ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

โสณทัณฑสูตร

[๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในอังคชนบทพร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครจัมปา. ได้ทราบว่า

สมัยนั้นพระองค์ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคครา ในนครจัมปา.

เสด็จนครจัมปา

[๑๗๙] ก็สมัยนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะ ครองนครจัมปา ซึ่งคับคั่ง

ด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์

ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติ อันพระเจ้าแผ่นดินมคธจอมเสนา พระ-

นามว่า พิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย พราหมณ์

และคฤหบดีชาวนครจัมปา ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรง

ผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในอังคชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครจัมปา ประทับอยู่ใกล้ขอบสระ

โบกขรณี ชื่อคัคครา ในนครจัมปา เกียรติศัพท์อันงามของพระโคดม

พระองค์นั้นขจรไปแล้วดังนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ

องค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้

จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม

งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็น

พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้ ครั้งนั้นพราหมณี

และคฤหบดีชาวนครจัมปา ออกจากนครจัมปารวมกันเป็นหมู่ ๆ พากันไป

ยังสระโบกขรณีคัคครา.

โสณทัณฑพราหมณ์เข้าเฝ้า

[๑๘๐] สมัยนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนอนกลางวันอยู่ ณ ปราสาท

ชั้นบน ได้เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปา ออกจากนครจัมปา

รวมกันเป็นหมู่ ๆ พากันไปยังสระโบกขรณีคัคครา จงเรียกที่ปรึกษามาถาม

ว่า พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปาออกจากนครจัมปารวมกันเป็นหมู่ ๆ

ไปยังสระโบกขรณีคัคครา ทำไมกัน. ที่ปรึกษาบอกว่า เรื่องมีอยู่ขอรับ

พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในอังค-

ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงนครจัมปา

ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคคราในนครจัมปา เกียรติศัพท์อันงาม

ของพระองค์ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มี

ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้เบิกบาน

แล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพากันไปเฝ้า

พระโคดมพระองค์นั้น. โสณทัณฑะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปหาเขา

แล้วบอกเขาอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งว่า ขอให้ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์โสณทัณฑะจะไปเฝ้าพระสมณโคดมด้วย. ที่

ปรึกษารับคำแล้วไปหาพราหมณ์และคหบดีชาวนครจัมปา แล้วบอกตามคำ

สั่งว่า พราหมณ์โสณทัณฑะสั่งว่า ขอท่านทั้งหลายจงรอก่อน พราหมณ์

โสณทัณฑะจะไปเฝ้าด้วย.

[๑๘๑] สมัยนั้น พวกพราหมณ์ต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ คนพักอยู่ใน

นครจัมปาด้วยกรณียกิจบางอย่าง. เขาได้ทราบว่า พราหมณ์โสณทัณฑะ

จักไปเฝ้าพระสมณโคดม จึงพากันเข้าไปหาแล้วถามว่า ได้ทราบว่า ท่านจัก

ไปเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ. โสณทัณฑะตอบว่า ท่านผู้เจริญ เราคิดว่าจัก

ไปเฝ้าพระสมณโคดมจริง พวกพราหมณ์กล่าวว่า อย่าเลย ท่านโสณทัณฑะ

ท่านไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม ถ้าท่านไป ท่านจะเสียเกียรติยศ เกียรติยศ

ของพระสมณโคดมจักรุ่งเรือง ด้วยเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควรไป พระ

สมณโคดมต่างหากควรจะเสด็จมาหาท่าน อนึ่ง ท่านเป็นอุภโตสุชาต ทั้ง

ฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่

มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงไม่

ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากคารจะเสด็จมาหาท่าน

อนึ่ง ท่านเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก....อนึ่ง ท่านเป็นผู้

คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์

เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาส เป็นที่ห้า เป็นผู้เข้าใจ

ตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริส-

ลักษณะ อนึ่ง ท่านมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุด

ผ่องยิ่งนัก มีวรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย

อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน อนึ่ง ท่านเป็นผู้มี

วาจาไพเราะ มีสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

หาโทษมิได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัด อนึ่ง ท่านเป็นอาจารย์และ

ปาจารย์ของชนหมู่มาก สอนมนต์แก่มาณพถึง ๓๐๐ คน มาณพเป็นอันมาก

ต่างทิศต่างชนบทผู้ต้องการมนต์ ใคร่จะเรียนมนต์ในสำนักของท่านพากัน

มา อนึ่ง ท่านเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ส่วน

พระสมณโคดมเป็นคนหนุ่ม และบวชแต่ยังหนุ่ม อนึ่ง ท่านเป็นผู้อันพระ

เจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า พิมพิสาร ทรงสักการะเคารพ

นับถือ บูชา นอบน้อม อนึ่ง ท่านเป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติสีกการะ

เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม อนึ่ง ท่านครองนครจัมปาซึ่งคับคั่งด้วย

ประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วย

ธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติอันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า

พิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย เพราะเหตุนี้

แหละท่านจึงไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหาก ควรจะ

เสด็จมาหาท่าน ดังนี้.

พระพุทธคุณ

[๑๘๒] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์โสณทัณฑะ

ได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงฟังข้าพเจ้าบ้าง เรา

นี้แหละควรไปเฝ้าพระโคดมพระองค์นั้น พระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา

ได้ทราบว่า พระสมณโคดม เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดาและ

พระบิดา มีพระครรภ์ที่ทรงถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใคร

จะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าวอ้างถึงพระชาติ เพราะเหตุนี้แหละ พระ

โคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา ที่ถูกเรานี้แหละควรจะไปเฝ้าพระองค์ ได้

ทราบว่า พระสมณโคดม ทรงสละพระญาติหมู่ใหญ่ออกทรงผนวช ทรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

สละเงินและทองเป็นอันมาก ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศออก

ทรงผนวช พระองค์กำลังหนุ่ม มีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญด้วย

ปฐมวัย ออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่

ทรงปรารถนาให้ทรงผนวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตรทรงกันแสง

อยู่ พระองค์ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาว-

พัสตร์เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต พระองค์มีพระรูปงาม น่าดู น่า

เลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพระวรรณคล้ายพรหม

มีพระรูปคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย พระองค์เป็นผู้มีศีล มีศีลอันประ-

เสริฐ มีศีลเป็นกุศล ประกอบด้วยศีลเป็นกุศล พระองค์มีพระวาจาไพเราะ

มีพระสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย หาโทษมิ

ได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความได้ชัด พระองค์เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคน

หมู่มาก พระองค์สิ้นกามราคะแล้ว เลิกประดับประดาแต่งแล้ว พระ

องค์เป็นกรรมวาที เป็นกิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์ พระ

องค์ทรงผนวชจากสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน พระองค์ทรงผนวช

จากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก ชนต่างรัฐต่างชนบทพากัน

มาทูลถามปัญหากะพระองค์ เทวดาหลายพันนอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ

พระเกียรติศัพท์อันงามของพระองค์ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก ทรงเป็นสารถี

ฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้ง-

หลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้ทรงจำแนกพระธรรม ดังนี้ พระองค์ทรง

ประกอบด้วยมหาปุริลักษณะ ๓๒ ประการ พระองค์มีปกติกล่าวเชื้อเชิญ

เจรจาผูกไมตรี ช่างปราศรัย พระพักตร์ไม่สยิ้ว เบิกบาน มีปกติตรัส

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

ก่อน พระองค์เป็นผู้อันบริษัท ๔ สักการะ เคารพนับถือบูชา นอบน้อม

เทวดาและมนุษย์จำนวนมากเลื่อมใสในพระองค์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพำนัก

อยู่ในหมู่บ้านหรือในนิคมใด ในหมู่บ้าน หรือในนิคมนั้นไม่มีอมนุษย์เบียด-

เบียนมนุษย์ พระองค์ทรงเป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะและทรงเป็นคณาจารย์ได้รับยก

ย่องว่า เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านี้รุ่งเรืองยศ

ด้วยประการใด ๆ แต่พระสมณโคดมไม่อย่างนั้น ที่แท้พระสมณโคดมรุ่ง

เรืองพระยศ ด้วยวิชชาและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม พระเจ้าแผ่นดินมคธ

จอมเสนา พระนามว่า พิมพิสาร พร้อมทั้งพระโอรส และพระมเหสี ทั้ง

ราชบริพารและอำมาตย์ ทรงมอบชีวิต ถึงพระองค์เป็นสรณะ พระเจ้า

ปเสนทิโกศล พร้อมทั้งพระโอรส และพระมเหสีทั้งราชบริพารและอำมาตย์

ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ พราหมณ์โปกขรสาติพร้อมทั้งบุตรและ

ภรรยา ทั้งบริวารและอำมาตย์ มอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะพระองค์

เป็นผู้อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า พิมพิสาร ทรง

สักการะเคารพนับถือบูชา นอบน้อม พระองค์เป็นผู้อันพระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อม พระองค์เป็นผู้อันพราหมณ์

โปกขรสาติทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม พระองค์เสด็จถึง

นครจัมปา ประทับอยู่ ณ ขอสระโบกขรณีคัคครา ในนครจัมปา สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มาสู่เขตบ้านของเรา ท่านเหล่านั้นจัดว่า

เป็นแขกของเรา และเป็นแขกอันเราควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

นอบน้อม พระสมณโคดมเสด็จถึงนครจัมปา ประทับอยู่ ณ ขอบสระโบก-

ขรณีคัคครา ในนครจัมปา พระองค์ทรงเป็นแขกของพวกเรา และเป็นแขก

ที่เราควรสักการะเคารพนับถือ บูชา นอบน้อม เพราะเหตุฉะนี้แหละ พระ

องค์จึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา ที่ถูก เราต่างหากควรจะไปเฝ้าพระองค์ ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ทราบพระคุณของพระโคดมเพียงเท่านี้ แต่พระโคดมไม่ใช่มีพระคุณเพียง

เท่านี้ ความจริงพระองค์ มีพระคุณหาประมาณมิได้.

[๑๘๓] เมื่อพราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เหล่า

นั้นได้กล่าวว่า ท่านโสณทัณฑะกล่าวชมพระสมณโคดมถึงเพียงนี้ ถึง

หากพระโคดมพระองค์นั้น จะประทับอยู่ไกลจากที่นี้ตั้งร้อยโยชน์ ก็ควร

แท้ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาจะไปเฝ้า แม้จะต้องนำเสบียงไปก็ควร. พราหมณ์

โสณทัณฑะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เราทั้งหมดจักไปเฝ้าพระสมณโคดม.

ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ไปถึง

สระโบกขรณีคัคครา. เมื่อผ่านพ้นราวป่าไปแล้ว ได้เกิดปริวิตกขึ้นอย่างนี้

ว่า ถ้าเราจะถามปัญหากะพระสมณโคดม หากพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่าง

นี้ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรถามอย่างนั้น ที่ถูกควรจะถามอย่างนี้

ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะ

เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่อาจถามปัญหาโดยแยบคายกะพระสมณโคดม

ได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็เสื่อมจากโภคสมบัติ

เพราะได้ยศ เราจึงมีโภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปัญหากะ

เรา และเราแก้ไม่ถูกพระทัย ถ้าพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า

พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรแก้อย่างนั้น ที่ถูกควรจะแก้อย่างนี้ ดังนี้

ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์เป็นคนเขลา ไม่ฉลาด

ไม่อาจแก้ปัญหาให้ถูกพระทัยพระสมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่น พึง

เสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมีโภคสมบัติ

อนึ่ง เราเข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังมิได้เฝ้าพระสมณโคดม จะกลับเสีย

ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคน-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

เขลาไม่ฉลาด กระด้างด้วยมานะ เป็นคนฉลาด ไม่อาจเข้าเฝ้าพระสมณ-

โคดมได้ เข้ามาใกล้ถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่ทันเฝ้าพระสมณโคดม ไฉนจึง

กลับเสีย ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ

เพราะได้ยศเราจึงได้โภคสมบัติ.

[๑๘๔] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพราหมณ์

และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย

บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกก็ประกาศชื่อ

และโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ๆ. ได้

ยินว่า ในขณะนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะนั่งครุ่นคิดถึงแต่เรื่องนั้นว่า ถ้า

เราจะพึงถามปัญหากะพระสมณโคดม หากพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้

ว่า พราหมณ์ ปัญหาข้อนี้ท่านไม่ควรถามอย่างนั้น ที่ถูกควรจะถามอย่างนี้

ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดูหมิ่นเราด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็น

คนเขลา ไม่ฉลาด ไม่อาจถามปัญหาโดยแยบคายกะพระสมณโคดมได้ ผู้

ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่น พึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้

ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้าพระสมณโคดมจะพึงตรัสถามปัญหากะเรา ถ้าเรา

แก้ไม่ถูกพระทัย ถ้าพระองค์จะพึงตรัสกะเราอย่างนี้ว่า พราหมณ์ ปัญหา

ข้อนี้ท่านไม่ควรแก้อย่างนี้ ที่ถูกควรจะแก้อย่างนี้ ดังนี้ ชุมนุมชนนี้จะพึงดู

หมิ่นเราได้ด้วยเหตุนั้นว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นคนเขลา ไม่ฉลาด ไม่

อาจแก้ปัญหาให้ถูกพระทัยพระสมณโคดมได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อม

ยศ ผู้เสื่อมยศก็พึงเสื่อมโภคสมบัติ เพราะได้ยศเราจึงมีโภคสมบัติ ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

กระไร ขอพระสมณโคดมพึงตรัสถามปัญหากะเราในเรื่องไตรวิชาอันเป็น

ของอาจารย์ของเรา เราจะพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้เป็นแน่.

[๑๘๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความคิดในใจ

ของพราหมณ์โสณทัณฑะด้วยพระหฤทัย แล้วทรงดำริว่า พราหมณ์โสณ-

ทัณฑะนี้ลำบากใจตัวเองอยู่ ถ้ากระไร เราพึงถามปัญหาเขาในเรื่องไตร-

วิชาอันเป็นของอาจารย์ของเขา. ต่อแต่นั้น จึงได้ตรัสถามพราหมณ์โสณ-

ทัณฑะว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไร พวกพราหมณ์

จงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พึง

กล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะดำริ

ว่า เราได้ประสงค์จำนงหมายปรารถนาว่าไว้แล้วว่า ถ้ากระไร ขอพระสมณ-

โคดมพึงตรัสถามปัญหากะเรา ในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์ของเรา

เราพึงแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้เป็นแน่นั้น เผอิญพระองค์ก็ตรัสถาม

ปัญหากะเราในเรื่องไตรวิชาอันเป็นของอาจารย์ของเรา เราจักแก้ปัญหาให้

ถูกพระทัยได้เป็นแน่ทีเดียว

พราหมณ์บัญญัติ

[๑๘๖] ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะจึงเผยอกายขึ้นเหลียวดูชุม-

นุมชนแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล

ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์

และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์ ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่

ต้องถึงมุสาวาทด้วย องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

บุคคลผู้เป็นพราหมณ์ในโลกนี้

๑. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ ด้วยการกล่าวอ้าง

ถึงชาติ

๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์

นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕

เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและ

มหาปุริสลักษณะ

๓. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุดผ่อง

ยิ่งนัก มีพรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชม ไม่น้อย

๔. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

๕. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหก ผู้

รับบูชาด้วยกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล พวก

พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น

พราหมณ์ ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.

[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ทั้ง

๕ เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์ เพียง ๔ อาจจะ

บัญญัติว่า เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น

พราหมณ์พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์

โสณทัณฑะทูลว่า ได้ พระโคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ยก

วรรณะเสียก็ได้ เพราะวรรณะจักกระทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่าบุคคลผู้เป็น

พราหมณ์

๑. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าว

อ้างถึงชาติ

๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์

นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕

เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและ

มหาปุริสลักษณะ

๓. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

๔. เป็นบัณฑิต มีปัญญา เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหก ผู้

รับบูชาด้วยกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล พวก

พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เป็นพราหมณ์

พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.

[๑๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ ๔

เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์เพียง ๓ อาจบัญญัติ

ว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ พึงกล่าวได้

โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะทูลว่า ได้ พระ-

โคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ ๔ เหล่านี้จะยกมนต์เสียก็ได้ เพราะมนต์จักทำ

อะไรได้ ด้วยเหตุว่าบุคคลผู้เป็นพราหมณ์

๑. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิหมดจดดี ๗ ตลอดชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการกล่าว

อ้างถึงชาติ

๒. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

๓. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหกผู้

รับบูชาด้วยกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

พวกพราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็น

พราหมณ์ ก็พึงกล่าวไว้ได้โดยชอบทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ ๓

เหล่านี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์ เพียง ๒ อาจจะ

บัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็นพราหมณ์

ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะ

ทูลว่า ได้ พระโคดมผู้เจริญ บรรดาองค์ ๓ เหล่านี้ ยกชาติเสียก็ได้ เพราะ

ชาติจักทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์

๑. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

๒. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวกปฏิคาหกผู้

รับบูชาด้วยกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลประกอบด้วยองค์ ๒ เหล่านี้แล พวก

พราหมณ์ย่อมบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ และเมื่อเขาจะกล่าวว่า เราเป็น

พราหมณ์ก็พึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย.

[๑๙๐] เมื่อพราหมณ์โสณทัณฑะทูลอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เหล่านั้น

ได้กล่าวว่า ท่านโสณทัณฑะ อย่าได้กล่าวอย่างนั้นเลย ท่านโสณทัณฑะ

อย่าได้กล่าวอย่างนั้นเลย ท่านโสณทัณฑะกล่าวลบหลู่วรรณะ กล่าวลบหลู่

มนต์ กล่าวลบหลู่ชาติ กล่าวคล้อยตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียว

เท่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า

ถ้าพวกท่านคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์โสณทัณฑะอ่อนการศึกษา พูดไม่ดี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

มีปัญญาทราม และไม่สามารถจะโต้ตอบกับพระสมณโคดมในเรื่องนี้ได้

พราหมณ์โสณทัณฑะก็จงหยุดเสีย พวกท่านจงพูดกับเราเถิด แต่ถ้าพวก

ท่านคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์โสณทัณฑะเป็นพหูสูต พูดดี เป็นบัณฑิต

และสามารถจะโต้ตอบกับพระสมณโคดมในเรื่องนี้ได้ พวกท่านจงหยุดเสีย

พราหมณ์โสณทัณฑะจงโต้ตอบกับเรา.

[๑๙๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์โสณทัณ-

ฑะได้กราบทูลว่า ขอพระโคดมผู้เจริญทรงหยุดเถิด ขอพระโคดมผู้เจริญ

ทรงนิ่งเสียเถิด ข้าพระองค์เองจักโต้ตอบเขาโดยชอบแก่เหตุ แล้วจึงกล่าว

กะพราหมณ์พวกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ๆ ว่า พราหมณ์

โสณทัณฑะกล่าวลบหลู่วรรณะ กล่าวลบหลู่มนต์ กล่าวลบหลู่ชาติ กล่าว

คล้อยตามวาทะของพระสมณโคดมถ่ายเดียวอย่างนี้เลย. ข้าพเจ้ามิได้กล่าว

ลบหลู่วรรณะ หรือมนต์ หรือชาติเลย

อ้างอังคกมาณพ

[๑๙๒] สมัยนั้น อังคกมาณพหลานของพราหมณ์โสณทัณฑะ นั่ง

อยู่ในชุมนุมชนนั้นด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะได้กล่าวกะพราหมณ์พวกนั้น

ว่า ท่านทั้งหลาย นี้อังคกมาณพหลานของข้าพเจ้า พวกท่านเห็นหรือไม่

พราหมณ์พวกนั้นตอบว่า เห็นแล้วท่าน พราหมณ์โสณทัณฑะกล่าวต่อไป

ว่า อังคกมาณพเป็นคนมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณ

ผุดผ่องยิ่งนัก มีพรรคคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม น่าดู น่าชมไม่น้อย

ในชุมนุมชนนี้ยกพระสมณโคดมเสีย ไม่มีใครมีวรรณะเสมออังคกมาณพเลย

อังคกมาณพเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ได้ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้ง

คัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาส

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

เป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์

โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ ข้าพเจ้าเป็นผู้บอกมนต์แก่เธอ เธอเป็น

อุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี

ตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ

ข้าพเจ้ารู้จักมารดาและบิดาของเธอ ถึงอังคกมาณพจะพึงฆ่าสัตว์บ้าง จะพึง

ถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้บ้าง จะพึงคบหาภริยาของบุคคลอื่นบ้าง จะพึง

กล่าวเท็จบ้าง จะพึงดื่มน้ำเมาบ้าง ในเวลานี้ ฐานะเช่นนี้วรรณะจักทำ

อะไรได้ มนต์จักทำอะไรได้ และชาติจักทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่า บุคคลผู้

เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืนและเป็นบัณฑิต

มีปัญญาเป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกันบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๒ เหล่านี้แล พวกพราหมณ์ จะบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์ก็ได้ และ

เมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ ก็จะพึงกล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ถึง

มุสาวาทด้วย.

[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาองค์ ๒

นี้ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เพียง ๑ อาจจะบัญญัติว่า

เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ และเมื่อเขาจะกล่าวว่าเราเป็นพราหมณ์ ก็พึง

กล่าวได้โดยชอบ ทั้งไม่ต้องถึงมุสาวาทด้วย. พราหมณ์โสณทัณฑะกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้ไม่ได้ เพราะว่าปัญญาอันศีลชำระ

ให้บริสุทธิ์ และศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็

มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของ

บุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล

กับปัญญาว่า เป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้า

ด้วยเท้าฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

[๑๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อเป็นอย่าง

นั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ ศีลอันปัญญาชำระ

ให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด

ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของผู้มีปัญญา

และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคล

ล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ศีลนั้นเป็นไฉน

ปัญญานั้นเป็นไฉน. พราหมณ์โสณทัณฑะกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้

เจริญ พวกข้าพระองค์ มีความรู้เท่านี้เอง เมื่อเนื้อความมีเช่นไร ขอเนื้อ

ความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งแก่พระโคดมผู้เจริญเองเถิด.

[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น

ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว. พราหมณ์โสณทัณฑะรับสนอง

พระพุทธพจน์แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะพราหมณ์

โสณทัณฑะว่า ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ (พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร) ดูก่อนพราหมณ์

ก็ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล. แม้ข้อนี้แล คือศีลนั้น. เข้าถึง

ปฐมฌานอยู่. เข้าถึงทุติยฌานอยู่. เข้าถึงตติฌานอยู่. เข้าถึงจตุตถฌาน

อยู่ ฯ ล ฯ เธอนำเฉพาะน้อมเฉพาะจิตเพื่อญาณทัสสนะ ฯ ล ฯ แม้ข้อนี้จัด

อยู่ในปัญญา ของเธอ ฯ ล ฯ เธอย่อมรู้ชัดว่า กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี. แม้ข้อนี้จัดอยู่ในปัญญาของเธอ. ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลคือปัญญานั้น.

โสณทัณฑพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก

[๑๙๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์โสณ-

ทัณฑะได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่

คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ

พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำ

ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ อย่างมอบกายถวายชีวิตตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป และขอพระโคดมผู้เจริญทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ เพื่อ

เสวยในวันพรุ่งนี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วย

ดุษณีภาพแล้ว ลำดับนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทกระทำประทักษิณ

แล้วกลับ.

โสณทัณฑพราหมณ์ทูลความประสงค์ของตน

[๑๙๗] ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พราหมณ์โสณทัณฑะได้ตกแต่งของ

เคี้ยวของฉันอันประณีต ในนิเวศน์ของตนเสร็จแล้วให้คนไปกราบทูลภัตต-

กาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว

ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณ์โสณทัณฑะ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้. พราหมณ์

โสณทัณฑะ ได้อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยว

ของฉันอันประณีต ให้อิ่มหนำด้วยมือของตนเสร็จแล้ว.

[๑๙๘] ครั้งนั้น พราหมณ์โสณทัณฑะทราบแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสวยเสร็จแล้ว วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำกว่า นั่ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระ

องค์กำลังอยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน จะพึงลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระ

โคดมผู้เจริญ ชุมนุมชนนั้นจะพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ด้วยเหตุนั้นได้ ผู้ที่ถูก

ชุมนุมชนดูหมิ่นพึงเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศพึงเสื่อมจากโภคสมบัติ เพราะได้ยศ

ข้าพระองค์จึงมีโภคสมบัติ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์กำลัง

อยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน จะพึงประคองอัญชลี ขอพระโคดมผู้เจริญจงเข้า

พระทัยว่า แทนการลุกจากอาสนะ ถ้าข้าพระองค์กำลังอยู่ในท่ามกลาง

ชุมนุมชน จะพึงเปลื้องผ้าโพกออก ขอพระโคดมผู้เจริญจงเข้าพระทัยว่า

แทนการอภิวาทด้วยศีรษะ ถ้าข้าพระองค์กำลังไปในยาน จะพึงลงจากยาน

แล้วถวายอภิวาทพระโคดม ชุมนุมชนนั้นจะพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ด้วยเหตุนั้น

ได้ ผู้ที่ถูกชุมนุมชนดูหมิ่นย่อมเสื่อมยศ ผู้เสื่อมยศพึงเสื่อมจากโภคสมบัติ

เพราะได้ยศ ข้าพระองค์จึงมีโภคสมบัติ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถ้าข้า

พระองค์จะพึงไปในยาน จะพึงยกปฏักขึ้น ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงเข้า

พระทัยว่า แทนการลงจากยานของข้าพระองค์ ถ้าข้าพระองค์กำลังไปใน

ยาน จะพึงลดร่มลง ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงเข้าพระทัยว่า แทนการ

อภิวาทด้วยศีรษะของข้าพระองค์ดังนี้.

ลำดับนั้นพระมีพระภาคเจ้า ได้ทรงยังพราหมณ์โสณทัณฑะ ให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จ

ลุกจากอาสนะเสด็จกลับ ดังนี้แล.

จบโสณทัณฑสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

อรรถกถาโสณทัณฑสูตร

เอวมฺเม สุต ฯ เป ฯ องฺเคสูติ โสณทณฺฑสุติต.

ในโสณทัณฑสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้

บทว่า ในอังคชนบท มีความว่า ราชกุมารทั้งหลาย นามว่า อังคะ

เป็นชาวชนบทที่มักเรียกกันอย่างนี้ ก็เพราะเป็นผู้มีรูปร่างน่าเลื่อมใส ชนบท

แม้เดียวซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของราชกุมารเหล่านั้น ท่านก็เรียกว่า อังคชนบท

เพราะศัพท์เพิ่มเข้ามา. ในชนบทชื่ออังคะนั้น. บทว่า จาริก แม้ในชนบท

นี้ ท่านมุ่งหมายเอาการเสด็จจาริกไม่รีบร้อน และการเสด็จจาริกประจำ

ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูโลกธาตุทั้งหมื่นหนึ่ง

อยู่ โสณทัณฑพราหมณ์เข้าไปปรากฏในข่าย คือ พระญาณแล้ว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ว่า พราหมณ์นี้ปรากฏในข่าย

คือญาณของเรา พราหมณ์นี้มีอุปนิสัยหรือไม่หนอ ก็ได้ทอดพระเนตรเห็น

ว่า เมื่อเราไป ณ ที่นั้น พวกลูกศิษย์ของเขาจะพากันกล่าวสรรเสริญ

พราหมณ์ด้วยอาการ ๑๒ แล้วจะไม่ยอมให้เขามายังสำนักของเรา แต่

พราหมณ์นั้นจะทำลายวาทะของพวกลูกศิษย์เหล่านั้นเสียแล้ว กล่าวสรร-

เสริญเราด้วยอาการ ๒๙ แล้วเข้ามาหาเราแล้วจักถามปัญหา ในที่สุดการ

เฉลยปัญหา เขาก็จักถึงสรณะ ดังนี้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเป็น

บริวาร เสด็จไปสู่ชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในอังคชนบท เสด็จถึงเมืองจัมปา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

บทว่า ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา มีความว่า ในที่ไม่ไกล

เมืองจัมปานั้น มีสระโบกขรณีเรียกชื่อกันว่า คัคครา เพราะพระมเหสีของ

พระราชาทรงพระนามว่า คัคคราทรงขุดไว้ โดยรอบฝั่งสระนั้นมีป่าต้นจัมปา

ใหญ่ ประดับประดาด้วยดอกไม้ ๕ สี มีสีเขียวเป็นต้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จประทับอยู่ในป่าต้นจัมปา ซึ่งมีกลิ่นหอมระรื่นด้วยกลิ่นหอมของ

ดอกไม้. ท่านมุ่งหมายเอาป่าต้นจัมปานั้น จึงกล่าวว่า ที่ฝั่งแห่งสระโบก-

ขรณี ชื่อคัคครา.

ในบทนี้ว่า พระเจ้าพิมพิสารผู้ครองแคว้นมคธมีเสนาใหญ่ พระ

ราชาพระองค์นั้น ชื่อว่าผู้ครองแคว้นมคธ เพราะทรงเป็นผู้ใหญ่ของชาว

แคว้นมคธ ชื่อว่ามีเสนาใหญ่ เพราะประกอบพร้อมด้วยเสนาใหญ่. บท

ว่า พิมฺพิ แปลว่า ทองคำ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า พิมพิสาร

เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณเช่นเดียวกันทองคำแท้. ชนเป็นอันมากมารวมกัน

เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า หมู่. หมู่ชนในแต่ละทิศของชนเหล่านั้นมีอยู่ เพราะ

เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีหมู่. ครั้งแรกชนเหล่านั้นมิได้เป็นคณะกันใน

ภายในเมือง แต่ออกไปนอกเมืองแล้ว จึงรวมกันเป็นคณะ เพราะเหตุนั้น

ชื่อว่า รวมกันเป็นคณะ.

บทว่า เรียกที่ปรึกษามา ความว่า มหาอำมาตย์ผู้สามารถเฉลย

ปัญหาที่ถูกถามได้ เรียกว่า ขัตตะ (ที่ปรึกษา) เรียกที่ปรึกษาคนนั้นมา

บทว่า อาคเมนฺตุ แปลว่า จงรอสักประเดี๋ยว หมายความว่าอย่าเพิ่งไป

บทว่า ผู้อยู่ต่างแดน ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายผู้เกิดในแดน

ต่าง ๆ กัน คือในแดนมีแคว้นกาสี และแคว้นโกศล เป็นต้น คนละแห่ง

แดนเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเขา หรือว่า พวกเขามาจากแดนนั้น

เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า ผู้อยู่ต่างแดน แห่งพราหมณ์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

หลายผู้อยู่ต่างแดนกันเหล่านั้น. บทว่า ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ความว่า

ได้ยินว่าพวกพราหมณ์ทั้งหลาย ในนครนั้นประชุมกันด้วยกรณียกิจสองอย่าง

คือเพื่อจะร่วมทำการบูชายัญ หรือเพื่อการสาธยายมนต์. และในคราวนั้นใน

นครนั้น ไม่มีการบูชายัญ. แต่พราหมณ์เหล่านั้น มาประชุมกันในสำนัก

ของโสณทัณฑพราหมณ์ เพื่อสาธยายมนต์ ท่านกล่าวว่า ด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง หมายเอาการสาธยายมนต์นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้นได้ทราบว่า การไปของโสณทัณฑพราหมณ์นั้นแล้ว

โสณทัณฑพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง และพราหมณ์เหล่าอื่นโดยมาก

คิดว่าถึงสมณโคดมเป็นสรณะ โสณทัณฑพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ไป ถ้า

เขานี้แหละจักไป เขาก็จักถูกมายาที่นำให้งงงวยของพระสมณโคดมทำให้

หลงใหลแล้ว จักถึงพระโคดมเป็นสรณะแน่แท้ แต่นั้นไป สันนิบาตของ

พวกพราหมณ์ที่ประตูเรือนของโสณทัณฑพราหมณ์แม้นั้นก็จักไม่มี เอา

เถอะ เราจะขัดขวางไม่ให้เขาไปได้ ดังนี้ ปรึกษากันแล้วจึงไปในที่นั้น.

ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ทั้ง

หลาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ด้วยองค์แม้นี้ คือด้วยเหตุนี้. พวก

พราหมณ์ครั้นกล่าวเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว คิดอีกว่า ธรรมดาคนเมื่อเขากล่าว

สรรเสริญตนที่จะไม่ยินดีหามีไม่ เอาเถอะ พวกเราจะห้ามการไปของเขา

ด้วยการกล่าวสรรเสริญเขา จึงกล่าวเหตุหลายอย่างเป็นต้นว่า ก็โสณทัณฑ-

พราหมณ์ผู้เจริญเป็นอุภโตสุชาต เป็นต้น.

บทว่า สองฝ่าย คือ จากฝ่ายทั้งสอง คือจากมารดา และจาก

บิดา. โสณทัณฑพราหมณ์ผู้เจริญเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่าย

บิดา อย่างนี้ คือมารดาของโสณทัณฑพราหมณ์ผู้เจริญเป็นนางพราหมณี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

มารดาของมารดาเป็นนางพราหมณี มารดาแม้ของมารดาของมารดานั้นก็

เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ บิดาของบิดาเป็นพราหมณ์ บิดาแม้

ของบิดาของบิดานั้น ก็เป็นพราหมณ์. บทว่า มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี

ความว่า ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ คือท้องของมารดา หมดจดดี. แต่ใน

บทนี้ว่า สมเวปากินิยา คหณิยา ไฟธาตุอันเกิดจากกรรมท่านเรียกว่า

คหณี (ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ). ในบทว่า ตลอด ๗ ชั่วคนนี้

ความว่าบิดาของบิดาชื่อปิตามหะ (ปู่) ยุคแห่งปิตามหะชื่อปิตามหยุค.

ประมาณของอายุท่านเรียกว่ายุค. ก็คำนี้เป็นเสียงชื่อยุคเท่านั้น. แต่โดย

ความ ปิตามหะนั้นแหละ ชื่อปิตามหยุค บรรพบุรุษแม้ทั้งปวงเหนือขึ้น

ไปจากปิตามหะนั้น ท่านก็ใช้คลุมถึงด้วยปิตามหะศัพท์นี้แหละ เขาเป็นผู้มี

ครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ อันหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคนด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า เขาเป็นผู้อันใครดูถูกไม่ได้

ไม่ถูกตำหนิด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า ผู้อันใคร ๆ ดูถูกไม่ได้ คือ

ใคร ๆ ดูถูกไม่ได้ ได้แก่ผลักไสไม่ได้ ว่าพวกท่านจักไล่เขาไปเสีย จะ

ประโยชน์อะไรกับคนคนนี้ ดังนี้. บทว่า ไม่ถูกตำหนิ คือไม่ถูกติเตียน

ได้แก่ไม่เคยที่จะได้รับคำด่าว่า หรือติเตียนเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร.

แก้ว่า เพราะการกล่าวอ้างถึงชาติ. ความว่า เพราะถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า

แม้เพราะเหตุนี้เขาเป็นคนมีชาติต่ำทราม ดังนี้.

บทว่า ผู้มั่งคั่ง คือผู้เป็นใหญ่. บทว่า มีทรัพย์มาก คือประกอบ

พร้อมด้วยทรัพย์มากมาย. พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า ก็ในเรือนของท่าน

ผู้เจริญมีทรัพย์มาก ราวกะฝุ่นและทรายในแผ่นดิน แต่พระสมณโคดมไม่

มีทรัพย์ เที่ยวขอเขาพอเต็มท้องเลี้ยงชีวิต. บทว่า มีโภคะมาก คือมีเครื่อง

อุปโภคมากด้วยอำนาจแห่งกามคุณห้า. พวกพราหมณ์ทั้งหลายสำคัญอยู่ว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

ชนทั้งหลายกล่าวคุณใด ๆ พวกเราจะแสดงสิ่งที่มิใช่คุณอย่างเดียวด้วยอำนาจ

เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้น ๆ ดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า มีรูปสวย คือ มีรูปงามยิ่ง ได้แก่มีรูปดียิ่งกว่าเหล่ามนุษย์

อื่นๆ. บทว่า น่าดู คือชื่อว่าน่าดู เพราะทำให้ไม่รู้จักอิ่มเอิบแก่ชนผู้ดูอยู่

แม้ตลอดวัน ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะให้เกิดความเลื่อมใสแห่งจิตด้วยการ

ดูนั่นแหละ. ความดีงาม ท่านเรียกว่า ความสวย ความที่ผิวพรรณเป็น

ของสวยงาม ชื่อว่า มีผิวพรรณสวยงาม ความว่า ประกอบด้วยวรรณ-

สมบัตินั้น. แต่ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ชนทั้งหลายเรียกสรีระ

ว่า โปกขระ วรรณะนั่นแหละว่า วรรณะ. ตามมติของท่านโบราณาจารย์

เหล่านั้น วรรณะด้วยรูปร่าง ด้วยชื่อวรรณะรูปร่างความมีแห่งผิว

พรรณและรูปร่าง เหล่านั้น ชื่อว่า ความมีผิวพรรณและรูปร่าง เขาประกอบ

ด้วยความมีผิวพรรณและรูปร่างอย่างยิ่งด้วยประการฉะนี้ ความว่า ประกอบ

ด้วยผิวพรรณและสมบัติแห่งสรีระสัณฐานอันบริสุทธิ์อย่างสูงสุด.

บทว่า มีผิวพรรณดังพรหม คือ มีผิวพรรณอันประเสริฐสุด ความ

ว่า ประกอบพร้อมด้วยผิวพรรณประดุจทองคำอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดา

ผู้มีผิวพรรณอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย. บทว่า มีรูปร่างดังพรหม คือ ประกอบ

พร้อมด้วยรูปร่างเช่นกับรูปร่างของท้าวมหาพรหม. บทว่า น่าดู น่าชม

มิใช่น้อย คือ ช่องทางที่จะดูในรูปร่างของท่านผู้เจริญมิใช่เล็กน้อย คือ

มาก. พราหมณ์ทั้งหลายแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของท่านแม้ทุกส่วนเป็น

ของน่าดู และอวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้นก็ใหญ่ด้วย ดังนี้.

ศีลของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ศีลที่เจริญแล้ว

คืองอกงามแล้ว ของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นผู้มีศีลอันเจริญ

แล้ว. บทว่า ด้วยศีลอันเจริญ คือ ด้วยศีลอันเจริญนั่นแหละ คือที่งอก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

งามแล้ว. บทว่า มาถึงพร้อมแล้ว คือ ประกอบแล้ว. คำนี้เป็นไวพจน์

ของ บทว่า มีศีลอันเจริญแล้ว. คำทั้งหมดนั้นท่านกล่าวหมายเอาเพียง

ศีลห้าเท่านั้น.

ในบททั้งหลายมีบทว่า มีวาจางามเป็นต้น มีความว่า วาจาอัน

งาม คือดี ได้แก่มีบทและพยัญชนะกลมกล่อมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น

เขาชื่อว่ามีวาจางาม. บทว่า มีสำเนียงไพเราะ คือสำเนียงอันไพเราะ คือ

อ่อนหวานของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่ามีสำเนียงไพเราะ บทว่า

สำเนียง ได้แก่เสียงกังวาลที่เปล่งออก. วาจามีอยู่ในเมือง เพราะบริบูรณ์

ด้วยคุณความดี เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นของชาวเมือง. อีกประการหนึ่ง ชื่อ

ว่าโปรี เพราะมีวาจาเช่นกับความที่หญิงชาวเมือง คือหญิงชาวเมืองเป็นผู้

ละเอียดอ่อน เพราะความที่ตนอยู่ในเมือง. ด้วยวาจาหญิงชาวเมืองนั้น.

บทว่า วิสฺสายตถ ความว่า ไม่พร่า คือเว้นจากโทษมีความชักช้าที่ตน

เห็นแล้วเป็นต้น.

บทว่า หาโทษมิได้ คือเว้นจากการกลืนน้ำลาย. จริงอยู่ เมื่อ

ใคร ๆ พูดอยู่ น้ำลายไหลเข้าหรือว่า น้ำลายไหลออก หรือว่า ฟองน้ำลาย

กระเซ็นออกมา วาจาของผู้นั้นชื่อว่า ชุ่มด้วยน้ำลาย ความว่า วาจาที่

ตรงกันข้ามกับวาจานั้น. บทว่า ให้รู้ใจความได้ คือสามารถให้รู้ใจความ

ที่กล่าวได้ชัดเจนทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด.

บทว่า แก่แล้ว คือเป็นคนแก่ เพราะเป็นผู้คร่ำคร่าด้วยชรา. บท

ว่า เป็นผู้เฒ่า คือถึงขีดสุดแห่งความเจริญของอวัยวะน้อยใหญ่. บทว่า

เป็นผู้ใหญ่ คือประกอบพร้อมด้วยความเป็นผู้ใหญ่โดยชาติ อธิบายว่า เกิด

มานานแล้ว บทว่า ผ่านเวลามานาน คือล่วงเวลานาน อธิบายว่า

ล่วงเลยมาตั้ง ๒-๓ รัชกาลแล้ว. บทว่า ผ่านวัยแล้ว คือ ผ่านถึงปัจฉิม-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

วัยแล้ว ส่วนที่สาม อันเป็นที่สุดแห่ง ๑๐๐ ปี ชื่อว่า ปัจฉิมวัย อีกนัย

หนึ่ง บทว่า แก่แล้ว คือเก่าแก่ อธิบายว่า เป็นไปตามวงศ์สกุลที่เป็นไป

แล้วสิ้นกาลนาน. บทว่า เป็นผู้เฒ่า คือประกอบด้วยความเจริญด้วยคุณมี

ศีลและอาจาระเป็นต้น. บทว่า เป็นผู้ใหญ่ คือ ประกอบพร้อมด้วยความ

เป็นผู้ใหญ่ด้วยสมบัติ. บทว่า ผ่านเวลามานาน คือเดินทางมา ได้แก่มี

ปกติประพฤติไม่ล่วงละเมิดมารยาท มีวัตรจริยาเป็นต้นของพวกพราหมณ์.

บทว่า ผ่านวัยแล้ว คือผ่านถึงแม้ความเป็นผู้เจริญด้วยชาติอันเป็นวัยสุด

ท้ายแล้ว.

บทว่า เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ความว่า เมื่อพวก

พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว โสณทัณฑพราหมณ์คิดว่า พวก

พราหมณ์เหล่านี้กล่าวสรรเสริญคุณของเราด้วยชาติเป็นต้น แต่การที่ เราจะ

ยินดีในการกล่าวสรรเสริญคุณของตนไม่สมควรแก่เราเลย เอาเถอะ เราจะ

ทำลายวาทะของพวกเขาเสียแล้วให้พวกเขารู้ว่าพระสมณโคดมเป็นผู้ใหญ่

จะทำให้พวกเขาไปในที่นั้น ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ

ถ้ากระนั้น ขอพวกท่านจงฟังคำของข้าพเจ้าบ้าง. โสณทัณฑพราหมณ์สำคัญ

เห็นคุณทั้งหลายที่ยิ่งกว่าคุณของตนว่า ในคุณเหล่านั้น คุณแม้เหล่าใด

เช่นเดียวกับคุณของตนมีว่า อุภโตสุชาตเป็นต้น คุณแม้เหล่านั้น ก็เป็น

คุณมีชาติสมบัติเป็นต้น ของพระสมณโคดม ดังนี้ จึงได้ประกาศคุณเหล่านี้

เพื่อที่จะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณยิ่งใหญ่โดยส่วนเดียวโดย

แท้.

ก็โสณทัณฑพราหมณ์เมื่อจะกำหนดแน่อย่างนี้ว่า พวกเรานั่นแหละ.

ควรไปเฝ้า จึงแสดงคำนี้ในที่นี้ว่า ถ้ามีบุคคลที่ควรเข้าไปหา เพราะความ

เป็นผู้มีคุณใหญ่ เพราะฉะนั้น พวกเรานั่นแหละควรจะเข้าไปเฝ้าเพื่อทัศนา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

พระโคดมผู้เจริญนั้น เปรียบเหมือนเมล็ดผักกาด เมื่อนำไปเที่ยวกับ

เขาสิเนรุ รอยเท้าโค. เมื่อนำไปเทียบกับมหาสมุทร หยดน้ำค้าง เมื่อนำ

ไปเทียบกับน้ำในสระใหญ่ ๗ สระ ก็เป็นของกะจิ๊ดริด คือ เล็กน้อยฉันใด

คุณของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับพระคุณมีพระชาติสมบัติเป็นต้น ของ

พระสมณโคดม เป็นของนิดหน่อย คือ เล็กน้อย ฉันนั้น เพราะฉะนั้น

พวกเรานั้นแหละ ควรไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญ.

บทว่า ทรงละหมู่พระญาติมากมาย คือทรงละตระกูลพระญาติ

แสนหกหมื่นอย่างนี้ คือ ฝ่ายพระมารดาแปดหมื่น ฝ่ายพระบิดาแปดหมื่น.

ในบทนี้ว่า อยู่ในดินและตั้งอยู่ในอากาศ ทรัพย์ที่เขาขุดสระโบก-

ขรณีที่ฉาบปูนเกลี้ยงในพระลานหลวง และในพระราชอุทยาน ใส่แก้ว ๗

ประการจนเต็ม แล้วฝังไว้ในแผ่นดิน ชื่อว่าทรัพย์อยู่ในดิน. ส่วนทรัพย์

ที่ตั้งไว้จนเต็มประสาทและป้อม เป็นต้น ชื่อว่า ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์

ที่ตกทอดมาตามความหมุนเวียนแห่งตระกูลมีเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ในวันที่

พระตถาคตอุบัติขึ้นแล้วนั่นแหละ มีขุมทรัพย์ ๔ ขุม คือ ขุมทรัพย์ชื่อ

สังขะ ๑ ชื่อเอละ ๑ ชื่ออุปปละ ๑ ชื่อปุณฑริก ๑ ผุดขึ้นแล้ว. บรรดา

ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์ชื่อสังขะมีคาวุตหนึ่ง ขุมทรัพย์ชื่อเอละมี

ครึ่งโยชน์ ขุมทรัพย์ชื่ออุปปละมีสามคาพยุต ขุมทรัพย์ชื่อปุณฑริกะมี

โยชน์หนึ่ง ทรัพย์ที่ถือเอา ๆ แม้ในขุมทรัพย์เหล่านั้น ก็กลับเต็มอีก.

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินทองมากมายแล้ว ออกผนวช

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ยังเป็นคนหนุ่ม คือยังเป็นเด็ก. บทว่า มีพระเกศาดำสนิท

คือมีพระเกศาดำขลับ ความว่า มีพระเกศาเช่นเดียวกับสียาหยอดตา.

บทว่า เจริญ คือ ดี. บทว่า วัยที่หนึ่ง คือ ปฐมวัยในบรรดาวัยทั้งสาม.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

บทว่า ไม่ใคร่อยู่ คือไม่ปรารถนา. คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถ

ว่าอนาทร. น้ำตาที่หน้าของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าหน้านอง

ด้วยน้ำตา. ความว่า เมื่อพระมารดาบิดาเหล่านั้นมีพระพักตร์นองด้วยน้ำ-

พระเนตร คือมีพระพักตร์เปียกชุ่มด้วยน้ำพระเนตร. บทว่า ทรงกันแสงอยู่

คือทรงกันแสงคร่ำครวญอยู่.

ในบทว่า ช่องทางมิใช่น้อย นี้ พึงทราบความว่า ช่องทางที่จะ

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าหาประมาณมิได้. ในที่นี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์มีพราหมณ์คนหนึ่ง ทราบว่า เขาเล่า

ว่า ใคร ๆ ย่อมไม่สามารถที่จะถือเอาประมาณของพระสมณโคดมได้ ใน

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ถือเอาไม้ไผ่ยาว ๖๐ ศอก

ยืนอยู่ข้างนอกประตูเมือง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ถือเอา

ไม้ไผ่ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้. ไม้ไผ่ยาวถึงแค่พระชานุของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในวันรุ่งขึ้นเขาจึงต่อไม้ไผ่สองลำแล้วได้ยืนอยู่ในที่ใกล้. แม้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ทรงปรากฏเพียงแค่พระสะเอวเท่านั้น เหนือไม้ไผ่สองลำนั้นจึง

ตรัสว่า พราหมณ์ท่านทำอะไร. เขาทูลว่า ข้าพระองค์จะวัดส่วนพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ แม้ถ้าท่านจักต่อไม้ไผ่ที่เกิดอยู่เต็ม

ท้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้นเข้าด้วยกันแล้ว ท่านก็จักไม่สามารถที่จะวัดเราได้

เพราะว่าบารมีตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป เรามิได้บำเพ็ญโดยประการที่

คนอื่นพึงวัดเราได้ พราหมณ์ ตถาคตใครๆ จะชั่งมิได้ ใครๆ จะประมาณ

มิได้ ดังนี้แลตรัสคาถาในธรรมบทว่า

เมื่อบุคคลบูชาท่านผู้เยือกเย็นแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

เช่นนั้นอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจที่จะนับบุญได้ว่า เพียงเท่านี้ดังนี้

ในที่สุดแห่งคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ยังมีเรื่องแม้อื่นอีก ได้ยินว่า ท้าวอสุรินทรราหูสูงได้ ๔,๘๐๐

โยชน์. ระหว่างแขนของเขาวัดได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ ระหว่างนมวัดได้ ๖๐๐

โยชน์. พื้นมือและพื้นเท้าหนาได้ ๓๐๐ โยชน์. ข้อนิ้วยาวได้ ๕๐ โยชน์.

ระหว่างคิ้วกว้าง ๕๐ โยชน์. หน้ายาว ๒๐๐ โยชน์. ลึกได้ ๓๐๐ โยชน์.

มีปริมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์. คอยาวได้ ๓๐๐ โยชน์. หน้าผากยาวได้

๓๐๐ โยชน์. ศีรษะยาวได้ ๙๐๐ โยชน์. เขาคิดว่า เราสูงมาก จักไม่สามารถ

ที่จะน้อมตัวลงแลดูพระศาสดาได้ ดังนี้ จึงไม่มาเฝ้า. วันหนึ่งเขาได้

ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมาด้วยคิดว่า เราจักมองดูโดยอาการ

อย่างใดอย่างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัชฌาสัยของเขาแล้วทรง

ดำริว่า เราจักแสดงด้วยอิริยาบถไหน ในบรรดาอิริยาบถทั้งสี่ ทรง

ดำริว่า ธรรมดาคนยืน แม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนคนสูง แต่เราจักนอน

แสดงตนแก่เขา ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงตั้งเตียงในบริเวณ

คันธกุฏี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงนั้น. ท่านอสุรินทรราหูมาแล้ว

ชูคอขึ้นมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนอนอยู่ราวกะว่าพระจันทร์เต็ม

ดวงในท่ามกลางท้องฟ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ นี้

อะไร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มิได้มาเฝ้า

ด้วยคิดว่า เราจักไม่สามารถที่จะโน้มตัวลงแลดูได้ ดังนี้. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ เรามิได้ก้มหน้าบำเพ็ญบารมีมา เราให้ทานทำให้

เลิศทั้งนั้น ดังนี้. วันนั้น อสุรินทรราหู ได้ถึงสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงน่าดูน่าชมมิใช่น้อย ด้วยประการดังนี้.

บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีศีล เพราะปาริสุทธิศีล ๔ ก็ศีลนั้นเป็นของ

ประเสริฐ คือสูงสุด ได้แก่ เป็นศีลบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

มีศีลอันประเสริฐ. ศีลนั้นนั่นเองเป็นกุศล เพราะอรรถว่า ไม่มีโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีศีลเป็นกุศล. คำว่า ด้วยศีลอันเป็นกุศลนี้

เป็นไวพจน์ของคำว่า มีศีลเป็นกุศลนั้น.

บทว่า เป็นอาจารย์ และปาจารย์ ของคนเป็นอันมาก ความว่า

ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สัตว์มีประมาณ

๘๔,๐๐๐ และเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ย่อมได้ดื่มน้ำอมฤต

คือ มรรคและผล เพราะฉะนั้น พระองค์จึงจัดว่าเป็นอาจารย์ของคนเป็นอัน

มาก และเป็นปาจารย์ของสาวกผู้เป็นเวไนย.

ในบทว่า มีกามราคะสิ้นแล้วนี้ ความว่า กิเลสแม้ทั้งปวงของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นไปแล้วโดยแท้. แต่พราหมณ์ไม่รู้กิเลสเหล่านั้น จึง

กล่าวคุณไปในฐานะแห่งความรู้ของตนนั่นแหละ. บทว่า เลิกประดับตก-

แต่งแล้ว คือเว้นจากการประดับตกแต่งที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า การตก-

แต่งบาตร การตกแต่งจีวร การตกแต่งเสนาสนะ การเล่นสนุกสนานแห่ง

ร่างกายอันเน่านี้.

บทว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย คือ แสดงความเคารพธรรมที่ไม่เป็นบาปคือ

โลกุตรธรรม ๙ ประการ เที่ยวไป. บทว่า ต่อประชาชนที่เป็นพราหมณ์ คือ

ต่อคนที่เป็นพราหมณ์ต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

และพระมหากัสสปะ และพระองค์เป็นผู้แสดงความนับถือประชาชนนั้น.

อธิบายว่า ก็ประชาชนนี้กระทำพระสมณโคดมไว้เบื้องหน้าเที่ยวไป. อีก

ประการหนึ่ง บทว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย ความว่า ไม่ทรงกระทำบาปไว้เบื้องหน้า

เที่ยวไป คือ ไม่ปรารถนาลามก. อธิบายว่า ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อประชาชนที่

เป็นพราหมณ์นั้น คือต่อประชาชนที่เป็นพราหมณ์ แม้จะเป็นปฎิปักษ์กับตน

คือเป็นผู้หวังประโยชน์สุขแต่อย่างเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

บทว่า ต่างรัฐ คือจากรัฐอื่น. บทว่า ต่างชนบท คือจากชนบท

อื่น บทว่า ต่างพากันมาเพื่อทูลถามปัญหา ความว่า กษัตริย์และบัณฑิต

เป็นต้นก็ดี เทวดาพรหมนาคและคนธรรพ์เป็นต้นก็ดี ต่างตระเตรียมปัญหา

มาเฝ้าด้วยคิดว่า พวกเราจักถาม ในบรรดาชนเหล่านั้น บางจำพวกกำหนด

เห็นโทษของการถาม หรือความที่ตนไม่สามารถในการยอมรับข้อเฉลย จึง

ไม่ทูลถามเลย แล้วนั่งนิ่งเสีย บางจำพวกทูลถาม สำหรับบางจำพวก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดความอุตสาหะในการถามแล้ว จึงทรงเฉลย

ความเคลือบแคลงของชนเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น มาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ก็เสื่อมคลายไป เหมือนคลื่นในมหาสมุทร มาถึงฝั่งแล้วก็สลายไปฉะนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า มีปกติกล่าวเชื้อเชิญ ความว่า พระองค์ย่อมตรัสกะคน

ผู้มาสู่สำนักของพระองค์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ บรรพชิตและ

คฤหัสถ์อย่างนี้ว่า เชิญท่านเข้ามาสิ ท่านมาดีแล้ว (เราขอต้อนรับท่าน)

ดังนี้. บทว่า เจรจาผูกไมตรี คือ ทรงประกอบพร้อมด้วยพระดำรัสผูก

ไมตรีที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาวาจาเหล่านั้น คำพูดผูกไมตรี

เป็นไฉน คำพูดผูกไมตรี คือวาจาที่หาโทษมิได้ เป็นวาจาดี ไพเราะเสนาะ

หู ดังนี้ อธิบายว่า มีพระดำรัสอ่อนหวาน. บทว่า ช่างปราศรัย คือทรง

ฉลาดในการปฏิสันถาร ความว่า พระองค์ทรงกระทำสัมโมทนียกถาก่อน

ทีเดียว ดังจะทรงระงับความกระวนกระวายเพราะเดินทางไกลของเหล่า

บริษัททั้งสี่ ผู้มาแล้ว ๆ ได้สิ้น โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ เธอสบายดีแล

หรือ อาหาร การฉันยังพอเป็นไปได้แลหรือ. บทว่า ไม่สยิ้วพระพักตร์

ความว่า บางคนเข้าไปยังประชุมที่แล้วมีหน้าเคร่งขรึม มีหน้าขึ้งเครียดฉันใด

พระองค์มิได้เป็นเช่นนั้น. แต่การเห็นที่ประชุมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

เป็นเหมือนดอกปทุมที่บานแล้วด้วยการต้องแสงแดดอ่อน เป็นราวกะรัศมี

แห่งพระจันทร์เต็มดวง.

บทว่า มีพระพักตร์เบิกบาน ความว่า ท่านแสดงไว้ว่า คนบางจำ

พวกมีหน้าคว่ำ เมื่อชุมนุมชนมาประชุมกันแล้ว ก็ไม่พูดอะไร เป็นคนที่มีคำ

พูดอันได้ด้วยยากฉันใด แต่พระสมณโคดมไม่เป็นเช่นนั้น เป็นผู้มีพระ

วาจาได้ด้วยง่าย สำหรับผู้ที่มาสู่สำนักของพระองค์ไม่เกิดความเดือดร้อนใจ

ว่า พวกเรามาในที่นี้เพราะเหตุไร แต่ชนทั้งหลายได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมมี

ใจยินดีโดยแท้. บทว่า มีปกติตรัสก่อน คือ พระองค์เนื้อจะตรัสย่อมตรัส-

ก่อน และพระดำรัสก็ประกอบด้วยกาล. พระองค์ก็ตรัสแต่ถ้อยคำประกอบ

ด้วยประมาณ อาศัยประโยชน์โดยแท้ ไม่ตรัสถ้อยคำอันหาประโยชน์

มิได้.

บทว่า ในบ้านนั้นหรือ ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ ที่ใด เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ย่อมถวายอารักขา. เพราะอาศัย

เทวดาเหล่านั้น อุปัทวะย่อมไม่มีแก่มนุษย์ทั้งหลาย. ก็ปิศาจทั้งหลายมี

ปิศาจคลุกฝุ่นเป็นต้น ย่อมเบียดเบียนมนุษย์. ปิศาจเหล่านั้นย่อมหลีกไปไกล

ด้วยอานุภาพของเทวดาเหล่านั้น. อีกประการหนึ่ง แม้เพราะกำลังแห่งพระ-

เมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พวกอมนุษย์ก็ไม่เบียดเบียนมนุษย์.

ในบททั้งหลายมีบทว่า เป็นเจ้าหมู่เป็นต้น ความว่า หมู่ที่คนพึง

พร่ำสอนหรือที่คนให้เกิดเองของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้า

หมู่. อนึ่ง คณะเช่นนั้นของบุคคลนั้นอยู่ เหตุนั้นเขาชื่อว่าเป็นเจ้าคณะ.

อีกประการหนึ่ง คำนี้เป็นไวพจน์ของบทแรก. พระองค์ทรงเป็นอาจารย์

ของคณะด้วยอำนาจแห่งการให้เขาศึกษาเรื่องอาจาระ เหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้

เป็นคณาจารย์. บทว่า แห่งเจ้าลัทธิมากมาย คือ แห่งเจ้าลัทธิจำนวนมาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

บทว่า โดยประการใดประการหนึ่ง คือ ด้วยเหตุแม้เพียงสักว่า ไม่นุ่งผ้า

เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง บทว่า ย่อมรุ่งเรือง คือ ย่อมเข้าไปถึงโดยรอบ

ได้แก่เจริญยิ่งขึ้น.

บทว่า เขาเหล่านั้นเป็นแขก ความว่า เขาเหล่านั้นเป็นอาคันตุกะ

คือเป็นแขกหน้าใหม่ของพวกเรา. บทว่า เรียนรู้ คือรู้จัก. ด้วยบทว่า มีพระ

คุณอันจะพึงนับมิได้ โสณทัณฑพราหมณ์แสดงว่า มีพระคุณอันหาที่เปรียบ

มิได้ แม้ด้วยพระสัพพัญญูเห็นปานนั้น จะป่วยกล่าวไปไยด้วยบุคคลเช่น

เราเล่า. สมจริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

หากว่าแม้พระพุทธเจ้าพึงตรัสพระคุณของพระพุทธเจ้า

ไม่ตรัสอย่างอื่นเลยในกัปหนึ่งก็จะพึงหมดสิ้นไปใน

ระหว่าง เป็นเวลานานพระคุณของพระตถาคตหาสิ้นไป

ไม่ ดังนี้

ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังคุณกถาของพระศาสดานี้แล้ว ต่างคิด

ว่า โสณทัณฑพราหมณ์กล่าวคุณของพระสมณโคดม พระโคดมผู้เจริญ

นั้นมีพระคุณหาน้อยไม่ ก็แลอาจารย์ผู้รู้คุณของพระโคดมนั้นอย่างนี้ ได้รอ

คอยนานเกินไป เอาเถอะ พวกเราจะคล้อยตามเขาดังนี้ คล้อยตามแล้ว.

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า เมื่อโสณทัณฑพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวก

พราหมณ์เหล่านั้นดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหมาะทีเดียว คือควรทีเดียว. บทว่า แม้

ด้วยเสบียง เสบียงอาหารท่านเรียกว่า ปุโฏสะ ความว่า การที่แม้จะถือ

เสบียงนั้นไปเฝ้าก็ควรทีเดียว. บาลีว่า ปฏเสน ดังนี้ก็มี. บทนั้นมีอธิบาย

ว่า ห่อของบนบ่าของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขาชื่อว่ามีห่อของบนบ่า.

ด้วยบ่ามีห่อของนั้น. มีอธิบายว่า ด้วยบ่าที่แบกเสบียงไป ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

บทว่า ผู้ผ่านพ้นราวป่าไปแล้ว คือ ผู้ไปสู่ภายในราวป่า อธิบายว่า

ผู้เข้าไปยังภายในวิหารแล้ว.

บทว่า ประนมอัญชลี ความว่า พวกพราหมณ์ซึ่งเป็นสองฝักสอง

ฝ่ายคิดอย่างนี้ว่า แม้ถ้าว่าพวกมิจฉาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุ

ไร พวกท่านจึงถวายบังคมพระสมณโคดม พวกเราจะกล่าวแก่เขาว่าแม้ด้วย

การกระทำเพียงอัญชลี ยังชื่อว่าไหว้ด้วยหรือ ถ้าว่าพวกสัมมาทิฏฐิจัก

ทักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงไม่ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกเราจักบอกว่า การเอาศีรษะกระทบพื้นแผ่นดินนั่นแหละจึงจะเป็นการ

ไหว้หรือ แม้การกระทำอัญชลี ก็ชื่อว่าการไหว้เหมือนกันมิใช่หรือ.

บทว่า ชื่อและโคตร ความว่า พวกพราหมณ์เมื่อกราบทูลว่า ข้าแต่.

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นบุตรของคนชื่อโน้น ชื่อทัตตะ ชื่อมิตตะ

มาในที่นี้ ดังนี้ ชื่อว่าประกาศชื่อ พวกที่กล่าวว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้า

พระองค์ชื่อวาเสฏฐะ ชื่อกัจจานะ มาในที่นี้ดังนี้ ชื่อว่า ประกาศโคตร.

ได้ยินว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเป็นกุลบุตรที่ยากจนแก่เฒ่า ได้กระทำ

อย่างนี้ ในท่ามกลางที่ประชุม ด้วยคิดว่า พวกเราจักปรากฏด้วยอำนาจแห่ง

ชื่อและโคตร.

ส่วนพราหมณ์เหล่าใด นั่งนิ่งอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นพวกหลอก

ลวง และเป็นอันธพาล. บรรดาพราหมณ์สองพวกนั้น พวกพราหมณ์ที่

หลอกลวงคิดว่า คนเมื่อกระทำแม้การคุยกันเพียงคำสองคำก็คุ้นเคยกันได้

ต่อมาเมื่อมีความคุ้นเคยกันแล้ว จะไม่ให้ภักษาหาร ๑-๒ หาควรไม่ ดังนี้

ปลดเปลื้องตนจากข้อนั้น จึงนั่งนิ่งเสีย. พวกพราหมณ์ที่เป็นอันธพาลเพราะ

เหตุที่ไม่รู้อะไรนั่นเอง จึงนั่งนิ่ง ไม่ว่าในที่ไหน ๆ เป็นดุจก่อนดินเหนียว

ที่เขาขว้างทิ้งแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

บทว่า ความตรึกตรองแห่งใจ ด้วยพระทัย ความว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงใคร่ครวญดูอยู่ว่า พราหมณ์นี้จำเดิมแต่กาลที่ตนมาแล้ว ก้มหน้า

มีตัวแข็งทื่อ นั่งคิดอะไรอยู่ กำลังคิดอะไรหนอ ก็ได้ทรงทราบจิตของ

พราหมณ์นั้น ด้วยพระทัยของพระองค์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ทรงทราบความตรึกตรองแห่งใจด้วยพระทัย ดังนี้. บทว่า ย่อมเดือดร้อน

คือ ถึงความลำบากใจ

บทว่า เหลียวดูชุมนุมชน ความว่า โสณฑัณฑพราหมณ์มีกายและใจ

สงบระงับแล้วราวกะจมลงในน้ำ ด้วยการตรัสถามปัญหาในลัทธิของตน

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแล้ววางไว้บนบก คล้าย ๆ จะกล่าวว่า ขอ

ท่านผู้เจริญจงใคร่ครวญดูคำพูดของข้าพระองค์ด้วยการสัญจรไปแห่งทิฏฐิ

แม้เพื่อสงเคราะห์ชุมนุมชน ดังนี้แล้วเหลียวดูชุมนุมชน ได้กราบทูลคำ

นั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ผู้รับการบูชา ความว่า เป็นคนที่ ๑ หรือ

ที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ที่รับการบูชา เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ. ท่าน

โบราณาจารย์กล่าวว่า ผู้รับการบูชาอย่างใหญ่ที่เขาให้อยู่เพื่อบูชา.

พราหมณ์เฉลยปัญหาถูกต้องแท้ด้วยอำนาจลัทธิของตน ด้วยประ-

การฉะนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงถึงพราหมณ์ผู้สูงสุดเป็น

พิเศษ จึงได้ตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า อิเมส ปน ดังนี้.

บทว่า พวกพราหมณ์ได้กล่าวคำนี้ ความว่า พวกพราหมณ์คิดว่า

ถ้าพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ วรรณะ และมนต์ไม่มี เมื่อเป็นเช่นนั้น

ใคร่เล่าจักเป็นพราหมณ์ในโลก โสณทัณฑพราหมณ์นี้ทำให้พวกเรา

ฉิบหาย เอาเถอะ เราจะกล่าวต่อต้านวาทะของเขา ดังนี้ จึงได้กล่าวคำนี้

บทว่า กล่าวลบหลู่ คือ กล่าวต่อต้าน. บทว่า กล่าวคล้อยตามเข้าไป.

พวกพราหมณ์กล่าวคำนี้ด้วยมีประสงค์ว่า ถ้าท่านใคร่จะถึงพระสมณโคดม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

เป็นที่พึ่งด้วยอำนาจแห่งความเลื่อมใส ท่านจงไปเสีย อย่ามาทำลายลัทธิ

ของพราหมณ์เลย ดังนี้.

บทว่า ได้ตรัสพระดำรัสนี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า

เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านี้ต่างวิวาทกันเป็นเสียงเดียวอยู่อย่างนี้ กถานี้จักไม่

ถึงที่สุดได้ เอาเถอะ เราจะทำให้พวกเขาเงียบเสียงแล้วพูดกับโสณทัณฑ-

พราหมณ์เท่านั้น ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สเจ โข ตุมฺหาก

เป็นต้น. บทว่า เป็นไปกับด้วยธรรม คือเป็นไปด้วยเหตุ. บทว่า มี

วรรณะเสมอเหมือนกัน คือ เสมอกันโดยความเป็นผู้เหมือนกัน ยกเว้นความ

เป็นผู้เสมอกันโดยเอกเทศ อธิบายว่า เสมอกันโดยอาการทั้งปวง. บทว่า เรา

รู้จักมารดาและบิดาของเขา คือเขาจักไม่รู้จักมารดาและบิดาของน้องสาว

ได้อย่างไร เขากล่าวหมายถึงการแสดงลำดับสกุลต่างหาก. บทว่า พึงกล่าว

เท็จบ้าง คือพึงกล่าวคำเท็จที่ตัดรอนประโยชน์. บทว่า วรรณะจักทำอะไรได้

คือ เมื่อคุณความดีภายใน ไม่มีอยู่ วรรณะจักทำอะไรได้ อธิบายว่า เขาจัก

สามารถรักษาความเป็นพราหมณ์ของเขาไว้ได้อย่างไร. แม้ถ้าจะพึงมีอีก เมื่อ

พราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในปกติศีล องค์อื่นๆ ก็ยังความเป็นพราหมณ์ให้สำเร็จได้

เพราะศีลอย่างเดียวก็ให้สำเร็จเป็นพราหมณ์ได้อย่างนี้ ก็ครั้นปกติศีลนั้น

ของเขาไม่มี ความเป็นพราหมณ์ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น องค์ทั้งหลายมีวรรณะ

เป็นต้นเป็นสิ่งงมงาย.

ก็พราหมณ์ทั้งหลาย ได้ยินคำนี้แล้ว ได้เป็นผู้นิ่งเสีย ด้วยคิดว่า

อาจารย์กล่าวถูกต้องและพวกเรากล่าวโทษโดยหาเหตุมิได้. ลำดับนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพราหมณ์กล่าวเฉลยปัญหาแล้ว เพื่อจะทรงทดลองเขา

ว่า ก็ในข้อนี้เขาจักสามารถเพื่อจะยืนยันหรือไม่สามารถ จึงได้ตรัสพระ

ดำรัสว่า อิเมส ปน พฺราหฺมณ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

บทว่า อันศีลชำระให้บริสุทธิ์ คือ บริสุทธิ์ได้เพราะศีล. บท

ว่าศีลมีในที่ใด ปัญญาก็มีในที่นั้น คือ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญา

ก็มีในบุคคลนั้น. ในบุคคลผู้ทุศีล ปัญญาจะมีแต่ที่ไหน หรือว่า

ในบุคคลที่เว้นจากปัญญา ที่โง่เขลา ที่ทั้งหนวก และใบ้ ศีลจะมีแต่ที่ไหน

บทว่า ศีลและปัญญา คือ ศีลด้วย ปัญญาด้วย ชื่อว่า ศีลและปัญญา

บทว่า ปฺาณ คือ ปัญญานั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยอมรับคำพูดของพราหมณ์ จึงได้

ตรัสว่า พราหมณ์ ข้อนั้นเป็นเช่นนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปัญญาที่

ศีลชำระให้บริสุทธิ์แล้ว คือที่ปาริสุทธิศีล ๔ ชำระแล้ว. ถามว่า บุคคล

ย่อมชำระปัญญาด้วยศีลอย่างไร. แก้ว่า ศีลของปุถุชนใด ไม่ขาดตกบก-

พร่องตลอด ๖๐ ปี และ ๘๐ ปี แม้ในเวลาถึงแก่กรรม เขาฆ่ากิเลสทั้ง

หมดได้ ชำระปัญญาด้วยศีล ยังถือเอาพระอรหัตได้ ดุจพระมหาสัฏฐิวัสส-

เถระ อยู่ในบริเวณต้นสาละในซอกเขา ฉะนั้น.

ได้ยินว่า เมื่อพระเถระนอนอยู่บนเตียงที่จะมรณภาพ ร้องครวญ-

ครางอยู่ เพราะเวทนากล้า ติสสวสภมหาราช เสด็จไปด้วยทรงดำริว่า เรา

จักเยี่ยมพระเถระ ประทับยืนที่ประตูบริเวณทรงสดับเสียงนั้น จึงตรัสถาม

ว่า นี้เสียงของใคร. เสียงร้องครวญครางของพระเถระ ภิกษุหนุ่มผู้อุปฐาก

ทูล. พระองค์ทรงดำริว่า พระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ โดยการบรรพชา

มิได้กระทำแม้เพียงการกำหนดรู้เวทนา บัดนี้เราจักไม่ไหว้ท่านละ ดังนี้แล้ว

เสด็จกลับไปนมัสการต้นมหาโพธิ. ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มผู้อุปฐากจึงพูดกะ

พระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทำไมท่านจึงทำให้พวกผมได้รับความอับ-

อาย พระราชาทั้งที่ทรงมีศรัทธา ยังทรงปฏิสารเสด็จไปเสีย ด้วยทรง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ดำริว่า เราจักไม่ไหว้. พระเถระกล่าวว่า เพราะเหตุไร ผู้มีอายุ. ภิกษุหนุ่ม

ผู้อุปฐากกล่าวตอบว่า เพราะทรงสดับเสียงร้องครวญครางของท่าน

พระเถระกล่าวว่า ถ้ากระนั้น พวกเธอจงให้โอกาสแก่เรา ดังนี้แล้ว

ข่มเวทนาเสียได้บรรลุพระอรหัต จึงให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มว่า ผู้มีอายุ ท่าน

จงไป บัดนี้ท่านจงให้พระราชามาไหว้เราได้. ภิกษุหนุ่มไปแล้ว ทูลว่า

นัยว่า บัดนี้ขอพระองค์จงทรงไหว้พระเถระเถิด พระราชา เมื่อจะทรงไหว้

พระเถระด้วยการพังพาบดุจจรเข้ จึงตรัสว่า ข้าพเจ้ามิได้ไหว้พระอรหัต

ของพระผู้เป็นเจ้า แต่ไหว้ท่านผู้ที่ดำรงอยู่ในภูมิแห่งปุถุชน แต่รักษา

ศีลต่างหาก ดังนี้. บุคคลชื่อว่า ชำระปัญญาด้วยศีล ด้วยประการฉะนี้.

ก็ในภายในของผู้ใด การสำรวมในศีลไม่มี แต่เพราะเหตุที่ตนเป็น

ผู้รู้ในฉับพลัน ในที่สุดแห่งคาถาประกอบด้วยสี่บท เขาผู้นั้นชำระศีลด้วย

ปัญญาแล้ว บรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ผู้นี้ชื่อว่าชำระศีลด้วยปัญญา

เหมือนสันตติมหาอำมาตย์.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พราหมณ์ ก็ศีลนั้นเป็น

ไฉน. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อม

บัญญัติศีล ๕ ว่าเป็นศีล ย่อมบัญญัติความรอบรู้ในไตรเทพว่าเป็นปัญญา

ในลัทธิของพราหมณ์ ไม่รู้สิ่งที่วิเศษเห็นขึ้นไป ถ้ากระไรเราพึงแสดง

มรรคศีล ผลศีล มรรคปัญญา และผลปัญญา ที่เป็นของวิเศษยิ่ง แก่

พราหมณ์ พึงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคืออรหัต ดังนี้. ลำดับนั้น พระองค์

เมื่อจะตรัสถามพราหมณ์ด้วยกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามโดยมีพระประสงค์จะ

ทรงตอบเอง) จึงตรัสว่า พราหมณ์ ศีลนั้นเป็นไฉน ปัญญานั้นเป็นไฉน

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า ปัญญาเราเฉลยแล้วด้วยอำนาจแห่งลัทธิ

ของตน แต่พระสมณโคดมกลับย้อนถามเราอีก บัดนี้เราจะพึงสามารถที่จะ

เฉลยปัญหาทำให้พระทัยของพระองค์ยินดี หรือไม่สามารถ ถ้าเราจักไม่

สามารถ ความละอายของเราแม้ที่เกิดในครั้งแรก จักทำลายไป แต่โทษใน

การกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่สามารถ ดังนี้ ไม่มีแก่เราผู้ไม่สามารถอยู่ ดังนี้ จึง

ย้อนกลับมา ทำให้เป็นภาระแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์เดียวอีก จึงกราบทูล

คำเป็นต้นว่า ก็ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความรู้เพียงแค่นี้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่า

นั้น บทว่า มีความรู้เพียงแค่นี้ คือ ศีลและปัญญา เพียงแค่นี้ ได้แก่ศีล

และปัญญา เพียงนี้เท่านั้น เป็นอย่างยิ่ง ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ความว่า

พวกข้าพระองค์เหล่านั้นมีศีลและปัญญา เพียงแค่นี้ เป็นอย่างยิ่ง คือไม่

ทราบเนื้อความแห่งคำที่ตรัสนั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงศีลและปัญญา จำเดิม

แต่การอุบัติของพระตถาคต ผู้ทรงเป็นรากเง่าของศีลและปัญญาแก่เขา จึง

ตรัสพระดำรัสว่า พราหมณ์ ตถาคตในโลกนี้ ดังนี้ เป็นต้น. ใจความ

แห่งบทนั้น พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ในสามัญญผลสูตรนั้นแล.

แต่ข้อแตกต่างมีดังต่อไปนี้. ในที่นี้ศีลแม้ทั้งสามอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงชี้ชัด ว่าเป็นศีลโดยแท้อย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ก็จัดอยู่ในศีลของเธอ. ฌาน ๔

มีปฐมฌานเป็นต้น โดยความจัดเป็นปัญญาสัมปทา. พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้

ทรงชี้ชัดด้วยอำนาจแห่งปัญญา ทรงแสดงโดยเพียงเป็นปทัสถานแห่งปัญญา

มีวิปัสสนาเป็นต้น ทรงชี้ชัดถึงปัญญา จำเดิมแต่วิปัสสนาปัญญา ด้วยประการ

ฉะนี้. บทว่า เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พึงทราบใจความตามนัยที่กล่าวแล้วใน

คำนี้ว่าเพื่อฉันในวันนี้นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

บทว่า ชุมนุมชนนั้นพึงดูหมิ่นข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ความว่า

ชุมนุมชนนั้น พึงดูหมิ่นข้าพระองค์ เพราะเหตุที่เห็นพระองค์แต่ไกลแล้ว

ลุกจากอาสนะนั้นว่า โสณทัณฑพราหมณ์นี้ เป็นคนแก่ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย

แล้ว แต่พระโคดมยังหนุ่ม เป็นเด็ก แม้เป็นหลานของเขาก็ยังไม่ได้ เขา

ยังลุกจากอาสนะของตน ให้แก่พระโคดมผู้ยังไม่ถึงแม้ความเป็นหลานของ

ตน. บทว่า การประคองอัญชลีนั้นแทนการลุกจากอาสนะของข้าพระองค์

ความว่า โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่าขึ้นชื่อว่า การไม่ลุก เพราะไม่

เคารพของข้าพระองค์ไม่มี แต่ข้าพระองค์จักไม่ลุก เพราะกลัวโภคสมบัติ

จะฉิบหาย ข้อนั้นควรมี พระองค์และข้าพระองค์จะต้องทราบ เพราะฉะนั้น

ขอพระโคดมผู้เจริญได้โปรดทรงเข้าใจการประคองอัญชลีนั้น เป็นการแทน

การลุกขึ้นรับ. ได้ยินว่า คนหลอกลวงเช่นกับโสณทัณฑพราหมณ์นี้ หา

ได้ยาก. ก็ชื่อว่า ความไม่เคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า ของพราหมณ์นี้

ไม่มี เพราะฉะนั้น เขากล่าวอย่างนั้นด้วยอำนาจแห่งการหลอกลวง เพราะ

กลัวว่า โภคสมบัติจะฉิบหาย. แม้ในบทอื่น ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ใน

บทว่า ด้วยกถาอันประกอบด้วยธรรมเป็นต้น มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงให้เห็นจริง ซึ่งประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและเบื้องหน้า ทรง

ให้เขายึดมั่น คือ ให้ถือเอาธรรมที่เป็นกุศล ทรงให้เขาอาจหาญในธรรม

ที่เป็นกุศลนั้น คือกระทำเขาให้มีความอุตสาหะ ทำให้เขาร่าเริง ด้วยความ

เป็นผู้มีอุตสาหะนั้น และคุณที่มีอยู่อย่างอื่น ทรงให้ฝนคือพระธรรมรัตนะ

ตกลงแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป.

ก็พราหมณ์เพราะเหตุที่ตนเป็นคนหลอกลวง เมื่อพระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงให้ฝนคือพระธรรมตกลงอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถที่จะยัง

คุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. กถาทั้งหมด ได้เป็นกถาเบื้องต้น และเบื้องปลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

เพื่อประโยชน์แก่นิพพาน ในกาลต่อไป และเพื่อมีส่วนแห่งวาสนาของ

พราหมณ์อย่างเดียว.

อรรถกถาโสณทัณฑสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี

จบลงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาโสณทัณฑสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

๕. กูฏทันตสูตร

เรื่องกูฏทันตพราหมณ์

[๑๙๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จถึงพราหมณคามของ

ชาวมคธชื่อ ขานุมัตตะ. ได้ยินว่าในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตตะ สมัยนั้นพราหมณ์กูฏทันตะ

อยู่ครองบ้านขานุมัตตะ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า

ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติ อันพระเจ้า-

แผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า พิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จ

ให้เป็นส่วนพรหมไทย.

มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์

[๒๐๐] ก็ในสมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะได้เตรียมมหายัญ โคผู้

๗๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโคเมีย ๗๐๐ ตัว แพะ ๗๐๐ ตัว และแกะ

๗๐๐ ตัว ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อบูชายัญ. พราหมณ์และคฤหบดี

ชาวบ้านขานุมัตตะ ได้สดับว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจาก

ศากยสกุล เสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประ-

มาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตตะ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกาใกล้

บ้านขานุมัตตะ เกียรติศัพท์อันงามของพระสมณโคดมพระองค์นั้นขจรไป

แล้วอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

พระพุทธคุณ

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว

ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดา

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พระตถาคตองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้

แจ้งด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณะและพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามใน

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อม

ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง ก็การเห็นพระ

อรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล้ว ดังนี้. ครั้งนั้น พราหมณ์

และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ ออกจากบ้านขานุมัตตะเป็นหมู่ ๆ พากัน

ไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา.

[๒๐๑] สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะ ขึ้นนอนกลางวันในปราสาท

ชั้นบน ได้เห็นพราหมณ์ และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ ออกจากบ้าน

ขานุมัตตะรวมกันเป็นหมู่ ๆ พากันไปสวนอัมพลัฏฐิกา จึงเรียกที่ปรึกษามา

ถามว่า ท่านที่ปรึกษา พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ ออก

จากบ้านขานุมัตตะรวมกันเป็นหมู่ ๆพากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา ทำไมกัน.

ที่ปรึกษาบอกว่า เรื่องมีอยู่ ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตรทรงผนวช

จากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในมคธชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงบ้านขานุมัตตะ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา

ใกล้บ้านขานุมัตตะ เกียรติศัพท์อันงามของพระองค์ฟุ้งขจรไปแล้วอย่างนี้

ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นอรหันต์ ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง

โลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพากันเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมพระองค์นั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะได้เกิดความคิดเช่นนี้ว่า ก็เราได้สดับข่าวนี้

มาว่า พระสมณโคดมทรงทราบยัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ แต่

เราไม่ทราบ และเราก็ปรารถนาจะบูชามหายัญ ถ้ากระไร เราควรเข้าไป

เฝ้าพระสมณโคดม ทูลถามยัญ ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖. ลำดับนั้น

พราหมณ์กูฎทันตะได้เรียกที่ปรึกษามาสั่งว่า ท่านที่ปรึกษา ถ้าเช่นนั้น ท่าน

จงไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ แล้วบอกเขาอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลาย พราหมณ์กูฏทันตะสั่งมาว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน

แม้พราหมณ์กูฏทันตะก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดมด้วย. ที่ปรึกษารับคำแล้ว

ไปหาพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ แล้วบอกว่า ท่านทั้งหลาย

พราหมณ์กูฏทันตะสั่งมาว่าขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน แม้พราหมณ์กูฏ-

ทันตะก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดมด้วย.

[๒๐๒] สมัยนั้น พราหมณ์หลายร้อยคนพักอยู่ในบ้านขานุมัตตะ

ด้วยหวังว่า พวกเราจักบริโภคมหายัญของพราหมณ์กูฏทันตะ. พราหมณ์

เหล่านั้นได้ทราบว่า พราหมณ์กูฏทันตะจักไปเฝ้าพระสมณโคดม จึงพากัน

ไปหาพราหมณ์กูฏทันตะแล้วถามว่า ได้ทราบว่า ท่านจักไปเฝ้าพระสมณ-

โคดม จริงหรือ. กูฏทันตะ เราคิดว่าจักไปเฝ้าพระสมณโคดม จริง.

พราหมณ์ อย่าเลยท่านกูฏทันตะ ท่านไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม ถ้า

ท่านไปเฝ้า ท่านจะเสียเกียรติยศ เกียรติยศของพระสมณโคดมจักรุ่งเรือง

ด้วยเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่าง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

หากควรจะมาหาท่าน อนึ่ง ท่านเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา

มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้าน

ติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่ควรไป

เฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมต่างหากควรจะมาหาท่าน อนึ่ง ท่าน

เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีเครื่องใช้สอยอันน่าปลื้มใจ

มาก มีทองและเงินมาก อนึ่ง ท่านเป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ

ไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร

มีคัมภีร์อิติหาส เป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญ

ในคัมภีร์โลกายตะและมหาปุริสลักษณะ อนึ่ง ท่านมีรูปงาม น่าดูน่า

เลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีฉวีวรรณคล้ายพรหม มีรูปร่าง

คล้ายพรหม น่าดูน่าชมไม่น้อย อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบ

ด้วยศีลยั่งยืน อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีสำเนียงไพเราะ ประกอบ

ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย หาโทษมิได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความ

ได้ชัด อนึ่ง ท่านเป็นอาจารย์และปาจารย์ของชนหมู่มาก สอนมนต์มาณพ

ถึง ๓๐๐ พวกมาณพเป็นอันมากต่างทิศต่างชนบท ผู้ต้องการมนต์จะเรียน

มนต์ในสำนักของท่านพากันมา อนึ่ง ท่านเป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วง

กาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ส่วนพระสมณโคดมเป็นคนหนุ่ม และบวชแต่ยัง

หนุ่ม อนึ่ง ท่านเป็นผู้อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ จอมเสนา พระนามว่า

พิมพิสาร ทรงสักการะเคารพนับถือบูชา นอบน้อม อนึ่ง ท่านเป็นผู้อัน

พราหมณ์โปกขรสาติ สักการะ เคารพนับถือ บูชา นอบน้อม อนึ่ง ท่าน

ครองบ้านขานุมัตตะอันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วยหญ้า

ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชสมบัติอันพระเจ้า

กรุงมคธ ทรงพระนามว่า เสนิยะ พิมพิสาร พระราชทานปูนบำเหน็จให้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

เป็นส่วนพรหมไทย เพราะเหตุนี้แหละ ท่านจึงไม่ควรไปเฝ้าพระสมณโคดม

พระสมณโคดมต่างหากควรจะมาหาท่าน.

[๒๐๓] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กูฏทันตะ

จึงได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นขอจงฟังข้าพเจ้าบ้าง เรานี้

แหละควรไปเฝ้าพระสมณโคดมพระองค์นั้น พระสมณโคดมไม่ควรจะ

เสด็จมาหาเรา เพราะได้ยินว่า ท่านเป็นอุโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดา และ

บิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใคร

คัดค้านติเตียน ด้วยการกล่าวอ้างถึงพระชาติ เพราะเหตุนี้แหละ พระ

โคดมจึงไม่ควรจะเสด็จมาหาเรา ที่ถูกเรานี้แหละ ควรไปเฝ้าพระองค์.

ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงละพระญาติหมู่ใหญ่ ออกผนวชแล้ว

พระองค์ทรงสละเงินและทองเป็นอันมาก ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ใน

อากาศออกผนวช พระองค์กำลังรุ่น มีพระเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่น

ตั้งอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต เมื่อพระมารดาและ

พระบิดา ไม่ทรงปรารถนาให้ผนวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร

ทรงกันแสงอยู่ พระองค์ได้ทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุ ทรงครอง

ผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต พระองค์มีพระรูปงาม

น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณ ผุดผ่องยิ่งนัก มีพระฉวีวรรณ

คล้ายพรหม มีพระสรีระคล้ายพรหม น่าดู น่าชม มิใช่น้อย พระองค์

เป็นผู้มีศีล มีศีลประเสริฐ มีศีลเป็นกุศล ประกอบด้วยศีลเป็นกุศล

พระองค์มีพระวาจาไพเราะ มีพระสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจา

ของชาวเมือง สละสลวย หาโทษมิได้ ให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความ

ได้ชัดพระองค์เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก พระองค์สิ้น

กามราคะแล้ว เลิกประดับตกแต่ง พระองค์เป็นกรรมวาที เป็นกิริย-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

วาที ไม่ทรงมุ่งร้ายต่อพวกพราหมณ์ พระองค์ทรงผนวชจากสกุลสูง คือ

สกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน พระองค์ผนวชจากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

มีโภคสมบัติมาก ชนต่างรัฐต่างชนบทพากันมาทูลถามปัญหากะพระองค์

เทวดาหลายพันมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ เกียรติศัพท์อันงามของ

พระองค์ฟุ้งขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนผู้ควร

ฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น

ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงประกอบด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พระองค์มีปกติกล่าวเชื้อเชิญ เจรจาผูก

ไมตรี ช่างปราศรัย มีพระพักตร์ไม่สยิ้ว มีพระพักตร์เบิกบาน มีปกติ

ตรัสก่อน พระองค์เป็นผู้อันบริษัท ๔ สักการะเคารพ นับถือ บูชา

นอบน้อม เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก เลื่อมใสในพระองค์ยิ่งนัก พระ

องค์ทรงพำนักอยู่ในบ้านหรือนิคมใด บ้านหรือนิคมนั้น อมนุษย์ไม่

เบียดเบียนมนุษย์ พระองค์เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ และเป็นคณาจารย์ ได้

รับยกย่องว่า เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก สมณพราหมณ์เหล่านี้เรือง

ยศด้วยประกาศ ใด ๆ แต่พระสมณโคดม ไม่เรืองยศอย่างนั้น ที่แท้

พระสมณโคดม เรืองยศด้วย วิชชา และจรณสมบัติ อันยอดเยี่ยม

พระเจ้ากรุงมคธทรงพระนามว่า เสนิยะ พิมพิสาร พร้อมทั้งพระโอรสและ

พระมเหสี ทั้งราชบริพารและอำมาตย์ ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ

พระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี ทั้งราชบริพาร

และอำมาตย์ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ พราหมณ์โปกขรสาติ

พร้อมทั้งบุตรและภริยา ทั้งบริวารและอำมาตย์ มอบชีวิตถึงพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

เป็นสรณะ พระองค์เป็นผู้อันพระเจ้ากรุงมคธ ทรงพระนามว่า เสนิยะ

พิมพิสาร ทรงสักการะ เคารพนับถือ บูชา นอบน้อม พระองค์

เป็นผู้อันพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสักการะเคารพนับถือ บูชา นอบน้อม

พระองค์เป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะ เคารพนับถือ บูชา

นอบน้อม พระองค์เสด็จถึงบ้านขานุมัตตะ ประทับอยู่ที่สวนอัมพลัฏฐิกา

ใกล้บ้านขานุมัตตะ สมณหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มาสู่เขต

บ้านของเรา เหล่านั้นจัดว่าเป็นแขกของเรา และเป็นแขกซึ่งเรา

ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม เพราะเหตุที่พระสมณโคดม

เสด็จถึงบ้านขานุมัตตะ ประทับอยู่ที่สวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้บ้านขานุมัตตะ

จัดว่าเป็นแขกของเรา และเป็นแขกที่เราควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา

นอบน้อม นี้แหละ พระองค์จึงไม่ควรจะเสด็จมาหาเรา ที่ถูก เราต่าง

หากควรไปเฝ้าพระองค์ ข้าพเจ้าทราบพระคุณของพระโคดมเพียงเท่านี้

แต่พระโคดมมิใช่มีพระคุณเพียงเท่านี้ ความจริง พระองค์มีพระคุณหา

ประมาณมิได้.

[๒๐๔] เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะ กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์

เหล่านั้นได้กล่าวว่าท่านกูฏทันตะ กล่าวชมพระสมณโคดมถึงเพียงนี้

ถึงหากพระองค์จะประทับอยู่ไกลจากที่นี้ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ก็ควรแท้ที่กุลบุตร

ผู้มีศรัทธาจะไปเฝ้า แม้ต้องนำเสบียงไปก็ควร. พราหมณ์กูฏทันตะ

กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราทั้งหมดจักเข้าไปเฝ้าพระสมณ-

โคดม. ลำดับนั้น พราหมณ์กูฏทันตะพร้อมด้วยคณะพราหมณ์ผู้ใหญ่ ได้

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่สวนอัมพลัฏฐิกา ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง. ฝ่ายพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุมัตตะ บางพวกก็ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

บังคม บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค-

เจ้า บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างพากันนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พราหมณ์กูฏทันตะ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้า-

พระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบยัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่ง

มีบริวาร ๑๖ ส่วนข้าพระองค์ไม่ทราบ แต่ปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดง ยัญสมบัติ ๓ ประการ

ซึ่งมีบริวาร ๑๖ แก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า

ยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช

[๒๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น

ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดีเราจักบอก. เมื่อพราหมณ์กูฏทันตะทูลรับแล้ว จึง

ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นผู้มั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอยอันน่า

ปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลัง และฉางบริบูรณ์.

ดูก่อนพราหมณ์ ครั้งนั้น พระเจ้ามหาวิชิตราชได้เสด็จเข้าไปสู่ที่ลับเร้นอยู่

ได้เกิดพระปริตกอย่างนี้ว่า เราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่างไพบูลย์แล้ว

ได้ชนะปกครองดินแดนมากมาย ถ้ากระไร เราพึงบูชามหายัญ ที่จะเป็น

ประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. ดูก่อนพราหมณ์ พระเจ้า

มหาวิชิตราชรับสั่งให้เรียกพราหมณ์ปุโรหิตมาแล้วตรัสว่า วันนี้เราได้เข้าสู่

ที่ลับเร้นอยู่ ได้เกิดปริวิตกอย่างนี้ว่า เราได้ครอบครองสมบัติมนุษย์อย่าง

ไพบูลแล้ว ได้ชนะปกครองดินแดนมากมาย ถ้ากระไร เราพึงบูชามหายัญ

ที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. ดูก่อนพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชามหายัญ ที่จะเป็นประ-

โยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน.

[๒๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราช รับสั่งอย่างนี้

แล้ว พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า ชนบทของพระองค์ยังมีเสี้ยนหนาม

ยังมีการเบียดเบียนกัน โจรปล้นบ้านก็ดี ปล้นนิคมก็ดี ปล้นเมืองก็ดี

ทำร้ายในหนทางเปลี่ยวก็ดี ยังปรากฏอยู่. พระองค์จะโปรดยกภาษีอากร

ในเมื่อบ้านเมืองยังมีเสี้ยนหนาม ยังมีการเบียดเบียนกัน ด้วยเหตุที่ยกเสีย

นั้น จะพึงชื่อว่าทรงกระทำการมิสมควร. บางคราวพระองค์จะทรงดำริ

อย่างนี้ว่า เราจักปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจรด้วยการประหาร ด้วยการ

จองจำ ด้วยการปรับไหม ด้วยการตำหนิ หรือเนรเทศ. อันการปราบ

ปรามด้วยวิธีเช่นนี้ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ. เพราะว่าโจร

บางพวกที่เหลือจากถูกกำจัดจักยังมีอยู่ ภายหลังมันก็จักเบียดเบียนบ้าน

เมืองของพระองค์. แต่ว่าการปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจรนั้น จะชื่อว่า

เป็นการปราบปรามโดยชอบ เพราะอาศัยว่าการดังต่อไปนี้

พลเมืองเหล่าใดในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมักเขม้นในกสิกรรม

และโครักขกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้แก่พลเมืองเหล่า

นั้นในโอกาสอันสมควร พลเมืองเหล่าใดในบ้านเมืองของพระองค์ ขะมัก-

เขม้นในพาณิชยกรรม ขอพระองค์จงเพิ่มทุนให้แก่พลเมืองเหล่านั้นใน

โอกาสอันสมควร ข้าราชการเหล่าใด ในบ้านเมืองของพระองค์ขยัน ขอพระ

องค์จงพระราชทานเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือนแก่ข้าราชการเหล่านั้น ในโอกาส

อันสมควร พลเมืองเหล่านั้นนั่นแหละ จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของ

ตน ๆ จักไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์. อนึ่ง กองพระราชทรัพย์

มีจำนวนมาก จักเกิดแก่พระองค์ บ้านเมืองก็จะตั้งมั่นอยู่ในความเกษม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

หาเสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการเบียดเบียนกัน พลเมืองจักชื่นชมยินดีต่อกัน

ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่บนอก จักไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ พระ

เจ้ามหาวิชิตราชทรงรับคำพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว ก็ได้พระราชทานข้าวปลูก

และข้าวกินแก่พลเมืองในบ้านเมืองของพระองค์ที่ขะมักเขม้นในพาณิชย-

กรรม พระราชทานเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือนแก่ข้าราชการในเมืองของ

พระองค์ที่ขยัน พลเมืองเหล่านั้นนั่นแหละ ได้เป็นผู้ขวนขวายในการงาน

ตามหน้าที่ของตนๆ ไม่ได้เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์. อนึ่ง กองพระ

ราชทรัพย์มีจำนวนมาก ได้เกิดมีแล้วแก่พระองค์ บ้านเมืองได้ดำรงอยู่ใน

ความเกษม หาเสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการเบียดเบียนกัน พลเมืองชื่นชมยินดี

ต่อกัน ยังบุตรให้ฟ้อนอยู่บนอก ไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่แล้ว.

[๒๐๗] ดูก่อนพราหมณ์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาวิชิตราชได้ทรงรับ

สั่งให้พราหมณ์ปุโรหิตมาเฝ้าแล้วตรัสว่า ท่านผู้เจริญ โจรที่เป็นเสี้ยนหนาม

นั้น เราได้ปราบปรามดีแล้ว เพราะอาศัยวิธีการของท่าน และกองพระ

ราชทรัพย์ใหญ่ได้บังเกิดแก่เรา บ้านเมืองก็ได้ดำรงอยู่ในความเกษม หา

เสี้ยนหนามมิได้ ไม่มีการเบียดเบียนกัน พลเมืองชื่นชมยินดีต่อกัน ยังบุตร

ให้ฟ้อนอยู่บนอก ไม่ต้องปิดประตูเรือนอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ เราปรารถนา

จะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชามหายัญ ที่จะเป็นประโยชน์และ

ความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. พราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลว่า ขอเดชะ ถ้า

เช่นนั้น อนุยนตกษัตริย์เหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ในพระ

ราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกอนุยนตกษัตริย์เหล่านั้นมา

ปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับ

เรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. อำมาตย์ราชบริพาร

เหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ในพระราชอาณาเขตของ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

พระองค์ ขอพระองค์จงเรียกอำมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นมาปรึกษาว่า ท่าน

ทั้งหลายเราปรารถนาจะบูชามหายัญ ท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์

เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. พราหมณ์มหาศาลเหล่าใด ซึ่งเป็นชาว

นิคมและชาวชนบท ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียก

พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นมาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชา

มหายัญ ท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอด

กาลนาน. คฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่าใด ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ในพระ

ราชอาณาเขตของพระองค์ ขอพระองค์จงเรียกคฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่านั้น

มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือ

กับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. ดูก่อนพราหมณ์

พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงรับคำปุโรหิตแล้วทรงเรียกอนุยนตกษัตริย์ ซึ่ง

เป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์มาปรึกษา ว่า

ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. อนุยนตกษัตริย์เหล่านั้น

กราบทูลว่า ขอพระองค์จงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้เป็นการสมควรที่

จะบูชายัญ ทรงเรียกอำมาตย์ราชบริพาร ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท

ในพระราชอาณาเขตของพระองค์มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนา

จะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแต่เรา

ตลอดกาลนาน อำมาตย์ราชบริพารเหล่านั้นกราบทูลว่าขอพระองค์จงทรง

บูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ ทรงเรียกพราหมณ์

มหาศาล ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์

มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือ

กับเรา เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

มหาศาลเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้

เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ ทรงเรียกคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและ

ชาวชนบทในพระราชอาณาเขตของพระองค์ มาปรึกษาว่า ท่านทั้งหลาย

เราปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์เพื่อ

ความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. คฤหบดีผู้มั่งคั่งเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอ

พระองค์จงทรงบูชายัญเถิด ขอเดชะ บัดนี้เป็นการสมควรที่จะบูชายัญ. ชน

ผู้เห็นชอบตามพระราชดำรัส ๔ เหล่านี้จัดเป็นบริวารของยัญนั้น ดังนี้แล.

[๒๐๘] พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

๑. ทรงเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดา และพระบิดา มีพระ

ครรภ์เป็นที่ทรงถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้าน

ติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงพระชาติได้

๒. ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณ

ผุดผ่องยิ่งนัก มีพระฉวีวรรณคล้ายพรหม มีพระรูปคล้ายพรหม น่าดูน่าชม

มิใช่น้อย

๓. ทรงมั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มี

เครื่องใช้สอยน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลัง

และฉางบริบูรณ์

๔. ทรงมีกำลัง ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนา มีองค์ ๕ ซึ่งอยู่ในวินัย

คอยปฏิบัติตามพระราชอำนาจ มีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะเผาผลาญราช-

ศัตรูได้ด้วยพระราชอิสริยยศ

๕. ทรงพระราชศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี มิได้ปิดประตู

เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และ

ยาจก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

๖. ได้ทรงศึกษาทรงสดับเรื่องนั้น ๆ มาก

๗. ทรงทราบอรรถแห่งข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้น ๆว่า นี้ อรรถ

แห่งภาษิตนี้ นี้อรรถแห่งภาษิตนี้

๘. ทรงเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม ทรงพระปรีชาสามารถทรงพระ-

ราชดำริอรรถอันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้.

พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ดังกล่าว

มานี้. องค์ ๘ ประการ แม้เหล่านี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญนั้นโดยแท้ด้วย

ประการฉะนี้.

[๒๐๙] พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ

๑. เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิ-

สนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้าน ติเตียนด้วยการกล่าวอ้าง

ถึงชาติได้

๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์

นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕

เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และ

มหาปุริสลักษณะ

๓. เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน

๔. เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญาเป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ของพวก

ปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน.

พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังแสดงมานี้. องค์ ๔

ประการเหล่านี้ จักเป็นบริวารแห่งยัญนั้นโดยแท้ ด้วยประการฉะนี้.

ยัญสัมปทา ๓ มีบริวาร ๑๖

[๒๑๐] ดูก่อนพราหมณ์ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ปุโรหิต ได้แสดง

ยัญวิธี ๓ ประการ ถวายพระเจ้ามหาวิชิตราช ก่อนทรงบูชายัญว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

๑. เมื่อพระองค์ทรงบูชายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กอง

โภคสมบัติใหญ่ของเราจักหมดเปลืองดังนี้ พระองค์ไม่ควรทรงทำความ

วิปฏิสารเช่นนั้น

๒. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า

กองโภคสมบัติใหญ่ของเรากำลังหมดเปลืองไปอยู่ ดังนี้ พระองค์ไม่ควร

ทรงทำความวิปฏิสารเช่นนั้น

๓. เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า

กองโภคสมบัติใหญ่ของเราได้หมดเปลืองไปแล้วดังนี้ พระองค์ไม่ควรทรง

ทำความวิปฏิสารเช่นนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ พรหมณ์ปุโรหิตได้แสดงยัญวิธี ๓ ประการดังแสดง

มานี้ ถวายพระเจ้ามหาวิชิตราชก่อนทรงบูชายัญทีเดียว.

[๒๑๑] ดูก่อนพราหมณ์ ลำดับนั้น พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัดความ

วิปฏิสาร ของพระเจ้ามหาวิชิตราช เพราะพวกปฏิคาหกโดยอาการ ๑๐

ประการก่อนทรงบูชายัญ.

๑. พวกคนทำปาณาติบาตก็ดี พวกที่งดเว้นจากปาณาติบาตก็ดี

ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์. ในชนเหล่านั้น จำพวกที่ทำปาณา-

ติบาต จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์ทรงปรารภเฉพาะ

ที่งดเว้นจากปาณาติบาตเท่านั้นแล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา

ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๒] ๒. พวกคนที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ก็ดี พวกที่

งดเว้นจากการเอาถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระ

องค์ในชนเหล่านั้น จำพวกที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ จักได้รับ

ผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะที่งดเว้นจากการ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้เท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง

อนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๓] ๓. พวกคนที่ประพฤติผิดในกามทั้งหลายก็ดี พวกที่งดเว้น

จากการประพฤติผิดในกามทั้งหลายก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ใน

ชนเหล่านั้น จำพวกที่ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย จักได้รับผลเพราะกรรม

ของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการประพฤติ

ผิดในกามทั้งหลาย เหล่านั้นแล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา

ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๔] ๔. พวกที่กล่าวคำเท็จก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ

ก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่กล่าวคำ

เท็จ จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะ

พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรง

อนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๕] ๕. พวกที่กล่าวคำส่อเสียดก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำ

ส่อเสียดก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่

กล่าวคำส่อเสียด จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์ทรง

ปรารภเฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียดเท่านั้น แล้วทรงบูชา

ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๖] ๖. พวกที่กล่าวคำหยาบก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำ

หยาบคาย ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่

กล่าวคำหยาบจักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภ

เฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค

ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

[๒๑๗] ๗. พวกที่กล่าวคำเพ้อเจ้อก็ดี พวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำ

เพ้อเจ้อก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่

กล่าวคำเพ้อเจ้อ จักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง พระองค์ทรงปรารภ

เฉพาะพวกที่งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริ-

จาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๑๘] ๘. พวกที่โลภอยากได้ของของผู้อื่นก็ดี พวกที่ไม่โลภอยาก

ได้ของของผู้อื่นก็ดี ต่างก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้นจำพวก

ที่โลภอยากได้ของผู้อื่นจักได้รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์

จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่ไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นเท่านั้น แล้วทรง

บูชายัญ ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายใน

เถิด.

[๒๑๙] ๙. พวกที่มีจิตพยาบาทก็ดี พวกที่มีจิตไม่พยาบาทก็ดี ต่าง

ก็จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่มีจิตพยาบาท จัก

ได้รับผลกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่มีจิตไม่

พยาบาทเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระ

ทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๒๐] ๑๐. พวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็ดี พวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็ดี ต่างก็

จักมาสู่ยัญพิธีของพระองค์ ในชนเหล่านั้น จำพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ จักได้

รับผลเพราะกรรมของเขาเอง ขอพระองค์จงทรงปรารภเฉพาะพวกที่เป็น

สัมมาทิฏฐิเท่านั้น แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระ

ทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัด

ความวิปฏิสารของพระเจ้ามหาวิชิตราช เพราะพวกปฏิคาหก โดยอาการ

๑๐ ประการ ดังแสดงมานี้แล ก่อนทรงบูชาทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

[๒๒๑] ดูก่อนพราหมณ์ ลำดับนั้น พราหมณ์ปุโรหิตได้ยังพระทัย

ของพระเจ้ามหาวิชิตราฃ ซึ่งทรงบูชามหายัญอยู่ ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรง

สมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง โดยอาการ ๑๖ ประการ.

๑. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ไม่ได้ทรงชักชวนเหล่า

อนุยนตกษัตริย์ ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญ

เห็นปานนั้น แต่เฉพาะพระองค์. แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่า

กล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ก็ได้ทรงเรียกเหล่าอนุยนต-

กษัตริย์ ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท มาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วย

ประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรง

บริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องในในภายในเถิด.

[๒๒๒] ๒. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึง

กล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงชักชวน

เหล่าอำมาตย์ราชบริพาร ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท พระองค์ทรงบูชา

มหายัญเห็นปานนั้น แต่เฉพาะพระองค์ แม้ด้วยประการเช่นนี้ก็มิได้มีผู้ว่า

กล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ก็ได้ทรงเรียกเหล่าอำมาตย์ราช

บริพารซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบท มาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วยประการ

เช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค

ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

๓. เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์ก็มิได้ชักชวนเหล่า

พราหมณ์มหาศาล ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหา-

ยัญเห็นปานนี้แต่เฉพาะพระองค์ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

พระองค์ได้โดยธรรม เพราะพระองค์ได้ทรงเรียกพราหมณ์มหาศาล ซึ่ง

เป็นชาวนิคม และชาวชนบท มาทรงปรึกษาแล้ว แม้ด้วยประการเช่นนี้

ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุ-

โมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

๔.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงชักชวนเหล่า

คฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคม และชาวชนบท พระองค์ทรงบูชามหายัญ

เห็นปานนั้น เฉพาะพระองค์. แม้ด้วยประการเช่นนี้ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระ

องค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ได้ทรงเรียกเหล่าคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่ง

เป็นชาวนิคม และชาวชนบทมาทรงปรึกษาแล้ว. แม้ด้วยประการเช่นนี้

ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุ-

โมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๒๓] ๕.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึง

กล่าวว่า พระเจ้าวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้เป็นกษัตริย์

อุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดาและพระบิดา มิได้มีพระครรภ์เป็นที่ทรง

ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน เป็นผู้อันใคร ๆ คัดค้านติเตียน

ด้วยการกล่าวอ้างถึงพระชาติได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรง

บูชามหายัญเห็นปานนั้น. แม้ด้วยประการเช่นนี้ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์

ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ทรงเป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายพระมารดา

และพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน

ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงพระชาติได้. แม้ด้วยประการ

เช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค

ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

[๒๒๔] ๖.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึง

กล่าวว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มีพระรูปไม่

งาม ไม่น่าดู ไม่น่าเลื่อมใส ไม่ทรงประกอบด้วยพระฉวีวรรณอันผุดผ่อง

มิได้ทรงมีพระฉวีวรรณคล้ายพรหม มิได้ทรงมีพระรูปคล้ายพรหม ไม่น่าดู

ไม่น่าชมเสียเลย และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปาน

นั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้ โดยธรรม. เพราะ

พระองค์ทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสทรงประกอบด้วยพระฉวีวรรณ

ผุดผ่องยิ่งนักทรงมีพระฉวีวรรณคล้ายพรหม ทรงมีพระรูปคล้ายพรหม น่าดู

น่าชมมิใช่น้อย แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอ

พระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใส

ในภายในเถิด.

๗.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่

มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่อง

ใช้สอยน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก มีท้องพระคลังมาก

ฉางเต็มบริบูรณ์ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็น

ปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม.

เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก มีโภคทรัพย์

มาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้สอยน่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าว

เปลือกมาก มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอ

พระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา

ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

๘.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์มีกำลัง

มิได้ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนามีองค์ ๔ ซึ่งอยู่ในวินัย คอยปฏิบัติตามคำสั่ง

มิได้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะเผาผลาญศัตรูได้ ด้วยพระราชอิสริย-

ยศ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้

ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์

ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีกำลัง ทรงสมบูรณ์ด้วยเสนามีองค์ ๔ ซึ่งอยู่ในวินัย คอย

ปฏิบัติตามคำสั่ง ทรงมีพระบรมเดชานุภาพดังว่าจะเผาผลาญราชศัตรูได้

ด้วยพระราชอิสริยยศ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด

ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้

ผ่องใสในภายในเถิด.

๙.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า พระ

เจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี

ศรัทธา มิได้ทรงเป็นทายก มิได้ทรงเป็นทานบดี มีประตูปิด มิได้

เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณะและพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก

ยาจก มิได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรง

บูชามหายัญ เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์

ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีศรัทธา ทรงเป็นทายก

เป็นทานบดี มิได้ทรงปิดประตู เป็นดุจบ่อที่ลงดื่มของสมณะและ

พราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก ยาจก แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอ

พระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา

ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

๑๐.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรง

ศึกษา ทรงสดับเรื่องนั้น ๆ มาก และเมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์ก็ยังทรงบูชา

มหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้

โดยธรรม. เพราะพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้ทรงศึกษาทรงสดับเรื่องนั้นๆ

มาก แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์ จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์ทรง

บูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

๑๑.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงทราบอรรถแห่ง

ข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้อรรถแห่งภาษิตนี้ นี้อรรถแห่ง

ภาษิตนี้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้

ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์

ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงทราบอรรถแห่งข้อที่ทรงศึกษาและภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้

อรรถแห่งภาษิตนี้ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์ จงทรงทราบเถิด ขอ

พระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่อง

ใสในภายในเถิด.

๑๒.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พระองค์มิได้ทรงเป็นบัณฑิต มิได้

ทรงเฉียบแหลม มิได้ทรงพระปรีชา มิได้สามารถจะทรงดำริถึงอรรถ

อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรง

บูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์

ได้โดยธรรม. เพราะพระองค์ทรงเป็นบัณฑิต ทรงเฉียบแหลม ทรงมีพระ

ปรีชาสามารถที่จะทรงดำริถึงอรรถอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา

ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

[๒๒๕] ๑๓.- เมื่อพระองค์ทรงบูชามหายัญ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้

เป็นอุภโตสุชาต ทั้งฝ่ายมารดา และบิดา มิได้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน เป็นผู้อันใคร ๆ กล่าวคัดค้านติเตียนไม่ได้ด้วย

การกล่าวอ้างถึงชาติ และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญ

เห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม.

เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นอุภโตสุชาต มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิ-

สนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วคน ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยการ

กล่าวอ้างถึงชาติ แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอ

พระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา ทรงทำพระทัยให้ผ่องใส

ในภายในเถิด.

[๒๒๖] ๑๔.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญ ใครๆ จะพึงกล่าว

ว่า พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์

มิได้เป็นผู้คงแก่เรียน มิได้ทรงจำมนต์ มิได้รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์

นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะพร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ มิได้

เป็นผู้เข้าใจตัวบท มิได้เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ มิได้ชำนาญในคัมภีร์

โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ และเมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์ก็ยังทรงบูชา

มหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์ได้

โดยธรรม. เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำ-

มนต์รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประ-

เภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

ไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ แม้ด้วยประ-

การเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรง

บริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

๑๕.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้

เป็นผู้มีศีล มิได้มีศีลยั่งยืน มิได้ประกอบด้วยศีลยั่งยืน และเมื่อเป็นเช่นนี้

พระองค์ก็ยังทรงบูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้

ว่ากล่าวพระองค์ได้โดยธรรม. เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์ เป็นผู้

มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระ-

องค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรง

ทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด.

๑๖.- เมื่อพระองค์กำลังทรงบูชามหายัญอยู่ ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า

พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงบูชามหายัญ แต่พราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์มิได้

เป็นบัณฑิต มิได้เป็นผู้เฉียบแหลม มิได้มีปัญญา มิได้เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒

ในพวกปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ก็ยังทรง

บูชามหายัญเห็นปานนั้น แม้ด้วยประการเช่นนี้ ก็มิได้มีผู้ว่ากล่าวพระองค์

ได้โดยธรรม. เพราะพราหมณ์ปุโรหิตของพระองค์เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบ-

แหลม มีปัญญา เป็นที่ ๑ หรือที่ ๒ ในพวกปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน

แม้ด้วยประการเช่นนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเถิด ขอพระองค์จงทรงบูชา

ทรงบริจาค ทรงบันเทิง ทรงทำพระทัยให้ผ่องใสในภายในเถิด. ดูก่อน

พราหมณ์ พราหมณ์ปุโรหิตได้ยังพระทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราผู้ทรงบูชา

มหายัญอยู่ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง

โดยอาการ ๑๖ ประการ ดังแสดงมานี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

[๒๒๗] ดูก่อนพราหมณ์ในยัญนั้น ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่

สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยว

หญ้าคามาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ๆ แม้ชนเหล่าใดที่เป็นทาส เป็นคนใช้

เป็นกรรมกร ของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น ชนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาญาคุก-

คาม มิได้ถูกภัยคุกคาม มิได้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้กระทำการงาน.

ที่จริงคนที่ปรารถนาจะกระทำจึงกระทำ ไม่ปรารถนา ก็ไม่ต้องกระทำ.

ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็กระทำการงานนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำ

การงานใด ไม่ต้องกระทำการงานนั้น และยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยลำ-

พังเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น.

[๒๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ ลำดับนั้นแล พวกอนุยนตกษัตริย์ซึ่งเป็นชาว

นิคมและชาวชนบท พวกอำมาตย์ราชบริพาร ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาว

ชนบท พวกพราหมณ์มหาศาล ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท พวกคฤห-

บดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ต่างก็พากันนำทรัพย์มากมายมา

เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามหาวิชิตราช กราบทูลว่า ขอเดชะ พวกข้าพระพุทธเจ้า

ได้นำทรัพย์มากมายนี้มาถวายเฉพาะพระองค์ ขอพระองค์จงทรงรับเถิด

พระเจ้ามหาวิชิตราชตรัสว่า อย่าเลยพ่อ แม้ทรัพย์เป็นอันมากนี้ของข้าพ-

เจ้าก็ได้รวบรวมมาแล้วจากภาษีอากรที่เป็นธรรม ทรัพย์ที่ท่านนำมานั้น จง

เป็นของพวกท่านเถิด ก็และท่านจงนำทรัพย์จากที่นี้เพิ่มไปอีก อนุยนต-

กษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้นถูกพระราชาปฏิเสธ ต่างพากันหลีกไป ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า การที่พวกเราจะรับทรัพย์เหล่านี้คืน

ไปบ้านของตน ๆ อีกนั้น ไม่เป็นการสมควรแก่พวกเราเลย พระเจ้า

มหาวิชิตราชกำลังทรงบูชามหายัญอยู่ เอาเถอะ พวกเรามาบูชายัญตามเสด็จ

พระองค์บ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

[๒๒๙] ดูก่อนพราหมณ์ ลำดับนั้นพวกอนุยนตกษัตริย์ซึ่งเป็นชาว

นิคมและชาวชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านบูรพาแห่งหลุมยัญ พวก

อำมาตย์ราชบริพาร ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทาง

ด้านทักษิณแห่งหลุมยัญ. พวกพราหมณ์มหาศาลซึ่งเป็นชาวนิคมและชาว

ชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านปัจฉิมแห่งหลุมยัญ พวกคฤหบดีผู้มั่ง

คั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและชาวชนบท ได้เริ่มบำเพ็ญทานทางด้านอุดรแห่ง

หลุมยัญ. ดูก่อนพราหมณ์ แม้ในยัญของอนุยนตกษัตริย์ เป็นต้นแม้เหล่า

นั้นไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัด

ต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามาเพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น.

คนเหล่าใดที่เป็นทาสเป็นคนใช้ เป็นกรรมกร ของพวกอนุยนตกษัตริย์

เป็นต้นเหล่านั้น แม้คนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคามมิได้ถูกภัยคุกคาม

มิได้มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงาน. ที่จริง คนที่ปรารถนาจะ

กระทำจึงกระทำ ที่ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องกระทำ. ปรารถนาจะกระทำการ

งานใด ก็กระทำการงานนั้น ไม่ปรารถนาจะกระทำการงานใด ก็ไม่ต้อง

กระทำการงานนั้น. ยัญนั้นได้สำเร็จแล้ว ด้วยลำพังเนยใส น้ำมัน เนยข้น

นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนพราหมณ์ สมัยนั้นเรา

ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ผู้อำนวยการบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชนั้น.

นิตยทาน

[๒๓๐] พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็

ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมาก

กว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้มี

อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่ ยัญอย่างอื่น

ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มี

อานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียม

น้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓

ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้เป็นไฉน. ดูก่อนพราหมณ์ นิตยทาน อันเป็น

อนุกูลยัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล ก็

ยัญนี้แล เป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผล

มากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร

๑๖ นี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้

นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนั้นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า

และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมี

บริวาร ๑๖ นี้. ดูก่อน พราหมณ์ พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมรรคก็ดี

ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในยัญนั้นปรากฏว่า

มีการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง จับไสคอกันบ้าง ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี

ท่านที่บรรลุอรหัตมรรคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูก่อนพราหมณ์

ส่วนนิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่บุคคลถวายเจาะจงพวก

บรรพชิตผู้มีศีล พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรทัตมรรคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่

ยัญเช่นนั้นโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะในยัญนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการ

ประหารด้วยท่อนไม้ การจับไสคอกันเลย ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่

บรรลุอรหัตมรรคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนั้น ซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการ

ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ

ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

การสร้างวิหารเพื่อพระสงฆ์ผู้มาแต่ ๔ ทิศ

[๒๓๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า

มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญ

สมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูล

ยัญนี้ ยังมีอยู่หรือ. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่านี้

การตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ

ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้มี

อยู่. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญของ

บุคคลที่สร้างวิหาร อุทิศแก่พระสงฆ์ผู้มาแต่ ๔ ทิศ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้

ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์

มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทาน

อันเป็นอนุกูลยัญนี้.

สรณคมน์

[๒๓๓] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า

มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญ

สมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ

และกว่าวิหารทานนี้ ยังมีอยู่หรือ. มีอยู่ พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ก็ยัญนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญของบุคคลผู้มีจิตเลื่อมใส ถึงพระ-

พุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ดูก่อนพราหมณ์ นี้แหละเป็น

ยัญซึ่งใช่ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมี

อานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่า

นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญและกว่าวิหารทานนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

การสมาทานศีล ๕

[๒๓๔] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า

มีการตระเตรียมน้อยมาก มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญ

สมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ

กว่าวิหารทานและกว่าสรณคมน์เหล่านี้ ยังมีอยู่หรือ. มีอยู่ พราหมณ์.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนพราหมณ์ การที่บุคคลเป็น

ผู้มีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบททั้งหลาย คืองดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ดูก่อนพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อย

กว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่ง

มีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน และกว่า

สรณคมน์นี้.

[๒๓๕] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อย

กว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า

กว่ายัญสมบัติ ๓ ประการ มีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ

กว่าวิการทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้ ยังมีอยู่หรือ. มีอยู่

พราหมณ์. ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มี

ผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมี

บริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์

และกว่าสิกขาบทเหล่านี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า

กว่ายัญสมบัติ ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูล

ยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้เป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯ ล ฯ [พึงดูพิสดารในสามัญญผลสูตร] ฯ ล ฯ ดูก่อน

พราหมณ์ ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการนี้แล. ภิกษุเข้าถึงปฐมฌาน

อยู่. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญนี้แล ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า

มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า ยัญทั้งหลายข้างต้น. ทุติยฌาน.

ตติยฌาน. เธอเข้าถึงจตุตถฌานอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญแม้นี้แล ใช้

ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์

มากกว่า กว่ายัญทั้งหลายข้างต้น. เธอย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อญาณ-

ทัสนะ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ ยัญนี้แล

ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์

มากกว่า ว่ายัญก่อนๆ ดูก่อนพราหมณ์ ยัญสมบัติอื่นที่ดีกว่า หรือประณีต

กว่า กว่ายัญสมบัตินี้ไม่มี.

กูฏทันตพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก

[๒๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว

กูฏทันตพราหมณ์ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็น

รูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรม โดยอเนกปริยาย

ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและ

พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น

อุบาสกผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ได้ปล่อยโคผู้ ๗๐๐ ตัว ลูกโคผู้ ๗๐๐ ตัว

ลูกโคเมีย ๗๐๐ ตัว แพะ ๗๐๐ ตัว แกะ ๗๐๐ ตัว ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์

เหล่านั้น ขอสัตว์เหล่านั้นจงได้กินหญ้าเขียวสด จงได้ดื่มน้ำเย็น ขอลมที่

เย็นจงพัดถูกสัตว์เหล่านั้นเถิด.

กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล

[๒๓๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่

กูฏทันตพราหมณ์ คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของ

กามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์การออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า

กูฏทันตพราหมณ์ มีจิตควร มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตร่า เริง

มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรด

กูฏทันตพราหมณ์ เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากสีดำ ควรรับน้ำ

ย้อมได้เป็นอย่างดี ฉันใด กูฏทันตพราหมณ์ฉันนั้น ได้ดวงตาเห็นธรรม

อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั้นนั่นเอง. ลำดับนั้น กูฏ-

ทันตพราหมณ์เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

ทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้ว-

กล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับพระภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของ

ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.

เมื่อกูฏทันตพราหมณ์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก

จากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไป.

[๒๓๘] ครั้งนั้น พอถึงเวลารุ่งเช้า กูฏทันตพราหมณ์ได้สั่งให้

คนแต่งของเคี้ยวและของฉันอย่างประณีตในสถานที่บูชายัญของตน แล้ว

ให้คนไปกราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ลำดับนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่

สถานที่บูชายัญ ของกูฏทันตพราหมณ์ ครั้นเสด็จไปถึงแล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่เขาปูไว้แล้ว. ลำดับนั้นแลกูฏทันตพราหมณ์ ได้อังคาสพระภิกษุ-

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยของขบเคี้ยวและ

ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตนเอง. เมื่อทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสวยเสร็จแล้ว ทรงลดพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว จึงได้ถือเอาอาสนะที่ต่ำ

แห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังกูฏ-

ทันตพราหมณ์ ผู้นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งนั้นแล ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.

จบกูฏทันตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

อรรถกถากูฏทันตสูตร

กูฏทันตสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ฯ เป ฯ มคเธสูติ กูฏ-

ทนฺตสุตฺต.

ในกูฏทันตสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.

บทว่า ในมคธชนบท ความว่า ราชกุมารทั้งหลาย ผู้มีปกติอยู่ใน

ชนบท มีชื่อว่า มคธะ ชนบทแม้ชนบทเดียวอันเป็นที่อยู่ของราชกุมารเหล่า

นั้น ท่านเรียกว่า มคธา ด้วยศัพท์ที่เพิ่มเข้ามา. ในชนบท ในแคว้น

มคธนั้น. เบื้องหน้าแต่นี้ไป มีนัยดังกล่าวแล้ว ในสูตรทั้งสองเบื้องต้น

นั้นแหละ. สวนอัมพลัฏฐิกา ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.

คำว่า กูฏทันตะ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น.

บทว่า เตรียมการ คือ จัดแจง. บทว่า วจฺฉตรสตานิ คือ ลูกโคผู้หลายร้อย.

แพะตัวเล็ก ๆ ท่านเรียกว่า อุรัพภะ. สัตว์เท่านั้น มีมาในพระบาลีเพียง

แค่นี้เท่านั้น. แต่เนื้อและนกเป็นอันมากอย่างละ ๗๐๐ แม้มิได้มีมา

ในพระบาลี ก็พึงทราบว่า ท่านประมวลเข้ามาด้วยเหมือนกัน. ได้ทราบว่า

กูฏทันตพราหมณ์ นั้นมีประสงค์จะบูชายัญอย่างละ ๗๐๐ ทุกอย่าง. บทว่า

ถูกเขานำไปผูกไว้ที่หลัก คือ ถูกเขานำเข้าไปสู่หลัก กล่าวคือ หลักยัญ

เพื่อต้องการจะผูกวางไว้. บทว่า พักอยู่ คือ พวกพราหมณ์ทั้งหลายพักอยู่

เพื่อต้องการบริโภคของที่เขาให้เป็นทาน. บทว่า สามอย่าง ความว่า การ

ตั้งไว้ คือ การแต่งตั้ง ท่านเรียกว่า วิธ ในคำนี้. บทว่า มีบริขาร ๑๖

คือ มีบริวาร ๑๖

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงบุรพจริตที่ภพปกปิดไว้เหมือน

คนขุดขุมทรัพย์ที่ฝังอยู่ในดิน แล้วกระทำให้เป็นกองไว้ต่อหน้า จึงตรัส

พระดำรัสนี้ว่า เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว ดังนี้. บทว่า มีพระนามว่า มหาวิชิตะ

ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้นทรงชำนะปฐพีมณฑล ซึ่งมีทะเลเป็น

ที่สุด เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงถึงความนับว่า มหาวิชิตราช เพราะ

ปฐพีมณฑล ที่พระองค์ทรงชำนะแล้วใหญ่.

ในบทว่า มั่งคั่ง เป็นต้น ความว่า ใครก็ตาม เป็นคนมั่งคั่งด้วย

ทรัพย์สมบัติอันเป็นของตน. แต่พระเจ้ามหาวิชิตราชนี้ หาเป็นผู้มั่งคั่ง

อย่างเดียวเท่านั้นไม่ พระองค์ยังเป็นผู้ชื่อว่ามีทรัพย์มาก คือ ถึงพร้อมด้วย

ทรัพย์มากมาย คือ นับไม่ถ้วน. ชื่อว่า มีโภคสมบัติมาก เพราะมีโภค

สมบัติมากมาย คือยิ่งใหญ่ด้วยอำนาจแห่งกามคุณห้า. ชื่อว่า มีทองและ

เงินมากมาย เพราะความที่ทองและเงินเป็นแท่ง ๆ และด้วยอำนาจเป็น

มาสกทองคำและมาสกเงินเป็นต้น. อธิบายว่า ถึงพร้อมด้วยทองและเงิน

นับด้วยโกฏิเป็นอันมาก.

บทว่า ความปลื้มใจ คือความยินดี. เครื่องอุปกรณ์แห่งความปลื้มใจ

ชื่อ วิตตูปกรณะ ความว่า เหตุแห่งความยินดี. ผู้ชื่อว่า มีเครื่องอุปกรณ์

แห่งความปลื้มใจมากมาย เพราะเขาเครื่องอุปกรณ์แห่งความปลื้มใจมาก-

มายหลายประเภท เป็นต้นว่า เครื่องประดับนานาชนิดและภาชนะทองเงิน

เป็นต้น. ผู้ชื่อว่า มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เพราะทรัพย์กล่าวคือ

แก้ว ๗ ประการที่ฝังเก็บไว้ และข้าวเปลือกอันรวมตลอดถึงบุพพัณชาติและ

อปรัณชาติทั้งปวงมีมากมาย. อีกนัยหนึ่ง. บทนี้ท่านถล่าวไว้ด้วยอำนาจการ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ให้และการรับทรัพย์สินทุกวัน ของเขา ด้วยอำนาจทรัพย์ และข้าวเปลือกที่

แลกเปลี่ยนกัน.

บทว่า มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์ ความว่า คลังที่

เก็บสิ่งของ ท่านเรียกว่า คลัง อธิบายว่า มีคลังเต็มบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ที่ฝัง

เก็บไว้ มีฉางเต็มบริบูรณ์ด้วยข้าวเปลือก. อีกนัยหนึ่ง. คลังมี ๔ อย่างคือ

ช้าง ม้า รถ ทหารราบ. ฉางมี ๓ อย่างคือ ฉางเก็บทรัพย์ ฉางเก็บ

ข้างเปลือก ฉางเก็บผ้า. ทุกสิ่งทุกอย่างแม้ทั้งหมดนั้น ของเขาบริบูรณ์

เพราะฉะนั้น เขาจึงชื่อว่า มีท้องพระคลังและฉางเต็มบริบูรณ์.

บทว่า ได้เกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแล้ว. ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง พระ

ราชานี้เสด็จออกไปเที่ยวตรวจดูรัตนะ. พระองค์ตรัสถามผู้รักษาคลังเก็บสิ่ง

ของว่า แน่ะพ่อ ทรัพย์มากมายอย่างนี้ ใครเก็บสะสมมา. ภัณฑาคาริก

ทูลว่าพระราชบิดาและพระเจ้าปู่เป็นต้น ของพระองค์สะสมมา ตลอดชั่ว

๗ ตระกูล. พระราชาตรัสถามว่า ก็ชนเหล่านั้นสะสมทรัพย์นี้ไว้แล้ว ไปที่

ไหนกัน. ภัณฑาคาริกทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชนเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว

ไปสู่อำนาจของความตาย. พระราชาตรัสถามว่า พวกเขาไม่ถือเอาทรัพย์ของ

ตนไปด้วยหรือ. ภัณฑาคาริกทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ตรัสอะไร

พวกเขาต้องละทิ้งทรัพย์นั้นไปโดยแท้ ถือเอาไปไม่ได้. ลำดับนั้น พระราชา

เสด็จกลับมาแล้ว ประทับนั่งในห้องอันมีสิริ ทรงดำริว่า เราครอบครองโภค-

สมบัติมากมายดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ได้เกิดปริวิตก

ทางใจอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า ตรัสเรียกพราหมณ์ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียกมา.

ได้ยินว่า พระราชานี้ทรงดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาคนที่จะให้ทาน ได้ปรึกษา

กับบัณฑิตสักคนหนึ่งก่อนแล้วให้ จึงจะควร เพราะกรรมที่มิได้ปรึกษา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

กระทำลงไป ย่อมทำความเดือดร้อนในภายหลัง ดังนี้ เพราะเหตุนั้น

พระองค์จึงตรัสเรียกมา.

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า พระราชานี้มีพระราชประสงค์จะถวาย

มหาทาน และในชนบทของพระองค์ยังมีโจรมากมาย โจรเหล่านั้นก็ยังไม่

สงบ เมื่อพระองค์ถวายทานอยู่ บ้านเรือนของเหล่าชนผู้นำเครื่องสัมภาระ

แห่งทานมี นมสด นมส้ม และ ข้าวสาร เป็นต้นมา ย่อมไม่มีคนเฝ้า

โจรเหล่านั้นก็จักปล้น ชนบทก็จะเกลื่อนกล่นไปด้วยโจรภัย ที่นั้น ทานของ

พระราชาก็จักไม่ดำเนินไปได้นาน แม้พระทัยของพระองค์ก็จักไม่แน่วแน่

เอาเถอะ เราจะให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยเนื้อความนี้ ดังนี้. ลำดับนั้น

เขาเมื่อจะยังพระองค์ให้ทรงเข้าพระทัยเนื้อความนั้น จึงกล่าวคำว่า ชนบท

ของพระราชาผู้เจริญ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า มีเสี้ยนหนาม

คือ ยังมีเสี้ยนหนามด้วยเสี้ยนหนามคือ. โจร. บทว่า ปณฺทุหนา แปลว่า

การปล้นในทางเปลี่ยว ความว่า การฆ่ากันในทางเปลี่ยว. บทว่า พึงเป็นผู้

กระทำกิจที่ไม่ควรทำ ความว่า พึงเป็นผู้กระทำกิจที่ไม่พึงกระทำ คือ พึง

เป็นผู้ประพฤติไม่เป็นธรรม. บทว่า ทุสฺสุขีล แปลว่า เสี้ยนหนามคือโจร.

บทว่า ด้วยการฆ่า คือ ด้วยการให้ตาย หรือ ด้วยการทุบ. บทว่า ด้วยการ

จองจำ คือ ด้วยการจองจำมีการจองจำด้วยขื่อเป็นต้น. บทว่า ด้วยการปรับ-

ไหม คือ ด้วยการเสียทรัพย์. อธิบายว่า ด้วยอาชญาเป็นไปอย่างนี้ว่า

พวกท่านจงเรียกเอา ๑๐๐ จงเรียกเอา ๑,๐๐๐. บทว่า ด้วยการตำหนิโทษ คือ

ด้วยให้ได้รับการตำหนิโทษ กระทำโทษ เป็นต้นอย่างนี้ คือ ทำให้มี ๕

แกละ โกนหัวให้โล้น เอามูลโครดและจองจำด้วยคาที่คอ. บทว่า ด้วยการ

เนรเทศ คือ ด้วยการขับออกจากแว่นแคว้น. บทว่า จักปราบปราม คือ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

เราจักกำจัดให้หมดไปโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย โดยการณ์อันควร.

บทว่า ที่เหลือจากกำจัดแล้ว คือ ที่เหลือจากตายแล้ว.

บทว่า ขยันขันแข็ง คือ กระทำความอุตสาหะ. บทว่า จงเพิ่มให้

ความว่า เมื่อสิ่งที่พระราชทานแล้วไม่เพียงพอ โปรดพระราชทานพืชภัตร

และสิ่งของที่เป็นเครื่องมือในการกสิกรรม แม้อย่างอื่นทุกอย่างอีก. บทว่า

จงเพิ่มให้ซึ่งต้นทุน ความว่า ขอพระองค์จงพระราชทานสิ่งของต้นทุน

ด้วยอำนาจตัดขาดเงินต้นไปเลย ไม่ต้องทำพยานหลักฐาน ไม่ต้องลงบัญชี.

คำว่า ต้นทุน นี้ เป็นชื่อของสิ่งของอันเป็นทุนเดิม. เหมือนดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

คนมีปัญญา มีวิจารณญาณ ย่อมตั้งตัวไว้ด้วยทรัพย์ อันเป็นต้นทุน

แม้เพียงเล็กน้อย เหมือนคนเริ่มก่อไฟกองน้อยก่อน ฉะนั้น ดังนี้.

บทว่า เบี้ยเลี้ยงรายวันและค่าจ้าง คือ ค่าอาหารประจำวัน และ

ทรัพย์สินมีเงินมาก เป็นต้น. ความว่า จงพระราชทานพร้อมกับพระ-

ราชทาน ฐานันดร บ้านและนิคม เป็นต้น โดยสมควรแก่ตระกูล การงาน

และความกล้าหาญของเขา ๆ. บทว่า ผู้ขวนขวายในการงานของตน คือ

เป็นผู้เพียรกระทำ ได้แก่ ไฝ่ใจกระทำ ในการงานของตน มีกสิกรรมและ

พาณิชยกรรม เป็นต้น. บทว่า กอง คือ กองแห่งทรัพย์และข้าวเปลือก.

บทว่า ตั้งอยู่ในความเกษม คือดำรงอยู่ด้วยความปลอดโปร่ง คือ ไม่มีภัย.

บทว่า ไม่มีเสี้ยนหนาม คือ เว้นจากเสี้ยนหนามคือโจร. บทว่า โมทา

โมทมานา แปลว่า ต่างชื่นชมยินดีต่อกัน. อีกประการหนึ่ง คำนี้นี่แหละ

เป็นพระบาลี. อธิบายว่า ต่างมีจิตพลอยยินดีซึ่งกันและกัน. บทว่า ไม่ต้อง

ปิดประตูเรือน ความว่า เพราะไม่มีพวกโจร จึงไม่ต้องปิดประตูเรือน

เปิดประตูเรือนไว้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

บทว่า ได้ตรัสพระดำรัสนี้ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงทราบความ

ที่บ้านเมืองมั่งคั่ง และเจริญโดยอาการทั้งปวงแล้ว จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้.

บทว่า เตนหิ ภว ราชา ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์คิดว่า พระราชานี้

เกิดพระอุตสาหะยิ่งนัก ที่จะถวายมหาทาน แต่ถ้า พระองค์ไม่ทรงปรึกษา

เหล่ากษัตริย์ประเทศราชเป็นต้นแล้วถวาย กษัตริย์ประเทศราชเป็นต้นเหล่า-

นั้นของพระองค์ จักน้อยพระทัย เราจักกระทำโดยประการที่จะมิให้กษัตริย์

เหล่านั้นน้อยพระทัยได้ ณ บัดนี้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เขาจึงกราบทูลว่า

ถ้ากระนั้น พระราชา ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาวนิคม คือผู้ที่อาศัยอยู่ในนิคม. บทว่า

ชาวชนบท คือ ผู้อาศัยอยู่ในชนบท. บทว่า จงทรงปรึกษา คือ จงทรง

หารือ ได้แก่ จงทรงบอกกล่าวให้ทราบ. บทว่า ย มม อสฺส คือ การ

ร่วมมือของพวกท่าน พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เรา. บทว่า

อมจฺจา แปลว่า สหายผู้สนิท. บทว่า ปาริสชฺชา คือ ผู้ที่เป็นลูกน้อยที่เหลือ.

บทว่า ยชต ภว ราชา แปลว่า ขอเดชะ ขอพระราชาจงทรงบูชายัญเถิด.

ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นยินดีว่า พระราชานี้ไม่ทรงข่มขืนถวายทาน ด้วยคิดว่า

เราเป็นใหญ่ ยังทรงเรียกพวกเรามาปรึกษา น่าอัศจรรย์จริง พระองค์ทรง

กระทำดีแล้ว ดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น. แต่เมื่อพวกเขามิได้รับเชิญมา พวก

เขาก็ไม่พึงมาแม้เพื่อจะดูที่บูชายัญ ของพระราชานั้น. บทว่า ข้าแต่มหาราช

เป็นกาลควรแล้วที่จะบูชายัญ ความว่า พวกเขาเมื่อจะแสดงว่า ก็เมื่อไทย-

ธรรมไม่มี ถึงในเวลาแก่แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะให้ทานเห็นปานนี้ได้ แต่

ท่านรุ่มรวย และยังหนุ่มแน่น เพราะเหตุนั้น จึงเป็นกาลสมควรที่จะบูชา

ยัญของท่านแล้ว ดังนี้ จึงได้กล่าวขึ้น. บทว่า ชนผู้ที่เห็นชอบ คือ ฝ่ายที่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

เห็นด้วย อธิบายว่า ผู้ให้ความยินยอม. บทว่า เป็นบริขาร คือ เป็นบริวาร.

แต่ในคำนี้ว่า รถมีศีลและเครื่องประดับ มีฌานเป็นเพลา มีความเพียร

เป็นล้อ ดังนี้ เครื่องประดับท่าน เรียกว่า บริขาร.

บทว่า ด้วยองค์ ๘ คือ ด้วยองค์ ๘ มี อุภโตสุชาต เป็นต้น.

บทว่า ด้วยพระยศ คือ ด้วยความเป็นผู้สามารถที่จะลงอาญาได้. บทว่า

มีศรัทธา คือ เชื่อว่า ผลของทานมีอยู่. บทว่า เป็นผู้ให้ คือเป็นผู้กล้าหาญ

ในการให้. อธิบายว่า มิใช่ดำรงอยู่แต่เพียงมีศรัทธาเท่านั้น แต่สามารถ

ที่จะสละด้วย. บทว่า เป็นนายของทาน คือ เป็นนายของทานที่ตนให้

ไม่เป็นทาส ไม่เป็นสหาย. อธิบายว่า

ก็ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง ให้ของไม่อร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้น

จัดว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรมกล่าวคือทานให้ ผู้ใดบริโภคสิ่งใด

ด้วยตนเองก็ให้สิ่งนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นจัดเป็นสหายให้ ส่วนผู้

ใดตนเองก็ยังชีพด้วยอาหารตามมีตามเกิด แต่ให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น

ผู้นั้นจัดว่าเป็นนาย คือ เป็นเจ้าของผู้ยิ่งใหญ่ให้ พระเจ้ามหา-

วิชิตราชนี้ ทรงเป็นเช่นนั้น ดังนี้.

ในบทนี้ว่า แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก

และยาจก ความว่า ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ชื่อว่า สมณะ. ผู้มีบาปอันลอย

แล้ว ชื่อว่า พราหมณ์. ผู้เข็ญใจ คือคนที่ยากจน ชื่อว่า คนกำพร้า. บทว่า

อทฺธิกา แปลว่า ผู้เดินทางไกล. ชนเหล่าใด เที่ยวสรรเสริญคุณแห่งทาน

โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ผู้ให้ทานน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

ไม่มีโทษ ตามกาลอันควร ทำจิตให้เลื่อมใสแล้ว จงไปสู่พรหมโลก ดังนี้

ชนเหล่านั้น ชื่อว่า วณิพก. ชนเหล่าใดกล่าวคำเป็นต้นว่า ขอท่านจงให้สัก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

ฟายมือหนึ่งเถิด ขอท่านจงให้สักขันหนึ่งเถิด เที่ยวขอเขาไป ชนเหล่านั้น

ชื่อว่า ยาจก. บทว่า เป็นดุจบ่อที่ลงดื่ม คือ ดุจบ่อน้ำ. อธิบายว่า เป็นดุจ

สระโบกขรณี ที่เขาขุดไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง เป็นที่บริโภคทั่วไปของคน

ทั้งปวง. ในบทว่า แห่ง ข้อที่ทรงศึกษาแล้ว นี้คือ ข้อที่ทรงศึกษาแล้ว

นั่นแหละชื่อว่า ทรงศึกษาแล้ว.

ในบทว่า สามารถที่จะทรงคิดอรรถอันเป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบันได้ พึงทราบใจความว่า พระองค์เมื่อทรงคิดได้อย่างนี้ว่า เพราะ

เหตุที่เราได้ทำบุญไว้ในอดีตนั่นเอง เราจึงมีสมบัติดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ทรง

สามารถคิดอรรถอันเป็นอดีต. เมื่อทรงคิดได้ว่า เราทำบุญในบัดนี้ นี่แหละ

สามารถที่จะได้รับสมบัติในอนาคต ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงสามารถคิดอรรถ

อันเป็นอนาคต. เมื่อทรงคิดได้ว่า ชื่อว่า กรรมอันเป็นบุญนี้เป็นอาจิณกรรม

ของสัตบุรุษ แม้โภคทรัพย์ของเราก็มีอยู่ ทั้งจิตคิดจะให้ก็มีอยู่ เอาเถอะ

เราจะทำบุญ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ทรงสามารถคิดอรรถอันเป็นปัจจุบัน ดังนี้.

บทว่า องค์เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ คือ องค์เหล่านี้ตามที่กล่าว

มาแล้ว ด้วยประการฉะนี้. ได้ยินว่า มหาชนจากทิศทั้งปวงย่อมเข้าไปหา

ทานของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยองค์ทั้ง ๘ เหล่านี้. บางคนคิดเห็นเหตุเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ผู้นี้เกิดไม่ดีแล้ว จักให้ทานไปนานสักเท่าไร บัดนี้เอง เขาก็

เดือดร้อนแล้ว จักตัดขาดเสีย ดังนี้แล้ว ย่อมไม่สำคัญถึงทานว่าควรจะ

เข้าไปหา เพราะฉะนั้น องค์ทั้ง ๘ เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นบริขาร.

บทว่า ผู้รับการบูชา คือ ผู้ถือทัพพีให้ทานในที่ที่รับการให้ทาน

อย่างใหญ่. บทว่า ด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ คือ ด้วยองค์มีเกิดดีแล้ว เป็นต้น

เหล่านี้. เหล่าชนผู้ที่กล่าวคำเป็นต้นว่า เมื่อองค์มีการเกิดดีแล้วเป็นต้นมีอยู่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ทานที่เป็นไปด้วยการจัดแจงของผู้ที่เกิดไม่ดีแล้ว อย่างนี้ จักเป็นไปนาน

สักเท่าไร ดังนี้ จะไม่เข้าไปหาเลย แต่จะเข้าไปหาเพราะไม่มีสิ่งที่จะพึง

ติเตียนเท่านั้น เพราะเหตุนั้น องค์แม้เหล่านี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นบริขาร.

บทว่า แสดงยัญวิธี ๓ ประการ คือ แสดงการตั้งมั่น ๓ อย่าง.

ได้ยินว่า เขาคิดว่า ธรรมดาผู้ให้ทานอยู่ย่อมหวั่นไหวในฐานะใดฐานะหนึ่ง

บรรดาฐานะทั้ง ๓ นั้น เอาเถอะ เราจะกระทำพระราชานี้มิให้ทรงหวั่นไหว

ในฐานะเหล่านี้ ก่อนอื่นใดทีเดียว ดังนี้แล้ว จึงแสดงยัญวิธี ๓ อย่างแก่

พระราชานั้น. คำนี้ว่า โส โภโต รญฺโ เป็นฉัฏฐีวิภัติลงในอรรถตติยา-

วิภัติ.อีกนัยหนึ่ง บาลีว่า โภตา รญฺา ดังนี้ ก็มี. บทว่า ไม่ควรทำความ

วิปฏิสาร ท่านแสดงว่า ไม่ควรทำความเดือดร้อนในภายหลังอันมีความสิ้น

เปลืองไปแห่งโภคสมบัติเป็นเหตุ แต่บุรพเจตนาควรให้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

เพราะทานนั้นย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้. ในฐานะ ๒ อย่างแม้นอกนี้

ก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน. ก็เจตนาที่กำลังบริจาคก็ดี เจตนาที่ตามระลึกถึงใน

ภายหลังก็ดี ควรกระทำมิให้หวั่นไหว เมื่อไม่กระทำเช่นนั้น ทานย่อมไม่

มีผลมาก ทั้งจิตก็จะไม่น้อมไปในโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ เหมือนทานของ

เศรษฐีคฤหบดี ผู้ไปเกิดในมหาโรรุวนรก ฉะนั้น.

บทว่า ด้วยอาการ ๑๐ คือ ด้วยเหตุ ๑๐. ได้ยินว่า พราหมณ์ปุโรหิต

นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพระราชานี้ทรงเห็นผู้ทุศีลแล้วคิดว่า ทาน

ของเราจักฉิบหายแน่ คนทุศีลเห็นปานนี้ บริโภคทานของเรา ดังนี้ แม้

ในคนผู้มีศีล ก็จักให้เกิดความวิปฏิสารได้ ทานก็จักไม่มีผลมาก ก็ธรรมดา

ความวิปฏิสาร ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกทายก เพราะปฏิคาหกโดยแท้ เอาเถอะ

เราจะบรรเทาความวิปฏิสารนั้นของพระองค์ เป็นอันดับแรกทีเดียว ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

เพราะฉะนั้นเขาจึงบรรเทาความวิปฏิสาร แม้ในตัวปฏิคาหก ที่ควรจะตัด

ให้ขาดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง. บทว่า เตสเยว เตน ท่านแสดงว่า ผลอัน

ไม่พึงปรารถนา เพราะบาปนั้นจักมีแก่เขาเหล่านั้นเท่านั้น จักไม่มีแก่คนอื่น.

บทว่า ยชต ภว แปลว่า ขอพระองค์จงพระราชทานเถิด. บทว่า สชฺชต

แปลว่า ขอจงทรงเสียสละเถิด. บทว่า อนฺตร แปลว่า ในภายใน.

ในบทนี้ว่า แสดงให้จิตเห็นจริงด้วยอาการ ๑๖ พราหมณ์ปรารภ

การอนุโมทนามหาทานของพระราชา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แสดง

ให้เห็นจริง คือ กล่าวแสดงแล้วแสดงอีกว่า ผู้ให้ทานนี้ จักได้สมบัติเห็น

ปานฉะนี้ ดังนี้. บทว่า ให้ยึดถือมั่น คือ กล่าวให้ยึดถือใจความนั้นโดย

ชอบ. บทว่า ให้อาจหาญ ทำให้จิตใจของพระราชานั้นผ่องใส ด้วย

การบรรเทาความวิปฏิสาร. บทว่า ให้ร่าเริง คือกล่าวสรรเสริญว่า ข้าแต่

มหาราช พระองค์เมื่อถวายทานอยู่ทรงกระทำดีแล้ว ดังนี้. บทว่า ผู้กล่าว

โดยธรรมไม่มี คือ ผู้กล่าวโดยธรรม คือโดยชอบ ได้แก่โดยเหตุไม่มี.

บทว่า ไม่ตัดต้นไม้เพื่อต้องการทำหลักยัญ ไม่ตัดหญ้าแพรกเพื่อ

ต้องการเบียดเบียนผู้อื่น พราหมณ์แสดงว่า ชนเหล่าใดให้ตั้งเสาใหญ่ที่มี

ชื่อว่า เสายัญ แล้วเขียนชื่อว่า พระราชาโน้น อำมาตย์โน้น พราหมณ์

โน้น ย่อมบูชามหายัญเห็นปานนี้ ดังนี้แล้ว ตั้งไว้ และเกี่ยวหญ้าแพรก

แวดวงศาลายัญโดยสังเขปว่า เป็นละเมาะป่าหรือลาดบนพื้นดิน ชนแม้

เหล่านั้นมิได้ตัดต้นไม้ มิได้เกี่ยวหญ้าแพรก ก็พวกเขาจักฆ่าวัวหรือสัตว์มี

แพะเป็นต้น ทำไมกัน ดังนี้.

บทว่า ทาส คือ ทาสมีทาสที่เกิดภายในเรือนเป็นต้น. ชนเหล่า

ใด ถือเอาทรัพย์ก่อนแล้วจึงทำการงานให้ ชนเท่านั้นชื่อว่า คนรับใช้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

ชนเหล่าใดรับเบี้ยเลี้ยงรายวันและค่าจ้างทำการงานให้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า

กรรมกร. ชนผู้ที่เขาถือท่อนไม้และไม้ค้อนเป็นต้น คุกคามอย่างนี้ว่า

จงทำงาน จงทำงาน ชื่อว่า ผู้ถูกอาญาคุกคาม. ชนผู้ที่เขาคุกคามด้วยกัน

อย่างนี้ว่า ถ้าเจ้าทำงาน ข้อนั้นก็ดีไป หากไม่ทำ เราจักตัดหรือจักจำจองหรือ

จักฆ่าเสีย ดังนี้ ชื่อว่า ผู้ถูกภัยคุมคาม. แต่ชนเหล่านั้นมิได้ถูกอาญาคุกคาม

มิได้ถูกภัยคุกคาม มิได้มีน้ำตานองหน้าร้องไห้รำพันอยู่. โดยที่แท้พวกเขา

ต่างทำงาน ทักทายปราศัยกันด้วยคำทักทายที่น่ารักทีเดียว เพราะในชน

เหล่านั้น พวกเขาไม่เรียกทาสว่าเป็นทาส คนรับใช้ว่าเป็นคนรับใช้ คน

งานว่าเป็นกรรมกร แต่กลับเรียกกันด้วยคำทักทายที่น่ารัก ตามความ

ชอบใจ ต่างแสดงการงานตามสมควรที่เป็นหญิง เป็นชาย มีกำลังและ

ทุพลภาพ ต่างพูดกันว่า พวกท่านจงทำงานนี้ ๆ แม้เขาเหล่านั้นก็กระทำ

ด้วยอำนาจความชอบใจของตน. เพราะเหตุ นั้นท่านจึงกล่าวว่า

ชนเหล่าใดชอบใจ ชนเหล่านั้นก็กระทำ ชนเหล่าใดไม่ชอบใจ

ชนเหล่านั้นก็ไม่กระทำ ชอบใจสิ่งใด ก็กระทำสิ่งนั้น ไม่ชอบใจสิ่งใด

ก็ไม่กระทำสิ่งนั้น ดังนี้.

บทว่า ยัญนั้นได้ถึงความสำเร็จได้ด้วยเนยใส น้ำมัน เนยข้น นม

ส้ม น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ความว่า ได้ยินว่า พระราชา รับสั่งให้สร้างโรงทาน

ใหญ่ขึ้นในที่ ๕ แห่ง คือที่ประตูนอกนคร ๔ แห่ง และตรงกลางภายใน

นคร ๑ แห่ง ที่โรงทานแต่ละแห่ง ทรงตั้งงบประมาณไว้แห่งละแสน ๆ

ทรงสละทรัพย์วันละห้าแสน ๆ จำเดิมแต่พระอาทิตย์ขึ้น ทรงถือทัพพีทอง

ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ให้มหาชนอิ่มหนำด้วยข้าวต้ม ของขบเคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ข้าวสวย กับข้าวและแกง เป็นต้น รวมด้วยเนยใส และน้ำมันเป็นต้น

อันประณีตตามควรแก่เวลานั้น ๆ สำหรับผู้ที่มีประสงค์จะถือเอาไป ก็ทรง

ให้โดยทำนองนั้นนั่นแหละ จนเต็มภาชนะ. แต่ในเวลาเย็นทรงบูชาด้วยผ้า

ของหอม และดอกไม้เป็นต้น ส่วนตุ่มใหญ่สำหรับใส่เนยเป็นต้น ก็ให้ใส่

ให้เต็มแล้วตั้งไว้ในที่หลายร้อยแห่ง ด้วยตั้งพระทัยว่าผู้ใดมีประสงค์จะ

บริโภคสิ่งใด ผู้นั้นจงบริโภคสิ่งนั้นเถิด ดังนี้. ท่านหมายเอาเหตุนั้น

จึงกล่าวว่า ยัญนั้นได้ถึงความสำเร็จได้ด้วยเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมส้ม

น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย ดังนี้.

บทว่า นำเอาทรัพย์มามากมาย คือ ถือเอาทรัพย์มากล้น. ได้ยิน

ว่า ชนเหล่านั้นคิดว่า พระราชานี้มิได้ทรงให้นำเนยใสและน้ำมันเป็นต้น

มาจากชนบท ทรงนำสิ่งของอันเป็นส่วนของพระองค์เท่านั้น ออกมาให้

เป็นมหาทาน การที่พวกเราจะนิ่งเสียด้วยคิดว่า ก็พระราชาไม่ทรงให้พวก

เรานำสิ่งใดมา ดังนี้ หาควรไม่ ดังนี้ เพราะว่าทรัพย์ในเรือนของพระราชา

จะไม่หมดไม่สิ้นไปเป็นธรรมดา ก็หาไม่ ก็เมื่อพวกเราไม่ให้อยู่ ใครอื่น

จักถวายแด่พระราชา เอาเถอะ เราจะรวบรวมทรัพย์มาถวายแด่พระองค์.

พวกเขาจึงรวบรวมทรัพย์ตามส่วนของบ้าน ตามส่วนของนิคม และตาม

ส่วนของนคร บันทุกจนเต็มเกวียนแล้ว นำไปถวายแด่พระราชา. ท่าน

หมายเอาทรัพย์นั้น จึงกล่าวคำว่า "ทรัพย์มากมาย" เป็นต้น.

บทว่า ทางด้านทิศบูรพาแห่งหลุมยัญ คือ ในส่วนแห่งทิศบูรพา

ของโรงทานที่ประตูนครทางทิศบูรพา ชนทั้งหลายตั้งทานไว้ ในที่ที่

เหมาะเจาะ โดยประการที่พวกชนผู้มาจากทิศบูรพา ดื่มข้าวยาคูในโรงทาน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

ของกษัตริย์แล้ว บริโภคในโรงทานของพระราชา ก็เข้าไปสู่ตัวเมืองได้.

บทว่า ทางด้านทิศใต้แห่งหลุมยัญ ความว่า ชนทั้งหลายตั้งทานไว้ใน

ส่วนทิศใต้ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ของโรงทานที่ประตูนคร ทาง

ทิศใต้ แม้ในทิศตะวันตกและทิศเหนือ ก็มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

บทว่า ยัญ โอ ยัญสมบัติ ความว่า พวกพราหมณ์ได้ฟังการถึง

ความสำเร็จของยัญด้วยเนยใส เป็นต้น ต่างมีจิตยินดีว่า สิ่งใดมีรสอร่อย

ในโลก พระสมณโคดมตรัสถึงสิ่งนั้น เอาเถอะ พวกเราจะสรรเสริญยัญ

ของพระองค์ ดังนี้ เมื่อจะสรรเสริญจึงได้กราบทูลดังนั้น. บทว่า กูฏ-

ทันตพราหมณ์ นั่งนิ่งเฉยอยู่ คือ เขากำลังคิดเนื้อความ ที่จะพึงกล่าวต่อไป

จงนั่งนิ่งเงียบเสียงเสีย. พราหมณ์เมื่อจะทูลถาม โดยเลี่ยงถาม จึง

กราบทูลคำนี้ว่า ก็พระโคดมผู้เจริญ ย่อมทรงทราบชัดหรือ ดังนี้. เพราะ

เขาเมื่อจะถามโดยประการอื่นตรง ๆ อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ใน

กาลนั้น พระองค์ได้เป็นพระราชา หรือว่าพราหมณ์ปุโรหิต ดังนี้ ก็จะ

เป็นเหมือนว่า ไม่เคารพ.

พราหมณ์เมื่อจะทูลถามเนื้อความนี้ว่า การที่จะลุกขึ้นแล้วลุกขึ้นเล่า

ให้ทาน เป็นของหนักของชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น และชาวชนบททั้งสิ้น เมื่อ

ไม่ทำการงานของตน ก็จักพินาศ ยัญอย่างอื่นจากยัญนี้ที่มีการตระเตรียม

น้อยกว่า และมีผลมากกว่าของพวกข้าพระองค์ มีอยู่หรือไม่หนอแล ดังนี้

จึงกราบทูลคำนี้ว่า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็มีอยู่หรือ ดังนี้.

บทว่า นิจทาน คือ ทานประจำ ได้แก่ นิตยภัตร. บทว่า อนุกูล-

ยัญ คือ ทานอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขากระทำด้วยคิดว่า พ่อและปู่เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

ของพวกเราเคยทำมาแล้ว ดังนี้ แม้เขาจะเป็นคนเข็ญใจในภายหลังก็ควร

ให้ทำต่อไป ตามที่สืบต่อกันมาของตระกูล. ได้ยินว่า ทานที่ถวายเจาะจง

ท่านผู้มีศีลเป็นประจำ เห็นปานนี้ แม้พวกยากจนในตระกูล ย่อมไม่ตัด

เสีย. ในข้อนี้มี เรื่องดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในเรือนของอนาถปิณฑิกะ ชนทั้งหลายถวายนิตยภัตร

๕๐๐ ที่ ได้มีสลากทำด้วยงา ๕๐๐ อัน. ต่อมาตระกูลนั้นถูกความยากจน

ครอบงำโดยลำดับ. เด็กหญิงคนหนึ่งในตระกูลนั้นไม่สามารถถวายยิ่งไป

กว่าสลากอันหนึ่งได้. แม้เด็กหญิงนั้นภายหลังถึงรัชสมัยของ พระเจ้า

เสตวาหนะ ก็ได้ถวายสลากนั้นด้วยข้าวเปลือกที่ล้างลานได้มา. พระเถระ-

รูปหนึ่งได้ถวายพระพรแด่พระราชา. พระราชาทรงพานางมาแล้วตั้งไว้ใน

ตำแหน่งอัครมเหสี. จำเดิมแต่กาลนั้น นางก็ได้ถวายสลากภัตร ๕๐๐ ที่อีก.

บทว่า การประการด้วยท่อนไม้ ความว่า การประหารด้วยท่อนไม้

บ้าง การจับที่คอบ้าง ที่เขากล่าวคำเป็นต้นว่า พวกเจ้าจงยืน พวกเจ้าจง

ยืนตามลำดับ ดังนี้. และว่า พวกเจ้าจงจับ พวกเจ้าจงจับ ทำให้ตรง

ดังนี้ ให้อยู่ ยังปรากฏอยู่. ในบทนี้ว่า พราหมณ์นี้แล เป็นเหตุ ฯลฯ

มีอานิสงส์มากกว่า ความว่า ความต้องการด้วยคนที่จะทำการช่วยเหลือ

หรือด้วยเครื่องอุปกรณ์เป็นอันมากมิได้มีในสลากภัตรนี้ เหมือนในมหายัญ

เพราะฉะนั้น ทานนั้นจึงชื่อว่า ใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า. การเตรียมการ กล่าว

คือ การเบียดเบียน ด้วยอำนาจการตัดรอนแห่งกรรมของชนหมู่มากในทานนี้

ไม่มี เพราะเหตุนั้น ทานนี้จึงชื่อว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า. อนึ่ง ทานนี้

เขาถวายคือบริจาคแก่สงฆ์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ยัญ. ก็ทานนี้มิใช่

เป็นของที่จะทำได้ง่ายนัก เพื่อกระทำการกะกำหนดอันหลั่งไหลมาของ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

บุญแห่งทักษิณา อันประกอบพร้อมด้วยองค์ ๖ เหมือนน้ำในมหาสมุทร

ใครจะกะประมาณมิได้ ฉะนั้น ทานนี้ก็เป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้น ทานนั้น

พึงทราบว่า มีผลมากกว่า และมีอานิสงส์มากกว่า.

พราหมณ์ได้ฟังคำนี้แล้วคิดว่า เมื่อบุคคลลุกขึ้นแล้วลุกขึ้นเล่า

ถวายนิจยภัตรแม้นี้ทุกวัน ๆ การงานของบางคนก็จะเสีย จะต้องปลูกฝัง

ความอุตสาหะใหม่ ๆ ขึ้นเรื่อย ยัญอย่างอื่นแม้จากนี้ ที่มีการใช้ทรัพย์สิน

น้อยกว่าและมีการตระเตรียมน้อยกว่า มีอยู่หรือไม่หนอ เพราะฉะนั้น

เขาจึงกราบทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็....มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้.

ในทานเหล่านั้น ในสลากภัตรไม่มีที่สิ้นสุดแห่งกิจที่จะพึงทำ บางคนจะต้อง

ลุกขึ้นแล้วลุกขึ้นเล่าไม่ต้องทำงานอย่างอื่น จัดแจงแต่สลากภัตรเท่านั้น.

ส่วนในวิหารทาน มีที่สิ้นสุดแห่งกิจที่จะพึงทำ จริงอยู่ การสร้างบรรณ-

ศาลาหรือการสละทรัพย์สักโกฏิหนึ่งสร้างมหาวิหาร เขาทำการบริจาคทรัพย์

ครั้งเดียวสร้างขึ้นไว้ ก็จะคงยืนไปได้ ๗-๘ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง ๑,๐๐๐ ปีบ้าง

ทีเดียว จะต้องกระทำบ้างก็เพียงปฏิสังขรณ์ในที่ที่ทรุดโทรม และชำรุด

อย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น วิหารทานนี้จึงใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า มีการ

ตระเตรียมน้อยกว่าสลากภัตรทาน. ก็ในวิหารทานนี้ ท่านกล่าวอานิสงส์

ไว้ ๙ ประการมีว่า เพียงเพื่อกำจัดความหนาว เป็นต้น โดยปริยายแห่งพระ-

สูตร แต่โดยปริยายแห่งขันธกะ ท่านกล่าวอานิสงส์ไว้ถึง ๑๗ ประการ

ว่า

การถวายวิหารแก่พระสงฆ์ ย่อมกำจัดเสียได้ซึ่ง

ความหนาวความร้อน ต่อนั้นก็สัตว์ร้าย งู ยุง ทั้งน้ำค้าง

ฝน ต่อนั้นก็ กำจัดเสียได้ซึ่ง ลม และแดด อันกล้า ซึ่งเกิด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ขึ้น ทั้งเป็นไปเพื่อเป็นที่หลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อบำเพ็ญฌาน

และเพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญ

ว่าเป็นยอดทาน เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาดเมื่อเล็งเห็น

ประโยชน์ของตนพึงให้สร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ถวายให้ภิกษุ

พหูสูตอาศัยอยู่ในวิหารนั้น และพึงถวายข้าวน้ำ ผ้า และ

เสนาสนะแก่ภิกษุเหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้ตรงด้วยน้ำใจที่เลื่อมใส

ภิกษุเหล่านั้นจะแสดงธรรม เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ ทั้งปวง

แก่เขา ซึ่งเขารู้แจ้งแล้ว จะเป็นผู้หมดอาสวะ ปรินิพพาน

ดังนี้

เพราะฉะนั้น วิหารทานนี้ พึงทราบว่า มีผลมากกว่า และมีอานิ-

สงส์มากกว่าสลากภัตรทาน. แต่ท่านเรียกว่ายัญ เพราะเป็นทานที่เขาบริจาค

แก่สงฆ์.

พราหมณ์ฟังแม้ข้อนี้แล้ว คิดว่า ขึ้นชื่อว่า การทำการบริจาค

ทรัพย์แล้วสร้างวิหารถวายกระทำได้ด้วยยาก เพราะเงินเพียงกากณึกหนึ่ง

ที่เป็นของตน ยากที่จะบริจาคให้ผู้อื่น เอาเถอะ เราจะทูลถามยัญที่ใช้

ทรัพย์สินน้อยกว่าและที่มีการตระเตรียมน้อยกว่าแม้วิหารทานนี้ ดังนี้.

ลำดับนั้นเขาเมื่อจะทูลถามยัญนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็........ มีอยู่หรือ ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาทานเหล่านั้น วิหารถึงจะบริจาคแล้วคราวเดียว ก็ยังมีกิจ

ที่จะพึงทำเกี่ยวกับการมุงหลังคา และการปฏิสังขรณ์สิ่งที่ปรักหักพัง

เป็นต้นบ่อย ๆ ส่วนสรณะที่รับแล้วครั้งเดียว ในสำนักของภิกษุรูปเดียว

หรือของสงฆ์หรือของคณะ ก็ยังนับว่ารับอยู่ตลอดไป เพราะไม่มีกิจ ที่จะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ต้องทำในสรณะนั้นบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น สรณะนั้นจึงมีการใช้ทรัพย์สิน

น้อยกว่า และมีการตระเตรียมน้อยกว่าวิหารทาน. อนึ่ง ชื่อว่า การถึง

สรณะ เป็นบุญกรรมที่สำเร็จด้วยการบริจาคชีวิตแก่พระรัตนตรัย ย่อมให้

สมบัติทุกประการ เพราะฉะนั้นพึงทราบว่ามีผลมากกว่า และมีอานิสงส์

มากกว่า. ก็การถึงสรณะนี้ ท่านเรียกว่ายัญ เพราะเกี่ยวกับการบริจาคชีวิต

แก่พระรัตนตรัย.

พราหมณ์ได้ฟังคำนี้แล้ว คิดว่า การที่จะบริจาคชีวิตของตนแด่

พระรัตนตรัย ทำได้ด้วยยาก ยัญที่มีการใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า และมีการ

ตระเตรียมน้อยกว่า แม้กว่าสรณคมน์นี้ ยังมีอยู่หรือ. ลำดับนั้นเขาเมื่อจะ

ทูลถามถึงยัญนั้น จึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็.......มีอยู่

หรือ ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทมีบทว่า การงดเว้นจากปาณาติบาต

เป็นต้น การงดชื่อว่าการเว้น

การงดนั้นมี ๓ อย่างคือ สัมปัตตวิรัติ, สมาทานวิรัติ, เสตุฆาตวิรัติ.

ในบรรดาวิรัติทั้ง ๓ นั้น ผู้ใดแม้มิได้รับสิกขาบทเลย แต่ระลึกถึงชาติ

โคตร ตระกูล และประเทศ เป็นต้น ของตนอย่างเดียวว่า การกระทำนี้

ไม่สมควรแก่เรา ดังนี้ แล้วไม่กระทำปาณาติบาต เป็นต้น หลีกเลี่ยงวัตถุ

ที่มาถึงเฉพาะหน้า เว้นจากวัตถุนั้น การวิรัตินั้นของผู้นั้น พึงทราบว่า

เป็น สัมปัตตวิรัติ. ส่วนวิรัติของผู้รับสิกขาบทอย่างนี้ว่า นับแต่วันนี้เป็นต้น

ไป ข้าพเจ้าจะไม่ฆ่าสัตว์ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ดี ข้าพเจ้าจะเว้นจาก

ปาณาติบาต ก็ดี ข้าพเจ้าขอสมาทานการงดเว้นก็ดี พึงทราบว่าเป็นสมา-

ทานวิรัติ. ส่วนการเว้นที่สัมปยุตด้วยมรรค ของพระอริยสาวกทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

ชื่อว่า เสตุฆาตวิรัติ. ในวิรัติทั้ง ๓ นั้น ๒ วิรัติแรกกระทำวัตถุมีชีวิติน-

ทรีย์เป็นต้น ที่จะพึงละเมิดด้วยอำนาจการปลงลงเป็นต้น ไห้เป็นอารมณ์

เป็นไป วิรัติหลังมีนิพพานเป็นอารมณ์.

ก็ในวิรัติเหล่านี้ ผู้ได้รับสิกขาบททั้ง ๕ รวมกัน เมื่อสิกขาบทหนึ่ง

ทำลาย สิกขาบทของผู้นั้น ย่อมทำลายไปทั้งหมด. ผู้ใดรับทีละข้อ ผู้นั้น

ล่วงละเมิดข้อใด ข้อนั้นเท่านั้น ทำลาย. ส่วนสำหรับเสตุฆาตวิรัตินี้ ขึ้น

ชื่อว่า การทำลายไม่มีเลย. เพราะพระอริยสาวกย่อมไม่ฆ่าสัตว์ แม้เพราะ

เหตุแห่งชีวิต ทั้งไม่ดื่มน้ำเมาด้วย. แม้ถ้าชนผสมสุรา และน้ำนมแล้ว

เทเข้าไปในปากของพระอริยสาวกนั้น น้ำนมเท่านั้นเข้าไป สุราหาเข้าไป-

ไม่. เหมือนอะไร. ได้ยินว่า เหมือนน้ำนมที่เจือ ด้วยน้ำ นมเท่านั้นเข้าไป

ในปากของนกกะเรียน น้ำหาเข้าไปไม่ ข้อนี้พึงทราบว่า สำเร็จตามกำเนิด

และข้อนี้ก็พึงทราบว่า สำเร็จโดยธรรมดา.

ก็ในสรณคมน์ ชื่อว่า การกระทำความเห็นให้ตรง เป็นของหนัก

แต่ในการสมาทานสิกขาบท เป็นเพียงการงดเว้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น การ

สมาทานสิกขาบทนั้น จึงใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า และมีการตระเตรียมน้อย

กว่า สำหรับผู้ที่รับพอประมาณบ้าง ผู้ที่รับอย่างดีบ้าง. ก็ในการสมาทาน

สิกขาบทนี้ พึงทราบว่ามีผลมาก และมีอานิสงส์มาก เพราะขึ้นชื่อว่า

ทานเช่นกับศีล ๕ ไม่มี. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ อย่างเหล่านี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันมาว่า

เลิศ รู้จักมานมนาน รู้กันมาตามวงศ์ตระกูล เป็นของเก่าแก่ ไม่มีใคร

รังเกียจแล้ว ไม่เคยมีใครรังเกียจ อันใคร ๆ ไม่รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ

อันสมณะก็ดี พราหณ์ก็ดี ผู้ที่รู้ดีไม่ดูแคลน ทาน ๕ อย่างเป็นไฉน

ภิกษุทั้งหลายอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ละปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ปาณาติบาต ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้

อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนกัน แก่สัตว์ทั้งหลายหา

ประมาณมิได้ ครั้นให้อภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนกันแก่

สัตว์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอภัย แห่งความ

ไม่เบียดเบียนกันอันหาประมาณมิได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็นข้อที่หนึ่ง

เป็นมหาทาน รู้กันมาว่าเลิศ รู้กันมานมนาน รู้กันมาตามวงศ์สกุล

เป็นของเก่าแก่ ไม่มีใครรังเกียจแล้ว ไม่เคยมีใครรังเกียจ อันใคร ๆ ไม่

รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ผู้ รู้ ดี ไม่ดูแคลน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอีก อริยสาวกละอทินนาทาน ฯลฯ ละกาเมสุ

มิจฉาจาร ฯลฯ ละมุสาวาท ฯลฯ ละการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็น

ที่ตั้งแห่งความประมาท ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการเหล่านั้นแล

จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันมาว่าเลิศ ฯลฯ ผู้ รู้ ดี ดังนี้.

ก็แลศีล ๕ นี้ ท่านเรียกว่ายัญ เพราะต้องสมาทานด้วยคิดว่า เรา

จักสละความเยื่อใยในตนและความเยื่อใยในชีวิต รักษา. บรรดาศีลและ

สรณคมน์นั้น สรณคมน์นั่นและเป็นใหญ่กว่าศีล ๕ แม้โดยแท้ แต่ศีล

๕ นี้ ท่านกล่าวว่ามีผลมากกว่า ด้วยอำนาจแห่งศีลที่บุคคลตั้งอยู่ในสรณะ

แล้วรักษา.

พราหมณ์ได้ฟังแม้ข้อนี้แล้ว ก็ยังคิดว่า การที่รักษาศีล ๕ ก็ยัง

หนักอยู่ สิ่งอะไรอย่างอื่นทำนองนี้แหละ ที่มีการใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า

และมีผลมากกว่า ศีล ๕ นี้มีอยู่หรือหนอ. ลำดับนั้นเขาเมื่อจะทูลถามถึงข้อนั้น

จึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็.......มีอยู่หรือ ดังนี้เป็นต้น

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงแสดงความที่ยัญมีปฐม-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ฌานเป็นต้น ของผู้ที่ดำรงอยู่ในความบริบูรณ์ด้วยศีล ๓ ประการ เป็น

ของใช้ทรัพย์สินน้อยกว่า และมีผลมากกว่า แก่พราหมณ์นั้น ทรงเริ่ม

พระธรรมเทศนา จำเดิมแต่การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า จึงตรัสพระดำรัส

ว่า พราหมณ์... ในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้น. ในข้อนั้น บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

คุณตามที่กล่าวมาแล้วตอนต้น ดำรงอยู่ในปฐมฌานเป็นต้นแล้ว ทำทุติย-

ฌานเป็นต้นให้เกิดอยู่ ย่อมไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น ฌานเหล่านั้นจึงมีการ

ใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระเตรียมน้อย. ก็ในฌานเหล่านี้ ปฐมฌานย่อม

ให้อายุในพรหมโลก ๑ กัป ทุติยฌาน ๘ กัป ตติยฌาน ๖๔ กัป

จตุตถฌาน ๕๐๐ กัป จตุตถฌานนั้นนั่นและอันบุคคลเจริญแล้วด้วยอำนาจ

แห่งสมาบัติ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น ย่อมให้อายุตลอด ๒๐,๐๐๐ กัป

๕๐,๐๐๐ กัป และ ๘๔,๐๐๐ กัป เพราะฉะนั้น. ฌานจึงมีผลมากกว่า

และมีอานิสงส์มากกว่า. ก็ฌานนั้น พึงทราบว่าเป็นยัญ เพราะสละเสียได้

ซึ่งธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น.

แม้วิปัสสนาญาณ เพราะบุคคลตั้งอยู่แล้วในคุณทั้งหลาย มีจตุตถฌาน

เป็นปริโยสาน ให้เกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น จึงมีการใช้ทรัพย์

สินน้อย มีการตระเตรียมน้อย ก็วิปัสสนาญาณนี้มีผลมาก เพราะไม่มี

สุขใดที่เสมอเหมือน ด้วยสุขอันเกิดจากวิปัสสนา ท่านเรียกว่ายัญ เพราะ

ละเสียได้ซึ่งกิเลสอันเป็นข้าศึก.

แม้มีโนมยิทธิ บุคคลตั้งอยู่แล้วในวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่

ลำบาก เพราะฉะนั้น มโนมยิทธิจึงมีการใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระเตรียม

น้อย ชื่อว่ามีผลมาก เพราะสามารถเนรมิตรูปเช่นกับรูปของต้นไม้ ชื่อว่า

ยัญ เพราะละเสียได้ซึ่งกิเลสอันเป็นข้าศึกของตน. แม้ญาณมีอิทธิวิธญาณ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

เป็นต้น บุคคลตั้งอยู่แล้วในมโนมยญาณเป็นต้น ให้เกิดขึ้นอยู่ก็ไม่ลำบาก

เพราะฉะนั้น อิทธิวิธญาณเป็นต้น จึงมีการใช้ทรัพย์สินน้อย มีการตระ-

เตรียมน้อย ชื่อว่า ยัญ เพราะละกิเลสอันเป็นข้าศึกของตน ๆ เสียได้.

ก็ในญาณเหล่านี้ อิทธิวิธญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถ

แสดงการกระทำแปลก ๆ มีอย่างต่าง ๆ.

ทิพยโสต พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถฟังเสียงของเทวดา

และมนุษย์ได้.

เจโตปริยญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถรู้จิต ๑๖

อย่างของผู้อื่นได้.

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถ

ตามระลึกถึงสถานที่ที่ตนปรารถนา และปรารถนาได้. ทิพยจักษุ พึงทราบว่า

มีผลมาก เพราะสามารถมองเห็นรูปที่ตนต้องการและต้องการได้.

อาสวักขยญาณ พึงทราบว่า มีผลมาก เพราะสามารถยังสุขอันเกิด

จากโลกุตรมรรคอันประณีตยิ่งให้สำเร็จได้. ก็ขึ้นชื่อว่ายัญอย่างอื่น ที่

ประเสริฐกว่าพระอรหัต ไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงพระธรรมเทศนาโดยสุดยอด คือพระอรหัต จึงตรัสว่า พราหมณ์

นี้แล ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอว วุตฺเต แปลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้

เเล้ว กูฏทันตพราหมณ์เลื่อมใสในพระธรรมเทศนา มีประสงค์จะถึงสรณะ

จงได้กล่าวคำนี้มีว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ดังนี้ เป็นต้น. บทว่า จงพัด ความว่า ขอลมเย็นอ่อน ๆ ที่จะระงับ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ความกระวนกระวายในร่างกายได้ จงพัดโชยมาต้องกาย. ก็แลพราหมณ์

ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว จึงส่งคนไปด้วยพูดว่า แนะพ่อ ท่านจงไป เข้าไปสู่หลุม

ยัญแล้ว จงปล่อยสัตว์เหล่านั้นทั้งปวงจากเครื่องจองจำ. บุรุษนั้นรับคำว่า

ดีแล้ว กระทำตามนั้นแล้วกลับมาบอกว่า ท่านผู้เจริญ สัตว์เหล่านั้นหลุด

พ้นไปหมดแล้ว ดังนี้.

พราหมณ์ยังไม่ได้ยินความเป็นไปนั้น ตราบใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังไม่ทรงแสดงธรรม ตราบนั้น. เพราะในจิตของพราหมณ์ยังมีความยุ่ง

เหยิงอยู่. แต่พอได้ยินว่า สัตว์มากมายเทียวหนอ ข้าพเจ้าปล่อยหมดแล้ว

ดังนี้ วารจิตของพราหมณ์ ก็ผ่องใส. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

พราหมณ์มีใจผ่องใสแล้ว จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนา. ท่านหมายเอา

พระธรรมเทศนานั้น จึงกล่าวคำว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ดังนี้เป็นต้น. คำเป็นต้นว่า จิตสมควร ท่านกล่าวหมายเอาความที่นิวรณ์

ถูกข่มไว้ได้ด้วยอานภาพแห่งอนุปุพพิกถา. คำที่เหลือมีใจความตื้นทั้งนั้น

ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถากูฏทันตสูตรในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี

จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากูฏทันตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

๖. มหาลิสูตร

[๒๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา. ในป่ามหาวัน. ใกล้นครเวสาลี. ก็สมัยนั้นแล

พราหมณทูตชาวโกศลและพราหมณทูตชาวมคธมากด้วยกัน พักอยู่ในนคร

เวสาลีด้วยกรณียะเพียงบางอย่าง. พราหมณทูตเหล่านั้นได้สดับว่า พระสมณ-

โคดม พระโอรสแห่งศากยะ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล ประทับ

อยู่ ณ กูฏคารสาลา ในป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี กิตติศัพท์ อันงามของ

ท่านพระโคดมนั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์

ทรงทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก ฯลฯ การได้เห็น

พระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น เป็นการดี ดังนี้. พราหมณทูตเหล่านั้น

ได้เดินผ่านเข้าไปยังกูฏคารสาลาในป่ามหาวัน.

[๒๔๐] ก็แลสมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นพระอุปัฏฐากแห่งพระผู้-

มีพระภาคเจ้า. พราหมณ์ทูตเหล่านั้นเข้าไปหาท่านพระนาคิตะแล้วถาม

อย่างนี้ว่า ท่านพระนาคิตะ บัดนี้ท่านพระโคดมนั้นประทับอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้า

๑. กูฏาคารสาลา เป็นชื่อแห่งสังฆารามอันตั้งอยู่ในป่ามหาวัน ที่ได้ชื่อดังนั้น เพราะมี

ปราสาทปานประหนึ่งเทพวิมาน อันเขาทำตามแบบกูฏาคารสาลา สาลาคือเรือนยอด

๒. ป่ามหาวัน คือป่าใหญ่เกิดเองตั้งอยู่ต่อเนื่องป่าหิมพานต์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

ทั้งหลายใคร่จะเฝ้าท่านพระโคดมนั้นจริง ๆ ท่านพระนาคิตะกล่าวว่า ยังไม่

เป็นกาลอันควรเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีก-

เร้นอยู่. จึงพราหมณทูตเหล่านั้นได้นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งใกล้กูฏาคารสาลานั้น

ด้วยคิดว่า เราได้เฝ้าท่านพระโคดมนั้นแล้วจึงจักไป.

[๒๔๑] แม้เจ้าลิจฉวี นามว่า โอฏฐัทธะ พร้อมด้วยลิจฉวีบริวาร

อันใหญ่เข้าไปหาท่านพระนาคิตะ ณ กูฏาคารสาลาในป่ามหาวัน กราบท่าน

พระนาคิตะแล้วยืนอยู่ส่วนข้างหนึ่ง. กล่าวกะท่านพระนาคิตะอย่างนี้ว่า ท่าน

พระนาคิตะเจ้าข้า บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ประทับ

อยู่ ณ ที่ไหน ข้าพเจ้าทั้งหลายใคร่จะเฝ้าพระองค์จริง ๆ. ท่านพระนาคิตะ

กล่าวว่า ยังไม่เป็นกาลอันควรเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงหลีกเร้นอยู่. แม้โอฏฐัทธลัจฉวีก็ได้นั่งอยู่ส่วนข้างหนึ่งใกล้กูฏาคาร

สาลานั้นเหมือนกัน ด้วยคิดว่า เราได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้านั้นแล้วจึงจักไป.

[๒๔๒] ลำดับนั้น สามเณรสีหะ เข้าไปหา ท่านพระนาคิตะ กราบ

แล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระนาคิตะอย่าง

นี้ว่า ท่านกัสสปะเจ้าข้า พราหมณทูตชาวโกศล และพราหมณทูตชาวมคธ

เป็นอันมากเหล่านี้ ได้เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เจ้าลิจฉวี

นามว่า โอฏฐัทธะ พร้อมด้วยลิจฉวีบริวารอันใหญ่ได้เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเจ้าข้า จะเป็นการดี ขอหมู่ชนนี้จงได้เฝ้าพระหมู่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

มีพระภาคเจ้าเถิด. ท่านพระนาคิตะ กล่าวว่า แน่ะสีหะ ถ้ากระนั้น

เธอนั่นแหละจงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบเถิด. สามเณรสีหะ

รับคำท่านพระนาคิตะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

พระพุทธเจ้าข้า พราหมณทูตชาวโกศลและพราหมณทูตชาวมคธเป็นอันมาก

เหล่านี้ ได้เข้ามาในที่นี้เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เจ้าลิจฉวีนามว่า

โอฏฐัทธะ พร้อมด้วยลิจฉวีบริวารอันใหญ่ ได้เข้ามาในที่นี้ เพื่อเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า จะเป็นการดี ขอหมู่ชนนี้จงได้เฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะสีหะ ถ้ากระนั้น เธอจงปูอาสนะ

ที่ร่มเงาหน้าวิหาร.สามเณรีสีหะรับพระพุทธาณัติแล้ว ได้ปูอาสนะ ณ ร่มเงา

หน้าพระวิหาร.พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระวิหาร ประทับนั่งบน

อาสนะที่สามเณรีสีหะปูไว้ ณ ร่มเงาหน้าพระวิหาร. ลำดับนั้น พราหมณ

ทูตชาวโกศลและพราหมณทูตชาวมคธเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้า บรรเทิงกับพระผู้มีพระภาคเจ้า สนทนาพอเป็นที่ชื่นชมระลึกถึงกันแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๔๓] แม้โอฏฐัทธลิจฉวี พร้อมด้วยลิจฉวีบริวารอันใหญ่ เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า วันก่อนหลายวัน

มาแล้ว ลิจฉวีบุตร นามว่า สุนักขัตตะ ได้เข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

ได้กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า มหาลิ ชั่วเวลาที่ข้าพเจ้าเข้าไปอาศัย

พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ไม่นานเพียง ๓ ปี ข้าพเจ้าเห็นรูปทั้งหลายอันเป็น

ทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี แต่ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน

ควรยินดีไม่ได้ เสียงทิพย์อันน่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ที่สุนักขัตตลัจฉวี

บุตรไม่ได้ฟังนั้น มีจริงหรือไม่ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

มหาลิ เสียงทิพย์อันน่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ที่สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่

ได้ฟัง มีอยู่จริง มิใช่ไม่มี. โอฏฐัทธลิจฉวีทูลถามว่า พระเจ้าข้า อะไร

หนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตรไม่ได้ฟังเสียงอันเป็นทิพย์

น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ซึ่งมีอยู่จริง มิใช่ไม่มี.

[๒๔๔] มหาลิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสมาธิได้อบรมแล้วส่วน

เดียว เพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ในทิศเบื้องหน้า

แต่มิได้อบรมแล้ว เพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี

ภิกษุนั้นเมื่อได้อบรมสมาธิส่วนเดียว เพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศ

เบื้องหน้า แต่มิได้อบรมเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ย่อมเห็นรูปอันเป็น

ทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้าได้ แต่ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ไม่ได้ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุได้อบรมสมาธิส่วน

เดียว เพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า แต่มิได้อบรมเพื่อ

ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ

[๒๔๕] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีสมาธิได้อบรมแล้วส่วนเดียว เพื่อ

เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องขวา ฯลฯ ในทิศเบื้องหลัง ฯลฯ ใน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ทิศเบื้องซ้าย ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรมเพื่อฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ภิกษุนั้น เมื่อได้อบรมสมาธิส่วนเดียว เพื่อเห็นรูป

อันเป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรมเพื่อฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ย่อมเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวางได้ แต่ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

เพราะข้อนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุได้อบรมสมาธิส่วนเดียว เพื่อ

เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรม

เพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ

[๒๔๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสมาธิได้อบรมแล้วส่วนเดียว เพื่อ

ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ในทิศเบื้องหน้า แต่มิ

ได้อบรมเพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ภิกษุนั้น เมื่อได้อบรมสมาธิส่วนเดียว

เพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า แต่มิได้อบรมเพื่อเห็นรูป

อันเป็นทิพย์ ฯลฯ ย่อมได้ฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้าได้

แต่เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นย่อม

เป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุอบรมสมาธิส่วนเดียว เพื่อฟังเสียงอันเป็น

ทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า แต่มิได้อบรมเพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ

[๒๔๗] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีสมาธิได้อบรมแล้วส่วนเดียว เพื่อฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องขวา ฯลฯ ในทิศเบื้องหลัง ฯลฯ ในทิศ

เบื้องซ้าย ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรมแล้ว เพื่อ

เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ภิกษุนั้น เมื่อเธอได้อบรมสมาธิส่วนเดียวเพื่อฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรมเพื่อ

(๑) เบื้องขวาง คือทิศน้อย.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ย่อมฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวางได้ แต่เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ไม่ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

เพราะข้อนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุอบรมสมาธิส่วนเดียว เพื่อฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แต่มิได้อบรม

เพื่อเห็นรูปอันเป็นทิพย์ ฯลฯ

[๒๔๘] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสมาธิได้อบรมแล้วทั้งสองส่วน เพื่อ

เห็นรูปอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี และเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์

น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ในทิศเบื้องหน้า. ภิกษุนั้น เมื่อได้อบรมสมาธิ

ทั้งสองส่วน เพื่อเห็นรูปและเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า

ย่อมเห็นรูปและย่อมฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า ข้อนั้น

เพราะเหตุไร. เพราะข้อนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุได้อบรมสมาธิ

ทั้งสองส่วน เพื่อเห็นรูปและเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องหน้า.

[๒๔๙] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีสมาธิได้อบรมแล้วทั้ง ๒ ส่วน เพื่อ

เห็นรูป และเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในทิศเบื้องขวา ฯลฯ ในทิศ-

เบื้องหลัง ฯลฯ ในทิศเบื้องซ้าย ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง.

ภิกษุนั้นเมื่อได้อบรมสมาธิทั้ง ๒ ส่วน เพื่อเห็นรูป และเพื่อฟังเสียงอัน

เป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ย่อมเห็นรูป และย่อมฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร. เพราะข้อนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น ในเมื่อภิกษุได้อบรมสมาธิทั้งสอง

ส่วน เพื่อเห็นรูปและเพื่อฟังเสียงอันเป็นทิพย์ ฯลฯ เบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

มหาลิ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้สุนักขัตตลิจฉวีบุตร ไม่ได้ฟัง

เสียงอันเป็นทิพย์ น่ารัก ยั่วยวน ควรยินดี ซึ่งมีอยู่จริง ไม่ใช่ไม่มี.

[๒๕๐] โอฏฐัทธลิจฉวี กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลาย

ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่ง

สมาธิภาวนาเหล่านี้เป็นแน่. ตรัสตอบว่า มหาลิ ภิกษุทั้งหลายจะประพฤติ

พรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านี้ หามิได้เลย

ธรรมเหล่าอื่น ซึ่งภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระ-

ทำให้แจ้งที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ยังมีอยู่อีก. โอฏฐัทธลัจฉวี ทูลถามว่า

พระเจ้าข้า ก็ธรรมเหล่าไหนซึ่งภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า. ตรัส

ตอบว่า มหาลิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว มีความตรัสรู้เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะ

ความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ ๓ ธรรมนี้แล้ว ซึ่งภิกษุทั้งหลายประพฤติ

พรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า.

[๒๕๑] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นพระสกทาคามี จะมาสู่โลกนี้ครั้ง

เดียวเท่านั้นแล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัง-

โยชน์ ๓ เพราะความเบาบางแห่งราคะโทสะและโมหะ ธรรมนี้แลซึ่งภิกษุ

ทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่ยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่า.

[๒๕๒] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอันจะบังเกิดในอุปปาติกกำเนิด

จะปรินิพพานในอุปปาติกกำเนิดนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

(พระอนาคามี) เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ธรรม

(๑) อุปปาติกกำเนิด ในที่นี้หมายเอาสุทธาวาส ๕.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

นี้แลซึ่งภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่

ยิ่งกว่าและประณีตกว่า.

[๒๕๓] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้ง เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เข้าถึงเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย อยู่ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) เทียว แม้ธรรมนี้แลซึ่งภิกษุ

ทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่ยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่า. มหาลิ ธรรมเหล่านี้แลซึ่งภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์

ในเราเหตุจะกระทำให้แจ้ง ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า.

[๒๕๔] โอฏฐัทธลิจฉวี ทูลถามว่า ทางดำเนินเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้นมีอยู่หรือพระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า มีอยู่ มหาลิ.

ทางดำเนินเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น เป็นไฉนเล่า พระเจ้าข้า.

มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นของพระอริยเจ้านี้แล คือ ความเห็นชอบ ความ-

ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ

ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นทางดำเนิน เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมเหล่านั้น.

[๒๕๕] มหาลิ สมัยหนึ่ง เราอยู่ในโฆสิตารามใกล้นครโกสัมพี

ครั้งนั้น ๒ บรรพชิต คือมัณฑิยปริพพาชก ๑ ชาลิยะ ศิษย์ทารุปัตติกะ ๑ ได้

เข้าไปหาเรา เจรจาปราศรัยกับเราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึง

ได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ท่านโคดม ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือหนอ

หรือชีพอันอื่น สรีระอันอื่น. เราได้กล่าวว่า แน่ะท่าน ถ้าอย่างนั้นจงฟัง

จงกระทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระ

อรหันต์ ตรัสรู้ชอบเองแล้ว ฯลฯ. (นักปราชญ์พึงให้เนื้อความพิสดารเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

ในสามัญญผลสูตร) ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีลอย่างนี้ ฯลฯ บรรลุฌาน

ที่ต้น มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วอยู่. ภิกษุใดรู้อย่าง

นี้ เห็นอย่างนี้ นั่นเป็นการสมควรแก่ภิกษุนั้นหรือหนอ เพื่อจะกล่าวว่า

ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น ดังนี้. ภิกษุนั้น

ใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ นั่นไม่เป็นการสมควรแก่ภิกษุนั้น เพื่อจะกล่าว

ว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น. ก็แล

ความข้อนี้ เรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ดังนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีพ

ก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น ดังนี้. ภิกษุ

บรรลุฌานที่ ๒ ฯลฯ ภิกษุบรรลุฌานที่ ๓ ฯลฯ ภิกษุบรรลุฌานที่ ๔

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะสิ้นไป

แห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน มีความบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาและสติ

แล้วอยู่. ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ นั่นเป็นการสมควรแก่ภิกษุนั้น

หรือหนอ เพื่อจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอันอื่น

สรีระอันอื่น ดังนี้. ภิกษุนั้นใด รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ นั่นไม่เป็นการ

สมควรแก่ภิกษุนั้น เพื่อจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า

ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น. ก็แลความข้อนี้ เรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้

ดังนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพ

อันอื่น สรีระก็อันอื่น.

เธอนำจิตไปเฉพาะ น้อมจิตไปเฉพาะ เพื่อญาณทัสสนะ (คือ

ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็น). ภิกษุใด ฯลฯ เธอรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นเช่นนี้

ย่อมไม่มี ดังนี้. ภิกษุใด รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ นั่นเป็นการสมควรแก่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

ภิกษุนั้นหรือหนอ เพื่อจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า

ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น ดังนี้. ภิกษุนั้นใด รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ นั่น

ไม่เป็นการสมควรแก่ภิกษุนั้น เพื่อจะกล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อัน

นั้น หรือว่า ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น. ก็แลความข้อนี้ เรารู้อยู่อย่างนี้

เห็นอยู่อย่างนี้ ดังนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

หรือว่า ชีพอันอื่น สรีระอันอื่น ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเวยยากรณพจน์นี้แล้ว. โอฏฐัทธลิจฉวี

มีใจยินดี ชื่นชมภาสิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาลิสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

อรรถกถามหาลิสูตร

เอวมฺเม สุต ฯปฯ เวสาลิยนฺติ มหาลิสุตฺต

ในมหาลิสูตรนั้น มีการพรรนาตามลำดับบทดังนี้. บทว่า เวสาลิย

ความว่า ใกล้นครอันได้นามว่า เวสาลี เพราะเมืองนี้ถึงความไพศาลเนือง ๆ

บทว่า มหาวเน ความว่า ในป่าใหญ่เกิดเองตั้งอยู่ต่อเนื่องกับป่าหิมพานต์

ภายนอกนคร ซึ่งเรียกว่า มหาวัน เพราะความที่เป็นป่าใหญ่นั้น. บทว่า กูฏ-

คารสาลาย ความว่า ได้สร้างสังฆารามในราวป่านั้น. ได้สร้างปราสาทเช่น

กับเทพวิมาน ทำตามแบบกูฏาคารศาลา ยกช่อฟ้าบนเสาทั้งหลายในสังฆา-

รามนั้น. หมายถึงปราสาทนั้นสังฆารามแม้ทั้งสิน จึงปรากฏว่ากูฏาคารศาลา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยนครเวสาลีนั้น ประทับอยู่ ณ สังฆารามนั้น.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิย วิหรติ มหาวเน กูฏคารสาลาย ดังนี้.

บทว่า โกสลกา คือ ชาวแคว้นโกศล. บทว่า มาคธกา คือ ชาว

แคว้นมคธ. บทว่า กรณีเยน ความว่า ด้วยการงานที่พึงทำแน่แท้. ก็

การงานที่แม้จะไม่กระทำก็ได้เรียกว่ากิจ การงานที่ควรทำแน่แท้ทีเดียว

ชื่อว่า กรณียะ.

บทว่า ปฏิสลฺสีโน ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีก

เร้น คือ ทรงหลบจากเรื่องอารมณ์ต่าง ๆ ทรงอาศัย เอกีภาพ เสวยความ

ยินดีในฌานในเอกัคคตารมณ์. บทว่า ตตฺเถว คือ ในวิหารนั้น. บทว่า เอกมนฺต

ความว่า พราหมณทูตเหล่านั้นไม่ละที่นั้นพากันนั่ง ณ เงาต้นไม้นั้น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

บทว่า โอฏฺทฺโธ ความว่า เจ้าลิจฉวีผู้ได้นามอย่างนั้น เพราะมี

ริมฝีปากเปียกชุ่ม. บทว่า มหติยา ลิจฺฉวีปริสาย ความว่า เจ้าลิจฉวี นามว่า

โอฏฐัทธะ ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในปุเรภัต

อธิษฐานองค์อุโบสถศีลในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้คนถือสิ่งของ

มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ป่าวประกาศให้บริวารเจ้าลิจฉวีหมู่ใหญ่

ประชุมกันแล้วเข้าไปพร้อมกับบริวารลิจฉวีหมู่ใหญ่นั้น ซึ่งประดับประดา

ด้วยผ้าอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ มีสีเขียวและเหลืองเป็นต้น อันสวยงาม

ประหนึ่งเทพบริวารชั้นดาวดึงส์.บทว่า อกาโล โข มหาลิ ความว่า โอฏฐัทธะ

นั้น เดิมชื่อว่า มหาลิ พระเถระเรียกมหาลินั้นตามชื่อเดิมนั้น. บทว่า เอกมนฺต

นิสีทิ ความว่า โอฏฐัทธลิจฉวี นั่งสรรเสริญพระคุณของพระรัตนตรัย พร้อม

ด้วยบริวาร ลิจฉวีหมู่ใหญ่ ณ เงาไม้อันสมควร.

บทว่า สีโห สมณุทฺเทโส ความว่า สามเณร ชื่อว่า สีหะ เป็นหลาน

ของพระนาคิตะ บวชในกาลที่มีอายุได้เจ็ดขวบ ขยันหมั่นเพียรในพระ-

ศาสนา.ได้ยินว่า สามเณรเห็นชุมชนใหญ่แล้ว จึงคิดว่า ชุมชนหมู่ใหญ่

นี้นั่งเต็มวิหารทั้งสิ้น วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแสดงพระธรรมด้วย

พระอุตสาหะใหญ่แก่ชุมชนนี้แน่ อย่าเลย เราจะบอกพระอุปัชฌายะให้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ถึงชุมชนหมู่ใหญ่มาประชุมกันแล้ว จึง

เข้าไปหาพระนาคิตะ. บทว่า ภนฺเต กสฺสป ความว่า สามเณรกล่าวกะ

พระเถระด้วยโคตร.บทว่า เอสา ชนตา ความว่า ชุมนุมชนนั่น. บทว่า

ตฺวญฺเว ภาวโต อาโรเจหิ ความว่า ได้ยินว่า สีหสามเณรเป็นผู้

สนิทสนมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระเถระนี้อ้วน ในการที่จะลุก

หรือนั่งเป็นต้นก็อุ้ยอ้ายอืดอาด เพราะพระเถระมีร่างกายหนักจึงดูราวกะว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

ไม่ค่อยจะเคลื่อนไหวได้ ด้วยเหตุนั้น สามเณรนี้จึงได้กระทำวัตรถวายพระผู้มี

พระภาคเจ้าทุกเวลา เพราะเหตุนั้น พระเถระ จึงกล่าวกะสามเณรนั้นว่า แม้

เธอเป็นผู้โปรดปรานของพระทศพล จึงกล่าวว่า เธอนั้นแหละไปกราบทูลให้

ทรงทราบ ดังนี้.

บทว่า วิหารปจฺฉายาย ความว่า ใต้ร่มเงาพระวิหาร อธิบายว่า

ในโอกาสแห่งเงากูฏาคารหลังใหญ่แผ่ไปถึง. ได้ยินว่า กูฏาคารศาลา

นั้นยาวไปทางทิศใต้และทิศเหนือ มีมุขทางทิศตะวันออก. ด้วยเหตุนั้นเงา

ใหญ่จึงแผ่ไปข้างหน้าแห่งกูฏาคารศาลานั้น. แม้สีหสามเณรได้ปูอาสนะ

ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ร่มเงาหน้าพระวิหารนั้น. ลำดับนั้นแลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธรังสี ๖ ประการ เปล่งรัศมีออกจากช่องประตู และ

ช่องหน้าต่าง เสด็จออกจากกูฏาคารศาลา เหมือนพระจันทร์เพ็ญออกจาก

กลีบเมฆ ฉะนั้น ประทับนั่งบนวรพุทธอาสน์ที่ปูไว้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากพระวิหาร

ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ใต้ร่มเงาพระวิหาร.

ในบทว่า ปุริมานิ ภนฺเต ทิวสานิ ปุริมตรานิ นี้ ความว่า วันวาน

ชื่อว่า วันก่อน วันอื่น ต่อจากวันนั้น ชื่อว่า วานซืน ก็ตั้งแต่วันนั้นทั้ง

หมดจัดเป็นวันก่อนๆ. บทว่า ยทคฺเค ความว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วเวลาตั้งแต่

วันแรก. ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วคราว. บัดนี้ สุนักขัตตลิจฉวีบุตร

เมื่อจะแสดงประมาณแห่งวันนั้น จึงกล่าวว่า ไม่นาน เพียง ๓ ปี. อีก

ประการหนึ่ง. บทว่า ยทคฺเค ความว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วคราวไม่นาน. เพียง

๓ ปี. ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าอยู่ชั่วคราวไม่นาน เพียง ๓ ปีเท่านั้น. ได้

ยินว่า สุนักขัตตลิจฉวีบุตร นี้ รับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรนนิบัติพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ ปี. สุนักขัตตลิจฉวีหมายถึง ๓ ปี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

นั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปิยรูปานิ ได้แก่ น่ารัก คือ น่ายินดี. บทว่า

กามูปสญฺหิตานิ คือ ประกอบด้วยความยินดีในกาม. บทว่า รชนียานิ ความ

ว่า ก่อให้เกิดราคะ.

บทว่า โน จ โข ทิพฺพานิ สทฺทานิ ความว่า สุนักขัตตะฟังเสียง

ทิพย์เหล่านั้นไม่ได้ เพราะเหตุอะไร ได้ยินว่า สุนักขัตตะนั้น เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลขอบริกรรมทิพยจักษุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

บอกแก่เขา. เขาได้ปฏิบัติตามที่ทรงสอน ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เห็นรูป

ทั้งหลายของเทวดาทั้งหลายแล้ว คิดว่า ในสรีรสัณฐานนี้พึงมีเสียงไพเราะ

เราพึงฟังเสียงนั้นได้อย่างไรหนอ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถาม

ถึงการบริกรรมทิพยโสต. ก็ในอดีตกาล สุนักขัตตะนี้ตีกกหูภิกษุผู้มีศีลรูป

หนึ่ง ทำให้เป็นพระหูหนวก เพราะฉะนั้น แม้เธอจะทำบริกรรม ก็ไม่

สามารถบรรลุถึงทิพยโสตได้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัส

บอกบริกรรม. เขาผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุเพียงเท่านี้ จึง

คิดว่า พระดำริอย่างนี้ย่อมมีแก่พระสมณโคดมแน่ว่า แม้เราก็เป็นกษัตริย์

ถึงโอฏฐัทธะนี้ก็เป็นกษัตริย์ ถ้าญาณจักเจริญแก่เขา แม้เขาก็จักเป็น

สัพพัญญู เพราะเหตุนั้นจึงไม่ตรัสบอกแก่เรา เพราะความริษยา. เขาถึง

ความเป็นคฤหัสถ์โดยลำดับ เมื่อจะบอกเนื้อความนั้นแก่มหาลิลิจฉวี จึง

กล่าวอย่างนี้.

บทว่า เอกสภาวิโต ความว่า มีสมาธิอันได้อบรมแล้ว ส่วนเดียว

คือส่วนหนึ่ง อธิบายว่า อบรมเพื่อต้องการจะเห็นรูปอันเป็นทิพย์ หรือเพื่อ

ต้องการจะได้ฟังเสียงอันเป็นทิพย์. บทว่า ติริย ความว่า ทิศเฉียง. บทว่า

อุภยสภาวิโต ความว่า มีสมาธิได้อบรมแล้วทั้งสองส่วน คือ โกฏฐาส

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ทั้งสอง. บทว่า อย โข มหาลิ เหตุ ความว่า สมาธิที่สุนักขัตตะอบรม

แล้วส่วนเดียว เพื่อเห็นรูปทั้งหลายอันเป็นทิพย์เท่านั้นนี้เป็นเหตุ.

ลิจฉวีนั้นได้ฟังอรรถนี้แล้ว จึงคิดว่า ภิกษุฟังเสียงนี้ ด้วยทิพยโสต

ทิพยโสต เห็นจะเป็นของสูง เป็นของมีประโยชน์ในศาสนานี้แน่ ภิกษุ

เหล่านั้น ประพฤติพรหมจรรย์ ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง มิใช่น้อย เพื่อ

ประโยชน์แก่ทิพยโสตนี้หรือหนอ ถ้ากระไรเราพึงทูลถามเนื้อความนี้กะ-

พระทศพล. ต่อแต่นั้น เมื่อจะทูลถามเนื้อความนั้น จึงกราบทูลว่า เอตาส

นูน ภนฺเต เป็นต้น. ในบทว่า สมาธิภาวนาน นี้ สมาธินั่นเทียวชื่อว่า

สมาธิภาวนา ความว่าซึ่งสมาธิอันได้อบรมแล้วทั้งสองส่วน.

อนึ่ง เพราะสมาธิภาวนาเหล่านั้นเป็นของนอกศาสนา ไม่เป็นไป

ในภายใน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฏิเสธสมาธิภาวนา

เหล่านั้น เมื่อจะทรงแสดงประโยชน์ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ จึงตรัสว่า

น โข มหาลิ เป็นต้น.

บทว่า ติณฺณ สโยชนาน ได้แก่ สังโยชน์เครื่องผูกพันสามอย่าง

มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น. จริงอยู่ สังโยชน์เหล่านั้น ท่านเรียกว่า สังโยชน์

เพราะเป็นเครื่องผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้ในรถ (คือภพ) ที่แล้วด้วยวัฏฏทุกข์.

บทว่า โสตาปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ถึงกระแสแห่งมรรค. บทว่า

อวินิปาตธมฺโม คือ มีอันไม่ตกไปในอบายทั้ง ๔ อย่างเป็นธรรมดา.

บทว่า นิยโต คือผู้แน่นอนแล้วโดยธรรมนิยาม. บทว่า สมฺโพธิปรายโน

ความว่าความตรัสรู้ กล่าวคือ มรรคเบื้องสูง ๓ อย่าง อันภิกษุนั้นพึงบรรลุ

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ผู้มีความตรัสรู้

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

บทว่า ตนุตฺตา ความว่า เพราะความที่กิเลสเป็นเครื่องกลุ้มรุมจิต

มีน้อย และเพราะความที่การอุบัติ ในโลกไหน ในกาลใด เป็นของเบาบาง.

บทว่า โอรมฺภาคิยาน ความว่า สังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ซึ่งเป็น

เครื่องผูกพันไม่ให้เกิดในภูมิสุทธาวาสชั้นสูง. คำว่า โอปปาติโก นั้น เป็น

คำปฏิเสธกำเนิดที่เหลือ. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพายี คือ มีนิพพาน-

ธรรมในภพเบื้องหน้านั่นเทียว. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ความว่า มีอันไม่

กับมาจากพรหมโลกนั้นมาเกิดอีกเป็นธรรมดา.

บทว่า เจโตวิมุตฺตึ คือ จิตตวิสุทธิ. คำนั่นเป็นชื่อแห่งอรหัตตผลจิต

ซึ่งหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลสทั้งปวง, ปัญญาคืออรหัตตผลนั่นเทียว

ซึ่งหลุดพ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลสทั้งปวง พึงทราบว่า ปัญญาวิมุตติ แม้

ในบทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ นี้. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้นั่น

เอง. บทว่า สย คือ เอง. บทว่า อภิญฺา คือรู้เฉพาะยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา

คือกระทำให้ประจักษ์.อนึ่ง บทว่า อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้

แจ้งด้วยอภิญญา คือด้วยญาณอันละเอียดอย่างยิ่ง ดังนี้ก็มี. บทว่า อุปสมฺ-

ปชฺช คือ บรรลุแล้ว ได้แก่ ได้รับแล้ว.

เจ้าลิจฉวีได้ฟังอรรถนี้แล้ว จึงคิดว่า ธรรมอันประเสริฐ อันใคร ๆ

ไม่อาจจะบรรลุได้ เหมือนนกบินบ้าง เหมือนเหี้ยคลานไปด้วยอกบ้าง สำหรับ

ภิกษุบรรลุพระธรรมนี้ จะพึงมีข้อปฏิบัติในส่วนเบื้องต้นแน่ เราจะทูลถาม

ถึงพระธรรมนั้นก่อน. แต่นั้น เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า

อตฺถิ ปน ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อฏฺงฺคิโก ความว่า มรรคประกอบด้วย

องค์ ๘ เหมือนดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ และเหมือนบ้านประกอบ

ด้วยตระกูล ๘ จึงชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมดามรรคอื่นจาก

องค์ไม่มี. ด้วยเหตุนั้นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสยฺยถีท

สมฺมาทิฏฺิ ฯเปฯ สมฺมาสมาธิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ มีลักษณะเห็นชอบ. สัมมาสัง-

กัปปะ มีลักษณะน้อมนึกชอบ. สัมมาวาจา มีลักษณะใคร่ครวญชอบ. สัมมา

กัมมันตะ มีลักษณะให้ตั้งมั่นชอบ. สัมมาอาชีวะ มีลักษณะให้ผ่องแผ้วชอบ.

สัมมาวายามะ มีลักษณะประคองชอบ. สัมมาสติ มีลักษณะเข้าไปตั้งอยู่ชอบ.

สัมมาสมาธิ มีลักษณะตั้งใจชอบ. ในมรรคมีองค์ ๘ เหล่านั้น แต่ละองค์มี

กิจ ๓ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิพร้อมกับกิเลสอันเป็นข้าศึก

แก่ตน แม้เหล่าอื่นก่อน ย่อมทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ และเห็นแจ้งซึ่ง

สัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะไม่ลุ่มหลงงมงาย ด้วยสามารถกำจัดโมหะอัน

ปกปิดความเห็นชอบนั้น. ธรรมทั้งหลาย แม้มีสัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อม

ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ เหมือนอย่างนั้น.

ก็ในที่นี้โดยพิเศษ สัมมาสังกัปปะ ย่อมน้อมนึกถึงสหชาตธรรมทั้งหลาย

สัมมาวาจา ย่อมพิเคราะห์โดยชอบ สัมมากัมมันตะ ย่อมให้ตั้งมั่นโดยชอบ

สัมมาอาชีวะ ย่อมให้ผ่องใสโดยชอบ สัมมาวายามะ ย่อมประคองโดยชอบ

สัมมาสติย่อมให้เข้าไปตั้งอยู่โดยชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งใจโดยชอบ.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมดาสัมมาทิฏฐินั้น ในส่วนบุพภาคมีขณะต่างกัน มี

อารมณ์ต่างกัน ในขณะแห่งมรรคมีขณะเดียว มีอารมณ์เดียว แต่โดยกิจ

ย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีญาณในทุกข์เป็นต้น ธรรมทั้งหลายแม้มีสัมมาสังกัปปะ

เป็นต้น ในบุพภาคมีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน ในขณะแห่งมรรค

มีขณะเดียว มีอารมณ์เดียว. ในธรรมเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดยกิจย่อม

ได้ชื่อ ๓ อย่างมีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น. ธรรม ๓ อย่างมีสัมมาวาจา

เป็นต้น เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง แต่ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรัติอย่าง

เดียว. สองอย่างแม้นี้คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

อย่างด้วยอำนาจสัมมัปปธาน และสติปัฏฐาน. ส่วนสัมมาสมาธิในบุพภาค

ก็ดี ในขณะแห่งมรรคก็ดี ย่อมเป็นสัมมาสมาธิอย่างเดียว.

ในธรรม ๘ อย่างนี้ สัมมาทิฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ก่อน เพราะความที่สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่พระโยคีผู้ปฏิบัติ

เพื่อบรรลุนิพพาน. ก็ปัญญานี้ท่านกล่าวว่าปัญญาปัชโชตะ และปัญญา

สัตถะ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร จึงกำจัดความมืดคืออวิชชาด้วยสัมมา-

ทิฏฐิ กล่าวคือ วิปัสสนาญาณในบุพภาคนั้น ฆ่าโจรคือกิเลส บรรลุ

นิพพานด้วยเขมะ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะความที่สัมมาทิฏฐิเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่

พระโยคี ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน.

ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น. เหมือนเหรัญญิก

เอามือพลิกไปพลิกมา มองดูกหาปณะด้วยตา ย่อมรู้ว่า กหาปณะนี้ปลอม

นี้แท้ ฉันใด แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้น ในบุพภาคตรึกตรองด้วยวิตกมองดู

ด้วยวิปัสสนาปัญญา ย่อมรู้ว่าธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร เหล่านี้เป็นรูปาวจร

เป็นต้น. ก็หรือเหมือนช่างถาก ถากไม้ใหญ่ที่คนจับปลายพลิกไปพลิกมาด้วย

ขวาน ย่อมนำไปใช้การงานได้ ฉันใด พระโยคาวจรกำหนดธรรมทั้งหลาย

ที่วิตกตรึกตรองให้แล้วโดยนัยว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร เหล่านี้เป็น

รูปาวจรเป็นต้น ด้วยปัญญา ย่อมนำไปใช้การงานได้ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

สัมมาสังกัปปะนี้นั้น ก็มีอุปการะแม้แก่สัมมาวาจา เหมือนมีอุปการะ

แก่สัมมาทิฏฐิฉะนั้น. เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คหบดี

ตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาในภายหลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาวาจาในลำดับแห่งสัมมาสังกัปปะนั้น.

ก็เพราะคนทั้งหลายตระเตรียมด้วยวาจาก่อนว่า เราจักทำการงานนี้

และการงานนี้ แล้วจึงประกอบการงานทั้งหลายในโลก เพราะฉะนั้น วาจา

จึงเป็นอุปการะแก่กายกรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

สัมมากัมมันตะในลำดับแห่งสัมมาวาจา

ก็อาชีวัฏฐมกศีล ย่อมบริบูรณ์แก่บุคคลผู้ละวจีทุจริต ๔ อย่าง

และกายทุจริต ๓ อย่าง บำเพ็ญสุจริตทั้ง ๒ อย่างเท่านั้น หาบริบูรณ์แก่

บุคคลนอกนี้ไม่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาอาชีวะใน

ลำดับแห่งสุจริตทั้ง ๒ นั้น.

อนึ่ง บุคคลมีอาชีวะบริสุทธิ์อย่างนี้ ทำความยินดีด้วยเหตุเพียงนี้ว่า

อาชีวะของเราบริสุทธิ์แล้ว ไม่ควรอยู่อย่างคนหลับหรือประมาท ดังนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัมมาวายามะในลำดับแห่งสัมมาอาชีวะนั้น เพื่อ

ทรงแสดงว่า บุคคลควรปรารภความเพียรนี้ในทุกอิริยาบถ.

แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาสติในลำดับแห่งสัมมา-

วายามะนั้น เพื่อทรงแสดงว่า สติอันดำรงมั่นดีแล้วในวัตถุทั้ง ๔ มีกายเป็น

ต้น แม้บุคคลผู้ปรารภความเพียรแล้วก็ควรทำ.

ก็เพราะสติที่ตั้งมั่นดีแล้วอย่างนี้ ย่อมอำนวยคติแห่งธรรมทั้งหลาย

ที่อุปการะแก่สมาธิเพียงพอเพื่อจิตมั่นในเอกัตตารมณ์ เพราะเหตุนั้น พึงทราบ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัมมาสมาธิในลำดับแห่งสัมมาสติ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

บทว่า เอเตส ธมฺมาน สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การ

กระทำให้ประจักษ์ซึ่งธรรมมีโสดาปัตติผลเป็นต้นเหล่านั้น.

บทว่า เอกมิทาห นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเพราะเหตุอะไร.

ได้ยินว่าพระราชานี้มีลัทธิอย่างนี้ว่า รูปเป็นอัตตา. ด้วยเหตุนั้น จิตของ

พระราชานั้นจึงไม่น้อมไปในเทศนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงปรารภถึงข้อนี้ เพื่อทรงนำมาซึ่งเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อทรงทำให้แจ้งซึ่ง

ลัทธิของพระราชานั้น. ในเรื่องนั้นมีเนื้อความโดยย่อดังนี้. สมัยหนึ่ง เราอยู่

ในโฆษิตาราม ครั้งนั้นบรรพชิตสองรูปนั้น ถามเราอย่างนี้. ลำดับนั้นเราจึง

แสดงถึงการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าแก่บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อจะแสดงตัน-

ติธรรม จึงได้กล่าวข้อนี้ว่า ผู้มีอายุ กุลบุตรผู้ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

บวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ บำเพ็ญศีล ๓ อย่าง บรรลุถึง

ฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ดำรงอยู่อย่างนี้ พึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ชีพก็อัน

นั้น คำนั้นสมควรแก่กุลบุตรนั้นหรือหนอ. ลำดับนั้น ครั้นบรรพชิตทั้ง

สองนั้นกล่าวว่า สมควรก็เราแลได้คัดค้านวาทะนั้นว่า ผู้มีอายุ ความข้อนี้

เรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ดังนั้นแลเราจึงไม่กล่าวอย่างนี้ แล้วแสดง

พระขีณาสพยิ่ง ๆ ขึ้นไป บอกแก่กุลบุตรนี้ว่า ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ บรรพชิต

เหล่านั้น ฟังคำพูดของเราแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี ดังนี้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว พระราชาแม้นั้นก็มีใจ

ยินดี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณ์-

พจน์นี้แล้ว โอฏฐัทธลิจฉวี มีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

อรรถกถามหาลิสูตร ในอรรกถาทีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินี จบ

ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถามหาลิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

๗. ชาลิยสูตร

เรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิปริพายก

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี.

ครั้งนั้น บรรพชิตสองรูป คือ ปริพาชก ชื่อ มัณฑิยะ ๑ ชาลิยะ อันเตวาสิก

ของบรรพชิตผู้ใช้บาตรไม้ ๑ ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้งผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม ชีวะอันนั้น สรีระ

อันนั้น หรือ ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น

เธอฟังเถิด ทำในใจจงดีเถิด เราจักกล่าว. บรรพชิตสองรูปนั้นทูลรับว่า

จักทำตามแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ พระตถาคตเสด็จอุบัติ

ในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ [พึงดูพิสดารในสามัญญผล

สูตร] ฯลฯ แน่ะเธอ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล. เข้าถึง

ปฐมฌานอยู่.

[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้

เห็นอย่างนี้ ควรจะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น

สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควรกล่าวอย่าง

นั้นว่า ฯลฯ ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีวะ

อันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. ทุติยฌาน. ตติยฌาน.

เข้าถึงจตุตถฌานอยู่.

[๒๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้

เห็นอย่างนี้ สมควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควรกล่าว

ว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ

ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า ชีวะอันนั้น

สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. ภิกษุนำไปเฉพาะ น้อมไปเฉพาะ

ซึ่งจิตเพื่อญาณทัสสนะ. แน่ะเธอ ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้

เห็นอย่างนี้ สมควรหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะ

อันอื่น สรีระอันอื่น. แน่ะเธอ ภิกษุผู้รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ไม่สมควร

กล่าวว่า ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น.

แน่ะเธอ ก็เรารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไม่กล่าวว่า

ชีวะอันนั้น สรีระอันนั้น หรือว่า ชีวะอันอื่น สรีระอันอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้. บรรพชิตสองรูปนั้นดีใจชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วแล.

จบชาลิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

อรรถกถาชาลิสูตร

(เดิมไม่ได้แปลไว้)

ชาลิยสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ ในกรุงโกสัมพี

เป็นต้น

ในชาลิยสูตรนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า

โฆสิตาราเม ความว่า ในอารามที่โฆษิตเศรษฐีสร้างถวาย.

ได้ยินว่าในกาลก่อน ได้มีนครแห่งหนึ่งชื่อทมิฬรัฐ. จากนครนั้น

บุรุษเข็ญใจชื่อโกตูหลิก พร้อมกับบุตรและภรรยาหนีไปสู่อวันตีรัฐ เพราะ

ฉาตกภัย เมื่อไม่อาจนำบุตรไปได้จึงทิ้งบุตรเสียแล้วเดินทางต่อไป. มารดา

กลับไปรับเอาบุตรนั้น. เขาจึงพากันไปยังบ้านนายโคบาลแห่งหนึ่ง. ก็ในกาล

นั้นนายโคบาลได้ตระเตรียมข้าวปายาสไว้มาก. เขาได้กินข้าวปายาสนั้น.

ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นกินข้าวปายาสมาก ไม่อาจจะให้ย่อยได้ ตกกลางคืน

ได้ตายไป ถือปฏิสนธิในท้องแม่สุนัข เกิดเป็นลูกสุนัขน้อยในบ้านนายโคบาล

นั้นเทียว. ลูกสุนัขน้อยนั้นเป็นที่รักของนายโคบาล. และนายโคบาลบำรุง

อุปัฏฐาก พระปัจเจกพุทธเจ้า. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ให้ก้อนข้าวก้อนหนึ่ง ๆ

แก่ลูกสุนัขน้อยในกาลเสร็จภัตกิจ. ลูกสุนัขน้อยนั้นเกิดความรักในพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า จึงไปยังบรรณศาลา พร้อมกับนายโคบาล. ครั้นนายโคบาล

ไม่ใช้ไปก็ไปเอง ในเวลาภัตเฝ้าอยู่ที่ประตูบรรณศาลา เพื่อรอเวลา และเฝ้าดู

สัตว์ร้ายในระหว่างทางให้สัตว์ร้ายหนีไป. สุนัขน้อยนั้นตายไปเกิดในเทวโลก

ด้วยจิตอ่อนน้อมในพระปัจเจกพุทธะ. ในเทวโลกนั้น เขาจึงมีชื่อว่า โฆสก-

เทวบุตร.

โฆสกเทวบุตรนั้น จุติจากเทวโลกแล้วไปเกิดในเรือนตระกูลหนึ่งใน

กรุงโกสัมพี. เศรษฐีไม่มีบุตรได้ให้ทรัพย์แก่บิดามารดาของทารกนั้น ได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

รับเขาเป็นบุตร. ต่อมาครั้นบุตรของตนเกิด เศรษฐีก็พยายามให้ฆ่าเขาถึงเจ็ด-

ครั้ง. เขาไม่ถึงความตายในที่เจ็ดแห่ง เพราะค่าที่ตนเป็นผู้มีบุญ ในที่สุดก็

ได้ชีวิตรอดมา เพราะความช่วยเหลือของธิดาเศรษฐีคนหนึ่ง. ในกาลต่อมา

เมื่อบิดาล่วงลับไป เขาจึงได้ตำแหน่งเศรษฐีชื่อว่า โฆษิตเศรษฐี.

ก็ในกรุงโกสัมพียังมีเศรษฐีอีกสองคน คือ กุกกุฏเศรษฐีและปาวาริก-

เศรษฐี รวมเป็น ๓ คนกับโฆษิตเศรษฐีนี้. ก็โดยสมัยนั้น ดาบส ๕๐๐

คนจากป่าหิมพานต์ พากันไปยังกรุงโกสัมพี เพื่อตากอากาศอบอุ่น. เศรษฐี

สามคนนั้น ได้สร้างบรรณกุฏิในอุทยานของตน ๆ ทำการบำรุงแก่ดาบสเหล่า

นั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ดาบสเหล่านั้นมาจากป่าหิมพานต์ ได้รับหนาวจัด

ลำบากในทางกันดารมาก ถึงต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง พากันนั่งรอรับการ

สงเคราะห์จากสำนักของเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไทรนั้น. เทวดาได้เหยียด

แขนซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ให้วัตถุมีน้ำดื่มน้ำใช้เป็นต้นแก่

ดาบสเหล่านั้นบรรเทาความลำบาก.

ดาบสเหล่านั้นยิ้มแย้มด้วยอานุภาพแห่งเทวดา จึงถามว่า ข้าแต่เทพ

ท่านทำกรรมอะไรหนอแล จึงได้สมบัตินี้. เทวดากล่าวว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระนามว่า พุทธ ได้เกิดแล้วในโลก บัดนี้ พระองค์ประทับ อยู่ ณ-

กรุงสาวัตถี ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ในวันอุโบสถทั้งหลาย ท่านอนาถบิณฑิกะให้ภัตและค่าจ้างตามปกติแก่ลูกจ้าง

ของตน แล้วให้รักษาอุโบสถศีล อยู่มาวันหนึ่งในเวลาเที่ยงวัน ข้าพเจ้า

มาเพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้า ได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกะไม่ทำการงานเกี่ยวกับ

ลูกจ้างอะไรเลย จึงถามว่า ในวันนี้ มนุษย์ทั้งหลายไม่ทำการงานเพราะเหตุ

อะไร เขาเหล่านั้นได้บอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า ลำดับนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

คำนี้ว่า บัดนี้ได้ล่วงไปครึ่งวันแล้ว ข้าพเจ้าอาจเพื่อรักษาอุโบสถครึ่งหนึ่ง

หรือหนอแล แต่นั้นท่านเศรษฐีให้ดีใจแล้วพูดว่าอาจรักษาได้ ข้าพเจ้านั้นจึง

ได้สมาทานอุโบสถครึ่ง ในครึ่งวัน ได้ทำกาลกิริยาในวันนั้นเทียวจึงได้รับ

สมบัตินี้.

ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเกิดปิติปราโมทย์ว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้า

เกิดขึ้นแล้ว ประสงค์จะไปสู่กรุงสาวัตถี จากนั้นพากันไปสู่กรุงโกสัมพีด้วย

คิดว่า เศรษฐีผู้บำรุงมีอุปการะมากแก่พวกเรา พวกเราจักบอกเนื้อความนี้แก่

เศรษฐีแม้เหล่านั้น ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกระทำสักการะมากมาย จึงกล่าวว่า

พวกเราจะไปในเวลานั้นเทียว. ผู้อันเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านรีบร้อน

อะไรหนอ ในกาลก่อนพวกท่านจะอยู่ตลอดสี่เดือนจึงไป ได้บอกประวัตินั้น.

และครั้นเศรษฐีทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ถ้าอย่างนั้นพวกเราจะไปพร้อม

กัน จึงกล่าวว่าพวกเราจะไป ขอให้พวกท่านคอยตามมา แล้วไปสู่กรุงสาวัตถี

บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายเศรษฐี

เหล่านั้นมีเกวียนคนละ ๕๐๐ เล่มเป็นบริวารไปสู่กรุงสาวัตถี ได้ทำกิจมีทาน

เป็นต้น ทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์เสด็จมาสู่กรุงโกสัมพี

กลับมาสร้างวัดสามแห่ง. ในเศรษฐีเหล่านั้น กุกุกุฏเศรษฐีสร้างวัดชื่อว่า

กุกกุฏาราม ปาวาริกเศรษฐีสร้างวัด ชื่อ ปาวาริกัมพวัน ท่านโฆษิตเศรษฐี

สร้างวัดชื่อโฆษิตาราม. ท่านหมายถึงโฆษิตารามนั้น จึงกล่าวว่า โกสุมฺ-

พิย วิหรติ โฆสิตาราเม ดังนี้.

บทว่า มณฺฑิโย นี้เป็นชื่อของบรรพชิตนั้น. บทว่า ชาลิโย แม้นี้

เป็นชื่อของบรรพชิตอีกรูปหนึ่งเหมือนกัน. ก็เพราะพระอุปัชฌาย์ของชาลิยะ

นั้น เที่ยวบิณฑบาตด้วยบาตรทำด้วยไม้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ทารุปตฺติกนฺเตวาสี. บทว่า เอตทโวจุ ความว่าบรรพชิตทั้งสองประสงค์

จะทูลบอกวาทะโดยประสงค์จะโต้ตอบ จึงทูลเนื้อความนั่น. ได้ยินว่าบรรพชิต

สองรูปนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพระสมณโคดมตรัสว่า ชีวะอันนั้น สรีระ

อันนั้น ลำดับนั้น พวกเราก็จักยกวาทะนั่นของพระสมณโคดมนั้นว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ตามลัทธิของท่าน สัตว์ในโลกนี้เทียว จะดับสูญ ด้วยเหตุ

นั้นวาทะของพระองค์ท่าน ย่อมเป็นอุจเฉทวาทะ แต่ถ้าตรัสว่า ชีวะอันอื่น

สรีระอันอื่น ลำดับนั้น พวกเราจักยกวาทะของพระสมณโคดมนั้นว่า ในวาทะ

ของท่านรูปย่อมดับสูญ สัตว์ย่อมไม่ดับสูญ เพราะเหตุนั้น วาทะของพระองค์

ท่าน สัตว์ก็จะเที่ยง ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า บรรพชิตเหล่านี้ ย่อม

ถามปัญหาเพื่อประโยชน์แก่การยกวาทะ แต่บรรพชิตเหล่านี้ไม่อ้างอิงที่สุด

สองอย่างในศาสนาของเรา จึงไม่รู้ว่ามัชฌิมาปฏิปทามีอยู่ เอาละ เราจะไม่แก้

ปัญหาของบรรพชิตเหล่านั้น จะแสดงธรรมเพื่อความแจ่มแจ้งแห่งปฏิปทา

เห็นปานนี้แม้นั้น จึงตรัสว่า เตนหาวุโส ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กลฺล นุโข ตสฺเสต วจนาย ความว่า บรรพชิต

ผู้บวชด้วยศรัทธาบำเพ็ญศีล ๓ อย่างบรรลุปฐมฌานนั้น สมควรกล่าวคำนั้น

หรือหนอ อธิบายว่า คำนั้นควรเพื่อกล่าวด้วยคำพูด. ปริพาชกทั้งหลายได้

ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว สำคัญอยู่ว่า ธรรมดาปุถุชนย่อมไม่สิ้นความสงสัย

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้นในบางคราว จึงกล่าวว่า กลฺล ตสฺเสต วจนาย

ดังนี้. บทว่า อถ จ ปนาห น วทามิ ความว่า เราตั้งสัญญาว่า ความข้อ

นั้นเรารู้อย่างนี้ จึงไม่กล่าวอย่างนั้น ถ้าและเมื่อภิกษุกระทำกสิณบริกรรม

เจริญอยู่ มหัคคตจิตนั้นก็เกิดขึ้นด้วยกำลังปัญญา. บทว่า น กลฺล ตสฺเสต

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

ความว่า ปริพาชกเหล่านั้นสำคัญความข้อนี้กล่าวว่า พระขีณาสพปราศจาก

ความงมงาย ปราศจากความสงสัย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พระขีณาสพ

นั้นจึงไม่ควรกล่าวความข้อนั้น. บทที่เหลือในชาลิยสูตรนั้นมีเนื้อความง่าย

ทั้งนั้น.

อรรถกถาชาลิยสูตร ในอรรถกถาทีฆนิการ ชื่อสุมังคลวิลาสินี จบ

เพียงเท่านี้.

จบอรรถกถาชาลิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

๘. มหาสีหนาทสูตร

เรื่องของอเจลกัสสป

[๒๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน

ใกล้อุชุญญานคร. ครั้งนั้น อเจล ชื่อกัสสป เข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง

ทรงคัดค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง

โดยส่วนเดียว สมณพราหมณ์เหล่านั้น มักกล่าวตามคำที่พระโคดมผู้เจริญตรัส

ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญคำไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรม

ตามสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามที่ชอบธรรม แม้น้อย

หนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความ

ประสงค์ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป

สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัด

ค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วน

เดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่

เป็นจริง. ดูก่อนกัสสป เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะมีอาชีพเศร้าหมองบาง

คนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ก็มี เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรกก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อยเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ดูก่อนกัสสป เรานั้นรู้การมา การไป จุติ

และอุบัติของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เราจัก

ติตบะทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพ

เศร้าหมองโดยส่วนเดียวทำไมเล่า.

[๒๖๑] ดูก่อนกัสสป สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญา

ละเอียด ทำการโต้เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนูอยู่ พวกเขาน่าจะ

เที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลายด้วยปัญญา. ก็สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมลงกับเราใน

ฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเราในฐานะบางอย่าง. บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี แม้

เราก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่าง

ที่เขากล่าวว่าดี เรากลับกล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากลับ

กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี.

บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี

ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. เรา

เข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ฐานะ

ที่เราไม่ลงกันจงงดไว้ ในฐานะทั้งหลายที่ลงกัน วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบ

สวน เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของท่าน

พวกนี้เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ

นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็น

ฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่

พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

[๒๖๒] ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือวิญญูชนเมื่อซัก

ไซ้ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใด เป็น

อกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ

ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็น

ฝ่ายดำ พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือว่า ท่าน

คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียง

สอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.

[๒๖๓] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบ

สวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรม

ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็น

ฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครเล่าสมาทานธรรมเหล่านี้ไม่มีเหลือ ประพฤติ

อยู่ พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรม

ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็น

ฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มี

เหลือ พระพฤติอยู่ หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนใน

โลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญ เราพวกเดียว

ในข้อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

[๒๖๔] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่ง วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน

พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของ

ท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควร

เสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ

เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติ

อยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล

มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ

นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ หมู่สาวกของ

พระโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของ

คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อ

ซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.

[๒๖๕] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่ง วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน

พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลาย

ของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ

เป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ

ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่า-

อื่น. ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียง

สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่า

เป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว หมู่

สาวกของพระโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่

สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อ

ซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.

ดูก่อนกัสสป มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้วจะรู้เอง จะเห็น

เองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม

กล่าววินัย. ดูก่อนกัสสป มรรคเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติ

แล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าว-

อรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย. มรรคมีองค์ ๘ อัน ประเสริฐนี้ คือ ความ

เห็นชอบ ความดำริชอบ พูดชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ

ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. ดูก่อนกัสสป มรรคนี้แล ปฏิปทานี้ ที่บุคคลปฏิบัติ

ตามแล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง

กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย.

[๒๖๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้ทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะแม้เหล่านี้ นับว่าเป็นสามัญคุณ และ

นับว่าเป็นพรหมัญคุณของสมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ คนเปลือย ทอดทิ้ง

มรรยาท เลียมือ เชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับ

ภิกษาที่แบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่ทำเจาะจง ไม่รับภิกษาที่ได้นิมนต์ไว้ เขา

ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืน

คร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับ

ภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน ๒ คน ที่กำลังบริโภค

อยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับ

ภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม

ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มของหมักดอง. เขารับภิกษา

ที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง

เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคำบ้าง รับภิกษาที่เรือนเจ็ดหลัง เยียวยาอัตภาพ

ด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง

เจ็ดใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง.

เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง

ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ นับว่าเป็น

สามัญคุณและเป็นพรหมัญคุณ คือ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่าง

เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็น

ภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษา

บ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง

มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ. ข้าแต่

พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะ ของสมณพราหมณ์เหล่านี้ จัดเป็นสามัญ-

คุณ และเป็นพรหมัญคุณ คือ เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพ

บ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง

ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วย

ผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าแมวบ้าง เป็นผู้

ถอนผนและหนวด ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็น

ผู้ยืนห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง ประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง

เป็นผู้นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่น-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

กระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง

เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีอยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้

บริโภคคูถ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น

ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำ

วันละสามครั้งอยู่บ้าง.

[๒๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือย

ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต

ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญา-

สัมปทานี้ เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้ เขา

ยังห่างไกลจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญ

เมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์

บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา

ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ.

เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา นี้เป็นอันเขาไม่ได้อบรม

แล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกลจากสามัญคุณ และ

พรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ

อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป

ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาทรงผ้า-

ป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

วันละสามครั้งอยู่บ้าง เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้

เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกล

จากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิต

อันไม่มีเวร ไม่ความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.

[๒๖๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้ทูล

ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป คำกล่าวนั่นเป็นปกติในโลกแล ที่

สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือย

ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต

ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ

จักเป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้

และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ข้อนั้นไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้

ยาก พรหมัญคุณทำได้ยากดังนี้แล ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นาง

กุมภทาสี จักอาจทำสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ

เราจักเป็นคนเปลือยทอดทิ้งมรรยาท. เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวาย

ในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสป ก็เพราะ

สามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทำได้ยาก ทำได้แสนยาก เพราะต้องเว้น

การปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่

กล่าวว่าสามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยากนั่น สมควรแล้ว. ดูก่อน

กัสสปต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า

สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขา เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง

มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภค

ผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณ. หรือพรหมัญคุณ จัก

เป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และ

ด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหม-

มัญคุณทำได้ยาก ดังนี้เลย ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี

จักอาจทำสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้นได้ ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะ

เป็นคนเปลือย มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้า

และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสป

ก็เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก

เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้

เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดัง

นี้ สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้

ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการ

อาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จัก

เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้

และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้เลย.. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นาง

กุมภทาสี จักอาจทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ด้วยการกล่าวว่า เอา

เถอะเราจะทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายใน

การลงอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็เพราะสามัญคุณหรือ

พรหมัญคุณ เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการ

ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และเพราะต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น

การที่กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้ สมควร

แล้ว. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียด-

เบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ

อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองไปปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ

ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.

[๒๖๙] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูล

ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ คำกล่าวที่ว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก นั่น

เป็นปกติในโลกแล. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลีย

มือ ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเห็นปาน

นี้อยู่ ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการ

ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า

สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่

สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจ สามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์แม้นี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ ประกอบความ

ขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือน เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

เพราะสมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการ

ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้นการที่

กล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสปะ

ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง

พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าว

ฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่

หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์ จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสน

ยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจัก

ต้องกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือ

พราหมณ์นั่น อันคหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้

ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา

ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ.

ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้อง

เว้นจากการปฏิบัติอันมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะ

ฉะนั้นจึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อนกัสสปะ ก็

เพราะภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง

พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ

ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อย

นี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจักกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์

รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือพราหมณ์นั้น อันคหบดีหรือบุตรคหบดี

โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ ทรงผ้าป่าน

บ้าง ทรงผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวายในการอาบน้ำวัน

ละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ เพราะเว้นจากการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้

และเว้นจากการบำเพ็ญตบะนี้ สมณะหรือพราหมณ์จะรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก

เพราะฉะนั้น จึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อน

กัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เรา

เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง ดังนี้.

[๒๗๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูล

ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สีลสัมปทานนั้นเป็นไฉน จิตตสัมปทาเป็นไฉน

ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ พระตถาคต

เสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ฯลฯ ดูก่อนกัสสปะ ก็ภิกษุ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ งดเว้นจาก

การฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความ

กรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นสีลสัมปทาของเธอประการ

หนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นประกอบพร้อมด้วยศีลสีลขันธ์อันประเสริฐนี้ เสวยสุขอันไม่

มีโทษ เป็นไปในภายใน ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ นี้

แลสีลสัมปทานั้น ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ นี้เป็นจิตสัมปทาของเธอประการ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

หนึ่ง นี้แลจิตตสัมปทา ฯลฯ โน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. นี้เป็นปัญญา-

สัมปทาของเธอประการหนึ่ง ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง นี้แลญาณสัมปทา. ดูก่อน

กัสสปะ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยิ่งกว่า หรือประณีต

กว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้ไม่มีเลย.

[๒๗๑] ดูก่อนกัลสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวศีล สรรเสริญ

คุณแห่งศีลโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ศีลอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณ

เท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในศีลนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริง

เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในศีลนั้น คือ อธิศีล. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่งเป็นผู้กล่าวตบะอันกีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญคุณตบะอันกีดกันกิเลส

โดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐยอดเยี่ยมมี

ประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในตบะนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน

ที่จริง เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในตบะนั้น คือ อธิจิต. ดูก่อนกัสสปะ ยังมีสมณ-

พราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวปัญญา สรรเสริญคุณแห่งปัญญาโดยอเนกปริยาย.

ดูก่อนกัสสปะ ปัญญาอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใด

ทัดเทียมเรา ในปัญญานั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริง เราผู้เดียวเป็นผู้

ยิ่งกว่า ในปัญญานั้นคือ อธิปัญญา. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

เป็นผู้กล่าววิมุตติ สรรเสริญคุณแห่งวิมุตติโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ

วิมุตติอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราใน

วิมุตตินั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริงเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าในวิมุตตินั้น

คือ อธิวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

[๒๗๒] ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือพวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท แต่บันลือ

ในเรือนว่าง ไม่ใช่ในบริษัท. ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่า

กล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือ

สีหนาท บันลือในบริษัท ไม่ใช่ในเรือนว่าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะ-

โคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ไม่ใช่บันลืออย่างองอาจ. ท่าน

พึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่าน

พึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้ง

บันลืออย่างองอาจ. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชก

อัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือใน

บริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์มิได้ถามปัญหาเธอ ถึงถาม

เธอก็พยากรณ์ไม่ได้ ถึงจะพยากรณ์ได้ ก็ยังจิตของเขาให้ยินดีด้วยการพยากรณ์

ปัญหาไม่ได้ ถึงให้ยินดีได้ เขาก็ไม่สำคัญจะฟัง ถึงฟัง ก็ไม่เลื่อมใส ถึง

เลื่อมใสก็ไม่ทำอาการของผู้เลื่อมใส ถึงทำก็ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น

ถึงปฏิบัติก็ไม่ชื่นชม. ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้

เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และ

บันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์ย่อมถามปัญหา

พระองค์ พระองค์ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น

ได้ ยังจิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา เทวดา

และมนุษย์เหล่านั้นย่อมสำคัญปัญหาพยากรณ์ว่า อันตน ๆ ควรฟัง ครั้นฟัง

แล้วย่อมเลื่อมใส ครั้นเลื่อมใสแล้ว ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส ย่อมปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

เพื่อความเป็นอย่างนั้น ครั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมชื่นชม. ดูก่อนกัสสปะ. สมัย

หนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. เพื่อนพรหมจรรย์ของท่านคน

หนึ่งในกรุงราชคฤห์นั้น ชื่อว่า นิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาในตบะอันกีด

กันกิเลสอย่างยิ่ง เราถูกถามแล้วได้พยากรณ์แก่เขา เมื่อเราพยากรณ์แล้วเขา

ปลื้มใจเหลือเกิน.

[๒๗๓] อเจลกัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า ฟังธรรม

ของผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน แม้ข้าพระองค์ฟังธรรม

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังปลื้มใจเหลือเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต

ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตไพเราะยิ่งนัก เปรียบเหมือนหงายของ

ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย

คิดว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรม

โดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้

ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์

พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.

[๒๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส

๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้. อเจลกัสสปะ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา

หวังอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือน

ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพ-

ชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ. อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบท

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ก็ท่านกัสสปะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกแต่ผู้เดียว ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบตองการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้. ก็ท่านกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งใน

จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.

จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร

มหาสีหนาทสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองอุรุญญา. เป็นต้น. ในมหาสีหนาทสูตรนั้นมีการ

พรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้

บทว่า อรุญฺาย ความว่าคำว่า อุรุญญา นี่แหละเป็นชื่อของแคว้น

บ้าง ของเมืองบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองอุรุญญาประทับอยู่.

บทว่า ในสวนกวางชื่อกัณณกถละ คือ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อ

กัณณกถละมีอยู่ในที่ไม่ไกลแห่งเมืองนั้น. ภูมิภาคนั้น เรียกว่า สวนกวาง

เพราะพระราชทานอภัยแก่กวาง ในสวนกวางชื่อกัณณกถละนั้น.

บทว่า เปลือย คือ นักบวชเปลือย. บทว่า กัสสปะ เป็นชื่อของ

นักบวช นั้น. บทว่า ผู้มีตปะ คือ ผู้อาศัยตปะ. บทว่า ผู้มีการเลี้ยงชีพ

เศร้าหมอง คือ การเลี้ยงชีพของนักบวชนั้นเศร้าหมองด้วยอำนาจแห่งความ

เปลือยและการมีความประพฤติเสียเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีการเลี้ยงชีพ

เศร้าหมอง. ผู้มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองนั้น. บทว่า ย่อมติเตียน คือ ย่อม

ตำหนิ. บทว่า ย่อมว่าร้าย คือ ย่อมเย้ยหยัน ย่อมเพิดเพ้ย. บทว่า และ

ย่อมพยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม คือ ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่

พระโคตมะผู้เจริญตรัสแล้ว. บทว่า วาทะและอนุวาทะ เป็นไปกับด้วยธรรม

คือ วาทะและอนุวาทะของท่าน มีเหตุด้วยเหตุที่คนอื่นกล่าวแล้วคือเหตุอัน

๑. บาลีเป็น อุชุญญา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ผู้รู้พึงติเตียนว่า ใคร ๆ แม้ไม่ประมาท ก็ไม่มาหรือ. คำนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า

เหตุที่ควรติเตียนในเพราะวาทะของท่านไม่มีหรือ. คำว่า ไม่ต้องการกล่าวตู่

คือ ไม่ต้องการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง.

ในคำว่า ผู้มีตปะ มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองบางคน เป็นต้น พึงทราบ

ดังนี้ คนในโลกบางคนมีตปะ เพราะอาศัยตปะมีการบวชเป็นอเจลกเป็นต้น

คิดว่า เราจักเลี้ยงชีวิตด้วยของเศร้าหมอง จึงยังตนให้ลำบากด้วยประการ

ต่าง ๆ มีกินหญ้าและขี้วัวเป็นต้น และไม่ได้การดำเนินชีวิตด้วยความสุข

เพราะมีบุญน้อย. เขาบำเพ็ญทุจริต ๓ แล้วเกิดในนรก. อีกคนหนึ่ง อาศัย

ตปะเช่นนั้นเป็นผู้มีบุญ ย่อมได้ลาภสักการะ. เขาเข้าใจว่า บัดนี้ คนเช่นเรา

ไม่มีแล้ว ยกย่องตนไว้อยู่ในฐานะสูงคิดว่า จักยังลาภให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้น และ

บำเพ็ญทุจริต ๓ ด้วยอำนาจแห่งอเนสนา แล้วจะเกิดในนรก นัยต้นกล่าว

หมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.

อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง แม้อาศัยตปะ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อม

ไม่ได้การดำเนินชีวิตด้วยความสุข. เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบาย ย่อมไม่

เกิดขึ้นแก่เรา เพราะไม่ได้ทำบุญไว้ในก่อน เอาละ บัดนี้ เราจะทำบุญ

ดังนี้แล้วบำเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดในสวรรค์.

อีกคนหนึ่ง เลี้ยงชีพเศร้าหมอง เป็นผู้มีบุญ ย่อมได้การดำเนินชีวิต

ด้วยความสุข เขาคิดว่า ความเป็นอยู่สบายย่อมเกิดแก่เรา เพราะเป็นผู้ทำ

บุญไว้ในก่อน ละอเนสนาแล้ว บำเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดในสวรรค์. นัยที่ ๒

กล่าวหมายถึงบรรพชิตทั้งสองนี้.

ส่วนผู้บำเพ็ญตปะคนหนึ่ง มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยความประพฤติ

ภายนอก เป็นดาบส หรือเป็นปริพาชกที่ปกปิด ย่อมไม่ได้ปัจจัยที่ชอบใจ

เพราะมีบุญน้อย. เขาบำเพ็ญทุจริต ๓ ด้วยอำนาจแห่งอเนสนา ตั้งตนไว้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ในความสุข จะเกิดในนรก. อีกรูปหนึ่งมีบุญ เกิดมานะขึ้นว่า บัดนี้ คน

เช่นเราไม่มี หรือยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจอเนสนา. คิดส่ง ๆ

เป็นต้น ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิว่า ความสัมผัสแห่งปริพาชิกาสาวรุ่น ผู้

มีขนอ่อนนุ่มนี้เป็นความสุข หรือถึงความดื่มด่ำในกาม บำเพ็ญทุจริต ๓ จะ

ตกนรก. นัยที่ ๓ กล่าวถึงบรรพชิตทั้งสอง.

ส่วนอีกรูปหนึ่ง มีทุกข์น้อย มีบุญน้อย. เขาคิดว่า เราไม่ได้ชีวิต

ด้วยความสุข เพราะไม่ได้ทำบุญไว้แม้ในก่อน ดังนี้แล้วบำเพ็ญสุจริต ๓ จึง

เกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง มีบุญ. เขาคิดว่า เราได้ความสุข เพราะทำบุญ

ไว้ในก่อน แม้บัดนี้ ก็จักทำบุญเหมือนกัน จึงบำเพ็ญสุจริต ๓ จะเกิดใน

สวรรค์. นัยที่ ๔ กล่าวถึงบรรพชิตสองรูปนี้. การกระทำนี้มาด้วยอำนาจ

แห่งเดียรถีย์ ไม่ได้แม้ในศาสนา.

นักบวชบางคน เป็นผู้มีความเป็นอยู่เศร้าหมองด้วยอำนาจแห่งการ

สมาทานธุดงค์ หรือเที่ยวไปทั่วบ้าน ก็ไม่ได้อาหารเต็มท้อง เพราะมีบุญ

น้อย. เขาคิดว่าจักยังปัจจัยให้เกิดขึ้น จึงทำอเนสนาด้วยอำนาจเวชกรรม

เป็นต้น โอ้อวดพระอรหัต หรือซ่องเสพเรื่องโกหก ๓ ประการ ย่อมเกิด

ในนรก. อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีบุญเช่นนั้นเหมือนกัน. เขายังมานะให้เกิด

ขึ้นเพราะบุญสมบัตินั้น ประสงค์จะทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง จึงบำเพ็ญ

ทุจริต ๓ ด้วยอำนาจอเนสนา ย่อมเกิดในนรก.

อีกรูปหนึ่ง สมาทานธุดงค์ เป็นผู้มีบุญน้อย ย่อมไม่ได้การดำเนิน

ชีวิตโดยความสุข. เขาคิดว่า เราไม่ได้อะไร ๆ เพราะไม่ได้ทำบุญไว้ในก่อน

ถ้าบัดนี้ จักทำอเนสนาแล้ว แม้ต่อไป ก็จักได้ความสุขยาก ดังนี้แล้ว บำเพ็ญ

สุจริต ๓ เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัต ก็จะเกิดในสวรรค์. อีกรูปหนึ่ง เป็น

ผู้มีบุญ. เขาคิดว่า เดี๋ยวนี้ เรามีความสุข เพราะทำบุญไว้ในก่อน แม้บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ก็จักทำบุญ ดังนี้แล้ว ละอเนสนา บำเพ็ญสุจริต ๓ เมื่อไม่อาจบรรลุ

พระอรหัตก็จะเกิดในสวรรค์

คำว่า ซึ่งที่มาด้วย คือคนเหล่านี้มาจากที่โน้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า ที่มา

อย่างนี้. บทว่า คติญฺจ ความว่า สถานที่จะพึงไปในบัดนี้. คำว่า ซึ่งที่

จุติด้วย คือ เคลื่อนจากที่นั้นด้วย. คำว่า ซึ่งที่เกิดด้วย คือ ความเกิด

อีก ของผู้จุติจากที่นั้น คำว่า เราจักติเตียนตปะทั้งปวงทำไม คือ เราจัก

ติเตียนด้วยเหตุไร. ด้วยว่า เราย่อมติเตียนสิ่งที่ควรติเตียน สรรเสริญสิ่งที่

ควรสรรเสริญ. จริงอยู่ เขาก็เหมือนช่างย้อมผ้า กระทำการห่อผ้า ไม่แสดง

ว่า เราจักทำผ้าที่ซักแล้ว และยังไม่ได้ซักไว้ห่อเดียวกัน. บัดนี้ เมื่อพระองค์

จะประกาศความข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ สมณพราหมณ์

พวกหนึ่ง มีอยู่.

คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางอย่าง คือ ศีล ๕ . ก็ไม่มีใครในโลก

กล่าวศีล ๕ นั้นว่า ไม่ดี. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือเวร ๕ .

ไม่มีใคร ๆ กล่าวถึงเวรนั้นว่าดี. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง อีก คือ

ความไม่สำรวมในทวาร ๕. ได้ยินว่า เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า จักษุไม่ถูกปิด

เสีย ก็จะพึงเห็นรูปอันน่าพอใจด้วยจักษุ. นัยนี้ ย่อมมีในทวารอื่น มีโสตะ

เป็นต้น. คำว่า เขา (กล่าว) ถึงบางสิ่ง คือความสำรวมในทวาร ๕. เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะของพระองค์กับ

วาทะของผู้อื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงความเสมอและไม่เสมอแห่งวาทะ

ของผู้อื่น กับวาทะของพระองค์ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เรา....ใด.

แม้ในข้อนั้น ก็พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจศีล มีศีล ๕ เป็นต้น. คำ

ว่า สมนุยุญฺชนฺต คือ จงซักไซ้. ก็แลในที่นี้ เมื่อถามถึงความเห็น ชื่อว่า

ย่อมสอบถาม. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า ย่อมซักถาม เมื่อถามถึงทั้งสองอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

ชื่อว่า ย่อมสอบสวน. คำว่า ซึ่งศาสดากับศาสดา คือเปรียบเทียบศาสดา

กับศาสดาว่า ศาสดาของท่านละธรรมเหล่านั้นโดยประการทั้งปวงอย่างไร หรือ

ว่า พระสมณโคดม. แม้ในบทที่ ๒ ก็อย่างนี้เหมือนกัน. บัดนี้ เมื่อจะทรง

แสดงประกอบเนื้อความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า คนใด....แห่งผู้เจริญ

เหล่านี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ที่เป็นอกุศล ที่นับว่า เป็นอกุศล อธิบายว่า ที่

เป็นอกุศลด้วย ที่นับว่า ที่รู้ว่า เป็นอกุศลด้วย หรือว่า ที่ตั้งไว้เป็นส่วน.

นัยในบททั้งปวงก็อย่างนี้. อนึ่ง ในบทเหล่านี้ คำว่า มีโทษ คือเป็นไป

กับด้วยโทษ. คำว่า ไม่ประเสริฐ คือไม่อาจ ไม่สามารถ เพื่อเป็นธรรม

อันประเสริฐ โดยอรรถว่าไม่มีโทษ.

คำว่า ผู้รู้เมื่อสอบถามอันใด คือ เมื่อผู้รู้ถามเรา และผู้อื่น ด้วย

ข้อใด พึงกล่าวอย่างนี้ ฐานะนั้นมีอยู่ ความว่า มีเหตุนั้น. คำว่า ก็หรือ

ว่า คณาจารย์อื่น.....อันใด คือ ก็ท่านคณาจารย์อื่นละเหตุอันมีประมาณ

น้อยนั้นตามมีตามได้เป็นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น

ดังนี้ ทั้งในการสอบถามศาสดากับศาสดา ทั้งในการสอบถามสงฆ์กับสงฆ์

เพราะเหตุไร. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เป็นอันสรรเสริญศาสดา

เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้เมื่อผู้รู้เลื่อมใสก็ย่อมเลื่อมใสในสงฆ์ พร้อมด้วย

พระพุทธเจ้า และย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์.

จริงอย่างนั้น ผู้รู้เห็นความสำเร็จแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า

หรือฟังพระธรรมเทศนาแล้วกล่าวว่าดูก่อนผู้เจริญ เป็นลาภของพระสาวกผู้

ท่องเที่ยวอยู่ในสำนักของศาสดาเป็นปานนี้หนอ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในพระ-

สงฆ์ พร้อมทั้งพระพุทธสมบัติอย่างนี้ ก็ผู้รู้ทั้งหลาย เห็นอาจาระโคจร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

และอิริยาบถ มีการก้าวไปถอยกลับเป็นต้นของภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวว่า

ดูก่อนผู้เจริญ นี้เป็นอิริยาบถของพระสาวกผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสำนัก ก็แลคุณ

คือความสงบนี้ของพระศาสดาจักมีเพียงไร ชื่อว่า ย่อมเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

พร้อมทั้งพระสงฆ์ ดังนั้น การสรรเสริญพระศาสดาก็เป็นอันสรรเสริญ

พระสงฆ์ แม้การสรรเสริญพระสงฆ์ ก็เท่ากับสรรเสริญพระศาสดาเหมือนกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงสรรเสริญเราโดยมากในข้อนั้น ในนัยแม้ทั้ง

๒. เพราะแม้การสรรเสริญพระสงฆ์ก็เป็นอันสรรเสริญพระศาสนาเหมือนกัน

พระสมณะโคดมทรงละธรรมเหล่านี้ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นไป. ก็นี้เป็นความ

ประสงค์ในข้อนี้ แม้ในคำเป็นต้นว่า ก็หรือว่า คณาจารย์ผู้เจริญอื่นใด.

ก็แล วิรัติมี ๓ ด้วยอำนาจแห่งสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ และเสตุ

ฆาตวิรัติ ในวิรัติเหล่านั้น เพียงแต่สัมปัตตวิรัติ และสมาทานวิรัติ ย่อมมี

แก่ผู้อื่น ส่วนเสตุฆาตวิรัติไม่มีเลย โดยประการทั้งปวง. ก็ในตทังคปหาน

วิขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน ๕ อย่าง

เพียงแต่ตทังคปหาน และวิขัมภนปหาน ย่อมมีแก่ผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่ง

สมาบัติ ๘ และด้วยอำนาจเพียงวิปัสสนา ปหาน ๓ นอกจากนี้ไม่มีเลยโดย

ประการทั้งปวง. จริงอย่างนั้น สังวร ๕ คือ ศีลสังวร ขันติสังวร ญาณ-

สังวร สติสังวร วิริยสังวร ในสังวรเหล่านั้น เพียงแต่ศีล ๕ และเพียงแต่

อธิวาสนขันติ ย่อมมีแก่ผู้อื่น ที่เหลือย่อมไม่มีเลยโดยประการทั้งปวง. ก็

อุเทศแห่งอุโบสถนี้มี ๕ อย่าง ในอุเทศแห่งอุโบสถเหล่านั้น เพียงแต่

ศีล ๕ เหล่านั้น ย่อมมีแก่ผู้อื่น ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมไม่เลยโดยประการ

ทั้งปวง. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันลือสีหนาทว่า ในวิรัติ ๓

ในปหานะ ๕ ในสังวร ๕ ในอุเทศ ๕ ในการละอกุศล และในการสมาทาน

กุศล เราเองด้วย สงฆ์สาวกของเราด้วย ย่อมปรากฏในโลก จริงอยู่ ชื่อว่า

ศาสดาเช่นเรา และชื่อว่าสงฆ์เช่นกับสงฆ์สาวกของเรา ย่อมไม่มี. ครั้นพระ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันลือสีนาทหอย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อน

กัสสปะ มรรคย่อมมีเพื่อรู้ความไม่วิปริตแห่งสีหนาทนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้นคำว่า มรรค คือโลกุตตรมรรค. คำว่า ปฏิปทา คือ

ข้อปฏิบัติเบื้องต้น. คำว่า พูดถูกกาล เป็นต้น พรรณนาไว้แล้วในพรหมชาล-

สูตร. บัดนี้ เมื่อจะแสดงมรรคและปฏิปทาทั้งสองเป็นอันเดียวกัน จึงตรัส

คำเป็นต้นว่า (มรรคประกอบด้วยองค์ ๘) อันประเสริฐนี้.

ก็แลอเจละ ได้ฟังคำนี้แล้วจึงคิดว่า พระสมณโคดม สำคัญว่า

มรรคและปฏิปทามีอยู่แก่เราเท่านั้น ไม่มีแก่คนอื่น จึงสำคัญว่า เอาเถิด เรา

จักกล่าวมรรคของเราทั้งหลาย แก่พระสมณโคดมนั้น. ลำดับนั้น จึงกล่าว

ถึงปฏิปทาของอเจลกะ. เมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว อเจล-

กัสสปะ จึงกราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้การบำเพ็ญตปะเหล่านี้แล

ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวาย ในการลงอาบน้ำอยู่.

ในคำเหล่านั้น คำว่า "การบำเพ็ญตปะ" หมายความว่า ปรารภตปะ

ตปะ. คำว่า นับว่าความเป็นสมณะ คือนับว่า การงานของสมณะ. คำว่า

นับว่าความเป็นพราหมณ์ คือนับว่า การงานของพราหมณ์. คือ อเจลก

หมายความว่า ไม่มีผ้านุ่งห่ม อธิบายว่า เป็นคนเปลือย. คำว่า ไร้มรรยาท

คือทอดทิ้งมรรยาท. ในมรรยาททั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้นเขาเว้นจาก

มรรยาทของกุลบุตรชาวโลก ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เคี้ยว และกิน.

คำว่า เลียมือ คือเมื่อก้อนข้าวในมือหมดแล้ว ก็เลียมือด้วยลิ้น. หรือถ่าย

อุจจาระก็เอามือเช็ดก้นแทนไม้. เขากล่าวว่า พระคุณเจ้า นิมนต์มารับภิกษา

ก็ไม่มา ฉะนั้น จึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่มา. ก็แล แม้เขากล่าวว่า พระผู้เป็น

เจ้าจงหยุด ก็ไม่หยุด ฉะนั้นจึงชื่อว่าพระคุณเจ้าไม่หยุด. ได้ยินว่า เขาคิด

ว่า คำของผู้นี้ จักเป็นอันกระทำแล้ว จึงไม่ทำทั้ง ๒ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

คำว่า ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งเอาไว้ก่อน คือ (ไม่) รับภิกษา ที่เอา

ไว้เสียก่อนจึงนำมา. คำว่า ไม่รับภิกษาที่เขาทำอุทิศให้ คือ (ไม่รับ) ภิกษา

ที่เขายกมาถวายโดยกล่าวอย่างนี้ว่า (จงรับภิกษา) ที่พวกเราทำเฉพาะท่าน

ทั้งหลายนี้. คำว่า ไม่รับนิมนต์ คือ ไม่ยินดี ไม่ถือเอาภิกษาที่เขานิมนต์ว่า

ขอท่านทั้งหลาย พึงเข้าไปสู่ครอบครัว หรือถนน หรือหมู่บ้านโน้น.

คำว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ คือ ไม่รับเอาภิกษาที่เขาคดจาก

หม้อถวาย. คำว่า ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว คือ คำว่า "กโฬปิ" ได้แก่

หม้อข้าว หรือกระติบ ไม่รับ (ภิกษา) จากหม้อข้าวหรือกระติบนั้น. เพราะ

เหตุไร. หม้อ และหม้อข้าวอาศัยเรา จึงถูกประหารด้วยจวัก.

คำว่า ไม่ (รับ) ภิกษาที่เขายืนคร่อมประตูให้ คือ ไม่รับภิกษาที่

เขาทำธรณีประตูให้อยู่ในระหว่างมอบให้. เพราะเหตุไร. ผู้นี้อาศัยเราจึงได้

การกระทำในระหว่าง แม้ในท่อนไม้ และสาก ก็มีนัยอย่างเดียวกัน.

คำว่า ไม่ (รับภิกษา) ของคน ๒ คน (ที่กำลังบริโภคอยู่) คือใน

เมื่อคน ๒ คนกำลังบริโภคอยู่ เมื่อคนหนึ่งลุกขึ้นให้ก็ไม่รับ. เพราะเหตุไร.

เพราะอันตรายที่กลืนคำข้าวย่อมมีแก่คนหนึ่ง. ก็ในคำว่า ไม่ (รับภิกษา)

ของคนมีท้อง เป็นต้น ความว่า เขาคิดว่า เด็กในท้องของหญิงมีท้องย่อม

ลำบาก เมื่อหญิงกำลังให้ลูกดื่มน้ำนม อันตรายในการดื่มน้ำนม ย่อมมีแก่

เด็ก อันตรายแห่งความยินดีย่อมมีแก่หญิงผู้อยู่ในระหว่างผู้ชาย. คำว่า ที่

เตรียมกันไว้ คือ ในภัตรที่เตรียมกันทำไว้. ได้ยินว่า ในคราวที่ข้าวยาก

หมากแพง สาวกของอเจลกรวบรวมข้าวสารเป็นต้นจากที่นั้น ๆ หุงข้าว

เพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย. อเจลกผู้เคร่งครัดยังไม่รับแม้จากที่นั้น.

คำว่า ไม่ (รับภิกษา) ในที่มีสุนัข คือ ในที่ใดมีสุนัขที่เขาเลี้ยงไว้

มันคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าว ย่อมไม่รับ (ภิกษา) ที่เขาไม่ให้มันในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

นำมา. เพราะเหตุไร. เพราะอันตรายในก้อนข้าวย่อมมีแก่สุนัขนั้น. คำว่า

แมลงวันตอม คือ ตอมเป็นหมู่ ๆ ก็ถ้าฝูงคนเห็นอเจลกแล้วคิดว่า เรา

จักให้ภิกขาแก่อเจลกนั้น เข้าไปสู่โรงครัว ก็แลเมื่อพวกเขาเข้าไป แมลงวัน

ซ่อนอยู่ที่ปากหม้อข้าวเป็นต้นบินว่อนเป็นกลุ่ม ๆ ก็ไม่ถือเอาภิกษาที่นำมา

จากที่นั้น เพราะเหตุไร. เพราะเขาคิดว่าอันตรายแห่งการเที่ยวหากินของ

แมลงวันเกิดเพราะอาศัยเรา.

คำว่า กะแช่ คือ น้ำหมักที่ทำด้วยเปลือกข้าวทั้งปวง. ก็ในที่นี้

การดื่มเหล้าย่อมมีโทษ ส่วนผู้นี้สำคัญว่ามีโทษ แม้ในน้ำเมาทั้งปวง. คำว่า

รับภิกษาในเรือนเดียว คือ ได้ภิกษาในเรือนเดียวเท่านั้นก็กลับ. คำว่า

กินคำเดียว คือ ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารคำเดียว. แม้ในการรับภิกษา

ในเรือนสองห้อง ก็มีนัยเดียวกัน. คำว่า ในถาดเดียว คือในถาดใบเดียว.

ที่ชื่อว่า หตฺติ ได้แก่ถาดเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ใส่ยอดภิกษาวางไว้. คำว่า

ค้างไว้วันหนึ่ง คือ อยู่ในระหว่างวันหนึ่ง. คำว่า ค้างกึ่งเดือน คือ อยู่ใน

ระหว่างกึ่งเดือน. คำว่า กินภัตรโดยปริยาย คือกินภัตรตามวาระ ได้แก่

กินภัตรอันมาตามวาระแห่งวันอย่างนี้ คือ ตามวาระวันเดียว ตามวาระ

๒ วัน ตามวาระครึ่งเดือน.

คำว่า มีผักดองเป็นอาหาร คือ มีผักดองสด ๆ เป็นอาหาร. คำว่า

มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร คือมีข้าวสารฟ่างเป็นอาหาร. ในลูกเดือย เป็นต้น

ข้าวเปลือกที่เกิดเองในป่า ชื่อว่า ลูกเดือย. คำว่า กากข้าว คือกากที่ช่าง

หนังขีดหนังทิ้งไว้. คำว่า หต หมายถึง ยางบ้าง สาหร่ายบ้าง. คำว่า กณ

คือรำ. คำว่า ข้าวตัง คือ ข้าวไหม้ที่ติดอยู่ในหม้อข้าว. เขาถือเอาข้าวตัง

นั้นจากที่ที่คนเขาทิ้งไว้มากิน. เขาเรียกว่า ปลายข้าวสุกก็มี. คำว่า กำยาน

เป็นต้น ชัดเจนแล้ว. คำว่า กินผลไม้ที่เป็นไป คือ กินผลไม้หล่น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

คำว่า ผ้าป่าน คือผ้าปอป่าน. คำว่า ผ้าแกม คือผ้าปนกัน. คำ ว่า

ผ้าห่อศพ คือผ้าที่เขาทิ้งไว้จากร่างคนตาย หรือผ้านุ่งที่เขากรองต้นตะไคร้น้ำ

และหญ้าเป็นต้นทำไว้ คำว่า ผ้าบังสุกุล คือผ้าเปื้อนที่เขาทิ้งไว้บนดิน.

คำว่า เปลือกไม้ คือผ้าเปลือกไม้. คำว่า หนังเสือ คือผ้าหนังเสือ. คำว่า

อชินกฺขิป คือหนังเสือนั้นเอง ถูกผ่ากลาง. คำว่า คากรอง คือผ้าที่เขา

กรองหญ้าคาทำไว้. แม้ใยปอและใยป่าน ก็นัยนี้แหละ คำว่า ผ้ากัมพลที่ทำ

ด้วยผม คือผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามุ่งหมาย

ตรัสไว้ว่า แม้ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง

บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผมนับว่าเลวที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผ้ากัมพลที่ทอด้วยผม เย็นในเวลาเย็น และร้อนในเวลาร้อน มีค่าน้อย

มีสีทราม มีกลิ่นเหม็นคลุ้ง และระคาย. คำว่า ผ้ากัมพลทำด้วยหางสัตว์

คือผ้ากัมพลที่ทำด้วยหางม้า. คำว่า ผ้าที่ทำด้วยปีกนกเค้า คือ ผ้านุ่งที่

ผูกปีกนกเค้าทำไว้.

คำว่า ประกอบความเพียรเขย่ง คือ ประกอบความเพียรเขย่ง แม้

เดินไปก็เขย่งเดินโหย่ง ๆ. คำว่า นอนบนหนาม คือ ทิ่มหนามเหล็กหรือ

หนามธรรมดาไว้บนพื้นดิน ลาดหนังไว้ในที่นั้นแล้วทำเป็นที่ยืนและที่จงกรม

เป็นต้น. คำว่า นอน คือแม้เมื่อนอนก็นอนในที่นั้นเอง คำว่า ที่นอน

แผ่นกระดาน คือที่นอนทำด้วยแผ่นไม้. คำว่า ที่นอนสูง คือที่นอนในพื้นที่

สูง ๆ. คำว่า นอนตะแคงข้างเดียว คือนอนโดยข้างเดียวเท่านั้น. คำว่า

หมกฝุ่น คือทาร่างกายด้วยน้ำมันแล้วยืนในที่ฝุ่นฟุ้ง ลำดับนั้น ฝุ่นจะติด

ที่ร่างกายของเขา ให้ฝุ่นนั้นเกาะอยู่. คำว่า นั่งบนอาสนะตามที่ปูลาดไว้ คือ

ไม่ยังอาสนะให้กำเริบ ได้อาสนะอย่างใดก็นั่งในอาสนะอย่างนั้นเป็นปรกติ.

คำว่า กินขี้ คือกินขี้เป็นปรกติ. คูถ เขาเรียกว่าขี้. คำว่า ไม่ดื่มน้ำเย็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

คือห้ามดื่มน้ำเย็น. คำว่า อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ในเวลาเย็น คือ เวลาเย็น

เป็นครั้งที่ ๓ อเจลกคิดว่า เราจักลอยบาปวันละ ๓ ครั้ง คือ เช้า เที่ยง

เย็น จึงประกอบการขวนขวายลงอาบน้ำ.

ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่การพยายาม

บำเพ็ญตปะนั้น เว้นจากสีลสัมปทา เป็นต้น เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์

จึงตรัสขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าอเจลก ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำว่าไกล คือ ในที่ไกล.คำว่า ไม่มีเวร คือเว้นจาก

เวรที่ให้เกิดโทษ. คำว่า ไม่เบียดเบียน คือเว้นจากความเบียดเบียนที่ให้

เกิดโทมนัส. คำว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ (ความเป็นสมณะและความ

เป็นพราหมณ์) ทำยาก นี้ ท่านกัสสปะกล่าวแสดงว่า เมื่อก่อน พวก

ข้าพระองค์เข้าใจว่า ความเป็นสมณะ และความเป็นพราหมณ์ เพียงเท่านี้

แต่พระองค์ตรัสความเป็นสมณะและความเป็นพรหมณ์เป็นอย่างอื่น.

คำว่า คำนี้เป็นปรกติแล คือคำนี้เป็นปรกติ. คำว่า ดูก่อนกัสสปะ

ถ้า (ความเป็นสมณะหรือความพราหมณ์ทำยาก) ด้วยประมาณนี้ คือว่า

ดูก่อนกัสสปะ ผิว่าความเป็นสมณะหรือความเป็นพราหมณ์ ด้วยประมาณนี้

ได้แก่ด้วยข้อปฏิบัติเล็กน้อยอย่างนี้ จักชื่อว่าทำได้โดยยาก ได้แก่ทำได้ยาก

ยิ่งแล้ว แต่นั้น ข้อนี้จักไม่ควรกล่าวว่า ความเป็นสมณะทำได้ยาก ความ

เป็นพราหมณ์ทำได้ยากดังนี้ นี้เป็นอรรถาธิบายกับด้วยการเชื่อมบทในข้อนี้.

การเชื่อมบทในที่ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.

คำว่า รู้ยาก นี้ อเจลกัสสปะนั้น กล่าวหมายเอาคำนี้ว่า เมื่อก่อน

พวกข้าพระองค์เข้าใจเอาว่า เป็นสมณะหรือเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเท่านี้ แต่

พระองค์ตรัสโดยประการอื่น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธคำโต้แย้งนั้น ของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

กัสสปะนั้นแล้ว ทรงเปิดเผยความเป็นผู้รู้ยากตามสภาพแล้วตรัสคำขึ้นต้นว่า

"เป็นปรกติแล" อีก. พึงเชื่อมบทแล้วทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้วแม้

ในข้อนั้น. เพราะเหตุไร อเจลกัสสปะจึงถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ก็สีลสัมปทาเป็นไฉนเป็นต้น. ได้ยินว่า อเจลกัสสปะนี้เป็นคนฉลาด เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ จึงศึกษาถ้อยคำ ภายหลังรู้การปฏิบัติของตน

ว่า ไม่เป็นประโยชน์ จึงคิดว่า พระสมณโคดมตรัสคำเป็นต้นว่า ก็สีลสัมปทา

จิตตสัมปทาปัญญาสัมปทานี้ อันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้ทำให้แจ้งแล้ว

เขาห่างจากความเป็นสมณะ โดยแท้แล ดังนี้ เอาเถิด บัดนี้เราจะถามถึง

สมบัติเหล่านั้นต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลถามเพื่อรู้แจ้งสีลสัมปทาเป็นต้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงการเกิดขึ้นของพระ-

พุทธเจ้า เมื่อจะตรัสถึงแบบแผน เพื่อแสดงถึงความถึงพร้อมเหล่านั้น จึง

ตรัสคำขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ (ตถาคตเกิดขึ้นในโลก) นี้. คำว่า ดูก่อน

กัสสปะ ก็ (สีลสัมปทาอื่นอันยิ่งกว่า ประณีตกว่า) สีลสัมปทาน (ไม่มี)

ตรัสหมายถึงพระอรหัตตผล. จริงอยู่ ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ

อรหัตตผลเป็นที่สุด เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ความถึงพร้อมด้วยศีล

เป็นต้นอื่นอันยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ความถึงพร้อมด้วยศีลจิต และปัญญา

อันประกอบด้วยพระอรหัตผลไม่มี ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงบันลือสีหนาทอันยิ่ง จึงตรัสคำขึ้นต้นว่า ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์

อยู่พวกหนึ่ง.

ในคำเหล่านั้น คำว่า ประเสริฐ คือ ปราศจากอุปกิเลส บริสุทธิ์

อย่างยิ่ง. คำว่า อย่างยิ่ง คือสูงสุด. ก็ศีลนับแต่ศีลห้าเป็นต้นตลอดถึง

ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่า ศีลเหมือนกัน ส่วนศีลที่ประกอบด้วยโลกุตตระ-

มรรค และผล ชื่อบรมศีล. คำว่า เรา (ไม่เห็น) ในศีลนั้น มีอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

เราไม่เห็นบุคคลผู้เสมอ ๆ ของตน ได้แก่บุคคลผู้เสมอกับเราด้วยศีล อัน

เสมอด้วยศีลของเรา แม้ในศีล แม้ในบรมศีลนั้น. คำว่า เราเอง ยิ่งใน

ศีลนั้น คือ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงสุดในศีลนั้น. ถามว่า ตรัสไว้ในไหน.

ตอบว่า ในอธิศีล.

คำว่า อธิศีล อธิบายว่า อธิศีลนี้ เป็นอุดมศีล. พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงบันลือสีหนาทนี้เป็นครั้งแรก ดังนี้.

คำว่า เป็นผู้กล่าวเกลียดชังด้วยตปะ คือ บุคคลที่ติเตียนตบะ.

ในคำนั้นความเพียรใด ย่อมเผา (กิเลส) ฉะนั้น ความเพียรนั้น ชื่อว่า

"ตปะ" นั้นเป็นชื่อของความเพียรที่เผากิเลส. ตปะนั้น ย่อมเกลียดกิเลส

เหล่านั้น เหตุนั้น ตปะนั้นชื่อความเกลียดชัง.

ในบทว่า อริยะ อย่างยิ่ง นี้ ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะ

ปราศจากโทษ ความเกลียดชังด้วยตปะ กล่าวคือ ความเพียรด้วยวิปัสสนา

เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งวัตถุมีอารมณ์ ๘ ประการ ชื่อความเกลียดชังด้วยตปะ

นั้นเอง. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ยอดเยี่ยม. ความ

เกลียดชังในบทนี้ว่า อธิเชคุจฺฉ เป็นความเกลียดชัง ความเกลียดชังอย่าง

อุดม ชื่อว่า อธิเชคุจฺฉ เพราะฉะนั้นพึงเห็นอรรถในบทนั้นอย่างนี้ว่า คือ

อธิเชคุจฉะ เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิเชคุจฉะ นั้น.

มีอธิบายแม้ในปัญญาธิการ. กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา

ชื่อว่า ปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล ชื่อว่า ปรมปัญญา. ใน

คำว่า อธิปญฺ นี้พึงทราบว่าเป็นลิงควิปัลลาส อรรถในบทนั้นมีอย่างนี้คือ

ชื่อว่า อธิปัญญานี้ใด เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในอธิปัญญานั้น.

ในวิมุตตาธิการมีอรรถดังนี้. ตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ

ชื่อว่า วิมุตติ. ส่วนสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

พึงทราบว่า เป็นปรมวิมุตติ. ก็ในบทนี้ว่า ยทิท อธิวิมุตฺติ มีอรรถว่า

อธิวิมุตตินี้ใด เราผู้เดียว เป็นผู้ยิ่งในอธิวิมุตตินั้น.

บทว่า สุญฺาคาเร อธิบายว่า นั่งคนเดียวในเรือนว่างเปล่า. บทว่า

ปริสาสุ จ ความว่า ในบริษัท ๘. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า ดูก่อน

สารีบุตร เวสารัชชญาณสี่นี้ที่ตถาคตถึงพร้อมแล้ว จึงปฏิญาณอาสภสถาน

บันลือสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ดังนี้. พระสูตรพึงให้พิสดาร. บทว่า

ปญฺหญฺจ น ปุจฺฉนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต

รวบรวมปัญหาแล้ว ย่อมทูลถาม. บทว่า พฺยากโรติ ความว่า ทรงแก้ใน

ขณะนั้นทันที. บทว่า จิตฺต อาราเธติ ความว่า ทรงยังจิตของมหาชนให้เอิบ

อิ่มด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โน จ โข โสตพฺพ มญฺนฺติ ความว่า

แม้เมื่อพระองค์ตรัสทำจิตให้ยินดี คนเหล่าอื่นก็ไม่สนใจที่จะฟัง อธิบายว่า

พึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า โสตพฺพญฺจสฺส มญฺนฺติ ความว่า เทวดาก็ดี

มนุษย์ก็ดี ย่อมสนใจฟังด้วยความอุตสาหะใหญ่ บทว่า ปสีทนฺติ ความว่า

เป็นผู้เลื่อมใสดีแล้ว มีจิตควร มีจิตอ่อน. บทว่า ปสนฺนาการ กโรนฺติ

ความว่า ไม่เป็นผู้เลื่อมใสงมงาย เมื่อบริจาควัตถุมีจีวรเป็นต้นอันประณีต

และมหาวิหารมีเวฬุวันวิหารเป็นต้น ชื่อว่า กระทำอาการแห่งผู้เลื่อมใส. บท

ว่า ตถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมใด ย่อมปฏิบัติ

เพื่อความมีแห่งธรรมโดยประการนั้น คือ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม. บทว่า ตถตฺตาย จ ปฏิปชฺชนฺติ ความว่า ย่อมปฏิบัติ

เพื่อความมีอย่างนั้น. จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้นแล้ว บางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกตั้งอยู่ในศีลห้า พวก

อื่นออกบวช. บทว่า ปฏิปนฺนา จ อาราเธนฺติ ความว่า ก็ผู้ปฏิบัติปฏิปทา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

นั้นย่อมอาจเพื่อให้บริบูรณ์ แต่ให้บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง พึงกล่าวว่า

ย่อมยังจิตของพระโคดมผู้เจริญนั้นให้ยินดีด้วยการบำเพ็ญการปฏิบัติ. ก็

บัณฑิตดำรงอยู่ในโอกาสนี้ แล้วพึงประมวลสีหนาททั้งหลาย.

ก็สีหนาทหนึ่งของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เราเห็นผู้บำเพ็ญตบะบาง

คนเกิดในนรก. สีหนาทหนึ่งว่า เราเห็นคนอื่นเกิดในสวรรค์. สีหนาทหนึ่ง

ว่า เราผู้เดียว เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า

เราผู้เดียวเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทานกุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า

สงฆ์สาวกของเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในการละอกุศลธรรม. สีหนาท

หนึ่งว่า สงฆ์สาวกเราเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแม้ในการสมาทาน

กุศลธรรม. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยศีล. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มี

ผู้ใดเช่นเรา ด้วยวิริยะ. สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยปัญญา.

สีหนาทหนึ่งว่า ไม่มีผู้ใดเช่นเราด้วยวิมุตติ.

สีหนาทหนึ่งว่า เราบันลือสีหนาท ก็นั่งในท่ามกลางบริษัทบันลือ.

สีหนาทหนึ่งว่า เราเป็นผู้องอาจบันลือ. สีหนาทหนึ่งว่า เทวดาและมนุษย์

ย่อมถามปัญญากะเรา. สีหนาทหนึ่งว่าเราจะแก้ปัญหา. สีหนาทหนึ่งว่า เรา

จะยังจิตของคนอื่นให้ยินดีด้วยการแก้. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมสนใจ

ที่จะฟัง. สีหนาทหนึ่งว่า ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสเรา. สีหนาทหนึ่งว่า เลื่อม

ใสแล้ว ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส. สีหนาทหนึ่งว่า เราแสดงการปฏิบัติ

ใด เทวดาและมนุษย์ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น. สีหนาทหนึ่งว่า

และย่อมให้เรายินดีด้วยการปฏิบัติ.

สีหนาททั้งหลายเป็นต้นว่า บันลือในบริษัททั้งหลายแห่งบริษัทก่อน

อย่างละสิบเป็นต้น รวมเป็นบริวารอย่างละสิบด้วยประการฉะนี้. สีหนาทมี

หนึ่งร้อยสิบคือ สีหนาทสิบเหล่านั้นรวมเป็นหนึ่งร้อยด้วยอำนาจแห่งบริวาร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ของสีหนาทสิบก่อนและสีหนาทสิบก่อน. ก็ในพระสูตรอื่นจากพระสูตรนี้

สีหนาทมีประมาณเพียงนี้ หาได้ยาก เพราะเหตุนั้น สูตรนี้จึงเรียกว่า มหา

สีหนาทสูตร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปฏิเสธวาทะและอนุวาทะอย่างนี้ว่า พระ-

สมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทแล แต่บันลือในเรือนว่างเปล่า บัดนี้เมื่อ

จะทรงแสดงสีหนาท ซึ่งเคยบันลือแล้วในบริษัทอีกจึงตรัสเป็นอาทิว่า

เอกมิทาห ด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ม อญฺตโร เต

สพฺรหฺมจารี ความว่า เพื่อนพรหมจารีของท่านคนหนึ่ง ชื่อนิโครธปริพาชก

(ได้ถามปัญหา) กะเราผู้อยู่ที่เขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์นั้น. บทว่า

อธิชิคุจฺเฉ ความว่าถามปัญหาในเรื่องการเกลียดชังบาปด้วยวิริยะ. พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในมหาวิหารข้างเขาคิชฌกูฏ ทรงสดับถ้อย

คำสนทนาของนิโครธปริพาชก และสันธานอุบาสก ผู้นั่งในอุทยานของ

พระนางอุทุมพริกาเทวี ด้วยทิพยโสตธาตุ เสด็จเหาะมาประทับนั่งบนอาสนะ

ที่ปูแล้วในสำนักของท่านทั้งสองนั้นแล้ว ทรงแก้ปัญหาที่นิโครธปริพาชกทูล

ถามในเรื่องเกลียดชังอย่างยิ่งนี้ใด ท่านกล่าวหมายถึงปัญหานั้น. บทว่า ปร

วิย มตฺตาย ความว่า โดยประมาณอย่างยิ่ง คือ โดยประมาณใหญ่มาก.

บทว่า โก หิ ภนฺเต ความว่า คนอื่นที่เป็นชาติบัณฑิตเว้นอันธพาล

ผู้มีทิฏฐิใคร่เล่าที่ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกล่าวว่า ไม่พึง

ดีใจ. เขาคิดว่า เราประกอบตนในส่วนที่ไม่นำออกจากทุกข์ได้รับความ

ลำบากเป็นเวลานานหนอ เราอาบน้ำในฝั่งแม่น้ำแห้งขอด เราเหมือนกลิ้ง

กลับไปกลับมาเหมือนโปรยแกลบ ก็ไม่ยังประโยชน์อะไรให้สำเร็จได้ เอาเถอะ

เราจักประกอบตนไว้ในความเพียร จึงทูลว่า ข้าพระองค์พึงได้ ดังนี้.

อนึ่ง เดียรถีย์ปริวารใดที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในขันธกะ ซึ่งผู้เคย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

เป็นอัญญเดียรถีย์ดำรงอยู่ในสามเณรภูมิ จะต้องสมาทานอยู่ปริวาสโดยนัย

เป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ชื่อนี้ หวัง

อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้านั้นขอสงฆ์อยู่ปริวาสตลอดสี่เดือน ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงเดียรถีย์ปริวาสนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ

ผู้ใดแลเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺช ท่านกล่าวด้วยอำนาจความสละสลวย

แห่งวจนะเท่านั้น. เพราะไม่อยู่ปริวาสเลย ย่อมได้บรรพชา. แต่ผู้ต้องการ

อุปสมบทพึงอยู่ปริวาสบำเพ็ญวัตรแปดประการเป็นต้นว่า การเข้าบ้านตาม

กาลพิเศษ. บทว่า อารทฺธจิตฺตา ความว่า มีจิตยินดีด้วยการบำเพ็ญวัตร

แปด. ความสังเขปในบทนั้นดังนี้. ส่วนเดียรถีย์ปริวาสนั้นพึงกล่าวโดย

พิสดาร ด้วยนัยที่กล่าวไว้ในปัพพัชชาขันธกวัณณนา ในวินัยอรรถกถา ชื่อ

สมันตปาสาทิกา นั้นเทียว.

บทว่า อปิ เมตฺถ ความว่า แต่ว่าเรารู้ (ความต่างแห่งบุคคล) ใน

ข้อนี้. บทว่า ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา ความว่า เรารู้ความแตกต่างแห่ง

บุคคล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่าบุคคลนี้ ควรอยู่ปริวาส นี้ไม่ควรอยู่

ปริวาส จึงทรงแสดงว่า ข้อนี้ปรากฏแก่เรา. ลำดับนั้น กัสสปะคิดว่า โอหนอ

พระพุทธศาสนาเป็นของอัศจรรย์ที่บุคคลทั้งหลาย ประกาศแล้วกระพือแล้ว

อย่างนี้ ย่อมถือเอาสิ่งที่ควรเท่านั้น ละทิ้งสิ่งที่ไม่ควร มีความอุตสาหะเกิด

ขึ้นพร้อมในบรรพชาดียิ่งกว่านั้น จึงทูลว่า สเจ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กัสสปะนั้นเป็นผู้มีฉันทะ

แรงกล้าว่า กัสสปะไม่ควรอยู่ปริวาส จึงตรัสเรียกภิกษุรูปอื่นมาว่า ดูก่อนภิกษุ

เธอจงไป พากัสสปะนั้นอาบน้ำแล้วให้บรรพชานำมา. ภิกษุนั้นได้กระทำตาม

พระดำรัสอย่างนั้นแล้วให้กัสสปะบวชแล้ว พากันไปสู่สำนักของพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้กัสสปะนั้นนั่งในท่ามกลางคณะแล้วทรงให้

อุปสมบท. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบท

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน ความว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน. บท

ว่า วูปกฏฺโ ความว่าเป็นผู้มีกายและจิตสงบจากวัตถุกาม และกิเลสกาม

ทั้งหลาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่าไม่ละสติในกรรมฐาน. บทว่า อาตาปี

ความว่า มีความเพียรด้วยวิริยะ กล่าวคือ ความเพียรทางกายและทางใจ.

บทว่า ปหิตตฺโต ความว่า มีจิตส่งแล้ว คือมีอัตตภาพสละแล้วเพราะความ

เป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยในกายและชีวิต. บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อ

ผลอันใด. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมรรยาท. บทว่า

สมฺมเทว ความว่าด้วยเหตุเทียว ด้วยการณ์เทียว. บทว่า ตทนุตฺตร ความ

ว่า ประโยชน์อันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺพหฺมจริยปริโยสาน ความว่า

พระอรหัตตผลอันเป็นที่สุดรอบแห่งมรรคพรหมจรรย์. ก็กุลบุตรทั้งหลาย

ย่อมบวชเพื่อผลอันนั้น. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ในอัตตภาพนี้เทียว.

บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาด้วย

ตนเอง คือรู้โดยไม่มีคนอื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ความ

ว่า บรรลุแล้ว ให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงภูมิ

แห่งปัจจเวกขณะของกัสสปะนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้

แจ้งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ ยังเทศนาให้จบลงด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัต

จึงตรัสว่า ก็ท่านกัสสปะเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อญฺตโร ความว่า รูปหนึ่ง. บทว่า อรหต

ความว่า แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย. ในบทนั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เป็นพระ

อรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันตสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็บท

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

ใด ๆ ไม่ได้กล่าวไว้ตามลำดับ บทนั้น ๆ ปรากฏแล้วเทียวเพราะได้กล่าว

แล้วในที่นั้น ๆ ดังนี้แล.

มหาสีหนาทสูตรวัญณนา ในทีฆนิกายอรรถกถา ชื่อสุมังคลวิลาสินี

จบด้วยประการฉะนี้.

จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

โปฏฐปาทสูตร

เรื่อง ของปริพาชกโปฏฐปาทะ

[๒๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่พระเชตวัน อารามท่าน

อนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก อาศัยอยู่ในสถานที่

สำหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ

พระนางมัลลิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ ๓,๐๐๐ ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกในเวลาเช้าทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้ทรงดำริว่า จะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุง

สาวัตถี ยังเช้านัก ถ้ากระไรเราเข้าไปหาโปฏฐปาทปริพาชก ณ สถานที่

โต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลาที่พักหลังเดียว เป็นอารามของ

พระนางมัลลิกา แล้วจึงเสด็จเข้าไป ณ ที่นั้น.

[๒๗๖] สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก นั่งอยู่กับปริพาชกบริษัท

หมู่ใหญ่ กล่าวดิรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงอันดังลั่น คือ พูดถึงพระเจ้า

แผ่นดิน พูดถึงโจร พูดถึงมหาอำมาตย์ พูดถึงกองทัพ พูดถึงภัย พูด

ถึงการรบ พูดถึงข้าว พูดถึงน้ำ พูดถึงผ้า พูดถึงที่นอน พูดถึงดอกไม้ พูด

ถึงของหอม พูดถึงญาติ พูดถึงยานพาหนะ พูดถึงบ้าน พูดถึงนิคม พูด

ถึงเมือง พูดถึงชนบท พูดถึงสตรี พูดถึงบุรุษ พูดถึงคนกล้าหาญ พูดถึง

ตรอก พูดถึงท่าน้ำ พูดถึงคนที่ตายแล้ว พูดถึงความเป็นต่าง ๆ พูดถึง

โลก พูดถึงทะเล พูดถึงความเจริญและความเสื่อมเพราะเหตุนี้. โปฏฐปาท-

ปริพาชก ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแต่ไกลจึงได้ห้ามบริษัท

ของตนว่า เสียงเบา ๆ หน่อย พวกท่านอย่าได้ทำเสียงดังนัก. พระสมณโคดม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

กำลังเสด็จมา ท่านโปรยเสียงเบา กล่าวชมเสียงเบา ถ้าไฉนท่านทราบว่า

บริษัทมีเสียงเบา บางทีก็จะเสด็จเข้ามา. เมื่อโปฏฐปาทปริพาชกกล่าวอย่างนี้

แล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้นได้พากันนิ่ง.

[๒๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จเข้าไปหา

โปฏฐปาทปริพาชก แล้ว เขาได้ทูลเชื้อเชิญพระองค์ว่า เสด็จมาเถิด พระผู้

มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว นานจริงหนอ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงได้เสด็จมาถึงที่นี้ เชิญประทับนั่งเถิด พระเจ้าข้า นี่อาสนะได้

แต่งไว้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้แล้ว. ฝ่าย

โปฏฐปาทปริพาชกถือเอาอาสนะต่ำนั่งลงทางข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสถามเขาว่า โปฏฐปาทะ ในขณะที่เราจะมาถึงนี้ พวกท่านประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แลกถาอะไรที่พวกท่านสนทนากันค้างไว้ก่อนแต่

เรามาถึง.

[๒๗๘] เมื่อพระองค์รับสั่งแล้วอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชกได้ทูลว่า

กถาที่พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันในขณะที่พระองค์จะเสด็จมาถึงนี้งดเสียเถิด

กถานี้จะทรงสดับภายหลังก็ได้ไม่ยาก พระเจ้าข้า. วันก่อน ๆ สมณพราหมณ์

เดียรถีย์ต่าง ๆ นั่งประชุมกันในโกตุหลศาลา ได้พากันเจรจาในอภิสัญญา-

นิโรธว่า ท่านผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน ดังนี้. ในชุมนุมนั้น บาง

พวกกล่าวอย่างนี้ว่า สัญญาของคนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เกิดเอง ดับเอง เกิด

ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญาในสมัยนั้น ดังในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาใน

สมัยนั้น พวกหนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้. เจ้าลัทธิอื่น

กล่าวกะเขาว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นก็หามิได้ เพราะว่าสัญญาเป็น

อัตตาของคน ก็แลอัตตานั้นมาสู่บ้างไปปราศบ้าง มาสู่ในสมัยใด สัตว์ก็มี

สัญญาในสมัยนั้น ไปปราศในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

หนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้.

เจ้าลัทธิอื่นกล่าวกะเขาว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นหามิได้

เพราะว่าสมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มีอยู่ ท่านเหล่านั้น สวม

ใส่บ้าง พรากออกบ้าง ซึ่งสัญญาของคนนี้ สวมใส่ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญา

ในสมัยนั้น พรากออกในสมัยใด สัตว์ก็ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวกหนึ่ง

บัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการอย่างนี้. เจ้าลัทธิอื่นกล่าวกะเขาว่า ท่าน

ผู้เจริญ ก็ข้อนี้จักเป็นเช่นนั้นหามิได้ เพราะว่าทวยเทพที่มีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมาก มีอยู่ ทวยเทพเหล่านั้น สวมใส่บ้าง พรากออกบ้าง ซึ่งสัญญา

ของคนนี้ สวมใส่ในสมัยใด สัตว์ก็มีสัญญาในสมัยนั้น พรากออกในสมัยใด

สัตว์ไม่มีสัญญาในสมัยนั้น พวกหนึ่งบัญญัติอภิสัญญานิโรธ ด้วยประการ

อย่างนี้. สติของข้าพระองค์เกิดปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าเลื่อมใสจริง

หนอ พระสุคต ที่ทรงฉลาดในธรรมเหล่านี้เป็นอย่างดี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้ฉลาด ทรงรู้ช่ำชองซึ่งอภิสัญญานิโรธ ก็อภิสัญญานิโรธเป็นไฉน

พระเจ้าข้า.

[๒๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โปฏฐปาทะ ในสมณพราหมณ์

เหล่านั้น พวกที่กล่าวว่า สัญญาของคน ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดเองดับ

เอง ความเห็นของพวกนั้นผิดแต่ต้นทีเดียว. เพราะเหตุไร. เพราะว่าสัญญา

ของคน มีเหตุ มีปัจจัย ทั้งเกิด ทั้งดับ สัญญาบางอย่างเกิดขึ้นเพราะการ

ศึกษาก็มี บางอย่างดับไปก็มี ก็สิกขาเป็นอย่างไร. โปฏฐปาทะ พระตถาคต

อุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ พ. โปฏฐปาทะ

ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล มีทวารอันรักษาแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ. เมื่อภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่า

นี้แล้ว ตามเห็นในตน ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์แล้ว ปิติย่อมเกิด

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

กายของผู้มีใจเปี่ยมด้วยปีติย่อมสงบ มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุข

ย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดแล้วเทียวจากกามทั้งหลาย จากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. สัญญาเกี่ยว

ด้วยกามมีในก่อนย่อมดับไป สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิด

แต่วิเวกย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่าง

ย่อมดับ แม้ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือ ปฐมฌาน).

[๒๘๐] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน อันยังจิตให้ผ่องใสภาย

ในตน ยังความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแห่งจิตให้เกิด (ยังสมาธิจิตให้เจริญขึ้น)

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบ มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ

อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอันมีในก่อนของเธอ

ย่อมดับ. สัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิย่อมมีใน

สมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียด มีปีติและสุขอันเกิดแต่

สมาธิในสมัยนั้น สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วย

ประการฉะนี้ แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือทุติยฌาน).

[๒๘๑] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงตติยฌาน เพราะคลายปีติประกอบ

ด้วยอุเบกขาอยู่ มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย ที่พระอริยเจ้าทั้ง

หลายสรรเสริญผู้ได้ฌานนั้นว่า เป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้แล้วแล

อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิมีในก่อน

ของเธอย่อมดับ. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอันเกิดแต่อุเบกขา

ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอัน

เกิดแต่อุเบกขา ในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อม

ดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือตติยฌาน)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

[๒๘๒] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขและเพราะละทุกข์ เพราะดับโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนเสีย

มีความที่แห่งสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. สัญญาใน

สัจจะอันละเอียดประกอบด้วยสุขอันเกิดแต่อุเบกขา มีในก่อนย่อมดับ. สัญญา

ในสัจจะอันละเอียดอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มี

สัญญาในสัจจะอันละเอียด อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข ในสมัยนั้น. สัญญาบาง

อย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็น

สิกขาอย่างหนึ่ง (คือจตุตถฌาน).

[๒๘๓] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาสไม่มี

ที่สุดดังนี้ เพราะความก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ

ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาโดยประการต่าง ๆ แล้วแลอยู่.

รูปสัญญามีในก่อนของเธอย่อมดับไป สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบ

ด้วยอากาสานัญจายตนะ ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอัน

ละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ ในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขา

ย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง

(คืออากาสานัญจายตนะ).

[๒๘๔] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่

มีที่สุดดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วแลอยู่.

สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะ มีในก่อนของเธอ

ย่อมดับไป. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อม

มีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวิญญาณัญ

จายตนะในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ ด้วย

ประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คือวิญญาณัญจายตนะ).

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

[๒๘๕] อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า อะไร ๆ น้อย

หนึ่งไม่มีดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงแล้วแล

อยู่. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยวัญญาณัญจายตนะมีในก่อนของ

เธอย่อมดับไป. สัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากัญจัญญายตนะ

ย่อมมีในสมัยนั้น. เธอเป็นผู้มีสัญญาในสัจจะอันละเอียดประกอบด้วยอากิญ-

จัญญายตนะในสมัยนั้น. สัญญาบางอย่างในสิกขาย่อมเกิด บางอย่างย่อมดับ

ด้วยประการฉะนี้. แม้นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่ง (คืออากิญจัญญายตนะ).

[๒๘๖] โปฏฐปาทะ ภิกษุในพระศาสนานี้ มีสกสัญญา (มีความ

สำคัญด้วยสัญญาในฌานของตน) คือออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว มีสัญญาใน

ทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในตติยฌานโน้น โดย

ลำดับไปถึงยอดสัญญา (อากิญจัญญายตนะ) เมื่อเธอตั้งอยู่ในยอดสัญญา มี

ความคำนึงอย่างนี้ว่า เมื่อเราจำนงอยู่ ไม่ดีเลย เมื่อไม่จำนงอยู่ ดีกว่า ถ้า

แลว่า เราพึงจำนง พึงมุ่งหวังอากิญจัญญายตนสัญญานี้ของเราพึงดับ และ

สัญญาหยาบอย่างอื่น (ภวังคสัญญา) พึงเกิดขึ้น มิฉะนั้น เราไม่ควรจำนง

ไม่ควรมุ่งหวัง. จึงไม่จำนงด้วย ทั้งไม่มุ่งหวังด้วย เมื่อไม่จำนง ไม่มุ่ง

หวังอยู่ อากิญจัญญายตนสัญญานั้นย่อมดับด้วย ทั้งสัญญาหยาบอย่างอื่นย่อม

ไม่เกิดขึ้นด้วย เธอย่อมถึงสัญญานิโรธ ฉันใด สัญญานิโรธสมาบัติของภิกษุ

ผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมีฉันนั้นแล.

พ. ท่านสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน สัญญานิโรธสมาบัติของภิกษุ

ผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับเช่นนี้ ท่านเคยฟังมาแล้วในกาลก่อนแต่กาลนี้บ้างหรือ.

๑. อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่า ยอดสัญญา เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าทำกิจอัน

เป็นโลกีย์ พระโยคีตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ย่อมเข้าถึงแนวสัญญานาสัญญายตน

สมาบัติบ้าง นิโรธสมาบัติบ้าง. อรรกถาทีฆนิกายสีลขันธวรรค หน้า ๔๒๔.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ป. หามิได้พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล.

พ. เพราะเหตุที่ภิกษุมีสกสัญญา คือออกจากปฐมฌานนั้นแล้ว มี

สัญญาในทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในตติยฌานโน้น

โดยลำดับไปถึงยอดสัญญา เมื่อเธอตั้งอยู่ในยอดสัญญา มีความคำนึงอย่างนี้ว่า

เมื่อเราจำนงอยู่ ไม่ดีเลย เมื่อไม่จำนงอยู่ ดีกว่า ถ้าแลว่าเราพึงจำนง พึงมุ่ง-

หวัง อากิญจัญญายตนสัญญานี้ของเราพึงดับ และสัญญายาบอย่างอื่นพึงเกิด

ขึ้น มิฉะนั้นเราไม่ควรจำนง ไม่ควรมุ่งหวัง. จึงไม่จำนงด้วย. ทั้งไม่มุ่งหวัง

ด้วย เมื่อไม่จำนงอยู่ ไม่มุ่งหวังอยู่ อากิญจัญญายตนสัญญานั้น ย่อมดับด้วย

ทั้งสัญญาหยาบอย่างอื่นย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย เธอย่อมถึงสัญญานิโรธ. สัญญา-

นิโรธสมาบัติของภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมีอย่างนี้แล.

[๒๘๗] พ. ท่านจงรับไว้ด้วยดีอย่างนี้เถิด.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวเท่านั้น หรือ

ว่าทรงบัญญัติยอดสัญญาเป็นอันมาก พระเจ้าข้า.

พ. เราบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มี มากก็มี.

ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มีนั้นอย่างไร

ที่ว่ามากก็มีนั้นอย่างไร พระเจ้าข้า.

พ. ภิกษุถึงสัญญานิโรธฉันใด ๆ เราบัญญัติยอดสัญญาฉันนั้น ๆ เรา

บัญญัติยอดสัญญาอย่างเดียวก็มี มากก็มี อย่างนี้แล.

[๒๘๘] ป. พระเจ้าข้า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่า ทั้ง

สัญญาทั้งญาณเกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน.

พ. สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง ก็เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

จึงเกิดขึ้นได้ เขารู้อยู่นี้ว่า ญาณได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราเพราะสัญญานี้เป็น

ปัจจัย. ท่านพึงทราบความข้อนั้น โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณ

เกิดทีหลัง ก็เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณจึงเกิดขึ้นได้.

[๒๘๙] ป. สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือว่า สัญญาอย่างหนึ่ง ตน

อย่างหนึ่ง พระเจ้าข้า.

พ. ท่านปรารถนาตนอย่างไร.

ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนที่หยาบ คือมีรูป เป็นที่ประชุมแห่งมหา-

ภูตรูป ๔ มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา.

พ. ก็ตนของท่านหยาบ คือมีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตรูป ๔ มีกว-

ฬิงการาหารเป็นภักษา จักมีแล้ว. เมื่อเป็นเช่นนี้สัญญาของท่านจักเป็นอย่าง

หนึ่ง ตนจักเป็นอย่างหนึ่ง. ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่ง

ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง. ตนนั้นหยาบ คือ

มีรูป เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ย่อมตั้งอยู่

เที่ยว เมื่อเป็นเช่นนี้ สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่างหากเกิดขึ้น อย่างหนึ่ง

ต่างหากดับไป ท่านพึงทราบความข้อนั้น โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็น

อย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.

[๒๙๐] ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนอันสำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะ

น้อยใหญ่ครบทุกอย่างมีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม.

พ. ตนของท่านก็สำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มี

อินทรีย์ไม่เสื่อมทราม จักมีแล้ว แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของท่านจักเป็น

อย่างหนึ่ง และตนของท่านก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ท่านพึงทราบความข้อนั้น

แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่าง

หนึ่ง. ตนสำเร็จด้วยใจ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

เสื่อมทรามย่อมตั้งอยู่เทียว เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่าง

หากเกิดขึ้น อย่างหนึ่งต่างหากดับไป. ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยาย

เช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.

[๒๙๑] ป. ข้าพระเจ้าปรารถนาตนที่ไม่มีรูป คือที่สำเร็จด้วยสัญญา.

พ. ก็ตนของท่านที่ไม่มีรูป คือสำเร็จด้วยสัญญา จักมีแล้ว เมื่อเป็น

เช่นนั้น สัญญาของท่านจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนของท่านก็จักเป็นอย่าง

หนึ่ง ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า สัญญาจักเป็นอย่าง-

หนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง. ตนที่ไม่มีรูป คือที่สำเร็จด้วยสัญญานี้

ย่อมตั้งอยู่เทียว เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของบุรุษนี้ อย่างหนึ่งต่างหากเกิดขึ้น

อย่างหนึ่งต่างหากดับไป ท่านพึงทราบความข้อนั้น แม้โดยปริยายเช่นดั่งว่า

สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งต่างหาก ตนก็จักเป็นอย่างหนึ่ง ดั่งนี้.

[๒๙๒] ป. ก็ข้าพระเจ้าอาจทราบได้หรือไม่ว่า สัญญาเป็นตนของ

บุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง.

พ. ข้อว่าสัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่าง

หนึ่ง ดั่งนี้นั้น อันท่านผู้มีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบ

ใจเป็นอย่างอื่น มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น รู้ได้ยากนัก.

ป. ถ้าข้อที่ว่านั้น ข้าพระเจ้าผู้มีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติเป็นอย่าง

อื่น มีความขอบใจเป็นอย่างอื่น มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิ-

อื่น รู้ได้ยากนักไซร้ ก็คำที่ว่า โลกเที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่า ดั่งนี้หรืออย่างไร

พระเจ้าข้า.

พ. คำที่ว่า โลกเที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่าดังนี้ เราไม่ได้พยากรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ป. ก็โลกไม่เที่ยงนี้แลจริง คำอื่นเปล่าดั่งนี้หรือ พระเจ้าข้า.

พ. แม้ข้อนั้นเราก็ไม่ได้พยากรณ์.

ป. ก็โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น.

ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมมี. ตถาคต

เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มี. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ยังมีบ้าง

ไม่มีบ้าง. ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ นี้แลจริง

คำอื่นเปล่า ดังนี้หรือ พระเจ้าข้า.

พ. แม้ข้อนั้น ๆ เราก็ไม่ได้พยากรณ์.

ป. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงพยากรณ์ พระเจ้าข้า.

พ. เพราะข้อนั้น ๆ ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม

ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไป

เพื่อความปล่อยวาง ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

ฉะนั้น เราจึงไม่พยากรณ์.

[๒๙๓] ป. ก็อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ละ พระเจ้าข้า.

พ. ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

นี้แล เราพยากรณ์.

ป. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์อย่างนั้น

พระเจ้าข้า.

พ. เพราะข้อนั้น ๆ ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็น

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เป็นไปเพื่อความปล่อย

วาง เป็นไปเพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน ฉะนั้น เราจึงพยากรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

ป. ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระสุคต

ในบัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาลที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า ดังนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

[๒๙๔] ฝ่ายพวกปริพาชกเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีก

ไปแล้วไม่นาน ได้ทำการเสียดแทงโปฏฐปาทปริพาชก ด้วยปฏักคือถ้อยคำ

เสียดแทงโดยรอบว่า ก็ท่านโปฏฐปาทะนี้ อนุโมทนาตามคำที่พระสมณโคดม

กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

พระสุคต ดั่งนี้. ก็แต่ว่าพวกเรามิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมทรงแสดง

แล้วโดยส่วนเดียว แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง ฯลฯ

ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ดั่งนี้.

[๒๙๕] เมื่อปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ โปฏฐปาทปริพาชก

ได้บอกกับเขาว่า พ่อคุณ แม้ฉันก็มิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมแสดง

แล้วโดยส่วนเดียว แต่อย่างใดอย่างหนึ่งว่า โลกเที่ยงหรือ ฯลฯ ตถาคต

เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ก็แต่ว่า พระสมณโคดมทรง

บัญญัติปฏิปทาที่จริง ที่แท้ ที่แน่นอน ที่มีปกติตั้งอยู่ในธรรม ที่ถูกต้อง

ตามทำนองคลองธรรม ไฉนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตเช่นดั่งเรา จักไม่อนุโมทนา

สุภาษิตของพระสมณโคดม โดยความเป็นสุภาษิตเล่า.

[๒๙๖] ต่อมาล่วงไปได้ ๒-๓ วัน จิตต์ผู้เป็นบุตรแห่งควาญช้าง และ

โปฏฐปาทปริพาชก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจิตต์ผู้เป็น

บุตรแห่งควาญช้าง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

ฝ่ายโปฏฐปาทปริพาชก กล่าวถ้อยคำปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พอเป็นที่

ตั้งแห่งความปลาบปลื้มเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก แล้วนั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวนั้น เมื่อพระองค์เสด็จหลีก

ไปไม่นาน พวกปริพาชกได้พากันรุมต่อว่าข้าพระองค์ด้วยถ้อยคำตัดพ้อต่าง ๆ

ว่า อย่างนี้ทีเดียวท่านโปฏฐปาทะ พระสมณโคดมตรัสคำใด ท่านพลอยอ-

นุโมทนาคำนั้นทุกคำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้

ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นต้องเป็นเช่นนี้ ฝ่ายพวกเรามิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณ-

โคดมทรงแสดงแล้วโดยส่วนเดียว แต่สักน้อยหนึ่งว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง

โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือชีพอย่างหนึ่ง

สรีระอย่างหนึ่ง ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่

ตายไปไม่มีอยู่ ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือ

ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เมื่อพวกปริพาชกกล่าว

อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้บอกปริพาชกเหล่านั้นว่าท่านทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้า

เองก็มิได้เข้าใจธรรมที่พระสมณโคดมทรงแสดงแล้ว โดยส่วนเดียว แต่สักน้อย

หนึ่งว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น

สรีระก็อันนั้น หรือชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป

มีอยู่ก็มี หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป

มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือตถาคตเบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่

ก็มิใช่. แต่ว่าพระสมณโคดมบัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอนเป็นธรรมฐิติ

ธรรมนิยาม ก็เมื่อพระสมณโคดมบัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอน เป็นธรรม

ฐิติ ธรรมนิยาม ไฉนเล่าวิญญูชนเช่นเราไม่พึงอนุโมทนา สุภาษิตของพระ-

สมณโคดมโดยเป็นสุภาษิต.

[๒๙๗] พ. โปฏฐปาทะ ปริพาชกเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคนบอด หา

จักษุมิได้ ในชุมชนนั้น ท่านคนเดียวเป็นคนมีจักษุ. เพราะเราแสดงแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

บัญญัติแล้ว ซึ่งธรรมเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียวบ้าง ซึ่งธรรมที่

ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียวบ้าง. ก็ธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความ

สิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว เป็นไฉน. คือ โลกเที่ยง

โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น

สรีระก็เป็นอื่น ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมมี ตถาคต เบื้องหน้า

แต่ตายแล้ว ย่อมไม่มี ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ยังมีบ้าง ไม่มีบ้าง

ตถาคต เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ดั่งนี้แล้ว เป็นธรรม

ที่ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว.

เพราะเหตุไร เราจึงแสดงบัญญัติว่า เป็นธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์

โดยส่วนเดียว. เพราะธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วย

ธรรม ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ไม่

เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ

ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน

เพราะฉะนั้น เราจึงได้แสดงบัญญัติว่า ไม่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วน

เดียว.

[๒๙๘] ก็ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว

บัญญัติแล้ว เป็นไฉน. คือ นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์

นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดั่งนี้แล เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์

โดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ก็เพราะเหตุไร เราจึงแสดงแล้ว

บัญญัติแล้วว่า เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยส่วนเดียว. เพราะ

ธรรมเหล่านี้ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม เป็นเบื้องต้นแห่ง

พรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เป็นไปเพื่อความปล่อยวาง เป็นไป

เพื่อความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงได้แสดงบัญญัติว่า เป็นไป

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยส่วนเดียว.

[๒๙๙] โปฏฐปาทะ สมณพราหมณ์พวกนั้น มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ เราเข้าไป

หาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ดังนี้

จริงหรือ. ถ้าว่าพวกเขาที่ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ปฏิญญารับคำไซร้ เราก็จะ

กล่าวกะพวกเขาอย่างนี้ว่า เออ ที่ท่านรู้เห็นโลก มีสุขโดยส่วนเดียวอยู่หรือ.

เขาถูกถามดั่งนี้ ก็จะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้สึก

ตนเป็นสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือครึ่งคืนครึ่งวัน เขาก็จะ

ตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้ว่า นี้มรรคา นี้ปฏิปทา

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียวหรือ. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.

เราก็จะกล่าวกะเขาว่า ท่านจงฟังเสียงของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงโลกที่มีสุขโดย

ส่วนเดียว ผู้กล่าวอยู่ว่า จงปฏิบัติดีเถิด จงปฏิบัติตรงเถิด ท่านผู้นิรทุกข์

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติอย่าง

นี้แล้ว จึงเข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.

พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้

ภิกษิตของสมณพราหมณ์พวกนั้นจะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล) มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์

พวกนั้น ก็ย่อมถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล).

[๓๐๐] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ปรารถนารักใคร่ซึ่งนางงามประจำชนบทนี้ ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเขาว่า

แน่ะพ่อหนุ่ม นางงามประจำชนบทที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

เป็นนางกษัตริย์ หรือนางพราหมณ์ เป็นนางแพศย์ หรือนางศูทร เมื่อเขา

ถูกถามดั่งนี้ ก็จะตอบว่า ไม่รู้. ชนทั้งหลายก็จะพึงกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อ

หนุ่ม นางงามประจำชนบทที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้น ท่านรู้หรือว่า มีชื่อ

อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สูงหรือต่ำ หรือพอสันทัด ดำหรือขาว หรือสี

แมลงทับ อยู่ในบ้าน ในนิคม หรือในเมืองโน้น. เขาก็จะตอบว่าไม่รู้ชน

ทั้งหลายก็จะกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อหนุ่ม ท่านปรารถนารักใคร่นางงามที่ยัง

ไม่รู้ ไม่เห็นกัน ดังนั้นหรือ. เขาก็จะพึงกล่าวว่า อย่างนั้น. โปฏฐปาทะ

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูดของบุรุษนั้น จะ

ถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล) มิใช่หรือ.

ป. แน่นอนทีเดียว พระเจ้าข้า คำพูดของบุรุษนั้น จะถึงความไม่

น่าอัศจรรย์.

พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ เรา

เข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมีวาทะอย่างนี้ มี

ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนเบื้องหน้าแต่ตายไป มีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ ดั่งนี้

จริงหรือ ถ้าพวกเขาที่ถูกเราถามแล้วปฏิญญารับไซร้ เราก็จะกล่าวกะพวกเขา

ว่า เออ ก็ท่านรู้เห็นโลก มีสุขโดยส่วนเดียวอยู่หรือ. เขาก็จะตอบว่า หามิได้

เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่านรู้สึกตนเป็นสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง

หรือครึ่งคืน ครึ่งวัน. เขาก็จะตอบว่า หามิได้. เราจะกล่าวกะเขาว่า เออ ก็ท่าน

รู้ว่า นี้มรรคา นี้ปฏิปทา เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกมีสุขโดยส่วนเดียวหรือ. เขาก็จะ

ตอบว่า หามิได้. เราก็จะกล่าวกะเขาว่า ท่านจะฟังเสียงของเหล่าเทวดา ผู้เข้า

ถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว ผู้กล่าวอยู่ว่า จงปฏิบัติดี จงปฏิบัติตรงเถิดท่านผู้

นิรทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติ

อย่างนี้แล้ว จึงเข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะตอบว่า หามิได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภาษิตของสมณพราหมณ์พวกนั้น จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล ) มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์

พวกนั้น ก็ย่อมถึงความไม่น่าอัศจรรย์ (ไร้ผล)

[๓๐๑] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษ พึงทำบันไดที่หนทางใหญ่

๔ แพร่ง เพื่อขึ้นสู่ปราสาท ชนทั้งหลายจะพึงถามเขาว่า แน่ะพ่อคุณ ปราสาท

ที่ท่านทำบันไดเพื่อจะขึ้น ท่านรู้จักหรือว่า ปราสาทนั้นอยู่ทางทิศตะวันออก

หรือทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ และสูงหรือต่ำ หรือพอปานกลาง.

เขาก็จะตอบว่า ยังไม่รู้ ชนทั้งหลาย ก็จะกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อคุณ ปราสาทที่

ท่านไม่รู้ไม่เห็น ท่านจะทำบันไดเพื่อขึ้นได้หรือ. เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาก็พึง .

กล่าวรับคำ.

พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น

คำพูดของบุรุษนั้น จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูดของบุรุษนั้นถึงความ

เป็นของไม่น่าอัศจรรย์.

พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายไป อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หาโรคมิได้ มี

อยู่ เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่าท่านมี

วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายไป อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว

หาโรคมิได้ มีอยู่จริงหรือ. ถ้าสมณพราหมณ์พวกนั้นถูกเราถามอย่างนี้แล้ว

ปฏิญญาว่าจริง เราจะกล่าวกะเขาว่า เออก็ท่านยังรู้เห็นว่า โลกมีสุขโดยส่วน

เดียวบ้างหรือ. เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าว

กะเขาว่า เออก็ท่านรู้ว่าอัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ชั่ววันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือกึ่งวัน

กึ่งคืน เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะกล่าวกะเขาว่า

เออก็ท่านยังรู้ว่า นี้มรรคา นี้ข้อปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกมีความสุขโดย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ส่วนเดียวบ้างหรือ. เมื่อเขาถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่า หามิได้ เราจะ

กล่าวกะเขาว่า เออก็ท่านยังได้ยินเสียงพวกเทวดาผู้เข้าถึงโลกมีสุขโดยส่วน

เดียว ผู้กำลังพูดกันว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงแล้ว เพื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะว่า แม้พวกเราปฏิบัติอย่างนี้จึง

เข้าถึงโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว. เขาก็จะปฏิเสธ.

พ. โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็จะถึงความไม่น่าอัศจรรย์มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์

เหล่านั้น ก็จะถึงความเป็นของไม่น่าอัศจรรย์.

[๓๐๒] พ. โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพ ๓ นี้ คือที่หยาบ ที่สำเร็จ

ด้วยใจ ที่หารูปมิได้. ก็การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นไฉน. กายที่มีรูปเป็นที่

ประชุมแห่งมหาภูต ๔ มีคำข้าวเป็นภักษา นี้คือการได้อัตตภาพที่หยาบ. การ

ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน. กายที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อย

ใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม นี้คือการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ.

การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้เป็นไฉน. กายอันหารูปมิได้สำเร็จด้วยสัญญา นี้

คือ การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้.

[๓๐๓] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรมเพื่อการละความได้อัตตภาพ

ที่หยาบว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรม* จัก

เจริญยิ่ง และท่านทั้งหลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา

ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบันแล้วแลอยู่.

พ. โปฏฐปาทะ ก็ท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลสธรรมจักเป็น

อันละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง จักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่ง

ปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบันแล้วแลอยู่ แต่เป็นการอยู่ลำบาก.

๑. ธรรมอันผ่องแผ้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

พ. โปฏฐปาทะ ก็ท่านไม่ควรเห็นอย่างนั้น แท้จริง สังกิเลสธรรม

จักเป็นอันละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์

ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัวในปัจจุบัน แล้วแลอยู่ ปราโมทย์

ปีติ ปัสสัทธิ และสติสัมปชัญญะ จักเกิดมี มีการอยู่อย่างสบาย.

[๓๐๔] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อการละความได้

อัตตภาพ แม้ที่สำเร็จด้วยใจว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลส

ธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความ

ไพบูลย์แห่งปัญญาให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ดูก่อนโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลส

ธรรมเราจะละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง

ความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.

ดูก่อนโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลสธรรม

พวกท่านจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง

ความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ จักเกิดมี

เป็นการอยู่อย่างสบาย.

[๓๐๕] พ. โปฏฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อการละความได้อัตตภาพ

แม้ที่ไม่มีรูปว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรม

จักเจริญยิ่งขึ้น พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญาให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ดูก่อนโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า สังกิเลส

ธรรมเราจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญขึ้น ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.

ดูก่อนโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลส

ธรรม พวกท่านจักละได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น ผู้มีความเพียรจะทำให้

แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย

ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ

เป็นการอยู่อย่างสบาย.

[๓๐๖] โปฏฐปาทะ ถ้าเจ้าลัทธิพวกอื่น จะพึงถามพวกเราว่า แน่ะ

ท่าน การได้อัตตภาพที่หยาบ ซึ่งท่านแสดงธรรม เพื่อให้ละเสียว่าพวกท่าน

ปฏิบัติอย่างไร จักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และท่านทั้ง

หลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะ

ตัว ในปัจจุบันแล้วแลอยู่ เป็นไฉน. พวกเราถูกถามแล้วอย่างนี้ พึงพยากรณ์

แก่เขาว่า การได้อัตตภาพอันหยาบที่เราแสดงธรรมเพื่อละเสียว่า พวกท่าน

ปฏิบัติอย่างไรจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานธรรมจักเจริญยิ่ง และท่านทั้ง

หลายจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ไพบูลย์แห่งปัญญา ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะ

ตัว ในปัจจุบันแล้วแลอยู่ อันนี้แล.

[๓๐๗] โปฏฐปาทะ ถ้าเจ้าลัทธิพวกอื่น จะพึงถามพวกเราว่า แน่ะ

ท่าน ก็การได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจฯลฯ การได้อัตตภาพที่หารูปมิได้ซึ่งท่าน

แสดงธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ แล้วแลอยู่ ดั่งนี้

เป็นไฉน.

โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภาษิตก็ถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตก็ถึงความน่าอัศจรรย์.

[๓๐๘] พ. โปฏฐปาทะ เช่นเดียวกับบุรุษพึงทำบันได เพื่อขึ้นสู่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ปราสาท. ที่ใต้ปราสาทนั้น ชนทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเขาว่า แน่ะพ่อคุณ

ปราสาทที่ท่านทำบันไดเพื่อจะขึ้น ท่านรู้หรือว่า อยู่ทิศตะวันออกหรือทิศใต้

ทิศตะวันตกหรือทิศเหนือ สูงหรือต่ำ หรือพอปานกลาง. ถ้าบุรุษนั้นจะพึง

ตอบอย่างนี้ว่า ปราสาทที่เราทำบันไดเพื่อจะขึ้นอยู่ที่ใต้ปราสาทนั้น นี้แล.

โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำพูด

ของบุรุษนั้นก็ถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า คำพูดของบุรุษนั้น ก็ถึงความน่าอัศจรรย์.

พ. โปฏฐปาทะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าเจ้าลัทธิอื่น พึงถามพวกเรา

ว่า การได้อัตตภาพที่หยาบ....ที่สำเร็จด้วยใจ....ที่หารูปมิได้.... ซึ่งท่านแสดง

ธรรมเพื่อให้ละเสียว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร ฯลฯ แล้วแลอยู่ ดังนี้.

โปฏฐปาทะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภาษิตจะถึงความน่าอัศจรรย์ มิใช่หรือ.

ป. แน่นอน พระเจ้าข้า.

[๓๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว จิตต์บุตรควาญช้าง

ได้ทูลว่า พระเจ้าข้า สมัยใด ได้อัตตภาพอันหยาบ สมัยนั้น การได้

อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นโมฆะ การได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป ก็เป็นโมฆะ

ในสมัยนั้น พึงมีแต่การได้อัตตภาพอันหยาบ เป็นสัจจะ กระนั้นหรือ ?

และสมัยใด ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น การได้อัตตภาพอันหยาบ

เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ก็เป็นโมฆะ ในสมัยนั้น การได้

อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ เป็นสัจจะ กระนั้นหรือ ? และสมัยใด ได้อัตตภาพ

อันไม่รูป สมัยนั้น การได้อัตตภาพอันหยาบเป็นโมฆะ การได้อัตตภาพ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ที่สำเร็จด้วยใจ ก็เป็นโมฆะ ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เป็น

สัจจะ กระนั้นหรือ ?

พ. สมัยใด ได้อัตตภาพที่หยาบ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า

ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป

ในสมัยนั้นถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันหยาบอย่างเดียว. สมัยใด ได้

อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ

ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า

ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว. สมัยใด ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป

สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ ทั้งมิได้ถึงซึ่งอันนับว่า

ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอัน

ไม่มีรูปอย่างเดียว.

[๓๑๐] พ. จิตต์ ถ้าเขาจะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านได้มีแล้วในอดีต

มิใช่ว่า ไม่ได้มีแล้ว ท่านจักมีในอนาคต มิใช่ว่าจักไม่มี ท่านมีอยู่ในบัดนี้

มิใช่ว่าไม่มี กระนั้นหรือ. ท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างไร.

จ. ถ้าข้าพระองค์ถูกถามอย่างนั้น พึงพยากรณ์ว่า ข้าพเจ้า ได้มีแล้ว

ในอดีต มิใช่ว่าไม่ได้มีแล้ว ข้าพเจ้า จักมีในอนาคต มิใช่ว่าจักไม่มี ข้าพเจ้า

มีอยู่ในบัดนี้ มิใช่ว่าไม่มี เมื่อถูกถามอย่างนี้จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

[๓๑๑] พ. จิตต์ ถ้าเขาจะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า การได้อัตตภาพใด

ที่เป็นอดีตได้มีแล้วแก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล ได้เป็นสัจจะ การได้

อัตตภาพที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพที่เป็น

อนาคตใด จักมีแก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล จักเป็นสัจจะ การได้

อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้อัตตภาพเป็นปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ใด มีอยู่แก่ท่าน การได้อัตตภาพนั้นแล เป็นสัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็น

อดีต ที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ กระนั้นหรือ. ท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึง

พยากรณ์อย่างไร.

จ. ถ้าข้าพระองค์ถูกถามอย่างนั้น พึงพยากรณ์ว่า การได้อัตตภาพ

ที่เป็นอดีตใดได้มีแล้วแก่ข้าพเจ้า ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพนั้นแล ได้เป็น

สัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้

อัตตภาพที่เป็นอนาคตใด จักมีแก่ข้าพเจ้า สมัยนั้น การได้อัตตภาพนั้นแล

จักเป็นสัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ การได้

อัตตภาพที่เป็นปัจจุบันใด มีอยู่แก่ข้าพเจ้านั้น การได้อัตตภาพนั้นแล เป็น

สัจจะ การได้อัตตภาพที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต เป็นโมฆะ เมื่อถูกถาม

อย่างนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้แล พระเจ้าข้า.

[๓๑๒] พ. จิตต์ สมัยใด ได้อัตตภาพที่หยาบ สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่ง

อันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ

อันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ

อันหยาบอย่างเดียว สมัยใด ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น มิได้

ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หยาบ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอัน

ไม่มีรูป ในสมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจอย่างเดียว

สมัยใด ได้อัตตภาพอันไม่มีรูป สมัยนั้น มิได้ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพ

ที่หยาบ ทั้งไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันสำเร็จด้วยใจ ในสมัยนั้น

ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่มีรูปอย่างเดียว. เช่นเดียวกับนมสดมีจาก

แม่โค นมส้มมีจากนมสด เนยข้นมีจากนมส้ม เนยใสมีจากเนยข้น ฟอง-

เนยใสมีจากเนยใส สมัยใด ยังเป็นนมสดอยู่ สมัยนั้น ก็ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

เป็นนมส้ม เป็นเนยข้น เป็นเนยใส เป็นฟองเนยใส สมัยนั้น ถึงซึ่งอัน

นับว่า เป็นนมสดอย่างเดียว. สมัยใด เป็นนมส้ม. เป็นเนยข้น. เป็นเนยใส.

เป็นฟองเนยใส สมัยนั้น ก็ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า เป็นนมสด....นมส้ม....เนยใส

.....ฟองเนยใสอย่างเดียว.

จิตต์ ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด การได้อัตตภาพอันหยาบย่อมมี

สมัยนั้น ไม่ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพอันไม่สำเร็จด้วยใจ..... อันหารูป

มิได้.... สมัยนั้น ถึงซึ่งอันนับว่า ได้อัตตภาพที่หย่าบอย่างเดียว. จิตต์

เหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา (ชื่อตามโลก) โลกนิรุตติ (ภาษาชาวโลก)

โลกโวหาร (โวหารของชาวโลก) โลกบัญญัติ ที่ตถาคตกล่าวมิได้เกี่ยวข้อง

(เป็นแต่ยืมมาพูด ถ้าว่าทางปรมัตถ์ ไม่มีเกี่ยว).

[๓๑๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โปฏฐปาทปริพาชก

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ไพเราะจริง พระเจ้าข้า ไพเราะจริง พระ-

เจ้าข้า บุคคลจะพึงหงายของที่คว่ำขึ้นก็ดี จะพึงเปิดของที่มีวัตถุอื่นปิดอยู่ก็ดี

จะพึงบอกทางแก่บุคคลผู้หลงทางแล้วก็ดี จะพึงส่องประทีปในที่มืด ด้วย

หวังว่าชนทั้งปวงผู้มีจักษุได้เห็นรูปทั้งหลายดั่งนี้ก็ดี มีอุปมาฉันใด พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงภาษิตธรรมก็มีอุปไมยฉันนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอ

พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์ตลอดชีพ

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ฝ่ายจิตต์ ผู้บุตรนายควาญช้าง ได้ทูลว่า ไพเราะจริง พระเจ้าข้า

ฯลฯ ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ดั่งนี้.

จิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

แล้วแล. ท่านจิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออก

ไปแต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักทำให้แจ้งซึ่ง

ที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่ผู้บวช ไม่มีเรือน จากเรือนโดยชอบ

ต้องการ ด้วยความรู้ยิ่งเฉพาะตัว ในปัจจุบันแล้วอยู่ รู้ประจักษ์ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ท่านจิตต์ บุตรนายควาญช้าง ได้เป็นพระอรหันต์องค์ ๑ ดั่งนี้แล..

จบโปฏฐปาทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

อรรถกถาโปฏฐปาทสูตร

เอวมฺเม สุต ฯเปฯ สาวตฺถิตยฺติ โปฏฺปาทสุตฺต

ในโปฏฐปาทสูตรนั้น มีคำพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้. บทว่า

สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า ประทับอยู่ ณ

พระเชตวันอารามที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ให้สร้างในสวนของกุมารพระ-

นามว่า เชต ใกล้กรุงสาวัตถี.

บทว่า โปฏฺปาโท ปริพฺพาชโก ความว่า ฉันนปริพาชก ชื่อ

โปฏฐปาทะ. ได้ยินว่าในกาลเป็นคฤหัสก์เขาเป็นพราหมณ์มหาศาล เห็นโทษ

ในกามทั้งหลายแล้ว ละกองโภคทรัพย์จำนวนสี่สิบโกฏิ บวชเป็นคณาจารย์

ของเดียรถีย์ทั้งหลาย.

พราหมณ์และบรรพชิตทั้งหลายย่อมโต้ตอบลัทธิในสถานที่นั่น เพราะ

ฉะนั้น สถานที่นั้นจึงชื่อว่า สมยปฺปวาทก สถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ นัยว่า

พราหมณ์ทั้งหลายมีจังกีพราหมณ์ตารุกขพราหมณ์ และโปกขรสาติพราหมณ์

เป็นต้น และบรรพชิตทั้งหลายมีนิคัณฐปริพาชก และ อเจลกปริพาชกเป็น

ต้น ประชุมกันในสถานที่นั้นแล้ว โต้ตอบ กล่าวแสดงลัทธิของตนๆ ในสถาน

ที่นั้น เพราะฉะนั้น อารามนั้น จึงเรียกว่า สมยปฺปวาทโก. อารามนั้นเทียว

ชื่อว่า แถวป่าไม้มะพลับ เพราะเป็นอารามที่แนวต้นมะพลับคือแถวต้น

มะพลับล้อมรอบ. ก็เพราะในอารามนั้นในชั้นแรก มีศาลาเพียงหลังเดียวเท่า

นั้น ภายหลังชนทั้งหลายอาศัยปริพาชกผู้มีบุญมากสร้างศาลาหลายหลัง เพราะ

ฉะนั้นอารามนั้น จึงเรียกว่า เอกสาลโก ด้วยอำนาจแห่งชื่อที่ได้มา เพราะ

อาศัยศาลาหลังเดียวนั้นเอง. ก็อารามนั้นสมบูรณ์ด้วยดอกและผล เป็นสวน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

พระนางมัลลิกา ราชเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวาย จึงถึงอันนับ

ว่า มัลลิกายาราม. ในสถานที่สำหรับโต้ตอบลัทธิ แถวป่าไม้มะพลับ มีศาลา

ที่พักหลังเดียว เป็นอารามของพระนางมัลลิกานั้น. บทว่า ปฏิวสติ ความว่า

พักอยู่เพราะเป็นสถานที่อยู่ผาสุก.

ต่อมาวันหนึ่ง ในปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่

พระสัพพัญญุตญาณ ทรงพิจารณาดูโลก ทรงเห็นปริพาชกเข้ามาภายในข่าย

คือพระญาณ ทรงใคร่ครวญว่า โปฏฐปาทะนี้ ย่อมปรากฏในข่ายคือญาณของ

เรา จักมีอะไรหนอ ดังนี้ ทรงเห็นว่า ในวันนี้ เราจักไปในอารามนั้น ลำดับนั้น

โปฏฐปาทะจักถามเราถึงนิโรธ และการออกจากนิโรธ เราจักเทียบด้วยญาณ

ของพระพุทธเจ้าทั้งปวงแสดงทั้งสองอย่างนั้น แก่โปฏฐปาทะนั้น ครั้นล่วงไป

๒-๓ วัน เขาจักพาจิตตะผู้เป็นบุตรควาญช้างมาสู่สำนักของเรา เราจักแสดง

ธรรมแก่เขาทั้งสองคนนั้น ในที่สุดเทศนา โปฏฐปาทะจักถึงเราเป็นสรณะ จิต-

ตะบุตรควาญช้าง บวชในสำนักของเราแล้ว จักบรรลุพระอรหัต ดังนี้. แต่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่ ทรงครอง

อันตรวาสกสองชั้นซึ่งย้อมดีแล้ว ทรงคาดพระประคดเช่นกับสายฟ้า ทรงสพัก

ผ้าบังสุกุลสีเมฆดุจประหนึ่งมหาเมฆล้อมรอบเขายุคันธรอยู่ฉะนั้น ทรงคล้อง

บาตรสิลาอันมีค่ามากที่พระอังสะข้างซ้ายทรงพระดำริว่า เราจักเข้าไปในกรุง

สาวัตถี เพื่อบิณฑบาต เสด็จลีลาศออกจากพระวิหารเหมือนราชสีห์ออก

จากเชิงเขาหิมพานต์ฉะนั้น. ท่านหมายถึงอรรถนี้จึงกล่าวว่า อถโข ภควา

เป็นต้น

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปใกล้ประตู

พระนครแล้ว ทรงมองดูพระอาทิตย์ด้วยอำนาจความพอพระฤทัยของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

ทรงเห็นว่า เวลายังเช้านัก จึงมีพระดำรินั่น. บทว่า ยนฺนูนาห ความว่า เป็น

นิบาตเหมือนแสดงความสงสัย. ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความสงสัย. แต่

นั้นเป็นส่วนเบื้องต้นของพระปริวิตกอย่างนี้ว่า เราจักทำกิจนี้ จักไม่ทำกิจนี้

เราจักแสดงธรรมแก่คนนี้ จักไม่แสดงธรรมแก่คนนี้ ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ยนฺนูนาห ความว่า ก็ถ้าเรา.

บทว่า อุนฺนาทินิยา ความว่า อันดังลั่น. ก็เสียงนั้นซึ่งบันลืออย่างนี้

ชื่อว่า สูง ด้วยสามารถไปในส่วนเบื้องสูง ชื่อว่า เสียงดัง ด้วยสามารถกระจาย

ไปในทิศทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ด้วยเสียงอันดังลั่น. จริงอยู่ เจติยวัตร

โพธิวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร หรือ โยนิโสมนสิการ อันชื่อว่าควร

ลุกขึ้นทำแต่เช้า ย่อมไม่มีแก่ปริพาชกเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น ปริพาชก

เหล่านั้น ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วนั่งในที่มีแสงแดดอ่อน ปรารภถึงอวัยวะ มีมือ

และเท้าเป็นต้นของกันและกันอย่างนี้ว่า มือของคนนี้งาม เท้าของคนนี้งาม

หรือปรารภถึงผิวพรรณของหญิงชาย เด็กชายและเด็กหญิงทั้งหลาย หรือ

ปรารภถึงวัตถุอื่นที่มีความยินดีในกามและความยินดีในภพเป็นต้น ตั้งถ้อยคำ

ขึ้นแล้ว กล่าวติรัจฉานกถาต่าง ๆ มีพูดถึงพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น โดยลำดับ.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กล่าวติรัจฉานกถาต่าง ๆ ด้วยเสียงอันดังลั่น

ดังนี้.

ต่อแต่นั้น โปฏฐปาทปริพาชกมองดูปริพาชกพวกนั้นคิดว่า ปริพาชก

เหล่านี้ไม่เคารพต่อกันและกันเลย และพวกเราก็จะเป็นเหมือนหิ่งห้อยเมื่อ

พระอาทิตย์ขึ้น จำเดิมแด่พระสมณโคดมเสด็จมาปรากฏ แม้ลาภสักการของ

พวกเราก็เสื่อมไป ก็ถ้าสมณโคดม สาวกของพระโคดม หรือคฤหัสถ์ผู้

บำรุงสมณโคดมนั้น จะพึงมาสู่สถานที่นี้ไซร้ ก็จักมีความน่าละอายเหลือเกิน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

อนึ่ง โทษของบริษัทแล จะตกอยู่กับหัวหน้าบริษัทเท่านั้น ดังนี้ เหลียวมอง

รอบ ๆ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โปฏฐปาท-

ปริพาชกได้เห็นแล้วแล ฯลฯ ปริพาชกเหล่านั้น ได้พากันนิ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สณฺเปสิ อธิบายว่า ให้สำเหนียกถึงโทษแห่ง

เสียงนั้น คือให้เงียบเสียง พักเสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะต้องเงียบอย่างดี.

เพื่อปกปิดโทษของเสียงนั้น เหมือนอย่างบุรุษเข้ามาสู่ท่ามกลางบริษัท ย่อม

นุ่งผ้าเรียบร้อย ห่มผ้าเรียบร้อย เช็ดถูสถานที่สกปรกด้วยธุลีเพื่อปกปิดโทษ

ฉะนั้น. บทว่า อปฺปสทฺทา โภนฺโต ความว่า เมื่อให้สำเหนียก ก็ให้เงียบ

เสียงนั้นโดยประการที่เสียงจะเงียบอย่างดี. บทว่า อปฺปสฺทกาโม ความว่า

โปรดเสียงเบา คนหนึ่งนั่ง คนหนึ่งยืน ย่อมไม่ให้เป็นไปด้วยการคลุกคลีด้วย

หมู่. บทว่า อุปสงฺกมิตพฺพ มณฺเยฺย ความว่า สำคัญว่าจะเสด็จเข้ามาใน

สถานนี้. ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร โปฏฐปาทปริพาชกนั่น จึงหวังการเสด็จ

เข้ามาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แก้ว่า เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน.

ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลาย ครั้นพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธ-

เจ้ามาสู่สำนักของตนแล้ว ย่อมยกตนขึ้นในสำนักของผู้บำรุงทั้งหลายของตน

ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูงว่า ในวันนี้สมณโคดมเสด็จมาสู่สำนักของพวกเรา พระ-

สารีบุตรก็มา ท่านไม่ไปยังสำนักของใครเลย ท่านทั้งหลายพึงดูความยิ่งใหญ่

ของพวกเรา ดังนี้. ย่อมพยายามเพื่อคบอุปัฎฐากทั้งหลายของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วย. ได้ยินว่า ปริพาชกเหล่านั้นเห็นอุปัฏฐากทั้งหลายของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ครูของพวกท่านจะเป็นพระโคดมก็ตาม จะเป็น

สาวกของพระโคดมก็ตาม เป็นผู้เจริญย่อมมาสู่สำนักของพวกเรา พวกเรา

พร้อมเพรียงกัน แต่ท่านทั้งหลายไม่อยากมองดูพวกเราเลย ไม่ทำสามีจิกรรม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

พวกเรากระทำความผิดอะไรแก่พวกท่านเล่า. อนึ่ง มนุษย์บางพวกคิดว่า แม้

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไปสู่สำนักของปริพาชกเหล่านั้นได้ ก็จะไปสู่สำนักของ

พวกเราได้มิใช่หรือ จำเดิมแต่นั้นครั้นเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วก็ไม่

ประมาท.

บทว่า ตุณฺหี อเหส ความว่า พวกปริพาชกเหล่านั้น ล้อมโปฏฐปาทะ

แล้ว พากันนั่งเงียบ.

บทว่า สฺวาคต ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จมา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นการดี. ท่านแสดงไว้ว่า ก็ครั้นพูดพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมา ก็มีความยินดี ครั้นเสด็จไปก็เศร้าโศก. ถามว่า เพราะเหตุอะไร

โปฏฐปาทะจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานแล แม้ในกาลก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยเสด็จไปในที่นั้นหรือ. ตอบว่า ไม่เคยเสด็จไป. ก็มนุษย์

ทั้งหลายย่อมทักทายด้วยคำน่ารักเป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านจะไปไหน ไปไหนมา

ท่านหลงทางหรือ ท่านมานานแล้วหรือ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น โปฏฐปาทะ จึง

ทูลอย่างนั้น. ก็ครั้นทูลอย่างนี้แล้ว เป็นผู้ไม่กระด้างด้วยมานะนั่ง แต่ลุก

จากอาสนะแล้วทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยว่า เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จเข้าไป แล้วไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ หรือไม่ทำการอ่อนน้อม เป็น

การได้ยาก. เพราะเหตุอะไร. เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง. ปริพาชกแม้นี้

ตบอาสนะที่ตนนั่งแล้ว เมื่อทูลเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาสนะได้ทูลว่า

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด พระเจ้าข้า นี่อาสนะได้แต่งไว้แล้ว ดังนี้.

บทว่า อนฺตรากถา วิปฺปกตา ความว่า ทรงเปิดเผยอย่างพระสัพพัญญู

ว่า ตั้งแต่พวกท่านนั่งมาแต่ต้นจนถึงเรามา สนทนากันเรื่องอะไรที่ค้างไว้ใน

ระหว่างนั้น คือ ถ้อยคำอะไรที่ยังไม่จบ เพราะเหตุเรามาถึง ขอพวกท่าน

จงบอกเถิด เราจะนำถ้อยคำนั้นแสดงให้จบ. ลำดับนั้น ปริพาชกแสดงว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

กถานั้นเป็นกถาไร้ประโยชน์ ไม่มีสาระ อิงอาศัยวัฏ ไม่ควรนำมากล่าวเฉพาะ

พระพักตร์ของพระองค์ จึงทูลคำเป็นต้นว่า กถานั้นจงงดเสียเถิด พระ

เจ้าข้า. บทว่า ติฏฺเตสา ภนฺเต ความว่า ปริพาชกแสดงว่า ถ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจักประสงค์จะฟังไซร้ กถานั่นจะทรงสดับภายหลังก็ได้ไม่ยาก ก็

ประโยชน์ด้วยกถานี้ไม่มีแก่พวกข้าพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์ได้การเสด็จ

มาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะทูลถามถึงเหตุการณ์ดีอย่างอื่นเทียว. ต่อแต่

นั้น เมื่อจะทูลถามเหตุการณ์นั้น จึงทูลคำเป็นต้นว่า ปุริมานิ ภนฺเต ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกตูหลสาลาย ความว่า ศาลาแต่ละหลัง

ชื่อว่า ศาลาอลหม่านไม่มี แต่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ถือลัทธิต่าง ๆ

กล่าวถ้อยคำชนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปในศาลาใด ศาลานั้น เรียกว่า โกตูหลสาลา

เพราะเป็นสถานที่เกิดความอลหม่านสับสนแก่ชนมากว่า คนนี้กล่าวอะไร คน

นี้กล่าวอะไร. คำว่า อภิ ในบทว่า อภิสญฺานิโรเธ นั้นเป็นเพียงอุปสรรค.

บทว่า สญฺานิโรเธ ความว่า กถาเกิดขึ้นแล้วในจิตตนิโรธ คือ ขณิกนิโรธ.

ก็คำว่า สัญญานิโรธนี้ เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นแห่งกถานั้น.

ได้ยินว่า ในกาลใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงชาดกหรือทรงบัญญัติ-

สิกขาบท ในกาลนั้น เสียงสรรเสริญเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็แผ่

กระจายไปทั่วชมพูทวีป. พวกเดียรถีย์ได้ฟังเกียรติคุณนั้นแล้ว ก็กระทำกิริยา

ตรงข้ามกับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นัยว่า พระโคดมผู้เจริญทรงแสดงบุรพจริยา

พวกเราไม่สามารถเพื่อแสดงบุรพจริยาบางอย่าง เช่นนั้นบ้างหรือ แสดงลัทธิ

ระหว่างภพหนึ่ง. บัญญัติสิกขาบทบางอย่างแก่สาวกของตนว่า พระโคดมผู้

เจริญได้บัญญัติสิกขาบทแล้ว พวกเราจะไม่สามารถบัญญัติหรือ. ก็ในกาลนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในท่ามกลางบริษัททั้ง ๘ ทรงแสดงนิโรธกถา.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

พวกเดียรถีย์ได้ฟังนิโรธกถานั้นแล้วพากันประชุมกล่าวว่า นัยว่า พระโคดม

ผู้เจริญทรงแสดงกถาชื่อนิโรธ แม้พวกเราก็จักแสดง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า กถาได้เกิดแล้วในอภิสัญญานิโรธ ดังนี้.

บทว่า ตเตฺรกจฺเจ ความว่า ในบรรดาสมณพราหมณ์นั้น บางพวก.

ก็ในเรื่องนี้ บรรพชิตในลัทธิเดียรถีย์ภายนอกคนแรกบางคนเห็น

โทษในความเป็นไปของจิต เจริญสมาบัติว่า ความไม่มีจิตสงบแล้ว จุติจาก

โลกนี้ไปตกอยู่ในอสัญญีภพสิ้น ๕๐๐ กัลป์ ก็มาเกิดในโลกนี้อีก เมื่อไม่เห็น

ความเกิดขึ้นของสัญญาและเหตุในความดับของคนนั้น จึงกล่าวว่า ไม่มีเหตุ

ไม่มีปัจจัย.

คนที่สองปฏิเสธคำกล่าวนั้น ถือเอาความที่มิคสิงคิดาบส ไม่มีสัญญา

จึงกล่าวว่า มาสู่บ้าง ไปปราศบ้าง. นัยว่า มิคสิงคิดาบสสมีตบะร้อน มีตบะ

กล้า มีอินทรีย์ตั้งมั่นอย่างยิ่ง. ด้วยเดชแห่งศีลของดาบสนั้น ทำให้วิมานของ

ท้าวสักกะร้อนได้. ท้าวสักกะเทวราช ทรงคิดว่า ดาบสต้องการตำแหน่ง

ท้าวสักกะหนอแล จึงส่งเทพกัญญา นามว่า อลัมพุสา ด้วยเทพบัญชาว่า เธอ

จงมาทำลายตบะของดาบส. เทพกัญญานั้น ไปแล้วในที่นั้น. ดาบสเห็นเทพ-

กัญญาในวันแรก ก็หลีกไปสู่บรรณศาลา.

ในวันที่สอง ดาบสถูกนีวรณ์คือกามฉันทะกลุ้มรุม จึงจับมือเทพกัญ-

ญานั้น. ดาบสนั้นถูกต้องทิพย์สัมผัสนั้น ก็สิ้นสัญญา ต่อเมื่อล่วงไปสามปี

จึงกลับได้สัญญา. เขาเห็นมิคสิงคิดาบสนั้นแล้วมีความเห็นแน่วแน่สำคัญว่า

ออกจากนิโรธโดยล่วงไปสามปี จึงกล่าวอย่างนั้น.

คนที่สามปฏิเสธคำกล่าวของคนที่สองนั้น มุ่งถึงการประกอบอาถรรพณ์

จึงกล่าวว่าสวมใส่บ้าง พรากออกบ้าง ดังนี้. ได้ยินว่า พวกอาถรรพณ์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ประกอบอาถรรพณ์ กระทำสัตว์แสดงเหมือนศีรษะขาดมือขาดและเหมือนตาย

แล้ว. เขาเห็นสัตว์นั้นเป็นปกติอีก จึงมีความเห็นแน่วแน่ว่า สัตว์นี้ออกจาก

นิโรธ จึงกล่าวอย่างนั้น.

คนที่สี่คัดค้านคนที่สามมุ่งถึงการเมาและการหลับใหลของนางยักษ์

ทาสีทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนผู้เจริญก็เทวดาทั้งหลายมีอยู่ ดังนี้.

ได้ยินว่า พวกนางยักษ์ทาสีทำการบำรุงเทวดาตลอดทั้งคืน ฟ้อนรำ ร้องเพลง

ในวันอรุณขึ้น ก็ดื่มสุราถาดหนึ่ง กลิ้งไปมาหลับแล้วตื่นในกลางวัน. เขา

เห็นเหตุการณ์นั้น ก็มีความเห็นแน่วแน่สำคัญว่า ในเวลาหลับประกอบด้วย

นิโรธ ในเวลาตื่นออกจากนิโรธ ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.

ก็โปฏฐปาทปริพาชกนี้เป็นชาติบัณฑิต ด้วยเหตุนั้น เขามีความเดือด

ร้อนเพราะฟังกถานี้ กถาของพวกนั้นเป็นเหมือนถ้อยคำของแพะใบ้ ย่อม

ถึงนิโรธสี่นั่น และธรรมดานิโรธนี้พึงมีอย่างเดียว ไม่พึงมีมาก แม้นิโรธนั้น

พึงเป็นอย่างอื่นอย่างเดียวเท่านั้น ก็เขาอันคนอื่นไม่อาจจะให้รู้ได้ นอกจาก

พระสัพพัญญู จึงระลึกถึงพระทศพลเท่านั้นมา ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักมี

ในที่นี้ ก็จักระทำนิโรธให้ปรากฏในวันนี้ทีเดียว เหมือนตามประทีปตั้ง

พันดวงให้โชติช่วงชัชวาล นี้นิโรธ นี้มิใช่นิโรธ เพราะฉะนั้น จึงทูลคำ

เป็นต้นว่า สติของข้าพระองค์นั้น พระเจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้น คำว่า อโห นูน ทั้งสองเป็นนิบาตลงในอรรถว่า

ระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้น เขาเมื่อระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีสติอย่างนี้ว่า น่า

เลื่อมใสจริงหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า น่าเลื่อมใสจริงหนอ พระสุคต ในบทว่า

โย อิเมส นั่นมีอธิบายอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงฉลาดดี

คือ ฉลาดด้วยดี เฉียบแหลม เฉลียวฉลาดในนิโรธธรรมเหล่านั้น โอหนอ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพึงตรัส โอหนอพระสุคตพระองค์นั้น พึงตรัส.

บทว่า ปกตญฺญู ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเชื่อว่าทรงรู้ปกติ คือ สภาพ

เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดเป็นเนื่องนิตย์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อ

ว่า ปกตัญญู ทรงรู้ช่ำชอง. ปริพาชกเมื่อจะทูลขอว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ไม่รู้ พระองค์ทรงรู้ โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์เถิด จึงกล่าว

คำนี้ว่า ก็อภิสัญญานิโรธเป็นไฉนหนอ พระเจ้าข้า. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จะทรงแสดง จึงตรัสว่า ตตฺร โปฏฺปาท เป็นต้น.

ในบทเหล่านี้ บทว่า ตตฺร ความว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

บทว่า อาทิโต ว เตส อปรทฺธิ ความว่า ความเห็นของพวกนั้นผิดแต่ต้นที

เดียว. ท่านแสดงว่า ผิดพลาดในท่ามกลางเรือนทีเดียว. เหตุก็ดี ปัจจัยก็ดี

ในบทนี้ว่า สเหตุสปฺปจฺจยา เป็นชื่อของเหตุการณ์นั้นเทียว. ความว่า มี

การณ์. ก็เมื่อจะทรงแสดงการณ์นั้น จึงตรัสว่า สิกฺขา เอกา. ในบทเหล่านั้น

บทว่า สิกฺขา เอกา สญฺา อุปฺปชฺชติ ความว่า สัญญาบางอย่างย่อมเกิดขึ้น

เพราะศึกษา. บทว่า กา จ สิกฺขาติ ภควา อโวจ ความว่า ก็สิกขานั้นเป็น

อย่างไร เพราะฉนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ด้วยอำนาจการถามเพราะมี

พระประสงค์จะให้สิกขานั้นพิสดาร.

อนึ่ง เพราะสิกขามีสามประการคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา

อธิปัญญาสิกขา เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิกขาเหล่านั้น

จึงทรงตั้งตันติธรรมจำเดิมแต่การเสด็จอุบัติของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงแสดง

นิโรธเกิดขึ้นอย่างมีเหตุเพราะสัญญา จึงตรัสว่าดูก่อนโปฏฐปาทะ พระตถาคต

อุบัติขึ้นโลกนี้เป็นต้น. บรรดาสิกขาทั้งสามนั้น สิกขาสองอย่างนี้คือ อธิ-

ลีลสิกขา อธิจิตตสิกขา เท่านั้น มาโดยย่อ ส่วนสิกขาที่สามพึงทราบว่ามาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

เพราะเป็นสิกขาที่เกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจแห่งสัมมทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะใน

พระบาลีนี้ว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ ธรรมโดยส่วนเดียวอันเราแสดงแล้วว่านี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้แล.

บทว่า กามสญฺา ได้แก่ราคะอันระคนด้วยกามคุณห้าบ้าง กาม-

ราคะอันเกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอบ้าง. ในสองอย่างนั้น ราคะอันระคนด้วยกาม

คุณห้า ย่อมถึงการกำจัดด้วยอนาคามิมรรค ส่วนกามราคะอันเกิดขึ้นไม่สม่ำ

เสมอย่อมเป็นไปในฐานะนี้ เพราะฉะนั้น บทว่า ตสฺส ยา ปุริมา กามสญฺา

จึงมีอรรถว่า สัญญาใดของภิกษุนั้นผู้ประกอบพร้อมด้วยปฐมฌาน พึงเรียก

ว่า สัญญาเกี่ยวด้วยกามมีในก่อน เพราะเป็นเช่นกับกามสัญญาที่เคยเกิดใน

กาลก่อน สัญญานั้นย่อมดับ และที่ไม่เกิดแล้ว ก็ย่อมไม่เกิด. บทว่า วิเวก-

ชปีติสุขสุขุมสจฺจสญฺา ตสฺมึ สมเย โหติ ความว่า สัญญาอันละเอียดกล่าว

คือ มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกในสมัยปฐมฌานนั้นเป็นสัจจะ คือ มีจริง.

อนึ่ง สัญญานั้นอันละเอียดด้วยสามารถละองค์อันหยาบมีกามฉันทะเป็นต้น

และชื่อว่าเป็นสัจจะ เพราะเป็นของมีจริง เพราะฉะนั้น สัญญานั้น จึงเป็น

สัญญาในสัจจะอันละเอียด สัญญาในสัจจะอันละเอียดที่สัมปยุตด้วยปีติและ

สุขอันเกิดแต่วิเวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิเวกปีติสุขสุขุมสัจจสัญญา.

สัญญานั้นของภิกษุมีอยู่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่ามีสัญญาในสัจจะ

อันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก พึงเห็นอรรคในบทนั้นเพียงเท่านี้.

ในบททั้งปวงก็มีนัยเช่นนั้น.

ในบทว่า เอวปิ สิกฺขา นั้น ความว่า เพราะภิกษุเข้าถึงและอธิษฐาน

ปฐมฌานศึกษาอยู่ เพราะฉะนั้น ปฐมฌานนั้นเรียกว่า สิกขา เพราะเป็นกิจ

ที่ควรศึกษาอย่างนี้ สัญญาในสัจจะอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกบาง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

อย่าง ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ด้วยปฐมฌานกล่าวคือสิกขาแม้นั้น กามสัญญา

บางอย่างย่อมดับ อย่างนี้. บทว่า อย สิกฺขาติ ภควา อโวจ ความว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้ก็เป็นสิกขาอย่างหนึ่งคือ ปฐมฌาน. พึงเห็นเนื้อ

ความในบททั้งปวง โดยทำนองนั้น.

ก็เพราะการพิจารณาโดยองค์แห่งสมาบัติที่แปดย่อมมีพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่สาวกทั้งหลาย แม้เช่นกับพระสารีบุตร แต่การ

พิจารณาโดยรวมกลุ่มเท่านั้นย่อมมีแก่สาวกทั้งหลาย และการพิจารณาโดย

องค์อย่างนี้ว่า สัญญา สัญญา นี้ได้ยกขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโปฏฐปาทะ เพราะภิกษุ ฯลฯ ถึงยอดสัญญา ดังนี้ เพื่อ

ทรงแสดงอากิญจัญญายตนสัญญาอันยอดเยี่ยมแท้ แล้วแสดงสัญญานั้นอีกว่า

ยอดสัญญา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต โข โปฏฺปาท ภกฺขุ ความว่า ดูก่อน

โปฏฐปาทะ ภิกษุชื่อใด. บทว่า อิธ สกสญฺี โหติ ความว่า ภิกษุในพระ

ศาสนานี้มีสกสัญญา. อีกประการหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้ ความว่า ภิกษุมี

สัญญาด้วยสัญญา ในปฐมฌานของตน. บทว่า โส ตโต อมุตฺร ตโต อมุตฺร

ความว่า ภิกษุนั้นมีสกสัญญา ด้วยฌานสัญญานั้น ๆ อย่างนี้คือ ออกจาก

ปฐมฌานนั้นแล้ว มีสัญญาในทุติยฌานโน้น ออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว มี

สัญญาในตติยฌานโน้น โดยลำดับไปถึงยอดสัญญา. อากิญจัญญายตนะ เรียกว่า

สัญญัคคะยอดสัญญา. เพราะเหตุอะไร. เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มี

หน้าที่ทำกิจอันเป็นโลกีย์. ก็ภิกษุตั้งอยู่ในอากิญจัญญาจตนสมาบัติแล้ว ย่อม

เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง นิโรธสมาบัติบ้าง. อากิญจัญญาย-

ตนสัญญานั้นเรียกว่า ยอดสัญญา เพราะเป็นองค์ที่สุดแห่งสมาบัติที่มีหน้าที่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ทำกิจอันเป็นโลกีย์ ด้วยประการฉะนี้. ความว่า พระภิกษุถึงคือบรรลุยอด

สัญญานั้น.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอภิสัญญานิโรธ จึงตรัสว่า เมื่อเธอตั้งอยู่ใน

ยอดสัญญาเป็นต้น. ในบทเหล่านั้นความว่า ภิกษุเข้าถึงฌานในสองบทว่า

เราพึงจำนง เราพึงมุ่งหวัง ชื่อว่าย่อมคิด คือให้สำเร็จบ่อย ๆ. ภิกษุกระทำ

ความใคร่ เพื่อประโยชน์แก่สมาบัติชั้นสูงขึ้นไป ชื่อว่า พึงมุ่งหวัง. บทว่า

อิมา จ เม สญฺา นิรุชฺเฌยยุ ความว่า อากิญจัญญายตนสัญญานี้ พึงดับ.

บทว่า อญฺา จ โอฬาริกา ความว่า และภวังคสัญญา อันหยาบอย่างอื่น

พึงเกิดขึ้น. ในบทนี้ว่า เธอจึงไม่จำนงด้วยทั้งไม่มุ่งหวังด้วย ภิกษุนั้นเมื่อ

จำนง ชื่อว่าไม่จำนง เมื่อมุ่งหวัง ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังแน่แท้ การพิจารณา

โดยผูกใจว่า เราออกจากอากิญจัญญายตนแล้ว เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตน

ตั้งอยู่ชั่ววาระจิตหนึ่งสอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ แต่ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่

นิโรธสมาบัติชั้นสูงเท่านั้น. เนื้อความนี้นั้น พึงแสดงด้วยการมองดูเรือน

ของบุตร.

ได้ยินว่า พระเถระถามภิกษุหนุ่มผู้ไปโดยท่ามกลางเรือนของบิดาแล้ว

นำเอาโภชนะอันประณีตจากเรือนของบุตรในภายหลังมาสู่อาสนศาลาว่า บิณ-

ฑบาตซึ่งน่าพอใจอันเธอนำมาจากที่ไหน. เธอจึงบอกเรือนที่ได้โภชนะว่าจาก

เรือนคนโน้น. ก็เธอไปแล้วก็ดี มาแล้วก็ดี โดยท่ามกลางเรือนบิดาใด แม้

ความผูกใจของเธอในท่ามกลางเรือนนั้น ย่อมไม่มี. ในเรื่องนั้น พึงเห็น

อากิญจัญญายตนสมาบัติ เหมือนอาสนศาลา. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

เหมือนเรือนของบิดา นิโรธสมาบัติเหมือนเรือนของบุตร การที่ไม่พิจารณา

โดยแยบคายว่า เราออกจากอากิญจัญญายตนแล้ว เข้าถึงแนวสัญญานาสัญญาย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ตนจักตั้งอยู่ชั่ววาระจิตหนึ่งสองแล้วมนสิการ เพื่อประโยชน์แก่นิโรธสมาบัติ

ชั้นสูงเท่านั้น เปรียบเหมือนการยืนอยู่ในอาสนศาลา ไม่สนใจถึงเรือนของ

บิดาแล้วบอกเรือนของบุตรฉะนั้น. ภิกษุนั้น เมื่อจำนง ก็ชื่อว่าย่อมไม่จำนง

เมื่อมุ่งหวัง ก็ชื่อว่า ย่อมไม่มุ่งหวัง ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตา เจว สญฺา ความว่า ฌานสัญญานั้นย่อมดับ. บทว่า

อญฺา จ ความว่า ทั้งภวังคสัญญาอย่างหยาบอื่น ย่อมไม่เกิดขึ้น. บทว่า

โส นิโรธ ผุสติ ความว่า ภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมถึง คือ ย่อมได้ ย่อม

ได้รับสัญญาเวทยิตนิโรธ. คำว่า อภิ ในบทว่า อนุปุพฺพาภิสญฺานิโรธสมฺป-

ชานสมาปตฺตินั้น เป็นเพียงอุปสรรค. บทว่า สมฺปชาน ได้กล่าวไว้ในระหว่าง

นิโรธบท. ก็ในบทว่า สมฺปชานสญฺานิโรธสมาปตฺติ นั้นมีเนื้อความตาม

ลำดับดังนี้. แม้ในบทนั้น บทว่า สมปชานสญฺานีโรธสมาปตฺติ มีอรรถ

พิเศษอย่างนี้ว่า สัญญานิโรธสมาบัติในที่สุด ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้ตัวอยู่ หรือ

แก่ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตรู้ตัวอยู่. บัดนี้ ท่านที่อยู่ในที่นี้ พึงแสดงนิโรธสมาบัติ

กถา. ก็นิโรธสมาบัติกถานี้นั้น ได้แสดงไว้แล้วในหัวข้อว่าด้วยอานิสงส์แห่ง

การเจริญปัญญา ในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น พึงถือเอา

จากที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิโรธกถาแก่โปฏฐปาทปริพาชกอย่างนี้แล้ว

ต่อมา เพื่อให้โปฏฐปาทปริพาชกนั้นรับรู้ถึงกถาเช่นนั้นไม่มีในที่อื่น จึงตรัสว่า

เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนเป็นต้น. ฝ่ายปริพาชกเมื่อจะทูลรับรู้ว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันนี้ นอกจากกถาของพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ไม่เคย

ได้ฟังกถาเห็นปานนี้เลย จึงทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า เมื่อจะแสดงถึงความ

ที่กถาของพระผู้มีพระภาคเจ้าตนได้เรียนโดยเคารพอีก จึงทูลว่า ข้าพระองค์รู้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

ทั่วถึงธรรมด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นต้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงอนุญาตแก่ปริพาชกนั้นว่า เธอจงรับไว้ด้วยดีเถิด จึงตรัสว่า อย่างนั้น

โปฏฐปาทะ.

ครั้งนั้น ปริพาชกคิดว่า อากิญจัญญายตนะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่ายอดสัญญา อากิญจัญญายตนะเท่านั้นหนอแล เป็นยอดสัญญา หรือว่า ยังมี

ยอดสัญญาแม้ในสมาบัติที่เหลืออีก เมื่อจะทูลถามอรรถนั้น จึงทูลว่า อย่าง

เดียวเท่านั้นหรือหนอแล เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้คำถามของ

ปริพาชกนั้นแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุถูปิ ได้แก่มากก็มี. บทว่า

ยถา ยถา โช โปฏฺปาท นิโรธ ผุสติ ความว่า ด้วยกสิณใด ๆ ในบรรดา

กสิณทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้น หรือด้วยฌานใด ๆ บรรดาฌานทั้งหลายมี

ปฐมฌานเป็นต้น. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ถ้าภิกษุเข้าถึงปฐวีกสิณสมาบัติด้วย

ปฐวีกสิณเป็นเหตุเพียงครั้งเดียว ย่อมถึงสัญญานิโรธอันก่อน ยอดสัญญาก็มี

อันเดียว ถ้าเข้าถึงสองครั้ง สามครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง หรือแสนครั้ง

ก็ย่อมถึงสัญญานิโรธอันก่อน ยอดสัญญาก็มีถึงแสน. ในกสิณที่เหลือทั้งหลาย

ก็มีนัยเช่นเดียวกัน. แม้ในฌานทั้งหลาย ถ้าเข้าถึงสัญญานิโรธอันก่อนด้วย

ปฐมฌานเป็นเหตุเพียงครั้งเดียว ยอดสัญญาก็มีอย่างเดียว ถ้าเข้าถึงสัญญา-

นิโรธอันก่อนสองครั้ง สามครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง หรือแสนครั้ง ยอด-

สัญญาก็จะมีถึงแสน. ในฌานสมาบัติที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้. ยอดสัญญาย่อม

มีหนึ่ง ด้วยอำนาจการเข้าถึงเพียงครั้งเดียว หรือเพราะสงเคราะห์วารแม้

ทั้งปวงด้วยลักษณะแห่งการรู้จำ. ยอดสัญญาย่อมมีมากด้วยสามารถการเข้าถึง

บ่อย ๆ.

บทว่า สญฺา นุโข ภนฺเต ความว่า ปริพาชกทูลถามว่า สัญญาของ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

ภิกษุผู้เข้าถึงนิโรธ ย่อมเกิดขึ้นก่อนหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พยากรณ์แก่ปริพาชกนั้นว่า สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า สญฺา ได้แก่ฌานสัญญา. บทว่า าณ ได้แก่ วิปัสสนา-

ญาณ. อีกนัย. บทว่า สญฺา ได้แก่ วิปัสสนา. บทว่า าณ ได้แก่

มรรคสัญญา. อีกนัย. บทว่า สญฺา ได้แก่ มรรคสัญญา. บทว่า าณ

ได้แก่ผลญาณ. ก็พระมหาสิวเถระทรงไตรปิฎกกล่าวว่า ภิกษุเหล่านี้พูด

อะไรกัน โปฏฐปาทะได้ทูลถามนิโรธกะพระผู้มีพระภาคเจ้ามาแล้ว บัดนี้ เมื่อ

จะทูลถามถึงการออกจากนิโรธ จึงทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุ

ออกจากนิโรธ อรหัตตผลสัญญาเกิดก่อน หรือว่า ปัจจเวกขณญาณเกิดก่อน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ปริพาชกนั้นว่า ผลสัญญาเกิดก่อน

ปัจจเวกขณญาณเกิดทีหลัง เพราะฉะนั้น สัญญาแลเกิดก่อน โปฏฐปาทะ

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สญฺญุปฺปาทา ความว่า ความเกิดขึ้นแห่ง

ปัจจเวกขณญาณย่อมมีอย่างนี้ว่า เพราะอรหัตตผลสัญญาเกิดขึ้น อรหัตตผลนี้

จึงเกิดทีหลัง. บทว่า อิทปฺปจฺจยา กิร เม ความว่า นัยว่า ปัจจเวกขณญาณ

ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เพราะผลสมาธิสัญญาเป็นปัจจัย.

บัดนี้ สุกรบ้านถูกให้อาบในน้ำหอม ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม ประดับ

ประดาพวงมาลา แม้ยกให้นอนบนที่นอนอันเป็นสิริ ก็ไม่ได้ความสุข ปล่อย

ให้ไปสู่สถานคูถโดยเร็ว ย่อมได้ความสุขฉันใด ปริพาชกก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าให้อาบ ลูบไล้ ประดับประดาด้วยเทศนาที่ประกอบด้วย

ไตรลักษณ์อันละเอียดสุขุมบ้าง ยกขึ้นสู่ที่นอนอันเป็นสิริคือ นิโรธกถา เมื่อไม่

ได้ความสุขในนิโรธกถานั้น ถือเอาลัทธิของตนเช่นเดียวกับสถานคูถ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

จะทูลอรรถนั้นเทียว จึงทูลว่า พระเจ้าข้า สัญญาหนอแลเป็นตนของบุรุษดังนี้

เป็นต้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือมติเล็กน้อยของปริพาชกนั้น

มีพระประสงค์จะพยากรณ์ จึงตรัสว่า ก็เธอปรารถนาตนอย่างไร เป็นต้น.

โดยที่ปริพาชกนั้น เป็นผู้มีลัทธิอย่างนี้ว่า ตนไม่มีรูป จึงคิดว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงฉลาดดีในการแสดงพระองค์คงไม่กำจัดลัทธิของเราตั้งแต่ต้นเทียว

เมื่อจะนำลัทธิของตน จึงทูลว่า อันหยาบแลเป็นต้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จะทรงแสดงโทษในลัทธินั้นแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ก็ตนของ

เธอหยาบ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว สนฺต ความว่า ครั้นเมื่อเป็นอย่างนั้น.

จริงอยู่คำนั้นเป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่งใน

บทนี้ว่า ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเธอปรารถนาตนมีอรรถดังนี้. ท่านกล่าวว่า

ก็เพราะความที่ขันธ์ ๔ เกิดพร้อมกับดับพร้อมกัน สัญญาใดเกิด สัญญานั้นดับ

ก็เพราะอาศัยกันและกัน สัญญาอื่นเกิด และสัญญาอื่นดับ.

บัดนี้ ปริพาชกเมื่อจะแสดงลัทธิอื่น จึงกล่าวคำว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาตนอันสำเร็จด้วยใจแล ดังนี้เป็นต้น ครั้นแม้

ในลัทธินั้นให้โทษแล้ว ถือลัทธิอื่น ละลัทธิอื่น เมื่อจะกล่าวลัทธิของตนใน

บัดนี้ จึงทูลว่า ไม่มีรูปแล ดังนี้เป็นต้น เหมือนคนบ้าถือสัญญาอื่น สละสัญญา

อื่นตราบเท่าที่สัญญาของเขาไม่ตั้งมั่น แต่จะกล่าวคำที่ควรกล่าวในกาลที่มี

สัญญาตั้งมั่น. ในลัทธิแม้นั้น เพราะเขาปรารภความเกิดและความดับแห่ง

สัญญา แต่สำคัญตนว่าเที่ยง เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดง

โทษแก่ปริพาชกอย่างนั้น จึงตรัสว่า ครั้นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น. ลำดับนั้น

ปริพาชกไม่รู้ตนต่าง ๆ นั้นแม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะความที่ตนถูก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ความเห็นผิดครอบงำ จึงทูลว่า ก็ข้าพระองค์อาจทราบได้หรือไม่ว่า สัญญา

เป็นต้นของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.

ลำดับนั้น เพราะปริพาชกนั้นแม้เห็นอยู่ซึ่งความเกิดและความดับแห่งสัญญา

จึงสำคัญตน อันสำเร็จด้วยสัญญาเป็นของเที่ยงทีเดียว เพราะฉะนั้น พระผู้

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า รู้ได้ยาก เป็นต้นแก่ปริพาชกนั้น.

ในบทนั้น เนื้อความโดยย่อดังนี้ เธอมีทิฏฐิเป็นอย่างอื่น มีขันติ

เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีทัสนะเป็นไปโดยประการอื่น

และทัสนะอย่างอื่น ควรแก่เธอ และพอใจแก่เธอ มีความพยายามในลัทธิ

อื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น เพราะความที่ประกอบความขวนขวายปฏิบัติ

อย่างอื่น คือความเป็นอาจารย์ในลัทธิเดียรถีย์อย่างอื่น ด้วยเหตุนั้น ข้อที่

ว่า สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือสัญญาก็อย่างหนึ่ง ตนก็อย่างหนึ่ง ดังนั้น

นั่น อันเธอผู้มีทิฏฐิอย่างอื่นมีขันติเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น

มีความพยายามในลัทธิอื่น มีอาจารย์ในลัทธิอื่น รู้ได้ยากนัก.

ลำดับนั้น ปริพาชกคิดว่า สัญญาเป็นตนของบุรุษ หรือว่า สัญญา

เป็นอย่างอื่น เราจักทูลถามถึงความที่ตนนั้นเป็นของเที่ยงเป็นต้นนั่น จึงทูล

อีกว่า กึ ปน ภนฺเต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลโก ความว่า

ปริพาชกกล่าวหมายถึงตน. บทว่า น เหต โปฏฺปาท อตฺถสญฺหิต ความว่า

ดูก่อนโปฏฐปาทะ ข้อนั่นอิงทิฏฐิ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ในโลกนี้หรือ

ในโลกอื่น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น. บทว่า

น ธมฺมสญฺหิต ความว่า ไม่ประกอบด้วยโลกุตตรธรรมเก้า. บทว่า

น อาทิพฺรหมฺจริยก ความว่า ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ในศาสนา

กล่าวคือไตรสิกขา ทั้งไม่เป็นอธิลีลสิกขาด้วย บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ. บทว่า น วิราคาย

ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการสำรอกวัฏ. บทว่า น นิโรธธาย

ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการกระทำการดับวัฏ. บทว่า

น อุปสมาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการสงบระงับวัฏ. บทว่า

น อภิญฺาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อรู้แจ้งซึ่งวัฏ คือ เพื่อกระทำให้ประจักษ์.

บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การรู้ชอบซึ่งวัฏ.

บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่เป็นไปเพื่อกระทำให้ประจักษ์ ซึ่งอมต-

มหานิพพาน.

ในบทว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น มีอรรถว่า ขันธ์ห้าอันเป็นไปในภูมิสาม

เว้นตัณหา เราพยากรณ์ว่าทุกข์ ตัณหาอันมีขันธ์ห้านั้นเป็นปัจจัย เพราะ

เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์นั้น เราพยากรณ์ว่า ทุกขสมุทัย ความไม่เป็นไปแห่ง

ขันธ์ และตัณหาทั้งสองนั้น เราพยากรณ์ว่า ทุกขนิโรธ มรรคมีองค์แปด

อันประเสริฐ เราพยากรณ์ว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า ชื่อว่า ความปรากฏแห่งมรรคหรือการกระทำ

ให้แจ้งซึ่งผล ไม่มีแก่ปริพาชกนี้ และเป็นเวลาภิกษาจารของเราแล้ว จึงทรง

นิ่งเสีย. ฝ่ายปริพาชกรู้พระอาการนั้นเหมือนจะทูลบอกถึงการเสด็จไปของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า เอวเมต เป็นต้น.

บทว่า วาจาย สนฺนิปโตทเกน ความว่า ด้วยปฏักคือ ถ้อยคำ. บทว่า

สญฺชมฺภริมภสุ ความว่า ได้ทำการเสียดแทงโปฏฐปาทปริพาชกโดยรอบ

คือกระทบเนื่องนิตย์. ท่านกล่าวว่า เสียดแทงเบื้องบน.

บทว่า ภูต ความว่า มีอยู่โดยสภาพ. บทว่า ตจฺฉ ตถ เป็นไวพจน์ของ

บทนั้นแล. บทว่า ธมฺมฏฺิตต ความว่า สภาพตั้งอยู่ในโลกุตตรธรรมเก้า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

บทว่า ธมฺมนิยามต ความว่าแน่นอนถูกต้องตาม ทำนองคลองโลกุตตรธรรม.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่ากถาที่พ้นจากสัจจะทั้งสี่ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น กถาจึงเป็นเช่นนี้.

บทว่า จิตฺโต จ หตฺถิสาริปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่าจิตต์หัตถิสารีบุตร

นั้นเป็นบุตรของควาญช้างในกรุงสาวัตถี บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค

เจ้า เล่าเรียนไตรปิฎก เป็นผู้ฉลาดในระหว่างแห่งอรรถทั้งหลายอันละเอียด.

แต่บวชแล้วสึกเป็นคฤหัสถ์ถึงเจ็ดครั้ง ด้วยอำนาจแห่งบาปกรรมที่เคยกระทำ

ไว้ในกาลก่อน.

ได้ยินว่า ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ

ยังมีสหายสองคนพร้อมเพียงกันสาธยายร่วมกัน. ในสหายทั้งสองนั้น สหายคน

หนึ่งไม่ความยินดี ยังจิตให้เกิดขึ้นในความเป็นคฤหัสถ์ จึงกล่าวแก่สหายอีกคน

สหายคนหนึ่งนั้น แสดงโทษในความเป็นคฤหัสถ์และอานิสงส์แห่งบรรพชา

สั่งสอนเธอ. สหายคนแรกนั้นฟังสหายอีกคนนั้นแล้วยินดีในวันหนึ่งอีก

ครั้นจิตเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว จึงบอกกะเพื่อนว่า ท่านผู้มีอายุ จิตเห็นปานนั้น

เกิดขึ้นแก่ผม ผมจักให้บาตรและจีวรนี้แก่ท่าน. สหายอีกคนนั้น เพราะมี

ความโลภในบาตรและจีวร จึงแสดงอานิสงส์ในความเป็นคฤหัสถ์ แสดงโทษ

แห่งบรรพชาอย่างเดียว. ครั้งนั้น เพราะความที่เขาฟังเพื่อนแล้วเป็นคฤหัสถ์

จิตก็เบื่อหน่ายยินดีในบรรพชาอย่างเดียว. เธอนั้นได้สึกถึงหกครั้งในบัดนี้

เพราะความที่เธอแสดงอานิสงส์ในความเป็นคฤหัสถ์แก่ภิกษุผู้มีศีล ในกาลนั้น

แล้วบวชในครั้งที่ ๗ ได้โต้แย้งสอดขึ้นในระหว่างที่พระมหาโมคคัลลานะและ

พระมหาโกฏฐิตเถระ กล่าวอภิธรรมกถา. ลำดับนั้น พระมหาโกฏฐิตเถระจึง

ได้รุกรานติเตียนเธอ. เธอเมื่อไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ในวาทะที่มหาสาวกกล่าวได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

จึงได้สึกเป็นฆราวาส. ก็เธอผู้นี้ เป็นเพื่อนคฤหัสถ์ของโปฏฐปาทปริพาชก

เพราะฉะนั้น จึงสึกไปสู่สำนักของโปฏฐปาทปริพาชกโดยล่วงไปสองสามวัน.

ต่อมาโปฏฐปาทะนั้นเห็นเขาแล้ว จึงพูดว่า แนะเพื่อน ท่านทำอะไร ท่านจึง

หลีกออกจากศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ จงมา ท่านสมควรบวชในบัดนี้

พาเขาไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า จิตต-

หัตถิสารีบุตรและโปฏฐปาทปริพาชก ดังนี้.

บทว่า อนฺธา ความว่า เพราะความที่จักษุคือปัญญาไม่มี. ชื่อว่าไม่มี

จักษุ เพราะไม่มีจักษุคือปัญญานั้น. บทว่า ตฺวญฺเจว เนส เอโก จกฺขุมา

ความว่า มีจักษุคือปัญญาสักว่ารู้สุภาษิตและทุพภาสิต. บทว่า เอกสิกา ความว่า

ส่วนหนึ่ง. บทว่า ปญฺตฺตา ความว่า ตั้งแล้ว. บทว่า อเนกสิกา ความว่า

ไม่ใช่ส่วนเดียว อธิบายว่า ไม่ได้ตรัสว่าเที่ยง หรือว่าไม่เที่ยงโดยส่วนเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภคำว่า สนฺติ โปฏฺปาท นี้ เพราะเหตุไร.

เพื่อทรงแสดงถึงบัญญัติที่สุดอันเจ้าพาเหียรทั้งหลายบัญญัติไว้ ไม่เป็นเครื่อง

ให้ออกจากทุกข์ได้. เดียรถีย์แม้ทั้งปวง ย่อมบัญญัติที่สุดด้วยอำนาจว่า โลกมีที่

สุดเป็นต้นในลัทธิของตน ๆ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติอมตนิพพาน

ฉะนั้น. ก็บัญญัติที่สุดนั้น ไม่เป็นที่นำออกจากทุกข์ได้ เป็นเพียงบัญญัติ

ย่อมไม่รำออกจากทุกข์ ไม่ไป อันบัณฑิตทั้งหลายปฏิเสธเป็นไปกลับโดย

ประการอื่น เพื่อทรงแสดงบัญญัติที่สุดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้

ในบทเหล่านั้น บทนี้ว่า เอกนุตสุข โลก ชาน ปสฺส ความว่า ท่านทั้งหลาย

เมื่อรู้เมื่อเห็นอย่างนี้ว่า ในทิศตะวันออก โลกมีสุขโดยส่วนเดียว หรือในทิศใด

ทิศหนึ่ง บรรดาทิศทั้งหลายมีทิศตะวันตกเป็นต้นอยู่เถิด วัตถุทั้งหลายมี

ทรวดทรงแห่งร่างกายเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนั้น ท่านทั้งหลายเคย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

เห็นแล้ว. บทว่า อปฺปาฏิหิรีกต ความว่า ภาษิต ไร้ผล คือเว้นจากการแจ้งให้

ทราบ ท่านกล่าวว่าเป็นที่ไม่นำออกจากทุกข์.

บทว่า ชนปทกลฺยาณี ความว่า ไม่เป็นเช่นกับหญิงทั้งหลายอื่น ที่มีผิว

พรรณทรวดทรงลีลาอากัปกิริยาเป็นต้นในชนบท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่บัญญัติที่สุด ในสมณพราหมณ์

เหล่าอื่นไม่เป็นที่นำออกจากทุกข์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ตโย โข เม โปฏฺ-

ปาท เป็นต้น เพื่อทรงแสดงความที่บัญญัติของพระองค์เป็นธรรมนำออกจาก

ทุกข์ได้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตปฏิลาโภ ความว่าการกลับได้อัตตภาพ.

ก็ในบทว่า อตฺตปฏิลาโภ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงภพ ๓ ด้วยการกลับ

ได้อัตตภาพ ๓ อย่าง. ทรงแสดงกามภพตั้งแต่อวีจิ มีปรนิมมิตวสวัสดีเป็นที่สุด

ด้วยการกลับได้อัตตภาพที่หยาบ. ทรงแสดงรูปภพตั้งแต่ชั้นปฐมฌาน ถึงอกนิฏ-

ฐพรหมโลกเป็นที่สุด ด้วยการกลับได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ. ทรงแสดงอรูป-

ภพตั้งแต่อากาสานัญจายตนพรหมโลกมีแนวสัญญาณสัญญายตนพรหมโลกเป็น

ที่สุด ด้วยการกลับได้อัตตภาพที่ไม่มีรูป.

อกุศลจิตตุปบาทสิบสองอย่าง ชื่อว่า สังกิเลสธรรม สมถวิปัสสนา ชื่อ

ว่าโวทานธรรม. บทว่า ปญฺาปาริปูรึ เวปุลฺลตฺต ความว่า ซึ่งความบริบูรณ์

และความไพบูลย์แห่งมรรคปัญญาและผลปัญญา. บทว่า ปามุชฺช ได้แก่ปีติ

อย่างอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ความยินดีมีกำลัง. ท่านกล่าวอย่างไร. ท่านกล่าว

อย่างนี้ว่า ในบทที่ท่านกล่าวว่า กระทำแจ้งด้วยอภิญญาด้วยตนเอง จักเข้าถึง

อยู่นั้น เมื่อภิกษุนั้น อยู่อย่างนี้ ก็จักมีความปราโมทย์ ปีติ ความสงบใจและ

กาย สติดำรงดี อุดมญาณและอยู่อย่างสุข และในบรรดาการอยู่ทั้งปวง การ

อยู่อย่างนี้นั้นเทียว สมควรกล่าวว่า เป็นสุข คือสงบแล้ว มีความหวาน

อย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

บรรดาฌานเหล่านั้น ในปฐมฌาน ย่อมได้ธรรมแม้หกอย่างมีความ

ปราโมทย์เป็นต้น. ในทุติยฌาน ความปราโมทย์กล่าวคือ ปีติอย่างอ่อน ย่อม

เป็นไป ย่อมได้ธรรมห้าอย่างที่เหลือ. ในตติยฌาน แม้ปีติที่ย่อมเป็นไป ย่อมได้

ธรรมสี่อย่างที่เหลือ. ในจตุตถฌานก็เหมือนกัน. ก็ในฌานเหล่านี้ ท่านกล่าว

ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนาบริสุทธิ์เท่านั้นไว้ในสัมปสาทสูตร. กล่าววิปัสสนา

พร้อมกับมรรคสี่ในปาสาทิกสูตร. กล่าวผลสมาบัติอันเกี่ยวกับจตุตถญานใน

ทสุตตรสูตร. ผลสมาบัติเกี่ยวกับทุติฌานทำปราโมทย์ให้เป็นไวพจน์ของปีติ

พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วในโปฏฐปาทสูตรนี้.

วา ศัพท์ในบทนี้ว่า อย วา โส เป็นอรรถลงในการทำให้แจ้ง. เราให้

แจ่มแจ้งแล้วประกาศแล้วว่า นี้นั้น พึงพยากรณ์. ความว่า สมณพราหมณ์

เหล่าอื่น ถูกเราถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายรู้จักตนอันมีสุขโดยส่วนเดียวหรือ

ก็จะกล่าวว่า ไม่รู้จัก โดยประการใด เราจะไม่กล่าวโดยประการนั้น. บทว่า

สปฺปาฏิหิรีกต ความว่า ภาษิตจะมีการแจ้งให้ทราบ คือเป็นที่นำออกจากทุกข์.

บทว่า โมโฆ โหติ ความว่า เป็นของเปล่า. อธิบายว่า การได้อัตตภาพ

นั้น ย่อมไม่มีในสมัยนั้น. บทว่า สจฺโจ โหติ ความว่า เป็นของมีจริง. อธิบาย

ว่า การได้อัตตภาพนั้นเทียว เป็นของจริงในสมัยนั้น. ก็ในข้อนี้ จิตต์บุตร

ควาญช้างนี้แสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเพราะความที่ตนไม่เป็นสัพพัญญู จึง

ไม่สามารถยกขึ้นอ้างว่าธรรมดา การได้อัตตภาพนั่นเป็นเพียงบัญญัติ จึงกล่าว

เลี่ยงว่า การได้อัตตภาพเท่านั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะ

แสดงแก่จิตต์บุตรควาญช้างนั้นว่า ก็ในข้อนี้ ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น การ

ได้อัตตภาพนั้นเป็นเพียงสักว่าชื่อ ครั้นธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นนั้น ๆ มีอยู่

โวหารมีรูปปานนี้ ก็ย่อมมี เพื่อทรงจับเอาถ้อยคำของจิตต์บุตรควาญ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

ช้างนั้นแหละ เลี่ยงตรัสด้วยอำนาจแห่งนามบัญญัติจึงตรัสเป็นต้นว่า ดูก่อน

จิตต์ ในสมัยใด ๆ ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะสอบถามนำไป

จึงตรัสอีกว่า ถ้าสมณพราหมณ์ทั้งหลายพึงถามอย่างนั้นกะจิตต์บุตรควาญช้าง

นั้นเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย เม อโหสิ ความว่า การได้อัตตภาพที่เป็น

อดีต ของข้าพระองค์เป็นจริงในสมัยนั้น. ในบทว่า การได้อัตตภาพที่เป็น

อนาคตเป็นโมฆะ ที่เป็นปัจจุบันก็เป็นโมฆะนั้น จิตต์บุตรควาญช้างแสดง

เนื้อความนี้เพียงเท่านี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีต ย่อมไม่มีในปัจจุบันนี้

แต่ถึงอันนับว่า ได้มีแล้ว เพราะฉะนั้น การได้อัตตภาพของข้าพระองค์แม้

นั้นจึงเป็นจริงในสมัยนั้น ส่วนการได้อัตตภาพที่เป็นอนาคตก็เป็นโมฆะ ที่เป็น

ปัจจุบันก็เป็นโมฆะในสมัยนั้น เพราะธรรมทั้งหลายที่เป็นอนาคตและที่เป็น

ปัจจุบันไม่มีในเวลานั้น. เขารับรู้การได้อัตตภาพเพียงเป็นนามโดยอรรถอย่าง

นี้. แม้ในอนาคตและปัจจุบันก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปรียบเทียบพยากรณ์ของ

พระองค์กับพยากรณ์ของจิตต์บุตรควาญช้างนั้น จึงตรัสว่า เอวเมว โข จิตฺต

ดังนี้เป็นต้น เมื่อจะทรงแสดงอรรถนี้โดยอุปมาอีก จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ

จิตฺต ควา ขีร เป็นต้น. ในบทนั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ นมสดมีจาก

โค นมส้มเป็นต้นมีจากนมสดเป็นต้น ในข้อนี้ สมัยใดยังเป็นนมสดอยู่ สมัย

นั้นก็ไม่ถึงซึ่งอันนับ คือ นิรุตติ์ นาม โวหารว่าเป็นนมส้ม หรือเป็นเนยใส

เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเหตุอะไร เพราะไม่มีธรรมทั้งหลายที่ได้

โวหารเป็นต้นว่านมส้ม แต่สมัยนั้นถึงซึ่งอันนับว่าเป็นนมสดอย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

เพราะเหตุไร เพราะมีธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นอันนับคือ นิรุตติ์ นาม โวหาร

ว่า นมสด. ในบททั้งปวงก็นัยนั้น.

บทว่า อิมา โข จิตฺต ความว่า ดูก่อนจิตต์ การได้อัตตภาพอันหยาบ

การได้อัตตภาพอันสำเร็จแต่ใจ และการได้อัตตภาพอันไม่มีรูป เหล่านี้แล เป็น

โลกสัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเบื้องต่ำอย่าง

นี้ว่า เหล่านั้นเป็นเพียงชื่อในโลก เป็นเพียงสัญญา เหล่านั้นเป็นเพียงภาษาใน

โลก เป็นเพียงแนวคำพูด เป็นเพียงโวหาร เป็นเพียงนามบัญญัติ ดังนี้

แล้ว บัดนี้จึงตรัสว่า นั้นทั้งหมด เป็นเพียงโวหาร. เพราะเหตุอะไร.

เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์ โลกนั้นสูญ ว่างเปล่า.

ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ สัมมติกถา และ

ปรมัตถกา. ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหม เป็นต้น

ชื่อว่า สัมมติกถา. กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่า ปรมัตถกถา. ในกถาเหล่านั้น ผู้ใด

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดา หรือพรหม ย่อมสามารถเพื่อ

รู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือ

พระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา

หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น. ผู้ใดฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น

ต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทง

ตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือ

ว่าทุกขังแก่ผู้นั้น. เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้

จะรู้ด้วยสัมมติกถา แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ในภายหลัง จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา

แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.

แต่โดยปกติเมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้ว จึงทรงแสดง

ปรมัตถกถาในภายหลัง แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตาม

ความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรง

แสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ. โบราณจารย์กล่าวคาถาไว้ว่า

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเมื่อจะตรัสก็ตรัสสัจจะ ๒ อย่างคือ

สัมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ จะไม่ได้สัจจะที่ ๓

สังเกตวจนะเป็นสัจจะ เป็นเหตุแห่งโลกสัมมติ

ปรมัตถวจนะเป็นสัจจะ เป็นลักษณะมีจริงแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้.

บทว่า ยาหิ ตถาคโต โวหรติ อปรามสนฺโต ความว่า พระ-

ตถาคตทรงประมวลเทศนาว่า ชื่อว่า ไม่ทรงเกี่ยวข้องเพราะไม่มีความเกี่ยว

ข้องด้วยตัณหามานะ และทิฏฐิ ตรัสด้วยโลกสมัญญา ด้วยโลกนิรุตติ ทรง

จบเทศนา ด้วยยอดคือพระอรหัต. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้ง

นั้นแล.

โปฏฐปาทสุตตวัณณนาในทีฆนิกายอรรถกถาชื่อสุมังคลวิลาสินี จบ

เพียงเท่านี้.

จบโปฏฐปาทสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

๑๐. สุภสูตร

[๓๑๔] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่าน

พระอานนท์อยู่ ณ วิหารเชตวัน อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี

กรุงสาวัตถี.

[๓๑๕] สมัยนั้น สุภมาณพ โตเทยยบุตร พักอยู่ในกรุงสาวัตถี

ด้วยธุรกิจบางอย่าง ครั้งนั้นสุภมาณพโตเทยยบุตร เรียกมาณพน้อยคนหนึ่ง

มาสั่งว่า ดูก่อนพ่อมาณพน้อย มานี่เถิด เจ้าจงเข้าไปหาพระอานนท์ ครั้นเข้า

ไปหาแล้ว จงนมัสการถามพระอานนท์ถึงอาพาธน้อย โรคเบาบาง คล่อง

แคล่ว มีกำลัง มีความเป็นอยู่สบาย ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร

ถามถึงพระคุณเจ้า ถึงอาพาธน้อย โรคเบาบาง คล่องแคล่ว มีกำลัง มีความ

เป็นอยู่สบาย และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอโอกาส ขอพระคุณเจ้าพระอานนท์

ได้โปรดอนุเคราะห์ เข้าไปยังที่อยู่ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด มาณพน้อย

รับคำของสุภมาณพโตเทยยบุตร แล้วเข้าไปหาพระอานนท์ ครั้นเข้าไปหา

แล้ว ได้สนทนากับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านสัมโมทนียกถา ให้เกิดระลึก

ถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง มาณพนั่งแล้ว จึงนมัสการเรียนว่า

สุภมาณพโตเทยยบุตร ถามท่านพระอานนท์ถึงอาพาธน้อยโรคเบาบาง

คล่องแคล่ว มีกำลัง มีความเป็นอยู่อย่างสบาย และสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่าน

อานนท์ได้โปรดอนุเคราะห์เข้าไปยังที่อยู่ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.

[๓๑๖] เมื่อมาณพน้อยกราบเรียนอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ได้กล่าวกะมาณพน้อยว่า พ่อมาณพ ไม่มีเวลาเสียแล้ว วันนี้ฉันดื่มยาถ่าย

ถ้ากระไรเราจะเข้าไปวันพรุ่งนี้ มาณพน้อยรับคำของท่านพระอานนท์ แล้ว

ลุกจากที่นั่ง เข้าไปหาสุภมาณพโตเทยยบุตร ได้บอกแก่สุภมาณพโตเทยยบุตร

ว่า ข้าพเจ้าได้บอกพระอานนท์ตามคำของท่านแล้ว เมื่อข้าพเจ้าบอกอย่างนั้น

แล้ว พระอานนท์ ได้กล่าวกะข้าพเจ้าว่า พ่อมาณพไม่มีเวลาเสียแล้ว วันนี้

ฉันดื่มยาถ่าย ถ้ากระไรไว้พรุ่งนี้เถิด ได้เวลาและสมัยแล้ว ฉันจะเข้าไป

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันว่า ข้าพเจ้าได้กระทำกิจที่เป็นเหตุให้พระอานนท์

ให้โอกาสเพื่อเข้าไปฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว.

[๓๑๗] พอรุ่งเช้า ท่านพระอานนท์ ครองผ้าถือบาตร มีพระเจตก

ภิกษุเป็นปัจฉาสมณะเข้าไปยังที่อยู่ของสุภมาณพโตเทยยบุตร นั่งบนอาสนะ

ที่ปูลาดไว้.

ลำดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร เข้าไปหาท่านพระอานนท์

สนทนากันจนเป็นที่รื่นเริงบันเทิงใจแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อ

นั่งเรียบร้อยแเล้ว จึงนมัสการเรียนว่า พระคุณเจ้าเป็นอุปฐากอยู่ใกล้ชิดกับ

ท่านพระโคดมมานาน ย่อมจะทราบดีว่า พระโคดมได้ตรัสสรรเสริญคุณ-

ธรรมเหล่าใด และให้ชุมชนยึดมั่น ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในคุณธรรมเหล่าใด.

ท่านพระอานนท์ ตอบว่า ดูก่อนสุภมาณพ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ตรัสสรรเสริญขันธ์สาม และให้ชุมชนยืดมั่น ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ในขันธ์สามนี้.

ขันธ์สามอะไรบ้าง ขันธ์สามคือ สีลขันธ์อันประเสริฐ สมาธิขันธ์อัน

ประเสริฐ ปัญญาขันธ์อันประเสริฐ ดูก่อนสุภมาณพ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสสรรเสริญขันธ์สามนี้ และให้ชุมชนยึดมั่น ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในขันธ์สามนี้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

[๓๑๘] ข้าแต่พระคุณเจ้า ท่านพระโคดม ได้ตรัสสรรเสริญสีลขันธ์

อันประเสริฐ ให้ชุมชนยึดมั่น ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ไว้อย่างไร.

ดูก่อนสุภมาณพ พระตถาคตได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัส

รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็น

สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น

ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระ

ปัญญาอันยอดเยี่ยม ของพระองค์เองแล้ว ทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้

เกิดภายหลัง ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นเขาฟังแล้ว

ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต ครั้นเปี่ยมด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนัก

ว่า การอยู่ครองเรือน คับแคบ เป็นทางมาของธุลี บรรพชาเป็นทางปลอด

โปร่ง การอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ให้

บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว เหมือนสังข์ที่ขัดแล้วทำได้ไม่ง่ายนัก เอาเถิด เราจะ

ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนถือบวช ต่อมาเขา

สละโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละหมู่ญาติ ไปบวช เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวัง

ในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลาย

เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบกายกรรม วจี-

กรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

จุลศีล

[๓๑๙] ดูก่อนสุภมาณพ ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีลนั้น อย่างไร.

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วาง

ไม้ วางมีด มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา ทำประโยชน์แก่สัตว์

ทั้งปวง ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง. ฯลฯ (ข้อความต่อจากนี้เหมือน

พรหมชาลสูตร)

มหาศีล

[๓๒๐] บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพ

โดยมิจฉาชีพ (ข้อความต่อจากนี้เหมือนพรหมชาลสูตร)

ดูก่อนมาณพ ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ

เพราะเป็นผู้สำรวมด้วยศีล เหมือนพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเศก

กำจัดศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแม้แต่ไหน ๆ เพราะศัตรูนั้น ดูก่อน

สุภมาณพ ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ก็ฉันนั้น ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ

เพราะเป็นผู้สำรวมด้วยศีล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยสีลขันธ์อันประเสริฐนี้ ย่อม

เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ดูก่อนสุภมาณพ ด้วยเหตุนี้แล ภิกษุชื่อ

ว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

ดูก่อนสุภมาณพ สีลขันธ์อันประเสริฐนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสสรรเสริญ และยังชุมชนให้ยึดถือ ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในธรรม

วินัย ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.

สุภมาณพ ได้กราบเรียนว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์

นัก ไม่เคยมีมาก่อนเลย สีลขันธ์อันประเสริฐนี้ บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

บริบูรณ์ กระผมยังไม่เห็นสีลขันธ์อันประเสริฐ ที่บริบูรณ์อย่างนี้ ในสมณ-

พราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกศาสนานี้เลย ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ

สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกศาสนานี้ พึงเห็นสีลขันธ์อันประเสริฐ ที่

บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะดีใจ เพราะเหตุเพียงเท่านั้น ด้วยคิด

ว่า เป็นอันพอแล้วด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันทำเสร็จแล้วด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะเราได้บรรลุแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำอย่างอื่น

ให้ยิ่งขึ้นไปอีก แต่พระคุณเจ้าอานนท์ผู้เจริญก็ยังกล่าวว่า ในพระธรรมวินัย

นี้ ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก.

[๓๒๑] สุภมาณพกราบเรียนถามว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ สมาธิ

ขันธ์อันประเสริฐ ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญ และยังชุมชนให้ยึดมั่น ให้

ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นอย่างไร.

พระอานนท์ กล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอปฏิบัติเพื่อสำรวม

จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ

อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำ ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า ถึงความ

สำรวมในจักขุนทรีย์. ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต.......ดมกลิ่นด้วยฆานะ........ลิ้มรส

ด้วยชิวหา........ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย........รู้ธรรมารมณ์ด้วยมนะ แล้วไม่

ถือนิมิตร ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม

แล้วจะเป็นเหตุให้เกิดอกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ

ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์. ภิกษุถึง

พร้อมด้วยอินทรียสังวรอันประเสริฐเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

กิเลส ในภายใน ดูก่อนมาณพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.

[๓๒๒] ดูก่อนมาณพ ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ เป็น

อย่างไร. ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวในการก้าว ใน

การถอย ในการแล ในการเหลียว ในการงอ ในการเหยียด ในการทรง

สังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม

ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ

ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง ดูก่อนสุภมาณพ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึง

พร้อมแล้วด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.

[๓๒๓] ดูก่อนมาณพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ เป็นอย่างไร.

ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหาร

กาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางใด ๆ ก็ถือไปได้เอง

ดูก่อนมาณพ เหมือนนกจะบินไปทางใด ๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระบินไปได้

ภิกษุก็เหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต

เป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางใด ๆ ก็ถือไปได้เอง ดูก่อนมาณพ

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้สันโดษด้วยประการฉะนี้แล.

[๓๒๔] ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยสีลขันธ์อันประเสริฐ ด้วยอินทรียสังวร

อันประเสริฐ ด้วยสติสัมปชัญญะอันประเสริฐ ด้วยสันโดษอันประเสริฐ

เช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต หลังอาหารแล้ว

นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ละความโลภคือความเพ่งเล็ง มี

จิตปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็ง ละความ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ประทุษร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่มีพยาบาท มีความอนุเคราะห์ด้วยทำประ-

โยชน์แก่สรรพสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้

ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง

มีสติสัมปชัญญะ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจ-

จะได้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่ มีจิตสงบในภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจ-

จะละวิจิกจฉาได้ ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรม ย่อมชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

[๓๒๕] ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษกู้หนี้ไปประกอบการงาน การ

งานของเขาก็สำเร็จ เขาได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมหมดสิ้น ทรัพย์ที่เป็นกำไร

ของเขามีเหลือสำหรับเลี้ยงภรรยา เขาได้คิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้

ไปประกอบการงาน บัดนี้การงานของเราได้สำเร็จแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่

เป็นต้นทุนเดิมหมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเราก็ยังมีเหลืออยู่

สำหรับเลี้ยงภรรยา ดังนี้ เขาพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัสอันมีความ

ไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษป่วยหนัก มีทุกข์ เจ็บหนัก ไม่บริโภค

อาหาร ไม่มีกำลัง ครั้นต่อมาเขาหายจากอาการป่วย บริโภคอาหารได้ และ

มีกำลังกาย เขาได้คิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราป่วยหนัก มีทุกข์ เจ็บหนัก

บริโภคอาหารไม่ได้ ไม่มีกำลัง บัดนี้เราหายจากอาการป่วยนั้นแล้ว บริโภค

อาหารได้ และมีกำลังกายเป็นปรกติ ดังนี้ เขาพึงได้ความปราโมทย์ ถึง

ความโสมนัสอันมีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษถูกจองจำในเรือนจำ ครั้นต่อมาเขาพ้น

จากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย เขาได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

คิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำ

นั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยแล้ว ทั้งเราไม่ต้องเสียทรัพย์อะไร ๆ เลย ดังนี้ เขา

พึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส อันมีการพ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ

ฉันใด.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น จะไป

ไหนตามอำเภอใจก็ไม่ได้ ครั้นต่อมาเขาพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง

ได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทแก่ตัว ไปไหนได้ตามอำเภอใจ เขาได้คิดเห็นว่า

เมื่อก่อนเราเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น จะไปไหนตามอำเภอใจ

ก็ไม่ได้ บัดนี้เราพ้นจากความเป็นทาสแล้ว พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น

เป็นไทแก่ตัว จะไปไหนได้ตามอำเภอใจ ดังนี้ เขาพึงได้ความปราโมทย์

ถึงความโสมนัส อันมีความเป็นไทแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษ มีทรัพย์สมบัติ เดินทางไกลกันดาร

หาอาหารได้ยาก. มีภัยอยู่ข้างหน้า ครั้นเขาเดินพ้นทางกันดารนั้นไปได้

บรรลุถึงหมู่บ้านโดยปลอดภัยแล้ว เขาได้คิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามี

ทรัพย์สมบัติ เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยอยู่ข้างหน้า บัดนี้

เราพ้นทางกันดาร บรรลุถึงหมู่บ้านโดยปลอดภัยแล้ว ดังนี้ เขาได้ความ

ปราโมทย์ ถึงความโสมนัส อันมีความปลอดภัยนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

ดูก่อนมาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละ

ไม่ได้ในตน เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส

เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการ ที่ละได้แล้ว

ในตน เหมือนความไม่เป็นหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจาก

เรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนสถานที่ปลอดภัย ฉันนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ทำละได้แล้วในตน ย่อมเกิด

ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติแล้ว กาย

ย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข

ย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวก. เธอทำกายนี้แหละให้สดชื่น

เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกาย

ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนมาณพ เหมือนเจ้าหน้าที่สรงสนาน หรือลูกน้องของเจ้าหน้าที่

สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงโรยผงที่ใช้ในการสรงสนานใส่ลงในภาชนะสำริด แล้ว

เอาน้ำพรมหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณ์ที่ใช้ในการสรงสนาน ยางจะซึมไป

จับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่ไหลออกไป ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉัน

นั้นแล ทำกายนี้แหละให้สดชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่

วิเวก ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งร่างกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่

วิเวกจะไม่ถูกต้อง ข้อนี้เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.

[๓๒๖] ดูก่อนมาณพ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีจิต

ผ่องใสในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เธอทำกายนี้ให้สดชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน

ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ ของกายของเธอทั่วทั้งตัว

ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนมาณพ เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำพุขึ้น ไม่มีทางที่นี้จะไหลมาได้

ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตาม

ฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำ จะพึงทำให้ห้วงน้ำนั้นแหละชุ่มชื่น เอิบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

อาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหน ๆ ของห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็น

จะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ ดูก่อนมาณพเพราะ

วิตกวิจารสงบ ฯลฯ เข้าถึงทุติยฌานอยู่ เธอสดชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ

และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและ

สุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.

[๓๒๗] ดูก่อนมาณพ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

เสวยสุขทางกาย เพราะปราศจากปีติที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ได้ฌาน

นี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ ชื่อว่าบรรลุตติยฌาน เธอทำกายให้

สดชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหนแห่งกายของ

เธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.

ดูก่อนมาณพ เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง ในกอบัวขาว ดอก

บัวขาบ ดอกบัวหลวง ดอกบัวขาว บางเหล่า เกิดในน้ำเจริญในน้ำ ยังไม่

พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นสดชื่น เอิบอาบซึม-

ซาบด้วยน้ำเย็น ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหน ๆ ของบัวขาบ บัว

หลวง บัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุ

ก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เธอเข้าถึงตติยฌานอยู่ ย่อมทำกายนี้ให้สดชื่น เอิบอิ่มซาบ

ซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของเธอ ทั่งทั้งตัวที่สุข

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.

[๓๒๘] ดูก่อนมาณพ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอยู่

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข บริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติ เพราะละสุขเพราะละทุกข์

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ เธอมีใจบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ

ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีส่วน

ไหน ๆ แห่งกายทุก ๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ดูก่อนมาณพ

ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เพราะละสุข ฯลฯ เธอเข้าถึงจตุตถฌานอยู่ เธอมีใจ

อันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วนั่งแผ่ไปทั่วกายนั้นนี้แล ไม่มีส่วนไหน ๆ แห่งกายของ

เธอทั่งทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ

ประการหนึ่ง.

ดูก่อนมาณพ สมาธิขันธ์อันประเสริฐนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสสรรเสริญ และยังชุมชุนให้ยึดมั่น ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในธรรม

วินัยนี้ ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.

มาณพ กราบเรียนว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก น่า

พิศวงนัก สมาธิขันธ์อันประเสริฐนี้บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ กระผมยัง

ไม่เห็นสมาธิขันธ์อันประเสริฐของท่านพระอานนท์ที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ ใน

สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ

ก็สมณพราหมณ์เหล่าอื่นภายนอกพระศาสนานี้ พึงเห็นสมาธิขันธ์อันประเสริฐ

ที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงดีใจเพราะเหตุเพียงเท่านั้น

ด้วยคิดว่าเป็นอันพอแล้วด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันทำสำเร็จแล้วด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะเราได้บรรลุแล้ว ไม่มีกิจที่จะต้อง

ทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก แต่พระคุณเจ้าผู้เจริญก็ยังกล่าวว่า ในพระธรรมวินัยนี้

ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก.

[๓๒๙] สุภมาณพกราบเรียนว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ปัญญา

ขันธ์อันประเสริฐที่พระโคดมผู้เจริญได้ตรัสสรรเสริญ และยังทำชุมชนนี้

ให้ยึดมั่น ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ นั้นเป็นอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

พระอานนท์กล่าวว่า ภิกษุนั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว

อย่างนี้ ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กาย

ของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วย

ข้าวสุกและขนมสด มีการอบ นวด แตกกระจัดกระจายไปเป็นนิจเป็นธรรมดา

และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยผูกพันอยู่ในกายนี้. ดูก่อนมาณพ เหมือนแก้วมณี

และแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเอง มีแปดเหลี่ยม นายช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใส

แวววาวสมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง มีด้ายเขียว เหลือง แดง ขาว หรือนวล

ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษผู้มีตาหยิบแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือ แล้ว

พิจารณาเห็นว่า แก้วมณีและแก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเอง มีแปดเหลี่ยม นาย

ช่างเจียรไนดีแล้ว สุกใสแวววาว บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง มีด้ายเขียว

เหลือง แดง ขาว หรือนวลร้อยอยู่ในนั้น ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็

ฉันนั้นแล ฯลฯ เมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส

เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อม

น้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล

มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและ

ขนมสด ต้องมีการอบ นวด แตกกระจัดกระจายไปเป็นนิจเป็นธรรมดา

และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยผูกพันอยู่ในกายนี้ ข้อนี้เป็นปัญญาของเธอประ-

การหนึ่ง.

[๓๓๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ นิรมิตกายอื่นจากกายนี้

มีรูป เกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

ดูก่อนมาณพเหมือนบุรุษพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาคิดเห็น

อย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง แต่ก็ไส้

ชักออกจากหญ้าปล้องนั้นเอง. อีกนัยหนึ่ง ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษชักดาบ

ออกจากฝัก เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง

ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง. อีกนัยหนึ่ง ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษดึงงู

ออกจากกล่อง เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กล่อง งูอย่างหนึ่ง กล่องอย่าง

หนึ่ง ก็แต่งูดึงออกจากกล่องนั่นเอง ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เมื่อจิต

ตั้งมั่น ฯลฯ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อ

นิรมิตรูป เกิดแต่ใจ ฯลฯ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์. เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ

คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำ

ให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปก็ได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้.

เธอผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือน

เดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำ

พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ก็ได้ ใช้อำนาจทางกาย

ไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

ดูก่อนมาณพ เหมือนช่างหม้อ หรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวด

ดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ๆ ก็ทำภาชนะชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้. อีก

นัยหนึ่ง เหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

การงาชนิดใด ๆ ก็ทำงาชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เหมือนช่างทอง

หรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณ

ชนิดใด ๆ ก็ทำทองรูปพรรณชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็

ฉันนั้นแล เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส

เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อม

ย่อมโน้มจิตไปเพื่อแสดงฤทธิ์ เธอย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียว

ทำเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. แม้

ข้อนี้ก็จัดเป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องผุด ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือ

เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์

เกินหูของมนุษย์.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะได้ยินเสียงกลองบ้าง

เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงมโหระทึกบ้าง เขา

ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์

ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง เสียงมโหระทึกดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็

ฉันนั้นแล เมื่อจิตตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ

ทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้ง

ที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ เกินหูของมนุษย์ แม้ข้อนี้

ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๓] เธอเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น

ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือ จิตปราศจากราคะ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

ก็รู้ว่าจิตปราศจากจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า

จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือ จิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า

จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน

จิตเป็นมหัคคตะก็รู้ว่า จิตเป็นมหัคคตะ หรือ จิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ว่าจิตไม่

เป็นมหัคคตะ จิตเป็นโลกุตตระก็รู้ว่า จิตเป็นโลกุตตระ หรือ จิตไม่เป็น

โลกุตตระก็รู้ว่า จิตไม่เป็นโลกุตตระ จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือ

จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต

ไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.

ดูก่อนมาณพ เหมือนหญิงสาว ชายหนุ่ม ชอบแต่งตัว เมื่อส่องดูหน้า

ของตนในกระจกที่สะอาด ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝก็รู้ว่า

หน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝก็รู้ว่า หน้าไม่มีไฝ ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุ

ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ ถึงความไม่หวั่นไหว เธอย่อมน้อม

ย่อมโน้มจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคล

อื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ หรือ จิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า

จิตไม่หลุดพ้น แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่ง ฯลฯ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อน

ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง

สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบ

ชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด

สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏ-

วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น ในภพ

นั้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ

จากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนมาณพ เหมือนบุรุษจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้น

ไปบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาบ้านของตนตามเดิม เขาก็ระลึกได้อย่างนี้

ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่ง

อย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เมื่อเราจากบ้านนั้นไปบ้านโน้น

แม้ในบ้านนั้น เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่ง

อย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้นมายังบ้านของเรา ดังนี้ ฉันใด ดูก่อนมาณพ

ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทส. แม้

ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตตั้งมั่น ฯลฯ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอ

ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่อหยั่งรู้การจุติและการเกิดขึ้นของสัตว์ทั้งหลาย เธอ

เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์เกินจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งสัตว์

ทั้งหลาย ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุริต

มโนทุจิต ว่าร้ายพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดการกระทำด้วยอำนาจ

มิจฉาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็เข้าถึงอบายทุคติ

วินิบาต นรก ส่วนสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโน-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

สุจริต ไม่ว่าร้ายพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ

สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

เธอย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายที่กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ประณีต ผิวพรรณดี

ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ เกินจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนมาณพ เหมือนปราสาท ตั้งอยู่ท่ามกลางทางสี่แพร่ง บุรุษผู้มี

จักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น ก็จะเห็นผู้คนทั้งหลาย กำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง ออก

ไปอยู่บ้าง กำลังเดินไปมาอยู่ตามถนนบ้าง นั่งอยู่ท่ามกลางทางสี่แพร่งบ้าง เขา

ก็รู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน คนเหล่านี้ออกจากเรือน คนเหล่านี้เดินไปมา

ตามถนน คนเหล่านี้นั่งท่ามกลางทางสี่แพร่ง ฉันใด ดูก่อนมาณพ ภิกษุก็ฉัน

นั้นแล ฯลฯ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ ถึงความไม่หวั่นไหว เธอย่อมน้อมย่อม

โน้มจิตไปเพื่อหยั่งรู้การจุติและการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เห็นสัตว์ทั้งหลายที่

กำลังจุติ กำลังเกิด เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เกินจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๖] ภิกษุนั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน มั่นคง ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม

น้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้

อาสวะ เหล่านี้เหตุให้เกิดอาสวะ เหล่านี้ความดับอาสวะ เหล่านี้ข้อปฏิบัติให้

ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มี

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก.

ดูก่อนมาณพ เหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บุรุษ

ผู้มีตาดียืนอยู่บนขอบสระน้ำ จะเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวด

และกระเบื้องบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มีในสระนั้น เขา

คิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว บรรดาหอยโข่งและหอยกาบ

ก้อนกรวดและกระเบื้อง ฝูงปลา ต่างกำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ใน

สระน้ำนั้น ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ฯลฯ เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ ถึง

ความไม่หวั่นไหว ย่อมน้อมย่อมโน้มจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อยู่

เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุด

พ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก แม้

ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

[๓๓๗] ดูก่อนมาณพ ปัญญาขันธ์ อันประเสริฐนี้แล ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้ตรัสสรรเสริญ ทั้งยังชุมชนให้ยึดมั่น ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่

ในพระธรรมวินัยนี้ มิได้มีกิจอะไรที่จะพึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้.

สุภมาณพ กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์

นัก น่าพิศวงนัก ปัญญาขันธ์อันประเสริฐนี้ บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ กระผมไม่เคยเห็นปัญญาขันธ์อันประเสริฐที่

บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในสมณพราหมณ์พวกอื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย และ

ไม่มีกิจอะไรอื่นที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภาษิตของท่านไพเราะยิ่งนัก ไพเราะยิ่ง

นัก เหมือนบุคคลหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดภาชนะที่ปิด บอกทางแก่คนหลง

ทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระ

อานนท์ผู้เจริญประกาศธรรม โดยอเนกปริยายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระ

อานนท์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระสงฆ์เป็น

สรณะ ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง

สรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

จบสุภสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

อรรถกถาสุภสูตร

สุภสูตรมีบทเริ่มว่า ข้าพเจ้า สดับมาอย่างนี้ ฯเปฯ ในพระนครสาวัตถี.

ต่อไปนี้เป็นการอธิบายบทที่ยากในสุภสูตรนั้น บทว่า เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน อธิบายว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน. ประมาณ ๑ เดือน ถัดจากวันปรินิพพาน ข้อนี้

ท่านกล่าวหมายถึงวันที่พระอานนท์ ถือบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วมานั่งฉันยาถ่ายผสมน้ำนม ณ วิหาร โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทาน.

บทว่า โตเทยยบุตร แปลว่า บุตรของโตเทยยพราหมณ์ มีเรื่องเล่า

ว่า ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี มีบ้านชื่อตุทิคาม เพราะเขาเป็นคนใหญ่โตใน

บ้านตุทิคาม จึงมีชื่อว่า โตเทยยะ เขามีทรัพย์สมบัติประมาณ ๔๕ โกฏิ แต่

เขาเป็นคนตระหนี่เป็นอย่างยิ่ง เขาคิว่า ชื่อว่า ความไม่สิ้นเปลืองแห่งโภค

สมบัติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ให้ แล้วเขาก็ไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ เขาสอนบุตรว่า

คนฉลาด ควรดูความสิ้นไปของยาหยอดตา การก่อจอมปลวก การ

สะสมน้ำผึ้ง แล้วพึงครองเรือน

เมื่อเขาให้บุตรสำเหนียกถึงการไม่ให้อย่างนี้แล้ว ครั้นตายไปก็ไปเกิด

เป็นสุนัขอยู่ที่เรือนหลังนั้นเอง สุภมาณพผู้เป็นบุตร รักสุนัขนั้นมาก ให้กิน

อาหารเหมือนกับตน อุ้มนอนบนที่นอนอย่างดี.

ครั้นวันหนึ่ง เมื่อสุภมาณพออกจากบ้านไป พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เรือนหลังนั้น สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเห่า

เดินเข้าไปใกล้พระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนัขนั้นว่า ดูก่อนโต-

เทยยะ แม้เมื่อก่อนเจ้าก็กล่าวหมิ่นเราว่าแน่ะท่าน แน่ะท่าน ดังนี้ จึงเกิดเป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

สุนัข แม้บัดนี้เจ้าก็ยังเห่าเรา จักไปอเวจีมหานรก. สุนัขฟังดังนั้น มีความ

เดือดร้อนจึงนอนบนขี้เถ้าระหว่างเตาไฟ. พวกมนุษย์ไม่สามารถจะอุ้มไปให้

นอนบนที่นอนได้. สุภมาณพกลับมาถึงถามว่า ใครนำสุนัขนี้ลงจากที่นอน.

พวกมนุษย์ต่างบอกว่า ไม่มีใครดอก แล้วเล่าเรื่องราวให้ฟัง.

สุภมาณพได้ฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราบังเกิดในพรหมโลก แต่

พระสมณโคดมหาว่า บิดาของเราเป็นสุนัข ท่านนี้พูดอะไร ปากเสีย ใครจะ

ท้วงติงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพูดเท็จจึงไปยังวิหาร ถามเรื่องราวกะพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแก่สุภมาณพเหมือนอย่างนั้น แล้วตรัสความจริงว่า

ดูก่อนสุภมาณพ ทรัพย์ที่บิดาของเจ้ายังไม่ได้บอกมีอีกไหม. สุภมาณพทูลว่า

พระโคดม หมวกทองคำมีค่าหนึ่งแสน รองเท้าทองคำมีค่าหนึ่งแสน ถาด

ทองคำมีค่าหนึ่งแสน กหาปณะหนึ่งแสนมีอยู่. พระโคดมตรัสว่า เจ้าจงไปให้

สุนัขบริโภคข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แล้วอุ้มไปนอนบนที่นอน พอได้เวลาสุนัข

หลับไปหน่อยหนึ่ง จงถามดู สุนัขจักบอกทุกสิ่งทุกอย่างแก่เจ้า ทีนั้นแหละ

เจ้าก็จะรู้ว่าสุนัขนั้นคือบิดาของเรา. สุภมาณพได้กระทำตามนั้น. สุนัขบอก

หมดทุกสิ่งทุกอย่าง เขารู้แน่ว่าสุนัขนั้นคือบิดาของเรา จึงเลื่อมใสในพระผู้มี

พระภาคเจ้า ไปทูลถามปัญหา ๑๔ ข้อ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจบ

ปัญหา เขาขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะ ท่านกล่าวความข้อนั้นหมายถึง

สุภมาณพโตเทยยบุตร

บทว่า อาศัญอยู่ใกล้กรุงสาวัตถี ความว่า สุภมาณพมาจากโภคคาม

ของตนแล้วอาศัยอยู่. บทว่า ได้เรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมา ความว่า เมื่อ

พระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว สุภมาณพได้สดับว่า พระอานนท์ถือบาตร

และจีวรของพระองค์มา มหาชนย่อมจะเข้าไปหาท่านเพื่อเยี่ยมเยือนดังนี้ จึง

คิดว่า ครั้นเราจักไปวิหาร ก็คงไม่อาจกระทำปฏิสันถาร หรือฟังธรรมกถา ได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

สะดวก ในท่ามกลางหมู่ชนเป็นอันมาก เห็นท่านมาสู่เรือนนั่นแหละ จักทำ

ปฏิสันถารได้โดยง่าย และเรามีความสงสัยอยู่ข้อหนึ่ง เราก็จักถามท่าน แล้ว

จึงเรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมา.

เวทนาอันเป็นข้าศึก ท่านกล่าวว่า อาพาธ ในบทเป็นต้นว่า มีอาพาธ

น้อย. สุภมาณพกล่าวว่า เวทนาใดเกิดในส่วนหนึ่งแล้ว ยึดไว้ซึ่งอิริยาบถ ๔

เหมือนเอาแผ่นเหล็กนาบ เธอจงถามความไม่มีแห่งเวทนานั้น. บทว่า มี

โรคเบาบาง ท่านกล่าวถึงโรคอันทำชีวิตให้ลำบาก เธอจะถามความไม่มีแม้

แห่งโรคนั้น. สุภมาณพกล่าวว่า ชื่อว่าการลุกขึ้นของผู้ป่วยนั่นแลย่อมหนัก

กำลังกายย่อมไม่มี เราะฉะนั้น เธอจงถามความไม่มีไข้ และความมีกำลัง.

บทว่า มีความเป็นอยู่สบาย ความว่า เธอจงถามความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข ใน

อิริยาบถ ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ครั้นพระคันถรจนาจารย์เมื่อแสดงถึง

อาการที่ควรจะถามแก่มาณพน้อยนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สุโภ. บทว่า

อาศัยเวลาและสมัย ความว่า ถือ คือ ใคร่ครวญ เวลาและสมัยด้วยปัญญา. มี

อธิบายว่า หากพรุ่งนี้จักเป็นเวลาไปของเรา กำลังของเราจักซ่านไปในกาย

จักไม่มีความไม่สบายอย่างอื่น เพราะการไม่เป็นเหตุ ทีนั้นเราจักใคร่ครวญ

เวลานั้น และสมัยกล่าวคือ การไป เหตุ พวกหมู่ ถ้ากระไรพึงมาพรุ่งนี้.

บทว่า เจตกภิกษุ ความว่า ได้ชื่อว่า เจตกะ เพราะเกิดในเจติยรัฐ-

บทว่า กล่าวสัมโมทนียกถา พอให้ระลึกถึงกัน ความว่า สุภมาณพได้กล่าว

สัมโมทนียกถา พอให้ระลึกถึงกันอันเกี่ยวกับมรณะ ได้ผ่านไปแล้วโดยนัย

เป็นต้นอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ พระทศพลได้มีโรคอะไร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสวยอะไร อนึ่ง ความโศกได้เกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายโดยการปรินิพพาน

ของพระศาสดา พระศาสดาของท่านทั้งหลายปรินิพพานแล้วอย่างเดียวก็หาไม่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ความเสื่อมอันใหญ่หลวงก็เกิดแก่มนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก บัดนี้คนอื่นใคร

เล่าจักพ้นความตาย ก็บุคคลผู้เลิศของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลกยังเสด็จ

ปรินิพพานได้ บัดนี้มัจจุราชจักเห็นใครอื่นแล้วละอาย สุภมาณพถวายอาหาร

อันสมควรแก่เครื่องดื่มและเภสัชแก่พระเถระเมื่อวานนี้ เมื่อเสร็จภัตตกิจ

จึงนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

บทว่า เป็นอุปฐากอยู่ในสำนัก ความว่า เป็นอุปฐากอยู่ในสำนัก

ไม่แสวงหาโทษ. บทว่า อยู่ใกล้ชิด นี้ เป็นไวพจน์ของบทก่อน เพราะเหตุไร

สุภมาณพจึงถามว่า พระโคดมได้ตรัสสรรเสริญคุณแห่งธรรมเหล่าใด. นัยว่า

สุภมาณพได้มีปริวิตกอย่างนี้ว่า พระโคดมผู้เจริญยังมนุษยโลกนี้ให้ดำรงอยู่ใน

ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านั้น โดยที่พระโคดมล่วงลับไปแล้วเสื่อมสูญไปด้วย

หรือหนอ หรือยังดำรงอยู่ หากดำรงอยู่ พระอานนท์ จักรู้ กระผมขอโอกาส

ถาม ดังนี้ เพราะฉะนั้น สุภมาณพจึงถามขึ้น.

ครั้งนั้น พระเถระได้สงเคราะห์ปิฎก ๓ ด้วยขันธ์ ๓ เมื่อจะแสดงแก่

สุภมาณพ จึงกล่าวว่า แห่งขันธ์ ๓ ทั้งหลายแล ดังนี้เป็นต้น. สุภมาณพคิดว่า

เรากำหนดข้อที่ท่านกล่าวโดยย่อ ไม่ได้ จักถามโดยพิสดาร จึงกล่าวว่า แห่งขันธ์

ทั้งหลาย ๓ เป็นไฉน ดังนี้เป็นต้น. เมื่อพระอานนท์แสดงขันธ์เหล่านั้น ด้วยบทว่า

แห่งสีลขันธ์อันประเสริฐ ดังนี้ สุภมาณพจึงถามเป็นข้อ ๆ อีกว่า ท่านพระ

อานนท์ ก็สีลขันธ์อันประเสริฐนั้นเป็นอย่างไร. แม้พระเถระก็แสดงถึงการ

อุบัติของพระพุทธเจ้าแก่สุภมาณพนั้น เมื่อจะแสดงธรรมอันเป็นแบบแผน

จึงวิสัชนาธรรมทั้งปวง โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยลำดับนั้นแล

ในบทว่า ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกิจที่จะต้องกระทำให้ยิ่งขึ้นไป

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

อยู่อีก ท่านแสดงว่า ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ มิใช่ศีลเท่านั้นที่มีสาระ

ศีลนั้นเป็นเพียงพื้นฐานอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีกิจอื่นที่จะต้องทำยิ่งกว่านี้อีก.

บทว่า ภายนอกจากศาสนานี้ คือ ภายนอกจากพระพุทธศาสนา บทว่า

ดูก่อนมาณพ ภิกษุเป็นผู้มีทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไรนี้

ท่านพระอานนท์แม้ถูกถามถึงสมาธิขันธ์อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์สมาธิขันธ์

อันประเสริฐนั้นเป็นอย่างไร ท่านมีประสงค์จะชี้ให้เห็นซึ่งธรรมเป็นอุปการะ

ของธรรมทั้งสอง ในระหว่างศีล และ สมาธิ ซึ่งมีอินทรีย์สังวรเป็นต้น ที่ท่าน

ยกขึ้นแสดงในลำดับศีลอย่างนี้ว่า ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล มีทวารคุ้มครองแล้ว

ในอินทรีย์ทั้งหลาย ถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษแล้ว ดังนี้แล้ว

แสดงสมาธิขันธ์ จึงได้กล่าวเริ่มขึ้น. ในที่นี้แสดงถึงรูปฌานเท่านั้น จึงไม่

ควรนำอรูปฌานมาแสดง. เพราะชื่อว่าอรูปสมาบัติมิได้สงเคราะห์ด้วยจตุตถ-

ฌาน จึงไม่มี.

บทว่า ในธรรมวินัยนี้ ยังมีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ท่านแสดงว่า

ชี่อว่าความเกิดขึ้นแห่งความสิ้นสุด มิได้มิในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้

โดยเพียงจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเท่านั้น ยังมีกิจอื่นที่จะต้องทำยิ่งกว่านี้อีก.

บทว่า ในธรรมวินัยนี้ ไม่มีกิจที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไปอีก ท่านแสดง

ว่า ชื่อว่ากิจที่จะต้องทำยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้

เพราะศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระอรหัตต์เป็นที่สิ้นสุด. บทที่เหลือ

มีข้อความง่ายในที่ทั้งปวง.

จบอรรถกถาสุภสูตร

สุภสูตรที่ ๑๐ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

๑๑ เกวัฏฏสูตร

[๓๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริก-

เศรษฐีใกล้เมืองนาลันทา. ครั้งนั้น เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ เมืองนาลันทานี้ เป็นเมืองมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีผู้คนมาก

คับคั่งไปด้วยมนุษย์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอประทาน

โอกาสเถิดพระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญชาให้ภิกษุรูปหนึ่งที่จัก

กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ อันเป็นธรรมที่ยิ่งยวดของมนุษย์ได้ โดยอาการอย่างนี้

ชาวเมืองนาลันทา จักเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่งสุดที่จะ

ประมาณได้.

เมื่อเกวัฏฏะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเกวัฏฏะ

บุตรคฤหบดีว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธอจงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยิ่ง

ยวดของมนุษย์แก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ดังนี้ เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบสองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ

องค์มิได้เจาะจงพระผู้มีพระภาคเจ้า เพียงแต่กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เมืองนาลันทานี้ เป็นเมืองมั่งคั่ง สมบูรณ์ มีผู้คนมาก คับคั่งไปด้วย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

มนุษย์ เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอประทานโอกาสเถิด

พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญชาให้ภิกษุรูปหนึ่ง ที่จักกระทำ

อิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ โดยอาการอย่างนี้ ชาวเมือง

นาลันทาจักเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอย่างยิ่งสุดที่จะประมาณได้.

แม้ครั้งที่สาม ฯลฯ เกวัฏฏะก็ได้กราบทูลอย่างนั้น.

[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเกวัฏฏะ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง

นี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓

อย่างคือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. ดูก่อนเกวัฏฏะ

อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ

คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้

หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปก็ได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุด

ขึ้นดำลงในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แยกเหมือนเดินบน

แผ่นดินก็ได้ นั่งบัลลังก์เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์

พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก

ก็ได้.

ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสบางคนเห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คน

เดียวทำให้เป็นหลายคนก็ได้......คนที่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นจะบอกแก่คนที่ไม่มี

ศรัทธาไม่เลื่อมใสคนใดคนหนึ่งว่า พ่อมหาจำเริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ น่าพิศวง

จริงหนอ ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก. มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปโน้น

แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง......คนที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส จะพึงกล่าวกะคนที่

มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า นี่แน่ะพ่อคุณ มีวิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี

ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง........ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารีนั้น....คูก่อน

เกวัฏฏะท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

นั้น จะพึงกล่าวอย่างนั้น กะคนผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใสนั้นบ้างไหม. พึง

กล่าว พระเจ้าข้า. ดูก่อนเกวัฏฏะ เราเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แหละ

จึงอึดอัด ระอา รังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์.

[๓๔๐] ดูก่อนเกวัฏฏะ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรองของสัตว์

อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นไปโดย

อาการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นดังนี้บ้าง. บุคคลบางคน มีศรัทธาเลื่อมใสเห็น

ภิกษุนั่นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรองของสัตว์

อื่นบุคคลอื่นได้ ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นไปโดยอาการ

นี้บ้าง จิตของท่านเป็นดังนี้บ้าง. ครั้นแล้วผู้มีศรัทธาเลื่อมใสบอกแก่คนที่ไม่มี

ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสคนใดคนหนึ่งว่า พ่อมหาจำเริญ น่าอัศจรรย์จริงหนอ

น่าพิศวงจริงหนอ ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็น

ภิกษุรูปนี้ทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความตรอง ของ

สัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดย

อาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ครั้นแล้วผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสจะพึง

กล่าวกะผู้มีศรัทธา ผู้มีความเลื่อมใสว่า นี่แน่พ่อคุณ มีวิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อ

มณิกา ภิกษุรูปนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความตรึก ทายความ

ตรองของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็น

ไปโดยอาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ด้วยวิชาชื่อว่ามณิกานั้น ดูก่อน

เกวัฏฏะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสนั้น

จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูก่อน

เกวัฏฏะ เราเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา รังเกียจ

อาเทสนาปาฏิหาริย์.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

[๓๔๑] ดูก่อนเกวัฏฏะ อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนเกวัฏฏะ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่าง

นั้น จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใสใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ เข้าถึงสิ่งนี้อยู่. ดูก่อน

เกวัฏฏะ นี้เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์

[๓๔๒] ดูก่อนเกวัฏฏะ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลก

นี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ ดูก่อนเกวัฏฏะ แม้นี้ก็เรียกว่า

อนุสาสนีปาฏิหาริย์. ภิกษุเข้าถึงทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานอยู่. ดูก่อน

เกวัฏฏะ ข้อนี้ท่านเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ ภิกษุนำเข้าไปน้อม

เข้าไปซึ่งจิตเพื่อญาณทัสสนะ. ดูก่อนเกวัฏฏะ นี้ ท่านเรียกว่า อนุสาสนี-

ปาฏิหาริย์. ฯลฯ ภิกษุย่อมรู้ว่า ไม่มีจิตอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้อีก ข้อนี้ท่าน

เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์. ดูก่อนเกวัฏฏะ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล เราทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วจึงประกาศให้รู้.

[๓๔๓] ดูก่อนเกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ความปริวิตกทางใจได้เกิด

ขึ้นแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุนี้เอง อย่างนี้ว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวี-

ธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหนหนอ.

ลำดับนั้น ภิกษุได้เข้าสมาธิ ชนิดที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่เทวโลกก็ปรากฏ

ได้. ครั้นแล้วภิกษุเข้าไปหาพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราชถึงที่อยู่ ได้ถามพวก

เทวดาเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนเกวัฏฏะ เมื่อ

ภิกษุกล่าวอย่างนี้ พวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราชจึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็

ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

เตโชธาตุ วาโยธาตุนี้ เหมือนกัน แต่ยังมีมหาราชอยู่ ๔ องค์ ซึ่งรุ่งเรือง

กว่า วิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ........ภิกษุจึงไปหามหาราช

ทั้ง ๔ แล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว

มหาราชทั้ง ๔ จึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ........แต่ยังมีพวกเทวดา

ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า เทวดาเหล่านั้นคงจะ

ทราบ........ภิกษุจึงเข้าไปหาเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วกล่าวว่า มหาภูตรูป คือ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือใน

ที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้ เทวดาชั้นดาวดึงส์จึงกล่าวว่า แม้พวกข้าพเจ้า

ก็ไม่ทราบ.......แต่ยังมีท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า

พวกข้าพเจ้า ท้าวเธอคงจะทราบ........ภิกษุนั้นก็ได้ไปหาท้าวสักกะผู้เป็นจอม

เทวดากล่าวว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ

เหล่านี้ ย่อมดับโดยไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมเทวดากล่าวตอบว่า ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ..........แต่ยังมีเทวดาชั้น

ยาม............เทพบุตรชื่อสุยาม............เทวดาชั้นดุสิต.............เทพบุตรชื่อสัน-

ดุสิต.........เทวดาชั้นนิมมานรดี............เทพบุตรชื่อสุนิมมิตะ........เทวดาชั้น

ปรนิมมิตวสวดี............เทพบุตรชื่อปรนิมมิตวสวดี ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า

ข้าพเจ้า ท้าวเธอคงทราบ............ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ได้.

[๓๔๔] ดูก่อนเกวัฏฏะ ครั้งนั้นภิกษุเข้าไปหาวสวดีเทพบุตรแล้วกล่าว

ว่ามหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุเหล่านี้ ย่อมดับ

ไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว วสวดีเทพบุตรกล่าวตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ.....แต่ยังมีเทวดาพรหมกายิกา ซึ่งรุ่งเรืองกว่า วิเศษกว่า

พวกเรา เทวดาเหล่านั้นคงจะทราบ ลำดับนั้นภิกษุได้เข้าสมาธิโดยที่เมื่อจิต

ตั้งมั่นแล้วทางไปสู่พรหมโลกได้ปรากฏแล้ว.

[๓๔๕] ดูก่อนเกวัฏฏะ ต่อแต่นั้น ภิกษุได้เข้าไปหาเทวดาพรหมกายิกา

แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ

วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้ เทวดา-

พรหมกายิกา จึงกล่าวตอบว่า แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ....แต่ยังมีพระพรหม

ผู้เป็นมหาพรหม ผู้เป็นใหญ่ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ ผู้ใช้

อำนาจ ผู้เป็นอิสสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ

เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ ซึ่งรุ่งเรืองกว่าและวิเศษกว่าพวกข้าพเจ้า

ท้าวมหาพรหมนั่นแลคงจะทราบ...... ก็บัดนี้ท้าวมหาพรหมนั้นอยู่ที่ไหน

แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่รู้ที่อยู่ของพรหม หรือทิศของที่พรหมอยู่ แต่ว่านิมิตทั้ง

หลายจักเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอภาสย่อมปรากฏเมื่อใด พรหมจัก

ปรากฏเมื่อนั้น การที่แสงสว่างเกิดเอง โอภาสปรากฏนั้นแล เป็นบุพพนิมิตเพื่อ

ความปรากฏแห่งพรหม ดูก่อนเกวัฏฏะ ต่อมาไม่นานนัก มหาพรหมนั้นก็ได้

ปรากฏ.

[๓๔๖] ดูก่อนเกวัฏฏะ ลำดับนั้น ภิกษุได้เข้าไปหามหาพรหมแล้ว

กล่าวว่า มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้

ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหม ได้

กล่าวตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นผู้ใหญ่ยิ่ง........ เป็นบิดา

ของหมู่สัตว์ทั้งหลาย. ดูก่อนเกวัฏฏะ แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าว-

มหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้นว่า ท่านเป็นพรหม........ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

ถามท่านว่ามหาภูตรูป ๔.... ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ต่างหาก. แม้ครั้งที่ ๒

ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบภิกษุอย่างนั้น แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุก็ได้กล่าวกะท้าว

มหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามอย่างนั้น ข้าพเจ้าถามว่า มหาภูตรูป ๔ ย่อม

ดับไม่มีเหลือในที่ไหนต่างหาก.

[๓๔๗] ดูก่อนเกวัฏฏะ ลำดับนั้นท้าวมหาพรหมจับแขนภิกษุนั้นนำ

ไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านภิกษุ พวกเทวดา-

พรหมกายิกาเหล่านี้ รู้จักข้าพเจ้าว่า อะไร ๆ ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ

ไม่แจ่มแจ้ง เป็นอันไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ตอบต่อหน้าเทวดาเหล่า

นั้นว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่าน

ละเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว เที่ยวแสวงหาในภายนอก เพื่อพยากรณ์

ปัญหานี้ เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทูลถามปัญหานี้เถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงทรงจำ

ข้อนั้นไว้.

[๓๔๘] ดูก่อนเกวัฏฏะ ครั้งนั้น ภิกษุนั้นได้หายไปจากพรหมโลก

มาปรากฏข้างหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้อยู่ออกไป

หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา, ดูก่อนเกวัฏฏะ ภิกษุนั้นเข้ามาหาเรา ไหว้เรา

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาภูต ๔

คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน

เมื่อเธอกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อ

ค้าเดินเรือมหาสมุทร จับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง

เขาก็ปล่อยนกตีรทัสสีมันบินไปยังทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศปัจจิม ทิศอุดร

ทิศเบื้องบน ทิศน้อย หากมันเห็นริมฝั่ง มันก็บินไปทางนั้น หากมันไม่เห็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ริมฝั่ง มันจะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูก่อนภิกษุ เธอก็เหมือนกัน เที่ยวแสวงหา

จนถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุดก็ต้องมาหาเรา ปัญหานี้

เธอไม่ควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้ ........

[๓๔๙] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้

ในที่ไหน

อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ งานและไม่งาม ย่อม

ตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน

นามและรูปย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้.

ในปัญหานั้นมีพยากรณ์ดังต่อไปนี้

[๓๕๐] ธรรมชาติที่รู้แจ้ง แสดงไม่ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดย

ประการทั้งปวง

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน

ธรรมชาตินี้

อุปาทายรูปยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ งามและไม่งาม ย่อม

ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้

นามและรูปย่อมดับไปไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้

เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ตรัสพยากรณ์ปัญหานี้แล้ว เกวัฏฏะบุตรคฤหบดี

ชอบใจเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบเกวัฏฏสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

อรรถกถาเกวัฏฏสูตร

เกวัฏฏสูตรมีบทเริ่มว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมา

อย่างนี้ ฯเปฯ ใกล้เมืองนาลันทา.

จะพรรณนาบทโดยลำดับในเกวัฏฏสูตรนั้น. บทว่า ปวาริกัมพวัน

คือ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี. บทว่า เกวัฏฏะนี้ เป็นชื่อของบุตรคฤหบดี.

มีเรื่องเล่ามาว่า เกวัฏฏะบุตรคฤหบดีนั้น มีทรัพย์ประมาณ ๔๐ โกฏิ

เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ได้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส (พระพุทธศาสนา) เป็นอย่างยิ่ง

เพราะเหตุที่เขามีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงคิดว่า หากจะมีภิกษุสักรูปหนึ่ง เหาะ

ไปในอากาศ พึงแสดงปาฏิหาริย์หลาย ๆ อย่าง ระหว่างกึ่งเดือน หรือหนึ่ง

เดือน หรือหนึ่งปี มหาชนก็จะพากันเลื่อมใสยิ่งนัก ถ้ากระไร เราจะกราบ

ทูลขอร้องพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงอนุญาต ภิกษุรูปหนึ่งเพื่อแสดง

ปาฏิหาริย์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอย่างนี้.

บทว่า มั่งคั่ง คือ มั่งคั่งสมบูรณ์. บทว่า มั่งมี คือ ถึงความเจริญ

เพราะมากด้วยภัณฑะนานาชนิด. บทว่า คับคั่งไปด้วยมนุษย์ อธิบายว่า

จอแจไปด้วยหมู่มนุษย์ สัญจรไปมา ดูเหมือนว่า ไหล่กับไหล่ จะเสียดสีกัน.

บทว่า จงจัด หมายถึง ขอร้อง คือ ตั้งให้ดำรงตำแหน่ง. บทว่า ธรรมที่ยิ่งยวด

ของมนุษย์ อธิบายว่า ยิ่งกว่าธรรม ของมนุษย์ผู้ยิ่งยวด หรือธรรมของ

มนุษย์ อันได้แก่กุศล ๑๐. บทว่า เป็นอย่างยิ่ง สุดที่จะประมาณได้ อธิบาย

ว่า จักเลื่อมใสอย่างยิ่งสุดที่จะประมาณได้ เหมือนดวงประทีปที่โชติช่วง แม้

กว่าปรกติ เพราะได้เชื้อน้ำมัน.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

บทว่า เราไม่แสดงธรรมอย่างนี้ มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

บัญญัติสิกขาบทไว้ในเรื่องราชคหเศรษฐี เพราะฉะนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

เราไม่แสดงธรรมอย่างนี้. บทว่า เราไม่กำจัด อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เราจะไม่ทำลายโดยให้คุณธรรมพินาศไป คือ ให้ถึงการทำลายศีล แล้ว

ลดลงจากฐานะสูง ตั้งอยู่ในฐานะต่ำโดยลำดับ โดยที่แท้เราหวังความเจริญ

ของพระพุทธศาสนา จึงกล่าวดังนั้น. บทว่า แม้ครั้งที่ ๓ แล อธิบายว่า ไม่มี

ผู้สามารถจะกล่าวห้ามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง แต่เกวัฏฏะกราบ

ทูลถึง ๓ ครั้ง ด้วยคิดว่า เราคุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นคนโปรด

หวังต่อประโยชน์ ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า อุบาสกนี้แม้

เมื่อเราห้าม ก็ยังขอร้องอยู่บ่อย ๆ ช่างเถิด เราจะชี้โทษในการแสดงปาฏิหาริย์

แก่เธอ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปาฏิหาริย์ ๓. อย่างแล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมาห ภิกฺขุ ตัดบทเป็น อมุ อห ภิกฺขุ บทว่า

วิชาชื่อคันธารี อธิบายว่า วิชานี้ ฤษีชื่อคันธาระเป็นผู้ทำ หรือเป็นวิชา

ที่เกิดขึ้นในแคว้นคันธาระ. มีเรื่องเล่ากันมาว่า ในแคว้นคันธาระนั้น พวก

ฤษีอาศัยอยู่มาก บรรดาฤษีเหล่านั้น ฤษีผู้หนึ่งทำวิชานี้ขึ้น. บทว่า เราอึดอัด

อธิบายว่า เราอยู่อย่างอึดอัดคือราวกะว่าถูกบีบ. บทว่า เราระอา คือละอาย.

บทว่า เรารังเกียจ คือ เราเกิดความรังเกียจเหมือนเห็นคูถ.

บทว่า แห่งสัตว์อื่น คือแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น. บทที่ ๒ คือ

แห่งบุคคลอื่น เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นแล. บทว่า ย่อมทาย คือ ย่อมกล่าว.

บทว่า ความรู้สึกในใจ หมายถึง โสมนัสและโทมนัส. บทว่า ใจของท่านเป็น

ไปโดยอาการอย่างนี้ อธิบายว่า ใจของท่านตั้งอยู่ในโสมนัส โทมนัส หรือ

ประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น. บทที่ ๒ เป็นไวพจน์ของบทนั้นแล. บทว่า จิต

ของท่านเป็นอย่างนี้ คือจิตของท่านเป็นเช่นนี้. อธิบายว่า จิตของท่านคิดถึง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

เรื่องนี้และเรื่องนี้เป็นไปแล้ว. บทว่า วิชาชื่อมณิกา ท่านชี้แจงว่า มีวิชาหนึ่ง

ในโลกได้ชื่ออย่างนี้ว่า จินดามณี บุคคลย่อมรู้ถึงจิตของคนอื่นได้ ด้วยวิชา

จินดามณีนั้น.

บทว่า ท่านทั้งหลายจงตรึกอย่างนี้ คือ ตรึกให้เป็นไปทาง เนก-

ขัมมวิตกเป็นต้น. บทว่า อย่าตรึกอย่างนี้ คือ อย่างตรึกให้เป็นไปกามวิตก

เป็นต้น. บทว่า จงทำในใจอย่างนี้ คือ ทำในใจถึงอนิจจสัญญา หรือ อย่างใด

อย่างหนึ่ง ในทุกขสัญญาเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า อย่า........อย่างนี้ คือ อย่าทำ

ในใจโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นของเที่ยง ดังนี้. บทว่า จงละสิ่งนี้ อธิบายว่า จงเข้าถึง

กำหนัดอันเคลือบด้วยกามคุณนี้. บทว่า จงเข้าถึงสิ่งนี้ อธิบายว่า จงเข้าถึง

คือ บรรลุ สำเร็จ โลกุตตรธรรม อันได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นี้แลอยู่. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ชื่อ อิทธิปาฏิหริย์ การรู้จิตของผู้อื่น แล้ว

พูด ชื่อ อาเทศนาปาฏิหาริย์ การแสดงธรรมเนือง ๆ ของพระสาวกและของ

พระพุทธเจ้า ชื่อ อนุสาสนีปาฏิหาริย์.

ในปาฏิหาริย์เหล่านั้น พระมหาโมคคัลลานะแสดง อนุสาสนีปาฏิหาริย์

ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แสดง อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ด้วย

อาเทศนาปาฏิหาริย์. เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ ได้พาภิกษุ ๕๐๐ รูปไปแล้ว

แสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้นด้วยพุทธลีลา ณ ตำบล คยาสีสะ ครั้นเมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงส่งพระอัครสาวก ๒ รูป ไป พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

ทราบวารจิตของภิกษุเหล่านั้นแล้วแสดงธรรม. ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ฟังธรรม-

เทศนาของพระเถระก็บรรลุโสดาปัตติผล. ต่อมาพระมหาโมคคัลลานเถระได้

แสดงการแผลงฤทธิ์ต่าง ๆ แล้ว แสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหมด

ฟังธรรมของท่านแล้วต่างได้บรรลุพระอรหัตตผล. ครั้นแล้วพระมหานาคทั้ง

สองพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เหาะสู่เวหามาถึงวิหารเวฬุวัน. การแสดงธรรมเนือง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์. ในปาฏิหาริย์เหล่านั้น อิทธิ-

ปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์ ยังติเตียนได้ ยังมีโทษ ไม่ยั่งยืนอยู่นาน

เพราะไม่ยั่งยืนอยู่นาน จึงไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้. อนุสาสนีปาฏิหาริย์เท่านั้น

ไม่ติเตียนได้ ไม่มีโทษ ตั้งอยู่ได้นาน เพราะตั้งอยู่ได้นาน จึงนำสัตว์ให้พ้น

ทุกข์ได้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงติเตียนอิทธิปาฏิหาริย์ และ

อาเทสนาปาฏิหาริย์ ทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์อย่างเดียว.

บทว่า เรื่องเคยมีมาแล้วนี้ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ทรงปรารภขึ้น. ที่ทรงปรารภขึ้นก็เพื่อทรงแสดงถึงอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนา

ปาฏิหาริย์ไม่นำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ และเพื่อทรงแสดงถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์

เท่านั้น ที่จะนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้. อีกอย่างหนึ่ง มีภิกษุรูปหนึ่งชื่อ

มหาภูตปริเยสกะ แสวงหามหาภูตรูป เที่ยวไปจนถึงพรหมโลก ไม่ได้ช่อง

แก้ปัญหา จึงมาทูลถามพระพุทธเจ้า แล้วก็หมดสงสัยไป. เพราะเหตุอะไร.

เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหตุการณ์อันนี้ได้ปกปิด

แล้ว ครั้นต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเปิดเผยแสดงเหตุการณ์นั้น จึง

ตรัสคำเป็นอาทิว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว ดังนี้. บทว่า ในที่ไหนหนอแล อธิบาย

ว่า บุคคล อาศัยอะไรแล้ว บรรลุอะไร มหาภูต ๔ นั้น จึงดับโดยไม่เหลือ

ด้วยอำนาจเป็นไปไม่ได้ในที่ไหน ก็มหาภูตกถานี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิ-

มรรค โดยพิสดาร. เพราะฉะนั้น ควรค้นหาจากวิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

บทว่า ทางไปเทวโลก คือ ชื่อว่าทางไปเทวโลกเฉพาะนั้น ไม่มี.

ก็บทนั้นเป็นชื่อของอิทธิวิธญาณ. จริงอยู่ ทางนั้นเป็นไปสู่อำนาจทางกาย

ย่อมไปสู่เทวโลก ตลอดถึงพรหมโลกได้โดยทางนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่าทางไปเทวโลก. บทว่า เทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยที่ใด ความว่า

ภิกษุไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ประทับอยู่ในที่ใกล้ สำคัญว่า ตาม

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

ธรรมดา เทวดาที่เขาโจทกันย่อมมีอานุภาพมากดังนี้จึงเข้าไปหา. ข้อที่ว่า

ดูก่อนภิกษุ แม้พวกข้าพเจ้าก็ไม่รู้ หมายถึง พวกเทวดา ถูกถามปัญหาใน

พุทธวิสัยย่อมไม่รู้จึงได้กล่าวอย่างนั้น. ลำดับนั้น ภิกษุนั้นสำทับพวกเทวดาว่า

พวกท่านตอบปัญหานี้ของเราไม่ได้ ก็จงบอกมาเร็ว ๆ จึงถามแล้วถามอีก. พวก

เทวดาคิดว่า ภิกษุรูปนี้สำทับเรา เราจักปลดเปลื้อง ภิกษุนั้นให้พ้นไปจาก

พวกเรา จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุ ยังมีท้าวมหาราชอีก ๔ องค์.

บทว่า รุ่งเรืองยิ่งนัก คือ งามเหลือเกิน. บทว่า วิเศษกว่า คือ สูง

สุดด้วย วรรณะ ยศ และความเป็นใหญ่ เป็นต้น. พึงทราบเนื้อความในทุก

วาระโดยนัยนี้. แต่เนื้อความนี้พิเศษ. นัยว่าท้าวสักกเทวราชทรงดำริว่าปัญหา

นี้เป็นพุทธวิสัย คนอื่นไม่สามารถแก้ได้ ก็ภิกษุนี้ละเลยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นอัครบุคคลในโลก เที่ยวถามพวกเทวดา ดุจคนละเว้นไฟเป่าหิ่งห้อย และ

ดุจคนละเว้นกลอง ตีท้อง เราจะส่งภิกษุนั้นไปยังสำนักพระศาสดา จักหมดสงสัยใน

นั้น ท้าวสักกเทวราชทรงดำริอีกว่า ภิกษุนั้นไปไกลมากแล้ว จักหมดสงสัยใน

สำนักของพระศาสดา อนึ่ง ธรรมดาบุคคลเช่นนี้ก็มีอยู่ เมื่อเดินทางไปได้เพียง

เล็กน้อย มักมีความลำบาก แต่ภายหลังจักรู้ ดังนี้ จึงกล่าวกะภิกษุนั้น เป็นต้น

ว่า แม้เราก็ไม่รู้ ดังนี้. แม้ทางไปพรหมโลก ก็เช่นเดียวกับทางไปเทวโลก. ทาง

ไปเทวโลกก็ดี การเข้าถึงธรรมก็ดี ความแน่วแน่ชั่วขณะจิตหนึ่งก็ดี ความ

คิดคาดคะเนก็ดี จิตไปสูงก็ดี ความรู้ยิ่งก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของอิทธิวิธญาณ

นั่นเอง. บทว่า บุพพนิมิต ท่านแสดงไว้ว่า นิมิตในส่วนแรกที่จะมาถึง เหมือน

รุ่งอรุณมีเพราะพระอาทิตย์ขึ้น เพราะฉะนั้น พระพรหมจักมาในบัดนี้. พวก

ข้าพเจ้ารู้เพียงนี้. บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ได้ปรากฏแล้ว.

ครั้งนั้นแล พระพรหม เมื่อถูกภิกษุนั้นถาม รู้ความที่มิใช่วิสัย

ของตน จึงคิดว่า หากเราบอกว่า เราไม่รู้ พวกนี้จักดูหมิ่นเรา ถ้าเรา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

จักกล่าวอะไร ๆ ทำเป็นเหมือนรู้ ภิกษุไม่มีจิตปรารมภ์ด้วยคำพยากรณ์ ของ

เรา จักยกคำพูดของเรา เมื่อเราบอกว่า ดูก่อนภิกษุ เราเป็นพรหม ดังนี้ เป็นต้น

ใคร ๆ ก็จักไม่เชื่อถ้อยคำ ถ้ากระไร เราจะบอกปัดส่งภิกษุนี้ไปเฝ้าพระ-

ศาสดาดังนี้ จึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ เราเป็นพรหม ดังนี้เป็นต้น

บทว่า นำออกไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดังนี้ เพราะเหตุไรจึงได้ทำอย่าง

นั้นเพราะเพื่อความพิศวง. บทว่าเสาะหาการพยากรณ์ในภายนอก อธิบายว่า

ถึงการแสวงหาในภายนอก ตลอดถึงพรหมโลก ดุจคนต้องการน้ำมัน บีบ

ทรายฉะนั้น

บทว่า นก ได้แก่ กา หรือ เหยี่ยว. ข้อว่า ภิกษุไม่ควรถามปัญหา

อย่างนี้ มีอธิบายว่า เพราะภิกษุควรถามปัญหาให้ถูกจุดหมาย ก็ภิกษุนี้ถือ สิ่ง

ไม่มีใจครองถามนอกจุดหมาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปฏิเสธ. นัยว่า

การแสดงโทษคำถามของผู้หลงผิดในคำถาม แล้วให้สำเนียกคำถาม จึงตอบ

ในภายหลังเป็นหลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร. เพราะผู้

ไม่รู้เพื่อจะถามจึงถาม ชื่อว่าเป็นคนไม่ฉลาด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้สำ

เหนียกปัญหาจึงตรัสว่า อาโปธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ตั้งอยู่ไม่ได้ คือดำรงอยู่ไม่ได้ มีอธิบายว่า มหาภูตรูป ๔ เหล่านี้

อาศัยอะไรจึงเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านถามหมายถึงสิ่งมีใจครองเท่านั้น. บทว่า

ยาวและสั้น ท่านกล่าวถึงอุปาทายรูปโดยสัณฐาน. บทว่า ละเอียด หยาบ

หมายถึง เล็ก หรือ ใหญ่. ท่านกล่าวเพียงทรวดทรงในอุปาทายรูปเท่านั้น

แม้ด้วยบทนี้. บทว่า งาม และ ไม่งาม คือ อุปาทายรูปที่ดี และ ไม่ดีนั่นเอง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

ก็ที่ว่า อุปาทายรูปงามไม่งาม มีอยู่ หรือ ไม่มี. แต่ท่านกล่าวถึงอิฎฐารมณ์

และอนิฏฐารมณ์อย่างนี้. บทว่า นาม และ รูป คือ นามและรูปอันต่างกัน

มียาว เป็นต้น. บทว่า อุปรุชฺฌติ แปลว่าย่อมดับไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงชี้แจงคำถามว่า ควรจะถามอย่างนี้ว่า นามและรูปนั้นอาศัยอะไรจึงเป็นไป

ไม่ได้อย่างไม่มีเหลือ เมื่อจะทรงแก้ปัญหา จึงตรัสว่า ในปัญหานั้นมีพยากรณ์

ดังนี้ แล้วตรัสว่า ธรรมชาติที่รู้แจ้ง เป็นต้น.

บทว่า ควรรู้แจ้ง คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง. เป็นชื่อของนิพพาน.

นิพพานนั้น แสดงไม่ได้ เพราะไม่มีการแสดง. นิพพานชื่อว่าไม่มีที่สุด เพราะ

ไม่มีเกิด ไม่มีเสื่อม ไม่มีความเป็นอย่างอื่นของผู้ตั้งอยู่. บทว่า แจ่มใส คือ

น้ำสะอาด. นัยว่า บทนี้เป็นชื่อของท่าน้ำ. เป็นที่น้ำไหล ท่านทำ ป อักษรให้

เป็น ภ อักษร ท่าข้ามของนิพพานนั้นมีอยู่ทุกแห่ง เพราะฉะนั้นจึงชื่อมีท่าข้าม

ทุกแห่ง ชนทั้งหลายประสงค์จะข้ามจากที่ใด ๆ ของมหาสมุทร มีท่าเป็นเส้น

ทางที่จะไม่มีท่าไม่มี ฉันใด ชนทั้งหลายประสงค์จะข้ามให้ถึงพระนิพพาน

โดยอุบายอันใดในกรรมฐาน ๓๘ กรรมฐานเป็นท่า เป็นเส้นทาง กรรมฐาน

จะไม่ใช่ท่าของนิพพานไม่มี ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า มีท่าข้าม

ทุกแห่ง. ในบทว่า อาโปธาตุนี้ ท่านอาศัยนิพพาน จึงกล่าวทั้งหมดนั้น

โดยนัยเป็นต้นว่า อาโปธาตุ ธรรมชาติที่มีใจครอง ย่อมดับโดยไม่มีเหลือ

คือ เป็นไปไม่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง อุบายดับไม่มีเหลือ

ของธรรมชาตินั้น จึงตรัสว่า เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับ

ไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้. บทว่า วิญญาณ คือ วิญญาณเดิมบ้าง

วิญญาณที่ปรุงแต่งบ้าง. จริงอยู่ เพราะวิญญาณเดิมดับ นาม และรูปนั้น

ย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ คือว่า ย่อมถึงความไม่มีบัญญัติเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

เปลวประทีปที่ถูกเผาหมดไป ฉะนั้น เพราะไม่เกิดขึ้น และดับไปโดยไม่เหลือ

แห่งวิญญาณที่ปรุงแต่งนามและรูป จึงดับโดยไม่เกิดขึ้น เหมือนอย่างที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า เพราะดับวิญญาณที่ปรุงแต่งด้วยโสดาปัตติมัคคญาณ นามและ

รูปที่พึงเกิดในสังสารวัฏอันไม่มีเบื้องต้น และที่สุด เว้นภพทั้ง ๗ ย่อมดับ

โดยไม่มีเหลือ ในธรรมชาตินี้ ดังนี้. ทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้

แล้วในมหานิเทศนั้นแล. ส่วนที่เหลือ ในทุก ๆ บทง่ายทั้งนั้น.

อรรถกถาเกวัฏฏสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีจบ

แล้วด้วยประการฉะนี้.

สูตรที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

๑๒ โลหิจจสูตร

[๓๕๑] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อม

ด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่บ้านสาลวติกา ก็สมัยนั้น

โลหิจจพราหมณ์ ครอบครองบ้าน สาลวติกา ซึ่งมีประชาชนคับคั่ง มีหญ้า

ไม้ และน้ำ สมบูรณ์ อุดมไปด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราชทรัพย์ ที่พระเจ้า-

ปเสนทิโกศล พระราชทาน เป็นบำเหน็จเด็ดขาด.

[๓๕๒] ก็สมัยนั้น ความเห็นอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้น แก่

โลหิจจพราหมณ์ ว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดีในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม

ครั้นบรรลุกุศลธรรมแล้ว ไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่

ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว พึงสร้างเครื่องจองจำอื่นใหม่

ฉันใด ข้ออุปมัยก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภว่า เป็นธรรมลามก

เพราะผู้อื่นจักทำอะไรแก่ผู้อื่นได้ ดังนี้.

โลหิจจพราหมณ์ ได้ยินมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวช

จากศากยตระกูล เสด็จจาริกไปไนแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่

ประมาณ ๕๐๐ รูป เสร็จถึงบ้านสาลวติกาแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของ

พระโคดมผู้เจริญนั้น ได้แพร่หลายไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มี

ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

ผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงกระทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ให้แจ่มแจ้ง ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ทรงสอนหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดามนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมงาม

ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อม

ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็นพระอรหันต์

เช่นนั้น เป็นการดีนักแล.

[๓๕๓] ครั้งนั้นโลหิจจพราหมณ์ ได้เรียกช่างกัลบกชื่อ โรสิกะ

มาบอกว่า มานี่ เพื่อนโรสิกะ ท่านจงไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ

แล้วกราบทูลถามพระสมณโคดม ถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความ

คล่องแคล่ว กำลัง ความอยู่ผาสุก ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

โลหิจจพราหมณ์ถามพระองค์ถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความคล่อง-

แคล่ว กำลัง ความอยู่ผาสุก และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ

พร้อมด้วยหมู่ภิกษุ โปรดรับนิมนต์เสวยภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์ใน

วันพรุ่งนี้ โรสิกะช่างกัลบกรับคำโลหิจจพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์

ถามพระองค์ถึงอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง ความคล่องแคล่ว กำลัง ความ

อยู่ผาสุก และให้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยหมู่ภิกษุ

โปรดรับนิมนต์เสวยภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

[๓๕๔] โรสิกะช่างกัลบกทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์

แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทำประทักษิณ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

เสร็จแล้วเข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ถึงที่อยู่ บอกว่า ข้าพเจ้าได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของท่านแล้ว. และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับ

นิมนต์แล้ว. ครั้งนั้นแลโลหิจจพราหมณ์ ตระเตรียมของเคี้ยวของฉัน อัน

ประณีตไว้ในนิเวศน์ของตนโดยล่วงไปแห่งราตรีนั้นได้เรียกโรสิกะมาสั่งว่า

มานี่เพื่อนโรสิกะ จงไปหาพระสมณโคดม แล้วจงทูลพระสมณโคดมว่า ถึง

เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว. โรสิกะ รับคำโลหิจจพราหมณ์แล้ว ได้เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วยืนที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบ-

ทูลว่า ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.

[๓๕๕] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก แล้วทรง

ถือบาตรจีวรเข้าไปยังบ้านสาลวติกา พร้อมด้วยหมู่ภิกษุ เวลานั้น โรสิกะ

ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลหิจจพราหมณ์เกิดความเห็นชั่วอย่างนี้ว่า สมณะ

หรือพราหมณ์ในโลกนี้ พึงบรรลุกุศลธรรม ครั้งบรรลุแล้ว ไม่ควรบอก

ผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่า

ได้แล้ว พึงทำเครื่องจองจำอย่างอื่นใหม่ ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น

เรากล่าวธรรมคือความโลภว่า เป็นธรรมลามก ผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่

ผู้อื่นได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรง

ปลดเปลื้องโลหิจจพราหมณ์เสียจากความเห็นชั่วนี้เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร โรสิกะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยัง

นิเวศน์ของโลหิจจพราหมณ์แล้ว ประทับเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้. ลำดับนั้น

โลหิจจพราหมณ์ได้อังคาสหมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของ

เคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตนให้อิ่มหนำให้เพียงพอแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

[๓๕๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงนำพระ-

หัตถ์ออกจากบาตร โลหิจจพราหมณ์ถืออาสนะที่ต่ำอันหนึ่งนั่งที่สมควรข้าง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะโลหิจจพราหมณ์ว่า ดูก่อนโลหิจจะ เขา

ว่าจริงหรือ ท่านเกิดความเห็นลามกอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้

บรรลุธรรมที่เป็นกุศลแล้วไม่บอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นทำอะไรแก่ผู้อื่นได้ เปรียบ

เหมือนบุคคลตัดเครื่องจำจองเก่าได้แล้ว พึงทำเครื่องจำจองใหม่ อย่างอื่น

ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นจักทำ

อะไรแก่ผู้อื่นได้ดังนี้.

โลหิจจพราหมณ์กราบทูลว่าพระโคดมผู้เจริญ เป็นความจริงอย่างนั้น.

ดูก่อนโลหิจจะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านครอบครอง

บ้านสาลวติกามิใช่หรือ อย่างนั้นสิท่านโคดม. ตรัสถามว่า ผู้ใดหนอจะพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า โลหิจจพราหมณ์ครอบครองบ้านสาลวติกาอยู่ โลหิจจพราหมณ์

ควรใช้สอยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในบ้านสาลวติกานั้น แต่ผู้เดียว ไม่ควรให้

ผู้อื่น ดังนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้นจะชื่อว่าทำอันตราย หรือไม่ทำอันตรายแก่

ชนที่อาศัยท่านเลี้ยงชีพอยู่. ชื่อว่าอันตรายสิท่านโคดม. เมื่อทำอันตรายจะชื่อ

ว่า หวังประโยชน์ หรือไม่หวังประโยชน์แก่ชนเหล่านั้น. ชื่อว่าไม่หวังประ-

โยชน์สิท่านโคดม. ผู้ไม่หวังประโยชน์จะชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเมตตาในชนเหล่า

นั้น หรือเป็นศัตรู. เป็นศัตรูสิท่านโคดม. เมื่อตั้งจิตเป็นศัตรูจะชื่อว่าเป็น

มิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิสิท่านโคดม. ดูก่อนโลหิจจะ ผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติเป็น ๒ คือ นรก หรือกำเนิดเดียรัจฉานอย่างใด

อย่างหนึ่ง.

[๓๕๗] ดูก่อนโลหิจจะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้า

ปเสนทิโกศล ทรงปกครองแคว้นกาสี และโกศลมิใช่หรือ. อย่างนั้นสิ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

โคดม. ดูก่อนโลหิจจะ ผู้ใดหนอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงปกครองแคว้นกาสี และโกศลอยู่ พระองค์ควรทรงใช้สอยผลประโยชน์

ที่เกิดขึ้นในแคว้นกาสีและโกศลแต่พระองค์เดียว ไม่ควรพระราชทานแก่ผู้อื่น

ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อว่าทำอันตรายหรือไม่ทำอันตรายแก่พวกท่านและคนอื่น

ซึ่งได้พึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระเจ้าปเสนทิโกศลเลี้ยงชีพอยู่.

ชื่อว่าทำอันตราย ท่านโคดม. เมื่อทำอันตรายชื่อว่าเป็นผู้หวังประโยชน์

หรือไม่หวังประโยชน์แก่ชนเหล่านั้น.

ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ ท่านโคดม. ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ จะชื่อว่า

เข้าไปตั้งเมตตาจิต หรือเป็นศัตรูในชนเหล่านั้นเล่า. เป็นศัตรูสิท่านโคดม.

เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือสัมมาทิฏฐิ

เล่า. เป็นมิจฉาทิฏฐิสิท่านโคดม.

ดูก่อนโลหิจจะ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่า มีคติเป็น ๒ คือ

นรกหรือกำเนิดเดียรฉาน คติอย่างใดอย่างหนึ่ง.

[๓๕๘] ดูก่อนโลหิจจะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันฟังได้ว่า ผู้ใดพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า โลหิจจพราหมณ์ ครองบ้านสาลวติกา ควรใช้สอยผลประ-

โยชน์อันเกิดในบ้านสาลวติกาแต่ผู้เดียว ไม่ควรให้ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น

ชื่อว่าทำอันตรายแก่ชนที่อาศัยเลี้ยงชีพอยู่ เมื่อทำอันตราย ชื่อว่าไม่หวัง

ประโยชน์ เมื่อไม่หวังประโยชน์ ชื่อว่า เข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิต

เป็นศัตรู ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างนั้นนั่นแล.

โลหิจจะ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ในโลกนี้ ควร

บรรลุกุศลธรรมแต่แล้วไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้

บุคคลตัดเครื่องจำจองเก่าได้แล้ว ควรสร้างเครื่องจำจองอย่างอื่นขึ้นใหม่ ฉัน-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ใด ข้ออุปไมยก็ฉันนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่าทำอันตรายแก่กุลบุตรผู้อาศัย

ธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว จึงบรรลุธรรมวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้

ย่อมทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตผล

บ้าง และแก่กุลบุตรผู้ที่บ่มครรภ์อันเป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์

เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่าไม่หวังประโยชน์ เมื่อไม่หวังประโยชน์ ย่อมชื่อว่า

เข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูเมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู ย่อมชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ดูก่อน

โลหิจจะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติเป็น ๒ คือ นรก หรือกำเนิดเดียรัจ

ฉาน คติอย่างใดอย่างหนึ่ง

[๓๕๙] ดูก่อนโลหิจจะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันฟังได้ว่า ผู้ใด

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงครองแคว้นกาสี และโกศล

พระองค์ทรงใช้สอยผลประโยชน์อันเกิดขึ้นในแคว้นกาสีและโกศล แต่พระ-

องค์เดียว ไม่พระราชทานแก่ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้นชื่อว่า ทำอันตรายแก่

ชนทั้งหลาย คือตัวท่านและคนอื่น เมื่อทำอันตราย ชื่อว่าไม่หวังประโยชน์

เมื่อไม่หวังประโยชน์ ชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู

ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็เช่นเดียวกัน. โลหิจจะ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะ

หรือพราหมณ์ในโลกนี้พึงบรรลุกุศลธรรม แต่แล้วไม่พึงบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่น

ต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้. บุคคลตัดเครื่องจองจำอันเก่าแล้ว ควรสร้างเครื่อง

จองจำอย่างอื่นใหม่ ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรม คือความโลภ ว่าเป็น

ธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้น ชื่อ

ว่าทำอันตรายแก่กุลบุตรผู้ที่ได้อาศัยธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว จึง

บรรลุธรรมวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ คือทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคา-

มิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตตผลบ้างและแก่กุลบุตรผู้บ่มครรภ์อันเป็นทิพย์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ เมื่อทำอันตรายชื่อว่า ไม่หวังประโยชน์

เมื่อไม่หวังประโยชน์ ชื่อว่าตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อตั้งจิตเป็นศัตรู ย่อมชื่อว่าเป็น

มิจฉาทิฏฐิ ดูก่อนโลหิจจะ เรากล่าวว่ามีคติเป็น ๒ คือ นรก หรือกำเนิด

เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง

[๓๖๐] ดูก่อนโลหิจจะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้ ควรประท้วงได้ในโลก

การประท้วงศาสดาเห็นปานนี้ของเขา เป็นการประท้วงที่เป็นจริงแท้ เป็นธรรม

ไม่มีโทษ ศาสดา ๓ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนโลหิจจะ ศาสดาบางคนในโลกนี้

ออกจากเรือนบวช เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะนั้น

เขาไม่ได้บรรลุ แต่แล้วก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน

ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหู

ฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา. เขาจะ

พึงถูกประท้วงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านออกจากเรือนบวช เพื่อประโยชน์

อันใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่แล้วท่านก็

แสดงธรรมแก่สาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของ

ท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง

และย่อมหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสนา เหมือนบุรุษรุกเข้าไป

หาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี หรือเหมือนบุรุษที่กอดสตรีที่หันหลังให้ ฉันใด

ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือ ความโลภว่าเป็นธรรมอันลามก เพราะ

ผู้อื่นต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้ ดังนี้ ดูก่อนโลหิจจะนี้เป็นศาสดาที่หนึ่งซึ่ง

ควรประท้วงในโลก อนึ่ง การประท้วงของผู้ประท้วงศาสดาเห็นปานนี้

เป็นจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.

[๓๖๑] ดูก่อนโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

เรือนบวช เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะนั้น เขาไม่ได้

บรรลุ แต่เขาแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย

นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของเขาย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยหูฟัง ตั้งจิต

เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูก

ประท้วงว่า ท่านออกจากเรือนบวช เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์แห่งความ

เป็นสมณะนั้น ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่ท่านแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้

เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลายสาวกของท่าน

นั้นย่อมตั้งใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยวประพฤตินอก

คำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลทิ้งนาของตนแล้ว สำคัญของผู้อื่นว่า เป็นที่

ที่ตนควรทำให้ดี ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรมคือความโลภ ว่า

เป็นธรรมอันลามก เพราะผู้อื่นต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้ ดูก่อนโลหิจจะ นี้แล

ศาสดาคนที่สาม ซึ่งควรประท้วงในโลก อนึ่ง การประท้วงของผู้ประท้วง

ศาสดาเห็นปานนั้น ชื่อว่าเป็นจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.

[๓๖๒] ดูก่อนโลหิจจะ อีกข้อหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ ออกจาก

เรือนบวช เพื่อประโยชน์อันใด เขาบรรลุประโยชน์ของสมณะนั้นแล้ว จึง

แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ของเขาว่า นี้ เพื่อประโยชน์ของท่านทั้ง

หลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย ดังนี้ สาวกของเขาย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่

เงี่ยหูฟังไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อความรู้ทั่ว หลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา

เขาพึงท้วงว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านออกจากเรือนบวชเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์

แห่งความเป็นสมณะนั้น ท่านได้บรรลุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้

เพื่อประโ่ยชน์ของท่านทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย ดังนี้ สาวกเหล่า

นั้น ย่อมไม่ตตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าใจไปตั้งจิตเพื่อความรู้ทั่ว และหลีกเลี่ยง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ประพฤตินอกคำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว สร้าง

เครื่องจองจำอย่างอื่นขึ้นใหม่ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรากล่าวธรรม คือ

ความโลภว่าเป็นธรรมลามก เพราะผู้อื่นต่อผู้อื่นจักทำอะไรกันได้ ดังนี้ ดูก่อน

โลหิจจะ ศาสดาคนที่สาม นี้ควรประท้วงในโลก อนึ่ง ผู้ใดประท้วงศาสดา การ

ประท้วงของผู้ประท้วงเป็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นจริง แท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ.

ดูก่อนโลหิจจะ ศาสดาสามจำพวกเหล่านี้แล ควรท้วงได้ในโลก อนึ่ง

การประท้วงของผู้ประท้วงศาสดา เห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นจริงแท้ เป็นธรรม ไม่-

มีโทษ ดังนี้.

[๓๖๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โลหิจจพราหมณ์ได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ศาสดาบางคนที่ไม่ควรท้วงในโลก มีบ้าง

หรือ

ดูก่อนโลหิจจะ ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลกมีอยู่. ข้าแต่พระโคดมผู้-

เจริญก็ศาสดาที่ไม่ควรท้วงในโลกเป็นไฉน.

ดูก่อนโลหิจจะ พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฯลฯ (พึงขยายความให้พิสดารเหมือนในสามัญญ-

ผลสูตร) ฯลฯ ดูก่อนโลหิจจะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ

เข้าถึงปฐมฌานอยู่.

ดูก่อนโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดา

ใด ศาสดานี้แลไม่ควรประท้วงในโลก อนึ่ง การประท้วงของผู้ประท้วงศาสดา

เห็นปานนี้ชื่อว่า ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ เข้าถึงฌานที่ ๒ ที่ ๓

ที่ ๔ อยู่. ดูก่อนโลหิจจะ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ในศาสดา

ใด ศาสดาแม้นี้แลไม่ควรประท้วงในโลก อนึ่งการประท้วงของผู้ประท้วงศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

เห็นปานนี้ ชื่อว่า ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม มีโทษ ฯลฯ เธอย่อมน้อม

โน้มจิตใจไปเพื่อญาณทัสสนะ. สาวกในศาสดาใดฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี. สาวกในศาสดาใด...ไม่เป็นธรรมมีโทษ.

[๓๖๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โลหิจจพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุรุษผู้หนึ่งพึง

ฉวยผมบุรุษอีกผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังจะตกไปสู่เหว คือนรกไว้ ฉุดขึ้นให้ยืนอยู่บนบก

ฉันใด ข้าพระองค์กำลังจะตกไปสู่เหว คือนรก พระโคดมผู้เจริญได้ยกขึ้นให้

ยืนอยู่บนบก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

ไพเราะยิ่งนัก จับใจยิ่งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุจักเห็น

รูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญก็ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉัน

นั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพร้อมทั้ง

พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดจงทรงจำข้า-

พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น

ไปเถิด.

จบโลหิจจสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

อรรถกถาโลหิจจสูตร

โลหิจจสูตร มีบทเริ่มต้นว่า (ข้าพเจ้าพระอานนทเถระเจ้า) ได้

สดับมาแล้วอย่างนี้...............ในแคว้นโกศล

ต่อไปนี้เป็นการอธิบายบทที่ยากในโลหิจจสูตรนั้น บทว่า สาลวติกา

เป็นชื่อของบ้านนั้น. ได้ยินมาว่าบ้านนั้นล้อมด้วยไม้สาละ เป็นแถวไปตาม

ลำดับเหมือนล้อมรั้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า บ้านสาลาติกา. บทว่า. โลหิจจะ

เป็นชื่อพราหมณ์ผู้นั้น.

บทว่า ลามก คือ ชื่อว่าลามก เพราะเว้นจากการอนุเคราะห์ผู้อื่น.

แต่ไม่ใช่อุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เกิดขึ้นแล้ว

คือบังเกิดแล้ว ได้แก่ ไม่ใช่เพียงเกิดในใจอย่างเดียวเท่านั้น. นัยว่า โลหิจจ-

พราหมณ์นั้นยังพูดอย่างนั้น แม้ในท่ามกลางบริษัท ตามอำนาจของใจ.

บททั้งหลายว่า เพราะผู้อื่นจักทำอะไรให้แก่ผู้อื่นได้ ดังนี้ อธิบายว่า

คนอื่นจะพูดว่า ผู้ที่ถูกเขาพร่ำสอนจักทำอะไร แก่ผู้พร่ำสอนนั้นได้ ตนเอง

นั่นแหละควรสักการะเคารพกุศลธรรมที่ตนได้แล้วอยู่. ข้อว่า โลหิจจพราหมณ์

เรียกช่างกัลบกชื่อโรสิกามา มีความว่า โลหิจจพราหมณ์เรียกช่างกัลบกผู้ได้

ชื่อเป็นอิตถีลิงค์อย่างนี้ว่าโรสิกา นัยว่าเขาทราบถึงการเสด็จมาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วคิดว่า การที่เราจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่ประทับจะเป็นภาระ

แต่เราจะอาราธนาให้เสด็จมายังเรือน แล้วเข้าเฝ้า และจักถวายอาคันตุกภิกษา

ตามกำลัง เพราะฉะนั้น โลหิจจพราหมณ์จึงเรียก โรสิกาช่างกัลบกนั้นมา.

บทว่า ตามเสด็จไปข้างหลัง ๆ หมายความว่า โรสิกาช่างกัลบกตาม

เสด็จไปข้างหลัง ๆ เพื่อสะดวกในการทูลสนทนา. บทว่า ขอจงทรง-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ปลดเปลื้อง คือ โรสิกากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปลดเปลื้อง คือ กำจัดจากความเห็นลามก นัยว่าโรสิกานี่เป็นอุบาสกเป็น

เพื่อนรัก ของโลหิจจพราหมณ์ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น เพราะหวัง

ประโยชน์แก่โลหิจจพราหมณ์. ในบทว่า ไม่เป็นไร โรสิกา นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเปล่งพระสุรเสียงด้วยพระดำรัสแรก ทรงเปล่งพระสุรเสียงย้ำ

อีกด้วยพระดำรัสที่สอง. ในบทนี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงข้อความนี้ว่า ดูก่อนโรสิกา เรากระทำทุกรกิริยาหลายอย่าง

และบำเพ็ญบารมี ตลอดสี่อสงไขย และตลอดแสนกัป ก็เพื่อประโยชน์นี่แหละ

เรารู้แจ้งแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อประโยชน์นี่อีกแหละ การขจัด

ความเห็นลามกของโลหิจจพราหมณ์ไม่ใช่เรื่องหนัก ของเรา ดังนี้ ชื่อว่าทรง

เปล่งพระสุรเสียงด้วยพระดำรัสแรก. และเมื่อจะทรงแสดงความข้อนี้ว่า ดูก่อน

โรสิกา การมาก็ดี การนั่งดี การสนทนาปราศรัยก็ดี ในสำนักเราของโลหิจจ-

พราหมณ์ทั้งหมดนี้จงยกไว้ก่อน แม้ว่า บุคคลเช่นโลหิจจพราหมณ์มีความ

สงสัยในปัญหาตั้งแสนข้อ เราก็มีกำลังพอที่จะบรรเทาความสงสัยได้แต่

ในการบรรเทาความเห็นลามกของโลหิจจพราหมณ์เพียงคนเดียว ไฉนจะเป็น

เรื่องหนักของเราเล่าดังนี้ จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงย้ำด้วยพระดำรัสที่สอง

บทว่า ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ความเกิดขึ้นแห่งปัจจัยคือการ

เกิดขึ้นแห่งโภคทรัพย์ อธิบายว่าทรัพย์และข้าวเปลือกอันเกิดขึ้นจากผลประ-

โยชน์นั้น. บทว่า ผู้ที่เข้าไปอาศัยเลี้ยงชีพ คือ ชนทั้งหลายมีญาติบริวารชน

ทาสและกรรมกรเป็นต้น อาศัยเขาเลี้ยงชีพ. บทว่า ผู้ทำอันตราย คือ

ผู้ทำอันตรายทางลาภ. คำว่า ประโยชน์ ในบทว่า อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์

ได้แก่ความความเจริญ. บุคคลย่อมเอ็นดู เพราะฉะนั้นชื่อว่าผู้อนุเคราะห์ ความ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ว่าย่อมปรารถนา ท่านกล่าวอธิบายว่าปรารถนาความเจริญ หรือไม่ปรารถนา.

บทว่า นรก หรือกำเนิดเดียรัจฉานมีอธิบายว่า หากว่าความเห็นผิดนั้น

สมบูรณ์ คือ เป็นความแน่นอน ย่อมเกิดในนรก โดยส่วนเดียว หากยังไม่

แน่นอน ย่อมเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน.

บัดนี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะให้พราหมณ์เกิด

ความสลดใจยิ่งขึ้น เหมือนอย่างสัตว์ทั้งหลายสลดใจด้วยอันตรายทางลาภของ

ตนเอง มิใช่สลดใจด้วยอันตรายทางลาภของคนอื่น ฉะนั้น จึงตรัสเรื่องเกิด

ขึ้นครั้งที่สองว่า โลหิจจะ ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนดังนี้.

บทว่า กุลบุตรทั้งหลายเหล่านี้ ได้แก่ กุลบุตรเหล่านี้สดับพระ-

ธรรมเทศนาของพระตถาคต แล้วไม่สามารถจะก้าวลงสู่อริยภูมิได้. บทว่า

ครรภ์อันเป็นทิพย์ รูปศัพท์เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถทุติยาวิภัตติ แปลว่า

ซึ่งครรภ์อันเป็นทิพย์. อนึ่งบทว่า ครรภ์อันเป็นทิพย์นี้ เป็นชื่อ ของเทวโลก

๖ ชั้น. บทว่า กุลบุตรทั้งหลายย่อมบำรุง อธิบายว่า กุลบุตรทั้งหลาย

บำเพ็ญปฏิปทา เพื่อไปสู่เทวโลก ให้ทาน รักษาศีล ทำการบูชาด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้น เจริญภาวนา ชื่อว่าย่อมบำรุงบริหาร ย่อมอบรม คือว่า

ย่อมเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง

บทว่า เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ อธิบายว่า วิมานของเทวดา

ทั้งหลาย ชื่อว่าภพเป็นทิพย์ เพื่อจะไปเกิดในวิมานเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ครรภ์อันเป็นทิพย์ หมายถึง บุญวิเศษมีทานเป็นต้น. บทว่า ภพอัน-

เป็นทิพย์ อธิบายว่า ภพทั้งหลายเป็นวิบากขันธ์ในเทวโลก กุลบุตรทั้งหลาย

กระทำบุญเพื่อเกิดในภพเหล่านั้น. บทว่า ทำอันตรายแก่ชนเหล่านั้น คือ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ทำอันตรายแห่งมรรคสมบัติ ผลสมบัติ และความวิเศษแห่งภพอันเป็นทิพย์

ของชนเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงทำลายมานะของพราหมณ์ซึ่งขึ้นไป

จนถึงภวัคคพรหม โดยวิธีอุปมาโดยไม่กำหนด แล้วทรงแสดงถึงศาสดา

๓ จำพวก ผู้ควรท้วง จึงตรัสพระดำรัสเป็นอาทิว่า ดูก่อนโลหิจจะ ศาสดา ๓

จำพวกเหล่านี้. บทว่า การท้วงนั้น คือ การท้วงของผู้ท้วงศาสดา ๓ จำพวก

เหล่านั้น. บทว่า ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่งถึงคือไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้รอบ

คือเพื่อประโยชน์แก่การรู้ทั่ว บทว่า หลีกเลี่ยง อธิบายว่า ไม่กระทำตามคำ

สั่งสอนของศาสดานั้นตลอดเวลา หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนนั้น. บทว่า

พึงลุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอยหลังหนี คือเข้าไปหาผู้ที่ถอยหนี ต้องการ

หญิงที่เขาไม่ต้องการ อธิบายว่า หญิงคนหนึ่งผู้ไม่ต้องการอยู่ร่วม ตัวคนเดียว

ก็ยังต้องการอยู่. บทว่า บุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ อธิบายว่า บุรุษไปข้าง

หลังแล้วกอดสตรีผู้ไม่อยากแม้จะเห็นยืนหันหลังให้ บทว่า ข้ออุปไมยนี้ก็

ฉันนั้น อธิบายว่า เมื่อศาสดาแม้นี้คิดว่า พวกนี้เป็นสาวกของเรา แล้วสอน

สาวกผู้หลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนด้วยความโลภ เราจึงกล่าวธรรมคือความ

โลภนี้ว่า มีข้ออุปไมยฉันนั้น ศาสดานั้นควรถูกท้วงว่า ท่านได้เป็นเหมือน

บุรุษที่รุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังหนี เหมือนบุรุษพึงกอดสตรีที่หันหลังให้ ด้วย

ธรรมคือความโลภใด ธรรมคือความโลภของท่านนั้นก็เป็นอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. ข้อที่ว่า เพราะคนอื่นจักทำอะไรแก่คนอื่นได้ มีอธิบายว่า

ศาสดาย่อมควรถูกท้วงว่า ท่านสอนคนอื่นด้วยธรรมใด ท่านจงยังตนให้ถึง

พร้อมในธรรมนั้นก่อน คือท่านจงทำให้ตรง เพราะคนอื่นจักทำอะไรให้คน

อื่นได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

บทว่า ที่อันตนควรบำรุง อธิบายว่า ควรถอนหญ้าที่ทำลายข้าว

กล้าแล้วทำให้เรียบร้อย.

เนื้อความแห่งการท้วงครั้งที่ ๓ ว่า คนอื่นจักทำอะไรแก่คนอื่นได้

หมายความว่า คนอื่นที่ถูกพร่ำสอนตั้งแต่เวลาที่ไม่รับคำสอน จักทำอะไร

แก่คนอื่น คือผู้พร่ำสอนได้ อธิบายว่า ศาสดานั้นควรถูกท้วงอย่างนี้ว่า ตน

นั่นแหละควรถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย แล้วจึงควรนับถือบูชาธรรมที่ตน

รู้แจ้งแทงตลอดแล้วอยู่มิใช่หรือ.

บทว่า ไม่ควรท้วง อธิบายว่า เพราะศาสดานี้ตั้งตนไว้ในความ

เหมาะสมแล้วก่อนจึงแสดงธรรมแก่สาวก. และสาวกของเขาเป็นผู้เชื่อฟัง

ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนย่อมบรรลุคุณวิเศษยิ่งใหญ่ ฉะนั้น เขาจึงไม่ควรท้วง.

บทว่า ตกไปสู่เหว คือ นรก ความว่า เพราะเราถือทิฏฐิลามกเราจึง

ตกไปสู่เหว คือนรก. บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเราวางไว้บนบก ความ

ว่า โลหิจจพราหมณ์กล่าวว่า เราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดทิฏฐิลามกให้

แล้ว ทรงยกขึ้นจากเหว คืออบาย ด้วยพระหัตถ์คือพระธรรมเทศนา แล้ว

วางเราไว้บนบกคือทางสวรรค์ ดังนี้.

คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

อรรถกถาโลหิจจสูตรแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีจบ

แล้วด้วยประการฉะนี้.

สูตรที่ ๑๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

เตวิชชสูตร

[๓๖๕] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงพราหมณคาม ของชาว

โกศลชื่อมนสากตะ. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ อัมพวัน ใกล้

ฝั่งแม่น้ำ อจิรวดี ทางทิศเหนือมนสากตคาม เขตบ้านมนสากตะนั้น.

[๓๖๖] สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลเป็นอันมาก ผู้ที่เขารู้จักกัน

แพร่หลาย อาศัยอยู่ในมนสากตคาม เช่น วังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์

โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสนิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์

มหาศาลผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลายอื่น ๆ อีก. ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพและ

ภารัทวาชมาณพเดินเที่ยวเล่นตามกันไป ได้พูดกันถึงเรื่องทางและมิใช่ทาง

วาเสฏฐมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น

เป็นทางตรง เป็นเส้นทางเดิน เป็นทางนำออก ย่อมนำผู้ดำเนินไปตามทาง

นั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม. ฝ่ายภารัทวาชมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทาง

ที่ท่านตารุกขพราหมณ์ บอกไว้นี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นเส้นทางเดิน เป็น

ทางนำออก ย่อมนำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ภารัทวาชมาณพยินยอมได้ ฝ่ายภารัทวาชมาณพ ก็ไม่

อาจให้ วาเสฏฐมาณพยินยอมได้.

[๓๖๗] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพจึงปรึกษากับภารัทวาชมาณพว่า

ภารัทวาชะ ก็พระสมณโคดม ศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยะตระกูล ประทับ

อยู่ ณ อัมพวันใกล้ฝั่งแม่น้ำ อจิรวดี ทางทิศเหนือ มนสากตคาม กิตติศัพท์อัน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ดีงามของพระสมณโคดมนั้น ได้แพร่ไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นสารถีฝึกคนที่ควร

ฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว

เป็นผู้จำแนกพระธรรม ภารัทวาชะมาเกิด เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่

ประทับ ครั้นไปเฝ้าแล้วจักกราบทูลถามความข้อนี้กะพระสมณะโคดม พระ

สมณโคดมจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด เราจักทรงจำข้อความนี้ไว้อย่าง

นั้น ภารัทวาชมาณพรับคำวาเสฏฐมาณพแล้ว พากันไป.

[๓๖๘] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพ พากันเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้บันเทิงกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านสัมโมทนียกถาพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

วาเสฏฐมาณพได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งสอง

เดินเล่นตามกันไป ได้พูดกันถึงเรื่องทางและมิใช่ทาง ข้าพระองค์พูดอย่างนี้

ทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน

เป็นทางนำออก นำผู้เดินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้. ฝ่าย

ภารัชวาชมาณพพูดอย่างนี้ว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้นเป็น

ทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้เดินไปตามทางนั้น เพื่อ

ความอยู่ร่วมกับพรหมได้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ยังมีการทะเลาะ

ขัดแย้งและมีวาทะต่างกันอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วาเสฏฐะ ได้ยินว่า ที่ท่านพูดว่าทางที่ท่าน

โปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทาง

นำออก นำผู้ดำเนินไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ภารัทวาชมาณพพูดว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็น

ทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปเพื่อความอยู่รวม

กับพรหมได้.

วาเสฏฐะ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอจะมีการทะเลาะ ขัดแย้งและมี

วาทะต่างกันในข้อไหน.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องทางและมิใช่ทาง พราหมณ์คือ-

พราหมณ์พวกอัทธริยะ พราหมณ์พวกติตติริยะ พราหมณ์พวกฉันโทกะ

พราหมณ์พวกพัวหริธะ ย่อมบัญญัติหนทางต่างๆ กันก็จริง ถึงอย่างนั้น ทาง

เหล่านั้นทั้งหมด เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม

ได้ เปรียบเหมือนในที่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม แม้หากจะมีทางต่างๆ กันมาก

สาย ที่แท้ทางเหล่านั้นทั้งหมดล้วนมารวมลงในบ้านเหมือนกับฉันใด ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ. . . เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้ฉันนั้น.

วาเสฏฐะ เธอพูดว่า ทางเหล่านั้นนำออกหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์พูดอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

[๓๖๙] วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพท พราหมณ์แม้คน

หนึ่ง ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ อาจารย์แม้คนหนึ่ง ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็น

พรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมเจริญ ไม่มีพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ปาจารย์ แม้คนหนึ่งของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็น

พรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

วาเสฏฐะ อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท

ที่เห็นพรหมมีเป็นพยานอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ พวกฤษีเป็นบุรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท คือ

ฤษีอัฏฐกะ วามกะ วามเทวะ เวสามิตตะ ยมตัคคี อังคีรส ภารัทวาชะ

วาเสฏฐะ กัสสปะ ภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ ร่ายมนต์ที่ในปัจจุบันนี้ พวก

พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับกล่าวบอกสอนตาม ซึ่งมนต์บทเก่านี้ ที่ท่านขับ

แล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง แม้ท่านเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

พวกเรารู้พวกเราเห็น พรหมนั้นว่า อยู่ ณ ที่ใด อยู่โดยอาการใด หรืออยู่ใน

เวลาใด ดังนี้ ยังมีอยู่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

[๓๗๐] วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพท แม้พราหมณ์สัก

คนหนึ่ง ที่เห็นพรหมมีเป็นพยาน ไม่มีเลยหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ แม้อาจารย์สักคนหนึ่งของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็น

พรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ แม้ปาจารย์ของอาจารย์ แห่งพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ที่เห็น

พรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ อาจารย์ที่สืบเนื่องมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพท ที่เห็นพรหมเป็นพยานไม่มีเลยหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ได้ยินว่า พวกฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพท คือ ฤษีอัฏฐกะ............ภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ ร่ายมนต์ ที่ใน

ปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับ กล่าว บอก สอนตาม ซึ่งมนต์

บทเก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง แม้ท่าน

เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรารู้เห็นพรหมนั้น อยู่ ณ ที่ใด โดยอาการใด

หรืออยู่ในเวลาใด พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเรา

ไม่รู้ไม่เห็น แต่พวกเรา แสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมเหล่านั้นว่า

หนทางนี้แหละ เป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนิน

ไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

[๓๗๑] เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิต

ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้-

เจริญ ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็น

พรหม แต่แสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมว่า หนทางนี้แหละเป็นทาง

ตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้นเพื่อความ

อยู่ร่วมกับพรหมได้ ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ วาเสฏฐะ เหมือนแถวคน

ตาบอดเกาะหลังกันและกัน คนต้นก็ไม่เห็น คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็

ไม่เห็น ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น จึงเป็นคำน่าหัวเราะที

เดียว เป็นคำต่ำช้า เป็นคำว่าง เป็นคำเปล่า. วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์จบไตรเพทย่อมเห็นพระจันทร์พระอาทิตย์ แม้ชน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

อื่นเป็นอันมากก็เห็น พระจันทร์และพระอาทิตย์ ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด

พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอน ชื่นชมประนมมือ นอบน้อม เดินเวียนรอบ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ย่อมเห็นพระจันทร์

และพระอาทิตย์ แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็เห็น พระจันทร์และพระอาทิตย์

ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอน ชื่นชม ประนมมือ

นอบน้อม เดินเวียนรอบ อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๓๗๒] วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพท เห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์ แม้ชนอื่นเป็นอันมากก็เห็น พระ-

จันทร์และพระอาทิตย์ ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมอ้อนวอน

ชื่นชม ประนมมือ นอบน้อม เดินเวียนรอบ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทสามารถ

แสดงหนทางเพื่อความอยู่กับพระจันทร์และพระอาทิตย์แม้เหล่านั้น ว่า

ทางนี้แหละเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตาม

ทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ดังนี้ได้หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ได้พระเจ้าข้า

วาเสฏฐะ ได้ยินว่าพราหมณ์ผู้จบไตรเพท....นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น

เพื่อความอยู่รวมกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็จะกล่าวกันทำไม พราหมณ์

ผู้จบไตรเพทมิได้เห็นพรหมเป็นพยาน แม้พวกอาจารย์ของพราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพทก็มิได้เห็น แม้พวกปาจารย์ของอาจารย์แห่งพราหมณ์ผู้จบไตรเพท

ก็มิได้เห็น แม้พวกอาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ก็มิได้เห็น แม้พวกฤษีผู้เป็น

บุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทคือ ฤษี อัฏฐกะ..........ซึ่งเป็นผู้

แต่งมนต์ ร่ายมนต์ ที่ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ขับ กล่าว บอก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

สอนตาม ซึ่งมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว ได้ถูกต้อง

แม้ท่านเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราไม่รู้ไม่เห็นว่า พรหมอยู่ ณ ที่ใด

หรืออยู่โดยอาการใด หรืออยู่ในเวลาใด พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น

แหละ พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราแสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม

ที่เราไม่รู้ไม่เห็นนั้นว่า ทางนี้แหละเป็นทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทาง

นำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้.

[๓๗๓] วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้

ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมไม่มีปาฏิหาริย์ มิใช่หรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมไม่มี

ปาฏิหาริย์พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็นพรหม

แต่แสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมนั้นว่า เป็นทางตรง เป็นสายทาง

เดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้นเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๔] วาเสฏฐะ เหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารัก

ใคร่นางชนบทกัลยาณี ในชนบทนี้ ชนทั้งหลายพึงถามเขาว่า นางชนบทกัล-

ยาณี ที่ท่านปรารถนารักใคร่นั้นท่านรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ เป็น

พราหมณี เป็นนางแพศยา หรือนางศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบ

ว่า ไม่รู้จัก ชนทั้งหลายพึงถามเขาว่า นางชนบทกัลยาณี ที่ท่านปรารถนารัก

ใคร่นั้น ท่านรู้จักหรือว่า นางมีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ สูง ต่ำ หรือ สันทัด

ดำคล้ำ ผิวสีทอง อยู่ในบ้าน นิคม หรือเมืองโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว

เขาพึงตอบว่า ไม่รู้จักเลย ชนทั้งหลาย พึงถามเขาว่า ท่านปรารถนารักใคร่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

หญิงที่ท่านไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นเลยดังนั้นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้ เขาพึงตอบ

ว่าถูกแล้ว วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำ

กล่าวของบุรุษนั้นไม่มีปาฏิหาริย์มิใช่หรือ. แน่นอนพระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่าพราหมณ์ผู้จักไตรเพทก็ดี

อาจารย์ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี อาจารย์ของอาจารย์แห่งพราหมณ์พวกนั้นก็

ดี อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์นั้นก็ดี เหล่าฤษีผู้เป็นบุรพา-

จารย์ของพราหมณ์พวกนั้นก็ดี ต่างก็มิได้เห็นพรหมเป็นพยาน.

[๓๗๕] วาเสฏฐะ เหมือนบุรุษทำพะองขึ้นปราสาทในทางใหญ่ ๔

แพร่ง ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า ผู้เจริญ ท่านทำพะองขึ้นปราสาทใด

ท่านรู้จักปราสาทนั้นหรือว่า อยู่ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศ

เหนือ สูง ต่ำ หรือปานกลาง. เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ไม่รู้จัก

ดอก. ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาต่อไปว่า ท่านจะทำพะองขึ้นปราสาทที่ท่าน

ไม่รู้จักไม่เคยเห็นหรือ. เมื่อเขาถูกถามดังนั้นแล้ว เขาถึงตอบว่า ถูกแล้ว.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของ

บุรุษนั้นย่อมไม่มีปาฏิหาริย์มิใช่หรือ.

แน่นอน พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทก็ดี

อาจารย์ของพวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทก็ดี อาจารย์ของอาจารย์แห่งพราหมณ์

ผู้จบไตรเพทก็ดี อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ของพวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท

นั้นก็ดี เหล่าฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพทก็ดี ต่างก็มี

ได้เห็นพรหมเป็นพยาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพวกพราหมณ์ผู้ได้จบ

ไตรเพท ไม่มีปาฏิหาริย์มิใช่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ถูกแล้ว พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ไม่รู้จักพรหม ไม่เคย

เห็นพรหม แต่แสดงหนทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมนี้ว่า ทางนี้แหละเป็น

ทางตรง เป็นสายทางเดิน เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น เพื่อ

ความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๖] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำ อจิรวดี นี้ น้ำเต็มเปี่ยม

เสมอฝั่ง กาดื่มกินได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้ต้องการจะข้ามฝั่งแสดงหาฝั่ง ไปยังฝั่ง

ประสงค์จะข้ามฝั่งไปฝั่งโน้น เขายืนที่ฝั่งข้างนี้ร้องเรียกฝั่งโน้นว่า ฝั่งโน้นจง

มาฝั่งนี้ วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝั่งโน้นของแม่น้ำอจิรวดี

จะพึงมาฝั่งนี้ เพราะเหตุร้องเรียก เพราะเหตุอ้อนวอน เพราะเหตุปรารถนา

หรือเพราะเหตุยินดีของบุรุษนั้นหรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ละธรรม

ที่ทำให้เป็นพราหมณ์เสีย ยึดถือธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่

กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราร้องเรียกหาพระอินทร์ ร้องเรียกหาพระจันทร์ ร้อง

เรียกหาพระวรุณ พระอีสาน พระประชาบดี พระพรหม พระมหินท์.

วาเสฏฐะ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์

ยึดถือธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้า

ถึงความอยู่ร่วมกับพรหมเพราะเหตุร้องเรียก เพราะเหตุอ้อนวอน เพราะเหตุ

ปรารถนาหรือเพราะเหตุยินดี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๗] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือน แม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง

กาดื่มกินได้ ครั้งนั้นบุรุษผู้ต้องการจะข้ามฝั่ง ไปยังฝั่ง ประสงค์จะข้ามไป

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

ฝั่งโน้น เขามัดแขนไพล่หลังอย่างแน่นด้วยเชือกเหนียวอยู่ที่ริมฝั่งนี้ วาเสฏฐะ

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นพึงข้ามไปฝั่งโน้น จากฝั่งนี้ แห่ง

แม่น้ำอจิรวดี ได้หรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ได้พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน กามคุณ ๕ เหล่านี้ ในวินัยของพระ-

อริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่า เครื่องจองจำบ้าง กามคุณ ๕ เป็น

ไฉน รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยหู กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก รสที่พึงรู้

ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้ในวินัยของ

พระอริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง พราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพท กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก

บริโภคกามคุณ ๕ เหล่านั้นอยู่. วาเสฏฐะ ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น

ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์เสีย ยืดถือธรรมที่ไม่ให้เป็นพราหมณ์ประพฤติ

อยู่ กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาสลัดออก บริโภค

กามคุณ ๕ พัวพันอยู่ในกามฉันทะ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วม

กับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๗๘] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี น้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง

กาดื่มกินได้ ครั้งนั้นบุรุษต้องการจะข้าม ประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้น เขา

กลับนอนคลุมตลอดศีรษะเสียที่ฝั่งนี้ วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน บุรุษนั้นพึงข้ามจากฝังนี้ไปฝั่งโน้นได้หรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ฉันนั้นเหมือนกัน นิวรณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ ในวินัยของ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

พระอริยเจ้า เรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่อง

รัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน คือ กามฉันทะ

พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ใน

วินัยของพระอริยเจ้าเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง

เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง.

[๓๗๙] วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท ถูกนิวรณ์ ๕

เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตราแล้ว ก็พราหมณ์ผู้จบไตรเพท

เหล่านั้น ละธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เสีย ยึดถือธรรมที่ไม่ทำให้

เป็นพราหมณ์ ประพฤติอยู่ ถูกนิวรณ์ ๕ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา

เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๓๘๐] วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเคยได้

ยืนพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่เป็นอาจารย์ และเป็นอาจารย์ของอาจารย์กล่าวว่า

กระไรบ้าง พรหมมีเครื่องเกาะคือสตรี หรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. มีจิต

จองเวรหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตเบียดเบียนหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า.

มีจิตเศร้าหมองหรือไม่. ไม่มี พระเจ้าข้า. ทำจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือไม่.

ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์ผู้จบไตรเพท

มีเครื่องเกาะคือสตรี หรือไม่. มี พระเจ้าข้า มีจิตจองเวรหรือไม่. มี

พระเจ้าข้า. มีจิตเบียดเบียนหรือไม่. มี พระเจ้าข้า. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่.

มี พระเจ้าข้า. ทำจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือไม่. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

[๓๘๑] วาเสฏฐะ ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันว่าพราหมณ์ผู้จบไตร-

เพท เหล่านั้น ยังมีเครื่องเกาะคือสตรี แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

พราหมณ์ผู้จบไตรเพท ซึ่งมีเครื่องเกาะคือสตรี กับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะ

คือสตรี ได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ยังมีเครื่องเกาะ

คือสตรี เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะ

คือสตรี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท

เหล่านั้น ยังมีจิตจองเวร แต่พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพท ซึ่งยังมีจิตจองเวรกับพรหมผู้ไม่มีจิตจองเวร ได้หรือไม่. ไม่ได้

พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ยังมีจิตเบียดเบียน แต่

พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้จบไตรเพทซึ่งยังมีจิตเบียดเบียนกับ

พรหมผู้ไม่มีจิตเบียดเบียนได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ยังมีจิตเศร้าหมอง แต่

พรหมไม่มี จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้จบ ไตรเพทซึ่งยังมีจิตเศร้าหมองกับ

พรหมผู้ไม่มีจิตเศร้าหมอง ได้หรือ. ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพทเหล่านั้น ทำให้จิตอยู่ในอำนาจไม่

ได้ แต่พรหมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ จะมาเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพทซึ่งทำจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ได้หรือ. ไม่ได้พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ถูกละ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท เหล่านั้น ยังจิตให้เป็นไป

ในอำนาจไม่ได้ เมื่อตายไปแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหมผู้ทำจิตให้

อยู่ในอำนาจได้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้จบไตรเพท

เหล่านั้น ในโลกนี้จมลงแล้ว กำลังจมอยู่ ครั้นจมลงแล้ว ย่อมถึงความ

ย่อยยับ สำคัญว่า ข้ามได้ง่าย เพราะฉะนั้น ไตรเพทนี้เรียกว่า ไตรเพท

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

ทุ่งใหญ่ [ที่ไม่มีหมู่บ้าน] บ้าง ว่าไตรเพทป่าใหญ่ [ที่ไม่มีน้ำ] บ้าง ว่า

ไตรเพทคือความย่อยยับบ้าง ของพราหมณ์ผู้จบไตรเพท.

[๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ ได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินมาว่า พระสมณะ-

โคดมทรงทราบหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มนสากตคามอยู่ในที่

ใกล้แต่นี้ ไม่ไกลจากนี้มิใช่หรือ. ใช่ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้เกิดมาแล้ว

เติบโตแล้ว ในมนสากตคามนี้ ออกไปจากมนสากตคามในทันใด พึงถูก

ถามหนทางแห่งมนสากตคาม วาเสฏฐะ จะพึงมีหรือ บุรุษผู้นั้นเกิดแล้ว

เติบโตแล้ว ในมนสากตคาม ถูกถามถึงหนทางแห่งมนสากตคามแล้วจะชักช้า

หรืออ้ำอึ้ง.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่มี. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะบุรุษนั้น

เกิดแล้ว เติบโตแล้วในมนสากตคาม เขาต้องทราบหนทางแห่งมนสากตคาม

ทั้งหมดได้เป็นอย่างดี.

วาเสฏฐะ เมื่อบุรุษนั้นเกิดแล้ว เติบโตแล้ว ในมนสากตคาม ถูกถาม

ถึงหนทางแห่งมนสากตคาม จะพึงมีความชักช้าหรืออ้ำอึ้งหรือ. เมื่อตถาคตถูก

ถามถึงพรหมโลกหรือปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่มีความล่าช้า

หรืออ้ำอึ้งเลย เรารู้ถึงพรหมและพรหมโลก ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพรหมโลกและ

ว่าพรหมปฏิบัติอย่างไร จึงเข้าถึงพรหมโลกด้วย.

[๓๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินว่า พระสมณโคดม

ย่อมแสดงหนทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

องค์ทรงแสดงทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม ขอพระองค์โปรดช่วยประชาชน

ผู้เป็นพราหมณ์ด้วยเถิด.

วาเสฏฐะ ถ้ากระนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจด้วยดี เราจักกล่าว.

วาเสฏฐมาณพทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า วาเสฏฐะ พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ-

อรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฯลฯ (พึงขยายความเหมือนในสามัญญ-

ผลสูตร) ฯลฯ วาเสฏฐะ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ

เมื่อภิกษุตามเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น

เมื่อมีปราโมทย์ก็เกิดปีติ เมื่อใจประกอบด้วยปีติกายก็สงบ เมื่อกายสงบก็

เสวยสุข เมื่อเสวยสุขจิตก็ตั้งมั่น. เธอมีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอด

ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เช่นนั้น ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง

ขวาง ก็แผ่ไปในที่ทั้งปวงตลอดโลกทั้งสิ้นเพราะแผ่ทั่วไป ด้วยจิตประกอบด้วย

เมตตาอันไพบูลย์ มีอารมณ์มาก หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียนอยู่ คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลย

ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้ว

อย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร และอรูปาพจรนั้น

ฉันนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ แม้นี้ก็เป็นทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม.

[๓๘๔] วาเสฏฐะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ

มุทิตา ฯลฯ อุเบกขา ฯลฯ นี้แลเป็นทางเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม. วาเสฏฐะ

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีเครื่องเกาะคือสตรี

หรือไม่ ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตจองเวรหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตเบียด-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

เบียนหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. มีจิตเศร้าหมองหรือไม่. ไม่มีพระเจ้าข้า. ยัง

จิตให้เป็นไปในอำนาจได้หรือไม่. ได้พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ได้ยินว่า ภิกษุไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี พรหมก็ไม่มี จะ

เปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี กับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี

ได้หรือไม่. ได้พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ ภิกษุนั้นไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี เมื่อมรณะแล้ว

จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหม ผู้ไม่มีเครื่องเกาะคือสตรี ข้อนี้เป็นฐานะที่

มีได้.

วาเสฏฐะ ภิกษุมีจิตไม่จองเวร พรหมก็มีจิตไม่จองเวร ฯลฯ ภิกษุ

มีจิตไม่เบียดเบียน พรหมก็มีจิตไม่เบียดเบียน ฯลฯ ภิกษุมีจิตไม่เศร้าหมอง

พรหมก็มีจิตไม่เศร้าหมอง ฯลฯ ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ พรหมก็

ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ

กับพรหมผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้หรือไม่. ได้ พระเจ้าข้า.

วาเสฏฐะ ดีละ ภิกษุผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้นั้น. เมื่อ

มรณะแล้ว จักเข้าถึงความอยู่ร่วมกับพรหมผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้

ข้อนั้นเป็นฐานะที่มีได้.

[๓๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพ และ

ภารัทวาชมาณพ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง

หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

พระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้า

พระองค์ทั้งสองนี้ ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะอย่างมอบ

กายถวายชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ เตวิชชสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

อรรถกถาเตวิชชสูตร

เตวิชชสูตรมีความเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ฯลฯ ใน

แคว้นโกศล.

ต่อไปนี้จะพรรณนาบทที่ยากในพระสูตรนั้น. บทว่า มนสากตะ เป็นชื่อ

ของบ้านนั้น. บทว่า โดยทางทิศเหนือของบ้านมนสากตะ คือ ข้างทิศเหนือ

ไม่ไกลจากบ้านมนสากตะ. บทว่า ในป่ามะม่วง คือ ในหมู่ต้นมะม่วงหนุ่ม ได้

ยินว่า ภูมิภาคนั้นน่ารื่นรมย์ ข้างล่าง ลาดทรายเช่นเดียวกับแผ่นดิน ข้างบน

เป็นป่ามะม่วงมีกิ่งและใบหนา เหมือนเพดานดาดด้วยแก้วมณี พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน อันเป็นความสุขเกิดจากวิเวก สมควรแก่

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

บทว่า พราหมณ์มหาศาล ผู้ที่เขารู้จักกันแพร่หลาย คือ เป็นผู้ที่เขา

รู้กันทั่วไปในตำบลนั้น ๆ โดยถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติมีกุลจารีตเป็นต้น. บท

ว่า วังกี เป็นอาทิ เป็นชื่อของพราหมณ์มหาศาล เหล่านั้น. บรรดาพราหมณ์

มหาศาลเหล่านั้น วังกีอยู่บ้านโอปสาทะ ตารุกขะอยู่บ้านอิจฉานังคละ.

โปกขรสาติอยู่อุกกัฏฐนคร ชาณุโสนิอยู่สาวัตถี โตเทยยะอยู่ตุทิคาม. บทว่า

พราหมณ์มหาศาล เหล่าอื่นอีก ความว่า ก็บรรดาชนเป็นอันมากเหล่าอื่น

มาจากที่อยู่ของตน ๆ แล้วอาศัยอยู่ ณ มนสากตคามนั้น. ได้ยินว่า เพราะ

มนสากตคามเป็นที่น่ารื่นรมย์ พราหมณ์เหล่านั้นจึงพากันสร้างเรือนใกล้ฝั่ง

แม่น้ำในมนสากตคามนั้น ล้อมไว้โดยรอบ ห้ามคนพวกอื่นเข้าไป พากันไป

อยู่ ณ ที่นั้น ตามลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

บทว่า วาเสฏฐมาณพและภารัทวาชมาณพ ความว่า วาเสฏ-

ฐมาณพ เป็นศิษย์ของโปกขรสาติพราหมณ์ ภารัทวาชมาณพเป็นศิษย์ของ

ตารุกขพราหมณ์. ได้ยินว่า มาณพทั้งสองนั้นสมบูรณ์ด้วยชาติ ได้จบไตรเพท

แล้ว. บทว่า ชังฆวิหาร คือ เดินเที่ยวพักผ่อน เพื่อต้องการบรรเทาความ

เมื่อยขบ เพราะนั่งนานเกินไปเป็นเหตุ. ได้ยินว่ามาณพทั้งสองนั้นนั่งท่องมนต์

ตลอดกลางวัน ตอนเย็นจึงลุก ให้คนถือของหอมดอกไม้ น้ำมันและผ้าสะอาด

อันเป็นเครื่องใช้สำหรับอาบน้ำ แวดล้อมด้วยบริวารชนของตน ๆประสงค์

จะอาบน้ำ ไปฝั่งแม่น้ำเดินไปๆ มา ๆ ที่เนินทราย สีแผ่นเงิน. คนหนึ่งเดิน

อีกคนหนึ่งเดินตาม อีกคนหนึ่งก็เดินตามอีกคนหนึ่ง ต่อกันไป ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เดินเที่ยวเล่นตามกันไป.

บทว่า ในทางและมิใช่ทาง คือในเรื่องทางและมิใช่ทาง. อธิบายว่า

มาณพทั้งสองสนทนากันปรารภถึงเรื่องทางและมิใช่ทางอย่างนี้ว่า เราจะบำเพ็ญ

ปฏิปทาอย่างไรหนอ แล้วจึงจะสามารถไปสู่พรหมโลกอันเป็นสุขได้ โดยทาง

ไหน. บทว่าเส้นทางเดินเป็นไวพจน์ของทางตรง หรือทางตรงนั่นแหละ. คน

ย่อมเดินคือย่อมมาโดยทางนั้น เพราะฉะนั้น ทางนั้นจึงชื่อว่า เส้นทางเดิน.

บทว่าเป็นทางนำออก ย่อมนำออก คือ เมื่อนำออก ย่อมนำออกไปได้. อธิบาย

ว่า เมื่อจะไปก็ไปได้ ถามว่า ไปไหน. ตอบว่า เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามนั้นอยู่ร่วม

กับพรหม อธิบายว่า ผู้ที่ไปเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหม เพื่อความปรากฏ ในที่

เดียวกัน ย่อมดำเนินตามทางนั้น. บทว่า ยฺวาย ตัดบทเป็น โย อย. บทว่า

ตารุกขพราหมณ์ บอกไว้ คือ กล่าวไว้ ได้แก่ แสดงไว้. บทว่า โปกขรสาติ-

พราหมณ์ คือ วาเสฏฐมาณพอ้างถึงอาจารย์ของตน. วาเสฏฐมาณพเที่ยวชม

เชยยกย่อง วาทะของอาจารย์ของตนฝ่ายเดียว แม้ภารัทวาชะก็เที่ยวชมเชย

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

....ฝ่ายเดียวเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้

ภารัทวาชมาณพยินยอมได้เป็นต้น.

ลำดับนั้น วาเสฏฐมาณพ คิดว่า ถ้อยคำของเราแม้ทั้งสองไม่เป็นทาง

นำออกได้แน่นอน ขึ้นชื่อว่าผู้ฉลาดในทาง ในโลกนี้ เช่นกับพระโคดมผู้เจริญ

ไม่มี พระโคดมผู้เจริญประทับอยู่ไม่ไกล พระองค์จักขจัดความสงสัยของเราได้

เหมือนพ่อค้านั่งถือตราชั่ง ฉะนั้น แล้วจึงบอกความนั้นแก่ภารัทวาชมาณพ

ทั้งสองก็พากันไปกราบทูลถ้อยคำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล วาเสฏฐมาณพ ฯลฯ ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์

บอกไว้นี้เป็นทางตรง ดังนี้.

บทว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมในข้อนี้ คือ ในเรื่องทางและมิใช่ทางนี้.

ในบทว่า การถือผิด การกล่าวผิด เป็นต้น ความว่า ถือผิด เกิดขึ้นก่อน

กล่าวผิดเกิดขึ้นภายหลัง. แม้ทั้งสองก็เป็นวาทะต่างจากวาทะของบรรดาอาจารย์

ต่าง ๆ. ในบทว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเธอจะถือผิด กล่าวผิดกันในข้อ

ไหน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า แม้เธอก็ยกย่องวาทะอาจารย์

ของตนเท่านั้นยืนยันอยู่ว่า นี้เท่านั้นเป็นทาง แม้ภารัทวาชมาณพก็ยกย่อง

วาทะอาจารย์ของตนเหมือนกัน ความสงสัยของคนหนึ่งย่อมไม่มีในคนหนึ่ง

เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเธอถือต่างกันในเรื่องอะไร. บทว่า ข้าแต่พระโคดม-

ผู้เจริญ ในทางและมิใช่ทาง ความว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในทาง

และมิใช่ทาง อธิบายว่าในทางตรง และมิใช่ทางตรง.

ได้ยินว่า มาณพนั้น ไม่กล่าวถึงทาง แม้ของพราหมณ์คนหนึ่งว่า

ไม่ใช่ทาง ก็ทางอาจารย์ของตนเป็นทางตรงฉันใด เขาไม่รับรู้ของผู้อื่นฉัน

นั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนั้น เขาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

โคดมผู้เจริญ ....แม้โดยแท้ เป็นอาทิ. บทว่า สพฺพานิ ตานิ ท่านกล่าวไว้

ด้วยลิงควิปัลลาส (ผิดลิงค์). อธิบายว่า สพฺเพ เต ดังนี้. บทว่า ทางต่าง ๆ

มาก คือ ๘ สาย หรือ ๑๐ สาย. บทว่า ทางต่าง ๆ คือ ทางที่มาจากบ้าน

แม่น้ำ สระ และนาเป็นต้นใกล้เคียงกันหลายสาย ทั้งใหญ่และไม่ใหญ่ โดย

เป็นทางเท้าและทางเกวียน เป็นต้น แล้วเข้าบ้าน. บทว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ

เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นย่อมนำออกหรือ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ให้วาเสฏฐมาณพ เปล่งวาจา ๓ ครั้ง แล้วให้ทำปฏิญญาณ. เพราะเหตุไร.

เพราะพวกเดียรถีย์ปฏิญญาณแล้ว ภายหลังเมื่อถูกข่มขี่จะดูหมิ่น วาเสฏฐมาณพ

จักไม่อาจทำอย่างนั้นได้.

บทว่า เตว เตวิชฺชา ได้แก่ พวกพราหมณ์จบไตรเพท. วอักษร

เป็นเพียงอาคมสนธิ.

บทว่า อนฺธเวณี แปลว่า แถวคนตาบอด. อธิบายว่า คนตาบอดหนึ่ง

จับปลายไม้เท้าที่คนตาดีถือ คนอื่น ๆ ก็จับคนตาบอดกันต่อ ๆ ไป ด้วยประการ

ฉะนี้ คนตาบอด ๕๐-๖๐ คน จักต่อกันไป โดยลำดับ เรียกว่า แถวคน

ตาบอด. บทว่า เกาะกันและกัน คือ เกาะหลังกันและกัน. อธิบายว่า ถูกคน

ตาดีถือไม้เท้าหนีไป. มีเรื่องว่า นักเลงคนหนึ่ง เห็นหมู่คนตาบอด จึงให้

พวกคนตาบอดเกิดความอุตสาหะ โดยพูดว่า ที่บ้านโน้น ของเคี้ยวของกิน

หาได้ง่าย เมื่อหมู่คนตาบอดพูดว่า นายจ๋า ถ้ากระนั้นขอท่านจงนำพวกเราไปที่

บ้านนั้น พวกเราจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน นักเลงรับสินจ้างแล้วจึงเลี่ยงลงจากทาง

ในระหว่างทาง เดินวนรอบกอไม้ใหญ่ จึงให้พวกคนตาบอดจับผ้าเคียนพุงกัน

ไว้ ตามลำดับก่อนหลัง แล้วบอกว่า มีธุระ พวกท่านจงไปก่อน แล้วหนีไป.

พวกคนตาบอดแม้ไปตลอดวัน ก็ไม่พบทาง ต่างคร่ำครวญว่า คนตาดีไปไหน

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

หนทางอยู่ทางไหน เมื่อไม่พบหนทางต่างก็ตายกันในที่นั้นเอง. ท่านกล่าวว่า

เกาะหลังกันและกัน หมายถึงพวกขอทานเหล่านั้น.

บทว่า แม้คนต้น ก็ไม่เห็น คือ บรรดาพราหมณ์ ๑๐ คน แม้คน

หนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนกลาง ก็ไม่เห็น หมายความว่า บรรดาอาจารย์

และปาจารย์ในท่ามกลาง แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า แม้คนหลัง ก็ไม่เห็น

หมายความว่าบรรดาพราหมณ์ผู้จบไตรเพทในบัดนี้ แม้คนหนึ่งก็ไม่เห็น. บทว่า

หสฺสกเยว แปลว่า น่าหัวเราะเยาะโดยแท้. บทว่า ลามกเยว แปลว่า ต่ำทราม

โดยแท้. ภาษิตนี้นั้น เป็นคำว่าง เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นคำเปล่า ก็เพราะ

เป็นคำเหลวไหล.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงว่า พรหมผู้ที่พราหมณ์ผู้จบ

ไตรเพทไม่เคยเห็น ยกไว้ก่อน พราหมณ์ผู้จบไตรเพทย่อมมองเห็นพระจันทร์

และพระอาทิตย์ใดได้ แต่ไม่สามารถจะแสดงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพระ-

จันทร์พระอาทิตย์แม้นั้นได้ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า วาเสฏฐะ เธอจะสำคัญข้อ

นั้นเป็นไฉน. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ขึ้นเมื่อใด

คือขึ้นในกาลใด. บทว่า และตกเมื่อใด คือถึงความดับไปในกาลใด. อธิบายว่า

ชนทั้งหลายย่อมเห็นในเวลาขึ้นและในเวลาตก. บทว่า พราหมณ์ทั้งหลาย

ย่อมอ้อนวอน คือ อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอพระจันทร์ผู้เจริญจงขึ้น ขอ

พระอาทิตย์ผู้เจริญจงขึ้น. บทว่า ย่อมชื่นชม อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อม

กล่าวสรรเสริญว่าพระจันทร์สุภาพ พระจันทร์เรียบร้อย พระจันทร์มีรัศมี

เป็นอาทิ. บทว่า ประนมมือ คือ ประคองมือ.

บทว่า นอบน้อม คือ กล่าวว่า นโม นโม ดังนี้. คำว่า ย ในบท

ว่า ย ปสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต. ในบทว่า ก็จะกล่าวกันทำไม พึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

ความอย่างนี้ว่า ในที่นี้ควรพูดเรื่องอะไรกัน ได้ยินว่า พราหมณ์ผู้ได้

ไตรเพท มิได้เห็นพรหมเป็นพยาน.

บทว่า เสมอฝั่ง ได้แก่ เต็มฝั่ง

บทว่า กาดื่มได้ อธิบายว่า กายืนอยู่บนฝั่งข้างใดข้างหนึ่ง ก็สามารถ

ดื่มกินได้. บทว่า ประสงค์จะข้ามฝั่ง คือ ประสงค์จะข้ามแม่น้ำไปถึงฝั่ง-

โน้น บทว่า อวฺเหยฺย แปลว่า เรียก. แน่ะฝั่งโน้นท่านจงมาฝั่งนี้ อธิบายว่า

เขาร้องเรียกว่า ดูก่อนฝั่งโน้น ท่านจงมาฝั่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักพา

เราข้ามไปได้โดยไว เรามีกิจที่จะต้องทำด่วน. ในบทว่า ธรรมเหล่าใดที่ทำ

ให้เป็นพราหมณ์นี้ พึงทราบว่า ธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ ได้แก่ ศีล ๕

ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐. ธรรมที่ผิดไปจากนั้น ไม่ใช่ธรรมที่ทำให้เป็น

พราหมณ์.

บทว่า อินฺทมวฺหยาม ตัดบทเป็น อินฺท อวฺหยาม แปลว่า เราเรียก

หาพระอินทร์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความที่คำร้องเรียกของพราหมณ์

ไม่มีประโยชน์ ผู้ทรงรุ่งเรืองอยู่ ดุจพระอาทิตย์ในท้องมหาสมุทร ทรงแวด

ล้อมด้วยพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ประทับนั่งเหนือฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เมื่อจะทรง

นำแม่น้ำอื่น ๆ มาเปรียบเทียบอีก จึงตรัสว่า เปรียบเหมือนว่า เป็นอาทิ.

บทว่า กามคุณทั้งหลาย อธิบายว่า ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า พึงใคร่.

ชื่อว่า คุณ เพราะอรรถว่า ผูกมัด. คุณศัพท์มีความว่า ชั้น ในพุทธพจน์

นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิสองชั้นแห่งผ้าใหม่.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

คุณศัพท์ มีความว่า ลำดับ ในบทคาถานี้ว่า

กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านพ้นไป

ลำดับแห่งวัย ย่อมละลำดับไป.

คุณศัพท์ มีความว่า อานิสงส์ ในบทว่า ทักษิณาพึงหวังได้อานิสงส์

ตั้งร้อย. คุณ ศัพท์มีความว่า ผูกร้อย ในบทนี้ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย ควร

ทำการร้อยพวงมาลัยให้มาก. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศัพท์นี้ เพราะฉะนั้นจึง

กล่าวว่า คุณ ศัพท์ด้วยอรรถว่า ร้อยรัด. บทว่า พึงรู้ด้วยจักษุ คือพึง

เห็นด้วยจักษุวิญญาณ. พึงทราบความแม้ในบทว่า เสียงที่พึงรู้ด้วยหู เป็นต้น

โดยอุบายนั้น.

บทว่า น่าปรารถนา ความว่า กามคุณ ๕ จะเป็นสิ่งที่น่าแสวงหา

หรือไม่ก็ตาม. อธิบายว่าย่อมเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา บทว่า กนฺตา

ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่. บทว่า มนาปา ได้แก่ เป็นที่เจริญใจ. บท

ว่า ปิยรูปา ได้แก่ มีความรักเป็นปกติ. บทว่า เกี่ยวด้วยกาม ได้แก่

เข้าไปเกี่ยวด้วยกาม ทำให้เป็นอารมณ์ แล้วเกิดขึ้น. บทว่า น่ากำหนัด คือ

ย้อมใจ อธิบายว่าเป็นเหตุเกิดแห่งราคะ. บทว่า กำหนัด คือถูกความกำหนัด

ครอบงำ. บทว่า สยบ คือ ถูกตัณหามีประมาณยิ่ง ที่ถึงอาการสยบครอบงำ

บทว่า หมกมุ่น คือ จมลง หยั่งลง คือ เป็นผู้มีความตกลงใจว่า นี้เป็น

สาระ ดังนี้. บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่แลเห็นโทษ. บทว่า

นิสฺสรณ ในคำว่า อนิสฺสรณปญฺานี้ได้แก่ ปัญญาที่เว้นจากปัญญาเครื่องกำหนด

รู้ อธิบายว่า ปัญญาเว้นจากการบริโภคด้วยการพิจารณา. ในคำว่า อาวร-

ณา เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ บทว่า กามคุณ ชื่อว่า อาวรณา

เพราะเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว. ชื่อ นีวารณา เพราะเป็นเครื่องกางกั้น. ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

โอนาหนา เพราะเป็นเครื่องรัดรึง. ชื่อ ปริโยหนา เพราะเป็นเครื่อง ตรึง-

ตรา. ความพิสดาร ของนิวรณ์ มีกามฉันทะเป็นต้น พึงค้นหาจากวิสุทธิ-

มรรค. บทว่า ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจ

แห่งกามคุณมีเครื่องหน่วงเหนี่ยว เป็นต้น. บทว่า สปริคคหะ ท่านกล่าว

ถึงความเกาะเกี่ยวกับสตรี. แม้ในบทเป็นอาทิว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

พราหมณ์ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวกับสตรี ดังนี้ท่านกล่าวความไม่เกาะเกี่ยวกับ

สตรีเพราะไม่มีกามฉันทะ ชื่อว่าไม่มีเวรด้วยจิตคิดจองเวรกับใคร ๆ เพราะ

ไม่มีพยาบาท. ชื่อว่าไม่มีพยาบาท ด้วยการพยาบาท กล่าวคือ ความเป็น

ไข้ทางใจ เพราะไม่มีถิ่นมิทธะ ชื่อว่ามีจิตไม่เศร้าหมอง ด้วยเครื่องเศร้า

หมอง มีอุทธัจจะกุกกุจจะ เป็นต้น เพราะไม่มีอุทธัจจะกุกกุจจะ ชื่อว่าผู้

มีจิตบริสุทธิ์ด้วยดี. ชื่อวสวัตตี เพราะทำจิตให้อยู่ในอำนาจ เหตุไม่มีวิจิกิจ

ฉา และไม่เป็นเช่นพราหมณ์ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต คือเป็นไปในอำนาจ

แห่งจิต.

บทว่า ก็ในโลกนี้แล คือ ในทางแห่งพรหมโลกนี้. บทว่า จมลง

แล้ว คือ เข้าไปหาสิ่งไม่ใช่ทางเลยว่าเป็นทาง. บทว่า กำลังจมอยู่ คือ จม

เข้าไป เหมือนคนเหยียบเปือกตม ด้วยสำคัญว่า เป็นพื้นราบ. บทว่า

ครั้นจมแล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ อธิบายว่า ครั้นจมเหมือนจมในเปือก

ตมอย่างนี้แล้ว ย่อมถึงความย่อยยับ คือ ความแตกหักแห่งอวัยวะน้อยใหญ่

บทว่า สำคัญว่า ข้ามได้ง่าย อธิบายว่า ชนทั้งหลายคิดว่า เราจักข้าม

โดยสำคัญว่า แม่น้ำมีน้ำเต็มเสมอฝั่ง กาดื่มได้ จึงพยายามทั้งมือทั้งเท้า

สำคัญว่าข้ามได้ง่าย เพราะลวงตาด้วยพยับแดด. เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย

ย่อมถึงความย่อยยับความแตกหักในอบาย เหมือนอย่างมือและเท้าเป็นต้นถึง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

ความย่อยยับแตกหักฉะนั้น คือ ไม่ได้ความสุข หรือความสำราญในโลกนี้

เลย. บทว่า ตสฺมา อิทนฺเตวิชฺชาน พฺราหฺมณาน ความว่า เพราะฉะนั้น

นี้เป็นปาพจน์ คือ ไตรเพทที่แสดงถึงทาง เพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมของ

พราหมณ์ทั้งหลายผู้จบไตรเพท บทว่า เตวิชฺชาอีริณ ได้แก่ ป่าคือไตรเพท

ก็ป่าใหญ่ที่ไม่มีบ้านท่านกล่าวว่าทุ่ง. บทว่า เตวิชฺชาวิวน ได้แก่ป่าที่ไม่มีน้ำ

ปกคลุมด้วยต้นไม้ที่มีดอกผลใช้บริโภคไม่ได้. ท่านกล่าว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เขาเรียกกันว่าป่าใหญ่คือไตรเพท ดังนี้ ก็มี ทรงหมายถึงป่าที่ใคร ๆ

ไม่สามารถที่จะแวะลงแล้วเปลี่ยนทางได้. บทว่า ความพินาศแห่งไตรเพท

คำนี้ เช่นเดียวกับความพินาศ ๕ อย่างของไตรเพท. ท่านแสดงว่า ผู้จบ

ไตรเพท ย่อมไม่มีความสุข เพราะอาศัย คำสอนหลักอันได้แก่ไตรเพท

เหมือนอย่างผู้ที่ถึงความพินาศ แห่งญาติ โรค โภคะ ทิฏฐิ และ ศีล ย่อม

หาความสุขมิได้ ฉะนั้น.

บทว่า เกิดแล้ว เติบโตแล้ว ได้แก่ เกิดและเติบโต. อธิบายว่า

เพราะหนทางไปบ้านใกล้เคียงของผู้ที่เกิดในที่หนึ่ง แล้วไปเติบโตในที่อื่น

ไม่ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เกิด

แล้วเติบโตแล้วดังนี้. ผู้ที่แม้เกิด เติบโตแล้ว แต่จากไปเสียนาน ย่อมไม่

ประจักษ์ด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ออกไป

แล้ว ในทันทีทันใดแน่นอน. อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นเทียว. บทว่า

ความเป็นผู้ชักช้า คือ ชักช้าโดยสงสัยว่า ทางนี้ หรือไม่ใช่หนอ. บทว่า

ความเป็นผู้อ้ำอึ้ง ได้แก่ การถึงความเป็นกระด้างเหมือนอย่างเมื่อใคร ๆ

ถูกถามฉับพลันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เขาถึงความเป็นผู้มีสรีระกระ-

ด้างฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความที่พระสัพพัญญุตญาณ ไม่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

ถูกขัดขวาง ด้วยบทว่า ไม่ชักช้า ไม่อ้ำอึ้ง ดังนี้. ท่านอธิบายว่า การขัด

ขวางญาณของบุรุษนั้นพึงมีได้ ด้วยอำนาจถูกมารดลใจเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น

บุรุษนั้นพึงชักช้าหรืออ้ำอึ้ง แต่พระสัพพัญญุตญาณไม่ถูกขัดขวาง ใคร ๆ ไม่

สามารถทำอันตรายแด่พระสัพพัญญุตญาณนั้นได้.

บทว่า อุลฺลุมฺปตุ ภว โคตโม ได้แก่ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรด

ยกขึ้น.

บทว่า พฺราหฺมณึ ปช หมายถึง เด็กของพราหมณ์. อธิบายว่า ขอ

พระโคดมผู้เจริญโปรดยกพราหมณ์และบุตรของพราหมณ์ขึ้นจากทางอบาย

แล้วให้ดำรงอยู่ในทางพรหมโลกเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระ-

ประสงค์จะแสดงถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า แล้วทรงแสดงทางไปพรหม

โลกมีเมตตาวิหารธรรม เป็นต้น พร้อมด้วยข้อปฏิบัติเบื้องต้นแก่เขา จึงตรัส

คำเป็นอาทิว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้ากระนั้น เธอจงฟัง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พระตถาคต ทรงอุบัติในโลกนี้ เป็นอาทิ

ในสูตรนั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้ว ในสามัญญผลสูตร. ข้อที่ควรกล่าว

ทั้งหมด ในบทว่า มีใจประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้ว ใน

พรหมวิหารกัมมัฏฐานกถา ในวิสุทธิมรรค.

คำว่า เสยฺยถาปิ พลวา สงฺขธโม เป็นอาทิ ไม่เคยมีในที่นี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า พลวา แปลว่า สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า สงฺขธโม

แปลว่า คนเป่าสังข์.

บทว่า กสิเรน ได้แก่ ไม่ยาก คือ ไม่ลำบาก. อธิบายว่า จริงอยู่

คนเป่าสังข์ทุพลภาพ แม้เป่าสังข์ ก็ไม่อาจให้ได้ยินเสียงตลอด ๔ ทิศ เสียง

สังข์ของเขาไม่แพร่ไปทั่วถึง แต่สำหรับผู้มีกำลังจะแพร่ไป. เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุรุษผู้มีกำลัง เป็นอาทิ. เมื่อตรัสว่า เมตฺตา

ในบทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ ควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อ

ตรัสว่า เจโตวิมุตฺติ ควรแก่อัปปนาอย่างเดียว. บทว่ากรรมที่ทำพอประมาณ

อันใด หมายความว่า ขึ้นชื่อว่ากรรมที่พอประมาณท่านกล่าวว่า เป็นกามา-

วจรกรรม. กรรมที่ทำไว้หาประมาณมิได้ ท่านกล่าวว่า เป็นรูปาวจรกรรม

และอรูปาวจรกรรม ท่านกล่าวว่า กรรมที่ทำหาประมาณมิได้ เพราะล่วง

ประมาณแล้วทำให้เจริญด้วยอำนาจการแพร่ไปในทิศที่เจาะจงและไม่เจาะจง.

บทว่า กรรมนั้น ไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ ในรูปาวจรกรรมและอรูปาวจรกรรม

นั้น อธิบายว่า กรรมที่เป็นกามาวจรนั้น ไม่หยุด ไม่ตั้งอยู่ ในกรรม

อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. อธิบายว่า กรรม

เป็นกามาวจรนั้น ไม่สามารถเพื่อจะข้อง หรือเพื่อตั้งอยู่ในระหว่างกรรม

อันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจรนั้นได้ หรือเพื่อจะแพร่กรรมอันเป็นรูปาวจร

และอรูปาวจรแล้วควบคุม ถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้ โดยที่แท้ กรรมอันเป็น

รูปาวจรและอรูปาวจรนั้นแหละจะแพร่ไป แล้วควบคุมไว้ซึ่งกามาวจรกรรม

ถือโอกาสของตนตั้งอยู่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ ท่วมท้นน้ำนิดหน่อยออกไป

ตั้งอยู่ ฉะนั้น ย่อมห้ามวิบากของกรรมอันเป็นกามาวจรนั้น นำเข้าสู่ความ

เป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมด้วยตนเอง ดังนี้. บทว่า ภิกษุมีธรรมเป็นเครื่องอยู่

อย่างนี้ คือ มีธรรมเครื่องอยู่ มีเมตตาเป็นต้น อย่างนี้.

บทว่า ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถึงพระโคดมผู้เจริญเป็นสรณะ นี้

เป็นการถึงสรณะครั้งที่สองของมาณพทั้งสองนั้น. ก็มาณพทั้งสองนั้น ฟัง

วาเสฏฐสูตร ในมัชณิมปัณณาสก์แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งแรก ฟัง เตวิชชสูตร

นี้แล้ว ถึงสรณะเป็นครั้งที่สอง ล่วงไป ๒-๓ วัน ได้บรรพชาแล้วได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

อุปสมบท และบรรลุพระอรหัต ในอัคคัญญสูตร คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.

อรรถกถาเตวิชชสูตร แห่งอรรถกถาทีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินีจบลง

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเตวิชชสูตรที่ ๑๓

การพรรณนาเนื้อความแห่งสีลขันธวรรคที่ประดับประดาด้วยพระสูตร

๑๓ พระสูตรก็จบลงแล้วด้วย.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

พรหมชาลสูตร ๑ สามัญญผลสูตร ๑ อัมพัฏฐสูตร ๑ โสนทัณฑ-

สูตร ๑ กูฏทันตสูตร ๑ มหาลิสูตร ๑ ชาลินีสูตร ๑ มหาสีหนาทสูตร ๑

โปฏฐปาทสูตร ๑ สุภสูตร ๑ เกวัฏฏสูตร ๑ โลหิจจสูตร ๑ เตวิชชสูตร ๑

รวมเป็น ๑๓ พระสูตร.

สีลขันธวรรค จบ.