำใน

มหาสมุทรขังอยู่เจ็ดชั่วลำตาลบ้าง หกชั่วลำตาลบ้าง ห้าชั่วลำตาลบ้าง สีชั่ว-

ลำตาลบ้าง สามชั่วลำตาลบ้าง สองชั่วลำตาลบ้าง ชั่วลำตาลหนึ่งบ้าง ย่อมมี

ได้แล. สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ได้เจ็ดชั่วบุรุษบ้าง หกชั่วบุรุษบ้าง

ห้าชั่วบุรุษบ้าง สีชั่วบุรุษบ้าง สามชั่วบุรุษบ้าง สองชั่วบุรุษบ้าง ประมาณ

ชั่วบุรุษหนึ่งบ้าง ย่อมมีได้แล. ก็สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่กึ่งชั่วบุรุษบ้าง

ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณเพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง

ย่อมมีได้แล. สมัยที่น้ำแม้ประมาณพอเปียกข้อนิ้วมือจะไม่มีในมหาสมุทร ก็

ย่อมมีได้แล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งอาโปธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งมากถึง

เพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจัก

ปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

แปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไป

ถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลพอประมาณนี้

เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไป

เป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสวมารถตัณหามานะและทิฐิ ในอาโปธาตุนั้น

จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึก

ถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม

ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

ว่าด้วยเตโชธาตุ

[๓๔๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโช

ธาตุที่เป็นไปภายในก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุที่เป็นไป

ภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน. เฉพาะตน เป็นของ

เร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน คือ เตโชธาตุที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย

เตโชธาตุที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย เตโชธาตุเป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย

เตโชธาตุที่เป็นเครื่องย่อยของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรส

แล้ว ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งหนึ่งสิ่งใด อันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็น

ของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุเป็นไป

ภายใน. ก็เตโชธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และเตโชธาตุอันใด เป็นภายนอก

นั่นเป็นเตโชธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตาม

ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นของเรา.

บัณฑิตครั้นเห็นเตโชธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว

ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในเตโชธาตุ สมัยที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

เตโชธาตุอันเป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล เตโชธาตุอันเป็นภายนอก

นั้น ย่อมไหม้บ้านบ้าง ย่อมไหม้เมืองบ้าง ย่อมไหม้นิคมบ้าง ย่อมไหม้

ชนบทบ้าง ย่อมไหม้ประเทศแห่งชนบทบ้าง. เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้นมา

ถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือ ภูมิภาค อันเป็นที่รื่นรมย์ไม่มีเชื้อ

ย่อมดับไปเอง. สมัยที่ชนทั้งหลายแสวงหาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการขูดหนัง

ย่อมมีได้แล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งเตโชธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้นซึ่งใหญ่ถึง

เพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดาจัก

ปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความ

ที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้วว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่

ตลอดกาลพอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา

เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฐิ

ในเตโชธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลีกถึงพระพุทธ

เจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจ

เพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล

คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

ว่าด้วยวาโยธาตุ

[๓๔๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ

วาโยธาตุที่เป็นไปภายในก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุที่เป็นไป

ภายในเป็นไฉน. คือ อุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เฉพาะตน เป็นของพัด

ไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ

ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลม

หายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรืออุปาทินนกรูป สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเป็นภายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

เฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความเป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่า

วาโยธาตุเป็นไปภายใน. ก็วาโยธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และวาโยธาตุ

อันใด เป็นไปภายนอกนั่นเป็นวาโยธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นนั่น

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตาม

ความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย

กำหนัดในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในวาโยธาตุ. สมัยที่วาโยธาตุ

อันเป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น

ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง ย่อมพัดเอานิคมไปบ้าง ย่อมพัดเอานครไปบ้าง ย่อม

พัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. สมัยที่ชนทั้งหลาย แสวงหาลมด้วยพัดใบตาล

บ้าง ด้วยพัดสำหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา

หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อมมีแล. ก็ชื่อว่าความที่แห่งวาโยธาตุอันเป็นไปภาย

นอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยงจักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้น

ไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้

ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดาจักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกาย

อันตัณหายึดถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาล

พอประมาณนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของ

มีความเสือมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่

ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหานานะและทิฐิใน

วาโยธาตุนั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. หากว่าชนเหล่าอื่นจะด่าจะตัดเพ้อ จะกระทบ

กระเทียบ จะเบียดเบียนภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนา

อันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้นแล อาศัย

เหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไรจึงมีได้. ทุกข-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

เวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้. ภิกษุแม้นั้นแลย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่

เที่ยง ย่อมเห็นว่าเวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าสัญญาเป็นของไม่เที่ยง

ย่อมเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่าวิญญาณเป็นของไม่เที่ยง

จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมผ่องใส

ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น. หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น

ด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจคือ ด้วยการประหารด้วย

ฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง

ด้วยการประหารด้วยศาสตราบ้าง. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่ากายนี้เป็นสภาพเป็น

ที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยก้อน

ดินบ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปด้วยการ

ประหารด้วยศาสตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอัน

เปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประ-

พฤติต่ำช้า พึงตัดอวัยวะใหญ่น้อย ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่

ยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจรแม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของเรา

ด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติไม่

ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเรา

ให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย. จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็น

ธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย

จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้

ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วย

ศาสตรา จะเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามที่เถิด คำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายนี้เราจะทำให้จงได้ ดังนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าเมื่อ

ภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุนั้น

ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้น ว่าไม่เป็นลาภของเราหนอ

ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ

ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง

พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ เปรียบ

เหมือนหญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด

หากว่าเมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้

ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยดี

ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นฉันนั้นเหมือนกันแล.

หากว่าเมื่อภิกษุนั้น ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่

อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี

ไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุทำให้

มากแล้ว.

ว่าด้วยขันธสังคหะ

[๓๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์

ดินเหนียวและหญ้าแวดล้อมแล้ว ย่อมนับว่าเรือนฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูกและอาศัยเอ็นเนื้อและหนึ่งแวดล้อมแล้ว ย่อมนับ

ว่ารูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตกทำลาย

แล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความกำหนด

อันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณ อันเกิด

แต่การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่าจักษุอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ แต่ความกำหนด

อันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปใน

ภายในไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมปรากฏ

ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น ความปรากฏ

แห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์

คือรูป. เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์

ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา. สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญา

นั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา. สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่าง

นั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร. วิญญาณ

แห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ ในอุปาทาน

ขันธ์คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การ

ประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการ

อย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็น

ปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจ-

สมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัยการเกิดขึ้นเหล่านี้คือ ปัญจุปาทานขันธ์

ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่า

นี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความ

พอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่า

นี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้

มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าโสตอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว. . .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าฆานะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว . . .

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่าชิวหาอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว . . .

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ากายอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว . . .

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่ามนะอันเป็นไปในภายใน ไม่แตก

ทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่ปรากฏ ทั้งความ

กำหนดอันเกิดแต่มนะและ ธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วน

ของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. หากว่ามนะอัน

เป็นไปในภายใน ไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย

นอกย่อมปรากฏ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี

ความปรากฏแห่งส่วนของวิญญาณอันเกิดแต่ความกำหนดนั้น ก็ยังมีไม่

ได้ก่อน. แต่ว่าในกาลใดแล มนะอันเป็นไปในภายในไม่แตกทำลายแล้ว

และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอกย่อมปรากฏ ทั้งความกำหนดอัน

เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นก็ย่อมมี ในกาลนั้น ความปรากฏแห่งส่วน

ของวิญญาณอันเกิดแต่การกำหนดนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ รูปแห่งสภาพ

ที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้นย่อมสงเคราะห์อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา

แห่งสภาพที่เป็นอย่างนั้นอันใด เวทนานั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือ

เวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นไปแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้นย่อมสงเคราะห์

ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด

สังขารเหล่านั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่

เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้นย่อมสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวด

หมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่งพระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า

เห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็ธรรมที่อาศัย

กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ก็คือ ปัญจุปาทานขันธ์ ความพอใจ ความอาลัย ความ

ยินดี ความหมกมุ่น ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย

การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถ

ความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดู

ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.

ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว แล.

จบ มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

อรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร

มหาหัตถิปโทปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ ฟังมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาหัตถิปโทปมสูตรนั้น บทว่า ชงฺคลาน

แปลว่าผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน. บทว่า ปาณาน ได้แก่ สัตว์มีเท้าและสัตว์

ไม่มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ แปลว่า รอยเท้าทั้งหลาย. บทว่า สโมธาน

คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลงคือใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ แปลว่า

ท่านกล่าวว่า ประเสริฐ. บทว่า ยทิท มหนฺตตฺเตน ความว่า ท่านกล่าว

ว่าเลิศเพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ อธิบายว่าไม่ใช่ใหญ่โดยคุณ. บทว่า เย เกจิ

กุสลา ธมฺมา ได้แก่ กุศลธรรมไม่ว่าโลกิยะ หรือ โลกุตตระ เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง. สังคหะ ในคำว่า สงฺคห คจฺฉนฺติ นี้ มี ๔ อย่าง คือสชาติสังคหะ ๑

สัญชาติสังคหะ ๑ กริยาสังคหะ ๑ คณนสังคหะ ๑. บรรดาสังคหะ ๔ อย่างนั้น

การรวบรวมตามชาติของตนอย่างนี้ว่า ขอกษัตริย์ทั้งปวงจงมา ขอพราหมณ์ทั้ง

ปวงจงมาดังนี้ ชื่อว่า สชาติสังคหะ. การรวบรวมตามถิ่นแห่งคนชาติเดียวกัน

อย่างนี้ว่า คนชาวโกศลทั้งหมด ชาวมคธทั้งหมด ชื่อว่าสัญชาติสังคหะ. การ

รวบรวมโดยกิริยาอย่างที่ว่า พลรถทั้งหมด พลถือธนูทั้งหมด ชื่อว่า กิริยาสังคหะ.

การรวบรวมอย่างนี้ว่า จักขายตนะ รวมเข้าในขันธ์ไหน จักขายตนะรวมเข้า

ในรูปขันธ์ จักขายตนะ ถึงการรวมเข้าในรูปขันธ์ไหน เมื่อถูกว่ากล่าวด้วย

ข้อนั้น จักขายตนะท่านก็รวมเข้ากับรูปขันธ์ ชื่อว่า คณนสังคหะ. แม้ในที่นี้

ท่านก็ประสงค์คณนสังคหะนี้นี่แล.

ถามว่า ก็ในการแก้ปัญหาว่า บรรดาอริยสัจ ๔ อย่างไหนเป็นกุศล

อย่างไหนเป็นอกุศล อย่างไหนเป็นอัพยากฤต ดังนี้ พระมหาเถระจำแนก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

กุศลจิตแม้ที่เป็นไปในภูมิ ๔ ว่าเป็นสัจจะครึ่งหนึ่งเท่านั้น เพราะเมาในพระบาลีว่า

สมุทัยสัจ จัดเป็นอกุศล มัคคสัจจัดเป็นกุศล นิโรธสัจ จัดเป็นอัพยากฤต

ทุกขสัจบางคราวเป็นกุศล บางคราวเป็นอกุศล บางคราวเป็นอัพยากฤต

มิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร พระมหาเถระ จึงกล่าวว่ากุศลธรรม

เหล่านี้รวมลงในอริยสัจ ๔ เล่า. แก้ว่า เพราะกุศลธรรมเหล่านั้นรวมอยู่ใน

สัจจะทั้งหลาย. จริงอยู่ สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่ให้สำเร็จประโยชน์

ย่อมเป็นอธิสีลสิกขา อย่างหนึ่ง ภิกษุแม้ศึกษาอธิสีลสิกขานั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงว่า ชื่อว่าศึกษาสิกขา ๓ ดังในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทที่สำเร็จประโยชน์นี้ ย่อมสวดกันทุกกึ่งเดือนที่เหล่า

กุลบุตรผู้หวังประโยชน์ ศึกษากันอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ เหล่านี้ คือ

อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะสิกขาบท ๑๕๐ สิกขาบทนั้น

รวมอยู่ในสิกขาทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย มีสุนัขจิ้งจอก

กระต่าย และเนื้อเป็นต้น ย่อมลงในส่วน ๑ ก็ดี ย่อมลงในส่วน ๒-๓-๔

ก็ดี ชื่อว่าใน ๔ ส่วนแห่งรอยเท้าช้างเชือกหนึ่ง ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้างทั้ง

นั้น ไม่พ้นจากรอยเท้าช้าง เพราะรวมอยู่ในรอยเท้าช้างนั้นเท่านั้น ฉันใด ธรรม

ทั้งหลาย ที่นับลงในสัจ ๑ ก็ดี ๒ ก็ดี ๓ ก็ดี ๔ ก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม

นับรวมในสัจจะ ๔ ทั้งนั้น เพราะธรรมทั้งหลายรวมอยู่ในสัจจะทั้งหลาย เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงกุศลธรรมแม้ที่รวมเข้าในสัจจะครึ่งว่า ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมดย่อมรวมลงในอริยสัจ ๔.

คำที่ควรกล่าวในบทอุทเทสว่า ทุกฺเข อริยสจฺเจ เป็นต้น และ

ในบทนิทเทสว่า ชาติปิ ทุกฺขา เป็นต้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค.

แต่ในที่นี้พึงทราบเฉพาะลำดับเทศนา อย่างเดียว. เหมือนอย่างว่า ช่างสาน

ผู้ฉลาด ได้ไม้ไผ่ที่ดีมาลำ ๑ ตัดเป็น ๑ ท่อน จาก ๔ ท่อนนั้น เว้นไว้ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

ท่อนถือเอาแต่ท่อนเดียวจึงตัด เป็น ๕ ซีก จาก ๕ ซีกนั้น เว้นไว้ ๔ ซีก

ถือเอาซีกเดียว แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยว จาก ๕ เสี้ยวนั้น เว้นไว้ ๔ เสี้ยวถือเอา

เสี้ยวเดียว เกรียกเป็น ๒ คือ ส่วนท้อง ส่วนหลัง เว้น ส่วนหลังไว้ ถือเอาแต่

ส่วนท้อง จากนั้น กระทำให้เป็นเครื่องสานไม้ไผ่หลากชนิด มีหีบพัดวีชนีและ

พัดใบตาลเป็นต้น ช่างสานนั้นไม่ถูกใครกล่าวว่าไม่ใช้งานส่วนหลังอีก ๔ ชิ้น

อีก ๔ ส่วนและอีก ๓ ส่วน แต่เขาไม่อาจใช้งานในคราวเดียวกันได้ แต่จักใช้งาน

ตามลำดับ ฉันใด ฝ่ายพระมหาเถระนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เริ่มตั้ง สุตตันตะใหญ่

นี้แล้ว ตั้งมาติกาโดยอริยสัจ ๔ เหมือนช่างสานได้ไม้ไผ่ที่ดีแล้ว แบ่ง ๔ ส่วน

ฉะนั้น. พระเถระเว้นอริยสัจ ๓ แล้ว ถือเอาทุกขสัจจะอย่างเดียว จำแนก ทำให้

เป็นขันธ์ ๕ ส่วน เหมือนช่างสานเว้น ๓ ส่วนถือเอาส่วนหนึ่งแล้วทำส่วนหนึ่งนั้น

ให้เป็น ๕ ส่วน. แต่นั้นพระเถระเว้นอรูปขันธ์ ๔ แล้วจำแนกรูปขันธ์ และทำ

มหาภูตรูป ๔ ให้เป็น ๕ ส่วน คือ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๑ เปรียบ

เหมือนช่างสานนั้น เว้น ๔ ส่วน ถือเอาส่วนหนึ่ง แล้วผ่าเป็น ๕ เสี้ยวฉะนั้น.

แต่นั้น เมื่อพระเถระเว้นอุปทายรูป และธาตุ ๓ แล้วจำแนกปรวีธาตุอย่าง

เดียว แสดงเป็น ๒ ส่วน คือ อัชฌัตติกรูป รูปภายใน พาหิรรูป รูปภายนอก

เปรียบเหมือนช่างสานนั้น เว้น ๔ ส่วน ถือเอาส่วนหนึ่ง แล้วผ่าเป็น ๒ ส่วน

คือส่วนท้อง ๑ ส่วนหลัง ๑. เพื่อจะเว้นปฐวีธาตุ ภายนอก แล้วแสดงจำแนก

ปฐวีธาตุภายในโดยอาการ ๒๐ พระเถระ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตมา จ อาวุโส

อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ เปรียบเหมือนช่างสานเว้นส่วนหลังถือเอาส่วนท้องจึง

กระทำให้เป็นเครื่องสานชนิดต่าง ๆ ฉะนั้น. อนึ่งเปรียบเหมือนช่างสานใช้งาน

ส่วนหลังอีก ๔ ชิ้น อีก ๔ ส่วน และอีก ๓ ส่วน โดยลำดับ แต่ไม่อาจใช้งาน

ในคราวเดียวกันได้โดยประการฉะนี้ ฉันใด แม้พระเถระก็ฉันนั้น จำแนกปฐวี-

ธาตุภายนอก และอีกธาตุ ๔ อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ อริยสัจ ๓ แล้วแสดง

ตามลำดับ แต่ไม่อาจแสดงโดยคราวเดียวกันได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

อีกอย่างหนึ่ง พึงบรรยาย ลำดับแม้นี้ด้วยข้ออุปมาด้วยราชบุตร ให้

แจ่มแจ้ง ดังต่อไปนี้. เล่ากันมาว่า มหาราช องค์หนึ่ง มีพระราชโอรสมากกว่า

๑,๐๐๐ องค์. พระองค์ทรงเก็บเครื่องประดับของพระโอรสเหล่านั้นไว้ในหีบ

ใหญ่ ๔ ใบ ทรงมอบไว้แก่เชษฐโอรส ด้วยตรัสสั่งว่า ลูกเอ๋ย เครื่องประดับนี้

เป็นของพวกน้องของเจ้า เมื่อคราวมีมหรสพ เจ้าจงให้เครื่องประดับนี้ เพราะ

ฉะนั้น เมื่อห้อง ๆ ขอจึงค่อยให้. เชษฐราชโอรสนั้น ทูลรับว่าพระเจ้าข้า

จึงเก็บไว้ในห้องเก็บราชสมบัติ. ในวันมหรสพเช่นนั้น เหล่าพระราชโอรสพา

กันไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอได้โปรดพระราชทานเครื่อง

ประดับแก่พวกหม่อมฉันเถิด พวกหม่อมฉันจะเล่นนักษัตร. พระราชาตรัสว่า

ลูกเอ๋ย พ่อได้มอบเครื่องประดับไว้ในมือพี่ชายของพวกเจ้าแล้ว พวกเจ้าจงนำ

เครื่องประดับนั้นไปประดับเถิด. พระราชโอรสเหล่านั้นรับพระดำรัส แล้วพา

กันไปหาพระเชษฐโอรสนั้นแล้วทูลขอเครื่องประดับจากเชษฐโอรส. เชษฐโอรส

ได้เข้าไปในห้องหมายจะนำหีบใหญ่ ๔ ใบออกเว้นไว้ ๓ ใบ เปิดใบหนึ่ง นำหีบ

เล็ก ๕ ใบ ออกจากหีบใหญ่นั้น เว้นไว้ ๔ ใบ เปิดใบเดียว เมื่อนำผอบ ๕ ใบ

ออกจากหีบเล็ก เว้นไว้ ๔ ใบ เปิดใบเดียว วางฝาไว้ข้างหนึ่ง แต่นั้นจึงนำ

เครื่องประดับมือเครื่องประดับเท้าต่าง ๆ มอบให้. เชษฐโอรส มิได้แบ่งให้

จาก ๔ ผอบ หีบเล็ก ๔ ใบ หีบใหญ่ ๔ ใบ ก่อนก็จริง ถึงกระนั้น ก็ให้

ตามลำดับ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจมอบให้คราวเดียวกันได้.

ในข้ออุปมานั้น พึงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนมหาราช. สมจริง

ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาอันยอดเยี่ยม

ตรัสว่า ดูก่อนเสลพราหมณ์ เราก็เป็นพระราชา. พึงเห็นพระสารีบุตรเหมือน

เชษฐโอรส. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

บุคคลเมื่อจะเรียกโดยชอบ พึงเรียกภิกษุรูปนั้นได้ว่า สารีบุตรว่า บุตร โอรส

เกิดแต่โอษฐ์ เกิดแต่ธรรม อันธรรมนิรมิต ธรรมทายาท แต่มิใช่อามิสทายาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลเมื่อเรียกโดยชอบ พึงเรียกภิกษุนี้นั่นแลว่า บุตร

ฯลฯ มิใช่เป็นอามิสทายาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พึงเห็นภิกษุสงฆ์เหมือน

ราชโอรสมากกว่า ๑,๐๐๐ องค์. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุมากกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้า

พระสุคต ผู้แสดงธรรมปราศจากธุลี ผู้ไม่

มีตัณหาชื่อว่า วานะ ผู้มีไม่ภัยแต่ที่ไหน ๆ.

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสัจจะ ๔ วางไว้ในมือของพระธรรม

เสนาบดี เปรียบเหมือนเวลาที่พระราชาทรงเก็บเครื่องประดับของพระราชโอรส

เหล่านั้นไว้ในหีบใหญ่ ๔ ใบ แล้ววางไว้ในมือของเชษฐโอรสฉะนั้น. ด้วยเหตุ

นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร สมควรบอก

บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื่น ซึ่งอริยสัจจ์ ๔ โดยพิสดาร. เวลา

ที่ภิกษุสงฆ์มาในสมัยจวนเข้าพรรษา แล้วอาราธนาให้แสดงธรรม เปรียบ

เหมือนเวลาที่พระราชโอรสเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลขอเครื่องประดับ

ในวันมหรสพเช่นนั้น ได้ยินว่า ในวันจวนเข้าพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงพระสูตรนี้. เวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงส่งภิกษุทั้งหลายไปยัง

สำนักของพระธรรมเสนาบดี ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงเสพ จงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและ

โมคคัลลานะ เป็นบัณฑิต อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี เปรียบเวลาที่พระราชา

ตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อได้มอบเครื่องประดับไว้ในมือพี่ชายพวกเจ้าแล้ว จงนำ

มาประดับเถิด. เวลาที่ภิกษุทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระศาสดาแล้วเข้าไปหา

พระธรรมเสนาบดีแล้วอาราธนาให้แสดงธรรม เปรียบเหมือนเวลาที่เหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

พระราชโอรสฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ไปยังสำนักของเชษฐโอรส แล้ว

ขอเครื่องประดับ ฉะนั้น. เวลาที่พระธรรมเสนาบดีเริ่มพระสุตตันตะนี้ แล้ว

วางมาติกาโดยอริยสัจ ๔ เปรียบเหมือนเวลาที่พระเชษฐโอรสเปิดห้องแล้วนำ

หิบ ๔ ใบวางไว้ฉะนั้น. การเว้นอริยสัจ ๓ แล้วจำแนกทุกขอริยสัจ

แสดงปัญจขันธ์ เปรียบเหมือนการเว้นหีบ ๓ ใบแล้ว เปิดใบเดียวนำหีบเล็ก

๕ ใบ ออกจากหีบใบเดียวนั้น ฉะนั้น. การที่พระเถระเว้นอรูปขันธ์ ๔ แล้ว

แสดงจำแนกรูปขันธ์เดียวแสดง ๕ ส่วน โดยมหาภูตรูป ๔ และอุปายรูป ๑

เปรียบเหมือนเว้นหีบเล็ก ๔ ใบ เปิดใบเดียว แล้วนำผอบ ๕ ผอบจากหีบเล็ก

ใบเดียวนั้น ฉะนั้น. การที่พระเถระเว้นมหาภูตรูป ๓ และอุปาทายรูปแล้ว

จำแนกปฐวีธาตุอย่างเดียวเว้นปฐวีธาตุภายนอกเสียเหมือนปิดไว้ เพื่อจะแสดง

ปฐวีธาตุภายในที่มีอาการ ๒๐ โดยสภาวะต่าง ๆ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กตมา

จาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ. เปรียบเหมือนเว้นหีบ ๔ ใบ เปิดใบเดียว

เว้นหีบที่ปิดไว้ข้างหนึ่งแล้ว ให้เครื่องประดับมือและเครื่องประดับเท้าเป็นต้น.

พึงทราบว่าแม้พระเถระจำแนก มหาภูตรูป ๓ อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ อริยสัจ

๓ แล้ว แสดงตามลำดับในภายหลังเหมือนราชโอรสนั้นนำผอบ ๔ ใบ หีบเล็ก

๔ ใบ และหีบ ๓ ใบเหล่านั้นแล้วประทานเครื่องประดับตามลำดับในภายหลัง.

ก็คำนั้นใดท่านกล่าวไว้ว่า กตมา จาวุโส อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ

เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น แม้บททั้ง ๒ ว่า อชฺฌตฺต ปจฺจตฺต นี้

เป็นชื่อของธรรมชาติที่มีในตน. บทว่า กกฺขล แปลว่า กระด้าง. บทว่า

ขริคต แปลว่า หยาบ. บทว่า อุปาทินฺน ได้แก่ ไม่ใช่มีธรรมเป็นสมุฏฐาน

เท่านั้น. แต่เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน คำว่า อุปาทินฺน นี้ เป็นชื่อของรูปที่ตั่ง

อยู่ในสรีระ. จริงอยู่ รูปที่ตั้งอยู่ในสรีระ ไม่ว่าเป็นอุปาทินนรูป หรืออนุ-

ปาทินนรูป ชื่อว่า เป็นอุปาทินนรูปทั้งหมดที่เดียว โดยที่ยึดถือ จับต้อง

ลูบคลำได้ คือ ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า. คำนี้ท่านกำหมด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

จำแนกไว้ โดยเป็นปฐวีธาตุที่เป็นภายในสำหรับกุลบุตรผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน.

แต่ในที่นี้คำที่ผู้ใคร่จะเริ่มมนสิการเจริญวิปัสสนายึดเอาพระอรหัตต์ควรกระทำ

ทั้งหมดได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว ในวิสุทธิมรรคนั่นแล. แต่คำว่ามันสมองไม่ได้

ขึ้นสู่บาลีในที่นี้. แต่มันสมองแม้นั้นนำมากำหนดโดยวรรณะและสมณฐานเป็นต้น

โดยนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค จึงมนสิการว่า แม้ธาตุนี้ก็ไม่มีเจตนา เป็น

อัพยากฤต ว่างเปล่า เป็นของแข้น จัดเป็นปฐวีธาตุ. เหมือนกัน. บทว่า ย วา

ปนญฺมฺปิ นี้ ท่านกล่าวเพื่อกำหนดถือเอาปฐวีธาตุที่อยู่ในส่วน ๓

นอกนี้. บทว่า ยา เจว โข ปน อชฺฌตฺติกา ปวีธาตุ ความว่า

ปฐวีธาตุมีประการตามที่กล่าวแล้วนี้ จัดเป็นปฐวีธาตุภายใน บทว่า ยา จ

พาหิรา ความว่า ปรวีธาตุที่มาแล้วในวิภังค์โดยนัยว่า เหล็ก โลหะ ดีบุก

ตะกั่ว เป็นต้น จัดเป็น ปฐวีธาตุภายนอก.

ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระเถระ. แสดงปฐวีธาตุอันเป็นภายในโดย

อาการ ๒๐ โดยสภาวะต่าง ๆ อย่างพิสดาร แสดงธาตุภายนอกไว้โดยสังเขป.

เพราะเหตุไร ? เพราะในที่ใดสัตว์ทั้งหลายมีความอาลัย ใคร่ปรารถนา กลุ้มรุม

ยึดมั่น ถือมั่น รุนแรง ในที่นั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือเหล่าพระพุทธสาวก

จะกล่าวเรื่องอย่างพิสดาร เพื่อถอนอาลัยเป็นต้น ของสัตว์เหล่านั้น. อนึ่ง ในที่ใด

ความอาลัยเป็นต้นของเหล่าสัตว์ไม่มีกำลัง ในที่นั้นท่านจะกล่าวโดยสังเขป

เพราะไม่มีกิจที่จะต้องทำ. เหมือนอย่างว่า ชาวนาเมื่อไถนาก็หยุดโคไว้ในที่ ๆ

ไถติด เพราะรากไม้และตอไม้แน่นหนา คุ้ยดินขึ้นตัดรากไม้และตอไม้ยกขึ้น

ต้องกระทำความพยายามมาก ในที่ใด ไม่มีรากไม้และตอ ก็ไม่ต้องพยายามมาก

ในที่นั้น คงตีหลังโคไถต่อไปฉันใด คำอุปไมยนี้ก็พึงทราบฉันนั้น.

บทว่า ปวีธาตุเรเวสา ความว่า ก็ธาตุทั้ง ๒ อย่างนี้ มีลักษณะ

อย่างเดียวกัน ด้วยอรรถว่า แข็ง กระด้าง และหยาบ แม้นี้ก็จัดเป็น ปฐวีธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

ท่านแสดงประกอบไว้ภายในและภายนอก. ก็เพราะเหตุที่ปัฐวีธาตุภายนอก

ปรากฏว่าไม่มีเจตนา ปรวีธาตุภายในหาปรากฎเช่นนั้นไม่ เพราะฉะนั้น

พระโยคาวจรกำหนดว่า ปฐวีธาตุภายในนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับปฐวีธาตุ

ภายนอกไม่มีเจตนาเหมือนกัน จึงกำหนดได้สะดวก. เปรียบเหมือนอะไร ?

เปรียบเหมือนโคที่ไม่ได้ฝึกเทียมกับโคที่ฝึกแล้ว ย่อมตะเกียกตะกายดิ้นรน

๒-๓ วันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่นานนัก ก็ฝึกหัดได้ ฉันใด พระโยคาวจร

กำหนดว่า แม้ปฐวีธาตุภายใน ก็เช่นเดียวกันกับปฐวีธาตุภาจนอก ปฐวีธาตุก็

จะปรากฏ ไม่มีเจตนาได้ใน ๒-๓ วันเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่นานนัก

ปฐวีธาตุภายในนั้น ก็ปรากฏว่าไม่มีเจตนาฉันนั้น. บทว่า ต เนต มม

ความว่า ธาตุทั้ง ๒ อัน บัณฑิตพึงเห็นด้วยปัญญาอันถูกต้องตามความเป็นจริง

อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่เป็นนั้น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. บทว่า

ยถาภูต แปลว่า ตามสภาพเป็นจริง. อธิบายว่า จริงอยู่ ธาตุทั้ง ๒ นั้นมี

สภาวะไม่เที่ยงเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงเห็นอย่างนี้ว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา.

บทว่า โหติ โข โส อาวุโส ความว่า เพราะเหตุไรท่านจึงปรารภไว้.

เพราะเพื่อจะแสดงความพินาศแห่งปฐวีธาตุภายนอกโดยอำนาจอาโปธาตุภายนอก

แล้วแสดงความพินาศแห่งปฐวีธาตุ ที่ตั้งอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นอุปาทินนรูป

พิเศษกว่านั้น. บทว่า ปกุปฺปติ ความว่า กำเริบเสิบสานด้วยอำนาจ ความ

ย่อยยับด้วยน้ำ. บทว่า อนฺตรหิตา ตสฺมึ สมเย พาหิรา ปวีธาตุ โหติ

ความว่า สมัยนั้นปฐวีธาตุละลายด้วยน้ำด่างในแสนโกฏิจักรวาล ไหลตามน้ำ

ไปตั้งแต่ภูเขาเป็นต้นทั้งหมดก็อันตรธานไป ละลายเป็นน้ำอย่างเดียว. บทว่า

ตาว มหลฺลิกาย แปลว่า ใหญ่เพียงนั้น. ที่ชื่อว่าใหญ่ เพราะมีความหนา

อย่างนี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

เทฺว จ สตสหสฺสานิ จตฺตาริ นหุตานิ จ

เอตฺตก พหลตฺเตน สงฺขาตาย วสุนฺธรา

แผ่นดินใหญ่นี้ ว่าโดยส่วนหนา

ประมาณถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์

แต่เมื่อว่าโดยส่วนกว้างมีประมาณแสนโกฏิจักรวาล ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

อนิจฺจตา แปลว่า มีแล้วก็ไม่มี. บทว่า ขยธมฺมตา เเปลว่า มีความสิ้น

ไปเป็นสภาวะ. บทว่า วยธมฺมตา แปลว่า มีความเสื่อมไปเป็นสภาวะ.

บทว่า วิปริณามธมฺมตา แปลว่า มีการละปกติเป็นสภาวะ. ท่านกล่าวถึง

อนิจจลักษณะอย่างเดียว ไว้ทุกบทด้วยประการฉะนี้. ก็ลักษณะทั้ง ๓ ย่อมมา

ตามพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น

อนัตตา บทว่า มตฺตฏฺกสฺส แปลว่า ตั้งอยู่ชั่วระยะกาลนิดหน่อย. ใน

บทนั้น พึงทราบว่ากายนี้ ดำรงอยู่ชั่วระยะกาลเล็กน้อย โดยอาการ ๒ คือ

ตั้งอยู่นิดหน่อยและมีกิจนิดหน่อย. จริงอยู่ กายนี้ท่านกล่าวว่า ในขณะจิตที่

เป็นอดีต เป็นอยู่เเล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็น

อนาคต จักเป็นอยู่ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน

กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่. เพื่อแสดงว่ากายนี้นี่แลตั้งอยู่

นิดหน่อยท่านจึงกล่าวคำนี้ว่า

ชีวิต อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา

เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ

ชีวิต อัตภาพและสุขทุกข์ทั้งมวล

ล้วนประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะย่อม

เป็นไปฉับพลัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

พึงทราบว่า กายนี้ ตั้งอยู่ชั่วระยะกาลเล็กน้อย เพราะตั้งอยู่ชั่วระยะกาล

นิดหน่อย อย่างนี้. อนึ่งพึงทราบว่า กายนั้น มีกิจนิดหน่อย เพราะเนื่องด้วย

ลมอัสสาปัสสาสะเป็นต้น . จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายมีชีวิต เนื่องด้วยลมอัสสาสะ

เนื่องด้วยลมปัสสาวะ เนื่องด้วยลมทั้งอัสสาสะทั้งปัสสาสะ เนื่องด้วยมหาภูตรูป

เนื่องด้วยกวฬิงการาหาร เนื่องด้วยวิญญาณ ทั้งนี้กล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิ

มรรค.

บทว่า เอต ตณฺหูปาทินฺนสฺส แปลว่า ถูกตัณหายึดถือ ลูบคลำ. บทว่า

อหนฺติ วา มมนฺติ วา อสฺมีติ วา อถขฺวสฺส โนเตเวตฺถ โหติ ความว่า

ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีคาหะ

คือ ตัณหา มานะและทิฏฐิ ๓ อย่าง ในปฐวีธาตุภายในนี้ว่า นี่เป็นเราเป็นต้น

อธิบายว่า ไม่มีเลย. ปฐวีธาตุภายนอก ย่อมอันตรธานไปด้วยอำนาจเตโชธาตุ

วาโยธาตุ. เหมือนอันตรธานไปด้วยอำนาจอาโปธาตุ ฉะนั้น. แต่ในที่นี้ มา

อย่างเดียวเท่านั้น. แม้นอกนี้ก็พึงทราบโดยความหมายเหมือนกัน . ในคำว่า

ตญฺเจ อาวุโส นี้ พระเถระเมื่อเริ่มทำการกำหนดอารมณ์ในโสตทวารของภิกษุ

ผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานนั้น จึงแสดงกำลัง. บทว่า อกฺโกสนฺติ ได้แก่

ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า ปริภาสนฺติ ได้แก่ ข่มด้วยวาจาว่า ท่าน

ทำเช่นนี้ ๆ เราจะลงโทษท่านอย่างนี้ ๆ. บทว่า โรเสนฺติ แปลว่า ย่อม

เสียดสี. บทว่า วิเหเสนฺติ แปลว่า ย่อมทำให้ลำบาก. ท่านกล่าวเฉพาะ

การเสียดสีด้วยวาจาไว้ทั้งหมด. บทว่า โส เอว ความว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญธาตุ

กัมมัฏฐานนั้น ย่อมรู้อย่างนี้. บทว่า อุปฺปนฺนา โข เม อย ความว่า เกิด

ขึ้นเพราะธาตุ ๔ ที่เกิดเป็นไปในปัจจุบันและ เกิดขึ้นเพราะความกำเริบสืบสาน.

บทว่า โสตสมฺผสฺสชา ความว่า เวทนาที่แล่นไปทางโสตทวารเกิดจาก

โสตสัมผัส ด้วยอำนาจอุปนิสัย. ด้วยบทว่า ผสฺโส อนิจฺโจ ท่านแสดงว่า

โสตสัมผัส ชื่อว่า ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่ามีแล้วก็ไม่มี. แม้เวทนาเป็นต้น พึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

เข้าใจว่า สัมปยุตด้วยโสตสัมผัสอย่างเดียว. บทว่า ธาตารมฺมณเมว ได้แก่

อารมณ์ กล่าวคือธาตุนั่นเอง. บทว่า ปกฺขนฺทติ ได้แก่ หยั่งลง. บทว่า

ปสีทติ ได้แก่ ผ่องใสในอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง คำนั่นเป็นสัตตมีวิภัติอย่าง

เดียว. เมื่อว่าด้วยอำนาจพยัญชนสนธิ ท่านกล่าวว่า ธาตารมฺมณเมว ใน

คำนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ธาตารมฺมเณเยว ในอารมณ์ คือ ธาตุ. เมื่อว่าด้วย

อำนาจธาตุ คำว่า วิมุจฺจติ นี้ ย่อมได้แก่อธิโมกข์ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย.

ความจริง ภิกษุผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานนี้ เมื่ออารมณ์มาปรากฏในโสตทวาร

ย่อมกำหนดว่า เป็นมูล เป็นอารมณ์ที่ควรกำหนดรู้ เป็นอารมณ์ที่จรมาเป็น

อารมณ์ที่เกิดขึ้นชั่วขณะ. เรื่องพิสดารของอารมณ์นั้น กล่าวไว้แล้วในสติสัม-

ปชัญญบรรพ ในสติปัฏฐานสูตร. แต่เวทนานั้น กล่าวไว้แล้ว ในสติปัฏฐาน

สูตรนั้นด้วยอำนาจจักขุทวาร. ในที่นี้พึงทราบ ด้วยอำนาจโสตทวาร.

จริงอยู่ ภิกษุบำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน ผู้ทำการกำหนดอย่างนี้แล้ว

เจริญวิปัสสนาอย่างแรง แม้เมื่ออารมณ์มาปรากฏในจักขุทวารเป็นต้น ย่อม

เกิดอาวัชชนจิต โวฏฐัพพนจิตโดยอุบายไม่แยบคาย ถึงโวฏฐัพพนจิตแล้วได้

อาเสวนจิต ครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง จิตก็หยั่งลงสู่ภวังค์เหมือนเดิม ก็ไม่เกิดด้วย

อำนาจราคะ เป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า ถึงที่สุดวิปัสสนากล้าแข็ง. ภิกษุรูปหนึ่ง

เกิดชวนจิตครั้งเดียว ด้วยอำนาจราคะเป็นต้น แต่ในที่สุดชวนจิต เธอนึกด้วย

อำนาจราคะเป็นต้นว่า ชวนจิตเกิดแก่เรา ชื่อว่ากำหนดอารมณ์ได้แล้ว ไม่เกิด

เช่นนั้นอีกครั้ง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งนึกถึงครั้งเดียวก็เกิดชวนจิตด้วยอำนาจราคะ

เป็นต้นเป็นครั้งที่ ๒ อีก และเมื่อจบครั้งที่ ๒ เมื่อนึกว่าชวนจิตเกิดแก่เราแล้ว

อย่างนี้เป็นอันกำหนดอารมณ์เหมือนกัน. ในครั้งที่ ๓ ก็ไม่เกิดอย่างนั้น. ก็

บรรดาภิกษุ ๓ รูปนั้น รูปที่ ๑ กล้าแข็ง รูปที่ ๓ อ่อนแอ. แต่ว่าด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

รูปที่ ๒ พึงทราบเนื้อความนี้ในพระสูตรนี้ มีนกไส้เป็นเครื่องเปรียบโดยภาวะ

เป็นอินทรีย์นั้นเอง.

พระเถระครั้นแสดงกำลังของภิกษุผู้บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐานด้วยอำนาจ

กำหนดในโสตทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงในกายทวาร จึงกล่าวคำว่า

ตญฺเจ อาวุโส เป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุผู้ถึงอนิฏฐารมณ์ ย่อมลำบากใน

ทวารทั้ง ๒ คือ โสตทวาร และกายทวาร เพราะฉะนั้น พระมหาเถระคิดว่า

ในอนาคตกาล กุลบุตร ผู้ต้องการศึกษาบำเพ็ญเพียร ถึงความสำรวมในทวาร

ทั้ง ๒ เหล่านี้ จักทำที่สุดแห่งชาติชรามรณะได้ฉับพลันทีเดียว เปรียบเหมือน

บุรุษเจ้าของนา ถือจอบเที่ยวเดินสำรวจนาไม่เสริมก้อนดินในที่ใดที่หนึ่ง เอา

จอบฟันดินเฉพาะในที่บกพร่อง เพิ่มดินในที่มีหญ้า ฉะนั้น เมื่อจะแสดงการ

สำรวมในทวารทั้ง ๒ เหล่านี้แล ให้มั่นคง จึงเริ่มเทศนานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่พยายาม. บทว่า

ปาณิสมฺผสฺเสน ได้แก่ประหารด้วยฝ่ามือ. แม้ในคำนอกนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ตถาภูโต แปลว่ามีสภาวะอย่างนั้น. บทว่า ยถาภูตสฺมึ แปลว่าตาม

สภาวะ. บทว่า กมนฺติ แปลว่า เป็นไป. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอว พุทฺธ

อนุสฺสรโต เป็นต้น ภิกษุผู้บำเพ็ญจตุธาตุกัมมัฏฐานเมื่อนึกถึงอยู่โดยนัยเป็นต้น

ว่า อิติปิ โส ภควา ชื่อว่าระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือเมื่อระลึกว่า คำนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วเหมือนกัน ก็ชื่อว่าระลึกเหมือนกัน. แม้เมื่อระลึกอยู่

โดยนัยมีอาทิว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ชื่อว่า ระลึกถึงพระธรรม แม้

ระลึกถึงกกจูปโมวาทสูตร ก็ชื่อว่าระลึกถึงเหมือนกัน. แม้ระลึกถึงโดยนัย

เป็นต้นว่า สุปฏิปนฺโน ชื่อว่าระลึกถึงพระสงฆ์ เเม้ระลึกถึงคุณของภิกษุผู้

อดกลั้นการตัดด้วยเลื่อย ก็ชื่อว่าระลึกถึงเหมือนกัน. ในคำว่า อุเปกฺขา กุ-

สลนิสฺสิตา สณฺาติ นี้ ท่านประสงค์เอาวิปัสสนุเบกขา. ในคำว่า อุเปกฺขา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

กุสลนิสฺสิตา สณฺาติ นี้ ท่านประสงค์ฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖. ก็

ฉฬังคุเบกขา นี้นั้นเป็นไปด้วยอำนาจความไม่ยินดีเป็นต้น ในอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์ของพระขีณาสพก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุนี้ ตั้งวิปัสสนาของตน

ด้วยความสำเร็จแห่งภาวนาตามกำลังความเพียร ในฐานของฉฬังคุเบกขาของ

พระขีณาสพ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาแล จึงชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.

พึงทราบวินิจฉัยในอาโปธาตุนิเทศ ดังต่อไปนี้ บทว่า อาโปคต

ได้แก่ สิ่งที่อุปาทินนรูปซึมซาบอยู่ในอาโปธาตุทั้งหมด มีลักษณะเป็นน้ำเยื่อสด.

ก็คำที่พึงกล่าว ในคำว่า ปิตฺต เสมฺห เป็นต้น ทั้งหมดพร้อมทั้งนัยแห่ง

ภาวนาได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า ปกุปฺปติ ได้แก่ ไหลไปโดย

เป็นโอฆะหรือล้นจากสมุทรไหลไป ๆ. มันมีความกำเริบเป็นปกติดังนี้ . ก็เมื่อ

เวลาที่โลกประลัยไปด้วยอาโปธาตุ แสนโกฏิจักรวาลเต็มไปด้วยน้ำทีเดียว. บทว่า

โอคฺคจฺฉนฺติ ความว่า ไหลไปภายใต้ ถึงความสิ้นพินาศไป เหมือนน้ำ

ที่ยกขึ้นบนเตาไฟ ฉะนั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัย ในเตโชธาตุนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า เตโชคต

ได้แก่ สิ่งที่เป็นอุปาทินนรูปทั้งหมด ที่อยู่ในเตโชธาตุทั้งหมด มีลักษณะร้อน

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เตโชคต เพราะอยู่ในภาวะที่ร้อนคือ เตโชธาตุ. ใน

อาโปธาตุ เบื้องต้นก็ดี ในวาโปธาตุ เบื้องหลังก็ดี ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

เยน จ ได้แก่ ด้วยเตโชธาตุอันใด เมื่อมันกำเริบ กายนี้ก็ร้อนเกิดไออุ่น

โดยภาวะที่คร่ำคร่าไปชั่ววันหนึ่งเป็นต้น. บทว่า เยน จ ชิริยติ ได้แก่ กายนี้

ย่อมทรุดโทรมด้วยเตโชธาตุใด บุคคล ก็มีอินทรีย์บกพร่อง หมดกำลัง หนัง

เหี่ยว ผมหงอกเป็นต้น ด้วยเตโชธาตุนั้น. บทว่า เยน จ ปริฑยฺหติ ความ

ว่า กายนี้ย่อมร้อนด้วยเตโชธาตุใดอันกำเริบแล้ว บุคคลนั้นร้องบ่นว่าร้อน

ร้อน ย่อมหวังการลูบไล้ด้วยเนยใสจันทน์เทศและจันทร์แดงผสมเนยใสร้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

ครั้ง และลมเกิดจากพัดใบตาล. บทว่า เยน จ อสิต ปีต ขายิต สายิต สมฺมา-

ปริณาม คจฺฉติ ความว่า ข้าวเป็นต้นที่กินก็ดี น้ำดื่มเป็นต้นที่ดื่มแล้วก็ดี

แป้งและของเคี้ยวเป็นต้นที่เคี้ยวแล้วก็ดี มะม่วงสุกน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

ที่ลิ้มแล้วก็ดี ย่อมสุกโดยชอบคือย่อมเปลี่ยนเป็นรสเป็นต้นนั้นเอง. ในข้อนี้มี

ความสังเขปดังนี้. แต่คำที่จะพึงกล่าวโดยพิสดาร ทั้งหมดพร้อมด้วยภาวนานัย

ได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า หริตนฺต ได้แก่ ของเขียวสดนั้นเอง

อธิบายว่า เตโชธาตุ อาศัยหญ้าสดเป็นต้นก็ดับ. บทว่า ปนฺถนฺต ได้แก่

ทางใหญ่นั้นเอง. บทว่า เสลนฺต ได้แก่ ภูเขา. บทว่า อุทกนฺต ได้แก่

น้ำ. บทว่า รมณีย วา ภูมิภาค ได้แก่ ภูมิภาคปราศหญ้าและพุ่มไม้เป็นต้น

ที่ว่างได้แก่ ภูมิภาคที่โล่ง. บทว่า อนาหารา ได้แก่ ไม่มีอาหารคือไม่มี

เชื้อ. ท่านกล่าวความวิการแห่งเตโชธาตุตามปกติไว้ดังนี้. ก็เมื่อเวลาที่โลก

พินาศด้วยเตโชธาตุ เตโชธาตุก็ใหม้แสนโกฏิจักรวาล แม้เพียงขี้เถ้าก็ไม่

เหลืออยู่. บทว่า นหารุททฺทลฺเลน ได้แก่ ด้วยเศษของหนัง. บทว่า อคฺคึ

คเวสนฺติ ความว่า คนทั้งหลายถือเอาเชื้อละเอียดเห็นปานนี้แสวงหาไฟมันได้

ไออุ่นเพียงเล็กน้อยก็โพลงขึ้น. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ พึงทราบโดยนัยก่อนแล.

พึงทราบวินิจฉัยในวาโยธาตุนิทเทสดังต่อไปนี้ บทว่า อุทฺธงฺคมา

วาตา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบนอันเป็นไปโดยอาการมีการเรอและสะอึก

เป็นต้น. บทว่า อโธคมา วาตา ได้แก่ ลนพัดลงเบื้องต่ำ มีการขับถ่าย

อุจจาระ ปัสสาวะเป็นต้น. บทว่า กุจฺฉิยา วาตา ได้แก่ ลมที่พัดออกนอก

ลำใส้ใหญ่เป็นต้น. บทว่า โกฏฺาสยา วาตา ได้แก่ ลมภายในลำไส้ใหญ่.

บทว่ องฺคมงฺคานุสาริโน ได้แก่ ลมที่เกิดจากการคู้เข้าเหยียดออกเป็นต้น

ที่ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายทั้งสิ้นตามแนวเส้นเอ็น. บทว่า อสฺสา-

โส ได้แก่ ลมหายใจเข้า. บทว่า ปสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจออก. ในข้อนี้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

ความย่อเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร คำที่จะพึงกล่าวนั้นทั้งหมดพร้อมทั้ง

ภาวนานัย ได้กล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรค. บทว่า คามมฺปิ วหติ ได้แก่

พัดพาบ้านทั้งสิ้นให้แหลกละเอียดไป. แม้ในนิคมเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

เมื่อคราวโลกย่อยยับด้วยลมนี้ ท่านแสดงการเปลี่ยนแปลงแห่งวาโยธาตุ ด้วย

อำนาจการกำจัดแสนโกฏิจักรวาล. บทว่า วิธูปเนน ได้แก่ พัดพาไฟไป.

บทว่า โอสฺสวเน ได้แก่ ชายคา ก็น้ำไหลลงตามชายคานั้น เพราะฉะนั้น

ท่านเรียก ชายคานั้นว่า โอสสวนะ. คำที่เหลือแม้ในที่นี้ พึงประกอบโดยนัย

ก่อนนั่นแล.

ในคำว่า เสยฺยถาปิ อาวุโส นี้ท่านแสดงถึงอะไร. ท่านแสดงถึงมหา

ภูตรูปที่กล่าวไว้แล้วแต่หนหลังว่ามิใช่สัตว์. บทว่า กฏฺ ได้แก่ ทัพพสัม-

ภาระ. บทว่า วลฺลึ ได้แก่ เถาวัลย์สำหรับผูก. บทว่า ติณ ได้แก่ หญ้า

สำหรับมุง. บทว่า มตฺติก ได้แก่ ดินสำหรับฉาบทา. บทว่า อากาโส

ปริวาริโต ความว่า โอกาสช่องว่างที่อยู่ล้อมไม้เป็นต้นเหล่านั้นภายในภาย

นอก. บทว่า อคาร ในคำว่า อคารเตฺวว สงฺข คจฺฉติ เป็นเพียงบัญญัติ.

แต่เมื่อไม้เป็นต้นแยกออกเป็นกอง ๆ กองไม้ท่านเรียกว่า กฏฺราสิ วลฺลิราสิ

ทั้งนั้น. บทว่า เอวเมวโข ความว่า โอกาสที่อยู่ล้อมกระดูกเป็นต้นทั้งภาย

ในภายนอก อาศัยกระดูกเป็นต้นเหล่านั้นจึงนับว่า รูปทั้งนั้น ฉันนั้นเหมือน

กัน.

เรือนที่อาศัยไม้เป็นต้น ชื่อว่า เคหะ ท่านเรียกว่า ขัตติยเคหะ

พราหมณเคหะ ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเรียกว่า ขัตติยสรีระ

พราหมณสรีระ. แท้จริงในที่นี้สภาวะไร ๆ ที่ชื่อว่าสัตว์หรือชีวะ หามีไม่.

ถามว่า คำว่า อชฺฌตฺติกญฺเจ อาวุโส จกฺขุ นี้ ท่านเริ่มไว้เพราะ

เหตุไร. ตอบว่า อุปาทายรูป อรูปขันธ์ ๔ และ อริยสัจ ๓ ท่านมิได้กล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

ข้างต้น บัดนี้ เพื่อจะกล่าวอุปาทายรูปเป็นต้นเหล่านั้น ท่านจึงเริ่มเทศนา

นี้ไว้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ อปริภินฺน ได้แก่ เมื่อจักขุประสาท

ดับไปก็ดี ถูกอารมณ์ภายนอกมาขัดขวางก็ดี ถูกดีเสลดและเลือดพัวพันก็ดี

จักขุประสาทไม่อาจเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณได้ เป็นเพียงชื่อว่า แตกไปเท่านั้น

แต่สามารถเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ชื่อว่า อปริภินนะ คือ ไม่แตกไป. บทว่า

พาหิรา จ รูปา ได้แก่ รูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ภายนอก. บทว่า ตชฺโช สมนฺ-

นาหาโร ได้แก่ อาศัยจักขุนั้นและรูป คำนึงถึงภวังค์แล้วเกิดมนสิการ

อธิบายว่า กิริยมโนธาตุจิตในจักขุทวารสามารถคำนึงถึงภวังค์ กิริยมโนธาตุ

จิตนั้นไม่มีแม้แก่ผู้ที่ส่งใจไปในที่อื่น เพราะรูปารมณ์ไม่ปรากฏ. บทว่า

ตชฺชสฺส ได้แก่ สมควรแก่จิตนั้น. บทว่า วิญฺาณภาคสฺส ได้แก่ ส่วน

แห่งวิญญาณ. ท่านแสดงสัจจะ ๔ โดยอาการ ๑๒ ในคำว่า ยถาภูตสฺส

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาภูตสฺส ความว่า เกิดพร้อมด้วย

จักขุวิญญาณ คือพรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า รูป ความว่า รูปที่มี

สมุฏฐาน ๓ ย่อมได้ในขณะจักขุวิญญาณ เพราะจักขุวิญญาณเป็นตัวทำให้รูป

เกิด แม้รูปที่มีสมุฏฐาน ๔ ย่อมได้ในขณะจิตต่อจากนั้น. บทว่า สงฺคห

คจฺฉติ แปลว่า ถึงการนับ. เจตสิกธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตด้วยจักขุ

วิญญาณเหมือนกัน. วิญญาณ ก็คือ จักขุวิญญาณนั่นเอง. ท่านกล่าวเจตนาว่า

สังขาร ไว้ในคำนี้ . บทว่า สงฺคโห แปลว่า รวมกัน. บทว่า สนฺนิปาโต

แปลว่า มาพร้อมกัน. บทว่า สมวาโย ได้แก่ กอง. บทว่า โย ปฏิจฺจ-

สมุปฺปาท ปสฺสติ ได้แก่ ผู้ใดเห็นปัจจัยทั้งหลาย. บทว่า โส ธมฺม ปสฺสติ

ได้แก่ ผู้นั้น ชื่อว่า เห็นปฏิจจสมุปปันนธรรม. คำทั้งปวงมีฉันทะเป็นต้น เป็น

ไวพจน์ของตัณหานั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่าฉันทะ เพราะทำความ

พอใจ เรียกว่าอาลัย เพราะทำความเยื่อใย เรียกว่า อนุนยะ เพราะทำความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

ยินดี เรียกว่า อัชโฌสานะ เพราะใส่ลงกลืนเก็บไว้. คำว่า ฉนฺทราควินโย

ฉนฺทราคปฺปหาน เป็นชื่อของพระนิพพานทั้งนั้น. ในพระบาลี มา ๓ สัจจะ

เท่านั้น ควรนำมรรคสัจมารวมไว้ด้วย ด้วยประการฉะนี้. ในฐานะ ๓ เหล่า

นี้ ทิฏฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ภาวนา

ปฏิเวธ นี้ ชื่อว่ามรรค. บทว่า พหุกต โหติ ความว่า ด้วยแม้อธิบายเพียง

เท่านี้ ก็เป็นอันทำตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก. แม้ในวาระ

มีอาทิว่า อชฺฌตฺติก เจ อาวุโส โสต ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในมโนทวาร

ภวังคจิต ชื่อว่า ใจภายใน ภวังคจิตนั้น แม้ดับไปแล้ว ไม่สามารถเป็น

ปัจจัยของอาวัชชนจิตได้ ภวังคจิตที่มีกำลังอ่อนแม้เป็นไปอยู่ ก็ชื่อว่าแตก

แล้ว ที่สามารถเป็นปัจจัยของอาวัชชนจิต ชื่อว่า ไม่แตก. คำว่า พาหิรา จ

ธมฺมา ฯเปฯ เนว ตาว ตชฺชสฺส นี้ ท่านกล่าวไว้โดยสมัยภวังคจิตเท่านั้น.

ในวาระที่ ๒ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ส่งใจไปในที่อื่น โดยพิจารณาฌานที่

ช่ำช่อง ใส่ใจกัมมัฏฐานที่คล่องแคล่ว หรือท่องบ่นพุทธพจน์ที่ชำนาญเป็นต้น.

รูปแม้มีสมุฏฐาน ๔ ก็ได้ชื่อว่า รูป ในวาระนี้. เพราะนโนวิญญาณ ย่อมให้

รูปเกิดขึ้น. เจตสิกธรรมมีเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตด้วยมโนวิญญาณ. วิญญาณ

ก็คือมโนวิญญาณนั่นเอง. แต่ในที่นี้ สังขารทั้งหลายท่านถือด้วยผัสสเจตนา

เหมือนกัน. คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

ดังนั้น พระมหาเถระเมื่อพิจารณาเฉพาะเอกเทศในหนหลัง จึงเอามา

ตั้งไว้ในที่นี้ แล้วแยกแสดงเทศนาที่ไม่สมบูรณ์ทั้งหมดในหนหลังไว้ด้วยอำนาจ

ทวาร จบพระสูตรลง ตามลำดับอนุสนธิแล.

จบอรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตร ที่ ๘.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

๙. มหาสาโรปมสูตร

[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กรุง-

ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วย

คิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ครอบงำ ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ

ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริ

เต็มเปี่ยมด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและ

ความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความ

สรรเสริญส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึงความ

ประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ

แก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลย

เปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุ

เห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จัก

กระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษ

ผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อ

ต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

เอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จัก

ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์

ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกอง

ทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความ

สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญอันนั้น. เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีสักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่น

นอกนี้ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึง

ความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่งและใบ

ของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและและใบนั้น.

ว่าด้วยสะเก็ดของพรหมจรรย์

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจาก

เรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วม

ทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งทุกข์

ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังมีลาภสักการะและความ

สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วย

ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม

ยังความถึงพร้อมเเห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีมีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมยกตน

ข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม.

เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้

ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี

ความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้น

ไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอา

สะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าว

อย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จัก

สะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่น

ไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ละ

เลยแก่น ละเลยกะพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่า

แก่น และกิจที่จะพึงด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วย

ศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวช

อย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยก

ตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมาไม่

ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่

ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความดำริเต็มเปี่ยม

ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อม

ยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

มีบาปธรรม เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียก

ว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น.

ว่าด้วยเปลือกของพรหมจรรย์

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน

ไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บัง

เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและ

ความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความ

สรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและ

ความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีล

ให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อ

เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมเเห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความ

ยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น. เพราะความ

ถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิต

มีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.

เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็น

ผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้

มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้

ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

ว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ

จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย

ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จัก

ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช ด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์

ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและ

ความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง

ความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น

แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้

สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วน

ภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาย่อมมัวเมา ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

เป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่ง

พรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น.

ว่าด้วยกระพี้แห่งพรหมจรรย์

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน

ไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้

บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและ

ความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึง

พร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มี

ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้

สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดี

มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะอันนั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็น

อยู่. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้

ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

ความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่

มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มี

จักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้

จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้

อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญ

ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือน

บวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความ

ทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้จะพึง

ปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิด

ขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความ

สรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ

อันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความ

สรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้

สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อ

เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความ

ยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่

ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

แล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้ว

ด้วยญาณทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มขู่ผู้อื่นว่า

เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เขาย่อมมัวเมา ถึงความ

ประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว. ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และ

ถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.

ว่าด้วยแก่นของพรหมจรรย์

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน

ไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้

บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและ

ความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึง

พร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มี

ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อม

แห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้

สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น

เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

ญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณ-

ทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา

แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป

รู้จักว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้

อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น และกิจที่จะ

พึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคน

ในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศัทธาด้วยคิดว่า

เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ

ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว

ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความ

ดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่

ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา

ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่

ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วย

ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่ม

ผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

ความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธิ

นั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึง

พร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความ

ถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้

สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.

เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึง

ความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง

อสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจาก

อสมยวิมุตตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

ว่าด้วยที่สุดของพรหมจรรย์

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้

จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่ง

ศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณ-

ทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์

เป็นแก่น เป็นที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาสาโรปมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

อรรถกถามหาสาโรปสูตร

มหาสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในมหาสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า อจิรปกฺ-

กนฺเต ความว่า เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ทำโลหิตุปาทกรรม ทำพระโลหิต

ให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไปโดยเพศเดิมของตน. ในคำว่า

อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต ท่านมิได้กำหนดว่ากุลบุตรชื่อโน้นก็จริง

ถึงอย่างนั้น คำนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเฉพาะพระเทวทัต

เท่านั้น. จริงอยู่ พระเทวทัต ชื่อว่า เป็นกุลบุตรโดยชาติ เพราะเกิดใน

วงศ์พระเจ้าโอกกากราช ตามเชื้อสายมหาสมบัติราชที่ไม่ระคนวงศ์อื่น. บทว่า

โอติฺโณ ได้แก่ ชาติของผู้ใดอยู่ภายใน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกชาติครอบงำแล้ว.

แม้ในชราเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปัจจัย ๔ ชื่อว่าลาภในคำว่าลาภและ

สักการะเป็นต้น. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ ปัจจัย ๔ เหล่านั้นที่เขาจัดไว้ดี

แล้ว. บทว่า สิโลโก ได้แก่ การพูดสรรเสริญ. บทว่า อภินิพฺพตฺเตติ

ได้แก่ ให้เกิด. บทว่า อปญฺาตา ความว่า ไม่ปรากฏในสถานที่ชนทั้ง ๒

ดำรงอยู่ ย่อมไม่ได้แม้เพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม. บทว่า อปฺเปสกฺขา

ได้แก่ พวกที่ไม่มีบริวาร ไม่ได้คนแวดล้อมไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บทว่า

สาเรน สารกรณีย ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเพลา ล้อ แอกและไถเป็นต้น

ที่จะพึงทำด้วยไม้แก่น. บทว่า สาขาปลาส อคฺคเหสิ พฺรหฺมจริยสฺส

ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่ากิ่งไม้ใบสด ของศาสนพรหมจรรย์อันมีมรรคผลเป็น

สาระ ได้ถือเอาแต่กิ่งไม้ใบสดนั้น. บทว่า เตน จ โวสาน อาปาทิ ความว่า

ก็ด้วยเหตุนั้นแล พระเทวทัตนั้น จึงหยุดด้วยเข้าใจว่า พอแค่นี้ เราพบสาระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

แล้ว. บทว่า าณทสฺสน อภินิพฺพตฺเตติ ความว่า พระเทวทัตได้

อภิญญา ๕ ก็ทิพยจักษุอยู่สุดท้ายของอภิญญา ๕ ทิพยจักษุนั้น. ท่านกล่าวว่า

ญาณทัสสนะในพระสูตรนี้. บทว่า อชาน อปสฺส วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ไม่รู้สุขุมรูปไร ๆ โดยที่สุดแม้ปีศาจคลุกฝุ่นก็ไม่เห็นอยู่. บทว่า

อสมยวิโมกฺข อาราเธติ ความ กุลบุตรย่อมยินดี ย่อมให้ถึงพร้อม

ย่อมได้โลกุตตรธรรม ๙ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ อสมยวิโมกข์ เป็นไฉน

คือ อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ ชื่อว่า อสมย-

วิโมกข์. จริงอยู่ สมาบัติที่เป็นโลกิยะ ย่อมพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกในขณะ

ที่ถึงอัปปนานั้นเอง เพราะฉะนั้น โลกิยสมาบัตินั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นสมย-

วิโมกข์ อย่างนี้ว่า สมยวิโมกข์เป็นไฉน คือ รูปาวจรสมาบัติ ๔

อรูปาวจรสมาบัติ ๔ นี้ เรียกว่า สมยวิโมกข์ ส่วนโลกุตตธรรม ย่อนพ้น

ได้ทุกกาล จริงอยู่ มรรคจิตและผลจิตที่พ้นคราวเดียว ก็เป็นอันพ้นไปเลย

นิพพานก็พ้นแล้วเด็ดขาดจริงจากสรรพกิเลสส่วนเดียว เพราะฉะนั้น ธรรม ๙

เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า อสมยวิโมกข์. บทว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ

ได้แก่ วิมุตติสัมปยุตด้วยอรหัตผล. ประโยชน์นี้ ของพรหมจรรย์ นั้น มีอยู่

เพราะเหตุนั้น พรหมจรรย์นั้น จึงชื่อว่า เอตทัตถะ คือพรหมจรรย์นี้ มี

พระอรหัตตผลนั้นเป็นประโยชน์ ท่านอธิบายว่า นี้เป็นประโยชน์ของพรหม-

จรรย์นั้น. บทว่า เอต สาร ความว่า อรหัตมรรคและอรหัตผลนี้เป็น

สาระแห่งพรหมจรรย์. บทว่า เอต ปริโยสาน ความว่า อรหัตผลนี้ เป็น

ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ นี้เป็นสุดท้ายไม่มีผลที่จะพึงบรรลุยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงจบเทศนาตามอนุสนธิดังนี้แล.

จบ อรรถกถามหาสาโรปมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

๑๐. จูฬสาโรปมสูตร

[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณ-

พราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็น

เจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล

อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้น

ทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง

บางพวกไม่รู้ยิ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าพวกนั้นทั้ง

หมดรู้ยิ่ง ตามปฏิญญาของตน ๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง

บางพวกไม่รู้ยิ่งนั้น จงงดไว้เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรม

นั้น จงการทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปิงคลโกจฉพราหมณ์ทูลรับพระ-

ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ว่าด้วยอุปมาผู้ต้องการแก่นไม้

[๓๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบ

เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลย

สะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักเปลือก ไม่

รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการ

แก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและ

ใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลย

แก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น

บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น

ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งเเละใบ จริงอย่างนั้น

บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้

อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไป

เสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความ

ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่

มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยเเก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่า

แก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้

จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม้รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ

จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไป

เสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความ

ต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

ตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุ

เห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จัก

กระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษ

ผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่า

แก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรือ

อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้

เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป

รู้อยู่ว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้

รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ

จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั่นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจ

ที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ว่าด้วยบุคคลที่ ๑

[๓๕๕] ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล กุลบุตรบางคนใน

โลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์

ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและ

ความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภ

สักการะและความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น

เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่น

นอกนี้ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะ

ให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้

ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และ

กิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อน

พราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

ว่าด้วยบุคคลที่ ๒

[๓๕๖] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มี

เรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็น

เบื้องหน้าไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขา

ไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ

นั้น. เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า

และประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่

ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความ

ยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึง

พร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วน

ภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผ้ทุศีลมีบาปธรรม. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่

พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึง

พร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือน

บุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ เเสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่

เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย

ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามี

อุปมาฉันนั้น.

ว่าด้วยบุคคลที่ ๓

[๓๕๗] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภลักการะและความสรรเสริญให้

บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ

และความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะความ

สรรเสริญอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

เหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็น

ผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้

สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่ง

เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน

ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดี มี

ความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เพราะความถึงพร้อม

แห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็น

อันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาไม่ยัง

ฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีต

กว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย

ถากเอาเปลือกถือไปสำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่

สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่ามีอุปมา

ฉันนั้น.

ว่าด้วยบุคคลที่ ๔

[๓๕๘] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิด

ขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความ

สรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ

อันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่น

อันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความ

ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม้ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่ง เขายัง

ฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีต

กว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย

เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม

แห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ

ความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำ-

ให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น

ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม้ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

สำเร็จ เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยญาณทัสสนะอันนั้น เขา

ย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็น ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ อนึ่ง

เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า

และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ เเสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

เสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากะพี้

ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยให้เกินของเขา จักไม่สำเร็จ

ประโยชน์แก่เขา ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.

ว่าด้วยบุคคลที่ ๕

[๓๕๙] ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิด

ขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความ

สรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ

อันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่น

อันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มี

ความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้

สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่

เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น อนึ่ง

เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และ

ประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน

ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ เขามีความยินดีด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 565

ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่

ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด

พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าความถึงพร้อม

แห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยัง

ญาณทัสสนะให้สำเร็จ เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยัง

ไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น อนึ่ง

เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย

ดูก่อนพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุ

ในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมญาณ มีวิตก

มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

ญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย

เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณ-

ทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถญานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข

ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 566

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะ

ปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญ-

จายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่า

และประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าน้อยหนึ่งไม่มี แม้ธรรม

ข้อนี้ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง

ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประ-

การทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพื่อเห็นด้วยปัญญาของเธอ

อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ

ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการเเก่น แสวงหาแก่น เที่ยว

เสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่

ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.

ว่าด้วยที่สุดของพราหมณ์

[๓๖๐] ดูก่อนพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่

มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 567

เป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็น

อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น

เป็นที่สุด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม

แจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือน

บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป

ในที่มืด ด้วยประสงค์ว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่พระองค์ทรง

ประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึง

พระองค์กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า

พระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้

เป็นต้นไป.

จบ จูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐

จบ โอปัมมวรรค ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 568

อรรถกถาจุลลสาโรปมสูตร

จุลลสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในจุลลสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า ปิงฺคล-

โกจฺโฉ ได้แก่ พราหมณ์ผู้มีธาตุเหลือง ก็คำว่า โกจฺโฉ นี้ เป็นเชื่อของ

พราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นท่านจึงเรียกว่า ปิงคลโกจฉะ. พึง

ทราบวินิจฉัยในคำว่า สฆิโน เป็นต้น สมณะพราหมณ์ชื่อว่า สังฆฺโน

เพราะมีหมู่กล่าวคือประชุมแห่งนักบวช. ชื่อว่า คณิโน เพราะมีคณะนั้นแล.

ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์แห่งคณะด้วยอำนาจอาจารสิกขาบท.

บทว่า าตา ได้แก่ ผู้ที่รู้จักทั่วไป คือผู้ปรากฏ ได้แก่ ที่เขา

ย่องย่อง โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้นักน้อย สันโดษ ไม่นุ่งห่มแม้กระทั่งผ้าเพราะ

เป็นผู้มักน้อย. ชื่อว่า ยสสฺสิโน เพราะเป็นผู้มียศ. บทว่า ติตฺถกรา

แปลว่า เจ้าลัทธิ. บทว่า สาธุสมฺมตา ได้แก่ ที่เขาสมมติอย่างนี้ว่า คน

เหล่านี้เป็นคนมีประโยชน์ เป็นคนดี เป็นสัตบุรุษ. บทว่า พหุชนสฺส ได้แก่

ผู้ไม่ได้สดับ ผู้เป็นปุถุชนคนอันธพาล.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงคนเหล่านั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถีท ปูรโณ

ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูรโณ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น

ผู้ปฏิญญาตนว่าเป็นศาสดา. คำว่า กสฺสโป เป็นโคตร. ได้ยินว่า เจ้าลัทธิ

ชื่อปุรณะนั้นเป็นคนครบร้อยพอดีของตระกูลหนึ่งซึ่งมีทาส ๙๙ คน. ด้วยเหตุ

นั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ปูรโต. ก็เพราะเขาเป็นทาสมงคล จึงไม่มีผู้

กล่าวว่าเขาทำกิจที่ทำได้ยาก หรือไม่ทำกิจที่ใครเขาไม่ทำ. เขาคิดว่าเราจะอยู่

ในที่นี้ไปทำไมแล้วก็หนีไป. ลำดับนั้น พวกโจรได้ชิงเอาผ้าของเขาไป. เขาไม่

รู้จักการปกปิดด้วยใบไม้หรือหญ้า ก็เข้าไปยังตำบลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่เปลือย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 569

กายนั้นเอง. พวกมนุษย์เห็นเขาแล้วคิดว่า สมณะนี้เป็นพระอรหันต์ ผู้มักน้อย

ผู้ที่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ไม่มี จึงถือเอาของหวานและของคาวเป็นต้นเข้า

ไปหา. เขาคิดว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่นั้นมาถึงได้ผ้าก็ไม่

นุ่ง เขาได้ถือเอาการไม่นุ่งผ้านั้นนั่นแหละเป็นบรรพชา. แม้ผู้คนอื่น ๆ รวม

๕๐๐ คน ก็บวชในสำนักของเขา ท่านหมายเอาเจ้าลัทธิผู้นั้นจึงกล่าวว่า ปูรณ

กัสสปะ. คำว่า มกฺขลิ เป็นชื่อของเจ้าสัทธินั้น. คำว่า โคสาโล เป็นชื่อ

ที่ ๒ เพราะเกิดในโรงโค. ได้ยินว่า เขาถือหม้อน้ำมันกำลังเดินไปบนพื้นดิน

ที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ. เขาลื่นล้มลงด้วยความเผลอเรอ เริ่ม

จะหนีไปเพราะกลัวนาย. นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทัน เขาทิ้งผ้าไม่มีผ้าติดตัว

หนีไป. คำที่เหลือเหมือนกับเจ้าลัทธิปุรณะนั้นแล. คำว่า อชิตะ เป็น

ชื่อของเจ้าลัทธินั้น. เขาชื่อว่า เกสกัมพล เพราะครองผ้าผมคน.

เหตุนั้น เขาจึงรวมชื่อทั้งสองเรียกว่าอชิตะ เกสกัมพล. ในคำนั้น ผ้ากัมพล

ที่เขาทำด้วยผมมนุษย์ ชื่อว่า เกสกัมพล ขึ้นชื่อว่าผ้าที่เลวกว่าผ้าเกสกัมพล

นั้นไม่มี. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ผ้า

ที่ร้อยด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้ากัมพลท่านกล่าวว่า เลวกว่าผ้าเหล่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย ผ้าเกสกัมพลเมื่อเย็นก็เย็น เมื่อร้อนก็ร้อน มีสีทราม มีกลิ่นเหม็น

และมีสัมผัสไม่สบาย. คำว่า ปกุโธ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. คำว่า กจฺจายโน

เป็นโคตร. ท่านรวมทั้งนามและโคตร เรียกว่า ปกุธ กัจจายนะ. เจ้าลัทธิ

นั้นเป็นผู้ห้ามน้ำเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ำ. ได้น้ำร้อนหรือน้ำข้าวจึงใช้.

เขาเดินผ่านแม่น้ำ หรือน้ำในทางก็คิดว่า เราศีลขาดแล้ว ก่อทรายทำเป็นสถูป

อธิษฐานศีลเดินต่อไป ปกุธกัจจายนะผู้นี้เป็นเจ้าลัทธิที่ไม่มีศักดิ์ศรีเห็นปานนี้.

คำว่า สญฺชโย เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น. ชื่อว่า เวลฎัฐบุตร เพราะเป็น

บุตรของเวลัฏฐ. เจ้าลัทธิชื่อว่า นิคันถะ โดยได้นามเพราะพูดอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 570

พวกเราไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ไม่มีกิเลสเครื่องพัวพัน ว่าพวกเราเว้นจาก

เครื่องร้อยรัดคือกิเลส. ชื่อว่า นาฏบุตร เพราะเป็นบุตรของนาฏกะนักรำ.

บทว่า อพฺภญฺึสุ ความว่า สมณพราหมณ์รู้ไม่รู้ก็โดยที่พวกเขาปฏิญญาไว้.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ถ้าปฏิญญานั้นของพวกเขาเป็นนิยานิกะไซร้ เขา

ทั้งหมดก็รู้ ถ้าไม่เป็นนิยานิกะไซร้ พวกเขาก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ความของ

ปัญหานั้นจึงมีดังนี้ว่าปฏิญญาของพวกเขาเป็นนิยานิกะ หรือเป็นอนิยานิกะ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธว่า พอละเพราะไม่มี

ประโยชน์ด้วยการกล่าวถึงปฏิญญา ที่เป็น อนิยานิกะของเจ้าลัทธิเหล่านั้น

เมื่อจะประกาศบทที่มีประโยชน์ด้วยอุปมา เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะธรรม จึงตรัส

คำว่า พราหมณ์ เราจะเแสดงธรรมแก่ท่าน ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สจฺฉิกิริยาย แปลว่า เพื่อกระทำให้แจ้ง. บทว่า น ฉนฺท ชเนติ

ความว่า ไม่ให้เกิดความพอใจใคร่จะทำ. บทว่า น วายมติ ได้แก่ ไม่

การทำความพยายาม ความบากบั่น. บทว่า โอลีนวุตฺติโก จ โหติ ได้แก่

เป็นผู้มีอัธยาศัยเหยาะแหยะ. บทว่า สาถิลิโก ได้แก่ ผู้ถือย่อหย่อน คือถือ

ศาสนาย่อหย่อน ไม่ถือให้หนักแน่น. บทว่า อิธ พฺรหมฺณ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว

กาเมหิ ถามว่า ธรรมมีปฐมฌานเป็นต้นเหล่านี้ จะยิ่งกว่าญาณทัสสนะได้

อย่างไร. แก้ว่า จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นบาทของ

วิปัสสนา ชื่อว่าต่ำกว่า เพราะทำให้เป็นบาทแห่งนิโรธ ธรรมเหล่านี้จึงชื่อว่า

เป็นบาทแห่งนิโรธ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ญาณทัสสนะนั้น ยิ่งยวดกว่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระสูตรแม้นี้ ตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้. ใน

เวลาจบเทศนาพราหมณ์ก็ตั้งในสรณะแล.

จบอรรถกถา จุลลสาโรปมสูตร ที่ ๑๐

จบวัคควัณณนาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 571

รวมพระสูตรในโอปัมมวรรค

๑. กกจูปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. อลคัททูปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. วัมมิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. รถวินีตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. นิวาปสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. ปาสราสิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. มหาสาโรปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. จูฬสาโรปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา