ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ทีฆนิกาย มหาวรรค

เล่มที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. มหาปทานสูตร

เรื่องภิกษุหลายรูปประชุมกัน

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฏี ใกล้ไม้กุ่มน้ำ ณ พระ-

วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป ในเวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว

นั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ไม้กุ่มน้ำ เกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพ

นิวาสว่า บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับถ้อยคำเจรจาอันนี้ของภิกษุเหล่านั้น ด้วย

พระทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังโรง

กลมใกล้ไม้กุ่มน้ำ ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ พระผู้มีพระภาคครั้นประทับ

นั่ง แล้วถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

อะไรกัน แม้เพราะเหตูนี้เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า

พระองค์ ในเวลาหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้นั่งประชุมกันในโรงกลม

ใกล้ไม้กุ่มน้ำ แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสว่า. บุพเพนิวาส

แม้เพราะเหตุนี้ บุพเพนิวาสแม้เพราะเหตุนี้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนา

หรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำ

ธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ข้าแต่พระสุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระ

ผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้

ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว จักได้ทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวกเธอจงฟังจงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว-

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายนับแต่นี้ไป ๙๑ กัป ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ

เจ้า พระนามว่าวิปัสสีได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป ที่พระผู้มี

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสีขี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกใน

กัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู

ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระ

ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

โกนาคมนะ ได้เสด็จอุบบัติขึ้นในโลก ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในภัทท

กัปนี้แหละ เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้อุบัติขึ้นแล้วในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ

ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

เวสสภู ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ. ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ

ทรงอุบัติในพราหมณสกุล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม

ว่าโกนาคมนะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เป็นพราหมณ์

โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ได้เป็นกษัตริย์โดยชาติ อุบัติในขัตติยสกุล.

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี เป็นโกญฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าสิขี เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าเวสสภู เป็นโกณฑัญญโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสันมาสัม-

พุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ เป็นกัสสปโคตร พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นกัสสปโคตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ เป็นโคตมโคตร.

[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ประมา ๘๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ปี

พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากกุสันธะ ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ปี พระชนมายุของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปี

พระชนมายุของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ

ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนมายุของเราในบัดนี้มีประมาณ

ไม่มากคือน้อยนิดเดียวผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างนานก็เพียง ๑๐๐ ปี บางทีก็น้อยกว่า

บ้าง มากกว่าบ้าง.

[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ตรัสรู้ที่ควงไม้กุ่มบก พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ตรัสรู้ที่ควงไม้สาละ พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ตรัสรู้ที่ควงไม้ซึก พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจัา พระนามว่าโกนาคมนะ ตรัสรู้ที่ควงไม้มะเดื่อ พระผู้

มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ตรัสรู้ที่ควงไม้ไทร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์.

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี มีพระขัณฑะและพระติสสะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่

อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี มีพระอภิภู

และพระสัมภวะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู มีพระโสณะและพระอุตตระ เป็น

คู่พระอัครสาวกซึ่งเป็นคู่อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากกุสันธะ มีพระวิธูระ และพระสัญชีวะเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่

อันเจริญ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

มีพระภิยโยสะ และพระอุตตระ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่เจริญ พระผู้มี

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ มีพระติสสะ และพระ-

ภารทวาชะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราใน

บัดนี้มีสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นคู่อัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ.

[๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมกันแห่งสาวกของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวก

ประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประ-

ชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกัน เป็นจำนวน

ภิกษุแปดหมื่นรูป สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้า พระนามว่า

วิปัสสี ซึ่งได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าสิขี ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ

แสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีก

ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ซึ่งได้

ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ

ประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม

ว่าเวสสภู ได้มีสามครั้ง ครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปด

หมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป อีก

ครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุหกหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ซึ่งได้

ประชุมกัน ทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม

ว่ากกุสันธะ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุสี่หมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสาวก

ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากุกสันธะ ซึ่งได้ประ-

ชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุม

กันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

โกนาคมนะได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุสามหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระ-

สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ ซึ่ง

ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ

ประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-

นามว่ากัสสปะ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุสองหมื่นรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ

ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย

การประชุมกันแห่งสาวกของเราในบัดนี้ ได้มีครั้งเดียว มีจำนวนภิกษุหนึ่งพัน

สองร้อยห้าสิบรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราซึ่งได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้

ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น.

[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอโสกะ เป็นอัครอุปัฏ-

ฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ดูกรภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าเขมังกระเป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐาก

ชื่อว่าอุปสันตะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าเวสสภู ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าวุฑฒิชะ เป็นอัคร

อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าโสตถิชะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้อปัฏฐากชื่อว่า สัพพมิตตะ เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอร-

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อุปัฏฐาก

ชื่อว่าอานนท์ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของเราในบัดนี้.

[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าพันธุม เป็นพระชนก

พระเทวีพระนามว่าพันธุมดี เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอร-

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระนครชื่อว่าพันธุมดีได้เป็นราชธานี

ของพระเจ้าพันธุม พระราชาพระนามว่าอรุณเป็นพระชนก พระเทวิพระนาม

ว่าปภาวดีเป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าสิขี พระนครชื่อว่าอรุณวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าอรุณะ

พระราชาพระนานว่า สุปปตีตะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ายสวดี. เป็น

พระชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

เวสสภู พระนครชื่อว่าอโนมะ ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าสุปปตีตะ พราหมณ์

ชื่อว่าอัคคิทัตตะ เป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่าวิสาขา เป็นพระชนนีบังเกิด

เกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ภิกษุทั้ง

หลาย ก็พระราชาพระนามว่าเขมะ ได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อว่า

เขมวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้าเขมะ พราหมณ์ชื่อว่ายัญญตัตตะ เป็น

พระชนก พราหมณีชื่อว่าอุตตราเป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ก็พระราชาพระนามว่าโสภะ

ได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อว่าโสภวดี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้า

โสภะ พราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะ เป็นพระชนก พราหมณีชื่อธนวดี เป็นพระ-

ชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ ก็พระราชาพระนามว่ากิงกี ได้มีแล้วโดยสมัยนั้นแล พระนครชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ว่าพาราณสี ได้เป็นราชธานีของพระเจ้ากิงกี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระ

นามว่าสุทโธทนะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ามายา เป็นพระชนนี

บังเกิดเกล้าของเราในบัดนี้ พระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์ได้เป็นราชธานีของ

พระเจ้าสุทโธทนะด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดั่งนี้แล้วจึงเสด็จลุกจากอาสนะ ทรงเข้าพระ-

วิหาร.

[๑๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุ

เหล่านั้นได้สนทนากันขึ้นในระหว่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคย

มีแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตต้องทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก จึงจัก

ทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้วตัดธรรม

เครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว ล่วง

สรรพทุกข์แล้วแม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดย

ประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวก

ว่าแม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีชาติเช่นนี้แม้ด้วยเหตุนี้ พระ

ผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระนามเช่นนี้แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค

เหล่านั้น จึงได้มีพระโคตรเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น

จึงได้มีศีลเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีธรรมเช่นนี้

แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระปัญญาเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้

พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีวิหารธรรมเช่นนี้ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเหล่านั้น จึงได้มีวิมุตติเช่นนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นอย่างไรหนอแล

พระตถาคตพระองค์เดียวจึงทรงแทงตลอดธรรมธาตุนี้ เพราะเหตุที่พระตถาคต

ทรงแทงตลอดธรรมธาตุแล้ว ฉะนั้นจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่

ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ทรงตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ทรงตัดความหมุนเวียน (เวียนว่ายตายเกิด) ได้แล้ว ทรงครอบงำความหมุน

เวียนแล้วทรงล่วงทุกข์ได้ทุกชนิดแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้

โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้

โดยประชุมแห่งสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติ

เช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ มี

พระปัญญาเช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ดังนี้ หรือว่า เพราะ

ความข้อนี้ พวกเทวดาได้กราบทูลแด่พระตถาคต พระตถาคตจึงทรงระลึกได้

ถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้วทรงตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่น

ช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงำความหมุนเวียนได้แล้ว

ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร

แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยประชุมแห่ง

พระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้

มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้ มีพระปัญญา

เช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ก็ภิกษุเหล่านั้นยังค้างการสนทนา

กันอยู่ตรงนี้.

[๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนใน

เวลาเย็น เสด็จตรงไปยังโรงกลมใกล้หมู่ไม้กุ่มน้ำ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่

ปูลาดไว้แล้วพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน เรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อ

พระผู้มีพระภาคตรัสถามดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้าพระองค์

ได้สนทนากันขึ้นในระหว่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคยมีแล้ว

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตจะต้องทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก จึงจักทรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

ระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ทรงตัด

ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงำความ

หมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดย

พระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่ง

พระสาวก แม้โดยประชุมแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค

เหล่านั้น จึงได้มีพระชาติเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

เป็นอย่างไรหนอแล พระตถาคตพระองค์เดียว จึงทรงแทงตลอดธรรมธาตุนี้

เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงแทงตลอดธรรมธาตุแล้วฉะนั้น จึงทรงระลึกได้ถึง

พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้

เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงำความหมุนเวียน

ได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม

แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก

แม้โดยประชุมแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้

มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีพระโคตรเช่นนี้ มีศีลเช่นนี้ มีธรรมเช่นนี้

มีพระปัญญาเช่นนี้ มีวิหารธรรมเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ หรือว่าเพราะความข้อนี้

พวกเทวดาได้กราบทูลแด่พระตถาคต พระตถาคตจึงทรงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว

ตัดความหนุนเวียนได้แล้ว ทรงครอบงำความหมุนเวียนได้แล้ว ทรงล่วงความทุกข์

ทุกอย่างได้แล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯ ล ฯ แม้โดยประชุมแห่ง

พระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงได้มีพระชาติเช่นนี้

มีพระนามเช่นนี้ ฯ ล ฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้แลที่พวก

ข้าพระองค์พูดค้างไว้ พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตนี่แหละ

แทงตลอดธรรมธาตุแล้ว ฉะนั้นตถาคตจึงระลึกได้ถึงพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว

ซึ่งปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว

ครอบงำวัฏฏะแล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้

โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกัน

แห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้นจึงได้มีพระชาติเช่นนี้

มีพระนามเช่นนี้ ฯลฯ มีวิมุตติเช่นนี้ ความข้อนี้ แม้พวกเทวดาก็ได้กราบทูล

แด่ตถาคต ตถาคตจึงระลึกได้ ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ซึ่ง

ปรินิพพานแล้ว ตัดธรรมเครื่องทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว มีวัฏฏะอันตัดแล้ว ครอบ

งำวัฏฏะแล้ว ล่วงสรรพทุกข์แล้ว แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม ฯ ล ฯ

แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น

จึงได้มีพระชาติเช่นนี้ มีพระนามเช่นนี้ มีวิมุตติเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

ปรารถนาหรือไม่ที่จะฟังธรรมีกถา ซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาสโดยยิ่งกว่าประมาณ

ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นกาลสมควรแล้ว ข้าแต่

พระสุคต เป็นกาลสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงการทำธรรมีกถาซึ่ง

เกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส โดยยิ่งกว่าประมาณ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคแล้วจักได้ทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟัง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี

พระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติแล้วในโลก พระองค์เป็น

กษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติแล้วในขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

มีพระชนมายุประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีพระ-

ขัณฑะและพระติสสะ เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ การประชุมแห่ง

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มี

แล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกัน เป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปด

แสนรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป อีก

ครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป ภิกษุทั้งหลาย

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ซึ่งได้

ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระนามว่าพันธุม

เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าพันธุมดี เป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของ

พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระนครชื่อว่าพันธุมดี ได้เป็นราชธานีของ

พระเจ้าพันธุม.

ว่าด้วยพระโพธิสัตว์

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี

จุติจากชั้นดุสิตแล้ว มีพระสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา

ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติ

จากชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา เมื่อนั้นในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ

มนุษย์ แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดา

ทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่ที่สุดในโลก มิได้ถูกอะไรปกปิดไว้ ที่มืดมิดก็ดี สถานที่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านี้ ซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสง

ไปไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสองแห่งนั้น แสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏ

ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็

จำกันและกันได้ ด้วยแสงนั้นว่า พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า ถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้

ก็มีอยู่เหมือนกัน ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่าง

อันยิ่งไม่มีประมาณย่อมปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายข้อนี้

เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เทวบุตร ๔ องค์ ย่อมเข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔

โดยตั้งใจว่าใคร ๆ คือ มนุษย์ หรืออมนุษย์ก็ตาม อย่าเบียดเบียนพระโพธิสัตว์

หรือพระมารดาของโพธิสัตว์นั้นได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์โดยปรกติ

ทรงศีล งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ

สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ลง

สู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมไม่เกิดมนัสซึ่ง

เกี่ยวด้วยกามคุณในบุรุษทั้งหลาย พระมารดาของโพธิสัตว์ย่อมเป็นหญิงที่

บุรุษใด ๆ ซึ่งมีจิตกำหนัดแล้วจะล่วงเกินไม่ได้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมได้กามคุณ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

๕ พระนางเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับบำเรออยู่ ข้อนี้เป็น

ธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของ

ของพระโพธิสัตว์เลย พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทรงสำราญ ไม่ลำบาก

กายและพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเสด็จ

อยู่ภาย ในพระครรภ์มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรภิกษุ

ทั้งหลายเปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยมนาย

ช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย เขียว เหลือง แดง

ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น. บุรุษผู้มีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นี้นั้นวางไว้ใน

มือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม

นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้าย

เขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล ร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น แม้ฉันใด ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์

ของพระมารดา อาพาธใด ๆ ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย

พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงสำราญ ไม่ลำบากพระกาย และพระมารดาของ

พระโพธิสัตว์ย่อมทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ผู้เสด็จอยู่ ณ ภายในพระครรภ์

มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วนมีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเมื่อพระโพธิสัตว์

ประสูติแล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ย่อมทิวงคตเสด็จเข้าถึงชั้น

ดุสิต ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ หญิงอื่น ๆ บริหารครรภ์

๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด พระมารดาของพระโพธิสัตว์หาเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

อย่างนั้นไม่ พระมารดาของพระโพธิสัตว์บริหารพระโพธิสัตว์ด้วยพระครรภ์

ครบ ๑๐ เดือน ถ้วน จึงประสูติ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรดามีอยู่ดังนี้ พระมารดาของพระโพธิ-

สัตว์ย่อมไม่ประสูติเหมือนหญิงอื่น ๆ ซึ่งนั่งหรือนอนคลอด ส่วนพระมารดา

ของพระโพธิสัตว์ประทับยืนประสูติพระโพธิสัตว์ ข้อนี้เป็นธรรดาในเรื่องนี้.

[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาพระโพธิสัตว์

เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา พวกเทวดารับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง

ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดาและยังไม่ทันถึงแผ่นดิน เทวบุตร ๔ องค์

ประคองรับพระโพธิสัตว์นั้นแล้ววางไว้เบื้องหน้าพระมารดา กราบทูลว่า ขอ

จงมีพระทัยยินดีเถิดพระเทวี พระโอรสของพระองค์ที่เกิดมีศักดิ์ใหญ่ นี้เป็น

ธรรมดาในเรื่องนี้ .

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เสด็จประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่

เปรอะเปื้อนด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่

เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งไม่สะอาดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย แก้วมณีอันบุคคลวางลงไว้ในผ้ากาสิกพัสตร์ แก้วมณีย่อมไม่ทำ

ผ้ากาสิกพัสตร์ให้เปรอะเปื้อนเลย ถึงแม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่ทำแก้วมณีให้

เปรอะเปื้อน เพราะเหตุไรจึงเป็นดังนั้น เพราะสิ่งทั้งสองเป็นของบริสุทธิ์แม้

ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เสด็จ

ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาก็ประสูติอย่างง่ายดายทีเดียว ไม่เปรอะเปื้อน

ด้วยน้ำ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปรอะเปื้อนด้วยโลหิต ไม่เปรอะเปื้อน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ด้วยสิ่งไม่สะอาด อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องข้อนี้เป็นธรรมดาใน

เรื่องนี้.

[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ ในเวลาที่พระโพธิสัตว์

เสด็จประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ธารน้ำย่อมปรากฏจากอากาศสองธาร

เย็นธารหนึ่ง ร้อนธารหนึ่ง สำหรับสนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้อนี้

เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ พระโพธิสัตว์ผู้ประสูติแล้ว

ได้ครู่หนึ่ง ประทับยืนด้วยพระบาททั้งสองอันสม่ำเสมอ ผินพระพักตร์ทางด้าน

ทิศอุดร เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าว และเมื่อฝูงเทพดากั้นเศวตฉัตรตามเสด็จอยู่

ทรงเหลียวแลดูทั่วทุกทิศ เปล่งวาจาว่า เราเป็นยอดของโลก เราเป็นใหญ่แห่ง

โลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความเกิดของเรานี้เป็นครั้งที่สุด บัดนี้ความ

เกิดอีกมิได้มี ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดามีอยู่ดังนี้ เมื่อใด พระโพธิสัตว์เสด็จ

ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวาและมนุษย์ แสงสว่างอัน

ยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ช่องว่างซึ่งอยู่

ที่สุดโลกมิได้ถูกอะไรปกปิด ที่มืดมิดก็ดี สถานที่ที่พระจันทร์และพระอาทิตย์

เหล่านี้ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากปานนี้ส่องแสงไป ไม่ถึงก็ดี ในที่ทั้งสอง

แห่งนั้นแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อมปรากฏล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้ง

หลาย ถึงสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในสถานที่เหล่านั้นก็จำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่าง

นั้นว่าพ่อผู้เจริญ ได้ยินว่าถึงสัตว์พวกอื่นที่เกิดในนี้ก็มีอยู่เหมือนกัน และหมื่น

โลกธาตุนี้ย่อมหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ย่อม

ปรากฏในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

การพยากรณ์นิมิต

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระวิปัสสีราชกุมารประสูติแล้วแล

พวกอำมาตย์ได้กราบทูลแด่พระเจ้าพันธุมว่า ขอเดชะ พระราชโอรสของพระ-

องค์ประสูติแล้ว ขอพระองค์จงทอดพระเนตรพระราชโอรสนั้นเถิด ภิกษุ

ทั้งหลาย พระเจ้าพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วรับสั่ง

เรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตมาแล้วตรัสว่า ขอพวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตผู้เจริญจง

ตรวจดูพระราชกุมารเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกพราหมณ์ผู้รู้นิมิตได้เห็นพระวิ-

ปัสสีราชกุมารนั้นแล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าพันธุมนั้นดังนี้ว่า

ขอเดชะ ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชโอรสของพระองค์ที่ประสูติ

แล้วมีศักดิ์ใหญ่ ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ผู้เป็นเจ้าของสกุลอันเป็น

ที่บังเกิดแห่งพระราชโอรส เห็นปานดังนี้ ขอเดชะ พระองค์ได้ดีแล้วเพราะ

พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่า

นั้นไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม

เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรง

ชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว

ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗

พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์

สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา

มิต้องใช้ศาตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นของเขต ถ้าเสด็จออกผนวช

เป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลส

แล้วในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

เหล่าไหน อันเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครอง

เรือนจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่

ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้วมีพระราชอาณาจักร

มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ฯลฯ ครอบครองแผ่นดินมี

สาคร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก.

ว่าด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

[๒๙] ๑. ขอเดชะ ก็พระราชกุมารนี้มีพระบาทประดิษฐาน

เป็นอันดี (เรียบเสมอ) ข้าแต่สมมติเทพ การที่พระราชกุมารนี้มี

พระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนี้ เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ

นั้น.

๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราชกุมารนี้ มี

จักรเกิดขึ้นมีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง

ข้าแต่สมมติเทพ แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระราช

กุมารนี้มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย

อาการทั้งปวง นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.

๓. มีส้นพระบาทยาว.

๔. มีพระองคุลียาว.

๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่น.

๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ.

๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย.

๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบ

คลำได้ถึงพระชานุทั้งสอง.

๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก.

๑๐. มีพระฉวีววรรณดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประ-

ดุจหุ้มด้วยทอง.

๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิ

ติดอยู่ในพระกายได้.

๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่ง ๆ เกิดในขุมละเส้น ๆ.

๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสี

เหมือนดอกอัญชัน ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ.

๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม.

๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน.

๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราช-

สีห์.

๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม.

๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกาย

ของพระองค์ พระกายของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์.

๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน.

๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี.

๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์.

๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน .

๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง.

๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม.

๒๗. มีพระชิวหาใหญ่.

๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนก

การเวก.

๒๙. มีพระเนตรดำสนิท.

๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค.

๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างแห่งพระขนง มี

สีขาวอ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น.

๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ข้าแต่สมมติ

เทพ แม้การที่พระราชกุมารนี้ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระ

พักตร์นี้ ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษนั้น.

[๓๐] ขอเดชะ พระราชกุมารนี้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒

ประการเหล่านี้ ซึ่งมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะ

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ใน

แผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชาอาณาจักรมั่นคง

สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว

คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน

ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้

พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศาสตรา ครอบครอง

แผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดหลังคาคือกิเลสแล้วในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

เรื่องพระเจ้าพันธุมราช

[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมโปรดให้พวก

พราหมณ์ผู้รู้นิมิตนุ่งห่มผ้าใหม่แล้ว เลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์

ทุกสิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งตั้งพี่เลี้ยงนางนมแก่

พระวิปัสสีราชกุมาร หญิงพวกหนึ่งให้เสวยน้ำนม หญิงพวกหนึ่งให้สรงสนาน

หญิงพวกหนึ่งอุ้ม หญิงพวกหนึ่งใส่สะเอว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กั้นเศวตฉัตรเพื่อพระวิปัสสี

ราชกุมารผู้ประสูติแล้วนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยหวังว่า หนาว ร้อน

หญ้า ละออง หรือน้ำค้าง อย่าได้ต้องพระองค์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารู้ผู้ประสูติแล้วแล เป็นที่รักเป็น

ที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ดอกอุบล ดอกประทุม หรือดอกปุณฑริก เป็น

ที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก แม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมารก็ได้เป็น

ที่รัก เป็นที่เจริญใจของชนเป็นอันมาก ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พระ-

วิปัสสีราชกุมารนั้น อันบุคคลผลัดเปลี่ยนกันอุ้มใส่สะเอวอยู่เสมอ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล เป็นผู้มีพระ

สุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ภิกษุทั้ง

หลาย หมู่นกการเวกบนหิมวันตบรรพตมีสำเนียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน

และเป็นที่ตั้งแห่งความปรีดิ์เปรม ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีพระสุระเสียงกลมเกลี้ยง ไพเราะ อ่อนหวาน เป็น

ที่ตั้งแห่งความรัก.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิพยจักษุอันเกิดแต่กรรมวิบาก อันเป็นเหตุให้

เห็นได้ไกลโดยรอบโยชน์หนึ่งทั้งกลางวันและกลางคืน ได้ปรากฏแก่พระวิปัสสี

ราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล ไม่กะพริบ

พระเนตรเพ่งแลดู ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไม่กะพริบเนตรเพ่ง

แลดูแม้ฉันใด พระวิปัสสีราชกุมาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่กะพริบพระเนตร

เพ่งแลดู.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมญาว่า วิปัสสี ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่

พระวิปัสสีราชกุมารผู้ประสูติแล้วแล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมประทับนั่งในศาลสำหรับ

พิพากษาคดี ให้พระวิปัสสีราชกุมารมานั่งบนพระเพลาไต่สวนคดีอยู่.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารประทับนั่งบนพระ

เพลาของพระชนก ณ ศาลาสำหรับพิพากษาคดีนั้น ทรงสอดส่องพิจารณาคดี

แล้ว ย่อมทรงทราบได้ด้วยพระญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สมญาว่า วิปัสสี

ดังนี้แล ได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีราชกุมารนั้น โดยยิ่งกว่าประมาณ ลำดับ

นั้นแล พระเจ้าพันธุมได้โปรดให้สร้างปราสาทสำหรับพระวิปัสสีราชกุมาร ๓

หลัง คือ หลังหนึ่งสำหรับประทับในฤดูฝน หลังหนึ่งสำหรับประทับในฤดูหนาว

อีกหลังหนึ่งสำหรับประทับในฤดูร้อน โปรดให้บำรุงพระราชกุมารด้วยเบญจ-

กามคุณ ได้ยินว่า พระวิปัสสีราชกุมารได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีไม่มี

บุรุษปนตลอด ๔ เดือนในปราสาทสำหรับประทับในฤดูฝน ในบรรดาปราสาท

ทั้ง ๓ หลังนั้น มิได้เสด็จลงสู่ปราสาทชั้นล่างเลย ดังนี้แล.

จบภาณวารที่หนึ่ง

[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนี้แล โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อย

ปี หลายพันปี พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถี

ผู้สหาย เธอจงเทียมยานที่ดี ๆ เราจะไปสวนเพื่อชมพื้นที่อันสวยสด ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว เทียมยานที่ดี ๆ เสร็จ

แล้ว จึงกราบทูลแด่พระวิปัสสีราชกุมารว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้เทียม

ยานที่ดี ๆ เสร็จแล้ว บัดนี้ พระองค์ทรงกำหนดเวลาอันสมควรเถิด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานอันดี เสด็จ

ประพาสพระอุทยานพร้อมกับยานที่ดี ๆ ทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร ขณะ

เสด็จประพาสพระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรชายชรา มีซี่โครงคดเหมือนกลอน

หลังงอ ถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิ่น ๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น

ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายผู้นี้

ถูกใครทำอะไรให้ แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือนคนอื่น ๆ แม้ร่างกายของเขา

ก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนชรา.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า คนชรา.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนชรา บัดนี้ เขาจักพึงมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน.

นายสารถี ถึงตัวเราจะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่

ไปได้หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนแต่จะต้องมีความแก่เป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.

นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสำหรับภูมิภาคแห่งสวน

เธอจงนำเรากลับสู่วังจากสวนนี้เถิด.

นายสารถีรับสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นำเสด็จกลับไปยัง

ภายในบุรีจากพระอุทายานนั้น ๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวัง

แล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัยทรงพระดำริว่า ผู้เจริญได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

เกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่าเมื่อความเกิดมีอยู่. ความแก่จักปรากฏ

แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานายสารถี

มาตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้อภิรมย์ในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ

นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นายสารถี

กราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน

ขอเดชะ. พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน ดังนี้ ตรัส

ถามต่อไปว่า ดูกรนายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสสวนได้

ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จ

ประพาสพระอุทยานได้ทอดพระเนตรชายชรามีซี่โครงคดเหมือนกลอน หลังงอ

ถือไม้เท้าเดินงก ๆ เงิ่น ๆ กระสับกระส่าย หมดความหนุ่มแน่น ครั้นได้ทอด

พระเนตรแล้ว ได้มีรับสั่งถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายผู้นี้

ถูกใครทำอะไรให้ แม้ผมของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ แม้ร่างกายของเขาก็

ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แล เรียกว่า

คนชรา พระองค์ได้ตรัสถามย้ำว่านายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า คนชรา เมื่อ

ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนชรา บัดนี้เขาจักพึงมีชีวิต

อยู่ได้ไม่นาน พระราชกุมารได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมี

ความแก่เป็นธรรมดาไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้หรือ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูล

ว่าขอเดชะ. พระองค์และข้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่จะต้องมีความแก่เป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ พระองค์ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น

วันนี้พอแล้วสำหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนำเรากลับเข้าวังจากสวนนี้ ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้ารับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมาร แล้วได้นำเสด็จกลับเข้าวังจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

พระอุทยานนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารนั้นแล เสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์

เศร้าพระทัยทรงพระดำริว่า ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็น

ของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่าเมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏแก่ผู้ที่

เกิดมาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงดำริว่า วิปัสสีราช-

กุมารไม่เสวยราชเสียเลยไม่ได้ วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิตเลย

ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์อย่าพึงเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งให้บำรุงบำเรอพระ

วิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสี

ราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวช

เป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุ

ทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อมพรั่งพร้อมด้วยกาม

คุณ ๕ ได้รับการบำรุงบำเรออยู่.

[๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปหลายปี พระ

วิปัสสีราชกุมาร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมาร ขณะเมื่อเสด็จประพาส

พระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรคนเจ็บ ถึงความลำบาก เป็นไข้หนัก นอนจม

อยู่ในมูตรและกรีสของตน คนอื่น ๆ ต้องช่วยพยุงให้ลุก ผู้อื่นต้องช่วยให้กิน

ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ชายนี้

ถูกใครทำอะไรให้ แม้ตาทั้งสองของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ แม้ศีรษะของ

เขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนเจ็บ.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า คนเจ็บ.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนเจ็บ ไฉนเล่า เขาจะพึงหายจากความเจ็บนั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วง

พ้นความเจ็บไปได้หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า ล้วนจะต้องมีความเจ็บเป็น

ธรรมดาไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.

นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสำหรับ ภูมิภาคแห่งสวน เธอ

จงนำเรากลับ ไปวังจากสวนนี้เถิด.

นายสารถีรับสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นำเสด็จกลับไปยังวัง

จากพระอุทยานนั้น ๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวัง

แล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดำริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความ

เกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ

ความเจ็บจักปรากฏ แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานาย

สารถีมาตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้อภิรมย์ในภูมิภาคแห่งสวนแล

หรือ นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ นาย

สารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่งพระ -

อุทยาน ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระอุทยาน

ดังนี้ ตรัสถามต่อไปว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสสวน

ได้ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาส

พระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรคนเจ็บ ถึงความลำบาก เป็นไข้หนัก นอนจม

อยู่ในมูตรและกรีสของตน บุคคลอื่น ๆ ต้องช่วยพยุงให้ลุก ผู้อื่นต้องช่วยให้

กินครั้นทอดพระเนตรแล้ว ได้รับสั่งถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ชายคนนี้ถูกใครทำอะไรให้ แม้ตาทั้งสองของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ แม้

ศรีษะของเขาก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ เมื่อข้าพระพุทธะจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ

นี้แลเรียกว่า คนเจ็บ พระองค์ได้ตรัสถามย้ำว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียก

ว่าคนเจ็บ เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนเจ็บไฉน

เล่า เขาจะพึงหายจากความเจ็บนั้นได้ พระราชกุมารได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้

สหาย แม้ถึงตัวเราก็จะต้องมีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้

หรือ แต่พอข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้า

ล้วนแต่จะต้องมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้

พระองค์ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสำหรับภูมิภาคแห่ง

สวน เธอจงนำเรากลับไปวังจากสวนนี้ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคำสั่งของ

พระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้นำเสด็จกลับไปวังจากพระอุทยานนั้น ขอเดชะ

พระราชกุมารนั้นแล เสด็จถึงวังแล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดำริ

ว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า

เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บป่วยจักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงพระดำริว่า วิปัสสี-

ราชกุมาร อย่าไม่เสวยราชย์เสียเลย วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิต

เลย ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์อย่าพึงเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งให้บำรุงบำเรอ

พระวิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสี

ราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวช

เป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุทั้ง

หลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ได้รับ

การบำรุงบำเรออยู่ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

พระวิปัสสีราชกุมารเห็นเทวทูต

[๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาส

พระอุทยานได้ทอดพระเนตรหมู่มหาชนประชุมกัน และวอที่ทำด้วยผ้าสีต่าง ๆ

ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนายสารถีว่า นายสารถีผู้สหาย หมู่มหา-

ชนเขาประชุมกันทำไม และเขาทำวอด้วยผ้าสีต่างๆ กันทำไม นายสารถีได้กราบ

ทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า คนตาย พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสสั่งว่า นาย

สารถี ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทางคนตายนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระปัสสีราชกุมารแล้ว ได้

ขับรถไปทางคนตายนั้น ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารได้ทอดพระเนตรคน

ตายไปแล้ว ได้ตรัสเรียกนายสารถีมารับสั่งถามว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือ

เรียกว่าคนตาย.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนตาย บัดนี้ มารดาบิดา

หรือญาติสาโลหิตอื่น ๆ จักไม่เห็นเขา แม้เขาก็จักไม่เห็นมารดาบิดาหรือญาติ

สาโลหิตอื่น ๆ.

นายสารถีผู้สหาย ถึงตัวเราก็จะต้องมีความตายเป็นธรรดา ไม่ล่วงพ้น

ความตายไปได้หรือ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ

จักไม่เห็นเราหรือ แม้เราก็จักไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติ

สาโลหิตอื่น ๆ หรือ.

ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่จะต้องมีความตายเป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติ

สาโลหิตอื่น ๆ จักไม่เห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จะไม่เห็น พระเจ้าแผ่นดิน

พระเทวีหรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้นวันนี้พอแล้ว

สำหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอจงนำเรากลับไปวังจากสวนนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว ได้

นำเสด็จกลับไปวังจากอุทยานนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จถึงวัง

แล้ว ทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดำริว่า ผู้เจริญ ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าความ

เกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะธรรมดาว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความแก่จักปรากฏ

ความเจ็บจักปรากฏ ความตายจักปรากฏแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว .

[๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมรับสั่งหานาย

สารถีมาตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่ง

สวนแลหรือ นายสารถีผู้สหาย ราชกุมารพอพระทัยในภูมิภาคแห่งสวนแลหรือ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงอภิรมย์ในภูมิภาคแห่ง

พระอุทยาน ขอเดชะ พระราชกุมารมิได้ทรงพอพระทัยในภูมิภาคแห่งพระ-

อุทยานดังนี้ ตรัสถามต่อไปว่า นายสารถีผู้สหาย ก็ราชกุมารขณะเมื่อเสร็จ

ประพาสสวนได้ทอดพระเนตรอะไรเข้า.

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ พระราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาส

พระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรหมู่มหาชนประชุมกันและวอที่ทำด้วยผ้าสีต่าง ๆ

แล้วได้ตรัสถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย หมู่มหาชนประชุมกันทำไม

เขากระทำวอด้วยผ้าสีต่าง ๆ กันทำไม เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า นี้แล

เรียกว่าคนตาย พระองค์ได้ตรัสสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจง

ขับรถไปทางคนตายนั้น ขอเดชะ. ข้าพระพุทธเจ้ารับคำสั่งของพระวิปัสสี

ราชกุมารแล้ว ได้ขับรถไปทางคนตายนั้น ขอเดชะ พระราชกุมารได้ทอด

พระเนตรคนตายเข้าแล้วได้ตรัสถามข้าพระพุทธเจ้าว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือ

เรียกว่าคนตาย เมื่อข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่าคนตาย

บัดนี้มารดาบิดาและญาติสาโลหิตอื่น ๆ จักไม่เห็นเขา แม้เขาก็จักไม่เห็นมารดา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

บิดาหรือญาติสาโลหิตอื่น ๆ ดังนี้ พระองค์ได้ตรัสถามว่า นายสารถีผู้สหาย

ถึงตัวเราก็จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้หรือ

พระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ จักไม่เห็นเราหรือ แม้เรา

ก็จักไม่เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวีหรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ หรือ เมื่อ

ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์และข้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่จะ

ต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ พระเจ้าแผ่นดิน

พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ จักไม่เห็นพระองค์ แม้พระองค์ก็จักไม่

เห็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเทวี หรือพระญาติสาโลหิตอื่น ๆ ดังนี้ พระองค์ตรัส

สั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น วันนี้พอแล้วสำหรับภูมิภาคแห่งสวน เธอ

จงนำเรากลับไปวังจากสวนนี้ ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารับคำสั่งของพระวิปัสสี

ราชกุมารแล้ว ได้นำเสด็จกลับไปวังจากพระอุทยานนั้น ขอเดชะ พระราชกุมาร

นั้นแล เสด็จถึงวังแล้วทรงเป็นทุกข์เศร้าพระทัย ทรงพระดำริว่า ผู้เจริญ

ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดเป็นของน่ารังเกียจ เพราะเมื่อความเกิดมีอยู่

ความแก่จักปรากฏ ความเจ็บจักปรากฏ ความตายจักปรากฏ แก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมทรงพระดำริว่า วิปัสสี

ราชกุมารอย่าไม่พึงเสวยราชย์เลย วิปัสสีราชกุมารอย่าออกผนวชเป็นบรรพชิต

เลย ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์ทั้งหลายอย่าเป็นความจริงเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพันธุมได้รับสั่งให้บำรุงบำเรอ

พระวิปัสสีราชกุมารด้วยกามคุณ ๕ ยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยอาการที่จะให้พระวิปัสสี

ราชกุมารเสวยราชย์ โดยอาการที่จะไม่ให้พระวิปัสสีราชกุมารเสด็จออกผนวช

เป็นบรรพชิต โดยอาการที่จะให้ถ้อยคำของเนมิตตพราหมณ์เป็นผิด ภิกษุ

ทั้งหลาย ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระวิปัสสีราชกุมารเพียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วย

กามคุณ ๕ ได้รับการบำรุงบำเรออยู่.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

[๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โดยกาลล่วงไปหลายปี หลาย

ร้อยปี หลายพันปี พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถี

ผู้สหาย เธอจงเทียมยานที่ดี ๆ เราจะไปในสวนเพื่อชมพื้นที่อันสวยสด ภิกษุ

ทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว เทียมยานที่ดี ๆ

เสร็จแล้ว ได้กราบทูลแด่พระวิปัสสีราชกุมารว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า

เทียมยานที่ดี ๆ เสร็จแล้ว บัดนี้ พระองค์ทรงกำหนดเวลาอันสมควรเถิด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารทรงยานที่ดีเสด็จ

ประพาสพระอุทยานพร้อมกับยานที่ดี ๆ ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสี

ราชกุมารขณะเมื่อเสด็จประพาสพระอุทยานได้ทอดพระเนตรบุรุษบรรพชิต

ศีรษะโล้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ครั้นทอดพระเนตรแล้ว จึงรับสั่งถามนาย

สารถีว่า นายสารถีผู้สหาย บุรุษนี้ถูกใครทำอะไรให้ แม้ศีรษะของเขาก็ไม่

เหมือนคนอื่น ๆ แม้ผ้าทั้งหลายของเขาก็ไม่เหมือนคนอื่น ๆ

นายสารถีกราบทูลว่า ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า บรรพชิต.

นายสารถีผู้สหาย นี้หรือเรียกว่า บรรพชิต.

ขอเดชะ นี้แลเรียกว่า บรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี การ

ประพฤติสม่ำเสมอเป็นความดี การพระพฤติกุศลเป็นความดี การกระทำบุญ

เป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็น

ความดี.

นายสารถีผู้สหาย ดีละ ที่บุคคลนั้นได้นามว่า บรรพชิต การประพฤติ

ธรรมเป็นความดี การพระพฤติสม่ำเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็น

ความดี การกระทำบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์

แก่หมู่สัตว์เป็นความดี นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับรถไปทาง

บรรพชิตนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว

ขับรถไปทางบรรพชิตนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสถามบรรพชิต

นั้นว่า สหาย ท่านถูกใครทำอะไรให้ แม้ศีรษะของท่านก็ไม่เหมือนของคนอื่นๆ

แม้ผ้าทั้งหลายของท่านก็ไม่เหมือนของคนอื่น ๆ.

บรรพชิตนั้นได้ทูลว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพแลชื่อบรรพชิต.

สหาย ก็ท่านหรือชื่อบรรพชิต.

ขอถวายพระพร อาตมภาพชื่อบรรพชิต การประพฤติธรรมเป็น

ความดี การประพฤติสม่ำเสมอเป็นความดี การประพฤติกุศลเป็นความดี การ

กระทำบุญเป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์

เป็นความดี.

ดีละสหาย ที่ท่านได้นามว่าบรรพชิต การประพฤติธรรมเป็นความดี

การประพฤติสม่ำเสมอเป็นความดี การพระพฤติกุศลเป็นความดี การกระทำบุญ

เป็นความดี การไม่เบียดเบียนเป็นความดี การอนุเคราะห์แก่หมู่สัตว์เป็น

ความดี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมารได้ตรัสเรียกนาย

สารถีมาสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงนำรถกลับไปวังจากสวนนี้

แหละ ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น

บรรพชิต ณ สวนนี้แหละ.

พระวิปัสสีราชกุมารทรงผนวช

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายสารถีรับคำสั่งของพระวิปัสสีราชกุมารแล้ว

ได้พารถกลับไปยังวังจากสวนนั้น ส่วนพระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศา

และพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์. เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต

แล้ว ณ พระอุทยานนั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนในพระนครพันธุมดีราชธานีประมาณ

๘๔,๐๐๐ คน ได้สดับข่าวว่า พระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลงพระเกศาและพระ

มัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตเสียแล้ว ดังนี้

ครั้นแล้วมหาชนเหล่านั้น ได้ดำริดังนี้ว่า ก็พระวิปัสสีราชกุมารได้ทรงปลง

พระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็น

บรรพชิตในพระธรรมวินัยใด พระธรรมวินัยนั้นคงไม่เลวทรามเป็นแน่

บรรพชานั้นคงไม่เลวทรามเป็นแน่ แต่พระวิปัสสีราชกุมารยังทรงปลงพระเกศา

และพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้

พวกเราทำไมจึงจะบวชไม่ได้เล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน

ได้พากันโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิตตาม

เสด็จ พระวิปัสสีโพธิสัตว์แล้ว ได้ยินว่า พระวิปัสสีโพธิสัตว์ อันบริษัทนั้น

ห้อมล้อมเสด็จเที่ยวจาริกไปในคาม นิคม ชนบท และราชธานี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์เสด็จหลีกออกเร้น

อยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า การที่เราเป็นผู้ปะปนอยู่เช่นนี้ไม่สมควร

ไฉนหนอ เราถึงหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว ภิกษุทั้งหลาย ครั้นสมัยต่อมา

พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้เสด็จหลีกออกจากหมู่ประทับอยู่แต่พระองค์เดียว บรรพ-

ชิต ๘๔,๐๐๐ รูป ได้พากันไปทางหนึ่ง พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้เสด็จไปทางหนึ่ง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ผู้เสด็จหลีกออก

เร้นอยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า โลกนี้ถึงความยาก ย่อมเกิด แก่

ตาย และเวียนตาย เวียนเกิด เออก็แหละบุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์

คือ ชราและมรณะนี้ การพ้นทุกข์ คือ ชราและมรณะนี้ จักปรากฏได้เมื่อไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

พระวิปัสสีทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท

[๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้ทรง

พระดำริว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะมีเพราะอะไร

เป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติมีอยู่

ชราและมรณะจึงมี ชราและมรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่

พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชาติจึงมีชาติมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย ครั้ง

นั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพมีอยู่ชาติจึงมี ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย

ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบาย

อันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ภพจึงมี ภพมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออุปาทานมีอยู่ภพจึงมี ภพมีเพราะ

อุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำ

ไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ อุปาทานจึงมี อุปทานมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อตัณหามีอยู่อุปาทานจึงมี อุปาทานมี

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรง

การทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ตัณหาจึงมี ตัณหามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหามีเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย ดังนี้ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ใน

พระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เวทนาจึงมี เวทนามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อผัสสะมีอยู่ เวทนาจึงมี เวทนามีเพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัยดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ใน

พระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ผัสสะจึงมี ผัสสะมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อสฬายตนะมีอยู่ ผัสสะจึงมี ผัสสะมี

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรง

กระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ สฬายทนะจึงมี สฬายตนะมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุ

ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปมีอยู่ สฬายตนะจึงมี

สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์

เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ นามรูปจึงมี นามรูปมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณมีอยู่ นามรูปจึงมี นามรูป

มีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรง

กระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณจึงมี วิญญาณมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปมีอยู่ วิญญาณจึงมี วิญญาณ

มีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรง

กระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

วิญญาณนี้ย่อมกลับเวียนมาแต่นามรูป หาใช่อย่างอื่นไม่ โดยความเป็นไป

เพียงเท่านี้ สัตว์โลกพึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติ

บ้าง ความเป็นไปนั้นคือวิญญาณมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย นามรูปมีเพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตัณหามีเพราะสฬายตนะ

เป็นปัจจัย เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย

อุปทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะ

ภพเป็นปัจจัย ชรามรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสย่อมมีพร้อมเพราะ

ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปรีชา ความรู้แจ้งชัด แสงสว่างว่า

สมุทัย ๆ (เหตุเกิดขึ้นพร้อม ๆ) ดังนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์

ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนเลย.

[๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ได้ทรง

พระดำริว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ

ชราและมรณะจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า

เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะย่อมไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบาย

อันแยบคาย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี เพราะภพดับ

ชาติจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ใน

พระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เมื่อ

อะไรไม่มีเล่าหนอ ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น

แล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี เพราะอุปาทานดับ

ภพจึงดับดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัย

โดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เมื่อ

อะไรไม่มีเล่าหนอ อุปาทานจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วย

ปัญญาว่า เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานย่อมไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบาย

อันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เมื่อ

อะไรไม่มีเล่าหนอ ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาย่อมไม่มี เพราะ

เวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสิโพธิสัตว์ เพราะทรง

การทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เมื่อ

อะไรไม่มีเล่าหนอ เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อผัสสะไม่มี เวทนาย่อมไม่มี เพราะผัสสะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

ดับ เวทนาจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้

ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เมื่อ

อะไรไม่มีเล่าหนอ ผัสสะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย

ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะย่อมไม่มี เพราะ

สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะทรง

กระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะ

ย่อมไม่มี เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสี

โพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ ภิกษุทั้ง

หลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปย่อมไม่มี

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะ

ทรงกระทำไว้ในพระทัยโดยอุบายอันแยบคาย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ วิญญาณจึงดับ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล การตรัสรู้ด้วย

ปัญญาว่า เมื่อนามรูปไม่มี วิญญาณย่อมไม่มี เพราะนามรูปดับ วิญญาณจึง

ดับ ดังนี้ ได้มีแล้วแก่พระวิปัสสิโพธิสัตว์ เพราะทรงกระทำไว้ในพระทัยโดย

อุบายอันแยบคาย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อแต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า

หนทางเพื่อความตรัสรู้นี้เราได้บรรลุแล้วแล คือเพราะนามรูปดับ วิญญาณจึง

ดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนา

ดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปานทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรามรณโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ

อุปายาสจึงดับโดยไม่เหลือ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีได้ด้วย

ประการฉะนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปรีชา ความรู้แจ้งชัด แสงสว่างว่า

นิโรธ ๆ (ความดับ ๆ) ดังนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรม

ทั้งหลายที่พระองค์มิได้สดับมาแล้วในกาลก่อนเลย.

[๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้นสมัยอื่น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรง

พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า ดังนี้รูป ดังนี้

เหตุเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้เหตุเกิดแห่งเวทนา

ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้เหตุเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับ

แห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้เหตุเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร

ดังนี้วิญญาณ ดังเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ เมื่อ

พระองค์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕

อยู่ไม่นานนัก จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่นแล.

จบภาณวารที่สอง

พระปริวิตกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสี

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ว่าวิปัสสี ได้ทรงพระดำริว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้

ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ

บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้ว

ในอาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วใน

อาลัย ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกัน

เกิดขึ้น (ปฏิจจสมุบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็น

ที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลาย

ความกำหนัด ดับทุกข์ ก็แหละเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่ว

ถึงธรรมของเรา นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือนร้อนแก่

เรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า คาถาทั้งหลายที่ไม่อัศจรรย์ซึ่งพระองค์

มิได้เคยสดับมาแล้วแต่ก่อน ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดังนี้

บัดนี้ ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุ

แล้วโดยแสนยาก ธรรมนี้อันสัตว์ที่ถูกราคะและ

โทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ที่ถูก

ราคะย้อมไว้ ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว

จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรมที่มีปรกติไปทวนกระแสอัน

ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู.

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าวิปัสสี พิจารณาเห็นดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวาย

น้อย มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ว่าด้วยการอาราธนาของพรหม

[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่งได้ทราบ

พระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

วิปัสสี ด้วยใจ แล้วจึงดำริว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายเสียละหนอ ผู้เจริญ

ทั้งหลายโลกจะพินาศเสียละหนอ เพราะว่าพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยเสีย

แล้ว มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมนั้นหายไปในพรหมโลก

มาปรากฎเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

วิปัสสี เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่

ได้เหยียดออกไว้ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมกระทำผ้าอุตตราสงค์

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประนมมือไปทางที่

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ประทับอยู่แล้วได้

กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระสคุตจงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง

ยังมีอยู่ เพราะมิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้

ยังจักมี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นกราบทูลเช่นนี้ พระผู้มี

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ตรัสกะท้าวมหาพรหม

นั้นว่า ดูกรพรหม แม้เราก็ได้ดำริแล้วเช่นนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรม

ดูกรพรหม แต่เรานั้นได้คิดเห็นดังนี้ว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง

เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

บัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัยเบิกบานแล้วใน

อาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย

ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น

(ปฏิจจสมุบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับ

แห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความ

กำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของ

เรานั้น พึงเป็นความลำบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือนร้อนแก่เรา ดูกรพรหม

คาถาที่ไม่น่าอัศจรรย์ ซึ่งเรามิได้สดับมาแล้วแต่ก่อนหรือได้แจ่มแจ้งแล้วดังนี้

บัดนี้ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว โดยแสนยาก ฯลฯ

ดูกรพรหม เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวาย

น้อย มิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สองแล ท้าวมหาพรหมนั้น ฯลฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่สามแล ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคต

จงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้ สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่

เพราะมิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมี

อยู่ดังนี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสีทรงตรวจโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงทราบการทูลเชิญของพรหมแล้ว ทรงอาศัยพระกรุณา

ในหมู่สัตว์ จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปัสสี เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลส

เพียงดังธุลีในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บาง

พวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวก

จะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวก

มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

ในกออุบล หรือกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัว

หลวงหรือดอกบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บาง

เหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำ

มิได้ติดใบ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

พุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นก็ฉันนั้นเหมือน

กัน บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุ

มาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมิอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี

บางพวกมีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้ง

ได้ยาก บางพวกเป็นภัพพสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพสัตว์ บางพวกมักเห็น

ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมทราบพระปริวิตกใน

พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ด้วยใจ

แล้วจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ด้วยคาถาทั้งหลายความว่า

[๔๕] ผู้ที่ยืนอยู่ยอดเขาสิลาล้วน พึงเห็นประชุมชน

โดยรอบ ฉันใด ท่านผู้มีเมธาดีมีจักษุโดยรอบ

ฉันนั้นเหมือนกัน ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จแล้วด้วย

ธรรม เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ทรงพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

เห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก

ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า

ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวก ปราศจากหนี้

ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้น เปิดเผยโลก

ขอผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม

ที่รู้ที่ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมี.

[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี จึงได้ตรัสกะท้าวมหา

พรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า

เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้สำหรับท่านแล้ว ผู้มีโสต

จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลำบาก

จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีตซึ่งเราให้คล่องแคล่วแคล้ว

ในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมคิดว่า เราเป็นผู้

มีโอกาส อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้

ทรงกระทำแล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงพระดำริว่า เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อน

เล่าหนอ ใครจะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลันทีเดียว ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงพระดำริว่า พระ-

ราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะนี้ ผู้อาศัยอยู่ใน

พระนครพันธุมดีราชธานีเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีกิเลสเพียงดัง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ธุลีในจักษุเบาบางสิ้นกาลนาน ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรมแก่พระราชโอรส

พระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะก่อน คนทั้งสองนั้นจักรู้ทั่วถึง

ธรรมนี้ได้รวดเร็วทีเดียว.

เรื่องคู่พระสาวกขัณฑะและติสสะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันคสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ได้หายพระองค์ที่ควงโพธิพฤกษ์ไปปรากฏพระองค์ ณ

มฤคทายวันชื่อว่าเขมะ ในพระนครพันธุมดีราชธานี. เปรียบเหมือนบุรุษที่

มีกำลังเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ตรัสเรียกคนเฝ้าสวนมฤคทายวันมาว่า มานี่ นายมฤคทาย-

บาล เธอจงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานีแล้วบอกกะพระราชโอรสพระนาม

ว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ ดังนี้ ว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีแล้ว กำลัง

ประทับอยู่ที่มฤคทายวันชื่อว่าเขมะ พระองค์ทรงพระประสงค์จะพบท่าน

ทั้งสอง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายมฤคทายบาลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีแล้ว เข้าไปยังพระนครพันธุมดี

แล้วแจ้งข่าวกะพระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ

ว่าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จถึงพระนคร

พันธุมดีราชธานีแล้ว กำลังประทับอยู่ที่มฤคทายวันชื่อว่า เขมะ พระองค์ทรง

พระประสงค์ที่จะพบท่านทั้งสอง.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตร

ปุโรหิตชื่อว่าติสสะ สั่งให้บุรุษเทียมยานที่ดี ๆ แล้วขึ้นสู่ยานที่ดี ๆ ออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

พระนครพันธุมดีราชธานี พร้อมกับยานดีๆ ทั้งหลาย ขับตรงไปยังมฤคทายวัน

ขอว่าเขมะ ไปด้วยยานตลอดภูมิประเทศเท่าที่ยานจะไปได้แล้ว ลงจากยาน

เดินตรงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

วิปัสสีแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่ท่านทั้งสองนั้น คือ ทรงประกาศ

ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์

ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า ท่านทั้งสองนั้นมีจิตคล่อง

มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศ

ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์

สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ว่าสิ่งใด

สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ

ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น

ท่านทั้งสองนั้น เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความ

สงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุ

ศาลนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์ก็แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ

ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็น

รูปดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคและ

พระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิต

ชื่อว่าติสสะ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่าวิปัสสี ได้ทรงยังท่านทั้งสองนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้

ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วประกาศโทษของสังขารอันต่ำช้าเศร้าหมอง และ

อานิสงส์ในการออกบวช จิตของท่านทั้งสองนั้นผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น.

เรื่องบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชนชาวพระนครพันธุมดีราชธานี

ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีโดยลำดับแล้ว ประทับอยู่

ณ มฤคทายวันชื่อ เขมะ ข่าวว่า พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตร

ปุโรหิตชื่อ ติสสะ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต

ณ สำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามวิปัสสีแล้ว ดังนี้

คนเหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วต่างคิดเห็นกันว่า ก็พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ

และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช

เป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยใด พระธรรมวินัยนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน

บรรพชานั้นคงไม่ต่ำทราม แต่พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิต

ชื่อว่า ติสสะ ยังปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต

ได้ ไฉนพวกเราจึงจักออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างไม่ได้เล่า.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คนได้

ชวนกันออกจากพระนครพันธุมดีราชธานี เข้าไปทางเขมมฤคทายวัน ที่พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

พระภาคประทับอยู่ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่ชนเหล่านั้น

คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้าหมอง

และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้น

มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรง

ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง

คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจาก

มลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ

เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล

เหมือนผ้าทีสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ชนเหล่านั้น

เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจาก

ความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าไม่ต้องเธอผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบ-

ทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ว่าข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก

ทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือน

กัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระ-

ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านั้น ได้บรรพชา ได้

อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

วิปัสสีแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ได้

ทรงยังภิกษุทั้งเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ทรงประกาศโทษของสังขารที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ใน

พระนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง

ด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยืดมั่น.

[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้สดับ

ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จถึง

พระนครพันธุมดีราชธานีโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ มฤคทายวันชื่อว่า เขมะ

และมีข่าวว่า กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล บรรพชิต

๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้พากันไปทางพระนครพันธุมดีราชธานีทางมฤคทาย

วันชื่อว่า เขมะ ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ประทับอยู่ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่า วิปัสสี แล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่บรรพชิต

เหล่านั้น คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้า

หมอง และอานิลงส์ในการออกบวช เมื่อทรงทราบว่า บรรพชิตเหล่านั้นมีจิต

คล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศ

พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้

เกิด นี้แล้วแก่บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่

สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น บรรพชิตเหล่านั้นเห็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบ

แคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระ

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ว่าข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน

หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด

พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้า-

แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์พึงได้

บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีภาค.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้บรรพชา ได้

อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสีแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็น

แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ทรงประกาศโทษของ

สังขารที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในพระนิพพาน(๑) จิตของภิกษุเหล่านั้น

ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก ก็หลุดพ้นจาก

อาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น.

[๕๑] ก็สมัยนั้น ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่มาก

ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้เสด็จเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงใน

พระทัยว่า บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวน

๑. บาลี เนกฺขมฺเม.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

มาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล

เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป

เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จง

ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ในโลกนี้ สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟัง

ธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้จักมี แต่ว่าโดยหกปี ๆ

ล่วงไป พวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานีเพื่อแสดงพระปาติโมกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ได้ทราบความ

รำพึงในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี

ด้วยใจแล้ว จึงได้หายตัวที่พรหมโลก ไปปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระ

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เปรียบเหมือนบุรุษที่มี

กำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมนั้นกระทำผ้าอุตตราสงค์

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสีประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระ

สุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราช

ธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความ

สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่

สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิงในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเสสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่

ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็จักกระทำโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนคร

พันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปี ๆ ล่วงไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลดังนี้แล้วถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี กระทำประทักษิณ

แล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง.

ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา

[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ในเวลาเย็น เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาว่า ภิกษุทั้งหลาย วันนี้ เราไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงในใจว่า ใน

พระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณหกล้าน

แปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม

งามในเบื้องหน้า งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อม

ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกนั้น

จึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปี ๆ ล่วงไป พวกเธอ

พึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงปาติโมกข์ ภิกษุทั้งหลาย ทันใด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

นั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ได้ทราบความรำพึงในใจของเราด้วยใจ แล้ว

จึงได้หายตัวที่พรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลัง

เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น ภิกษุ

ทั้งหลาย ทีนั้น ท้าวมหาพรหมนั้น กระทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประนมอัญชลีมาทางเราแล้วพูดกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่าง

นั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น บัดนี้ในพระนครพันธุมดีราชธานี มี

ภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จง

ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟัง

ธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็จักกระทำโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนคร

พันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาฏิโมกข์โดยหกปี ๆ ล่วงไป ภิกษุทั้งหลาย

ท้าวมหาพรหมนั้นพูดกะเราดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไป

ในที่นั้นเอง.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่า

ได้ไปทางเดียวกันสองรูป ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมงามใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียง

ดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียไป

ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แม้เราก็จักกระทำ โดยที่ให้พระนครพันธุมดีเป็น

สถานที่อันเธอทั้งหลาย พึงกลับมาแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปี ๆล่วงไป ดังนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้เที่ยวจาริกไปในชนบท

โดยวันเดียวเท่านั้นโดยมาก.

[๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ในชมพูทวีปมีอาวาสอยู่ ๘๔,๐๐๐ อาวาส

เมื่อล่วงไปได้พรรษาหนึ่งแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปพรรษาหนึ่งแล้ว บัดนี้ยังเหลือห้าพรรษา โดยอีก

ห้าพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวด

พระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สองพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสองพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสี่พรรษา

โดยอีกสี่พรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อ

สวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สามพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้อง

ประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสามพรรษาแล้ว บัดนี้ ยัง

เหลือสามพรรษา โดยอีกสามพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนคร

พันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้สี่พรรษาแล้ว บัดนี้

ยังเหลือสองพรรษา โดยอีกสองพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยัง

พระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้ห้าพรรษาแล้ว

เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปห้า

พรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือพรรษาเดียว โดยอีกพรรษาเดียวล่วงไป ท่านทั้งหลาย

พึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ เมื่อล่วงไปได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

หกพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่าล่วงไปหกพรรษาแล้ว บัดนี้

ถึงเวลาละ ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธนี เพื่อสวดพระ-

ปาติโมกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยอิทธา-

นุภาพของตน บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุม-

ดีราชธานี โดยวันเดียวเท่านั้น เพื่อสวดพระปาติโมกข์

ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุ

สงฆ์ดังนี้-

ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น

ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น

สมณะเลย.

การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อมการทำจิต

ของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมใน

พระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑

ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑

หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

[๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์

ในป่าสุภวัน ใกล้อุกกัฏฐนคร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไปเร้นอยู่ในที่ลับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

เกิดความรำพึงในใจว่า ชั้นสุทธาวาสซึ่งเรามิได้เคยอยู่เลย โดยเวลาอันยืดยาว

นานนี้ นอกจากเทวดาเหล่าสุทธาวาสแล้ว ไม่ใช่โอกาสที่ใคร ๆ จะได้โดยง่าย

ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาเทวดาเหล่าสุทธาวาสจนถึงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลาย ทันใด

นั้น เราได้หายไปที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ ในป่าสุภวันใกล้อุกกัฏฐนคร ไป

ปรากฏในพวกเทวดาเหล่าอวิหา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่ง

แขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นแล เทพดานับร้อยนับพันเป็นอัน

มาก ได้เข้ามาหาเราครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นเทพดาเหล่านั้นเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

เสด็จอุบัติในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม

พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล

เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณแปดหมื่นปี พระองค์ได้

ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีคู่พระสาวกชื่อว่าพระขัณฑเถระ และพระติสสเถระ

ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของ

พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มีแล้วสามครั้ง ครั้ง

หนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง

มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุม

กันเป็นจำนวนแปดหมื่นรูป พระสาวิกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีที่ ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ

ทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏ-

ฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระราชา

พระนามว่า พันธุม เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

บังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อว่าพันธุดี เป็นราชธานีของพระเจ้า

พันธุม ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การ

ตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีเป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิร

ทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค พระนาม

ว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้วจึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมาก ได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่าสิขี เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติใน

ขัตติยสกุล เป็นโกณฑัญญะโดยโคตร มีพระชนมายุประมาณเจ็ดหมื่นปี พระองค์

ได้ตรัสรู้ควงไม้กุ่มบก มีพระอภิภูเถระและพระสัมภวเถระ เป็นคู่พระอัคร

สาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอร-

หันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่งมีพระสาวก

ประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกัน เป็น

จำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ

เจ็ดหมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ที่ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่พระ

ขีณาสพทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ภิกษุผู้อุปัฏฐาก ชื่อเขมังกระ ได้เป็น

อัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี พระ

ราชาพระนามว่าอรุณะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่าปภาวดี เป็นพระชนนี

บังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนครชื่อว่าอรุณวดี เป็นราชธานีของพระเจ้าอรุณ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้ง

ความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี เป็นอย่างนี้ ๆ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี คลาย

กามฉันทะในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้าหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

ในกัปที่ ๓๑ นั้นเอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

เวสสภู ได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติใน

ขันติยสกุลเป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณหกหมื่นปี

พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้สาลพฤกษ์ มีพระโสนเถระและพระอุตตรเถระเป็นคู่

พระอัครสาวกซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่ง

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ได้

มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่งมีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป อีก

ครั้งหนึ่ง มีสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุเจ็ดหมื่นรูป อีกครั้งหนึ่ง มีสาวก

ประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุหกหมื่นรูปสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู ที่ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระ

ขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่าอุปสันตะได้เป็น อัครอุปัฏฐากของพระผู้มี

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู พระราชาพระนามว่า สุปป-

ตีตะเป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่ายสวดี เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของ

พระองค์ พระนครชื่อว่าอโนมะเป็นราชธานีของพระเจ้าสุปปตีตะ ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

เพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู เป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้า

พระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าเวสสภู คลาย

กามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

กกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติเสด็จอุบัติ

ในพราหมณสกุลเป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสี่หมื่นปี

พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้ซึก มีพระวิธูรเถระและพระสัญชีวเถระ เป็นคู่

พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่ง

สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ ได้มี

แล้วครั้งเดียว เป็นจำนวนภิกษุสี่หมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ สาวกของ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ ที่ได้ประชุมกันครั้ง

เดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่า วุฑฒิชะ ได้เป็น

อัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ

พราหมณ์ชื่ออัคคิทัตตะเป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่า วิสาขา เป็นพระชนนี

บังเกิดเกล้าของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เวลานั้น พระเจ้าเขมะ เป็น

พระเจ้าแผ่นดิน พระนครชื่อว่า เขมวดี เป็นราชธานี ของพระเจ้าเขมะ การ

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การ

ประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่ากกุสันธะเป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากกุสันธะ คลายกามฉันท์ในกาม

ทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

โกนาคมนะได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติ

ในพราหมณสกุลเป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสามหมื่นปี

พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้มะเดื่อ มีพระภิยโยสเถระและพระอุตตรเถระ เป็นคู่

พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคุ่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่ง

สาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ

ได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจำนวนภิกษุสามหมื่นรูป พระสาวกของพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้

ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อโสตถิชะ เป็นอัครอุปัฏฐาก

ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์พราหมณ์ชื่อว่า ยัญญทัตตะ เป็นพระชนก พราหมณีชื่อว่า

อุตตรา เป็นพระชนนีบังเกิดกล้าของพระองค์ ก็ครั้งนั้น พระเจ้าโสภะเป็น

พระเจ้าแผ่นดิน พระนครชื่อว่าโสภวดี เป็นราชธานีของพระเจ้าโสภะ ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความ

เพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักรของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ เป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก

ข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าโกนาคมนะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายจึงได้บังเกิดในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติ

ในพราหมณ์สกุลเป็นกัสสปะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณสองหมื่นปี

พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้ไทร มีพระติสสเถระและพระภารทวาชเถระ เป็น

คู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกัน

แห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ

ได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจำนวนภิกษุสองหมื่นรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

พระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ

ที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่า

สัพพมิตะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า กัสสปะ พราหมณ์ชื่อพรหมทัตต์ เป็นพระชนก พราหมณีชื่อ

ธนวดี เป็นพระชนนี บังเกิดเกล้าของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

ก็ครั้งนั้น พระเจ้ากิงกี เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระนครพาราณสี เป็นราชธานี

ของพระเจ้ากิงกี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศพระธรรมจักร ของ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นอย่างนี้ ๆ

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี

พระภาคพระนามว่ากัสสปะ คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิด

ในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นเทวดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล

เป็นโคตมโดยพระโคตร ประมาณพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคน้อยนิดเดียว

เร็วพลัน ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี บางที่ก็มีชีวิตอยู่น้อยกว่าบ้าง

มากกว่าบ้าง พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ ที่ควงไม้โพธิ์ มีพระสารีบุตรเถระและ

พระโมคคัลลานเถระ เป็นคู่พระอัครสาวกซึ่งเป็นคู่อันเจริญของพระผู้มีพระภาค

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาค

ได้มีแล้วครั้งเดียว เป็นจำนวนภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ สาวกของพระผู้มีพระภาคที่ได้ประชุมกันครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็น

พระขีณาสพทั้งสิ้น ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออานนท์ได้เป็นอัครอุปัฏฐากของพระ-

ผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระราชาพระนามว่า สุทโธทนะ เป็น

พระชนก พระเทวีพระนามว่ามายา เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระผู้มี

พระภาค พระนครชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นราชธานี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การ

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การ

ประกาศพระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลาย

กามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดาเหล่าอวิหาได้เข้า

ไปหาเทพดาเหล่าอตัปปา ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดา

เหล่าอวิหาและเหล่าอัตัปปา ได้เข้าไปหาเทพดาเหล่าสุทัสสา ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดาเหล่าอวิหา เหล่าอตัปปา และเหล่าสุทัสสาได้

เข้าไปหาเทพดาเหล่าสุทัสสี ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เราพร้อมด้วยเทพดา

เหล่าอวิหา เหล่าอตัปปา เหล่าสุทัสสา และเหล่าสุทัสสี ได้เข้าไปหาเทพดา

เหล่าอกนิฏฐาแล้ว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ นับถอยหลังแต่นี้ไปได้ ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จ

อุบัติในขัตติยสกุลเป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณ

แปดหมื่นปี พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีพระขัณฑเถระและพระติสส

เถระเป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การ

ประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่าวิปัสสี ได้มีแล้วสามครั้ง ครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุ

หกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแสนรูป

อีกครั้งหนึ่งมีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุแปดหมื่นรูป พระสาวกของ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ที่ได้ประชุมกัน

ทั้งหมดครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุ

ผู้อุปัฏฐากชื่อ อโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระราชาพระนามว่า พันธุม เป็นพระชนก

พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้าของพระองค์ พระนคร

ชื่อพันธุมดี เป็นราชธานีของพระเจ้าพันธุม ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้ การประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

พระธรรมจักร ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี

เป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์นั้น ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่าวิปัสสี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลาย

แล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ นับถอยหลังแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้า

พระองค์นั้นประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า สิขี คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้น เทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในกัปที่ ๓๑ นั่นเองแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า เวสสภู ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวก

ข้าพระองค์นั้น ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค พระนามว่า เวสสภู

คลายกามฉันท์ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

กกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กกุสันธะ คลายกามฉันท์

ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

โกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นริทุกข์ พวกข้าพระองค์

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่า โกนาคมนะ คลายกามฉันท์

ในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้น เทพตาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่า กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติในโลก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกข้า-

พระองค์ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคพระนามว่า กัสสปะ คลาย

ความพอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั่นเอง เทพดานับร้อยนับพันเป็น

อันมากได้เข้ามาหาเรา ครั้นเข้ามาหาไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ ในภัททกัปนี้เอง พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จ

อุบัติในโลก พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล เป็น

โคตมะโดยพระโคตร ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระชนมายุของพระผู้มีพระภาค

น้อยนิดเดียวเร็วพลัน ผู้ที่มีชีวิตอยู่นานก็เป็นอยู่ได้เพียงร้อยปี บางทีก็น้อย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

กว่าบ้าง มากกว่าบ้าง ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ที่ควง

ไม้โพธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสารีบุตรเถระและพระโมคคัลลานเถระ

เป็นคู่พระอัครสาวก ซึ่งเป็นคู่อันเจริญของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของพระผู้มีพระภาคได้มีแล้วครั้งเดียว

เป็นจำนวนภิกษุหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบรูป ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระสาวก

ของพระผู้มีพระภาคที่ได้ประชุมกันแล้วครั้งเดียวนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ

ทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่อว่า อานันทะ ได้เป็นอัคร

อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระราชาพระนามว่า

สุทโธทนะ เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า มายา เป็นพระชนนีบังเกิดเกล้า

ของพระผู้มีพระภาค พระนครชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นราชธานี ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์

การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การบรรพชา การตั้งความเพียร การตรัสรู้

การประกาศพระธรรมจักษ์ของพระผู้มีพระภาคเป็นอย่างนี้ ๆ ข้าแต่พระองค์ผู้

นิรทุกข์ พวกข้าพระองค์ ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค คลายความ

พอใจในกามทั้งหลายแล้ว จึงได้บังเกิดในที่นี้.

ธรรมธาตุที่ทรงแทงตลอดด้วยดี

[๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ธรรมธาตุนี้ ตถาคตแทงตลอด

แล้วอย่างดีด้วยประการฉะนี้แล ฉะนั้น พระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพาน

แล้ว ทรงตัดธรรมเป็นเหตุทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความเวียนว่ายตายเกิด

ได้แล้ว ทรงครอบงำความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่าง

แล้ว ตถาคตย่อมระลึกถึงได้แม้โดยพระชาติ แม้โดยพระนาม แม้โดยพระ

โคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดยคู่แห่งพระสาวก แม้โดยการ

ประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จึงมี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

พระชาติอย่างนี้ จึงมีพระนามอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมีศีลอย่างนี้

จึงมีธรรมอย่างนี้ จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุติอย่างนี้.

แม้พวกเทพดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่ตถาคต ซึ่งเป็นเหตุให้ตถาคต

ระลึกถึงได้ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ปรินิพพานแล้ว ตัดธรรม

เป็นเหตุทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ทรงตัดความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงครอบ

งำความเวียนว่ายตายเกิดได้แล้ว ทรงล่วงทุกข์ได้ทุกอย่างแล้ว แม้โดยพระชาติ

แม้โดยพระนาม แม้โดยพระโคตร แม้โดยประมาณแห่งพระชนมายุ แม้โดย

คู่แห่งพระสาวก แม้โดยการประชุมกันแห่งพระสาวกว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้

มีพระภาคเหล่านั้น จึงมีพระชาติอย่างนี้ จึงมีพระโคตรอย่างนี้ จึงมิศีลอย่างนี้

จึงมีปัญญาอย่างนี้ จึงมีวิหารธรรมอย่างนี้ จึงมีวิมุติอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบมหาปทานสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

สุมังคลวิลาสีนี

ทีฑนิกาย มหาวรรควรรณนา

อรรถกถามหาปทานสูตร

มหาปทานสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กเรริกุฏี ณ พระวิหารเชตวันอารามของอนาถ

บิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี.

ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในมหาปทานสูตรนั้น บทว่าใน

กเรริในบทว่า กเรริกุฏิกาย เป็นชื่อของไม้กุ่มน้ำ กเรริมณฑปตั้งอยู่ใกล้

ประตูกุฏีนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่ากเรริกุฏี เหมือนท่านเรียกว่าโกสัมพ

กุฏี เพราะตั้งอยู่ใกล้ประตูต้นเล็บเหยี่ยว.

นัยว่าภายในพระวิหารเชตวัน มีเรือนใหญ่อยู่ ๔ หลังคือกเรริกุฏี

โกสัมพกุฏี คันธกุฏี สฬลฆระ (เรือนไม้สน) หลังหนึ่ง ๆ สำเร็จด้วยการ

บริจาคทรัพย์หลังละหนึ่งแสน. ใน ๔ หลังนั้นพระเจ้าปเสนทิทรงสร้าง

สฬลฆระ. ที่เหลืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้าง. เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงประทับอยู่ ณ กเรริกุฏี โดยที่อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สร้างทิพยพฤกษ์ดุจ

เทววิมานไว้เบื้องบนเสาทั้งหลาย.

บทว่า ปจฺฉาภตฺต ความว่า เมื่อภิกษุฉันอาหารมื้อเดียว และมิใช่ฉัน

ภายหลังอาหาร ฉันแต่เช้าตรู่แม้ฉันภายในเที่ยงวัน ก็ชื่อว่าปัจฉาภัตเหมือนกัน

แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ปัจฉาภัตรหลังอาหารตามปรกติ. บทว่า ปิณฺฑปาต-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

ปฏิกฺกนฺตาน ความว่า เมื่อภิกษุกลับจากบิณทบาตฉันอาหารเสร็จแล้วลุกขึ้น.

บทว่า กเรริมณฺฑลมาเล ความว่า ณ ศาลานั่งซึ่งสร้างไว้ไม่ไกลกเรริมณฑป

นั่นเอง.

ได้ยินว่า กเรริมณฑปนั้นอยู่ในระหว่างคันธกุฎีและศาลา. เพราะฉะนั้น

คันธกุฏีบ้าง กเรริกุฏีบ้าง ศาลาบ้าง ท่านเรียกว่าโรงกเรริมณฑล.

บทว่า ปุพฺเพนิวาสปฏิสยุตฺตา ความว่า ธรรมีกถาประกอบด้วย

บุพเพสันนิวาสกล่าวคือขันธสันดานที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนจำแนกออกอย่างนี้ คือ

ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้างอันเป็นไปแล้ว. บทว่า ธมฺมี คือประกอบด้วย

ธรรม. บทว่า อุทปาทิ ความว่า บุพเพนิวาสญาณของพระทศพลน่าอัศจรรย์

จริง. ถามว่า ชื่อว่าบุพเพนิวาส ใครระลึกได้ ใครระลึกไม่ได้ ตอบเดียรถีย์

ระลึกได้ พระสาวกพระปัจเจกพุทธะระลึกได้. เดียรถีย์พวกไหนระลึกได้. เดียรถีย์

เหล่าใดถึงความเป็นผู้เลิศเป็นกรรมวาที เดียรถีย์แม้เหล่านั้นก็ระลึกได้ตลอด

๔๐ กัป เท่านั้น ยิ่งกว่านั้นไม่ได้. พระสาวกระลึกได้แสนกัป. พระอัครสาวก

ทั้งสองระลึกได้อสงไขย และแสนกัป. พระปัจเจกพุทธะระลึกได้สองอสงไขย

และแสนกัป. แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกำหนดเท่านั้นเท่านี้. พระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายทรงระลึกเท่าที่ทรงหวัง เดียรถีย์ทั้งหลายระลึกได้ตามลำดับขันธ์

พ้นลำดับแล้วไม่สามารถระลึกได้. เดียรถีย์ทั้งหลายแม้ระลึกได้ตาม ลำดับก็ถึง

ความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก ย่อมไม่เห็นความเป็นไปของขันธ์เหมือนนกตกลง

ไปในตาข่าย และคนพิการตกลงไปในหลุม. เขาเหล่านั้นตกแล้วในที่นั้นย่อม

เห็นว่าเท่านี้เอง ยิ่งกว่านี้ไม่มี. ด้วยเหตุนี้ การระลึกถึงบุพเพสันนิวาสของพวก

เดียรถีย์ย่อมเป็นเหมือนคนตาบอดเดินไปด้วยปลายไม้เท้า. ธรรมดาคนตาบอด

เมื่อยังมีคนถือปลายไม้เท้าอยู่ย่อมเดินไปได้ เมื่อไม่มีก็นั่งอยู่ที่นั้นเองฉันใด

พวกเดียรถีย์ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมสามารถระลึกถึงได้ตามลำดับขันธ์ เว้นลำดับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

เสียแล้วย่อมไม่สามารถระลึกได้. แม้พระสาวกทั้งหลาย ก็ระลึกถึงตาม

ลำดับขันธ์ได้ ครั้นถึงความเป็นผู้ไม่มีความรู้สึก ย่อมไม่เห็นความ

เป็นไปของขันธ์. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่ากาลอันไม่มีแห่งขันธ์ทั้งหลาย

ของสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปสู่วัฏฏะเหล่านั้นย่อมไม่มี แต่ในอสัญญภพย่อมเป็นไป

๕๐๐ กัป เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายก้าวล่วงกาลประมาณเท่านี้ ตั้งอยู่ในคำแนะ

นำอันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทานแล้ว ย่อมระลึกถึงข้างหน้าได้เหมือน

ท่านโสภิตะฉะนั้น. อนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ตรวจดูจุติและปฏิสนธิแล้วย่อมระลึกถึงได้. กิจคือจุติและปฏิสนธิของพระพุทธ

เจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระประสงค์จะทรงเห็นฐานะใด ๆ

ย่อมทรงเห็นฐานะนั้น ๆ ทีเดียว. อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลายเมื่อระลึกถึงบุพเพสัน

นิวาสย่อมระลึกถึงสิ่งที่ตนเห็นแล้ว กระทำแล้ว ฟังแล้วเท่านั้น. พระสาวก

ทั้งหลายและพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็เหมือนอย่างนั้น. แต่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกถึงสิ่งทั้งหมดทีเดียวที่พระองค์หรือผู้อื่นเห็นแล้วกระทำ

แล้วฟังแล้ว. บุพเพนิวาสญาณของพวกเดียรถีย์เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย ของ

พระสาวกทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงประทีป ของพระอัครสาวก เป็นเช่นกับแสง

ดาวประกายพฤกษ์ ของพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงพระจันทร์

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงลุริยมณฑลพันดวง. พระพุทธเจ้านั้น

ไม่กำหนดประมาณเท่านี้ว่า ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ หรือ ร้อยกัป

พันกัป แสนกัป เมื่อพระพุทธเจ้าทรงระลึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมไม่พลาด

ย่อมไม่ขัดข้องโดยแท้ ความนึกคิดต่อเนื่องกันย่อมเป็นความต่อเนื่องกันด้วย

ความหวัง ความไตร่ตรองและจิตตุบาทนั่นเอง บุพเพนิวาสญาณย่อมแล่นไป

ไม่ติดขัดดุจลูกศรเหล็กแล่นไปฉับพลันในกองใบไม้ที่ผุ และดุจอินทวัชระ

ที่ซัดไปบนยอดเขาสิเนรุ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

บทว่า อโห มหนฺตฺ ภควโต ปุพฺเพนิวาสาณ ความว่า การ

สนาทนาเกิดขึ้น คือ เป็นไปแล้วปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ประการฉะนี้

เพื่อแสดงความทั้งหมดนั้น โดยย่อท่านจึงกล่าวไว้ในบาลีเพียงว่า อิติปิ ปุพฺเพ-

นิวาโส อิติปิ ปุพฺเพนิวาโส ในบทเหล่านั้นบทว่า อิติปิ แปลว่าแม้อย่างนี้

ข้อความใดที่ควรกล่าวไว้ในบาลีนี้ว่า อสฺโสสิ โข ภควา ฯเปฯ อถ

ภควา อนุปฺปตฺโต ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถาพรหมชาลสูตรนั้นแล ต่อไป

นี้ข้อความนั้น เป็นความต่างกัน. ในสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้สดับโดย

พระสัพพัญญุตญาณ. ในสูตรนี้ได้สดับโดยทิพพโสต. อนึ่ง ในสูตรนั้นสนทนา

ถึงคุณและโทษยังค้างอยู่. ในสูตรนี้สนทนาถึงบุพเพนิวาสญาณ. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้สรรเสริญคุณปรารภบุพเพนิวาสญาณ

ของเรา แต่ไม่รู้ความสำเร็จแห่งบุพเพนิวาสญาณของเรา ช่างเถิด เราจักกล่าว

ถึงความสำเร็จแห่งบุพเพนิวาสญาณนั้นแล้วแสดงแก่พวกเธอ จึงเสด็จมาประทับ

นั่ง ณ พุทธอาศน์อันประเสริฐซึ่งตามปกติตั้งไว้เพื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่ง

แสดงธรรม ซึ่งขณะนั้นภิกษุทั้งหลายปูลาดถวายไว้มีพระพุทธประสงค์จะทรง

แสดงธรรมกถาเกี่ยวกับบุพเพนิวาสญาณ แก่ภิกษุเหล่านั้นในที่สุดแห่งคำถามว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสนทนาเรื่องอะไรกัน และแห่งคำตอบตั้งแต่ต้นว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากลับจากบิณฑบาตแล้วในเวลาปัจฉาภัต ได้

นั่งประชุมกัน ณ โรงกเรริมณฑล แล้วเกิดสนทนาธรรมกันขึ้นเกี่ยวกับบุพเพ-

นิวาสญาณว่า บุพเพนิวาส บุพเพนิวาส ดังนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

พวกเธอปรารถนาจะฟังหรือไม่. ในบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเฉยฺยาถโน แปลว่า

พวกเธอปรารถนาจะฟังหรือไม่หนอ.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมีใจรื่นเริงเมื่อจะทูลวิงวอนกะพระผู้มีพระภาค-

เจ้า จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะทรงกระทำ

ธรรมกถานี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตสฺส คือ การกระทำธรรมกถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำทูลวิงวอนของภิกษุเหล่านั้น มี

พระพุทธประสงค์จะทรงแสดง จึงทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้นในการเงี่ยหูฟังและ

ตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอทั้งหลาย

จงฟังแล้ว มีพระพุทธประสงค์จะประกาศการระลึกถึงทางอันตัดขาดแล้ว ไม่ทั่ว

ไปแก่ชนเหล่าอื่น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไปดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ย วิปสฺสี คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

วิปัสสีในกัปใด. แท้จริง ย ศัพท์นี้ ใช้ในปฐมาวิภัตติ์ ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อความใดที่ข้าพระองค์สดับมาแล้วรับมาแล้วต่อหน้า

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ข้าพระองค์จะกราบทูลข้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า. ใช้ในทุติยาวิภัตติ์ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า

ท่านอกิตตยิ พวกข้าพเจ้าได้ถามข้อความอันใดไว้ พวก

ข้าพเจ้าจะขอถามข้อความอันนั้นอื่น ขอเชิญท่านจงบอกข้อความนั้น

แต่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิดดังนี้.

ใช้ในตติยาวิภัตติ์ ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่

ไม่มีช่องว่างด้วยโลกธาตุหนึ่งไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นได้. แต่ในบทนี้พึงทราบว่าใช้

ในสัตตมีวิภัตติ์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยสฺมึ กปฺเป แปลว่าในกัปใด.

บทว่า อุทปาทิ ความว่า ยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

ภทฺทกปฺเป ความว่า ในสุนทรกัปคือในสาระกัป เพราะมีพระพุทธเจ้าทรง

อุบัติขึ้น ๕ พระองค์ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องกัปนี้ จึงตรัส

อย่างนี้.

ดังได้ทราบมาว่า ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงบำเพ็ญ

อภินิหาร ย่อมไม่มีแม้ในกัปเดียวในระหว่างนั้นที่พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ทรง

อุบัติแล้ว. ก็แต่ก่อนอภินิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย พระพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

เจ้า ๔ พระองค์คือ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร พระทีปังกรทรง

อุบัติแล้วในกัปเดียว. ในส่วนที่เหนือขึ้นไปของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ว่าง

เปล่าพระพุทธเจ้าไปถึงหนึ่งอสงไขยทีเดียว. ในที่สุดอสงไขยกัป พระพุทธเจ้า

พระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์เดียวเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จากนั้น

ก็ได้ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย. ในที่สุดอสงไขยกัป พระพุทธ-

เจ้า ๔ พระองค์ คือ พระสุมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตะ ทรงอุบัติ

ขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จากนั้นก็ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย ในที่สุด

-อสงไขยกัป ต่อไปอีก อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์

คือ พระอโนมทัสสี พระปทุมะ พระนารทะทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. แม้จาก

นั้นก็ได้ว่างเปล่าพระพุทธเจ้าไปอีกหนึ่งอสงไขย. ในที่สุดอสงไขยกัป ต่อไปอีก

แสนกัป พระผู้มีพระภาคพระนามว่า พระปทุมุตตระ พระองค์เดียวเท่านั้น

ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ต่อจากนี้ไปอีกสามหมื่นกัป พระพุทธเจ้าสองพระองค์

คือ พระสุเมธะ พระสุชาตะทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ในส่วนที่เหนือออกไป

จากนั้น ต่อไปอีก ๑๘,๐๐๐ กัป พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ พระปิยทัสสี

พระอัตถทัสสิ พระธัมมทัสสี ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง. ต่อจากนั้นไป ๙๘ กัป

พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถ ทรงอุบัติขึ้น. ในกัปหนึ่ง ต่อจากนั้นไป ๙๒ กัป

พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระติสสะ พระปุสสะ ทรงอุบัติขึ้นในกัปหนึ่ง.

ต่อจากนั้นไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีทรงอุบัติขึ้น. ต่อ

จากนั้น ๓๑ กัป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระสิขี พระเวสสภู ทรงอุบัติ

ขึ้น. ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ

พระกัสสปะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายทรงอุบัติขึ้น พระเมตเตยยะ

จักทรงอุบัติขึ้นภายหลัง. กัปนี้เป็นสุนทรกัปเป็นสารกัป เพราะมีพระพุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้น ๕ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง

ยกย่องกัปนี้ จึงตรัสอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ถามว่า ข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าประมาณเท่านั้น ทรงอุบัติขึ้นแล้วก็ดี จัก

ทรงอุบัติขึ้นก็ดีในกัปนี้ ย่อมเป็นการปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นหรือ

หรือว่าย่อมเป็นการปรากฏแม้แก่ผู้อื่นด้วย. ตอบว่า ย่อมเป็นการปรากฏแม้แก่

ผู้อื่นด้วย. ถามว่า แก่ใคร. ตอบว่า แก่พรหมชั้นสุทธาวาส.

จริงอยู่ในกาลดำรงอยู่แห่งกัป เมื่อโลกสันนิวาสดำรงอยู่ตลอดอสงไขย

หนึ่ง ฝนเริ่มตกเพื่อให้โลกดำรงอยู่. ย่อมเป็นเหมือนหิมะตกในสุดแคว้นแต่

ต้นเทียว. จากนั้นก็มีรำข้าวประมาณหนึ่ง งบประมาณหนึ่ง ข้าวสารประมาณ

หนึ่ง ถั่วเขียวประมาณหนึ่ง ถั่วทองประมาณหนึ่ง พุทรา มะขามป้อม

ฟักเหลือง ฟักเขียว น้ำเต้า ประมาณหนึ่ง เป็นสายน้ำงอกงามขึ้นโดยลำดับ

หนึ่งอุสภะ สองอุสภะ กึ่งคาวุต หนึ่งคาวุต กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์ สองโยชน์

สามโยชน์ สิบโยชน์ ฯลฯ แสนโยชน์เป็นประมาณ ตั้งอยู่บริบูรณ์ในระหว่าง

แสนโกฏิจักรวาลจนถึงอกนิฏฐพรหมโลก. ลำดับนั้น น้ำนั้นตกโดยลำดับ เมื่อ

น้ำตก เทวโลกทั้งหลายย่อมดำรงอยู่ในที่ของเทวโลกเป็นปกติ. วิธีสร้างเทวโลก

เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในบุพเพนิวาสกถา ในวิสุทธิมรรค.

ก็ฐานะของมนุสสโลก เหมือนเมื่อนำเข้าไปแล้วปิดปากธมกรกเสีย

น้ำนั้นก็อยู่ได้ด้วยอำนาจของลม. แผ่นดินย่อมตั้งอยู่ได้เหมือนใบบัวอยู่หลังน้ำ.

มหาโพธิบัลลังก์ เมื่อโลกพินาศ จะพินาศในภายหลัง เมื่อโลกดำรงอยู่ก็ดำรง

อยู่ก่อน. ณ โพธิบัลลังก์นั้น กอบัวกอหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นเป็นบุพพนิมิตร หาก

ว่าในกัปนั้นของโพธิบัลลังก์นั้น พระพุทธเจ้าจักทรงอุบัติ ดอกบัวย่อมเกิดขึ้น

หากไม่ทรงอุบัติ ดอกบัวจะไม่เกิด. อนึ่ง เมื่อดอกบัวเกิดหากพระพุทธเจ้าองค์

หนึ่งจักทรงอุบัติก็เกิดดอกเดียว. หากพระพุทธเจ้าจักทรงอุบัติ ๒ องค์ ๓ องค์

๔ องค์ ๕ องค์ ดอกบัวก็เกิด ๕ ดอก. อนึ่ง ดอกบัวเหล่านั้นเป็นดอกมีช่อติด

กันในก้านเดียวนั่นเอง. ท้าวสุทธาวาสพรหมทั้งหลายชวนกันว่า ท่านผู้นิรทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ทั้งหลาย พวกเรามากันเกิด จักเห็นบุพนิมิตรแล้วพากัน มายังมหาโพธิบัลลังก์

สถาน ในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังไม่ทรงอุบัติดอกบัวก็ไม่มี. ทวยเทพ

ทั้งหลายเห็นดอกบัวไม่มีดอกก็มีความเสียใจว่า พ่อคุณเอ๋ย โลกจักมืดมนหนอ

สัตว์ทั้งหลายถูกความมืดครอบงำจักเห็นในอบาย เทวโลก ๖ พรหมโลก ๙ จัก

ว่างเปล่า ครั้นเห็นดอกบัวในเวลาบานต่างดีใจว่า เมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์

ทรงก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา ประสูติ ตรัสรู้ ยังธรรมจักรให้เป็นไป ทรงกระทำ

ยมกปาฏิหาริย์หยั่งลงจากเทวโลก ทรงปลงอายุสังขารเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พวกเราจักเห็นปาฏิหาริย์ อันทำให้หมื่นจักรวาลหวั่นไหว และอบายทั้ง ๔ จัก

เสื่อมโทรม เทวโลก ๖ พรหมโลก ๙ จักบริบูรณ์พากันเปล่งอุทานไปสู่พรหม

โลกของตนของตน.

อนึ่ง ดอกบัว ๕ ดอกเกิดขึ้นแล้ว ในกัปนี้. แม้ท้าวสุทธาวาสพรหมทั้ง

หลายครั้นเห็นดอกบัวเหล่านั้นก็รู้ความนี้ว่า พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ ทรง

อุบัติแล้ว องค์ที่ ๕ จักทรงอุบัติต่อไปดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งนิมิตรเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ข้อนั้นเป็นการปรากฏแม้แก่ผู้อื่นดังนี้.

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุพเพนิวาส ด้วยสามารถ

กำหนดกัปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ดังนี้แล้ว บัดนี้เพื่อ

จะทรงแสดงด้วยสามารถกำหนดชาติเป็นต้นของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสีดังนี้.

ในบทเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยในการกำหนดอายุ. บททั้งสองนี้ว่า

ปริตฺต ลหุก เป็นไวพจน์ของอายุน้อยนั้นเอง. ด้วยว่า อายุใดน้อย อายุนั้น

ย่อมเป็นของนิดหน่อยและเยา. บทว่า อปฺปวา ภิยฺโย คือ อายุเกินกว่า ๑๐๐ ปี

มีน้อย. ครั้น ยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ย่อมเป็นอยู่ ๒๐ ปี ๓๐ ปี ๔๐ ปี ๕๐ ปี หรือ

๖๐ ปี. แต่คนอายุยืนอย่างนี้หาได้ยากนัก ได้ข่าวว่า คนโน้นอยู่นานอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

ควรพากันไปดูในที่นั้น ๆ. บรรดาคนมีอายุยืนนั้น นางวิสาขาอุบาสิกาอยู่ได้

๑๒๐ ปี พราหมณ์โปกขรสาติ พราหมณ์พรหมายุ พราหมณ์เสละ พราหมณ์

พาวริยะ พระอานนทเถระ พระมหากัสสปเถระ ก็เหมือนกัน แต่พระอนุ-

รุทธเถระอยู่ถึง ๑๕๐ ปี พระพากุลเถระอยู่ ๑๖๐ ปี ท่านผู้นี้มีอายุยืนกว่าทั้ง

หมด. แม้ท่านก็อยู่ไม่ถึง ๒๐๐ ปี.

ก็พระโพธิสัตว์ทั้งปวงมีพระวิปัสสีเป็นต้น ถือปฏิสนธิในครรภ์พระ

มารดา ด้วยอสังขาริกจิต สหรคตด้วยโสมนัสและสัมปยุตด้วยญาณ อันเป็น

ส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา. เมื่อถือปฏิสนธิด้วยจิตดวงนั้นจะมีอายุอสงไขยหนึ่ง.

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าทั้งปวง จึงมีอายุอสงไขยหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร

ท่านเหล่านั้นจึงไม่ตั้งอยู่ถึงอสงไขย. ตอบว่า เพราะความวิบัติแห่งฤดูและ

โภชนะ. จริงอยู่ อายุย่อมเสื่อมบ้าง ย่อมเจริญบ้างด้วยอำนาจแห่งฤดูและโภชนะ.

ในข้อนั้น เมื่อใดพระราชาทั้งหลายไม่เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เมื่อนั้น

อุปราช เสนาบดี เศรษฐี สกลนคร สกลรัฐ ก็ย่อมไม่ประกอบด้วยธรรม

เหมือนกัน. เมื่อเป็นดังนั้น อารักขเทวดาของชนเหล่านั้น ภุมมเทวดา ผู้เป็น

มิตรของเทวดาเหล่านั้น อากาสัฏฐกเทวดาผู้เป็นมิตรของภุมมเทวดา อุณหวลา-

หกเทวดา ผู้เป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดา อัพภวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตร

ของอุณหวลาหกเทวดาเหล่านั้น สีตวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตรของอัพภวลา-

หกเทวดาเหล่านั้น วัสสวลาหกเทวดา ผู้เป็นมิตรของสีตวลาหกเทวดาเหล่านั้น

จาตุมมหาราชิกาเทวดา ผู้เป็นมิตรของวัสสวลาหกเทวดาเหล่านั้น ดาวดึง

สเทวดา ผู้เป็นมิตรของจาตุมมหาราชิกาเทวดาเหล่านั้น ยามาเทวดา ผู้เป็น

มิตรของดาวดึงสเทวดาเหล่านั้นเป็นต้น ตราบเท่าถึงภวัคคพรหม เว้นพระ-

อริยสาวกเทวดาทั้งหมด แม้พรหมบริษัท ก็เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม.

พระจันทร์พระอาทิตย์ย่อมดำเนินไปลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพราะเทวดาเหล่านั้นไม่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ประกอบด้วยธรรม. ลมย่อมไม่พัดไปตามทางลม. เมื่อลมไม่พัดไปตามทางลม

ย่อมทำให้วิมานซึ่งตั้งอยู่บนอากาศสะเทือน. เมื่อวิมานสะเทือนพวกเทวดาก็ไม่

มีจิตใจจะไปเล่นกีฬา เมื่อเทวดาไม่มีจิตใจจะไปเล่นกีฬา ฤดูหนาว ฤดูร้อน

ย่อมไม่เป็นไปตามฤดูกาล. เมื่อฤดูไม่เป็นไปตามฤดูกาล ฝนย่อมไม่ตกโดยชอบ

บางครั้งตก บางครั้งไม่ตก ตกในบางท้องที่ ไม่ตกในบางท้องที่ ก็เมื่อตกย่อมตก

ขณะหว่าน ขณะแตกหน่อ ขณะแตกก้าน ขณะออกรวง ขณะออกน้ำนมเป็นต้น

ย่อมตกโดยประการที่ไม่เป็นอุปการะแก่ข้าวกล้าเลย และแล้งไปนาน ด้วยเหตุนั้น

ข้าวกล้าจึงสุกไม่พร้อมกันปราศจากสมบัติมีกลิ่นสีและรสเป็นต้น. แม้ในข้าวสาร

ที่ใส่ในภาชนะเดียวกัน ข้าวในส่วนหนึ่งดิบ ส่วนหนึ่งเปียกแฉะ ส่วนหนึ่งไหม้.

บริโภคข้าวนั้นเข้าไปย่อมถึงโดยอาการ ๓ อย่างในท้อง. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี

โรคมากและมีอายุน้อยด้วยเหตุนั้น. อายุย่อมเสื่อมด้วยอำนาจของฤดูและโภชนะ

ด้วยประการฉะนี้โดยแท้.

แม้ทวยเทพทั้งปวงตลอดถึงพรหมโลกย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

โดยนัยอันมีในเบื้องต้นว่า ก็เมื่อใดพระราชาเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม เมื่อนั้น

แม้เสนาบดีและอุปราชก็เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมดังนี้. เพราะทวยเทพเหล่านั้น

ตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมดำเนินไปโดยสม่ำเสมอ. ลมย่อม

พัดไปตามทางของลมย่อมไม่ทำให้วิมานที่ตั้งอยู่บนอากาศสะเทือน. เมื่อวิมาน

ไม่สะเทือนพวกเทวดาก็มีแก่ใจเล่นกีฬา. ฤดูย่อมเป็นไปตามกาลอย่างนี้. ฝน

ย่อมตกโดยชอบเกื้อกูลข้าวกล้าตั้งแต่ขณะหว่าน ตกตามเวลา แล้งไปตามเวลา.

ด้วยเหตุนั้น ข้าวกล้าสุกพร้อมกัน มีกลิ่นหอม มีสีงาม มีรสอร่อย มีโอชะ.

โภชนะที่ปรุงด้วยข้าวกล้านั้นแม้บริโภคแล้วก็ถึงความย่อยง่าย สัตว์ทั้งหลาย

เป็นผู้ไม่มีโรคมีอายุยืนด้วยเหตุนั้น. อายุย่อมเจริญด้วยอำนาจฤดูและโภชนะ

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

ในบรรดาพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

วิปัสสีทรงอุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระสิขี ทรงอุบัติในขณะที่

สัตว์มีอายุ ๗๐,๐๐๐ ปี ดังนั้น ท่านกำหนดอายุนี้ไว้ คล้ายกับเสื่อมไปโดยลำดับ

แต่ไม่ใช่เสื่อมอย่างนั้น. พึงทราบว่าอายุเจริญ เจริญแล้วเสื่อม. ถามว่า

อย่างไร. ตอบว่า ในภัทรกัปนี้ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะทรง

อุบัติในขณะที่สัตว์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี กำหนดอายุไว้ ๕ ส่วน ดำรงอยู่

๔ ส่วน เมื่อถึงส่วนที่ ๕ ก็ปรินิพพาน. อายุนั้นเสื่อมถึงกาลกิริยาเมื่อ

อายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขย จากนั้นก็เสื่อมดำรงอยู่ในขณะที่สัตว์

มีอายุ ๓๐,๐๐๐ ปี. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ

ทรงอุบัติ. แม้เมื่อพระโกนาคมนะนิพพานแล้วอย่างนั้น อายุนั้นเสื่อมถึง

กาลกิริยาเมื่ออายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขย เสื่อมอีกดำรงอยู่ในขณะ

ที่สัตว์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี. กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ทรง

อุบัติ. แม้เมื่อพระกัสสปะนั้นปรินิพพานอย่างนั้นแล้ว อายุนั้นก็เสื่อมถึงกาล

กิริยาเมื่อมีอายุ ๑๐ ปี แล้วเจริญอีกเป็นอสงไขยเสื่อมอีกถึงกาลกิริยาเมื่อมีอายุ

๑๐๐ ปี. ทีนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราทรงอุบัติ. อายุมิได้เสื่อมลง

โดยลำดับอย่างนั้น พึงทราบว่าเจริญ เจริญแล้วจึงเสื่อม. ในข้อนั้นพึงทราบ

ว่า ข้อที่เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุเจริญ พระพุทธเจ้าย่อมทรงอุบัตินั้นแลเป็น

กำหนดอายุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. การกำหนดอายุจบ พึงทราบวินิจฉัยใน

การกำหนดสถานที่ตรัสรู้

บทว่า ปาฏลิยามูเล คือภายใต้ต้นแคฝอย. ลำต้นแคฝอยนั้นโดย

ส่วนสูงถึง ๑๐๐ ศอก คือ วันนั้นลำต้นพุ่งขึ้นไป ๕๐ ศอกกิ่ง ๕๐ ศอก.

อนึ่ง ต้นแคฝอยนั้นในวันนั้นมีดอกดุจติดกับช่อปกคลุมเป็นอันเดียวกัน

ตั้งแต่โคนต้น. กลิ่นทิพย์ฟุ้งไป. มิใช่ดอกแคฝอยต้นนี้ต้นเดียวเท่านั้นบาน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ต้นแคฝอยทั้งหมดในหมื่นจักรวาลก็บาน. มิใช่แคฝอยอย่างเดียวบาน.

บรรดาต้นไม้ทั้งหมดในหมื่นจักรวาลก็บาน เช่น กอปทุมบานที่กอ ก้านปทุมบาน

ที่ก้าน สายปทุมบานที่สาย อากาศปทุมบานบนอากาศบัวหลวง ทำลายพื้นดิน

ผุดขึ้น. แม้มหาสมุทรก็ดาดาษไปด้วย ปทุม ๕ ชนิดและด้วยบัวขาบ บัวแดง.

ทั้งหมื่นจักรวาลได้มีกลุ่มดอกไม้คล้ายธง เกลื่อนกลาดไปด้วยพวงดอกไม้เนื่อง

กันและกองดอกไม้ที่ร่วง ณ ที่นั้น ๆ แพรวพราวไปด้วยดอกไม้สีต่าง ๆ ได้

เป็นเช่นกับสวนนันทวัน จิตรลดาวัน มิสสกวัน และปารุสกวัน. เป็นดุจยก

ธงขึ้น ณ ริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวันออก จด ริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวัน

ตก. และดุจยกธงขึ้น ณ ริมขอบจักรวาลด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ ทิศเหนือ

จด ริมขอบจักรวาลด้านทิศใต้. ได้เป็นจักรวาลอัน สมบูรณ์ด้วยสิริของกัน และ

กัน อย่างนี้. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ความว่า แทงตลอด คุณ ความเจริญ สิริ

อันเป็นพุทธะ คือ ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอริยสัจ ๔. แม้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ดูกร

ภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่า สิขี เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธะตรัสรู้ยิ่งแล้ว ณ ดวงไม้บุณฑริกดังนี้ พึงทราบการพรรณนาโดยนัยนี้

แล.

ก็บทว่า ปุณฺฑรีโก ในที่นี้ คือ ต้นมะม่วงมีรสหวาน. แม้ต้น

มะม่วงนั้นก็มีปริมาณนั้นเหมือนกัน. อนึ่งในวันนั้นต้นมะม่วงนั้นก็ปกคลุมไป

ด้วยดอกอันเป็นทิพย์และมีกลิ่นหอม. ไม่ใช่ดอกอย่างเดียว. ได้มีผลดกด้วย.

มะม่วงนั้น ข้างหนึ่งผลอ่อน ข้างหนึ่งผลปานกลาง ข้างหนึ่งผลยังไม่แก่จัด

ข้างหนึ่งผลแก่จัดมีรสอร่อย มีโอชะดุจใส่ทิพย์โอชะลงไปห้อยย้อยลง. ต้นมะ-

ม่วงนั้นฉันใด ในหมื่นจักรวาลก็ฉันนั้น ต้นไม้ที่ออกดอกก็ได้ประดับด้วยดอก

ต้นไม้ที่ออกผลก็ได้ประดับด้วยผล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

บทว่า สาโล คือต้นสาละ. แม้ต้นสาละนั้น ก็มีปริมาณนั้นเหมือนกัน.

พึงทราบดอกสิริความเจริญอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในต้นไม้ซึกก็นัยนี้เหมือน

กัน ในต้นมะเดื่อไม่มีดอกความงอกงามของผลในต้นมะเดื่อนี้มีนัยกล่าวแล้วใน

ต้นมะม่วงนั้นแล. ในต้นไทรก็อย่างเดียวกันในโพธิ์ใบก็อย่างเดียวกัน.

บัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์อย่างเดียวกัน. แต่ต้นไม้เป็นอย่าง

อื่น. ในบรรดาต้นไม้เหล่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงรู้แจ้งถึงการตรัสรู้

กล่าวคือมรรคญาณ ๔ ณ ควงไม้ใด ๆ ไม้นั้น ๆ ท่านเรียกว่า โพธิ. นี้ชื่อ

ว่ากำหนดสถานที่ตรัสรู้.

พึงทราบวินิจฉัยในการกำหนดสาวก. บทว่า ขณฺฑติสฺส คือ

สาวกชื่อว่า ขัณฑะและติสสะ. ท่านทั้งสองนั้นท่านขัณฑะร่วมบิดาเดียวกัน

เป็นน้อง ท่านติสสะเป็นปุโรหิต. ท่านขัณฑะบรรลุที่สุดแห่งปัญญาบารมี

ท่านติสสะบรรลุที่สุดแห่งสมาธิบารมี. บทว่า อคฺค อธิบายว่า เป็นผู้สูงสุด

เพราะความเป็นผู้มีคุณไม่เหมือนกับ ผู้ที่เหลือยกเว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า วิปัสสี. บทว่า ภทฺทยุค อธิบายว่า ชื่อว่าคู่เจริญเพราะความเป็นผู้เลิศ.

บทว่า อภิภูสมฺภว คือ สาวกชื่อว่า อภิภู และ สัมภวะ ท่านทั้ง

สองนั้น ท่านอภิภูบรรลุที่สุดแห่งปัญญาบารมีไปสู่พรหมโลก จากอรุณวดี

กับ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี แล้วแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างแก่พรหม

บริษัท แสดงธรรมแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุให้มืดมิดแล้วส่องแสงสว่างแก่ผู้ที่เกิด

สังเวชว่านี้อะไรกัน แล้วอธิษฐานว่า ขอให้ชนทั้งปวงจงเห็นรูปของเราและจง

ได้ยินเสียงของเราดังนี้ ได้กล่าวสองคาถา ว่าท่านทั้งหลายจงเริ่มได้ดังนี้เป็น

ต้น ให้ได้ยินเสียง. ท่านสัมภวะได้บรรลุที่สุดแห่งสมาธิบารมี.

บทว่า โสณุตฺตร คือพระสาวกชื่อว่า โสณะและพระอุตตระ. ในท่าน

ทั้งสองนั้น ท่านโสณะบรรลุปัญญาบารมี ท่านอุตตระบรรลุสมาธิบารมี.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

บทว่า วิธูรสญฺชีว คือ พระสาวกชื่อว่า วิธูระ และสัญชีวะ ในท่าน

ทั้งสองนั้น ท่านวิธุระบรรลุปัญญาบารมี. ท่านสัญชีวะบรรลุสมาธิบารมี เป็น

ผู้มักเข้าสมาบัติพยายามด้วยกำลังสมาบัติในที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน กุฎี ถ้ำ

และมณฑปเป็นต้น เข้านิโรธในป่าตลอดวัน. พวกทำงานในป่าเป็นต้น

เข้าใจว่า ท่านมรณภาพจึงพากันเผาท่าน. ท่านสัญชีวะนั้นครั้นออกจากสมาบัติ

ตามกำหนด ห่มคลุมเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาตร. อาศัยเหตุนั้นแล ชนทั้งหลาย

จึงรู้จักท่านว่า ท่านสัญชีวะ ดังนี้.

บทว่า ภิยฺโยสุตฺตร คือ พระสาวกชื่อว่า ภิยโยสะและอุตตระ. ใน

ท่านทั้งสองนั้น ท่านภิยโยสะเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ท่านอุตตระเป็นผู้เลิศด้วย

สมาธิ.

บทว่า ติสฺสภารทฺวาช คือ พระสาวกชื่อว่าติสสะ และภารัทวาชะ.

ในท่านทั้งสองนั้น ท่านติสสะได้บรรลุปัญญาบารมี ท่านภารทวาชะได้บรรลุ

สมาธิบารมี.

บทว่า สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาน คือ พระสาวกชื่อว่า สารีบุตร และ

โมคคัลลานะ. ในท่านทั้งสองนั้น ท่านสารีบุตรได้เป็นผู้เลิศในทางปัญญา ท่าน

โมคคัลลานะได้เป็นผู้เลิศในทางสมาธิ. นี้ชื่อว่ากำหนดคู่อัครสาวก.

พึงทราบวินิจฉัยในการกำหนดการประชุมสาวก. การประชุมครั้งแรก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปัสสีได้ประกอบด้วยองค์ ๔. คือภิกษุทั้ง

หมดเป็นเอหิภิกษุ ภิกษุทั้งหมดมีบาตรและจีวรบังเกิดด้วยฤทธิ์. ภิกษุทั้งหมด

ไม่ได้นัดหมายกันมา. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกันในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ.

ลำดับนั้น พระศาสดา ประทับนั่งจับพัดยังภิกษุให้ลงอุโบสถ. ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓

กันนัยนี้แล. ในการประชุมทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอย่าง

นั้น. ก็แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายได้มีการประชุมในปฐมโพธิกาล

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

เท่านั้นเพราะเหตุใด, พระสูตรนี้ท่านกล่าวไว้แล้วในภาคอื่น เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประชุมสาวกของเราในบัดนี้ ให้มีหนเดียว

ดังนั้นการประชุมจึงจบ.

ในบทว่า อฑฺฒเตรสานิภิกฺขุสตานิ ความว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปคือ

บุราณชฎิล ๑,๐๐๐ รูป ปริวารพระอัครสาวก ๒๕๐ รูป. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น

ควรกล่าวถึงเรื่องตั้งแต่อภินิหารของพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว แสดงถึงการ

บรรพชา. อนึ่ง บรรดาบรรพชิตเหล่านั้น พระมหาโมคคลัลานะบรรลุพระอรหัต

ในวันที่เจ็ด. พระธรรมเสนาบดี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวทนา-

ปริคคหสูตรอันเป็นธรรมยาคะที่เตรียมไว้ แก่ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลาน ณ

ถ้ำสูกรขาตาท่ามกลางภูเขาคิชฌกูฏ ในวันที่ ๑๕ ส่งญาณไปเพื่อรู้ตามโดยระลึก

ไปตามเทศนา ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ.

พระผู้มีพระเจ้าทรงทราบถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระแล้ว เสด็จ

ขึ้นไปยังเวหาสไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวัน. พระเถระรำพึงว่าพระผู้มีพระเจ้า

เสด็จไปไหนหนอ ครั้นทราบความที่พระองค์ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

แม้ท่านเองก็เหาะสู่เวหาสไปปรากฏ ณ พระวิหารเวฬุวันเหมือนกัน. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศปาติโมกข์ (หลักคำสอน) พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายถึงการประชุมนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูปเป็นต้น. นี้คือกำหนด

การประชุมของพระสาวก.

พึงทราบวินิจฉัย ในการกำหนดอุปฐากต่อไป. บทว่า พระอานนท์

ท่านกล่าวหมายถึงความที่พระอานนทเถระ เป็นอุปฐากประจำ. เพราะว่า ใน

ปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระอุปฐากไม่ประจำ. บางคราว พระนาค-

สมาละถือบาตรและจีวรตามเสด็จ. บางคราวพระนาคิตะ. บางคราวพระอุปวาณะ.

บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวจุนทสมณุเทส บางคราวพระสาคตะ บาง

คราวพระเมฆิยะ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ในบรรดาท่านเหล่านั้น บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางไกล

กับพระนาคสมาลเถระ เสด็จถึงทางสองแพร่ง. พระเถระหลีกออกจากทางกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้. ทีนั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระนั้นว่า มานี่ภิกษุเราจะไปทางนี้. พระเถระนั้นกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์รับบาตรและจีวรของพระองค์เถิด

ข้าพระองค์จะไปตามทางนี้แล้วก็เตรียมจะวางบาตรและจีวรลงบนพื้น. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะพระเถระนั้นว่า นำมาเถิดภิกษุแล้วทรงรับบาตรและ

จีวรเสด็จไป. เมื่อภิกษุนั้นไปอีกทางหนึ่ง พวกโจรชิงบาตรแระจีวรไป และ

ศีรษะ. ภิกษุนั้นคิดว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ไม่มีผู้อื่น

แล้ว ได้มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งที่เลือดไหล. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

นี่อะไร ภิกษุ จึงกราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

กะภิกษุนั้นว่า อย่าคิดไปเลย ภิกษุ เราห้ามเธอถึงเหตุนั้นแล้วทรงปลอบภิกษุ

นั้น.

ก็บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังชันตุคามในวังสมฤคทาย

วันด้านปาจีน กับพระเมฆิยเถระ. แม้ ณ ที่นั้นพระเมฆิยะไปบิณฑบาต ใน

ชันตุคาม เห็นสวนมะม่วงน่าประทับใจ ณ ฝั่งแม่น้ำ กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงรับบาตรและจีวรของพระองค์ไปเถิด ข้าพระ-

องค์จะบำเพ็ญสมณธรรมที่สวนมะม่วงนั้นแม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง

๓ ครั้ง ก็ไปจนได้ ครั้นถูกอกุศลวิตกครอบงำ จึงกลับมากราบทูลเหตุที่เกิดขึ้นนั้น

ให้ทรงทราบ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเมฆิยะว่า เรากำหนดรู้เหตุนี้แก่

เธอแล้วยังได้ห้ามเธอไว้ แล้วได้เสด็จไปยังพระนครสาวัตถี โดยลำดับ.

ณ พระนครสาวัตถีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ

ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันบวรที่ปูไว้ ณ บริเวณคันธกุฎี ตรัสเรียกภิกษุทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

หลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเป็นผู้แก่ ภิกษุบางรูปเมื่อเราบอกว่าเราไป

ตามทางนี้กันเถิด ได้ไปเสียทางอื่น บางรูปวางบาตรและจีวรของเราไว้บนพื้น

พวกเธอจงเลือกภิกษุรูปหนึ่ง เป็นอุปฐากประจำของเรา. ภิกษุทั้งหลายเกิด

ธรรมสังเวช ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ตั้งความปรารถนาไว้

กะพระองค์ บำเพ็ญบารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ธรรมดาอุปฐากมีปัญญา

มากเช่นข้าพระองค์สมควรมิใช่หรือ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระองค์ดังนี้. พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงห้ามพระสารีบุตรว่า อย่าเลย สารีบุตร เธออยู่ในทิศใด ทิศ

นั้นไม่ว่างเปล่าทีเดียว โอวาทของเธอเช่นเดียวกับโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้ง

หลาย เธอไม่ต้องทำหน้าที่อุปฐากเรา. พระมหาสาวก ๘๐ รูป เริ่มแต่พระ

มหาโมคคัลลานะเป็นต้นได้ลุกขึ้นโดยทำนองเดียวกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ห้ามพระสาวกเหล่านั้นทั้งหมด. แต่พระอานนนเถระ นั่งนิ่งทีเดียว.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระอานนทเถระนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน

อานนท์ หมู่ภิกษุกราบทูลขอคำแหน่งอุปฐาก แม้ท่านก็จงกราบทูลขอบ้างดังนี้.

พระอานนทเถระนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่าการอุปฐากที่กราบทูล

ขอแล้วได้มาจะเป็นเช่นไร พระศาสดาไม่ทรงเห็นเราดอกหรือ หากพระองค์

จักพอพระทัย จักทรงบอกว่า อานนท์ จงอุปฐากเราดังนี้. ทีนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไม่ควรให้ผู้อื่นส่งเสริมจักรู้ด้วยตนเอง

แล้วอุปฐากเรา. แต่นั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นเถิด จง

กราบทูลขอตำแหน่งอุปฐากกะพระทศพล. พระเถระลุกขึ้นกราบทูลขอพร ๘

ประการคือ ข้อห้าม ๔ ข้อ ข้อขอร้อง ๔ ข้อ.

พึงทราบข้อห้าม ๔ ข้อ. พระอานนทเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ได้มาแก่ข้าพระองค์ จักไม่ประทานบิณฑบาต จักไม่ให้อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน

รับนิมนต์แล้วจักไม่ไปร่วมกันด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐากพระผู้มี

พระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็เธอเห็นโทษ

อะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากข้าพระองค์จักได้สิ่งเหล่านี้

จักมีผู้กล่าวหาแก่ข้าพระองค์ว่า พระอานนท์ใช้จีวรอันประณีตที่พระทศพลได้

แล้ว ฉันบิณฑบา อยู่ในคันธกุฎีเดียวกัน ไปสู่ที่นิมนต์ร่วมกัน เมื่อได้ลาภนี้

จึงอุปุฐากพระตถาคต เมื่ออุปฐากอย่างนี้จะหนักหนาอะไร. พระอานนทเถระ

กราบทูลขอข้อห้าม ๔ ข้อ เหล่านี้.

พึงทราบข้อขอร้อง ๔ ข้อ. พระอานนทเถระ กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ หากพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้

หากข้าพระองค์จักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในขณะที่บริษัทมาจากภายนอกแคว้น

ภายนอกชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ามาถึงแล้ว ขณะใดความสงสัยเกิดขึ้น

แก่ข้าพระองค์ ขณะนั้นข้าพระองค์จักได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมข้อใดลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จกลับมาแล้ว จัก

ทรงแสดงธรรมข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ ด้วยประการฉะนี้ ข้าพระองค์จักอุปฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ เธอเห็น

อานิสงส์อะไรในข้อนี้ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรทั้งหลายผู้

มีศรัทธาในพระศาสนานี้ เมื่อไม่ได้โอกาสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมกล่าว

กะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ วันพรุ่งนี้โปรดรับภิกษาในเรือน

ของพวกกระผมพร้อมด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่เสด็จไป ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่ได้

โอกาสเพื่อชี้แจงกะบริษัทในขณะที่เขาปรารถนาและเพื่อบันเทาความสงสัย

จักมีผู้กล่าวว่า อะไรกันพระอานนท์ อุปฐากพระทศพล แม้เพียงเท่านี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงทำการอนุเคราะห์แก่พระอานนท์ ดังนี้ อนึ่ง

ชนทั้งหลายจักถามข้าพระพุทธเจ้าลับหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระ

อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ในที่ไหน ดังนี้

หากข้าพระองค์จักชี้แจงข้อนั้นไม่ได้ จักมีผู้กล่าวว่าแม้เพียงเท่านี้ ท่านก็ยังไม่รู้

ท่านไม่ละพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจเงาเที่ยวไปตลอดกาลนาน เพราะเหตุไรดังนี้

ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาจะกล่าวธรรมแม้ที่พระองค์ทรงแสดงลับหลัง

อีกครั้ง. พระอานนท์กราบทูลขอข้อขอร้อง ๔ ข้อนี้.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงประทานแก่พระอานนท์นั้น. พระ-

อานนท์ครั้นรับพร ๘ ประการเหล่านี้แล้วก็ได้เป็นอุปฐากประจำด้วยประการ

ฉะนี้. พระอานนท์บรรลุผลแห่งบารมีที่บำเพ็ญมาตลอด แสนกัปเพื่อตำแหน่ง

นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุอานนท์ผู้เป็น

อุปฐากของเราได้เป็นอุปฐากผู้เลิศดังนี้ หมายถึงความที่พระอานนท์นี้เป็น

อุปฐากประจำนั้น. นี้เป็นการกำหนดอุปฐาก.

การกำหนดบิดามีความง่ายอยู่แล้ว.

บทว่า วิหาร ปาวิสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่วิหาร

เพราะเหตุอะไร นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนั้นแล้วทรงดำริว่า

เราบรรลุถึงที่สุดอันหาระหว่างมิได้แล้วยังไม่ได้ กล่าวถึงวงศ์ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ๗ พระองค์เลย ก็เมื่อเราเข้าไปยังวิหาร ภิกษุเหล่านี้ได้ปรารภถึง

บุพเพนิวาสญาณโดยประมาณอันยิ่งแล้วจักกล่าวถึงคุณ เมื่อเป็นเช่นนั้น เรามา

กล่าวถึงพุทธวงศ์อันหาระหว่างมิได้ ให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุถึงที่สุดแล้ว จักแสดง

ดังนี้ ทรงให้โอกาสภิกษุทั้งหลายสนทนากันจึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระวิหาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแบบอันใดไว้ วาระ ๙ เหล่านี้มาแล้วในแบบแผนนั้น คือ

กำหนดกัป กำหนดชาติ กำหนดโคตร กำหนดอายุ กำหนดการตรัสรู้ กำหนด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

คู่สาวก กำหนดการประชุมสาวก กำหนดอุปฐาก กำหนดบิดา. วาระหลาย

อย่างยังไม่มาถึงแต่จะนำมาแสดง.

จริงอยู่ เมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์หนึ่งของพระโพธิสัตว์

ทั้งปวงเกิดแล้ว ควรออกบวชนี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. ถามว่าเพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะว่าตั้งแต่การหยั่งลงสู่ครรภ์ของมารดาของพระโพธิสัตว์ผู้เป็น

พระสัพพัญญูทั้งหลายมีปาฏิหาริย์หลายอย่างดังได้กล่าวแล้วในตอนก่อน ผิว่า

เมืองเกิดบิดามารดาภรรยาบุตรของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นไม่พึงปรากฏ เมือง

เกิดบิดาบุตรของบุคคลนี้ก็ไม่ปรากฏ.

ผู้นี้เห็นจะเป็นเทวดา ท้าวสักกะมารหรือพรหม และสำคัญว่าปาฏิหาริย์

เช่นนี้ของเทวดาทั้งหลายไม่น่าอัศจรรย์ พึงสำคัญถึงปาฏิหาริย์อันไม่ควรฟัง

ไม่ควรเชื่อ. แต่นั้นการตรัสรู้ไม่พึงมี เมื่อไม่มีการตรัสรู้ การอุบัติของ

พระพุทธเจ้าก็ไม่มีประโยชน์ คำสอนก็ไม่นำให้พ้นไปจากทุกข์ เพราะฉะนั้น

เมื่อบุตรสมควรแก่ตระกูลและวงศ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเกิด ควรออกบวช

นี้แลเป็นวงศ์ นี้เป็นประเพณี. เพราะฉะนั้น ควรนำวาระหลาย ๆ อย่างมาแสดง

ด้วยสามารถแห่งบุตรเป็นต้น.

ในสัมพหุลวาระพึงทราบ บุตรทั้ง ๗ ตามลำดับของพระพุทธเจ้า ๗

พระองค์เหล่านี้ก่อน คือ

สมวัตตักขันธะ อตุละ สุปปพุทธะ อุตตระ สัตถวาหะ

วิชิตเสนะ ราหุลเป็นที่ ๗, ในบรรดาบุตรเหล่านั้น เมื่อเจ้าชายราหุลประสูติ

พวกราชบุรุษนำหนังสือบอกข่าว มาวางไว้บนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ.

ลำดับนั้น ความสิเนหาในพระโอรสทำให้พระวรกายทุกส่วนของพระมหาบุรุษ

ซาบซ่าน. พระมหาบุรุษดำริว่า เมื่อบุตรเกิดเพียงคนเดียว ความสิเนหา

ในบุตรยังเป็นถึงเพียงนี้ ถ้าเราจักมีบุตรกว่า ๑,๐๐๐ คน ในบุตรเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

เมื่อคนหนึ่งเกิดความผูกพันด้วยสิเนหาเพิ่มมากขึ้นอย่างนี้ หัวใจจักแตกสลาย

เป็นแท้ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ห่วงเกิดแล้ว เครื่องผูกพันเกิด

แล้ว. ในวันนั้นเองพระมหาบุรุษทรงสละราชสมบัติออกทรงผนวช. ในการเกิด

บุตรของพระโพธิสัตว์ทุกองค์มีนัยนี้แล นี้ การกำหนดบุตร

บุตรแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้น ได้มีมารดาเหล่านี้คือ

พระนางสุตตนา พระนางสัพพกามา พระนางสุจิตตา พระ-

นางโรจนี พระนางรุจจตินี พระนางสุนันทา และพระนางพิมพาเป็น

องค์ที่ ๗. ก็พระนางพิมพาเทวี เมื่อราหุลกุมารประสูติ ได้ปรากฏชื่อว่า

ราหุลมารดา. นี้ การกำหนดภรรยา.

ก็พระโพธิสัตว์ ๒ องค์นี้คือ พระวิปัสสี พระกกุสันธะ เสด็จขึ้น

รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์. พระโพธิสัตว์ ๒ องค์

คือ พระสิขี พระโกนาคมนะ ประทับบนคอช้างประเสริฐออกทรงผนวช.

พระเวสสภูโพธิสัตว์ประทับนั่งบนวอทองออกทรงผนวช. พระกัสสปะประทับ

นั่งบนพื้นมหาปราสาท ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิด ออกจากฌานแล้ว

การทำฌานนั้นให้เป็นบาท ทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปหยั่งลง ณ โพธิมณฑล

ปราสาทไปทางอากาศแล้วหยั่งลง ณ โพธิมณฑล. แม้พระมหาบุรุษลงจาก

ปราสาทนั้น ประทับบนพื้นทรงอธิษฐานว่า ปราสาทจงไปตั้งอยู่ ณ ที่เดิม.

ปราสาทนั้นก็ต้องอยู่ในที่เดิม. แม้พระมหาบุรุษก็ทรงประกอบความเพียรตลอด

๗ วัน ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ. ก็พระโพธิสัตว์

ของเราทั้งหลาย เสด็จประทับม้ากัณฐกะออกทรงผนวช. นี้ การกำหนดยาน.

วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ

โยชน์หนึ่ง. ของพระสิขี ๓ คาวุต. ของพระเวสสภูกึ่งโยชน์ ของพระกกุสันธะ

คาวุตหนึ่ง ของพระโกนาคมนะกึ่งคาวุต ของพระกัสสปะ ๒๐ อุสภะ. วิหาร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราตั้งอยู่ในเนื้อที่ ๑๖ กรีส โดยวัดตามปกติ ๘ กรีส

โดยวัดของหลวง. นี้ การกำหนดพระวิหาร.

เศรษฐีทั้งหลายให้ช่างทำอิฐทองคำ ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง

๘ นิ้ว ปูโดยส่วนขวางแล้ว ซื้อสร้างที่อยู่ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

วิปัสสี. ปูด้วยผาลไม้เส้าทองคำซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี.

ให้ช่างทำเท้าช้างทองคำปูโดยขวาง ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

เวสสภู. ปูด้วยอิฐทองคำ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ซื้อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กกุสันธ. ปูด้วยเต่าทองคำ ตามนัยกล่าวแล้ว ซื้อถวายแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ. ปูด้วยทองแท่ง ซื้อถวายแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. และปูโดยขวางแห่งกหาปณะอันมีเครื่องหมาย

ซื้อถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. นี้ กำหนดในการถือพื้นที่สร้าง

วิหาร.

อุปฐากผู้ที่ซื้อพื้นที่ทำให้เป็นวิหารถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่าวิปัสสีนั้น ชื่อปุนัพพสุมิตตะ. ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนานว่า สิขี ชื่อ

สิริวัฑฒ์. ถวายพระเวสสภู ชื่อ โสตถิยะ. ถวายพระกกุสันธะ ชื่อ อัจจุตะ.

ถวายพระโกนาคมนะ ชื่อ อุคคะ. ถวายพระกัสสปะ ชื่อ สุมนะ. ถวายพระผู้มี

พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ชื่อ สุทัตตะ. ก็อุปฐากเหล่านั้นทั้งหมดได้เป็น

เศรษฐีคหบดีมหาศาล. นี้ กำหนดอุปัฏฐาก.

ยังมีสถานที่อื่นอีก ๔ แห่ง. อันเป็นสถานที่ที่จะเว้นเสียมิได้ คือ โพธิ

บัลลังก์ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด เว้นไม่ได้ย่อมมีในที่เดียวเท่านั้น. การแสดง

พระธรรมจักรในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เว้นไม่ได้เลย. การเหยียบพระบาท

ครั้งแรก ณ ประตูสังกัสสนคร ตอนเสด็จลงจากเทวโลก เว้นไม่ได้เลย. ที่ตั้ง

เท้าเตียง ๔ ที่ในพระคันธกุฏี ในเชตวันมหาวิหาร เว้นไม่ได้ทีเดียว. ก็แต่ว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

วิหารมีเล็กบ้างใหญ่บ้าง. แม้วิหารก็เว้นไม่ได้. แต่นครเว้นได้. กาลใดนคร

อยู่ด้านปาจีน กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปัจฉิม. กาลใดนครอยู่ด้านทักษิณ กาลนั้น

วิหารอยู่ด้านอุดร. กาลใดนครอยู่ด้านปัจฉิม กาลนั้นวิหารอยู่ด้านปาจีน.

กาลใดนครอยู่ด้านอุดร กาลนั้นวิหารอยู่ด้านทักษิณ. ก็บัดนี้ นครอยู่ด้านอุดร

วิหารอยู่ด้านทักษิณ. อนึ่ง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีความต่างกันอยู่ ๕ อย่าง

คือ ต่างกันโดยอายุ ต่างกันโดยประมาณ ต่างกันโดยตระกูล ต่างกัน

โดยความเพียร ต่างกันโดยรัศมี.

พระพุทธเจ้าบางพระองค์มีพระชนมายุยืน บางพระองค์มีพระชนมายุน้อย

ชื่อว่าต่างกันโดยอายุ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร

ได้มีพระชนมายุประมาณแสนปี. พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราได้มีพระ

ชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี. พระพุทธเจ้าบางพระองค์สูง บางพระองค์เตี้ย

ชื่อว่าต่างกันโดยประมาณ. เป็นความจริงอย่างนั้น พระทีปังกร สูง ๘๐ ศอก

พระสุมนะ สูง ๙๐ ศอก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย สูง ๑๘ ศอก.

บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์บางพระองค์ทรงอุบัติในตระกูลพราหมณ์

ชื่อว่าต่างกันโดยตระกูล. ความเพียรของบางพระองค์มีเวลาสั้น เช่น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ของบางพระองค์ยาวนานดั่งเช่นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทั้งหลาย ชื่อว่าต่างกันโดยความเพียร. พระรัศมีจากพระวรกายของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุมังคละ ประมาณ หมื่นโลกธาตุ. ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าของเราประมาณวาหนึ่งโดยรอบ ชื่อว่าต่างกันโดยรัศมี ในความ

ต่างกันนั้น ต่างกันโดยรัศมีเกี่ยวกับพระพุทธประสงค์. พระพุทธเจ้าพระองค์

ใดทรงมีพระประสงค์เท่าใด รัศมีจากพระวรกายของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ย่อมแผ่ไปเท่านั้น. รัศมีจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

สุมังคละย่อมแผ่ไป หมื่นโลกธาตุเป็นนิจ ดังนี้ได้เป็นพระพุทธประสงค์. แต่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ชื่อว่าความต่างกันในคุณ คือ การตรัสรู้ไม่มี. โบราณกบัณฑิตแสดงเรื่องอื่นอีก

เช่นกำหนดสหชาต และกำหนดนักษัตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย.

บุคคลและสิ่งที่เกิดร่วมกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ๗ เหล่านี้ คือ ราหุล-

มารดา พระอานนทเถร พระฉันนะ ม้ากัณฐกะ หม้อขุมทรัพย์ ต้นมหาโพธิ

พระกาฬุทายี. อนึ่ง พระมหาบุรุษทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงแสดงพระธรรมจักร ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์

ในฤกษ์อุตตราสาฬหะ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน โดยฤกษ์วิสาขะ.

ประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขารโดยฤกษ์มาฆะ. เสด็จลงจากเทวโลก

โดยฤกษ์อัสสยุชะ พึงนำมาแสดงเพียงเท่านี้. นี้ กำหนดหลายวาระ.

บัดนี้ พึงทราบความในบทว่า อถโข เตส ภิกฺขูน เป็นต้น ภิกษุ

เหล่านั้นเกิดความประหลาดใจยิ่งนักว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

กล่าวถึงการเข้าสู่ปฏิสนธิตั้งแต่จุติ การส่งญาณย้อนหลังตั้งแต่ปฏิสนธิไปถึงจุติ

อันเป็นทางของบุพเพนิวาส อันนี้หนักมาก ดุจทรงชี้รอยเท้าบนอากาศ แล้ว

จึงกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง เมื่อจะแสดงเหตุแม้อื่นอีกจึง

กล่าวว่า ยตฺร หิ นาม ตถาคโต ดังนี้

บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตใช้ในความว่าน่าอัศจรรย์. อธิบายว่า

พระตถาคต พระองค์ใดเล่า. ในบทว่า ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ความว่า กิเลส ๓

อย่างเหล่านี้ คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ ชื่อธรรมทำให้เนินช้า. บทว่า ฉินฺนวฏุเม นี้

ท่านกล่าววัฏฏะคือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ว่า วฏุมะ.บทว่า ปริยาทินฺนวฏฺเฏ

เป็นไวพจน์ของบทว่า ฉินฺนวฏฺเมนั้น นั่นแล. อธิบายว่าควบคุมวัฏฏะ คือกรรม

ทั้งหมดได้แล้ว. บทว่า สพฺพทุกฺขวีติวตฺเต ได้แก่ ล่วงทุกข์ กล่าวคือ

วิปากวัฏฏะ ทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้เป็นคำกล่าวถึงอนาคต ด้วยอานาจของนิบาต

ว่า ยตฺรหิ ดังนี้. ก็ในบทนี้พึงทราบอธิบายด้วยสามารถแห่งอดีต จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ไม่ใช่จัก

ระลึกถึงในบัดนี้.

บทว่า เอวสีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้โดย มรรคศีล ผลศีล โลกิยศีล

โลกุตตรศีล. บทว่า เอวธมฺมา ความว่า ธรรมเป็นฝ่ายสมาธินั่นแล ท่าน

ประสงค์ในบทนี้. อธิบายว่า มี้สมาธิอย่างนี้โดยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิยสมาธิ

โลกุตตรสมาธิ. บทว่า เอวปญฺา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ด้วยสามารถแห่ง

มรรคปัญญา เป็นต้น.

บทว่า เอววิหารี อธิบายว่า หากมีปัญหาว่า ก็ในบทนี้ เพราะธรรม

ฝ่ายสมาธิท่านยึดถือในภายหลังเป็นอันยึดถือวิหารธรรมด้วย เพราะเหตุไร จึง

ยึดถือธรรมที่ยึดถืออยู่แล้วอีกเล่า. ตอบว่า นี้ไม่ใช่เป็นการยึดถือ. เพราะบทนี้

ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น

ได้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือนิโรธสมาบัติ พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้.

บทว่า เอว วิมุตฺตา ความว่า ความพ้นในบทนี้มี ๕ อย่าง คือ

พ้นด้วยข่มไว้ (วิกขัมภนวิมุตติ) พ้นชั่วคราว (ตทังควิมุตติ) พ้นเด็ดขาด

(สมุจเฉทวิมุตติ) พ้นอย่างสงบ (ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ) พ้นออกไป (นิสสรณ-

วิมุตติ). ในวิมุตติเหล่านั้น สมาบัติ ๘ จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพ้นจาก

นิวรณ์เป็นต้นที่ข่มไว้ได้เอง. อนุปัสสนา ๗ มี อนิจจานุปสัสนา เป็นต้น

จัดเป็น ตทังควิมุตติ เพราะกำหนดด้วยสามารถเป็นข้าศึกของธรรมนั้น ๆ เอง

เพราะพ้นจากนิจจสัญญาเป็นต้น เหล่านั้น. อริยมรรค จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ

เพราะพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้วเอง. สามัญญผล ๔ จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ

เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสงบของกิเลสด้วยอานุภาพมรรค. นิพพานจัดเป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

นิสสรณวิมุตติ เพราะพ้นคือเพราะปราศจากคือ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งปวง

เพราะเหตุนั้นพึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า พ้นแล้วอย่างนี้ด้วยสามารถแห่ง

วิมุตติ ๕ เหล่านี้.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก

จากความเป็นผู้ประทับอยู่พระองค์เดียว. ถามว่า สืบเนื่องกันอย่างไรจากบทว่า

อิโต โส ภิกฺขเว ดังนี้. ตอบว่า ก็พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วย

สองบทเหล่านี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้แทงตลอดธรรมธาตุนี้ และว่า

แม้ทวยเทพก็พากันกราบทูลความนี้แก่ตถาคตดังนี้. ในบททั้งสองนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงบทกราบทูลของเทวดา จักใคร่ครวญถึงโกลาหลของเทว-

จารึกในตอนจบพระสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ด้วยสามารถ

การสืบเนื่องจากบทธรรมธาตุ.

ในบทเหล่านั้น พึงทราบ ๑๑ บท เป็นต้นว่า ขตฺติโย ชาติยา โดยนัย

ที่กล่าวไว้แล้วในนิทานกัณฑ์. บทว่า วิปัสสี ในบทเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี เป็นชื่อของพระโพธิสัตว์องค์นั้น. อนึ่ง ท่านได้

ชื่อนั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการเห็นเนื้อความหลาย ๆ อย่าง.

บทว่า โพธิสตฺโต คือสัตว์ผู้ฉลาด สัตว์ผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ผู้

ฝักใฝ่คือมีใจจดจ่ออยู่ในมรรค ๔ กล่าวคือ โพธิ ชื่อว่า โพธิสัตว์. ในบทว่า

สโต สมฺปชาโน นี้ บทว่า สโต คือสตินั้นเอง. บทว่า สมฺปชาโน คือญาณ

อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทรงกระทำสติให้มั่น กำหนดด้วยญาณเสด็จลงสู่พระ-

ครรภ์ของพระมารดา. บทว่า โอกฺกมิ ท่านแสดงความที่พระโพธิสัตว์เสด็จลง

ด้วยบทนี้ในบาลีไม่ได้แสดงถึงลำดับแห่งการก้าวลง ก็เพราะลำดับแห่งการก้าว

นั้น ท่านยกขึ้นสู่อรรถกถา ฉะนั้น พึงทราบอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ทรงบริจาค

มหาบริจาค ๕ ทรงบรรลุที่สุดแห่งญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา พุทธจริยา

ทรงดารงอยู่ในอัตภาพที่ ๓ เช่นพระเวสสันดร ทรงให้มหาทาน ๗ ครั้ง

ทรงยังแผ่นดินให้หวั่นไหว ๗ ครั้ง ทรงกระทำกาละแล้วทรงอุบัติในภพดุสิต

ในวาระแห่งจิตที่ ๒ แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี ก็ทรงกระทำกาละ

เหมือนอย่างนั้นทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงประดิษฐานอยู่ในสวรรค์ชั้น

ดุสิตนั้นตลอด ๕๗ โกฏิปี ยิ่งด้วย ๖ ล้านปี. ก็ในกาลอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

ทรงอุบัติในเทวโลกที่สัตว์มีอายุยืน ย่อมไม่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุนั้น. เพราะ

เหตุไร. เพราะทำบารมีให้เต็มได้ยากในที่นั้น. พระโพธิสัตว์เหล่านั้น กระทำ

อธิมุตตกาลกิริยา จึงบังเกิดในถิ่นของมนุษย์นั้นแล. ก็บารมีทั้งหลายของ

พระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น สามารถจะยังพระสัพพัญญุตญาณให้เกิดโดยอัตภาพ

เดียวในบัดนี้ได้ ฉันใด ในครั้งนั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้ดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้น

ดุสิตนั้นตราบเท่าอายุเพราะบารมีเต็มแล้วด้วยประการทั้งปวง ฉันนั้น. ก็พวก

เทวดาจักจุติโดย ๗ วัน ด้วยการคำนวณของพวกมนุษย์ ดังนั้น บุพนิมิต ๕

ย่อมเกิดขึ้น คือ ดอกไม้เหี่ยว ผ้าเศร้าหมอง เหงื่อไหลจากรักแร้ทั้งสอง ผิว

พรรณหมอง เทวดาไม่ตั้งอยู่ในเทวอาสน์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาลา ได้แก่ดอกไม้ที่ประดับในวันถือปฏิสนธิ.

นัยว่าดอกไม้เหล่านั้นไม่เหี่ยวมาตลอด ๕๗ โกฏิปี ยิ่งด้วย ๖ ล้านปี แต่ในตอน

นั้นเหี่ยว. แม้ในผ้าทั้งหลายก็มีนัยนี้แหละ. ก็ตลอดกาลประมาณเท่านี้ พวก

เทวดา ไม่รู้สึกหนาว ไม่รู้สึกร้อน. ในกาลนั้นเหงื่อไหลจากสรีระ เป็นหยด ๆ

ตลอดกาลประมาณเท่านี้ในสรีระของเทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏวรรณต่าง

กันด้วยสามารถฟันหักและผมหงอก เป็นต้น. เทพธิดาปรากฏเหมือนมีอายุ

๑๖ เทพบุตร ปรากฏเหมือนมีอายุ ๒๐. แต่ในเวลาตาย อัตภาพของเทพบุตร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

เหล่านั้นทรุดโทรม. อนึ่ง ตลอดกาลประมาณเท่านี้ เทพบุตรเหล่านั้น ไม่มี

ความกระสันในเทวโลก. แต่ในเวลาจะตาย หายใจไม่ออกกระสับกระส่าย ไม่

ยินดี ในอาสนะของตน.

ก็บุพนิมิต ๕ เหล่านี้ ย่อมปรากฏแก่เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้นไม่

ปรากฏแก่เทวดาทั้งปวง เหมือนนิมิตมีอุกกาบาตแผ่นดินไหวและจันทคราส

เป็นต้น ย่อมปรากฏแก่พระราชาและอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ผู้มีบุญมาก

เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่คนทั้งปวง ฉะนั้น. เหมือนอย่างมีนักโหราศาสตร์ ย่อมรู้

บุพนนิมิต ในมนุษย์ทั้งหลาย คนทั้งปวงไม่รู้ ฉันใด ทวยเทพทั้งปวงย่อมไม่รู้

แม้นิมิตเหล่านั้น แต่บัณฑิตเท่านั้นรู้ได้ฉันนั้น. เทพบุตรเหล่าใดเกิดใน

เทวโลกนั้นด้วยกุศลกรรมน้อย เมื่อเทพบุตรเหล่านั้นเกิด เขากลัวว่า บัดนี้ใคร

จะรู้พวกเราเกิดที่ไหน เทพบุตรที่มีบุญมากย่อมไม่กลัวว่า พวกเราอาศัยทาน

ที่เราให้ ศีลที่เรารักษา ภาวนาที่เราเจริญ จักเสวยสมบัติในเทวโลกเบื้องบน.

แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่าวิปัสสี ทรงเห็นบุพนิมิตเหล่านั้นแล้วไม่

ทรงกลัวว่า บัดนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในอัตภาพถัดไป. เมื่อเป็นเช่นนั้นเมื่อ

นิมิตเหล่านั้น ปรากฏแก่พระองค์ ทวยเทพในหมื่นจักรวาฬพากันมาประชุมทูล

วิงวอนว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ มิได้ทรงปรารถนา

สักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ สมบัติพระเจ้าจักรพรรดิ แต่พระองค์

ทรงปรารถนาความเป็นพุทธะ ทรงบำเพ็ญเพื่อถอนสัตว์ออกจากโลก บัดนี้

กาลนั้นมาถึงพระองค์แล้ว เป็นสมัยเพื่อความเป็นพุทธะแล้ว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์มิได้ทรงรับปฏิญญาของเทวดาเหล่านั้น ทรง

ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ ด้วยสามารถทรงกำหนด กาล ทวีป ประเทศ

ตระกูล และอายุของพระมารดา. ในมหาวิโลกนะ ๕ นั้น พระมหาสัตว์ทรงตรวจ

ดูกาลก่อนว่า ถึงเวลาหรือยัง. กาลเมื่ออายุของสัตว์เจริญมากกว่าแสนปี ก็ยัง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ไม่ใช่กาล. ถามว่าเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะในกาลนั้น ชาติชราและมรณะ

จะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชื่อว่าพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อันจะทำให้พ้นจากพระไตรลักษณ์ก็จะไม่มี. เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า

ทุกฺข อนิจฺจ อนตฺตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสอะไร

แล้วไม่สำคัญเพื่อจะฟัง เพื่อจะเชื่อ. แต่นั้นก็จะไม่มีการตรัสรู้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้.

คำสอนก็จะไม่นำสัตว์ให้ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาล แม้กาลเมื่อ

สัตว์มีอายุถอยลงไปกว่า ๑๐๐ ปี ก็ไม่ใช่กาล. ถามว่าเพราะเหตุไร ตอบว่า

เพราะในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนา. โอวาทที่ให้แก่สัตว์ที่มีกิเลสหนา

ย่อมไม่ดำรงอยู่ในฐานะเป็นโอวาท เหมือนไม้เท้าขีดลงไปในน้ำย่อมหายไปทันที

เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่กาล. กาลเมื่ออายุสัตว์ตั้งแต่แสนปี ลงมาถึง ๑๐๐ ปี ชื่อ

ว่ากาล. ก็ในกาลนั้น. มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี. ครั้งนั้น พระมหาสัตว์

ทรงเห็นว่าถึงกาลที่ควรจะเกิดแล้ว. จากนั้น พระมหาสัตว์ทรงตรวจดูทวีปทรง

เห็นทวีป ๔ พร้อมด้วยบริวาร ทรงเห็นว่าใน ๓ ทวีป พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ไม่บังเกิด บังเกิดในชมพูทวีปแห่งเดียว. ชมพูทวีปเป็นทวีปให้ประมาณ

๑๐,๐๐๐ โยชน์ ทรงตรวจดูประเทศต่อไปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบังเกิดใน

ประเทศไหนหนอ ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ. ท่านกล่าวถึงมัชฌิมประเทศไว้

ในวินัยโดยนัยเป็นต้นว่า ด้านทิศตะวันออกมีนิคมชื่อกชังคละ ประเทศนั้นโดย

ส่วนยาวประมาณ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้างประมาณ ๑๕๐ โยชน์ โดยรอบ

ประมาณ ๙๐๐ โยชน์. จริงอยู่ ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจ-

เจกพุทธะทั้งหลาย พระอัครสาวก พระมหาสาวก ๘๐ พระเจ้าจักรพรรดิและ

กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี เศรษฐี ผู้มีศักดิ์ใหญ่เหล่าอื่นย่อมเกิด. อนึ่ง ใน

ประเทศนี้มีนครชื่อพันธุมดี พระมหาสัตว์ทรงตัดสินพระทัยว่า เราควรไปเกิด

ในนครนั้น. จากนั้นทรงตรวจดูตระกูล ทรงเห็นตระกูลแล้วว่า ธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในตระกูลที่ชาวโลกยกย่อง ก็บัดนี้ ตระกูล

กษัตริย์อันชาวโลกยกย่องแล้ว เราจักเกิดในตระกูลนั้น พระราชาพระนามว่า

พันธุมจักเป็นพระบิดาของเรา ดังนี้. จากนั้น ทรงตรวจดูมารดา ทรงเห็น

แล้วว่า ธรรมดาพระพุทธมารดาไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลงสุรา

บำเพ็ญบารมีมาแล้วถึง แสนกัป ตั้งแต่เกิดมาศีล ๕ ไม่ขาด ก็หญิง เช่นพระ-

นางพันธุมดีเทวีนี้จักเป็นมารดาของเรา ดังนี้. ทรงรำพึงว่า พระนางพันธุมดีเทวี

จะมีพระชนมายุเท่าไร ทรงเห็นแล้วจักมีพระชนมายุ ๗ วัน ต่อจาก ๑๐ เดือน.

พระโพธิสัตว์ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ นี้ตรัสว่า ดูกรผู้นิรทุกข์

ทั้งหลาย เป็นกาลอันสมควรของเราเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อจะทรง

ทำการสงเคราะห์แก่ทวยเทพประทานปฏิญญา ว่าพวกท่านจงพากันกลับไปเถิด

ทรงส่งเทวดาเหล่านั้นแล้ว แวดล้อมด้วยเทวดาชั้นดุสิตเสด็จเข้าไปยังสวน

นันทวันในดุสิตเทวโลก. แม้ในเทวโลกทั้งหมดก็มีสวนนันทวันเหมือนกัน.

เหล่าเทวดาพากันทูลเตือนว่า ขอพระองค์จงจุติจากเทวโลกนี้ไปสู่มนุษยสุคติ

เถิด แล้วทูลให้ระลึกถึงโอกาสที่ทรงบำเพ็ญกุศลกรรมมาในกาลก่อน. พระโพธิ-

สัตว์นั้นแวดล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาผู้ให้ระลึกถึงกุศลอย่างนี้ เสด็จไปอยู่ในสวน

นันทวันนั้นทรงจุติแล้ว. ก็ครั้นจุติอย่างนี้แล้วย่อมรู้ว่า เราจุติ ไม่รู้จุติจิตแม้ถือ

ปฏิสนธิแล้วจึงรู้ แต่ไม่รู้ปฏิสนธิจิตอีกนั้นแหละ แต่รู้อย่างนี้ว่าเราถือปฏิสนธิ

ในที่นี้นั่นเอง. แต่พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรได้การนึกคิดโดยปริยาย

พระโพธิสัตว์จักรู้วารจิตที่สองที่สาม.

แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหา-

สัตว์ไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น ด้วยว่าสติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์

เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว แต่เพราะไม่สามารถกระทำจิตดวงนั้นด้วยจิตดวงนั้นได้

ฉะนั้น จึงไม่รู้จุติจิต แต่ในขณะจุตินั่นเองย่อมรู้ว่าเราจุติไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้เพียง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ว่าเราได้ถือปฏิสนธิ ณ ที่โน้นดังนี้. ในกาลนั้นหมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว.

พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะอย่างนี้ เสด็จลงสู่ครรภ์มารดาทรงถือปฏิสนธิด้วย

มหาวิบากจิต เช่นกับกุศลจิตอันเป็นอสังขาริกะ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุต

ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งเมตตาในปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง. อนึ่ง พระ-

มหาสิวเถระยังกล่าวว่า จิตลหรคตด้วยอุเบกขา. พระโพธิสัตว์แม้พระองค์นั้น

ก็ได้ถือปฏิสนธิด้วยอุฤกษ์อุตตราสาฬหะในวันเพ็ญเดือน ๘ เหมือนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าของเราทั้งหลายฉะนั้น.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นจำเดิมแต่วันที่ ๗ แห่งอาสาฬหะบูรณมี พระมารดา

ของพระโพธิสัตว์ทรงเล่นนักขัตตกีฬา ทรงประดับด้วยดอกไม้และของหอม

เป็นต้น ไม่มีการดื่มสุราเสด็จลุกแต่เข้าในวันที่ ๗ ทรงสรงสนานด้วยน้ำหอม

ทรงตกแต่งด้วยเครื่องประดับทุกชนิด เสวยพระกระยาหารเลิศ ทรงอธิษฐาน

องค์อุโบสถ เสด็จเข้าสู่ห้องสิริบรรทมเหนือพระสิริไสยาศน์ ทรงเข้าสู่นิทรา

ได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุบินนี้.

ในพระสุบินนั้นว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ยกพระพุทธมารดาพร้อม

ด้วยพระที่นำไปยังสระอโนดาด ให้สรงสนาน ให้ทรงนุ่งห่มด้วยผ้าทิพย์ ให้ทรง

ลูบไล้ด้วยของหอมทิพย์ ประดับ ดอกไม้ทิพย์ ไม่ไกลจากนั้นมีภูเขาเงิน ภายใน

ภูเขาเงินนั้นมีวิมานทอง ให้พระพุทธมารดาหันพระเศียรไปทางทิศปาจีน

บรรทม ณ วิมานทองนั้น.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นช้างเผือกผ่อง ไม่ไกลจากนั้นมีภูเขาทองลูก

หนึ่ง พระโพธิสัตว์เสด็จไปที่ภูเขาทอง นั้นแล้วเสด็จลงจากภูเขาทอง เสด็จขึ้น

ภูเขาเงินแล้วเสด็จเข้าไปยังวิมานทอง กระทำประทักษิณพระมารดาแล้วได้เป็น

คล้ายแหวกพระปรัศเบื้องขวาเสด็จเข้าไปสู่พระครรภ์. ทันทีนั้น พระเทวีทรงตื่น

กราบทูลพระสุบินนั้นแด่พระราชา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ครั้นสว่างแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียกหัวหน้าพราหมณ์ประมาณ ๖๔ คน

ให้ลาดอาสนะอันมีค่ามากบนพื้นฉาบด้วยของเขียว กระทำมงคลสักการะด้วยข้าว

ตอกเป็นต้น เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนั่ง ณ ที่นั้นแล้ว ทรงนำถาดทองถาดเงิน

อันเต็มไปด้วยข้าวปายาสอย่างดี ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดครอบด้วย

ถาดทองถาดเงินอีกทีถวาย. ทรงให้พราหมณ์เหล่านั้นอิ่มเอิบด้วยวัตถุอย่างอื่น

มีผ้าใหม่แม่โคแดงและทานเป็นต้น. พระราชาตรัสบอกพระสุบินนั้นแก่พรา-

หมณ์เหล่านั้น ผู้เอิบอิ่มด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวงแล้วรับสั่งถามว่า พระสุบิน

นั้นจักเป็นอย่างไร. พวกพราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช พระองค์

อย่าทรงพระวิตกเลย พระเทวีทรงพระครรภ์แล้ว พระเจ้าข้า อนึ่ง พระครรภ์

นั้นเป็นบุรุษไม่ใช่สตรี พระองค์จักมีพระโอรส พระโอรสนั้นหากครองเรือน

จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประกอบด้วยธรรม เป็นธรรมราชา หากออกบวช

จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้เปิดโลก. พึงทราบลำดับการพรรณนาเนื้อความในบทนี้

ว่า พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาดังนี้ก่อน. บทว่า อยเมตฺถ

ธมฺมตา ความว่า ข้อนี้ เป็นธรรมดาในการเสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดานี้.

ท่านอธิบายว่านี้เป็นความเป็นจริง นี้เป็นความแน่นอนดังนี้.

ชื่อว่านิยามนี้มี ๕ อย่าง คือ กรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตต-

นิยาม ธรรมนิยาม. ในนิยามทั้ง ๕ นั้น การให้ผลแห่งกุศลที่น่าปรารถนา

การให้ผลแห่งอกุศลที่ไม่น่าปรารถนา นี้ชื่อกรรมนิยาม. เพื่อแสดงกรรมนิยาม

นั้นควรกล่าวถึงเรื่องในคาถาว่า น อนฺตลิกฺเข ดังนี้เป็นต้น. มีเรื่องเล่าว่า หญิง

คนหนึ่งทะเลาะกับสามีประสงค์จะผูกคอตาย จึงสอดคอเข้าไปในบ่วงเชือก. บุรุษ

คนหนึ่งลับมีดอยู่เห็นหญิงนั้นประสงค์จะตัดเชือก จึงวิ่งไปปลอบหญิงนั้นว่า

น้องอย่ากลัว น้องอย่ากลัว. เชือกกลายเป็นอสรพิษรัดคอหญิงอยู่. บุรุษนั้น

กลัวรีบหนีไป. หญิงนั้นตาย ณ ที่นั้นเอง. ควรแสดงถึงเรื่องทั้งหลายเป็นต้น

อย่างนี้ในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ในชนบทนั้น ๆ ในกาลนั้น ๆ การเก็บดอกไม้และผลไม้เป็นต้นต้น โดย

ตัดครั้งเดียวเท่านั้น ลมพัด ลมไม่พัด แดดกล้า แดอ่อน ฝนตก ฝนไม่

ตก ดอกบัวกลางวันแย้ม กลางคืนหุบ อย่างนี้เป็นต้น เป็นอุตุนิยาม

ผลข้าวสาลีย่อมเป็นผลจากพืชข้าวสาลีอย่างเดียว รสหวานย่อมเป็นผล

จากน้ำหวาน รสขมย่อมเป็นผลจากพืชขม นี้เป็นพีชนิยาม.

ธรรมคือจิตและเจตสิกดวงก่อน ๆ เป็นปัจจัย โดยอุปนิสัยปัจจัยแห่ง

ธรรมคือจิตและเจตสิกดวงหลัง ๆ เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสัมปฏิจฉันนะ

เป็นต้นในลำดับแห่งจักขุวิญญาณเป็นต้น นี้ เป็นจิตตนิยาม.

ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหวในหมื่นโลกธาตุ ในการเสด็จลงสู่

พระครรภ์พระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย นี้ชื่อธรรมนิยาม. ในที่นี้ท่าน

ประสงค์ธรรมนิยาม. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความนั้น

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้มีความว่า พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเสด็จลงแล้ว ย่อมเป็นอย่างนี้ หาใช่

กำลังเสด็จลงไม่. บทว่า อปฺปมาโณ ความว่า มีประมาณเจริญคือไพบูลย์ บทว่า

อุฬาโร เป็นไวพจน์ของบทนั้น . ท่านกล่าวว่ามีรสอร่อยอย่างยิ่งในบทเป็นต้นว่า

ชนทั้งหลายย่อมเคี้ยวกินของควรเคี้ยวอันมีรสอร่อยอย่างยิ่ง ท่านกล่าวว่า

ประเสริฐอย่างยิ่ง. ในบทมีอาทิว่า ได้ยินมาว่าเหล่ากอแห่งวัจฉะผู้เจริญย่อมสรร

เสริญพระสมณโคดมด้วยความสรรเสริญอันยิ่ง. แต่ในบทนี้ท่านประสงค์เอา

ความไพบูลย์. ในบทว่า เทวาน เทวานุภาว นี้ มีความว่า อานุภาพของเทวดา

ก็คือ ผ้านุ่งมีรัศมีสร้านไป ๑๒ โยชน์ ร่างกายก็เช่นนั้น เครื่องประดับก็เช่นนั้น

วิมานก็เช่นนั้น พระโพธิสัตว์ล่วงเลยเทวานุภาพนั้นดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

บทว่า โลกนฺตริกา ความว่าช่องว่างอันหนึ่งๆในระหว่างจักรวาลทั้ง

๓ ย่อมมีในที่สุดโลก ดุจช่องว่างในท่ามกลางล้อเกวียน ๓ ล้อ หรือแผ่น ๓

แผ่นที่วางทับกันฉะนั้น. ก็โลกันตรนรกนั้นโดยส่วนกว้างถึง ๘,๐๐๐ โยชน์.

บทว่า อฆา คือ เปิดเป็นนิจ. บทว่า อสวุตา ความว่า แม้ข้างล่างก็ไม่มีตั้งไว้.

บทว่า อนฺธการา คือ มืดมิด. บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วย

หมอกอันทำความมืดพ้นจากจักขุวิญญาณ. นัยว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่เกิด ณ

ที่นั้น. บทว่า เอวมหิทฺธิกา ความว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์ย่อมปรากฏใน

๓ ทวีป โดยส่องแสงครั้งเดียวเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์

มีฤทธิ์มาก. พระจันทร์และพระอาทิตย์กำจัดความมืดตลอดหนึ่งล้านแปดแสน

โยชน์ในทิศหนึ่ง ๆ แล้วส่องแสงสว่าง อย่างนี้ชื่อว่าพระจันทร์และพระอาทิตย์

มีอานุภาพมาก. บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ ความว่า แสงสว่างของตนไม่พอ.

นัยว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์เหล่านั้นแล่นไปท่ามกลางจักรวาลบรรพต. ก็

โลกันตรนรกเลยจักรวาลบรรพตไป เพราะฉะนั้น พระจันทร์และพระอาทิตย์

เหล่านั้นจึงมีแสงสว่างไม่พอในที่นั้น.

บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า แม้สัตว์เหล่าใดเกิดแล้วในโลกันตร

มหานรกนั้น. ถามว่าก็สัตว์เหล่านั้นกระทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดในโลกันตรมหา

นรกนั้น. ตอบว่าทำกรรมหนักคือหยาบช้า. สัตว์เหล่านั้นกระทำความผิดต่อ

มารดาบิดาและสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมและกรรมร้ายกาจมีฆ่าสัตว์เป็นต้น

ทุกวัน ๆ ย่อมเกิดในโลกันตรนรกนั้น ดุจอภยโจรและนาคโจรเป็นต้นในตาม-

พปัณณิทวีป ร่างกายของสัตว์เหล่านั้นสูง ๓ คาวุต มีเล็บยาวเหมือนเล็บค้าง-

คาว สัตว์เหล่านั้นเกาะอยู่บนจักรวาลบรรพตด้วยเล็บ เหมือนค้างคาวเกาะอยู่บน

ต้นไม้ฉะนั้น เมื่อใดสัตว์เหล่านั้นคลานไปถูกฝ่ามือของกันและกันเข้า เมื่อนั้นก็

สำคัญว่า เราพบอาหารแล้วจึงวิ่งหมุนไปรอบ ๆ แล้วก็ตกไปบนน้ำหนุนโลก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

เมื่อลมปะทะก็ขาดตกลงไปในน้ำเหมือนผลมะทราง พอตกลงไปแล้วก็ละลาย

เหมือนก้อนแป้งตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด. บทว่า อญฺเปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา

ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเห็นกันในวันนั้นว่า โอ้โฮแม้สัตว์เหล่าอื่นก็เกิดในที่

นี้ เพื่อเสวยทุกข์เหมือนอย่างพวกเราเสวยทุกข์ยิ่งใหญ่ฉะนั้น. ก็แสงสว่างนี้ไม่

ตั้งอยู่นาน ตั้งอยู่เพียงดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว เปล่งออกเหมือนแสงสายฟ้าเพียง

ลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายพูดว่านี้อะไรก็หายไป. บทว่า สกมฺปติ

คือหวั่นไหวไปโดยรอบ. สองบทต่อไปเป็นไวพจน์ของบทก่อนนั้นแล. บทว่า

ปุน อปฺปมาโณ จ เป็นต้น ท่านกล่าวความสรุปต่อไป.

บทว่า จตฺตาโร ในบทนี้ว่า เทวบุตร ๔ องค์ เข้าไปรักษาทิศทั้ง ๔

ท่านกล่าวหมายถึงท้าวมหาราช ๔ องค์. ก็ในหมื่นจักรวาลแบ่งเป็นอย่างละ

๔ ก็เป็นสี่หมื่นจักรวาล. ในสี่หมื่นจักรวาลนั้นในจักรวาลนี้ ท้าวมหาราช

ถือพระขรรค์เข้าไปคอยอารักขาพระโพธิสัตว์ เข้าไปสู่ห้องสิริยังหมู่ยักษ์เป็น

ต้นว่าพวกปีศาจเล่นฝุ่นที่กีดขวาง ตั้งแต่ประตูห้องให้หลีกออกไปแล้ว ถือการ

อารักขาตลอดจักรวาล.

ก็การรักษานี้เพื่อประโยชน์อะไร แม้หากว่าจำเดิมแต่กาลแห่งกลละใน

ขณะปฏิสนธิ พวกมารแสนโกฏิ ยกเขาสิเนรุแม้แสนโกฏิ พึงมาเพื่อทำอันตราย

พระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์ อันตรายทั้งหมดพึงหายไปมิใช่

หรือ. แม้เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้วในทำพระโลหิตให้ห้อว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกมารจะพึงปลงพระชนม์ตถาคตด้วยความพยายาม

ของผู้อื่น ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายไม่

ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปตามที่อยู่เถิด

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลายไม่ควรที่จะอารักขา เพราะฉะนั้น อันตรายถึงชีวิต

ของพระตถาคตเหล่านั้นย่อมไม่มีด้วยความเพียรของผู้อื่นอย่างนี้แหละ. พวก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

เทพบุตรได้ถืออารักขาเพื่อป้องกันภัยก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี อันพึงเกิดแก่พระ

มารดาของพระโพธิสัตว์ เพราะเห็นรูปหรือฟังเสียงของอมนุษย์ที่มีรูปพิการ

น่าเกลียดน่ากลัวเป็นมฤคปักษี. อีกประการหนึ่ง พวกเทพบุตรเกิดความเคารพ

ด้วยเดชแห่งบุญของพระโพธิสัตว์ แม้ได้ประกาศความเคารพของตน ๆ ก็ได้

กระทำอย่างนี้.

ก็ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เหล่านี้ เข้าไปยืนภายในห้องแสดงตนหรือไม่

แสดงตนแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์. ไม่แสดงในเวลาทรงอาบน้ำ ทรงตก

แต่งพระวรกาย ทรงบริโภคพระกระยาหารเป็นต้นและเวลาถ่าย แต่จะแสดงใน

เวลาพระมารดาเสด็จเข้าห้องสิริแล้วบรรทมบนพระที่สิริไสยาศน์. ณ ที่นั่นชื่อ

ว่าการเห็นอมนุษย์ย่อมเป็นภัย เฉพาะหน้าของมนุษย์ก็จริง. แต่ถึงดังนั้น พระ

มารดาของพระโพธิสัตว์เห็นอมนุษย์เหล่านั้นด้วยบุญญานุภาพของตน และของ

พระโอรสจึงไม่ทรงกลัว. พระทัยของพระมารดานั้นย่อมเกิดในอมนุษย์เหล่านั้น

เหมือนผู้ดูแลภายในพระนครตามปกติ.

บทว่า ปกติยา สีลวตี ความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยสภาวะนั่น

เอง. ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติพวกมนุษย์นั่งกระหย่งไหว้รับศีล

ในสำนักของพวกดาบสและปริพาชก. แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ของเรา

ทั้งหลายก็ทรงรับศีลในสำนักของฤษีกาลเทวิล. แต่เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จสู่

พระครรภ์ ใคร ๆ อื่นไม่สามารถจะนั่ง ณ บาทมูลได้. แม้นั่งรับศีลบนอาสนะ

เสมอกันก็เป็นอาการดูหมิ่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระมารดาพระโพธิ-

สัตว์ทรงรับศีลด้วยพระองค์เอง.

บทว่า ปุริเสสุ ความว่า จิตประสงค์ในบุรุษ ในมนุษย์ไรๆ เริ่มด้วย

พระบิดาพระโพธิสัตว์เป็นต้น ย่อมไม่เกิดแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์. คนมี

ศิลปะแม้ฉลาด ก็ไม่สามารถจะวาดรูปพระมารดาพระโพธิสัตว์ลงในใบลานเป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ต้นได้. อันใครๆ ไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า เพราะเห็นรูปนั้น ราคะย่อมไม่เกิด

แก่บุรุษ. ก็หากว่าบุรุษมีจิตกำหนัดประสงค์จะเข้าไปหาพระมารดาพระโพธิสัตว์

นั้น เท้าไม่พาไปย่อมผูกติดดุจโซ่ทิพย์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า

พระมารดาอันใคร ๆ ล่วงเกินไม่ได้.

บทว่า ปญฺจนฺน กามคุณาน ความว่าในบทก่อนท่านกล่าวถึงการห้าม

วัตถุด้วยสามารถความประสงค์ในบุรุษด้วยบทนี้ว่า กามคุณูปสญฺหิต ในบทนี้

ท่านแสดงถึงการได้อารมณ์. ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระราชาทั้งหลายโดยรอบสดับ

ว่า พระโอรสเห็นปานนี้ทรงอุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี ทรงส่งบรรณาการ

อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีในทวารห้า ด้วยสามารถอาภรณ์มีค่ามากและดนตรี

เป็นต้น. ชื่อว่าการกำหนดปริมาณแห่งลาภและสักการะไม่มีแก่พระโพธิสัตว์

และแก่มารดาของพระโพธิสัตว์ เพราะสั่งสมกรรมที่ทำไว้.

บทว่า อกิลนฺตกายา ความว่าพระมารดาพระโพธิสัตว์นั้นมิได้มีความ

ลำบากไร ๆ อย่างที่หญิงทั้งหลายอื่นลำบากด้วยหนักครรภ์ มือและเท้าย่อมถึง

การบวมเป็นต้น.

บทว่า ติโรกุจฺฉิคต คือ เสด็จอยู่ภายในพระครรภ์. บทว่า ปฺสสติ

ความว่า พระมารดาพระโพธิสัตว์ครั้นล่วงกาลมีกลละเป็นต้นทรงเห็นพระโพธิ-

สัตว์เข้าถึงความเป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ และพระอินทรีย์สมบูรณ์เกิดแล้ว.

ถามว่าทรงเห็นเพื่ออะไร. ตอบว่าเพื่ออยู่อย่างสบาย. เหมือนอย่างว่ามารดานั่ง

หรือนอนกับบุตรยกมือหรือเท้าของบุตรนั้นห้อยลงคิดว่า เราจักให้บุตรแข็งแรง

มองดูบุตรเพื่ออยู่อย่างสบายฉันใด แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น

คิดว่า ทุกข์ใดเกิดแก่ครรภ์ในขณะที่มารดายืนเดินเคลื่อนไปมาและนั่งเป็นต้น

และในการกลืนอาหารร้อนเย็นเค็มขมเป็นต้นของมารดา ทุกข์นั้นจะมีแก่

บุตรของเราหรือไม่หนอดังนี้ แล้วมองดูพระโพธิสัตว์เพื่ออยู่อย่างสบาย ทรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิ. เหมือนอย่างว่าสัตว์เหล่าอื่นอยู่ภายใน

ท้องบีบพุงแขวนกะเพาะทำแผ่นท้องไว้ข้างหลัง. อาศัยกระดูกสันหลังวางคางก้ม

ไว้บนกำมือทั้งสอง นั่งเจ่าเหมืองลิงที่โพรงไม้เมื่อฝนตกฉันใด พระโพธิสัตว์มิได้

เป็นอย่างนั้น. พระโพธิสัตว์กระทำกระดูกสันหลังไว้ข้างหลังนั่งขัดสมาธิ ก็บ่าย

พระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกดุจพระธรรมกถึกนั่งธรรมาสน์. ก็กรรมที่พระ-

องค์ทรงกระทำมาในกาลก่อน จึงทำให้วัตถุของพระโพธิสัตว์บริสุทธิ์. เมื่อวัตถุ

บริสุทธิ์ พระลักษณะคือพระฉวีละเอียดย่อมบังเกิดขึ้น. พระตโจในพระอุทรไม่

สามารถจะปกปิดพระฉวีนั้นได้. เมื่อพระมารดาทรงแลดูย่อมปรากฏเหมือนตั้ง

อยู่ภายนอก. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำเนื้อความนั้นให้แจ่มแจ้งด้วย

อุปมา จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ก็พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภาย

ในพระครรภ์ย่อมไม่ทรงเห็นพระมารดา. เพราะจักขุวิญญาณย่อมไม่เกิดขึ้น

ภายในท้อง.

บทว่า กาล กโรติ ความว่า มิใช่โดยสิ้นอายุเพราะการคลอดเป็นปัจจัย

ด้วยว่าที่ที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่เป็นเช่นกับเจดีย์และกุฎี ไม่ควรที่ผู้อื่นจะ

ร่วมใช้สอย. อนึ่ง ใคร ๆ ไม่สามารถจะนำพระมารดาพระโพธิสัตว์ไปดำรงใน

ฐานะเป็นอัครมเหสีผู้อื่นได้ ดังนั้น พระชนมายุของพระมารดาพระโพธิสัตว์

จึงมีประมาณเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จทิวงคตในกาลนั้น.

ถามว่า ก็พระมารดาพระโพธิสัตว์เสด็จทิวงคตในวัยไหน. ตอบว่า

ในมัชฌิมวัย. เพราะว่าในอัตตภาพของสัตว์ทั้งหลายในปฐมวัย ฉันทราคะย่อม

มีกำลัง. เพราะเหตุนั้น หญิงที่ตั้งครรภ์ในตอนนั้น จึงไม่สามารถจะรักษาครรภ์

ไว้ได้. ครรภ์ย่อมเจ็บมาก. แต่ครั้นเลยส่วนสองของมัชฌิมวัย ในส่วนที่สาม

วัตถุย่อมเป็นของบริสุทธิ์. ทารกที่เกิดในวัตถุบริสุทธิ์ย่อมไม่มีโรค. เพราะ

ฉะนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์เสวยสมบัติในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่สาม

ของมัชฌิมวัยแล้ว เสด็จทิวงคต ดังนั้น ข้อนี้เป็นธรรมดาในเรื่องนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

วาศัพท์ในบทนี้ว่า นว วา ทส วา พึงทราบด้วยสามารถเป็นเครื่อง

กำหนด พึงทราบการสงเคราะห์แม้คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ๗ เดือน ๘ เดือน

๑๑ เดือน หรือ ๑๒ เดือน. ในบทเหล่านั้น ทารกเกิดใน ๘ เดือน ยังมีชีวิต

อยู่แต่ทนหนาวและร้อนไม่ได้ เกิดใน ๗ เดือนย่อมไม่มีชีวิต ที่เหลือยังมีชีวิต

อยู่ได้.

บทว่า เทวา ปม ปฏิคฺคณฺหนฺติ ความว่า พรหมชั้นสุทธาวาส

ผู้เป็นพระขีณาสพย่อมรับ. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่าอาจารย์บางพวกกล่าวว่า รับ

เครื่องแต่งตัวในตอนประสูติ. แต่ข้อนั้นถูกคัดค้านแล้วจึงกล่าวข้อนี้ว่า ในกาลนั้น

พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงนุ่งผ้าประด้วยทองคำ เช่นกับตาปลามีสองชั้นคลุม

ตลอดพระบาทได้พระทับยืน ขณะนั้น พระมารดาพระโพธิสัตว์ได้ประสูติพระ-

โอรสคลองเช่นกับน้ำไหลออกจากธมกรก ลำดับนั้น เหล่าเทวดามีเพศเป็นพรหม

ตามปกติเข้าไปรับด้วยข่ายทองคำก่อน ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้เอาเครื่องลาด

ทำด้วยหนังเสือเหลืองรับจากหัตถ์ของพรหมเหล่านั้น จากนั้นพวกมนุษย์จึงรับ

ด้วยผ้ารองสองชั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเทวดาทั้งหลายรับก่อน พวก

มนุษย์รับภายหลัง ดังนี้.

บทว่า จตฺตาโร น เทวปุตฺตา ความว่า มหาราช ๔ องค์. บทว่า

ปฏิคฺคเหตฺวา ความว่า รับด้วยเครื่องลาดทำด้วยหนังเสือเหลือง. บทว่า

มเหสกฺโข ความว่า มีเดชมาก มียศมาก ถึงพร้อมด้วยลักษณะ.

บทว่า วิสุทฺโธว นิกฺขมติ ความว่า ไม่เสด็จออกเหมือนสัตว์เหล่าอื่น

มักติดอยู่ที่ช่องคลอดข่มแล้วข่มอีกจึงคลอด. อธิบายว่า เสด็จออกไม่ติดขัด.

บทว่า อุทฺเทน แปลว่า ด้วยน้ำ. บทว่า เกนจิ อสุจินา ความว่า พระ-

โพธิสัตว์มิเป็นเหมือนสัตว์เหล่าอื่น ถูกลมเบ่งซัดมีเท้าขึ้น มีหัวลงที่ช่องคลอด

เหมือนตกลงไปสู่เหวนรกชั่ว ๑๐๐ บุรุษ เหมือนช้างถูกฉุดออกจากช่องดาล เสวย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ทุกข์ใหญ่ เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิต่าง ๆ แล้วคลอด ฉะนั้น. จริงอยู่ ลมเบ่งไม่

สามารถทำพระโพธิสัตว์ให้มีเท้าขึ้น มีหัวลงได้ พระโพธิสัตว์นั้นเหมือนพระ-

ธรรมกถึกลงจากธรรมาศน์ และเหมือนบุรุษลงจากบันได ทรงเหยียด

พระหัตถ์ทั้งสองและพระบาททั้งสอง ประทับยืนไม่เปรอะเปื้อนด้วยอสุจิอย่างใด

อย่างหนึ่งอันมีอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาเสด็จออก.

บทว่า อุทกธารา คือสายน้ำ. ในสายน้ำนั้น น้ำเย็นไหลจากหม้อทอง

น้ำร้อนไหลจากหม้อเงิน. อนึ่ง ท่านกล่าวบทนี้เพื่อแสดงน้ำดื่มและน้ำบริโภค

และสายน้ำเป็นที่เล่นไม่ทั่วไปด้วยน้ำเหล่าอื่นของสายน้ำเหล่านั้น อันไม่เปรอะ-

เปื้อนด้วยอสุจิอย่างใดอย่างหนึ่งบนพื้นดิน. ไม่มีการกำหนดน้ำที่นำมาด้วยหม้อ

ทองและเงินอื่นและน้ำที่ไหลไปสู่สระโบกขรณีมีหังสวฏกะ เป็นต้น.

บทว่า สมฺปติชาโต คือประสูติได้ครู่หนึ่ง. แต่ในบาลีท่านแสดงดู

เหมือนพอเสด็จออกจากพระครรภ์ของพระมารดา แต่ก็ไม่ควรเห็นเป็นอย่างนั้น.

เพราะพรหมทั้งหลายรับพระโพธิสัตว์นั้นพอเสด็จออกด้วยข่ายทองคำก่อน. ท้าว

มหาราชทั้ง ๔ รับด้วยเครื่องลาดทำด้วยหนังเสือเหลืองจากหัตถ์ของพรหมเหล่า

นั้น. มนุษย์ทั้งหลายรับด้วยผ้ารองสองชั้นจากหัตถ์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔.

พระโพธิสัตว์พ้นจากมือมนุษย์ทั้งหลายแล้วประดิษฐานบนแผ่นดิน. บทว่า

เสตมฺหิ ฉตฺเต อนุธาริยมาเน ความว่า เมื่อเทวดากั้นเศวตฉัตรทิพย์ตาม

เสด็จอยู่. ในบทนี้แม้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ มีพระขรรค์ เป็นต้น อันเป็น

บริวารของฉัตรนั้นก็ปรากฏขึ้นทันที. แต่ในบาลีท่านกล่าวถึงฉัตรดุจพระราชา

ในขณะเสด็จพระราชดำเนิน. ในเบญจราชกุกกุฏภัณฑ์นั้น ฉัตรเท่านั้นปรากฏ

คนถือฉัตรไม่ปรากฏ. เช่นเดียวกัน พระขรรค์ พัดใบตาล แซ่หางนกยูง พัด

วาลวิชนี และกรอบพระพักตร์ย่อมปรากฏ คนถือไม่ปรากฏ นัยว่าเทวดาทั้ง

หลาย ไม่ปรากฏรูปถือสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

พวกเทวดากั้นฉัตรมีก้านไม่น้อย มีมณฑลพัน

หนึ่งบนอากาศ ไม้เท้าทองคำ พัดจามรโบกสะบัดไปมา

แต่ไม่เห็นคนถือพัดจามรและฉัตร ดังนี้.

บทว่า สพฺพา จ ทิสา นี้ ท่านกล่าวดุจพระโพธิสัตว์ประทับยืนหลัง

จากเสด็จย่างพระบาท ๗ ก้าวแล้ว ทรงเหลียวมองดูทิศทั้งหมด ไม่ควรเห็นอย่าง

นั้นเลย. ความจริง พระโพธิสัตว์ทรงพ้นจากมือของพวกมนุษย์แล้วประดิษฐาน

บนแผ่นดิน ทรงแลดูทิศตะวันออก. หลายพันจักรวาลได้เป็นเนินเดียวกัน. ณ

ที่นั้น พวกเทวดาและมนุษย์ต่างบูชาด้วยของหอมและดอกไม้ เป็นต้น พากัน

กล่าวว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ในโลกนี้แม้คนเช่นพระองค์ก็ไม่มี จะหาคนยิ่งกว่า

พระองค์ได้แต่ไหน. พระโพธิสัตว์ทรงเหลียวแลดู ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศ

เบื้องล่างเบื้องบน ไม่ทรงเห็นแม้คนเช่นพระองค์ทรงดำริว่า นี้ทิศเหนือ แล้ว

ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางเหนือได้เสด็จโดยอย่างพระบาท ๗ ก้าว. พึงทราบความ

ในบทนี้อย่างนี้. บทว่า อาสภึ คือ สูงสุด. บทว่า อคฺโค คือ เป็นที่หนึ่งของชน

ทั้งหมดด้วยคุณธรรมทั้งหลาย. อีก ๒ บท เป็นไวพจน์ของบทนี้. พระโพธิ-

สัตว์ทรงพยากรณ์พระอรหัตอันพระองค์พึงบรรลุในอัตตภาพนี้ด้วยบททั้งสองว่า

นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา บัดนี้ภพใหม่ของเราไม่มีอีกแล้ว ดังนี้.

ก็ในบทนี้พึงทราบว่า การประดิษฐานบนแผ่นดินด้วยพระบาท

เสมอกัน เป็นบุพนิมิต แห่งการได้อิทธิบาท ๔ การบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศ

เหนือ เป็นบุพนิมิต แห่งการเสด็จไปครอบงำปราบปรามมหาชน การเสด็จ

ย่างพระบาท ๗ ก้าว เป็นบุพนิมิต แห่งการได้รตนะคือโพชฌงค์ ๗ การกั้นเศวต-

ฉัตรทิพย์เป็นบุพนิมิต แห่งการได้ฉัตรประเสริฐคือวิมุติ การได้ราชกุกกุฏภัณฑ์

๕ เป็นบุพนิมิต แห่งการพ้นด้วยวิมุติ ๕ การเหลียวแลดูทิศเป็นบุพนิมิต แห่ง

การได้อนาวรณญาณ การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิต แห่งการเป็นไปแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ธรรมจักรที่ยังไม่ได้เป็นไป การเปล่งสีหนาทว่า นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เป็น

บุพนิมิต แห่งการปรินิพพานโดยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดังนี้. วาระเหล่านี้มา

แล้วในบาลี. แต่หลายวาระยังไม่มา ควรนำมาแสดง.

จริงอยู่ในวันพระมหาบุรุษประสูติ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เทวดาใน

หมื่นโลกธาตุ พากันมาประชุมในจักรวาลเดียวกัน. เทวดารับก่อน. พวก

มนุษย์รับภายหลัง. พิณที่ขึงสาย กลองที่ขึงหนัง ไม่มีใครประโคมก็ประโคม

ขึ้นเอง. ป้อมและที่กักขัง เป็นต้น ของพวกมนุษย์พังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย. โรค

ทั้งปวงสงบหมดไปเหมือนสนิมทองแดงที่ล้างด้วยของเปรี้ยว. คนตาบอดโดย

กำเนิด เห็นรูป. คนหนวกโดยกำเนิดได้ยินเสียง. คนพิการได้มีกำลังสมบูรณ์.

สติของตนแม้เลวโดยชาติ คนบ้าน้ำลาย ก็ตั้งมั่นได้. เรือที่แล่นไปต่างประเทศ

ถึงท่าสะดวก. รตนะที่ตั้งอยู่บนอากาศและตั้งอยู่บนพื้น ได้ส่องแสงด้วยความ

ยิ่งใหญ่ของตนเอง. พวกมีเวรก็ได้เมตตาจิตต่อกัน. ไฟในอเวจีดับ. แสงสว่าง

ในโลกันตรนรกก็เกิดขึ้น น้ำในแม่น้ำไม่ไหล. ในมหาสมุทรได้มีน้ำหวาน.

ลมไม่พัด. นกที่บินไปบนอากาศที่อยู่บนภูเขาและต้นไม้ได้ตก-ลงไปบนพื้นดิน.

พระจันทร์สว่างยิ่งนัก. พระอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็นปราศจากมลทินได้สมบูรณ์

ตามฤดู. พวกเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ ประตูวิมานของตน ๆ เล่นกีฬาอย่าง

สนุกสนาน ด้วยการปรบมือ ผิวปาก โบกผ้า เป็นต้น. แม้ฝนจากทิศทั้ง ๔ ก็

ได้ตกลงมา. ความหิว ความกระหาย มิได้บีบคั้นมหาชน. ประตูและหน้าต่าง

ทั้งหลายเปิดเอง. ไม้ดอกไม้ผล ก็ออกดอกออกผล หมื่นโลกธาตุได้มีธงดอกไม้

เป็นอันเดียวกัน.

แม้ในข้อนี้พึงทราบดังนี้ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว เป็นบุพนิมิตของการ

ได้สัพพัญญุตญาณของพระมหาบุรุษนั้น การประชุมในจักรวาฬเดียวกันของ

เทวดาทั้งหลาย เป็นบุพนิมิตแห่งการประชุมโดยทำนองเดียวนี้แลในกาลยัง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

ธรรมจักรให้เป็นไปแล้วรับพระธรรม การรับของพวกเทวดาครั้งแรก เป็น

บุพนิมิตแห่งการได้รูปาวจรฌาณ ๔ การรับของพวกมนุษย์ภายหลังเป็นบุพ-

นิมิตแห่งการได้อรูปฌาน ๔ พิณที่ขึงสายดีดเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้

อนุปุพพวิหารธรรม กลองที่ขึงหนังดังเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้ยินธรรมเภรี

อันใหญ่หลวง ป้อมและที่กักขังเป็นต้นพังเป็นบุพนิมิต แห่งการตัดขาดอัสมี-

มานะ มหาชนหายจากโรคเป็นบุพนิมิต แห่งการได้อริยสัจ ๔ คนตาบอดโดย

กำเนิดเห็นรูปเป็นบุพนิมิตแห่งการได้ทิพจักษุ คนหูหนวกได้ยินเสียงเป็น

บุพนิมิตแห่งการได้ทิพโสต คนพิการมีกำลังเป็นบุพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท

๔ คนใบ้แต่กำเนิดพูดได้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้สติปฏิฐาน ๙ เรือแล่นไป

ต่างประเทศถึงท่าโดยสะดวกเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ความที่

รตนะส่องแสงด้วยความยิ่งใหญ่ของตนเอง เป็นบุพนิมิตแห่งแสงธรรมที่พระ-

โพธิสัตว์จักประกาศแก่โลก ผู้มีเวรกันได้เมตตาจิตต่อกันเป็นบุพนิมิตของการ

ได้พรหมวิหาร ๔ ไฟในอเวจีดับ เป็นบุพนิมิตของการดับไฟ ๑๑ ดวง โลกัน-

ตรนรกสว่าง เป็นบุพนิมิตแห่งการกำจัดความมืดคืออวิชชา แล้วเห็นความสว่าง

แห่งญาณ น้ำในแม่น้ำไม่ไหล เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เวสารัชชธรรม ๔ มหา-

สมุทรมีรสหวาน เป็นบุพนิมิตแห่งความมีรสเป็นอันหนึ่งด้วยรสคือนิพพานการ

ที่ลมไม่พัด เป็นบุพนิมิตแห่งการทำลายทิฐิ ๖๒ นกทั้งหลายไปบนดิน เป็นบุพ-

นิมิตแห่งมหาชนผู้ฟังโอวาทแล้วถึงสรณะด้วยชีวิต การที่พระจันทร์สว่างไสว

ยิ่ง เป็นบุพนิมิตแห่งความงามของตนเป็นอันมาก การที่พระอาทิตย์เว้นความ

ร้อนและความเย็น เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดสุขทางกายและทางใจ เพราะฤดู

สบาย การที่พวกเทวดาประดิษฐานอยู่ ณ ประตูวิมานรื่นเริงด้วยการปรบมือ

เป็นต้น เป็นบุพนิมิตแห่งการถึงความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งอุทาน

การที่ฝนตกทั้ง ๔ ทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการตกของฝนคือพระธรรมอันใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

หลวง การไม่มีความหิวบีบคั้น เป็นบุพนิมิตแห่งการได้น้ำอมฤตคือกายคตาสติ

การไม่มีความกระหายบีบคั้น เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นผู้ถึงความสุขด้วยวิมุตติ-

สุข การที่ประตูและหน้าต่างเปิดเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการเปิดประตูคือมรรคมี

องค์ ๘ การที่ต้นไม้ออกดอกและผล เป็นบุพนิมิตของดอกไม้คือวิมุติบาน และ

ความเป็นผู้เต็มด้วยภาระคือสามัญญผล การที่หมื่นโลกธาตุมีธงดอกไม้เป็น

อันเดียว เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นผู้มีธงดอกไม้คืออริยะ. นี้ชื่อสัมพหุลวาระ.

ในเรื่องนี้ชนทั้งหลายถามปัญหาว่า ตอนที่พระมหาบุรุษประทับยืนบน

แผ่นดินแล้ว ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จไปได้ทรงเปล่งอาสภิวาจา

เสด็จไปบนแผ่นดินหรือ หรือว่าเสด็จไปทางอากาศ ทรงปรากฏพระองค์เสด็จไป

หรือไม่ปรากฏ เสด็จเปลือยพระองค์ไปหรือตกแต่งพระองค์ เสด็จไปเป็นหนุ่ม

หรือเป็นคนแก่ แม้ภายหลังก็ได้เป็นเช่นนั้นหรือ หรือว่าเป็นทารกอ่อนอีก. ก็

ปัญหานี้ตั้งขึ้นภายใต้โลหปราสาท พระจูฬาภยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกได้แก้

ไว้แล้ว.

มีเรื่องเล่ามาว่า ในเรื่องนี้พระเถระกล่าวถึงข้อนั้นไว้มาก ด้วยสามารถ

การกล่าวถึงโชคดีโชคร้าย กรรมเก่าและการไม่ถือว่าเพราะความเป็นใหญ่แล้ว

ในที่สุดได้พยากรณ์อย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปบนแผ่นดิน แต่ได้ปรากฏ

แก่มหาชนเหมือนเสด็จไปทางอากาศ พระองค์เสด็จไปแต่เหมือนไม่ปรากฏแก่

มหาชน เสด็จเปลือยพระองค์ไปแต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนตกแต่งพระองค์

เสด็จไปเป็นคนหนุ่มแต่ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมีพระชนม์ ๑๖ พระพรรษา

แต่ภายหลังได้เป็นทารกอ่อนตามเดิม ไม่เป็นหนุ่มอยู่อย่างนั้นดังนี้. อนึ่ง บริษัท

ของพระเถระนั้นได้พากันชอบใจว่า พระเถระแก้ปัญหาดีเหมือนพระพุทธเจ้า.

โลกันตริกวาระมีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วแล. ก็แลธรรมดานี้ท่านกล่าวไว้แล้ว

ตั้งแต่ต้น. พึงทราบว่า ธรรมดาทั้งหมดย่อมมีแด่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

บทว่า อทฺทสาโข ความว่า พระราชาพันธุมได้ทอดพระเนตรเห็นพระ-

กุมารที่นางสนมให้บรรทมบนเครื่องรองสองชั้นนำมาเฝ้า. บทว่า มหาปุริสสฺส

ความว่า แห่งบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยสามารถ ชาติ โคตร ตระกูลประเทศเป็นต้น.

บทว่า เทฺว คติโย คือความสำเร็จสองอย่าง. ก็ศัพท์ว่าคตินี้ย่อมเป็นไปในคติ

อันสัตว์ทั้งหลายพึงไปโดยประเภทมีนรกเป็นต้น ในบาลีนี้ว่า ดูกรสารีบุตร คติ

๕ เหล่านี้แลดังนี้. ย่อมเป็นไปในอัธยาศัยในบาลีนี้ว่า เราไม่รู้อคติหรืออัธยาศัย

ของภิกษุทั้งหลายผู้ศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ได้เลย. ย่อมเป็นไปในที่พึงอาศัย

ในบาลีนี้ว่า พระนิพพานเป็นที่พึงอาศัยของพระอรหัตต์. อีกอย่างหนึ่งย่อมเป็น

ไปในความสำเร็จในบาลีนี้ว่า ดูก่อนพรหม เราย่อมรู้ความสำเร็จจุติและอุปัติ

ของท่าน ท่านเป็นท้าวพกพรหมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้. พึงทราบคติศัพท์นั้นแม้

ในบทนี้ว่าย่อมเป็นไปในความสำเร็จ. บทว่าอนญฺา ความว่า ชื่อว่าความ

สำเร็จในคติอื่นย่อมไม่มี. บทว่า ธมฺมิโก ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกุศล

ธรรม ๑๐ เว้นการถึงอคติ. บทว่า ธมฺมราชา นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั้น

แล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นพระธรรมราชา เพราะได้ราชสมบัติโดยธรรม.

บทว่า จาตุรนฺโต ความว่า ความเป็นผู้มีอิสระในผืนแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔

เป็นขอบเขตด้วยสามารถสมุทร ๔ มีสมุทรด้านทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า

วิชิตาวี คือมีชัยชนะสงคราม. อธิบายว่า ชนบทถึงความเป็นชนบทที่ยั่งยืน

มั่นคง เพราะฉะนั้น พระกุมารจึงถึงความเป็นผู้มีพระราชอาณาจักรมั่นคง. จริง

อยู่ เมื่อพระราชาดุร้ายเบียดเบียนโลกด้วยเสียภาษีและลงอาชญาเป็นต้น พวก

มนุษย์พากันละทิ้งมัชฌิมชนบทไปอาศัยอยู่ตามภูเขาและฝั่งสมุทรเป็นต้น เลี้ยง

ชีพอยู่ที่ชายแดน. พวกมนุษย์ถูกโจรใจร้ายเบียดเบียนด้วยการปล้นประชาชน

จึงพากันละชายแดน ไปหาเลี้ยงชีพ ณ ท่ามกลางชนบทของมนุษย์ผู้อ่อนโยน.

ชนบทในการปกครองเห็นปานนี้ย่อมไม่ถึงความมั่นคง. ก็เมื่อพระกุมารนี้เสวย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

ราชสมบัติ ชนบทของพระองค์จักมั่นคงเหมือนวางแผ่นหินไว้หลังแผ่นดินแล้ว

ล้อมด้วยแผ่นเหล็ก พรหมณ์ผู้ทำนายทั้งหลายเมื่อชี้แจงดังนี้ จึงกล่าวว่า พระ-

กุมารจึงถึงความเป็นผู้มีพระราชอาณาจักรมั่นคงดังนี้. รตนะในบทว่าประกอบ

ด้วยรตนะ ๗ นี้ โดยอรรถคือยังความยินดีให้เกิด. อีกอย่างหนึ่ง

รตนะทำความชื่นชม มีค่ามากหาเปรียบมิได้

หาดูได้ยาก เป็นของใช้ของสัตว์ผู้รู้วิเศษ เพราะฉะนั้น

จึงเรียกว่ารตนะ.

อนึ่ง จำเดิมแต่กาลที่จักรรตนะเกิด ไม่มีเทวสถานอื่น ชนทั้งปวงย่อม

ทำการบูชาจักรรตนะนั้นนั่นแล ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น และกระทำ

การกราบไหว้เป็นต้น เพราะฉะนั้นรตนะจึงเป็นไปโดยอรรถว่าน่าชื่นชม.

การตีราคาว่าชื่อว่าทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นค่าของจักรรตนะนั้น

แลดังนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถว่ามีค่ามาก.

อนึ่งจักรแก้วไม่เหมือนรตนะอย่างอื่นที่มีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น รตนะ

จึงเป็นไปแม้โดยอรรถว่าหาเปรียบมิได้.

ก็เพราะพระเจ้าจักรพรรดิอุบัติในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติ. ก็

แต่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในบางครั้งบางคราว ฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้

โดยอรรถว่าหาดูได้ยาก.

รตนะนั้นย่อมเกิดแก่สัตว์ผู้วิเศษ ยิ่งด้วยชาติรูปตระกูลและความเป็น

ใหญ่เป็นต้น ไม่เกิดแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น รตนะจึงเป็นไปแม้โดยอรรถคือเป็น

ของใช้ของสัตว์ผู้วิเศษ.

อนึ่ง แม้รตนะที่เหลือก็เหมือนจักรแก้วนั่นแล พระมหาบุรุษทรงประ-

กอบด้วยรตนะ ๗ เหล่านี้ โดยความเป็นของสมทบและโดยความเป็นอุปกรณ์

แห่งโภคะทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่าทรงสมบูรณ์ด้วยรตนะ ๗.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

บัดนี้ เพื่อแสดงรตนะเหล่านั้นโดยสรุปจึงตรัสว่า ตสฺสิมานิ เป็นต้น.

ในรตนะเหล่านั้นนี้เป็นอธิบายโดยย่อ ในบทว่า จักรแก้วเป็นต้น

จักรแก้วย่อมปรากฏสามารถยึดสิริสมบัติของทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มี ทวีป ๒,๐๐๐

เป็นบริวารได้. ช้างแก้วเหาะไปบนเวหาสามารถดิ่งลงสู่แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด

ก่อนอาหารทีเดียว. ม้าแก้วก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อความมืดประกอบด้วย

องค์ ๔ แก้วมณีสามารถกำจัดความมืดประมาณโยชน์หนึ่งแล้วเห็นแสงสว่างได้.

นางแก้วผู้มีความประพฤติเป็นที่พอใจเว้นโทษ ๖ อย่าง. คหบดีแก้วสามารถ

เห็นขุมทรัพย์ที่อยู่ภายในแผ่นดินประมาณโยชน์หนึ่งได้. ปริณายกแก้วกล่าวคือ

บุตรผู้เจริญที่สุด สามารถเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีแล้วครองราช

สมบัติได้ทั้งหมด ย่อมปรากฏ.

บทว่า ปโรสหสฺส คือ พันกว่า. บทว่า สุรา คือ กล้าหาญ. บทว่า

วีรงฺครูปา คือมีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ. บทนี้ เป็นชื่อของความเพียร. ชื่อ

วีรงฺครูปา เพราะมีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ. มีรูปทรงสมเป็นวีรบุรุษ คือมี

ความเพียรเป็นที่เกิด มีความเพียรเป็นสภาวะ สำเร็จด้วยความเพียร เป็นผู้ไม่

เกียจคร้าน. ท่านอธิบายว่า แม้รบตลอดวันก็ไม่เหนื่อย.

บทว่า สาครปริยนฺต ความว่า มีมหาสมุทรเป็นที่สุดกระทำภูเขา

จักรวาลให้เป็นเขตแดนตั้งอยู่. บทว่า อทณฺเฑน ความว่า ผู้ใดปรับผู้ไม่ได้

ทำความผิด ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ผู้นั้นชื่อว่าใช้อำนาจด้วยอาชญาคือทรัพย์.

ผู้ใดออกคำสั่งให้ประหารและทิ่มแทง ผู้นั้นชื่อว่า ใช้อำนาจด้วยอาชญาคือ

ศัสตรา. แต่พระราชาพระองค์นี้ทรงละอาชญาแม้ทั้งสองนั้น ทรงปกครองไม่ต้อง

ใช้อาชญา. บทว่า อสตฺเถน ความว่า ผู้ใดใช้ศัสตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น

เบียดเบียนผู้อื่น ผู้นั้นชื่อว่าใช้อำนาจด้วยศัสตรา. แต่ก็พระราชาพระองค์นี้

ไม่ทรงทำโลหิตของใคร ๆ เพียงแมลงวันตัวเล็กดื่มได้ให้เกิดขึ้นด้วยศัสตรา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ทรงได้รับการต้อนรับจากพระราชาผู้เป็นศัตรูอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระ-

องค์จงเสด็จมาโดยธรรมเถิดดังนี้. อธิบายว่า ทรงยึดแผ่นดินดังกล่าวแล้ว ทรง

ปกครอง ทรงปราบปราม จนได้เป็นเจ้าของครอบครอง. ครั้นบอกถึงความ

สำเร็จอย่างที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อจะบอกความสำเร็จอย่างที่สอง จึงกล่าวคำ

เป็นอาทิว่า สเจ โข ปน ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า พระกุมารนี้มีหลังคา

คือ กิเลสเปิดแล้ว เพราะมีเครื่องปกปิดกีดขวาง กล่าวคือ ราคะ โทสะ โมหะ

มานะทิฐิ กิเลสตัณหาเปิดแล้ว คือกำจัดได้แล้ว. ปาฐะว่า วิวฏฺฏจฺฉโท ดังนี้

บ้าง. อธิบายอย่างนี้เหมือนกัน. ครั้นบอกความสำเร็จอย่างที่สองอย่างนี้แล้ว

เพื่อแสดงลักษณะอันเป็นนิมิตแห่งคติเหล่านั้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า อยญฺหิ

เทว กุมาโร ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปติฏฺิตปาโท ความว่า พระกุมารไม่เป็น

เหมือนคนอื่น เมื่อคนอื่นวางเท้าลงบนแผ่นดิน ปลายฝ่าเท้า ส้นเท้า หรือข้างเท้า

ย่อมจดก่อน ก็แต่ว่ายังปรากฏช่องในตอนกลาง แม้เมื่อยกขึ้นส่วนหนึ่งในปลาย

ฝ่าเท้าเป็นต้นนั่นแหละก็ยกขึ้นก่อน. ฝ่าพระบาททั้งสิ้นของพระกุมารนั้น ย่อม

จดพื้นโดยทรงเหยียบพระบาทครั้งหนึ่ง ดุจพื้นรองเท้าทองคำฉะนั้น ทรงยก

พระบาทขึ้นจากพื้นก็โดยทำนองเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระกุมารนี้

จึงเป็นผู้มีพระบาทเรียบเสมอกัน.

บทว่า จกฺกานิ ท่านกล่าวไว้ในบาลีว่า ณ พื้นพระบาททั้ง ๒ มีจักร

๒ เกิดขึ้น จักรเหล่านั้นมีซี่มีกงและดุม. ก็พึงทราบความวิเศษนี้ด้วยบทนี้ว่า

บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง. ได้ยินว่า ดุมของจักรเหล่านั้นปรากฏ ณ ท่ามกลาง

พื้นพระบาท. ลวดลายวงกลมกำหนดด้วยดุมย่อมปรากฏ วงกลมล้อมหน้าดุม

ปรากฏ ท่อน้ำปรากฏ ซี่ปรากฏ ลวดลายวงกลมในซี่ทั้งหลายปรากฏ กงปรากฏ

กงแก้วมณีปรากฏ. นี้มาในบาลีก่อนแล้ว. แต่สัมพหุลวาระยังไม่มา. สัมพหุ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

วาระนั้น พึงทราบอย่างนี้. รูปหอก รูปแว่นส่องพระฉาย รูปดอกพุดซ้อน

รูปสายสร้อย รูปสังวาล รูปถาดทอง รูปมัจฉาคู่ รูปตั่ง รูปขอ รูปปราสาท

รูปเสาระเนียด รูปเศวตฉัตร รูปพระขรรค์ รูปพัดใบตาล รูปหางนกยูง

รูปพัดวาลวิชนี รูปมงกุฎ รูปแก้วมณี รูปบาตร รูปพวงดอกมะลิ รูปดอก

บัวขาบ รูปดอกบัวแดง รูปดอกบัวขาว รูปดอกปทุม รูปดอกบุณฑริก รูป

หม้อเต็มด้วยน้ำ รูปถาดเต็มด้วยน้ำ รูปมหาสมุทร รูปเขาจักรวาล รูปป่า

หิมพานต์ รูปเขาสิเนรุ รูปพระจันทร์พระอาทิตย์ รูปดาวนักษัตร รูปทวีป

ใหญ่ทั้ง ๔ รูปทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ทั้งหมด โดยที่สุดหมายถึงบริวารของพระเจ้า

จักรพรรดิด้วย เป็นบริวารขุองจักรลักษณะนั่นเอง.

บทว่า อายตปณฺหิ ความว่า มีส้นพระบาทยาวคือ มีส้นพระบาท

บริบูรณ์. อธิบายว่า ส้นพระบาทของพระมหาบุรุษไม่เป็นเหมือนปลายเท้าของ

คนอื่นที่ยาว ลำแข้งตั้งอยู่สุดส้นเท้าเป็นเหมือนตัดส้นเท้าตั้งอยู่ ฉะนั้น. แต่ของ

พระมหาบุรุษ พระบาทมี ๔ ส่วน ปลายพระบาทมี ๒ ส่วน ลำพระชงฆ์ตั้งอยู่

ในส่วนที่ ๓ ส้นพระบาทในส่วนที่ ๔ เป็นเช่นกับลูกคลีหนัง ทำด้วยผ้ากัมพล

สีแดง ดุจม้วนด้วยปลายเข็มแล้วตั้งไว้.

บทว่า ทีฆงฺคุลิ ความว่า นิ้วพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษไม่เป็นเหมือน

นิ้วของคนอื่นที่บางนิ้วยาว บางนิ้วสั้น. แต่ของพระมหาบุรุษนิ้วพระหัตถ์และ

พระบาทยาวเหมือนของวานร ข้างโคนใหญ่แล้วเรียวไปโดยลำดับ ถึงปลายนิ้ว

เช่นเดียวกับแท่งหรดาลที่ขยำด้วยน้ำมันยางแล้วปั้นไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า มีนิ้วพระหัตถ์ยาวดังนี้.

บทว่า มุทุตลุนหตฺถปาโท ความว่า มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อน

ดุจปุยฝ้ายที่ยีได้ ๑๐๐ ครั้ง เอารวมตั้งไว้ในเนยใส. แม้ในเวลาพระชนม์เจริญ

พระหัตถ์และพระบาทก็จักอ่อนนุ่มเหมือนเมื่อพอประสูติ. พระหัตถ์และพระ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

บาทของพระโพธิสัตว์นุ่ม อ่อนนุ่ม เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงมีพระหัตถ์และ

พระบาทอ่อนนุ่ม.

บทว่า ชาลหตฺถปาโท ความว่า ระหว่างพระองคุลีหนังไม่ติดกัน.

เพราะผู้มีมือติดกันเป็นพืดเช่นนี้ ถูกกำจัดโดยบุรุษโทษ แม้บวชก็ไม่ได้.

ก็พระมหาบุรุษมีนิ้วพระหัตถ์ ๔ นิ้ว พระบาท ๕ ชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน.

ก็เพราะพระองคุลีทั้งหลายชิดสนิทเป็นอันเดียวกัน พระองคุลีทั้งหลายจึงติดกัน

และกัน มีลักษณะเป็นข้าวเหนียวตั้งอยู่. พระหัตถ์และพระบาทของพระโพธิสัตว์

นั้นเป็นเช่นกับหน้าต่างตาข่ายอันช่างผู้ฉลาดดีประกอบแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย.

เพราะข้อพระบาทตั้งอยู่เบื้องบน พระบาทของพระโพธิสัตว์นั้น จึง

เหมือนสังข์คว่ำ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงมีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ.

จริงอยู่ ข้อเท้าของคนอื่นอยู่ที่หลังเท้า เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่านั้นจึงติดกัน

เหมือนติดด้วยสลักกลับกลอกไม่ได้ตามสะดวก เมื่อเดินไปฝ่าเท้าไม่ปรากฏ.

แต่ข้อพระบาทของพระมหาบุรุษขึ้นไปตั้งอยู่เบื้องบน. เพราะฉะนั้น พระวรกาย

ท่อนบนของพระมหาบุรุษ ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปจึงมิได้หวั่นไหวเลย ดุจพระ

สุวรรณปฏิมาประดิษฐานอยู่ในเรือ. พระวรกายท่อนเบื้องล่างย่อมไหว. พระ-

บาทกลอกกลับได้สะดวก. เมื่อชนทั้งหลายยืนอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง

แม้ในข้างทั้งสองก็เห็น ฝ่าพระบาทย่อมปรากฏ. แต่ไม่ปรากฏเหมือนยืนอยู่

ข้างหลังช้าง.

บทว่า เอณิชงฺโฆ คือ มีพระชงฆ์เรียวดุจเนื้อทราย. อธิบายว่า

มีพระชงฆ์บริบูรณ์ด้วยหุ้มพระมังสะเต็ม ไม่ใช่เนื้อตะโพกติดโดยความเป็นอัน

เดียว ประกอบด้วยพระชงฆ์เช่นกับท้องข้าวสาลีท้องข้าวเหนียว อันมังสะที่ตั้ง

อยู่เสมอกันโดยรอบล้อมอยู่แล้วกลมกล่อมดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

บทว่า อโนนมนฺโต คือไม่น้อมลง. ท่านแสดงความที่พระมหาบุรุษ

นั้นไม่ค่อมไม่แคระด้วยบทนี้. ก็คนที่เหลือเป็นคนค่อมหรือเป็นคนแคระ.

คนค่อมกายส่วนบนไม่บริบูรณ์ คนแคระกายส่วนล่างไม่บริบูรณ์ คนเหล่านั้น

เพราะกายไม่บริบูรณ์เมื่อก้มลงจึงไม่สามารถลูบคลำเข่าได้. แต่พระมหาบุรุษ

เพราะพระวรกายทั้งส่วนบนส่วนล่างบริบูรณ์ จึงสามารถลูบคลำได้.

บทว่า โกโสหิตวตฺถคุยฺโห ความว่า พระมหาบุรุษมีพระคุยหะซ่อน

อยู่ในฝัก ดุจฝักบัวทอง ดุจคุยหะแห่งโคและช้างเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระ-

มหาบุรุษจึงมีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก. บทว่า วตฺถคุยฺห ท่านกล่าวองคชาต

ควรปกปิดด้วยผ้า.

บทว่า สุวณฺณวณฺโณ ความว่า พระมหาบุรุษเช่นกับรูปทองแท่งที่

คลุกเคล้าด้วยสีแดงชาดแล้วขัดด้วยเขี้ยวเสือ แล้วระบายด้วยดินสอแดงตั้งไว้.

ด้วยบทนี้เพื่อแสดงความที่พระวรกายของพระมหาบุรุษนั้น แน่นสนิทละเอียด

แล้วจึงแสดงพระฉวีวรรณ ท่านจึงกล่าวว่า พระมหาบุรุษมีพระฉวีคล้ายกับทอง

คำดังนี้. อีกอย่างหนึ่งบทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน.

บทว่า รโชชลฺล คือ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า น อุปลิมฺปติ ความ

ว่าไม่ติด คือ กลิ้งเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว. ก็พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงกระทำ

การชำระพระหัตถ์เป็นต้น เพื่อกำหนดฤดูและเพื่อผลบุญของพวกทายก. อนึ่ง

ทรงกระทำแม้โดยหลักปฏิบัตินั้นเอง. ข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ภิกษุผู้จะเข้าไปสู่

เสนาสนะควรชำระเท้าแล้วจึงเข้าไป.

บทว่า อุทฺธคฺคโลโม ความว่า พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลาย

ช้อยขึ้นเบื้องบน ตอนปลายเวียนเป็นทักษิณาวัฏ ตั้งอยู่มองดูพระพักตร์งาม

เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษมีพระโลมชาติมีปลายช้อนขึ้นเบื้องบน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

บทว่า พฺรหฺมุชุคตฺโต ความว่า พระมหาบุรุษมีพระวรกายตรงเหมือน

กายพรหม คือจักมีพระวรกายสูงตรงขึ้นไปทีเดียว. ความจริงโดยมากสัตว์ทั้ง

หลายย่อมน้อมไปในที่ทั้งสามคือที่คอที่สะเอวที่เข่าทั้งสอง. สัตว์เหล่านั้นเมื่อ

น้อมไปที่สะเอวย่อมไปข้างหลัง. ในที่ทั้งสองพวกนั้นย่อมน้อมไปข้างหน้า. ก็

สัตว์บางพวกมีร่างกายสูง มีข้างคดบางพวกแหงนหน้าเที่ยวไปเหมือนจะนับ

ดวงดาว. บางพวกมีเนื้อและเลือดน้อยเป็นเช่นคนเป็นโรคเสียดท้อง. บางพวก

ง้อมไปข้างหน้าเดินตัวสั่น. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ก็พระมหาบุรุษนี้ทรง

ดำเนินพระวรกายตรงทีเดียวมีประมาณเท่าส่วนสูง จักเป็นดุจเสาทองที่ยกขึ้น

ในเทพนคร. อนึ่ง พึงทราบว่าข้อนี้ท่านกล่าวหมายถึงข้อที่มหาปุริสลักษณะของ

พระมหาบุรุษ ซึ่งพอประสูติยังไม่บริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวงจะเจริญในโอกาส

ต่อไป.

บทว่า สตฺตุสฺสโท ความว่า พระมหาบุรุษมีพระมังสะฟูบริบูรณ์ด้วย

ดีในที่ ๗ สถาน คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง หลังพระบาททั้งสอง จะงอยพระ

อังสาทั้งสอง และพระศอ เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่ามีพระมังสะเต็ม

ในที่ ๗ สถาน. แต่ของคนเหล่าอื่นที่หลังมือและหลังเท้าเป็นต้น ปรากฏเส้น

เลือดเป็นตาข่ายที่จะงอยบ่าและคอปรากฏปลายกระดูก. มนุษย์เหล่านั้นย่อม

ปรากฏเหมือนเปรต. พระมหาบุรุษไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น. ก็พระมหาบุรุษ

มีพระศอเช่นกับกลองทองคำที่เขากลึงด้วยหลังพระหัตถ์เป็นต้น มีเส้นเลือด

เป็นตาข่ายซ่อนไว้เพราะมีพระมังสาฟูบริบูรณ์ในที่ ๗ สถาน ย่อมปรากฏเหมือน

รูปศิลาและรูปปั้น.

บทว่า สีหปุพฺพฑฺฒกาโย ความว่า พระมหาบุรุษมีกึ่งกายท่อนบน

เหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราชสีห์ เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษจึงชื่อว่ามีส่วน

พระวรกายเบื้องหน้าเหมือนกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งราชสีห์ เพราะว่ากายเบื้องหน้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ของราชสีห์บริบูรณ์ กายเบื้องหลังไม่บริบูรณ์. ก็พระวรกายทั้งหมดของพระ

มหาบุรุษบริบูรณ์ดุจกายเบื้องหน้าของราชสีห์. แม้พระวรกายของมหาบุรุษก็

เหมือนกายของราชสีห์ย่อมไม่ตั้งอยู่สูง ๆ ต่ำ ๆ ด้วยสามารถแห่งความฟูและ

แฟบเป็นต้น แต่ยาวในที่ควรยาวย่อมเป็นอย่างนั้น ในที่ควรสั้น ควรล่ำ ควร

เรียว ควรกว้าง ควรกลมเป็นต้น. ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแล เมื่อผลกรรมปรากฏทรงงดงามเพราะอวัยวะ

ส่วนใดยาว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาว ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดสั้น

อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้น ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดล่ำ อวัยวะส่วน

นั้นย่อมตั้งอยู่ล่ำ ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดเรียว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้ง

อยู่เรียว ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกว้าง อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง

ทรงงดงามเพราะอวัยวะส่วนใดกลม อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้. อัตตภาพ

ของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยทานจิต บุญจิต ตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐

ด้วยประการฉะนี้. ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้าง

รูปเปรียบได้.

บทว่า ปิตนฺตรโส ความว่า ในระหว่างส่วนทั้งสองท่านกล่าวว่า

อนฺตรโส. พระมหาบุรุษมีพระอังสาเต็มคือบริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น พระมหา

บุรุษจึงมีระหว่างพระอังสาเต็ม. อันที่จริงฐานะนั้นของคนพวกอื่นบุ๋ม หลังและ

ท้องทั้งสองปรากฏเฉพาะตัว. แต่ของพระมหาบุรุษพื้นพระมังสาตั้งแต่บั้น

พระองค์จนถึงพระศอขึ้นไปปิดพระปฤษฎางศ์ ตั้งอยู่เหมือนแผ่นกระดานทองที่

ยกขึ้นตั้งไว้.

บทว่า นิโครฺธปริมณฺฑโล คือ พระมหาบุรุษมีปริมณฑลดุจต้น

นิโครธ. อธิบายว่าพระมหาบุรุษแม้โดยพระวรกาย แม้โดยพยามประมาณเท่า

กันดุจต้นนิโครธลำต้นและกิ่งเสมอกัน เพราะจะเป็น ๕๐ ศอกก็ตาม ๑๐๐

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ศอกก็ตาม ย่อมมีประมาณเท่ากันทั้งส่วนยาวทั้งส่วนกว้าง. กายหรือวาของคน

อื่นยาวไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า ยาวตกฺวสฺส กาโย เป็น

อาทิ. ยาวตกฺวสฺส ตัดบทเป็น ยาวตโก อสฺส ความว่า พระวรกายของ

พระมหาบุรุษเท่ากับวาของพระมหาบุรุษเท่ากับกายของพระมหาบุรุษ.

บทว่า สมวฏฺฎกฺขนฺโธ คือพระมหาบุรุษมีลำพระศอเท่ากัน. คน

บางคนมีลำคอยาว คด หนา เหมือนนกกะเรียน เหมือนนกยาง เหมือนหมู่

เวลาพูด เอ็นเป็นตาข่ายย่อมปรากฏเสียงออกมาแหบฉันใด ของพระมหาบุรุษไม่

เหมือนอย่างนั้น. ก็ลำพระศอของพระมหาบุรุษเป็นเช่นกับกลองทองที่เขากลึง

ดีแล้ว ในเวลาตรัส เอ็นเป็นตาข่ายไม่ปรากฏพระสุรเสียงดังก้องดุจเสียงเมฆ

กระหึ่ม.

ในบทว่า รสคฺคสคฺคี มีวิเคราะห์ว่า เส้นประสาทนำไปซึ่งรสชื่อว่า

รสัคคสา. บทนี้เป็นชื่อของเส้นประสาทนำรสอาหารไป. เส้นประสาทนำรส

อาหารของพระมหาบุรุษนั้นเลิศ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงเป็นผู้มีปลาย

เส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันเลิศ. ได้ยินว่า พระมหาบุรุษมีเส้นประสาท

สำหรับนำรสอาหารประมาณ ๗๐๐๐ เส้น มีปลายขึ้นเบื้องบนแล้วรวมเข้าที่ลำ

พระศอนั่นเอง. พระกระยาหารแม้เพียงเมล็ดงาตั้งอยู่ ณ ปลายพระชิวหาย่อม

แผ่ไปทั่วพระวรกายทุกส่วน. ด้วยเหตุนั้นแล เมื่อพระมหาบุรุษทรงเริ่มตั้งความ

เพียรอันยิ่งใหญ่ ได้ยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ได้ ด้วยข้าวสารเมล็ดเดียวเป็นต้น

บ้าง ด้วยเพียงผักดองฟายมือหนึ่งบ้าง. แต่ของคนอื่นเพราะไม่มีอย่างนั้น รส

โอชาจึงไม่แผ่ไปทั่วกาย. เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงมีโรคมาก.

บทว่า สีหหนุ มีวิเคราะห์ว่า พระหนุของพระมหาบุรุษดุจคางของ

ราชสีห์ เพราะเหตุนั้น พระมหาบุรุษจึงมีพระหนุดุจคางราชสีห์. ในบทนั้น

อธิบายว่า ราชสีห์มีคางท่อนล่างบริบูรณ์ท่อนบนไม่บริบูรณ์. แต่พระมหาบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

บริบูรณ์แม้ทั้งสองดุจคางเบื้องล่างของราชสีห์ เป็นเช่นกันพระจันทร์ในวันขึ้น

๑๒ ค่ำ. ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้พยากรณ์ทั้งหลายมองดูปลายพระหนุสังเกตว่าที่

พระหนุเหล่านี้ พระทนต์ ๔๐ องค์คือ ข้างล่าง ๒๐ ข้างบน ๒๐ จักตั้งอยู่

เสมอกันไม่ห่าง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระกุมารนี้มีพระทนต์

๔๐ องค์ พระเจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. คนเหล่าอื่น

แม้มีฟันครบบริบูรณ์ก็มี ๓๒ ซี่. แต่พระกุมารนี้จักมี ๔๐ องค์ อนึ่ง ของคน

เหล่าอื่น ฟันบางซี่สูง บางซีต่ำ บางซี่ไม่เสมอกัน. แต่ของพระกุมารนี้จักเสมอ

กันดุจเครื่องหุ้มสังข์ที่ช่างเหล็กตัดฉะนั้น. ฟันของพวกคนอื่นห่างเหมือนฟัน

จรเข้ เมื่อเคี้ยวปลาและเนื้อย่อมเต็มระหว่างฟันหมด. แต่พระทนต์ของพระกุมาร

นี้ จักไม่ห่างดุจแถวแก้ววิเชียรที่เขาตั้งไว้บนแผ่นกระดานทอง จักเป็นดุจตอน

ที่เขาแสดงด้วยดินสอสี อนึ่ง ฟันของคนพวกอื่น เป็นฟันเสียขึ้น เพราะเหตุนั้น

เขี้ยวบางซี่ดำบ้าง ไม่มีสีบ้าง. แต่พระกุมารนี้ มีพระทาฒะขาวสะอาด จักเป็น

พระทาฒะประกอบด้วยรัศมีรุ่งเรืองยิ่งกว่าแม้ดาวประกายพฤกษ์.

บทว่า ปหุตชิวฺโห คือพระกุมารมีพระชิวหาใหญ่. อธิบายว่า ลิ้นของ

คนเหล่าอื่น หนาบ้าง เล็กบ้าง สั้นบ้าง กระด้างบ้าง ไม่เสมอบ้าง. แต่พระชิวหา

ของพระมหาบุรุษ อ่อน ยาว ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยสี. พระกุมารนั้นเพื่อปลดเปลื้อง

ความสงสัยของผู้ที่มาเพื่อแสวงหาลักษณะนั้น เพราะพระชิวหาอ่อนจึงทรงแลบ

พระชิวหานั้นดุจของแข็งที่สะอาดแล้วลูบช่องพระนาสิกทั้งสองได้ เพราะพระ-

ชิวหายาวจึงทรงลบช่องพระกรรณทั้งสองได้ เพราะพระชิวหาใหญ่จึงทรงปิด

พระนลาฏแม้ทั้งสิ้นถึงสุดปลายพระเกษา ทรงประกาศความที่พระชิวหานั้น

อ่อน ยาว และใหญ่อย่างนี้ จึงทรงปลดเปลื้องความสงสัยของพราหมณ์ผู้พยากรณ์

เหล่านั้นได้. บทว่า ปหุตชิโวฺห ท่านกล่าวหมายถึงพระชิวหาที่สมบูรณ์ด้วย

ลักษณะทั้ง ๓ อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

บทว่า พฺรหฺมสฺสโร ความว่า แม้คนพวกอื่นย่อมมีเสียงขาดบ้าง แตก

บ้าง. เสียงเหมือนกาบ้าง. แต่พระกุมารนี้จักทรงประกอบด้วยเสียงเช่นกับเสียง

ของท้าวมหาพรหม. ด้วยว่า ท้าวมหาพรหมมีเสียแจ่มใสเพราะไม่กลั้วด้วยน้ำดี

และเสมหะ. กรรมแม้อันพระมหาบุรุษทรงกระทำแล้วย่อมชำระวัตถุของเสียง

นั้น. เพราะวัตถุบริสุทธิ์เสียงปรากฏขึ้นตั้งแต่พระนาภีเป็นเสียงบริสุทธิ์ ประ-

กอบด้วยองค์ ๘ ย่อมปรากฏชัด. พระกุมารตรัสดุจเสียงนกการเวก เพราะเหตุ

นั้น พระกุมารจึงตรัสมีสำเนียงดุจเสียงนกการเวก. อธิบายว่า พระกุมารมีพระ

สุรเสียงก้องไพเราะดุจเสียงนกการเวกอันน่าชื่นชม.

บทว่า อภินีลเนตฺโต ความว่า พระกุมารมีพระเนตรไม่ดำทั้งหมด.

พระเนตรของพระกุมารนั้นประกอบด้วยสีเขียวบริสุทธิ์ยิ่งนัก เช่นกับดอกสาม

หาวในที่ที่ควรเขียว. ในที่ที่ควรเหลืองก็มีสีเหลือง เช่นกับดอกกรรณิกา. ในที่

ที่ควรแดงก็มีสีแดงเช่นกับดอกชบา. ในที่ที่ควรขาวก็มีสีเช่นกับดาวประกาย

พฤกษ์ ในที่ควรดำก็มีสีดำเช่นกับลูกประคำดีควาย พระเนตรย่อมปรากฏ เช่น

กับสีหบัญชรแก้วอันเผยออกแล้วในวิมานทอง.

บทว่า ปขุม ในบทว่า โคปขุโม นี้ ท่านประสงค์ดวงพระเนตร

ทั้งหมด. ดวงตานั้นของลูกโคดำเป็นธาตุหนา ของลูกโคแดงผ่องใส อธิบายว่า

พระกุมารมีดวงเนตรเช่นกับพระโคแดงอ่อนซึ่งเกิดได้ครู่เดียว. จริงอยู่ ดวงตา

ของคนอื่นไม่บริบูรณ์ ประกอบด้วยตาถลนออกมาบ้างลึกลงไปบ้าง เช่นกับตา

สัตว์มีช้างและหนู เป็นต้น. แต่พระเนตรของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วยความ

อ่อนสนิทดำละเอียดดุจแก้วมณีกลมที่เขาล้างแล้วขัดตั้งไว้.

บทว่า อุณฺณา คือ พระอุณณาโลม. บทว่า ภมุกนฺตเร ความว่า

พระอุณณาโลม เกิดในที่สุดพระนาสิกท่ามกลางพระขนงทั้งสองและก็ขึ้นไปเกิด

ในท่ามกลางพระนลาฏ. บทว่า โอทาตา ความว่า บริสุทธิ์คือมีสีเสมอด้วยดาว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ประกายพฤกษ์. บทว่า มุทุ ความว่า พระอุณณาโลมเช่นกับไยฝ้ายที่ชี* ได้

๑๐๐ ครั้ง ซึ่งเขาใส่ลงไปในเนยใสตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา คือ เสมอด้วย

นุ่นไม้งิ้วและนุ่นเคลือ. นี้เป็นข้อเปรียบเพราะความขาวของนุ่น. ก็เมื่อจับปลาย

เส้นพระโลมาแล้วดึงออกจะได้ประมาณครึ่งพระพาหา ครั้นปล่อยเส้นพระโลมา

ก็จะม้วนเป็นทักษิณาวัฏมีปลายในเบื้องบนตั้งอยู่ พระอุณณาโลมนั้น ย่อม

รุ่งเรืองไปด้วยสิริเป็นที่จับใจยิ่งนักดุจฟองน้ำเงินตั้งอยู่ ณ ท่ามกลางแผ่นกระ-

ดานทอง ดุจสายน้ำนมไหลออกจากหม้อทองและดุจดาวประกายพฤกษ์บน

ท้องฟ้าย้อมด้วยแสงอรุณ.

บทว่า อุณฺหีสสีโส นี้ท่านกล่าวอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง คือ

ความที่พระนลาฏบริบูรณ์และความที่พระเศียรบริบูรณ์. อธิบายว่า เพราะว่าพื้น

พระมังสะของพระมหาบุรุษนูนขึ้นตั้งเเต่หมวกพระกรรณเบื้องขวาปกพระนลาฏ

ทั้งสิ้นเต็มบริบรูณ์ไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย. งดงามเหมือนแผ่นอุณหิส

เครื่องประดับของพระราชา. ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเห็นลักษณะนี้ของพระมหา-

บุรุษได้กระทำทำแผ่นพระอุณหิสสำหรับพระราชาทั้งหลาย. นี้เป็นใจความ

ข้อหนึ่งก่อน. ก็ชนเหล่าอื่นมีศีรษะไม่บริบูรณ์. บางคนมีศีรษะเหมือนลิง

บางคนมีศรีษะเหมือนผลไม้ บางคนมีศีรษะเหมือนช้าง บางคนมีศีรษะ

เหมือนหม้อ บางคนมีศีรษะเหมือนเงื้อมภูเขา. แต่พระมหาบุรุษมีพระเศียร

เช่นกับฟองน้ำบริบูรณ์ดีดุจม้วนด้วยปลายเข็มตั้งไว้. ในสองนัยนั้น ในนัยแรก

พระกุมารมีพระเศียรดุจพระเศียรประดับด้วยกรอบพระพักตร์ เพราะเหตุนั้น

พระกุมารจึงชื่อว่ามีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์. ในนัยที่สอง

พระกุมารมีพระเศียรเป็นปริมณฑลในที่ทั้งปวงดุจอุณหีส เพราะเหตุนั้นจึงชื่อ

ว่ามีพระเศียรเป็นปริมณฑลดุจอุณหีส.

* ชี หมายถึง ทำสิ่งของที่เป็นปุย เช่น สำลีให้กระจายออก.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

บทว่า สพฺพกาเมหิ นี้ ท่านกล่าวเหมือนว่าพระราชาพันธุมให้พวก

พราหมณ์ดูลักษณะแล้วเลี้ยงดูในภายหลัง. แต่ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. พึงทราบ

ว่าพระราชาพันธุมโปรดเลี้ยงดูพวกพราหมณ์พยากรณ์ จนอิ่มหนำก่อนแล้วจึง

ให้ตรวจลักษณะภายหลัง. ความพิสดารของเรื่องนั้นท่านกล่าวไว้แล้วในการก้าว

ลงสู่พระครรภ์. บทว่า ปาเยนฺติ คือให้ดื่มน้ำนม. ได้ยินว่า พระราชาพันธุม

โปรดให้นางนม ๖๐ นาง ปรุงน้ำนมมีรสหวานปราศจากโทษบำรุงพระโพธิสัตว์.

แม้นางนมที่เหลือล้วนเป็นผู้ฉลาดในการงานนั้น ๆ ก็แผนกละหกสิบเหมือนกัน.

โปรดให้ชาย ๖๐ คน ทำหน้าที่รับใช้นางนมเหล่านั้น. โปรดให้ตั้งอมาตย์

๖๐ คน คอยดูการกระทำและไม่กระทำของชายนั้น ๆ. ด้วยประการฉะนี้

ได้มีแก่อุปฐาก ๓๖๐ คน คือของหญิง ๒๔๐ คน ของชาย ๑๒๐ คน.

บทว่า เสตจฺฉตฺต คือ ทิพยเศวตฉัตร. ก็ทิพยเศวตฉัตรเป็นของที่ตระกูลให้

ตั้งอยู่ในห้องสิรินั้นแล. พึงทราบความว่า อย่าครอบงำเลย ในบทเป็นต้นว่า

มา น สีต วา ดังนี้.

บทว่า สฺวาสฺสุสุท ตัดบทเป็น โส อสฺสุ สุท บทว่า องฺเกเนว

องฺก ความว่า พระกุมารนั้นอันบุคคลผลัดเปลี่ยนกันอุ้มผลัดเปลี่ยนกันแบก.

บทว่า ปริหริยติ ความว่า นำไป คือ อุ้มไป.

บทว่า มญฺชุสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงไม่กระด้าง. บทว่า

วคฺคุสฺสโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงเต็มไปด้วยความฉลาด. บทว่า มธุรสฺ-

สโร คือพระกุมารมีพระสุรเสียงน่าพอใจ. บทว่า เปมนียสฺสโร คือพระกุมาร

มีพระสุรเสียงทำให้เกิดความรัก. ข้อนี้เป็นอธิบายในบทนั้น เพราะนกการเวก

มีเสียงเพราะ ได้ยินมาว่า เมื่อนกการเวกจิกมะม่วงสุกมีรสอร่อยด้วยจะงอยปาก

แล้วดื่มรสที่ไหลออกมาแล้วกระพือปีกร้อง บรรดาสัตว์ ๔ เท้า เริ่มเยื้องย่าง

เหมือนเมา. บรรดาสัตว์ ๔ เท้า แม้กำลังหาอาหารก็ทิ้งหญ้าที่เข้าไปในปากฟัง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

เสียงนั้น. บรรดาเนื้อร้ายที่กำลังติดตามพวกเนื้อน้อย ๆ ก็ไม่วางเท้าที่ยกขึ้นยืน

นิ่งอยู่. และบรรดาเนื้อที่ถูกติดตามก็ละความกลัวตายยืนนิ่ง. แม้บรรดานก

กำลังบินไปบนอากาศก็เหยียดปีกหยุดฟังเสียง. แม้บรรดาปลาในน้ำกระดิกแผ่น

หูหยุดฟังเสียงนั้น. นกการเวกมีเสียงเพราะถึงอย่างนี้. แม้พระนางอสันธิมิตตา

พระเทวีของพระเจ้าธรรมาโศกราช ก็ยังตรัสถามพระสงฆ์ว่า พระคุณเจ้า

เสียงของใคร ๆ เช่นกับเสียงของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่หรือหนอ. พระสงฆ์ถวาย

พระพรว่า ถวายพระพรมีเสียงของนกการเวก. พระคุณเจ้านกเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

เจ้าคะ ถวายพระพรว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ พระเทวีทูลพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ

หม่อมฉันประสงค์จะเห็นนกการเวกเพคะ. พระราชาทรงอธิษฐานว่า นกการเวก

จงมาเกาะในกรงนี้แล้วปล่อยกรงทองไป. กรงทองได้ไปตั้งอยู่ข้างหน้านกการ-

เวกตัวหนึ่ง. นกการเวกนั้นคิดว่า กรงทองมาตามพระดำรัสสั่งของพระราชา

ไม่อาจขัดขืนได้แล้วจับเฉยอยู่ ณ ที่นั้น. กรงทองได้มาตั้งอยู่เบื้องพระพักตร์

ของพระราชา อำมาตย์ทั้งหลายไม่สามารถให้นกการเวกทำเสียงได้. ลำดับนั้น

พระราชาตรัสว่า ดูก่อนพระนายทั้งหลาย นกการเวกเหล่านี้ทำเสียงอย่างไร.

พวกอมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นกการเวกเหล่านี้เห็นพวกญาติจึงจะ

ทำเสียง. ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้เอากระจกล้อมนกการเวกนั้น. นกการเวก

นั้นครั้นเห็นเงาของตนสำคัญว่า ญาติของเรามาแล้ว จึงกระพือปีกร้องดุจเป่า

แก้วมณีวงศ์ด้วยเสียงอันอ่อน. พวกมนุษย์ในสกลนครเยื้องกรายดุจคนเมา

พระนางอสันธิมิตตาดำริว่า เสียงของสัตว์เดียรัจฉานนี้ยังเพราะถึงอย่างนี้ พระ

สุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุสิริ คือ พระสัพพัญญุตญาณจะเป็น

เช่นไรหนอ ยังพระปีติให้เกิดไม่ทรงละพระปีตินั้น ทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

พร้อมด้วยบริวาร ๗๐๐ พึงทราบว่าเสียงนกการเวกยังเพราะถึงอย่างนี้ แต่

พระสุรเสียงของพระวิปัสสีราชกุมารได้ไพเราะกว่านั้นร้อยส่วนพันส่วน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

บทว่า กมฺมวิปากช คือไม่สำเร็จด้วยภาวนา. ก็มังสจักขุได้เป็น

เช่นกับจักษุของเทวดาทั้งหลายด้วยอำนาจผลของกรรม โดยที่แม้เมล็ดงาเมล็ด

เดียวทำเครื่องหมายไว้แล้ว ใส่ลงไปในหม้องาก็สามารถยกขึ้นให้ได้ฉะนี้.

ในบทว่า วิปสฺสี นี้ เป็นอรรถของคำพูด. ชื่อว่าวิปัสสีเพราะเห็น

ชัดเจนโดยเว้นจากการหลับตา ความจำและความมืดและเห็นด้วยตาที่ลืม. ใน

วาระที่สอง. ชื่อวิปัสสีเพราะเลือกดู. อธิบายว่าสอดส่องดู. บทว่า อตฺเถปนายติ

ความว่า รู้เห็นแนะนำหรือพิจารณาอรรถคดี. ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อพระราชา

ประทับนั่งบนศาลสำหรับวินิจฉัยทรงสอดส่องพิจารณาคดี แม่นมนำพระมหา-

บุรุษซึ่งประดับตกแต่งพระองค์แล้วมาวางไว้บนพระหัตถ์ เมื่อพระราชานั้นทรง

รับพระกุมารวางบนพระเพลาแล้วทรงกอดจูบ พวกผู้พิจารณาได้ตัดสินคนที่

เป็นเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งพระสุรเสียงแสดงความไม่

พอพระทัย. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าพิจารณาคดีนี้อย่างไร. พวกอำมาตย์

มองดูไม่เห็นคนอื่นเพราะตนวินิจฉัยคดีผิด คิดว่า เราจักตัดสินอย่างนี้. พวก

ผู้พิพากษาตัดสินผู้เป็นเจ้าของโดยแท้ให้เป็นเจ้าของใหม่แล้ว พิจารณาดูว่า

พระกุมารทรงทราบหรือไม่หนอ จึงทรงกระทำอย่างนี้ ได้ตัดสินผู้เป็นเจ้าของ

ไม่ให้เป็นเจ้าของอีก. พระโพธิสัตว์ทรงเปล่งพระสุรเสียงอย่างนั้นอีก. ทีนั้น

พระราชาทรงดำริว่า พระกุมารผู้เป็นมหาบุรุษย่อมรู้ ตั้งแต่นั้นมามิได้ทรง

ประมาทเลย. ท่านกล่าวว่าพระกุมารทรงสอดส่องพิจารณาคดี หมายถึงข้อนี้.

ในบทว่า วสฺสิก เป็นต้น ความว่า สถานที่เพื่ออยู่อย่างมีความสุข

ในฤดูฝน ชื่อว่า วสฺสิก. ปราสาทสำหรับประทับในฤดูฝนนอกนี้มีนัยนี้

เหมือนกัน. ก็ข้อนี้ในบทนี้มีอรรถเป็นคำพูด. การอยู่ในฤดูฝนชื่อ วัสสะ

ผู้สมควรซึ่งฤดูฝนนั้นชื่อ วัสสิกะ. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้แล. ในปราสาท ๓

หลังนั้น ปราสาทที่ประทับให้ฤดูฝน ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก แม้ประตูและ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

หน้าต่างของปราสาทนั้น ก็ไม่มากนัก ไม่น้อยนัก. อนึ่ง เครื่องปูพื้น เครื่อง

ลาดของเคี้ยวและของบริโภคในปราสาทนี้ควรรวมกัน. ในปราสาทสำหรับ

ประทับในฤดูหนาว แม้เสา แม้ฝา ก็ต่ำ. แม้ประตูและหน้าต่างน้อยก็มีช่อง

สะดวก. เพื่อเข้าไปหาความอบอุ่นควรนำฝาและหิ้งออก ก็ในปราสาทหลังนี้

เครื่องปูพื้น เครื่องลาดพื้น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้น ช่วยให้

เกิดความอบอุ่น. ของเคี้ยวและของบริโภคอร่อยและเจือเผ็ด. ในปราสาท

สำหรับประทับในฤดูร้อน แม้เสาแม้ฝาก็สูง. ก็ในปราสาทหลังนี้ประตูและ

หน้าต่างมีตาข่ายมากมาย. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรสำเร็จด้วยผ้าสองชั้น. ของ

เคี้ยวและของบริโภคควรเป็นของเย็นมีรสอร่อย. อนึ่ง ในปราสาทหลังนี้ ชน

ทั้งหลายตั้งตุ่มใหม่ไว้ในที่ใกล้หน้าต่าง ใส่น้ำจนเต็มแล้วปลูกบัวเขียวเป็นต้น.

สายน้ำไหลเหมือนฝนตกโดยท้องที่ที่ชนทั้งหลายทำท่อน้ำไว้. บทว่า นิปฺปุริ-

เสหิ คือไม่มีผู้ชาย. อธิบายว่า ก็ที่ปราสาทนี้มิใช่ดนตรีอย่างเดียวเท่านั้นที่

ไม่มีผู้ชาย. แม้สถานที่ทั้งหมดก็ไม่มีผู้ชายเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็น

ผู้หญิง. แม้คนทำบริการมีอาบน้ำเป็นต้น ก็เป็นผู้หญิงทั้งนั้น. ได้ยินว่า

พระราชาทรงดำริว่า ความรังเกียจบุรุษ เพราะเห็นบุรุษย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้เสวย

อิสริยสมบัติและสุขสมบัติเห็นปานนั้น ความรังเกียจบุรุษนั้นอย่าได้มีแก่บุตร

ของเราเลยดังนี้ จึงทรงตั้งสตรีเท่านั้นในกิจการทั้งหมด.

จบอรรถกถาภาณวารที่หนึ่ง

พึงทราบในภาณวารที่สอง. บทว่า โคปานสิวงฺก คือมีซี่โครงคด

ดุจกลอน. บทว่า ภคฺค ความว่า มีหลังงอในที่ทั้ง ๓ คือที่ลำคอ สะเอว

และเข่าทั้ง ๒. บทว่า ทณฺฑปรายน คือ ไปด้วยไม้เท้า มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง.

บทว่า อาตุร คือ กระสับกระส่ายเพราะชรา. บทว่า คตโยพฺพน คือ ล่วง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

วัยหนุ่ม ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย. บทว่า ทิสฺวา ความว่า พระกุมารแวดล้อมด้วย

หมู่พลประมาณกึ่งโยชน์ได้จัดอารักขาเป็นอย่างดี เสด็จไปทอดพระเนตรเห็น

บุรุษนั้นอันพรหมชั้นสุทธาวาส และพรหมผู้เป็นขีณาสพแสดงปรากฏข้างหน้า

รถด้วยอานุภาพของพระองค์ในโอกาสที่รถอยู่ข้างหน้าหมู่พลอยู่ข้างหลัง. นัยว่า

มหาพรหมชั้นสุทธาวาสดำริว่า พระมหาบุรุษทรงติดในกามคุณทั้ง ๕ ดุจช้าง

ติดหล่ม เราจักยังสติให้เกิดแก่พระมหาบุรุษนั้นดังนี้ จึงได้แสดงบุรุษนั้น.

อนึ่ง ทั้งพระโพธิสัตว์และสารถีก็ทอดพระเนตรเห็นและเห็นบุรุษที่ท้าวมหา-

พรหมแสดงไว้แล้วอย่างนี้นั้น. จริงอยู่ แม้พรหมทั้งหลายได้แสดงบุรุษนั้นก็เพื่อ

ความไม่ประมาทของพระโพธิสัตว์ และเพื่อการสนทนาของสารถี. พระกุมาร

ตรัสถามว่า ก็คนนี้เป็นอะไร. สารถีทูลว่า คนนี้เป็นคนแก่พระเจ้าข้า ท่าน

กล่าวไว้อย่างไร. พระกุมารตรัสถามว่า นี้แน่เราไม่เคยเห็นบุรุษเห็นปานนี้

มาก่อนเลย. บทว่า เตนหิ ความว่า ถ้าเช่นนั้น แม้เราก็จะพึงมีผมเห็นปานนี้

มีกายเห็นปานนี้. หลายบทว่า ถ้าเช่นนั้นสหายสารถี วันนี้พอแล้วสำหรับภาค

พื้นสวน ความว่า พระกุมารตรัสว่า วันนี้เราพอแล้วสำหรับภาคพื้นสวนที่เรา

เห็น เรากลับกันเถิดดังนี้ ทรงสลดพระทัยตรัสอนุรูปแก่ความสังเวช. บทว่า

อนฺเตปุร คโต ความว่า พระกุมารทรงสละสตรีประทับนั่งพระองค์เดียวใน

ห้องสิริ. บทว่า ยตฺร หิ นาม ความว่า เมื่อมีชาติ ชราย่อมปรากฏ จงตำหนิ

เกลียดชังชาติ ชาติ ชื่อว่าเป็นสิ่งนี้เกลียด เพราะเหตุนั้น พระกุมารประทับนั่ง

ขุดรากของชาติ ดุจถูกศรลูกแรกแทงพระทัยฉะนั้น.

บทว่า สารถึ อามนฺตาเปตฺวา ความว่า นัยว่า พระราชาตั้งแต่พวก

พราหมณ์นักพยากรณ์กราบทูล ทรงเงี่ยพระโสตสดับอยู่ตลอดเวลา. พระราชา

ทรงสดับว่า พระกุมารนั้นเสด็จประพาสพระอุทยาน เสด็จกลับในระหว่างทาง

จึงรับสั่งให้เรียกสารถีมา. ในบทว่า มาเหวโข เป็นต้น ความว่า พระราชาทรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ดำริอย่างนี้ว่า กุมารโอรสของเรา จงครองราชสมบัติ จงอย่าบวช ถ้อยคำ

ของพวกพราหมณ์จงอย่าเป็นจริงดังนี้.

บทว่า อทฺทสา โข ความว่า กุมารได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษที่ท้าว

สุทธาวาสมหาพรหมแสดงโดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล. บทว่า อาพาธิก

ความว่า มีความเจ็บป่วยด้วยอาพาธต่างกันอันทำลายอิริยาบถ. บทว่า ทุกฺขิต คือ

ถึงทุกข์ด้วยทุกข์คือโรค. บทว่า พาฬฺหคิลาน คือไข้หนัก. บทว่า ปลิปนฺน

คือจม. แม้ในบทนี้ว่าชราจักปรากฏ พยาธิจักปรากฏ ความว่า เมื่อมีชาติ ชรา

พยาธิทั้งสองนี้ย่อมปรากฏ ชาติน่ารังเกียจไม่มีชาติจะปลอดโปร่ง เพราะเหตุ

นั้น พระกุมารประทับนั่งขุดรากของชาติ ดุจถูกศรลูกที่สองแทง.

บทว่า วิลาต คือวอ. บทว่า เปต คือละไปจากโลกนี้. บทว่า กาลกต

คือตาย. อธิบายว่าอันคนเรากระทำสิ่งทั้งปวงตลอดกาล ที่เป็นอยู่ ครั้นเสร็จแล้ว

ก็ตาย. พรหมทั้งหลายแสดงแม้เรื่องนี้แก่พระกุมารโดยนัยก่อนนั้นแล. แม้ใน

บทว่า ยตฺร หิ นาม นี้ก็มีอธิบายว่า เมื่อมีชาติ ชราพยาธิมรณะทั้ง ๓ นี้ ย่อม

ปรากฏ ชาติเป็นสิ่งน่ารังเกียจ เมื่อไม่มีชาติก็ปลอดโปร่ง เพราะเหตุนั้น

พระกุมารประทับนั่งขุดรากของชาติดุจถูกศรลูกที่ ๓ แทง.

บทว่า ภณฺฑุ คือโล้น. พรหมทั้งหลายแสดงแม้เรื่องนี้แก่พระกุมาร

โดยนัยก่อนนั้นแล.

ในบทว่า สาธุ ธมฺมจริยา เป็นต้น ความว่า สารถีทูลพระกุมารว่า

ข้าแต่เทวะ ความเป็นผู้ประพฤติธรรมนี้เป็นความดีดังนี้ พึงทราบการประกอบ

บทหนึ่ง ๆ อย่างนี้ว่า ปพฺพชิโต ดังนี้. อนึ่งบททั้งหมดนี้เป็นไวพจน์ของกุศล

กรรมบถ ๑๐ นั้นเอง. ก็ในที่สุดบทว่า อวิหึสา เป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา.

บทว่า อนุกมฺปา เป็นส่วนเบื้องต้นของเมตตา. บทว่า เตนหิ เป็นนิบาตใน

ความว่าเร่งเร้า. เพราะพระกุมารทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตแล้วมีพระทัยน้อม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ไปในบรรพชา. ลำดับนั้น พระกุมารมีพระประสงค์จะตรัสกับสารถีนั้น เมื่อจะ

ทรงส่งสารถีกลับจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เตนหิ ดังนี้.

บทว่า อถโข ภิกฺขเว ความว่า พระกุมารีทรงสดับคำเป็นต้นว่า การ

ประพฤติธรรมเป็นความดีของบรรพชิต และคำอื่นอีกมากอันเป็นธรรมกถา

ประกอบด้วยโทษของผู้อยู่ครองเรือนอันคับแคบด้วยบุตรและภรรยาที่หมู่มหา-

ชนรักษาอยู่และประกอบด้วยอานิสงส์แห่งวิเวก ของบรรพชิตผู้อยู่ในป่าตาม

สบาย มีใจเป็นเช่นมฤคแล้วมีพระประสงค์จะบรรพชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้ง

นั้นแล วิปัสสีกุมารจึงได้เรียกสารถีมา. ชื่อว่าการเห็นเทวทูตทั้ง ๒ เหล่านี้

แล้วบวชเป็นวงศ์ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์.

อนึ่งพระโพธิสัตว์แม้เหล่าอื่นก็ย่อมเห็นสิ้นกาลนานเหมือนพระวิปัสสีกุมารพระ-

องค์นี้ทรงเห็นแล้วตลอดกาลนาน. แต่พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายทรงเห็น

เทวทูตทั้ง ๔ วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงบรรพชาที่ฝั่ง

แม่น้ำอโนมา จากนั้นเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นพระราชาพิมพิสารทูลถาม

ว่า ท่านบัณฑิต ท่านบวชเพื่ออะไร ตรัสว่า

มหาพิตรอาตมาเห็นคนแก่คนเจ็บ

ได้รับทุกข์ และคนตายถึงอายุขัย

กับได้เห็นบรรพชิตนุ่งห่มผ้ากาสายะ

เพราะฉะนั้นจึงบวช ถวายพระพร

บทว่า สุตฺวาน เตส ความว่า มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนนั้น ได้สดับแล้ว

ได้มีดำริดังนี้. บทว่า โอรโก คือพร่อง ลามก. บทว่า อนุปพฺพชึสุ คือ

บวชตาม. ก็เพราะเหตุใดในที่นี้ท่านจึงไม่กล่าวเหมือนที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้นว่า

พระกุมารเสด็จออกจากราชธานีพันธุมดี โดยท่านขัณฑะและท่านติสสะออก

บวชตาม. เพราะออกไปแล้วจึงได้สดับ. ได้ยินว่า มหาชนแม้ทั้งหมดเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

เป็นบุรุษอุปฐากของพระวิปัสสีกุมาร. มหาชนเหล่านั้นมาอุปฐากแต่เช้าตรู่

ครั้นไม่เห็นพระกุมาร จึงพากันกินอาหารเช้า ครั้นกินอาหารเช้าเสร็จแล้วจึงมา

ถามว่า พระกุมารไปไหน ครั้นสดับว่าพระกุมารเสด็จไปพระอุทยานจึงพากัน

ออกไปด้วยคิดว่า พวกเราจักเฝ้าพระกุมารในพระอุทยานนั้น ครั้นเห็นสารถีกลับ

ได้สดับคำของสารถีนั้นว่า พระกุมารทรงบรรพชาแล้วจึงเปลื้องอาภรณ์ทุก

อย่างไว้ในที่ที่ได้สดับแล้วนั่นเอง ให้คนนำผ้ากาสายะสีเหลืองจากตลาดมาแล้ว

ปลงผมและหนวดบวชแล้ว. ด้วยเหตุดังนี้ ในที่นี้จึงไม่กล่าวว่าออกจากราชธานี

พันธุมดี เพราะออกจากนครแล้วจึงได้สดับนอกนคร.

บทว่า จาริก จรติ ความว่า พระวิปัสสีโพธิสัตว์สร้างมณฑปใหญ่

ในที่ที่ไปแล้ว ตระเตรียมทานมารับนิมนต์ในวันรุ่งขึ้นรับภิกษาที่มหาชนขอ

ร้องไว้ เที่ยวจาริกไปตลอด ๔ เดือน. บทว่า อากิณฺโณ คือถูกแวดล้อมด้วย

คณะนี้. ก็ความวิตกนี้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์เมื่อไร. ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เพราะ

วันพรุ่งนี้จักเป็นวันเพ็ญเดือน ๖. ได้ยินว่า ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า

พวกนี้เมื่อก่อนแวดล้อมเราผู้เป็นคฤหัสถ์เที่ยวไปอย่างใด แม้เดี๋ยวนี้ก็เป็น

อย่างนั้นอยู่อีก ประโยชน์อะไรด้วยคณะนี้ ทรงรังเกียจด้วยการปะปนอยู่กับคณะ

ทรงดำริว่า เราจะไปวันนี้แหละ แล้วทรงดำริต่อไปว่า วันนี้ยังไม่ถึงเวลา หาก

เราจักไปเดี๋ยวนี้ พวกนี้ทั้งหมดก็จะรู้ เราจักไปวันพรุ่งนี้. อนึ่ง ในวันนั้น

ชาวบ้านในหมู่บ้านเช่นกับหมู่บ้านอุรุเวลาได้นิมนต์พระโพธิสัตว์เพื่อฉันในวัน

รุ่งขึ้น. ชาวบ้านเหล่านั้นตระเตรียมข้าวปายาสสำหรับบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป

และสำหรับพระมหาบุรุษ. ขณะนั้น พระมหาบุรุษได้ฉันอาหารกับบรรพชิต

เหล่านั้นในบ้านนั้น ในวันรุ่งขึ้นแล้วได้ไปที่อยู่. ณ ที่นั้นพวกบรรพชิตได้

ปรนนิบัติพระมหาบุรุษเสร็จแล้วเข้าไปที่พักกลางคืนและกลางวันของตน ๆ.

แม้พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าไปประทับนั่ง ณ บรรณศาลา ทรงรำพึงว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

เมื่อถึงเวลาเที่ยง นกทั้งหลายมารวมกัน

ป่าใหญ่จะมีเสียงอึกกะทึก ภัยนั้นจะส่องถึงเรา

ในคราวมีภัยแก่ผู้ยินดีในความสงัด ในคราวมีความวุ่นวายแก่สัตว์

ทั้งปวง เห็นปานนี้ พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า นี้ถึงเวลาแล้วจึงเสด็จออกปิดประตู

บรรณศาลา บ่ายพระพักตร์สู่โพธิมัณฑะ. แม้ในกาลอื่นพระโพธิสัตว์เที่ยวไปใน

ที่นั้น ทรงเห็นโพธิมัณฑ์. แต่พระทัยพระโพธิสัตว์นั้นไม่เคยน้อมไปเพื่อประทับ

นั่งเลย. แต่วันนั้นพระญาณของพระโพธิสัตว์ถึงความแก่กล้า เพราะฉะนั้น

เกิดจิตเพื่อทอดพระเนตรโพธิมัณฑะที่ตกแต่งแล้วเสด็จขึ้นไป. พระโพธิสัตว์นั้น

เสด็จเข้าไปโดยส่วนทิศใต้ทรงกระทำปทักษิณปูบัลลังก์กว้าง ๑๔ ศอกในส่วน

ทิศตะวันออก ทรงอธิษฐานความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ ประทับนั่งทรงตั้ง

ปฏิญญาว่า เราจะไม่ลุกจากที่นี้ตลอดเวลาที่เรายังมิได้เป็นพุทธะ. ท่านกล่าว

บทนี้ว่า พระโพธิสัตว์พระองค์เดียวหลีกออกจากคณะอยู่ หมายถึงการหลีก

ออกจากพระโพธิสัตว์พระองค์นี้.

บทว่า อญฺเเนว ตานิ ความว่า นัยว่า บรรพชิตเหล่านั้นมาอุปฐาก

พระโพธิสัตว์ตอนเย็นแล้วนั่งล้อมบรรณศาลากล่าวว่า เกินเวลาไปมากแล้ว

พวกท่านจงเข้าไปสังเกตการณ์ ครั้นเปิดบรรณศาลา แม้เมื่อไม่เห็นพระโพธิ-

สัตว์นั้น ก็มิได้ติดตามให้รู้ว่า พระโพธิสัตว์เสด็จไปไหน. พวกบรรพชิตคิดว่า

พระมหาบุรุษทรงเบื่อในการอยู่ร่วมคณะ เห็นจะมีพระประสงค์จะประทับอยู่

พระองค์เดียว พวกเราจักเห็นพระโพธิสัตว์ตอนได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนั่น

แหละ แล้วพากันมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีปหลีกออกจาริกไป.

บทว่า วาสูปคตสฺส ความว่า เข้าไปอยู่ราตรีหนึ่ง ณ โพธิมัณฑะ.

บทว่า รโหคตสฺส คือไปในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส คือเร้นอยู่ด้วย

สามารถแห่งความเป็นผู้เดียว. บทว่า กิจฺฉ คือ ยาก. ก็ทั้งสองบทนี้คือ จวติ จ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

อุปปชฺชสิ จ ท่านกล่าวหมายถึงจุติและปฏิสนธิต่อ ๆ ไป. ในบทว่า ชรา-

มรณสฺส นี้ความว่า เพราะพระโพธิสัตว์เมื่อทรงผนวชทอดพระเนตรเห็น คน

แก่ คนเจ็บ และคนตายนั่นแลจึงทรงผนวช ฉะนั้น ชราและมรณะนั้นแลย่อม

ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ชรา

มรณสฺส ดังนี้.

ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ความปริวิตกนี้ได้

มีแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ผู้กระทำชราและมรณะ ให้เป็นข้อมูลตั้งมั่นเฉพาะแล้ว

ดุจหยั่งลงจากภวัคคพรหม. บทว่า โยนิโสมนสิการา ความว่า กระทำไว้ใน

ใจโดยอุบาย คือ ทำทางไว้ในใจ. อธิบายว่า จริงอยู่ เมื่อกระทำไว้ในใจซึ่ง

ลักษณะมีความไม่เที่ยง เป็นต้น โดยลักษณะมีความไม่เที่ยง เป็นต้น ชื่อว่า

ผู้กระทำไว้ในใจโดยอุบายแยบคาย. อนึ่ง โยนิโสมนสิการ นี้ย่อมเป็นอย่างใด

อย่างหนึ่งของบรรดาอภิสมัยเหล่านั้น เพราะความเป็นไปด้วยสามารถแห่งปรีชา

คำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับว่า เมื่ออะไรหนอมีอยู่ ชาติเป็นต้นย่อมมี เมื่อ

อะไรไม่มีชาติ เป็นต้นย่อมไม่มีดังนี้ เพราะฉะนั้น การตรัสรู้ด้วยปัญญาได้มีแก่

พระโพธิสัตว์นั้น เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคายจากนี้ คือด้วยการกระทำไว้

ในใจโดยอุบายนี้ ดังนั้นเมื่อสิ่งใดมี ชรามรณะย่อมมี การรวมกันเข้ากับเหตุ คือ

ชราและมรณะนั้นได้มีด้วยพระปัญญาของพระโพธิสัตว์. ก็ชราและมรณะนั้นมี

เพราะอะไร. เพราะชาติ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเมื่อชาติมี

ชรามรณะจึงมีการรวมกันเข้ากับปัญญากำหนดเหตุแห่งชราและมรณะได้มีแก่

พระโพธิสัตว์นี้เป็นอธิบายในข้อนี้. พึงทราบบททั้งหมดโดยทำนองนี้.

ก็ในบทว่า เมื่อนามรูปมีวิญญาณจึงมีนี้ ความว่า ควรจะกล่าวว่า เมื่อ

สังขารมี วิญญาณจึงมี และเมื่ออวิชชามี สังขารจึงมี แม้ทั้งสองนั้น เชื่อถือไม่ได้.

เพราะอะไร. เพราะอวิชชากับสังขารเป็นอดีตภพ. วิปัสสนานี้ไม่ต่อกับ อวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

และสังขารเหล่านั้น. จริงอยู่ พระมหาบุรุษทรงตั้งมั่นอยู่แล้วด้วยสามารถแห่ง

ปัจจุบัน. อันผู้ไม่เห็นอวิชชาและสังขารไม่อาจเป็นพระพุทธเจ้าได้มิใช่หรือ.

จริงไม่อาจเป็นได้. แต่ธรรมเหล่านั้น อันพระมหาบุรุษนี้เห็นแล้วด้วย สามารถ

แห่งภพ อุปาทานและตัณหา. ก็ในที่นี้ควรกล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร.

ปฏิจจสมุปบาทนั้นท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า ปจฺจุทาวตฺตติ คือกลับเวียนมา. ก็ในบทนี้วิญญาณกลับเวียน

มาเป็นไฉน. วิญญาณนั้นได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณบ้าง วิปัสสนา. วิญญาณบ้าง

ในวิญญาณทั้งสองนั้น ปฏิสนธิวิญญาณกลับเวียนมาแต่ปัจจัย. วิปัสสนาวิญญาณ

กลับเวียนมาแต่อารมณ์. แม้ทั้งสองก็ไม่พ้นนามรูป อื่นจากนามรูปย่อมไปไม่ได้.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า เอตฺตาวตา ชาเยถ วา ความว่า ท่านแสดงบททั้ง

๕ พร้อมด้วยจุติและปฏิสนธิอื่นๆ อย่างที่ว่า เมื่อวิญญาณเป็นปัจจัย แก่นามรูป

และเมื่อนามรูปเป็นปัจจัย แก่วิญญาณ แม้เมื่อทั้งสองก็เป็นปัจจัยของกันและกัน

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกพึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พังอุบัติ

บ้าง ก็นอกจากนี้อย่างอื่นยังมีอีกหรือ สัตว์พึงเกิดบ้าง ฯลฯ พึงอุบัติบ้าง นี้

เท่านั้นมิใช่หรือสัตว์ย่อมเกิด ฯลฯ และย่อมอุบัติ เมื่อจะขยายความที่ท่านกล่าว

คำนั้นอีกว่า เอตฺตาวตา จึงกล่าวว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีรูปนาม ต่อจากนั้นเพื่อจะแสดงชาติชราและมรณะ

แม้ต่อไป อันมีนามรูปเป็นรากเหง้า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ด้วยสามารถ

ปัจจยาการโดยอนุโลม จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า เพราะนามรูปเช่นปัจจัย จึงมี

สฬายตนะ. ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุท-

โย โหติ ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลมีประเภทเป็นต้นว่า ชาติ

ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมมีได้. พระมหาบุรุษได้

เห็นความเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ ทั้งมวลด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

บทว่า สมุทโย สมุทโยติ โข ความว่า เกิดขึ้นเกิดขึ้นดังนี้แล. บทว่า

อนนุสฺสุเตสุ ความว่า ไม่ได้สดับมาแล้วคือไม่เคยฟังมาแล้ว. ในบททั้งหลาย

ว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น ความว่า ก็ปัญญาเห็นความเกิดนี้ท่านกล่าวว่า

เป็นจักษุ ด้วยอรรถว่าเห็น เป็นญาณด้วยอรรถว่าทำให้รู้ เป็นปัญญาด้วยอรรถ

ว่ารู้ทั่ว เป็นวิชชาด้วยอรรถว่ารู้แจ้ง แทงตลอดเกิดขึ้นแล้ว เป็นอาโลกะ ด้วย

อรรถว่าเป็นแสงสว่างดังนี้. เหมือนอย่างท่านกล่าวแล้วว่า จักษุเกิดขึ้นแล้ว

โดยอรรถว่าเห็นญาณเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่ารู้แล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถ

ว่ารู้ทั่ว วิชชาเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถว่า แทงตลอด อาโลกะเกิดขึ้นแล้วโดยอรรถ

ว่าแสงสว่าง จักษุเป็นเหตุ อรรถว่าเห็นเป็นผล ญาณเป็นเหตุ อรรถว่า รู้แล้ว

เป็นผล ปัญญาเป็นเหตุ อรรถว่ารู้ชัดเป็นผล วิชชาเป็นเหตุ อรรถว่าแทง

ตลอดเป็นผล อาโลกะเป็นเหตุ อรรถว่าแสงสว่างเป็นผลดังนี้. ท่านกล่าวด้วย

บทเพียงเท่านี้หรือ. ท่านกล่าวเพียงให้กำหนดรู้ปัจจัยว่า เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้ย่อม

มีดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวถึง ตรุณวิปัสสนา อันเป็นแนวทางปฏิบัติ.

บทว่า อธิคโต โข มยาย ความว่า มรรคนี้อันเราบรรลุแล้ว. บท

ว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. บทว่า โพธาย ความว่า เพื่อรู้อริยสัจ ๔ หรือ

เพื่อรู้นิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ โพธิเพราะรู้. นี้เป็นชื่อของอริยมรรค.

เป็นอันท่านกล่าวว่าเพื่อประโยชน์แก่อริยมรรคนั้นบ้าง. เพราะอริยมรรคมี

วิปัสสามรรคเป็นมูล. บัดนี้เมื่อจะขยายความมรรคนั้นจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า

ยทิท นามรูปนิโรธา ดังนี้. อนึ่งในบทนี้ท่านกล่าวถึงนิพพานเท่านั้นด้วยบท

ปฐมาวิภัตติ์ว่า วิญฺาณนิโรโธ เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ พระมหาบุรุษ

ได้ทรงเห็นการดับคือความไม่เกิดขึ้นแห่งวัฏฏทุกข์ทั้งมวล.

บทว่า นิโรโธ นิโรโธติ โข ความว่า ไม่เกิด ไม่เกิดแล. บทว่า

จกฺขุ เป็นต้น มีความอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นแล. แต่ในที่นี้ ด้วยบททั้งหมดนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ท่านกล่าวเพียงให้รู้ถึงความดับเท่านั้นว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาแก่กล้าอันจะให้ถึงความพ้นไป.

บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า พระโพธิสัตว์ทรงรู้ปัจจัยและความ

ดับแห่งปัจจัยอย่างนี้ในสมัยอื่นจากนั้น. บทว่า อุปาทานกฺขนเธสุ คือในขันธ์

อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน. บทว่า อุทยพฺพยานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็น

ความเกิดและความเสื่อมที่เห็นแล้วครั้งแรกนั่นแหละ. บทว่า วิหาสิ ความว่า

พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวิปัสสนาอันเป็นเหตุให้ถึงความพ้นสุดยอดอยู่. ท่าน

กล่าวข้อนี้ไว้เพราะเหตุไร. เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทรงบำเพ็ญบารมี

ในปัจฉิมภพเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในวันพระโอรสประสูติทรงผนวชทรง

ประกอบความเพียรเสด็จขึ้นโพธิบัลลังก์ทรงกำจัดมารและเสนามารในยามต้นทรง

ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยใจภพก่อน ในยามที่สองทรงชำระทิพยจักขุ ในยามที่

สามทรงพิจารณาปัจจยาการ ทรงออกจากจตุตถฌานกำหนดลมหายใจเข้าออก

ทรงเพ่งพินิจในขันธ์ ๕ ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วน ด้วยสามารถความเกิดและความ

เสื่อมทรงเจริญวิปัสสนา จนกระทั่งถึงโคตรภูญาณแล้วทรงแทงตลอดพุทธคุณ

ทั้งสิ้นด้วยอริยมรรค. อนึ่ง พระมหาบุรุษแม้พระองค์นี้ก็ได้บำเพ็ญบารมีแล้ว.

พระองค์ทรงกระทำตามลำดับ ทั้งหมดดังที่กล่าวแล้วในปัจฉิมยาม ทรงออกจาก

จตุตถฌานกำหนดลมหายใจเข้าออก ทรงเพ่งพินิจในขันธ์ ๕ ทรงปรารภการ

เห็นแจ้งความเกิดและความเสื่อมมีประการดังที่กล่าวแล้ว. ท่านกล่าวถึงความ

เห็นแจ้งอันจะให้ถึงความพ้นนี้ เพื่อแสดงถึงความเห็นแจ้งความเกิดและความ

เสื่อมนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติรูป ความว่า รูปนี้ รูปมีประมาณเท่านี้

รูปเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงการกำหนดรูปอันไม่มี

ส่วนเหลือด้วยสามารถแห่งลักษณะรสปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐาน กระทำสภาวะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

แห่งการสลายไป และประเภทแห่งการอาศัยเกิดเป็นอาทิ. ท่านกล่าวความเห็น

เหตุเกิดแห่งรูปที่กำหนดไว้อย่างนี้ ด้วยบทนี้ว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติ ความว่า อย่างนี้เป็นเหตุเกิด. พึงทราบความ

พิสดารของบท สมุทโย นั้นอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด เพราะ

ตัณหาเกิด รูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิด รูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิด

เพราะเหตุนั้น แม้เห็นลักษณะแห่งการเกิดอยู่ก็ย่อมเห็นเหตุเกิดของรูปขันธ์.

แม้ในความดับก็พึงทราบความพิสดารอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาดับ รูปจึงดับ

ฯลฯ แม้เห็นลักษณะแห่งความเปลี่ยนแปลงอยู่ก็ย่อมเห็นความดับแห่งรูปขันธ์.

แม้ในบททั้งหลายว่า อิติ เวทนา เป็นต้น ก็มีความว่า เวทนานี้ เวทนามี

ประมาณเท่านี้ เวทนาเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มี สัญญานี้ สังขารเหล่านี้ วิญญาณนี้

วิญญาณมีประมาณเท่านี้ วิญญาณเบื้องบนจากนี้ย่อมไม่มีดังนี้ ท่านกล่าว

กำหนด เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณไม่เหลือด้วยสามารถแห่งลักษณะรส

ปัจจุปัฎฐานและปทัฎฐานกระทำสภาพแห่งความเสวยอารมณ์ ความรู้สึก การปรุง

และความเข้าใจ และประเภทแห่งสุขเป็นต้น รูปสัญญาเป็นต้น ผัสสะเป็นต้น

จักขุวิญญาณเป็นต้น ให้เป็นอาทิ. ก็แต่ว่าท่านกล่าวถึงความเห็นเหตุเกิดแห่ง

เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณทั้งหลายที่กำหนดไว้อย่างนี้ด้วยบทว่า อิติ

เวทนาย สมุทโย เป็นต้น. บทว่า อิติ แม้ในบทนั้นก็มีความว่า อย่างนี้เป็น

เหตุเกิดดังนี้. ความพิสดารแม้ของบทเหล่านั้นว่า เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึง

เกิด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในรูปนั้นและ. แต่มีความแปลกออกไปดังนี้.

ในขันธ์ ๓ ไม่ควรกล่าวว่า เพราะอาหารเกิด ควรกล่าวว่า เพราะผัสสะเกิด.

ในวิญญาณขันธ์ ควรกล่าวว่า เพราะนามรูปเกิด. แม้บทว่าความดับพึง

ประกอบด้วยสามารถแห่งบทเหล่านั้นนั่นแล. นี้เป็นสังเขปในบทนี้. ข้อวินิจฉัย

ความเกิดและความเสื่อมอย่างพิสดารบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ท่านกล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นทรงพิจารณาเห็นความเกิด

และความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ความว่า เมื่อพระวิปัสสีโพธิสัตว์นั้น

พิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมด้วยสามารถลักษณะ ๕๐ ถ้วน ในอุปา-

ทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นเหล่านี้อยู่ เมื่อวิปัสสนาญาณเจริญแล้วตามลำดับ

จิตไม่ยึดมั่นเพราะไม่เกิด ย่อมพ้นจากกิเลสทั้งหลายกล่าวคือ อาสวะดับสนิท

ด้วยอนุปาทนิโรธ. จิตนั้นชื่อว่าย่อมพ้นในขณะมรรค ชื่อว่าพ้นแล้วในขณะผล

หรือว่าพ้นแล้วและจะพ้นในขณะมรรค เป็นอันพ้นแล้วในขณะผลนั่นเอง.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล พระมหาบุรุษทรงพ้นแล้วจากเครื่องผูกมัดทั้งปวง มีพระ-

สันดานเบิกบานดุจประทุมต้องแสงอาทิตย์ฉะนั้น มีพระดำริบริบูรณ์ประทับนั่ง

ณ โพธิบัลลังก์ ทรงกระทำมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ

กำหนดกำเนิด ๔ ญาณกำหนด ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณ

ทั้งมวลให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์. ทรงกระทำไว้ในพระทัยอย่างนี้ว่า

เราแล่นไปสิ้นสงสารหลายชาติ แสวงหา

ช่างทำเรือนไม่พบ การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์

ดูก่อนช่างทำเรือน เราพบท่านแล้ว ท่าน

จะไม่ทำเรือนอีก เราหักซี่โครงของท่านหมดแล้ว

เรารื้อเรือนยอดเสียแล้ว จิตของเราไม่ได้

ปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว

ไม่มีคติเพื่อประกาศแก่ผู้ที่พ้นโดยชอบ

ผู้ข้ามโอฆะอันผูกมัดด้วยกาม ผู้บรรลุ

สุขอันไม่หวั่นไหว เหมือนอันใคร ๆ ไม่รู้

คติของผู้ทำลายท่อนเหล็กอันรุ่งเรือง

ด้วยพระเวท เป็นผู้สงบโดยลำดับฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ทรงรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ในสารทกาลและดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ.

จบภาณวารกถาที่ ๒

พึงทราบในภาณวารที่ ๓. บทว่า ยนฺนูนาห ธมฺม เทเสยฺย ความว่า

ไฉนหนอ เราจะพึงแสดงธรรม. ก็วิตกนี้เกิดขึ้นแล้วเมื่อไร. เกิดขึ้นในสัปดาห์

ที่ ๘ ของผู้เป็นพระพุทธเจ้า.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสีนั้นเป็นพระพุทธเจ้า

แล้วประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ตลอดสัปดาห์ ประทับยืนเพ่งดูโพธิบัลลังก์ตลอด

สัปดาห์ เสด็จจงกรม ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่งเฟ้นพระธรรม

ณ เรือนแก้วตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธตลอดสัปดาห์ ประทับ

นั่ง ณ โคนมุจลินท์ตลอดสัปดาห์ ประทับนั่ง ณ ราชายตนะตลอดสัปดาห์

เสด็จลุกจากราชายตนะนั้น พอพระองค์เสด็จมาในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่ง ณ

อชปาลนิโครธอีก ความวิตกนี้และความวิตกนอกเหนือจากนี้ที่พระพุทธเจ้า

ประพฤติและพระพฤติมาอย่างสม่ำเสมอเกิดขึ้นแล้วแก่พระพุทธเจ้าทั้งปวง.

ในบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า อธิคโต คือแทงตลอดแล้ว. บทว่า

ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคืออริยสัจ ๔. บทว่า คมฺภีโร นี้ เป็นชื่อของการปฏิเสธ

ความเป็นของตื้น. บทว่า ทุทฺทโส ความว่า เป็นธรรมที่เห็นได้ยาก คือเป็น

ธรรมอันบุคคลเห็นโดยยาก คือไม่สามารถเห็นง่าย เพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง.

เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยาก จึงเป็นธรรมที่รู้ตามยากอันบุคคลพึงตรัสรู้โดยยาก

คือไม่สามารถตรัสรู้ได้โดยง่าย. บทว่า สนฺโต คือดับสนิทแล้ว. บทว่า

ปณีโต คือไม่เร่าร้อน ทั้งสองบทนี้ท่านกล่าวหมายถึง โลกุตตระนั่นเอง.

บทว่า อตกฺกาวจโร ความว่า ไม่ควรคาดคะเน คือไม่ควรหยั่งลงด้วยการ

ตรึก ควรคาดคะเนด้วยญาณเท่านั้น. บทว่า นิปุโณ คือละเอียด. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ปณฺฑิตเวทนีโย ความว่า อันบัณฑิตผู้ปฏิบัติปฏิปทาชอบพึงรู้ได้. บทว่า

อาลยรามา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมติดในกามคุณ ๕ เพราะฉะนั้น สัตว์

เหล่านั้นท่านกล่าวว่า อาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่กับความพัวพันวิปริตของ

ตัณหา ๑๐๘ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อาลยา. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วย

อาลัยเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลยรามา คือมีอาลัยเป็นที่ยินดี. สัตว์

ทั้งหลายยินดีแล้วในอาลัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาลยรตา คือยินดีแล้วใน

อาลัย. สัตว์ทั้งหลายเบิกบานแล้วด้วยดีในอาลัยทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

อาลยสมฺมุทิตา คือเบิกบานแล้วในอาลัย. สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัย

ในกามและอาลัยในตัณหาแม้เหล่านี้ เป็นผู้เบิกบานกระสันในสังสารวัฏอยู่

เหมือนพระราชาเสด็จประพาสพระราชอุทยาน อันสมบูรณ์ด้วยรุกขชาติที่เต็ม

ไปด้วยดอกและผลเป็นต้น ซึ่งตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงรื่นรมย์เบิกบานชื่นชม

เพลิดเพลินด้วยสมบัตินั้น ๆ ไม่ทรงเบื่อหน่าย ไม่ทรงพระประสงค์จะเสด็จกลับ

แม้เย็นแล้วฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความอาลัย

แม้ ๒ อย่าง ดุจภาคพื้นอุทยานแก่สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสว่า อาลยรามา คือ

มีอาลัยเป็นที่ยินดีดังนี้เป็นต้น. บทว่า ยทิท เป็นนิบาต. พึงทราบความอย่างนี้

ว่า บทว่า ย อิท หมายถึงฐานะของบทนั้น. บทว่า โย อย หมายถึง

ปฏิจุจสมุปบาท. ปัจจัยของบททั้งสองนี้ว่า อิทปฺปจฺจยตา ปฏิจฺจสมุปฺปาโท

ชื่อ อิทัปปัจจยา คือสิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้. ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา และ

ปฏิจฺจสมุปฺปาโท เพราะความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้ และปัจจัยอันเป็นที่

อาศัยกันเกิดขึ้น. บทนี้เป็นชื่อของ อวิชฺชา เป็นต้น อันเป็นปัจจัยแห่งสังขาร

เป็นต้น. บททั้งหมดว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น เป็นนิพพานอย่างเดียว.

เพราะความดิ้นรนของสังขารทั้งปวงอาศัยนิพพานนั้นย่อมสงบย่อมระงับ ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสงฺขารสมโถ คือ เป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

อนึ่ง เพราะกิเลสทั้งปวงเป็นอันสลัดทิ้งไปได้ ตัณหาทั้งปวงสิ้นไป กิเลสราคะ

ทั้งปวงคลายไป ทุกข์ทั้งปวงดับไป เพราะอาศัยนิพพานนั้น ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค คือ เป็นที่สลัดกิเลสทั้งปวง ตณฺหกฺขโย

เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา วิราโค คลายความกำหนัด นิโรโธ ดับทุกข์ ดังนี้.

ก็ตัณหานั้นย่อมนำไป คือร้อยรัดภพด้วยภพหรือกรรมกับด้วยผลกรรม เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตัณหาการทำการร้อยรัด. ชื่อนิพพานเพราะออกจาก

เครื่องร้อยรัดนั้น บทว่า โส มมสฺส กิลมโถ ความว่า การแสดงธรรมแก่

ผู้ไม่รู้พึงเป็นความลำบากของเรา. เป็นอันท่านกล่าวว่า พึงเป็นความลำบาก

ทางกาย และพึงเป็นการเบียดเบียนทางกาย. ก็แต่ว่าทั้งสองนี้มิได้มีในดวงจิต

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า อปิสฺสุ เป็นนิบาตในอรรถว่า พอกพูน. นิบาตนั้น แสดงว่า

มิใช่ได้มีความวิตกนี้อย่างเดียว แม้คาถาเหล่านี้ก็แจ่มแจ้งแล้ว. ในบททั้งหลาย

ว่า วิปสฺสึ เป็นอาทิความว่า พระวิปัสสีพระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า อนจฺฉริยา คือ อัศจรรย์น้อย. บทว่า ปฏิภสุ ความว่า

ธรรมเป็นโคจรทั้งหลายได้เกิดแก่ญาณกล่าวคือปฏิภาน ถึงซึ่งความเป็นธรรม

พึงปริวิตก.

บทว่า กิจฺเฉน ความว่า โดยยาก คือ มิใช่เพื่อปฏิบัติยาก. เพราะ

แม้มรรค ๔ ก็ย่อมเป็นข้อปฏิบัติง่ายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทนี้ท่านกล่าว

หมายถึงการปฏิบัติเพื่อได้คุณวิเศษมาของท่านที่ยังมีราคะ มีโทสะ และมีโมหะ

ในเวลาบำเพ็ญบารมีนั้นเองให้สิ่งเป็นต้น อย่างนี้ คือ ตัดศรีษะที่ประดับ

ตกแต่งแล้ว เอาเลือดออกจากคอ ควักดวงตาทั้งสองข้างที่หยอดยาไว้อย่างดี

สละบุตรผู้จะดำรงวงศ์ตระกูล สละภรรยา ผู้มีความประพฤติเป็นที่พอใจ แก่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ผู้ขอทั้งหลายที่พากันมา และถึงอย่างอื่นมีการตัดและทำลายในอัตภาพ เช่น กับ

ขันติวาทีดาบสเป็นต้น. ห อักษรในบทว่า หล นี้เป็นเพียงนิบาต แปลว่า ควร.

บทว่า ปกาสิตุ คือเพื่อแสดง คือเมื่อคนบรรลุธรรมได้ยากอย่างนี้ ก็ไม่

ควรแสดง คือควรแสดงกับคนฉลาด ท่านอธิบาย่ว่า ประโยชน์อะไรด้วยการ

แสดง. บทว่า ราคโทสปเรเตหิ คือถูกราคะโทสะครอบงำ หรือราคะโทสะ

ติดตามไป. บทว่า ปฏิโสตคามึ ความว่าสัจจธรรม ๔ อันถึงแล้วอย่างนี้ว่า

เป็นธรรมทวนกระแสแห่งความเที่ยงเป็นต้น คือ ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่

มีตัวตนและไม่งาม. บทว่า ราครตฺตา ความว่า ถูกกามราคะ ภวราคะและ

ทิฐิราคะย้อมไว้. บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักไม่เห็น

ตามความเป็นจริงนี้ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนไม่งามดังนี้

ใครเล่าจักอาจเพื่อให้ผู้ที่ไม่เห็นเหล่านั้น ถือเอาอย่างนี้ได้. บทว่า ตโมกฺขนฺ

เธน อาวุฏา ความว่า ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อไว้.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกตาย ความว่า เพราะไม่ประสงค์จะทรงแสดง

โดยความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย. ก็เพราะเหตุไร พระทัยของพระองค์จึงน้อม

ไปอย่างนี้เล่า พระองค์ทรงการทำความปรารถนาไว้ว่า เรานั่นพ้นแล้ว

จักปลดเปลื้องสัตว์ เราข้ามได้แล้วจักให้สัตว์ข้ามบ้าง

จะได้ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้รู้แจ้งธรรมในโลกนี้แล้วจะ

ไม่ให้ผู้อื่นรู้บ้าง เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จักยังสัตว์พร้อมด้วย

เทวดาให้ข้ามพ้นไป ดังนี้ มิใช่หรือ แล้วทรงบำเพ็ญบารมีจนได้บรรลุ

พระสัพพัญญุตญาณ. ข้อนั้นเป็นความจริง แต่จิตของพระองค์ทรงน้อมไป

อย่างนั้นด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณา. จริงอยู่เมื่อพระองค์บรรลุสัพพัญญุตญาณ

แล้ว ทรงพิจารณาถึงความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดกิเลสอยู่ และความที่พระธรรม

เป็นธรรมลึกซึ้ง ความที่สัตว์ทั้งหลายยังยึดถือกิเลสอยู่ และความที่พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

เป็นธรรมลึกซึ้ง ปรากฏโดยอาการทั้งปวง. เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อพระองค์

ทรงดำริว่า สัตว์เหล่านี้แลเต็มไปด้วยกิเลสเศร้าหมองยิ่งหนัก ถูกราคะย้อม ถูก

โทสะครอบงำ ลุ่มหลงไปด้วยโมหะ ดุจน้ำเต้าเต็มไปด้วยน้ำส้ม ดุจถาดเต็มไป

ด้วยเปรียง ดุจผืนผ้าขี้ริ้วชุ่มไปด้วยมันเหลวและน้ำมัน ดุจมือเปื้อนไปด้วยยา

หยอดตา เขาเหล่านั้นจักรู้แจ้งแทงตลอดไปได้อย่างไร ดังนี้ จิตจึงน้อมไป

อย่างนั้น ด้วยอานุภาพแห่งการยึดถือกิเลสและการพิจารณา. อนึ่ง พระธรรมนี้

ลึกซึ้งดุจลำน้ำหนุนแผ่นดินไว้ เห็นได้ยาก ดุจเมล็ดผักกาดที่ถูกภูเขากำบังไว้

ตั้งอยู่ และรู้ตามได้ยาก ดุจการแยกปลายด้วยปลายของขนสัตว์ที่ผ่าออก ๑๐๐

ส่วน. จริงอยู่ เราพยายามเพื่อรู้แจ้งแทงตลอด ธรรมนี้ไม่มีทานที่ไม่ได้ให้

ไม่มีศีลที่ไม่ได้รักษา ไม่มีบารมีที่ไม่ได้บำเพ็ญมิใช่หรือ แม้เมื่อเรากำจัดมาร

และเสนามารดุจไร้ความอุตสาหะ แผ่นดินก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราระลึกถึง

ขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนในปฐมยามได้ก็ไม่หวั่นไหว แม้เมื่อเราชำระ

ทิพพจักษุในมัชฌิมยาม ก็ไม่หวั่นไหว แต่เมื่อเรารู้แจ้งแทงตลอดปฏิจจสมุป-

บาทในปัจฉิมยาม แผ่นดินหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว ด้วยประการดังนี้

แม้ชนเช่นเรายังรู้แจ้งแทงตลอดธรรมนี้ด้วยญาณอันกล้าได้โดยยากถึงเพียงนี้

แล้ว มหาชนชาวโลกจักรู้แจ้งแทงตลอด ธรรมนั้นได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น

พึงทราบว่า จิตของพระองค์น้อมไปแล้วอย่างนั้น แม้ด้วยอานุภาพแห่งความที่

พระธรรมเป็นธรรมลึกซึ้งและด้วยการพิจารณาดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระ-

พรหมทูลวิงวอน จิตของพระองค์ก็น้อมไปอย่างนี้ เพราะมีพระประสงค์จะแสดง.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า เมื่อจิตของเราน้อมไปเพราะความที่

เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย มหาพรหมวิงวอนเราเพื่อขอให้แสดงธรรม

ก็สัตว์เหล่านี้เป็นผู้เคารพพรหม เมื่อรู้ว่ามีข่าวว่า พระศาสดาไม่มีพระประสงค์

จะแสดงธรรมแก่พวกเรา ทีนั้น มหาพรหมทูลวิงวอนพระองค์ให้แสดงแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ผู้เจริญทั้งหลาย พระธรรมสงบหนอ ประณีตหนอดังนี้ จักตั้งใจฟัง ดังนี้.

พึงทราบว่า อาศัยเหตุนี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไป เพื่อความที่พระองค์เป็น

ผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.

ในบทว่า อญฺตรสฺส นี้ ท่าวกล่าวว่า อญฺตโร ก็จริง ถึงดังนั้น

พึงทราบว่า นั่นคือมหาพรหมผู้ใหญ่ในจักรวาลนี้. บทว่า นสฺสติ วต โภ โลโก

ความว่า นัยว่ามหาพรหมนั้นเปล่งเสียงนี้ โดยที่หมู่พรมใน หมื่นโลกธาตุ

สดับแล้ว ทั้งหมดประชุมกัน. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือในโลกชื่อใด. บทว่า

ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า มหาพรหมได้ปรากฏพร้อมกับพรหมหนึ่งหมื่น

เหล่านั้น. บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า ธุรี คือราคะโทสะและโมหะ

เบาบาง คือนิดหน่อย ในดวงตาอันสำเร็จด้วยปัญญา สภาพอย่างนี้ของสัตว์

ทั้งหลายเหล่านั้นยังมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา

คือ มีกิเลศเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง. บทว่า อสฺสวนตา คือเพราะมิได้ฟัง.

บทว่า ภวิสฺสนฺติ ความว่า ท่านแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว

ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยสามารถบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หวัง

พระธรรมเทศนาอย่างเดียวเหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่ง

ลงสู่อริยภูมิ ในเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน มีหลายแสน

จักเป็นผู้รู้ธรรม ดังนี้.

บทว่า อชฺเฌสน คือวิงวอนอย่างนี้ ๓ ครั้ง. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา

ความว่า ด้วยปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย

และด้วยอาสยานุสยญาณ. บทว่า พุทฺธจกฺขุ เป็นชื่อแห่งญาณทั้งสองนี้. บทว่า

สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อแห่ง

มรรคญาณ ๓. ในบทว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ความว่า สัตว์ที่มีธุลีมีราคะ

เป็นต้น ในปัญญาจักษุน้อยโดยนัยที่กล่าวนั้นแล. ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา คือมี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

กิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย. สัตว์ที่มีธุลีมีราคะเป็นต้นนั้นในปัญญาจักษุมาก

ชื่อว่ามหารชกฺขา คือมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก. สัตว์ที่มีอินทรีย์มีศรัทธา

เป็นต้น แก่กล้า ชื่อว่า ติกฺขินฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์แก่กล้า. สัตว์ที่มีอินทรีย์

เหล่านั้นอ่อน ชื่อว่า มุทุนฺทฺริยา คือ มีอินทรีย์อ่อน. สัตว์ที่มีอาการมีศรัทธา

เป็นต้น เหล่านั้นดี ชื่อ สฺวาการา คือมีอาการดี. สัตว์ที่กำหนดเหตุที่กล่าว

สามารถให้รู้ได้ง่าย ชื่อว่า สุวิญฺาปยา คือให้รู้แจ้งได้ง่าย. สัตว์ที่เห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัยชื่อว่า ปรโลกวชฺชภยทสิสาวิโน คือมักเห็นปรโลก

และโทษโดยความเป็นภัย.

ก็ในเรื่องที่มีบาลีดังนี้ บุคคลที่มีศรัทธามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย

บุคคลผู้ไม่มีศรัทธามีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้ปรารภความเพียรมี

กิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้เกียจคร้านมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก

บุคคลผู้มีสติตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติลุ่มหลง มีกิเลส

เพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บุคคล

ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บุคคลผู้มีปัญญามีกิเลสเพียงดังธุลี

ในจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราบมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก เช่นเดียวกัน

บุคคลผู้มีศรัทธามีอินทรีย์แก่กล้า ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญามักเห็นโลกอื่นและโทษ

ด้วยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามมักไม่เห็นโลกอื่นและโทษโดยความ

เป็นภัย.

บทว่า โลโก ได้แก่ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก สมบัติภวโลก

วิบัติภวโลก สมบัติและวิบัติภวโลก วิบัติสัมปัติภวโลก โลกหนึ่ง คือ สัตว์

ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นามและรูป โลก ๓ คือ เวทนา ๓

โลก ๔ คืออาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คืออายตนะภายใน

๖ โลก ๗ คือภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒

โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘.

บทว่า วชฺช ได้แก่ กิเลสทุกชนิด เป็นโทษทุจริตทุกชนิดเป็นโทษ

อภิสังขารทุกชนิดเป็นโทษ กรรมคือการไปสู่ภพทุกชนิดเป็นโทษ ด้วยประการ

ฉะนี้ ทั้งในโลกนี้ทั้งโทษนี้ เป็นอันปรากฏความหมายรู้โดยความเป็นภัยอย่าง

แรงกล้าเหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงรู้

ทรงเห็น ทรงรู้ยิ่ง ทรงแทงตลอดอินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

นี้เป็นพระปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ทั้งหลายของพระตถาคต.

บทว่า อุปฺปลินิย คือ ในกอบัว. แม้ในบทนอกนี้ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อนฺโตนิมุคฺคโปสีนิ คือ ดอกบัวแม้เหล่าอื่นใดจมอยู่ในน้ำอันน้ำเลี้ยงไว้.

บทว่า อุทก อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺนฺติ คือบัวบางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ. ในบทนั้น

อธิบายว่า บัวบางเหล่าที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำคอยรอสัมผัสแสงอาทิตย์แล้วบานใน

วันนี้. บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำจักบานในวันพรุ่งนี้. บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำ

อันน้ำเลี้ยงไว้จักบานในวันที่ ๓. แต่ว่ายังมีดอกบัวเป็นต้นที่มีโรคแม้เหล่าอื่น

ไม่ขึ้นพ้นจากน้ำแล้ว ดอกบัวเหล่าใด จักไม่บาน จักเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า

อย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้น ท่านไม่ควรนำขึ้นสู่บาลีได้แสดงไว้ชัดแล้ว.

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ

ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล.

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยก

ขึ้นแสดง ชื่อ อุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อ

โดยพิสดาร ชื่อว่า วิปจิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความ

พากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยคบหา

สมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่า เนยยะ. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น

แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่า ปทปรมะ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ในบทนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู หมื่นโลกธาตุ เช่นกับ

ดอกบัว เป็นต้น ได้ทรงเห็นแล้วว่า บุคคลจำพวก อุคฆฏิตัญญู ดุจดอกบัว

จะบานในวันนี้ บุคคลจำพวก วิปจิตัญู ดุจดอกบัวจักบานในวันพรุ่งนี้

บุคคลจำพวกเนยยะ ดุจดอกบัวจักบานในวันที่ ๓ บุคคลจำพวกปทปรมะ ดุจ

ดอกบัวอันเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงตรวจดู

ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย มี

ประมาณเท่านี้ สัตว์มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมากมีประมาณเท่านี้ แม้ในสัตว์

เหล่านั้นจำพวกที่เป็น อุคฆฏิตัญญู มีประมาณเท่านี้ ดังนี้. ในสัตว์ ๔ จำพวก

นั้น การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓

จำพวกในอัตภาพนี้แล. พวกปทปรมะจะมีวาสนาเพื่อประโยชน์ในอนาคต.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนา อันนำมา

ซึ่งประโยชน์แก่บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล้ว ยังความเป็นผู้มีพระประสงค์จะ

ทรงแสดงให้เกิดขึ้น ได้ทรงจัด สัตว์แม้ทั้งปวงในภพ ๓ ใหม่ ให้เป็นสองส่วน

ด้วยสามารถแห่งภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ สัตว์ที่ท่านกล่าวหมายถึงนั้นคือ

สัตว์เหล่าใดประกอบด้วย กัมมาวรณะ วิปากาวรณะ กิเลสาวรณะ ไม่มี

ศรัทธา ไม่มีความพยายาม มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบ

ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศลอย่างแน่นอน สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นอภัพสัตว์

ภัพสัตว์เป็นไฉน สัตว์เหล่าใดไม่ประกอบด้วย กัมมาวรณะ ฯลฯ สัตว์ทั้งหลาย

เหล่านี้นั้นเป็นภัพสัตว์ ดังนี้. ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละ อภัพบุคคล

แม้ทั้งหมด ทรงกำหนดภัพบุคคลอย่างเดียวด้วยพระญาณ ได้ทรงจัดให้เป็น

๖ ส่วน คือ สัตว์จำพวกราคจริตประมาณเท่านี้ สัตว์จำพวกโทสจริต โมหจริต

วิตักกจริต ศรัทธาจริต พุทธิจริต มีประมาณเท่านี้. ครั้นทรงจัดอย่างนี้แล้ว

จึงทรงพระดำริว่า เราจักแสดงธรรม ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

พรหมครั้นทราบดังนั้นแล้ว เกิดโสมนัส ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยคาถาหลายคาถา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อถโข โส ภิกฺขเว มหาพฺรหฺมา

เป็นต้น ทรงหมายถึงข้อนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌภาสิ ตัดบทเป็นอธิ

อภาสิ. อธิบายว่า ได้กราบทูลปรารภยิ่งในรูป.

บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏิโต คือเหมือนคนยืนอยู่บน

ภูเขาหินล้วน. จริงอยู่ เมื่อคนยืนอยู่บนยอดภูเขานั้นก็ไม่มีกิจเป็นต้นว่า ยก และ

ยึดคอ แม้เพื่อจะดู. บทว่า ตถูปม ความว่า เปรียบด้วยสิ่งนั้น คือ เปรียบ

ด้วยภูเขาหินล้วน. ก็ความสังเขปในเรื่องนี้มีดังนี้. บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บน

ยอดเขาหินล้วนพึงเห็นหมู่ชนโดยรอบฉันใด ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์

เป็นผู้มีปัญญาดี มีจักษุโดยรอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณก็ฉันนั้น เสด็จขึ้นสู่

ปราสาทสำเร็จด้วยธรรมสำเร็จด้วยปัญญา เป็นผู้ปราศจากความโศกด้วยพระองค์

เอง ทรงพิจารณา ทรงใคร่ครวญ ทรงตรวจตรา หมู่ชนผู้เกลือกกลั้วไปด้วย

ความโศก ถูกชาติชราครอบงำแล้ว.

ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ เหมือนอย่างว่า มนุษย์ทั้งหลาย กระทำที่ดิน

ผืนใหญ่โดยรอบเชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมในแนวพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

ณ ที่ดินผืนนั้น จุดไฟในเวลากลางคืน อนึ่ง ที่ดินนั้นพึงมีความมืดประกอบ

ด้วยองค์ ๔ ขณะนั้น เมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น มองดูพื้นที่

ที่ดิน ไม่ปรากฏ แนวพื้นที่เพาะปลูก ไม่ปรากฏ กระท่อม ไม่ปรากฏ

พวกมนุษย์ที่นอนในกระท่อมนั้น ไม่ปรากฏ แต่ปรากฏเพียงเปลวไฟในกระท่อม

ทั้งหลาย เท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตเสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาททรงตรวจดู

หมู่สัตว์ สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ทำความดี แม้นั่ง ณ ข้างพระชานุเบื้องขวา ใน

ในที่อยู่แห่งเดียวกัน ก็ฉันนั้น ก็ไม่มาถึงคลองแห่งพุทธจักษุ ย่อมเป็นเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ลูกศรที่ซัดไปในเวลากลางคืน แต่สัตว์ทั้งหลายที่ทำความดี เป็นเวไนยบุคคล

แม้ยืนอยู่ไกลพระตถาคตนั้น ย่อมมาสู่คลองได้. สัตว์เหล่านั้นย่อมเป็นดุจไฟ

และดุจภูเขาหิมพานต์. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏ ที่ไกล

เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษทั้งหลาย

ย่อมไม่ปรากฏ ณ ที่นี้ เหมือนลูกศร

ที่เขาซัดไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น.

บทว่า อุฏฺเหิ ความว่า พรหมกราบทูลวิงวอนถึงการเสด็จจาริก

เพื่อโปรดแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พึงทราบในบทว่า วีร เป็นต้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า วีระ เพราะพระองค์มีความเพียร ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ

สงครามเพราะพระองค์ทรงชนะ เทวบุตรมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร ชื่อว่า

เป็นผู้นำพวก เพระพระองค์ทรงข้ามชาติกันดารเป็นต้นได้ คือ เพราะพระองค์

สามารถแนะนำแล้วนำพวกไปได้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือ

กามฉันทะ ดังนี้.

บทว่า อปารุตา คือ เปิดเผย. บทว่า ประตูอมตะ ได้แก่

อริยมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เพราะเราได้เปิดประตูนิพพาน

กล่าวคือ อมตะ ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปมุญฺจนฺต สทฺธ ความว่า ผู้มีโสต

ทั้งปวง จงปล่อย คือ สละศรัทธาของตนเถิด. ในสองบทหลังมีเนื้อความว่า

ด้วยว่า เราเป็นผู้มีความรู้สึกลำบากด้วยกายและวาจา จึงมิได้กล่าวธรรมอัน-

ประณีต คือสูงสุดนี้ ซึ่งตนทำให้คล่องแคล่ว คือ เป็นไปด้วยดีแล้ว ก็บัดนี้

ชนทั้งปวง จงน้อมนำภาชนะคือศรัทธาเข้าไปเถิด เราจักยังความดำริของชน

เหล่านั้นให้บริบูรณ์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

บทว่า โพธิรุกฺขมูเล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

วิปัสสี ได้หายพระองค์ที่ต้นอชปาลนิโครธไม่ไกลโพธิพฤกษ์. บทว่า เขเม

มิคทาเย ความว่า อิสิปตนมฤคทายวัน โดยสมัยนั้นเป็นสวนชื่อว่า เขมะ

ก็สวนนั้นท่านให้ชื่อว่า มฤคทายวัน เพราะเป็นที่ที่ท่านให้เพื่ออยู่โดยปลอดภัย

แก่เนื้อทั้งหลาย. ท่านกล่าวว่า เขเม มิคทาเย หมายถึงสวนนั้น.

แม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ก็เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

วิปัสสี เสด็จไปเพื่อทรงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก ได้เสด็จไปทางอากาศแล้ว

เสด็จลง ณ ที่นั้นเหมือนกัน. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทอด-

พระเนตรเห็นอุปนิสัยของอุปกาชีวก ทรงทราบว่า อุปกะเดินมาทางนี้ เห็นเรา

จักสนทนากับเราแล้วไป แต่แล้วอุปกะเบื่อหน่ายจักมาหาเราอีก แล้วจักทำให้

แจ้งซึ่งพระอรหัต ดังนี้ ได้เสด็จด้วยพระบาทเปล่าสิ้นทาง ๑๘ โยชน์.

บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกคนเฝ้ามฤคทายวัน ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรดูคนเฝ้าสวนมฤคทายวันหลายครั้งแล้ว

ตรัสเรียกให้เข้าไปหา ตรัสสั่งให้ไปบอกขัณฑราชบุตรและติสสบุตรปุโรหิตว่า

ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลายเสด็จมาแล้ว.

บทว่า อนุปุพฺพีกถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกถาตาม

ลำดับอย่างนี้ คือ ทานกถา ศีล ในลำดับทาน สวรรค์ ในลำดับศีล มรรค

ในลำดับสวรรค์. กถาปฏิสังยุตด้วยคุณของทานมีอาทิอย่างนี้ว่า ในบทเหล่านั้น

บทว่า ทานกถ ความว่า ชื่อว่า ทานนี้เป็นเหตุของความสุขทั้งหลาย เป็น

บ่อเกิดแห่งสมบัติทั้งหลาย เป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นความต้านทานเป็น

ที่อาศัย เป็นคติ เป็นเครื่องค้ำจุนของผู้ที่ถึงความสงบวิเศษ ที่พึ่ง ที่ตั้งอารมณ์

ความต้านทาน ที่อาศัยคติการค้ำจุน เช่นกับทานย่อมไม่มีในโลกนี้ และใน

โลกหน้า. จริงอยู่ ทานนี้ชื่อว่า เช่นกับ สีหาศน์ สำเร็จด้วยแก้วเพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

เป็นที่พึ่ง ชื่อว่า เช่นกับ แผ่นดินใหญ่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง ชื่อว่า เช่นกับ

เชือกรัด เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ชื่อว่า เช่นกับ เรือ เพราะ

อรรถว่า ข้ามไปจากทุกข์ ชื่อว่า เช่นกับ ความกล้าในสงคราม เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องปลอบใจ ชื่อว่า เช่นกับ นครที่ปรับปรุงดีแล้วเพราะอรรถว่า

ป้องกันภัย ชื่อว่า เช่นกับ ประทุม เพราะอรรถว่า ไม่ติดด้วยมลทิน คือ

ความตระหนี่เป็นต้น ชื่อว่า เช่นกับ ไฟ เพราะอรรถว่า เผากิเลสเหล่านั้น

ชื่อว่า เช่นกัน อสรพิษ เพราะอรรถว่า เข้าไปใกล้ได้ยาก ชื่อว่า เช่นกับ

สีหะ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้ง ชื่อว่า เช่นกับ ช้าง เพราะอรรถว่า มีกำลัง

ชื่อว่า เช่นกับ วัวผู้เผือก เพราะอรรถว่า เห็นเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่า เช่นกับ

พญาม้าวลาหก เพราะอรรถว่า ให้ถึงภาคพื้นแห่งความปลอดภัย จริงอยู่

ท่านย่อมให้สักกสมบัติในโลก ย่อมให้มารสมบัติ พรหมสมบัติ จักรพรรดิ-

สมบัติ สาวกปารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อภิสัมโพธิญาณ. ก็เพราะเมื่อให้

ทาน จึงสามารถสมาทานศีลได้ ฉะนั้น พระองค์จึงตรัส สีลกถา ในลำดับ

ทานนั้น.

บทว่า สีลกถ ความว่า กถาปฏิสังยุต ด้วยคุณของศีล มีอาทิ

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าศีลนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ เป็นเครื่องป้องกัน

เป็นที่อาศัย เป็นคติ เป็นเครื่องค้ำจุน จริงอยู่ ที่พึ่ง ที่ตั้ง อารมณ์ เครื่อง

ป้องกัน ที่อาศัย คติ เครื่องค้ำจุน เช่นกับศีล ย่อมไม่มี แก่สมบัติในโลก

นี้และโลกหน้า เครื่องประดับเช่นกับศีล ย่อมไม่มี ดอกไม้ เช่นกับ ดอกไม้

คือศีล ย่อมไม่มี กลิ่น เช่นกับกลิ่นศีล ย่อมไม่มี จริงอยู่ โลกพร้อมด้วย

เทวโลก แลดูการประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล การตกแต่งด้วยดอกไม้

คือศีล การลูบไล้ด้วยกลิ่นคือศีล ย่อมไม่ถึงความอิ่ม. เพื่อจะแสดงว่า คนได้

สวรรค์ เพราะอาศัยศีลนี้ พระองค์จึงตรัส สัคคกถา ในลำดับศีล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

บทว่า สคฺคกถ ความว่า กถาปฏิสังยุต ด้วยสวรรค์มีอาทิอย่าง

นี้ว่า ชื่อว่า สวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ กีฬาอันเป็นทิพย์-

สมบัติ ย่อมได้ในสวรรค์นี้เป็นนิจ เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ย่อมได้

ทิพยสุขและทิพยสมบัติตลอดเก้าล้านปี เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมได้ทิพยสุข

และทิพยสมบัติตลอดสามโกฏิปี และหกล้านปี. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายตรัสถึงสมบัติสวรรค์ยังไม่พอปาก. ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราพึงกล่าว สัคคกถา โดยปริยายไม่น้อยแล ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงล่อด้วยตรัสถึงสวรรค์อย่างนี้แล้ว เพื่อทรงแสดงว่า แม้สวรรค์นี้

ก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความกำหนัดด้วยความพอใจในสวรรค์นี้ เหมือน

ประดับช้างแล้วตัดงวงช้างนั้น จึงตรัสถึงโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง

ของกามทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า กามทั้งหลายมีความชื่นชมน้อย มีทุกข์มาก

มีความดับใจมาก โทษในกามนี้ยอดยิ่งนัก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนโว คือ โทษ. บทว่า โอกาโร คือ

ความเลวทราม ความลามก. บทว่า สกิเลโส ความว่า ความเศร้าหมอง

ในสงสารของสัตว์ทั้งหลาย มีขึ้นด้วยกามทั้งหลายนั้น. เหมือนอย่างที่ท่าน

กล่าวว่า ผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงคุกคามด้วยโทษของกามอย่างนี้แล้ว ทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ

อธิบายว่า ทรงประกาศคุณของบรรพชา. บทที่เหลือมีดังกล่าวแล้วใน

อรรถกถาอัมพัฎฐสูตร และมีใจความง่าย.

บทว่า อลตฺถุ คือ ได้แล้วอย่างไร. ได้แล้วโดยความเป็นเอหิภิกขุ.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูการสั่งสมบาตรและจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์

ทรงเห็นการถวายจีวรเป็นต้น ในชาติไม่น้อยของหมู่ชนเหล่านั้นจึงตรัสคำเป็น

อาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงมาเถิด ดังนี้. หมู่ชนเหล่านั้นมีศีรษะโล้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

นุ่งห่มผ้ากาสายะ มีภิกขุบริขาร ๘ สวมในร่างกาย นั่งถวายนมัสการพระผู้มี

พระภาคเจ้าดุจพระเถระมีพรรษา ๒๐.

ในบทว่า สนฺทสฺเสสิ เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงถึงประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า. เมื่อทรงแสดงถึงประ-

โยชน์ในโลกนี้ทรงแสดงว่า อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา ดังนี้ ทรงแสดง ขันธ์

ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะทั้งหลายปฏิจจสมุปบาท เมื่อทรงแสดงความ

เกิดขึ้นแห่งรูปขันธ์ทรงแสดงถึงลักษณะ ๕ เมื่อทรงแสดงความเสื่อมแห่งเวทนา

ขันธ์เป็นต้น ก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงลักษณะ

๕๐ ด้วยสามารถความเกิดขึ้นและความเสื่อม. เมื่อทรงแสดงถึงประโยชน์ใน

โลกหน้า ทรงแสดงถึงนรกกำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัย อสุรกาย ทรงแสดง

อันเป็นวิบากแห่งกุศล ๓ อย่าง สมบัติแห่งเทวโลก ๖ ชั้น พรหมโลก ๙ ชั้น.

บทว่า สมาทเปสิ ความว่า ให้ถือกัลยาณธรรมมีปาริสุทธิศีล ๔ ธุดงค์

กถาวัตถุ ๑๐ เป็นต้น.

บทว่า สมุตฺเตเชสิ คือ ให้อาจหาญด้วยดี ให้อุตสาหะยิ่ง ๆ ขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้หวาดสะดุ้งให้หวาดกลัวประโยชน์ในโลกนี้และประ-

โยชน์ในโลกหน้าตรัสทำดุจบรรลุแล้ว. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทรงทำ

ให้สัตว์หวาดสะดุ้งหวาดกลัวแล้วตรัสถึงประโยชน์โลกนี้ อันมีประเภท เช่น

กัมมกรณ์ ๓๒ และมหาภัย ๒๕ ย่อมทำให้เกิดความหวาดสะดุ้ง ดุจถูกมัดแขน

ไพล่หลังจนแน่นแล้วโบย ๑๐๐ ครั้ง ที่ทาง ๔ แพร่ง นำออกไปทางประตู

ทิศใต้ ดุจวางศีรษะที่ระฆังสำหรับประหาร ดุจเสียบบนหลาวและดุจถูกช้าง

ซับมันเหยียบ. และเมื่อทรงกล่าวถึงประโยชน์ในโลกหน้าย่อมเป็นดุจเกิดใน

นรกเป็นต้นและดุจเสวยสมบัติในเทวโลก.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

บทว่า สมฺปหเสติ คือให้รื่นเริงด้วยคุณที่ตนได้แล้ว. อธิบายว่า ทรง

กล่าวทำให้มีอานิสงส์มาก.

บทว่า สขาราน อาทีนว ความว่า ตรัสถึงโทษของกามทั้งหลายเพื่อ

บรรลุปฐมมรรคขึ้นต่ำ. แต่ในบทนี้เพื่อบรรลุมรรคเบื้องสูงพระองค์จึงทรง

ประกาศโทษของสังขารทั้งหลาย และความที่สังขารทั้งหลายลามกและความ

ลำบากอันมีสังขารเป็นปัจจัยโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขาร

ทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ปลอดโปร่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อันนี้เพียงพอ

เพื่อความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เพียงพอเพื่อคลายกำหนัด เพียงพอเพื่อ

ความหลุดพ้นดังนี้. ทรงประกาศอานิสงส์ในนิพพานโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่านิพพานนี้มีอยู่ในเนกขัมมะเหมือนกัน เป็นสิ่งประณีต

เป็นเครื่องป้องกัน เป็นที่อาศัยดังนี้.

บทว่า มหาชนกาโย ความว่า หมู่มหาชนผู้เป็นอุปฐากของกุมาร

ทั้งสองนั้นนั่นแล. บทว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระ-

ธรรมเป็นที่พึ่งดังนี้ ความว่า หมู่ชนเหล่านั้นได้กล่าววาจาสองหน [คือกล่าว

ถึงพระพุทธเจ้าหนหนึ่งพระธรรมหนหนึ่ง] เป็นสรณะ เพราะยังไม่ครบพระ-

สงฆ์. บทว่า อลตฺถุ คือ ได้แล้วโดยความเป็นเอหิภิกขุ โดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในตอนก่อน. แม้ในคราวที่บวชแล้วในลำดับจากนี้ก็มีนัยนี้แล.

บทว่า ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ความปริวิตกเกิดขึ้นเมื่อไร.

เกิดขึ้นเมื่อล่วง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จากการตรัสรู้.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการสงเคราะห์พระชนกอยู่

แล้ว. แม้พระราชาก็ทรงดำริว่า โอรสคนโตของเราออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า

แล้ว โอรสคนที่สองของเราออกบวชเป็นอัครสาวก บุตรปุโรหิตเป็นสาวกรูปที่

สอง อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือเหล่านี้แม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ก็ได้แวดล้อมโอรส

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ของเราเที่ยวไป ภิกษุเหล่านั้น เมื่อก่อนเป็นภาระของเราแม้เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นภาระ

ของเราอยู่นั่นเอง เราจักบำรุงภิกษุเหล่านั้นด้วยปัจจัย ๔ เราจักไม่ให้โอกาส

แก่ผู้อื่นดังนี้. พระราชารับสั่งให้สร้างกำแพงทำด้วยไม้ตะเคียนทั้งสองข้างตั้งแต่

ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงพระทวารเมืองราชคฤห์ คลุมด้วยเสื่อลำแพนมุงด้วยผ้า

และปกปิดในเบื้องบนทรงให้ทำเพดานมีพวงดอกไม้หลายชนิดประมาณเท่าลำตาล

ห้อยย้อยลงมาวิจิตรด้วยดวงทอง ข้างล่างพื้นลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม รับ

สั่งให้จัดดอกไม้ในลำดับกลิ่น และกลิ่นในลำดับดอกจนเต็มหม้อน้ำ ในสวนดอก

ไม้ ในข้างทั้งสองภายในเพื่อให้อยู่ในทางเดียวกันทั้งสิ้น แล้วรับสั่งให้กราบทูล

เวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุเสด็จไป

เมืองราชคฤห์ ภายในม่านนั่นเองเสวยพระอาหารเสร็จแล้วเสด็จกลับพระวิหาร.

ใคร ๆ อื่น ย่อมไม่ได้แม้แต่เห็น ก็การถวายภิกษาก็ดี การทำการบูชาก็ดี การ

ฟังธรรมก็ดีจะมีแต่ไหนเล่า. ชาวเมืองคิดกันว่า วันนี้เมื่อพระศาสดาทรงอุบัติ

ขึ้นในโลกแล้ว พวกเราไม่ได้แม้เพื่อเห็นตลอด ๗ ปี ๗ เดือน จะกล่าวไปไยถึง

การถวายภิกษา การทำการบูชา หรือการฟังธรรม พระราชาทรงรักใคร่หวงแหน

ว่า พระพุทธเจ้าของเราผู้เดียว พระธรรมของเราผู้เดียว พระสงฆ์ของเราผู้

เดียวแล้ว ทรงบำรุงเพียงองค์เดียวก็พระศาสดาเมื่อทรงอุบัติได้อุบัติเพื่อประ-

โยชน์เพื่อเกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จริง อยู่นรกของพระราชาไม่พึงร้อน

ของคนเหล่าอื่นเช่นกับกอบัวขาบ เพราะฉะนั้น พวกเราจะกราบทูลพระราชา

หากพระราชาไม่ทรงให้พระศาสดาแก่พวกเรา ก็ดีละ หากไม่ทรงให้

พวกเราแม้ต้องรบกับพระราชาก็จะพาสงฆ์ไปแล้วทำบุญมีทาน เป็นต้น แต่ชาว

เมืองผู้บริสุทธิ์คงไม่อาจทำอย่างนั้น พวกเราจะยึดถือบุรุษผู้เจริญคนหนึ่งดังนี้.

ชาวเมืองเหล่านั้นเข้าไปหาเสนาบดีบอกความนั้นแก่เสนาบดีแล้ว กล่าวว่า นาย

ฝ่ายของพวกเรายังมีอยู่หรือ หรือจะมีแด่พระราชา. เสนาบดีนั้นกล่าวว่า เรา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

เป็นฝ่ายของพวกท่าน ก็แต่ว่า วันแรกควรให้เราก่อน ภายหลังจึงถึงวาระของ

พวกท่าน. พวกชาวเมืองเหล่านั้นรับคำ. เสนาบดีนั้นเข้าไปเฝ้าพระราชาทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ ชาวเมืองเขาพากันโกรธพระองค์ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถาม

ว่า โกรธเรื่องอะไรเล่าพ่อ. กราบทูลว่า นัยว่า พระองค์เท่านั้นทรงบำรุงพระ-

ศาสดา พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย หากว่าชาวเมืองได้ในบัดนี้บ้าง พวก

เขาก็จะไม่โกรธ เมื่อไม่ได้พวกเขาประสงค์จะรบกับพระองค์ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า

นี่แน่เจ้า เราจะรบ เราจะไม่ให้หมู่สงฆ์. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ชาวเมืองเป็น

ทาสของพระองค์ พวกข้าพระองค์จะรบกับพระองค์. ตรัสว่า พวกเจ้าจักจับใครรบ.

เจ้าเป็นเสนาบดีมิใช่หรือ. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์เว้นชาวเมือง

เสียแล้วไม่สามารถจะรบได้ พระเจ้าข้า. แต่นั้น พระราชาทรงทราบว่า ชาวเมือง

มีกำลังมากแม้เสนาบดีก็เป็นฝ่ายพวกชาวเมืองเสียแล้ว แล้วตรัสว่า พวกชาว

เมืองจงให้หมู่ภิกษุแก่เราตลอด ๗ ปี ๗ เดือนต่อไป พวกชาวเมืองไม่ยอมรับ

พระราชาทรงลดมา ๖ ปี ๕ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี. แม้ให้ลดอย่างนี้ชาวเมือง

ก็ไม่ยอมรับ. พระราชาทรงขอ ๗ วันอื่น. พวกชาวเมืองคิดกันว่า บัดนี้พวก

เราไม่ควรทำความรุนแรงกับพระราชาจึงอนุญาต. พระราชาทรงตระเตรียม

ทานมุขที่พระองค์ตระเตรียมไว้แล้วถึง ๗ ปี ๗ เดือน เหลือเพียง ๗ วันเท่านั้น

ตลอด ๖ วัน ทรงให้ทานแก่คนบางพวกผู้ยังไม่เห็นเท่านั้น ในวันที่ ๗ ตรัส

เรียกชาวเมืองมาตรัสว่า พวกท่านจักสามารถให้ทานเห็นปานนี้ได้หรือ. แม้

พวกชาวเมืองก็พากันกราบทูลว่า ทานนั้นอาศัยพวกข้าพระองค์นั่นแหละจึงเกิด

ขึ้นแด่พระองค์แล้วมิใช่หรือ กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์จักสามารถพระเจ้าข้า.

พระราชาทรงเช็ดพระอัสสุชลด้วยหลังพระหัตถ์ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดแล้วว่า ข้าพระองค์จักไม่ทำ

ภิกษุหกล้านแปดแสนรูปให้เป็นภาระของผู้อื่น จักบำรุงด้วยปัจจัย ๔ จนตลอด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ชีวิต บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตแก่ชาวเมืองแล้ว เพราะชาวเมืองพากันโกรธว่า

พวกเราไม่ได้เพื่อถวายทาน ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ พวกพระคุณเจ้าทั้งหลายจงกระทำ

อนุเคราะห์แก่ชาวเมืองเหล่านั้นเกิด. ครั้นถึงวันที่สอง เสนาบดีตระเตรียมมหาทาน

แล้วกล่าวว่า วันนี้พวกท่านจงรักษาโดยที่คนอื่นบางคนจะไม่ถวายแม้ภิกษา

อย่างเดียวได้ ได้ตั้งบุรุษไว้โดยรอบ. ในวันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องให้พูดกะลูก

สาวว่า ลูกเอ๋ย หากบิดาของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่คงจะยังพระทศพลให้เสวย

ก่อน. ลูกสาวพูดกะแม่ว่า แม่จ๋าอย่าคิดไปเลย ลูกจักกระทำโดยที่หมู่ภิกษุมี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุขจักเสวยภิกษาของพวกเราก่อน. แต่นั้นในถาดทองคำมี

ค่าประมาณหนึ่งแสน เต็มไปด้วยข้าวปายาสไม่มีน้ำ นางได้ปรุงเนยใส่น้ำผึ้ง

น้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดใบอื่นครอบถาดทองคำล้อมถาดนั้นด้วยสายพวง

ดอกมะลิกระทำคล้ายเชือกร้อยดอกไม้ ในเวลาพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่บ้าน

นางยกขึ้นเอง แวดล้อมด้วยหมู่พี่เลี้ยงออกจากเรือน. ในระหว่างทางพวกคนใช้

ของเสนาบดีกล่าวว่า ดูก่อนแม่นาง เจ้าอย่ามาทางนี้. ธรรมดาหญิงผู้มีบุญมาก

ย่อมมีคำพูดน่าพอใจ. เมื่อคนใช้ของเสนาบดีเหล่านั้นพูดบ่อย ๆ ก็ไม่อาจห้าม

ถ้อยคำของนางได้. นางกล่าวว่า อาจ๋า ลุงจ๋า น้าจ๋า เพราะเหตุไร พวกท่านจึง

ไม่ให้ฉันไปเล่า. คนรับใช้เหล่านั้นกล่าวว่า เสนาบดีตั้งเราไว้ว่า พวกท่านจง

อย่าให้ใคร ๆ อื่นถวายของเคี้ยวของบริโภคได้. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็น

ของเคี้ยวของบริโภคในมือของฉันหรือ. คนใช้ตอบว่า พวกเราเห็นพวงดอกไม้.

นางถามว่า เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้เพื่อทำแม้การบูชาด้วยพวงดอกไม้ดอก

หรือ. คนใช้ตอบว่า ให้ซิแม่นาง. นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงหลีกไป

เถิด แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ขอพระองค์ทรงให้รับพวงดอกไม้นี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแล

ดูคนใช้ของเสนาบดีคนหนึ่งให้รับพวงดอกไม้. นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

เจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพเจ้ามีอันต้องเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขอจง

อย่ามีชีวิตหวาดสะดุ้งเลย ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ และขอให้ชื่อ

ว่าสุมนาในที่ที่เกิด ดุจพวงดอกมะลิเถิด แล้วพระศาสดาตรัสว่า ขอนางจงมี

ความสุขเถิด แล้วนางถวายบังคมกระทำประทักษิณหลีกไป. พระผู้มีพระภาค

เจ้าเสด็จไปเรือนเสนาบดีประทับนั่ง ณ อาศนะที่เขาปูไว้ เสนาบดีถือข้าวยาคู

เข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงปิดบาตร. เสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หมู่ภิกษุนั่งแล้ว พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า พวกเรามีบิณฑบาตอย่าง

หนึ่งซึ่งได้ในระหว่าง. เสนาบดีนำพวงดอกไม้ออก ได้เห็นบิณฑบาตแล้ว จุฬุป-

ฐากกล่าวว่า มาตุคามกล่าวกะข้าพเจ้าว่า นาย ดอกไม้ได้หลอกลวงเสียแล้ว. ข้าว

ปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมด ตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น. แม้เสนาบดี

ก็ได้ถวายไทยธรรมของตน. พระศาสดาเสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ตรัสมงคล

เสด็จกลับ. เสนาบดีถามว่า หญิงถวายบิณฑบาตนั้นชื่ออะไร. เป็นลูกสาว

เศรษฐีจ๊ะนาย. เสนาบดีคิดว่า หญิงนั้นมีปัญญา เมื่อหญิงเห็นปานนี้อยู่ในเรือน

ชื่อว่าสมบัติคือสวรรค์ของบุรุษจะหาได้ไม่ยาก จึงนำหญิงนั้นมาตั้งไว้ในตำแหน่ง

พี่ใหญ่.

วันรุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันถวายทาน ได้ปรารภเพื่อถวายโดยสลับกันไป

อย่างนี้ ว่าแม้พระราชาก็จะทรงถวายในวันรุ่งขึ้น. พระราชาทรงตั้งจารบุรุษ

ไว้แล้ว ทรงถวายให้ยิ่งกว่าทานที่ชาวเมืองถวาย. แม้ชาวเมืองก็กระทำอย่างนั้น

เหมือนกัน ถวายยิ่งกว่าทานที่พระราชาทรงถวาย.

หญิงฟ้อนทั้งหลายในเมืองราชคฤห์ กล่าวกะสามเณรหนุ่มว่า พ่อสาม-

เณรทั้งหลาย นิมนต์รับทานที่ไม่ได้กระทำด้วยมือที่เช็ดที่ผ้าเช็ดตัวของคฤหบดี

ทั้งหลายแล้วชำระล้างน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้นของเด็กอ่อน กระทำให้เป็นทาน

สะอาดประณีต. วันรุ่งขึ้น แม้ชาวเมืองทั้งหลายก็กล่าวกะสามเณรหนุ่มทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ว่า พ่อสามเณรทั้งหลาย นิมนต์รับทาน ที่ไม่ทำด้วยข้าวสารน้ำนมน้ำส้มและเนย

ใสที่คร่ามาในเมืองในบ้านและนิคมเป็นต้น ไม่ได้ทำด้วยการทำลายแข้งศีรษะ

และหลังของผู้อื่นแล้วนำมาถวาย กระทำด้วยเนยใสและน้ำนมอย่างแท้เป็นต้น

ทีเดียว. ครั้นเมื่อล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือนและ ๗ วัน อย่างนี้แล้ว ทีนั้นความ

วิตกนี้ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ล่วงไป ๗ ปี ๗

เดือน ๗ วัน จากวันตรัสรู้ ความวิตกได้เกิดขึ้นแล้วดังนี้.

บทว่า อญฺตโร มหาพฺรหฺมา ความว่า พรหมทูลวิงวอนให้ทรง

แสดงธรรม. บทว่า จตุราสีติ อาวาสสหสฺสานิ คือ วิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง.

วิหารเหล่านั้นทั้งหมดเป็นวิหารใหญ่รับภิกษุได้ถึงหนึ่งล้านสองแสนรูป ได้เป็น

เช่นกับมหาวิหารอภัยคีรี เจดียบรรพตและจิตตลบรรพต.

บทว่า ขนฺตี ปรม ตโป ความว่า ขันติคือความอดกลั้นเป็นตบะ

อย่างยิ่ง. บทว่า ตีติกฺขา เป็นไวพจน์ของขันตินั้นแหละ. อธิบายว่า อธิวาสน-

ขันติ กล่าวคือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างสูงสุด. บทว่า นิพฺพาน ปรม ความ

ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า นิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่งโดยอาการทั้งปวง.

บทว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ความว่า ผู้ใดเข้าไปทำร้ายรบกวนและ

เบียดเบียนผู้อื่น เพราะเว้นจากอธิวาสนขันติ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต.

ก็บาทที่ ๔ เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นเอง. บทว่า น สมโณ โหติ เป็นไวพจน์

ของบทนี้ว่า น หิ ปพฺพชิโต. บทว่า ปรวิเหยนฺโต เป็นไวพจน์ของบท

นี้ว่า ปรุปฆาตี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรูปฆาตี คือ ทำลายศีล. เพราะ

ศีลท่านกล่าวว่า ปร โดยอรรถว่าสูงสุด อธิบายว่า ก็ผู้ใดเป็นสมณะเบียด

เบียนสัตว์อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เข้าไปทำร้ายผู้อื่น คือ ทำศีลของตนให้

พินาศ ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปทำร้ายผู้อื่น เพราะ

ไม่มีอธิวาสนขันติฆ่าสัตว์อื่นโดยที่สุดแม้เหลือบและยุง ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

บรรพชิต. เพราะเหตุไร. เพราะยังเว้นมลทินไม่ได้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เพราะเว้นมลทินของตนได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าบรรพชิตดังนี้ นี้คือ

ลักษณะของบรรพชิต.

แม้ผู้ใด ไม่ทำร้าย ไม่ฆ่า แต่เบียดเบียนด้วยอาชญาเป็นต้น ผู้นั้นยัง

เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่สงบจากการ

เบียดเบียน. ดังที่ท่านกล่าวว่า ผู้ที่เรียกว่า สมณะ เพราะบาปสงบดังนี้ นี้คือ

ลักษณะของสมณะ.

พึงทราบในคาถาที่สอง. บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่อกุศลทุกชนิด.

บทว่า อกรณ คือไม่ให้เกิดขึ้น. บทว่า กุสลสฺส ได้แก่กุศลอันมีในภูมิ ๔.

บทว่า อุปสมฺปทา คือได้เฉพาะ. บทว่า สจิตฺตปริโยทปน คือยังจิตของ

ตนให้สว่าง. ก็บทนั้นย่อมมีได้โดยความเป็นพระอรหันต์ ด้วยประการดังนี้

บรรพชิตควรละบาปทั้งปวงด้วยศีลสังวร ยังกุศลให้ถึงพร้อมด้วยสมถะและ

วิปัสสนาทั้งหลาย ยังจิตให้ผ่องแผ้วด้วยอรหัตผล นี้เป็นคำสอน คือ เป็นโอวาท

คือ เป็นคำตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พึงทราบในคาถาที่สาม บทว่า อนูปวาโท คือ ไม่เข้าไปกล่าวร้าย

แก่ใคร ๆ ด้วยวาจา. บทว่า อนูปฆาโต คือไม่ทำร้ายด้วยกาย. บทว่า

ปาฏิโมกฺเข แยกศัพท์เป็น ป อติ โมกฺข แปลว่า การพ้นทั่วยิ่ง คือศีลสูงสุด

ย่อมรักษาด้วยความวิเศษคือสุคติและย่อมให้พ้นจากภัยคือทุคติ หรือย่อม

รักษาสุคติ ย่อมให้พ้นทุคติ เพราะฉะนั้น ศีลนั้นท่านเรียกว่า ปาฏิโมกฺข

ผู้สำรวมในปาฏิโมกข์นั้น.

บทว่า มตฺตญฺญุตา คือ รู้ประมาณด้วยสามารถการรับและการบริโภค.

บทว่า ปนฺตญฺจ สยนาสน ความว่า เว้นการเบียดเสียดที่นอนและที่นั่ง. ใน

บทนั้นพึงทราบว่า เป็นอันท่านแสดงถึงความสันโดษในปัจจัย ด้วยปัจจัย ๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

เท่านั้น. บทว่า เอตพุทฺธาน สาสน ความว่า การไม่เข้าไปว่าร้าย ไม่เข้าไป

ทำร้ายผู้อื่น การสำรวมในปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้จัก ประมาณในการรับและ

การบริโภค การเสพเสนาสนะอันสงัด เพราะความเป็นผู้ชำนาญในสมบัติ ๘ นี้

เป็นคำสอน เป็นโอวาท เป็นคำตักเตือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ก็พึงทราบ

คาถาเหล่านี้เป็นคาถาแสดงหัวข้อธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง. ก็ด้วย

เหตุมีประมาณเท่านี้ เพื่อทรงประกาศถึงความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งแทงตลอด

ธรรมธาตุ ที่พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้แจ้งแทง

ตลอดธรรมธาตุนี้แล้วดังนี้แล้ว จึงทรงประกาศการวิงวอนของเทวดาที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า บัดนี้ แม้เทวดาทั้งหลายก็ได้กราบทูลความนี้แด่พระตถาคตดังนี้

จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เอกมิทาห ดังนี้ โดยกล่าวพิสดารตามความเป็นไปของ

เรื่องราว ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สุภวเน ในป่าชื่ออย่างนั้น. บทว่า สาลราช-

มูเล ได้แก่ควงไม้ใหญ่เป็นไม้เจ้าป่า. คำว่า คลายความพอใจในกาม

ความว่า คลายด้วยสามารถถอนรากออกด้วยอนาคามิมรรค ก็พวกเทวดาผู้ประ-

พฤติธรรมอันประเสริฐอยู่แล้วในพระศาสนาได้พากันกราบทูล แม้แก่พระ

พุทธเจ้าที่เหลือเหมือนกราบทูลแด่พระวิปัสสี. แต่บาลีมาด้วยสามารถแห่งพระ

วิปัสสี และแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย.

ในเทวดาเหล่านั้น เทวดาชื่อว่า อาวิหา เพราะไม่ละ คือไม่เสื่อมจาก

สมบัติของตน. เทวดาชื่อ อตัปปา เพราะไม่เผาสัตว์ไร ๆ. ชื่อ สุทัสสา

เพราะดูงามสวยน่าเลื่อมใส. ชื่อว่า สุทัสสี เพราะน่าดูของผู้พบเห็น. ชื่อ

อกนิฏฐา เพราะเป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งปวงและด้วยสมบัติในภพ ไม่มีความน้อย

ในภพนี้. ควรประชุมภาณวารทั้งหลายไว้ในที่นี้. ก็ในสูตรนี้ท่านกล่าว ๓

ภาณวารด้วยสามารถเรื่องราวของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

กล่าวด้วยสามารถเรื่องราว แม้ของพระสิขีเป็นต้น, ก็เหมือนของพระวิปัสสี.

แต่บาลีย่อไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัส ๒๑ ภาณวาร ด้วย

สามารถพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ด้วยประการฉะนี้ เทวดาชั้นอวิหา อตัปปา

สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้น. แม้ทั้งหมดก็เป็น ๒๖๐๐

ภาณวาร. พระสูตรอื่นในพุทธวจนะอันเป็นไตรปิฎก ไม่มีจำนวน ๒๖๐๐

ภาณวาร. พึงทราบว่า พระสูตรนี้ชื่อว่าสุตตันตราชสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงกำหนดแม้อนุสนธิทั้งสองต่อจากนี้ จึงตรัสว่า อิติโข ภิกฺขเว ดังนี้

เป็นอาทิ. บททั้งหมดนั้นมีใจความง่ายอยู่แล้ว.

จบอรรถกถามหาปทานสูตรในทีฆนิกาย ซึ่ง สุมังคลวิลาสินีด้วย

ประการฉะนี้.

จบสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

๒. มหานิทานสูตร

เรื่อง พระอานนทเถระ

[๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาว

กุรุนามว่า กัมมาสทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่

ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลความข้อนี้

กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็

แหละถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก.

ปฏิจจสมุปปาทกถา

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูด

อย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกร

อานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิด

เป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมา

เหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร

ดูกรอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบ

ว่า มี ถ้าเขาถามว่า ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็น

ปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ชาติมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขา

ถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ภพมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งนี้เป็น

ปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึง

ตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอ

พึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีเวทนา

เป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มี พึงตอบว่า มีผัสสะเป็น

ปัจจัย เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้า

เขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย เมื่อ

เธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า

นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อเธอถูกถาม

ว่า วิญญาณมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึงตอบว่า มี ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมี

อะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ เพราะนาม

รูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปทาน

เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติ

เป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส.

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าว

อธิบายดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

มิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ มิได้มีเพื่อความเป็นเทพ

แห่งพวกเทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์ เพื่อความเป็นยักษ์

แห่งพวกยักษ์ เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์แห่งพวก

มนุษย์ เพื่อความเป็นสัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวก

ปักษี เพื่อความเป็นสัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็

ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๆ แห่งสัตว์พวกนั้น ๆ เมื่อชาติไม่มีโดย

ประการทั้งปวง เพราะชาติดับไป ชราและมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะ

ก็คือชาตินั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาตื เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้.-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่าเพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ

ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดย

ประการทั้งปวง เพราะภพดับไป ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ ก็

คือภพนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน

สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทานไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

อุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพก็คือ

อุปาทานนั่งเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปทาน เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้

มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธ-

ตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้ง

ปวง เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน

ก็คือตัณหานั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้ดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนา

มิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุ

สัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อเวทนา

ไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหาก็

คือเวทนานั่นเอง.

[๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัย

เวทนาจึงเกิดตัณหา เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เพราะอาศัยการแสวง

หาจึงเกิดลาภ เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ เพราะอาศัยการตกลงใจจึง

เกิดการรักใคร่พึงใจ เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจ จึงเกิดการพะวง เพราะ

อาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่

เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่อง

ในการป้องกันขึ้น อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด

การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด

และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์

เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการ

ป้องกันอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ

การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการ

พูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหนเมื่อไม่มีการป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้อง

กัน อกุศลธรรนอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ

การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการ

พูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้ คือ การถือไม้ ถือมีด การ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

ทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่า มึง มึง การกล่าวคำส่อเสียด

และการพูดเท็จก็คือการป้องกันนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความตระหนี่มิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความ

ตระหนี่โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่ การป้องกันจะพึงปรากฏ

ได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

ป้องกัน ก็คือความตระหนี่นั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความยึดถือมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึด

ถือโดยประการทั้งปวง เพราะดับความยึดถือเสียได้ ความตระหนี่จะพึงปรากฏได้

บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ตระหนี่ ก็คือความยึดถือนั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการ

พะวงมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดย

ประการทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ยึดถือ ก็คือการพะวงนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เรากล่าว

อธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้า

ความรักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มี

ความรักใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความรักใคร่พึงใจเสียได้ การ

พะวงจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ

พะวงก็คือความรักใคร่พึงใจนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าว

อธิบายดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่าเพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ถ้าความตกลงใจมิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มี

ความตกลงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจเสียได้ความรักใคร่

พึงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรัก

ใคร่ พึงใจ ก็คือความตกลงใจนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มี

แก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง

เพราะหมดลาภ ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ

ตกลงใจ ก็คือลาภนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา

ได้กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการแสวง

หามิได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดย

ประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหา ลาภจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ

ก็คือ การแสวงหานั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนเราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิ

ได้มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา เมื่อไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะดับตัณหาโดยประการทั้ง

ปวง เพราะดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการแสวง

หาก็คือตัณหานั่นเอง.

[๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับ

เวทนาโดยส่วนสองด้วยประการดังนี้แล.

ก็คำนี้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้

มีแก่ใคร ๆ ในภพไหน ๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆาน-

สัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง

เพราะดับผัสสะเสียได้ เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนาก็

คือผัสสะนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อ

ไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินาม

กายต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ

นั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต

อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะ

พึงปรากฏในนามกายได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ

เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่

ชื่อก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต

อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้น ๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้าง

ไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะก็

คือนามรูปนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณ

จักไม่หยั่งลงในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป

นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์

วัยอยู่จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั่นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป

ก็คือวิญญาณนั่นเอง.

ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบาย

ดังต่อไปนี้ :-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้

กล่าวไว้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ

จักไม่ได้อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึง

ปรากฏต่อไปได้บ้างไหม.

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ

ก็คือนามรูปนั่นเองด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูปจึง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ยิ่งเกิด. แก่ ตาย จุติ หรืออุบัติทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุตติ ทางแห่งบัญญัติ

ทางทีกำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังขาร ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ๆ

ความเป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ.

อัตตบัญญัติกถา

[๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ

ประมาณเท่าไร ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า

อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติ

ว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาจีวร ย่อม

บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุด

มิได้ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้.

ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น

กามาวจรนั้น. ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น

หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพ

ที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติดสันดานผู้

มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้มีบัญญัติอัตตามีรูปหา

ที่สุดมิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น

หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็น

สภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน

ผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูป

เป็นกามาวจรนั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติสภาพที่เป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็น

สภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมติด

สันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ส่วนผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มี

รูปทั้งหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่าง

นั้น หรือมีความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อัน มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็น

สภาพที่เทียงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน

ผู้มีอรูป เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณ

เท่านี้แล.

กถาว่าด้วยการไม่บัญญัติอัตตา

[๖๒] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วย

เหตุมีประมาณเท่าไร อานนท์ ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร

ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีรูปอัน

หาที่สุดมิได้ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ หรือเมื่อไม่บัญญัติ

อัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร

เมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มี

รูปหาที่สุดมิได้ อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามี

รูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็น

อย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ

เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อม

ไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้

หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ

อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความ

เห็นว่าอัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ส่วนผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติใน

กาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เรา

จักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์

การลงความเห็นว่าอัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้

เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้

หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ

อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความ

เห็นว่าอัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

จึงควรกล่าวไว้ด้วย.

ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้แล.

อัตตสมนุปัสสนากถา

[๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี

ประมาณเท่าไร ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนา

เป็นอัตตาของเรา ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวย

เวทนา อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

จะว่าอัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่

เพราะฉะนั้น อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓

อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถาม

อย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนามี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุก-

ขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็น

อัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตาเสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวย

ทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น

ในสมัยใด อัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา

คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา

ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนาไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเลย เสวยแต่อทุกขมสุข-

เวทนาอย่างเดียวเท่านั้น.

ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็น

อทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย มี

ความสิ้นความเสื่อม ความคลาย และความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวย

สุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่านี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป

จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความ

เห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า

อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้

เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า

อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น เมื่อ

เล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงเกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์ มี

ความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุ

นั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว

อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วน ๆ

ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ในรูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่า

เป็นเราได้หรือ.

ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้า

เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำ

ดังกล่าวแล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตา

ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า

อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็เพราะ

เวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการ

ทั้งปวง เพราะเวทนาดับไปยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์

นั้น ๆ ดับไปแล้ว.

ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนา

ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตา

ของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่าอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้

ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้.

วิมุตตจิตตตา

[๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา

ไม่เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวย

เวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทก

สะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี อานนท์ ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมี

อยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตายสัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มี

อยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะ

ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร.

ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุตติ บัญญัติ ทางแห่ง

บัญญัติการแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด

วัฏฏสงสารยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึง

หลุดพ้น ข้อที่มีทิฐิว่า ใคร ๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะ

รู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น ข้อนั้นไม่สมควร.

สัตตวัญญาณัฎฐิกถา ทวายตนกถา

[๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ

๗ เป็นไฉน คือ-

๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวก

เทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่อง

ในชั้นพรหมผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ-

ฐิติที่ ๒

๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้น

อาภัสสร นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ

ชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่

สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต-

สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่

สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ-

ฐิติที่ ๖

๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร

เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่

๑ มีว่า สัตว์มีกายต่างกันมีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบาง

พวก พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความ

ดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก

วิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ.

ไม่ควร พระเจ้าข้า. ฯลฯ

วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิ-

การว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่

รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณ-

ฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควร

เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ไม่ควร พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญี-

สัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ

และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก

อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินอสัญญีสัตตยตนะนั้นอีก

หรือ.

ไม่ควร พระเจ้าข้า.

ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสูญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา

สัญญายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา

สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ

ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ.

ไม่ควร พระเจ้าข้า.

ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและ

โทษและอุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตาม

เป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียก

ว่า ปัญญาวิมุตติ.

อัฏฐวิโมกขกถา

[๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑

๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้

เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒

๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงมานัตตสัญญา

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๔

๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิ

ได้เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๕

๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะ

ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖

๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗

๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาวเทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘

เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้างออก

บ้าง ตามคราวที่ต้องการตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์

จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะ

ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า

อุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีต

ไปกว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบมหานิทานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อรรถกถามหานิทานสูตร

มหานิทานสูตรมีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กุรุชนบท ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นการพรรณนาบทที่ยากในพระสูตรนั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ

ความว่า พระราชกุมารชาวชนบท ชื่อว่า กุรุ ที่ประทับของพระราชกุมารนั้น

เป็นชนบทหนึ่ง ท่านกล่าวว่า กุรูสุ ด้วยศัพท์ที่เพิ่มขึ้นมา ในชนบทชื่อกุรูสุนั้น

ก็พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชกาลพระเจ้ามันธาตุ พวกมนุษย์

ใน ๓ ทวีปได้ยินมาว่า ชมพูทวีปเป็นที่เกิดของบุรุษผู้สูงสุด นับแต่พระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า พระมหาสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นทวีปอุดม

น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก จึงพากันมากับพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราช ผู้ปล่อยจักรแก้ว

แล้วมุ่งติดตามไปยังทวีปทั้ง ๔ ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามปริณายกแก้วว่า

ยังมีที่รื่นรมย์กว่ามนุษยโลกหรือไหมหนอ ปริณายกแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสอย่างนั้นเล่า พระเจ้าข้า พระองค์ไม่ทรง

เห็นอานุภาพของพระจันทร์และพระอาทิตย์ หรือ ฐานะของพระจันทร์ และ

พระอาทิตย์เหล่านั้น น่ารื่นรมย์กว่านี้มิใช่หรือ พระเจ้าข้า พระราชาได้ทรง

ปล่อยจักรแก้วไป ณ ที่นั้น.

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้สดับว่า พระเจ้ามันธาตุราชเสด็จมาแล้ว คิดว่า

พระราชาทรงฤทธิ์มาก เราไม่สามารถจะห้ามการรบได้ จึงมอบราชสมบัติของตน

ให้ พระเจ้ามันธาตุราชทรงรับราชสมบัตินั้นแล้วตรัสถามต่อไปว่า ยังมีที่น่า

รื่นรมย์ยิ่งกว่านี้อีกไหม ลำดับนั้น ท้าวมหาราชเหล่านั้น กราบทูลถึงภพดาวดึงส์

แก่พระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ ภพดาวดึงส์น่ารื่นรมย์กว่านี้ มหาราชทั้ง ๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

เหล่านี้เป็นผู้รับใช้ของท้าวสักกเทวราช ณ พิภพนั้น ยืนอยู่ ณ พื้นของผู้รักษา

ประตู ท้าวสักกเทวราชมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ท้าวสักกเทวราชนั้นมีสถานที่

สำหรับบำรุงบำเรอเหล่านี้ คือ เวชยันตปราสาทสูง ๑,๐๐๐ โยชน์ เทวสภา

ชื่อสุธัมมาสูง ๕๐๐ โยชน์ เวชยันตรถสูง ๑๕๐ โยชน์ ช้างเอราวัณก็เหมือนกัน

สวนนันทวัน จิตรลดาวัน ปารุสกวัน มิสสกวันประดับด้วยต้นไม้ทิพย์ ๑,๐๐๐ ต้น

ต้นทองหลาง ต้นทองกวาวสูง ๑๐๐ โยชน์ ภายใต้ต้นไม้นั้นมีแท่นปัณฑุกัมพล

ศิลาอาสน์ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ สูง ๑๕ โยชน์ มีสีเหมือนดอก

ชัยพฤกษ์ เพราะความอ่อนของบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้น เมื่อท้าวสักกะประทับ

นั่ง พระวรกายครึ่งหนึ่งฟุบลงไป พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว มีพระประสงค์

จะเสด็จไป ณ สักกเทวโลกนั้น จักรแก้วได้พุ่งขึ้นไปแล้ว จักรแก้วนั้นตั้งอยู่

บนอากาศพร้อมกับเสนาประกอบด้วยองค์ ๔ ต่อแต่นั้น จักรแก้วก็ได้ลง

ท่ามกลางเทวโลกทั้งสอง ประดิษฐานอยู่บนแผ่นดิน พร้อมกับเสนาประกอบ

ด้วยองค์ ๔ มีปริณายกแก้วเป็นหัวหน้า พระราชาพระองค์เดียวเท่านั้นได้เสด็จ

ไปสู่ภพดาวดึงส์.

ท้าวสักกเทวราชสดับว่า พระเจ้ามันธาตุราชเสด็จมาแล้ว กระทำการ

ต้อนรับพระเจ้ามันธาตุราชนั้น ตรัสว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

ข้าแต่มหาราช สมบัติเป็นของพระองค์ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรง

ปกครองเถิด แล้วทรงแบ่งราชสมบัติพร้อมด้วยนางระบำให้เป็นสองส่วน ได้

ประทานให้ส่วนหนึ่ง เมื่อพระราชามันธาตุราชพอเสด็จประทับอยู่บนภพดาว-

ดึงส์เท่านั้น ความเป็นมนุษย์ได้หายไปแล้ว ความเป็นเทพได้ปรากฏทันที

ได้ยินว่า เมื่อพระราชาประทับนั่ง ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์กับท้าวสักกะ

พวกเทวดามิได้สังเกตพระราชานั้นว่า ความต่างกันย่อมปรากฏโดยเพียงหลับตา

ย่อมหลงลืมในความต่างกันของท้าวสักกะ และของพระราชานั้น พระราชา-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

มันธาตุราชทรงเสวยทิพยสมบัติ ณ ภพดาวดึงส์นั้นทรงครองราชสมบัติ จน

ท้าวสักกะทรงอุบัติแล้วจุติแล้วถึง ๓๖ องค์ ไม่ทรงอิ่มด้วยกาม ครั้นจุติจาก

ภพดาวดึงส์แล้วตกลงในพระอุทยานของพระองค์ พระวรกายถูกลมและแดด

สัมผัสได้เสด็จสวรรคตเสียแล้ว.

ก็เมื่อจักรแก้วตั้งอยู่บนแผ่นดิน ปริณายกแก้วให้เขียนรองพระบาท

ของพระเจ้ามันธาตุราชที่แผ่นทองคำ แล้วประกาศราชสมบัติว่า นี่คือราชสมบัติ

ของพระเจ้ามันธาตุราช แม้พวกมนุษย์ที่มาจากทวีปทั้ง ๓ เหล่านั้น ก็ไม่

สามารถจะกลับไปได้ จึงเข้าไปหาปริณายกแก้ววิงวอนว่า ข้าแต่ท่าน พวกข้าพเจ้า

มาด้วยอานุภาพของพระราชา บัดนี้ไม่สามารถกลับไปได้ ขอท่านได้โปรดให้

ที่อยู่แก่พวกข้าพเจ้าเถิด ปริณายกแก้วได้ให้ชนบทหนึ่ง ๆ แก่มนุษย์เหล่านั้น

ในประเทศเหล่านั้น ประเทศที่พวกมนุษย์มาจากบุพพวิเทหะทวีปอาศัยอยู่ได้

ชื่อว่า วิเทหรัฐ ตามความหมายเดิมนั้นนั่นเอง ประเทศที่พวกมนุษย์มาจาก

อมรโดยานทวีปอาศัยอยู่ได้ชื่อว่า อปรันตชนบท ประเทศที่พวกมนุษย์มาจาก

อุตตรกุรุทวีปได้ชื่อว่า กุรุรัฐ ท่านกล่าวโดยเป็นพหูพจน์ประสงค์เอาบ้านและ

นิคมเป็นต้นมาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว กุรูสุ วิหรติ ประทับอยู่ ณ

กุรูชนบท.

ในบทว่า กมฺมาสธมฺม นี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาความด้วยแปลง

ธ เป็น ท. ชื่อว่า กมฺมาสธมฺม เพราะ กัมมาสะ ถูกทรมานในเพราะ

เหตุนี้. บทว่า กมฺมาโส ท่านกล่าวว่า กมฺมาสบาท เป็นมนุษย์กินคน.

เล่ากันมาว่า แผลพุขึ้นที่เท้าของกัมมาสบาทนั้น ในที่ที่ถูกตอตำได้พุขึ้นเป็น

เช่นกับไม้เจตมูลเพลิง เพราะฉะนั้น กัมมาสะได้ปรากฏชื่อว่า กมฺมาสบาท.

ก็กัมมาสบาทถูกทรมานในโอกาสนั้น จึงได้เลิกจากการเป็นมนุษย์กินคน. ใคร

ทรมาน. พระมหาสัตว์. กล่าวไว้ในชาดกไหน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่าใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

มหาสุตตโสมชาดก. แต่พระเถระเหล่านี้กล่าวว่า ในชยทิสชาดก. ก็ครั้งนั้น

กัมมาสบาทได้ถูกพระมหาสัตว์ทรมาน ดังที่พระโพธิสัตว์ตรัสไว้ว่า

เราเป็นโอรสของพระเจ้าชยทิสะผู้เป็นใหญ่

ในแคว้นปัญจาล เราได้สละชีวิตให้กัมมาส-

บาทปล่อยพระชนก และเราได้ให้แม้กัมมาส-

บาทเลื่อมใสแล้ว ดังนี้.

แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาด้วย ธ อักษรเท่านั้น ได้ยินว่า กุรุธรรม

ของชาวแคว้นกุรุ เกิดด่างพร้อยขึ้นแล้วในแคว้นนั้น เพราะฉะนั้น ที่นั้นเป็น

ที่มีธรรมด่างพร้อยเกิดขึ้นแล้ว ท่านจึงเรียกว่า กัมมาสธัมมะ กัมมาสธัมมะ

นี้เป็นชื่อของนิคมที่ชาวกุรุอาศัยอยู่ ณ ที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่กล่าว

ด้วยสัตตมีวิภัตติ์ เพราะไม่ใช่โอกาสเป็นที่อยู่ นัยว่า โอกาสเป็นที่อยู่ในนิคมนั้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เป็นพระวิหารแต่อย่างไร แต่ถอยออกไปจากนิคม

ได้มีดงป่าใหญ่ ในภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์สมบูรณ์ด้วยน่าอย่างใดอย่างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่นั้นทรงกระทำนิคมนั้นให้เป็นโคจรคาม

เพราะฉะนั้น พึงทราบความในบทนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ ทรงกระทำนิคมนั้นให้

เป็นโคจรคาม.

บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วย

ความเคารพ. บทว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระเจ้าองค์นั้น. บทว่า

เอกมนฺต แสดงถึงความเป็นนปุงสกลิงค์ ดุจในบทมีอาทิว่า พระจันทร์และ

พระอาทิตย์ทั้งหลายย่อมเดินไม่สม่ำเสมอดังนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบความใน

บทนี้อย่างนี้ว่า พระอานนท์ นั่งแล้ว โดยอาการที่พระอานนท์นั่ง ย่อมเป็น

นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง หรือว่า บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ์ลงในอรรถแห่ง

สัตตมีวิภัตติ์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

บทว่า นิสีทิ คือเข้าไปอยู่แล้ว จริงอยู่ บัณฑิตทั้งหลายเข้าไปหาผู้ที่อยู่

ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ย่อมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เพราะความเป็นผู้

ฉลาดในการนั่ง ก็พระอานนท์นี้เป็นบัณฑิตรูปหนึ่งของบรรดาบัณฑิตเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น จึงนั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็นั่งอย่างไรจึงเป็นอันนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง คือ ไกลเกินไป ๑

ใกล้เกินไป ๑ เหนือลม ๑ สูงไป ๑ ตรงหน้าเกินไป ๑ หลังเกินไป ๑

เพราะนั่งไกลเกินไป หากประสงค์จะถาม ก็จะต้องพูดด้วยเสียงดัง นั่งใกล้เกิน

ไปก็จะเบียดเสียด นั่งเหนือลมย่อมรบกวนด้วยกลิ่นตัว นั่งสูงไปย่อมแสดง

ความไม่เคารพ นั่งตรงหน้าเกินไป หากประสงค์จะมองดู ย่อมเป็นการจ้องตา

ต่อตาดูกัน นั่งหลังเกินไป หากประสงค์จะมองดู ก็จะต้องยืดคอดู เพราะฉะนั้น

แม้พระอานนท์นี้ ก็กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า ๓ ครั้ง แล้วถวาย

บังคมด้วยความเคารพเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่างเหล่านี้ เข้าไปภายในของ

พระพุทธรัศมี มีวรรณ ๖ อย่าง ในที่เฉพาะเบื้องหน้าของมณฑลพระชานุข้าง

ขวา ท่านพระอานนท์ผู้เป็นภัณฑาคาริกของพระธรรมได้นั่งแล้ว ดุจลงสู่รส

ครั่งที่ผ่องใส ดุจห่มแผ่นทองคำ และดุจเข้าไปสู่ท่ามกลางเพดานแห่งดอกอุบล

สีแดง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอานนท์นั่งแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ก็พระอานนท์นี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาไร ด้วยเหตุไร ในเวลาเย็น

ด้วยเหตุคือการถามปัญหาเรื่องปัจจยาการ ในวันนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปยัง

บ้านกัมมาธัมมะเพื่อบิณฑบาต ดุจเข้าไปสู่บ้านอันมีภัณฑะ ๑,๐๐๐ ณ ประตู

เรือนเพื่อสงเคราะห์ตระกูลกลับจากบิณฑบาตแล้ว ดูแลปรนนิบัติพระศาสดา

เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี ถวายบังคมพระศาสดาแล้วไปสู่ที่พัก

กลางวันของตน เมื่อลูกศิษย์ทั้งหลายดูแลปรนนิบัติแล้วกลับไปแล้ว ได้กวาด

ที่พักกลางวันปูแผ่นหนัง ตักน้ำจากตุ่มน้ำเอาน้ำชำระมือและเท้าให้เย็นนั่งขัด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

สมาธิ เข้าสมาบัติขั้นโสดาปัตติผล ครั้นออกจากสมาบัติตามกาลเวลาที่กำหนดไว้แล้ว

หยั่งลงสู่ญาณในปัจจยาการ.

พระอานนท์นั้น ถึงบทที่สุดตั้งแต่บทต้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

มีสังขารดังนี้ บทต้นตั้งแต่บทที่สุด บทท่ามกลางตั้งแต่บทที่สุดทั้งสอง บทที่

สุดทั้งสองตั้งแต่บทท่ามกลาง พิจารณาปัจจยาการ ๑๒ บท ๓ ครั้ง เมื่อพิจารณา

อยู่อย่างนี้ ปัจจยาการแจ่มแจ้งยิ่งนัก ปรากฏดุจง่ายแสนง่าย จากนั้นพระอานนท์

ดำริว่า ปัจจยาการนี้พระพุทธเจ้าทั้งปวงตรัสว่าลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ้ง

ก็เมื่อเราผู้เป็นสาวกตั้งอยู่แล้วในความรู้เรื่อง พื้นที่ความง่ายยังปรากฏชัดแจ้ง

ความง่ายนั้นเป็นความง่ายปรากฏแก่เราเท่านั้นหรือ หรือแม้แก่ผู้อื่นด้วย ลำดับ

นั้น พระเถระได้มีความดำริว่า ถ้ากระไร เราจะนำปัญหานี้ไปทูลถามพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทำเรื่องนี้เป็นเหตุเกิดขึ้นแล้ว จักตรัสพระ

สุตตันตหมวดหนึ่ง จักทรงแสดงแก่เราแน่นอนดุจทรงยกเขาสาลินทสิเนรุขึ้น

ฉะนั้น จริงอยู่ พระญาณที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงถึงฐานะ ๔ อย่างเหล่านี้

คือ การบัญญัติพระวินัย ลำดับพื้นที่ ปัจจยาการ ลำดับสมัยเป็นญาณที่กึกก้อง

โกลาหลยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าถึงพระญาณ ย่อมปรากฏความ

เป็นพุทธญาณอันยิ่งใหญ่ เทศนาเป็นความลึกซึ้งกำจัดด้วยพระไตรลักษณ์

ปฏิสังยุตด้วยความเป็นของสูญดังนี้ พระอานนท์นั้นตามปกติในวันหนึ่งเมื่อ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ๑๐๐ ครั้งบ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ก็จริง ย่อมไม่เข้าไป

เฝ้าโดยไม่มีเหตุการณ์ แต่วันนั้น พระอานนท์นำปัญหานี้ไปแล้วคิดว่า เราจัก

นั่งใกล้พระพุทธเจ้าดุจคันธหัตถี แล้วฟังพระสุรเสียงกึกก้องด้วยพระญาณ

จักนั่งใกล้พระพุทธเจ้าดุจสีหะ ฟังการบันลือพระสุรเสียงดุจสีหะด้วยพระญาณ

จักนั่งใกล้พระพุทธเจ้าดุจสินธพ แล้วจักเห็นการก้าวไปสู่ทางแห่งพระญาณดังนี้

แล้วลุกจากที่พักกลางวันพับแผ่นหนัง ถือไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาเย็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอานนท์เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุคือการถามปัญหา

เกี่ยวกับปัจจยาการในเวลาเย็นดังนี้.

ยาวศัพท์ในบทว่า ยาว คมฺภีโร นี้ เป็นไปในความว่า เกินประมาณ

อธิบายว่า ล่วงประมาณ ลึกซึ้งยิ่งนัก. บทว่า คมฺภีราวภาโส ความว่า

ปรากฏคือเห็นเป็นของลึก เพราะว่าข้อหนึ่งง่ายโดยแท้แต่เป็นของลึกซึ้ง เหมือน

น้ำเก่ามีสีดำด้วยอำนาจรสของใบไม้เน่า ก็น้ำนั้นแม้แค่เข่า ก็ปรากฏดุจ ๑๐๐

ชั่วคน บทหนึ่งลึกซึ้งปรากฏเป็นของง่ายดุจน้ำใสในมณิคงคา ด้วยว่าน้ำนั้น

แม้ชั่ว ๑๐๐ บุรุษ ก็ปรากฏเหมือนแค่เข่า บทหนึ่งง่ายปรากฏเป็นของง่ายเหมือน

น้ำในภาชนะมีตุ่มเป็นต้น บทหนึ่งง่ายปรากฏเป็นของลึกซึ้ง ย่อมเห็นเหมือน

น้ำในมหาสมุทรเชิงเขาสิเนรุ น้ำนั่นแหละย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง อย่างนี้ แต่ข้อ

นี้ไม่มีในปฏิจจสมุปบาท เพราะปฏิจจสมุปบาทนี้ย่อมได้ชื่ออย่างเดียวเท่านั้นว่า

ลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้งดังนี้ ปฏิจจสมุปบาทแม้มีอยู่เห็นปานนี้ ก็

แต่ว่าปรากฏแก่เราเหมือนง่ายแสนง่าย พระอานนท์เมื่อจะประกาศความประ-

หลาดใจของตนอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ไม่เคยมีมาก่อน ดังนี้ จึงทูลถามปัญหาแล้วนั่งนิ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของพระอานนท์นั้นแล้วทรงดำริว่า

อานนท์กล่าวปัญหาอันเป็นพุทธวิสัยว่าเป็นของง่ายของตน ดุจเหยียดมือเพื่อ

จับภวัคคพรหม ดุจพยายามเพื่อทำลายเขาสิเนรุแล้วนำเยื่อออก ดุจประสงค์

จะข้ามมหาสมุทรโดยไม่มีเรือ และดุจพยายามพลิกแผ่นดินถือเอาโอชะของ

แผ่นดินดังนี้ แล้วตรัสว่า มา เหว เป็นอาทิ ห อักษรในบทว่า มา เหว นั้น

เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า เธออย่ากล่าวอย่างนั้น อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะยังท่านพระอานนท์ให้เลิกละบ้าง ให้หมดความพอใจบ้าง จึงตรัสว่า มา เหว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ดังนี้ ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เมื่อจะยังพระอานนท์ให้เลิกละจึงตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้มีปัญญามากมีความฉลาด เพราะเหตุนั้นปฏิจจสมุปบาท

ลึกซึ้งและปรากฏเป็นของลึกซึ่ง เธอไม่ควรเข้าใจว่า ปฏิจจสมุปบาทแม้ลึกซึ้ง

ก็ปรากฏเป็นของง่ายแก่เธอ ทั้งเป็นของง่ายแก่ผู้อื่นด้วยดังนี้.

ในเรื่องนั้นอาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึงอุปมา ๔ ข้อ ชนทั้งหลายมองดู

หินของนักมวยปล้ำ ในระหว่างนักมวยปล้ำใหญ่ผู้สูงใหญ่ ผู้สัมผัสกับรสอาหาร

ที่ดีตลอด ๖ เดือน กระทำการออกกำลังสะสมหินของนักมวยปล้ำซึ่งแสดง

คราวมีมหรสพ ผู้ไปสู่ยุทธภูมินักมวยปล้ำกล่าวว่า นี่อะไร หินของนักมวยปล้ำ

พวกท่านจงนำหินนั้นมา เมื่อชนทั้งหลายพูดว่า พวกเราไม่สามารยกขึ้นได้ เขาไป

ด้วยตนเอง กล่าวว่าที่หนักของหินนี้อยู่ที่ไหน แล้วยกหิน ๒ แผ่นขึ้นด้วยมือ

ทั้ง ๒ แล้วเหวี่ยงไปดุจเล่นลูกกลมแล้วก็ไป ในเรื่องนั้นควรพูดได้ว่า หินของ

นักมวยปล้ำ เป็นของเบาแก่นักมวยปล้ำไม่เบาแก่คนพวกอื่น จริงอยู่ ท่านพระ-

อานนท์ถึงพร้อมแล้วด้วยอภินิหารตลอดแสนกัป ดุจนักมวยปล้ำผู้สัมผัสกับรส

อาหารที่ดีตลอด ๖ เดือน หินของนักมวยปล้ำเป็นของเบาเพราะนักมวยปล้ำ

เป็นผู้มีกำลังมากฉันใด ปฏิจจสมุปบาทเป็นของง่าย เพราะพระเถระเป็นผู้มี

ปัญญามากฉันนั้น ไม่ควรกล่าวว่าปฏิจจสมุปบาทง่ายแก่คนเหล่าอื่นด้วย.

อนึ่ง ในมหาสมุทร ปลาชื่อติมิใหญ่ ๒๐๐ โยชน์ ชื่อติมิงคลใหญ่ ๓๐๐

โยชน์ ชื่อติมิติมิงคลใหญ่ ๔๐๐ โยชน์ ชื่อติมิรมิงคลใหญ่ ๕๐๐ โยชน์ ปลา

๔ ชนิดนี้คือ ปลาอานันทะ ปลาติมินทะ ปลาอัชฌาโรหะ ปลามหาติมิใหญ่

๑,๐๐๐ โยชน์ ในบทนั้น อาจารย์ทั้งหลายแสดงถึงปลาชื่อติมิรมิงคละอย่างเดียว

เล่ามาว่า เมื่อปลาติมิรมิงคละนั้นกระดิกหูขวา น้ำกระเพื่อมไปถึง ๕๐๐ โยชน์

กระดิกหูซ้าย หาง หัว ก็เหมือนกัน แต่ถ้าปลาชื่อติมิรมิงคละนั้นกระดิกหู

ทั้งสองข้าง เอาหางฟาดน้ำ ส่ายหัวไปมาปรารภเพื่อจะเล่นน้ำในที่ ๗-๘ ร้อย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

โยชน์ ย่อมเดือดพล่านเหมือนน้ำที่ใส่ในภาชนะแล้วยกขึ้นบนเตา ฉะนั้น น้ำ

ในที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ไม่สามารถจะท่วมหลังได้ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายพากันพูดว่า มหาสมุทรนี้ ลึก ลึก แต่ไหนแต่ไรมา พวกเรา

ไม่ได้น้ำ แม้แค่ท่วมหลัง เพราะมหาสมุทรนั้นลึกมาก ในข้อนั้นควรกล่าวว่า

สำหรับปลาชื่อติมิรมิงคละจมไปทั้งตัว มหาสมุทรตื้น สำหรับปลาเล็ก ๆ เหล่า

อื่น มหาสมุทรไม่ตื้น ควรกล่าวว่า สำหรับ พระเถระผู้เข้าถึงญาณปฏิจจสมุปบาท

เป็นของตื้น สำหรับคนเหล่าอื่นไม่ตื้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

อนึ่ง พญาครุฑ ใหญ่ประมาณ ๑๕๐ โยชน์ ปีกขวาของพญาครุฑ

ประมาณ ๕๐ โยชน์ ปีกซ้ายกะเหมือนกัน แผ่นหางประมาณ ๖๐ โยชน์ คอ

ประมาณ ๓๐ โยชน์ ปาก ๙ โยชน์ เท้าทั้งสองประมาณ ๑๒ โยชน์ เมื่อ

พญาครุฑนั้นแสดงลมของพญาครุฑ ที่ ๗-๘ ร้อยโยชน์ไม่เพียงพอ เขาพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า เขาทั้งหลายพูดกันว่า อากาศนี้ไม่มีที่สุด อากาศนี้ไม่มีที่สุด

แต่ไหนแต่ไรมา พวกเราไม่ได้ แม้โอกาสที่จะกระพือปีก เพราะอากาศนั้นไม่มี

ที่สุด ในข้อนั้นพึงกล่าวว่า อากาศของพญาครุฑตัวเข้าไปถึงทั้งตัวนิดหน่อย ของ

นกเล็ก ๆ เหล่าอื่น ไม่นิดหน่อย พึงกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทของพระเถระ

ผู้เข้าถึงญาณนั่นแล ตื้น แม้ของพวกอื่นไม่ตื้นอย่างนั้นเหมือนกัน.

อนึ่ง อสุรินทราหู จากเส้นผมถึงปลายเท้า ๔,๘๐๐ โยชน์ ระหว่าง

แขนทั้งสองข้างของอสุรินทราหู ๑,๒๐๐ โยชน์ โดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ฝ่ามือ

ฝ่าเท้าโดยส่วนหนา ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์ ปากก็เหมือนกัน ข้อนิ้ว

มือข้อหนึ่ง ๆ ๕๐ โยชน์ ระหว่างคิ้วก็เหมือนกัน หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์

ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ เมื่ออสุรินทราหูนั้นหยั่งลงไปสู่มหาสมุทร น้ำลึกประมาณ

แค่เข่า เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า มหาสมุทรนี้ลึก ลึก

แต่ไหนแต่ไรมา พวกเราไม่ได้น้ำแม้แค่ปิดเข่า เพราะมหาสมุทรนั้นลึกสำหรับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ราหูผู้ลงไปทั้งตัว ในมหาสมุทรนั้นตื้น สำหรับคนเหล่าอื่นไม่ตื้น พึงกล่าวว่า

ปฏิจจสมุปบาทของพระเถระผู้เข้าถึงญาณเป็นของง่าย แม้ของคนอื่นไม่ง่าย

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวนั้น ดูก่อน

อานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดังนี้ ทรงหมายถึงความนั้น.

จริงอยู่ ปฏิจจสมุปบาท แม้ลึกซึ้งปรากฏว่าเป็นของง่ายแก่พระเถระ

ด้วยเหตุ ๔ ประการ เหตุ ๔ ประการเป็นไฉน ด้วยการถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

ในชาติก่อน ด้วยการอยู่ในสำนักครู ด้วยความเป็นพระโสดาบัน ด้วยความเป็น

พหูสูต ได้ยินว่า จากนี้ไปแสนกัป พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติ

ขึ้นในโลก ได้มีนครของพระองค์ชื่อหังสวดี พระราชบิดาพระนามว่าอานันทะ

พระราชมารดาพระนามว่า สุเมธาเทวี พระโพธิสัตว์ได้มีพระนามว่าอุตตรกุมาร

พระโพธิสัตว์นั้นในวันที่พระโอรสประสูติเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช

ทรงประกอบความเพียรบรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรงเปล่งอุทานว่า

อเนชาติสสาร ดังนี้เป็นต้น ยังสัปดาห์หนึ่งให้ล่วงไป ณ โพธิบัลลังก์แล้ว

ทรงดำริว่า เราจักเหยียบบนแผ่นดินดังนี้แล้วทรงย่างพระบาท ทันใดนั้น

ประทุมใหญ่ทำลายแผ่นดินผุดขึ้นแล้ว กลีบของประทุมนั้น ๙๐ ศอก เกสร ๓๐

ศอก ฝักบัว ๑๒ ศอก ละอองประมาณ ๙ หม้อน้ำ ก็พระศาสดาได้มีโดย

ส่วนสูง ๕๘ ศอก ระหว่างพระพาหาทั้งสองของพระองค์ ๑๘ ศอก พระนลาฏ

๕ ศอก พระหัตถ์และพระบาท ทั้งสอง ๑๑ ศอก เมื่อพระศาสดาพอทรง

เหยียบที่ฝักบัว ๑๒ ศอก ด้วยพระบาท ๑๑ ศอก ละอองประมาณ ๙ หม้อน้ำ

ผุดพุ่งขึ้นสู่ที่อยู่ประมาณ ๕๘ ศอก เรี่ยรายดังผงของมโนสิลาที่เรี่ยราย อาศัย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปรากฏพระนามว่า พระปทุมุตตระ.

พระองค์ได้มีอัครสาวก ๒ รูป คือ พระเทวิละและพระสุชาตะ อัคร-

สาวิกา ๒ คือ นางอมิตาและนางอสมา อุปฐากชื่อ พระสุมนะ พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ มีภิกษุแสนรูป เป็นบริวาร ทรงกระทำการ

สงเคราะห์พระชนกประทับอยู่ ณ ราชธานีหังสวดี.

ส่วนพระกนิฏฐาของพระปทุมุตตระนั้น พระนามว่า สุมนกุมาร พระ

ราชาได้พระราชทานบ้านส่วยแก่พระราชกุมาร ในท้องที่ประมาณ ๒,๐๐๐ โยชน์

จากหังสวดีนคร พระสุมนกุมารนั้น บางครั้งบางคราวเสด็จมาเฝ้าพระชนก

และศาสดา อยู่มาวันหนึ่ง ชายแดนกำเริบ สุมนกุมารทรงส่งข่าวให้พระราชบิดา

ทรงทราบว่า ชายแดนกำเริบ พระราชบิดาทรงส่งกลับไปว่า เราตั้งเธอไว้ ณ

ที่นั้นเพราะอะไร พระราชกุมารนั้นเสด็จออกปราบโจรจนสงบ แล้วจึงทรงส่ง

ข่าวให้พระราชบิดาทรงทราบว่า โจรสงบแล้ว พระเจ้าข้า พระราชบิดาทรง

พอพระทัย ตรัสว่า โอรสของเราจงมาโดยเร็วเถิด พระโอรสนั้นได้มีอำมาตย์

ประมาณ ๑,๐๐๐ ในระหว่างทาง พระองค์ได้ทรงปรึกษากับอำมาตย์เหล่านั้นว่า

พระชนกของเราทรงพอพระทัย หากพระชนกจะพระราชประทานพรแก่เรา

เราจะเอาอะไรดี ลำดับนั้น อำมาตย์บางพวกทูลว่า ขอพระองค์จงรับ ช้าง ม้า

ชนบท แก้ว ๗ ประการเถิด อีกพวกหนึ่งทูลว่า พระองค์เป็นโอรสของผู้

เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ทรัพย์ของพระองค์ก็หาได้ไม่ยาก อนึ่ง แม้พระองค์ได้

ทรัพย์แล้วก็ควรสละทรัพย์ทั้งหมดนั้นไป พระองค์ควรทรงถือเอาบุญเท่านั้น

ไป เพราะฉะนั้น เมื่อพระราชาพระราชประทานพร ขอพระองค์จงทรงรับพร

เพื่อบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ตลอด ๓ เดือนเถิด

พระเจ้าข้า พระราชกุมารนั้น ตรัสว่า พวกท่านเป็นกัลยาณมิตรของเรา

เรามิได้มีความคิดนี้เลย ก็พวกท่านทำให้เราเกิดความคิด เราจักทำอย่างนั้น

แล้วเสด็จไปกราบบังคมพระชนก พระชนกทรงกอด แล้วจุมพิตที่พระเศียร

ตรัสว่า ลูกรัก พ่อจะให้พรแก่ลูก ดังนี้ ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อมดีแล้ว

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ตลอด ๓ เดือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ปรารถนากระทำชีวิตไม่ให้เป็นหมัน ขอพระองค์จงพระราชประทานพรนี้แก่

ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า พระราชบิดาตรัสว่า พ่อไม่อาจให้พรนั้นได้ดอกลูก

พ่อจะให้พรอื่น พระสุมนราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระบิดา ธรรมดากษัตริย์

ทั้งหลาย ไม่มีพระดำรัสเป็นสอง ขอทูลกระหม่อมพระราชทานพรนั้นแก่

ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ ไม่ต้องการพรอย่างอื่น พระราชบิดา

ตรัสว่า ลูกรัก ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระทัยรู้ได้ยาก หากพระผู้มี

พระภาคเจ้าจักไม่ทรงปรารถนา แม้เราให้พรจักมีได้อย่างไร พระสุมนราชกุมาร

นั้นทูลว่า ข้าแต่พระบิดา ดีละ ข้าพระองค์ จักทราบพระทัยของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ดังนี้ แล้วเสด็จไปสู่พระวิหาร.

ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเสวยพระกระยาหารแล้วได้

เสด็จเข้าคันธกุฏี พระสุมนราชกุมารนั้นได้ไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งนั่ง

อยู่ ณ ปะรำ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกะพระสุมนราชกุมารว่า ท่านราชบุตร

พระองค์เสด็จมาเพื่ออะไร พระสุมนราชกุมารตรัสว่า เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงแสดงพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่ข้าพเจ้าเถิด ภิกษุ

ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านราชบุตร พวกอาตมาไม่ได้เห็นพระศาสดา ในขณะที่

ปรารถนาแล้วปรารถนาอีก พระสุมนราชกุมารตรัสว่า พระคุณเจ้า ก็ใครเล่าได้

เพื่อจะเห็น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านราชบุตร พระสุมนเถระได้เพื่อจะเห็น

พระสุมนราชกุมารตรัสถามว่า พระคุณเจ้า พระเถระอยู่ที่ไหนขอรับ แล้วตรัส

ถามถึงที่พระเถระนั่งได้เสด็จไปไหว้ แล้วตรัสว่า พระคุณเจ้าขอรับ ข้าพเจ้า

ปรารถนาจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงแก่ข้าพเจ้าเถิด

พระเถระกล่าวว่า มาเถิด ท่านราชบุตร แล้วพาพระสุมนราชกุมารไปพัก

ที่บริเวณพระคันธกุฎี ตัวท่านขึ้นไปสู่พระคันธกุฏี ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสถามว่า สุมนะ เธอมาเพราะอะไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ราชโอรสมาเฝ้าพระองค์ พระเจ้าข้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้นเธอจงปูอาสนะ

เถิด พระเถระได้ปูอาสนะแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปู

แล้ว พระราชโอรสถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงได้กระทำการปฏิ-

สันถาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอมาเมื่อไรเล่า ราชบุตรกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าคันธกุฏี แต่ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

พวกเราก็ไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ในขณะที่ปรารถนาแล้วปรารถนาอีก

แล้ว ส่งข้าพระองค์ไปหาพระเถระ แต่พระเถระได้ชี้แจงเพียงคำเดียวเท่านั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระเห็นจะเป็นผู้โปรดปรานในศาสนาของพระองค์

กระมัง พระเจ้าข้า ตรัสว่า ถูกแล้ว กุมาร ภิกษุนั้น เป็นผู้โปรดปรานในศาสนา

ของเรา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายกระทำอะไร จึงเป็น

ผู้โปรดปรานในศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสว่า ราชกุมาร บุคคลให้ทาน

สมาทานศีล รักษาอุโบสถ จะเป็นผู้โปรดปรานในศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ประสงค์จะเป็นผู้โปรดปราน

ในพระพุทธศาสนาดุจพระเถระ ขอพระองค์จงทรงรับนิมนต์อยู่จำพรรษา

ตลอด ๓ เดือน แก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตรวจดูว่า การไป ณ ที่นั้นจะมีประโยชน์หรือหนอ ทรงเห็นว่ามี จึงตรัสว่า

ราชกุมาร พระตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร พระกุมารกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์

ทราบแล้ว. แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะกลับไปก่อน

แล้วสร้างที่ประทับ เมื่อข้าพระองค์ส่งข่าวมาแล้ว ขอพระองค์จงเสด็จมาพร้อม

ด้วยภิกษุแสนรูป ครั้นรับปฏิญญาแล้วจึงเสด็จไปเฝ้าพระชนกกราบทูลว่า

ข้าแต่พระบิดา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ปฏิญญาแก่ข้าพระองค์แล้ว เมื่อข้า

พระองค์ส่งข่าวมา ขอพระบิดาพึงส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าไปเถิด พระเจ้าข้า ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

แล้วถวายบังคมพระชนกเสด็จออกไปสร้างพระวิหารในที่โยชน์หนึ่ง โยชน์หนึ่ง

เสด็จไปทางไกลถึง ๒,๐๐๐ โยชน์ ทรงเลือกสถานที่สร้างวิหารในพระนครของ

พระองค์ ทอดพระเนตรเห็นสวนของกุฏุมพีชื่อโสภะ ทรงซื้อหนึ่งแสน ทรงสละ

หนึ่งแสน สร้างพระวิหาร ณ พระวิหารนั้น พระสุมนราชกุมารทรงสร้าง

คันธกุฏีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และกุฏิที่เร้นลับและมณฑป เพื่อเป็นที่พัก

กลางคืนและกลางวันของภิกษุที่เหลือทำกำแพงล้อม และสร้างซุ้มประตูสำเร็จ

แล้ว จึงส่งข่าวให้พระชนกทรงทราบว่า กิจของข้าพระองค์สำเร็จแล้ว ขอพระ

บิดาจงทรงส่งพระศาสดาไปเถิด พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า กิจของสุมนะสำเร็จแล้ว เธอหวังการเสด็จไปของพระองค์ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุหนึ่งแสนเป็นบริวาร ประทับอยู่ในพระวิหารทั้งหลาย

ในที่โยชน์หนึ่ง โยชน์หนึ่งได้เสด็จไปแล้ว พระกุมารทรงสดับว่าพระศาสดา

กำลังเสด็จมา จึงเสด็จไปต้อนรับสิ้นทางโยชน์หนึ่ง ทรงบูชาด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น ทูลอัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จเข้าไปสู่พระวิหารแล้ว

กราบทูลว่า

ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงทรงรับ

สวนชื่อโสภนะ ซึ่งข้าพระองค์ซื้อมาด้วยทรัพย์

หนึ่งแสน สร้างอีกด้วยทรัพย์หนึ่งแสน พระเจ้าข้า

แล้วถวายมอบพระวิหาร.

สุมนราชกุมารนั้น ในวันเข้าพรรษาถวายทานแล้ว ตรัสเรียก

โอรสและชายาของพระองค์ และอำมาตย์ทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่าพระศาสดา

พระองค์นี้มาสู่สำนักของเราแต่ไกลทีเดียว อนึ่ง ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นผู้หนักในธรรมไม่เพ่งต่ออามิส เพราะฉะนั้น เราจะนุ่งห่มผ้าสาฏก ๒ ผืน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

สมาทานศีลแล้วอยู่ ณ ที่นี้แหละตลอด ๓ เดือนนี้ พวกท่านทั้งหลายจงถวาย

ทาน แก่พระขีณาสพหนึ่งแสนรูป โดยทำนองนี้แลตลอด ๓ เดือน.

สุมนราชกุมารนั้น ประทับนั่งอยู่ ณ ที่อันมีส่วนเสมอกันกับที่อยู่ของ

พระสุมนเถระ ทรงเห็นข้อวัตรปฏิบัติที่พระเถระกระทำแด่พระผู้มีพระภาค

ทั้งหมด จึงทรงดำริว่า พระเถระนี้เป็นผู้โปรดปรานโดยส่วนเดียวในที่นี้ ณ ที่

ควรปรารถนาฐานันดรของพระเถระนี้เถิด เมื่อใกล้ถึงวันปวารณาเสด็จเข้าไป

สู้บ้านทรงบริจาคทานใหญ่ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ทรงตั้งไตรจีวรไว้ ณ ที่

ใกล้เท้าของภิกษุหนึ่งแสนรูป ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญอันใดที่ข้าพระองค์กระทำแล้ว จำเดิมแต่การสร้างพระ

วิหาร อันมีในระหว่างโยชน์หนึ่ง ๆ ในหนทางบุญอันนั้น ข้าพระองค์มิได้

ปรารถนา สัคคสมบัติ มารสมบัติ และพรหมสมบัติ แต่ปรารถนาความเป็น

อุปฐากของพระพุทธเจ้าจึงได้กระทำ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้

มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์ก็จะพึงเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ในอนาคต

ดุจพระสุมนเถระ แล้วหมอบถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงตรวจดูว่า จิตยิ่งใหญ่ของกุลบุตรจักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงทราบว่า

ในอนาคตในกัปที่แสนจากนี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักทรงอุบัติ

สุมนะนี้จักเป็นอุปฐากของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงทรงประทานพรว่า

ขอความปรารถนาที่ตั้งไว้นั้นทั้งหมดแล

จงสำเร็จแก่ท่าน ขอความดำริทั้งหลายทั้ง

ปวงจงเต็ม เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ

ฉะนั้นเถิด ดังนี้.

พระกุมารทรงสดับดังนั้นจึงดำริว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อม

มีพระดำรัสไม่เป็นสองดังนี้ ในวันที่สองนั่นเอง ทรงรับบาตรและจีวรของพระ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ได้ทำเป็นดุจทรงดำเนินไปข้างหลัง ๆ พระ

กุมารนั้นถวายทานในพุทธุปบาทนั้นตลอดหนึ่งแสนปี ทรงไปบังเกิดในสวรรค์

แม้ในครั้งศาสนาของพระพุทธกัสสปก็ได้ถวายผ้าสาฎกเนื้อดี เพื่อรับบาตรของ

พระเถระผู้เที่ยวไปบิณฑบาตแล้วได้ทรงทำการบูชา ได้ไปบังเกิดบนสวรรค์อีก

จุติจากนั้นแล้วได้เป็นพระเจ้าพาราณสี ทรงสร้างบรรณศาลาแด่พระปัจเจก

พุทธเจ้า ๘ องค์ ตั้งหม้อน้ำใสดุจแก้วมณีไว้ ได้ทรงกระทำการบำรุงด้วย

ปัจจัย ๔ ตลอดหมื่นปี เหตุเหล่านี้เป็นที่ปรากฏชัดแล้ว.

ก็พระสุมนราชกุมารนั้นทรงบริจาคทานอย่างเดียว ตลอดหนึ่งแสนกัป

ทรงบังเกิดในภพดุสิตพร้อมกับพระโพธิสัตว์ของเรา ครั้นจุติจากภพดุสิตนั้น

ได้ถือปฏิสนธิในพระตำหนักของเจ้าศากยะพระนามว่า อมิโตทนะ. เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จออกทรงผนวชโดยลำดับ ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว

เสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์โดยเสด็จไปเป็นครั้งแรก แล้วเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายพากันทรงผนวช เพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้เสด็จออกพร้อมกับเจ้าศากยะทั้งหลายมีท่านภัททิยะเป็นต้น ทรง

ผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่นานนัก ได้สดับธรรมกถาในสำนัก

ของท่านปุณณมันตานีบุตรแล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ท่านพระเถระนี้เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติก่อนด้วยประการฉะนี้ ปฏิจจสมุปบาทแม้ลึกซึ้งก็

ปรากฏดุจเป็นของง่าย เพราะความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยในชาติก่อนของพระเถระ

นั้น.

เกจิอาจารย์กล่าวถึงการเรียน การฟัง การสอบถาม และการทรงไว้ใน

สำนักครูทั้งหลายบ่อย ๆ ด้วยบทว่า ติตฺถวาโส คือการอยู่ในสำนักครู การอยู่

ในสำนักครูนั้นของพระเถระบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แม้ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้

แม้ลึกซึ้ง ก็ปรากฏแก่พระเถระเป็นดุจเป็นของง่าย อนึ่ง ปัจจยาการปรากฏ

เป็นของง่ายของผู้เป็นโสดาบัน ก็พระเถระนี้ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

การกำหนดนามรูป ย่อมปรากฏแก่ท่านผู้เป็นพหูสูตดุจเตียงและตั่งย่อม

ปรากฏ เมื่อดวงประทีปส่องสว่างในห้องนอนประมาณ ๔ ศอก ก็ท่านพระเถระ

นี้เป็นผู้เลิศของผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ปัจจยาการแม้ลึกซึ้งก็ปรากฏแก่พระเถระ

นั้น ดุจเป็นของง่ายด้วยอานุภาพแห่งความเป็นพหูสูตด้วยประการฉะนี้.

ในความง่ายและความลึกซึ้งของปฏิจจสมุปบาทนั้น ปฏิจจสมุปบาท

ชื่อว่าเป็นของลึกซึ้งด้วยอาการ ๔ อย่างคือ ด้วยความลึกซึ้งโดยอรรถ ด้วย

ความลึกซึ้งโดยธรรม ด้วยความลึกซึ้งโดยเทศนา ด้วยความลึกซึ้งโดยปฏิเวธ

ในความลึกซึ้ง ๔ อย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่า มีและ

เกิดขึ้น เพราะชาติเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่า มีและ

เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น นี้คือความที่

ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้ง โดยอรรถปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถคือ

อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นของลึกซึ้ง มีอรรถคือชาติเป็นปัจจัย

แห่งชราและมรณะ เพราะเหตุนั้น นี้ชื่อว่าความที่ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้ง

โดยธรรม ในบางสูตรท่านแสดงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม ในบางสูตรโดย

ปฏิโลม ในบางสูตรทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ในบางสูตรโดยอนุโลมหรือโดย

ปฏิโลมตั้งแต่ตอนกลาง ในบางสูตรโดยอนุโลมหรือโดยปฏิโลมตั้งแต่ตอนท้าย

ในบางสูตรมีสนธิ ๓ สังเขป ๔ ในบางสูตรมีสนธิ ๒ สังเขป ๓ ในบางสูตร

มีสนธิ ๑ สังเขป ๒ เพราะเหตุนั้น นี้ชื่อว่าความที่ปฏิจจสมุปบาทมีความลึกซึ้ง

โดยเทศนา อนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทเป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แทง

ตลอดสัจจธรรมแห่งอวิชชา เป็นของลึกซึ้ง มีอรรถว่า ปรุงแต่งรวบรวมสังขาร

ทั้งหลายมีกำหนัดและคลายความกำหนัด มีอรรถว่า ความเป็นของสูญ ความไม่

ขวนขวาย ความไม่เคลื่อนที่และความปรากฏแห่งปฏิสนธิของวิญญาณ มีอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ว่า เกิดหนเดียว การแยกกัน การไม่แยกกัน การน้อมไป การทำลายของนาม

รูป มีอรรถว่า เป็นใหญ่เป็นทวาร และเขตของโลก และความเป็นธรรมมี

อารมณ์ของอายตนะ ๖ มีอรรถว่า สัมผัส เสียดสีไปร่วมและประชุมของผัสสะ

มีอรรถว่า การเสวยอารมณ์และรส และการเสวยสิ่งไร้ชีวิตคือความเป็นสุข เป็น

ทุกข์และกลางๆ ของเวทนา มีอรรถว่า ยินดียิ่ง พะวงยิ่ง สายน้ำ แม้น้ำคือตัณหา

มหาสมุทรคือตัณหา เต็มได้ยากของตัณหา มีอรรถว่า ถือรับยึดถูกต้องล่วงไป

ได้ยากของอุปาทาน มีอรรถว่า ประมวลปรุงแต่งการซัดไปใน โยนิ คติ ฐิติ

และนิวาสสถานทั้งหลายของภพ มีอรรถว่า ความปรากฏชาติสัญชาติความก้าว

ลงการเกิดขึ้นของชาติ มีอรรถว่า สิ้นไป เสื่อมไป แตกไป และแปรปรวน ของ

ชราและมรณะด้วยประการอย่างนี้ สภาวะแห่งอวิชชาเป็นต้นใด ธรรมทั้งหลาย

มีอวิชชาเป็นต้น เป็นอันรู้แจ้งแทงตลอดโดยลักษณะอันมีรสด้วยปฏิเวธใด

สภาวะและปฏิเวธนั้นเป็นของลึกซึ้ง เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่านี้คือความที่

ปฏิจจสมุปบาท มีความลึกซึ้งโดยปฏิเวธ.

ปฏิจจสมุปบาทแม้ทั้งหมดนั้น ปรากฏแก่พระเถระดุจเป็นของง่าย

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะยังท่านพระอานนท์ให้คลายความคิด

จึงตรัสว่า มา เหว ดังนี้เป็นต้น ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็น

ผู้มีปัญญามาก มีปัญญาเฉลียวฉลาด ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นของ

ลึกซึ้งย่อมปรากฏแก่เธอดุจเป็นของง่าย เพราะฉะนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า

ปฏิจจสมุปบาทนี้ปรากฏเป็นของง่ายแก่เราเท่านั้นหรือ หรือว่าแม้แก่ผู้อื่นด้วย

ในบทที่ท่านกล่าวว่า อปสาเทนฺโต นั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่า

ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้ย่อมปรากฏแก่เราดุจเป็น

ของง่าย ๆ ก็ผิว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ย่อมปรากฏแก่เธอดุจเป็นของง่าย ๆ ไซร้

เพราะเหตุไร เธอจึงมิได้เป็นโสดาบันตามธรรมดาของตน เธอตั้งอยู่ในนัยที่เรา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ให้แล้วจึงบรรลุโสดาปัตติมรรค ดูก่อนอานนท์ นิพพานนี้เท่านั้นเป็นของลึกซึ้ง

แต่ปัจจยาการเป็นของง่ายของท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอถอน

กิเลส ๔ เหล่านี้คือ กามราคสังโยชน์ (การผูกจิตด้วยกามราคะ) ปฏิฆสัง-

โยชน์ (การผูกจิตด้วยความแค้น) อย่างหยาบ กามราคานุสัย (กิเลสอันนอน

เนื่องอยู่ในสันดานคือกามราคะ) ปฏิฆานุสัยอย่างหยาบ (กิเลสอันนอนเนื่อง

อยู่ในสันดานคือความแค้น) ได้แล้ว จึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เธอถอน

กิเลส ๔ อันเกี่ยวเนื่องเหตุนั้นได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล เธอถอน

กิเลส ๘ อย่างเหล่านี้คือ สังโยชน์ ๕ มีรูปราคะ (ความกำหนัดในรูป) เป็นต้น

ภวราคานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ) มานานุสัย

(กิเลสอันนอนเนื่องในสันดานคือมานะ) อวิชชานุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องใน

สันดานคืออวิชชา) ได้แล้ว ไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต อนึ่ง เพราะเหตุไร

เธอจึงไม่บรรลุสาวกปารมีญาณ ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้บำเพ็ญ

บารมีตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป และเธอไม่บรรลุปัจเจกโพธิญาณดุจพระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีตลอด ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็หรือ

ผิว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นปรากฏเป็นของง่าย โดยประการทั้งปวงแก่เธอ เมื่อเป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ ดุจพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้วตลอด ๔ อสงไขย ๘ อสงไขยหรือ ๑๖ อสง-

ไขยยิ่งด้วยแสนกัป เธอเป็นผู้ไม่มีประโยชน์อะไรด้วยการบรรลุคุณวิเศษ

เหล่านี้ เธอจงมองดูความผิดพลาดของเธอโดยตลอด สาวกเช่นเธอตั้งอยู่ใน

ความรู้พื้น ๆ ย่อมพูดถึงปัจจยาการอันลึกซึ้งยิ่งนักว่าปรากฏเป็นของง่ายแก่เรา

ดังนี้ คำพูดนี้ของเธอนั้นเป็นคำพูดตรงกันข้ามกับพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ถ้อยคำอันภิกษุเช่นเธอจะพึงกล่าวตรงกันข้ามกับพระดำรัสของพระ

พุทธเจ้าทั้งหลายไม่สมควรดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราเพียรเพื่อบรรลุปัจจยา-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

การนี้ล่วงไปถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ก็และชื่อว่าทานอันเราไม่ให้แล้ว

เพื่อบรรลุปัจจยาการไม่มี ชื่อว่าบารมีอันเราไม่บำเพ็ญแล้วไม่มี ก็และเมื่อเรา

กำจัดมารและเสนามาร ดุจไม่หายใจด้วยคิดว่า วันนี้เราจักบรรลุปัจจยาการ

แผ่นดินผืนใหญ่นี้ ไม่หวั่นไหวแม้แค่ ๒ นิ้ว เมื่อเราบรรลุบุพเพนิวาส (ขันธ-

ปัญจกที่อยู่อาศัยในชาติก่อน) ในปฐมยาม บรรลุทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็เหมือน

กัน แต่ในปัจฉิมยามตอนใกล้รุ่ง พอเราเห็นว่าอวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร

ทั้งหลายโดยอาการ ๙ อย่างดังนี้เท่านั้น หมื่นโลกธาตุเปล่งเสียงร้องก้องกังวาน

เป็นพัน ๆ เสียง ดุจกังสดาลถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก หวั่นไหวดุจหยาดน้ำที่

ใบบัวเมื่อต้องลมฉะนั้น ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นของลึกซึ้งถึง

อย่างนี้และปรากฏว่าเป็นของลึกซึ้ง ดูก่อนอานนท์ การไม่รู้ตาม ไม่บรรลุ

ธรรมนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้ดังนี้.

บทว่า เอตสฺส ธมฺมสฺส คือแห่งปัจจยธรรมนั้น. บทว่า อนนุโพธา

คือไม่รู้ตาม ด้วยสามารถญาตปริญญา (การกำหนดรู้ว่ารู้แล้ว). บทว่า

อปฏิเวธา คือไม่แทงตลอดด้วยสามารถแห่งการพิจารณาการละและการกำหนด

รู้. บทว่า ตนฺตากุลกชาตา คือเกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้าย อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลาย

พลาดในปัจจยาการนี้ ย่อมเป็นผู้วุ่นวายยุ่งเหยิง ไม่อาจทำปัจจยาการให้ตรง

ได้เหมือนด้ายของช่างหูกเก็บไว้ไม่ดีถูกหนูกัด ย่อมยุ่งในที่นั้น ๆ จึงเป็นการ

ยากที่จะทำปลายให้เสมอปลาย ทำต้นให้เสมอต้นได้ เพราะไม่รู้นี้ปลายนี้ต้น

ฉะนั้น ในความยุ่งของด้ายนั้นบุคคลวางด้ายไว้ในการงานของบุรุษเฉพาะตัว

ก็พึงสามารถทำให้ตรงได้ ก็สัตว์ทั้งหลายอื่นเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งสองเสียชื่อว่า

สามารถจะกระทำปัจจยาการให้ตรงได้ตามธรรมดาของตนย่อมไม่มี สัตว์ทั้ง

หลายเหล่านี้พลาดในปัจจัยทั้งหลายไม่สามารถทำปัจจัยให้ตรงได้ ย่อมยุ่งเหยิง

ผูกเป็นปมด้วยสามารถทิฐิ ๖๒ เหมือนด้ายยุ่งผสมน้ำข้าวบุคคลทุบด้วยหวาย ย้อม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

มะเกลือผูกเป็นปมในที่นั้นๆ ฉะนั้น ก็สัตว์พวกใดพวกหนึ่ง อาศัยทิฐิทั้งหลาย

ทั้งหมด ไม่สามารถทำปัจจยาการให้ตรงได้แน่แท้. บทว่า คุณคณฺิกชาตา

คือด้ายผสมน้ำข้าวของช่างหูก ท่านกล่าวว่า เป็นปมดุจกลุ่มด้าย อาจารย์

พวกหนึ่งกล่าวว่า รังของสกุณีนั้นชื่อคุณะ (เครื่องผูก) ดังนี้บ้าง ของยุ่งแม้

ทั้งสองอย่างนั้นพึงประกอบโดยนัยก่อนนั้นแลว่า เป็นการยากที่จะทำปลายให้

เสมอปสาย ท่านให้เสมอต้นได้ ดังนี้. บทว่า มุญฺชปพฺพชภูตา คือ เป็น

ดุจหญ้ามุงกระต่ายและดุจหญ้าปล้อง หมู่สัตว์นี้ไม่สามารถทำปัจจยาการให้ตรงได้

เป็นผู้มีปมด้วยอำนาจของทิฐิ ย่อมไม่พ้น อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร เหมือน

ถือเชือกที่เขาทุบหญ้าเหล่านั้นแล้วทำเป็นเชือก ครั้นถึงคราวเชือกเก่าก็จะตกลง

ในที่ไหนๆ จึงเป็นการยากที่จะทำให้ปลายเสมอปลาย ทำโคนให้เสมอโคนได้

เพราะไม่รู้ว่า นี้ปลาย นี้โคน ของเชือกเหล่านั้น ฉะนั้น บุคคลวางเชือก

แม้นั้นไว้ในการงานของบุรุษเฉพาะตัว พึงสามารถทำให้ตรงได้ ก็สัตว์เหล่าอื่น

เว้นพระโพธิสัตว์ทั้งสององค์เสีย ชื่อว่าสามารถจะทำปัจจยาการให้ตรงตาม

ธรรมดาของตน ย่อมไม่มี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน

เปรตวิสัย และอสูรกายทั้งหลาย จริงอยู่ แม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่านกล่าวว่า อบาย

เพราะไม่มีความเจริญกล่าวคือ วุฒิ อนึ่ง ชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นทางไปแห่งทุกข์

ชื่อว่าวินิบาต เพราะตกจากการตั้งขึ้นแห่งความสุข. ส่วนท่านนอกนี้กล่าวว่า

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

ยังเป็นไปไม่ขาดสาย ท่านกล่าวว่า สงสาร.

หมู่สัตว์ย่อมไม่พ้น คือไม่ก้าวล่วง แม้ทั้งหมดนั้น ลำดับนั้นแล

หมู่สัตว์ ถือจุติและปฏิสนธิบ่อยๆ อย่างนี้ คือ จากจุติ ถึง ปฏิสนธิ จากปฏิ

สนธิถึงจุติ ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปในภพทั้งหลาย ๓ ในกำเนิดทั้งหลาย ๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ในคติทั้งหลาย ๕ ในวิญญานฐิติทั้งหลาย ๗ ในสัตตาวาสทั้งหลาย ๙ ดุจเรือ

ถูกลมซัดไปในมหาสมุทรและดุจโคที่ถูกเทียมในเครื่องยนต์ ด้วยประการดังนี้

พึงทราบทั้งหมดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะยังท่านพระอานนท์ให้คลาย

ความคิดจึงตรัสแล้ว.

บัดนี้ เพราะสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบททั้งสองนี้แลว่า

ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกซึ้งและสัตว์ทั้งหลายเกิดเป็นผู้ยุ่ง

ดุจด้ายของช่างหูก ดังนี้ ฉะนั้น เมื่อทรงปรารภเทศนาเพื่อเห็นความลึกซึ้งของ

ปัจจยาการโดยสืบเนื่องนี้ก่อนว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกซึ้ง

จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ชราและมรณะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยดังนี้.

ปัจจัยแห่งชราและมรณะนี้ ชื่อ อิทัปปัจจัย (มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย)

เพราะฉะนั้น ชราและมรณะจึงมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย ดูก่อนอานนท์ มีบุคคลผู้เป็น

บัณฑิตถามแล้วอย่างนี้ว่า ปัจจัยของชราและมรณะมีอยู่หรือ ชราและมรณะ

พึงมีสิ่งใดเป็นปัจจัย ไม่ควรปฏิบัติโดยอาการที่พึงเป็นผู้นิ่งต่อปัญหา เพราะ

เมื่อมีผู้กล่าวว่า นั่นชีวะ นั่นสรีระ แล้วควรกำหนดไว้ หรือควรจะกล่าวว่า

ข้อนี้พระตถาคตไม่ทรงพยากรณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ควรกล่าวแก่เขาว่า มีโดยส่วน

เดียวเท่านั้น เหมือนอย่างเมื่อมีผู้กล่าวว่า จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ควรกล่าว

โดยส่วนเดียวเท่านั้นว่าไม่เที่ยง เมื่อมีผู้กล่าวอีกว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็น

ปัจจัย ชราและมรณะ ย่อมมีเพราะปัจจัยอะไร ดังนี้ ควรกล่าวแก่เขาดังนี้ว่า

ชราและมรณะมีชาติเป็นปัจจัย อธิบายว่า ควรกล่าวอย่างนี้ ในบททั้งหมด

มีนัยอย่างนี้ ก็บทนี้ว่า ผัสสะ มีนามรูปเป็นปัจจัย เพราะเมื่อกล่าวว่ามี

สฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นอันรับสัมผัสอันเป็นผล ๖ มีจักษุสัมผัส เป็นต้น แต่

ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงความวิเศษของปัจจัยที่เกิดขึ้น

รับบ้าง ไม่รับบ้าง ด้วยบทนี้ว่ามี สฬายตนะ เป็นปัจจัย ดังนี้ และปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

อันวิเศษ แม้อย่างอื่นของผัสสะ มากเกินกว่า สฬายตนะ ฉะนั้น พึงทราบว่า

พระองค์ตรัสไว้แล้ว ถามว่า ก็ด้วยวาระนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอะไรไว้

ตอบว่า ตรัสเหตุแห่งปัจจัยทั้งหลายไว้ จริงอยู่ พระสูตรนี้ท่านกล่าวว่า มหา-

นิทาน เพราะกระทำปัจจัยทั้งหลาย ให้ไม่มีปัจจัย ไม่ให้มีความพัวพัน ไม่

ให้มีกอแล้ว จึงกล่าวไว้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความเป็นปัจจัยเหล่านั้น เป็น

ปัจจัยแท้จริง ไม่เป็นอย่างอื่น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ชราและมรณะ มีชาติ

เป็นปัจจัย เรากล่าวอธิบายคำนี้ไว้ด้วยประการดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปริยาเยน คือโดยเหตุ. บทว่า สพฺเพน สพฺพ

สพฺพถา สพฺพ (ทั่วทุกหนแห่ง) ทั้งสองบทนี้เป็นนิบาต อธิบายบทนั้นว่า

ผิว่า ชื่อว่าชาติทั้งหมด ไม่พึงมีโดยอาการทั้งหมด ไม่พึงมีโดยสภาวะทั้งหมด

ดังนี้ แม้ในภพเป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้แล. บทว่า กสฺสจิ นี้ เป็นคำ

ไม่แน่นอน คือ แก่ใครๆ ในเทวโลกเป็นต้น แม้บทนี้ว่า กิมฺหิจิ ก็เป็นคำ

ไม่แน่นอนเหมือนกัน คือ ในที่ไหน ๆ ในภพทั้ง ๙ มี กามภพเป็นต้น. บทว่า

เสยฺยถีท เป็นนิบาต ในอรรถว่า กำหนดในความไม่แน่นอน และขยาย

ความย่อออกไป บทนั้นมีอธิบายว่า เราจักขยายความแห่งบทที่เรากล่าวไว้แก่

ใครๆ ในที่ไหนๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขยายความนั้น จึงตรัสคำเป็น

อาทิว่า เพื่อความเป็นเทวดาแห่งพวกเทวดา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เพื่อความเป็นเทวดาแห่งเทวดาทั้งหลาย พวก

เทวดาท่านกล่าวว่า เทวา โดยกำเนิดของขันธ์เพื่อความเป็นเทวดาแห่งเทวดา

ทั้งหลาย พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้แลว่า ก็หากว่า ชาติจักไม่มี

ทั่วไปทุกหนแห่ง ดังนี้ ก็ในบทเหล่านี้บทว่า เทวา คืออุปปัตติเทพ (ผุด

เกิดขึ้น). บทว่า คนฺธพฺพา คือเทวดาที่สิ่งอยู่ตามโคนไม้และต้นไม้ เป็นต้น.

บทว่า ยกฺขา คือ พวกอมนุษย์. บทว่า ภูตา คือสัตว์ที่เกิดแล้ว พวกใด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

พวกหนึ่ง. บทว่า ปกฺขิโน คือ นกพวกใดพวกหนึ่ง มีกระดูกเป็นปีกก็ดี

มีหนังเป็นปีกก็ดี มีขนเป็นปีกก็ดี. บทว่า สิรึสปา คือสัตว์พวกใดพวกหนึ่ง

เลื้อยคลานไปบนแผ่นดิน. บทว่า เตส เตส คือ บรรดาเทวดาและคนธรรพ์

เป็นต้นเหล่านั้นๆ. บทว่า ตถตฺตาย คือ เพื่อความเป็นเทวดาและคนธรรพ์

เป็นต้น. บทว่า ชาตินิโรธา ความว่า เพราะปราศจากชาติ เพราะไม่มีชาติ.

แม้บททั้งหมดมีอาทิว่า เหตุดังนี้เป็นไวพจน์ของเหตุนั้นแล จริงอยู่

เพราะเหตุ ย่อมปรารถนา ย่อมเป็นไป เพื่อต้องการผลของตน ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เหตุดังนี้ เพราะมอบผลนั้นให้ดุจมอบให้ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงรับ

ผลนี้นั้นเถิด ดังนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิทาน เพราะผลย่อมตั้งขึ้น คือ ย่อม

เกิดขึ้นจากเหตุนั้นและอาศัยเหตุนั้น ย่อมถึง คือ ย่อมเป็นไป ฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า สมุทัย และ ปัจจัย ดังนี้ ในบททั้งหมดมีนัยนี้ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ยทิท ในบทนี้ว่า ยทิท ชาติ ดังนี้เป็นนิบาต พึงทราบความแห่งนิบาตนั้น

โดยอนุรูปแก่ลิงค์ในบททั้งหมด ก็ในที่นี้มีอธิบายบทนี้อย่างที่ว่า ยา เอสา

ดังนี้ จริงอยู่ ความเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งที่สุดของอุปนิสัย

ท่านกระทำการกำหนดโอกาสในบทแห่งภพด้วยบทนี้ว่า กิมฺหิจิ (ในภพ

ไหน ๆ) ในบทนั้นพึงทราบว่า กามภพ ในภายใน กระทำที่สุดอเวจีใน

เบื้องต่ำ กระทำเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตีในเบื้องบน ในอุปปัตติภพก็มีนัยนี้

แต่ในบทนี้ควรเป็นกรรมภพ เพราะกรรมภพนั้นเป็นปัจจัยแห่งที่สุดของ

อุปนิสัยของชาติ แม้ในบทแห่งอุปาทานเป็นต้น พึงทราบว่าท่านกระทำการ

กำหนดโอกาสด้วยบทนี้ว่า กิมฺหิจิ ดังนี้

ในบทว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพนี้ ความว่า กามุปาทาน

เป็นปัจจัยแห่งกรรมภพ ๓ และอุปปัตติภพ ๓ แม้บทที่เหลือก็อย่างนั้น พึง

ทราบภพ ๒๔ มีอุปาทานเป็นปัจจัย กรรมภพ ๑๒ ย่อมได้ในบทนี้โดยตรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

อุปาทานแห่งกรรมภพเหล่านั้น เป็นปัจจัยแห่งที่สุดของสหชาตบ้าง แห่งที่สุด

ของอุปนิสัยบ้าง.

บทว่า รูปตณฺหา คือความอยากในรูปารมณ์ ในสัททตัณหาเป็นต้น

ก็มีนัยนี้ ก็ตัณหานี้นั้นย่อมเป็นปัจจัย แห่งที่สุดของสหชาตบ้าง แห่งที่สุดของ

อุปนิสัยบ้าง ของอุปาทาน.

ในบทว่า ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนานี้ ความว่า วิบากเวทนา ย่อม

เป็นปัจจัยแห่งที่สุดของอุปนิสัยของตัณหา เวทนาอย่างอื่นก็เป็นปัจจัยแม้โดย

ประการอื่น.

ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตัณหาเบื้องต้นอัน

มีวัฏฏะเป็นมูล บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงถึงตัณหาอันเป็นความฟุ้งซ่าน ด้วยบท

ทั้งหลาย ๙ ดุจบุคคลทุบที่หลัง หรือจับที่ผมแล้วผลักคนที่กำลังร้องขอชีวิต

ออกจากทาง จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้

คือเพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหาดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหา ความว่าตัณหามี ๒ อย่างคือ เอสนาตัณหา

และ เอสิตตัณหา บุคคลเดินไปสู่ทางแพะและทางขวากเป็นต้นแล้ว เสาะแสวง

หาโภคะทั้งหลายด้วยตัณหาใด ตัณหานี้ชื่อเอสนาตัณหา ตัณหาใดแม้เมื่อ

บุคคลเสาะแสวงหาได้แล้ว ตัณหานี้ก็ชื่อว่าเอสิตตัณหา แม้ทั้งสองคำนั้นก็เป็นชื่อ

ของตัณหาอันเป็นความฟุ้งซ่านนั้นเอง เพราะฉะนั้น ตัณหา ๒ อย่างนี้ อาศัย

เวทนาจึงชื่อว่าเกิดตัณหา. บทว่า ปริเยสนา คือการแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็น

ต้น เพราะว่าการแสวงหานั้นย่อมเป็นการระลึกถึงตัณหา. บทว่า ลาโภ คือ

การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะว่าการได้นั้นย่อมเป็นการระลึกด้วยการแสวง

หา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

วินิจฉัยมี ๔ อย่างคือ ญาณ ตัณหา ทิฐิและวิตก. ในวินิจฉัยเหล่านั้น

พึงรู้วินิจฉัย อันเป็นความสุข ครั้นรู้วินิจฉัย อันเป็นสุขแล้วพึงเพียรหาความสุข

ในภายใน นี้คือญาณวินิจฉัย. ความวิปริตแห่งตัณหา ๑๐๘ มาแล้วอย่างนี้ว่า

บทว่าวินิจฉัย ได้แก่วินิจฉัย ๒ อย่างคือตัณหาวินิจฉัยและทิฐิวินิจฉัย ชื่อว่า

ตัณหาวินิจฉัย. ทิฐิ ๖๒ ชื่อว่าทิฏฐิวินิจฉัย. วิตกที่ท่านกล่าวว่าวินิจฉัย ในที่นี้มา

แล้วในสักกปัญหสูตรนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ ฉันทะ คือความ

พอใจแล มีวิตกเป็นเหตุดังนี้ ก็คนทั้งหลายได้ลาภแล้วย่อมตัดสินว่า น่าพอใจ

และไม่น่าพอใจ ดีและไม่ดีด้วยวิตกอย่างเดียว บุคคลดำริว่า เราจักมีลาภเท่านี้

เพื่อต้องการรูปารมณ์ เราจักมีลาภเท่านี้เพื่ออารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น จักมี

แก่เราเท่านี้ จักมีแก่ผู้อื่นเท่านี้ เราจักใช้สอยเท่านี้ เราจักเก็บเท่านี้ดังนี้

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวา อาศัยลาภ จึงตัดสิน.

บทว่า ฉนฺทราโค ความว่า ราคะอย่างอ่อนและราคะอย่างแรง ย่อม

เกิดขึ้นในวัตถุที่ตรึกแล้ว ด้วยอกุศลวิตกก็บทนี้เป็นตัณหาในที่นี้. บทว่า

ฉนฺโท เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน. บทว่า อชฺโฌสาน คือการลงความ

เห็นอย่างแรงว่า เราของเราดังนี้. บทว่า ปริคฺคโห คือทำการยึดถือด้วยสามารถ

ตัณหาและทิฐิ. บทว่า มจฺฉริย ความว่า เพราะทนไม่ได้ต่อความเป็นของ

ทั่วไปด้วยคนอื่น ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวอรรถ

แห่งคำของบทนั้นอย่างนี้ว่า ท่านกล่าวว่า มจฺฉริย เพราะความที่ตั้งใจว่าสิ่ง

อัศจรรย์นี้จงเป็นของเราผู้เดียว จงอย่าเป็นของผู้อื่นเลยดังนี้. บทว่า อารกฺโข

คือ การป้องกัน อย่างดีด้วยสามารถการปิดประตูและใส่ไว้ในหีบเป็นต้น.

ชื่อว่าอธิกรณาเพราะอรรถว่าทำให้ยิ่ง บทนี้เป็นชื่อของเหตุ. บทว่า

อารกฺขาธิกรณ (เรื่องราวในการป้องกัน) เป็นภาวนปุงสกะ (ไม่มีเพศ)

อธิบายว่า เหตุแห่งการป้องกัน ในการถือไม้เป็นต้น การถือท่อนไม้ เพื่อห้าม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ผู้อื่น ชื่อ ทณฺฑาทาน การถือมีดมีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อ สตฺถาทาน. บทว่า

กลโห คือทะเลาะทางกายบ้าง ทะเลาะทางวาจาบ้าง ความพิโรธมีมาก่อน ๆ

ชื่อว่า วิคคหะ (ความทะเลาะกัน) มีมาตอนหลัง ๆ ชื่อ วิวาท (การโต้เถียง

กัน). บทว่า ตุว ตุว เป็นคำไม่เคารพ คือพูด มึงมึง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงตัณหาอันเป็นความฟุ้งเฟ้อนั้น

แม้โดยนัยปฏิโลมจึงทรงปรารภ บทว่า อารกฺขาธิกรณ (เหตุแห่งการป้อง

กัน) ทรงกลับการแสดง. ในบทเหล่านั้น บทว่า กามตณฺหา ได้แก่ความอยาก

ในรูปเป็นต้น อันเกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕.

บทว่า ภวตณฺหา คือราคะสหรคต ด้วยสัสสตทิฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง). บทว่า

วิภวตณฺหา คือราคะสหรคตด้วยอุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าสูญ).

บทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา คือธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ตัณหามีวัฏฏะ

เป็นราก และตัณหาอันฟุ้งเฟ้อ. บทว่า ทฺวเยน ความว่า ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้

แม้ถึงความเป็นอันเดียวกันโดยลักษณะของตัณหา ก็ย่อมเป็นการรวมเป็น

อันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วน ๒ ด้วยสามารถตัณหามีวัฏฏะเป็นราก และ

ตัณหาอันฟุ้งเฟ้อ อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีปัจจัยร่วมกันโดยมีเวทนา

เป็นปัจจัย จริงอยู่ การรวมกันมี ๓ อย่างคือ การประชุมรวมกัน การรวมสหชาต

การรวมปัจจัย ในบทเหล่านั้น บทนี้ว่า ครั้งนั้นแล การรวมชาวบ้านเหล่านั้น

ทั้งหมดย่อมมีขึ้นดังนี้ ชื่อว่า การประชุมรวมกัน ถ้อยคำนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ธรรมเหล่านี้ มีฉันทะเป็นราก มีผัสสะเป็นที่เกิด มีเวทนาเป็นที่รวม ชื่อรวม

สหชาต ก็พึงทราบบทนี้ว่า การรวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนาโดย ๒ ส่วน ชื่อ

ว่ารวมปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ผัสสะทั้งหมดมีจักขุสัมผัสเป็นต้น เป็นผัสสะอันเป็นผลอย่างเดียวใน

ผัสสะเหล่านั้น เว้นผัสสะอันเป็นผลแห่งโลกุตตระ ๔ ที่เหลือย่อมเป็นผัสสะ

๓๒ ก็ในบทว่า ยทิท ผสฺโส นี้ โดยมากผัสสะย่อมเป็นปัจจัยแห่งเวทนา.

ท่านกล่าวอาการทั้งหลาย ในบทว่า เยหิ อานนฺท อากาเรหิ เป็น

ต้น เป็นสภาพไม่ใช่เช่นเดียวกัน และกันแห่งเวทนาเป็นต้น ท่านแสดงอาการ

เหล่านั้นไว้ด้วยดี ชื่อว่าลิงค์ (เพศ) เพราะถึงความเสื่อมโทรม ชื่อว่านิมิต

เพราะเหตุคือรู้เรื่องนั้น ๆ ชื่ออุทเทส เพราะควรแสดงอย่างนั้น ๆ เพราะฉะนั้น

ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ดูก่อนอานนท์ การบัญญัตินามกาย อันเป็นที่ประชุม

ของนามย่อมมีได้ด้วยอาการเพศ นิมิต อุเทศ เมื่อมีอุเทศแห่งเวทนาว่าเวทนา

ในอาการรู้สึก ในเพศรู้สึก ในนิมิตรู้สึก เมื่อมีอุเทศแห่งสัญญาว่า สัญญาใน

อาการรู้พร้อม ในเพศรู้พร้อม ในนิมิตรู้พร้อม เมื่อมีอุเทศแห่งสังขารทั้ง

หลายว่า เจตนาแห่งสังขารทั้งหลาย ในอาการแห่งเจตนา ในเพศแห่งเจตนา

ในนิมิตแห่งเจตนา เมื่อมีอุเทศแห่งวิญญาณว่า วิญญาณในอาการรู้แจ้ง ใน

เพศรู้แจ้ง ในนิมิตรู้แจ้งดังนี้ ย่อมเป็นการบัญญัตินามกายว่านี้เป็นนามกาย

เมื่อไม่มีอาการเป็นต้น ในเวทนาเป็นต้น อันเป็นเหตุให้บัญญัตินามกาย การ

สัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย จึงพึงปรากฏได้บ้างไหม มโนสัมผัสอันใดที่เป็น

ไวพจน์ของการสัมผัสเพียงแต่ชื่อในมโนทวาร กระทำขันธ์ ๔ ให้เป็นวัตถุแล้ว

จึงเกิดขึ้น มโนสัมผัสนั้นจะพึงปรากฏในรูปกาย พึงกระทำประสาททั้ง ๕ ให้

เป็นวัตถุแล้วพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหมดังนี้ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ยอม

รับการเกิดขึ้นแห่งสัมผัสนั้นจากรูปกาย ดุจเมื่อไม่มีต้นมะม่วงก็ไม่รับการเกิดขึ้น

ของผลมะม่วงสุกจากต้นชมพู ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า โน เหต ภนฺเต ดังนี้.

ในปัญหาที่ ๒ พึงทราบความแห่งอาการเป็นต้น ด้วยสามารถอาการ

แห่งความสลาย เพศแห่งความสลาย นิมิตแห่งความสลาย และด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

แห่งการยกขึ้นว่ารูปดังนี้. บทว่า ปฏิฆสมฺผสฺโส คือ การสัมผัสการทำรูป

ขันธ์อันเป็นไปกับด้วยความกระทบให้เป็นวัตถุแล้วเกิดขึ้น แม้ในบทนี้พระเถระ

เมื่อไม่รับการเกิดขึ้นแห่งสัมผัสนั้นจากนามกาย ดุจเมื่อไม่มีต้นชมพูก็ไม่รับการ

เกิดขึ้นแห่งผลชมพุสุก จากต้นมะม่วง ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า โน เหต ภนฺเต

ดังนี้.

ในปัญหาที่ ๓ ท่านกล่าวไว้เหมือนปัญหาทั้งสองนั่นแล ในปัญหาที่

๓ นั้น พระเถระเมื่อจะไม่รับความเกิดขึ้นแห่งผัสสะแม้ทั้งสอง ในความไม่มี

แห่งนามรูป ดุจไม่รับการเกิดขึ้นของผลมะม่วงสุก และผลชมพูสุกบนอากาศ

ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า โน เหต ภนฺเต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปัจจัย

แต่ละอย่าง ๆ แห่งผัสสะทั้งสองอย่างนี้ บัดนี้ เพื่อทรงแสดงความที่ผัสสะแม้

ทั้งสองเหล่านั้น เป็นปัจจัยแห่งนามรูปโดยไม่ต่างกัน จึงทรงปรารภปัญหาที่ ๔

ว่า เยหิ อานนฺท อากาเรหิ (ดูก่อนอานนท์ด้วยอาการเหล่าใด) ดังนี้.

บทว่า ยทิท นามรูป คือ นามรูปนี้ใด อธิบายว่า นามรูปในทวาร

แม้ทั้ง ๖ นี้ใด นี้แล เป็นเหตุ นี้แล เป็นปัจจัย ดังนี้ จริงอยู่ จักษุเป็นต้น

และรูปารมณ์เป็นต้น ในจักขุทวารเป็นต้น เป็นรูป ธรรมที่ประกอบกันเป็น

นาม ผัสสะนั้นแม้ ๕ อย่าง อย่างนี้ด้วยประการดังนี้ เพราะนามรูปเป็นปัจจัย

จึงมีผัสสะ แม้ในมโนทวาร หทยวัตถุและรูปย่อมเป็นอารมณ์เป็นรูป สัมป-

ยุตธรรม และสิ่งไม่มีรูปย่อมเป็นอารมณ์เป็นนาม ด้วยประการฉะนี้อย่างนี้

แม้มโนสัมผัสก็พึงทราบว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดสัมผัส ก็แต่ว่า

นามรูปโดยมากย่อมเป็นปัจจัยแห่งผัสสะนั้น.

บทว่า น โอกฺกมิสฺสถ ความว่า วิญญาณจักไม่เป็นไปด้วยสามารถ

แห่งปฏิสนธิ ดุจเข้าไปแล้วเป็นไปอยู่. บทว่า สมุจฺฉิสฺสถ ความว่า เมื่อ

ปฏิสนธิวิญญาณไม่มี นามรูปส่วนที่เหลือบริสุทธิ์เป็นนามรูปที่ตัดขาดเจือปน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

จักเป็นไปด้วยความเป็นกลละเป็นต้น ภายในท้องของมารดาได้บ้างไหม. บทว่า

โอกฺกมิตฺวา โอกฺกมิสฺสถ ความว่า วิญญาณจักหยั่งลงด้วยสามารถปฏิสนธิ

แล้วล่วงเลยไปคือดับไปด้วยสามารถจุติ. ก็ความดับแห่งวิญญาณนั้น ย่อมไม่มี

ด้วยความดับแห่งจิตนั่นแล จากนั้นวิญญาณย่อมไม่มีด้วยความดับแห่งจิตดวง

ที่ ๒ และที่ ๓. จริงอยู่ กรรมชรูป ครบ ๓๐ อันตั้งขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิตย่อม

เกิด เมื่อกรรมชรูปเหล่านั้นตั้งอยู่นั่นเอง ภวังคจิต ๑๖ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป.

ไม่มีอันตรายแก่ทารกผู้ถือปฏิสนธิในระหว่างนั้น หรือแก่มารดาของทารกนั้น

เพราะอันตรายนี้ชื่อว่ายังไม่มีโอกาส. ก็หากว่ารูปที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับปฏิสนธิจิต

สามารถเพื่อให้ปัจจัยแก่ภวังคจิตดวงที่ ๑๗ ได้ ความเป็นไปย่อมดำเนินต่อไป

ประเวณีย่อมสืบต่อ. ก็หากว่าไม่สามารถ ความเป็นไปย่อมไม่ดำเนินต่อไป

ประเวณีย่อมไม่สืบต่อ ชื่อว่าล่วงเลยไป. ท่านหมายถึง การล่วงเลยไปนั้น จึง

กล่าวว่า โอกฺกมิตฺวา โอกฺกมิสฺสถ (หยั่งลงแล้วล่วงเลยไป) ดังนี้. บทว่า

อิตฺถตฺตาย คือเพื่อความเป็นอย่างนี้ อธิบายว่า เมื่อความเป็นขันธ์ ๕

บริบูรณ์แล้วอย่างนี้.

บทว่า ทหรสฺเสว สโต คือยังอ่อนนั่นเอง. บทว่า โวจฺฉิชฺชิสฺสติ

คือขาดความสืบต่อ. บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺล (ความเจริญงอกงาม

ไพบูลย์) ความว่า เมื่อวิญญาณขาดความสืบต่อ นามรูปบริสุทธิ์จักตั้งขึ้น

แล้วถึงความเจริญในปฐมวัย ความงอกงามในมัชฌิมวัย ความไพบูลย์ใน

ปัจฉิมวัยบ้างได้ไหม อธิบายว่า นามรูปจักถึงความเจริญ ความงอกงาม ความ

ไพบูลย์ โดยมีอายุถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปี ฯลฯ ๑,๐๐๐ ปี ได้บ้างไหม.

บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ความว่า เพราะวิญญาณนั้นแลเป็นปัจจัย

แห่งนามรูปนั้น ในการถือปฏิสนธิในท้องมารดาบ้าง ในขณะอยู่ในท้องบ้าง

ในขณะออกจากท้องบ้าง ในเวลามีอายุ ๑๐ ปี ในการเป็นไปบ้าง ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

นี้เป็นเหตุ. นี้เป็นปัจจัยแห่งนามรูป คือ วิญญาณ วิญญาณย่อมเป็นปัจจัย

แห่งนามรูป ดุจบุคคลกล่าวถึงนามรูปอย่างนี้โดยความว่า ท่านชื่อนาม ท่านชื่อ

รูป ท่านชื่อนามรูปดังนี้ ใครทำนามรูปนั้น เราทำมิใช่หรือ ก็หากว่า เมื่อเรา

เป็นปุเรจาริกไม่ถือปฏิสนธิในท้องของมารดา ท่านพึงเป็นนาม พึงเป็นรูป

หรือพึงเป็นนามรูป พวกเราพึงรู้กำลังของท่านเหมือนอย่างว่า พระราชาเมื่อ

จะทรงข่มขู่บริษัทของพระองค์ พึงตรัสว่า เจ้าเป็นอุปราช เจ้าเป็นเสนาบดี

ดังนี้ ใครตั้งเจ้า เราตั้งเจ้ามิใช่หรือ ก็หากว่าเมื่อเราไม่ตั้งเจ้า เจ้าจะพึงเป็น

อุปราชหรือพึงเป็นเสนาบดี ตามธรรมดาของตน เราพึงรู้กำลังของเจ้า ฉะนั้น

ก็วิญญาณนี้นั้นโดยมากย่อมเป็นปัจจัยแห่งนามรูป.

บทว่า ทุกฺขสมุทยสมฺภโว คือความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์. บทว่า

ยทิท นามรูป ความว่า นามรูปนี้ใด นี้เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย แม้นามรูป

ก็ดุจบุคคลกล่าวถึงวิญญาณอย่างนี้โดยความว่า ท่านเป็นปฏิสนธิวิญญาณ ใคร

ทำปฏิสนธิวิญญาณ เราทำมิใช่หรือ ก็หากท่านไม่อาศัยขันธ์ ๓ และหทยวัตถุ

จะพึงชื่อว่าปฏิสนธิวิญญาณ เราพึงเห็นความที่ท่านเป็นปฏิสนธิวิญญาณ ดังนี้

เหมือนอย่างว่า ราชบุรุษทั้งหลายพึงทูลกะพระราชาผู้ทรงข่มขู่ว่า พระองค์เป็น

พระราชา ใครตั้งพระองค์ พวกข้าพระพุทธเจ้าพระองค์มิใช่หรือ ก็หากว่า

เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช ในตำแหน่งเสนาบดี

พระองค์พึงเป็นพระราชาพระองค์เดียวเท่านั้น พวกข้าพระพุทธเจ้าพึงเห็นความ

เป็นพระราชาของพระองค์ ดังนี้ ฉะนั้น ก็และนามรูปนี้นั้น โดยมากย่อม

เป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ. บทว่า เอตฺตาวตา โข ความว่า เมื่อวิญญาณเป็น

ปัจจัยแห่งนามรูป เมื่อนามรูปเป็นปัจจัยแห่งวิญญาณ เมื่อทั้งสองเป็นไปด้วย

สามารถแห่งความเป็นปัจจัยของกันและกัน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วิญญาณและ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

นามรูป จึงยังเกิด แต่ ตาย จุติหรืออุบัติ ชาติเป็นต้น หรือจุติปฏิสนธิอื่นๆ

พึงปรากฏ.

บทว่า อธิวจนปโถ (ทางแห่งชื่อ) ความว่า ทางแห่งโวหาร ซึ่งไม่

เห็นความของคำเป็นต้นว่า สิริวัฑฒกะ ธนวัฑฒกะ ตั้งขึ้นไว้เพียงเรียก

ชื่อเท่านั้น. บทว่า นิรุตฺติปโถ (ทางแห่งนิรุติ) ความว่า เป็นทางแห่ง

โวหารซึ่งเป็นไปด้วยสามารถการอ้างเหตุแห่งคำเป็นต้นว่า ผู้มีสติเพราะระลึกได้

ผู้มีสัมปชัญญะเพราะรู้ตัว. บทว่า ปญฺตฺติปโถ (ทางแห่งบัญญัติ) ความว่า

ทางแห่งโวหารซึ่งเป็นไปด้วยสามารถแห่งการให้รู้โดยประการต่าง ๆ ของคำเป็น

อาทิว่า ผู้รู้ ผู้ฉลาด ผู้มีปัญญา ผู้ชำนาญ ผู้คัดค้าน แม้ขันธ์ทั้งหลาย

อันเป็นวัตถุแห่งชื่อเป็นต้น ท่านก็กล่าวด้วยบททั้ง ๓ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

ปญฺาวจร (การคาดคะเนด้วยปัญญา) ความว่า พึงคาดคะเนคือพึงรู้. บทว่า

ปัญญา. บทว่า วฏฺฏ วฏฺฏติ คือ สังสารวัฏ ย่อมเป็นไป. บทว่า อิตฺถตฺต

คือความเป็นอย่างนี้ คำนี้เป็นชื่อของขันธบัญจก (หมวด ๕ แห่งขันธ์). บทว่า

ปญฺาปนาย คือเพื่อบัญญัติ ชื่อ อธิบายว่า แม้ขันธปัญจกก็ย่อมปรากฏ

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพื่อต้องการบัญญัตินาม ด้วยบทว่า เวทนา สญฺา

เป็นต้น. บทว่า ยทิท นามรูป สหวิญฺาเณน ความว่า นี้คือนามรูปกับ

วิญญาณย่อมเป็นไป เพราะเป็นปัจจัยของกันและกัน ท่านอธิบายว่าด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ดังนี้ นี้เป็นคำที่ถูกนำออกไปในบทนี้.

ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอนุสนธิแห่งบทว่า

ดูก่อนอานนท์ ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง ดังนี้

แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอนุสนธิแห่งบทว่า ตนฺตากุลกชาตา (ยุ่งดุจด้าย

ของช่างหูก) ดังนี้ ทรงปรารภเทศนามีอาทิว่า กิตฺตาวตา จ (ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่าใด) ดังนี้ ในบทเหล่านั้น ในบทว่า รูปึ วา หิ อานนฺท ปริตฺต

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

อตฺตาน ดังนี้ ความว่า ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปนิดหน่อย ย่อมถือว่า กสิณนิมิต

ที่ยังไม่เจริญเป็นอัตตา ดังนี้ อนึ่ง ผู้ที่บัญญัติอัตตานั้นว่า บางคราวเขียว

บางคราวเหลือง ดังนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติได้กสิณต่าง ๆ ผู้ที่บัญญัติอัตตามี

รูปหาที่สุดมิได้ ย่อมถือว่า กสิณนิมิต ที่เจริญแล้วเป็นอัตตา ดังนี้ ก็หรือ

ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปนิดหน่วย เพิกถอนกสิณนิมิตที่ยังไม่เจริญแล้วถือโอกาส

ที่นิมิตสัมผัสแล้ว หรือขันธ์ ๔ อันเป็นไปในนิมิตนั้น หรือเพียงวิญญาณใน

ขันธ์ ๔ เหล่านั้นเท่านั้นว่า เป็นอัตตาดังนี้ ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปไม่มีที่สุด

เพิกถอนกสิณนิมิตที่เจริญแล้ว ย่อมถือโอกาสที่นิมิตสัมผัสแล้ว หรือขันธ์อัน

เป็นไปในนิมิตนั้น หรือเพียงวิญญาณในขันธ์ ๔ เหล่านั้นเท่านั้น ว่าเป็นอัตตา

ดังนี้.

บทว่า ตตฺร ในบทว่า ตตฺรานนฺท นี้ คือในทิฏฐิ ๔ อย่างนั้น. บท

ว่า เอตรหิวา คือ ในบัดนี้มิใช่อื่นจากนี้ ท่านกล่าวคำนี้ด้วยสามารถอุจเฉท

ทิฏฐิ. บทว่า ตถาภาวึ วา คือสภาพที่เป็นอยู่ในโลกที่อยู่อย่างนั้น ท่านกล่าว

คำนี้ด้วยสามารถสัสสตทิฏฐิ. บทว่า อตถ วา ปน สนฺต คือ หรือสภาวะอัน

ไม่เที่ยงแท้ มีอยู่ มีอยู่. บทว่า ตถตฺตาย คือเพื่อความเที่ยงแท้. บทว่า อุป-

กปฺเปสฺสามิ คือเราจักให้ถึงพร้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการแย้ง

แม้ด้วยบทนี้ เพราะผู้มีวาทะว่า สูญ คิดแล้วว่า เราจักยังอัตตาที่ไม่เที่ยงแท้

แม้ความจริงไม่สูญของผู้มีวาทะว่าเที่ยงให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ คือ

มีสภาพสูญ เเละเราจักให้ผู้มีวาทะว่าเที่ยงรู้แล้วจักให้เขาถือวาทะว่าสูญอย่าง

เดียว แม้ผู้มีวาทะว่าเที่ยงก็คิดแล้วว่าเราจักยังอัตตาอันไม่เที่ยงแท้ แม้ความ

จริงไม่เที่ยงให้สำเร็จเพื่อเป็นสภาพที่แท้ คือเพื่อความเป็นสภาพที่เที่ยง และ

จักยังผู้มีวาทะว่าสูญให้รู้แล้วให้เขาถือวาทะว่าเที่ยงอย่างเดียวดังนี้. บทว่า เอว-

สนฺตโข ความว่า ให้บัญญัติอัตตาอันมีรูปนิดหน่อยมีอยู่อย่างนี้. บทว่า รูปึ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

คือมีปกติ ได้รูปเป็นกสิณ. บทว่า ปริตฺตตฺตานุทิฏฺิ อนุเสติ ความว่า

ความเห็นนี้ว่าอัตตานิดหน่อย ย่อมนอนเนื่องในสันดาน ก็พึงทราบความเห็น

นั้นว่า ความเห็นนั้นย่อมไม่นอนเนื่องดุจเถาวัลย์และลดา คือชื่อว่าย่อมนอน

เนื่องในสันดานโดยอรรถว่าละไม่ได้. บทว่า อิจฺจาล วจนาย ความว่า ควร

เพื่อจะกล่าวว่าความเห็นเห็นปานนี้ ย่อมนอนเนื่องในบุคคลนั้น ในบททั้งหมด

มีนัยนี้ ก็ในบทว่า อรูปึ นี้ คือมีปกติ ได้อรูปเป็นกสิณ พึงทราบความอย่าง

นี้ว่า หรือมีอรูปขันธ์เป็นโคจร.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงพวกถือทิฐิ ๑๖ จำพวกโดยเนื้อ

ความว่า พวกมีลาภ ๔ พวกลูกศิษย์ของผู้มีลาภ ๔ พวกมีความเห็นผิด ๔ ลูก

ศิษย์ของพวกมีความเห็นผิด ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงผู้ที่

บัญญัติอัตตาอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อทรงแสดงถึงผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาจึงตรัสคำ

เป็นอาทิว่า กิตฺตาวตา จ อานนฺท ดังนี้ ถามว่า ก็พวกไหนไม่บัญญัติ ตอบว่า

โดยที่แท้พระอริยบุคคลทั้งหมดเท่านั้นไม่บัญญัติ อนึ่ง พระอริยบุคคลผู้ที่

เป็นพหูสูต ทรง ๓ ปิฎก ๒ ปิฎก ๑ ปิฎก โดยที่สุดวินิจฉัยแม้นิกายเดียว

ด้วยดี บุคคลผู้แสดงธรรมตามที่ได้เรียนบ้าง ผู้ปรารภวิปัสสนาบ้าง ย่อมไม่

บัญญัติ เพราะท่านเหล่านั้นมีสัญญาอยู่ว่า กสิณที่มีส่วนเปรียบเทียบในกสิณที่

มีส่วนเปรียบเทียบดังนี้ อธิบายว่า อรูปขันธ์ในอรูปขันธ์นั้นแล พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงแสดงถึงผู้ที่ไม่บัญญัติอย่างนี้แล้วบัดนี้ เพราะผู้ที่พิจารณาเห็นด้วย

อำนาจทิฐิย่อมบัญญัติ ก็การพิจารณาเห็นนี้นั้นย่อมมีได้ เพราะยังไม่ละสักกาย

ทิฐิมีวัตถุ ๒๐ ฉะนั้นเพื่อทรงแสดงถึงสักกายทิฐิมีวัตถุ ๒๐ นั้น จึงตรัสอีกว่า

กตฺตาวตา จ อานนฺท ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้นท่านกล่าวสักกายทิฐิอันมีเวทนาขันธ์เป็นวัตถุ ด้วยบทว่า

ว่า เวทน วา หิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ท่านกล่าวสักกายทิฐิอันมีรูปขันธ์เป็นวัตถุด้วยบทนี้ว่า อปฺปฏิสเวท-

โน เม อตฺตา อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนา ๆ ดังนี้ ท่านกล่าวสักกาย

ทิฐิอันมี สัญญาสังขารวิญญาณเป็นวัตถุด้วยบทนี้ว่า อัตตาของเรายังเสวยเวทนา

อยู่เพราะอัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดาดังนี้ ก็ขันธ์ทั้ง ๓ หมวดนี้ยังเสวย

เวทนาอยู่เพราะสัมปยุตด้วยเวทนา อนึ่ง อัตตามีเวทนาเป็นธรรมดาคือ ไม่มี

การประกอบเป็นสภาวะย่อมมีแก่ขันธ์ทั้ง ๓ นั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะทรงแสดงโทษ ในความเห็นเหล่านั้น จึงตรัสดำเป็นอาทิว่า ตตฺรานนฺท

ดังนี้.

บทว่า ตตฺถ ตตฺร คือในทิฐิ ๓๐ เหล่านั้น ท่านกล่าวบทเป็นต้นว่า

ยสฺมึ อานนฺท สมเย ดังนี้ เพื่อชี้โทษเป็นต้นอย่างนี้ว่า บางครั้งมี บางครั้ง

ไม่มี แห่งอัตตาของผู้ที่พิจารณาเห็นว่าเวทนาเป็นอัตตา.

ในบทว่า อนิจฺจา เป็นต้น ความว่า เวทนาชื่อว่าเป็นของไม่เที่ยง

เพราะมีแล้วไม่มี ชื่อว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง เพราะปรุงแต่งขึ้นด้วยเหตุนั้น ๆ ชื่อ

ว่าอาศัยกันเกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัยนั้น ๆ แล้วเกิดขึ้นด้วยเหตุอันชอบ บท

ทั้งหมดมีอาทิว่า ขโย เป็นไวพจน์ของการทำลาย จริงอยู่สิ่งใดย่อมแตก สิ่งนั้น

ย่อมสิ้นไปบ้าง เสื่อมไปบ้าง คลายไปบ้าง ดับไปบ้าง เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวคำเป็นอาทิว่า ขยธมฺมา ดังนี้. บทว่า พฺยคา เม อธิบายว่า อัตตาของ

เราถึงความเสื่อมโทรม คือ ปราศจากไปดับไปดังนี้.

พุทธพจน์ว่า นั่นตนของเราย่อมมีแก่คนคนเดียวเท่านั้น ในกาลแม้

ทั้ง ๓ หรือ จักไม่มีแก่คนที่มีทิฐิหรือ เพราะธรรมดาเถาวัลย์ย่อมไม่มีเป็น

นิจแก่ตอไม้ที่เขาเก็บไว้ในกองแกลบ ดุจลิงป่าย่อมถือเอาสิ่งอื่นย่อมปล่อยสิ่ง

อื่น. บทว่า อนิจฺจ สุข ทุกฺข โวกิณฺณ ความว่า บุคคลเมื่อพิจารณาเห็น

เวทนานั้น ๆ โดยวิเศษว่าเป็นอัตตา ย่อมพิจารณาเห็นอัตตาไม่เที่ยงเป็นสุข

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

และเป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนาโดยไม่วิเศษว่าเป็นอัตตาย่อมพิจารณา

เห็นอัตตาเกลื่อนกล่นมีเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา จริงอยู่ เวทนามี ๓

อย่างและมีเกิดขึ้นมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา ก็เขาย่อมพิจารณาเห็นเวทนานั้นว่า

เป็นอัตตา ด้วยประการฉะนี้ อัตตาของเขาจึงไม่เที่ยง และความเกิดขึ้นแห่ง

เวทนาทั้งหลายมากย่อมถึงในขณะเดียวกัน แต่เขาย่อมรู้ตามอัตตานั้นแลว่าไม่

เที่ยง ไม่มีเวทนาเป็นอันมากเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

หมายถึงความนี้จึงตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแหละ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะพิจารณา

เห็นว่าเวทนาเป็นอัตตาของเราแม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ดังนี้.

บทว่า ยตฺถ ปนาวุโส ความว่า ในรูปขันธ์ล้วนก็ยังไม่มีการเสวย

อารมณ์ด้วยประการทั้งปวง. บทว่า อปินุ โขตตฺถ ความว่า ในรูปขันธ์นั้นคือ

ในต้นตาล หรือในหน้าต่างอันเว้นเวทนาแล้ว ยังจะพึงเกิดอหังการว่าเป็นเรา

อย่างนี้อีกหรือ. บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ความว่า เพราะรูปขันธ์ล้วนตั้งขึ้น

แล้วยังไม่กล่าวว่าเป็นเรา ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่ควรที่จะพิจารณาเห็นว่าเวทนา

เป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ในรูปขันธ์ยังจะเกิดอหังการว่านี้

เป็นเราได้หรือ เพราะฉะนั้น ในเวทนาเหล่านั้นในขันธ์ ๓ เเม้ขันธ์เดียวควร

จะกล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อนี้เป็นเราดังนี้ได้หรือ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อ

ขันธ์ ๓ เหล่านั้นดับ พร้อมกับเวทนาเพราะเวทนาดับ จะพึงเกิดอหังการว่า

นี้เป็นเราหรือเราเป็นนี้ ดังนี้ได้หรือ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะไม่

ยอมรับข้อนั้น ดุจบุคคลไม่ยอมรับความคมกริบของเขากระต่าย ฉะนั้น

จึงกราบทูลว่า โนเหต ภนฺเต ดังนี้.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอะไร ตรัสถึงวัฏฏะ

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสถึงเรื่องวัฏฏะ ในบางแห่งตรัสหัวข้อ

อวิชชา บางแห่งตรัสหัวข้อตัณหา บางแห่งตรัสหัวข้อทิฐิ ในหัวข้อเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ตรัสหัวข้ออวิชชาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดของอวิชชาไม่ปรากฏมา

ก่อน ก่อนจากนี้อวิชชามิได้มี แต่ว่าได้เกิดมีแล้วในภายหลัง เพราะเหตุนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวถึงหัวข้ออวิชชานี้อย่างนี้ ครั้นแล้วอวิชชา

ย่อมปรากฏ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีอวิชชา. ตรัสหัวข้อตัณหาอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดของภวตัณหาย่อมไม่ปรากฏมาก่อน ก่อนจากนี้

ภวตัณหามิได้มี แต่ว่าได้เกิดมีแล้วในภายหลัง เพราะเหตุนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ตถาคตกล่าวถึงหัวข้อตัณหานี้ไว้อย่างนี้ ครั้นแล้วตัณหาย่อมปรากฏ

เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ตรัสหัวข้อทิฐิไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ที่สุดแห่งภวทิฐิไม่ปรากฏมาก่อน ก่อนจากนี้ภวทิฐิมิได้มี แต่ว่าได้เกิด

มีแล้วในภายหลัง เพราะเหตุนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตถาคต กล่าวถึงภวทิฐินี้

อย่างนี้ ครั้นแล้ว ภวทิฐิย่อมปรากฏ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงมีภวทิฐิ ดังนี้

แม้ในภวทิฐินี้ก็เป็นอันตรัสด้วยหัวข้อทิฐิเหมือนกัน จริงอยู่ ผู้มีทิฐิถือว่าเวทนา

มีสุขเวทนาเป็นต้น เป็นอัตตา ครั้นจุติจากภพนั้น ๆ ในภพ กำเนิด คติ

วิญญาณัฎฐิติ และสัตตาวาสทั้งปวง ด้วยสามารถการยึดถือว่าเรา ว่าของเรา

แล้วไปเกิดในภพนั้นๆ ย่อมหมุนไปสู่ภูมิเนืองๆ ดุจเรือถูกลมซัดในมหาสมุทร

ไม่สามารถยกศีรษะขึ้นจากวัฏฏะได้เลย.

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวัฏฏะด้วยกถามรรคเพียง

เท่านี้แก่ผู้มีทิฐิหลงในปัจจยาการแล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสถึงพระนิพพาน จึงตรัส

คำมีอาทิว่า ยโต โข อานนฺท ภิกฺขุ ดังนี้.

ก็และพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระองค์เป็นผู้ฉลาดในเทศนา ไม่ทรง

แตะต้องวิวัฏฏกถา (เรื่องนิพพาน) กะบุคคลผู้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถนวกรรม

เป็นต้น ผู้ทอดทิ้งกรรมฐาน แล้วเมื่อจะทรงปรารภด้วยสามารถบุคคลผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ปกติอยู่ด้วยสติปัฏฐาน ผู้เป็นการกบุคคล จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ภิกษุย่อมไม่

พิจารณาเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ดังนี้.

จริงอยู่ ภิกษุเห็นปานนี้ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนาว่าเป็นอัตตา ย่อมไม่

พิจารณาเห็นธรรมเหล่าอื่น เพราะความที่เป็นไปในธรรมทั้งปวง ด้วยสามารถ

แห่งสัมมสนญาณที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า รูปอย่างใด

อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ในภายในหรือในภายนอก หยาบ

หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ภิกษุย่อมกำหนดรูปทั้งปวง

โดยความเป็นของไม่เที่ยง พิจารณาครั้ง ๑ ย่อมกำหนดโดยความเป็นทุกข์

พิจารณาครั้ง ๑ ย่อมกำหนดโดยความเป็นอนัตตา พิจารณาครั้ง ๑ ดังนี้ ภิกษุ

นั้น เมื่อไม่พิจารณาอยู่เสมออย่างนี้ ว่าอะไรๆ ในโลกไม่น่ายึดมั่นดังนี้ อะไร ๆ

แม้ธรรมข้อหนึ่งในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ในโลก อันต่างด้วยขันธโลก

เป็นต้น ไม่น่ายึดมั่นว่าเป็นอัตตาหรือเกิดในอัตตา ดังนี้. บทว่า อนุปาทิย

จ น ปริตสฺสต ความว่า ภิกษุเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง แม้ด้วยความ

สะดุ้งคือ ตัณหา ทิฐิและมานะ. บทว่า อปริตสฺส คือ เมื่อไม่สะดุ้ง. บทว่า

ปจฺจตฺตญฺเว ปรินิพฺพายติ ความว่า ย่อมปรินิพพานด้วยการดับกิเลส

ด้วยตนเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขีณา ชาติ ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรง

แสดงถึงความเป็นไปแห่งปัจจเวกขณะของผู้ปรินิพพานแล้วอย่างนี้.

บทว่า อิติ สา ทิฏฺิ ความว่า ทิฐิของพระอรหันต์ผู้หลุดพ้นแล้ว

อย่างนั้นชื่อว่าทิฏฐิอย่างนี้ บาลีว่า อิติสฺส ทิฏิ ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ผู้นั้น

เป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนั่น พึงมีทิฐิอย่างนี้. บทว่า ตทกลฺล

คือ ข้อนั้นไม่สมควร. เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้นควรกล่าวว่า

พระอรหันต์ย่อมไม่รู้อะไร ๆ ครั้นรู้อย่างนี้แล้วไม่ควรกล่าวกะพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ผู้หลุดพ้นแล้วว่าไม่รู้อะไร ๆ. ด้วยเหตุนั้นแล ในที่สุดแห่งนัย แม้ ๘ อย่าง

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต กิสฺส เหตุ ดังนี้.

บทว่า ยาวตานนฺท อธิวจน ความว่า มีโวหาร กล่าวคือชื่อ

ตราบใด. บทว่า ยาวตา อธิวจนปโถ คือเป็นทางแห่งชื่อเป็นไปอยู่ตราบใด.

ขันธ์ อายตนะ หรือธาตุ ยังมีอยู่. ในที่ทั้งหมดมีนัยนี้. บทว่า ปญฺญาวจร

คือขันธบัญจกที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา. บทว่า ตทภิญฺา คือเพราะรู้ยิ่งวัฏฏะ

นั้น. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร. ทรงแสดงอนุสนธิ

ของบทว่าด้วยความยุ่งดุจด้ายของช่างหูก.

บัดนี้ ผู้ที่ท่านกล่าวว่า ไม่บัญญัติ เพราะไปอยู่ ๆชื่อว่าหลุดพ้นจาก

ส่วนทั้งสอง อนึ่ง ผู้ที่ท่านกล่าวว่าไม่พิจารณาเห็นเพราะไปอยู่ ๆ ชื่อว่าพ้น

ด้วยปัญญา ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงบทสรุปและชื่อของภิกษุทั้ง ๒ พวกที่กล่าว

แล้วเหล่านั้นจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ วิญญาณฐิติเหล่านี้ ๗ อย่าง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตา ท่านกล่าวด้วยสามารถปฏิสนธิ.

วิญญาณฐิติ ๔ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ จักมาในสังคีติสูตร.

ชื่อว่าวิญญาณฐิติ เพราะมีวิญญาณตั้งอยู่. บทว่า วิญฺาณิติ นี้เป็นชื่อของ

ที่ตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. บทว่า เทฺว อายตนานิ คือ ที่อยู่อาศัยและที่ตั้ง ๒.

ก็บทว่า อายตนะ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาที่อยู่อาศัย. ด้วยเหตุนั้นแล ท่าน

จักกล่าวถึงอายตนะ ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ที่อยู่ของสัตว์ผู้ไม่มีสัญญา

เนวสัญญานาสัญายตนะ ที่อยู่ของสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไรท่านจึงถือเอาอายตนะนี้ทั้งหมด. ตอบว่า เพื่อควบคุม

วัฏฏะ. จริงอยู่วัฏฏะย่อมไม่ถึงการควบคุมด้วยสามารถวิญญาณฐิติอันบริสุทธิ์

หรือด้วยสามารถอายตนะบริสุทธิ์ แต่ย่อมถึงการควบคุมด้วยสามารถภพกำเนิด

คติและสัตตาวาส เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือเอาอายตนะนี้ทั้งหมด. บัดนี้ พระ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ศาสดาเมื่อจะทรงจำแนกความนั้นโดยลำดับจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า กตมา สตฺต

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทว่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตในอรรถว่าตัวอย่าง.

อธิบายว่า เหมือนอย่างมนุษย์ดังนี้. จริงอยู่ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้

เช่นกับหนึ่งไม่มีสอง ด้วยสามารถแห่งวรรณและสัณฐานเป็นต้นของมนุษย์

อันหาประมาณมิได้. ความแปลกกันด้วยอาการเป็นต้นว่า การมองดู การเหลียว

ดู การพูด การหัวเราะ การเดินและการยืน ย่อมมีแค่นี้ น้องฝาแฝดในที่ไหน ๆ

ย่อมเป็นเช่นเดียวกันโดยวรรณะหรือโดยทรวดทรง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า นานตฺตกายา. แต่ปฏิสนธิวิญญาณของสัตว์เหล่านั้นมี ๓ เหตุบ้าง มี ๒

เหตุบ้าง ไม่มีเหตุบ้าง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีสัญญาต่างกัน.

บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา คือเทวดาชั้นฉกามาพจร. ก็ในเทวดาเหล่านั้น

บางพวกมีตัวเขียว บางพวกมีวรรณะเหลืองเป็นต้น. แต่สัญญาของเทวดา

เหล่านั้น มี ๒ เหตุบ้าง มี ๓ เหตุบ้าง ไม่มีเหตุบ้าง.

บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ความว่า เวมานิกเปรต มีอาทิอย่างนี้

ว่า ยักษิณี ชื่อ อุตตรมาตา ปิยังกรมาตา ปุสสมิตตา ธรรมคุตตา ผู้จมอยู่

ในอบาย ๔ ก็กายของเปรตเหล่านั้นมีต่าง ๆ กัน ด้วยสามารถสีมีสีเหลือง สีขาว

สีดำ สีทอง สีคร่ำเป็นต้น และด้วยสามารถ ความผอม ความอ้วน สูงและต่ำ.

แม้สัญญาก็มีด้วยสามารถ ทวิเหตุกะ ติเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์

ทั้งหลาย. ก็เปรตเหล่านั้นไม่มีศักดิ์ใหญ่เหมือนเทวดา มีศักดิ์น้อยเหมือนคน

กำพร้า ของกิน เสื้อผ้าหาได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นอยู่. บางพวกได้รับทุกข์ใน

ข้างแรมได้รับสุขในข้างขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วินิปาติกะ เพราะ

ความเป็นผู้ตกไปจาการสะสมความสุข. ก็ในเปรตเหล่านี้ แม้การตรัสรู้ธรรม

ก็ย่อมมีได้แก่เปรตจำพวกติเหตุกะ. ก็ยักษิณีชื่อปิยังกรมาตาได้สดับพระอนุรุทธ

เถระผู้สาธยายธรรมอยู่ในเวลาใกล้รุ่ง ตักเตือนบุตรน้อยอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

เจ้าปิยังกรอย่าเอ็ดไป ภิกษุกำลังกล่าว

บทธรรม อีกอย่าง เรารู้บทธรรมแล้ว จะปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ของเรา ข้อนั้นพึงมี เราพึง

สำรวมในสัตว์ทั้งหลายไม่พึงกล่าวเท็จ ทั้ง ๆ รู้

พึงศึกษาความเป็นผู้มีศีลของตน เราก็จะพ้น

จากกำเนิดปีศาจ ดังนี้

แล้วได้บรรลุโสดาปัตติผลในวันนั้นเอง.

บทว่า พฺรหฺมกายิกา ได้แก่ พรหมปาริสัชชะ พรหมปุโรหิต

มหาพรหม. บทว่า ปมาภินิพฺพตฺตา ได้แก่พวกเทพทั้งหมดเหล่านั้น

เกิดด้วยปฐมฌาน. ก็ในบรรดาเทพเหล่านั้น เทพพรหมปาริสัชชะ เกิดแล้ว

ด้วยคุณเล็กน้อย. เทพพรหมปาริสัชชะเหล่านั้น อายุประมาณ ๓ ส่วนของกัป

เทพพรหมปุโรหิต เกิดแล้วด้วยคุณปานกลาง. อายุประมาณกึ่งกัปและกายของ

พราหมปุโรหิตนั้น ผึ่งผายกว่า. เทพมหาพรหมเกิดด้วยคุณอันประณีต. อายุ

ประมาณ ๑ กัป. กายของเทพเหล่านั้นผึ่งผายยิ่งนัก. ด้วยประการดังนี้

พึงทราบว่า เทพเหล่านั้นมีกายต่างกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน เพราะกายต่างกัน

เพราะสัญญาอย่างเดียวกันด้วยสามารถปฐมฌาณ. สัตว์ทั้งหลายในอบาย ๔ ก็

เหมือนเทพเหล่านั้น.

ก็ในนรกอัตภาพของสัตว์บางพวก คาวุตหนึ่ง บางพวกกึ่งโยชน์ บาง

พวกโยชน์หนึ่ง. แต่ของพระเทวทัต ๑๐๐ โยชน์. แม้ในเดียรัจฉานทั้งหลาย

บางพวกก็เล็ก บางพวกก็ใหญ่. ในเปรตวิสัย บางพวก ๖๐ ศอก บางพวก

๗๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก บางพวกผิวงาม บางพวกผิวไม่งาม. กาลัญ-

ชิกาสูรก็เหมือนอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบรรดาเปรตเหล่านี้ ทีฆปิฏฐิก

เปรตสูงถึง ๖๐ โยชน์. แต่สัญญาของเปรตแม้ทั้งหมดเป็นอเหตุกะฝ่ายอกุศล-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

วิบาก. ด้วยประการดังนี้ แม้สัตว์ในอบายย่อมนับได้ว่า มีกายต่างกันมีสัญญา

อย่างเดียวกันดังนี้.

บทว่า อาภสฺสรา ความว่า รัศมีจากสรีระของเทพเหล่านั้น ดุจ

เปลวคบเพลิงเป็นลำ สร้านออกดุจขาด ๆ แล้วตก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อาภัสสรา. ในเทพเหล่านั้น เทพผู้เจริญคุณนิดหน่อย มี๒ ฌานคือ ทุติยฌาน

และตติยฌานในจตุกนัย และปัญจกนัย เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า เทพปริตตาภา.

ประมาณอายุของเทพปริตตาภา เหล่านั้น ๒ กัป. เทพผู้เจริญคุณปานกลาง

เกิดขึ้นแล้วชื่อว่าเทพอัปปมาณาภา. ประมาณอายุของเทพอัปปมาณาภาเหล่านั้น

๔ กัป. เทพผู้เจริญคุณประณีตแท้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อ เทพอาภัสสรา. ประมาณ

อายุของเทพอาภัสสราเหล่านั้น ๘ กัป. ก็ในที่นี้ท่านกำหนดเอาเทพเหล่านั้น

ทั้งหมด ด้วยสามารถการกำหนดอย่างอุกกฤษฏ์. กายของเทพเหล่านั้น แม้

ทั้งหมดมีความผึ่งผายเป็นอย่างเดียวกันแท้. แต่สัญญาเพียงไม่มีวิตก แต่มีวิจาร

หรือไม่มีทั้งวิตก ไม่มีทั้งวิจาร เพราะเหตุนั้น จึงต่างกัน.

บทว่า สุภกิณฺหา คือ กระจัดกระจายเกลื่อนกล่นไปด้วยความงาม.

อธิบายว่า มีความแน่นหนาเป็นอันเดียวด้วยแสงแห่งรัศมีในสรีระอันงาม ก็

แต่ว่า รัศมีแห่งเทพสุภกิณหาเหล่านั้นไม่ขาด ๆ แล้วพุ่งไปเหมือนรัศมีของ

เทพอาภัสสรา. แต่ในปัญจกนัย เทพบังเกิดเป็นเทพปริตตสุภา. เทพอัปปมาณ

สุภา. เทพสุภกิณหา มีอายุ ๑๖ กัป ๓๒ กัป ๖๐ กัป ด้วยสามารถ จตุตถ-

ฌานนิดหน่อย ท่ามกลางและประณีต. ด้วยประการดังนี้ เทพเหล่านั้นแม้

ทั้งหมด พึงทราบว่า มีกายอย่างเดียวกัน และมีสัญญาอย่างเดียวกันด้วย

สัญญาแห่งจตุตถฌาน ดังนี้. อนึ่ง แม้เทพเวหัปผลาก็รวมเข้ากับวิญญาณฐิติ

ที่ ๔ เหมือนกัน. สัตว์ไม่มีสัญญา เพราะไม่มีวิญญาณ ไม่สงเคราะห์เข้าใน

วิญญาณฐิตินี้ แต่สงเคราะห์เข้าในสัตตาวาส. แม้เทพสุทธาวาส ดำรงอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ฝ่ายวิวัฏฏะ ไม่กำหนดกาลทั้งปวงก็ไม่เกิดในโลกที่ว่างพระพุทธเจ้าแสนกัปบ้าง

หนึ่งอสงไขยบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติในระหว่าง ๑๖,๐๐๐ กัปนั้นแล

จึงเกิดย่อมเป็นเช่นเดียวกับที่ตั้งค่ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังธรรมจักรให้

เป็นไปแล้ว เพราะฉะนั้น เทพสุทธาวาสจึงไม่รวมเข้ากับวิญญาณฐิติ ไม่รวม

เข้ากับสัตตาวาส. แต่พระมหาสิวเถระกล่าวว่า แม้เทพสุทธาวาสก็ยังรวมเข้ากับ

วิญญาณฐิติที่ ๔ สัตตาวาสที่ ๔ นั้นแล ด้วยพระสูตรนี้ว่า ข้าแต่พระสารีบุตร

สัตตาวาสที่กระผมไม่เคยอยู่ด้วยกาลยาวนานนี้เว้นเทพสุทธาวาส ไม่เป็นสิ่งที่

หาได้ง่ายดังนี้. เห็นด้วยกับพระสูตรนั้น เพราะพระสูตรท่านไม่ห้ามไว้.

ความแห่งบทเป็นอาทิว่า สพฺพโส รูปสญฺาณ ท่านกล่าวไว้แล้ว

ในวิสุทธิมรรค. ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณ

ก็ไม่ใช่ เพราะแม้วิญญาณละเอียดเหมือนความละเอียดของสัญญา เพราะฉะนั้น

ท่านจึงไม่กล่าวในวิญญาณฐิติแล้วกล่าวไว้ใน อายตนะ.

บทว่า ตตฺร คือในวิญญาณฐิติเหล่านั้น. บทว่า ตญฺจ ปชานาติ

คือย่อมรู้วิญญาณฐิตินั้น. บทว่า ตสฺสา จ สมุทย ความว่า ย่อมรู้ความเกิด

ขึ้นแห่งวิญญาณฐิตินั้นโดยนัยเป็นอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิดดังนี้.

บทว่า ตสฺสา จ อตฺถงฺคม ความว่า ย่อมรู้ความดับแห่งวิญญาณฐิตินั้นโดย

นัยเป็นอาทิว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับดังนี้. บทว่า อสฺสาท ความว่า

ย่อมรู้ความพอใจของวิญญาณฐิตินั้นอย่างนี้ว่า ความสุข ความโสมนัสย่อมเกิด

ขึ้นเพราะอาศัย รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณใด นี้คือความพอใจแห่ง

วิญญาณ. บทว่า อาทีนว ความว่า ย่อมรู้โทษแห่งวิญญาณฐิตินั้นอย่างนี้ว่า

รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดานี้ คือโทษแห่งวิญญาณ. บทว่า นิสฺสรณ ความว่า การนำ

ออกซึ่งฉันทราคะการละฉันทราคะ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

นี้คืออุบายเป็นเครื่องนำออกไปแห่งวิญญาณดังนั้น ย่อมรู้วิญญาณฐิตินั้นอย่าง

นี้. บทว่า กลฺล น เตน ความว่า ภิกษุนั้นยังควรเพื่อเพลิดเพลิน วิญญาณ

ฐิตินั้นว่าเราว่าของเรา ด้วยอำนาจแห่งตัณหามานะและทิฐิอีกหรือ. พึงทราบ

ความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้. ก็แต่ว่าพึงประกอบสมุทัยเป็นต้น ด้วยสามารถ

แห่งขันธ์ทั้งหลาย ๔ ในที่ที่ไม่มีรูป ด้วยสามารถแห่งขันธ์หนึ่งในที่ที่ไม่มี

วิญญาณ. ในที่นี้ อนึ่งไม่พึงประกอบบทนี้ว่า เพราะอาหารเกิด เพราะอาหาร

ดับ ดังนี้.

บทว่า ยโต โข อานนฺท ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อใดแล

ภิกษุ. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น

ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า ปฺาวิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา.

อธิบายว่า ไม่ทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์ ๘ แล้วทำนามกายและรูปกายให้เป็นไปไม่

ได้ด้วยกำลังปัญญานั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว. ภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วนั้นมี

๕ อย่างคือ เป็นสุกขวิปัสสกและตั้งอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง

แล้วบรรลุพระอรหัต ดังที่ท่านกล่าวข้อนี้ไว้ว่า ก็บุคคลพวกไหนเป็นปัญญา-

วิมุตติ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อาสวะทั้งหลาย

ของเขาเป็นอันสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านกล่าวว่าเป็นปัญญา-

วิมุตติดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทสรุปและนามของภิกษุรูปหนึ่ง

อย่างนี้แล้ว เพื่อทรงแสดงแก่ภิกษุนอกนี้จึงตรัสว่า อฏฺ โข อิเม ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ถามว่า ชื่อว่าวิโมกข์ด้วยอรรถว่า

กระไร ตอบว่า ด้วยอรรถว่าพ้น ถามว่า วิโมกข์นี้มีอรรถว่าพ้นเป็นอย่างไร

ตอบว่า มีอรรถว่าพ้นด้วยดีจากธรรมเป็นข้าศึก และพ้นด้วยดีด้วยอำนาจความ

ยินดีในอารมณ์. ท่านอธิบายว่า วิโมกข์ย่อมเป็นไปในอารมณ์ เพราะหมด

ความสงสัยด้วยความไม่ยึดถือ ดุจทารกผู้ปล่อยอวัยวะน้อยใหญ่นอนบนตักของ

บิดา. ก็ความนี้มิได้มีในวิโมกข์ตอนหลัง แต่มีในตอนต้นทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ นี้มีความว่า รูปเป็นรูปฌานที่ทำให้

เกิดขึ้นด้วยอำนาจนีลกสิณเป็นต้น ในผมเป็นต้นในภายในชื่อว่ารูปี. เพราะมี

รูปฌานด้วยบทนี้ ท่านแสดงรูปาวจรฌาน ๔ แก่บุคคลผู้ที่ทำฌานให้เกิด ใน

กสิณทั้งหลายอันมีวัตถุในภายใน.

บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺ คือ ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน.

ความว่า ไม่ทำรูปาวจรฌานให้เกิดในอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้นของตน. บทว่า

พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นรูปมีนิลกสิณเป็นต้น แม้ในภาย

นอกด้วยญาณจักษุ. ด้วยบทนี้ท่านกระทำบริกรรมในภายนอกแล้วแสดงรูปาว-

จรฌาน ๔ แห่งฌานที่ทำให้เกิดแล้วในภายนอก.

ท่านแสดงฌานในวัณณกสิณมีสีเขียวเป็นต้น อันบริสุทธิ์ดีแล้วด้วย

บทนี้ว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโตโหติ ดังนี้. ในบทนั้นไม่มีความผูกใจว่างามใน

อัปปนาในภายในก็จริง. แต่ถึงดังนั้น เพราะผู้ที่กระทำกสิณอันงามบริสุทธิ์ดี

แล้วอยู่ ย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวได้ว่า ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่ากสิณเป็นของงาม

ดังนี้ ฉะนั้นท่านจึงแสดงอย่างนี้. แต่ในปฏิสัมภิทามรรคท่านกล่าวว่า วิโมกข์

ในบทว่าผู้ที่น้อมใจเชื่อว่ากสิณงามเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตสหรคต

ด้วยเมตตาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาสัตว์ทั้งหลายจึง

ไม่เป็นผู้น่าเกลียดมีจิตสหรคตด้วยกรุณามุทิตาอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่

ฯลฯ เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขาสัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด วิโมกข์ใน

บทว่า ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่ากสิณเป็นของงามเป็นอย่างนี้ดังนี้.

ในบทว่า สพฺพโส รูปสญฺาน เป็นต้น บททั้งหมดที่ควรกล่าว

ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. บทว่า อย อฏฺโม วิโมกฺโข ความ

ว่า นี้ชื่อวิโมกข์อันสูงสุดข้อที่ ๘ เพราะความที่ขันธ์ ๔ บริสุทธิ์โดยประการ

ทั้งปวง เพราะความที่พ้นแล้ว. บทว่า อนุโลม คือตั้งแต่บทต้นจนถึงบท

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

สุดท้าย. บทว่า ปฏิโลม คือตั้งแต่บทสุดท้ายจนถึงบทต้น. บทว่า อนุโลม

ปฏิโลม นี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งการที่สมาบัติไม่ตั้งมั่น เพราะคล่อง

เกินไปวนไปทางโน้นวนไปทางนี้. บทว่า ยตฺถิจฺฉก คือแสดงถึงโอกาส.

ความว่าปรารถนาในโอกาสใด ๆ. บุทว่า ยทิจฺฉก คือแสดงถึงสมาบัติได้แก่

ปรารถนาสมาบัติใดๆ. บทว่า ยาวติจฺฉก คือแสดงถึงกำหนดทางไกล. ได้แก่

ปรารถนาทางไกลประมาณเพียงใด. บทว่า สมาปชฺชติ คือเข้าสู่สมาบัติ

นั้น ๆ. บทว่า วุฏฺาติ คืออออกจากสมาบัตินั้นแล้วตั้งอยู่.

บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า พ้นโดยส่วนสอง คือพ้นจากรูป

กายด้วยอรูปสมาบัติ พ้นจากนามกายด้วยมรรค. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปสีวะ

มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่

ไม่ได้ ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งการนับ เหมือนเปลวไฟ

ถูกกำลังลมพัดไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้

ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งการนับ ดังนี้.

ก็ภิกษุนี้นั้น พ้นแล้วโดยส่วนสองออกจากอากาสานัญจายตนะเป็นต้น

อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัต และเป็นอนาคามีออกจากนิโรธแล้ว

บรรลุพระอรหัต รวมเป็น ๕ อย่าง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะแม้

รูปาวจรจตุตถฌาน ก็สหรคตด้วยอุเบกขามีองค์สอง แม้อรูปาวจรฌานก็เป็น

เช่นนั้นเหมือนกัน ฉะนั้น ภิกษุออกจากรูปาวจรจตุตถฌาน แม้บรรลุพระ

อรหัตก็ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตดังนี้. ก็ปัญหาอุภโตภาควิมุตนี้ตั้งขึ้นแม้ในภายใต้

โลหปราสาทอาศัยการพรรณนาของพระจุลลสุมนเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎกใช้

เวลานาน จึงถึงการชี้ขาด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

มีเรื่องว่าในคิริวิหารอันเตวาสิกของพระเถระสดับปัญหานั้น จากปาก

ของภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกวัตรรูปหนึ่งแล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เมื่ออาจารย์ของ

เราอธิบายธรรม ณ ภายใต้โลหปราสาทอันใคร ๆ ไม่เคยฟังแล้ว พวกภิกษุจึง

ถามว่า ท่านผู้เจริญก็พระเถระได้กล่าวอย่างไร อันเตวาสิกตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

พระเถระได้กล่าวว่า รูปาวจรจตุตถฌานสหรคตด้วยอุเบกขามีองค์สองย่อมข่ม

กิเลสได้ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้นรูปาวจรจตุตถฌานย่อมกำเริบในฐานะแห่ง

รูปารมณ์ แม้เป็นฝ่ายใกล้แห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะธรรมดากิเลสเหล่านี้เข้า

ไปอาศัยอารมณ์ในนีลกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในภพชั้นต่ำทั้ง ๕ ย่อม

กำเริบ อนึ่ง รูปาวจรฌานย่อมไม่ก้าวไปสู่อารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุเปลี่ยน

รูปโดยประการทั้งปวง แล้วข่มกิเลสด้วยอำนาจอรูปฌานแล้วจึงบรรลุพระอรหัต

เป็นอุภโตภาควิมุตติดังนี้ ก็และพระเถระครั้นกล่าวคำนี้แล้วจึงนำสูตรนี้มาว่า

ก็บุคคลพวกไหนเป็นอุภโตภาควิมุตติ บุคคลบางคนในโลกนี้สัมผัสวิโมกข์ ๘

ด้วยกายแล้วอยู่ และอาสวะของบุคคลนั้นเป็นอันสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา

บุคคลนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นอุภโตภาควิมุตติดังนี้. บทว่า อานนฺท อิมาย จ

อุภโตภาควิมุตฺติยา ความว่า ดูก่อนอานนท์ อุภโตภาควิมุตติอื่นจากอุภโต-

ภาควิมุตตินี้. บทที่เหลือมีความง่ายในที่ทั้งปวง.

จบอรรถกถามหานิทานสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

๓. มหาปรินิพพานสูตร

เรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์ปราบแคว้นวัชชี

[๖๗] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง-

ราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระ

โอรสของพระนางเวเทหี มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี๑

พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น

มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทำลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้

พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อยยับ.

ครั้งนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรส

ของพระนางเวเทหี ตรัสกะวัสสการพราหมณ์ ผู้เป็นมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ

ว่า ขอเชิญท่านพราหมณ์จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคมพระ

ยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลถามถึงความไร้พระ

โรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกำลัง การทรงพระสำราญตามคำของ

เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ

พระโอรสของพระนางเวเทหี ถวายบังคมพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย

เศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกำลัง

การทรงพระสำราญ และท่านจงกราบทูลอย่างนี้ด้วยว่า พระราชาอชาตศัตรู

ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหี มีพระราชประสงค์จะเสด็จ

๑. ดู- อ สตฺตก. ๒๓/๑๗ - ๒๕

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์มีพระดำรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชี

ทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทำ

ลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อย

ยับ และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านจงจำเอาคำ

พยากรณ์นั้นให้ดี แล้วมาบอกแก่เรา เพราะว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย หาตรัส

สิ่งที่ปราศจากความจริงไม่ วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ

กราบทูลรับพระดำรัสพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรส

พระนางเวเทหีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเทียมยานทั้งหลายที่ใหญ่ ๆ แล้ว

ขึ้นยานใหญ่ ๆ (คันหนึ่ง) ออกจากกรุงราชคฤห์ ด้วยยานทั้งหลายที่ใหญ่ๆ

ไปถึงภูเขาคิชฌกูฏ ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้ แล้วลงจากยาน เดินเท้า

ขึ้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคำ

น่าชื่นชมควรรำลึกถึงกันแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง วัสสการพราหมณ์ มหา

อำมาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งแล้ว ณ ด้านหนึ่ง ได้กราบทูลคำต่อไปนี้กะพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่

ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี ถวายบังคมพระยุคลบาทพระ

โคดมผู้เจริญด้วยพระเศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่อง

พระองค์ พระกำลัง การทรงพระสำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชา

อชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี มีพระราช

ประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวก

เจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจัก

๑. ยาน หมายถึงรถ มี ๒ ชนิด คือ โยธรถ- รถศึก สัณฐาน ๔ เหลี่ยม ไม่ใหญ่มากจุคน

ได้ ๒ หรือ ๓ คน ชนิด ๑. อลังการรถ - รถประดับ ใหญ่ ยาวและกว้าง จุคน ๘-๑๐ คน

สามารถยืนหรือนั่ง หรือนอนไปบนรถได้สบาย ชนิด ๑. ที่ว่า ยานใหญ่ ๆ คงหมายถึง

อลังการรถ (ปปญจสูทนี ทุติย ๒๖๑)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ถอนทำลายแคว้นวัชชีเสีย จักทำแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทำแคว้นวัชชีให้ถึง

ความย่อยยับ ดังนี้.

กถาว่าด้วยอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชี ๗

[๖๘] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระ

ปฤษฏางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่าน

พระอานนท์ว่า

(๑) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังประชุม

กันเนือง ๆ ยังประชุมกันมากอยู่หรือ

อา. ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ประชุมกันเนือง ๆ

ประชุมกันมาก พระเจ้าข้า

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนือง ๆ ยัง

จักประชุมกันอยู่มากตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวัง

ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

พ. (๒) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง

พร้อมเพียงกันประชุมพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวก

เจ้าวัชชีพึงทำอยู่หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังพร้อมเพรียงกัน

ประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึง

ทำ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม

พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทำอยู่ตลอด

กาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หา

ความเสื่อมมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

พ. (๓) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง

ไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทาน

วัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังไม่บัญญัติข้อที่ไม่

เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทานวัชชีธรรมแบบ

โบราณตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยงจักไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคย

บัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณ

ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้า

วัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

พ. (๔) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยัง

สักการะ เคารพนับถือบูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยัง

เชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยังเชื่อถ้อยคำที่ควร

ฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพนับถือ

บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังเชื่อถือถ้อยคำที่ควรฟัง

ของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์

เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

พ. (๕) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุด

คร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลายอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายไม่ฉุดคร่า ข่มเหง

กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุดคร่า ข่มเหงกักขังกุลสตรี

ทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์

เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

พ. (๖) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง

สักการะ เคารพนับถือบูชาเจดีย์ วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก(พระนคร)

ของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังไม่ลดพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคย

ทำแล้วแก่เจดีย์วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้นอยู่หรือ.

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังสักการะ เคารพ

นับถือ บูชาเจดีย์ วัชชี ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลาย

และยังไม่มีลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทำแล้ว แก่เจดีย์

วัชชีทั้งหลายภายในและภายนอกเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักสักการะ เคารพนับถือ

บูชาเจดีย์วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลายและจักยังไม่

ลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทำแล้ว แก่เจดีย์วัชชีทั้ง

หลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้น ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้า

วัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

พ. (๗) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยัง

จัดอารักขา ป้องกันและคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้ง-

หลาย ด้วยตั้งใจว่าทำอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น

และพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจัดอารักขา ป้องกัน

และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า

ทำอย่างไร. พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์

ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้นดังนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเป็นผู้จัดอารักชา ป้องกัน

และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่า

ทำอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์

ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อน

อานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้

ฉะนี้แล.

[๖๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะวัสสการพรหมณ์มหา

อำมาตย์ของแคว้นมคธว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ สมัยหนึ่ง ตถาคตอยู่ ณ

วิหารสารันททะเจดีย์ในนครเวสาลี ณ ที่นั้น ตถาคตได้แสดงอปริหานิยธรรม

๗ ประการเหล่านี้แก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย ดูก่อนท่านพราหมณ์ ก็อปริหานิยธรรม

๗ ประการเหล่านี้ยังจักตั้งอยู่ในเจ้าวัชชีทั้งหลายและเจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเห็นดี

ร่วมกัน ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อน

พราหมณ์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหา

อำมาตย์ของแคว้นมคธได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ เจ้าวัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรมแม้เพียงข้อหนึ่งข้อเดียว

ก็พึงหวังความเจริญได้โดยแท้ หาความเสื่อมมิได้ แต่ว่าจะกล่าวอะไร ถึงเจ้า

วัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

๑. ทรงหมายถึง สารันททสูตร วัชชีวัคค, ดู - อ สตฺตก. ๒๓/๑๕-๑๗

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

และพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหี

ไม่ควรทำกะเจ้าวัชชีทั้งหลายด้วยการรบ นอกจากเจรจาปรองดอง นอกจาก

ทำให้แตกกันและกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญสมควรแล้ว ข้าพระองค์จะไป

บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีเรื่องจะพึงทำมาก.

(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนท่านพราหมณ์ บัดนี้ ท่านจงพิจารณา

เห็นเป็นกาลสมควรเถิด.

ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธชื่นชมอนุ-

โมทนาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะกลับไป.

ภิกขุอปริหานิยธรรม ๗

[๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ

กลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เธอจงไป ภิกษุทั้งหลายมีจำนวนเท่าใดอยู่อาศัยกรุงราชคฤห์ เธอจง

ให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์กราบทูล

รับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วให้พระภิกษุตามจำนวน

ที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ผู้ยืน

อยู่แล้ว ณ ด้านหนึ่งแล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว บัดนี้ เป็นเวลาซึ่งทรงเห็นเป็นกาล

สมควร พระเจ้าข้า. ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลุกจากอาสนะเสด็จ

ดำเนินเข้าอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ครั้นประทับนั่งแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจัก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้

ในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำรัส

ต่อไปนี้.

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักประชุมกันเนือง ๆ จัก

ประชุมกันอยู่มาก ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกัน

ประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ

ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อม

มิได้.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่

ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทาน

ประพฤติอยู่ในสิกขาบทั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักสักการะและเคารพ

นับถือ บูชา พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระผู้รู้กาลนาน ผู้บวชมาแล้วนาน

ผู้เป็นบิดาของสงฆ์ เป็นปริณายกของสงฆ์ และยังจักเชื่อถือโอวาทที่พึงฟังของ

ท่านด้วย ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หา

ความเสื่อมมิได้.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่ลุอำนาจของ

ตัณหา อันมีปกติให้เกิดในภพใหม่ ที่เกิดขึ้นตลอดกาลเพียรไร ภิกษุทั้งหลาย

พึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นผู้มีความห่วงใย

ในเสนาสนะตามราวป่า ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ

อย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งสติไว้

เฉพาะตนว่า ทำอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่

มาขอให้มาและเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่มาแล้ว ขอให้อยู่

สบาย ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่

ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗

ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการ อีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้ดี

ตถาคตจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสต่อไปนี้ .-

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักไม่เป็นผู้มีการงานเป็น

ที่มายินดี จักไม่ยินดีในการงาน ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความมีการงานเป็นที่

มายินดี ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความ

เสื่อมมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีการพูดคุย

กันเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการพูดคุยกัน ไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการพูด

คุยกัน ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความ

เสื่อมมิได้.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีการหลับเป็น

ที่มายินดี จักไม่ยินดีในการหลับ จักไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความหลับ

ตลอดการเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักไม่มีการคลุกคลีด้วย

หมู่คณะเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จักไม่ประกอบ

เนือง ๆ ในความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวัง

ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักไม่เป็นผู้มีความ

ปรารถนาลามก จักไม่ลุอำนาจของความปรารถนาลามก ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักไม่มีคนชั่วเป็นมิตร

จักไม่มีคนชั่วเป็นสหาย จักไม่มีคนชั่วเป็นเพื่อน ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุ

ทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักไม่หยุดเสียในระหว่าง

ด้วยการบรรลุธรรมวิเศษเพียงขั้นต่ำ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวัง

ความเจริญ อย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ใน

ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการ

เหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความ

เสื่อมมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ

[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้ดี

ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้า

ข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระดำรัสต่อไปนี้

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้มีศรัทธา ตลอด

กาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้มีใจมีหิริ. . .(๑)

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . . ยังจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ. . .

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเป็นผู้เป็นพหูสูตร. . .

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . . ยังจักเป็นผู้ปรารภความเพียร. . .

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งไว้. . .

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเป็นผู้มีปัญญา ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้ง

อยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗

ประการเหล่านั้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้ดี

๑. ในพระสูตรนี้ บาลีว่า "หิริมนา" แต่ในที่อื่นว่า " หิริมนฺโต-ผู้มีหีริ" อ. สตฺตก ๒๓/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว

พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสต่อไปนี้ .-

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญสติสัมโพชฌงค์

ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญธรรมวิจยสัม-

โพชฌงค์.....

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญวิริยสัมโพชฌงค์. . .

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญปิติสัมโพชฌงค์. . .

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. . .

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . .

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอุเบกขา

สัมโพชฌงค์ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้ง

อยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗

ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

อปริหานิยมธรรมอีก ๗ ประการ

[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี

ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว

พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสต่อไปนี้ .-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอนิจจสัญญา

(ความหมายรู้สังขารไม่เที่ยง) ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความ

เจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอนัตตสัญญา. . .

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญอสุภสัญญา. . .

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญอาทีนวสัญญา. . .

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .ยังจักเจริญปหานสัญญา. . .

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ยังจักเจริญวิราคสัญญา. . .

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญนิโรธสัญญา

(ความหมายรู้ว่านิพพานเป็นที่ดับ) ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวัง

ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้ง

อยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗

ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.

อปริหานิยธรรมอีก ๖ ประการ

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖

ประการอีกหมวดหนึ่ง* แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจ

ให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว

พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำรัสต่อไปนี้.-

๑. ดู- สารณียธรรม ๖ ใน อ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปทั้งกายกรรมมี

เมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งวจีกรรมมี

เมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งมโนกรรม

มีเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้บริโภคปัจจัยที่

แบ่งปันกันโดยลาภทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม(๑) ได้มาโดยชอบธรรม

โดยที่สุดแม้เพียงภิกษานับเนื่องในบาตร เป็นผู้บริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหม

จารีทั้งหลายผู้มีศีล ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่าง

เดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง

ไม่พร้อย เป็นไทย ท่านผู้รู้สรรเสริญ ตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน นำไปสู่

สมาธิ ภิกษุทั้งหลายยังจักถึงความเป็นผู้เสมอกัน กับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย

อยู่ในศีลเห็นปานนั้น ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้ง

หลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็นเครื่องนำออกจาก

ทุกข์ ภิกษุทั้งหลายยังจักถึงความเป็นผู้เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย

ด้วยทิฏฐิเห็นปานนั้น ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง

๑. บาลีในพระสูตรนี้ "....น อปฺปฏิวิภตฺตโภคี...." แต่ใน อ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒ ไม่มี "น".

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ของผู้กระทำนั้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่าง

เดียวหาความเสื่อมมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้ง

อยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกัน ในอปริหานิยธรรม

๖ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่าง

เดียว หาความเสื่อมมิได้ ฉะนี้แล.

เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏใกล้

กรุงราชคฤห์ กระทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยพระ-

ดำรัสว่า ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, ปัญญา

มีอยู่ด้วยการฉะนี้, สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก, ปัญญาอัน

สมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก, จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้น

ด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ดังนี้.

พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา

[๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ ตาม

พระอัธยาศัยแล้ว จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักเข้า

ไปพระราชอุทานอัมพลัฏฐิกา ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่เสด็จถึงพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาแล้ว เล่ากันว่า ณ ที่นั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ประทับที่พระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ทราบว่า

แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ พระตำหนักในสวนอัมพลัฏฐิกานั้น ก็

ทรงทำธรรมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่แม้ด้วยประ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

การฉะนี้ สมาธิ มีอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้

สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้ จาก

อาสวะทั้งหลายกล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.

เมืองนาลันทา

[๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระราชอุทยาน

อัมพลัฏฐิกา ตามพระอัธยาศัยแล้ว จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด

อานนท์ เราจักเข้าไปเมืองนาลันทา ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ

สงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองนาลันทา เล่ากันว่า ในเมืองนาลันทานั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในปาวาริกัมพวัน.(๑)

พระสารีบุตรมาเฝ้า

ครั้งนั้นแล(๒) ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญารู้ยิ่ง ยิ่งกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีมาแล้ว (ในอดีต) และจักไม่มี

(ในอนาคต ) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร วาจาอันอาจหาญโอฬาร

นี้ บันลือสีหนาทที่เชื่อถือโดยแท้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส

๑. ใน ส. มหาวาร. ๑๙/-๒๑๑ ว่า ว่า เสด็จอยู่ในปาวาริกัมพวัน-สวนมะม่วงของทุสสปาวาริก

เศรษฐีดู. สารตฺถปปกาสินี. ตติภาค. น. ๓๐๕.

๒. บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้เบื้องต้นของสัมปสาทนียสูตร ที. ปา. ๑๑/๑๐๘-๑๑๐ และ ส.

มหาวาร. ๑๙/ ๒๑๑-๒๔๑.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญารู้ยิ่ง

ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีแล้ว (ในอดีต) และ

จักไม่มี (ในอนาคต) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ นี้เธอกล่าวแล้ว ดูก่อนสารี-

บุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล

เธอกำหนดใจรู้แล้วด้วยใจ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประ-

การฉะนี้ มีธรรมอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วย

ประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้

พ้นพิเศษแล้วอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือหนอ.

พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร แต่พระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด จักมีในอนาคตกาล เธอกำหนดใจรู้แล้วด้วยใจ

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหลายเหล่านั้น จักเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนั้น เป็นผู้มีธรรม

อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้

เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้ว

อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือ.

พระสารีบุตร. . . ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ดูก่อนสารีบุตร แต่เธอกำหนดใจรู้แล้วด้วยใจ

ซึ่งเรา(ตถาคต)ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลบัดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ แม้ด้วยประการ

ฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่

อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วอย่างนี้

แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

พระสารีบุตร. . . ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ดูก่อนสารีบุตร และเพราะเธอไม่มีญาณเพื่อ

กำหนดรู้ด้วยใจในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต ในอนาคต และใน

ปัจจุบันนี้ และเมื่อเป็นอย่างนั้น เหตุไร เธอจึงกล่าววาจาอันอาจหาญโอฬารนี้

บันลือสีหนาทที่เชื่อถือได้โดยแท้ ในบัดนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เสื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญา

รู้ยิ่ง ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีแล้ว (ในอดีต)

และจักไม่มี (ในอนาคต) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้.

พระสารีบุตร. . . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีญาณเพื่อกำหนด

รู้ด้วยใจในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน

ก็แต่ว่าข้าพระองค์รู้ว่าการดำเนิน (โดยอนุมาน) ไปตามทางธรรม พระเจ้าข้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือน นครที่ตั้งอยู่ชายแดนของพระราชา มี

ประตูมั่นคง มีกำแพงและเสาค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมือง

นั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา คอยห้ามคนทั้งหลายที่ตนไม่รู้จัก อนุญาต

คนทั้งหลายที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น นายประตูนั้นเดินไปตามทางโดย

เที่ยวสำรวจไปโดยรอบนครนั้น ไม่เห็นรอยต่อของกำแพง หรือช่องว่างของ

กำแพง แม้เพียงโดยที่สุดแมวลอดออกได้ นายประตูนั้น จึงมีความคิดอย่างนี้

ว่า สัตว์มีชีวิตขนาดเขื่องไร ๆ เหล่าใดแล เข้ามาในเมืองนี้ก็ดี ออกไปก็ดี

สัตว์มีชีวิตเหล่านั้นทั้งหมด เข้าหรือออกโดยประตูนี้ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นนั่นแล รู้การดำเนินไปตามทางธรรมว่า

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้

มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์ทรงละนีวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็น

อุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งอยู่ด้วยดีใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

สติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วซึ่งพระ-

สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด จักมีในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่านั้น ทุกพระองค์ จักทรงละนีวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสของใจ

เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔

ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จักตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอัน

ยอดเยี่ยม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า องค์อรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละแล้วซึ่งนีวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสของ

ของใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งอยู่ด้วยดีในสติ

ปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ คามเป็นจริง ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ซึ่งพระสัมมา

สัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยม ดังนี้ (๑)

กล่าวกันว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน

ในเมืองนาลันทานั้น ก็ทรงทำธรรมมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วย

ประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอัน

สมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้น

ด้วยดี โดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ดังนี้.

ปาฏลิคาม

[๗๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในเมืองนาลันทา

ตามพระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปหมู่

๑. มีเรื่องเล่าถึงเหตุที่ท่านพระสารีบุตรเถระมาเฝ้พระผู้มีพระภาคเจ้าและกราบทูลเรื่องนี้ไว้ใน

สัมปสาทนียสูตร ใน ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ๑๑/๑๐๘-๑๑๐ และดู-สุมงฺคลวิลานินี, ตติย

ภาค, น. ๗๔-๘๖

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บ้านปาฏลิคาม. ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ

เจ้าข้า.

(๑)ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เสด็จดำเนินถึงหมู่บ้านปาฏลิคามนั้นแล้ว (๒)อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม

ได้ยินว่า ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินถึงปาฏลิคามแล้ว ครั้ง

นั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ด้านหนึ่ง อุบาสกทั้งหลายชาวบ้าน

ปาฏลิคามได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงรับอาคารรับรองเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วย

ดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคามทราบว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำ

ประทักษิณ แล้วเข้าสู่อาคารรับรอง ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้ทุกแห่ง แล้วปูอาสนะ

ทั้งหลายไว้ จัดตั้งหม้อน้ำ ยกประทีปน้ำมันขึ้นตั้งไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง อุบาสก

ทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อาคารรับรอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้

ทุกแห่งแล้ว ปูอาสนะทั้งหลายไว้แล้ว จัดตั้งหม้อน้ำไว้แล้ว ยกประทีปน้ำมัน

ขึ้นตั้งไว้ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพิจารณากาลสมควร

พระเจ้าข้า ดังนี้.

ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตร

และจีวรเสด็จดำเนินไปยังอาคารรับรอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงล้าง

๑. บาลีพระสูตรแต่นี้ไปมีกล่าวถึงใน วินย.มหาวคฺค. ทุติย. ๕/๘๖-๙๔.

๒. บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน ขุ.อุ. ๒๕/๒๑๕-๒๒๒.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

พระบาทแล้ว เสด็จเข้าอาคารรับรอง ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์

ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วเข้าสู่อาคารรับรองแล้ว นั่งพิง

ผนังด้านตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก คือ หันหน้าไปทางพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้นเอง แม้อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ก็พากันล้างเท้าแล้ว

เข้าสู่อาคารรับรอง แล้วนั่งพิงผนังด้านตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก

คือ หันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่นกัน.

โทษ ๕ ประการของศีลวิบัต

[๗๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอุบาสกทั้งหลายชาว

บ้านปาฏลิคามว่า

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษของศีลวิบัติของบุคคลทุศีลมี ๕ ประการ

๕ ประการเป็นไฉน

(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลในโลกนี้

ประสบความเสื่อมโภคะเป็นอันมาก เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ

ข้อที่ ๑ ของศีลวิบัติของบุคคลทุศีล.

(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์ชั่วของ

บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลก็อื้อฉาวไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของศีลวิบัติ ของ

บุคคลทุศีล.

(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศจาก

ศีล เข้าสู่บริษัทใด ๆ คือขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัท

ก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้ไม่องอาจ ขวยเขิน เข้าไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๓

ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศ-

จากศีล เป็นคนหลง ทำกาละ (ตาย) นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของศีลวิบัติ ของ

บุคคลผู้ทุศีล

(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศ-

จากศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าไปถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก

นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ ของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษ ๕ ประการของบุคคลผู้ทุศีล ผู้ปราศจาก

ศีล เหล่านี้แล.

อานิสงส์ ๕ ประการของศีลสัมปทา

[๘๐] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของ

ผู้มีศีล มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน

(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้

ได้ประสบโภคะกองใหญ่เพราะมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่

๑ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์อันดีงาม

ของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล กระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒

ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีล เข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี

คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้องอาจไม่ขวยเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๓ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ (ตาย) นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของความ

ถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๕ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล

ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการของความถึงพร้อมด้วยศีล

ของบุคคลผู้มีศีล เหล่านี้แล.

[๘๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยิ่งอุบาสกทั้งหลาย ชาว

บ้านปาฏลิคามให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมี-

กถา ผ่านราตรีไปเป็นส่วนมากแล้ว ทรงส่งกลับ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อน

คหบดีทั้งหลาย ราตรีผ่านไปมากแล้วแล บัดนี้ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเห็น

เป็นกาลสมควรเถิด อุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคาม กราบทูลรับแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว พากันกลับไป ครั้งนั้นแล เมื่อ

อุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคามกลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็เสด็จเข้าสุญญาคาร.

บ้านปาฏลิคาม

[๘๒] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ

แคว้นมคธกำลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้ง

หลาย. แต่ทว่า สมัยนั้นแล เทวดาทั้งหลายเป็นอันมากจำนวนพัน ๆ พากัน

หวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม. ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ศักดิ์ใหญ่หวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและ

ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด

เทวดาทั้งหลายชั้นกลางๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์

ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นกลาง ๆ ในภูมิประเทศนั้น

ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ำพากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อ

ให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นต่ำ ในภูมิประ-

เทศนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น

จำนวนพัน ๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

เหนือดวงตามนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง

แห่งราตรี แล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครหนอให้สร้างเมือง

อยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม.

พระอานนท์กราบทูลว่า พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์

ของแคว้นมคธ กำลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้า

วัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . ดูก่อนอานนท์ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ

มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธให้สร้างเมืองในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้า

วัชชีทั้งหลาย เหมือนอย่างท้าวสักกะทรงปรึกษาหารือกับเทวดาทั้งหลายชั้น

ดาวดึงส์ ดูก่อนอานนท์ ณ ที่นี้ ตถาคตได้เห็นเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก

จำนวนพัน ๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์

เหนือดวงตามนุษย์ ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่พากัน

หวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราช

มหาอำมาตย์ทั้งหลาย ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลาย

ชั้นกลาง ๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลายชั้นกลาง ๆ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิ

ประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ำ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้

สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและแก่ราชมหาอำมาตย์ทั้งหลาย ในภูมิประเทศ

นั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้ยังเป็นที่ชุมนุมชนอารยะอยู่ตราบใด ยังเป็นทาง

ผ่านของพ่อค้าอยู่ตราบใด จักเป็นนครชั้นเลิศ ชื่อปาฏลิบุตร(๑) เป็นที่แก้ห่อ

สินค้า ดูก่อนอานนท์ นครปาฏลิบุตร จักมีอันตราย ๓ ประการ คือ จากไฟ ๑

จากน้ำ ๑ หรือด้วยแตกสามัคคี ๑

พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะถวายภัตตาหาร

[๘๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ

แคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

กล่าวถ้อยคำน่าชื่นชมควรรำลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พราหมณ์

สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุ-

สงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร สำหรับวันนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับด้วยดุษณีภาพ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ

ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงเข้าไปยังเรือนรับรองของตน

แล้วสั่งให้ตกแต่งของควรเคี้ยวของควรบริโภคอย่างประณีตไว้ในเรือนรับรอง

ของตน แล้วให้กราบทูลกาลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือ

บาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินเข้าไปเรือนรับรองของ

๑. นครปาฏลิบุตรนี้ ต่อมาเป็นราชธานีของอาณาจักรมคธ ในรัชสมัยของพระเจ้ากาลาโสก

หรือในรัชสมัยของพระเจ้าอุเทน พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูและเป็นนครหลวงที่

เจริญรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก ธรรมาธิราช และสมัยราชวงศ์คุปตะ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

พราหมณ์สุนีธะแสะวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธแล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่เขาปูไว้ ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ

แคว้นมคธอังคาส เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของควรเคี้ยว

ควรบริโภคอย่างประณีตด้วยมือของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ

ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตร พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะมหาอำมาตย์ของ

แคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ำที่ใดที่หนึ่งแล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุโมทนากะพราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของ

แคว้นมคธผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่า

[๘๔] บุรุษผู้มีเชื้อชาติบัณฑิต เข้าไปอยู่ใน

ประเทศใด พึงเชิญท่านพรหมจารี

ทั้งหลายผู้มีศีล ผู้สำรวมให้บริโภคใน

ประเทศนั้น แล้วอุทิศทักษิณาให้แก่

เทวดาทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้น

เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น อันบุรุษนั้นบูชา

แล้ว ย่อมบูชาตอบ นับถือแล้ว ย่อม

นับถือตอบ ซึ่งบุรุษนั้น เพราะเหตุนั้น

เทวดาทั้งหลายจะอนุเคราะห์บุรุษเชื้อชาติ

บัณฑิตนั้น เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตร

ของตน บุรุษผู้ซึ่งเทวดาอนุเคราะห์แล้ว

จะประสบแต่สิ่งเจริญทั้งหลายในกาล

ทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

โคตมทวาร

[๘๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาพราหมณ์

สุนีธะและวัสสการมหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จ

กลับ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ

ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเสด็จไปโดยเบื้องพระปฤษฏางค์ ด้วย

คิดว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูใด ประตูนั้นจักมีชื่อว่า

โคตมทวาร จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคา โดยท่าใด ท่านั้นจักมีชื่อว่า โคตมติตถะ(๑)

ครั้งนั้นแล ประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก ได้มีนามว่า โคตมทวาร

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำ

คงคา น้ำเต็มฝั่งเสมอขอบฝั่ง กาดื่มกินได้ มนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาข้ามจาก

ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหายพระองค์บนฝั่งข้างนี้ของ

แม่น้ำคงคาแล้วประทับยืนเฉพาะอยู่บนฝั่งข้างโน้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึง

เหยียดแขนที่คู้ไว้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ผู้ปรารถนาข้ามจากฝั่ง

หนึ่งไปยังฝั่งหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความหมายนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ใน

เวลานั้นว่า

ชนทั้งหลายเหล่าใด จะข้ามสระ คือ

ห้วงน้ำ (แม่น้ำ) ชนเหล่านั้น ต้องทำ

สะพานผ่านเปือกตมข้ามไป ประชาชน

๑. โคตมติตถะ ไม่มี เพราะมิได้เสด็จลงท่า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ยังผูกทุ่นกันอยู่ แต่ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา

ข้ามกันไปไม่ต้องผูกทุ่น(๑)

จบภาณวารที่ ๑(๒)

โกฏิคาม

[๘๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปหมู่บ้านโกฏิคามกันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูล

รับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จ

ดำเนินถึงหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล้ว เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ใน

หมู่บ้านโกฏิคามนั้น ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอด

อริยสัจ ๔ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป

ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ ทุกข์ เราตถาคตและเธอ

ทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ

เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป

เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้

เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลาย

๑. ดู- ขุ อุ. ๒๕/๒๒๒ ด้วย

๒. ภาณวารแปลว่า วาระแห่งการสวด ตามธรรมดา ๑ ภาณวาร ประกอบด้วยคาถา ๒๕๐ คาถา

๑ คาถา มี ๔ บาท มี ๘ อักษร รวม ๑ คาถา มี ๓๒ อักษร เพราะฉะนั้น ๒๕๐ คาถา

จึงเท่ากับ ๘,๐๐๐ อักษร (หรือ ๘,๐๐๐ พยางค์) เป็น ๑ ภาณวาร.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอด อริยสัจ คือ ทางปฏิบัติ

ไปสู่ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อน

ไปตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกข์นี้นั้น

เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือ เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์

เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคต

ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจ คือทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์

เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ เราตถาคตถอนขึ้นแล้ว

ตัณหานำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพต่อไปไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสบทประพันธ์ ต่อไปว่า . -

[๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็น

จริง เราตถาคตและเธอทั้งหลายจึงเร่ร่อน

ไปในชาติทั้งหลายเหล่านั้น นั่นแล

ตลอดกาลยาวนาน.

บัดนี้อริยสัจ ๔ นี้นั้น เราตถาคต

เห็นแล้ว ตัณหานำไปสู่ภพ เราก็ถอน

ได้แล้ว รากเหง้าของทุกข์เราก็ถอนทิ้ง

แล้ว บัดนี้ จะไม่มีเกิดอีกต่อไป.(๑)

[๘๘] ทราบว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่บ้านโกฏิคาม

นั้น ก็ทรงทำธรรมมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่ด้วย

ประการฉะนี้ สมาธิมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ

อันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว

๑. ดู. วินย. มหาวัคค, ทุติยภาค ๕/๙๓-๙๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดี โดย

แท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะอวิชชาสวะ ดังนี้.

หมู่บ้านนาทิกะ(๑)

[๘๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในบ้านโกฏิคาม ตาม

พระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไป

ยังหมู่บ้านนาทิกะกันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เสด็จดำเนินถึงหมู่บ้านนาทิกะแล้ว เล่ากันว่า ในหมู่บ้านนาทิกะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในเรือนรับรองก่อด้วยอิฐ.

ครั้งนั้นแล(๒) ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ผู้นั่ง

อยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า.-

คติภายหน้าของผู้ทำกาละแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อว่าสาฬหะ ทำกาละแล้วในหมู่บ้าน

นาทิกะ เขามีคติอย่างไร มีภพไปถึงภายหน้าอย่างไร.

ภิกษุณี ชื่อว่า นันทา ทำกาละแล้ว ในหมู่บ้านนาทิกะ เขามีคติ

อย่างไร มีภพไปถึงภายหน้าอย่างไร พระเจ้าข้า.

อุบาสก ชื่อว่า สุทัตตะ. . .

อุบาสิกา ชื่อว่า สุชาดา. . .

๑. ในส. มหาวาร. ๑๙/๔๔๖. . .ระบุว่า "ญาติเก-ในหมู่บ้านญาติกะ"

๒. บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน ส. มหาวาร. ๑๙/๔๔๗-๔๕๑ แต่ละนามบุคคลแผก

เพี้ยนเพิ่มเติมบ้าง และมีละเอียดออกไปบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

อุบาสก ชื่อว่า กกุธะ. . .

อุบาสก ชื่อว่า การฬิมภะ. . .

อุบาสก ชื่อว่า นิกฏะ. . .

อุบาสก ชื่อว่า กฏิสสหะ . . .

อุบาสก ชื่อว่า ตุฏฐะ. . .

อุบาสก ชื่อว่า สันตุฏฐะ. . .

อุบาสก ชื่อว่า ภฏะ. . .

อุบาสกชื่อ สุภฏะ ทำกาละแล้วในหมู่บ้านนาทิกะ เขามีคติอย่างไร มีภพไป

ถึงภายหน้าอย่างไร พระเจ้าข้า.

แว่นธรรม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุสาฬหะ

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป ด้วยปัญญารู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในทิฏฐธรรมแล้วแล

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุณีชื่อนันทา เพราะสัญโญชน์ อันเป็นส่วนเบื้อง

ต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพาน ในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่

กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกสุทัตตะ เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป

เพราะราคะ โทสะและโมหะทั้งหลายบางเบา เป็นสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้

อีก ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์

ดูก่อนอานนท์ อุบาสิกาสุชาดา เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เป็น

โสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกกกุธะ เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้อง

ต่ำ ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้ เป็นผู้ไม่กลับ

มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกการฬิมภะ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกนิกฏะ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสก กฏิสสหะ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสก ตุฏฐะ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสก สันตุฏฐ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสก ภฏะ. . .

ดูก่อนอานนท์ อุบาสก สุภฏะ เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วน

เบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่

กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลาย ในหมู่บ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คน ทำ

กาละแล้ว เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น

ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านนาทิกะ ๙๖ คน ทำกาละ

แล้ว เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างในรูป เพราะราคะ โทสะและโมหะบางเบา

เป็นสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดทุกข์

ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลาย ในหมู่บ้านนาทิกะ ๕๑๐ คน ทำ

กาละแล้ว เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เป็นโสดาบันเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้แน่นอน เป็นผู้จะตรัสรู้ในภพหน้า ข้อนั้นไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์

เป็นมนุษย์พึงทำกาละ เมื่อบุคคลนั้น ๆ ทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายก็จักเข้ามาหา

ตถาคต แล้วถามเนื้อความนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้เป็นการเบียดเบียนแก่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ตถาคตโดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละเรา ตถคตจักแสดงธรรม

บรรยายชื่อว่าแว่นธรรมไว้ ซึ่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่น

ธรรมแล้ว เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มี

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบายทุคติและ

วินิบาตสิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้

แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า.

ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมบรรยาย ชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งอริยสาวก ผู้

ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตน

ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่ง

เปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบายทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโสดาบัน

เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้านั้นเป็น

ไฉน

ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกในพระศาสนานี้

(๑) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า

แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้

ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้

เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีผู้ฝึกคนที่ควรฝึกไม่มีผู้ข้อนี้ยิ่งกว่า เป็น

พระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ทรงจำแนก

ธรรม ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว ผู้บรรลุพึงเห็นด้วยตนเอง ไม่

ประกอบด้วยกาล เรียกคนอื่นมาดูได้ น้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลาย

พึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

(๓) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้

ปฏิบัติเพื่อรู้ เป็นผู้ปฏิบัติสมควร พระสงฆ์สาวกนี้ คือ ใคร คู่แห่งบุรุษ ๔

คู่ บุรุษบุคคล ๘ ท่าน นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควร

แก่ของนำมาคำนับ เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ เป็น

ผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

(๔) เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ

ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่

แปดเปื้อน ดำเนินไปเพื่อได้สมาธิ ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่น

ธรรมนี้แล ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว

เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคคติและวินิบาต

สิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโลดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน

แล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า ดังนี้.

ได้ยินว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ เรือนรับรองก่อด้วย

อิฐในหมู่บ้านนาทิกะนั้น ก็ทรงทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลาย

ว่า ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่

ด้วยประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญา

อันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้น

ด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

นครเวสาลี

[๙๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในหมู่บ้านนาทิกะ

ตามพระอัธยาศัยแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะ อานนท์ เราจะเข้า

ไปนครเวสาลีกันเถิด. ท่านพระอานนท์ กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เสด็จดำเนินถึงนครเวสาลีนั้นแล้ว. ทราบว่าในนครเวสาลีนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เสด็จประทับในอัมพปาลิวัน.

สติปัฏฐาน-อนุสาสนี

ในอัมพปาลิวันนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็น

อนุสาสนีของเรา (มอบให้) แก่เธอ (ทั้งหลาย)*

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณากายในกายเป็นผู้มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาเวทนาใน

เวทนา . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาจิตในจิต. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาธรรมในธรรม

มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างไร.

๑. ตรงนี้ เป็น เต - แก่เธอ แต่ข้างหน้า เป็น โว - แก่เธอทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่

เสมอ ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับ

เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการแลดู ในการเหลียวดู

เป็นผู้ทำความรู้อยู่เสมอ ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก

เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการทรงไว้ ซึ่งสังฆาฏิ บาตรและจีวร

เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการกิน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ใน

การลิ้ม

เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ

เป็นผู้ทำความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ใน

การหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอยู่อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็น

อนุสาสนีของเรา แก่เธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.

นางอัมพปาลีคณิกามาเฝ้า

[๙๑] นางอัมพปาลี(๑) คณิกา ได้ยินแล้วแลว่า เขาว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จดำเนินถึงนครเวสาลีแล้ว เสด็จประทับอยู่ในสวนมะม่วงของเรา

ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลี คณิกา สั่งให้เทียมยานทั้งหลาย

ที่ดี ๆ แล้ว ตนเอง ขึ้นยานดี ๆ คันหนึ่ง ออกจากนครเวสาลีด้วยยาน

ทั้งหลายคันดี ๆ เข้าไปยังสวนของตน ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้

แล้วลงจากยาน เดินเท้าไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังนางอัมพปาลี

คณิกา ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง ให้รื่นเริง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

๑. บาลีพระสูตรแต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน วินย. มหาวัคค์, ทุติยภาค ๕/๙๔-๙๗.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

ด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉัน สำหรับวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ครั้น

ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ก็ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วกลับไป.

[๙๒] เจ้าลิจฉวีทั้งหลายชาวเมืองเวสาลี ได้ยินแล้วแลว่า เขาว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินถึงเมืองเวสาลีแล้ว เสด็จประทับอยู่ในอัมพ-

ปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น สั่งให้

เทียมยานทั้งหลายคันใหญ่ ๆ แล้วต่างก็ขึ้นยานใหญ่ ๆ ออกจากนครเวสาลี

ด้วยานทั้งหลายใหญ่ ๆ ในบรรดาเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น เจ้าลิจฉวีบาง

พวกสีนิล มีวรรณสีนิล มีผ้านุ่งห่มสีนิล เครื่องประดับสีนิล เจ้าลิจฉวีบาง

พวกสีหลือง มีวรรณสีเหลือง มีผ้านุ่งสีเหลือง เครื่องประดับสีเหลือง เจ้า-

ลิจฉวีบางพวกสีแดง มีวรรณสีแดง มีผ้านุ่งห่มสีแดง เครื่องประดับสีแดง

เจ้าลิจฉวีบางพวกสีขาว มีวรรณสีขาว มีผ้านุ่งห่มสีขาว เครื่องประดับสีขาว.

ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ให้เพลา กระทบกับเพลา ให้ล้อ

กระทบกับล้อ ให้แอกกระทบกับแอก ของเจ้าลิจฉวีทั้งหลายหนุ่มๆ. ครั้นแล้ว

เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ได้กล่าวกะนางอัมพปาลีคณิกาว่า แม่อัมพปาลี

เหตุไร เจ้าจึงให้เพลากระทบเพลา ล้อกระทบล้อ แอกกระทบแอก ของเจ้า

ลิจฉวีทั้งหลายที่หนุ่มๆ เล่า. นางอัมพปาลีคณิกา ตอบว่า จริงอย่างนั้นเจ้าค่ะ

ข้าแต่ลูกท่าน หม่อมฉันได้กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ทรงรับภัตตาหารสำหรับวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว. เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย นี่แน่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

แม่อัมพปาลี โปรดยกภัตตาหารมื้อนี้ให้ แก่เรา ด้วยค่าหนึ่งแสนเถิด. อัมพปาลี

คณิกาตอบว่า ข้าแต่ลูกท่าน หากเป็นจริง จักทรงประทานนครเวสาลีรวม

ทั้งรายได้ในชนบทแก่หม่อมฉัน แม้ถึงอย่างนั้น หม่อมฉันก็จักไม่ยกภัตตาหาร

ยิ่งใหญ่ถวาย. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ต่างส่ายองคุลีกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญเอ๋ย พวกเราพ่ายแพ้นางอัมพปาลีคณิกาเสียแล้ว ท่านผู้เจริญเอ๋ย

พวกเราถูกนางอัมพปาลีคณิกาลวงเสียแล้ว. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่า

นั้น ก็เข้าไปยังอัมพปาลีวัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีทั้งหลายมาแต่ไกล

จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ไม่เคย

เห็นเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะดูบริษัท

ของเจ้าลิจฉวี เหลียวดูบริษัทของเจ้าลิจฉวีจงเปรียบเทียบบริษัทของเจ้าลีจฉวี

เหมือนเช่นเทวดาชั้นดาวดึงส์. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นไปด้วย

ยานตลอดพื้นที่ยานไปได้แล้วลงจากยาน ดำเนินไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงยังเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวี

ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้รื่นเริงแล้วด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉันทั้งหลาย

สำหรับวันพรุ่งนี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนลิจฉวี

ทั้งหลาย ตถาคตรับภัตตาหารของนางอัมพปาลีคณิกา สำหรับวันพรุ่งนี้ไว้

แล้วแล. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ต่างส่ายองคุลีกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญเอ๋ย พวกเราพ่ายแพ้นางอัมพปาลีคณิกาเสียแล้ว. ท่านผู้เจริญเอ๋ย พวก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

เราถูกนางอัมพปาลีคณิกาลวงเสียแล้ว. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น

ชื่นชมอนุโมทนาพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ แล้วหลีกไป.

ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้เตรียมของควรเคี้ยว ของควร

บริโภคอันประณีต ในสวนของตนจนสิ้นราตรีนั้น แล้วให้กราบทูลกาลเวลา

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้ง

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตรและจีวร ในเวลาเช้า

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปสู่ที่อังคาสของนางอัมพปาลีคณิกา ครั้นแล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้. ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา อังคาสเลี้ยงดู

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประมุข ด้วยของควรเคี้ยว ของควรบริโภค

อันประณีตด้วยมือของตน. ครั้งนั้นแล ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว

ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว(๑) นางอัมพปาลีคณิกา ถือเอาอาสนะต่ำ นั่ง

อยู่ ณ ด้านหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า หม่อมฉันขอถวาย

อาราม(๑) นี้ แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประมุข พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระอารามแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังนางอัมพปาลีคณิกาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไป.(๓)

๑. ในที่นี้ แปลคำทุติยาวิภัตติ เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ในวินัย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ มี

ฟุตโน้ตว่า "อภิวาเทตฺวา-ถวายบังคม" ต่อคำว่า "โอนีตปตฺตปาณี-วางพระหัตถ์ลงจาก

บาตรแล้ว" ถ้าอย่างนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ

๒. ใน วินย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ ว่า "อมฺพปาลีวน- สวนนางอัมพปาลี"

๓. ใน วินย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ ว่า "อุฏฺฐายาสนา เยน มหาวน เตนุปสงฺกมิ.

ตตฺร สุท ภควา เวสาลิย วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลาย-ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า

ไปป่ามหาวัน ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน

ใกล้นครเวสาลีนั้น"

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้

นครเวสาลีนั้น ก็ทรงทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล

มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่ด้วยประการ

ฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรม

แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดี

โดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.

เวฬุวคาม(๑)

[๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในอัมพปาลีวัน ตาม

พระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะ อานนท์ เราจักเข้าไป

ยังหมู่บ้านเวฬุวคามกันเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เสด็จดำเนินถึงหมู่บ้านเวฬุวคามนั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ณ หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น.

(๒) ในหมู่บ้านเวฬุวคามนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด จงไปจำพรรษาตามมิตรสหาย

ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบนครเวสาลีเถิด

ส่วนเรา ตถาคตจะเข้าจำพรรษาในหมู่บ้านเวฬุวคามนี้แล. ภิกษุทั้งหลายเหล่า

นั้น กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. แล้วไปจำพรรษาตาม

มิตรสหาย ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบ

นครเวสาลี. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพระวัสสา(๓) ในหมู่บ้าน

เวฬุวคามนั้นเอง.

๑. บางแห่งเป็น "เวลุวคามก" และเป็น "เพลุวคามก" ก็มี

๒. บาลีพระสูตรแต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน ส. มหาวาร. ๑๙/๒๐๓-๒๐๖

๓. พระพรรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้าย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประชวร

ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพระวัสสาแล้ว ก็เกิด

ทรงพระอาพาธแรงกล้า มีเวทนาหนักเป็นใกล้สิ้นพระชนม์. กล่าวกันว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนานั้น มิได้ทรง

กระวนกระวาย. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า การที่เราไม่

บอกกล่าวกะผู้เป็นอุปัฏฐาก ไม่บอกลาภิกษุสงฆ์แล้วปรินิพพานนั้น เป็นการ

ไม่สมควรแก่เรา อย่างไรก็ตาม เราควรขับไล่อาพาธนี้ให้ถอยไป ด้วยพระวิริยะ

แล้วอธิษฐานชีวิตสังขารดำรงอยู่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่

พระโรคาพาธนั้นให้ถอยไปด้วยพระวิริยะแล้ว ทรงอธิษฐานชีวิตสังขารดำรง

พระชนม์อยู่. ครั้นแล้วพระโรคาพาธนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็สงบไป.(๑)

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรง

หายจากพระประชวรแล้วไม่นาน เสด็จออกจากวิหารไปประทับนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูไว้ในร่มด้านหลังวิหาร. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้า

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระสำราญแล้ว ข้าพระองค์ได้เห็นความอดทนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระเจ้าข้า และแม้กระนั้น ร่างกายของข้าพระองค์

ประดุจหนักอึ้ง ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ อีกทั้งธรรมทั้งหลายก็

มิแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ เพราะพระอาการทรงประชวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็แต่ว่า ข้าพระองค์ได้มีความเบาใจบางประการว่า ตราบเท่าที่พระองค์ยังไม่

๑. ในอรรถกถา (ทั้งสุมงฺคลวิลาสินี, ทุติยภาค, น. ๑๙๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค,

น. ๓๐๐) ว่า พระพุทธองค์ทรงเข้าผลสมาบัติข่มเวทนาขับไล่พระโรคาพาธให้สงบ ไม่เกิดขึ้น

ตลอด ๑๐ เดือน จนเสด็จปรินิพพาน แสดงว่าทรงพระประชวรครั้งนี้ ราวปลายเดือน ๘

หรือ ต้นเดือน ๙.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ทรงปรารภภิกษุสงฆ์แล้วทรงมีพระดำรัสอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุสงฆ์ยังหวังอะไร

ในเราตถาคตเล่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้ว ได้ทำมิให้มีใน

มิให้มีนอก ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีกำมืออาจารย์ (ปิดบังซ่อนเร้น)

ในธรรมทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดพึงมีความดำริอย่างนี้ว่าฉันจักบริหาร

ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี หรือว่า ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องฉัน ดังนี้ก็ดี ดูก่อนอานนท์

แน่นอน เขาผู้นั้นพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวถ้อยคำบางประการ. ดูก่อน

อานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราแลจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือว่า

ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องเรา ตถาคต ดังนี้. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น ยังจักปรารภ

ภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวถ้อยคำไร ๆ คราวเดียว. ดูก่อนอานนท์ ก็ในกาลบัดนี้ เรา

ตถาคตแก่เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับแล้ว วัยของตถาคต

ก็กำลังดำเนินเข้าเป็น ๘๐ ปีอยู่. ดูก่อนอานนท์ เกวียนคร่ำคร่าเดินไปได้ด้วย

การแซมด้วยไม้ไผ่แม้ฉันใด ร่างกายของตถาคตก็ดำเนินไปได้ เหมือนด้วย

การแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันนั้นนั่นแล ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ตถาคตเข้าถึง

เจโตสมาธิ หานิมิตมิได้อยู่ เพราะไม่มนสิการนิมิตทั้งปวง เพราะเวทนา

ทั้งหลายบางอย่างดับไป ในสมัยนั้น ร่างกายของตถาคตมีความผาสุกยิ่ง.(๑)

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ

อยู่เถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามี

สิ่งอื่นเป็นสรณะเลย

ทรงแสดงเรื่องมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นสรณะ

ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่ ไม่มี

สิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น

สรณะ อย่างไร.

๑. แต่นี้ถึงจบภาณวารที่ ๒ ตรงกับ ส. มหาวาร. ๑๙/ ๒๑๗

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณากายในกาย เป็นผู้มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย . . .

พิจารณาจิตในจิต. . .

พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่ง

อื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็น

สรณะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ เพราะว่า ในกาลบัดนี้ก็ดี โดยการที่เราตถาคต

ล่วงลับไปแล้วก็ดี ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มี

ตนเป็นสรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จักมีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็น

สรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็น

ผู้ใคร่ในการศึกษาเหล่านี้นั้น จักเป็นผู้ประเสริฐสุดยอด ดังนี้แล.

จบ คามกัณฑ์ ในมหาปรินิพพานสูตร

จบภาณวารที่ ๒

ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔

(๑)[๙๔] ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง

ทรงถือบาตรและจีวรแล้ว เสด็จดำเนินเข้านครเวสาลี เพื่อบิณฑบาต(๒) ครั้น

เสด็จดำเนินเพื่อบิณฑบาตในนครเวสาลีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลา

๑. บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้ใน ส. มหาวาร. ๑๙/๓๐๒ อธ. อฏฺก. ๒๓/๓๑๘

-๓๒๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๖.

๒. ความในมหาปรินิพพานสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สุมงฺคลวิสาสินี, ทุติยภาค,

น. ๙๓๑-๒๐๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๑๒-๓๒๘.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ปัจฉาภัตร ทรงมีพระดำรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือ

นิสีทนะ (ที่รองนั่ง) เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์กันเถิด ท่านพระอานนท์

กราบทูลรับว่า พระเจ้าข้า แล้วถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไป

โดยเบื้องพระปฤษฏางค์. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินเข้าไปยัง

ปาวาลเจดีย์ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้ท่านพระอานนท์ ก็ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ตรัสกะท่านพระอานนท์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์

นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ ก็เป็นที่

รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารัน-

ททเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ ก็เป็นที่รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่ง

ผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่ง

วัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่อง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ดูก่อนอานนท์

ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ ) อยู่ได้ตลอดกัป เกินกว่ากัป

ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มาก แล้ว

ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้

เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภด้วยดี โดยชอบแล้ว ดูก่อนอานนท์ ตถาคต

นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

ดังนี้.

แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำนิมิตหยาบ ทรงทำโอภาสหยาบ

อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ ก็มิสามารถรู้ได้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดำรงอยู่ตลอด

กัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจำนวน

มาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ คล้ายกับท่านมีจิต

ถูกมารสิงไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๒ แลฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๓ แล ดังนี้ว่า ดูก่อน

อานนท์ นครเวสาลี เป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์

ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์

สารันททเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์(๑) ดูก่อนอานนท์

ผู้หนึ่งผู้ใด เจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็น

ประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ผู้นั้น

เมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทำให้มากแล้ว

ได้ทำให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว

ปรารภเสมอแล้วด้วยดี ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้นเมื่อปรารถนา ก็พึงดำรง

อยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดังนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิมิตหยาบ

ทรงทำโอภาสหยาบ อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ก็มิสามารถรู้ มิได้กราบทูล

อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่

ชนจำนวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนจำนวนมาก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.

คล้ายกับท่านมีจิตถูกมารสิงไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ท่านพระอานนท์มีพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป บัดนี้ เธอจงสำคัญ

กาลอันควรเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทำประทัก-

ษิณนั่งแล้วที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล.

๑. ดูประวัติย่อ ๆ ของเจดีย์เหล่านี้ ใน ปรมตฺถทีปนี อุทานวณฺณนา, น. ๔๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

มารทูลขอให้ปรินิพพาน

[๙๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปไม่นาน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน

ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็น

สาวกของเรา จักยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหุสูต

ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติ

ตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง

จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับ-

ปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป เรา

จักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรง

ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม

เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วจักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

กระทำให้ตื้น แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นโดยสหธรรม

เรียบร้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน

ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ก็แล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุณี

ผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่ฉลาด. . . ก็บัดนี้ ภิกษุณี ผู้เป็นสาวิกาของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด. . .จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาท

ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาร

ผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่ฉลาด . . . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็

บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เป็นฉลาดแล้ว. . .

แสดงธรรมมีปาฎิหาริย์ขมขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพาน

ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่ฉลาด. . . ข้าแต่พระ

องค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาด

แล้ว ได้รับแนะนำดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหุสูต ทรงธรรมปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของ

ตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น

แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อย โดยสหธรรมได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจง

ปรินิพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา

จักยังไม่สมบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนรู้กันโดยมากเป็นปึกแผ่น ตราบ

เท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพาน

เพียงนั้น ก็บัดนี้พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว. . . ขอพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้

เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงปลงอายุสังขาร

เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะมารผู้มี

บาปว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ไม่ช้าพระตถาคตจัก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ปรินิพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน.ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลดอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์. เมื่อ

พระผู้มีพระภาคทรงปลดสมาธิแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ น่ากลัว

ขนพอง สยองเกล้า กลองทิพก็บันลือลั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ

ความนั้น ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า

[๙๖] พระมุนีได้ปลงเสีย ซึ่งกรรมอันชั่ว

และกรรมอันไม่ชั่วได้ อันเป็นเหตุให้เกิด

ปรุงแต่งภพ ยินดีในภายใน ตั่งมั่นได้

ทำลายกิเลสที่เกิดขึ้นในตนเสีย เหมือน

ทำลายเกราะฉะนั้น.

[๙๗] ลำดับนั้น ท่านอานนท์คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ สิ่ง

ที่ไม่เคยมีก็เกิดขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงหนอ

น่ากลัว ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ

อะไรหนอเป็นปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวปรากฏได้. ลำดับนั้น ท่านพระ

อานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นท่านพระอานนท์นั่งแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่

เคยมีก็มีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินนี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว

ขนพองสยองเกล้า ทั้งกลองทิพก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็น

ปัจจัย ทำให้แผ่นดินไหวได้.

เหตุทำให้แผ่นดินไหว ๘ อย่าง

[๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ๘ อย่าง

ปัจจัย ๘ อย่าง ทำให้แผ่นดินไหวได้. เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้ง

อยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัด ย่อมทำน้ำให้ไหว ครั้น

น้ำไหวแล้ว ทำให้แผ่นดินไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ทำให้แผ่น-

ดินใหญ่ไหวได้.

ดูก่อนอานนท์ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความ

ชำนาญทางจิต หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญา

เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญามาก เราทำแผ่นดินให้ไหว สะเทือน กำเริบ

หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่สอง ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ

ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ

หวั่นไหว นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่สามทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจาก

พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัย ข้อที่ห้า ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป

เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยข้อที่หก ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต มีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร

เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัย ข้อที่เจ็ด ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กำเริบ หวั่นไหว

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ข้อที่แปด ทำให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.

บริษัท ๘

[๙๙] ดูก่อนอานนท์ บริษัท ๘ เหล่านี้เป็นไฉน. คือ ขัตติยบริษัท

พราหมณบริษัท คหปติบริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงส์

บริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท. เรายังจำได้ว่า เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลาย

ร้อยครั้ง ณ ที่ขัตติยบริษัทนั้น เราเคยนั่งร่วม เคยปราศรัย เคยสนทนา. วรรณะ

ของพวกนั้นเป็นเช่นใด ของเราเป็นเช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นใด

ของเราเป็นเช่นนั้น. เราให้พวกนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถา พวกนั้นไม่รู้จักเราผู้พูดว่า ผู้นี้ใครหนอพูดอยู่จะเป็นเทวดา

หรือมนุษย์. ครั้นเราให้พวกนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

แล้วก็หายไป พวกนั้นไม่รู้จักเราหายไปแล้วว่า นี้ใครหนอหายไปแล้วจะเป็น

เทวดาหรือมนุษย์ดังนี้.

ดูก่อนอานนท์ เรายังจำได้ว่า เราเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายร้อย

ครั้ง. . .คหบดีบริษัท. . . สมณบริษัท. . . จาตุมมหาราชิกบริษัท. . . ดาวดึงส์

บริษัท. . . มารบริษัท . . . พรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง. แม้ในบริษัทนั้นเรา

ก็เคยฟังร่วม เคยปราศรัย เคยสนทนา. วรรณะของพวกเขาเป็นเช่นใด ของ

เราก็เป็นเช่นนั้น . . . ผู้นี้ใครหนอแล หายไปแล้วจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ดังนี้

อานนท์ บริษัท ๘ เหล่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

อภิภายตนะ ๘ อย่าง

[๑๐๐] ดูก่อนอานนท์ อภิภายตนะ ๘ อย่างเหล่านี้แล เป็นไฉน. คือ

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณดี และมีผิว

พรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้

เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายในเห็นรูปภายนอกใหญ่

มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นมีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน

เห็นรูปภายนอกเล็กมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นมี

ความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม. ผู้หนึ่งมีความ

สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกใหญ่มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม

ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่

สี่.ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมี

เขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว มีรัศมีเขียว หรือผ้าที่ทำในกรุงพาราณสี

มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างเขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียวแม้ฉันใด ผู้หนึ่ง

มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมี

เขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เรา

เห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูป

ภายนอกเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์เหลือง

สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง

ทั้งสองข้างเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมี

ความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมี

เหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้

เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก. ผู้หนึ่งมีความสำคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูป

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ภายนอกแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง แสงแดง

มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างแดง สีแดง

แสงแดง มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูป

ภายนอกแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูป

เหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมี

ขาว ดาวประกายพรึกขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าทำในกรุง

พาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมีขาว แม้ฉันใด

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว สีขาว แสงขาว มี

รัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่าเรา

รู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด. อานนท์ อภิภายตนะ ๘ อย่างเหล่านี้แล.

วิโมกข์ ๘ อย่าง

[๑๐๑] ดูก่อนอานนท์ วิโมกข์ ๘ อย่างเหล่านี้เป็นไฉน. คือภิกษุ

มีรูป ย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง. ภิกษุมีความสำคัญในอรูปภายใน

ย่อมเห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง. ภิกษุน้อมใจไปว่า นี้งาม นี้เป็น

วิโมกข์ข้อที่สาม. เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ดังปฏิฆสัญญา ไม่

กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจ ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่าอากาศ ไม่มีที่

สุดอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่. ล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง

เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า. ล่วง

วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร

อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก. ล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึง

เนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด. ล่วงเนวสัญญานาสัญญา-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ยตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่

แปด. อานนท์ วิโมกข์ ๘ อย่างเหล่านี้แล.

เรื่องมาร

[๑๐๒] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้

อชปาลนิโครธ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น มารผู้มีบาป

ได้เข้าไปหาเรา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. มารผู้มีบาปได้กล่าวกะเราว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจง

ปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

มารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้มีบาปนั้นว่า มารผู้มีบาป ภิกษุผู้

เป็นสาวกของเรา จักเป็นผู้ฉลาดได้รับแนะนำ แกล้วกล้า พหูสูต ทรงธรรม

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับ

อาจารย์ของตนแล้ว จักบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น

ได้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรับปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อย โดยสหธรรม

ยังไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น. ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา

. . . อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา . . . อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา . . . จักยังไม่

ฉลาด . . .เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น.

มารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา จักยังไม่บริบรูณ์กว้างขวางแพร่

หลายรู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่นตราบเท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดี

แล้วเพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น.

พุทธบริษัท ๔

อานนท์ วันนี้เดี๋ยวนี้แล มารผู้มีบาปเข้าไปหาเราที่ปาวาลเจดีย์ ได้

ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด

บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา. . . ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา . . . อุบาสก

ผู้เป็นสาวกของเรา . . . อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา . . . จักยังไม่ฉลาด . . .

...พรหมจรรย์ของเรานี้ จักไม่บริบรูณ์ กว้างขวางแพร่หลาย รู้กันมากเป็น

ปึกแผ่ตราบเท่าที่พวกเทวดาเละมนุษย์ประกาศได้ดีแล้วยังไม่ได้เพียงใด เรา

จักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ในกาลบัดนี้ พรหมจรรย์

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว กว้างขวางแพร่หลายรู้กันโดยมาก เป็น

ปึกแผ่นตราบเท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจะปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในกาล

บัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อมารกล่าว

อย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้มีบาปนั้นว่า มารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวน

ขวายน้อยเถิด ไม่นานตถาคตจักปรินิพพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคต

จักปรินิพพาน อานนท์ ในวันนี้เดี๋ยวนี้แล ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุ

สังขารที่ปาวาลเจดีย์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง

ดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชน

เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประ-

โยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและนนุษย์. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า อย่าเลย อานนท์ อย่าวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะวิงวอน

ตถาคต. แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สาม. . . ท่านพระอานนท์ยังกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป. . .เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์. อานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ.

ข้าพระองค์เชื่อ. เมื่อเชื่อ ไฉนจึงได้รบเร้าตถาคตถึงสามครั้งเล่า.

ข้าพระองค์ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ

ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้วอบรมปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่

จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป. อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคต

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว

อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานนท์ ตถาคตเมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอด

กัป หรือเกินกว่ากัป. อานนท์ เธอเชื่อหรือ. ข้าพระองค์เชื่อ.

อานนท์ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นการทำไม่ดีเป็นความผิดพลาดของ

เธอผู้เดียว เพราะเมื่อตถาคตทำนิมิตอันหยาบ ทำโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอ

ไม่สามารถรู้เท่าทันได้ จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง

ดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ เพื่อ

ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่

เทวดาและมนุษย์. ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอสองครั้ง

เท่านั้น ครั้งที่สามตถาคตพึงรับ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็น

การทำไม่ดีเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.

อิทธิบาทภาวนา

[๑๐๓] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราช-

คฤห์. แม้ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขา

คิชฌกูฏน่ารื่นรมย์. . .เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทำไม่ดี

เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

[๑๐๔] อานนท์ เราอยู่ที่โคตมนิโครธ ในกรุงราชคฤห์นั้น. . .เรา

อยู่ที่เหวเป็นที่ทิ้งโจร . . . เราอยู่ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต

. . .เราอยู่ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ. . . เราอยู่ที่เงื้อมชื่อสัปปโสณฑิก ณ

สีตวัน . . . เราอยู่ที่ตโปทาราม . . . เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน. . . เรา

อยู่ที่ชีวกัมพวัน. . . เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน ในกรุงราชคฤห์นั้น. ณ

ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า อานนท์ กรุงราชคฤห์ น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิมฌกูฏ

โคตมนิโครธ เหวที่ทิ้งโจร ถ้าสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต กาฬ-

สิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เงื้อมชื่อว่าสัปปโสณฑิกสีตวัน ตโปทาราม เวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิ

บาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว . . . เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็น

การทำไม่ดีเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.

[๑๐๕] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ ในกรุงเวสาลีนี้

ณ ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์

. . .อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว. . . เพราะเหตุนั้นแหละ

อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทำไม่ดีเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.

สังเวชนียกถา

[๑๐๖] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง. เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ในกรุงเวสาลี

นี้. . . เราอยู่ที่สัตตัมพเจดีย์. . . เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์. . . เราอยู่ที่สารันทท-

เจดีย์ ในกรุงเวสาลีนี้. ในวันนี้เอง เราบอกเธอที่ปาวาลเจดีย์ว่า กรุงเวสาลี

น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ โคตมกเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ พหูปุตตเจดีย์ สารันทท

เจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป.

อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง

ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงดำรงอยู่

ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป อานนท์ ตถาคตทำนิมิตอันหยาบ ทำโอภาสอัน

หยาบ แม้อย่างนี้แล เธอไม่สามารถรู้เท่าทันได้ จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่

ตลอดกัปเถิด เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เ