พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
เล่มที่ ๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ปาฏิกสูตร
เรื่อง ปริพาชกภัคควโคตร
ทรงเล่าเรื่อง สุนักขัตตลิจฉวี
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของชาวมัลละ
ชื่ออนุปิยะในแคว้นมัลละ ครั้งนั้นแล เวลาเช้าพระผู้มีพระภาค
ทรงนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอนุปิยนิคม.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า ยังเป็นเวลาเช้านักที่จะเข้าไป
บิณฑบาตยังอนุปิยนิคม เราควรจะไปในอารามของปริพาชกชื่อ ภัคคว-
โคตร เข้าไปหาปริพาชกชื่อภัคควโคตร ลำดับนั้น พระผู้มีพระ
ภาคได้เสด็จไปยังอาราม ของปริพาชกชื่อ ภัคคโคตร เข้าไปหา
ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ปริพาชกชื่อภัคควโคตร ได้กราบทูลเชิญ
พระผู้มีพระภาคว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า
พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เป็นเวลานานนักที่พระองค์ได้มีโอกาสเสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
มาแวะเวียนเยี่ยมเยียนเช่นนี้ ขอเชิญประทับนั่ง นี้คืออาสนะที่จัดไว้.
พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้แล้ว. แม้ปริพาชกชื่อ
ภัคควโคตร ก็ถือเอาอาสนะต่ำที่ใดที่หนึ่ง นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน
ล่วงมาหลายวันแล้ว พระโอรสเจ้าลิจฉวีนามว่าสุนักขัตตะได้เข้ามา
หาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วบอกข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภัคควะ
บัดนี้ ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพเจ้าไม่อยู่อุทิศต่อพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำตามที่พระโอรสเจ้า ลิจฉวี
นามว่า สุนักขัตตะกล่าวนั้น เป็นความจริงเช่นนั้นหรือพระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภัคควะ ก็เป็นดังที่เขากล่าวนั่นแหละ ใน
วันก่อน ๆ เขาได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ถวายอภิวาทเราแล้ว นั่ง ณ สมควร
ข้างหนึ่ง. ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอบอกคืนพระ
ผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จักไม่อยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค. เมื่อเขากล่าว
อย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธอ
อย่างนี้ว่า เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา ดังนี้ บ้างหรือ.
สุนักขัตตะตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
เราถามว่า หรือเธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค.
เขาตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
เราถามว่า ดูก่อนสุนักกขัตตะ เพราะเหตุที่เราไม่ได้กล่าวกะเธอว่า
มาเถิดสุนักขัตตะเธอจงอยู่อุทิศต่อเรา และเธอก็มิได้กล่าวกะเธอว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ จักอยู่อุทิศต่อพระมีพระภาค ดูก่อน
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใครเล่า
เธอจงเห็นว่า การกระทำเช่นนี้ เป็นความผิดของเธอเพียงใด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
[๒] สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระ
ผู้มีพระภาคมิได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของ
มนุษย์ แก่ข้าพระองค์เลย.
เรากล่าวว่า ดูก่อนนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า
มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์
ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่เธอ ดังนี้ บ้างหรือ.
เขาทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
เรากล่าวว่า หรือว่าเธอได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค
จักทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์.
สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าว
กะเธอว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เรอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักกระทำอิทธิ-
ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์แก่เธอ และเธอ ก็ไม่ได้กล่าว
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคจักทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ที่ยิ่งยวด กว่า ธรรมของ
มนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเมื่อบอก
คืนจะชื่อว่าบอกคืนใครเล่า. ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อ
นั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์ก็ดี หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้แล้ว ย่อม
นำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบหรือ. เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ เมื่อพระองค์ได้ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของ
มนุษย์ หรือมิได้ทรงกระทำก็ดี ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ย่อมนำ
ผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้า. เรากล่าวว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
สุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่า
ธรรมของมนุษย์หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนำผู้
ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะเหตุนั้น เธอปรารถนาการทำ
อิทธิปฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ไปทำไม. ดูก่อนโมฆบุรุษ
เธอจงเห็นว่า การกระทำเช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด.
(๓) สุนักขัตตะ ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคมิได้ทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่ข้าพระองค์เลย.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า
มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศแก่เธอ ดังนี้ บ้างหรือ.
เขาทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เรามิได้กล่าวกะ
เธอว่า มาเถิดสุนักขัตตะ เธอจงอยู่อุทิศต่อเรา เราจักบัญญัติสิ่งที่
โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ และเธอก็มิได้กล่าวแก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่อุทิศต่อพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจัก
ทรงบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศแก่เธอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่น
นั้น เธอเมื่อบอกคืน จะชื่อว่าบอกคืนใคร. ดูก่อนสุนักขัตตะ
เธอจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือเมื่อเราได้บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อมนำผู้ประพฤติ
ให้สิ้นทุกข์โดยชอบหรือ.
เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้บัญญัติ
สิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ หรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่พระองค์แสดงไว้
ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 5
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้บัญญัติ
สิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศหรือมิได้บัญญัติก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ ย่อม
นำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบเช่นนี้ เธอจะปรารถนาการบัญญัติสิ่ง
ที่โลกสมมติว่าเลิศไปทำไม ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระะทำ
เช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอได้สรร
เสริญเราที่วัชชีคาม โดยอเนกปริยายว่า แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระ
ภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบสมบูรณ์
วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมดังนี้ เธอได้สรรเสริญ
พระธรรมที่วัชชีคามโดยอเนกปริยายว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาค
ตรัสดีแล้ว ผู้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้
ดู ควรน้อมเข้าไปในตน อันผู้ปฏิบัติพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ และเธอ
ได้สรรเสริญพระสงฆ์ที่วัชชีคาม โดยอเนกปริยายว่าพระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม
ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือพระสงฆ์สาวกพระ
ผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อนรับ เป็น
ผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก
ไม่มีเขตอื่นยิ่งกว่า ดังนี้. สุนักขัตตะเราขอบอกเธอ เราขอเตือน
เธอว่า จักมีผู้กล่าวติเตียนเธอว่า โอรสเจ้าลิจฉวี ชื่อสุนักขัตตะ ไม่
สามารถประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เมื่อเขาไม่สามารถได้
บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวดังนี้. ดูก่อนภัคควะ โอรส-
เจ้าลิจฉวี ชื่อสุนักขัตตะ ถึงแม้ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ได้หนีจาก
ธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ที่ตกอบายนรกฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 6
กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกโกรักขัตติยะ
(๔) ดูก่อนภัตควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลู
ชื่อว่า อุตตรกา ในถูลูชนบท. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งห่ม
แล้ว ถือบาตรจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ เป็นปัจฉาสมณะ
เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม. สมัยนั้น มีนักบวชเปลือยคนหนึ่ง
ชื่อว่า โกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า
กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวี สุนัก
ขัตตะ ได้เห็นเข้าจึงคิดว่า สมณะเดินด้วยข้อศอกและเข่ากินอาหาร
ที่กองบนพื้นด้วยปาก เป็นพระอรหันต์ที่ดีหนอ.
ครั้งนั้นเราได้ทราบความคิดในใจของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนัก
ขัตตะ ด้วยเจโตปริยญาณ จึงกล่าวกะเขาว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ แม้คน
เช่นเธอ ก็ยังปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ.
สุนักขัตตะ ได้ฑูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มี
พระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า โมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็
ยังปฏิญาณตนว่า เป็นศากยบุตรหรือ. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอได้เห็นนักบวชเปลือยชื่อโกรักขัตติยะนี้ ซึ่ง
ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า ใช้ปากกินอาหาร
บนพื้นดิน แล้วเธอได้คิดต่อไปว่า สมณะเดินด้วยศอกและเข่า
กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก เป็นพระอรหันต์ที่ดีหนอมิใช่หรือ.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มี
พระภาคยังหวงแหนความเป็นพระอรหันต์อยู่หรือ. เรากล่าวว่า ดู
ก่อนโมฆบุรุษ เราไม่ได้หวงแหนความเป็นพระอรหันต์ แต่ว่าเธอได้
เกิดทิฏฐิเลวทรามขึ้น เธอจงละมันเสีย ทิฏฐิ เลวทราม นั่น
อย่าได้เกิดมีขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์และเป็นทุกข์แก่เธอ ชั่วกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
นาน นักบวชเปลือยชื่อ โกรักขัตติยะ ที่เธอสำคัญว่าเป็นสมณะ
อรหันต์ที่ดีนั้นอีก ๗ วัน เขาจักตายด้วยโรคอลสกะ (โรคกินอาหาร
มากเกินไป) ครั้นแล้ว จักบังเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่า
อสูรกายทุกชนิด และจักถูกนำไปทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมภะ. และเมื่อเธอ
ต้องการทราบ พึงเข้าไปถามโกรักขิตติยะ ว่า ท่านโกรักขัตติยะท่าน
ทราบคติของตนหรือ ข้อที่โกรักขัตติยะพึงตอบเธอว่า สุนักขัตตะ
ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือข้าพเจ้าไปเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญ-
ชิกา ซึ่งเลวกว่าอสูรกายทุกชนิดดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้. ครั้งนั้น
โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้าไปหาโกรักขัตติยะ บอกว่า
ท่านโกรักขัตติยะ ท่านถูกพระสมณโคดมพยากรณ์ว่า อีก ๗ วัน
โกรักขัตติยะ จักตายด้วยโรคอลสกะ แล้วจักบังเถิดในเหล่าอสูร-
กาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิด และจักถูกเขานำไป
ทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมภะ ฉะนั้น ท่านจงกินอาหารแต่พอสม
ควร และดื่มน้ำแต่พอสมควร จึงทำให้คำพูดพระสมณโคดม
ผิด ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ ได้นับวันคืนตั้งแต่วันที่ ๑
ที่ ๒ ไปจนครบ ๗ วัน เพราะเขาไม่เชื่อพระตถาคต. ครั้งนั้น
นักบวชเปลือยชื่อ โกรักขัตติยะ ได้ตายด้วยโรคอลสกะในวันที่ ๗
แล้ว ได้ไปเกิดในเหล่าอสูรกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทุกชนิดและ
ถูกเขานำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อว่า วีรณัตถัมภะ โอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ
ได้ทราบข่าวว่า โกรักขัดตอเจลกได้ตายด้วยโรคอลสกะได้ถูกเขานำ
ไปทิ้งที่ป่าช้าวีรณัตถัมถะ จึงเข้าไปหาศพโกรักขิตติยะที่ป่าช้าวีรณัต
กัมภะ ใช้มือตบซากศพเขา ๓ ครั้ง ถามว่า โกรักขัตติยะ ท่านทราบ
คติของตนหรือ. ครั้งนั้น ซากศพโกรักขัตติยะ ได้ลุกขึ้นยืนพลาง
เอามือลูบหลังตนเองตอบว่า สุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
ของตน ข้าพเจ้าไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่า
อสูรกายทุกชนิดดังนี้ แล้วล้มลงนอนหงาย อยู่ ณ ที่นั่นเอง.
ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อ สุนักขัตตะได้เข้า
มาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราได้กล่าวกะ
โอรสเจ้าลิวฉวีชื่อสุนักขัตตะผู้นั่งเรียบร้อยว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ
เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้นได้มีขึ้นเช่นดังที่เราพยา-
กรณ์ปรารภโกรักขัตติยะไว้ต่อเธอมิใช่มีโดยประการอื่น.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มี
ขึ้น ดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ โกรักขัตติยะไว้ แก่ข้าพระ
องค์มิใช่มี โดยประการอื่น.
เรากล่าวว่า เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
อิทธิปฏิหารย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราได้แสดง
แล้วหรือยัง.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์แสดงไว้
แล้วแน่นอน มิใช่จะไม่ทรงแสดงก็หาไม่.
เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกว่ากะเราผู้แสดงอิทธิ
ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม ของมนุษย์อย่างนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปฏิหาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่า
ธรรมของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า การ
กระทำเช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนภัคคะ โอรส
เจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ได้หนีจากพระธรรมวินัย
นี้ เหมือนสัตว์ผู้เกิดในอบายและนรกฉะนั้น
กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกกฬารมัชฌกะ
[๕] ดูก่อนภัคควะ สมัยหนึ่งเราอยู่ที่กูฏาคารศาลาในป่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 9
มหาวัน ในเมืองเวสาลี สมัยนั้น นักบวชเปลือยคนหนึ่งชื่อกฬาร-
มัชฌกะอยู่ที่วัชชีคามในเมืองเวสาลี. เป็นผู้เลิศด้วยลาภและยศ. เขาได้
สมาทานข้อวัตร ๗ ข้อ คือ
๑. เราพึงเปลือยกาย ไม่นุ่งห่มผ้าตลอดชีวิต.
๒. เราพึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนตลอดชีวิต
๓. เราพึงดื่มสุราและบริโภคเนื้อสัตว์ดำรงชีพอยู่ ไม่
บริโภคข้าวและขนมตลอดชีวิต.
๔. เราไม่พึงล่วงเกินอุเทนเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศบูรพรเมือง
เวสาลี.
๕. เราไม่พึงล่วงเกินโคตมเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศทักษิณ
เมืองเวสาลี.
๖. เราไม่พึงล่วงเกินสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศปัจฉิม
เมืองเวสาลี.
๗. เราไม่พึงล่วงเกินพหุปุตตกเจดีย์ อยู่ทางทิศอุดร
เมืองเวสาลี.
เพราะการสมาทานข้อวัตรทั้ง ๗ นี้ เขาจึงเป็นผู้เลิศด้วยลาภ
และยศ อยู่ที่วัชชีคาม. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ ได้เข้าไป
หานักบวชเปลือยชื่อกฬารมัชฌกะ แล้วถามปัญหากะเขา. เขาถูก
ถามปัญหาแล้ว ไม่สามารถแก้ปัญหาของโอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะให้
ถูกต้องได้ จึงแสดงความโกรธ โทสะ และความไม่แช่มชื่นให้ปรากฏ
ออกมา. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้คิดว่า ตนได้รุกราน
สมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดี การกระทำเช่นนั้นอย่าได้มีแก่เรา เพื่อ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและทุกข์ชั่วกาลนาน. ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวี
ชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเรา ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
เราได้กล่าวกะเธอผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ แม้คนเช่น
เธอ ก็ยังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตรอยู่หรือ.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาค
จึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า โมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังปฏิ-
ญาณตนเป็นศากบุตรอยู่หรือ.
เรากล่าวว่า สุนักขัตตะ เธอได้เข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อ
กฬารมัชฌกะแล้ว ถามปัญหากะเขา เขาถูกถามปัญหากลัวไม่
สามารถแก้ปัญหาของเธอให้ถูกต้องได้ จึงได้แสดงความโกรธ โทสะ
และความไม่แช่มชื่นออกมา เธอจึงได้คิดว่า ตนได้รุกรานสมณะผู้
เป็นพระอรหันต์ การรุกรานนั้นอย่าได้มีแก่เรา เพื่อไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูลและเพื่อทุกข์ชั่วกาลนาน ดังนี้ มิใช่หรือ.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระ
ผู้มีพระภาคก็ยังหวงแหนความเป็นพระอรหันต์อยู่หรือ.
เรากล่าวว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เรามิได้หวงแหนความเป็นพระ-
อรหันต์ แต่ว่าเธอได้เกิดทิฏฐิเลวทราม เธอจงละมันเสีย ทิฏฐิเลว
ทรามนี้ อย่าได้เกิดขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์และความทุกข์แก่เธอ
ชั่วกาลนาน.
อนึ่ง นักบวชเปลือยชื่อว่ากฬารมัชฌกะ ที่เธอสำคัญว่าเป็น
สมณะผู้เป็นพระอรหันต์ที่ดีนั้น ต่อไปไม่นาน เขาจักกลับนุ่งห่มผ้า
มัภรรยากินข้าวและขนม ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด
กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป. ดูก่อนภัคควะ ต่อมาไม่นาน
อเจลกกฬารมัชฌกะ ก็กลับนุ่งหุ่มผ้ามีภรรยา กินข้าวและขนม
ล่วงเกินเจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวสาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ
แล้วตายไป. โอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะได้ทราบข่าวว่า อเจลกชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
กฬารมัชฌกะ กลับนุ่งห่มผ้า มีภรรยา กินข้าวและขนม ล่วงเกิน
เจดีย์ที่มีอยู่ในเมืองเวลาลีทั้งหมด กลายเป็นคนเสื่อมยศ แล้วตายไป จึงได้
เข้ามาหาเรา ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึงกล่าว
กะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเธอสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน วิบากนั้น ได้มีขึ้นเช่นดังที่เราได้พยากรณ์อเจลกชื่อกฬารมัชฌกะ
ไว้แก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีขึ้นดังที่
พระผู้มีพระภาคได้ทรัพยากรณ์อเจลกชื่อว่ากฬารมัชฌกะไว้แก่ข้าพระองค์
มิใช่มีโดยประการอื่น.
เรากล่าวว่า เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราได้แสดงไว้
แล้วหรือยัง.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงแสดง
แล้วแน่นอน มิใช่จะไม่ทรงแสดงก็หาไม่.
เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์แก่ข้าพระองค์ ดูก่อนโฆษบุรุษ เธอจงเห็นว่า การกระทำ
เช่นนี้เป็นความผิดของเธอเพียงใด. ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนัก-
ขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้
เกิดในอบายและนรกฉะนั้น.
กถาว่าด้วยเรื่องอเจลกปาฏิกบุตร
[๖] ภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูฏาคารศาลาในป่ามหาวันใน
เมืองเวสาลีนั่นเอง. สมัยนั้นนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร อาศัยอยู่ที่วัชชีคาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
ในเมืองเวสาลี เป็นผู้มีลาภและยศเลิศ. เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมือง
เวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดม ก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณ-
วาทะ อนึ่งระหว่างผู้มีญาณวาทะทั้งสองฝ่ายนั้น ควรจะได้แสดงอิทธิปา-
ฏิหารย์ที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดม พึงเสด็จไปกึ่งหนทาง แม้
เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทำอิทธิปาฏิหาริย์
ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่ง
ยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจัก
ทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจักทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทำ ๔ อย่าง
เราจะทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทำเท่าใด ๆ เราก็จักทำให้มากกว่า
นั้น เป็นทวีคูณ. โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะทราบข่าวนั้น จึงเข้ามาหา
เรา ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรอาศัยอยู่ที่วัชชีคามใน
เมืองเวสาลี มีลาภและยศเลิศ เขากล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลี
อย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมเป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ
ระหว่างผู้มีญาณวาทะทั้งสองฝ่ายนั้น ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่า
ธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมไปได้กึ่งทาง ทางก็ไปได้กึ่งทาง ในที่พบ
กันนั้น แม้เราทั้งสองพึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
ถ้าพระสมณโคดมทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ๑ อย่าง
เราจะทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทำ ๒ อย่าง เราจะทำ ๔ อย่าง
ถ้าพระสมณโคดมจักทำ ๔ อย่าง เราจะทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดม
จะทำเท่าใด ๆ เราจะทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ. เมื่อโอรสเจ้าลิจ-
ฉวีชื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ เราได้กล่าวกะเขาว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ
นักบวชเปลือยชื่อปกฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิ
เช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระ
สมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงรักษาพระวาจานั้น ขอพระสุคตทรงรักษาพระวาจานั้น.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ ไฉนเธอจึงกล่าวกะเราอย่าง
นี้ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรักษาพระวาจานั้น
ขอพระสุคตทรงรักษาพระวาจานั้น.
สุนักขัตตะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระผู้มีพระ
ภาคตรัสวาจาโดยแน่นอนว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา
จิตและสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขา
พึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไป
พบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาพึงแตกออก ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร อาจแปลงรูปมาพบเห็น
พระผู้มีพระภาคก็ได้ พระดำรัสเช่นนั้นของพระผู้มีพระภาคก็เป็นมุสา.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ ตถาคตเคยกล่าววาจาที่เป็นสอง
ไว้บ้างหรือ.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรโดยแจ้งชัดด้วยพระหฤทัยว่า เขา
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบ
เห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะ
พึงเตกออกหรือเทวดามาทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคว่า เขาเมื่อไม่
ละวาจา จิต ละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็น
พระองค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างไรว่า เราไม่ละวาจา จิต สละสละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของ
เขาจะพึงแตกออก.
เรากล่าวว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เราทราบนักบวชเปลือย
ชื่อปาฏิกบุตร โดยแจ้งด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต และสละ
ทิฏฐิเช่นนั้น จึงไม่สามารถมาพบเห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงเห็นอย่างนี้ว่าเรา
ไม่ละวาจา จิต ละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้
ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก แม้เทวดาก็ได้บอกความนั้นแก่เราว่า เขา
เมื่อไม่ละวาจานั้น ฯลฯ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก. แม้เสนาบดีเจ้าลิจฉวี
ชื่ออชิตะ ซึ่งได้ตายไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ไปเกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ก็
ได้เข้ามาบอกเราอย่างนี้ว่า นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรเป็นคนไม่ละอาย
ชอบกล่าวมุสา ทั้งได้พยากรณ์ข้าพระองค์ว่า เสนาบดีแห่งเจ้าลิจฉวีชื่อ
อชิตะ ในวัชชีคาม ได้เกิดในมหานรก แต่ข้าพระองค์มิได้เกิดใน
มหานรก ได้เกิดในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาไม่ละอาย ชอบพูดมุสา เขา
เมื่อไม่ละวาจา จิต ละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถจะพบเห็นพระ
องค์ได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืน
ทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึง
แตกออก. แม้เพราะเหตุนี้แล เราทราบ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร
โดยแจ้งชัดด้วยใจของเราว่า เขาไม่ละวาจา จิต สละสละคืนทิฏฐิเช่น
นั้น ไม่ควรมาพบเห็นเรา ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา
จิตและสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคตมได้ดังนี้ ศีรษะ
เจริญนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร ไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่น
นั้น ไม่ควรมาพบเห็นพระผู้มีพระภาค ถ้าแม้เขาพึงมีความคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต ละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น พึงไปพบเห็นพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
สมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะเขาพึงแตกออก. ดูก่อนสุนักขัตตะ เรานี้แล
เที่ยวไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้ว
เข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน บัด
นี้ถ้าเธอปรารถนาก็จงบอกเขาเถิด.
[๗] ภัคควะ ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งห่มแล้ว ถือบาตรจีวร
เข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้ว
เข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เพื่อพักผ่อนกลางวัน.
ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะ รีบเข้าไปเมืองเวสาลีแล้ว เข้าไป
พวกเจ้าลิจฉวีที่มีข้อเสียงบอกว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาค
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตไม่เวลาปัจฉาภัต
แล้วเสด็จเข้าไปยังอารามของนักบวชเปลือย ชื่อปาฏิกบุตรเพื่อทรงพักผ่อน
กลางวัน ขอพวกท่านจงรีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวด
กว่าธรรมของมนุษย์ ของพวกสมณะที่ดี.
ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงได้คิดกันว่า ท่านผู้เจริญ ทราบ
ข่าวว่า จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ของพวก
สมณะที่ดี ฉะนั้นเชิญพวกเราไปกัน. และโอรสเจ้าลิจฉวีสุนักขัตตะเข้าไป
หาพวกพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณ-
พราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้า
ไปบิณฑบาตที่เมืองเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้วเสด็จเข้า
ไปยังอารามของอเจลกปาฏิกบุตร เพื่อทรงพักผ่อนกลางวัน ขอพวกท่านจง
รีบออกไป จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ของ
พวกสมณะที่ดี ครั้งนั้น พวกพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่า
เดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง ได้คิดกันว่า ท่านผู้เจริญ
ทราบข่าวว่า จักมีการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
พวกสมณะที่ดี ฉะนั้น เชิญพวกเราไปกัน.
ครั้งนั้น พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดี
ผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้เข้าไปยัง
อารามของนักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร. ดูก่อนภัคควะ บริษัทนั้น ๆ มี
หลายร้อย หลายพันคน. นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรได้ทราบข่าวว่า
บรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงและพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่า
เดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่า
พระสมณโคดมก็ทรงนั่งพักผ่อนที่อารามของเรา. ครั้นแล้ว จึงเกิดความ
กลัวความหวาดเสียว ขนพอง สยองเกล้า. ครั้งนั้น นักบวชเปลือยชื่อ
ปาฏิกบุตร เมื่อกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า จึงเข้าไปยังอาราม
ของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ. บริษัทนั้นได้ทราบว่า นักบวชเปลือยชื่อ
ปาฏิกบุตรกลัว หวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า เข้าไปยังอารามของปริ-
พาชกชื่อติณฑุกขานุ.
ครั้งนั้น บริษัทนั้นได้เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้
เจริญ ท่านจงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรที่อารามของปริพา-
ชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วจงบอกกะเขาอย่างนี้วา ท่านปาฎิกบุตร ท่าน
จงกลับไป บรรดาเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้
มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ และพระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน
ที่อารามของท่าน อนึ่งท่านได้กล่าวในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่าแม้พระ
สมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็น
ญาณวาทะทั้งสองฝ่ายควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกัน
นั้น แม้เราทั้งสอง พึงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้า
พระสมณะโคดมจักทรงกระทำอิทธิปาฎิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
๑ อย่าง เราจักกระทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๒ อย่าง
เราจะทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจักทำ ๔ อย่าง เราจะทำ ๘ อย่าง
พระสมณโคดมจักทำเท่าใด ๆ เราก็จะทำให้มากกว่านั้น เป็นทวีคูณ
ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จ
มาก่อนภัคควะ บุรุษนั้นรับคำสั่งบริษัทนั้นแล้ว จึงเข้าไปหานักบวชเปลือย
ดูก่อนภัคควะ บุรุษนั้นรับคำสั่งบริษัทนั้นแล้ว จึงเข้าไปหานักบวชเปลือย
ชื่อ ปาฎิกบุตรที่อารามของปริพาชกชื่อติณฑุกขานุ แล้วบอกะเขาอย่างนี้
ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์
มหาศาลคฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มี
ชื่อเสียงได้พากันออกมาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวันที่อารามของท่าน อนึ่งท่านได้กล่าววาจาในที่บริษัทเมืองเวสาลี
อย่างนี้ว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณ
วาทะ อนึ่งระหว่างผู้เป็นญาณวาทะทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิ-
หาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง
แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทางในที่พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงทำอิทธิปาฏิ-
หาริย์ที่ยอดเยี่ยมกว่าธรรมของมนุษย์ ถ้าพระสมณะโคดมจักทรงกระทำ
อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทำ ๒
อย่าง ถ้าพระสมณโคดมทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจะทำ ๔ อย่าง
ถ้าพระสมณโคดมจักทรงกระทำ ๔ อย่าง เราจะทำ ๘ อย่าง พระ-
สมณโคดมจะทรงกระทำเท่าใด ๆ เราก็จักกระทำให้มากกว่านั้น
เป็นทวีคูณ ๆ ดังนี้ ท่านปาฎิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหน
ทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงที่เดียวประทับนั่งพักผ่อน
กลางวันที่อารามของท่าน. เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นักบวช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
เปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วซบศีรษะอยู่ในที่
นั่นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.
ครั้งนั้น บุรุษนั้นได้กล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ไฉน
ท่านจึงเป็นอย่างนี้ ตะโพกของท่านติดกะที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพก
ของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไป ๆ แต่กลับซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่อาจ
ลุกขึ้นจากอาสนะได้. ดูก่อนภัคควะ นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร แม้ถูก
ว่าอยู่อย่างนี้ ก็ยังกล่าวว่าเราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่
อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. เมื่อบุรุษนั้นได้ทราบว่า อเจลกปาฎิกบุตรนี้เป็น
ผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง
ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้นแล้วบอกว่า ท่านผู้
เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้แล้วก็ยังกล่าวว่า เราจะ
ไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.
ก่อนภัคควะ เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวกะบริษัท
นั้นว่า ท่านทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต
สละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงมี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไป
พบเห็นพระสมฌโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะเขาจะพึงแตกออก.
ปฐมภาณวาร จบ
[๘] ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น มหาอำมาตย์เจ้าลิจฉวีคนหนึ่งลุก
ขึ้นยืน ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอให้พวกท่าน
รอคอยสักครู่หนึ่ง ขอให้ข้าพเจ้าไป บางที ข้าพเจ้าอาจนำเอานักบวช
เปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร มาบริษัทนี้ได้ ครั้งนั้น มหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวี
คนนั้นจึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร ที่อารามของปริพาชกชื่อ
ติณฑุกขานุ กล่าวว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
เป็นการดี พวกเจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดี
ผู้มั่งคั่ง เหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้พากันออก
มาแล้ว แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน
อนึ่งท่านได้กล่าววาจาในบริษัทที่เมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า แม้พระสมณะโคดม
ก็เป็นญาณวาทะ แม้เราก็เป็นญาณวาทะอนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะ
ทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ พระ-
สมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่พบกันนั้น
แม้เราทั้งสอง พึงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ถ้า
พระสมณโคดมจักทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ๑
อย่าง เราจะทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงกระทำ ๒ อย่าง เราจะ
ทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงทำ ๔ อย่าง เราจะทำ ๘ อย่างพระ-
สมณโคดมจะทรงทำเท่าใด ๆ เราจะทำให้มากกว่านั้นเป็นทวีคูณ ๆ ดังนี้
ท่านปาฎิกบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคน
ทั้งปวงทีเดียวประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระ
สมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัทว่า นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบ
เห็นเราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะ
ของเขาจะพึงแตกออก ดังนั้น ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วย
การกลับไปนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจักให้ชัยชนะแก่ท่าน จักให้ความ
ปราชัยแก่พระสมณโคดม.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีกล่าวอย่างนี้
นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะ
อยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. ครั้งนั้นมหาอำมาตย์แห่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
เจ้าลิจฉวีจึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร ท่านเป็นอย่างไรเล่า ตะ
โพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติดกับตะโพกของท่าน ท่าน
กล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจาก
อาสนะได้. เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นได้ทราบว่า นักบวช
เปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร นี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป แล้ว
ก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงมาหาบริษัท
แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตรนี้ เป็นผู้แพ้
แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่
อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อมหาอำมาตย์แห่งเจ้าลิจฉวีนั้นกล่าวอย่างนี้
เราจึงกล่าวกับบริษัทว่า เธอทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อปาฏิกบุตร
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะพบเห็น
เราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราจะไม่ละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะ
ของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวก
เราจักเอาเชือกมัด อเจลกปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่
เชือกเหล่านั้น หรืออเจลกปาฏิกบุตรพึงขาดออก ก็อเจลกปาฏิกบุตร
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบ
เห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะ
ของเขาจะพึงแตกออก.
[๙] ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้นศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ ชื่อ
ชาลิยะ ลุกขึ้นยืนกล่าวกะบริษัทว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น
ขอให้พวกท่านจงรอคอยสักครู่หนึ่ง ขอให้ข้าพเจ้าไป บางที ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
อาจนำเอานักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร มาสู่บริษัทได้. ครั้งนั้นศิษย์
ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อว่า ชาลิยะ จึงเข้าไปหานักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิก-
บุตร ที่อารามของปริพาชกชื่อ ติณฑุกขานุ แล้วจึงกล่าวว่า ท่าน
ปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป การกลับไปของท่านเป็นการดี พวก
เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง และพราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่า
เดียรถีย์ต่าง ๆ และสมณพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียงได้พากันออกมาแล้ว
แม้พระสมณโคดมก็ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง
ท่านได้กล่าววาจาในบริษัท ที่เมืองเวสาลีว่า แม้พระสมณโคดมก็เป็น
ญาณวาทะ แม้ว่าเราจะเป็นญาณวาทะ อนึ่ง ระหว่างผู้เป็นญาณวาทะ
ทั้งสองฝ่าย ควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
พระสมณโคดมพึงเสด็จมากึ่งหนทาง แม้เราก็พึงไปกึ่งหนทาง ในที่
พบกันนั้น แม้เราทั้งสอง พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์ ถ้าพระสมณโคดมทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรม
ของมนุษย์ ๑ อย่าง เราจะทำ ๒ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงทำ ๒
อย่าง เราจะทำ ๔ อย่าง ถ้าพระสมณโคดมจะทรงทำ ๔ อย่าง เราจะ
ทำ ๘ อย่าง พระสมณโคดมจักทรงกระทำเท่าใด ๆ เราจักทำให้มาก
กว่านั้นเป็นทวีคูณๆ ดังนี้ ท่านปาฏิบุตร ท่านจงออกไปกึ่งหนทาง
พระสมณโคดมเสด็จมาก่อนคนทั้งปวงทีเดียว ประทับนั่งพักผ่อน
กลางวันที่อารามของท่าน อนึ่ง พระสมณโคดมได้ตรัสวาจาในบริษัท
ว่า นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิ
เช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็น
พระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะพึงแตกออก แม้ถ้า
พวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอาเชือกมัดนักบวช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
เปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร แล้วจึงฉุดมาด้วยคู่โคมากคู่ เชือกเหล่านั้น
หรืออเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร พึงขาดออก ก็อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อไม่
ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็น
เราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่อาจละวาจา จิต และสละ
คืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะ
ของเขาจะพึงแตกออก ดังนี้ ท่านปาฏิกบุตร ท่านจงกลับไป ด้วยการ
กลับไปของท่านนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าจะให้ชัยชนะแด่ท่าน จะ
ให้ความปราชัยแก่พระสมณโคดม.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ กล่าว
แล้วอย่างนี้ นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร จึงกล่าวว่า เราจะไป ๆ
แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ ครั้งนั้น
ศิษย์ช่างกลึงบาตไม้ชื่อ ชาลิยะ จึงกล่าวกะเขาว่า ท่านปาฏิกบุตร
ท่านเป็นอย่างไรไปเล่า ตะโพกของท่านติดกับที่นั่ง หรือว่าที่นั่งติด
กับตะโพกของท่าน ท่านกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่
นั่นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้. อเจลกปาฏิกบุตร แม้ถูกว่าอย่าง
นี้ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเองไม่อาจลุกขึ้น
จากอาสนะได้ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ได้ทราบว่า อเจลก
ชื่อ ปาฏิกบุตร นี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่า เราจะไป ๆ แล้วก็ซบ
ศีรษะอยู่ที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้ จึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า
กถาว่าด้วยอุปมาสุนัขจิ้งจอกกับพญาราชสีห์
ท่านปาฏิกบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คือพญาสีหราช ได้คิด
อย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ แล้วออกจาก
ที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 23
สีหนาท ๓ ครั้ง จึงเที่ยวไปหากิน เราต้องหาหมู่เนื้อตัวล่ำสัน
กินเนื้อที่อ่อนนุ่ม ๆ แล้วกลับมาซ่อนตัวอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น พญา
สีหมิคราชนั้น จึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนใน
เวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
เที่ยวไปหากิน มันฆ่าหมู่เนื้อตัวล่ำสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่ม ๆ แล้วกลับ
มาซ่อนอยู่ตามเคย. ท่านปาฏิกบุตร มีสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง กิน
เนื้อที่เป็นเดนของพญาสีหมิคราชนั้น แล้วก็เจริญอ้วนท้วนมีกำลัง
ต่อมาสุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้น จึงเกิดความคิดว่า เราคือใคร พญาสีห-
ราชคือใคร ถ้ากระไร เราพึงอาศัยป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจาก
ที่ซ่อนเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบบันลือสีหนาท ๓
ครั้ง เที่ยวไปหากิน เราต้องฆ่าหมู่ เนื้อตัวล่ำสัน กินเนื้อที่อ่อนนุ่มๆ
แล้วก็กลับมาซ่อนอยู่ตามเคย. ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกแก่ตัวนั้นอาศัย
ป่าทึบบางแห่งซ่อนอยู่ ออกจากที่ซ่อนในเวลาเย็น ดัดกายเหลียวดู
ทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วคิดว่า เราจักบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แต่
กลับบันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกอย่างน่ากลัว น่าเกลียด สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำ
ทรามเป็นอย่างไร และการบันลือของสีหะเป็นอย่างไร. ปาฏิกบุตร
ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็น
เดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่
สามารถที่จะให้อเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้
ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ ว่า
สุนัขจิ้งจอกสำคัญตนเป็นสีหะ จึงได้ถือตัว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
ว่าเป็นมิคราช มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น
สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะ
เป็นอย่างไร.
[๑๐] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตาม
แบบพระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุก
รานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตร
เป็นอย่างไร การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าเป็นอย่างไร. ภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่
สามารถที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้น
ได้ แม้ด้วยคำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกดูเงาของตนที่ปรากฏในน้ำ ทั้ง
อยู่ข้างบ่อ ไม่เห็นตนตามความเป็นจริง จึงถือตัวว่า
เป็นสีหะ มันได้บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น เสียง
สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทรามเป็นอย่างไร การบันลือของสีหะ
เป็นอย่างไร.
[๑๑] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระ
ตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฏิกบุตรเป็นอย่างไร
การรุกรานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่สามารถ
ที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วย
คำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า
สุนัขจิ้งจอกกินกบ กินหนู ตามลานข้าวและ
กินซากศพที่ทิ้งตามป่าช้า จึงอ้วนพีอยู่ตามป่าใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
ตามป่าที่ว่างเปล่า จึงได้ถือตัวว่าเป็นมิคราช มันได้
บันลือเสียงสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำทราม
เป็นอย่างไร การบันลือของสีหะเป็นอย่างไร.
[๑๒] ท่านปาฏิกบุตร ท่านก็เป็นเช่นนั้น ดำรงชีพตามแบบ
พระสุคต บริโภคอาหารที่เป็นเตนพระสุคต ยังสำคัญการรุกรานพระตถา-
คตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านปาฎิกบุตรเป็นอย่างไร การรุก
รานพระตถาคตผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างไร.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ ไม่สามารถ
ที่จะให้นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร เคลื่อนจากอาสนะนั้นได้ แม้ด้วย
คำเปรียบเปรยเช่นนี้ จึงกลับมาหาบริษัทนั้น แล้วบอกว่า ท่านผู้เจริญ
นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร นี้เป็นผู้แพ้แล้ว ก็ยังกล่าวว่าเราจะไป ๆ
แล้วก็ซบศีรษะอยู่ในที่นั้นเอง ไม่อาจลุกขึ้นจากอาสนะได้.
ดูก่อนภัคควะ เมื่อศิษย์ช่างกลึงบาตรไม้ชื่อ ชาลิยะ นั้น กล่าว
อย่างนี้ เราจึงกล่าวกะบริษัทนั้นว่า เธอทั้งหลาย นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิก-
บุตร ไม่ละวาจา จิต สละสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะพบ
เห็นเราได้ แม้ถ้าเขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืน
ทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะ
พึงแตกออก แม้ถ้าพวกเจ้าลิจฉวีจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า พวกเราจักเอา
เชือกมัดนักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร แล้วฉุดมาด้วยโคมากคู่ เชือก
เหล่านั้นหรืออเจลกปาฎิกบุตรพึงขาดออก ก็นักบวชเปลือยชื่อ ปาฏิกบุตร
เมื่อไม่ละวาจา จิต และสละคืนทิฏฐิเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะมาพบเห็น
เราได้ ถ้าแม้เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราไม่ละวาจา จิต และสละคืน
ทิฏฐิเช่นนั้น ก็พึงไปพบเห็นพระสมณโคดมได้ ดังนี้ แม้ศีรษะของเขาจะ
พึงแตกออก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 26
ดูก่อนภัคควะ ลำดับนั้น เราจึงให้บริษัทนั้นเห็นแจ้ง ให้สมา-
ทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ทำให้พ้นจากเครื่องผูกใหญ่
รื้อถอนสัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ขึ้นจากหลุมใหญ่ จึงเข้าเตโชธาตุกสิณ
เหาะขึ้นเวหาสสูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาล เนรมิตไฟอื่นให้ลุกโพลงมีควัน
กลบ สูงประมาณ ๗ ชั่วลำตาลแล้ว จึงกลับมาปรากฏที่กูฎาคารศาลาป่า
มหาวัน. ดูก่อนภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้า
มาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. เราจึง
ได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า สุนักขัตตะเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน วิบากนั้นได้มีขึ้น เหมือนดังที่เราได้พยากรณ์นักบวชเปลือยชื่อ
ปาฏิกบุตร แก่เธอ มิใช่มีโดยประการอื่น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบาก
นั้นได้มีแล้วเหมือนดังที่พระตถาคตได้ทรงพยากรณ์อเจลกชื่อ ปาฏิกบุตร
แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น.
เรากล่าวว่า เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้
อิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นสิ่งที่เราแสดงแล้ว
หรือยัง.
สุนักขัตตะ ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์แสดงไว้
แล้วแน่นอน มิใช่ไม่ทรงแสดงก็หาไม่.
เรากล่าวว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรง แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
แก่ข้าพระองค์ดังนี้. เธอจงเห็นว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดของ
เธอเพียงไร ดูก่อนภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ เมื่อเรากล่าว
อย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้เหมือนสัตว์ผู้ไปเกิดในอบายและ
นรกฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 27
กถาว่าด้วยมหาพรหมเป็นต้น
[๑๓] ดูก่อนภัคควะ ก็เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ
ทั้งรู้ชัดกว่านั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นจงทราบ
ความดับได้เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์. ดูก่อนภัคควะ มีสมณ-
พราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่า
พระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ได้
ยินว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่า
พระพรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูก
เราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่าน
บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่าพระอิศวรทำให้ ว่าพระพรหมทำให้ตาม
ลัทธิอาจารย์มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้ ก็
ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย
มีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศ
อยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จ
ทางใจ มีปิติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน
อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลช้านาน.
เธอทั้งหลาย มีบางกาลบางสมัยล่วงมาช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ
เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่า ว่างเปล่า ครั้งนั้น
สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ
ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติ
เป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ใน
วิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์นั้นอยู่แต่
ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ
แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง. ต่อมา สัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 28
อาภัสสรพรหมเพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่
ว่าง เป็นสหายของสัตว์ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติ
เป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่
ในวิมานงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลช้านาน.
เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีความ
คิดเห็นอย่างนี้วา เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่ม
ได้ เห็นถ่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็น
ผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้ เราเนรมิตขึ้น. ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะ
ว่าเราได้มีความคิดอย่างนี้ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์อื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้
บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ ก็ได้มาเป็นอย่างนี้
แล้ว. แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ นี้
แล เป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มี ใครข่มได้ เห็นถ่อง
แท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประ-
เสริฐ. เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้เนรมิตแล้ว. ข้อนั้นเพราะ
เหตุใด. เพราะว่าพวกเราได้เห็นท่านพรหมผู้นี้เกิดก่อน ส่วนพวกเราเกิด
ภายหลัง.
เธอทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น สัตว์ใดเกิดก่อน สัตว์นั้นมี
อายุยืนกว่า มีผิวพรรณงามกว่า มีศักดิ์มากกว่า. ส่วนสัตว์ที่เกิดภายหลัง
มีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า. เธอทั้งหลาย ก็เป็น
ฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็น (มนุษย์)
อย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อ
บวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 29
แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้ใดแลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็น
ถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้เนรมิต เป็นผู้ประเสริฐ
เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและ
กำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่เนรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็น
ผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้ง
อยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว. ส่วนพวกเราที่พระพรหมผู้เจริญนั้นเนรมิต
แล้ว เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่าง
นี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่า พระอิศวรทำให้ ว่าพระ
พรหมทำให้ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์
เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดม
ได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่า
นั้น และไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับได้
เฉพาะตน ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยเทวดาชื่อขิฑฑาปโทสิกะ
[๑๔] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางพวก บัญญัติสิ่งที่โลกสมมติ
ว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์ เราจึง
เข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่า
เลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึง
ถามต่อไปว่า พวกเธอบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดา
เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 30
นั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึง
พยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ มีอยู่ พวก
นั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจน
เกินเวลา เมื่อพวกเขาพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวล
เสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากัน
จุติจากชั้นนั้น. เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัย
ความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วย่อมตามระ-
ลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่าท่านพวกเทวดาผู้มีใช่เหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่
พากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกิน
เวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้น
นั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จึงตั้งอยู่
เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นแล. ส่วนพวกเราเหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่นอยู่
แต่ในความรื่นรมย์ คือการสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อม
หลงลืม เพราะสติหลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติ
สิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า ขิฑฑาปโทสิกะ ตาม
ลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้
ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมา ดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะ เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และ
ไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้น ด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 31
ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยเทวดาชื่อมโนปโทสิกะ
[๑๕] ภัคควะ มีสมณพราหมณ์บางจำพวก บัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า มโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์
เราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า เธอทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลก
สมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะตามลัทธิอาจารย์จริง
หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่น
นั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่า
มีมูลมาแต่เทวดาเหล่ามโนปโทสิกะ ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบอย่าง
อะไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ถูก เมื่อ
ตอบไม่ถูก จึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า เธอทั้งหลาย
พวกเทวดาชื่อ มโนปโทสิกะ มีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกิน
ควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อ
ต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกาย ลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น.
เธอทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้น
แล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึง
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกถึงไม่ได้. เขา
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่า มโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัว
เพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันแลกันเกินควร ก็ไม่
คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกันแล้ว ก็ไม่ลำบาก
กายไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
มีอายุยืน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นที
เดียว. ส่วนพวกเราเหล่า มโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อมัวเพ่งโทษกันละกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงพากันลำ-
บากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่
ยั่งยืน ไม่คงทน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่ง
ที่โลกสมมติว่าเลิศ ว่ามีมูลมาแต่เทวดาเหล่า มโนปโทสิกะ ตามลัทธิ
อาจารย์ มีแบบเช่นนี้ หรือมิใช่. สมณพราหมณ์เหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า
ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล. ภัคควะ
เราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น แต่เราไม่ยึดมั่น
ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน ฉะนั้น
ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยมีความเห็นว่าเกิดขึ้นลอย ๆ
[๑๖] ดูก่อนภัคควะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติสิ่งที่
โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์ เราจึงเข้าไป
ถามเขาอย่างนี้ว่า ทราบว่า ท่านทั้งหลายบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือ
กันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์จริงหรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่า พวก
ท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอย ๆ ตามลัทธิอาจารย์
มีแบบอย่างไร. สมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่
ถูก เมื่อตอบไม่ถูกจึงย้อนถามเรา เราถูกถามแล้ว จึงพยากรณ์ว่า
เธอทั้งหลาย มีเทวดาเหล่าอสัญญีสัตว์ ก็แลเทวดาเหล่านั้นย่อม
จุติจากชั้นนั้น เพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา. ดูก่อนเธอทั้งหลาย ก็
เป็นฐานะที่จะมีได้ผล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 33
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวช
แล้วอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรเป็นที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงความเกิดขึ้น
แห่งสัญญานั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้. เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตา
และโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะว่าเมื่อก่อนข้าพเจ้า
ไม่ได้มีแล้ว (ไม่มีสัญญา) เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้านั้นไม่มี เพราะน้อมไปเพื่อความ
เป็นผู้สงบ. ก็พวกท่านบัญญัติสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ถือกันว่าเกิดขึ้นลอยๆ
ตามลัทธิอาจารย์ มีแบบเช่นนี้หรือ. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ตอบอย่างนี้
ว่า ท่านโคดม พวกข้าพเจ้าก็ได้ทราบมาดังที่ท่านโคดมได้กล่าวมานี้แล.
ภัคควะเราย่อมทราบชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น และ
ไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย. เมื่อไม่ยึดมั่น จึงทราบความดับเฉพาะตน
ฉะนั้น ตถาคตจึงไม่ถึงทุกข์.
กถาว่าด้วยสุภวิโมกข์
[๑๗] ภัคควะ สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวตู่เรา ซึ่งกล่าว
อยู่อย่างนี้ ด้วยคำที่ไม่มีจริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำมุสา ด้วยคำที่ไม่เป็น
จริง พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมัยใด พระโยคาวจรเข้าสุภวิโมกข์
อยู่. สมัยนั้น ย่อมทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. ภัคควะ ก็เราไม่ได้กล่าว
อย่างนี้เลยว่า สมัยใด พระโยคาวจรย่อมเข้าสุภวโมกข์อยู่. สมัยนั้น ย่อม
ทราบชัดสิ่งทั้งปวงว่าไม่งาม. แต่เราย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า สมัยใด พระ
โยคาวจรย่อมเข้าสุกวิโมกข์อยู่ สมัยนั้น ย่อมทราบชัดแต่สิ่งที่ดีงามเท่า
นั้น. สละ ผู้ที่ชื่อว่าวิปริตไปแล้ว ก็คือผู้ที่กล่าวร้ายพระผู้มีพระภาค
และพวกภิกษุ เพราะตนวิปริตไปเองได้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 34
องค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถแสดง
ธรรมให้ข้าพระองค์เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่.
ภัคควะ การที่เธอผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจทาง
หนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่งไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ ไม่มี
ลัทธิอาจารย์จะเข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากมาก ขอให้เธอจงรักษา
ความเลื่อมใสในเราเท่าที่เธอมีอยู่ให้ดีก็พอ.
ปริพาชกชื่อ ภัคควะโคตร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ถ้าว่าการที่ข้าพระองค์ผู้มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไป
ทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทางหนึ่ง ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องประกอบ
ไม่มีลัทธิอาจารย์ เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ เป็นของยากก็จริง ข้าพระองค์ก็
จะพยายามรักษาความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเท่าที่ ข้าพระองค์มีอยู่
ให้ดี.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ปริพาชกชื่อ ภัคควะ-
โคตร มีความยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้ มีพระภาคแล้วแล.
จบ ปาฏิกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 35
สุมังคลวิลาสินี
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรควรรณนา
อรรถกถาปาฏิกสูตร
ปาฏิกสูตร มีคำบาลีว่า เอวมฺเม สุต ฯ เป ฯ มลฺเลสุ วิหรติ.
ในปาฎิกสูตรนั้นจะได้อธิบายข้อความตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-
คำว่า มลฺเลสุ วิหรติ มีคำอธิบายดังนี้ แม้ชนะแห่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นถิ่นพำนักอาศัยของบรรดามัลลราชกุมาร ผู้มีนิวาสฐาน อยู่ในชนบท
ก็เรียกว่า มัลละ เพราะเพิ่มศัพท์เข้ามา (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่) ในชนบทแห่งหนึ่งนั้น ในบรรดามัลลชนบททั้งหลาย. คำว่า
อนุปฺปิย นาม มลฺลาน นิคโม มีคำอธิบายดังนี้ มีนิคมชนบทของ
ชาวมัลละแห่งหนึ่งชื่อว่า อนุปิยะ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ในราว
ป่าแห่งหนึ่งถือพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ อาศัยอนุปิยนิคมชนบทนั้นเป็น
โคจรคาม. บาลีบางแห่งเป็น "อโนปิยะ" ก็มี. บทว่า ปาวิสิ แปลว่า
ได้เสด็จเข้าไปแล้ว. อนึ่ง จะกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปเสร็จ
สิ้นแล้วไม่ได้ ต้องกล่าวว่ายังต้องเสด็จเข้าไปอีก เพราะเหตุว่าแม้เสด็จ
ออกมาแล้ว ก็ยังทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้าไปอีก. มีอุปมาดังนี้.
เช่นชายคนหนึ่งออกจากบ้านประสงค์จะไปยังบ้านอีกแห่งหนึ่ง แม้จะเดิน
ทางยังไม่ถึงบ้านแห่งนั้น เมื่อมีคำถามว่า ชายคนนี้อยู่ที่ไหน ก็ต้อง
ตอบว่าเขาไปบ้านนั้นแล้ว ข้อนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็มีฉันนั้น.
คำว่า เอตทโหสิ พระราชดำรินี้ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อพระผู้มี
พระภาคประทับยืนอยู่ใกล้บ้านและทอดพระเนตรดวงอาทิตย์. คำว่า
อติปฺปโค โข แปลว่า ยังเช้ามืดเกินไป คนในตระกูลทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 36
ยังจัดข้าวยาคูไม่เสร็จ. มีคำถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบ
เวลาหรือจึงเสด็จออกไป. มีคำตอบว่า พระองค์ไม่ทรงทราบเวลาเสด็จ
ออกไปก็หามิได้. เพราะในเวลาเช้าตรู่ พระผู้มีพระภาคทรงแผ่ข่ายพระ
ญาณตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตรเห็นฉันนปริพาชก ภัคควโคตร เข้า
ไปปรากฏในข่ายพระญาณ ทรงทราบแน่ชัดว่า ในวันนี้ เราจักนำเหตุที่
เราได้บำเพ็ญไว้ในปางก่อนมาแสดงธรรมแก่ปริพาชกนี้ ธรรมกถานั้นจัก
มีผลเพราะปริพาชกนั้นได้ความเลื่อมใสในเรา ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จ
เข้าไปยังอารามของปริพาชก จึงได้เสด็จออกไปแต่เข้าตรู่ เพราะฉะนั้น
จึงทรงบังเกิดมีพระราชดำริอย่างนี้ เพราะมีพระราชประสงค์จะเสด็จเข้า
ไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้น.
คำว่า เอตฺทโวจ มีคำอธิบายดังนี้ ฉันนปริพาชก เห็นพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มิได้แสดงอาการแข็งกระด้างเพราะมีมานะ ได้ถวาย
การต้อนรับพระศาสดากราบทูลถ้อยคำว่า ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้ามา
เถิด พระเจ้าข้า" เป็นต้น. คำว่า อิม ปริยาย ได้แก่ วาระนี้ อธิบาย
ว่า วาระที่ได้เสด็จมานี้ในวันนี้. แม้เมื่อครั้งก่อนพระผู้มีพระภาคเคยได้
เสด็จไปในอารามของฉันนปริพาชกนั้นบ้างหรือ. ไม่เคยเสด็จไป. แต่
ปริพาชกได้กราบทูลอย่างนั้น เพราะคล้อยตามสำนวนของชาวโลกทั้งหลาย.
เพราะชาวโลกทั้งหลายได้เห็นคนที่ตนพอใจ ไม่ว่าจะเคยมานานแล้วก็ดี
หรือไม่เคยมาเลยก็ดี ย่อมกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านมาจากไหน
เป็นเวลานานเหลือเกินที่ท่านผู้เจริญได้มาที่นี้อีก ท่านรู้ทางมาที่นี้ได้อย่างไร
ท่านหลงทางมาหรือ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ฉันนปริพาชกนี้
ได้กล่าวอย่างนี้ เพราะคล้อยตามสำนวนของชาวโลก. ประโยคว่า
อิทมาสน หมายความว่า ปริพาชก ได้กล่าวอย่างนั้นพร้อมกับชี้บอก
อาสนะที่ตนนั่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 37
คำว่า สุนกฺขตฺโต ลิจฺฉวิปุตฺโต ได้แก่ พระราชโอรสของ
กษัตริย์ลิจฉวี ทรงพระนามว่า สุนักขัตตะ. ได้ยินว่า พระราชโอรสพระ
องค์นั้นเป็นสหายคฤหัสถ์ขอฉันนปริพาชกนั้น ได้เสด็จมาสู่สำนักของ
ปริพาชกนั้น ในบางครั้งบางคราว. คำว่า ปจฺจกฺขาโต ได้แก่ บอกคืน
คือสละ ละทิ้ง ด้วยกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพเจ้า
บอกคืนพระผู้มีพระภาค บัดนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขออยู่ อุทิศพระผู้มีพระภาค
เจ้า. คำวา ภควนฺต อุทฺทิสฺส ได้แก่ แสดงอ้างอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ
ภาคเป็นศาสดาของเรา เราจะปฏิบัติตามโอวาทของพระผู้มีพระภาค.
คำว่า โกสนฺโต ก ความว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า ผู้ขอ
พึงบอกคืนผู้ถูกขอ หรือว่าผู้ถูกขอพึงผู้ขอแต่ว่าเธอมิใช่ทั้งผู้ขอและ
ผู้ถูกขอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจะเป็นใคร บอกคืนใครเล่า.
คำว่า ปสฺส โมฆปุริส แปลว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงดู. คำว่า ยาวญฺจ
เต อิท อปรทิธ แปลว่า เรื่องนี้ เป็นความผิดของเธอมากเพียงใด. พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เราขอยกโทษที่มีอยู่อย่างนี้ว่า เธอมีความผิดเพียง
ใด ก็มีโทษเพียงนั้น.
บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา แปลว่า ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
ได้แก่ศีล ๕ และศีล ๑๐. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริย ได้แก่ ปาฏิหาริย์
เป็นฤทธิ์. บทว่า กเต วา แปลว่า ได้ทำแล้วก็ตาม. บทว่า ยสฺสตฺถาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แห่งความสิ้นทุกข์ใด. ด้วยคำว่า โส นิยฺยาติ
ตกฺกรสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ธรรมนั้นย่อมไป คือเป็นไป
เพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง ได้แก่เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอมตนิพพาน
แก่ผู้กระทำตามธรรมนั้น คือผู้กระทำตามธรรมที่เราแสดงไว้ ได้แก่บุคคล
ผู้ปฏิบัติชอบ. หรือด้วยคำว่า ตตฺร สุนกฺขตฺต เป็นต้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงความไร้ประโยชน์แห่งปาฏิหาริย์ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเมื่อธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 38
ที่เราแสดงแล้วนั้น เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น
อิทธิปาฏิหาริย์อันยุ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์ที่เรากระทำแล้ว จักทำอะไรได้
คือ มีประโยชน์อะไรด้วยการกระทำปาฏิหาริย์นั้น เพราะแม้เราจะกระทำ
ปาฏิหาริย์นั้นหรือไม่กระทำก็ตาม ความเสื่อมแห่งคำสอนของเราย่อมไม่มี
ความจริงเราบำเพ็ญบารมีมาเพื่อมุ่งให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บรรลุ
อมตนิพพาน มิได้มุ่งให้ทำปาฏิหาริย์แล้วได้ทรงยกโทษที่สองว่า ดูก่อน
โมฆบุรุษ เธอจงเห็น.
คำว่า อคฺคญฺ คือ บัญญัติแห่งโลกที่พึงรู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้เป็น
เลิศในโลก ได้แก่ความประพฤติอันเลิศ พระราชกุมารตรัสว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่บัญญัติส่งที่โลกสมมติว่าเลิศนั้น. คำที่เหลือในพระสูตรนี้
พึงทราบตามทำนองวาระที่อยู่ถัดไปนั่นเทียว. คำว่า อเนกปริยาเยน โข
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น เพราะเหตุใด. ได้ยินว่าสุนักขัตต-
ราชกุมาร ได้ทรงพร่ำบ่นคำเช่นนี้ว่า เราจักลบล้างคุณของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า บัญญัติโทษขึ้นเมื่อได้สดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค ดำรง
อยู่ไม่ได้ ไม่กล้าเปล่งพระสุรเสียง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
คำว่า อเนกปริยาเยน เป็นต้น เพื่อทรงแสดงโทษในความเป็นผู้ลบหลู่
ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เธอตั้งอยู่ในความเป็นผู้ลบหลู่อย่างนี้ จักได้รับคำ
ติเตียนเองทีเดียว.
บทว่า อเนกปริยาเยน ในพระสูตรนั้น แปลว่าโดยมิใช่หนึ่ง.
บทว่า วชฺชิคาเม ได้แก่เวสาลีนคร ซึ่งเป็นบ้านของคณะเจ้าวัชชี. บทว่า
ว่า โน วิสหิ ได้แก่ ไม่สามารถ. บทว่า โส อวิสหนฺโต ได้แก่ สุนัก-
ขัตตราชกุมารพระองค์นั้น. ในครั้งก่อน พระราชกุมารพระองค์ใด เมื่อ
ตรัสสรรเสริญพระรัตนตรัย พระโอฐที่ตรัสไม่เพียงพอ บัดนี้ พระราช
กุมารพระองค์นั้น ได้ทรงใช้พระโอฐนั้นเหมือนกัน มาตรัสติเตียนพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
รัตนตรัย. บทว่า อวิสหนฺโต ได้แก่ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ ได้
ตรัสติเตียนเพราะความที่พระองค์เป็นพาล แล้วเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว
ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ชมเชยพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีจริง
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีจริง พระสงฆ์ปฏิบัติดีจริง ย่อมชี้
โทษของเธอโดยเฉพาะ. คำว่า อิติ โข เต ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ เหล่ามนุษย์จักกล่าวติเตียนอย่างนี้แล.
เพราะฉะนั้น เมื่อโทษเกิดขึ้นอย่างนี้ เธอไม่อาจจะกล่าวได้ว่า พระ
ศาสดาผู้มีพระญาณไม่ขัดข้องในอดีตและอนาคต แม้ทรงทราบว่า โทษ
จักเกิดแก่เราอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสเตือนเราล่วงหน้าก่อน. บทว่า อปกฺกเมว
ได้แก่ ได้หลีกออกไปทีเดียว. หรือได้หนีออกไป อธิบายว่า เคลื่อนออก
ไป. คำว่า ยถา ต อาปายิโก อธิบายว่า สัตว์ผู้ควรไปเกิดในอบาย
สัตว์ผู้ควรไปเกิดในนรกพึงหนีไปเกิดฉันใด เธอก็ได้หนีไปฉันนั้น.
ด้วยคำว่า เอกมิทาห นี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอะไร. พระ
องค์ทรงเริ่มสูตรนี้ ด้วยสองบทว่า ไม่ทรงทำอิทธิปาฏิหาริย์และไม่
บัญญัติสิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ. ในสองบทนั้น บทว่า ไม่ทรง
บัญญัติส่งที่ชาวโลกสมมติเลิศ นี้ จักทรงแสดงในตอนท้ายสูตร.
ส่วนบทว่า ไม่ทรงทำปาฏิหาริย์ นี้ ได้ทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยอำนาจที่ทรง
แสดงสืบต่อ.
คำว่า เอกมิทาห ในบาลีนั้น แยกบทเป็น เอกสฺมึ อหึ. บท
ว่า สมย ได้แก่ ในสมัย. อธิบายว่า ในกาลครั้งหนึ่งเรา. บทว่า ถูลูสุ
อธิบายว่า มีชนบทแห่งหนึ่งชื่อว่า ถูลู เราอยู่ในชนบทนั้น. บทว่า
อุตฺตรกา นาม อธิบายว่า มีนิคมถูลูชนบท มีชื่อเป็นเพศหญิงว่า อุตตรกา
ทรงอาศัยนิคมนั้นเป็นโคจรคาม. บทว่า อเจโล ได้แก่ผู้เปลือยกาย. บทว่า
โกรกฺขตฺติโย ได้แก่ กษัตริย์ผู้มีพระบาทงองุ้ม. บทว่า กุกฺกุรวตฺติโก
ได้แก่ มาหานสุนัขวัตร ดมกลิ่น กินอาหาร นอนในบริเวณเตาไฟ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
สุนัข ทำกิริยาของสุนัขแม้อย่างอื่นอีก. บทว่า จตุโกณฺฑิโก คือเดินสี่
ขา ได้แก่คู้เข่าสองข้างและศอกสองข้างลงบนพื้นเดินเที่ยวไป. บทว่า
ฉมานิกิณฺณ ได้แก่ ที่เรี่ยราย ใส่ไว้ วางไว้ บนพื้น. บทว่า ภกฺขส
ได้แก่อาหาร คือของเคี้ยว ของบริโภคอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า มุเขเนว
คือ มิได้ใช้มือหยิบอาหาร ใช้ปากอย่างเดียวเคี้ยวอาหารที่พึงเคี้ยว แม้
อาหารที่พึงบริโภค. ก็ใช้ปากอย่างเดียวบริโภค. บทว่า สาธุรูโป ได้แก่
มีรูปงาม. บทว่า อรห สมโณ ได้แก่ สมณะผู้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง.
ศัพท์ว่า วต ในบาลีนั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถแห่งความปรารถนา.ได้
ยินว่า พระราชกุมารนั้น มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า นักบวชอื่นที่จะจัด
ว่าเป็นสมณะเช่นสมณะรูปนี้ ไม่มี เพราะสมณะรูปนี้ไม่นุ่งผ้า เพราะเป็น
ผู้ มีความปรารถนาน้อย มีความสำคัญว่า สิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้า
จึงไม่ใช้แม้ภาชนะสำหรับใส่อาหาร กินอาหารที่กองอยู่บนพื้นเท่านั้น
นักบวชรูปนี้จัดว่าเป็นสมณะ ส่วนพวกเราจะเป็นสมณะได้อย่างไร. สาวก
ผู้เดินตามหลังพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูอย่างนี้ ได้มีความนึกคิดชั่วเช่นนี้.
คำว่า เอตทโวจ อธิบายว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค ทรง
ดำริว่า สุนักขัตตะ ผู้มีอัธยาศัยทรามนี้ เป็นนักบวชนี้แล้วคิดอย่างไรหนอ
ครั้นทรงดำริอย่างนี้ ทรงทราบอัธยาศัยของเขา ทรงพิจารณาเห็นว่า
โมฆบุรุษผู้นี้ เดินตามหลังของพระสัพพัญญูเช่นเรา ไปสำคัญนักบวชผู้
เปลือยกายว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้ คนพาลผู้นี้ ควรถูกตำหนิโทษ ณ ที่
นี้แหละ ยังไม่ทันได้เสด็จกลับเลย ได้ตรัสคำว่า ตฺวปิ นาม เป็นต้นนี้.
ปิ ศัพท์ในคำว่า ตฺวปิ นาม นั้น ลงในอรรถว่า ติเตียน. เพราะพระผู้มี
พระภาค เมื่อทรงติเตียนสุนักขัตตะ ได้ตรัสคำว่า ''ตฺวปิ นาม". ในคำ
นี้ มีคำอธิบายดังนี้ ว่าแม้ตัวเธอมีอัธยาศัยทรามขนาดนี้ ยังจักปฏิญาณอย่าง
นี้ว่า เราเป็นสมณะ ผู้เป็นศากยบุตร อีกหรือ. ด้วยคำว่า กึ ปน เม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 41
ภนฺเต สุนักขัตตะได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ
ภาคทรงเห็นสิ่งที่น่าตำหนิอะไร ในตัวของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสอย่างนี้.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกแก่เขา ได้ตรัสคำว่า นนุ เต
เป็นต้น. ด้วยคำว่า มจฺฉรายติ นี้ สุนักขัตตะ ได้กราบทูลถามว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหวงพระอรหัต เพราะทรงดำริอย่างนี้ว่า ผู้อื่นจงอย่าได้
เป็นพระอรหันต์ หรือ. คำว่า น โข อห อธิบายว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เรา
ปรารถนาให้โลกมนุษย์พร้อมทั้งเทวโลกได้พระอรหันต์กันทั้งนั้น เราทำ
กรรมที่ทำได้ยากมากมาย บำเพ็ญบารมีมากเพื่อประโยชน์อย่างนี้เท่านั้น
เราไม่ได้หวงพระอรหัตเลย. คำว่า ปาปก ทิฏฺิคต อธิบายว่า เขา
บังเกิดมีความเห็นในผู้ที่มิใช่พระอรหันต์ว่า เป็นพระอรหันต์ และในผู้
ที่เป็นพระอรหันต์ว่ามิใช่พระอรหันต์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า
ปาปาก ทิฏฺิคต หมายถึงความเห็นผิดที่กล่าวมานั้น. คำว่า ย โข ปน
ได้แก่ เธอสำคัญนักบวชผู้เปลือยกายรูปนั้นใด อย่างนี้.
คำว่า สตฺตม ทิวส แปลว่า ในวันที่ ๗. บทว่า อลสเกน
ได้แก่ ด้วยพยาธิชื่อ อลสากะ. คำว่า กาล กริสฺสติ แปลว่า มีท้องพองตาย.
คำว่า กาลกญฺชิกาเป็นชื่อของอสูรเหล่านั้น. ได้ยินว่า อสูรเหล่านั้น มี
อัตภาพยาวสามคาวุตมีเนื้อและโลหิตน้อย เช่นกับใบไม้เก่า มีตาออกมาติด
อยู่บนหัวเหมือนปูมีปากเท่ารูเข็ม ติดอยู่บนหัวเช่นกัน ก้มตัวลงใช้ปากนั้น
กินอาหาร. บทว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ในป่าช้านั้น มีเสาปกคลุม
ด้วยกอหญ้า เพราะฉะนั้น จึงเรียกป่าช้านั้นว่า "วีรณตฺถมฺภก". คำว่า
เตนุปสงฺกมิ อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนั้น เสด็จไป
บิณฑบาตในบ้านนั้นแล้วเสด็จไปสู่วิหาร สุนักขัตตะ ได้ออกจากวิหารเข้า
ไปหานักบวชเปลือยนั้น. คำว่า เยน ตฺว แปลว่า ท่านถูกพระผู้มีพระภาค
ทรงพยากรณ์ไว้เพราะเหตุใด. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านถูกพระผู้มีพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้. คำว่า มตฺต มตฺต แปลว่า พอควรแก่ประมาร ๆ.
บาลีบางแห่งว่า มนฺตา มนฺตา ก็มี อธิบายว่าใช้ปัญญาพิจารณา ๆ. คำว่า
ยถา สมณสฺส ความว่า สุนักขัตตะ ได้กล่าวว่า ท่านพึงทำให้คำกล่าว
ของพระสมณโคดมผิดไป. เมื่อสุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้แล้ว นักบวชเปลือย
นอนในบริเวณเตาไฟเหมือนสุนัข ได้ชูศีรษะลืมตามองดู กล่าวว่า พระ-
สมณโคดม ผู้ผูกเวรเป็นศัตรูกับพวกเรา ได้พูดอะไร นับตั้งแต่พระสมณ-
โคดมอุบัติขึ้นมา พวกเรากลายสภาพเป็นเหมือนฝูงหิ่งห้อยในยามดวง
อาทิตย์อุทัย พระสมณโคดมพึงกล่าววาจาอย่างนี้กับพวกเรา หรือกล่าว
อย่างอื่น แต่ย่อมเป็นธรรมดาว่า ถ้อยคำของผู้ที่เป็นศัตรูกันย่อมไม่เป็น
จริง ท่านจงไปเสียเถิด เราจักรู้ในเรื่องนี้เอง แล้วนอนต่อไป.
บทว่า เอกทฺวีหิกาย ได้แก่ กล่าวนับว่า หนึ่ง สอง. บทว่า
ยถา ต อธิบายว่า นับดุจคนบางคนที่ไม่เชื่อพึงนับ และในวันหนึ่งได้
เข้าไปหาสามครั้งบอกว่า วันหนึ่งล่วงไปแล้ว สองวันล่วงไปแล้ว. คำว่า
สตฺตม ทิวส อธิบายว่า ได้ยินว่า นักบวชเปลือยนั้น ได้ฟังคำของสุนัก-
ขัตตะแล้ว ไม่บริโภคอาหารเลยตลอด ๗ วัน. ครั้นถึงวันที่ ๗ อุปฐาก
คนหนึ่งของเขาคิดว่า วันนี้เป็นวันที่ ๗ ที่สมณะประจำสกุลของพวกเรา
ไม่มา ชรอยว่าจะเกิดความไม่สบาย แล้วให้ปิ้งเนื้อหมู นำอาหารไปกอง
ไว้บนพื้นข้างหน้า. นักบวชเปลือย แลดูแล้วคิดว่า ถ้อยคำของพระสมณ-
โคดมจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม แต่เมื่อเราบริโภคอิ่มหนำแล้ว แม้เราจะ
ตายก็ถือว่าตายดี แล้วก็ลุกขึ้นคลานกินอาหาร จนอิ่มท้อง. ในเวลากลาง
คืน เขาไม่อาจจะให้อาหารย่อยได้ จึงสิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. ถึง
แม้เขายังไม่คิดว่าจะบริโภค แม้กระนั้นเขาจะต้องบริโภคในวันนั้นแล้ว
สิ้นชีวิตด้วยโรคชื่อ อลสกะ. เพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่มีวาจา
เป็นสอง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 43
คำว่า วีรณตฺถมฺภเก อธิบายว่า ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์ทราบข่าว
ว่า โกรักขัตติยะสิ้นชีวิตแล้ว นับวันแล้วกล่าวว่า คำพยากรณ์ของ
พระสมณโคดมเกิดเป็นจริงแล้ว บัดนี้ พวกเราจะนำศพเขาไปทิ้งในที่อื่น
จักข่มพระสมณโคดมด้วยมุสาวาท ได้พากันไปนำเอาเถาวัลย์มาพันศพแล้ว
ลากไปพร้อมกับกล่าวว่า ทิ้งศพไว้ตรงนี้ ๆ. สถานที่ ๆ ลากศพไปนั้นเป็น
เนินทั้งนั้น. พวกเขาจึงลากศพไปสู่ป่าช้าชื่อ วีรณถัมภกะ ทราบว่าเป็น
สุสานก็ได้ลากศพต่อไปตั้งใจว่าจะนำไปทิ้งในที่อื่น. ทันใดนั้น เถาวัลย์
ลากศพขาด. พวกเขาไม่อาจให้ศพเคลื่อนไหวได้ จึงพากันหนีไปจาก
ที่นั้น. เพราะฉะนั้น.พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ได้ทิ้งไว้ในป่าช้าชื่อ
วีรณถัมภกะ.
คำว่า เตนุปสงฺกมิ มีคำอธิบายดังนี้ เพราะเหตุไร โอรสของ
เจ้าลิจฉวี นามสุนักขัตตะจึงเข้าไปหา ได้ทราบว่า สุนักขัตตะโอรสเจ้า
ลิจฉวีนั้น คิดว่า คำพูดของพระสมณโคดม ย่อมสมจริงแน่นอน ก็ธรรมดา
ว่าคนตายจะลุกขึ้นพูดกับคนอื่น ย่อมไม่มี เอาเถอะ เราจะไปถาม ถ้า
พระสมณโคดมตรัสบอก ก็ดีไป ถ้าไม่บอกไซร้ เราจักข่มพระสมณโคดม
ด้วยมุสาวาท. สุนักขัตตะเข้าไปเฝ้าเพราะเหตุนี้. บทว่า อาโกฏฺเฏสิ แปลว่า
ว่า เคาะ (ด้วยฝ่ามือ). มีคำถามว่า ทรากศพของคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่
สามารถจะลุกขึ้นมาพูดได้ นักบวชเปลือยรูปนั้นได้กล่าวคำว่า "ดูก่อนผู้
มีอายุ เรารู้" ได้อย่างไร. มีคำถามว่า เขาพูดได้ด้วยพุทธานุภาพ. ได้
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้นำโกรักขัตติยะ จากกำเนิดอสูรให้เข้าสิง
ในทรากศพแล้วให้พูด. อีกนัยหนึ่ง พระองค์ได้ทรงให้ทรากศพนั้นพูด.
เพราะวิสัยพระพุทธเจ้า เป็นอจินไตย (คนอื่นไม่ควรคิด) คำว่า ตเถว
ต วิปาก ได้แก่ ผลของคำพูดนั้น เกิดแล้วอย่างนั้นทีเดียว ศัพท์ว่า วิปา ก
นั้น จัดเป็นลิงควิปลาศ. ความหมายที่ถูกต้องก็คือ ตเถว โส วิปาโก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 44
ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวว่า วิปกฺก ก็มี. เนื้อความคือเกิดแล้ว. ถึง
คราวนี้ ควรจะได้ประมวลปาฏิหาริย์มา ก็เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เป็นปาฎิ-
หาริย์ ๕ อย่าง. คือ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักตายในวันที่ ๗
เขาก็ตายตามพระดำรัสนั้น นี้ เป็นปาฏิหาริย์ ข้อที่ ๑ พระดำรัสว่า เขา
จักตายด้วยโรค "อลสกะ" เขาก็ตายด้วยโรคอลสกะจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๒ พระดำรัสว่า นักบวชเปลือยนั้นจักเกิดในภพอสูรชื่อว่า กาลกัญ-
ชิกา เขาก็เกิดในภพอสูรจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๓. พระดำรัสว่า
พวกเดียรถีย์จักทิ้งซากศพไว้ในป่าช้า วีรณัตถัมภกะ เขาก็ถูกทิ้งในป่า
ข้านั้นจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์ข้อที่ ๔. พระดำรัสว่า เขาจักมาจากที่ตน
เกิดแล้ว กล่าวกับสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีเขาก็กล่าวจริง นี้เป็นปาฏิหาริย์
ข้อที่ ๕.
บทว่า กฬารมชฺชโก คือ นักบวชเปลือย ผู้มีฟันและหนวดงอก
ออกมา หรือคำว่า กฬารมชฺชโก นี้เป็นชื่อของนักบวชเปลือยผู้นั้นเท่า
นั้น บทว่า ลาภคฺคปฺปตโต คือผู้พึงความเลิศด้วยลาภ อธิบายว่าผู้ประสบ
ลาภที่ดีเลิศ บทว่า ยสคฺคปฺปตฺโต คือ ประสบความเลิศด้วยยศ คือมี
บริวารอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า วตฺตปทานิ คือข้อปฏิบัติทั้งหมด หรือข้อ
ปฏิบัติบางส่วน บทว่า สมตฺตานิ ได้แก่ ถือเอา. บทว่า สมาทินฺนานิ
เป็นไวพจน์ของบทว่า สมตฺตานิ นั่นแล. คำว่า ปุรตฺถิเมน เวลาลึ ได้
ก็ในทิศบูรพาใกล้กรุงเวสาลี. บทว่า เจติย คือเป็นเจดีย์สถานของยักษ์.
ทุก ๆ บท ก็มีนัยเช่นนี้.
คำว่า เยน อเจโล มีอธิบายว่า สุนักขัตตะ โอรสเจ้าลิจฉวี
กระทำวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ไปทางทิศที่ อเจลกปริพาชก
ชื่อว่า กฬารมัชชกะ อยู่. บทว่า ปญฺห ปุจฺฉิ คือ ถามปัญหาที่ประกอบ
ด้วยไตรลักษณ์อย่างลึกซึ้ง. บทว่า น สมฺปายาสิ อธิบายว่า กฬารมัชชก-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 45
ปริพาชกไม่ได้ดำเนินไปด้วยญาณคติที่ถูกทาง เขาตอบผิดพลาดในแต่ละ
ปัญหานั้น ๆ เหมือนคนตาบอดเดินลื่นล้มในที่ขรุขระ เขามองไม่เห็น
เงื่อนปลายของปัญหา. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่า
ไม่ให้ถึงพร้อม (ด้วย) ปัญญา คือไม่สามารถจะให้ปัญญาเกิดขึ้นกล่าว
(ตอบ) ได้ กฬารมัชชกปริพาชกเมื่อไม่สามารถ จะตอบ ได้ก็ยืนกรอกลูก
ตาไปมา พูดว่า ท่านอยู่ในสำนักของผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาบวชในที่
ไม่ใช่โอกาส เที่ยวถามปัญหาทั่วไป จงหลีกไป อย่ามายืนในสถานที่นี้.
คำว่า โกปญฺจ โทสญฺจ อปจฺจยญฺจ ปาตฺวากาสิ มีอธิบายดังนี้ กฬาร-
มัชชกปริพาชก ได้แสดงความโกรธ คืออาการกำเริบ โทสะ มีอาการ
ประทุษร้าย และความไม่แช่มชื่น คือโทมนัส อันเป็นอาการแห่งความไม่
ยินดี. บทว่า อาสาทิยิมฺหเส ได้แก่ ได้รุกราน คือเบียดเบียน. คำว่า
มา วต โน อโหสิ แปลว่า โอ ข้อนั้นไม่พึงมีแก่เรา. บาลีว่า ม วต โน
อโหสิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ม เป็นทุติยาวิภัตติ ไข้
ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า ข้อนั้นได้มีแก่เราแล้วหนอ ก็แลสุนักขัตตะ
ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงนั่งกระโหย่งขอขมา กฬารมัชชกปริพาชก นั้น
ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรดอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้ปริพาชก
นั้นก็กล่าวว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ท่านจักไม่ถามปัญหาอื่นใด. สุนัก
ขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่า จะไม่ถามปัญหาอีก
ปริพาชกนั้นกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงไป เราอดโทษให้ท่าน แล้ว
สั่งสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวีกลับไป.
บทว่า ปริหิโต แปลว่า นุ่งห่ม คือกลับนุ่งห่มผ้า. บทว่า
สานุจริโก ความว่า ภริยาท่านเรียก อนุจาริกา. บุคคลผู้มีภรรยา ท่าน
เรียก สานุจริกะ อธิบายว่า อเจลกชื่อกฬารมัชชกะ ละการประพฤติ
พรหมจรรย์นั้น ๆ แล้ว มีภรรยา. บทว่า โอทนกุมฺมาส ได้แก่ กินข้าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
บ้าง กินขนมบ้าง ยิ่งกว่าที่ดื่มสุราและกินเนื้อสัตว์. บทว่า ยสา นิหีโน
ความว่า เขาประสบความเลิศด้วยลาภ ความเลิศด้วยยศอันใด ที่เสื่อม
จากลาภและยศอันนั้น อิทธิปาฏิหาริย์ที่สูงยิ่งกว่าปกติธรรมดาของมนุษย์
ชื่อว่าเป็นคุณที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว เพราะเหตุนั้น ใน
ข้อนี้พึงทราบปาฏิหาริย์ ๗ อย่าง คือการก้าวพระบาทไปได้ ๗ ก้าว. บทว่า
ปาฏิกปุตฺโต คือเป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ ปาฏิกะ. บทว่า าณวาเทน
คือกับญาณวาทะ. บทว่า อุปฑฺฒปถ ความว่า ถ้าในระหว่างพวกเรา
พึงมี (หนทางไกล) หนึ่งโยชน์ พระสมณโคดม พึงเสด็จไปกึ่งหนทาง
เราก็พึงไปในกึ่งหนทาง. ในหนทางมีกึ่งหนทางเป็นต้น ก็นัยนี้. บุคคลผู้
เดินไปได้ ๑ ก้าว จักชนะ ผู้ไม่ได้ดำเนินไปจักแพ้. บทว่า เต ตตฺถ
ความว่า ในที่พบกันนั้น เราทั้งสอง (พึงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่ยิ่งกว่า
ปกติธรรมดาของมนุษย์). บทว่า ตทฺทิคุณ ตทฺทิคุณาห ความว่า เรา
จักกระทำให้มากกว่านั้น เป็นทวีคูณๆ. อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แม้ทราบ
ความที่ตนไม่สามารถทำปาฏิหาริย์แข่งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ทราบ
ว่า ผู้ที่เริ่มทำปาฏิหาริย์แข่งกับบุรุษชั้นเยี่ยม แม้ไม่สามารถเอาชนะได้
ก็ได้รับคำสรรเสริญกลัวจึงกล่าวอย่างนี้. แม้ชาวพระนครฟังคำนั้นแล้ว
ก็พากันคิดว่า ธรรมดาคนที่ไม่สามารถย่อมไม่ประกาศอย่างนี้ อเจลก-
ปาฏิกบุตร แม้นี้จักเป็นพระอรหันต์แน่แท้ จึงได้พากันทำสักการะเป็น
อันมากแก่เขา.
คำว่า เยนาหนฺเตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า สุนักขัตตะ ได้
สดับว่า อเจลกปาฏิกบุตร ย่อมกล่าวอย่างนี้. ทีนั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิก-
บุตร ได้เกิดความคิด (อย่างนี้) เพราะมีอัธยาศัยชั่ว เพราะมีความคิดเห็น
ทราม. สุนักขัตตะ ทำวัตรพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎีจึงไปสำนัก อเจลกชื่อปาฏิกบุตร แล้วถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 47
ได้ยินว่า ท่านกล่าวคำเช่นนี้หรือ. เขาตอบว่า ใช่ เรากล่าว. สุนักขัตตะ
กล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอย่าคิด อย่ากลัวเลย ท่านเป็นผู้ ที่คุ้นเคย
จงพูดอย่างนี้ร่ำไป ข้าพเจ้าเป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม ย่อมทราบ
วิสัยของพระองค์ พระสมณโคดม จักไม่สามารถทำปาฏิหาริย์กับท่านได้
เราจักบอกแก่พระสมณโคดมให้เกิดความกลัว จักพาพระองค์ไปที่อื่น ท่าน
อย่ากลัวไปเลย ได้ปลอบโยนอเจลกปาฎิกบุตรจนเบาใจ ไปสำนักพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เยนาห เตนุปสงฺกมิ.
ในคำว่า ต วาจ เป็นต้นนั้น ความว่า อเจลกปาฏิกบุตร เมื่อ
กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลย ได้เที่ยวพูดว่า ข้าพเจ้าเป็น
พระพุทธเจ้า ได้กล่าวถ้อยคำไม่จริงเลย ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
เลย ชื่อว่าละวาจานั้น อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร นั่งคิดในที่ลับตาคน
คิดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าเลยตลอดกาลนั้น ได้เที่ยวพูดว่า
ข้าพเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า จำเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้ามิได้เป็น
พระพุทธเจ้า ชื่อว่าละความคิดนั้น ปาฏิกบุตร เมื่อละความคิดว่า
ข้าพเจ้ามิได้เป็นพระพุทธเจ้าแต่ได้ยึดถือทิฏฐิชั่วว่าข้าพเจ้าเป็นพระพุทธ-
เจ้าเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ ข้าพเจ้าละทิฏฐินี้จำเดิมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ชื่อว่าสละทิฏฐินั้น แต่ปาฏิกบุตรไม่ทำอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่าไม่ละวาจา
นั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สละทิฏฐินั้น. บทว่า วิปเตยฺย คือ ศีรษะ
ของเขา พึงหลุดจากคอเหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้ว หรือพึงแตกเจ็ด
เสียง.
บทว่า รกฺขเตต ได้แก่ จงทรงรักษาพระวาจานั้น. บทว่า
เอกเสน คือโดยนิปปริยาย. บทว่า โอธาริตา แปลว่า กล่าวแล้ว. คำ
ว่า อเจโล จ ภนฺเต ปาฏิกปุตฺโต ความว่า ถ้า อเจลกปาฏิกบุตร
กล่าวแล้วโดยวาจาแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยส่วนเดียวด้วย ประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 48
บทว่า วิรูปรูเปน ได้แก่ แปลงรูป. อธิบายว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร
มาด้วยรูปที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม คือ ละรูปขอคนมาอยู่เฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการที่ไม่ปรากฏ หรือด้วยรูปต่าง ๆ เช่น
ราชสีห์ และ เสือ เป็นต้น. คำว่า ตทสฺส ภควโต มุสา ความว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระดำรัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็นคำเท็จ คือ
(อเจลกปาฏิกบุตร) ข่มด้วยมุสาวาท. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่พึงถูกข่มด้วยมุสาวาทอื่นเว้นแต่มุสาวาทข้อนั้น. บทว่า ทฺวยคามินี
ความว่า มีพระวาจาเป็นสองอย่างนี้ คือ มีอยู่โดยย่อแต่ไม่มีโดยเนื้อหา
ที่เป็นประโยชน์. คำว่า ทฺวยคามินี นั่น เป็นชื่อวาจาที่เหลาะแหละ
เปล่าประโยชน์ และไม่มีผล.
คำว่า อชิโตปิ นาม ลิจฺฉวีน เสนาปติ ความว่า ได้ทราบว่า
อชิตะนั้น เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาตายเสียแล้ว.
คราวนั้น พวกมนุษย์ได้ทำฌาปนกิจศพเขาแล้วถามปาฏิกบุตรว่าเสนาบดี
เกิดที่ไหน ปาฏิกบุตรตอบว่า เกิดในมหานรก. ก็แล ปาฏิกบุตร ครั้น
กล่าวอย่างนี้แล้วพูดอีกว่า เสนาบดีของพวกท่านมาสำนักของเราแล้วร้อง-
ไห้ว่า เราไม่ทำตามถ้อยคำของท่าน เชื่อในวาทะของสมณโคดม บังเกิด
ในนรกแล้ว.
ในคำว่า เตนุปสงฺกมึ ทิวาวิหาราย นี้ ถามว่า เพราะเหตุไร
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัสว่า เพื่อทำปาฏิหาริย์. ตอบว่า เพราะไม่
มีเหตุ แม้ความเผชิญหน้ากันของปาฏิกบุตรกับพระผู้มีพระภาคไม่มี การ
กระทำปาฏิหาริย์ จะมีแต่ไหน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสว่า ทิวาวิหารราย.
บทว่า คหปติเนจยิกา ได้แก่ คฤหบดีมหาศาล. จริงอยู่
คฤหบดีเหล่านั้นได้สะสมทรัพย์สละข้าวเปลือกเป็นอันมากไว้ เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 49
คฤหบดีเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า เนจยิกา. บทว่า อเนกสหสฺสา ได้ แก่
คำนวนไม่ได้ แม้ด้วยจำนวนพัน. ได้ยินว่า บุคคลอื่นเว้นสุนักขัตตะย่อม
ไม่สามารถให้บริษัทใหญ่ประชุมกันได้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระ
ผู้ มีพระภาคเจ้าได้พาสุนักขัตตะเที่ยวไป ตลอดกาลประมาณเท่านี้. ความ
สะดุ้งแห่งจิต ชื่อว่าภัย ความหวั่นไหวแห่งสรีระทุกส่วน ชื่อว่า ฉมฺภิตตฺต.
การที่เส้นขนทั้งหลายชูชันขึ้น ชื่อว่า โลมหโส. ได้ยินว่า อเจลกชื่อว่า
ปาฏิกบุตร คิดว่า เราได้กล่าวถ้อยคำใหญ่ยิ่ง ทำผิดกับบุคคลผู้เลิศในโลก
กับทั้งเทวโลก ความเป็นพระอรหันต์หรือเหตุแห่งการกระทำปาฏิหาริย์
ไม่มีภายในเราเลย ส่วนพระสมณโคดม จักกระทำปาฏิหาริย์ เมื่อเป็นเช่น
นั้น มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จักเบียดเบียนด้วย
เครื่องประหารมี ท่อนไม้ ก้อนดิน และอาชญาเป็นต้น ด้วยกล่าวว่า บัดนี้
ท่านไม่สามารถทำปาฏิหาริย์ได้ เพราะเหตุไรจึงไม่รู้ประมาณตัวเอง มา
ตั้งตัวเป็นคู่ต่อสู้กับบุคคลชั้นเลิศในโลก แสดงกิริยารุกราน. เพราะฉะนั้น
ความกลัว ความหวาดกลัวหรือความขนพองสยองเกล้าจึงได้เกิดขึ้นแก่เขา
เพราะสดับข่าวการประชุมกันของมหาชนและการเสด็จมาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ใคร่จะพ้นจากทุกข์นั้น จึงได้ไปอาราม
ของปริพาชกชื่อว่า ติณฑุกขาณุ. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรม
สังคาหกจารย์จึงกล่าวว่า อถ โจ ภคฺคว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิก-
บุตร มิได้เข้าไปหาอย่างเดียว ก็ครั้นเข้าไปแล้ว ก็เข้าไปยังอารามของปริ-
พาชกไกลได้กึ่งโยชน์ ยังไม่ได้ความสบายใจ จึงเข้าไปทางด้านริมสุดของ
อาราม เลือกได้สถานที่เป็นป่ารกแห่งหนึ่ง ที่ริมอาราม นั่งบนแผ่นหิน.
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ถ้าอเจลกปาฏิกบุตรนี้เป็นคนพาล
เชื่อคำของคนบางคน พึงมาในสถานที่นี้ไซร้ คนพาลจงอย่าฉิบหายเลย จึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 50
ทรงอธิษฐานว่า ขอแผ่นหินที่นั่งจงติดกับสรีระของเขาพร้อมกับจิตที่อธิษ-
ฐานที่นั่งนั้นได้ติดกับสรีระของเขา. อเจลกปาฏิกบุตรนั้น ได้เป็นเหมือน
ถูกผูกด้วยเครื่องผูกคือโซ่ตรวนใหญ่และเหมือนถูกตัดเท้าฉะนั้น. บทว่า
อสฺโสสิ ความว่า พวกบริษัทพากันแสวงหา อเจลกชื่อปาฏิกบุตร ข้างโน้น
และข้างนี้ เมื่อถูกบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้ติดตามรอยเท้าของอเจลกชื่อปาฏิก-
บุตร รู้ที่นั่งมาแล้ว ถามว่า พวกท่านแสวงหาใคร ต่างพากันตอบว่า อเจลก-
ชื่อปาฏิกบุตร ได้ฟังวาจาที่บุรุษนั้นตอบว่า อเจลกชื่อปาฏิกบุตร นั้น
นั่งอยู่ในอารามปริพาชกชื่อว่า ติณฑุกขาณุ. บทว่า ส สปฺปติ ได้แก่
ซบศีรษะ คืออยู่ในอารามนั้นนั่นเอง. ตะโพก ท่านเรียกว่า ปาวฬะ.
บทว่า ปราภูตรูโป ได้แก่ เป็นผู้แพ้แล้ว คือฉิบหายแล้ว.
บทว่า โคยุเคหิ ความว่า ด้วยคู่เทียมแล้วด้วยโคจำนวนร้อย
หรือจำนวนพัน. บทว่า อาวิญฺเชยฺยาม แปลว่า พึงลากมา. บทว่า
ฉิชฺเชรุ ได้แก่ พึงขาดออกหรือ อเจลกชื่อปาฏิกบุตร พึงขาดออก
ในที่ผูก.
บทว่า ทารุปตฺติกนฺเตวาสี ได้แก่ ผู้เป็นศิษย์แห่งช่างกลึง-
ไม้. ได้สดับว่า ศิษย์ช่างกลึงไม้นั้น ได้มีความคิดว่า จงยกปาฏิหาริย์ไว้
ก่อน พระสมณโคดมกล่าวว่า อเจลกชื่อว่าปาฏิกบุตร จักไม่ลุกขึ้นแม้
จากอาสนะ เอาเถอะเราจักไปให้ปาฏิกบุตรนั้นลุกขึ้นจากอาสนะด้วย
อุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระสมณโคดมก็จักแพ้
เพราะฉะนั้น ศิษย์ช่างกลึงไม้จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สีหสฺส ความว่า
พญาสีหมิคราช มี ๔ ชนิด คือ พญาสีหติณราช พญาสีหกาฬราช
พญาสีหปัณฑุราช และ พญาสีหเกสรราช. บรรดาพญาสีหราช
เหล่านั้น พญาสีหเกสรราช ได้ถึงความเป็นสัตว์เลิศ. ในที่นี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
ท่านประสงค์เอาพญาสีหเกสรราช. บทว่า มิครญฺโ ได้แก่ ผู้เป็น
ราชา แห่งสัตว์สี่เท้าทุกชนิด. บทว่า อาสย ได้แก่สถานที่อยู่. บท
ว่า สีหนาท คือ บันลือแบบไม่กลัว. บทว่า โคจราย ปกฺกเมยฺย
ความว่า พึงเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. คำว่า วร วร ได้แก่ ฝูงเนื้อ
ตัวล่ำสัน ชั้นยอดเยี่ยม. บทว่า มุทุมสานิ ได้แก่ เนื้อที่อ่อน
นุ่ม. บาลีว่า มธุมสานิ ก็มี. อธิบายว่า เนื้อที่มีรสอร่อย. บทว่า
อชฺฌุเปยฺย ได้แก่ พึงเข้าไป. บทว่า สีหนาท นทิตฺวา ความ
ว่า บันลือแล้วด้วยความการุณย์ ซึ่งอาศัยความเป็นผู้กล้าของตนว่า
สัตว์เหล่าใดมีกำลังน้อย สัตว์เหล่านั้นจงหนีไป. บทว่า วิฆาสสวฑฺโฒ
ความว่า อ้วนท้วนด้วยเนื้อที่เป็นที่เป็นเดน คือ กินเนื้อที่เป็นแดนที่
เหลือจากสัตว์อื่นกินแล้ว เติบโตขึ้น. บทว่า ทิตฺโต คืออ้วนท้วน คือ
มีร่างกายอ้วน. บทว่า พลวา คือสมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า เอตทโหสิ
ได้แก่ ได้มีแล้วเพราะเหตุไร. เพราะโทษแห่งอัสมิมานะ. ในข้อนั้นมี
อนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า วันหนึ่ง พญาสีหราชนั้น กลับจากที่แสวงหาอาหาร
ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกนั้น กำลังหนีไปเพราะความกลัว เกิดความการุณย์
จึงพูดว่า สหายรัก อย่างกลัวเลย หยุดก่อน ท่านชื่ออะไร. สุนัขจิ้งจอก
ตอบว่า เราชื่อ ชมพุกะ นาย. พญาราชสีห์จึงพูดว่า ชัมพุกะ ผู้มีวัย
เสมอกัน ตั้งแต่นี้ไปท่านสามารถอุปัฏฐากเราได้หรือ. สุนัขจิ้งจอกตอบ
ว่า เราจักอุปัฏฐากท่าน. ตั้งแต่นั้นมา สุนัขจิ้งจอกนั้น ก็อุปัฏฐาก
(พญาราชสีห์). พญาราชสีห์เมื่อกลับจากที่แสวงอาหาร ก็นำเนื้อ
ชิ้นใหญ่มาให้. สุนัขจิ้งจอกนั้นเคี้ยวกินเนื้อชิ้นใหญ่นั้นแล้วก็อยู่บนแผ่น
หินในที่ไม่ไกล. พอเวลาล่วงไปสองสามวันเท่านั้น สุนัขจิ้งจอกนั้นก็
อ้วนท้วน มีลำคอใหญ่. ครั้งนั้น พญาราชสีห์นั้นได้กล่าวกับสุนัขจิ้งจอก
นั้นว่า เฮ้ย ชัมพุกะ ท่านจักสามารถพูดว่า ในเวลาที่เราบิดกาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 52
ท่านสามารถจะยืนอยู่ ในที่ไม่ไกลแล้วพูดว่า ข้าแต่นาย ท่านจงโกรธ
ได้หรือไม่. สุนัขจิ้งจอกตอบว่า สามารถนาย. ในเวลาที่ราชสีห์บิดกาย
สุนัขจิ้งจอกได้ทำตามคำสั่ง เพราะการกระทำตามนั้น. พญาราชสีห์จึง
มีอัสมิมานะอย่างยิ่ง. ต่อมาวันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกแก่ เมื่อดื่มน้ำในสระ
ได้เห็นเงาของตน เห็นร่างตนอ้วนและคอใหญ่ ไม่ทำใจว่า เราเป็น
สุนัขจิ้งจอกแก่มากแล้ว แต่สำคัญว่า แม้เราก็เป็นราชสีห์ จึงได้พูด
คำนี้กับตนว่า เฮ้ย ชัมพุกะ การที่อัตภาพนี้ของเจ้า บริโภคเนื้อที่
เป็นเดนผู้อื่น ควรแล้วหรือ เจ้ามิใช่ลูกผู้ชายหรือ แม้ราชสีห์ก็มีสี่เท้า
สองเขี้ยว สองหูและมีหางเดียว แม้อวัยวะทั้งหมดของเจ้าก็มีเหมือน
ราชสีห์ เจ้าเองมิใช่มีกำลังเพียรเกสรดอกไม้อย่างเดียวเท่านั้น. เมื่อ
สุนัขจิ้งจอกแก่คิดอย่างนี้ อัสมิมานะก็กำเริบขึ้น. ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอก
แก่นั้น ได้เกิดความสำคัญว่า เราคือใครเป็นต้น เพราะโทษแห่งอัสมิ-
มานะต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก จาห ความว่า เราคือใคร พญา
สีหมิคราช คือใคร พญาสีหมิคราช ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่นายของเรา
อธิบายว่า เราจะทำความอ่อนน้อมแก่สัตว์ใหญ่ทำไม. บทว่า สิคาลกเยว
ได้แก่ ร้องอย่างสุนัขนั่นแล. บทว่า เกรณฺฑกเยว ได้แก่ เสียงไม่น่ารัก
และไม่น่าพอใจ. คำว่า เก จ เฉเว สิคาเล ความว่า สุนัขจิ้งจอกที่ต่ำ
ทรามจะเป็นอย่างไร. คำว่า เก ปน สีหนาเท ได้แก่ ก็การบันลือ
แบบสีหะจะเป็นอย่าง. อธิบายว่า ก็การนับถือของสุนัขจิ้งจอกและของ
พญาราชสีห์ มีอะไรเกี่ยวเนื่องกัน.
บทว่า สุคตาปทาเนสุ ได้แก่ ตามสิกขา ๓ อย่าง อันเป็นลักษณะ
ของพระสุคต คือเป็นศาสนาของพระสุคต. ก็พระสุคตนั่นดำรงชีพตาม
แบบสิกขา ๓ อย่างนั้น อย่างไร. มีอยู่ พุทธศาสนิกชนเมื่อถวายปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 53
๔ แด่พระสุคตนั้น ย่อมถวายด้วยคิดว่า เราจะถวาย (ปัจจัย ๔) แด่พระสัม-
มาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น (ส่วน) อเจลกปาฏิกบุตร
นั้น ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อบริโภคปัจจัยที่ชนกำหนดถวายพระ
พุทธเจ้าชื่อว่าดำเนินชีวิตในศาสนาของพระสุคต. บทว่า สุคตาติริตฺตานิ
อธิบายว่า ได้ยินว่า ประชาชนเมื่อจะให้โภชนะแก่พระพุทธเจ้าเหล่า
นั้น ได้ให้แก่พระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ภาย
หลังจึงให้อาหารที่เหลือในเวลาเย็น อเจลกชื่อปาฏิกบุตร นี้ ชื่อว่า
บริโภคอาหารที่เป็นเดนพระสุคต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตถาคเต
ความว่า ท่านสำคัญว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่พึง
เบียดเบียนคือพึงรุกราน. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า ตถาคเต เป็นต้น เป็น
ทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. แม้บทว่า อาสาเทตพฺพ นี้ก็เป็นพหุวจนะเหมือนกัน
ท่านกล่าวว่าเป็นเหมือนเอกวจนะ. บทว่า อาสาทนา ได้แก่เบียดเบียน
ว่า "เราจักทำปาฏิหาริย์กับพระพุทธเจ้า".
บทว่า สเมกฺขิยาน แปลว่า พิจารณาแล้ว คือสำคัญแล้ว.
บทว่า อมญฺิ แปลว่า ได้ถือตัว. บทว่า โกตฺถุ หมายเอา สุนัขจิ้ง
จอก. คำว่า อตฺตาน วิฆาเส สเมกฺขิย ได้แก่ ได้เห็นอัตตภาพอ้วน
พี ในน้ำที่ใสในสระน้ำ. บทว่า ยาวตฺตาน น ปสฺสติ ความว่า
ย่อมไม่เห็นตนตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า เราเป็นสุนัขจิ้งจอกแก่ เติบ
โตขึ้นเพราะเนื้อที่เป็นเดนของพญาสีหมิคราช. บทว่า พฺยคฺโฆติ มญฺ-
ติ ได้แก่ ย่อมสำคัญว่า เราเป็นพญาสีหมิคราช หรือถือตัวว่า เรามี
กำลังเท่ากับสีหะเป็นพยัคฆ์แท้. บทว่า ภุตฺวาน เภงฺเค ได้แก่กินกบตาม
บ่อ. บทว่า ขลมูสิกาโย ความว่า กินหนูในลานข้าว. บาทคาถาว่า
กฏสีสุ ขิตฺตานิ จ กูณปานิ ความว่า กินซากศพที่ทิ้งไว้ในป่าช้า. บท
ว่า มหาวเน คือในป่าใหญ่. บทว่า สุญฺวเน คือในป่าเปลี่ยว. บท
ว่า วิวฑฺโฒ คือเติบโตแล้ว. คำว่า ตเถว โส สิคาลก อนทิ ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 54
ว่า สุนัขจิ้งจอก แม้นั้น แม้เติบโตได้อย่างนี้ ก็ยังสำคัญว่า เราเป็นพวก
มิคราช ก็ร้องเหมือนสุนัขแก่ เหมือนอย่างที่เป็นสุนัขจิ้งจอกเสื่อมกำลัง
ในคราวก่อนฉะนั้น. ศิษย์ของช่างกลึงไม้ ชื่อ ชาลิยะ ได้รุกราน
ปาฏิกบุตรนั้นแล้วว่า ท่านบริโภคอาหารที่เป็นเดนแล้วติดอยู่ในลาภ
สักการะ เหมือนสุนัขจิ้งจอกตัวที่กินสัตว์มีกบเป็นต้นแล้วเติบโตขึ้นฉะนั้น
ด้วยคาถาแม้นี้.
บทว่า นาเคหิ คือ ด้วยเหล่าข้าง. บทว่า มหาพนฺธนา คือ
ให้พ้นจากเครื่อง คือ กิเลสใหญ่. บทว่า มหาวิทุคฺคา ความว่า
โอฆะ ๔ อย่าง ชื่อว่าหล่มใหญ่ รื้อถอนจากหล่มใหญ่นั้นแล้ว ให้ดำรง
อยู่บนบกคือพระนิพพาน. พระอรรถกถาจารย์ ครั้นแสดงบทอนุสนธิ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงกระทำ ปาฏิหาริย์ ด้วยกถามรรค
ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงอนุสนธิแห่งบทนี้ว่า น อคฺคญฺ
ปญฺเปติ จงเริ่มเทศนาว่า อคฺคญฺญฺจาห เป็นต้น
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคญฺญฺจาห ความว่า ดูก่อน
ภัคควะ เราย่อมรู้ชัดซึ่งสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศ และจริยาวัตรที่เกิด
ขึ้นของโลก. บทว่า ตญฺจ ปชานามิ ความว่า เรามิใช่จะทราบชัดสิ่ง
โลกสมมติว่าเลิศอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมรู้ชัดสิ่งที่โลกสมมติว่าเลิศนั้น
ด้วย แล้วรู้ชัดกว่านั้น คือทราบชัดตั้งแต่ศีล สมาธิ จนถึงพระสัพพัญ-
ญุตญาณ. คำว่า ตญฺจ ปรชานน น ปรามสามิ ความว่า เราแม้เมื่อ
ทราบชัดซึ่งสิ่งนั้น ก็ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจของตัณหา ทิฏฐิ และ
มานะว่า เราย่อมรู้ชัดถึงสิ่งชื่อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
พระตถาคตไม่มีความยึดถือมั่น. คำวา ปจฺจตฺตญฺเว นิพฺพุติ วิทิตา
ได้แก่ ทรงทราบการดับกิเลส ในพระองค์ด้วยพระองค์เดียว. คำว่า ยท-
ภิชาน ตถาคโต คือ พระตถาคตทรงรู้ คือ ทรงทราบ การดับกิเลส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
คำว่า โน อนย อาปชฺชติ มีอธิบายว่า พระตถาคตย่อมไม่ถึงอนยะ
คือทุกข์ ได้แก่ความพินาศ เหมือนเดียรถีย์ผู้ยังไม่ทราบพระนิพพาน ฉะนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อแสดงถึงสิ่งที่เหล่าเดียรถีย์บัญญัติว่าเลิศ
จึงตรัสว่า สนฺติ ภคฺคว เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อิสฺ-
สรกุตฺต พฺรหฺมกุตฺต ได้แก่ พระอิศวรทำให้ พระพรหมทำให้. อธิ-
ขายว่า พระอิศวรเนรมิตให้ พระพรหมเนรมิตให้. จริงอยู่พึงทราบว่า
พระพรหมเท่านั้น ชื่อว่าเป็นใหญ่โดยความเป็นอธิบดี ในคำว่า
อิสฺสรกุตฺต พฺรหฺมกุตฺต นี้. บทว่า อาจริยก คือ ความเป็นอาจารย์
ได้แก่ลัทธิของอาจารย์. ในคำว่า อาจริยก นั้น อาจริยวาท ชื่อว่า สิ่ง
ที่ชาวโลกสมมติกันว่าเลิศ. ก็อาจริยวาทนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อธิบายว่า สิ่งที่ชาวโลกสมมติว่าเลิศ เราแสดงไว้ในคำว่า อาจริย-
วาทนี้ จึงตรัสว่า อคฺคญฺ ดังนี้. บทว่า กถวิหิตก คือ ใครจักไว้
จัดไว้อย่างไร. คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่อธิบายพิสดารแล้วในพรหม
ชาลสูตร. บทว่า ขิฑฺฑาปโทสิก ได้แก่ มีมูลมาแต่เทวดาเหล่า
ขิฑฑาปโทสิกะ.
บทว่า อสตา คือไม่มีอยู่. อธิบายว่า เพราะอรรถว่าไม่มี. บท
ว่า ตุจฺฉา ได้แก่ด้วยคำเปล่า คือเว้นจากแก่นภายใน. บทว่า มุสา คือ
ด้วยมุสาวาท. บทว่า อภูเตน คือเว้นจากถ้อยคำที่เป็นจริง. บทว่า
อพฺภาจิกฺขนฺติ แปลว่า กล่าวตู่ (รา). บทว่า วิปรีโต คือ มีสัญญา
วิปริต ได้แก่ มีจิตวิปริต. บทว่า ภิกฺขโว จ ความว่า มิใช่พระสมณ-
โคดมอย่างเดียวที่วิปริต พวกภิกษุผู้ทำตามคำสอนพระสมณโคดมนั้นก็
วิปริตไปด้วย. ครั้งนั้น เพื่อจะแสดงคำกล่าวที่พวกเดียรถีย์กล่าวหมายเอา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
ว่า พระสมณโคดมเป็นผู้วิปริต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า สมโณ
โคตโม เป็นต้น. บทว่า สุภวิโมกข ได้แก่ วัณณกสิณ.
บทว่า อสุภนฺเตฺวว ได้แก่ รู้ชัดอย่างนี้ ว่าสิ่งที่งาม และสิ่งที่ไม่งาม
ทั้งหมด จัดเป็นอสุภะ. คำว่า สุภนฺเตน ตสฺมึ สมเย ความว่า ย่อม
รู้ชัดในสมัยนั้น ว่าสิ่งนี้งาม ย่อมไม่รู้สิ่งที่ไม่งาม.
บทว่า ภิกฺขโว จ ความว่า พวกภิกษุ และสมณะอันเตวา-
สิกของเหล่าชนที่พูดอย่างนี้ (นั่นแหละ) วิปริต. บทว่า ปโหติ ได้แก่
สามารถ คือ อาจ. บทว่า ทุกฺกร โข ได้แก่ ปริพาชกนี้. เลื่อมใส
อย่างนี้แล้ว จึงพูดเขาว่า อห ภนฺเต เป็นต้น. (ความจริง) ปริพาชก
กล่าวคำนั้นด้วยความโอ้อวด คือด้วยการหลอกลวง ได้ทราบว่า ปริพาชก
นั้นมีความคิดว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมกถาประมาณเท่านี้แก่เรา
เราแม้ฟังธรรมกถานั้นแล้ว ก็ไม่สามารถบวชได้ เราควรทำตัวเหมือน
จะปฏิบัติตามคำสอนพระสมณะโคดมนั้น. เพราะเหตุนั้น ปริพาชกนั้น
จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยความโอ้อวด คือด้วยความหลอกลวง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเหมือนจะตัดขาดความเยื่อใยต่อปริพา-
ชกนั้น จึงตรัสว่า ทุกฺกร โข เอต ภคฺคว ตยา อญฺทิฏฺิเกน
เป็นต้น. คำนั้นมีเนื้อความตามที่กล่าวไว้ในโปฏฐปาทสูตร. บทว่า
สาธุกมนุรกฺข ได้แก่จงรักษาให้ดี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวน
ปริพาชกรักษาความเลื่อมใส (เพียงเท่าที่มีอยู่ให้ดี) ด้วยประการฉะนี้.
ปริพาชกชื่อภัคควะโคตรแม้นั้น แม้ฟังพระสูตรอย่างมากมายอย่างนี้
ก็ไม่สามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้. ก็การเทศนา (พระสูตรนี้) ได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 57
ปัจจัยเพื่อวาสนาในภพต่อไปของเขา. คำที่เหลือทุก ๆ บท มีเนื้อความ
ชัดเจนแล้วทั้งนั้นแล
จบ อรรถกถาปาฏิกสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย
ชื่อสุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 58
๒. อุทุมพริกสูตร
เรื่องสันธานคฤหบดี
[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ใน
พระนครราชคฤห์ ก็ สมัยนั้นนิโครธปริพาชกอาศัยอยู่ในอารามปริพาชก
ของพระนางอุทุมพริกา พร้อมกันบริษัทปริพาชกหมู่ใหญ่ ประมาณ
สามพันคน ครั้งนั้น สันธานคฤหบดีออกจากพระนครราชคฤห์ในเวลา
ข่าย เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล สันธานคฤหบดีคิดว่า
เวลานี้ ยังไม่ถึงเวลาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หลีกเร้นอยู่ มิใช่สมัยสมควรที่จะเข้าไปพบปะเหล่าภิกษุผู้อบรมใจ ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อบรมใจยังหลีกเร้นอยู่ ถ้ากระไร เราควรจะเข้าไปยังปริพา-
ชการามของพระนางอุทุมพริกา เข้าไปหานิโครธปริพาชกเสียก่อน ครั้งนั้น
แล สันธานคฤหบดีเข้าไปยังปริพาชการามของพระนางอุทุมพริกา เข้าไป
หานิโครธปริพาชก
[๑๙] สมัยนั้นแล นิโครธปริพาชกนั่งอยู่กับบริษัทปริพาชก
หมู่ใหญ่ กำลังสนทนาติรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงดังลั่น คือพูดเรื่อง
พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย
เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้
เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่อง
ชนบท เรื่องนคร เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องดื่มสุรา เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก
เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
นิโครธปริพาชกได้เห็นสันธานคฤหบดีมาแต่ไกล จึงเตือนบริษัทของตน
ให้สงบเสียงว่า ท่านทั้งหลายจงสงบเสียงหน่อย อย่างส่งเสียงดังนัก สัน-
ธานคฤหบดีนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม กำลังมา สันธานคฤหบดีนี้
เป็นสาวกคนหนึ่ง ในบรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม
ผ้าขาว อาศัยอยู่ในเมืองราชคฤห์ ท่านเหล่านี้ชอบเสียงเบา กล่าว
สรรเสริญคุณของเสียงเบา บางที สันธานคฤหบดีนี้ทราบถึงบริษัทมีเสียง
เบาแล้ว พึงเห็นความสำคัญที่จะเข้าไปหาก็ได้ เมื่อนิโครธปริพาชก
กล่าวอย่างนี้ พวกปริพาชกเหล่านั้นได้พากันนิ่งแล้ว
[๒๐] ครั้งนั้นแล สันธานคฤหบดีเข้าไปหานิโครธปริพาชก
ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศัยกับนิโครธปริพาชก ครั้นยังสัมโม-
ทนียกถาอันเป็นเหตุให้ระลึกถึงกันผ่านไปแล้ว จึงนั่งที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
สันธานคฤหบดีนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว กล่าวกะนิโครธปริพาชก
ว่าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้เจริญเหล่านี้ มาพบปะสมาคมกันแล้ว มี
เสียงดังลั่นอึกทึก พากันขวนขวาย กล่าวแต่ติรัจฉานกถาต่าง ๆ โดย
ประการอื่นแล คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ ด้วยประการนั้น ๆ
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงเสพราวไพรในป่า เสนาสนะที่สงัด มี
เสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย มีลมพัดอ่อน ๆ สมควรแก่การทำธรรมอัน
เร้นลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้นโดยประการอื่นแล เมื่อสันธาน-
คฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กล่าวกะสันธานคฤหบดีว่า
เอาเถิด คฤหบดี ท่านพึงทราบว่าพระสมณโคดมจะเจรจากับใคร จะ
เข้าไปสนทนากับใคร จะมีปัญญาเฉลียวฉลาดกับใคร พระปัญญาของ
พระสมณโคดมหายไปในสุญญาคาร พระสมณโคดมไม่กล้าเข้าไปสู่ที่
ประชุม ไม่สามารถเจรจา พระองค์ท่านทรงเสพที่อันสงัด ณ ภายใน
อย่างเดียว เหมือนโคบอดตาข้างเดียวเที่ยววนเวียน เสพที่อันสงัด ณ ภายใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 60
ฉันใด ปัญญาของพระสมณโคดมหายไปในสุญญาคาร พระสมณโคดม
ไม่กล้าเข้าสู่ที่ประชุม ไม่สามารเจรจา พระองค์ท่านทรงเสพที่อันสงัด
ณ ภายในอย่างเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เชิญเถิด คฤหบดี ขอเชิญพระ
สมณโคดมเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ พวกเราจะพึงเหยียดหยามพระองค์ด้วย
ปัญหาข้อหนึ่ง พวกเราจะบีบรัดพระองค์เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเล่า
ฉะนั้น
เรื่องนิโครธปริพาชก
[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับการเจรจาระหว่าง
สันธานคฤหบดีกับนิโครธปริพาชกนี้ด้วยพระทิพยโสตธาตุ อันบริสุทธิ์
ล่วงโสตธาตุของมนุษย์. ครั้งนั้น สนเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจาก
ภูเขาคิชฌกูฏแล้ว เสด็จเข้าไปยังสถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบก-
ขรณีสุมาคธา ครั้นแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ ในที่แจ้ง ณ สถานที่ให้เหยื่อ
แก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา นิโครธปริพาชกเห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระ
โบกขรณีสุมาคธา จึงเตือนบริษัทของตนให้สงบเสียงว่า ขอท่านทั้งหลาย
จงสงบเสียง อย่าส่งเสียงดังนัก พระสมณโคดมนี้เสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา พระองค์โปรด
เสียงเบา และกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางที พระองค์ทรงทราบ
ว่า บริษัทนี้มีเสียงเบาแล้ว พึงเห็นความสำคัญที่จะเสด็จเข้าไปก็ได้ ถ้า
ว่า พระสมณโคดมจะพึงเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ เราจะพึงทูลถามปัญหากะ
พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำพระ
สาวก ด้วยธรรมใด สาวกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้วถึงความ
เบาใจ ย่อมรู้เฉพาะซึ่งอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 61
ธรรมนั้นชื่ออะไร เมื่อนิโครธปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชก
เหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่.
[๒๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหานิโครธ
ปริพาชก นิโครธปริพาชกจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอเชิญ
พระผู้มีพระภาคเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว นาน ๆ
พระองค์จึงจะได้เสด็จมาเยี่ยมเยียน คือเสด็จมา ณ ที่นี้ ขอเชิญประทับ
นั่ง นี้อาสนะที่จัดไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้
ฝ่ายนิโครธปริพาชกก็ถือเอาอาสนะที่ต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามนิโครธปริพาชก ผู้นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งว่า นิโครธะ บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรหนอ
และเรื่องอะไรเล่าที่พวกเธอสนทนาค้างอยู่ในระหว่าง เมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
ณ สถานที่ให้เหยื่อแก่นกยูงที่ฝั่งสระโบกขรณีสุมาคธา จึงได้กล่าวอย่างนี้
ว่า ถ้าว่า พระสมณโคดมจะพึงเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้ พวกเราจะพึงถาม
ปัญหานี้กะพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำ
ด้วยธรรมใด สาวกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ
ย่อมรู้เฉพาะซึ่งอาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้น
ชื่ออะไร เรื่องนี้แหละ ที่พวกข้าพระองค์สนทนาค้างอยู่ในระหว่าง พอดี
พระองค์เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การที่ท่าน
มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจไปทาง
หนึ่ง ไม่มีความพยายาม ไม่มีลัทธิอาจารย์ ยากที่จะรู้ธรรมที่เราแนะนำ
พระสาวก ยากที่จะรู้ธรรมสำหรับให้พระสงฆ์ผู้ได้รับแนะนำแล้วมีความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 62
ยินดี รู้แจ้งชัดพรหมจรรย์เบื้องต้นอันเป็นอัชฌาศัย เชิญเถิด นิโครธะ เธอ
จงถามปัญหาในการเกลียดบาปอย่างยิ่ง ในลัทธิอาจารย์ของตน กะเราว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเกลียดบาปด้วยตบะ อย่างไรบริบูรณ์ อย่างไร
ไม่บริบูรณ์ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ พวกปริพาชกเหล่านั้น
ได้เป็นผู้มีเสียงดังอึกทึกขึ้นว่า น่าอัศจรรย์นัก ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมา
ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก พระองค์จักหยุดวาทะ
ของพระองค์ไว้ จักห้ามด้วยวาทะของผู้อื่น.
กถาว่าด้วยการรังเกียจบาปด้วยตบะ
[๒๓] ครั้งนั้น นิโครธปริพาชกเตือนปริพาชกเหล่านั้นให้สงบเสียง
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระ-
องค์กล่าวการเกลียดบาปด้วยตบะ แนบแน่นการเกลียดบาปด้วยตบะอยู่ การ
เกลียดบาปด้วยตบะ อย่างไรบริบูรณ์ อย่างไรไม่บริบูรณ์
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นคนเปลือย ไร้มารยาทเลียมือ เขาเชิญให้รับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญ
ให้หยุดรับภิกษา ก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาไว้ก่อน ไม่ยินดี
ภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีการเชื้อเชิญ เขาไม่รับภิกษาจากปากหม้อ
ไม่รับภิกษาจากปากภาชนะ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตูนำมา
ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมครกนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสาก
นำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับภิกษาของตน
๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของ
หญิงผู้กำลังให้ลูกดื่มนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษอยู่ ไม่รับ
ภิกษาที่เขาประกาศให้รู้ ไม่รับภิกษาในที่มีสุนัขปรากฏ ไม่รับภิกษาใน
ที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่ม
เมรัย ไม่ดื่มน้ำส้ม เขาอยู่เรือนหลังเดียว มีคำข้าวคำเดียว หรืออยู่เรือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
สองหลัง มีคำข้างสองคำ หรืออยู่เรือนเจ็ดหลัง มีคำข้าวเจ็ดคำ เยียวยา
อัตตภาพด้วยภิกษาในภาชนะใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง เจ็ดใบบ้าง
กินอาหารที่เก็บไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง เป็นผู้
ประกอบความขวนขวายในการบริโภคอาหารที่เวียนมาจนถึง ที่เก็บไว้กึ่ง-
เดือน ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็น
ภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีถากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีของจืด
เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็น
ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเง่าและผลไม้
ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตตภาพ. เขาทรงผ้าป่าน
บ้าง ผ้าแถมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง
หนังสือบ้าง หนังสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง
ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากำพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง
ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประกอบความ
ขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืนคือห้ามอาสนะบ้าง เป็น
ผู้กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบน
หนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่นกระดาน
บ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง
เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีบ้าง เป็นผู้อยู่กลางแจ้งบ้าง เป็นผู้นั่งบนอาสนะ
ตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้บริโภคคูถ คือประกอบการขวนขวายในการ
บริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น คือขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง
เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง
นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
เกลียดบาปด้วยตบะ เป็นการเกลียดบริบูรณ์ หรือไม่บริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 64
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะ เป็นการเกลียดบริบูรณ์ ไม่ใช่ไม่บริบูรณ์
อย่างแน่แท้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ เรากล่าวอุปกิเลสมาก
อย่างในการเกลียดบาปด้วยตบะ แม้ที่บริบูรณ์แล้ว อย่างนี้แล.
กถาว่าด้วยอุปกิเลสของผู้รังเกียจบาปด้วยตบะ
[๒๔] นิโครธปริพาชกทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปกิเลสมากอย่างในการเกลียดบาปด้วยตบะที่บริ-
บูรณ์ อย่างนี้ อย่างไรเล่า ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น แม้ข้อ
ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น นี้แลย่อม
เป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมยกตนข่มขู่อื่นด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยกตนข่ม
ผู้อื่นด้วยตบะ นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมมัวเมา ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะ
ถือมั่นตบะ มัวเมา ลืมสติ ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น นี้แลย่อมเป็น
อุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น ด้วยเหตุเขาเป็นผู้
ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น แม้ข้อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 65
ที่ ผู้มีตบถือมั่นตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความ
สรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมยกตนข่ม
ผู้ อื่นด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ
ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น ยกตนข่มผู้อื่น
ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล
ผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมมัวเมา
ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะถือมั่นตบะ ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น
ด้วยตบะนั้น มัวเมา ลืมสติ ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะสละความ
สรรเสริญนั้น นี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อม
ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขามุ่งละสิ่งนั้นเสีย แต่ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา
เขากำหนัด ลืมสติ ติดสิ่งนั้น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก
บริโภคอยู่ แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมยึดถือมั่นตบะ
ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเป็นผู้รุกรานสมณะ
พราหมณ์อื่นแต่ที่ไหน ๆ ว่า ก็ไฉน ผู้นี้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง กิน
วัตถุทุก ๆ อย่าง คือพืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืช
เกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ ๕ ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจ
สายฟ้า คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ ด้วยการตู่ว่า เป็นสมณะ แม้ข้อนี้แล
ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่เขาสักการะ เคารพนับถือ บูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขา
ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาสมณะหรือ
พราหมณ์ชื่อนี้แลเลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่
สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุเศร้า
หมองในสกุลทั้งหลาย เขาเป็นผู้ให้ความริษยา และความตระหนี่เกิด
ขึ้นในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้นั่งในทางที่
มนุษย์เห็น แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเที่ยวแสดงตนไป
ในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะของเรา กรรมแม้นี้เป็นตบะของ
เรา แม้ข้อนี้แลย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเสพโทษอันปกปิด
บางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่ไม่ควร
ว่าควร กล่าวโทษที่ควรว่าไม่ควร เขาเป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ดังนี้ แม้
ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคต
หรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้ปริยายที่ควรรู้อันมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 67
นั่นแล แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มัก
ผูกโกรธ แม้ข้อที่ผู้ มีตบะเป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธ นี้แล ย่อมเป็นอุป-
กิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลพูดลผู้มีตบะเป็นผู้มีความลบหลู่
ดีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา กระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มีความ
ปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิเอง เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ยาก ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ฯลฯ แม้นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคล
ผู้มีตบะ.
นิโครธะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเกลียดบาป
ด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสหรือไม่เป็นอุปกิเลส.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเกลียด
บาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลสหามิได้ บุคคล
ผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็นผู้ประถอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้ครบทุกอย่าง ข้อนี้
แลเป็นฐานะที่มีได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อ ๆ.
กถาว่าด้วยความบริสุทธิ์ของผู้รังเกียจตบะ
[๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะใน
โลกนี้ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะ
นั้น ข้อที่ผู้ มีตบะถือมั่นตบะ ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะ.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อม
ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ใน
ฐานะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ย่อมไม่มัวเมา ไม่ลืมสติ ย่อมไม่ถึงความมัวเมาด้วยตบะนั้น ฯลฯ อย่างนี้
เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ. เขาให้
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ
ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่าง
นี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ อย่างนี้ เขาเป็น
ผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขา
ให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาไม่มัวเมา ไม่
หลงลืมสติ ไม่ถึงความมัวเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ฯลฯ
อย่างนี้ เขาย่อมบริสุทธิ์ในฐานะนั้น .
นิโครธะ ข้ออื่นยังอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ ย่อม
ไม่ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขา
ไม่กำหนัด ไม่ลืมสติ ไม่คิดสิ่งนั้น แลเห็นโทษ มีปัญญาคิดสลัดออกบริโภค
อยู่อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ แต่
เขาไม่คิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์
คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะ
และความสรรเสริญ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่รุกรานสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นว่า ก็ไฉนผู้นี้เลี้ยงชีวิตด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุก ๆ
อย่าง คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด
พืชเกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบ ๕ ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้ง
หลายย่อมจำกันได้ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะหรือ
พราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือบูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาไม่
ดำริอย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะหรือ
พราหมณ์ชื่อนี้แล ผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายประการในสกุลทั้งหลาย แต่
ไม่สักกาะร ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุ
เศร้าหมองในสกุลทั้งหลาย เขาไม่ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้น
ในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้ไม่นั่งในทางที่
มีคนเห็น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมไม่เที่ยวแสดงตน
ไปในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะของเรา กรรมแม้นี้ก็เป็นตบะ
ของเรา อย่างนี้ เขาย่อมเป็นบริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลมีตบะย่อมไม่เสพโทษอัน
ปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่
ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวโทษที่ควรว่าควร เขาเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่
ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 70
สาวกของพระตถาคตกำลังแสดงธรรมอยู่ ย่อมรู้ตามปริยายอันมีอยู่ที่ควรรู้
อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
ไม่ผูกโกรธ ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ อย่างนี้ เขา
ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ในฐานะนั้น.
นิโครธะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ไม่ดีเสมอ
ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน
ไม่ปรารถนาลามก ไม่ลุอำนาจความปรารถนาลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไม่
ประกอบด้วยทิฏฐิอันดิ่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลบคลำทิฏฐิเอง ไม่เป็นผู้ถือมั่น
สละคืนได้ง่าย ข้อที่บุคคลผู้มีตบะ ไม่ลบหลู่ ฯลฯ ไม่เป็นผู้ถือมั่น สละ
คืนได้ง่าย อย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น.
นิโครธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะเหล่านี้บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์
เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นหามิได้ ที่แท้เป็นกิริยาที่ถึง
สะเก็ดเท่านั้น.
กถาว่าด้วยการบรรลุธรรมเป็นสาระอันเลิศ
[๒๖] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
การเกลียดบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึง
แก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
ว่าด้วยสังวร ๔
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมด้วยสังวร ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นอย่างไร
นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ เมื่อผู้อื่นฆ่าสัตว์ ไม่เป็น
ผู้ดีใจ
๒. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นถือ
เอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่เป็นผู้ดีใจ
๓. ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้อื่นให้พูดเท็จ เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ ไม่เป็น
ผู้ดีใจ
๔. ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพ
กามคุณไม่เป็นผู้ดีใจ
นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
อย่างนี้ นิโครธะ เพราะว่า บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔
ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะเป็นผู้มีตบะ
เขารักษาศีลให้ยิ่ง ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เขาเสพเสนาสนะ
อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้าในภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
ลอมฟาง ในปัจฉาภัต เขากลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เขาละความเพ็งเล็งในโลกเสียแล้ว มีใจ
ปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้
ละความประทุษร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มีความกรุณาหวัง
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถิ่นมิทธะ มีความกำหนด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-
มิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิกิจฉา เป็นผู้ข้าม
วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาใน
กุศลธรรมทั้งหลายได้ เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำ
ให้ปัญญาเสื่อมกำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศ
ที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ทั่งโลก เพราะทั่วไปในที่ทุกสถาน มีใจอันประกอบด้วย
เมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียนแผ่ไปอยู่ เขามีใจประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทั่วโลก เพราะทั่วไปในที่ทุกสถาน
ก็มีใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไปอยู่.
นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็นกิริยา
ที่ถึงยอดหรือถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่นหามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่
ถึงเปลือกเท่านั้น.
[๒๗] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การ
เกลียดบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 73
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดหรือถึง
แก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ๔ ประการเป็นอย่างไร ฯลฯ
นิโครธะ เพราะว่า บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะความเป็นผู้มีตบะ เขา
รักษาศีลให้ยิ่ง ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เขาเสพเสนาสนะอันสงัด
ฯลฯ เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำให้ปัญญาเสื่อม
กำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เขาย่อมระลึก
ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓
ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ฯลฯ สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่าง
นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวย
ทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไป
เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เขา
ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วย
ประการฉะนี้.
นิโครธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 74
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็นกิริยา
ที่ถึงยอดถึงแก่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาป
ด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดหรือถึงแก่นหามิได้ ที่
แท้ เป็นกิริยาที่ถึงกระพี้เท่านั้น.
[๒๘] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็
การเกลียดบาปด้วยตบะเป็นกิริยาถึงยอดสละถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงให้ข้าพระองค์ถึงยอด
ถึงแก่นแห่งการเกลียดบาปด้วยตบะเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ฯลฯ เขาย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้
เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เขาระลึกถึง
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ เขาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ
ดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉา-
ทิฏฐิ ยึดถือกรรมคือมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย
สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึด
ถือกรรมคือสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ อุบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 75
ฉะนี้ นิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้
การเกลียดบาปด้วยตบะจะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์.
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น
เช่นนี้ การเกลียดบาปด้วยตบะบริสุทธิ์ ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์แน่แท้ เป็น
กิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ การเกลียดบาปด้วยตบะ
เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่นด้วยเหตุเพียงเท่านี้ นิโครธะ ท่านได้กล่าว
กะเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย สาวกอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะซึ่ง
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้นคืออะไร นิโครธะ
เราแนะนำสาวก สาวกอันเราแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะ
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นอัชฌาศัย ด้วยธรรมใด ธรรมนั้นคืออะไร นิโครธะ
เราแนะนำสาวก สาวกอันเราแนะนำแล้ว ถึงความเบาใจ ย่อมรู้เฉพาะ
อาทิพรหมจรรย์อันเป็นเป็นอัชฌาศัยด้วยฐานะใด ฐานะนั้นยิ่งกว่า ประณีต
ด้วยประการฉะนี้แล.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้น
เป็นผู้มีเสียงดังลั่นว่า ในข้อนี้ เรากับอาจารย์ยังไม่เห็น เราไม่รู้ยิ่งไป
กว่านี้.
[๒๙] เมื่อใด สันธานคฤหบดีได้รู้แล้วว่า บัดนี้ พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เหล่านี้ตั้งใจฟังภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งโสตสดับ
ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่ว เมื่อนั้น สันธารคฤหบดีจึงได้กล่าวกะนิโครธปริพาชกว่า
นิโครธะ ท่านได้กล่าวกะเราอย่างนี้แลว่า เอาเถิด คฤหบดี ท่านพึงรู้
พระสมณโคดมจะทรงเจรจากับใคร สนทนากับใคร จะถึงความเป็นผู้มี
ปัญญาเฉลียวฉลาดกับใคร พระปัญญาของพระสมณโคดมหายเสียใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 76
สุญญาคาร พระสมณโคดมไม่กล้าเข้าไปสู่ที่ประชุม ไม่สามารถเจรจา
พระองค์ทรงเสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว เหมือนโคตาบอดข้าง
เดียวเที่ยววนเวียน เสพที่อันสงัด ณ ภายใน ฉันใด พระปัญญาของ
พระสมณโคดมหายเสียในสุญญาคาร พระสมณโคดมไม่กล้าเข้าไปสู่ที่
ประชุม ไม่สามารถเจรจา พระองค์ทรงเสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว
ฉันนั้น เอาเถอะพระสมณโคดมเสด็จเข้ามาสู่ที่ประชุม พวกเราจะพึง
หยามพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น พวกเราจะบีบรัดพระองค์ เหมือน
บุคคลบีบรัดหม้อเปล่า ฉะนั้น ท่านนิโครธะผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสด็จถึงที่นี่แล้ว ก็พวกท่านจง
ทำพระองค์ไม่ให้กล้าเสด็จเข้าสู่ที่ประชุม จงทำให้เป็นเหมือนโคตาบอด
ข้างเดียวเที่ยววนเวียน จงหยามพระองค์ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น จง
บีบรัดพระองค์ เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่า ฉะนั้น เมื่อสันธานคฤหบดี
กล่าวอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชกเป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า
ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ.
นิโครธปริพาชกสารภาพผิด
[๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่านิโครธปริพาชก
เป็นผู้นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ จึงตรัสกะ
นิโครธปริพาชกว่า นิโครธะ วาจานี้เธอกล่าวจริงหรือ. นิโครธปริพา-
ชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วาจานี้ข้าพระองค์กล่าวจริง ด้วย
ความเป็นคนเขลา คนหลงไม่ฉลาด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเคยได้ยินปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็น
อาจารย์และบุรพาจารย์กล่าวกันมาอย่างนี้บ้างหรือว่า พระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ประชุมพร้อมกันแล้ว มีเสียงดังลั่นอึกทึก ขวนขวายกล่าวติรัจฉานกถา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 77
ต่าง ๆ อยู่ คือ ราชกถา โจรกถา ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม
ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนท่านกับอาจารย์ในบัดนี้ หรือว่าท่านเคยได้
ยินมาอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเสพราวไพรในป่า
เสนาสนะอันสงัด ซึ่งมีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้องน้อย มีลมพัดอ่อน ๆ
สมควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
เหมือนเราในบัดนี้. นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เคยได้ยินปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นอาจารย์และบุรพาจารย์กล่าว
สืบกันมาว่า พระอรหันตสัมพุทธเจ้าทั้งหลายได้มีในอดีตกาล พระผู้มี
พระภาคเจ้าทั้งหลายนั้นประชุมพร้อมกันแล้ว มีเสียงดังลั่นอึกทึก ขวน
ขวายกล่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ อยู่อย่างนี้ คือ ราชกถา โจรกถา ฯลฯ
เรื่องความเจริญเละความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ เหมือนข้าพระองค์กับ
อาจารย์ในบัดนี้ ข้าพระองค์เคยได้ยินมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ย่อมทรงเสพราวไพรในป่า เสนาสนะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงกึกก้อง
น้อย มีลมพัดอ่อน ๆ สมควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ สมควร
แก่การหลีกเร้น เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในบัดนี้ อย่างนี้แล. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความคิดนี้ไม่มีแก่วิญญูชนคนแก่นั้นว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความ
ตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ฝึกตนแล้ว ย่อมทรง
แสดงธรรมเพื่อความฝึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้สงบแล้ว
ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความสงบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ผู้ข้ามได้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความข้าม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้น ทรงดับสนิทแล้ว ย่อมทรงแสดงธุระ เพื่อความดับสนิท.
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชก
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษที่ข้าพระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
องค์เป็นคนโง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าว
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงยกโทษแก่ข้า
พระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป.
กถาว่าด้วยคุณของพระสัมมาสัมพุทธะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความผิดที่ท่านผู้เป็นคน
โง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว เธอจึงได้กล่าวกะเราอย่างนั้น
เพราะเธอเห็นโทษแล้วจึงยอมรับผิด เรายกโทษแก่เธอ ผู้ใดเห็นโทษ
สารภาพโทษตามความเป็นจริง ถือความสังวรต่อไป นี้เป็นความเจริญใน
พระวินัยของพระอริยเจ้า นิโครธะ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่
โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
บวชโดยชอบเพื่อประโยชน์อันใด จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้น
อันมีพรหมจรรย์เป็นที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยความรู้ยิ่งของตนเอง ในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่ตลอด ๗ ปี นิโครธะ เจ็ดปี จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกปี...ห้าปี...สี่ปี...สามปี...สองปี...ปีหนึ่ง นิโครธะ
ปีหนึ่งจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดเดือน
นิโครธเจ็ดเดือนจงยกไว้ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกเดือน...ห้าเดือน...สี่
เดือน...สามเดือน...สองเดือน...หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน นิโครธะ กึ่งเดือน
จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดวัน
นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้
เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ผู้ใดเป็นอาจารย์
ของเธอได้อย่างนี้ ผู้นี้แหละจงเป็นอาจารย์ของเธอ นิโครธะ แต่บางที
เธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อุเทศ จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น อุเทศใดของเธอได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
อย่างนี้ อุเทศนั่นแหละจงเป็นอุเทศของเธอ นิโครธะ แต่บางทีเธอ
จะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้เราเคลื่อนจาก
อาชีวะ จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ก็อาชีวะของ
เธอนั่นแหละจงเป็นอาชีวะของเธอ นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริ
อย่างนี้ว่าพระสมณโคดมปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์ตั้งอยู่ในอกุศล-
ธรรมซึ่งเป็นส่วนอกุศล จึงตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่าง
นั้น อกุศลธรรมเหล่านั้นแหละจงเป็นส่วนอกุศลของเธอกับ
อาจารย์ นิโครธะ แต่บางทีเธอจะพึงดำริอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม
ปรารถนาจะให้เรากับอาจารย์สงัดจากกุศลธรรมซึ่งเป็นส่วนกุศล จึง
ตรัสอย่างนี้ ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น กุศลธรรมเหล่านั้นแหละ
จงเป็นส่วนกุศลของเธอกับอาจารย์ นิโครธะ ด้วยประการอย่างนี้แล
เรากล่าวอย่างนี้ เพราะใคร่ได้อันเตวาสิก หามิได้ เราปรารถนาจะ
ให้เธอเคลื่อนจากอุเทศจึงกล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้เคลื่อน
จากอาชีวะ จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่ ปรารถนาจะให้เธอกับอาจารย์
ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนอกุศล จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่
ปรารถนาจะให้เธอกับอาจารย์สงัดจากกุศลธรรม ซึ่งเป็นส่วนกุศล
จึงกล่าวอย่างนี้ ก็หาไม่ นิโครธะ ที่เราแสดงธรรมเพื่อให้ละอกุศล-
ธรรมเหล่าใด อกุศลธรรมเหล่านั้นยังละไม่ได้ เศร้าหมอง สร้างภพ
ใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นผล เป็นปัจจัยแก่ชาติ ชรา
มรณะต่อไป ยังมีอยู่ เธอทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามธรรมแล้ว จักละธรรม
เป็นเครื่องเศร้าหมองได้ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความผ่องแผ้วจักเจริญ
ยิ่ง เธอทั้งหลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์แห่งมรรคปัญญา และความ
เป็นผู้ไพบูลย์ด้วยผลปัญญา เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกได้นั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น.
ว่าด้วยมารดลใจพวกปริพาชก
[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า โมฆบุรุษ
เหล่านี้ทั้งหมด ถูกมารใจบาปดลใจแล้ว ในพวกเขาแม้สักคนหนึ่ง ไม่
มีใครคิดอย่างนี้ว่า เอาเถิด พวกเราจักประพฤติพรหมจรรย์ในพระ
สมณโคดม เพื่อความรู้ทั่วถึงบ้าง เจ็ดวันจักทำอะไร ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงบันลือสีหนาท ในปริพาชิการามของพระนางอุทุม-
พริกาแล้ว เหาะขึ้นไปในอากาศ ปรากฏอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ. ทันใด
นั่นเอง สันธานคฤหบดีเข้าไปในกรุงราชคฤห์ ด้วยประการฉะนี้.
จบ อุทุมพริกสูตร ที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 81
อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
อุทุมพริกสูตร เริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.
ในอุทุมพริกสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปริพฺพาชโก หมายเอาฉันนปริพาชก. บทว่า อุทุมฺ-
พริกาย ปริพฺพาชการาเม ได้สก่ ในอารามปริพาชก ในสำนักของนาง
อุทุมพริกาเทวี.
คำว่า สนฺธาโน เป็นชื่อของคฤหบดีนั้น. คฤหบดีผู้นี้มีอานุภาพ
มาก เป็นยอดบุรุษในจำนวนอุบาสก ๕๐๐ คน ผู้แวดล้อมเที่ยวไป เป็น
พระอนาคามี ( ด้วย). พระผู้มีพระภาคเจ้าได้สรรเสริญเขาในท่ามกลาง
มหาบริษัทว่า สันธานคฤหบดีประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ มีความ
เชื่อมั่นในพระตถาคต ดำรงตนอยู่ในพระสัทธรรม. องค์ ๖ ประการ
เป็นไฉน. คือ ด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลนในพระพุทธเจ้า ใน
พระธรรม ในพระสงฆ์ ด้วยอริยศีล ด้วยอริยญาณ ด้วยอริยวิมุตติ. ภิกษุ
ทั้งหลาย สันธานคฤหบดีประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเหล่านี้แล จึงชื่อ
ว่า มีความเชื่อมั่นในพระตถาคต ดำรงตนอยู่ในพระสัทธรรม. สัน-
ธานคฤหบดีนั้น อธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่แล้ว ในเวลาเช้า ก็
ถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อพวกภิกษุไปวิหาร
แล้ว เกิดความรำคาญ เพราะเสียงรบกวนของเด็กเล็กและเด็กใหญ่ ใน
บ้าน จึงออกไปด้วยคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากรุงราชคฤห์ตอนบ่าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวาทิวสฺเสว ได้แก่ เวลาเลยเที่ยง
ไป ชื่อว่า เวลาบ่าย. อธิบายว่า สันธานคฤหบดีนั้นได้ออกไป ในเวลาบ่าย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
คือพอเลยเที่ยงไป. บทว่า ปฏิสลฺลีโน ได้แก่ รวบรวมจิตจากอารมณ์มี
รูปเป็นต้นนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ด้วยอำนาจแห่งความเสวยความยินดีในฌาน. บทว่า มโนภาวนียาน
คือ ผู้ยังใจให้เจริญ ได้แก่ จิตของผู้ระลึกถึง กระทำไว้ในใจ ย่อม
เป็นจิตอันปราศจากนิวรณ์ คือจิตฟูขึ้น เจริญขึ้น.
บททั้งหลายมีบทว่า อุนฺนาทินิยา เป็นต้น พึงทราบตามนัย
โดยพิสดารในโปฏฐปาทสูตรนั่นแล.
บทว่า ยาวตา คือ มีจำนวนเท่าใด. บทว่า อยนฺเตส อญฺตโร
ความว่า บรรดาสาวกเหล่านั้น สันธานคฤหบดีนี้นับเนื่องอยู่ภายในสาวก
เหล่านั้น หรือเป็นสาวกคนหนึ่ง. ได้สดับว่า เหล่าสาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้า เฉพาะคฤหัสถ์ซึ่งเป็นพระอนาคามี มีจำนวน ๕๐๐ คน
อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์. นิโครธปริพาชกกล่าวว่า อย เตส อญฺตโร
ดังนี้เป็นต้น หมายถึงเหล่าอุบาสกแต่ละคนมีบริวารคนละ ๕๐๐ คน.
นิโครธปริพาชกปรารถนาการเข้ามาของคฤหบดีนั้น จึงกล่าวว่า อปเปว
นาม ดังนี้. ก็เหตุแห่งความปรารถนาได้กล่าวไว้แล้วในโปฏฐปาทสูตร
นั่นแล.
บทว่า เอตทโวจ ได้แก่ สันธานคฤหบดีกำลังเดินมา ได้กล่าว
คำนี้ว่า อญฺถา โข อิเม เป็นต้น เพราะตนได้สดับถ้อยคำของปริ-
พาชกเหล่านั้น ในระหว่างทางนั่นแล. ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺติตฺถิยา
ความว่า ที่ชื่อว่าอัญญเดียรถีย์ เพราะเป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น ด้วยการเห็น
บ้าง. มารยาบ้าง กิริยาบ้าง อาจาระบ้าง การอยู่บ้าง อิริยาบถ
บ้าง. บทว่า สงฺคมฺม สมาคมฺม ได้แก่ ในสถานที่ (พวกปริพาชก)
ไปมารวมกันนั่งเป็นกลุ่ม. บทว่า อรญฺเ วนปฏฺานิ ได้แก่ ราวไพร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 83
ในป่า คือเสนาสนะที่ไกลพ้นจากเขตบ้าน. เสนาสนะที่สงัด คือ
สถานที่อยู่ไกลห่างจากแดนของมนุษย์.
บทว่า อปฺปสทฺทานิ คือมีเสียงเบาบาง แม้แต่เสียงคนเดินทาง
ซึ่งเดินผ่านไปใกล้ที่อยู่. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ คือมีเสียงเบา ๆ
โดยไม่มีเสียงกึกก้อง. บทว่า วีชนวาตานิ คือปราศจากวาทะของคนผู้
สัญจรไปในภายใน. บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยากานิ ได้แก่ สมควร
คือเหมาะแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์. บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺ-
ปานิ ได้แก่ เหมาะแก่การอยู่คนเดียว. เพราะฉะนั้น สันธานคฤหบดี
จึงคิดว่า โอ พระศาสดาของเราเสพเสนาสนะเห็นปานนี้ จึงประคอง
อัญชลีไว้เหนือศีรษะแล้ว นั่งเปล่งอุทานนี้.
คำว่า เอว วุตฺเต ความว่า เมื่อสันธานคฤหบดีเปล่งอุทาน
อย่างนี้ นิโครธปริพาชกจึงคิดว่า คฤหบดีนี้ แม้นั่งในสำนักเรา ก็ยัง
ชมเชยยกย่องพระศาสดาของตนองค์เดียว แต่ไม่สำคัญเราว่ามีอยู่ เราจะ
ให้ความกำเริบที่เกิดขึ้นในคฤหบดีนั้นตกไปในเบื้องบนของพระสมณโค-
ดม จึงได้กล่าวคำนี้กับสันธานคฤหบดี. คำว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาต ใช้
ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า ชาเนยฺยาสิ แปลว่าควรรู้ ควรเห็น.
บทว่า เกน สมโณ โคตโม สลฺลปติ ความว่า พระสมณโคดมย่อม
เจรจา พูด กล่าวกับใคร ด้วยเหตุไร. มีคำอธิบายอย่างไร มีคำอธิ-
บายว่า ผิว่า เหตุแห่งการเจรจาอะไร ๆ จะพึงมี หรือ ผิว่า ใคร ๆ มี
ความต้องการเจรจา พึงไปสำนักพระสมณโคดม พึงเจรจา แต่ไม่มีเหตุ
ใคร ๆ ก็ไม่ไปหาท่าน. พระสมณโคดมนั้นจะเจรจาก้มใครเล่า เมื่อไม่
ได้เจรจาก็จักบันลือพระสีหนาทอย่างได้. บทว่า สากจฺฉ คือสนทนา
ร่วมกัน. บทว่า ปญฺาเวยฺยตฺติย ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในญาณ
โดยอุตตรนัยและปัจจุตตรนัย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 84
บทว่า สุญฺาคารตา คือหายไปแล้วในสุญญาคาร. นิโครธ
ปริพาชกแสดงว่า เพราะพระสมณโคดม ได้บรรลุพระปัญญาเพียงนิด
หน่อยที่โคนโพธิ์ เมื่อพระสมณโคดมพระองค์เดียวนั่งที่สุญญาคาร พระ
ปัญญานั้นก็หายไป แต่ถ้าพระสมณโคดมนั้น พึงนั่งคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
เหมือนเรา พระปัญญาของพระองค์ก็จะไม่พึงหายไป. บทว่า อปริสาวจโร
ได้แก่ ไม่อาจเข้าสู่ที่ประชุมได้ เพราะไม่กล้า. บทว่า นาล สลฺลาปาย
คือ ไม่สามารถเจรจาปราศัยได้. บทว่า อนฺตปนฺตาเนว ความว่า
พระสมณโคดมกลัวต่อปัญหา ว่าใคร ๆ พึงถามปัญหากะเรา ดังนี้ จึง
เสพที่อันสงัด ณ ภายในอย่างเดียว คือเสนาสนะอันสงัด. บทว่า โค-
กาณา ได้แก่ แม่โคมีตาบอดข้างเดียว ได้ยินว่า แม่โคบอดนั้นเที่ยววน
เวียนเสพที่อันสงัดภายในเท่านั้น ได้สดับมาว่า แม่โคบอดนั้น แม้มุ่ง
หน้าไปราวป่า ก็ไม่สามารถไปได้ เพราะเป็นโคตาบอด. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อใบไม้ กิ่งไม้ หรือ
หนามกระทบเอา. ย่อมไม่สามารถจะอยู่เฉพาะหน้าฝูงโคได้. ถามว่า
เพราะเหตุใด ตอบว่า เพราะแม่โคบอดนั้นย่อมกลัวต่อเขาโค หูโค
หรือหางกระทบเอา.
ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าทักท้วง. บทว่า สสา-
เทยฺยาม ได้แก่ เราพึงทำความเหยียดหยาม คือให้ถึงความกระอัก
กระอ่วนเท่านั้น ด้วยการถามปัญหาข้อหนึ่ง. บทว่า ตุจฺฉกุมฺภึว น
ได้แก่ (พึงบีบรัด) พระสมณโคดมนั้น เหมือนบุคคลบีบรัดหม้อเปล่า
ฉะนั้น. บทว่า โอโรเธยฺยาม คือ พึงบีบรัด. จริงอยู่ หม้อที่เต็มแล้ว
กลิ้งไปข้างโน้นข้างนี้ บุคคลบีบรัดไม่ได้ ส่วนหม้อที่เปล่า บุคคล
จะสามารถพลิกกลับบีบรัดตามความชอบใจได้ ฉันใด นิโครธปริพาชก
นี้ย่อมกล่าวว่า เราจักบีบรัดพระสมณโคดม เหมือนกับบีบรัดหม้อที่เปล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 85
โดยรอบด้าน ด้วยการบีบคั้นด้วยวาทะ เพราะพระองค์มีปัญญาถูกขจัด
เสียแล้ว.
ปริพาชก เมื่อไม่เห็นวงพระนลาฏสีทองของพระศาสดา จึงแสดง
กำลังของตนในที่ลับหลังพระทศพล คำรามเปล่า ๆ ปรี้ ๆ มีประการ
ต่าง ๆ เหมือนบุตรคนจัณฑาลเสียดสีขัตติยกุมาร ซึ่งมิได้เจือปนโดย
ชาติ และเหมือนสุนัขจิ้งจอกเสียดสีพญาไกสรสีหราชแท้ ๆ ด้วยกำลัง
ฉะนั้น. แม้อุบาสกก็คิดว่า ปริพาชกผู้นี้ขู่ตะคอกเกินไป พยายามโดยไม่
มีประโยชน์ เหมือนเหยียดเท้าไปเพื่อสัมผัสอเวจี เหยียดมือไปเพื่อจับ
ภวัคคพรหม ฉะนั้น ถ้าพระศาสดาของเราพึงมาสู่ที่นี้ พระองค์พึงลดธง
คือมานะที่ปริพาชกนี้ยกขึ้นจนถึงภวัคคพรหมโดยฐานะทีเดียว. แม้พระผู้
มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงสดับการสนทนาปราศัยนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อสฺโสสิ โข อิม กถาสลฺลาป ดังนี้.
บทว่า สุมาคธาย ความว่า บุรุษคนใดคนหนึ่งนั่งที่ฝั่งสระ
โบกขรณีชื่อสุมาคธา ได้เห็นหมู่พวกอสูรกำลังเข้าไปยังภพอสูร ทางก้าน
ดอกบัว.
อาหารท่านเรียกว่า นิวาปะ ในคำว่า โมรนิวาเป นี้ อธิบายว่า ได้
แก่สถานที่ ๆ บุคคลให้เหยื่อพร้อมทั้งให้อภัยแก่นกยูง. บทว่า อพฺโภกาเส
คือในสถานที่เป็นเนิน. บทว่า อสฺสาลปฺปตฺตา ได้แก่ ได้ประสบความ
ยินดี คือประสบความโสมนัส. บทว่า อชฺฌาสย คือ เป็นนิสัยแห่งมรรค
ชั้นสูง. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริย ได้แก่ อริยมรรค กล่าวคือพรหมจรรย์ชั้น
ต้น. นิโครธปริพาชกได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสาวก
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแล้ว บำเพ็ญอริยมรรคอันเป็นอาทิพรหม-
จรรย์ด้วยอัธยาศัยแล้ว ถึงความปลอดโปร่ง ย่อมรู้เฉพาะ ด้วยการบรรลุ
พระอรหัตด้วยธรรมชื่ออะไร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 86
บทว่า วิปฺปกถา ได้แก่ ที่ค้างอยู่ยังไม่จบ เพราะการมาของ
เราเป็นปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยินยอมแบบพระสัพพัญญูว่า
เธอจงกล่าวไปเถิด เราจักแสดงธรรมนั้นให้จบให้ถึงที่สุด. บทว่า ทุชฺ-
ชาน โข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของปริพาชกแล้ว ทรง
ดำริว่า ปริพาชกนี้ย่อมถามถึงธรรมที่เราแสดงพระสาวก อันเป็น
ข้อปฏิบัติที่พระสาวกเหล่านั้นพึงบำเพ็ญ หากเราจักกล่าวธรรมนั้นแต่ต้น
แก่เขา เขาจักไม่รู้ธรรมแม้ที่เรากล่าวแล้ว ก็ปริพาชกนี้เป็นผู้มีวาทะ
รังเกียจบาปด้วยความเพียร เอาเถอะ เราจะให้เขาถามปัญหาในวิสัย
แห่งวาทะนั้นเท่านั้น แล้วจะแสดงความไม่มีประโยชน์แห่งลัทธิของสมณ-
พราหมณ์เป็นอันมาก ครั้นแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานี้ในภายหลัง จึงตรัสว่า
ทุชฺชาน โข เอต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเก อาจริยเก คือไม่ลัทธิอา-
จารย์ขอตน. บทว่า อธิเชคุจฺเฉ คือ ในการเกลียดบาปด้วยความ
เพียร. บทว่า กถ สนฺตา คือ เป็นอย่างไร. บทว่า ตโปชิคุจฺฉา
ได้แก่ การเกลียดบาป คือการหน่ายบาปด้วยความเพียร. บทว่า ปริปุณฺ-
ณา คือบริสุทธิ์แล้ว. คำว่า กถ อปริปุณฺณา ได้แก่ เธอจงถามอย่าง
นี้ว่า ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย นาม.
บทว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา ได้แก่ ให้ไม่มีเสียงดัง คือ ให้
มีเสียงเบา. ได้สดับว่า ปริพาชกนั้น คิดว่า พระสมณโคดมย่อมจะไม่
บอกเพียงปัญหาข้อเดียว แม้การสนทนาปราศัยของพระสมณโคดมนั้นไม่
มากนัก ก็ชนเหล่านี้ ย่อมคล้อยตามและสรรเสริญพระสมณโคดมตั้งแต่ต้น
เอาเถอะ เราจะทำชนเหล่านี้ให้เงียบเสียงพูดเสียเอง. ปริพาชกได้ทำ
ตามนั้นแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสทฺเท กตฺวา เป็นต้น.
ในคำเป็นต้นว่า ตโปชิคุจฺฉวาทา ความว่า เรากล่าวการเกลียดบาปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
ตบะ ย่อมยึดถือการเกลียดบาปด้วยตบะนั้น โดยความเป็นสาระ ด้วย
ใจบ้าง ย่อมแนบแน่น การเกลียดบาปด้วยตบะนั้น ประกอบความเพียร
ในการทรมานตนเอง ซึ่งมีประการต่าง ๆ แล้วอยู่ด้วยกายบ้าง. บทว่า
ตปสฺสี คือ อาศัยตบะ. คำว่า อเจลโก เป็นต้น พึงทราบโดย
นัยพิสดารในสีหนาทสูตร.
บทว่า ตป สมาทิยติ ได้แก่ ยึดถือตบะมีความเป็นอเจลกะ
เป็นต้น คือถืออย่างมั่นคง. บทว่า อตฺตมโน โหติ ความว่า ปริพา-
ชกดีใจว่า มีใครอื่นในตบะนี้เช่นเรา. บทว่า ปริปุณฺณสงฺกปฺโป
ได้แก่ มีความดำริสิ้นสุดลงอย่างนี้ว่า เพียงนี้ก็พอ. ก็คำนี้มาด้วยอำนาจ
แห่งพวกเดียรถีย์ พึงแสดงแม้ด้วยสามารถการเกี่ยวข้องทางศาสนา. จริง
อยู่ คนบางคนสมาทานธุดงค์ เขาย่อมยินดีด้วยธุดงค์นั้นว่า คนอื่น
ใครเล่าจะทรงธุดงค์เช่นเรา ชื่อว่ามีความดำริบริบูรณ์แล้ว. คำว่า
ตปสฺสิโน อุปกฺกิเลโส โหติ ได้แก่ นี้คืออุปกิเลสของผู้มีตบะทั้งสอง
ประการนั้น. เราย่อมกล่าวว่า ตบะเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลนั้น ด้วยเหตุ
เพียงเท่านั้น.
บทว่า อตฺตานุกฺกเสติ ได้แก่ ยกตน คือชูตนว่า ใครจะ
เป็นเช่นเรา. บทว่า ปร วมฺเภติ ได้แก่ ขู่ คือดูหมิ่นคนอื่นว่า ผู้นี้
ไม่เหมือนเรา. บทว่า มชฺชติ คือ มัวเมาด้วยความเมาคือมานะ. บท
ว่า มุจฺฉติ ได้แก่ ลืมสติ คือติดอยู่ได้แก่ข้องอยู่. บทว่า มทมาปชฺชติ
ได้แก่ ถึงความมัวเมาว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นสาระ. ปริพาชกนี้ แม้บวช
ในศาสนาแล้ว เป็นผู้มีธุดงค์บริสุทธิ์ ไม่ใช่มีกัมมัฏฐานบริสุทธิ์. ย่อม
ยึดถือธุดงค์เท่านั้น โดยความเป็นสาระ เหมือนยึดถือพระอรหัต. ใน
คำว่า ลาภสกฺการสิโลก นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
ชื่อว่าลาภ เพราะอรรถว่าได้ปัจจัย ๔. ปัจจัยเหล่านั้นแหละที่
ตกแต่งทำไว้อย่างดีได้มา ชื่อว่า สักการะ. การกล่าวสรรเสริญ ชื่อว่า
สิโลกะ. บทว่า นิพฺพตฺเตติ ความว่า ลาภเป็นอันมาก ย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความเป็นอเจลกเป็นต้น หรือการทำสมาทานธุดงค์ของเขา
เพราะฉะนั้นปริพาชกจึงกล่าวว่า นิพฺพตฺเตติ ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้
พึงทราบด้วยอำนาจแห่งผู้มีตบะทั้งสองประเภท โดยนัยที่กล่าวไว้ครั้งก่อน
นั่นแล.
บทว่า โวทาสมาปชฺชติ ได้แก่ ถึง ๒ ส่วน คือทำให้เป็น
๒ ส่วน. บทว่า ขมติ คือ ชอบใจ. บทว่า น ขมติ คือไม่ชอบใจ.
บทว่า สาเปกฺโข ปชหติ ได้แก่ ผู้มีความอยากย่อมละ. ถามว่า อย่างไร.
ตอบว่า ตอนเช้า เขาบริโภคนม. ทีนั้น ทายกได้นำเนื้อไปให้เขาอีก.
เขามีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เมื่อไรเราจักได้อย่างนี้อีก. ถ้ารู้อย่างนี้เรา
จะไม่ควรบริโภคนมตอนเช้า เราสามารถทำอะไรได้ จึงมุ่งสละเหมือนการ
สละชีวิตด้วยการกล่าวว่าไปเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านนั่นแหละจงบริโภค.
บทว่า คธิโต คือ กำหนัดแล้ว. บทว่า มุจฺฉิโต ได้แก่
หลงลืมแล้ว เพราะความอยากมีกำลัง คือเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า
อชฺฌาปนฺโน คือข้องอยู่ในอามิส. ไม่ทำแม้เพียงการเชื้อเชิญโดยธรรม
ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านจักบริโภค กระทำให้เป็นคำใหญ่ ๆ. บทว่า
อนาทีนวทสฺสาวี คือไม่เห็นแม้เพียงโทษ. การรู้จักประมาณ ชื่อว่า
นิสสรณะ ในคำว่า อนิสฺสรณปญฺโ นี้. เขาไม่ทำแม้เพียงการพิจารณา
และการบริโภค. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกนิกฺกนฺติเหตุ คือ
เพราะเหตุแห่งความอยากในลาภเป็นต้น. บทว่า สภกฺเขติ แปลว่า
เคี้ยวกิน. บทว่า อสนีวิจกฺก คือมีสัณฐานคมเหมือนสายฟ้า. มีคำ
อธิบายว่า ปลายฟันของบุคคลนี้คมประดุจสายฟ้า มิใช่จะไม่บริโภค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 89
พืชอะไรในบรรดาพืชอันเกิดแต่รากเป็นต้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ชนทั้ง
หลาอยู่อมรู้จักว่าเขาว่าเป็นสมณะ ด้วยการตู่ว่าเป็นสมณะ. เขาย่อมรุกราน
คือดูหมิ่น ด้วยอาการอย่างนี้. ข้อนี้มาด้วยอำนาจพวกเดียรถีย์. แต่ด้วยอำ-
นาจพระภิกษุ ในข้อนี้มีคำอธิบายประกอบดังต่อไปนี้ว่า ภิกษุนี้ ตน
เองได้ทรงธุดงค์ เขาย่อมรุกรานผู้อื่นอย่างนี้ว่า ชนเหล่านี้จะชื่อว่า
เป็นสมณะได้อย่างไร แต่กล่าวว่า พวกเราเป็นสมณะ ดังนี้ แม้คุณ
เพียงธุดงค์ก็ไม่มี คนเหล่านี้เมื่อแสวงหาอาหารมีอุทเทสภัตเป็นต้น ชื่อ
ว่ามักมากด้วยปัจจัยเที่ยวไป.
บทว่า ลูชชีวึ ได้แก่ ผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมอง ด้วยความ
เป็นอเจลกะเป็นต้น หรือด้วยอำนาจธุดงค์. บทว่า อิสฺสามจฺฉริย ได้แก่
ความริษยามีการริดรอนสมบัติมีสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ และ
ความตระหนี่มีความไม่ยอมทำสักการะเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า อาปา-
ถกนิสาที โหติ ได้แก่ นั่งอยู่ในทางเดิน คือในที่ที่เห็นมนุษย์ทั้งหลาย.
บุคคลผู้มีตบะยืนอยู่ในสถานที่ที่ชนทั้งหลายจะเห็นได้ ย่อมสอนวัคคุลิ-
วัตร (ข้อปฏิบัติดุจค้างคาว) บำเพ็ญตบะ ๕ อย่าง ยืนด้วยเท้าข้างเดียว
ไหว้พระอาทิตย์. แม้ภิกษุผู้บวชในศาสนาแล้ว ได้สมาทานธุดงค์นอนหลับ
ตลอดคืนแล้ว บำเพ็ญตบะในทางที่คนแลเห็น เวลาเย็น ทำจีวรกุฏีบน
ที่นอนใหญ่ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นก็เก็บ พอทราบว่า พวกมนุษย์มาหา
ก็เคาะระฆัง วางจีวรไว้บนศีรษะเดินจงกรม (ต่อมา) ก็จักไม้กวาด กวาด
ลานวิหาร. บทว่า อตฺตาน ได้แก่ ซึ่งคุณของตน. อ อักษรในคำว่า
อทสฺสยมาโน เป็นเพียงนิบาต. ความว่า แสดงอยู่. บทว่า อิทมฺปิ
เม ตปสฺมึ ได้แก่ กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา. อีกนัยหนึ่ง บทว่า
ตปสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถปฐมาวิภัตติ. อธิบาย
ว่า กรรมแม้นี้เป็นตบะของเรา. จริงอยู่ คนมีตบะนั้น ได้ยินว่า
นักบวชอเจลกะผู้ทอดทิ้งอาจาระมีอยู่ที่โน้น เป็นต้น ก็พูดว่า นี่เป็นตบะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
ของเรา อเจลกะนั่นเป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นต้น ได้ฟังว่า ภิกษุ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุลอยู่ในที่โน้นเป็นต้น ก็พูดว่า นี้เป็นตบะของเรา ภิกษุ
นั้นเป็นอันเตวาสิกของเรา เป็นต้น. บทว่า กิญฺจิเทว ได้แก่ โทษหรือ
ทิฏฐิอะไร ๆ. ทว่า ปฏิจฺฉนฺน เสวติ ได้แก่ ย่อมเสพโดยประการ
ที่ชนเหล่าอื่นจะไม่รู้. บทว่า อกฺขมมาน อาห ขมติ ได้แก่ ย่อมกล่าว
ถึงสิ่งที่ตนไม่ชอบใจว่า เราชอบใจ. คนมีตบะย่อมบัญญัติโทษที่ตนทำ
แล้วมากมายว่ามีจำนวนน้อย แต่แสดงโทษที่คนอื่นทำแล้วเพียงแต่อาบัติ
ทุกกฏว่าเป็นเหมือนต้องอาบัติปาราชิก. บทว่า อนุญฺเยฺย ได้แก่ พึง
ทราบ คือพึงอนุโมทนา. บทว่า โกธโน โหติ อุปนาหิ ได้แก่ผู้ประ
กอบด้วยโกธะ มีความขัดเคืองเป็นลักษณะ และด้วยอุปนาหะมีการไม่
สละคืนเวรเป็นลักษณะ. บทว่า มกฺขี โหติ ปลาสี ได้แก่ประกอบด้วยมัก-
ขะ มีการลบหลู่คุณคนอื่นเป็นลักษณะ และด้วยปลาสะ มีการตีเสมอ
เป็นลักษณะ. บทว่า อิสฺสุกี โหติ มจฺฉรี ได้แก่ ประกอบด้วยความ
ริษยาในสักการะของผู้อื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ และด้วยความตระหนี่
๕ อย่าง มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ลาภ วรรณะและธรรมเป็น
ลักษณะ. บทว่า สโ โหติ มายาวี ได้แก่ประกอบด้วยสาเถยยะมี
ความโอ้อวดเป็นลักษณะ และมายามีการปกปิดกรรมที่ทำแล้วเป็นลักษณะ.
บทว่า ถทฺโธ โหติ อติมานี ได้แก่ ประกอบด้วยถัมกะมีความดื้อรั้น
ซึ่งขาดเมตตาและกรุณาเป็นลักษณะ และอติมานะมีการดูหมิ่นล่วงเกิน
ผู้อื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ปาปิจฺโฉ โหติ ได้แก่ ประกอบด้วยความ
ปรารถนาลามก มีการยกย่องและปรารถนาอสัตบุรุษเป็นลักษณะ. บทว่า
ปาปิกาน คือลุอำนาจความอยากที่ลามกเหล่านั้นนั่นแล. บทว่า มิจฺฉา-
ทิฏฺิโก คือประกอบด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามนัยว่า ทาน
ที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย ได้แก่ ทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 91
นั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า อนฺตคฺคาหิกา เพราะเขายึดถือความขาดสูญ
อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยอันตัคคาหิกทิฏฐินั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
สนฺทิฏฺิปรามาสี เป็นต้น ดังต่อไปนี้- การเห็นด้วยตนเอง ชื่อว่า
สนฺทิฏิ ผู้ใดจับต้องยึดถือสันทิฏฐินั้นนั่นแลเที่ยวไป เหตุนั้น ผู้นั้น
ชื่อว่า สันทิฏฐิปรามาสี. การตั้งไว้ด้วยดี มั่นคงดี เรียกว่า อาธานะ.
ผู้ใดยึดถือไว้อย่างมั่นคง ผู้นั้นชื่อว่า อาธานัคคาหี. ผู้ใดไม่สามารถจะ
สละการ ยึดถือมั่นนั้น เหมือนอริฏฐะสามเณร เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า
ทุปปฏินิสสัคคี. ศัพท์ว่า ยทิเม ตัดเป็น ยทิ อิเม.
บทว่า อิธ นิโคฺรธ ตปสฺสี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระบาลีฝ่ายที่เศร้าหมอง คือทรงแสดงลัทธิที่พวกอัญญเดียรถีย์ถือเอา
ตบะที่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นรักษาว่าเป็นสิ่งเศร้าหมองทั้งหมดแล้ว บัดนี้
เพื่อแสดงบาลีฝ่ายบริสุทธิ์ เมื่อเริ่มเทศนา จึงตรัสว่า อิธ นิโคฺรธ
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตมโน เป็นต้น พึง
ทราบด้วยอำนาจบทที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. ในวาระบททุก ๆ บท
พึงประกอบข้อความด้วยอำนาจผู้มีตบะเศร้าหมองและผู้ทรงธุดงค์. บทว่า
เอว โส ตสฺมึ ฐาเน ปริสุทฺโธ โหติ ความว่า ผู้มีตบะนั้น เป็น
ผู้บริสุทธิ์ คือไร้อุปกิเลส เพราะมีความพอใจด้วยตบะนั้น ก็หาไม่
เพราะเหตุกล่าวคือความดำริบริบูรณ์ ก็หาไม่. ผู้มีตบะนี้ เมื่อพยายาม
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็เป็นผู้มีกรรมฐานบริสุทธิ์ ย่อมบรรลุพระอรหัตได้.
พึงทราบเนื้อความในวาระทุก ๆ บท โดยนัยนี้. บทว่า อทฺธา โข
ภนฺเต ความว่า ปริพาชกย่อมรู้ตามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ วาทะที่เกลียดบาปด้วยความเพียรย่อมบริสุทธิ์ โดยส่วน
เดียว. อนึ่ง ปริพาชกนั้นไม่รู้ยอดและแก่นอื่นจากนี้ จึงกล่าวว่า
อคฺคปฺปตฺตา สารปฺปตฺตา จ ดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
ทรงปฏิเสธวาทะนั้นเป็นแก่นสารแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสว่า น โข นิโคฺรธ
เป็นต้น.
บทว่า ปปฺปฏิกมตฺตา โหติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงว่า การเกลียดบาปด้วยตบะเห็นปานนี้ เป็นเช่นกับสะเก็ด
ภายนอกพ้นจากแก่น กระพี้ เปลือก ของต้นไม้มีแก่น.
บทว่า อคฺค ปาเปตุ ความว่า ย่อมทูลขอกะพระทศพลว่า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงให้ถึงยอด คือ โปรดแสดงให้ถึงแก่น
ด้วยอำนาจแห่งเทศนา.
บทว่า จาตุยามสวรสวุโต คือปิดแล้วด้วยความสำรวม ๔ อย่าง.
บทว่า น ปาณมติปาเปติ คือ ไม่เบียดเบียนสัตว์. บทว่า น ภาวิต-
มาสึสติ ความว่า กามคุณ ๕ อย่าง ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมา
เพราะกำหนดจดจำไว้ ไม่หวัง คือไม่เสพกามคุณเหล่านั้น. บทว่า
อทุญฺจสส โหติ ความว่า ข้อที่จะกล่าวในบัดนี้เป็นต้นว่า โส อภิหรติ
จึงเป็นลักษณะของเขา. บทว่า ตปสฺสิตาย คือ เพราะความเป็นผู้
มีตบะ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส อภิหรติ ความว่า เขาย่อม
รักษาศีลนั้นให้ยิ่ง คือบำเพ็ญให้สูงยิ่งขึ้นไป ได้แก่ไม่ยอมละความ
เพียรว่า ศีลเราบริบูรณ์แล้ว ตบะเราเริ่มแล้ว พอละ ด้วยเหตุเพียงเท่า
นี้. บทว่า โน หินายาวตฺตติ ความว่า ไม่เวียนมาเพื่อความเป็น
คนเลว คือเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ ได้แก่ทำความเพียรเพื่อต้องการบรรลุ
คุณวิเศษยิ่งกว่าศีล. เขาเมื่อทำได้อย่างนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด.
บทว่า อรญฺ เป็นต้น มีพิสดารอยู่แล้วในสามัญญผลสูตร. บทว่า
เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น ท่านพรรณนาไว้ในวิสุทธิมรรค.
บทว่า ตจปฺปตฺตา คือถึงเปลือกภายในแต่สะเก็ด. บทว่า เผคฺ-
คุปฺปตฺตา คือถึงความเป็นกระพี้ภายในแต่เปลือก อธิบายว่า เป็นเช่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 93
กระพี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำว่า เอตฺตาวตา โข นิโคฺรธ ตโป-
ชิคฺจฺฉา อคฺคปฺปตฺตา จ โหติ สารปฺปตฺตา จ นี้ ด้วยอำนาจพวก
เดียรถีย์.
จริงอยู่ ลาภและสักการะของพวกเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับกิ่งไม้
และใบไม้. เพียงศีล ๕ เช่นสะเก็ดไม้. เพียงสมาบัติ ๘ เช่นเปลือกไม้.
ปุพเพนิวาสญาณและอภิญญาในที่สุด เช่นกระพี้. ก็พวกเดียรถีย์เหล่านั้น
ย่อมถือเอาทิพพจักขุว่าเป็นพระอรหัต. เพราะเหตุนั้น ความยึดถือนั้น
ของพวกเขา เช่นแก่นต้นไม้. ส่วนลาภและสักการะในพระศาสนา เป็น
เช่นกิ่งไม้และใบไม้. ความถึงพร้อมด้วยศีล เช่นกับสะเก็ด. ฌานและ
สมาบัติ เช่นกับเปลือก. โลกิยอภิญญาเช่นกระพี้. มรรคและผล
เป็นแก่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบศาสนาของพระองค์ด้วย
ต้นไม้มีผลดกที่กิ่งน้อมลงและแผ่ออก ด้วยประการฉะนี้.
เพราะพระองค์ฉลาดในการแสดงเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นทรงเริ่มแสดงว่า อิติ โข นิโคฺรธ เป็นต้น เพื่อแสดงความ
แปลกแห่งเทศนาของพระองค์ว่า ศาสนาของเรายิ่งกว่า ประณีตกว่า
ความถึงพร้อมด้วยแก่นของท่านนั้น ท่านจักรู้ศาสนานั้นเมื่อไร.
บทว่า เต ปริพฺพาชกา ได้แก่ ปริพาชกจำนวน ๓,๐๐๐ คน
เหล่านั้น เป็นบริวารของเขา. บทว่า เอตฺถ มย น ปสฺสาม ได้แก่
ในบาลีมีแบบแผนอเจลกะเป็นต้นนี้. ท่านกล่าวว่า แม้แบบแผนอเจลกะ ก็
ไม่มีแก่เรา แบบแผนที่บริสุทธิ์จักมีแต่ที่ไหน แม้แบบแผนที่บริสุทธิ์ของพวก
เราก็ไม่มีในที่นั้น. ความสำรวม ๔ อย่างเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้ความ
สำรวม ๔ อย่าง ก็ไม่มี การอยู่ป่าเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การอยู่ป่า ไม่มี
การละนิวรณ์เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้การละนิวรณ์ ไม่มี แม้พรหมวิหาร
เป็นต้น จักมีแต่ที่ไหน แม้พรหมวิหารไม่มี ปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 94
จักมีแต่ที่ไหน แม้ปุพเพนิวาสญาณ ไม่มี ทิพพจักขุของพวกเราจักมีแต่
ที่ไหน พวกเราพร้อมทั้งอาจารย์ฉิบหายในที่นี้. บทว่า อิโต ภิยฺโย
อุตฺตรีตร ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า พวกเรายังไม่รู้ชัด
การบรรลุคุณวิเศษอื่นที่ยิ่งไปกว่าการบรรลุทิพพจักขุญาณนี้ แม้ด้วยอำนาจ
การฟัง.
บทว่า อถ นิโคฺรธ ปริพฺพาชก ความว่า สันธานคฤหบดี
นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ปริพาชกเหล่านี้ ตั้งใจฟังภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้าในบัดนี้ ก็นิโครธปริพาชกนี้ ได้กล่าวคำจ้วงจาบอย่างกัก-
ขฬะลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้ ปริพาชกนี้ได้เกิดอยากฟัง บัดนี้
เป็นกาลที่จะลดธงคือมานะของปริพาชกนี้ลงแล้ว ยกพระศาสนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้น ลำดับนั้น เขาจึงได้พูดคำนั้นกะนิโครธปริพาชก
และแม้สันธานคฤหบดีนั้นก็ได้มีความคิดอื่นอีกว่า ปริพาชกนี้ เมื่อเราไม่
พูด ก็จักไม่ขอขมาพระศาสดา และการไม่ขอโทษนั้น จักเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เขา ในอนาคต แต่เมื่อเราพูดแล้ว
เขาจักขอขมา การขอขมานั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความ
สุขแก่เขาตลอดกาลนาน ดังนี้ ทีนั้น เขาจึงได้กล่าวคำนั้นกะนิโครธ-
ปริพาชก. ศัพท์ว่า ปน ในคำว่า อปริสาวจร ปน น กโรถ นี้
เป็นนิบาต. ความว่า ก็พวกท่านจงทำพระองค์ท่านไม่ให้กล้าเสด็จเที่ยว
ไปในที่ประชุม. บาลีว่า อปริสาวจเรต ดังนี้ ก็มี. อีกอย่างหนึ่ง
อธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมนั้นไม่ให้กล้าเที่ยวไปในที่ประ
ชุม หรือจงทำให้เป็นเหมือนแม่โคตาบอดเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. แม้
ในคำว่า โคกาณ น มีอธิบายว่า พวกท่านจงทำพระสมณโคดมให้
เป็นเหมือนโคตาบอดเที่ยววนเวียนไป ฉะนั้น. บทว่า ตุณฺหีภูโต คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 95
เข้าถึงความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มงฺกุภูโต คือ หมดอำนาจ. บทว่า
ปตฺตกฺขนฺโธ คือคอตก. บทว่า อโธมุโข คือ ก้มหน้า.
บทว่า พุทฺโธ โส ภควา สมฺโพธาย ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสรู้เองแล้ว ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายรู้อริยสัจ ๔ ด้วย.
บทว่า ทนฺโต คือ ฝึกทางจักษุบ้าง ฯลฯ ฝึกทางใจบ้าง. บทว่า ทมถาย
ได้แก่ เพื่อต้องการฝึกสัตว์เหล่าอื่น หาใช่เพื่อวาทะ.
บทว่า สนฺโต ได้แก่ ทรงสงบแล้ว เพราะมีราคะสงบระงับ
คือทรงสงบ เพราะมีโทสะ และโมหะสงบ เพราะมีอกุศลธรรมทั้งปวง
และอภิสังขารทั้งปวงสงบ. บทว่า สมถาย คือทรงแสดงธรรมเพื่อให้
มหาชนมีราคะเป็นต้นสงบ. บทว่า ติณฺโณ คือ ข้ามพ้นโอฆะ ๔ อย่าง
ได้. บทว่า ตรณาย คือ เพื่อต้องการจะให้มหาชนผ่านพ้นโอฆะ. บท
ว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ เป็นผู้ดับแล้วด้วยกิเลสนิพพาน. บทว่า ปรินิพฺ-
พานาย ได้แก่ ทรงแสดงธรรม เพื่อต้องการให้มหาชนดับกิเลสทุกอย่าง
ได้หมด.
บทว่า อจฺจโย เป็นต้น ได้กล่าวไว้แล้วในสามัญญผลสูตร.
บทว่า อุชุชาติโก ได้แก่ เว้นจากความคดทางกายเป็นต้น มีความ
ซื่อตรงเป็นสภาพ. บทว่า อหมนุสาสามิ ความว่า เราจะสั่งสอน
บุคคลเช่นท่าน และจะแสดงธรรมแก่บุคคลเช่นท่านนั้น. บทว่า สตฺตาห
คือตลอดเจ็ดวัน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงบุคคลผู้มีปัญญาทึบ จึง
ตรัสคำนี้ทั้งหมด. ก็ บุคคลผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเป็นคนตรง จัก
สามารถบรรลุพระอรหัตได้ โดยกาลครู่เดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า คนผู้โอ้อวด คดโกง เราไม่สามารถ
สอนได้ ดังนี้ ด้วยคำเป็นต้นว่า อส ดังนี้ จึงเหมือนทรงจับปริพาชก
ที่เท้า ขว้างไปที่เชิงเขาพระสุเมรุ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 96
เพราะปริพาชกผู้นี้โอ้อวดเหลือเกิน มีจิตใจคดโกง. แม้เมื่อพระศาสดา
ตรัสอยู่อย่างนี้ ปริพาชกก็ไม่น้อมใจไปในพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์ ไม่เงี่ยโสตไปเพื่อความเป็นผู้น้อมใจไป คงอยู่ในความหลอก
ลวง ขอขมาพระศาสดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
อัธยาศัยของเธอ จึงตรัสว่า เราก็ไม่สามารถสอนคนโอ้อวดได้.
บทว่า อนฺเตวาสิกมฺยตา ได้แก่ อยากได้อันเตวาสิก คือ
ปรารถนาพวกเราเป็นอันเตวาสิก. บทว่า เอวมาเห ได้แก่ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสคำว่า บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด จงมา เป็นต้น. บทว่า โยเอว
โว อาจริโย ความว่า ผู้ใด ตามปกติเป็นอาจารย์ของท่าน. บทว่า
อุทฺเทสา โน จาเวตุกาโม ความว่า พระสมณโคดมปรารถนาจะให้
เราถือคำสอนของพระองค์ แล้วให้พวกเราเคลื่อนจากอุเทศของพวกเรา.
บทว่า โสเยว โว อุทิเทโส โหตุ ความว่า ตามปกติ อุเทศใดเป็น
อุเทศของท่าน อุเทศนั้นก็เป็นอุเทศของท่านนั่นแหละ เราไม่มีความ
ต้องการด้วยอุเทศของท่าน. บทว่า อาชีวา คือจากความเป็นอยู่. บท
ว่า อกุสลสงฺขาตา คือถึงส่วนว่าอกุศล. บทว่า อกุสลา ธมฺมา
ได้แก่ ธรรมคือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง อีกอย่างหนึ่ง โดยพิ
เศษ ก็ได้แก่ตัณหานั่นเอง. แท้จริง ตัณหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า โปโนพฺภวิกา เพราะทำให้เกิดอีก. บทว่า สทรถา
คือประกอบด้วยความกระวนกระวายด้วยกิเลส. บทว่า ชาติชรามรณิยา
คือเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา และมรณะ. บทว่า สงฺกิเลสิกา ธมฺมา คือ
ถือความเกิดแห่งอกุศลจิต ๑๒ ดวง. บทว่า โวทานิยา ได้แก่ ธรรม
คือสมถะและวิปัสสนา. เพราะธรรมคือสมถะและวิปัสสนาเหล่านั้นย่อม
ทำให้สัตว์หมดจดได้ เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า โวทานิยา. บทว่า ปญฺาปาริปูรึ คือบริบูรณ์ด้วยมรรค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 97
ปัญญา. บทว่า เวปุลฺลตฺตญฺจ ได้แก่ ความไพบูลย์ด้วยผลปญญา.
อีกนัยหนึ่ง ทั้งสองบทนี้เป็นไวพจน์ของกันและกัน. ท่านอธิบายไว้ว่า
เพราะเหตุนั้น พวกท่านจักทำให้แจ้งมรรคปัญญาและผลปัญญา ด้วยปัญญา
อันยิ่งของตน ในปัจจุบันนั่นแล เข้าถึงอยู่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงปรารภปริพาชกทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงกำลังแห่งพระโอวาทา-
นุสาสนีของพระองค์ จึงยังพระธรรมเทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอร-
หัต ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยถา ต มาเรน ได้แก่ พวกปริพาชก
เหล่านั้นเป็นผู้นั่งนิ่ง ฯลฯ ไม่มีปฏิภาณ เหมือนถูกมารดลใจ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า มารคิดว่า พระศาสดาแสดงกำลังพระพุทธเจ้าคุกคามเหลือเกิน
แสดงธรรมแก่ปริพาชกเหล่านี้ น่าจะมีการตรัสรู้ธรรมบ้างในบางคราว
เอาเถอะ เราจะดลใจ ดังนี้. มารจึงดลจิตของปริพาชกเหล่านั้น. จริง
อยู่ จิตที่ยังละวิปลาสไม่ได้ จึงถูกมารกระทำตามความปรารถนา.
แม้ปริพาชกเหล่านั้นถูกมารดลใจแล้ว ก็นั่งนิ่งไม่มีปฏิภาณ เหมือน
มีอวัยวะทุกส่วนแข็งกระด้าง ฉะนั้น. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงรำพึงว่า
ปริพาชกเหล่านี้นั่งเงียบเสียงเหลือเกิน มีเหตุอะไรหนอแล ดังนี้จึง
ได้ทราบว่า พวกปริพาชกถูกมารดลใจ. ก็ถ้าเหตุแห่งการบรรลุมรรค
และผลของปริพาชกเหล่านั้นพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงห้ามมารแล้ว
แสดงธรรม แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้แล้ว เหตุแห่งมรรคผลไม่มี
แก่ปริพาชกเหล่านั้น ปริพาชกทั้งหมดนี้เป็นคนเปล่า เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระ
ดำริว่า ปริพาชกทั้งหมดเหล่านี้เป็นโมฆบุรุษ.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุฏฺา ปาปิมตา ได้แก่ ถูกมาร
มีมีบาปใจแล้ว. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า ในปริพาชกเหล่าใด.
บทว่า อญฺาณตฺถมฺปิ คือ เพื่อความรู้. บทว่า กึ กริสฺสติ สตฺตาโห
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 98
ได้แก่ เจ็ดวันที่พระสมณโคดมกำหนัดไว้แล้ว จักทำอะไรแก่พวกเราได้.
พวกปริพาชกได้กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า นิโครธปริพาชกจัก
ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนตลอดหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์นั้นจะทำ
ความไม่ผาสุกอะไรแก่เขา เอาเถอะ พวกเราจะประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อความรู้ว่า ในภายในหนึ่งสัปดาห์ พวกเราจะสามารถทำให้แจ้งธรรม
นั้นได้หรือไม่. อีกนัยหนึ่ง ในข้อนี้ มีอธิบายว่า ปริพาชกเหล่านั้นไม่ได้
เกิดความคิด เพื่อจะรู้สักครั้งเดียวว่า ในวันหนึ่งพวกเราจักรู้ธรรมของ
พระองค์เลย ก็หนึ่งสัปดาห์จัดทำอะไรแก่ปริพาชกผู้เกียจคร้านเหล่านั้น
ได้ ปริหาชกเหล่านั้น จักบำเพ็ญตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร.
บทว่า สีหนาท คือบันลือแล้ว บันลือแบบไม่กลัวใคร
เป็นการทำลายวาทะผู้อื่น และเป็นการประกาศวาทะของตน. บทว่า
ปจฺจุฏฺาสิ คือดำรงอยู่แล้ว. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้น
นั่นเอง. บทว่า ราชคห ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
ก็จริง ถึงอย่างนั้น จัดเป็นปัจจัยเพื่อเป็นวาสนาแก่ประพาชกเหล่านั้น
ต่อไป. คำที่เหลือทุก ๆ บท ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
จบ อรรถกถาอุทุมพริกสูตร
จบ สูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 99
๓. จักกวัตติสูตร
เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค
เจ้าประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมิตนเป็นเกาะ มีตน
เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มิธรรมเป็นที่พึ่ง
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ
มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตใน
จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมา
จากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปใน
โคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน มารจักไม่ได้โอกาส จัก
ไม่ได้อารมณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญขึ้นอย่างนี้เพราะ
เหตุที่ถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล.
ว่าด้วยแก้ว ๗ ประการ
[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชา
จักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ ผู้ทรงธรรม ทรงเป็นพระราชา
โดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรง
ชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
แก้ว ๗ ประการมีดังนี้ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. พระราชโอรสของ
พระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถ
ย้ำยีเสนาของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมสม่ำเสมอ มิต้อง
ใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นโดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้
เจริญ ในขณะที่ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ พึ่ง
บอกแก่เราทันที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัส
ของท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลาย
ร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อน
จากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 101
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของ
พระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมาร
ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร ได้ยินว่า
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้ฟังมาดังนี้
ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใด ถอยเคลื่อน
จากที่ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน
ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้เป็น
สมัยที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อ
จงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระ-
กุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระ
เกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาดเสด็จออกจากเรือน ทรง
ผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี
ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่ง เข้า
ไปเฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรง
ทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยความโทมนัส ท้าวเธอเสด็จ
เข้าไปหาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้
แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนพ่อ พ่ออย่าเสียใจ
และอยู่เสวยความโทมนัสไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตร-
ธานไปแล้ว ด้วยว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ หาใช่สมบัติสิบมาจากบิดา
ของพ่อไม่ ดูก่อนพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมิได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตร
อันประเสริฐ. ครั้นถึงวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์
ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏ
มีแก่พ่อผู้สนานพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประ-
เสริฐชั้นบน. ท้าวเธอถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอัน
ประเสริฐนั้น เป็นไฉน. ราชฤาษีตอบว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้น
พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม นับ
ถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรม
เป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาบอกกันและคุ้มครองอัน
เป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในหมู่กษัตริย์ผู้ได้รับราชา
ภิเษก ในหมู่กษัตริย์ประเทศราช ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี ใน
ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่า
เนื้อและนก ดูก่อนพ่อ การกระทำสิ่งที่เป็นอธรรม อย่าเป็นไปใน
แว่นแคว้นของลูก อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มี
ทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์
เหล่าใด ในแว่นแคว้นของลูก งดเว้นจากความเมาและความประมาท
ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบตนแต่ผู้เดียว
ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดย
กาลอันสมควรแล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 103
อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษ คืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรม
อะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่
พึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรม
อะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็น
อกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ
ดูก่อนพ่อ นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราช-
ฤาษีแล้ว ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอ
ทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สนานพระเศียร ทรงรักษา
อุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ท้าวเธอทอดพระเนตร
เห็นแล้ว มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้ว อันเป็นทิพย์
มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างปรากฏ
มีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้มูรธาภิเษก สนาน
พระเศียร ทรงรักษาอุโบสถ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนในวัน
อุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ.
[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจาก
พระที่แล้วทรงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้า
ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัส
ว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงหมุนไปทั่วโลกเถิด ขอจักรแก้วอัน
ประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 104
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้น ก็หมุนไปทาง
ทิศบูรพา พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตาม
ไป. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ได้ไปประทับอยู่
ณ ประเทศที่จักรแก้วประดิษฐานอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา
พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิได้กราบทูลกอย่างนี้ว่า ขอเชิญ
เสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักร
เหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอพระองค์จงทรงปกครองเถิด มหา-
ราชเจ้า. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึง
ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่
พึงกล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็
ลงไปสู่สมุทรด้านทิศบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทิศทักษิณ
แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม. ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จ
ติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประ-
เทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรง-
คินีเสนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช อยู่ ณ ทิศปัจฉิม
ก็พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมา
เถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่า
นี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครองเถิด.
ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 105
คำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
พระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นจักรแก้วนั้น ก็ลงสู่สมุทรด้านทิศปัจฉิม
แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
ก็เสด็จติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ
ประเทศใดท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ
ประเทศนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศอุดรก็
พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมา
เถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักร
เหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครอง
เถิด. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึง
กล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้
ชนะวิเศษยิ่งซึ่งแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบวชได้แล้ว จึงกลับคืนสู่
ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตูพระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือน
เครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว ว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระ-
ราชวังของท้าวเธอ.
ว่าด้วยจักรแก้วทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่
[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ ๒
ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัส
เรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในขณะที่ท่านเห็น
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ พึงบอกแก่เราทันที.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ
ท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่
จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระ-
พุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์
ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
ตรัสเรียกพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร
ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว นั่นเป็น
ความสุขของพ่อ ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของ
พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใด ถอยเคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ
พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่พ่อจะแสวงหา
กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร ลูกจงปกครองแผ่นดิน
อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
ย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ใน
ราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครอง
ผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้ว
อันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 107
เฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้น
แล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบ
เถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ได้ทรง
เสียพระทัย และได้ทรงเสวยความโทมนัส แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไปเฝ้า
พระราชฤาษี ทูลถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. นัยว่า ท้าวเธอ
ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอ
ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เองอยู่ ประชา-
ราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์
ก่อน ๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหา-
อำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น คนรักษาประตู และ
คนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า ได้ยินว่า เมื่อพระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติ
ของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อ
กษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประ-
เสริฐอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้า
ราชบริพาร โหราจารย์ และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า
เป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อม
ทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย
และประชาราษฎร์เหล่าอื่นด้วย ทรงจำจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้
อยู่ ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด
พวกข้าพระพุทธเจ้า อันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักก-
วัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 108
ว่าด้วยอทินนาทาน
[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้
ประชุมอำมาตย์ราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง
นายกองม้าเป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้ว
ตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. เขาเหล่านั้น อันท้าวเธอตรัส
ถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวายท้าวเธอ.
ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน
และคุ้มครองอันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่
ไม่มีทรัพย์. เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลาย. เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย
บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของตนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้
แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์
ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้
แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอ
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริงพระพุทธ-
เจ้าข้า. ท้าวเธอถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษทูลว่า เพราะข้าพระพุทธ-
เจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทาน
ทรัพย์ให้แก่เขาแล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษเธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดา
บิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณา
ที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อ
สวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 109
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่ง ก็ได้ขโมยทรัพย์
ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอว่า
พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้
กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่าเธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป
จริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอตรัสถามว่า
เพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะ
เลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทาน
ทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดา
บิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณา
ที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อ
สวรรค์ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูก่อนท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระ
เจ้าแผ่นดิน ยังทรงพระราชทานทรัพย์ให้อีก. พวกเขาได้ยินมา จึง
พากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเรา ก็ควรขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง.
[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่
ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึง
ตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 110
คนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอ
ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึง
ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์
ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวีขึ้นด้วยประการอย่างนี้
อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น
ท้าวเธอ ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงเอาเชือกเหนียว ๆ มัดบุรุษนี้ ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอา
มีดโกน โกนศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วย
บัณเฑาะก์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง
ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสียนอกพระนครทิศทักษิณ
ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว จึงเอาเชือกเหนียว
มัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกน ๆ ศีรษะให้โล้น แล้ว
พาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยกลองพิฆาตเสียงกร้าว ออกทาง
ประตูด้านทักษิณ คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะ
บุรุษนั้น นอกพระนคร ทิศทักษิณแล้ว.
[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังว่า ดูก่อน
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดิน ได้คุมตัวบุคคลผู้
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นอย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะ
พวกเขาเสีย. ครั้นได้ฟังมา พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่า
กระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ๆ ครั้นแล้ว
จะคุมตัวคนที่เราจับขโมยได้ให้แข็งแรง จักทำการตัดต้นตอ ตัด
ศีรษะพวกมันเสีย. พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม. ครั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 111
จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้น
ตามถนนหนทางบ้าง คุมตัวพวกที่ขโมยไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลเหล่านั้นเสีย.
ว่าด้วยปาณาติบาตทำให้อายุเสื่อม
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการยังพรรณนามานี้
เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่-
หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความ
แพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่
หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความ
แพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความ
แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อม
ถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุแปดหมื่นปี ก็มีอายุถอยลง เหลือสี่หมื่นปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชา
ผู้เป็นกษัตรย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้
แล้ว ท้ายเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นได้กราบทูลคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ว่า
ไม่จริงเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 112
ทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตรา
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต ก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาท ก็ได้ถึง
ความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น
ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง
เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสี่หมื่นปี ก็มี อายุสอง
หมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองหมื่นปี บุรุษคนหนึ่ง
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลแก่พระราชา
ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกได้กระทำการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า
บุรุษชื่อนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป.
[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ฯลฯ
ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย แม้
อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อม
ถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสอง-
หมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งหมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุหนึ่งหมื่นปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
ไม่ดี ในสัตว์สองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่
มีวรรณะดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น.
ว่าด้วยอกุศลกรรมบถทำให้อายุเสื่อม
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจ-
ฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย
แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขา
เสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
หนึ่งหมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือห้าพันปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุห้าพันปี ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะ
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย แม้
อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขา
เสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
ห้าพันปี บางพวกมีอายุถอยลงสองพันห้าร้อยปี บางพวกมีอายุถอยลงสอง
พันปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองพันปี อภิชฌาและ
พยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่
หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อ
พวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์
ที่มีสองพันห้าร้อยปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งพันปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งพันปี มิจฉาทิฏฐิ
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิ ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
สัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย
จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุหนึ่งพันปี
ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓
ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 114
ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อม
ถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุถอย
ลง ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี. ธรรมเหล่านี้
คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่
ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อม
ต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระ
มหากษัตริย์ ไม่พระราชหานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความ
แพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจา
และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
แพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและ
พยาบาทถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉา-
ทิฏฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ
มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่
หลาย ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบ
ในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์
ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 115
เหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจาก
วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี.
ว่าด้วยความเสื่อมของกุศล อกุศล
[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้ มีบุตรอายุ
๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามี
ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็น
อาหารอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุก จักเป็นอาหาร
อย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี
หญ้ากับแก้ ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น
อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุ ๑๐ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ที่
ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่
ปฏิบัติชอบใจในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ใน
ตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้การบูชา และได้รับการสรรเสริญ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบ
ในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล เขาเหล่านั้นจักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญฉันใด ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่
ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 116
ในตระกูล เขาเหล่านั้น จักได้รับการบูชาและการสรรเสริญฉันนั้นเหมือน
กัน ในบัดนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจัก
ไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม้ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของ
อาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความ
สมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้น
ต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดา
กับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี
จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากัน
อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้า เกิดความ
อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้า ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นจักมี
ความอาฆาต...ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน ฉันนั้นเหมือน
กัน.
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมี
สัตถันตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักสำคัญกันและกันว่าเป็นเนื้อ
ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากัน
เองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น
สัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ และ
ใคร ๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุม
ป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
เลี้ยงชีวิตอยู่สัก ๗ วัน เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 117
เกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
๗ วัน. เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่าง
เกาะซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องปลอบใจกันในที่
ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เท่านั้น จักมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทาน
ธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศล ควรหากุศลอะไร
เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาจัก
งดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เพราะเหตุ
ที่สมาทานกุศลธรรม พวกเขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง
เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลาย
ที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่าง
นี้ว่า พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่
สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรทำกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ควรทำกุศลอะไร พวกเราควรงดเว้นจากอทินนาทาน ควรงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากมุสาวาท ควรงดเว้นจากปิสุณวาจา ควร
งดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควร
ละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฏฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คือ อธรรม-
ราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรปฏิบัติชอบ
ในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติ
ชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมา-
ทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาเหล่านั้น จักปฏิบัติชอบในมารดา
ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 118
พฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้ว
ประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญ
ด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี. บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี. บุตรของคนผู้มี
อายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้น ๓๒๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึงสองพันปี. บุตรของคนผู้มีอายุสองพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่พันปี.
บุตรของคนผู้มีอายุสี่พันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงแปดพันปี. บุตรของคน
ผู้มีอายุแปดพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสองหมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุ
สองหมื่นปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่หมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุสี่หมื่นปี
จักมีอายุขึ้นถึงแปดหมื่นปี.
ว่าด้วยการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ อายุยืน
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
เมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑
ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มี
อายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราช-
ธานีพอชั่วไก่บินตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เมืองพาราณ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
สีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่าเกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรื่องมี
พลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมืองแปดหมื่นสี่พัน
เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีพระ-
เจ้าจักรพรรดิ์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เมือง
เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ใน
แผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักร
มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มี
กว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของ
ข้าศึกได้. พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา
ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์อายุแปดหมื่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นพระ
อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม. พระผู้มี
พระภาคพระนามว่า เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือน
ตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคต
บริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะ จักทรงให้ยกขึ้น
ซึ่งปราสาทที่พระจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรง
สละ จักทรงบำเพ็ญทาน แก่สมณพราหมฌ์ คนกำพร้า คนเดินทาง
วณิพก ละยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครอง
ผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเมตไตรย์ท้าวเธอ
ทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร
มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านัก ก็จักทรงทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่
กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ อันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฏฐธรรม
เที่ยว เข้าถึงอยู่.
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 121
เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ
มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นว่า
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่มีความเพียร มีสัม-
ปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาละโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาสละโทมนัสในโลกเสีย
ได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตน
เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม
เป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่อย่างนี้แล.
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร
ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้ง
หลายเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญด้วย
อายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง จักเจริญด้วยสุขบ้าง จักเจริญด้วยโภคะ
บ้าง จักเจริญด้วยพละบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบ
ด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ...
จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิปธานสังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท
๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
ก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น
อธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวัง
ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทละโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทที่หลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
อยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่อง
สุขของภิกษุ.
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้อายุเป็นต้นเจริญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตาม
นัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด
เบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน. มีจิตประกอบ
ด้วยกรุณา...มุทิตา...อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วย
จิตประด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่
ทุกสถาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ
และปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งด้วยตนเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล
เป็นคำอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อัน
ข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะ
เจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้น
ยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.
จบจักกวัตติสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 124
อรรถกถาจักกวัตติสูตร
จักกวัตติสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วอย่างนี้. ในพระสูตร
นั้น มีการพรรณาบทที่ยากดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุลาย ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่ออย่างนั้น. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนครนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่ ณ ไพร-
สณฑ์ไม่ไกล. ในคำว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ นี้มีอนุ-
ปุพพิกถาดังต่อไปนี้.
เล่ากันว่า ในสมัยที่พระสูตรนี้เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าออก
จากมหากรุณาสมาบัติ ในเวลาย่ำรุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตร
เห็นการตรัสรู้ธรรมของเหล่าสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ผู้อยู่ในมาตุลนคร ด้วยการ
กล่าวพระสูตร อันแสดงถึงอนาคตวงศ์นี้ จึงพร้อมด้วยภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป
เสด็จไปยังมาตุลนครแต่เช้าตรู่. เจ้ามาตุลนคร ตรัสว่า "ข่าวว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จมา" จึงต้อนรับนิมนต์พระทศพลให้เสด็จเข้าสู่พระนคร
ด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมาก ทรงตระเตรียมสถานที่ประทับนั่ง อา-
ราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์อันล้ำค่า ได้ถวาย
มหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทำภัตรกิจเสร็จทรงดำริว่า ถ้าเราจักแสดงธรรม แก่พวก
มนุษย์นี้ ในที่นี้ไซร้ สถานนี้คับแคบ พวกมนุษย์ จักไม่มีโอกาส
จะยืนจะนั่ง แต่สมาคมใหญ่แล พึงมีได้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าไม่ทรงทำภัตตานุโมทนา แก่พวกราชตระกูลเลย ทรงถือบาตร
เสด็จออกจากพระนครไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
พวกมนุษย์คิดว่า พระศาสดาไม่ทรงทำอนุโมทนาแก่พวกเรา
เสด็จไปเสีย อาหารเลิศรส คงไม่ถูกพระทัยเป็นแน่แท้ ขึ้นชื่อว่าพระ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ใคร ๆไม่อาจเอาพระทัยได้ถูก ธรรมดาว่าการ
ทำความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่นกับการจับคออสร-
พิษที่แผ่แม่เบี้ย มาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจักขอขมาพระ
ตถาคต. พวกชาวพระนครทั้งสิ้น ต่างพากันออกไป พร้อมกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะเสด็จไปอยู่นั่นเอง ทอดพระเนตรเห็น
ต้นมาตุละ (ต้นลำโพง) ต้นหนึ่งยืนต้นอยู่ ในนาของชาวมคธ สะพรั่งพร้อม
ด้วยกิ่งค่าคบแผ่ไพศาล ตั้งอยู่ในภูมิภาคประมาณกรีสหนึ่ง ดำริว่า เรา
จักนั่งที่โคนไม้นี้ เมื่อเราแสดงธรรม มหาชนจักมีโอกาสยืนและนั่งได้
จึงเสด็จกลับเลาะลัดบรรดา เสด็จแวะเข้าหาโคนไม้ ทอดพระเนตร
ดูพระอานนท์ ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก (คลังพระธรรม). พระเถระทราบ
ว่า พระศาสดาประสงค์จะประทับนั่ง ด้วยความหมายที่พระองค์ทอด
พระเนตรเท่านั้น จึงปูลาดจีวรใหญ่สำหรับพระสุคตเจ้าถวาย. พระผู้
มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่พระอานนท์ปูลาดแล้ว. ลำดับนั้น
พวกมนุษย์พากันนั่งด้านพระพักตร์พระตถาคต. หมู่ภิกษุนั่งที่ด้านข้าง
ทั้งสอง และด้านหลัง เหล่าเทวดา ต่างยืนอยู่ในอากาศ. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ประทับในท่ามกลางบริษัทใหญ่นั้นแล ด้วยอาการอย่างนี้ จึง
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว. สองบทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุ
ผู้เป็นธรรมปฏิคาหกรับธรรมเข้าไปในสมาคมนั้น. บทว่า อตฺตทีปา
ความว่า พวกเธอจงทำตนให้เป็นเกาะ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่กำบังเป็น
คติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า เป็นที่พึ่ง อยู่เถิด. คำว่า อตฺตสรณานี้ เป็นไว-
พจน์ของคำว่า อตฺตทีปา นั่นเอง. คำว่า อนญฺสรณา เป็นคำปฏิ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
เสธที่พึ่งอย่างอื่น. ความจริง คนอื่นจะเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นหาได้ไม่ เพราะ
คนอื่นบริสุทธิ์ด้วยความพยายามของคนอื่นไม่ได้.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า อนญฺสรณา. ถามว่า ก็ในคำว่า อตฺตทีปา นี้ อะไรเล่า
ชื่อว่าตน. แก้ว่า โลกิยธรรมและโลกุตรธรรม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺสรณา มีธรรม
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้.
คำว่า กาเย กายานุปสฺสี เป็นต้น ได้กล่าวพิสดารไว้แล้วใน
มหาสติปัฏฐานสูตร. บทว่า โคจเร ได้แก่ ในสถานที่ควรเที่ยวไป. บทว่า
สเก คือที่อันเป็นของมีอยู่แห่งตน. บทว่า เปตฺติเก วิสเย คือในถิ่นที่มา
จากพ่อแม่. บทว่า จรต คือเที่ยวไปอยู่ บาลีว่า จรนฺต ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็
เช่นนี้แหละ. บทว่า น ลจฺฉติ ความว่า จักไม่ได้ คือ จักไม่เห็น.
บทว่า มาโร ได้แก่เทวบุตรมารบ้าง กิเลสมารบ้าง. บทว่า โอตาร
ได้แก่ ร่องรอย คือช่องทางเปิด. ก็ความนี้บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องเหยี่ยว
นกเขา ซึ่งโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถตัวบินออกจากที่ (หลีบ) ก้อนดิน โผ
จับอย่าบนเสาระเนียด (เสาค่าย) กำลังผึ่งแดดอ่อนไป. สมจริงดังคำที่
พระผู้พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว เหยี่ยวนก
เขา เข้าโฉบเฉี่ยวเอานกมูลไถโดยฉับพลันเอาไป ภิกษุทั้งหลาย ครั้ง
นั้นแล นกมูลไถถูกเหยี่ยวนกเขานำไปอยู่คร่ำครวญอย่างนี้ว่า พวกเรา
นั่นแล เที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ นับว่าไม่มีบุญ
มีบุญน้อย. ถ้าหากวันนี้เราพึงเที่ยวไปในที่โคจรอันเป็นถิ่นของพ่อแม่
ของคนไซร้ เหยี่ยวนกเขาจักไม่อาจ (จับ) เราด้วยการต่อสู้เช่นนี้.
เหยี่ยวนกเขาถามว่า ดูก่อนนกมูลไถ ก็สำหรับท่าน อะไรเล่า เป็นถิ่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
ของพ่อแม่ของตน นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ก้อนดินรอยไถ. ภิกษุทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขาไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อในกำลังขอ
ตน ปล่อยนกมูลไถไปโดยกล่าวว่า ดูก่อนนกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
ถึงเจ้าไปในที่นั้นก็ไม่พ้น. ครั้งนั้นแล นกมูลไถ เจ้าจงไปเถิด
รอยไถ ขึ้นยังก้อนดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวนกเขาว่า มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้า
เหยี่ยวนกเขา มาเดี๋ยวนี้ซิ เจ้าเหยี่ยวนกเขา.
ครั้นนั้นเหยี่ยวนกเขา ผู้ไม่ทรนงในกำลังของตน เชื่อมั่นใน
กำลังของตน ลู่ปีกทั้งสองพลันโฉบลงตรงนกมูลไถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ครั้งใดแล นกมูลไถรู้ตัวว่า เหยี่ยวนกเขาตัวนี้สามารถพุ่งตัวลงมาแล้ว
ครั้งนั้นแล นกมูลไถก็หลบซ่อนตรงระหว่างก้อนดินนั้นนั่นเอง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เหยี่ยวนกเขา จึงได้แต่ให้อกกระแทก
ที่ก้อนดินนั้นแล. ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นก็เหมือนกับที่ภิกษุเที่ยวไปในที่
อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
พวกเธอจงอย่าเที่ยวไปในที่อโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์. เมื่อเธอเที่ยว
ไปในแดนอโคจร อันเป็นถิ่นของปรปักษ์ มารย่อมได้ช่อง มารย่อมได้อา-
รมณ์. ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าคืออโคจร ถิ่นของปรปักษ์ สำหรับภิกษุ คือ
กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? ได้แก่รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา
น่าใคร่น่าพึงใจประกอบด้วยความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย ฯลฯ อันเป็นที่ตั้งแห่ความกำหนัด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้ คืออโคจรอันเป็นถิ่นของปรปักษ์สำหรับภิกษุ. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงเหี่ยวในโคจร ฯลฯ มารย่อมไม่ได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรคือโคจรของภิกษุ ซึ่งเป็นถิ่นของบิดามารดา
ของตน คือสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่ ฯลฯ ธรรมที่
เป็นถิ่นบิดาของตน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 128
บทว่า กุสลาน คือ ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นลักษณะ. บทว่า สมา-
ทานเหตุ คือ เพราะเหตุสมาทานแล้วประพฤติ. บทว่า เอวมิท ปฺุ
ปวฑฺฒติ ความว่า ผลบุญอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ ย่อมเจริญอย่าง
นี้. อนึ่ง คำว่า ผลบุญนั้นพึงทราบว่า ได้แก่ทั้งบุญทั้งผลของบุญชั้นสูง ๆ.
ในคำว่า ปุญฺผล นั้น กุศลมี ๒ อย่าง คือวัฏฏคามีกุศล กุศลเป็น
ทางไปสู่วัฏฏะ ๑ วิวัฏฏคามีกุศล กุศลเป็นทางไปสู่วิวัฏฏะ ๑ ในกุศล
๒ อย่างนั้น จิตที่อ่อนโยนของมารดาบิดาด้วยอำนาจที่มีความรักในบุตร
ธิดา และจิตที่อ่อนโยนของบุตรธิดาด้วยอำนาจที่มีความรักในมารดาบิดา
ชื่อว่า วัฏฏคามีกุศล. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีประเภทเป็น
ต้นว่า สติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าวิวัฏฏคามีกุศล. ในกุศลเหล่านั้น สำหรับ
กุศลที่เป็นวัฏฏคามี สิ้นสุดกันตรงศิริสมบัติของพรเจ้าจักรพรรดิ์ ใน
มนุษยโลก. สำหรับกุศลที่เป็นวิวัฏฏคามีสิ้นสุดกันที่มรรคผลและนิพ-
พานสมบัติ. ในกุศลสองอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักแสดงวิบากของ
วิวัฏฏคามีกุศลไว้ ในตอนท้ายของสูตร. แต่ในที่นี้ เพื่อแสดงวิบากแหง
วัฏฏคามีกุศล พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดบุตรธิดา
ไม่ตั้งอยู่ในโอวาทของมารดาบิดา เมื่อนั้นพวกเขา เสื่อมอายุบ้าง ผิว
พรรณบ้าง ความเป็นใหญ่บ้าง แต่ว่า เมื่อใดเขาตั้งอยู่ในโอวาท เมื่อ
นั้นจึงเจริญ ดังนี้แล้ว จึงเริ่มพระธรรมเทศนา ด้วยอำนาจความสืบต่อ
วัฏฏคามีกุศลว่า ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว เป็นต้นไป.
ในคำเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า จกฺกวตฺติ ได้กล่าวพิสดารแล้ว
ในมหาปทานสูตรนั้นแล. บทว่า โอสกฺกิต แปลว่า ย่อหย่อนไปนิดหน่อย.
บทว่า านา จุต แปลว่า เคลื่อนไปจากฐานะโดยประการทั้งปวง. เล่ากันว่า
จักรแก้วนั้น ได้ลอยขึ้นไปตั้งอยู่ ในอากาศเหมือนนำไปด้วยล้ออยู่เหนือประ
ตู พระราชวังชั้นใน. ครั้งนั้น พระราชารับสั่งให้ฝังเสาไม้ตะเคียนสองต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 129
ไว้ที่ข้างทั้งสองแห่งจักรนั้น ที่บนสุดของจักรแก้ว ผูกเชือกด้ายไว้เส้นหนึ่ง
ให้อยู่ตรงกับกง. แม้ในด้านล่าง ก็ผูกเชือกด้ายเส้นหนึ่งให้อยู่ตรงกับกง.
จักรแก้วย้อยต่ำลงแม้นิดเดียว จากเส้นเชือกข้างบนเส้นหนึ่งในบรรดา
เชือกสองเส้นนั้นก็เป็นอันว่าหย่อนลง. ปลายสุดของจักรแก้วอยู่เลยที่ตั้งของ
ด้ายชั้นล่าง ชื่อว่าเคลื่อนจากฐานแล้ว. เมื่อมีโทษแรงมาก จักรแก้วนี้
นั้นจะเป็นอย่างนี้ คือ คล้อยเคลื่อนจากฐานแม้ประมาณเส้นด้ายหนึ่ง
หรือประมาณหนึ่งองคุลีสององคุลี.
ท่านหมายเอาเหตุนั้นจึงกล่าวว่า โอสกฺกิต านา จุต หย่อน
เคลื่อนจากฐานดังนี้. ข้อว่า อถ เม อาโรเจยฺยาสิ ความว่า พระ
ราชารับสั่งว่า พ่อเอ๋ย นับแต่วันนี้เป็นต้นไป เจ้าจงไปสู่ที่บำรุงจักรแก้ว
วันละ ๓ ครั้ง เจ้าเมื่อไปอย่างนั้น พบเห็นจักรแก้วคล้อย คือ เคลื่อน
จากที่แม้นิดเดียวเมื่อใด พึงบอกแก่เราเมื่อนั้น เพราะว่า ชีวิตของเรา
ฝากไว้ในมือของเจ้า. บทว่า อทฺทส ความว่า บุรุษนั้นไม่ประมาท
แล้ว ไปดูวันละ ๓ ครั้ง ได้พบเห็นเข้าไปวันหนึ่ง.
ข้อว่า อถโข ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นพระเจ้าทัฬหเนมิ สดับว่า จักรแก้วเคลื่อน
ที่แล้ว เกิดความโทมนัสอย่างรุนแรง ดำริว่า เราจักมีชีวิตไม่ยั่งยืนนาน
อายุของเราเหลือน้อยเต็มที่ บัดนี้ เราจะไม่มีเวลาบริโภคกามอีกแล้ว
เวลาแห่งการบรรพชา ย่อมมีแก่เรา ณ บัดนี้ ดังนี้แล้ว ทรงกันแสง
คร่ำครวญ รับสั่งให้เรียกหาพระราชกุมารพระราชโอรสองค์ใหญ่มาแล้ว
ตรัสคำนี้. คำว่า สมุทฺทปริยนฺต คือ มีสมุทรหนึ่งที่ล้อมรอบอยู่เป็น
ขอบเขตนั่นเอง. ที่จริง ทรัพย์คือแผ่นดิน นี้เป็นของประจำราชตระกูล
ของพระราชาพระองค์นั้น . อนึ่งจักรแก้วนั้นมีจักรวาลเป็นขอบเขต เกิด
ขึ้นได้ด้วยอำนาจบุญฤทธิ์ ใคร ๆ ไม่อาจจะยกให้กันได้. ก็พระราชาเมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
จะมอนจักรแก้วอันเป็นของประจำราชตระกูล จึงตรัสว่า สมุทฺทปริยนฺต
ดังนี้. บทว่า เกสมสฺสุ ความว่า ที่จริงบุคคลทั้งหลาย แม้เมื่อจะบวช
เป็นดาบส ก็ปลงผมและหนวดออกก่อน แต่นั้นไป จึงได้กระหมวดมุ่น
ผมที่งอกขึ้นมา เที่ยวไป เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เกสมสฺสุ
โอหาเรตฺวา. บทว่า กาสายานิ ได้แก่ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด. อธิบาย
ว่า เบื้องต้นได้ทำอย่างนั้น ภายหลังจึงทรงแม้ผ้าเปลือกไม้.
บทว่า ปพฺพชิ ปลว่า ผนวชแล้ว. อธิบายว่า ก็ครั้นผนวช
แล้ว ได้ประทับอยู่ในพระราชอุทยานอันเป็นมงคลส่วนพระองค์นั่นเอง.
บทว่า ราชีสิมฺหิ คือ ราชฤาษี. แท้จริง ผู้บวชจากวรรณะพราหมณ์
ท่านเรียกว่า พราหมณฤาษี. ส่วนผู้ละเศวตฉัตร บวชจากวรรณะกษัตริย์
เรียกว่า ราชฤาษี. บทว่า อนฺตรธายิ แปลว่า อันตรธานแล้ว คือถึง
ความไม่มี ดุจเปลวประทีปที่ดับแล้ว.
บทว่า ปฏิสเวเทสิ ความว่า (พระราชโอรส) กันแสงรำพัน
ทูลให้ทราบแล้ว. บทว่า เปตฺติก คือ ท่านแสดงว่า มิใช่ทรัพย์มรดก
ตกทอด ที่มาจากข้างราชบิดา อันใคร ๆ ที่มีความเกียจคร้าน มีความ
เพียรย่อหย่อน สมาทานประพฤติอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ไม่อาจ
ละได้ แต่ว่าผู้ที่อาศัยกรรมที่ทำไว้ดีของตน บำเพ็ญวัตรของพระเจ้า
จักรพรรดิ์ ๑๐ อย่าง หรือ ๑๒ อย่างเท่านั้น จึงจะได้จักรแก้วนั้น. ครั้ง
นั้น ราชฤาษี เมื่อตักเตือนราชบุตรนั้นไว้ในข้อวัตรปฏิบัติ จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า อิงฺฆ ตฺว เชิญเถิดท่าน.
ในข้อวัตรปฏิบัตินั้นคำว่า อริเย คือหมดโทษ. คำว่า จกฺกวตฺติ-
วตฺเต ได้แก่ ในวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า
นิสฺสาย คือกระทำธรรมนั้นเท่านั้นให้เป็นที่อาศัย ด้วยพระทัยที่อธิษ-
ฐานธรรมนั้นไว้แล้ว. บทว่า ธมฺม สกฺกโรนฺโต ความว่า ธรรมนั้นอัน
เข้าบำเพ็ญแล้ว คือ บำเพ็ญด้วยดีอย่างไร ท่านก็บำเพ็ญธรรมนั้นอย่าง
นั้นเหมือนกัน. สองบทว่า ธมฺม ครุกโรนฺโต คือ กระทำธรรมนั้น
ให้เลิศลอย ด้วยการเข้าถึงความเคารพในธรรมนั้น. บทว่า ธมฺม มาเนนฺ-
โต คือ กระทำธรรมนั้นเท่านั้นให้เป็นที่รัก แบะให้ควรแก่การยกย่อง
อยู่. บทว่า ธมฺม ปูเชนฺโต คืออ้างอิงธรรมนั้นแล้ว กระทำการบูชาต่อ
ธรรมนั้นด้วยการบูชาด้วยวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น. บทว่า ธมฺม
อปจายมาโน ความว่า กระทำการประพฤติอ่อนน้อม ต่อธรรมนั้นนั่น
เอง ด้วยสามีจิกรรมมีการประนมมือเป็นต้น.
บทว่า ธมฺมธโช ธมฺมเกตุ อธิบายว่า ชื่อว่ามีธรรมเป็นดุจ
ธงชัย และชื่อว่ามีธรรมเป็นสิ่งสุดยอด เพราะเชิดชูธรรมนั้นไว้เบื้อง
หน้าเหมือนธงชัย สละยกธรรมนั้นขึ้นทำให้เหมือนยอดประพฤติ.
บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย คือมีธรรมเป็นใหญ่ ได้แก่เป็นธรรมา-
ธิปไตย เพราะภาวะแห่งธรรมที่มีมาแล้ว สละเพราะกระทำกิริยาทั้ง
หมดด้วยอำนาจธรรมเท่านั้น.
บทว่า ธมฺมิก รกฺขาวรณคุตฺตึ สวิทหสฺสุ มีวิเคราะห์ดังนี้
ธรรมของการรักษามีอยู่ เหตุนั้น การรักษานั้นชื่อว่ามีธรรม การรักษา
การป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รกฺขาวรณคุตฺติ. บรรดาธรรม
เครื่องรักษาเหล่านั้น ธรรมทั้งหลายมีขันติเป็นต้น ชื่อว่าการรักษา เพราะ
พระบาลีว่า บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อรักษาผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 132
อื่น ชื่อว่ารักษาตนไว้ได้อย่างไรเล่า ? บุคคลเมื่อรักษาผู้อื่น ชื่อว่า
รักษาตนไว้ได้ด้วยขันติ ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีเมตตา
จิต และด้วยมีความเอ็นดู. การป้องกันวัตถุ มีผ้านุ่งผ้าห่มและเรือนเป็น
ต้น ชื่อว่า อาวรณะการป้องกัน. การคุ้มครองเพื่อห้ามอุปัทวันตรายมีโจร
เป็นต้น ชื่อว่า คุตฺติ การคุ้มครอง. อธิบายว่า ท่านจงจัดแจงกิจการทั้ง
หมดนั้น คือให้เป็นไป ให้ดำรงอยู่ด้วยดี. บัดนี้ เมื่อทรงแสดงสิ่งที่พึง
จัดการรักษาป้องกันคุ้มครอง ฤาษีจึงกล่าวว่า อนฺโตลนสฺมึ เป็นต้น
ความย่อในคำนั้นมีดังต่อไปนี้.-
วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์
เจ้าจงยังบุตรและภรรยา กล่าวคือชนภายในของเจ้า ให้ตั้งอยู่
ในศีลสังวร จงให้วัตถุมีผ้าดอกไม้และของหอมเป็นต้น แก่พวกบุตร
และภรรยานั้น และจงป้องกันอุปัทวะทั้งหมดให้แก่เขา. แม้ในเหล่า
ทหารเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่มีข้อแตกต่างกันดังนี้. เหล่าทหารอัน
พระราชาควรสงเคราะห์ด้วยการเพิ่มบำเหน็จรางวัลให้ ไม่ให้ล่วงเลยกาล
เวลา. กษัตริย์ผู้ได้รับการอภิเษก ควรสงเคราะห์ด้วยการให้รัตนะมีม้า
อาชาไนยอันสง่างามเป็นต้น. กษัตริย์ที่เป็นประเทศราช ควรให้ยินดี
แม้ด้วยการมอบให้ยานพาหนะอันสมควรแก่ความเป็นกษัตริย์นั้น. พราหมณ์
ทั้งหลายควรให้ยินดีด้วยไทยธรรมมีข้าวน้ำและผ้าเป็นต้น.
พวกคฤหบดี ควรสงเคราะห์ ด้วยการให้พันธุ์ ข้าว ไถ ผาล
และโคงานเป็นต้น. ผู้อยู่ในนิคม ชื่อ เนคมะ (ชาวนิคม) และผู้อยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 133
ในชนบท ชื่อว่า ชนปทา (พวกชาวชนบท) ก็เหมือนกัน (คือควร
สงเคราะห์ ด้วยการให้พันธุ์ข้าว ไถ ผาลและโคงานเป็นต้น).
พวกสมณพราหมณ์ ผู้มีบาปสงบ มีบาปลอยเสียแล้ว ควรสัก-
การะ ด้วยการถวายบริขารสำหรับสมณพราหมณ์. หมู่เนื้อและนก
ควรให้โปร่งใจเสียได้ด้วยการให้อภัย. บทว่า วิชิเต คือในถิ่นฐานที่
อยู่ในอำนาจปกครองของตน. บทว่า อธมฺมกาโร คือการกระทำที่ไม่
ชอบธรรม. บทว่า มา ปวตฺติตฺถ อธิบายว่า จงยังการกระทำอันเป็น
อธรรมนั้น ไม่ให้เป็นไป.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่ผู้มีบาปสงบ คือมีบาปลอยเสีย
แล้ว. บทว่า มทปฺปมาทา ปฏิวิรตา คือ งดเว้นจากความเมาด้วยอำนาจ
มานะ ๙ อย่าง และจากความประมาท กล่าวคือการปล่อยจิตไปในกาม-
คุณ ๕. บทว่า ขนฺติโสรจฺเจ นิวิฏฺา ความว่า ดำรงอยู่ในอธิวาสน-
ขันติและในความเป็นผู้สงบเสงี่ยม. บทว่า เอกมตฺตาน ความว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งหลายท่านกล่าวว่า ย่อมฝึกตน สงบ ระงับ ดับตนผู้เดียว
ด้วย การข่มกิเลสมีราคะเป็นต้นของตน. บทว่า กาเลน กาล คือทุกเวลา.
บทว่า อภินิวชฺเชยฺยาสิ ความว่า พึงเว้นเสียซึ่งอกุศล ซึ่ง
เปรียบเหมือนคูถ เหมือนยาพิษ ละเหมือนไฟด้วยดี. บทว่า สมาทาย
คือ พึงยึดถือ กุศล ซึ่งเปรียบเหมือนพวกดอกไม้ ที่มีกลิ่นหอม และ
เปรียบเหมือนน้ำอำมฤต แล้วปฏิบัติโดยชอบ. บัณฑิตตั้งอยู่ในกุศลธรรม
นี้ แล้วพึงนำวัตรมาปฏิบัติสม่ำเสมอ.
วัตรนั้นมี ๑๐ ประการ อย่างนี้ คือ วัตรที่พึงปฏิบัติในหมู่
ทหารที่เป็นชนภายใน ๑ ในพวกกษัตริย์ ๑ ในกษัตริย์ประเทศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 134
ราช ๑ ในพราหมณ์สละคฤหบดี ๑ ในชาวนิคม และชาว
ชนบท ๑ ในสมณพราหมณ์ ๑ ในหมู่มฤคและเหล่าปักษา ๑ การห้าม
การกระทำอันไม่เป็นธรรม ๑ การมอบทรัพย์ให้แก่ผู้ไม่มีทรัพย์ ๑ การ
เข้าไปหาสมณพราหมณ์แล้วถามปัญหา ๑ แต่เมื่อถือเอาคฤหบดีและ
เหล่าปักษาชาติเป็นแผนกหนึ่งแล้วก็จะมี ๑๒ อย่าง. บัณฑิตผู้ถือเอาคำที่
มิได้กล่าวไว้ในครั้งก่อน พึงทราบว่าวัตรมี ๑๒ อย่าง โดยอาศัยการละ
ราคะที่ไม่เป็นธรรมและวิสมโลภ โลภะที่ไม่สม่ำเสมอเป็นต้น.
ข้อว่า อิท โข ตาต ต ดังนี้ ความว่า วัตร ทั้ง ๑๐ อย่าง
และ ๑๒ อย่างนี้ ชื่อว่า วัตรปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ อันประเสริฐ.
บทว่า วตฺตมานสฺส คือบำเพ็ญให้บริบูรณ์. คำเป็นต้นว่า ตทหุโปสเถ
ได้กล่าวไว้แล้วในมหาสุทัสสนสูตร.
บทว่า สมเตน คือตามมติของตน. คำว่า สุท เป็นเพียงนิ-
บาต. บทว่า ปสาสติ คือ ปกครอง. มีคำกล่าวอธิบายไว้ว่า พระรา-
ชา ทรงสละราชวงศ์ดั้งเดิม ได้แก่ราชธรรม อันเป็นราชประเพณีเสีย
แล้ว ดำรงอยู่ในธรรมเพียงเป็นมติของตน ปกครองประเทศ. เมื่อ
เป็นเช่นนั้น พระราชาพระองค์นี้ จึงเป็นพระราชาองค์สุดท้าย ซึ่งเป็น
ผู้ตัดวงศ์ของพระเจ้าทัฬหเนมิ ประดุจผู้ให้เกิดความด่างพร้อยแก่วงศ์มฆ-
เทพฉะนั้น. บทว่า ปุพฺเพนาปร คือในกาลต่อมา ชาวประชาราษฎร์
ไม่รุ่งเรือง คือไม่เจริญ เหมือนกับกาลก่อน. ข้อว่า ยถา ต ปุพฺพกาน
ความว่า ประชาราษฎร์ เจริญแล้วเป็นดุจเดียวกัน ทั้งในรัชกาลต้น
และรัชกาลหลังของพระราชาองค์ก่อน ๆ ฉันใด จะเจริญรุ่งเรืองฉัน
นั้นหามิได้ คือในที่ไหน ก็ว่างเปล่า ถูกโจรปล้นสดมภ์ อธิบายว่า แม้
โอชา ในน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น และในยาคูภัตรเป็นต้น ก็เสื่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
ไป. สองบทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา คือเหล่าอำมาตย์ และผู้เที่ยวไป
ในบริษัท. บทว่า คณกมหามตฺตา ได้แก่เหล่าโหรผู้ชำนาญในปาฐะ
มีอัจฉินทิกะ ทำนายผ้าขาดเป็นต้น และเหล่าอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่. บทว่า
อนีกฏฺา คือพวกอาจารย์ทั้งหลายมีหัตถาจารย์เป็นต้น. บทว่า โทวา-
ริกา คือผู้รักษาประตู. ปัญญาเรียกว่ามนต์ ในบทว่า มนฺตสฺสาชิวิโน.
อำมาตย์ผู้ใหญ่เหล่าใด กระทำปัญญานั้นให้เป็นเครื่องอาศัยเป็นอยู่ อำ
มาตย์ผู้ใหญ่เหล่านั้น ชื่อว่าบัณฑิต คำว่า มนฺตสฺสาชิวิโน นั้นเป็น
ชื่อแห่งมหาอำมาตย์เหล่านั้น. บทว่า โน จ โข อธนาน ความว่า แก่
มนุษย์ผู้ไร้ทรัพย์ คือ ผู้ยากจน เพราะตนมีความโลกรุนแรง. บทว่า
ธเน นานุปฺปทิยมาเน ความว่า อันเขาไม่มอบทรัพย์ให้. อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน. บทว่า ทาลิทฺทิย แปลว่า ความเป็นผู้ยาก
จน. บทว่า อตฺตนา จ ชีวาหิ ความว่า จงเป็นอยู่ คือจงยังอัตภาพ
ให้เป็นไปเอง. บทว่า อุทฺธคฺคิก มีวิเคราะห์ว่า ผลของทักษิณนั้นไป
ในเบื้องบน ด้วยอำนาจให้ผล ในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป เหตุนั้น ทักษิณานั้น
จึงชื่อว่ามีผลไปในเบื้องบน. ทักษิณาชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะเป็นประ
โยชน์เกื้อกูลต่อสวรรค์ เพราะให้อุบัติเกิดในสวรรค์นั้น. ทักษิณา ชื่อ
ว่ามีวิบากเป็นสุข เพราะมีวิบากเป็นสุข ในที่ที่ตนบังเกิดแล้ว. ทักษิณา
ชื่อว่าเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะให้บังเกิดผลวิเศษ ๑๐ อย่างมี วรรณะ
อันเป็นทิพย์เป็นต้นที่ล้ำเลิศด้วยดี. อธิบายว่า ท่านจงยังทักษิณาทานเห็น
ปานนี้ ให้ดำรงอยู่.
บทว่า ปวฑฺฒิสฺสติ คือ จักเจริญ คือ จักมีมาก. บทว่า
สุนิเสธ นิเสเธยฺย ความว่า เราจะทำการห้าม คือพึงปฏิเสธเด็ดขาด.
บทว่า มูลฆจฺฉ คือถอนราก. บทว่า ขุรสฺสเรน คือ มีเสียงหยาบ.
บทว่า ปณเวน คือ กลองพิฆาต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 136
บทว่า สิสานิ เนส ฉินฺทิสฺสามิ ความว่า โดยที่สุด พวก
เรานำ แม้เผือกมัน เพียงกำมือเดียวของผู้ใดไป เราจักตัดศีรษะของ
ผู้นั้นโดยประการที่ใคร ๆ จักไม่รู้แม้เรื่องที่เราฆ่า บัดนี้ ในที่นี้ จะมี
ประโยชน์อะไรแก่พวกเรา แม้พระราชา เสด็จลุกขึ้นอย่างนั้นแล้ว รับ
สั่งให้ฆ่าบุคคลอื่น. พึงทราบอธิบาย แห่งคำเหล่านั้น ดังกล่าวมานี้.
บทว่า อุปกฺกมึสุ คือ เริ่มแล้ว. บทว่า ปนฺถทูหน ความว่า ดัก
ปล้นคนเดินทาง. คำว่า น หิ เทว ความว่า เล่ากันว่า บุรุษนั้นคิดว่า พระ
ราชานี้รับสั่งให้ประหารตามที่ให้การสารภาพว่า จริงพระเจ้าข้า เอาเถิด
เราจะให้การเท็จ ดังนี้แล้ว เพราะกลัวตายจึงทูลว่า ไม่จริงพระเจ้าข้า.
คำว่า อิท ในคำว่า เอกีท นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า สัตว์พวก
หนึ่ง. บทว่า จาริตฺต ได้แก่ความประพฤติผิด. บทว่า อภิชฺฌาพฺยา-
ปาทา ได้แก่ อภิชฌาและพยาบาท.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นข้าศึก มีอันคคาหิกทิฎฐิ
มีอาทิว่า "ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล" ดังนี้. บทว่า อธมฺมราโค
ได้แก่ ความกำหนัดในฐานะอันไม่สมควร เป็นต้นว่า มารดา ๑ น้ำ
หญิง ๑ บิดา ๑ อาหญิง ๑ ป้า ๑. บทว่า วิสมโลโภ
ได้แก่ ความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรบริโภค. บทว่า มิจฺฉาธมฺ-
โม ความว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจระหว่างชายกับชาย
หญิงกับหญิง. ในบทว่า อมตฺเตยฺยตา เป็นต้น มีวิเคราะห์ว่า ผู้
เกื้อกูลมารดา ชื่อมัตเตยยะ ภาวะแห่งมัตเตยยะนั้นชื่อ มัตเตยยตา.
คำว่า มตฺเตยฺยตา นั้น เป็นชื่อแห่งการปฏิบัติชอบในมารดา ความ
ไม่มีแห่งมัตเตยยตานั้น สละความเป็นปฎิปักษ์ต่อมัตเตยยตานั้น ชื่อว่า
อมตฺเตยฺยตา. แม้ใน อเปตฺเตยฺยตา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 137
บทว่า น กุเลเชฏฺาปจายิตา ความว่า ภาวะคือการไม่กระ
ทำ ความยำเกรง คือการประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล.
บทว่า ย อิเมส คือ ในสมัยใด แห่งมนุษย์เหล่านี้. บทว่า
อลปเตยฺย ความว่า ควรให้แก่ผัว. บทว่า อิมานิ รสานิ ความว่า
รสเหล่านี้ เป็นรสที่เลิศในโลก. บทว่า อติพฺยาทีปิสฺสนฺติ ได้
แก่ จักรุ่งเรืองอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า
กุสลนฺติปิ น ภวิสฺสติ ความว่า แม้ชื่อนี้ "กุศล" ดังนี้ก็จักไม่มี.
อธิบายว่า แม้เพียงบัญญัติจักไม่ปรากฏ. บทว่า ปุชฺชา จ ภวิสฺสนฺติ
ปาสสา ความว่า จักเป็นผู้ควรบูชา และควรสรรเสริญ. เล่ากัน
ว่า ในสมัยนั้น พวกมนุษย์คิดกันว่า บุคคลชื่อโน้นประหารมารดา
ประหารบิดา ปลงชีวิตสมณพราหมณ์ น่าสังเวชหนอ บุรุษย่อมไม่ทราบ
แม้ความที่ผู้เจริญในตระกูลมีอยู่ ดังนี้แล้ว จักบูชาและจักสรรเสริญบุรุษนั้น
นั่นเอง. ข้อว่า น ภวิสฺสติ มาตาติ วา ความว่า จิตที่ประกอบด้วยความ
เคารพว่า " ผู้นี้เป็นมารดาของเรา จักไม่มีเลย. มนุษย์ทั้งหลายเมื่อกล่าว
ถ้อยคำอสัตบุรุษ ชนิดต่าง ๆ ดุจกล่าวกะมาตุคามในเรือน ก็จักเข้าไปหา
โดยอาการไม่เคารพ. แม้ในญาติทั้งหลาย มีน้าหญิงเป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. ก็ในคำว่า มาตุจฺฉา เป็นต้นนี้ คือน้องชื่อว่า มาตุจฺฉา ได้แก่
น้องสาวของแม่ ชื่อว่า มาตุลานี ได้แก่ภรรยาของลุง. ชื่อว่า อาจริยภริยา
ได้แก่ภรรยาของอาจารย์ ผู้ให้ศึกษาศิลปวิทยา. บทว่า ครูน ทารา ได้แก่
ภรรยาของญาติมีอาและลุงเป็นต้น. บทว่า สมฺเภท ความว่า ภาวะที่เจือ
ปน หรือว่า การทำลายประเพณี. บทว่า ติพฺโต อาฆาโต ปจฺจุปฏฺิโต
ภวิสฺสติ ความว่า ความโกรธที่รุนแรงจักเกิดขึ้นเฉพาะ โดยที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
สองบทหลัง ก็เป็นไวพจน์ของความโกรธนั้นทั้งนั้น. จริงอยู่ความโกรธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 138
ย่อมทำจิตให้ผูกอาฆาต เหตุนั้นจึงชื่อว่า อาฆาต. ความโกรธย่อมทำประ-
โยชน์เกื้อกูล และความสุขของตนและบุคคลอื่นให้เสียหาย เหตุนั้นจึงชื่อ
ว่า พยาบาท จะกล่าวว่า ความประทุษร้ายแห่งใจก็ได้ เพราะประทุษ
ร้ายใจ. บทว่า ติพฺพ วธกจิตฺต ความว่า จิตคิดจะฆ่าเพื่อให้ผู้อื่นตาย
ย่อมมีได้แม้แก่มีใจรักใคร่กัน. เพื่อจะแสดงเรื่องแห่งจิตคิดจะฆ่ากันนั้น
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า มาตุปิ ปุตฺตมฺหิ ดังนี้. บทว่า มาควิกสฺส ได้
แก่ พรานล่าเนื้อ.
บทว่า สตฺถนฺตรกปฺโป ความว่า กัปที่พินาศในระหว่างด้วย
ศาสตรา คือยังไม่ทันถึงสังวัฏฏกัป โลกก็พินาศเสียในระหว่าง. ก็ชื่อว่า
อันตรกัป นี้มี ๓ อย่างคือ ทุพภิกขันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่าง
ด้วยทุพภิกขภัย ๑ โรคันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยโรค ๑
สัตถันตรกัป กัปที่โลกพินาศในระหว่างด้วยศาสตรา ๑. ในกัปเหล่านั้น
ทุพภิกขันตรกัป มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์ที่หนาด้วยความโลภ. โรคันตรกัป มี
ขึ้นได้แก้หมู่สัตว์ที่หนาด้วยความโมหะ. สันถันตรกัป มีขึ้นได้แก่หมู่สัตว์
ที่หนาด้วยโทสะ.
ในกัปเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ฉิบหาย เพราะทุพภิกขันตรกัป ย่อม
เกิดขึ้นในปิตติวิสัยแห่งเปรตเสียโดยมาก. เพราะอะไร ? เพราะมีความ
อยากในอาหารเป็นกำลัง. เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะโรคันตรกัป บังเกิด
ในสวรรค์โดยมาก. เพราะอะไร ? เพราะสัตว์เหล่านั้นเกิดเมตตาจิตขึ้นว่า
โอหนอ โรคเห็นปานนี้ไม่พึงมีแก่สัตว์เหล่าอื่น. เหล่าสัตว์ที่ฉิบหายเพราะ
สัตถันตรกัป ย่อมเกิดในนรกโดยมาก เพราะอะไร ? เพราะมีความอาฆาต
ต่อกันและกันอย่างรุนแรง. บทว่า มิคสญฺ ความว่า มนุษย์เกิดความ
สำคัญขึ้นว่า ผู้นี้ เป็นเนื้อ ผู้นี้เป็นเนื้อ. บทว่า ติณฺหานิ สตฺถานิ หตฺเถสุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 139
ปาตุภวิสฺสนฺติ ความว่า เล่ากันว่า สำหรับมนุษย์เหล่านั้น วัตถุอะไร ๆ
พอจะเอามือหยิบฉวยได้ โดยที่สุดตระทั่งใบหญ้าที่จะกลายเป็นอาวุธไป
เสียทั้งนั้น. ข้อว่า มา จ มย กญฺจิ ความว่า พวกเราอย่าปลงแม้บุรุษ
ผู้หนึ่งไร ๆ เสียจากชีวิตเลย. ข้อว่า มา จ อมฺเห โกจิ ความว่า บุรุษ
ผู้หนึ่งไร ๆ อย่าปลงแม้พวกเราเสียจากชีวิตเลย. คำว่า ยนฺนูน มย ความ
ว่า เหล่าสัตว์จักสำคัญคิดอย่างนี้ว่า ความพินาศแห่งโลกนี้ ปรากฏเฉพาะ
แล้ว อันเราทั้งหลายสองคนอยู่ในที่เดียวกันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้. บทว่า
วนคหน ความว่า ที่รกชัฎด้วยพฤกษขาดมีพุ่มหญ้าและเถาวัลลิ์เป็นต้น
อันนับว่าป่า. บทว่า รุกขคหน คือ รกชัฎด้วยต้นไม้คือที่เข้าไปยาก.
บทว่า นทีวิทุคฺค คือที่ซึ่งไปลำบาก ในที่ซึ่งมีเกาะอยู่ระหว่างเป็นต้น
แห่งแม่น้ำทั้งหลาย. บทว่า ปพฺพตวิสม คือ ที่อันไม่สม่ำเสมอไปด้วยภู
เขาทั้งหลาย หรือว่า ที่อันขลุขละในภูเขาทั้งหลาย. บทว่า สภาคายิสฺสนฺติ
ความว่า เหล่าสัตว์จักทำคนเหล่านั้นให้เสมอกับตน ด้วยถ้อยคำที่ชวนให้
บันเทิงอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นอยู่โดยประการใด สัตว์
ทั้งหลายท่านก็พบเห็นแล้ว แม้ท่านก็เป็นอยู่โดยประการนั้น. บทว่า อายต
คือ มาก. บทว่า ปาณาติปาตา วิรเมยฺยาม ความว่า พวกเราควรลด
ปาณาติบาตลงเสีย. อาจารย์บางพวกสวดว่า ปาณาติปาต วิรเมยฺยาม ก็
มี. ในคำนั้นมีอธิบายว่า พวกเราควรละปาณาติบาต. บทว่า วีสติวสฺสายุกา
ความว่า มารดาบิดางดเว้นจากปาณาติบาต เพราะเหตุใด บุตรทั้งหลายจึง
มีอายุเพียง ๒๐ ปี. เพราะมีเขตบริสุทธิ์. แท้จริง มารดาบิดาแห่งบุตร
เหล่านั้น เป็นผู้มีศีล ดังนั้น พวกเขาจึงมีอายุยืน เพราะเขตบริสุทธิ์นี้
เหตุที่พวกบุตรเจริญในครรภ์ของผู้มีศีล. ก็สัตว์เหล่าใด ทำกาละเสียใน
ที่นี้ แล้วเกิดในที่นั้นนั่นเอง สัตว์เหล่านั้นมีอายุยืนด้วยสมบัติคือศีลของตน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
เท่านั้น. บทว่า อสฺสาม แปลว่าพึงมี. บทว่า จตฺตาลีสวสฺสายุกา
ความว่า ส่วนที่เป็นเบื้องต้นบัณฑิตพึงทราบ ด้วยอำนาจบุคคลผู้เว้นขาด
จากอทินนาทานเป็นต้น.
บทว่า อิจฺฉา ความว่า ตัณหาซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พวกท่านจงให้
อาหารแก่เรา. บทว่า อนสน ความว่า ไม่มีการกิน คือ ภาวะที่ไม่เบิก
บาน ได้แก่ ความเกียจคร้านทางกาย คือ ความประสงค์จะนอน เพราะ
ปัจจัยคือความเมาในอาหารของผู้บริโภคอาหาร. อธิบายว่า ภาวะที่กายมี
กำลังทราม เพราะการบริโภค. บทว่า ชรา ได้แก่ ความชราปรากฏ.
บทว่า กุกกุฏสมฺปาติกา มีวิเคราะห์ว่า ความตกพร้อมแห่งไก่ กล่าวคือ
การที่ไก่ตัวบินขึ้นจากหลังคา บ้านหนึ่งแล้วตก ลงบนหลังคา อีกบ้านหนึ่งมี
อยู่ในคามนิคมและราชธานีเหล่านี้ เหตุนั้นคามนิคมเละราชธานีเหล่านี้
ชื่อว่าเป็นที่ระยะไก่บินตก. บาลีว่า สมฺปาทิกา ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า
ความถึงพร้อมแห่งไก่ กล่าวคือการเดินไปด้วยเท้าแห่งไก่จากระหว่างบ้าน
หนึ่งไปยังอีกระหว่างบ้านหนึ่งมีอยู่ในคามนิคมและราชธานีเหล่านี้. ท่าน
แสดงความที่สัตว์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มนั่นแลแม้ทั้งสองนั้น. บทว่า อวีจิ
มญฺเ ผุโฏ ภวิสฺสติ ความว่า จักเต็มแน่นขนัดประดุจอเวจีมหานรก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งอายุ สัตว์ที่เจริญว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในเวลามนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคเจ้า
นามว่า เมตตรัย จักอุบัติขึ้นในโลก. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม
ไม่บังเกิดในเวลาสัตว์ที่มีอายุเจริญแต่ย่อมเกิดในเวลาสัตว์มีอายุเสื่อม. อธิ-
บายว่า เพราะเหตุนั้นเวลาใด อายุนั้น เจริญแล้ว ถึงความเป็นอสงไขย
แล้ว กลับตกไปอีก จักตั้งอยู่ในกาลที่สัตว์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ในกาลนั้น
พระพุทธเจ้าจักอุบัติขึ้น. ก็บทว่า ปริหริสฺสติ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 141
แห่งสัตว์ที่เที่ยวแวดล้อมไป. บทว่า ยูโป ได้แก่ปราสาท. บทว่า รญฺญา
มหาปนาเทน การาปิโต ความว่า มีพระราชาผู้เป็นต้นเหตุ ท้าวสักกะ-
เทวราช จึงส่งพระวิษณุกรรมเทพบุตรไปให้สร้างปราสาท เพื่อประโยชน์
แก่พระราชาพระองค์นั้น.
เล่ากันว่า เมื่อก่อน บิดากับบุตรสองคน เป็นช่างสานช่วยกันเอา
ไม้อ้อและไม้มะเดื่อสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วนิมนต์
ให้ท่านอยู่ในที่นั้นบำรุงด้วยปัจจัย ๔. ครั้นทำกาละแล้วก็บังเกิดในเทว-
โลก. ในสองบิดาและบุตรนั้น บิดายังอยู่ในเทวโลกนั่นเอง. บุตรจุติ
จากเทวโลกแล้วบังเกิดในพระครรภ์ของพระนางสุเมธาเป็นเทวีของพระ-
เจ้าสุรุจิต เป็นพระราชกุมารพระนามว่ามหาปนาทะ. ภายหลัง ท้าวเธอ
รับสั่งให้ยกฉัตร ได้เป็นพระราชานามว่ามหาปนาทะ. ลำดับนั้น ด้วย
บุญญานุภาพของท้าวเธอ ท้าวสักกะเทวราช จึงส่งพระวิษณุกรรมเทพบุตร
ให้ไปสร้างปราสาทถวายพระราชา. พระวิษณุกรรมเทพบุตรนั้นเนรมิต
ปราสาทถวายท้าวเธอสูงถึง ๒๕ โยชน์ ๗ ชั้น ล้วนแล้วด้วยรัตนะทั้ง ๗
ประการ ซึ่งท่านหมายเอากล่าวไว้ในชาดกว่า
พระราชาพระนามว่าปนาทะ มีปราสาทล้วนแล้ว
ด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วลูกธนู ชนทั้งหลายกล่าวส่วน
สูงถึงพันชั่วธนู ปราสาทนั้น ๗ ชั้น สูงพันชั่วลูกธนู
สะพรั่งไปด้วยธง แพรวพราวไปด้วยแก้วสีเขียว นัก
ฟ้อน ๖ พัน แบ่งเป็น ๗ พวก ได้ฟ้อนอยู่ในปราสาท
นั้น ดูก่อนภัททชิเศรษฐี ท่านกล่าวไว้ โดยประการใด
เหตุนั้นได้มีในกาลนั้น โดยประการนั้น ครั้งนั้นเราได้
เป็นท้าวสักกะ ผู้ทำการขวนขวายให้แก่ท่าน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
พระราชานั้น ประทับอยู่ที่ปราสาทนั้นตลอดพระชนมายุสวรรคต
แล้ว บังเกิดในเทวโลก. เมื่อท้าวเธอบังเกิดในเทวโลก ปราสาทนั้นก็จม
ลงในกระแสแม่น้ำมหาคงคา. พระนครชื่อปยาคะประดิษฐ์ เป็นอันเทวดา
นิรมิตแล้ว ณ ที่ใกล้เคียงหัวบันไดของปราสาทนั้น. บ้านชื่อโกฎิคาม
มีในที่ตรงกับยอดปราสาทพอดี.
ภายหลังต่อมา ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา เทพบุตรช่าง
สานนั้น จุติจากเทวโลก เป็นเศรษฐีชื่อภัททชิ ในถิ่นมนุษย์ บวชในสำ-
นักพระศาสดา บรรลุพระอรหัตแล้ว. พึงให้เรื่องพิสดารด้วยคำว่า "ท่าน
นั้นแสดงปราสาทนั้นแก่หมู่ภิกษุ ในวันที่เอาเรือข้ามแม่น้ำคงคา". ถาม
ว่า ก็เพราะเหตุใดปราสาทนี้จึงไม่อันตรธานไป แก้ว่า เพราะอานุภาพ
บุญเทพบุตรนอกจากนี้. กุลบุตรผู้ทำบุญร่วมกับท่านบังเกิดในเทวโลก ใน
อนาคต จักเป็นพระราชานามว่า สังขะ ปราสาทนั้นจักตั้งขึ้น สำหรับให้
พระราชานั้นใช้สอย เพราะเหตุนั้น ปราสาทจึงไม่อันตรธานไปแล้ว.
บทว่า อุสฺสาเปตฺวา ความว่า ให้ปราสาทนั้นตั้งขึ้น. บทว่า
อชฺฌาวสิตฺวา ได้แก่ ประทับอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า ต ทตฺวา วิสชฺชิตฺวา
ความว่า ให้ปราสาทนั้นด้วยอำนาจทานและสละด้วยอำนาจการบริจาค
โดยไม่เพ่ง (ผลตอบแทน). ถามว่า ถวายปราสาทอย่างนั้นแก่ใคร. แก้
ว่า แก่เหล่าสมณะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า "ให้
ทานแก่สมณพราหมณ์คนกำพร้าคนเดินทางวณิพกยาจก". ถามว่า ก็พระ
ราชา (พระภัททชิ) นั้น จักแสดงปราสาทหลังหนึ่ง แก่ภิกษุเป็นอันมาก
อย่างไร ? แก้ว่า นัยว่า จิตของท่านจักเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ปราสาทนี้ จง
กระจัดกระจาย. ปราสาทนั้นจักกระจัดกระจายเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. ท้าว
เธอไม่มีจิตข้อเกี่ยวปราสาทนั้นเลย จักสละด้วยอำนาจทาน ด้วยพระดำรัส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
ว่าผู้ใดปรารถนาจำนวนเท่าใด ผู้นั้นจงถือเอาจำนวนเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ทาน ทตฺวา เมตฺเตยฺยสฺส ภควโต ฯเปฯ วิหริสฺสติ
ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุสนธิสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศล ด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศล จึงตรัสคำว่า
อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ เป็นต้นไว้อีก. ข้อว่า อิทโข ภิกฺขเว
ภิกฺขุโน อายุสฺมึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้กะเธอว่า "เธอทั้งหลายจักเจริญด้วยอายุบ้าง"
คำนี้ย่อมมีในอายุของภิกษุนั้น คือ คำนี้เป็นเหตุแห่งอายุ. เพราะฉะนั้น
พวกเธอเมื่อต้องการให้อายุเจริญ ต้องเจริญอิทธิบาท ๔ อย่างเหล่านี้. บท
ว่า วณฺณสฺมึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำ
ใดไว้กับเธอว่า พวกเธอจักเจริญด้วยวรรณะบ้าง นี้เป็นเหตุ (เจริญ)
วรรณะในวรรณะนั้น ด้วยว่าวรรณะแห่งสรีระของผู้มีศีล ย่อมเจริญด้วย
อำนาจความไม่เดือดร้อนเป็นต้น แม้วรรณะคือคุณก็เจริญด้วยอำนาจชื่อ
เสียง เพราะฉะนั้น พวกเธอเมื่อต้องการให้วรรณะเจริญต้องมีศีลบริบูรณ์.
บทว่า สุขสฺมึ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้
กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวกเธอจักเจริญด้วยความสุขบ้างดังนี้ คำ
นี้ย่อมมีความสุขที่เกิดจากฌานมีประการต่าง ๆ มีปีติแลสุขเกิดจากวิเวก
ในความสุขนั้น คือ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น พวกเธอเมื่อต้องการให้เจริญ
ด้วยความสุข ต้องเจริญฌาน ๔ อย่างเหล่านี้. บทว่า โภคสฺมึ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวก
เธอจักเจริญด้วยโภคะบ้าง ดังนี้ นี้คือโภคะได้แก่พรหมวิหารที่พึงแผ่ได้ทั่ว
ทิศอันนำซึ่งความเป็นผู้ไม่เกลียดชังเหล่าสัตว์ที่หาประมาณมิได้ มีอานิสงส์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 144
๑๑ ประการเช่นนอนเป็นสุขเป็นต้น เพราะฉะนั้นพวกเธอเมื่อต้องการให้
โภคะเจริญ ต้องเจริญพรหมวิหารเหล่านี้. บทว่า พลสฺมึ ความว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราได้กล่าวคำใดไว้กับพวกเธอว่า พวก
เธอจักเจริญด้วยกำลังบ้างดังนี้ คำนี้คือกำลังกล่าวคืออรหัตผล ซึ่งเกิด
ขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ เพราะเหตุนั้น พวกเธอเมื่อต้องการ
จะให้กำลังเจริญ ต้องทำความพากเพียรเพื่อการบรรลุถึงพระอรหัต. บท
ว่า ยถยิท ภิกฺขเว มารพล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้กำลังอันเป็นเอกในโลกอย่างอื่น ที่ข่มยาก กำ-
จัดยาก เหมือนกำลังของเทวบุตรมารมัจจุมารกิเลสมารนี้เลย อรหัตตผล
นี้เท่านั้น ย่อมข่ม ครอบงำ ท่วมทับกำลังแม้นั้นได้ เพราะเหตุนั้น พวก
เธอควรทำความพากเพียรในพระอรหัตนี้เท่านั้น. ข้อว่า เอวมิท ปุญฺ
ความว่า แม้บุญที่เป็นโลกุตตระนี้ ย่อมเจริญจนตราบสิ้นอาสวะ. พระผู้มี
พระภาคเจ้าเมื่อยังอนุสนธิสืบต่อแห่งวัฏฏคามีกุศลให้จบลง จึงยังเทศนา
ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต. ในเวลาจบพระสูตร ภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป
บรรลุพระอรหัต สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว แล.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตร ที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 145
๔. อัคคัญญสูตร
เรื่อง วาเสฏฐะภารทวาชะ
[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมารดา ในบุพพารามกรุงสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล วาเสฏฐ-
สามเณรสละภารทวาชสามเณร หวังความเป็นภิกษุ จึงอยู่ประจำในสำนัก
ของภิกษุ. ลำดับนั้นในเวลาเย็นวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก
จากที่เร้นแล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้ง
ที่ร่มเงาปราสาท. วาเสฏฐสามเณรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจาก
ที่เร้นลงจากปราสาทแล้ว เสด็จจงกรมอยู่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาทในเย็น
วันหนึ่ง ครั้นเห็นแล้ว จึงเรียกภารทวาชสามเณรมากล่าวว่า ภารทวาชะ
ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จออกจากที่เร้นลงจากปราสาท ภารทวาชะ
จงกรมอยู่ที่กลางแจ้งที่ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น ภารทวาชะผู้อาวุโส
เรามาไปกัน เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ เราพึงได้
เพื่อจะฟังธรรมีกถา ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้.
ภารทวาชสามเณรก็รับคำของวาเสฏฐสามเณรว่า ตกลงท่านผู้มีอายุ.
ครั้งนั้นแล วาเสฏฐสามเณรและภารทวาชสามเณรจึงพากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้เดินจงกรมตามพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังเสด็จ
จงกรมอยู่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณรมา
แล้วตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งหลายแล มีชาติเป็น
พราหมณ์มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกบวชจากตระกูลของพราหมณ์ ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 146
วาเสฏฐะและภารทวาชะ พราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ด่า ไม่บริภาษเธอทั้งหลาย
หรือดังนี้. วาเสฏฐะและภารทวาชสามเณรจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำตาม
สมควรแก่ตนอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสถามว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็พวกพราหมณ์ด่าบริภาษเธอ
ด้วยคำด่าอันสมควรแก่ตนอย่างเต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลยอย่างไร้. สามเณร
ทั้งสองทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
พราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่นเลวทราม
พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ พวกพราหมณ์ทั้งหลาย
เท่านั้นบริสุทธิ์ คนที่ไม่ใช่พราหมณ์ หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์ทั้ง
หลาย เป็นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจากพระ-
พรหม พระพรหมเนรมิตขึ้นมา เป็นทายาทของพระพรหม พวกท่านมา
ละเสียจากวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือพวก
สมณะโล้น เป็นพวกคหบดีเป็นพวกดำ เกิดจากเท้าของพระพรหม
การที่พวกท่านมาละเสียจากวรรณะประเสริฐสุด ฯลฯ เช่นนี้ ไม่เป็น
การดี ไม่เป็นการสมควรเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ได้
พากันด่าบริภาษข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำบริภาษอันสมควรแก่ตนอย่าง
เต็มที่ ไม่มีลดหย่อนเลย อย่างนี้แลดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของตนไม่ได้ จึง
กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่า
อื่นเลวทราม พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะขาว วรรณะเหล่าอื่นดำ พวก
พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ หมู่ชนที่ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวก
พราหมณ์ เป็นบุตรเกิดแต่อุระ เกิดจากปากของพระพรหม เกิดจากพระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
พรหม พรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและ
ภารทวาชะ ตามที่ปรากฏชัดเจนอยู่ว่า นางพราหมณีของพวกพราหมณ์
ทั้งหลายมีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง ตลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์
เหล่านั้นเป็นผู้เกิดทางช่องตลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น พราหมณ์เท่านั้น
เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. ก็พราหมณ์
เหล่านั้นย่อมกล่าวตู่พระพรหม และพูดมุสา พวกเขาจะต้องประสพ สิ่ง
ไม่เป็นบุญมากมาย.
ว่าด้วยวรรณะ ๔
[๕๒] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะเหล่านี้มี ๔ คือ
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์
บางพระองค์ในโลกนี้มีปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ มี
ปกติประพฤติผิดทางกาม มีปกติพูดมุสา มีวาจาส่อเสียด มีวาจา
หยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากจะได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา มี
ความเห็นผิด. ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้อันใด
เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษนับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่
ควรเสพ ไม่ควรเป็นอริยธรรม ก็นับว่าไม่ควรเป็นอริยธรรม เป็นธรรมที่
ดำ มีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่านั้นย่อมปรากฏ
อย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้
พราหมณ์แล...ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะแม้แพศย์แล...ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ แม้ศูทรและบางคนในโลกนี้ มีปกติฆ่าสัตว์ มีปกติถือเอา
ของที่เขาไม่ได้ให้ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
อย่างนี้แล ธรรมทั้งหลายเหล่าใด เป็นอกุศลนับว่าเป็นอกุศล ฯลฯ เป็น
ธรรมดำมีวิบากดำ วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมปรากฏอย่างชัดเจน
ในศูทรแม้บางคน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
ว่าด้วยธรรมอันประเสริฐในโลกทั้งสอง
[๕๓] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์แม้บางคนในโลก
นี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก
กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาจา เว้นขาดจากปิสุณวาจา เว้น
ขาดจากผรุสวาจา เว้นขาดจากสัมผัปปลาปะ ไม่เพ็งเล็งอยากได้ของเขา
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้
แล ธรรมเหล่านี้เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับว่า
ไม่มีโทษ ควรเสพนับว่าควรเสพ ควรเป็นอริยะนับว่าควรเป็นอริยะ เป็น
ธรรมขาว มีบากขาว วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นย่อมปรากฏ
อย่างชัดเจนในกษัตริย์บางคนในโลกนี้. ดูก่อนเวเสฏฐะและภารทวาชะ
แม้พราหมณ์...ดูก่อนวาเสฏฐะและการทวาชะ แม้แพศย์แล. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ศูทรแลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาทเขา มีความ
เห็นถูกต้อง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อย่างนี้แล ธรรมทั้งหลาย
เหล่านี้เหล่าใดเป็นกุศลนับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษนับไม่มีโทษ ควรเสพ
นับว่าควรเสพควรเป็นอริยะนับว่าควรเป็นอริยะ เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว
วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นย่อมปรากฏอย่างชัดเจนแม้ใน
ศูทรบางคน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้
แลรวมกันเป็น ๒ ฝ่าย คือ พวกที่ตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายดำ วิญญูชนติเตียน
พวกหนึ่ง และพวกตั้งอยู่ในธรรมฝ่ายขาว วิญญูชนไม่ติเตียนพวกหนึ่ง
ในเรื่องนี้เหตุไร พวกพราหมณ์ จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้น
เป็นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะเหล่าอื่นล้วนเลวทราม พราหมณ์เท่า
นั้นมีวรรณะขาว วรรณะเหล่าอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
หมู่คนที่ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรเกิดแต่
อกเกิดจากปากของพรหม เกิดจากพระพรหมโดยตรง พรหมเนรมิตขึ้น
เป็นทายาทของพรหม ดังนี้. วิญญูชนทั้งหลายย่อมไม่รับรองถ้อยคำของ
พราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
เพราะว่า บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุผู้ขีณาสพ อยู่จบ
พรหมจรรย์มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ตามบรรลุ
ประโยชน์ของตน มีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้น
ได้เพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นย่อมปรากฏว่าเป็นยอดกว่าคนทั้งหลายโดยธรรม
แท้ หาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้น
ประเสริฐที่สุดภารทวาชะ โดยบรรยายมานี้ พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างนี้
วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายมานี้ พวกเธอพึงเข้าใจข้อนั้นอย่างนี้
ว่า ธรรมเท่านั้น ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรม และใน
อภิสัมปรายภพ.
ว่าด้วยธรรมประเสริฐที่สุด
[๕๔] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ พระราชาทรงพระนามว่า
ปเสนทิโกศลก็ทรงทราบว่า พระสมณโคดมผู้ยอดเยี่ยม เสด็จออกบวชจาก
ศากยราชตระกุลดังนี้. ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ พวกศากยราช
ทั้งหลายแลย่อมเป็นผู้ติดตามพระเจ้าปเสนทิโกศลทุกขณะ. ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ พวกศากยราชทั้งหลายแลย่อมกระทำการนอบน้อมการ
ไหว้ การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศล.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะอย่างนี้แล ศากยะทั้งหลายย่อมพากันกระทำ
การนอบน้อม การไหว้ การต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมในพระเจ้า
ปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลยังทรงกระทำการต้อนรับ การไหว้ การ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรมนั้นในพระตถาคต ด้วยพระดำริว่า
พระสมณโคดมมีชาติดีกว่า เรามีชาติไม่ดี พระสมณโคดมทรงมีกำลัง
เราเองมีกำลังทราม พระสมณโคดมน่าเลื่อมใส เราเองมีผิวพรรณเศร้า-
หมอง พระสมณโคดมมีศักดิ์ใหญ่ เราเองมีศักดิ์น้อย ดังนี้ โดยที่แท้
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสักการะพระธรรม เคารพพระธรรม นับถือ
พระธรรม บูชาพระธรรม นอบน้อมพระธรรม. พระเจ้าเสนทิโกศล
ทรงทำการนอบน้อม อภิวาท ต้อนรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม
ในพระตถาคตอย่างนี้แล. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยบรรยายนี้
เธอพึงทราบอย่างนี้ว่า พระธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งใน
ทิฏฐิธรรมและอภิสัมปรายภพ.
ว่าด้วยบุตรเกิดแต่พระอุระ พระโอษฐ์พระผู้มีพระภาค
[๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนว่าเสฏฐะและภารทวาชะ
เธอทั้งหลายแล มีชาติต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน ออกจาก
เรือนมาบวชเป็นบรรพชิต ถูกเขาถามว่า ท่านเป็นพวกไหนดังนี้ พึงตอบ
เขาว่า พวกเราเป็นพวกพระสมณะศากยบุตรดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-
วาชะ ก็ผู้ใดแลมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น เกิดแต่มูลราก ตั้งมั่นอย่าง
มั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดามารพรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้เคลื่อน
ย้ายไม่ได้ ควรจะเรียกผู้นั้นว่า เราเป็นบุตรเถิดแต่พระอุระเกิดจากพระโอษฐ์
ของพระผู้มีพระภาค เกิดจาก พระธรรม พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็น
ทายาทของพระธรรมดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี
พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดีเป็นชื่อของพระตถาคต.
[๕๖] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีบางสมัยบางคราว โดย
อันล่วงไปแห่งกาลอันยาวนาน โลกนี้ก็จะพินาศไป เมื่อโลกกำลังพินาศ
อยู่ โดยมากหมู่สัตว์ย่อมวนเวียนไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม ในชั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
อาภัสสรพรหมนั้น สัตว์เหล่านั้นมีความสำเร็จได้โดยทางใจ มีปีติเป็น
ภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปได้ในอากาศ ดำรงอยู่ในวิมานอันแสนงาม
ย่อมดำรงอยู่ได้สิ้นกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มี
สมัยอีกบางครั้ง โดยอันล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน โลกนี้ย่อมเจริญขึ้น
เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้น โดยมากเหล่าสัตว์ก็จะพากันเคลื่อนจากพวกอาภัสสร-
พรหมมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก และสัตว์เหล่านั้นมีความสำเร็จได้โดยทางใจ
มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดำรงอยู่ในวิมานอัน
งดงาม ย่อมดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็โดยสมัยนั้นแลจักรวาลนี้ก็จะกลายเป็นน้ำไปหมด มีความมืด มองไม่เห็น
ทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรก็ยังไม่ปรากฏ
กลางวันกลางคืนก็ไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งกึ่ง เดือนหนึ่งก็ยังไม่ปรากฏ ฤดู
และปีก็ยังไม่ปรากฏ หญิงชายก็ยังไม่ปรากฏ. หมู่สัตว์ทั้งหลายก็ถึงการ
นับว่า สัตว์ดังนี้อย่างเดียวกัน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาล
บางคราว โดยอันล่วงได้แห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดินก็เกิดลอยอยู่บนน้ำ
ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้น เหมือนน้ำนมสดที่บุคคลเคี่ยวแล้วทำให้เย็นสนิท
แล้วปรากฏเป็นฝาอยู่ข้างบนฉะนั้น ง้วนดินนั้นได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส
มีสีคล้ายเนยใสอย่างดีและเนยขึ้นอย่างดีฉะนั้น และได้มีรสอันน่าชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งอันปราศจากโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะที่นั่น
แล มีสัตว์บางตนมีชาติโลเลกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ลอยอยู่นี้ จะเป็น
อะไรดังนี้แล้วเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อเขากำลังเอานิ้วมือ
ช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มอยู่ ง้วนดินที่ได้ซ่านไปทั่ว ความอยากจึงเกิดขึ้น
แก่เขา. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่าอื่นแลก็ถึงทิฏฐานุคติ
ของสัตว์นั้นก็จะพากันเอานิ้วมือซ้อนง้วนดินนั้นขึ้นมาลิ้มดู. เมื่อสัตว์เหล่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
นั้นกำลังเอานิ้วมือช้อนเอาง้วนดินนั้นขึ้นมาชิม ง้วนดินก็แผ่ซ่านไปทั่ว
สรรพางค์ และตัณหาก็เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารท-
วาชะ ที่นั้นแล สัตว์เหล่านั้นจะพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดินปั้นทำให้
เป็นคำเพื่อที่จะบริโภค. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อใดแลที่สัตว์
เหล่านั้นพยายามที่จะเอามือปั้นง้วนดินทำเป็นคำเพื่อที่จะบริโภค เมื่อนั้น
รัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นก็จะหายไป. เมื่อรัศมีเฉพาะตัวหายไป
พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏขึ้นมา เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์
ปรากฏขึ้นแล้ว หมู่ดาวนักษัตรก็จะปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรปรากฏ
แล้ว กลางคืนและกลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวันปรากฏแล้ว
เดือนหนึ่ง กึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏขึ้น เมื่อเดือนหนึ่งและกึ่งเดือนหนึ่ง
ปรากฏขึ้นแล้ว ฤดูและปีก็ปรากฏขึ้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ด้วยเหตุเพียงประมาณเท่านี้แล โลกนี้ก็ย่อมเจริญขึ้นมาอีก.
[๕๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้น
พากันบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคง้วนดิน
มีง้วนดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหารได้ตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการ
ใดแล ความแข็งแกร่งก็เกิดมีในกายของสัตว์เหล่านั้น ความมีผิวพรรณดี
ก็ได้ปรากฏชัดขึ้นมา สัตว์บางพวกก็มีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว.
บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์
ที่มีผิวพรรณเลวว่า เรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมี
ผิวพรรณเลวกว่าเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะถือตัวเพราะการ
ดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินก็ได้อันตรธานหายไป. เมื่อง้วนดิน
หายไปแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นประชุมกันแล้วต่างก็พากัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
ทอดถอนใจว่า รสดี รสดีดังนี้. แม้ในทุกวันนี้พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบาง
อย่างเท่านั้น ก็พากันกล่าวอย่างนี้ว่า รสดี รสดี ดังนี้ หมู่พราหมณ์ทั้ง
หลายพากันอนุสรณ์ถึงอักขระที่รู้กันว่าเป็นของเลิศเป็นของเก่านั้น แต่
หาได้รู้ถึงความหมายของอักขระนั้นเลย.
ว่าด้วยกะบิดินเป็นต้นเกิดขึ้น
[๕๘] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เมื่อง้วนดิน
ของสัตว์เหล่านั้นหายไป กะบิดินก็ปรากฏขึ้น. กะบิดินนั้นปรากฏเหมือน
เห็ด. กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือนเนยใสที่ปรุง
อย่างดีหรือเนยขึ้นอย่างดี และได้มีรสอย่างน่าชอบใจเหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศ-
จากโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นก็
ได้พยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดิน สัตว์เหล่านั้น บริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดู
ก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นเมื่อบริโภคกะบิดิน มีกะบิดิน
นั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานโดยประการใด
แล ความเป็นผู้กล้าแข็ง โดยประมาณโดยยิ่งก็ได้ปรากฏขึ้นในกายของ
สัตว์เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามก็ได้ปรากฏขึ้นในกายของ
ประการนั้น. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บางพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นก็พากันดูหมิ่นสัตว์
ที่มีผิวพรรณทรามว่า พวกเรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้
มีผิวพรรณเลวกว่าพวกเราดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างพากันมีมานะเกิดขึ้น
เพราะการดูหมิ่นผิวพรรณเป็นปัจจัย กะบิดินก็อันตรธานหายไป. เมื่อ
กะบิดินหายไปแล้ว เครือดินได้ปรากฏขึ้นมา. เครือดินนั้นได้ปรากฏคล้าย
ผลมะพร้าวฉะนั้น. เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส ได้มีสีเหมือน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 154
เนยใสที่ปรุงอย่างดีหรือเหมือนเนยขึ้นอย่างดีฉะนั้น และได้มีรสน้ำชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งซึ่งปราศจาดโทษฉะนั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดิน สัตว์
เหล่านั้นบริโภคเครือดิน ได้มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรง
อยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้น
บริโภคเครือดิน มีเครือดินเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืด
ยาวนานโดยประการใดแล ความเป็นผู้กล้าเข็งโดยประมาณโดยยิ่งก็ได้
ปรากฏในการแก่สัตว์เหล่านั้น ละความเป็นผู้มีผิวพรรณดีได้ปรากฏขึ้น
อย่างชัดเจน. สัตว์บางพวกมีผิวพรรณดี บ้างพวกมีผิวพรรณเลว. บรรดา
สัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใด มีผิวพรรณดี สัตว์เหล่านั้นย่อมดูหมิ่นหมู่สัตว์
ที่มีผิวพรรณเลวว่า พวกเรามีผิวพรรณดีกว่าสัตว์เหล่านี้ สัตว์เหล่านี้มี
ผิวพรรณเลวกว่าเราทั้งหลายดังนี้. เมื่อสัตว์เหล่านั้นต่างก็เกิดมีมานะ
ถือตัวเพราะมีมานะว่ามีผิวพรรณดีนั้นเป็นปัจจัย เครือดินได้อันตรธาน
หายไป. เมื่อเครือดินหายไปแล้ว เหล่าสัตว์ประชุมกัน ครั้นประชุม
กันเล้วก็ทอดถอนใจว่า เครือดินได้มีแก่เราหนอ เครือดินของเราได้
สูญหายไปหมดแล้วหนอ ดังนี้. ในสมัยนี้มนุษย์ทั้งหลายพอถูกทุกขธรรม
บางอย่างถูกต้องเข้าก็พากันกล่าวว่า ของนี้ได้มีแล้วสู่เรา ของนี้ของเรา
ได้สูญหายไปหมดแล้ว ดังนี้. พวกพราหมณ์ ย่อมอนุสรณ์ถึงอักขระอันควรรู้
ซึ่งเป็นของดีเป็นของเก่านั้นแล แต่ว่าพวกพราหมณ์เหล่านั้น หารู้ทั่วถึง
ใจความของอักขระนั้นไม่.
ว่าด้วยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
[๕๙] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นนั้นแล เมื่อเครือดิน
ของสัตว์เหล่านั้นสูญหายไปแล้ว ข้าวสาลีซึ่งบังเกิดในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
รำไม่มีแกลบ บริสุทธิ์มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ปรากฏขึ้นมา. สัตว์
ทั้งหลายก็พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมา เพื่อเป็นอาหารมื้อเย็นในเวลา
เย็น ตอนเช้าข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาเทน และในตอนเช้าสัตว์
ทั้งหลายได้พากันขนเอาข้าวสาลีชนิดใดมา เพื่อรู้โภคในเวลาเช้า ใน
ตอนเย็น ข้าวสาลีชนิดนั้นก็สุกงอกขึ้นมาแทน ความบกพร่องไปหาได้
ปรากฏไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล เหล่าสัตว์ทั้งหลาย
พากัน บริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถมีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา
เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ สัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ มี
ข้าวสาลีนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน โดย
ประการใดแล ความกล้าแข็งโดยประมาณโดยยิ่งได้เกิดมีในกายของสัตว์
เหล่านั้น และความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามก็ได้ปรากฏอย่างชัดเจนโดยประ-
การนั้น. และเพศหญิงก็ปรากฏแก่หญิง เพศชายก็ปรากฏแก่ชาย. ก็ได้
ยินว่าหญิงย่อมเพ่งดูชายอยู่ตลอดเวลา และชายก็เพ่งดูหญิงอยู่ตลอดเวลา
เช่นกัน. เมื่อชนเหล่านั้นต่างเพ่งดูกันและกันอยู่ตลอดเวลา ความกำหนัด
ก็เกิดขึ้น ความเร่าร้อนก็ปรากฏขึ้นในกาย. ชนเหล่านั้น เพราะความ
เร่าร้อนเป็นปัจจัย จึงได้เสพเมถุนธรรม. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดแลเห็นสัตว์เหล่าอื่นกำลังเสพเมถุนกันก็โปรย
ฝุ่นลงบ้าง โปรยเถ้าลงบ้าง โปรยโคมัยลงบ้าง ด้วยกล่าวว่า คนถ่อย
เจ้าจงฉิบหาย คนถ่อยเจ้าฉิบหายดังนี้ แล้วกล่าวว่า ก็สัตว์จักกระทำ
กรรมอย่างนี้แก่สัตว์อย่างไรดังนี้. แม้ในขณะนี้ ในชนบทบางแห่ง เมื่อ
นำสัตว์ถูกฆ่าไปสู่ตะแลงแกง มนุษย์เหล่าอื่นก็จะซัดฝุ่นบ้างซัดเถ้าบ้าง
ซัดโคมัยบ้างใส่คนชื่อนั้น. พวกพราหมณ์ย่อมระลึกถึงอักขระที่รู้กันวาดีซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 156
เป็นของเก่านั้น แต่ว่าพราหมณ์เหล่านั้นหารู้เนื้อความของอักขระนั้นอย่าง
ชัดเจนไม่.
[๖๐] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะก็โดยสมัยนั้น การซัดฝุ่น
เป็นต้นนั้นแล รู้กันว่าไม่เป็นธรรม ในบัดนี้รู้กันว่าเป็นธรรม. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดแลย่อมเสพเมถุนกัน
สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าไปยังหมู่บ้าน หรือนิคมตลอด ๓ เดือน
บ้าง ๒ เดือนบ้าง. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในกาลใดแล สัตว์ทั้ง
หลายถึงความชั่วช้าในอสัทธรรมนั่นตลอดเวลา ในกาลนั้น สัตว์เหล่านั้น
จึงได้พากันพยายามสร้างเรือนอยู่ เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอสัทธรรม
นั้น. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์บางตนซึ่งมีชาติขี้เกียจได้มี
ความคิดนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เรานี้ต้องนำเอาข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารเย็น
ในเวลาเย็นและเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ย่อมเดือดร้อนจริง อย่า
กระนั้นเลย เราควรนำข้าวสาลีมาครั้งเดียวให้พอเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเช้า
และเวลาเย็นดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็
นำเอาขาวสาลีมาเพียงคราวเดียว เพื่อเป็นอาหารทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลา
เช้า. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์
นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วจึงได้กล่าวกะสัตว์นั้นว่า มาเถิด สัตว์
ผู้เจริญ เราจะไปนำข้าวสาลีมาดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า อย่างเลยสัตว์
ผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อบริโภคทั้งในเวลาเย็นทั้งในเวลา
เข้าดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นก็ถึงทิฏฐา-
นุคติของสัตว์นั้นแล้ว นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว เพื่ออาหารทั้งสองเวลา
ด้วยกล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้ ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์อื่นจึงเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
กล่าวคำนี้กะสัตว์นั้นว่า มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ เราจะไปเก็บข้าวสาลีกันดังนี้.
สัตว์นั้นจึงตอบว่า อย่าเลยสัตว์ผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อเป็น
อาหารทั้งเช้าและเย็นดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ สัตว์นั้นถึง
ทิฏฐานุคติของสัตว์นั้นจึงนำข้าวสาลีมาเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วย
กล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
สัตว์อื่นเข้าไปหาสัตว์นั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะสัตว์นั้นว่า
มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันดังนี้. สัตว์นั้นจึงกล่าวว่า
อย่าเลยผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวเพื่อเป็นอาหารได้ ๔ วันดังนี้.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์นั้นถึงทิฏฐานุคติของสัตว์
นั้นได้ไปขนเอาข้าวสาลีมาครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นอาหาร ๔ วัน ด้วย
กล่าวว่า ได้ยินว่า อย่างนี้ก็ดีนะผู้เจริญดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
เมื่อใดแล สัตว์นั้นก็ได้พยายามเพื่อจะบริโภคข้าวสาลีที่สั่งสมไว้. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรำห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบ
ห่อเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก การขาดตอนก็ปรากฏ
ขึ้น ข้าวสาลีจึงได้มีเป็นกลุ่มขึ้นมา.
[๖๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้น
จึงประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วก็พากันทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันเลว-
ทรามได้ปรากฏในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า ในกาลก่อน พวกเรามีความ
สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีเอง ท่องเที่ยวไปในอากาศได้ ดำรง
อยู่ ในวิมานอันงดงาม ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน ในกาลบางคราว
โดยล่วงไปแห่งกาลยืดยาวนาน ง้วนดินเกิดในน้ำแก่พวกเรา ง้วนดินนั้น
ได้สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส พวกเรานั้น ได้พยายามเอามือปั้นง้วนดินเป็น
คำ ๆ เพื่อที่จะบริโภค เมื่อพวกเราพากันพยายามเอามือปั้นง้วนดินทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
เป็นคำ ๆ เพื่อที่จะบริโภคอยู่ รัศมีเฉพาะตัวก็หายไป เมื่อรัศมีเฉพาะตัว
หายไป พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อพระจันทร์และพระอาทิตย์
ปรากฏแล้ว หมู่ดาวนักษัตรทั้งหลายก็ได้ปรากฏ เมื่อหมู่ดาวนักษัตร
ปรากฏแล้ว กลางคืนกลางวันก็ได้ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวันปรากฏ
แล้ว เดือนหนึ่งกึ่งเดือนหนึ่งก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่งกึ่งหนึ่งเดือนปรากฏอยู่
ฤดูและปีก็ปรากฏ พวกเราเหล่านั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็น
ภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะอกุศลธรรมอัน
ลามก ง้วนดินของพวกเรานั้นจึงได้หายไป เมื่อง้วนดินหายไปแล้ว กะบิดิน
ก็ปรากฏ กะบิดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น รส พวกเรานั้นบริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
กันพยายามเพื่อจะบริโภคกะบิดินนั้น พวกเรานั้นบริโภคกะบิดินนั้นแล้ว
มีกะบิดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะ
ความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้น กะบิดินจึงได้หายไป
เมื่อกะบิดินหายไปแล้ว เครือดินก็ปรากฏขึ้นมา เครือดินนั้นก็สมบูรณ์
ด้วย สี กลิ่น รส พวกเรานั้นได้พากันพยายามเพื่อที่จะบริโภคเครือดินนั้น
พวกเรานั้นบริโภคเครือดินนั้นแล้ว ก็มีเครือดินนั้นเป็นภักษาเป็นอาหาร
ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏแห่งอกุศลธรรมอัน
ลามกของพวกเรานั้น เครือดินจึงได้หายไป เมื่อเครือดินหายไปแล้ว
ข้าวสาลีอันเกิดสุกในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม
มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ได้ปรากฏขึ้น พวกเราไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมา
เพื่อเป็นอาหารเย็นในเวลาเย็น ในตอนเช้าข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นอีก
พวกเราไปนำเอาข้าวสาลีชนิดใดมาเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ใน
ตอนเย็นข้าวสาลีนั้นก็สุกงอกขึ้นเอง ความขาดหาได้ปรากฏไม่ พวกเรา
นั้น เมื่อบริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดในที่ที่ไม่ได้ไถ ก็มีข้าวสาลีนั้น เป็นภักษา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 159
เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่ตลอดกาลยืดยาวนาน เพราะความปรากฏ
แห่งอกุศลธรรมอันลามกของพวกเรานั้นแล ข้าวสาลีจึงมีรำหุ้มเมล็ด
บ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ข้าวสาลีที่เราเกี่ยวแล้วหาได้งอกขึ้นอีกไม่
แม้ความขาดตอนก็ได้ปรากฏ ข้าวสาลีเป็นกลุ่มจึงเกิดขึ้น ไฉนหนอ
เราควรแบ่งข้าวสาลีกัน และพึงกั้นเขตคันกันดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและ
กั้นเขตคันกั้นขึ้น.
[๖๒] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์บาง
ตนมีความโลเล รักษาส่วนของตนไว้ ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้
บริโภค. สัตว์เหล่าอื่นได้จับสัตว์นั้นได้ ครั้นจับได้แล้วจึงกล่าวว่า
สัตว์ผู้เจริญ ทานทำกรรมชั่วที่รักษาส่วนของตนไว้ถือเอาส่วนอื่นที่
เขาไม่ได้ให้บริโภค สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทำกรรมชั่วช้าอย่างนี้อีก
ดังนี้. สัตว์นั้นก็รับคำของสัตว์เหล่านั้นว่า เราจะไม่ทำอย่างนี้อีก
ผู้เจริญ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่ ๒ สัตว์นั้น ฯลฯ
ดูก่อนนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้ในครั้งที่สามสัตว์นั้นก็รับอย่างนั้น
และสัตว์นั้นก็ยังรักษาส่วนของตน แล้วถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้
บริโภค. สัตว์ทั้งหลายได้พากันจับสัตว์นั้นแล้ว ครั้นจับแล้วกล่าวคำ
นี้ว่า สัตว์ผู้เจริญ ท่านทำกรรมชั่วช้าที่รักษาส่วนของตนแล้วถือเอา
ส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้กลืนกิน สัตว์ผู้เจริญ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีก
ดังนี้. สัตว์เหล่าอื่นเอามือทุบ เอาก้อนดินขว้าง เอาท่อนไม้ตี.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นสำคัญแล อทิน-
นาทานจึงปรากฏ การครหาจึงปรากฏ มุสาวาทปรากฏ การจับท่อนไม้
จึงปรากฏ. ครั้งนั้นแล สัตว์ประเสริฐทั้งหลายจึงได้ประชุมพร้อมกัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 160
ครั้นแล้วก็ทอดถอนใจว่า ผู้เจริญ ธรรมอันลามกเลวทรามปรากฏ
ในหมู่สัตว์ได้ ก็อทินนาทานจักปรากฏ การครหาจักปรากฏ มุสาวาท
จักปรากฏ การจับท่อนไม้ก็จักปรากฏ อย่ากระนั้นเลย เราควรนับถือ
สัตว์ผู้หนึ่งซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้
ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ผู้นั้น
ดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้นแล สัตว์เหล่านั้นจึง
เข้าไปหาสัตว์ที่มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า มีศักดิ์ใหญ่กว่า
แล้วได้กล่าวคำนั้นว่า มาเถิดสัตว์ผู้เจริญ ท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่า
กล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่
ได้ ส่วนพวกเราจักให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่ท่านดังนี้. สัตว์นั้นได้
รับคำของสัตว์เหล่านั้นว่า อย่างนั้นผู้เจริญดังนี้ แล้วได้ว่ากล่าวผู้ที่
ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้ ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่
ได้. ส่วนสัตว์เหล่านั้น ก็ได้ให้ส่วนแห่งข้าวสาลีแก่สัตว์นั้น.
ว่าด้วยต้นเหตุเกิดอักขระว่ามหาสมบัติ กษัตริย์ ราชา
[๖๓] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะชนผู้เป็นหัวหน้า
อันมหาชนสมมติแล้วอักขระว่า มหาสมมติจึงได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะผู้เป็นหัวหน้าเป็นใหญ่แห่งเขต
ฉะนั้น อักขระว่ากษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นคำที่ ๒. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่ย่อมยังชนเหล่าอื่นให้
ยินดีโดยชอบธรรม ฉะนั้น อักขระว่า ราชา ราชา ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้น
เป็นคำที่ ๓. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้
แล การับเกิดขึ้นของหมู่กษัตริย์จึงเกิดมีขึ้นมาด้วยอักขระที่เข้าใจ
กันว่าเลิศเป็นของเก่า. เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะเหมือนกัน และไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
เหมือนกันกับสัตว์อื่นนั้นก็ด้วยธรรม หาใช่ด้วยอธรรมไม่. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชน ทั้ง
ในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.
[๖๔] ครั้งนั้นแล สัตว์บางจำพวกเหล่านั้นได้มีความคิด
อย่างนี้ว่า ผู้เจริญ การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้จักปรากฏ การครหา
จักปรากฏ มุสาวาทจักปรากฏ การถือเอาท่อนไม้จักปรากฏ การ
ขับไล่จักปรากฏในเพราะบาปธรรมใด บาปธรรมเหล่านั้นได้ปรากฏ
ในหมู่สัตว์ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรลอยอกุศลธรรม
อันลามกทิ้งเสียเถิดดังนี้. สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยอกุศลธรรม
อันลามกนั้นทิ้งไป ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะสัตว์ทั้ง
หลายพากันลอยอกุศลธรรมทิ้งไป ฉะนั้น อักขระว่า พราหมณ์
ดังนี้ จึงบังเกิดขึ้นครั้งแรก. พราหมณ์เหล่านั้นจึงสร้างกระท่อมมุง
ด้วยใบไม้ไว้ในราวป่าแล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้นั้น. พวก
พราหมณ์เหล่านั้นไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว ในเวลาเย็นใน
เวลาเช้า พวกเขาก็พากันเที่ยวไปยังหมู่บ้านตำบลและเมืองแสวงหา
อาหาร เพื่อบริโภคในเวลาเย็นและในเวลาเช้า. พวกเขาได้อาหาร
แล้วก็เพ่งอยู่ในกุฏิใบไม้ในราวป่านั้นอีก. หมู่มนุษย์พบเขาเข้า ก็
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้สร้างกระท่อมมุงด้วยใบไม้ใน
ราวป่าแล้วเพ่งอยู่ในกระท่อมซึ่งมุงด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการ
หุงต้ม ไม่มีการตำข้าวในเวลาเย็นในเวลาเช้า พวกเขาพากันเที่ยวไป
ยังหมู่บ้านตำบลและเมืองแสวงหาอาหาร เพื่อบริโภคในเวลาเย็นใน
เวลาเช้า. เขาได้อาหารแล้วมาเพ่งอยู่ในกุฏิที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า
อีก. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ อักขระว่า ฌายิกา ฌายิกา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 162
จึงบังเกิดขึ้นเป็นคำที่สอง ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดา
สัตว์เหล่านั้น บางพวกเมื่อไม่ได้สำเร็จฌานในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้
ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบหมู่บ้านรอบนิคม ทำคัมภีร์ มาอยู่. มนุษย์
ทั้งหลายเห็นเขาเข้า จึงกล่าวอย่างนี้ ผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้แลไม่ได้
บรรลุฌานในกุฏิที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปรอบบ้านรอบ
นิคม ทำคัมภีร์มาอยู่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บัดนี้ชนเหล่านี้
ไม่เพ่งอยู่ ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ในบัดนี้ฉะนั้น อักขระว่า อชฺฌายิกา
อชฺฌายิกา ดังนี้จึงบังเกิดขึ้นเป็นคำที่ ๓. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็คำนั้น โดยสมัยนั้นสมมติกันว่าเป็นคำเลว แต่ในสมัยนี้ คำนั้น
สมมติกันว่าประเสริฐ. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะการ
พรรณนาดังว่ามานี้ การบังเกิดขึ้นของหมู่พราหมณ์นั้นโดยอักขระที่
เข้าใจกันว่าเลิศเป็นของเก่าจึงได้มี เรื่องของสัตว์ทั้งหลายจะเหมือน
หรือไม่เหมือนกันโดยธรรมเท่านั้นหาใช่โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐ
และภารทวาชะ ก็ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐ-
ธรรมและอภิสัมปรายภพ
ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งแพศย์
[๖๕] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์นั้นบาง
พวก ยึดมั่นเมถุนธรรมแยกประกอบการงาน. ดูก่อนวาเสฏฐะและ
ภารทวาชะ สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรมแล้ว แยกประกอบการ
งาน ฉะนั้น อักขระว่า เวสฺสา เวสฺสา ดังนี้จึงบังเกิดขึ้น. ดูก่อน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ การบังเกิดของพวก
แพศย์จึงมีได้อย่างนี้. ท่านย่อคำไว้แล้ว. ดูก่อนวาเสฏฐะและภาร-
ทวาชะ เพราะเหตุดังกล่าวนี้แล การบังเกิดขึ้นของหมู่ศูทรนั้น จึงมี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 163
ได้ด้วยอักขระที่เข้าใจกันว่าเลิศเป็นของเก่า เรื่องของสัตว์เหล่านั้นจะ
เหมือนกันหรือไม่เหมือนกับสัตว์อื่น ก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่โดย
อธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารัทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.
[๖๖] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่กษัตริย์ติเตียน
ธรรมของตน จึงออกจากเรือนบวชด้วยคิดว่า เราจะเป็นสมณะ.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภาทรวาชะ มีสมัยที่พราหมณ์ ฯลฯ แพศย์ ฯลฯ
ศูทร ติเตียนธรรมของตนจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิด
ว่า เราจักเป็นสมณะดังนี้. ดูก่อนวาเสฏฐะสละภารทวาชะ การบังเกิด
ขึ้นแห่งหมู่สมณะจึงได้มีขึ้นด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้ เรื่องของสัตว์เหล่า
นั้นจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับสัตว์เหล่าอื่นก็โดยธรรมเท่านั้น หาใช่
โดยอธรรมไม่. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ.
[๖๗] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือกรรมด้วยมิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือกรรม
ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
ย่อมเช้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก.
[๖๘] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
ก็ดี แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
เป็นสัมมาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เพราะการยึดถือ
กรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิเป็นเหตุ เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 164
[๖๙] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
แพศย์ก็ดี ศูทรก็ดี มีปกติทำกรรมทั้งสองอย่าง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
มีความเห็นเจือปนกัน ยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็นอันเจือปนกัน
เพราะการยึดถือกรรมด้วยอำนาจความเห็น อันเจือปนกันเป็นเหตุ เบื้อง
หน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง.
[๗๐] ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ก็ดี ฯลฯ พราหมณ์
ก็ดี ฯลฯ แพศย์ก็ดี ฯลฯ ศูทรก็ดี สำรวมทางกาย สำรวมทางวาจา
สำรวมทางใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๗ แล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในโลกนี้แท้.
[๗๑] ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้
วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบแล้ว มีกรณียะอันกระทำ
แล้ว ปลงภาระได้แล้ว ตามบรรลุประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์
เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว นับแล้ว เพราะรู้โดยชอบ วรรณะนั้น
ปรากฏว่าเป็นผู้เลศกว่าวรรณะเหล่านั้นโดยธรรม หาใช่โดยอธรรมไม่.
ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งใน
ทิฏฐธรรมและอภิสัมปรายภพ. ดูก่อนวาเสฏฐะแลภารทวาชะ แม้สนัง-
กุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถาไว้ว่า
[๗๒] กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความ
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและ
มนุษย์ดังนี้.
ดูก่อนวาเสฎฐะและภารทวาชะ ก็คาถานี้สนังกุมารพรหมขับไว้
ถูกต้องไม่ผิด ภาษิตไว้ถูก ไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 165
ด้วยประโยชน์ เรารู้แล้ว. ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ แม้เราเองก็
กล่าวอย่างนี้ว่า
กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้มีความ
รังเกียจด้วยโคตร ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายดังนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว. วาเสฏฐะและภารทวาชะ
ก็ยินดีชื่นชม ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบอัคคัญญสูตร ที่ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 166
อรรถกถาอัคคัญญสูตร
อัคคัญญสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.
ในอัคคัญญสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังมีเนื้อความไม่ชัด
ดังต่อไปนี้. ในคำว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท นี้ มีอนุปุพพีกถา
ดังต่อไปนี้.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในที่สุดแสนกัลป์ อุบาสิกาคนหนึ่ง นิมนต์
พรผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์แสน
หนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานแล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วได้ตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ดิฉันจงได้เป็นอุปัฏฐา-
ยิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับพระองค์. อุบาสิกานั้นท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลกตลอดแสนกัลป์ แล้วได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนาง
สุมนาเทวีในเรือนของธนญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรของเมณฑกะเศรษฐีใน
ภัททิยนครในกาลของพระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลาย. ในเวลาที่นางเกิด
แล้วหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้นางว่าวิสาขา. นางวิสาขานั้น เมื่อใดที่พระผู้มี
พระภาคได้เสด็จไปยังเมืองภัททิยนคร เมื่อนั้นนางไปทำการต้อนรับพระ-
ผู้มีพระภาคพร้อมด้วยเด็กหญิงอีก ๕๐๐ คน ในการได้เห็นพระผู้มีพระภาค
เพียงครั้งแรกเท่านั้น นางก็ได้เป็นพระโสดาบัน ในกาลต่อมา นางได้
ไปสู่เรือนของปุณณวัฒนกุมารบุตรของมิคารเศรษฐีในเมืองสาวัตถี. มิคาร-
เศรษฐีตั้งนางไว้ในตำแหน่งมารดาในเรือนนั้น. ฉะนั้นเขาจึงเรียกนางว่า
มิคารมารดา. ก็เมื่อนางไปสู่ตระกูลสามี บิดาให้นายช่างทำเครื่องประดับ
ชื่อว่ามหาลดาประสาธน์. เพชร ๓ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน
แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน ได้ถึงการประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
เข้าในเครื่องประดับนั้น. เครื่องประดับนั้น ได้สำเร็จลงด้วยรัตนะทั้งหลาย
เหล่านี้ดังกล่าวมานี้และด้วยรัตนะ ๗ สี เหล่าอื่นอีก. เครื่องประดับนั้น
สวมบนศีรษะย่อมย้อยคลุมจนจดหลังเท้า. หญิงที่ทรงพลังช้างสาร ๕ เชื่อก
ได้เท่านั้น จึงจะสามารถทรงเครื่องประดับนั้นไว้ได้.
ในกาลต่อมา นางวิสาขานั้นได้เป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระ-
ทสพล นางได้สละเครื่องประดับนั้นแล้ว ให้สร้างวิหารถวายพระผู้มี
พระภาคด้วยทรัพย์เก้าโกฏิแล้ว ให้สร้างปราสาทบนภูมิภาคประมาณกรีส
หนึ่ง. ปราสาทนั้นประดับด้วยห้องพันห้องอย่างนี้คือ ที่พื้นชั้นบนมี ๕๐๐
ห้อง ที่พื้นชั้นล่างก็มี ๕๐๐ ห้อง. นางคิดว่า ปราสาทล้วนอย่างเดียว
ย่อมไม่งามดังนี้ จึงให้สร้างเรือน ๒ ชั้น ๕๐๐ หลัง ปราสาทเล็ก ๕๐๐
หลัง ศาลายาว ๕๐๐ หลัง แวดล้อมปราสาทนั้น. การฉลองวิหารได้
เสร็จสิ้นลงโดยใช้เวลา ๔ เดือน. ขึ้นชื่อว่าภารบริจาคทรัพย์ไว้ในพระ-
พุทธศาสนาของหญิงอื่น เหมือนการบริจาคของนางวิสาขาผู้ดำรงอยู่ใน
ภาวะความเป็นมาตุคาม หามีไม่. การบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา
ของชายอื่น เหมือนการบริจาคของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ผู้ดำรงอยู่ใน
ความเป็นบุรุษก็หามีไม่. เพราะอนาถปิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔
โกฎิ แล้วให้สร้างมหาวิหารชื่อว่าเชตวัน ในที่เช่นกับมหาวิหารของเมือง
อนุราธบุรีในด้านทิศทักษิณของเมืองสาวัตถี. นางวิสาขาให้สร้างวิหารชื่อว่า
บุพพารามในที่เช่นกับวิหารของนางอุตตมเทวี ในด้านทิศปราจีนแห่งเมือง
สาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประทับอยู่ ในเมืองสาวัตถีอยู่ประจำ
ในวิหารทั้ง ๒ นี้ ด้วยความวิเคราะห์ตระกูลทั้ง ๒ เหล่านี้. ภายใน
พรรษาหนึ่ง ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร. ภายในพรรษาหนึ่ง ประทับ
อยู่ในปุพพารามวิหาร. ก็ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
ปุพพาราม. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปุพพาราเม มิคารมาตุปาสาเท
ดังนี้.
บทว่า วาเสฏฺภารทฺวาชา ได้แก่ วาเสฏฐสามเณรและภารท-
วาชสามเณร. ด้วยสองบทว่า ภิกฺขูสุปริวสนฺติ ความว่า สามเณร
ทั้งสองอยู่ปริวาสอย่างเดียรถีย์ หาอยู่ปริวาสเพื่อพ้นอาบัติไม่. แต่สามเณร
เหล่านั้น เพราะมีอายุยังไม่บริบูรณ์ จึงปรารถนาความเป็นภิกษุอยู่.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุภาว อากงฺขมานา.
แท้จริง สามเณรแม้ทั้งสองเหล่านั้นเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลชื่อ
อุทิจจะ มีทรัพย์สมบัติฝ่ายละ ๔๐ โกฏิ บรรลุถึงฝั่งแห่งไตรเพท ได้ฟัง
วาเสฏฐสูตรในมัชฌิมมนิกายได้ถึงสรณะ ฟังเตวิชชสูตรแล้วได้บรรพชาใน
เวลานี้ปรารถนาความเป็นภิกษุจึงอยู่ปริวาส. บทว่า อพฺโภกาเส จงฺกมติ
ความว่า พระผู้มีพระภาคทรงความด้วยพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ซึ่งแผ่ซ่าน
ออกไปในกลางหาว เปรียบเสมือนทองคำอันมีค่าสูง ๑๑ ศอกซึ่งบุคคลดึง
มาด้วยเชือกยนต์ฉะนั้น เสด็จจงกรมไป ๆ มา ๆ อยู่ที่เงาของปราสาทใน
ส่วนทิศบูรพาของปราสาท ซึ่งติดต่อกันกับทางด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ.
บทว่า อนุจงฺกมึสุ ความว่า สามเณรทั้งสอง ประคองอัญชลีน้อมสรีระ
ลงแล้วจงกรมตามพระผู้มีพระภาค.
บทว่า วาเสฏฺ อามนฺเตสิ ความว่า วาเสฏฐะและภารทวาชะ
สามเณรเหล่านั้น วาเสฏฐะสามเณรฉลาดกว่า ย่อมรู้ถึงสิ่งที่ควรยึดถือ
เอาสิ่งที่ควรสละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกวาเสฏฐสามเณร
นั้นมา. บทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทเป็น ตุมฺเห โข อตฺถ. บทว่า
พรฺาหฺมณชจฺจา ความว่าเป็นพราหมณ์โดยเชื้อชาติ. บทว่า พฺราหฺมณกุลีนา
ความว่า มีตระกูล คือสมบูรณ์ด้วยตระกูลในหมู่พราหมณ์. บทว่า พฺราหฺมณ-
กุลา ความว่า จากตระกูลพราหมณ์ อธิบายว่า ละตระกูลพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
ซึ่งสมบูรณ์ด้วยโภคะเป็นต้น. บทว่า น อกฺโกสนฺติ ความว่า ย่อมไม่ด่า
ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐. บทว่า น ปริภาสนฺติ ความว่า ย่อมไม่บริภาษ ด้วยการ
กล่าวถึงความเสื่อมชีวิตมีวิธีต่าง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษสามเณรเหล่านี้ดังนี้แท้จึงได้
ตรัสถาม ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสถาม. ตอบว่า พระองค์ทรงดำริว่า สามเณรเหล่านี้ เราไม่ถามจะ
ไม่พูดขึ้นก่อน เมื่อเราไม่กล่าว ถ้อยคำก็จะไม่เกิดขึ้นดังนี้ ฉะนั้น พระ-
องค์จึงตรัสถามเพื่อให้ถ้อยคำตั้งขึ้น.
บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตใช้ในคำอย่างเดียวกัน. อธิบายว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ข้าพระ-
องค์ทั้งสองโดยส่วนเดียวแท้. บทว่า อตฺตรูปาย ความว่า ตามสมควร
แก่ตน. บทว่า ปริปุณฺณาย ความว่า ที่ยกบทสละพยัญชนะมากล่าว
บริบูรณ์ตามความชอบใจของตน. บทว่า โน อปริปุณฺณาย ความว่า
ที่ไม่หยุดอยู่ในระหว่างกล่าวติดต่อไปตลอด. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร
พวกพราหมณ์จึงด่าสามเณรเหล่านี้. ตอบว่า เพราะไม่ตั้งอยู่ (ในฐานะ
ของตน). สามเณรเหล่านี้เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เลิศบรรลุถึงฝั่งไตรเพท
มีชื่อเสียงปรากฏ ได้ยกย่องในระหว่างพราหมณ์ทั้งหลายในชมพูทวีป.
เพราะข้อที่สามเณรทั้งสองนั้นบวช บุตรของพราหมณ์อื่นเป็นอันมากก็ได้
บวชตาม. ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ทั้งหลายคิดว่าเราทั้งหลายหมดที่พึ่ง
พาอาศัยดังนี้ เพราะข้อที่ตนเองไม่มีที่พึ่งนี้เอง พบสามเณรเหล่านั้นที่
ประตูบ้านก็ดี ภายในบ้านก็ดีจึงกล่าวว่า พวกท่านทำลายลัทธิของพราหมณ์
พวกท่านเป็นผู้ติดในรส จึงท่องเที่ยวตามหลังสมณะโล้นดังนี้เป็นต้น และ
กล่าวคำเป็นต้นว่า พราหมณ์เท่านั้นมีวรรณะประเสริฐสุด ดังนี้ อันมาใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
พระบาลีแล้วจึงด่า. ถึงแม้เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นจะพากันด่า สามเณร
ทั้งหลายก็ไม่ได้ทำความโกรธหรือความอาฆาต เพราะข้อที่ถูกพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสถามจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์
ทั้งหลายย่อมพากันด่าพากันบริภาษพวกข้าพระองค์ดังนี้. ลำดับนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถามอาการคือการด่าจึงตรัสถามว่า ก็เธอกล่าวว่า
อย่างไรดังนี้. สามเณรเหล่านั้นเมื่อจะกราบทูลอาการคือการด่า จึงกราบ
ทูลว่า พฺราหฺมณา ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสฎฺโ วณฺโณ ดังนี้ ความว่า
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐที่สุด
ดังนี้ ในฐานะเป็นที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น. บทว่า หีนา อญฺเ
วณฺณา ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า วรรณะสามนอกนี้
เลวทรามต่ำช้าดังนี้. บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว. บทว่า กณฺโห แปลว่า
ดำ. บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ ในฐานะ
มีชาติและโคตรเป็นต้นปรากฏ. บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตฺตา ความว่า
พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของท้าวมหาพรหม. บทว่า โอรสา มุขโต ชาตา
ความว่าอยู่ในอก ออกจากปาก (ของท้าวมหาพรหม). อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าเป็นโอรส เพราะอันท้าวมหาพรหมกระทำไว้ในอกแล้วให้เจริญแล้ว.
บทว่า พฺรหฺมชา ความว่า บังเกิดแล้วจากท้าวมหาพรหม. บทว่า
พฺรหฺมนิมฺมิตา ความร่า อันท้าวมหาพรหมนิรมิตขึ้น. บทว่า พฺรหฺม-
ทายาทา ความว่า เป็นทายาทของพระพรหม. บทว่า หีนมตฺถวณฺณ
อชฺฌูปคตา ความว่า พวกท่านได้เป็นผู้เข้าถึงวรรณะที่เลว. บทว่า
มุณฺฑเก สมณเก ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายนินทา รังเกียจ จึงกล่าว.
หากล่าวหมายเอาความเป็นคนโล้นและความเป็นสมณะไม่. บทว่า อิพฺเภ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
ได้แก่คหบดีทั้งหลาย. บทว่า กณฺเห คือดำ. บทว่า พนฺธู แปลว่า
เป็นเผ่าพันธุ์ ของมารคือ เป็นฝักฝ่ายของมาร. บทว่า ปาทาปจฺเจ ความ
ว่า ผู้เป็นเหล่ากอแห่งพระบาทของท้าวมหาพรหม. อธิบายว่า เกิดจาก
พระบาท.
คำว่า โว ในคำว่า ตคฺฆ โว วาเสฏฺ พฺราหฺมณา โปราณ
อสรนฺตา เอวมาหสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นฉัฏฐีวิภัติ.
อธิบายว่า พราหมณ์ทั้งหลายระลึกเรื่องเก่าของท่านไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า โปราณ ความว่า วงศ์แห่งความประพฤติ ผู้อุบัติขึ้นในโลกที่
รู้กันว่าเลิศเป็นของเก่า. บทว่า อสรนฺตา แปลว่ารู้ ไม่ได้. มีคำอธิบาย
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า วาเสฏฐะ พราหมณ์ทั้งหลาย ระลึกไม่ได้
รู้ไม่ได้ซึ่งการอุบัติขึ้นในโลกอันเป็นของเก่าของท่าน จึงพากันกล่าว
อย่างนี้. คำว่า ทิสฺสนฺติ โข ปน ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้
เพื่อประโยชน์แก่การทำลายความเห็นของพราหมณ์เหล่านั้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโยความว่า นางพราหมณีทั้งหลายที่พวก
พราหมณ์นำมาสู่ตระกูลด้วยอำนาจการอาวาหมงคลและวิวาหมงคล เพื่อ
ประโยชน์แก่การได้บุตร ก็ปรากฏอยู่. ก็โดยสมัยต่อมา นางพราหมณ์ทั้ง
หลายเหล่านั้นแลก็เป็นหญิงมีระดู. อธิบายว่ามีระดูเกิดขึ้น. บทว่า คพฺภินิโย
แปลว่า มีครรภ์. บทว่า วิชายมานา แปลว่าคลอดบุตรและธิดาอยู่.
บทว่า ปายมานา ความว่า ให้เด็กทารกดื่มน้ำนมอยู่. บทว่า
โยนิชาว สมานา ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วโดยทางช่องคลอดของนาง
พราหมณีทั้งหลายแท้. บทว่า เอวมาหสุ ความว่า ย่อมกล่าวอย่างนี้.
ถามว่า กล่าวว่า อย่างไร. ตอบว่า กล่าวว่าพราหมณ์เท่านั้น เป็นวรรณะ
ประเสริฐที่สุด ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม. ถามว่า ก็ถ้าคำพูดของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
พราหมณ์เหล่านั้นพึงเป็นคำจริงแล้วไซร้ ห้องของนางพราหมณีพึงเป็น
อกของท้าวมหาพรหม ช่องคลอดของนางพราหมณีก็พึงเป็นพระโอษฐ์ของ
ท้าวมหาพรหมละซิ. ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า เต จ พฺรหมฺมานญฺเจว
อพฺภาจิกฺขนฺติ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมุขเฉทกวาทะนี้ด้วยประสงค์ว่า ขอ
พราหมณ์ทั้งหลายอย่าได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราอยู่ในพระอุระออกมาจาก
พระโอษฐ์ของท้าวมหาพรหมดังนี้ ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ เพื่อจะทรง
แสดงว่า วรรณะแม้ทั้งสี่ สมาทานประพฤติกุศลธรรมแท้ จึงบริสุทธิ์ได้
ดังนี้อีก จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม วาเสฏฺ วณฺณา เป็นต้น. บทว่า
อกุสลสขาตา ความว่า นับว่าเป็นอกุศลดังนี้ หรือเป็นส่วนแห่งอกุศล.
ในทุก ๆ บท ก็นัยนี้. บทว่า น อลมริยา ความว่า ไม่สามารถในความ
เป็นพระอริยะได้. บทว่า กณฺหา แปลว่า มีปกติดำ. บทว่า กณฺหวิปากา
ความว่า วิบาก ของธรรมเหล่านั้น ดำ อธิบายว่า เป็นทุกข์. บทว่า
ขตฺตฺเยปิ เต ความว่า ธรรมเหล่านั้นมีอยู่แม้ในพระมหากษัตริย์. บทว่า
เอกจฺเจ ได้แก่ เอกสฺมึ. ในทุก ๆ บทก็นัยนี้.
บทว่า สกฺกา แปลว่า ขาว ด้วยภาวะที่หมดกิเลส. บทว่า
สุกฺกวิปากา ความว่า แม้วิบากของธรรมเหล่านั้นเป็นของขาว อธิบายว่า
ให้ผลเป็นสุข. บทว่า อุภยโพยฺกิณฺเณสุ ความว่า รวมกันคือเจือปนกัน
ในชน ๒ จำพวก. ถามว่า ในชน ๒ จำพวกเหล่าไหน. ตอบว่าในธรรม
ฝ่ายดำที่วิญญูชนติเตียนพวกหนึ่ง และในธรรมฝ่ายขาวที่วิญญูชนสรรเสริญ
พวกหนึ่ง. ในบทว่า ยเทตฺถ พฺราหฺมณา เอวมาหสุ นี้มีวินิจฉัยว่า
พราหมณ์ทั้งหลาย แม้ประพฤติในธรรมทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวนั้นย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
กล่าวอย่างนี้ว่า พฺรหฺมโณว เสฏฺโ วณโณ เป็นต้น. หลายบทว่า
ต เนส วิญู นาชานนฺติ ความว่า ชน ผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมไม่
ยินดีอธิบายว่า ย่อมไม่สรรเสริญ. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร. ในคำว่า อิเม-
สญฺหิ วาเสฏฺา เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้. หากมีคำถามว่า ท่าน
กล่าวคำว่านานุชานนฺติ ดังนี้ไว้ เพราะเหตุไร. พึงตอบว่า เพราะบรรดา-
วรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้วรรณะใดเป็นภิกษุผู้อรหันต์ ฯลฯ พ้นแล้วเพราะรู้
โดยชอบ วรรณะนั้น ย่อมปรากฏว่าเป็นเลิศกว่าวรรณะทั้งหลาย พราหมณ์
เหล่านั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่เลย ฉะนั้นบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย จึงไม่รับรอง
คำพูดของพราหมณ์เหล่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบท อรห เป็นต้นต่อไป ที่ชื่อว่าอรหันต์ เพราะ
เหตุมีความที่กิเลสทั้งหลายอยู่ห่างไกล ที่ชื่อว่า ขีณาสพ เพราะความที่อาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป. พระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชน ชื่อว่าย่อมอยู่
ประพฤติพรหมจรรย์. ก็ภิกษุนี้ ผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว ฉะนั้น
จึงชื่อว่าผู้อยู่แล้ว. กิจที่จะพึงกระทำมีการกำหนดรู้ในสัจจะทั้ง ๔ เป็นต้น
ด้วยมรรค ๔ อันภิกษุนั้นทำแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า มีกิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว. กิเลสภาระและขันธภาระอันภิกษุนั้นปลงลงแล้ว ฉะนั้น เธอ
จึงชื่อว่าปลงภาระได้แล้ว. บทว่า โอหิโต แปลว่าปลงลงแล้ว. ประโยชน์
อันดี หรือประโยชน์อันเป็นของตน ฉะนั้น จึงชื่อว่าประโยชน์ตน.
ประโยชน์ของตนอันภิกษุนั้นตามบรรลุได้แล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าตาม
บรรลุประโยชน์ตนแล้ว. ตัณหาท่านเรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ใน
ภพ. ตัณหานั้นของภิกษุนั้นสิ้นแล้ว ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่อง
ผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต ความว่า พ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบคือโดยเหตุโดยการณ์ บทว่า ชเนตสมึ ตัดบทเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
ชเน เอตสฺมึ อธิบายว่า ในโลกนี้ หลายบทว่า ทิฏฺเ เจว ธมฺเม อภิสมฺ-
ปรายญฺจ ความว่า ในอัตภาพนี้ และในอัตภาพอันสัตว์จะพึงถึงในโลก
หน้า.
บทว่า อนนฺตรา ความว่า เว้นแล้วจากระหว่าง. อธิบายว่า เป็น
เช่นเดียวกันด้วยตระกูลของตน. บทว่า อนุยนฺตา ความว่า เป็นไปใน
อำนาจ. บทว่า นิปจฺจการา ความว่า พวกศากยะทั้งหลายที่แก่กว่าย่อม
แสดงการนอบน้อม ที่หนุ่มกว่า ย่อมทำกิจมีการอภิวาทเป็นต้น. บรรดา
คำเหล่านั้น คำว่า สามีจิกมฺม ดังนั้นคือ กรรมอันสมควรมีการกระทำ
วัตรต่อพระเจ้าปเสนทินั้นเป็นต้น.
บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดำรงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว.
ถามว่าก็ศรัทธาเห็นปานนี้ย่อมมีแกใคร. ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน.
ก็พระโสดานั้นมีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะก็ยังไม่
กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระ
ธรรมดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็น
ผู้มีศรัทธาดำรงมั่นแท้ เปรียบเสมือนสูรอัมพัฏฐอุบาสกฉะนั้น.
นัยว่า อุบาสกนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็น
พระโสดาบันได้กลับไปเรือน. ที่นั้นมารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับ
ด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของอุบาสกนั้น
แล้วส่งสาส์นไปว่า พระศาสดาเสด็จมาดังนี้. สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรม
ในสำนักของพระศาสดามาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอดังนี้แล้ว เข้าไป
หาไหว้ด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดาแล้วจึงได้ยืนอยู่. มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ
คำใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้ คำนั้น
เรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคำนั้นไป ฉะนั้นเธอจง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
ถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงดังนี้เถิด. สูรอุบาสกคิดว่า ข้อที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พิจารณาไม่ทำการตรวจตราอย่างประจักษ์แล้ว พึง
ตรัสอะไรไปนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทำลายเราอย่างแน่
นอน. ลำดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้น ว่าท่านเป็นมารใช่ไหมดังนี้.
มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่เราเป็นมาร ดังนี้. อุบาสก
ถามว่าเพราะเหตุไร ท่านจึงมา. มารตอบว่า เรามาเพื่อทำศรัทธาของท่าน
ให้หวั่นไหว. อุบาสกกล่าวว่าดูก่อนมารผู้ใจบาปอำมหิต ท่านผู้เดียวนั้น
จงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถ
จะทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ชื่อว่าศรัทธาอันมาแล้วด้วยมรรค เป็น
ของมั่นคงไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วย
สิลา ท่านจะทำอะไรในการมานี้ ดังนี้แล้วปรกมือขึ้น. มารนั้นเมื่อไม่
สามารถจะดำรงอยู่ได้จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง. คำว่า นิวิฏฺา นั้นพระ
ผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.
บทว่า มูลชาตา ปติฏฺิตา ความว่าดำรงมั่นแล้วด้วยมรรคนั้นอัน
เป็นมูลเพราะมูลรากคือมรรคเกิดพร้อมแล้ว. บทว่า ทฬฺหา แปลว่ามั่นคง.
บทว่า อสหาริยา ความว่า อันใคร ๆ ไม่พึงอาจเพื่อจะให้หวั่นไหวได้เปรียบ
เหมือนเสาเขื่อนที่เขาฝั่งไว้อย่างเป็น. บทว่า ตสฺเสต กลฺล วจนาย
นั้นความว่า คำนั้น ควรที่จะเรียกพระอริยสาวก. ท่านกล่าวว่าอย่างไร.
ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า เราเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระผู้มีพระภาค ดังนี้.
ความจริง พระอริยสาวกนั้นอาศัยพระผู้มีพระภาคจึงเกิดขึ้นในภูมิของ
พระอริยะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค และชื่อว่าเป็น
โอรสเกิดแต่พระโอษฐ์ เพราะอยู่ในอกแล้วดำรงอยู่ในมรรคและผลด้วย
อำนาจการกล่าวธรรมอันออกมาจากพระโอษฐ์ ชื่อว่าเกิดแต่ธรรม เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 176
เกิดจากอริยธรรม และชื่อว่าอันธรรมเนรมิตขึ้น เพราะถูกอริยนิรมิตขึ้น
ชื่อว่าธรรมทายาท เพราะควรรับมรดกคือนวโลกุตตรธรรม.
บทว่า ต กิสฺส เหตุ ความว่า หากมีคำถามว่า พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ภควโตมฺหิ ปุตฺโต ดังนี้แล้ว ตรัสอีกว่า ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต
ดังนี้อีก คำนั้นพระองค์ตรัสเพราะเหตุไร. บัดนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความ
ของคำนั้นท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตถาคตสฺส เหต ดังนี้เป็นต้น. ใน
บาลีประเทศนั้น คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระ
ตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระ
พุทธพจน์คือพระไตรปิฎกด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา.
ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้เพราะ
สำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนา.
มานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่าธรรมกาย. ชื่อว่าพรหมกายเพราะ
มีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรมท่านเรียกว่าพรหมเพราะเป็น
ของประเสริฐ. บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่สภาวธรรม. ชื่อว่าพรหมภูต
เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง.
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงแสดงวาทะอันเป็นเครื่อง ทำลายความ
เป็นผู้ประเสริฐด้วยพระดำรัสมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง
วาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้ประเสริฐโดยนัยอื่นอีกจึงตรัสว่า โหติ
โข โสวาเสฎฺา สมโย ดังนี้เป็นต้นบรรดาถ้อยคำเหล่านั้น กถาว่าด้วย
สังวัฏฏะ และ วิวัฏฏะ ได้พรรณนาโดยพิสดารแล้วในพรหมชาลสูตร.
บทว่า อิตฺถตฺต อาคจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือ
สู่ความเป็นมนุษย์. บทว่า เต จ โหนฺติ มโนมยา ความว่า สัตว์
เหล่านั้นแม้บังเกิดในมนุสโลกนี้ ก็เป็นพวกโอปปาติกกำเนิด บังเกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 177
ขึ้นด้วยใจเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้มีความสำเร็จทางใจ. ปีติเท่านั้นย่อม
ให้สำเร็จกิจด้วยอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นแม้ในมนุสสโลกนี้ เหมือนใน
พรหมโลก ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่ามีปีติเป็นภักษา. พึงทราบเหตุ
มีรัศมีเองเป็นต้นโดยนัยนี้. บทว่า เอโกทกีภูต ความว่า จักรวาฬทั้งหมด
เป็นที่ที่มีน้ำเหมือนกัน. บทว่า อนฺธกาโร แปลว่า ความมืด. บทว่า
อนฺธการติมิสา ความว่า กระทำความมืด คือมี ความมืดมิด ด้วยการ
ห้ามการบังเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ.
บทว่า สมนฺตานิ ความว่า ดำรงอยู่ คือแผ่ไปรอบ. บทว่า
ปยตตฺสฺส แปลว่าน้ำมันที่เคี่ยวให้งวด. บทว่า วณฺณสมฺปนฺนา ความว่า
ถึงพร้อมด้วยสี. ก็สีของง้วนดินนั้นได้เป็นเหมือนดอกกรรณิการ์. บทว่า
คนฺธสมฺปนฺนา ความว่าถึงพร้อมด้วยกลิ่น คือกลิ่นอันเป็นทิพย์ย่อมฟุ้ง
ไป. บทว่า รสสมฺปนฺนา ความว่า ถึงพร้อมด้วยรส เหมือนใส่โอชา
ทิพย์ลงไปฉะนั้น. บทว่า ขุทฺทกมธุ ความว่า น้ำผึ้งอันแมลงผึ้งตัวเล็ก ๆ
ทำไว้. บทว่า อุเนฬก ความว่า มีโทษออกแล้วคือเว้นจากไข่แมลงวัน.
บทว่า โลลชาติโก ความว่ามีความโลภเป็นสภาพ. แม้ในกัลป์ถัดไป
ที่ล่วงไปแล้วก็มีความโลภเหมือนกัน เราเกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า อมฺโภ
ดังนี้. บทว่า กิเมวิท ภวิสฺสติ ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดิน
นั้นน่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้นจักเป็นอย่างไรหนอ. ผู้มีเกิดความ
โลภในง้วนดินนั้นก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้ว
เอามาไว้ที่ลิ้น. บทว่า อจฺฉาเทสิ ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวาง
ไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั่ว เส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้น เป็นขอ
น่าชอบใจตั้งอยู่. บทว่า ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ ความว่า ก็ความอยากใน
รสในง้วนดินนั้นก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น. หลายบทว่า อาลุปฺป-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
กากร อุปกฺกมึสุ ปริภุญชิตุ ความว่า เขาปั้นเป็นคำ คือแบ่งออกเป็น
ก้อนแล้วเริ่มที่จะบริโภค.
พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา. บทว่า
ปาตุรเหสุ แปลว่าปรากฏขึ้น. ก็บรรดาพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้น
อย่างไหนปรากฏก่อน ใครอยู่ในที่ไหน ประมาณของใครเป็นอย่างไร
ใครอยู่สูง ใครหมุนเร็ว วิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นเป็น
อย่างไร เที่ยวไปได้อย่างไร ทำแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด.
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองไม่ปรากฏพร้อมกัน. พระอาทิตย์
ปรากฏขึ้นก่อน. ก็ เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นได้หายไป ความ
มืดมนจึงได้มีขึ้น. สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสดุ้งคิดกันว่าคงจะดีหนอ ถ้า
แสงสว่างปรากฏขึ้นมาดังนี้ ต่อแต่นั้นดวงอาทิตย์อันให้ความกล้าเกิดขึ้น
แก่มหาชนก็ได้ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้นดวงอาทิตย์นั้นจึงได้นามว่า สุริโย
ดังนี้. เมื่อดวงอาทิตย์นั้น ทำแสงสว่างตลอดวันแล้วอัสดงคตไป ความมืด
มนก็กลับมีขึ้นอีก. สัตว์เหล่านั้น พากันคิดว่า คงจะเป็นการดีหนอ ถ้า
หากว่าพึงมีแสงสว่างอย่างอื่นเกิดขึ้นดังนี้. ที่นั้นดวงจันทร์รู้ความพอใจ
ของสัตว์เหล่านั้นจึงเกิดขึ้นมา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ดวงจันทร์จึงได้นาม
ว่า จนฺโท ดังนี้. บรรดาดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น ดวงจันทร์อยู่
ในวิมานภายในล้วน แล้วด้วยแก้วมณี วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยเงิน
ทั้งภายในและภายนอกนั้นเย็นแท้. ดวงอาทิตย์อยู่ในวิมาน ภายในล้วน
แล้วด้วยทอง วิมานภายนอกล้วนแล้วด้วยแก้วผลึก. ทั้งภายในเละภาย
นอกร้อนจัด.
ว่าโดยประมาณ ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๙ โยชน์ เส้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 179
รอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์. ควรอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้น
รอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.
ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน. ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของพระจันทร์ถึงส่วน
บนของดวงอาทิตย์ มีระยะ ๑๐๐ โยชน์.
ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตราช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็วหมู่
ดาวนักษัตรก็หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้น ๆ เหมือน
แม่โคเข้าไปหาลูกโคฉะนั้น. ส่วนหมู่ดาวไม่ทิ้งที่อยู่ของตนเลย. การหมุน
ไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า. ดวงอาทิตย์นี้โคจรห่าง
ดวงจันทร์แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์. เวลานั้น
ดวงจันทร์ปรากฏเหมือนรอยเขียนฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็น
ระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้
เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ . ลำดับนั้นดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดย
ลำดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ. โคจรห่างออกไปแสนโยชน์ในวันปาฏิบท
อีก. โคจรห่างออกไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจร
ห่างไปดังกล่าวแล้วนี้เป็นระยะสิ้น ๆ โยชน์จนถึงอุโบสถ. ทีนั้นดวง
จันทร์อับแสงลงโดยลำดับแล้วไม่ปรากฏทั้งดวงในวันอุโบสถ. ดวงอาทิตย์
ลอยอยู่เบื้องบนให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้ เหมือน
ภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น. เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฏเหมือน
เงาเรือนไม่ปรากฏในเวลาเที่ยง. ควรอาทิตย์นั้นเมื่อเงาไม่ปรากฏ แม้ตัว
เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนประทีปในกลางวันไม่ปรากฏแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่
ไกลฉะนั้น.
ก็พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่าวิถีของอาทิตย์และดวงจันทร์เป็น
อย่างไร ต่อไปนี้วิถีมีดังนี้คือวิถีแพะ วิถีช้าง วิถีของโค. บรรดาวิถี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 180
เหล่านั้น น้ำเป็นของปฏิกูลสำหรับแพะทั้งหลาย แต่น้ำนั้นเป็นที่ชอบใจ
ของช้างทั้งหลาย เป็นที่ผาสุกของฝูงโค เพราะมีความเย็นและความร้อน
เสมอกัน. ฉะนั้น ในเวลาใด ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของแพะ
เวลานั้น ฝนไม่ตกเลยแม้สักเม็ดเดียว เมื่อใดดวงจันทร์และดวงอาทิ
ขึ้นสู่วิถีของช้าง เมื่อนั้นฝนจะตกแรงเหมือนท้องฟ้ารั้ว. เมื่อดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ขึ้นสู่วิถีของโค เมื่อนั้นความสม่ำเสมอของฤดูก็ย่อมถึง
พร้อม.
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมเคลื่อนอยู่ภายนอกภู่เขาสิเนรุเป็น
เวลา ๖ เดือน และโคจรอยู่ภายในอีก ๖ เดือน. ความจริงดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์นั้นย่อมโคจรไปใกล้ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘. แต่นั้นเคลื่อน
ออกไปโคจรอยู่ในภายนอก ๒ เดือนแล้ว เคลื่อนไปอยู่โดยท่ามกลางใน
ต้นเดือน ๑๒. แต่นั้น เคลื่อนมุ่งหน้าต่อจักรวาลแล้วโคจรอยู่ ใกล้ๆจักรวาล
เป็นเวลา ๓ เดือน แล้วเคลื่อนออกห่างมาอีก ไปอยู่ตรงกลางจักรวาลใน
เดือน ๕ ต่อแต่นั้นในเดือนอื่นก็เคลื่อนมุ่งหน้าต่อภูเขาสิเนรุ แล้วไป
โคจรอยู่ใกล้ ๆ ภูเขาสิเนรุในเดือน ๘ อีก.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำแสดงสว่างใน
ที่นี้ประมาณเท่าไร ดังนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมทำแสงสว่างใน
ทวีปทั้ง ๓ โดยพร้อมกัน. กระทำได้อย่างไร. ก็เวลาพระอาทิตย์ขึ้นใน
ทวีปนี้เป็นเวลาเที่ยงในปุพพวิเทหทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอุตตกุรุ
ทวีปเป็นมัชฌิยามในอมรโคยานทวีป. เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในปุพพวิ-
เทหทวีปเป็นเวลาเที่ยงในอุตตรกุรุทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในอมรโค-
ยานทวีปเป็นมัชฌิมยามในทวีปนี้. เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอุตตรกุรุทวีป
เป็นเวลาเที่ยงในอมรโคยานทวีป เวลาที่พระอาทิตย์ตกในทวีปนี้ เป็นเวลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
มัชฌิมยามในปุพพวิเทหทวีป. เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นในอมรโคยานทวีป
เป็นเวลาเที่ยงในทวีปนี้ เวลาที่พระอาทิตย์ตกในบุพพวิเทหทวีปเป็นในเวลา
มัชฌิมยามในอุตตรกุรุทวีป ฉะนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในสองบทว่า นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ต่อไป
ดาวนักษัตรมีดาวฤกษ์เป็นต้น และหมู่ดาวทั้งหลายที่เหลือ ย่อมปรากฏ
พร้อมทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. บทว่า รตฺตินฺทิวา ความว่า ตั้งแต่พระ
อาทิตย์ตกจนถึงอรุณขึ้น เป็นเวลากลางคืน ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงพระ
อาทิตย์ตกจัดเป็นเวลากลางวัน กลางคืนและกลางวันย่อมปรากฏอย่างว่า
มานี้. ต่อแต่นั้น ๑๕ ราตรี จัดเป็นกึ่งเดือน ๒ กึ่งเดือนเป็นเดือน กึ่งเดือน
และเดือนหนึ่งปรากฏอย่างว่ามานี้. ที่นั้น ๔ เดือนจัดเป็น ๑ ฤดู ๓ ฤดู
เป็น ๑ ปี ทั้งฤดูและปีจึงปรากฏอย่างว่ามานี้.
คำว่า วณฺณเววณฺณตา จ ได้แก่ความมีผิวพรรณต่างกัน. บทว่า
เตส วณฺณาติมานปจฺจยา ความว่า เพราะการถือตัวจัดซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
ปรารภวรรณะของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็นปัจจัย. บทว่า มานาติมาน-
ชาติกาน ความว่าผู้มีมานะและอติมานะเกิดขึ้นบ่อย ๆ เป็นสภาพ. บทว่า
รสปวียา ความว่า อันได้นามว่า รส เพราะสมบูรณ์ด้วยรส.
บทว่า อนุตฺถุนึสุ ความว่า พากันบ่นถึง. บทว่า อโห รส ความว่า
โอ รสอร่อยมีแก่พวกเรา. คำว่า อคฺคญฺ อกฺขร นี้เป็นคำกล่าวถึงวงศ์
ซึ่งบังเกิดขึ้นในโลก. บทว่า อนุปทนฺติ ความว่าย่อมไปตาม.
บทว่า เอวเมว ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นเช่นนี้ตั้งขึ้น และ
ได้ตั้งขึ้นเหมือนพื้นเปือกตมอันแห้งเกิดขึ้น ในเมื่อน้ำภายในสระแห้ง
ไปฉะนั้น. เครืออันเจริญมีรสหวานอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเครือดิน. บทว่า
กลมฺพกา ได้แก่ ต้นมะพร้าว. บทว่า อหุ วต โน ความว่า เครือดิน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 182
มีรสหวานได้มีแก่เราทั้งหลายแล้วหนอ. บทว่า อหายิ วต โน ความว่า
เครือดินนั้น ของพวกเราได้หายไปแล้วในบัดนี้.
บทว่า อกฏฺปาโก ความว่า เกิดขึ้นในภูมิภาคซึ่งไม่ได้ไถ
เลย. บทว่า อกโณ แปลว่า ไม่มีรำเจือปน. บทว่า อถุโส แปลว่าไม่มี
แกลบ. บทว่า สุคนฺโธ ความว่า กลิ่นทิพย์ ย่อมฟุ้งขจายไป. บทว่า
ตณฺฑุลปฺผโล ความว่า ย่อมเมล็ดผลเป็นเมล็ดข้าวสารขาวบริสุทธิ์. บทว่า
ปกฺก ปฏิวิรุฬฺห ความว่า ที่ที่เขาเก็บในเวลาเย็น ก็ได้สุกแทนในตอน
เช้า งอกงามขึ้นตามปกติอีก ที่ที่เขาเก็บไปหาปรากฏไม่. บทว่า นาปทาน
ปญฺายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นพืชที่ไม่ถูกเก็บเกี่ยวไม่มีบกพร่องเลย
บทว่า อิตฺถิยา จ ความว่า เพศหญิงของหญิงในเวลาเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ
ก็ปรากฏ เพศชายของชายในกาลก่อน ๆ นั้นก็ปรากฏ. ความจริง มาตุ-
คาม เมื่อต้องการได้ความเป็นบุรุษก็พยายามบำเพ็ญธรรมอันเป็นปัจจัยแห่ง
ความเป็นบุรุษโดยลำดับก็ย่อมสำเร็จได้. บุรุษ เมื่อต้องการเป็นหญิงก็
ประพฤติการเมสุมิจฉาจาร ย่อมสำเร็จได้. ก็ในเวลานั้น ตามปกติ เพศ
หญิงย่อมปรากฏขึ้นแก่มาตุคาม เพศชายก็ปรากฏขึ้นแก่บุรุษ. บทว่า
อุปนิชฺฌายต ความว่า เพ่งอยู่คือแลดูอยู่. บทว่า ปริฬาโห ได้แก่ความ
เร่าร้อนด้วยอำนาจราคะ. บทว่า เสฏฺึ ได้แก่เถ้าถ่าน. บทว่า
นิพฺพุยฺหมานาย ความว่า นำออกไป.
บทว่า อธมฺมสมฺมต ความว่าการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นสมมุติกัน
ว่าไม่เป็นธรรม. บทว่า ตเทตรหิ ธมฺมสมฺมต ความว่า แต่ในบัดนี้
การโปรยฝุ่นเป็นต้นนี้สมมุติกันว่าเป็นธรรม. พวกพราหมณ์ทั้งหลายพากัน
ถือเอาการโปรยฝุ่นเป็นต้นนั้นว่าเป็นธรรม เที่ยวไป. จริงอย่างนั้น ใน
ชนบทบางแห่ง พวกหญิงทั้งหลายทะเลาะกันย่อมกล่าวว่า เพราะเหตุไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 183
เธอจึงกล่าว ท่านจักไม่ได้อะไรแม้เพียงก่อนโคมัยสด. บทว่า ปาตพฺยต ได้
แก่ความส้องเสพ. บทว่า สนฺนิธิการก ได้แก่ทำการสั่งสม. บทว่า อปาทาน
ปญฺายิตฺถ ความว่า ที่ที่เขาเก็บไปแล้วได้ปรากฏเป็นของพร่องไป. บทว่า
สณฺฑสณฺฑา ความว่า เป็นกลุ่ม ๆ เหมือนจัดไว้เป็นพวกหมู่ในที่หนึ่ง ๆ.
บทว่า มริยาท เปยฺยาม ความว่า พวกเราจะตั้งเขตแบ่งกัน.
บทว่า ปาณินา ปหรึสุ ความว่า สัตว์เหล่านั้นเอามือตีคนที่ไม่เชื่อคำตน
ถึง ๓ ครั้ง บทว่า ตทคฺเค โข ปน แปลว่า เพราะทำเหตุนั้นเป็นสิ่งสำคัญ.
บทว่า ขียิตพฺพ ขีเยยฺย อธิบายว่า พึงประกาศบอกบุคคลผู้ควรประกาศ
คือติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่. บทว่า โย เนส สตฺโต
ความว่าบรรดาสัตว์เหล่านั้นสัตว์ผู้ใด. ถามว่า ก็สัตว์นั้นเป็นใคร. ตอบว่า
คือพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. หลายบทว่า สาลีน ภาค อนุปฺปทสฺสาม
ความว่าเราจักนำข้าวสาลีมาจากไร่ของแต่ละคน ๆ ละทะนาน แล้วจะให้
ส่วนข้าวสาลีแก่ท่าน ท่านไม่ต้องทำงานอะไร ขอท่านจงตั้งอยู่ในฐานะ
เป็นหัวหน้าของเราทั้งหลายเถิด.
บทว่า อกฺขร อุปนิพฺพตฺต ความว่า เกิดบัญญัติโวหารซึ่งเข้าใจ
กันได้ด้วยการนับ. คำว่า ขตฺติโย ขตฺติโย ดังนี้เป็นคำที่เกิดขึ้นคำที่
สอง. บทว่า อกฺขร ความว่า ไม่ใช่เฉพาะอักษรอย่างเดียวเท่านั้น แต่
พวกสัตว์เหล่านั้นยังได้ทำการอภิเษกบุคคลนั้น ด้วยการยกย่องถึง ๓ ครั้ง
ว่า ขอให้ท่านจงเป็นใหญ่ในนาของพวกเราดังนี้. บทว่า รญฺเชติ
แปลว่า ย่อมยังผู้อื่นให้มีความสุขเอิบอิ่ม บทว่า อคฺคญฺเน ความว่า การ
บังเกิดขึ้นด้วยอักษร อันเกิดขึ้นในสมัยแห่งโลกเกิดขึ้น ที่รู้กันว่าเลิศหรือ
รู้จักกันในส่วนเลิศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
บทว่า วีตงฺคารา วีตธูมา ความว่า ปราศจากควันและถ่าน
เพลิง เพราะไม่มีอาหารที่จะพึงหุงต้มแล้วเคี้ยวกิน. บทว่า ปณฺณมุสลา
ความว่าไม่มีการซ้อม เพราะไม่มีอาหารที่พึงซ้อมตำแล้วหุงต้ม. บทว่า
ฆาสเมสนา ความว่า แสวงหายาคูและภัตด้วยอำนาจภิกขาจาร. บทว่า
ตเมน มนุสฺสา ความว่า หมู่มนุษย์เหล่านั้นได้เห็นบุคคลเหล่านั้น.
บทว่า อนภิสมฺภุนฺมานา แปลว่าอดกลั้นไว้ไม่ได้ คือไม่สามารถจะอดกลั้น
ไว้ได้. บทว่า คนฺเถ กโรนฺตา ความว่า แต่งคือบอกสอนไตรเพท. บทว่า
อจฺฉนฺติ แปลว่าย่อมอยู่อาศัย. บาลีว่า อจฺเฉนฺติ ดังนี้บ้าง. เนื้อความ
เช่นเดียวกัน. บทว่า หีนสมฺมต ความว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ โดยสมัยนั้น
คำว่าหมู่พราหมณ์ย่อมทรงจำมนต์ย่อมบอกมนต์ดังนี้ เป็นคำสมมติว่าต่ำช้า
บทว่า ตเทตรหิ เสฏฺสมฺมติ ความว่า บัดนี้คำว่า พราหมณ์ทั้งหลาย
ย่อมทรงจำมนต์มีประมาณเท่านี้ ย่อมบอกกล่าวมนต์มีประมาณเท่านี้
เป็นคำสมมติว่าประเสริฐ. บทว่า พฺราหฺมณมณฺฑลสฺส ได้แก่หมู่พราหมณ์.
บทว่า เมถุนธมฺม สมาทาย แปลว่า ยึดถือเมถุนธรรม. หลาย
บทว่า วิสุ กมฺมนฺเต ปโยเชสุ ความว่า หมู่สัตว์ต่างพากันประกอบการ
งานที่มีชื่อเสียง คือได้รับยกย่องมีการเลี้ยงโคและการค้าขายเป็นต้น. คำว่า
สุทฺทา สุทฺทา นี้ อธิบายว่า พวกศูทร ไปอย่างน่ารังเกียจคือเสื่อมเร็ว ๆ
เรียกว่า สุทฺท สุทฺท เพราะการงานที่ประพฤติต่ำ และการงานที่ประ-
พฤติเล็กน้อยนั้น.
บทว่า อหุ โข ได้แก่ โหติ โข. บทว่า สก ธมฺม ครหมาโน
ความว่ากษัตริย์บางพระองค์ติเตียนขัตติยธรรมของตนเองอย่างนี้ว่า ใครไม่
อาจจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเพียงแต่ให้ยกเศวตฉัตรขึ้น. ในทุกบทก็นัยนี้. ด้วย
คำนี้ว่า อิเมหิ โข วาเสฏฺา จตูหิ มณฺฑเลหิ นี้ พระผู้มีพระภาคย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
ทรงแสดงคำนี้ว่า เหล่าสมณะย่อมไม่มีการแบ่งแยก. แต่เพราะใคร ๆ ไม่
อาจจะบริสุทธิ์ด้วยขาดได้ ความบริสุทธิ์จะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัติชอบของตน
เอง ฉะนั้นการบังเกิดของพระสมณะ จึงเกิดมีขึ้นได้ด้วยหมู่ทั้ง ๔ เหล่านี้
หมู่ทั้งหลายเหล่านี้ย่อมอนุวัตตามหมู่สมณะ และหมู่ที่อนุวัตตามเหล่านั้นก็
ย่อมอนุวัตตามธรรมเท่านั้น หาอนุวัตตามธรรมไม่ ความจริงเหล่าสัตว์
ทั้งหลายอาศัยหมู่สมณะบำเพ็ญสัมมาปฏิบัติ ย่อมถึงความบริสุทธิ์ได้ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงทำข้อความนั้นว่า ใคร ๆไม่อาจที่จะ
บริสุทธิ์ตามชาติได้ แต่เหล่าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยการประพฤติชอบ
เท่านั้นดังนี้อย่างชัดเจน จึงเริ่มเทศนาว่า ขตฺติโยปิ โข วาเสฏฺา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า มิจฉาทิฏฺิกมฺมสมาทานเหตุ ความว่าเพราะ
เหตุคือการสมาทานธรรม ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฺฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความ
ว่า เพราะเหตุที่สมาทานมิจฉาทิฏฺฐิกรรม.
บทว่า ทฺวฺยการี ความว่า มักทำกรรมทั้งสองฝ่ายอย่างนี้คือ บาง
เวลาทำกุศลกรรม บางเวลาทำอกุศลกรรม. บทว่า สุขทุกฺขปฏิสเวที
ความว่า ธรรมดาว่าสถานที่ที่ให้ผลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายในเวลาพร้อมกัน
หามีไม่. ก็ผู้ใดได้ทำอกุศลกรรมไว้มากทำกุศลกรรมไว้น้อย เขาอาศัย
กุศลกรรมนั้นไปบังเกิดในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์. ที่นั้นอกุศล
กรรมนั้น ย่อมทำเขาให้เป็นผู้บอดบ้าง ผู้ง่อยบ้าง ผู้เปลี้ยบ้าง เขาย่อม
ไม่ควรแก่ราชสมบัติ หรือเขาเป็นอย่างนี้แล้วในเวลาที่ได้รับการอภิเษก
แล้วก็ไม่อาจที่จะใช้โภคทรัพย์สมาบัติได้. ต่อมาในเวลาตายของเขาทั้ง
กุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งสองนั้นก็ปรากฏเหมือนนักมวยปล้ำ ที่มีกำลัง
มาก ๒ คน. บรรดากรรมทั้งสองนั้นอกุศลกรรมมีกำลังมากกว่าจึงห้ามกุศล
กรรมไว้เสียแล้วให้สัตว์นั้นบังเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน. ฝ่ายกุศลกรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 186
เป็นกรรมที่สัตว์จะต้องเสวยในปวัตติกาล. กุศลกรรมนั้นย่อมสร้างช้าง
มงคลบ้าง ม้ามงคลบ้าง โคมงคลบ้าง เขาย่อมได้เสวยสมบัตินั้น. พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงหมายเอากุศลกรรมนี้จึงตรัสว่า สุขทุกฺขปฏิสเวที โหติ
ดังนี้
บทว่า สตฺตนฺน โพธิปกฺขิยาน ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ประการ ซึ่งแบ่งเป็น ๗ หมวดตามลำดับด้วยอำนาจส่วนธรรมข้อต้นว่า
สติปัฏฐาน ๔. บทว่า ภาวนมนฺวาย ความว่า ไปตามภาวนา อธิบายว่า
ปฏิบัติ ภาวนา. บทว่า ปรินิพิพาติ ความว่า ย่อมดับ ด้วยการดับกิเลส.
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวรรณะ ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว กลับมาแสดง
ยกเอาพระขีณาสพผู้บรรลุสัจจะทั้ง ๔ ได้แล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐในหมู่
เทวดาและมนุษย์.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นทำให้มั่น
ตามทำนองการแสดงถ้อยคำแม้ของพรหมซึ่งโลกยกย่อง จึงตรัสพระดำรัสว่า
อิเมส หิ วาเสฏฺา จตุนฺน วณฺณาน เป็นต้น. คำว่า พฺราหฺมโณ เวสฺโส
เป็นต้นได้อธิบายพิสดารในอัมพัฏฐสูตรแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
วาทะอันเป็นเครื่องทำลายความเป็นผู้ประเสริฐด้วยกถามรรคนี้ เพียงเท่านี้
ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงหันกลับมาทรงแสดงเทศนาให้จบลงด้วยธรรม
อันเป็นยอดคือพระอรหัตต์. บทว่า อตฺตมนา วาเสฏฐภารทฺวาชา ความว่า
ก็วาเสฎฐะ และภารัทวาชะสามเณรพากันชื่นชมยินดีได้ชมเชยภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคว่า สาธุสาธุ ดังนี้. สามเณรทั้งสองนั้น กำลังน้อมระลึก
ถึงรู้ตามพระสูตรนี้นั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอัคคัญญสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 187
๕. สัมปสาทนียสูตร
เรื่อง พระสารีบุตรเถระ
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวา-
ริกเศรษฐี เขตเมืองนาลันทา. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง
ครั้นนั่งเรียบเรียบแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่จะมีความรู้ ยิ่งไปกว่าพระผู้มี
พระภาคเจ้าในทางพระสัมโพธิญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจานี้ประ
เสริฐแท้ เธอเชื่อมั่นตนเองฝ่ายเดียว บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นจะที่จะมีความรู้ ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าในทางพระสัมโพธิญาณ.
[๗๔] สารีบุตร เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งได้มีในอดีตว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เหล่านั้น ได้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหาร
ธรรมอย่างนี้ มีวิมุติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ได้ละหรือ.
สารีบุตร. ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. สารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่ง
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งจักมีในอนาคตว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 188
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น จักมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญา
อย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ได้ละหรือ.
สารีบุตร. ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า สารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้เรา
ผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ณ บัดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีศีล
อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติ
อย่างนี้ แม้เพราะเหตุนี้ได้ละหรือ.
สารีบุตร. ข้อนั้นเป็นไปได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า สารีบุตร ก็เธอไม่มีเจโตปริยญาณในพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เหล่านั้น
เหตุไฉน เธอจึงหาญกล่าวอาสภิวาจา อันประเสริฐนี้ เธอเชื่อมั่นตนเอง
ฝ่ายเดียว บันลือสีหนาทนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส
ในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์อื่น ที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในทางพระ
สัมโพธิญาณ.
สารีบุตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงว่าข้าพระองค์จะไม่มีเจโต-
ปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบัน
ก็จริง แต่ข้าพระองค์ก็ทราบอาการที่เป็นแนวของธรรมได้ เปรียบเหมือน
เมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมแน่นหนา มีกำแพงและเชิงเทินมั่นคง
มีประตู ๆ เดียว คนยามเฝ้าประตูของพระราชาที่เมืองนั้นเป็นบัณฑิต
เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ย่อมให้แต่
คนรู้จักเข้าไป เขาเที่ยวตรวจดูแนวกำแพงรอบ ๆ เมืองนั้นไม่เห็นที่ต่อ
หรือช่องกำแพง โดยที่สุด แม้พอแมวลอดออกมาได้ จึงคิดว่า สัตว์ที่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
ร่างใหญ่จะเข้ามาเมืองนี้หรือจะออกไป ทั้งหมดสิ้น จะต้องเข้าออกทาง
ประตูนี้เท่านั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ทราบอาการ
ที่เป็นแนวของธรรมได้ ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ได้มีแล้วในอดีตทั้งสิ้น ล้วนทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง
ใจ ทอนกำลังปัญญา ล้วนมีพระมนัสตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ เจริญ
สัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมีในอนาคตทั้งสิ้น
ก็จักต้องทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา
จักมีพระมนัสตั้งมั่นแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗
ตามเป็นจริง จึงจะได้ตรัสพระอนุตตสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงแม้พระผู้มี
พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ บัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่อง
เศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มีพระมนัสตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔
ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้พระอนุตตสัมมาสัม-
โพธิญาณ. ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ เพื่อฟัง
ธรรม. พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างเยี่ยมยอดประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำ
ฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาแก่ข้าพระองค์. พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่าง
เยี่ยมยอด ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาด้วยประการ
ใด ๆ ข้าพระองค์ก็รู้ยังในธรรมนั้นด้วยประการนั้น ๆ ได้ถึงความสำเร็จ
ธรรมบางส่วนในธรรมทั้งหลายแล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว.
ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรมและการบัญญัติอายตนะ
[๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่ง
ได้แก่กุศลธรรมเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา-
วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญาอันรู้ยิ่ง
เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในกุศลธรรมทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ไม่มีเหลืออยู่ เมื่อทรง
รู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่ง
ขึ้นไป ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์อื่นรู้ยิ่งแล้วจะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระองค์
ในฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย.
[๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายบัญญัติอายตนะ อัน
ได้แก่อายตนะภายในและอายตนะภายนอก อย่างละ ๖ เหล่านี้ คือ
จักษุกับรูป โสตะกับเสียง ฆานะกับกลิ่น ชิวหากับรส กายกับโผฏฐัพพะ
มนะกับธรรมารมณ์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่าย
บัญญัติอายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ไม่
มีเหลืออยู่ เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีธรรม
ข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไป ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์อื่นรู้ยิ่งแล้วจะมีความรู้
ยิ่งไปกว่าพระองค์ ในฝ่ายบัญญัติอายตนะ.
ว่าด้วยการก้าวสู่ครรภ์และวิธีแห่งการดักใจคน
[๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์. การ
ก้าวสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่
รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็น
การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๑.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลก
นี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่างเดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์
มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
ข้อที่ ๒.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลก
นี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่
รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๓.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้
รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัว
คลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๔. ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในการก้าวลงสู่ครรภ์.
[๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็น
ข้อธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในวิธีแห่งการ
ดักใจคน. วิธีแห่งการดักใจคน ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนบางคนในโลกนี้ ดักใจได้ด้วยนิมิต
ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็น
ดังนี้. เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่าง
นั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้. นี้วิธีดักใจคนข้อที่ ๑.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้
มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ต่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 192
เทวดาทั้งหลายแล้ว จึงดักใจได้ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่าน
เป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้. เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียว
ว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่
ได้. นี้วิธีแห่งการดักใจคน ข้อที่ ๒.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้
มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ทั้งมิได้ฟังเสียงของมนุษย์หรืออมนุษย์ หรือ
เทวดาทั้งหลายดักใจได้เลย ต่อได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร จึง
ดักใจได้ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่าน
เป็นดังนี้. เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือน
อย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้. นี้วิธีแห่งการดักใจคน
ข้อที่ ๓.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้
มีได้ดักใจได้ด้วยนิมิต มิได้ฟังเสียงของมนุษย์หรืออมนุษย์ หรือ
เทวดาทั้งหลายดักใจได้เลย ทั้งมิได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตกวิจาร
ดักใจได้เลย แต่ย่อมกำหนดรู้ใจของผู้ได้สมาธิ ซึ่งยังมีวิตกวิจารด้วย
ใจได้ว่า มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งอยู่ด้วยประการใด เขาจะต้องตรึก
ถึงวิตกชื่อนี้ ในลำดับจิตนี้ ด้วยประการนั้น เขาดักใจได้มากอย่าง
ทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่น
ไปไม่ได้. นี้วิธีการดักใจคนข้อที่ ๔.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในวิธีการ
ดักใจคน.
ว่าด้วยทัศนสมาบัติ
[๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
ธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในทัศนสมาบัติ.
ทัศนสมาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัย
ความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบแล้ว ได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณากายนี้
แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ
เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี
เสลด น้ำเหลือ เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก
ไขข้อ มูตร นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๑.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียร
ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
มนสิการโดยชอบ แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อม
พิจารณากายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง-
ห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่
ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหาร
เก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็นกระดูก ก้าวล่วงผิวหนัง
เนื้อและเลือดของบุรุษเสีย นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 194
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งม่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
แหละแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไป
ด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้-
ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ
มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็น
กระดูก ก้าวล่วงผิวหนังเนื้อและเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแส
วิญญาณของบุรุษซึ่งกำหนดแล้วโดยส่วนสอง คือทั้งที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่
ตั้งอยู่ในปรโลกได้ นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๓
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัย
ความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ
แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ
แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วย
ของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอย่อมพิจารณา
เห็นกระดูก ก้าวล่วงผิวหนังเนื้อเละเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแสวิญ-
ญาณของบุรุษซึ่งกำหนดแล้วโดยส่วนสอง คือทั้งที่ไม่ตั้งมั่นอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 195
ไม่ตั้งอยู่ในปรโลกได้ นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๔. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
ธรรมที่เยี่ยมในทัศนสมาบัติ.
ว่าด้วยบุคคล ๗ โพชฌงค์ ๗ ปฏิปทา ๔
[๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ. บุคคล ๗
พวก เหล่านี้คือ อุภโตภาควิมุต ๑ ปัญญาวิมุต ๑ กายสักขิ ๑ ทิฏฐิ-
ปัตตะ ๑ สัทธาวิมุต ๑ ธรรมาสุสารี ๑ สัทธานุสารี ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายบุคคลบัญญัติ.
[๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายธรรมเป็นที่ตั้งมั่น.
โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ๑
วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปิติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็น
ธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายธรรมที่ตั้งมั่น.
[๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายปฏิปทา. ปฏิปทา ๔
เหล่านี้ คือ
๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้
ได้ข้า
๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก แต่
รู้ได้เร็ว
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวก แต่
รู้ได้ช้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวก ทั้ง
รู้ได้เร็ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปฏิปทา ๔ นั้น ปฏิปทาที่ปฏิบัติ
ลำบากทั้งรู้ได้ช้านี้ นับเป็นปฏิปทาที่ทราม เพราะประการทั้งสอง คือ
เพราะปฏิบัติลำบากและเพราะรู้ได้ช้า. อนึ่ง ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบากแต่
รู้ได้เร็วนี้ นับว่าเป็นปฏิปทาที่ทราม เพราะปฏิบัติลำบาก. ปฏิปทาที่
ปฏิบัติได้สะดวกแต่รู้ได้ช้านี้ นับว่าเป็นปฏิปทาที่ทราม เพราะรู้ได้ช้า.
ส่วนปฏิปทา ที่ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วนี้ นับว่าเป็นปฏิปทาประณีต
เพราะประการทั้งสอง คือ เพราะปฏิบัติสะดวก และเพราะรู้ได้เร็ว.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายปฏิปทา.
ว่าด้วยภัสสสมาจารและศีลสมาจารของบุรุษ
[๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายภัสสมาจาร (มารยาท
เกี่ยวด้วยคำพูด) คนบางคนในโลกนี้ ไม่กล่าววาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท ไม่
กล่าววาจาส่อเสียด อันทำความแตกร้าวกัน ไม่กล่าววาจาอันเกิดแต่ความ
แข่งดีกัน ไม่มุ่งความชนะ กล่าวแต่วาจาซึ่งไตร่ตรองด้วยปัญญา อันควร
ฝังไว้ในใจ ตามกาลอันควร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม
ในฝ่ายภัสสสมาจาร.
[๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมฝ่ายศีลสมาจารของบุรุษ. คน
บางคนในโลกนี้ เป็นคนมีสัจจะ มีศรัทธา ไม่เป็นคนพูดหลอดลวง ไม่
พูดเลียบเคียง ไม่พูดหว่านล้อม ไม่พูดแทะเล็ม ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ทำความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 197
สม่ำเสมอ ประกอบชาคริยานุโยค ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร
เพ่งฌาน มีสติ พูดดี และมีปฏิภาณ มีคติ มีปัญญาทรงจำ มีความรู้
ไม่ติดอยู่ในกาม มีสติ มีปัญญารักษาตน เที่ยวไป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายศีลสมาจารของบุรุษ.
ว่าด้วยอนุสาสนวิธี ๔
[๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายอนุสาสนวิธี อนุสา-
สนวิธี ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ-
โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้อง
หน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป.
๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่นด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระสกทา
คามี จักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ
สังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง.
๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการ
โดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระ-
อนาคามีผู้เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่ต้องกลับมา
จากโลกนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.
๔. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการ
โดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักได้บรรลุ
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
จักทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายอนุสาสนวิธี.
[๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุติญาณของบุคคลอื่น
คือ
๑. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์ ๓
สิ้นไป.
๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้อีก
คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป
และเพราะราคะโทสะ และโมหะเบาบาง.
๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระอนาคามีผู้โอปปาติกะ ปรินิพ-
พานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
๕ สิ้นไป.
๔. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดย
ชอบเฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้จักได้บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จักทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันรู้
ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม
ในฝ่ายวิมุติญาณของบุคคลอื่น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 199
ว่าด้วยอัสสสตวาทะ ๓
[๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายสัสสตวาทะ. สัสสต-
วาทะ ๓ เหล่านี้ คือ
๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัย
ความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อ
จิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมความระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ คือตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ
บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้างว่า ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มา
บังเกิดในภพนี้. ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้จักกาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้น
แล้ว. อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้จักกาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก
เจริญขึ้น. อัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระ-
เนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 200
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้. นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๑
๒. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้ง
มั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์
ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏกัปวิวัฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง
สี่บ้าง ห้าบ้าง สบบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง
นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้.
ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
รู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว. อนึ่ง ข้าพเจ้า
รู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น. อัตตาและโลก
เที่ยง คงที่ ตั้งมั่นดุจภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สัตว์เหล่านั้นย่อมแสน
ไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้.
นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๒.
๓. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธิ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏกัปวิวัฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง
ว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 201
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลก
พินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า
โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น. อัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ตั้งมั่นดุจยอด
ภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่อง-
เที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้. นี้เป็นสัสสต-
วาทะข้อที่ ๓.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในสัสสตวาทะ.
ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๘๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความ
เพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ คือ ตามระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้างว่า ในภพ
โน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี
อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวย-
สุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว
ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ในการก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติอันไม่อาจนับได้ด้วย
วิธีคำนวณ หรือวิธีนับ ก็ยังมีอยู่ มีภพซึ่งเป็นที่ ๆ เขาเคยอาศัย อยู่
คือรูปภพ อรูปภาพ สัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ ก็ยังมี ย่อมตาม
ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่
เยี่ยมในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ.
ว่าด้วยจตูปปาตญาณ
[๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายรู้จุติและอุบัติของ
สัตว์ทั้งหลาย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก
นี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความ
ประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้ว
บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง
อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก ส่วน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 203
สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้.
เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายรู้จุติและอุบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย.
ว่าด้วยอิทธิวิธี ๒
[๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายอิทธิวิธี. อิทธิ
วิธี ๒ อย่าง นี้ คือ
(๑) ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ ไม่เรียก
ว่าเป็นของพระอริยะ มีอยู่.
(๒) ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ เรียกว่าเป็นของ
พระอริยะมีอยู่.
๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประ-
กอบด้วยอุปธิ ที่ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั้น เป็นไฉน. คือ
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียงที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิต
ตั้งมั่นแล้ว เขาได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
ก็ได้ ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนลงในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบ-
คลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ ไม่เรียกว่าเป็นของ
พระอริยะ.
๒. ส่วนฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียกว่า
เป็นของพระอริยะนั่นเป็นไฉน. คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถ้าหวัง
อยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
ในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีสัญญาในสิ่งไม่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นว่า
เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่
ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิ-
กูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูล
และไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูล
และไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงละวางสิ่งที่
เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นเสีย แล้ววางเฉยมีสติสัมปชัญ-
ญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นที่เป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นเสียมี
สติ สัมปชัญญะอยู่. นี้ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียก
ว่าเป็นของพระอริยะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมในฝ่ายอิทธิ-
วิธี. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น ไม่มีเหลืออยู่
เมื่อทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น ไม่มีเหลืออยู่ ก็ไม่มีข้อธรรมอื่นที่จะต้อง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 205
ทรงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ซึ่งไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่รู้ยิ่งแล้ว จะ
มีความรู้ยิ่งขึ้นไปกว่าพระองค์ในฝ่ายอิทธิวิธี.
ว่าด้วยพระสารีบุตรทูลถาม
[๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดอันกุลบุตรผู้มีศรัทธา
ปรารภความเพียร มีความเพียรมั่น จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ด้วยความเอา
ธุระของบริษัท สิ่งนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้บรรลุเต็มที่แล้ว. อนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประกอบความพัวพันด้วยความสุขในกาม ซึ่ง
เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่ทรงประกอบการทำตนให้ลำบาก
เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ฌาน ๔ อันล่วงกามาวจรจิตเสีย ให้อยู่สบาย
ในปัจจุบันได้ตามประสงค์ ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก. ถ้าเขาถามข้าพระ-
องค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่
ได้มีในอดีต ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในสัมโพธิ-
ญาณมีไหม. เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี. ถ้าเขา
ถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่จักมีในอนาคต ท่านที่มีความ
รู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในสัมโพธิญาณจักมีไหม. เมื่อเขา
ถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี. ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าในสัมโพธิญาณมีอยู่ไหม. เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้า-
พระองค์พึงตอบว่าไม่มี. ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าอื่น
ที่ได้มีในอดีต ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาคเจ้าในสัม-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 206
โพธิญาณมีไหม. เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า มีอยู่.
ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่จักมีในอนาคต ท่านที่มี
ความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสัมโพธิญาณจักมีไหม. เมื่อ
เขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า มีอยู่. ถ้าเขาถามว่า สมณะ
หรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าในสัมโพธิญาณมีไหม. เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระ
องค์พึงตอบว่า ไม่มี. ก็ถ้าเขาถามข้าพระองค์ว่า เหตุไรท่านจึงตอบรับ
เป็นบางอย่าง ปฏิเสธเป็นบางอย่าง เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์
พึงตอบเขาว่า นี่แน่ะท่าน ข้อนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์
ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เป็นผู้มีความรู้เสมอเท่ากับเราใน
สัมโพธิญาณ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ได้รับเรียนมา
เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าทั้งหลายในอนาคต จักเป็นผู้มีความรู้เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิ-
ญาณ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมาเฉพาะ
พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒ พระองค์ จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น ไม่ใช่ฐานะ
ไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
[๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกเขาถามอย่าง
นี้ จะนับว่ากล่าวตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
แล ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริงแลหรือ ชื่อว่าแก้
ไปตามธรรม สมควรแก่ธรรมแลหรือ ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ
มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียนแลหรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 207
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกแล้ว สารีบุตร เมื่อเธอถูกเขา
ถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่าเป็นผู้กล่าวตามพุทธพจน์ที่เรากล่าว
แล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ชื่อว่าแก้ไปตามธรรม
สมควรแก่ธรรม ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไร ๆ ก็มิได้มาถึงสถานะ
อันควรติเตียน.
พระอุทายีสรรเสริญพระพุทธองค์
[๙๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี
ยีได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา มีอยู่แก่พระตถาคต
ผู้ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็นธรรม
แม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของพระองค์นี้ในตนแล้ว พวกเขาจะต้องยก
ธงเที่ยวประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่ทรงแสดง
พระองค์ให้ปรากฏ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนอุทายี เธอจงดูความนักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคตผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้
แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริ-
พาชก ได้เห็นธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของเรานี้ในตนแล้ว
พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ดูก่อนอุทายี
เธอจงดูความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคตผู้มี
ฤทธิ์มีอานุภาพอย่างนี้ แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า
เพราะเหตุนั้นแล สารีบุตร เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนือง ๆ แก่
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อน
สารีบุตร ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคต ซึ่งจักยังมี
อยู่บ้างแก่โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเขาจักละเสียได้ ก็เพราะได้ฟังธรรม
ปริยายนี้.
ท่านพระสารีบุตรได้ประกาศความเลื่อมใสของตนนี้ เฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น คำ
ไวยากรณ์นี้ จึงมีชื่อว่า "สัมปสาทนียะ" ดังนี้แล.
จบสัมปสาทนียสูตร ที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 209
อรรถกถาสัมปสาทนียสูตร
สัมปสาทนียสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเน สุต ดังนี้.
ในสัมปสาทนียสูตรนั้น มีการพรรณนาบทที่ยังไม่ชัด ดังต่อไป
นี้. บทว่า นาฬนฺทาย ความว่า ใกล้พระนครซึ่งได้นามว่า นาฬันทา
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำเมืองนาลันทานั้นให้เป็นที่โคจรคาม. บทว่า
ปาวาริกมฺพวเน ความว่า ที่สวนมะม่วงของเศรษฐีผู้มีผ้ามีขนอ่อนนุ่ม.
ได้ยินว่า สวนมะม่วงนั้นเป็นสวนของเศรษฐีนั้น. เขาได้ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้สร้างวิหาร ซึ่งประดับด้วยกุฏิที่พักผ่อนและมณฑปเป็นต้นในอุทยานนั้น
มอบถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า วิหารนั้นได้ถึงการนับว่า ปาวาริกัมพวัน
เหมือนชีวกัมพวันฉะนั้น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประทับอยู่ที่
ปาวาริกัมพวันนั้น. ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า
อย่างนี้. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงทูลอย่างนี้ ตอบว่า เพื่อ
ประกาศความโสมนัสซึ่งบังเกิดแก่ตน.
ในเรื่องนี้ มีการกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้. นัยว่า ในวันนั้น
พระเถระชำระร่างกายแต่เช้าตรู่ นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือบาตรจีวร นำ
ความเลื่อมใสมาให้เกิดแก่หมู่เทวดาและมนุษย์ ด้วยอิริยาบถมีการก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้นอันน่าเลื่อมใส หวังเพิ่มพูลประโยชน์สุขแก่ชาวเมือง
นาลันทา จึงเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ในเวลาหลังภัตก็กลับจากบิณฑบาตไป
วิหารแล้ว แสดงวัตรแด่พระศาสดา เมื่อ พระศาสดาเสด็จเข้าพระคันธกุฏี
แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กลับไปยังที่พักกลางวันของตน เมื่อสัทธิ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 210
วิหาริกและอันเตวาสิกในที่นั้น พากันแสดงวัตรแล้วหลีกไป พระ
เถระได้กวาดที่พักกลางวันนั้นแล้ว ปูลาดแผ่นหนัง เอาน้ำจากลักจั่นชุบ
มือและเท้าให้เย็นแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ๓ ชั้น ทำตามกำหนดเวลาแล้ว จึง
เข้าผลสมาบัติ. ท่านออกจากสมาบัติด้วยเวลาตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว เริ่ม
ที่จะระลึกถึงคุณของตน. ที่นั้น เมื่อท่านกำลังระลึกถึงคุณอยู่ ศีลก็ได้
มาปรากฏ ต่อแต่นั้น สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ปฐม-
ญาน ฯลฯ จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ วิปัสสนาญาณ ฯลฯ ทิพพจักขุญาณ ฯลฯ
โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ อรหัตตมรรค อรหัตตผล อัตถ-
ปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา สาวก-
บารมีญาณ ก็ปรากฏขึ้นตามลำดับ. จำเดิมแต่นั้น เมื่อท่านกำลังระลึก
ถึงคุณของตน เริ่มต้นแต่อภินิหารที่ได้ทำไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี่ เหนืออสงไขยกำไรแสนกัลป์ จนกระทั่งถึงเวลา
ที่กำลังนั่งคู้บัลลังก์ คุณทั้งหลายก็ได้ปรากฏ. พระเถระระลึกถึงคุณของ
ตนเป็นอันมากอย่างนี้ ก็ไม่อาจเห็นประมาณหรือกำหนดของคุณทั้งหลาย
ได้เลย.
ท่านคิดว่า ประมาณหรือกำหนดแห่งคุณทั้งหลายของพระสาวก
ดำรงอยู่ในญาณบางส่วน ย่อมไม่มีแก่เราก่อน แต่เราบวชอุทิศพระ
ศาสดาองค์ใด พระศาสดาพระองค์นั้นมีพระคุณเป็นเช่นไรหนอ ดังนี้แล้ว
จึงเริ่มระลึกถึงพระคุณของพระทสพล. ท่านได้อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ สติปัฏฐาน ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัย
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ โยนิปริจเฉ-
ทกญาณ ๔ อริยวงศ์ ๔ ของพระทสพล แล้วเริ่มระลึกถึงพระคุณของพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
ทศพล. อนึ่ง พระเถระอาศัย องค์ของปธาน ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นิสสรณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนะ ๕ ปัญญาเครื่อง
สั่งสมวิมุตติ ๕ สาราณียธรรม ๖ อนุสสติกัมมัฏฐาน ๖ คารวะ ๖ นิส-
สรณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖ อนุตตริยะ ๖ ปัญญาอันเป็นส่วนแห่งการ
ตรัสรู้ ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖ อปริหานิยธรรม ๗ อริย-
ทรัพย์ ๖ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ นิชชรวัตถุ (เรื่องของเทวดา)
๗ ปัญญา ๗ ทักขิไณยบุคคล ๗ ขีณาสวพละ ๗ ปัญญาปฏิลาภเหตุ
๘ สมมัตตธรรม ๘ การก้าวล่วงโลกธรรม ๘ อารัพภวัตถุ ๘ อักขณเทสนา
๘ มหาปุริสวิตก ๘ อภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมอันเป็นมูลของโยนิ-
โสมมสิการ ๙ องค์แห่งความเพียรอันบริสุทธิ์ ๙ สัตตาวาสเทสนา ๙
อาฆาตปฏิวินัย ๙ ปัญญา ๙ นานัตตธรรม ๙ อนุปุพพวิหาร ๙
นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐ ตถาคตพละ
๑๐ สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสขธรรม ๑๐ อานิสงส์
เมตตา ๑๑ ธรรมจักร มีอาการ ๑๒ ธุดงคคุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๔
ธรรมเครื่องอบรมวิมุตติ ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจ-
เวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ กุศลธรรมเกิน ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗
สมาบัติ ๒๔ แสนโกฏิ สัญจาริตมหาวชิรญาณแล้ว เริ่มระลึกถึงคุณ
ของพระทศพล.
ก็ พระสารีบุตรนั่งในที่พักกลางวันนั้นนั่นแล้ว อาศัยธรรมอันเป็น
เชื้อสายข้ออื่นอีก ๑๖ ข้อซึ่งจักมาต่อไปโดยพระบาลีว่า อปร ปน ภนฺเต
เอตทานุตฺตริย จึงได้เริ่มระลึกถึงพระคุณของพระทศพล. พระสารีบุตรนั้น
ระลึกถึงพระคุณของพระทสพลอย่างนี้ว่า พระศาสดาของเราทรงเป็นผู้ยอด
เยี่ยมในกุศลบัญญัติ ยอดเยี่ยมในอายตนบัญญัติ ยอดเยี่ยมในการก้าวลงสู่พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 212
ครรภ์ ยอดเยี่ยมในวิธีแสดงดักใจผู้ฟัง ยอดเยี่ยมในทัสสนสมบัติ ยอด
เยี่ยมในบุคคลบัญญัติ ยอดเยี่ยมในปธาน ยอดเยี่ยมในปฏิทา ยอดเยี่ยม
ในภัสสสมาจาร ยอดเยี่ยมในปุริสสีลสมาจาร ทรงยอดเยี่ยมในอนุสาสนีวิธี
ยอดเยี่ยมในปรปุคคลวิมุตติญาณ ยอดเยี่ยมในปุพเพนิวาสญาณ ยอดเยี่ยม
ในทิพพจักขุญาณ ยอดเยี่ยมในอิทธิวิธี ยอดเยี่ยมด้วยธรรมนี้ ดั่งนี้ ก็
ไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นประมาณแห่งพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้. พระเถระไม่เห็นที่สุด ไม่เห็นประมาณแห่งคุณทั้งหลายของตนก่อน
จักเห็นพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้อย่างไร
ก็ ผู้ใดมีปัญญามากและมีญาณแข็งกล้า ผู้นั้นย่อมเชื่อพุทธคุณ
อย่างมาก โลกิยมหาชน ไอก็ดี จามก็ดี ดำรงอยู่ในอุปนิสัยของตน ๆ
ย่อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า ขอความนอบน้อมจงมี
แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระโสดาบันคนเดียงย่อมเชื่อพระพุทธคุณมาก
กว่าโลกิยมหาชนทั้งหมด. พระสกทาคามีคนเดียวเชื่อพระพุทธคุณมาก
กว่าพระโสดาบันตั้งร้อยตั้งพัน. พระอนาคามีคนเดียวเชื่อพระพุทธคุณ
มากกว่าพระสกทาคามีตั้งร้อยตั้งพัน. พระอรหันต์องค์เดียวเชื่อพระพุทธ-
คุณมากกว่าพระอนาคามีตั้งร้อยตั้งพัน. พระอสีติมหาเถระเชื่อพระพุทธ-
คุณมากกว่าพระอรหันต์ที่เหลือ. พระมหาเถระ ๔ รูป เชื่อพระพุทธคุณ
มากกว่าพระอสีติมหาเถระ. พระอัครสาวกทั้งสองรูปเชื่อพระพุทธคุณมาก
กว่าพระมหาเถระทั้ง ๔ รูป บรรดาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น พระสารี-
บุตรเถระเชื่อพระพุทธคุณมากกว่าพระโมคคัลลานะ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
รูปเดียวก็เชื่อพระพุทธคุณมากกว่าพระสารีบุตรเถระ ก็ถ้าพระปัจเจกพุทธ-
เจ้าทั้งหลายพึงนั่งเอาชายสังฆาฎิกระทบกับชายสังฆาฏิ ในห้องแห่งจักรวาล
ทั้งสิ้น แล้วระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าองค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 213
เดียวเท่านั้น เชื่อในพระพุทธคุณมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง
เหล่านั้น.
มหาชนฟันเชือกทั้งหลาย เพื่อต้องการรู้ว่า มหาสมุทรลึก-ตื้น
เท่าไร ดังนี้ บรรดาชนเหล่านั้น บางคนฟันได้วาหนึ่ง บางคนฟันได้ ๒
วา ฯลฯ บางคน ๑๐ วา บางคน ๒๐ วา บางคน ๓๐ วา บางคน ๔๐
วา บางคน ๕๐ วา บางคน ๑๐๐ วา บางคนได้ ๑๐๐๐ วา บางคนได้
๘๔,๐๐๐ วา ชนเหล่านั้นพากันลงเรือแล้ว ดำรงอยู่ในท่ามกลาง
มหาสมุทรหรือบนภูเขาสูงเป็นต้นแล้ว หย่อนเชือกของตน ๆ ลงไป บรร-
ดาชนเหล่านั้น ผู้ใดมี เชือกยาววาหนึ่ง เขาก็รู้น้ำได้ในที่ประมาณ
วาหนึ่งเท่านั้น ฯลฯ ผู้ใดมีเชือกยาวถึง ๘๔,๐๐๐ วา ผู้นั้นย่อมรู้น้ำได้
ในที่ลึกประมาณ ๘๔,๐๐๐ วาเท่านั้น ต่อจากนั้นไป ย่อมไม่รู้ว่า น้ำ
ในมหาสมุทรมีความลึกเท่านี้ ดังนี้ อนึ่ง น้ำในมหาสมุทร มิใช่มีประ-
มาณเพียงเท่านั้น โดยที่แท้ย่อมมีมากหาที่สุดหาประมาณมิได้ เพราะ
มหาสมุทรมีความลึกถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พึงทราบ
พระพุทธคุณที่โลกิยมหาชนเห็น เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ด้วยเชือก
พึงทราบพระพุทธคุณมีอุปไมยฉันนั้น คือ ตั้งแต่วาหนึ่งจนถึง ๙ วา พึง
ทราบพระพุทธคุณที่โลกิยมหาชนเห็น เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ด้วย
เชือกตั้งแต่วาหนึ่งจนถึง ๙ วา พึงทราบพระพุทธคุณที่พระโสดาบันเห็นได้
เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ในที่ประมาณ ๑๐ วา ด้วยเชือกยาว ๑๐ วา พึง
ทราบพระพุทธคุณที่พระสกิทาคามีเห็นได้ เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ใน
ที่ลึก ๑๐ วาด้วยเชือกยาว ๒๐ วา พึงทราบพระพุทธคุณที่พระอนาคามีเห็น
ได้เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ในที่ลึก ๓๐ วา ด้วยเชือกยาว ๓๐ วา พึง
ทราบพระพุทธคุณที่พระอรหันต์เห็นได้ เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษเห็นได้ในที่
ลึก ๔๐ วา ด้วยเชือกยาว ๔๐ วา พึงทราบพระพุทธคุณที่พระอสีติมหาเถระ
เห็นได้ เปรียบเสมือนน้ำที่บุรุษเห็นได้ในที่ลึก ๕๐ วา ด้วยเชือกยาว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
๕๐ วา พึงทราบพระพุทธคุณที่พระมหาเถระ ๔ รูปเห็นได้ เปรียบเหมือน
น้ำที่บุรุษเห็นได้ในที่ลึก ๑๐๐ วา ด้วยเชือกยาว ๑๐๐ วา พึงทราบพระ-
พุทธคุณที่พระมหาโมคคัลลานะเห็นได้ เปรียบเหมือนน้ำที่บุรุษเห็นได้ใน
ที่ลึก ๑,๐๐๐ วา ด้วยเชือกยาว ๑,๐๐๐ วา พึงทราบพระพุทธคุณที่พระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรเห็นได้ เปรียบเหมือนน้ำที่บุรุษรู้ได้ ในที่ลึกประ
มาณ ๘๔,๐๐๐ วา ด้วยเชือกยาว ๘๔,๐๐๐ วา ในบรรดาชนเหล่านั้น
บุรุษคนใดย่อมถือเอาว่า น้ำในมหาสมุทรไม่มีเพียงเท่านี้ ย่อมหาที่สุด
หาประมาณมิได้ ฉันใด ท่านพระสารีบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดำรงอยู่
ในสาวกบารมีญาณ ระลึกถึงพระคุณของพระทศพลโดยแนวแห่งธรรม
คือโดย รู้ตามกันมา อนุมาน ถือเอาโดยนัย จึงเชื่อว่า พระพุทธคุณ
ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ดังนี้.
ความจริง เฉพาะพระพุทธคุณที่บุคคลพึงถือเอา โดยแนว
ธรรม มีมากกว่าพระพุทธคุณที่พระเถระเห็นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เหมือน
อะไร. ท่านอธิบายไว้ว่า บุรุษคนหนึ่งพึงเอาบ่วงเข็มตัดเอาน้ำจาก
แม่น้ำใหญ่ชื่อจันทรภาคา ซึ่งกำลังไหลท่วมสถานที่ถึง ๑๘ โยชน์
คือ ข้างนี้ ๙ โยชน์ ข้างโน้นอีก ๙ โยชน์ น้ำที่บุรุษมิได้ตักไป
มีมากกว่าน้ำที่บุรุษเอาห่วงเข็มตักไป ก็หรือบุรุษพึงเอานิ้วมือจับเอา
ฝุ่นจากแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นที่เหลือนั้นแลมีมากกว่าฝุ่นที่บุรุษนั้นเอานิ้วมือจัก
ได้มา ก็หรือ บุรุษพึงชี้นิ้วไปยังมหาสมุทร น้ำที่เหลือนั้นแลมีมากกว่าน้ำ
ตรงที่บุรุษชี้นิ้วไป และบุรุษพึงชี้นิ้วไปยังอากาศ ส่วนอากาศที่เหลือ
มีมากกว่าอากาศตรงที่บุรุษชี้นิ้วไป พระพุทธคุณทั้งหลายที่พระเถระไม่
เห็นนั้นแล พึงทราบว่ามีมากกว่าพระพุทธคุณที่พระเถระได้เห็นแล้ว ฉัน-
นั้น สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
มาตรแม้นพระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำอื่น พึงพรรณนาเฉพาะพระ
พุทธคุณตลอดกัลป์ กัลป์พึงสิ้นไปในระหว่างเวลายืดยาวนาน
แต่พระคุณของพระตถาคตหาสิ้นไปไม่ ดังนี้.
เมื่อพระเถระระลึกถึงคุณของตน และพระคุณของพระศาสดาอยู่
อย่างนี้ ปีติและโสมนัสท่วมทับที่ในภายใน เหมือนห้วงน้ำใหญ่ไหลท่วม
แม่น้ำใหญ่สองสาย ยังสรีระทุกส่วนให้เต็มเปี่ยม เหมือนลมทำให้ถุงลม
เต็มเปี่ยม (และ ) เหมือนสายน้ำที่ไหลแยกพุ่งขึ้น ยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม.
ฉะนั้นลำดับนั้น พระเถระคิดว่า เราผู้ได้บวชในสำนักของพระศาสดาเช่น
นี้นับว่าได้ตั้งความปรารถนาไว้ดีแล้ว และการบวชเราได้ดีแล้ว. ปีติและ
โสมนัสอันมีกำลังมา ได้เกิดแก่พระเถระผู้กำลังคิดอยู่อย่างนี้.
ที่นั้น พระเถระคิดว่า เราควรบอกปีติและโสมนัสนี้แก่ ใครหนอ
ดังนี้แล้ว คิดอีกว่า สมณะหรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือ
พรหมบางคน ไม่สามารถที่จะรับเอาความเสื่อมใสของเรานี้ทำให้เหมาะ
สมได้ เราจักกราบทูลความโสมนัสนี้แด่พระศาสดาเท่านั้น
พระศาสดาเท่านั้น ที่จักสามารถรับเอาความโสมนัสของเราได้ปีติ
โสมนัสของเรานั้นจงนั้นจงยกไว้ก่อน เมื่อสมณะเช่นเราร้อยหนึ่งก็ดี พัน
หนึ่งก็ดี แสนหนึ่งก็ดี ประกาศความโสมนัสอยู่ พระศาสดาของเรา
ครองใจคนทั้งปวง ก็ทรงสามารถที่จะรับปีติโสมนัสนั้นได้เหมือนบึง
หรือซอกเขา ไม่สามารถที่จะรับแม่น้ำใหญ่ ชื่อจันทรภาคา ซึ่งกำลัง
ไหลบ่าท่วมไปถึง ๑๘ โยชน์ได้ มหาสมุทรเท่านั้นที่จะรับน้ำนั้นได้
แม่น้ำใหญ่ชื่อจันทรภาคาจงยกไว้ก่อน แม่น้ำเห็นปานนี้ร้อยหนึ่งก็ดี
พันหนึ่งก็ดี แสนหนึ่งก็ดี มหาสมุทรย่อมรับไว้ได้หมด ความพร่องหรือ
ความเต็มด้วยน้ำนั้น ของมหาสมุทรนั้น หาปรากฏไม่ ฉันใด พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 216
ศาสดาของเราก็ฉันนั้นเหมือนนั้น เมื่อพระสมณะเช่นเราร้อยหนึ่งก็ดี พัน
หนึ่งก็ดี แสนหนึ่งก็ดี กำลังประกายปีติโสมนัสอยู่ ทรงครองใจคนทั้ง-
ปวงสามารถที่จะรับไว้ได้ สมณะพราหมณ์เป็นต้นที่เหลือ ย่อมไม่สามารถ
เพื่อจะรับโสมนัสของเราไว้ได้ เหมือนบึงและซอกเขาไม่สามารถที่จะรับ
แม่น้ำใหญ่ ชื่อจันทรภาคาไว้ได้ฉะนั้น อย่ากระนั้นเลย เราจะกราบทูลปีติ-
โสมนัสของเราแก่พระศาสดาเท่านั้นดังนี้แล้ว จึงเลิกนั่งคู้บัลลังก์สะบัดแผ่น
หนังถือเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น อันเป็นเวลาที่ดอกไม้หลุดจากขั้ว
หล่นลงมา เมื่อจะประกาศโสมนัสของตนจึงทูลว่า เอว ปสนฺโน อห
ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า เอว ปสนฺโน ความว่า มีความเชื่อ
เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ อธิบายว่า ข้าพระองค์ เชื่ออย่างนี้. บทว่า ภิยฺ-
โยภิญฺตโร ความว่า รู้ยิ่งกว่าหรือผู้มีความรู้ยิ่งไปกว่า. อธิบายว่า ผู้
มีญาณยิ่งกว่า. บทว่า สมฺโพธิย ความว่า ในสัพพัญญุตญาณหรือใน
อรหัตตมรรคญาณ. ด้วยว่า พุทธคุณทั้งหลายมิได้มีส่วนหนึ่งต่างหาก
ท่านถือเอาด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. ความจริง พระอัครสาวกทั้งสองย่อม
ได้เฉพาะสาวกบารมีญาณด้วยอรหัตตมรรคนั่นเอง. พระปัจเจกพุทธ-
เจ้า ย่อมได้ปัจเจกโพธิญาณแทนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้ทั้งพระสัพ
ฬัญญุตญาณและพระพุทธคุณทั้งสิ้น. ความจริง เพราะพระสัพพัญญุตญาณ
เป็นต้นนั้น ย่อมสำเร็จแก่ท่านเหล่านั้น ด้วยอรหัตตมรรคนั้นเอง. ฉะนั้น
อรหัตตมรรคญาณจึงชื่อว่าสัมโพธิ. บุคคลผู้ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
อรหัตตมรรคนั้นหามีไม่. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงทูลว่า ภควตา
ภิยฺโยภิญฺตโร ยทิท สมฺโพธิยดังนี้. บทว่า อฺฬารา คือประเสริฐ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 217
ความจริง อุฬารศัพท์นี้มาในอรรถว่าอร่อย ในประโยคเป็นต้นว่า
ย่อมเคี้ยวกันของเคี้ยวอันอร่อย. มาในอรรถว่าประเสริฐในประโยคว่า
นัยว่าท่านวัจฉายนะ ย่อมสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยคำสรรเสริญอันประ
เสริฐ. มาในอรรถว่าไพบูลย์ ในประโยคเป็นต้นว่า รัศมีอันไพบูลย์หาประ
มาณมิได้ ดังนี้. ในบาลีประเทศนี้อุฬารศัพท์นั้นมาในอรรถว่าประเสริฐ.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อฺราฬารา แปลว่า ประเสริฐ.
บทว่า อาสภิ ความว่า เป็นวาจาไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน เช่นกับวาจา
ของผู้องอาจ. บทว่า เอกโส คหิโต ความว่า ถือเอาส่วนเดียวเหมือน
รู้สึกซึ้งด้วยญาณโดยประจักษ์ไม่กล่าว เพราะฟังตามกันมา เพราะเชื่อตาม
อาจารย์ เพราะเชื่อข่าวลือ เพราะอ้างตำรา เพราะตรึกตามอาการ
เพราะชอบใจว่า ถูกต้องกับความเห็นของตน เพราะเหตุแห่งการเดา
เอาเอง หรือเพราะเหตุแห่งการคาดคะเน. อธิบายว่า ท่านถือเอาสันนิฏ-
ฐานกถาอย่างเดียว. บทว่า สีหนาโท คือ การบันลืออย่างประเสริฐ.
อธิบายว่า บันลือเสียงสูงเหมือนราชสีห์ มิใช่เปล่งเสียงช้า ๆ มิใช่
เปล่งเสียงเหมือนเครื่องสูบ
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้ว่า
กินฺนุ เต สาริปุตฺต ดังนี้. ตอบว่า เพื่อให้ท่านยอมให้ซักถามได้ เพราะบุค
คลบางคนบันลือสีหนาทแล้ว ไม่อาจที่จะตอบคำซักถามได้ ในการบันลือ
ของตนทั้งทนการเสียสีไม่ได้ ย่อมเป็นเหมือนลิงที่ติดตังฉะนั้น. ถ่านเพลิง
ที่เผาไหม้สำหรับช่างทองใช้เผาโลหะที่ไม่บริสุทธิ์ ฉันใด บุคคลนั้นก็เป็น
เหมือนถ่านเพลิงที่เผาไหม้ ฉันนั้น. บุคคลบางคนเมื่อถูกซักถามใน
สีหนาท ย่อมสามารถที่จะตอบได้ ทั้งหนต่อการเสียดสีได้ ย่อมงามยิ่ง
เหมือนทองคำไม่มีโทษ (บริสุทธิ์) ของช่างทองฉะนั้น พระเถระเป็นเช่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบพระเถระนั้นว่า พระสารี-
บุตรนี้ ควรแก่การซักถามได้ จึงทรงเริ่มเทศนาแม้นี้ เพื่อจะให้ท่าน
ยอมให้ซักถามได้ในการบันลือสีหนาท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพ เต ความว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหมดเหล่านั้น เธอกำหนดรู้แล้ว. ในคำเป็นต้นว่า เอวสีลา ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสถามศีลเป็นต้น ด้วยอำนาจศีลทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระ. คำเหล่านั้นได้กล่าวพิสดารไว้แล้วในมหาปทาน. ด้วยคำ
ว่า กึ ปน เต สารีปุตฺต เย เต ภวิสสนฺติ นี้ พระผู้นี้พระภาคเจ้าเมื่อจะ
ตรัสถามว่า ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งมีในอดีตดับไปก่อนแล้ว คือ ถึงความ
เป็นผู้หาบัญญัติไม่ได้ ได้แก่ ดับไปเหมือนเปลวประทีปฉะนั้น เมื่อพระ
พุทธเจ้าดับไป คือ ถึงความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้อย่างนี้ เธอจักรู้ ได้อย่างไร
ก็คุณของพระพุทธเจ้าในอนาคต เธอกำหนดรู้ได้ด้วยจิตของตนอย่างไร
ดังนี้ จึงตรัสอย่างนี้. ด้วยคำว่า กึ ปน เต สารีปุตฺต อห เอตรหิ นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงซักถามว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายแม้ยัง
ไม่มาถึง คือยังไม่ประสูติ ยังไม่เกิด ยังไม่อุบัติขึ้น เธอจักรู้พระพุทธเจ้า
เหล่านั้นได้อย่างไร เพราะการรู้พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนการ
ดูรอยเท้าในอากาศ ซึ่งไม่มีรอยเท้าเลยฉะนั้น. บัดนี้เธออยู่ในวิหาร
หลังเดียวกันกับเรา เที่ยวภิกขาจารร่วมกัน ในเวลาแสดงธรรม เธอก็
นั่งอยู่ที่ข้างเบื้องขวา (ของเรา) ก็คุณทั้งหลายของเรา เธอกำหนดรู้ด้วย
ใจของคนแล้วหรือ ดังนี้แล้ว จึงตรัสอย่างนี้. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถามแล้ว ๆ พระเถระจึงกราบทูลปฏิเสธว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระ
เจ้าข้า ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
ถามว่า ก็สิ่งที่พระเถระรู้ก็มีอยู่บ้าง สิ่งที่พระเถระไม่รู้ก็มีอยู่บ้าง
พระเถระนั้นย่อมทำการโต้แย้งในที่ ๆ ตนรู้ และในที่ ๆ ตนไม่รู้อย่าง
ไร. ตอบว่า ในสิ่งที่ตนรู้ พระเถระไม่โต้แย้ง ในสิ่งที่ตนไม่รู้ พระ
เถระจึงโต้แย้ง. ได้ยินว่า เมื่อเริ่มการการชักถามนั่นแหละ พระ
เถระได้รู้ว่า นี้ไม่เป็นการซักถามในสาวกบารมีญาณ นี้เป็นการซักถาม
ในพระสัพพัญญุตญาณ ดังนี้. พระเถระไม่ทำการโต้แย้งในสาวก-
บารมีญาณของตน ย่อมทำการโต้แย้งในพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็น
ฐานะที่ตนไม่รู้. ด้วยเหตุนี้ พระสารีบุตร จึงแสดงความข้อนี้ว่า ข้า-
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสัพพัญญุตญาณอันสามารถในการรู้เหตุแห่ง
ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในอดีต อนาคต
และปัจจุบันของข้าพระองค์ หามีไม่ ดังนี้. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในบรรดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่แตกต่างกัน มีพระพุทธเจ้าในอดีตเป็นต้น เหล่า
นั้น. ด้วยบทว่า อถ กิญฺจรหิ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า เมื่อเป็น
เช่นนั้น เมื่อญาณอย่างนี้ไม่มี เพราะเหตุไรเล่า เธอจึงกล่าวคำอย่างนี้
ดังนี้. บทว่า ธมฺมนฺวโย ได้แก่ อนุมานญาณแห่งธรรม คือ ความรู้
โดยประจักษ์แก่ธรรม อันเกิดขึ้นคล้อยตามการซักถาม คือ การถือเอาโดยนัย
อันข้าพระองค์ทราบแล้ว. เพราะดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณเท่านั้น พระ
เถระจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบโดยอาการ
นี้เท่านั้น. ความจริง การถือเอานัยของพระเถระหาประมาณมิได้ และ
หาที่สุดมิได้. ประมาณหรือที่สุดของพระสัพพัญพัญญุตญาณไม่มี ฉันใด
การถือเอานัยของพระธรรมเสนาบดีก็ไม่มีที่สุด หรือประมาณ ฉันนั้น.
ด้วยเหตุนั้น พระเถระย่อมรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นอย่างนี้ด้วยวิธี
นี้ เป็นศาสดายอดเยี่ยมโดยวิธีนี้. แท้จริงการถือเอานัยของพระเถระ ก็เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 220
ไปตามแนวแห่งพระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงข้อ
อุปมา เพื่อจะทำการถือเอานัยนั้นให้ปรากฏชัด จึงกราบทูลว่า เสยฺย-
ถาปิ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต นั้น มีวินิจฉัยว่า เชิงเทินและกำ-
แพงอันแข็งแรงเป็นต้น ของพระนครในมัชฌิมประเทศ จะเป็นของมั่นคง
ก็ตาม ไม่มั่นคงก็ตาม ก็หรือว่าไม่มีโดยประการทั้งปวง ความระแวงภัยจาก
พวกโจรก็ไม่มี ฉะนั้น พระเถระไม่ถือเอามัชฌิมประเทศนั้นจึงทูลว่า
ปจฺจนฺติม นคร ดังนี้. บทว่า ทฬฺหุทฺทาป ได้แก่ มีเชิงกำแพงมั่งคง.
บทว่า ทฬฺหปาการโตรณ คือ มีกำแพงมั่นคง และมีเสาค่ายต้นหลังมั่น
คง. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า เอกทฺวาร ดังนี้. ตอบ
ว่า เพราะในพระนครที่มีมากประตู ต้องมีคนรักษาประตูที่ฉลาดมาก
ในพระนครที่มีประตูเดียว ก็สมควรมีคนรักษาประตูเพียงคนเดียว อนึ่ง
ไม่มีใครอื่นจะเท่าเทียมปัญญาของพระเถระได้ ฉะนั้น เพื่อจะแสดงคน
รักษาประตูคนเดียวเท่านั้น เพื่อเปรียบเทียบความเป็นบัณฑิตของตน
พระเถระจึงกล่าวว่า เอกทฺวาร ดังนี้. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ประ-
กอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า พฺยตฺโต คือ ประกอบด้วยความเฉียบ-
แหลม หรือเป็นผู้มีญาณแก่กล้า. บทว่า เมธาวี คือประกอบด้วยเมธา
คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นตามฐานะ. บทว่า อนุปริยายปถ ได้แก่ ทางกำแพง
อันได้นามว่าอนุปริยาย. (เวียนรอบไปมาได้). บทว่า ปาการสนฺธึ ได้แก่ ที่
อันไม่มีอิฐสองก้อนเชื่อมอยู่. บทว่า ปาการวิวร คือ รอบทะลุของกำแพง.
บทว่า เจตโส อุปกฺกิเลเส ความว่า นิวรณ์ทั้งห้า ย่อมยังจิตให้
เศร้าหมอง คือ ย่อมทำจิตให้หม่นหมองให้เร่าร้อน ได้แก่ ย่อมเบียดเบียน
จิต ฉะนั้น นิวรณ์ห้านั้นท่านจึงเรียกว่า ความเศร้าหมองแห่งใจ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 221
บทว่า ปญฺาย ทุพฺพลีกรเณ ความว่า นิวรณ์ทั้งหลาย เมื่อบังเกิด
ขึ้น ย่อมไม่ให้เพื่อจะให้ปัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้ ทั้งไม่ยอมให้
ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเจริญได้ ฉะนั้น นิวรณ์เหล่านี้ ท่านจึงเรียกว่าเป็น
เครื่องทำปัญญาให้ทรามกำลัง. บทว่า สุปฏฺิตจตฺตา ความว่า เป็น
ผู้มีจิตตั้งมั่นไว้ดี ในสติปัฏฐาน ๔. บทว่า สตฺต โพชฺฌงฺเค ยถาภูต
ความว่า เจริญโพชฌงค์ทั้ง ๗ ตามสภาพ. ด้วย บทว่า อนุตฺตร สมฺมา-
สมฺโพธึ พระเถระย่อมแสดงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแทงตลอด
พระอรหัตต์หรือพระสัพพัญญุตญาณ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สติปัฏฐาน
ในที่นี้ ได้แก่ วิปัสสนา โพชฌงค์ ได้แก่ มรรค อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ได้แก่ พระอรหัตต์. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สติปัฏฐาน ได้แก่วิปัสสนา
สัมมาสัมโพธิญาณอันเจือด้วยโพชฌงค์ ได้แก่ พระอรหัตต์นั่นเอง. ก็พระ-
มหาสิวเถระผู้กล่าวทีฆนิกายกล่าวไว้ว่า เมื่อท่านถือเอาสติปัฏฐานว่าเป็น
วิปัสสนา แล้วถือเอาโพชฌงค์ว่า เป็นมรรค และเป็นพระสัพพัญญุตญาณ
แล้วพึงมีปัญหาที่ดี แต่ข้อนี้ท่านมิได้ถือเอาอย่างนี้ดังนี้. พระเถระได้แสดง
ความแตกต่างกันในท่ามกลางในการละนิวรณ์ ในการเจริญสติปัฏฐาน
และในสัมโพธิญาณของพระสัพพัญญุพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนแสดงทอง
และเงินแตกต่างกันฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. บัณฑิตดำรงอยู่ในที่นี่
พึงเทียงเคียงอุปมา.
ความจริง ท่านพระสารีบุตรเถระ แสดงปัจจันตนคร ๑ แสดง
กำแพง ๑ ทางเดินรอบกำแพง ๑ แสดงประตู ๑ แสดงคนเฝ้าประตู ซึ่งเป็น
คนฉลาด ๑ แสดงสัตว์ใหญ่ ซึ่งเข้าออกในพระนคร ๑ แสดงความปรากฏ
แห่งสัตว์เหล่านั้นแก่นายประตูนั้น ๑ ในข้ออุปมานี้หากมีคำถามว่า อะไร
เหมือนกับอะไร ดังนี้. พึงตอบว่า ก็พระนิพพานเหมือนพระนคร ศีล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 222
เหมือนกำแพง หิริเหมือนทางเดินรอบกำแพง อริยมรรคเหมือนประตู พระ
ธรรมเสนาบดีเหมือนคนเฝ้าประตูที่ฉลาด พระพุทธเจ้าทั้งหลายซึ่งอุบัติขึ้น
ในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เหมือนสัตว์ ใหญ่ที่เข้าออกในพระนคร ความ
ปรากฏด้วยศีลสละสมถะเป็นต้นของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งในอดีตอนา-
คตและปัจจุบันแก่พระสารีบุตร เหมือนกับความปรากฏแห่งสัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้น แก่นายประตูนั้น. ถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันพระเถระ
ตอบการซักถามแห่งสีหนาทของตนว่า ข้าแต่พระผู้นี้พระภาคเจ้า ข้า-
พระองค์ดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณอย่างนี้ ย่อมรู้ได้โดยอาการอันเป็น
แนวธรรม โดยถือเอานัย ดังนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงเริ่มธรรมเทศนานี้ว่า อิธาห
ภนฺเต เยน ภควา ดังนี้. ตอบว่า เพื่อแสดงความสำเร็จแห่งสาวก-
บารมีญาณก็ในเรื่องนี้ มีอธิบายดังนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-
องค์เมื่อได้สาวกบารมีญาณ ได้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แม้บางคน
อันในบรรดานักบวชนอกศาสนาทั้ง ๙๕ คนแล้ว จึงได้สาวกบารมีญาณก็
หามิได้ ข้าพระองค์เข้าไปหาพระองค์เท่านั้น เข้าไปนั่งใกล้พระองค์
เท่านั้นจึงได้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อุป-
สงฺกมึ ธมฺมสฺสวนาย ความว่า อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์เมื่อเข้าไป
เฝ้าพระองค์นั้น มิได้เข้าไปเฝ้าเพราะเหตุแห่งปัจจัยมีจีวรเป็นต้น แต่เข้าไป
เฝ้าเพื่อฟังธรรม ไปเฝ้าอย่างนี้แล้วจึงได้สาวกบารมีญาณ ถามว่า พระ-
เถระเข้าไปเผ้าเพื่อฟังธรรม ในกาลไร จึงได้สาวกบารมีญาณ. ตอบ
ว่า พระเถระเข้าไปเฝ้าในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเวทนาปริคห-
สูตรแก่ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลานที่ถ้ำสุกรขาตา จึงได้สาวกบารมีญาณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 223
ในเวลานั้น. ควานจริงในวันนั้น พระเถระถือพัดใบตาลยืนพัดพระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ฟังเทศนานั้นแล้วได้ทำสาวกบารมีญาณให้ตกอยู่ในเงื้อม
มือในที่นั้นนั่นเอง. บทว่า อุตฺตรุตฺตร ปณีตปฺปณีต ความว่า พระ
องค์ทรงแสดงอย่างยอดเยี่ยม และอย่างประณีตยิ่งนัก. บทว่า กณฺห-
สุกฺก สปฺปฏิภาค ความว่า พระองค์ทรงแสดงทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว และ
ทรงแสดงธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาวนั้นให้เป็นปฏิภาคต่อกัน คือ ให้เป็น
ปฏิปักษ์ต่อกัน พระองค์ทรงแสดงธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาวให้เป็นปฏิภาค
กันอย่างนี้ คือ ทรงห้ามธรรมฝ่ายดำ แสดงฝ่ายขาว และห้ามฝ่ายขาว
แสดงฝ่ายดำ. อีกอย่างหนึ่ง พระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมฝ่ายดำ ก็ทรง
แสดงพร้อมกับความอุตสาหะพร้อมกับวิบาก. เมื่อทรงแสดงธรรมฝ่ายขาว
ก็ทรงแสดงพร้อมกับอุตสาหะพร้อมกับวิบาก.
ในหลายบทนี้ว่า ตสฺมึ ธมฺเม อภิญฺา อิเธกจฺจ ธมฺม ธมฺ-
เมสุ นิฏฺมคม ความว่า เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมนั้นแล้ว ข้าพระองค์
ได้รู้สาวกบารมีมีญาณอันจัดเป็นธรรมบางส่วน ได้ถึงความสำเร็จในธรรมทั้ง
หลาย. ถามว่า ในธรรมเหล่าไหน. ตอบว่า ในสัจจธรรม ๔ ประการ.
ในเรื่องนี้ มีการเจรจาของพระเถระดังต่อไปนี้. พระสุมนเถระผู้อยู่ใน
กาฬวัลลวิหาร กล่าวไว้ก่อนว่า บัดนี้ ไม่มีเหตุแห่งการถึงความสำเร็จใน
สัจจธรรม ๔. ความจริง ในวันที่พบพระอัสสชิมหาเถระนั่นเอง ท่านพระ-
สารีบุตรนั้นได้ถึงความสำเร็จในสัจจธรรม ๔ ด้วย มรรคที่ ๑ (โสดาปัตติ-
มรรค) ในเวลาต่อมาได้ถึงความสำเร็จในสัจจธรรมทั้ง ๔ ด้วยมรรค ๓
เบื้องสูงที่ประตูถ้ำสุกรขาตา แต่ในที่นี้ ท่านได้ถึงความสำเร็จในพระพุทธ-
คุณทั้งหลาย ชื่อว่าสำเร็จในธรรมทั้งหลาย. ส่วนพระจูฬสิวเถระผู้อยู่
ในโลกันตรวิหาร กล่าวคำทั้งหมดเช่นเดียวกันนั้นเอง แล้วกล่าวอีกว่า ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 224
ในที่นี้ พระเถระได้ถึงความสำเร็จในพระอรหัตต์ ชื่อว่า สำเร็จในธรรม
ทั้งหลาย. ส่วนพระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวทีฆนิกาย กล่าว
คำตอนต้นเช่นเดียวกันแล้วกล่าวว่า ก็ในที่นี้ พระเถระได้ถึงความสำเร็จ
ในสาวกบารมีญาณ ชื่อว่าสำเร็จในธรรมทั้งหลาย ดังนี้แล้ว กล่าวอีกว่า
ก็พระพุทธคุณทั้งหลายมาแล้วโดยนัย ดังนี้.
บทว่า สตฺถริ ปสีทึ ความว่า ข้าพระองค์นั้นได้ถึงความสำเร็จใน
ธรรม คือ สาวกบารมีญาณอย่างนี้แล้ว ได้มีความเลื่อมใสในพระศาสดา
โดยประมาณอย่างยิ่งว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดย
ชอบหนอ ดังนี้. บทว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม คือ มรรคอัน
เป็นนิยานิกธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือ ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว ย่อมนำ
ออกไปเพื่อให้บรรลุอริยผล สามารถบรรเทา ราคะ โทสะและโมหะได้. สอง
บทว่า สุปฏิปนฺโน สงฺโฆ คือ พระเถระย่อมแสดงว่า ข้าพระองค์มีความ
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค-
พุทธเจ้าชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว เพราะปฏิบัติสัมมาปฏิปทา ซึ่งเว้นจาก
โทษมีความคิดโกงเป็นต้น ดังนี้. บัดนี้ พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน
แล้ว เพื่อจะแสดงธรรมซึ่งเป็นประเพณีข้ออื่นอีก ๑๖ ข้อ ที่ตนบรรลุ
พร้อมแล้ว จึงได้เริ่มเทศนานี้ว่า อปร ปน ภนฺเต เอตทานุตฺตริย
เป็นต้น.
ในบรรดาคำเหล่านั้น ความเป็นผู้ยอดเยี่ยม ชื่อว่า อนุตตริยะ.
ด้วยคำว่า ยถา ภควา ธมฺม เทเสติ นี้ พระเถระย่อมทูลว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยประการใด คือโดยอาการเช่นไร ด้วยเทศนา
เช่นใด เทศนาของพระองค์นั้น จัดเป็นเทศนาที่ยอดเยี่ยม. ด้วยคำว่า
กุสเลสุ ธมฺเมสุ พระเถระย่อมแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 225
ยอดเยี่ยม แม้ในกุศลธรรมทั้งหลายที่พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยเทศนา
นั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระเถระแม้เมื่อจะแสดงภูมิของเทศนานั้น จึงทูลว่า
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ดังนี้. บทว่า ตตฺรีเม กุสลา ธมฺมา ความว่า ใน
บทที่ กล่าวว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ นั้น พึงทราบธรรมที่จัดเป็นกุศลธรรม
เหล่านี้. ในคำว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ นั้น พึงเข้าใจกุศลธรรมโดยส่วน
๕ คือ โดยอรรถว่าไม่มีโรค โดยอรรถว่าไม่มีโทษ โดยอรรถว่า
เป็นบ่อเกิดแห่งความฉลาด โดยอรรถว่าหมดความกระวนกระวาย
และ โดยอรรถว่ามีสุขเป็นผล. ในอรรถเหล่านั้น กุศลควรมีอรรถว่า
ไม่มีโรค เพราะถือตามแนวชาดก. กุศลควรมีอรรถว่าไม่มีโทษ เพราะ
ถือตามแนวพระสูตร. กุศลควรมีอรรถว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความฉลาด หมด
ความกระวนกระวาย สละมีสุขเป็นผล เพราะถือตามแนวพระอภิธรรม.
แต่ในที่นี้พึงเห็นเป็นกุศล โดยอรรถว่าไม่มีโทษตามแนวแห่งพาหิยสูตร
บทว่า จตฺตาโร สติปฏฺานา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
จำแนกออกโดยนัยต่าง ๆ แล้วทรงแสดง สติปัฏฐาน ๔ ประการ ซึ่ง
เจือปนกันทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระ ด้วยอำนาจแห่งสมถะวิปัสสนาและ
มรรคอย่างนี้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดย ๑๔ วิธี เวทนานุ-
ปัสสนาสติปัฏฐาน ๙ วิธี จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๖ วิธี ธัมมานุ-
ปัสสนาสติปัฏฐาน ๕ วิธี. แต่ในที่นี้ไม่ประสงค์เอาสติปัฏฐานฝ่ายผล.
บทว่า จตฺตาโร สมฺมปฺปธานา ความว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงแสดงสัมมัปปธานไว้ ๔ ประการ ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน
อรรถว่าเป็นเครื่องประคองจิต มีกิจต่างกันด้วยอำนาจกิจ ซึ่งเจือปนกัน
ทั้งฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ ด้วยอำนาจแห่งสมถะวิปัสสนาและมรรค
โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุในศาสนานี้ย่อมปรารภความเพียรเพื่อความไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 226
เกิดขึ้นแห่งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น.
บทว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงอิทธิบาท ๔ ซึ่งรวมอยู่หมวดเดียวกัน โดยอรรถว่า เป็นเครื่องสำเร็จ
มีสภาวะต่างกันด้วยอำนาจสภาพมีความพอใจ เป็นต้น ซึ่งเจือกันทั้งฝ่าย
โลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ ด้วยอำนาจแห่งสมถะวิปัสสนาและมรรค โดย
นัยเป็นต้นว่า ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท ซึ่งประกอบด้วย
ความพอใจ ความตั้งใจมั่น ความเพียรและการปรุงแต่ง ดังนี้.
บทว่า ปญฺจินฺทฺริยานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอิน-
ทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น ซึ่งมีจะลักษณะอย่างเดียวกัน ด้วยอรรถว่า
เป็นใหญ่ มีสภาพต่างกัน ด้วยอำนาจสภาพน้อมใจเชื่อเป็นอาทิ ซึ่ง
เจือกันทั้งฝ่ายโลกิยะ และฝ่ายโลกุตตระ ด้วยสามารถแห่งสมถะวิปัสสนา
และมรรค.
บทว่า ปญฺจ พลานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพละ
ไว้ ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในหมวดเดียวกัน ด้วยอรรถ
ว่าเป็นเครื่องอุปถัมภ์ หรือด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว มีสภาพต่างกันตาม
ลักษณะของตน ซึ่งเจือกันทั้งฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ ด้วยสามารถ
แห่งสมณะวิปัสสนาและมรรค.
บทว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการ รวมอยู่ในหมวดเดียวกัน ด้วยอรรถว่าเป็นเครื่อง
นำออก มีสภาพต่างกัน ตามลักษณะของตนมีความปรากฏ เป็นต้น ซึ่งเจือ
กันทั้งฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ ด้วยอำนาจแห่งสมถะวิปัสสนาและ
มรรคนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 227
บทว่า อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงมรรคอันเป็นประกอบด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งรวมอยู่ ในหมวด
เดียวกัน ด้วยอรรถว่าเป็นตัวเหตุ และมีสภาพต่าง ๆ กันตามลักษณะของตน
มีการเห็นเป็นอาทิ เจือกันทั้งฝ่ายโลกิยะและฝ่ายโลกุตตระ ด้วยอำนาจ
แห่งสมถะวิปัสสนาและมรรคนั้นแล.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงเริ่มคำนี้ว่า อิธ ภนฺเต
ภิกฺขุ อาสวาน ขยา ดังนี้. ตอบว่า เพื่อแสดงที่สุดของพระศาสนา.
ความจริง ที่สุดของพระศาสนาหามีด้วยมรรคอย่างเดียวเท่านั้นไม่ ย่อมมี
แม้ด้วยพระอรหัตตผล ฉะนั้น พึงทราบว่า พระเถระเริ่มคำนี้ ก็เพื่อจะ
แสดงที่สุดของพระศาสนานั้น.
หลายบทว่า เอตทานุตฺตริย ภนฺเต กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความ
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแสดงอย่างนี้นั้น จัดเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
ในฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า ต ภควา คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม
ทรงทราบชัดเทศนานั้นทั้งสิ้น ไม่มีเหลือ. บทว่า ต ภควโต ความว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบชัด เทศนานั้นโดยไม่มีเหลือ. บทว่า อุตฺตริ-
อภิญฺเยฺย นตฺถิ ความว่า ข้อธรรมที่จะพึงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ หามีไม่
คือ คำนี้ว่า ธรรมหรือบุคคลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบนอกจากนี้ชื่อ
นี้ ย่อมไม่มี. บทว่า ยทภิชาน อญฺโ สมโณ วา ความว่า สมณะ
หรือพราหมณ์อื่นรู้สิ่งที่พระองค์ไม่ทรงรู้ พึงเป็นผู้มีความรู้ยิ่งกว่า คือมี
ปัญญายิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า. คำว่า ยทิท ในบทว่า ยทิท กุสเลสุ
ธมฺเมสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ในข้อนี้ มีคำอธิบายดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์ที่ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในฝ่ายกุศลธรรมย่อมไม่มี. พระสารี-
บุตรเมื่อจะแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมในกุศล-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
ธรรมทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล้ว ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ด้วย
เหตุแม้นี้ ดังนี้. ในคำว่า อปร ปน เป็นต้น นอกจากนี้ เราจะพรรณนา
เพียงข้อที่แตกต่างกันเท่านั้น. ส่วนคำที่เหมือนกับวาระข้างต้น พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วแล.
บทว่า อายตนปณฺณตฺตีสุ คือ ในการบัญญัติอายตนะ. บัดนี้เมื่อ
จะแสดงอายตนบัญญัติทั้งหลายเหล่านั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลว่า ฉยิ-
มานิ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ก็กถาว่าด้วยอายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้อย่าง
พิสดารในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค. ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่พรรณนา
อายตนะนั้นให้พิสดาร. เพราะฉะนั้น พึงทราบอายตนกถานั้นอย่าง
พิสดาร โดยนัยได้กล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั้นเถิด. บท เอตทานุ-
ตฺตริย ภนฺเต อายตนปณฺณตฺตีสุ คือ การแสดงอย่างนี้ด้วยอำนาจ
การกำหนดเป็นอายตนภายในและภายนอกเป็นต้นนี้ จัดเป็นข้อธรรมที่
เยี่ยมในอายตนบัญญัตินี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
บทว่า คพฺภาวกฺกนฺตีสุ คือ ในการก้าวลงสู่ครรภ์. พระสารี-
บุตรเถระ เมื่อจะแสดงการก้าวลงสู่ครรภ์เหล่านั้น จึงกราบทูลว่า จตฺสฺโส
อิมา ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺปชาโน คือ ไม่รู้ ได้แก่ หลง
พร้อม. บทว่า มาตุ กุจฺฉึ โอกฺกมติ คือ ย่อมเข้าไปสู่ครรภ์ ด้วยอำ-
นาจปฏิสนธิ. บทว่า าติ แปลว่า ย่อมอยู่. บทว่า นิกฺขมติ คือ
แม้เมื่อจะออกก็ไม่รู้ คือหลงพร้อมออกไป (จากครรภ์). บทว่า อย
ปมา คือ นี้จัดเป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ของเหล่ามนุษย์ชาวโลกตามปกติ
ข้อที่ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 229
บทว่า สมฺปชาโน หิ โข คือ สัตว์เมื่อจะก้าวลง ก็เป็นผู้รู้ไม่
หลงก้าวลงสู่ครรภ์. บทว่า อย ทุติยา คือ ข้อนี้จัดเป็นการก้าวลงสู่
ครรภ์ข้อที่ ๒ ของหมู่อสีติมหาสาวกทั้งหลาย. ความจริง พระมหาสาวก
เหล่านั้น เมื่อจะเข้าไปสู่ครรภ์เท่านั้นย่อมรู้ เมื่ออยู่และเมื่อออกย่อม
ไม่รู้.
บทว่า อย ตติยา ความว่า ข้อนี้จัดเป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อ
ที่ ๓ ของพระอัครสาวกทั้งสองและของพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย. นัย
ว่า ท่านเหล่านั้นถูกลมกัมมชวาตพัดให้หันศีรษะลงเบื้องล่าง หันเท้าขึ้น
เบื้องบน มาอยู่ที่ปากช่องคลอด เหมือนอยู่ในเหวที่ลึกหลายร้อยชั่วบุรุษ
ออกจากช่องคลอดซึ่งคับแคบ ก็ย่อมประสบทุกข์เป็นอันมาก เปรียบเสมือน
ช้างที่ออกจากโพรงต้นตาล ย่อมประสบความทุกข์ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น
สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่มีความรู้ว่า เราออกไปแล้ว ดังนี้. ความทุกข์อย่างใหญ่
หลวงในฐานะเห็นปานนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ แม้ผู้บำเพ็ญบารมี
มาแล้วแท้อย่างนี้ ฉะนั้น ควรจะเบื่อหน่าย ควรจะคลายกำหนัดในการอยู่
ในครรภ์.
บทว่า อย จตุตฺถา คือ ข้อนี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๔ ด้วย
อำนาจแห่งพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ความจริง พระสัพพัญญูโพธิ-
สัตว์ทั้งหลาย แม้เมื่อถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาย่อมรู้ ทั้งเมื่ออยู่ใน
ครรภ์ก็ย่อมรู้. และแม้ในเวลาประสูติจากพระครรภ์ ลมกัมมชวาต
ทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถที่จะพัดพาทำพระสัพพัญญูโพธิสัตว์เหล่านั้นให้มี
เท้าอยู่ข้างบน และศีรษะอยู่ข้างล่างได้ พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เหล่านั้น
เหยียดพระหัตถ์ทั้งสองแล้วลืมพระเนตร ประทับยืน เสด็จออกมา. เว้น
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เสีย สัตว์อื่นในระหว่างอเวจีจน ถึงภวัคคพรหม ที่ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 230
ว่ารู้ในระยะเวลาทั้งสามย่อมไม่มีเลย. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ในเวลาที่พระสัพ-
พัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก้าวลงสู่พระครรภ์มารดา และในเวลา
ประสูติ หมื่นโลกธาตุจึงได้หวั่นไหว. คำที่เหลือในเรื่องการก้าวลงสู่ครรภ์
นี้พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
บทว่า อาเทสนวิธาสุ คือ ในส่วนแห่งการแสดงธรรมดักใจ
คน. บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงวิธีการแสดงธรรมดักใจคนเหล่านั้นจึง
กราบทูลคำว่า จตสฺโส อิมา ดังนี้เป็นต้น. ด้วยคำว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ
นี้ พระสารีบุตรย่อมแสดงว่า ชื่อว่าการแสดงธรรมดักใจคนนี้จักมีได้
ด้วยอาคตนิมิตบ้าง ด้วยคตินิมิตบ้าง ด้วยฐิตินิมิตบ้าง. ในข้อนั้นมีเรื่องนี้
เป็นอุทาหรณ์. พระราชาองค์หนึ่งทรงถือเอาแก้วมุกดามา ๓ ดวง แล้วตรัส
ถามปุโรหิตว่า อาจารย์ อะไรอยู่ในมือของเรานี้. ปุโรหิตนั้นจึงมองดู
ไปข้างโน้นและข้างนี้. ก็โดยสมัยนั้น ตุ๊กแกตัวหนึ่งวิ่งแล่นออกไปด้วย
หมายใจว่า เราจักจับแมลงวันกิน ดังนี้. ในเวลาที่จะจับ แมลงวันบินหนี
ไปเสีย. ปุโรหิตนั้นจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช แก้วมุกดาพระเจ้าข้า ดังนี้
เพราะเหตุที่แมลงวันบินหนีพ้นไปได้. พระราชาจึงตรัสถามอีกว่า แก้ว
มุกดาจงยกไว้ก่อน (แต่) แก้วมุกดามีกี่ดวง. ปุโรหิตนั้นจึงมองดูนิมิตนั้น
อีก. ลำดับนั้น ไก่เปล่งเสียงขันขึ้น ๓ ครั้งในที่ไม่ไกล. พราหมณ์จึง
กราบทูลว่า ๓ ดวง พระเจ้าข้า ดังนี้. คนบางคนย่อมพูดด้วยนิมิตที่มาปรา-
กฏอย่างนี้. พึงเข้าใจการกล่าวแม้ด้วยคตินิมิตและฐิตินิมิต โดยอุ-
บายนั้น.
บทว่า อมนุสฺสาน คือ หมู่ยักษ์และปีศาจ เป็นต้น. บทว่า
เทวตาน คือ เหล่าเทวดาผู้ดำรงอยู่ในชั้นจาตุมมหาราช เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 231
บทว่า สทฺท สุตฺวา ความว่า ฟังเสียงของเหล่าเทวดาและ
อมนุษย์ ผู้ซึ่งรู้จิตของผู้อื่นแล้วกล่าว.
บทว่า วิตกฺกวิปฺผารสทฺท ได้แก่ เสียงของหมู่ชนผู้หลับและ
ประมาทแล้วเป็นต้น ผู้เพื่ออยู่ ซึ่งบังเกิดขึ้นมาด้วยการแผ่ซ่านไปแห่ง
วิตก. บทว่า สุตฺวา คือ ได้ยินเสียงนั้น. เสียงนั้นเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นผู้
ตรึกเรื่องใด เขาย่อมดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง
การตรึกนั้น
บทว่า นโมสงฺขารา ปณิหิตา คือ จิตตสังขารตั้งมั่นด้วยดีแล้ว. บท
ว่า วิตกฺเกสฺสติ คือ เขาย่อมรู้ว่า ผู้นี้จักตรึก คือ จักให้ (จิตตสังขาร) เป็น
ไป. อนึ่งเขาเมื่อรู้ ย่อมรู้ด้วยการมาของนิมิต ย่อมรู้ด้วยนิมิตอันเป็นส่วน
เบื้องต้น ตรวจดูจิตในภายในสมาบัติย่อมรู้ได้. บุคคลย่อมรู้ว่า ในเวลาบริ-
กรรมกสิณนั้นเอง บุคคลนี้เริ่มภาวนากสิณด้วยอาการใดจักยังปฐมฌาน ฯลฯ
หรือจตุตถฌาณ หรือ สมาบัติ ๘ ให้เกิดได้ บุคคลนี้ชื่อว่า ย่อมรู้ด้วยการมา
ปรากฏของนิมิต. บุคคลบางคนย่อมรู้เมื่อเริ่มบำเพ็ญสมถะปัสสนา คือ รู้ว่า
บุคคลนี้ เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาโดยอาการใด จักยังโสดาปัตติมรรคให้เกิด ฯลฯ
หรือยังอรหัตตมรรคให้เกิด ผู้นี้ชื่อว่า ย่อมรู้ได้ด้วยนิมิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บุคคลบางคนย่อมรู้ว่า มโนสังขารของบุคคลนี้ตั้งมั่นด้วยดี โดยอาการใด
เขาจักตรึกถึงวิตกชื่อนี้ เป็นลำดับแห่งจิตชื่อนี้ เมื่อบุคคลนั้นออกจากวิตก
นี้ สมาธิอันเป็นฝ่ายเสื่อม หรือเป็นฝ่ายตั้งอยู่ หรือเป็นฝ่ายแห่งความวิ-
เศษขึ้น หรือเป็นฝ่ายทำลายกิเลสจักมีได้ หรือจักยังอภิญญาให้เกิดขึ้น
ผู้นี้ชื่อว่า ตรวจดูจิตในภายในสมาบัติแล้วจึงรู้ได้. ในบรรดาชน
เหล่านั้น ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนเท่านั้น หารู้
จิตของพระอริยทั้งหลายได้ไม่. แม้ในพระอริยทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 232
ตั้งอยู่ในมรรคเองต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้อง
สูงได้. ส่วนพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องสูง ย่อมรู้จิตของพระอริย-
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคเบื้องต่ำได้. ก็ในบรรดาท่านเหล่านั้น พระโสดาบัน
ย่อมเข้าโสดปัตติผลสมาบัติ พระสกทาคามี ย่อมเข้าสกทาคามีผลสมาบัติ
พระอนาคามี ย่อมเข้าอนาคามีผลสมาบัติ พระอรหันต์ ย่อมเข้าอรหัตตผล
สมาบัติ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลเบื้องสูง ย่อมไม่เข้าสมาบัติอันตั้งอยู่ใน
เบื้องต่ำ. ความจริง สมาบัติเบื้องต่ำของท่านเหล่านั้นก็มี ความเป็นไปใน
สมาบัตินั้นเหมือนกัน. บทว่า ตเถว ต โหติ ความว่า เรื่องนี้ย่อมเป็น
อย่างนั้นแลโดยส่วนเดียว. ความจริง ขึ้นชื่อว่าความเป็นโดยประการอื่นที่รู้
ด้วยอำนาจเจโตปริยญาณย่อมไม่มี. คำที่เหลือพึงประกอบเข้าโดยนัยก่อน
นั้นแล.
คำเป็นต้นว่า อาตปฺปมนฺวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้พิส-
ดารแล้วในพรหมชาลสูตร. ส่วนความสังเขปในที่นี้ ดังต่อไปนี้. ความ
เพียรชื่อว่า อาตัปปะ. ความเพียรนั้นเองชื่อว่า ปธาน เพราะเป็นของ
อันบุคคลพึงตั้งไว้ ชื่อว่า อนุโยค เพราะเป็นของอันบุคคลพึงประกอบ
ไว้. บทว่า อปฺปมาท คือ การไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า สมฺมา มน-
สิการ คือ การทำมนสิการโดยอุบาย ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณา
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า เจโตสมาธึ ได้แก่ สมาธิ
ในปฐมฌาน. หลายบทว่า อย ปมา ทสฺสนสมาปตฺติ ความว่า
ปฐมฌานสมาบัติที่พระโยคาวจรพิจารณาอาการ ๓๒ โดยเป็นของปฏิกูล
แล้ว ให้เกิดขึ้น ด้วยอำนาจการเห็นว่า เป็นของปฏิกูลนี้ ชื่อว่า
ทัสสนสมาบัติที่ ๑ แต่ถ้าพระโยคาวจรทำฌานนั่นให้เป็นบาทแล้ว
เป็นพระโสดาบัน นี้ก็จัดเป็นทัสสนสมาบัติข้อที่ ๑ โดยตรงนั่นเอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 233
บทว่า อติกฺกมฺม จ คือ ก้าวล่วง. บทว่า ฉวิมสโลหิต คือ
ผิวหนัง เนื้อ และโลหิต. บทว่า อฏฺึ ปจฺจเวกฺขติ คือ ย่อมพิจารณา
ว่า กระดูก กระดูก ดังนี้. บทว่า อฏฺิ อฏฺิ ความว่า ฌานสมาบัติซึ่ง
มีทิพพจักขุเป็นบาทมีกระดูกเป็นอารมณ์ ที่พระโยคาวจรพิจารณาแล้วให้
เกิดขึ้น ชื่อว่าทัสสนสมาบัติที่ ๒. แต่ถ้าพระโยคาวจรกระทำฌานนั้นให้
เป็นบาทแล้ว ย่อมให้สกทาคามิมรรคบังเกิดขึ้นได้. ข้อนี้ก็จัดว่าเป็นทัสส-
นสมาบัติข้อที่ ๒ โดยทางตรง. ส่วนพระสุมนเถระผู้อยู่ในกาฬวัลลวิหาร
กล่าวว่า ย่อมศวรตั้งแต่มรรคที่ ๓.
วิญญาณนั้นเองชื่อ วิญญาณโสตะ. บทว่า อุภยโต อพฺโพจฺ-
ฉินฺน ความว่า กระแสวิญญาณนั้นท่านตัดขาดได้แล้วด้วยส่วนแม้ทั้งสอง.
บทว่า อิธ โลเก ปติฏฺิตญฺจคือ อันตั้งอยู่แล้วในโลกนี้ ด้วย
อำนาจฉันทราคะ. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง กระแส
วิญญาณเมื่อเข้าถึงกรรมโดยกรรม ชื่อว่าตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโลกนี้. กระ-
แสวิญญาณเมื่อคร่ามาได้ซึ่งกรรมภพ ชื่อว่าตั้งอยู่เฉพาะในปรโลก. ถาม
ว่า ด้วยบทนี้ท่านกล่าวอะไรไว้. ตอบว่า ท่านกล่าวเจโตปริยญาณของ
เสขปุถุชนทั้งหลายไว้. ความจริง เจโตปริยญาณของเสขปุถุชนทั้งหลาย
ชื่อว่าทัสสนสมาบัติข้อที่ ๓.
บทว่า อิธ โลเก อปฺปติฏฺิตญฺจ คือ ดำรงอยู่ไม่ได้ใน
โลกนี้ เพราะมีความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจออกแล้ว. แม้ใน
บทที่ ๒ ก็นัยนี้. อีกอย่างหนึ่ง กระแสวิญญาณไม่เข้าถึงกรรมโดยกรรม ชื่อ
ว่าดำรงอยู่ในโลกนี้ไม่ได้. เมื่อคร่ากรรมภพมาไม่ได้ ชื่อว่าดำรงอยู่ใน
ปรโลกไม่ได้. ถามว่า ด้วยบทนี้ท่านกล่าวอะไรไว้. ตอบว่า ท่านกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 234
เจโตปริยญาณของพระขีณาสพไว้. ความจริง เจโตปริยญาณของพระขี-
ณาสพชื่อว่าในทัสสนสมาบัติข้อที่ ๔.
อีกอย่างนี้ แม้วิปัสสนาที่พระโยคาวจรปรารภอาการ ๓๒ ก็จัด
เป็น ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๑. วิปัสสนาที่พระโยคาจวรปรารภกัมมัฏฐานซึ่งมี
กระดูกเป็นอารมณ์ จัดเป็น ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๒. บททั้งสองนี้ว่า เจโตปริย-
ญาณของเสขปุถุชน เจโตปริยญาณ ของพระขีณาสพ ดังนี้ ไม่หวั่นไหวเลย.
อีกนัยหนึ่ง. ปฐมฌาน ชื่อว่า ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๑. ทุติยฌาน ชื่อว่า ทัสสน-
สมาบัติข้อที่ ๒. ตติยฌาน ชื่อว่า ทัสสนสมาบัติ ข้อที่ ๓. จตุตถฌาน ชื่อว่า
ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๔. อนึ่ง ปฐมมรรค ชื่อว่าทัสสนสมาบัติข้อที่ ๑. มรรคที่
๒ ชื่อว่า ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๒. มรรคที่ ๒ ชื่อว่า ทัสสนสมาบัติข้อที่ ๓.
มรรคที่ ๔ ชื่อว่าทัสสนสมาบัติข้อที่ ๔. คำที่เหลือในบทนี้ พึงประกอบ
เข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า ปุคฺคลปณฺณตฺตีสุ คือ ในโลกบัญญัติที่บุคคลพึง
บัญญัติอย่างนี้ว่า สัตตะ ปุคคละ นระ โปสะ ดังนี้ ตามโวหารทางโลก.
ความจริง กถาทั้งสองคือ สมมติกถา ปรมัตถกถา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ท่านให้พิสดารแล้วในโปฏฐปาทสูตร ในบรรดากถาทั้งสองนั้น กถา
นี้ว่า ในบุคคลบัญญัติทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อสมมติกถา. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงบัญญัติบุคคลเหล่าใด ทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมในบุคคลบัญญัติทั้งหลาย
บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงทูลคำเป็นต้นว่า
สตฺตีเม ภนฺเต ปุคฺคลา อุภโตภาควิมุตฺต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า บุคคล
ผู้หลุดพ้นแล้ว โดยส่วนสองคือ ผู้หลุดพ้นจากรูปกาย ด้วยอรูปสมาบัติ
หลุดพ้นจากนามกายด้วยมรรค. บุคคลนั้นออกจากบรรดาอรูปสมาบัติทั้ง ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 235
อย่างหนึ่ง ๆ แล้ว พิจารณาสังขารแล้วย่อมเป็นบุคคล ๕ จำพวกด้วยอำนาจ
แห่งบุคคล คือ พระอริยบุคคล ๔ ผู้บรรลุพระอรหันต์ และพระอนาคามีผู้
ออกจากนิโรธแล้วบรรลุพระอรหัตต์. ก็พระบาลีในที่นี้ว่า ก็ บุคคลผู้
หลุดพ้นโดยส่วนสองเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง
๘ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของท่านก็สิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วย
ปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่าผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนสอง. พระบาลีนี้มาแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งท่านผู้ได้วิโมกข์ ๘ อย่างนี้.
บทว่า ปญฺาวิมุตฺโต แปลว่า หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา. บุคคล
ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญานั้นมี ๕ จำพวก ด้วยอำนาจแห่งบุคคลแหล่านี้คือ
สุกขวิปัสสกบุคคล ๑ และบุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้วบรรลุพระอรหัตต์
๔ พวก ๑. ก็พระบาลีในที่นี้ มาแล้วด้วยอำนาจธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อวิ-
โมกข์ ๘ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลไม่ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘
ด้วยกายอยู่เลย และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเขาจึงเป็นอัน
สิ้นรอบแล้ว บุคคลนี้เรียกว่า ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา.
บุคคลย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งกายที่ถูกต้องอยู่ ฉะนั้นจึงชื่อว่า กาย-
สักขิ. บุคคลนั้นย่อมถูกต้องฌานก่อน จึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธคือนิพพาน
ในภายหลัง. กายสักขินั้นพึงทราบว่ามี ๖ จำพวก เริ่มต้นแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผล จนถึงท่านผู้ตั้งอยู่ ในอรหัตตมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ทั้ง ๘ ด้วยกาย
อยู่ และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะบางเหล่าของเขาเป็นอันสิ้นรอบไป
บุคคลนี้ เรียกว่า กายสักขิ.
บุคคลบรรลุถึงที่สุดของทิฏฐิ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้บรรลุทิฏฐิ. ใน
ข้อนั้นมีลักษณะโดยสังเขปดังต่อไปนี้. อันบุคคลนั้น ได้รู้ ได้เห็น ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 236
ทราบ ได้ทำให้แจ้ง ได้ถูกต้องด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ความ
ดับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสุข ดังนี้ ฉะนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่าผู้บรรลุ
ทิฏฐิ. ก็บรรลุผู้บรรลุทิฏฐิแม้นี้ก็มี ๖ จำพวก โดยพิสดารเหมือนกายสักขิ-
บุคคล. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนใน
โลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงว่า นี้ คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว เป็นธรรมอันเธอเห็นแล้วด้วยปัญญา ประพฤติแล้วด้วยปัญญา
บุคคลนี้ เรียกว่าผู้บรรลุทิฏฐิ ดังนี้.
บทว่า สทฺธาวิมุตฺโต คือ บุคคลผู้พ้นแล้วด้วยศรัทธา. แม้บุคคล
ผู้พ้นด้วยศรัทธานั้นก็มี ๖ จำพวกโดยนัยก่อนนั้นแล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ฯลฯ นี้คือปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และธรรม
ทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นอันเธอเห็นแจ้งแล้วด้วยปัญญา
และประพฤติแล้วด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้หลุดพ้นแล้วด้วยศรัทธา
หาใช่ว่าย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง เหมือนการรู้ชัดของบุคคลผู้บรรลุทิฏฐิ
ไม่. ก็ในบุคคลสองประเภทนี้ การสิ้นกิเลสของบุคคลผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา
เหมือนกับเชื่อ ปลงใจเชื่อ และน้อมใจเชื่อ ในขณะแห่งมรรคอันเป็นส่วน
เบื้องต้น. ญาณอันเป็นเครื่องตัดกิเลสของบุคคลผู้บรรลุทิฏฐิ เป็นญาณไม่
เฉื่อยชา เป็นญาณที่คมกริบและแกล้วกล้า ย่อมนำไปในขณะแห่งมรรคอัน
เป็นส่วนเบื้องต้น เพราะฉะนั้น จึงเหมือนเมื่อบุคคลเอาดาบที่ไม่คมตัดต้น
กล้วย ที่ที่บุคคลตัดก็ไม่เกลี้ยง ทั้งดาบก็ไม่ผ่านไปได้โดยเร็ว บุคคลย่อมได้
ยินเสียง ที่ที่บุคคลตัดก็ไม่เกลี้ยง ทั้งดาบก็ไม่ผ่านไปได้โดยเร็ว บุคคลย่อมได้
อันเป็นส่วนเบื้องต้นของบุคคลผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธาเห็นปานนั้น ก็พึงทราบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
ฉันนั้น. อนึ่งเหมือน เมื่อบุคคลเอาดาบที่ลับดีแล้วตัดต้นกล้วย ที่ที่เขาตัดก็
เกลี้ยง ทั้งดาบก็ผ่านไปได้เร็ว บุคคลก็ไม่ได้ยินเสียง กิจคือความพยายาม
ด้วยกำลังมากก็ไม่มี ฉันใด มรรคภาวนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของบุคคลผู้
หลุดพ้นด้วยปัญญาเห็นปานนั้น ก็พึงทราบ ฉันนั้น.
บุคคลย่อมตามระลึกถึงธรรม ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธัมมานุสารี. ปัญญา
ชื่อว่าธรรม อธิบายว่า บุคคลย่อมเจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นเบื้องต้น.
แม้ในสัทธานุสารีบุคคลก็นัยนี้เหมือนกัน. บุคคลทั้งสองแม้เหล่านั้น คือ
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคนั่นเอง. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัญญินทรีย์ของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งโสดา-
ปัตติผล เป็นปัญญาที่มีประมาณอันยิ่ง บุคคลผู้ขวนขวายเพื่อได้มาซึ่งศรัทธา
ย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นเบื้องต้น บุคคลนี้ เรียกว่าสัทธานุสารี
บุคคล. อนึ่ง สัทธินทรีย์ของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลย่อม
มีประมาณมากยิ่งนัก บุคคลผู้ขวนขวายเพื่อได้มาซึ่งศรัทธา ย่อมเจริญอริย-
มรรคอันมีศรัทธาเป็นเบื้องต้น บุคคลนี้เรียกว่าสัทธานุสารีบุคคล. ความ
สังเขปในเรื่องนี้เพียงเท่านี้. ส่วนกถาว่าด้วยอุภโตภาควิมุตตะเป็นต้นนี้
ท่านกล่าวไว้แล้วในอธิการแห่งปัญญาภาวนา ในปกรณ์พิเศษชื่อวิสุทธิมรรค
โดยพิสดาร. ฉะนั้น พึงทราบวิตถารกถา โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ใน
วิสุทธิมรรคนั้นแล. คำที่เหลือแม้ในที่นี้พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
โพชฌงค์ ๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปธาน ด้วยอำนาจการเริ่ม
ตั้งความเพียร ในบทนี้ว่า ปธาเนสุ ดังนี้. กถาโดยพิสดารของโพชฌงค์ ๗
เหล่านั้นพึงทราบ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน.
คำที่เหลือแม้ในที่นี้พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล. ในคำว่า ทุกฺขาปฏิ-
ปทา เป็นต้น มีนัยโดยพิสดารดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 238
ในบาลีประเทศนั้น ปัญญาทั้งปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ ได้ช้า เป็นอย่างไร
คือ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ธรรมวิจัย สัมมาทิฏฐิ อันใด ของ
บุคคลผู้ให้สมาธิเกิดขึ้นได้โดยยากลำบาก ทั้งรู้ฐานะนั้นช้า นี้เรียกว่า
ปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า.
บาลีประเทศนั้น ปัญญาอันปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เป็น
อย่างไร คือ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ สัมมาทิฏฐิ อันใด ของบุคคลผู้ให้สมาธิ
เกิดขึ้นได้โดยยากลำบาก แต่รู้ฐานะนั้นได้โดยฉันพลัน นี้เรียกว่า
ปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว.
ในบาลีประเทศนั้น ปัญญาอันปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ ช้าเป็นอย่าง
ไร คือ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ สัมมาทิฏฐิ อันใด ของบุคคลผู้ให้สมาธิเกิด
ขึ้นโดยไม่ยากไม่ลำบาก รู้ฐานะนั้นได้อย่างช้า นี้เรียกว่าปัญญาอันเป็นข้อ
ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า.
ในบาลีประเทศนั้น ปัญญาอันปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว เป็น
อย่างไร คือ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ สัมมาทิฏฐิอันใด ของบุคคลผู้ให้สมาธิ
เกิดขึ้นโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ทั้งรู้ชัดฐานะนั้นอย่างเร็วพลัน นี้เรียกว่า
ปัญญาอันเป็นข้อปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว.
ความสังเขปในที่นี้ เท่านี้. ส่วนความพิสดารท่านกล่าวไว้แล้ว
ในวิสุทธิมรรค. คำที่เหลือแม้ในที่นี้พึงประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
บทว่า น เจว มุสาวาทูปสญฺหิต ความว่า ภิกษุบางรูปใน
ศาสนานี้ดำรงอยู่ในภัสสสมาจาร (มารยาทเกี่ยวกับการพูด) บ้าง ไม่เข้า
ไปตัดกถามรรคกล่าวบ้าง ย่อมไม่กล่าววาจาอันประกอบด้วยมุสาวาทเลย
เว้นโวหารอันไม่ประเสริฐ ๘ อย่างเสีย กล่าววาจาอันประกอบด้วยโวหาร
อันประเสริฐ ๘ อย่างเท่านั้น. บทว่า น จ เวภูติย ความว่า ภิกษุบางรูป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 239
ในศาสนานี้แม้ดำรงในภัสสสมาจาร ย่อมไม่กล่าววาจาอันทำความแตก
ร้าวกัน. คำว่า เปสุณิย นั้นเป็นไวพจน์ของคำว่า เวภูติย นั้น. ความ
จริง วาจาอันทำความแตกร้าวกันท่านเรียกว่า เปสุณิย เพราะทำความ
เป็นที่รักกันให้สูญหาร. พระมหาสิวเถระกล่าวว่า คำว่า เปสุณิย นั้นเป็น
ชื่อของวาจานั้น. บทว่า น จ สารมฺภช ความว่า วาจาใดเกิด เพราะ
การแข่งดี ภิกษุ ย่อมไม่กล่าววาจานั้น เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทุศีล หรือ
ว่า ท่านทุศีล อาจารย์ของท่านก็ทุศีล หรือเมื่อเขากล่าวว่า ท่านต้องอาบัติ
ย่อมไม่กล่าววาจา ที่เป็นไปด้วยการกล่าวซัดไปภายนอก หรือวาจาที่ยิ่งกว่า
การกระทำ โดยนัยเป็นต้นว่า เราไปเที่ยวบิณฑบาตจนถึงเมืองปาฏลีบุตร
ดังนี้. บทว่า ชยาเปกฺโข คือ เป็นผู้มุ่งต่อชัยชนะ. อธิบายว่า ภิกษุผู้เพ่งถึง
ชัยชนะคือหวังชัยชนะเป็นเบื้องหน้า ย่อมไม่กล่าว เหมือนหัตถกศากยบุตร
กล่าววาจาจริงเละเหลาะแหละอย่างใดอย่างหนึ่งว่า ธรรมดาพวกเดียรถีย์
บุคคลพึงชนะ ด้วยธรรมบ้าง ด้วยอธรรมบ้าง ดังนี้. ปัญญาท่านเรียกว่า
มันตา ในคำว่า มนฺตา มนฺตา จ วาจ ภาสติ นี้. กล่าววาจา ด้วยปัญญา
ชื่อว่ามันตา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มนฺตา คือ ใคร่ครวญแล้ว. มีคำอธิบาย
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้ดำรงอยู่ในภัสสสมาจาร
เมื่อกล่าวตลอดทั้งวันก็ใคร่ครวญด้วยปัญญา กล่าวเฉพาะถ้อยคำอันสมควร
เท่านั้น. บทว่า นิธานวตึ คือ ควรเพื่อจะฝังไว้ แม้ในใจ. บทว่า กาเลน
คือ ตามกาลอันควรแล้วและถึงแล้ว. ความจริง วาจาอันบุคคลกล่าวแล้วอย่าง
นี้ย่อมเป็นวาจาที่ไม่เท็จ ไม่ส่อเสียด ไม่หยาบ ไม่โอ้อวดไม่เพ้อเจ้อ. ก็
วาจาเห็นปานนี้นี้เรียกว่า วาจาอิงอาศัยสัจจะ ๔ บ้าง วาจาอิงอาศัย
ไตรสิกขาบ้าง วาจาอิงอาศัยกถาวัตถุ ๑๐ บ้าง วาจาอิงอาศัยธุดงคคุณ ๑๓
บ้าง วาจาอิงอาศัยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการบ้าง วาจาอิงอาศัยมรรคบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า เอตทานุตฺตริย ภนฺเต ภสฺส-
สมาจาเร ดังนี้. คำนั้น พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
หลายบทว่า สจฺโจ จสฺส สทฺโธ จ ความว่า ภิกษุในพระ
ศาสนานี้ผู้ตั้งอยู่ในสีลาจาร พึงเป็นผู้จริง กล่าววาจาจริง พึงเป็นผู้มีศรัทธา
และถึงพร้อมด้วยศรัทธา. ถามว่า สัจจะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
หนหลังแล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้พระองค์จึงตรัสไว้อีกเล่า.
ตอบว่า วาจาสัจพระองค์ตรัสไว้แล้วในหนหลัง. ในที่นี้พระองค์ตรัสไว้
เพื่อทรงแสดงว่า ก็ภิกษุดำรงอยู่ในลีลาจารแล้วย่อมไม่กล่าวมุสาวาท โดย
ที่สุดแม้ด้วยการกล่าวให้หัวเราะกัน. บัดนี้พระเถระเพื่อจะแสดงว่า โดย
นั้นย่อมสำเร็จการเป็นอยู่โดยธรรมสม่ำเสมอ ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
น จ กุหโก ดังนี้เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กุหโก เป็นต้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายพิสดาร แล้วในพรหมชาลสูตร. หลายบทว่า
อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โภชเน มตฺตญฺญู ความว่า เป็นผู้คุ้มครอง
ทวารดีแล้วในอินทรีย์ทั้ง ๖ ทั้งเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ. บทว่า
สมการี คือ ผู้มีปกติสม่ำเสมอ. อธิบายว่า ภิกษุ ในพระศาสนา
นี้เว้นเหตุมีการคดทางกายเป็นต้น ประพฤติสม่ำเสมอทางกายวาจาและ
ใจ. บทว่า ชาคริยานุโยคมนุยุตฺโต ความว่า ภิกษุย่อมขวนขวายประ-
กอบความเป็นผู้ตื่นอยู่ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุพึงแบ่ง
กลางวันและกลางคืนออกเป็น ๖ ส่วน แล้วพึงประกอบความเพียรในกลาง
วันด้วยการจงกรมและนั่ง. บทว่า อตนฺทิโต คือ ได้แก่ ไม่เกียจคร้าน คือ
เว้นจากการเกียจคร้านทางกาย. บทว่า อารทฺธวีริโย ความว่า เป็นผู้เริ่ม
ความเพียรแม้ด้วยความเพียรทางกาย บรรเทาความเกี่ยวข้องด้วยหมู่เสียแล้ว
อยู่แต่ผู้เดียว ด้วยอำนาจอารัพภวัตถุ ๘ ในอิริยาบถทั้ง ๔. เป็นผู้เริ่มความ
เพียรแม้ด้วยความเพียรทางใจ บรรเทาความเกี่ยวข้องด้วยกิเลสเสีย อยู่แต่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
ผู้เดียวด้วยอำนาจสมาบัติ ๘. อีกอย่างหนึ่ง ห้ามการเกิดขึ้นแห่งกิเลสเสีย
แล้วโดยประการใดประการหนึ่ง ก็จัดว่าเป็นผู้เริ่มความเพียรด้วยความเพียร
ทางใจเหมือนกัน. บทว่า ฌายี คือ เป็นผู้เพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌานและ
ลักขณูปนิชฌาน. บทว่า สติมา คือประกอบด้วยสติอันสามารถระลึกถึง
กิจที่ทำไว้นานแล้วได้เป็นต้น. บทว่า กลฺยาณปฏิภาโณ คือสมบูรณ์ด้วย
การพูดดีและสมบูรณ์ด้วยปฏิภาณ. ก็บุคคลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ
มิใช่เป็นผู้ขาดปฏิภาณ. จริงอยู่ ภิกษุดำรงอยู่ในสีลสมาจารหาได้ขาด
ปฏิภาณไม่. อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ ย่อมเป็นเหมือนพระวัง-
คีสเถระฉะนั้น. บทว่า คติมา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันสามารถใน
การดำเนินไป. บทว่า ธิติมา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันสามารถในการทรง
จำไว้. ก็ คำว่า มติ ในคำว่า มติมานี้ เป็นชื่อของปัญญาแท้ ฉะนั้น อธิบาย
ว่า ผู้มีปัญญา ปัญญานั้นเองท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ในบาลีประเทศนั้น ความเพียรเป็นเครื่องทำสมณธรรมท่าน
กล่าวไว้ในหนหลัง. ในที่นี้ ท่านกล่าวความเพียรเป็นเครื่องเล่าเรียน
พระพุทธพจน์. อนึ่ง วิปัสสนาปัญญา ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง ใน
ที่นี้ท่านกล่าวถึงปัญญาเป็นเครื่องเล่าเรียนพระพุทธพจน์. หลายบทว่า
น จ กาเมสุ คิทฺโธ คือ เป็นผู้ไม่ติดในวัตถุกามและกิเลสกาม. หลาย
บทว่า สโต จ นิปโก จเร ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วย
สติและด้วยญาณในฐานทั้ง ๗มีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นเที่ยวไป. ปัญญา
ชื่อ เนปักกะ ภิกษุท่านกล่าวว่ามีปัญญา ดังนี้ เพราะประกอบด้วยปัญญา
นั้น คำที่เหลือในที่นี้พึงประกอบเข้าด้วยนัยก่อนนั้นแล
บทว่า ปจฺจตฺต โยนิโสมนสิการา คือ ด้วยการทำไว้ในใจ โดย
อุบายของพระองค์. บทว่า ยถานุสิฏฺ ตถาปฏิปชฺชมาโน คือเป็นผู้
ปฏิบัติตามที่เราได้ให้อนุศาสน์พร่ำสอนไว้. คำเป็นต้นว่า ติณฺณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 242
สญฺโณชนาน ปริกฺขยา มีเนื้อความดังกล่าวแล้ว. คำที่เหลือแม้ในที่นี้
พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า ปรปุคฺคลวิมุตฺติาเณ คือ ในญาณเครื่องหลุดพ้นจาก
กิเลสด้วยมรรคนั้น ๆ ของบุคคลอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้น. คำที่เหลือในที่
นี้ พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า อมุตฺราสึ เอวนาโม ความว่า บุคคลหนึ่งเมื่อระลึกบุพเพ
นิวาส ย่อมกำหนดชื่อและโคตรไปได้. บุคคลหนึ่งระลึกได้แต่ขันธ์ล้วนๆเท่า
นั้น. คนหนึ่งสามารถระลึกได้คนหนึ่งไม่สามารถ. ในที่นั้น มิได้ถือเอาด้วย
อำนาจแห่งผู้สามารถ.ได้ถือเอาด้วยอำนาจแห่งผู้ไม่สามารถก็ผู้ไม่สามารถ
จะทำอะไรได้. บุคคลนั้นระลึกเฉพาะแต่ขันธ์ล้วน ๆไป ดำรงอยู่ในที่สุด
หลายแสนชาติ หยั่งญาณลงกำหนดนามและโคตร. พระสารีบุตรเถระเมื่อ
จะแสดงนามและโคตรนั้นจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวนาโม ดังนี้. บทว่า
โส เอวมาห คือ บุคคลผู้ถือทิฏฐินั้นได้กล่าวอย่างนี้. ในบาลีประเทศนั้น
เมื่อบุคคลนั้นกล่าวว่าเที่ยง แล้วกล่าวว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมท่องเที่ยวไป ดังนี้
คำพูดย่อมมีเบื้องต้นและเบื้องปลายขัดแย้งกันก็จริง. แต่บุคคลนั้นกำหนดคำ
นั้นไม่ได้เพราะเป็นผู้ยึดถือทิฏฐิ. ความจริงฐานะหรือการกำหนดของผู้ยึด
ถือทิฏฐิย่อมไม่มี. คำนั้นทานให้พิสดารแล้วในพรหมชาลสูตรว่า บุคคลนั้น
ถือเอาสิ่งนี้แล้วก็ปล่อยสิ่งนี้ ครั้นปล่อยสิ่งนี้แล้วก็ยึดถือเอาสิ่งนี้ ดังนี้. ด้วย
คำว่า อย ตติโย สสฺสตวาโท นี้ พระเถระกล่าวบุคคลผู้เป็นสัสสตวาทะ
ไว้ ๓ ประเภทด้วยอำนาจแห่งฌาณลาภีบุคคลเท่านั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสบุคคล ๔ ประเภทไว้ในพรหมชาลสูตร เพราะรวมเอาแม้บุคคลที่เป็น
ตักกีวาทะเข้าไว้ด้วย. ก็คำกล่าวพิสดารของบุคคลผู้มีวาทะ ๓ ประเภทนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 243
พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร คำที่เหลือแม้ในที่นี้
พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อน
บทว่า คณนาย วา คือ ด้วยการนับเป็นหมวด. บทว่า สงฺขาเนน คือ
ด้วยการนับด้วยใจโดยไม่ให้ขาดสายโดยสองวิธีนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเฉพาะการนับเป็นหมวด มีคำอธิบายที่พระสารีบุตรกล่าวไว้
ว่า ใครไม่สามารถที่จะทำเป็นหมวดด้วยอำนาจ ร้อย พัน แสน
โกฏิแห่งปีทั้งหลาย แล้วนับว่า ร้อยปีเท่านั้น ดังนี้ หรือว่าฯลฯ โกฏิปีเท่านี้ .
พระเถระย่อมแสดงว่า เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ
เพราะพระองค์ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณ เพราะพระอนาวรญาณของพระ
องค์ดำเนินไปแก่กล้า พระองค์จึงทรงมีความฉลาดในเทศนาญาณเป็นเบื้อง
หน้า ทำให้มีที่สุดด้วยการนับปี แม้ด้วยการนับกัปก็กำหนดแสดงว่ามี
ประมาณเท่านี้ได้. เนื้อความในบาลี มีนัยกล่าวแล้วในบาลีนี้. คำที่เหลือ
แม้ในที่นี้ก็พึงประกอบเข้าโดยนัยก่อนนั้นแล. ด้วยหลายบทว่า เอตทานุตฺ-
ตริย ภนฺเต สตฺตาน จุตูปปาตญาเณ พระเถรย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญญาณเทสนา ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายนี้ใด
มีอยู่ ญาณเทสนานั้นจัดเป็นยอดเยี่ยมของพระองค์ แม้พระพุทธเจ้าในอดีต
ทั้งหลายก็ทรงแสดงอย่างนี้เหมือนกัน. แม้พระพุทธเจ้าในอนาคต ก็จักทรง
แสดงอย่างนี้เหมือนกัน. พระองค์ทรงเทียบเคียงด้วยพระญาณของพระ-
พุทธเจ้าทั้งในอดีตและในอนาคตเหล่านั้นแล้วทรงแสดง ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ด้วยเหตุแม้นี้ ข้าพระองค์มีความเสื่อมใสพระมีพระภาคเจ้าอย่างนี้.
ก็เนื้อความของพระบาลีในที่นี้ ท่านก็ให้พิสดารแล้วเหมือนกัน.
สองบทว่า สาสวา สอุปธิกา คือ ฤทธิ์ที่มีโทษ คือ มีข้อติเตียน.
หลายบทว่า โน อริยาติ วุจฺจติ ความว่า ฤทธิ์เช่นนั้นไม่เรียกว่าฤทธิ์อันเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 244
อริยะ. สองบทว่า อนาสวา อนุปธิกา คือไม่มีโทษ ได้แก่ ไม่มีข้อน่าติเตียน.
สองบทว่า อริยาติ วุจฺจติ คือ ฤทธิ์เช่นนี้เรียกว่าฤทธิ์อันเป็นอริยะ. หลาย
บทว่า อปฺปฏิกูลสญฺี ตตฺถ วิหรติ ความว่า ภิกษุย่อมมีความสำคัญใน
สิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร. คือ เธอย่อมแผ่เมตตาไปในสัตว์ที่ปฏิกูลคือ
รวมความสำคัญว่าเป็นธาตุลงในสังขาร. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ
เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลนั้นอย่างไร คือ เธอย่อมแผ่
เมตตาไปในวัตถุอันไม่น่าปรารถนา หรือรวมลงโดยเป็นธาตุดังนี้. หลาย
บทว่า ปฏิกูลสญฺี ตตฺถ วิหรติ ความว่า ภิกษุย่อมแผ่อสุภสัญญาไป
ในสัตว์ซึ่งไม่ปฏิกูล คือรวมอนิจจสัญญาลงในสังขาร. เหมือนอย่างที่
ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่า ปฏิกูลอยู่อย่างไร
คือ เธอย่อมแผ่ไปด้วยอสุภสัญญาในวัตถุที่น่าปรารถนาหรือรวมลง โดย
เป็นของไม่เที่ยง ดังนี้. พึงทราบเนื้อความแม้ในบทที่เหลืออย่างนี้. หลาย
บทว่า อุเปกฺขโก ตตฺถ วิหรติ ความว่า ภิกษุไม่กำหนัดในอารมณ์ที่น่า
ปรารถนา และไม่ชังในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ทั้งไม่ให้โมหะเกิด
ขึ้น เหมือนชนเหล่าอื่นให้โมหะเกิดขึ้น ด้วยการเพ่งอารมณ์อันไม่มีส่วน
เสมอ เป็นผู้วางเฉยในอารมณ์ทั้ง ๖ ด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ อยู่. หลายบทว่า
เอตทานุตฺตริย ภนฺเต อิทฺธิวิธาสุ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
นี้จัดว่าเป็นเทศนา อันยอดเยี่ยมอย่างนี้ในฝ่ายฤทธิ์ทั้งสอง
บทว่า ต ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ยิ่งซึ่งเทศนา
นั้นทั้งสิ้นไม่เหลือเลย. สองบทว่า ต ภควโต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงรู้ยิ่งซึ่งเทศนานั้นโดยไม่เหลือ. หลายบทว่า อุตฺตริ อภิญฺเยฺย นตฺถิ
ความว่า ธรรมที่จะพึงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ย่อมไม่มี คือ คำนี้ว่า ธรรม
หรือบุคคลอื่นจากนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบ ดังนี้ ย่อมไม่มีเลย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 245
หลายบทว่า ยทภิชาน อญฺโ สมโณ วา ความว่า สิ่งใดที่พระองค์ไม่รู้
สมณะหรือพราหมณ์อื่นจะรู้สิ่งนั้น เป็นผู้มีความรู้ยิ่งกว่า คือ มีปัญญามาก
กว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า. คำว่า ยทิท ในคำว่า อทิท อิทฺธิวิธาสุ เป็นเพียง
นิบาต. บุคคลผู้ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในฝ่ายอิทธิวิธี ย่อมไม่มีเลย. ความ
จริงแม้พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายก็ทรงแสดงฤทธิ์ ๒ อย่างเหล่านี้. แม้พระ
พุทธเจ้าในอนาคตก็จักแสดงทั้ง ๒ เหล่านี้. แม้พระองค์ทรงเทียบเคียง
ด้วยญาณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ก็ทรงแสดงฤทธิ์เหล่านี้แหละ.
พระเถระเมื่อจะแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นทรงยอดเยี่ยมในฝ่าย
อิทธิวิธีดังพรรณนามาฉะนี้ ดังนี้ จึงแสดงว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วย
เหตุนี้ ข้าพระองค์จึงมีความเสื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระธรรมเสนาบดีนั่งในที่พักกลางวันแล้ว
พิจารณาธรรมอื่นต่อไป ๑๖ อย่างเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นเป็นอันท่านแสดง
แล้ว. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยอาการแม้
อื่นอีกจึงทูลคำเป็นต้นว่า ยนฺต ภนฺเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สทฺเธน กุลปุตฺเตน ความว่า
พระโพธิสัตว์ซึ่งมีในอดีตอนาคตและปัจจุบัน ชื่อว่ากุลบุตรผู้มีศรัทธา.
เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า สิ่งใดที่พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พึงบรรลุ. ถาม
ว่า ก็อะไรที่พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พึงบรรลุ. ตอบว่า โลกุตตรธรรม ๙ อัน
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์นั้นพึงบรรลุ. คำทั้งหมดเป็นต้นว่า วิริย ถาโม ใน
บทว่า อารทฺธวิริเยน เป็นต้นนี้ เป็นไวพจน์ของความเพียร. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่า อารทฺธวิริเยน คือ ผู้ประคองความเพียร. บทว่า ถามวตา คือ
สมบูรณ์ด้วยกำลัง คือ มีความเพียรแข็งแรง. บทว่า ปุริสถามน อธิบาย
ว่า สิ่งใดที่พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ผู้มีเรี่ยวแรงนั้น พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 246
บุรุษ. ในสองบทที่ถัดไป ก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน บทว่า ปุริสโธเรยฺเหน
คือ มหาบุรุษผู้สามารถเพื่อจะนำธุระ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีธุระหาผู้
เสมอไม่ได้ พึงนำไป. ด้วยสองบทว่า อนุปฺปตฺต ต ภควตา พระเถระย่อม
แสดงว่าสิ่งนั้น ทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตทั้งในอนาคตพึงบรรลุ
สิ่งนั้นทั้งหมดพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตามบรรลุได้แล้ว แม้คุณอย่างหนึ่งจะ
พร่องไปก็หามีไม่ ดังนี้.
สองบทว่า กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยค คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ทรงตามประกอบกามสุขในฝ่ายวัตถุกาม. พรแถระ ย่อมแสดงว่า สมณ-
พราหมณ์เหล่าอื่นมีเกณิยชฎิลเป็นต้นคิดกันว่า ใครจะรู้ปรโลก การที่
นางปริพพาชิกานี้เอาแขนที่มีขนอ่อนนุ่มมาสัมผัสเป็นความสุข ดังนี้ จึงปรน
เปรอด้วยพวกนางปริพพาชิกาซึ่งผูกมวยผมเป็น ๓ หย่อม พวกเขาพากันเสวย
อารมณ์มีรูปเป็นต้นที่สมบูรณ์อย่างยิ่ง ตามประกอบความสุขในกาม ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าหาทรงประกอบเช่นนั้นไม่. บทว่า หีน คือ เลวทราม.
บทว่า คมฺม คือ เป็นธรรมของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิก คือ อันปุถุชน
ควรเสพ. บทว่า อนริย คือ จะไม่มีโทษก็หามิได้ หรืออันพระอริยะทั้ง-
หลายไม่ควรเสพ. บทว่า อนตฺถสญฺหิต คือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
บทว่า อตฺตกิลมถานุโยค คือ การตามประกอบความเพียรอันทำตนให้
เดือดร้อนและเร่าร้อน. บทว่า ทุกฺข คือ ประกอบด้วยทุกข์ หรือทนได้ยาก.
สมณพราหมณ์บางเหล่าคิดกันว่า พวกเราจักงดเว้นซึ่งความประกอบความสุข
ทางกาม ดังนี้ จึงพากันแล่นไปสู่ความลำบากทางกาย ต่อแต่นั้น ก็คิดว่าเรา
จักพ้นจากความลำบากนั้นดังนี้ จึงพากันแล่นไปสู่ความสุขทางกาย ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าหาเป็นเช่นนั้นไม่. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเว้นที่สุด
๒ อย่างเหล่านั้นแล้ว ทรงปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ ที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 247
ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ที่พระตถาคตรู้ยิ่งแล้ว กระทำให้แจ้งด้วย
จักษุมีอยู่ ดังนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า น จ อตฺตกิลมถานุโยค ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า อภิเจตสิการน คือ เกิดขึ้นในอภิจิต อธิบายว่า ล่วงกามา-
วจรจิตแล้วดำรงอยู่. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราน คือ อันให้อยู่อย่างสบาย
ในอัตภาพนี้นั้นเอง. ความจริง ทุติยฌานผลสมาบัติพร้อมด้วยปีติ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในโปฏฐปาทสูตร. ฌานซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนาพร้อม
ด้วยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปาสาทิกสูตร. ผลสมาบัติอันนับ
เนื่องในจตุตถฌาน พระองค์ตรัสไว้ ในทสุตตรสูตร. ในสัมปสาทนียสูตรนี้
ได้ตรัสฌานอันเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. บทว่า นิกามลาภี คือ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ฌานความปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ
ทรงได้โดยไม่ยากลำบาก. บทว่า อกสิรลาภี คือ ทรงได้อย่างไพบูลย์.
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา คือ ในหมื่นโลกธาตุ. ความจริง
เขตแดนมี ๓ อย่างคือ ชาติเขต อาณาเขต วิสัยเขต. ในบรรดาเขต ทั้ง
๓ นั้น หมื่นโลกธาตุ ชื่อชาติเขต. ก็ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จก้าวลงสู่
พระครรภ์ของพระมารดา ในเวลาเสด็จออกจากพระครรภ์ ในเวลาตรัสรู้
ในเวลาประกาศพระธรรมจักร ในเวลาปลงพระชนมายุสังขารและใน
คราวปรินิพพาน โลกธาตุนั้นย่อมหวั่นไหว. ส่วนแสนโกฏิจักรวาลชื่อ
ว่า อาณาเขต. แท้จริง อาณาของอาฏานาฏิยปริตร โมรปริตร ธชัคค-
ปริตร และรัตนปริตร เป็นต้น ย่อมเป็นไปในแสนโกฏิจักรวาล. ส่วนวิสัย
เขต ไม่มีปริมาณเลย. ความจริง ชื่อว่าสิ่งอันมิใช่วิสัยของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะพระบาลีว่า ญาณมีเท่าใด สิ่งที่พระองค์พึงรู้ก็มี
เพียงนั้น สิ่งที่พระองค์พึงรู้มีเท่าใด ญาณก็มีเพียงนั้น สิ่งที่พระองค์พึงรู้มี
ญาณเป็นที่สุด ญาณก็มีสิ่งที่พระองค์พึงรู้เป็นที่สุด ดังนี้. พระสูตรว่า ก็ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 248
เขตทั้ง ๓ เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลอื่น เว้น
จักรวาลนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มี แต่พระสูตรว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรง
อุบัติขึ้น ดังนี้มีอยู่. ปิฎกมี ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก.
การสังคายนามี ๓ ครั้ง คือ การสังคายนาที่พระมหากัสสปะกระทำ ๑ สัง
คายนาที่พระยสเถระกระทำ ๑ สังคายนาที่พระโมคคัลลีบุตรเถระกระทำ
๑. ในพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่ สัง-
คายนาทั้ง ๓ ครั้งเหล่านี้ ก็ไม่มีพระสูตรว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติ
ในจักรวาลอื่นนอกจักรวาลนี้ แต่พระสูตรว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อม
ไม่ทรงอุบัติขึ้น ดังนี้ มีอยู่.
บทว่า อปุพฺพ อจริม ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรง
อุบัติขึ้นพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลัง มีคำอธิบายว่า ย่อมทรงอุบัติขึ้นกาลก่อน
หรือในภายหลัง. ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โพธิ-
บัลลังก์นั้นด้วยตั้งใจว่า เราไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วจักไม่ลุกขึ้น จน
กระทั่งถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา ไม่ควรเข้าใจว่า เป็นเวลา
ก่อน. เพราะได้ทำการกำหนดเขตไว้แล้ว ด้วยการหวั่นไหวแห่งหมื่น
จักรวาล ในขณะที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ แม้การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า
พระองค์อื่น เป็นอันห้ามแล้ว. อนึ่งระยะเวลานับแต่ปรินิพพานจนกระทั่ง
พระธาตุทั้งหลายแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังดำรงอยู่ ก็ไม่พึงเข้าใจว่า
เป็นเวลาภายหลัง. เพราะเมื่อพระธาตุทั้งหลายยังดำรงอยู่ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ทีเดียว. เพราะฉะนั้น การอุบัติขึ้นของพระพุทธ-
เจ้าพระองค์อื่นในระหว่างนี้ จึงเป็นอันห้ามแล้ว. แต่เมื่อการปรินิพพาน
ของพระธาตุเกิดขึ้น การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นเป็นอันไม่
ห้ามแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 249
จริงอยู่ อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัตติอันตรธาน ๑ ปฏิเวธ-
อันตรธาน ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน ๑. ในอันตรธานเหล่านั้น พระไตร-
ปิฎกชื่อว่า ปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะชื่อว่าปฏิเวธ. ข้อปฏิบัติชื่อว่า
ปฏิบัติ. ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ ย่อมมีบ้าง ย่อมไม่มีบ้าง. ก็
ในกาลหนึ่ง หมู่ภิกษุผู้ทรงปฏิเวธมีมาก. ภิกษุนั้นพึงถูกชี้นิ้วแสดงว่า
ภิกษุรูปนี้เป็นปุถุชน. ในทวีปเดียวเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน
คราวเดียวกันหามีไม่. เหล่าภิกษุแม้ผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติในกาลบางครั้งมี
มาก ในกาลบางครั้งมีน้อย. ปฏิเวธและการปฏิบัติย่อมมีบ้าง ย่อมไม่มี
บ้างด้วยประการฉะนี้. แต่ว่าปริยัติย่อมเป็นประมาณของการดำรงอยู่ได้
ของพระศาสนา. เพราะบัณฑิตทั้งหลายได้ฟังพระไตรปิฎกแล้วย่อมบำเพ็ญ
ได้ทั้งปฏิบัติและปฏิเวธทั้งสอง. พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายให้อภิญญา ๕
และสมาบัติ ๘ บังเกิดขึ้นในสำนักของอาราฬดาบสแล้ว ตรัสถามบริกรรม
ของเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อาฬารดาบสทูลว่า ข้าพระองค์ไม่
ทราบ ดังนี้ ต่อแต่นั้นพระโพธิสัตว์นั้นจึงเสด็จไปสู่สำนักของอุทกดาบส แล้ว
ทรงเทียบเคียงคุณวิเศษ ที่พระองค์บรรลุแล้ว ตรัสถาม การบริกรรมของเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อุทกดาบสนั้นก็ทูลแจ้งให้ทรงทราบ พระ-
มหาสัตว์ก็ทรงให้ฌานนั้นเกิดขึ้น ในลำดับแห่งถ้อยคำของอุทกดาบส
นั้น ฉันใด ภิกษุผู้ปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ฟังปริยัติธรรมแล้ว ก็ย่อม
บำเพ็ญทั้งปฏิบัติและปฏิเวธทั้งสองได้. เพราะฉะนั้น เมื่อพระปริยัติดำรง
อยู่ได้ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ได้. แต่ในกาลใด ปริยัตินั้นอันตรธานไป
ในกาลนั้น อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมไปก่อน. ไปอภิธรรมนั้น พระปัฏฐาน
ย่อมอันตรธานไปก่อนกว่าอย่างอื่นทั้งหมด. ธรรมสังคหะย่อมเสื่อมในภาย
หลังตามลำดับ. เมื่ออภิธรรมปิฎกนั้นเสื่อมไป แม้เมื่อปิฎกทั้งสองนอกนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 250
ยังดำรงอยู่ ศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้แท้. ในปิฎกเหล่านั้นเมื่อพระสุต-
ตันตปิฎกอันตรธาน อังคุตตรนิกายย่อมเสื่อมไปก่อน ตั้งแต่หมวดที่ ๑๑ จน
ถึงหมวด ๑. ในลำดับนั้นสังยุตตนิกาย ก็เสื่อมไป เริ่มแต่จักกเปยยาล จน
ถึงโอฆตรณสูตร. ในลำดับนั้น มัชฌิมนิกาย ก็อันตรธานเริ่มตั้งแต่อินทรีย-
ภาวนาจนถึงมูลปริยายสูตร. ในลำดับนั้น ทีฆนิกายก็อันตรธานเริ่มแต่
ทสุตตรสูตรจนถึงพรหมชาลสูตร. คำถามของคาถาหนึ่งก็ดี สองคาถาก็ดี
ย่อมอยู่ไปนาน ย่อมไม่สามารถดำรงศาสนาไว้ได้ เช่นสภิยปุจฉาและอาฬ-
วกปุจฉา. ได้ยินว่า ระหว่างกาลของพระกัสสปะพุทธเจ้าหนึ่งไม่สามารถ
จะดำรงศาสนาไว้ได้. ก็เมื่อปิฎกทั้งสองถึงจะอันตรธานไป เมื่ออุภโต
วิภังค์ยังดำรงอยู่ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ ได้แท้. เมื่ออุภโตควิภังค์อันตร
ธานไป แม้เมื่อมาติกายังดำรงอยู่ ศาสนาก็เป็นอันตั้งอยู่ได้แท้. เมื่อ
มาติกาอันตรธานไป เมื่อปาฏิโมกข์ บรรพชา และอุปสมบท ยังดำรงอยู่
ศ าสนาก็ย่อมดำรงอยู่ได้. เพศยังเป็นไปอยู่ได้นาน. แต่วงศ์ของสมณะ
ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้ตั้งแต่กาลของพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามกว่ากัสสปะ. ศาสนาดำรงอยู่ได้ตลอดพันปีด้วยภิกษุผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้ทรงอภิญญา ๖ ดำรงอยู่ได้พันปี
ด้วยภิกษุผู้ทรงวิชชา ๓ ดำรงอยู่ได้พันปีด้วยภิกษุผู้เป็นสุกขวิปัสสกะ ดำรง
อยู่ได้พันปีด้วยเหล่าภิกษุผู้ทรงปาฏิโมกข์. ก็ศาสนาย่อมมีอันทรุดลงตั้งแต่
การแทงตลอดสัจจะของภิกษุรูปหลัง ๆ และแต่การทำลายศีลของภิกษุรูป
หลัง ๆ. จำเดิมแต่นั้นไป การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นท่าน
มิได้ห้ามไว้.
ขึ้นชื่อว่าปรินิพพานมี ๓ อย่างคือ กิเลสปรินิพพาน ๑ ขันธ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
ปรินิพพาน ๑ ธาตุปรินิพพาน ๑. ในปรินิพพานทั้ง ๓ อย่างนั้น การ
ดับรอบแห่งกิเลสได้มีแล้วที่โพธิบัลลังก์ การดับรอบแห่งขันธ์ได้มีที่เมือง
กุสินารา การดับแห่งธาตุจักมีในอนาคต. ได้ยินว่า ในเวลาที่ศาสนา
ทรุดลง พระธาตุทั้งหลายก็จักไปรวมกันอยู่ในมหาเจดีย์ในเกาะตามพปัณ-
ณีทวีปนี้ ต่อจากมหาเจดีย์ก็จักไปรวมกันอยู่ที่ราชายตนเจดีย์ในนาคทวีป
ต่อแต่นั้น ก็จักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์. พระธาตุทั้งหลายจากภพแห่งนาค
ก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์ทีเดียว. พระธาตุแม้มีประมาณ
เท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ก็จักไม่อันตรธานไปเลย. พระธาตุทั้งหมดก็จะรวม
กันเป็นกองอยู่ในมหาโพธิบัลลังก์ รวมกันอยู่แน่นเหมือนกองทองคำฉะนั้น
เปล่งฉัพพัณณรังสีออกมา. พระธาตุเหล่านั้นจักแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ.
ต่อแต่นั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมพร้อมกันแล้ว กล่าวกันว่า
พระศาสดาย่อมปรินิพพานไปในวันนี้ ศาสนาก็ย่อมทรุดโทรมไปในวันนี้
นี้เป็นการได้เห็นครั้งสุดท้ายของเราทั้งหลายในบัดนี้ ดังนี้แล้ว จักพากัน
กระทำความกรุณาอันยิ่งใหญ่ กว่าวันที่พระทศพลปรินิพพาน. เว้นพระ
อนาคามีและพระขีณาสพเสีย ภิกษุที่เหลือก็จักไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดย
ภาวะของตน. เตโชธาตุในบรรดาธาตุทั้งหลาย ก็จักลุกพุ่งขึ้นไปจนถึงพรหม
โลก เมื่อมีพระธาตุแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาดอยู่ ก็จักลุกเป็นเปลวเดียวกัน
เมื่อธาตุทั้งหลายถึงความหมดแล้ว เตโชธาตุก็จักดับหายไป. เมื่อพระธาตุทั้ง
หลายได้แสดงอานุภาพอันใหญ่หลวงอย่างนี้แล้วหายไป ศาสนาก็เป็นอันชื่อ
ว่าอันตรธานไป. ศาสนายังไม่อันตรธานอย่างนี้ตราบใด ศาสนาจัดว่า
ยังไม่สุดท้ายตราบนั้น. ข้อที่พระศาสดาพึงเกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังอย่างนี้ย่อม
เป็นฐานะที่จะมีไม่ได้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงอุบัติขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 252
ไม่ก่อนไม่หลัง ดังนี้. ตอบว่า เพราะความเป็นสิ่งที่ไม่น่าอัศจรรย์. ความ
จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นมนุษย์ผู้อัศจรรย์. เหมือนอย่างที่พระองค์
ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อจะอุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติ
ขึ้นเป็นมนุษย์อัศจรรย์ บุคคลเป็นเอกอย่างไร คือ พระตถาคตอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า. ก็ถ้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเสด็จอุบัติขึ้นคราวเดียว
กัน ๒ พระองค์บ้าง ๔ พระองค์บ้าง ๘ พระองค์บ้าง ๑๖ พระองค์
บ้างไซร้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็พึงเป็นผู้ที่ไม่น่าอัศจรรย์. แม้พระเจดีย์
สองแห่งในวัดเดียวกัน ลาภสักการะก็ไม่มาก ทั้งภิกษุทั้งหลายก็ไม่น่า
อัศจรรย์ เพราะข้อที่มีอยู่มาก ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็พึงเป็นเช่น
นั้น เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงเสด็จอุบัติขึ้นอย่างนี้.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน ก็เพราะความที่เทศนา
ไม่แตกต่างกัน. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงแสดงธรรมแตกต่างกัน
มีสติปัฏฐานเป็นต้นอันใด พระธรรมนั้นนั่นแหละพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น
ซึ่งทรงอุบัติขึ้นแล้วก็พึงแสดง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าก็จะเป็นผู้ไม่น่าอัศจรรย์.
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าองค์เดียวแสดงธรรม แม้พระเทศนาก็เป็นของที่น่าอัศ-
จรรย์. อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นพร้อมกัน เพราะไม่มีการวิ
วาทกัน. ความจริง เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นอันมากเสด็จอุบัติขึ้น ภิกษุทั้งหลาย
พึงวิวาทกันว่า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายน่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของ
พวกเรามีพระสุรเสียงไพเราะ มีลาภ และมีบุญ ดังนี้ เหมือนอันเตวาสิกของ
อาจารย์มากองค์. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่ทรงอุบัติขึ้น
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหตุข้อนี้ พระนาคเสนเถระถูกพระยามิลินท์ตรัสถาม
ก็ได้ทูลตอบไว้อย่างพิสดาร. ความจริง ในมิลินทปัญหานั้นพระยามิลินทร์
ตรัสไว้ว่า ท่านพระนาคเสนผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงภาษิตไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 253
ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส คือ ข้อที่พระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติขึ้นไม่ก่อนไม่หลังในโลกธาตุนี้นั้น เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ดังนี้ ท่านพระนาคเสนผู้เจริญ พระตถาคตทั้งหมดเมื่อจะทรง
แสดงธรรม ย่อมทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และเมื่อจะตรัสก็ย่อม
ตรัสอริยสัจจธรรม ๔ และเมื่อจะทรงให้ศึกษา ย่อมทรงให้ศึกษาในไตร-
สิกขา เมื่อจะทรงพร่ำสอน ก็ทรงพร่ำสอนข้อปฏิบัติ คือความไม่ประมาท
ท่านพระนาคเสนผู้เจริญ ถ้าพระตถาคตทั้งหมด มีอุทเทศอย่างเดียวกัน มี
กถาอย่างเดียวกัน มีสิกขาบทอย่างเดียวกัน มีอนุสนธิอย่างเดียวกัน เพราะ
เหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน โลก
นี้เกิดมีแสงสว่างด้วยการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า องค์เดียวก่อน ถ้าพระ
พุทธเจ้าองค์ที่สองพึงมีขึ้น โลกนี้พึงทีแสงสว่างขึ้นมามีประมาณยิ่งด้วย
พระรัศมีของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ และพระตถาคตทั้งสองพระองค์
เมื่อจะทรงโอวาทก็พึงโอวาทอย่างสบาย เมื่อจะทรงพร่ำสอนก็พึงพร่ำสอน
อย่างสบาย ขอท่านจงแสดงเหตุในข้อนั้นให้โยมหายสงสัยเถิด. พระ
นาคเสนเถระถวายพระพรว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ ธารไว้ได้ซึ่งพระ
พุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว ธารไว้ได้ซึ่งพระคุณของพระตถาคตองค์เดียว
เหมือนกัน ถ้าองค์ที่สองพึงเสด็จอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ก็พึงธารไว้ไม่ได้
พึงหวั่นไหว สั่นคลอน น้อมไปโอนไป เอียงไป เรี่ยราย กระจัดกระจาย พิ-
นาศไปไม่พึงเข้าถึงการตั้งอยู่ได้ มหาบพิตร เปรียบเสมือนเรือที่รับบุรุษไว้
ได้คนเดียว เมื่อบุรุษคนหนึ่งขึ้นไป เรือพึงตั้งอยู่ได้พอดี ถ้าบุรุษคนที่สองซึ่ง
เป็นเช่นเดียวกันโดยอายุ โดยสี โดยวัย โดยประมาณ โดยอ้วนและผอมโดย
อวัยวะน้อยใหญ่เท่ากัน และบุรุษนั้นพึงขึ้นสู่เรือลำนั้น มหาบพิตร เรือนั้น
จะพึงธารบุรุษทั้งสองนั้นไว้ได้หรือหนอ. พระยามิลินท์ตรัสตอบว่า ท่านผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 254
เจริญ เรือนั้นพึงธารไว้ไม่ได้ พึงหวั่นไหว สั่นคลอน น้อมไป โอนไป เอียงไป
เรี่ยรายกระจัดกระจายไป พินาศไป ไม่พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ได้เลย เรือนั้น-
พึงจมลงไปในน้ำแท้ ดังนี้. พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาบพิตร ข้อนี้ก็
มีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน หมื่นโลกธาตุนี้ธารพระพุทธเจ้าไว้ได้พระองค์
เดียว ทั้งทรงคุณของพระตถาคตไว้ได้พระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้า
องค์ที่สองพึงอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้ก็ธารไว้ไม่ได้ ฯลฯ ไม่พึงเข้าถึงความ
ตั้งอยู่ได้ มหาบพิตร อีกนัยหนึ่ง เปรียบเสมือนบุรุษผู้มีความสุขพึงบริโภค
โภชนะตามความต้องการ คือ เมื่อหิวก็บริโภคเต็มแค่คอ (เต็มอิ่ม)
บุรุษนั้น ก็เอิบอิ่มแน่นท้อง อึดอัด ง่วงเหงาเกิดตัวแข็งแค่คอ (เต็มอิ่ม)
การบริโภคนั้น ในวันรุ่งขึ้นก็บริโภคโภชนะเพียงเท่านั้น มหาบพิตร
บุรุษนั้นจัดว่าเป็นผู้มีความสุขได้หรือไม่ ดังนี้. พระยามิลินท์ตรัสตอบว่า ท่าน
ผู้เจริญ บุรุษนั้นบริโภคคราวเดียวไม่พึงตายได้ ดังนี้. พระนาคเสนถวาย
พระพรว่า มหาบพิตร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หมื่นโลกธาตุนี้ธารพระ
พุทธเจ้าไว้ได้พระองค์เดียว ฯลฯ ไม่พึงเข้าถึงความตั้งอยู่ได้เลย ดังนี้. พระ
ยามิลินท์ตรัสว่า พระนาคเสนผู้เจริญ แผ่นดินย่อมไหวด้วยธรรมที่
หนักยิ่ง อย่างไรหนอ. พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาบพิตร ในโลก
นี้เกวียน ๒ เล่มบรรจุด้วยรัตนะจนเต็ม จนเสมอปาก คนทั้งหลายก็พากันขน
เอารัตนะของเกวียนเล่มหนึ่งมาเกลี่ยไว้ในเกวียนอีกเล่มหนึ่ง มหาบพิตร
เกวียนเล่มนั้นจะพึงธารรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มนั้นไว้ ได้หรือไม่ ดังนี้.
พระยามิลินท์ ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ เกวียนนั้นย่อมธารไว้ได้แน่ คุม
ของเกวียนนั้นพึงไหว้บ้าง กำของเกวียนนั้นพึงหักไปบ้าง เพลาของเกวียน
นั้นพึงหักไปบ้าง ดังนี้. พระนาคเสนทูลถามว่า เกวียนย่อมหักไปด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 255
การเขนรัตนะที่มากเกินไปใช่หรือไม่. พระยามิลินท์ตรัสตอบว่า ใช่
แล้ว ท่านผู้เจริญ ดังนี้. พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาบพิตร ข้อนี้ก็มี
อุปไมยฉันนั้น เหมือนกันแล แผ่นดินย่อมหวั่นไหวด้วยธรรมะที่หนักยิ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง มหาบพิตร เหตุนี้เป็นอันรวมลงในการแสดงพระกำลังของ
พระพุทธเจ้า ขอพระองค์โปรดสดับเหตุอันสมควรอย่างอื่นในการแสดง
กำลังของพระพุทธเจ้านั้น เพราะเหตุอันใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระ
องค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์
พึงเสด็จอุบัติขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ การทะเลาะวิวาทแม้ของบริษัทพึง
บังเกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลายก็จะเป็นสองฝักสองฝ่ายโดยกล่าวว่า พระพุทธเจ้า
ของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ มหาบพิตร เปรียบเสมือน
บริษัทของอำมาตย์ผู้มีกำลังสองคนพึงเกิดการวิวาทกัน คนเหล่านั้นก็จะ
เป็นสองฝักสองฝ่าย โดยกล่าวว่า อำมาตย์ของพวกท่าน อำมาตย์ของ
พวกเรา ดังนี้ ฉันใด มหาบพิตร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าหากว่าพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงเสด็จอุบัติขึ้นในขณะเดียวกันไซร้ ความ
วิวาทของบริษัทพังบังเกิดขึ้นได้ และมนุษย์ทั้งหลายก็จะเป็นสองฝักสอง
ฝ่าย โดยกล่าวว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา
ดังนี้ ของพระองค์โปรดได้สดับเหตุข้อที่ ๑ นี้ ด้วยเหตุอันใดพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน ขอพระองค์
โปรดสดับเหตุอันยิ่งแม้อย่างอื่น ด้วยเหตุอันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอง
พระองค์ไม่ทรงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน มหาบพิตร ถ้าพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ๒ พระองค์พึงอุบัติขึ้นในขณะเดียวกัน คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้
เลิศ ก็ย่อมเป็นคำผิด คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เจริญที่สุด คำว่าพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 256
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้วิเศษที่สุด คำว่า พระพุทธ
เจ้าเป็นผู้สูงสุด คำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ คำว่า พระพุทธเจ้า
ไม่มีผู้เสมอ คำว่า พระพุทธเจ้าหาผู้เสมอเหมือนมิได้ คำว่า พระพุทธเจ้า
ไม่มีผู้เสมอเหมือน คำว่า พระพุทธเจ้าหาบุคคลเปรียบมิได้ คำว่า
พระพุทธเจ้าไม่มีบุคคลเปรียบดังนี้ พึงเป็นคำผิด มหาบพิตร ขอพระ
องค์โปรดทรงยอมรับเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ ไม่ทรงอุบัติ
ในขณะเดียวกัน โดยผล (ที่นำมาถวายวิสัชนาแล้ว) อีกอย่างหนึ่ง มหา-
บพิตร ข้อที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวย่อมทรงอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็น
สภาพตามปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
เพราะคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายมีเหตุใหญ่ มหาบพิตร คุณ
อันประเสริฐอย่างใหญ่หลวงอื่นนั้นก็มีข้อเดียวเท่านั้น มหาบพิตร แผ่นดิน
ใหญ่นั้นมีผืนเดียวเท่านั้น สาครใหญ่มีสายเดียวเท่านั้น ภูเขาสิเนรุยอดแห่ง
ภูเขาใหญ่ประเสริฐที่สุดก็มีลูกเดียวเท่านั้น อากาศใหญ่มีแห่งเดียวเท่านั้น
ท้าวสักกะผู้ใหญ่มีองค์เดียวเท่านั้น พระพรหมผู้ใหญ่มีองค์เดียวเท่านั้น
พระตถาคตอรหันตสัมพุทธเจ้าผู้ใหญ่ก็มีพระองค์เดียวเท่านั้น พระ-
องค์เสด็จอุบัติขึ้นในที่ใด ในที่นั้นก็ไม่มีโอกาสแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
องค์อื่น ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
ย่อมอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้. พระยามิลินท์ได้ตรัสว่า ข้าแต่พระนาคเสน
ผู้เจริญ พระคุณเจ้าได้กล่าวแก้ปัญหาแจ่มแจ้งดีแล้ว ด้วยอุปมาอุปไมย
ทั้งหลาย.
สองบทว่า ธมฺมสฺส จ อนุธมฺม ความว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วน
เบื้องต้นอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙ อย่าง บทว่า สหธมฺมิโก
คือ การโต้ตอบซึ่งมีเหตุ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 257
บทว่า อายสฺมา อุทายิ ความว่า พระเถระชื่ออุทายีมี ๓ องค์
คือ พระโลฬฺทายี ๑ กาฬุทายี ๑ มหาอุทายี ๑ ในที่นี้ประสงค์เอามหา-
อุทายี. ได้ยินว่า เมื่อท่านพระมหาอุทายีนั้นฟังพระสูตรนี้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ปีติมีวรรณะ ๕ เกิดขึ้นในภายใน ย่อมแผ่ไปตั้งแต่หลังเท้าขึ้นไปสู่กระ-
หม่อม ตั้งแต่กระหม่อม แผ่ลงมายังหลังเท้า แต่ข้างทั้งสองมารวามลง
ในท่ามกลาง ตั้งแต่ท่ามกลางก็แผ่ไปโดยข้างทั้งสอง. พระมหาอุทายีนั้น
อันปีติถูกต้องทั่วสรีระ เมื่อจะกล่าวคุณของพระทศพลด้วยโสมนัสอันมีกำลัง
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อจฺฉริย ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ความเป็นผู้หมด
ตัณหา ชื่อว่า ความเป็นผู้มักน้อย. ความพอใจด้วยอาการ ๓ อย่างในปัจจัย ๔
ชื่อว่า ความเป็นผู้สันโดษ. ความขัดเกลากิเลสทุกอย่างชื่อ ความเป็นผู้ขัด
เกลา. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ โย หิ นาม. บทว่า น อตฺตาน ปาตุกริสฺสติ
ความว่า ไม่ทรงกระทำคุณของพระองค์ให้ปรากฏ. บทว่า ปฏาก ปริหเร-
ยฺยุ ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายเมื่อจะกล่าวว่า ใครเป็นผู้
เช่นเดียวกันกับเรามีไหม ดังนี้ ก็ยกธงแผ่นผ้าขึ้นเที่ยวไปยังเมืองนาลัน-
ทา. ด้วยหลายบทว่า ปสฺสโข ตฺว อุทายี ตถาคตสฺส อปฺปิจฺฉตา นี้ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรับคำของพระเถระว่า ดูก่อนอุทายี เธอจงดูตถาคต
มีความมักน้อยเช่นใด. หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึง
ไม่ทรงกระทำพระองค์ให้ปรากฏ ทั้งไม่ตรัสคุณของพระองค์. พึงตอบว่า
ไม่ตรัสก็หาไม่ พระองค์ไม่ตรัสคำที่ควรตรัส ด้วยคุณมีความเป็นผู้
ปรารถนาน้อยเป็นต้น เพราะเหตุแห่งลาภมีจีวรเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น
พระองค์จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนอุทายี เธอจงดูความปรารถนาน้อยของ
ตถาคต. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยสัตว์ผู้ที่จะตรัสรู้ตรัสไว้ด้วยอำ-
นาจเวไนยสัตว์. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
อาจารย์ของเราไม่มี บุคคลผู้เช่นกับเราก็ไม่มี บุคคลผู้
เปรียบด้วยเราย่อมไม่มี ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
คาถาก็ดี พระสูตรก็ดี เป็นอันมากที่เป็นเครื่องแสดงพระคุณของ
พระตถาคตก็ควรให้พิสดาร อย่างนี้.
บทว่า อภิกฺขณ ภาเสยฺยาสิ คือ เธอพึงกล่าวบ่อย ๆ. อธิบายว่า
อย่าได้กล่าวในเวลาเที่ยวเป็นต้น เพราะคิดว่า เราได้กล่าวในเวลาเช้าแล้ว
หรืออย่าได้กล่าวในวันมะรืนนี้เป็นต้น เพราะคิดว่า เราได้กล่าวในวันนี้
แล้ว.
บทว่า ปเวเทสิ คือ กล่าวแล้ว. สองบทว่า อิมสฺส เวยฺยากรณสฺส
ความว่า พระสูตรนี้ท่านกล่าวว่า ไวยากรณ์ เพราะไม่มีคาถา. คำว่า
อธิวจน คือ ชื่อ. ก็คำนี้ พระสังคีติกาจารย์ตั้งบทไว้ตั้งแต่ คำว่า อิติ หิท.
คำที่เหลือในทุก ๆ บท มีเนื้อความชัดเจนแล้วแท้ฉะนี้แล.
จบ พรรณนาความของสัมปสาทนียสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ
ว่าสุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาสัมปสาทนียสูตร ที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 259
๖. ปาสาทิกสูตร
เรื่องนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม
[๙๔] ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทในสวนอัม-
พวันของพวกศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในแคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้น
นิคัณฐนาฏบุตร ได้ถึงแก่กรรมที่เมืองปาวา ไม่นานนัก. เพราะนิคัณฐ-
นาฏบุตรนั้นได้ถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์ จึงแตกกัน ได้แตกแยกกัน
เป็นสองฝ่าย เกิดบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและ
กันด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัย
นี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านเป็นผู้ปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติ
ถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควร
จะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับ
กล่าวก่อน สิ่งที่ท่านช่ำชองได้ผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้
แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย หรือจงแก้ไขเสีย ถ้า
สามารถ. เห็นจะมีแต่ความตายเท่านั้น จะเป็นไปในพวกอันเตวาสิกของนิ-
ตัณฐนาฏบุตร. พวกสาวกของนิคัณฐนาฏบุตรเหล่าใดที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
ห่มขาว พวกสาวกเหล่านั้นมีอาการเบื่อหน่าย คลาดความรัก รู้สึกท้อถอยใน
พวกอันเตวาสิกของนิคัณฐนาฏบุตร โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตร
กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัย ที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยอันพระสัมมาสัมพุทธะประกาศ
ไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยอันไม่มีที่พึ่งอาศัย.
[๙๕] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุเทสจำพรรษาอยู่ในเมืองปาวาได้
เข้าไปหาท่านพระอานนทเถระซึ่งอยู่ในสามคาม ครั้นเข้าไปหาแล้วได้
กราบไหว้ท่านพระอานนทเถระเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้น
แล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนทเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า นิคัณฐ-
นาฎบุตร ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วที่เมืองปาวา เมื่อไม่นานมานี้ เพราะนิคัณฐ-
นาฏบุตรถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิดแยกเป็นสองพวก ฯลฯ
โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่
เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทำ
ลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย. เมื่อพระจุนทสมณุเทสกล่าว
อย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระจุนทสมณเทสว่า ดูก่อนอาวุโส
จุนทะ มีมูลเหตุแห่งถ้อยคำนี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า อาวุโสจุนทะมา
เถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่ประทับ แล้วพึงกราบทูล
เรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระจุนทาสมณุเทสรับคำของท่าน
พระอานนทเถระเจ้าแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนทเถระเจ้า และพระจุนทสมณุเทส ได้
พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ได้กราบถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระอานนท-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 261
เถระเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
จุนทสมณุเทสนี้ได้บอกว่า นิคัณฐนาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว เมื่อไม่
นานมานี้ เพราะนิคัณฐนาฏบุตรถึงแก่กรรม พวกนิครณฐ์แตกกัน เกิด
แยกเป็นสองพวก ฯลฯ โดยเหตุที่ธรรมวินัยที่นิคัณฐนาฏบุตรกล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์
ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
ประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่มีที่พึ่ง
พาอาศัย.
ว่าด้วยธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี
[๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ย่อมเป็น
อย่างนั้น ในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม-
วินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่
ธรรมวินัยที่สัมมาสัมพุทธะประกาศไว้. ดูก่อนจุนทะ ศาสดาในโลกนี้ไม่
เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี. ประกาศ
ไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบ ไม่ใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และ สาวก
ไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติ
ชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรม
นั้น สาวกนั้นควรที่ใคร ๆ จะกล่าวได้อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ศาสดาของท่านไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็น
ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นเพื่อความสงบ ไม่ใช่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 262
ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ท่านไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สม
ควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ไม่เป็นผู้ปฎิบัติชอบไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม
และประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น. ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุนี้แล มีศาสดา
ก็เป็นผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรถูกติเตียน แต่สาวกควรได้
รับการสรรเสริญในธรรมนั้นอย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวก
เห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านจงปฏิบัติตามธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงไว้แล้ว
บัญญัติไว้แล้วเถิด. ผู้ที่ชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวน และผู้ที่เขาชักชวนแล้ว ปฏิ-
บัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้งหมดนั้นจะประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ เป็น
อันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า ข้อนี้ย่อมมีในธรรม
วินัย ที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมวินัยที่จะนำผู้
ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่
พระสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
[๙๗] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมเป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม
ที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรม
ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรา ย่อม
ยึดถือประพฤติธรรมนั้น สาวกนั้นควรที่ใคร ๆ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนอาวุโส ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว และศาสดาของท่าน
ก็ไม่เป็นสัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประ-
กาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติ ให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไป
เพื่อความสงบ มิใช่ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งตัวท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 263
ก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ปฏิบัติตามธรรม
ย่อมยึดถือประพฤติธรรมนั้น. ดูก่อนจุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แล แม้ศาสดาก็
เป็นผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้น แม้ธรรมก็ควรถูกติเตียน แม้สาวกก็เป็น
ผู้ควรถูกติเตียนในธรรมนั้นอย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดพึงกล่าวกะสาวก
เห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมที่ควร
รู้ให้สำเร็จได้โดยแท้. ผู้ที่สรรเสริญ ผู้ที่รับสรรเสริญ และผู้ที่ได้รับสรร-
เสริญแล้ว ปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า
ข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยมีศาสดากล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นธรรม
วินัยที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่
ธรรมวินัยที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
[๙๘] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็น
ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรม
ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม
และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้นควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนผู้มีอายุ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้วด้วยว่าศาสดาของท่าน เป็น
สัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้
ดีแล้ว เป็นธรรมที่จำนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความ
สงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าตัวท่านไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่
เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น. ด้วยเหตุ
ดังนี้แล ดูก่อนจุนทะ แม้ศาสดาก็ควรได้รับการสรรเสริญในธรรมนั้น แม้
ธรรมก็ควรได้รับการสรรเสริญ แต่ว่า สาวกควรได้รับการติเตียนในธรรมนั้น
อย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ได้แลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
จงปฏิบัติธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด. ผู้ที่ชักชวน
ผู้ที่ถูกชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้ง
หมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ
เพราะว่าข้อนี้มีอยู่ในธรรมวินัยที่พระศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็น
ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
[๙๙] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็น
ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรม
ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ ทั้งสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสม-
ควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ประพฤติตามธรรม
ย่อมยึดถือปฏิบัติธรรมนั้น สาวกนั้นควรที่ใคร ๆ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุ เป็นลาภอย่างยิ่งของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ด้วยว่า ศาสดาของ
ท่าน. ก็เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดี
แล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์
ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
ไว้ ทั้งตัวท่านก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ เป็นผู้
ปฏิบัติชอบเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ย่อมยึดถือประพฤติธรรมนั้น. ดูก่อน
จุนทะ ด้วยเหตุดังนี้แลแม้ศาสดาก็ควรได้รับความสรรเสริญในธรรมนั้น
แม้ธรรมก็ควรได้รับความสรรเสริญ แม้สาวกก็ควรได้รับความสรรเสริญใน
ธรรมนั้นอย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ใดแลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่าง
นี้ว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อธรรมอันควรรู้ จักยังธรรมอันควรรู้ให้สำเร็จ
ได้โดยแท้. ผู้ที่สรรเสริญผู้ที่ได้รับสรรเสริญ ผู้ที่ได้รับสรรเสริญแล้วย่อม
ปรารภความเพียรโดยประมาณยิ่ง คนทั้งหมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าข้อนี้ย่อมมีในธรรมวินัยที่
ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไป
จากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ
ประกาศไว้อย่างนี้แล.
ว่าด้วยกาลกิริยาของศาสดา
[๑๐๐] ดูก่อนจุนทะ ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิด
ขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดี
แล้ว เป็นธรรมที่นำปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ
เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกทั้งหลายของ
ศาสดานั้นเป็นผู้ไม่รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรม และพรหมจรรย์ อัน
บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นคำสอนอันศาสดาของสาวกเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว
ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ ครั้นต่อมา
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น ครั้นต่อมา
ศาสดาของสาวกเหล่านั้นย่อมอันตรธานไป. ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 266
ปานนั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ทำให้สาวกเหล่านั้นเดือดร้อน. ข้อนั้น
เพราะเหตุไร. เพราะว่าศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะได้เกิดแล้วใน
โลก และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบเป็น
ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าเราทั้งหลายไม่ได้เป็น
ผู้รู้แจ้งในเนื้อความในสัทธรรม และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง
ไม่ได้เป็นคำสอนอันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว ทำให้
มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี ครั้นต่อมาศาสดาของเราทั้งหลายย่อมอันตรธาน
ไป ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็นปานนั้นแล ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วทำ
สาวกเหล่านั้นเดือดร้อน.
[๑๐๑] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมา-
สัมพุทธะ เกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดา
นั้นกล่าวไว้แล้ว เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้
และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรม
และสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรม
และพรหมจรรย์อันบริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นคำสอนอันศาสดานั้นทำให้แจ้ง
แล้ว ทำให้ตื่นแล้ว ทำให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์
พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี แก่สาวกเหล่านั้น ครั้น
ต่อมาศาสดาของสาวกเหล่านั้น ย่อมอันตรธานไป. ก่อนจุนทะ ศาสดา
เห็นปานนี้แล ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ย่อมไม่ทำให้สาวกเหล่านั้นเดือด
ร้อน. ข้อเพื่อเหตุไร. เพราะว่าแม้ศาสดาผู้เป็นอรหันตสัมมา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 267
สัมพุทธะ ก็เกิดขึ้นแล้วในโลก และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าว
ไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่นำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้
เป็นไปเพื่อความ เป็นธรรมอันท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้
และเราทั้งหลายก็เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในในสัทธรรม และพรหมจรรย์
อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นคำสอนอันเราทั้งหลายทำให้แจ้งแล้ว. ทำ
ให้ตื้นแล้ว ทำให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์ พอที่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดี ครั้นต่อมาศาสดาอันตรธานไป.
ดูก่อนจุนทะ ศาสดาเห็นปานนั้น ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ก็ไม่ทำให้สาวก
ทั้งหลายเดือดร้อน.
ว่าด้วยพรหมจรรย์
[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์
เหล่านี้ คือ ศาสดาไม่เป็นเถระ ไม่เป็นรัตตัญญู ไม่เป็นผู้บวชนาน ไม่
เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น. ดูก่อน
จุนทะ เมื่อใดแล แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
ศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย
เมื่อนั้น พรหมจรรย์ย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๓] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์
เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล
ผ่านวัย แต่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ไม่เป็นเถระ ไม่เป็น
ผู้ฉลาด ไม่เป็นผู้ได้รับแนะนำ ไม่เป็นผู้แกล้วกล้า และบรรลุธรรม
อันเกษมจากโยคะ ไม่สามารถกล่าวพระสัทธรรมได้ ไม่สามารถแสดง
ธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทอันเกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 268
พรหมจรรย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น. ดูก่อนจุนทะ เมื่อใดแล แม้
หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ ศาสดาเป็นเถระ เป็นรัต-
ตัญญู ผู้เป็นบวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย และภิกษุทั้งหลายผู้เป็น
สาวกของศาสดานั้น ก็เป็นเถระ เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้ได้รับแนะนำ เป็น
ผู้แกล้วกล้า และเป็นผู้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะแล้ว สามารถกล่าวสัท-
ธรรมได้โดยชอบ สามารถแสดงธรรมให้มีปาฎิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิด
ขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม อย่างนี้ เมื่อนั้น พรหมจรรย์ย่อมบริบูรณ์
ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๔] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์
เหล่านี้ คือศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาล
ผ่านวัย และภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้นก็เป็นเถระ เป็นผู้ฉลาด
เป็นผู้ได้รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นผู้บรรลุธรรมอันเกษมจาก
โยคะแล้ว สามารถกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถแสดงธรรมให้มี
ปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทอันเกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม แต่ภิกษุ
ทั้งหลายที่เป็นสาวกของศาสดานั้นที่เป็นผู้ปานกลางไม่มี. และภิกษุทั้ง
หลายผู้เป็นสาวกผู้ปานกลางถึงจะมีอยู่. แต่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ
ศาสดานั้นที่เป็นผู้ใหม่ไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดา
นั้นเป็นผู้ใหม่ถึงจะมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิการของศาสดานั้น
ที่เป็นเถรีถึงจะไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่
เป็นเถรีถึงจะมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่
เป็นเถรีถึงจะมีอยู่ แต่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่
เป็นผู้ปานกลางไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่
เป็นผู้ ปานกลางมีอยู่ แต่ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้นที่เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 269
ใหม่ไม่มี และภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นผู้ใหม่ถึง
จะมีอยู่แต่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น. ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว
ห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี และอุบาสกทั้งหลาย ผู้เป็นสาวก
ของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์
มีถึงจะอยู่. แต่อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์
นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามไม่มี และอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ
ศาสดานั้นที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกามถึงจะมีอยู่. แต่อุษา
สิกาทั้งหลาย ผู้เป็นสาวิกา ของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว
ประพฤติพรหมจรรย์ไม่มี และอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น
ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ถึงจะมีอยู่. แต่
อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว
บริโภคกามไม่มี และอุบาสิกาทั้งหลายเป็นสาวิการของศาสดานั้นที่เป็น
คฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว บริโภคกาม ถึงจะมีอยู่. แต่พรหมจรรย์ของ
ศาสดานั้นมิได้เป็นพรหมจรรย์ สำเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง
ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศ
ได้ด้วยดี และพรหมจรรย์นั้นแม้จะเป็นพรหมจรรย์ สำเร็จผลแพร่หลาย
กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้เป็นปึกแผ่น พอที่เทวดามนุษย์ทั้ง
หลายประกาศได้ด้วยดี แต่พรหมจรรย์นั้นไม่ถึงความเลิศด้วยลาภเลิศด้วย
ยศอย่างนี้ พรหมจรรย์อย่างนั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
ดูก่อนจุนทะ เมื่อใดแล พรหมจรรย์ประกอบด้วยองค์เหล่านี้ คือ
ศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชนาน เป็นผู้ล่วงกาลผ่านวัย และ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ก็เป็นเถระผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ
แล้ว แกล้วกล้า ได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะแล้ว สามารถเพื่อจะกล่าว
พระสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถเพื่อแสดงธรรมให้มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 270
ปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรม. ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวกของ
ศาสดานั้น ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ที่เป็นผู้ใหม่ก็มีอยู่ ภิกษุณีทั้งหลาย
ผู้เป็นสาวิภาของศาสดานั้น ที่เป็นเถรีก็มีอยู่ ที่เป็นผู้ปานกลางก็มีอยู่ ที่เป็น
ผู้ใหม่ก็มีอยู่ อุบาสกทั้งหลายุผู้เป็นสาวกของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่ง-
ขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ ที่บริโภคกามก็มีอยู่ อุบาสิกาทั้ง
หลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์ก็นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติ
พรหมจรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่ และพรหมจรรย์ของศาสดานั้นก็
เป็นคำสอนสำเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึก-
แผ่นพอที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี และถึงความเลิศด้วย
ลาภเลิศด้วยยศ เมื่อนั้นพรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.
[๑๐๕] ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้เราเป็นศาสดาเป็นอรหันต-
สัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นแล้วในโลก ธรรมก็เป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว
ประกาศดีแล้ว เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไป
เพื่อความสงบ เป็นธรรมอันเราผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้แล้ว สาวก
ทั้งหลายของเราก็เป็นผู้รู้แจ้งเนื้อความในสัทธรรม และพรหมจรรย์
อันบริบูรณ์สิ้นเชิง ก็เป็นพรหมจรรย์อันเราทำให้แจ้งแล้ว ทำให้ตื้นแล้ว
ทำให้มีบทรวบรวมไว้พร้อมแล้ว ทำให้มีปาฏิหาริย์พอที่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายประกาศได้ด้วยดี ก็สาวกเหล่านั้นแล้ว. ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้
เราแลเป็นศาสดา ผู้เถระ เป็นรัตตัญญู ผู้บวชนาน ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลำดับ.
[๑๐๖] ดูก่อนจุนทะ ก็บัดนี้ภิกษุสาวกของเราเป็นเถระ เป็นผู้
ฉลาด ได้รับแนะนำแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
โยคะแล้ว สามารถจะกล่าวสัทธรรมได้โดยชอบ สามารถจะแสดงธรรมให้
มีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วได้ด้วยดี โดยชอบธรรมมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 271
ดูก่อนจุนทะ บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายของเราผู้เป็นเถระก็มีอยู่. ผู้ปานกลางก็มีอยู่.
ผู้ใหม่ก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะ บัดนี้ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นเถรี
ก็มีอยู่. ผู้ปานกลางก็มีอยู่. ผู้ใหม่ก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะอุบาสกผู้สาวกและ
อุบาสิกาผู้สาวิกาทั้งหลายของเราผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหม-
จรรย์ก็มีอยู่ บริโภคกามก็มีอยู่. ดูก่อนจุนทะ บัดนี้พรหมจรรย์ของเราก็
สำเร็จผล แพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากก็รู้ได้ เป็นปึกแผ่นพอที่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกาศไว้ด้วยดีแล้ว.
ว่าด้วยศาสดาที่เลิศด้วยลาภ
[๑๐๗] ดูก่อนจุนทะ เท่าที่ศาสดาทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลกใน
บัดนี้ เรายังไม่เห็นศาสดาอื่นสักผู้เดียวที่ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ
เหมือนเรา. ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง เท่าที่สงฆ์ หรือคณะเกิดขึ้นแล้วในโลก
นี้ เรายังไม่เห็นสงฆ์หรือคณะสักหมู่เดียว ที่ถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วย
ยศเหมือนภิกษุสงฆ์เลย. ดูก่อนจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวว่า
พรหมจรรย์นี้เท่านั้นเป็นพรหมจรรย์สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วย
อาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง อันศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง
ประกาศไว้ดีแล้ว ดังนี้.
ดูก่อนจุนทะ ได้ยินมาว่า อุทกดาบสรามบุตรกล่าววาจาอย่างนี้ว่า
บุคคลเห็นอยู่ชื่อว่าย่อมไม่เห็น. บุคคลเห็นอยู่ซึ่งอะไรชื่อว่าย่อมไม่เห็น.
บุคคลเห็นพื้นส่วนเบื้องล่างแห่งมีดโกนที่ลับดีแล้ว แต่จะไม่เห็นคมแห่งมีด
โกนนั้น. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ที่อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า บุคคลเห็นอยู่ชื่อ
ว่าย่อมไม่เห็น. ดูก่อนจุนทะ ก็คำนี้นี่แหละที่อุทกดาบสรามบุตรกล่าวแล้ว
เป็นคำเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นคำของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะหมายเอามีดโกนเท่านั้น. ดูก่อนจุนทะ เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 272
บุคคลกล่าวโดยชอบพึงกล่าวคำนี้ว่า บุคคลเห็นอยู่เชื่อว่าย่อมไม่เห็นดังนี้
เห็นอะไรชื่อว่าย่อมไม่เห็น บุคคลเห็นอยู่อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่สมบูรณ์ด้วย
อาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อนไม่ยิ่ง ศาสดากล่าวไว้ดี
แล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นพรหมจรรย์ที่ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุ
ดังนี้แล พึงนำคำว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น ออกเสีย. บุคคลเห็นอยู่ซึ่ง
พรหมจรรย์นั้นอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมี ดังนี้ ด้วยเหตุนี้
แลพึงนำคำว่า บุคคลย่อมไม่เห็นนั้น เข้าไว้ในคำนั่น. บุคคลเห็นอยู่ซึ่ง
พรหมจรรย์อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์กว่า พึงมีดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้แล
บุคคลชื่อว่าย่อมไม่เห็นพรหมจรรย์นั่น นี้แหละ เรียกว่า บุคคลเห็นอยู่
ชื่อว่าย่อมไม่เห็น. ดูก่อนจุนทะ บุคคลเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวพรหมจรรย์
ที่สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง
ศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว บริบูรณ์สิ้นเชิงเป็นพรหมจรรย์อันศาสดาประกาศไว้
ดีแล้วดังนี้.
ว่าด้วยอภิญญาเทสิตธรรม
[๑๐๘] เพราะเหตุนี้แหละ ดูก่อนจุนทะ ควรที่บริษัททั้งหมด
พร้อมเพรียงกัน ประชุม รวบรวม ตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วย
พยัญชนะ ในธรรมที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์
นี้ พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
เพื่อประโยชน์สุข แก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อน
จุนทะ ก็ธรรมทั้งหลาย ที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัท
ทั้งหมดพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะ
ด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์นี้พึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว
ตั้งมั่นอยู่นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 273
มาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน
๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘. ดูก่อน
จุนทะ ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้ว เพื่อความรู้ยิ่ง การที่บริษัททั้ง
หมด พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญ-
ชนะด้วยพยัญชนะ จะเป็นเหตุทำให้พรหมจรรย์พึงตั้งอยู่ยืดยาว ตั้งมั่นอยู่
นาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่
เทวดาเละมนุษย์ทั้งหลาย.
[๑๐๙] ดูก่อนจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน
ชื่นบานกันไม่วิวาทกันศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งพึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้นจะพึงมีคำอย่างนี้ แก่เธอทั้ง
หลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านผู้นี้แล ถือเอาอรรถผิด และยกพยัญชนะ
ผิดดังนี้ เธอไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดี
ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
พยัญชนะเหล่านี้ หรือพยัญชนะเหล่านั้น ของอรรถนี้ เหล่าไหนจะ
สมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะทั้งหลายเหล่านี้ อย่าง
ไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
อายุ พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละ
ของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า พวกเธอไม่สมควรยินดี ไม่ควรรุกราน
สพรหมจารีนั้น ครั้นไม่ยินดีไม่รุกรานแล้วพวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น
แหละ รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น และพยัญชนะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
[๑๑๐] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์ แม้อื่นอีก พึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวกเธอ
ว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถผิด ยกพยัญชนะทั้งหลายชอบดังนี้.
เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน ต่อสพรหมจารีนั้น. ครั้นไม่ยินดี
ไม่คัดค้านแล้ว พวกเธอพึงกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
อายุ อรรถนี้ หรืออรรถนั้น ของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหนจะสมควร
กว่ากัน. หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อรรถนี้แหละของพยัญ
ชนะเหล่านี้สมควรกว่า พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหม-
จารีนั้น ครั้นไม่ยกย่อง ไม่รุกรานแล้ว พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้นรู้
ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น.
[๑๑๑] ดูก่อนจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าว
ธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวกเธอ
ว่า ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลายผิดดังนี้.
พวกเธอทั้งหลายไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น. พวกเธอ
ควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พยัญชนะเหล่านี้
หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้ เหล่าไหนจะสมควรแก่กัน. หากว่า
สพรหมจารีนั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้แล
สมควรกว่า. พวกเธอไม่ควรยกย่อง ไม่ควรรุกราน สพรหมจารีนั้น.
พวกเธอควรให้สพรหมจารีนั้น รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้น.
[๑๑๒] ดูก่อนจุนทะ หากสพรหมจารีสงฆ์ แม้อื่นอีก พึง
กล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น จะพึงมีคำอย่างนี้แก่พวก
เธอว่า ท่านผู้มีอายุนี้แหละ ถือเอาอรรถชอบ ยกพยัญชนะทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
ชอบดังนี้. พวกเธอควรยินดี ควรอนุโมทนาภาษิตของพรหมจารีนั้นว่า
ดีแล้ว พวกเธอควรกล่าวกะสพรหมจารีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เป็น
ลาภของเราทั้งหลาย พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราจักระลึกถึงท่านผู้มี
อายุ ผู้เป็นสพรหมจารี เช่นท่านผู้เข้าถึงอรรถเข้าถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้.
ว่าด้วยการแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะ
[๑๑๓] ดูก่อนจุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้ง
หลายที่เป็นไปในปัจจุบันแก่พวกเธอเท่านั้น ดูก่อนจุนทะ อนึ่งเราไม่
แสดงธรรม เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพเท่านั้น แต่
เราแสดงธรรมเพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบันด้วย เพื่อกำจัด
อาสวะทั้งหลายที่เป็นไปในสัมปรายภพด้วย. ดูก่อนจุนทะ เพราะฉะนั้น
แล เราอนุญาตจีวรแก่พวกเธอก็เพียงเพื่อเป็นเครื่องบำบัดหนาว บำบัด
ร้อน บำบัดสัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดดและสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อ
เป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความละอายให้กำเริบ เราอนุญาตบิณฑบาต
แก่พวกเธอก็เพียงเพื่อให้กายดำรงอยู่ได้ ให้กายเป็นไปได้ ให้ความ
ลำบากสงบ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักบรรเทาเวทนา
เก่า จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ด้วยประการดังนี้ ความเป็นไปแห่ง
ชีวิต ความเป็นผู้ไม่มีโทษ และความอยู่สบาย จักมีแก่เรา เราอนุญาต
เสนาสนะแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสแห่ง
เหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอัน-
ตรายอันเกิดแต่ฤดู เพื่อความยินดีในการหลีกออกเร้นอยู่ เราอนุญาต
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่พวกเธอ ก็เพียงเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่
อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลำบากอย่างนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
[๑๑๔] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตรเป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขดังนี้. ดูก่อนจุนทะ
พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดู
ดูก่อนผู้มีอายุ การประกอบตนให้ติดในความสุขเป็นไฉน เพราะการ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขมีมากมายหลายอย่าง ๆ กัน. ดูก่อน
จุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องอยู่ในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ เป็น
ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความ
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน. ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ คนพาลบางคนใน
โลกนี้ ฆ่าสัตว์ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตน
ให้ติดในความสุขข้อที่ ๑ คนพาลบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้า
ของไม่ได้ให้แล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ ๒ คนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าว
คำเท็จแล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตน
ให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ ๓ คนพาลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เพรียบพร้อม
พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่
ในความสุข ข้อที่ ๔. ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้คิดอยู่ในความ
สุข ๔ ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อ
หน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้
ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 277
ว่าด้วยการประกอบตนให้ติดความสุข ๔ อย่าง
[๑๑๕] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็น
ผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ ดังนี้.
พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นว่า พวกท่านอย่า
กล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเมื่อจะกล่าวชอบ
ไม่ควรกล่าวแก่พวกเธอหามิได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพึง
กล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นจริง หามิได้. ดูก่อนจุนทะ การ
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว
เป็นไฉน ดูก่อนจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ ๑ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบ
ตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ ๒ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผุ้มีอุเบกขา มีสติ เป็นสุขอยู่ ข้อนี้เป็น
การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุขข้อที่ ๓ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดอยู่ใน
สุขข้อที่ ๔.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
ดูก่อนจุนทะ การประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ
เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพ-
พานโดยส่วนเดียว. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตรเป็น
ผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล
ดังนี้. พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอย่างนี้ พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดย
ชอบ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่กะพวกเธอด้วยสิ่ง
ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง หามิได้.
ว่าด้วยอานิสงส์ ๔
[๑๑๖] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เมื่อพวกท่าน
ประกอบตนให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้ พวกท่านพึงหวังได้
ผลกี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ. ดูก่อนจุนทะ พวกท่านควรกล่าวกะ
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายะ เมื่อพวกเราประกอบตน
ให้ติดอยู่ในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ พวกเราพึงหวังได้ผล ๔ ประการ
อานิสงส์ ๔ ประการ. ผล ๔ อานิสงส์ ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนผู้มีอายุ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ข้อนี้เป็น
ผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามี
มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 279
๓ สิ้นไป และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒
เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒. ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ (เป็นอนาคามี) ผู้
จะปรินิพพานในภพนั้นเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะ
สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ สิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์
ประการที่ ๓ ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้า
ถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔. ดูก่อนผู้มี
อายุ เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดคอยู่ในความสุข ประการเหล่า
นี้แล พวกเราพึงหวังได้ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ ดังนี้.
ว่าด้วยผู้ไม่ควรล่วงฐานะ ๙
[๑๑๗] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณะศากยบุตร เป็นผู้มี
ธรรมไม่ตั้งมั่นแล้ว. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะพวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ธรรมทั้งหลายอันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
แสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เป็นธรรมอันพวกสาวกไม่ควร
ก้าวล่วงตลอดชีวิต มีอยู่แล. ดูก่อนผู้มีอายุ เสาเขื่อนหรือเสาเหล็กมีราก
อันลึก ปักไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน ฉันใด ธรรมทั้งหลาย
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ทรงบัญญัติแล้ว แก่สาวกทั้งหลาย เป็นธรรมอันสาวกไม่
ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใด เป็น
พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 280
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เป็น
ผู้พันแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ.
ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ ไม่ควรจงใจปลงสัตว์จากชีวิต ไม่ควร
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ ซึ่งนับว่าเป็นขโมย ไม่ควรเสพเมถุน
ไม่ควรกล่าวคำเท็จทั้งที่รู้ ไม่ควรบริโภคกามที่ทำความสั่งสม เหมือน
อย่างตนเป็นผู้ครองเรือนในกาลก่อน ไม่ควรถึงฉันทาคติ ไม่ควรถึงโทสาคติ
ไม่ควรถึงโมหาคติ ไม่ควรถึงภยาคติ. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใดเป็น
พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว
เป็นผู้พันแล้ว เพราะความรู้ชอบ ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วง
ฐานะ ๙ ประการเหล่านี้.
[๑๑๘] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมปรารภกาลนาน
ที่เป็นอดีต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝั่งมิได้ แต่หาได้ปรารภกาลนานที่
เป็นอนาคต บัญญัติญาณทัสสนะอันหาฝั่งมิได้ไม่ เพราะเหตุไรจึงทรง
บัญญัติเช่นนั้น การที่ทรงบัญญัติเช่นนั้น เป็นอย่างไรเล่า. พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมสำคัญสิ่งที่พึงบัญญัติอันไม่ใช่ญาณทัสสนะ. ซึ่ง
เป็นอย่างอื่นด้วยญาณทัสสนะซึ่งเป็นอย่างอื่น เหมือนคนโง่ ไม่ฉลาด
ฉะนั้น.
ดูก่อนจุนทะ สตานุสาริญาณ ปรารภกาลนานที่เป็นอดีต ย่อม
มีแก่ตถาคต ย่อมระลึกได้ตลอดกาล มีประมาณเท่าที่ตนหวัง และญาณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 281
อันเกิดแต่ความตรัสรู้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ตถาคต เพราะปรารภกาลนานที่เป็น
อนาคตว่า ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี ดังนี้.
ว่าด้วยเหตุที่มีพระนามว่า ตถาคต
[๑๑๙] ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า สิ่งที่เป็นอดีต ไม่เป็นจริง
ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น. ดูก่อน
จุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอดีตเป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น.
ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตไม่เป็นจริง ไม่เป็นของแท้ ไม่
ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์สิ่งนั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้
หากว่าสิ่งที่เป็นอนาคตเป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประ-
โยชน์ ตถาคตก็ไม่พยากรณ์แม้สิ่งนั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่า สิ่งที่
เป็นอนาคต เป็นของจริงเป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต
ย่อมเป็นผู้รู้กาลในสิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. ดูก่อนจุนทะ แม้หาก
ว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบันไม่เป็นของจริง ไม่เป็นของแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ตถาคตย่อมไม่พยากรณ์สิ่งนั้น ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน
เป็นของจริง เป็นของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตก็ไม่
พยากรณ์แม้สิ่งนั้น ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นของ
จริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้กาลใน
สิ่งนั้น เพื่อพยากรณ์ปัญหานั้น. ด้วยเหตุดังนี้แล จุนทะ ตถาคตเป็น
กาลวาที เป็นสัจจวาที เป็นภูตวาที เป็นอัตถวาที เป็นธรรมวาที เป็นวินัย
วาที ในธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะฉะนั้น
ชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 282
[๑๒๐] ดูก่อนจุนทะ สิ่งใดที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก
หรหมโลก อันหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ เทวดามนุษย์เห็นแล้ว
ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ สิ่งนั้นตถาคตได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วโดยชอบ เพราะฉะนั้นชาวโลกจึง
เรียกว่า ตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตย่อมตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรี
ใดก็ดี ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในราตรี ใดก็ดี ตถาคต
ย่อมกล่าว ย่อมแสดงซึ่งสิ่งใดในระหว่างนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมเป็นอย่างนั้น
ทีเดียว ย่อมไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นชาวโลกจึงเรียกว่า ตถาคต.
ดูก่อนจุนทะ ตถาคตเป็นผุ้กล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น เป็นผู้ทำ
อย่างใดกล่าวอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ ตถาคตชื่อว่า เป็นผู้กล่าวอย่างใด ทำ
อย่างนั้น หรือเป็นผู้ทำอย่างใด กล่าวอย่างนั้น เพราะฉะนั้นชาวโลกจึง
เรียกว่าตถาคต. ตถาคตเป็นผู้ใหญ่ยิ่ง ไม่มีผู้ใหญ่ยิ่งกว่า เป็นผู้เห็นถ่อง
แท้ เป็นผู้กุมอำนาจ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดามนุษย์ เพราะฉะนั้นชาวโลกจึง
เรียกว่า ตถาคต ดังนี้.
ว่าด้วยทิฏฐิต่าง ๆ
[๑๒๑] ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เบื้องหน้าแต่มรณะ
สัตว์ย่อมมีสิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือหนอ ดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวก
เธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 283
ย่อมมีสิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมี
ได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือดังนี้.
ดูก่อนจุนทะ พวกเธอพึงกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ผู้มีวาทะ
อย่างนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์
ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละจริงสิ่งอื่นเปล่า.
ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีด้วย
ย่อมไม่มีด้วย สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวก
เธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ
สัตว์ย่อมมีด้วย ย่อมไม่มีด้วย สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ
ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เบื้องหน้าแต่มรณะ สัตว์ย่อมมีหามิได้ ย่อมไม่มี
ก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือดังนี้. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอ
ควรกล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ
แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ
สัตว์ย่อมมีก็หามิได้ ย่อมไม่มีก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้.
[๑๒๒] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวก
ปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุไร
ข้อนี้พระสมณโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์ไว้เล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควร
กล่าวกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
อายุ เพราะว่าข้อนี้ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความ
ดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพพาน โดยส่วนเดียว ฉะนั้น
ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้.
ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญ-
ญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็พระสมณโคดมทรงพยากรณ์
ไว้อย่างไรเล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะปริพาชกอัญญเดียรถีย์
ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยา-
กรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์ ดังนี้แล.
ดูก่อนจุนทะ ข้อนั้นก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือการที่พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็เพราะเหตุไร ข้อนี้พระ
สมณโคคมจึงทรงพยากรณ์ไว้เล่า. ดูก่อนจุนทะ พวกเธอควรกล่าวกะ
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ผู้มีวาทะอย่างนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้
มีอายุ เพราะว่าข้อนี้ เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม ข้อ
นี้เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายความ
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
พระนิพพาน โดยส่วนเดียวฉะนั้น ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรง
พยากรณ์ไว้ดังนี้.
[๑๒๓] ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัย แม้เหล่าใดอันสหรคตด้วยส่วน
เบื้องต้น ทิฏฐินิสัย แม้เหล่านั้น อันเราได้พยากรณ์ไว้แล้ว เราได้พยา-
กรณ์ ทิฏฐินิสัยเหล่านั้น ด้วยประการใด และเราไม่พยากรณ์ด้วยประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 285
ใด ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์
ในข้อนั้นเล่า. ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยแม้เหล่าใด อันสหรคตด้วยส่วนเบื้อง
ปลาย ทิฏฐินิสัยแม้เหล่านั้น เราได้พยากรณ์กะพวกเธอแล้ว ทิฏฐินิสัยเหล่า
นั้นเราพึงพยากรณ์ด้วยประการใด และเราไม่พึงพยากรณ์ด้วยประการใด
ไฉนเราจักไม่พยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอ ในข้อนั้นเล่า. ดูก่อน
จุนทะ ทิฏฐินิสัยทั้งหลายอันสหรคตด้วยส่วนเบื้องต้น ที่เราได้พยากรณ์กะ
พวกเธอโดยประการที่เราพึงพยากรณ์และโดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์
เป็นไฉน.
ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์บางพวก ผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า อัตตา และโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. ดูก่อนจุนทะ
อนึ่ง มีสมณพระพราหมณ์บางพวก มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
อัตตา และโลก ไม่เที่ยง. สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. อัตตาและโลก
เที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่.
อัตตาและโลกสัตว์ทำได้เอง. อัตตาและโลกผู้อื่นทำให้. อัตตาและโลก
สัตว์ทำได้เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย. อัตตาและโลกสัตว์มิได้ทำเอง และ
ผู้อื่นมิได้ทำ เกิดขึ้นลอย ๆ. สุขและทุกข์เที่ยง. สุขและทุกข์ไม่เที่ยง.
สุขและทุกข์เที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย. สุขและทุกข์เที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยง
ก็ไม่ใช่. สุขและทุกข์สัตว์ทำได้เอง. สุขและทุกข์ผู้อื่นทำให้. สุข
และทุกข์สัตว์ทำได้เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย. สุขและทุกข์สัตว์มิได้ทำ
เองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำให้ด้วย เกิดขึ้นลอย ๆ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้
[๑๒๔] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ เรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 286
เข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ คำ
ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง มีอยู่หรือหนอ ดังนี้ และ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า
ดังนี้. เราไม่คล้อยตามคำนั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่าในสมณพราหมณ์เหล่านี้สัตว์
จำพวกหนึ่ง แม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัติ
นี้แล เรายังไม่เห็นผู้สม่ำเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียว
เป็นผู้ยิ่งในบัญญัติ ที่เป็นอธิบัญญัติ โดยแท้.
[๑๒๕] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ อัต-
ตาและโลกเที่ยงด้วย ไม่เที่ยงด้วย. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็
ไม่ใช่. อัตตาและโลกอันสัตว์ทำได้เอง. อัตตาและโลกผู้อื่นทำให้ อัตตา
และโลกสัตว์ทำได้เองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย อัตตาและโลกสัตว์มิได้ทำ
เอง และผู้อื่นมิได้ทำให้ เกิดขึ้นลอย ๆ สุขและทุกข์ เที่ยง
สุขและทุกข์ไม่เที่ยง. สุขและทุกข์เที่ยงด้วยไม่เที่ยงด้วย. สุขและ
ทุกข์เที่ยงก็ไม่ใช่ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่. สุขและทุกข์สัตว์ทำได้เอง. สุขและ
ทุกข์ผู้อื่นทำให้ สุขและทุกข์สัตว์ทำได้เองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย. สุข
และทุกข์สัตว์มิได้ทำเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำให้ด้วย เกิดขึ้นลอย ๆ สิ่งนี้
แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เราเข้าไปหาสมณพราหมฌ์เหล่านั้นแล้ว กล่าว
อย่างนี้ว่า มีอยู่หรือหนอคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า สุขและทุกข์สัตว์มิได้
ทำเองด้วย ผู้อื่นมิได้ทำให้ด้วย เกิดขึ้นลอย ๆ ดังนี้ และสมณพราหมณ์
เหล่านั้นได้กล่าวคำใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ เรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
ย่อมไม่คล้อยตามคำนั้น ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุ
ไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์จำพวกหนึ่ง
แม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แลเราไม่
เห็นผู้อื่น สม่ำเสมอตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใน
บัญญัติที่เป็นอธิบัญญัติโดยแท้.
ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยอันประกอบด้วยส่วนเบื้องต้นนี้แล ที่เรา
ได้พยากรณ์กะพวกเธอโดยประการที่เราพึงพยากรณ์และโดยประการที่เรา
ไม่พึงพยากรณ์ ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้นกะพวกเธอในข้อนั้น
เล่า.
ว่าด้วยทิฏฐินิสัยเกี่ยวกับกาลอนาคต
[๑๒๖] ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัยทั้งหลาย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้อง
ปลาย ที่เราได้พยากรณ์ไว้กะพวกเธอโดยประการที่เราพยากรณ์แล้ว และ
โดยประการที่เราไม่พึงพยากรณ์เป็นไฉน. ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูป
หาโรคมิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้. ดูก่อนจุนทะ มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่
มีรูป. อัตตา มีรูปด้วย ไม่มีรูปด้วย. อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่.
อัตตามีสัญญา อัตตาไม่มีสัญญา. อัตตามีสัญญาด้วย ไม่มีสัญญาด้วย. อัตตา
มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่. อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ
ย่อมไม่มี เบื้องหน้าแต่มรณะ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้.
ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีวาทะอย่างนี้ เป็น
ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตามีรูปหาโรคมิได้ สิ่งนี้แหละจริง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 288
สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้
ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ มีอยู่หรือหนอ คำที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เบื้องหน้า
แต่มรณะ อัตตามีรูปหาโรคมิได้ ดังนี้ และสมณพราหมณ์เหล่านั้น กล่าว
คำใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้. เราย่อมไม่คล้อยตามคำ
นั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ เพราะ
ว่าในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์จำพวกหนึ่งแม้เป็นผู้มีสัญญาเป็นอย่าง
อื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่เห็นผู้สม่ำเสมอตนเลย ผู้
ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในบัญญัติอันเป็นอธิบัญญัตินี้
โดยแท้.
[๑๒๗] ดูก่อนจุนทะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาไม่มีรูป. อัตตามีรูป
ด้วยไม่มีรูปด้วย อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ไม่มีรูปก็ไม่ใช่. อัตตามีสัญญา. อัตตา
มีสัญญาด้วย ไม่มีสัญญาด้วย. อัตตามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่
ใช่ เบื้องหน้าแต่มรณะ อัตตาย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี สิ่งนี้แหละ
จริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว กล่าวอย่า
นี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ มีอยู่หรือหนอ คำที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า เบื้องหน้า
แต่มรณะ ตนย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี และสมณพราหมณ์เหล่า
นั้นกล่าวคำใดอย่างนี้ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ เราไม่คล้อย
ตามคำนั้นของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. ดูก่อน
จุนทะ เพราะว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สัตว์พวกหนึ่ง แม้เป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
สัญญาเป็นอย่างอื่นมีอยู่. ดูก่อนจุนทะ ด้วยบัญญัตินี้แล เราไม่พิจารณา
เห็นผู้สม่ำเสมอด้วยตนเลย ผู้ยิ่งกว่าจักมีแต่ไหน เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งใหญ่
ในบัญญัติที่เป็นอธิบัญญัตินี้โดยแท้.
ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐินิสัย อันสหรคตด้วยส่วนเบื้องปลายนี้แล ที่
เราได้พยากรณ์กะพวกเธอ โดยประการที่เราพึงพยากรณ์ และโดยประการ
ที่เราไม่พึงพยากรณ์ เพราะฉะนั้น ไฉนเราจักพยากรณ์ทิฏฐินิสัยเหล่านั้น
กะพวกเธอในข้อนั้นเล่า.
ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔
[๑๒๘] ดูก่อนจุนทะ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อันเราแสดงแล้ว
บัญญัติแล้วอย่างนี้ เพื่อละ เพื่อก้าวล่วง ทิฏฐินิสัย อันประกอบด้วยส่วน
เบื้องต้นเหล่านี้ด้วย