ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

เล่มที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น

๑. มูลปริยายสูตร (๑)

(๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้พญารัง ใน

สุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธ-

พจน์นี้ว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุที่เป็นมูลของ

ธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังเหตุนั้น จง

ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

(๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งทลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม้ได้รับแนะนำในธรรมของ

สัตบุรุษ.

ย่อมหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดย

ความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายในธาตุดิน

ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา

ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ โดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นหมายรู้ธาตุน้ำโดย

ความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำ ย่อมสำคัญหมายในธาตุน้ำ

ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุนั้น ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำว่าของเรา

ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุน้ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะ

เขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ธาตุไฟ โดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นหมายรู้ธาตุไฟ

โดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายใน

ธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายธาตุไฟว่า

ของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคต

กล่าว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลม ครั้นหมายรู้ธาตุลม

โดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุลม ย่อมสำคัญหมายใน

ธาตุลม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสำคัญหมายธาตุลมว่า

ของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุลม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคต

กล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ย่อมหมายรู้สัตว์ โดยความเป็นสัตว์ ครั้นหมายรู้สัตว์โดยความ

เป็นสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญหมายสัตว์ ย่อมสำคัญหมายในสัตว์ ย่อมสำคัญ

หมายโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสำคัญหมายสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง

สัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้

กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้เทวดา โดยความเป็นเทวดา ครั้นหมายรู้เทวดาโดย

ความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสำคัญหมายเทวดา ย่อมสำคัญหมายในเทวดา

ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นเทวดา ย่อมสำคัญหมายเทวดาว่าของเรา

ย่อมยินดียิ่งซึ่งเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ปชาบดีมาร โดยความเป็นปชาบดีมาร ครั้นหมายรู้

ปชาบดีมารโดยความเป็นปชาบดีมารแล้ว ย่อมสำคัญหมายปชาบดีมาร

ย่อมสำคัญหมายในปชาบดีมาร ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นปชาบดีมาร

ย่อมสำคัญปชาบดีมารว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งปชาบดีมาร ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้พรหม โดยความเป็นพรหม ครั้นหมายรู้พรหมโดย

ความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายพรหม ย่อมสำคัญหมายในพรหม

ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นพรหม ย่อมสำคัญหมายพรหมว่าของเรา

ย่อมยินดียิ่งซึ่งพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้น

หมายรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

อาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายในอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย

ความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายอาภัสสรพรหมว่าของเรา ย่อม

ยินดียิ่งซึ่งอาภัสสรพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้น

หมายรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย

สุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายในสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย

ความเป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายสุภกิณหพรหมว่าของเรา ย่อม

ยินดียิ่งซึ่งสุภกิณหพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้น

หมายรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย

เวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายในเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย

ความเป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายเวหัปผลพรหมว่าของเรา ย่อม

ยินดียิ่งซึ่งเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้อสัญญีสัตว์ โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นหมาย

รู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญหมายอสัญญีสัตว์

ย่อมสำคัญหมายในอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอสัญญีสัตว์

ย่อมสำคัญหมายอสัญญีสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอสัญญีสัตว์. ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

จายตนพรหม ครั้นหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสา-

นัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายอากาสานญจายตนพรหม ย่อม

สำคัญหมายในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็น

อากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายอากาสานัญจายตนพรหมว่าของ

เรา ย่อมยินดียิงซึ่งอากาสานญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ?

เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจาย-

ตนพรหม ครั้นหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญ-

จายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญ

หมายในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นวิญญาณัญ-

จายตนพรหม ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง

วิญญาณัญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็นอากิญจัญญาย-

ตนพรหม ครั้นหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญาย-

ตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายใน

อากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอากิญจัญญายตน-

พรหม ย่อมสำคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง

อากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนว-

สัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายเนวสัญญา-

นาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อม

สำคัญหมายโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมาย

เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขา

ไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ครั้นหมายรู้

รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว ย่อมสำคัญหมายรูปที่ตนเห็น

ย่อมสำคัญหมายในรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น

ย่อมสำคัญหมายรูปที่ตนเห็นว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปที่ตนเห็น. ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้เสียงที่ตนฟัง โดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นหมาย

รู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว ย่อมสำคัญหมายเสียงที่ตนฟัง

ย่อมสำคัญหมายในเสียงตนฟัง ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง

ย่อมสำคัญหมายเสียงที่ตนฟังว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเสียงที่ตนฟัง. ข้อ

นั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ โดย

ความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นหมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็น

อารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสำคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญ

หมายในอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอารมณ์ที่ตน

ทราบ ย่อมสำคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอารมณ์

ที่ตนทราบ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่

ตนรู้แจ้ง ครั้นหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่

ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสำคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญหมายใน

ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้

แจ้ง ย่อมสำคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง

ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า

เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็น

อันเดียวกัน ครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกันโดยความเป็น

อันเดียวกันแล้ว ย่อมสำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อม

สำคัญหมายในความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญหมายโดย

ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิ

เป็นอันเดียวกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียว

กัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กา-

หนดรู้.

ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน โดยความเป็นของต่างกัน

ครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อม

สำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญหมายในความที่สักกาย-

ทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญหมายโดยความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญ

หมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกาย-

ทิฏฐิต่างกัน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวง โดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง

ครั้นหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวงโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวงแล้ว ย่อม

สำคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายในสักกายทิฏฐิทั้งปวง

ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายสักกาย-

ทิฏฐิทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งสักกายทิฏฐิทั้งปวง. ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมสำคัญหมายพระนิพพาน

ย่อมสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน

ย่อมสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อ

นั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.

กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยอำนาจปุถุชน.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุ

พระอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรม

อื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น

หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญหมายธาตุดิน อย่า

สำคัญหมายในธาตุดิน อย่าสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญ

หมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ?

เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกาหนดรู้.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-

มาร__ พรหม__อาภัสสรพรหม __ สุภกิณหพรหม __ เวหัปผลพรหม __

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญ-

จัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__ เสียง

ที่ตนฟัง อารมณ์ที่ตนทราบ __ ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ ความที่สักกาย-

ทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน __ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว อย่าสำคัญหมายพระนิพพาน

อย่าสำคัญหมายในพระนิพพาน อย่าสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน

อย่าสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา อย่ายินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อ

นั้นเพราะเหตุอะไร. ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.

กาหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยอำนาจเสขบุคคล.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์

ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา

อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น

หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่

สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่

สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอกาหนดรู้แล้ว.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-

มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__

อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__

อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์

ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่าง

กัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ

นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ

เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี

ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะ

เธอกาหนดรู้แล้ว.

กาหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์

ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา

อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น

หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อม

ไม่สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่

สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-

มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__

อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__

อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์

ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิ

ต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ

นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ

เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี

ยิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากราคะ

เหตุราคะสิ้นไป.

กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหัตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์

ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา

อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น

หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายในธาตุดิน

ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของ

เรา ย่อมไม่ยินดีซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอ

ปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-

มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__

อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__

อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมา-

รมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฎฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิ

ต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ

นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ

เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี

ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโทสะ

เหตุโทสะสิ้นไป.

กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์

ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา

อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น

หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อม

ไม่สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อม

ไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.

ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-

มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__

อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__

อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ ( กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์

ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ความที่สักกายทิฏฐิต่าง

กัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้

พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ

นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ

เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี

ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโมหะ

เหตุโมหะสิ้นไป.

กาหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดิน

โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่ทรง

สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อม

ไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้น พระตถาคต

กาหนดรู้แล้ว.

ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__

ปชาบดีมาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผล-

พรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาญัญจายตนพรหม

__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น

__เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่

สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.

ย่อมทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรง

หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมาย

พระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญ

หมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพาน ย่อม

ไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระ

นิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรง

กาหนดรู้แล้ว.

กาหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยอำนาจพระศาสดา.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดิน

โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญ

หมายธาตุในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่

สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร ? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ ความเพลิดเพลินเป็นมูล

รากของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ก็มีชรามรณะ ด้วย

ประการอย่างนี้ (จึงไม่สำคัญธาตุดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

เหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้น

ตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้โดย

ประการทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__

ปชาบดีมาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__ สุภกิณหพรหม__ เวหัปผล-

พรหม__อสัญญีสัตว์__ อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจาตน-

พรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญ-

ญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__เสียงที่

ตนฟัง__อารมณ์ ( กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์

ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายะทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายะทิฏฐิ

ต่างกัน__สักกายะทิฏฐิทั้งปวง__.

ทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงหมาย

รู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระ

นิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมาย

โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา

ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะ

ทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และว่า เพราะภพจึงมี

ชาติ สัตว์เกิดแล้วจึงมีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ (จึงไม่สำคัญธาตุ

ดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา

สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.

กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยอำนาจพระศาสดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

มูลปริยายสูตรที่ ๑ จบ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

อรรถกถามูลปริยายสูตร

เอวมฺเม สุต ฯเปฯ สพฺพธมฺมปริยาย

บทนมัสการพระรัตนตรัย

ข้าพเจ้าขอวันทาพระสุคตเจ้า ผู้มีความมืด คือ โมหะอันกำจัด

แล้วด้วยแสงสว่าง คือปัญญา หลุดพ้นแล้วจากคติ (ทั้งปวง) มีพระ

หฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา เป็นครูแห่งสัตว์โลกทั้งมนุษย์และเทวดา.

แม้องค์พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงซึ่งพระธรรมอันปราศจากมลทินใด

จึงทรงทำให้เกิดและทำให้แจ้งซึ่งความเป็นพระพุทธ ข้าพเจ้าขอวันทา

พระธรรมอันเลิศนั้น.

ข้าพเจ้าขอวันทาพระอริยสงฆ์ คือ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคลทั้ง ๘

ผู้เป็นพระบุตร เกิดแต่พระอุระแห่งพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีมารและเสนามาร

เสียได้.

บุญอันสำเร็จด้วยการวันทาพระรัตนตรัยของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใส

ดังนี้อันใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพาเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดเสีย

ได้ด้วยดีแล้ว อรรถกถาอันใดที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ องค์

สังคายนา (ร้อยกรอง) ไว้แต่เบื้องแรก และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย

สังคายนา (ร้อยกรอง) เพิ่มเติมในภายหลังก็ดี เพื่อประกาศ (อธิบาย)

เนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์นี้ อันกำหนดหมายด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

พระสูตรขนาดกลาง (ไม่ยาวไม่สั้น) ที่พระพุทธองค์พระสาวก

กล่าวสังวรรณนาไว้ ย่ำยีเสียได้ซึ่งลัทธิอื่น ครั้นแล้วพระมหินทมหาเถระ

ผู้เชี่ยวชาญได้นำมาสู่เกาะสีหล ฐาปนา (จารึก) ไว้ในภาษาสีหล

เพื่อประโยชน์แก่ชาวเกาะ ข้าพเจ้าจักนำภาษาสีหลออกแล้วยกขึ้นสู่ภาษา

อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ สมควรที่จะเป็นแบบแผนได้ ปราศจากโทษ (คือ

ภาษามคธ) อีกทอดหนึ่ง ประกาศ (อธิบาย) เนื้อความมิให้ขัดมติ

ของพระเถระคณะมหาวิหารผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีการวินิจฉัยละเอียด

ดี โดยเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสียบ้าง เพื่อความพอใจแห่งสาธุชน และ

เพื่อความตั้งอยู่นานแห่งพระธรรม.

ส่วนข้อธรรม คือ สีลกถา ธุตธรรม (เรื่องธุดงค์) กรรมฐาน

ทุกอย่าง ฌานสมาบัติอย่างพิสดาร พร้อมทั้งจริยาวิธาน (แจงจริต

ของบุคคล) อภิญญาทั้งปวง การวินิจฉัย ปัญญาทั้งสิ้น ขันธ์ ธาตุ

อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ การแสดง ปัจจยาการ (คือ ปฏิจจ-

สมุปบาท) มีนัยบริสุทธิ์ละเอียดดี พอเป็นแบบที่เชื่อได้ และวิปัสสนา-

ภาวนา ทั้งปวง (นี้) ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคอย่าง

หมดจดดี เหตุใด เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์ข้อธรรมทั้งปวงนั้นยิ่งขึ้น

ไปละ.

วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้ารจนาทำด้วยคิดว่า วิสุทธิมรรคจักตั้งอยู่

ในท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ แล้วประกาศเนื้อความตามที่ท่านภาษิตไว้ใน

นิกายทั้ง ๔ นั้นได้ ดังนี้ เหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาแม้วิสุทธิมรรค

นั้นพร้อมทั้งอรรถกถานี้ ทราบเนื้อความแห่งมัชฌิมสังคีติ (คือ มัชฌิม-

นิกายทั้ง ๓ ปัณณาสก์) เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ

สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต ๖ อภิญญาทั้งปวง คำ

วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔

ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน

คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม

ปัณณาสก์ ๓ หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-

ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ ๑๕ วรรค เพราะ

แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น ๕ ว่าโดยสูตร มี ๑๕๒ สูตร ว่าโดยบทมี

๘๐,๕๒๓ บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน

กล่าวกำหนดบทไว้ ๘๐,๕๒๓ บทอย่างนี้.

แต่ว่าโดยอักษรมี ๗๔๐,๐๕๓ อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี ๘๐

ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี ๒๓ บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี ๓ อนุสนธิ

คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย

พิสดารในเรื่องนี้มี ๓,๙๐๐ อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์

ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์

เหล่านั้นไว้ ๓,๙๐๐ อนุสนธิ.

ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค

ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-

ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.

อธิบายนิทานพจน์

(๑) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุต ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหา-

สังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ

สุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.

อธิบาย เอวมฺเม สุต

ก็คำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นนี้ เป็นคำเริ่มต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า เอว เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.

ในคำว่า อุกฺกฏฺาย วิหรติ นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้

ก่อนว่า บทว่า วิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. แต่

โดยใจความ เอว ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่า

อุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะ

อวธารณะ.

จริงอย่างนั้น เอว ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า อุปมา ในประโยค

เป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทำฉันนั้น

ดังนี้.

มาในอรรถว่า อุปเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไป

อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.

มาในอรรถว่า สัมปหังสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้.

มาในอรรถว่า ครหณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าว

สรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ ๆ ในทุก ๆ ที่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

มาใน วจนสัมปฏิคคหะ ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุเหล่านั้นแล

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้.

มาในอรรถว่า อาการ ในประโยคเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าทราบชัดพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการ

อย่างนี้.

มาในอรรถว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนมาณพ

ท่านจงมา จงเข้าไปหาท่านอานนท์ ผู้สมณะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว

จงถามความไม่เจ็บไข้ ความมีโรคน้อย ความคล่องตัว กำลัง และการ

อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้สมณะ ตามคำของเรา และจงกล่าวอย่าง

นี้ว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร ย่อมถามถึงความไม่เจ็บไข้ ฯลฯ การ

อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ดังนี้. นัยว่า เป็นการดีที่ท่าน

พระอานนท์ผู้เจริญอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปหาสุภมาณพ โตเทยยบุตร

ถึงที่อยู่ ดังนี้.

มาในอรรถว่า อวธารณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกาลามะ

ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือ

อกุศล ? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษหรือไม่มีโทษ ? มีโทษ พระเจ้าข้า.

บัณฑิตติเตียนหรือสรรเสริญ ? ติเตียน พระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่ตน

สมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ และเป็นทุกข์

ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในข้อนี้อย่างนี้.

เอว ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า (ใช้) ในอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความ

นี้ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใคร ๆ สามารถจะทราบ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัย

ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมี

ปฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แล

โดยปฏิเวธ มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของ

ตน ๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง

ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการ

อย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้า

ไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้อง

กล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกำลัง คือความทรงจำของตนที่

สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ บรรดา

อุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญ

อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษา

และในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟัง

ด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่

ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็น

เป็นอย่างอื่น ดังนี้.

เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์

นั้นมีความหมายว่า มยา (อันเรา) ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.

มีความหมายว่า มยฺห (แก่เรา) ในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงธรรม

แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด.

มีความหมายว่า มม ( ของเรา ) ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ขอให้พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด ดังนี้.

แต่ในที่นี้ เม ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๒ อย่างว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง

มา และว่า สุตะ ของเรา ดังนี้.

สุตะ ศัพท์ ในคำว่า สุต นี้ มีอุปสรรค และไม่มีอุปสรรค

มีเนื้อความหลายอย่างเป็นต้นว่า คมน (การไป) วิสฺสุต (ปรากฏ)

กิลินฺน (เปียก) อุปจิต (สั่งสม) อนุโยค (ประกอบเนือง ๆ)

โสตวิญฺเยฺย (รู้ทางหู) โสตทวารานุสารวิญญาณ (รู้ตามกระแส

ทางหู).

จริงอย่างนั้น สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ไป ในประโยค

เป็นต้นว่า ไปแล้วโดยเสนา.

มีความหมายว่า มีธรรมอันตนสดับตรับฟังแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ใน

ประโยคเป็นต้นว่า. ผู้สดับธรรมแล้วเห็น ( ธรรม) อยู่.

มีความหมายว่า เปียกชุ่ม ของบุคคลผู้เปียกชุ่ม ในประโยคเป็นต้น

ว่า เปียกชุ่มของบุคคลผู้เปียกชุ่ม.

มีความหมายว่า สะสม ในประโยคเป็นต้นว่า บุญมิใช่น้อย อัน

ท่านทั้งหลายสะสมแล้ว.

มีความหมายว่า ประกอบเนือง ๆ ในฌานเนือง ๆ ในประโยค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

เป็นต้นว่า. นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน.

มีความหมายว่า เสียงที่จะพึงทราบทางโสตประสาท ในประโยค

เป็นต้นว่า เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว.

มีความหมายว่า ทรงความรู้คล้อยตามโสตทวาร ในประโยค

เป็นต้นว่า ทรงไว้ซึ่งสุตะ และสะสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตะศัพท์นั้น

มุ่งเอาความหมายว่า ทรงจำ หรือ ความทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร

จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความ

ได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือ ทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร อย่างนี้

มีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า

คือ ความทรงจำตามแนวแห่งโสตทวารของข้าพเจ้าอย่างนี้.

ในบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ คำว่า เอว เป็นการแสดง

กิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น. คำว่า เม เป็นการแสดงบุคคล

ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว, คำว่า สุต เป็นการ

แสดงการถือเอาที่ไม่ผิด ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง เพราะห้ามการไม่ฟัง. อนึ่ง

คำว่า เอว เป็นการประกาศความเป็นไปในอารมณ์ แห่งวิงญาณวิถีที่

เป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารนั้น โดยประการต่าง ๆ คำว่า เม เป็น

การประกาศตน. คำว่า สุต เป็นการประกาศธรรมะ. จริงอยู่ ในคำ

ว่า เอวมฺเม สุต นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ทำกิจอื่น

แห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปแล้วในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ แต่ข้าพเจ้าทำ

กิจนี้, ธรรมนี้ข้าพเจ้าฟังแล้ว.

อนึ่ง คำว่า เอว เป็นการประกาศคำที่จะพึงแถลงไข. คำว่า เม

เป็นการประกาศบุคคล. คำว่า สุต เป็นการประกาศกิจแห่งบุคคล. มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

คำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระสูตรที่ข้าพเจ้าจักแสดง ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้. อนึ่ง คำว่า เอว เป็นการไขอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มี

การถือเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ โดยการเป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน.

จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอว นี้ เป็นการบัญญัติอาการ, ศัพท์ว่า เม

เป็นการแสดงกัตตา ( ผู้ทำ). ศัพท์ว่า สุต เป็นการแสดงวิสัย. ด้วย

การอธิบายเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันทำการสันนิษฐานได้ว่า ด้วยจิต-

สันดานที่เป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน พระเถระผู้ประกอบด้วยจิต-

สันดานนั้นจึงเป็นกัตตา และรับอารมณ์ได้.

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว เป็นการแสดงกิจแห่งบุคคล. ศัพท์

ว่า สุต เป็นการแสดงกิจแห่งวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม เป็นการแสดงถึง

บุคคลที่ประกอบด้วยกิจทั้ง ๒. ก็ในคำว่า เอวมฺเม สุต นี้ มีความ

ย่อว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาโดยโวหารแห่งสวนกิจที่ได้ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ

โดยบุคคลที่พร้อมเพรียงด้วยสวนกิจและวิญญาณกิจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดย

อรรถว่า แจ่มแจ้ง และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดยปรมัตถ์

ก็ในข้อนี้ยังมีข้อพิเศษอยู่อีก คือ ข้อที่พระเถระพึงได้การแถลงไขว่า

เอว หรือ เม มีอยู่โดยปรมัตถ์. บทว่า สุต เป็นวัชชมานบัญญัติ.

อธิบาย ในบทว่า สุต นี้ อารมณ์ที่ได้ทางโสตนี้ มีอยู่โดยปรมัตถ์

แล. อนึ่ง บทว่า เอว และ เม จัดเป็น อุปาทาบัญญัติ เพราะ

พระเถระกล่าวหมายเอาธรรมที่มากระทบโสต และขันธ์ที่นับเนื่องใน

สันดานของตนนั้น. บทว่า สุต เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะพระเถระ

กล่าวพาดพิงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคำว่า เอว

อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.

ด้วยคำว่า สุต พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟัง

มาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเรา

ได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสำเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมี

ได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะ

ความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจำ

พยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนำ ความสามารถในการเข้าใจ

อรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนำ ความสำเร็จเป็นขุนคลังแห่ง

ธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถ

และพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า เอว ท่านพระเถระแสดงการทำไว้ในใจ

โดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทง

ตลอดประการต่าง ๆ. ด้วยคำว่า สุต ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ

บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่าน

แม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอ

ท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย

บุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทำไว้ในปางก่อน

ให้สำเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทำบุญไว้ใน

ปางก่อน ไม่มีการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน

บุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สำเร็จ.

จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

(ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่เข้าไปพบสัตบุรุษ.

อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า เอว เป็นบทแสดง

อาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มีการรับเอาอรรถและพยัญชนะ โดยเป็น

ไปโดยประการต่างๆ กัน. และอาการที่ดีอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่

ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน. ฉะนั้น ท่านแสดงความถึง

พร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้ายของตน ด้วยอาการอันเจริญนี้ ด้วยบทว่า

เอว ท่านแสดงความถึงพร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้นของตน ด้วยบทว่า

สุต. จริงอยู่ การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่ผู้อยู่ในประเทศที่ไม่

สมควร หรือผู้เว้นจากการคบหากับสัตบุรุษ. ความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส

ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น เพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้าย ความ

บริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ ย่อมมีเพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้น

ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ความสำเร็จแห่งความฉลาดในอธิคม (ปฏิเวธ) ย่อมมีแก่

บุคคลนั้น เพราะความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส ความสำเร็จแห่งความฉลาด

ในอาคม (ปริยัติ) ย่อมมีเพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ (ความ

เพียร) พระเถระเมื่อจะเรียงนิทานพจน์ไว้ในฐานะที่เหมาะสม คำของ

ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม ผู้มีอาสวกิเลสบริสุทธิ์ด้วยปโยคสมบัติ

ย่อมควร เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแสงเงินแสงทอง

ขึ้นนำพระอาทิตย์ที่กาลังอุทัยอยู่ และดุจการทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็น

ตัวนำ (การทำ) กุศลกรรม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำนี้ว่า เอว ท่านพระเถระแสดงสภาวะคือ

ความถึงพร้อมแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ที่แสดงถึงปฏิเวธมีประการต่าง ๆ ด้วยคำว่า สุต นี้ ท่านแสดงสภาวะ

คือความถึงพร้อมแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำที่

แสดงถึงความแทงตลอดประเภทแห่งธรรมที่จะต้องฟัง อนึ่ง พระเถระ

เมื่อจะกล่าวคำที่แสดงการทำไว้ในใจโดยแยบคายนี้ ว่า เอว ดังนี้ จึง

แสดงว่า ธรรมเหล่านี้ อันข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี

ด้วยทิฏฐิแล้ว เมื่อจะกล่าวคำที่แสดงการตามประกอบการฟังนี้ว่า สุต ดังนี้

จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว

ท่องบ่นแล้ว ดังนี้.

พระเถระเมื่อจะแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะด้วยคำ

ทั้ง ๒ นั้น จึงยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการฟัง. จริงอยู่บุคคล

เมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมห่างจาก

ประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น ควรทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว

ฟังธรรมโดยเคารพเถิด.

ก็ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุต (เป็นอันว่า) พระอานนท์

เมื่อไม่วางธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วไว้ห่างตน ชื่อว่าล่วงเลย

ภูมิแห่งอสัตบุรุษ ปฏิญญาความเป็นสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิแห่ง

สัตบุรุษ. อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น เป็นอันว่า

พระเถระย่อมยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม ให้ดำรงอยู่ในสัทธรรม.

พระเถระเมื่อแสดงว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

นั่นเทียวนั้น ข้าพเจ้าฟังมาตลอดแล้วทีเดียว ชื่อว่าย่อมออกตัว อ้าง

พระศาสดา แนบแน่นอยู่ในพระดำรัสของพระชินเจ้า ประดิษฐานเนติ-

ธรรมไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต พระเถระ ยังความเป็น

ผู้ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงให้หมดไป ให้เกิด

ความถึงพร้อมแห่งศรัทธา (โดย) ไม่อ้างว่า สูตรนั้นท่านให้เกิดเอง

(และ) เปิดเผยการฟังมาก่อนว่า สูตรนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาต่อพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้องอาจด้วยเวลารัชชธรรม ๔ ทรงไว้ซึ่ง

พลญาณ ๑๐ ทรงดำรงอยู่ในฐานะผู้อาจหาญ บันลือสีหนาทได้ สูงสุด

กว่าสัตว์ทุกจำพวก เป็นใหญ่โดยพระธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็น

พระธรรมาธิบดี เป็นประทีปโดยธรรม เป็นที่พึ่งโดยธรรม เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิผู้ประเสริฐโดยพระสัทธรรม ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่

ควรทำความสงสัย หรือความเคลือบแคลงในอรรถ ในธรรม ในบท

หรือในพยัญชนะ ในสูตรนี้แล. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระสาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ยังอศรัทธาให้พินาศ ยังศรัทธา

ในศาสนาให้เจริญ ดังนี้.

อธิบาย สมย ศัพท์

บทว่า เอก เป็นบทแสดงไขถึงจำนวนนับ. บทว่า สมย เป็น

บทแสดงเวลาที่กำหนดไว้แล้ว สองบทว่า เอก สมย เป็นบทแสดง

เวลาที่ไม่กาหนดแน่นอน. สมย ศัพท์ ในบทว่า เอก สมย นั้น

ย่อมปรากฏในอรรถว่า

สมวายะ (พร้อมเพรียง) ขณะ กาล สมูหะ (การ

ประชุม) เหตุ ทิฏฐิ ปฏิลาภะ (การได้) ปหานะ

(การละ) และปฏิเวธะ (การแทงตลอด).

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีความพร้อมเพรียงเป็นอรรถ

ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน ในวันพรุ่งนี้ พวกเราอาศัย

กาลสมัย (ที่เหมาะ) พึงเข้าไปหา ดังนี้. มีขณะเกินอรรถ ในประโยค

เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล. ขณะ และสมัยหนึ่ง ย่อมมี

เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ดังนี้ มีกาละเป็นอรรถ ในประโยค

เป็นต้นว่า เวลาร้อน เวลาเร่าร้อน ดังนี้. มีการประชุมเป็นอรรถ ใน

ประโยคเป็นต้นว่า ประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่ มีเหตุเป็นอรรถ ในประโยค

เป็นต้นว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแลท่านไม่ได้แทงตลอด, พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแลประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักรู้จัก

เราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ ไม่ทำการศึกษาในพระศาสนาของพระศาสดา

ใช้บริบูรณ์ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล อันท่านยังไม่ได้แทงตลอด

ดังนี้. มีทิฏฐิเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชก

ชื่อ อุคคาหมานะ เป็นบุตรของ สมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในสวน

ดอกมะลิ ที่มีศาลาหลังเดียวเป็นที่สอนลัทธิ หนาแน่นด้วยต้นมะพลับ.

มีีการได้เฉพาะเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า

นักปราชญ์ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้รับ

ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ.

มีการละเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ

ละมานะได้โดยชอบ. มีการแทงตลอดเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า

ทุกข์ มีอรรถว่า เบียดเบียน ถูกปรุงแต่ง ทำให้เร่าร้อนแปรปรวน และมี

อรรถว่า ควรกำหนดรู้.

แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีกาละเป็นอรรถ เพราะเหตุนั้น ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

พระเถระจึงแสดงว่า ในสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยที่แยกกาลออกเป็นปี ฤดู

เดือน ครึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น

ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย และครู่หนึ่งเป็นต้น.

ในข้อนั้น สูตรใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปี ฤดู

เดือน ปักข์ ภาคกลางคืน หรือภาคกลางวันใด ๆ ในบรรดาสมัยมีปี

เป็นต้นเหล่านั้น สูตรนั้นทั้งหมด พระเถระรู้ดี คือกำหนดไว้ด้วยดี

ด้วยปัญญา แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุที่เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักข์โน้น

ภาคกลางคืนโน้น ภาคกลางวันโน้น ใคร ๆ ไม่อาจจะทรงจำได้ง่าย

ไม่สามารถจะแสดงเองหรือให้คนอื่นแสดงได้ และจะต้องพูดกันมาก

ฉะนั้น พระเถระจึงรวบรวมเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้ว

กล่าวว่า เอก สมย ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สมัยเหล่านี้ใด ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแยกประเภท

กาลเวลาออกมากมาย ที่ปรากฏชัดเหลือเกินในหมู่เทวดา และมนุษย์

เป็นต้นอย่างนี้คือ สมัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยเกิดความ

สังเวช สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรงกระทำทุกกรกิริยา สมัยชนะมาร

สมัยตรัสรู้ สมัยอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สมัยเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน

พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง กล่าวคือสมัยเทศนา ในบรรดาสมัยเหล่า

นั้น.

อนึ่ง ท่านพระเถระหมายเอาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยกรุณา ใน

บรรดาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยญาณ และกรุณา สมัยแห่งการปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์คนอื่น ในบรรดาสมัยแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

คนอื่น สมัยแห่งธรรมีกถา ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้ง ๒ ของผู้

ประชุมกัน สมัยแห่งเทศนา ในบรรดาสมัยแห่งการเทศนา และการ

ปฏิบัติ สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เอก สมย

ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านไม่ทำเหมือนอย่างในอภิธรรม

ท่านทำการแสดงไขด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามารจร และว่า

ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ในสุตตบทอื่นจาก

คัมภีร์นี้ และในวินัยท่านทำการแสดงไขด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน

สมเยน พุทฺโธ ภควา แต่ทำการแสดงไขด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอก สมย

ตอบว่า เพราะในที่นั้นมีความหมายเป็นอย่างนั้น แต่ในที่นี้มีความหมาย

เป็นอย่างนี้ ( มีความหมายคนละอย่าง). จริงอยู่ ในบรรดาอภิธรรม

เป็นต้นเหล่านั้น ในอภิธรรม และในสุตตบทอื่นนอกจากนี้ สมยศัพท์

มีความหมายในอธิกรณะ ( สัตตมีวิภัตติ) และมีความหมายภาวลักษณะโดย

ภาวะ. เพราะว่า สมยะ เป็นอธิกรณะ มีกาละเป็นอรรถ และมีสมูหะ

เป็นอรรถ และท่านกำหนดว่าเป็นภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย มีผัสสะ

เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ เวลานั้น โดยภาวะแห่งสมยะ

กล่าวคือ ขณะ การรวบรวมและเหตุ เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความ

นั้นกระจ่าง ท่านจึงแสดงไขเป็นสัตตมีวิภัตติในบทนั้น. จริงอยู่

สมัยแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้ท่านพระสารีบุตรเป็นต้น ก็รู้

ได้ยาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยสมัยนั้น อัน

เป็นเหตุ และเป็นกรณะ และเมื่อทรงเพ่งถึงเหตุการบัญญัติสิกขาบท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ทรงประทับอยู่ในที่นั้น ๆ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความนั้นกระจ่าง

ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นตติยาวิภัตติในบทนั้น.

แต่ในที่นี้ และในที่อื่น ที่มีใจความอย่างนี้ สมยศัพท์ลงในอรรถ

แห่งทุติยาวิภัตติ จริงอยู่ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

พระสูตรนี้หรือสูตรอื่น ในสมัยนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ด้วยธรรม

เป็นเครื่องอยู่ คือ กรุณาโดยส่วนเดียวทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อให้ใจ

ความนั้นกระจ่าง ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นทุติยาวิภัตติในบทนี้.

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

เพ่งถึงใจความนั้น ๆ แล้ว ท่านกล่าว สมย ศัพท์

ไว้ในที่อื่นด้วย สัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ แต่

ในที่นี้ท่านกล่าว สมย ศัพท์นั้นไว้ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้ว่า สมย ศัพท์นั้น

มีประเภทที่แยกพูดได้ดังนี้ว่า ตสฺมึ สมเย, เตน สมเยน หรือว่า

ต สมย แต่ว่าโดยใจความ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ในที่ทั้งปวง

ดังนี้. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าวว่า เอก สมย พึงทราบใจความ

ว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.

อธิบาย ภควา

คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. เพราะว่าคนทั้งหลาย

เรียกครูในโลกว่า ภควา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ชื่อว่า เป็นครู ของ

สัตว์ทุกจำพวก เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระคุณทุกอย่าง เพราะฉะนั้น

พึงทราบครูว่า ภควา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ถึงแม้ว่าท่านโบราณจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ, คำว่า ภควา เป็น

คำสูงสุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกท่านผู้ประกอบ

ด้วยความเคารพนับถือว่า ภควา ดังนี้

อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท่านกล่าวว่า ภควา

เพราะมีพระภาคยะ (บารมีธรรม). เพราะหักออก

เสียซึ่งกองกิเลส เพราะประกอบด้วยบุญศิริ (เพราะ

จำแนกกรรม) เพราะเสวยพรหมวิหารธรรม และ

เพราะคายเสียซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้ง ๓.

พึงทราบเนื้อความของบทว่า ภควา นี้ ด้วยอำนาจคาถานี้ โดย

พิสดาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า ภควา นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธา-

นุสสตินิเทศ ในวิสุทธิมรรค.

ก็ในอธิการนี้ ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรม

ตามที่ตนได้ฟังมา ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต ชื่อว่า ย่อมทำสรีระ คือ

พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ เพราะนั้น พระเถระ

ย่อมยังชนที่เกิดความเบื่อหน่าย เพราะไม่เห็นพระศาสดาให้โล่งใจว่า

ปาพจน์ ที่ขาดศาสดาย่อมไม่มี นี้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย. พระเถระ

เมื่อแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอยู่ ในสมัยนั้น ด้วยคำว่า

เอก สมย ภควา ยังการดับแห่งรูปกายให้แล่นไป. เพราะเหตุนั้น

พระเถระย่อมยังชนที่เมาในชีวิตให้สลดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้

พระองค์นั้น ทรงแสดงอริยธรรม มีชื่อย่างนี้ ทรงไว้ซึ่งกำลัง ๑๐

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่น

ที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้น

ให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.

อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอว ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.

เมื่อกล่าวว่า เม สุต ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอก

สมย ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึง

เทสกสมบัติ.

ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา

คำว่า อุกฺกา ในคำว่า อุกฺกฏฺาย วิหรติ นี้ หมายเอาดวง

ประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชู

คบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดี

อย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุด

ประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺ-

ฐาย" เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็น

คำแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัด

เปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระ

อริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการ

ประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง ๔) คือ

ยืน เดิน นั่ง และนอน.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนิน

ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก

อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้

เป็นไปมิให้ทรุดโทรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ดังนี้.

ที่มาของป่าสุภควัน

ในบทว่า สุภควเน นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. ป่าชื่อว่า

สุภคะ เพราะถึงความงาม อธิบายว่า เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่

พึงประสงค์สวยงาม. ก็เพราะความสวยงามของป่านั้น ผู้คนทั้งหลายจึง

พากัน ถือเอาข้าวและน้ำเป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นสนุกสนานอยู่ในป่านั้น

นั่นแลตลอดทั้งวัน และปรารถนาสิ่งที่เขาปรารถนาดี ๆ ในที่นั้นว่า

ขอเราทั้งหลายจงได้ลูกชายลูกหญิงเถิด และสิ่งที่พึงปรารถนานั้นเขาก็ได้

สมปรารถนาทีเดียว ป่านั้นชื่อว่า สุภคะ เพราะสง่างาม และเพราะมี

สิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม ดังพรรณนามานี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สุภคะ

แม้เพราะคนส่วนมากติดใจ ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์

ทั้งหลายชอบใจ คือทำให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเอง

อธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่า

เหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่

เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่

ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้

กันเถิด. ป่านั้นด้วย ถึงความงามด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า สุภควัน. ใน

ป่าสุภควันนั้น. ธรรมดาป่า มี ๒ ชนิด คือ ป่าลูก และป่าเกิดเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น

ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.

ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.

แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.

สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน

ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย

ต้นละหุ่ง และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็

เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน

ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น

มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์.

ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม่เจ้าป่า.

อธิบาย ราช ศัพท์

ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้

นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า

ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง

มั่นคง แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส

๒ อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลาน ราชา (ราชาแห่งต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสน-

บุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) สาโล จ โส เชฏฺกฏฺเน ราชา จ)

ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า มูล แปลว่า ใกล้. เพราะว่า

มูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ใกล้โคน ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึง

ถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลำต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่

ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่ง

มูลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ใกล้ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัว

ด้วยเหตุทีเงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่น

ในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้

มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า สมีปะ (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึง

ทราบเนื้อความในคำว่า สาลราชมูเล นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่.

ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ในเมืองอุกกัฏฐาก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่า

สุภควัน ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควันนั้นไซร้ ก็ไม่ควร

กล่าวว่า ในเมืองอุกกัฏฐา. เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่

คราวเดียวกันในที่ ๒ แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้.

เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้.

เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น

ย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนาฉันใด แม้ในที่

นี้ก็ฉันนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าสุภควันใกล้

เมืองอุกกัฏฐา (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

ใกล้ต้นรังใหญ่ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ดังนี้. ก็คำว่า อุกฺกฏฺา

เป็นคำมีความหมายบ่งถึงโคจรคาม. ถึงคำว่า สุภควน เป็นคำมีความ

หมายบ่งถึงสถานที่อยู่ที่เหมาะแก่บรรพชิต ใน ๒ คำนั้น ท่านพระ

อานนท์แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ด้วยการระบุถึงเมืองอุกกัฏฐา แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อ

บรรพชิต ด้วยการระบุถึงป่าสุภควัน.

อนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงการเว้นอัตตกิลมาถานุโยค โดยทรงรับ

ปัจจัยด้วยคำต้น (อุกฺกฏฺา) แสดงการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค โดยทรง

ละวัตถุกามด้วยคำหลัง (สุภควน) ท่านแสดงพระวิริยะในการทรง

แสดงพระธรรมด้วยคำต้น. แสดงพระอัธยาศัยที่น้อมไปในวิเวกด้วยคำ

หลัง. แสดงการเข้าถึงพระกรุณาคุณด้วยคำต้น. การเข้าถึงพระปัญญาคุณ

ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระองค์มีพระอัธยาศัยที่น้อมไปในการยังประโยชน์

เกื้อกูลและความสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยคำต้น. แสดงความเป็น

ผู้ไม่หวังผลตอบแทนในการทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ผู้อื่นด้วย

คำหลัง. แสดงการประทับอยู่อย่างสุขสำราญ เสียสละความสุขที่

ชอบธรรมเป็นเครื่องหมายด้วยคำต้น. แสดงการประทับอยู่อย่างสุข

สำราญ มีการหมั่นประกอบในอุตตริมนุสสธรรมเป็นเครื่องหมายด้วย

คำหลัง. แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยคำต้น.

แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลายด้วยคำหลัง. แสดง

ความที่พระองค์อุบัติในโลกแล้วเป็นผู้เจริญพร้อม (ทุกด้าน) ในโลก

ด้วยคำต้น. แสดงความเป็นผู้ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยคำหลัง. ท่านพระ

อานนท์แสดงการยังประโยชน์ที่เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ขึ้นนั้นให้สำเร็จด้วยคำต้น เพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชน

มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอกคือใคร คือพระตถาคตเจ้า ผู้เป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ, แสดงการประทับอยู่อันสมควรแก่

สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นด้วยคำหลัง.

พึงทราบการประกอบความในคำว่า ยทตฺถ ภควา อุปฺปนฺโน

ตทนุรูปวิหาร นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ

ขึ้นที่เป็นโลกีย์และโลกุตตระ คือครั้งแรกประสูติที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ ๒

ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงแสดงที่ประทับ

สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นในป่าทั้งหมด.

บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงสถานที่และเวลาก อธิบายว่า พระผู้-

มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสมัยใด พระอานนทเถระแสดงสถานที่และ

เวลานั้นว่า ในสมัยนั้น และประทับอยู่ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ใด ในที่ใกล้

ต้นรังใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่งย่อมทรงแสดงในสถานที่และเวลาที่ควรแสดง.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมในสถานที่หรือเวลา

ที่ไม่เหมาะ ก็ในข้อนี้มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังเป็นเวลา

ที่ไม่สมควรนะ ดังนี้ เป็นเครื่องสาธก. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงใน

อรรถว่า ปทปูรณมัตตะ (สักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม) บ้าง ใน

อรรถว่า อวธารณะ (ห้ามความอื่น) บ้าง ในอรรถว่า อาทิกาละ

(กาลอันเป็นเบื้องต้น) บ้าง. ภควา เป็นบทแสดงถึงว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเป็นครูของโลก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา.

อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคำโดยนัย

เป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุ

เพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.

บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือได้พูดด้วย (แต่) ใน

ที่นี้มีความหมายอย่างนี้ว่า เตือนให้รู้สึก (ส่วน) ในที่อื่น ย่อมลงใน

อรรถว่า ญาปนะ (ให้ทราบ) บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบ ดังนี้.

ลงในอรรถว่า เรียก บ้าง สมจริงดังพระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

เธอจงมา จงไปเรียกพระสารีบุตรมาตามคำของเราตถาคต.

บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา จริงอยู่ คำนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะสำเร็จมาแต่การประกอบคุณ คือความ

เป็นผู้มีปกติขอ (ของภิกษุเหล่านั้น ) ก็นักศัพท์ศาสตร์ทั้งหลายสำคัญ

อยู่ว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอเป็นปกติบ้าง ชื่อว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาเป็นต้นบ้าง เป็นผู้

ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้มีปกติกระทำคำอนุโมทนาว่า "สาธุ"

ในการขอบ้าง.

ก็ด้วยคำที่สำเร็จจากการประกอบด้วยคุณ เช่นความเป็นผู้มีปกติ

ขอเป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น นั้น ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศ

จริยาวัตร (ของภิกษุเหล่านั้น) ที่คนชั้นสูงและคนชั้นต่ำคุ้นเคยกันแล้ว

(เป็นการ ) บำราบความเป็นผู้เห่อเหิมและความหดหู่ใจ (ของพวกเธอ)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วย

พระดำรัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเยินด้วยกระแสแห่ง

พระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟัง

ด้วยพระดำรัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และ

ทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสที่ทรง

ประสงค์จะเตือน ( ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติ

แห่งหลักคำสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคำถาม

สอดเข้ามาว่า เกราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งกลาย เป็นผู้เจริญ

ที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ และอยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.

อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัท

ทุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้

เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิต

เป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคำสั่งสอน

ทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสำนักของ

พระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สำนัก

พระศาสดา.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรม-

เทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน

และเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงเฉพาะ เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง

ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคำถาม

สอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

แสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงอเสดงธรรมเลย

ทีเดียว ? ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิด

เรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง นั่งมนสิการ

กรรมฐานอยู่บ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น

(ก่อนแล้ว ) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า พระ

ธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิด

เหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย เหตุนั้น เพื่อเป็น

การเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.

คำว่า ภทนฺเต นั่น เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการ

ถวายคำตอบแด่พระศาสดา อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ภิกษุเหล่านั้น

เมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่าตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงประทานคำเรียกเฉพาะว่า ภิกฺขโว ภิกษุทั้งหลายถวาย

คำตอบว่า ภทนฺเต.

บทว่า เต ภิกฺขู หมายเอาพวกภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกมา.

บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ( ภิกษุเหล่านั้น ) ทูลรับ

พระพุทธฎีกา อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง คือน้อมรับ ได้แก่ทูลรับ.

บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.

ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว

บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ด

ทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนา

ด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไป

ด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียด

อ่อนสำเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิงแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วย

ลวดทองคำ เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้

สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ ( ดูเสมือน) จะเคลื่อนไหว

ได้ เสมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวาร

ที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงิน

มณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์

อัน โสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติ อัน โอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ ไปด้วยผู้คนที่

พูดจาหัวเราะขัยเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกำไลทองที่

คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนา

ความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง

บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย ดังนี้. ก็การ

พรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดง

แล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

พระสูตรขึ้นแสดงก่อน อธิบายว่า เหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดงมี ๔

ประการ คือ

๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์

๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น

๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอำนาจการถาม

๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น

ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนอื่นมิได้ทูล

อาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระองค์

แต่ลำพังอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร มหาสติ-

ปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่งสัมมัป-

ปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และมรรค

พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดงเป็นไปตามอัธยาศัยของ

พระองค์.

อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัย

ความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ของชน

เหล่าอื่นอย่างอื่นว่า ธรรมะบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เรา

ตถาคตพึงแนะนำราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้น ดังนี้ ( เป็นต้น )

แล้วจึงตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยของผู้อื่น (นั้น) ตัวอย่างเช่น จุลล-

ราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุ-

วิภังคสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปตาม

อัธยาศัยของผู้อื่น.

อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่เหล่าสัตว์ทั้งกลายมีอาทิอย่างนี้คือ บริษัท ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

วรรณะ ๔ นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราช เทวดา

ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหมพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่

เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

นิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้

หนอแล ในโลกนี้ อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดของคน

เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนา มีโพช-

ฌงคสังยุต เป็นต้น ก็หรือพระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวดาสังยุต มาร-

สังยุต พรหมสังยุต สักกปัญหสูตร จุจลลเวทลัลสูตร มหาเวทัลลสูตร

สามัญญผลสูตร อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร ขรโลมสูตร เป็นต้น พระสูตร

เหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปด้วยอำนาจการถาม.

อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุ-

การณ์ที่เกิดขึ้นตรัสเทศนา ตัวอย่างเช่น ธัมมทายาทสูตร จุลลสีหนาทสูตร

จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร อัคคิกขันธุปมสูตร

เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่

ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ในบรรดาเหตุที่ยกขึ้นแสดง

๙ ประการ ดังพรรณนามานี้ มูลปริยายสูตรนี้ มีเหตุที่เกิดขึ้นแสดง

เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ด้วยว่า มูลปริยายสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยกขึ้นแสดง ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้น ในเพราะเพตุที่เกิงขึ้นอย่างไร ?

ในเพราะมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปริยัติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

มานะเกิดเพราะปริยัติ

ดังได้สดับมา พราหมณ์ ๕๐๐ คน เรียนจบไตรเพท ภายหลัง

ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเห็นโทษในกามทั้ง-

หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช จึงออกบวชอยู่ในสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด

เพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน จึงเกิดมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พลันทีเดียว เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จะไม้ตรัสเรื่องอะไร ๆ นอกเหนือจากลิงค์ ๓ บท ๔ และวิภัตติ ๗

ก็เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่เป็นเงื่อนงำ (ไม่เข้าใจ) สำหรับ

พวกเราย่อมไม่มี ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น ไม่มีความเคารพในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ไม่ไป

ฟังธรรมเป็นประจำบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวารจิตนั้นของ

ภิกษุเหล่านั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ ยังถอนตะปูคือมานะไม่ได้ ก็ไม่

ควรเพื่อทำให้แจ้งมรรค หรือผล ทรงกระทำมานะที่เกิดขึ้น เพราะอาศัย

การเล่าเรียนสุตะของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุเกิดเรื่อง จึงเริ่มการ

แสดงธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาดในการแสดงมูลปริยาย-

สูตรแห่งธรรมทั้งปวง เพื่อจะหลักเสียซึ่งมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ดังนี้.

ความหมายของมูลปริยายสูตรและธรรมมะ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย แปลว่า พระ

สูตรว่าด้วยเหตุที่เป็นมูลฐานแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺเพส แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ไม่มีส่วนเหลือ จริงอยู่ ศัพท์ว่า สัพพะ นี้ บ่งถึงความไม่มีส่วนเหลือ.

ศัพท์ว่า สัพพ นั้น ย่อมแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ให้เหลือ เหมือน

อย่างในประโยคเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง เวทนาทั้งปวงไม่เที่ยง

ในบรรดาธรรมที่เกี่ยวเนื่องในกายของตนทั้งหมด ดังนี้.

ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ

สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และ

เญยยะ.

จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังใน

ประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ

เคยยะ ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ตังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรม

อันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้.

ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า

ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ

สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้น

ย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่ ) ในอำนาจศัตรู ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็น

ธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรม

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ปรากฏในอรรถว่า สุญญตา ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ในสมัย

นั้นแล พระธรรมทั้งหลาย ย่อมมี ดังนี้.

ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปุญญะ (บุญ) ในประโยคเป็นต้นว่า

พระธรรมที่ประพฤติดีแล้ว (สะสมไว้ดีแล้ว) ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้.

ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาปัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า ธรรมทั้ง-

หลายที่เป็นอนิยต ๒ ประการ ดังนี้.

ปรากฏในอรรถว่า เญยยะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมทั้ง -

ปวง ย่อมมาสู่คลอง ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ

ทั้งปวง ดังนี้.

แต่ในที่นี้ ธัมมะศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า สภาวะ ในคำ

ว่า ธรรมนั้น มีอรรถพจน์ดังนี้ว่า สภาวะเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะ

ของตน เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมะ.

มูล ศัพท์ ท่านกล่าวไว้พิสดารด้วยทีเดียว. แต่ในที่นี้มูลศัพท์นี้

พึงทราบว่า ลงในอรรถว่า เหตุที่ไม่ทั่วไป.

ปริยาย ศัพท์ ย่อมลงในอรรถว่า เทศนา ดังในประโยคเป็นต้น

ว่า ท่านจงจำพระสูตรนั้นว่า มธุปิณฑปริยายสูตร ดังนี้.

ปริยายศัพท์ ลงในอรรถว่า การณะ (เหตุ) ดังในประโยคเป็น

ต้นว่า พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาที เพื่อตรัสโดยชอบ พึงตรัส

กะเราโดยเหตุใด ดูก่อนพราหมณ์ เหตุนั้นแล มีอยู่ ดังนี้.

ลงในอรรถว่า วาระ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนอานนท์

วันนี้เป็นวาระของใครหนอแล เพื่อจะกล่าวสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง

เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย

ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง-

ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.

อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า

ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่

สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนืองในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า

ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า

มานี้แล.

หลักการใช้ โว ศัพท์

โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ

ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม).

อธิบายว่า

โว ศัพท์ ใช้ในปฐมวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน

อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน

อยู่หรือ ดังนี้.

ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้.

ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่

ในสำนักของเราตถาคต ดังนี้.

ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

เราตถาคต จักแสดงวนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ ดังนี้.

ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร เละ

โมคคัลลานะ นี้เป็นสุภาษิตของเธอทั้งปวง ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า สักว่าทำบทให้เต็ม ดังในประโยคเป็นต้นว่า ก็

พระอริยะเหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ดังนี้. แต่ในที่นี้ โว ศัพท์นี้

พึงทราบว่าใช้ในจตุตถีวิภัตติ.

บทว่า ภิกฺขเว เป็นการตรัสเรียกภิกษุที่อยู่เฉพาะพระพักตร์ซ้ำอีก

ด้วยการให้รับฟัง. บทว่า เทเสสฺสามิ เป็นการเตือนให้รู้ว่าจะแสดง

ธรรม. อธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรม

ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย, เราจักแสดงเทศนาอันเป็นตัวเหตุโดยนัยที่ ๒ แก่

พวกเธอ ดังนี้. สองบทว่า ต สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังใจ

ความนั้น คือเหตุนั้น ได้แก่เทศนานั้นที่เราจะกล่าวอยู่. ก็ ๒ บทนี้ว่า

สาธุก สาธุ ในคำนี้ว่า สาธุก มนสิกโรถ ดังนี้ มีใจความอันเดียวกัน.

หลักการใช้ สาธุ ศัพท์

อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อายาจนะ

(อ้อนวอน ) สัมปฏิจฉนะ (รับ) สัมปหังสนะ (ร่าเริง) สุนทระ

(ดี) และทัฬหีกรม (ทำให้มั่น). อธิบายว่า :-

สาธุ ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อ้อนวอน ดังในประโยคเป็นต้นว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงแสดงพระธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยสังเขป ดังนี้. ใช้ในอรรถ

ว่า รับ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นแล ชื่นชม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ยินดีสุภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า ร่าเริง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดีละ ๆ สารีบุตร ดังนี.

ใช้ในอรรถว่า ดี ดังในประโยคเป็นต้นว่า

พระราชาผู้รักธรรม เป็นคนดี, คนที่มีปัญญา (ใช้

ปัญญาในทางดี) เป็นคนดี, คนที่ไม่ทำลายมิตร

เป็นคนดี การไม่ทำบาป เป็นความดี ดังนี้.

สาธุกศัพท์ ก็เหมือนกัน ใช้ในอรรถว่า กระทำให้มั่น ท่าน

กล่าวไว้ว่า ใช้ในอรรถว่า บังคับบ้าง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟังให้ดี ดังนี้.

ถึงในพระสูตรนี้ ก็พึงเข้าใจความหมายอย่างเดียวกันนี้ ใช้ทั้งใน

การทำให้มั่น ทั้งในการบังคับนี้แหละ แม้จะใช้ในอรรถว่า ดี ก็ควร.

จริงอยู่ ด้วยสาธุกศัพท์ที่มีความหมายว่า ทำให้มั่น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแม้คำนี้ว่า เธอทั้งหลายเมื่อจะเรียนให้ดี จงฟังธรรม

นี้ให้มั่น, ที่มีความหมายว่า บังคับ ทรงแสดงคำแม้นี้ว่า เธอทั้งหลาย

จงฟังตามอาณัติของเรา ที่มีความหมายว่า ดี ทรงแสดงคำแม้นี้ว่า เธอ

ทั้งหลายจงฟังธรรมนี้ให้ดี ให้งาม.

บทว่า มนสิกโรถ ความว่า สนใจ คือใส่ใจ อธิบายว่า มีจิต

ไม่ฟุ้งซ่าน พิจารณา คือกระทำไว้ในใจ ดังนี้.

บัดนี้ คำว่า ต สุณาถ นี้ ในอธิการนี้ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่าน

แห่งโสตินทรีย์, คำว่า สาธุก มนสิกโรถ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่าน

แห่งมนินทรีย์ ด้วยการประกอบทำให้มั่นไว้ในใจ.

อนึ่ง ใน ๒ คำนี้ คำแรก เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

คำหลัง เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยอรรถ. ดังในประโยคเป็นต้นว่า ท่าน

ประกอบการฟังธรรมด้วยคำแรก ประกอบการทรงจำ และการใคร่

ครวญธรรมะที่ได้สดับแล้วด้วยคำหลัง. อนึ่ง ท่านแสดงว่า พระ

ธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยพยัญชนะด้วยข้อแรก เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่ง

ควรฟัง และท่านแสดงว่า พระธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยอรรถด้วยคำหลัง

เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเอาบทว่า สาธุกะ ประกอบเข้าไว้ด้วยกันทั้ง

๒ บท บัณฑิตพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระ

ธรรมนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง และเป็นเทศนาที่ลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอ

ทั้งหลายจงฟังให้ดี. เพราะเหตุที่พระธรรมนี้ มีความหมายอันลึกซึ้ง และ

มีปฏิเวธอันลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงใส่ใจไว้ให้ดี ดังนี้.

บทว่า ภาสิสฺสามิ แปลว่า เราตถาคตจักแสดง คือจักแสดง

เทศนาที่ประกาศไว้ในคำนี้ว่า เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้นโดยไม่ย่นย่อ

ทีเดียว. อีกประการหนึ่งแลมีอธิบายไว้ว่า เราจักกล่าวเรื่องนั้นแม้โดย

พิสดาร ดังนี้. จริงอยู่ บทเหล่านี้ระบุเนื้อความทั้งโดยย่อและพิสดาร.

สมดังที่พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า

ท่านจะแสดงโดยย่อก็ตาม จะกล่าวโดยพิสดารก็

ตาม เสียงไม่ก้องกังวานดุจนกสาลิกา แต่ก็แสดง

อย่างมีปฏิภาณ ดังนี้.

เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแล เกิดอุตสาหะรับพระพุทธ-

ดำรัส. อธิบายว่า รับเอา คือถือเอาพระดำรัสของพระศาสดาว่า อย่าง

นั้นพระองค์ผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ คือได้ตรัสพระสูตร

ทั้งสิ้นนี้ คือที่จะต้องกล่าวต่อไปนี้ มีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า

อิธ ในคำว่า อิธ ภิกฺขเว นั้น เป็นนิบาต ใช้ในการอ้างสถานที่.

ในที่บางแห่งพระองค์ตรัสหมายเอา โลก. สมดังพระธรรมสังคาหกาจารย์

กล่าวไว้ว่า พระตถาคตย่อมเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้. ในที่บางแห่ง

ท่านกล่าวหมายเอา ศาสนา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมณะ (ที่ ๑) ในพระศาสนานี้แลมีอยู่ สมณะที่ ๒

ในพระศาสนานี้มีอยู่ ดังนี้. ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอา โอกาส

ดังท่านกล่าวไว้ว่า.

ดูก่อนเพื่อร่วมทุกข์ เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดำรงอยู่

ในโอกาสนี้นั่นแล และเราได้อายุเพิ่มอีก ท่านจง

ทราบอย่างนี้ ดังนี้.

ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอาเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น. สมดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราตถาคตบริโภค

เสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมาย

เอา โลก ดังนี้.

บทว่า อิธ ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาอีก เพื่อทรงแสดงเทศนาตามที่ได้ทรงปฏิญาณไว้. แม้ด้วยบท

ทั้ง ๒ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ความหมายของปุถุชน

ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-

ปุถุชน ชื่อว่า เญยยะ เพราะไม่มีอารม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มี

อธิคม. อธิบายว่า ปุถุชนใด ชื่อว่า ไม่มีอาคมที่ขจัดความไม่รู้ เพราะ

ไม่รู้เหตุที่เว้นจากการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ

อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีอธิคม

เพราะไม่ได้บรรลุธรรมที่จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ปุถุชนนั้นจึงชื่อว่า

เญยยะ เพราะไม่มีอาคม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มีอธิคม.

ชนนี้นั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการ

ยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้

ชื่อว่า หนา (ปุถุ) เพราะหยั่งลงภายในกิเลสที่หนา.

จริงอยู่ ชนนั้น ซึ่งว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีอาทิคือ ยัง

กิเลสเป็นต้น ที่หนามีประการต่าง ๆ ให้เกิด. สมดังพระธรรมสังคาห-

กาจารย์กล่าวไว้ว่า ชนทั้งกลาย ซึ่งว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กังกิเลส

หนาให้เกิด, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกสักกายทิฏฐิเบียดเบียน

มาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ต้องคอยมองดูศาสดาบ่อย ๆ ชื่อ

ว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังไม่หลุดพ้นไปจากคติทั้งปวงที่หนาแน่น,

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งเครื่องปรุงแต่งต่าง ๆ เป็นอัน

มาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกโอฆะต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพา

ไป, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ

เป็นอันมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เราเดือดร้อนด้วยความเร่าร้อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กำหนัด ติดใจ

สยบ ลุ่มหลง ติดขัด ขัดข้อง พัวพัน ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก.

ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกนิวรณ์ ๕ ร้อยรัดไว้ ปกคลุม ปิดบัง

ครอบงำไว้เป็นอันมาก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอยู่ใน

หมู่ชนผู้มีธรรมจริยาต่ำ ผู้หันหลังให้กับอริยธรรม จำนวนมาก คือ

นับไม้ถ้วน ซึ่งหันหลังให้อริยธรรม, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน

เพราะอรรถว่า ชนนี้ถึงการนับว่าแยกอยู่ต่างหาก คือ ไม้เกี่ยวข้องกับ

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีล และสุตะเป็นต้น. ด้วย

๒ บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ ดังกล่าวมานี้

ในบรรดาปุถุชน ๒ จำพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็น

เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ได้ตรัสไว้ คือ อันธปุถุชน

พวกหนึ่ง กัลยาณปุถุชนพวกหนึ่ง พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวหมายถึงอันธปุถุชน.

อริยะ - สัตบุรุษ

คำว่า อริยะ ในคำเป็นต้นว่า อริยาน อทสฺสาวี ท่านกล่าว

หมายเอา พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก เพราะ

เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม ดำเนินไปในทางเจริญ

และอันชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก พึงดำเนินตาม.

อีกอย่างหนึ่ง พระอริยะในที่นี้ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง. สมดังที่

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตท่านเรียกว่า

อริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกกองพระตถาคตเจ้า พึง

ทราบว่า สัตบุรุษ ในคำว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า

เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า โสภณบุรุษ เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็น

โลกุตตระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษ

เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ท่านกล่าวแยกออกเป็น ๒ พวก. จริงอยู่ พระ

พุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกก็ดี เป็นทั้ง

พระอริยะ และสัตบุรุษ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุคคลใดแล เป็นนักปราชญ์ ผู้กตัญญูกตเวที เป็น

กัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำการช่วยเหลือ

ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยความเต็มใจ บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวผู้เช่นนั้นว่า สัตบุรุษ ดังนี้.

จริงอยู่ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ

โหติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระพุทธสาวก, ด้วยคำว่า กตญฺญุตา

เป็นต้น ท้านกล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้า ดังนี้

แล.

บัดนี้ ท่านผู้ใด มีปกติไม่เห็นพระอริยเหล่านั้น และไม่ยินดีใน

การเห็น ผู้นั้น พึงทราบว่า มีปกติไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ดังนี้.

และการเห็นนั้นแยกออกเป็น ๒ คือ ไม่เห็นด้วยตา ๑ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น การไม่เห็นด้วยญาณ ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายถึงบุคคลจะเห็นด้วยมังสจักษุ หรือ

ทิพยจักษุ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้เห็น เพราะจักษุเหล่านั้นรับเอาเพียงอุปาทายรูป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ไม่ใช่ยึดเอาความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ อนึ่ง แม้สุนัขบ้าน สุนัข

จิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ แต่ว่า สุนัขบ้าน

เป็นต้นเหล่านั้นจะชื่อว่าได้เห็นพระอริยะทั้งหลายหามิได้. ในข้อนี้ มี

เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์

อยู่กับพระอริยะ แต่ไม่รู้จักพระอริยะ

ดังได้สดับมา อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ในจิตตลดา-

บรรพต บวชเมื่อแก่ อยู่มาวันหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระ

รับเอาบาตรจีวรของพระเถระเดินตามหลังมา ถามพระเถระว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ บุคคลเช่นไรชื่อว่า พระอริยะ พระเถระตอบว่า บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่ รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระ ทำวัตร

ปฏิบัติแม้เที่ยวไปกับพระอริยะ ก็ย่อมไม่รู้จักพระอริยะ โยม พระอริยะ

ทั้งหลาย รู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. เมื่อพระเถระแม้พูดอย่างนี้ อุปัฏฐาก

นั้น ก็ยังหารู้ไม่.

เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุ ไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วย

ญาณเท่านั้น ชื่อว่าเห็น. สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ

ประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ อันเธอเห็นแล้ว, ดูก่อนวักกลิ

ผู้ใดแล เห็นพระธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต ดังนี้.

เพราะฉะนั้น บุคคลแม้เห็นอยู่ (ซึ่งพระอริยะ) ด้วยจักษุ แต่

ไม่เห็นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยญาณ

และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว พึงทราบ ไม่เห็นพระ

อริยเจ้าทั้งหลาย เพราะธรรมที่ทำให้พระอริยะ และความเป็นพระอริยะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

อันบุคคลนั้นยังไม่เห็น ดังนี้.

สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริย-

ธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น.

ก็ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละ

ประเภท มี ๕ เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อัน

นี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต

นี้.

วินัย ๒ อย่าง

จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. เละวินัย

แต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวร-

วินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริย-

สังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหาน

วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิลสรณปหาน.

สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์-

สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร.

สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการ

สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร.

สังวรที่ตรัสไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส

(ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่อง

ห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

เครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอัน

บุคคลย่อมละด้วยปัญญา.

นี้เรียกว่า ญาณสังวร.

สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียก

ว่า ขันติสังวร.

สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้

นี้เรียกว่า วิริยสังวร

อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่อง

ระวังกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตน

และเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น

ที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕

ดังอธิบายมานี้ก่อน.

ปหานะ ๕

อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะเป็น

ปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกาจัด

ความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกาย-

ทิฏฐิ ด้วยการกาหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกัน

ด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็น

ส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเรา

ของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ ( กลุ่ม, กอง ), ละสัญญาในธรรม

ที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค, ละอุจ-

เฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ความเสื่อม, ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณา

เห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ,

ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,

ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณคือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป,

ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ, ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระ

นิพพานด้วยอนุโลม, ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่า

ตทังคปหานะ.

อนึ่ง การละนีวรณธรรม เป็นต้น นั้น ๆ ด้วยสมาธิแยกออกเป็น

อุปจารสมาธิ เพราะห้ามความเป็นไป (แห่งนีวรณ์) ดุจการแหวก

สาหร่ายบนผิวน้ำ โดยใช้หม้อแหวกฉะนั้น อันนี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ.

ส่วนการละกองกิเลสในสันดานของตน อันนับเนื่องในสมุทัยที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายโดยที่

กองกิเลสนั้นกลับเป็นไปไม่ได้อีกอย่างเด็ดขาด แห่งพระโยคาวจรผู้ชื่อ

ว่า มีมรรคนั้น เพราะเหตุที่เจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว อันนี้ชื่อว่า

สมุจเฉทปหานะ.

อนึ่ง ข้อที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล อันนี้ชื่อว่า

ปฏิปัสสัทธิปหานะ. พระนิพพานที่ชื่อว่าละเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงได้

เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงแล้ว อันนี้ ชื่อว่า นิสสรณปหานะ.

อนึ่ง เพราะเหตุที่การละทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ปหานะ โดยอรรถว่า

สละ ชื่อว่า วินัย โดยอรรถว่า กำจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะการละกิเลสนั้นด้วย เพราะทำให้เกิดมีการกำจัด

(กิเลส ) นั้น ๆ ด้วย การละทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า ปหานวินัย. แม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ปหานวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ประการ ด้วยประการฉะนี้.

วินัยนี้โดยย่อมี ๒ และโดยแยกแยะมี ๑๐ ดังพรรณนามาฉะนี้

เพราะเหตุที่ปุถุชนผู้มิได้สดับนั้น ไม่มีวินัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ฉะนั้น ปุถุชน

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อวินีตะ (ผู้ไม่มีวินัย) เพราะ

ขาดสังวร และเพราะยังละปหาตัพพธรรมไม่ได้.

ในข้อว่า สปฺปุริสาน อทสฺสาวี (ไม่เห็นสัตบุรุษ ) สปฺปุริส-

ธมฺมสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ) สปฺปุริสธมฺเม

อวินีโต (ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ) นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ข้อนี้ โดยความหมายไม่แตกต่างกันเลย สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระอริยะก็คือสัตบุรุษ สัตบุรุษก็คือพระอริยะ ธรรมของพระอริยะก็คือ

ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือธรรมของพระอริยะ วินัย

ของพระอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษก็คือวินัยของ

พระอริยะ ศัพท์ว่า อริเย หรือ สปฺปุจริเส ก็ดี อริยธมฺเม หรือ

สปฺปุริสธมฺเม ก็ดี อริยวินเย หรือ สปฺปุริสวินเย ก็ดี ( ทั้งหมด )

นั้นเป็นอันเดียวกัน มีเนื้อความอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีค่าเท่ากัน

กำเนิดเดียวกันทั้งนั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงสัพพธัมมมูลปริยายสูตร แก่พวกเธอ แต่

ไม่ทรงแสดงสูตรนั้น กลับทรงชี้แสดงถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้.

ตอบว่า เพื่อจะทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนั้น โดยธรรมเทศนาอันเป็น

บุคคลาธิษฐาน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

เทศนา ๔

จริงอยู่ การเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันดับแรกมี ๔

ประการ ด้วยอำนาจธรรมและบุคคลนั่นแล คือธรรมเทศนาที่ยกพระ

ธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็น

ที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลา-

ธิษฐาน) และพระธรรมเทศนา ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน).

บรรดาเทศนา ๔ ประการนั้น เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้, เวทนา ๓ อะไรบ้าง คือ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา เละอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้ง ๓

เหล่านี้แล พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๖ มี

ผัสสายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ มีอธิษฐานธรรม ๔ พึงทราบว่า

ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.

เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษบุคคล ๓ พวก

เหล่านี้ มีอยู่ในโลก ๓ จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? คือบอด, มีจักษุ

ข้างเดียว และจักษุ ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบอดเป็น

ไฉน ? พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.

เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยในทุคติเป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า กายทุจริต

แลมีวิบากอันลามก อภิสัมปรายภพ ฯลฯ ย่อมบริหารตนอันสะอาด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภัยในทุคติ พึงทราบว่า ชื่อว่า

ธรรมเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

พึงทราบอรรถาธิบายว่า ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น เพื่อ

จะทรงแสดงปุถุชน ขยายเนื้อความแห่งเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐานให้ชัด

จึงทรงแสดงชี้ถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้

มิได้สดับ มิได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนมิได้

กำหนดรู้ขันธ์ และความสำคัญที่เป็นมูลรากของธรรมทั้งปวงที่ทรง

ประสงค์เอาในที่นี้ ก็มีความไม่กำหนดรู้เป็นมูลราก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงความสำคัญในวัตถุทั้งหลาย มีปฐวี (แผ่นดิน) เป็นต้น

อันให้เกิดธรรมที่นับเนื่องในสักกายทิฏฐิทั้งหมดของปุถุชนนั้น จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า ปวึ ปวิโต ดังนี้.

ปฐวี ๔ อย่าง

ในคำว่า ปวึ ปวิโตนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ปฐวีมี ๔

อย่าง คือ ลักขณปฐวี ๑ สสัมภารปฐวี ๑ อารัมมณปฐวี ๑ และ

สัมมติปฐวี ๑.

ในปฐวี ๔ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้น

ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ? ได้แก่สิ่งที่แข้นแข็ง

( เป็นลักษณะ) เฉพาะตนอยู่ในตัวมันเอง ชื่อว่า ลักขณปฐวี.

ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ให้

คนอื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี.

อนึ่ง ปฐวีธาตุ คือ โกฏกาสะ ( ส่วน ) ๒๐ มีผม เป็นต้น

และวัตถุภายนอกมีเหล็กและโลหะ เป็นตัน พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสี เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

รวมเรียกว่า สสัมภารปฐวี.

ส่วนปฐวีธาตุ มาในประโยคเป็นต้นว่า คนหนึ่งรู้ชัดปฐวีกสิณ

เรียกว่า อารัมมณปฐวี. บางท่านเรียกว่า นิมิตตปฐวี.

ปฐวีธาตุที่ว่า บุคคลได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เกิดในเทวโลก

ย่อมได้นามว่า ปฐวีเทวดา ด้วยอำนาจปฐวีกสิณเป็นเหตุให้มา ( เกิด )

นี้ พึงทราบว่า สัมมติปฐวี.

ในอธิการนี้ ย่อมได้ปฐวีแม้ทั้งหมดนั้น. ปุถุชนนี้ย่อมหมายรู้ปฐวี

อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาปฐวีเหล่านั้น โดยเป็นปฐวี ย่อมหมายรู้ว่า

เป็นปฐวี ย่อมรู้โดยส่วนแห่งปฐวี ครั้นถือเอาตามโวหารโลกแล้ว ย่อม

หมายเอาด้วยสัญญาวิปัลลาสว่า เป็นปฐวี เมื่อปล่อยวางส่วนแห่งปฐวี

ไม่ได้อย่างนี้แหละ ย่อมหมายรู้เอาส่วนแห่งปฐวีนั่นโดยนัยเป็นต้นว่า

สัตว์ หรือว่าของสัตว์. เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ควรกล่าวไว้ว่า เอว

สญฺชานาติ. เพราะว่าปุถุชน เป็นเหมือนคนบ้า. เขาย่อมยึดถือสิ่งใด

สิ่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.

อีกอย่างหนึ่ง เหตุอันต่างด้วยความเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย

เป็นต้น นั่นแหละจักเป็นตัวการในการกำหนดหมายนี้ ซึ่งพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสว่า อปริญฺาต ตสฺส ข้างหน้าก็เป็นอัน

ตรัสไว้แล้ว.

บทว่า ปวึ ปวิโต สญฺตฺวา ความว่า ปุถุชนนั้นกำหนด

หมายแผ่นดินนั้นด้วยสัญญาที่วิปริตอย่างนี้แล้ว ต่อมาย่อมสำคัญ คือ

กำหนดให้ต่างออกไป ได้แก่ยึดถือโดยประการต่าง ๆ คือโดยประการอื่น

ด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่มีกำลัง ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ท่านกล่าวไว้ด้วยนาม (รวม) ว่ามัญญนาในที่นี้ ตามพระบาลีว่า ก็

ส่วนแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นต้นเหตุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปวึ มญฺติ ดังนี้.

ก็เพื่อจะทรงแสดงความสำคัญเหล่านั้นของเขาผู้สำคัญอยู่เช่นนี้โดย

นัยอันพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปฐวีในภายใน ๒๐ ประเภท

โดยนัยเป็นต้นว่า เกสา โลมา ตรัสปฐวีในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า

บรรดาปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายนอกเป็นไฉน ? คือ วัตถุ

ภายนอกที่แข้นแข็งหยาบกระด้าง ไม่มีใจครอง เช่นเหล็ก โลหะ

ดีบุกขาว ดีบุกดำ แร่เงิน มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา

แก้วประพาฬ เงินตรา ทองรูปพรรณ แก้วแดง (ทับทิม) เพชร-

ตาแมว หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด ทราย กระเบื้อง แผ่นดิน หิน

ภูเขา, และตรัสนิมิตแผ่นดิน ในวัตถุอารมณ์ภายใน ท่านหมายเอา

ปฐวีนั้น ๆ กล่าวการประกอบความนี้ไว้.

บทว่า ปวึ มฺติ ความว่า ปุถุชน ย่อมสำคัญว่า เราเป็น

ดิน ว่า ดินเป็นของเรา ว่า คนอื่นเป็นดิน ว่า ดินของคนอื่น ดังนี้

ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง.

อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความ

สำคัญ ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

สำคัญอย่างไร ?

จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดในผม เป็นต้น คือยินดี

เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็หรือ

วัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง, ปุถุชนย่อมสำคัญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

ปฐวีกายในด้วยความสำคัญอันเกิดจากอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้.

ก็หรือว่า เกิดความทะยานอยากในผมเป็นต้นนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า

ผมของเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ขอขนบองเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

ก็หรือว่า ตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้น ด้วยศีล

หรือพรหมจรรย์ อันนี้ เราจักมีผมดำสนิทอ่อนนุ่ม ดังนี้. ปุถุชนย่อม

สำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา

แม้ดังอธิบายมานี้.

อนึ่ง ปุถุชน อภัยสมบัติ (ความถึงพร้อม) หรือวิบัติสองผม

เป็นต้นแห่งตน แล้วยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เราดีกว่า เราเสมอกัน หรือ

ว่าเราเลวกว่า ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า สำคัญปฐวี ( แผ่นดิน ) ภายใน

ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจมานะ. อนึ่ง ย่อมยึดมั่นผมว่าเป็น

ชีวะ โดยนัยที่มาแล้วว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก่อนนั้น ดังนี้. ( แม้)

ในขนเป็นต้นก็นัยนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวี ( แผ่นดิน) ภายใน

ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิดังกล่าวมา.

อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนย่อมยึดมั่นซึ่งปฐวี อันต่างด้วยผมเป็นต้น

โดยนัยอันเป็นข้าศึกต่อพฤติกรรมนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ปฐวีธาตุภายใน

อันใดแล และปฐวีธาตุภายนอกอัน ใด ก็ปฐวีธาตุ (ทั้ง ๒) นั้น

ชื่อว่าปฐวีธาตุเหมือนกัน อันนี้นั่นไม่ใช่ของเราว่า ของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นอัตตาของเรา ชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายในด้วยความสำคัญ

อันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิแม้อย่างนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวีภายใน

ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง ดังพรรณนามานี้ก่อน. พึงทราบว่า ย่อม

สำคัญปฐวีภายนอกเหมือนอย่างปฐวีภายใน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อย่างไร ? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดขึ้นในเหล็กและ

โลหะเป็นต้น เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล เหล็กและโลหะเป็นต้น

ย่อมหวงแหนรักษา คุ้มครอง เหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เหล็ก

ของเรา โลหะของเราชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญด้วย

อำนาจตัณหา ด้วยประการฉะนี้. ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวี

ภายนอกนี้ว่า ขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเรา พึงมีอยู่ อย่างนี้ตลอดไป

หรือตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ เรา

จักเป็นผู้มีอุกปกรณ์ มีเหล็ก และโลหะเป็นต้น ที่ถึงพร้อมแล้ว อย่างนี้.

ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจาก

อำนาจตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปุถุชนอาศัยสมบัติหรือวิบัติ แห่งเหล็กและโลหะเป็นต้น

ของตนแล้ว เกิดมานะขึ้นว่า ด้วยอุปกรณ์นี้ เราจึงดีกว่าเขา เสมอเขา

หรือเลวกว่าเขา ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญ

อันเกิดมาจากอำนาจมานะอย่างนี้.

ก็ปุถุชนเป็นผู้มีความสำคัญในเหล็กว่าชีวะ ย่อมยึดมั่นว่านี้เป็นชีวะ.

นัยในโลหะเป็นต้นก็มีนัยนี้. ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วย

ความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ

โดยเป็นอัตตา คือว่า ย่อมยึดมั่นนิมิตปฐวีว่า อัตตา โดยนัยที่ท่าน

กล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทานั่นแลว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นเนื้อความ

ทั้ง ๒ คือ ปฐวีกสิณ และองคาพยพว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

เราอันใด ปฐวีกสิณก่อนนั้น ดังนี้ ชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอก

ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.

ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวีแม้ภายนอก ด้วยความสำคัญ ๒ อย่าง

ดังอธิบายมานี้.

ในคำว่า ปวึ มญฺติ นี้ พึงทราบความสำคัญหมายทั้ง ๓ ดัง

พรรณนามานี้ก่อน. ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจักกล่าวแต้โดยย่อเท่านั้น. คำว่า

ปวิยา นี้ ในคำว่า ปวิยา มญฺติ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น

ในคำนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ปุถุชนย่อมสำคัญว่า เรามีอยู่ในปฐวี, ย่อม

สำคัญว่า ความกังวลผูกพันของเรามีอยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่า บุคคลอื่นมี

อยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่า ความกังวลผูกพันของบุคคลอื่นในปฐวีมีอยู่

ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง นัยแห่งเนื้อความของสัตตมีวิภัตตินั้น ที่ได้ที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างไร ? คือปุถูชนบางตนใน

โลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น

อัตตา เขาย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ว่า ก็นี้แหละเป็นอัตตา

ของเรา อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ โดยนั้นนั่นแล

ปุถุชนจึงถือเอาเวทนาธรรมเป็นต้น ต่อแต่นี้ก็กำหนดเอาปฐวีชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ในบรรดาปฐวีทั้งภายในและภายนอก โดยความเป็นโอกาส

แห่งอัตตานั้น สำคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ ในปฐวีนี้

ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในปฐวี. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง

ทิฏฐิของปุถุชนนี้.

ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาในอัตตา และมานะ อันมีอัตตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นในรูปนั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญด้วยอำนาจ

แห่งตัณหาและมานะ.

แต่ในกาลใด ปุถุชนย่อมสำคัญโดยนัยนั้นนั่นแลว่า ก็อัตตาของ

คนอื่นนั้นนั่นแล มีอยู่ ในปฐวี ในกาลนั้น ความสำคัญอันเกิดมาจาก

อำนาจแห่งทิฏฐินั่นแล ย่อมถูก. ส่วนความสำคัญแม้นอกจากนี้ ท่าน

ก็ปรารถนา (เอาเหมือนกัน).

ก็คำว่า ปวิโต ในคำว่า ปวิโต มญฺติ เป็นปัญจมีวิภตติ.

เพราะฉะนั้น ปุถุชน เมื่อสำคัญการเกิดขึ้น หรือการจากไป

จากปฐวีมีประเภทตามที่กล่าวแล้วแห่งตนหรือแห่งบุคคลอื่น พร้อมทั้ง

ทรัพย์ศฤงคาร หรือสำคัญว่า อัตตาอื่นจากปฐวี พึงทราบว่า ซึ่งว่า

สำคัญจากปฐวี. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.

ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดในวัตถุ ที่สำคัญ

กัน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็น

ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหาและมานะ อาจารย์พวกอื่นกล่าวไว้ว่า

ปุถุชนเจริญปฐวีกสิณ อันเป็นปริตตารมณ์ และต่อจากนั้น ยึดเอา

อัตตาอัน ไม่มีประมาณอื่นแล้วสำคัญอยู่ว่า อัตตากองเรา (มี ) แม้ใน

ภายนอกจากปฐวี ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญจากปฐวี ก็ความสำคัญ

อันหนึ่งที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ปุถุชนย่อมยึดถือมหาปฐวีอย่างเดียว.

ก็ในคำนี้ว่า ปวึ เมติ มญฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ก็ความสำคัญที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ย่อมหวงแหนมหาปฐวีด้วยอำนาจ

ตัณหาถ่ายเดียว พึงทราบว่า ได้แก่ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา

อย่างหนึ่งเหมือนกัน. ก็ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหานี้นั้น ควรประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

เข้าในปฐวีทั้งภายในและภายนอกแม้ทั้งหมด มีประเภทตามที่กล่าวไว้แล้ว

อย่างนี้ว่า ผมของเรา ขนของเรา เหล็กของเรา ดังนี้.

บทว่า ปวึ อภินนฺทติ ความว่า ปุถุชน ย่อมเพลิดเพลิน

อธิบายว่า ยินดี ติดใจปฐวี มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วย

กิเลสมีตัณหา เป็นต้น.

หากมีคำถามว่า เมื่อใจความนี้สำเร็จแล้ว ด้วย ๒ บทนี้นั่นแลว่า

ปวี มญฺติ เพราะเหตุไรจึงกล่าวไว้อย่างนี้. ตอบว่า คำนั้น ท่าน

โบราณาจารย์ทั้งหลายไม่ได้เก็บมาวิจารณ์ ก็มตินี้เป็นส่วนตัวของเรา จาก

ลีลาการแสดง หรือจากการเห็นโทษเพราะท่านถึงพร้อมด้วยสีลาแห่งการ

แสดงอันวิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ เพราะแทงตลอดธรรมธาตุอันใด ธรรมธาตุ

อันนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดด้วยดีแล้ว เพราะฉะนั้น

ท่านครั้นแสดงความเกิดขึ้นแห่งกิเลส ด้วยอำนาจความสำคัญในเบื้องต้น

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยอำนาจความยินดี เป็นต้น จึงกล่าวคำนี้ไว้

เพราะลีลาแห่งการแสดงบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนใดสำคัญปฐวี สำคัญในปฐวี สำคัญจาก

ปฐวี สำคัญว่า ปฐวีของเรา ปุถุชนนี้ เพราะเหตุที่ตนไม่อาจจะละ

ตัณหา หรือทิฏฐิที่อาศัยปฐวีได้ ฉะนั้น จึงยินดีปฐวีโดยส่วนเดียว.

อนึ่ง ปุถุชนใด ยินดีปฐวี ปุถุชนนั้น ย่อมยินดีทุกข์ และทุกข์เป็นโทษ

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ แม้เพราะการเห็นโทษ. สมดังที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

กล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นย่อม

ไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความสำคัญและความยินดี อันมี

ปฐวีเป็นที่ตั้งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงนำเหตุที่เป็นเหตุสำคัญ และยินดี

ของปุถุชนนั้น จึงตรัสว่า เรากล่าวว่า ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร,

ความไม่รู้รอบ เป็นเหตุแห้งข้อนั้น ดังนี้.

ข้อนั้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ถ้าว่ามีคำถามสอดเข้ามาว่า ปุถุชน

นั้น ย่อมสำคัญปฐวีนั้น เพราะเหตุอะไร คือว่า เพราะเหตุไร จึง

สำคัญยินดีปฐวีนั้น ดังนี้ไซร้. ตอบว่า (เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า) เราตถาคตกล่าวว่า ข้อนั้นอันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว มี

อธิบายว่า เพราะเหตุที่ข้อนั้น อันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว จริงอยู่

ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓

คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.

ในปริญญา ๓ อย่างนั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน ? คือปุถุชน

ย่อมรู้ปฐวีธาตุว่า ปฐวีธาตุนี้ เป็นไปในภายใน ปฐวีธาตุนี้เป็นไปใน

ภายนอก นี้เป็นลักษณะของปฐวีธาตุนั้น เหล่านี้เป็นกิจ เป็นปัจจุ-

ปัฏฐาน และเป็นปทัฏฐานของปฐวีธาตุนั้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า

ญาตปริญญา.

ตีรณปริญญาเป็นไฉน? คือปุถุชนพิจารณาปฐวีธาตุ กระทำให้เป็น

สิ่งที่ตนรู้แล้วอย่างนี้ ด้วยอาการ ๔๐ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค

เป็นต้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า ตีรณปริญญา.

ปหานปริญญาเป็นไฉน ? คือบุคคลพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อม

ละฉันทราคะในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตมรรค ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า

ปหานปริญญา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดนามและรูป ชื่อว่า ญาตปริญญา. การ

กำหนดรู้มีการพิจารณากลาปะ เป็นเบื้องต้น และอนุโลมญาณ เป็นที่สุด

ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ญาณในอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา.

ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓

เหล่านี้. ก็ปริญญาเหล่านั้น ไม่มีแก่ปุถุชนนั้น เพราะฉะนั้น ปุถุชน

ชื่อว่า ย่อมสำคัญ ย่อมยินดีปฐวี เพราะไม่กำหนดรู้ด้วย เหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้

ไม่ได้สดับ ฯลฯ ย่อมสำคัญปฐวี ย่อมสำคัญในปฐวี ย่อมสำคัญจาก

ปฐวี ย่อมสำคัญว่า ปฐวีของเรา ชื่อว่า ย่อมยินดีปฐวี ข้อนั้น

เพราะเหตุอะไร เราตถาคตกล่าวว่า (เพราะ) ข้อนั้นอันปุถุชนนั้น

มิได้กำหนดรู้แล้ว.

จบ - ปฐวีวาร

แม้ในข้อนี้ว่า อาป อาปโต พึงทราบอาโป ๔ อย่างคือ ลักษณะ

อาโป สสัมภารอาโป อารัมมณอาโป และสมมติอาโป. บรรดาอาโป ๔

อย่างนั้น อาโปที่กล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒

อย่างเหล่านั้น อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน ? ได้แก่สิ่งที่

เอิบอาบ ซึมซาบ เชื่อมประสาน (เป็นลักษณะ ) เฉพาะตนอยู่ภายใน

ตัวเอง คืออาโปธาตุที่มีใจครองในภายใจรูป ชื่อว่า ลักษณอาโป.

อาโปกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลเรียนเอาอาโปกสิณ ย่อมถือเอา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

นิมิตในอาโป ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารอาโป. คำที่เหลือทั้งหมด

เช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวไว้ในปฐวี (แผ่นดิน) นั้นแล แต่เมื่อว่าโดย

นัยแห่งการประกอบความล้วน ๆ อาโปธาตุที่เป็นไปในภายใน ๑๒ อย่าง

ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า ดี เสมหะ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า อาโปธาตุ

ภายใน และอาโปธาตุที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒ อย่าง

อาโปธาตุที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน ? คือสิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบ

เชื่อมประสาน อยู่ภายนอก ได้แก่ความเอิบอาบสิ่งที่ถึงความเอิบอาบ

อาโปธาตุที่ไม่มีใจครองภายนอกรูป คือรสเกิดจากรากเหง้า รสเกิดจาก

ลำต้น รสเกิดจากเปลือก รสเกิดจากใบ รสเกิดจากดอก รสเกิดจากผล

นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่แผ่นดิน

หรือน้ำในอากาศ พึงทราบว่า อาโปธาตุภายนอก และอาโปนั้น ชื่อว่า

นิมิตอาโปในหมวด ๓ แห่งอัชฌัตตารมณ์ .

ในบทว่า เตช เตชโต นี้ พึงทราบความพิสดาร โดยนัยที่กล่าว

แล้ว แม้ในวาระแห่งเตโชนั่นแล. แต่ในข้อนี้ เมื่อวาโดยนัยแห่งการ

ขยายความ เตโชธาตุ ๔ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เตโชธาตุที่เป็น

เหตุให้ร่างกายอบอุ่น ทรุดโทรม กระวนกระวาย และที่เป็นเหตุเผา

อาหารให้ย่อย พึงทราบว่า เตโชธาตุภายใน และเตโชธาตุที่ท่านกล่าวไว้

อย่างนี้ว่า บรรดาเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เกินไปในภายนอก

เป็นไฉน ? คือสิ่งที่ร้อน อบอุ่นในภายนอก คือเตโชธาตุที่ไม่มีใจ

ครองในภายนอก ได้แก่ไฟเกิดจากไม้ ไฟเกิดจากสะเก็ดไม้ ไฟเกิด

จากหญ้า ไฟเกิดจากขี้วัว ไฟเกิดจากแกลบ ไฟเกิดจากกองขยะ ไฟเกิด

จากเชื้อ ความร่อนเกิดจากไฟ ความร้อนเกิดจากแสงพระอาทิตย์ ความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ร้อนเกิดจากการทับถมแห่งท่อนไม้ ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งหญ้า

ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งข้าวเปลือก ความร่อนเกิดจากการทับถม

แห่งสิ่งของ ดังนี้ พึงทราบว่า เตโชธาตุภายนอก.

ก็ในนัยแห่งการอธิบายความแม้แห่งวาระนี้ว่า วาย วายโต มี

อธิบายดังต่อไปนี้ วาโยธาตุ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ลมที่พัดขึ้น

เบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่แผ่ไป

ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมมีพิษดุจศาสตรา ลมมีพิษดุจคมมีด ลมมี

พิษดุจก้านบัว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า พึงทราบว่า วาโยธาตุภายใน

และลมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุใน

ภายนอกเป็นไฉน ? คือสิ่งที่กระพือพัดเคลื่อนไหวในภายนอก ได้แก่

วาโยธาตุภายนอกของรูปไม่มีใจครอง คือลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก

ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้ ลมฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว สมร้อน ลมอ่อน

ลมแรง ลมหัวด้วน ลมที่เกิดจากนกบิน ลมที่เกิดจากครุฑบิน ลมงวง

ลมเกิดจากการพัดวี พึงทราบว่า วาโยธาตุภายนอก. คำที่เหลือ มีนัย

ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

หารนัยที่ชื่อว่า ลักษณะ นี้ใด (ที่มีมา ) ในเนตติปกรณ์อย่างนี้ว่า

เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ด้วยธรรมอย่างหนึ่งนั้น ก็เป็นอัน

กล่าวถึงธรรมทุกอย่าง ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันด้วย ลักษณะหารนัย

ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ดังนี้ เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยความประมาณเท่านี้

ด้วยอำนาจแห่งหารนัยนั้น เพราะเหตุที่เมื่อถือเอามหาภูตรูปทั้ง ๔

ก็ย่อมเป็นอันถือเอาอุปาทายรูปไว้ด้วย เพราะอุปาทายรูปไม่ล่วงพ้น

ลักษณะรูปไปได้ มหาภูตรูป และอุปาทายรูปอันใด อันนั้นเป็นรูปขันธ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมสำคัญ

ปฐวี อาโป เตโช วาโย ก็ย่อมเป็นอันตรัสว่า เขาย่อมพิจารณาเห็น

รูปว่า เป็นอัตตาด้วย.

เมื่อตรัสว่า ปุถุชนย่อมสำคัญในปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อม

เป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดังนี้. เมื่อตรัสว่า ย่อม

สำคัญจากปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อมเป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณา

เห็นอัตตา อันมีรูป และรูปในอัตตา เพราะสำเร็จความว่า อัตตา

เป็นอื่นจากรูป ดังนี้.

พึงทราบความสำคัญด้วยอำนาจแห่งสักกายทิฏฐิ อันมีรูปเป็นที่ตั้ง ๔0

ประการเหล่านี้ ดังกล่าวมานี้ .

ในข้อนี้พึงทราบความแตกต่างกันแม้นี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๔ ประการ

นั้น เป็นอุจเฉททิฏฐิ ๑ เป็นสัสสตทิฏฐิ ๒ ดังนั้น ทิฏฐิจึงมี ๒ อย่าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำคัญซึ่งมีสังขารเป็นที่ตั้ง โดยมีรูปหนึ่ง

ประธานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกบัญญัติขึ้น เพราะ

อาศัยสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนกระทำความสำคัญแม้ในสัตว์

ทั้งหลายเหล่านั้น ฉะนั้น เมื่อชี้แสดงสัตว์เหล่านั้นอยู่ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ชื่อว่าย่อมสำคัญภูตทั้งหลายโดยความเป็นภูต ดังนี้.

ความหมายของ ภูต ศัพท์

ในข้อนี้ ภูตศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ขันธ์ ๕, อมนุษย์,

ธาตุ, มีอยู่, พระขีณาสพ, สัตว์ และต้นไม้.

จริงอยู่ ภูตศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ขันธ์ ๕ ดังในประโยคเป็นต้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูว่า นี้เป็นภูต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ใช้ในอรรคว่า อมนุษย์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใด

มาประชุมพร้อมกัน แล้วในที่นี้ ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า ธาตุ ๔ ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป

๔ แล เป็นเหตุ . . . ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า มีอยู่ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เป็นปาจิตตีย์ใน

เพราะภูต ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า พระขีณาสพ ดังในประโยคนี้ว่า ก็ภูตใดเป็นผู้

กินกาละ ดังนี้.

ใช้ในอรรถว่า สัตว์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายทั้งปวงแล

จักทิ้งร่างกายไว้ในโลก ดังนี้.

ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ต้นไม้ ในประโยคนี้ว่า ภุตคามปาตพฺยตาย

(พรากภูตคาม) ดังนี้.

แต่ในที่นี้ ภูตศัพท์นี้ ย้อมใช้ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แล ภูตศัพท์

จะเป็นไปโดยไม้แตกต่างกันเลยก็หามิได้ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ต่ำกว่าชั้น

จาตุมมหาราช ท่านประสงค์เอาว่า ภูต ในที่นี้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ เป็นต้น

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ก็ในคำเป็นต้นว่า ภูเต มญฺติ พึงประกอบความสำคัญแม้ ๓

อย่าง.

อย่างไร ? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ยึดเอาภูตทั้งหลายว่า งาม มีความสุข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วว่า เขาเห็น คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เพียบ-

พร้อมด้วยกามคุณ ๕ ดังนี้ ย่อมกำหนัด คือย่อมกำหนัดภูตเหล่านั้นแม้

เพราะเห็น และย่อมกำหนัดแม้เพราะได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้

ถูกต้อง และได้ทราบ ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ

ด้วยอำนาจแห่งตัณหา ดังพรรณนามาฉะนี้.

ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทำไฉนหนอ

เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห้งขัตติยมหาศาลทั้งหลาย. ปุถุชนย่อม

สำคัญในภุตทั้งหลายด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประ-

การฉะนี้.

แต่เพราะอาศัยสมบัติและวิบัติของตนและของภูตทั้งหลาย ปุถุชน

ย่อมถือตัวว่าดีกว่าเขา ปุถุชนย่อมสำคัญภูตชนิดใดชนิดหนึ่งในภูตทั้งหลาย

ว่าเลวกว่าตน หรือย่อมสำคัญตนว่าเลวกว่าภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมสำคัญ

ภูตชนิดใดชนิดหนึ่งว่าดีกว่าตน (หรือย่อมสำคัญตนว่าดีกวาภูตชนิดใด

ชนิดหนึ่ง) ย่อมสำคัญตนว่าเสมอกันกับภูต หรือย่อมสำคัญภูตว่าเสมอกัน

กับตน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อก่อนถือว่า

ตนเสมอกันกับคนอื่น โดยชาติ ฯลฯ หรือโดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง

ครั้นต่อมากลับสำคัญตนว่าดีกว่าเขา กลับสำคัญคนอื่นว่าเลวกว่าตน มานะ

เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า มานาติมานะ. ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลาย

ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ปุถุชนสำคัญอยู่ว่า ก็ภูตทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีธรรมดา

ไม่แปรปรวน หรือว่า สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะ

ทั้งปวง ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผู้น้อมไปสู่ภาวะการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ประสบโชคร้าย โชคดี ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั้นแล ชื่อว่า

ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง ด้วย

ประการฉะนี้.

ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายอย่างไร ? คือ หวังความเกิดขึ้น

แห่งตน หรือการเกิดความสุขแก่ตนในภุตทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ปุถุชน

ย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาดังพรรณนา

มานี้ก่อน. หรือเมื่อความหวังความเกิดขึ้นในภูตทั้งหลาย จึงให้ทาน

สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม, ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วย

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.

ก็ปุถุชนยึดเอาภูตทั้งหลายโดยการถือเอารวมกัน ย่อมสำคัญภูต

ทั้งหลายบางพวกในบรรดาภูตเหล่านั้นว่าดีกว่า หรือว่าสำคัญสัตว์บางพวก

ว่าเสมอกัน หรือเลวกว่า ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ

ด้วยอำนาจแห่งมานะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.

อนึ่ง ปุถุชนเมื่อสำคัญภูตบางพวกว่าเที่ยง ยั่งยืน ย่อมสำคัญภูต

บางพวกว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หรือย่อมสำคัญว่า แม้เราย่อมเป็นภูตประ-

เภทหนึ่งในบรรดาภูตทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในภูตทั้งหลาย

ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้แล.

ก็ในคำนี้ว่า ภูตโต มญฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ปุถุชนเมื่อสำคัญความเกิดขึ้นแห่งตน หรือบุคคลอื่น พร้อมทั้ง

ทรัพย์ศฤงคารจากภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง พึงทราบว่า ย่อมสำคัญจากภูต

ดังนี้. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น. ก็เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

ปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญหมาย ด้วย

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญ

ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะด้วย

ก็ในข้อว่า ภูเต เมติ มญฺติ นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง

ตัณหาอันหนึ่งแล. ก็ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึงทราบว่า

ย้อมเป็นไปโดยความยึดถือว่าเป็นของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า บุตรของเรา

ธิดาของเรา แพะและแกะของเรา ไก่และสุกรของเรา ช้าง โค กระต่าย

และแมวมองเรา ดังนี้.

คำว่า ภูเต อภินนฺทติ มีนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้นั่นแล.

ก็ในข้อว่า อปริญฺาต ตสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การบัญญัติภูตทั้งหลาย เพราะอาศัยสังขารเหล่าใด เพราะไม่กำหนด

รู้สังขารเหล่านั้น ภูตทั้งหลายพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันปุถุชนไม่กำหนดรู้

ดังนี้. ส่วนการประกอบความ (ส่องความ) พึงทำไว้ โดยนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

เทพ ๓

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงที่ตั้งแห่งความสำคัญด้วยอำนาจ

แห่งสังขาร และด้วยอำนาจแห่งสัตว์โดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดง

ที่ตั้งนั้นแม้โดยพิสดาร โดยประเภทเป็นต้นว่า ภูมิพิเศษ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

เทเว เทวโต ดังนี้.

ในคำนั้นมีรูปวิเคราะห์ดังนี้ ที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมแล่น

อธิบายว่า สนุกสนาน และรุ้งเรืองด้วยกามคุณ ๕ หรือด้วยฤทธิ์ของ

ตน. เทพเหล่านั้นมี ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

วิสุทธิเทพ. พระราชา พระมเหสี และพระราชกุมาร ชื่อว่า สมมติเทพ.

เทพที่สูงกว่านั้น เริ่มตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราช ชื่อว่า อุปปัตติเทพ.

พระอรหัตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าท่าน

ประสงค์เอาอุปปัตติเทพ ก็อุปปัตติเทพเหล่านั้น จะเห็นว่าไม่แตกต่าง

กันก็หามิได้ คือเว้นมาร พร้อมบริษัท ในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

เสีย เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้นที่เหลือ ท่านประสงค์เอาว่า เทพ ใน

ที่นี้. การพรรณนาเนื้อความทั้งหมดในข้อนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้

แล้วในภูตวาระนั่นแล.

ท้าวปชาบดีคือพญามาร

ก็ในบทว่า ปชาปติ นี้ มาร พึงทราบว่า ปชาบดี. แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า คำว่า ปชาปติ นี้ เป็นชื่อของท้าวมหาราชเป็นต้น ผู้

เป็นใหญ่กว่าเทวดาเหล่านั้น ๆ. คำนั้นท่านปฏิเสธไว้ในมหาอรรถกถาว่า

ไม่ถูก เพราะว่า มหาราชเป็นต้นเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วย เทว ศัพท์

นั่นเอง ส่วนพญามารนั่นแล ท่านประสงค์เอาว่า ปชาบดี ในที่นี้

โดยความเป็นใหญ่กว่า ปชา กล่าวคือหมู่สัตว์.

ถามว่า พญามารนั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน ? ตอบว่า ย่อมอยู่

ในเทวโลกชั้นปริมมิตวสวัตตี.

จริงอยู่ พญามารวสวัตตี ครองราชย์อยู่ในเทวโลกนั้น. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า พญามารประทับครองความยิ่งใหญ่ในบริษัทของตน

ณ ส่วนหนึ่ง (ของเทวโลกนั้น) ดุจราชโอรสของพระราชาผู้เรืองนาม

ประทับอยู่ ณ ปลายแดนราชอาณาจักรฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ พึงทราบว่า

ท่านจัดเอาบริษัทมารเข้าไว้ด้วย มาร ศัพท์นั่นเอง. ส่วนในข้อนี้ ในนัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

แห่งการขยายความมีอธิบายดังนี้ ปุถุชนได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ซึ่งปชาบดี

ผู้มีผิวพรรณงาม มีอายุยืน มีความสุขมาก ย่อมใฝ่ฝันราชสมบัติด้วย

อำนาจแห่งตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งใจไว้เพื่อจะให้ส่งที่ตนยังไม่ได้โดย

นัยเป็นต้นว่า ทำไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งปชาบดี ชื่อว่า

ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา.

แต่เมื่อปุถุชนถึงความเป็นปชาบดีแล้ว ยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เรา

ย่อมเป็นใหญ่ เป็นอธิบดีกว่าปชาทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญ

ปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ.

แต่เมื่อปุถุชนสำคัญอยู่ว่า ปชาบดี เที่ยง ยั่งยืน หรือขาดสูญ พินาศ

หรือว่า ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร น้อมไปสู่ความประสบ

โชคดี โชคร้าย ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั่นแล พึงทราบว่า

ชื่อว่า ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

แต่ในคำว่า ในปชาบดี นี้ ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิชนิด

หนึ่งนั่นแล ย่อมถูก. พึงทราบความเป็นไปแห่งความสำคัญนั้น อย่างนี้.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญว่า ธรรมเหล่าใด มีอยู่ในปชาบดี

ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็น

ธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญว่า บาปย่อมไม่มีในปชาบดี กรรม

อันลามกทั้งหลาย ย่อมหาไม่ได้ในปชาบดีนั้น.

ในคำว่า ปชาปติโต นี้ ย่อมได้ความสำคัญแม้ทั้ง ๓.

อย่างไร? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญข้อที่ตนหรือคน

อื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคารเกิดขึ้น หรือจากไปจากปชาบดี นี้เรียกว่า

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

ก็เมื่อบุคคลนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญ

ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความ

สำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะ.

ก็ในบทว่า ปชาปตึ เม นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง

ตัณหาชนิดหนึ่งนั่นแล. และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึง

ทราบว่า ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า ของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า

ปชาบดีเป็นครูของเรา เป็นนายของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

ความหมายของพรหม

ในบทนี้ว่า พฺรหฺม พฺรหฺมโต มีวินิจฉัยดังนี้ :-

ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ

อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคตก็ดี พราหมณ์ก็ดี

มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม.

จริงอยู่ ท้าวมหาพรหม ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยค

เป็นต้นว่า พรหม ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐.

พระตถาคต ท่านก็เรียกว่า พรหม (ดัง). ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตนั่นแล.

พราหมณ์ ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า

พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุรอบคอบ

ผู้ถึงที่สุดแห่งโลก ผู้ก้าวล่วงภพทั้งปวง ผู้ไม่มีอาสวะ

ผู้ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ผู้กล่าวสัจจะ ผู้อันพรหม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

บำเรอแล้ว ดังนี้.

มารดาบิดา ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง ) ในประโยคนี้ว่า มารดา-

บิดา ท่านเรียกว่า พรหม, มารดาบิดา ท่านเรียกว่า บุพพาจารย์. สิ่งที่

ประเสริฐที่สุด ท่านเรียกว้า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้ายังจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ดังนี้.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาพรหมที่เกิดขึ้นต้นกัลป. อนึ่ง แม้

พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัชชะ พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย พรหม

ศัพท์นั้นนั่นแล แต่การพรรณนาเนื้อความในข้อนี้ พึงทราบโดยที่

กล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.

อธิบายอาภัสสรพรหม

ในวาระว่าด้วยอาภัสสรพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

รัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกายกองพรหมเหล่านั้นเหมือนกับขาดตกไป

คล้ายเปลวไฟขาดตกไปจากคบเพลิงฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พรหมเหล่านั้น

จึงชื่อว่าอาภัสสรา. ด้วยการกำหนดอาภัสสรพรหมเหล่านั้น (เป็นเกณฑ์)

จึงเป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของทุติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย. ก็พรหมที่สถิต

อยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่) ปริตตาภา-

พรหม อัปปมาณาภาพรหม (และ) อาภัสสรพรหม.

อธิบายสุภกิณหพรหม

ในวาระว่าด้วยสุภกิณหพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

พรหมที่ชื่อว่า สุภกิณหา เพราะหมายความว่า แพรวพราวไปด้วยสี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ที่สวยงามคือด้วยรัศมีกายอันโสภา จึงสง่างามดังทองแท่ง เปล่งแสงประกาย

อันเขาเก็บไว้ในหีบทองแท่งทึบ. ด้วยการกำหนดเอาสุภกิณหพรหมเหล่านั้น

(เป็นเกณฑ์) เป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของตติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย.

ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่)

ปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม สุภกิณหพรหม.

อธิบายเวหัปผลพรหม

ในวาระว่าด้วยเวหัปผลพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

พรหมที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะหมายความว่า มีผลอันไพบูลย์

ท่านกล่าวว่าได้แก่พรหมชั้นจตุตถฌาน. ส่วนการอธิบายขยายความประกอบ

ในวาระทั้ง ๓ นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภูตวาระนั่นแล.

อธิบายอภิภูพรหม

ในวาระว่าด้วยอภิภู พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ที่ชื่อวา อภิภูเพราะหมายความว่า ครอบงำ ถามว่า ครอบงำซึ่ง

อะไร ? ตอบว่าครอบงำซึ่งอรูปขันธ์ ๔. คำว่า อภิภู นั่นเป็นชื่อของ

อสัญญีภพ. เหล่าเทพ (พรหม) อสัญญีสัตว์สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัป-

ผลพรหม (แต่ว่าแยก) สถิตอยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง (และ) ท่านบังเกิด

(ตายจากโลกมนุษย์) ด้วยอิริยาบถใด ก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นนั่นแล

ตราบอายุขัยคล้ายภาพจิตกรรม ในที่นี้ท่านหมายถึงเวหัปผลพรหม และ

อสัญญีสัตว์แม้ทั้งหมดนั้นด้วยคำว่า อภิภู. อาจารย์บางพวกยกย่องพรหมผู้

เป็นใหญ่ในชั้นนั้น ๆ (ว่าอภิภู) โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหม ๑,๐๐๐

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ชื่อว่า อภิภู. แต่พึงทราบว่า คำกล่าวของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ถูก

เพราะพรหมผู้เป็นใหญ่นั้น ท่านระบุถือเอาด้วยศัพท์ว่า "พรหม"

แล้วนั่นแล.

อนึ่ง ในวาระนี้ พึงทราบนัยแห่งการอธิบายขยายความว่า ปุถุชน

ได้สดับแล้วว่า พรหม อภิภู มีวรรณะ (สวยงาม) มีอายุยืน ดังนี้

แล้วเกิดความยินดีพอใจในพรหมอภิภูนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภู

ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งจิต (ปรารถนา)

เพื่อให้ได้ (เกิดในพรหมอภิภู) ที่ตนยังไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ทำไฉน-

หนอ เราจะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมอภิภู ชื่อว่า ย่อมสำคัญ

พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา, อนึ่ง เมื่อสำคัญตนว่าเลวกว่า

(พรหมอภิภู) หรือสำคัญว่าพรหมอภิภู ดีกว่าตน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ

พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจมานะ เมื่อยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า

พรหมอภิภู เที่ยง ยั่งยืน ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภูด้วยความสำคัญ

ด้วยอำนาจทิฏฐิ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.

สุทธาวาสภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงเทวโลกโดยลำดับอย่างนี้

ครั้นทรงแสดงสัญญีภพด้วยคำว่า อภิภู บัดนี้ เพราะเหตุที่กถาว่าด้วยวัฏฏกัป

และเทวดา คือ พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาสผู้ดำรงอยู่ใน

ฝ่ายวิวัฏฏกัป หรือเพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น มีอายุตั้ง ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ กัลป

ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นแม้ตลอดอสงไขยกัลปในกาลนั้น ภูมินั้น ว่างเปล่า

ภพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะ (กาลที่) พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อุบัติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

เท่านั้น) ดุจที่ประทับแรมมีไว้สำหรับพระราชาฉะนั้น และด้วยเหตุ

นั้นนั่นแหละ ภูมินั้น ท่านจึงมิได้จัดเป็นวิญญาณฐิติ ทั้งมิได้จัดเป็น

สัตตาวาส แต่ความสำคัญเหล่านี้มีอยู่ทุกเมื่อ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภูมิ

ของความสำคัญเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ละชั้นสุทธาวาสแล้วตรัสคำเป็นต้นว่า อากาสานญฺจายตน ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาสานญฺจายตน ได้แก่ขันธ์ ๔

ที่เป็นกุศลวิบาก และกิริยาอันเป็นไปในอากาสานัญจายตนภูมินั้น. และ

ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในภูมินั้นนั่นแหละ เพราะเหตุว่า

กถานี้เป็นการกล่าวถึงกำหนดภพ. ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้

ก็ในบรรดาวาระ ๔ วาระนั่นแล การขยายความพึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ไว้ในอภิภูวาระ และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ในข้อนี้ ย่อมใช้

ได้แม้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปชาบดีวาระ.

แก้บท ทิฏฺ สุน มุต วิญฺาต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงที่ตั้งของความสำคัญ โตย

ประเภทมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิเป็นตันนั้น แม้โดยพิสดารอย่าง

นี้แล้ว ดังนี้ เมื่อจะประมวลแสดงประเภทแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓

อันนับเนื่องในสักกายทิฐิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความสำคัญทั้งหมด ด้วยเหตุ

๔ อย่าง มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นเป็นต้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺ

ทิฏฺโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยมังส-

จักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง. คำว่า ทิฏฺ นั้นเป็นชื่อของรูปายตนะ. บรรดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

บทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐ มญฺติ ความว่า ปุถุชนย่อมสำคัญด้วย

ความสำคัญทั้ง ๓.

อย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อดูรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญา

ชื่อว่า ย่อมยังฉันทราคะให้เกิดในรูปาตนะนั้น คือย่อมยินดีเพลิดเพลิน

ซึ่งรูปายตนะนั้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย กำหนัดยินดี หลงใหล

ติดใจในรูปหญิง สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจของรูปหญิง ย่อม

เศร้าโศกสิ้นกาลนาน ดังนี้. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตน

เห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้ ก็หรือว่า ปุถุชนย่อม

ทะยานอยากในรูปนี้ว่า ขอรูปของเราพึงเป็นอย่างนี้ตลอดกาล หรือว่า

ปุถุชนเมื่อหวังรูปสมบัติ ย่อมให้ทาน ความพิสดารดังว่ามานี้แล. ปุถุชน

ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาแม้

อย่างนี้.

อนึ่ง ปุถุชนอาศัยรูปสมบัติและรูปวิบัติของตน และของบุคคลอื่น

ย่อมยังมานะให้เกิด คือ ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นด้วยความสำคัญด้วย

อำนาจมานะอย่างนี้ว่า เราดีกว่าผู้นี้ เราเสมอกับผู้นี้ หรือว่า เราเลวกว่า

ผู้นี้ ดังนี้.

อนึ่ง ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะว่า เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน

ย่อมสำคัญว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ย่อมสำคัญในรูปาตนะที่เป็น

มงคล ว่าเป็นอมงคล ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญ

ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.

ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญทั้ง ๓

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็นแล้วอย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อ

สำคัญโดยนัยพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตน

เห็น. แม้สำคัญอยู่ว่า ราคะเป็นต้น ย่อมเกิดมีในรูป เหมือนกับน้ำนม

เกิดมีในเต้านมฉะนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น. นี้ชื่อว่า

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.

อนึ่ง เมื่อปุถุชนนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุ

ที่สำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล. พึงทราบว่า เป็น

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะด้วย. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ

ในรูปายตนะที่ตนเห็น ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่

กล่าวไว้แล้วในปฐวีวาระ.

บทว่า สุต หมายถึงได้ยินด้วยมังสโสตบ้าง ทิพยโสตบ้าง. คำว่า

สุต นั่น เป็นชื่อของสัททายตนะ.

บทว่า มุต ได้แก่ทราบ และรู้แล้วรับเอา อธิบายว่า เข้าไป

กระทบรับเอา. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า รู้แจ้ง ในเพราะการประจวบกัน

แห่งอินทรีย์ และอารมณ์ทั้งหลาย.

คำว่า มุต นั่น เป็นชื่อของคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏ-

ฐัพพายตนะ.

บทว่า วิญฺาต แปลว่า รู้ทางใจ. และคำว่า วิญฺาต นั่น

เป็นชื่อของอายตนะ ๗ เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง เป็นชื่อของธรรมารมณ์

(ก็ได้) แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน. (สักกาย-

ทิฏฐิ)

ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในทิฏฐวาระ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

แก้บท เอกตฺต นานตฺต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งสักกายทิฏฐิทั้ง-

หมดด้วยอารมณ์ ๔ ประการ มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วเป็นต้นอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทของสักกายทิฏฐินั้นนั่นแหละ ออก

เป็น ๒ ประการ คือ โดยวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ ๑ ของท่านผู้มิได้

เข้าสมาบัติ ๑ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอกตฺต นานตฺต ดังนี้.

ด้วยบทว่า เอกตฺต นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ.

ด้วยบทว่า นานตฺต นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้มิได้เข้า

สมาบัติ.

ทั้ง ๒ คำนั้น มีความหมายเฉพาะคำดังต่อไปนี้ :-

ภาวะที่เป็นหนึ่งชื่อว่า เอกัตตัง ภาวะที่แยกกัน ชื่อว่า นานัตตัง.

ส่วนการขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกวาระของท่านผู้เข้า

สมาบัติด้วยขันธ์ ๔ และวาระของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติด้วยขันธ์ ๕ แล้ว

พิจารณาทราบตามสมควรโดยศาสนนัย (พระบาลี) เป็นต้นว่า ปุถุชน

ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา และโดยนัยแห่งอรรถกถาที่ท่านกล่าว

ไว้ในปฐวีวาระเป็นต้น. ส่วนอาจารย์บางพวกย่อมกล่าวเอกัตตนัย ด้วย

บทนี้ว่า เอกตฺต. กล่าวนัยที่แยกกัน ด้วยบทนี้ว่า นานตฺต ดังนี้.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมมี

สัญญาอันเดียวกันไม่สูญสลาย ครั้นตายแล้วอัตตาย่อมมีสัญญาต่างกัน.

คำนั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถูกเลย เพราะท่านมิได้ประสงค์เอาในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

แก้บท สพฺพ สพฺพโต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดโดยเป็น

๒ อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประมวลแสดงสักกายทิฏฐินั้น

แหละเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สพฺพ สพฺพโต ดังนี้.

ส่วนนัยขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบดังนี้ว่า ปุถุชน เมื่อ

ชอบใจสิ่งทั้งปวง ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจ

แห่งตัณหา เมื่อสำคัญสิ่งที่ตนสร้างขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์เหล่านี้เราสร้าง

ขึ้น ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วย

อำนาจแห่งมานะ เมื่อสำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า สิ่งทั้งปวงมีกรรมที่ตนกระทำ

ไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงมีการสร้างของพระอิศวรเป็นเหตุ สิ่ง

ทั้งปวงไม่มีเขต ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม้มี ดังนี้ ชื่อว่า

ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

ปุถุชนย่อมสำคัญในสิ่งทั้งปวงอย่างไร ? คือว่า บุคคลบางคน

ในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ใหญ่ บุคคลนั้นกำหนด

โลกสันนิวาสทั้งหมดโดยเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น ย่อมสำคัญว่า ก็อัตตา

ของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในโลกสันนิวาสทั้งปวง. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วย

อำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.

ก็เมื่อเขายังความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล ยังมานะอันมีอัตตานั้น

เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นอยู่ในตน พึงทราบว่า แม้ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา

และมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย ). คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ในปฐวีวาระนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

แก้บท นิพฺพาน นิพฺพานโต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดให้เป็นอัน

เดียวกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐินั้นให้เป็นอัน

เดียวโดยนัยแม้อื่นอีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า นิพฺพาน นิพฺพานโต

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาน ความว่า พึงทราบบรม

นิพพานในปัจจุบันอันมาแล้วโดยส่วน ๕ (มีอยู่ ๕ อย่าง) โดยนัย

เป็นต้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตาเอิบอิ่ม เพียบพร้อม

ด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ดูก่อนท่านผู้เจริญ

ฉะนี้แล อัตตานี้ จึงบรรลุถึงนิพพานในปัจจุบัน.

ในข้อนั้น ปุถุชนเมื่อยินดีนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญ

ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา. ปุถุชนเมื่อยังมานะให้เกิดขึ้นด้วย

มานะว่า เราย่อมบรรลุนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญด้วย

ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ. เมื่อยึดถืออัสสาทะ (ความพอใจ)

อันมิใช่นิพพานเลย ว่าเป็นนิพพาน และยึดถือนิพพานว่าเป็นอัสสาทะ

พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.

ส่วนปุถุชน ครั้นยึดถืออัตตาต่างไปจากนิพพาน สำคัญอยู่ว่า ก็

อัตตาของเรานี้นั้นแล ย่อมมีในนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในนิพพาน.

นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.

ก็เมื่อปุถุชนนั้นเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะ

อันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้งอยู่ พึงทราบว่า แม้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง

ตัณหาและมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย).

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

นัยแม้ในความสำคัญจากนิพพานก็นัยนี้. จริงอยู่ แม้ในข้อนั้น

ปุถุชนเมื่อยึดถืออัตตาว่าเป็นอื่นจากนิพพาน สำคัญอยู่ว่า นี้นิพพาน

นี้อัตตา ก็อัตตาของเรานี้นั้น อื่นต่างหากจากนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อม

สำคัญจากนิพพาน. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิของปุถุชนนั้น.

ก็เมื่อปุถุชนเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะอันมี

อัตตานั้นเป็นที่ตั้ง แม้ตัณหาและมานะก็พึงทราบว่า (เกิดขึ้นด้วย) แต่

เมื่อสำคัญว่า โอ นิพพานของเราสุขจริง พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญว่า

นิพพานว่าเป็นของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ใน

ข้อนี้ มีคำร้อยกรองในภายหลังดังต่อไปนี้ :-

กายของตนนี้เป็นเช่นไร เมื่อปุถุชนไม่รู้กายของตนนั้น

ตามความเป็นจริง ความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่างย่อม

เกิดขึ้นในกายของตน กายของตนนี้น่าเกลียด มีการ

แตกไปเป็นธรรมดา เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ไม่ใช่ผู้นำ.

คนพาล เมื่อยึดถือกายนั้นโดยเป็นข้าศึก (ต่อความ

เป็นจริง) ชื่อว่า ย่อมยึดถือความสำคัญ (ผิด)

เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของตน โดยความเป็น

ของงาม และโดยเป็นความสุข ย่อมมีความสำคัญ

ผิดด้วยอำนาจตัณหา เมื่อการสำคัญผิดในไฟของ

แมลงเม่าฉะนั้น เมื่อปุถุชนยึดนิจจสัญญา เห็น

สมบัติของกายของตนนั้น เขาย่อมมีความสำคัญผิด

ด้วยอำนาจมานะ เหมือนสุนัขเห็นคูถแล้วเกิดสุภ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

สัญญาในคูถฉะนั้น เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของ

ตนนั้นว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ไม่เข้าใจตาม

ความเป็นจริง ย่อมมีความสำคัญผิดด้วยทิฏฐิ เหมือน

คนสำคัญรูปในกระจกฉะนั้น ก็คำว่า ความสำคัญนี้

เป็นคำที่ละเอียดเป็นเครื่องผูกของมาร หย่อม แต่

แก้ได้ยาก เพราะเป็นเครื่องผูกที่ผูกปุถุชนไว้ ปุถุชน

แม้จะพยายามดิ้นรนโดยวิธีต่าง ๆ มากมายก็ไม่ล่วง

พ้นกายของตนไปได้ ย่อมถูกกายของตนนั้นผูกรัดไว้

อย่างแน่ เหมือนสุนัขที่ถูกล่ามโซ่ไว้ที่หลักอันมั่น

ที่เขาตอกไว้อย่างดี คนที่เหลือมัวหมกมุ่นอยู่ในกาย

ของตน ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ ด้วยชาติ ชรา

และทุกข์มีโรคเป็นต้น เหมือนปลาติดเบ็ดฉะนั้น

ฉะนั้น เราจึงขอกล่าวกะท่านผู้เจริญทั้งหลายว่า ท่าน

ทั้งหลายพิจารณากายของตนที่สวยงามให้เห็นว่า ไม่

น่าชอบใจ ไม่งาม มีอันแตกไป (เป็นธรรม)

และไม่ใช่อัตตา เพราะกายของตนนี้นั้น มีสภาพ

อย่างนี้ ผู้รู้พิจารณาเห็นกายนี้อย่างนี้อยู่ ละความ

สำคัญผิดทั้งหมดเสียได้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง-

ปวง ดังนี้.

จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๑ ข้อที่ ๒๔ ด้วยอำนาจปุถุชน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

เสขบุคคล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของปุถุชนซึ่งมี

ธรรมคือสักกายทิฏฐิทั้งหมดเป็นมูลในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้นดังพรรณนา

มาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงความเป็นไปของพระเสขบุคคลในวัตถุธาตุ

เหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขุ เสโข ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า โย เป็นคำขึ้นต้น. คำว่า โส เป็นคำแสดง

ไข. ปิ อักษร มีการประมวลมาเป็นอรรถ ดุจในประโยคว่า ธรรมแม้นี้

ไม่เที่ยง ดังนี้.

ก็ด้วย ปิ ศัพท์นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคล โดยความเสมอกัน

ทางอารมณ์ หาได้ประมวลมาโดยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่ แต่โดย

กำหนดอย่างต่ำ ได้แก่บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในที่นี้มุ่งเอาบุคคลผู้สมบูรณ์

ด้วยทิฐิ ความเสมอกันของบุคคลทั้ง ๒ นั้นไม่มี แต่อารมณ์ของบุคคล

พวกแร (ผู้มีทิฏฐิวิบัติ) เป็นอย่างไร อารมณ์ของคนพวกหลังเหล่านี้

(ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวไว้ว่า ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคลโดยความเสมอกันแห่งอารมณ์ หา

ได้ประมวลมาด้วยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่.

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระเสขบุคคลที่จะพึง

กล่าว ในบัดนี้ ด้วยทำทั้งสิ้นนี้ว่า โยปิ โส. บทว่า ภิกฺขเว ภิกฺขู

นี้ มีนัยดังกล่าวนั้นแล.

บทว่า เสกฺโข ความว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่ากระไร ?

ตอบว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะได้เสขธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ที่ชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยธรรมมีประมาณเท่าใด พระพุทธเจ้า

ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นเสขะ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ

อันเป็นเสขะ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นเสขะด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ยังศึกษาอยู่

ดังนี้บ้าง. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุศึกษา

อยู่อย่างนี้แล ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสขะ ถามว่า พระเสขบุคคล

ย่อมศึกษาอะไร ? ตอบว่า ย่อมศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขา

บ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุย่อมศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า เสขะ.

บุคคลแม้ใด เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วย

อนุโลมปฏิปทา มีศีลสมบูรณ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

รู้จักประมาณในการบริโภคโภชนะ ตามประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่น

อยู่ ตามประกอบภาวนานุโยคซึ่งโพธิปักขิยธรรม ตลอดราตรีต้น และ

ราตรีปลายอยู่ด้วยความคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน

วันนี้หรือพรุ่งนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เสขะ เพราะกำลังศึกษา.

แต่ในเนื้อความนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิเวธนั้นเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า

เสขะ หาใช่ประสงค์เอาปุถุชนไม่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

อธิบายคำว่า มานัส

มานัส อันบุคคลนั้น ยังไม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า

ผู้มีมานัสอันยังไม่บรรลุ. ราคะก็ดี จิตก็ดี พระอรหัตก็ดี ชื่อว่า

มานัส.

ความจริง ราคะ ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า มานัสนี้ใด

ย่อมเที่ยวไป เหมือนบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศฉะนั้น.

จิต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า จิต มโน มานัส.

พระอรหัต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่ได้

บรรลุ พึงทำกาละ ดังนี้.

พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า มานัสในที่นี้ ด้วยเหตุนั้น

จึงมีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีพระอรหัตอันไม่บรรลุแล้ว. บทว่า

อนุตฺตร แปลว่า ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า ไม่มีธรรมอะไรเทียบได้.

พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ

เพราะหมายความว่า เกษมจากโยคะ ๔ คือโยคะ ๔ ไม่ประทุษร้ายแล้ว.

บทว่า ปตฺถยมาโน มีวินิจฉัยว่า ความปรารถนามี ๒ อย่าง คือ

ความปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา และความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะ.

ปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา ย่อมได้ในประโยคว่า

ก็เมื่อบุคคลยังปรารถนาอยู่ ตัณหากระซิบหูย่อมเกิด

อีกทั้งจิตก็ยังหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ที่ตัณหาและทิฏฐิ-

กำหนดแล้ว ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ คือความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะอัน

เป็นกุศล ย่อมได้ในประโยคว่า

กระแสแห่งตัณหาของบุคคลผู้มีจิตชั่วช้า ขาดไปแล้ว

อันเขาขจัดได้แล้ว กระทำให้พินาศไปแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากด้วยความปรา-

โมทย์ พึงปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ

เถิด ดังนี้.

ความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า เตน ปตฺถยมาโน ความว่า บุคคลผู้มีความประสงค์จะทำ

คือปรารถนาจะบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะนั้น พึงทราบว่า

ผู้น้อมไป โอนไป เอนไป (เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ).

บทว่า วิหรติ ความว่า บำบัดทุกข์ซึ่งบังเกิดในอิริยาบถอย่างอื่น

ด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง รักษาร่างกายมิให้ทรุดโทรม. อีกอย่างหนึ่ง

พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้โดยนิเทศนัยเป็นต้นว่า บุคคลผู้น้อมจิตไปด้วย

การพิจารณาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมอยู่ด้วย

ศรัทธา.

บทว่า ปวึ ปวิโต อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดปฐวี โดย

เป็นปฐวี คือย่อมไม่รู้ด้วยสัญญาอันตรงกันข้ามจากอาการทั้งปวงเหมือน

ปุถุชน อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง.

ในบทว่า ปวี มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลเมื่อปล่อยวาง

ความเป็นปฐวีได้อย่างนี้ ก็ย่อมรู้ชัดความเป็นปฐวีนั้นอย่างนี้ว่า ไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

บ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง และมีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้อีกว่า

เสขบุคคล ครั้นทราบความเป็นปฐวีอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่สำคัญปฐวี. ก็

เสขบุคคล จะกล่าวว่ามีความสำคัญก็ไม่ใช่ จะกล่าวว่าไม่มีความสำคัญก็

ไม่ใช่. ก็ในอรรถนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวทิ้งบทนี้ไว้.

เมื่อมีผู้กล่าวว่า ก็ในบทนี้มีอธิบายอย่างไร ? ตอบว่า อันดับแรก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงปุถุชนว่า สำคัญปฐวี (ผิด) อยู่ เพราะ

ความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่าง ปุถุชนยังละไม่ได้ พระขีณาสพ ย่อมไม่

สำคัญผิด เพราะท่านละความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่างได้แล้ว ความสำคัญ

ด้วยอำนาจทิฏฐิ พระเสพบุคคลละได้ แม้ความสำคัญอย่างอื่น ๆ ก็ถึง

ความเบาบางลง ด้วยเหตุนั้น พระเสขะนั้น ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า ย่อม

สำคัญ (ผิด) เหมือนปุถุชน ทั้งไม่ควรกล่าวว่า ย่อมไม่สำคัญ (ผิด)

เหมือนพระขีณาสพ.

บทว่า ปริญฺเยฺย ตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด)

นั้น อันพระเสขะพึงกำหนดรู้ได้ด้วยปริญญาทั้ง ๓ เพราะท่านหยั่งลงสู่

ความแน่นอนแล้ว และเพราะมีการตรัสรู้ (ในมรรคผลที่สูงไป) เป็น

เบื้องหน้า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด) ที่ยังไม่ควรกำหนดรู้ ไม่ใช่

ท่านไม่ต้องกำหนดรู้เหมือนกับปุถุชน ทั้งไม่ใช่ท่านได้กำหนดรู้หมดแล้ว

เหมือนกับพระขีณาสพ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีนัยดังกล่าวแล้วเหมือน

กัน.

จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๒ ด้วยอำนาจเสขบุคคล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

อธิบายพระอริยบุคคล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระเสขะใน

วัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้น ดังพรรณนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

ความเป็นไปของพระขีณาสพ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขเว

ภิกฺขุ อรห ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า โยปิ มีการประมวลมา

เป็นอรรถ. ด้วย ปิ ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในที่นี้

ย่อมได้ความเสมอกันโดยส่วนทั้ง ๒. อธิบายว่า พระเสขะ ชื่อว่า เป็นผู้

เสมอด้วยพระขีณาสพ เพราะความเป็นอริยบุคคล ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงได้ความเสมอกันโดยบุคคล. ส่วนความเป็นผู้เสมอกันโดยทางอารมณ์

ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

บทว่า อรห ความว่า ผู้มีกิเลสอยู่ไกล อธิบายว่า ผู้มีกิเลสห่างไกล

คือมีกิเลสอันท่านละได้แล้ว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นอรหันต์ได้อย่างไร คือ อกุศลธรรม

ทั้งหลาย อันลามก เศร้าหมอง อันเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ มีความ

เร่าร้อน มีผลเป็นทุกข์ เพื่อชาติ ชรา และมรณะ ต่อไปของท่านผู้

ห่างไกลจากกิเลสย่อมไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นพระอรหันต์

อย่างนี้แล.

บทว่า ขีณาสโว มีวินิจฉัยว่า อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ

ภาวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะทั้ง ๔ เหล่านี้ ของพระอรหันต์

สิ้นแล้ว คือท่านละได้ ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์นั้น ท่านจึง

เรียกว่า พระขีณาสพ.

บทว่า วุสิตวา ความว่า พระอรหันต์นั้นอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว

ในธรรมเครื่องอยู่ของครูบ้าง ในธรรมเครื่องอยู่คืออริยมรรคบ้าง ใน

ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง พระอรหันต์นั้น อยู่แล้ว

คืออยู่จบแล้ว ได้แก่มีธรรมเครื่องอยู่อันจบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว

ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่จบแล้ว.

บทว่า กตกรณีโย ความว่า พระเสขะทั้ง ๗ จนกระทั่งกัลยาณ-

ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่จะพึงทำทุกอย่าง

พระขีณาสพทำแล้ว ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่จะพึงทำอันยิ่งของพระขีณาสพ

นั้น เพื่อการบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมไม่มีฉะนั้น พระอรหันต์

นั้น จึงชื่อว่าผู้มีกิจที่จะต้องทำอันทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว. สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

การสั่งสมกิจที่ต้องทำอันทำเรียบร้อยแล้ว ของภิกษุ

ผู้มีจิตสงบ หลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้น ย่อมไม่มี

(และ) กิจที่พึงทำอีกก็ไม่มี ดังนี้.

ในบทว่า โอหิตภาโร มีวินิจฉัยว่า ภาระมี ๓ คือ ขันธภาระ

กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ ภาระ ๓ เหล่านี้ พระอรหันต์นั้น ปลงลงแล้ว

ยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว ด้วยเหตุนี้นั้น พระอรหันต์นั้น

ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว.

บทว่า อนุปตฺตสทตฺโถ ความว่า ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว

อธิบายว่า ตามบรรลุประโยชน์อันเป็นของตน. อักษร แปลงเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

อักษร. ก็พระอรหัตพึงทราบว่า ประโยชน์ของตน. จริงอยู่ พระ

อรหัตนั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์ของตน คือประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า

เกี่ยวเนื่องกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะอรรถว่า เป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งของตน.

บทว่า ปริกฺขีณภวสโยชโน มีวินิจฉัยว่า สังโยชน์ ๑๐ คือ

กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ

อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ

เพราะสังโยชน์เหล่านี้ ย่อมผูก คือตามผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ อีก

อย่างหนึ่ง ย่อมเชื่อมภพไว้ด้วยภพ สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเหล่านี้

ของพระอรหันต์ สิ้นรอบแล้ว อันท่านละได้แล้ว อันท่านเผาแล้วด้วย

ไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระขีณาสพนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีสังโยชน์

เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพอันสิ้นรอบแล้ว.

บทว่า สมฺมทญฺา ในบทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต นี้ ความว่า

เพราะรู้โดยชอบ. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

เพราะรู้ คือทราบ ได้แก่พิจารณา ตรวจตรา เปิดเผย กระทำให้แจ้ง

ซึ่งอรรถแห่งขันธ์ว่าเป็นขันธ์ อรรถแห่งอายตนะว่าเป็นอายตนะ อรรถ

แห่งธาตุว่าเป็นธาตุ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นการบีบคั้น อรรถแห่งสมุทัยว่า

เป็นบ่อเกิดทุกข์ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นความสงบ อรรถแห่งมรรคว่า

เป็นทัสสนะ มีประเภทอย่างนี้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ โดยชอบ

คือตามความเป็นจริง.

บทว่า วิมุตฺโต มีวินิจฉัยว่า วิมุติมี ๒ อย่าง คือ ความหลุดพ้น

แห่งจิต ๑ พระนิพพาน ๑ พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วแม้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะความมีจิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้ง

ปวง ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วแม้ในพระนิพพาน เพราะความที่ท่านมีจิต

น้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์ท่านจึงเรียกว่า ผู้หลุด

พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

บทว่า ปริญฺาตนฺตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด)

นั้นอันพระอรหันต์กำหนดรู้แล้วด้วยปริญญาทั้ง ๓ ฉะนั้น พระอรหันต์

นั้นจึงไม่สำคัญที่ตั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระอรหันต์ย่อมไม่

สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ส่วนวาระ ๓ เป็นต้นว่า ขยา ราคสฺส ดังนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว

ในนิพพานวาระ วาระเหล่านั้น ก็ควรให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวี

เป็นต้น. ก็ปริญญาตวาระนี้ ก็ควรให้พิสดารแม้ในนิพพานวาระ. ก็

บัณฑิตเมื่อจะให้ความพิสดาร พึงประกอบคำว่า ปริญฺาตนฺตสฺส ด้วย

ทุก ๆ บท แล้วพึงประกอบความอีกว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา

ดังนี้ ในบทนอกจากนั้นก็นัยนี้. ก็เทศนาท่านย่อไว้ว่า คำที่กล่าวแล้วใน

บทเดียว ก็เป็นอันกล่าวแล้วในทุก ๆ บทแท้.

ก็ในบทว่า ขยา ราคสฺส วีตราคฺตา นี้ ความว่า เพราะเหตุที่

นักบวชนอกศาสนาเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม (แต่) ไม่ใช่

เพราะหมดราคะ ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด

ในกาม เพราะความสิ้นราคะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า

ขยา ราคสฺส วีตราคฺติตา ดังนี้. แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้.

เหมือนอย่างว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราตถาคตกล่าวว่า

ปริญฺาต ตสฺส ดังนี้ ย่อมได้ความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่สำคัญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

วัตถุนั้นหรือความสำคัญนั้น เพราะท่านได้กำหนดรู้แล้วฉันใด แม้ในที่นี้

ก็ฉันนั้น พระอรหันต์นั้นบัณฑิตเห็นว่า ย่อมไม่สำคัญวัตถุนั้น หรือ

ย่อมไม่สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น เพราะท่านหมดราคะแล้ว.

ก็ในบรรดาวาระเหล่านั้น วาระนี้ว่า ปริญฺาต ตสฺส นี้ ท่าน

กล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งมรรคภาวนา. วาระนอกนี้ พึงเห็นว่า

ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งผล.

อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญด้วยเหตุ ๒ ประการ

เพราะความที่วัตถุท่านกำหนดได้แล้ว และเพราะอกุศลมูลท่านถอนขึ้น

ได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงการกำหนดรู้วัตถุของ

พระอรหันต์นั้นด้วยวาระแห่งปริญญา และแสดงการถอนขึ้นซึ่งอกุศลมูล

ด้วยวาระนอกนี้ ฉะนี้แล.

ในบรรดาวาระเหล่านั้น พึงทราบความแปลกกันในวาระ ๓ ข้อ

ข้างปลายดังต่อไปนี้. พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกำหนัดใน

วาระทั้ง ๓ นั้นแล้ว พิจารณาเห็นทุกข์อยู่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอัปปณิ-

หิตวิโมกข์ ย่อมมีราคะปราศจากไป เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ. ท่าน

เห็นโทษในโทสะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้หลุดพ้น

แล้วด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้มีโทสะปราศไป เพราะความสิ้นโทสะ.

ท่านเห็นโทษในโมหะ พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาอยู่ หลุดพ้นแล้ว

ด้วยสุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.

หากมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลคนเดียวย่อมหลุดพ้นด้วย

วิโมกข์ ๓ (คราวเดียวกัน) ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรกล่าว ๒ วาระ

ไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

พึงตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่.

เพราะเหตุไร?

เพราะว่ายังมิได้กำหนดแน่นอน.

ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แน่นอนว่า โยปิ โส

ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรห ดังนี้ แต่หาตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นด้วย

อัปปณิหิตวิโมกข์ หรือหลุดพ้นด้วยวิโมกข์นอกนี้ ดังนี้ไม่. ฉะนั้น สิ่ง

ใดย่อมสมควรแก่พระอรหันต์ สิ่งนั้นทั้งหมดควรกล่าวแท้ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน พระอรหันต์ทุกรูป เมื่อกิเลสมี

ราคะเป็นต้นสิ้นไป ท่านก็เรียกว่า ผู้มีราคะไปปราศ เพราะราคะสิ้นไป

เหตุที่ท่านกำหนดรู้วิปริณามทุกข์. ท่านเรียกว่าผู้ปราศจากโทสะ เพราะ

โทสะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้ทุกข์ในทุกข์ ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะ

เพราะโมหะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้สังขารทุกข์.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่

ท่านกำหนดรู้อิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโทสะ เพราะโทสะสิ้นไป เหตุที่

ท่านกำหนดรู้อนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโมหะ เพราะโมหะสิ้นไป

เหตุที่ท่านกำหนดรู้มัชฌัตตารมณ์.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่

ท่านถอนราคานุสัยในสุขเวทนาเสียได้ ชื่อว่าปราศจากโทสะและปราศจาก

โมหะ ท่านถอนปฏิฆานุสัยและโมหานุสัยในทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา

เสียได้ ฉะนี้แล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความต่าง

กันนั้น จึงตรัสว่า ขยา ราคสฺส วีตราตฺตา ฯเปฯ ขยา โมหสฺส

วีตโมหตฺตา ดังนี้.

จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๓-๔-๕-๖ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

อธิบายคำว่า ตถาคต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพ

ในวัตถุธาตุทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความ

เป็นไปของพระองค์เอง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตถาคโตปิ ภิกฺขเว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ อย่างคือ (๑) เรียกว่า

ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เรียกว่า ตถาคต

เพราะอรรถว่า เสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (๓) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถ

ว่า เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (๔) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ตรัสรู้

พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (๕) เรียกว่า ตถาคต เพราะ

ทรงเห็นแท้จริง, (๖) เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (๗)

เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง, (๘) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า

ครอบงำ.

ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนี้

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถ

ว่า เสด็จมาแล้ว อย่างนั้น อย่างไร?

ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงถึงการขวนขวาย

เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือน

อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ๑ ทรงพระนามว่า

สิขี ๑ ทรงพระนามว่า เวสสภู ๑ ทรงพระนามว่า กกุสันธะ ๑ ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

พระนามว่า โกนาคมนะ ๑ ทรงพระนามว่า กัสสปะ ๑ เสด็จมาเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกฉันใด (พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้ ก็

เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกฉันนั้นเหมือนกัน).

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมา

ด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วย

อภินิหารนั้นเหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี

ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี

อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐

ทัศนี้ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทั้งได้ทรง

บำเพ็ญมหาบริจาค ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ทรงบริจาคอวัยวะ ดวงพระเนตร

พระราชทรัพย์ ราชสมบัติ โอรสและมเหสี ทรงบำเพ็ญบุพพประโยค

บุพพจริยา การสอนธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น มาจนถึงที่สุดด้วย

พุทธจริยาฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา ก็เสด็จมาฉันนั้น

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า กัสสปะ เสด็จมาบำเพ็ญเพิ่มพูนสติปัฏ-

ฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมี

องค์ ๘ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาฉันนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมา

ถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดยประการใด

แม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่า

พระตถาคต ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น ดังพรรณนามา

อย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.

ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ

ไปแล้ว อย่างนั้น อย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า กัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จ

ดำเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันนั้น

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดำเนินไปได้อย่างไร ?

(อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วย

พระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนิน

ไปได้ ๗ ก้าว เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อานนท์ พระโพธิสัตว์

ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนบนปฐพีอยู่ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ

ผินพระพักตร์ต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนินไปได้ ๗ ก้าว โดยมี

เทวดากั้นเศวตฉัตรติดตามไป ทรงตรวจดูรอบทิศ เปล่งอาสภิวาจาว่า

เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้

ก็การเสด็จไปนั้นของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น

โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษอย่างมากมาย.

ก็ข้อที่พระองค์ประสูติได้ครู่หนึ่ง และประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี

ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอนี้นั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔.

ข้อที่พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่ง

ความที่พระองค์เป็นผู้ข้ามพ้นโลกทั้งหมด.

การย่างพระบาทดำเนินได้ ๗ ก้าว เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะ

คือโพชฌงค์ ๗ ประการ.

การยกจามร ที่กล่าวไว้ในบทว่า จามรมีด้ามเป็นทองผ่านไปดังนี้

ขึ้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการย่ำยีพวกเดียรถีย์ทั้งหมด.

การที่ทรงเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันประ-

เสริฐวิเศษ ปราศจากมลทิน คือการหลุดพ้นด้วยอำนาจความเป็นพระ

อรหันต์.

การที่ทรงตรวจดูไปทั่วทิศนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้ญาณอัน

ประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณ.

การที่ทรงเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักร

อันประเสริฐไม่มีใครคัดค้านได้.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จไปโดยประการนั้น และการเสด็จไป

ของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการได้

บรรลุคุณวิเศษมากมาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

พระโคดมนั้นนพอประสูติแล้วครู่เดียวเท่านั้น ก็

เหยียบพื้นพสุธาด้วยพระบาทอันเรียบเสมอแล้ว

เสด็จดำเนินไปได้ ๗ ก้าว เหมือนโคผู้นำฝูงเดินนำ

หน้าฝูงโคไปฉะนั้น และหมู่เทวดาทั้งหลาย ก็ได้กาง

กั้นเศวตฉัตรถวายพระโคดมนั้น ครั้นย่างพระบาท

ไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงตรวจดูทั่วทุกทิศอย่างสม่ำ

เสมอโดยรอบ ได้เปล่งพระสุรเสียงอันประกอบด้วย

องค์ ๘ เหมือนพญาราชสีห์ยืนอยู่บนยอดภูเขาเปล่ง

สีหนาทฉะนั้น ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยประการนั้น

ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงพระนาม

ว่า ตถาคต.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ทรงละ

กามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท

ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธจัจกุกกุจจะด้วยความไม่

ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรมเสด็จไปแล้ว. ทรงทำลาย

อวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์

ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตก

วิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสำรอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุข

และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตต-

สัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตน-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วย

อากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จไปแล้ว, ทรงละนิจจสัญญาด้วย

อนิจจานุปัสสนาญาณ ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาญาณ ทรง

ละอัตตคสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความเพลิดเพลินด้วย

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ทรงละราคะด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ ทรงละ

สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนาญาณ ทรงละการถือมั่นด้วยปฏินิสัคคานุปัสสนา

ญาณ ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนาญาณ ทรงละการประมวลมา

ด้วยวยานุปัสสนาญาณ ทรงละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนาญาณ ทรง

ละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตทานุปัสสนาญาณ ทรงละความปรารถนาด้วย

อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ทรงละอภินิเวสด้วยสุญญมานุปัสสนาญาณ ทรง

ละการยึดถือโดยเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาญาณ ทรงละการ

ยึดมั่นเพราะความหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนญาณ ทรงละความยึดถือด้วย

ความอาลัยด้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณ ทรงละการไม่พิจารณาด้วย

ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยชน์ด้วยวิวัฏฏา-

นุปัสสนาญาณ ทรงหักรานกิเลสในปัจจุบันด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละ

กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกถอนกิเลสซึ่งยังเหลืออยู่

เล็กน้อยด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดขาดกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรค

เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการ

ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพระเสด็จ

มาสู่ลักษณะอันแท้จริงนั้น อย่างไร?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิด

ได้แก่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความเข้มแข็ง

อย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะ

แห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว

ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็นเครื่องรู้

ลักษณะแห่งรูปว่าการย่อยยับไป ลักษณะแห่งเวทนาว่าการเสวยอารมณ์

ลักษณะสัญญาว่าความจำได้ ลักษณะแห่งสังขารว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง

ลักษณะแห่งวิญญาณว่าความรู้แจ้ง ลักษณะของวิตกว่าการยกจิตขึ้นสู่

อารมณ์ ลักษณะของวิจารว่าการเคล้าอารมณ์ ลักษณะปีติว่าการแผ่ซ่าน

ไป ลักษณะแห่งสุขว่าความยินดี ลักษณะแห่งจิตเอกัคคตาว่าความไม่

ฟุ้งซ่าน ลักษณะแห่งผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของสัทธินทรีย์ว่าการ

น้อมใจเชื่อ ลักษณะของวิริยินทรีย์ว่าการประคองจิต ลักษณะของสติน-

ทรีย์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งสมาธินทรีย์ว่าความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน

ลักษณะของปัญญินทรีย์ว่าการที่จิตรู้ชัด ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่

จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะของวิริยพละว่าความที่จิต

ไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ลักษณะแห่งสติพละว่าความที่จิต

ไม่หวั่นไหวในเพราะความหลงลืมสติ ลักษณะแห่งสมาธิพละว่าความที่จิต

ไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ ลักษณะแห่งปัญญาพละว่าความที่จิตไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

หวั่นไหวในเพราะอวิชชา ลักษณะของสติสัมโพชฌงค์ว่าความปรากฏชัด

ลักษณะแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ว่าการพิจารณา ลักษณะของวิริย-

สัมโพชฌงค์ว่าการประคองจิตไว้ ลักษณะของปีติสัมโพชฌงค์ว่าการแผ่

จิตไป ลักษณะของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ว่าการสงบจิต ลักษณะของสมาธิ

สัมโพชฌงค์ว่าความไม่ฟุ้งซ่านของจิต ลักษณะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ว่าการพิจารณา ลักษณะของสัมมาทิฏฐิว่าการเห็น ลักษณะของสัมมา-

สังกัปปะว่าการยกจิตขึ้น ลักษณะของสัมมาวาจาว่าการกำหนดจิต ลักษณะ

ของสัมมากัมมันตะว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของสัมมาอาชีวะว่า

ความผ่องแผ้วของจิต ลักษณะของสัมมาวายามะว่าการประคองจิต

ลักษณะของสัมมาสติว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมาสมาธิว่าการที่

จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของอวิชชาว่าความไม่รู้ ลักษณะของสังขารว่า

เจตนา ลักษณะของวิญญาณว่าความรู้ชัด ลักษณะของนามว่าการน้อม

จิตไป ลักษณะของรูปว่าความย่อยยับไป ลักษณะของอายตนะ ๖ ว่า

บ่อเกิด ลักษณะของผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของเวทนาว่าการ

เสวยอารมณ์ ลักษณะของตัณหาว่าเหตุแห่งทุกข์ ลักษณะของอุปาทานว่า

ความยึดถือ ลักษณะของภพว่าการประมวลไว้ ลักษณะของชาติว่า

การเกิด ลักษณะของชราว่าความแก่ ลักษณะของมรณะว่าจุติ ลักษณะ

ของธาตุว่าความว่างเปล่า ลักษณะของอายตนะว่าบ่อเกิด ลักษณะของ

สติปัฏฐานว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมัปปธานว่าการตั้งความเพียร

ลักษณะของอิทธิบาทว่าความสำเร็จ ลักษณะของอินทรีย์ว่าความเป็นใหญ่

ลักษณะของพละว่าการไม่หวั่นไหว ลักษณะของโพชฌงค์ว่าธรรม

เครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ลักษณะของมรรคว่าเป็นเหตุให้ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ดับทุกข์ ลักษณะของสัจจะว่าความจริง ลักษณะของสมถะว่าความไม่

ฟุ้งซ่าน ลักษณะของวิปัสสนาว่าพิจารณาเห็น ลักษณะของสมถะและ

วิปัสสนาว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่กันว่าไม่ละกัน

ลักษณะของศีลวิสุทธิว่าการระวังรักษา ลักษณะของจิตตวิสุทธิว่าความ

ไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของทิฏฐิวิสุทธิว่าการเห็น ลักษณะของญาณใน

ธรรมเป็นที่สิ้นไปว่าสมุจเฉท ลักษณะของญาณในธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นว่า

ความสงบ ลักษณะของฉันทะว่ามูลเหตุ ลักษณะของมนสิการว่าความขยัน

หมั่นเพียร ลักษณะของผัสสะว่าที่รวม ลักษณะของเวทนาว่าที่ประชุม

ลักษณะของสมาธิว่าธรรมที่เป็นประธาน ลักษณะของสติว่าความเป็นไหญ่

ลักษณะของปัญญาว่าสูงกว่าธรรมทั้งหมด ลักษณะของวิมุติว่าแก่น

ลักษณะของนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตะว่าที่สิ้นสุด พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาถึง คือถึง ได้แก่บรรลุซึ่งลักษณะที่เป็นจริงอย่างนี้ อย่างแท้จริง

คือไม่ผิด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ลักษณะอันแท้จริงอย่างนี้ ฉะนั้น

จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่แท้จริงตามความเป็นจริงอย่างไร ?

ตอบว่า ที่ชื่อว่าธรรมที่จริงแท้ ได้แก่อริยสัจ ๔. เหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้

เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน

ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้เป็นต้น. ความพิสดาร (นักศึกษาพึงตรวจดูเอาเอง).

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น

เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ

อริยสัจทั้งหลายที่จริงแท้.

แท้จริง คต ศัพท์ ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมา ว่า "ตรัสรู้

พร้อมเฉพาะ."

อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่ชราและมรณะเกิดมีเพราะมีชาติเป็นปัจจัย

เป็นสภาวะที่แท้จริง ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ สภาวะที่สังขาร

ทั้งหลายเกิดมีเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผัน

ไม่เป็นอย่างอื่น.

อนึ่ง สภาวะที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) สังขารทั้งหลาย

สภาวะที่สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) วิญญาณ ฯลฯ สภาวะ

ที่ชาติเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) ชราและมรณะเป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่

แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสภาวะนั้นทั้งหมด แม้

เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานนามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อม

เฉพาะซึ่งธรรมที่จริงแท้ตามความเป็นจริง ด้วยประการดังพรรณนามา

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ตถาคตผู้ปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง

มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้อย่างไร ?

ตอบว่า อารมณ์ใดที่ชื่อว่า รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ซึ่งมา

ปรากฏในจักษุทวารของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณ มีอยู่ทั้งในโลกกับทั้ง

เทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ (และ) ในโลกธาตุ

ไม่มีปริมาณ (กำหนดนับไม่ได้) อารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รู้ คือทรงเห็นโดยอาการทั้งหมด.

อารมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้และทรงเห็นอยู่อย่างนี้

จำแนกออกไปตามชื่อเป็นอเนก ตามวาระ ๑๓ วาระ (และ) ตามนัย

๕๒ นัย โดยนัยมีอาทิว่า รูป คือรูปายตนะนั้นเป็นไฉน ? รูปใดที่

อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่มีวรรณะ (สี) มองเห็นได้ ถูกต้องได้

เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง (นี้แหละเรียกว่ารูป) ด้วยอำนาจเป็นรูป

ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจที่จะได้ใน

รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมา-

รมณ์ที่ได้รู้แจ้งบ้าง ย่อมเป็นของจริงแท้ทีเดียว ไม่มีแปรผัน. ในบรรดา

อารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่มาปรากฏในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงด้วย

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อารมณ์ใดที่โลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ที่หมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์

ได้เห็น ได้สดับ ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้คิด

ค้น ตถาคตรู้อารมณ์ ตถาคตรู้อย่างแท้จริงซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ตถาคตรู้ อารมณ์นั้นปรากฏแล้วในตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ

เห็นอารมณ์ที่แท้จริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ในบทว่า ตถาคโต นั้น นักศึกษาพึงทราบการใช้บทว่า ตถาคโต

ลงในความหมายว่า ผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้

ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมี

ปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ อย่างไร ?

ตอบว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์

(บัลลังก์ที่มารไม่สามารถทำให้พ่ายแพ้ได้, บัลลังก์ของผู้ชนะ) ภายใต้

ควงไม้โพธิ์ ทรงบั่นเศียรมารทั้ง ๓ แล้วตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตร-

สัมมาสัมโพธิญาณก็ดี การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ในตอนกลางคืนก็ดี

ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้ (ช่วงหลังตรัสรู้และก่อนปริ-

นิพพาน) คือในระยะเวลาครั้งปฐมโพธิกาลบ้าง ครั้งมัชฌิมโพธิกาล

บ้าง ครั้งปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระพุทธพจน์ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ จะเป็นสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละก็ตาม พระพุทธพจน์นั้น

ทั้งหมดอัน วิญญูชนกล่าวตำหนิไม่ได้ทั้งโดยอรรถ (ความหมาย, เนื้อหา

สาระ) ทั้งโดยพยัญชนะ (ตัวหนังสือ) ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วย

อาการทุกอย่าง ย่ำยีความเมาด้วยราคะ ย่ำยีความเมาด้วยโทสะและโมหะ

ความผิดพลาดในพระพุทธพจน์นั้นแม้เพียงปลายขนทรายก็ไม่มีดี ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

หมดนั้นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ราวกับประทับตราด้วยพระราช-

ลัญจกรอันเดียวกัน ราวกับว่าดวงด้วยทะนานเดียวกัน และราวกับว่าชั่ง

ด้วยตาชั่งคันเดียวกันฉะนั้น.

เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า การที่พระตถาคตตรัสรู้

พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในตอนกลางคืนก็ดี การ

ที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในตอนกลางคืน

ก็ดี การที่พระตถาคตตรัสสนทนาชี้แจงรนระหว่างนี้ก็ดี ทั้งหมดนั้น

เป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ-

นามว่า ตถาคต.

แท้จริง คต ศัพท์ ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายเท่ากับ

คทะ (ตรัส, พูด).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ

ตรัสวาทะที่จริงแท้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

อนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า ได้แก่คำพูด. การ

ตรัสของพระตถาคตนั้นจริงแท้ คือไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงได้รับ

ขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง อักษรให้เป็น อักษร

และนักศึกษาพึงทราบบทสำเร็จรูปในความหมายนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.

ตถาคต - ผู้มีปกติทำจริง

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง

เป็นผู้มีปกติทำจริงอย่างไร ?

ตอบว่า ก็กายกรรมของพระผู้มีภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวจีกรรม ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

วจีกรรมก็คล้อยตามกายกรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติ

ตรัสอย่างใด สิ่งทรงมีปกติทำอย่างนั้น และมีปกติทำอย่างใด ก็ทรงมีปกติ

ตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า วจีกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้ทรงเป็น

อย่างนี้ เป็นฉันใด แม้กายกรรมก็เป็นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรง

พระนามว่า ตถาคต.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตมีปกติพูดอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น มีปกติทำอย่างใด ก็มี

ปกติพูดอย่างนั้น เพราะเหตุที่มีปกติพูดอย่างใด จึงมีปกติทำอย่างนั้น

มีปกติทำอย่างใด จึงมีปกติพูดอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้รับขนาดพระ

นามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติ

ทำจริงดังพรรณนามาฉะนี้.

ตถาคต - ผู้ครอบงำ

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมาย

ความว่า ครอบงำอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ )

ในเบื้องในตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา ในเบื้องล่างตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้น

ไป ในด้านขวางย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ) สรรพสัตว์ในโลกธาตุ

อัน หาปริมาณมิได้ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุติบ้าง วิมุตติ-

ญาณทัสสนะบ้าง การชั่งหรือการกำหนดวัด (พระคุณมีศีลเป็นต้น)

ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มี พระองค์มีพระคุณอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

กะประมาณไม่ได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นราชาของราชา เป็นเทวดาของ

เทวดา เป็นท้าวสักกะเหนือท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมเหนือพรหม

ทั้งหลาย.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ (แต่) ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นอย่าง

ถ่องแท้ เป็นผู้แผ่อำนาจได้ในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์

กับทั้งเทวดาและมนุษย์. เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า

ตถาคต. ในบทว่า ตถาคต นั้น พึงทราบบทสำเร็จรูปอย่างนี้.

สิ่งที่เป็นเหมือนโอสถ ชื่อว่า อคทะ. ก็โอสถนั้นคืออะไร ? คือ

การยักย้ายเทศนา (ตามอุปนิสัยของผู้ฟัง) และการเพิ่มพูนแห่งบุญ. ก็

เพราะโอสถนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นจึงเป็นหมอที่มีอานุภาพมาก ทรง

ครอบงำผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดและโลกกับทั้งเทวโลก เหมือนกับปราบงู

(พิษ) ด้วยทิพโอสถฉะนั้น. โอสถในการครอบงำโลกทั้งหมด ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันสำเร็จมาจากการยักย้ายเทศนา และสำเร็จมา

จากบุญเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษร

เป็น ต อักษร ด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนานว่า ตถาคต เพราะหมายความว่าครอบงำ ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ตถาคต - ผู้ถึงด้วยความจริงแท้

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

หมายความว่า ทรง (เข้า) ถึงด้วยความจริงแท้บ้าง ทรง ( เข้า)

ถึงความจริงแท้บ้าง. บทว่า คโต หมายความว่า หยั่งถึง พ้นแล้ว

บรรลุแล้ว ดำเนินไปถึงแล้ว. ในคำเหล่านั้นพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือหยั่งถึงแล้วซึ่งโลกทั้งหมด

ด้วยความจริงแท้ คือตีรณปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า

ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือพ้นแล้วซึ่งเหตุเกิดของโลกด้วย

ความจริงแท้ คือปหานปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือบรรลุแล้วซึ่งความดับของ

โลกด้วยความจริงแท้ คือการกระทำให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระ

นามว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือ ดำเนินไปถึงแล้วซึ่งความจริง

แท้ คือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้ถึงความดับโลก เพราะเหตุนั้นจึงทรง

พระนามว่า ตถาคต.

เพราะเหตุนั้น คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตหลุดพ้นไป

แล้วจากโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดของโลกอันตถาคตตรัสรู้

พร้อมเฉพาะแล้ว ตลาดตละเหตุเกิดของโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตทำ

ให้แจ้งความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

เหตุให้ถึงความดับโบกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตเจริญ

ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเหตุให้ถึงความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใด (มีอยู่) แก่โลกกับทั้งเทวโลก สิ่งนั้นทั้งหมดอันตถาคตตรัสรู้

พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต

ความหมายแห่งคำนั้นนักศึกษาพึงทราบแม้อย่างนี้.

และแม้ถ้อยคำดังว่ามานี้ ก็เป็นเพียงมุขกถาในการแสดงถึงภาวะ

ที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงแท้เท่านั้น. ก็พระตถาคตเท่านั้นพึง

พรรณนาภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงได้โดยอาการทุกอย่าง.

อธิบาย อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ

ส่วนใน ๒ บทว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ พึงทราบอธิบายดังต่อ

ไปนี้:-

อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์

ด้วยเหตุเหล่านี้คือ

๑. เพราะทรงไกล (จากกิเลส )

๒. เพราะทรงกำจัด ข้าศึกทั้งหลาย

๓. เพราะทรงหักซี่กำ (แห่งสังสารจักร) ทั้งหลาย

๔. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น

๕. เพราะไม่มีความลับในการทำบาป

ส่วนที่ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ

และด้วยพระองค์เอง ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ . แต่บททั้ง ๒ (คือ อรห

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

สมฺนาสมฺพุทฺโธ) นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายไว้แล้วโดยพิสดารใน

การพรรณนาพุทธานุสสติในวิสุทธิมรรค.

ปริญญาตวาระ

ก็ในบทว่า ปริญฺาตนฺต ตถาคตสฺส นี้ พึงทราบอธิบายว่า วัตถุ

(ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง) การสำคัญยึดถือนั้น พระตถาคตกำหนดรู้แล้ว ดังนี้

ก็ได้. วัตถุนั้นชื่อว่า ตถาคตกำหนดรู้แล้ว คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้

อย่างรอบตอบแล้ว มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว อธิบายว่า

ทรงรอมรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ.

อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่าง

กันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้น ๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่าง

กัน อยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณา

ธาตุ ๔ เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง

ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี.

ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิด-

เพลิน) เป็นมูลรากของทุกข์ นี้ใด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้น

ควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น วาระนี้เป็น

วาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกำหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระ

ที่ว่า ปริญฺาตนฺต ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง)

คำว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์ เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก ส่วน

เทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสำคัญว่า วัตถุ (ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

เป็นที่ตั้งแห่งการสำคัญยึดถือ) เป็นอันกล่าวไว้ในทุกบททีเดียว.

แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล

อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล เป็นต้น พึงทราบอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ตัณหาครั้งแรก. บทว่า ทุกฺข ได้แก่เบญจ-

ขันธ์ ทว่า มูล ได้แก่รากเหง้า. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า

เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี ) ในภพครั้งแรกนั้นอย่าง

นี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้. บทว่า ภวา ได้แก่เพราะกรรมภพ.

บทว่า ชาติ ได้แก่วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ). แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น

จึงตรัสเรียกว่า ชาติ. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาน พระผู้มีพระภาคเจ้า

แสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อ

เป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา. ก็ในคำนี้ มีอธิบาย

ดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม)

จึงมีอุปปัตติภพ. บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณ

แปลว่า ชราและมรณะ. มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า

ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์

ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะทรง

แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่ง

ความสำคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

(การย่นย่อ) ๔ สังเขป มีสนธิ ๓ สนธิ มีอัทธา (กาล) ๓ อัทธา

มีอาการ ๒๐.

อธิบายปฏิจจสมุปบาท

ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร ?

ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า

นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า

ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ

ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดัง

พรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ส่วนทั้งหลาย.

ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็น

สนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่าง

สังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต)

ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตัทธา. (กาลที่เป็นอนาคต ) ทุกข์และ

ภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน ) พึงทราบอัทธา ๓ ดัง

พรรณนามาฉะนี้แล.

อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา

จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา ( อาการ ๔ คือ) อวิชชา

สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น

ปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป

สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.

ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้คือ โมหะ ได้แก่

อวิชชา การประมวลมา ได้แก่สังขาร ความใคร่ ได้แก่ตัณหา

การเข้าไปยึดถือ ได้แก่อุปาทาน เจตนา ได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของ

ปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.

ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ

สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ

อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ใน

เพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.

แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมี

ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร

ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ

เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.

ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่

ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้อง

คือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้

แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.

พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะ

ดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มี

อาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ

(ความเพลิดเพลิน. ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า

เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการ

ดังพรรณนามาฉะนี้.

แก้บท ขยา วิราคา ปฏินสฺสคฺคา

บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาไปตามลำดับบท ในบทนี้ว่า

ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ฯเปฯ อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ แล้วสรุปข้อความ

ด้วยบทโยชนา.

บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น )

นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ อักษร เป็นนิบาต. คำว่า

สพฺพโส นั่น เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหาน ได้แก่ตัณหา

ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา

แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คำว่า วิราคะ.

(สำรอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า ขยะ (ความสิ้นไป).

อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดในรูปแล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสำรอก

แล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า

ขยา นั้น เป็นคำใช้ทวีไปแก่กิจของมรรคทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น จึงควร

อธิบายประกอบความว่า เพราะสำรอกได้ด้วยมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค)

มรรคที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

คามิมรรค ) เพราะสละคืน (เด็ดขาด ) ด้วยมรรคที่ ๔ (อรหัตตมรรค).

อีกอย่างหนึ่ง พึงทำอธิบายประกอบความในพระดำรัสตอนนี้ (อีก)

อย่างนี้ว่า ปุถุชนพึงหมายรู้ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด

เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญซึ่งปฐวีธาตุด้วยตัณหา

เหล่าใด เพราะสำรอกเสียได้ซึ่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญในปฐวี

ธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะดับตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสำคัญ

จากปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละทิ้งซึ่งตัณหาเหล่านั้นเสียได้

ปุถุชนพึงสำคัญว่า ปฐวีธาตุของเราด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหา

เหล่านั้นเสียได้ อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนพึงสำคัญปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด

เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ฯ ลฯ ปุถุชนพึงยินดีปฐวีธาตุด้วย

ตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. (ความทั้งสองนี้ )

ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน.

บทว่า อนุตฺตร คือเว้นจากบุคคลผู้ยิ่งกว่า ได้แก่ประเสริฐกว่า

คนอื่นทั้งหมด.

ความหมายของคำว่า "โพธิ"

บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า การตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระ

องค์เอง อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) การตรัสรู้ที่บัณฑิตสรรเสริญ

และดี. บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญญุตญาณ

บ้าง นิพพานบ้าง. อธิบายว่า ต้นไม้ เรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคต-

สถานที่ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ (แปลว่า แรกตรัสรู้

ณ โคนต้นโพธิ์ ) และว่า อนฺตรา จ โพธึ อนฺตรา จ คย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

(แปลว่า ระหว่างต้นโพธิ์กับตำบลคยา). มรรคเรียกว่า โพธิ (เช่น)

ในอาคตสถานที่ว่า จตุมคฺเคสุ าณ (แปลว่า ญาณในมรรค ๔)

สัพพัญญุตญาณเรียกว่า โพธิ (เช่น) โนอาคตสถานที่ว่า ปปฺโปติ

โพธิ วรภูมิ เมธโส (แปลว่า พระผู้มีปัญญาอันประเสริฐจอมปราชญ์

ทรงบรรลุพระโพธิญาณ). นิพพานเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคต-

สถานที่ว่า ปตฺวาน โพธึ อมต อสงฺขต (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบรรลุโพธิอันเป็นอมตะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง). แต่ในที่นี้ ประสงค์

เอาอรหัตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าว

ว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ ดังนี้บ้าง.

ถามว่า อรหัตตมรรคของพระสาวกทั้งหลายจัดเป็นโพธิญาณอันยอด

เยี่ยมหรือไม่ ?

ตอบว่า ไม่จัด.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะให้คุณไม่ได้ทุกอย่าง.

เป็นความจริง บรรดาพระสาวกเหล่านั้น อรหัตตมรรคของบางท่านให้ได้

เฉพาะอรหัตตผลเท่านั้น. ของบางท่านให้วิชชา ๓ ของบางท่านให้

อภิญญา ๖ ของบางท่านให้ปฏิสัมภิทา ๔ ของบางท่านให้สาวกบารมีญาณ.

แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น ส่วน

อรหัตตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมให้คุณสมบัติทุกอย่าง เปรียบ

เหมือนการอภิเษก (ในราชสมบัติ) ของพระราชาย่อมให้ความเป็นใหญ่

ในโลกทั้งหมด เพราะฉะนั้น โพธิญาณของใคร ๆ อื่นจึงไม่จัดว่ายอด

เยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

บทว่า อภิสมสฺพุทฺโธ หมายความว่า รู้ยิ่งแล้ว คือ แทงตลอด

แล้ว อธิบายว่า ถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. บทว่า อิติ วทามิ ความว่า

เราตถาคตย่อมกล่าว คือบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

กระทำให้ง่าย ด้วยประการฉะนี้. ในคำนั้นมีอธิบายขยายความดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคต ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ

ย่อมไม่ยินดีปฐวีธาตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทราบอย่างนี้ว่า

นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ เพราะภพ

จึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วมีชราและมรณะ.

อิติ อักษร ในบทว่า อิติ วิทิตฺวา (ที่มา) ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส

มูล ฯเปฯ ชรา มรณนฺติ อิติ วิทิตฺวา นั้น มีความว่า การณะ

(เป็นเหตุ) เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า เพราะรู้แจ้ง คือเพราะแทง

ตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้.

พึงทราบเพิ่มเติมขึ้นอีกนิดหน่อย. เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้

แจ้งปฏิจจสมุปบาทนี้อย่างนี้ จึงทรงละตัณหาที่ตรัสไว้ว่า นันทิ นั้นได้

แม้ทุกประการ และเพราะตัณหาเหล่านั้นสิ้นไปทั้งหมด พระตถาคตจึง

ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น

ตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดี

ปฐวีธาตุ อธิบายว่า เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่า

พระตถาคตไม่สำคัญ ไม่ยินดี (ซึ่งปฐวีธาตุ).

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทโดย

นัยมีอาทิว่า นันทิเป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทรงถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา

โดยประการทั้งปวง ฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจึงกล่าวว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ฯลฯ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดย

ประการทั้งปวง เพราะได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ พระตถาคตจึงไม่

สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดี. ก็ในที่ใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ได้ตรัส ยสฺมา (เพราะเหตุใด) ไว้ ตรัสไว้แต่ ตสฺมา (เพราะเหตุ

นั้น) ในที่นั้น ๆ ต้องนำ ยสฺมา มาประกอบเข้าด้วย. วิธีนี้เป็นวิธีที่ยุติ

กันแล้วในทางศาสนา. ในทุกบทก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.

เหตุที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า

บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงแสดงพระสัพพัญญุตญาณอันลึกซึ้งอย่างยิ่ง มีการหยั่งถึง ไม่พึง

ได้ด้วยปัญญาของคนเหล่าอื่น (ปัญญาคนอื่นหยั่งรู้ไม่ถึง) จึงทรง

ประดับด้วยวาระของปุถุชน ๑ วาระ ด้วยวาระของเสขบุคคล ๑ วาระ

ด้วยวาระของพระขีณาสพ ๔ วาระ (และ) ด้วยวาระของพระตถาคต

๒ วาระ รวมเป็นประดับด้วยวาระใหญ่ (สำคัญ) ๘ วาระ และ

ในวาระ (ใหญ่) แต่ละวาระทรงประดับด้วยวาระในระหว่าง (วาระ

ย่อย) ๒๔ วาระ มีวาระว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้น แล้วในตรัสพระสูตร

ทั้งหมด ซึ่งเริ่มต้นแต่ตอนจบคำเริ่มต้นจนกระทั้งถึงคำว่า ยาว อภิสมฺ-

พุทฺโธ วทามิ ด้วยปริยัติจำนวน ๒ ภาณวาร.

ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสพระสูตรนี้อันประกอบด้วยนัย

อันวิจิต และความวิลาสแห่งเทศนาด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรม ซึ่ง

ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก (และ) เป็นเช่นกับได้ทรงราดรดหทัย

ของชนด้วยน้ำอมฤต เพราะระรื่นหูอยู่อย่างนี้ (ภิกษุเหล่านั้นก็ยังมิได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ชื่นชมพระภาษิต).

บทว่า น เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิต อภินนฺทุ ความว่า ภิกษุ

๕๐๐ รูปเหล่านั้นมิได้อนุโมทนาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลย.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะไม่เข้าใจ. ว่ากันว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจเนื้อหา

ของสูตรนี้ ฉะนั้นจึงไม่ชื่นชม. จริงอยู่ ในสมัยนั้นพระสูตรนั่นแม้จะ

ประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาอย่างนี้ สำหรับ

ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นเหมือนคนที่เขาเอาผืนผ้าหนา ๆ ผูกปากไว้แล้วเอาของ

กินที่ถูกใจมาวางตรงหน้า (ไม่สามารถจะกินได้) ฉะนั้น.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาถึง ๔ อสง-

ไขย แล้วได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เพื่อสอนคนอื่นให้เข้าใจธรรมที่

พระองค์ทรงแสดงมิใช่หรือ ไฉนพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่า

นั้น โดยที่ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ ( เนื้อหา) เล่า?

ตอบว่า คำตอบนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการวิจารณ์บทตั้งของสูตร

นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้ว่า สพฺพธมฺมมูล-

ปริยาย ก็เพื่อหักรานมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มี

อะไรที่ต้องกล่าวซ้ำอีก.

ก็แล ครั้นได้ฟังสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อหักราน

มานะอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า ได้ยินว่า ปุถุชนมี (มิจฉา -

ทิฏฐิ) ทิฏฐิเป็นแนวดำเนิน ย่อมหมายรู้ปฐวีนั้นนั่นแล ฝ่ายพระเสขะ

พระอรหันต์ และพระตถาคตย่อมทราบอย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่ง

นี้เป็นอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้หมดมานะ เหมือนอสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ฉะนั้น ด้วยระลึกได้ว่า เมื่อก่อนพวกเราย่อมรู้ทั่วถึงพระดำรัสอย่างใด

อย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างเร็วพลันทีเดียว แต่มาบัดนี้

กลับไม่รู้ไม่เห็นที่สุดหรือเงื่อนแห่งมูลปริยายสุตรนี้เลย น่าอัศจรรย์จริง

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง (มีพระปัญญา) ที่ใคร ๆ ประมาณไม่ได้

ทรง (มีพระปัญญาที่ใคร ๆ ชั่งไม่ได้) ดังนี้แล้วได้พากันไปสู่ที่บำรุง

พระพุทธเจ้า และไปฟังธรรมโดยเคารพ.

ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุอรหัตตผล

ก็แลสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในธรรมสภาสนทนากันถึง

เรื่องนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พราหมณ์

บรรพชิตเหล่านั้นมัวเมาแล้วด้วยความเมาในมานะ ยังถูกทำให้หมดมานะ

ได้ด้วยมูลปริยายเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น

ยังพูดคุยกันค้างอยู่. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระ

คันธกุฎีไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในธรรมสภา ด้วยปาฏิ-

หาริย์ที่เหมาะสมกับขณะนั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลบอกเนื้อ

ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคต

ก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งเที่ยวลำพองอยู่ด้วยมานะให้หมดมานะแล้ว

เหมือนกัน. จากนั้น เพราะเกิดเรื่องนี้เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาณจ้า

จึงทรงนำอดีตนิพานนี้มาเล่าว่า:-

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เรียนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ และ

เกฏุภศาสตร์ และประเภทอักษรสมัยมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้ชำนาญ

ในคัมภีร์ไวยากรณ์ และมหาปุริสลักษณะ ในคัมภีร์โลกายัติ. พราหมณ์

นั้นได้สอนมนต์ให้มาณพ ๕๐๐ คน. พวกมาณพที่เป็นคนฉลาดย่อมเรียน

ได้มาก จำได้เร็ว และแม่ยำ มนต์ที่มาณพเหล่านั้นเรียนแล้วไม่เลอะ

เลือนเลย. แม้พราหมณ์นั้นก็มิได้หวงแหนวิชาเป็นเหมือนเทน้ำลงไปใน

หม้อให้นาณพเหล่านั้นเรียนศิลปะจนหมดแล้ว ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้น

ดังนี้ว่า ศิลปะนี้เพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า.

มาณพเหล่านั้นก็เกิดมานะขึ้นมาว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมรู้สิ่งใด แม้

พวกเราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้แม้พวกเราก็เป็นอาจารย์ได้แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็

ขาดความเคารพทอดทิ้งวัตรในอาจารย์อยู่. อาจารย์ทราบแล้วคิดว่า เรา

จักทำการข่มมานะของมาณพเหล่านั้น. วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ได้กล่าวกะ

มาณพเหล่านั้นผู้มายังสถานที่บำรุงไหว้แล้วนั่งอยู่ว่า พ่อคุณทั้งหลายเอ๋ย

อาจารย์จักถามปัญหากะพวกพ่อ (สักข้อหนึ่ง) พวกพ่อจะสามารถกล่าว

แก้ได้ไหม ? มาณพเหล่านั้นก็พากันรีบเรียนอย่างคนทีเมาการศึกษาว่า

ถามเลย ท่านอาจารย์ ถามเลย ท่านอาจารย์. อาจารย์จึงกล่าวว่า

กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใด

เล่า ที่กินกาล ได้เผาไหม้ตัณหาที่เผาไหม้สัตว์ไป

ด้วยได้ ?

แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงแก้ปัญหานี้ซิ.

มาณพเหล่านั้นคิดแล้วแต่ไม่รู้ (คำตออบ) จึงได้พากันนิ่งเงียบ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

อาจารย์จึงกล่าวว่า เอาละพ่อทั้งหลาย วันนี้กลับไปก่อน พรุ่งนี้ค่อย

(มา) กล่าวแก้ ดังนี้แล้วส่งมาณพเหล่านั้นกลับไป. มาณพเหล่านั้น

(จากอาจารย์มาแล้ว) จับกลุ่มกัน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง (พิจารณา

ปัญหา) ก็ยังมองไม่เห็นเบื้องต้น ไม่เห็นเบื้องปลายแห่งปัญหานั้น. พวก

เขาจึงได้พากันมาบอกอาจารย์ว่า พวกผมไม่เข้าใจความหมายของปัญหา

นี้เลย. เพื่อต้องการข่มมาณพเหล่านั้น อาจารย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

ศีรษะของคนจำนวนมากมีผมดกและใหญ่อยู่บนคอ

ในเขาเหล่านี้ใครเล่าเป็นผู้มีหู.

คาถา (นี้ ) มีอธิบายว่า ศีรษะของคนจำนวนมากปรากฏอยู่ และ

ศีรษะเหล่านั้นทั้งหมดก็มีผม ทั้งหมดเป็นศีรษะใหญ่ตั้งอยู่บนคอ แต่ว่า

มือเอื้อมไม่ถึง เช่นเดียวกับผลตาล (ที่มือเอื้อมไม่ถึง) ฉะนั้น ศีรษะ

เหล่านั้นกับศีรษะเหล่านี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. แต่ในที่นี้ อาจารย์กล่าว

ว่า โกจิเทว กณฺณวา ดังนี้ หมายเอาตนเอง. บทว่า กณฺณวา แปลว่า

ผู้มีปัญญา. ก็ใครกันเล่าที่ไม่มีรูหู?

มาณพเหล่านั้นได้ฟังคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก (นั่ง )

ก้มหน้านิ่งเอานิ้วมือขีดดิน. ลำดับนั้น อาจารย์เห็นว่ามาณพเหล่านั้นมีความ

ละอายใจ แล้วจึงกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงเรียนเอาปัญหาเถิด

ดังนี้แล้ว ได้แก่ปัญหา (ให้มาณพเหล่านั้นฟัง).

บทว่า กาล ได้แก่กาลมีอาทิอย่างนี้คือ เวลาก่อนอาหารบ้าง

เวลาหลังอาหารบ้าง. คำว่า ภูตานิ นั่น เป็นชื่อเรียกสัตว์. กาลหาได้

เคี้ยวกินเนื้อและหนังเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายไม่. ที่แท้แลกลับทำให้อายุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นสิ้นไป ย่ำยีความเป็นหนุ่มความเป็น

สาว ทำความเป็นผู้ไม่มีโรคให้พินาศไป จึงเรียกว่า กิน คือเคี้ยวกิน.

บทว่า สพฺพาเนว สหตฺตนา ความว่า และกาลเมื่อกินอยู่อย่าง

นั้น ย่อมไม่เว้นอะไร ๆ ย่อมกินทั้งหมดทีเดียว และใช่ว่าจะกินแต่สัตว์

ทั้งหลายเหล่านั้น ที่แท้แลยังกินตัวมันเองไปพร้อมกับตัวมันเอง ( อีก)

ด้วย (คือ) เวลาก่อนอาหาร ( ผ่านไป) จะมาเป็นเวลาหลังอาหาร

(อีก) ไม่ได้. ในเวลาหลังอาหารเป็นต้นก็มีนัยแบบนี้.

บทว่า โย จ กาลฆโส ภูโต นั่น เป็นชื่อเรียกพระขีณาสพ.

ก็พระขีณาสพนั้นเรียกว่า ผู้กินกาล เพราะท่านกินปฏิสนธิกาลในภพต่อ

ไปจนหมดสิ้นแล้วดำรงอยู่.

บทว่า สภูตปจนึ ปจิ ความว่า ตัณหานี้ใดย่อมเผาสัตว์ทั้งหลาย

ในอบายทั้งหลาย พระขีณาสพนั้นเผาตัณหานั้นด้วยไฟคือญาณ ได้แก่ทำ

ให้เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ภูตปจนึ ปจิ (แปลว่า

เผาตัณหาที่เผาสัตว์). (ในคำว่า ปจนึ) บาลีเป็น ปชฺชนึ ก็มี. หมาย

ความว่า ให้เกิด คือให้บังเกิด.

ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้น. เห็นเนื้อความของปัญหาปรากฏชัดความ

คำแก้ของอาจารย์เหมือนคนเห็นทีเรียบและที่ขรุขระในตอนกลางคืนด้วย

แสงสว่างของประทีปพันดวง จึงคิดว่า บัดนี้พวกเราจักอยู่ร่วมกับอาจารย์

จนตลอดชีวิต ขึ้นชื่อว่า อาจารย์แล้ว เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็พวกเราเกิด

ความถือตัวว่า ได้ศึกษามามากจึงไม่รู้ความหมายของคาถาแม้เพียง ๔ บาท

ขจัดมานะได้แล้ว (หันกลับ) มาทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์เหมือนเมื่อ

ก่อนแล้ว ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ในสมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาจารย์ ภิกษุเหล่านี้ได้เป็นมาณพ แม้ในกาล

ก่อน ตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งมีมานะจัดท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ให้

หมดมานะ ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังชาดกนี้แล้วคิดได้ว่า แม้เมื่อก่อนพวกเราก็ถูก

มานะครอบงำแล้ว จึงขจัดมานะออกให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ เป็นผู้มุ่งหน้า

(ปฏิบัติ ) กรรมฐานที่เป็นอุปการะแก่ตน. ต่อมาคราวหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบทถึงเมืองไพศาลี แล้วประทับ อยู่ที

โคตมกเจดีย์ ทรงทราบว่าภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว จึง

ตรัสโคตมกสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ

ความรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราตถาคตแสดงธรรมมีเหตุ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรม

ไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนั้นแสดงธรรมเพื่อความรู้

ยิ่ง ฯลฯ ไห่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทจึงเป็นสิ่งที่ควรทำตาม

อนุสาสนีเป็นสิ่งที่ควรทำตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเธอทั้งหลาย อย่า

เพิ่งยินดี อย่าเพิ่งเอิบอิ่มใจ อย่าเพิ่งโสมนัสใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรู้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ (สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ปฏิบัติดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุก็ได้หวั่นไหวแล้ว.

ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ได้บรรลุเป็น

พระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในเวลาจบ (พระสูตร) นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

เทศนานี้ได้จบลงในที่นั้นด้วยอาการอย่างนี้แล.

จบอรรถกถามูลปริยายสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจ-

สูทนี.

จบสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

๒. สัพพาสวสังวรสูตร

[ ๑๐ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายะ ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วย

การสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เรา

จักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

กล่าวความสิ้นอาสวะไว้ สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้น

อาสวะไว้สำหรับภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะ

จะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอะไร ? ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็น

โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ

มนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย

อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อม

ละเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) อาสนะที่จะพึงละได้เพราะการ

เห็นก็มี (๒) ที่จะพึงได้เพราะการสังวรก็มี ( ๓ ) ที่จะพึงละได้

เพราะเสพเฉพาะก็มี (๔) ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี

๑. ในอรรถกถา เรียกสัพพาสวสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

(๕) ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี (๖) ที่จะพึงละได้เพราะบรร-

เทาก็มี (๗) ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.

(๑) อาสวะที่ละได้เพราะการเห็น

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้

เพราะการเห็น? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้

เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ

ในธรรมของพระอริยะ. ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ

ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้ธรรมอันตนควรมนสิการ.

เมื่อเขาไม่รู้ธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการ

ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่

เป็นไฉน ? เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี

อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรม

เหล่านี้ไม่ควรมนสิการ ซึ่งเขามนสิการอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่

เป็นไฉน. เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี

อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป

ธรรมเหล่านี้ ควรมนสิการ ซึ่งเขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม

ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีต-

กาลอันยืดยาวนาน หรือหนอ หรือเราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลอันยืดยาว

นาน ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลอัน

ยืดยาวนาน เราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้

เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็น

หรือหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวหาน เราจักไม่เป็น ในอนาคตกาล

อันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เรา

จักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรแล้ว

จึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันอันยืดยาวนาน ในบัดนี้

มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ

เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และจักไปไหน?

เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิ

อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น. ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชน

นั้นว่า อัตตาของเรามีอยู่ หรือว่า อัตตาของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อม

รู้อัตตาด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้สภาพมิใช่อัตตาด้วยตนเอง หรือว่า

เราย่อมรู้อัตตาด้วยสภาพมิใช่ตน. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชน

นั้นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ได้เป็นผู้ (บงการ ) เสวย ย่อมเสวยวิบาก

ของกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้น ๆ ก็อัตตาของเรานี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน

ติดต่อ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ

เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือ

ทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับ ผู้เห็นพระอริยเจ้าทั้ง

หลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของ

พระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำ

ด้วยดีในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิ-

การ. เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อม

ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวก

ไม่มนสิการ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (คือ ) เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรม

เหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อม

เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรมเหล่านั้นที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่ง

อริยสาวกไม่มนสิการ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวก

มนสิการอยู่ ? คือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี

ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมเหล่านี้ที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการอยู่.

อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้น

ไป เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะ

มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์

นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถือความคับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

อยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-

ปรามาสย่อมเป็นอันเธอละได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรา

ตถาคตกล่าวว่าจะพึงละได้ เพราะการเห็น.

(๒) อาสวะที่ละได้ เพราะการสังวร

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะ

การสังวร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยควานสำรวมในจักขุนทรีย์อยู่. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอัน กระทำความคับแค้นเหล่าใด

พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อน

อันกระทำความคับแค้น เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมจัก ขุนทรีย์

อยู่อย่างนี้.

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

โสตินทรีย์อยู่ . . .

ภิกษุพิจารณาโดแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

ฆานินทรีย์อยู่ . . .

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

ชิวหินทรีย์อยู่ . . .

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

กายินทรีย์อยู่ . . .

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน

มนินทรีย์อยู่. . .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับ

แค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะและ

ความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม

ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคต

กล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร.

(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา

[ ๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้

เพราะการพิจารณาเสพ ? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส

แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะ

ที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อ

จะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้

กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่

พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่

เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมี

แก่เรา ฉะนี้. พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัด

หนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน

เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือยาอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ เพียง

เพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มี

อาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความ

คับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใด

อันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อม

ไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้

เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.

(๔) อาสวะที่ละได้เพราะความกดกลั้น

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะ

ความอดกลั้น ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่ง

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อ

ถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้น

เป็นทุกข์ หนา แข็ง กล้า ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิต

เสียได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความ

คับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความ

เร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้น

อยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวว่า จะพึง

ละได้เพราะความอดกลั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะ

ความเว้นรอบ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้วหลีกหนีช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย

งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาด โสโครก.

เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง

ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เที่ยวไปในที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบ

มิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก. ภิกษุนั้นพิจารณา

โดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสวะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามก

เหล่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อัน

กระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถาน

หรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความอับ

แค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ.

(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้

เพราะความบรรเทา? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตก

ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อม

บรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

อดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ

ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาวิหิงสาวิตกที่เกิด

ขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา

ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น

เหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง

อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่

ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคต

กล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.

(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้

เพราะอบรม ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชณงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...

เจริญวิริยสัมโพชฌงค์. . .เจริญปีติสัมโพชฌงค์ . . .เจริญปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์. . .เจริญสมาธิสัมโพชณงค์.. .เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น

เหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะ

และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น

ผู้อบรมอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

จะพึงละได้เพราะอบรม.

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อัน

ภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้

แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการสังวร

อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด

อันภิกษุจะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุ

นั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึง

ละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะ

ความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ

อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความเว้นรอบ อาสวะ

เหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความบรรเทา อาสวะเหล่านั้น

เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุ

ใดจะพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว

เพราะการอบรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวม

ด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศ

ไปแล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะ

โดยชอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีภาษิตของพระผู้มีภาคพระเจ้า ฉะนี้แล.

จบ สัพพาสวสังวรสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

อรรถกถาสัพพาสวสังวรสูตร

อธิบายที่มาของคำว่า สาวัตถี

[๑๐] สัพพาเสวสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

ฯลฯ กรุงสาวัตถี.

ในสัพพาสวสังวรสูตรนั้น มีอรรถกถาแก้ตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.

นักอักษรศาสตร์วิจารณ์กันไว้อย่างนี้ก่อนว่า คำว่า สาวตฺถี คือพระนคร

อันเป็นสถานที่อยู่ของฤาษี ชื่อ สวัตละ เหมือนคำว่า กากนฺที มากนฺที

ฉะนั้น. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า วัตถุเครื่องอุปโภค

และบริโภคของมนุษย์ทุกอย่างมีอยู่ในเมืองนี้ ฉะนั้น เมืองนี้จึงชื่อว่า

สาวัตถี. ในเมื่อเอาคำว่า "สุตฺถ" มารวมไว้ด้วย จึงชื่อว่า สาวัตถี

เพราะอาศัยเหตุที่ว่า เมื่อถูกเขาถามว่า มีของอะไรอยู่บ้าง ก็ตอบว่า มี

ครบทุกอย่าง.

เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างมารวมกัน อยู่ในเมือง

สาวัตถีตลอดเวลา ฉะนั้น ท่านมุ่งเอาความสมบูรณ์

ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างจึงเรียก (เมืองนั้น)

ว่า สาวัตถี. นี้เป็นเมืองของชาวโกศล น่าชื่นชม

น่ารินรมย์ น่าเพลิดเพลินเจริญใจ อึกทึกไปด้วย

เสียง ๑๐ ประการ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ. เป็นเมือง

ถึงความเจริญไพบูลย์ มั่งคั่ง กว้างขวาง น่าชื่นชม

และอุดมสมบูรณ์ เหมือนเทพบุรีชื่อ อาลกมันทา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ในเมืองสาวัตถีนั้น.

ในบทว่า เชตวเน อธิบายว่า พระราชกุมารทรงพระนามว่า

"เชตะ" เพราะทรงรบชนะข้าศึกของพระองค์ หรือเพราะประสูตูใน

เวลาที่พระชนกทรงมีชัยต่อข้าศึกของพระองค์. อีกอย่างหนึ่ง ทรงพระ

นามว่า "เชตะ" เพราะพระนามอย่างนี้ พระชนกชนนีทรงตั้งให้เพื่อ

ความเป็นสิริมงคล. พระอุทยานของพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ

ชื่อว่า เชตวัน. เพราะพระอุทยานเชตวันนั้น อันพระราชกุมารทรง

พระนามว่า "เชตะ" นั้น ทรงปลูกสร้างทะนุบำรุงให้เจริญงอกงาม

ทั้งพระองค์ก็ทรงเป็นเจ้าของพระอุทยานั้นด้วย ฉะนั้นจึงเรียกว่า เชต-

วัน. ในพระวิหารเชตวันนั้น.

ในบทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นี้ มีอธิบายว่า คฤหบดีนั้น

ชื่อว่า "สุทัตตะ" โดยเป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ แต่มาได้ชื่อว่า

อนาถปิณฑิกะ โดยเหตุที่ได้ให้อาหารแก่คนอนาถาทั้งหลายเป็นประจำ

เพราะเป็นผู้มั่งคั่งด้วยสมบัติทุกอย่าง และเพราะปราศจากความตระหนี่

ทั้งเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมมีความกรุณาเป็นต้น. สัตว์ทั้งหลายโดยเฉพาะ

บรรพชิตย่อมยินดีในสวนนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาราม. อธิบายว่า

สัตว์ทั้งหลายมาแต่ที่ต่าง ๆ กัน ย่อมยินดี เพลิดเพลิน อยู่อย่างสบาย

เพราะสวนนั้นงามไปด้วยไม้ดอกไม้ผล เป็นต้น สมบูรณ์ไปด้วยองค์ประ-

กอบแห่งเสนาสนะ ๕ ประการมีไม่ไกลไม่ใกล้ ( โคจรคาม) เกินไปนัก.

อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะดึงดูดสัตว์ผู้ไปถึงสถานที่นั้นไว้

ภายในบริเวณของตนนั้นเอง แล้วให้เพลิดเพลินไปด้วยสมบัติมีประการ

ดังกล่าวแล้ว. ความจริง อารามนั้น อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้มอบถวาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยการบริจาคทรัพย์ถึง ๕๔ โกฏิ คือ

บริจาคซื้อที่ดินจากพระหัตถ์ของพระราชกุมารทรงพระนามว่า "เชตะ"

ด้วยการเอาเงิน ๑๘ โกฏิ ปู ( เต็มบริเวณพื้นที่) บริจาคเป็นค่าก่อสร้าง

เสนาสนะต่าง ๆ ๑๘ โกฏิ บริจาคเป็นค่าทำการฉลองพระวิหารอีก ๑๘ โกฏิ

ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อารามของอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของอนาปิณ-

ฑิกคฤหบดีนั้น คำว่า เชตวเน ในคำว่า เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส

อาราเม นั้น เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนแรก. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส

อาราเม เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนหลัง.

ถามว่า จะมีประโยชน์อะไรในการระบุถึงเจ้าของทั้ง ๒ นั้น

ตอบว่า มีประโยชน์คือจะทำให้เป็นเยี่ยงอย่างของผู้ต้องการบุญ

จริงอยู่ ในข้อนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงว่า ผู้ต้องการบุญ

ทั้งหลายย่อมทำบุญเพราะกิตติศัพท์ของท่านทั้ง ๒ นั้นว่า พระราชกุมาร

พระนามว่าเชตะนั้นทรงบริจาคทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่พระองค์ได้มาด้วยการ

ขายสถานที่ในการสร้างซุ้มประตูและปราสาท และทรงบริจาคต้นไม้ซึ่ง

มีค่าหลายโกฏิ (ส่วน) อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้บริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิ

ดังนี้แล้ว ชักชวนชนผู้ต้องการบุญเหล่าอื่นให้ถือชนทั้ง ๒ นั้นเป็นแบบ

อย่าง.

อธิบายคำว่า อาสวะ

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่า

สพฺพาสวสวรปริยาย โว ภิกฺขเว ดังนี้ ?

ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะ เริ่มต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ตั้งแต่การชำระอุปกิเลสแก่ภิกษุเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาสวสวรปริยาย ความว่า เป็น

เหตุสำรวม คือว่า เป็นเหตุให้ระมัดระวังอาสวะทุกอย่าง อธิบายว่า

เป็นเหตุให้อาสวะเหล่านี้ที่ภิกษุระวังปกปิดแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไป กล่าว

คือ ความดับไปโดยไม่เกิดขึ้น (อีก) คือ อันภิกษุย่อมละได้ ได้แก่ย่อม

ไม่เป็นไป. ในบทว่า อาสวาน นั้น ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า

ไหลไป ท่านอธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นย่อมไหลไป คือไหลออกทางจักษุบ้าง

ฯลฯ ทางใจบ้าง ดังนี้ . อีกอย่างหนึ่ง อาสวะเหล่านั้น เมื่อว่าโดยธรรม

ย่อมไหลไปจนถึงโคตรภู. เมื่อว่าโดยโอกาสโลก ย่อมไหลไปจนถึงภวัคค-

พรหม. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาสวะ. อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นทำ

ธรรมเหล่านั้นและโอกาสนั้นไว้ภายใน (อำนาจ) แล้วเป็นไป. จริงอยู่

อา อักษรนี้มีความหมายว่า ทำไว้ในภายใน. ที่ชื่อว่า อาสวะ. เพราะ

เป็นเหมือนของหมักดอง มีน้ำเมาเป็นต้น โดยความหมายว่า หมักอยู่นาน

ดังนี้บ้าง. ความจริง ในทางโลก น้ำเมาที่หมักไว้นาน เขาก็เรียกว่า

อาสวะ ดังนี้. ก็ถ้าน้ำเมาเป็นต้นเรียกว่า อาสวะ ได้ เพราะความหมายว่า

หมักไว้นานไซร้ กิเลสเหล่านี้ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. สมจริงดัง

ที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชา ไม่ปรากฏ (คือไม่

ปรากฏว่า) ในกาลก่อนแต่นี้ มิได้มีอวิชชา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า

อาสวะ เพราะอรรถว่า ไหลไป คือไหลออกไปสู่สังสารทุกข์ ต่อไป

ดังนี้บ้าง. ก็คำอธิบาย คำแรก ๆ ในรูปวิเคราะห์เหล่านี้ ย่อมใช้ในที่ที่

กิเลสทั้งหลายมาโดยชื่อว่า อาสวะ (ส่วน) คำอธิบายคำหลังใช้ในกรรม

ก็ได้. ก็ไม่ใช่เพียงแต่กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น ที่เป็นอาสวะ โดยที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

แท้แล แม้อุปัทวะนานัปการ ก็ชื่อว่า อาสวะได้ ( เหมือนกัน). ความจริง

ในพระสูตรทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นมูลเหตุให้ก่อการทะเลาะวิวาทก็

มาโดยชื่อว่า อาสวะ ในคำนี้ว่า จุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อการสังวร

ระวังเหล่าอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเท่านั้น ดังนี้ . กรรมอันเป็นไป

ในภูมิ ๓ และเหล่าอกุศลธรรมที่เหลือทั้งหลาย ก็ชื่อว่าอาสวะในคำนี้ว่า

อาสวะทั้งหลายของเราที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็น

เทพหรือคนธรรพ์ ที่เหาะเหินได้ และเป็นเหตุให้เรา

พึงไปสู่ความเป็นยักษ์ ความเป็นมนุษย์ และพึงไป

สู่อัณฑชกำเนิด สิ้นไปแล้ว อันเราขจัดแล้ว ทำให้

พินาศแล้ว ดังนี้.

การเข้าไปว่าร้ายผู้อื่น ความเดือนร้อน การฆ่า และการจองจำ

เป็นต้น และอุปัทวะนานัปการที่เป็นเหตุให้สัตว์เสวยทุกข์ในอบาย ก็ชื่อ

ว่า อาสวะ. (เช่น ) ในประโยคนี้ว่า ( เราตถาคตจะแสดงธรรม ) เพื่อ

ระมัดระวังอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม (และ) เพื่อบำบัดอาสวะอัน

เป็นไปในสัมปรายภพ ดังนี้. ก็ในที่ใดอาสวะเหล่านี้นั้นมาโดยประการใด

ในที่นั้นก็พึงทราบโดยประการนั้น. ก็ในพระวินัย อาสวะทั้งหลายเหล่านี้

มีมาแล้ว ๒ อย่าง เช่นในประโยคว่า ( เราตถาคตจะแสดงธรรม) เพื่อ

ป้องกันอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม เพื่อบำบัดอาสวะอันเป็นไปใน

สัมปรายภพ ดังนี้ก่อน. ในสฬายตนวรรค มีมาแล้ว ๓ อย่าง ( เช่นใน

ประโยค) ว่า ผู้มีอายุ อาสวะเหล่านี้มี ๓ อย่าง คือกามาสวะ ภวาสวะ

อวิชชาสวะ ดังนี้. ในสุตตันตปิฎกแห่งอื่น และพระอภิธรรมปิฎก อาสวะ

๓ เหล่านั้นนั่นแล รวมกับทิฏฐาสวะเข้าด้วยมีมาแล้วเป็น ๔ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ว่าโดยบรรยายที่จำแนกอาสวะทั้งหลายมีมา ๕ อย่าง คือ ภิกษุทั้งหลาย

อาสวะซึ่งเป็นเหตุยังสัตว์ให้เข้าถึงนรกก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไป

สู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่วิสัยแห่งเปรต

ก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มีอยู่ และอาสวะอันเป็น

เหตุยังสัตว์ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาต อาสวะมีมา ๖ อย่าง โดยนัย

เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ต้องละด้วยสังวรมีอยู่. ส่วนในสูตรนี้

อาสวะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล พร้อมด้วยอาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ มีมา

(รวม) เป็น ๗ อรรถพจน์ และประเภท (แห่งอาสวะ) ในบทว่า

อาสวะ มีเพียงเท่านี้ก่อน.

อธิบายสังวร

ส่วนในบทว่า สังวร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สังวร

เพราะอรรถว่า สังวร อธิบายว่า ปิด คือห้าม ได้แก่ไม่ให้เป็นไป. สมจริง

ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

อนุญาตให้ภิกษุผู้ต้องการพักผ่อนในกลางวัน ต้องปิดประตูเสียก่อนแล้วจึง

พักผ่อนดังนี้. พระอาจารย์กล่าว สังวร ด้วยอรรถว่า ปิดในคำเป็นต้นว่า

ตถาคต เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแส

เหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้.

สังวรนั้นมี ๕ อย่างคือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติ-

สังวร วิริยสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบ

ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่าสีลสังวร. ความจริงปาฏิโมกขศีลท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

กล่าวว่า สังวร ในที่นี้. สังวรในคำเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร. ก็สติ ท่านกล่าวว่า สังวร ในที่นี้.

สังวรที่ตรัสไว้ว่า เราตถาคตกล่าวญาณว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส

กระแสเหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา นี้ชื่อว่าญาณสังวร. ก็ใน

ที่นี้ท่านกล่าวญาณว่า สังวร ด้วยอรรถว่าปิดไว้ได้ ด้วยบทว่า ปิถียเร.

ขันติสังวรและวิริยสังวรมาในสูตรนี้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเป็นผู้อดทน

ต่อความหนาว ฯลฯ ไม่ยอมให้วิตกซึ่งเกิดขึ้นครอบงำได้ ดังนี้. ก็พึง

ทราบความที่ขันติและวิริยะ ชื่อว่า สังวร เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอุเทศ

นี้ว่า สพฺพาสวสวรปริยาย นี้.

อีกอย่างหนึ่ง สังวรแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็มาในสูตรนี้เหมือนกัน.

บรรดาสังวรทั้ง ๕ อย่างนั้น ขันติสังวรและวิริยสังวรท่านกล่าวไว้ก่อน

แล้วทีเดียว. ก็สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นพิจารณาที่อันมิใช่อาสนะนั้นและ

อโคจรนั้นโดยแยบตายแล้ว นี้ชื่อว่าสีลสังวรในที่นี้. สังวรที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว สำรวมระวังจักขุนทรีย์ดังนี้ นี้ชื่อว่าสติ

สังวร. การพิจารณาด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ชื่อว่า ญาณสังวร. ส่วน

การเห็น การส้องเสพ การเจริญ ก็ชื่อว่า ญาณสังวร ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้

ถือเอา. ที่ชื่อว่าปริยาย เพราะเป็นเหตุเครื่องกำหนดแห่งธรรมทั้งหลาย

อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการเกิดขึ้นหรือดับไป. คำใดที่ควรกล่าว

ในคำนี้ว่า สพฺพาสวสวรปริยาย คำนั้นท่านกล่าวอธิบายไว้ด้วยคำมี

ประมาณเพียงเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

อธิบายญาณทัสสนะ

[๑๑] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ชานโต อห เป็นต้นดังต่อ

ไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้

ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่น

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วย

บทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคล

โดยมุ่งถึงอำนาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอำนาจ

ในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้า

ทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุ

ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการ

จะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสำคัญ

ในคำทั้ง ๒ นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.

ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.

บทว่า อาสวาน ขย ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้น

ไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการ

ไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะ

ทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวาน ขยา อนาสวญฺเจโต-

วิมุตฺตึ. ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็น

ที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้น

อาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

ในเพราะการสิ้นไปแห่งอาสวะของพระเสขบุคคล

ผู้กำลังศึกษา ผู้ดำเนินตามทางสายตรง (คือมรรค

มีองค์ ๘) ญาณ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมเกิดก่อน

ต่อแต่นั้น อรหัตตผลจึงมีในลำดับต่อไป ดังนี้.

ผล ท่านกล่าวว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

บุคคลเป็นสมณะได้เพราะการในรูปแห่งอาสวะ. นิพพานท่านกล่าวว่า

ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเห็นโทษ

ของผู้อื่น ผู้มีปกติเพ่งโทษเป็นนิจนั้น เขาย่อมอยู่

ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้.

บทว่า โน อชานโต น อปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่

เราตถาคตไม่กล่าวการสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลนั้น. ชนเหล่าใด กล่าว

ถึงความบริสุทธิ์ด้วยสังวรเป็นต้น แม้ของบุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็น ชนเหล่านั้น

เป็นอันท่านคัดค้านด้วยบทว่า โน ชานโต โน ปสฺสโต นี้. อีกอย่างหนึ่ง

ด้วย ๒ บทแรก (ชานโต ปสิสโต) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสอุบายไว้แล้ว, ด้วย ๒ บทหลังนี้ (โน อชานโต อปสฺสโต) เป็น

อันพระองค์ได้ตรัสการปฏิเสธอุบายไว้แล้ว เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ญาณ

เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมเครื่องปิดกันอาสวะ

ทั้งหลายโดยสังเขป.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรม

ที่เมื่อภิกษุรู้อยู่จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จึงทรงเริ่มปุจฉาว่า

กิญฺจิ ภิกฺขเว ชานโต ดังนี้. ในบทว่า กิญฺจิ ภิกขเว ชานโต นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ความรู้มีหลายอย่าง ความจริงภิกษุลางรูปผู้มีชาติฉลาดย่อมรู้วิธีทำกลด

ลางรูปย่อมรู้วิธีทำจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน

ข้อวัตรกระทำกรรมเช่นนี้อยู่ ความรู้เช่นนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ไม่เป็น

ปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วนภิกษุใดบวชในศาสนาแล้วรู้วิธีทำเวช-

กรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นทีเดียว.

เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุรู้เห็นธรรมใด ความสิ้นอาสวะจึงเกิดมีได้ เมื่อ

จะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โยนิโส จ

มนสิการ อโยนิโส จ มนสิการ ดังนี้.

โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโส

มนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย=การทำไว้ในใจโดยถูกทาง

=การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตใน

อนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-

ญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่

การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือ

การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย=การทำไว้ในใจโดยผิดทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา หรือ

คือการนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจซึ่งจิตโดย

การกลับกันกับสัจจะ นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และ

แก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่

พรรณนามานี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงข้อยุติแห่งเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียฺยนฺติ.

ถามว่า ด้วยคำว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียนฺติ นั้น ท่าน

กล่าวอธิบายไว้อย่างไร.

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะอาสวะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น

แก่ภิกษุผู้ใส่ใจโดยไม่แยบคาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยแยบคาย เธอย่อมละ

อาสวะทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเข้าใจว่า ความในรูปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น

และแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดัง

ที่พรรณนามาน. ในข้อนี้มีการพิจารณาโดยสังเขปเพียงเท่านี้ก่อน ส่วน

ความพิสดารมีดังต่อไปนี้. พระสูตรทั้งสิ้นข้างหน้ามีความเกี่ยวเนื่องกันกับ

ด้วย ๒ บทนี้ คือ โยนิโส อโยนิโส ก่อน. ความจริง พระสูตรทั้งหมด

ข้างหน้า ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจ

โดยแยบคายเป็นมูลราก. วิวัฏฏะมีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลราก. คือ

อย่างไร ? อธิบายว่า การใส่ใจโดยไม่แยบคายเมื่อเจริญขึ้นย่อมให้ธรรม

๒ อย่าง คือ อวิชชา และภวตัณหาบริบูรณ์. ก็เมื่อมีอวิชชา สังขาร

ทั้งหลายจึงเกิดมีขึ้นเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ กองทุกข์จึงมีการ

เกิดขึ้น. เมื่อมีตัณหา อุปาทานก็เกิดมี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ

กองทุกข์จึงมีการเกิดขึ้น. ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย

อย่างนี้ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพกำเนิด คติ ฐิติ และ สัตตาวาส

อยู่ร่ำไป เปรียบเหมือนเรือซึ่งถูกแรงลมพัดทำให้โคลง และเปรียบเหมือน

ฝูงโคซึ่งตกลงไปในแม่น้ำไหลวน และเหมือนโคพลิพัทที่เขาเทียมรถไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ฉะนั้น. วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลรากดังว่ามานี้ก่อน.

ส่วนการใส่ใจโดยแยบคาย เมื่อเจริญขึ้นย่อมทำมรรคมีองค์ ๘ มี

สัมมาทิฏฐิเป็นข้อแรกให้บริบูรณ์ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้สมบูรณ์ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ คือ เธอก็จักเจริญ

อริยมรรคมีองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘. ด้วยบทว่า

ยา จ สมฺมาทิฏฺิ สา วิชชา นี้ บัณฑิตพึงทราบวิวัฏฏะซึ่งมีการใส่ใจ

โดยแยบคายเป็นมูลรากอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิดขึ้น และอวิชชาดับไป

ความดับแห่งสังขารจึงเกิดมีแก่ภิกษุนั้น ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. พระสูตรทั้งหมดข้างหน้ามีความ

เกี่ยวเนื่องกันด้วยบททั้ง ๒ นี้ดังกล่าวมานี้. ก็ในสูตรนี้ที่เกี่ยวเนื่องกัน

อย่างนี้ เพราะเหตุที่แสดงการละอาสวะไว้ก่อนแล้ว จะกล่าวการเกิดขึ้น

ทีหลังไม่เหมาะ เนื่องจากว่าอาสวะที่ละได้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก แต่ที่ถูก

( คือกล่าว) การละอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว (ต่างหาก ) ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว มนสิกโรโต เป็นต้น

แม้โดยย้อนอุทเทศ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต

ความว่า ผู้ยังการใส่ใจโดยไม่แยบคายมีประการดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น.

ในบทว่า อุปฺปนฺนา เจว อาสวา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ความว่า เมื่อภิกษุ

ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ซึ่งตนไม่เคยได้มาก่อน หรือได้วัตถุอันน่าพอใจ

อย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกแล้ว ไม่

ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งปัจจัยหรือวัตถุนั้นว่า งาม เป็นสุข ก็หรือเมื่อภิกษุ

ไม่ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งอารมณ์อย่างอื่น ๆ ซึ่งตนไม่เคยไค้เสวยมาก่อน

โดยประการใดประการหนึ่ง อาสวะเหล่าใดย่อมเกิดขึ้น. อาสวะเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น พึงทราบว่าย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ความจริง อาสวะทั้งหลาย

ที่ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นในสังสารวัฏซึ่งมีที่สุดแห่งเบื้องต้นที่ใครตามไปไม่รู้

แล้วโดยประการอื่น ย่อมไม่มี. อาสวะทั้งหลายของภิกษุใดในกาลก่อนไม่

เกิดขึ้นในวัตถุหรือในอารมณ์ที่ตนไม่เคยได้เสวยมาก่อนโดยความบริสุทธิ์

ตามปกติหรือด้วยอำนาจการอุทเทศ ปริปุจฉา ปริยัติ นวกรรม และ

โยนิโสมนสิการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมเกิดขึ้นโดยฉับพลันด้วย

ปัจจัยเช่นนั้น ในภายหลัง อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นพึงทราบว่า ยัง

ไม่ (เคย) เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นดังนี้. ส่วนอาสวะทั้งหลายซึ่งกำลัง

เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในวัตถุและในอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า เกิดขึ้น

แล้ว ย่อมเจริญ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญแห่งอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้น

ครั้งแรกโดยประการอื่นจากนี้ หามีไม่เลย.

ในบทว่า โยนิโส จ โข ภิกฺขเว นี้ ความว่า อาสวะทั้งหลาย

ของภิกษุใด ย่อมไม่เกิดขึ้น โดยความบริสุทธิ์ ตามปกติ หรือโดยเหตุ

มีอุทเทศ และปริปุจฉาเป็นต้น เหมือนไม่เกิดขึ้นแก่ท่านมหากัสสปะ

และนางภัททกาปิลานี ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งชัดว่า อาสวะทั้งหลายของเรา

ยังไม่ถึงการเพิกถอนด้วยมรรคหรือหนอ อยู่กระนั้นเลย เราจะปฏิบัติเพื่อ

เพิกถอนอาสวะเหล่านั้น. ต่อแต่นั้น เธอย่อมเพิกถอนอาสวะทั้งหมดนั้น

ด้วยมรรคภาวนา อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นของเธอท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่

เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น. ส่วนภิกษุใด มีสติอยู่ห่างไกล อาสวะทั้งหลายย่อม

เกิดขึ้นโดยเร็วพลัน เพราะความหลงลืมแห่งสติ ต่อแต่นั้น เธอนั้นก็ถึง

ความสังเวช เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย ย่อมเพิกถอนอาสวะเหล่านั้น

ได้ อาสวะซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเรียกว่า อันเธอย่อมละได้ เหมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

พระมหาติสสคุตตเถระผู้ อยู่ในมัณฑลาราม.

ได้ยินว่า ท่านเริ่มอุทเทศในวิหารนั้นนั่นเอง ครั้งนั้น กิเลสก็

เกิดขึ้นแก่ท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านเพราะอารมณ์อันเป็นวิสภาคกัน.

ท่านข่มอารมณ์นั้นด้วยวิปัสสนาแล้วกลับไปวิหาร. อารมณ์นั้นได้ปรากฏ

แก่ท่านแม้ในความฝัน. ท่านเกิดความสังเวชขึ้นว่า กิเลสนี้เจริญขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นเรื่องทำเราให้ตกไปในอบาย ดังนี้แล้ว อำลาอาจารย์แล้วออก

จากวิหารไปเรียนอสุภกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อราคะในสำนักของ

พระมหาสังฆรักขิตเถระ เข้าไปสู่ระหว่างพุ่มไม้ ลาดผ้าบังสุกุลรองนั่ง

ตัดเสียซึ่งราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ลุกขึ้นแล้ว

ไหว้อาจารย์ ในวันรุ่งขึ้นได้บรรลุอุทเทสมรรค. ก็อาสวะทั้งหลายเหล่าใด

กำลังเป็นไปยังไม่เกิดขึ้น ขึ้นชื่อว่า การละอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

ข้อปฏิบัติย่อมไม่มี.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบทนี้ว่า อุปฺปนฺนา จ

อาสวา ปหิยฺยนฺติ ดังนี้แล้ว ทรงขยายเทศนาให้พิสดาร เพื่อจะทรง

ชี้แจงเหตุแห่งการละ ซึ่งอาสวะที่ละได้ แม้อย่างอื่นโดยประการต่าง ๆ

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละด้วย ทัสสนะ มีอยู่ ดังนี้

สมกับที่พระองค์เป็นพระธรรมราชา ผู้ฉลาดในประเภทแห่งเทศนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า พึงละด้วย

ทัสสนะ ในทุกบทก็นัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงจะกระทำให้แจ้งซึ่ง

บทเหล่านั้นโดยลำดับ จึงทรงตั้งปัญหาว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน

ที่ควรละด้วยทัสสนะ ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐานว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับในธรรมวินัยนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว

ในอรรถกถามูลปริยายสูตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนสิกรณีเย

ธมฺเม นปฺปชานาติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรน้อมนึก คือที่ควร

นำมาพิจารณา. บทว่า อนนสิกรณีเย ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ตรง

กันข้าม ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ก็เพราะการกำหนดโดยธรรมว่า ธรรม

เหล่านี้ควรใส่ใจ ธรรมเหล่านี้ ไม่ควรใส่ใจ ดังนี้ ไม่มี แต่การกำหนด

โดยอาการมีอยู่ คือธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจอยู่โดยอาการใด จึงเป็น

ปทัฏฐานแห่งการยังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ภิกษุไม่ควรทำ การใส่ใจ

ธรรมเหล่านั้นโดยอาการนั้น ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจโดยอาการใด

จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการนั่งเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ธรรมเหล่านี้ภิกษุควร

ใส่ใจโดยอาการนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า

ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า อาสวะเหล่าใดของ

ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วนั้น. บทว่า นนสิกโรโต ความว่า ผู้ระลึก คือ

นำมาพิจารณา. วา ศัพท์ ในบทว่า อุปฺปนฺโน วา กามสโว นี้ มี

สมุจจยะเป็นอรรถ หาได้มีวิกัปเป็นอรรถไม้. ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ

ในที่นี้ว่า กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ย่อมเจริญ เหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย

ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มีประมาณเท่าใด ฯลฯ ตถาคตกล่าว

รอยเท้าช้างว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมได้ความว่า

สัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า. และเหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความ

ดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้เป็นสัมภ-

เวสีบ้าง ย่อมได้ความว่า ภูตและสัมภเวสี และเหมือนเนื้อพระองค์

ตรัสว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากการขาดความสามัคคีบ้าง ย่อมได้

ความว่า จากไฟ จากน้ำ และจากการขาดความสามัคคี ดังนี้ . แม้ใน

บทนี้ว่า ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว

ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อนุปฺปนฺโน จ กามาสโว อุปฺปชฺชติ

อุปฺปนฺโน จ กามาสโว ปวทฺฒติ (กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น

และกามาสวะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ ). ในบทที่เหลือก็อย่างนี้เหมือนกัน.

บรรดาอาสวะเหล่านั้น ความกำหนัดอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า

กามาสวะ. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพ และความพอ

ใจในฌานซึ่งประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ภวาสวะ.

แม้ทิฏฐาสวะ. ย่อมรวมลงในภวาสวะเหมือนกันด้วยอาการอย่างนี้. ความ

ไม่รู้ในสัจจะทั้ง ชื่ออวิชชาสวะ. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะ

ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดีคือใส่ใจในกามคุณ.

ภวาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดี

ชอบใจคือใส่ใจในมหัคคตธรรม. อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิด

แล้วก็ย่อมเจริญแก่ผู้ที่ใส่ใจในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยธรรมเป็น

ปทัฏฐานแห่งวิปัลลาส ๔ พึงทราบเนื้อความดังกล่าวมาอย่างนี้. ธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ฝ่ายขาวควรให้พิสดารโดยความเป็นข้าศึกกับธรรมตามนัยที่กล่าวแล้ว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

อาสวะไว้ ๓ เท่านั้น?

ตอบว่า เพราะเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์.

ความจริง กามาสวะเป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปณิหิตวิโมกข์. ภวาสวะ

และอวิชชาสวะนอกนี้ เป็นปฏิปักษ์ต่ออนิมิตตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์

ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า

เหล่าชนผู้ให้อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งวิโมกข์ทั้ง ๓

เหล่านั้น ชนที่ไม่ให้อาสวะเหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์

ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงตรัสวิโมกข์ไว้ ๓ เท่านั้น. คำนี้ว่า อีกอย่างหนึ่ง แม้

ทิฏฐาสวะก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วในอาสวกถานี้เหมือนกัน ดังนี้ เป็น

อันพรรณนาไว้แล้ว. บทว่า ตสฺส อมนสิกรณียาน ธมฺมาน มนสิการา

ความว่า เพราะเหตุแห่งการใส่ใจ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ใส่ใจซึ่งธรรม

เหล่านั้น. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้. คำว่า อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น

ย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ดังนี้ นี้เป็น

คำกล่าวย้ำโดยไม่เเตกต่างกันแห่งอาสวะทั้งหลายที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ปุถุชนนี้ใด ผู้มิได้สดับอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อ

ทรงชี้แจงอาสวะที่พึงละด้วยเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐาน เพราะเหตุ

ที่ปุถุชนนั้นเป็นที่ตั้งแม้แห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้นที่มีการ

ใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย เป็นปัจจัยซึ่งตรัสไว้โดยเป็นสามัญธรรมดา

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย

อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น ครั้นทรงแสดงอาสวะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

แม้เหล่านั้นโดยบุคคลนั้นนั่นแล ด้วยคำเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง

แสดงอาสวะที่พึงละด้วยทัสสนะ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส เอว อโยนิโส

มนสิกโรติ อโหสึ นุ โข อห ดังนี้ . ก็ในสูตรนี้ เมื่อจะทรงแสดง

แม้ทิฏฐาสวะด้วยยกวิจิกิจฉาขึ้นเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

เริ่มเทศนานี้. เนื้อความแห่งคำนั้นว่า อาสวะโดยนัยที่ตรัสแล้วอย่างนี้

ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นปุถุชน ก็ปุถุชนนี้ใด พระองค์ตรัสไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า อสฺสุตฺวา ดังนี้ ปุถุชนนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย

คือโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่ไม่ถูกทาง.

ถามว่า ใส่ใจอย่างไร ?

ตอบว่า คือย่อมใส่ใจว่า เราได้มีแล้วหรือหนอ ฯลฯ สัตว์จักไปไหน

ดังนี้.

ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย โดย

ประการที่เขามีวิจิกิจฉาทั้ง ๑๖ อย่าง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

นัยว่า อห อโหสึ นุ โข ดังนี้ เกิดขึ้น. บรรดาข้อกังขาเหล่านั้น

ข้อกังขาว่า อโหสึ นุโข น นุโข (เราได้มีแล้วหรือหนอหรือไม่ได้มี

แล้ว) ความว่า ปุถุชน สงสัยความมีและความไม่มีแห่งอัตตาในอดีตเพราะ

อาศัยอาการคือ สัสสตทิฏฐิและอาการที่เกิดขึ้นลอย ๆ คำว่า ก การณ

(เหตุไร ?) ไม่จำเป็นต้องกล่าว ( เพราะ) พาลปุถุชนมีพฤติกรรม

คุ้มดีคุ้มร้ายเหมือนคนบ้า. อีกอย่างหนึ่ง อโยนิโสมนสิการนั้นเองเป็นเหตุ

ในเรื่องนี้.

ถามว่า อะไรเป็นเหตุแห่งอโยนิโสมนสิการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ตอบว่า ความเป็นปุถุชนนั่นเองหรือกิจอันมีการไม่เห็นพระอริยเจ้า

ทั้งหลายเป็นต้นเป็นเหตุ.

ถามว่า ก็แม้ปุถุชนย่อมใส่ใจโดยแยบคาย (มีโยนิโสมนสิการ

เหมือนกัน) มิใช่หรือ หรือใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ปุถุชนไม่ทำไว้ในใจ

โดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ). ความเป็นปุถุชนไม่เป็นเหตุสำคัญ

ในข้อนั้น กรรมคือการฟังธรรมและความมีกัลยาณมิตรเป็นต้น (ต่างหาก)

เป็นเหตุสำคัญในข้อนี้. ความจริง ตามปกติของตน สัตว์มีปลาและเนื้อ

เป็นต้นไม่ได้มีกลิ่นหอม แต่กลายเป็นสัตว์มีกลิ่นหอมได้ เพราะมีเครื่อง

ปรุงแต่งเป็นปัจจัย.

บทว่า กึ นุ โข อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ ( กำเนิด)

เพศและการอุบัติจึงสงสัยว่า เราได้เป็นกษัตริย์แล้วหรือหนอแล ได้เป็น

บรรดาพราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์

อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหรือหนอแล.

บทว่า กถ นุโข ความว่า ปุถุชน ได้อาศัยอาการแห่งทรวดทรง

จึงสงสัยว่า เราได้เป็นคนสูงแล้วหรือหนอ ได้เป็นคนเตี้ย คนขาว คนดำ

คนมีขนาดพอดี คนที่ไม่ได้ขนาดแล้วหรือหนอแล. ส่วนอาจารย์บางพวก

ย่อมกล่าวว่า ปุถุชนอาศัยเหตุการเนรมิตของพระอิศวรเป็นต้น แล้วสงสัย

โดยเหตุว่า เราได้มีแล้วเพราะเหตุอะไรหนอแล.

บทว่า กึ หุตฺวา กึ อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ (กำเนิด)

เป็นต้น ย่อมสงสัยความสืบต่อของตนว่า เราเป็นกษัตริย์แล้วจึงได้มาเป็น

๑. ปาฐะ เป็น โกว เอวมาห มนสิกโรตีติ แต่ฉบับพม่าเป็น โก วา เอวมาห น มนสิกโรตีติ

เห็นว่าจะถูกต้องดีกว่า จึงได้แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

พราหมณ์หรือหนอแล. ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจึงได้มาเป็นมนุษย์หรือ

หนอแล. คำว่า อทฺธาน ในทุก ๆ บท เป็นคำที่ระบุถึงกาลเวลา.

บทว่า ภวิสฺสามิ นุโข น นุโข ความว่า ย่อมสงสัยความที่ตน

จะมีหรือจะไม่มีในอนาคตเพราะอาศัยอาการแห่งสัสสตทิฏฐิ และอาการ

อุจเฉททิฏฐิ. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

บทว่า เอตรหิ วา ปจฺจุปฺปนฺน อทฺธาน ความว่า หรือยึดปัจจุบัน

กาล แม้ทั้งหมดมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นที่สุดในปัจจุบัน.

บทว่า อชฺฒตฺต กถกถี โหติ ความว่า ปุถุชนย่อมเป็นผู้มีความ

สงสัยในขันธ์ทั้งหลายของตน. สงสัยอย่างไร๑ ? สงสัยความที่ตนมีอยู่ว่า

เรามีอยู่หรือหนอแล.

ถามว่า ก็ข้อนี้ถูกแล้วหรือ?

ตอบว่า ในคำว่า ถูกหรือไม่ถูก นี้ จะมีความคิด (กังขา) ไป

ทำไม เออก็ในเรื่องนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า ลูก

ของแม่เล็กโกนหัว (ส่วน) ลูกของแม่ใหญ่ไม่ได้โกนหัว พอลูกของแม่

ใหญ่นั้นหลับ ญาติทั้งหลายจึงช่วยกันโกนหัว. ลูกแม่ใหญ่นั้นพอตื่นขึ้น

ก็คิดว่า เราเป็นลูกของแม่เล็กหรือหนอ. ความสงสัยที่ว่า เรามีอยู่หรือ

หนอแล ก็เป็นอย่างนี้แหละ.

บทว่า โน นุ โขสฺมิ ได้แก่ปุถุชนย่อมสงสัยความที่ตนไม่มี.

แม้ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า คนจับปลา

คนหนึ่งคิดเห็นขาของตนซึ่งเย็นเพราะแช่อยู่ในน้ำนานว่าเป็นปลา จึงได้ตี

อีกคนหนึ่งเฝ้านาอยู่ใกล้ป่าช้ารู้สึกกลัวจึงนอนขดตัว. เขาตื่นขึ้นมาคิดว่า

๑. ฉ. กินฺติ สทฺโท นตฺถิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

เข่าของตนเป็นยักษ์ ๒ ตน จึงได้ตี. เขาย่อมมีความสงสัยว่า หรือว่าเรา

ไม่มี (ไม่ใช่ตัวเรา) ดังนี้.

บทว่า กึ นุโข ได้แก่เขาเป็นกษัตริย์ (แต่) สงสัยความเป็น

กษัตริย์ของตน. ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนผู้เกิดเป็นเทวดา ชื่อว่าไม่รู้

ความเป็นเทพย่อมไม่มี แม้เทวดานั้นก็ย่อมมีความสงสัยความเป็นเทวดานั้น

โดยนัยเป็นต้นว่า เรามีรูปหรือไม่มีรูปหนอ.

หากมีคำถามว่า กษัตริย์เป็นต้นไม่รู้ความเป็นกษัตริย์เป็นต้นเพราะ

เหตุอะไร?

พึงตอบว่า ความอุบัติในตระกูลนั้นๆ ของกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น

ไม่ประจักษ์. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์โปฏฐลิตะเป็นต้น ก็มี

ความสำคัญตัวเองว่า เป็นบรรพชิต แม้บรรพชิตก็มีความสำคัญตัวเองว่า

เป็นคฤหัสถ์ โดยนัยเป็นต้นว่า กรรมของเรากำเริบแล้วหนอ อนึ่ง แม้

มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความสำคัญในคนว่าเป็นสมมติเทพ เหมือนพระราชา.

คำว่า กถ นุ โขสฺมิ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในบทว่า

กถ นุ โขสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ปุถุชนเมื่อยึดถือว่า ในภายในมีแต่ชีวะ

ล้วน ๆ ดังนี้ แล้วอาศัยอาการแห่งทรวดทรงของชีวะนั้น สงสัยอยู่ว่า

เราเป็นคนสูงหรือหนอแล หรือว่า เรามีรูปร่างเตี้ย ๔ ส่วน ๖ ส่วน

๘ ส่วน ๑๖ ส่วนเป็นต้น ประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า

สงสัยว่า เราเป็นอย่างไรหนอแล. ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้ไม่รู้สรีรสัณฐานอัน

เป็นปัจจุบันไม่มีเลย.

บทว่า กุโต อาคโต โส กุหึ คามี ภวิสฺสติ ได้แก่สงสัยที่มาและ

ที่ไปของอัตภาพ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิจิกิจฉา ๖ อย่าง ดังพรรณนา

มาฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะใด โดยหัวข้อคือวิจิกิจฉานี้

พระองค์ได้ทรงเริ่มเทศนาน เมื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะนั้น จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า ตสฺส เอว อโยนิโส มนสิ โรโต ฉนฺน ทิฏฺฐีน ดังนี้ .

มีคำอธิบายไว้ว่า วิจิกิจฉานี้ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นโดยประการใด

บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นเอง

ผู้ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย มีความลังเลสงสัยโดยประการนั้น เพราะอโยนิโส

มนสิการ ถึงความเป็นสภาพมีกำลัง. วา ศัพท์ ในทุก ๆ บทนั้นเป็น

วิกัปปัตถะ. อธิบายว่า ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้บ้าง อย่างนี้บ้าง. ก็

สัสสตทิฏฐิในบทว่า อัตตาของเรามีอยู่นี้ ย่อมยึดถือว่า อัตตาของตนมีอยู่

ในกาลทุกเมื่อ.

บทว่า สจฺจโต เถตโต ความว่า โดยจริงและโดยแท้. อธิบายว่า

โดยการยึดถืออย่างมั่นด้วยดีว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง. ส่วนทิฏฐินี้ว่า อัตตา

ของเราไม่มี ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่าสัตว์ที่มีอยู่ขาดสูญในภพนั้นๆ.

อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิแม้ข้อแรกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า

มีอยู่ในกาลทั้ง ๓. ทิฏฐิที่ยึดถืออยู่ว่า สิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นมีอยู่ ชื่อว่า

อุจเฉททิฏฐิ. อนึ่ง ทิฏฐิข้อหลังชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะยึดถือในอดีต

และอนาคตว่าไม่มี เหมือนทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดถือทิฏฐิว่า การบูชา

ทั้งหลายมีเถ้าเป็นที่สุด ฉะนั้น (ส่วน) ทิฏฐิที่ยึดถือในอดีตเท่านั้นว่า

ไม่มี ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ดุจทิฏฐิของสัตว์ผู้เกิดขึ้นลอย ๆ เท่านั้น.

บทว่า อตฺตนา ว อตฺตาน สญฺชานามิ ความว่า เมื่อปุถุชน

ยึดถือขันธ์ทั้งหลายโดยมีสัญญาขันธ์เป็นประธานว่า นั่นอัตตา แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

หมายรู้ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจว่า เราย่อมหมายรู้อัตตานี้

ด้วยอัตตานี้.

บทว่า อตฺตนาว อตฺตาน ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์

นั้นแลว่าเป็นอัตตา และยึดถือขันธ์ นอกนี้ว่าเป็นอนัตตา แล้วหมายรู้

ขันธ์ เหล่านั้นด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้

อนัตตาด้วยอัตตา).

บทว่า อนตฺตนาว อตฺตาน ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์ว่า

อนัตตา และยึดถือขันธ์ ๔ นอกนี้ว่าอัตตา แล้วหมายรู้ขันธ์ ๔ เหล่านั้น.

ด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้อัตตาด้วยยอนัตตา ).

ทิฏฐิทุกอย่าง (ดังกล่าวมา) จัดเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิทั้งนั้น.

อาการทั้งหลายมีอาทิว่า วโท วเทยฺโย เป็นอาการของการยึดมั่น

ด้วยสัสสตทิฏฐินั้นเอง. ใน ๒ คำนั้นพึงทราบวินิจฉัยดงนี้. ที่ชื่อว่า วโท

เพราะอรรถว่า ผู้บงการ อธิบายว่า ผู้ทำวจีกรรม. ที่ชื่อว่า เวเทยฺโย

เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า ทั้งรู้ทั้งเสวย.

ถามว่า เสวยซึ่งอะไร ?

ตอบว่า เสวยผลของกรรมดีและกรรมชั่วในภพนั้น ๆ.

บทว่า ตตฺร ตตฺร ความว่า ในกำเนิด คติ ฐิติ นิวาส และนิกาย

หรือในอารมณ์นั้น ๆ.

บทว่า นิจฺโจ คือเว้นจากการบังเกิดขึ้นและการเสื่อมไป.

บทว่า ธุโว คือมั่นคง ได้แก่เป็นสาระ.

บทว่า สสฺสโต คือมีอยู่ตลอดกาลทั้งปวง.

บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละความเป็นปกติของตน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

เป็นธรรมดา คือย่อมไม่ถึงความเป็นประการต่าง ๆ เหมือนกิ้งก่าฉะนั้น.

บทว่า สสฺสติสม ความว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมุทร

มหาปฐพี และภูเขา ท่านเรียกว่า สัสสติ (สิ่งที่เที่ยง ) ตามโวหารของ

ชาวโลก. เสมอด้วยสิ่งที่เที่ยงทั้งหลาย ชื่อว่าสัสสติสมะ. ทิฏฐิอย่างนี้

ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า สิ่งที่เที่ยงทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ตราบใด อัตตานี้

ก็จักตั้งอยู่เหมือนอย่างนั้นตราบนั้น.

บทว่า อิท ในคำว่า อิท วุจฺจติ ภิกฺขเว ทิฏฺิคติ ดังนี้ เป็นต้น

เป็นคำชี้แจงคำที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างชัดเจน. ก็บทว่า อิท นี้ ท่าน

กล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่องกับทิฏฐิคตะ หากล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่อง

กับทิฏฐิไม่. ก็ในที่นี้ทิฏฐินั้นเอง ชื่อทิฏฐิคตะเหมือนคูถคตะ อีกอย่าง

หนึ่ง การดำเนินไปในทิฏฐิ ชื่อทิฏฐิคตะ. ทัสสนะนี้เพราะเหตุที่หยั่งลง

ในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. อีกอย่างหนึ่ง การ

ดำเนินไปของทิฏฐิก็ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. คำว่า อตฺถิเม อตฺตา เป็นต้นนี้

สักว่าเป็นเครื่องดำเนินไปแห่งทิฏฐิ. อธิบายว่า อัตตา หรือใคร ๆ

ที่เที่ยงไม่มีในที่นี้. อนึ่ง ทิฏฐินี้นั้น ชื่อว่า รกชัฏ เพราะอรรถว่า

ปราบได้ยาก ชื่อว่ากันดาร เพราะอรรถว่า ข้ามได้ยาก และเพราะอรรถว่า

มีภัยเฉพาะหน้า เหมือนความกันดารเพราะทุพภิกขภัย และเพราะสัตว์ร้าย

เป็นต้นฉะนั้น. ทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง

เสียดแทง หรือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องขัดสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่าดิ้นรนไป

ต่าง ๆ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนผิดรูป เพราะบางคราวยึดถือสัสสตทิฏฐิ

บางคราวยึดถืออุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง

ผูก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺิคหน ฯเปฯ ทิฏฺิสโยชน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

บัดนี้ เมื่อจะแสดงอรรถคือการผูกนั้นนั่นแลของสังโยชน์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺิสโยชนสยุตฺโต ดังนี้, ข้อนั้นมี

เนื้อความสังเขปต่อไปนี้ว่า ปุถุชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์นี้ ย่อม

ไม่พ้นจากชาติเป็นต้นเหล่านี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องพูดมาก (คือ

กล่าวว่า) เขาย่อมไม่พ้นไปจากวัฏฏทุกข์ทั้งหมดก็ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทิฏฐาสวะซึ่งมี ๖ ประเภท ดัง

พรรณนามาฉะนี้แล้ว เพราะเหตุที่สีลัพพตปรามาส พระองค์ทรงแสดง

ไว้ด้วยสามารถกามาสวะเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ความจริง สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ภายนอกจากพระพุทธศาสนานี้ ถูกอวิชชาครอบงำย่อมพากัน

ยึดถือศีลและพรต เพื่อความสุขในกามและเพื่อความสุขในภพ และความ

บริสุทธิ์ในภพ ฉะนั้น ครั้นไม่ทรงแสดงสีลัพพตปรามาสนั้น (ซ้ำอีก)

หรือไม่ทรงแสดงสีลัพพตปปรามาสนั้น (อีก) เพราะสีลัพพตปรามาสนั้น

พระองค์ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทิฏฐิแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงบุคคล

ผู้ละอาสวะอันจะพึงละด้วยทัสสนะนั้น แล้วแสดงวิธีการละอาสวะเหล่านั้น

หรือเพื่อทรงแสดงการับงเกิดขึ้นเเห่งอาสวะเหล่านั้นของปุถุชนผู้ไม่ได้ใส่ใจ

โดยแยบคาย แล้วจึงทรงแสดงวิธีการละของบุคคลผู้ผิดตรงกันข้ามนั้น

ในบัดนี้จึงตรัสคำว่า สุตวา จ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความของ

คำนั้นบัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง จนถึง

บาลีประเทศว่า โส อิท ทุกฺข ดังนี้ และโดยบุคคลที่ตรงกันข้ามจาก

บุคคลที่กล่าวมาแล้ว. ก็บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับ เป็น

ผู้ฉลาดในอริยธรรมและถูกแนะนำด้วยดีในอริยธรรมโดยปัจนีกนัย คือ

โดยความเป็นข้าศึกต่อบุคคลผู้ไม่รู้และไม่ได้ถูกแนะนำในอริยธรรมโดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

อาการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่งแล บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกด้วย

อรรถอันสมควรแก่เหตุนั้น ตั้งแต่วิปัสสนาที่ถึงยอดจนถึงโคตรภู.

ก็ในข้อว่า โส อิท ทุกฺขนฺติ โยนิโส มนสิกโรติ ดังนี้เป็นต้นนี้

มีการบรรยายความให้ชัดเจนดังต่อไปนี้. อริยสาวกผู้เจริญกัมมัฏฐานใน

สัจจะ ๔ นั้น ในชั้นแรกทีเดียว ต้องเรียนกัมมัฏฐานประกอบด้วยสัจจะ๔

ในสำนักของอาจารย์อย่างนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นทุกข์

เพราะโทษคือตัณหา ตัณหาชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ความไม่เป็นไป

แห่งทุกข์และทุกข์สมุทัยทั้ง ๒ ชื่อว่านิโรธ ทางให้ถึงความดับชื่อว่ามรรค

ดังนี้แล้ว โดยสมัยต่อมา เธอก้าวขึ้นสู่ทางแห่งวิปัสสนา ย่อมใส่ใจถึง

ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านั้นโดยแยบคายว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ คือ ย่อม

รำพึง และพิจารณาเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาโดยยกมนสิการเป็นสำคัญทีเดียว จนถึงโสดา-

ปัตติมรรค. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็ตัณหานี้ใดเป็น

สมุฏฐาน คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแหละ ตัณหานี้นั้นชื่อว่าสมุทัย.

พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็เพราะทุกข์นี้ด้วยทั้งสมุทัยนี้ด้วย

ครั้นมาถึงฐานะนี้แล้วย่อมดับไป คือไม่เป็นไป ฉะนั้น ฐานะนี้จึงชื่อว่า

นิพพาน นี้แลชื่อทุกขนิโรธ. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายถึงมรรค

มีองค์ ๘ อันเป็นเหตุให้ถึงนิโรธว่า นี้คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

คือย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ในข้อนั้น

มีอุบาย (กำหนด) ดังนี้ :-

ชื่อว่าความยึดมั่นย่อมมีในวัฏฏะ หามีในวิวัฏฏะไม่. ฉะนั้น พระ

โยคาวจรกำหนดภูตรูป ๔ ในสันตติของตนโดยนัยเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

อาโปธาตุ นี้มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ และกำหนดอุปาทายรูปตามทำนองแห่ง

ภูตรูปนั้นแล้วกำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ ดังนี้ เมื่อกำหนดรูปขันธ์นั้น

ก็ย่อมกำหนดธรรม คือจิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์เกิด

ขึ้นแล้ว ว่า ธรรม ๔ ประการนี้เป็นอรูปขันธ์ ต่อแต่นั้นย่อมกำหนด

ว่าขันธ์ ๔ เบญจขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์ ก็เบญจขันธ์เหล่านั้น โดยสังเขป

มี ๒ ส่วนเท่านั้น คือนามและรูป และนามรูปนี้มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น

พระโยคาวจรย่อมกำหนดเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น มีอวิชชา ภพ

ตัณหา กรรมและอาหารเป็นต้นว่า นี้เป็นปัจจัย. ต่อแต่นั้นพระโยคาวจร

กำหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย และธรรมซึ่ง

อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่านั้นไม่มี

แล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่าเป็นทุกข์ เพราะ

ความที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อันตตลักษณะว่า

ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจร

ครั้นยกธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลำดับ

ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้. ในขณะนั้นเธอย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔

ด้วยการแทงตลอดด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอาการตรัสรู้

ด้วยญาณควงเดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดโดยการกำหนดรู้

ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอดโดยการละ ย่อมแทงตลอดนิโรธด้วย

การแทงตลอดโดยการทำให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอด

โดยการเจริญ. อนึ่ง เธอย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้โดยการกำหนดรู้

ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้โดยการเจริญ หาใช่ตรัสรู้สัจจะ

อีกข้อหนึ่งด้วยญาณอีกญาณหนึ่งไม่. ความจริง พระโยคาวจรนี้ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

แทงตลอดและย่อมตรัสรู้นิโรธสัจจะโดยความเป็นอารมณ์ และสัจจะ

ที่เหลือโดยความเป็นกิจด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น. ก็ในสมัยนั้นเธอย่อม

ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ดังนี้ หรือ ฯลฯ หรือว่า

เราย่อมยังมรรคให้เจริญ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อเธอทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ

ด้วยสามารถแห่งปฏิเวธ โดยทำให้เป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ญาณนั้นชื่อว่า

ย่อมทำหน้าที่กำหนดรู้ทุกข์บ้าง ทำหน้าที่ละสมุทัยบ้าง และทำหน้าที่เจริญ

มรรดบ้าง. เมื่อเธอใส่ใจโดยแยบคายโดยอุบายอย่างนี้ เธอย่อมละ

สังโยชน์ได้ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘

สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลำศีลและพรตว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะศีล

ความบริสุทธิ์มีได้เพราะพรต. บรรดาอาสวะทั้ง ๔ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ

สีลัพพตปรามาสท่านสงเคราะห์ด้วยทิฏฐาสวะ คือเป็นทั้งอาสวะเป็น

ทั้งสังโยชน์ วิจิกิจฉาเป็นสังโยชน์อย่างเดียว ไม่เป็นอาสวะ. แต่ชื่อว่า

เป็นอาสวะเพราะนับเนื่องในบาลีนี้ว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา อาสวา ดังนี้

เหตุนั้น ธรรนเหล่านี้ จึงเรียกว่า ปหาตัพพธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ว่า เป็นอาสวะที่ชื่อว่า ทัสสน-

ปหาตัพพธรรม จึงได้ตรัสไว้. อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐินี้ใด ที่ท่าน

จำแนกไว้โดยสรูปนั้นแลอย่างนี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่าง ทิฏฐิอย่างใด

อย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสักกายทิฏฐินั้น

จึงตรัสว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ . ก็เพราะสักกายทิฏฐินั้น พระ

โยคาวจรย่อมละได้พร้อมกับวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสที่เกิดร่วมกันและ

มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ. ความจริง เมื่อพระโยคาวจรละ

ทิฏฐาสวะได้แล้ว กามาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ในจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

๔ ดวง ซึ่งเกิดร่วมกับทิฏฐาสวะนั้น พระโยคาวจรย่อมละได้เช่นเดียวกัน.

ส่วนภวาสวะซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จความปรารถนาของ

นาคและครุฑเป็นต้น ในจิตซึ่งเป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงชื่อว่าธรรม ที่

มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ อาสวะทั้ง ๓ ที่เหลืออย่างนี้ คือ

อวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนี้ก็ดี อวิชชาสวะอันเป็นตัวทำให้บังเกิด

อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นในโทมนัสจิต ๒ ดวงก็ดี อวิชชาสวะ

ซึ่งสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาจิตเช่นเดียวกันก็ดี พระโยคารจรย่อมละได้โดย

ประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิทเทศเป็นพหุวจนะไว้ฉะนี้แล.

ในที่นี้เนื้อความพึงทราบดังว่ามานี้. คำอธิบายของท่านพระโบราณาจารย์

ก็เช่นนี้.

บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า

ทัสสนะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อันทัสสนะนั้นพึงละ.

ถามว่า เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ ?

ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก.

ถามว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นก่อนกว่ามิใช่หรือ ?

ตอบว่า โคตรภูญาณย่อมไม่เห็นเลยก็ไม่ใช่. แต่ว่า โคตรภูญาณนั้น

ครั้นเห็นแล้วจะทำกิจที่ควรกระทำไม่ได้ เพราะละสังโยชน์ไม่ได้ ฉะนั้น

จึงไม่ควรกล่าวว่า ย่อมเห็น ดังนี้. ก็ในเรื่องนี้มีบุรุษชาวบ้านแม้ได้เห็น

พระราชาในที่บางแห่งแล้วถวายเครื่องบรรณาการกล่าวอยู่ว่า แม้ในวันนี้

เราก็ไม่ได้พบพระราชา เพราะความสำเร็จกิจตนมองไม่เห็นเป็นตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

(๒) อาสวะที่ละได้เพราะสังวร

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาสวะอันจะพึงได้ด้วยทัสสนะ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาสวะอันพระโยคาวจรพึงละด้วยสังวรซึ่ง

ทรงแสดงไขไว้ในลำดับต่อไป จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่

พระโยคาวจรพึงละด้วยสังวร ดังนี้. ในบททั้งปวงพึงทราบการสัมพันธ์

กันอย่างนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเพียงเนื้อความเท่านั้น.

ถามว่า ก็ขึ้นชื่อว่า อาสวะที่พระโยคาวจรพึงละไม่ได้ด้วยกิจ ๒

อย่างเหล่านี้คือ ด้วยทัสสนะและด้วยภาวนาไม่มีมิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่น

นั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอาสวะที่พระโยคาวจร

พึงละด้วยกิจมีสังวรเป็นต้นไว้แผนกหนึ่งเล่า.

ตอบว่า เพราะอาสวะทั้งหลายที่พระโยคาวจรข่มไว้ได้ในส่วน

เบื้องต้นด้วยกิจมีการสังวรเป็นต้น ย่อมถึงการเพิกถอนด้วยมรรค ๔

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละอาสวะเหล่านี้ในส่วน

เบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นด้วยการข่มไว้ด้วยอาการ ๕ อย่าง จึงตรัส

อย่างนี้. ฉะนั้น โสดาปัตติมรรคข้อแรกที่พระองค์ตรัสไว้แล้วนี้ใด

และมรรค ๓ ซึ่งพระองค์จักตรัสโดยชื่อว่าภาวนาในบัดนี้ กถาว่าด้วย

อาสวะที่พึงละเพราะสังวรเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นบุพพภาค-

ปฏิปทาของโสดาปัตติมรรค และของมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้นแม้ทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ปฏิสงฺขา

แปลว่า พิจารณาแล้ว. สงฺขา ศัพท์ ในบทว่า ปฏิสงฺขา นั้น ย่อมใช้

ในญาณ โกฏฐาสะ บัญญัติและการนับ. อธิบายว่า สงฺขา ศัพท์ ใช้

ในญาณ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า พิจารณาแล้วจึงเสพปัจจัยอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

หนึ่ง ใช้ในโกฏฐาสะ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า ส่วนแห่งธรรมเครื่อง

เนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ ย่อมฟุ้งไป. ใช้ในบัญญัติ (ดุจ ) ในประโยค

เป็นต้นว่า การบัญญัติเป็นชื่อของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. ใช้ในการ

นับ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า การนับไม่ใช่ทำได้โดยง่ายเลย. ส่วน

ในที่นี้พึงเห็นความหมายว่าใช้ในญาณ.

ความจริง บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ความว่า พิจารณา คือ

ทราบ ได้แก่เห็นเฉพาะ โดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ การพิจารณา

โทษในอสังวร พึงทราบว่า การพิจารณาโดยแยบคาย. ก็การพิจารณา

โทษในอสังวรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยแห่งอาทิตตปริยายสูตรเป็นต้นว่า

ภิกษุทั้งหลาย จักขุนทรีย์ที่ภิกษุทะลวงแล้วด้วยหลาวเหล็กอันร้อนโชน

รุ่งโรจน์โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือเอานิมิตโดยอนุพยัญชนะ

ในรูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุไม่ประเสริฐเลย.

ในบทว่า จกฺขุนฺทริยสวรสวุโต วิหรติ นี้ มีอธิบายว่า อินทรีย์

คือจักษุ ชื่อจักขุนทรีย์ ที่ชื่อว่า สังวร เพราะกั้นไว้ อธิบายว่า เพราะ

ปิด คือกั้นไว้ได้. คำว่า สังวรนี้ เป็นชื่อของสติ. การสำรวมในอินทรีย์

คือจักษุ ชื่อว่าการสำรวมจักขุนทรีย์ ดุจประโยคเป็นต้นว่า กาที่ท่าน้ำ

เต่าในบ่อน้ำ กระบือในป่า.

ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสวรสวุโต วิหรติ นั้น การสำรวมหรือการไม่

สำรวมในจักขุนทรีย์ ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สติ หรือความหลง

ลืมสติ ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาท. อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใด

รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วดับไป

มโนธาตุฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้กิจแห่งอาวัชชนะสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

จักขุวิญญาณเกิดขึ้นให้ทัสสนกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนธาตุฝ่าย

วิบากเกิดขึ้นให้สัมปฎิฉันนกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนวิญญาณ-

ธาตุอันเป็นอเหตุกวิบากเกิดขึ้นให้สันตีรณกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น

มโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จแล้ว

ดับไป. ในลำดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป. อนึ่ง ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริย-

สวรสวุโต วิหรติ นั้น การสำรวมหรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่ง

ภวังคจิต ทั้งในสมัยแห่งอาวัชชนจิต เป็นต้น สมัยใดสมัยหนึ่ง การสำรวม

หรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีเช่นเดียวกัน. แต่ในขณะแห่งชวนจิต ถ้าโทษ

เครื่องทุศีล ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทน หรือความ

เกียจคร้านเกิดขึ้นไซร้ นี้เป็นการไม่สังวร. ความไม่สำรวมนั้น แม้เป็น

อย่างนี้ ท่านก็เรียกว่าความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.

ถามว่า เพราะเหตุไร?

ตอบว่า เพราะเมื่อมีการไม่สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น. ทวารก็ดี

ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันพระโยคาวจรไม่คุ้ม

ครองแล้ว.

เปรียบเหมือนอะไร ?

เปรียบเหมือนเมื่อประตูทั้ง ๔ ด้านในพระนครอันบุคคลไม่คุ้มครอง

แล้ว ภายในเรือนซุ้มประตูและห้องเป็นต้นอันบุคคลคุ้มครองดีแล้วแม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่างในพระนครเป็นอันไม่ได้รักษาไม่ได้คุ้มครองเลย.

เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนครพึงลักสิ่งที่ตนปรารถนาได้ฉันใด

เมื่อโทษเครื่องทุศีลบังเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่อมีการไม่สำรวมในชวนจิตนั้น

ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุไม่

คุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

แต่เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิต

มีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้ว. เปรียบเหมือน

อะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครอันบุคคลคุ้มครองดีแล้ว ภายใน

เรือนเป็นต้น อันบุคคลคุ้มครองไม่ดีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่าง

ภายในพระนครเป็นอันบุคคลรักษาดีแล้ว. เพราะเมื่อปิดประตูพระนครแล้ว

โจรทั้งหลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นบังเกิดขึ้นในชวนจิต

ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุคุ้มครอง

ดีแล้วฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สังวรแม้ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวน-

จิต ท่านเรียกว่า การสำรวมในจักขุนทรีย์. ก็ในที่นี้ สติสังวรนี้พึงทราบ

ว่า พระองค์ทรงประสงค์เอาแล้ว. บุคคลผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวม

จักขุนทรีย์ ชื่อว่า จกฺขุนฺทฺริยสวรสวุโต ผู้เข้าถึงแล้วด้วยการสำรวมจักขุน-

ทรีย์. จริงอย่างนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งบทว่า ปาฏิโมกฺขสร-

สวุโต นี้ว่า ภิกษุผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการสำรวมปาฏิโมกข์

นี้ คำนั้นบัณฑิตพึงรวมเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วทราบโดยเนื้อความอย่างนี้

ว่า ภิกษุเป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมจักขุนทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า

ผู้สำรวมแล้ว เพราะอรรถว่า สังวรระวัง อธิบายว่า กั้น คือปิด. ภิกษุผู้

สังวรระวังในจักขึ้นทรีย์ คือผู้มีจักขึ้นทรีย์อันระวังรักษาแล้ว อธิบายว่า

กั้น คือปิด บานประตูคือสติที่รู้กันว่าการสำรวมทางจักขุนทรีย์ในจักษุ

ทวาร เหมือนคนปิดบานประตูที่ประตูเรือนฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ เนื้อความนี้

เท่านั้นดีกว่า. จริงอย่างนั้น เนื้อความนี้นั้นแลย่อมปรากฏใน ๒ บทนี้ว่า

ผู้ไม่สำรวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ และว่า ผู้สำรวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ ดังนี้แล.

บทว่า วิหรติ ความว่า ผู้สำรวมระวังทางจักขุนทรีย์อย่างนี้อยู่

ด้วยการอยู่ด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ในบทว่า ยญฺหิสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อ

ภิกษุนั้นไม่สำรวมระวังจักขุนทรีย์ใด คือไม่กั้นไม่ปิดการระวังทางจักขุน-

ทรีย์อยู่. อีกอย่างหนึ่งอาเทศ เย อักษร เป็น ย ก็ได้ ส่วน หิ อักษร

เป็นปทปูรณะ ความว่า เย อสฺส.

บทว่า อุปฺปชฺเชยฺยุ๋ แปลว่า พึงบังเกิดขึ้น.

บทว่า อาสวา วิฆาฏปริฬาหา ได้แก่อาสวะ ๔ และความเร่าร้อน

เพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากอันทำความคับแค้นเหล่าอื่น.

ความจริงกามาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ชอบใจเพลิดเพลินใจซึ่งอิฏฐา-

รมณ์อันมาปรากฏในจักษุทวารด้วยอำนาจความชอบใจในกาม ภวาสวะ

ย่อมบังเกิด แก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติ

เช่นนี้ในสุคติภพแม้อื่น ทิฏฐาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยึดถือว่าเป็น

สัตว์หรือว่าของสัตว์ ความไม่รู้ซึ่งบังเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งหมดนั้นแหละ

ชื่อว่าอวิชชาสวะ อาสวะ ๔ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างว่ามานี้. แม้กิเลสทั้งหลาย

เหล่าอื่นซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะเหล่านั้น ความเร่าร้อนอัน กระทำความคับแค้น

หรือวิบากในภพต่อไปของกิเลสเหล่านั้นเหล่าใด แท้จริง กิเลสเป็นต้น

แม้เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมอยู่เหมือนกัน.

บทว่า เอวส เต ความว่า ด้วยอุบายนี้ อาสวะเหล่านั้นนั่นแหละ

หามีแก่ภิกษุนั้นผู้สำรวมอยู่อย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ไม่ใช่มีโดยประการอื่น.

ในบทเป็นต้นว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส โสตินฺทฺริยสวรสวุโต ก็นัย

(เดียวกัน) นี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ อาสวา สวรา ปหาตพฺพา

ความว่า อาสวะเหล่านั้นเพราะแยกในทวารทั้ง ๖ เป็นทวารละ ๔ อาสวะ

จึงรวมเป็นอาสวะ ๒๔ เรากล่าวว่า พระโยคาวจรควรละเสียด้วยสังวร.

ก็ในที่นี้ สติสังวรนั้นแล พึงทราบว่า สังวรในทุก ๆ บทนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา

[๑๔] คำที่จะพึงกล่าว ในบทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวร

เป็นต้น ทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในสีลกถา ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค

นั้นแล.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนอันทำความ

คับแค้นใจ ( พึงเกิดขึ้น) แก่ภิกษุ ( ผู้ไม่พิจารณาแล้วเสพ ) ปัจจัย

หรือบรรดาจีวรบิณฑบาตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อปฏิเสวโต ความว่า ผู้ไม่ ( พิจารณา) โดยแยบคาย

แล้วเสพอย่างนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล ก็ในที่นี้ พึงทราบการ

บังเกิดขึ้นแห่งกามาสวะของภิกษุผู้ปรารถนาจีวรเป็นต้นที่คนไม่ได้ หรือผู้

ยินดีจีวรเป็นต้นที่ตนได้แล้วอย่างเดียว. พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งภวาสวะ

ของภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติเช่นนี้ ใน

สัมปัตติภพ คือสุคติภพแม้อื่น พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งทิฏฐาสวะของ

ภิกษุผู้ตั้งความสำคัญในคนว่า เราจะได้ ดังนี้ หรือว่า สิ่งนี้จักเป็นของเรา

ดังนี้ . ก่อวิชชาสวะเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งปวง พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่ง

อาสวะทั้ง ๔ อย่างดังว่ามานี้แล. ส่วนความเร่าร้อนเพราะวิบาก พึงทราบ

แม้โดยการบังเกิดขึ้นแห่งเวทนาใหม่. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว

อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะเหล่านี้มี ๑๖ อย่าง

เพราะแยกอาสวะในปัจจัยแต่ละปัจจัย ( มีจีวรเป็นต้น) เป็นปัจจัยละ

๔ อาสวะ. อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า พระโยคาวจรพึงละได้ด้วยการ

พิจารณาแล้วเสพ กล่าวคือการสำรวมด้วยญาณนี้ ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

(๔) อาสวะที่ละได้ด้วยความอดกลั้น

[๑๕] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ขโม โหติ สีตสฺส ความว่า

ภิกษุพิจารณาโดยอุบายถูกทางแล้วย่อมเป็นผู้ทนต่อความหนาว คือ

ย่อมอดทนอดกลั้นความหนาว จะสั่นสะท้านเพราะความหนาวแม้เพียงเล็ก

น้อย เหมือนบุรุษผู้ไม่มีความกล้าหาญก็หาไม่ ท่านไม่ยอมละทิ้งกัมมัฏ-

ฐาน. อีกอย่างหนึ่งแล ท่านถูกความหนาวจัดสัมผัสก็ไม่สั่นสะท้าน ย่อม-

ใส่ใจเฉพาะกัมมัฏฐานเหมือนพระโลมสนาคเถระฉะนั้น. ได้ยินว่า พระ

เถระอยู่ในเรือนบำเพ็ญเพียรในถ้ำปิยังคุ ณ เจติยบรรพต พิจารณาโลกัน-

ตริยนรกที่ตั้งอยู่ในระหว่าง (ทวีป) ในสมัยหิมะตก ไม่ยอมละทิ้ง

กัมมัฏฐานเลย ให้เวลาผ่านไปในกลางแจ้ง. แม้ในฤดูร้อนเป็นต้น ก็พึง

ทราบการอธิบายขยายความอย่างนี้. ความจริง ภิกษุใดย่อมอดกลั้นความ

ร้อนแม้มีประมาณยิ่งได้อย่างเดียว ภิกษุนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทน

ต่อความร้อนได้เหมือนพระเถระนั้นนั่นแล. ได้ยินว่า ในเวลาหลังภัตตา-

หารในฤดูคินหันต์ พระเถระนั่งอยู่ภายนอกที่จงกรม. เมื่อท่านใส่ใจถึง

กัมมัฏฐานเหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้. ทีนั้น อันเตวาสิกจึงเรียนท่านว่า

ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านนั่งในที่นี้เถิด โอกาสนี้เย็นสบาย. พระเถระกล่าว

ว่า เราจะไม่นั่งในที่นั้นหรอกเพราะกลัวความร้อน ผู้มีอายุ ดังนี้ แล้วนั่ง

พิจารณาอเวจีมหานรก. ก็ในที่นี้ความเร่าร้อนเพราะไฟพึงทราบว่า อุณฺห.

ก็เรื่องนั้นท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความเร่าร้อนอันเกิดจากพระอาทิตย์. ก็

ภิกษุใดแม้เมื่อไม่ได้ภัตหรือน้ำดื่มเพียง ๒-๓ มื้อแล้ว พิจารณาการเกิด

ขึ้นในเปตวิสัยของตนในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้ว ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

หวั่นไหว ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานและถูกสัมผัสแห่งเหลือบยุงและแดดแม้มี

ประมาณยิ่งถูกต้อง ก็พิจารณาการเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่หวั่นไหว

ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเลย และแม้จะถูกสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานถูกต้อง

ก็พิจารณาถึงอัตภาพในกาลก่อน ซึ่งกลิ้งเกลือกอยู่หลายวาระที่ปากของ

ราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ในสงสารที่มีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้ว

ไม่หวั่นไหวไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเหมือนพระปธานิยเถระ ภิกษุนั้นพึง

ทราบว่าเป็นผู้อดทนต่อความหิว ฯลฯ สัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานเป็นต้น.

ได้ยินว่า งูพิษตัวหนึ่งได้กัดพระเถระผู้กำลังฟังอริยวังสสูตร ในเรือน

ทำความเพียรชื่อกรรณิการ์ในมหาวิหารชื่อขัณฑเวละ. พระเถระแม้รู้

แล้วมีจิตเลื่อมใสนั่งฟังธรรมตามปกติ. กำลังพิษได้แรงกล้าขึ้น (ตาม

ลำดับ). พระเถระได้พิจารณาถึงศีลเริ่มต้นแต่มณฑลอุปสมบทแล้วเกิด

ปีติขึ้นว่า เรามีศีลบริสุทธิ์. พร้อมกับการบังเกิดขึ้นแห่งปีติ พิษได้แล่น

กลับเข้าแผ่นดินไป. พระเถระได้เอกัคคตาจิตในที่นั้นนั่นเองเจริญวิปัสสนา

แล้วบรรลุพระอรหัต. ก็ภิกษุใดฟังคำพูดหยาบคาย และคำพูดอันสหรคต

ด้วยอันเติมวัตถุ ซึ่งมาจากที่ไกลเพราะเป็นคำพูดที่หยาบคายแล้ว พิจารณา

ถึงคุณของขันติ ไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจการด่าตอบเหมือนพระทีฆภาณก-

อภัยเถระ. ภิกษุนี้นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ

ซึ่งมาแต่ไกลได้. ได้ยินว่า พระเถระกล่าวมหาอริยวังสปฏิปทาเพื่อความ

เป็นผู้ยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย. ชาวบ้านทั้งหมดต่างพากันมา.

มหาสักการะจึงได้เกิดมีแก่พระเถระ พระมหาเถระบางรูปอดกลั้นสักการะ

นั้นไม่ได้จึงด่าโดยนัยเป็นต้นว่า พระทีฆภาณกะก่อความวุ่นวายขึ้นตลอด

คืน ด้วยกล่าวว่าเราจะกล่าวอริยวงศ์. ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป (เวลาเดิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ทาง) กลับไปสู่วิหารของตน ๆ และได้เดินร่วมทางเดียวกันไปสิ้นหนทาง

ประมาณคาวุตหนึ่ง. พระเถระนั้นก็ได้ด่าพระทีฆภาณกเถระแม้ทุก ๆ

คาวุต. ครั้นแล้ว พระทีฆภาณกเถระยืนอยู่ในที่ที่หนทางของวิหารทั้ง ๒

แยกกัน ไหว้พระเถระนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นทางของท่าน

ดังนี้. พระเถระนั้นเดินจากไปทำเหมือนไม่ได้ยิน. ฝ่ายพระทีฆภาณกเถระ

ไปถึงวิหารล้างเท้าแล้วนั่งลง. อันเตวาสิกจึงได้กล่าวกะท่านว่า

ท่านผู้เจริญ อะไรกัน ทำไมท่านจึงไม่กล่าวอะไร ๆ กะพระเถระ

นั้นซึ่งด่าบริภาษท่านทุก ๆ คาวุต. พระเถระตอบว่า

อาวุโส ความอดทนเป็นหน้าที่ของเรา ความไม่อดทนหาใช่เป็น

หน้าที่ของเราไม่ เราเองไม่ ( เคย ) เห็นการพลาดจากกัมมัฏฐาน ( ของ

เรา) แม้ในเพราะการยกเท้าข้างหนึ่ง. ในที่นี้ควรทราบว่า ถ้อยคำนั้น

แหละชื่อว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม.

เวทนาร่างกาย ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ถึงทุกข์

ชื่อว่าหนา เพราะอรรถว่า หนาแน่น ชื่อว่าแข็ง เพราะอรรถว่า หยาบ

ชื่อว่ากล้า เพราะอรรถว่า คม ชื่อว่าไม่น่ายินดี เพราะเว้นจากความยินดี

ชื่อว่าไม่น่าชอบใจ เพราะอรรถว่า ไม่เป็นที่เจริญใจ ชื่อว่าเป็นเครื่องคร่า

ชีวิตได้ ภิกษุใดอดกลั้นเวทนานั้นได้ คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ดำรงอยู่

ตามปกติ เหมือนพระปธานิยเถระผู้อยู่ที่จิตลดาบรรพต ภิกษุนี้พึงทราบว่า

เป็นผู้มีปกติอดกลั้นสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น ฯลฯ.

ได้ยินว่า เมื่อพระเถระยืนบำเพ็ญเพียรอยู่ตลอดคืน ลมในต้องก็เกิด

ขึ้น. ท่านไม่สามารถจะอดกลั้นลมนั้นได้จึงได้บิดไปบิดมา. พระเถระผู้

๑. ปาฐะว่า ทุกฺขาวหนฏฺเน พม่าเป็น พหลตฺเถน เห็นว่าเหมาะจึงแปลแบบพม่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งยืนอยู่ข้างที่จงกรม จึงกล่าวกะท่าน

ว่า อาวุโส ธรรมดาบรรพชิตเป็นผู้มีปกติอดกลั้น ดังนี้. พระเถระนั้น

รับว่า ดีละ ผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้นอน ( สงบนิ่ง ) ไม่ไหวติง.

ลมได้แล่นเสียดหัวใจไปจนถึงนาภี. พระเถระข่มเวทนาเจริญวิปัสสนาเพียง

ชั่วครู่ก็ได้เป็นพระอนาคามีแล้วปรินิพพาน ฉะนี้แล.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า ( อาสวะทั้งหลายย่อมเกิด ) แก่ภิกษุ

นั้นผู้อดกลั้นความหนาวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้.

บทว่า อนธิวาสยโต ความว่า ผู้อดกลั้นไว้ไม่ได้ คือทนไว้ไม่ได้.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในเรื่องนี้พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่ง

อาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกความหนาวถูกต้องแล้ว

ปรารถนาความอบอุ่น. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. อธิบายว่า ภวาสวะย่อมมี

แก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ความหนาวหรือความอบอุ่นของเราในสัมปัตติ-

ภพย่อมไม่มีดังนี้ ความยึดถือว่า ความหนาว ความอบอุ่น ย่อมมีแก่เรา

ดังนี้ ชื่อว่าทิฏฐาสวะ อาสวะซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะทั้งปวง ชื่อว่าอวิชชา-

สวะ. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ อธิวาสนา ปหาตพฺพา ความว่า

อาสวะเหล่านี้มีมากมาย เพราะแยกเป็นอย่างละ ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรม

มีความหนาวเป็นต้น แต่ละอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ควรละเสียด้วย

การอดกลั้น กล่าวคือขันติสังวร. ก็ในที่นี้ เพราะขันตินี้ย่อมอดกลั้นธรรม

มีความหนาวเป็นต้นได้ คือยกให้อยู่เหนือตนทีเดียว ได้แก่ไม่ใช่ว่า

จะอดกลั้นไว้ไม่ได้แล้วสลัดทิ้งเสีย ฉะนั้น ขันตินี้พึงทราบว่า อธิวาสนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

( ๕ ) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น

[๑๖] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑ หตฺถึ ปริวชฺเชติ

ความว่า ภิกษุไม่พึงยืนอยู่ในที่ใกล้ช้างตัวดุร้าย ด้วยคิดว่า เราเป็นสมณะ

ดังนี้ เพราะว่าทั้งความตายทั้งความทุกข์ปางตายซึ่งมีช้างนั้นเป็นเหตุพึงมี

ได้. ภิกษุพิจารณาโดยอุบายคือโดยถูกทางอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้น คือถอยหนี

ช้างตัวดุร้าย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

บทว่า จณฺฑ คือตัวที่ดุร้าย อธิบายว่า ร้ายกาจ.

บทว่า ขาณุ ได้แก่ตอไม้ตะเคียนเป็นต้น.

บทว่า กณฺฏกฏฺาน ความว่า สถานที่มีหนาม อธิบายว่า โอกาส

ซึ่งมีหนามอยู่จำนวนมาก.

บทว่า โสพฺภ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันทั่วไปหมด (บ่อ).

บทว่า ปปาต ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันเพียงข้างเดียว ( เหว ).

บทว่า จนฺทนิก ได้แก่สถานที่เป็นที่ทั้งของสกปรกมีน้ำที่เป็นเดน

เป็นต้น (บ่อน้ำครำ).

บทว่า โอฬิคลฺล ได้แก่โอกาสอันเป็นที่รวมแห่งเปือกตมเป็นต้น

เหล่านั้น. สถานที่นั้นเป็นสถานที่ที่เรี่ยราดด้วยของไม่สะอาดแม้มีประมาณ

ถึงหัวเข่า. ก็สถานที่เหล่านั้นแม้ทั้ง ๒ แห่งเป็นสถานชั่วร้ายคล้ายมี

อมนุษย ์ ฉะนั้น สถานที่เหล่านั้นควรเว้นเสีย. ก็อาสนะอันไม่สมควร ชื่อว่า

อนาสนะ.

ในบทว่า อนาสเน นี้ โดยเนื้อความ อนาสนะนั้นพึงทราบว่าได้แก่

อาสนะซ่อนอยู่ในที่ลับมีทัพพสัมภาระที่ไม่แน่นอน. ก็ที่เที่ยวไปอันไม่

สมควร ชื่ออโคจร แม้ในบทว่า อโคจเร นี้. ที่อโคจรนั้นมี ๕ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

โดยแยกประเภทเป็นหญิงแพศยาเป็นต้น.

บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่มิตรปฏิรูป หรือมิตรผู้ชั่วช้า คือผู้

ทุศีล.

บทว่า ภชนฺต แปลว่า เสพอยู่.

บทว่า วิญฺญู สพฺรหฺมจารี ความว่า เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย

ผู้เป็นบัณฑิต คือผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้. คำนี้ เป็นชื่อของภิกษุทั้งหลาย.

เพราะว่าภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติธรรมอันเสมอด้วยพรหมนี้ ด้วยคิดว่า

เราจะเป็นผู้มีกรรมร่วมกัน และเรียนอุเทศร่วมกัน และมีความเป็นผู้มี

สิกขาเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่าสพรหมจารี.

บทว่า ปาปเกสุ าเนสุ ความว่า ในสถานที่ทั้งหลายที่ลามก.

บทว่า โอกปฺเปยฺยุ ความว่า พึงเชื่อไค้ คือพึงน้อมใจเธอได้ว่า

ท่านผู้มีอายุนี้ได้กระทำหรือจักกระทำแน่ ดังนี้.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่เว้นบรรดาอันตรายมี

ช้างเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแหละ. ก็ในที่นี้

พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้

ประสบทุกข์ซึ่งมีช้างเป็นต้นเป็นเหตุแล้วปรารถนาความสุขอยู่. ภวาสวะ

ย่อมเกิดมีแก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ของเราไม่มีในสัมปัตติภพ

คือในสุคติภพ. การยึดถือว่า ช้างจะเหยียบเรา ม้าจะเหยียบเรา ดังนี้ ชื่อว่า

ทิฏฐาสวะ. อาสวะที่สัมปยุตด้วยอกุศลธรรมทุกอย่าง ชื่อว่าอวิชชาสวะ.

ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ ปริวชฺชนา ปหาตพฺพา ความว่า

อาสวะมีมากอย่าง เพราะแยกอาสวะเหล่านี้ออกเป็นอย่างละ ๔ ด้วย

อำนาจอันตรายมีช้างเป็นต้นแต่ละอย่าง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ตรัสว่า พระโยคาวจรพึงละเสียด้วยการเว้น กล่าวคือสีลสังวรนี้.

(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา

[๑๗] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ

ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็นโทษในกามวิตกโดยแยบคาย โดย

นัยเป็นต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ วิตกนี้มีโทษแม้เพราะเหตุ

นี้ และวิตกนั้นแลย่อมเป็นไปแม้เพื่อความเบียดเบียนตนเอง ดังนี้แล้ว

ยับยั้งไว้ไม่ได้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น ได้แก่บังเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์นั้น ๆ

อธิบายว่า ยกจิตขึ้นเสียแล้วให้กามวิตกหยุดอยู่ไม่ได้ หรือไม่ให้กามวิตก

หยุดอยู่ภายในได้.

ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยังไว้ไม่ได้จะทำอย่างไร ?

ตอบว่า ย่อมละ. คือทิ้งวิตกนั้นเสีย.

ถามว่า ภิกษุจะละทิ้งวิตกเหมือนคนเอาตะกร้าตักหยากเยื่อทิ้งหรือ ?

ตอบว่า หามิได้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรเทา คือถอน ได้แก่แทง หมายความว่า

นำออกไปซึ่งกามวิตกนั้น.

ถามว่า แทงเหมือนกับบุคคลเอาปฏักแทงโคพลิพัทหรือ ?

ตอบว่า หาใช่เช่นนั้นไม่. โดยที่แท้แล้วจะทำกามวิตกนั้นให้ย่อยยับ

ไป คือทำกามวิตกนั้นให้ปราศจากไป ได้แก่ทำกามวิตกนั้น (ให้เป็น )

โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต

(ก็ไม่มี).

ถามว่า ภิกษุจะทำวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ตอบว่า ย่อมยังกามวิตกนั้นให้ถึงความไม่มี คือย่อมให้ถึงความ

ไม่มีทีละน้อย ๆ มีอธิบายว่า ย่อมทำโดยประการที่วิตกเป็นอันเธอข่มไว้

ได้อย่างดีด้วยวิกขัมภนปหาน. ในพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกก็นัยนี้

เช่นกัน.

ก็ในวิภังค์ท่านกล่าวไว้ว่า ในบทว่า กามวิตกฺโก นี้ วิตกที่ปฏิ-

สังยุตด้วยกาม คือความดำริผิด ชื่อกามวิตก. ในที่อื่น ๆ ก็นัยนี้.

บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ความว่า เกิดแล้ว คืออุบัติแล้ว อธิบาย

ว่า พอแต่สักว่าเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรเทาอกุศล

วิตกทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นคราวเดียวได้แล้ว ในวาระที่ ๒ ถึงเธอจะไม่ได้เพ่ง

เล็ง เธอก็ย่อมบรรเทาอกุศลวิตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ แม้ ๗ ครั้งได้

ทีเดียว.

บทว่า ปาปเก อกุสเล ความว่า ที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่า

ลามก ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะความเป็นกรรมที่ทำด้วยความไม่ฉลาด.

บทว่า ธมฺเม ได้แก่กามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่มหาวิตก ๙ อย่างแม้ทั้งหมด. บรรดามหาวิตก ๙ อย่างเหล่านั้น

๓ อย่างกล่าวไว้แล้ว. วิตกที่เหลืออีก ๖ เหล่านี้ ได้แก่วิตกถึงญาติ

วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกที่ประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูต่อผู้

อื่น วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะและเกียรติยศ และวิตกที่ปริสังยุต

ด้วยสิ่งอื่น.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนเพราะความ

คับแค้นใจ พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้บรรเทาไม่ได้ซึ่งวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในบรรดาวิตกเหล่านั้น. คำที่เหลื่อมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ก็ในที่นี้ กามาสวะนั้นแลคือกามวิตก อาสวะซึ่งแปลกออกไปจาก

กามวิตกนั้น ชื่อว่าภวาสวะ. อาสวะที่สันปยุตด้วยภวาสวะนั้นแล ชื่อทิฏฐา-

สวะ. ความไม่รู้ในวิตกทั้งมวล ชื่ออวิชชาสวะ. พึงทราบแม้การบังเกิดขึ้น

แห่งอาสวะเหล่านี้ ด้วยประการดังพรรณนามาน . ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ

ฯลฯ วิโนทนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ ประการดังกล่าวแล้วด้วย

อำนาจกามวิตกเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา กล่าวคือวิริยสังวรซึ่งสหรคตด้วยการ

พิจารณาโทษในวิตกนั้น ๆ นี้.

( ๗ ) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม

[๑๘] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสนฺโพชฺฌงฺค ภาเวติ

ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษแห่งการไม่อบรมและอานิสงส์แห่งการ

อบรมโดยอุบายคือโดยถูกทางแล้วควรเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในบททั้งปวง

ก็นัยนี้. ก็เนอธิการแห่งโพชฌงค์นี้ โพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระเท่านั้นที่

เกิดขึ้น เพราะได้บรรลุมรรค ๓ ข้างต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประ-

สงค์เอาแล้วในที่นี้แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เพื่อความไม่หลงงมงายใน

โพชฌงค์ทั้งหลายของเหล่าภิกษุผู้ทำความเพียรเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าจัก

พรรณนาโดยนัยแห่งโพชฌงค์เหล่านั้นโดยปะปนกันไปทั้งฝ่ายโลกิยะและ

ฝ่ายโลกุตตระ. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะละนัยที่เป็นโลกิยะเสีย แล้วถือเอา

เฉพาะนัยฝ่ายโลกุตตระเท่านั้น. ในอธิการแห่งโพชฌงค์นั้น บัณฑิตพึง

ทราบวินิจฉัยบทข้างต้นทั้ง ๗ ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺ-

โพชฺฌงฺค ก่อน โดยเนื้อความโดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับและโดยไม่หย่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ไม่ยิ่ง. ในโพชฌงค์ ๗ นั้น พึงทราบวินิจฉัยในสติสัมโพชฌงค์ก่อน. ที่

ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึก. ก็สตินี้นั้นมีการปรากฏเป็น

ลักษณะหรือมีการเสนอแนะเป็นลักษณะ. สนจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

มหาบพิตร ขุนคลังของพระราชาย่อมกราบทูลถึงทรัพย์สมบัติของพระราชา

ว่า ข้าแต่มหาราช เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ สมบัติมีเท่านี้ ดังนี้ฉันใด

มหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเสนอแห่งธรรม

ทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ เลวประณีต ดำ ขาว และมีส่วน

เป็นปฏิปักษ์กัน. ความพิสดารว่าสติปัฏฐานมี ๔ เหล่านี้. สตินั้นมีการเสนอ

แนะเป็นกิจ. ก็ลักษณะของสตินั้น พระเถระกล่าวไว้ด้วยอำนาจกิจแท้. อีก

อย่างหนึ่ง สตินั้นมีการไม่หลงเป็นกิจ. มีภาวะมุ่งหน้าต่ออารมณ์เป็นเครื่อง

ปรากฏ. องค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้คือสติ ชื่อสติสัมโพชฌงค์.

ในบทว่า โพชฺฌงฺโค นั้น มีวิเคราะห์ว่า องค์แห่งการตรัสรู้

หรือแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ฉะนั้น จึงชื่อว่าโพชฌงค์. ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้อย่างไร ? (ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า) ธรรมสามัคคีนี้คือ สติ ธัมมวิจยะ

วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมากมาย

มีความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความหยุด ความประมวลมา กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถามุโยค ความยึดมั่นว่าขาดสูญและเที่ยงแท้ซึ่งบังเกิดขึ้นในขณะ

แห่งมรรคทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระที่เป็นเหตุตรัสรู้แห่งพระอริยสาวก

ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำอธิบายดังที่กล่าวมานี้.

บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ย่อมตื่นจากความหลับด้วยอำนาจกิเลส

ที่นอนเนื่องอยู่ อธิบายว่า ย่อมแทงตลอดอริยสัจทั้ง ๔ หรือทำให้แจ้ง

ซึ่งพระนิพพานนั้นเอง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เจริญโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

๗ แล้วย่อมตรัสรู้เฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ที่ชื่อว่าโพช-

ฌงค์ เพราะเป็นองค์ของปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้นเอง

เปรียบเหมือนองค์ฌานและองค์มรรคเป็นต้นฉะนั้น.

ก็อริยสาวกนี้ใด ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้มีประการดังกล่าวแล้ว

เพราะทำอธิบายดังว่ามานี้ อริยสาวกนั้นท่านจึงเรียกว่า โพธิ (ผู้ตรัสรู้ )

ที่ชื่อว่าโพชฌงค์แม้เพราะเป็นองค์ประกอบของพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น

ประดุจองค์ประกอบแห่งเสนาและองค์ประกอบแห่งรถฉะนั้น. ด้วยเหตุ

นั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะเป็นองค์ประกอบของบุคคลผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อ

ความแม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคเป็นต้นว่า

ถามว่า ในบท โพชฺฌงฺคา นี้ ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า

กระไร?

ตอบว่า ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้.

ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้.

ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม

ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้เฉพาะ.

ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า รู้พร้อม.

พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถและโดยลักษณะเป็นต้นของโพชฌงค์ข้อ

แรกข้อเดียวก่อนอย่างนี้ว่า โพชฌงค์อันประเสริฐ คือดี ชื่อว่าสัมโพช-

ฌงค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ซึ่ง

สติสัมโพชฌงค์นั้น.

ก็พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌงค์ข้อที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ที่ชื่อว่า ธัมมวิจยะ. เพราะอรรถว่า เลือกเฟ้นสัจจธรรมทั้ง ๔

ประการ.

ธัมมวิจยะ นั้น มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีการให้ความสว่าง

เป็นกิจ มีความไม่หลงงมงายเป็นเครื่องปรากฏ.

ที่ชื่อว่า วิริยะ เพราะความเป็นสภาวะที่แกล้วกล้า และเพราะให้

ธรรมดำเนินไปโดยถูกวิธี. วิริยะนั้นมีการประดับประคองจิตเป็นลักษณะ

มีการอุปถัมภ์จิตเป็นกิจ มีความไม่ท้อแท้แห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.

ที่ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า เอิบอิ่ม. ปีตินั้นมีการแผ่ไปเป็น

ลักษณะ หรือมีความยินดีเป็นลักษณะ มีการเอิบอิ่มของกายและจิตเป็นกิจ

มีการฟูขึ้นแห่งกายและจิตนั้นเป็นเครื่องปรากฏ.

ที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวายทางกายและจิต.

ปัสสัทธินั้นมีการเข้าไปสงบเป็นลักษณะ มีการย่ำยีความกระวนกระวาย

ทางกายและจิตเป็นกิจ มีความเยือกเย็นอันเกิดจากความไม่ดิ้นรนแห่งกาย

และจิตเป็นเครื่องปรากฏ.

ที่ซึ่งว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น. สมาธินั้นมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น

ลักษณะ หรือมีการไม่แส่ไปในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่งจิต

และเจตสิกเป็นกิจ มีความตั้งมั่นแห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.

ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะวางเฉย. อุเบกขานั้นมีการพิจารณาเป็น

ลักษณะ หรือมีการเป็นไปโดยสม่ำเสมอเป็นลักษณะ มีการหักห้ามความ

หย่อนและยิ่งแห่งจิตเป็นกิจ หรือมีการตัดขาดการตกไปเป็นฝักฝ่ายเป็นกิจ

มีการวางตนเป็นกลางเป็นเครื่องปรากฏ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

นั้นแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้แห่งบทที่เหลือทั้งโดยอรรถและโดยลักษณะ

เป็นต้นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ก็ในคำว่า กมโต นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อน เพราะสติสัมโพช-

ฌงค์นั้นเป็นอุปการะแก่โพชฌงค์ที่เหลือทั้งหมด เพราะพระบาลีว่า ภิกษุ

ทั้งหลายก็เราตถาคตกล่าวสตินั้นแลว่ามีประโยชน์แก่ธรรมทั้งปวง ดังนี้ .

เบื้องหน้าแต่นั้น ประโยชน์ในการกล่าวโพชฌงค์ที่เหลือไว้ก่อนไว้หลัง

ได้กล่าวไว้แล้วในสุตตะนั้นเอง โดยนัยเป็นต้นว่า เธอมีสติอยู่อย่างนั้น

เลือกเฟ้นธรรมนั้นด้วยปัญญา ดังนี้. ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลำดับ

ดังกล่าวมานี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนูนาธิกโต ดังต่อไปนี้ :-

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโพชฌงค์ไว้

เพียง ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน?

ตอบว่า เพราะเป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่และความฟุ้งซ่าน และ

เพราะประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. อธิบายว่า ในอธิการแห่งโพชฌงค์

นี้ โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดแลจิตเป็นธรรมชาติหดหู่

ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะที่จะเจริญธัมมวิจยสัม-

โพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญวิริยสัมโพชณงค์ เหมาะ

ที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ .

โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน. เหมือนอย่างที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

๑. ปาฐะว่า ตถาคโต แต่ฉบับพม่าเป็น ตถา สโต จึงแปลตามพม่าเพราะเห็นว่าเหมาะกว่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะ

ที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่

จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ . ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติ-

สัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่าง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ

ดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถก ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็

คือว่า จำต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัย

ในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์

ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็น

ประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.

บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น

ว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนา

อย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต ดังนี้ (ต่อไป).

บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิด

ขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อย ๆ.

บทว่า วิเวกนิสฺสิต คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้น

มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขันภนวิเวก สมุจเฉพวิเวก ปฏิปัส-

สัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่าง ๆ กัน พึงทราบ

โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้ . ความจริง

วิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

อวินีโต นั้น. ในวิเวกทั้ง ๕ อย่างนี้ดังกล่าวมานี้ พึงทราบความดังนี้ว่า:-

บทว่า วิเวกนิสฺสิต ความว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวก

อาศัยสมุจเฉทวิเวก อาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคาวจรผู้

ตามประกอบการเจริญโพชฌงค์นี้ ในขณะแห่งวิปัสสนา ย่อมเจริญสติ-

สัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยตทังควิเวกโดยกิจ อันอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย

แต่ในกาลแห่งมรรคย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ

และอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาศัยวิเวก

ทั้ง ๔ อย่างดังนี้บ้าง. เพราะว่าอาจารย์เหล่านั้นไม่ยกโพชฌงค์ขึ้นมา

เฉพาะในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีกำลัง และในขณะแห่งมรรคและผลอย่าง

เดียวเท่านั้น แต่แม้ในกสิณฌาน อานาปานสติกัมมัฏฐาน และในพรหม-

วิหารฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนาก็ยกขึ้นนาด้วย ทั้งพระอรรถกถาจารย์

ทั้งหลายก็ไม่ได้คัดค้าน. เพราะฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้นควร

กล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดย

กิจอย่างเดียว ในขณะที่เป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น. และท่านกล่าวว่าในขณะ

แห่งวิปัสสนา พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก

โดยอัธยาศัย ดังนี้ฉันใด พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์แม้อันอาศัย

ปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ฉันนั้น. ในสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิราคะเป็นต้นก็นัยนี้ง

ความจริง ธรรมมีวิราคะเป็นต้นก็มีวิเวกเป็นอรรถทั้งนั้น. ก็ในธรรมทั้ง

หลายมีราคะเป็นต้นนี้ โวสสัคคะอย่างเดียวที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

การปล่อยวางโดยการสละ (ปริจจาคโวสสัคคะ) ๑. การปล่อยวางโดยการ

แล่นไป (ปักขันทนโวสสัคคะ) ๑. บรรดาการปล่อยวางทั้ง ๒ อย่างนั้น

๑. ปาฐะเป็น เอว แต่ตามฉบับพม่าเป็น เอว เห็นว่าเหมาะ จึงแปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

การละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหานในขณะแห่งวิปัสสนาและด้วยสมุจเฉท-

ปหานในขณะแห่งมรรค ชื่อว่าการปล่อยวางโดยการสละ. ส่วนการ

แล่นไปสู่พระนิพพานโดยการน้อมไปสู่พระนิพพานนั้นในขณะแห่งวิปัสสนา

ชื่อว่าการสละโดยการแล่นไป แต่ในขณะแห่งมรรคการแล่นไปสู่พระ

นิพพานจะมีได้ด้วยสามารถแห่งการทำให้เป็นอารมณ์. แม้โวสสัคคะทั้งคู่

นั้นย่อมเหมาะสมในนัยแห่งอรรถกถาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้.

จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมสละกิเลสและย่อมแล่นไปสู่พระนิพพาน

โดยประการตามที่กล่าวแล้ว. ก็ด้วยถ้อยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ

นี้ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า กำลังน้อมไป และน้อมไปแล้ว คือจะงอม

และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวาง ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุนี้ผู้ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งการเจริญโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดยที่สติ-

สัมโพชฌงค์จะงอม และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวางโดยการสละกิเลส

และเพื่อการปล่อยวางโดยการแล่นไปสู่พระนิพพาน ฉะนี้แล. ในโพช-

ฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.

แต่ว่าในที่นี้ นิพพานนั้นเอง ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจาก

สังขตธรรมทั้งปวงท่านกล่าวว่า วิราคะ เพราะภาวะแห่งสังขตธรรมทั้งหมด

คลายกำหนัดแล้ว และท่านกล่าวว่า นิโรธ เพราะภาวะคือความดับแห่ง

สังขตธรรมทั้งหลาย. ก็มรรคนั้นแลมีปกติน้อมไปเพื่อการสละ ฉะนั้น พระ

โยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก เพราะกระทำวิเวกให้เป็น

อารมณ์แล้วเป็นไป. พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิโรธ

ก็อย่างนั้น. พระโยคาวจร ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันงอมแล้ว คืองอม

รอบโดยภาวะคือการสละ และโดยภาวะคือการแล่นไปสู่พระนิพพาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

โดยการถอนกิเลสได้เด็ดขาด เพราะเกิดขึ้นในขณะแห่งอริยมรรคนั้นแล.

พึงเห็นเนื้อความดังกล่าวมานี้. ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะทั้งหลายและความเร่าร้อนอัน

ทำความคับแค้นใจทั้งหลายย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่เจริญในบรรดาโพชฌงค์

ทั้งหลายเหล่านั้นข้อใดข้อหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. ก็ในการ

บังเกิดขึ้นแห่งอาสวะในสูตรนี้พึงทราบนัยดังนี้ อาสวะทั้ง ๓ คือ กามา-

สวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ภิกษุไม่ได้

อบรมโพชฌงค์ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคเบื้องปลายเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้น

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้เจริญโพชฌงค์เหล่านั้น ดังนี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ

ฯ ล ฯ ภาวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อันภิกษุพึงละเสียด้วยการเจริญโพชฌงค์ซึ่ง

สัมปยุตด้วยมรรค ๓ นี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชมเชยภิกษุผู้ละอาสวะได้ด้วย

อาการ ๗ เหล่านี้ และเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการละอาสวะของภิกษุ

นั้น และเมื่อจะให้เกิดความขวนขวายแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการละอาสวะ

ด้วยเหตุเหล่านี้นั่นเอง จึงตรัสว่า ยโต โข ภิกฺขเว ฯลฯ อนฺตมกาสิ

ทุกฺขสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น โต อักษร ในคำว่า ยโต โข ใช้ในฉัฏฐี-

วิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ยสฺส โข (ของกาลใดแล ) ดังนี้. ส่วนพระ

โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาว่า เท่ากับ ยมฺหิ กาเล (ในกาล

ใด) ดังนี้. ข้อว่า เย อาสวา ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ

ทั้งหลายเหล่าใดที่ภิกษุละได้แล้วด้วยทัสสนะ อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

อันภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยทัสสนะนั้นแล และเธอย่อมมีความสำคัญ ใน

อาสวะที่ยังละไม่ได้นั้นแลว่า อันตนละได้แล้วก็หามิได้. ในบททั้งปวง

มีความพิสดารอย่างนี้.

บทว่า สพฺพาสวสวรสวุโต ความว่า เบ็นผู้ปิดแล้วด้วยการปิด

อาสวะทุกอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดซึ่งอาสวะทุก

อย่าง..

บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺห ความว่าตัดแล้ว หรือถอนขึ้นได้แล้ว

ซึ่งตัณหาหมดทุกอย่าง.

บทว่า วิวตฺตยิ สโยชน ความว่า ย่อมหมุนกลับซึ่งสังโยชน์

แม้ทั้ง ๑๐ คือทำให้หมดมลทิน.

บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ ได้แก่โดยกาล.

บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะบรรลุด้วยการเห็น และเพราะ

บรรลุด้วยการละมานะ. ความจริง อรหัตตมรรคย่อมเห็นแจ้งมานะด้วย

อำนาจกิจ. นี้เป็นการบรรลุด้วยการเห็นของภิกษุนั้น. ก็อรหัตตมรรค

อันภิกษุเห็นแล้วด้วยทัสสนะนั้นอันเธอย่อมละได้ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือน

การกลับได้ชีวิตของสัตว์ผู้ถูกงูพิษกัดฉะนั้น. นี้เป็นการบรรลุโดยการละ

ของภิกษุนั้น.

บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ความว่า ที่สุด ๔ อย่างนี้ คือ

ที่สุดคือเขตแดนอันมีในที่สุด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปลาย

ประคดเอวเก่าแล้ว หรือยอดของเขียวสดเหี่ยวแล้ว และที่สุดที่เลวทราม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่ง

ชีวิต และที่สุดคือส่วนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า สักกายะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

(ทิฏฐิ) ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง และที่สุดของการนับ ที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะนับปัจจัยทุกอย่าง

ในบรรดาที่สุดทั้ง ๔ อย่างนั้น ภิกษุได้กระทำที่สุดข้อที่ ๔ โน้นแห่ง

วัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะความที่แห่งมานะอันตนเห็นและละได้ด้วย

อรหัตตมรรคอย่างนี้. อธิบายว่า เธอได้ทำการขาดตอน คือทำไห้หมดไป

ได้แก่ทำทุกข์ให้เหลืออยู่เพียงร่างกายชาติสุดท้าย.

บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้นมีใจเป็น

ของตน คือมีใจยินดี หรือเป็นผู้มีใจอันสัมปยุตด้วยปีติและโสมนัส.

บทว่า ภควโต ภาสิต อภินนฺทุ ความว่า ภิกษุทั้งหลายรับด้วย

เศียรเกล้าแล้วทูลชมเชยพระพุทธภาษิต คือพระพุทธดำรัสที่ตรัสดีแล้ว

ได้แก่ที่ทรงปราศรัยแล้ว มีการทำที่สุดทุกข์เป็นปริโยสานว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสซึ่งคำนี้อย่างนี้ พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้อย่างนี้ ดังนี้.

คำที่เหลืออันใดที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าว

คำนั้นซ้ำอีก เพราะกล่าวไว้ก่อนแล้ว และเพราะเข้าใจได้ง่าย เพราะฉะนั้น

ผู้ศึกษาพึงพิจารณาคำทั้งหมดตามลำดับที่ โดยทำนองแห่งคำที่กล่าว

แล้วเทอญ.

จบ อรรถกถาแห่งสัพพาสวสังวรสูตร

จบ สูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

๓. ธรรมทายาทสูตร

(๒๐) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.

(๒๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาทของเราตถาคตเลย เรา

ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ ? สาวก

ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท

ของเราตถาคต ข้อที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท

ของเราตถาคตนั้น จะพึงเป็นเหตุให้ถูกวิญญูชนติเตียนเอาได้ว่า สาวก

ทั้งหลายของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่

ถึงเราตถาคตก็คงถูกวิญญูชนติเตียนได้ว่า สาวกของพระศาสดาเป็น

อามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้า

เธอทั้งหลายพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทของเราตถาคตไซร้

แม้เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระ

ศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทอยู่. ถึงเราตถาคตก็คงไม่ถูก

วิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

อามิสทายาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย

จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรา

ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ? สาวก

ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท.

ธรรมทายาทและอามิสทายาท

(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว

เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาต

ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. เวลานั้น ภิกษุ

๒ รูป ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำแล้ว หิวโหยมาก พากันมา

เราพึงกล่าวกะเธอทั้งหลายนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต

ฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอ

แก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตนี้ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ

ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเธอทั้งหลายประสงค์จะฉันก็จงฉันเถิด ถ้าเธอ

ทั้งหลายไม่ประสงค์จะฉันก็อย่าฉัน เราจักทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของ

เขียวสด หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้.

ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท

บรรดาภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค

เจ้าเสวยเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ

ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ

ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์

ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท

เลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสทายาทอย่างหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราจะไม่

ฉันบิณฑบาตนี้ จะปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ทั้งที่ยังมีความหิว

และความอ่อนเพลียอยู่นั้นแหละ.

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท

ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวย

เสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ

ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ยิ่งมีเหลืออยู่

มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก

ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์

ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราควรฉันบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิว

และความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้. เธอจึงฉัน

บิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้น

ให้ล่วงไปอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะฉันบิณฑบาตนั้น บรรเทา

ความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปแรกโน้นแหละ ของเราตถาคตเป็นผู้ควรบูชา ควร

สรรเสริญมากกว่า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะ

ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ความเพียร แก่ภิกษุนั้น สิ้นกาลนาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นแล เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคต อย่าเป็น

อามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายว่า ทำ

อย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น

อามิสทายาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว พระ

สุคตเจ้าครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระ

วิหาร.

พระสารีบุตรอธิบาย

(๒๓) ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน

ท่านพระสารีบุตรเถระ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรเถระว่า ขอรับ ดังนี้.

ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อ

พระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความ

สงัดวาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ? ก็แล เมื่อพระศาสดา

ประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุ

มีประมาณเท่าไรหนอแล?

ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า อาวุโส แม้ผมทั้งหลายก็มาแต่ที่ไกล เพื่อ

จะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตรเถระ ขอ

โอกาสเถิดครับ เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้คงแจ่มแจ้งเฉพาะท่านพระ

สารีบุตรเถระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรเถระ

แล้ว จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

อายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี ผมจักกล่าว.

ภิกษุเหล่านั้นตอบรับคำท่านพระสารีบุตรเถระว่า อย่างนั้นขอรับ.

อามิสทายาทถูกตำหนิด้วยเหตุ ๓ สถาน

(๒๔) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่

ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระ

ธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความสงัดตาม คือไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระ

ศาสดาตรัสให้ละ เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อน

ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ ทอดธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชนพึงติเตียนได้

ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึงติเตียน

ได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว

พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อัน

วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย ) ไม่

ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้เถระทั้งหลาย เป็นผู้

อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้

มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ ) ย่อหย่อน ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ ทอดทิ้ง

ธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญู-

ชนติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ปานกลาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ฯลฯ ภิกษุ ฯลฯ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนติเตียน

ได้ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึง

ติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด

แล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลาย อัน

วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ไม่ละ

ธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อัน

วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก

ด้วย (ปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อน ตกอยู่ในนิวรณ์ ๕ ทอดทิ้งธุระ

ในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่เป็นผู้อันวิญญูชน

พึงติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด

แล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

ธรรมทายาทได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ ๒ สถาน

(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่

อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประ-

มาณเท่าไร ? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง

ผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมศึกษาความสงัดตาม

คือ (สาวกทั้งหลาย) ย่อมละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ

ไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัย ด้วยลาภ) ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ใน

อำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระ อัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง

ผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อัน

วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า สาวกทั้งหลายย่อมละธรรม

ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่

เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้

ปานกลาง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังใหม่ เป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ

ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรร-

เสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว

สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ละธรรม

ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน

พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก

( ด้วยปัจจัยลาภ ) ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย

เหตุ ๓ สถานเหล่านี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด

แล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

มัชฌิมาปฏิปทา

[๒๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น

โลภะ และ โทสะ เป็นธรรมลามก แต่มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะ

และโทสะ มีอยู่ เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไป

เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทานั้น ที่เป็นธรรมทำให้มีดวงตา

ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพาน คืออะไร ? คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง ได้แก่ความ

เห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพ

ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ. ดูก่อน

ท่านผ้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา

ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อควานสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพาน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธ

และความผูกโกรธ เป็นธรรมลามก . . .ความริษยา และความตระหนี่

เป็นธรรมลามก . . . มายาและความโอ้อวด เป็นธรรมลามก . . .ความหัวดื้อ

และความแข่งดี เป็นธรรมลามก . . . ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็น

ธรรมลามก . . . ความเมาและความเลินเล่อ เป็นความลามก แต่มัชฌิมา

ปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา

ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้

เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานั้น เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

ธรรมทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คืออะไร คืออริยมรรค

มีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ

การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความ

ตั้งใจชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้แล เป็นธรรม

ทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม

ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนั้นแล.

จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

อรรถกถาธรรมทายาทสูตร

เหตุเกิดพระสูตร

[๒๐] ธรรมทายาทสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต. ก็เพราะ

เหตุที่ธรรมทายาทสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงตามที่มีเรื่อง

เกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้า (พระอรรถกถาจารย์) จักแสดงเหตุเกิดพระสูตร

นั้นแล้ว จึงจะกระทำการขยายความพระสูตรนั้นไปตามลำดับบท.

ถามว่า ก็ธรรมทายาทสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง

เพราะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเล่า ?

ตอบว่า เรื่องลาภสักการะ.

ดังได้สดับมาว่า ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โดยที่ได้ทรงสั่งสมทานบารมีให้บริบูรณ์แล้วดัง ๔ อสงไขย-

เป็นความจริง (เพราะ) พระบารมีทุกข้อเป็นเหมือนมาจับกลุ่ม (ตกลง

กัน) ว่า จักให้ผลในอัตภาพเดียวกันนี้แหละ ดังนี้แล้วให้บังเกิดเป็น

ห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ ประดุจมหาเมฆที่จับกลุ่มกันเป็นคู่ ๆ ก่อตัว

ขึ้นในทุกทิศแล้ว ( ตกลงมา ) ให้บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น.

ประชาชนต่างวรรณะมีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นมีมือถือข้าว น้ำ

ยาน ผ้า พวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องไล้ทาเป็นต้นมาจากที่นั้นๆ

( ที่ต่าง ๆ กัน ) แล้วพากันถามหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้า

ประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้เป็น

เทพของเทพ พระผู้เป็นนระผู้อาจหาญ พระผู้เป็นบุรุษประดุจราชสีห์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ประทับอยู่ที่ไหน ?

ประชาชนเหล่านั้นแม้ใช้เกวียนตั้งหลายร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อ

ยังไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าก็จะจอดเกวียนคอยเรียงรายติดกันโดยรอบ กินเนื้อ

ที่เป็นคาวุต เช่นอันธกวินทพราหมณ์เป็นต้น เป็นตัวอย่าง. รายละเอียด

ทั้งหมด นักศึกษาจะพึงทราบได้ ตามนัยที่มาแล้วในขันธกะ (หมวด )

และในสูตรนั้น.

และพระผู้มีพระภาคเจ้ามีลาภสักการะเกิดขึ้นมากฉันใด พระภิกษุ

สงฆ์ก็มีฉันนั้นเหมือนกันแล. ข้อนี้สมด้วยคำอ้างที่พระอานนทเถระกล่าว

ไว้ดังนี้ว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนถวาย

สักการะแสดงความเคารพนับถือบูชานอบน้อม ( และ ) ทรงได้รับจีวร

บิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เป็นประจำ ฝ่ายภิกษุ

สงฆ์แล ( ก็เช่นกัน) คือ เป็นผู้อันมหาชนถวายสักการะ ฯ ล ฯ

(และ) ได้รับ...............บริขารอยู่ประจำ.

พระผู้มีพระภาคเองก็ตรัสไว้เหมือนกันว่า ดูก่อนจุนทะ หมู่หรือ

คณะที่อุบัติขึ้นโนโลกในบัดนี้ มีอยู่จำนวนเท่าใด (บรรดาหมู่หรือคณะ

เหล่านั้น ) หมู่หรือคณะอื่นแม้แต่หมู่หนึ่ง ตถาคตก็ยังมองไม่เห็นเลยที่จะ

ได้รับลาภอันเลิศและยศอันเลิศเหมือนกับหมู่ภิกษุ นะจุนทะ ลาภสักการะ

นี้นั้นที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ รวมกันแล้วเป็นของ

ประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำของแม่น้ำใหญ่ ๒ สายที่ไหลมารวมเป็นสายเดียว

กันก็เป็นของประมาณไม่ได้ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายได้กลายเป็นผู้หนักในปัจจัย ติดในปัจจัย หมกมุ่น

ในปัจจัย ตามลำดับ แม้เมื่อเวลาหลังภัตร ( หลังฉันอาหารแล้ว ) เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ประชาชนนำไทยธรรม มีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น มาถวาย

ภิกษุเหล่านั้นครั้นเคาะระฆังแล้ว ก็ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ถวายแก่อาจารย์ของ

อาตมานะ ถวายแก่อุปัชฌาย์ของอาตมานะ และพฤติกรรมนั้นของภิกษุเหล่า

นั้นก็ได้ปรากฏ (ล่วงรู้) ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวชว่า ช่างไม่เหมาะเอาเสียเลย แล้วทรง

ดำริว่า ตถาคตไม่สามารถจะบัญญัติสิกขาบท (ห้าม) ว่า ปัจจัยเป็นของ

ไม่สมควร เนื่องจากการบำเพ็ญสมณธรรมของกุลบุตรทั้งหลายต้องอาศัย

ปัจจัย แต่เอาเถอะตถาคตจักแสดงธรรมทายาทปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติของผู้

เป็นธรรมทายาท) ซึ่งก็จักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทแห่งกุลบุตร

ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา และจักเป็นเหมือนกระจกสำหรับส่องดูได้ทั่ว

ตัวที่ติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง.

อธิบายว่า ประชาชน ๔ วรรณะ เห็นเงา (รูป) ของตนใน

กระจกสำหรับส่องดูได้ทั่วตัวซึ่งติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่ง

ที่ทำให้หมดความสวยงาม ) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษฉันใด กุลบุตร

ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ประสงค์จะ

ประดับประดาตนด้วยเครื่องประดับคือความเพียร มาน้อมนึกถึงเทศนาซึ่ง

อุปมาด้วยกระจกส่องดูได้ทั่วตัว แล้วต่างพากันละเว้นอามิสทายาทปฏิปทา

หันมาบำเพ็ญธรรมทายาทปฏิปทา ก็จัก ( สามารถ ) ทำชาติชรามรณะให้

สิ้นสุดไปได้โดยฉับพลันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้

ก็เพราะมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ธรรมทายาท และอามิสทายาท

ในพระสูตรนั้น พระดำรัสที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ดังนี้ มีคำ

อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมของ

ตถาคตเถิด อย่าเป็นทายาทแห่งอามิสเลย คือ ธรรมะของตถาคตอันใด

ขอเธอทั้งหลายจงเป็นผู้รับไว้ซึ่งธรรมะอันนั้นเถิด ส่วนตถาคตมีอามิสใด

แล ของเธอทั้งหลายอย่ารับซึ่งอามิสนั้นเลย.

ในพระดำรัสนั้น แม้ธรรมก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ นิปปริยายธรรม

(ธรรมโดยตรง) ๑ ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) ๑ ฝ่ายอามิสก็มี

อยู่ ๒ อย่าง (เช่นกัน) คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) ๑

ปริยายอามิส (อามิสโดยอ้อม) ๑.

ทั้งธรรมและอามิสนั้น มีอธิบายเป็นอย่างไร ?

มีอธิบายว่า โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่างซึ่งแยกประเภทเป็นมรรค

(๔) ผล (๔) และนิพพาน (๑) ชื่อว่า นิปปริยายธรรม คือธรรมที่

ผู้ปฏิบัติให้บังเกิด (กับตนได้โดยตรง) ทีเดียว ไม่ใช่เป็นธรรมโดย

ปริยาย (โดยอ้อม) คือ โดยเหตุหรือโดยเลสอะไร. ส่วยกุศลที่อิงอาศัย

วิวัฏฏะ (นิพพาน) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาอยู่ซึ่งวิวัฏฏะ

จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำการบูชาพระรัตนตรัยด้วย

สักการะทั้งหลายมีเครื่องหอมและพวงดอกไม้เป็นต้น ฟังธรรม (และ)

แสดงธรรม ทำฌานและสมาบัติให้บังเกิด เขาทำอยู่ย่างนี้ ย่อมได้

นิปปริยายธรรม คืออมตนิพพานโดยลำดับ. ก็ธรรมดังว่ามานี้แหละ

ซื่อว่าปริยายธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ปัจจัย ๔ จีวรเป็นต้นก็ทำนองนั้น ชื่อว่านิปปริยายอามิสแท้ทีเดียว

ไม่ใช่เป็นอามิสเพราะปริยายอย่างอื่น หรือเพราะเลสอย่างอื่นเลย ส่วน

กุศลที่นำไปสู่วัฏฏะ (ภพ ๓) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาวัฏฏะ

มุ่งหมายภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) จึงให้ทาน ฯ ล ฯ ทำสมาบัติให้

บังเกิด เขาทำอยู่อย่างนี้ ย่อมได้เทวสมบัติมนุษย์สมบัติโดยลำดับ กุศล

ดังว่ามานี้ ชื่อว่าปริยายอามิส.

ในเรื่องธรรมและอามิสนั้น ( มีอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า) แม้นิปปริ-

ยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องจากว่าเพราะ

ธรรมนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้บรรลุมรรค

ผล และนิพพาน ข้อนี้สมด้วยคำอ้างที่มีกล่าวไว้ดังนี้ว่า พราหมณ์

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติขึ้น ทรงยัง

มรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯ ล ฯ ส่วนพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้มา

ทีหลังดำเนินไปตามมรรค ( ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้อุบัติแล้ว ) อยู่ ดังนี้

และว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อ ( ทรงมีพระประสงค์)

จะทรงทราบก็ทราบได้ เมื่อทรง (มีพระประสงค์ ) จะเห็นก็เห็นได้

พระองค์ทรงมีพระจักษุ ทรงมีพระญาณ ทรงมีธรรม ทรงเป็นพรหม

ทรงเป็นผู้บอกกล่าว ทรงเป็นผู้น้อมนำไปสู่ประโยชน์ ทรงประทาน

อมตะ ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต.

แม้ปริยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เนื่อง

จากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้อย่าง

นี้ว่า คนผู้ปรารถนาวิวัฏฏะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด

ได้นิพพานอันเป็นอมตะโดยลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ฝ่ายนิปปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน.

เนื่องจากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้นั่นเอง ภิกษุ

ทั้งหลายจึงได้จีวรอันประณีต เพราะทรง (ปรารภ) เรื่องหมอชีวก

เป็นตัวอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็ตรัสไว้เป็นหลักฐานดังนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร (จีวรที่คหบดีถวาย) ภิกษุรูป

ใดปรารถนา (จะสมาทานหรือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ก็จงเป็นผู้ถือ

ครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไปเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาคหบดีจีวร ก็จงยินดี

คหบดีจีวรไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าตถาคตสรรเสริญความสันโดษ

ด้วยจีวรตามได้ นะ.

อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้บิณฑบาตอัน ประณีต จึง

ได้สรรเสริญคำข้าวที่แสวงหาด้วยลำแข้งโดยการเที่ยวไปตามลำดับตรอก

เท่านั้น เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ได้

ทรงอนุญาตไว้เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตสังฆภัตร

อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโบสถิกภัตร ปาฏิ-

ปทิกภัตร ภิกษุเหล่านั้นได้โภชนะอันประณีต เสนาสนะก็ทำนองเดียวกัน

แม้ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้อาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อาทิตามเงื้อมเขาที่ไม่

ได้ตกแต่ง และตามควงไม้ (ร่มไม้) เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตไว้เอง อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาต

เสนาสนะ ๕ ชนิด ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เสนาสนะเหล่านั้นคือ วิหาร เพิง

ปราสาทมียอด ปราสาทไม่มียอด เรือนโล้น และถ้ำ.

อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ใช้สมอดองด้วยน้ำมูตรทำเป็น

ยา เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละที่ทรงอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตเภสัช ๕ ชนิด คือ เนยใส

เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เภสัชนานาชนิด.

ถึงปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน เนื่อง

จากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้

อย่างนี้ว่า คนที่ปรารถนาภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) ให้ทาน สมาทาน

ศีล ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ย่อมได้ปริยายอามิสคือทิพยสมบัติ

มนุษยสมบัติโดยลำดับ.

เพราะเหตุที่ทั้งนิปปริยายธรรม ทั้งปริยายธรรม ทั้งนิปปริยายอามิส

ทั้งปริยายอามิส ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น ฉะนั้น เมื่อจะ

ทรงแสดงภาวะที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าของทั้งในธรรมและอามิสนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท

ของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย อธิบายว่า ธรรมทั้ง ๒ อย่างซึ่ง

เป็นของตถาคตอันใด ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมนั้นเถิด

ส่วนอามิสนั้นใด ซึ่งเป็นของตถาคตเหมือนกัน ขอเธอทั้งหลายจงอย่า

เป็นทายาทแห่งอามิสนั้นเลย คือ ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเจ้าของแต่เฉพาะ

ส่วนแห่งธรรมเท่านั้นเถิด อย่าเป็นเจ้าของส่วนแห่งอามิสเลย ด้วยว่า

ภิกษุรูปใดบวชในศาสนาของพระชินเจ้า มีปัจจัยเป็นยอดเยี่ยม คือเห็นแก่

ปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นเหตุเกิดตัณหา ทอดทิ้งธุระในการปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรมอยู่ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าอามิสทายาท ขอเธอทั้งหลายจงอย่าเป็นเช่น

นั้นเลย ส่วนภิกษุรูปใดอาศัยคุณธรรมมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้นใน

ปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ให้พิจารณาอย่างละเอียดก่อน

แล้วจึงเสพ (บริโภค) มีข้อปฏิบัติยอดเยี่ยมเห็นเอง ( ดำรงอยู่ ) ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

อริยวงศ์ ๔ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าธรรมทายาท ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเช่นนั้น

เถิด.

ตถาคตอนุเคราะห์สาวก

บัดนี้ ก็ชนเหล่าใดได้มีความวิตกดังนี้ว่า ในอนาคตกาลจักมีหรือ

ไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงประสงค์ให้พระสาวกทั้งหลายได้

ลาภจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า พระตถาคตเจ้า

ประสงค์จะให้พระสาวกทั้งหลายได้ลาภอันประณีตยิ่ง ( กว่านี้ ) จึงกล่าว

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ ฯ ล ฯ ใน

อามิสทายาทา ดังนี้ (เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ฯ ล ฯ

ไม่เป็นอามิสทายาท).

พระพุทธดำรัสนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า ตถาคตมีความอนุเคราะห์

ความเอ็นดู ความมุ่งหวัง เกื้อกูล ในเธอทั้งหลายว่า ด้วยเหตุอะไรหนอ

ด้วยอุบายอะไรหนอ พระสาวกทั้งหลายจึงจะเป็นธรรมทายาท เป็นเจ้าของ

ส่วนแห่งธรรม ไม่เป็นอามิสทายาท.

อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เห็นนักบวชหลายร้อยจำพวก เป็นต้นว่าภิกษุภิกษุณีและนางสิกขมานาใน

อดีตกาล (ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน) มีหลักฐานปรากฏ

มาโดยนัยว่า แม้สังฆาฏิของกบิลภิกษุก็ถูกไฟลุกไหม้ ดังนี้เป็นต้น และ

นักบวชในศาสนาของพระองค์เองเช่นพระเทวทัตเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้เห็น

แก่อามิสถลำเข้าไปในอามิส (ตายแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิ จนเต็ม

อบายภูมิ) แต่ทรงเห็นพระสาวกผู้หนักในธรรมมีพระสารีบุตร พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

มหาโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ เป็นต้น กลับได้บรรลุคุณมี

อภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปรารถนาให้พระสาวกเหล่านั้นหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงไปจากอบายภูมิและ

ได้บรรลุคุณธรรมทั้งหมดจึงตรัสว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ อนุกมฺปา

กินฺติ เม สาวกา ธมฺมทายาทา ภเวยฺย โน อามิสทายาทา

(ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไรหนอ สาวกของ

ตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท) ดังนี้.

ก็ภิกษุผู้เห็นแก่ปัจจัย ย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท ๔ คล้ายกับ

กหาปณะเก๊และเถ้าถ่านไฟที่ดับแล้วฉะนั้น (ส่วน) ภิกษุผู้มีจิตหวนกลับ

จากปัจจัยนั้น เป็นผู้หนักในธรรม ประพฤติครอบงำอามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อม

มีเดช ( สง่าราศี ) คล้ายกับราชสีห์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า อตฺถิ เม ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา

ดังนี้ ( เราตถาคคมี ฯลฯ อย่าเป็นอามิสทายาท ).

ครั้นทรงชี้แจงให้เข้าใจว่า พระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท

เลย ตถาคตปรารถนาให้เหล่าพระสาวกได้ลาภที่ประณีตกว่า ตรัส

ไว้แล้วด้วยความอนุเคราะห์ หาใช่ไม่ต้องการให้พระสาวกได้ลาภไม่

อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในเพราะไม่ยอมทำตามพระโอวาทนี้ ใน

บัดนี้จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ภิกฺขเว ฯ เปฯ โน ธมฺมทายาทา

ดังนี้ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ฯลฯ ไม่พึงเป็นธรรม

ทายาทของตถาคตไซร้).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุเมฺหปิ เตน อาทิสฺสา ภเวยฺยาถ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

มีความว่า แม้พวกเธอก็จะพึงถูกรังเกียจโดยความเป็นอามิสทายาทนั้น หา

ถูกรังเกียจโดยความเป็นธรรมทายาทไม่ มีคำอธิบายว่า เธอทั้งหลายพึง

ถูกเหยียดหยาม คือถูกกระทำ ได้แก่กำหนดไว้ต่างหาก (ถูกกันไว้

ต่างหาก ) หมายความว่า ถูกวิญญูชนติเตียน.

ติเตียนว่าอย่างไร ?

ติเตียนว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ หาเป็น

ธรรมทายาทอยู่ไม่.

บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส ภเวยฺย ความว่า ถึงเรา

ตถาคตก็จะพึงถูกตำหนิได้ โดยที่ทำให้เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาทนั้น

หาถูกตำหนิโดยที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทไม่.

ถูกตำหนิว่าอย่างไร ?

ถูกตำหนิว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาอยู่อย่างเป็นอามิสทายาท หา

อยู่อย่างเป็นธรรมทายาทไม่.

คำตำหนินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เพื่อทำให้ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นกลายเป็นคนอ่อนโยนอย่างยิ่งทีเดียว.

ก็ในพระพุทธดำรัสตอนนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าเธอทั้งหลายจักลุ่มหลงในอามิสท่องเที่ยวไป ในเพราะความลุ่มหลง

อามิสของพวกเธอนั้น วิญญูชนทั้งหลายก็จักพากันติเตียนตถาคตว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู (รู้ทุกสิ่ง) ไฉนจึงไม่สามารถ

ทำเหล่าสาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาท

ได้เล่า เปรียบเหมือน (เมื่อ) ชาวโลกเห็นพระมีมรรยาทไม่เหมาะสม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ย่อมติเตียนถึงอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ท่านเหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของ

ใคร ? เป็นอันเตวาสิกของใคร่ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือน (ผู้ใหญ่)

เห็นเด็กชายหรือเด็กหญิงที่มีตระกูล เป็นคนไม่ดีมีความประพฤติเสียหาย

ย่อมติเตียนถึงบิดามารดาว่า เด็กพวกนี้เป็นลูกชายลูกสาวของใคร ฉันใด

วิญญูชนทั้งหลายก็จักติเตียนตถาคต. ฉันนั้นเหมือนกัน คือ จักติเตียนว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู ไฉนจึงไม่ทรงสามารถทำเหล่า

สาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาทได้เล่า ?

ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่ยอมทำตามพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้

แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการยอมทำตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส น ภเวยฺย

ความว่า อุปมาเสมือนว่าชาวโลกเห็นพวกภิกษุหนุ่มประพฤติวัตรบริบูรณ์

ถึงพร้อมด้วยอุเทศและปริปุจฉา (การเรียนและการสอบถาม) มี

อากัปปกิริยาเหมาะสมเหมือนหนึ่งพระเถระร้อยพรรษา จึงถามว่า ท่าน

เหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของใคร่ เป็นอันเตวาสิกของใคร? เมื่อมีคน

บอกว่า ของอาจารย์และอุปัชฌาย์รูปโน้นก็จะพากันสรรเสริญว่า พระเถระ

ช่างอาจสามารถตักเตือนพร่ำสอน อาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมไม่ถูกตำหนิ

ไม่ถูกติเตียนฉันใด แม้เราตถาคต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ โดยความ

ที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทนั้น ไม่ใช่โดยความที่เธอทั้งหลายเป็น

อามิสทายาท ชาวโลกก็จะพากันถามว่า สาวกของใครกันนะปฏิบัตินาลก-

ปฏิปทา ปฏิบัติตุวฏกปฏิปทา ปฏิบัติจันทูปมปฏิปทา ปฏิบัติรถวินีต-

ปฏิปทา ปฏิบัติมหาโคสิงคสาลปฏิปทา ปฏิบัติมหาสุญญตาปฏิปทา เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

พยานในอริยวงศ์ ซึ่งมีความสันโดษในปัจจัย ๔ และภาวนาเป็นที่มา

ยินดี มีใจหลีกออกห่างจากความกำหนัดในปัจจัยอยู่ไป เปรียบเหมือน

ดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก เมื่อมีคนบอกว่า สาวกของพระสมณโคดม

ก็จะพากันสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูแท้หนอ

ได้ทรงสามารถแท้หนอ ที่จะทรงแนะนำเหล่าสาวกให้ละทิ้งอามิสทายาท

ปฏิปทาแล้วหันมาบำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาท พระองค์ย่อม

ไม่ถูกวิญญูชนทั้งหลายตำหนิติเตียนอย่างนี้แล นักศึกษาทราบคำอธิบาย

ในบทนี้อย่างนี้ รายละเอียดที่ยังเหลือ พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามจาก

นัยที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์ ( ฝ่ายที่ไม่ดี ).

ปวารณา ๔

ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในการย่อมทำตามพระโอวาทนี้อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงมอบพระโอวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้.

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงมอบพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงชมเชยเหล่าภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรม-

ทายาทนั้น จึงมีพุทธดำรัสมีอาทิว่า อิธาห ภิกฺขเว ดังนี้.

จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายพอได้ฟังคำตรัสชมของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ต่างย่อมพากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นทีเดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ นี้ เป็นบทนิบาต.

บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า เสวยแล้วเสร็จ อธิบายว่า ทรงกระทำ

ภัตตกิจแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า ) ทรงห้ามภัตร

แล้วด้วยการปวารณา (การห้าม) เมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว อธิบาย

ว่า เสวยจนพอแก่ความต้องการแล้ว จึงทรงห้ามโภชนะหรือทรงอิ่มแล้ว.

อธิบายว่า ปวารณา ( การยอนให้ตักเตือน การยอมให้ขอ การ

ห้าม). มี ๔ อย่าง คือ ปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ๑ ปวารณา

ด้วยปัจจัย ๑ ปวารณาทั้งที่มีของอยู่พร้อม ๑ ปวารณาเมื่อพอแก่ความ

ต้องการแล้ว ๑.

ในบรรดาปวารณา ๔ นั้น ปวารณานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราผู้ตถาคตอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาแล้วปวารณากันได้ ย่อมให้

ตักเตือนโดยเหตุ ๓ สถาน ดังนี้ ชื่อว่าปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษา

แล้ว.

ปวารณานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะปวารณา

(ยอมให้ขอ) สงฆ์ด้วยเภสัชตลอด ๔ เดือน และปวารณานี้คือ ปวารณา

ยกเว้น ปวารณาซ้ำอีก ยกเว้นปวารณาเป็นนิตย์ ชื่อว่าปวารณาด้วย

ปัจจัย.

ปวารณานี้คือ ภิกษุชื่อว่า (ห้ามภัตร ) แล้ว คือ การฉัน

ปรากฏอยู่ ๑ โภชนะปรากฏอยู่ ๑ คนอยู่ในหัตถบาส ๑ น้อมของ

เข้าไป ๑ การห้ามปรากฏ ๑ ภิกษุนี้ชื่อว่า ห้ามภัตรแล้ว ชื่อว่าปวารณา

ทั้งที่มีของพร้อม.

ปวารณานี้คือ ทายกเลี้ยงภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียะ

(ของเคี้ยว ) และ โภชนียะ (ของฉัน) ด้วยมือของตน (จน ) ให้

บอกห้าม (ภัตร ) ชื่อว่าปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการนี้ ท่านประสงค์เอาแล้วในที่นี้

ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ว่า:-

บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงห้ามภัตร

แล้วด้วยการปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว.

บทว่า ปริปุณฺโณ แปลว่า ทรงบริบูรณ์แล้วด้วยโภชนะ.

บทว่า ปริโยสิโต แปลว่า มีโภชนะอันพระองค์ให้สิ้นสุดแล้ว

(ฉันเสร็จแล้ว). (ในบทว่า ปริโยสิโต นี้) พึงเห็นว่าท่านลบบทหลัง

(โภชโน) ออกเสีย อธิบายว่า เราตถาคตพึงฉันได้เท่าใด ก็ฉันเท่านั้น

กิริยาคือการฉันของเราตถาคตสิ้นสุดลงแล้ว .

บทว่า สุหิโต แปลว่า ทรงอิ่มแล้ว อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า

ทรงสำราญแล้ว เพราะไม่มีทุกข์คือความหิว.

บทว่า ยาวทตฺโถ ความว่า ความต้องการด้วยโภชนะของตถาคต

มีอยู่เท่าใด ความต้องการนั้นทั้งหมดตถาคตได้บรรลุ (ถึงที่สุด) แล้ว.

ก็ในคำเหล่านี้ (คือคำว่า ภุตฺตาวี ปวาริโต ปริปุณฺโณ ปริโยสิโต

สุหิโต ยาวทตฺโถ) ๓ คำหลังมีความหมายเท่ากับ ๓ คำแรก อธิบาย

ว่า ภิกษุผู้มีโภชนะอันตนให้สิ้นสุดแล้ว ชื่อว่ามีโภชนะอันตนฉันแล้ว

ภิกษุผู้อิ่มแล้ว ชื่อว่าห้ามภัตรแล้วด้วยการห้ามเมื่อพอแก่ความต้องการ

แล้ว ภิกษุผู้เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว อีกอย่างหนึ่ง

๓ คำแรกมีความหมายเท่ากับ ๓ คำหลัง. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุฉัน

เสร็จ ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีโภชนะอันคนให้สิ้นสุดแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุ

ห้ามภัตรแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่าอิ่มแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุบริบูรณ์แล้ว

ฉะนั้น จึงชื่อว่าพอแก่ความต้องการ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ผู้ศึกษาพึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

เถิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนด (ความหมายของ ) คำทุกคำนั้น

ไว้แล้ว จึงตรัสไว้.

บทว่า สิยา ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่ง ๆ และในอรรถว่า

คาดหมาย.

ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่ง ๆคือ ( ในประโยคที่ว่า ) ปวีธาตุ

สิยา อชฺฌตฺติกา สิยา พาหิรา ( ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็น

ภายนอกก็มี).

ใช้ในอรรถว่า คาดหมาย คือ (ในประโยคที่ว่า) สิยา อญฺตรสฺส

ภิกฺขุโน อาปตฺติวีติกฺกโม (คงจะมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งล่วงละเมิดอาบัติ )

ในที่นี้ ใช้ได้ทั้งสองความหมาย.

บิณฑบาตมากเกินนั้นเอง ชื่อว่าเป็นของเหลือเพื่อเป็นธรรมดา และ

ธรรมดาก็จะต้องทิ้งไป. อธิบายว่า ทั้งเป็นของเหลือเฟือ ทั้งเป็นของจะ

ต้องทิ้ง จึงไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่น.

บทนิบาตว่า อถ คือ ตมฺหิ โยค กาเล (แปลว่า ในกาลนั้น).

บทว่า ชิฆจฺฉาทุพฺพลฺยปเรตา ความว่า อันความหิวและความ

อ่อนกำลังครอบงำแล้ว คือประทุษร้ายแล้ว ได้แก่ติดตามแล้ว.

ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางเหล่าแม้หิวมาตั้ง ๘ วันบ้าง ๑๐

วันบ้างก็ยังไม่อ่อนกำลัง ยังสามารถข่มความหิวไว้ได้ แต่ภิกษุ ( ๒ รูป)

นี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพื่อแสดงเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสไว้ทั้งสองอย่าง ( ทั้งความหิวและความอ่อนกำลัง ).

บทว่า ตฺยาห ตัดบท เป็น เต อห ( แปลว่า เราตถาคตกะ

ภิกษุ ๒ รูปนั้น).

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

คำจำกัดความที่ที่ปราศจากของสดเขียว

บทว่า สเจ อากงฺขถ ความว่า ถ้าเธอทั้งสองปรารถนาไซร้

บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียวสดที่งอกขึ้นแล้ว

อธิบายว่า ในที่ที่ไม่มีหญ้าซึ่งธรรมดาจะต้องตายไปเพราะถูกก้อนข้าวที่ตก

ลงไปทับ ในที่ที่แม้จะทิ้งบิณฑบาตไปเป็นเล่มเกวียน หญ้าทั้งหลายก็

ไม่ตายหมด ที่นั้นจะไม่มีหญ้าเลยก็ตาม มีหญ้ามากก็ตาม ย่อมเป็นอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดถึงแล้วด้วยบทว่า อปฺปหริเต นั้น ก็บท

ว่า อิปฺปหริเต นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อไม่ให้ภิกษุละเมิด

ภูตคามสิกขาบท.

บทว่า อปฺปาณเก แปลว่า ไม่มีสัตว์เล็ก คือในน้ำจำนวนมาก

ซึ่งปราศจากสัตว์เล็กที่จะต้องตาย เพราะถูกก้อนข้าวที่ตกลงไป เป็นความ

จริง เมื่อน้ำน้อยคละเคล้า ด้วยการใส่ข้าวลงไปเท่านั้น พวกสัตว์เล็ก ๆ

จึงจะตาย ( แต่ ) ในสถานที่ทั้งหลายมีสระใหญ่เป็นต้น พวกสัตว์เล็ก ๆ

จะไม่ตาย เพื่ออนุรักษ์สัตว์มีชีวิตดังกล่าวมานี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสไว้อย่างนี้.

บทว่า โอปิลาเปสฺสามิ แปลว่า จักทิ้ง ความว่า จักให้จมลง

บทว่า ตตฺเรกสฺส ความว่า ในบรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง

(ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า. . . ) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภิกษุ

รูปนั้น คือรูปที่ตั้งใจฟังธรรมเทศนาน แล้วน้อมนึกถึงบ่อย ๆ

ความหมายของวุตฺตศัพท์

ในคำว่า วุตฺต โข ปเนต มีอธิบายว่า วุตฺต ศัพท์นี้ (ใช้ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ความหมายต่าง ๆ กัน) คือ :-

๑. ใช้ในควานหมายว่า ปลงผม บ้าง (เช่น) ในประโยค

เป็นต้นว่า มาณพหนุ่มชื่อว่า กาปติกะ โกนหัวแล้ว.

๒. ใช้ในความหมายว่า เพาะปลูก บ้าง (เช่น ) ในประโยค

เป็นต้น ว่า พืชที่งอกในสรทกาลปลูกลงไปในไร่นาแล้วย่อมงอกขึ้น ฉันใด.

๓. ใช้ในความหมายว่า กล่าว บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น

ว่า คำนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว.

แต่ในที่นี้ นักศึกษาพึงเห็นว่าใช้ในควานหมายว่า กล่าว. ก็คำว่า

วุตฺต โข ปเนต นั้นมีอธิบายดังนี้ว่า กถิต โข ปเนต แปลว่า

(แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ ไว้แล้วนะว่า. . . ).

บทว่า อามิสญฺตร ความว่า อามิสคือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง

บรรดาอามิสคือปัจจัย ๔ อธิบายว่า อามิสคือปัจจัยอย่างหนึ่ง.

บทว่า ยทิท เป็นนิบาต ( และ ) มีรูปเป็นเช่นนั้นนั่นแหละ

ในทุกลิงค์ วิภัตติ และทุกวจนะ นักศึกษาพึงใช้ให้ถูกความหมาย ในลิงค์

วิภัตติและวจนะนั้น ๆ. แต่ว่าในที่นี้ บทว่า ยทิท นั้น มีความหมายเท่า

โย เอโส. นีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าบิณฑบาต นั่นใด บิณฑบาตนี้เป็น

อามิสอย่างหนึ่ง.

บทว่า ยนฺนูนาห ได้แก่ สาธุ วตาห (แปลว่า ดีละหนอ

เรา. . . ).

บทว่า เอว ความว่า แม้ปล่อยวันคืน (ให้ล่วงไป ) เหมือน

อย่างที่บุคคลปล่อยขณะนี้ให้ล่วงไปอยู่ในบัดนี้.

บทว่า วีตินาเมยฺย แปลว่า พึง. . . ให้สิ้นไป คือ พึงให้ล่วง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

เลยไป.

บทว่า โส ต ปิณฺฑปาต ความว่า ภิกษุนั้นไม่ฉันบิณฑบาต

นั้น แบบที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงรับไว้ด้วยเศียรเกล้าที่เหลือจากที่

พระสุคต (เสวย ) หวังอยู่ซึ่งความเป็นธรรมทายาท พิจารณาถึงข้อ

อุปมาด้วยบุคคลที่ถูกไฟไหม้ศีรษะแล้ว พึงปล่อยให้คืนและวันนั้นล่วงไป

อย่างนั้น ด้วยความหิวและความอ่อนกำลังนั้นเอง.

บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน ๕ อย่าง

ก็ในวาระนี้ว่า อถ ทุติยสิส มีความย่อดังต่อไปนี้ ถ้าภิกษุนั้นเมื่อ

จะคิดว่า ดีละ เรา ฯลฯ พึงยังคืนและวันให้ล่วงไป ก็พึงคิดอย่างนี้ด้วยว่า

การที่บรรพชิตจะแสวงหาบิณฑบาตในหมู่บ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้ายคือ

เบญจกามคุณเป็นการยากลำบาก เช่นเดียวกับการแสวงหาเภสัชในป่าซึ่ง

ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย แต่ว่าบิณฑบาตนี้พ้นโดยสิ้นเชิงจากโทษในการ

แสวงหาดังว่ามานี้ และเป็นบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต เพราะฉะนั้น

จึงเป็นเหมือนขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต ( มีพระราชสมภพดีแล้วจากทั้ง

สองฝ่าย คือฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ).

อนึ่ง บิณฑบาตเป็นของภิกษุไม่ควรฉัน เพราะเหตุ ๕ ประการ

เหล่าใดคือ.

๑. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบุคคล ( ผู้ถวาย ) มีข้อน่าตำหนิ

คือเป็นบิณฑบาตของบุคคลอลัชชี.

๒. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบิณฑบาตมีการเกิดขึ้นไม่บริสุทธิ์ คือ

เกิดขึ้นมาจากการแนะนำของนางภิกษุณี และจากการสรรเสริญคุณที่ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

จริง (ในตน).

๓. เป็นของไม่ควรฉันเพื่อเป็นการอนุเคราะห์เจ้าของ คือภิกษุ

เจ้าของบิณฑบาตก็กำลังหิว.

๔. (แม้ ) ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตนั้นจะอิ่มแล้ว แต่บิณฑบาต

ก็ยังเป็นของไม่ควรฉัน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์อันเตวาสิกเป็นต้นของท่าน

นั่นเอง ( เนื่องจาก) อันเตวาสิกหรือคนอื่น ๆ ที่อาศัยบิณฑบาตนั้น

ยังหิวอยู่.

๕. แม้คนเหล่านั้นจะอิ่มหนำสำราญแล้ว แต่ว่าบิณฑบาทก็ยังเป็น

ของไม่ควรฉันเพราะความไม่มีศรัทธา คือ ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตยัง

ไม่มีศรัทธา.

บิณฑบาตนี้ก็พ้นแล้วโดยสิ้นเชิงจากเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น

ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นยอดของลัชชีบุคคลทั้งหลาย

บิณฑบาตมีความเถิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอิ่ม

หนำสำราญแล้ว ทั้งบุคคลอื่นที่หวังเฉพาะเจาะจงในบิณฑบาตก็ไม่มี คน

เหล่าใดเป็นผู้มีศรัทธาในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นยอดของคนเหล่า

นั้น ดังนี้ และภิกษุนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว

ฯลฯ ปล่อยให้คืนและวันล่วงไป.

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ แม้ภิกษุใดไม่ฉัน (บิณฑบาต

ที่เป็นเดนพระสุคต) แต่บำเพ็ญสมณธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่ฉันบิณฑบาต

ที่ควรฉันทีเดียว ส่วนภิกษุใดฉันแล้ว (บำเพ็ญสมณธรรม) ภิกษุนั้น

ชื่อว่าฉันบิณฑบาตที่ควรฉันโดยแท้.

ความแปลกกันในบิณฑบาตไม่มี แต่มีความแปลกกันอยู่ในบุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า กิญฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า

ยอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.

ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร ?

ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.

ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร ?

ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม.

มีคำกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉัน

แล้วบำเพ็ญกิจที่ควรบำเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้น

แหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้ว

บำเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้า

กว่าในบรรดาสาวก ๒ รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือน

จะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก ๒ รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่า

เป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคำอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่า

สรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ ๒.

เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า

บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ ( การณะ ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ต กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.

คำนั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี

(ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

กว่าของพระผู้มีพระภาคเจ้า ?

คำตอบก็คือ ตญฺหิ ตสฺส ความว่า เพราะการห้ามบิณฑบาต

นั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ฯลฯ เพื่อความปรารภความเพียรสิ้นกาล

นานสำหรับภิกษุนั้น.

จักเป็นไปอย่างไร?

คือภิกษุนั้น ถ้าสมัยต่อมาจักเกิดความมักได้ ความปรารถนาลามก

หรือความมักมากในปัจจัยทั้งหลายขึ้น ลำดับนั้น ภิกษุ (รูปอื่น) พิจารณา

เห็นอยู่อย่างนั้นจักกันเธอไว้ด้วยตาขอ คือการห้ามบิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน

ท่านปฏิเสธบิณฑบาตแม้ที่เป็นเตนของพระสุคต แล้วก็ยังเกิดความ

ปรารถนาเช่นนี้ขึ้นจนได้ นี่เป็นนัยในการห้ามความไม่ขัดเกลากิเลสที่

เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตนั้นจักเป็นไปเพื่อความ

มักน้อย ความสันโดษ (และ) ความขัดเกลากิเลสสำหรับเธอก่อน.

ในคำว่า สุภรตาย ( เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย) นี้ มีการพรรณนา

ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เลี้ยงยากบำรุงยากทั้งแก่ตนเอง

ทั้งแก่อุปัฏฐาก ( ส่วน ) บางรูปเป็นผู้เลี้ยงง่ายบำรุงง่ายทั้งแก่ตนเอง

ทั้งแก่อุปัฏฐาก.

เป็นอย่างไร ?

อธิบายว่า ภิกษุรูปใดได้อาหารที่เปรี้ยวเป็นต้นแล้วยังแสวงหา

อาหารอื่น มีอาหารที่มีรสไม่เปรี้ยวเป็นต้น ทิ้งสิ่งของที่ได้ในเรือนของ

คนหนึ่งไว้ในเรือนของอีกคนหนึ่ง เที่ยวจาริกไปจนหมดเวลา (บิณฑบาต)

แล้วมีบาตรเปล่ากลับเข้าวัดนอน ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับ

ตนเอง ส่วนภิกษุรูปใดแม้ทายกจะถวายข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นต้น

จนเต็มบาตรแล้วก็ยังแสดงสีหน้าบึ้งตึงและความไม่พอใจ ยิ่งไปกว่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

เมื่อจะดูแคลนบิณฑบาตนั้นต่อหน้าคนเหล่านั้นว่า พวกท่านถวายของ

อะไร ดังนี้ จึงให้แก่อนุปสัมบันมีสามเณรและคฤหัสถ์ (อื่น) เป็นต้นไป

(เป็นการประชด) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับผู้อุปัฏฐาก

ทั้งหลาย พวกชาวบ้านเห็นเธอเข้าก็จะพากันหลีก ( หลบหน้า ) เสียแต่

ไกลทีเดียว ด้วยนึกตำหนิว่า พระเลี้ยงยาก พวกเราไม่สามารถจะเลี้ยงดู

ท่านได้หรอก.

ส่วนภิกษุใด ได้อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นของชนิดดีหรือ

ชนิดเลวก็ตาม มีจิตสันโดษฉันอาหารนั้นแล้วกลับวัดไปทำงานของตน

(ต่อไป) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับตน. และภิกษุรูปใดไม่

ดูหมิ่นทานของคนอื่นจะน้อยหรือมากจะดีหรือเลวก็ตาม มีจิตยินดีสีหน้า

ยิ้มแย้มแจ่มใส ฉันต่อหน้าคนเหล่านั้นแล้วจึงค่อยไป ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็น

ผู้เลี้ยงง่ายสำหรับผู้อุปัฏฐาก พวกชาวบ้านครั้นเห็นพระรูปนั้นแล้วต่างก็

พากันดีใจอย่างยิ่งยวดว่า พระคุณเจ้าของพวกเราเป็นผู้เลี้ยงง่าย สันโดษ

แม้ด้วยอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกเราจักเลี้ยงดูท่าน ครั้นตกลงแล้ว ก็พา

กันบำรุงเลี้ยงดู. ในพฤติกรรมนั้น ถ้าสมัยต่อมาเธอจักเกิดควานคิดขึ้นใน

ทำนองจะเป็นผู้เลี้ยงยากทั้งแก่ตนเองหรืออุปัฏฐากทั้งหลายไซร้ ครานั้น

ภิกษุรูปอื่นพิจารณาเห็นอย่างนี้ก็จักช่วยกันเธอไว้ด้วยตาขอคือการปฎิเสธ

บิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต

แล้ว ยังนาเกิดความคิดเช่นนี้ขึ้นจนได้. เมื่อเป็นอย่างนี้การปฏิเสธ

บิณฑบาตก็จักเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับเธอ.

อนึ่ง ถ้าเธอจักเกิดความเกียจคร้านขึ้น ภิกษุรูปอื่นก็จักช่วยกันไว้

ด้วยตาขอนั้นเหมือนกันว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นตน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

ของพระสุคตแล้ว คราวนั้นแม้จะถูกความหิวและความอ่อนกำลังครอบงำ

ก็ยังบำเพ็ญสมณธรรมได้ ( ไฉน) วันนี้จึงหันมาหาความเกียจคร้าน

เสียเล่า เมื่อเป็นอย่างนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตจักเป็นไปเพื่อการปรารภ

ความเพียรสำหรับเธอ การปฏิเสธบิณฑบาตนี้ของภิกษุนั้นจักเป็นไปเพื่อ

ความมักน้อยฯลฯ เพื่อการปรารภความเพียรตลอดกาลนานดังกล่าวมานี้.

คุณ ๕ ประการ

คุณ ๕ นี้ (ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส

ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร ) ของภิกษุนั้นบริบูรณ์

อย่างนี้แล้วก็จักช่วยให้กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร?

อธิบายว่า ในจำนวนคุณธรรมทั่ง ๕ นั้น กถาวัตถุ ๓ ประการ

คือความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ และการปรารภความเพียรที่มาใน

พระบาลีนี้นั้นแล รวมกันเข้าได้กับสัลเลขธรรม. เพราะว่าสัลเลขธรรมนี้

เป็นชื่อของกถาวัตถุเหมือนกันทุกข้อ สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็แลกถานี้นั้นเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

อย่างยิ่ง สะดวกแก่การเปิดเผยจิต ( ออกจากกิเลส) เป็นไปพร้อมเพื่อ

นิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ (การสำรอกกิเลส ) เพื่อนิโรธะ

( การดับกิเลส) เพื่ออุปสมะ ( การสงบระงับกิเลส) เพื่ออภิญญา

(ปัญญาอันยิ่ง ) เพื่อสัมโพธะ ( การตรัสสู้) เพื่อพระนิพพาน ความดับ

สนิทแห่งกิเลส กถานี้นั้นคืออะไร ? ได้แก่ อัปปัจฉกถา (กถาว่าด้วย

ควานมักน้อย ).

ความพิสดารเป็นดังว่ามานี้ คุณ ๕ ประการบริบูรณ์ก็จักช่วยให้

กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ได้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ก็จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์.

อย่างไร ?

อธิบายว่า ในกถาวัตถุทั้ง ๑๐ นั้น กถา ๔ นี้คือ อัปปิจฉกถา

( กถาว่าด้วยความมักน้อย) สันโตสกถา (กถาว่าด้วยความสันโดษ)

อสังสัคคกถา (กถาว่าด้วยความไม่ระคนด้วยหมู่คณะ) สีลกถา ( กถา

ว่าด้วยเรื่องศีล ) สงเคราะห์เข้าในอธิสีลสิกขาเท่านั้น กถา ๓ นี้ ปวิเวกกถา

( กถาว่าด้วยความสงัด ) วิริยารัมภกถา ( กถาว่าด้วยการปรารภความ

เพียร ) สมาธิกถา ( กถาว่าด้วยเรื่องสมาธิ ) สงเคราะห์เข้าในอธิจิตต-

สิกขา กถา ๓ นี้คือ ปัญญากถา (กถาว่าด้วยเรื่องปัญญา) วิมุตติกถา

( กถาว่าด้วยเรื่องวิมุติ ) วิมุตติญาณทัสสนกถา ( กถาว่าด้วยเรื่องวิมุตติ-

ญาณทัสสนะ ) สงเคราะห์เข้าในอธิปัญญาสิกขา กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์

จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์อย่างนี้. สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้กองแห่ง

อเสกขธรรม ๔ อย่างบริบูรณ์.

อย่างไร ?

อธิบายว่า อธิสีลสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดศีลที่เป็นอเสกขะ

ทีเดียว อธิจิตตสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหนวดสมาธิที่เป็นอเสกขะ อธิปัญญา-

สิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดแห่งปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะที่เป็น

อเสกขะทีเดียว รวมความว่า สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้หมวดแห่ง

อเสกขธรรม ๕ บริบูรณ์อย่างนี้. ( และ ) หมวดแห่งอเสกขธรรม ๕

บริบูรณ์ก็จักช่วยให้อมตนิพพานบริบูรณ์. เปรียบเหมือนเมฆก้อนมหึมา

กลั่นตัวเป็นน้ำฝนตกกระหน่ำลงบนยอดเขาไหลลงมาเต็มซอกเขา ลำธาร

ละหาน. ซอกเขา ลำธาร ละหานเหล่านั้นเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็ม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

หนอง หนองเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มบึง บึงเต็มแล้ว ถึงไหลบ่าออกมา

เต็มแม่น้ำน้อย ( แคว ) แม่น้ำน้อย ( แคว ) เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็ม

แม่น้ำใหญ่ แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มสมุทรสาครฉันใด

คุณ ๕ ข้อนี้ของภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ บริบูรณ์แล้วก็จักช่วยให้

คุณธรรมเริ่มตั้งแต่กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึงอมตนิพพานให้บริบูรณ์

ภิกษุนี้ปฏิบัติปฎิปทาแห่งธรรมทายาทแล้วจักได้เป็นธรรมทายาทอย่างยอด

เยี่ยม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์

อย่างนี้แลจึงได้ตรัสไว้ว่า ต กิสฺส เหตุ ตญฺหิ ตสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน

ดังนี้เป็นต้น (แปลว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะข้อนั้นจักเป็นไป

เพื่อ . . .สำหรับภิกษุนั้นนะภิกษุทั้งหลาย).

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยกเหตุที่ทำให้ภิกษุนั้นเป็นผู้น่าบูชา

และน่าสรรเสริญกว่าขึ้นมาอธิบายประกอบอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง

สำทับภิกษุเหล่านั้นเพื่อให้เป็นอย่างนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว

ดังนี้ เป็นต้น.

ตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

ตรัสไว้ว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว บำเพ็ญสมณ-

ธรรม เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรมที่เป็นรากเหง้า ๕ ประการเหล่านี้ ส่วน

ภิกษุผู้ไม่ฉันแล้วบำเพ็ญ จะเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมเหล่านั้น ฉะนั้นแล

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็น ฯ ล ฯ ของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท.

บทว่า อิหมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

คำนี้คือ อุปเทศแห่งพระสูตรว่า ตั้งแต่ท้ายนิทานจนกระทั่งถึงอย่าเป็น

อามิสทายาท.

๑. ปาฐะเป็น นิพฺพานปริโยสานโต ฉบับพม่าเป็น นิทานปริโยสานโต แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

บทว่า อิท วตฺวาน สุคโต ความว่า และครั้นตรัสอุปเทศ

แห่งพระสูตรนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้รับการถวายพระนามว่า

พระสุคตนั้นแหละ เพราะทรงดำเนินไปด้วยปฏิปทาอันงาม.

บทว่า อุฏฺายาสนา วิหาร ปาวิสิ ความว่า เสด็จลุกขึ้นจาก

บวรพุทธอาสน์ที่มีผู้ปูลาดถวายไว้แล้วก็เสด็จเข้าไปสู่วิหาร คือมหาคันธกุฎี

ของพระองค์.

เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับก่อน

ถามว่า ในเมื่อบริษัทยังไม่แยกย้ายกันกลับเลย เพราะเหตุไร

(พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเล่า) ?

ตอบว่า เพื่อจะทรงยกย่องพระธรรม ได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเมื่อจะเสด็จเข้าไปสู่วิหารในเมื่อเทศนายังไม่ทันจบ ก็จะเสด็จเข้าไป

ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือเพื่อจะทรงยกย่องบุคคล ๑ เพื่อจะทรงยกย่อง

พระธรรม ๑.

เมื่อเสด็จเข้าไปเพื่อทรงยกย่องบุคคล จะทรงดำริอย่างนี้ว่า เหล่าภิกษุ

ผู้รับเอาธรรมเรียนเอาอุทเทศนี้ ที่เราตถาคตแสดงโดยย่อแล้ว แต่ยังไม่ได้

จำแนกให้พิสดาร จักพากันเข้าไปเรียนถามพระอานนท์หรือไม่ก็พระมหา-

กัจจายนะ เธอทั้งสองนั้นก็จักอธิบายสอดคล้องกับญาณของเราตถาคต

จากนั้นเหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรม จักกลับมาถามเราตถาคตอีก เราตถาคตก็

จักชมเธอทั้งสองนั้น แก่เหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรมนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อานนท์อธิบายดีแล้ว กัจจายนะก็อธิบายดีแล้ว ความข้อนี้แม้

พวกเธอทั้งหลายจะพึงมาถามเราตถาคตไซร้ เราตถาคตก็จักอธิบายความ

๑. ปาฐะเป็น กจฺฉาเนน เห็นว่าควรจะเป็น กจฺจายเนน จึงได้แปลอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ข้อนั้นแบบเดียวกันนั้นแหละ จากนั้นภิกษุทั้งหลายก็จักเกิดความเคารพ

ในเธอทั้งสองแล้วพากันเข้าไปหา. แม้เธอทั้งสองก็จักแนะนำภิกษุทั้งหลาย

ไว้ในอรรถและธรรม ภิกษุเหล่านั้นอันเธอทั้งสองนั้นแนะนำแล้วก็จักพา

กัน บำเพ็ญสิกขา ๓ กระทำที่สุดทุกข์ได้.

เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อยกย่องพระธรรม จะทรงพระดำริเหมือนที่ได้

ทรงพระดำริในที่นั้นนั่นเองว่า เมื่อเราตถาคตเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระสารี-

บุตรนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทนี้นั้นแล จักแสดงธรรมตำหนิอามิสทายาท

และยกย่องธรรมทายาทนั้นเหมือนกัน เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงแล้ว อย่าง

นี้ตามมติที่เป็นไปในแนวเดียวกัน จักเป็นเทศนาที่เลิศและหนัก (มีความ

สำคัญ ) เฉกเช่นฉัตรหิน จักเป็นเหมือนเรือที่จอดอยู่ที่ท่าแล้ว เพราะหมาย

ความว่าข้ามโอฆะ ๔ ได้ และจักเป็นเหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย

๔ ตัว เพราะหมายความว่าเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค์.

อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระราชาทรงออกพระราชบัญญัติในที่ประ-

ชุมว่า คนที่ทำความผิดอย่างนี้ต้องถูกปรับสินไหมเท่านี้ แล้วเสด็จลุกจาก

พระราชอาสน์ขึ้นสู่ปราสาท เสนาบดีที่นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแลจะรักษาการณ์

ให้เป็นไปตามพระบัญญัตินั้นฉันใด เทศนาที่เราแสดงแล้วก็ฉันนั้นเหมือน

กัน สารีบุตรนั่งอยู่ในที่ประชุมนี้นั่นแหละจักแสดงยกย่อง. เทศนาที่

ตถาคตกับสารีบุตรแสดงแล้วตามมติของเราทั้งสองจักรุ่งเรื่องมีกำลัง ดุจ

พระอาทิตย์ยามเที่ยงวันฉะนั้น.

เพื่อทรงยกย่องธรรมในที่นี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุก

ขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร.

อนึ่ง ในฐานะเช่นนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

องค์ไปบนพุทธอาสน์ที่ประทับนั่งนั่นเอง เสด็จเข้าไปสู่วิหารด้วยการเสด็จ

ไปด้วยอำนาจจิต เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จไปด้วยการไป

ด้วยพระกายไซร้ บริษัททั้งหมด (ที่ประชุมอยู่ในที่นั้น) ก็คงจะพากัน

แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้. บริษัท (ที่ประชุมกันอยู่ ) นั้นแตกกลุ่ม

กันชั่วคราวแล้วก็ยากที่จะมาชุมนุมกันได้อีก ( เพราะฉะนั้น ) พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปด้วยการเสด็จไปด้วยอำนาจจิตนั่นเอง ( หายตัว

ไป ).

พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม

[ ๒๓ ] ก็แล ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป ( สู่วิหาร )

ด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ( นั่ง ) อยู่ ณ ที่นั้นแล ประสงค์

จะยกย่องธรรมนั้นให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้กล่าวคำนี้ไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกคนที่รัก.

คำว่า สาริปุตฺโต เป็นนามของพระเถระนั้น ก็แล นามนั้นได้มา

จากข้างฝ่ายมารดา มิใช่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดา เพราะพระเถระนั้นเป็น

บุตรของพราหมณีชื่อรูปสารี ฉะนั้น จึงชื่อว่า สารีบุตร.

คำว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เพิ่งหลีกไปได้ไม่นาน.

ก็ในคำว่า อาวุโส ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทั้งหลายเมื่อจะทรงเรียกสาวก ( ของพระองค์ ) ก็จะทรงเรียกว่า

ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ) ฝ่ายสาวกทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายจง

อย่าเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ดังนี้แล้ว (เมื่อจะร้องทักกัน)

ก็กล่าวว่า อาวุโส (แปลว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ) ก่อนแล้ว จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ทีหลัง. อนึ่ง ภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายตรัสเรียกแล้วก็จะทูลรับว่า ภทนฺเต ( พระเจ้าข้า) สงฆ์ที่

พระสาวกทั้งหลายเรียกจะตอบรับว่า อาวุโส (ดูก่อนผู้มีอายุ).

คำว่า กิตฺตาวตา ในบทว่า กิตฺตาวตา นุ โข อาวุโส นี้

เป็นคำแสดงความกำหนด แปลว่า ด้วยเหตุเท่าไร ? นุ อักษรใช้ใน

อรรถแห่งคำถาม. โข อักษรเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า เมื่อพระศาสดา

ประทับอยู่ด้วยวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก.

บทว่า วิเวกนฺนานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ศึกษาตามซึ่งวิเวกทั้ง ๓

แม้แต่วิเวกข้อใดข้อหนึ่ง.

บทว่า อามิสทายาทาว โหนฺติ ความว่า ท่านพระสารีบุตร

ถามเนื้อความนี้กะภิกษุทั้งหลาย. แม้ในสุกกปักษ์ ( ฝ่ายที่ดี) ก็นัยนี้.

เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายประสงค์จะสดับเนื้อความนั้น

จึงได้กล่าวว่า ทูรโตปิ โข ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรโตปิ ความว่า จากภายนอกแว่น

แคว้นบ้าง จากภายนอกชนบทบ้าง อธิบายว่า จากที่ไกลนับได้หลาย

ร้อยโยชน์บ้าง.

บทว่า สนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้.

บทว่า อญฺาตุ แปลว่า เพื่อรู้ คือเพื่อเข้าใจ.

บทว่า อายสฺมนฺตเยว สาริปุตฺต ปฏิภาตุ ความว่า จงเป็นหน้าที่

ส่วนของท่านพระสารีบุตรเถิด อธิบายว่า ขอให้ท่านพระสารีบุตรช่วย

แจกแจง ( ขยายความ ) ให้เป็นส่วนของตนด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า การขยายความเป็นหน้าที่ของท่าน

พระสารีบุตร ส่วนการฟังเป็นหน้าที่ของพวกกระผม คำอธิบายอย่างนี้

สมกับลักษณะของศัพท์. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฏิภาตุ

คือ ทิสฺสตุ ( จงแสดง ). อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อุปฏฺาตุ

(จงปรากฏ).

บทว่า ธาเรสฺสนฺติ (จักทรงจำไว้) ได้แก่จักเรียน.

ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่า-

นั้น จึงกล่าวคำว่า เตนหิ ดังนี้เป็นต้น.

ในคำว่า เตนหิ นั้น มีอธิบายว่า บทว่า เตน เป็นตติยาวิภัตติ.

หิ อักษร เป็นนิบาต. มีคำอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายประสงค์

จะฟังและบอกกล่าวให้เป็นภาระของผม ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังเถิด.

เหล่าภิกษุรับรองคำพูดของพระเถระแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เอวมาวุโส ฯ เป ฯ ปจฺจสฺโสสุ ดังนี้.

[๒๔] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเนื้อความที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงตำหนิความเป็นอามิสทายาท ตรัสไว้แล้วโดยอาการ

อย่างเดียวกันนั้นเองว่า แม้เธอทั้งหลายก็จะพึงถูกตำหนิ โดยความเป็น

อามิสทายาทนั้น ดังนี้ โดยอาการ ๓ อย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าว

คำนี้ว่า อิธาวุโส ฯ เป ฯ สาวกา วิเวก นานุสิกฺขนฺติ.

ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงตำหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทอันใด แม้ท่านทั้งหลายก็จะพึง

ถูกตำหนิด้วยปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทนั้น. และพระเถระได้ถามก็จะถาม

ใดด้วยตนเองว่า กิตฺตาวตา นุโข ฯ เป ฯ นานุสิกฺขนฺติ. ความหมายแห่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

คำถามนั้นแบบพิสดารเป็นอันพระเถระได้แจกแจงไว้ดีแล้ว.

ก็แต่ว่า ความหมายนั้นมิได้พาดพิงถึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง

ถูกตำหนิด้วยเลย. เพราะพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้แล้วว่า อหมฺปิ เตน

อาทิสฺโส ภวิสฺสานิ (แม้เราตถาคตก็จักถูกตำหนิด้วยความเป็นอามิส

ทายาทนั้นด้วย) เป็นพระดำรัสที่ถูกต้องแล้วของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เอง ซึ่งทรงประสงค์จะสงเคราะห์สาวก ไม่ใช่เป็นถ้อยคำของพระสาวก.

แม้ในฝ่ายที่ดี (สุกกปักษ์) ก็นัยนี้. ในตอนนี้มีโยชนา (การประ-

กอบความ) ลำดับแห่งอนุสนธิเท่านี้ก่อน.

ส่วนการขยายความในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.

บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส ความว่า เมื่อพระศาสดาผู้ทรงสงัด

แล้วอย่างแท้จริงด้วยวิเวก ๓.

บทว่า วิเวก นานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ตามศึกษา คือไม่บำเพ็ญ

ให้บริบูรณ์ซึ่งกายวิเวก. ก็ถ้าว่าพระเถระจะพึงกล่าวหมายถึงวิเวกทั้ง ๓ ไซร้

คำถามก็คงไม่มีเป็นพิเศษ เพราะว่าวิเวกในคำว่า วิเวก นานุสิกฺขนฺติ

นี้เป็นฝ่ายแห่งคำพยากรณ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงกายวิเวกด้วย

บทนี้ว่า (วิเวก นานุสิกฺขนฺติ) แสดงจิตติวิเวกด้วยบทว่า เยสญฺจ

ธมฺมาน และแสดงอุปธิวิเวกด้วยว่า พาหุลฺลิกา ดังนี้เป็นต้น . ในตอน

นี้พึงทราบความโดยย่อดังพรรณนามาฉะนี้.

ด้วยบทว่า เยสญฺจ ธมฺมาน พระเถระกล่าวหมายเอาอกุศลธรรม

มีโลภะเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส

บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น โลภะเป็นบาป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

บทว่า นปฺปชหนฺติ ได้แก่ไม่ละทิ้ง อธิบายว่า ไม่บำเพ็ญให้

บริบูรณ์ซึ่งจิตตวิเวก.

บทว่า พาหุลฺลิกา แปลว่า ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้หมกมุ่น ด้วย

ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า สาถลิกา เพราะนับถือศาสนา

แบบย่อหย่อน.

ในบทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้ มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕

เรียกว่า โอกกมนะ เพราะเป็นเหตุให้ตกต่ำ ภิกษุเหล่านั้น นับว่าเป็น

แนวหน้า (นำ ) ด้วยการทำนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์นั้น.

บทว่า ปวิเวเก คือในอุปธิวิเวก ได้แก่นนิพพาน.

บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า มีธุระอันปลงลงแล้ว คือไม่ทำการ

เริ่มความเพียรเพื่อบรรลุนิพพานนั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าว

ไว้แล้วว่า ไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์. พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าว

โดยไม่จำกัดแน่นอนด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะจำกัดเทศนา

ให้แน่นอน จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส ดังนี้เป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ? เมื่อพระเถระกล่าวไม่จำกัดแน่นอนลง

ไปอย่างนี้ว่า สาวกทั้งหลาย ( ย่อมถูกตำหนิ) โดยเหตุ ๓ สถาน

ภิกษุเหล่านั้นย่อมพากันบ่นว่า เรื่องนั้นพระเถระพูดว่า คนอื่นไม่ได้ว่า

พวกเรา แต่เมื่อพระเถระกล่าวกำหนดแน่นอนลงไปอย่างนี้ว่า เถรา

(สาวกที่เป็นพระเถระ) นวา ( สาวกที่เป็นนวกะ) มชฺฌิมา ( สาวกที่มี

พรรษาปานกลาง) ภิกษุเหล่านั้นพากันทำความเอื้อเฟื้อว่า เรื่องนี้พระ

เถระว่าพวกเรา.

ตอบว่า อุปมาเหมือนเมื่อเหล่าราชอำมาตย์แม้จะบอกว่าประชาชน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ต้องช่วยกันทำความสะอาดถนนในเมือง ต่างพากันสงสัยอยู่ว่า ใครกันนะ

ต้องทำความสะอาด แล้วไม่ (มีใคร ) ลงมือทำความสะอาด ต่อเมื่อ

ตีกลองบ่าวประกาศว่า ประชาชนต้องทำความสะอาดประเรือนของตน ๆ

ชาวเมืองทั้งหมดต่างก็จะช่วยทำความสะอาด และประดับประดาให้สวยงาม

โดยใช้เวลาเพียงชั่วครู่ฉันใด อุปไมยก็พึงทราบฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ได้แก่ เตสุ โยค สาวเกสุ

(บรรดาสาวกเหล่านั้น).

ภิกษุทั้งหลายที่ถูกเรียกว่าเป็นพระเถระ เพราะหมายเอาผู้มีพรรษา

๑๐ ขึ้นไป.

ฐานศัพท์ใช้ในความหมายต่าง ๆ

บทว่า ตีหิ าเนหิ ได้แก่โดยเหตุ ๓ อย่าง

ก็ฐานศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (อิสฺสริย) เป้าหมาย

= ที่ตั้งอยู่, ที่ดำรงอยู่, (ฐิติ) ขณะ และเหตุ (การณ์) (มีตัวอย่างดัง

ต่อไปนี้):-

ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น

ว่า ก็ท้าวสักกะจอมเทพนี้ทำกรรมอะไรไว้จึงได้รับตำแหน่งนี้.

ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เป้าหมาย (เช่น) ในประโยคเป็น

ต้นว่า เป็นผู้ฉลาดในเป้าหมาย เป็นผู้ยิงทันสายฟ้า (ยิงไม่ขาดระยะ).

ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ขณะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

ก็คำนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยขณะ (โดยฉับพลัน).

ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เหตุ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

รู้จักเหตุที่เป็นไปได้โดยความเป็นไปได้.

แต่ในที่นี้ ใช้โนอรรถว่า เหตุ เท่านั้น. อธิบายว่า เหตุเรียกว่า

ฐานะเพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล โดยมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกันกับผลนั้น.

ด้วยเหตุข้อที่ ๑ นี้ พระเถระย่อมแสดงว่า บทว่า คารยฺหา ในคำว่า

เถรา ภิกฺขู คารยฺหา นี้ แปลว่า พึงถูกตำหนิ. พระเถระทั้งหลายจะต้อง

ถูกนินทาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเป็นพระเถระแล้ว ยังไม่เข้าไปสู่เสนาสนะ อัน

เป็นแนวไพร คืออันสงัดในป่า ไม่ยอมละทิ้งเสนาสนะใกล้บ้าน เที่ยว

คลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ไม่บำเพ็ญกายวิเวกเลย, ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะ

และมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมาแล้ว? คือพระ

เถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.

แม้ในบทว่า ทุติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๒) นี้ พระเถระทั้งหลายจะ

ต้องถูกนินทาอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถึงจะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยอมละ

ธรรม มีความโลภเป็นต้นที่พระศาสดาตรัสให้ละ นั่งในที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง ก็ไม่ได้ความแน่วแน่สงบนิ่งแห่งจิตแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ ในเวลา

ที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมา

แล้ว ? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.

ควรทำการประกอบความดังพรรณนามาอย่างนี้.

แม้ในบทว่า ตติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๓) นี้ พระเถระย่อมแสดง

ว่า อาวุโส พระเถระทั้งหลายจะต้องถูกนินทอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถึง

จะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ยังมัว

ประดับประดาตกแต่งจีวร บาตร เสนาสนะ และร่างกายที่เปื่อยเน่าอยู่

ไม่ยอมบำเพ็ญอุปธิวิเวก ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

เป็นเช่นไรมาแล้ว ? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย. นักศึกษาพึงทราบการประกอบความดังพรรณนามานี้.

ในวาระเป็นมัชฌิมภิกษุและนวกภิกษุก็นัยนี้.

ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่า มัชฌิมะ พระเถระกล่าวหมายเอาภิกษุที่มี

พรรษา ๕ พรรษา จนกระทั่งถึงภิกษุมีพรรษาครบ ๙ พรรษา ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่านวะ พระเถระกล่าวว่า ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษา ๕

ลงมา ดังนี้. เหมือนอย่างว่า เวลาเป็นพระเถระนั้น ท่านกล่าวว่า

ภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ ในเวลาที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็น

เช่นไรมาแล้วฉันใด ในเวลานี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุผู้ปานกลางและผู้ใหม่

พึงประกอบอธิบายว่า ในกาลเป็นภิกษุใหม่ได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ในกาล

เป็นพระเถระจักเป็นเช่นไร ในกาลเป็นมัชฌิมภิกษุและเป็นพระเถระจัก

เป็นเช่นไร. และความหมายในสุกกปักษ์ (ฝ่ายดี) ก็พึงทราบตามนัย

อันตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้วในกัณหปักษ์ (ฝ่ายไม่ดี ) นี้. ส่วนในที่

นี้มีความย่อ ดังต่อไปนี้ :-

[๒๕] อีกอย่างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือ

ย่อมได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า ภิกษุเหล่านี้แม้จะเป็น

พระเถระ แต่ก็ยังอยู่ในเสนาสนะที่เป็นแนวไพรในป่าที่อยู่ห่างไกลกันเป็น

โยชน์ แม้ถึงเวลาที่ควรจะเข้าไปใกล้เสนาสนะใกล้บ้านก็ไม่เข้าไป ถึงจะมี

ร่างกายชราอย่างนี้ ก็ยังสู่ปรารภความเพียร ทำให้ผู้ถวายปัจจัยเกิดความ

เลื่อมใส ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ดังนี้,

ท่านเหล่านั้นย่อมละอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น บำเพ็ญจิตตวิเวกอยู่ให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

บริบูรณ์.

ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระย่อมเป็นผู้ควร

สรรเสริญ คือย่อมได้รับการสรรเสริญว่า ภิกษุนี้ถึงจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่

วัยเช่นนี้ เป็นเวลาควรจะนั่งให้สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกห้อมล้อมได้

แล้ว ฉันเสร็จแล้วก็ยังเข้า (ห้องบำเพ็ญธรรม ) ตอนเย็นจึงค่อยออกมา

เข้าไปตอนเย็นแล้วตอนเช้าจึงค่อยออกมา กระทำบริกรรมกสิณให้สมาบัติ

เกิด บรรลุมรรคผล บำเพ็ญจิตตวิเวกให้บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง.

ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ พระเถระย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือย่อม

ได้รับการสรรเสริญว่า ในกาลที่พระเถระควร (ใช้) จีวรเบาซึ่งมีสัมผัส

สบาย เช่นผ้าธรรมดาผ้าทำด้วยเปลือกไม้และผ้าแพรเป็นต้น พระมหาเถระ

นี้ก็ยังนุ่งห่มผ้าบังสุกุล. ท่านนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัดปราศจากนิวรณ์

เข้าผลสมาบัติ บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์อยู่ (ในบัดนี้ยังปฏิบัติได้ถึง

ขนาดนี้ ) ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็น ( ปฏิบัติ )

เช่นไรมาแล้ว. ในวาระที่เป็นมัชฌิมภิกษุก็มีนัยนี้.

[๒๖] ถามว่า ในบทว่า ตตฺราวุโส มีอนุสนธิ (การสืบต่อ

ของเรื่อง ) เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสารีบุตรเถระเมื่อตำหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาท

ด้วยอาการ ๙ อย่าง ( และ) ยกย่องปฏิปทาของผู้เป็นธรรมทายาทด้วย

อาการ ๙ อย่าง ยังเทศนาให้จบลงด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้แล้ว เพื่อจะ

แสดงถึงธรรมที่ควรละที่ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสการ

ละธรรมเหล่าใดไว้ ธรรมเหล่านั้นภิกษุยังละไม่ได้ แก่ภิกษุเหล่านั้น

โดยสรุปว่าได้แก่ธรรมเหล่านี้นั้น จึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ตตฺราวุโส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

โลโภ จ ดังนี้เป็นต้น นี้คืออนุสนธิ (ในสองบทนั้น). อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมทั้งหลาย ท่านได้กล่าวไว้โดยอ้อมแล้วในตอนต้นนั่นแล. ส่วน

อามิสก็ได้กล่าวไว้แล้วทั้งโดยอ้อมทั้งโดยตรง.

บัดนี้ เพื่อจะกล่าวธรรมโดยตรง คือโลกุตตรมรรค พระเถระจึง

ได้กล่าวคำนี้ไว้ และในคำนี้ก็มีอนุสนธิดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงเทศนาที่ผ่านมาแล้ว. มีคำอธิบายว่า

ในเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อพระศาสดา

ทรงอยู่อย่างสงัด เหล่าพระสาวกกลับไม่ศึกษาตาม ซึ่งวิเวก ( การอยู่

อย่างสงัด). ด้วยคำว่า โลภะเป็นบาปธรรมและโทสะก็เป็นบาปธรรม

พระเถระย่อมแสดงว่า ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้เป็นบาป คือต่ำช้า ฉะนั้น

ธรรมเหล่านี้จึงต้องละเสีย.

ในบรรดาโลภะและโทสะทั้ง ๒ นั้น โลภะมีลักษณะอยากได้ โทสะ

มีลักษณะประทุษร้ายใจ.

ในจำนวนโลภะและโทสะนั้น โลภะมีแก่ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท

ในเพราะการได้ปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนโทสะมีเพราะอลาภะ คือต้องการสิ่งที่

ยังไม่ได้ (ไม่ต้องการสิ่งที่ได้อยู่แล้ว) หรือมีเพราะโทสะ ( โดยตรง )

คือเมื่อไม่ได้ก็นำความคับแค้นใจนาให้.

โลภะมีในเพราะไทยธรรม (ของทำบุญ ). ส่วนโทสะมีในเพราะ

บุคคลที่ไม่ถวายหรือในบุคคลที่ถวายของที่ไม่ถูกใจ. เพราะโลภะจึงทำ

ให้ (อกุศล) ธรรมซึ่งมีตัณหา ๙ อย่างเป็นมูลบริบูรณ์. เพราะโทสะจึง

ทำให้มัจฉริยะ ๕ อย่างบริบูรณ์.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะเหล่านั้น พระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

สารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า โลภสฺส จ โทสสฺส จ ปหานาย ดังนี้

เป็นต้น. คำของพระเถระนั้นมีอธิบายความว่า ก็ข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อ

ละโลภะและโทสะอันเป็นบาปนั้นมีอยู่. คำนี้ พระเถระกล่าวหมายถึงมรรค.

เพราะว่ามรรคจะไม่เข้าใกล้ คือไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้ คือโลภะ

ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง โทสะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง พ้นแล้วอย่างสิ้นเชิงจาก

ที่สุดทั้ง ๒ นี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ

สายกลาง). ที่ชื่อว่ามัชฌิมา เพราะอยู่ในระหว่างกลางที่สุดทั้ง ๒ นั้น

ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอันบุคคลผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ

อนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยคก็เป็น

ที่สุดอันหนึ่ง สัสสตทิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยแรกนั่นเถิด.

ผลของมัชฌิมาปฏิปทา

ก็พระสารีบุตรเถระย่อมยกย่องปฏิปทานั้นนั่นเอง ด้วยคำว่า จกิขุ-

กรณี เป็นต้น เพราะว่า ปฏิปทานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการเห็นสัจจะ

ทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นตัวนำในการเห็น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

จักขุกรณี, ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่า

เป็นเหตุทำให้รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณกรณี.

อนึ่ง ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพราะทำให้กิเลส

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นสงบ ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญา (ความ

รู้ยิ่ง) เพราะเป็นเหตุเห็นว่าสัจจะทั้ง เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.

มรรค ชื่อว่าสัมโพธะ (การตรัสรู้) มัชฌิมาปฏิปทาย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ไปเพื่อสัมโพธะ เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรคนั้น, แท้จริง

มรรคนั่นเอง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรค.

ธรรมชาติ ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะทำกิจที่มรรคต้องทำ แต่

ปฏิปทาท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพาน เพราะเป็นไป

พร้อมเพื่อกระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์ชัดซึ่งนิพพานนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ใจความสำคัญในเรื่องนี้มีเท่านี้.

การพรรณนาอย่างอื่นนอกไปจากนี้จะทำให้เนิ่นช้าไป.

บัดนี้ พระเถระประสงค์จะแสดงมัชฌิมาปฏิปทานั้นโดยสรุปจึงถาม

ว่า กตนาวุโส ดังนี้แล้ว วิสัชนาโดยนัยเป็นต้นว่า อยเมว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยเมว (แปลว่านี้เท่านั้น) เป็นคำ

อวธารณะ (ห้ามคำอื่น). พระเถระกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อเป็นการปฏิเสธมรรค

(ทางไปสู่นิพพาน) สายอื่น เพื่อจะได้แสดงว่ามรรคนั้นเป็นของมีทั่วไป

แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า.

ข้อนี้สมด้วย พระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

มรรค (ทาง) สายนี้เท่านั้น ไม่มีมรรคอื่น

เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ.

ความหมายของมรรค

มรรคนี้นั้น ชื่อว่าอริยะ เพราะทำกิเลสให้อยู่ห่างไกลบ้าง เพราะ

เป็นไปพรอมเพื่อละข้าศึก (กิเลส)บ้าง เพราะเป็นมรรคที่พระอริยะแสดง

ไว้บ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อให้ได้ความเป็นพระอริยะบ้าง. (มรรค)

ชื่อว่ามีองค์ ๘ เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ และพ้นไปจากองค์หาได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ไม่ เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นต้น ฉะนั้น

ที่ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่า ฆ่ากิเลสทั้งหลายไปบ้าง ดำเนิน

ไปสู่นิพพานบ้าง อันบุคคลผู้ต้องการนิพพานแสวงหาบ้าง อันบุคคลผู้

ต้องการนิพพานเหล่านั้นดำเนินไป คือปฏิบัติบ้าง.

บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต. นิบาตว่า เสยฺยถีท นั้น มีความ

หมายเท่ากับ กตโม โส (แปลว่า มรรคนั้นคืออะไรบ้าง) หรือมี

ความหมายเท่ากับ กตมานิ ตานิ อฏฺงฺคานิ (แปลว่า องค์ ๘ นั้น

คืออะไรบ้าง).

ความจริงแล้ว องค์แต่ละองค์ก็คือมรรคนั่นเอง. สมด้วยคำที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย. แม้โบราณาจารย์

ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นทางเป็นเหตุให้เห็น สัมมาสังกัปปะ

เป็นทางเป็นเหตุให้ฝังใจ (ในอารมณ์) ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นทางเป็นเหตุ

ไม่ให้ฟุ้งซ่าน.

อนึ่ง ในบรรดาองค์มรรคทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้

สัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมีความฝังใจโดย

ชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจามีการหวงแหนโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมา-

กัมมันตะมีการดังขึ้นพร้อมโดยธรรมเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะมีความ

ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะมีการประคอง ( จิต) โดย

ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติมีความปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ

มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ แม้วิเคราะห์มรรคเหล่านั้นก็พึง

ทราบโดยนัยนั้นนั่นเหมือนกันว่า ที่ชื่อว่าสันมาทิฏฐิ เพราะเห็นโดยชอบ.

๑. ปาฐะว่า สมฺมาทฏฺีสุ ฉบับพม่าเป็น สมฺมาทิฏฺฐาทีสุ แปลตามฉบับพม่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

ในจำนวนมรรคเหล่านั้น

(๑ ) สัมมาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นย่อมละมิจฉาทิฏฐิ กิเลสที่เป็น

ข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐินั้นและอวิชชาได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เห็น

สัมปยุตธรรมทั้งหลาย และเห็นสัมปยุตธรรมเหล่านั้นโดยความไม่งมงาย

ไม่ใช่เห็นโดยความเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ.

( ๒) สัมมาสังกัปปะ ( เมื่อเกิดขึ้น ) ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ

และกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสังกัปปะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็น

อารมณ์และปลูกฝังสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ในใจโดยชอบ เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.

( ๓ ) สัมมาวาจา (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวาจาและกิเลสที่เป็น

ข้าศึกต่อสัมมาวาจานั้นได้กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ หวงแหนสัมปยุต-

ธรรมทั้งหลายโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาวาจา.

(๔) สัมมากัมมันตะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉากัมมันตะและ

กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมนากัมมันตะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์

และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ตั้งขึ้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียก

ว่าสันมากัมมันตะ.

(๕) สัมมาอาชีวะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาอาชีวะและ

กิเสสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาอาชีวะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์

และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึง

เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.

( ๖ ) สัมมาวายามะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวายามะ ธรรม

ที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาวายานะนั้นและความเกียจคร้านได้ กระทำนิพพานให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะ-

ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.

(๗) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็น

ข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อม

ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

สัมมาสติ.

(๘) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่

เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้

เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อย โข

สา อาวุโส ดังนี้เป็นต้น คำที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ ๘ นี้

ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ เข้าด้วยกันว่า

ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็น

ไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก

ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น

ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ

เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น

จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง

ละเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

(๑) โกธะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้าย

มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย

(๒) อุปนาหะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่

คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธ

ติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิด

ก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.

(๓) มักขะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ลบหลู่คนอื่น หีหน้าที่

คือทำคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการ

ปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.

(๔) ปฬาสะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตี

เสมอ) มีหน้าที่คือการทำคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ)

ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า) เทียบ

คุณของคนอื่น.

(๕) อิสสา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของ

คนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่

ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ

เบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.

(๖) มัจเฉระ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติ

ของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้

สอยด้วย (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.

(๗) มายา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทำ

แล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น.

( ๘ ) สาเถยยะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณ

ที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น

(และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทำคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏ

ออกมาแม้โดยอาการทางร่างกาย.

( ๙ ) ถัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่

คือพฤติการที่ไม่ยำเกรง ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.

( ๑๐ ) สารัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ ) คือการทำความดีให้

เหนือไว้ มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น ( และ ) ผลที่ปรากฏ

ออกมาคือความไม่เคารพ.

( ๑๑ ) มานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่

คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง

( ๑๒ ) อติมานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มี

หน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ

หยิ่งจองหอง.

( ๑๓ ) มทะ มีลักษณะ ( เฉพาะ ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือ

ความยึดถือด้วยการมัวเมา ( และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้

( ๑๔ ) ปมาทะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปใน

เบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ) ผล

ที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.

นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมา

นี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ

ดังนี้เป็นต้น.

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น

อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีก

ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง

ไม่ได้ ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า

โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ

ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น

เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่ ) และปฬาสะ (ตีเสมอ)

ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว

นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น

ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).

ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น

ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท

นั้น.

ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย

๑. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน

ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

อันนี้เป็นมายาของภิกษุ ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

เธอย่อมอวดคุณที่ไม่มีอยู่จริง อันนี้เป็นสาเถยยะ (ความโอ้อวด)

ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

เธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ถ้าได้ลาภตามที่ประสงค์ ย่อมเป็นผู้แข็ง

กระด้างมีจิตใจไม่อ่อนโยนเพราะลาภนั้น เป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะ

ว่ากล่าวได้ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้ อันนี้เป็นถัมภะ (ความ

หัวดื้อ) ของเธอ.

แต่ถ้าจะมีใครว่ากล่าวอะไรเธอ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้

เธอเป็นผู้มีจิตใจปรารมภ์ คำกล่าวนั้น ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด พูดข่มขู่ว่า

ท่านเป็นอะไรกับผม อันนี้เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) ของภิกษุผู้เป็น

อามิสทายาทนั้น .

ต่อจากนั้นไป เพราะถัมภะ (ความดื้อรั้น) เธอจะสำคัญตัวอยู่

ว่า เรานี้แหละดีกว่าคนอื่น เป็นผู้ถือตัวเพราะสารัมภะ (ความแข็งดี)

เธอกลับดูถูกคนอื่นว่า พวกนี้เป็นใครกัน เป็นผู้ถือตัว อันนี้เป็นมานะ

(ความถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) ของภิกษุผู้เป็นอานิสทายาท

นั้น.

เพราะมานะและอติมานะเหล่านี้ เธอย่อมเกิดความเมาหลายแบบ

มีความเมาในชาติ ( กำเนิดตระกูล ) เป็นต้น เธอเมาแล้วย่อมประมาท

(เผลอสติ) ในวัตถุทั้งหลายแยกประเภทออกไป มีกามคุณเป็นต้น

อันนี้เป็นมทะ ( ความเมา ) และปมาทะ ( ความเผลอสติ) ของภิกษุ

ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

รวมความว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เธอย่อมไม่พ้นจากความเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

อามิสทายาทไปได้ นักศึกษาพึงทราบธรรมที่ต้องละในการเป็นอามิสทายาท

โดยธรรมที่เป็นบาปเหล่านี้ และโดยธรรมเหล่าอื่นแบบนี้อย่างนี้ก่อน. ส่วน

อุบายเป็นเหตุละ ว่าโดยบาลีและเนื้อหาสาระแล้วก็ไม่มีพิเศษอะไรเลยใน

ธรรมทุกข้อ.

ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ

แต่เพื่อความแจ่มชัดแห่งการประมวลความรู้ ผู้ศึกษาควรทราบ

ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ ในอุบายเป็นเครื่องละ

ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญเหล่านั้น จะ

อธิบายถึงความแตกต่างก่อน ก็มัชฌิมาปฏิปทานี้ ได้แก่มรรค ซึ่งบางครั้ง

ก็มีองค์ ๘ บางคราวก็มีองค์ ๗ เพราะว่ามรรคนี้เมื่อเกิดขึ้นด้วยอำนาจ

ปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระย่อมมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานที่เหลือ

ย่อมมีองค์ ๗ แต่ในที่นี้เป็นการอธิบายความชั้นสูงสุด ท่านจึงกล่าวว่า

มรรคมีองค์ ๘. ก็องค์มรรคที่เกินจากนั้นไปไม่มี นักศึกษาพึงทราบความ

แตกต่างกันในที่นี้เท่านี้ก่อน.

ก็เพราะเหตุที่สัมมาทิฏฐิ ประเสริฐที่สุดในบรรดากุศลธรรมทั้งปวง

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐ

ที่สุด. และสัมมาทิฏฐินั้นก็เป็นประธาน ( ตัวนำ) ในวาระแห่งการ

ทำกุศล ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-

ทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ? คือ (เป็นประธานเพราะ) รู้ชัดเจนซึ่ง

สัมมาทิฏฐิว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิชชาเป็นประธานแห่งกุศลธรรม

ทั้งหลาย ในสมาบัติ ดังนี้.

อนึ่ง องค์ (มรรค) ที่เหลือทั้งหลายก็เกิดขึ้นเพราะมีสัมมาทิฏฐิ

นั้นเกิดก่อน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนที่มีสัมมาทิฏฐิย่อม

มีสัมมาสังกัปปะ ฯ ล ฯ และคนที่มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ. ฉะนั้น

องค์ทั้งหลายเหล่านี้ท่านจึงกล่าว. ไว้แล้วโดยลำดับนี้ นักศึกษาพึงทราบ

ลำดับ ( แห่งองค์มรรค ) ในอุบายเป็นเครื่องละนี้อย่างนี้แล.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิธีแห่งการเจริญ (สมถะและวิปัสสนา)

ต่อไป พระโยคาวจรบางท่านเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า บางท่านเจริญ

สมถะมีวิปัสสนานำหน้า เจริญอย่างไร ? ( เจริญอย่างนี้คือ) พระโยคาวจร

บางรูปในพระศาสนานี้ ทำสมถะอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เกิด

ขึ้น นี้เป็นสมถะ (ต่อมา) พระโยคาวจรนั้น พิจารณาเห็นซึ่งสมาธินั้น

และธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธินั้น โดยภาวะทั้งหลายมีความเป็นของไม่

เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา อย่างนี้ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะ

นำหน้า.

เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด เธอส้อง

เสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัย

ทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้พระโยคาวจร ชื่อว่า เจริญวิปัสสนาแบบ

มีสมถะนำหน้า.

แต่ว่า พระโยคาวจรบางรูปในพระศาสนานี้ไม่ยังสนถะมีประการ

ดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ โดยสภาวะมีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา. เอกัคคตาแห่งจิตจะเกิดขึ้นจาก

อารมณ์ คือการสลัดธรรมที่เกิดขึ้นในวิปัสสนานั้น เพราะความบริบูรณ์

แห่งวิปัสสนาของเธอ นี้เป็นสมถะ อย่างนี้ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะ

เกิดทีหลัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญสมถะมี

วิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด

เธอส้องเสพ เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพมรรคนั้น

อยู่ ฯลฯ อนุสัยทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้แหละพระโยคาวจร

ชื่อว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนำหน้า ก็

เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนำหน้าอยู่ก็ดี เจริญสมถะแบบมีวิปัสสนา

นำหน้าอยู่ก็ดี ในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล้ว สมถะและวิปัสสนาย่อม

อยู่เป็นคู่กัน (อย่างแยกไม่ออก) นักศึกษาพึงทราบนัยแห่งการเจริญ

(สมถะและวิปัสสนา) ในที่นี้อย่างนี้แล.

จบ อรรถกถาแห่งธรรมทายาทสูตร.

จบ พระสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

๔. ภยเภรวสูตร

[๒๗] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิ-

พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตามธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

[๒๘] ชาณุสโสณิพราหมณ์ครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ กุลบุตร

เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านพระโคดม

ผู้เจริญ ท่านพระโคดมผู้เจริญทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น ทรง

มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ทรงชักชวนกุลบุตรเหล่านั้น และ

ประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านพระโคดมผู้เจริญหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตร

เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะเรา เราเป็นหัวหน้า

ของกุลบุตรเหล่านั้น มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ชักชวนกุลบุตร

เหล่านั้น และประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของเรา.

[๒๙] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม

เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ

ที่โดดเดี่ยว ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชัก

พาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นพราหมณ์ ข้อนี้เป็น

อย่างนั้นพราหมณ์ เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

เป็นอยู่ได้ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้

ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชักพาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.

[๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยัง

มิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้นั่นเองได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัดที่

เป็นป่าและป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย

ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะซักพาใจของ

ภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.

[๓๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด

ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้อง

ความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีกายกรรม

ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะ

อันสงัด ที่เป็นป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะ

เหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น

ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูก่อน

พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในคน จึงถึงความ

เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ . . . มีมโนกรรมไม่

บริสุทธิ์ . . .มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่า

เปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความ

ขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีอาชีวะไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

ส่วนเราหาใช่ผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า และ

เป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใดมีอาชีวะ

บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ

อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมี

อาชีวะบริสุทธิ์นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า

[๓๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความอยากได้มาก มีราคะกล้า ในกาม

ทั้งหลาย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์

ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล

เพราะโทษของตน คือมีความอยากได้มาก และมีราคะกล้าในกามทั้งหลาย

เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีความอยากได้มาก มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย

เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่มีความ

อยากได้มาก. พระอริยะเหล่าใด ไม่มีความอยากได้มาก เสพเสนาสนะ

อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น

องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่มีความอยากได้มากนี้ใน

ตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๔] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตพยาบาทมีความดำริในใจชั่วเสพเสนาสนะ

อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม

เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ

ความมีจิตพยาบาทและมีความดำริในใจชั่วเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีจิต

พยาบาท มีความดำริในใจชั่ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา. พระอริยะเหล่าใด มีจิต

ประกอบด้วยเมตตา เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว

บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด

ซึ่งความมีจิตประกอบด้วยเมตตานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย

ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๕] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพเสนาสนะอัน

สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียก

ร้องความกลัวและควานขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือถูก

ถีนมิทธะกลุ้มรุมเป็นเหตุ. ส่วนเราหาถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพ

เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากถีน-

มิทธะ. พระอริยะเหล่าใด ปราศจากถีนมิทธะ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น

ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน

พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งควานปราศจากถีนมิทธะนี้ในตน จึงถึงความเป็น

ผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๖] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ เสพเสนาสนะ

อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม

เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ

ความฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบระงับเป็นเหตุ. ส่วนเราหาฟุ้งซ่าน มีจิตไม่

สงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น

ผู้มีจิตสงบระงับแล้ว. พระอริยะเหล่าใด มีจิตสงบระงับ เสพเสนาสนะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น

องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีจิตสงบระงับนี้ในตน จึง

ถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๗] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความสงสัยเคลือบแคลง เสพเสนาสนะอัน

สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม

เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ

มีความสงสัยและเคลือบแคลงเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีความสงสัยเคลือบแคลง

เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ข้ามพ้น

ความเคลือบแคลงเสียแล้ว. พระอริยะเหล่าใด ข้ามพ้นความเคลือบแคลง

เสียแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ

อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ

ข้ามพ้นความเคลือบแคลงนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่อ

อยู่ในป่า.

[๓๘] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น

ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความ

กลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือความยกตน

และข่มผู้อื่นเป็นเหตุ ส่วนเราหายกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัด

ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. พระอริยะ

เหล่าใด เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า

และเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นนี้ในตน จึงถึงความ

เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๓๙] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งความขลาด

เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ

เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ

ของตน คือมีความหวาดหวั่นและมีชาติแห่งคนขลาดเป็นเหตุ. ส่วนเรา

หาเป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า

และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากความหวาดกลัว พระอริยะเหล่าใด

ปราศจากความหวาดกลัว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว

บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด

ซึ่งความปราศจากความหวาดกลัวนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย

ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๔๐] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ

เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ

เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ

ของตน คือ ความปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นเหตุ. ส่วน

เราหาปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น

ป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. พระอริยะเหล่าใด

มีความปรารถนาน้อย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว

บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่งดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง

ความปรารถนาน้อยนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่งเพื่ออยู่ในป่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

[๔๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ย่อม

เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ

เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะ

โทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้านและมีความเพียรเลวทรามเป็นเหตุ

ส่วนเราหาเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เสพเสนาสนะอันสงัด

ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระอริยะ

เหล่าใด ปรารภความเพียร เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่า

เปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์

เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ปรารภความเพียรนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขน

เรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๔๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเสพ

เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน

คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและไม่มีสัมปชัญญะเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีสติ

ลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว

ไม่ เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น. พระอริยะเหล่าใด มีสติตั้งมั่น เสพเสนาสนะ

อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่าหั้น เราก็เป็น

องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นนี้ในตน

จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

[๔๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ย่อมเสพ

เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ

เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ

ของตน คือความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น และมีจิตหมุนไปผิดเป็นเหตุ.

ส่วนเราหามีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า

และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ. พระอริยะเหล่าใด

ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว

บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด

ซึ่งความถึงพร้อมด้วยสมาธินี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง

เพื่ออยู่ในป่า.

[๔๔] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญาทราม เป็นใบ้ ย่อมเสพเสนาสนะ

อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม

เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ

ความเป็นผู้มีปัญญาทรามและเป็นใบ้เป็นเหตุ. ส่วนเราหามีปัญญาทราม

เป็นใบ้ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยปัญญา เสพเสนาสนะ

อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็

เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความถึงพร้อมด้วยปัญญานี้

ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.

จบ ปริยาย ๑๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

[๔๕ ] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ไฉนหนอ

เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘

แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์

รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร

เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูก่อนพราหมณ์ โดยสมัยอื่น

เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘

แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์

รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัวน่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูก่อนพราหมณ์

ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะ. เห็นปานนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมา

ก็ดี หรือว่าลมพัดใบไม้แห้งก็ดี. เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ความกลัว

และความขลาดนั้น นั่นมาเป็นแน่ล่ะพราหมณ์. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้น

ได้มีความดำริดังนี้ว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้ปรารถนาภัยอยู่โดยแท้

ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไร ๆ

เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ๆ แลพึงกำจัดความกลัวและความขลาดอย่างนั้นเสีย

ดูก่อนพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู่กำลัง

เดินจงกรมอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย

ตราบเท่าที่เรายังเดินจงกรม กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น

ย่อมมา. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย

ตราบเท่าที่เรายังยืน กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น

ย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

นั่งกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น

ย่อมมา เรานั้นจะไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอน

กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.

[๔๖] ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำคัญ

กลางคืนแท้ ๆ ว่า กลางวัน สำคัญกลางวันแท้ ๆ ว่า กลางคืน เราย่อม

กล่าวความสำคัญอย่างนี้ ในเพราะอยู่ด้วยความหลงของสมณพราหมณ์

เหล่านั้น. ดูก่อนพราหมณ์ ส่วนเราย่อมสำคัญกลางคืนว่ากลางคืน ย่อม

สำคัญกลางวันว่ากลางวัน. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึง

กล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า

สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

[๔๗] ดูก่อนพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน

สติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น

มีอารมณ์แน่วแน่ ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ

อริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์

และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

[๔๘] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อน

ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง

สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง

สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง

ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด

สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น

แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น

มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียง

เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติ

ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ ๑ นี้แล เราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี

กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิด

เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตน

ไปแล้วอยู่ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

[๔๙ ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เรานั้น

เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ

ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกาย-

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ

การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย

อำนาจสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ดังนี้. เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว

พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ

ฉะนี้. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้ว ในมัชฌิมยาม

แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความ

สว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน

ส่งคนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.

[ ๕๐ ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อ

เรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ

แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ ๓ นี้แล

เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิด

กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความสว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท

มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.

[ ๕๑ ] ดูก่อนพราหมณ์ บางคราว ท่านจะพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า

แม้วันนี้พระสมณโคดมยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่

ปราศจากโมหะ แน่นอน เพราะฉะนั้น จึงยังเสพเสนาสนะอันสงัด

ทั้งที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ดังนี้ . ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ท่านอย่าเห็น

อย่างนั้นเลย เราเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง คือ เห็นความอยู่เป็นสุข

ในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลัง ๑

จึงเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว.

[๕๒] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ประชุมชนผู้เกิด

ณ ภายหลังนี้ เป็นอันท่านพระโคดมอนุเคราะห์อยู่แล้ว เพราะท่านเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรง

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด

ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ผู้มีจักษุดีจักเห็นรูปฉะนั้น. ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญ พระ

ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญจงจำ

ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบ ภยเภรวสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

อรรถกถาภยเภรวสูตร

( ๒๗ ) ภยเภรวสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ความหมายของคำว่า "พราหมณ์"

ในภยเภรวสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-

ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่าอวิจเฉทนะ (ไม่ขาดสาย

สืบต่อมา) ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต (เหมือนกัน)ใช้ในความหมายว่า อวธาร-

ณะ ห้ามความหมายอื่น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุง

สาวัตถีไม่ขาดตอนเลย. คำว่า ชาณุสโสณี นั้นไม่ใช่ชื่อที่บิดามารดา

ของพราหมณ์นั้นตั้งให้ แต่ว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากการได้ตำแหน่ง. ว่ากันว่า

ตำแหน่งชาณุสโสณีนั้นเป็นตำแหน่งปุโรหิต. พระราชาได้พระราชทาน

ตำแหน่งปุโรหิตนั้นให้แก่เขาฉะนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า ชาณุสโสณี.

บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า

พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา

เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า

พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.

สัมโมทนียกถา - สาราณียกถา

คำว่า เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ

ใช้ในความหมายแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความหมายใน

คำนี้ อย่างนี้ว่า ยตฺถ ภควา อุปสงฺกมิ (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ประทับอยู่ในที่ใด ชาณุสโสณีพราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าแล้วในที่นั้น).

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความหมายในคำนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า.

อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าด้วยเหตุใด ชาณุสโสณีพราหมณ์

ก็เข้าไปเฝ้าแล้วด้วยเหตุนั้น.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไป

เฝ้าด้วยเหตุไรเล่า ?

ตอบว่า ด้วยประสงค์จะบรรลุคุณวิเศษนานาประการ อุปมาเหมือน

ต้นไม้ใหญ่ที่ผลิผลอยู่เนืองนิตย์ อันฝูงนกเข้าไปจับก็ด้วยประสงค์จะจิกกิน

ผลที่มีรสอร่อยฉะนั้น.

และคำว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่าไปแล้ว. บทกิริยาว่า อุปสงฺกมิตฺวา

เป็นบทแสดงถึงว่า การเข้าไปเฝ้าได้สิ้นสุดลงแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง (บท

กิริยาว่า อุปสงฺกมิตฺวา) จะอธิบายว่า ไปสู่ที่ใกล้กว่านั้น คือที่ใกล้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ก็ได้.

บทว่า ภควตา สทฺธิ สมฺโมทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อตรัสถามถึงสุขทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าทรงมีความบันเทิงพระทัยร่วมกับ

พราหมณ์นั้นฉันใด แม้พราหมณ์นั้นก็มีความบันเทิงใจร่วมกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า คือได้ถึงความบันเทิงใจ ได้แก่ความเป็นกันเองกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า เปรียบเหมือนน้ำเย็นกับน้ำร้อนเข้ากันได้ฉะนั้น.

อนึ่ง พราหมณ์นั้นบันเทิงใจ (กับพระผู้มีพระภาคเจ้า) ด้วย

ถ้อยคำใดมีอาทิว่า ยนต์คือพระวรกายของพระโคดมผู้เจริญยังพอทนได้อยู่

หรือ ? พระโคดมผู้เจริญพอยังยนต์คือพระวรกายให้เป็นไปได้อยู่หรือ?

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

พระโคดมผู้เจริญและเหล่าสาวกของพระโคดมยังคงมีอาพาธน้อย มีโรค

น้อย ยืน เดิน ได้คล่อง แข็งแรง (และ) มีความเป็นอยู่ผาสุกอยู่

หรือ? ถ้อยคำนั้น ชื่อว่า สัมโมทนียะ (เป็นเหตุให้บันเทิงใจ) เพราะ

ให้เกิดความบันเทิงใจเป็นอย่างดี กล่าวคือปีติและปราโมช และเพราะ

เป็นถ้อยคำสมควรเพื่อความบันเทิงใจ ชื่อว่า สาราณียะ (เป็นเหตุให้ระลึก

ถึงกันและกัน) เพราะเป็นถ้อยคำสมควรที่จะให้ (ผู้ฟังระลึกถึง) ตลอด

กาลแม้นาน คือให้เป็นไปไม่ว่างเว้น และเพราะเป็นถ้อยคำที่ (ผู้พูดเอง)

ก้องระลึกถึงด้วย ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะเมื่อฟังอยู่ก็เป็นสุข ชื่อว่า

สาราณียะ เพราะเมื่อระลึกถึงอยู่ก็เป็นสุข อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า

สัมโมทนียะ เพราะมีพยัญชนะแจ่มชัด ชื่อว่า สาราณียะ เพราะมีอรรถ

แจ่มชัด พราหมณ์ยังถ้อยลำซึ่งเป็นสัมโมทนียะสาราณียะให้ผ่านพ้นไป

คือสิ้นสุดลง ได้แก่ให้จบลงด้วยบรรยายเป็นอเนก ดังพรรณนามาอย่างนี้

แล้วประสงค์จะถามถึงจุดมุ่งหมายที่เป็นเหตุให้ตนต้องมา จึงนั่งลง ณ ที่

สมควรส่วนข้างหนึ่ง (ก่อน).

บทว่า เอกมนฺต เป็นบทแสดง ภาวนปุสกะ (กิริยาวิเศษ)

ดุจตัวอย่างในประโยคเป็นต้นว่า วิสม จนฺทิมสุริยา ปริวตนฺติ พระ

จันทร์และพระอาทิตย์โคจรไม่เท่ากัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น พึงเห็นความ

หมายในข้อนี้อย่างนี้ว่า พราหมณ์นั้นนั่งเหมือนที่เขานั่ง ๆ กันในที่สมควร.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอกมนฺต นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในความหมาย

แห่งสัตตมีวิภัตติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง

บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิต

เข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง

หนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง

ในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง

หนึ่ง.

ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง

หนึ่ง ?

ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.

ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง ?

ตอบว่า มีดังนี้คือ :-

๑. อติทูร นั่งไกลเกินไป

๒. อจฺจาสนฺน นั่งใกล้เกินไป

๓. อุปริวาต นั่งในที่เหนือลม

๔. อุนฺนตฺปฺปเทส นั่งในที่สูง

๕. อติสมฺมุข นั่งตรงหน้าเกินไป

๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก

อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูด

ด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็

จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ

นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน ) ก็จะต้องจ้องตากัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว) ดู.

เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.

กุลบุตร ๒ จำพวก

( ๒๘ ) บทว่า เยเม ตัดบทเป็น เย อิเม. แปลว่า กุลบุตร

เหล่านี้ใด.

บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่กุลบุตร ๒ จำพวก คือกุลบุตรโดย

กำเนิด ๑ กุลบุตรโดยอาจาระ ๑. ในกุลบุตร ๒ จำพวกนั้น กุลบุตรที่

เกิดในตระกูลสูง (ซึ่งมีที่มา) อย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล กุลบุตร

ชื่อรัฐบาลเป็นลูกชายของอัครกุลิกเศรษฐีในถุลลโกฏฐิตคามนั้นนั่นแล

ดังนี้ ชื่อว่ากุลบุตรโดยกำเนิด. ส่วนกุลบุตรที่แม้จะเกิดในตระกูลใดก็ตาม

เป็นคนเพียบพร้อมด้วยอาจาระซึ่งมีที่มาอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่าใดออกจาก

เรือน บวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธา ดังนี้ ชื่อว่า กุลบุตรโดยอาจาระ.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากุลบุตรด้วยเหตุ ๒ อย่าง (นั้น).

บทว่า สทฺธา แปลว่า ด้วยศรัทธา.

บทว่า อคารสฺมา แปลว่า จากเรือน.

บทว่า อนคาริย ได้แก่บรรพชาและอุปสมบท. ด้วยว่า แม้

บรรพชาก็ชื่อว่า อนคาริยา เพราะในบรรพชานี้ไม่มีการงานที่เกื้อกูลแก่

การครองเรือน. อธิบายว่า ในบรรพชานี้ไม่มีกสิกรรม (การเพาะปลูก)

และโครักขกรรม ( การเลี้ยงสัตว์) เป็นต้น ซึ่งเกื้อกูลแก่การครองเรือน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

ฝ่ายภิกษุ ก็ชื่อว่า อนาคาระ เพราะท่านไม่มีเรือน. ภาวะแห่งการไม่มี

เรือน ชื่อว่า อนคาริยะ.

บทว่า ปพฺพชิตา แปลว่า เข้าถึง. อธิบายว่า เข้าถึงบรรพชา

และภิกษุภาวะ กล่าวคือการงานที่ไม่เกื้อกูลแก่การครองเรือนแม้โดยประ-

การทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำกุลบุตร ๒ จำพวกนั้น

บทว่า ปุพฺพงฺคโม แปลว่า เป็นผู้ไปข้างหน้า คือเป็นผู้นำ.

บทว่า พหุกาโร แปลว่า เป็นผู้มีอุปการะมากเพราะทำประโยชน์

เกื้อกูลให้.

คำว่า ภวนฺเตส โคตโม สมาทเปตา ความว่า พระโคดมผู้เจริญ

ยังกุลบุตรเหล่านั้นให้รับ คือให้ศึกษาข้อศึกษาต่าง ๆ มีอธิศีลเป็นต้น.

บทว่า สา ชนตา แปลว่า หมู่ชนนั้น.

บทว่า ทิฏฺานุคตึ อาปชฺชติ แปลว่า เอาอย่าง. อธิบายว่า

พระโคดมผู้เจริญมีทิฏฐิอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด มีความพอใจ

อย่างใด แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็มีทิฏฐิอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น

มีความพอใจอย่างนั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พราหมณ์นี้จึงกล่าวอย่างนั้น ?

ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อก่อนพราหมณ์นี้เห็นกุลบุตรจำนวนมากอยู่

ในท่ามกลางเรือน ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยเบญจกามคุณราวกะว่าเป็น

เทพบุตร ได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างดีทั้งภายในบ้าน ภายนอกบ้าน

สมัยต่อมาก็ได้เห็นกุลบุตรเหล่านั้นฟังพระสัทธรรมเทศนาอันไพเราะของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา (กลับกลายมา

เป็น) ผู้สันโดษในเรื่องของกินและเครื่องนุ่งห่มอย่างยิ่งยวด แม้จะไม่มี

ใครคุ้มครองป้องกันให้ (ดังแต่ก่อน) ก็มิได้หวาดระแวง ร่าเริงยินดี

เบิกบานใจอยู่ในเสนาสนะป่า, และพราหมณ์ครั้นเห็นแล้วก็พลันคิดได้ว่า

การอยู่อย่างนี้ของกุลบุตรเหล่านี้ นับว่าเป็นการอยู่อย่างผาสุกแล้ว การอยู่

อย่างผาสุกนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยใคร ก็ได้รับคำตอบว่า เพราะอาศัยพระ

โคดม จึงได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประกาศความเลื่อมใส

นั้น เขาจึงได้มายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น เขาจึงกล่าวอย่างที่

กล่าวมาแล้วนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยอมรับและทรงสนับ

สนุนคำพูดของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอวเมต พฺราหฺมณ

ข้นนั้นเป็นอย่างนั้นแหละพราหมณ์.

ก็ในคำว่า เอวเมต พฺราหฺมณ นี้ มีอธิบายดังนี้ ว่า :-

บทว่า เอว นี้ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า รับรอง และ

อนุโมทนาคำพูด (ของคนอื่น).

บทว่า มม อุทฺทิสฺส แปลว่า เจาะจงเราตถาคต.

ด้วยบทว่า สทฺธา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเหตุต่าง ๆ มี

อาทิว่า ด้วยศรัทธานั้นเอง ไม่ใช่ (บวช) เพราะเป็นหนี้ ไม่ใช่เพราะ

ความกลัว. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเช่น

นี้เท่านั้น ไม่ใช่ของจำพวกอื่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

เสนาสนะป่า

[๒๙] บทว่า ทูรภิสมฺภาวานิ หิ ความว่า ยากที่จะอยู่ได้ด้วยดี

คือทนอยู่ได้ยาก อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศักดิ์น้อยไม่สามารถจะอยู่อาศัยได้.

บทว่า อรญฺวนปตฺถานิ ได้แก่ป่าและป่าเปลี่ยว.

ในบทว่า อรญฺวยปตฺถานิ นั้น มีอธิบายว่า:-

ว่ากันตามตรงในอภิธรรมแล้ว สถานที่อยู่นอกเสาเขื่อนไปทั้งหมด

ท่านเรียกว่า "ป่า" ก็จริง. ถึงกระนั้นก็พึงทราบว่า เสนาสนะใดที่ให้

สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์ได้ ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท้ายสุดประมาณ ๕๐๐

ช่วงธนู ท่านประสงค์เอาเสนาสนะนั้นเท่านั้น.

บทว่า วนปตฺถ ได้แก่สถานที่ที่เลยท้ายหมู่บ้านไป ไม่มีคนไปมา

บ่อย ๆ เป็นที่ที่ไม่มีการไถหว่าน. ข้อนี้สมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ ว่า:-

คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล.

คำว่า วนปตฺถ เป็นซึ่งของราวป่า.

คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่น่ากลัว.

คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่ทำให้มีขนชูชัน.

คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่อยู่ปลายแดน.

คำว่า วนปตฺถ ไม่ใช่เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีผู้คนไปมาบ่อยๆ.

และในที่นี้ นอกจากความหมายนี้อย่างเดียวว่า สถานที่อยู่ปลาย

แดน พึงเข้าใจป่าที่อยู่ปลายแดน ตามความหมายที่เหลือ.

บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่สถานที่อยู่ปลายแดน คือสถานที่ไกลมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

บทว่า ทุกฺกร ปวิเวก ความว่า กายวิเวก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก.

บทว่า ทูรภิรม แปลว่า ไม่ง่ายเลยที่จะยินดี.

บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้เดียว ( ในการอยู่คน

เดียว ).

ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?

ตอบว่า แสดงถึงว่า แม้จะบำเพ็ญกายวิเวกได้แล้ว การจะยังจิต

ให้ยินดีในวิเวกนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก. เพราะสัตว์โลกนี้มักยินดีในการ

อยู่เป็นคู่กัน.

บทว่า หรนฺติ มญฺเ ความว่า เหมือนจะนำไป คือ เหมือน

จะฉุดคร่าไป.

บทว่า มโน แปลว่า ซึ่งใจ.

บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ความว่า (ของภิกษุ) ผู้ไม่ได้

อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ.

ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?

ตอบว่า แสดงถึงว่า ป่าเหมือนจะทำจิตของภิกษุเช่นนี้ ให้ฟุ้งซ่าน

ด้วยเสียงทั้งหลายมีเสียงหญ้าเสียงใบไม้และเสียงสัตว์เป็นต้น และ ( รวม

ทั้ง ) อารมณ์ที่น่ากลัวต่าง ๆ. คำทั้งหมดที่กล่าวมานี้ พราหมณ์ซึ่งเกิด

พิศวงกับการอยู่ป่าของกุลบุตรทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธากล่าวไว้เเล้ว

ความหมายของ "พระโพธิสัตว์"

[๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงรับรองและอนุ-

โมทนาคำพูดของพราหมณ์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสมีอาทิว่า เอวเมต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

พฺราหฺมณ ตามนัยแรกนั่นแล แล้วจึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า มยฺหปิ โข เพื่อ

จะทรงแสดงว่า เสนาสนะชนิดนั้น ก็เป็นเสนาสนะที่อยู่ได้ยาก สำหรับ

พระองค์เอง เพราะเสนาสนะชนิดนั้น เป็นที่อยู่ยากสำหรับภิกษุทั้งหลาย

ผู้ถูกอารมณ์กลุ้มรุมในเพราะเหตุ ๑๖ อย่าง แต่ไม่เป็นที่อยู่ยากเลยสำหรับ

เหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยการข่มอารมณ์ได้ ในเพราะเหตุเหล่านั้น และ

พระองค์เองถึงจะเป็นพระโพธิสัตว์ก็ทรงอยู่ในฐานะเช่นนั้น.

บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา ความว่า ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้

อธิบายว่า ในเวลาอื่นจากเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้นนั่นแล.

บทว่า อนภิสมฺพุทฺธสฺส ได้แก่ยังไม่ได้แทงตลอดสัจจะ ๔.

บทว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต แปลว่า สัตว์ผู้จะตรัสรู้ คือสัตว์

ผู้ควรที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า สัตว์

ผู้ข้อง คือผู้ติดอยู่ในพระโพธิญาณ.

เพราะว่า นับจำเดิมแต่อภินิหารสำเร็จลงด้วยควานประชุมพร้อม

แห่งธรรม ๘ ประการแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่า "ทีปังกร" พระตถาคตซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์หรือเป็นสัตว์

ผู้เกี่ยวข้องอยู่ว่า โพธิญาณนี้ เราต้องบรรลุให้ได้ ไม่ยอมทิ้งความพยายาม

เพื่อบรรลุโพธิญาณนั้นมาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า "พระโพธิ-

สัตว์."

[๓๑] บทว่า ตสฺส มยฺห ความว่า สำหรับเราตถาคตนั้น คือ

ผู้เป็นพระโพธิสัตว์อย่างนี้นั่นแล.

บทว่า เย โข เกจิ สมณา วา พฺราหฺมณา วา ความว่า สมณ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

หรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง คือท่านผู้เข้าถึงการบรรพชา หรือบุคคล

ผู้มีปกติกล่าวว่า "โภ" (แปลว่า ผู้เจริญ).

บทว่า อปริสุทฺธกายกมฺมนฺตา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรม

อันไม่บริสุทธิ์ มีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า อปริสุทฺธกายกมฺนนฺตสนฺโทสเหตุ ความว่า เพราะเหตุ

แห่งโทษของตน กล่าวคือกายกรรมอันไม่บริสุทธิ์ อธิบายว่า เพราะเหตุ

แห่งกายกรรมอันไม่สะอาด.

บทว่า หเว เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว.

บทว่า อกุสล ได้แก่สิ่งมีโทษและไม่ปลอดภัย.

บทว่า ภยเภรว แปลว่า ภัยและสิ่งที่น่ากลัว.

บทว่า ภยเภรว นี้ เป็นชื่อเรียกความหวาดสะดุ้งแห่งจิตและอารมณ์

อันน่ากลัว.

บรรดาภัยและสิ่งที่น่ากลัวทั้ง ๒ อย่างนั้น ภัย พึงทราบว่าเป็น

อกุศล เพราะมีความหมายว่ามีโทษ สิ่งที่น่ากลัว พึงทราบว่าเป็นอกุศล

เพราะมีความหมายว่าไม่ปลอดภัย.

บทว่า อวฺหยนฺติ แปลว่า ย่อมเรียกร้องมา.

ถามว่า ย่อมเรียกร้องมาอย่างไร ?

ตอบว่า ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นทำบาปกรรมมีปาณาติบาต

เป็นต้นแล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ถ้าคนที่เราทำผิดต่อเขารู้จักตัวเรา

(ว่าเป็นคนทำ ) ไซร้ ก็จะต้องติดตามมาแก้เผ็ดเราเสียเดี๋ยวนี้แหละ จึง

หลบเข้าป่านั่งแอบอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ พอเขาได้ยินเสียงหญ้าหรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

เสียงใบไม้เข้า แม้เพียงนิดหน่อยก็สะดุ้งโหยงด้วยคิดว่า เสร็จแล้วเราคราว

นี้ เธอ (รู้สึก) จะเป็นเหมือนถูกคนอื่นมาล้อมไว้และเป็นเหมือนถูกจับฆ่า

ฉะนั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นสมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียก

หาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นเข้ามาหาตน.

คำว่า น โข ปนาห ฯปฯ ปฏิเสวานิ ความว่า เราแลเป็นผู้มี

กายกรรมอันไม่บริสุทธิ์ จึงอยู่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าและเป็น

ป่าเปลี่ยวได้.

บทว่า โว ในคำว่า เยหิ โข เป็นเพียงนิบาต. พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายและพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่า "พระ

อริยะ."

บทว่า ปริสุทฺธกายกมฺมนฺตา ความว่า (พระอริยเจ้าทั้งหลาย )

เป็นเช่นนี้.

บทว่า อห เตส อญฺตโร ความว่า แม้เราตถาคตก็เป็นคนหนึ่ง

คือเป็นคนใดคนหนึ่งในบรรดาพระอริยเจ้าเหล่านั้น. อันที่จริง พระโพธิ-

สัตว์ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต ย่อมเป็นผู้มีกายกรรม

บริสุทธิ์ทั้งนั้น.

บทว่า ภิยฺโย เป็นนิบาต ใช้ในความว่า อย่างยิ่ง.

บทว่า ปลฺโลน แปลว่า ความเป็นผู้มีขนตก (ไม่ลุกชูชัน)

อธิบายว่า ปลอดภัย คือสวัสดิภาพ.

บทว่า อาปาทึ แปลว่า ถึงแล้ว อธิบายว่า ถึงความสวัสดีมาก

มาย หรือความสวัสดีโดยอาการหลายอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

สองบทว่า อรญฺเ วิหาราย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่

ในป่า.

จบกถาว่าด้วยวาระแห่งกายกรรม

วจีกรรม - มโนกรรม - อาชีวะ

ทุกบทมีนัยเช่นนี้. แต่ว่าที่แปลกออกไปมีดังต่อไปนี้ :-

[๓๒] จะกล่าวในวาระว่าด้วยวจีกรรมก่อน. บทว่า อปริสุทฺธ-

วจีกมฺมนฺตา ความว่า ประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่บริสุทธิ์ มีมุสาวาท

เป็นต้น.

ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีวจีกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เหล่านั้น จะเรียก

ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นหักรานประโยชน์ของคนอื่น

ด้วยการพูดเท็จ ทำลายมิตรด้วยคำพูดส่อเสียด ก็ทำลายความรักของตน

อื่นด้วยถ้อยคำหยาบคายในท่ามกลางบริษัท ทำให้การงานของคนอื่นเสีย

หายไปด้วยคำพูดที่ไร้ประโยชน์ แล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ถ้าคนที่

เราทำผิดต่อเขารู้ว่าเรา ( เป็นคนทำ ) ก็คงจะตามมาแก้เผ็ดเราเดี๋ยวนี้แหละ

จึงหลบเข้าป่าไปนั่งอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ พอเขาได้ยินเสียงหญ้า

หรือเสียงใบไม้แม้เพียงนิดเดียวก็สะดุ้งโหยง ด้วยคิดว่า เสร็จแล้วเราคราว

นี้ เธอ (รู้สึก) จะเป็นเหมือนมีคนอื่นมาล้อมไว้ และเป็นเหมือนถูกจับฆ่า

ฉะนั้น. สมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าร้อง คือเรียกหาภัยและอารมณ์อัน

น่ากลัวนั้นให้เข้ามาหาตน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

จะกล่าวในวาระว่าด้วยมโนกรรม. บทว่า อปริสุทฺธมโนกมฺนนฺตา

ความว่า ประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่บริสุทธิ์ มีอภิชฌาเป็นต้น.

ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีมโนกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เหล่านั้น จะเรียก

ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นเกิดความโลภชนิดที่ขาดความ

ชอบธรรม อันได้แก่อภิชฌา (ความเพ่งเล็งของผู้อื่น) ในสิ่งของที่คนอื่น

รักษาคุ้มครองแล้ว โกรธคนอื่นและให้คนอื่นยึดถือทรรศนะที่ผิดไปด้วย

แล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ฯ ล ฯ ชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียกหาภัยและ

อารมณ์อันน่ากลัวนั้นให้เข้ามาหาตน.

จะกล่าวในวาระว่าด้วยอาชีวะ. บทว่า อปริสุทฺธาชีวา ความว่า

ประกอบด้วยอาชีพอันไม่บริสุทธิ์ แยกประเภทเป็นอเนสนา ๒๑ อย่าง มี

ทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรค เป็นทูตส่งข่าวสารและค้าขายหากำไรเป็นต้น

ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีอาชีพอัน ไม่บริสุทธิ์เหล่านั้น จะเรียก

ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นเลี้ยงชีวิตอย่างนั้นอยู่ ได้ยิน

ข่าวว่า นัยว่าเหล่าภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งทำหน้าที่ชำระสะสางพระ

ศาสนาให้บริสุทธิ์ กำลังออกไปชำระสะสางพระศาสนา วันนี้หรือพรุ่งนี้

ก็จักเดินทางมาถึงที่นี้ (ได้ยินอย่างนั้นแล้ว) จึงหนีเข้าป่าไปนั่งแอบอยู่

ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ ฯลฯ สู่ดุ้งโหยง เธอ (รู้สึก ) จะเป็นเหมือน

ภิกษุเหล่านั้นมาล้อมจับไว้และเป็นเหมือนถูก ( จับสึก) ให้นุ่งผ้าขาว. คำ

ที่เหลือก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

ในคำว่า อิโต ปร อภิชฺฌาลุ เป็นต้น มีอธิบายว่า อภิชฌาและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

พยาบาทสงเคราะห์เข้าในมโนกรรมก็จริง ถึงอย่างนั้นพึงทราบว่า ท่าน

กล่าวซ้ำไว้อีกด้วยอำนาจนิวรณ์.

อธิบายนิวรณ์ ๕

[๓๓] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาลุ ได้แก่ผู้มีปกติ

เพ่งเล็งสิ่งของของคนอื่น. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสราคา ได้แก่ผู้มีกิเลส

คือราคะอย่างแรงกล้าในวัตถุกามทั้งหลาย.

ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีกิเลสคือราคะแรงกล้าเหล่านั้น จะเรียก

ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้พิจารณาอารมณ์ให้ละเอียด

ถี่ถ้วน เมื่อท่านไม่ได้กำหนดพิจารณาอารมณ์ให้ละเอียดถี่ถ้วน อยู่ในป่า

สิ่งที่เห็นในตอนกลางวัน ย่อมปรากฏเป็นภัยและเป็นของน่ากลัวในตอน

กลางคืน เธอมีจิตเป็นอกุศล (อยู่แล้ว ) ย่อมจะหวาดสะดุ้งด้วยภัยและ

สิ่งที่น่ากลัวแม้เพียงเล็กน้อย คือเห็นเชือกหรือเถาวัลย์ก็สำคัญว่าเป็นงู

เห็นตอไม้สำคัญว่าเป็นยักษ์ เห็นเนินดินหรือภูเขาก็สำคัญว่าเป็นช้าง เป็น

เหมือนถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. คำที่เหลือก็เหมือนกับที่

กล่าวมาแล้วนั่นแล.

บทว่า พฺยาปนฺนจิตฺตา แปลว่า มีจิตวิบัติไป เพราะละสภาพปกติ

เสีย. เป็นความจริง จิตที่คละเคล้าอยู่กับกิเลสย่อมละสภาพปกติกลับกลาย

เป็นจิตเสียไป เหมือนข้าวและกับเก่าที่บูดฉะนั้น.

บทว่า ปทุฏฺมนสงฺกปฺปา แปลว่า มีจิตคิดไปในทางไม่ดี อธิบาย

ว่า ประกอบด้วยความดำริแห่งจิตที่ไม่ดี คือทำคนอื่นให้เสียประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ถามว่า สมณพราหมณ์ที่มีจิตวิบัติคิดไปในทางที่ไม่ดีเหล่านั้น จะ

เรียกร้องความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า นับตั้งแต่นี้ไป การเรียกร้องหาความกลัวและอารมณ์อัน

น่ากลัว พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วย อภิชฺฌาลุ นั่นแหละ.

แต่ว่าในที่ใดจักมีแปลกออกไป ข้าพเจ้าก็จักกล่าวอธิบายไว้ในที่นั้น.

[๓๔] ก็ในพระดำรัสตอนนี้ว่า น โข ปนาห พฺยาปนฺนจิตฺโต

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า เราตถาคตมีจิตประกอบไปด้วยเมตตา

มีจิตคิดเกื้อกูล. เป็นธรรมดา พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นเช่นนี้ (ทั้ง

นั้น ) บัณฑิตพึงพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ ด้วยอำนาจนัยตรงกันข้าม

กับโทษที่กล่าวไว้ในทุกบทอย่างนี้.

[๓๕] บทว่า ถีนมิทฺธปริยุฏฺิตา แปลว่า อันถีนะ ( ความ

ท้อถอย, ท้อแท้) ซึ่งเป็นความพิการของจิตและมิทธะ (ความง่วง

เหงา) ซึ่งเป็นความพิการของกองนามที่เหลือ (เวทนา สัญญา สังขาร)

กลุ้มรุมแล้ว อธิบายว่า ครอบงำ คือยึดครอง. สมณพราหมณ์ที่ถูก

ถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้วมักจะหลับ.

[๓๖] บทว่า อุทฺธตา แปลว่า มีปกติฟุ้งซ่าน คือมีจิตดิ้นรน

อธิบายว่า จิตย่อมดิ้นรนไปจากอารมณ์เดียวด้วยอุทธัจจะ เหมือนผ้า (ที่

ทำธง) โบกสะบัดที่ (ปลาย ) เสาธงเพราะลมฉะนั้น.

บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตมีอารมณ์ไม่ดับ (ไม่สงบ)

ในที่นี้ จะระบุถึงกุกกุจจะ (ความรำคาญ ) ก็ได้.

[๓๗] ในพระพุทธพจน์นี้ว่า กงฺขี วิจิกิจฺฉี เป็นบทเดียวกัน

แท้ทีเดียว ( เพราะ) นิวรณ์ข้อที่ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

กังขา เพราะสงสัยอารมณ์ว่า อารมณ์นี้เป็นอย่างนี้หรือหนอ ตรัสเรียก

ว่าวิจิกิจฉา เพราะไม่สามารถจะตัดสินได้ว่า อารมณ์นี้เป็นอย่างนี้นะ.

สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยกังขาและวิจิกิจฉานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า กงฺขี วิจิกิจฺฉี (ผู้มีความสงสัย ไม่สามารถตัดสินอารมณ์ได้).

บทว่า อตฺตุกฺกสกา ปรวมฺภี ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด

ยกตนเชิดตนขึ้น ได้แก่วางตัวสูง และข่ม คือดูถูก ได้แก่ติเตียนคนอื่น

หมายความว่าวางคนอื่นไว้ต่ำ (กว่าตน) สองบทนั้น (อตฺตุกฺกสกา

ปรวมฺภี) เป็นคำเรียกสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่มคนอื่นนั้น จะเรียกร้องหาภัยและ

อารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า การร้องเรียกหาภัยของสมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่มคนอื่นนั้น

บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนกับในกายกรรมว่า สมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่ม

คนอื่นเหล่านั้น ถูกคนอื่นติดตามจับด้วยข้อหาว่า ได้ทราบว่าท่านชื่อโน้น

และชื่อโน้นยกตน ติเตียนพวกเราทำให้เป็นเหมือนทาส จงจับตัวไว้ให้

ได้ ดังนี้ หลบหนีไปเข้าป่าแล้วนั่งแอบอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้.

[๓๙] บทว่า ฉมฺภี แปลว่า ประกอบด้วยความหวาดเสียว ซึ่ง

กระทำให้กายประสาทหวาดเสียวและขนตั้งชัน.

บทว่า ภีรุกชาติกา แปลว่า มากไปด้วยความกลัว อธิบายว่า

ไม่ค่อยกล้าเหมือนกับเด็กชาวบ้านที่ขี้กลัวฉะนั้น.

[๔๐] ในบทว่า ลาภสกฺการสิโลโก นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า

ลาภ เพราะหมายความว่า อันบุคคลย่อมได้ คำว่า ลาภนั้น เป็นชื่อเรียก

ปัจจัย ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

บทว่า สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย

ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่

คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.

บทว่า สิโลโก แปลว่า การกล่าวสรรเสริญคุณ ลาภ ๑ สักการะ๑

การกล่าวสรรเสริญ ๑ นั้น ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.

บทว่า นิกามยมานา แปลว่า ปรารถนาอยู่.

การเรียกร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวเป็นเหมือนกับที่กล่าวใน

ตอนว่าด้วยอภิชฌาลุนั่นแล. ส่วนในที่นี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้

กล่าวถึงเรื่องพระปิยคามิกะ ซึ่งเป็นตัวอย่างของเรื่องนั้นไว้ว่า:-

ปิยคามิกภิกษุ

ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่งชื่อปิยคามิกะ เห็นลาภของพวกภิกษุ

ผู้สมาทานธุดงค์แล้วคิดว่า เราก็จะสมาทานธุดงค์ทำลาภให้เกิดขึ้นบ้าง

ดังนี้แล้วสมาทานโสสานิกังคธุดงค์ ( ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็น

วัตร) แล้วอยู่ในป่าช้า.

อยู่มาวันหนึ่ง วัวแก่ตัวหนึ่งซึ่งเจ้าของไม่ใช้งานแล้ว ( ปล่อยทิ้ง)

กลางวันออกเที่ยวกิน ตกกลางคืน ( เข้าไป ) ในป่าช้านั้น ได้ยืนขนหยอง

ซุกศีรษะไว้ที่พุ่มดอกไม้. พระปิยคามิกะออกจากที่จงกรมไปในตอน

กลางคืน ได้ยินเสียงคางของวัวนั้นกระทบกันแล้วก็เข้าใจว่า ท้าวสักก-

เทวราชคงจะทราบเราว่า พระรูปนี้หวังลาภจึงมาอยู่ในป่าช้า ดังนี้แล้ว

มาเพื่อทำร้ายเราแน่ ๆ. ท่านจึงได้ยืนประนมมือไหว้ข้างหน้าวัวแก่ อ้อน

วอนอยู่ตลอดคืนยังรุ่งว่า ข้าแต่ท่านท้าวเทวราชผู้เป็นสัตบุรุษ ขอพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

องค์จงยกโทษให้อาตมาคืนนี้สักคืนหนึ่งเถอะ แล้วตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป

อาตมาจักไม่ทำอย่างนี้อีก ต่อนาพอพระอาทิตย์อุทัย ท่านก็ได้เห็นเป็นวัว

แก่ตัวนั้น (ไม่ใช่ท้าวสักกะ) จึงเอาไม้ตะพดหวดตะเพิดไล่เตลิดเปิดเปิง

ไปพร้อมทั้งคำไล่หลังว่า แกทำให้ข้ากลัวตลอดคืนยังรุ่งเลย.

สติกับปัญญา

[๔๑] บทว่า กุสีตา แปลว่า ตกอยู่ใต้อำนาจความเกียจคร้าน.

บทว่า หีนวีริยา ความว่า เสื่อม คือเว้น ได้แก่ปราศจากความ

เพียร อธิบายว่า ไม่มีความเพียร. ในบุคคล ๒ จำพวกนั้น คนที่เกียจ

คร้านย่อมเว้นจากการเริ่มความเพียรทางกาย คนที่ขาดความเพียรย่อมเว้น

จากการเริ่มความเพียรทางจิต ( สรุปแล้ว ) คนทั้ง ๒ จำพวกนั้นย่อมไม่

สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้. คำทั้งหมดว่า เตส อววตฺถิ-

ตารมฺมณาน (มีความหมาย) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาก่อนแล้ว.

[๔๒ ] บทว่า มุฏฺสฺสตี แปลว่า ปล่อยสติ.

บทว่า อสมฺปชานา แปลว่า ปราศจากปัญญา ก็เพราะพระพุทธ-

ดำรัสว่า ตถาคตเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำนี้

ว่า มุฏฺสฺสตี พระดำรัสว่า อสมฺปชานา นี้ จึงเป็นบทขยายสติเท่านั้น.

ส่วนปัญญาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสติที่หย่อน

กำลัง. เพราะว่าสติมี ๒ อย่าง คือสติที่ประกอบด้วยปัญญา ๑ สติที่ไม่

ประกอบด้วยปัญญา ๑. ในสติทั้ง ๒ นั้น สติประกอบด้วยปัญญาย่อมมี

กำลัง สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมหย่อนกำลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อสมฺปชานา (ไม่มีปัญญา) เพื่อแสดงความหมาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

นี้ว่า แม้ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นมีสติ ก็ยังชื่อว่ามีสติหลงลืมอยู่นั้นเอง

เพราะไม่มีปัญญา เนื่องจากว่าสติที่หย่อนกำลังจะทำหน้าที่ของสติไม่ได้.

ภิกษุเหล่านั้นหลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญะ (ปัญญา) ดังกล่าวมานี้ ย่อม

ไม่สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้เลยแล. คำ (ที่เหลือ)

ทั้งหมด (มีความหมาย ) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาแล้ว.

จิตกับปัญญา

[๔๓] บทว่า อสมาหิตา แปลว่า เว้นจากอุปจารสมาธิและ

อัปปนาสมาธิ.

บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตพลัดออกนอกทาง คือจิต

ย่อมหมุนไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะเว้นจากสมาธิ ได้แก่เพราะท่าน

เหล่านั้นขาดสมาธิเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดด

มาตามกิ่งไม้ในป่าฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มั่นคงอยู่ในอารมณ์แม้

อย่างเดียว คือมีจิตหมุนไปต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้

เพราะอุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่านเป็นเหตุ) ย่อมไม่สามารถจะทำแม้เพียง

การกำหนดอารมณ์ได้เลย.

คำ (ที่เหลือ) ทั้งหมด มี (ความหมาย) เหมือนกับความหมาย

ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น.

[๔๔] บทว่า ทุปฺปญฺา นี้ เป็นคำสำหรับเรียกคนที่ไม่มีปัญญา.

แต่ปัญญาที่ชื่อว่าทรามไม่มีแน่.

บทว่า เอลมูคา แปลว่า มีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย ท่านแปลง ข

อักษรให้เป็น ค อักษร (จึงสำเร็จรูปเป็น เอลมูคา) อธิบายว่า มีปาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

น้ำลายไหลยืด. เพราะว่าเมื่อคนมีปัญญาทรามพูด น้ำลายจะไหลออกมา

จากปาก. และน้ำลายเรียกว่า เอละ. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ปสฺเสลมูค อุรค ทฺวิชิวฺห เธอจงดูงูปากมีน้ำลายไหลยืด (กำลังแลบลิ้น)

มีลิ้น ๒ แฉก. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า เอลมูคา. ปาฐะว่า เอลมุขา ดังนี้ก็มี. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า เอลมุกา บ้าง. (แต่ ) อาจารย์อีกพวกหนึ่งกลับกล่าว

ว่า เอมุขา ดังนี้ก็ยังมี. (ถึงอย่างไร) ในทุก ๆ บทก็มีความหมายว่า

เอลมุขา ปากมีน้ำลายไหลยืด).

ถามว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องหาภัยและ

อารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?

ตอบว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามมีน้ำลายไหลยืดเหล่านั้น จะไม่สามารถ

ทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ เมื่อเธอกำหนดอารมณ์ไม่ได้ อยู่ในป่า สิ่งที่

เห็นในเวลากลางวัน พอเวลากลางคืนจะปรากฏเป็นภัยและอารมณ์ที่น่า

กลัว. เธอมีจิตใจวอกแวกย่อมหวาดเสียวแม้ด้วยอารมณ์เพียงเล็กน้อย

เห็นเชือกหรือเถาวัลย์แล้วย่อมสำคัญว่าเป็นงู เห็นตอไม้ย่อมสำคัญว่าเป็น

ยักษ์ เห็นที่ดอนหรือภูเขาย่อมสำคัญว่าเป็นช้าง (ย่อมหวาดกลัว) เป็น

ดังหนึ่งถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่า

นั้นชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียกหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัว นั้นให้เข้ามาหาตน

ดังพรรณนามาฉะนี้.

ในคำว่า ปญฺาสมฺปนฺโนหมสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อม คือ

ผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา. แต่ไม่ใช่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ไม่ใช่ด้วย

มัคคปัญญา โดยที่แท้แล้วประกอบพร้อมด้วยปัญญาและเครื่องกำหนด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

อารมณ์ในเพราะเหตุ ๑๖ ประการเหล่านี้. คำที่เหลือมีความหมายเหมือน

กับที่กล่าวมาแล้วในทุกบทแล.

จบ การกำหนดอารมณ์ในเพราะเหตุ ๑๖ ประการ.

[๔๕ ] บทว่า ตสฺส มยฺห มีอนุสนธิ (การสืบต่อลำดับความ)

เป็นอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์กำหนดอารมณ์ ๑๖ อย่างเหล่านี้อยู่ ครั้น

มองไม่เห็นความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัว จึงได้ทำการค้นหาความกลัว

และอารมณ์อันน่ากลัว (นั้น) ดำริว่า ธรรมดาความกลัวและอารมณ์อัน

น่ากลัว ย่อมจะปรากฏในเสนาสนะอย่างนี้ ในราตรีเช่นนี้ เอาเถอะเราจะ

ค้นหาดูความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัวนั้น ในเสนาสนะอย่างนั้นในราตรี

เช่นนั้น จึงได้แสวงหาภัยและอารมณ์ที่น่ากลัว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้แก่พราหมณ์จึงได้ตรัสคำว่า ตสฺส มยฺห

ดังนี้เป็นต้น.

ราตรี - กำหนดดิถีแห่งปักษ์

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตา นั่น เป็นคำยกราตรีอย่างเดียว

ขึ้นแสดง. ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิญฺาตา นี้ เป็นอุปสรรค ใช้ลง

ในความหมายว่า ลักษณะ (การกำหนด) เพราะฉะนั้น ในบทว่า

อภิญฺาตา พึงทราบว่า ราตรีทั้งหลายท่านกำหนดด้วยลักษณะทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า พระจันทร์เพ็ญ พระจันทร์ดับ.

(ส่วน) ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิลกฺขิตา เป็นเพียงอุปสรรค

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายว่า อภิลกฺขิตา ก็คือ ลกฺขณียา

(พึงกำหนด ) นั้นเอง. ขยายความว่า ราตรีทั้งหลาย อันบัณฑิตพึง

กำหนด อธิบายว่า พึงกำหนดด้วยดี คือพึงกำหนดให้มั่น เพื่อกระทำ

กิจมีการสมาทานอุโบสถ การฟังธรรม และการบูชาสักการะเป็นต้น.

ที่ชื่อว่า จาตุทฺทสี ได้แก่ ราตรีหนึ่งซึ่งทำให้ครบ ๑๔ วัน

จำเดิมแต่วันแรกแห่งปักษ์. ปัญจทสีและอัฏฐมีก็ (มีความหมาย)

เป็นอย่างนั้น. บทว่า ปกฺขสฺส ได้แก่ แห่งสุกกปักษ์ และกัณหปักษ์.

เพราะรวมราตรีเหล่านั้นเข้าด้วยกันปักษ์ละ ๓ ราตรี จึงเป็น ๖ ราตรี

ฉะนั้น จึงควรประกอบคำว่า "ปักษ์" เข้าไว้ในทุกบทว่า ปกฺขสฺส

จาตุทฺทสี ดิถีที่ ๑๔ แห่งปักษ์ ปกฺขสฺส ปญฺจทสี ดิถีที่ ๑๕ แห่ง

ปักษ์ ปกฺขสฺส อฏฺฐมี ดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงไม่จัดดิถีที่ ๕ เข้า

ไว้ด้วย?

ตอบว่า เพราะดิถีที่ ๕ มิได้มีตลอดกาล ทราบมาว่า ในตอน

ก่อน ๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ดี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว

ยังไม่ปรินิพพานก็ดี ดิถีที่ ๕ ท่านมิได้กำหนดไว้เลย ต่อเมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย

จึงพากันคิดว่า การฟังธรรมจะมีได้ก็นาน ๆ ที่. แต่นั้นจึงสมมติกำหนด

ดิถีที่ ๕ ให้เป็นวันธรรมสวนะ. นับแต่นั้นนาดิถีที่ ๕ นั้นจึงกลายเป็นวัน

ที่ท่านกำหนดไว้แล้ว เพราะเหตุที่ดิถีที่ ๕ มิได้มีตลอดกาลอย่างนี้แล

ท่านจึงไม่จัดรวมไว้ในที่นี้.

บทว่า ตถารูปาสุ ก็คือ ตถาวิธาสุ ( อย่างนั้น).

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

เจดีย์

บทว่า อารามเจติยานิ ความว่า ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ทั้งหลาย

เช่นสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อารามเจดีย์

เพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเรียกว่าเจดีย์ เพราะหมายความว่า เป็นที่ยำเกรง

อธิบายว่า เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่ที่บุคคลพึงบูชา.

บทว่า วนเจติยานิ ความว่า ป่าทั้งหลาย เช่นราวป่าสำหรับนำ

เครื่องสังเวยไปสังเวย ( เทวดา ) ป่าสุภัควันและป่าที่ตั้งศาลของเทวดา

เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า วนเจดีย์.

บทว่า รุกฺขเจติยานิ ความว่า ต้นไม้ที่ควรบูชาตามประตูเข้า

หมู่บ้านและนิคมเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า รุกขเจดีย์.

เพราะชาวโลกสำคัญอยู่ว่า เทวดาสิงสถิตบ้าง มีความสำคัญใน

สถานที่เหล่านั้นนั่นแลว่าเป็นทิพย์บ้าง จึงพากันทำความเคารพคือบูชา

สวนป่าและต้นไม้ทั้งหลาย ฉะนั้น สวนป่าและต้นไม้เหล่านั้น ทั้งหมด

เขาจึงพากันเรียกว่า เจดีย์ .

บทว่า ภึสนกานิ แปลว่า ให้เกิดความกลัว คือ ยังความกลัว

ให้เกิดทั้งแก่ผู้เห็นอยู่ทั้งแก่ผู้ได้ยินอยู่.

บทว่า สโลมหสานิ เป็นไปกับความชูชันแห่งขน เพราะเมื่อใคร

เข้าไปก็จะเกิดขนชูชัน.

บทว่า อปฺเปว นาม ปสฺเสยฺย ความว่า ทำไฉนหนอเราจะพึง

ได้ประสบภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นบ้าง.

บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า โดยกาลอื่นจากกาลที่คิดไว้แล้ว

อย่างนี้ว่า (ตถาคตนั้น ) ได้มีความคิดดังนี้ว่า ทำไฉนเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

บทว่า ตตฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต ( ดูก่อนพราหมณ์ ก็

เมื่อเราตถาคตอยู่ในสถานที่เหล่านั้น) ความว่า บรรดาเสนาสนะเหล่านั้น

เสนาสนะแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของยักษ์ ที่มนุษย์ทั้งหลายควร

บนบาน และนำเครื่องสังเวยเข้าไปสังเวย มีพื้นธรณีเกลื่อนกล่นด้วยเครื่อง

บูชาและเครื่องสังเวยทั้งหลาย เช่น ดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด มันเหลว

มันข้น ม้าม ปอด สุรา และเมรัยเป็นต้น เป็นเหมือนสถานที่ที่รวม

ชุมนุมกันของพวกยักษ์รากษสและปีศาจ ซึ่งเมื่อคนทั้งหลายมาเห็นเข้าใน

ตอนกลางวัน ดูเหมือนหัวใจจะวายตาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาสถานที่นั้น จึงตรัสว่า ตคฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต.

ความหมายของมิคะและโมระ

บทว่า มิโค วา อาคจฺฉติ ความว่า เนื้อซึ่งแยกประเภทเป็น

กวาง แรด เสือเหลือง และหมูป่าเป็นต้น เดินประเขาหรือเตะกีบเท้า

กันมา ก็คำว่า มิโค ในที่นี้เป็นชื่อสัตว์ ๔ เท้าทุกชนิด. แต่ในที่

บางแห่ง มิคะ ( เนื้อ ) ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอดบ้าง

เหมือนอย่างที่สัตว์กล่าว (เยินยอสุนัขจิ้งจอกตาบอด ) ว่า

คอของท่านช่างสง่างามเหมือนคอของโคอุสภะ และ

เหมือนคอของราชสีห์ฉะนั้น ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอ

ความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน พวกเราจะได้อะไรบ้าง

ไหม ?

บทว่า โมโร วา กฏฺ ปาเตติ ความว่า นกยูงทำไม้แห้งให้

ตกจากต้นไม้ และด้วยศัพท์ว่า โมระ ในคำนี้ ท่านหมายเอานกทุก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

จำพวก. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแก้ว่า ได้แก่ โย โกจิ ปกฺขี นกตัวใด

ตัวหนึ่งก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง ด้วย วา ศัพท์ในคำว่า โมโร วา ท่าน

แก้ว่า ได้แก่ นกชนิดอื่นหรือลางตัว. แม้ใน มิคะ ศัพท์ ซึ่งเป็น

ศัพท์แรก (ก่อนศัพท์ว่า โมโร ) ก็มีนัยนี้.

บทว่า วาโต วา ปณฺณกสฏ เอเรติ ความว่า ลมพัดใบไม้

กุมฝอย.

บทว่า เอต นูน ต ภยเภรว อาคจฺฉติ ความว่า สิ่งใดย่อม

มา (ปรากฏ) สิ่งนั้นจัดเป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัวแน่นอน และ

ตั้งแต่บัดนี้ไป อารมณ์นั้นแลพึงทราบว่า เป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัว.

เพราะมีภัยทั้งเล็กน้อยและมีประมาณยิ่งเป็นอารมณ์ อารมณ์จึงชื่อว่า ภัย

และสิ่งที่น่ากลัว เปรียบเหมือนรูปที่มีความสุขเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเป็นสุข

ด้วยฉะนั้น.

บทว่า กินฺนุโข อห อญฺทฏฺฐุ ภยปาฏิกงฺขี วิหรามิ ความว่า

ตถาคตแลหวังอยู่ คือปรารถนาอยู่ซึ่งเหตุอะไรว่าเป็นภัยโดยส่วนเดียว

นั้นแลจึงอยู่.

บทว่า ยถาภูตสฺส ยถาภูตสฺส ความว่า เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่

หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถใด ๆ.

บทว่า เม คือในสำนักของเราตถาคต.

บทว่า ตถาภูโต ตถาภูโต วา ความว่า เป็นอยู่ คือ เป็นไป

อยู่ หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแล.

บทว่า โส โข อห ฯ เป ฯ ปฏิวิเนมิ ความว่า ได้ยินว่า

เมื่อพระโพธิสัตว์จงกรมอยู่ ครั้นเมื่ออารมณ์คือภัยและสิ่งที่น่ากลัวมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ประเภทเช่นเขาเนื้อและเสียงกีบเท้าเป็นต้นมาปรากฏ องค์พระมหาสัตว์ก็

ไม่ประทับยืน ( นิ่ง ๆ) ไม่ประทับนั่ง ไม่เสด็จเข้าบรรทม. ตรงกันข้าม

กลับเสด็จจงกรมต่อไป ใคร่ครวญไป พินิจพิเคราะห์ ( จนกระทั่ง )

มองไม่เห็นว่าเป็นภัยและสิ่งที่น่ากลัว มันเป็นเพียงเขาเนื้อและเสียงกีบเท้า

เป็นต้นเท่านั้น. ครั้นทราบอารมณ์นั้นว่า มันชื่อนี้ ไม่ใช่เป็นภัยและสิ่ง

ที่น่ากลัว ดังนี้แล้ว ต่อนั้นไป พระองค์จึงหยุดประทับยืน ประทับนั่ง

หรือเสด็จเข้าบรรทม.

เมื่อจะทรงแสดงความหมายอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ

ว่า โส โข อห ดังนี้เป็นต้น. ในทุก ๆ เปยยาลก็มีนัยนี้.

ความฉลาดในการออกจากสมาบัติ

และต่อจากนี้ไป พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอิริยาบถไว้

ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน หาได้ตรัสไว้ตามลำดับอิริยาบถไม่. อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน แห่งอิริยาบถนั้น ๆ อย่าง

นี้ว่า ก็เมื่อเราตถาคตจงกรมอยู่ เมื่อภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ

เราตถาคตก็ไม่หยุดยืน ไม่นั่ง ไม่นอน แม้เมื่อเราตถาคตหยุดยืน เมื่อภัย

และอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ เราตถาคตก็ไม่เดินจงกรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์ไม่มีภัยและ

อารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการที่พระองค์

ประทับอยู่อย่างไม่ลุ่มหลงในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงของบุคคลผู้

ได้ฌานทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สนฺติ โข ปน พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.

[๔๖] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ เท่ากับ อตฺถิ มีอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

คือ สวิชฺชนฺติ มีอยู่พร้อม ได้แก่ อุปลพฺภนฺติ ได้อย่างแน่นอน.

บทว่า รตฺตึเยว สมาน แปลว่า เวลา ที่เป็นกลางคืน.

บทว่า หิวาติ สญฺชานนฺติ แปลว่า สำคัญอยู่ว่า เวลานี้เป็น

เวลากลางวัน.

บทว่า ทิวาเยว สมาน แปลว่า เวลาที่เป็นกลางวัน.

บทว่า รตฺตีติ สญฺชานนฺติ แปลว่า สำคัญอยู่ว่า เวลานี้เป็นเวลา

กลางคืน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร บุคลผู้ได้ฌานอย่างนี้จึงมีความสำคัญ

อย่างนี้ ?

ตอบว่า เพราะไม่มีความฉลาดในการออกจากฌาน หรือเพราะ

เสียงนกร้อง.

ถามว่า เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า บุคคลผู้ได้โอทาตกสิณ ลางคนในโลกนี้เกิดมนสิการขึ้นว่า

เราทำบริกรรมในตอนกลางวัน เข้า (ฌาน) ในตอนกลางวันแล้วจะ

ออกในตอนกลางวันนั้นแหละ. แต่ว่าท่านก็ไม่ฉลาดในการกำหนดเวลา

ออกไว้ ท่านจึงเข้าฌานล่วงเลยเวลากลางวันไปออกในตอนกลางคืน และ

ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งโอทาตกสิณ กสิณของท่านจึงผ่องใส แจ่มแจ้ง

ชัดเจน ท่านก็สำคัญเวลาที่เป็นกลางคืนนั้นแหละว่า เป็นกลางวัน เพราะ

เหตุที่เกิดมนสิการว่า จะออกในตอนกลางวัน และเพราะการแผ่ไปแห่ง

โอทาตกสิณผ่องใส แจ่มเเจ้ง. แต่บุคคลผู้ได้นีลกสิณลางคนในโลกนี้เกิด

มนสิการว่า เราทำบริกรรมในตอนกลางคืน เข้าในตอนกลางคืนแล้วจะ

ออกในตอนกลางคืนนั้นแหละ แต่ว่าท่านไม่ฉลาดในการกำหนดเวลา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

(ออก) ท่านจึง ( เข้าฌาน ) ล่วงเลยเวลากลางคืนไปออกในตอน

กลางวัน และด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งนีลกสิณ กสิณของท่านจึงไม่

ผ่องใสไม่แจ่มแจ้ง ท่านก็สำคัญเวลาที่เป็นกลางวันนั้นแหละว่า กลางคืน

เพราะเหตุที่เกิดมนสิการว่า จะออกในตอนกลางคืน และเพราะการแผ่

ไปแห่งนีลกสิณไม่ผ่องใส ไม่แจ่มแจ้ง. เพราะไม่มีความฉลาดในการออก

(จากฌาน) อย่างนี้ก่อน บุคคลผู้ได้ฌานจึงมีความสำคัญดังพรรณนามา

ฉะนี้.

ส่วนที่ว่าเพราะเสียงนกร้อง (เป็นอย่างนี้) คือ บุคคลผู้ได้ฌาน

ลางคนในโลกนี้นั่งอยู่ภายในเสนาสนะ ทีนั้น สัตว์ป่าทั้งหลายมีนกและกา

เป็นต้นที่มักร้องในตอนกลางวัน สำคัญอยู่ว่า เป็นเวลากลางวัน เพราะ

แสงจันทร์จึงส่งเสียงร้องในตอนกลางคืน หรือส่งเสียงร้องเพราะเหตุอื่นๆ

ท่านได้ยินเสียงของสัตว์ป่าเหล่านั้นแล้ว สำคัญเวลาที่เป็นกลางคืนนั้นแหละ

ว่าเป็นเวลากลางวัน. แต่ว่าบุคคลผู้ได้ฌานลางคนในโลกนี้นั่งอยู่ในถ้ำภูเขา

ที่ปกปิดด้วยป่าทึบซึ่งอยู่ลึกในซอกเขา ในเวลาที่มีแสงสว่างหายไปคราว

ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ทีนั้น สัตว์ป่าทั้งหลายมีนกที่ร้องในตอนกลางคืน

และนกฮูกเป็นต้นจับเจ่าอยู่ในที่มืดนั้น ๆ แม้ในเวลาเที่ยงวันแล้ว ส่งเสียง

ร้องด้วยสำคัญ (ผิด) ว่าเป็นเวลากลางคืนหรือด้วยเหตุเหล่าอื่น. บุคคล

ผู้ได้ฌานนั้นได้ยินเสียงของสัตว์ป่าทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมสำคัญเวลาที่เป็น

กลางวันอยู่แท้ ๆ ว่าเป็นเวลากลางคืน. เพราะเสียงนกร้องดังพรรณนา

มาอย่างนี้ บุคคลผู้ได้ฌานจึงมีความสำคัญอย่างนี้แล.

ปเทสญาณ (ญาณเครื่องกำหนดเวลา)

บทว่า อิทมห ความว่า เราตถาคตย่อมกล่าวสิ่งนี้ คือการกำหนด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

หมายอย่างนี้.

บทว่า สมฺโมหวิหารสฺมึ วทามิ มีอธิบายว่า เราตถาคตย่อม

กล่าว (การกำหนดหมาย) ว่า เป็นการอยู่ที่นับเนื่อง คือจัดอยู่ภายใน

การอยู่อย่างงมงาย ได้แก่กล่าวว่าเป็นการอยู่อย่างงมงายอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อห โข ปน พฺราหฺมณ ฯลฯ สญฺชานามิ ความว่า

การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันของพระโพธิสัตว์ปรากฏแล้ว แม้ในเวลา

ที่ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์จะไม่ส่องแสง

พระโพธิสัตว์ก็ย่อมรู้ได้เองทีเดียวว่า ระยะเวลาเท่านี้ ถึงเวลาอาหารเช้า

ระยะเวลาเท่านี้ถึงเวลาหลังอาหาร ระยะเวลาเท่านี้ถึงปฐมยาม ระยะเวลา

เท่านี้ถึงมัชฌิมยาม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แล้วอย่าง

นั้น และก็ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่พระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีได้บำเพ็ญมาแล้วจะรู้

อย่างนี้.

แม้เหล่าพระอริยสาวกที่ดำรงอยู่ในปเทสญาณก็ปรากฏว่ากำหนด

เวลากลางคืนและกลางวันได้. มีเรื่องเล่าว่า พระโคทัตตเถระในกัลยาณิ-

มหาวิหารรับภัตรในเวลา ๒ องคุลี แล้วฉันในเวลา ๒ องคุลี ( นั้นเอง )

เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ปรากฏดวง ก็เข้าเสนาสนะแต่เช้า ๆ ออกมาในเวลา

(เดียวกัน) นั้น. วันหนึ่งพวกคนวัดคิดกันว่า พวกเราจะพบท่านได้ใน

เวลาที่ท่านออกมาตอนพรุ่งนี้ จึงจัดแจงภัตรแล้วนั่ง ( คอย) อยู่ที่ใกล้

หลักบอกเวลา (หลักวัดเงาแดด). พระเถระออกนาในเวลา ๒ องคุลี

เหมือนเดิม. ทราบมาว่า ตั้งแต่นั้นมาแม้พระอาทิตย์จะยังไม่ปรากฏดวง

พวกคนวัดก็จะตีกลองด้วยสัญญาณที่พระเถระออกมา.

แม้ในธชาครวิหาร พระกาลิเทวเถระเคาะระฆังบอกยามภายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

พรรษา การเคาะระฆังบอกยามนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระเถระ

แต่ว่าพระเถระไม่ยอมใช้นาฬิกาเครื่องจักร. ส่วนภิกษุพวกอื่นใช้. ครั้น

ต่อมาเมื่อปฐมยามล่วงเลยไป พอพระเถระถือไม้เคาะ ( ระฆัง ) ยืนอยู่

หรือเคาะได้ครั้ง ๒ ครั้งเท่านั้น นาฬิกาเครื่องจักรก็ดี. เมื่อเป็นอย่างนี้

พระเถระจึงบำเพ็ญสมณธรรมในยานทั้ง ๓ แล้วเข้าไปบ้านแต่เช้าตรู่ รับ

บิณฑบาตกลับมาวัด ในเวลาจะฉันก็ถือบาตรไปยิ่งที่พักกลางวัน บำเพ็ญ

สมณธรรม. ภิกษุทั้งหลายเห็นหลักบอกเวลาแล้วได้ส่งภิกษุไปเพื่อต้องการ

(ในการกราบเรียน ) ให้พระเถระมา. ภิกษุ (รูปที่ไป ) นั้น ได้พบ

พระเถระ (ขณะ) กำลังออกมาจากที่พักกลางวันบ้าง ในระหว่างทาง

บ้าง. แม้เหล่าพระสาวกที่ดำรงอยู่ในปเทสญาณย่อมกำหนดเวลาว่า เป็น

กลางคืนและกลางวันได้อย่างนี้. ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงบรรดาพระโพธิ-

สัตว์.

ตถาคตอุบัติมาเพื่อประโยชน์สุข

ก็ในคำว่า ย โข ต ฯเปฯ วเทยฺย นี้ นักศึกษาพึงทราบบท

สัมพันธ์ (การเชื่อมบท) อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ใคร ๆ เมื่อจะ

กล่าวถ้อยคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่งมงายเป็นธรรมดา อุบัติขึ้นในโลก

ฯ ล ฯ เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ

คือ เป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง กล่าวไม่คลาดเคลื่อน เขาเมื่อกล่าวคำนั้น

ต่อเราตถาคตเท่านั้น จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ คือเป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง

กล่าวไม่คลาดเคลื่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺโมหธมฺโม แปลว่า มีความไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

งมหงายเป็นสภาพ.

บทว่า โลเก ได้แก่ในมนุษยโลก.

บทว่า พหุชนหิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวน

มาก อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ชี้แนะประโยชน์เกื้อกูลทั้งในปัจจุบัน

ทั้งในสัมปรายภพด้วยความถึงพร้อมแห่งปัญญา.

บทว่า พหุชนสุขาย แปลว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก

อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ให้สมบัติอันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุขด้วย

ความถึงพร้อมแห่งจาคะ ( การเสียสละ ).

บทว่า โลกานุกมฺปาย แปลว่า เพื่อประโยชน์อนุเคราะห์โลก

อธิบายว่า (สัตว์นั้น ) เป็นผู้รักษา เป็นผู้คุ้มครองโลกเหมือนบิดามารดา

(คุ้มครองบุตร) ด้วยความถึงพร้อมแห่งเมตตากรุณา.

และด้วยศัพท์ว่า "เทวมนุสฺส" ในคำว่า อตฺาย หิตาย สุขาย

เทวมนุสฺสาน นี้ นักศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาเฉพาะเหล่าเวไนยสัตว์ผู้เป็นภัพพบุคคล (บุคคลที่ควรจะตรัสรู้) แล้ว

แสดงการอุบัติของพระองค์ ก็เพื่อต้องการให้เวไนยสัตว์เหล่านั้นได้บรรลุ

มรรคผลนิพพาน. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถาย ( เพื่อ

ประโยชน์) ย่อมหมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ปรมัตถ์ คือเพื่อนิพพาน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หิตาย ( เพื่อประโยชน์เกื้อกูล) ย่อม

หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่มรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานนั้น. เนื่องจาก

ว่า ขึ้นชื่อว่าประโยชน์เกื้อกูลที่ยิ่งไปกว่ามรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานไม่มี

เลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สุขาย (เพื่อความสุข) ย่อม

หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสุขที่เกิดจากผลสมาบัติ. เพราะว่าไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

ความสุข (อื่น) ที่ยิ่งไปกว่าความสุขที่เกิดจากผลสมาบัตินั้น. สมด้วย

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สมาธินี้อำนวยความสุขที่เป็น

ปัจจุบันให้และยังมีความสุขเป็นวิบากต่อไป.

ปฏิปทาเครื่องบรรลุอสัมโมหวิหาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการอยู่อย่างไม่งมงาย ( อสมฺ-

โมหวิหาร) ของพระองค์ ซึ่งมีการได้บรรลุคุณแห่งพุทธะเป็นที่สุดดัง

พรรณนามาฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุ

การอยู่อย่างไม่งมงายอันถึงที่สุดแล้วนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มต้น จึงตรัสคำว่า

อารทฺธ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.

ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พราหมณ์ได้สดับการอยู่อย่างไม่งมงาย

นี้แล้ว ได้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบรรลุการอยู่อย่าง

ไม่งมงายนี้ ด้วยปฏิปทาอะไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

ความคิดของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ตถาคตได้บรรลุการ

อยู่อย่างไม่งมงาย อันสูงสุดนี้ด้วยปฏิปทาน จึงตรัสไว้อย่างนี้.

[๔๗ ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธ โข ปน เม

พฺราหฺมณ วิริย อโหสิ มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ การอยู่อย่างไม่งมงาย

อันสูงสุดนี้ ไม่ใช่ว่าตถาคตจะเกียจคร้าน หลงลืมสติมีกายกระสับกระส่าย

หรือมีจิตฟุ้งซ่านได้บรรลุมา แท้จริงแล้วเราตถาคตได้ปรารภความเพียร

เพื่อบรรลุการอยู่อย่างไม่งมงายนั้น คือเราตถาคตนั่งอยู่ที่ควงไม่โพธิ์ ได้

ปรารภประคับประคองความเพียรมีองค์ ๔ ให้เป็นไปไม่ย่อหย่อน. ก็เพราะ

ปรารภแล้วนั่นแล ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ นั่น ของเราตถาคต

จึงไม่ย่อหย่อน.

บทว่า อุปฏฺิตา สติ อปฺปมุฏฺา ความว่า และไม่ใช่แต่ความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

เพียรอย่างเดียวเท่านั้น ถึงสติของเราตถาคตก็ตั้งมั่นโดยภาวะที่มุ่งหน้าไป

จับอารมณ์ และเพราะตั้งมั่นแล้วนั่นแหละ มันจึงไม่หลงลืม.

บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย อสารทฺโธ ความว่า เพราะมีกายและ

จิตสงบ แม้กายของเราตถาคตก็สงบด้วย. ในบทนั้นอธิบายว่า เพราะ

เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้รูปกายก็ย่อมสงบด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (รวมๆ) ว่า กายสงบ โดยมิได้ตรัสแยก

ว่า นามกาย รูปกาย.

บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็เพราะสงบแล้วนั่นแล กายนั้นจึง

ชื่อว่าไม่กระสับกระส่าย อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย.

บทว่า สมาหิต จิตฺต เอกคฺค ความว่า แม้จิตอันเราตถาคต

ตั้งใจไว้โดยชอบแล้ว คือเป็นเหมือน (จับ) วางไว้ด้วยดี และเพราะ

ตั้งไว้โดยชอบแล้วนั่นแล จึงมีชื่อว่ามีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ ไม่หวั่นไหว

ไม่ดิ้นรน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน

ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

ประโยชน์ของฌาน ๔

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงคุณวิเศษเริ่มต้นตั้งแต่ปฐม-

ฌานจนกระทั่งถึงวิชชา ๓ เป็นที่สุดที่พระองค์ทรงบรรลุแล้วด้วยปฏิปทา

นี้ จึงตรัสคำว่า โส โข อห ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น คำใด

ที่จะต้องกล่าวในตอนนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯเปฯ จตุตฺถ ณาน

อุปสมฺปชฺช วิหาสึ คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยปฐวี-

กสิณในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ความจริงมีแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้น ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

(คือ) ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นบทกิริยามาว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ

(แต่) ในที่นี้มาว่า วิหาสึ.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอย่างไรจึงเข้าฌานเหล่านั้น

อยู่ได้.

ตอบว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.

ถามว่า กรรมฐานข้อไหน ?

ตอบว่า อานาปานสติกรรมฐาน.

ก็แล ฌาน ๔ เหล่านี้ สำหรับบางท่านมีความเป็นหนึ่งแห่งจิต

เป็นผล สำหรับบางท่านเป็นบาท (พื้นฐาน) แห่งการเจริญวิปัสสนา

สำหรับบางท่านเป็นบาทแห่งการได้อภิญญา สำหรับบางท่านเป็นบาท

แห่งการเข้านิโรธ (พระนิพพาน) สำหรับบางท่านมีการก้าวลงสู่ภพ

เป็นผล.

บรรดาบุคคลเหล่านั้น สำหรับพระขีณาสพ ฌาน ๔ มีความเป็น

หนึ่งแห่งจิตเป็นผล ด้วยว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ทำบริกรรมกสิณ

อย่างนี้ว่า เราจักเข้าฌานมีจิตมีความเป็นหนึ่งอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้

แล้วทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด.

สำหรับพระเสขะและปุถุชนคิดว่า เราออกจากสมาบัติแล้วมีจิตเป็น

สมาธิจักเห็นแจ้ง ดังนี้แล้วทำวิปัสสนาให้บังเกิด (อย่างนี้ ) ฌานย่อม

ชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา.

ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า

ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากสมาบัติแล้วปรารถนาอภิญญาซึ่งมี

นัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า แม้เป็นคนคนเดียวก็ทำให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

หลายคนได้ ดังนี้แล้วทำอภิญญาให้บังเกิด สำหรับฌานลาภีบุคคล

เหล่านั้นฌานย่อมเป็นบาทแห่งอญิญญา.

ส่วนพระอริยบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า

นิโรธสมาบัติได้คิดว่า เราจักบรรลุนิโรธ คือนิพพานในปัจจุบันอยู่เป็นสุข

โดยไม่มีจิตสังขารตลอด ๗ วัน ดังนี้แล้วทำสมาบัติให้บังเกิด ฌานของ

พระอริยบุคคลเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเข้านิโรธ.

ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้วคิดว่า

เราจักเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมเกิดในพรหมโลก ดังนี้ ทำสมาบัติให้บังเกิด

(อย่างนี้) ฌานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีการก้าวลงสู่ภพเป็นผล.

ก็จตุตถฌานนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำให้บังเกิดแล้วที่ควงโพธิ์

พฤกษ์ จตุตถฌานนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้เป็นบาทแห่งการ

เจริญวิปัสสนา เป็นบาทแห่งการได้อภิญญาและให้สำเร็จกิจทุกอย่าง จึง

พึงทราบว่า อำนวยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระให้ได้ทุกอย่าง. และ

จตุตถฌานนั้นได้อำนวยคุณเหล่าใดให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดง

เพียงบางส่วน (เอกเทศ ) แห่งคุณเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า โส เอว

สมาหิเต จิตฺเต ดังนี้เป็นต้น.

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

วิชชา ๒ ในพระสูตรนั้น (คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณและจุตูปปาต-

ญาณ) มีการพรรณนาไปตามลำดับบทและวิธีเจริญได้กล่าวไว้แล้วอย่าง

พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แท้จริงในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับในที่นี้มี

ความแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้นดังนี้ คือในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวบท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

กิริยาไว้ว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต ฯ เป ฯ อภินินฺนาเมติ (แต่)

ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทกิริยาไว้ว่า อภินินฺนาเมสึ. และวาระ

ว่าด้วยอัปปนาอย่างนี้ว่า อย โข เม พฺราหฺมณ ก้มิได้มาในคัมภีร์

วิสุทธิมรรคนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ โส อห เราตถาคตนั้น .

บทว่า อภินินฺนาเมสึ แปลว่า นำไปเฉพาะ. เพราะพระดำรัสว่า

อภินินฺนาเมสึ ในคำว่า โส นี้ จึงพึงทราบความหมายอย่างนี้ว่า โส อห

เราตถาคตนั้น.

ก็เพราะเหตุที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้มาแล้วด้วยอำนาจของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น จึงพึงทราบการประกอบควานอย่างนี้ในคำนี้ว่า

เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้วมาอุบัติในภพนี้. ในคำนี้พึงทราบ

(อธิบายเพิ่มเติมอีก) ว่า คำว่า เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้ว เป็น

การพิจารณาของพระโพธิสัตว์ผู้พิจารณาย้อนกลับ เพราะฉะนั้น พึงทราบ

ความว่า ในคำว่า อิธูปปนฺโน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภพ

ดุสิตว่า เราตถาคตอุบัติในภพดุสิตโน้นก่อนจะมาอุบัติในภพนี้.

บทว่า ตตฺราปาสึ เอวนาโม ความว่า ในภพดุสิตแม้นั้น เรา

ตถาคตได้เป็นเทพบุตรนามว่า เสตเกตุ.

บทว่า เอวโคตฺโต คือมีโคตรเดียวกับเทวดาเหล่านั้น.

บทว่า เอววณฺโณ คือมีผิวพรรณผุดผ่องดังทองคำ.

บทว่า เอวนาหาโร คือมีทิพพสุธาหาร.

บทว่า เอว สุขทุกฺขปฏิสเวที ความว่า เป็นผู้มีปกติเสวยทิพยสุข

อย่างนี้ ส่วนทุกข์มีเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า มีอายุ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.

บทว่า โส ตโต จุโต ความว่า ตถาคตนั้นจุติจากภพนั้น คือ

ภพดุสิต.

บทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า บังเกิดในภพนี้ คือในพระครรภ์

พระนางสิริมหามายาเทวี.

บทว่า เม ในคำว่า อย โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น คือ มยา.

บทว่า วิชฺชา ความว่า ที่ชื่อว่า วิชฺชา เพราะหมายความว่า

กระทำให้รู้แจ้ง.

ถามว่า วิชชาทำให้รู้แจ้งซึ่งอะไร ?

ตอบว่า ซึ่งขันธ์ ( ภพ ) ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อน.

บทว่า อวิชฺชา ความว่า เพราะหมายความว่าไม่ทำให้รู้แจ้งซึ่งขันธ์

ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน อวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า โมหะ

(ความหลง) ซึ่งปกปิดขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนนั้น.

บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ว่า ตมะ ( ความมืด ) เพราะหมายความว่าปกปิด.

บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกว่า อาโลกะ ( แสงสว่าง ) เพราะหมายความว่าทำแสงสว่างให้.

ก็ในพระดำรัสที่ตรัสมานี้ย่อมมีความหมายดังนี้ว่า วิชฺชา อธิคตา

แปลว่า วิชชาตถาคตได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเป็นคำกล่าวสรรเสริญ.

อนึ่ง ในพระดำรัสตอนนี้มีการประกอบความดังนี้ว่า วิชชานี้แลเราตถาคต

ได้บรรลุแล้ว เมื่อเราตถาคตนั้นได้บรรลุวิชชาแล้ว อวิชชาจึงถูกขจัด

อธิบายว่า พินาศไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ถามว่า เพราะเหตุไร อวิชชาจึงพินาศไป ?

ตอบว่า เพราะวิชชาเกิดขึ้น.

แม้ในสองบทนอกนี้ก็นัยนี้.

บทว่า ยถา ในคำว่า ยถาต ใช้ในความหมายว่า อุปมา

(เปรียบเทียบ).

บทว่า ต เป็นนิบาต. บุคคลชื่อว่าไม่ประมาท เพราะความไม่อยู่

ปราศจากสติ ชื่อว่ามีความเพียรเครื่องเผากิเลสด้วยธรรมเครื่องทำกิเลสให้

เร่าร้อนทั่วคือวิริยะ ชื่อว่า มีตน (จิต ) อันส่งไปแล้ว เพราะไม่มีความ

ห่วงใยในร่างกายและชีวิต.

บทว่า ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีตนอันส่งไปแล้ว. มีอธิบาย

(เพิ่มเติม) ดังนี้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา

กิเลส มีตนส่งไปอยู่ อวิชชาพึงถูกกำจัด วิชชาพึงเกิดขึ้น ความมืดพึง

ถูกกำจัด แสงสว่างพึงเกิดขึ้นฉันใด สำหรับเราตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน

อวิชชาถูกขจัดแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น ความมืดถูกขจัดแล้ว แสงสว่าง

ก็เกิดขึ้น เราตถาคตได้ผลที่สมควรกับการบำเพ็ญเพียรนั้น.

กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณจบ.

กถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณ

[๔๙] ในกถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณพ