ไปหน้าแรก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระวินัยปิฎก

เล่ม ๗

จุลวรรค ทุติยภาค

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขุททกวัตถุขันธกะ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ วัตรในการอาบน้ำ

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร

อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล

พระฉัพพัคคีย์ อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง

ที่ต้นไม้ ชาวบ้านเห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อ-

สายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงสีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง

หลังบ้าง ที่ต้นไม้ เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือนพวกชาวบ้าน

ผู้ขอบแต่งผิวเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

อยู่ ...จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง

อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นอาบน้ำจึงสีกาย คือ

ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ

เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...ครั้น

แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบ

น้ำ ไม่พึงสีกาย ที่ต้นไม้ รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขน

บ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง

แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือน

พวกชาวบ้านผู้ชอบแต่งผิวเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาอยู่ .. . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า . . จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำไม่พึงสีกายที่เสา รูปใด

สี ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

[๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขน

บ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง

แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือน

พวกชาวบ้านผู้ขอบแต่งผิวเล่า . . .

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่ฝา รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ ย่อมอาบในสถานที่อันไม่สม-

ควร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาอยู่ . . . จึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ข่าวว่า . . . จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ

สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงอาบในสถาน

ที่อันไม่สมควร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ

ทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่อง

นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

[๖] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอย-

แดง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลาย . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอยแดง รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ผลัดกันถูตัว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย... จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงผลัดกันถูตัว รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๘] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟัน

มังกร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคหิด ภิกษุนั้นเว้นไม้บัง-

เวียนที่จักเป็นฟันมังกรเสีย ย่อมไม่สบาย . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตไม้บังเวียนที่มิได้จักเป็นฟันมังกรแก่ภิกษุอาพาธ.

[๑๐] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชรา เมื่ออาบน้ำไม่

สามารถจะถูกายของตนได้ . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตเกลียวผ้า.

[๑๑] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งรังเกียจเพื่อจะทำการถูหลัง... ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตการถูหลังด้วยมือ.

เรื่องเครื่องประดับต่างชนิด

[๑๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู .. . ทรงสังวาล

ทรงสร้อยคอ ทรงเครื่องประดับเอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่อง

ประดับข้อมือ ทรงแหวนประดับนิ้วมือ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

ว่า. . . เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู ทรงสังวาล ทรงสร้อยคอ

ทรงเครื่องประดับเอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่องประดับข้อมือ ทรง

แหวนประดับนิ้วมือ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน.. . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ

สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงเครื่องประดับหู ไม่

พึงทรงสังวาล ไม่พึงทรงเครื่องประดับเอว ไม่พึงทรงวลัย ไม่พึงทรงสร้อย

ตาบ ไม่พึงทรงเครื่องประดับข้อมือ ไม่พึงทรงแหวนประดับนิ้วมือ รูปใด

ทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

เรื่องไว้ผมยาว

[๑๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย... กราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

ไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมได้สองเดือน หรือยาวสอง

องคุลี.

[๑๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เสยผมด้วยแปรง เสยผมด้วยหวี

เสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี เสยผมด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง เสยผมด้วยน้ำมันผสม

กับน้ำ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า.... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเสยผม

ด้วยแปรง ไม่พึงเสยผมด้วยหวี ไม่พึงเสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี ไม่พึงเสยผม

ด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง ไม่พึงเสยผมด้วยน้ำมันผสมกับน้ำ รูปใดเสย ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

เรื่องส่องดูเงาหน้า

[๑๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาน้ำในแว่นบ้าง ในภาชนะ

น้ำบ้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. ..เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงา

หน้าในแว่นหรือในภาชนะน้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

[๑๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นแผลที่หน้า เธอถามภิกษุ

ทั้งหลายว่า แผลของผู้เป็นเช่นไร ขอรับ ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า

แผลของคุณเป็นเช่นนี้ ขอรับ เธอไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดู

เงาหน้าที่แว่นหรือทำภาชนะนี้ได้ เพราะเหตุอาพาธ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น

[๑๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า

ด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวและหน้า ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย. .. กราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า

ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่

พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อนทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคนัยน์ตา ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ.

[๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา

พระฉัพพัคคีย์ได้ไปเที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

การประโคมดนตรี เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดู

การฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องสวดพระธรรมด้วยทำนอง

[๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย

เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรเหล่านั้น สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวก

เราขับ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นผู้มักน้อย . .. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์

จึงได้สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข่าวว่า... จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนอง

ยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:-

๑. ตนยินดีในเสียงนั้น

๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น

๓. ชาวบ้านติเตียน

๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป

๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรม

ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย

เพลงขับ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องการสวดสรภัญญะ

[๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้สวดเป็นทำนองสรภัญญะได้.

[๒๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่ม

ผ้าขนสัตว์ มีขึ้นข้างนอก รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องทรงห้ามฉันมะม่วง

[๒๓] สมัยต่อมา มะม่วงที่พระราชอุทยาน ของพระเจ้าพิมพิสาร

จอมเสนามาคธราช กำลังมีผล พระองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า ขออาราธนา

พระคุณเจ้าทั้งหลาย ฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด พระฉัพพัคคีย์สอยผลมะม่วง

กระทั่งผลอ่อน ๆ ฉัน พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชต้องพระประสงค์

ผลมะม่วง จึงรับสั่งกับมหาดเล็กว่า ไปเถิด พนาย จงไปสวนเก็บมะม่วงมา

มหาดเล็กรับพระบรมราชโองการแล้ว ไปสู่พระราชอุทยาน บอกคนรักษา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

พระราชอุทยานว่า ในหลวงมีพระประสงค์ผลมะม่วง ท่านจงถวายผลมะม่วง

คนรักษาพระราชอุทยานตอบว่า ผลมะม่วงไม่มี ภิกษุทั้งหลายเก็บไปฉันหมด

กระทั่งผลอ่อน ๆ มหาดเล็กเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระเจ้าพิมพิสารๆ

รับสั่งว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายฉันผลมะม่วงหมดก็ดีแล้ว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสรรเสริญความรู้จักประมาณ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่รู้จักประมาณ ฉันผลมะม่วงของ

ในหลวงหมด ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ...

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉัน

ผลมะม่วง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๒๔] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาจัด

ผลมะม่วงเป็นชิ้น ๆ ไว้ในกับข้าว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน...

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับ

ประเคนฉันเถิด เราอนุญาตผลมะม่วงเป็นชิ้น ๆ.

สัมณกัปปะ ๕ อย่าง

[๒๕] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาไม่ได้

ฝานมะม่วงเป็นชิ้น ๆ ในโรงอาหารล้วนแล้วไปด้วยผลมะม่วงทั้งนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน . . .

พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับ

ประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ

๑. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ

๒. ผลไม้ทำกรีดด้วยศัสตรา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ

๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด

๕. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้.

เรื่องภิกษุถูกงูกัด

[๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้

แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้น แผ่เมตตาจิต

ไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ตระกูลพญางู

ทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ

๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ

๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ

๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ

๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ.

ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะ

ถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึง

มรณภาพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง

๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่

อย่างนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

คถาแผ่เมตตากันงูกัด

[๒๗] เรากับพญางูระกูลวิรูปักขะ

จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูล

เอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางู

ตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับ

พญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อ

กัน เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อ

กัน เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน

เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์

กับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์

ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้า

อย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้

เบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียด-

เบียนเรา และสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวล

ทุกหมู่เหล่า จงประสบความเจริญ อย่าได้

พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย.

พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณ

มิได้ พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ แต่สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู

แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเรา

ทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด เรา

นั้นขอนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง

๗ พระองค์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

เรื่องภิกษุตัดองค์กำเนิด

[๒๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกความกระสันเบียดเบียน ได้ตัดองค์

กำเนิดของตนเสีย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ เมื่อ

สิ่งที่จะพึงตัดอย่างอื่นยังมี ไพล่ไปตัดเสียอีกอย่าง ภิกษุไม่พึงตัดองค์กำเนิด

ของคน รูปใดตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์

[๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่นจันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี

ชาวเมืองราชคฤห์ จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วย

ปุ่มไม้แก่นจันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเราจักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็น

ทาน หลังจากนั้น ท่านราชคหเศรษฐีให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทน์นั้น

แล้วใส่สาแหรกแขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อ ๆ กันขึ้นไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้

แล้วไปเถิด.

[๓๐] ขณะนั้น ปูรณกัสสปเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า

ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่

อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์

และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด

ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะ

ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฎบุตร ได้เข้าไปหาท่านเราชคหเศรษฐี

แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

จงให้บาตรแก่อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็น

พระอรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด.

เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ

[๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร

ทวาชะ ครองอัตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง

ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นอรหันต์และมีฤทธิ์

แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑล-

ภารทวาชะ ไค้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ

จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้น ของท่าน แม้ท่านพระโมคัคลลานะก็กล่าวกะท่าน

พระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตร

นั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียน

ไปรอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ.

[๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ใน

เรือนของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณ

เจ้าภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑล-

ภารทวาชะ ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น ท่านราช-

คหเศรษฐีรับบาตรจากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยว

มีค่ามาก ถวายท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับ

บาตรนั้นไปสู่พระอาราม ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ

ปลดบาตรของราชคหเศรษฐีไปแล้ว และชาวบ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียว-

กราว ติดตามพระปิณโฑลภารทวาชะไปข้างหลัง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

สดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้วตรัสถามพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

อึกทึกเกรียวกราว เรื่องอะไรกัน ท่านอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาว

บ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐี

ลง จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมาข้างหลัง ๆ อย่างอึกทึกเกรียว

กราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้ คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

[๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน

เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระ-

ปิณโฑลภารทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง

จริงหรือ

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น

ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน

เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวก

คฤหัสถ์ เพราะเหตุแบ่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ

เพราะเหตุแห่งทรัพย์เป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดง

อิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง

บาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวด

ยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั้น บดให้ละเอียด

ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

[๓๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรต่าง ๆ คือ บาตรทำด้วย

ทองคำ บาตรทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือน

พวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย . .. กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

บาตรทองคำ ไม่พึงใช้บาตรเงิน ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี ไม่พึงใช้บาตร

แก้วไพฑูรย์ ไม่พึงใช้บาตรแก้วผลึก ไม่พึงใช้บาตรทองสัมฤทธิ์ ไม่พึงใช้

บาตรกระจก ไม่พึงใช้บาตรดีบุก ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว ไม่พึงใช้บาตรทองแดง

รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ. .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑

บาตรดิน ๑.

[๓๕] สมัยต่อมา ก้นบาตรสึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร.

[๓๖] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บังเวียนรองบาตรต่าง ๆ ทำด้วย

ทอง ทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า... เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย .. .กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

บังเวียนรองบาตรต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร ๒ ชนิด คือ ทำ

ด้วยดีบุก ๑ ทำด้วยตะกั่ว ๑ บังเวียนรองบาตรหนา ไม่กระชับกับบาตร

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้กลึงบังเวียนรองบาตรที่กลึงแล้วยังเป็นคลื่น. . . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จักเป็นฟันมังกร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

[๓๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บังเวียนรองบาตรอันวิจิตร

จ้างเขาทำให้มีลวดลายเป็นรูปภาพ เที่ยวแสดงไปแม้ตามถนน ชาวบ้านเพ่งโทษ

ติเตียนโพนทะนาว่า. . .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

บังเวียนรองบาตรอันวิจิตร ที่จ้างเขาทำให้มีลวดลายเป็นรูปภาพ รูปใดใช้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้บังเวียนรองบาตรอย่างธรรมดา.

[๓๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บงำบาตรทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรเหม็น

อับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ

ภิกษุไม่พึงเก็บงำ รูปใดเก็บงำ ต้องอาบัติทุกกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งแล้วจึงเก็บงำบาตร.

[๓๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผึ่งบาตรทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่น

เหม็น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ

ภิกษุไม่พึงผึ่งไว้ รูปใดผึ่งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำให้หมดน้ำเสียก่อนผึ่ง แล้วจึง

เก็บงำบาตร.

[๔๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผึ่งบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งไว้ในที่ร้อนครู่เดียวแล้วจึงเก็บ

งำบาตร.

[๔๑] สมัยต่อมา บาตรเป็นอันมาก ไม่มีเชิงรอง ภิกษุทั้งหลายวาง

เก็บไว้ในที่แจ้ง บาตรถูกลมหัวด้วนพัดกลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรอง

บาตร.

[๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ บาตร

กลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวาง

บาตรไว้ริมกระดานเลียบ รูปได้วางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็ก ๆ

นอกฝา บาตรกลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวาง

บาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็ก ๆ นอกฝา รูปใดว่างไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึก

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้หญ้ารอง หญ้าที่รองถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้

ท่อนผ้ารอง ท่อนผ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนทั้งหลาย เราอนุญาตแท่นเก็บ

บาตร บาตรตกจากแท่นเก็บ บาตรแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้

หม้อเก็บบาตร บาตรครูดสีกับหม้อเก็บบาตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้ถุงบาตร สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระมีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสาย

โยกเป็นด้ายถัก.

[๔๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายแขวนบาตรไว้ที่ไม้เดือยข้างฝาบ้าง

ที่ไม้นาคทนต์บ้าง บาตรพลัดตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีผู้

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแขวน

บาตรไว้ รูปใดแขวนไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๖] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนเตียง เผลอสตินั่งทับ

บาตรแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บ

บาตรไว้บนเตียง รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

[๔๗] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนตั่ง เผลอสตินั่งทับ

บาตรแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บ

บาตรไว้บนตั่ง รูปใดเก็บ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้บนตัก เผลอสติลุกขึ้น

บาตรตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวาง

บาตรไว้บนตัก รูปใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนกลด กลดถูกลมหัว

ด้วนพัด บาตรตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บ

บาตรไว้บนกลด รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายถือบาตรอยู่ ผลักบานประตูเข้าไป

บาตรกระทบบานประตูแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี.

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือบาตร

อยู่ ไม่พึงผลักบานประตูเข้าไป รูปใดผลัก ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต

ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

[๕๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้กระเบื้องหม้อเที่ยวบิณฑบาตชาว

บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

กระเบื้องหม้อเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๓] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งใช้ของบังสกุลทุกอย่าง เธอใช้บาตร

กะโหลกผี สตรีผู้หนึ่งเห็นเข้า กลัว ได้ร้องเสียงวีดแสดงความหวาดเสียวว่า

นี้ปีศาจแน่ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตรจึงใช้บาตรกะโหลกผีเหมือนพวกปีศาจ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตร

กะโหลกผี รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้ของบังสุกุลทุกอย่าง

รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรรับเศษอาหารบ้าง ก้างบ้าง

น้ำบ้วนปากบ้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้จึงใช้บาตรต่างกระโถน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

บาตรรับเศษอาหาร ก้าง หรือน้ำบ้วนปาก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ เรา

อนุญาตให้ใช้กระโถน.

เรื่องจีวร

[๕๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้มือฉีกผ้าแล้ว เย็บเป็นจีวร จีวร

มีแนวไม่เสมอกัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

พระผู้มีพระภาคเจ้า . ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้มีดมีผ้าพัน.

[๕๖] สมัยต่อมา มีดมีด้ามบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีด

มีด้าม.

[๕๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้ด้ามมีดต่างๆ ทำด้วยทอง ทำด้วย

เงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้

ด้ามมีดต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ามมีดที่ทำด้วยกระดูก งา เขา

ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้ธรรมดา ครั่ง เมล็ดผลไม้ โลหะ และกระดองสังข์.

[๕๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่บ้าง ไม้กลัดบ้าง เย็บจีวร

จีวรเย็บแล้วไม่ดี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้เข็ม เข็มขึ้นสนิม . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กล่อง

เข็ม แม้ในกล่องเข็มก็ยังขึ้นสนิม . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้โรยด้วยแป้งข้าวหมาก แม้ในแป้งข้าวหมาก เข็มก็ยังขึ้นสนิม . . . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยด้วยแป้งเจือขมิ้นผง แม้ในแป้งเจือขมิ้น

ผงเข็มก็ยังขึ้นสนิมได้ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ฝุ่น

หิน แม้ในฝุ่นหินเข็มก็ยังขึ้นสนิม... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ให้ทาด้วยขี้ผึ้ง ฝุ่นหินแตก . ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้ผ้ามัดขี้ผึ้งพอกฝุ่นหิน.

เรื่องไม้สะดึง

[๕๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตอกหลักลงในที่นั้น ๆ ผูกขึงเย็บจีวร

จีวรเสียมุม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้

สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง ให้ผูกลงในที่นั้น ๆ เย็บจีวรได้ ภิกษุทั้งหลายขึงไม้

สะดึงในที่ไม่เรียบ ไม่สะดึงหัก . . .พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึงในที่ไม่เสมอ รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น...ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง ขอบไม้สะดึงชำรุด ...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้าอนุวาต ไม้สะดึงไม่พอ...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกับ ซี่ไม้สำหรับ

สอดเข้าในระหว่างจีวรสองชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอก ด้วยผูกจีวรลง

กับสะดึงใน ครั้นขึงแล้วจึงเย็บจีวร ด้วยเกษียนภายในไม่เสมอ ...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมาย เส้นด้ายคด...ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นด้ายตีบรรทัด.

[๖๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีเท้าเปื้อนเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสีย

หาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปื้อน

ไม่พึงเหยียบไม้สะดึง รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

[๖๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีเท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึง

เสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีเท้าเปียก

ไม่พึงเหยียบไม้สะดึง รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายสวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึง

เสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้า

ไม่พึงเหยียบไม้สะดึง รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร รับเข็มด้วยนิ้วมือ นิ้วมือ

ก็เจ็บ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ.

[๖๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้ปลอกสวมนิ้วมือต่าง ๆ คือ ทำ

ด้วยทอง ทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือน

พวกคฤหัสถ์ ผู้บริโภคกาม ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

ใช้ปลอกสวมนิ้วมือต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือที่ทำด้วย

กระดูก. . . ทำด้วยกระดองสังข์.

[๖๕] สมัยต่อมา เข็มบ้าง มีดบ้าง ปลอกสวมนิ้วบ้าง มือหายไป

ภิกษุทั้ง หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องเก็บ

เครื่องเย็บผ้า ภิกษุทั้งหลายมัวพะวงอยู่แต่ในกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บ

ปลอกนิ้วมือ สายโยกไม่มี .... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสาย

โยกเป็นด้ายถัก.

เรื่องโรงสะดึง

[๖๖] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรอยู่ในที่แจ้ง ลำบากด้วยความ

หนาวบ้าง ร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงสะดึง

ปะรำสะดึง โรงสะดึงมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง อินที่ถมพังทะลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม

๓ อย่างคือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยศิลา ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลง

ลำบาก . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บัน-

ไดอิฐ ๑ บันไดหิน ๑ บันไดไม้ ๑

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก .. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตราวสำหรับยึด.

[๖๗] สมัยต่อมา ผงหญ้าที่มุงร่วงลงในโรงสะดึง . . . ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน ให้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอก

จอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวรได้.

[๖๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรเสร็จแล้ว ละทิ้งไม้สะดึงไว้ใน

ที่นั้นเองแล้วหลีกไป หนูบ้าง ปลวกบ้าง กัดกิน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ม้วนไม้สะดึงเก็บไว้ ไม้สะดึงหัก. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้สอดท่อนไม้ม้วนไม้สะดึงเข้าไป ไม้สะดึงคลี่ออก . . . ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูก.

[๖๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกไม้สะดึงเก็บไว้ที่ฝาบ้าง ที่เสาบ้าง

แล้วหลีกไป ไม้สะดึงพลัดตกเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้แขวนไว้ที่เดือยข้างฝา หรือที่ไม้นาคทนต์.

[๗๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์

ตามพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย

ใช้บาตรบรรจุ เข็มบ้าง มีดบ้าง เครื่องยาบ้าง เดินทางไป ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บเครื่องยา สายโยกไม่มี ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก.

[๗๑] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งใช้ประคดเอวผูกรองเท้าเข้าไปบิณ-

ฑบาตในบ้าน อุบาสกผู้หนึ่งกราบภิกษุรูปนั้น ศีรษะกระทบรองเท้า ภิกษุนั้น

ขวยใจ ครั้นเธอกลับไปถึงวัดแล้ว แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บรองเท้า สายโยกไม่มี . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก.

เรื่องผ้ากรองน้ำ

[๗๒] สมัยต่อมา น้ำในระหว่างทาง เป็นอกัปปิยะ ผ้าสำหรับกรอง

น้ำไม่มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ ท่อนผ้าไม่พอ . . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองทำรูปคล้ายช้อน ผู้ไม่พอ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระบอกกรองน้ำ.

[๗๓] สมัยต่อมา ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไปในโกศลชนบท ภิกษุรูป

หนึ่งประพฤติอนาจาร ภิกษุเพื่อนเตือนภิกษุรูปนั้นว่า คุณอย่าทำอย่างนี้ซิ

ขอรับ การท่านนี้ไม่ควร ภิกษุนั้นผูกโกรธภิกษุเพื่อน ครั้นภิกษุเพื่อนกระหาย

น้ำ พูดอ้อนวอนภิกษุรูปที่ผูกโกรธว่า โปรดให้ผ้ากรองน้ำแก่ผม ผมจักดื่มน้ำ

ภิกษุรูปที่ผูกโกรธไม่ยอมให้ ภิกษุเพื่อนกระหายน้ำถึงมรณภาพ ครั้นภิกษุรูปที่

ผูกโกรธไปถึงวัดแล้ว เล่าความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายถามว่า ท่าน

ถูกเพื่อนอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ก็ไม่ให้เทียวหรือ เธอรับว่า อย่างนั้น ขอ

รับ บรรดาภิกษุเป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็ เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุเมื่อถูกขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ให้กัน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์สอบถาม

[๗๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน

เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ก็ไม่ยอมให้ จริง

หรือ.

ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ

ของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร

ทำ ไฉนเนื่องเธอถูกเขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ยอมให้ การกระทำของเธอ

นั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำ

ธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางเมื่อถูก

เขาอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจะไม่พึงให้ ไม่ควร รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ .

อนึ่ง ภิกษุไม่มีผ้ากรองน้ำ อย่าเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ถ้าผ้ากรองน้ำ หรือกระบอกกรองน้ำไม่มี แม้มุมผ้าสังฆาฏิ ก็พึง

อธิษฐานว่า เราจักกรองน้ำด้วยมุมผ้าสังฆาฏินี้ดื่ม ดังนี้ .

[๗๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนคร-

เวสาลีแล้วทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน เขต-

พระนครเวสาลีนั้น.

[๗๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำนวกรรมอยู่ ผ้ากรองน้ำไม่พอกัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ ผ้ากรองน้ำมีขอบไม่พอใช้ ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้พระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

[๗๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมุ้ง.

เรื่องที่จงกรมและเรื่องไฟ

[๗๘] สมัยนั้น ทายกทายิกาในพระนครเวสาลีเริ่มจัดปรุงอาหาร

ประณีตขึ้นตามลำดับ ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันประณีตแล้ว มีร่างกายอันโทษ

สั่งสม มีอาพาธมาก ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจได้ไปสู่เมืองเวสาสีด้วยกิจจำ

เป็นบางอย่างได้เห็นภิกษุทั้งหลาย มีร่างกาย้อนโทษสั่งสม มีอาพาธมาก ครั้น

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มี

ร่างกายอันโทษสั่งสม มีอาพาธมาก ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย

เถิด พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นแจ้ง

สมาทาน อาจหาญ... ร่าเริงด้วยธรรมีกถา จึงหมอชีวกโกมารภัจลุกจากที่นั่ง

ถวายบังคมพระผู้มีภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป.

พุทธานุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ

[๗๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

[๘๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจงกรมในที่ขรุขระ เท้าเจ็บ จึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำจงกรมให้เรียบ.

[๘๑] สมัยต่อมา ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม . . .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรมให้สูง ที่ถมพังลง .. ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม ๓ ชนิด คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อ

ด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ๑ บันไดหิน ๑ บันได

ไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ราวสำหรับยึด.

[๘๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่ในที่จงกรม พลัดตกลงมา

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม.

[๘๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่กลางแจ้ง ลำบาก ด้วย

หนาวบ้าง ร้อนบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงจงกรม ผง

หญ้าที่มุ่งหล่นเกลื่อนในโรงจงกรม .. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกข้างใน ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำ

หลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สาย

ระเดียงจีวร.

[๘๔] สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง พื้นที่ถมพังลงมา. ..ตรัสว่า ดูก่อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดินที่ถม ๓ ชนิด คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อ

ด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ๑ บันไดหิน ๑ บันได

ไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพัดตกลงมา . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตราวสำหรับยึด เรือนไฟไม่มีบานประตู. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู

ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชักเชือก เชือกสำหรับชัก เชิง

ฝาเรือนไฟชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อให้ต่ำ เรือนไฟ

ไม่มีปล่องควัน . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปล่องควัน.

[๘๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไฟไว้กลางเรือนไฟขนาด

เล็กไม่มีอุปจาร . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหน้าที่ตั้ง

เตาไฟไว้ส่วนข้างหนึ่ง เฉพาะเรือนไฟขนาดเล็ก เรือนไฟขนาดกว้าง ตั้งไว้

ตรงกลางได้ ไฟในเรือนไฟลวกหน้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตดินสำหรับทาหน้า ภิกษุทั้งหลายละลายดินด้วยมือ.. .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางสำหรับละลายดิน ดินมีกลิ่นเหม็น. ..ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อบกลิ่น.

[๘๖] สมัยต่อมา ไฟในเรือนไฟลนกาย ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตักน้ำมาไว้มาก ๆ ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้าง

ตักน้ำ ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ขังน้ำ ขันตักน้ำ เรือนไฟ

ที่มุงด้วยหญ้าไหม้เกรียม . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง

ฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง เรือนไฟเป็นตม . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

เราอนุญาตให้ปูเครื่องลาด ๓ อย่าง คือเครื่องลาดอิฐ ๑ เครื่องลาดหิน ๑

เครื่องลาดไม้ ๑ เรือนไฟก็ยังเป็นตมอยู่นั่นเอง . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ชำระล้างน้ำขัง . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อ

ระบายน้ำ.

[๘๗] สมัยต่อมา ภิกษุทั้ง หลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ เนื้อตัว

คัน . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งในเรือนไฟ.

[๘๘] สมัยต่อมา เรือนไฟยังไม่มีเครื่องล้อม. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ อย่าง คือ รั้วอิฐ ๑ รั้วหิน ๑ รั้วไม้ ๑

ซุ้มไม่มี. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม ซุ้มต่ำไป น้ำท่วม

ได้. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำพื้นที่ให้สูง พื้นที่ก่อพัง

. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน ๓ อย่าง คือ ก่อด้วย

อิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก . .ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ ๑ บันไดหิน ๑

บันไดไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตราวสำหรับยึด ซุ้มยังไม่มีประตู . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตผ่านประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน

สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก.

[๘๙] สมัยต่อมา ผงหญ้าหล่นเกลื่อนซุ้ม. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ

สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ

บริเวณเป็นตม ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่

กรวดแร่ยังไม่เต็ม . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วางศิลาเรียบ

น้ำขัง. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

เรื่องการเปลือยกาย

[๙๐] สมัยนั้น ภิกษุเปลือยกายไหว้ภิกษุไม่เปลือยกาย ภิกษุเปลือย

กายให้ภิกษุเปลือยกายไหว้คน ภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุไม่เปลือยกายไหว้ตน

ภิกษุเปลือยกายทำบริกรรมให้แก่ภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยใช้ให้ทำบริกรรม

แก่ภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายให้ของแก่ภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกาย

รับประเคน เปลือยกายเคี้ยว เปลือยกายฉัน เปลือยกายลิ้มรส เปลือยกายดื่ม

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเปลือยกาย

ไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงให้

ภิกษุเปลือยกายไหว้ตน ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ภิกษุไม่เปลือยกายไหว้ตน

ไม่พึงเปลือยกายทำบริกรรมแก่ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงใช้ภิกษุเปลือยกายทำ

บริกรรม ไม่พึงเปลือยกายให้ของแก่ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงเปลือยกายรับประเคน

ไม่พึงเปลือยกายเคี้ยวของ ไม่พึงเปลือยกายฉันอาหาร ไม่พึงเปลือยกายลิ้มรส

ไม่พึงเปลือยกายดื่ม รูปใดดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องศาลาเรือนไฟและบ่อน้ำ

[๙๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดินในเรือนไฟ จีวร

เปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงจีวร

ในเรือนไฟ ครั้นฝนตกจีวรถูกฝนเปียก ตรัสว่า. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตศาลาใกล้เรือนไฟ ศาลาใกล้เรือนไฟมีพื้นต่ำ น้ำท่วม...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้สูง ดินที่ถมพังลง...ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อมูลดิน. . . ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก...ขึ้นลง

พลัดตก .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนราวสำหรับยึด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

[๙๒ ] สมัยต่อมา ผงหญ้าบนศาลาเรือนไฟตกเกลื่อน . . .ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบนข้างล่าง. ..ราวจีวร

สายระเดียงจีวร.

[๙๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะถูหลังทั้งในเรือนไฟ ทั้งใน

น้ำ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด คือ เรือนไฟ ๑ น้ำ ๑ ผ้า ๑.

[๙๔] สมัยต่อมา น้ำในเรือนไฟไม่มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตบ่อน้ำ ขอบบ่อน้ำทรุดพัง.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ก่อมูลดิน ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วยหิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ บ่อน้ำ

ต่ำไป น้ำท่วมได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้สูง ดิน

ที่ถมพังทะลาย ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก . . .ขึ้นลงพลัดตก. . .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

[๙๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เถาวัลย์บ้าง ประคดเอวบ้าง ผูก

ภาชนะตักน้ำ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับบ่อน้ำ

มือเจ็บ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคันโพงคล้ายคันชั่ง ระหัด

ชัก ระหัดถีบ ภาชนะแตกเสียมาก . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ถังน้ำ ๓ อย่าง คือ ถังน้ำโลหะ ๑ ถังน้ำไม้ ๑ ถังน้ำหนัง ๑.

[๙๖] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตักน้ำในที่แจ้ง ลำบาก ด้วยหนาว

บ้าง ร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาสำหรับบ่อน้ำ ผงหญ้าที่ศาลา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

บ่อน้ำหล่นเกลื่อน. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบ

ด้วยดินทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สี่ดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้

เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร.

[๙๗] สมัยนั้น บ่อน้ำยังไม่มีฝาปิด ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้าง ตกลง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.

[๙๘] สมัยต่อมา ภาชนะสำหรับขังน้ำยังไม่มี. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตรางน้ำ อ่างน้ำ.

[๙๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้าในที่นั้น ๆ ในอาราม อาราม

เป็นตม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลำรางระบายน้ำ ลำราง

โล่งโถง ภิกษุทั้งหลายอายที่จะสรงน้ำ. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้กั้นกำแพง ๓ ชนิด คือกำแพงอิฐ ๑ กำแพงหิน ๑ กำแพงไม้ ๑

ลำรางระบายน้ำเป็นตม. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาด

๓ ชนิด คืออิฐ ๑ หิน ๑ ไม้ ๑ น้ำขัง...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตท่อระบายน้ำ

[ ๑๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวตกหนาว จึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้เอาผ้าชุบน้ำเช็ดตัว.

เรื่องสรงน้ำ

[๑๐๑] สมัยนั้น อุบาสกผู้หนึ่งใคร่จะสร้างสระน้ำถวายสงฆ์ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสระน้ำ ขอบสระน้ำชำรุด.. .ตรัสว่า ดูก่อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อขอบสระ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ก่อด้วย

หิน ๑ ก่อด้วยไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ ๑ บันไดหิน ๑

บันไดไม้ ๑ ขึ้นลงพลัดตก. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราว

สำหรับยึด น้ำในสระเป็นน้ำเก่า... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

รางน้ำ ท่อระบายน้ำ.

[๑๐๒] สมัยต่อมา อุบาสกผู้หนึ่งประสงค์จะสร้างเรือนไฟ มีปั้นลม

ถวายภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม

[๑๐๓] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์อยู่ปราศจากผ้านิสีทนะถึง ๔ เดือน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากผ้านิสีทนะถึง ๔ เดือน รูปใด

อยู่ปราศ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงห้ามนอนบนที่นอนดอกไม้

[๑๐๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นอนบนที่นอนอันเกลื่อนด้วยดอกไม้

ชาวบ้านเดินเที่ยวชมวิหารพบเห็นเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ...

เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอน

ที่นอนอันเกลื่อนด้วยดอกไม้ รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พุทธานุญาตรับของหอม

[๑๐๕] สมัยนั้น ชาวบ้านถือของหอมบ้าง ดอกไม้บ้างไปวัด ภิกษุ

ทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับของหอมแล้ว

เจิมไว้ที่บานประตูหน้าต่าง ให้รับดอกไม้แล้ววางไว้ในส่วนข้างหนึ่งในวิหาร

[๑๐๖] สมัยนั้น สันถัดขนเจียมหล่อบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสันถัดขนเจียมหล่อ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า

สันถัดขนเจียมหล่อจะต้องอธิษฐานหรือวิกัป . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สันถัดขนเจียมที่หล่อไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้องวิกัป.

[๑๐๗] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันจังหันบนเตียบ ชาวบ้านเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า . .. เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารบนเตียบ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ.

[๑๐๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เวลาฉันจังหัน เธอไม่สามารถ

จะทรงบาตรไว้ด้วยมือได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโต

ทรงห้ามฉันในภาชนะเดียวกันเป็นต้น

[๑๐๙] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันจังหันในภาชนะเดียวกันบ้าง

ดื่มน้ำในขันเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนบนเครื่องลาดเดียว

กันบ้าง นอนในผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนบนเครื่องลาดและผ้าห่มร่วมผืน

เดียวกันบ้าง ชาวบ้านต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . ..เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. . .ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันร่วมภาชนะเดียวกัน ไม่พึงดื่ม

ร่วมขันใบเดียวกัน ไม่พึงนอนร่วมเตียงเดียวกัน ไม่พึงนอนร่วมเครื่องลาด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

เดียวกัน ไม่พึงนอนร่วมผ้าห่มผืนเดียวกัน ไม่พึงนอนร่วมเครื่องลาดและ

ผ้าห่มผืนเดียวกัน รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฎ.

เรื่องเจ้าวัฑฒลิจฉวี

[๑๑๐] สมัยนั้น เจ้าวัฑฒลิจฉวีเป็นสหายของพระเมตติยะ และ

พระภุมมชก จึงเจ้าวัฑฒลิจฉวี เข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะ แล้ว

กล่าวว่า ผมไหว้ขอรับ เมื่อเธอกล่าวอย่างนั้น ภิกษุทั้งสองรูปก็มิได้ทักทาย

ปราศรัย แม้ครั้งที่สอง เจ้าวัฑฒลิจฉวีได้กล่าวว่า ผมไหว้ขอรับ แม้ครั้ง

ที่สอง ภิกษุทั้งสองรูปก็มิได้ทักทายปราศรัย แม้ครั้งที่สาม เจ้าวัฑฒลิจฉวีได้

กล่าวว่า ผมไหว้ขอรับ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุทั้งสองรูปก็มิได้ทักทายปราศรัย.

ว. ผมผิดอะไรต่อพระคุณเจ้าอย่างไร ทำไม พระคุณเจ้าจึงไม่ทักทาย

ปราศรัยกับผม.

ภิกษุทั้งสองตอบว่า ก็จริงอย่างนั้นแหละ ท่านวัฑฒะ พวกอาตมา

ถูกท่านพระทัพพมัลลบุตรเบียดเบียนอยู่ ท่านยังเพิกเฉยได้.

ว. ผมจะช่วยเหลืออย่างไร ขอรับ.

ภิ. ท่านวัฑฒะ ถ้าท่านเต็มใจช่วย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ต้อง

ให้พระทัพพมัลลบุตรสึก.

ว. ผมจะทำอย่างไร ผมสามารถจะช่วยได้ด้วยวิธีไหน.

ภิ. มาเถิด ท่านวัฑฒะ ท่านจงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

กราบทูลอย่างนี้ว่า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร

ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่มีลม บัดนี้

กลับมีลมแรงขึ้น ประชาบดีของหม่อมฉัน ถูกพระทัพพมัลบุตรประทุษร้าย

คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

เจ้าวัฑฒลิจฉวีรับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะ แล้วเข้าเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า กรรมนี้ไม่แนบเนียน ไม่สมควร ทิศที่ไม่มีภัย ไม่มีจัญไร

ไม่มีอันตราย บัดนี้กลับมามีภัย มีจัญไร มีอันตราย ณ สถานที่ไม่มีลม บัดนี้

กลับมีลมแรงขึ้น ประชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรประทุษร้าย

คล้ายน้ำถูกไฟเผา พระพุทธเจ้าข้า.

[๑๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน

เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน

พระทัพพมัลลบุตรว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรม

ตามที่เจ้าวัฑฒลิจฉวีนี้ กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระองค์

ย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตร

ว่า ดูก่อนทัพพะ เธอยังระลึกได้หรือว่า เป็นผู้ทำกรรมตามที่เจ้าวัฑฒลิจฉวี

นี้กล่าวหา ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบว่า

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่กล่าวแก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำ

จงบอกว่าทำ ถ้าไม่ได้ทำ จงบอกว่าไม่ได้ทำ.

ท. ตั้งแต่ข้าพระพุทธเจ้าเกิดมาแล้ว แม้โดยความฝัน ก็ยังไม่รู้จักเสพ

เมถุนธรรม จะกล่าวไยถึงเมื่อตื่นอย่เล่า พระพุทธเจ้า.

[๑๑๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ อย่าให้คบ

กับสงฆ์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

องค์แห่งการคว่ำบาตร

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ คือ :-

๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย

๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย

๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน

๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

๗. กล่าวติเตียนพระธรรม

๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วย

องค์ ๘ นี้ .

[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงคว่ำบาตรอย่างนี้ ภิกษุ

ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาคว่ำบาตร

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวี โจท

ท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงคว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ อย่าให้

คบกับสงฆ์ นี้เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวีโจทท่าน

พระทัพพมัลบุตรด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้า-

วัฑฒลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ การคว่ำบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี

คือไม่ให้คบกับสงฆ์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

บาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับ

สงฆ์ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๑๑๕] ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสกแล้วถือบาตร

จีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะเจ้าวัฑฒ-

ลิจฉวีว่า ท่านวัฑฒะ สงฆ์คว่ำบาตรแก่ท่านแล้ว ท่านคบกับสงฆ์ไม่ได้ พอ-

เจ้าวัฑฒลิจฉวีทราบข่าวว่า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เราแล้ว เราคบกับสงฆ์ไม่ได้แล้ว

ก็สลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง.

ขณะนั้น มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต ของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้กล่าว

คำนี้กะเจ้าวัฑตลิจฉวีว่า ไม่ควร ท่านวัฑฒะ อย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญ

ไปนักเลย พวกเราจักให้พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์เลื่อมใส จึงเจ้า

วัฑฒลิจฉวี พร้อมด้วยบุตรภรรยา พร้อมด้วยมิตรอำมาตย์ พร้อมด้วย

ญาติสาโลหิต มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบศีรษะ

ลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

โทษได้มาถึงหม่อมฉันแล้ว ตามความโง่ ตามความเขลา ตามอกุศล ขอ

พระองค์ทรงพระกรุณารับโทษของหม่อมฉันที่ได้โจทพระคุณเจ้าทัพพมัลลบุตร

ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด

พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เชิญเถิด เจ้าวัฑฒะ โทษได้มาถึงท่านแล้ว

ตามความโง่ ตามความเขลา ตามอกุศล ท่านได้เห็นโทษ ที่ได้โจททัพพมัลลบุตร

ด้วยศีลวิบัติอันไม่มีมูล โดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม เราขอรับโทษ

นั้นของท่าน การที่ท่านเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม

ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย

[๑๑๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงหงายบาตร แก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ทำให้

คบกับสงฆ์ได้.

องค์แห่งการหงายบาตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรแก่อุบาสก ผู้ประกอบด้วย

องค์ ๘ คือ :-

๑. ไม่ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย

๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่เป็นประโยชน์แห่งภิกษุทั้งหลาย

๓ . ไม่ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย

๔. ไม่ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย

๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกร้าวกัน

๖. ไม่กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า

๗. ไม่กล่าวติเตียนพระธรรม

๘. ไม่กล่าวติเตียนพระสงฆ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หงายบาตร แก่อุบาสกผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ นี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงหงายบาตรอย่างนี้ เจ้า-

วัฑฒลิจฉวีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย นั่ง

กระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่

ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคบกับสงฆ์ไม่ได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นประพฤติชอบ

หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[๑๑๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาหงายบาตร

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ คว่ำบาตรแก่เจ้า-

วัฑฒลิจฉวีแล้ว คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หาย

เย่อยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม

พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ

ทำให้คบกับสงฆ์ได้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรแก่เจ้า

วัฑฒลิจฉวี คือ ไม่ให้คบกับสงฆ์ เธอประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง

ประพฤติแก้ตัวได้ ขอการหงายบาตรกะสงฆ์ สงฆ์หงายบาตรแก่เจ้า

วัฑฒลิจฉวี คือ ทำให้คบกับสงฆ์ได้ การหงายบาตรแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี

คือ ทำไห้คบกับสงฆ์ได้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

บาตรอันสงฆ์หงายแล้วแก่เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ทำให้คบกับ

สงฆ์ได้ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๑๑๙] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ในเขตพระนครเวสาลี

ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกทางภัคคชนบท เสด็จจาริกโดยลำดับ

ถึงภัคคชนบทแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เภสกฬามฤคทายวัน เขต

เมืองสุงสุมารคิระ ในแคว้นภัคคชนบทนั้น

เรื่องโพธิราชกุมาร

[๑๒๐] สมัยนั้น ปราสาทโกกนุทของโพธิราชกุมาร สร้างเสร็จใหม่ๆ

ยังไม่มีสมณพราหมณ์ หรือผู้ใดผู้หนึ่งอยู่อาศัย จึงโพธิราชกุมาร รับสั่ง

กะมาณพสัญชิกาบุตรว่า พ่อสหายสัญชิกาบุตร เธอจงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้า แล้วถามถึงพระประชวรเบาบาง พระโรค-

น้อย ความทรงกระปรี้กระเปร่า พระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า

พระพุทธเจ้าข้า โพธิราชกุมารขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์ด้วยเศียร.

เกล้า ทูลถามถึงพระประชวรเบาบาง พระโรคน้อย ความทรงกระปรี้กระเปร่า

พระกำลัง ทรงพระสำราญและจงทูลอาราธนาอย่างนี้ว่า ขอพระองค์พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระ

พระพุทธเจ้าข้า มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราชกุมาร แล้วเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอเป็นที่ชื่นชม เป็นที่ให้ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

กราบทูลว่า โพธิราชกุมารขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์ผู้เจริญ ด้วย

เศียรเกล้า ทูลถามพระประชวรเบาบาง พระโรคน้อย ทรงกระปรี้กระเปร่า

พระกำลัง ทรงพระสำราญ และกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้วลุกจากที่นั่งงเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร

แล้วทูลว่า เกล้ากระหม่อมได้กราบทูลท่านพระโคดมนั้นตามรับสั่งของพระองค์

แล้วว่า โพธิราชกุมาร ขอถวายบังคมพระบาทของท่านพระโคดมผู้เจริญด้วย

เศียรเกล้า ทูลถามถึงพระประชวรเบาบาง พระโรคน้อย ทรงกระปรี้กระเปร่า

พระกำลัง ทรงพระสำราญ และทราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของโพธิราชกุมาร เพื่อเสวยในวัน

พรุ่งนี้ ก็แลพระสมณโคดมทรงรับอาราธนาแล้ว..

[๑๒๑] ครั้นล่วงราตรีนั้น โพธิราชกุมารรับสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยว

ของฉันอันประณีตแลรับสั่งให้ปูลาดโกกนุทปราสาทด้วยผ้าขาวตราบเท่าถึงบันได

ขึ้นที่สุดแล้วรับสั่งกะมาณพสัญชิกาบุตรว่า พ่อสหายสัญชิกาบุตร เธอจงไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว

พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จ แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสำสั่งโพธิราชกุมาร

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

[๑๒๒] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรายหรวาสก

แล้วทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของโพธิราชกุมาร ก็แลเวลานั้น โพธิ-

ราชกุมารกำลังประทับรอพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ที่ซุ้มนพระทวารชั้นนอก ได้

ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล ้ ครั้นแล้วเสด็จ

รับแต่ที่ไกลนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จไปข้างหน้า ทรงคำเนิน

ไปทางโกกนุทปราสาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับยืนอยู่ใกล้บันไดขั้นแรก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

จึงโพธิราชกุมาร กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้า ขอพระสุคตจงทรงเหยียบผ้า เพื่อความเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน เมื่อโพธิราชกุมารกราบทูลอย่างนี้

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดุษณีภาพ

แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สาม โพธิราชกุมารกราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเหยียบผ้า ขอพระสุคต

จงทรงเหยียบผ้าเพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำเลืองดูท่านพระอานนท์ จึงท่าน

พระอานนท์ได้ถวายพรแก่โพธิราชกุมารว่า จงม้วนผ้าเถิด พระราชกุมาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงเหยียบผ้า พระตถาคตอนุเคราะห์หมู่ชนชั้นหลัง

จึงโพธิราชกุมารรับสั่งให้ม้วนผ้า แล้วให้ปูอาสนะ ณ เบื้องบนโกกนุทปราสาท

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่

ปูถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงโพธิราชกุมารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธ-

เจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์

จนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ทรงลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว ได้

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้โพธิราช-

กุมารเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะ

เสด็จกลับ.

ทรงห้ามเหยียบแผ่นผ้า

[๑๒๓] หลังจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

[๑๒๔] สมัยต่อมา สตรีผู้หนึ่งปราศจากครรภ์ นิมนต์ภิกษุทั้งหลาย

ไปปูผ้าแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบผ้า ภิกษุทั้งหลาย

รังเกียจไม่เหยียบ นางได้กล่าวอีกว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจงเหยียบ

ผ้าเพื่อประสงค์ให้เป็นมงคล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่เหยียบ จึงสตรีผู้นั้น

เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า เมื่อเขาขอเพื่อประสงค์ให้เป็นมงคล ไฉนพระ

คุณเจ้าทั้งหลายจึงไม่เหยียบผืนผ้าที่ปูให้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีผู้นั้น เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคล เราอนุญาต

ให้ผู้ที่ถูกคฤหัสถ์ขอร้องให้เหยียบเพื่อความเป็นมงคลเหยียบผืนผ้าได้

[๑๒๕] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะเหยียบผ้าสำหรับเช็คเท้า

ที่ล้างแล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เหยียบผ้าสำหรับเช็ดเท้าที่ล้างแล้ว.

ทุติยภาณวาร จบ

เรื่องนางวิสาขา มิคารมารดา

[๑๒๖] ครั้นพระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภัคคชนบท ตามพระ

พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงพระนคร

สาวัตถีแล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดา

ถือหม้อน้ำปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาด เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอพระองค์

จงทรงรับหม้อน้ำปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า และไม้กวาดของหม่อมฉัน เพื่อประ-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

โยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉัน สิ้นกาลนานพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับหม้อน้ำ และไม้กวาด มิได้ทรงรับปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า ครั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมารดาได้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ

ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา นางได้ลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณแล้ว

กลับไป.

[๑๒๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถา ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อน้ำ และไม้กวาด ภิกษุไม่พึงใช้ปุ่มไม้

สำหรับเช็ดเท้า รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ที่เช็ดเท้า ๓ ชนิด คือ หินกรวด ๑

กระเบื้อง ๑ หินฟองน้ำในทะเล ๑.

[๑๒๘] ต่อจากนั้นมา นางวิสาขามิคารมารดา ถือพัดโบกและพัดใบ

ตาลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ได้กราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงรับพัดโบก และพัดใบตาลของหม่อมฉัน

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน พระเจ้าข้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรับพัดโบกและพัดใบตาลแล้ว ได้ทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคาร

มารดาเห็นแจ้ง . . . ด้วยธรรมีกถา นางวิสาขา . . .ทำประทักษิณแล้วกลับไป.

เรื่องพัด

[๑๒๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัดโบก และพัดใบตาล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

[๑๓๐] สมัยนั้นไม้ปัดยุงเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตไม้ปัดยุง แส้จามรีบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่

พึงใช้แส้จามรี รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฎ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัด ๓ ชนิด คือ พัดทำด้วยปอ ๑ พัด

ทำด้วยแฝก ๑ พัดทำด้วยขนปีกขนหางนกยูง ๑.

เรื่องร่ม

[๑๓๑] สมัยนั้น ร่มบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตร่ม.

[๑๓๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินกั้นร่มเที่ยวไป ครั้งนั้น อุบาสก

ผู้หนึ่งได้ไปเที่ยวสวนกับสาวกของอาชีวกหลายคน พวกสาวกของอาชีวกเหล่า

นั้นได้เห็นพระฉัพพัคคีย์เดินกั้นร่มมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบาสกผู้นั้น

ว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ เป็นผู้เจริญของพวกท่าน เดินกั้นร่มมาคล้ายมหาอำมาตย์

โหราจารย์ อุบาสกผู้นั้นกล่าวว่า นั่นมิใช่ภิกษุ เป็นปริพาชก ขอรับ พวก

เขาแคลงใจว่า ภิกษุหรือมิใช่ภิกษุ ครั้นอุบาสกเข้าไปใกล้ ก็จำได้ จึงเพ่ง

โทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงเดินกั้นร่ม ภิกษุทั้ง

หลายได้ยินอุบาสกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า . . . จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน . . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกั้นร่ม รูปใดกั้นต้อง

อาบัติทุกกฏ.

[๑๓๓] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เธอเว้นร่มแล้วไม่สบาย

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่มแก่ภิกษุอาพาธ.

[๑๓๔า สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตร่มแก่ภิกษุอาพาธเท่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตแก่ภิกษุไม่อาพาธ จึง

รังเกียจที่จะกั้นร่มในวัดและอุปจารของวัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ภิกษุแม้ไม่อาพาธกั้นร่มในวัด หรือในอุปจารของวัดได้

เรื่องไม้เท้า

[๑๓๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งวางบาตรไว้ในสาแหรก แล้วห้อยไว้

ที่ไม้เท้า เดินผ่านไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่งในเวลาพลบค่ำ ชาวบ้านบอกกัน

ว่า พวกเรา นั่นโจรกำลังเดินไป ดาบของมันส่องแสงวาว แล้วตามไล่ไปจับ

ตัวได้ รู้แล้วปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงวัดแล้ว แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็คุณถือไม้เท้ากับสาแหรกหรือ ภิกษุนั้นรับว่า ถูกแล้ว

ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

ภิกษุจึงได้ถือไม้ เท้ากับสาแหรกเล่า แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน ...ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง-

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือไม้เท้ากับสาแหรก รูปใดถือ ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

[๑๓๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ปราศจากไม้เท้า ไม่สามารถ

จะเดินไปไหนได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค เจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าแก่ภิกษุ

อาพาธ.

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้สมมติไม้เท้าอย่างน้อย

ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า

ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถไปไหนได้ ท่าน

เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอทัณฑสมมติ กะสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[๑๓๘] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้ทัณฑสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ

ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์ ถ้า

ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมี

ชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ

ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้ เธอขอทัณฑสมมติกะสงฆ์

สงฆ์ให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุมีชื่อ

นี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

ทัณฑสมมติ อันสงฆให้แล้วแก่ภิกษุมมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๑๓๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้สาแหรก ไม่สามารถ

จะนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสาแหรกแก่

ภิกษุอาพาธ.

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงใ ห้สมมติอย่างนี้:-

ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า

ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำขอสิกกาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่มีสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอสิกกาสมมติกะสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

[๑๔๑] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาให้สิกกาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธไม่

ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุ

มีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธไม่

ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ เธอขอสิกกาสมมติกะสงฆ์

สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สิกกาสมมติ แก่ภิกษุมีชื่อ

นี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้ฟัง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้น พึงพูด.

สิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[ ๑๔๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไป

ไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถนำบาตรไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้สมมติไม้เท้าและสาแหรกแก่ภิกษุอาพาธ.

ก็แล สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้ ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม

ผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว

กล่าวคำขออย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

คำขอทัณฑสิกกาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอาพาธ ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถจะไปไหนได้

และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น

ทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม

[๑๔๓] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

กรรมวาจาให้ทัณฑสิกกาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธไม่

ใช้ไม้เท้า ไม่สามารถจะเดินไปไหนได้ และไม่ใช่สาแหรกไม่สามารถ

จะนำบาตรไปได้ เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์ ถ้าความพร้อม

พรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้

นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้อาพาธ

ไม่ใช้ไม้เท้าไม่สามารถเดินไปไหนได้ และไม่ใช้สาแหรกไม่สามารถ

จะนำบาตรไปได้ เธอขอทัณฑสิกกาสมมติกะสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑ-

สิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุมีชื่อนี้

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ขอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

ทัณฑสิกกาสมมติ อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่

สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

เรื่องภิกษุเรอ

[๑๔๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคเรอ เธอเรออ้วกกลับกลืน

เข้าไป ภิกษุทั้งหลาย เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุนี้ฉันอาหารใน

เวลาวิกาล แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้จุติมาจากกำเนิดโคไม่นาน เราอนุญาต

อาหารที่อ้วกแก่ภิกษุผู้มักอ้วก แต่ออกมานอกปากแล้วไม่พึงกลืนเข้าไป รูปใด

กลืนเข้าไป พึงปรับตามธรรม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

[๑๔๕] สมัยนั้น สังฆภัตรเกิดแก่สงฆ์หมู่หนึ่ง เมล็ดข้าวเป็นอันมาก

กลาดเกลื่อนในโรงอาหาร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เมื่อเขา

ถวายข้าวสุก ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ไม่รับโดยเคารพ ข้าว

แต่ละเมล็ดจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำหลายครั้ง ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้าน

พวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

ภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดทายกถวายตกหล่น เราอนุญาต

ให้เก็บสิ่งนั้นฉันเองได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะของนั้นทายกบริจาคแล้ว.

เรื่องเล็บยาว

[๑๔๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไว้เล็บยาวเที่ยวบิณฑบาต สตรีผู้หนึ่ง

เห็นเข้า จึงได้กล่าวชวนภิกษุรูปนั้นว่า ท่านเจ้าข้า นิมนต์มาเสพเมถุน ภิกษุ

นั้นตอบว่า อย่าเลย น้องหญิง เรื่องเช่นนี้ไม่สมควร.

ส. ถ้าท่านไม่เสพ ดิฉันจักหยิกข่วนเนื้อตัวด้วยเล็บของดิฉัน แล้ว

ร้องโวยวายขึ้นในบัดนี้ว่า ภิกษุนี้ข่มขืนดิฉัน.

ภิ. จงรู้เองเถิด น้องหญิง.

สตรีผู้นั้นหยิกข่วนเนื้อตัวของคนด้วยเล็บ แล้วได้ร้องโวยวายขึ้นว่า

ภิกษุนี้ข่มขนเรา ชาวบ้านได้วิ่งเข้าไปจับกุมภิกษุนั้น พวกเขาได้เห็นผิวหนัง

และเลือดที่เล็บมือของสตรีผู้นั้น ครั้นแล้วลงความเห็นว่า การกระทำนี้ของสตรี

ผู้นี้ต่างหาก ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้กระทำ แล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุนั้นไป

ถึงวัดแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็คุณไว้เล็บยาว

หรือ ภิกษุรูปนั้น รับว่า เป็นอย่างนั้น ขอรับ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงไว้เล็บยาว แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้

เล็บยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

[๑๔๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตัดเล็บมือด้วยเล็บมือบ้าง ตัดเล็บมือ

ด้วยปากบ้าง ครูดเล็บมือที่ฝาผนังบ้าง นิ้วมือเจ็บ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดตัดเล็บ

ภิกษุทั้งหลายตัดเล็บจนเลือดออก นิ้วมือเจ็บ ... .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ตัดเล็บเสมอเนื้อ

เรื่องขัดเล็บ

[๑๔๘] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์วานกันให้ขัดเล็บทั้ง ๒๐ นิ้ว ชาว

บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงวานกันให้ขัดเล็บทั้ง ๒๐ นิ้ว รูปใดให้ขัด ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แคะขี้เล็บได้.

เรื่องมีดโกน

[๑๔๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีผมยาว ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามารถ

จะปลงผมให้แก่กันได้หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า สามารถพระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น . . . รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตมีดโกน หินลับมีดโกน ฝักมีดโกน ผ้าพันมีดโกน เครื่องมีดโกน

ทุกอย่าง.

เรื่องแต่งหนวด

[๑๕๐] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์วานกันตัดหนวด ปล่อยหนวดไว้ให้

ยาวไว้เครา แต่งหนวดเป็นสี่เหลี่ยม ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไว้กลุ่มขนท้อง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

ไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง โกนขนในที่แคบ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะ-

นาว่า. . .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตัดหนวด ไม่

พึงปล่อยหนวดไว้ให้ยาว ไม่พึงไว้เครา ไม่พึงแต่งหนวดเป็นสี่เหลี่ยม ไม่พึง

ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไม่พึงไว้กลุ่มขนท้อง ไม่พึงไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง ไม่

พึงโกนขนในที่แคบ รูปใดโกน ต้องอาบัติทุกกฎ.

เรื่องโกนขนในที่แคบ

[๑๕๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลในที่แคบ ทายาไม่ติด . . .

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โกนขนในที่แคบได้ เพราะเหตุอาพาธ.

[๑๕๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้กันและกันให้ตัดผมด้วยกรรไกร

ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม...

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ตัดผมด้วยกรรไกร รูปไดให้ตัด ต้องอาบัติทุกกฏ.

[ ๑๕๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่ศรีษะ ไม่อาจปลงผมด้วยมีด

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดผมด้วยกรรไกรได้ เพราะเหตุอาพาธ.

เรื่องไว้ขนยาว

[๑๕๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปล่อยขนจมูกยาวไว้ยาว ชาวบ้าน เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนพวกปีศาจ . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ขนจมูก

ยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

[๑๕๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ถอนขนจมูกด้วยกรวดบ้าง ด้วย

ขี้ผึ้งบ้าง จมูกเจ็บ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแหนบ.

[๑๕๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้กันถอนผมหงอก ชาวบ้าน เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม... ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่พึงให้ถอนผมหงอก รูปใดให้ถอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๕๗] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีขี้หูจุกช่องหู . .. ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ไม้แคะหู.

[๑๕๘] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ไม้แคะหูต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง

ทำด้วยเงิน ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . .เหมือนพวกคฤหัสถ์

ผู้บริโภคกาม . .. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้แคะหูต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ. เราอนุญาตไม้แคะหูที่ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้จริง

ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์.

ทรงห้ามสั่งสมเครื่องโลหะเครื่องสัมฤทธิ์

[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สั่งสมเครื่องโลหะ เครื่อง

ทองสัมฤทธิ์ไว้เป็นอันมาก ชาวบ้านไปเที่ยวชมตามวิหารพบเข้า แล้วเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้สั่งสมเครื่อง

โลหะ เครื่องทองสัมฤทธิ์ไว้มากมายคล้ายพ่อค้าขายเครื่องทองสัมฤทธิ์ . . . ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงสั่งสมเครื่องโลหะ เครื่องทองสัมฤทธิ์ รูปใดสั่งสม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

[๑๖๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจกล่องยาตา ไม้ป้ายาตา ไม้

แคะหูซึ่งเพียงห่อรวมกันไว้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องยาตา ไม้ป้ายยาตา ไม้แคะหู

เพียงห่อรวมกันไว้.

[๑๖๑] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิ แผ่นผ้า

สังฆาฏิหลุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าด้วยผ้าสังฆาฏิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

[๑๖๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ เธอเว้นผ้ารัดเข่าเสียไม่สบาย...

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ารัดเข่า ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า เราจะพึงรู้ได้อย่างไรว่า

เป็นผ้ารัดเข่า จึงได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงที่แผ่ด้าย ฟืม ด้ายพัน ไม้สลักทอ และ

เครื่องหูกทุกอย่าง.

เรื่องประคดเอว

[๑๖๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้คาดรัดประคด เข้าบ้านไป

บิณฑบาต ผ้าสบงของเธอหลุดที่ถนน ชาวบ้านเห็นแล้วพากันโห่ ภิกษุนั้น

กระดากอาย ครั้นไปถึงวัดแล้ว เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีรัด

ประคดไม่พึงเข้าบ้าน รูปใดเข้าบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตผ้ารัดประคด.

[๑๖๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าประคดต่าง ๆ คือ ประคดถัก

เชือกหลายเส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลมคล้ายเกลียวเชือก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ประคดคล้ายสังวาล ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ประคด ต่าง ๆ

คือ ประคดถักเชือกหลายเส้น ประคดถักเป็นศรีษะงูน้ำ ประคดกลมคล้าย

เกลียวเชือก ประคดคล้ายสังวาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคด ๒ ชนิด คือ ประคดแผ่นผ้า ๑

ประคดกลมดังไส้สุกร ๑ .. .ชายผ้าประคดเก่า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ถักกลมคล้ายเกลียวเชือก ไห้ถักคล้ายสังวาลได้ ปลายประคดเก่า

...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเย็บทบเข้ามา ถักเป็นห่วง ที่สุด

ห่วงประคดเก่า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล.

เรื่องลูกถวิล

[๑๖๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวิลต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง

ทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . .. เหมือนพวกคฤหัสถ์

ผู้บริโภคกาม . . .ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า .. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกถวิลต่าง ๆ รูปใด

ใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวิล ทำด้วยกระดูก งา เขา

ไม้อ้อ ไม้ไผ่ . . . กระดองสังข์ เส้นด้าย.

เรื่องลูกดุม

[๑๖๖] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ห่มผ้าสังฆาฏิเนื้อบางเข้าบ้าน

บิณฑบาต สังฆาฏิของท่านถูกลมหัวด้วนพัดเลิกขึ้น ครั้นท่านกลับถึงอาราม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

แล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุมและ

รังดุม.

[๑๖๗] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกดุมต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง

ทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกคฤหัสถ์

ผู้บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกดุมต่าง ๆ รูปใดใช้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม ทำด้วยกระดูก งา เขา ไม้อ้อ

ไม้ไผ่ ไม้จริง ยางไม้ เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์ เส้นด้าย.

[๑๖๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บตรึงลูกดุมบ้าง รังดุมบ้าง ลงที่

จีวร จีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นผ้ารองลูกดุม

แผ่นผ้ารองรังดุม ภิกษุทั้งหลายเย็บตรึงแผ่นผ้ารองลูกดุมแผ่นผ้ารองรังดุมลงที่

ชายจีวร มุมผ้าเปิด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดแผ่นผ้า

รองลูกดุม แผ่นผ้ารองรังดุมที่ชายผ้าลึกเข้าไป ๗ - ๘ องคุลี

เรื่องพระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์

[๑๖๙] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชาย

เหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา นุ่งปล่อยชายสี่แฉก นุ่งห้อยชาย

คล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . .

เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชายเหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา

นุ่งปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชายคล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย รูปใดนุ่ง

ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . . .ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๑] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนคนหาบของหลวง . ..ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หาบของสองข้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนคนหาบของหลวง. ..ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงหาบของสองข้าง รูปใดหาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คอน หาม เทิน แบก กระเดียด

หิ้ว.

เรื่องไม่ชำระฟัน

[๑๗๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน ปากมีกลิ่นเหม็น

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้ คือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

นัยน์ตาไม่แจ่มใส ๑ ปากมีกลิ่นเหม็น ๑ ลิ้นรับรสอาหารไม่บริสุทธิ์ ๑ ดีและ

เสมหะหุ้มห่ออาหาร ๑ ไม่ชอบฉันอาหาร ๑ ไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕

ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ

นัยน์ตาแจ่มใส ๑ ปากไม่มีกลิ่นเหม็น ๑ ลิ้นรับรสอาหารบริสุทธิ์ ๑ ดีและ

เสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร ๑ ชอบฉันอาหาร ๑ การเคี้ยวไม้ชำระฟัน มีอานิสงส์

๕ ประการนี้แล เราอนุญาตไม้ชำระฟัน.

[๑๗๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เคี้ยวไม้ชำระฟันยาว และตีสามเณร

ด้วยไม้ชำระฟันเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระ

ฟันยาว รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ.

เราอนุญาตไม้ชำระฟันยาว ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง และไม่พึงตีสามเณร

ด้วยไม้นั้น รูปใดตี ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๕] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป ไม้

ชำระฟันหลุดเข้าไปติดในคอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยว

ไม้ชำระฟันสั้นเกินไป รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ.

เราอนุญาตไม้ชำระฟันขนาด ๔ องคุลีเป็นอย่างต่ำ.

เรื่องพระฉัคพัคคีย์จุดไฟเผากองหญ้า

[๑๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จุดไฟเผากองหญ้า ชาวบ้าน

เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนคนเผาป่า...ภิกษุทั้งหลาย กราบทูล

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเผากองหญ้า รูปใดเผา ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๗] สมัยนั้น วิหารที่อยู่มีหญ้าขึ้นรก เมื่อไฟป่าไหม้มาถึง วิหาร

ถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะจุดไฟรับเพื่อการป้องกัน ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไว้เมื่อไฟป่าไหม้มาถึง ให้จุดไฟรับเพื่อป้องกัน.

เรื่องขึ้นต้นไม้

[๑๗๘] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ขึ้นต้นไม้ ไต่จากต้นหนึ่ง ไปสู่

ต้นหนึ่ง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า .. .เหมือนลิง . .. ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึ้นต้นไม้ รูปใดขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๗๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปเมืองสาวัตถีในโกศลชนบท ช้างไล่

ในระหว่างทาง จึงภิกษุนั้นวิ่งเข้าไปยังโคนต้นไม้ รังเกียจไม่ขึ้นต้นไม้ ช้าง

นั้นได้ไปทางอื่น ครั้นภิกษุนั้นไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อมีกิจจำเป็น เราอนุญาตให้ขึ้นต้นไม้สูงชั่วบุรุษ ในคราวมี

อันตราย ขึ้นได้ตามประสงค์.

[๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ

เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกัน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

เข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม มิฉะนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน

พวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะยกพระพุทธ-

วจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของ

พวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...ครั้นแล้ว

ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยก

พุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปโดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม.

เรื่องเรียนคัมภีร์โลกายตะ

[ ๑๘๑] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เรียนคัมภีร์โลกายตะ ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย

ได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นคัมภีร์

โลกายตะ ว่ามีสาระจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้หรือ.

ภิ. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. อันผู้ที่เห็นธรรมวินัยนี้ว่ามีสาระ จะพึงเล่าเรียนคัมภีร์โลกายตะ

หรือ.

ภิ. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนคัมภีร์โลกายตะ รูปใดเรียน

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

[๑๘๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนคัมภีร์โลกายตะ ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. ..ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอน

คัมภีร์โลกายตะ รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องเรียนดิรัจฉานวิชา

[๑๘๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา...ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียน

ดิรัจฉานวิชา รูปใดเรียน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านเพ่ง

โทษติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม. . .ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอน

ดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อันบริษัทหมู่ใหญ่

แวดล้อมแล้ว กำลังทรงแสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวาย

พระพรอย่างอึงมีว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระชนมายุ ขอพระสุคตจง

ทรงพระชนมายุเถิดพระพุทธเจ้าข้า ธรรมกถาได้พักในระหว่างเพราะเสียงนั้น

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่

ถูกเขาให้พรว่า ขอจงเจริญชนมายุในเวลาจาม จะพึงเป็น หรือพึงตายเพราะ

เหตุที่ให้พรนั้นหรือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

ภิ. ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวคำให้พรว่า ขอจงมีชนมายุ

ในเวลาที่เขาจาม รูปใดให้พร ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๖] สมัยนั้น ชาวบ้านให้พรในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจามว่า ขอ

ท่านจงมีชนมายุ ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ มิได้ให้พรตอบ ชาวบ้านเพ่งโทษ

เรียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เมื่อเขาให้พร

ว่า จงเจริญชนมายุ จึงไม่ให้พรตอบเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระภูมีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาว

บ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล เราอนุญาตให้ภิกษุที่เขาให้พรว่า จงเจริญ

ชนมายุ ดังนี้ ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชนมายุยืนนาน

เรื่องฉันกระเทียม

[๑๘๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม

ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งฉันกระเทียม แลเธอคิดว่า ภิกษุทั้ง

หลายอยู่ได้รบกวน จึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระ

เนตรเห็นภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำไมหนอ ภิกษุนั้นจึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ภิกษุนั้นฉันกระเทียม พระพุทธเจ้าข้า และเธอคิดว่า

ภิกษุทั้งหลายอยู่รบกวน จึงนั่ง ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉันของใครแล้ว จะพึงเป็นผู้เหินห่าง

จากธรรมกถาเห็นปานนี้ ภิกษุควรฉันเองนั้น หรือ

ภ. ไม่ควรฉัน พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม รูปใดฉัน ต้อง

อาบัติทุกกฏ

[๑๘๘] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอาพาธเป็นลมเสียดท้อง ครั้งนั้น

ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วถามว่า เมื่อก่อนท่าน

เป็นลมเสียดท้อง หายด้วยยาอะไร ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ผมหายด้วยกระ

เทียม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้ เพราะเหตุอาพาธ.

เรื่องหม่อปัสสาวะ

[๑๘๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้น ๆ ในอาราม

อารามสกปรก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อาราม

มีกลิ่นเหม็น...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อปัสสาวะ ภิกษุ

ทั้งหลายนั่งปัสสาวะลำบาก . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียง

รองเท้าถ่ายปัสสาวะ เขียงรองเท้าปัสสาวะเปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย

ปัสสาวะ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อ ๘ ๓ ชนิด

คือ เครื่องล้อมอิฐ เครื่องล้อมหิน ฝาไม้ หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่น

เหม็น. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.

พุทธานุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ

[๑๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระลงในที่นั้น ๆ ในอาราม

อารามสกปรก . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อาราม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

มีกลิ่นเหม็น ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหลุมถ่ายอุจจาระ

ขอบปากหลุมพัง... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง

คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้ หลุมอุจจาระมีพื้นต่ำน้ำท่วมได้...ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้ ภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาต บันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดหิน บันไดไม้ ภิกษุทั้งหลาย

ขึ้นลงพลัดตกลงมา.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด

ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุมพลัดตกลงไป. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้น แล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง ภิกษุ

ทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระลำบาก . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียง

รองเท้าถ่ายอุจจาระ ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก. . . ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระไม่มี ...ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุมอุจาจาระไม่

ได้ปิดมีกลิ่นเหม็น...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.

พุทธานุญาตวัจจกุฎี

[๑๙๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้งลำบากด้วยร้อน

บ้าง หนาวบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัจจกุฎี วัจจกุฎีไม่มีบานประตู ...ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลา ย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยบานประตู

ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก

ผงหญ้าที่มุงวัจจกุฎี ตกลงเกลื่อน. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

ให้รื้อลงฉาบดินทั้งข้างบน ข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลัก

เป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร.

[๑๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ ถ่ายอุจาระแล้วลุกขึ้น

ล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกห้อยสำหรับ เหนี่ยว.

[๑๙๓] สมัยนั้น วัจจกุฎีไม่ได้ล้อม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อม

เครื่องล้อม ๓ อย่าง คือ อิฐ ศิลา ไม้.

[๑๙๔ ] ซุ้มประตูไม่มี. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ซุ้มประตู ซุ้มประตูมีพื้นต่ำ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถม

พื้นให้สูง ดินที่ถมพัง . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓

อย่าง คือก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา ก่อด้วยไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก . . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดหิน

บันใดไม้ ภิกษุทั้งหลายขั้นลงพลัดตกลงมา . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตราวสำหรับยึด บานซุ้มประตูไม่มี . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตซุ้มประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้

หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าที่มุงบนซุ้มประตูหล่น

เกลื่อน... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบด้วยดินทั้ง

ข้างบนข้างล่างทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้

ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ บริเวณลื่น.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้โรยกรวดแร่ กรวดแร่ไม่เต็ม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้วางศิลา น้ำขัง . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

ท่อระบายน้ำ หม้อ อุจจาระไม่มี. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

หม้ออุจจาระ กระบอกตักน้ำชำระอุจจาระไม่มี ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตกระบอกตักน้ำชำระอุจจาระ ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายลำบาก . . .ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงไม้สำหรับนั่งถ่าย เขียงไม้สำหรับนั่งถ่าย

อยู่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ล้อมเครื่องล้อม ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้ หม้ออุจจาระไม่ได้ปิด

ผงหญ้าและขี้ฝุ่นตกลง.. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด.

ประพฤติอนาจารต่าง ๆ

[๑๙๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือ

ปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง

เก็บบดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อย

กรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเอง

บ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่ม

เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำ

ดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ตาข่ายประดับอกเองบ้าง ใช้

ให้ผู้อื่นทำบ้าง ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อ

ก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้

ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม

นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งงดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้

อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอก

ไม้ตาข่ายประดับอกเพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุมารีแห่งสกุล เพื่อสะใภ้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำ

ในขันเดียวกันบ้าง นั่งบนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอน

ร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่อง

ลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง กับกุลสตรี กุลธิดา กุมารีแห่งสกุล สะใภ้แห่ง

สกุล กุลทาสี ฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ

หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง

ฟ้อนรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อน

รำบ้าง เต้นรำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง . . . ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับ

หญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่น

หมากรุกแถวละแปดตาบ้าง แถวละสิบตาบ้าง เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง

เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ

บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหกคะเมนบ้าง

เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่นธนูน้อย

บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่ช้างบ้าง

หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง

วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวกันบ้าง ผิวปากบ้าง

ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยกันบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ณ กลางสถานที่

เต้นรำ แล้วพูดกับหญิง ฟ้อนรำอย่างนี้ว่า น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำ ณ ที่นี้

ดังนี้บ้าง ให้การคำนับบ้าง ประพฤติอนาจารมีอย่างต่าง ๆ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประพฤติ

อนาจารมีอย่างต่าง ๆ รูปใดประพฤติ พึงปรับอาบัติตามธรรม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

พุทธานุณาตเครื่องโลหะเป็นต้น

[๑๙๖] สมัยต่อมา เมื่อท่านพระอุรุเวลกัสสปบวชแล้ว เครื่องโลหะ

เครื่องไม้ เครื่องดิน บังเกิดแก่สงฆ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิด

ว่า เครื่องโลหะชนิดไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรง

อนุญาต เครื่องไม้ชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหนไม่ทรงอนุญาต เครื่อง

ดินชนิดไหน ทรงอนุญาต ชนิดไหน ไม่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า-

มูลนั้น ในเพราะ.เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องโลหะทุกชนิด เว้นเครื่องประหาร อนุญาตเครื่อง

ไม้ทุกชนิด เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์ บาตรไม้และเขียงไม้ อนุญาตเครื่อง

ดินทุกชนิด เว้นเครื่องเช็ดเท้าและกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.

ขุททกวัตถุขันธกะที่ ๕ จบ

หัวข้อประจำธกะ

[๑๙๗] ๑. เรื่องขัดสีกายที่ต้นไม้ ๒. ขัดสีกายที่เสา ๓. ขัดสีกายที่ฝา

๔. อาบน้ำในที่ไม่ควร ๕. อาบน้ำขัดสีกายด้วยมือทำด้วยไม้ ๖. ขัดสีกายด้วย

จุณหินสีดังพลอยแดง ๗. ผลัดกันถูตัว ๘. อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียน ๙. ภิกษุ

เป็นหิด ๑๐. ภิกษุชรา ๑๑. ถูหลังด้วยฝ่ามือ ๑๒. เครื่องตุ้มหู ๑๓. สังวาล

๑๔. สร้อยคอ ๑๕. เครื่องประดับเอว ๑๖. ทรงวลัย ๑๗. ทรงสร้อยตาบ

๑๘. ทรงเครื่องประดับข้อมือ ๑๙. ทรงแหวนประคับนิ้วมือ ๒ . ไว้ผมยาว

๒๑. เสยผมด้วยแปรง ๒๒ . เสยผมด้วยมือ ๒๓. เสยผมด้วยน้ำมันผสมขี้ผึ้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

๒๔. เสยผมด้วยน้ำมันผสมน้ำ ๒๑. ส่องเงาหน้าในแว่น ในขันน้ำ ๒๖. แผล

เป็นที่หน้า ๒๗. ผัดหน้า ๒๘. ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว

ย้อมหน้า ย่อมทั้งหน้าทั้งตัว ๒๙. โรคนัยน์ตา ๓๐. มหรสพ ๓๑. สวดเสียง

ยาว ๓๒. สวดสรภัญญะ ๓๓. ห่มผ้าขนสัตว์ มีขนช้างนอก ๓๘. มะม่วงทั้ง

ผล ๓๕. ชิ้นมะม่วง ๓๖. มะม่วงล้วน ๓๗. เรื่องงู ๓๘. ตัดองค์กำเนิด

๓๙. บาตรไม้จันทน์ ๔๐. เรื่องบาตรต่าง ๆ ๔๑. บังเวียนรองบาตร ๔๒

บังเวียนทองรองบาตร หนาไป ทรงอนุญาตให้กลึง ๔๓. บังเวียนรองบาตร

วิจิตร ๔๔. บาตรเหม็นอับ ๔๕. บาตรมีกลิ่นเหม็น ๔๖. วางบาตรไว้ในที

ร้อน ๔๗. บาตรกลิ้งตกแตก ๔๘. เก็บบาตรไว้ที่กระดานเลียบ ๔๙. เก็บ

บาตรไว้ริมกระดานเลียบนอกฝา ๕๐. หญ้ารองบาตร ๕๑. ท่อนผ้ารองบาตร

๕๒. แท่นเก็บบาตร หม้อ เก็บบาตร ๕๓. ถุงบาตรและสายโยกเป็นด้ายถัก

๕๔. แขวนบาตรไว้ ที่ไม้เดือย ๕๕. เก็บบาตรไว้บนเตียง ๕๖. เก็บบาตรไว้

บนตั่ง วางบาตรไว้บนคัก ๕๘. เก็บบาตรไว้บนกลด ๕๙. ถือบาตรอยู่ผลัก

ประตูเข้าไป ๖๐. ใช้กะโหลกน้ำเท้าแทนบาตร ๖๑. ใช้กระเบื้องหม้อแทน

บาตร ๖๒. ใช้กะโหลกผีแทนบาตร ๖๓. ใช้บาตรต่างกระโถน ๖๔. ใช้มีด

ตัดจีวร ๖๕. เรื่องใช้มีดด้าม ๖๖. ใช้ด้ามมีดทำด้วยทอง ๖๗. ใช้ชั้นไก่และ

ไม้กลัดเย็บจีวร กล่องเข็ม แป้งข้าวหมาก ฝุ่นหิน ขี้ผึ้ง ผ้ามัดขี้ผึ้ง ๖๘. จีวร

เสียมุม ผูกสะดึง ขึงสะดึงในที่ไม่เสมอ ขึงสะดึงที่พื้นดิน ขอบสะดึงชำรุด

และไม่พอ ทำเครื่องหมายและตีบรรทัด ๖๙. ไม่ล้างเท้าเหยียบสะดึง ๗๐.

เท้าเปียกเหยียบสะดึง ๗๑. สวมรองเท้าเหยียบสะดึง ๗๒. ใช้นิ้วมือรับเข็ม

๗๓. ปลอกนิ้วมือ ๗๔. กล่องสำหรับเก็บเครื่องเย็บผ้า และสายโยก เป็นด้ายถัก

๗๕. เย็บจีวรในที่แจ้ง โรงโม้สะดึงต่ำ ถมพื้นให้สูง ขึ้นลงลำบาก ๗๖. ผง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

หญ้าที่มุงตกเกลื่อน พระวินายกทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้งข้างใน ทำ

ให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอก-

จอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียงจีวร ๗๗. ทิ้งไม้สะดึงแล้วหลีกไป ไม้สะดึง

หักเสียหาย คลี่ออก ๗๘. เก็บสะดึงไว้ที่ฝากุฏิ ๗๙. ใช้บาตรบรรจุเข็ม มีด

เครื่องยาเดินทาง ถุงเก็บเครื่องยา สายโยกเป็นด้ายถัก ๘๐. ใช้ผ้ากายพันธ์

ผูกรองเท้า ถุงเก็บรองเท้า สายโยกเป็นด้ายถัก ๘๑. น้ำในระหว่างทางเป็น

อกัปปียะ ผ้ากรองน้ำ กระบอกกรองน้ำ ๘๒. ภิกษุสองรูปเดินทางไปเมือง-

เวสาลี ๘๓. พระมหามุนีทรงอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบและผ้าลาดลงบนน้ำ

๘๔. ยุงรบกวน ๘๕. อาหารประณีต เกิดโรคมาก หมอชีวกทูลขออนุญาต

สร้างที่จงกรมและเรือนไฟ ๘๖. ที่จงกรมขรุขระ ๘๗. พื้นที่จงกรมต่ำ ทรง

อนุญาตให้ก่อกรุดินที่ถม ๓ ชนิด ขึ้นลงลำบาก ทรงอนุญาตบันไดและราว

สำหรับยึด ๘๘. ทรงอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม ๘๙. จงกรมในที่แจ้งผงหญ้า

หล่นเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทำให้มี สีขาว สีดำ สีเหลือง

จำหลักเป็นพวงดอกไม้ เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สาย-

ระเดียงจีวร ๙๐. ทรงอนุญาตให้ถมเรือนไฟให้สูงกั้นกรุ บันได ราวบันได

บานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรองเดือยประตูห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง

กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องชักเชือก เชือกชัก ก่อฝาเรือนไฟให้ต่ำ และ

ปล่องควัน ๙๑. เรือนไฟตั้งอยู่กลาง ทรงอนุญาตดินทาหน้า รางละลายดิน

ดินมีกลิ่นเหม็น ๙๒. ไฟลนกาย ทรงอนุญาตที่ขังน้ำ ขันทักน้ำ เรือนไฟ

ไหม้เกรียม พื้นที่เป็นตม ทรงอนุญาตให้ล้าง ทำท่อระบายน้ำ ๙๓. ตั่งรอง

นั่งในเรือนไฟ ๙๔. ทำซุ้ม ๙๕. ทรงอนุญาตโรยกรวดแร่ วางศิลาเลียบ

ท่อระบายน้ำ ๙๖. เปลือยกายไหว้กัน. ๙๗. วางจีวรไว้บนพื้นดิน ฝนตกเปียก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

๙๘. ทรงอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด ๙๙. บ่อน้ำ ๑๐๐. ใช้ผ้ากายพันธ์และ

เถาวัลย์ผูกภาชนะตักน้ำ ทรงอนุญาตคันโพง ระหัดชัก ระหัดถีบ ภาชนะ

ตักน้ำแตก ทรงอนุญาตถังน้ำทำด้วยโลหะไม้และท่อนหนัง ๑๐๑. ทรงอนุญาต

ศาลาใกล้บ่อน้ำ ๑๐๒. ทรงอนุญาตฝาปิดบ่อก้นผงหญ้า ๑๐๓. ทรงอนุญาต

รางไม้ ๑๐๔. ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ และกำแพงกั้น น้ำขังลื่น ทรงอนุญาต

ท่อระบายน้ำ ๑๐๕. เนื้อตัวตกหนาว ทรงอนุญาตผ้าชุบน้ำ ๑๐๖. ทรงอนุญาต

สระน้ำ น้ำในสระเก่า ทรงอนุญาตให้ทำท่อระบายน้ำ ๑๐๗. ทรงอนุญาต

เรือนไฟมีปั้นลม ๑๐๘. ไม่อยู่ปราศจากผ้านิสีทนะ ๔ เดือน ๑๐๙. นอนบนที่

นอนอันเดียรดาษด้วยดอกไม้ ๑๑๐. ไม่รับประเคนดอกไม้ของหอม ๑๑๑. ไม่

ต้องอธิษฐานสันถัตขนเจียมหล่อ ๑๑๒. ฉันจังหันบนเตียบ ๑๑๓. ทรงอนุญาต

โตก ๑๑๔. ฉันจังหันและนอนร่วมกัน ๑๑๕. เจ้าวัฑฒลิจฉวี ๑๑๖. โพธิ-

ราชกุมาร พระพุทธเจ้าไม่ทรงเหยียบผ้า ๑๑๗. หม้อน้ำ ปุ่มไม้สำหรับเช็ดเท้า

และไม้กวาด ๑๑๘. ทรงอนุญาตที่เช็ดเท้าทำด้วยหิน กรวดกระเบื้อง หิน

ฟองน้ำ ๑๑๙. ทรงอนุญาตพัดโบก พัดใบตาล ๑๒๐. ไม้ปัดยุง แส้จามรี

๑๒๑. ทรงอนุญาตร่ม ๑๒๒. ไม่มีร่มไม่สบาย ๑๒๓. ทรงอนุญาตร่มในวัด

รวม ๓ เรื่อง ๑๒๔. วางบาตรไว้ในสาแหรก ๑๒๕. สมมติสาแหรก สมมติ

ไม้เท้าและสาแหรก ๑๒๖. โรคเรอ ๑๒๗. เมล็ดข้าวเกลื่อน ๑๒๘. ไว้เล็บยาว

๑๒๙. ตัดเล็บ นิ้วมือเจ็บ ตัดเล็บจนถึงเลือด ทรงอนุญาตให้ตัดพอดีเนื้อ

๑๓๐. ขัดเล็บทั้ง ๒๐ นิ้ว ๑๓๑. ไว้ผมยาว ทรงอนุญาตมีดโกน หินลับมีดโกน

ปลอกมีดโกน ผ้าพันมีดโกน เครื่องมือโกนผมทุกอย่าง ๑๓๒. ตัดหนวด

ไว้หนวด ไว้เครา ไว้หนวดสี่เหลี่ยม ขมวดกลุ่มขนหน้าอก ไว้กลุ่มขนท้อง

ไว้หนวดเป็นเขี้ยวโง้ง โกนขนในที่แคบ ๑๓๓. อาพาธโกนขนในที่แคบได้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

๑๓๔. ตัดผมด้วยกรรไกร ๑๓๕. ศีรษะเป็นแผล ๑๓๖. ไว้ขนจมูกยาว

๑๓๗. ถอนขนจมูกด้วยก้อนกรวด ๑๓๘. เรื่องถอนผมหงอก ๑๓๙. เรื่องมูล

หูจุกช่องหู ๑๔๐. ใช้ไม้แคะหู ๑๔๑. เรื่องสั่งสมเครื่องโลหะกับไม้ป้ายยาตา

๑๔๒. นั่งรัดเข่า ๑๔๓. ผ้ารัดเข่า ด้ายพัน ๑๔๔. ผ้ารัดประคด ๑๔๕. ภิกษุ

ใช้รัดประคดเป็นเชือกหลายเส้น ประคดถักเป็นศีรษะงูน้ำ ประคดกลมคล้าย

เกลียวเชือก ประคดคล้ายสังวาล ทรงอนุญาตรัดประคดแผ่นผ้า และรัด

ประคดกลม ชายผ้ารัดประคดเก่า ทรงอนุญาตให้เย็บทบ ถักเป็นห่วง ที่สุด

ห่วงรัดประคดเก่า ทรงอนุญาตลูกถวิน ๑๔๖. ทรงอนุญาตลูกดุม และรังดุม

๑๔๗. ทำลูกดุมต่าง ๆ ๑๔๘. ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม และรังดุม ๑๔๙. นุ่งผ้า

อย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งห้อยชายเหมือนงวงช้าง นุ่งปล่อยชายคล้ายหางปลา นุ่ง

ปล่อยชายเป็นสี่แฉก นุ่งห้อยชายคล้ายก้านตาล นุ่งยกกลีบตั้งร้อย ๑๕๐. ห่ม

ผ้าอย่างคฤหัสถ์ ๑๕๑. นุ่งผ้าเหน็บชายกระเบน ๑๕๒. หาบของสองข้าง ๑๕๓.

ไม้ชำระฟัน ๑๕๔. ไม้ชำระฟันตีสามเณร ๑๕๕. ไม้ชำระฟันติดคอ ๑๕๖.

จุดไฟเผากองหญ้า ๑๕๗. จุดไฟรับ ๑๕๘. ขึ้นต้นไม้ ๑๕๙. หนีช้าง ๑๖๐.

ภาษาสันสกฤต ๑๖๑. เรียนโลกายตศาสตร์ ๑๖๒. สอนโลกายตศาสตร์ ๑๖๓.

เรียนดิรัจฉานวิชา ๑๖๔. สอนดิรัจฉานวิชา ๑๖๕. ทรงจาม ๑๖๖. เรื่องมงคล

๑๖๗. ฉันกระเทียม ๑๖๘. อาพาธเป็นลม ฉันกระเทียมได้ ๑๖๙. อาราม

สกปรกมีกลิ่นเหม็น นั่งปัสสาวะลำบาก ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายปัสสาวะ

ภิกษุทั้งหลายละอาย หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิด มีกลิ่นเหม็น ถ่ายอุจาระลงใน

ที่นั้น ๆ มีกลิ่นเหม็น หลุมถ่ายอุจจาระพัง ทรงอนุญาตให้ถมขอบปากให้สูง

และให้ก่อกรุ บันได ราวสำหรับยึด นั่งริม ๆ ถ่ายอุจจาระ นั่งริม ๆ ถ่าย

อุจจาระลำบาก ทรงอนุญาตเขียงรองเท้าถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะออกไปข้าง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

นอก ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะ ไม้ชำระ ตะกร้ารองรับไม้ชำระ หลุม

วัจจกุฎีไม่ได้ปิด ทรงอนุญาตฝาปิด ๑๗๐. วัจจกุฎี บานประตู กรอบเช็ดหน้า

ครกรับเดือยบานประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม ช่องดาล

ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าตกลงเกลื่อน ทรงอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดิน

ทั้งข้างบนข้างล่าง ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง จำหลักเป็นพวงดอกไม้

เครือไม้ ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง ๑๗๑. ภิกษุชรา

ทุพพลภาพ ๑๗๒. ทรงอนุให้ล้อมเครื่องล้อม ๑๗๓. ทรงอนุญาตซุ้มประตู

วัจจกุฎี โรยกรวดแร่ วางศิลาเลียบ น้ำขัง ทรงอนุญาต ท่อระบายน้ำ หม้อ

น้ำชำระ ขันตักน้ำชำระ นั่งชำระลำบาก ละอาย ทรงอนุญาตฝาปิด ๑๗๔.

พระฉัพพัคคีย์ประพฤติอนาจาร ๑๗๕. ทรงอนุญาตเครื่องโลหะ เว้นเครื่อง

ประหาร พระมหามุนีทรงอนุญาตเครื่องไม้ทั้งปวง เว้นเก้าอี้นอนมีแคร่ บัลลังก์

บาตรไม้และเขียงไม้ พระตถาคตผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงอนุญาตเครื่องดินแม้

ทั้งมวล เว้นเครื่องเช็ดเท้า และกุฎีที่ทำด้วยดินเผา.

นิเทศแห่งวัตถุใด ถ้าเหมือนกับข้างต้น นักวินัยพึงทราบวัตถุนั้นว่า

ท่านย่อไว้ในอุทาน โดยนัย.

เรื่องในขุททกวัทถุขันธกะ ที่แสดงมานี้มี ๑๑๐ เรื่อง พระวินัยธรผู้

ศึกษาดีแล้ว มีจิตเกื้อกูล มีศีลเป็นที่รักด้วยดี มีปัญญาส่องสว่างดังดวง

ประทีปเป็นพหูสูต ควรบูชา จะเป็นผู้ดำรงพระสัทธรรม และอนุเคราะห์แก่

เหล่าสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา

[ว่าด้วยการอาบน้ำ]

วินิจฉัยในขุททกวัตถุขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

บทว่า มลฺลมุฏฺิกา ได้แก่ นักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด.

บทว่า คามปูฏวา ได้แก่ ชนชาวเมืองผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการ

ประดับย้อมผิว, ปาฐะว่า คามโปตกา ก็มี เนื้อความเหมือนกัน.

บทว่า ถมฺเภ ได้แก่ เสาที่เขาปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบน้ำ

บทว่า กุฑฺเฑ ได้แก่ บรรดาฝาอิฐฝาศิลาและฝาไม้ ฝาชนิดใด

ชนิดหนึ่ง.

ชนทั้งหลายถากต้นไม้ให้เป็นเหมือนแผ่นกระดานแล้ว ตัดให้เป็นรอย

โดยอาการอย่างกระดานหมากรุก แล้วปักไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ท่าเช่นนี้ชื่อ

อัฏฐานะ ในคำว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบที่ท่าอันเป็นอัฏฐานะ ชนทั้งหลาย

เรี่ยรายจุณแล้วสีกายที่ท่านั้น.

บทว่า คนฺธพฺพหตฺถเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมอาบ

ด้วยมือทีทำด้วยไม้ ที่เขาตั้งไว้ที่ท่าเป็นที่อาบ, ได้ยินว่า ชนทั้งหลายเอามือไม้

นั้นถือจุณถูตัว.

บทว่า กุรุวินฺทกสุตฺติยา ท่านเรียกกำกลม ๆ ที่ชนทั้งหลายขยำ

เคล้าจุณแห่งศิลามีสีดังพลอยแดง ด้วยครั่งทำไว้. ชนทั้งหลายจับกำกลม ๆ นั้น

ที่ปลาย ๒ ข้างแล้วถูตัว.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

ข้อว่า วิคคยฺห ปริกมฺม การาเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์

เอาตัวกับตัวสีเข้ากะกันและกัน.

บังเวียนกระดานที่ทำโดยทรวดทรงอย่างก้นถ้วยจักเป็นฟันมังกร เรียก

ชื่อว่า มัลลกะ, บังเวียนกระดานที่จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแม้แก่ภิกษุผู้อาพาธ.

บังเวียนกระดานที่ไม่ได้จักเป็นฟัน ชื่ออกตมัลลกะ, บังเวียนกระดาน

ที่ไม่ได้จักเป็นฟันนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. ส่วนแผ่นอิฐ หรือแผ่น

กระเบื้อง ควรอยู่.

บทว่า อุกฺกาสิก ได้แก่ เกลียวผ้า. เพราะเหตุนั้น ภิกษุรูปใด

รูปหนึ่งผู้อาบน้ำ จะถูหลังด้วยเกลียวผ้าสำหรับอาบ ก็ควร.

การบริกรรมด้วยมือ เรียกว่า ปุถุปาณิก. เพราะเหตุนั้น ภิกษุ

ทั้งปวงจะทำบริกรรมหลังด้วยมือ ควรอยู่

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]

คำว่า วลฺลิกา นี้ เป็นชื่อแห่งเครื่องประดับหูเป็นต้นว่า แก้วมุกดา

และตุ้มหูที่ห้อยออกจากหู. ก็แล จะไม่ควรแต่ตุ้มหูอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้,

เครื่องประดับหูอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้เป็นใบตาล ก็ไม่ควร.

สายสร้อยชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สังวาล.

เครื่องประดับสำหรับแต่งที่คอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า สร้อยคอ.

เครื่องประดับเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้เพียงเป็นสายด้าย

ชื่อว่า สายรัดเอว.

วลัย ชื่อว่า เข็มขัด.

บานพับ (สำหรับรัดแขน) เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว เครื่องประดับ

ไม่เลือกว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ควร.

วินิจฉัยในคำว่า ทุมาสิก วา ทุวงฺคุล วา นี้ พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

หากว่า ภายใน ๒ เดือน ผมยาวถึง ๒ นิ้วไซร้, ต้องปลงเสียภายใน

๒ เดือนเท่านั้น, จะปล่อยให้ยาวเกิน ๒ นิ้วไป ไม่ควร.

แม้ถ้าไม่ยาว, จะปล่อยให้เกินกว่า ๒ เดือนไปแม้วันเดียว ก็ไม่ได้

เหมือนกัน นี้เป็นกำหนดอย่างสูง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบททั้ง ๒

ด้วยประการฉะนี้. แต่หย่อนกว่ากำหนดนั้น ขึ้นชื่อว่าความสมควร ไม่มีหามิได้.

สองบทว่า โกจฺเฉน โอสณฺเหนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้

แปรงเสยผมทำให้เรียบ.

บทว่า ผณเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ใช้หวีอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีหวีงาเป็นต้น เสยผมให้เรียบ.

บทว่า หตฺถผณเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อจะใช้มือนั่นเอง

ต่างหวี จึงเสยผมด้วยนิ้วมือทั้งหลาย.

บทว่า สิตฺถเตลเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เสยผมด้วยของ

เหนียวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีขี้ผึ้งและยางเป็นต้น .

บทว่า อุทกเตลเกน มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ เสยผมด้วยน้ำมัน

เจือน้ำ, เพื่อประโยชน์แก่การประดับ ปรับทุกกฏทุกแห่ง, แต่พึงชุบมือให้

เปียกแล้วเช็ดศีรษะ เพื่อยังผมที่มีปลายงอนให้ราบไปตามลำดับ, จะเอามือ

อันเปียกเช็ดแม้ซึ่งศีรษะที่ร้อนจัด ด้วยความร้อนและเปื้อนธุลี ก็ควร.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อาทาเส วา อุทกปตฺเต วา

พึงทราบดังนี้:-

เงาหน้าย่อมปรากฏในวัตถุเหล่าใด วัตถุเหล่านั้นทั้งหมด แม้มีแผ่น

สำริดเป็นต้น ย่อมถึงความนับว่ากระจกเหมือนกัน, แม้วัตถุมีน้ำส้มพะอูม

เป็นต้น ย่อมถึงความนับว่า ภาชนะน้ำเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นทุกกฏ

แก่ภิกษุผู้แลดู (เงาหน้า) ในที่ใดที่หนึ่ง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

บทว่า อาพาธปจฺจยา มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุดูเงาหน้าเพื่อ

รู้ว่า แผลของเรามีผิวเต็มหรือยังก่อน.

(ในปุรามอรรถกถา) กล่าวว่า สมควรมองดูเงาหน้า เพื่อตรวจดู

อายุสังขารอย่างนี้ว่า เราแก่หรือยังหนอ ดังนี้ก็ได้.

สองบทว่า มุข อาลิมฺเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ย่อมผัด

ด้วยเครืองผัดหน้า สำหรับทำให้หน้ามีผิวผุดผ่อง.

บทว่า อุมฺมทฺเทนฺติ มีความว่า ย่อมไล้หน้า ด้วยเครื่องไล้ต่าง ๆ.

บทว่า จุณฺเณนฺติ มีความว่า ย่อมทา ด้วยจุณสำหรับทาหน้า.

หลายบทว่า มโนสิลกาย มุข ลญฺเฉนฺติ มีความว่า ย่อมทำ

การเจิมเป็นจุด ๆ เป็นต้น ด้วยมโนศิลา. การเจิมเหล่านั้น ย่อมไม่ควร แม้

ด้วยวัตถุมีหรดาลเป็นต้นแท้. การย้อมตัวเป็นต้น ชัดเจนแล้ว ปรับทุกกฏ

ในที่ทั้งปวง.

[ว่าด้วยการฟ้อนและขับเป็นต้น]

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นจฺจ วา เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-

เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไปเพื่อดูการฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด

แม้การฟ้อนแห่งนกยูง. เมื่อภิกษุฟ้อนแม้เองก็ตาม ให้ผู้อื่นฟ้อนก็ตาม เป็น

ทุกกฏเหมือนกัน . แม้การขับอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการขับของคนฟ้อนก็ตาม

เป็นการขับที่ดี (คือ เนื่องเฉพาะด้วยอนิจจธรรมเป็นต้น ) ก็ตาม โดยที่สุด

แม้การขับด้วยฟันก็ไม่ควร.

ภิกษุคิดว่า เราจักขับ แล้วร้องเสียงเปล่าในส่วนเบื้องต้นเพลงขับ

แม้การร้องเสียงเปล่านั้น ก็ไม่ควร. เมื่อภิกษุขับเองก็ตาม ให้ผู้อินขับก็ตาม

เป็นทุกกฏเหมือนกัน. แม้การประโคม อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ควร. แต่เมื่อ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

รำคาญหรือตั้งอยู่ในที่น่ารังเกียจ จึงดีดนิ้วมือก็ตาม ตบมือก็ตาม, ในข้อนั้น

ไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในวัด เห็นการเล่นทุกอย่างมีการ

ฟ้อนเป็นต้น .

เมื่อภิกษุออกจากวัดไปสู่วัด (อื่น) ด้วยตั้งใจว่า เราจักดู ดังนี้ เป็น

อาบัติแท้. นั่งอยู่ที่อาสนศาลาแล้วเห็น, ไม่เป็นอาบัติ. ลุกเดินไปด้วยคิดว่า

เราจักดู เป็นอาบัติ. แม้ยืนอยู่ที่ถนนเหลียวคอไปดู เป็นอาบัติเหมือนกัน.

[ว่าด้วยสรภัญญะ]

บทว่า สรกุตฺตึ ได้แก่ ทำเสียง.

สองบทว่า ภงฺโค โหติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะยังสมาธิที่ตนยัง

ไม่ได้ ให้เกิดขึ้น, ไม่อาจเพื่อจะเข้าสมาธิที่ตนได้แล้ว .

ข้อว่า ปจฺฉิมา ชนตา เป็นอาทิ มีความว่า ประชุมชนในภายหลัง

ย่อมถึงความเอาอย่างว่า อาจารย์ก็ดี อุปัชฌาย์ก็ดี ของเราทั้งหลายขับแล้ว

อย่างนี้ คือ ขับอย่างนั้นเหมือนกัน.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว อายตเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เสียงขับที่ทำลายวัตร (คือวิธีเปลี่ยนเสียง) นั้น ๆ ทำอักขระให้เสีย

ชื่อเสียงขับอันยาว. ส่วนในธรรม วัตรสำหรับสุตตันตะก็มี วัตรสำหรับชาดก

ก็มี วัตรสำหรับคาถาก็มี การที่ยังวัตรนั้นให้เสีย ทำเสียงให้ยาวเกินไป

ไม่ควร. พึงแสดงบทและพยัญชนะให้เรียบร้อยด้วยวัตร (คือการเปลี่ยนเสียง)

อนกลมกล่อม.

บทว่า สรภญฺ คือ การสวดด้วยเสียง. ได้ยินว่า ในสรภัญญะ

มีวัตร ๓๒ มีตรังควัตร (ทำนองดังคลื่น) โทหกวัตร (ทำนองดังรีดนมโค)

คลิวัตร (ทำนองดังของเลื่อน) เป็นต้น . ในวัตรเหล่านั้นภิกษุย่อมได้เพื่อใช้

วัตรที่ตนต้องการ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

การที่ไม่ยังบทและพยัญชนะให้เสียคือ ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนโดยนัย

ที่เหมาะ ซึ่งสมควรแก่สมณะนั้นแล เป็นลักษณะแห่งวัตรทั้งปวง.

สองบทว่า พาหิรโลมึ อุณฺณึ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ห่มผ้า

ปาวารขนสัตว์เอาขนไว้ข้างนอก. เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้ทรงอย่างนั้น. จะห่ม

เอาขนไว้ข้างใน ควรอยู่. .

สมณกัปปกถา ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งภูตคามสิกขาบท.

หลายบทว่า น ภิกฺขเว อตฺตโน องฺคชาต มีความว่า เป็น

ถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ตัดองคชาตเท่านั้น. แม้เมื่อภิกษุตัดอวัยวะอื่นอย่างใด

อย่างหนึ่ง มีหูจมูกและนิ้วเป็นต้นก็ตาม ยังทุกข์เช่นนั้นให้เกิดขึ้นก็ตาม เป็น

ทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้กอกโลหิตหรือตัดอวัยวะเพราะถูกงูหรือร่าน

กัดเป็นต้นก็ตาม เพราะปัจจัยคืออาพาธอย่างอื่นก็ตาม.

[ว่าด้วยบาตร]

สามบทว่า จนฺทนคณฺี อุปฺปนฺนา โหติ มีความว่า ปุ่มไม้จันทน์

เป็นของเกิดขึ้นแล้ว.

ได้ยินว่า ราชคหเศรษฐีนั้นให้ขึงข่ายทั้งเหมือน้ำ และใต้น้ำแล้ว

เล่นในแม่น้ำคงคา. ปุ่มไม้จันทน์อันกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดลอยมาติดที่ข่าย.

บุรุษทั้งหลายของเศรษฐีนั้น ได้นำปุ่มไม้จันทน์นั้นมาให้. ปุ่มไม้จันทน์นั้น

เป็นของเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้.

อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแผลง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว

ในบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริย นี้.

ส่วนฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจอธิษฐานพึงทราบว่า ไม่ได้ทรงห้าม.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว โสวณฺณมโย ปตฺโต เป็นต้น

พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

ก็ถ้าว่า คฤหัสถ์ทั้งหลาย ทำกับข้าวใส่ในภาชนะมีจานทองคำเป็นต้น

น้อมเข้าไปถวายในโรงครัว, ไม่ควรแม้เพื่อจะถูกต้อง.

อนึ่ง ภาชนะทั้งหลาย มีจานเป็นต้น ที่ทำด้วยแก้วผลึก ทำด้วย

กระจกและทำด้วยสำริดเป็นต้น ย่อมไม่ควร แต่เพียงใช้เป็นของส่วนตัวเท่านั้น

ใช้เป็นของสงฆ์ หรือเป็นคิหิวิกัติ (คือ เป็นของคฤหัสถ์) ควรอยู่.

บาตร แม้เป็นวิการแห่งทองแดง ก็ไม่ควร ส่วนภาชนะควร. คำ

ทั้งปวงที่ว่าดังนี้ ๆ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.

ส่วนบาตรที่แล้วด้วยแก้วมีแก้วอินทนิลเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสในบทว่า มณิมโย นี้.

บาตรแม้ล้วนแล้วด้วยทองห้าว ท่านรวมเข้าในบทว่า กสมโย นี้

คำว่า เพื่อกลึง นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อประโยชน์แก่การทำ

ให้บาง

บังเวียนปกตินั้น ได้แก่ บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร.

บทว่า อาวตฺติตฺวา ได้แก่ กระทบกันและกัน.

วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตาธารฺก นี้ พึงทราบดังนี้ :-

ในกุรุนทีกล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ซึ่งทำด้วยงาเถาวัลย์

และหวายเป็นต้น ควรวางซ้อน ๆ กันได้ ๓ บาตร บนเชิงไม้ ควรวางซ้อน

กันได้ ๒ บาตร.

ส่วนในมหาอรรถกถากล่าวว่า บนเชิงบาตรที่เนื่องกับพื้น ไม่เป็น

โอกาสแห่งบาตร ๓ ใบ จะวางแต่ ๒ ใบ ก็ควร. แม้ในเชิงบาตรไม้และเชิง

บาตรท่อนไม้ ซึ่งตกแต่งเกลี้ยงเกลาดี ก็มีนัยเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ก็แล เชิงบาตรไม้ที่คล้ายปลายเครื่องกลึง และเชิงบาทรท่อนไม้ที่ผูก

ด้วยไม้ ๓ ท่อน ไม่เป็นโอกาสแห่งบาตรแม้ใบเดียว. แม้วางบนเชิงนั้นแล้ว

ก็ต้องนั่งเอามือยึดไว้อย่างนั้น. ส่วนบนพื้นพึงคว่ำวางไว้แต่ใบเดียวเท่านั้น.

บทว่า มิฒนฺเต ได้แก่ ริมเฉลียงและกระดานเลียบเป็นต้น. ก็ถ้าว่า

บาตรกลิ้งไปแล้ว จะค้างอยู่บนริมกระดานเลียบนั่นเอง; จะวางบนกระดานเลียบ

อันกว้างเห็นปานนั้น ก็ควร.

บทว่า ปริภณฺฑนฺเต ได้แก่ ริมกระดานเลียบอันแคบซึ่งเขาทำไว้

ที่ข้างภายนอก.

วินิจฉัยแม้ในกระดานเลียบอันแคบนี้ ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วใน

กระดานเลียบนั่นแล.

บทว่า โจฬก ได้แก่ ผ้าที่เขาปูลาดแล้ววางบาตร. ก็เมื่อผ้านั้นไม่มี ควร

วางบนเสื่อลำแพนหรือบนเสืออ่อน หรือบนพื้นที่เขาทาขัดด้วยดินเหนียว หรือ

บนพื้นเห็นปานนั้น ซึ่งจะไม่ประทุษร้ายบาตร หรือบนทรายก็ได้.

แต่เมื่อภิกษุวางในที่มีดินร่วนและฝุ่นเป็นต้น หรือบนพื้นที่คมแข็ง

ต้องทุกกฏ.

โรงสำหรับเก็บบาตรนั้น จะก่อด้วยอิฐหรือทำด้วยไม้ ก็ควร.

หม้อสำหรับเก็บสิ่งของ ทรวดทรงคล้ายอ่างน้ำ มีปากกว้าง เรียกว่า

หม้อสำหรับเก็บบาตร.

สองบทว่า โย ลคฺเคยฺย มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้

แขวนบาตรในที่ใดที่หนึ่ง. จะผูกแขวนไว้แม้ที่ราวจีวร ก็ไม่ควร.

เตียงและตั่ง จะเป็นของที่เขาทำไวั เพื่อวางสิ่งของเท่านั้น หรือเพื่อ

นั่งนอน ก็ตามที, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้วางบาตรบนเตียงหรือตั่งอันใดอันหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

แต่จะมัดรวมกับของอื่นวางไว้ ควรอยู่. หรือจะผูกที่แม่แคร่ห้อยไว้

ก็ควร. จะผูกแล้ววางข้างบนเตียงและตั่ง ไม่ควรเหมือนกัน.

ก็ถ้าว่า เตียงหรือตั่ง เป็นของที่เขายกขึ้นพาดเป็นนั่งร้านบนราวจีวร

เป็นต้น, จะวางบนเตียงหรือตั่งนั้น. ก็ควร. จะเอาสายโยกคล้องบนจะงอยบ่า

แล้ววางบนตัก ก็ควร. ถึงบาตรที่คล้องบนจะงอยบ่าแม้เต็มด้วยข้าวสุก ก็ไม่

ควรวางบนร่ม. แต่จะวางบาตรชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือบนร่มที่ผูกมัดเป็นร้าน

ม้าควรอยู่.

วินิจฉัยในคำว่า ปตฺตหตฺเถน พึงทราบดังนี้:-

บาตรของภิกษุใดอยู่ในมือ ภิกษุนั้นแล ชื่อว่าผู้มีบาตรในมืออย่างเดียว

หามิได้, อนึ่ง ภิกษุผู้มีบาตรอยู่ในมือ ย่อมไม่ได้เพื่อผลักบานประตูอย่างเดียว

เท่านั้นหามิได้.

แต่อันที่จริง เมื่อบาตรอยู่ในมือหรือบนหลังเท้า หรือที่อวัยวะแห่ง

สรีระอันใดอันหนึ่ง ภิกษุย่อมไม่ได้เพื่อจะผลักบานประตูหรือเพื่อจะถอดลิ่มสลัก

หรือเพื่อจะเอาลูกกุญแจไขแม่กุญแจ ด้วยมือหรือด้วยหลังเท้า หรือด้วยศีรษะ

หรือด้วยอวัยวะแห่งสรีระอันใดอันหนึ่ง. แต่คล้องบาตรบนจะงอยบ่าแล้ว ย่อม

ได้เพื่อเปิดบานประตูตามความสบายแท้.

กะโหลกน้ำเต้า เรียกว่า ตุมฺพกฏาห จะรักษากะโหลกน้ำเต้านั้น

ไว้ ไม่ควร. ก็แลได้มาแล้วก็จะใช้เป็นของยืม ควรอยู่. แม้ในกระเบื้อง

หม้อ ก็มีนัยเหมือนกัน.

กระเบื้องหม้อเรียกว่า ฆฏิกฏาห.

คำว่า อพฺภุมฺเม นี้ เป็นคำแสดงความตกใจ.

วินิจฉัยในบทว่า สพฺพปสุกูลิเกน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

จีวร เตียง และตั่ง เป็นของบังสกุล ย่อมควร. ส่วนของที่จะพึง

กลืนกิน อันเขาให้แล้วนั่นแล พึงถือเอา.

บทว่า จลกานิ ได้แก่ อามิสที่จะทิ้งคายออกไม่กลืน.

บทว่า อฏฺิกานิ ได้แก่ ก้างปลาหรือกระดูกเนื้อ.

บทว่า อุจฺฉิฏฺโทก ได้แก่ น้ำบวนปาก. เมื่อภิกษุผู้ใช้บาตร

ขนทิ้งซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในอามิสที่เป็นเดนเป็นต้นนั้น เป็นทุกกฏ ภิกษุย่อม

ไม่ได้ แม้เพื่อจะทำบาตรให้เป็นกระโถนล้างมือ จะใส่แม้ซึ่งน้ำล้างมือล้างเท้า

ลงในบาตรแล้วนำไปเท ก็ไม่ควร. จะจับบาตรที่สะอาด ไม่เปื้อน ด้วยมือ

ที่เปื้อน ก็ไม่ควร. แต่จะเอามือซ้ายเทน้ำลงในบาตรที่สะอาดนี้แล้ว อมเอา

น้ำอม ๑ แล้วจึงจับด้วยมือที่เปื้อน ควรอยู่. จริงอยู่ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

บาตรนั้น ย่อมเป็นบาตรเปื้อนด้วย.

อนึ่ง จะล้างมือที่เปื้อนด้วยน้ำข้างนอกแล้ว จึงจับ (บาตร) ควรอยู่

เมื่อฉันเนื้อปลาและผลาผลเป็นต้นอยู่ ในของเหล่านั้น สิ่งใดเป็นก้าง

หรือกระดูกหรือเป็นเดน เป็นผู้ใคร่จะทิ้งเสีย จะเอาสิ่งนั้นวางลงในบาตร

ย่อมไม่ได้. ส่วนสิ่งใด ยังอยากจะฉันต่อไปอีก จะเอายาสิ่งนั้นวางลงในบาตร

ก็ได้. จะวางเนื้อที่มีกระดูกและปลาที่มีก้างเป็นต้น ในบาตรนั้นและเอามือ

ปล้อนออกฉัน ก็ควร. แต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เอาออกจากปากแล้ว ยังอยากจะฉันอีก

จะเอาสิ่งนั้นวางในบาตรไม่ได้.

ชิ้นขิงและชิ้นมะพร้าวเป็นต้น กัดกินแล้วจะวางอีกก็ได้.

[ว่าด้วยมีดและเข็ม]

บทว่า นมตก ได้แก่ ท่อนผ้าสำหรับห่อมีด.

บทว่า ทณฺฑสตฺถก ได้แก่ มีดที่เข้าด้ามอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นมีด

พับหรือมีดอื่นก็ได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

สองบทว่า กณฺณกิตาโย โหนฺติ คือ เป็นของอันสนิมจับ.

สองบทว่า กิณฺเณน ปูเรตุ มีความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้เต็ม

ด้วยผงเป็นแป้งเหล้า.

บทว่า สตฺตุยา มีความว่า เราอนุญาตให้บรรลุให้เต็มด้วยผงแป้งเจือ

ด้วยขมิ้น.

แม้จุลแห่งศิลา เรียกว่า ผงหิน. ความว่า เราอนุญาตให้บรรจุให้

เต็มด้วยผงศิลานั้น.

สองบทว่า มธุสิตฺถเกน สาเรตุ มีความว่า เราอนุญาตให้พอก

(เข็ม) ด้วยขี้ผึ้ง.

สองบทว่า สริตกมฺปิ ปริภิชฺชติ มีความว่า ขี้ผึ้งที่พอกไว้นั้น

แตกกระจาย.

บทว่า สริตสิปาฏก ได้แก่ ผ้าห่อขี้ผึ้ง คือปักมีด.

ในกุรุนที่กล่าวว่า และผูกมีดก็อนุโลมตามผ้าห่อเข็มนั้น.

[ว่าด้วยไม้สะดึง]

ไม้สะดึงนั้น ได้แก่ แม่สะดึงบ้าง เสื่อหวายหรือเสื่อลำแพนอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่จะพึงปูบนแม่สะดึงนั้นบ้าง.

เชือกผูกไม้สะดึงนั้น ได้แก่ เชือกสำหรับผูกจีวรที่ไม้สะดึงเมื่อเย็บ

จีวร ๒ ชั้น.

สองบทว่า กิน นปฺปโหติ มีความว่า ไม้สะดึงที่ทำตามขนาด

ของภิกษุที่สูง จีวรของภิกษุที่เตี้ย เมื่อขึงลาดบนไม้สะดึงนั้นย่อมไม่พอ คือ

หลวมอยู่ภายในเท่านั้น, อธิบายว่า ไม่ถึงไม้ขอบสะดึง.

บทว่า ทณฺฑกิน มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกสะดึงอื่นตามขนาด

ของภิกษุผู้เตี้ยนอกนี้ ในท่ามกลางแห่งแม่สะดึงยาวนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

บทว่า วิทลก ได้แก่ การพับชายโดยรอบแห่งเสื่อหวายทำให้เป็น

๒ ชั้น พอได้ขนาดกับกระทงสะดึง.

บทว่า สุลาก ได้แก่ ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าในระหว่างแห่งจีวร ๒ ชั้น.

บทว่า วินทฺธนรชฺชุ ได้แก่ เชือกที่มัดแม่สะดึงเล็กกับแม่สะดึง

ใหญ่ ที่ไม้สะดึงนั้น.

บทว่า วินทุธนสุตฺตก ได้แก่ ด้ายที่ตรึงจีวรติดกับแม่สะดึงเล็ก.

สามบทว่า วินทฺธิตฺวา จีวร สิพฺเพตุ มีความว่า เราอนุญาต

ให้ตรึงจีวรที่แม่สะดึงนั้น ด้วยด้ายนั้นแล้วเย็บ.

สองบทว่า วิสมา โหนฺติ มีความว่า ด้วยเกษียนบางแห่งเล็ก

บางแห่งใหญ่.

บทว่า กฬิมฺพก ได้แก่ วัตถุมีใบตาลเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับทำการวัดขนาด.

บทว่า โมฆสุตฺตก ได้แก่ การทำแนวเครื่องหมาย ด้วยเส้น

บรรทัคขมิ้น ดังการทำแนวเครื่องหมายที่ไม้ ด้วยเส้นบรรทัดดำของพวกช่าง

ไม้ฉะนั้น.

สองบทว่า องฺคุลิยา ปฏิคฺคณฺหนฺติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย

(เย็บจีวร) รับปากเข็มด้วยนิ้วมือ.

บทว่า ปฏิคฺคห ได้แก่ สนับแห่งนิ้วมือ.

ภาชนะมีถาดและผอบเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อภาชนะสำหรับใส่

และกระบอก.

บทว่า อุจฺจวตฺถุก มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุถมดินทำพื้นที่

ให้สูง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

หลายบทว่า โอคุมฺเพตฺวา อุลฺลิตฺตาวลิตฺต กาตุ มีความว่า

เราอนุญาตให้ภิกษุรื้อหลังคาเสียแล้วทำระแนงให้ทึบ โบกทั้งข้างในและข้างนอก

ด้วยดินเหนียว.

บทว่า โคฆสิกาย มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุใส่ไม้ไผ่หรือไม้จริง

ไว้ข้างในแล้วม้วนแม่สะดึงกับไม้นั้น.

บทว่า พนฺธนรชฺชุ ได้แก่ เชือกสำหรับมัดแม่สะดึงที่ม้วนแล้ว

อย่างนั้น

[ว่าด้วยเครื่องกรอง]

ผ้ากรองที่ผูกติดกับไม้ ๓ อัน ชื่อกระชอนสำหรับกรอง.

ข้อว่า โย น ทเทยฺย มีความว่า ภิกษุใดไม่ให้ผ้ากรองแก่ภิกษุ

ผู้ไม่มีผ้ากรองนั่นแล, เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นแท้.

ฝ่ายภิกษุใด เมื่อผ้ากรองในมือของตนแม้มีอยู่ แต่ยังยืม ไม่อยากให้

ก็อย่าพึงให้ภิกษุนั้น.

บทว่า ทณฺฑกปริสฺสาวน มีความว่า พึงผูกผ้ากับไม้ที่ทำดังแม่

บันไดขั้นกลาง ซึ่งผูกติดบนขา ๔ ขา แล้วเทน้ำลงตรงกลางไม้ที่ดังเครื่องกรอง

ด่างของพวกช่างย้อม. น้ำนั้นเต็มทั้ง ๒ ห้องแล้วย่อมไหลออก. ภิกษุทั้งหลาย

[๓๔๓] ลาดผ้ากรองใดลงในน้ำแล้วเอาหม้อตักน้ำ ผ้ากรองนั้น ชื่อ โอตฺถริก.

จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายผูกผ้าติดกับไม้ ๔ อัน ปักหลัก ๔ หลักลงใน

น้ำแล้ว ผูกผ้ากรองนั้นติดกับหลักนั้น ให้ริมผ้าโดยรอบทั้งหมดพ้นจากน้ำ

ตรงกลางหย่อนลง แล้วเอาหม้อตักน้ำ.

เรือนที่ทำด้วยจีวร เรียกว่า มุ้งกันยุง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

[ว่าด้วยจงกรมและเรือนไฟ]

บทว่า อภิสนฺนกายา คือ ผู้มีกายหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษมี

เสมหะเป็นต้น.

เสาสำหรับใส่ลิ่ม ขนาดเท่ากับบานประตูพอดี เรียกชื่อว่าอัคคฬวัฏฎิ

เสาสำหรับใส่ลิ่มนั้น เป็นเสาที่เขาเจาะรูไว้ ๓-๔ รู แล้ว ใส่ลิ่ม.

ห่วงสำหรับใส่ดาล ที่เขาเจาะบานประตูแล้วตรึงติดที่บานประตูนั้น

เรียกชื่อว่า สลักเพชร. ลิ่มที่เขาทำช่องที่ตรงกลางสลักเพชรแล้วสอดไว้ ชื่อ

สูจิกา กลอนที่เขาติดไว้ข้างบนสลักเพชร ชื่อฆฎิกา.

สองบทว่า มณฺฑลิก กาตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ก่อพื้นให้ต่ำ.

ปล่องควันนั้น ได้แก่ ช่องสำหรับควันไฟออก.

บทว่า วาเสตุ มีความว่า เราอนุญาตให้อบด้วยของหอมทั้งหลาย.

อุทกนิธานนั้น ได้แก่ ที่สำหรับขังน้ำ ภิกษุใช้หม้อตักน้ำขังไว้ใน

นั้นแล้ว เอาขันตักน้ำใช้.

ซุ้มน้ำ ได้แก่ ซุ้มประตู.

วินิจฉัยในคำว่า ติสฺโส ปฏิจฺฉาทิโย นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เครื่องปกปิด คือ เรือนไฟ ๑ เครื่องปกปิด คือ น้ำ ๑ ควรแก่

ภิกษุผู้ทำบริกรรมเท่านั้น. ไม่ควรในสามีจิกรรมทั้งหลายมีอภิวาทเป็นต้นที่ยัง

เหลือ. เครื่องปกปิด คือ ผ้า ควรในกรรมทั้งปวง

ข้อว่า น้ำไม่มีนั้น ได้แก่ ไม่มีสำหรับอาบ. I

บทว่า ตุล ได้แก่ คันสำหรับโพงเอาน้ำขึ้น ดังคันชั่งของพวกชาว

ตลาด.

[๓๔๔] ยนต์ที่เทียมโค หรือใช้มือจับชักด้วยเชือกอันยาว เรียกว่า

ระหัด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ยนต์ที่มีหม้อผูกติดกับซี่ เรียกว่า กังหัน.

ภาชนะที่ทำด้วยหนัง ซึ่งจะพึงผูกติดกับคันโพงหรือระหัด ชื่อว่า

ท่อนหนัง.

สองบทว่า ปากฏา โหติ มีความว่า บ่อน้ำครำ เป็นที่ไม่ได้ล้อม.

บทว่า อุทกปุญฺฉนี มีความว่า เครื่องเช็ดน้ำ ทำด้วยงาก็ดี ทำ

ด้วยเขาก็ดี ทำด้วยไม้ก็ดี ย่อมควร. เมื่อเครื่องเช็ดน้ำนั้นไม่มี จะใช้ผ้าซับน้ำ

ก็ควร.

บทว่า อุทกมาติก ได้แก่ ลารางสำหรับน้ำไหล.

เรือนไฟที่ติดปั่นลมโดยรอบ เรียกชื่อว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุง.

คำว่า เรือนไฟไม่มีรอยมุงนั้น เป็นชื่อแห่งเรือนไฟที่มีหลังคาทำเป็น

ยอด ติดปั่นลมที่มณฑลช่อฟ้าบนกลอนทั้งหลาย.

สองบทว่า จาตุมฺมาส นิสีทเนน มีความว่า ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศ

จากผ้านิสีทนะตลอด ๔ เดือน.

บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺเณสุ มีความว่า ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนที่

เขาประดับด้วยดอกไม้.

บทว่า นมตก มีความว่า เครื่องปูนั่งคล้ายสันถัตที่ทำ คือทอด้วย

ขนเจียม พึงใช้สอย โดยบริหารไว้อย่างท่อนหนัง.

[ว่าด้วยการฉัน ]

ชื่อว่า อาสิตฺตกูปธาน นั้น เป็นคำเรียก ลุ้ง ที่ทำด้วยทองแดง

หรือด้วยเงิน. อนึ่ง ลุ้งนั้น แม้ทำด้วยไม้ ก็ไม่ควร เพราะเป็นของที่ทรง

ห้ามแล้ว .

เครื่องรองทำด้วยไม้ทั้งท่อน เรียกว่า โตก. แม้เครื่องรองที่ทำด้วยใบ

กระเช้าและตะกร้า ก็นับเข้าในโตกนี้เหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

[๓๔๕] จริงอยู่ วัตถุมีไม้เส้าเป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ที่ถึงความรวมลง

ว่าเป็นเครื่องรอง มีช่องเจาะไว้ข้างในก็ตาม เจาะไว้โดยรอบก็ตาม ควร

เหมือนกัน.

วินิจฉัยในคำว่า เอกภาชเน นี้ พึงทราบดังนี้ :-

หากว่า ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาผลไม้ หรือขนมจากภาชนะไป, ครั้นเมื่อ

ภิกษุนั้นหลีกไปแล้ว การที่ภิกษุนอกนี้จะฉันผลไม้หรือขนมที่ยังเหลือ ย่อม

ควร. แม้ภิกษุนอกจากนี้ จะถือเอาอีกในขณะนั้นก็ควร.

[ว่าด้วยการคว่ำบาตร]

วินิจฉัยในคำว่า อฏฺหงฺเคหิ นี้พึงทราบดังนี้:-

การที่สงฆ์คว่ำบาตรในภายในสีมา หรือไปสู่ภายนอกสีมาคว่ำบาตรใน

ที่ทั้งหลายมีแม่น้ำเป็น แก่อุบาสกผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อันหนึ่ง ๆ ย่อมควรทั้ง

นั้น.

ก็แล เมื่อบาตรอันสงฆ์คว่ำแล้วอย่างนั้น ไทยธรรมไร ๆ ในเรือน

ของอุบาสกนั้น อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับ. พึงส่งข่าวไปในวัดแม้เหล่าอื่นว่า

ท่านทั้งหลายอย่ารับภิกษา ในเรือนของอุบาสกโน้น

ก็ในการที่จะหงายบาตร ต้องให้อุบาสกนั้น ขอเพียงครั้งที่ ๓ ให้

อุบายสกนั้นละหัตถบาสแล้ว หงายบาตรด้วยญัตติทุติยกรรม.

[เรื่องโพธิราชกุมาร]

สองบทว่า ปุรกฺขิตฺวา ได้แก่ จัดไว้โดยความเป็นยอด.

บทว่า สหรนฺตุ มีความว่า ผ้าทั้งหลายอันท่านจงม้วนเสีย.

บทว่า เจฬปฏิก ได้แก่ เครื่องปูลาด คือ ผ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ได้ยินว่า โพธิราชกุมารนั้น ปูลาดแล้วด้วยความมุ่งหมายนี้ว่า ถ้าว่า

เราจักได้บุตร, พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเหยียบผืนผ้าของเรา.

จริงอยู่ โพธิราชกุมารนั้น ไม่สมควรได้บุตร; เพราะเหตุนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงเหยียบ. หากว่า พระองค์พึงทรงเหยียบไซร้, ภาย

หลังเมื่อกุมารไม่ได้บุตร จะพึงถือทิฏฐิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ มิใช่พระ

สัพพัญญู. นี้เป็นเหตุในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบก่อน.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลายเล่า เธอเหล่าใด ไม่รู้อยู่ พึงเหยียบ, เธอเหล่านั้น

พึงเป็นผู้ถูกพวกคฤหัสถ์ดูหมิ่น, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

บัญญัติสิกขาบท เพื่อปลดภิกษุทั้งหลายจากความดูหมิ่น. นี้เป็นเหตุในการทรง

บัญญัติสิกขาบท.

ข้อว่า มงฺคลตฺถาย ยาจิยมาเนน มีความว่า สตรีจะเป็นผู้ปราศ

ครรภ์ หรือเป็นผู้มีครรภ์แก่ก็ตามที, อันภิกษุซึ่งเขาอ้อนวอนเพื่อต้องการมงคล

ในฐานะเห็นปานนั้น สมควรเหยียบ.

[ว่าด้วยเครื่องเช็ดเท้า]

เครื่องปูลาด เป็นของที่เขาลาดไว้ใกล้ที่ล้างเท้า เพื่อประโยชน์

ที่จะเหยียบด้วยเท้าซึ่งล้างแล้ว ชื่อว่าเครื่องลาดสำหรับเท้าที่ล้างแล้ว . ภิกษุ

ควรเหยียบเคลื่องลาดนั้น.

วัตถุที่มีท่าทางคล้ายฝักบัว ซึ่งเขาทำให้หนามตั้งขึ้น เพื่อเช็ดเท้า

ชื่อว่าเครื่องเช็ดเท้า, เครื่องเช็คเท้านั้น จะเป็นของกลม หรือต่างโดยสัณฐาน

มี ๔ เหลี่ยมเป็นต้นก็ตามที เป็นของที่ทรงห้ามทั้งนั้น เพราะเป็นของอุดหนุน

แก่ความเป็นผู้มักมาก; ไม่ควรรับ ไม่ควรใช้สอย.

ศิลา เรียกว่า กรวด แม้หินฟองน้ำ ก็ควร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

[ว่าด้วยพัด]

พัดเรียกว่า วิธูปน แปลว่า วัตถุสำหรับโบก. ส่วนพัดมีด้ามอย่าง

ใบตาล จะเป็นของที่สานด้วยใบตาลหรือสานด้วยเส้นดอกไม้ไผ่และเส้นตอกงา

หรือทำด้วยขนหางนกยูง หรือทำด้วยจัมมวิกัติทั้งหลายก็ตามที ควรทุกอย่าง.

พัดปัดยุงนั้น แม้มีด้ามทำด้วยงาหรือเขาก็ควร. แม้พัดปัดยุงที่ทำด้วย

ย่านแห่งไม้เกดและใบมะพูดเป็นต้น สงเคราะห์เข้ากับพัดที่ทำด้วยเปลือกไม้.

[ว่าด้วยร่ม]

วินิจฉัยในคำว่า คิลานสฺส ฉตฺต นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุใด มีความร้อนในกาย หรือมีความกลุ้มใจ หรือมีตาฟางก็ดี

หรืออาพาธบางชนิดอย่างอื่น ที่เว้นร่มเสีย ย่อมเกิดขึ้น, ภิกษุนั้นควรกางร่ม

ในบ้านหรือในป่า. อนึ่ง เมื่อฝนตก จะกางร่มเพื่อรักษาจีวร และในที่ควร

กลัวสัตว์ร้ายและโจร จะกางร่มเพื่อป้องกันตนบ้าง ก็ควร. ส่วนร่มที่ทำด้วย

ใบไม้ใบเดียว ควรในที่ทั้งปวงทีเดียว.

[ว่าด้วยทัณฑสมมติเป็นต้น]

บทว่า อุสิสฺส ตัดบทว่า อสิ อสฺส แปลว่า ดาบของโจรนั้น.

บทว่า วิโชตลติ ได้แก่ ส่องแสงอยู่.

วินิจฉัยในคำว่า ทณฺฑสมฺมตึ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ไม้คาน ควรแก่ประมาณ คือยาว ๔ ศอกเท่านั้น อันสงฆ์พึงสมมติ

ให้. ไม้คานที่หย่อนหรือเกินกว่า ๔ ศอกนั้น แม้เว้นจากการสมมติ ก็ควรแก่

ภิกษุทั้งปวง.

ส่วนสาแหรก ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธ. สงฆ์จึงสมมติให้เฉพาะ

แก่ภิกษุผู้อาพาธเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

[ว่าด้วยภิกษุผู้มักอ้วก]

วินิจฉัยในคำว่า โรมฏฺกสฺส นี้ พึงทราบดังนี้:-

เว้นภิกษุผู้นักอ้วกเสีย เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ ผู้ยังอาหาร

ที่อ้วกออกมาให้ค้างอยู่ในปากแล้วกลืนกิน. แต่ถ้าว่า อาหารที่อ้วกออกมานั้น

ไม่ทันค้าง ไหลลงลำคอไป ควรอยู่.

คำว่า ย ทียมาน นี้ ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้วในโภชนวรรค.

[ว่าด้วยมีดตัดเล็บ]

สองบทว่า กุปฺป กริสฺสามิ มีความว่า เราจักทำซึ่งเสียง.

ไม่มีอาบัติเพราะตัดเล็บด้วยเล็บเป็นต้น . แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตมีดตัดเล็บ ก็เพื่อรักษาตัว.

บทว่า วีสติมฏฺ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ให้แต่งเล็บทั้ง ๒๐

ให้เกลี้ยงด้วยการขูด.

บทว่า มลมตฺต มีความว่า เราอนุญาตให้แคะแต่มูลเล็บออกจากเล็บ.

[ว่าด้วยผมและหนวด]

บทว่า ขุรสิปาฏิก ได้แก่ ฝักมีดโกน.

สองบทว่า มสฺสุ วปฺปาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ตัด

หนวดด้วยกรรไกร.

สองบทว่า มสฺส  วฑฺฒาเปนฺติ ได้แก่ ให้แต่งหนวดให้ยาว เครา

ที่คางที่เอาไว้ยาวดังเคราแพะ เรียกว่า หนวดดังพู่ขนโค.

บทว่า จตุรสฺสก ได้แก่ ให้แต่งหนวดเป็น ๔ มุม.

บทว่า ปริมุข ได้แก่ ให้ทำการขมวดกลุ่มแห่งขนที่อก.

บทว่า อฑฺฒรุก ได้แก่ เอาไว้กลุ่มขนที่ท้อง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏในที่

ทั้งปวงมีตัดหนวดเป็นต้น.

หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา สมฺพาเธ โลม มีความว่า เรา

อนุญาตให้นำขนในที่แคบออก เพราะปัจจัย คือ อาพาธมีฝีแผลใหญ่และแผล

เล็กเป็นต้น .

หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา กตฺตริกาย มีความว่า เราอนุญาต

ให้ตัดผมด้วยกรรไกร เพราะปัจจัย คือ อาพาธด้วยอำนาจแห่งโรคที่ศีรษะ คือ

ฝีแผลใหญ่และแผลเล็ก.

ไม่มีอาบัติ เพราะถอนขนจมูกด้วยวัตถุมีกรวดเป็นต้น ส่วนแหนบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อรักษาตัว.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ปลิต คาหาเปตพฺพ นี้ พึงทราบ

ดังนี้ :-

ขนใดขึ้นที่คิ้ว หรือที่หน้าผาก หรือที่ดงหนวด เป็นของน่าเกลียด

ขนเช่นนั้นก็ตาม จะหงอกก็ตาม ไม่หงอกก็ตาม สมควรถอนเสีย.

บทว่า กสปตฺถริกา ได้แก่ พ่อค้าเครื่องสำริด.

บทว่า พนฺธนมตฺต ได้แก่ ปลอกแห่งมีดและไม้เท้าเป็นต้น .

[ว่าด้วยประคดเอว]

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อกายพนฺธเนน นี้ พึงทราบดังนี้:-

ประคดเอว อันภิกษุผู้มิได้คาดออกไปอยู่ คนระลึกได้ในที่ใดพึงคาด

ในที่นั้น, คิดว่า จักคาดที่อาสนศาลา ดังนี้ จะไปก็ควร, นึกได้แล้วไม่ควร

เที่ยวบิณฑบาต ตลอดเวลาที่ยังมิได้คาด.

ประคดเอวมีสายมาก ชื่อ กลาพุก.

ประคดเอวคล้ายหัวงูน้ำ ชื่อ เทฑฺฑุภก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ประคดเอวที่ถักทำให้มีสัณฐานกลมดังตะโพน ชื่อ มุรชช.

ประคดเอวที่มีทรวดทรงดังสังวาล ชื่อ มทฺทวีณ.

จริงอยู่ ประคดเอวเช่นนี้ แม้ชนิดเดียวก็ไม่ควร ไม่จำต้องกล่าวถึง

มากชนิด.

วินิจฉัยในคำว่า ปฏฺฏิก สูกรนฺตก นี้ พึงทราบดังนี้.

ประคดแผ่นที่ทอตามปกติ หรือถักเป็นก้างปลา ย่อมควร.

ประคดที่เหลือ ต่างโดยประคดตาช้างเป็นต้น ไม่ควร.

ขึ้นชื่อว่าประคดไส้สุกร เป็นของมีทรวดทรงคล้ายไส้สุกรและฝัก

กุญแจ. ส่วนประคดเชือกเส้นเดียวและประคดกลม อนุโลมตามประคดไส้สุกร.

คำที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการถักด้ายให้กลม การถักดังสาย

สังวาล" นี้ ทรงอนุญาตเฉพาะที่ชายทั้ง ๒. ก็ในชายกลมและชายดังสายสังวาลนี้

ชายดังสายสังวาล เกิน ๔ ชาย ไม่ควร.

การทบเข้ามาแล้วเย็บขอบปาก ซึ่ง โสภก.

การเย็บโดยสัณฐานดังวงแหวน ชื่อ คุณก.

จริงอยู่ ชายประคดที่เย็บอย่างนั้น ย่อมเป็นของแน่น. ร่วมในห่วง

เรียกว่า ปวนนฺโต.

[ว่าด้วยการนุ่งห่ม]

ผ้านุ่งที่ทำชายพกมีสัณฐานดังงวงช้าง ให้ห้อยลงไปตั้งแต่สะดือ

เหมือนการนุ่งของสตรีชาวโจลประเทศ ชื่อว่านุ่งเป็นงวงช้าง.

ผ้านุ่งที่ห้อยปลายไว้ข้าง ๑ ห้อยชายพกไว้ข้าง ๑ ชื่อว่านุ่งเป็น

หางปลา.

นุ่งปล่อยชายเป็น ๔ มุมอย่างนี้ คือ ข้างบน ๒ มุม ข้างล่าง ๒ มุม

ชื่อว่านุ่งเป็น ๔ มุม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

นุ่งห้อยลงไป โดยท่าทางดังก้านตาล ชื่อว่านุ่งดังก้านตาล.

ผ้าผืนยาวให้ม้วนเป็นชั้น ๆ นุ่งโจงกระเป็นก็ดี นุ่งยกกลีบเป็นลอนๆ

ที่ข้างซ้ายและข้างขวาก็ดี. ชื่อว่ายกกลีบตั้งร้อย. แต่ถ้าว่าปรากฏเป็นกลีบเดียว

หรือ ๒ กลีบตั้งแต่เข่าขึ้นไป ย่อมควร.

สองบทว่า สเวลิย นิวาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่ง

หยักรั้ง ดังนักมวยและกรรมกรเป็นต้น. การนุ่งหยักรั้งนั้น ย่อมไม่ควรแก่

ภิกษุ ทั้งผู้อาพาธ ทั้งผู้เดินทาง.

ภิกษุทั้งหลายผู้กำลังเดินทาง ยกมุมข้าง ๑ หรือ ๒ ข้างขึ้นเหน็บบน

สบง หรือนุ่งผ้ากาสาวะผืน ๑ อย่างนั้น ไว้ข้างนั้นแล้ว นุ่งอีกผืน ๑ ทับ

ข้างนอกแม้อันใด การนุ่งห่มเห็นปานนั้น ทั้งหมด ไม่ควร.

ฝ่ายภิกษุผู้อาพาธ จะนุ่งโจงกระเบนผ้ากาสาวะไว้ข้างใน แล้วนุ่งอีก

ผืน ๑ ทับข้างนอก ก็ได้.

ภิกษุผู้ไม่อาพาธ เมื่อจะนุ่ง ๒ ผืน พึงซ้อนกันเข้าเป็น ๒ ชั้น

นุ่ง. ด้วยประการอย่างนี้ พึงเว้นการนุ่งทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม

ในขุททกวัตถุขันธกะนี้ และที่พระอรรถกถาจารย์ห้ามในเสขิยวัณณนา* ปกปิด

ให้ได้มณฑล ๓ ปราศจากวิการ นุ่งให้เรียบร้อย. เธอเมื่อทำให้วิการอย่างใด-

อย่างหนึ่ง ไม่พ้นทุกกฏ.

การที่ไม่ห่ม ดังการห่มของคฤหัสถ์ที่ทรงห้ามไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มอย่างคฤหัสถ์ ดังนี้ ห่มจัดมุมทั้ง ๒ ให้เสมอกัน

ชื่อว่า ห่มเรียบร้อย. การห่มเรียบร้อยนั้น อันภิกษุพึงห่ม.

* สมนฺต. ทุติย. ๔๙๒.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

ในการห่มดังคฤหัสถ์และการห่มเรียบร้อยนั้น การห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่ห่มแล้วโดยประการอื่น จากลักษณะที่เรียบร้อยมีอาทิอย่างนี้ คือ ห่มผ้าขาว

ห่มอย่างปริพาชก ห่มอย่างคนที่ใช้ผ้าผืนเดียว ห่มอย่างนักเลง ห่มอย่างชาววัง

ห่มคลุมทั้งตัวดังคฤหบดีผู้ใหญ่ ห่มดังชาวนาเข้ากระท่อม ห่มอย่างพราหมณ์

ห่มอย่างภิกษุผู้จัดแถว การห่มนี้ทั้งหมด ชื่อว่าห่มอย่างคฤหัสถ์.

เพราะเหตุนั้น นิครนถ์ทั้งหลาย ผู้ใช้ผ้าขาว คลุมกายครึ่งเดียว

ย่อมห่นฉันใด, อนึ่ง ปริพาชกบางพวก เปิดอกพาดผ้าห่มไว้บนจะงอยบ่าทั้ง

๒ ฉันใด, อนึ่ง คนทั้งหลายที่ใช้ผ้าผืนเดียว เอาชายผ้านุ่งข้าง ๑ คลุมหลัง

พาดมุมทั้ง ๒ บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ฉันใด, อนึ่ง พวกนักเลงสุราเป็นต้น เอาผ้า

พันคอ ห้อยชายทั้ง ๒ ลงไปที่ท้องบ้าง ตวัดไว้บนหลังบ้าง ฉันใด, อนึ่ง

สตรีชาววังเป็นต้น ห่มคลุมศีรษะเปิดแต่หน่วยตาไว้ ฉันใด, อนึ่ง คฤหบดี

ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย นุ่งผ้ายาวคลุมตัวทั้งหมด ด้วยชายข้าง ๑ แห่งชายผ้านั้นเอง

ฉันใด, อนึ่ง พวกชาวนา เมื่อจะเข้าสู่กระท่อมนา ห่มผ้าตวัดเข้าไปในซอก

รักแร้แล้วคลุมตัวด้วยชายข้าง ๑ แห่งผ้านั้นเอง ฉันใด, อนึ่ง พวกพราหมณ์

สอดผ้าเข้าไปทางซอกรักแร้ทั้ง ๒ แล้วตวัดไว้บนจะงอยบ่าทั้ง ๒ ฉันใด, อนึ่ง

ภิกษุผู้จัดแถว เปิดแขนซ้ายที่ห่มด้วยผ้าห่มเฉวียงบ่า ยกจีวรขึ้นพาดบนจะงอย

บ่า ฉันใด, ภิกษุไม่พึงห่มฉันนั้นเลยทีเดียว พึงเว้นโทษแห่งการห่มเหล่านั้น

ทั้งหมด และโทษแห่งการห่มเห็นปานนั้นเหล่าอื่นเสีย ห่มให้เรียบร้อย ปราศ

จากวิการ.

เมื่อภิกษุผู้ไม่ห่มอย่างนั้น กระทำวิการอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยไม่

เอื้อเฟื้อ ในวัดก็ตาม ในละแวกบ้านก็ตาม ย่อมเป็นทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

[ว่าด้วยหาบเป็นต้น]

บทว่า มุณฺฑวฏฺฏี มีอธิบายว่า เหมือนคนหาบของสำหรับใช้ ของ

พระราชาผู้เสด็จไปไหน ๆ.

บทว่า อนฺตรากาช ได้แก่ ภาระที่จะพึงคล้องไว้กลางคาน แล้ว

หามไป ๒ คน.

บทว่า อจกฺขุสฺส คือเป็นของไม่เกื้อกูลแก่จักษุ ได้แก่ ยังความเสีย

ให้เกิดแก่ภิกษุ.

บทว่า น ฉาเทติ ได้แก่ ไม่ชอบใจ.

บทว่า อฏฺงฺคุลปรม ได้แก่ ไม้สีฟันยาว ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง

ด้วยนิ้วขนาดของมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อติมนฺทาหก ได้แก่ ไม้สีฟันที่สั้นนัก

[ว่าด้วยการจุดไฟ]

สองบทว่า ทาย อาเฬเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟที่

ดงหญ้าเป็นต้น.

บทว่า ปฏคฺคึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุจุดไฟรับ.

บทว่า ปริตฺต มีความว่า เราอนุญาตการป้องกันด้วยการทำให้

ปราศจากหญ้า หรือด้วยการขุดคู.

แต่ในการป้องกันนี้ เมื่อมีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเอง ย่อมไม่ได้,

เมื่อไม่มีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเองก็ดี จะถากถางพื้นดินนำหญ้าออกเสียก็ดี

จะขุดคูก็ดี จะหักกิ่งไม้สดดับไฟก็ดี ย่อมได้.

ไฟถึงเสนาสนะแล้วก็ตาม ยังไม่ถึงก็ตาม ภิกษุย่อมได้เพื่อยังไฟให้ดับ

ด้วยอุบายอย่างนั้นเป็นแท้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

แต่เมื่อจะให้ไฟดับด้วยน้ำ ย่อมได้เพื่อให้ดับด้วยน้ำที่ควรเท่านั้น

นอกนั้นไม่ได้.

[ว่าด้วยขึ้นต้นไม้]

ข้อว่า สติ กรณีเย มีความว่า เมื่อมีกิจที่จะต้องถือเอาฟืนแห้ง

เป็นต้น.

บทว่า โปริสิย ความว่า อนุญาตให้ภิกษุขึ้นต้นไม้ประมาณแค่ตัว

บุรุษ.

ข้อว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุเห็นอันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้น

หรือเป็นผู้หลงทาง หรือเป็นผู้ใคร่จะมองดูทิศ หรือเห็นไฟป่าลามมา หรือ

เห็นห้วงน้ำหลากมา ในอันตรายเห็นปานนี้ จะขึ้นต้นไม้แม้สูงเกินประมาณ

ก็ควร.

[ว่าด้วยคัมภีร์ทางโลก]

บทว่า กลฺยาณวากฺกรณา ได้แก่ เป็นผู้มีเสียงไพเราะ.

สองบทว่า ฉนฺทโส อาโรเปม มีความว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะยก

พระพุทธวจนะขึ้นสู่ทางแห่งการกล่าวด้วยภาษาสันสกฤตเหมือนเวท*.

โวหารที่เป็นของชาวมคธ มีประการอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแล้ว

ชื่อภาษาเดิม ในคำว่า สกาย นิรุตฺติยา นี้.

คัมภีร์เดียรถีย์ ซึ่งประกอบด้วยเหตุอันไร้ประโยชน์ มีอาทิอย่างนี้ว่า

สิ่งทั้งปวงเป็นเดน เพราะเหตุนี้ และนี้ สิ่งทั้งปวงไม่เป็นเดน เพราะเหตุนี้

และนี้ กาเผือก เพราะเหตุนี้ และนี้ นกยางดำ เพราะเหตุนี้ และนี้ ดังนี้

ชื่อคัมภีร์อันเนื่องด้วยโลก.

* คือแต่งเป็นกาพย์กลอนเป็นโศลกเหมือนคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

สองบทว่า อนฺตรา อโหสิ มีความว่า ธรรมกถา ได้เป็นเรื่อง

ขาดตอน คือ ได้ถูกเสียงนั้นกลบเสีย.

บทว่า อาพาธปฺปจฺจยา มีความว่า กระเทียมเป็นยาเพื่ออาพาธใด

เพราะปัจจัย คืออาพาธนั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า ปสฺสาวปาทุก นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุจะทำเขียงรองเหยียบ ด้วยอิฐก็ดี ด้วยศิลาก็ดี ด้วยไม้ก็ดี ควรอยู่.

แม้ในวัจจปาทุกา ก็มีนัยเหมือนกัน.

บทว่า ปริเวณ ได้แก่ ร่วมในแห่งเครื่องล้อมแห่งเวจกุฎี.

ข้อว่า ยถาธมฺโม กาเรตพฺโพ มีความว่า ในวัตถุแห่งทุกกฏ

พึงปรับทุกกฏ ในวัตถุแห่งปาจิตตีย์ พึงปรับปาจิตตีย์.

[ว่าด้วยของโลหะเป็นต้น]

ของโลหะที่เขาทำไว้ เพื่อประหาร เรียกว่า เครื่องประหาร.

ความว่า คำว่า เครื่องประหารนั้น เป็นชื่อของสิ่งของที่นับว่าอาวุธ

ชนิดใดชนิดหนึ่ง, เราอนุญาตของโลหะทั้งปวงอื่น นอกจากเครื่องประหารนั้น.

ในคำว่า กตกญฺจ กุมฺภการิกญฺจ นี้ มีวินิจฉัยว่า เครื่อง

เช็ดเท่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วแล.

กุฎีทำด้วยดินล้วน ดังกุฎีของพระธนิยะ เรียกว่า กุมภการิกา. คำที่

เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

ขุททกวัตถุขันธกวรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

เสนาสนขันกะ *

เรื่องราชคหเศรษฐีถวายวิหาร

[๑๙๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติเสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย และ

ภิกษุเหล่านั้นก็อยู่ในที่นั้น ๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ภิกษุเหล่านั้นออกจากที่อยู่นั้น ๆ คือ ป่า โคนไม้

ภูเขา ชอกเขา ถ้ำเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่ มีอาการ

เดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส

มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ.

[๑๙๙] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็นภิกษุ

เหล่านั้นเดินออกจากที่อยู่นั้น ๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำเขา

ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง แต่เช้าตรู่ มีอาการเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ

แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน หน้าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วย

อิริยาบถ ครั้นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น เรียนถามว่า

ท่านเจ้าข้า หากข้าพเจ้าสร้างวิหารถวาย พระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหารของข้าพเจ้า

หรือไม่

ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนคหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรง

อนุญาตวิหาร.

* ท่านว่ามี ๑๐๐ เรื่อง แต่นับได้ถึง ๑๗๕ เรื่อง ถ้ารวมเข้าคงได้จำนวนนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

เศรษฐีกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้า แล้วแจ้งแก่ข้าพเจ้า.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำของราชคหเศรษฐี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งที่ ณ ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า

ราชคหเศรษฐีประสงค์จะสร้างวิหารถวาย ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึง

ปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พุทธานุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด

[๒๐๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร ๑ เรือนมุง

แถบเดียว ๑ เรือนชั้น ๑ เรือนโล้น ๑ ถ้า ๑.

[๒๐๑] ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้วได้กล่าว

ว่า คหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตวิหารแล้ว บัดนี้เป็นการสมควรที่จะ

สร้างได้ ราชคหเศรษฐีให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังโดยวันเดียวเท่านั้น ครั้นให้สร้าง

เสร็จแล้ว จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วกราบทูลอาราธนาว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์

จงทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีทราบว่า ทรงรับอาราธนา

แล้วจึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมทำประทักษิณกลับไปแล้ว ให้ตกแต่งขาทนีย-

โภชนียาหาร อันประณีตโดยล่วงราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

ถวายวิหาร

[๒๐๒] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก ถือบาตร

จีวรเสด็จไปยังนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขา

ปูลาดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงราชคหเศรษฐี อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน จน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยแล้ว ลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งกราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระ-

พุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการสวรรค์ ได้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้แล้ว ข้า

พระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไรในวิหารเหล่านั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าเช่นนั้น เธอจงถวาย

วิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา ราชคหเศรษฐีทูลรับ

พระพุทธดำรัสแล้ว ได้ถวายวิหารเหล่านั้น แก่สงฆ์ จาตุรทิศ ทั้งที่มาแล้ว

และยังไม่มา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่ราชคหเศรษฐีด้วย

คาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้ :-

คาถานุโมทนาวิหารทาน

[๒๐๓] วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน

และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยังป้องกันงูและยุง

ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหาร ยังป้องกัน

ลมและแดดอันร้อนกล้าที่เกิดขึ้นได้ การ

ถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อ

ความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอัน

เลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็ง

เห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์

ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูต อยู่ในบริเวณนี้เถิด

อนึ่ง พึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้า และ

เสนาสนะ อันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก

เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอ ย่อมแสดงธรรม

อัน เป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้

ทั่วถึงแล้ว จะเป็นผู้มีอนาสวะ ปรินิพพานใน

โลกนี้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาท่านราชคหเศรษฐี ด้วยคาถา

เหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ.

พุทธานุญาตบานประตู

[ ๒๐๔ ] ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตวิหาร

แล้วจึงช่วยกันสร้างวิหารถวายโดยเคารพ วิหารเหล่านั้นยังไม่มีบานประตู งู

แมลงป่อง และตะขาบ เข้าอาศัย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี.

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู ภิกษุ

ทั้งหลายเจาะช่องฝา ผูกบานประตูด้วยเถาวัลย์บ้าง เชือกบ้าง หนูและปลวก

กัด เชือกที่ผูกไว้ถูกกัดขาด บานประตูล้มลงมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบ

เช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบนบานประตูปิดไม่สนิท ... ตรัสว่า ดู

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องเชือก ชักเชือกสำหรับชัก บานประตูปิดไม่

อยู่...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน.

พุทธานุญาตลูกดาล

[๒๐๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดประตูได้ จึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ช่องลูกดาล ลูกดาลมี ๓ ชนิด คือ ลูกดาลโลหะ ๑ ลูกดาลไม้ ๑ ลูกดาลเขา ๑

ภิกษุทั้งหลายไขลูกดาลเข้าไป วิหารยังคุ้มไม่ได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์.

[๒๐๖] สมัยนั้น วิหารมุงด้วยหญ้า ถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อน

ก็ร้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบด้วยดินทั้งข้างนอกและข้างใน.

พุทธานุญาตบานหน้าต่าง

[๒๐๗] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีหน้าต่าง ไม่เป็นประโยชน์แก่นัยน์ตา

อบกลิ่นเหม็นไว้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง ๓ ชนิด คือ หน้าต่างมีชุกชี ๑

หน้าต่างมีข่าย ๑ หน้าต่างมีซี่กรง ๑ ที่ซอกหน้าต่าง กระแตและค้างคาวเข้า

ไปได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง ที่ริมผ้าผืนเล็ก กระแต

และค้างคาวยังเข้าไปได้ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้า

ต่าง มู่ลี่หน้าต่าง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

พุทธานุญาตเครื่องลาด

[๒๐๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรแปด

เปื้อนด้วยฝุ่น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดด้วยหญ้า หญ้าที่ลาดถูกหนูกัดบ้าง ปลวกกัดบ้าง...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดานคล้ายตั่ง เมื่อนอนบน

แผ่นกระดานคล้ายตั่งเนื้อตัวไม่สบาย . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตเตียงถักหรือสาน.

พุทธานุญาตเตียงและตั่งชนิดต่าง ๆ

[๒๐๙] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่า

ช้าบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่สอดเข้าในเท้า ตั่งมีแม่แคร่

สอดเข้าในเท้าบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแคร่สอดเข้าในเท้า.

[๒๑๐] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า

บังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีแคร่ติดกับเท้า ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า

บังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า.

พุทธานุญาตเตียงชนิดต่าง ๆ

[๒๑๑] สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิด

แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดู

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปูเกิดแล้ว

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าดังก้ามปู.

[๒๑๒] สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ซึ่งทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า บังเกิด

แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่บังเกิดแล้ว

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่.

พุทธานุญาตม้าชนิดต่าง ๆ

[๒๑๓] สมัยนั้น ม้าสี่เหลี่ยมบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ม้าสี่เหลี่ยม ม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูงบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม

ชนิดสูง ม้าสี่เหลี่ยม มีพนักสามด้านบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้า

สี่เหลี่ยมมีพนักสามด้าน ม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูงบังเกิดแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมมีพนักสามด้านชนิดสูง ตั่งหวายบังเกิดแล้ว... ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้าบังเกิดแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทรายบังเกิดแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย ตั่งก้ามมะขามป้อมบังเกิดแล้ว

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรืองนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้ามมะขามป้อม แผ่นกระดานบังเกิด

แล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน เก้าอี้บังเกิดแล้ว ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้ ตั่งฟางบังเกิดแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง.

ทรงห้ามนอนบนเตียงสูง

[๒๑๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นอนบนเตียงสูง ชาวบ้านเที่ยวชม

วิหาร เห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม . .. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พุทธานุญาตเขียงรองเท้าเตียง

[๒๑๕] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเตียง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

[๒๑๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้เขียงรองเท้าเตียงสูงเจาะติดกับ

เขียงรองเท้าเตียง ชาวบ้านเที่ยวชมวิหาร เห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพน-

ทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ...ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่พึงใช้เขียงรองเท้าเตียงสูง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงรองเท้าเทียงสูง ๘ นิ้ว เป็น

อย่างยิ่ง.

พุทธานุญาตด้าย

[๒๑๗] สมัยนั้น ด้ายบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตด้ายไว้ถักเตียง ตัวเตียงกินด้ายมาก . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้เจาะตัวเตียงแล้วถักเป็นตาหมากรุก ผ้าสามัญผืนน้อย ๆ บังเกิด

แล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น นุ่นบังเกิดแล้ว. . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สางออกทำเป็นหมอน นุ่นมี

๓ ชนิด คือ นุ่นต้นไม้ ๑ นุ่นเถาวัลย์ ๑ นุ่นหญ้า ๑.

พุทธานุญาตหมอน

[๒๑๘] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้หมอนยาวกึ่งกาย ชาวบ้านเที่ยวชม

วิหารพบเห็นแล้ว เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวกึ่งกาย ภิกษุ

ใดใช้ ไม่ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ทำหมอนพอดีกับศีรษะ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

พุทธานุญาตทำฟูก ๕ ชนิด

[๒๑๙] สมัยนั้น ในเมืองราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา ชาวบ้าน

จัดแจงฟูกสำหรับพวกมหาอำมาตย์ คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้

ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้ ครั้นมหรสพเลิกแล้ว เขาก็เลิกผ้าหุ้มไป ภิกษุทั้งหลาย

ได้เห็นขนสัตว์บ้าง ท่อนผ้าบ้าง เปลือกไม้บ้าง หญ้าบ้าง ใบไม้บ้าง เป็น

อันมาก ซึ่งเขาทิ้งไว้ในที่เล่นมหรสพ ครั้นแล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฟูก

๕ ชนิด คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้.

[๒๒๐] สมัยนั้น ผ้าอันเป็นบริขารของเสนาสนะ บังเกิดแก่สงฆ์

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุ้มมฟูก.

พุทธานุญาตเตียงหุ้มฟูก

[๒๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูฟูกเตียงลงบนตั่ง ปูฟูกตั่งลงบนเตียง

ฟูกทั้งหลายขาดทำลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงหุ้มฟูก ตั่ง-

หุ้มฟูก ภิกษุทั้งหลายปูลงไปไม่ได้ใช้ผ้ารองล่าง ฟูกย้อยลงข้างล่าง . . . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ารองปูฟันแล้วหุ้มฟูก โจรเลิกผ้าหุ้มฟูก

ไป...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จดไว้ โจรก็ยังลักไป . . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรอยไว้ ถึงอย่างนั้นก็ยังลักไป

... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือไว้.

[๒๒๒] สมัยนั้น ที่อยู่อาศัยของพวกเดียรถีย์ทาสีขาว พื้นเขาแต่ง

ให้เป็นสีดำ ฝาเขาทำบริกรรมให้เป็นสีเหลือง ชาวบ้านเป็นอันมาก พากัน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

ไปดูที่อยู่พวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสีขาว สีดำ ทำ

บริกรรมด้วยสีเหลือง ในวิหาร.

[๒๒๓] สมัยนั้น ฝาหยาบ สีขาวไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง สีขาวจะได้จับ สีขาวยัง

ไม่ติด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินละเอียด แล้วกวด

ด้วยเกรียงให้สีขาวจับ สีขาวก็ยังไม่จับ ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ใช้ยางไม้ แป้งเปียก.

พุทธานุญาตดินปนแกลบ

[๒๒๔] สมัยนั้น ฝาหยาบสีเหลืองไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียงให้มีเหลืองจับ สีเหลือง

ไม่ติด . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนรำ แล้วกวด

ด้วยเกรียงให้สีเหลืองจับ สีเหลืองก็ยังไม่ติด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ใช้แป้งเมล็ดพรรณผักกาด ขี้ผึ้งเหลว ครั้นหนาเกินไป ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เช็ดออกด้วยท่อนผ้า.

[๒๒๕] สมัยนั้น พื้นดินหยาบไป สีดำไม่จับ . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ดินปนแกลบ แล้วกวดด้วยเกรียง สีดำจะไม่จับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

สีดำก็ยังไม่จับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ยางไม้ น้ำฝาด.

พุทธานุญาตภาพดอกไม้เป็นต้น

[๒๒๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพสตรีบุรุษไว้ในวิหาร

ชาวบ้านเที่ยวชมวิหารเห็นเข้า จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. .. เหมือนพวก

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้เขียนภาพสตรี

บุรุษ รูปใดให้เขียน ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตภาพดอกไม้ ภาพเครือเถา

ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.

เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ

[๒๒๗] สมัยนั้น วิหารมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง ดินที่ถมพัง . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตก่อกรุ ๓ อย่าง คือ ก่อด้วยอิฐ ๑ ศิลา ๑ ไม้ ๑ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลง

ลำบาก . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันใด ๓ อย่าง คือ

บันใดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด.

เรื่องวิหารมีพื้นโล่งโถง

[๒๒๘] สมัยนั้น วิหารมีพื้นโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าม่าน ภิกษุทั้งหลายเลิกผ้าม่านมองดูกัน ภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝากึ่งหนึ่ง คนมองดูข้างบนจากฝากึ่งหนึ่งได้

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตห้อง ๓ ชนิด คือ ห้องสี่เหลี่ยมจตุรัส ๑

ห้องยาว ๑ ห้องคล้ายตึกโล้น ๑.

เรื่องวิหารเล็ก

[๒๒๙] สมัยนั้น วิหารเล็ก ภิกษุทั้งหลายกั้นห้องไว้ตรงกลาง

อุปจารไม่มี จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำห้องไว้ส่วนข้างหนึ่งในวิหารเล็ก

แต่ในวิหารใหญ่ทำไว้ตรงกลางได้.

[๒๓๐] สมัยนั้น เชิงฝาวิหารเก่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

กรอบเชิงฝา ฝาวิหารถูกฝนสาด ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

แผงกันสาด ดินปนเถ้ากับขี้วัว.

[๒๓๑] สมัยนั้น งูตกจากหลังคามุงหญ้าถูกคอภิกษุรูปหนึ่ง เธอกลัว

ร้องโวยวาย ภิกษุทั้งหลายรีบเข้าไปถามเธอว่า ทำไม คุณจึงได้ร้องโวยวาย

เธอจึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพดาน.

พุทธานุญาตไม้สำหรับแขวน

[๒๓๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่ง

บ้าง หนูและปลวกกัดกิน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือย

ติดฝา ไม้นาคทนต์.

พุทธานุญาตราวไม้เก็บจีวร

[๒๓๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง

จีวรขาด จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง ในวิหาร.

[๒๓๔] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง หาที่พักอาศัยมิได้ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียงลับแล หน้ามุขมีหลังคา

ระเบียงโล่งโถง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตกันสาดเลื่อนฝาค้ำ.

พุทธานุญาตหอฉัน

[๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารในที่แจ้ง ลำบากด้วยหนาว

บ้าง ร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้

...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง ดินที่ถมพัง...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ดินที่ถม ๓ ชนิด คือ อิฐ

ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก

... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด ผงหญ้าที่มุงหอฉัน

ตกลงเกลื่อน ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

โบกดินทั้งข้างบนข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลวดลาย ดอกไม้

เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง.

[๒๓๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวร

เปื้อนฝุ่น . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง

ไว้กลางแจ้ง . . . น้ำฉันถูกแดดเผา . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

โรงน้ำฉัน ปะรำน้ำฉัน โรงน้ำฉันมีพื้นต่ำ น้ำท่วมได้. . .ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง ดินที่ถมพัง . . . ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือ ก่อด้วยอิฐ ก่อด้วยศิลา กรุ

ด้วยไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุ-

ญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด ผงหญ้าที่มุงโรงน้ำฉัน

ตกเกลื่อน ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงฉาบด้วยดินทั้ง

ข้างบนข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร

ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายระเดียง ภาชนะตักน้ำฉันยังไม่มี .. . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม.

[๒๓๗] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีเครื่องล้อม.... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมด้วยเครื่องล้อม ๓ อย่าง คือ อิฐ ศิลา ไม้ ซุ้ม

ประตูยังไม่มี ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู ซุ้มประตู

มีพื้นต่ำไป น้ำท่วมได้ . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมให้

สูง ซุ้มประตูไม่มีบาน . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู

กรอบเช็ดหน้า ครกรองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม

กลอน ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าที่มุงซุ้มประตูตกเกลื่อน ...

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้งข้างบนข้างล่าง ให้มี

สีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร ดอกจอกห้ากลีบ.

พุทธานุญาตท่อระบายน้ำ

[๒๓๘] สมัยนั้น บริเวณเป็นตม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้โรยกรวดแร่ กรวดแร่ไม่เต็ม .. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ปูศิลาเรียบ น้ำขัง . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ

พุทธานุญาตโรงไฟ

[๒๓๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายก่อกองไฟไว้ในที่นั้น ๆ ทั่วบริเวณ

บริเวณสกปรก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำโรงไฟไว้ในที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมได้. . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ถมให้สูง ดินที่ถมพัง . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ก่อกรุ ๓ ชนิด คือ อิฐ ศิลา ไม้ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก . .. ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ ศิลา ไม้

ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตก . . . ตรัสว่า ดูก็ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราว

สำหรับยึด โรงไฟไม่มีบานประตู . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุ-

ญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า ครกรับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้

หัวลิง ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องเชือกชัก เชือกชัก ผงหญ้าที่มุง โรงไฟ

หล่นเกลื่อน .. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลง ฉาบทั้ง

ข้างบนทั้งข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ดอกจอกห้ากลีบ ราวจีวร สายสะเดียง อารามไม่มีเครื่องล้อม แพะบ้าง

ปสุสัตว์บ้าง เบียดเบียนสิ่งที่ปลูกไว้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ อย่าง

คือ รั้วไม้ไผ่ รั้วหนาม คู ซุ้มประตูไม่มี แพะบ้าง ปสุสัตว์บ้าง ยังรบกวน

สิ่งที่ปลูกไว้ตามเดิม . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้มประตู

เครื่องไม้คร่าว บานประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก ผงหญ้าที่มุ่งซุ้มหล่น

เกลื่อน . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วฉาบทั้งข้าง

บนทั้งข้างล่างให้มีสีขาว สีดำ สีเหลีอง มีลายดอกไม้ เครือเถา ฟันมังกร

ดอกจอกห้ากลีบ อารามเป็นตม ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้โรยหินแร่ หินแร่ไม่พอ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ปูหินเรียบ น้ำขัง . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย

น้ำ.

[๒๔๐] สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระราช-

ประสงค์จะทรงสร้างปราสาทปูนขาวถวายสงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเกิด

สนเท่ห์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเครื่องมุงชนิดไรไว้บ้างหนอ จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ กระเบื้อง ๑ หิน ๑ ปูนขาว ๑ หญ้า ๑

ใบไม้ ๑

ภาณวารที่ ๑ จบ

เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรก

[ ๒๔๑] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของราชคห

เศรษฐี ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีไปเมืองราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

[๒๔๒] สมัยนั้น ราชคหเศรษฐีได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น จึงได้สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย

ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกัน

จัดหาอาหารที่มีรสอร่อย.

[๒๔๓] ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้คิดว่า เมื่อเรามาคราวก่อน

ท่านคหบดีผู้นี้จัดทำธุระทุกอย่างเสร็จแล้ว สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว บัดนี้

เขามีท่าทีเปลี่ยนไป สั่งทาสและกรรมกรทั้งหลายว่า พนาย ถ้ากระนั้นพวกท่าน

จงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกันจัดหาอาหารที่มีรสอร่อย ๆ

บางทีคหบดีผู้นี้จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรือประกอบมหายัญ หรือ

จักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยง

ในวันรุ่งขึ้นกระมัง.

[๒๔๔] ครั้นราชคหเศรษฐีสั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถ-

บิณฑิกคหบดี ได้นั่งสนทนากัน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง อนาถบิณฑิกคหบดี-

ได้ถามว่า ท่านคหบดี คราวก่อนเมื่อฉันมาแล้ว ท่านได้จัดทำธุระทุกอย่าง

เสร็จแล้วก็สนทนากับฉันผู้เดียว บัดนี้ท่านนั้นมัวสาละวนสั่งทาสและกรรมกรว่า

ถ้ากระนั้นพวกท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง จงช่วยกัน

จัดหาอาหารที่มีรสอร่อย ๆ บางทีท่านคหบดี จักมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคลหรือ

หรือประกอบมหายัญ หรือจักทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช

พร้อมทั้งกองพลมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้กระมัง.

ราชคหเศรษฐีตอบว่า ท่านคหบดี ฉันจะได้มีงานอาวาหมงคล หรือ

วิวาหมงคล ก็หาไม่ แม้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช พร้อมทั้งกองพล

ฉันก็มิได้เชิญเสด็จมาเลี้ยงในวันพรุ่งนี้ ที่ถูกฉันประกอบมหายัญ คือ ฉันได้

นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อเลี้ยงในวันพรุ่งนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.

ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ๊ะ.

อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.

ร. ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้จ้ะ.

อ. ท่านคหบดี ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้หรือ.

ร . ท่านคหบดี ฉันกล่าวว่า พระพุทธเจ้า ดังนี้จ๊ะ.

อ. ท่านคหบดี แม้เสียงว่า พุทธะ นี้ก็อยากที่จะหาได้ในโลก

ท่านคหบดี ฉันสามารถจะเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้ไหม.

ร. ท่านคหบดี เวลานี้ยังไม่ควรที่จะเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พรุ่งนี้ท่านจึงจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มี-

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

[๒๔๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็น

อารมณ์ว่า พรุ่งนี้ เราจะได้เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ข่าวว่า เธอ ลุกขึ้นโนกลางคืนถึงสามครั้งเข้าใจว่า สว่าง

แล้ว จึงได้เดินไปโดยทางอันจะไปประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์เปิดประตูให้

ขณะเมื่อเดินออกจากพระนคร แสงสว่างได้หายไป ความมืดปรากฏแทน

ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าได้บังเกิดแล้ว เธอได้คิด

กลับจากที่นั้นอีก.

[ ๒๔๖] ขณะนั้น สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียงโดยคาถา

ว่าดังนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้า

อัสดร ๑ แสน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑

แสน ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่าง

เท้าไปก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด

ท่านคหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่าน

คหบดี ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่า อย่าถอย

กลับเลย.

[๒๔๗] ทันใดนั้น ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถ-

บิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า อันใด

ได้มีแล้ว อันนั้น ได้สงบแล้ว

แม้ครั้งที่สอง . . .

แม้ครั้งที่สาม แสงสว่างหายไป ความมืดได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิก-

คหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง เกล้าได้บังเกิด เธอคิคจะ

กลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่สาม สีวกยักษ์ไม่ปรากฏร่าง ให้ได้ยินแต่เสียง

ว่าดังนี้ :-

ช้าง ๑ แสน ม้า ๑ แสน รถม้าอัสดร

๑ แสน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสน

ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไป

ก้าวหนึ่ง เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่าน

คหบดี เชิญก้าวไปข้างหน้าเถิด ท่านคหบดี

ท่านก้าวไปข้างหน้าดีกว่าอย่าถอยกลับเลย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

แม้ครั้งที่สาม ความมืดหายไป แสงสว่างได้ปรากฏแก่อนาถบิณฑิก-

คหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้าอันใดได้มีแล้ว

อันนั้นได้สงบแล้ว จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังสีตวันแล้ว.

[๒๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจงกรมในที่แจ้ง ณ

เวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคหบดีนั้นเดินมา

แต่ไกลเทียว ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูลาดไว้

ครั้นแล้วได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า มาเถิดสุทัตตะ ทันใดนั้น อนาถ-

บิณฑิกคหบดี เบิกบานใจ ดีใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อเรา แล้ว

เข้าไปเฝ้าซบเศียรลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า พระองค์

ประทับสำราญ หรือ พระพุทธเจ้าข้า.

[๓๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบโดยคาถา ว่าดังนี้ :-

พราหมณ์ผู้ดับทุกข์ได้แล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุขแท้ทุกเวลา ผู้ใดไม่ติดในกาม มีใจ

เย็น ไม่มีอุปธิ ตัดความเกี่ยวข้องทุกอย่าง

ได้แล้ว บรรเทาความกระวนระวายในใจ

ถึงความสงบแห่งจิตเป็นผู้สงบระงับแล้ว

ย่อมอยู่เป็นสุข.

[๒๕๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่อนาถ

บิณฑิกคหบดี คือ บรรยายถึงทาน ศีล สวรรค์ อาทีนพ ความต่ำทราม

ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย แล้วทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม

ขณะที่พระองก์ทรงทราบว่า อนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควรแก่การงาน มีจิตอ่อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตเลื่อมใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรม

เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ เหตุ

ให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

อนาถบิณฑิกคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี

ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่

อนาถบิณฑิกคหบดี ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับ

น้ำย้อม ฉะนั้น.

[๒๕๑] ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม

แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศ

จากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำ

สอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด

ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ขอพระพุทธเจ้านี้ถึงพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระ

พุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแด่วันนี้เป็นต้น และ

ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญบุญกุศล ปิติ

และปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ของข้าพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

อาราธนา โดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคม ทำประทักษิณกลับไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

[๒๕๒] ราชคหเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถามอนาถ-

บิณฑิกคหบดีว่า ท่านคหบดี ข่าวว่าท่านได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่

จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านาจะได้จัดทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข

อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านคหบดี ทรัพย์สำหรับที่จะ

จับจ่ายสิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น

ของฉันมีแล้ว.

[๒๕๓] ชาวนิคมเมืองราชคฤห์ไค้ทราบข่าวว่า อนาถบิณฑิกคหบดี

นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ จึงได้ถาม

อนาถบิณฑิกคหบดีว่า ท่านคหบดี ข่าวว่าท่าได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกแรกมา ฉันจะให้ยืมทรัพย์

ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำอาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระ

พุทธเจ้าเป็นประมุข.

อนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า ไม่ต้อง ท่านผู้เจริญ ทรัพย์สำหรับที่

จะจับจ่ายสิ่งของเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น

ของฉันมีแล้ว.

[๒๕๔] พระเจ้า พิมพิสารจอม เสนามาคธราชไค้ทรงสดับข่าวว่า

อนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวัน

พรุ่งนี้จึงตรัสถามอนาถบิณฑิกคหบดีว่า ดูก่อนคหบดี ข่าวว่า ท่านนิมนต์

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ แลท่านก็เป็นแขกเมือง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของแก่ท่าน เพื่อท่านจะได้จัดทำอาหารเลี้ยง

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า ขอเดชะ เป็นพระมหากรุณาธิคุณ

อย่างล้นเกล้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายเป็นเครื่องทำอาหารถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขนั้น ของข้าพระพุทธเจ้ามีแล้ว .

อนาถบิณฑิกคหบดีถวายภัตตาหาร

[๒๕๕] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งอาหารของ

เคี้ยวของฉันอันประณีตในนิเวศน์ของราชคหเศรษฐี โดยล่วงราตรีนั้น แล้ว

ให้กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว

พระพุทธเจ้าข้า ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือ

บาตรจีวร เสด็จเข้านิเวศน์ของราชคหเศรษฐี ครั้นแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะ

ที่ปูลาด ถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระ

พุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือตนเอง จน

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตร ห้ามภัตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พร้อมกับ

ภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จำพรรษาในเมืองสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อม

ยินดีในสุญญาคาร

อนาถบิณฑิกคหบดีทูลว่า ทราบเกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทราบเกล้าแล้วพระสุคต ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อนาถ

บิณฑิกคหบดีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วทรงลุกจาก

อาสนะเสด็จกลับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน

[๒๕๖] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา

ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี

ได้ชักชวนชาวบ้านระหว่างทางว่า ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วย

กันสร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว

อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้น ชาว

บ้านเหล่านั้นที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอาราม สร้างวิหาร

เริ่มบำเพ็ญทานแล้ว ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยว

ตรวจดูพระนครสาวัตถีโดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าควรจะประทับอยู่ที่ไหน

ดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มีคมนาคมสะดวก

ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ

มีเสียงอึกทึกน้อยปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรม

ในที่ลับของมนุษย์ชนสมควรเป็นที่หลีกเร้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระ-

อุทยานของเจ้าเชตราชกุมารซึ่งเป็นสถานไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มี

การคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความประสงค์ไปมาได้ง่าย กลางวันมี

คนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอคน เป็นสถาน

ควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น ครั้น

แล้ว จึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทานพระ

อุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า

เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า ท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้อง

ซื้อด้วยลาดทรัพย์เป็นโกฏิ

อ. อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้า

ช. อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

เจ้าชายกับคหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตก

ลงขายหรือไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาตอบว่า เมื่อพระองค์ตีราคา

แล้ว อารามเป็นอันตกลงขาย

จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาด

ริมจดกัน ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาส

หน่อยหนึ่งใกล้ซุ้มประตู จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งคนทั้งหลายว่า พนาย

พวกเธอจงไปขนเงินมาเรียงในโอกาสนี้ ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารทรงรำพึง

ว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่คหบดีนี้บริจาคเงินมากเพียงนั้น จึงเจ้า

เชตราชกุมารตรัสกะอนาถบิณฑิกคหบดีว่า พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านอย่าได้

ลาดโอกาสนี้เลย ท่านจงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้ ดังนั้น อนาถ-

บิณฑิกคหบดี คร่ำครวญว่า เจ้าเชตคราชกุมารนี้ ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก

อันความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่

นักแล จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้าง

ซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิกคหบดีได้ให้สร้างวิหารหลายหลัง ไว้

ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ

สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้า

สร้างศาลาบ่อนำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้าง

มณฑป.

[๒๕๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ไนพระนครราชคฤห์ ตาม

พระพุทธาภิรมย์ แล้วได้เสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ

ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน

เขตพระนครเวสาลีนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

[๒๕๘] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านทั้งตังใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฎฐากภิกษุผู้

อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็น

ปัจจัยของภิกษุอาพาธโดยเคารพ.

เรื่องช่างชุนเข็ญใจ

[๒๕๙] ขณะนั้น ช่างชุนเข็ญใจคนหนึ่ง คิดว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มี

เหลือ โดยที่คนเหล่านี้ตั้งใจช่วยกันทำการก่อสร้าง ไฉนเราพึงช่วยทำการ

ก่อสร้างบ้าง จึงช่างชุนเข็ญใจนั้น ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝากำแพงขึ้นเอง เขาไม่

เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง แม้ครั้งที่สอง . . .

แม้ครั้งที่สาม ช่างชุนเข็ญใจนั้นลงมือขยำโคลน ก่ออิฐตั้งกำแพงเอง

เขาไม่เข้าใจก่อ ฝากำแพงคด ได้พังลง เขาจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้บอกสอนแต่เฉพาะพวกที่ถวายจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ และ

อำนวยการก่อสร้างแก่เขาเหล่านั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจ ไม่มีใครบอกสอน

หรืออำนวยการก่อสร้างแก่เรา ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผู้เข็ญใจนั้น เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงทำ

ธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ๆ การก่อสร้าง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อำนวยการก่อสร้าง ต้องขวนขวายว่า ทำไฉนหนอ

วิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว ต้องซ่อมสิ่งที่หักพัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุก่อน

ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม.

วาจา ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

กรรมวาจาให้นวกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ เป็นนวกรรมของ

ภิกษุมีชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้วิหารของคหบดี

ผู้มีชื่อนั้น เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ การให้วิหารของคหบดีผู้มี

ชื่อนี้ เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงเป็นผู้ฟังไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

วิหารของคหบดีผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้เป็นนวกรรมของภิกษุมีชื่อ

นี้แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย

อย่างนี้.

เรื่องความเคารพ

[๒๖๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระนครเวสาลี ตาม

พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุอันเตวาสิก

ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปข้างหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองวิหาร

กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชญาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้

ของพวกเรา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข เมื่อภิกษุทั้งหลายจองวิหาร แลที่นอนหมดแล้ว หาที่นอนไม่ได้

จึงนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จลุกขึ้น ทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

พ. ใคร ที่นั่น

ส. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า

พ. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นไม้นี้เล่า

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า.

[๒๖๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสงฆ์ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน

เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์

รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วจองวิหาร กันที่นอนไว้ว่า

ที่นี้ของอุปัชณาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา

จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้ว

จอง วิหาร กันที่นอนไว้ว่า ที่นี้ของอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของ

พวกเรา ที่นี้ของพวกเรา การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .ครันแล้วทรงทำธรรมีกถา ตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไรควรได้อาสนะอันเลิศ

น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก

ตระกูลกษัตริย์ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก

ตระกูลพราหมณ์ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดบวชจาก

ตระกูลคหบดี ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดจำทรง

พระสูตรไว้ได้ ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดทรงพระวินัย

ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นธรรมกถึก

ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ปฐมฌาน

ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ทุติยฌาน

ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้ตติยฌาน. .

ภิกษุใดได้จตุตถฌาน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาต

อันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นพระ

โสดาบัน ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำาอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดเป็นพระ

สกทาคามี...ภิกษุใดเป็นอนาคามี . . .ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ภิกษุนั้นควร

ได้อาสนะอัน เลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า ภิกษุใดได้วิชชา ๓ ภิกษุนั้นควรได้

อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใดได้อภิญญา ๖

ภิกษุนั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ.

เรื่องสัตว์ ๓ สหาย

[๒๖๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่แถบหิมพานต์

สัตว์ ๓ สหาย คือ นกกระทา ๑ ลิง ๑ ช้าง ๑ อาศัยต้นไทรใหญ่นั้นอยู่

ทั้งสามสัตว์นั้นมิได้เคารพ มิได้ยำเกรงกัน มีความประพฤติไม่กลมเกลียวกันอยู่

จึงสัตว์ ๓ สหายนั้นปรึกษากันว่า โอ พวกเราทำอย่างไรจึงจะรู้ได้แน่ว่าบรรดา

พวกเราผู้ใดเป็นใหญ่โดยกำเนิด พวกเราจะได้สักการะ เคารพ นับถือบูชา

ผู้นั้น แลจะได้ทั้งอยู่ในโอวาทของผู้นั้น จึงนกกระทาและลิงถามช้างว่า สหาย

ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง

ช้างตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันเดินคร่อม ต้นไทรนี้ไว้

ในหว่างขาหนีบได้ ยอดไทรพอระท้องฉัน ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้

นกกระทากับช้างถามลิงว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง

ลิงตอบว่า สหายทั้งหลาย เมื่อฉันยังเล็ก ฉันนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกิน-

ยอดไทรนี้ ฉันจำเรื่องเก่าได้ ดังนี้

ลิงและช้างถามนกกระทาว่า สหาย ท่านจำเรื่องเก่าแก่อะไรได้บ้าง

นกกระทาตอบว่า สหายทั้งหลาย ในสถานที่โน้นมีต้นไทรใหญ่

ฉันกินผลจากต้นไทรใหญ่นั้น แล้วได้ถ่ายมูลไว้ ณ สถานที่นี้ ต้นไทรต้นนี้

เกิดจากต้นไทรใหญ่นั้น เพราะฉะนั้น ฉันจึงเป็นใหญ่กว่าโดยกำเนิด ลิงกับ

ช้างได้กล่าวกับนกกระทาว่า บรรดาพวกเรา ท่านเป็นผู้ใหญ่กว่า โดยกำเนิด

พวกเราจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านและจะตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นกกระทาได้ให้ลิงกับช้าง สมาทานศีลห้าและ

ตนเองก็ประพฤติสมาทานในศีลห้า สัตว์ทั้งสามมีความเคารพรพยำเกรงกัน มีความ

ประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ได้เข้าถึงสุคติ-

โลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวัตรจริยานี้แล ได้ชื่อว่าติตติริยพรหมจรรย์.

[๒๖๓] คนเหล่าใด ฉลาดในธรรม

ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ย่อมเป็นผู้

อนัมหาชนสรรเสริญในปัจจุบันนี้ ทั้งสม-

ปรายภพขอคนเหล่านั้นเป็นสุคติแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แท้จริงสัตว์นั้นเป็นดิรัจฉาน ยังมีความ

เคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ การที่พวกเธอเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ มีความเคารพยำเกรงกัน มีความประพฤติ

กลมเกลียวกันอยู่ นั้นจะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยสแท้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใสของงชุมชนที่ยังเลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การ

ลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศ

บิณฑบาตอันเลิศ ตามลำดับผู้แก่กว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของ

สงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฎ.

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๑ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควร

ไหว้ คืออันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑ ไม่ควร

ไหว้ อนุปสัมบัน ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑ ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑

ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑

ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑

บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้.

บุคคลที่ควรไหว้ ๓ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ ภิกษุควรไหว้ คือภิกษุผู้

อุปสมบทภายหลัง ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทก่อน ๑ ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาส

ผู้แก่กว่า แต่เป็นธรรมวาที ๑ ควรไหว้ตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ

ในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์.

บุคคล ๓ จำพวกนี้แล ภิกษุควรไหว้

เรื่องเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์

[๒๖๕] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งมณฑป จัดแจงเครื่องลาดแผ้วถาง

สถานที่ไว้เฉพาะสงฆ์ ภิกษุอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่า เฉพาะของสงฆ์เท่านั้น

ของเหล่านี้เขาไม่ได้ทำเจาะจงไว้ จึงรีบไปก่อนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ไว้ว่า นี้สำหรับอุปัชฌาย์

ของพวกเรา นี้สำหรับอาจารย์ของพวกเรา นี้สำหรับพวกเรา ครั้นท่าน

พระสารีบุตรไปล้าหลังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อภิกษุเหล่านั้น

จองมณฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่หมดแล้ว หาที่ว่างไม่ได้ จึงนั่งอยู่

ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นเวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระแอมไอ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

พ. ใคร ที่นั่น .

ส. ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า.

พ. สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่โคนต้นนี้เล่า.

จึงท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๒๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน

เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุอันเตวาสิกของภิกษุฉัพพัคคีย์

พูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเสนาสนะตามลำดับผู้แก่กว่าเฉพาะของ

สงฆ์เท่านั้น ไม่ได้ทรงหมายถึงของที่เขาทำเจาะจง จึงรีบไปก่อนหน้าภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จองมถฑป จองเครื่องลาด จองสถานที่ว่างไว้ว่า

ที่นี้สำหรับอุปัชฌาย์ของพวกเรา ที่นี้ของอาจารย์ของพวกเรา ที่นี้ของพวกเรา

จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ของที่เขาทำเจาะจง ภิกษุก็

ไม่พึงเกียดกันตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฎ.

[๒๖๗] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งที่นอนสูงที่นอนใหญ่ไว้ในโรง-

อาหาร ณ ละแวกบ้าน คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาด

ที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาด

ที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดพรมขนแกะวิจิตร

ด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาด

ขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง

และเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

หลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่อชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม

เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง

ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องลาดที่เป็นคิหิวิกัฏ เว้นเครื่องลาด

๓ ชนิด คือ เก้าอี้นอน เตียงใหญ่ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น นอกนั้นนั่งทับได้

แต่จะนอนทับไม่ได้.

พุทธานุญาตให้นั่งทับเตียงตั่งเป็นคิหิวิกัฏ

[๒๖๘] สมัยนั้น ชาวบ้านตกแต่งเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ที่ยัดนุ่นไว้ใน

โรงอาหาร ณ ละแวกบ้าน ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่นั่งทับ จึงกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่ง

ทับเตียงตั่งที่เป็นคิหิวิกัฎได้ แต่จะนอนทับไม่ได้.

อนาถบิณฑิกคหบดีถวายพระเชตวนาราม

[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้เสด็จ

ถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถ

บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น จึงอนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมกับภิกษุสงฆ์จง

ทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรับอาราธนา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคม ทำประทักษิณ

กลับไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

[๒๗๐] หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนี-

ยาหารอันประณีต โดยล่วงราตรีนั้น แล้วสั่งให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว

ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จ

เข้าสู่นิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด

ไว้ถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงอนาถบิณฑิกคหบดี อังคาสภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยอาหารของเคี้ยวของฉันอันประณีตด้วยมือของตน

จนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จลดพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตแล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะ

ปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวันวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คหบดี ถ้าเช่นนั้น

เธอจงถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา อนาถ-

บิณฑิกคหบดีรับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ได้ถวายพระเชตวันวิหารแก่สงฆ์

จตุรทิศ ทั้งที่มาแล้วและยังไม่มา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วย

คาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้ :-

คาถาอนุโมทนาวิหารทาน

[๒๗๑] วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อน

และเนื้อร้าย นอกจากนั้นป้องกันงูและยุง

ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้น วิหารยังป้องกัน

ลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวาย

วิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข

เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระ-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

พุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาด เมื่อเล็งเห็น

ประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้

ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารเถิด อนึ่ง

พึงมีน้ำใจเลื่อมใส ถวายข้าว น้ำ ผ้า และ

เสนาสนะอันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวก

เธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรม

อันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา

อันเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ปรินิพพานในโลกนี้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วย

พระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะกลับไป.

เรื่องให้ภิกษุกำลังฉันค้างอยู่ลุกขึ้น

[๒๗๒] สมัยนั้น มหาอำมาตย์ผู้หนึ่งเป็นสาวกของอาชีวกได้เลี้ยง

อาหารพระสงฆ์ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรมาภายหลัง ได้ให้ภิกษุผู้นั่งใน

ลำดับลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิดโกลาหล จึงมหา

อำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ

ศากยบุตรมาทีหลัง จึงได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่เล่า

โรงอาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น ภิกษุผู้นั่งแม้ในที่อื่น จะพึงได้ฉันจนอิ่มอย่างไร

เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินมหาอำมาตย์ผู้นั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรมาทีหลังจงได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉัน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

อาหารค้างอยู่เล่า โรงอาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ทรงสอบถามว่า ดูก่อนอุปนันทะ

ข่าวว่า เธอมาทีหลังได้ให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่ โรง

อาหารได้เกิดโกลาหลขึ้น จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกราบทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอมา

ทีหลังจึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้นทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่ โรงอาหารได้เกิด

โกลาหลขึ้น การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่

ยังไม่เลื่อมใส... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้นั่งในลำดับลุกขึ้น ทั้งที่ยังฉันอาหารค้างอยู่

รูปใดให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าให้ลุกขึ้นย่อมเป็นอันห้ามภัตรด้วย พึง

กล่าวว่า ท่านจงไปหาน้ำมา ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงกลืน

เมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนึ่ง เรากล่าวมิได้หมายความว่า ภิกษุพึงหวงกันอาสนะ แก่ภิกษุผู้แก่กว่า

โดยปริยายไร ๆ รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น

[๒๗๓] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น ภิกษุอาพาธ

ตอบอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกผมไม่สามารถจะลุกขึ้นได้ เพราะเป็นผู้

อาพาธ พระฉัพพัคคีย์กล่าวว่า พวกผมจะพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น แล้วประคอง

ให้ลุกขึ้นพอยืนแล้วก็ปล่อยเสีย ภิกษุอาพาธล้มสลบ ...ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

ไล่ภิกษุอาพาธให้ลุกขึ้น รูปใดไล่ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

[๒๗๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์พูดว่า พวกผมอาพาธ ลุกไม่ขึ้น

แล้วยึดเอาที่นอนดี ๆ ไว้... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ที่นอนเหมาะสมแก่

ภิกษุอาพาธ.

[๒๗๕] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์อาพาธเล็กน้อย ก็หวงกันเสนาสนะ

ไว้. . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า... ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาพาธเล็กน้อย ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้ รูปใด

หวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหาร

[๒๗๖] สมัยนั้น พระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหารใหญ่หลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่

สุดเขต ด้วยหมายใจว่า พวกเราจักจำพรรษา ณ ที่นี้ พระฉัพพัคคีย์ได้เห็น

พระสัตตรสวัคคีย์กำลังซ่อมวิหาร ครั้นแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้ กำลังซ่อมวิหาร พวกเราจงช่วยกันไล่พวกเธอไปเสีย

เถิด ภิกษุบางพวกกล่าวกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรอไว้จนกว่าจะซ่อมเสร็จ

เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว จึงค่อยไล่ไป ครั้นซ่อมเสร็จ พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกะ

พระสัตตรสวัคคีย์ว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม.

ส. ท่านทั้งหลาย ควรจะบอกไว้ก่อนมิใช่หรือ พวกผมจะได้ซ่อมที่อื่น.

ฉ. ท่านทั้งหลาย วิหารของสงฆ์มิใช่หรือ.

ส. ขอรับ วิหารของสงฆ์.

ฉ. ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม.

ส. ท่านทั้งหลาย วิหารใหญ่ แม้พวกท่านก็อยู่ได้ แม้พวกผมก็อยู่ได้.

ฉ. จงออกไป วิหารถึงแก่พวกผม แล้วทำเป็นโกรธ ขัดเคือง จับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

คอลากออกมา พระสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น ถูกพระฉัพพัคคีย์ฉุดคร่าออกมา ก็

ร้องให้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า พวกท่านร้องให้ทำไม พระสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า

ท่านทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์เหล่านี้ โกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าพวกผมออกจาก

วิหารของสงฆ์ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพน

ทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงโกรธ ขัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออก

จากวิหารของสงฆ์ จึงภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์

โกรธ ชัดเคือง ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโกรธ ขัดเคือง

ฉุดคร่าภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดคร่า พึงปรับตามธรรม

เราอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ.

ภิกษุควรได้รับสมมติเป็นผู้ให้เสนาสนะ

[๒๗๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า ใครพึงให้ถือเสนาสนะ

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ คือ :-

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้เสนาสนะที่ให้ถือแล้วและยังไม่ให้ถือ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

วิธีสมมติ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง

ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย

ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ นี้

เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้

เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ การสมมตภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ให้ถือเสนาสนะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ถือเสนาสนะ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๒๗๙] ต่อมา ภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้ถือเสนาสนะหารือกันว่า เราจะพึง

ให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุก่อน

ครั้นแล้วนับที่นอน ครั้นแล้ว จึงให้ถือตามจำนวนที่นอน เมื่อให้ถือตาม

จำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก . .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ถือตามจำนวนวิหารเมื่อให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือเป็นอันมาก..

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ เมื่อให้ถือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลืออีกมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ให้ส่วนซ้ำอีก เมื่อให้ถือส่วนซ้ำอีกแล้ว ภิกษุ

รูปอื่นมา ไม่ปรารถนาก็อย่าพึงให้.

[๒๘๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

[๒๘๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงกันไว้ตลอดเวลา

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุถือเสนาสนะแล้ว ไม่พึงหวงกันไว้ตลอดทุกเวลา รูปใดหวงกัน

ไว้ ต้องอาบัติทุกกฎ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงกันไว้ได้ตลอดพรรษา ๓ เดือน

หวงกันไว้ตลอดฤดูกาลไม่ได้.

การให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง

[๒๘๒] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง

หนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ ให้ถือเมื่อวันเข้าปุริม

พรรษา ๑ ให้ถือเมื่อวันเข้าปัจฉิมพรรษา ๑ ให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น ๑

การให้ถือเมื่อวันเข้าปุริมพรรษา พึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำเดือนอาสาฬหะ

การให้ถือในวันเข้าปัจฉิมพรรษา พึงให้ถือเมื่อเดือนอาสาฬหะล่วงแล้ว ๑ เดือน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

การให้ถือในระหว่างพ้นจากนั้น พึงให้ถือในวันต่อจากวันปวารณา คือแรม

๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่างนี้แล.

ภาณวาร ที่ ๒ จบ

เรื่องพระอุปนันทะหวงกันเสนาสนะไว้ ๒ แห่ง

[๒๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ถือเสนาสนะ

ไว้ในเขตพระนครสาวัตถีแล้ว ได้ไปสู่อาวาสใกล้ตำบลบ้านแห่งหนึ่ง และได้

ถือเสนาสนะในอาวาสนั้นอีก จึงภิกษุเหล่านั้น ปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย ท่าน

พระอุปนันทศากยบุตรรูปนี้ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อการ

วิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิการณ์ในสงฆ์ ถ้าเธอจักอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้

พวกเราทุกรูปจักอยู่ไม่ผาสุก มิฉะนั้น เราจะถามเธอ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ถาม

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ท่านอุปนันทะ ท่านถือเสนาสนะในพระนคร

สาวัตถีแล้ว มิใช่หรือ.

อ. ถูกละ ขอรับ.

ภ. ท่านอุปนันทะ ก็ท่านรูปเดียว เหตุไรจึงหวงกันเสนาสนะไว้ถึง

สองแห่งเล่า.

อ. ผมจะละที่นี้ไปเดี๋ยวนี้ละ ขอรับ จะถือเอาที่พระนครสาวัตถีนั้น

บรรดาภิกษุทำเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรรูปเคียว จึงได้หวงกันเสนาสนะ

ไว้ถึงสองแห่งแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า

ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธอรูปเดียวหวงกันเสนาสนะไว้ถึงสองแห่ง จริงหรือ.

ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้

เดียวจึงหวงกันเสนาสนะไว้ถึงสองแห่งเล่า เธอถือในที่นั้นแล้ว ละในที่นี้ ถือ

ในที่นี้แล้ว ละในที่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เธอก็เป็นคนอยู่ภายนอกทั้งสองแห่ง

การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

รูปเดียว ไม่พึงหวงกันเสนาสนะไว้สองแห่ง รูปใดหวงกัน ต้องอาบัติทุกกฏ

วินัยกถา

[๒๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย

โดยอเนกปริยาย คือทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรง

สรรเสริญคุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยาย คือ ทรง

พรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญคุณของท่านพระ-

อุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงเรียนพระวินัย ในสำนัก

ท่านพระอุบาลีกันเถิด ก็แลภิกษุเหล่านั้นมากมาย ทั้งเถระ ทั้งนวกะ ทั้ง

มัชฌิมะ ต่างพากันเรียนพระวินัยในสำนักท่านอุบาลี ท่านพระอุบาลียืนสอน

ด้วยความเคารพพระเถระทั้งหลาย แม้พระเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความ

เคารพธรรม บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระและท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบนอาสนะเสมอ

กันหรือสูงกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุเถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะ

เสมอกันหรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

[๒๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากยืนรับการสอนในสำนัก

ท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ

เสมอกัน นั่งรวมกันได้.

[๒๘๖] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า ภิกษุชื่อว่ามีอาสนะ

เสมอกันด้วยคุณสมบัติเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระหว่าง

๒ พรรษา นั่งรวมกันได้.

[๒๘๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปมีอาสนะเสมอกันนั่งร่วมเตียงเดียวกัน

ทำเตียงหัก นั่งร่วมตั่งเดียวกัน ทำตั่งหัก จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ

๓ รูป ตั่งละ ๓ รูป แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งลงบนเตียง ก็ทำเตียงหัก นั่งลงบนตั่ง

ก็ทำตั่งหัก ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต เตียงละ ๒ รูป ตั่งละ

๒ รูป.

[๒๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งลงบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มี

อาสนะไม่เสมอกัน ก็รังเกียจ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ

ยาวร่วมกับภิกษุที่มีอาสนะไม่เสมอกันได้ เว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพ-

ยัญชนก.

[๒๘๙] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า อาสนะยาวที่สุดมี

กำหนดเท่าไร.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดมี

กำหนดนั่งได้ ๓ รูป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

[๒๙๐] สมัยนั้น นางวิสาขา มิคารมารดาใคร่จะให้สร้างปราสาทมี

เฉลียงประดุจเทริดที่ตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายพระสงฆ์ ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย

มีความสงสัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือไม่ทรง

อนุญาตหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการใช้สอยปราสาททุกอย่าง.

[๒๙๑] สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต

เพราะพระนางทิวงคต เครื่องอกัปปิยภัณฑ์เป็นอันมากบังเกิดแก่สงฆ์ คือ เก้าอี้

นอน เตียงใหญ่ ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย

เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่อง

ลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น

เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ

เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน

๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาด

ที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่อชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วยหนัง

ชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ตัดเก้าอี้นอนแล้วใช้สอยได้ เตียงใหญ่ทำลายรูปสัตว์ร้ายเสียแล้ว

ใช้สอยได้ ฟูกที่ยัดนุ่นรื้อแล้วทำเป็นหมอน นอกนั้นทำเป็นเครื่องลาดพื้น.

เรื่องภิกษุแจกของที่ไม่ควรแจก

[๒๙๒] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่งไม่ห่างจาก

พระนครสาวัตถี เป็นผู้จัดเสนาสนะแก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทาง

ย่อมลำบาก ภิกษุเหล่านั้นจึงปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย บัดนี้พวกเรา จัด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

เสนาสนะแก่ภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมเดินทาง ย่อมลำบาก เราตกลงจะ

มอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูปหนึ่ง เราจักใช้สอยเสนาสนะของเธอ

ภิกษุ เหล่านั้นได้มอบหมายเสนาสนะของสงฆ์ทุก ๆ อย่าง แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุ-

อาคันตุกะได้กล่าวคำนี้กะภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายโปรดจัดเสนาสนะ

ให้พวกผม ภิกษุเจ้าถิ่นตอบว่า เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี ขอรับ พวกผมมอบ

แก่ภิกษุรูปหนึ่งหมดแล้ว

ท่านอาคันตุกะ: ก็พวกท่านแจกจ่ายเสนาสนของสงฆ์หรือ ขอรับ

เจ้าถิ่น : เป็นเช่นนั้น ของรับ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุ จึงได้แจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวก

ภิกษุแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ของที่ไม่ควรแจก ๕ หมวด

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงแจกจ่ายเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ

เหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส... ครั้น

แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่

ควรแจกจ่าย ๕ หมวดนี้อันภิกษุไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้สงฆ์ คณะ หรือ

บุคคล แจกจ่ายไปแล้วก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

ของไม่ควรแจกจ่าย ๕ หมวด อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อาราม นี้

เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจก

จ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอา-

บัติถุลลัจจัย

วิหาร พื้นวิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะ

ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย

รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี

คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอัน

แจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง

จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่ายหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคล

ก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูปใด

แจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่อง

ไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของที่ไม่ควรแจกจ่าย หมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี

บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแจกจ่าย รูป

ใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแจกจ่ายมี ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี

คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแจกจ่ายให้ไป แม้แจกจ่ายไปแล้ว ก็ไม่เป็นอัน

แจกจ่าย รูปใดแจกจ่าย ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

เรื่องภิกษุแบ่งของที่ไม่ควรแบ่ง

[๒๙๓] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี ตาม

พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางกิฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประ

มาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ภิกษุพวกพระอัสสชิและ

พระปุนัพพสุกะได้ทราบข่าวแล้วกล่าวกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กิฏาคิรี-

ชนบทพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและโมค-

คัลลานะ เชิญเถิด! พวกเราตกลงแบ่งเสนาสนะของสงฆ์ให้หมด เพราะพระสารี-

บุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนา

อันชั่วช้า พวกเราจะได้ไม่ต้องจัดหาเสนาสนะถวายท่าน ภิกษุเหล่านั้นได้แบ่ง

เสนาสนะของสงฆ์หมดแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ได้

ถึงชนบทกิฏาคิรีแล้ว จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอจงไปหาภิกษุพวกอัสสชิและปุนัพพสุกะแล้วบอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาพร้อมด้วยยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้ง

พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ขอท่านจงจัดหาเสนาสนะถวายพระผู้มี

พระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ ภิกษุเหล่านั้นรับ

สนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ครั้นแล้ว

ได้แจ้งว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ประมาณ ๕๐๐ รูป ทั้งพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ ก็แลพวกท่านจงจัดหา

เสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าภิกษุสงฆ์ และพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ

ภิกษุพวกพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะตอบว่า ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของ

สงฆ์ไม่มี พวกผมแบ่งกันหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว พระองค์

ทรงพระประสงค์จะประทับในวิหารใดก็จักประทับในวิหารนั้น พระสารีบุตร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

และพระโมคัลลานะ มีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจของความปรารถนา

อันชั่วช้า พวกผมจักไม่จัดหาเสนาสนะถวายท่าน

ภ. ท่านทั้งหลาย พวกท่านแบ่งเสนาสน ะของสงฆ์หรือ

อ. เป็นเช่นนั้น ขอรับ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ

พวกอัสสชิ และปุนัพพสุกะ แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ

โมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ

เหล่านั้นนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . .. ครั้น

แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่

ไม่ควรแบ่งมี ๕ หมวดนี้ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่ง

ไปแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่งต้องอาบัติถุลลัจจัย ของไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด

อะไรบ้าง คืออาราม พื้นที่อารามนี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๑ สงฆ์ก็ดี

คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง

ต้องอาบัติถุลลัยจัย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๒ สงฆ์ก็ดี คณะ

ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย

เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๓ สงฆ์ก็ดี

คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง

ต้องอาบัติถุลลัจจัย

หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง

จอบ สว่าน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๔ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี

ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่อง

ไม้ เครื่องดิน นี้เป็นของไม่ควรแบ่งหมวดที่ ๕ สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี

ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดนี้แล สงฆ์ก็ดี คณะ

ก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรแบ่ง แม้แบ่งแล้ว ก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย.

[๒๙๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กิฏาคิรีชนบทตาม

พุทธาภิรมย์แล้วเสด็จจาริกทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงเมืองอาฬวี

แล้ว ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวีนั้น.

เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม

[๒๙๕] สมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองอาฬวีย่อมให้นวกรรมเห็นปานนี้

คือ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดินบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบฝาบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงประตูบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยูบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาวบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงสีขาวบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลืองบ้าง .

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคาบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพังบ้าง

ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถูบ้าง

ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง

ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง

ให้นวกรรม ตลอดชีวิตบ้าง

ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควันก็มี บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวเมือง

อาฬวี จึงได้ให้นวกรรมเห็นปานนี้ คือ:-

ได้ไห้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดินบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบทาฝาบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุ เพียงตั้งประตูบ้าง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยูบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงคิดกรอบเช็ดหน้าบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาวบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลืองบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคาบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพังบ้าง

ได้ให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถูบ้าง

ได้ให้นวกรรม ๒๐ ปีบ้าง

ได้ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง

ได้ให้นวกรรม ตลอดชีวิตบ้าง

ได้ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควันก็มี จึง

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุ

ชาวเมืองอาฬวี . . . จริงหรือ. .

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียน. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงวางก้อนดิน

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงฉาบทาฝา

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียง ตั้งประตู

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดสายยู

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงติดกรอบเช็ดหน้า

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีขาว

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีดำ

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงทาสีเหลือง

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงมุงหลังคา

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงผูกมัดหลังคา

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง

ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ด้วยเหตุเพียงขัดถู

ไม่พึงให้นวกรรม ๒๐ ปี

ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี

ไม่พึงให้นวกรรม ตลอดชีวิต

ไม่พึงให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ยังอยู่ในเวลาแห่งควัน รูป

ใดให้นวกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้ทำหรือที่

ทำค้างไว้เฉพาะวิหารเล็กไห้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๕-๖ ปี เรือนมุง

แถบเดียว ให้ตรวจดูงานแล้ว ให้นวกรรม ๗- ๘ ปี วิหารใหญ่หรือปราสาท

ให้ตรวจดูงานแล้วให้นวกรรม ๑- ๒ ปี.

ให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง

[๒๙๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม วิหารทั้งหลังจึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

[๒๙๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม ๒ ครั้งแก่วิหาร ๑ หลัง

จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม ๒ ครั้ง แก่วิหาร ๑ หลัง รูปใดให้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๒๙๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้วให้ภิกษุรูปอื่นอยู่

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วไม่พึงให้ภิกษุรูปอื่นอยู่ รูปใดให้

อยู่ ต้องอาบัติทุกกฎ.

[๒๙๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะ

ของสงฆ์ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วไม่พึงเกียดกันเสนาสนะ

ของสงฆ์ รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง.

[๓๐๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรม แก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรม แก่วิหารที่ทั้งอยู่นอกสีมา รูปใด

ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว เกียดกันตลอด

กาลทั้งปวง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถือเอานวกรรมแล้ว ไม่พึงเกียดกันตลอด

กาลทั้งปวง รูปใดเกียดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เกียดกันเฉพาะ ๓ เดือนฤดูฝน ไม่

ให้เกียดกันตลอดฤดูกาล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

ภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเป็นต้น

[๓๐๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไปบ้าง สึก

เสียบ้าง ถึงมรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้บอกลา

สิกขาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันเติมวัตถุบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริตบ้าง

ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง

ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่

กระทำคืออาบัติบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามกบ้าง

ปฏิญาณเป็นบิณเฑาะก์บ้าง ปฏิญาณเป็นลักเพศบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์

บ้าง ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญาณ

เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษ

ร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาทบ้าง

ปฎิญาณเป็นอุภโทพยัญชนกบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

[๓๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ถือเอานวกรรมแล้ว หลีกไป สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่ง

ว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว

สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณ

เป็นผู้ต้องอันทิมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน

ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็น

อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยก

วัตรฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ

ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่า

มารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท

ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้

ของสงฆ์เสียหาย.

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานว-

กรรมแล้วหลีกไปในเมื่อยังทำไม่เสร็จ สงฆ์พึงมอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า

อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานวกรรมแล้ว

สึกในเมื่อทำยังไม่เสร็จ. . . ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึง

มอบให้แก่ภิกษุรูปอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้ของสงฆ์เสียหาย.

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอานว-

กรรมแล้วหลีกไปในเมื่อทำเสร็จแล้ว นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ถือเอา

นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จแล้ว ก็สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร

ปฏิญาณเป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ.

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา

นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฎิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณเป็นมีจิ ฟุ้งซ่าน

ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่เห็น

อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยกวัตรฐานไม่กระทำคืนอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกยก

วัตรฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง.

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือเอา

นวกรรมแล้ว พอทำเสร็จ ก็ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นผู้ลักเพศ

ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา

ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้าย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

ภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำโลหิตุปบาท ปฏิญาณเป็น

อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของแล.

ใช้เสนาสนะผิดสถานที่

[๓๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้สอยเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้

สำหรับวิหารของอุบาสกคนหนึ่ง ในวิหารหลังอื่น ครั้งนั้น อุบาสกนั้นจึง

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้เอาเครื่องใช้

ในวิหารแห่งหนึ่ง ไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เครื่องใช้ในวิหารแห่งหนึ่ง ภิกษุไม่พึงเอาไปใช้ในวิหารอีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พุทธานุญาตให้ขอยืมเสนาสนะ

[๓๑๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจที่จะรักษาโรงอุโบสถบ้าง ที่นั่ง

ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน ทั้งร่างกาย ทั้งจีวร ย่อมเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับ

สั่งว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ฐานเป็นของขอยืม.

พุทธานุญาตให้เก็บเสนาสนะไปรักษา

[๓๑๑] สมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ

ไม่นำเสนาสนะออกไป จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเพื่อเก็บรักษา

ไว้ได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

พุทธานุญาตให้แลกเปลี่ยน

[๓๑๒] สมัยนั้น ผ้ากัมพลมีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะ

เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อ

ประโยชน์แก่ผาติกรรมได้.

[๓๑๓] สมัยนั้น ผ้ามีราคามาก เป็นบริขารสำหรับเสนาสนะเกิดขึ้น น

แก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์แก่

ผาติกรรมได้.

พุทธานุญาตผ้าเช็ดเท้า

[๓๑๔] สมัยนั้น หนังหมีบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.

[๓๑๕] สมัยต่อมา เครื่องเช็ดเท้ารูปวงล้อบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ทำเป็นผ้าเช็คเท้า.

[๓๑๖] สมัยต่อมา ผ้าท่อนน้อยบังเกิดแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า.

มีเท้าเปื้อนห้ามเหยียบเสนาสนะ

[๓๑๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะด้วยเท้าที่ยังมิได้ล้าง

เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะ

ด้วยเท้าที่ยังมิได้ล้าง รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

มีเท้าเปียกห้ามเหยียบเสนาสนะ

[๓๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเหยียบเสนาสนะด้วยเท้าที่ยังเปียก

เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบเสนาสนะ

ด้วยเท้าที่ยังเปียก รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สวมรองเท้าห้ามเหยียบเสนาสนะ

[๓๑๙า สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ

เสนาสนะเปรอะเปื้อน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าไม่พึง

เหยียบเสนาสนะ รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงห้ามถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถู

[๓๒๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถูแล้ว ความงาม

ย่อมเสียไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มเขฬะบนพื้นที่ขัดถู

แล้ว รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระโถน

พุทธานุญาตผ้าพันเท้าเตียงตั่ง

[๓๒๑] สมัยนั้น ทั้งเท้าเตียง ทั้งเท้าตั่ง ย่อมครูดพื้นที่ขัดถูแล้ว

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

[๓๒๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพิงฝาที่ขัดถูแล้ว ความงามย่อมเสีย

ไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ขัดถูแล้ว รูปใดพิง ต้อง

อาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักอิง พนักอิงส่วนล่างครูดพื้น

และส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน

ทั้งข้างล่างและข้างบน.

พุทธาญาตให้ปูลาดนอน

[๓๒๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วย่อมรังเกียจที่จะนอน จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูลาดก่อนแล้วนอน

พุทธานุญาตภัตร

[๓๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวีตาม

พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึง

กรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหารอันเป็นสถานที่

พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.

[๓๒๕] สมัยต่อมา กรุงราชคฤห์มีข้าวแพง ประชาชนไม่สามารถจะ

ทำสังฆภัตร แต่ปรารถนาจะทำอุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิก-

ภัตร อุโปสถิกภัตร ปาฎิปทิกภัตร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

สังฆภัตร อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโปสถิกภัตร

ปาฏิปทิกภัตร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

พุทธานุญาตให้สมมติภัตตุเทสก์

[๓๒๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารดี ๆ ไว้สำหรับพวกตน

ให้ภัตตาหารเลว ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นภัตตุเทสก์ คือ :-

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ .

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้จักภัตรที่แจกแล้วและยังมิได้แจก .

วิธีสมมติ

[๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง

ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย

ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์

ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น

ภัตตเทสก์ การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นภัตตุเทสก์ ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นภัตตุเทสก์ แล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

วิธีแจกภัตร

[๓๒๘] ครั้งนั้น พระภัตตุเทสก์มีความสงสัยว่า จะพึงแจกภัตร

อย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือแผ่นผ้า

รวมเข้าไว้ แล้วจึงแจกภัตร.

สมมติภิกษุเป็นผู้แต่งตั้งเสนาสนะเป็นต้น

[๓๒๙] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุแต่งตั้งงเสนาสนะ...

ไม่มีภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง. .

ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร...

ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร. ..

ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวยาคู . . .

ไม่มีภิกษุผู้แจกผลไม้ . ..

ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังมิได้แจกย่อมเสีย ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้แจกของ

เคี้ยว คือ :-

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกแล้วและยังมิได้แจก.

วิธีสมมติ

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง

ภิกษุก่อน ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย

ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว นี้เป็น

ญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อเป็น

ผู้แจกของเคี้ยว การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยวชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเคี้ยวแล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

สมมติภิกษุเป็นผู้แจกของเล็กน้อย

[๓๓๑] สมัยนั้น บริขารเล็กน้อยเกิดขึ้นในเรือนคลังของสงฆ์ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้

แจกของเล็กน้อย คือ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความสำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้จักของที่แจกแล้ว และมิได้แจก.

วิธีสมมติ

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง

ภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย

ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย

นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็น

ผู้แจกของเล็กน้อย การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็กน้อย

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้แจกของเล็กน้อยแล้ว ชอบ

แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ของเล็กน้อยที่ควรแจก

[๓๓๓] อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้น เข็มเล่มหนึ่งก็ควรให้ มีดก็

ควรให้ รองเท้าก็ควรให้ ประคดเอวก็ควรให้ สายโยกบาตรก็ควรให้ ผ้า-

กรองน้ำก็ควรให้ ธมกรกก็ควรให้ ผ้ากุสิก็ควรให้ ผ้าอัฑฒกุสิก็ควรให้

ผ้ามณฑลก็ควรให้ ผ้าอัฑฒมณฑลก็ควรให้ ผ้าอนุวาตก็ควรให้ ผ้าด้านสะกัด

ก็ควรให้ ถ้าเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อยของสงฆ์มีออยู่ ควรให้ลิ้มได้

คราวเดียว ถ้าต้องการอีก ก็ควรให้อีก ถ้าต้องการแม้อีก ก็ควรให้อีก

พุทธานุญาตให้สมมติภิกษุเป็นผู้แจกผ้าเป็นต้น

[๓๓๔] สมัยนั้น สงฆ์ไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า...

ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร. . .

ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด...

ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร. ..สามเณรทั้งหลายอันภิกษุไม่ใช้ ย่อมไม่ทำ

การงาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุที่ประกอบด้วย

องค์ ๕ เป็นผู้ใช้สามเณร คือ :-

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ

๕. รู้จักการงานที่ใช้แล้วและยังมิได้ใช้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

วิธีสมมติ

[๓๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้อง

ภิกษุก่อน ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย

ญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์

ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์ จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุชื่อนี้เป็น

ผู้ใช้สามเณร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ชอบแก่ท่าน

ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติเป็นผู้ใช้สามเณรแล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ด้วยอย่างนี้.

ภาณวาร ที่ ๓ จบ

เสนาสนขันธกะ ที่ ๖ จบ

หัวข้อประจำขันธกะ

[๓๓๖] ๑. เรื่องพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยังมิได้ทรงบัญญัติวิหาร ใน

ครั้งนั้น สาวกของพระชินเจ้าเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น ๆ ย่อมออกมาจากที่อยู่ ๒.

เรื่องเศรษฐีคหบดีเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ว่า

ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร ท่านทั้งหลายพึงอยู่ ภิกษุทูลถามพระโลกนายก ๓.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตที่เร้น ๕ อย่าง คือ ก. วิหาร ช. เรือนมุง

แถบเดียว ค. เรือนชั้น ง. เรือนโล้น จ. ถ้า ๔. เรื่องเศรษฐีสร้างวิหาร

๖๐ หลัง ๕. เรื่องมหาชนสร้างวิหารไม่มีบานประตู ๖. เรื่องภิกษุไม่ระวัง

๗. เรื่องทรงอนุญาตบานประตู ๘. เรื่องทรงอนุญาตกรอบเช็ดหน้า ครก-

รองรับเดือยประตู ห่วงข้างบน ๙. เรื่องทรงอนุญาตช่องเชือกชัก และเชือก

สำหรับชัก ๑๐. เรื่องทรงอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม กลอน ๑๑. เรื่อง

ทรงอนุญาตช่องลูกดาลทำด้วยโลหะ ไม้ และเขา ๑๒. เรื่องทรงอนุญาต

ลิ่มยนต์ ๑๓. เรื่องหลังคาฉาบด้วยดิน ทั้งข้างนอกข้างใน ๑๔. เรื่องหน้าต่าง

มีชุกชี หน้าต่างมีตาข่าย หน้าต่างมีซี่กรง ๑๕. เรื่องผ้าผืนเล็กสำหรับหน้าต่าง

๑๖. เรื่องมู่ลี่หน้าต่าง ๑๗. เรื่องทรงอนุญาตเครื่องปูลาด ๑๘. เรื่องทรง

อนุญาตแผ่นกระดานคล้ายตั่ง ๑๙. เรื่องทรงอนุญาตเตียงถักหรือสาน ๒๐.

เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแน่แคร่สอดเข้าในเท้า ๒๑. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่-

แคร่สอดเข้าในเท้า ๒๒. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ๒๓.

เรี่องทรงอนุญาตตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า ๒๔. เรื่องทรงอนุญาตเตียงมีเท้าดั่ง

ก้ามปู ๒๕. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าดั่งก้ามปู ๒๖. เรื่องทรงอนุญาตเตียง

มีเท้าจดแม่แคร่ ๒๗. เรื่องทรงอนุญาตตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ๒๘. เรื่องทรง

อนุญาตม้าสี่เหลี่ยม ๒๙. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูง ๓๐. เรื่องทรง

อนุญาตม้าสี่เหลี่ยมชนิดสูงมีพนักสามด้าน ๓๑. เรื่องทรงอนุญาตม้าสี่เหลี่ยม

มีพนักสามด้านชนิดสูง ๓๒. เรื่องทรงอนุญาตตั่งหวาย ๓๓. เรื่องทรง

อนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า ๓๔. เรื่องทรงอนุญาตตั่งขาทราย ๓๕. เรื่องทรง

อนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม ๓๖. เรื่องทรงอนุญาตแผ่นกระดาน ๓๗. เรื่อง

ทรงอนุญาตเก้าอี้ ๓๘. เรื่องทรงอนุญาตตั่งฟาง ๓๙. เรื่องทรงห้ามนอน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

บนเตียงสูง ๔๐. เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำถูกงูกัด จึงทรงอนุญาตเขียงรองเท้า

เตียง ๔๑. เรื่องทรงอนุญาตเขียงรองเท้าเตียงสูง ๘ นิ้วเป็นอย่างยิ่ง ๔๒.

เรื่องทรงอนุญาตด้ายสำหรับถักเตียง ๔๓. เรื่องทรงอนุญาตให้เจาะตัวเตียง

แล้วถักเป็นตาหมากรุก ๔๔. เรื่องทรงอนุญาตให้ทำเป็นผ้ารองพื้น ๔๕.

เรื่องทรงอนุญาตให้รื้อออกทำเป็นหมอน ๔๖. เรื่องทรงห้ามใช้หมอนกึ่งกาย

๔๗. เรื่องมีมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด ๔๘. เรื่องทรง

อนุญาตผ้าสำหรับเสนาสนะ ๔๙. เรื่องทรงอนุญาตเตียงและตั่งบุ ๕๐. เรื่อง

ฟูกย้อยลงข้างล่าง ๕๑. เรื่องโจรลักเลิกผ้าหุ้มนำไป ทรงอนุญาตให้ทำรอยไว้

๕๒. เรื่องทรงอนุญาตให้พิมพ์รอยนิ้วมือ ๕๓. เรื่องที่อยู่อาศัยของพวก

เดียรถีย์ ทรงอนุญาตสีขาว สีดำ ทำบริกรรมด้วยสีเหลือง ในวิหาร ๕๔.

เรื่องทรงอนุญาตดินปนแกลบ ๕๕. เรื่องทรงอนุญาตดินละเอียด ๕๖. เรื่อง

ทรงอนุญาตยางไม้ ๕๗. เรื่องทรงอนุญาตดินปนรำ ๕๘. เรื่องทรงอนุญาต

แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด ๕๙. เรื่องทรงอนุญาตขี้ผึ้งเหลว ๖๐. เรื่องขี้ผึ้งเหลว

หนา ทรงอนุญาตใช้ผ้า เช็ด ๖๑. เรื่องพื้นหยาบสีดำไม่จับ ทรงอนุญาตดินขุย

ไส้เดือน ๖๒. เรื่องทรงอนุญาตยางไม้ ๖๓. เรื่องรูปภาพ ๖๔. เรื่องวิหาร

มีพื้นที่ต่ำ ๖๕. เรื่องก่อ ๖๖. เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตก ๖๗. เรื่องวิหารมี

พื้นโล่งโถง ทรงอนุญาตฟากกึ่งหนึ่ง ๖๘. เรื่องทรงอนุญาตห้องอีก ๓ ห้อง

๖๙. เรื่องวิหารเล็ก ๗๐. เรื่องเชิงฝา ๗๑. เรื่องฝนสาด ๗๒. เรื่องภิกษุ

ร้องโวยวาย ๗๓. เรื่องไม้เดือยติดฝา ๗๔. เรื่องราวจีวร ๗๕. เรื่อง

ระเบียงกับฝาค้ำ ๗๖. เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึด ๗๗. เรื่องผงหญ้า

มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง ๗๘. เรื่องที่กลางแจ้ง น้ำฉันถูกแดดเผา

ทรงอนุญาตโรงน้ำฉัน ๗๙. เรื่องภาชนะน้ำฉัน ๘๐. เรื่องวิหาร ๘๑.

เรื่องซุ้ม ๘๒. เรื่องบริเวณ เรื่องโรงไฟ ๘๓. เรื่องอาราม ๘๔. เรื่อง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ซุ้มประตูมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง ๘๕. เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธา

ผ่องใส ได้ไปสู่ป่าสีตวัน ได้เห็นธรรมแล้วทูลอาราธนาสมเด็จพระนายก

พร้อมกับภิกษุสงฆ์ในระหว่างหนทางได้ชักชวนประชาชนให้สร้างอาราม ๘๖.

เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองเวสาลี เรื่องนวกรรม เรื่องพระศิษย์

ของพระฉัพพัคคีย์รีบไปจองเสนาสนะ ๘๗. เรื่องใครควรได้ภัตรอันเลิศ ๘๘.

เรื่องติดติรพรหมจรรย์ ๘๙. เรื่องบุคคลไม่ควรไหว้ ๙๐. เรื่องพระศิษย์

ของพระฉัพพัคคีย์เกียดกันเสนาสนะ ๙๑. เรื่องประชาชนตกแต่งปูที่นั่งที่

นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน ๙๒. เรื่องเตียงดังหุ้นนุ่น ๙๓. เรื่องพระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จเมืองสาวัตถี อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างอารามถวาย ๙๔. เรื่อง

เกิดโกลาหลในโรงภัตร ๙๕. เรื่องพระอาพาธ ๙๖. เรื่องที่นอนดี ๙๗.

เรื่องอ้างเลศ ๙๘. เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ซ่อมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น ๙๙.

เรื่องภิกษุมีความสงสัยว่า ใครหนอควรให้ถือเสนาสนะ ๑๐๐. เรื่องเสนาสน-

คาหาปกภิกษุมีความสงสัยว่า ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไรหนอ ๑๐๑. เรื่องให้

แจกตามจำนวนวิหาร ๑๐๒. เรื่องให้แจกตามจำนวนบริเวณ ๑๐๓. เรื่อง

ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่ม แต่ไม่ปรารถนาก็อย่าให้ ๑๐๔. เรื่องให้ภิกษุ

อยู่นอกสีมา ๑๐๕. เรื่องทรงห้ามเกียดกัน เสนาสนะตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑๐๖.

เรื่องการให้ถือเสนาสนะ ๓ ประการ ๑๐๗. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร ๑๐๘.

เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระวินัย ๑๐๙. เรื่องภิกษุยืนเรียน

พระวินัย ๑๑๐. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งอาสนะเสมอกัน ๑๑๑. เรื่องภิกษุมี

อาสนะเสมอกันทำเตียงตั่งหัก ๑๑๒. ทรงอนุญาตให้นั่งได้ ๓ รูป และ ๒ รูป

๑๑๓. เรื่องทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้นีอาสนะไม่เสมอกันไ่ด้

๑๑๔. เรื่องทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีเฉลียงรอบ ๑๑๕. เรื่องสมเด็จ

พระอัยยิกา ๑๑๖. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นในห่างเมืองสาวัตถีแบ่งเสนาสนะของสงฆ์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

๑๑๗. เรื่องกิฏาคิรีชนบท ๑๑๘. เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรมด้วย

เหตุเพียงวางก้อนดินฉาบทาฝา ตั้งประตู ติดสายยู ติดกรอบเช็ดหน้า ทำให้

มีสีขาว สีดำ สีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา ปิดบังที่อาศัยแห่งนกพิราบ

ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดผุพัง ขัดถู ให้นวกรรมทั้ง ๒๐ ปี ๓๐ ปี ตลอดปี ชั่วเวลา

ควันขึ้น ในเมื่อวิหารสำเร็จแล้ว เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้

นวกรรมแก่วิหารที่ยังไม่ได้ทำ ที่ทำยังไม่เสร็จ ให้ตรวจการงานในวิหารเล็ก

แล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารมุงแถบเดียว แล้วให้

นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจการงานในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม

๑๐ ปี ๑๒ ปี ๑๑๙. เรื่องภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ๑๒๐. เรื่องภิกษุ

ให้นวกรรม ๒ แก่วิหารหนึ่งหลัง ๑๒๑. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วให้ภิกษุ

อื่นอยู่ ๑๒๒. เรื่องภิกษุถือนวกรรมแล้วเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ ๑๒๓.

เรื่องภิกษุให้นวกรรมแก่วิหารที่ตั้งอยู่นอกสีมา ๑๒๔. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรม

แล้วเกียดกันตลอดฤดูกาล ๑๒๕. เรื่องภิกษุถือเอานวกรรมแล้วหลีกไปเสียบ้าง

สึกเสียบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญาณเป็นสามเณรบ้าง บอกลาสิกขาบ้าง ต้อง

อันติมวัตถุบ้าง วิกลจริตบ้าง มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กระสับกระส่ายเพราะเวทนา

บ้าง ถูกยกวัตรฐานไม่เห็นอาบัติบ้าง ฐานไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ฐานไม่สละคืน

ทิฏฐิอันลามกบ้าง ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์บ้าง เป็นเถยยสังวาสบ้าง เข้ารีต

เดียรถีย์บ้าง เป็นสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง เป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง

ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ผู้ทำลายสงฆ์บ้าง ผู้ทำโลหิ-

ตุปบาทบ้าง เป็นอุภโตพยัญชนกบ้าง พึงมอบแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า อย่าให้

ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จ ควรมอบให้แก่ภิกษุอื่น เมื่อทำเสร็จ แล้ว

หลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นนั่งเอง สึก ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็น

สามเถร บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกยกวัตร ฐานไม่เห็นอาบัติ ฐานไม่ทำคืนอาบัติ

ฐานไม่สละคืนทิฎฐิอันลามก นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นนั่นเอง เป็น

บัณเฑาะก์ เป็นเถยยสังวาส เข้ารีต เดียรถีย์ เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ฆ่ามารดา

ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายภิกษุณี ทำลายสงฆ์ ทำโลหิตุปบาท

ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ ๑๒๖. เรื่องภิกษุนำเสนาสนะ

ไปใช้ในที่อื่น ๑๒๗. เรื่องภิกษุรังเกียจ ๑๒๘. เรื่องวิหารใหญ่ชำรุด ๑๒๙.

เรื่องผ้ากัมพล ๑๓๐. เรื่องผ้ามีราคามาก ๑๓๑. เรื่องหนังหุ้ม ๑๓๒. เรี่อง

ผ้าเช็ดเท้ารูปวงล้อ ๑๓๓. เรื่องผ้าผืนเล็ก ๑๓๔. เรื่องภิกษุ เหยียบเสนาสนะ

เรื่องเท้าเปียก ๑๓๖. เรื่องสวมรองเท้า ๑๓๗. เรื่องถ่มเขฬะ ๑๓๘. เรื่อง

เท้าเตียงตั่งครูดฟัน ๑๓๙. เรื่องภิกษุพิงฝา ทรงอนุญาตพนักอิง พนักอิง

ครูดฝาอีก ๑๔๐. เรื่องล้างเท้า ทรงอนุญาตให้ปูเครื่องลาดนอน ๑๔๑.

เรื่องประทับในกรุงราชคฤห์ ประชาชนไม่อาจถวายสังฆภัตร ๑๔๒. เรื่อง

แจกภัตรเลว สมมติพระภัตตุเทสก์ เรื่องแจกภัตรอย่างไร ๑๔๓. เรื่องสมมติ

ภิกษุเป็นผู้ทั้งเสนาสนะ สมมติภิกษุเป็นผู้รักษาเรือนคลัง .. . เป็นผู้รับจีวร...

เป็นผู้รับแจกจีวร . . . เป็นผู้แจกข้าวยาคู . . . เป็นผู้แจกผลไม้... เป็นผู้แจก

ของเคี้ยว . . . เป็นผู้แจกของเล็กน้อย . . . เป็นผู้แจกผ้า . . . เป็นผู้แจกบาตร...

เป็นผู้ใช้คนวัด. .. เป็นผู้ใช้สามเณร พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงครอบงำ

ซึ่งสรรพธรรม ทรงรู้จักโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำชั้นเยี่ยม ทรง

บัญญัติแล้วเพื่อหลีกเร้น เพื่อความสุข เพื่อเพ่ง และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

เสนาสนักขันธกวรรณนา

[วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ]

วินิจฉัยในเสนาสนักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า เสนาสนะเป็นของยังมิได้ทรงบัญญัติ ได้แก่ เป็นของ

ยังมิได้อนุญาต .

ที่อยู่ที่เหลือ พ้นจากเรือนมุงแถบเดียวเป็นต้นไป ชื่อวิหาร.

เรือนมุงแถบเดียวนั้น ได้แก่ เรือนที่โค้งดังปีกครุฑ.

ปราสาทนั้น ได้แก่ ปราสาทยาว.

เรือนโล้นนั้น ได้แก่ ปราสาทนั่งเอง แต่มีเรือนยอดตั้งอยู่บนพื้น

บนอากาศ.

ถ้ำ นั้น ได้แก่ ถ้ำอิฐ ถ้ำศิลา ถ้ำไม้ ถ้ำดิน

คำว่า เพื่อสงฆ์ทั้ง ๔ ทิศที่มาแล้ว และยังไม่มา คือเพื่อสงฆ์

ผู้อยู่ใน ๔ ทิศ ทั้งที่มาแล้ว ทั้งที่ยังมิได้มา.

[ว่าด้วยวิหารทาน]

วินิจฉัยในอนุโมทนาคาถา พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า เย็น ร้อน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าด้วยอำนาจฤดูผิด

ส่วนกัน.

ลมเจือหยาดน้ำ ท่านเรียกว่า ลมในสิสิรฤดู ในคำนี้ว่า สิสิเร จาปิ

วุฎิโย.

ฝนนั้น คือ ฝนที่เกิดแต่เมฆโดยตรงนั่นเอง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

บทเหล่านี้ทั้งหมด พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า ปฏิหนติ.

บทว่า ปฏิหฺติ ได้แก่ ลมและแดดอันวิหารย่อมป้องกัน.

บทว่า เลณตถ คือ เพื่อหลีกเร้นอยู่.

บทว่า สุขตถ คือ เพื่อความอยู่สบาย เพราะไม่มีอันตราย มีเย็น

เป็นต้น .

สองบทนี้ว่า ฌายิตุญจ วิปสสิตุ พึงประกอบกับบทนี้เทียวว่า

สุขตถฺจ.

จริงอยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายดังนี้ :-

การถวายวิหาร เพื่อความสุข. การถวายวิหารเพื่อความสุข เป็นไฉน ?

ความสุขใด มีเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง, การถวายวิหารเพื่อความสุขนั้น.

อีกประการหนึ่ง สองบทว่า ฌายิตุฺจ วิปสสิตุ นี้ พึงประกอบ

กับบทหลังบ้างว่า ถวายวิหารเพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง.

การถวายวิหารแก่สงฆ์ ของทายกผู้ถวายด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลาย

จักเพ่งพินิจ จักเห็นแจ้ง ในกุฎีนี้ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรเสริญว่าเลิศ. จริง

อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดำนี้ว่า ผู้ใดให้ที่อยู่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ครบทุกอย่าง.

จริงอยู่ การถวายวิหาร ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญว่าเลิศ เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประพันธ์คาถาว่า ตสฺมา หิ ปณฑิโต โปโส.

คำว่า วาสเยตถ พหุสสุเต มีความว่า พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย

ผู้เป็นพหูสูตด้วยการเล่าเรียน และผู้เป็นพหูสูตด้วยความตรัสรู้ ให้อยู่ในวิหาร.

นี้.

หลายบทว่า เตส อนฺนฺจ เป็นต้น มีความว่า ข้าว น้ำ ผ้า

และเสนาสนะ มีเตียงตั่งเป็นต้น อันใด สมควรแก่ภิกษุเหล่านั้น, พึงมอบถวาย

ปัจจัยทั้งปวงนั้น ในภิกษุเหล่านั้น ผู้ซื่อตรง คือมีจิตไม่คดโกง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

บทว่า ทเทยฺย คือ พึงมอบถวาย (หรือเพิ่มถวาย).

ก็แล พึงถวายปัจจัยนั้น ด้วยจิตอันเลื่อมใส ไม่ยังความเลื่อมใสแห่ง

จิตให้คลายเสีย. จริงอยู่ ทายกนั้นจะรู้ทั่วถึงธรรมใดในพระศาสนานี้แล้ว เป็น

ผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ภิกษุผู้เป็นพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมนั้น ซึ่ง

เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง แก่เขาผู้มีจิตผ่องใสอย่างนั้น ฉะนี้แล.

[ว่าด้วยลายยูเป็นต้น]

วินิจฉัยในคำว่า อาวิญฉนฉิทท อาวิญฉนชฺชุ นี้ มีความว่า

ขึ้นชื่อว่าเชือก แม้ถ้าเป็นของที่ทำด้วยหางเสือ ควรแท้. เชือกบางอย่างไม่

ควรหามิได้.

ดาล ๓ ชนิดนั้น ได้แก่ กุญแจ ๓ อย่าง.

วินิจฉัยในคำว่า ยนตก สูจิก นี้ว่า ภิกษุควรทำกุญแจยนต์ที่ตน

รู้จัก และลูกกุญแจสำหรับไขกุญแจยนต์นั้น.

ที่ชื่อว่าหน้าต่างสอบบน คล้ายเวทีแห่งเจดีย์

ที่ชื่อว่าหน้าต่างตาข่าย ได้แก่ หน้าต่างที่ขึงข่าย.

มีชื่อว่าหน้าต่างซี่ ได้แก่ หน้าต่างลูกรง.

ในคำว่า จกกลิก นี้ มีความว่า เราอนุญาตให้ผูกผ้าเล็ก ๆ คล้าย

ผ้าเช็ดเท้า.

คำว่า วาตปานภิสิก มีความว่า เราอนุญาตให้ทำเสื่อ ได้ขนาด

หน้าต่างผูกไว้.

[ว่าด้วยเตียงและตั่ง]

บทว่า มิฒึ ได้แก่ กระดานตั่ง

บทว่า วิทลมฺจ ได้แก่ เตียงหวาย หรือเตียงที่สานด้วยดอกใม้ไผ่.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

ตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัส เรียกว่า อาสันทิกะ.

จริงอยู่ ตั่งยาวด้านเดียวเท่านั้น มีเท้า ๘ นิ้ว จึงควร ส่วนตั่ง ๔

เหลี่ยมจตุรัส พึงทราบว่า แม้เกินประมาณก็ควร เพราะพระบาลีว่า เรา

อนุญาตตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัสแม้สูง.

เตียงที่ทำพนักพิง ๓ ด้าน ชื่อสัตตังคะ. แม้สัตตังคะนี้ ถึงเกิน

ประมาณก็ควร.

ตั่งที่ทำเสร็จด้วยหวายล้วน เรียกว่า ภัททปีฐะ.

เฉพาะตั่งที่ขึงด้วยผ้าเก่า เรียกว่า ปีฐกา.

ตั่งที่คิดเท้าบนเขียงไม้ ทำคล้ายโต๊ะกินข้าว เรียกชื่อว่า ตั่งขาทราย.

ตั่งมีเท้ามากประกอบไว้ด้วยอาการดังผลมะขามป้อม ชื่อว่า ตั่งก้าม

มะขามป้อม.

ตั่งที่มาในพระบาลี เท่านี้ก่อน, ส่วนตั่งไม้ควรทั้งหมด วินิจฉัยใน

อธิการว่าด้วยตั่งนี้ เท่านี้ .

ตั่งที่ถัดด้วยแฝก หรือถักด้วยหญ้าปล้อง หรือถักด้วยหญ้ามุงกระต่าย

เรียกว่า เก้าอี้.

ในคำว่า อฏฺงฺคุลปรม มญจปฏิปาทก นี้ ว่า ๘ นิ้ว คือ นิ้ว

ขนาดของพวกมนุษย์นั่น เอง.

[ว่าด้วยเครื่องลาดพื้นและนุ่นเป็นต้น ]

เครื่องปูลาดเพื่อต้องการจะรักษาผิวแห่งพื้นที่ทำบริกรรม เรียกชื่อว่า .

จิมิลิกา ผ้าคลุม.

นุ่นแห่งต้นไม้นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งต้นไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีต้นงิ้ว

เป็นต้น .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

นุ่นแห่งเครือวัลย์นั้น ได้แก่ นุ่นแห่งเถาวัลย์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มี

เถาน้ำนมเป็นต้น.

นุ่นแห่งหญ้านั้น ได้แก่ นุ่นแห่งติณชาติเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีหญ้า

คมบางเป็นต้น โดยที่สุด แม้นุ่นแห่งอ้อยและไม้อ้อเป็นต้น .

ภูตคามทั้งปวง เป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมเข้าด้วยต้นไม้

เถาวัลย์และหญ้า ๓ ชนิดเหล่านี้.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า ภูตคามอื่น ซึ่งพ้น จากรุกขชาติ วัลลิชาติและ

ติณชาติไป ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น นุ่นแห่งภาคตามชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อม

ควรในการทำหมอน.

แต่ครั้น มาถึงฟูกเข้า นุ่นนั้น แม้ทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เป็นนุ่นที่

ไม่ควร. และจะควรในการทำหมอนเฉพาะนุ่นนั้นอย่างเดียวหามิได้, แม้ขน

แห่งนกทุกชนิด มีหงส์และนกยูงเป็นต้น และแห่งสัตว์ ๔ เท้าทุกชนิด มีสีหะ

เป็นต้น ก็ควร.

แค่ดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีดอกประยงค์และดอกพิกุลเป็นต้น ไม่

ควร. เฉพาะใบเต่าร้างล้วน ๆ ทีเดียว ไม่ควร, แต่ปน ควรอยู่ แม้นุ่นคือ

ขนสัตว์เป็นต้น ๕ อย่าง ที่ทรงอนุญาตสำหรับฟูก ก็ควรในการทำหนอน.

[ว่าด้วยมอน]

ในกุรุนทีกล่าวว่า บทว่า อฑฺฒกายิกานิ มีความว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมทอดกายตั้งแต่บั้นเอวจนถึงศีรษะบนหมอนเหล่าใด หมอนเหล่านั้น ชื่อ

มีประมาณกึ่งกาย.. หมอนที่จัดว่า ได้ขนาดกับ ศรีษะ คือ ด้านกว้าง เมื่อวัด

ในระหว่างมุมทั้ง ๒ เว้น มุมหนึ่งเสียในบรรดา ๓ มุม ได้คืบ ๑ กับ ๔ นิ้ว

ตรงกลางได้ศอกกำหนึ่ง ส่วนด้านยาว ยาวศอกคืบหรือ ๒ ศอก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

นี้เป็นกำหนดอย่างสูงแห่งหมอนที่ได้ขนาดกับศรีษะ. กว้างเกินกว่า

กำหนดนี้ขึ้นไปไม่ควร. ต่ำลงมาควร.

หนอน ๒ ชนิด คือ หมอนหนุนศีรษะ และหมอนหนุนเท้า ควร

แก่ภิกษุผู้ไม่อาพาธแท้. ภิกษุผู้อาพาธจะวางหมอนหลายใบแล้วปูเครื่องลาดข้าง

บนแล้วนอน ก็ควร.

อนึ่ง พรุปุสสเทวเถระกล่าวว่า นุ่นที่เป็นกัปปิยะะ ๕ อย่างเหล่าใด

ที่ทรงอนุญาต สำหรับฟูกทั้งหลาย, หมอนที่ทำด้วยนุ่นเหล่านั้นแม้ใหญ่ก็ควร

ฝ่างพระอุปติสสเถระผู้วินัยธรกล่าวว่า ประมาณนั่นแล ควรแก่ภิกษุ

ผู้ยัดนุ่นเป็นกัปปิยะ หรือนุ่นที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยคิดว่า จักทำหมอน.

[ว่าด้วยฟูก]

ฟูก ๕ อย่างนั้น ได้แก่ ฟูกที่ยัดด้วยของ ๕ อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจำนวนแห่งฟูกเหล่านี้ ตามจำนวน

แห่งนุ่น

บรรดานุ่นเหล่านั้น ขนแกะอย่างเดียวเท่านั้น มิได้ทรงถือเอาด้วย

อุณณศัพท็, แต่ว่า เว้นขนมนุษย์เสียแล้ว ขนแห่งนกและสัตว์ ๔ เท้าซึ่งเป็น

ชาติที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดามี ขนทั้งหมด

นั้น ทรงถือเอาในอธิการว่าด้วยฟูกนี้ ด้วยอุณณศัพท์ทั่งนั้น.

เพราะฉะนั้น บรรดาจีวร ๖ ชนิด และอนุโลมจีวร ๖ ชนิด ภิกษุ

ทำเปลือกฟูกด้วยชนิดหนึ่งแล้ว ยัดขนสัตว์ทุกอย่างนั้นทำเป็นฟูก ก็ควร.

อนึ่ง แม้ฟูกที่ภิกษุมิได้ขัดขนแกะ ใส่แต่ผ้ากัมพล ๔ ชั้นหรือ ๕ ชั้น

ย่อมถึงความนับว่าฟูกขนสัตว์เหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

บรรดาฟูกทั้งหลายมีโจฬภิสิเป็นต้น ฟูกที่เขารวบรวมเศษผ้าใหม่ หรือ

เศษผ้าเก่า อย่างใดอย่างหนึ่งซ้อนเข้า หรือยัดเข้าข้างใน ชื่อโจฬภิสิ ฟูกที่

ยัดเปลือกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวากภิสิ. ฟูกที่ยัดหญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อ

ติณภิสิ. ฟูกที่ยัดใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง นอกจากใบเต่าร้างล้วน พึงทราบว่า

ปัณณภิสิ.

ส่วนใบเต่าร้างเฉพาะที่ปนกับใบไม้เหล่าอื่น จึงควร. ใบเต่าร้างล้วน

ไม่ควร

สำหรับฟูก ไม่มีจำกัดประมาณ พึงกะประมาณตามความพอใจของ

ตน กำหนดดูพอสมควรแก่ฟูกเหล่านี้ คือ ฟูกเตียง ฟูกตั่ง ฟูกปูพื้น ฟูก

ที่จงกรม ฟูกสำหรับเช็ดเท้า.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า นุ่น ๕ อย่าง มีขนสัตว์เป็นต้น ซึ่งควรในฟูก

ย่อมควรแม้ในฟูกหนัง. ด้วยคำที่กล่าวในอรรถกถากุรุนทีนั้น เป็นอันสำเร็จ

สันนิษฐานว่า ภิกษุใช้สอยฟูกหนัง ย่อมควร.

ข้อว่า ลาดฟูกเตียงบนตั่ง ได้แก่ ปูลงบนตั่ง. แม้อรรถว่า นำ

ไปเพื่อประโยชน์แก่การปู ดังนี้ก็เหมาะ.

สองบทว่า อุลฺโลก อกริตวา มีความว่า ไม่ปูผ้ารองไว้ข้างใต้.

สองบทว่า โผสิตุ มีความว่า เราอนุญาตให้เอาน้ำย้อมหรือขมิ้น

แต้มข้างบน.

บทว่า ภิตฺติกมฺม มีความ ว่า เราอนุญาต ให้ทำรอยเป็นทาง ๆ บน

เปลือกฟูก.

บทว่า หตฺถภิตฺตึ มีความว่า เราอนุญาตให้เจิมหมายรอยด้วยนิ้ว

ทั้ง ๕.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

[ว่าด้วยบริกรรมพื้น ]

บทว่า อิกฺกาส ได้แก่ ยางไม้หรือยางผสม.

บทว่า ปิฏฺมทฺท ได้ เก่ แป้งเปียก.

บทว่า กุณฺฑกมตฺติก ได้แก่ ดินเหนียวปนรำ.

บทว่า สาสปกุฏ ได้แก่ แป้งเมล็ดพรรณผักกาด.

บทว่า สิตฺถเตลก ได้แก่ ขี้ผึงเหลว.

สองบทว่า อจฺจุสฺสนฺน โหติ มีความว่า เป็นหยด ๆ ติดอยู่.

บทว่า ปจฺจุทฺธริตุ ได้แก่ เช็ด

บทว่า ลณฺฑมตฺติก ได้แก่ ดินเหนียว คือ ขุยไส้เดือน.

บทว่า กสาว ได้แก่ น้ำฝาดแห่งมะขามป้อมและสมอ.

วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว ปฏิภาณจิตฺต นี้ พึงทราบดังนี้ :-

รูปสตรีและบุรุษอย่างเดียวเท่านั้น อันภิกษุไม่ควรให้ทำ หามิได้ รูป-

สัตว์ดิรัจฉาน โดยที่สุดแม้รูปไส้เดือนภิกษุไม่ควรทำเองหรือสั่งว่า ท่านจงทำ

ย่อมไม่ได้แม้เพื่อสั่งว่า อุบาสก ท่านจงทำคนเฝ้าประตู. แต่ยอมให้ใช้ผู้อื่น

เขียนเรื่องทั้งหลายซึ่งน่าเลื่อมใส มีปกรณ์ชาดกแลอสติสทานเป็นต้น หรือซึ่ง

ปฎิสังยุตด้วยความเบื่อหน่าย, ทั่งยอมให้ทำเองซึ่งมาลากรมเป็นต้น .

บทว่า อาฬกมนฺทา มีความว่า เป็นลาน อันเดียว คับคั่งด้วยมนุษย์.

[ว่าด้วยห้องเป็นต้น]

วินิจฉัยในบทว่า ตโย คพฺเภ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

สิวิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้อง ๔ เหลี่ยมจตุรัส.

นาฬิกาคัพภะนั้น ได้แก่ ห้องยาวกว่าด้านกว้าง ๒ เท่าหรือ ๓ เท่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

หัมมิยคพัภะนั้น ได้แก่ ห้องเรือนยอดชั้นอากาศ หรือห้องมีหลังคา

โล้น

บทว่า กุลงฺกปาทก มีความว่า เราอนุญาตให้คงเชิงฝาซึ่งเลื่อนที่

ไม่ได้ เจาะไม้ตอกเดือยในไม้นน รองบนพื้นเพื่อหนุนเชิงฝาเก่า.

บทว่า ปริตฺตาณกิฏก มีความว่า เราอนุญาตให้ติดกันสาดเพื่อ

ป้องกันฝน.

บทว่า อุทฺธาสุธ ได้แก่ ดินเหนียวซึ่งเคล้ากับมูลโคและเถ้า.

หน้ามุขเรียกว่า เฉลียง. ขึ้นชื่อว่า ปฆนะ พึงทราบดังนี้ :-

ชนทั้งหลาย เมื่อออกและเข้า ย่อมกระทบประเทศใด. ด้วยเท้าทั้งหลาย

คำว่า ปฆนะ นี้ เป็นชื่อ องประเทศนั้นที่ชักฝาออก ๒ ข้าง ทำไว้ที่ประตู

กุฎี (ได้แก่ลับแล) ปฆนะ นั้น เรียกว่า ปฆานะ บ้าง.

ระเบียงรอบห้องกลาง เรียกว่า ปกุททะ ปาฐะว่า ปกุฏฺฏ ก็มี.

โอสารกึ นั้น ได้แก่ หน้ามุขที่หลังคา ซึ่งติดคร่าวแล้วทอด

ไม้ท่อนออกไปจากคร่าวนั้น ทำไว้ที่กุฎีที่ไม่มีระเบียง

กันสาดที่ติดห่วงกลมสำหรับเลื่อน ชื่อว่า แผงเลื่อน.

[ว่าด้วยภาชนะน้ำ-ประตู]

ภาชนะน้ำนั้น ได้แก่ ภาชนะสำหรับตักน้ำให้ดื่ม กระบวย และ

ขันอนุโลมตามสังข์ตักน้ำ.

อเปสี นั้น ได้แก่ เครื่องกั้นประตู ที่ใส่เดือยเข้าในไม้ยาวแล้วผูก

เรียวหนาม.

ปลิฆะ นั้น ได้แก่ เครื่องกันประตูที่ติดล้ออย่างที่ประตูบ้าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

[เรื่องอนาถบิณฑิกะ]

รถทั้งหลายเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อรถ

เทียมแม่ม้าอัสดร.

บทว่า อามุตฺตมณิกุณฺฑลา ได้แก่ ผู้ประดับต่างหูแก้วมณี.

บทว่า ปรินิพฺพุโต มีความว่า เพราะไม่มีอุปธิคือกิเลส และอุปธิ

คือขันธ์ ท่านจึงกล่าวว่า ผู้เย็นสนิท ไม่มีอุปธิ.

บาทคาถาว่า สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา มีความว่า ตัดความ

ปรารถนาในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หรือในภพทั้งปวง.

บาทคาถาว่า วิเนยฺย หทเย ทร ได้แก่ กำจัดความกระวนกระวาย

คือกิเลส ในจิตเสีย.

ทรัพย์สำหรับใช้หมดไป เรียกว่า ทรัพย์อันควรหมด เปลือง.

บทว่า อาเทยฺยวาโจ มีความว่า ถ้อยคำของอนาถบิณฑิกคหบดีนั้น

อันชนเป็นอันมากควรเชื่อถือ; อธิบายว่า คนเป็นอันมากย่อมสำคัญถ้อยคำของ

คหบดีนั้น ว่า อันตนควรฟัง.

สองบทว่า อาราเม อกสุ มีความว่า ชนเหล่าใดมีทรัพย์ ชน

เหล่านั้นได้สร้างด้วยทรัพย์ของตน ชนเหล่าใดมีทรัพย์น้อย และไม่มีทรัพย์

คฤหบดีได้ให้ทรัพย์แก่ชนเหล่านั้น .

คฤหบดีนั้น ให้ทรัพย์แสนกหาปณะ และสิ่งของราคาแสนหนึ่งกระ

ทำการสร้างวิหารไว้ในระยะโยชน์หนึ่ง ในหนทางไกล ๔๕ โยชน์แล้ว ได้ไป

กรุงสาวัตถี ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า โกฏิสนฺถร สนฺถราเปสิ มีความว่า ได้เรียงกหาปณะ.

ให้ริมจดกัน ในที่บางแห่งหมายเอาประมาณแห่งเครื่องล้อมของต้นไม้หรือสระ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ซึ่งมีในเชตวันนั้นเรียงให้ ขุมทรัพย์อันหนึ่ง ๑๘ โกฎิ ของคฤหบดีนั้น ได้ถึง

ความสิ้นไป ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า กุมารสฺส เอตทโหสิ มีความว่า ความรำพึงนี้ได้มีแก่

ราชกุมาร เพราะเห็นอาการอัน ผ่องใสแห่งหน้าของคฤหบดี ผู้แม้ต้องสละ

ทรัพย์มากอย่างนั้น .

สองบทว่า โกฏฺก มาเปสิ มีความว่า ราชกุมารให้สร้างปราสาท

มีซุ้มประตู ๗ ชั้น.

คำว่า อถ โข อนาถปิณฺฑิโก คหปติ เชตวเน วิหาเร

การาเปส ฯ เป ฯ มณฺฑเป การาเปสิ มีความว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดี

สร้างวิหารเป็นต้นเหล่านี้ บนพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ด้วยทรัพย์แม้อื่นอีก

๑๘ โกฏิ.

จริงอยู่ คฤหบดีชื่อปุนัพพสุมิต ได้ซื้อพื้นที่ประมาณโยชน์หนึ่งด้วย

ปูอิฐทองคำ (เต็มพื้นที่) สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

วิปัสสี.

สิริวัฑฒคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๓ คาวุต ด้วยลาดไม้เส้า

ทองคำ สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี.

โสตถิชคฤหบคี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งโยชน์ ด้วยลาดผาลทองคำ

สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู.

อัจจุตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณคาวุตหนึ่ง ด้วยเรียงเท้าช้างทองคำ

สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ.

๑. ๑ กรีส - ๑๒๕ ศอก. หรือ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก.

๒. ๑ คาวุต = ๑๐๐ เส้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

อุคคคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งคาวุต ด้วยเรียงอิฐทองคำสร้าง

วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ.

สุมังคลคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๒๐ อุสภะ ด้วยเรียงเต่าทองคำ

สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ

สุทัตตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ ๘ กรีส ด้วยเรียงกหาปณะสร้าง

วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ฉะนั้นแล.

สมบัติทั้งหลายเสื่อมสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น

สมควรแท้ที่จะเบื่อหน่ายในสมบัติทั้งปวง สนควรแท้ที่จะพ้น ไปเสีย ฉะนั้นแล.

[ว่าด้วยนวกรรม]

บทว่า ขณฺฑ ได้แก่ โอกาสที่ร้าว.

บทว่า ผุลฺล ได้แก่ โอกาสที่แตกแยะ.

บทว่า ปฏิสงฺขริสฺสติ ได้แก่ จักทำให้คืนเป็นปกติ.

ในกุรุนทีแก้ว่า ก็ภิกษุผู้ได้นวกรรม ไม่ควรถือเอา เครื่องมือมีมีด

ขวานและสีวเป็นต้น ลงมือทำเอง. ควรรู้ว่า เป็นอันทำแล้วหรือไม่เป็นอันทำ.

[ว่าด้วยการจับจองเสนาสนะ]

หลายบทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต คนฺตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า

พระเถระมัวปรนนิบัติภิกษุไข้อยู่ มัวช่วยเหลือภิกษุผู้แก่ผู้เฒ่าอยู่ จึงมาข้างหลัง

ภิกษุทั้งปวง. ข้อนี้เป็นจารีตของท่าน. ด้วยเหตุนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึง

กล่าวว่า ไปล้าหลัง.

บทว่า อคฺคาสน ได้แก่ เถรอาสน์

บทว่า อคฺโคทก ได้แก่ ทักษิโณทก.

บทว่า อคฺคปิณฺฑ ได้แก่ บิณฑบาตสำหรับเพระสังฆเถระ.

๑ อุสภะ = ๕๒ วา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

บทว่า ปติฏฺาเปสิ ได้แก่ ทำการบริจาคทรัพย์ ๑๘ โกฏิสร้างไว้

อนาถบิณฑิกดฤหบดี บริจาคทั้งหมด ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมเนียมในโรงฉัน

บทว่า วิปฺปกตโภชเน มีความว่า ภิกษุกำลังฉันอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง

ในละแวกบ้านก็ตาม ในวิหารก็ตาม ในป่าก็ตาม เมื่อการฉันยังไม่เสร็จไม่ควร

ให้ลุก. ในละแวกบ้าน ภิกษุผู้มาที่หลังพึ่งรับภิกษาแล้วไปยังที่แห่งภิกษุผู้เป็น

สภาคกัน. ถ้าชาวบ้านหรือภิกษุทั้งหลาย นิมนต์ว่า ท่านจงเข้าไป ควรบอก

ว่า เมื่อเราเข้าไป ภิกษุทั้งหลายจักต้องลุกขึ้น. เธออัน เขากล่าวว่า ที่นี่ยังมี

ที่นั่ง จึงควรเข้าไป. ถ้าใคร ๆ ไม่กล่าวคำนี้น้อยหนึ่ง พึงไปที่อาสนศาลาแล้ว

เฉียดมายืนอยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน ; เมื่อภิกษุทั้งหลายทำโอกาสแล้ว

เธออันเขานิมนต์ว่า นิมนต์เข้ามาเถิด ดังนี้ พึงเข้าไป. แต่ถ้า ที่อาสนะซึ่ง

จะถึงแก่เธอ มีภิกษุมิได้ฉันนั่งอยู่ จะให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น ควรอยู่ ภิกษุผู้นั่ง

ดื่มหรือขบฉันยาคู และของเคี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แม้มีมือว่างก็

ไม่ควรให้ลุก จนกว่าภิกษุอื่นจะมา เพราะว่าเธอนับว่าเป็นผู้ฉัน ค้างเหมือนกัน.

ข้อว่า สเจ วุฏฺาเปติ มีความว่า ถ้าแม้เธอแกล้งล่วงอาบัติให้ลุก

ขึ้นจนได้.

ข้อว่า ปริวาริโต จ โหติ มีความว่า เธอจะให้ภิกษุใดลุก, ถ้า

ภิกษุนี้ เป็น ผู้ห้ามโภชนะแล้ว, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า จงไปหาน้ำมา.

จริง ข้อนี้แล เป็นสถานอันหนึ่ง ที่ภิกษุหนุ่มใช้ภิกษุแก่กว่าได้. ถ้าเธอไม่

หาน้ำมาให้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงหน้าที่ซึ่งภิกษุผู้อ่อน

กว่าจะพึงกระทำ จึงตรัสดำเป็นต้น ว่า พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

[ว่าด้วยเสนาสนะที่เหมาะแก่ ภิกษุอาพาธ]

วินิจฉัยในคำว่า คิลานสฺส ปฏิรูป เสยย นี้ พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุใดเป็นผู้อาพาธ ด้วยโรคหืดหรือโรคริดสีดวง และโรคลงแดง

เป็นต้น, ภาชนะมีกระโถนและหม้ออุจจาระเป็นต้น เป็นของอันภิกษุนั้นควร

เตรียมไว้.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นโรคเรื้อน ย่อมทำเสนาสนะให้เสีย, ควรให้

ภายใต้ปราสาทมณฑปและศาลาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเสนาสนะส่วน

หนึ่ง แก่ภิกษุเห็นปานนั้น . เมื่อภิกษุผู้อาพาธรูปใดอยู่ จะไม่ทำเสนาสนะให้

เสียหาย. แม้ที่นอนประณีต ก็ควรให้แก่ภิกษุรูปนั้น แท้ ฝ่ายภิกษุใด ทำยา

อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ว่า ยาแดง ยาถ่าย และยานัตถุ์ ภิกษุนั้นทั้งหมด

จัดว่าผู้อาพาธด้วย. พึงกำหนดให้เสนาสนะทำเหมาะแก่ภิกษุแม้นั้น.

บทว่า เลสกปฺเปน ได้แก่ สักว่าปวดศีรษะเป็นต้น เล็กน้อย.

[ว่าด้วยภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ]

สองบทว่า ภิกฺขู คเณตฺวา ได้แก่ รู้จำนวนภิกษุทั้งหลายในวิหาร

ว่า มีภิกษุเท่านี้.

ที่ตั้งเตียง เรียกว่า ที่นอน.

บทว่า เสยฺยคฺเคน ได้แก่ จำนวนที่นอน. ความว่า ในวันเข้า

พรรษา เราอนุญาตให้ภิกษุรูปหนึ่ง ประกาศเวลาแล้วให้ถือเอาที่วางเตียงอัน

หนึ่ง.

สองบทว่า เสยฺยคฺเคน คาเหนฺตา ได้แก่ เมื่อให้ถือเอาตาม

จำนวนที่นอน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

สองบทว่า เสยฺยา อุสฺสาทิยึสุ คือเมื่อให้ถือเอาอย่างนั้น ที่ตั้ง

เตียงได้เหลือมาก. แม้ในจำนวนวิหารเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. วิหารนั้น

ประสงค์ห้องมีอุปจาร.

บทว่า อนุภาค มีความว่า เราอนุญาตเพื่อให้ส่วนแม้อื่นอีก, จริง

อยู่ เมื่อภิกษุมีน้อยนัก สมควรให้รูปละ ๒-๓ บริเวณ.

ข้อว่า น อกามา ทาตพฺโพ มีความว่า ส่วนเพิ่มนั้น ผู้แจกไม่

พึงให้ เพราะไม่ปรารถนาจะให้.

ในวันเข้าพรรษา ครั้นเมื่อส่วนเพิ่มอันภิกษุทั้งหลายถือเอาแล้ว ส่วน

เพิ่มนั้น ไม่ควรให้ภิกษุผู้มาภายหลัง เพราะคน (คือผู้ถือเอาแล้ว) ไม่พอใจ.

แต่ถ้าส่วนเพิ่มอันภิกษุใดไม่ถือแล้ว ภิกษุนั้นย่อมให้ส่วนเพิ่มนั้น หรือส่วน

แรก ด้วยความพอใจของตน เช่นนี้ ควรอยู่.

สองบทว่า นิสฺสีเม ิตสฺส ได้แก่ ผู้ทั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา.

แต่ว่า แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ไกล แต่เป็นภายในอุปจารสีมา ย่อมได้แท้.

สองบทว่า เสนาสน คเหตฺวา ได้แก่ ถือในวัน เข้าพรรษา.

สองบทว่า สพฺพกาล ปฏิพาหนฺติ ได้แก่ หวงแม้ในฤดูกาลใดย

ล่วง ๔ เดือนไป.

[เสนาสนคาหวินิจฉัย]

บรรดาการถือเสนาสนะ ๓ อย่าง การถือ ๒ อย่าง เป็นการถือยั่งยืน

คือ ถือในวันเข้าพรรษาแรก ๑ ถือในวัน เข้าพรรษาหลัง ๑.

การถือเสนาสนะที่เป็นอันตราามุตกะ คือพ้นจากนั้น มีวินิจฉัย ดังนี้ :-

ในวิหารหนึ่ง มีเสนาสนะซึ่งมีลาภมาก. เจ้าของเสนาสนะบำรุงภิกษุ

ผู้จำพรรษา ด้วยปัจจัยทั้งปวงโดยเอื้อเฟื้อ ถวายสมณบริขารมากในเวลา

ปวารณาแล้วจะไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

พระมหาเถระทั้งหลายมาแต่ไกล ในวันเข้าพรรษาถือเสนาสนะนั้นอยู่

สำราญ ครั้นจำพรรษาแล้วรับลาภหลีกไปเสีย.

พวกภิกษุผู้เจ้าวัด ไม่เหลียวแลเสนาสนะนั้น แม้ชำรุดทรุดโทรมอยู่

ด้วยคิดว่า พวกเราไม่ได้ลาภที่เกิดในเสนาสนะนี้, พระมหาเถระผู้อาคันตุกะแล

ได้เป็นนิตย์, พวกท่านนั่นแล จักมาบำรุงเสนาสนะนั้น.

เพื่อให้บำรุงเสนาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงให้ถือ

เสนาสนะเป็นอันตราวามุตกะ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ในวันมหาปวารณาซึ่งจะ

ถึงข้างหน้า. เมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ จะให้ถืออันตรามุตกเสนาสนะนั้น

พึงบอกพระสังฆเถระว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ถือเสนาสนะเป็นอันตรามุตกะเถิด.

ถ้าท่านรับ พึงให้, ถ้าไม่รับ. พึงให้แก่ภิกษุผู้จะรับ ตั้งแต่พระอนุเถระเป็น

ต้นไป โดยที่สุดแม้สามเณร ด้วยอุบายนี้แล. ฝ่ายผู้รับนั้น พึงบำรุงเสนาสนะ

นั้น ๘ เดือน บรรดาหลังคาฝาและพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งชำรุดหรือพังไป, ควร

ซ่อมแซมทั้งหมด. แม้จะให้กลางวันสิ้นไปด้วยอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น

กลางคืนจึงอยู่ในเสนาสนะนั้นก็ได้. กลางคืนจะอยู่ในบริเวณ กลางวันให้สิ้น

ไปด้วยอยู่ในเสนาสนะนั้น ก็ได้ แม้จะอยู่ในเสนาสนะนั้นเอง ทั้งกลางคืน

กลางวันก็ได้ ไม่ควรหวงห้ามภิกษุผู้แก่กว่าซึ่งมาในฤดูกาล. แต่เมื่อถึงวันเข้า

พรรษาแล้ว พระสังฆเถระกล่าวว่า เธอจงให้เสนาสนะนี้แก่ฉัน ; เช่นนี้ไม่ได้.

ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ ไม่พึงให้ ต้องชี้แจงว่า ท่านผู้เจริญ

เสนาสนะภิกษุรูปหนึ่ง ถือเอาเป็นอันตรามุตกะ ได้บำรุงมา ๘ เดือนแล้ว.

เสนาสนะนั้นต้องให้ภิกษุผู้บำรุงมา ๘ เดือนนั่นแลจับจองได้.

ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ ๒ ครั้ง, เสนาสนะ

นั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง ๖ เดือน. หรือว่าใน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

เสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยปีละ ๓ ครั้ง เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้

ถือเป็นอันตรามุตกะ ทุกคราวที่ล่วง ๔ เดือน หรือให้เสนาสนะใด พวกเจ้า

ของถวายปัจจัยปีละ ๔ ครั้ง, เสนาสนะนั้น ไม่ควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะ

ทุกคราวที่ล่วง ๓ เดือน. เพราะว่า เสนาสนะนั้น จักได้บำรุงด้วยปัจจัยแท้.

ส่วนในเสนาสนะใด พวกเจ้าของถวายปัจจัยมากมายเพียงปี ละครั้ง,

เสนาสนะนั้นควรให้ถือเป็นอันตรามุตกะได้.

กถาว่าด้วยการถือเสนาสนะซึ่งมาในบาลี โดยวันเข้าพรรษาภายในฤดู

ฝน เท่านี้ก่อน.

[การถือเสนาสนะในฤดูกาล]

ก็ขึ้นชื่อว่า การถือเสนาสนะนี้ ย่อมมี ๒ อย่าง คือ ถือในฤดูกาล ๑

ถือในวัลสาวาสกาล ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยในฤดูกาลก่อน ภิกษุอาคันตุกะบาง

พวกมาในเวลาเช้า, บางพวกมาในเวลาบ่าย, บางพวกมาในปฐมยาม, บาง

พวกมาในมัชฌิมยาม, บางพวกมาในปัจฉิมยามก็มี, พวกใดมาในเวลาใด

ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายลุกขึ้นแล้วให้เสนาสนะแก่พวกนั้น

ในเวลานั้นเทียว, ขึ้นชื่อว่า สมัยที่มิใช่กาลย่อมไม่มี.

ฝ่ายภิกษุผู้แต่งตั้งเสนาสนะต้องเป็นผู้ฉลาด พึงเว้น ที่ตั้งเตียงไว้ ๑ หรือ

๒ ที่. ถ้าพระมหาเถระ รูป ๑ หรือ ๒ รูป มาในเวลาวิกาล, พึงบอกท่านว่า

ท่านผู้เจริญ ภิกษุแม้ทั้งหมด เมื่อผมให้ขึ้นตั้งแต่ต้น จักต้องพากันขนของ

ออก, ขอท่านจงอยู่ในที่อยู่ของผมนี่แล. แต่เมื่อพระมหาเถระมากันมาก พึง

ให้ภิกษุทั้งหลายลุกออกแล้วให้ลำดับ.

* วิกาลในที่นี้ น่าจะได้แก่กลางคืน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

ถ้าพอกันองค์ละบริเวณ พึงให้องค์ละบริเวณ; แม้สถานทั้งปวงเป็น

ต้นว่า โรงไฟ โรงยาว และโรงกลมในบริเวณนั้น ย่อมถึงแก่ท่านด้วย เมื่อ

แจกอย่างนั้นไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนปราสาท.* เมื่อปราสาทไม่พอ ควร

ให้ตามจำนวนห้องน้อย. เมื่อจำนวนห้องน้อยไม่พอกัน ควรให้ตามจำนวนที่

นอน. เมื่อที่ตั้งเตียงไม่พอกัน ควรให้เฉพาะที่ตั้งตั่งตัวหนึ่ง แต่ไม่ควรให้ถือ

เอาที่เพียงโอกาสพอภิกษุยืนได้ เพราะที่เท่านั้น ไม่จัดเป็นเสนาสนะ. แต่เมื่อ

ที่ตั้งตั่งไม่พอ พึงให้ที่ตั้งเตียงหรือที่ตั้งตั่งอันหนึ่ง แก่ภิกษุ ๓ รูป ด้วยกล่าว

ว่า ท่านจงผลัดเปลี่ยนกันพักเถิด ท่านผู้เจริญ.

ในฤดูหนาว ใคร ๆ ไม่อาจเลยที่จะอยู่กลางแจ้งตลอดทั้งคืน, พระ-

มหาเถระ ควรพักผ่อน. ตลอดปฐมยาม แล้วออกไปบอกพระเถระปีที่ ๒ ว่า ผู้

มีอายุ คุณจงเข้าไปในที่นี้ ถ้าพระมหาเถระเป็นคนขี้เซาไม่รู้เวลา, พระเถระที่

๒ พึงกระแอมเคาะประตูบอกว่าได้เวลาแล้วขอรับ ความหมายกวนนัก ดังนี้.

ท่านควรออกไปให้โอกาส. จะไม่ให้ไม่ได้.

ฝ่ายพระเถระที่ ๒ พักตลอดมัชฌิมยามแล้ว ก็ควรให้แก่ภิกษุนอกนี้

ตามนัยหนหลังเหมือนกัน พระเถระที่ ๒ เป็นคนขี้เซา ก็ควรปลุกตามนัยที่

กล่าวแล้วเหมือนกัน. ที่ตั้งเตียงอันหนึ่งพึงให้แก่ภิกษุ ๓ รูปตลอดคืนหนึ่ง

อย่างนี้ .

แต่ภิกษุบางพวกในชมพูทวีปเห็นว่า เสนาสนะหรือที่ตั้งเตียง แลตั่ง

เฉพาะบางแห่ง ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบางคน ไม่เป็นที่สบายสำหรับ บางคน

ภิกษุทั้งหลายจะเป็นอาคันตุกะหรือหากไม่ใช่ก็ตาม ย่อมให้ถือเสนาสนะทุกวัน

นี้ชื่อว่า การถือเสนาสนะในฤดูกาล.

* ที่อยู่ที่ทำชั้น ๆ ปราสาทในที่นี้น่าจะหมายว่าชั้นหนึ่ง ๆ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

[การถือเสนาสนะในคราวจำพรรษา]

ส่วนในคราวจำพรรษา ย่อมมีอาคันตุกวัตร มีอาวาสิกวัตร. ใน

อาคันตุกะและเจ้าถิ่นนั้น ภิกษุอาคันตุกะก่อนใคร่จะละถีนของคนไปอยู่ที่อื่น

ไม่ควรไปในที่นั้นในวันเข้าพรรษา. เพราะว่าที่อยู่ในที่นั้นจะต้องเป็นที่คับ-

แคบกัน, หรือภิกษุจารจะไม่ทั่วถึง. ด้วยเหตุนั้น เธอจะอยู่ไม่ผาสุก เพราะ

ฉะนั้น พึงกะว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปราวเดือนหนึ่งจักเข้าพรรษา แล้วเข้าไปสู่วิหาร

นั้น.

เมื่ออยู่ในวิหารนั้น ราวเดือนหนึ่ง ถ้ามีความต้องการเรียนบาลีจัก

กำหนดไว้ว่า การเรียนบาลีพร้อมมูล ถ้ามุ่งต่อกัมมัฏฐานจักกำหนดได้ด้วย

กัมมัฏฐานเป็นที่สบาย ถ้ามีความต้องการปัจจัยจักกำหนดปัจจัยลาภไค้ จะอยู่

เป็นสุขภาพในพรรษา.

ก็แล เมื่อจะจากถิ่นของตนไปในที่นั้น ไม่ควรกระทบกระทั่งโคจร

คาม, คืออยู่ว่ากล่าวชาวบ้านในที่นั้น ว่า สลากภัตเป็นต้นก็ดี ยาคูและของควร

เคี้ยวก็ดี ผ้าจำนำพรรษาก็ดี ที่อาศัยพวกท่านย่อมไม่มี นี้บริขารของเจคีย์

นี้บริขารของโรงโบสถ นี้ดาลและกุญแจ ท่านจงรับที่อยู่ของท่าน. ที่ถูก ควร

จัดแจงเสนาสนะเก็บภัณฑะไม่และภัณฑะดิน บำเพ็ญคมิยวัตรให้เต็มแล้ว จึงไป.

แม้เมื่อจะไปอย่างนั้น พึงให้ภิกษุหนุ่มหิ้วห่อบาตรและจีวรเป็นต้น ให้

ช่วยถือกระบอกน้ำมันและไม้เท้าเป็นต้น กางร่มอย่าเชิดตนไปทางประตู

เลย, ควรไปตามข้างที่กำบัง เมื่อทางเข้าคงไม่มี ก็อย่าบุกพุ่มไม้เป็นต้นไป

เลย

อนึ่ง พึงบำเพ็ญคมิยวัตรตัดวิตก มีจิตผุดผ่องไปด้วยธรรมเนียม

แห่งการไปเท่านั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

แต่ถ้าทางมีทางประตูบ้าน, และพวกชาวบ้านเห็นคนกับบริวารไปอยู่

จะวิ่งเข้ามาหาด้วยคิดว่า นั่นดูเหมือนพระเถระของพวกเราแล้ว จะปราศรัยว่า

ท่านจะขนบริขารทั้งหมดไปไหน ขอรับ ?

ถ้าในพวกเธอรูป ๑ กล่าวอย่างนี้ว่า นี่เป็นในเวลาจวนเข้าพรรษาแล้ว,

ภิกษุทั้งหลายย่อมไปในที่ซึ่งตนจะได้ภิกษาจารเป็นนิตย์ และสิ่งของสำหรับปก

ปิดภายในพรรษา.

ถ้าชาวบ้านเหล่านั้น ได้ฟังคำตอบของเธอแล้วกล่าวว่า ถึงในบ้านนี้

ชนย่อมบริโภค ย่อมนุ่ง (เหมือนกัน) ขอรับ ท่านอย่าไปในที่อื่นเลย ดังนี้

แล้วเรียกมิตรและอมาตย์ทั้งหลายมาแล้ว ทุกคนหารือพร้อมกัน ตั้งนิตยภัตและ

ภัตต่าง ๆ มีสลากภัตเป็นต้นทั้งผ้าจำนำพรรษาด้วย ไว้สำหรับสำนัก แล้วช่วย

กันอ้อนวอนว่า นิมนต์จำพรรษาในสำนักนี้แลขอรับ. ภิกษุสมควรยินดีทั้ง

หมด, สิ่งทั้งปวงมีนิตยภัตเป็นต้น แม้นั้น เป็นของควรและหาโทษมิได้.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า เมื่อเขาปราศรัยว่า ท่านจะไปไหน ? พึงตอบว่า

ที่โน้น ถูกเขาซักว่า เหตุไร จึงไปที่นั้น ? พึงบอกเหตุ. และคำทั้ง ๒ นี้

ชื่อว่าหาโทษมิได้ เพราะเธอเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์แท้ นี้ชื่ออาคันตุกวัตร

ส่วนอาวาสิกวัตร พึงทราบดังนี้ :-

อันภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าอาวาส พึงจัดแจงที่อยู่ก่อนทีเดียว พึงทำการ

ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดหักพังและการตกแต่ง. พึงจัดแจงสถานทั้งปวง

เหล่านี้ คือ ที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน เวจกุฎี และที่ถ่ายปัสสาวะ เรือน

บำเพ็ญเพียรและทางแห่งที่อยู่.

พึงทำกิจทั้งปวงแม้นี้ คือ ฉาบปูนขาวที่พระเจดีย์ ทาน้ำมันชุกชีเล็ก

และปัดเช็ดเตียงตั่ง ด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประสงค์จะจำพรรษา มาแล้ว

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

เมื่อทำกิจมีอุทเทสปริปุจฉาและประกอบความเพียรในกัมมัฏฐานเป็นต้น จักอยู่

เป็นสุข.

ภิกษุผู้เจ้าอาวาสทำบริกรรมเสร็จแล้ว พึงถามถึงผ้าจำนำพรรษาจำเดิม

แต่วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘.

พึงถามในที่ไหน ?

พึงถามในที่ซึ่งตนได้อยู่ตามปกติ แต่ไม่ควรจะถามชนทั้งหลายที่ไม่

เคยให้

เหตุไรจึงต้องถาม

ก็บางคราวชนทั้งหลายก็ถวาย, บางคราวพวกเขาถูกทุพภิกขภัยเป็นต้น

เบียดเบียน ย่อมไม่ถวาย; ในชนเหล่านั้น พวกใดจักไม่ถวาย, เมื่อไม่ถาม

พวกนั้นแล้ว ให้เขาจองผ้าจำนำพรรษาไป อันตรายแก่ลาภจะมีแก่เหล่าภิกษุ

ซึ่งเขาจองไว้ ; เพราะเหตุนั้น ควรถามก่อนแล้ว จึงให้เขาจองเอาไป. เมื่อจะ

ถาม พึงกล่าวว่า เวลาจองผ้าจำนำพรรษาของพวกท่าน ใกล้เข้ามาแล้ว

ถ้าเขากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ตลอดปีนี้ พวกผมถูกฉาตกภัยเป็นต้น

เบียดเบียน ไม่สามารถจะถวายได้ หรือว่า พวกผมจักถวายน้อยกว่าที่เคยถวาย

หรือว่า บัดนี้ฝ้ายได้ดี ผมจักถวายให้มากกว่าที่เคยถวาย ดังนี้ ; ภิกษุพึง

กำหนดคำนั้นไว้แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายรับผ้าจำนำพรรษาในเสนาสนะของชน

เหล่านั้น ตามนัยซึ่งเหมาะแก่คำนั้น.

ถ้าเขากล่าวว่า ผ้าจำนำพรรษาของพวกผมถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าองค์ใด,

พระผู้เป็นเจ้าองค์นั้นจงตั้งน้ำฉันไว้ จงดูแลหนทางของที่อยู่ จงปัดกวาดลาน-

เจดีย์และลานโพธิ์ จงรดน้ำที่ต้นโพธิ์ตลอดไทรมาส, ผ้าจำนำพรรษาของเขา

ถึงแก่ภิกษุใด พึงบอกแก่ภิกษุนั้น .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

ส่วนบ้านใด ห่างออกไปอยู่ในระยะ ๑ โยชน์ หรือ ๒ โยชน์ ถ้าสกุล

ทั้งหลายในบ้านนั้น มอบกัลปนาอันเป็นต้นทุนไว้เฉพาะถวายผ้าจำนำพรรษา

ในที่อยู่. แม้ไม่ถามสกุลเหล่านั้น ก็ควรให้ภิกษุผู้ทำวัตรอยู่ในเสนาสนะของ

สกุลเหล่านั้น รับผ้าจำนำพรรษา.

แต่ถ้าภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล อยู่ในเสนาสนะของสกุลเหล่านั้น, และเขา

เห็นเธอมาแล้ว กล่าวว่า ผมถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ท่าน. ภิกษุนั้นพึงบอก

แก่สงฆ์.

ถ้าสกุลเหล่านั้น ไม่ปรารถนาจะถวายสงฆ์ กล่าวว่า พวกผมถวาย

เฉพาะแก่พวกท่าน. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลนั้น พึงสั่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันว่า

ท่านจงทำวัตรแล้วรับเอาไป, แต่ผ้าจำนำพรรษานั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือผ้า

บังสกุล. พึงถามชนทั้งหลาย ผู้ถวายด้วยศรัทธาไทย ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนในจีวรที่เกิดขึ้นในสำนักนั้น ควรถามกัปปิยการก.

ถามอย่างไร ?

ควรถามว่า ผู้มีอายุ ภัณฑะสำหรับปกปิด (คือผ้า) ของสงฆ์จักมี

หรือ ?

ถ้าเขากล่าวว่า จักมีขอรับ ผมจักถวายผ้ารูปละ ๙ ศอก ท่านทั้งหลาย.

จงให้จองผ้าจำนำพรรษาเถิด ดังนี้ ; พึงให้ภิกษุถือเสนาสนะได้. แม้ถ้าเขา

กล่าวว่า ผ้าไม่มี แต่วัตถุมี. ท่านจงให้จองเถิด, แม้เมื่อมีวัตถุ ก็ควรให้ถือ.

เสนาสนะได้แท้, เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุบริโภคสิ่ง

ที่เป็นกัปปิยะทั้งปวง จากวัตถุที่ทายกมอบไว้ในมือกัปปิยการก สั่งว่า ท่านจง

ใช้สอยของที่ควรเถิด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ส่วนวัตถุใดทายกเจาะจงถวายภิกษุในสำนักนี้ เพื่อประโยชน์แก่บิณฑ-

บาต หรือเพื่อประโยชน์แก่คิลานปัจจัย, วัตถุนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะโอน

เข้าในจีวร พึงอปโลกน์ เพื่อความเห็นชอบของสงฆ์แล้วจึงค่อยโอน.

วัตถุที่เขาเจาะจงถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ ย่อมเป็นครุภัณฑ์.

ส่วนวัตถุที่เขาถวายไว้เฉพาะค่าจีวร หรือเป็นค่าปัจจัย ๔ เมื่อจะโอนเข้าในจีวร

ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยอปโลกนกรรม.

ก็แลเมื่อจะทำอปโลกนกรรม ควรทำให้เนื่องด้วยบุคคลเท่านั้น ไม่

ควรทำให้เนื่องด้วยสงฆ์ ไม่ควรทำอปโลกนกรรม แม้ด้วยเนื่องกับทองและ

เงิน หรือด้วยเนื่องกับข้าวเปลือก. ควรทำแต่เนื่องด้วยอำนาจกัปปิยภัณฑ์

และด้วยอำนาจจีวรและข้าวสารเป็นต้นเท่านั้น.

ก็แลอปโลกนกรรมนั้น พึงทำอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุหาง่าย บิณฑบาต

ได้ง่าย, ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยจีวร, ภิกษุทั้งหลายพอใจจะโอนส่วนข้าวสาร

เท่านี้ทำจีวร, คิลานปัจจัยหาได้ง่าย. อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อาพาธก็ไม่มี,

ภิกษุทั้งหลายพอใจจะโอนส่วนข้าวสารเท่านี้ทำเป็นจีวร. ครั้นกำหนดจีวรปัจจัย

อย่างนี้ แล้ว พึงสมมติภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ ในเมื่อกาลเป็นที่ให้ถือเสนาสนะ

ได้ประกาศแล้ว สงฆ์ประชุมกันแล้ว.

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า ก็แลเมื่อจะสมมติ ไม่ควรสมมติรูปเดียว

พึงสมมติ ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อสมมติอย่างนั้น ภิกษุอ่อนจักให้ภิกษุแก่ถือ

เสนาสนะ และภิกษุแก่จักให้ภิกษุอ่อนถือ ฉะนั้นแล. ส่วนในสำนักใหญ่ เช่น

กับมหาวิหาร ควรสมมติไว้ ๓-๔ รูป.

แต่ในกุรุนทีแก้ว่า จะสมมติไว้ ๘ รูปบ้าง ๑๖ รูปบ้าง ก็ควร. การ

สมมติภิกษุเหล่านั้น จะทำด้วยกรรมวาจาก็ได้ ด้วยอปโลกนกรรมก็ได้ ควร

ทั้งนั้น ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้วเหล่านั้น พึงกำหนดเสนาสนะ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

ก็เรือนเจดีย์ เรือนโพธิ์ เรือนพระปฏิมา ร้านไม้กวาด ร้านเก็บไม้

เวจกุฎี โรงอิฐ โรงช่างไม้ ซุ้มประตู โรงน้ำ ศาลาคร่อมทาง ศาลาริมสระ

เหล่านี้ ไม่ใช่เสนาสนะ.

กุฎีที่อยู่ เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้า มณฑป

โคนไม้ กอไผ่ เหล่านี้ จัดเป็นเสนาสนะ. เพราะฉะนั้น ควรให้ถือเสนาสนะ.

เหล่านั้น. และเมื่อจะให้ถือ พึงให้ถือตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

บาลีนี้ว่า เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะนับภิกษุก่อน ครั้นนับภิกษุ

แล้ว ให้นับที่นอน.

ถ้าจีวรปัจจัยมี ๒ ชนิด คือ เป็นของสงฆ์ ๑ เป็นของทายกถวายด้วย

ศรัทธา ๑. ใน ๒ ชนิดนั้น ภิกษุทั้งหลายปรารถนาจะถือชนิดใดก่อน พึงให้

ถือเอาชนิดนั้น แล้วพึงให้ถือเอาชนิดนอกนี้ตั้งต้นแต่ลำดับแห่งชนิดแม้นั้นไป.

พระมหาสุมเถระกล่าวว่า ถ้าเมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะจะให้ภิกษุถือ

เสนาสนะด้วยจำนวนบริเวณ เพราะมีภิกษุน้อย บริเวณอันหนึ่ง มีลาภมาก,

ภิกษุผู้อยู่ ได้ไตรจีวร ๑๐ หรือ ๑๒ สำรับ ; พึงแบ่งจีวรนั้น เฉลี่ยในอาวาส

อื่น ๆ ที่ไม่มีลาภ ให้ภิกษุทั่งหลายแม้เหล่าอื่นถือเอาก็ได้.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ไม่ควรทำอย่างนั้น อันชนทั้งหลาย

ถวายปัจจัยก็เพื่อประโยชน์แก่การบำรุงอาวาสของตน ; เพราะฉะนั้น ภิกษุ

เหล่าอื่นพึงเข้าไปในบริเวณ ที่มีลาภมากนั้น. แต่ถ้าพระมหาเถระในบริเวณที่มี

ลาภมากนั้น คัดค้านว่า ผู้มีอายุ ท่านจงอย่าให้ภิกษุทั้งหลาย ถือเอาอย่างนั้น,

จงทำตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุศาสน์ไว้ ; จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะให้ภิกษุ

* จุล. ทุติย. ๑๒๗.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

ทั้งหลายถือเสนาสนะด้วยจำนวนบริเวณ, ภิกษุผู้เสนาสนคาหปกะ ไม่ควร

งดเพราะคำคัดค้านของพระมหาเถระนั้น พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุมีมาก

ปัจจัยมีน้อย ควรจะทำความสงเคราะห์ ยังท่านให้ยินยอมแล้ว พึงให้ภิกษุ

ทั้งหลายถือเอาทีเดียว.

ก็แล ภิกษุผู้ได้รับ สมมติแล้ว เนื้อจะให้ถือเอา พึงไปหาพระมหาเถระ

แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะถึงแก่ท่าน, ท่านจงถือเอาปัจจัย

เถิด. ท่านกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปัจจัยของสกุลโน้น และเสนาสนะโน้น ถึงแก่

เราหรือ ? พึงกล่าวว่า ถึงขอรับ ท่านจงถือเอาเสนาสนะนั้น ท่านกล่าวว่า

ผู้มีอายุ เราถือเอาละ. อย่างนี้ เสนาสนะเป็นอันท่านถือเอาแล้ว .

พระมหาสุมเถระกล่าวว่า แต่ถ้า เมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ เสนาสนะอันท่านถือเอาแล้วหรือ ? พระมหาเถระกล่าวว่า เรา

ถือเอาแล้ว หรือเมื่อภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจักถือ

เอาหรือ ? พระมหาเถระตอบว่า เราจักถือเอา ดังนี้ เสนาสนะไม่เป็นอันถือ.

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระแก้ว่า ถ้อยคำเป็นอดีตและอนาคต หรือถ้อยคำ

เป็นปัจจุบันก็ตามที. อันที่จริง ถ้อยคำเพียงทำให้ได้สติ เพียงเป็นเครื่องทำ

อาลัยเท่านั้น เป็นประมาณในการถือเสนาสนะนี้ ; เพราะเหตุนั้น เสนาสนะ

เป็นอัน พระมหาเถระถือเอาแล้วแท้.

ฝ่ายภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลใด ถือเสนาสนะแล้ว สละปัจจัยเสีย. แม้ปัจจัย

ที่ภิกษุนั้นสละแล้วนี้ ไม่พึงโอนไปในอาวาสอื่น; พึงคงไว้ในอาวาสนั้นแล.

จะให้ภิกษุอื่นซึ่งอยู่ที่โรงเพลิง หรือที่ศาลายาว หรือที่โคนไม้ในบริเวณนั้น แล

ถือเอาก็ควร.

* จล. ทุติย. ๑๒๗.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลรับว่า จะอยู่ แล้วจักบำรุงเสนาสนะ. ภิกษุนอกนี้

รับว่า จักถือเอาปัจจัย แล้วจักบำรุงเสนาสนะ. เสนาสนะจักเป็นอัน ได้รับ

บำรุงเป็นอันดียิ่ง ด้วยเหตุ ๒ ประการ ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในมหาปัจจรีแก้ว่า เมื่อภิกษุผู้ถือผ้าบังสกุล รับเสนาสนะเพื่อ

ประโยชน์ แก่การอยู่ ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะพึงกล่าวว่า ในเสนาสนะนี้มีปัจจัย

นะขอรับ ปัจจัยนั้นสมควรทำอย่างไร ? ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลนั้นพึงกล่าวว่า

ภายหลังท่านจงให้ภิกษุอื่นถือเอาเถิด.

แต่ถ้าเธออยู่แต่ไม่พูดว่าอะไรเลย, และทายกทั้งหลายถวายผ้าวางไว้

แทบเท้าของเธอผู้จำพรรษาแล้วในเสนาสนะนั้น, ผ้านั้นควรแก่เธอ.

ถ้าพวกทายกกล่าวว่า ผมถวายผ้าจำนำพรรษา ผ้านั้นย่อมถึงแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้จำพรรษาในเสนาสนะนั้น.

ส่วนทายกเหล่าใด ไม่มีเสนาสนะ, ถวายแต่ปัจจัยอย่างเดียว สมควร

ให้ภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะที่ไม่มีผ้าจำนำพรรษารับปัจจัยของทายกเหล่านั้น.

ชนทั้งหลายสร้างสถูปแล้ว ให้ภิกษุรับผ้าจำนำพรรษา. ธรรมดาสถูป

ไม่ใช่เสนาสนะ พึงโอนให้ภิกษุผู้จำพรรษาที่ต้นไม้หรือมณฑปซึ่งใกล้สถูปนั้น

รับไป.

ภิกษุนั้นพึงปรนนิบัติเจดีย์. แม้ในต้นโพธิ์ เรือนโพธิ์ เรือนปฏิมา

ร้านไม้กวาด ร้านเก็บไม้ เวจกุฎี ซุ้มประตู กุฎีน้ำ โรงน้ำ และโรงไม้สีไฟ

ก็มีนัยเหมือนกัน.

ส่วนหอฉัน เป็นเสนาสนะแท้, เพราะเหตุนั้น สมควรกำหนดให้

ภิกษุรูปเดียว หรือหลายรูปถือหอฉันนั้น คำทั้งปวงนี้ท่านกล่าวพิสดารใน

มหาปัจจรี.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

อันภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะ พึงให้ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะ ตั้งแต่

อรุณแห่งวันปาฏิบทไปจนถึงเพียงที่อรุณใหม่ยังไม่แตก.

จริงอยู่ ความกำหนดกาลนี้ เป็นเขตแห่งการถือเสนาสนะ.

หากว่า เมื่อให้ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแต่เช้า ภิกษุอื่นผู้มีใจลังเลมา

ขอเสนาสนะ. ภิกษุผู้เสนาสนคาหาปกะพึงบอกว่า ท่านผู้เจริญ เสนาสนะถือกัน

เสร็จแล้ว สงฆ์เข้าพรรษาแล้ว สำนักเป็นที่น่ารื่นรมย์ บรรดาที่ต่าง ๆ มีโคน

ไม้เป็นต้น ท่านปรารถนาจะอยู่ในที่ใด จงอยู่ในที่นั้นเถิด.

ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าพรรษา พึงบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ตั้งวัตรประจำ

ภายในพรรษาแล้วจำพรรษาว่า ท่านทั้งหลายจงผูกไม้กวาดไว้. ถ้าด้ามและซี่

เป็นของหาได้ง่าย; ควรผูกไม้กวาดไว้รูปละ ๕-๖ อัน หรือผูกไม้กวาดด้ามไว้

รูปละ ๒-๓ อัน. ถ้าเป็นของหายาก พึงผูกไม้กวาดด้ามไว้รูปละอัน สามเณร

ทั้งหลาย พึงตอกคบเพลิงไว้ ๕-๖ อัน. พึงทำการประพรมด้วยน้ำฝาดในสถาน

ที่อยู่.

ก็แล เมื่อจะตั้งวัตร ไม่พึงตั้งวัตรที่ไม่เป็นธรรมเห็นปานนี้ว่า อย่า

เรียนเอง อย่าให้ผู้อื่นเรียน อย่าทำการสาธยาย อย่าให้บรรพชา อย่าให้อุป-

สมบท อย่าให้นิสัย อย่าทำธัมมัสสวนะ เพราะว่า พวกเราทั้งหมดนี้ ยังเป็น

ผู้มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า จักเป็นผู้ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าทำสมณธรรมเท่านั้น

หรือว่า ภิกษุทุกรูปจงสมาทานธุดงค์ ๑๓ อย่าสำเร็จการนอน จงให้คืนและ

วันล่วงไปด้วยการยืนและจงกรม จงถือมูควัตร แม้ต้องไปด้วยสัตตาหกรณียะ

อย่าได้ภัณฑะที่สงฆ์ควรแจก.

๑. วันแรม ๑ ค่ำแห่งเดือนนั้น ๆ นับเป็นวันต้นเดือนของชาวมคธ เพราะนับวันเพ็ญเป็นวัน

สิ้นเดือน.

๒. ถือการนิ่งไม่พูดกัน คล้ายคนใบ้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

แต่พึงกระทำอย่างนี้ คือ พึงทำวัตรเห็นปานนี้ว่า ธรรมดาปริยัติธรรม

ย่อมยังสัทธรรมแม้ ๓ อย่างให้ตั้งมั่น เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงเรียนบาลี

จงให้เรียนบาลีโดยเคารพ จงสาธยายโดยเคารพ อย่าเบียดเสียดภิกษุทั้งหลาย

ผู้อยู่ในเรือนบำเพ็ญเพียร จงนั่งภายในสำนัก เรียนบาลี ให้เรียนบาลี ทำ

การสาธยาย จงทำการฟังธรรมให้สำเร็จ เมื่อให้บรรพชา ต้องชำระให้เรียบร้อย

แล้วจึงให้บรรพชา เมื่ออุปสมบท ต้องชำระให้เรียบร้อยแล้ว จึงให้อุปสมบท

เมื่อให้นิสัย ต้องชำระให้เรียบร้อย แล้วจึงให้นิสัย ด้วยว่า กุลบุตรแม้ผู้เดียวได้

บรรพชาและอุปสมบทแล้ว จักดำรงพระศาสนาทั้งมวลไว้ได้ จงสมาทานธุดงค์

เท่าที่สามารถจะสมาทานได้ด้วยเรี่ยวแรงของตน. ขึ้นชื่อว่าตลอดภายในพรรษา

นี้ ต้องเป็นผู้ไม่ประมาท ต้องปรารภความเพียร ตลอดทั้งวัน และใน

ปฐมยามมัชฌิมยามและปัจฉิมยามแห่งราตรี, ถึงพระมหาเถระทั้งหลายแต่เก่า

ก่อนก็ได้ตัดกังวลทุกอย่างเสีย บำเพ็ญวัตรคือกัมมัฏฐานภาวนาที่จะพึงประพฤติ

ผู้เดียวในภายในพรรษา. สมควรรู้ประมาณในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว กระทำกถา

วัตถุ ๑๐ ประการ อสุภะ ๑๐ ประการ อนุสติ ๑๐ ประการ และกถาปรารภ

อารมณ์ ๓๘. สมควรทำวัตรแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ สมควรอปโลกน์ให้แก่

ภิกษุทั้งหลายผู้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ

อีกประการหนึ่ง พึงเดือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่ากล่าวถ้อยคำแย้งกับคำ

ส่อเสียดและคำหยาบ, ต้องนึกถึงศีลทุก ๆ วัน อย่าให้อารักขกัมมัฏฐาน ๔

เสื่อมคล้าย จงเป็นผู้มากด้วยมนสิการอยู่.

พึงบอกธรรมเนียมเคี้ยวไม้สีฟัน พึงบอกวัตรคือมารยาท.

เมื่อกำลังไหว้พระเจดีย์หรือต้นโพธิ์ก็ดี เมื่อกำลังบูชาด้วยของหอมและ

มาลัยก็ดี เมื่อกำลังเอาบาตรเข้าถลกก็ดี ไม่ควรบอก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

พึงบอกธรรมเนียมเที่ยวบิณฑบาต อย่ากล่าวถ้อยคำพาดพิงถึงปัจจัย

หรือถ้อยคำไม่ถูกส่วนกัน กับชนทั้งหลายภายในบ้าน.

พึงบอกนิยยานิกกถาแม้มากเห็นปานนี้บ้างว่า ต้องเป็นผู้ระวังอินทรีย์

ต้องบำเพ็ญขันธวัตรและเสขิยวัตร ฉะนี้แล.

อนึ่ง ในวันเข้าพรรษาหลัง และเมื่อประกาศเวลาสงฆ์ประชุมกันแล้ว

ใคร ๆ นำผ้ายาว ๑๒ ศอกมาถวายเป็นผ้าจำนำพรรษา ถ้าว่าภิกษุอาคันตุกะ

เป็นสังฆเถระ พึงถวายแก่ท่าน.

ถ้าเป็นนวกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติพึงเรียนพระสังเถระว่า ท่านผู้เจริญ

ถ้าท่านต้องการ ท่านจงสละส่วนที่ ๑ เสีย ถือเอาผ้านี้; ไม่พึงให้แก่ท่านผู้

ไม่ยอมสละ.

ก็ถ้าว่า ท่านยอมสละส่วนที่ให้ถือเอาก่อนแล้วถือเอาไซร้ พึงสับเปลี่ยน

กัน จำเดิมแต่พระเถระที่ ๒ ไปโดยอุบายนี้แล แล้วให้แก่อาคันตุกะในที่ซึ่ง

ถึงเข้า.

หากว่า ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาก่อนได้ ๆ ผ้า ๒ ผืน หรือ ๓ ผืน

หรือ ๔ ผืน หรือ ๕ ผืน. พึงให้เธอยอมสละผ้าที่ได้ไปแล้ว ๆ โดยอุบายนั้น

แล้วจึงให้ภิกษุอาคันตุกะ จนกว่าจะเท่ากัน.

ก็แล เมื่อภิกษุอาคันตุกะนั้น ได้ส่วนเท่ากันแล้ว ส่วนย่อยที่ยังเหลือ

พึงแถมให้ในเถรอาสน์.

สมควรจะทำกติกากัน ไว้ว่า เมื่อลาภเกิดขึ้นแล้ว จะเต็มใจ แจกกันตาม

ลำดับ ที่มีอยู่.

ถ้าเป็นสมัยที่มีภิกษุฝืดเคือง ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าพรรษาในวัสสูปนา-

ยิกาทั้ง ๒ ลำบากด้วยภิกษา จึงพูดกันว่า ผู้มีอายุ ก็พวกเราอยู่ในที่นี้ ย่อม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ลำบากด้วยกันทั้งหมด, ดีละ เราแบ่งกันเป็น ๒ ส่วน. ที่แห่งญาติและคน

ปวารณา ของภิกษุเหล่าใดมีอยู่ ภิกษุเหล่านั้นจงอยู่ในที่แห่งญาติและคน

ปวารณานั้นแล้ว จงมาปวารณาถือเอาผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแก่ตน.

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด อยู่ในที่แห่งญาติและแก่ปวารณานั้น

แล้วมาเพื่อปวารณา, พึงทำอปโลกนกรรมให้ผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุเหล่านั้น.

จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น แม้ยินดีอยู่ก็หาได้เป็นเจ้าของแห่งผ้าจำนำ

พรรษาใน ฝ่ายพวกภิกษุ ผู้เจ้าถิ่นแม้บ่นอยู่ว่า จะไม่ให้ ย่อมไม่ได้เหมือนกัน.

แต่ในกุรุนทีแก้ว่า ภิกษุทั้งหลายจะพึงทำกติกาวัตรกันว่า หากว่า

ยาคูและภัตรในที่นี้ จะไม่เพียงพอแก่พวกเราทั่วกันไซร้, ท่านทั้งหลายจงอยู่

ในที่แห่งภิกษุผู้ชอบพอกันแล้วจงมา, จักได้ผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแก่พวกท่าน.

ถ้าภิกษุรูปหนึ่ง ค้านกติกาวัตรนั้นไซร้เป็นอันคัดค้านชอบ. ถ้าไม่ค้าน กติกา

เป็นอันทำชอบ; ภายหลังต้องอปโลกน์ให้แก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้อยู่ในที่แห่งญาติ

และคนปวารณาแล้วมาแล้ว, ในเวลาอปโลกน์ไม่ยอมให้ค้าน.

ท่านกล่าวอีกว่า ก็ถ้าว่า เมื่อผ้าจำนำพรรษาไม่ถึงแก่ภิกษุบางพวก

ในบรรดาภิกษุผู้จำพรรษา, ภิกษุทั้งหลายพึงทำกติกากันว่า สงฆ์ยินดีจะให้ผ้า

จำนำพรรษาของภิกษุผู้ขาดพรรษา และผ้าจำนำพรรษาซึ่งเกิดขึ้นในบัดนี้ แก่

ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไค้ตั้งกติกาไว้อย่างนี้แล้ว ผ้าจำนำพรรษาย่อมเป็นเหมือน

ได้ให้พวกเธอถือเอาแล้ว เหมือนกัน; ทั้งต้องให้ผ้าที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ แก่พวกเธอ

ด้วย.

ภิกษุผู้จัดตั้งน้ำฉันปัดกวาดทางไปวิหาร ลานเจคีย์ และลานโพธิ์

เป็นต้น รดน้ำที่ต้นโพธิ์ตลอดไตรมาสแล้วหลีกไปเสียก็ดี ลาสิกขาเสียก็ดี

คงได้ผ้าจำนำพรรษาเหมือนกัน. เพราะผ้าจำนำพรรษานั้นอันภิกษุนั้น ได้แล้ว

ดุจทำให้เป็นค่าจ้าง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ส่วนผ้าจำนำพรรษาที่เป็นของสงฆ์ซึ่งทำ

อุปโลกนกรรมแล้วแจกกัน แม้ภิกษุลาสิกขาภายในพรรษา ย่อมได้เหมือนกัน

แต่ไม่ยอมให้ถือเอาด้วยอำนาจปัจจัย.

หากว่า ภิกษุผู้จำพรรษาเสร็จแล้ว เตรียมจะไปสู่ทิศ ไค้ถือเอากัปปิย-

ภัณฑ์แต่บางสิ่งจากมือของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสแล้วสั่งว่า ผ้าจำนำพรรษาของเรา

มีในสกุลโน้น ท่านจงถือเอาผ้าจำนำพรรษานั้นที่ถึงแล้ว ดังนี้แล้ว ลาสิกขาบท

เสียในที่ซึ่งตนไปแล้ว . ผ้าจำนำพรรษาย่อม เป็นของสงฆ์ แต่ถ้าภิกษุนั้น ให้

พาพวกชาวบ้านรับรองต่อหน้าแล้วจึงไป ภิกษุผู้อยู่อาวาสย่อมได้.

เมื่อทายกสั่งไว้ว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถวายผ้าจำนำพรรษานี้ แก่ภิกษุ

ผู้จำพรรษาแล้ว ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า, เสนาสนะนั้น อันเสนาสนะ

คาหาปกะให้ภิกษุใดถือเอา, ย่อมเป็นของภิกษุนั้นแล.

ก็ถ้าว่า บุตรและธิดาเป็นต้นของเจ้าของเสนาสนะ นำผ้าเป็นอันมาก

มากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า ดังนี้ เพื่อต้อง

การจะให้เป็นที่พอใจของเจ้าของเสนาสนะ สำหรับภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะ

นั้น พึงให้ผืนเดียวเท่านั้น. ผ้าที่เหลือเป็นของสงฆ์, พึงให้ภิกษุทั้งหลายถือ

ตามลำดับผ้าจำนำพรรษา. เมื่อลำดับไม่มี พึงให้ถือเอาตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

แม้ในผ้าจำนำพรรษา ที่ทายกนำผ้าจำนวนมากมาด้วยจิตเลื่อมใสซึ่ง

อาศัยภิกษุผู้จำพรรษาในเสนาสนะนั่นแลเกิดขึ้นแล้ว ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่

เสนาสนะ ดังนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ก็ถ้าว่า ทายกวางไว้แทบเท้าแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุนั่น;

ผ้าทั้งหมดย่อมเป็นของภิกษุนั้นเท่านั้น.

ในเรือนของทายกคนหนึ่ง มีผ้าจำนำพรรษา ๒ ผืน ส่วนที่ ๑ เป็น

ของที่ให้สามเณรถือเอาแล้ว ส่วนที่ ๒ ต้องให้ในเถรอาสน์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ทายกนั้น ส่งผ้าสาฎก ๑๐ ศอกผืนหนึ่ง ๘ ศอกผืนหนึ่ง มาว่า ท่าน

จงถวายผ้าจำนำพรรษาที่ถึงแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย. พึงเลือกให้ส่วนดีแก่สามเณร

แล้วให้ส่วนรองในเถรอาสน์.

แต่ถ้า เขานำไปเรือนทั้ง ๒ รูป ให้ฉัน แล้ว วางไว้แทบเท้าเองที

เดียว ; ผืนใดเขาถวายแล้วแก่รูปใด ผืนนั้นแลย่อมเป็นของรูปนั้น ต่อแต่นี้

ไป เป็นนัยที่มาแล้วในมหาปัจจรี.

ผ้าจำนำพรรษาในเรือนแห่งทายกคนหนึ่ง ถึงแก่สามเณรหนุ่ม. ถ้า

เขาถามว่า ผ้าจำนำพรรษาของข้าพเจ้าถึงแก่ใคร ? อย่าบอกว่า ถึงแก่สามเณร

พึงบอกว่า ท่านจักทราบในเวลาถวายแล้ว ในวันถวายพึงส่งพระมหาเถระรูป

หนึ่งไปนำเอามา.*

หากว่า ผ้าจำนำพรรษาถึงแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ลาสิกขาเสีย หรือมรณภาพ

เสียไซร้, และชาวบ้านเขาถามว่า ผ้าจำนำพรรษาของพวกข้าพเจ้าถึงแก่ใคร,

พึงบอกแก่เขาตามเป็นจริง.

ถ้าว่า เขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ; ผ้านั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุนั้น.

ถ้าเขาถวายแก่สงฆ์หรือแก่คณะ, ย่อมถึงแก่สงฆ์หรือแก่คณะ.

หากว่า ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษา เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลล้วนทั้งนั้น ;

ผ้าจำนำพรรษาที่เขานำมาถวายแล้ว พึงทำให้เป็นเสนาสนบริขารเก็บไว้, หรือ

พึงทำให้เป็นหมอนเป็นต้นเสีย ฉะนี้แล. นี้เป็นวัตรสำหรับผู้เจ้าถิ่น.

เสนาสนคาหวินิจฉัย จบ

* ทำอย่างนี้ไม่เป็น อุชุปฎิปนฺโน กระมัง ?

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

[ว่าด้วยการถือเสนาสนะระงับ]

วินิจฉัยในเรื่องพระอุปนันทะ. ในคำว่า ตตฺถ ตยา โมฆปุริส

คหิต, อิธ มุกฺก, อิธ คหิต, ตตฺร มุกฺก นี้ พึงทราบดังนี้ :-

เสนาสนะใดในกรุงสาวัตถีนั้น อันเธอถือเอาแล้ว เสนาสนะนั้น ย่อม

เป็นอันเธอผู้ถืออยู่นั่นแล สละเสียแล้วในคามกาวาสนี้.

อนึ่ง เมื่อเธอกล่าวอยู่ว่า ผู้มีอายุ บัดนี้เราสละเสนาสนะในคามกา-

วาสนี้ ดังนี้ เสนาสนะนั้น เป็นอันเธอสละแล้วแม้ในคามกาวาส นั้น ด้วย

ประการอย่างนี้ เธอเป็นคนภายนอก ในอาวาสทั้ง ๒.

ส่วนวินิจฉัยในคำนี้ พึงทราบดังนี้ :-

การถือย่อมระงับเพราะการถือ. อาลัยย่อมระงับเพราะการถือ. การ

ถือย่อมระงับเพราะอาลัย. อาลัยย่อมระงับเพราะอาลัย.

อย่างไร ? ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้วไปสู่

วัดใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้นอีก ในวันเข้าพรรษา, การถือครั้งแรก

ของภิกษุนั้น ย่อมระงับเพราะการถือ (ครั้งหลัง) นี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งกระทำเพียงอาลัยว่า เราจักอยู่ในวัดนี้ แล้วไปสู่วัด

ใกล้เคียง ถือเสนาสนะในวัคนั้นแล. อาลัยที่มีก่อนของภิกษุนั้น ย่อมระงับ

เพราะการถือนี้.

รูปหนึ่งถือเสนาสนะหรือทำอาลัยว่า เราจักอยู่ในที่นี้ แล้วไปสู่วัดใกล้

เคียง ถือเสนาสนะในวัดนั้น หรือทำอาลัยว่า บัดนี้ เราจักอยู่ในที่นี้แล ;

ด้วยประการอย่างนี้ การถือของเธอ ย่อมระงับ เพราะอาลัยบ้าง อาลัยของเธอ

ย่อมระงับเพราะอาลัยบ้าง.

ภิกษุย่อมตั้งอยู่ในการถือหรือในอาลัยครั้งหลัง ๆ ในที่ทั้งปวง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

อนึ่ง ภิกษุใด ถือเสนาสนะในวัดหนึ่งแล้ว ไปด้วยคิดว่า เราจักอยู่

ในวัดอื่น ; ในขณะที่ภิกษุนั้นก้าวล่วงอุปจารสีมาไป การถือเสนาสนะย่อมระงับ.

แต่หากว่า ภิกษุไปด้วยตั้งใจว่า ถ้าในวัดนั้นจักมีความสำราญ เราจัก

อยู่, ถ้าไม่มี เราจักมา ดังนี้ ทราบว่าไม่มีความสำราญ จึงกลับมาในภาย

หลัง เช่นนี้ สมควร.

[ว่าด้วยภิกษุผู้มีอาสนะเสมอกัน ]

ภิกษุใดเป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่ากันเพียง ๒ พรรษา ภิกษุ

นั้น ชื่อว่าผู้มีภายใน ๓ พรรษา ในคำว่า ติวสฺสนฺตเรน นี้.

ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้ใหญ่กว่ากัน หรือเป็นเด็กกว่าเพียงพรรษาเดียว

ก็หรือว่า ภิกษุใดมีพรรษาเท่ากัน ไม่มีคำจะพึงกล่าวในภิกษุนั้นเลย. จริงอยู่

ภิกษุทั้งหมดนี้ ย่อมได้เพื่อนั่งเป็นคู่ ๆ กันบนเตียงหรือบนตั่งอันเดียวกัน.

ที่นั่งใด พอแก่ ๓ คน, ที่นั่งนั้น จะเป็นของเคลื่อนที่ได้ หรือ

เคลื่อนที่ไม่ได้ก็ตามที่ ; ย่อมได้เพื่อนั่งบนที่นั่งเห็นปานนั้น. ใช่แต่เท่านั้น

บนแผ่นกระดาน จะนั่งร่วมแม้กับอนุปสัมบัน ก็ควร.

[ว่าด้วยคิหิวิกัติ ]

บทว่า หตฺถินขก คือ ตั่งประดิษฐานอยู่บนกระพองเศียรแห่งช้าง

ทั้งหลาย.

ได้ยินว่า คำว่า หัตถินขกะนี้ เป็นชื่อแห่งปราสาทที่ทำอย่างนั้น.

หลายบทว่า สพฺพ ปาสาท ปริโภค มีความว่า บานหน้าต่าง

เตียงตั่ง พัดใบตาล วิจิตรด้วยทองและเงินเป็นต้น ก็ดี หม้อน้ำ ขันน้ำทำด้วย

ทองและเงินก็ดี หรือว่าเครื่องใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจำหลักลวดลายงดงามก็ดี

ควรทุกอย่าง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ชนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้ทาส ทาสี นา สวน โค กระบือ

แก่ปราสาท. ไม่มีกิจจะรับแผนกหนึ่ง เมื่อรับปราสาท ก็เป็นอันรับไว้ด้วยแท้.

จะใช้สอยผ้าปูลาดโกเชาว์เป็นต้น บนเตียงและตั่ง ในกุฎีเป็นของส่วนตัวบุคคล

ไม่ควร.

แต่ที่เขาปูลาดไว้บนธรรมาสน์ ย่อมได้เพื่อใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติ .

แม้บนธรรมาสน์นั้น ไม่ควรนอน.

[ว่าด้วยครุกัณฑ์]

บทว่า ปฺจิมานิ มีความว่า ครุภัณฑ์ทั้งหลาย ว่าด้วยอำนาจ

หมวดมี ๕ หมวด. ก็ครุภัณฑ์เหล่านี้ ว่าด้วยอำนาจรวม ย่อมมีมากหลาย

บรรดาครุภัณฑ์เหล่านั้น สวนดอกไม้หรือสวนผลไม้ ชื่ออาราม.

โอกาสที่เขากำหนดทั้งไว้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเหล่านั้นเอง หรือเมื่ออาราม

เหล่านั้นร้างไปแล้ว ภูมิภาคเก่แห่งอารามนั้น ชื่ออารามวัตถุ.

เสนาสนะมีปราสาทเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวิหาร.

โอกาสเป็นที่ประดิษฐานเสนาสนะ มีปราสาทเป็นต้นนั้น ชื่อวิหาร

วัตถุ.

บรรดาเตียง ๔ ชนิดที่กล่าวแล้วในหนหลังเหล่านี้ คือ เตียงมีแม่แคร่

สอดเข้าในขา, เตียงมีปลายเท้าร้อยด้วยไม่สลัก, เตียงมีขางอดังก้ามปู, เตียงมี

ขาจดแม่แคร่, ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าเตียง.

บรรดาตั่ง ๔ ชนิด มีตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขาเป็นต้น ชนิดใดชนิด

หนึ่ง ชื่อว่าตั่ง.

บรรดาฟูก ๕ ชนิด มีฟูกที่ยัดด้วยขนสัตว์เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง

ชื่อว่าฟูก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

บรรดาหมอนมีประการดังกล่าวแล้ว ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าหมอน.

หม้อที่ทำด้วยโลหะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นเหล็กก็ตาม เป็นทองแดง

ก็ตาม ชื่อว่าหม้อโลหะ. แม้ในอ่างโลหะเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็ในอ่าง

โลหะเป็นต้นนี้ ไหเรียกว่าอ่าง, หม้อน้ำเรียกว่าขวด. กระทะนั้นเองเรียกว่า

กระทะ. ในเครื่องมือมีพร้าโต้เป็นต้น และในเครื่องใช้มีเถาวัลย์เป็นต้น ขึ้น

ชื่อว่าสิ่งที่รู้จักยาก ย่อมไม่มี.

พระโลกนาถผู้มีจักษุปราศจากมลทิน ๕ ดวง ทรงประกาศครุภัณฑ์

๒๕ อย่าง โดยหมวด ๕ อย่างนี้ คือ ๒ หมวดสงเคราะห์ครุภัณฑ์ หมวดละ

๒ สิ่ง, หมวดที่ ๓ นับครุภัณฑ์ได้ ๔ สิ่ง หมวดที่ ๔ มี ๙ สิ่ง, หมวดที่ ๕

จำแนกเป็น ๘ สิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

วินิจฉัยกถาในครุภัณฑ์นั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-

ก็ครุภัณฑ์แม้ทั้งปวงนี้ แม้ในเสนาสนักขันธกะนี้ ท่านกล่าวว่า ไม่

ควรแจก. ส่วนในคัมภีร์ปริวารมาแล้วว่า:

ครุภัณฑ์ ๕ หมวด พระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณใหญ่ตรัสว่า ไม่ควรสละ

ไม่ควรแจก. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สละ ผู้ใช้สอย ; ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้

ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

เพราะเหตุนั้น พึงทราบอธิบายินในคำนี้ อย่างนี้ว่า ครุภัณฑ์นี้ ที่ว่า

ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก ด้วยอำนาจขาดตัวนั้น แต่เมื่อภิกษุผู้สละและใช้สอย

ด้วยอำนาจการแลกเปลี่ยน ไม่เป็นอาบัติ.

อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นั้น ดังนี้: -

ไม่ควรน้อมครุภัณฑ์แม้ทั้ง ๕ ชนิดนี้เข้าไป เพื่อประโยชน์แก่จีวร

บิณฑบาตและเภสัชก่อน. แต่จะเอาถาวรวัตถุแลกกับถาวรวัตถุและเอาครุภัณฑ์

แลกกับครุภัณฑ์ ควรอยู่.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ส่วนในถาวรวัตถุ, ถาวรวัตถุเห็นปานนี้ คือ นา ที่นา บึงเหมือง

ภิกษุจะจัดการหรือจะรับหรือจะอนุมัติแทนสงฆ์ ไม่ควร.

ถาวรวัตถุนั้น อันกัปปิยการกนั่นแลจัดการ, กัปปิยภัณฑ์ได้มาจาก

ถาวรวัตถุเห็นปานนั้น ควรอยู่.

อนึ่ง จะเอาอารามแลกถาวรวัตถุทั้ง ๔ อย่างนี้ คือ อาราม อารามวัตถุ

วิหาร วิหารวัตถุ ควรอยู่.

[ปริวัตนนัย]

ปริวัตนนัยในครุภัณฑ์ ๔ อย่างมีอารามเป็นต้น นั้น ดังนี้:-.

สวนมะพร้าวของสงฆ์อยู่ไกล, ทั้งพวกกัปปิยการกกินเสียมากกว่ามาก,

แม้ที่ไม่ได้กินก็ต้องชักออกให้ค่าจ้างเกวียนเสีย นำมาถวายน้อย เต็มที.

ส่วนคนเหล่าอื่นที่อยู่ในบ้านซึ่งไม่ไกลสวนนั้น มีสวนอยู่ใกล้วัด. เขา

เข้าไปหาสงฆ์ขอเอาสวนของตนแลกเอาสวนนั้น สงฆ์พึงอปโลกน์ว่า สงฆ์เห็น

ชอบ แล้วรับเถิด.

ถึงแม้ว่า สวนของพวกภิกษุมีต้นไม้ตั้งพันต้น, สวนของชาวบ้าน

มีต้นไม้ห้าร้อย ; (ถ้ามีผลมากกว่า) ก็ไม่ควรเกี่ยงว่า สวนของท่านเล็ก. เพราะ

สวนนี้เล็กก็จริง, แต่ที่แท้ สวนนี้ย่อมให้ผลมากกว่าสวนนอกจากนี้.

ถึงแม้ว่า สวนนี้จะให้ผลเท่า ๆ กัน, แม้อย่างนั้นจะยอมรับด้วยมุ่ง

หมายว่า สามารถบริโภคได้ทุกขณะที่ต้องการ ก็ควร.

แต่ถ้า สวนของพวกชาวบ้านมีต้นไม้มากกว่า, พึงกล่าวว่า ต้นไม้

ของพวกท่านมีมากกว่ามิใช่หรือ ? ถ้าเขาตอบว่า ส่วนที่เกินเลยไป จงเป็น

บุญของพวกข้าพเจ้า ๆ ถวายสงฆ์. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วจึงรับไว้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ต้นไม้ของพวกภิกษุมีผล. ต้นไม้ของพวกชาวบ้านยังไม่ทันเผล็ดผล,

พึงยอมรับแท้ ด้วยเล็งเห็นว่า ต้นไม้ของพวกชาวบ้าน ยังไม่เผล็ดผลก็จริง

แต่ไม่นานก็จักเผล็ดผล.

ต้นไม้ของพวกชาวบ้านมีผล, ต้นไม้ของพวกภิกษุยังไม่ทันเผล็ดผล

พึงกล่าวว่า ต้นไม้ของพวกท่านมีผลมิใช่หรือ ? ถ้าเขาถวายว่า รับเถิด ท่าน

ผู้เจริญ จักเป็นบุญแก่พวกข้าพเจ้า. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วรับไว้.

อารามกับอารามพึงแลกกันด้วยประการฉะนี้. อารามวัตถุก็ดี วิหารก็ดี วิหาร

วัตถุก็ดี กับอารามพึงแลกกัน โดยนัยนี้ แล.

อนึ่ง อาราม อารามวัตถุ วิหาร และวิหารวัตถุ ก็พึงแลกกับอาราม

วัตถุ ที่ใหญ่ก็ตาม เล็กก็ตาม โดยนัยนี้ เหมือนกันฉะนี้แล.

วิหารกับวิหารจะแลกกันอย่างไร เรือนของสงฆ์อยู่ภายในบ้าน

ปราสาทของชาวบ้านอยู่กลางวัด ทั้ง ๒ อย่างว่าโดยราคาเป็นของเท่ากัน. หาก

ว่า ชาวบ้านขอเอาปราสาทนั้นแลกเรือนนั้นสมควรรับ

เรือนของพวกภิกษุมีราคามากกว่า. และเมื่อภิกษุกล่าวว่า เรือนของ

พวกเรามีราคามากกว่า, เขาตอบว่า เรือนของพวกท่านมีราคา มากกว่าก็จริง

แต่ไม่สมควรแก่บรรพชิต บรรพชิตไม่สามารถอยู่ในเรือนนั้นได้; ส่วนเรือน

นี้สมควร ขอท่านทั้งหลายจงรับเถิด; แม้อย่างนี้ ก็ควรรับ.

ถ้าเรือนของชาวบ้าน, มีราคามาก ภิกษุพึงกล่าวว่า เรือนของพวก

ท่าน มีราคามากมิใช่หรือ แต่เมื่อเขาตอบว่า ช่างเถิดท่านผู้เจริญ, จักเป็น

บุญแก่พวกข้าพเจ้า, โปรดรับเถิด ดังนี้สมควรรับ.

วิหารกับวิหาร พึงแลกกันอย่างนี้. วิหารวัตถุก็ดี อารามก็ดี อาราม

วัตถุก็ดี พึงแลกกับวิหาร โดยนัยนี้แล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

อนึ่ง วิหาร วิหารวัตถุ อารามและอารามวัตถุ ก็พึงแลกกับวิหาร-

วัตถุ ที่มีราคามากก็ตาม มีราคาน้อยก็ตาม โดยนัยนี้เหมือนกันฉะนี้แล พึง

ทราบการแลกถาวรวัตถุกับถาวรวัตถุอย่างนี้ก่อน.

ส่วนวินิจฉัยในการแลกครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ พึงทราบดังต่อไปนี้:-

เตียงตั่งจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดมีเท้าเพียง ๔ นิ้ว แม้ที่พวกเด็ก

ชาวบ้านซึ่งยังเล่นในโรงฝุ่นทำ ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิม แต่เวลาที่ถวาย

สงฆ์แล้ว.

แม้ถ้าพระราชาและราชมหาอมาตย์เป็นต้น ถวายเพียงคราวเดียวเท่า

นั้น ทั้งร้อยเตียงหรือพันเตียง, เตียงที่เป็นกัปปิยะะทั้งหมดพึงรับไว้. ครั้นรับ

แล้วพึงแจกตามลำดับผู้แก่ ว่า ท่านจงใช้สอยโดยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. อย่า

ให้เป็นส่วนตัวบุคคล. แม้จะตั้งเตียงที่เกินไว้ในเรือนคลังเป็นต้นแล้ว เก็บบาตร

จีวร ก็ควร.

เตียงที่เขาถวายนอกสีมา ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ พึงให้ไว้ใน

สถานที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในสถานที่อยู่ของพระสังฆเถระนั้น มีเตียงมาก,

ไม่มีการที่ต้องใช้เตียง ; ในสถานที่อยู่ของภิกษุใด มีการที่ต้องใช้เตียง, พึง

ให้ไว้ในสถานที่อยู่ของภิกษุนั้นสั่งว่า ท่านจงใช้สอยเป็นเครื่องใช้สอยของสงฆ์.

เตียงมีราคามาก คือ ตีราคาตั้งร้อยหรือพันกหาปณะ จะแลกเตียงอื่น

ย่อมได้ตั้งร้อยเตียง ควรแลกเอาไว้. มิใช่แต่เตียงเดียวเท่านั้น แม้อาราม

อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ตั่ง ฟูกและหมอน ก็ควรแลก. แม้ในตั่งฟูกและ

หมอนก็นัยนี้ . แม้ในเตียงตั่งฟูกหมอนเหล่านี้ สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในกัปปิยะและอกับบปิยะนั้น ที่เป็นอกัปปิยะไม่ควรใช้สอย. ที่เป็น

กัปปิยะ พึงใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. ที่เป็นอกัปปิยะหรือที่เป็นกัปปิยะมี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

ค่ามาก พึงแลกเอาวัตถุที่กล่าวแล้วไว้. ขึ้นชื่อว่าฟูกและหมอน ที่ไม่จัด เป็น

ครุภัณฑ์ ย่อมไม่มี.

ครุภัณฑ์ ๓ อย่างนี้ คือ หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระทะโลหะจะใหญ่

หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดแม้จุน้ำเพียงฟายมือหนึ่ง ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ส่วนขวดโลหะที่ทำด้วยเหล็ก ทองแดง สำริด ทองเหลืองอย่างใด

อย่างหนึ่ง จุน้ำได้บาทหนึ่ง ในเกาะสิงหล แจกกันได้.

ที่ชื่อว่าบาทหนึ่ง จุน้ำประมาณ ๕ ทะนานมคธ. ที่จุน้ำเกินกว่านั้น

เป็นครุภัณฑ์, ภาชนะโลหะที่มาในบาลีเท่านี้ก่อน.

ส่วนน้ำเต้าทอง กระโถน กระบวย ทัพพี ช้อน ถาด จาน ชาม

ผอบ อั้งโล่ และทัพพีตักควันเป็นต้น แม้มิได้มาในบาลี จะเล็กหรือใหญ่ก็

ตาม เป็นครุภัณฑ์หมดทุกอย่าง. แต่ภัณฑะเหล่านี้ คือ บาตรเล็ก ภาชนะ

ทองแดง เป็นของควรแจกกันได้ ภาชนะกาววาวที่ทำด้วยสำริดหรือทองเหลือง

ควรใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. หรือเป็นคิหิวิกัติ ไม่ควรใช้สอย เป็นเครื่อง

ใช้ส่วนตัวบุคคล.

ในมหาปัจจรีแก้ว่า ภาชนะสำริดเป็นต้น ที่เขาถวายสงฆ์จะรักษาไว้

ใช้เองไม่ควร, พึงใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติเท่านั้น ส่วนในสิ่งขอโลหะที่เป็น

กัปปิยะแม้อื่น ยกเว้น ภาชนะกาววาวเสีย กล่องยาทา ไม้ป้ายยาตา ไม้ควักหู

เข็ม เหล็กจาร มีดน้อย เหล็ก หมาด กุญแจ ลูกดาล ห่วงไม้เท้า กล้อง

ยานัตถุ์ สว่าน รางโลหะ แผ่นโลหะ แท่งโลหะ สิ่งของโลหะที่ทำค้างไว้

แม้อย่างอื่น เป็นของควรแจกกันได้.

ส่วนกล้อง ยาสูบ ภาชนะโลหะ โคมมีด้าม โคมตั้ง โคมแขวน รูปสตรี

รูปบุรุษ และรูปสัตว์เดียรัจฉานหรือสิ่งของโลหะเหล่าอื่น พึงติดไว้ตามฝาหรือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

หลังคาหรือบานประตูเป็นต้น, สิ่งของโลหะทั้งปวง โดยที่สุดจนกระทั่งตะปู

ย่อมเป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน แม้ตนเองได้มาก็ไม่ควรเก็บไว้ใช้อย่างเครื่องใช้

ส่วนตัวบุคคล. ควรใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรือใช้เป็นคิหิวิกัติ.

แม้ในสิ่งของดีบุก ก็มีนัยเหมือนกัน. จานและขันเป็นต้นที่ทำด้วยหิน

อ่อน เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน, ส่วนหม้อหรือภาชนะน้ำมันที่ใหญ่ เกินกว่าจุน้ำ

มันบาทหนึ่งขึ้นไปเท่านั้น เป็นครุภัณฑ์.

ภาชนะทองคำ เงิน นาก และแก้ว ผลึก และเป็นคิหิวิกัติ ก็ไม่ควร,

ไม่จำต้องกล่าวถึงใช้อย่างเครื่องใช้ของสงฆ์ หรืออย่างเครื่องใช้ส่วนตัวบุคคล.

แต่ด้วยเครื่องใช้สำหรับเสนาสนะ สิ่งของทุกอย่างทั้งที่ควรจับต้อง ทั้งที่ไม่

ควรจับต้อง จะใช้สอยก็ควร.

ในมีดเป็นต้น มีดที่ไม่อาจใช้ทำการใหญ่อย่างอื่นได้ ยกการตัดไม้

สีฟัน หรือการปอกอ้อยเสีย เป็นของควรแจกกันได้. มีดที่ทำด้วยอาการอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งใหญ่กว่านั้น เป็นครุภัณฑ์.

ส่วนขวาน โดยที่สุดแม้เป็นขวานสำหรับตัดเอ็นของพวกแพทย์ย่อม

เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ในผึ่งมีวินิจฉัยเช่นขวานนั่นเอง. ส่วนผึ่งที่ทำโดยสังเขปว่า เป็นอาวุธ

เป็นอนามาส.

จอบโดยที่สุด แม้ขนาด ๔ นิ้ว ย่อมเป็นครุภัณฑ์แท้.

สิ่ว มีปากเป็นเหลี่ยมก็ดี มีปากเป็นรางก็ดี โดยที่สุดแม้เหล็กเจาะ

ด้ามไม้กวาด เป็นของเข้าด้ามไว้ เป็นครุภัณฑ์แท้. แต่เหล็กเจาะด้ามไม้กวาด

ไม่มีด้าม มีแต่ตัวเท่านั้น เป็นของอาจใส่ฝักรักษาไว้ได้ เป็นของควรแจก.

ึุแม้เหล็กแหลมก็สงเคราะห์ด้วยสิ่งนั้นเอง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

มีดเป็นต้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวายไว้ในวิหาร, ถ้าชนเหล่านั้น

เมื่อถูกไฟไหม้เรือน หรือถูกโจรปล้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญจงให้เครื่องมือ

แก่พวกข้าพเจ้าเถิด, แล้วจักคืนให้อีก, ควรให้. ถ้าเขานำมาส่ง, อย่าพึงห้าม,

แม้เขา. ไม่นำมาส่งก็ไม่พึงทวง.

เครื่องมือทำด้วยโลหะทุกอย่าง มีทั่ง ค้อน คีม และคันชั่งเป็น

ต้น ของช่างไม้ ช่างกลึง ช่างสาน ช่างแก้ว และช่างบุบาตร เป็นครุภัณฑ์

จำเดิมแต่กาลที่ถวายสงฆ์แล้ว. แม้ในเครื่องมือของช่างดีบุก ช่างหนัง ก็มีนัย

เหมือนกัน.

ส่วนความที่แปลกกันดังนี้:-

เครื่องมือเหล่านั้น คือ ในพวกเครื่องมือของช่างดีบุกเล่า มีดตัดดีบุก

ในพวกเครื่องมือของช่างทอง มีดตัดทอง ในพวกเครื่องมือของช่างหนึ่ง มีด

เล็กสำหรับตัดหนังที่ฟอกแล้ว เป็นสิ่งที่ควรแจก.

แม้ในเครื่องมือของกัลบกและช่างชุน เว้นกรรไกรใหญ่ แหนบใหญ่

และมีดใหญ่เสีย ควรแจกทุกอย่าง. กรรไกรใหญ่เป็นต้น เป็นครุภัณฑ์.

วินิจฉัยในเถาวัลย์เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง มีหวายเป็นต้น ประมาณเพียงครึ่งแขน ที่เขา

ถวายสงฆ์ก็ตาม ที่เกิดขึ้นในธรณีสงฆ์นั้นก็ตาม ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น

ครุภัณฑ์.

เถาวัลย์นั้น เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว ถ้า

เป็นของเหลือ, จะน้อมเข้าไปในการงานส่วนตัวบุคคลบ้าง ก็ควร. แต่เถาวัลย์

ที่สงฆ์ไม่รักษาไม่เป็นครุภัณฑ์เลย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

เชือกหรือพวนที่ทำเสร็จด้วยด้าย ปอ ป่าน เสี้ยนมะพร้าวและหนัง

ก็ดี เชือกเกลียวเดียวหรือ ๒ เกลียว ที่เขาฟั่นป่านหรือเสี้ยนมะพร้าวทำก็ดี

ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิมแต่เวลาที่เขาถวายสงฆ์แล้ว .

ส่วนด้ายที่เขามิได้ฟั่นถวาย และปอป่านแลเสี้ยนมะพร้าวแจกกันได้.

อนึ่ง เชือกและพวนเป็นต้นเหล่านั้น เป็นของที่ชนเหล่าใดถวาย,

ชนเหล่านั้นจะยืมไปด้วยกรณียกิจของตน ไม่ควรหวงห้าม.

ไม้ไผ่ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ขนาดเท่าเข็มไม้* ยาว ๘ นิ้ว

ที่เขาถวายสงฆ์ หรือที่เกิดในธรณีสงฆ์นั้น ซึ่งสงฆ์รักษาปกครองไว้ เป็น

ครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์และการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว แม้ไม้ไผ่นั้นยัง

เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร.

ก็ในภัณฑะ คือ ไม้ไผ่นี้ ของเช่นนี้ คือ กระบอกน้ำมัน จุน้ำมันบาท

หนึ่ง ไม้เท้า คานรองเท้า คันร่ม ซีร่ม เป็นของแจกกันได้.

พวกชาวบ้านผู้ถูกไฟไหม้เรือนฉวยเอาไป ไม่ควรห้าม. เมื่อภิกษุจะ

ถือเอาไม้ไผ่ที่สงฆ์รักษาปกครอง ต้องทำถาวรวัตถุที่เท่ากัน หรือเกินกว่า

โดยที่สุดทำผาติกรรม แม้ด้วยทรายซึ่งมีราคาเท่าไม้ไผ่นั้น แล้วจึงถือเอา.

เมื่อจะไม่ทำผาติกรรมถือเอา ต้องใช้สอยในวัดนั้น เท่านั้น. ในเวลาที่จะไป

ต้องเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ก่อน จึงค่อยไป. ภิกษุผู้ถือเอาไปด้วยความหลงลืม

ต้องส่งคืน. ไปสู่ประเทศอื่นแล้ว พึงเก็บไว้ในที่อยู่ของสงฆ์ในวัดที่ไปถึงเข้า.

หญ้านั้น คือ หญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่นอกจากหญ้ามุงกระต่ายและ

หญ้าปล้อง. ก็ในที่ใด ไม่มีหญ้า ในที่นั้น เขามุงด้วยใบไม้ เพราะฉะนั้น

แม้ใบไม้ก็สงเคราะห์ด้วยหญ้าเหมือนกัน.

* สุจิทณฑก เข็มไม้ (สำหรับเย็บของใหญ่ เช่นใบเรือ) ไม้กลัด (?).

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

ในหญ้ามุงกระต่ายเป็นต้น หญ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้มีประมาณกำมือ

หนึ่ง แม้ในใบไม้มีใบตาลเป็น แม้ใบเดียว ที่เขาถวายสงฆ์หรือที่เกิดใน

ธรณีสงฆ์นั้น หรือเป็นหญ้าที่เกิดแต่สวนหญ้าของสงฆ์ภายนอกอาราม ซึ่งสงฆ์

รักษาปกครอง เป็นครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์ หรือการงานที่เจดีย์ทำเสร็จแล้ว หญ้าแม้นั้นยัง

เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร. พวกชาวบ้านผู้ถูกไฟไหม้

เรือนฉวยเอาไป ไม่ควรห้าม.

ในลานเปล่า แม้ขนาดเพียง ๘ นิ้ว ก็เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน,

ดินเหนียว จะเป็นดินธรรมดาหรือดิน ๕ สี หรือปูนขาวก็ตามที

หรือบรรดายางสนและชันเป็นต้น ยางชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขานำมาถวายในที่

ซึ่งหาได้ยากก็ดี ที่เกิดในธรณีสงฆ์นั้น ก็ดี ขนาดเท่าผลตาลสุก ซึ่งสงฆ์รักษา

ปกครองไว้ เป็นครุภัณฑ์.

เมื่อการงานของสงฆ์ หรือการงานของเจดีย์ท่าเสร็จแล้ว ยางแม้นั้นที่

เหลือ จะใช้ในการงานเป็นส่วนตัวบุคคล ก็ควร.

ส่วนหิงคุ รง หรดาล มโนศิลา และแร่พลวง เป็นของควรแจกกัน.

วินิจฉัยในสิ่งของคือไม้ พึงทราบดังนี้:-

ในกุรุนทีแก้ว่า ภัณฑะไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง แม้ขนาดเท่าเข็มไม้ยาว

๘ นิ้ว เขาถวายสงฆ์ในที่ซึ่งหาได้ยาก หรือเกิดในธรณีสงฆ์นั้น ซึ่งสงฆ์รักษา

คุ้มครอง นี้เป็นครุภัณฑ์.

ส่วนในมหาอรรถกถา สงเคราะห์ของแปลกที่ทำด้วยวัตถุเป็นต้น ว่า

ไม้จริง ไม้ไผ่ หนัง และศิลา แม้ทุกอย่างด้วยภัณฑะไม้ แล้วกล่าววินิจฉัย

แห่งภัณฑะไม้ จำเดิมแต่บาลีนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน สงฺฆสฺส

อาสนฺทิโก อุปฺปนฺโน โหติ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ในมหาอรรถกถานั้น ไขความดังนี้ :-

ในของเหล่านั้นก่อน คือ ตั่ง ๔ เหลี่ยมจตุรัส ตั่งมีพนัก ๓ ด้าน ตั่งหวาย

ตั่งสามัญ ตั่งขาทราย ตั่งก้านมะขามป้อม ตั่งมีพนักด้านเดียว ตั้งกระดาน

เก้าอี้ คงยัดฟาง ชนิดใดชนิดหนึ่ง เล็กหรือใหญ่ก็ตาม ที่เขาถวายสงฆ์แล้ว

เป็นครุภัณฑ์.

อนึ่ง แม้ตั่งที่ยัดด้วยใบตองเป็นต้น สงเคราะห์ในตั่งเหล่านั้นด้วยตั่ง

ยัดฟาง.

เก้าอี้ที่หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งก็ดี บุด้วยรูปสัตว์ร้ายก็ดี ขลิบด้วยรัตนะ

ก็ดี เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.

ในของเหล่านั้น คือ กระดานจงกรม กระดานยาว กระดานซักจีวร

กระดานรองทุบ ตลุมพุกสำหรับทุบ เขียงรองตัดไม้สีฟัน ไม้ค้อน ถังไม้

รางย้อม กระโถน สมุกไม้จริง หรือสมุกงา หรือสมุกไม้ไผ่ มีเท้าก็ตาม

ไม่มีเท้าก็ตาม หีบ ขวดมีขนาดไม่เกินจุน้ำ บาทหนึ่ง รางน้ำ ไหน้ำ กระ-

บวย ทัพพี ขันน้ำ สังข์ตักน้ำ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ถวายสงฆ์แล้ว เป็น

ครุภัณฑ์, ส่วนภานะที่ทำด้วยสังข์แจกกันได้. หม้อน้ำที่ทำด้วยไม้ ก็เหมือน

กัน.

เสวียนเช็ดเท้า จะทำด้วยไม้หรือทำด้วยใบตาลเป็นต้น ก็ตามที เป็น

ครุภัณฑ์ทั้งหมด.

ในของเหล่านี้ คือ เชิงบาตร ฝาบาตร พัดใบตาล พัดวีชนี ผอบ

กระเช้า ไม้กวาดด้ามยาว ไม้กวาดด้ามสั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเล็กหรือใหญ่

ก็ตาม ทำด้วยของอย่างใดอย่างหนึ่ง มีไม้จริง ไม้ไผ่ ใบไม้และหนังเป็นต้น

เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน.. ่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

บรรดาเครื่องเรือนมีเสา ชื่อ บันได และกระดานเป็นต้น เครื่องเรือน

อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งทำด้วยไม้ก็ตาม ทำด้วยศิลาก็ตาม เสื่อลำแพนชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ที่เขาถวายสงฆ์แล้ว เป็นครุภัณฑ์สมควรทำให้เป็นเครื่องลาดฟัน.

ส่วนหนังแพะ ซึ่งแม้มีคติอย่างเครื่องปูลาด ก็เป็นครุภัณฑ์เหมือนกัน .

หนังที่เป็นกัปปิยะ เป็นของควรแจกกันได้.

แต่ในกุรุนที่แก้ว่า หนังทุกชนิดมีขนาดเท่าเตียง เป็นครุภัณฑ์. ครก

สาก กระดัง หินบด ลูกหินบด รางศิลา อ่างศิลา ภัณฑะของช่างหูกเป็น

อาทิทุกอย่าง มีกระสวย ฟืม และกระทอเป็นต้น เครื่องทำนาทุกอย่าง

ล้อเลื่อนทุกอย่าง เป็นครุภัณฑ์ทั่งนั้น.

เท้าเตียง แม่แคร่เตียง เท้าตั่ง แม่แคร่ตั่ง ด้ามมีดและสว่านเป็นต้น

ในของเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งถากข้างไว้ยังไม่ทันเสร็จ แจกกันได้ แต่

ที่ถากเกลี้ยงเกลาแล้ว เป็นครุภัณฑ์.

อนึ่ง ของเช่นนี้ คือ ด้ามมีดที่ทรงอนุญาต ด้ามและปีกกลด ไม้เท้า

รองเท้า ไม้สีไฟ กระบอกกรอง กระติกน้ำทรงมะขามป้อม หม้อน้ำทรง

มะขามป้อม กระติกน้ำลูกน้ำเต้า หม้อน้ำหนัง หม้อน้ำทรงน้ำเต้า กระติกน้ำ

ทำด้วยเขา จุน้ำไม่เกินบาทหนึ่ง แจกกันได้ทุกอย่าง เขื่องกว่านั้นเป็นครุภัณฑ์.

งาช้างหรือเขาชนิดใดชนิดหนึ่ง ยังมิได้เกลา คงอยู่อย่างเดิม แจก

กันได้.

ในเท้าเตียงเป็นต้น ที่ทำด้วยงาช้างและเขาเหล่านั้น มีวินิจฉัยเช่นกับ

ที่มีมาแล้วในหนหลังนั่นเอง.

ของเช่นนี้ คือ กลักใส่หิงคุ กลักใส่ยาตา แม้ถากเกลาเสร็จแล้ว

ลูกดุม รังดุม แท่นยาตา ด้ามยาตา กราดกวาดน้ำ ทุกอย่างแจกกันได้ทั้งนั้น.

วินิจฉัยในของที่ทำด้วยดิน พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

เครื่องอุปโภค และบริโภคของมนุษย์ทั้งปวง คือภาชนะดิน มีหม้อ

ฝาละมีเป็นต้น กระถางสำหรับระบมบาตร เชิงกราน ปล่องควัน โคมมีด้าม

โคมตั้ง อิฐสำหรับก่อ กระเบื้องสำหรับมุง กระเบื้องหลบ เป็นครุภัณฑ์

จำเดิมแต่เวลาที่ถวายสงฆ์แล้ว.

ก็ในของที่ทำด้วยดิน ของเช่นนี้ คือ หม้อ บาตร ภาชนะ คนโท-

ปากกว้าง คนโทสามัญ ขนาดเขื่องไม่เกินกว่าจุน้ำบาทหนึ่ง เป็นของที่แจก

กันได้. อนึ่ง แม้ในของโลหะ พึงทราบวินิจฉัยเหมือนในของดิน. คนโทน้ำ

บวกเข้ากับส่วนที่แจกกันได้เหมือนกัน. อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นี้ เท่านี้.

[ว่าด้วยนวกรรม]

บทว่า ภณฺฑิกาธานมตฺเตน มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวีย่อม

ให้นวกรรม (คือสร้างใหม่) ด้วยเพียงประกอบสิ่งที่ปิดที่อาศัยอยู่แห่งนกพิราบ

ซึ่งทำเหนือบานประตู.

บทว่า ปริภณฺฑถรณมตฺเตน คือ ด้วยเพียงทำการฉาบทาด้วย

โคมัยและชโลมด้วยน้ำฝาด.

บทว่า ธูมกาลิก มีความว่า ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ย่อมอปโลกน์

ให้ที่อยู่ที่สร้างทำแล้วนี้ ในเวลาแห่งควันอย่างนี้ว่า ควันแห่งจิตรกรรม

ของที่อยู่นั้น ยังไม่ปรากฏเพียงใด, ที่อยู่นี้จงเป็นของภิกษุนั้นเพียงนั้น.

วินิจฉัยในบทว่า วิปฺปกต นี้ พึงทราบดังนี้ :-

กลอนทั้งหลาย ยิ่งมิได้เอาขึ้นเพียงใด ที่อยู่ชื่อว่าทำค้างเพียงนั้น.

แต่ครั้นเมื่อกลอนทั้งหลายได้เอาขึ้นแล้ว ที่อยู่ชื่อว่าทำแล้วโดยมาก, เพราะ

ฉะนั้น จำเดิมแต่เวลาที่เอากลอนขึ้นแล้วไปนั้น ไม่ควรให้ทำใหม่. เจ้าของ

จักขอแรงภิกษุ ให้ช่วยสร้างอีกนิดหน่อยเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ข้อว่า ขุทฺทเก วิหาเร กมฺม โอโลเกตฺวา ฉปฺปณฺจวสฺสิก

มีความว่า ภิกษุพึงตรวจดูงานแล้วให้นวกรรม ๔ ปี สำหรับที่อยู่ขนาด ๔ ศอก,

๕ ปี สำหรับที่อยู่ ๕ ศอก, ๖ ปี สำหรับที่อยู่ ๖ ศอก, ส่วนอัฑฒโยคะ

(คือ เพิง) เป็นของมีขนาด ๗- ๘ ศอก เพราะฉะนั้น ในเพิงนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ๗-๘ ปี. ก็ถ้าเพิงนั้นมีขนาด ๙ ศอก, พึงให้นวกรรม

๙ ปีก็ได้.

อนึ่ง พึงให้นวกรรม ๑๐ ปี หรือ ๑๑ ปี สำหรับที่อยู่หรือปราสาทเก่า

มีขนาด ๑๐ ศอกหรือ ๑๑ ศอก. แต่พึงให้นวกรรม ๑๒ ปีเท่านั้น สำหรับที่อยู่

หรือปราสาทมีขนาด ๑๒ ศอก หรือแม้เช่นโลหะปราสาท ซึ่งเขื่องเกินกว่า

นั้น, ไม่พึงให้นวกรรมให้ยิ่งกว่า ๑๒ ปีนั้นไป.

นวกัมมิกภิกษุได้ที่อยู่นั้นภายในกาลฝน, ไม่ได้เพื่อจะห้ามหวงใน

อุตุกาล.

ถ้าที่อยู่นั้นชำรุด, พึงบอกแก่เจ้าของอาวาสหรือแก่ใคร ๆ ผู้เกิดใน

วงศ์ของเขาว่า ที่อยู่ของพวกท่านทรุดโทรม ท่านจงซ่อมแซมที่อยู่นั้น.

ถ้าว่าเขาไม่สามารถ ภิกษุทั้งหลายพึงชักชวนญาติหรืออุปัฏฐากช่วย

ซ่อมแซม. ถ้าแม้ญาติและอุปัฏฐากเหล่านั้น ก็ไม่ สามารถ พึงซ่อมแซมด้วย

ปัจจัยของสงฆ์ แม้เมื่อปัจจัยของสงฆ์นั้นไม่มี ก็พึงจำหน่ายอาวาส* หลังหนึ่ง

เสีย ซ่อมแซมอาวาสที่เหลือไว้. แม้จำหน่ายอาวาสเป็นอันมากเสีย ซ่อมแซม

อาวาสหลังหนึ่งไว้ก็ควรเหมือนกัน.

ในคราวทุพภิกขภัย เมื่อภิกษุทั้งหลายพากันหลีกไปเสีย อาวาสทั้งปวง

จะทรุดโทรม เพราะฉะนั้น พึงจำหน่ายอาวาสเสียหลังหนึ่ง หรือ ๒ หลัง

* กุฎิ (?)

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

หรือ ๓ หลังแล้ว บริโภคยาคูภัตและจีวรเป็นต้น จากอาวาสที่จำหน่ายเสียนั้น

รักษาอาวาสที่ยังเหลือไว้เถิด.

ส่วนในกุรุนทีแก้ว่า เมื่อปัจจัยของสงฆ์ไม่มี พึงสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า

ท่านจงถือเอาที่พอเตียงอันหนึ่ง สำหรับท่านซ่อมแซมเถิด.

หากว่า ภิกษุนั้นต้องการมากกว่านั้น พึงให้ส่วนที่ ๓ (ใน ๔ ส่วน)

หรือกึ่งหนึ่งก็ได้ ให้ซ่อมแซมเถิด.

หากว่า เธอไม่ปรารถนาด้วยเห็นว่า ในที่อยู่นี้ เหลือแต่เพียงเสาเท่านั้น

การที่จะต้องทำมาก พึงบอกให้เธอซ่อมแซมว่า ท่านจงซ่อมแซมเป็นส่วนตัว

ของท่านเท่านั้นเถิด เพราะว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักยังมีที่เก็บของสงฆ์ด้วย

จักมีสถานเป็นที่อยู่ของภิกษุใหม่ทั้งหลายด้วย. ก็แล อาวาสอันภิกษุทั้งหลาย

ซ่อมแซมแล้วอย่างนั้น ย่อมเป็นของส่วนตัวบุคคล ในเมื่อภิกษุนั้นยังมีชีวิต

อยู่, เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพแล้ว ย่อมตกเป็นของสงฆ์แท้.

หากว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ประสงค์จะให้ (เป็นที่อยู่) แก่สัทธิวิหาริก

ทั้งหลาย. สงฆ์พึงตรวจดูการงานแล้วพึงยกส่วนที่ ๓ หรือกึ่งหนึ่ง ให้เธอ

ซ่อมแซมเป็นส่วนตัว.

จริงอยู่ เธอย่อมได้เพื่อให้ส่วนนั้นแก่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย. ก็เมื่อผู้

ซ่อมแซมอย่างนั้น ไม่มี, พึงให้ซ่อมแซมตามนัยที่ว่า พึงจำหน่ายอาวาสหลัง

หนึ่งเสีย ดังนี้เป็นต้น . คำแม้นี้ด้วย คำอื่นด้วยท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นแล.

ภิกษุ ๒ รูป ถือเอาพื้นที่ของสงฆ์ แผ้วถางแล้วสร้างเสนาสนะเป็น

ของสงฆ์ พื้นที่นั้นภิกษุใดจองก่อน, ภิกษุนั้นเป็นเจ้าของ. แม้เธอทั้ง ๒ รูป

สร้างเป็นส่วนตัวบุคคล ภิกษุผู้จองก่อนนั่นแลเป็นเจ้าของ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ภิกษุผู้จองพื้นที่ก่อนนั้นสร้างเป็นของสงฆ์ อีกรูปหนึ่งสร้างเป็นส่วนตัว

บุคคล. หากว่า ที่สร้างเสนาสนะอื่น ๆ ยังมีมาก แม้เธอสร้างเป็นส่วนตัว

บุคคล ก็ไม่ควรห้าม. แต่เมื่อที่อันเหมาะเช่นนั้นแห่งอื่นไม่มี อันภิกษุผู้สร้าง

เป็นของสงฆ์นั้นแล พึงห้ามเธอเสียแล้วสร้างเถิด.

ก็เครื่องใช้ มีทัพสัมภาระเป็นต้น ที่จะต้องใช้สอยหมดไปในสถาน

เป็นที่สร้างอาวาสของสงฆ์นั้น ของภิกษุนั้น สงฆ์พึงยอมให้แก่เธอ.

อนึ่ง ถ้าว่าในอาวาสที่สร้างเสร็จแล้วก็ดี ในสถานที่จะสร้างอาวาสก็ดี

มีต้นไม้ที่อาศัยร่มได้และมีผล, พึงอปโลกน์ให้โค่นเสียเถิด. ถ้าต้นไม้เหล่านั้น

เป็นของบุคคล, พึงบอกแก่เจ้าของ. ถ้าเจ้าของไม่ยอมให้, พึงบอกเพียงครั้ง

ที่ ๓ แล้วให้โค่นเสีย ด้วยยอมรับว่า พวกเราจักให้มูลค่าราคาต้นไม้.

ฝ่ายภิกษุใด ไม่ถือเอาเครื่องใช้แม้มาตรว่าเถาวัลย์ของสงฆ์ให้สร้าง

ที่อยู่เป็นส่วนตัว ในพื้นที่ของสงฆ์ ด้วยเครื่องอุปกรณ์ทำตนหามา, เป็นของ

สงฆ์กึ่งหนึ่ง เป็นของบุคคลกึ่งหนึ่ง. ถ้าเป็นปราสาท,* ปราสาทชั้นล่างเป็น

ของสงฆ์ ชั้นบนเป็นของบุคคล. ถ้าภิกษุใด ต้องการปราสาทชั้นล่าง, ปราสาท

ชั้นล่างย่อมเป็นของภิกษุนั้น. ถ้าเธอต้องการทั้งชั้นล่างทั้งชั้นบน ย่อมได้

ชั้นละกึ่งหนึ่งทั้ง ๒ ชั้น.

ภิกษุให้สร้างเสนาสนะ ๒ แห่ง เป็นของสงฆ์แห่งหนึ่ง, เป็นของ

บุคคลแห่งหนึ่ง. หากว่าภิกษุให้สร้างด้วยทัพสัมภาระเป็นของสงฆ์ซึ่งเกิดขึ้น

ในวัด, เธอย่อมได้ส่วนที่ ๓. หากว่า ภิกษุทำการก่อต่อขึ้นใหม่ในที่ซึ่งไม่ได้

ทำไว้ก็ดี ต่อหน้ามุขขึ้นภายนอกฝาก็ดี,กึ่งหนึ่งเป็นของสงฆ์ กึ่งหนึ่งเป็นของ

* ปราสาท หมายความว่า เรือนชั้นตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป ไม่ได้หมายว่า ปราสาทราชมณเฑียร

อย่างความไทย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

เธอ. ถ้าว่าสถานที่ใหญ่ไม่เสมอ เป็นที่ซึ่งภิกษุพูนให้เสมอ แสดงทางเดินใน

ที่ซึ่งมิใช่ทาง สงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในที่นั้น .

[ว่าด้วยสิทธิแห่งนวกัมมิกะ]

ในข้อว่า เอก วรเสยฺย นี้ มีความว่า ในสถานที่ให้นวกรรมก็ดี

ในสถานที่ถึงตามลำดับพรรษาก็ดี ภิกษุผู้ซ่อมแซมปรารถนาเสนาสนะใด ย่อม

ได้เสนาสนะนั้น, เราอนุญาต ให้ถือเอาเสนาสนะที่ดีแห่งหนึ่ง.

ข้อว่า ปรโยสิเต ปกฺกมติ ตสฺเสว ต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น

กลับมาจำพรรษาอีก เสนาสนะนั้น เป็นของเธอเท่านั้น ตลอดภายในพรรษา

แต่เมื่อเธอไม่มา สัทธิวิหาริกเป็นต้น จะถือเอาไม่ได้.

บทว่า นาภิหรนฺต มีความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่กล้านำ (เสนาสนะ)

ไปใช้ในที่อื่น.

บทว่า คุตฺตตฺถาย มีความว่า เราอนุญาตให้ขนเสนาสนะ. มีเตียง

และตั่งเป็นต้น ในที่อยู่นั้นไปในที่อื่น เพื่อประโยชน์แก่ความคุ้มครองเสนาสนะ

นั้น. เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุนำไปในที่อื่นแล้วใช้สอยเป็นสังฆบริโภค

เสนาสนะนั้นเสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอันเก่าไป

ด้วยดี ถ้าเสนาสนะนั้น ยังไม่เสียหาย พึงเก็บงำไว้ตามเดิมอีก ในเมื่อที่อยู่

นั้นได้ปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว. เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่องใช้ส่วนตัว เสนาสนะ

นั้น เสียหายไปก็ดี เก่าไปก็ดี เป็นสินใช้. เมื่อที่อยู่นั้น ได้ปฏิสังขรณ์เสร็จ

แล้ว ต้องใช้ให้ทีเดียว.

หากว่า ภิกษุถือเอาทัพสัมภาระทั้งหลายมีกลอนเป็นต้น จากสังฆิ-

กาวาสนั้น ประกอบในสังฆิกาวาสอื่น ที่ประกอบแล้ว ก็เป็นอันประกอบด้วยดี.

แต่ภิกษุผู้ประกอบในอาวาสส่วนตัว ต้องให้ราคาหรือต้องเอากลับคืนไว้ตามเดิม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ภิกษุมีเถยยจิตถือเอาเตียงและตั่งเป็นต้น จากที่อยู่ที่ถูกละทิ้ง พระ

วินัยธรพึงปรับด้วยราคาภัณฑะ ในขณะที่ยกขึ้นทีเดียว.

เมื่อภิกษุถือเอาใช้สอยเป็นสังฆบริโภค ด้วยตั้งใจว่า จักคืนให้ในเวลา

ที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นมาอีก เสียหายไป ก็เป็นอันเสียหายไปด้วยดี เก่าไป ก็เป็นอัน

เก่าไปด้วยดี, ถ้าไม่เสียหาย พึงคืนไว้ตามเดิม, เมื่อภิกษุใช้สอยเป็นเครื่อง

ใช้ส่วนตัว เสียหายไป เป็นสินใช้. ทัพสัมภาระมีประตูหน้าต่างเป็นต้น ที่

ภิกษุถือเอาจากที่อยู่ที่ถูกละทิ้งนั้น ไปประสมใช้ในสังฆิกาวาส หรือในอาวาส

ส่วนตัว ต้องคืนให้แท้.

บทว่า ผาติกมฺมตฺถาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้เพิ่มขึ้น.

ก็เสนาสนะมีเตียงและตั้งเป็นต้นนั้นเอง ที่มีราคาเท่ากัน หรือมากกว่า เป็น

ผาติกรรม ย่อมควรในคำว่า เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม นี้ .

[ว่าด้วยการใช้เสนาสนะ]

เครื่องเช็ดเท้า มีสัณฐานคล้ายลูกล้อ ซึ่งทำหุ้มด้วยผ้ากัมพลเป็นต้น

ชื่อว่า จักกลี.

ข้อว่า อลฺเลหิ ปาเทหิ มีความว่า น้ำย่อมปรากฏในที่ซึ่งเท้า

เช่นใดเหยียบแล้ว, พื้นก็ดี เสนาสนะก็ดี ที่ทำด้วยการโบกฉาบ อันภิกษุ

ไม่พึงเหยียบด้วยเท้าเช่นนั้น. แต่ถ้าว่า ปรากฏแค่เพียงรอยน้ำจาง ๆ เท่านั้น

น้ำหาปรากฏไม่ ควรจะเหยียบได้. อนึ่ง จะเหยียบผ้าเช็ดเท้า แม้ด้วยเท้าอัน

เบียกชุ่ม ก็ควรเหมือนกัน.

ภิกษุผู้สวมรองเท้า ไม่ควรเหยียบในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง

แล้วทีเดียว.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ข้อว่า โจฬเกน ปลิเวเตุ มีความว่า ที่ฟันปูนขาวหรือที่พื้นที่

โบกฉาบ ถ้าไม่มีเสื่ออ่อนหรือเสื่อลำแพน, พึงเอาผ้าพันเท้า (เตียงและตั่ง)

เสีย. เมื่อผ้านั้นไม่มี แม้ใบไม้ก็ควรลาด. และเป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ลาด

อะไร ๆ เลย วางลงไป.

ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นในอาวาสนั้น วางบนพื้นแม้ลาดแล้ว แต่ใช้สอย

ทั้งที่มีเท้ามิได้ล้าง, จะใช้สอยอย่างนั้นบ้าง ก็ควร.

ข้อว่า น ภิกฺขเว ปริกมฺมกตา ภิตฺติ มีความว่า ฝาที่ทาขาว

หรือฝาที่ทำจิตรกรรมก็ตาม ไม่ควรพิง, และจะไม่ควรพิงแต่ฝาอย่างเดียว

เท่านั้น หามิได้, แม้ประตูก็ดี หน้าต่างก็ดี พนักอิงก็ดี เสาศิลาก็ดี เสาไม้

ก็ดีภิกษุไม่รองด้วยจีวรหรือของบางอย่างแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะพิงเหมือนกัน.

ข้อว่า โธตปาทถา มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มีเท้าล้างแล้ว ย่อม

รังเกียจที่จะนอน ในที่ซึ่งจะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้างแล้ว. ปาฐะว่า โธตปาทเก

บ้างก็มี.

คำว่า โธตปาทเก นั้น เป็นชื่อของที่จะพึงเหยียบด้วยเท้าที่ล้าง

แล้ว .

ข้อว่า ปจฺจตฺถริตฺวา มีความว่า พื้นที่โบกฉาบก็ดี เสนาสนะมี

เครื่องรองพื้นก็ดี เตียงตั่งของสงฆ์ก็ดี ต้องเอาเครื่องปูลาดของตนลาดรอง

เสียก่อน จึงค่อยนอน.

ถ้าแม้เมื่อภิกษุกำลังหลับ เครื่องปูลาดถลกเลิกไป อวัยวะแห่งสรีระ

บางส่วนถูกเตียงหรือตั่งเข้า, เป็นอาบัติเหมือนกัน. แต่เมื่อขนถูกเป็นอาบัติ

ตามจำนวนขน.* แม้เมื่อพิงด้วยมุ่งใช้สอยเป็นใหญ่ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะถูก

* ถ้าปรับอาบัติเพียงจำนวนครั้ง จักพอดีกระมัง ? เพราะในการปรับอาบัติอื่น ท่านไม่ปรับด้วย

เส้นขนอย่างนี้ .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

หรือเหยียบด้วยฝ่ามือฝาเท้า ควรอยู่. เตียงตั่งกระทบกายของภิกษุผู้กำลังขนไป

ไม่เป็นอาบัติ.

[ว่าด้วยสังภัต]

ข้อว่า น สกฺโกนติ สงฺฆภตฺต กาตุ มีความว่า ก็แลชนทั้งหลาย

ไม่สามารถทำภัต เพื่อสงฆ์ทั้งมวลได้.

วินิจฉัยในคำว่า อิจฺฉนฺติ อุท เทสภตฺต เป็นต้น พึงทราบ

ดังนี้:-

ชนทั้งหลายปรารถนาจะทำภัต เพื่อภิกุที่ตนได้ ด้วยการเจาะจง

อย่างนี้ว่า ขอท่านจงให้ภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ หรือ ๑๐ รูปเจาะจง

จากสงฆ์.

ชนอีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดจำนวนภิกษุอย่างนั้นเหมือนกัน

นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุเหล่านั้น.

อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะกำหนดสลาก นิมนต์แล้วทำภัตเพื่อภิกษุ

เหล่านั้น.

อีกพวกหนึ่ง ปรารถนาจะทำภัตเพื่อภิกษุรูป ๑ หรือ ๒ รูป ฯลฯ

หรือ ๑๐ รูป กะไว้อย่างนี้ว่า ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต ภัตมี

ประมาณเท่านี้ ได้โวหารนี้ว่า อุทเทสภัต นิมันตนภัต ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง แม้หากว่าชนเหล่านั้น ไม่สามารถจะทำสังฆภัตได้ในคราว

ทุพภิกขภัย, แต่จักสามารถทำสังฆภัตได้อีกในคราวมีภิกษาหาได้ง่าย ; เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรวมแม้ซึ่งสังฆภัตนั้น ไว้ในจำนวนด้วย ตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต ดังนี้เป็นต้น .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

บรรดาภัตเหล่านั้น ในสังฆภัตไม่มีลำดับเป็นธรรมดา, เพราะฉะนั้น

ในสังฆภัตนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า ๑๐ วัน หรือ ๑๒ วัน

ทั้งวันนี้แล้ว เฉพาะที่พวกเราฉัน, บัดนี้ท่านจงนิมนต์ภิกษุมาจากที่อื่นเถิด.

ทั้งไม่ได้เพื่อจะกล่าวอย่างนี้ว่า ในวันก่อน ๆ พวกเราไม่ได้เลย, บัดนี้ท่านจง

ให้พวกเรารับสังฆภัตนั้นบ้าง ดังนี้. เพราะว่า สังฆภัตนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุ

ผู้มาแล้ว ๆ เท่านั้น.

[ว่าด้วยอุทเทสภัต]

ส่วนในอุทเทสภัตเป็นต้น มีนัยดังนี้ :-

เมื่อพระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา ส่งคนไปนิมนต์ว่า ท่าน

จงเจาะจงสงฆ์ นิมนต์มาเท่านี้รูป ดังนี้ พระภัตตุทเทสก์ พึงแจ้งเวลาถามหา

ลำดับ, ถ้าลำดับมี พึงให้รับตั้งแต่ลำดับนั้น, ถ้าไม่มีพึงให้รับทั้งแต่เถรอาสน์

ลงมา, พระภัตตุทเทสก์อย่าพึงข้ามลำดับ แม้แห่งภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเสีย.

อันภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเหล่านั้น เมื่อจะรักษาธุดงค์ จักให้ข้ามเสียเอง.

เมื่อให้รับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ พระมหาเถระผู้มีปกติเฉื่อยชา มาภายหลัง,

อย่ากล่าวกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังให้ภิกษุ ๒๐ พรรษารับ, ลำดับ

ของท่านเลยไปเสียแล้ว . พึงเว้นลำดับไว้ ให้พระมหาเถระเหล่านั้นรับเสร็จ

แล้วจึงให้รับตามลำดับในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟังข่าวว่า ที่สำนักโน้น อุทเทสภัตเกิดขึ้นมาก จึง

พากันมาแม้จากสำนักซึ่งมีระยะคั่นกันโยชน์หนึ่ง พึงให้ภิกษุเหล่านั้นรับ

จำเดิมแต่สถานที่พวกเธอมาทันแล้ว ๆ ยืนอยู่.

เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนอาจารย์และอุปัชฌาย์แม้ผู้มาไม่ทัน

แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว พึงให้รับเถิด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

พวกเธอกล่าวว่า ท่านจงให้รับแทนภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร

สีมา, อย่าให้รับ. แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้อยู่ที่ประตูสำนักหรือที่ภายในสำนักของตน

เป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้เข้าอุปจารสีมาแล้ว. สีมาจัดว่า

ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท เพราะฉะนั้น พึงให้รับ.

แม้ให้แก่สังฆนวกะแล้ว ก็ควรให้ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังรับ

เหมือนกัน. แต่เมื่อส่วนที่ ๒ ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ ๑ ย่อมไม่ถึง

แก่ภิกษุผู้มาทีหลัง. พึงให้รับตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ ๒ ไป.

ในสำนักหนึ่ง อุทเทสภัตที่ทายกกำหนดสถานที่แจกภัตไว้แห่งหนึ่งแล้ว

บอกในที่ใดที่หนึ่งในอุปจารสีมาแม้มีประมาณคาวุตหนึ่ง ต้องให้รับในสถานที่

แจกภัตนั้นแล.

ทายกผู้หนึ่ง ส่งข่าวแก่ภิกษุรูปหนึ่งว่า เฉพาะพรุ่งนี้ ขอท่านเจาะจง

สงฆ์ส่งภิกษุไป ๑๐ รูป. ภิกษุนั้น พึงบอกเนื้อความนั้นแก่พระภัตตุทเทสก์

ถ้าวันนั้นลืมเสีย, รุ่งขึ้นต้องบอกแต่เช้า. ถ้าลืมเสียแล้วจะเข้าไปบิณฑบาต

จึงระลึกได้, สงฆ์ยังไม่ก้าวล่วงอุปจารสีมาเพียงใด, พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับ

ตามปกติในโรงฉันเพียงนั้น.

แม้ถ้าภิกษุทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงอุปจารสีมาไปแล้ว เป็นผู้เนื่องเป็นแถว

เดียวกันกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา คือเดินไปไม่ทิ้งระยะกันและกัน

๑๒ ศอก. พึงให้รับเนื่องด้วยลำดับตามปกติ แต่เมื่อความเนื่องเป็นแถวเดียวกัน

เช่นนั้นของภิกษุทั้งหลายไม่มี, ตนระลึกได้ในที่ใดภายนอกอุปจารสีมา, พึงจัด

ลำดับใหม่ให้ถือเอาในที่นั้น. เมื่อระลึกได้ที่โรงฉันภายในบ้าน พึงให้ถือเอา

ตานลำดับในโรงฉัน. ระลึกได้ในที่ใดที่หนึ่งก็พึงให้ถือเอาแท้ จะไม่ให้ถือเอา

ไม่ควร. เพราะว่าในวันที่ ๒ จะไม่ได้ภัตนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

หากว่า ทายกบางคนเห็นภิกษุทั้งหลายออกจากที่อยู่ของตนไปสู่สำนัก

อื่น จึงขอให้แจกอุทเทสภัต.

ภิกษุทั้งหลายในภายในที่ใกล้เคียงกับภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในอุปจารสีมา

เป็นผู้เนื่องเป็นแถวเดียวกัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นเองเพียงใด, พึงให้ถือเอา

ด้วยอำนาจลำดับในที่อยู่ของคนนั่นแลเพียงนั้น.

ส่วนอุทเทสภัต ที่ทายกถวายภิกษุทั้งหลายผู้ตั้งอยู่นอกอุปจาร เมื่อเขา

กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงแสดงภิกษุเพียงเท่านี้รูปจากสงฆ์ ดังนี้ พึงให้

ถือเอาตามลำดับแห่งภิกษุผู้มาทัน.

แม้ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล โดยนัยคือเนื่องเป็นแถวเดียวกัน ไม่ทิ้ง

ระยะกัน ๑๒ ศอกนอกอุปจารนั้นนั่นแล พึงทราบว่า ผู้มาทันเหมือนกัน.

ถ้าภิกษุทั้งหลายไปสู่สำนักใด, เขาบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เข้าไปใน

สำนักนั้นแล้ว; พึงถือเอาด้วยอำนาจลำดับแห่งสำนักนั้น.

แม้ถ้าทายกคนใดคนหนึ่ง พบภิกษุที่ประตูบ้าน หรือที่ถนน หรือที่

ทาง ๔ แพร่ง หรือในละแวกบ้าน จึงบอกภัตที่จะพึงแสดงจากสงฆ์ ให้ภิกษุ

ทั้งหลายผู้อยู่ภายในอุปจารในที่นั้นถือเอา.

ก็บรรดาอุปจารแห่งประตูบ้านเป็นต้นนี้ อุปจารเรือน พึงทราบด้วย

อำนาจแห่งเรือนเหล่านี้ คือ:-

เรือนหลังเดียว มีอุปจารเดียว, เรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน.

เรือนต่างหลังกัน มีอุปจารเดียวกัน, เรือนต่างหลังกัน ต่างอุปจารกัน.

ในเรือนเหล่านั้น เรือนใดของสกุลหนึ่ง เป็นที่พึงใช้สอย (แต่ออก

โดยประตูเดียวกัน ) เรือนนั้น ชื่อว่ามีอุปจารเดียวในร่วมในแห่งแดนกำหนด

ชั่วกระด้งตก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

อุทเทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งปวงผู้ยืนอยู่ แม้

ด้วยภิกขาจารวัตรในอุปจารนั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียวมีอุปจารเดียว.

ส่วนเรือนใดหลังเดียว เขากั้นฝาตรงกลาง เพื่อต้องการอยู่สบาย

สำหรับภรรยา ๒ คน ทำประตูสำหรับใช้สอยคนละทาง, อุทเทสลาภที่เกิดขึ้น

ในเรือนนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุผู้อยู่ภายในห้องฝาด้านหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้นั่ง อยู่ใน

ที่นั้นเท่านั้น นี้ชื่อว่าเรือนหลังเดียว ต่างอุปจารกัน.

ส่วนในเรือนใด เขานิมนต์ภิกษุเป็นอันมากให้นั่งเนื่องเป็นกระบวน

เดียวกัน ตั้งแต่ภายในเรือนจนเต็มหลามไปถึงเรือนเพื่อนบ้านผู้คุ้นเคย. อุท-

เทสลาภที่เกิดขึ้นในเรือนนั้น ถึงแก่ภิกษุทั่วทุกรูป.

เรือนแม้ใดของต่างสกุล เขาไม่ทำฝากันกลางใช้สอยทางประตูเดียวกัน

นั่นเอง, แม้ในเรือนนั้น ก็มีนัยนี้แล. นี้ชื่อว่าต่างเรือนมีอุปจารเดียวกัน.

ก็อุทเทสลาภใด เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนต่างสกุล, ภิกษุ

ทั้งหลายย่อมเห็นกันทางช่องฝาก็จริง, ถึงกระนั้น อุทเทสลาภนั้น ย่อมถึงแก่

ภิกษุทั้งหลายผู้นั่งในเรือนนั้น ๆ เท่านั้น. นี้ชื่อว่าต่างเรือนต่างอุปจารกัน.

อนึ่ง ภิกษุใดได้อุทเทสภัตที่ประตูบ้าน ถนน และทาง ๔ แพร่ง

สถานใดสถานหนึ่ง, เมื่อภิกษุอื่นไม่มี จึงให้ถึงแก่ตนเสียแล้ว จะได้อุทเทส-

ภัตอื่นในที่นั้นนั่นเอง แม้ในวันรุ่งขึ้น. ภิกษุนั้นเห็นภิกษุอื่นใดเป็นนวกะหรือ

แก่ก็ตาม พึงให้ภิกษุนั้นรับ. ถ้าว่า ไม่มีใคร ๆ เลย, ถึงแก่ตนแล้วฉันเถิด.

หากว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งคอยเวลาอยู่ที่โรงฉัน อุบาสกบางคนมา

กล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่เจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้บาตรเฉพาะจากสงฆ์

ท่านจงให้บาตรของสงฆ์. อุทเทสบาตรควรให้ภิกษุรับตามลำดับ แล้วให้ไปเถิด.

แม้ในคำที่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุเจาะจงจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุ

เฉพาะจากสงฆ์ ท่านจงให้ภิกษุเป็นของสงฆ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ก็ในเรื่องอุทเทสภัตนี้ จำต้องปรารถนาพระภัตตุทเทสก์ ผู้มีศีลเป็น

ที่รัก มีความละอาย มีความฉลาด. ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์นั้น พึงถามถึงลำดับ ๓

ครั้ง ถ้าไม่มีใคร ๆ ทราบลำดับ พึงให้ถือเอาที่เถรอาสน์. แต่ถ้าภิกษุบางรูป

กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบภิกษุ ๑๐ พรรษาได้ พึงถามว่า ผู้มีอายุ ๑๐ พรรษา

มีไหม ? ถ้าภิกษุได้ฟังคำของเธอจึงบอกว่า เรา ๑๐ พรรษา เรา ๑๐ พรรษา

แล้วมากันมาก. อย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่ท่าน พึงสั่งว่า พวกท่าน

จงเงียบเสียงทั้งหมด แล้ว จัดตามลำดับ.

ครั้นจัดแล้ว พึงถามอุบาสกว่า ท่านต้องการภิกษุเท่าไร ?

เมื่อเขาตอบว่า เท่านี้เจ้าข้า แล้วอย่าพึงกล่าวว่า ถึงแก่ท่าน ถึงแก่

ท่าน พึงถามถึงจำนวนพรรษา ฤดู ส่วนแห่งวันและเงาของภิกษุผู้มาใหม่กว่า

ทุกรูป.

ถ้าเมื่อกำลังถามถึงเงาอยู่ ภิกษุผู้แก่กว่ารูปอื่นมาถึง, พึงให้แก่เธอ

ถ้าเมื่อถามถึงเงาเสร็จแล้ว สั่งว่า ถึงท่านด้วย ดังนี้ ภิกษุผู้แก่กว่ามาถึง ก็หา

ได้ไม่.

จริงอยู่ เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า นั่งด้วยความชักช้าแห่งถ้อยคำก็ดี หลับ

เสียก็ดี อุทเทสภัตที่ให้ภิกษุผู้ใหม่กว่า ถือเอาแล้ว ก็เป็นอันให้ถือเอาเสียแล้ว

ด้วยดี, ข้ามเลยไปเสีย ก็เป็นอันข้ามเลยไปด้วยดี เพราะว่า ธรรมดาของที่

ควรแจกกันนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุผู้มาทันเท่านั้น, ความเป็นผู้มาทันในที่นั้น

พึงกำหนดด้วยอุปจา.

ก็แล ภายในโรงฉัน เครื่องล้อมเป็นอุปจาร. ลาภย่อมถึงแก่ภิกษุผู้

อยู่ในอุปจารนั้น ฉะนี้แล.

ทายกบางคน ใช้คนให้นำอุทเทสบาตร ๘ บาตรมาจากโรงฉัน บรร-

จุโภชนะประณีตเต็ม ๗ บาตร ใส่น้ำเสียบาตรหนึ่ง ส่งไปยังโรงฉันคนถือมา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

ไม่พูดว่ากระไร ประเคนไว้ในมือภิกษุทั้งหลายแล้วหลีกไป. ภัตใดภิกษุใดได้

แล้ว ภัตนั้น ย่อมเป็นของภิกษุนั้นนั่นแล.

ส่วนน้ำภิกษุใดได้ พึงงดลำดับแม้ที่ข้ามเลยไปแล้วของภิกษุนั้นเสีย

ให้เธอถือเอาอุทเทสภัตส่วนอื่น.

ก็แล เธอได้อุทเทสภัตส่วนนั้น จะทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม มี

ไตรจีวรเป็นบริวารก็ตาม ภัตนั้น ย่อมเป็นของเธอทั้งนั้น.

จริงอยู่ ลาภเช่นนี้เป็นบุญพิเศษของเธอ, แค่เพราะน้ำไม่ใช่อามิส

เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องได้อุทเทสภัตอื่น

แต่ถ้าชนผู้ถือมานั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ภัตทั้งปวงนี้

ท่านจะแบ่งกันฉันเองเถิด ดังนี้ แล้วจึงไป. น้ำอันภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันดื่ม.

แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านเจาะจงเฉพาะสงฆ์ให้พระมหาเถระ ๘ รูป,

ให้ภิกษุปูนกลาง, ให้ภิกษุใหม่, ให้สามเณรผู้มีปีครบ. ให้ภิกษุผู้กล่าวมัชญิม-

นิกายเป็นต้น จงให้ภิกษุผู้เป็นญาติของข้าพเจ้า.

ภิกษุผู้ภัตตุทเทสก์พึงชี้แจงว่า อุบาสก ท่านพูดอย่างนี้, แต่ลำดับของ

ท่านเหล่านั้นยังไม่ถึง ดังนี้แล้ว พึงให้เนื่องด้วยลำดับนั้นเอง.

อนึ่ง เมื่อภิกษุหนุ่มและสามเณรได้อุทเทสภัตกันแล้ว. ถ้าในเรือน

ของพวกทายก มีการมงคล, พึงสั่งว่า พวกเธอจงนิมนต์อาจารย์และอุปัชฌาย์

ของเธอมาเถิด.

ก็ในอุทเทสภัตใด ส่วนที่ ๑ ถึงแก่สามเณร ส่วนรองถึงแก่พระมหา-

เถระทั้งหลาย. ในอุทเทสภัตนั้น สามเณรย่อม. ไม่ได้เพื่อจะไปข้างหน้าด้วยทำ-

ในใจว่า เราทั้งหลายได้ส่วนที่ ๑ พึงไปตามลำดับเดินนั่นแล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจงเจาะจงจากสงฆ์มาเองเถิด ดังนี้ ภิกษุพึง

กล่าวว่า สำหรับเรา ท่านจักทราบได้โดยประการอื่นบ้าง แต่ลำดับย่อมถึง

อย่างนี้ แล้วพึงให้ถือเอาด้วยอำนาจแห่งลำดับนั่นแล.

หากว่า เขากล่าวว่า ท่านจงให้บาตรที่อุทิศจากสงฆ์ ดังนี้ เมื่อ

บาตรอันพระภัตตุทเทสก์ยังไม่ทันสั่งให้ถือ ก็ฉวยเอาบาตรของภิกษุรูปใดรูป

หนึ่งบรรจุเต็มนำมา. แม้อุทเทสภัตที่เขานำมาแล้ว พึงให้ถือเอาตามลำดับ

เหมือนกัน.

ชนผู้หนึ่ง ซึ่งเขาใช้ไปว่า ท่านจงนำบาตรเจาะจงสงฆ์มา ดังนี้

กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงมอบบาตรใบหนึ่ง เราจักนำนิมันตนภัตมาถวาย

ถ้าชนนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า ผู้นี้มาจากเรือนอุทเทสภัต จึงถามว่า ท่าน

มาจากเรือนโน้น มิใช่หรือ ? จึงตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้เจริญ ไม่ใช่นิมันตน-

ภัต เป็นอุทเทสภัต, พึงให้ถือเอาตามลำดับ.

ฝ่ายชนใด ซึ่งสั่งเขาว่า จงนำบาตรลูกหนึ่งมา จึงย้อนถามว่า จะนำ

บาตรอะไรมา ได้รับตอบว่า จงนำมาตามใจชอบของท่าน ดังนี้ แล้วมา;

ชนนี้ ชื่อ วิสสฏัฐทูต (คือทูตที่เขายอมตามใจ) เขาต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์

หรือบาตรตามสำดับ หรือบาตรส่วนตัวบุคคล อันใด พึงให้บาตรนั้นแก่เขา.

ผู้หนึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาด ซึ่งเขาใช้ไปว่า จงนำบาตรเฉพาะสงฆ์มา

ดังนี้ ไม่เข้าใจที่จะพูด จึงยืนนิ่งอยู่ ภิกษุไม่ควรถามเขาว่า ท่านมาหาใคร

หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป เพราะว่า เขาถูกถามอย่างนั้น แล้ว จะ

พึงตอบเลียนคำถามว่า มาหาท่าน หรือว่า จักนำบาตรของท่านไป. เพราะ

เหตุที่กล่าวนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชัง ไม่พึงแลดูภิกษุนั้นก็ได้. ที่เหมาะ

ควรถามว่า ท่านจะไปไหน ? หรือว่า ท่านเที่ยวทำอะไร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

เมื่อเขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตรเฉพาะสงฆ์ ดังนี้ พึงให้ภิกษุ

ถือเอาแล้ว ให้บาตรไป.

ที่จัดว่า ลำดับโกงมีอยู่ชนิดหนึ่ง. จริงอยู่ ในพระราชนิเวศน์หรือ

ในเรือนของราชมหาอำมาตย์ ถวายอุทเทสภัตอย่างประณีตยิ่ง ๘ ที่เป็นนิตย์

ภิกษุทั้งหลายจัดอุทเทสภัตเหล่านั้น ให้เป็นภัตที่จะพึงถึงแก่ภิกษุรูปละครั้ง ฉัน

ตามลำดับแผนกหนึ่ง.

ภิกษุบางพวกคอยกำหนดลำดับของตนว่า พรุ่งนี้แล จักถึงแก่พวกเรา

ดังนี้ แล้วไป.

ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้น ยังมิทันจะมา ภิกษุอาคันตุกะเหล่าอื่นมานั่งที่

โรงฉัน. ในขณะนั้นเอง ราชบุรุษพากันกล่าวว่า ท่านจงให้บาตรสำหรับ

ปณีตภัต พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ทราบลำดับ จะให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. ใน

ขณะนั้นเอง ภิกษุผู้ทราบลำดับก็พากันมา จึงถามว่า ท่านให้ถือเอาอะไร.

ภิกษุอาคันตุกะตอบว่า ปณีตภัตในพระราชนิเวศน์ ตั้งแต่พรรษา

เท่าไรไป ? ตั้งแต่พรรษาเท่านี้ไป.

พวกภิกษุผู้ทราบลำดับ พึงห้ามว่า อย่าพึงให้ถือ แล้วให้ถือเอาตาม

ลำดับ.

ภิกษุทั้งหลายผู้ทราบลำดับมาแล้ว ในเมื่อภิกษุอาคันตุกะให้ภิกษุ

ทั้งหลายถือเอาแล้ว ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่จะให้บาตรก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ให้

ไปแล้วก็ดี, มาแล้วใน เวลาที่ราชบุรุษยังบาตรให้เต็มนำมาจากพระราชนิเวศน์

ก็ดี, มาแล้วในเวลาที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถือบิณฑบาต ซึ่งพระราชาทรง

ใช้ราชบุรุษไปว่า วันนี้ ภิกษุทั้งหลายจงมาเองเถิด ดังนี้แล้ว ทรงประเคน

บิณฑบาตในมือของภิกษุทั้งหลายนั่นแล มาแล้วก็ดี พึงห้ามว่า อย่าฉัน

แล้วพึงให้ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ เถิด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

หากว่า พระราชาทรงนิมนต์ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น ฉันแล้ว ยัง

บาตรของพวกเธอให้เต็มแล้ว ถวายด้วย. ภัตที่เธอนำมา พึงให้ถือเอาตามลำดับ

แต่ถ้ามีภัตเพียงเล็กน้อยที่เขาใส่ในบาตร ด้วยคิดว่า ภิกษุทั้งหลายอย่าไปมือ

เปล่า. ภัต ไม่พึงให้ถือเอา.

พระมาหาสุมัตเถระกล่าวว่า ถ้าฉันเสร็จแล้ว มีบาตรเปล่ากลับมา ภัต

ที่พวกเธอฉันแล้ว ย่อมเป็นสินใช้แก่พวกเธอ.

ฝ่ายพระมหาปทุมัตเถระกล่าวว่า ในการฉันปณีตภัตนี้ ไม่มีกิจเนื่อง

ด้วยสินใช้. ภิกษุผู้ไม่ทราบลำดับ พึงนั่งรอจนกว่าภิกษุผู้ทราบจะมา, แม้เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ภัตที่ฉันแล้ว เป็นอันฉัน แล้วด้วยดี, แต่ไม่พึงให้เธอถือเอาภัตอื่น

ในที่ ๆ ถึงเข้าในบัดนี้. บิณฑบาตหนึ่งมีราคาหนึ่งร้อย มีไตรจีวรเป็นบริวาร

ถึงแก่ภิกษุไม่มีพรรษา. และภิกษุในวิหารจดไว้ว่า บิณฑบาตเห็นปานนี้ ถึง

แก่ภิกษุไม่มีพรรษา ถ้าว่า ต่อล่วงไป ๖๐ ปี บิณฑบาตเห็นปานนั้นอื่น จึง

เกิดขึ้นอีกไซร้.

ถามว่า บิณฑบาตนี้ จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้ไม่มีพรรษา

หรือว่า จะพึงให้ถือเอาตามลำดับภิกษุผู้มีพรรษา ๖๐ ?

ตอบว่า ในอรรถกถาทั้งหลายท่านกล่าวว่า พึงให้ถือเอาตามลำดับ

ภิกษุผู้มีพรรษา ๖๐ เพราะว่า ภิกษุนี้รับลำดับแล้วก็แก่ไปเอง.

ภิกษุรูปหนึ่งฉันอุทเทสภัตแล้ว (ลาสิกขา) เป็นสามเณร ย่อมได้

เพื่อถือเอาภัตนั้น อันถึงตามลำดับแห่งสามเณรอีก. ได้ยินว่า ภิกษุนี้ชื่อว่า

ผู้ตกเสียในระหว่าง.

ฝ่ายสารเณรรูปใด มีปีบริบูรณ์ จักได้อุทเทสภัตในวันพรุ่ง แต่เธอ

อุปสมบทเสียในวันนี้ ลำดับของสามเณรรูปนั้น เป็นอันเลยไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

อุทเทสภัตถึงแก่ภิกษุรูปหนึ่ง, แต่บาตรของเธอไม่เปล่า, เธอจึงให้

มอบบาตรของภิกษุอื่นซึ่งนั่งใกล้กันไปแทน.

ถ้าว่า ชนเหล่านั้นนำบาตรนั้นไปเสียด้วยความเป็นขโมย, เป็นสินใช้

แก่เธอ. แต่ถ้าว่า ภิกษุนั้นยอมให้ไปเองว่า เราให้บาตรของเราแทนท่าน

นี้ไม่เป็นสินใช้.

แม้ถ้าว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีความต้องการด้วยภัตนั้น จึงบอกกะ

ภิกษุอื่นว่า ภัตของเราพอแล้ว, เราให้ภัตนั้นแก่ท่าน ท่านจงส่งบาตรไปให้

นำมาเถิด สิ่งใดเขานำมาจากที่นั้น, สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของภิกษุผู้เจ้าของ

บาตร.

หากว่า คนที่นำบาตรไปเลยลักไปเสีย, ก็เป็นอันลักไปด้วยดี, ไม่เป็น

สินใช้ เพราะเธอได้ให้ภัตแก่เจ้าของบาตร.

ในสำนักมีภิกษุ ๑๐ รูป ใน ๑๐ รูปนั้น เป็นผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เสีย

๙ รูป รูป ๑ รับ* เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านจะบอกบาตรสำหรับอุทเทสภัต ๑๐

บาตร ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ ไม่สามารถจะให้ถือเอา ภิกษุนอกนี้รับ

ด้วยคิดว่า อุทเทสภัตทั้งหมดถึงแก่เรา ดังนี้ ลำดับไม่มี.

หากว่า เธอรับเอาให้ถึงที่ละส่วน ๆ ลำดับย่อมคงอยู่. ภิกษุนั้น

ครั้นรับแล้วอย่างนั้น ให้เขานำมาทั้ง ๑๐ บาตรแล้ว ถวาย ๙ บาตรแก่ภิกษุ

ผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ว่า ขอท่านผู้เจริญ จงทำความสงค์เคราะห์แก่ข้าพเจ้า

ภัตเช่นนี้ จัดเป็นภัตที่ภิกษุถวาย ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์สมควรรับ.

หากว่า อุบาสกนั้น นิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญพึงไปเรือน และภิกษุนั้น

ชวนภิกษุเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านผู้เจริญ จงเป็นเพื่อนข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ไป

* สาทิยนโก-(ส+อาทิยนโก).

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ยังเรือนของอุบาสกนั้น เธอได้สิ่งใดที่ในเรือนนั้น สิ่งนั้นทั้งหมด ย่อมเป็น

ของเธอเท่านั้น ภิกษุนอกนี้ย่อมได้ของที่เธอถวาย.

หากว่า อุบาสกนั้นนิมนต์ให้นั่งในเรือนแล้วและถวายน้ำทักษิโณทก

แล้วถวายยาคูและของขบเคี้ยวเป็นต้นแก่ภิกษุเหล่านั้น ยาคูเป็นต้นนั้น ย่อมควร

แก่ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์นอกนี้ เฉพาะด้วยถ้อยคำของภิกษุนั้นที่ว่า ท่าน

ผู้เจริญ ชนทั้งหลายถวายสิ่งใด ท่านจงถือเอาสิ่งนั้นเถิด ดังนี้.

พวกทายกบรรจุภัตลงในบาตรจนเต็มแล้ว ถวายเพื่อต้องการให้ถือ

เอาไป ภัตทั้งหมดย่อมเป็นของภิกษุนั่นเท่านั้น ภัตที่ภิกษุนั้นให้ จึงควรแก่

พวกภิกษุนอกนี้.

แต่ถ้าว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์เหล่านั้น อันภิกษุนั้นเผดียงไว้

แต่ในสำนักว่า ท่านผู้เจริญ จงรับภิกษุของข้าพเจ้า และสมควรทำตามถ้อย

คำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไปไซร้ พวกเธอฉันภัตใดในที่นั้น และนำภัต

ใดในที่นั้นไป ภัตนั้นทั้งหมดเป็นของพวกเธอเท่านั้น.

แม้ถ้าว่า พวกเธออ้อนภิกษุนั้นมิได้เผดียงว่า ท่านจงรับภิกษาของ

ข้าพเจ้า แต่ได้รับเผดียงว่า สมควรทำตามคำของพวกชาวบ้าน ดังนี้ จึงไป.

หากว่า พวกชาวบ้านฟังภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำอนุโมทนาด้วยเสียง

อันไพเราะ และเลื่อมใสในอาการอันสงบระงับของพระเถระทั้งหลาย จงถวาย

สมณบริขารเป็นอันมาก ลาภนี้ เกิดขึ้นเพราะความเลื่อมใสในเหล่าพระเถระ

จัดเป็นส่วนพิเศษ เพราะฉะนั้น ย่อมถึงแก่ภิกษุทั่วกัน.

ทายกผู้หนึ่ง นำบาตรที่ให้เฉพาะสงฆ์แล้ว ให้ถือเอาตามลำดับไป

บรรจุบาตรเต็มด้วยขาทนียะและโภนียะอันประณีตนำมาถวายว่า ท่านเจ้าข้า

สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภคภัตนี้ ภิกษุทั้งปวงพึงแบ่งกันฉัน แต่ต้องงดลำดับ แม้ที่

ล่วงไปแล้วของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสีย ให้อุทเทสภัตอื่น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

หากว่า ทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรเป็นของเฉพาะสงฆ์ทั้งปวง

ให้ก่อนทีเดียว พึงมอบให้บาตรเป็นของภิกษุลัชชีรูปหนึ่ง และเมื่อเขานำมา

แล้วกล่าวว่า สงฆ์ทั้งปวงจงบริโภค ดังนี้พึงแบ่งกันฉัน .

อนึ่ง ทายกผู้นำภัตมาด้วยถาดหนึ่งถวายว่า ข้าพเจ้าขอถวายภัตเฉพาะ

สงฆ์ อย่าให้รูปละคำ พึงให้กะให้พอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุรูปหนึ่งตาม

ลำดับ.

หากว่า เขานำภัตมาแล้ว ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไรจึงเป็นผู้นิ่งอยู่,

อย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร ? ท่านประสงค์จะถวายใคร ? เพราะว่า

เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า นำมาเพื่อท่าน ประสงค์จะถวายท่าน. เพราะ

เช่นนั้น ภิกษุเหล่าอื่นจะพากันชังภิกษุนั้น จะไม่พึงเอาใจใส่เธอ แม้ซึ่งเป็น

ผู้ควรเอี้ยวคอแลดู.

แต่ถ้าภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร ? ดังนี้ เขา

จะตอบว่า ข้าพเจ้าถือเอาอุทเทสภัตมา ภิกษุลัชชีรูปหนึ่งพึงให้ถือเอาตามลำดับ.

ถ้าภัตที่เขานำมามีมาก และพอแก่ภิกษุทั้งปวง ไม่ต้องให้ถือเอาตาม

ลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

เมื่อทายกกล่าวว่า ขอท่านจงมอบบาตรที่เฉพาะสงฆ์ให้ อย่าถามว่า

ท่านจะนำอะไรมา ? พึงให้ถือเอาตามลำดับปกตินั่นแล.

ส่วนข้าวปายาสหรือบิณฑบาตมีรสอันใด สงฆ์ได้อยู่เป็นนิตย์, สำหรับ

โภชนะประณีตเช่นนั้น พึงจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง. ยาคูพร้อมทั้งของบริวารก็ดี

ผลไม้ที่มีราคามากก็ดี ของขบเคี้ยวที่ประณีตก็ดี ควรจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง

เหมือนกัน. แต่ภัตยาคูผลไม้และของขบเคี้ยวตามปกติ ควรจัดลำดับเป็นอัน

เดียวกันเสีย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำเนยใสมา สำหรับเนยใสทั้งปวง ควร

เป็นลำดับเดียวกัน. น้ำมันทั้งปวงก็เหมือนกัน

อนึ่ง เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักนำน้ำผึ้งมา สำหรับน้ำผึ้งควรเป็น

ลำดับอันเดียวกัน. น้ำอ้อยและเภสัชมีชะเอมเป็นต้นก็เหมือนกัน.

ถามว่า ถ้าพวกทายกถวายของหอมและระเบียบเฉพาะสงฆ์, จะควร

แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์หรือไม่ควร ?

พระอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ควร เพราะท่านห้ามแต่อามิสเท่านั้น

แต่ไม่ควรถือเอาเพราะเขาถวายเฉพาะสงฆ์.

อุทเทสภัตตกถา จบ

[นิมันตนภัต]

นิมันตนภัต ถ้าเป็นของส่วนบุคคล, ผู้รับเองนั้นแลเป็นใหญ่ ส่วน

ที่เป็นของสงฆ์ พึงให้ถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

แต่ในนิมันตนภัตนี้ ถ้าเป็นทูตผู้ฉลาด เขาไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ขอท่านทั้งหลายจงรับภัตสำหรับภิกษุสงฆ์ในพระราชนิเวศน์ กล่าวว่า ขอท่าน

ทั้งหลายจงรับภิกษา ดังนี้ไซร้ ภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติก-

ธุดงค์.

ถ้าทูตไม่ฉลาดกล่าวว่า ขอท่านทั้งหลายจงรับภัต ดังนี้. พระภัตตุท-

เทสก์เป็นผู้ฉลาด ไม่ออกชื่อว่า ภัต กล่าวแต่ว่า ท่านจงไป ท่านจงไป

ดังนี้ แม้อย่างนี้ ภัตนั้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

แต่เมื่อพระภัตตุทเทสก์กล่าวว่า ภัตถึงแก่พวกท่านตามลำดับ ดังนี้

ไม่ควรแก่ภิกษุถือปิณฑปาติกธุดงค์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ถ้าคนทั้งหลาย ผู้มาเพื่อจะนิมนต์ เข้าไปยังโรงฉัน แล้วกล่าวว่า ท่าน

จงให้ภิกษุ ๘ รูป หรือว่า ท่านจงให้บาตร ๘ บาตร แม้อย่างนี้ ก็ควรแก่

ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า ท่านด้วย นิมนต์ไป.

แต่เขากล่าวว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป ท่านทั้งหลายจงรับภัต หรือ

ท่านจงให้บาตร ๘ บาตร ท่านทั้งหลายจงรับภัตดังนี้ พระภัตตุทเทสก์พึงให้

ภิกษุทั้งหลายถือเอาตามลำดับ. และเมื่อจะให้ถือเอา ตัดบทเสียไม่ออกชื่อว่า

ภัต พูดแต่ว่า ท่านด้วย ท่านด้วยนิมนต์ไป ดังนี้ ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑ-

ปาติกธุดงค์.

แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านจงให้บาตรของพวกท่าน นิมนต์

ท่านมา ดังนี้ พึงรับว่า ดีละ อุบาสก แล้วไปเถิด.

เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายเจาะจงเฉพาะจากสงฆ์มาเถิด ดังนี้ พึง

ให้ถือเอาตามลำดับ.

อนึ่ง เมื่อเขามาจากเรือนนิมันตนภัต เพื่อต้องการบาตร พึงให้บาตร

ตามลำดับ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั้นแล.

ทายผู้หนึ่งไม่กล่าวว่า จงให้บาตรตามลำดับจากสงฆ์ กล่าวแค่เพียงว่า

ท่านจงให้บาตรใบหนึ่ง ดังนี้ เมื่อยังไม่ทันให้ถือเอาบาตร ก็ฉวยเอาบาตร

ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปบรรจุเต็มนำมา ภัตนั้น เป็นของภิกษุผู้เจ้าของบาตร

เท่านั้น อย่าให้ถือเอาตามลำดับเหมือนในอุทเทสภัต.

แม้ในนิมันตนภัตนี้ ทายกใดมาแล้วยืนนิ่งอยู่ ทายกนั้นอันภิกษุไม่

พึงถามว่า ท่านมาหาใคร หรือว่า ท่านจักนำบาตรของใครไป ? เพราะว่า

เขาจะพึงตอบเลียนคำถามว่า ข้าพเจ้ามาหาท่าน จักนำบาตรของท่านไป เพราะ

เช่นนั้น ภิกษุนั้นจะพึงถูกภิกษุทั้งหลายเกลียดชัง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

แต่ครั้นเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านเที่ยวทำอะไร ? เมื่อ

เขาตอบว่า มาเพื่อต้องการบาตร ดังนี้ พึงถือเอาบาตรตามลำดับเรียงตัวกัน

เหมือนกัน.

ถ้าเขานำมาแล้วกล่าวว่า ขอพระสงฆ์ทั้งปวงจงฉัน พึงแบ่งกันฉัน

ต้องงดลำดับแม้ที่ล่วงไปแล้ว ของภิกษุผู้เจ้าของบาตรเสียให้เธอถือเอา

ภัตเนื่องในลำดับอื่นใหม่.

ทายกผู้หนึ่ง นำภัตมาด้วยถาดแล้ว กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสงฆ์ พึง

แบ่งกัน โดยสังเขปเป็นคำ ๆ ตั้งต้นแต่ลำดับแห่งอาโลปภัตไป.

อนึ่ง ถ้าเขานิ่งอยู่ ภิกษุอย่าถามเขาว่า ท่านนำมาเพื่อใคร ท่าน

ประสงค์จะถวายใคร ? และถ้าเมื่อภิกษุถามว่า ท่านจะไปไหน ? ท่านเที่ยว

ทำอะไร ? เขาจึงตอบว่า ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อสงฆ์ ข้าพเจ้านำภัตมาเพื่อ

พระเถระ ดังนี้ พึงรับแล้วแบ่งให้ตามลำดับแห่งอาโลปภัต.

ก็ถ้าว่า ภัตที่เขานำมาอย่างนั้น มีมาก พอแก่สงฆ์ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่า

อภิหฏภิกฺขา (ภาษาที่เขานำมาพอ) ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์

ไม่มีกิจที่จะต้องถามถึงลำดับ. พึงถวายเต็มบาตรตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา.

อุบาสกส่งข่าวไปถึงพระสังฆเถระก็ดี ภิกษุผู้มีชื่อเสียงเนื่องด้วยคันถ-

ธุระและธุดงค์ก็ดี พระภัตตุทเทสก์ก็ดี ว่า ท่านจงพาภิกษุมา ๘ รูป เพื่อ

ประโยชน์แก่การรับภัตของข้าพเจ้า.

แม้หากว่า ข่าวนั้นจะเป็นข่าวที่ญาติและอุปัฏฐากส่งไปก็ดี ภิกษุ ๓ รูป

(มีพระสังฆเถระเป็นต้น ) นี้ ย่อมไม่ได้เพื่อจะสอบถามเขา. ลำดับเป็นอันยก

ขึ้นทีเดียว. พึงให้นิมนต์ภิกษุ ๘ รูปจากสงฆ์ มีตนเป็นที่ ๙ ไปเถิด เพราะ

เหตุไร ? เพราะว่าลาภอาศัยภิกษุเหล่านั้น จึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ส่วนภิกษุเจ้าของถิ่น ซึ่งไม่มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์เป็นต้น

จะถามก็ได้. เพราะฉะนั้น เธอพึงถามเขาว่า ข้าพเจ้าจะนิมนต์จากสงฆ์ หรือ

ว่าจะมากับภิกษุทั้งหลายที่ข้าพเจ้ารู้จัก ? ดังนี้แล้ว จึงจัดเข้าลำดับปฏิบัติตามที่

ทายกเขาสั่ง.

ก็เมื่อเขาสั่งว่า ท่านจงพานิสิตของท่าน หรือภิกษุที่ท่านรู้จักมาเถิด

ดังนี้ จะไปกับภิกษุที่ตนปรารถนาจะนิมนต์ก็ได้.

ถ้าเขาส่งข่าวมาว่า ท่านจงส่งภิกษุมา ๘ รูป พึงส่งไปจากสงฆ์เท่านั้น.

ถ้าตนเป็นผู้อาจจะได้ภิกษาในบ้านอื่น พึงไปบ้านอื่น หากว่า เป็นผู้ไม่อาจจะ

ได้ ก็พึงเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายที่รับนิมนต์ นั่งอยู่ในโรงฉัน ถ้าคนมาที่โรงฉันนั้น

บอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บาตร ภิกษุผู้มิได้รับนิมนต์อย่าให้ พึงบอกว่า

นี่ ภิกษุที่ท่านนิมนต์ไว้. แต่เมื่อเขาตอบว่า ท่านจงให้ด้วย ดังนี้ ควรให้.

ในคราวมีมหรสพเป็นต้น ชนทั้งหลายไปสู่บริเวณและเรือนบำเพ็ญ-

เพียร นิมนต์ภิกษุผู้ทรงไตรปิฏกและพระธรรมกถึก กับภิกษุร้อยรูปเองทีเดียว.

ในกาลนั้น ภิกษุผู้ทรงไตรปิฎกและธรรมกถึกเหล่านั้น จะพาภิกษุ

ทั้งหลายที่ทราบไป ก็ควร. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าชนทั้งหลาย มี

ความต้องการด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ จึงไปยังบริเวณและเรือนบำเพ็ญเพียรหา

มิได้. แต่เขานิมนต์ภิกษุทั้งหลายตามสติตามกำลังไป จากที่ชุมชนแห่งภิกษุ

ทั้งหลาย.

ก็ถ้าว่า พระสังฆเถระหรือภิกษุผู้มีชื่อเสียงทางคันถธุระและธุดงค์

หรือพระภัตตุทเทสก์ก็ดี จำพรรษาในที่อื่น หรือไปในที่บางแห่ง กลับมาสู่

สถานของตนอีก. ชนทั้งหลายจึงทำสักการะสำหรับอาคันตุกะ พึงพาภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ทั้งหลายที่รู้จักไปวาระ ๑. จำเดิมแต่กาลที่ติดเนื่องกันไป เมื่อเริ่มวาระที่ ๒

พึงนิมนต์ไปจากสงฆ์เท่านั้น .

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นอาคันตุกะผู้มาใหม่ ๆ ไปด้วยทั้งใจว่า จัก

เยี่ยมญาติหรืออุปัฏฐาก นั้น ญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของภิกษุอาคันตุกะเหล่า

นั้นกระทำสักการะ.

ก็แลในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่าใดทราบ พึงนิมนต์ภิกษุ เหล่านั้นไป,

ฝ่ายภิกษุใด เป็นผู้มีลาภเหลือเฟือ ฐานะของเธอและฐานะของอาคันตุกะเป็น

เช่นเดียวกัน, ชนทั้งหลายในที่ทั้งปวงตระเตรียมสังฆภัตเสร็จแล้วอยู่. ภิกษุนั้น

พึงนิมนต์ภิกษุไปจากสงฆ์เท่านั้น, นี้เป็นความแปลกกันในนิมันตนภัต.

ปัญหาทั้งปวงที่ยังเหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

ส่วนในกุรุนที่แก้ว่า เมื่อเขากล่าวว่า ท่านจงให้พระมหาเถระ ๘ รูป.

พึงให้พระมหาเถระเท่านั้น ๘ รูป. ในภิกษุทั้งหลายมีภิกษุปูนกลางเป็นต้น ก็

นัยนี้แล.

แต่ถ้าเขากล่าวมิให้แปลกกันว่า ท่านจงให้ภิกษุ ๘ รูป ดังนี้พึงนิมนต์

ให้ไปจากสงฆ์ ดังนี้แล.

นิมันตนภัตตกถา จบ

[สลากภัตตกกา]

อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในสลากภัต, เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้จดชื่อในสลาก หรือในแผ่นป้ายแล้ว รวมกันเข้าแจกกัน* ดังนี้

พระภัตตุเทสก์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงเขียนอักษรลงในสลากไม้แก่น หรือ

ในแผ่นป้ายที่ทำด้วยตอกไม้ไผ่และใบตาลเป็นต้น อย่างนี้ว่า สลากภัตของทายก

* จุลฺลวคฺค. ทุติย. ๗๑๔๗

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

ชื่อโน้น แล้วรวมสลากทั้งหมดใส่ในกระเช้า หรือในขนดจีวร แล้วคนกลับ

ไปกลับมาจนทั่งถึงทั้งข้างล่างข้างบนทีเดียว ถ้าลำดับมี พึงแจกสลากจำเดิมแต่

ลำดับไป, ถ้าไม่มี พึงแจกตั้งแต่ที่เถรอาสน์ลงมา.

ภิกษุผู้มาภายหลังก็ดี ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในที่ไกล ด้วยอำนาจเนื่องถึงกันก็

ดี พึงให้ตามนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสภัตนั่นแล.

หากว่า โดยรอบสำนักมีโคจรคามมาก, ส่วนภิกษุมีไม่มาก สลาก

ทั้งหลายย่อมถึงแม้ด้วยอำนาจแห่งบ้าน พึงแจกสลากด้วยอำนาจแห่งบ้านทีเดียว

ว่าสลากภัตทั้งหลาย ในบ้านโน้น ถึงแก่พวกท่าน, สลากภัตทั้งหลาย ในบ้าน

โน้น ถึงแก่พวกท่าน.

เมื่อพระภัตตุทเทสก์ให้ถือเอาอย่างนั้น แม้หากว่า ในบ้านตำบลหนึ่งๆ

มีสลากภัต ๖๐ ที่ มีประการต่าง ๆ กัน สลากภัตทั้งหมดเป็นอันเธอให้ถือเอา

เสร็จสิ้นไปแล้ว.

ในบ้านใกล้เคียงกับบ้านที่ถึงแก่ภิกษุ ยังมีสลากภัตอื่นอีก ๒- ๓ ที่, แม้

สลากภัตเหล่านั้น ก็ควรให้แก่เธอเสียด้วย. เพราะว่าพระภัตตุทเทสก์ไม่สามารถ

จะส่งภิกษุอื่นไป เพราะเหตุแห่งสลากภัตเหล่านั้นได้ ฉะนี้แล.

ถ้าว่า ในบางบ้านมีสลากภัตมาก พึงกำหนดให้แก่ภิกษุ ๗ รูปบ้าง,

๘ รูปบ้าง แต่เมื่อจะให้ต้องมัดสลากรวมกันให้แก่ภิกษุ ๔-๕ รูปผู้จะไป.

ถ้าว่า ถัดบ้านนั้นไป มีบ้านอื่น, และในบ้านั้นมีสลากภัตเพียงที

เดียว. และเขาถวายสลากภัตนั้นแต่เช้าเทียว. สลากภัตแม้นั้น พึงให้ด้วยบังคับ

แก่ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุเหล่านั้น แล้วสั่งเธอว่า ท่านจงรับสลากภัตนั้นเสียแต่

เช้า ภายหลังจึงค่อยรับภัตนอกนี้ที่บ้านใกล้.

ในกุรุนทีกล่าวนัยดังนี้ว่า ถ้าว่า เมื่อสลากภัตทั้งหลายในบ้านใกล้ ยัง

มิได้แจกจ่ายกันเลย ภิกษุนั้น ไปเสีย ด้วยสำคัญว่าได้แจกกันเสร็จแล้ว, ครั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ให้ถือ เอาสลากภัตในบ้านไกลแล้ว ต้องกลับมาวิหารอีก รับแจกสลากภัตนอก

นั้น แล้วจึงค่อยไปบ้านใกล้ เพราะว่าลาภสงฆ์จะแจกกันภายนอกสีมา ย่อม

ไม่ได้.

แต่ถ้าภิกษุมีมาก. สลากด้วยอำนาจแห่งบ้านไม่พอกัน ; พึงให้ถือ

เอาด้วยอำนาจถนนหนึ่ง หรือด้วยอำนาจฟากหนึ่งในถนนหรือด้วยอำนาจสกุล

หนึ่งก็ได้

ก็แล ในถนนเป็นต้น ในที่ใดมีภัตรมาก, ในที่นั้น พึงให้ภิกษุมาก

รูปถือเอง ตามนัยที่กล่าวในบ้านนั่นแล. เมื่อสลากไม่มี พึงเจาะจงให้ถือเอาก็

ได้. อันภิกษุผู้ให้สลากต้องรู้จักวัตร.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ให้สลากนั้น พึงลุกขึ้นแต่เช้า ถือบาตรและจีวรไปสู่

หอฉัน กวาดสถานที่ซึ่งยังมิได้กวาด จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้กะเวลาว่า บัดนี้

วัตรจักเป็นอันภิกษุทั้งหลายทำเสร็จแล้ว จึงตีระฆัง เมื่อภิกษุทั้งหลายประชุม

กันแล้ว พึงให้ถือสลากภัตที่บ้านเวรเสียก่อน คือพึงกล่าวว่า สลากที่บ้านเวร

ชื่อโน้น ถึงแก่ท่าน ท่านจงไปที่บ้านนั้น.

ถ้าว่า บ้านอยู่ในระยะทางเกินกว่า ๑ คาวุต, ภิกษุผู้ไปในวันนั้นย่อม

เหน็ดเหนื่อย, พึงให้เอาเสียแค่ในวันนี้ทีเดียวว่า พรุ่งนี้สลากที่บ้านเวรถึงแก่

ท่าน.

ภิกษุใด ถูกส่งไปบ้านเวร ไม่ยอมไป จะเลือกเอาสลากอื่นอย่าพึงให้

แก่ภิกษุนั้น. เพราะว่า จะเสื่อมบุญของพวกชนผู้มีศรัทธาและจะขาดลาภสงฆ์ ;

เพราะฉะนั้น แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ ก็อย่าพึงให้สลากอื่นแก่เธอ. พึงบอกเธอว่า

ท่านจงไปยังสถานที่ถึงแก่ตนแล้วฉัน เถิด. แต่เมื่อเธอไม่ยอมไปครบ ๓ วัน พึง

ให้เธอถือเอาสลากที่บ้านในแต่บ้านเวรเขามา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

หากว่า เธอยอมรับสลากนั้นไซร้, จำเดิมแค่นั้น ไป ไม่สมควรให้

สลากอื่นแก่เธอ.

ส่วนทัณฑกรรมต้องลงให้หนัก คือ พึงลงทัณฑกรรมให้ตักน้ำ อย่า

ให้น้อยกว่า ๖๐ หรือ ๕๐ หม้อ หรือให้ขนฟืนอย่าให้น้อยกว่า ๖๐ หรือ ๕๐

มัด หรือให้ขนทรายอย่าให้หย่อนกว่า ๖๐ หรือ ๕๐ บาตร .

ครั้นให้รับสลากที่บ้านเวรแล้ว พึงให้รับวาระเฝ้าสำนัก. พึงบอกเธอ

ว่า วาระเฝ้าสำนักถึงแก่ท่าน. พึงให้สลากยาคู ๒-๓ ที่ และสลากภัต ๓ หรือ

๔ ที่ แก่ภิกษุผู้รับวาระเผาสำนัก, แต่อย่าให้เป็นประจำ. เพราะว่า ทายกผู้

ถวายยาคูและภัต จะพึงถึงความเสียใจว่า พวกภิกษุผู้เผาสำนักเท่านั้น ฉันยาคู

และภัตของพวกเรา เพราะฉะนั้น จึงควรให้สลากในสกุลอื่น ๆ.

หากว่า พวกภิกษุผู้ชอบพอกันของภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนัก นำมาถวาย

เอง. อย่างนั้นนั่น เป็นการดี ; ถ้าว่า พวกเธอไม่นำมาถวาย, พึงให้รับวาระ

แทน. ให้นำยาคูและภัตมาให้ แก่ภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักเหล่านั้น. และสลาก

เหล่านั้นของพวกภิกษุผู้รับวาระเฝ้าสำนักนั้นย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้ง

หลายย่อมเป็นส่วนเพิ่มแท้ ทั้งเธอทั้งหลายย่อมได้เพื่อถือเอาสลากภัตประณีต

แม้อื่น ในที่ซึ่งถึงตามลำดับพรรษาด้วย, พึงแจกสลากจัดลำดับไว้แผนกหนึ่ง

สำหรับเอกวาริยภัต ที่มีเครื่องปิ้งจี่เหลือเฟือ.

ถ้าว่า สลากอันภิกษุใดได้แล้ว, แต่ภิกษุนั้นไม่ได้ภัตนั้นในวันนั้น

พึงให้เธอรับในรุ่งขึ้น.

ภิกษุใดได้แต่ภัต ไม่ได้เครื่องปิ้งจี่, แม้อย่างนี้ ก็พึงให้รับใหม่.

แม้ในสลากภัตมีนมสด ก็นัยนี้แล.

แต่ถ้าว่า ได้แต่นมสด ไม่ได้ภัต, อย่าพึงให้รับซ้ำอีก จำเดิมแต่ได้

นมสดไปแล้ว. เอกวาริยภัต ๒-๓ ที่ ถึงแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น. ในทุพภิกข-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

สมัย พึงเฉลี่ยให้ถือเป็นแผนก ๆ ในเวลาที่สังฆนวกะได้แล้ว. สลากภัตตาม

ปกติ แม้ภิกษุที่ยังไม่ได้ ก็พึงให้รับในวันรุ่งขึ้น.

ถ้าเป็นสำนักเล็ก, ภิกษุทั้งปวงฉันรวมกัน, เมื่อจะให้ถือเอาสลากอ้อย

จะให้ถึงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงหน้าแล้วปอกถวายพระมหาเถระเป็น

ต้นในกาล ก็ควร.

สลากน้ำอ้อย ครั้นแจกกันแล้ว แม้ภายหลังภัต พึงกรองหรือให้ทำ

เป็นผาณิตแล้ว ถวายแม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เป็นต้น, ต้องรู้ว่า ภิกษุ

อาคันตุกะมาแล้วหรือยังไม่มาก่อน จึงให้ถือเอาสลาก.

ในอาวาสใหญ่ ต้องจัดลำดับให้ถือเอา. สลากเปรียง*เล่า จะให้ถึงใน

ที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน หรือจะให้อุ่น หรือจะให้เจียวถวายพระเถระทั้งหลาย

ก็ควร. พึงปฏิบัติตามนัยที่กล่าวแล้วในอาวาสใหญ่นั่นแล.

แม้สลากผลไม้ สลากขนมและสลากเภสัชของหอมและระเบียบเป็นต้น

พึงให้ถือเอาตามลำดับเป็นแผนก ๆ.

ก็แล ในสลากเหล่านี้ สลากเภสัชเป็นต้น ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ถือ

ปิณฑปาติกธุดงค์ก็ไม่พึงยินดี เพราะเป็นปัจจัยที่ให้ถือเอาเนื่องด้วยสลาก.

ทายกถวายสลากภัต แม้มีแต่สักว่าภิกษาเลิศ, พึงถามถึงลำดับแล้วให้

ถือเอา. เมื่อไม่มีลำดับ พึงให้ตั้งแต่เถรอาสน์ลงมา. หากว่า ภัตเช่นนั้นมีมาก

พึงให้แก่ภิกษุรูปละ ๒-๓ ที่. ถ้ามีไม่มาก, พึงให้รูปละที่เท่านั้น เมื่อลำดับ

หมดแล้วตามลำดับ พึงให้แต่ที่เถระอาสน์ลงมาอีก. ถ้าขาดลงเสียกลางคัน, พึง

จำลำดับไว้ แต่ถ้าภัตเช่นนั้น เป็นของมีเป็นประจำทีเดียว. ภัตนั้นถึงแก่ภิกษุ

พึงบอกภิกษุนั้นว่า ท่านได้แล้วก็ตาม ยังไม่ได้ก็ตาม แม้พรุ่งนี้ก็พึงรับ.

* ฆต เรียกตามฮินดูว่า ฆิ (Ghee) เขมรว่า เปรง แปลว่าน้ำมัน เราเรียกเพี้ยนไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ภัตรายหนึ่ง เป็นของที่เขามิได้ให้เป็นนิตย์ แต่ในวันที่ได้ย่อมได้พอ

ฉัน . วันที่ไม่ได้มีมากกว่า. ภัตนั้น ไม่ถึงแก่ภิกษุใด, พึงสั่งภิกษุนั้น ว่า ท่าน

ไม่ได้ พึงรับในพรุ่งนี้ เถิด.

เมื่อให้จับสลากแล้ว ภิกษุใดมาภายหลัง, สลากของภิกษุนั้น เป็นอัน

เลยไปแล้ว อย่าพึงจัดแจงให้เลย.

จำเดิมแต่ตีระฆังไป ภิกษุผู้มายื่นมือแล ย่อมได้ลาภคือสลากเป็นแท้.

เมื่อภิกษุอื่น แม้มายืนอยู่ในที่ใกล้ สลากก็เป็นอัน เลยไปแล้ว แต่ถ้า

ภิกษุอื่น ผู้จะรับแทนภิกษุนั้นมีอยู่, ภิกษุนั้นแม้ไม่มาเอง ย่อมได้.

ในฐานะที่เป็นผู้ชอบพอกัน ภิกษุผู้แจกทราบว่า ภิกษุโน้น ยังไม่มา

จะเก็บไว้ให้ด้วยตั้งใจว่า นี่สลากของภิกษุนั้น ดังนี้ก็ควร.

ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำกติกาไว้ว่า ไม่พึงให้ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่มา,

กติกานั้น ไม่เป็นธรรม. เพราะว่า ภัณฑะที่จะพึงแจกกันย่อมถึงแก่ภิกษุผู้ตั้ง

อยู่ภายในอุปจาร. และถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายทำเสียงอื้ออึงว่า ท่านจงให้แก่ภิกษุ

ผู้ไม่มา พึงเริ่มตั้งทัณฑกรรมพึงสั่งว่า จงมารับเอาเองเถิด

สลากหายไป ๕-๖ ที่, พระภัตตุทเทสก์นึกชื่อทายกไม่ได้ ถ้าว่าพระ-

ภัตตุทเทสก์นั้น ให้สลากที่หายถึงแก่พระมหาเถระหรือแก่ตนแล้ว พึงสั่งภิกษุ

ทั้งหลายว่า สลากภัตที่บ้านโน้น เราให้ถึงแก่ตัวเรา ท่านทั้งหลายพึงฉัน สลากภัต

ที่ได้ในบ้านนั้นเถิด ดังนี้ สมควร

แต่ไม่มอบถวายในสำนัก ได้ภัตนั้นที่โรงฉัน แล้วจะแจกกันฉัน ที่

โรงฉันนั้นเอง หาควรไม่.

เมื่อทายกกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัต ของ

ข้าพเจ้า ดังนี้ จะให้ถือเอาที่โรงฉันในที่นั้น ไม่ควร. ต้องนำมายังสำนักแล้ว

จึงให้ถือเอา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

อนึ่ง เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ตั้ง

แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ พึงบอกแก่พระภัตตุเทสก์ว่าสกุลชื่อโน้น ถวายสลากภัต

ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป, ท่านพึงนึกในเวลาให้จับสลาก.

ในคราวทุพภิกขภัย ชนทั้งหลายงดสลากภัตเสีย เมื่อถึงคราวหาภิกษา

ได้ง่าย พบภิกษุบางรูปแล้ว เริ่มตั้งไว้อีกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของพวก

ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป. อย่าแจกกันภายในบ้าน ต้องนำมาสำนักก่อน จึงค่อย

แจกกัน. เพราะว่าธรรมดาสลากภัตนี้ ไม่เป็นเหมือนอุทเทสภัต, ทายกย่อม

หมายเฉพาะสำนักถวาย ; เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรแจกกันนอกอุปจาร.

อนึ่ง เมื่อทายกบอกว่า ท่านทั้งหลายจงรับสลากภัตของข้าพเจ้า ดัง

แต่พรุ่งนี้ไป ดังนี้ ต้องแจกกันในสำนักเหมือนกัน.

คมิกภิกษุประสงค์จะไปสู่ทิศาภาคใด, สลากที่บ้านเวรในทิศาภาคนั้น

เป็นของอันภิกษุอื่นได้แล้ว, คมิกภิกษุจะถือเอาสลากนั้น แล้วสั่งภิกษุนอกนี้

ว่า ท่านจงถือสลากที่ถึงแก่เรา ดังนี้ แล้วไป ก็ควร. แก่ภิกษุนั้น ต้องถือ

เอาสลากของคมิกภิกษุนั้นเสีย ในเมื่อเธอยังมิทันก้าวล่วงอุปจารสีมาไปทีเดียว.

ชนทั้งหลายอยู่ในสำนักร้าง จัดตั้งสลากภัตไว้ ด้วยคิคว่า ภิกษุทั้งหลาย

ปรนนิบัติต้นโพธิ์ และเจดีย์เป็นต้น แล้ว จงฉัน เถิด ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายค้าง

อยู่ในที่ภิกษุผู้ชอบพอกันแล้ว ไปแต่เช้ามืด กระทำวัตรในสำนักร้างนั้นแล้ว

ฉันภัตนั้น ควรอยู่.

หากว่า เมื่อภิกษุเหล่านั้น ให้ถึงแก่ตนเพื่อจะได้ฉันในพรุ่งนี้ แล้ว

พากันไป ภิกษุอาคันตุกะอยู่ในสำนักร้าง กระทำวัตรแต่เช้าทีเดียว ตีระฆัง

แล้วให้สลากภัตถึงแก่ตนแล้วไปสู่โรงฉัน . ภิกษุอาคันตุกะนั้นแล เป็นใหญ่

แห่งภัตนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

ฝ่ายภิกษุใด เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำวัตรอยู่เทียว กวาดที่แผ่นดิน

๒-๓ ที่แล้ว ตีระฆังแล้ว ไปด้วยทำในใจว่า สลากภัตที่บ้านไกลถึงแก่เรา.

สลากภัตนั้น ย่อมไม่ถึงภิกษุนั้น เพราะเธอถือเอาด้วยอาการลอบชิง, ย่อม

เป็นของภิกษุผู้กระทำวัตรเสร็จแล้วให้ถึงแก่ตนมาภายหลังเท่านั้น .

บ้านหนึ่งอยู่ไกลนัก, ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะไปเป็นนิตย์ . ชน

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าเป็นผู้เหินห่างบุญ. พึงสั่งภิกษุทั้งหลายที่ชอบ

พอกันในสำนักใกล้บ้านนั้นว่า ในวันที่ภิกษุเหล่านี้ไม่มา พวกท่านจงฉันแทน.

อนึ่ง สลากต้องให้จับทุกวัน. ก็และสลากเหล่านั้นแล ไม่เป็นอัน

พระภัตตุทเทสก์นั้นให้จับแล้ว ด้วยอาการสักว่าตีระฆัง หรือสักว่าคนกระเช้า.

แต่ต้องจับกระเช้าเกลี่ยสลากลงในตะกร้า และอย่าจับกระเช้าที่ขอบ

ปาก. เพราะถ้าว่า ในกระเช้านั้นมีงูหรือแมลงป่อง มันจะก่อทุกข์ให้ เพราะ

ฉะนั้น ต้องจับข้างใต้ หันปากกระเช้าออกนอก และครั้นจับกระเช้าแล้วพึง

เกลี่ยสลากลง.

ถ้าแม้จักมีงู, มันจักหนีไปข้างโน้นเทียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเกลี่ย

สลากอย่างนั้น. สลากพึงให้จับเนื่องด้วยบ้านเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวแล้วใน

ก่อนนั่นแล

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้แจกสลากนั้น ให้สลากหนึ่งถึงแก่พระมหาเถระ

แล้ว จึงให้ถึงแก่ตนว่า สลากที่เหลือ ย่อมถึงแก่เรา ดังนี้ ทำวัตรไหว้เจดีย์

แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่โรงระงับวิตกถามว่า ผู้มีอายุ สลากให้จับเสร็จ

แล้วหรือ ? พึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงรับสลากภัตที่บ้านซึ่งพวกท่านไป

แล้ว ๆ เถิด.

จริงอยู่ สลากแม้ที่ให้ถึงแล้วอย่างนี้ จัดว่าให้ถึงแล้วด้วยดีเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ภิกษุทั้งหลายจะไปสู่สำนักอื่น เพื่อฟังธรรมตลอดทั้งคืน จึงสั่งว่า เรา

ทั้งหลายไม่รับทานในที่นั้นละ จักเที่ยวบิณฑบาตที่โคจรตามของเราแล้วจักมา

ดังนี้ ไม่รับสลากแล้วไปเสีย. ภิกษุเหล่านั้นจะมาเพื่อฉันสลากภัตที่ถึงแก่พระ

เถระในสำนักเช่นนี้ก็ควร.

ถ้าว่า แม้พระมหาเถระก็ไปกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยคิดว่า เราจะทำ

อะไรอยู่ที่นี่ ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้ฉัน ที่สำนักซึ่งตนไป เที่ยวไปสู่โคจรคามตาม

ลำดับ อย่าพึงให้บาตร ในเมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงมอบบาตรให้

เถิด, ข้าพเจ้าจักนำสลากยาคูเป็นต้นมาถวาย.

เมื่อเขาถามว่า เหตุไรจึงไม่ให้เล่า ท่านผู้เจริญ ? พึงตอบเขาว่า

ภัตที่เจาะจงสำนัก ย่อมถึงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในสำนัก เราทั้งหลายอยู่ในสำนัก

อื่น.

ก็เมื่อเขากล่าวว่า โปรดให้เถิด ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหาได้ถวาย

แก่สีมาแห่งสำนักไม่, ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน, ขอท่านจงรับภิกษาของข้าพเจ้า

เถิด ดังนี้ สมควรให้บาตรไปได้.

สลากภัตตกถา จบ

[ปักขิกภัตเป็นต้น]

ก็วินิจฉัยในปักขิกภัตเป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-

ภัตใด อันชนทั้งหลายผู้ขวนขวายในการงาน ถวายในวันปักษ์ (ที่

บัณฑิตกำหนดไว้) เหล่านี้ คือ วัน ๑๔ ค่ำ, วัน ๑๕ ค่ำ วัน ๗ ค่ำ วัน

๘ ค่ำ, เพื่อต้องการเตือนสติ สำหรับทำอุโบสถภัตนั้นชื่อาปักขิกภัต. ปัก-

ขิกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตนั่นเอง พึงให้ภิกษุทั้งหลายรับไปฉัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ถ้าว่า สลากภัตก็ดี ปักขิกภัตก็ดี มีมากทั่วถึง แก่ภิกษุทั้งปวง, พระ-

ภัตตุทเทสก์พึงให้ถือเอาภัตแม้ทั้ง ๒ เป็นแผนก ๆ.

หากว่า ภิกษุสงฆ์มีมาก, พึงให้ถือเอาปักขิกภัตแล้ว จึงให้ถือเอา

สลากภัตต่อลำดับแห่งปักขิกภัตนั้นก็ได้ หรือพึงให้ถือเอาสลากภัตแล้ว จึงให้

ถือเอาปักขิกภัต ต่อลำดับแห่งสลากภัตนั้นก็ได้.

ภัต ๒ นั้น ยังไม่ถึงแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จักเที่ยว

บิณฑบาต

แม้ถ้าว่า ภัตทั้ง ๒ มีมาก, ภิกษุมีน้อย. ภิกษุย่อมได้สลากภัตทุกวัน.

เพราะฉะนั้น พึงงดสลากนั้นเสีย ให้ถือเอาแต่ปักขิกภัตเท่านั้นว่า ผู้มีอายุท่าน

จงฉันปักขิกภัตเถิด ดังนี้ .

พวกทายกถวายปักขิกภัตประณีต, พึงจัดลำดับไว้ต่างหาก. ไม่พึงให้

ถือเอาปักขิกภัตแต่ในวันนี้ว่า พรุ่งนี้ เป็นวันปักษ์.

ก็แล ถ้าทายกทั้งหลายกล่าวว่า พรุ่งนี้แล ในเรือนของพวกข้าพเจ้า

จักมีภัตเศร้าหมอง ขอท่านจงแจกปักขิกภัตเสียแต่ในวันนี้ทีเดียว. อย่างนี้ควร

ให้ถือเอาในวันนี้ได้.

ที่ชื่ออุโปสถิกภัตนั้น พึงทราบดังนี้ :-

บุคคลสมาทานองค์อุโบสถ ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือนแล้ว ตนเอง

บริโภคภัตใด, ภัตนั้นแลอันเขาย่อมให้.

ที่ชื่อปาฏิปทิกภัตนั้น ได้แก่ ทานที่ทายกให้ในวันปาฏิบทด้วยกำหนด

หมายว่า ในวันอุโบสถ ชนเป็นอันมากผู้ ศรัทธาเลื่อมใสย่อมสักการะแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย, ส่วนในวันปาฏิบท ภิกษุทั้งหลายย่อมลำบาก, ทานที่ถวายในวัน

ปาฏิบท ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่คล้ายทุพภิกขาทา, หรือทานที่ถวายในวันที่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

๒ แก่ภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์เพราะอุโบสถกรรม ย่อมเป็นกุศลมีผลใหญ่ ดังนี้.

ภัตทั้ง ๒ แม้นั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.

ภัตทั้ง ๗ อย่างนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ย่อมกระทำ

ความทำลายแห่งธุดงค์เป็นแท้ ด้วยประการฉะนี้.

[อาคันตุกภัตเป็นต้น]

ภัตแม้เหล่าอื่นอีก ๔ ที่ นางวิสาขาขอประทานพรถวายในจีวรขันธกะ*

คือ อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต คิลานุปัฎฐากภัตมาแล้วในบาลีเหมือน

กัน.

บรรดาภัตทั้ง ๔ นั้น ภัตที่ถวายแก่ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ชื่ออาคัน-

ตุกภัต. ในภัต ๓ อย่างที่เหลือ มีนัยเช่นเดียวกัน.

ก็ถ้าว่า ในภัตทั้ง ๔ อย่างนี้ ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งอาคันตุกภิกษุมีมาก,

พึงให้ภิกษุทั้งปวงถือเอารูปละส่วน ๆ เมื่อภัตไม่พอพึงให้เอาตามลำดับ.

ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง มาก่อนทีเดียว ให้ถือเอาคันตุกภัตทั้งหมดเพื่อ

ตนแล้วนั่งอยู่, อาคันตุกภัตทั้งปวง ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น ภิกษุอาคันตุกะ

ทั้งหลายผู้มาทีหลัง พึงฉันที่เธอให้แล้ว.

แม้เธอก็พึงถือเอาเพื่อคนส่วนหนึ่งแล้ว พึงให้ส่วนที่เหลือ. นี้เป็น

ความชอบยิ่ง.

แต่ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะนั้น แม้มาก่อน แต่ไม่ถือเอาเพื่อตนนั่งเฉย

อยู่. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายผู้นาทีหลัง พึงถือเอาตามลำดับพร้อมกับเธอ.

ถ้าว่า ภิกษุอาคันตุกะมาเป็นนิตย์ พึงฉันอาคันตุกภัตเฉพาะในวันที่

มาเท่านี้, ถ้าว่า มาในระหว่าง ๆ, พึงฉัน รูปละ ๒-๓ วัน

* มหาวคฺค. ทุติย. ๒๑๐

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

ส่วนในมหาปัจจรีแก้ว่า ควรฉันได้ ๗ วัน. ภิกษุผู้เจ้าถิ่นไปไหน ๆ

มาก็ดี, แม้เธอก็พึงฉันอาคันตุกภัต.

อนึ่ง ถ้าว่า อาคันตุกภัตนั้น เป็นของที่เขาให้เนื่องในสำนักต้องให้

ถือเอาในสำนัก. ถ้าสำนักอยู่ไกล เขาจึงให้เนื่องในโรงฉัน ต้องให้ถือเอาใน

โรงฉัน.

ก็ถ้าว่า ครั้นเมื่อภิกษุอาคันตุกะไม่มี ทายกจึงสั่งว่า แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น

ก็ฉันได้ ดังนี้, สมควรที่ภิกษุผู้เจ้าถิ่นจะฉัน. เมื่อเขาไม่สั่ง ไม่ควร.

ทางของเรื่อง แม้ในคมิกภัตก็ เหมือนกันนี้. ส่วนเนื้อความที่แปลก

ดังนี้ :-

อาคันตุกภิกษุ ย่อมได้แต่อาคันตุกภัตเท่านั้น.

คมิกภิกษุ ย่อมได้ทั้งอาคันตุกภัต ทั้งคมิกภัต. แม้ภิกษุผู้เจ้าถิ่น

ผู้จำนงจะหลีกไป ย่อมกลายเป็นคมิกภิกษุ ย่อมได้คมิกภัต. เหมือนอย่างว่า

อาคันตุกภัต อันอาคันตุกภิกษุย่อมได้ฉันใด คมิกภัตนี้ อันคมิกภิกษุ ย่อม

ได้ตั้ง ๒-๓ วัน หรือ ๗ วัน ฉันนั้นหามิได้.

ภิกษุผู้ฉันด้วยตั้งใจว่าเราจักไป ตลอดวันนั้นไปไม่ได้ เพราะกรณียะ

อะไร ๆ ก็ตาม, แม้ในวันรุ่งขึ้นจะฉันก็ควร เพราะยังมีอุตสาหะ (ที่จะไป).

ในมหาปัจจรีแก้ว่า เมื่อภิกษุตั้งใจว่า จักไป ฉันเสร็จแล้ว พวกโจร

ดักทางเสียก็ดี, น้ำหลากมาก็ดี, ฝนตกก็ดี, หมู่เกวียนยังไม่ไปก็ดี, เธอผู้ยัง

มีอุตสาหะ พึงฉัน.

อันภิกษุผู้รอดอุปัทวะเหล่านั้นอยู่ จะฉัน ๒- ๓ วันก็ควร แต่ภิกษุ

ผู้อ้างเลศว่า จักไป จักไป ย่อมไม่ได้เพื่อฉัน .

คิลานภัตเล่า ถ้ามีพอแก่ภิกษุผู้อาพาธทั่วกัน ก็พึงให้ ๆ ทั่วกัน หาก

ว่าไม่พอ ก็พึงจัดลำดับให้ถือเอา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง ท่วงทีเหมือนคนไม่มีโรค ยังอาจไปภายในบ้าน

ได้, รูปหนึ่งไม่อาจ รูปนี้ชื่อผู้อาพาธหนัก. พึงให้คิลานภัตแก่เธอแท้.

ภิกษุผู้อาพาธหนัก ๒ รูป, รูปหนึ่งรวยลาภ เป็นผู้มีชื่อเสียงได้

ขาทนียโภชนียะมาก, รูปหนึ่งอนาถา ต้องเข้าไปภายในบ้านเพราะมีลาภอัตคัค,

พึงให้คิลานภัตแก่รูปหลังนั้น.

ในคิลานภัต ไม่มีกำหนดวัน, ภิกษุผู้อาพาธพึงฉันตลอดเวลาที่โรค

ยังไม่สงบ เมื่อไม่ฉันโภชนะที่สบาย จะยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้.

แต่ในกาลใด เมื่อภิกษุผู้อาพาธนั้น แม้ฉันยาคูที่ระคน หรือภัตที่

ระคน โรคก็ไม่กำเริบ, จำเดิมแต่กาลนั้นไป ไม่พึงฉันคิลานภัต.

คิลานุปัฏฐากภัตเล่า มีพอแก่ภิกษุผู้พยาบาลไข้ทั่วถึงกัน พึงให้ ๆ ทั่ว

ถึงกัน, หากว่าไม่พอ พึงจัดลำดับให้ถือเอา.

แม้คิลานุปัฏฐากภัตนี้ ก็พึงแจกให้แก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธนัก

ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธ ๒ รูป.

สกุลใด ถวายทั้งคิลานภัต ทั้งคิลานุปัฏฐากภัต แก่ภิกษุผู้พยาบาล

ภิกษุอาพาธที่อนาถา ในบรรดาภิกษุผู้อาพาธหนัก ๒ รูป ภัตในสกุลนั้น ถึง

แก่ภิกษุผู้อาพาธรูปใด แม้ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่อาพาธรูปนั้น ก็พึงให้ถือเอา

ในสกุลนั้นแล.

แม้ในคิลานุปัฏฐานภัต ก็ไม่มีกำหนดวัน. ภิกษุผู้อาพาธยังได้อยู่เพียง

ใด, แม้ผู้พยาบาลของเธอยู่ย่อมได้เพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น ภัต ๔ อย่างนี้ ถ้า

เป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ภิกษุอาคันตุกะ, ภิกษุผู้เตรียมตัวไป, ภิกษุผู้

อาพาธ. และภิกษุผู้พยาบาลภิกษุผู้อาพาธ, จงรับภิกษาของข้าพเจ้า ย่อมควร

แม้แก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์. แต่ถ้าเป็นของที่เขาถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

จัดภัตไว้ให้เป็นประจำ เพื่อภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น . ภิกษุอาคันตุกะเป็นต้นจง

รับภัตของข้าพเจ้า ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

[ภัตอีก ๓ ชนิด]

ภัตอื่นอีก ๓ ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ . ในภัต ๓

ชนิดนั้น นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต. ธุวภัตนั้น มี ๒ อย่าง คือ ของสงฆ์

ของเฉพาะบุคคล ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า ข้าพเจ้า

ถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้ ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. ก็แล

ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของ

ข้าพเจ้า ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายถือปิณฑปาติกธุดงค์.

แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้า

ถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้ ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือ

ปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำ

ของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่, ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.

แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว ๒- ๓ วัน เขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

จงรับธุวภัต ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ เพราะเป็นของที่เธอรับ

ไว้ดีแล้วในวัน แรก.

ที่ชื่อกุฏิภัต คือภัตที่ทายกสร้างที่อยู่ถวายสงฆ์แล้ว ถวายให้เป็นประจำ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า จงรับภัต

ของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. พึง

ให้ภิกษุทั้งหลายรับมาฉัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ก็เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวก

ข้าพเจ้า จงรับภิกษาของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่

ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ส่วนกุฏิภัตใด อันทายกเลื่อมใสในบุคคล

แล้วสร้างที่อยู่เพื่อบุคคลนั้น ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ดังนี้ กุฏิภัตนั้น

ย่อมเป็นของบุคคลนั้นเท่านั้น ครั้นเมื่อบุคคลนั้น ไปในที่ไหน ๆ เสีย พวก

นิสิตพึงฉันแทน.

ที่ชื่อวารกภัต คือภัตที่ทายกถวายจำเดิมแค่เรือนใกล้ไปว่า พวก

ข้าพเจ้าจักเปลี่ยนวาระกันบำรุงภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ภิกษาหายาก, แม้วารก

ภัตนั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์

แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ถวายวารกภัต ดังนี้ วารกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัต .

ก็ถ้าว่า พวกทายกส่งข้าวสารเป็นต้น ไปให้ว่า สามเณรทั้งหลายจง

หุงต้มถวาย ดังนี้, ภัตนั้น ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ภัตเหล่านี้ ๓ กับภัตอีก ๔ มีอาคันตุกภัตเป็นต้น รวมเป็น ๗ ภัต

๗ นั้น รวมกับภัตอีก ๗ มีสังฆภัตเป็นต้น จึงเป็นภัต ๑๔ อย่าง ด้วยประการ

ฉะนี้.

[ภัตอื่น ๔ อย่างในอรรถกถา]

อนึ่ง ในอรรถกถากล่าวภัต ๔ อย่างแม้อื่น คือ วิหารภัต อฏัฐภัต

จตุกภัต คุฬกภัต. ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อวิหารภัต ได้แก่ภัตที่เกิดแต่กัลปนา

สงฆ์ในสำนักนั้น. สำนักภัตนั้น สงเคราะห์ด้วยสังฆภัต.

อนึ่ง วิหารภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์

ในฐานะทั้งหลายเช่นนั้น เพราะเป็นภัตที่พระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ใน

ติสสมหาวิหารและจิตตลบรรพตเป็นต้น (เคย) รับ แล้ว อย่างที่เป็นภัตอันภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

แม้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ก็สามารถฉันได้. ส่วนภัตที่ทายกถวายอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ถวายแก่ภิกษุ ๘ รูป, ข้าพเจ้าถวายแก่ภิกษุ ๔ รูป ดังนี้ ชื่ออัฎฐกภัต และ

ชื่อจตุกภัต.

อัฏฐกภัตและจตุกภัตแม้นั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ควรแก่ภิกษุ

ผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

ภัตที่ทายกหมายบาตรไว้ ด้วยขนมมีรสอร่อยยิ่ง มีเครื่องปรุงมาก

แล้วถวาย ชื่อคุฬกภัต. ภัต ๓ อย่างนี้ มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.

แม้ภัตอื่นอีกที่ชื่อ คุฬกภัต ก็ยังมี (คือ) คนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้

ให้ทำการฟังธรรมเป็นการใหญ่ และการบูชาในสำนักแล้วกล่าวว่า พวกข้าพเจ้า

ไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งสิ้นได้, ภิกษุ ๒ - ๓ ร้อย จงรับภิกษาของพวก

ข้าพเจ้า ดังนี้, แล้วถวายน้ำอ้อยงบ เพื่อทราบจำนวนภิกษุ. คุฬกภัตนี้

ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

จีวรที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในจีวรขันธกะ ส่วนเสนาสนะที่

ควรแจก และบิณฑบาตที่ควรแจก ข้าพเจ้าได้กล่าวในเสนาสนักขันธกะนี้

ด้วยประการฉะนี้.

[คิลานปัจจัยที่ควรแจก]

ส่วนคิลานปัจจัยที่ควรแจก พึงทราบอย่างนี้ :-

บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น พระราชาหรือราชมหาอมาตย์ ส่งเนยใส

ร้อยหม้อก็ดี พันหม้อก็ดี ไปสู่สำนักก่อน. พระภัตตุทเทสก์พึงตีระฆัง ให้ๆ

เต็มภาชนะที่ถือมา จำเดิมแต่เถรอาสน์ลงมา. เนยใสนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุ

ทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลายเป็นผู้มักล่าช้า มาภายหลัง อย่าพึงกล่าว

กะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังแจกแก่ภิกษุผู้มีพรรษา ๒๐, ลำดับของ

พวกท่านเลยไปเสียแล้ว, พึงพักลำดับไว้ ถวายแก่พระมหาเถระเหล่านั้นแล้ว

จึงถวายตามลำดับในภายหลัง.

ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง (ข่าว) ว่า ที่สำนักโน้น มีเนยใสเกิดขึ้นมาก จึง

พากันมาแม้จากสำนักในระยะโยชน์หนึ่ง. พึงให้ตั้งแต่สถานที่เธอทั้งหลายมา

ทัน ๆ กันยืนอยู่.

เมื่อพวกนิสิตมีอันเตวาสิกเป็นต้น จะรับแทนภิกษุทั้งหลายแม้ผู้มา

ไม่ทัน แต่เข้าอุปจารสีมาแล้ว ก็ควรให้แท้.

พวกนิสิตเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงให้แก่อุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า

ผู้ตั้งอยู่ภายนอกอุปจารสีมา ดังนี้ ไม่พึงให้.

ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เนื่องเป็นอันเดียวกันกับภิกษุผู้เข้าสู่อุปจาร-

สีมาแล้ว มีที่ประตูสำนักของตนก็ดี ที่ภายในแห่งสำนักทีเดียวก็ดี, สีมาชื่อว่า

ขยายออกด้วยอำนาจบริษัท; เพราะฉะนั้น พึงให้. แม้เมื่อให้ส่วนแก่สังฆนวกะ

เสร็จแล้ว ก็พึงให้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาภายหลังเหมือนกัน.

แต่ว่า เมื่อส่วนที่ ๒ ได้ยกขึ้นสู่เถรอาสน์แล้ว ส่วนที่ ๑ ย่อมไม่ถึง

แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มาทีหลังอีก, พึงให้ตามลำดับพรรษาตั้งแต่ส่วนที่ ๒ ไป

เนยใสเป็นของที่ทายกเข้าไปสู่อุปจารสีมาแล้วให้ในที่ใดที่หนึ่ง, เนยใสทั้งหมด

พึงแจกในที่ประชุมเท่านั้น.

ในสำนักใด มีภิกษุ ๑๐ รูป และหม้อเนยใสเป็นต้น อันทายกถวาย

๑๐ หม้อเหมือนกัน, ในสำนักนั้น พึงแจกกันรูปละหม้อ.

เนยใสมีหม้อเดียว, ภิกษุมี ๑๐ รูป, พึงแบ่งออกแล้วให้ถือเอา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ถ้าว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาว่า เนยใสทั้งหม้อตามที่ตั้งอยู่นั่นแล ย่อม

ถึงแก่พวกเรา ดังนี้, เนยใสนั้น เป็นอันถือเอาไม่ชอบ, ย่อมเป็นของสงฆ์

ในที่ซึ่งตนไปแล้ว ๆ ทีเดียว.

แต่ว่า ภิกษุเอียงหม้อ เทเนยใสลงในภาชนะหน่อยหนึ่งแล้วกล่าวว่า

นี่ถึงแก่พระมหาเถระ, ที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้แล้ว กลับใส่เนยใสนั้นลง

ในหม้อนั่นเอง ถือเอาไปตามต้องการ ควรอยู่.

ถ้าว่า เนยเป็นแท่ง แม้ขีดเป็นรอยถือเอาด้วยคิดว่า. ส่วนอื่นจากรอย

ที่ขีด ย่อมถึงแก่พระมหาเถระ, ส่วนที่เหลือถึงแก่พวกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นอัน

ถือเอาชอบ.

ในภิกษุและหม้อเนยใส แม้หย่อนหรือเกินกว่ากำหนดดังกล่าวแล้ว

ก็พึงแบ่งกันโดยอุบายนั้นแล. ก็ถ้าว่า ภิกษุมีอยู่รูปเดียว เนยใสก็มีอยู่หม้อเดียว

ภิกษุนั้นจะตีระฆังแล้วถือเอาด้วยคิดว่า นี้ถึงแก่เรา ดังนี้ก็ดี ควรอยู่. แม้จะ

ให้ถึง (แก่ตน) ทีละน้อย ๆ อย่างนี้ว่า นี้ส่วนที่ ๑ ถึงแก่เรา นี้ส่วนที่ ๒

ดังนี้ก็ควร. แม้ในเภสัชที่เหลือมีเนยข้นเป็นต้น ก็นัยนี้.

แต่ว่า รอยขีดไม่คงอยู่ในน้ำมันงาเป็นต้นที่ใสใด, น้ำมันงาเป็นต้น

นั้น พึงตักแจกแท้.

เภสัชมีขิงสดและพริกเป็นต้นก็ดี, สมณบริขารมีบาตรและภาชนะที่

เหลือเป็นต้นก็ดี, ทั้งหมดพึงกำหนดให้ดีแล้วแจกตามนัยอันสมควรแก่อธิบาย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ภิกษุผู้เฉียวฉลาด พึงพิจารณาบาลีและอรรถกถาแล้วอย่าประมาท

แจกปัจจัยของสงฆ์อย่างนั้นเถิด.

กถาว่าด้วยปัจจัยที่ควรแจกโดยอาการทั้งปวง จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

[ว่าด้วยหน้าที่ผู้แจก]

ภิกษุเจ้าหน้าที่ มีเจ้าหน้าที่แจกยาคูเป็นต้น ที่สงฆ์สมมติตั้งไว้ไม่

ต้องถาม (สงฆ์) ก่อนก็ได้ พึงให้ชนทั้งหลายผู้มาสู่สถานที่แจกคนละกึ่งส่วน

แต่ว่า ภิกษุที่มิได้รับสมมติต้องอปโลกน์ให้.

เจ้าหน้าที่ผู้แจกของเล็กน้อย พึงให้เข็ม ๒ เล่ม คือ ยาวเล่มหนึ่ง

สั้นเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้ทำจีวรกรรมซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านจงให้เข็ม ดังนี้. ไม่มี

กิจที่จะต้องถามเพราะเกิดความรังเกียจว่า ภัณฑะของสงฆ์ไม่ควรแจก.

พึงให้มีดเล็กเล่มหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยมีดเล็ก.

พึงให้รองเท้าคู่หนึ่ง แก่ภิกษุผู้ประสงค์จะเดินทางกันดาร.

พึงให้ประคดเอว แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยประคดเอว.

พึงให้อังสะ แก่ภิกษุผู้มา (ขอ) ว่า อังสะของข้าพเจ้าเก่าแล้ว.

พึงให้ผ้ากรองน้ำ แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้ากรองน้ำ.

พึงให้กระบอกกรอง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยกระบอกกรอง ถ้า

ไม่มีผ้า พึงให้กระบอกกรองพร้อมทั้งผ้า.

เมื่อภิกษุขออยู่ว่า ข้าพเจ้าจักเพิ่มแผ่นผ้าดาม พึงให้ ๆ พอแก่กุสิและ

อัฑฒกุสิ.

เมื่อภิกษุมา (บอก) ว่า ผ้ามณฑลไม่พอ พึงให้ผ้ามณฑลผืนหนึ่ง,

พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล ๒ ผืน. เมื่อเธอขอผ้ามณฑล ๒ ผืน ไม่พึงให้ ๒ ผืน.

พึงให้ผ้าที่พอแก่จีวรตัวหนึ่ง แก่ภิกษุผู้มีความต้องการด้วยผ้าอนุวาต

ด้านรีและด้านสกัด.

ตวงเภสัชได้ประมาณทะนานหนึ่ง พึงให้ส่วนที่ ๓ จากทะนานหนึ่งนั้น

แก่ภิกษุผู้อาพาธ ซึ่งมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ครั้นให้ ๓ วันอย่างนั้น ครบทะนานหนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๔ ไป

ต้องเรียนสงฆ์แล้วจึงให้.

ในน้ำอ้อยงบเล่า พึงให้ส่วนที่ ๓ ในวันหนึ่ง. เมื่อเต็มงบโดยครบ

๓ วันอย่างนั้นแล้ว ต่อแต่นั้นไป ต้องเรียนสงฆ์แล้วจึงให้.

คำที่เหลือทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

เสนาสนักขันธก วรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

สังฆเภทขันธกะ

เรื่องมหานานศากยะและอนุรุทศากยะ

[๓๓๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยนิคม

ของพวกเจ้ามัลละ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มี

พระภาคเจ้า ผู้ทรงผนวชแล้ว.

[๓๓๘] สมัยนั้น มหานามศากยะ และอนุรุทธศากยะทั้ง ๒ เป็น

พี่น้องกัน อนุรุทธศากยะ เป็นสุขุมาลชาติ เธอมีปราสาท ๓ หลัง คือ สำหรับ

อยู่ในฤดูหนาวหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูร้อนหลัง ๑ สำหรับอยู่ในฤดูฝนหลัง ๑

เธออันเหล่าสตรีไม่มีบุรุษเจือปนบำเรอยู่ด้วยดนตรีตลอด ๔ เดือน ในปราสาท

สำหรับฤดูฝน ไม่ลงมาภายใต้ปราสาทเลย ครั้งนั้น มหานามศากยะคิดว่า

บัดนี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวช

แล้ว แต่สกุลของเราไม่มีใครออกบวชเลย ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะพึงบวช

จึงเข้าไปหาอนุรุทธศากยะกล่าวว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ พวกศากยกุมารที่มีชื่อ

เสียงต่างออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว แต่สกุลของเรา

ไม่มีใครออกบวชเลย ถ้าเช่นนั้น น้องจงบวช หรือพี่จักบวช.

อ. ฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่จงบวชเถิด.

ม. พ่ออนุรุทธะ น้องจงมา พี่จะพร่ำสอนเรื่องการครองเรือนแก่

น้องผู้อยู่ครองเรือน ชั้นต้นต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้หว่าน ให้ไขน้ำเข้า

ครั้นไขน้ำเข้ามากเกินไป ต้องให้ระบายน้ำออก ครั้นให้ระบายน้ำออกแล้ว

ต้องให้ถอนหญ้า ครั้นแล้วต้องให้เกี่ยว ให้ขน ให้ตั้งลอม ให้นวด ให้สง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

ฟางออก ให้ฝัดข้าวลีบออก ให้โปรยละออง ให้ขนขึ้นฉาง ครั้นถึงฤดูฝน

ต้องทำอย่างนี้ ๆ แหละต่อไปอีก.

อ. การงานไม่หมดสิ้น ที่สุดของการงานไม่ปรากฏ เมื่อไรการงานจัก

หมดสิ้น เมื่อไรที่สุดของการงานจักปรากฏ เมื่อไรเราจักขวนขวายน้อย เพียบ-

พร้อมบำเรอด้วยเบญจกามคุณเที่ยวไป.

ม. พ่ออนุรุทธะ การงานไม่หมดสิ้นสุดแน่ ที่สุดของการงาน ก็ไม่

ปรากฏ เมื่อการงานยังไม่สิ้น มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ตายไปแล้ว.

อ. ถ้าเช่นนั้น พี่จงเข้าใจเรื่องการอยู่ครองเรือนเองเถิด ฉันจักออก

บวชละ.

[๓๓๙] ครั้งนั้น อนุรุทธศากยะเข้าไปหามารดา แล้วกล่าวว่า ท่าน

แม่ หม่อมฉันปรารถนาจะออกบวช ขอท่านแม่จงอนุญาตให้หม่อมฉันออกบวช

เถิด เมื่ออนุรุทธศากยะกล่าวอย่างนี้แล้ว มารดาได้กล่าวว่า พ่ออนุรุทธะ

เจ้าทั้งสองเป็นลูกที่รักที่พึงใจ ไม่เป็นที่เกลียดชังของแม่ แม้ด้วยการตายของ

เจ้าทั้งหลายแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก ไฉนแม่จะยอมอนุญาตให้เจ้าทั้งสองผู้ยังมี

ชีวิตออกบวชเล่า.

แม้ครั้งสอง . . .

แม้ครั้งที่สาม อนุรุทธศากยะได้กล่าวกะมารดาว่า ท่านแม่ หม่อมฉัน

ปรารถนาจะออกบวช ขอท่านแม่จงอนุญาตให้หม่อมฉันออกบวชเถิด.

เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ

[๓๔๐] สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะได้ครองสมบัติเป็นราชาของ

พวกศากยะ และพระองค์เป็นพระสหายของอนุรุธศากยะ ครั้งนั้น มารดาของ

อนุรุทธศากยะคิดว่า พระเจ้าภัททิยศากยะนี้ครองสมบัติเป็นราชาของพวกศากยะ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

เป็นพระสหายของอนุรุทธศากยะ พระองค์จักไม่อาจทรงผนวช จึงได้กล่าวกะ

อนุรุทธศากยะว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะทรงผนวช เมื่อเป็น

เช่นนี้ เจ้าก็ออกบวชเถิด ลำดับนั้น อนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิย

ศากยะ แล้วได้ทูลว่า สหาย บรรพชาของเราเนื่องด้วยท่าน.

ภ. สหาย ถ้าเช่นนั้น บรรพชาของท่านจะเนื่องด้วยเราหรือไม่เนื่อง

ก็ตาม นั่นช่างเถอะ ท่านจงบวชตามสบายของท่านเถิด.

อ. มาเถิด สหาย เราทั้งสองจักออกบวชด้วยกัน.

ภ. สหาย เราไม่สามารถจักออกบวช สิ่งอื่นใดที่เราสามารถจะทำให้

ท่านได้ เราจักทำสิ่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านจงบวชเองเถิด.

อ. สหาย มารดาได้พูดกะเราอย่างนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิย

ศากยะทรงผนวช เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้าก็ออกบวชเถิด สหาย ก็ท่านได้พูดไว้

อย่างนี้ว่า สหาย ถ้าบรรพชาของท่านจะเนื่องด้วยเราหรือไม่เนื่องก็ตาม นั้น

ช่างเถอะ ท่านจงออกบวชตามความสบายของท่าน มาเถิด สหาย เราทั้งสอง

จะออกบวชด้วยกัน.

ก็สมัยนั้น คนทั้งหลายเป็นผู้พูดจริง ปฏิญาณจริง จึงพระเจ้าภัททิย

ศากยะได้ตรัสกะอนุรุทธะว่า จงรออยู่สัก ๗ ปีเถิด สหายต่อล่วง ๗ ปีแล้ว

เราทั้งสองจึงจักออกบวชด้วยกัน.

อ. ๗ ปีนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๗ ปี.

ภ. จงรออยู่สัก ๖ ปีเถิดสหาย . . . จงรออยู่สัก ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี

๒ ปี ๑ ปี ต่อล่วง ๑ ปีแล้ว เราทั้งสองจึงจักออกบวชด้วยกัน.

อ. ๑ ปีก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๑ ปี.

ภ. จงรออยู่สัก ๗ เดือนเถิด สหาย ต่อล่วง ๗ เดือนแล้ว เราทั้ง

สองจักออกบวชด้วยกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

อ. ๗ เดือนก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึง ๗ เดือน

ภ. จนรออยู่สัก ๖ เดือนเถิด สหาย . . . จงรออยู่สัก ๕ เดือน ๔

เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน ต่อล่วงกึ่งเดือนแล้ว เราทั้ง

สองจักออกบวชด้วยกัน.

อ. กึ่งเดือนก็ยังนานนัก สหาย เราไม่สามารถจะรอได้ถึงกึ่งเดือน.

ภ. จงรออยู่สัก ๗ วันเถิด สหาย พอเราได้มอบหมายราชสมบัติแก่

พวกลูก ๆ และพี่น้อง.

อ. ๗ วันไม่นานนักดอก สหาย เราจักรอ.

เรื่องคน ๗ คน

[๓๔๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ

กิมพิละและเทวทัต เป็น ๗ ทั้งอุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา เสด็จออกโดยเสนา ๔

เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยาน โดยเสนา ๔ เหล่า ไปกาลก่อน ฉะนั้น

กษัตริย์ทั้ง ๖ องค์เสด็จไปไกลแล้วสั่งเสนาให้กลับ แล้วย่างเข้าพรมแดน ทรง

เปลื้องเครื่องประดับ เอาภูษาห่อแล้ว ได้กล่าวกะอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาว่า เชิญ

พนาย อุบาลี กลับเถิด ทรัพย์เท่านี้พอเลี้ยงชีพท่านได้ละ.

[๓๔๒] ครั้งนั้น อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเมื่อจะกลับ คิดว่าเจ้าศากยะ

ทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้พระ

กุมารทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจักบวช

ไม่ได้เล่า เขาแก้ห่อเครื่องประดับเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้ว

พูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเข้าไปเฝ้าศากย

กุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา

กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงรับสั่งถามว่า พนาย อุบาลีกลับมาทำไม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

อ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าจะกลับมา ณ ที่นี้ คิดว่าเจ้า-

ศากยะทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้

พระกุมารทั้งหลายออกบวช ก็ศากยกุมารเหล่านี้ยังทรงผนวชได้ ไฉน เราจัก

บวชไม่ได้เล่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นแก่ห่อเครื่องประดับแล้ว เอาเครื่องประดับ

นั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้วแล ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำ

ไปเถิด แล้วจึงกลับมาจากที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ศ. พนาย อุบาลี ท่านได้ทำถูกต้องแล้ว เพราะท่านกลับไป เจ้า-

ศากยะทั้งหลายเหี้ยมโหดนัก จะพึงให้ฆ่าท่านเสียด้วยเข้าพระทัยว่า อุบาลีนี้ให้

พระกุมารทั้งหลายออกบวช

[๓๔๓] ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น พระอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายบังคมประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมี

มานะ อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการ

อภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้

เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจัก

เสื่อมคลายลง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน

ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง.

[ ๓๔๔ ] ครั้งต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้

ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระเทวทัตได้สำเร็จฤทธิ์ชั้นปุถุชน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

เรื่องพระภัททิยะ

[๓๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระภัททิยะ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไป

สู่เรือนว่างก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้น ภิกษุ

มากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระภัททิยะไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี

ไปสู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ พระพุทธเจ้า

ข้า ท่านพระภัททิยะ ฝืนใจประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย หรือมิ

ฉะนั้นก็ระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อนนั้นเอง ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี

ไปสู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุ

เธอจงมา จงเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ท่านภัททิยะ พระศาสดารับ

สั่งหาท่าน ภิกษุนั้นรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว เข้าไปหาท่านพระภัททิยะ

ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ท่านภัททิยะ พระศาสดารับสั่งหาท่าน.

[๓๔๖] ท่านพระภัทภิยะรับคำของภิกษุนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระภัททิยะนั่ง

เรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภัททิยะ ข่าวว่า เธอไป

สู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ

สุขหนอ จริงหรือ

ภ. จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร ไปสู่ป่า

ก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ

สุขหนอ ดังนี้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

ภ. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม้

ภายในพระราชวังก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างเรียบร้อย แม้ภายนอกพระราชวังก็

ได้จัดการรักษาไว้อย่างเข้มแข็ง แม้ภายในพระนครก็ได้จัดการรักษาไว้เรียบ

ร้อย แม้ภายนอกพระนครก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างแข็งแรง แม้ภายในชนบท

ก็ได้จัดการรักษาไว้เรียบร้อย แม้ภายนอกชนบทก็ได้จัดการรักษาไว้อย่างมั่นคง

พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้านั้น แม้เป็นผู้อันเขาทั้งหลายรักษาคุ้มครอง

แล้ว อย่างนี้ ก็ยังกลัว ยังหวั่น ยังหวาด ยังสะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระพุทธ-

เจ้าไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี ลำพังผู้เดียวก็ไม่กลัว ไม่

หวั่น ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ขวนขวายน้อย มีขนอันราบเรียบ เป็นอยู่ด้วย

ปัจจัย ๔ ที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นอำนาจประ-

โยชน์นี้แล ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี... จึงเปล่งอุทาน

เนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน

ในเวลานั้น ว่าดังนี้

อุทานคาถา

[๓๔๗] บุคคลใดไม่มีความโกรธภาย

ในจิต และก้าวล่วงภพน้อยภพใหญ่มีประ-

การเป็นอันมากเสียได้ เทวดาทั้งหลายไม่

อาจเล็งเห็นวาระจิตของบุคคลนั้น ผู้ปลอด-

ภัย มีสุข ไม่มีโศก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

[๓๔๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอนุปิยนิคม ตามพุทธา-

ภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางเมืองโกสัมพี เสด็จจาริกโดยลำดับถึงเมืองโกสัมพี

แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่โฆสิตาราม เขตเมืองโกสัมพีนั้น.

เรื่องพระเทวทัต

[๓๔๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความปริวิตก

แห่งจิตอย่างนี้ว่า เราจะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส เมื่อผู้ใดเลื่อมใสต่อเราแล้ว

ลาภสักการะเป็นอันมากจะพึงเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตได้คิดต่อไปว่า

อชาตสัตตุกุมารนี้แล ยังหนุ่ม ยังเจริญต่อไป ไฉนเราพึงยังอชาตสัตตุกุมาร

ให้เลื่อมใส เมื่ออชาตสัตตุกุมารนั้นเลื่อมใสต่อเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก

จักเกิดขึ้น ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตร จีวร เดินทาง

ไปยังกรุงราชคฤห์ ถึงกรุงราชคฤห์ โดยลำดับ แล้วแปลงเพศของตนนิรมิต

เพศเป็นกุมารน้อยเอางูพันสะเอว ได้ปรากฏบนพระเพลาของอชาตสัตตุกุมาร

ทีนั้น อชาตสัตตุกุมารกลัว หวั่นหวาด สะดุ้ง ตกพระทัย

พระเทวทัตจึงได้กล่าวกะอชาตสัตตุกุมารว่า พระกุมาร ท่านกลัวฉัน

หรือ

อ. จ้ะ ฉันกลัว ท่านเป็นใคร

ท. ฉัน คือ พระเทวทัต

อ. ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านเป็นพระผู้เป็นเจ้าเทวทัต ขอจงปรากฎด้วย

เพศของตนทีเดียวเถิด

ทันใดนั้น พระเทวทัตกลับเพศกุมารน้อยแล้ว ทรงสังฆาฏิ บาตร

และ จีวร ได้ยืนอยู่ข้างหน้าอชาตสัตตุกุมาร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารเลื่อมใสยิ่งนัก ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์นี้ของ

พระเทวทัต ได้ไปสู่ที่บำรุงทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน และนำ

ภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย

ครั้งนั้น พระเทวทัต อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ

รึงรัดจิต และเกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจะปกครองภิกษุสงฆ์ พระ-

เทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว.

เรื่องกักกุธโกฬิยบุตร

[๓๕๐] สมัยนั้น โกฬิยบุตรชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะ ผู้ตายไม่นาน ได้เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็น

ปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคามเขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อม

ไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะอัตภาพที่เขาได้นั้น ครั้งนั้น กักกุธเทพ

บุตร เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้งแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัต

อันลาภสักการะและความสรรเสริญ ครอบงำ รึงรัดจิต แล้วได้เกิดความ

ปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตได้

เสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้ว พร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว กักกุธเทพบุตรได้กล่าว

อย่างนี้แล้ว จึงอภิวาทท่านมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ

ที่นั้นเอง.

[๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

โกฬิยบุตร ชื่อกักกุธะ เป็นอุปัฏฐากของข้าพระพุทธเจ้า ผู้ตายไม่นาน ได้

เข้าถึงมโนมัยกายอย่างหนึ่ง อัตภาพเห็นปานดังนี้ ที่เขาได้มีขนาดเท่ากับคาม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

เขตของชาวมคธ ๒ หรือ ๓ แห่ง เขาย่อมไม่ยังตนและคนอื่นให้ลำบาก เพราะ

อัตภาพที่เขาได้นั้นพระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น กักกุธเทพบุตรเข้าไปหาข้าพระ-

พุทธเจ้า อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะ

ข้าพระพุทธเจ้าว่า ท่านเจ้าข้า พระเทวทัตอันลาภสักการะครอบงำ รึงรัดจิต

แล้ว ได้เกิดความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักปกครองภิกษุสงฆ์ ท่านเจ้าข้า

พระเทวทัตเสื่อมจากฤทธิ์นั้นแล้วพร้อมกับจิตตุปบาททีเดียว พระพุทธเจ้าข้า

กักกุธเทพบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว อภิวาทข้าพระพุทธเจ้า กระทำประทักษิณ

แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็กักกุธเทพบุตรอันเธอกำหนดรู้ซึ่งจิตด้วย

จิตแล้วหรือว่า กักกุธเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อม

เป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

ม. พระพุทธเจ้าข้า กักกุธเทพบุตรอันข้าพระพุทธเจ้ากำหนดรู้จิต

ด้วยจิตแล้วว่า กักกุธเทพบุตรกล่าวคำอย่างหนึ่งอย่างใด คำนั้นทั้งหมดย่อม

เป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น ดูก่อนโมคคัลลานะ

เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจักกระทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง.

เรื่องศาสดา ๕ จำพวก

[๓๕๒] ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ใน

โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

ศีลไม่บริสุทธิ์ ปฎิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์

ผุดผ่องไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้

เจริญนี้แลเป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฎิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวก

คฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเรา

จะพึงกล่าวกะศาสดา นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือ

บูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่าน

จักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ

สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยศีล ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น

ย่อมหวังการรักษาโดยศีลจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๕๓] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

อาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของ

เราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้

ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มี

อาชีวะบริสุทธิ์ และว่า อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็

พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความ

ไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่าง

ไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน

ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น

เอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ

ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้ง

หลาย.

[๓๕๔] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า

ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์

ปฏิญาณว่าเราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ และว่า ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์

ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้น

ไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดา

นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้

ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษา

ศาสดาเห็นปานนั้นโดยธรรมเทศนา ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะ

ซึ่งการรักษา โดยธรรมเทศนาจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๕๕] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ เละว่า ไวยา-

กรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้น

นั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า

เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ และว่า ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่

เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอ

ใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความไม่พอ

ใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วย

กรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น

โดยไวยากรณ์ ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยไวยา-

กรณ์จากสาวกทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

[๓๕๖] ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี

ญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า

ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง

ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์

ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเรา

บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์

ศาสดานั้นไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลพึงมี พวกเราจะพึงกล่าว

กะศาสดานั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วย

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักกระทำกรรม

ใดไว้ ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ สาวกทั้งหลาย

ย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น

ย่อมหวังเฉพาะซึ่งการรักษาโดยญาณทัสสนะจากสาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวก เหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

[๓๕๗] ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็เราแลเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า

เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยศีลและเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่งการรักษา

โดยศีล จากสาวกทั้งหลาย.

อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์...

อนึ่ง เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณ

ทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

แลสาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะ ซึ่ง

การรักษาโดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย.

เรื่องพระเทวทัต

[๓๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโกสัมพี ตาม

พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึง

กรุงราชคฤห์แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่

พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์นั้น.

[๓๕๙] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธ-

เจ้าข้า อชาตสัตตุกุมารได้ไปสู่ที่บำรุงของพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า

ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปดัวย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าพอใจลาภสักการะ และความ

สรรเสริญของเทวทัตเลย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของเทวทัต ทั้งเวลา

เย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน. แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย

สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย

ถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ เปรียบเหมือนคนทั้งหลายพึงทาน้ำดีหมีที่จมูก

ลูกสุนัขที่ดุร้าย ลูกสุนัขนั้นจะเป็นสัตว์ดุร้ายขึ้นยิ่งกว่าประมาณ ด้วยอาการ

อย่างนี้แล แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อชาตสัตตุกุมารจักไปสู่ที่บำรุงของ

เทวทัต ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ด้วยรถ ๕๐๐ คัน แลจักนำภัตตาหาร ๕๐๐

สำรับไปด้วย สักกี่วัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพึงหวังความเสื่อมใน

กุศลธรรมทั้งหลายถ่ายเดียว หวังความเจริญไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ต้นกล้วยย่อมเผล็ดผลเพื่อฆ่าตน ย่อมเผล็ดผลเพื่อความวอดวาย

ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญก็เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภ

สักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือน

กันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้ไผ่ย่อมตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความ

วอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญก็

เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัด

เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้อ้อย่อม

ตกขุยเพื่อฆ่าตน ย่อมตกขุยเพื่อความวอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและ

ความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม่ม้าอัสดรย่อมตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตน ย่อมตั้งครรภ์เพื่อความ

วอดวาย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญก็

เกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัต

เพื่อความวอดวาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๓๖๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์บาลีนี้แล้ว จึงตรัสคาถา

ประพันธ์ ดังต่อไปนี้ :-

ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อม

ฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะ

ย่อมฆ่าคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดใน

ครรภ์ ย่อมฆ่าแม้ม้าอัสดร ฉะนั้น.

ปฐมภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์

[๓๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันบริษัทหมู่ใหญ่

แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมทั้งพระราชา ครั้งนั้น

พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีไปทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอ

พระองค์จงทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบ

ภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจที่จะ

ปกครองภิกษุสงฆ์เลย.

แม้ครั้งที่สอง . . .

แม้ครั้งที่สาม พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคะจ้าว่า พระ-

พุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อม

แล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงขวนขวายน้อย

ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า

ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเทวทัต แม้แต่สารีบุตรและ

โมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอผู้ เช่นซากศพ

ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า.

ทีนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุกรานเรากลางบริษัท

พร้อมด้วยพระราชา ด้วยวาทะว่าบริโภคปัจจัยดุจก้อนเขฬะ ทรงยกย่องแต่

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ดังนี้ จึงโกรธ น้อยใจ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วกลับไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

นี่แหละ พระเทวทัตได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นครั้งแรก.

ปกาสนียกรรม

[๓๖๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่

เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง

พระเทวทัตทำอย่างใด ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม

หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงทำอย่างนี้

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาทำปกาสนียกรรม

ท่านเจ้าข้า ขอพระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ-

เทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีก

อย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า

พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ

ตัวเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนัยกรรมใน

กรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง

เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึง

เห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์

แก่พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้

เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็น

ว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ

ตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์ อันสงฆ์กระทำแล้ว แก่

พระเทวทัตว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น

อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่า

พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะ

ตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้

ไว้ด้วยอย่างนี้.

[๓๖๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนสารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์.

ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวชมพระ-

เทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก

ข้าพระพุทธเจ้าจะประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร เธอกล่าวชมเทวทัตในกรุงราชคฤห์เเล้ว เท่าที่

เป็นจริงว่า โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก.

ส. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร เธอจงประกาศเทวทัตในกรุงราชคฤห์เท่าที่

เป็นจริง เหมือนอย่างนั้นแล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

ท่านพระสารีบุตร ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว.

[๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงสมมติสารีบุตรเพื่อประกาศเทวทัตใน

กรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่าง

หนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม

หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวเทวทัตเอง.

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้

พึงขอร้องสารีบุตรก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ

ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

กรรมวาจาสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติท่านพระสารีบุตรเพื่อประกาศพระ -

เทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง

เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่

พึงเห็นว่า พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึง

เห็นเฉพาะตัว พระเทวทัตเอง นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติท่านพระสารี-

บุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต

ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

ด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์

เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง การสมมติท่านพระ

สารีบุตรเพื่อประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระ

เทวทัตก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำ

อย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นพระพุทธ พระธรรม หรือพระ-

สงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่ท่าน

ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ท่านพระสารีบุตรอันสงฆ์สมมติแล้ว เพื่อประกาศพระ-

เทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง

เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่

พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น

เฉพาะตัวพระเทวทัตเอง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง

ความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๓๖๕] ก็ท่านพระสารีบุตรได้รับสมมติแล้ว จึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์

พร้อมกับภิกษุมากรูป แล้วได้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ว่า ปกติ

ของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต

ทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์

เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

ประชาชนในกรุงราชคฤห์นั้นพวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสไร้ปัญญา

ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนริษยา

ย่อมเกียดกันลาภสักการะของพระเทวทัต

ส่วนประชาชนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต มีปัญญาดี

กล่าวอย่างนี้ว่า เรื่องนี้คงจักไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งให้ประกาศพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

เรื่องอชาตสัตตุกุมาร

[๓๖๖] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วได้กล่าว

ว่า ดูก่อนกุมาร เมื่อก่อนคนทั้งหลายมีอายุยืน เดี๋ยวนี้มีอายุสั้น ก็การที่ท่าน

จะพึงตายเสียเมื่อยังเป็นเด็ก นั่นเป็นฐานะจะมีได้ ดูก่อนกุมาร ถ้ากระนั้น

ท่านจงปลงพระชนม์พระชนกเสียแล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระ-

ชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเป็นพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น อชาตสัตตุกุมารคิดว่า

พระผู้เป็นเจ้า เทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตพึงทราบ

แน่ แล้วเหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรับเสด็จ

เข้าไปภายในพระราชวังแต่เวลากลางวัน พวกมหาอำมาตย์ผู้รักษาภายในพระ-

ราชวัง ได้แลเห็นอชาตสัตตุกุมารทรงกลัว หวั่นหวาด สะดุ้งพระทัยรีบเสด็จ

เข้ามาภายในพระราชวัง แต่เวลากลางวัน จึงรีบจับไว้ มหาอำมาตย์เหล่านั้น

ตรวจค้นพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลาแล้วได้ทูลถามอชาตสัตตุกุมารว่า พระองค์

ประสงค์จะทำการอันใด พระเจ้าข้า

อ. เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก

ม. ใครใช้พระองค์

อ. พระผู้เป็นเจ้าเทวทัต

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระชนม์พระกุมาร

ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะ

พวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต

มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระ-

กุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระ-

ราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

[๓๖๗] ครั้งนั้น มหาอำมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตสัตตุกุมารเข้าไปเฝ้า

พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารจอม

เสนามาคธราช

พิ. ดูก่อนพนาย มหาอำมาตย์ทั้งหลายลงมติอย่างไร

ม. ขอเดชะ มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระ-

ชนม์พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด มหาอำมาตย์บางพวก

ได้ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิดอะไร ควรปลง

พระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัต มหาอำมาตย์บางพวกได้ลงมติอย่างนี้ว่า

ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ

ควรกราบทูลพระราชา พระราชารับสั่งอย่างใด พวกเราจักทำอย่างนั้น

พิ. ดูก่อนพนาย พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ จักทำอะไร

ได้ชั้นแรกทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประกาศพระเทวทัต ในกรุง

ราชคฤห์มิใช่หรือว่า ปกติของพระเทวทัต ก่อนเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็น

อีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตทำอย่างใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ

พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นเฉพาะตัวพระเทวทัตเอง

บรรดามหาอำมาตย์ เหล่านั้น พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ควรปลงพระ-

ชนม์พระกุมาร ควรฆ่าพระเทวทัต และภิกษุทั้งหมด พระราชาได้ทรงถอดยศ

พวกเธอเสีย

พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ เพราะพวกภิกษุไม่ผิด

อะไร ควรปลงพระชนม์ระกุมาร และฆ่าพระเทวทัต พระราชาได้ทรงลด

ตำแหน่งพวกเธอ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

พวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่า

พระเทวทัต ไม่ควรฆ่าพวกภิกษุ ควรกราบทูลพระราชา พระราชาสั่งอย่างใด

พวกเราจักทำอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเลื่อนตำแหน่งพวกเธอ

ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้รับสั่งถาม อชา-

สัตตุกุมารว่า ลูก เจ้าต้องการฆ่าพ่อเพื่ออะไร

อชาตสัตตุกุมารกราบทูลว่า หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระพุทธ-

เจ้าข้า

พระราชาตรัสว่า ลูก ถ้าเจ้าต้องการราชสมบัติ ราชสมบัตินั้นเป็น

ของเจ้าแล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตสัตตุกุมาร.

พระเทวทัตส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา

[๓๖๘] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตสัตตุกุมาร แล้วถวาย

พระพรว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงรับสั่งใช้ ราชบุรุษผู้จักปลง

พระชนม์ พระสมณโคดม ลำดับนั้น อชาตสัตตุกุมาร รับสั่งใช้คนทั้งหลาย

ว่า พนาย พระผู้เป็นเจ้าเทวทัตสั่งอย่างใด ท่านทั้งหลายจงทำอย่างนั้น ลำดับ

นั้น พระเทวทัตจึงสั่งราชบุรุษคนหนึ่งว่า เจ้าจงไป พระสมณโคดมประทับ

อยู่ในโอกาสโน้น จงปลงพระชนม์พระองค์แล้วจงมาทางนี้ ดังนี้ ซุ่มราชบุรุษ

ไว้ ๒ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษใดมาทางนี้ลำพังผู้เดียว เจ้าทั้งสองจง

ฆ่าราชบุรุษนั้นแล้วมาทางนี้ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๔ คนริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษ

เหล่าใดมาทางนี้ ๒ คน เจ้าทั้ง ๔ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๒ คนนั้น แล้วมาทาง

นี้ ได้ซุ่มบุรุษไว้ ๘ คน ริมทางนั้นด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๔ คน

เจ้าทั้ง ๘ คน จงฆ่าราชบุรุษ ๔ คนนั้นแล้วมาทางนี้ ได้ซุ่มราชบุรุษไว้ ๑๖

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

คนริมทางนั้น ด้วยสั่งว่า ราชบุรุษเหล่าใดมาทางนี้ ๘ คน เจ้าทั้ง ๑๖ คน จง

ฆ่าราชบุรุษ ๘ คนนั้นแล้วมา.

ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

[๓๖๙] ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง

ได้ยืนอยู่ในที่ไม่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นบุรุษนั้น ผู้

กลัว หวั่นหวาด สะทกสะท้าน มีกายแข็ง ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะบุรุษ

นั้นว่า มาเถิด เจ้าอย่ากลัวเลย จึงบุรุษนั้นวางดาบและโล่ปลดแล่งธนูวางไว้

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบศีรษะลงแทบพระ-

บาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โทษมาถึง

ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าตามความโง่ ตามความหลง ตามอกุศล เพราะข้าพระพุทธ

เจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่าเข้ามาถึงที่นี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด

รับโทษของข้าพระพุทธเจ้านั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไป

พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาเถอะเจ้า โทษมาถึงเจ้าตามความโง่

ตามความหลง ตามอกุศล เพราะเจ้ามีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดจะฆ่า เข้า

มาถึงที่นี้ เมื่อใดเจ้าเห็นโทษ โดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เมื่อนั้น

เรารับโทษนั้นของเจ้า เพราะผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตาม

ธรรม ถึงความสำรวมต่อไป ข้อนั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษนั้น คือ

ทรงแสดงทาน ศีล สวรรค์ และอาทีนพ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง

ของกามทั้งหลาย แล้วจึงทรงประกาศอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อพระผู้มี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

พระภาคเจ้าทรงทราบว่า บุรุษนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์

มีจิตสูงขึ้น มีจิตผ่องใส จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็น

ธรรมปราศจากธุลีปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ ที่นั่นนั้นแล ดุจ

ผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น ครั้งนั้น

บุรุษนั้นมีธรรมอันเห็นแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มี

ธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย

ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอ

ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำ

เดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกะบุรุษนั้นว่า เจ้าอย่าไปทางนี้

จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น.

[๓๗๐] ครั้งนั้น บุรุษสองคนนั้นคิดว่า ทำไมหนอ บุรุษคนเคียว

นั้นจึงมาช้านัก. แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ

โคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๒ คน

นั้น . . .พวกเขา. . .ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระ -

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า .. .ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วัน

นี้เป็นต้นไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกะบุรุษทั้งสองนั้นว่า เจ้าทั้งสอง

นั้นว่า เจ้าทั้งสองอย่าไปทางนี้ จงไปทางนี้ แล้วทรงส่งไปทางอื่น.

[๓๗๑] ครั้งนั้น บุรุษ ๔ คนนั้น...

ครั้งนั้น บุรุษ ๘ คนนั้น...

ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้น คิดว่า ทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นมาช้า

นัก แล้วเดินสวนทางไป ได้ไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่โคน

ไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษ ๑๖ คนนั้น คือ

ทรงแสดงทาน ศีล . . .พวกเขา . . .ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า . . . ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๖ คนว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึง

สรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

ครั้งนั้น บุรุษคนเดียวนั้นได้เข้าไปหาพระเทวทัต แล้วได้กล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า กระผมไม่สามารถจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ได้ เพราะพระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พระเทวทัตจึงกล่าวว่า อย่า

เลยเจ้า อย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย เรานี้แหละจักปลงพระชนม์พระ-

สมณโคดม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

พระเทวทัตทำโลหิตุปบาท

[๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ ณ เขาคิชฌ-

กูฏบรรพต ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นสู่คิชฌกูฏบรรพต แล้วกลิ้งศิลากอันใหญ่

ด้วยหมายใจว่า จักปลงพระชนม์พระสมณโคดมด้วยศิลานี้ ยอดบรรพตทั้งสอง

น้อมมารับศิลานั้นไว้ สะเก็ดกระเด็นจากศิลานั้นต้องพระบาทของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นแล้วขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแหงนขึ้น

ไปได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอสั่งสมบาปมิใช่บุญไว้มากนัก

เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตคิดฆ่ายังโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้จัดเป็น

อนันตริยกรรมข้อที่ ๑ ที่เทวทัตสั่งสมแล้ว เพราะเธอ มีจิตคิดประทุษร้าย

มีจิตคิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระ-

เทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุเหล่านั้นจงกรม

อยู่รอบ ๆ วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำการสาธยายมีเสียงสูงเสียงดัง เพื่อ

รักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียง

สาธยาย มีเสียงเซ็งแซ่ แล้วรับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ นั่น

เสียงสาธยาย มีเสียงเซ็งแซ่ อะไรกัน.

ท่านอานนท์ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า

พระเทวทัตได้ประกอบการปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุเหล่านั้นจง

กรมอยู่รอบ ๆ วิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าทำการสาธยายมีเสียงเซ็งแซ่ เพื่อ

รักษาคุ้มครองป้องกันพระผู้มีพระภาคเจ้า เสียงนั้นนั่น เป็นเสียงสาธยาย มี

เสียงเซ็งแซ่ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกภิกษุ

ทั้งหลายเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์ แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่า

นั้นแจ้งให้ทราบว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบ

ร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลง

ชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่นนั่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะ

พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

ตรัสเรื่องศาสดา ๕ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวก

เป็นไฉน คือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่าเรา

เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวก

ทั้งหลาย ย่อมรู้ซึ่งศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีศีลไมี

บริสุทธิ์ย่อมปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์

ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี่แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้น

ไม่พึงมีความพอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมี พวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดา

นั้นด้วยความไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้นย่อมนับถือบูชาเราด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้

ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย ย่อม

รักษาศาสดาเห็นปานนี้โดยศีล ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษาโดย

ศีลจากสาวกทั้งหลาย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี

อาชีวะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้นโดยอาชีวะ ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น

ย่อมหวังการรักษาโดยอาชีวะจากสาวกทั้งหลาย.

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี

ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์...ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนั้น โดยธรรมเทศนา

ก็แลศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยธรรมเทศนา จากสาวก

ทั้งหลาย

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี

ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์... ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็นปานนัยโดยไวยากรณ์ ก็แล

ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดยไวยากรณ์ จากสาวกทั้งหลาย.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็นผู้มี

ญาณทัสนะไม่บริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และว่า

ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง สาวกทั้งหลายย่อมรู้ซึ่ง

ศาสดานั้นนั่นอย่างนี้ว่า ศาสดาผู้เจริญนี้แล เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์

ปฏิญาณว่าเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ และญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

ไม่เศร้าหมอง ก็พวกเรานี้แหละพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ศาสดานั้นไม่พึงมีความ

พอใจ ก็ความไม่พอใจใดแลจะพึงมีพวกเราจะพึงกล่าวกะศาสดานั้นด้วยความ

ไม่พอใจนั้นอย่างไร ก็ศาสดานั้น ย่อมนับถือบูชาเรา ด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านจักทำกรรมใดไว้ ท่านก็จักปรากฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

ด้วยกรรมนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายย่อมรักษาศาสดาเห็น

ปานนั้นโดยญาณทัสสนะ ก็แล ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมหวังการรักษา โดย

ญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิญาณวา เราเป็นผู้

มีศีลบริสุทธิ์ และว่า ศีลของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และสาวก

ทั้งหลาย ย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษาโดยศีล จาก

สาวกทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. . .

. . . เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์. . .

. . . เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ . . .

. . . เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ปฏิญาณว่า เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะ

บริสุทธิ์ และว่า ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่เศร้าหมอง และ

สาวกทั้งหลายย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ย่อมไม่หวังการรักษา

โดยญาณทัสสนะ จากสาวกทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคต ด้วยความพยายาม

ของผู้อื่นนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่ปริ-

นิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปที่อยู่ตามเดิม พระตถาคตทั้งหลาย

อันพวกเธอไม่ต้องรักษา.

ปล่อยช้างนาฬาคิรี

[๓๗๗] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีช้างชื่อนาฬาคิรี เป็นสัตว์ดุร้าย

ฆ่ามนุษย์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้วไปยังโรงช้างได้กล่าวกะ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

พวกควาญช้างว่า พนาย เราเป็นพระราชญาติ สามารถจะแต่งตั้งผู้ที่อยู่ใน

ตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูงได้ สามารถจะเพิ่มได้ทั้งเบี้ยเลี้ยงและเงินเดือน

พนาย ถ้ากระนั้น เวลาใดพระสมณโคดมทรงพระดำเนินมาตรอกนี้ เวลานั้น

พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไปยังตรอกนี้ ควาญช้างเหล่านั้นรับคำพระ-

เทวทัตแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้วทรง

ถือบาตร จีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมกับภิกษุมากรูป ทรงพระ

ดำเนินถึงตรอกนั้น ควาญช้างเหล่านั้นได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ

ดำเนินถึงตรอกนั้น จึงปล่อยช้างนาฬาคิรีให้ไปยังตรอกนั้น ช้างนาฬาคิรีได้

แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำเนินมาแต่ไกลเทียว แล้วได้ชูงวง หู

ชัน หางชี้ วิ่งรี่ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุเหล่านั้นได้แลเห็นช้างนาฬา-

คิรีวิ่งมาแต่ไกลเทียว แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า

ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้แล้ว ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด พระพุทธ

เจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธออย่ากลัวเลย

ข้อที่บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่

โอกาสเพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุเหล่านั้น. . .

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ-

พุทธเจ้าข้า ช้างนาฬาคิรีนี้ ดุร้าย หยาบช้า ฆ่ามนุษย์ เดินเข้ามายังตรอกนี้

แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จกลับเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จกลับเถิด

พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย อย่ากลัวเลย ข้อที่

บุคคลจะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่

โอกาสเพราะพระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพานด้วยความพยายามของผู้อื่น.

[๓๗๘] คราวนั้น คนทั้งหลาย หนีขึ้นไปอยู่บนปราสาทบ้าง บน

เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง บรรดาคนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่

เลื่อมใสไร้ปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราผู้เจริญ พระมหาสมณโคดม พระ

รูปงาม จักถูกช้างเบียดเบียน.

ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส ฉลาด มีปัญญา กล่าวอย่างนี้ว่า ชาว

เราผู้เจริญ ไม่นานเท่าไรนัก พระพุทธนาคจักทรงทำสงครามกับช้าง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปสู่ช้างนาฬาคิรี.

ลำดับนั้น ช้างนาพาคิรีได้สัมผัสพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ลดงวงลงแล้วเข้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้าง

นาฬาคิรีพลางตรัสกะช้างนาฬาคิรี ด้วยพระคาถา ว่าดังนี้ :-

[๓๗๙] ดูก่อนกุญชร เจ้าอย่าเข้าไป

หาพระพุทธนาค เพราะการเข้าไปหาพระ-

พุทธนาคด้วยวธกจิตเป็นเหตุแห่งทุกข์ ผู้

ฆ่าพระพุทธนาคจากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าไม่มี

สุคติเลย เจ้าอย่าเมา และอย่าประมาท

เพราะคนเหล่านั้น เป็นผู้ประมาทแล้ว จะ

ไปสู่สุคติไม่ได้ เจ้านี่แหละ จักทำโดย

ประการที่จักไปสู่สุคติได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

[๓๘๐] ลำดับนั้น ช้างนาฬาคิรีเอางวงลูบละอองธุลีพระบาทของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพ่นลงบนกระหม่อม ย่อตัวถอยออกไปชั่วระยะที่แลเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไปสู่โรงช้างแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ของตน.

ก็แล ช้างนาฬาคิรีเป็นสัตว์อันพระพุทธนาคทรงทรมานแล้วด้วย

ประการนั้น.

[๓๘๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายขับร้องคาถานี้ ว่าดังนี้ :-

คนพวกหนึ่งย่อมฝึกช้างและม้า ด้วย

ใช้ท่อนไม้บ้าง ใช้ขอบ้าง ใช้แส้บ้าง

สมเด็จพระพุทธเจ้าผู้แสวงพระคุณใหญ่ทรง

ทรมานช้างโดยมิต้องใช้ท่อนไม้ มิต้องใช้

ศัสตรา.

คนทั้งหลายต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระเทวทัตนี้เป็น

คนมีบาป ไม่มีบุญ เพราะพยายามปลงพระชนม์พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก

อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ลาภสักการะของพระเทวทัตเสื่อม ส่วนลาภสัก-

การะของพระผู้มีพระภาคเจ้าเจริญยิ่งขึ้น.

[๓๘๒] สมัยต่อมา พระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะแล้ว พร้อมทั้ง

บริษัทได้เที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนทั้งหลายต่างก็เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงเที่ยวขอใน

สกุลทั้งหลายมาฉันเล่า ของที่ปรุงเสร็จแล้วใครจะไม่พอใจ ของที่ดีใครจะไม่

ชอบใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ พวก

ที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ตีเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

พร้อมกับบริษัท จึงเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระะผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. . ตรัสถามว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอ

พร้อมกับบริษัทเที่ยวขอในสกุลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ

โภชนะสำหรับ ๓ คนในสกุลแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ

คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่ผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อ

อนุเคราะห์สกุลด้วยหวังว่า ภิกษุทั้งหลายที่มีความปรารถนาลามกอย่าอาศัยฝัก

ฝ่ายทำลายสงฆ์ ๑ ในการฉันเป็นหมู่ พึงปรับอาบัติตามธรรม.

เรื่องวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๓] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรก-

ติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุทรทัตตะ แล้วได้กล่าวว่า มาเถิดท่าน

ทั้งหลาย พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัต

กล่าวอย่างนี้แล้ว.

พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่สมณโคดมอย่างไรได้.

พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระ-

สมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณแห่ง

ความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า

เลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

เจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ

ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภ

ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุ

ทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้อง

โทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดี

กิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต

รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น พึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็น

วัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่

พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ

พระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น จักให้ประ-

ชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้.

พระโกกาลิกะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราสามารถเพื่อทำสังฆเภท

จักรเภท แก่สมณโคดมด้วยวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ เพราะมนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใส

ในความปฏิบัติเศร้าหมอง.

ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๔] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ

แห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่

น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธ

เจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้

สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส

ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึง

ต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดี

กิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต

รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้

เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลาย

ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา

ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงอยู่ในบ้าน รูปใดปราถนา

จงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปารถนา จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปราร-

ถนา จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร เราอนุญาต

โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม

ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ.

ครั้งนั้น พระเทวทัตคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต วัตถุ

๕ ประการนี้ จึงร่าเริงดีใจพร้อมกับบริษัทลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณ แล้วกลับไป.

โฆษณาวัตถุ ๕ ประการ

[๓๘๕] ต่อมา พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว

ประกาศให้ประชาชนเข้าใจวัตถุ ๕ ประการว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาตมาเข้า

ไปเฝ้าพระสมณโคดมทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ -

ภาคเจ้าตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย. . . การปรารภความเพียร โดยอเนก

ปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มัก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

น้อย. . . การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน

พระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่

รูปนั้นพึงต้องโทษ... ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใด

ฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่

ทรงอนุญาต แต่พวกอาตมาสมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้.

[๓๘๖] บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส

ไร้ปัญญากล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรเหล่านั้น เป็นผู้กำจัด

มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระสมณโคดมประพฤติมักมาก ย่อมคิดเพื่อความ

มักมาก.

ส่วนพวกที่มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นผู้ฉลาด มีปัญญา ย่อมเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำ

ลายจักรเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต

จึงได้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอ

พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ.

พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำ

ลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์มีโทษหนักนัก ผู้ใดทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรีองกัน

ย่อมประสบโทษตั้งกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป ส่วนผู้ใดสมานสงฆ์ผู้แตกกัน

แล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

ตลอดกัป อย่าเลย เทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์เลย เพราะการทำ

ลายสงฆ์มีโทษหนักนัก.

[๓๘๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งอันตรวาสก ถือ

บาตร จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตได้พบท่านพระ-

อานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์

แล้วได้กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำ

สังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ครั้นท่านพระอานนท์

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์แล้ว เวลาปัจฉาภัตร กลับจากบิณฑบาตเข้าเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อย

แล้วจึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เมื่อเช้านี้ข้าพระพุทธเจ้านุ่งอันตรวาสก

ถือบาตร และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระพุทธ-

เจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ แล้วเข้ามาหาข้าพระพุทธเจ้า ครั้นแล้ว

กล่าวว่า ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผมจักทำอุโบสถ จักทำสังฆกรรม

แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ วันนี้พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์

พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทาน

ในเวลานั้น ว่าดังนี้ :-

[๓๘๘] ความดี คนดีทำง่าย ความดี

คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่

อารยชน ทำความชั่วได้ยาก.

ทุติยภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

พระเทวทัตหาพรรคพวก

[๓๘๙] ครั้งนั้น ถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศ

ให้ภิกษุทั้งหลายจับสลากว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณ

แห่งความเป็นผู้มักน้อย . . . การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย วัตถุ ๕

ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย. . . การปรารภความเพียร โดย

อเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่ป่า

เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ... ภิกษุทั้งหลาย

ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดพึงฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น พึงต้องโทษ

วัตถุ ๕ ประการนี้ พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาต แต่พวกเรานั้นย่อมสมาทาน

ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการนี้ วัตถุ ๕ ประการนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นจงจับสลาก.

[๓๙๐] สมัยนั้น พระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ประมาณ ๕๐๐ รูป

เป็นพระบวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พวกเธอจับสลากด้วยเข้าใจว่า

นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ลำดับนั้น พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูป หลีกไปทางคยาสีสู่ประเทศ.

[๓๙๑] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว

พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปหลีกไปทางคยาสีสะประเทศ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร โมคคัลลานะ พวกเธอ

จักมีความการุญในภิกษุใหม่เหล่านั้นมิใช่หรือ พวกเธอจงรีบไป ภิกษุเหล่านั้น

กำลังจะถึงความย่อยยับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว ลุก

จากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เดินทางไปคยาสีสะ

ประเทศ.

เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง

[๓๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค-

เจ้า จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

เป็นอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปในสำนักพระเทวทัต คงจะชอบใจ

ธรรมของพระเทวทัต

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ข้อที่สารีบุตรโมคคัลลานะ

จะพึงชอบใจธรรมของเทวทัต นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่เธอทั้งสองไป

เพื่อซ้อมความเข้าใจกะภิกษุ.

พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ

[๓๙๓] สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่ง

แสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึง

เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว

พระสารีบุตรโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา

ต้องชอบใจธรรมของเรา เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้

กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความ

ปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่า อย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะ

ชอบใจธรรมของเรา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะกึ่งหนึ่ง

ว่า มาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า

อย่าเลยท่าน แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะก็ถืออาสนะเเห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น

พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง

หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศ

จากถิ่นมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลัง

จักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้า

สังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวา เธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ

ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป.

[๓๙๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลาย

ด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปฏิหาริย์ ท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะกล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วย

อิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำ

สอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมค-

คัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตา

เห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ

เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ทีนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้นั้นจงมา

ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้น

เข้าไปทางพระเวฬุวัน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า ท่านเทวทัต

ลุกขึ้นเถิด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอก

ท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเธอ

ทั้งสองมีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามก

ครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง.

[๓๙๕] ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทาน

พระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุ

ผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุ

ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร

ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุ

ทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้

รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถิ่นมิทธะแล้ว

ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด

พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉัน นั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า.

[๓๙๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระ

นั้นอยู่และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวล้างให้สะอาด

จนไม่มีตมแล้วเคี้ยวกลืนกินเหง้าและรากบัวนั้น เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุง

วรรณะและกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือ

ความทุกข์ปางตายมีข้อนั่นเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็ก ๆ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้น และพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัว

แล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุง

วรรณะและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น และพวกมั่นย่อมเข้าถึงความตาย หรือ

ความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเรา

จักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกัน .

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้ :-

[๓๙๗] เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน

กินเหง้าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเหง้าบัว

ทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบ

เราแล้วจักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น .

องค์แห่งทูต

[๓๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำ

หน้าที่ทูต องค์ ๘ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. รับฟัง

๒. ให้ผู้อื่นฟัง

๓. กำหนด

๔. ทรงจำ

๕. เข้าใจความ

๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ

๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

๘. ไม่ก่อความทะเลาะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ควรทำหน้าที่ทูต.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

[๓๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ควรทำ

หน้าที่ทูต องค์ ๘ เป็นไฉน คือ:-

๑. สารีบุตรเป็นผู้รับฟัง

๒. ให้ผู้อื่นฟัง

๓. กำหนด

๔. ทรงจำ

๕. เข้าใจความ

๖. ให้ผู้อื่นเข้าใจความ

๗. ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

๘. ไม่ก่อความทะเลาะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล ควรทำ

หน้าที่ทูต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้ :-

[๔๐๐] ภิกษุใด เข้าไปสู่บริษัทที่พูด

คำหยาบก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ยังคำพูดให้

เสีย ไม่ปกปิดข่าวสาส์นพูดจนหมดความ

สงสัย และถูถถามก็ไม่โกรธ ภิกษุผู้เช่นนั้น

แล ย่อมควรทำหน้าที่ทูต.

พระเทวทัตจักเกิดในอบาย

[๔๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการ

ครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม

๘ ประการ เป็นไฉน คือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

๑. เทวทัตมีจิตอันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก

ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

๒. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว . . .

๓. เทวทัตมีจิตอันยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๔. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ....

๕. เทวทัตมีจิตอันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๖. เทวทัตมีจิตอันความเสื่อมสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๗. เทวทัตมีจิตอันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...

๘. เทวทัตมีจิตอันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย

ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล

ครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ทั่งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

...ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกทีเกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่

เกิดขึ้นแล้วอยู่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

. . .ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

ภิกษุครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลาย

ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้ว

อยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย

อาการอย่างนี้.

ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . . .

. . .ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ .. .

. . .ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

เมื่อเธอไม่ครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสนะทั้งหลาย

ที่ทำความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น.

. . .ครอบงำ ย่ำยี ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้น

ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พึงครอบงำ

ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่.

. . .ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ . . .

. . .ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้ว อยู่. . .

พึงครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่.

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาว่า พวกเราจัก

ครอบงำ ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

. . .ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

.. . ความปรารถนาลามก เกิดขึ้นแล้วอยู่.

พวกเราจักครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๔๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ

ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

๑. ความปรารถนาลามก

๒. ความมีมิตรชั่ว

๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงคั่นต่ำ ก็เลิกเสียในระหว่าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล

ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป. ช่วยเหลือไม่ได้.

นิคมคาถา

[๔๐๓] ใคร ๆ จงอย่าเกิดเป็นคน

ปรารถนาลามกในโลก ท่านทั้งหลายจงรู้จัก

เทวทัตนั้นตามเหตุแม้นี้ว่า มีคติเหมือนคติ

ของคนปรารถนาลามก เทวทัตปรากฏว่า

เป็นบัณฑิต รู้กันว่าเป็นผู้อบรมตนแล้ว เรา

ก็ได้ทราบว่าเทวทัตตั้งอยู่ดุจผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ

เธอสั่งสมความประมาทเบียดเบียนตถาคต

นั้น จึงตกนรกอเวจี มีประตูถึง ๔ ประตู

อันน่ากลัว ก็ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่

ประทุษร้าย ผู้ไม่ทำบาปกรรม บาปย่อมถูก

ต้องเฉพาะผู้นั้น ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่

เอื้อเฟื้อ ผู้ใดตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร

ด้วยยาพิษเป็นหม้อ ๆ ผู้นั้น ไม่ควรประทุษ-

ร้ายด้วยยาพิษนั้นเพราะมหาสมุทรเป็นสิ่งที่

น่ากลัว ฉันใด ผู้ใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จ

ไปดีแล้ว มีพระทัยสงบ ด้วยกล่าวติเตียน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

การกล่าวติเตียนในตถาคตนั้นฟังไม่ขึ้น

ฉันนั่นเหมือนกัน ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคา

ของพระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า

พระองค์ใด พึงถึงความสิ้นทุกข์ บัณฑิต

พึงกระทำพระพุทธเจ้า หรือสาวกของ

พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนั้นให้เป็นมิตร และพึง

คบหาท่าน. .

สังฆราชี

[๔๐๔] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอุบาลีนั่งเรียบร้อยแล้วได้

กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆราชี สังฆราชี ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท ด้วยเหตุเพียงเท่าไร

เป็นทั้งสังฆราชี และสังฆเภท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุหนึ่งรูป

ฝ่ายหนึ่งมี ๒ รูป รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์

ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบายลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้

เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๒ รูป รูปที่ ๕

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้

จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็น

สังฆเภท.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๒ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้

จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุนาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ก็เป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็น

สังฆเภท.

ดูก่อนอบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ

สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี

แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๓ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ

สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ก็เป็นสังฆราชี

แต่ไม่เป็นสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ

สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูก่อนอุบาลี แม้ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นทั้งสังฆราชี

และสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุ ๙ รูป หรือเกินกว่า ๙ รูป เป็นทั้งสังฆราชี

และสังฆเภท.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ย่อมไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้

สิกขมานา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

สามเณรก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

สามเณรีก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

อุบาสกก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ .

อุบาสิกาก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ แต่พยายามเพื่อจะทำลายได้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุปกตัตตะ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสีมาเดียวกัน

ย่อมทำลายสงฆ์ได้.

สังฆเภท

[๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า

สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม

๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม

๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย

๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย

๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส

ภาษิตไว้

๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัส

ภาษิตไว้

๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรม

อันตถาคตประพฤติมา

๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิ

ได้ประพฤติมา

๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้

๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้

๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ

๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา

๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อม

แยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม

ดูก่อนอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว

สังฆสามัคคี

[๔๐๖] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า

สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงพร้อมเพรียงกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

๑. ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่า ไม่เป็นธรรม

๒. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่า เป็นธรรม

๓. ย่อมแสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย

๔. ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย

๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิ

ได้ตรัสภาษิตไว้

๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคต ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัส

ภาษิตไว้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรม

อันตถาคตมิได้ประพฤติมา

๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้วว่า เป็นกรรม

อันตถาคตประพฤติมาแล้ว

๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต มิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้

บัญญัติไว้

๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้

๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ

๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ

๑๓. ยอมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา

๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก

๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ

๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้

๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ

พวกเธอย่อมไม่ประกาศให้แตกแยกกันด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อม

ไม่แยกทำอุโบสถ ย่อมไม่แยกทำปวารณา ย่อมไม่แยกทำสังฆกรรม

ดูก่อนอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันพร้อมเพรียงกัน.

[๔๐๗] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุนั้นทำลาย

สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว จะได้รับผลอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้พร้อม-

เพรียงกันแล้ว ย่อมได้รับผลชั่วร้าย ตั้งอยู่ชั่วกัป ย่อมไหม้ในนรกตลอดกัป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

นิคมคาถา

[๔๐๘] ภิกษุทำลายสงฆ์ต้องเกิดใน

อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ภิกษุผู้ยินดีในการ

แตกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมเสื่อมจาก

ธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุทำลายสงฆ์ผู้

พร้อมเพรียงกัน แล้วย่อมไหม้ในนรกตลอด

กัป.

[๔๐๙] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุสมานสงฆ์

ที่แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะได้รับผลอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุสมานสงฆ์ที่แตกกัน

แล้วให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมได้บุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์

ตลอดกัป.

นิคมคาถา

[๔๑๐] ความพร้อมเพรียงของหมู่

เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อม

เพียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีใน

ความพร้อมเพรียงตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่

เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมาน

สงฆ์ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิง

ในสรวงสวรรค์ตลอดกัป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย

[๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้

ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดใน

อบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดใน

อบาย ไม่ตกนรก ไม่ตั้งอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก

ไม่ตั้งอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก

อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน

พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม

มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม

อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความ

จริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย

จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก

อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม

นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น

อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้

จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ

ใจสลากนี้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่

ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม

นั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง

ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลาก

ว่านี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก

อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน

อธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม . . .

. . .มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตก

กัน. . .

. . . มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น

อธรรม. . .

. . . มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น

ธรรม. . .

. . . มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง

ความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อม

ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ

สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก

อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม. . . ย่อมแสดงสิ่งมิ

ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัส

ภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิต

ไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประ-

พฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตพระพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงกรรมอัน ตถาคตประ-

พฤติมาแล้วว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้พระพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต

มิได้บัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า

เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติ

ว่าเป็นอนาบัติ ย่อมแสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า

เป็นอาบัติเบา ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ย่อม

แสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบ

ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มี

ความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม

มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม

มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความ

เห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มี

ความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน มีความสงสัย

ในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในธรรม

นั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น มี

ความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพราง

ความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย

นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก

อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้.

ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย

[๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลาย

สงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม

แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็น

ในความความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูก

ใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า

นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตก

นรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้.

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม . . . ย่อมแสดงอาบัติ

ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความ

เห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ

ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้.

ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตก

นรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้.

ตติยภาณวาร จบ

สังฆเภทขันธกะที่ ๗ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

หัวข้อประจำขันธกะ

[๔๑๓] เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่อนุปิยนิคม เรื่องศากยกุมารผู้มี

ชื่อเสียง เรื่องพระอนุรุทธะสุขุมาลชาติไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เรื่องไถ หว่าน

ไขน้ำ ถอนหญ้า เกี่ยวข้าว ขนข้าวตั้งลอม นวดข้าว สงฟาง โปรยข้าวลีบ

ขนขึ้นฉาง เรื่องการงานไม่สิ้นสุด มารดา บิดา ปู่ย่า ตายาย ตายไปหมด

เรื่องพระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัคคุ พระกิมพิละ สำคัญ

พระองค์ว่าเป็นศากยะ เรื่องพระพุทธเจ้าประทับที่เมืองโกสัมพี เรื่องพระเทว-

ทัตเสื่อมจากฤทธิ์ เรื่องกักกุธโกฬิยบุตรตาย เรื่องประกาศพระเทวทัต เรื่อง

ปลงพระชนม์พระชนก เรื่องส่งบุรุษ เรื่องกลิ้งศิลา เรื่องปล่อยช้างนาฬาคิรี

เรื่องอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ เรื่องวัตถุ ๕ ประการ เรื่องทำลายสงฆ์มี

โทษหนัก เรื่องพระเทวทัตทำลายสงฆ์ เรื่องพระให้ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้

ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย เรื่ององค์ ๘ สามเรื่อง เรื่องอสัทธรรม ๓

ประการ เรื่องสังฆราชี เรื่องสังฆเภท.

หัวข้อประจำขัมธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

สังฆเภทักขันธกวรรณนา

วินิจฉัยในสัฆเภทักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า อภิฺาตา อภิญฺาตา มีความว่า อมาตย์ ๑๐ คน

มีกาฬุทายีอมาตย์เป็นต้น พร้อมด้วยพวกบริวารและชนเป็นอันมากเหล่าอื่น

ชื่อศากยกุมารผู้ปรากฏแล้ว ๆ.

บทว่า อมฺหาก คือในเราทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า

จากสกุลของเราทั้งหลาย.

สองบทว่า ฆราวาสตฺถ อนุสิสฺสามิ มีความว่า กิจอันใดเธอพึง

ทำในฆราวาส พี่จักให้ทราบกิจนั้น.

บทว่า อติเนตพฺพ คือ พึงไขน้ำเข้า.

บทว่า นินฺเนตพฺพ มีความว่า น้ำจะเป็นของเสมอกันในที่ทั้งปวง

โดยประการใด พึงให้โดยประการนั้น.

บทว่า นิทฺทาเปตพฺพ คือ พึงดายหญ้า.

สองบทว่า ภุสิกา อุทฺธราเปตพฺพา มีความว่า ธัญชาติที่ปน

กับฟางละเอียด พึงคัดออกแม้จากฟาง.

บทว่า โอผุนาเปตพฺพ มีความว่า พึงยังลมให้ถือเอา (พึงให้ลม

พัด) เพื่อฝัคโปรยหญ้าและฟางละเอียดออก.

ข้อว่า เตนหิ ตฺวญฺเว ฆราวาสตฺเถน อุปชานาหิ มีความ

ว่า ท่านนั่นแลพึงทราบเพื่อการครองเรือน.

ในคำว่า อห ตยา ยถาสุข ปพฺพชาหิ นี้ พึงทราบเนื้อความ

ดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

อนุรุทธศากยะเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวโดยเร็ว ด้วยความรักในพระ -

สหายว่า เรากับท่านจักบวช เป็นผู้มีหฤทัยอันความโลภสิริราชสมบัติที่เหนี่ยว

รั้งไว้อีก กล่าวได้แต่เพียงว่า เรากับท่าน เท่านั้นแล้วไม่สามารถกล่าวคำที่เหลือ.

บทว่า นิปฺปาติตา มีความว่า กุมารทั้งหลาย อันอุบาลีนี้ให้ออก

ไปแล้ว .

บทว่า มานสิสิโน มีความว่า พวกหม่อนฉัน เป็นคนอันมานะ

อาศัยอยู่, มีคำอธิบายว่า พวกหม่อมฉันเป็นคนเจ้ามานะ.

ในบทว่า ปรทตฺตวุโต นี้มีความว่า ชื่อผู้เป็นไปด้วยปัจจัยอันชน

อื่นให้ เพราะเป็นผู้เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยอันผู้อื่นให้.

บาทแห่งคาถาว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา มีความว่า กิเลส

เครื่องยังจิตให้กำเริบทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มีในจิตของผู้ใด เพราะเหตุว่า ความ

โกรธนั้น เป็นกิเลสอันมรรคที่ ๓ ถอนเสียแล้ว.

ก็เพราะสมบัติชื่อว่าภวะ, วิบัติชื่อว่าวิภวะ, อนึ่ง ความเจริญชื่อว่าภวะ

ความเสื่อมชื่อว่าวิภวะ. ความเที่ยงชื่อว่าภวะ ความขาดสูญชื่อว่าวิภวะ. บุญ

ชื่อว่าภวะ, บาปชื่อว่าวิภวะ. คำว่า วิภวะ และ อภวะ นี้ เป็นอันเดียว

กันโดยใจความแท้; เหตุนั้นในบาทแห่งคาถาว่า อิติ ภวาภวตญฺจ วีติวตฺโต

นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้แลว่า ความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้น

คือ มีประการหลากหลายนั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจสมบัติ

และวิบัติ, ความเจริญและความเสื่อม, ความเที่ยงและความขาดสูญ, บุญและ

บาป ผู้นั้นก้าวล่วงความมีและความไม่มี มีประการอย่างนั้น ๆ โดยนัยนั้น

ตามสมควรแก่เหตุ ด้วยมรรคแม้ ๔.

บทว่า นานุภวนฺติ มีความว่า ย่อมไม่สามารถ, อธิบายว่า การ

เห็นบุคคลนั้น แม้เทวดาทั้งหลาย ก็ได้ด้วยยาก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

บทว่า อหิเมขลิกาย คือ พันงูไว้ที่สะเอว.

บทว่า อุจฺฉงฺเค ได้แก่ ที่อวัยวะทั้งหลาย.

บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ นับถือ.

หลายบทว่า ย ตุโม กริสฺสติ มีความว่า เขาจักกระทำซึ่งกรรมใด.

ในคำว่า เขฬสโก นี้ มีความว่า เทวทัต อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ผู้กินน้ำลาย เพราะคำอธิบายว่า ปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยมิจฉาชีพ อัน

พระอริยทั้งหลายพึงคายเสีย เป็นเช่นกับน้ำลาย, เทวทัตนี้ ย่อมกลืนกินซึ่ง

ปัจจัยเห็นปานนั้น.

สองบทว่า ปตฺถทฺเธน กาเยน มีความว่า มีกายแข็งทื่อคล้ายใบ

ลาน. เทวทัต เมื่อจะยกตนเองโดยสภาพที่เป็นพระญาติของพระราชาว่า พระ-

ราชาทรงรู้จักเรา จึงกล่าวว่า มย โข ภเณ ราชญาตกา นาม.

บทว่า ปหฏฺกณฺณวาโล มีความว่า ช้างนาฬาคีรีกระทำหูทั้ง ๒

ให้หยุดนิ่ง.

บทคาถาว่า ทุกฺข หิ กุญฺชร นาคมาสโท มีความว่า กุญชร

ผู้เจริญ ชื่อว่าการเข้าใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ไม่ยินดีด้วยจิตคิดฆ่า

เป็นทุกข์.

บทว่า นาคหตสฺส มีความว่า สุคติของบุคคลผู้ฆ่าพระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐ ย่อมไม่มี.

สองบทว่า ปฏิกุฏิโต ปฏิสกฺกิ มีความว่า ช้างนาฬาคิรี บ่ายหน้า

ไปหาพระตถาคตแล้ว ย่อลงด้วย ๒ เท้าหน้า.

ในบทว่า อลกฺขิโก นี้ มีความว่า เทวทัตนี้ย่อมไม่กำหนด. อธิบาย

ว่า ย่อมไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่กำหนดเทวทัตย่อมไม่รู้ว่า เราทำ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

กรรมลามกอยู่. เทวทัตนั้น อันใคร ๆ ไม่พึงกำหนดหมายได้ อธิบายว่า อัน

ใคร ๆ ไม่พึงเห็น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันใคร ๆ กำหนดไม่ได้ (ว่า

ลามกเพียงไร).

ในบทว่า ติกโภชน นี้ มีความว่า โภชนะอันชน ๓ คนพึงบริโภค.

สองบทว่า ต ปณฺาเปสฺสามิ มีความว่า เราจักอนุญาตติกโภชนะ

นั้น . แต่ในคณโภชนะ ภิกษุต้องทำตามธรรม.

บทว่า กปฺป ได้แก่ อายุกัลป์หนึ่ง.

บทว่า พฺรหฺมปุญฺ ได้แก่ บุญอันประเสริฐที่สุด.

สองบทว่า กปฺป สคฺคมฺหิ ได้แก่ อายุกัลป์ หนึ่งนั่นเอง.

หลายบทว่า อถ โข เทวทตฺโต สงฺฆ ภินฺทิตฺวา มีความว่า

ได้ยินว่า เทวทัตนั้น ครั้นให้จับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำอุโบสถแผนกหนึ่ง ใน

กรุงราชคฤห์นั้นนั่นแลแล้วจึงไป ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้ง-

หลาย จึงกล่าวคำนี้ว่า อถ โข เทวทตฺโต เป็นอาทิ.

หลายบทว่า ปีฏฺิ เม อาคิลายติ มีความว่า หลังของเรา ย่อม

เมื่อย เพราะมีเวทนากล้า ด้วยการนั่งนาน.

หลายบทว่า ตมห อายมิสฺสามิ มีความว่า เราจักเหยียดหลังนั้น.

ความรู้จิตของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่าน

เป็นอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ แล้วแสดงธรรมพอเหมาะเจาะแก่จิตของผู้อื่นนั้น ชื่อ

ว่า การพร่ำสอนมีการดักใจเป็นอัศจรรย์.

บทว่า มมานุกุพฺพ มีความว่า เมื่อทำกิริยาเลียนเรา.

บทว่า กปโณ ความว่า ถึงทุกข์แล้ว .

บทว่า มหาวราหสฺส ความว่า เมื่อพญาช้าง.

บทว่า มหึ วิกุพฺพโต ความว่า ทำลายแผ่นดิน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

สองบทว่า ภึส ฆสานสฺส ความว่า เคี้ยวกินเหง้า (บัว).

ในคำว่า นทีสุ ชคฺคโต นี้ มีเนื้อความว่า ได้ยินว่า พญาช้าง

นั้น เมือลงสู่สระโบกขรณี อันมีนามว่า นที นั้น เล่นอยู่ในเวลาเย็น ชื่อ

ว่ายังราตรีทั้งปวงให้ผ่านไป คือทำความเป็นผู้ตื่น.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เล่นอยู่ในน้ำ.

[ว่าด้วยองค์แห่งทูตเป็นต้น]

บทว่า สุตา ได้แก่ ผู้ฟัง.

บาทคาถาว่า อสนฺทิทฺโธ จ อกฺขาติ มีความว่า เป็นผู้ไม่มีความ

สงสัยบอกเล่า คือผู้บอกประกอบด้วยอำนาจแห่งถ้อยคำอันสืบต่อกันตามลำดับ.

เทวทัตจะเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นชาวอบาย. เธอเป็นชาวนรก

ก็เหมือนกัน. เทวทัตจักตั้งอยู่ตลอดกัป (ในนรก) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป.

บัดนี้ เทวทัต แม้พระพุทธเจ้าตั้งพันองค์ ก็ไม่อาจแก้ไขได้ เพราะ

ฉะนั้น เธอจึงชื่อว่า อเตกิจฺโฉ ผู้อันพระพุทธเจ้าเยียวยาไม่ได้.

หลายบทว่า มา ชาตุ โกจิ โลกสฺมึ มีความว่า แม้ในกาล

ไหน ๆ สัตว์ไร ๆ อย่า (เกิด) ในโลกเลย.

บทว่า อุปปชฺชถ ได้แก่ เกิด.

บาทคาถาว่า ชลว ยสสา อฏฺา มีความว่า เทวทัตตั้งอยู่ประหนึ่ง

ผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ.

บาทคาถาว่า ทวทตฺโตติ เม สุต มีความว่า แม้คำที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงสดับแล้วว่า เทวทัตเป็นเช่นนี้ ก็มีอยู่, คำว่า เทวทัตตั้งอยู่

ประหนึ่งผู้รุ่งเรื่องด้วยยศ นี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว หมายเอาคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับแล้วนั่นแล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ในคำว่า โส ปมาท อนุจิณฺโณ นี้ มีความว่า เทวทัตนั้นย่อม

สร้างสมความประมาท เพราะฉะนั้น เธอจึงชื่อว่าผู้สร้างสมเนือง ๆ อธิบายว่า

ความประมาทอันเธอไม่ละเสีย.

สองบทว่า อาสชฺช น มีความว่า ถึงหรือว่าเบียดเบียนพระตถาคต

นั่น ด้วยจิตลามก.

ส่วนคำว่า อวีจินิรย ปตฺโต นี้ เป็นคำกล่าวเนื้อความที่ล่วงไป

แล้ว เป็นไปในความหวัง.

บทว่า เภสฺมา คือนำภัยมา.

[ว่าด้วยสังฆราชี ]

ข้อว่า เอกโต อุปาลิ เอโถ มีความว่า ในฝ่ายธรรมวาทีมีรูป

เดียว.

ข้อว่า เอกโต เทฺว ความว่า ในฝ่ายอธรรมวาที มี ๒ รูป.

ข้อว่า จตุตฺโถ อนุสาเวติ สลาก คาเหติ มีความว่า อธรรม-

วาทีเป็นรูปที่ ๔ คิดว่า เราจักทำลายสงฆ์.

บทว่า อนุสาเวติ ความว่า ประกาศให้ผู้อื่นพลอยรับรู้. อธิบายว่า

เธอประกาศเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดง

ธรรมว่า ธรรม ดังนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทั้งพวกท่าน ทั้งพวกเรา ไม่มี

ความกลัวต่อนรกเลย ทางแห่งอเวจี แม้พวกเราก็ไม่ได้ปิดไว้ พวกเราไม่

กลัวต่ออกุศล ก็ถ้าว่า ข้อนี้ พึงเป็นสภาพมิใช่ธรรม หรือข้อนี้ พึงเป็นสภาพ

มิใช่วินัย หรือว่า ข้อนี้ไม่พึงเป็นคำสั่งสอนของพระศาสดาไซร้; เราทั้งหลาย

ไม่พึงถือเอา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

ข้อว่า สลาก คาเหติ มีความว่า ก็แลครั้นประกาศอย่างนี้แล้ว

จึงบอกให้จับสลากว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้, ท่านทั้งหลายจงชอบใจ

สลากนี้.

แม้ในบททั้งหลายว่า เอกโต อุปาลิ เทฺว โหนิติ เป็นอาทิ ก็

มีนัยเหมือนกัน.

ข้อว่า เอว โข อุปาลิ สงฺฆราชิ เจว โหติ สงฺฆเภโท จ

มีความว่า ความร้าวรานแห่งสงฆ์ด้วย ความแตกแห่งสงฆ์ด้วย ย่อมมี ด้วย

เหตุเพียงให้จับสลากอย่างนี้, ก็แต่ว่า สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันแล้ว ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ก็หาไม่.

ในคำนี้ว่า อุบาลี ภิกษุแล ผู้ปกตัตต์ มีสังวาสเสมอกันตั้งอยู่ใน

สีมาเสมอกัน . จึงทำลายสงฆ์ได้ ดังนี้ พึงมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระเทวทัต ชื่อว่า ปกตัตต์อย่างไร พระเทวทัตไม่ใช่ผู้ปกตัตต์ก่อน เพราะ

เธอให้ฆ่าพระราชา และเพราะเธอทำโลหิตุปบาทอย่างไรเล่า ?

ข้าพเจ้าขอกล่าวในคำถามนี้ว่า การให้ฆ่าพระราชา ชื่อว่าไม่มี เพราะ

คำสั่งบังคับคลาดเสียก่อน, จริงอยู่ คำสั่งบังคับของพระเทวทัตนั้นอย่างนี้ว่า

กุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงฆ่าพระบิดาแล้ว เป็นพระราชาเถิด เราจักฆ่าพระผู้-

มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นพระพุทธเจ้า, แต่กุมารเป็นพระราชาแล้ว จึงยังพระบิดา

ให้สิ้นชีพในภายหลัง; การให้ฆ่าพระราชา ชื่อว่าไม่มี เพราะคำสั่งบังคับคลาด

เสียก่อน ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนความเป็นอภัพบุคคล ซึ่งมีโลหิตุปบาทเป็นปัจจัย พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามิได้ตรัสแล้ว ในเมื่อโลหิตุปบาท พอพระเทวทัตทำแล้ว เท่านั้น.

อันข้อที่พระเทวทัตนั้นเป็นอภัพบุคคล เว้นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว

ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะยกขึ้นได้. ส่วนคำว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ยังโลหิต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

ให้ห้อขึ้น เป็นอนุปสัมบันไม่พึงให้อุปสมบท เป็นอุปสันบัน พึงให้ฉิบหาย

เสีย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสภายหลังแต่สังฆเภท; เพราะเหตุนั้น สงฆ์ชื่อ

ว่าอันพระเทวทัตผู้ปกตัตต์ทำลายแล้ว.

[ว่าด้วยสังฆเภท]

วินิจฉัยในเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการ มีข้อว่า แสดงอธรรมว่าธรรม

เป็นต้น.

โดยสุตตันตปริยายก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าธรรม. อกุศลกรรม

บถ ๑๐ ชื่อว่าอธรรม.

อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน

๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า

ธรรม. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖

พละ ๖ โพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ ชื่อว่าธรรม.

อนึ่ง ข้อนี้ คือ อุปาทาน ๔ นีวรณ์ ๕ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘

ชื่อว่าอธรรม. ข้อนี้ คือ อุปาทาน ๓ นีวรณ์ ๔ อนุสัย ๖ มิจฉัตตะ ๗ ชื่อ

ว่าอธรรม.

บรรดาธรรมและอธรรมนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ถือเอาส่วนคืออธรรมอัน

หนึ่ง บางข้อบางอย่าง กล่าวอยู่ซึ่งอธรรมนั้นว่า นี้เป็นธรรม ด้วยทำในใจ

ว่า เราจักทำอธรรมนี้ว่าธรรม ด้วยประการอย่างนี้ สกุลแห่งอาจารย์ของพวก

เราจักยอดเยี่ยม, และพวกเราจักเป็นคนมีหน้ามีตาในโลก ชื่อว่าแสดงอธรรม

ว่า ธรรม

เมื่อถือเอาส่วนอันหนึ่ง ในส่วนแห่งธรรมทั้งหลายกล่าวอยู่ว่า นี้เป็น

อธรรม อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

โดยวินัยปริยาย ส่วนกรรมที่พึงโจทแล้วให้ ๆ การแล้วทำตาม

ปฏิญญา ด้วยวัตถุที่เป็นจริง ชื่อว่าธรรม. กรรมที่ไม่โจท ไม่ให้ ๆ การ

ทำด้วยไม่ปฏิญญา ด้วยวัตถุไม่เป็นจริง ชื่อว่าอธรรม

โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ ราควินัย โทสวินัย โมหวินัย สังวร

ปหานะ การพิจารณา ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ ความไม่กำจัดกิเลสมีราคะเป็น

ต้น ความไม่สำรวม ความไม่ละ การไม่พิจารณา ชื่อว่าอวินัย.

โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนา

สมบัติ สีมาสมบัติ ปริสสมบัติ ชื่อว่าวินัย. ข้อนี้ คือ วัตถุวิบัติ ฯลฯ

ปริสวิบัติ ชื่อว่าอวินัย.

โดยสุตตันตปริยาย คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘

ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงภาษิตแล้ว ตรัสแล้ว. คำนี้ว่า สติปัฎฐาน ๓ ฯลฯ

มรรคมีองค์ ๙ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.

โดยวินัยปริยาย คำนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ชื่อว่าอัน พระตถาคตทรงภาษิตแล้ว . ตรัสแล้ว คำนี้ว่า

ปาราชิก ๓ สังฆาทิเสส ๑๔ อนิยต ๓ นิสสิคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ ชื่อว่าอันพระ-

ตถาคตไม่ทรงภาษิตแล้ว ไม่ตรัสแล้ว.

โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ การเข้าผลสมาบัติ การเข้ามหากรุณา

สมาบัติ การเล็งดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุทุกวัน การแสดงสุตตันตะ การตรัส

ชาดกเนื่องด้วยความเกิดเรื่องขึ้น ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติเสมอ. ข้อ

นี้ คือ การไม่เข้าผลสมาบัติทุกวัน ฯลฯ การไม่ตรัสชาดก ชื่อว่าอันพระ-

ตถาคตไม่ทรงประพฤติเลย.

โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ การอยู่จำพรรษาแล้ว บอกลาแล้ว จึง

หลีกไปสู่ที่จาริก ของภิกษุผู้รับนิมนต์แล้ว การปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก

ความทำการต้อนรับก่อนกับภิกษุอาคันตุกะ ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงประพฤติ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

เสมอ ความไม่กระทำกิจมีไม่บอกลาก่อนเที่ยวไปสู่ที่จาริกนั้นนั่นแล ชื่อว่า

อันพระตถาคตไม่ทรงประพฤติและ

โดยสุตตันตปริยาย ข้อนี้ คือ สติปัฎฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘

ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน ๓ ฯลฯ มรรค

มีองค์ ๙ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.

โดยวินัยปริยาย ข้อนี้ คือ ปาราชิก ๔ ฯลฯ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๓๐

ชื่อว่าอันพระตถาคตทรงบัญญัติแล้ว. ข้อนี้ คือ ปาราชิก ๓ ฯลฯ นิสสัคคีย-

ปาจิตตีย์ ๓๑ ชื่อว่าอันพระตถาคตไม่ทรงบัญญัติแล้ว.

อนาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วในสิกขาบทนั้น ๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่

ภิกษุผู้ไม่รู้ ผู้ไม่มีไถยจิต ผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ผู้ไม่ประสงค์จะอวด ผู้

ไม่ประสงค์จะปล่อย ชื่อว่าอนาบัติ อาบัติที่พระตถาคตตรัสแล้วโดยนัยเป็นต้น

ว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ชื่อว่าอาบัติ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า

อาบัติเบา. อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่าอาบัติหนัก. อาบัติ ๖ กอง ชื่อว่าอาบัติมี

ส่วนเหลือ. กองอาบัติปาราชิกกองเดียว ชื่อว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ. อาบัติ ๒

กอง ชื่อว่าอาบัติชั่วหยาบ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ.

ก็ในธรรมและอธรรมเป็นต้น ที่กล่าวแล้วโดยวินัยปริยายนี้ ภิกษุผู้

กล่าวอยู่ซึ่งธรรมมีประการดังกล่าวแล้วว่า นี้ไม่ใช่ธรรม โดยนัยก่อนนั่นแล

ชื่อว่าแสดงธรรมว่า มิใช่ธรรม.

เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งข้อที่มิใช่วินัยว่า นี้เป็นวินัย ชื่อว่า แสดงข้อที่มิใช่

วินัยว่า วินัย ฯลฯ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า นี้เป็นอาบัติชั่วหยาบ

ชื่อว่าแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ.

ครั้นแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม ฯลฯ หรือครั้นแสดงอาบัติไม่ชั่ว

หยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนั้นแล้ว ได้พวกแล้วกระทำสังฆกรรม ๔

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแผนก ในสีมาเดียวกัน สงฆ์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุเหล่านั้น

ทำลายแล้ว .

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ย่อมแตกไปเพราะเภทกรวัตถุ ๑๘ ประการนี้ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปกสฺสนฺติ มีความว่า ย่อมแย่ง คือ

ย่อมแบ่งซึ่งบริษัท ได้แก่ย่อมคัดบริษัทให้ลุกไปนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

บทว่า อวปกาสนฺติ มีความว่า ย่อมยุยงอย่างยิ่ง คือ ภิกษุทั้งหลาย

จะเป็นผู้ไม่ปรองดองกันโดยประการใด ย่อมกระทำโดยประการนั้น.

บทว่า อาเวณิก คือ แผนกหนึ่ง.

ข้อว่า เอตฺตาวตา โข อุปาลิ สงฺโฆ ภินฺโน โหติ มีความ

ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลาย แสดงวัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุอันเดียว ใน

เภทกรวัตถุ ๑๘ แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วยเหตุนั้น ๆ ว่า ท่านทั้ง-

หลายจงจับสลากนี้ ท่านจงชอบใจสลากนี้ ดังนี้ ให้จับสลากแล้ว ทำสังฆกรรม

แผนกหนึ่ง อย่างนั้นแล้ว สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน. ส่วนในคัมภีร์บริวาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ* ๕ เป็นอาทิ.

คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทักขันธกะนี้ โดยใจความไม่

มีความแตกต่างกัน. และข้าพเจ้าจักประกาศข้อแตกต่างกันแห่งคำนั้น ในคัมภีร์

บริวารนั้นแล.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

สังฆเภทักขันธกวรรณนา จบ

* ปริวาร. ๔๙๕.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

วัตตขันธกะ

เรื่องพระอาคันตุกะ

[๔๑๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระอาคันตุกะ สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม

ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำ

ฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี มีพระ-

อาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มแล้วผลักบานประตูเข้าไปสู่วิหารที่ไม่มีใครอยู่โดย

พลัน งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของเธอ เธอกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุทั้ง

หลายรีบเข้าไปถามว่า ท่านร้องสุดเสียงทำไม เธอจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย.. . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

ว่า ไฉน พระอาคันตุกะจึงสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อาราม

ก็มี คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้า

ด้วยน้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี

แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกขุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี คลุม

ศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน

ก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

ภิกษุอาคันตุกะจึงได้สวมรองเท้าเข้าไปสู่อารามก็มี กั้นร่มเข้าไปสู่อารามก็มี

คลุมศีรษะเข้าไปสู่อารามก็มี พาดจีวรบนศรีษะเข้าไปสู่อารามก็มี ล้างเท้าด้วย

น้ำฉันก็มี ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่พรรษากว่าก็มี ไม่ถามเสนาสนะก็มี ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะ

ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย.

อาคันตุกวัตร

[๔๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า จักเข้าไปสู่อาราม

เดี๋ยวนี้พึงถอดรองเท้าเคาะ แล้วถือไปต่ำ ๆ ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบน

ศีรษะลงไว้ที่บ่า ไม่ต้องรีบร้อน พึงเข้าไปสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าไปสู่

อารามพึงสังเกตว่า ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน ภิกษุเจ้าถิ่นประชุมกันที่ใด

คือ ที่โรงฉัน มณฑป หรือโคนไม้ พึงไปที่นั้น วางบาตรไว้ที่แห่งหนึ่ง

วางจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง พึงถืออาสนะที่สมควรนั่ง พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึง

น้ำใช้ว่า ไหนน้ำฉัน ไหนน้ำใช้ ถ้าต้องการน้ำฉัน พึงตักน้ำฉันมาดื่ม ถ้า

ต้องการน้ำใช้ พึงตักน้ำใช้มาล้างเท้า เมื่อล้างเท้า พึงรดน้ำด้วยมือข้างหนึ่ง

พึงล้างเท้าด้วยมือข้างหนึ่ง รดน้ำด้วยมือใด ไม่พึงล้างเท้าด้วยมือนั้น พึงถาม

ถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วจึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน

ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าภิกษุ

เจ้าถิ่นแก่พรรษากว่า พึงอภิวาท ถ้าอ่อนพรรษกว่า พึงให้เธออภิวาท พึง

ถามถึงเสนาสนะว่า เสนาสนะไหนถึงแก่ผม พึงถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม พึงถามถึงอโคจรคาม พึงถามถึงสกุล

ทั้งหลายที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสกขะ พึงถามถึงที่ถ่ายอุจจาระ พึงถามถึงที่ถ่าย

ปัสสาวะ พึงถามถึงน้ำฉัน พึงถามถึงน้ำใช้ พึงถามถึงไม้เท้า พึงถามถึงกติกาสงฆ์

ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าเวลาเท่าไร ควรออกเวลาเท่าไร ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ พึงเคาะ

ประตูรออยู่สักครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกแลดูให้ทั่ว ถ้า

วิหารรก หรือเตียงซ้อนอยู่บนเตียงหรือตั่งซ้อนอยู่บนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับ

อยู่เบื้องบน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระเสีย เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนเครื่องลาดพื้น

ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึงขนเขียงรองเท้าเตียงออกไปวางไว้ที่ควร

แห่งหนึ่ง พึงขนฟูกและหมอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนผ้านิสีทนะ

และผ้าปูนอนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียง ตั่ง อันภิกษุพึงยกต่ำ ๆ ทำให้

เรียบร้อย อย่าให้ครูดสี กระทบบานและกรอบประตู ขนไปวางไว้ที่ควรแห่ง

หนึ่ง กระโถนพึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไปวางไว้ที่

ควรแห่งหนึ่งถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ดกรอบ

หน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้า

พื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำพรม

แล้วกวาด ด้วยคิดว่าอย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงเก็บกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย ณ

ที่ควรแห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับไปปูไว้

ตามเดิม เขียงรองเท้าเตียง พึงผึ่งแดด ขัด เช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม

เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสีเคาะ ยกตำ ๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบ

บานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูกและหมอนตากแห้งแล้ว สลัด

ปัดให้สะอาด ขนกลับวางไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอนตากแห้งแล้ว สลัด

ให้สะอาด ขนกลับปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง ตากแล้ว พึงเช็ด ขน

กลับไปทั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ

บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวรเอา

มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน

เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน

ตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้าน

ตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ

ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว

กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง

กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก พึงปัดกวาด

เสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำ

มาไว้ในหม้อชำระ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายซึ่ง

ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย.

อาวาสิกวัตร

[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นพระอาคันตุกะแล้ว ไม่ปูอาสนะ

ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ไม่ลุกรับบาตร

จีวร ไม่ถามด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้พระอาคันตุกะแม้ผู้แก่กว่า

ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. .. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุเจ้าถิ่น เห็นพระอาคันตุกะแล้ว จึงไม่ปูอาสนะ

ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร

จีวร ไม่ถามด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า ไม่

จัดเสนาสนะให้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

. . .จริงหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตร

แก่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายจะพึงประพฤติ

เรียบร้อย.

[๔๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า

แล้วพึงปูอาสนะ พึงตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงลุกรับ

บาตร จีวร พึงถามด้วยน้ำฉัน พึงถามด้วยน้ำใช้ ถ้าอุตสาหะ พึงเช็ดรองเท้า

เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ด

รองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า

พึงจัดเสนาสนะถวายว่า เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่

หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็น

เสกขสมมติ พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน

พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งใจว่า เวลานี้ควรเข้า เวลา

นี้ควรออก ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอกว่า ท่านจงวางบาตร

ที่นั่น จงวางจีวรที่นั่น จงนั่งอาสนะนี้ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอก

ผ้าเช็ดรองเท้า พึงแนะนำภิกษุอาคันตุกะให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะว่า

เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึง

บอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็นเสกขสมมติ พึงบอก

ที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอก

ไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายซึ่งภิกษุ

เจ้าถิ่นทั้งหลายพึงพระพฤติเรียบร้อย.

คมิกวัตร

[๔๑๘] สมัยนั้น ภิกษุผู้เตรียมจะไปไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน

เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ แล้วหลีกไป เครื่องไม้

เครื่องดิน เสียหาย เสนาสนะไม่มีใครรักษา บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุผู้เตรียมจะไป จึงไม่เก็บ

เครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ แล้ว

หลีกไป เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนาสนะไม่มีใครรักษา จึงกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

. . .จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียม

จะไป โดยประการที่ภิกษุเตรียมจะไปพึงประพฤติเรียบร้อย.

[๔๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะไปพึงเก็บเครื่องไม้

เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง มอบหมายเสนาสนะ ถ้าภิกษุไม่มี พึงมอบหมาย

สามเณร ถ้าสามเณรไม่มี พึงมอบหมายคนวัด ถ้าคนวัดไม่มี พึงมอบหมาย

อุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียงขึ้น วางไว้บน

ศิลา ๔ แผ่น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะ

ไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงหลีกไป ถ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

วิหารฝนรั่ว ถ้าอุตสาหะอยู่พึงมุง หรือพึงทำความขวนขวายว่า จะมุงวิหารได้

อย่างไร ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้ ที่ใดฝน

ไม่รั่ว พึงยกเตียงขึ้นวางบนศิลา ๔ แผ่น ในที่นั้น แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง

ยกตั่งซ้อนตั่ง แล้วกองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน

ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงหลีกไป ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงขน

เครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน หรือพึงทำความขวนขวายว่า จะขนเครื่องเสนาสนะ

เข้าบ้านอย่างไร ถ้าได้ตามความขวนขวายอย่างนี้ นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ได้

พึงยกเตียงขึ้นวางบนก้อนศิลา ๔ แผ่นในที่แจ้ง แล้วพึงยกเตียงซ้อนเตียง ยก

ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน แล้ว

คลุมด้วยหญ้าหรือใบไม้ แล้วจึงหลีกไปด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่ง

คงเหลืออยู่บ้าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้เตรียมจะไป ซึ่งภิกษุ

ผู้เตรียมจะไปพึงพระพฤติเรียบร้อย.

ภัตตานุโมทนา

[๔๒๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนาในโรงฉัน คนทั้งหลาย

จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึง

ได้ไม่อนุโมทนาในโรงฉัน ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

[๔๒๑] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอพึงอนุโมทนาใน

โรงฉัน แล้วจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาโนโรงฉัน.

[๔๒๒] สมัยนั้น ประชาชนหมู่หนึ่งถวายภัตรแก่พระสงฆ์ ท่าน

พระสารีบุตรเป็นสังฆเถระ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

ให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน จึงเหลือท่านพระสารีบุตรไว้รูปเดียว แล้ว

พากันกลับไป.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรแสดงความยินดีกะคนเหล่านั้น แล้วได้

ไปทีหลังรูปเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรเดินมาแต่-

ไกลรูปเดียว จึงรับสั่งถามว่า ดูก่อนสารีบุตร ภัตรมีมากมายกระมัง.

ท่านพระสารีบุตรทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภัตรมีมากมาย แต่ภิกษุ

ทั้งหลายละข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียว แล้วพากันกลับไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถรานุเถระ ๔ - ๕ รูปรออยู่ในโรงฉัน.

[๘๒๓] สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระรออยู่ในโรงฉัน

เธอกลั้นอุจจาระอยู่จนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีกรณียกิจ เราอนุญาตให้

บอกลาภิกษุผู้นั่งอยู่ในลำดับ แล้วไปได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

ภัตตัคควัตร

[๔๒๔] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท

ไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าพระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระ

บ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง

บรรดาภิกษุผู้ที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไป

ข้างหน้าพระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุ

ใหม่ด้วยอาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จึงกราบทูลเรื่อง นั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทไปสู่โรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้า

พระเถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดเสียดพระเถระบ้าง เกียดกันพวกภิกษุใหม่ด้วย

อาสนะบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่

ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน.

[๔๒๕] ถ้าภัตตุเทสก์บอกภัตกาลในอาราม ภิกษุเมื่อปกปิดมณฑล ๓

พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้นกลัดลูกดุม ล้างบาตร

แล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าพระ-

เถระทั้งหลาย พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปใน

ละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า

หัวเลาะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน

อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง

ไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีนั่งใน

ละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงนั่งในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้านั่งในละแวกบ้าน

อย่าหัวเราะลั่นนั่งในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยนั่งในละแวกบ้าน อย่าโยกกาย

นั่งในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะนั่งในละแวก

บ้าน อย่าค้ำกายนั่งในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะนั่ง ในละแวกบ้าน อย่านั่ง

รัดเข่าในละแวกบ้าน อย่านั่งเบียดเสียดพระเถระ อย่าเกียดกันภิกษุใหม่ด้วย

อาสนะ อย่านั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้าน เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสอง

ประคองบาตรรับน้ำ พึงล้างบาตรถือต่ำ ๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมี

พึงค่อย ๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ ภิกษุ

ใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี

พึงค่อย ๆ เทน้ำลงที่พื้นดิน. ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้า-

สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตร

รับข้าวสุก พึงเว้นเนื้อที่ไว้สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม

พระเถระควรบอกว่า จงจัดถวายภิกษุทั้งหลายเท่า ๆ กันทุกรูป พึงรับบิณฑบาต

โดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรรับบิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอสม

กับแกง พึงรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนจน

กว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญ

ในบาตรฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันบิณฑบาตพอสม

กับแกง ไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว

ด้วยข้าวสุก เพราะอยากได้มาก ไม่อาพาธ ไม่พึงขอแกง หรือข้าวสุกเพื่อ

ประโยชน์แก่ตนมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่นด้วยหมายจะยกโทษ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่นัก พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก

ไม่พึงอ้าปาก กำลังฉันไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ปากยังมีคำข้าวไม่พึงพูด

ไม่พึงฉันเดาะคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่

พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียง

ดังจั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ด ๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่

พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำ

ก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้งสองประคอง

บาตรรับน้ำ พึงค่อย ๆ ล้างบาตร ถือต่ำ ๆ ให้ดี อย่าให้ครูดสี ถ้ากระโถนมี

พึงค่อย ๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะด้วยน้ำ

ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผู้สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ถ้ากระโถนไม่มี

พึงค่อย ๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ด้วยคิดว่า ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเช็น

ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน

เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิดกายด้วยดี

ไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปใน

ละแวกบ้าน ไม่พึ่งเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน

พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขน

ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปใน

ละแวกบ้าน ไม่พึงคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน

ละแวกบ้าน.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล วัตรในโรงฉันของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุ

ทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในโรงฉัน.

ปฐมภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ปิณฑจาริกวัตร

[๔๒๖] สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนุ่งห่มไม่เรียบร้อย

ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไป

บ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้

เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์ เธอเข้าใจว่าประตูเข้าไปสู่ห้องน้อย

แห่งหนึ่ง ในห้องน้อยนั้นมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ เธอได้เห็นหญิงนั้น

แล้ว รู้ว่านี้ไม่ใช่ประตู นี้เป็นห้องน้อย จึงออกจากห้องน้อยนั้นไป สามีของ

หญิงนั้นได้เห็นหญิงนั้นเปลือยกายนอนหงายก็สำคัญว่า ภิกษุนี้ประทุษร้าย

ภรรยาของเรา จึงจับภิกษุนั้นทุบตี ในทันใด หญิงนั้นตื่นขึ้น เพราะเสียงนั้น

จึงถามสามีว่า นายท่านทุบตีภิกษุนี้ทำไม เขาตอบว่า เพราะภิกษุนี้ประทุษร้าย

เธอ นางตอบว่า นาย ภิกษุนี้ไม่ได้ประทุษร้ายฉันเลย ท่านไม่ได้ทำอะไร

แล้วให้ปล่อยภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไปอารามบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุผู้

เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทเที่ยวบิณฑบาต ไม่

กำหนดเข้าไปสู่นิเวศน์บ้าง ไม่กำหนดออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อน

ออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง

กลับเร็วเกินไปบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ..ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

. . . จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร โดยประการที่ภิกษุผู้เทียวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติ

เรียบร้อย.

[๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า

จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ

คดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย

ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ

แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า

หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป

ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน

อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง

ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า

รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน

นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่

ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง

ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย

มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ

ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง

หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย

คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน

แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก

ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน

ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก

บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง

คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ

บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด

กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน

ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว

สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง

ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ

ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป

ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่

ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

ซึ่งภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

อารัญญกวัตร

[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน อยู่ในป่า พวกเธอไม่ตั้งน้ำฉัน

ไม่ตั้งน้ำใช้ไว้ ไม่ติดไฟไว้ ไม่เตรียมไม้สีไฟไว้ ไม่รู้ทางนักษัตร ไม่รู้ทิศาภาค

พวกโจรพากันไปที่นั้น ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย มีน้ำดื่ม

หรือ

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีน้ำใช้หรือไม่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีไฟหรือไม่

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. มีไม้สีไฟหรือไม่

ภ. ไม่มี ท่านทั้งหลาย

จ. วันนี้ประกอบด้วยฤกษ์อะไร

ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย

จ. นี้ทิศอะไร

ภ. พวกเราไม่รู้เลย ท่านทั้งหลาย.

ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดกันว่า พวกนี้น้ำดื่มก็ไม่มี น้ำใช้ก็ไม่มี

ไฟก็ไม่มี ไม้สีไฟก็ไม่มี ทางนักษัตรก็ไม่รู้ ทิศาภาคก็ไม่รู้ พวกนี้เป็นโจร

พวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ จึงทุบตีแล้วหลีกไป จึงภิกษุเหล่านั้น แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แล เราจักบัญญัติวัตรแก่พวกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร โดย

ประการที่ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงลุกขึ้นแต่เช้า

ตรู่ พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องไม้

เครื่องดินปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากเสนาสนะ กำหนดรู้ว่าจักเข้าบ้านเดี่ยว

นี้ พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำ ๆ แล้วใส่ถุง คล้องบ่า เมื่อปกปิดมณฑลสาม

พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้าง

บาตรแล้วถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปใน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

ละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน. . .อย่าเดินกระโหย่งไปในละแวก

บ้าน เมื่อเข้าสู่นิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่ารีบร้อนเข้า

ไป อย่ารีบร้อนออกมา อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืนนานนัก อย่ากลับ

เร็วนัก ยืนอยู่พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่ประสงค์จะถวาย

เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย

คิดว่า เขาประสงค์จะถวายเมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วยมือซ้าย พึง

น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา พึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา และไม่พึง

มองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกง หรือไม่ประ-

สงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะหรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วยคิดว่าเขา

ประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนแล้วกลับ

โดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน. . .ไม่พึง

เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ออกจากบ้านแล้ว เข้าถุงบาตร คล้องบ่า พับ

จีวร วางศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

พึงตั้งน้ำฉัน พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟไว้ พึงเริ่มไม้สีไฟไว้ พึงเตรียมไม้เท้าไว้

พึงเรียนทางนักษัตรพึงสิ้น หรือนางส่วนไว้ พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ซึ่งภิกษุ

ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร พึงประพฤติเรียบร้อย.

เสนาสนวัตร

[๔๓๐] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันทำจีวรกรรมในที่แจ้ง พระ

ฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ บรรดาภิกษุ

ที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุฉัพพัคคีย์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

จึงได้เคาะเสนาสนะที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จึงกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ภิกษุทั้งหลายถูกธุลีกลบ จริง

หรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติเสนาสนวัตรแก่

ภิกษุทั้งหลายโดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงพระพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.

[๔๓๑] ภิกษุอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงชำระ

เมื่อจะชำระวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่งก่อน พึง

ขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงขนฟูกหมอน ออกไปวางไว้

ที่ควรแห่งหนึ่ง เตียงพึงยกต่ำ ๆ ขนออกไปให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระ-

แทกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ตั่งพึงยกต่ำ ๆ ขนออกไป

ให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแตกบานและกรอบประตู แล้วตั้งไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง

เขียงรองเท้าเตียง พึงขนออกไปวางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง พนักอิงพึงขนออกไป

วางไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เครื่องลาดพื้นพึงกำหนดที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวาง

ไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากไย่ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด

กรอบหน้าต่าง ประตูและมุมห้อง ถ้าฝาทาน้ำมันขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้ว

เช็ด ถ้าพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด ถ้าพื้นไม่ได้ทำ พึงเอา

น้ำพรมแล้วกวาดด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหาร พึงกวาดหยากเยื่อไปทิ้งเสีย

ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้ภิกษุ ไม่พึงเคาะเสนาสนะใน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ที่ใกล้วิหาร ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้น้ำฉัน ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่ใกล้

น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะในที่ใต้ลม

เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดดในที่ควรแห่งหนึ่ง ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับไป

ปูไว้ตามเดิม เขียงรองเท้า เตียง พึงผึ่งแดดไว้ในที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ดแล้ว

ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดดไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง ขัดสี เคาะ ยก

ต่ำ ๆทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบบานและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม

ฟูกและหมอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เคาะ ปัดให้สะอาดแล้วขนกลับตั้ง

ไว้ตามเดิม ผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง สลัดให้สะอาด

แล้วขนไปปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงตากไว้ที่ควรแห่งหนึ่ง เช็ด

แล้วขนไปตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่ง

จับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ

บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อจะเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร

เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง พึงทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้าง

ใน เก็บจีวร ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่าง

ด้านตะวันออก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศทะวันตก พึงปิดหน้าต่าง

ด้านตะวันตก ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้าน

เหนือ ถ้ามีลมเจือด้วยผงคลีพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดู

หนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน กลางวัน พึง

ปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรก

พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในชำระไม่มี พึง

ตักน้ำมาไว้ในชำระ ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่อาปุจฉา

ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่พึงให้อุเทศ ไม่พึงให้ปริปุจฉา ไม่พึงทำการสาธยาย ไม่พึง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

แสดงธรรม ไม่พึงตามประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดิน

จงกรมในที่จงกรมเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินคล้ายตามภิกษุผู้แก่กว่า และ

ไม่พึงกระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า ด้วยชายผ้าสังฆาฏิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นเสนาสนวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง

ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในเสนาสนะ.

ชันตาฆรวัตร

[๔๓๒] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้าม

อยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วน

พระเถระทั้งหลายถูกความร้อนแผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง บรรดา

ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-

ฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ จึงอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ใส่

ฟืนมาก ติดไฟปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ส่วนพระเถระทั้งหลายถูกความร้อน

แผดเผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า . ..ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกษุฉัพพัคคีย์อันพระเถระทั้งหลายในเรือนไฟห้ามอยู่ อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ

ใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตู แล้วนั่งที่ประตู ภิกษุทั้งหลายถูกความร้อนแผด

เผา ออกประตูไม่ได้ สลบล้มลง จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอันพระเถระในเรือนไฟห้ามอยู่ ไม่พึงอาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อ ใส่ฟืนมาก ติดไฟ รูปใดติดไฟต้องอาบัติทุกกฏ.

อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู แล้วนั่งขวางประตู รูปใดนั่ง ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัตรในเรือนไฟ

แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.

[๔๓๓] ภิกษุใดไปสู่เรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามาก พึงเทเถ้าทิ้งเสีย ถ้า

เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย ถ้าชานภายนอกรก พึงกวาดเสีย ถ้าบริเวณ ซุ้ม

ประตู ศาลา เรือนไฟรก พึงกวาดเสีย พึงบดจุณไว้ พึงแช่ดินเหนียว พึงตัก

น้ำไว้ในรางน้ำ เมื่อจะเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้าง

หน้าข้างหลัง แล้วจึงเข้าไปสู่เรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่พึง

เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือน

ไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง

ออกจากเรือนไป ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงทำบริกรรม แก่พระเถระแม้ในน้ำ ไม่พึง

อาบน้ำข้างหน้าพระเถระ แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงอาบ อาบแล้วเมื่อจะขึ้น พึงให้

ทางแก่พระเถระผู้จะลง ภิกษุใดออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะ-

เปื้อน พึงล้างให้สะอาด พึงล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งสำหรับเรือนไฟ ดับไฟ

ปิดประตู แล้วจึงหลีกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรในเรือนไฟของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง

ภิกษุทั้งหลายพึงพระพฤติเรียบร้อยในเรือนไฟ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

มูลเหตุวัจจกุฏีวัตร

[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นชาติพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระแล้ว

ไม่ปรารถนาจะชำระด้วยรังเกียจว่า ใครจักจับต้องของเลว มีกลิ่นเหม็นนี้ได้

ในวัจจมรรคของเธอ มีหมู่หนอนมั่วสุมอยู่ ต่อมาเธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า ก็ท่านถ่ายอุจจาระแล้ว ไม่ชำระ หรือ ขอรับ

ภิกษุนั้นตอบว่า อย่างนั้น ขอรบ

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย .. .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว จึงไม่ชำระ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอ

ถ่ายอุจาระแล้วไม่ชำระ จริงหรือ.

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อน้ำมีอยู่ จะไม่ชำระไม่ได้

รูปใดไม่ชำระ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎีตามลำดับผู้

แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลายมาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้น

อุจจาระจนสลบล้มลง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี . . . ตามลำดับผู้แก่กว่า นวกภิกษุทั้งหลาย

มาถึงก่อน ปวดอุจจาระก็ต้องรอ พวกเธอกลั้นอุจจาระจนสลบล้มลง จริงหรือ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดถ่ายต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับของผู้มาถึง

[๔๓๖] สมัยนั้น พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้า

ไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ

บ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนวกรางบ้าง บ้วนเขฬะลง

ในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้หยาบบ้าง ทั้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ

บ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปุบ้าง

เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ

ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้เข้าวัจจกุฏีเร็วเกินไป เวิกผ้า

เข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่าย

อุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง

บ้วนเขฬะลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม่หยาบบ้าง ทิ้งไม่ชำระลงในช่อง

ถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดัง

จะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้-

มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

... จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติวัจจกุฏีวัตรแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฏี.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

วัจจกุฏีวัตร

[๔๓๗] ภิกษุใดไปวัจจกุฎี ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอก พึงกระแอมขึ้น

แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวร หรือบนสาย

ระเดียง แล้วเข้าวัจจกุฎี ทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน ไม่พึงเข้าไปเร็วนัก

ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียงถ่ายอุจจาาระ แล้วจึงค่อยเวิกผ้า ไม่พึงถอน

หายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง

ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วน

เขฬะลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้หยาบ ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่อง

ถ่ายอุจจาระ ยืนบนเขียงถ่ายแล้วพึงปิดผ้า ไม่พึงออกมาเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้า

ออกมา ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ ไม่

พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ ยืนบนเขียงชำระแล้วพึงปิดผ้า ถ้าวัจจกุฎีอัน

ภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้องล้างเสีย ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ

ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาดวัจจกุฎี ถ้าชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตูรก พึง

กวาดเสีย ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฎีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่ง

ภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฎี.

มูลเหตุอุปัชฌายวัตร

[๔๓๘] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่พระพฤติชอบในพระ-

อุปัชฌายะ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

ว่า ไฉน สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ แล้วกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

สัทธิวิหาริกทั้งหลาย ไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ จริงหรือ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงได้ไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอุปัชฌายวัตรแก่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย

โดยประการที่สัทธิวิหาริกทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในอุปัชฌายะ

อุปัชฌายวัตร

[๔๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัช-

ฌายะ วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น ดังต่อไปนี้

สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้ว

ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ

แล้วน้อมยาคูเข้าไป เมื่ออุปัชฌายะดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือ

ต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว

พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย

ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา

พึงถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อม

ทั้งน้ำ ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม

นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้นห่มคลุมกลัดลูกดุม

ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้น

ในระหว่าง ๆ เมื่ออุปัชฌายะกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ

พึงกลับมาก่อนแล้ว ปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ด

เท้าไว ้ใกล้ ๆ พึงรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวร

ชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ

พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง

พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร

ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม

บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอุปัชฌายะถึงน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว พึงถวาย

น้ำรับบาตรมา ถือต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อยอย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ

แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ

เก็บบาตรพึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง

แล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร

พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้ว

ทำชายจีวรไว้ข้างนอกขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร เมื่ออุปัชฌายะลุกขึ้นแล้ว

พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึง

กวาดที่นั้นเสีย

ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น

พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย ถ้าอุปัชฌายะใคร่

จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลัง

อุปัชฌายะไปถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ

พึงเอาดินทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

ผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง

ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมอุปัชฌายะแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมา

ก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอุปัชฌายะ พึง

ถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึง

วางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ พึงถามอุปัชฌายะด้วย

น้ำดื่ม

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์

จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่ง

นั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร

ออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก

หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เตียงตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำ ๆ

ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ทั้งไว้ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปตั้งไว้ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกไปวางไว้ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถ้าโนวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแค่เพคานล่ งมาก่อน กรอบ

หน้าต่างและมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขา

ทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำ

ประพรมแล้วเช็ดเสียด้วยคิดว่า อย่าให้ฝุ่นกลบวิหารดังนี้ พึงกวาดหยากเยื่อ

ทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้นพึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้ว

ขนกลับปูไว้ดังเดิม เขียงรองเท้า เตียงพึงผึ่งแดด ปัด เช็ด แล้วขนกลับไป

ไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสีเคาะยกต่ำ ๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสี กระทบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

กระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับทั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง

ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด ชำระล้าง เคาะ ปัดเสีย แล้วขน

กลับตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับ

บาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บ

บาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวรพึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอา

มือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน

เก็บจีวร ถ้าลมเจือด้วยผงคลีผลัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน

ตะวันออก ถ้าลมเจือผงคลีพัดมาแต่ทิศทะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก

ถ้าลมเจือผงคาลีพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าลมเจือผงคลีพัด

มาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน

กลางคืนพึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อน กลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ

ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วีจจกุฏีรก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี

พึงจัดทิ้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือ

พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความ

รำคาญบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาจริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้

ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌายะ ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่อุปัชฌายะ

สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงแสดงธรรมกถา

แก่อปัชฌายะนั้น

ถ้าอุปัชฌายะต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริก พึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌายะ ถ้า

อุปัชฌายะผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอุปัชฌายะผู้

ควรแก่มานัต สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์

พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ. ถ้าอุปัชฌายะควรอัพภาน สัทธิวิหาริกพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ ถ้าสงฆ์ใคร่

กระทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม

ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ หรือสงฆ์พึงน้อมไป

เพื่อกรรมเบา หรืออุปัชฌายะนั้น ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพา-

ชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริก พึงทำ

ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบ หาย

เย่อหยิ่ง พระพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย

ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าจีวร

ของอุปัชฌายะจะต้องทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย

อุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌายะ

จะต้องต้มสัทธิวิหาริกพึงต้มเอง หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง

ไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌายะ ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องย้อม

สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมา

ให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไปเสีย

สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่า

รับบาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

บางรูป อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำ

บริกรรมแก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวน-

ขวายแก่ภิกษุบางรูป อย่าสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉา-

สมณะของภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาต

ไปให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้

ไม่บอกลาอุปัชฌายะก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าหลีกไปสู่

ทิศ ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอุปัชฌายวัตรของสัทธิวิหาริกทั้งหลาย

ซึ่งสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในพระอุปัชฌายะ.

มูลเหตุสัทธิวิหาริกวัตร

[๔๔๐] สมัยนั้น พระอุปัชฌายะทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิ-

วิหาริก บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉน พระอุปัชฌายะทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก แล้วกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . .. ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

อุปัชฌายะทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง-

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสัทธิวิหาริกวัตร

แก่อุปัชฌายะทั้งหลาย โดยประการที่อุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน

สัทธิวิหาริก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

สัทธิวิหาริกวัตร

[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิ-

วิหาริก วิธีประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น ดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก

ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริก

ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริก

ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริก

ไม่มี อุปัชฌายะพึงให้แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะ

พึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถ้ายาคูมี พึง

ล้างภาชนะเสียก่อน แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ

รับภาชนะมา ถือต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่อ

สัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าสัทธิ-

วิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคดเอว

พึงซ้อนผ้าห่ม ๒ ชั้นให้ พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ด้วยคิดว่า

เพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ พึงลุกรับบาตรจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา

ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร

เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง

พึงสอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้วนำ

บิณฑบาตเข้าไป พึงถามสัทธิวิหาริกถึงน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึง

ให้น้ำ รับบาตรมา ถือต่ำ ๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสี เช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้

ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมือเก็บบาตร

พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือใต้ตั่งแล้ว

เก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร พึง

เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำชาย

ไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ

น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น

พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าสัทธิวิหาริกจะใคร่

เข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรมา

วางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ

เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ

อย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่

สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่ง

สำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าและข้างหลังออกจากเรือนไฟ พึงทำ

บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อนทำตัวของตน

ให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริกพึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือ

ตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุปัชฌายะ

อุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร

ออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง . . . ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึง

ตักมาไว้ในหม้อชำระ.

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงระงับ หรือพึง

วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ

รำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้

ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่

สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึง

แสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น.

ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌายะพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก ถ้า

สัทธิวิหาริกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าสัทธิวิหาริก

ควรแก่มานัต อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์

พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภาน อุปัชฌายะพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก ถ้าสงฆ์ใคร่

จะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม

ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไป

เพื่อกรรมเบา หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม

ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌายะพึง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ

หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึงระงับ กรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของลัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงซัก

อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซัก

จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงสั่งว่า

ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ

พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึง

สั่งว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม

อุปัชฌายะพึงสั่งว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย

อุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อม

พลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.

ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นสัทธิวิหาริกวัตรของอุปัชฌายะทั้งหลาย

ซึ่งอุปัชฌายะทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก.

ทุติยภาณวาร จบ

มูลเหตุอาจริยวัตร

[๔๔๒] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

อันเตวาสิกทั้งหลาย จึงไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ แล้วกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอาจริยวัตรแก่ภิกษุ

อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุอันเตวาสิกทั้งหลายพึงประพฤติชอบใน

อาจารย์.

อาจริยวัตร

[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์

วิธีพระพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้ :-

อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่าแล้ว ถวาย

ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะเสียก่อน

แล้วน้อมยาคูเข้าไป เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถือ

ต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บ

อาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึง

ถวายประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ

ถ้าอาจารย์ปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดกายให้มีมณฑลสาม นุ่ง

ให้เป็นปริมณฑลคาดประคดเอว ซ้อนผ้าห่มสองชั้น ห่มคลุม กลัดลูกดุม

ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ให้

ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นใน

ระหว่าง ๆ อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย เมื่อกลับ พึงกลับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

มาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้

ใกล้ ๆ พึงลุกรับบาตร จีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวร

ชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ

พับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกันสี่นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึง

สอดประคดเอวไว้ในขนดจีวร.

ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม

บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอาจารย์ถึงน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ

รับบาตรมา ถือต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบ ล้างเช็ดให้หมดน้ำ

แล้วพึงผึ่งไว้ที่แดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ

เก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือ

ใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อ

เก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง

แล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บเถิด เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึง

เก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึง

กวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง

จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย ถ้าอาจารย์ใคร่จะเข้า

เรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วเดินตามหลังอาจารย์

ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึง

ถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอา

ดินทาหน้า ปกปิดทั่งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ อย่านั่งเบียดภิกษุ

ผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปกปิดทั้งข้างหน้าทั้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

ข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว

พึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์

พึงถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึง

วางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำดื่ม.

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะ

สอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้น

รก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตร จีวร ออกก่อนแล้ววางไว้

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ขนฟูก หมอนออกวางไว้

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำ ๆ ทำให้เรียบร้อย อย่า

ให้ครูดสีกระทบกระแทกบานและกรอบประตู ตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกไปวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึ่งกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและ

มุมห้อง พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นทาสีดำขึ้นรา

พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้ว เช็ดเสีย

ระวังอย่าให้ฝุ่นฟุ้ง พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปู

พื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเท้าเตียง พึง

ผึ่งแดดขัดเช็ด แล้วขนกลับไปตั้งไว้ ณ ที่เดิม เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ขัดสี

เคาะ ยกต่ำ ๆ ทำให้ดี อย่าให้ครูดสีกระทบกระแตกบานและกรอบประตู ขน

กลับจัดตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด

ชำระล้าง ตบ ปัดเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อ

จะเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียง หรือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

ใต้ตั่งแล้วเก็บบาตร แต่อย่าเก็บบาตรบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง เมื่อเก็บจีวร

พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง แล้วทำ

ชายไว้ข้างนอกขนดไว้ข้างใน เก็บจีวรเถิด ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศ

ตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้า

ต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมา

แต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลาง

คืนพึงปิดเสีย ถ้าฤดูร้อนกลางวันพึงปิด กลางคืนพึงเปิด ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ

โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีรกพึงปิดกวาดเสีย ถ้าน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำ

ในหม้อชำระไม่มีพึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิก พึงช่วยระงับ หรือพึง

วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความรำคาญ

บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย

บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าทิฏฐิบังเกิดแก่อาจารย์ อัน

เตวาสิกพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่

อาจารย์นั้น

ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิก พึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควร

แก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง

ไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าในอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิก

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์

ถ้าอาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์ ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนีย-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฎิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม

อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรม

แก่อาจารย์หรือสงฆ์พึงน้อมไป เพื่อกรรมเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลง

ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนีย-

กรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์

พึงระงับกรรมนั้นเสีย

ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวน

ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอาจารย์ ถ้าจีวรของ

อาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อัน-

เตวาสิก พึงต้มเอง หรือพึงทำควานขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิก

พึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อม

จีวรของอาจารย์ เมื่อย้อมจีวรพึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี เมื่อหยาดน้ำย้อม

ยังหยดไม่ขาดสาย อย่าพึงหลีกไปเสีย

อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน อย่าให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป อย่ารับ

บาตร อย่าให้จีวร อย่ารับจีวร อย่าให้บริขาร อย่ารับบริขารของภิกษุบางรูป

อย่าปลงผมให้แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ อย่าทำบริกรรม

แก่ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ อย่าทำความขวนขวายแก่

ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย อย่าเป็นปัจฉาสมณะของ

ภิกษุบางรูป อย่าพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ อย่านำบิณฑบาตไปให้แก่

ภิกษุบางรูป อย่าให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ก่อน อย่าเข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่า

หลีกไปสู่ทิศ ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิตหรือจนกว่าจะหาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอาจาริยวัตรของอันเตวาสิกทั้งหลาย

ซึ่งอันเตวาสิกทั้งหลายพึงพระพฤติชอบในอาจารย์.

มูลเหตุอันเตวาสิกวัตร

[๔๔๔] ก็สมัยนั้น อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิก

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

อาจารย์ทั้งหลายจึงได้ไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิก แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า อาจารย์ทั้งหลายไม่พระพฤติชอบในอันเตวาสิก

จริงหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติอันเตวาสิกวัตรแก่

อาจารย์ทั้งหลาย โดยประการที่อาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.

อันเตวาสิกวัตร

[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก

วิธีประพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ อันเตวาสิก

ด้วยอุเทศ ปริปุจฉา โอวาท อนุศาสนี ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มี

อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ บาตรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มี

อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มี

อาจารย์พึงให้แก่อันเตวาสิกหรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

บริขารพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์พึงลุกแต่เช้าตรู่

แล้วให้ไม้ชำระฟัน ให้น้ำล้างหน้าปูอาสนะ ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะเสียก่อน

แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออันเตวาสิกาดื่มยาคูแล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมา ถือ

ต่ำ ๆ ล้างให้เรียบร้อย อย่าให้กระทบแล้วเก็บไว้ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึง

เก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน

พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงให้ประคดเอว พึงซ้อนผ้าห่มสองชั้นให้

พึงล้างบาตรให้พร้อมทั้งน้ำ พึงปูอาสนะไว้ด้วยเข้าใจว่า เพียงเวลาเท่านี้

อันเตวาสิกจักกลับมา พึงวางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้องเช็ดเท้าไว้ใกล้ ๆ

พึงลุกรับบาตร จีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึง

ผึ่งแดดสักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับ

ให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงสอดประคดเอว

ไว้ในขนดจีวร

ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกก็ประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำ แล้วนำ

บิณฑบาตเข้าไป พึงถามอันเตวาสิกถึงน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้ว พึงให้

น้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ ล้างให้ดี อย่าให้ครูดสีเช็ดให้หมดน้ำ ผึ่งไว้ที่แดด

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

สักครู่หนึ่ง แต่อย่าผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร . . .เมื่อ

เก็บจีวร . . . ทำชายจีวรไว้ข้างใน แล้วเก็บ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บ

อาสนะ น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้น

เสีย

ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง

จัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้ ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะเข้า

เรือนไฟพึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟไปให้ แล้วรับจีวรไปวางไว้

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าไปสู่เรือนไฟ

เมื่อเข้าไปสู่เรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้า

ไปสู่เรือนไฟอย่านั่งเบียดภิกษุผู้เถระ อย่าเกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริ-

กรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ

แล้ว ปกปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ พึงทำบริกรรมแก่อัน-

เตวาสิกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อนทำด้วยของตนให้หมดน้ำ นุ่งผ้า

แล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ

เรือนไฟมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

ไว้ไกล้ ๆ พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน อันเตวาสิกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้า

วิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดให้สะอาด เมื่อปัดกวาดวิหาร พึง

ขนบาตร จีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ... ถ้าน้ำในหม้อ

ชำระ ไม่มี พึงตักมาไว้ในหม้อชำระ

ถ้าความกระสันบังเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือ

พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความ

รำคาญบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย

บรรเทาหรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำความขวน

ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิก

ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอะไร

หนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต อาจารย์

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก

ถ้าอันเตวาสิกควรอัพภาน อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก ถ้าสงฆ์ใคร่จะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ

ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขป-

นียกรรม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึง

ทำกรรมแก่อันเตวาสิก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมเบา หรือว่าอันเตวาสิก

นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารนียกรรม

หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์พึง

ระงับกรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงซักอย่างนี้

หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของ

อันเตวาสิก ถ้ำน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงสั่งว่า ท่านพึงต้ม

อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้ม

น้ำย้อมของอันเตวาสิก ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงสั่งว่า

ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ

พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี

และเมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอันเตวาสิกวัตรของอาจารย์ทั้งหลาย

ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก

วัตตขันธกะ ที่ ๘ จบ

ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร

หัวข้อประจำขันธกะ

[๔๔๖] เรื่องพระอาคันตุกะ สวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ พาด

จีวรบนศีรษะ เข้าไปสู่อาราม ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่กว่า

ไม่ถามถึงเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม พึงถอดรองเท้า ลดร่ม

ห่มลดไหล่ เข้าอารามไม่ต้องรีบร้อน พึงสังเกตว่า เจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน

พึงวางบาตรจีวรไว้ที่แห่งหนึ่ง ถืออาสนะที่สมควร ถามถึงน้ำฉันน้ำใช้ พึง

ล้างเท้า พึงเช็ดรองเท้า ด้วยผ้าแห้งก่อน ด้วยผ้าเปียกทีหลัง พึงไหว้ภิกษุ

เจ้าถิ่นผู้แก่กว่า พึงให้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้อ่อนกว่าไหว้ พึงถามเสนาสนะ ทั้งที่มีภิกษุ

อยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่ได้รับ

สมมติว่าเป็นเสกขะ ที่ถ่ายอุจจาระ ที่ถ่ายปัสสาวะ น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า

กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่าควรเข้าเวลาเท่าไร พึงรอสักครู่หนึ่ง วิหารมีหยากเยื่อ

ต้องชำระ ก่อนชำระ ต้องขนเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง ฟูก หมอน

เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง พึงกวาดหยากเยื่อแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ด

กรอบหน้าต่าง ประตู และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทาสีดำ พึงเอาผ้า

ชุบน้ำเช็ด พื้นไม่ได้ทำ พึงเอาน้ำพรมแล้วกวาดเสีย พึงกวาดหยากเยื่อทิ้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน

กระโถน พนักอิง ผึ่งแดดแล้วเก็บไว้ที่เดิม พึงเก็บบาตร จีวร อย่าวางบน

พื้นที่ปราศจากเครื่องรอง พึงเก็บจีวรให้ชายอยู่ด้านนอก ขนดอยู่ด้านใน มี

ลมพัดมาทางทิศตะวันออก ทะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง

ทางทิศนั้น ๆ ฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงปิด ฤดูร้อน

กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด พึงกวาดบริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน

โรงไฟ และวัจจกุฏี พึงตักน้ำฉัน น้ำใช้ และน้ำในหม้อชำระ อาคันตุกวัตร

ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระคุณหาที่เปรียบมิได้ ทรงบัญญัติ

แล้ว.

เรื่องภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ลุกรับ ไม่ถาม

ด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

พากันโพนทะนา ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำ ลุก

รับ ถามด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ เช็ดรองเท้าผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงไหว้

พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวาย พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่

หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่เป็นเสกขสมมติ

ฐาน น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า และพึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า

ควรออก พระอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่าพึงนั่งบอก พึงแนะนำพระอาคันตุกะ

ผู้อ่อนพรรษาให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะ นอกนั้นเหมือนนัยหนหลัง อาวา-

สิกวตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงนำหมู่ ทรงแสดงแล้ว.

เรื่องภิกษุผู้เตรียมจะไป ไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตู

หน้าต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนา-

สนะไม่มีใครรักษา บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

ภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง

มอบหมายเสนาสนะแล้วจึงหลีกไป พึงมอบหมาย ภิกษุสามเณร คนวัด หรือ

อุบาสกก็ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลากองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บ

เครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง ถ้าวิหารฝนรั่ว ภิกษุผู้เตรียมจะไป

อุตสาหะอยู่ พึงมุงหรือพึงทำความขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน

ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน ในที่แจ้งก็เหมือนกัน

ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย ส่วนของเตียง ตั่งก็คงเหลืออยู่บ้าง นี้เป็นวัตรอันภิกษุ

ผู้เตรียมจะไปพึงประพฤติ.

เรื่องภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้

พระเถระอนุโมทนา ภิกษุทั้งหลายเหลือพระเถระไว้รูปเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระรออยู่ ๔-๕ รูป พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระ

กลั้นจนสลบลง นี้เป็นวัตรในการอนุโมทนา.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท เดินแซง นั่ง

เบียดเสียดพระเถระ เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีล

เป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงนุ่งห่มปกปิดมณฑลสาม คาดประคดเอว

ห่มผ้า ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี

มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น พึงมีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน

ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง ปกปิดกายด้วยดี

สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย

ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่ง

เบียดเสียดพระเถระ ไม่เกลียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ เมื่อเขา

ถวายน้ำ พึงรับไปล้างบาตรถือต่ำ ๆ พึงค่อย ๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วย

คิดว่า กระโถนอย่าเลอะเทอะ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

ข้าวสุก พึงประคองบาตรรับ พึงไว้โอกาสสำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน

หรือแกงอ่อม พระเถระพึงบอกว่า จงถวายภิกษุทุกรูปเท่า ๆ กัน พึงรับ

บิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตร พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง

พอเสมอขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนในเมื่อข้าวสุกยังไม่ทั่วถึงภิกษุ

ทุกรูป พึงฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรฉัน พึงฉัน

บิณฑบาตตามลำดับ พึงฉันพอสมกับแกง ไม่พึงฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึง

ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่พึงขอแกง หรือกับข้าวมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของ

ภิกษุอื่นด้วยมุ่งจะยกโทษ ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่ พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม

ไม่พึงอ้าปากไว้คอยท่า ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าปาก ไม่พึงพูดทั้งคำข้าวยัง

อยู่ในปาก ไม่พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำแก้มให้ตุ่ย

ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉันทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่ทำเสียงดัง

จั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำเสียงซู๊ด ๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึง

ฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับขันน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อน

ที่ภิกษุทั้งหมดยังฉันไม่เสร็จ พึงค่อย ๆ ล้างบาตร พึงค่อย ๆ เทน้ำลงใน

กระโถน อย่าให้กระโถนเลอะเทอะ อย่าให้กระเซ็นถูกภิกษุใกล้เคียง อย่าให้

กระเซ็นถูกสังฆาฏิ พึงค่อย ๆ เทน้ำลงบนพื้นดิน ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมี

เมล็ดข้าว เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิด

กายด้วยดี ไม่พึงเดินกระโหย่ง ภัตตัคควัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว.

เรื่องภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน

ออกจากบ้านไม่กำหนด เข้าออกรีบร้อนเกินไป ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป

นานเกินไป กลับเร็วเกินไป ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตอีกรูปหนึ่งก็เป็นเช่นนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาต จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอด

ลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลง

ศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบ

ร้อนเข้าออก อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืน

กำหนดว่า เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะตั้งไว้หรือไม่

พึงแหวกผ้าซ้อนประคองบาตรรับภิกษา ขณะรับไม่พึงนองดูหน้าผู้ถวาย แม้ใน

แกงก็พึงกำหนดเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว ภิกษุพึงคลุมบาตร

ด้วยผ้าซ้อนกลับไป พึงปกปิดกายด้วยดีเดินไป พึงสำรวมด้วยดี มีตาทอดลง

ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ

ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง รูปใดกลับก่อนพึงปูอาสนะไว้ จัด

กระโถนไว้ เตรียมน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดกลับทีหลังประสงค์จะฉันก็พึงฉัน ถ้า

ไม่ประสงค์ก็พึงเททิ้ง พึงเก็บอาสนะน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า

เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่าง

เปล่า พึงจัดตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย แต่ไม่พึง

เปล่งวาจา นี้เป็นบิณฑปาติกวัตร

เรื่องภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร

ไม่รู้ทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทุบตี ภิกษุ ที่อยู่ป่า

พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ ครั้นจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าใส่

ถุงคล้องบ่าปกปิดมณฑลสาม นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล แม้ในอารัญญกวัตร

ก็มีนัยเหมือนบิณฑจาริกวัตรออกจากบ้านแล้ว พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พับ

จีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป พึงเตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ

ไม้เท้า เรียนนักษัตร ทั้งสิ้นหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ อารัญญกวัตร

ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทรงบัญญัติแล้ว

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

เรื่องภิกษุมากรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกธุลีกลบ ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

พากันโพนทะนา ถ้าวิหารรก เมื่อจะชำระ ชั้นต้นพึงขนบาตรจีวรออก ขน

ฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง ออกไป พึงกวาดหยากเยื่อลงจาก

เพดาน พึงเช็ดกรอบประตู หน้าต่าง และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทา

สีดำ พื้นไม่ได้ทำ พึงเช็ดทำให้สะอาด พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ไม่พึงเคาะ

เสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำฉัน น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่สูง เหนือ

ลม ใต้ลม เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้า เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้านิสีทนะ

กระโถน พนักอิง พึงตากชำระ เก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตร จีวร บาตรอย่า

วางบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอก ขนดไว้ด้านใน

ลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว กลางวันเปิด

หน้าต่าง กลางคืนปิด ฤดูร้อน กลางวันปิดหน้าต่าง กลางคืนเปิด กวาด

บริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี ตักน้ำฉัน น้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำมา

ใส่หม้อน้ำชำระไว้ อยู่กับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่ได้บอกกล่าว อย่าให้อุเทศ

ปริปุจฉา อย่าสาธยาย อย่ากล่าวธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง

อย่าปิดหน้าต่าง พึงเดินตามภิกษุผู้แก่กว่า อย่ากระทบแม้ด้วยชายผ้า พระผู้

มีพระภาคเจ้าผู้มหาวีระ ทรงบัญญัติเสนาสนะวัตรนั้นไว้แล้ว

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระห้าม ปิดประตู พระเถระสลบ ภิกษุผู้มี

ศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงเทเถ้าทิ้งเสีย กวาดเรือนไฟ ชานภาย-

นอกบริเวณ ซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุณแช่ดิน ตักน้ำไว้ในรางน้ำ เอา

ดินเหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ไม่นั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่

เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟ

อย่าอาบน้ำ น้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง เรือนไฟเปรอะเปื้อน รางแช่ดิน

เก็บตั่ง ดับไฟ เปิดประตู นี้ชันตาฆรวัตร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้แก่กว่า

ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วบ้าง เวิกผ้า

นุ่งเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม่ชำระฟันบ้าง

ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกรางบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางบ้าง ใช้ไม้ชำระหยาบ

บ้าง ทิ้งใช้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินบ้าง เวิกผ้าออกมา

บ้าง ชำระมีเสียงดังจะปุจะปูบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง ภิกษุยืนอยู่

ข้างนอกพึงกระแอม ภิกษุอยู่ข้างในพึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราว

สายระเดียง อย่ารีบด่วนเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียง อย่าถอน-

หายใจใหญ่ อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะนอกราง อย่าบ้วน

เขฬะลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระหยาบ อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย พึงยืนบน

เขียงถ่าย ปิดผ้า อย่าออกมาให้เร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา ยืนบนเขียงถ่าย

แล้วจึงปิด อย่าชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียง

ถ่ายแล้วจึงเวิกผ้า วัจจกุฎีเปรอะเปื้อน ต้องชำระให้สะอาด ตะกร้าไม้ชำระ

เต็มพึงเทเสีย วัจจกุฎี ชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตู พึงตักน้ำใส่ในหม้อ

ชำระ นี้วัจจกุฎีวัตร

เรื่องสัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปู

อาสนะ ถวายยาคู น้ำล้างภาชนะ เก็บอาสนะ ที่รก เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง

ประคดเอวผ้าซ้อนสองชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ ปัจฉาสมณะ ปิดมณฑลสาม

นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอวซ้อนผ้าสองชั้น ล้างบาตร เป็นปัจฉา-

สมณะ เดินไม่ไกลไม่ชิดนัก รับของในบาตร พระอุปัชฌายะกำลังพูด กล่าว

ถ้อยคำล่อแหลมต่ออาบัติ กลับมาก่อน ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ ถวายผ้านุ่งผลัด ผึ่งที่แดด อย่าผึ่งทิ้งไว้ รอยพับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

สอดประคดเอวไว้ในขนด อุปัชฌายะจะฉันพึงน้อมบิณฑบาตถวาย ถามถึงน้ำ

ฉัน ถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ ผึ้งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ อย่าเก็บ

มาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรองพาดชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ช้างใน เก็บ

อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้ากวาดที่รก พระอุปัชฌายะจะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำ

ร้อน เรือนไฟ บดจุณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร ถวายจุณ

ถวายดิน ถ้าอุตสาหะ ทาหน้า ปิดข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดพระเถระ ไม่

เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ ปิดข้างหน้าข้างหลัง

ทำบริกรรมในน้ำ อาบน้ำแล้วพึงขึ้นก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัว อุปัชฌายะถวายผ้า

นุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งรองเท้า กระ-

เบื้องเช็ดเท้าไว้ ถามถึงน้ำฉัน เรียนบาลีอรรถกถา ถ้าอุตสาหะ พึงปัดกวาด

วิหารที่รก ก่อนปัดกวาดพึงขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน ฟูก หมอน เตียง

ตั่งเขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง เครื่องลาดพื้นออกไป พึงกวาดหยาก

ไย่แต่เพดานลงมา เช็ดกรอบประตูหน้าต่าง ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่

ได้ทำ พึงเก็บเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้า

ปูนั่ง ปูนอน กระโถน พนักอิง เก็บบาตรจีวร ลมทิศตะวันออก ทิศตะวัน

ตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว ฤดูร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ่ม

น้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีตักน้ำฉัน น้ำใช้ น้ำชำระ พระอุปัชฌายะกระสัน

รำคาญ เห็นผิด ต้องครุกาบัติ ควรมูลายปฏิกัสสนา นานัต อัพภาน ถ้าถูก

ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฎิสารณียกรรม และ

อุกเขปนียกรรม จีวรของพระอุปัชฌายะควรซัก ทำ ย้อม พึงซัก ทำ ย้อม

ให้พลิกกลับไปกลับมา รับบาตร จีวร และบริขารโกนผม ทำบริกรรม ทำ

ความขวนขวายเป็นปัจฉาสมณะ ให้บิณฑบาต เข้าบ้านอย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

ทิศ พระอุปัชฌายะอาพาธต้องพยาบาลตลอดชีวิต วัตรดังกล่าวทานี้เป็นอุปัช-

ฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ

เรื่องอุปัชฌายะสงเคราะห์ด้วยโอวาท อนุศาสนี อุเทศ ปริปุจฉา บาตร

จีวร และบริขาร ความอาพาธ ไม่พึงเป็นปัจฉาขาสมณะ อุปัชฌายวัตรฉันใด

แม้อาจริยวัตรก็ฉันนั้น สิทธิวิหาริกวัตรฉันใด อันเตวาสิกวัตรก็ฉันนั้น อาคัน-

ตุกวัตรฉันใด อาวาสิกวัตรก็ฉันนั้น คมิกวัตร อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร

บิณฑปาติกวัตร อารัญญกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจจกุฎีวัตร

อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร อันเตวาสิกวัตร เหมือนกันใน

ขันธกะนี้ มี้ ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล

ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญาย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มี

อารมณ์มาก ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม ย่อมไม่พ้น

จากทุกข์ ภิกษุบำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อม

ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีอารมณ์อย่างเดียว ย่อมเห็นธรรม

โดยชอบ เมื่อเห็นพระสัทธรรมย่อมพ้นจากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น แล โอรส

ของพระชินเจ้า ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาท

ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน ดังนี้แล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

วัตตักขันธก วรรณนา

[วินิจฉัยในวัตตักขันธกะ]

วินิจฉัยในวัตตักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงที่ใกล้อุปจารสีมา ด้วยพระพุทธพจน์นี้ว่า

บัดนี้ เราจักเข้าสู่อาราม; เพราะฉะนั้น ภิกษุถึงอุปจารสีมาแล้ว พึงทำคารวกิจ

ทั้งปวง มีถอดรองเท้าเป็นต้น.

บทว่า คเหตฺวา ได้แก่ ใช้ไม้เท้าคอนรองเท้าไป.

บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ประชุมกัน.

หลายบทว่า อุปาหนปุญฺฉนโจฬน ปุจฺฉิตฺวา อุปาหนา ปุญฺฉิ-

ตพฺพา มีความว่า พึงถามภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าถิ่นว่า ผ้าเช็ดรองเท้าอยู่ที่ไหน.

บทว่า วิสชฺเชตพฺพ คือ พึงผึ่งไว้.

ข้อว่า โคจโร ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า พึงถามถึงที่เที่ยว เพื่อ

ภิกษาอย่างนี้ว่า โคจรคามอยู่ใกล้หรือไกล. ภิกษุพึงเที่ยวบิณฑบาตแต่เช้า

หรือสาย ? ดังนี้ . บ้านของพวกมิจฉาทิฏฐิก็ดี บ้านที่มีภิกษาเขาจำกัดไว้ก็ดี

ชื่อว่า อโคจร.

ภิกษาในบ้านใด เขาถวายแก่ภิกษุรูปเดียวหรือ ๒ รูป บ้านแม้นั้น

ก็ควรถาม.

หลายบทว่า ปานีย ปุจฺฉิตพฺพ, ปริโภชนีย ปุจฺฉิตพฺพ มี

ความว่า พึงถามถึงน้ำใช้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ย่อมดื่มน้ำที่ควรดื่มแห่ง

สระนี้ ทั้งทำการใช้สอย มีอาบเป็นต้นด้วยหรือ ? สัตว์ร้ายหรือเหล่าอมนุษย์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

ย่อมมีในสถานบางตำบล, เพราะฉะนั้น จึงควรถามว่า ควรเข้าไปเวลาไร ?

ควรออกมาเวลาไร ?

สองบทว่า พหิ ิเตน มีความว่า เห็นทางของงูหรือของอมนุษย์

กำลังออกไป พึงยืนดูอยู่ข้างนอก.

หลายบทว่า สเจ อุสฺสหติ โสเธตพฺโพ มีความว่า ถ้าว่าตน

สามารถ, พึงชำระสำนักทั้งหมดให้สะอาด, เมื่อไม่สามารถ พึงจัดแจงโอกาส

เป็นที่อยู่ของตน.

ก็แลในธรรมเนียมแห่งการชำระสำนักให้สะอาด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว สำหรับภิกษุผู้สามารถชำระสำนักทั้งหมดให้สะอาด พึงทราบ

วินิจฉัย ตามนัยที่กล่าวแล้วในมหาขันธกะนั่นแล.

[อาวาสิกวัตร]

วินิจฉัยในอาวาสิกวัตร พึงทราบดังนี้:-

เมื่ออาคันตุกะผู้แก่กว่ามา พึงงดจีวรกรรมหรือนวกรรมเสีย ทำกิจ

ทั้งปวง มีอาทิอย่างนี้ว่า พึงแต่งตั้งอาสนะ ดังนี้ กำลังกวาดลานเจดีย์ พึง

เก็บไม้กวาดเสีย เริ่มทำวัตรแก่เธอ.

หากว่า อาคันตุกะเป็นผู้ฉลาด. เธอจักกล่าวว่า จงกวาดลานเจดีย์

เสียก่อนเถิด ผู้มีอายุ.

อนึ่ง กำลังทำยาเพื่อคนไข้อยู่ ถ้าว่า คนไข้ไม่ทุรนทุรายนัก, พึงงด

ทำไว้ ทำวัตรเสียก่อน, แต่สำหรับ ไข้หนัก ต้องทำยาก่อน ถ้าอาคันตุกะเป็น

ผู้ฉลาด, เธอจักกล่าวว่า จงทำยาเสียก่อน.

เมื่อถามถึงน้ำฉัน ถ้าว่า อาคันตุกะดื่มน้ำที่นำมาแล้วครั้งเดียวหมด,

พึงถามท่านว่า ผมจักต้องนำมาอีกไหม ?

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

อนึ่ง พึงพัดท่านด้วยพัด. เมื่อพัด พึงพัดที่หลังเท้าครั้งหนึ่งกลางตัว

ครั้งหนึ่ง ศีรษะครั้งหนึ่ง. เธออันท่านกล่าวว่า พอหยุดเถิดพึงพัดให้อ่อนลง.

เธออันท่านกล่าวว่า พอละ พึงพัดให้อ่อนลงกว่านั้น. ท่านกล่าวถึงครั้งที่ ๓

พึงวางพัดเสีย. พึงล้างเท้าของท่าน. ครั้นล้างแล้ว ถ้าน้ำมันของตนมี, พึงทา

ด้วยน้ำมัน. ถ้าไม่มี, พึงทาด้วยน้ำมันของท่าน. ส่วนการเช็ดรองเท้า พึงทำ

ตามความชอบใจของตน. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สเจ

อุสฺสหติ. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่เช็ดรองเท้า.

เธออันท่านถามว่า เสนาสนะถึงแก่เราที่ไหน ? พึงจัดแจง เสนาสนะ อธิบาย

ว่า พึงบอกอย่างนี้ว่า เสนาสนะที่ถึงแก่ท่าน ดังนี้. แลสมควรแท้ ที่จะตบ

เสียก่อน จึงปูลาด.

วินิจฉัยในวัตรของอาคันตุกะผู้นวกะ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า ปานีย อาจิกฺขิตพฺพ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงบอก

ว่า ท่านจงถือเอาน้ำนั้นดื่ม ดังนี้. แม้ในน้ำใช้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ

เหมือนคำก่อนนั่นแล.

จริงอยู่ ภิกษุเจ้าถิ่นจะไม่ทำวัตรแก่อาคันตุกะ ผู้มาถึงสำนักของตน

แม้ในอาวาสใหญ่ ย่อมไม่ได้.

[ คมิกวัตร]

วินิจฉัยในคมิกวัตร พึงทราบดังนี้:-

บทว่า ทารุภณฺฑ ได้แก่ เตียงและตั่งเป็นต้น ที่กล่าวแล้วในเสนา-

สันกขันธกะ. แม้ภัณฑะดิน ก็ได้แก่ภาชนะสำหรับย้อมเป็นต้น ภัณฑะทั้งปวง

มีประเภทดังกล่าวแล้วในเสนาสนักขันธกะนั่นแล.

ภัณฑะทั้งปวงนั้น อันภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บไว้ที่โรงไฟหรือใน

ที่อื่นซึ่งคุ้มได้แล้วจึงไป. จะเก็บไว้ในเงื้อมที่ฝนไม่รั่วก็ควร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

วินิจฉัยในคำว่า เสนาสน อาปุจฺฉิตพฺพ นี้ พึงทราบดังนี้:-

เสนาสนะใด สร้างไว้บนศิลาดาดหรือบนเสาศิลา, ปลวกทั้งหลายขึ้น

ไม่ได้ในเสนาสนะใด, ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุผู้ไม่บอกมอบเสนาสนะนั้น.

คำว่า จตูสุ ปาสาณเกสุ เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อ

แสดงอาการที่จะพึงกระทำ ในเสนาสนะมีบรรณศาลาเป็นต้น อันเป็นสถานที่

เกิดแห่งปลวกทั้งหลาย.

ข้อนี้ว่า บางที แม้ส่วนทั้งหลาย จะพึงเหลืออยู่บ้าง ดังนี้ เป็น

อานิสงส์ในเสนาสนะที่ตั้งไว้กลางแจ้ง.

ส่วนในเรือนที่ฝนรั่วได้ เมื่อหญ้าและก้อนดินตกลงข้างบน (แห่งเตียง

และตั่ง) แม้ส่วนทั้งหลายแห่งเตียงและตั่ง ย่อมฉิบหายไป

[เรื่องอนุโมทนา]

วินิจฉัยในเรื่องอนุโมทนา พึงทราบดังนี้ :-

สองบทว่า อิทธ อโหสิ มีความว่า ภัตได้เป็นของถึงพร้อมแล้ว.

ข้อว่า จตูหิ ปญฺจหิ มีความว่า เมื่อพระสังฆเถระนั่งแล้วเพื่อต้อง

การจะอนุโมทนา ภิกษุ ๔ รูปพึงนั่งตามลำดับข้างท้าย. เมื่อพระอนุเถระนั่ง

แล้ว พระมหาเถระพึงนั่ง และภิกษุ ๓ รูปพึงนั่งข้างท้าย. เมื่อภิกษุรูปที่ ๕

นั่งแล้ว ภิกษุ ๔ รูปพึงนั่งข้างบน. เมื่อภิกษุหนุ่มข้างท้าย อันพระสังฆเถระแม้

เชิญแล้ว ภิกษุ ๔ รูป พึงนั่งตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาทีเดียว.

ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้อนุโมทนากล่าวว่า ไปเถิด ท่านผู้เจริญ ไม่มีกิจที่จะ

ต้องคอย ดังนี้ ควรไป. เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกเราจะไปละ

เธอกล่าวว่า นิมนต์ไปเถิด, แม้อย่างนี้ ก็ควรไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

พระมหาเถระแม้ทำความผูกใจว่า พวกเราจักคอยอยู่นอกบ้านดังนี้ ไป

ถึงนอกบ้านแล้ว แม้จะสั่งนิสิตของตนว่า เธอทั้งหลายจงคอยความมาของภิกษุ

นั้น ดังนี้ แล้วไปเสีย ควรเหมือนกัน.

แต่ถ้าชาวบ้านให้ภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งตนพอใจ ทำการอนุโมทนา หาเป็น

อาบัติแก่ภิกษุนั้น ผู้อนุโมทนาอยู่ไม่, ไม่เป็นภาระแก่พระมหาเถระ.

จริงอยู่ เพราะในอุปนิสินนกถา ต้องเรียนพระเถระก่อนในเมื่อชนทั้ง-

หลายให้กล่าว. ส่วนภิกษุที่พระมหาเถระเชิญเพื่ออนุโมทนาแทน ภิกษุทั้งหลาย

ต้องคอย. นี้เป็นลักษณะในเรื่องอนุโมทนานี้.

บทว่า วจฺจิโต มีความว่า พระเถระเกิดปวดอุจจาระ, อธิบายว่า

ผู้อันอุจจาระบีบคั้นแล้ว.

[ภัตตัคควัตร]

วินิจฉัยในภัตตัคควัตร พึงทราบดังนี้:-

ในอรรถกถาทั้งหลายกล่าวว่า จะเป็นในละแวกบ้านหรือในวัดก็ตาม

การที่ภิกษุผู้จะไปสู่ที่เลี้ยงของชนทั้งหลาย ห่มจีวรคาดประคดนั่นแล สมควร.

หลายบทว่า น เถเร ภิกฺขู อนูปขชฺช มีความว่า ไม่พึงนั่งเบียด

ภิกษุผู้เป็นเถระนัก หากว่า อาสนะเสมอกับอาสนะที่พระมหาเถระนั่ง, เมื่อ

อาสนะมีมาก พึงนั่งเว้นไว้ ๑ หรือ ๒ อาสนะ ไม่พึงนั่งบนอาสนะที่เขานับ

ภิกษุแต่งตั้งไว้, พระมหาเถระสั่งว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง. ถ้าพระมหาเถระไม่

สั่ง, พึงเรียนว่า อาสนะนี้สูงขอรับ เมื่อท่านบอกว่า จงนั่งเถิด พึงนั่ง, ก็

ถ้าว่า เมื่อภิกษุใหม่ แม้เรียนแล้วอย่างนั้น พระมหาเถระไม่อนุญาต, ไม่เป็น

อาบัติแก่เธอผู้นั่ง. เป็นอาบัติแก่พระมหาเถระเท่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุใหม่ไม่

เรียนก่อน นั่งบนอาสนะเห็นปานนั้น ย่อมต้องอาบัติเหมือนพระเถระอันภิกษุ

ใหม่เรียนแล้วไม่อนุญาตฉะนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

หลายบทว่า น สงฺฆาฏึ โอตฺถริตฺวา มีความว่า ไม่พึงปูสังฆาฏิ

แล้วนั่งทับ.

คำว่า อุโภหิ หตฺเถหิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาน้ำสำหรับ

ล้างบาตร ส่วนน้ำทักษิโณทก พึงวางบาตรบนเชิงข้างหน้าแล้วจึงรับ.

บทว่า สาธุก ได้แก่ ไม่ทำให้มีเสียงน้ำ.

สองบทว่า สูปสฺส โอถาโส มีความว่า โอกาสแห่งแกงจะมีอย่าง

ใด พึงรับข้าวสุกพอประมาณอย่างนั้น.

คำว่า ท่านจงได้ทั่วถึงเท่า ๆ กัน นี้ อันพระเถระพึงกล่าวในเนยใส

เป็นอาทิอย่างเดียวหามิได้, แม้ในข้าวสุก ก็พึงกล่าว.

ก็บรรดาเภสัชมีเนยใสเป็นต้น สิ่งใดมีน้อย, สิ่งนั้นสมควรแก่ภิกษุรูป

เดียว หรือ ๒ รูป, เมื่อพระเถระกล่าวว่า ท่านจงให้ทั่วถึงเท่า ๆ กันแก่ภิกษุทั้ง

ปวง ความลำบากย่อมมีแก่พวกชาวบ้าน เพราะฉะนั้น ของเช่นนั้น พึงรับครั้ง

เดียวหรือ ๒ ครั้งแล้ว ที่เหลือไม่ควรรับ.

คำว่า น ตาว เถเรน ภุญฺชิตพฺพ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอาโรงเลี้ยงที่มีภิกษุอันทายกจำกัดไว้ (และ) โรงเลี้ยงที่ชนทั้งหลายเป็น

ผู้ประสงค์จะให้อาหารถึงแก่ภิกษุทั่วกันแล้วไหว้.

ส่วนโรงเลี้ยงใด เป็นโรงใหญ่, คือ ในโรงเลี้ยงใด ภิกษุทั้งหลายฉัน

อยู่ในประเทศหนึ่ง, ทายกถวายน้ำในประเทศหนึ่ง, ในโรงเลี้ยงนั้น พึงฉัน

ตามสบาย.

คำว่า น ตาว เถเรน อุทก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

น้ำล้างมือ, ฝ่ายภิกษุมีความระหายในระหว่าง หรือผู้มีอามิสติดคอ พึงดื่มน้ำ

ไม่พึงล้างมือ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ถ้าว่าชนทั้งหลายกล่าวว่า นิมนต์ล้างบาตรและมือเถิดท่านผู้เจริญ หรือ

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าท่านจงรับน้ำเถิด, พระเถระควรล้างมือ.

ด้วยคำว่า นิวตฺตนฺเตน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

สงฆ์เมื่อจะลุกขึ้นกลับจากโรงเลี้ยง พึงกลับอย่างนี้. อย่างไร ? พึงเห็นคำ

ทั้งปวงว่า นเวเกหิ เป็นต้น .

จริงอยู่ ในเรือนทั้งหลายที่คับแคบ ไม่มีโอกาสที่พระเถระทั้งหลาย

ออก; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.

ก็นวกภิกษุทั้งหลาย ผู้กลับอยู่อย่างนั้น รออยู่ที่ประตูเรือน พึงไป

ตามลำดับกันได้ ในเมื่อพระเถระทั้งหลายออกอยู่.

แต่ถ้าว่า พระมหาเถระทั้งหลาย เป็นผู้นั่งอยู่ไกล พวกนวกภิกษุนั่ง

อยู่ภายในเรือน, พึงออกตามแถวตั้งแต่เถรอาสน์ลงมาทีเดียว อย่าให้กายกับกาย

เบียดกัน เดินเป็นแถวห่าง ๆ ให้ชนทั้งหลายอาจไปในระว่างได้.

[ปิณฑจาริกวัตร]

วินิจฉัยในปิณฑจาริกวัตร พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า กมฺม วา นิกฺขิปนฺติ มีความว่า ชนทั้งหลายถือสิ่งใดเป็น

ฝ้ายหรือกระด้งหรือสาก ทำการอยู่ เป็นผู้ยืนก็ตาม นั่งก็ตาม, วางสิ่งนั้นเสีย.

ข้อว่า น จ ภิกฺขาทายิกาย มีความว่า ผู้ถวายภิกษา จะเป็นสตรี

ก็ตาม บุรุษก็ตาม ในเวลาถวายภิกษา ภิกษุไม่พึงมองหน้า (เขา).

[อารัญญกวัตร]

วินิจฉัยในอารัญญกวัตร พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า เสนาสนา โอตริตพฺพ มีความว่า พึงออกจากที่อยู่.

ในคำว่า ปตฺต ถวิกาย ปกฺขิปิตฺวา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่าภาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

นอกบ้านไม่มีน้ำ, พึงทำภัตกิจภายในบ้านนั่นแล, ถ้าว่า ภายนอกบ้านมีน้ำ,

พึงทำภัตกิจภายนอกบ้านแล้วล้างบาตร ทำให้สะเด็ดน้ำแล้วใส่ถลก.

ข้อว่า ปริโภชนีย อุปฏฺาเปตพฺพ มีความว่า หากว่าภาชนะไม่

พอไซร้, พึงเตรียมน้ำฉันนั่นแลไว้ ทำให้เป็นน้ำใช้ด้วย. เมื่อไม่ได้ภาชนะ

พึงขังไว้ในกระบอกไม้ไผ่ก็ได้. ภิกษุผู้ไม่ได้แม้ซึ่งกระบอกไม้ไผ่นั้น พึงทำให้

มีบ่อน้ำอยู่ในที่ใกล้. เมื่อไม้สีไฟไม่มี แม้จะไม่ก่อไฟก็ควร. เหมือนอย่างภิกษุ

ผู้อยู่ป่า พึงต้องการไม้สีไฟฉันใด, แม้ภิกษุผู้เดินทางกันดาร ก็พึงต้องการไม้

สีไฟฉันนั้น แต่สำหรับภิกษุผู้อยู่ในหมู่ การอยู่ แม้เว้นจากไม้สีไฟนั้น ก็ควร.

ดาวทั้งหลายนั่งเอง ชื่อนี้กษัตรบถ.

[เสนาสนวัตร]

วินิจฉัยในเสนาสนวัตร พึงทราบดังนี้:-

ธรรมดาประตูเป็น ทางที่ใช้มาก เพราะฉะนั้น ไม่มีกิจที่จะต้องบอก

เล่าสำหรับประตู ส่วนกิจที่เหลือเป็นต้นว่าให้อุทเทส ต้องบอกเล่าเสียก่อน จึง

ค่อยทำ, สมควรบอกทุกวัน

แม้หากว่า เมื่อนวกภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เฉพาะกิจที่ผมจะต้อง

บอกเล่า จงเป็นอันบอกเถิด ภิกษุผู้แก่กว่ารับว่า ดีละหรือภิกษุผู้แก่กว่าบอก

เสียเองว่า ท่านจงอยู่ตามสบายเถิด; แม้อย่างนี้ จะไม่บอกเล่าก็ได้. แม้ด้วย

ความคุ้นเคย จะไม่บอกเล่าแก่ภิกษุผู้ชอบกัน ควรเหมือนกัน.

ข้อว่า เยน วุฑฺโฒ เตน ปริวตฺติตพฺพ มีความว่า ตรงหน้า

ภิกษุผู้แก่ พึงเลี้ยวไปเสีย. แม้ในโภชนศาลาเป็นต้น พึงปฏิบัติอย่างนี้เหมือนกัน.

วินิจฉัยในชันตาฆรวัตร พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ปริภณฺฑ นั้น ได้แก่ ชานภายนอก.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

[เรื่องน้ำชำระ]

วินิจฉัยในเรื่องน้ำชำระ พึงทราบดังนี้:-

ในคำว่า สติ อุทเก นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้ามีน้ำ แต่ไม่มีที่กำบัง, พึง

ใช้ภาชนะตักไปชำระ. เมื่อไม่มีภาชนะ พึงเอาบาตรตักไป. แม้บาตรก็ไม่มี

เป็นอันชื่อว่าไม่มีภาชนะ. ภิกษุผู้ไปด้วยทำในใจว่า ที่นี่เปิดเผยนัก ข้างหน้า

จักมีน้ำอื่น ยังไม่ทันได้น้ำ ได้เวลาภิกษาจาร, พึงเช็ดด้วยไม้หรือของบาง

อย่างแล้วจึงไป. ภิกษุนั้นฉันก็ดี กระทำอนุโมทนาก็ดี ย่อมควร.

บทว่า อาคตปฏิปาฏิยา มีความว่า ลำดับแห่งผู้มาเท่านั้นเป็นประ-

มาณ ในสถานทั้ง ๓ คือ เวจกุฎี ที่ถ่ายปัสสาวะ ท่าอาบน้ำ.

[เวจกุฏิวัตร]

วินิจฉัยในเวจกุฏิวัตร พึงทราบดังนี้.

ข้อว่า ไม่พึงเคี้ยวไม้สีฟันพลาง ถ่ายอุจจาระพลาง นี้เป็นข้อ

ห้ามในทีทั้งปวงทีเดียว ทั้งเวจกุฎี ทั้งมิใช่เวจกุฎี.

ข้อว่า ผรุเสน กฏฺเน มีความว่า ไม่ควรเช็ดด้วยไม้ที่ผ่า หรือ

ไม้คม หรือไม้มีปม หรือไม้มีหนาม หรือไม้มีแผล หรือไม้ผุ. แต่ไม่เป็น

อาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ถือชำระเข้าไป.

คำว่า น อาจมนสราวเก นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาฐาน

ที่ทั่วไปแก่ภิกษุทั้งปวง.

จริงอยู่ ภิกษุอื่น ๆ ย่อมมาที่สาธารณฐานนั้น, เพราะฉะนั้น จึงไม่

ควรเหลือน้ำไว้. ส่วนฐานใด เป็นสถานที่ทำไว้ในเอกเทศในวัด แม้เป็น

ของสงฆ์ เพื่อต้องการจะไปถ่ายเป็นนิตย์ หรือเป็นฐานส่วนด้วยบุคคล. ใน

ฐานนั้น จะเหลือน้ำไว้ในขันชำระก็ได้. แม้ภิกษุผู้ฉันยาถ่าย เข้าไปบ่อย ๆ

จะเหลือไว้ก็ควรเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

บทว่า อูหตา ได้แก่ เปื้อน อธิบายว่า ภายนอกเปื้อนอุจจาระ.

บทว่า โธวิตพฺพา ได้แก่ พึงนำน้ำมาล้าง. น้ำมี ภาชนะไม่มี,

เป็นอันชื่อว่าไม่มี; ภาชนะมี น้ำไม่มี, แม้อันนี้ ก็ชื่อว่าไม่มี; เมื่อไม่มีทั้ง

๒ อย่าง เป็นไม่มีแท้. พึงเช็ดด้วยไม้ หรือด้วยของบางอย่างแล้วจึงไป.

คำที่เหลือทุกสถาน ตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

วัตตักขันธกวรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ปาติโมกขฐปนขันธกะ

เรื่องพระอานนทเถระ

[๔๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ปราสาท

ของมิคารมารดา ในบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นวันอุโบสถ

๑๕ ค่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่ จึงท่านพระ-

อานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า

ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

ล่วงเข้าราตรี ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า เมื่อ

พระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไป

แล้ว ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้าราตรี มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว

ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ เมื่อล่วงเข้าราตรี ปัจฉิมยามผ่านไป

แล้ว อรุณขึ้น ราตรีสว่างแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประคอง-

อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ล่วงเข้า

ราตรี ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ .

[๔๔๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงบุคคลไรหนอ.

ทีนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์

ทั้งหมดด้วยจิต ได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความพระพฤติไม่สะอาด

น่ารังเกียจ ปิดบังการการทำ ไม่ใช่สมณะปฏิญาณว่า เป็นสมณะ มิใช่พรหมจารี

ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมองนั้น

นั่งอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวไว้ว่า

ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มี

สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคล

นั้นก็ยังนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า

ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส

กับภิกษุทั้งหลาย.

แม้ครั้งที่สอง บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า

ลุกขึ้นเถิดท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มี

สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย.

แม้ครั้งที่สาม บุคคลนั้นก็ยังนิ่งเสีย.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับบุคคลนั้นที่แขนให้ออกไปนอก

ซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า พระพุทธ-

เจ้าข้า บุคคลนั้นข้าพระองค์ให้ออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมี

โมคคัลลานะถึงกับต้องจับแขน โมฆบุรุษนั้นจึงมาได้.

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ ประการ.

[๔๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้ ที่พวกอสูร

พบเห็นแล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร ๘ อย่างเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่ลึกมา

แต่เดิมเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ มิใช่

ลึกมาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๑

ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่

ล้นฝั่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรตั้งอยู่ตามธรรมดาไม่ล้นฝั่ง แม้นี้

เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๒ ที่พวกอสูรพบเห็น

แล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่

ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่

ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่ร่วมกับซากศพที่ตายแล้ว

ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำซากศพที่ตายแล้วนั้น

ไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในมหาสมุทร

เป็นข้อที่ ๓ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำ

คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิม

เสีย ถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำใหญ่บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา

อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึง

ซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในมหาสมุทร

เป็นข้อที่ ๔ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป

ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือ

ความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวม

ยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของ

มหาสมุทร ไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมี

ในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๕ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเค็มรสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์

ไม่เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๖ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมใน

มหาสมุทร.

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะ

มิใช่ชนิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี

แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่ชนิดเดียว

รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์

ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่

เคยมีในมหาสมุทร เป็นข้อที่ ๗ ที่พวกอสูรพบเข้าแล้ว พากันชื่นชมใน

มหาสมุทร.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์

ใหญ่ ๆ สัตว์ใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ

ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร

มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี

ห้าร้อยโยชน์ก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ใหญ่ ๆ

สัตว์ใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติ-

มิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ อยู่ในมหาสมุทร มีลำตัว

ตั้งร้อยโยชน์ก็มี . . . ห้าร้อยโยชน์ก็มี แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีใน

มหาสมุทร เป็นข้อที่ ๘ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในมหาสมุทร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในมหาสมุทร ๘ อย่างนี้แล

ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมอยู่ในมหาสมุทร.

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัย ๘ ประการ

[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้

มี ๘ อย่างเหมือนกันแล ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้

๘ อย่าง เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรลุ่มลึกลาดลงไปโดยลำดับ

มิใช่ลึกมาแต่เดิมเลย สิกขาตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ในธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มิใช่แทงตลอดอรหัตผลมาแต่เดิมเลย ข้อที่สิกขา

ตามลำดับ กิริยาตามลำดับ ปฏิปทาตามลำดับ ในธรรมวินัยนี้ มิใช่แทงตลอด

อรหัตผลมาแต่เดิมเลย นี้เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อ

ที่ ๑ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่ตาม

ธรรมดาไม่ล้นฝั่ง สาวกทั้งหลายของเราก็เหมือนกัน ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบท

ที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ข้อที่สาวกทั้งหลาย

ของเราไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุ

แห่งชีวิต แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๒

ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรไม่ร่วมกับ

ซากศพที่ตายแล้ว ซากศพที่ตายแล้วใดมีอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรย่อมนำ

ซากศพที่ตายแล้วนั้นไปสู่ฝั่ง ซัดขึ้นบกโดยพลัน บุคคลนั้นใดเป็นผู้ทุศีล มี

ธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการกระทำ มิใช่

สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน

โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง ก็เหมือนกัน สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับบุคคลนั้น

ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง

ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ ข้อที่บุคคลนั้นใด

เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปิดบังการ

กระทำ มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่พรหมจารีปฏิญาณว่าเป็น

พรหมจารี เน่าภายใน โชกชุ่มด้วยกิเลส ผู้เศร้าหมอง สงฆ์ย่อมไม่ร่วมกับ

บุคคลนั้น ย่อมประชุมกันยกเธอเสียโดยพลัน ถึงแม้เธอนั่งในท่ามกลางภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

สงฆ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอชื่อว่าไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ไกลจากเธอ แม้นี้

ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๓ ที่ภิกษุทั้งหลายพบ

เห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่บางสาย คือ

แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนาม

และโคตรเดิมเสียถึงซึ่งอันนับว่ามหาสมุทรทีเดียว วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ก็เหมือกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอัน

นับว่า สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม

วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและตระกูลเดิมเสีย ถึงซึ่งอันนับว่าสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรทีเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้

เป็นข้อที่ ๔ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชินชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่

ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความ

พร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวน

มากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่อง

หรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ภิกษุจำนวน

มาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความ

เต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์

ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชม

ในธรรมวินัยนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเค็มรส

เดียว ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีวิมุตติรส รสเดียว ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีวิมุตติ

รส รสเดียว แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๖ ที่

ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก

มีรัตนะมิใช่นิดเดียว รัตนะในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้ว

มณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต

ธรรมวินัยนี้ก็เหมือนกัน มีรัตนะมาก มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรม

วินัยนั้นเหล่านั้น คือ สติปัฎฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์

๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี่ มีรัตนะมาก

มีรัตนะมิใช่อย่างเดียว รัตนะในธรรมวินัยนั้นเหล่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔. . .

อริยมรรคมีองค์ ๘ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็น

ข้อที่ ๗ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัย

ของสัตว์ใหญ่ ๆ สัตว์ใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้นเหล่านี้ คือ ปลาติมิ. .อสูร

นาค คนธรรพ์ มีอยู่ในมหาสมุทร มีลำตัวตั้งร้อยโยชน์ก็มี สองร้อยโยชน์

ก็มี สามร้อยโยชน์ก็มี สี่ร้อยโยชน์ก็มี ห้าร้อยโยชน์ก็มี ธรรมวินัยนี้ก็เหมือน

กัน เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่ ๆ คนใหญ่ ๆ ในวินัยนั้นเหล่านี้ คือ

โสดาบัน ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล อนาคามี ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล อรหันต์

ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นอรหันต์ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนใหญ่

คนใหญ่ ๆ ในธรรมวินัยนั้นเหล่านี้ คือ โสดาบัน. . . ผู้ปฏิบัติเพื่อความ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

เป็นอรหันต์ แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมี ในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๘

ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ ๘ ประการ

นี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วพากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้.

[๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรง

เปล่งอุทานในเวลานั้น ว่าดังนี้

อุทานคาถา

สิ่งที่ปิดไว้ ย่อมรั่วได้ สิ่งที่เปิด ย่อม

ไม่รั่ว เพราะฉะนั้น จงเปิดสิ่งที่ปิด เช่นนี้

สิ่งที่เปิดนั้นจักไม่รั่ว.

[๔๖๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาติโมกข์

ตั้งแต่บัดนี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ในบริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ นั้นไม่ใช่

ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุมีอาบัติ ไม่พึงฟังปาติโมกข์

รูปใดฟังต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้งดปาติโมกข์ แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติด

ตัวฟังปาติโมกข์.

วิธีงดปาติโมกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงงดอย่างนี้ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๔ หรือ

๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีอาบัติติดตัว

ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์

ดังนี้ ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๔๖๗] โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า ใคร ๆ ไม่รู้

พวกเรา เป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่ พระเถระผู้รู้วารจิตของผู้อื่น

บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้

ปรึกษากันว่า ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเราเป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่

พระฉัพพัคคีย์ได้ยินเรื่องราวว่า พระเถระนี้รู้วารจิตของผู้อื่น บอกพวกเราแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า พระฉัพพัคคีย์มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ ปรึกษากันว่า ใคร ๆ ไม่รู้

พวกเราเป็นผู้มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์อยู่ พวกเธอจึงปรึกษากันว่า ภิกษุ

ทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักจะงดปาติโมกข์แก่พวกเราก่อน จึงรีบงดปาติโมกข์แก่

ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติในเพราะเรื่องอันไม่สมควร ในเพราะเหตุอันไม่

สมควร บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

ว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้งดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ใน

เพราะเหตุอันไม่สมควรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. . ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า

ภิกษุฉัพพัคคีย์งดปาติโมกข์แก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ในเพราะเรื่องอันไม่

สมควร ในเพราะเหตุอันไม่สมควร จริงหรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้ง-

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์

ไม่มีอาบัติในเพราะเรื่องอันไม่สมควร ในเพราะเหตุอันไม่สมควร รูปใดงด

ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม

[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑

เป็นธรรม มีมูล ๑

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๒ เป็นธรรมมีมูล ๒

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๓ เป็นธรรมมีมูล ๓

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๔ เป็นธรรมมีมูล ๔

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๕ เป็นธรรมมีมูล ๕

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๖ เป็นธรรมมีมูล ๖

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๗ เป็นธรรมมีมูล ๗

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๘ เป็นธรรมมีมูล ๘

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๙ เป็นธรรมมีมูล ๙

การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรมมีมูล ๑๐ เป็นธรรมมีมูล ๑๐.

[๔๖๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงด

เว้นปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติอันไม่มีมูล.

นี้การงดปาติโมกข์ ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑.

[๔๗๐] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๑ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์ เพราะศีลวิบัติมีมูล.

นี้การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม มีมูล ๑.

[๔๗๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

[๔๗๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๗๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๓.

[๔๗๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๓.

[๔๗๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

๔. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๔.

[๔๗๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล

๒. เพราะอาจารวิบัติมีมูล

๓. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล

๔. เพราะอาชีววิบัติมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๔.

[๔๗๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล

๓. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล

๔. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล

๕. เพราะทุกกฎไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๕.

[๔๗๘] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๕ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกมีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล

๓. เพราะปาจิตตีย์มีมูล

๔. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

๕. เพราะทุกกฏมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๕.

[๔๗๙] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๘๑] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๖ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๒.

[๔๘๑] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

๑. เพราะปาราชิกไม่มีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสไม่มีมูล

๓. เพราะถุลลัจจัยไม่มีมูล

๔. เพราะปาจิตตีย์ไม่มีมูล

๕. เพราะปาฏิเทสนียะไม่มีมูล

๖. เพราะทุกกฏไม่มีมูล

๗. เพราะทุพภาสิตไม่มีมูล

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๗.

[๔๘๒] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะปาราชิกมีมูล

๒. เพราะสังฆาทิเสสมีมูล

๓. เพราะถุลลัจจัยมีมูล

๔. เพราะปาจิตตีย์มีมูล

๕. เพราะปาฏิเทสนียะมีมูล

๖. เพราะทุกกฏมีมูล

๗. เพราะทุพภาสิตมีมูล

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๗.

[๔๘๓] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฎฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๗. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๘.

[๔๘๔] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๕. เพราะทิฏฐิวิบีจิมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๖. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๗. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะอาชีววิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๘.

[๘๘๕] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะศีลวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

๔. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๕. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๖. เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๗. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ที่ภิกษุทำ

๙. เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๙.

[๔๘๖] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙ เป็นไฉน ภิกษุงด

ปาติโมกข์

๑. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๒. เพราะศีลวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๓. เพราะศีลวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๔. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๕. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๖. เพราะอาจารวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

๗. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุมิได้ทำ

๘. เพราะทิฎฐิวิบัติมีมูล ที่ภิกษุทำ

๙. เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล ทั้งที่ภิกษุทำและมิได้ทำ

นี้การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๙.

[๔๘๗] การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน

๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๒. กถาปรารภผู้ต้องอาบัติปาราชิกมิได้ค้างอยู่

๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขาไม่ได้นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขามิได้ค้างอยู่

๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

๖. ไม่ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม

๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมมิได้ค้างอยู่

๘. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ

๙. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ

๑๐. ไม่มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ

นี้การงดปาติโมกข์ไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐.

[๔๘๘] การงดปาติโมกข์เป็นธรรม มีมูล ๑๐ เป็นไฉน

๑. ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๒. กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกค้างอยู่

๓. ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น

๔. กถาปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขาค้างอยู่

๕. ภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

๖. ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม

๗. กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็นธรรมค้างอยู่

๘. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ

๙. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยอาจารวิบัติ

๑๐. มีภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ

นี้การงดปาติโมกข์ มีมูล ๑๐.

[๔๘๙] อย่างไร ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ การต้องอาบัติปาราชิกย่อมมี ด้วยอาการ

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านี้นั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย

แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ต้องปาราชิก ก็ภิกษุไม่เคย

เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมี

ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก แก่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมต้องอาบัติ

ปาราชิก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ

๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วย

ได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก

ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์

ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๐] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอัน-

ตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ :-

๑. อันตรายแต่พระราชา

๒. อันตรายแต่โจร

๓. อันตรายแต่ไฟ

๔. อันตรายแต่น้ำ

๕. อันตรายแต่มนุษย์

๖. อันตรายแต่อมนุษย์ .

๗. อันตรายแต่สัตว์ร้าย

๘. อันตรายแต่สัตว์เลื้อยคลาน

๙. อันตรายต่อชีวิต

๑๐. อันตรายต่อพรหมจรรย์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ใน

อาวาสนั้นหรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล

มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน

อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ

ในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภอาบัติปาราชิกของบุคคล

มีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอ

ยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๑] อย่างไร ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ชื่อว่านั่งอยู่ในบริษัทนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ

ด้วยนิมิตรเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุบอกลาสิกขาด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิต

เหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แต่ภิกษุบอกแก้ภิกษุว่า ท่าน

ภิกษุมีชื่อนี้บอกลาสิกขา ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้บอกลาสิกขาเลย แม้ภิกษุอื่น

ก็ไม่เคยบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุรูปนี้บอกลาสิกขา แต่ภิกษุนั้นแหละบอก

แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมบอกลาสิกขาแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้น

ถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประ-

กาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ บอกลาสิกขาแล้ว

ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปติโมกข์

ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

[๔๙๒] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอัน-

ตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา . . . อันตรายต่อพรหม-

จรรย์ ดูก่อนทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ใน

อาวาสนั้น หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ

บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์

ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน

อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน

ท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการบอกลาสิกขา ของ

บุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อ

เธอยังอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๓] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ในธรรมวินัยนี้ การไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ

ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

เลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม

ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอก

แก่ภิกษุว่า ท่านภิกษุมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุนั่นแหละบอก

แก่ภิกษุว่า ท่าน ผมไม่ร่วมสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง

อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์

พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ไม่ร่วมสามัคคีที่เป็น

ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ-

โมกข์ดังนี้ การงดปาติโมกข์ เป็นธรรม.

[๔๙๔] อย่างไร ภิกษุชื่อว่าค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ในธรรมวินัยนี้ การค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ย่อมมีด้วยอาการ ด้วยเพศ

ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ด้วยอาการ ด้วยเพศ

ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แต่ภิกษุ

อื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม ภิกษุมิได้เห็น

ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรมเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุ

มีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่เป็นธรรม แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมค้าน

สามัคคีที่เป็นธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔

ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลาง

สงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ที่เป็น

ธรรม ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติ-

โมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๕]่ เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐

อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแต่พระราชา. . . อันตรายต่อพรหมจรรย์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ในอาวาสนั้น

หรือในอาวาสอื่น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น

ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังมิได้วินิจฉัย ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ถ้าได้การวินิจฉัยนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ครั้นถึงวัน

อุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศใน

ท่ามกลางสงฆ์ว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กถาปรารภการค้านสามัคคีที่เป็น

ธรรมของบุคคลมีชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์

แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์ ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์

เป็นธรรม.

[๔๙๖] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย

ศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุเห็นภิกษุ

ที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วย

นิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย

ศีลวิบัติเลย แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน

และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้

มีผู้ได้เห็น และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ แต่ภิกษุนั่นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน

ผมมีผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวัง

อยู่ ครั้นถึงวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์

พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจ ด้วยศีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๗] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย

อาจารวิบัติ ก่อนดูภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุ

เห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วย

เพศ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ

ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น

ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้

ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติเลย แม้ภิกษุอื่นก็มิได้บอกแก่ภิกษุว่า ภิกษุ

มีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละ

บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผู้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วยอาจารวิบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้งถึงอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อ

บุคลนั้น อยู่พร้อมหน้าสงสงฆ์ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ได้ยิน

และรังเกียจว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจด้วยอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้าสงฆ์

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม.

[๔๙๘] อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ด้วย

ทิฏฐิวิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยเพศ ด้วยนิมิตเหล่าใด ภิกษุที่มีผู้ได้

เห็นได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยนิมิตเหล่านั้น ก็ภิกษุ

ไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุอื่นบอก

แก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ

ก็ภิกษุไม่เคยเห็นภิกษุที่มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติเลย แม้

ภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ภิกษุมีชื่อนี้ ผู้ได้เห็น ได้ยิน และ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

รังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ แต่ภิกษุนั้นแหละบอกแก่ภิกษุว่า ท่าน ผมมีผู้ได้เห็น

ได้ยิน และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ครั้นถึง

วันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าสงฆ์ พึงประกาศ

ในท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน ด้วยรังเกียจนั้นว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลมีชื่อนี้ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน

และรังเกียจด้วยทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่เธอ เมื่อเธออยู่พร้อมหน้า

สงฆ์ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ดังนี้ การงดปาติโมกข์เป็นธรรม

การงดปาติโมกข์เป็นธรรม ๑๐ ประการ นี้แล.

ภาณวาร ที่ ๑ จบ

พระอุบาลีทูลถามอธิกรณ์

[๔๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้

ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ที่ตนรับ พึงรับอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์เท่าไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์

พึงรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. ภิกษุผู้ปรารถนาจะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราปรารถนา

จะรับอธิกรณ์นี้ เป็นกาลสมควรหรือไม่ที่จะรับ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้

ว่าเป็นกาลไม่ควรที่จะรับอธิกรณ์ นี้หาใช่เป็นกาลสมควรไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุ

ไม่พึงรับ

๒. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า นี้เป็นกาลควรที่จะรับอธิกรณ์

นี้ หาใช่กาลไม่สมควรไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า ที่เราปรารถนาจะรับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

อธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องไม่จริง หาใช่เป็นเรื่องจริงไม่ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

๓. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง หา

ใช่เป็นเรื่องไม่จริงไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เราปรารถนาจะรับอธิกรณ์

นี้ อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

อธิกรณ์นี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หาใช่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุ

ไม่พึงรับ

๔. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประ-

โยชน์ หาใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ ภิกษุนั้นพึงพิจารณาต่อไปว่า เมื่อ

เรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จักได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรม

โดยวินัยหรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก

ไม่ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย อธิกรณ์นั้น

ภิกษุไม่พึงรับ

๕. ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ จัก

ได้ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยคบกัน เป็นฝ่ายโดยธรรมโดยวินัย ภิกษุนั้นพึง

พิจารณาต่อไปว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ

ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความ

ถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้นเป็นเหตุ จักมีแก่สงฆ์

หรือไม่ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด

หมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ

ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น

เป็นเหตุจักมีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุไม่พึงรับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เมื่อเรารับอธิกรณ์นี้ไว้ ความบาด

หมาง. ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความ

ร้าวรานแห่งสงฆ์ ความถือต่างแห่งสงฆ์ การกระทำต่างแห่งสงฆ์ ซึ่งมีการนั้น

เป็นเหตุ จักไม่มีแก่สงฆ์ อธิกรณ์นั้น ภิกษุพึงรับ

อุบาลี อธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้แล ภิกษุรับไว้จักไม่ทำ

ความเดือดร้อนแม้ในภายหลังแล.

ทูลถามการโจท

[๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น

พึงพิจารณาธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะ

โจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน แล้วโจทผู้อื่น ดูก่อนอุบาลี

ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติ

ทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มี

ช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติ

ทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มี

ตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อน

เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๑] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง

พิจารณาอย่างนี้ว่า เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบ

ด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เรา

หรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วย

ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า

เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

[๕๐๒] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง

พิจารณาอย่างนี้ว่า จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย

หรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่

อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตา

จิตในสพรหมจารีทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๓] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง

พิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรม

เหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประ-

กาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็น

ปานนั้น เป็นธรรมอันเราสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้ว

ด้วยปัญญาธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่

สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะ

ในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้น

เชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้น

ใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงเล่าเรียน

ปริยัติเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

[๕๐๔] ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง

พิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ

คล่องแคล่ว วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มี

แก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวด

ไพเราะ คล่องแคล่ววินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถาม

ว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขาบทนี้ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อม

จะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕

ประการนี้ในตน แล้วพึงโจทผู้อื่น.

[๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนา

จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจท

ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ :-

๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร

๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง

๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ

๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้

ประโยชน์

๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕

ประการนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน

[๕๐๖] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง

ความเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม

พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือด

ร้อน

๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน

๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่อง

ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน

๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อน

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อน

ด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่

โจทด้วยคำเท็จ.

ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน

[๕๐๗] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ไม่

ต้องเดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็น

ธรรม ไม่ต้องเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่

ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่

ต้องเดือดร้อน

๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้อง

เดือดร้อน

๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วย

เรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้อง

เดือดร้อน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือนร้อนด้วย

อาการทั้ง ๕ นี้.

ผู้โจทย์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือนร้อน

[๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความ

ไม่เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี. ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม

พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ :-

๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่

ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านไม่ต้อง

เดือดร้อน

๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้อง

เดือดร้อน

๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วย

อาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจท

ด้วยเรื่องจริง.

ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือนร้อน

[๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความ

เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม

พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-

๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่าน

ต้องเดือดร้อน

๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่าน

ต้องเดือดร้อน

๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้อง

เดือดร้อน

๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วย

เรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน

๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้อง

เดือดร้อน.

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ

๕ นี้แล.

ผู้โจทก์พึงมนสิกาธรรม ๕ ประการ

[๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง

มนสิการธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะ

โจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ :-

๑. ความการุญ

๒. ความหวังประโยชน์

๓. ความเอ็นดู

๔. ความออกจากอาบัติ

๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทย์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕

อย่างนี้ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น.

ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ

[๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม

เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่

ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุนเคือง ๑.

ปาติโมกขฐปนขันธกะ ที่ ๙ จบ

ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร

หัวข้อประจำขันธกะ

[๕๑๒] เรื่องปาปภิกษุในอุโบสถ ถูกไล่ ๓ ครั้ง ไม่ออกไป ถูก

พระโมคคัลลานะฉุดออก เรื่องอัศจรรย์ในศาสนาของพระชินเจ้า ทรงเปรียบ

เทียบมหาสมุทร คือ อนุปุพพสิกขา. เปรียบด้วยมหาสมุทรอันลุ่มลึกโดยลำดับ

พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท เปรียบด้วยมหาสมุทรตั้งอยู่ตามปกติไม่ล้นฝั่งสงฆ์

ย่อมขับไล่บุคคลทุศีลออก เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง วรรณะ ๔

เหล่า บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ละนามและโคตรเดิม ดุจแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่

มหาสมุทรแล้ว ละนามและโคตรเดิม ภิกษุเป็นอันมากปรินิพพาน เปรียบด้วย

น้ำไหลไปเต็มมหาสมุทร พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสรสเดียว เปรียบด้วยมหา-

สมุทรมีรสเค็มรสเดียว พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

๘ จำพวก เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ แล้วยังคุณในพระศาสนา

ให้ดำรงอยู่ เรื่องงดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ เรื่องพระฉัพพัคคีย์คิดว่า ใคร ๆ

ไม่รู้เรา เรื่องภิกษุยกโทษก่อน.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๒.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๓.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๔.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๕.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๖.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๗.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๘.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๙.

เรื่องงดปาติโมกข์เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม มีมูล ๑๐.

เรื่องงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ ศีล อาจาระ ทิฏฐิ และ

อาชีวะ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๕ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์

ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๖ มีวิธีอย่างนี้ คือ เพราะศีล อาจาระ

ทิฏฐิวิบัติ ที่มีภิกษุมิได้ทำและทำ.

เรื่องงดปาติโมกข์ในส่วน ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย

ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาสิต.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

เรื่องงดปาติโมกข์ เพราะศีล อาจาระ ทิฏฐิ และอาชีววิบัติ ที่ภิกษุ

มิได้ทำและทำ รวม ๘ อย่าง.

เรื่องงดปาติโมกข์มี ๙ วิธี คือ เพราะศีล อาจาระ ทิฏฐิ ที่ภิกษุมิ

ได้ทำและทั้งทำและไม่ทำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ผู้รู้ตามเป็นจริงอย่างนี้.

จงทราบการงดปาติโมกข์ ๑๐ อย่าง คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ๑

กถาปรารภภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิกยังค้างอยู่ ๑ ภิกษุบอกลาสิกขา ๑ กถา

ปรารภภิกษุผู้บอกลาสิกขายังค้างอยู่ ๑ ภิกษุร่วมสามัคคี ๑ กถาค้านสามัคคี ๑

ค้านสามัคคีที่ค้าง ๑ มีผู้ได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจด้วยศีลวิบัติ ๑ ด้วย

อาจารบัติ ๑ ด้วยทิฏฐิวิบัติ ๑.

เรื่องภิกษุเห็นภิกษุเอง ภิกษุอื่นบอกภิกษุนั้น หรือภิกษุผู้ต้องอาบัติ

ปาราชิกนั้น บอกความจริงแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นงดปาติโมกข์.

เรื่องบริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต

พรหมจรรย์ จงทราบการงดปาติโมกข์ที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรมตามแนว

ทาง.

เรื่องโจทโดยกาลอันควร โจทด้วยเรื่องจริง โจทด้วยเรื่องเป็นประ-

โยชน์จักได้ฝักฝ่าย จักมีความทะเลาะเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย วาจา บริสุทธิ์

มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต รู้ปาติโมกข์ทั้งสอง.

เรื่องภิกษุโจทโดยกาลอันควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำสุภาพ ด้วยเรื่อง

เป็น ประโยชน์ ด้วยเมตตาจิต.

เรื่องภิกษุเดือดร้อน โดยอธรรม พึงบรรเทาเหมือนอย่างนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

เรื่องภิกษุผู้โจทก์และถูกโจทเป็นธรรม พึงบรรเทาความเดือดร้อน

เรื่องพระสัมพุทธทรงประกาศข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ถูกโจทก์ไว้ ๕ อย่าง คือ

ความการุญ ความหวังประโยชน์ ความเอ็นดู ความออกจากอาบัติ ความทำ

วินัยเป็นเบื้องหน้า.

เรื่องทั้งอยู่ในความสัตย์และความไม่ขุ่นเคือง นี้เป็นธรรมดาของ

จำเลยแล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา

วินิจฉัยในปาฏิโมกขัฏฐรปนักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า นนฺทิมุขิยา รตฺติยา มีความว่า ราตรีปรากฎเหมือน

มีหน้าอันเอิบอิ่ม ในเวลาอรุณขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว

ว่า ราตรีมีหน้าชื่น.

บทว่า อนฺโตปูตึ มีความว่า ผู้เสียข้างใน โดยมีความเสียเพราะ

กิเลส ในภายในจิตสันดานเป็นสภาพ.

บทว่า อวสฺสุต มีความว่า ผู้ชุ่มแล้วด้วยอำนาจแห่งความรั่วแห่ง

กิเลส.

บทว่า กสมฺพุชาต มีความว่า ชื่อว่าผู้เศร้าหมอง เพราะเป็นผู้มี

โทษเกลื่อนกลาด.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

ด้วยคำว่า ยาว พาหาคหณาปี นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงพระประสงค์ว่า จริงอยู่ โมฆบุรุษนั้น พอได้ฟังคำว่า อานนท์ บริษัท

ไม่บริสุทธิ์ แล้ว พึงหลีกไปเสียก็มี, โมฆบุรุษนั้นไม่หลีกไปด้วยคำอย่างนั้น

จักมาเพียงจับแขนเท่านั้น. ความมานี้ น่าอัศจรรย์.

ข้อว่า น อายตเกเนว ปปาโต โหติ มีความว่า มหาสมุทร

เป็นของลึกโตรกแต่แรกหามิได้ คือ เป็นของลึกโดยลำดับ.

ข้อว่า ิตธมฺโม เวล นาติวตฺตติ มีความว่า มหาสมุทรไม่ล้น

ฝั่ง คือคันแดนเป็นที่ลงและขึ้นแห่งคลื่นทั้งหลาย.

สองบทว่า ตีร วาเหติ มีความว่า คลื่นย่อมพัดขึ้นฝั่ง คือซัด

ขึ้นบก.

บทว่า อญฺาปฏิเวโธ ได้แก่ ความตรัสรู้พระอรหัต.

คำว่า ฉนฺนมติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ

ความนี้ว่า เมื่อต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ ชื่อว่าต้องอาบัติใหม่อื่น.

คำว่า วิวฏ นาติวสฺสติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเนื้อ

ความนี้ว่า ต้องอาบัติแล้วเปิดเผยเสีย ชื่อว่าไม่ต้องอาบัติอื่น.

[ว่าด้วยการงดปาฏิโมกข์]

วินิจฉัยในข้อว่า ปิต โหติ ปาฏิโมกฺข นี้ พึงทราบดังนี้:-

ปาฏิโมกข์ที่เป็นอันงดก่อนหรือภายหลังก็มี ที่ไม่เป็นอันงดก่อนหรือ

ภายหลังก็มี, แต่ปาฏิโมกข์ที่งดในเขตเท่านั้น จึงเป็นอันงด; เพราะฉะนั้น

ปาฏิโมกข์อันสงฆ์พึงงดเพียงที่สวด เร อักษรในคำนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต

สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ ปณฺณรโส ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล, สงฺโฆ

อุโปสถ กเรยฺย นี้แล ชื่อว่าเขต. แต่ครั้นสวด อักษรแล้ว จึงงด

ชื่อว่างดภายหลัง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

เมื่อคำว่า สุณาตุ เม ยังไม่ทันได้เริ่ม เมื่องดเสีย เป็นอันงดก่อน.

ข้อว่า อมูลิกาย ทิฏฺิวิปตฺติยา ปาฏิโมกฺข เปติ อกตาย

มีความว่า วิบัตินั้น จะเป็นการที่บุคคลนั้น ทำแล้วหรือมิได้ทำก็ตามที, ความ

สำคัญของภิกษุผู้งดปาฏิโมกข์ ย่อมเป็นของไม่มีมูล ด้วยอำนาจแห่งวิบัติที่ไม่

มีมูล.

คำว่า กตากตาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมทั้ง ๒ อย่าง ทั้งที่

ทำ ทั่งที่ไม่ทำ.

ข้อว่า ธมฺมิก สามคฺคึ น อุเปติ มีความว่า เมื่อสังฆกรรม

อันสงฆ์กระทำอยู่ ภิกษุไม่มา ไม่มอบฉันทะ และอยู่พร้อมหน้า คัดค้าน

เพราะความเป็นผู้ประสงค์จะยังกรรมให้กำเริบ, ด้วยเหตุนั้นเธอต้องทุกกฏ.

ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปจฺจาทิยติ มีความว่า ย่อมกลับถือว่า กรรมต้องทำใหม่.

เพราะการรื้อนั้น เธอย่อมต้องปาจิตตีย์. ปาฏิโมกข์ของภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวแม้

นั้นแล ย่อมเป็นอันงด ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า เยหิ อากาเรหิ เยหิ ลิงฺเคหิ เยหิ นิมิตฺเตหิ นี้พึง

ทราบ เครื่องหมายรู้มีอาการเป็นต้น ในองค์ทั้งหลายมียังมรรคกับมรรคให้จด

กันเป็นต้น.

วัตถุที่ได้เห็นแล้ว และวัตถุที่ได้ฟังแล้ว ในคำว่า เตน ทิฏฺเน

เตน สุเตน ตาย ปริสงฺกาย นี้ มาแล้วในพระบาลีนั่นเอง

ก็ถ้าว่า ภิกษุพึงยังความรังเกียจให้เกิดขึ้น เพราะวัตถุที่ได้เห็นและได้

ฟังแล้วเหล่านั้นไซร้, คำว่า ด้วยความรังเกียจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอาความรังเกียจนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

[ว่าด้วยองค์แห่งการฉวยอธิกรณ์]

ภิกษุผู้ประสงค์จะชำระพระศาสนาให้หมดจด จึงฉวยอธิกรณ์ใด ด้วย

ตน, อธิกรณ์นั้น พระอุบาลีเถระเรียกว่า อตฺตาทาน ในคำว่า อตฺตาทาน

อาทาตุกาเมน.

กาลนี้ คือ ราชภัย โจรภัย ทุพภิกขภัย กาลที่ฝนเปียกชุ่ม เป็น

สมัยมิใช่กาล ในคำว่า อกาโล อิม อตฺตาทาน อาทาตุ นี้ กาลพึง

เห็นแผกกัน.

ข้อว่า อภูต อิท อตฺตาทาน มีความว่า อธิกรณ์นี้ไม่มี, อธิบาย

ว่า ถ้าว่า ภิกษุเมื่อพิจารณาทราบอย่างนี้ว่า อธรรม เราถือว่า เป็นธรรม,

หรือว่า ธรรม เราถือว่า เป็นอธรรม หรือว่ามิใช่วินัย เราถือว่า วินัย,

วินัย เราถือว่า มิใช่วินัย, หรือว่าบุคคลทุศีล เราถือว่า บุคคลมีศีล หรือ

ว่า บุคคลมีศีล เราถือว่า บุคคลทุศีล. อธิกรณ์ที่จริง พึงทราบโดยปริยาย

อันแผกกัน.

อธิกรณ์ใด เป็นไปเพื่ออันตรายแห่งชีวิต หรือเพื่ออันตรายแก่

พรหมจรรย์ อธิกรณ์นี้ชื่อว่าไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในคำว่า อนตฺถ-

สญฺหิต อิท อตฺตาทาน นี้. อธิกรณ์ที่แผก (จากนั้น ) ชื่อว่าประกอบ

ด้วยประโยชน์.

ข้อว่า น ลภิสฺสามิ สนฺทิฏฺเ สมฺภตฺเต ภิกฺขู มีความว่าจริง

อยู่ ในกาลบางคราว ภิกษุทั้งหลายผู้สนับสนุนฝ่ายของตนเห็นปานนั้น ย่อม

เป็นผู้อันเธอไม่อาจที่จะได้ ในเพราะภัยมีราชภัยเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายเอาความไม่ได้นั้น จึงตรัสว่า เราจักไม่ได้. แต่ในกาลบางคราว

ภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นผู้อันเธออาจที่จะได้ เพราะเป็นความปลอดภัย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

และมีภิกษาดีเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาความได้นั้น จึงตรัสว่า

เราจักได้.

ข้อว่า ภวิสฺสติ สงฺฆสฺส ตโตนิทาน ภณฺฑน มีความว่า

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท และความแตก

แห่งสงฆ์ จักมีแก่สงฆ์ เหมือนมีแก่พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี.

ข้อว่า ปจฺฉาปิ อวิปฺปฏิสารกร ภวิสฺสติ มีความว่า ความ

หวนระลึกถึงอธิกรณ์นั้น ในภายหลัง ไม่ทำความเดือดร้อนให้เหมือนความ

หวนระลึกของพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำปัญจสติกสังคีติข่มขี่สุภัททภิกษุผ้บวช

เมื่อแก่, และเหมือนความหวนระลึกของท่านพระยสะผู้ทำสัตตสติกสังคีติ ข่มขี่

ภิกษุหมื่นรูป เพราะอธิกรณ์มีวัตถุ ๑๐, และเหมือนความหวนระลึกของพระ-

โมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้ทำสหัสสกสังคีติ ข่มขี่ภิกษุ ๖ หมื่นรูป ไม่ทำความ

เดือดร้อนให้ในภายหลังฉะนั้น. ทั้งอธิกรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนั้น

อันภิกษุโจทแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความที่พระศาสนาเป็นของมีสิริเพียงดังดวง

จันทร์และดวงอาทิตย์ อันปราศจากโทษเครื่องเศร้าหมอง

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตรวจดูในตน]

วินิจฉัยในคำว่า อจฺฉิทฺเทน อปฺปฏิมเสน เป็นอาทิ พึงทราบ

ดังนี้ :-

บรรดาคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้อันบุคคลใด

ประหารแล้วก็ดี แพทยกรรมทั้งหลาย มีการผ่าฝีเป็นต้น อันบุคคลใดทำแล้ว

แก่คฤหัสถ์ทั้งหลายก็ดี กายสมาจารของบุคคลนั้น เป็นช่องทะลุ เหมือนใบ

ตาลที่ปลวกกิน และชื่อว่ามีโทษที่ควรสอดส่อง เพราะเป็นของที่จะพึงอาจ

เพื่อลูบคลำได้ คือเพื่อจับคร่าในที่ใดที่หนึ่งได้. กายสมาจารที่แผกกัน พึง

ทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ ไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

ส่วนวจีสมาจาร ย่อมเป็นช่องทะลุ และมีโทษควรสอดส่อง เพราะ

พูดปด พูดเสียดแทง พูดส่อเสียด และโจทอาบัติไม่มีมูลเป็นต้น. วจีสมาจาร

ที่แผกกัน พึงทราบว่า ไม่มีช่องทะลุ และไม่มีโทษที่ควรสอดส่อง.

ข้อว่า เมตฺต นุ โข เม จิตฺต มีความว่า จิตของเรามีเมตตา

ตัดกังวล ถึงทับแล้วด้วยความใส่ใจกัมมัฏฐานภาวนา.

บทว่า อนาฆาต ได้แก่เว้นจากอาฆาต. อธิบายว่า ปราศจากอาฆาต

ด้วยอำนาจแห่งความข่มไว้.

ข้อว่า อิท ปน อาวุโส กตฺถ วุตฺต ภควตา มีความว่า สิกขา

บทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วที่เมืองไหน ?

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงตั้งในตน]

วินิจฉัยในคำว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้ :-

ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อยังบุคคลผู้หนึ่งให้ทำโอกาสแล้วจึงโจท ชื่อว่ากล่าว

โดยกาล เมื่อโจทในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ โรงสลากข้าวต้ม โรงวิตก

ทางที่เที่ยวภิกษาและโรงฉันเป็นต้นก็ดี ในขณะที่อุปัฏฐากทั้งหลายปวารณาก็ดี

ชื่อว่า กล่าวโดยมิใช่กาล.

เมื่อกล่าวด้วยคำจริง ชื่อว่า กล่าวด้วยคำแท้.

เมื่อกล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ แน่ะท่านผู้ใหญ่ แน่ะท่านผู้เที่ยวอยู่ใน

บริษัท แน่ะท่านผู้ถือบังสกุล แน่ะท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่าน ชื่อว่า

กล่าวด้วยคำหยาบ.

แต่เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุว่า ผู้เจริญ ท่านเป็นผู้ใหญ่

ท่านเป็นผู้เที่ยวอยู่ในบริษัท ท่านเป็นผู้ถือบังสกุล ท่านเป็นธรรมกถึก นี้

สมควรแก่พวกท่าน ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำไพเราะ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

เมื่อกล่าวให้เป็นถ้อยคำอิงอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยถ้อยคำประกอบ

ด้วยประโยชน์.

ข้อว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โทสนฺตโร มีความว่า เรา

จักเข้าไปตั้งเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายกล่าว.

[ว่าด้วยธรรมที่โจทก์พึงพิจารณาในตน]

สองบทว่า อชฺฌตฺต มนสิกริตฺวา ได้แก่ พึงยังความคิดของตน

ให้เกิดขึ้น.

บทว่า การุญฺตา นั้น ได้แก่ ความมีกรุณา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรุณาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง

กรุณา ด้วยความมีกรุณานี้.

ความใฝ่หาประโยชน์ ชื่อว่า ความเป็นผู้แสวงประโยชน์.

ความประกอบพร้อมด้วยประโยชน์เกื้อกูลนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้

อนุเคราะห์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาและธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่ง

เมตตา ด้วยความเป็นผู้แสวงประโยชน์ และความเป็นผู้อนุเคราะห์แม้ทั้ง ๒.

การให้ออกเสียจากอาบัติแล้ว ให้ตั้งอยู่ในส่วนแห่งผู้หมดจด ชื่อว่า

ความออกจากอาบัติ.

การที่ฟ้องคดีแล้วให้จำเลยให้การ อ้างเอาคำปฏิญญา ทำกรรมตามที่

ปฏิญญาอย่างไร ชื่อว่า ความเป็นผู้ทำพระวินัยให้เป็นที่เคารพ

ข้อว่า อิเม ปญฺจ ธมฺเม มีความว่า ธรรมเหล่านี้ใด ที่เรากล่าวแล้ว

โดยนัยมีคำว่า การุญฺตา เป็นต้น, ภิกษุผู้โจทก์ พึงพิจารณาธรรมทั้ง ๕

เหล่านั้น ภายในตนแล้ว จึงโจทก์ผู้อื่น ฉะนั้นแล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

[ว่าด้วยธรรมของจำเลย]

ข้อว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ในคำจริง

และในความเป็นผู้ไม่โกรธ. จริงอยู่ จำเลยต้องให้การตามจริง และต้องไม่

ทำอาการโกรธเคือง. อธิบายว่า ไม่พึงโกรธด้วยตนเอง ไม่พึงกระทบกระทั่ง

ผู้อื่น.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ปาฏิโมกขัฏฐปนักขันธกวรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ภิกขุนีขันธกะ

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี

[๕๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า

ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่

สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

แม้ครั้งที่สอง . . .

แม้ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การ

ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ-

ธรรนวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วย

น้ำพระเนตร ทรงกันแสง พลางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ

เสด็จกลับไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

[๕๑๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตาม

พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จหลีกจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ

ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน เขต

พระนครเวสาลีนั้น.

ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษา

ย้อมฝาด พร้อมด้วยนางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จหลีกไปทางพระนครเวสาลี

เสด็จถึงเมืองเวสาลี กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน โดยลำดับ เวลานั้นพระนางมี

พระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มี

พระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ได้ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวาร

ภายนอก.

ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสอง

พอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นอง

ด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ครั้นแล้วได้

ถามว่า ดูก่อนโคตมี เพราะเหตุไร พระนางจึงมีพระบาททั้งสองพอง มี

พระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำ

พระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก.

พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

อนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระคถาคต

ประกาศแล้ว .

พระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่

แหละสักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

[๕๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนาง

มหาปชาบดีโคตมีนั้น มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี

มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ประทับยืนกันแสงอยู่

ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต

ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ

แล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ใน

พระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ

ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย

แม้ครั้งที่สอง ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ

ประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ-

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ

ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอ

ประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การ

ที่สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต

ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

แล้ว ไฉนหนอ เราพึงทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว โดยปริยายสักอย่างหนึ่ง

จึงทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระ

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรหรือไม่เพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดา-

ปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล.

พ. ดูก่อนอานนท์ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม

วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล

อนาคามิผล หรืออรหัตผล.

อ. พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ใน

พระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล

สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี

โคตมี พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับ

ประคอง เลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า

ครุธรรม ๘ ประการ

[๕๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนาง

มหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทา

ของพระนาง คือ:-

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี

กรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้อง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้า

ไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถาน

ทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์

๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด

ตลอดชีวิต.

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มี

สิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ

เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

ดูก่อนอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘

ประการนี้ ข้อนั้นแหละจงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง.

[๕๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี ชี้แจงว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็น

อุปสัมปทาของพระนาง คือ:-

๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี

กรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้อง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้า

ไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน

ทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๕. ภิกษุณีต้องธรรมทำหนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์

๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิด

ตลอดชีวิต.

๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มี

สิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษ ภิกษุโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ

เปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละ

จักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง.

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอม

รับครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือ

ชายหนุ่มที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือ

พวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น.

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน

[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนาง

มหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า อุปสมบทแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จัก

ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่

ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดูก่อนอานนท์ สตรีได้

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์

ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย

ตระกูลเหล่านั้นถูกพวกโจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน

อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่

ตั้งอยู่ได้นาน ดูก่อนอานนท์ บุรุษกั้นทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้

น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้

ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน

ครุธรรม ๘ ประการของภิกษุณี จบ

พุทธานุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี

[๕๑๙] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

หม่อมฉันจะปฏิบัติในนางสากิยานีพวกนี้อย่างไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมี

เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทีนั้นพระนางปชา-

บดีโคตมีผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ

ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ

กลับไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี.

[๕๒๐] ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกะพระมหาปชาบดีโคตมีว่า

พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี ลำดับนั้น

พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ อภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่ควร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีเหล่านั้นพูดกะดิฉัน

อย่างนี้ว่า พระแม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชาบดีโคตมี

กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ภิกษุณีพวกนี้พูดกะดิฉันอย่างนี้ว่า พระแม่-

เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณี พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ พระมหาปชาบดีโคตมี รับครุธรรม ๘ ประการ

แล้วในกาลใด พระนางชื่อว่าอุปสมบทแล้วในกาลนั้นทีเดียว.

ทูลขอพร

[๕๒๑] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปหาท่านพระอานนท์

อภิวาท ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะ

ทูลขอพรอย่างหนึ่งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธ

เจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำ

อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุและภิกษุณี ตามลำดับผู้แก่

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระมหาปชา-

บดีโคตมีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ ดิฉันจะขอพรอย่างหนึ่งกะพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุ

และภิกษุณี ตามลำดับผู้แก่.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ตถาคตจะอนุญาตการ

กราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคามนั้น มิใช่

ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ที่มีธรรมอันกล่าวไม่ดีแล้วเหล่านี้

ยังไม่กระทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม

ก็ไฉนเล่าตถาคตจักอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม

แก่มาตุคาม.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลี

กรรม สามีจิกรรม แก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทูลถามถึงสิกขาบท

[๕๒๒] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติใน

สิกขาบทเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้น

ใด ที่ทั่วถึงภิกษุ พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ดุจภิกษุทั้งหลาย

ศึกษาอยู่ ฉะนั้น .

ม. พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึง

ภิกษุ พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนโคตมี สิกขาบทของภิกษุณีเหล่านั้นใด ที่ไม่ทั่วถึงภิกษุ

พวกเธอจงศึกษาในสิกขาบทเหล่านั้น ตามที่เราบัญญัติไว้แล้ว.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

ลักษณะวินิจฉัยพระธรรมวินัย

[๕๒๓] ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ขอประทานวโรกาส

พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อ ที่หม่อมฉัน

ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นผู้เดียวจะพึงหลีกออก ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า

ธรรมเหล่านี้ เป็นไปเหลือความกำหนัด ไม่ใช่เพื่อคลายความกำหนัด เป็นไป

เพื่อความประกอบ ไม่ใช่เพื่อความพราก เป็นไปเพื่อความสะสม ไม่ใช่เพื่อ

ความไม่สะสม เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่ใช่ความมักน้อย เป็นไปเพื่อความ

ไม่สันโดษ ไม่ใช่เพื่อความสันโดษ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ใช่

เพื่อความสงัด เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่ใช่เพื่อความเพียร เป็นไปเพื่อ

ความเลี้ยงยาก ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรม

เหล่านั้น ไว้โดยส่วนเดียวว่า นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่สัตถุศาสน์.

ดูก่อนโคตมี อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป

เพื่อความคลายกำหนัด ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เป็นไปเพื่อความพราก ไม่ใช่

เพื่อความประกอบ เป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่ใช่เพื่อความสะสม เป็นไป

เพื่อความมักน้อย ไม่ใช่เพื่อความมักมาก เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่ใช่

เพื่อความไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่ใช่เพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่

เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่ใช่ความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย

ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงยาก ดูก่อนโคตมี เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านั้นไว้โดยส่วน

เดียวว่า นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็นสัตถุศาสน์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

พุทธานุญาตให้แสดงปาติโมกข์

[๕๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี...ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้แสดงปาติโมกข์ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ลำดับนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายคิดว่า ใครหนอ ควรแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ภิกษุแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

[๕๒๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักภิกษุณี แล้วแสดง

ปาติโมกข์แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ประชาชน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้

ภิกษุเหล่านี้จักอภิรมย์กับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ... ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณี รูปใดแสดง ต้อง

อาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุณีด้วยกัน ภิกษุณี

ทั้งหลายไม่รู้ว่าจะพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ

บอกภิกษุณีทั้งหลายว่า พวกเธอพึงแสดงปาติโมกข์อย่างนี้.

พุทธานุญาตให้รับอาบัติ

[๕๒๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่กระทำคืนอาบัติ ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี

จะไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่ทำคืน ต้องอาบัติทุกกฎ ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

จะพึงทำคืนอาบัติแม้อย่างนี้ .. . ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายว่า พวก

เธอพึงทำคืนอาบัติอย่างนี้

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า ใครหนอจะพึงรับอาบัติของภิกษุณีทั้ง

หลาย ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ.. ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย.

รับแสดงอาบัติ

[๕๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่

ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคอง

อัญชลี ทำคืนอาบัติ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็น

เมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ ล่วงเกิน

ในราตรี บัดนี้มาขอขมา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดรับ

ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของภิกษุณีด้วยกัน ภิกษุณีทั้ง

หลายไม่รู้ว่าจะพึงรับอาบัติแม้อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณี

ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายพึงรับอาบัติอย่างนี้.

พุทธานุญาตให้ทำกรรม

[๕๒๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ใครหนอพึงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณี

ทั้งหลาย.

[๕๒๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนน

ก็ดี ที่ตรอกก็ดี ที่ทางสามแพร่งก็ดี วางบาตรไว้ที่พื้น ห่มผ้าเฉวียงบ่า นั่งกระ

โหย่งประคองอัญชลี ให้ภิกษุอดโทษพลางตั้งใจว่า จะไม่ทำอย่างนั้นอีก ชาว

บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวก

นี้ ภิกษุณีเหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินในราตรี บัดนี้

มาขอขมา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดทำ ต้อง

อาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ภิกษุณีทำกรรมแก่ภิกษุณีด้วย ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า

จะพึงทำกรรมแม้อย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกภิกษุณีทั้งหลายว่า

พวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้.

[๕๓๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเกิดความบาดหมาง เกิดความ

ทะเลาะถึงวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากในท่ามกลางสงฆ์อยู่ ไม่

อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ

. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระงับอธิกรณ์ของภิกษุณี

ทั้งหลาย.

[๕๓๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย ก็

เมื่อภิกษุวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ปรากฏว่า ภิกษุณีทั้งหลายเข้ากรรมบ้าง ต้อง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

อาบัติบ้าง ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าจง

ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพึงระงับอธิกรณ์ของ

ภิกษุณีทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุยกกรรมของพวกภิกษุณีมอบให้แก่พวก

ภิกษุณีเพื่อให้พวกภิกษุณีทำกรรมแก่พวกภิกษุณี เพื่อให้ภิกษุยกอาบัติของพวก

ภิกษุณีมอบให้แก่พวกภิกษุณี เพื่อให้พวกภิกษุณีรับอาบัติของพวกภิกษุณี.

[๕๓๒] สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณาติดตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียนวินัยอยู่ ๗ ปี นางมีสติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียน

ไว้ ก็เลอะเลือน นางได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะเสด็จกรุง

สาวัตถี จึงคิดว่า เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าเรียนวินัยอยู่ ๗ ปี เรานั้นมี

สติฟั่นเฟือน วินัยที่เรียนไว้ เรียนไว้เลอะเลือน ก็การที่มาตุคามจะติดตาม

พระศาสดาไปตลอดชีวิตทำได้ยาก เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึงแจ้งเรื่อง

นั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบ -

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ภิกษุสอนวินัยแก่พวกภิกษุณี.

ปฐมภาณวาร จบ

[๕๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครเวสาลีตาม

พุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกทางพระนครสาวัตถี เสร็จจาริกโดยลำดับถึงพระ-

นครสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน อารามของอนาถ

บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน

ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา.. . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดนางภิกษุณี

รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเรา

จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ.

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.

ภิกษุแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุณี

[๕๓๔] สมัยนั้น ภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายอวดภิกษุณี เปิดขาอ่อนอวด

ภิกษุณี เปิดองก์กำเนิดอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี ชักจูงบุรุษให้สมสู่กับ

ภิกษุณีด้วยหวังว่า แม้ไฉน ภิกษุณีพึงรักใคร่ในพวกเรา . . . ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวดภิกษุณี ไม่พึงเปิดองค์

กำเนิดอวดภิกษุณี ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณี ไม่พึงชักจูงบุรุษให้สมสู่กับภิกษุณี

รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเราพึง

ลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. ..

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นผู้ไม่ควรไหว้.

[๕๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุ ด้วยหวังว่าแม้

ไฉน ภิกษุพึงรักใคร่ในพวกเรา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรด

ภิกษุ รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวก

เราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้าม

ปราม เมื่อภิกษุห้ามปรามแล้วภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้งดโอวาท.

ภิกษุณีแสดงอวัยวะมีกายเป็นต้นอวดภิกษุ

[๕๓๖] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์เปิดกายอวดภิกษุ เปิดถันอวด

ภิกษุ เปิดขาอ่อนอวดภิกษุ เปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุ พูดเกี้ยวภิกษุ ชักจูงสตรี

ให้สมสู่กับภิกษุด้วยหวังว่า แม้ไฉนภิกษุพึงรักใคร่ในพวกเราะ..ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดถันอวดภิกษุ ไม่พึงเปิดขาอ่อนอวด

ภิกษุ ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดอวดภิกษุ ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุ ไม่พึงชักจูงสตรีให้

สมสู่กับภิกษุ รูปใดชักจูง ต้องอาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวก

เราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ และกราบทูลเรื่องแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า .. .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำการห้าม-

ปราม เมื่อภิกษุทำการห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายไม่เชื่อฟัง... ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้งดโอวาท.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

[๕๓๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดว่า การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณี

ที่ถูกงดโอวาทแล้ว ควรหรือไม่ควรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณี

ที่ถูกงดโอวาทแล้วจนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับ.

เรื่องงดโอวาท

[๕๓๘] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไปสู่จาริก ภิกษุณี

ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าอุทายีงดโอวาทแล้ว

จึงได้หลีกไปสู่จาริกเสียเล่า. . .ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วไม่พึงหลีกไปสู่

จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๓๙] สมัยนั้น ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด งดโอวาท...ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฎ.

[๕๔๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทในเพราะเรื่องไม่สมควร ใน

เพราะเหตุไม่สมควร . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

. . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท ในเพราะเรื่องไม่สมควร

ในเพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๔๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้ว ไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุงดโอวาทแล้ว จะไม่ให้คำวินิจฉัยไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

[๕๔๒] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี

จะไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่ไป พึงปรับตามธรรม.

[๕๔๓] สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาททั้งหมด ชาวบ้าน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณี

เหล่านี้ เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ภิกษุเหล่านี้จักชื่นชมกับภิกษุณีเหล่านี้

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาททั้งหมด ถ้าไป ไม่ต้องทุกกฏ เรา

อนุญาตให้ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท.

[๕๔๔] สมัยนั้น ภิกษุณี ๔ - ๕ รูป ไปรับโอวาท ชาวบ้านเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีเหล่านี้เป็นเมียของภิกษุพวกนี้ ภิกษุณีเหล่านี้

เป็นชู้ของภิกษุพวกนี้ บัดนี้ ภิกษุพวกนี้จักชื่นชมกับภิกษุณีเหล่านี้ ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ถึง ๔-๕ รูป ถ้าไป ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาต

ให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป ปรับโอวาท

วิธีรับโอวาท

ภิกษุณีเหล่านั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้า

นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า ภิกษุณี

สงฆ์ไหว้เท้าภิกษุสงฆ์และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้เข้ารับ

โอวาท ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน

เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ไหว้เท้าภิกษุสงฆ์ และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณี

สงฆ์จงได้เข้ารับโอวาท ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ภิกษุบางรูปที่สงฆ์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณีมีอยู่หรือ ถ้ามีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอน

ภิกษุณี อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงกล่าวว่า ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็น

ผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีภิกษุบางรูปที่สงฆ์สมมติให้

เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงถามว่า ท่านรูปใดอาจสอนภิกษุณี

ได้ ถ้าภิกษุบางรูปอาจสอนภิกษุณีได้ และภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๘

อันภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์นั้น พึงสมมติแล้วแจ้งให้ทราบว่า ภิกษุมีชื่อนี้สงฆ์

สมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาเธอ ถ้าไม่มีใคร ๆ อาจสอน

ภิกษุณีได้ ภิกษุผู้แสดงปาติโมกข์พึงกล่าวว่า ไม่มีภิกษุรูปใดที่สงฆ์สมมติได้

เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงยังอาการอันน่าเลื่อมใสให้ถึงพร้อมเถิด.

[๕๔๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่รับให้โอวาท... ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

จะไม่รับให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๔๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้เขลา ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหา

เธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นบอกว่า น้อง

หญิง ฉันเป็นผู้เขลา จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า ขอ

ท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างนี้

ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เว้นภิกษุเขลาเสีย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๗] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปหา

เธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดู

ก่อนน้องหญิง ฉันอาพาธ จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่าง

นี้ว่า เว้นภิกษุเขลาเสียภิกษุนอกนั้นต้องรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา

เว้นภิกษุอาพาธ เราอนุญาตให้ภิกษุนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเตรียมจะไป ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไป

หาเธอ แล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าว

ว่า ดูก่อนน้องหญิง ฉันเตรียมจะไป จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้ง

หลายกล่าวว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติไว้อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ ภิกษุนอกนั้นต้องรับให้

โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . .ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป เรา

อนุญาตให้ภิกษุนอกนั้นรับให้โอวาท.

[๕๔๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายได้เข้าไป

หาเธอแล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าข้า ขอท่านจงรับให้โอวาท ภิกษุนั้นกล่าวว่า

ดูก่อนน้องหญิง ฉันอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายกล่าว

ว่า ขอท่านจงรับให้โอวาทเถิดเจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้

อย่างนี้ว่า เว้นภิกษุเขลา เว้นภิกษุอาพาธ เว้นภิกษุเตรียมจะไป ภิกษุนอก

นั้นต้องรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . .

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ารับให้โอวาท และทำ

การนัดหมายว่า เราจักกลับในที่นั้น.

[๕๕๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้ว ไม่บอกภิกษุผู้

แสดงปาติโมกข์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . .

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่บอกการให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก

ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๕๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่กลับมาบอก . . .

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุจะไม่กลับมาบอกการให้โอวาทไม่ได้ รูปใดไม่กลับมาบอก ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

[๕๕๒] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปสู่ที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีจะไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใดไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๕๓] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายใช้ผ้ากายพันธน์ยาวรัดสีข้างด้วย

ผ้าเหล่านั้น ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกหญิง

คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ...

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ผ้ากายพันธน์ยาว รูปใดใช้ ต้อง

อาบัติทุกกฏ

เราอนุญาตผ้ากายพันธน์ที่รัดได้รอบเดียวแก่ภิกษุณี แต่อย่ารัดสีข้าง

ด้วยผ้านั้น รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ.

รัดสีข้าง

[๕๕๔] สมัยต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วย

แผ่นหนัง ด้วยแผ่นผ้าขาว ด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วย

ช้องผ้าผืนน้อย ด้วยเกลียวผ้าผืนน้อย ด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียวด้าย

ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . .เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ... ตรัสว่า ดูก่อน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงรัดสีข้างด้วยแผ่นไม้สาน ด้วยแผ่นหนัง ด้วยแผ่น

ผ้าขาว ด้วยช้องผ้า ด้วยเกลียวผ้า ด้วยผ้าผืนน้อย ด้วยข้องผ้าผืนน้อย ด้วย

เกลียวผ้าผืนน้อย ด้วยช้องถักด้วยด้าย ด้วยเกลียวด้าย รูปใดรัด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

แต่งกาย

[๕๕๕] สมัยต่อมาภิกษุณีทั้งหลายให้สีตะโพกด้วยกระดูกแข้งโค ให้

นวดตะโพก มือ หลังมือ เท้า หลังเท้า ขาอ่อน หน้า ริมฝีปาก ด้วยไม้

มีสัณฐานดุจคางโค ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. .เหมือนพวก

หญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

เจ้า ๆ. . .ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้สีตะโพกด้วยกระดูก

แข้งโค ไม่พึงให้นวดตะโพก ไม่พึงให้นวดมือ ไม่พึงให้นวดหลังมือ ไม่พึง

ให้นวดเท้า ไม่พึงให้นวดหลังเท้า ไม่พึงให้นวดขาอ่อน ไม่พึงให้นวดหน้า

ไม่พึงให้นวดริมฝีปาก ด้วยไม้มีสัณฐานดุจคางโค รูปใดให้นวด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ทาหน้าเป็นต้น

[๕๕๖] สมัยต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิม

หน้าด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ชาวบ้าน เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา

ไม่พึงย้อมตัว ไม่พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อมทั้งตัวทั้งหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

[๕๕๗] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์แต้มหน้า ทาแก้ม เยี่ยมหน้าต่าง

ยืนแอบประตู ให้ผู้อื่นทำการฟ้อนรำ ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านขายสุรา

ขายเนื้อ ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการหากำไร ประกอบการค้าขาย

ใช้ทาสให้บำรุง ใช้ทาสีให้บำรุง ใช้กรรมกรชายให้บำรุง ใช้กรรมกรหญิงให้

บำรุง ใช้สัตว์เดียรัจฉานให้บำรุง ขายของสดและของสุก ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ

ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. .เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ. . . ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงแต้มหน้า ไม่พึงทาแก้ม ไม่พึงเยี่ยมหน้าต่าง ไม่

พึงยืนแอบประตู ไม่พึงให้ผู้อื่นทำการฟ้อนรำ ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ไม่

พึงตั้งร้านขายสุรา ไม่พึงออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ไม่พึงประกอบการหากำไร

ไม่พึงประกอบการค้าขาย ไม่พึงใช้ทาสให้บำรุง ไม่พึงใช้ทาสีให้บำรุง ไม่พึง

ใช้กรรมกรชายให้บำรุง ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้บำรุง ไม่พึงใช้สัตว์เดียรัจฉาน

ให้บำรุง ไม่พึงขายของสดและของสุก ไม่พึงใช้สันถัตขนเจียมหล่อ รูปใดใช้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ใช้จีวรสีครามล้วนเป็นต้น

[๕๕๘] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้จีวรสีความล้วน ใช้จีวร

สีเหลืองล้วน ใช้จีวรสีแดงล้วน ใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ใช้จีวรสีดำล้วน ใช้

จีวรสีแสดล้วน ใช้จีวรสีชมพูล้วน ใช้จีวรไม่ตัดชาย ใช้จีวรมีชายยาว ใช้

จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้ สวมเสื้อ สวมหมวก

ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า... เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้

บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ. . .ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จีวรสีความล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีเหลืองล้วน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ไม่พึงใช้จีวรสีแดงล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีดำล้วน

ไม่พึงใช้จีวรสีแสดล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีชมภูล้วน ไม่พึงใช้จีวรไม่ตัดชาย ไม่

พึงใช้จีวรมีชายยาว ไม่พึงใช้จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ไม่พึงใช้จีวรมีชาย

เป็นลายผลไม้ ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พินัยกรรม

[๕๕๙]่ สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง เมื่อจะถึงมรณภาพ พูดอย่างนี้ว่า

เมื่อฉันลวงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น

ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่า บริขารเป็นของพวกเรา บริขารเป็น

ของพวกเรา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉันล่วงไป

แล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น

บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานา...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรี เมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า

เมื่อฉันล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิภษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ใน

บริขารนั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเมื่อจะถึงมรณภาพพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉัน

ล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขาร

นั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณร...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสก...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกา...

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าใครคนอื่นเมื่อจะตายพูดอย่างนี้ว่า เมื่อฉัน

ล่วงไปแล้ว บริขารของฉันจงเป็นของสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขาร

นั้น บริขารนั้นเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว.

ภิกษุณีประหารภิกษุ

[๕๖๐] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นภรรยาของนักมวยมาก่อน บวช

ในสำนักภิกษุณี นางเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน แล้วให้ประหารด้วยไหล่ให้

เซไป ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ให้

ประหารแก่ภิกษุเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้ประหารแก่ภิกษุ รูปใดให้ประหาร ต้อง

อาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว หลีกทางให้แต่ไกลเทียว.

นำทารกไปด้วยบาตร

[๕๖๑] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งผัวหย่าร้างจึงมีครรภ์กับชายชู้ นาง

รีดครรภ์แล้วกล่าววานภิกษุณีผู้กุลุปกะว่า วานทีเถิดเจ้าข้า ขอท่านจงนำทารก

นี้ไปด้วยบาตร ภิกษุณีนั้นจึงวางเด็กลงในบาตรปิดด้วยผ้าสังฆาฏิเดินไป.

สมัยนั้น ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่งทำการสมาทานว่า เราไม่ให้

ภิกษาที่ได้แก่ภิกษุ หรือภิกษุณีก่อนแล้วจักไม่ฉัน.

ครั้งนั้น เธอพบภิกษุณีนั้นแล้วได้กล่าวว่า น้องหญิง เชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สอง ภิกษุนั้นได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

แม้ครั้งที่สาม ภิกษุนั้นได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

นางปฏิเสธว่า อย่าเลย เจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

ภิกษุนั้นชี้แจงว่า. น้องหญิง ฉันสมาทานไว้ว่า ฉันไม่ให้ภิกษาที่ได้

แก่ภิกษุ หรือภิกษุณีก่อนแล้วจักไม่ฉัน น้องหญิงเชิญรับภิกษา.

ครั้นนางถูกภิกษุนั้นแค่นไค้อยู่ จึงนำบาตรออกแสดงกล่าวว่า พระ-

คุณเจ้าข้า ท่านจงดูทารกในบาตร ท่านอย่าบอกใคร ภิกษุนั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงนำทารกไปด้วยบาตรแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุณีจึงได้นำทารกไปด้วยบาตร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนำทารกไปด้วยบาตร

รูปใดนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีพบภิกษุแล้วนำบาตร

ออกแสดง.

แสดงก้นบาตร

[๕๖๒] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้ว พลิกกลับแสดง

ก้นบาตร ภิกษุเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์

พบภิกษุแล้ว จึงได้พลิกกลับแสดงก้นบาตร แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้ว ไม่พึง

พลิกกลับแสดงก้นบาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณี

พบภิกษุแล้ว หงายบาตรแสดง และอามิสใดมีในบาตร พึงนิมนต์ภิกษุด้วย

อามิสนั้น.

เพ่งดูนิมิตบุรุษ

[๕๖๓] สมัยนั้น นิมิตบุรุษเขาทิ้งไว้ที่ถนนในพระนครสาวัตถี ภิกษุณี

ทั้งหลายตั้งใจเพ่งดูนิมิตบุรุษนั้น ชาวบ้านพากันโห่ ภิกษุณีเหล่านั้นเก้อ จึง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

ไปสู่สำนักแล้ว บอกเรื่องนั้น แก่ภิกษุณีทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย

... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้เพ่งดูนิมิต

บุรุษเล่า แล้วได้บอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย . . .ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่ง

ดูนิมิตบุรุษ รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องให้อามิส

[๕๖๔] สมัยนั้น ประชาชนถวายอามิสแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

ให้อามิสแก่พวกภิกษุณี ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงได้ให้อามิสที่เขาถวายแก่ตนเพื่อประโยชน์บริโภคแก่

ผู้อื่นเล่า ก็พวกเราไม่รู้จักให้ทานหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้อานิสที่

เขาถวายแก่ตนเพื่อประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๖๕] สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

เพื่อให้แก่สงฆ์ อามิสมีมากเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้เป็นส่วนบุคคล.

[๕๖๖] สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุทำการสั่งสมไว้มีมาก ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ภิกษุยังภิกษุณีให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุแล้วฉันได้.

[๕๖๗] สมัยนั้น ประชาชนถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณี

ทั้งหลายถวายแก่ภิกษุ คนทั้งหลายเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี

ทั้งหลายจงถวายอามิสที่เขาถวายแก่ตน เพื่อประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น ก็พวก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

เราไม่รู้จักให้ทานหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงให้อามิสที่เขาถวายแก่ตน เพื่อ

ประโยชน์บริโภคแก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๖๘] สมัยนั้น อามิสของภิกษุทั้งหลายมีมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ถวายแก่สงฆ์ อามิสมีมากเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้แม้เป็น

ส่วนบุคคล.

[๕๖๙] สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทำการสั่งสมมีมาก ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ภิกษุณียังภิกษุให้รับอามิสที่เป็นสันนิธิของภิกษุณีแล้วฉันได้.

พุทธานุญาตเสนาสนะอาศัยชั่วคราว

[๕๗๐] สมัยนั้น เสนาสนะของภิกษุทั้งหลายมีมาก เสนาสนะของ

พวกภิกษุณีไม่มี ภิกษุณีทั้งหลายส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดีละ เจ้าข้า

ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงให้เสนาสนะแก่พวกดิฉันอาศัยชั่วคราว ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตเพื่อให้เสนาสนะแก่ภิกษุณีทั้งหลายอาศัยชั่วคราว.

พุทธานุญาตผ้าสำหรับนุ่งในที่พัก

[๕๗๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู ขึ้นนั่งบ้าง ขึ้นนอนบ้าง

บนเตียงที่บุ บนตั่งที่บุ เสนาสนะเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงขึ้นนั่ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

ไม่พึงขึ้นนอนบนเตียงที่บุ บนตั่งที่บุ รูปใดขึ้นนั่ง หรือขึ้นนอน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ เราอนุญาตผ้าในที่พัก ผ้าในที่พักเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ผ้าซับใน ผ้าซับในหลุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูก แล้วผูกไว้ที่ขาอ่อน

เชือกขาด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว.

[๕๗๒] สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล คน

ทั้งหลายเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . .เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค

กาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกเอวตลอดกาล รูปใดใช้ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ เราอนุญาตเชือกผูกสะเอว เมื่อมีระดู.

ทุติยภาณวาร จบ

อันตรายิกธรรมของภิกษุณี

[๕๗๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีนิมิต

บ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง มีผ้าซับในเสมอ

บ้าง มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอยบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นหญิงบัณเฑาะก์บ้าง เป็น

หญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง.. .

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถามอันตรายิกธรรม ๒๔ ประการ แก่ภิกษุณีผู้จะ

อุปสมบท.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

วิธีถามอันตรายิกธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอย่างนี้ :-

เธอมิใช่ผู้มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ

มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ

มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย หรือ

มิใช่ผู้มีเดือย หรือ

มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ

มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ

มิใช่ผู้เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ

มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ

อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก

โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู

เธอเป็นมนุษย์ หรือ

เป็นหญิง หรือ

เป็นไทย หรือ

ไม่มีหนี้สิน หรือ

ไม่เป็นราชภัฏ หรือ

มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ

มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ

บาตร จีวรของเธอครบแล้ว หรือ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

เธอ ชื่ออะไร

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร.

[๕๗๔] สมัยนั้น ภิกษุถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณี หญิงผู้อุป-

สัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาง

อุปสัมปทาเปกขะอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ แล้ว

อุปสมบทในภิกษุสงฆ์.

[๕๗๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะนางอุปสัม-

ปทาเปกขะผู้ยังไม่ได้สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน

ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วถามอันตรายิกธรรมต่อ

ภายหลัง ภิกษุณีทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง นางอุปสัมปทาเปกขะ

ยังกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอน

ซ้อม ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์.

วิธีสอนซ้อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสอนซ้อมอย่างนี้ พึงให้ถืออุปัชฌายะ

ก่อนครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวรว่า

นี้ บาตรของเธอ

นี้ ผ้าสังฆาฏิ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

นี้ ผ้าอุตราสงค์

นี้ ผ้าอันตรวาสก

นี้ ผ้ารัดอก

นี้ ผ้าอาบน้ำ

เธอจงไปยืนอยู่ ณ โอกาสโน้น.

ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะผู้ถูกสอน

ซ้อมไม่ดี ย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้เขลา

ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีมิได้รับสมมติสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีมิได้รับสมมติไม่พึง

สอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติ

แล้วสอนซ้อม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ ตนเองพึงสมมติตน

หรือผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น.

วิธีสมมติตน

[๕๗๖] ก็ตนเองพึงสมมติตน อย่างไร.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ญัตติกรรมวาจาสมมติตน

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทา-

เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉัน

พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้.

อย่างนี้ชื่อว่าตนเองสมมติตน.

วิธีสมมติผู้อื่น

[๕๗๗] ก็ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น อย่างไร.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา-

เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ภิกษุณี

ชื่อนี้ พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้.

อย่างนี้ชื่อว่าผู้อื่นสมมติผู้อื่น.

คำสอนซ้อม

[๕๗๘] ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหานางอุปสัมปทา -

เปกขะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

นางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ เมื่อถูกถาม

ในท่ามกลางสงฆ์ ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มี พึงบอกว่าไม่มี

เธออย่ากระดาก เธออย่าเก้อเขิน ภิกษุณีทั้งหลายจักถามเธอ อย่างนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ

มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ

มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ

มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกระปริบกระปรอย หรือ

มิใช่ผู้มีเดือยหรือ.

มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ

มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ

มิใช่เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ

มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ

อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ

โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู

เธอเป็นมนุษย์ หรือ

เป็นหญิง หรือ

เป็นไทย หรือ

ไม่มีหนี้สิน หรือ

ไม่เป็นราชภัฏ หรือ

มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ

มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ

มีบาตรจีวรครบแล้ว หรือ

เธอ ชื่ออะไร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร.

ภิกษุณีผู้สอนซ้อม กับนางอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน. .. ไม่พึงมา

พร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงมาก่อนแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา-

เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ นางอันดิฉันสอนซ้อมแล้ว ถ้าความพร้อม

พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว นางชื่อนี้พึงมา.

ภิกษุณีนั้นพึงกล่าวว่า เธอจงมา พึงให้นางอุปสัมปทาเปกขะห่มผ้า

เฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ขออุปสมบท

ว่าดังนี้ :-

คำขออุปสมบท

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉัน

ขึ้นเถิด เจ้าข้า.

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง ขอสงฆ์

โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม ขอสงฆ์

โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม-

วาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว

ดิฉันพึงถามอันตรายิกธรรมกะนางชื่อนี้

คำถามอันตรายิกธรรม

แน่ะนางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ ฉัน

ถามถึงสิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่ เธอพึงบอกว่ามี ไม่มี เธอพึงบอกว่า ไม่มี

เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ

มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ . . .

เธอ ชื่ออะไร

ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร

ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติจตุตถกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้ง

หลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่

เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

หลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่

เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น

ปวัตตินี การอุปสมบทของนางนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงพูด

ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง...

ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริ-

สุทธิ์แล้วจากอันตรายกธรรมทั้งหลาย บาตร จีวรของเธอครบแล้ว

นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นาง

ชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทนางชื่อนี้ มี

แม่เจ้า อันเป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๕๗๙] ขณะนั้นเอง ภิกษุณีทั้งหลาย พึงพานางเข้าไปหาภิกษุสงฆ์

ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี

ขออุปสมบท ว่าดังนี้:-

คำขออุปสมบท

พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป-

สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ

สงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป-

สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ

สงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า

พระคุณเจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป-

สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ

สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า.

[๕๘๐] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติจตุตถกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีช่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริ-

สุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้

เป็นปวัตตินี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นาง

ชื่อนี้อุปสมบท มีแม้เจ้าชื่อนี้เป็นวัตตินี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขุของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว

บริสุทธิ์แล้วในภิกษุสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้า

ชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัต-

ตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่

ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง...

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังข้าพเจ้า นางมีชื่ออันผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้อุป-

สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้

ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุป-

สมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่

เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ

แก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

วัดเงาแดดเป็นต้น

[๕๘๑] ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอก

ส่วนแห่งวัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า พวกเธอจงบอก

นิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนี้.

[๕๘๒] โดยสมัยนั้น แลภิกษุณีทั้งหลายยึดถืออาสนะในโรงภัตร ยับ

ยั้งอยู่ตลอดกาล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุยาตภิกษุณี ๘

รูป ตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่มา.

[๕๘๓] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงอนุยาตภิกษุณี ๘ รูปตามลำดับพรรษา ภิกษุณีนอกนั้นตามลำดับที่

มาในที่ทุกแห่ง ภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ห้ามตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับ

ที่มา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโรงภัตร เรา

อนุญาตภิกษุณี ๖ รูป ตามลำดับพรรษา นอกนั้นตามลำดับที่มา ในที่อื่นไม่

พึงห้ามตามลำดับพรรษา รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องปวารณา

[๕๘๔] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณา ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี

จะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.

ปวารณาด้วยตนเอง

[๕๘๕] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีปวารณาด้วยตนเอง ไม่ปวารณาต่อ

สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีปวารณาด้วย

ตนเองไม่ปวารณาต่อสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับตามธรรม.

ปวารณาพร้อมกับภิกษุ

[๕๘๖] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้ง

หลาย ได้ทำความโกลาหล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณา

พร้อมกับภิกษุทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ปวารณาก่อนภัตร

[๕๘๗] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในกาลก่อนภัตร ยัง

กาลให้ล่วงไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในกาล

หลังภัตร ภิกษุณีทั้งหลายแม้ปวารณาในกาลหลังภัตร เวลาพลบค่ำลง ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี

ปวารณาต่อภิกษุณีสงฆ์ในวันนี้ แล้วปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น

ปวารณาทั้งหมด

[๕๘๘] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีสงฆ์ทั้งหมดปวารณาอยู่ ได้ทำความ

โกลาหล ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปหนึ่งให้

ปวารณาต่อสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน

ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์

แทนภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นญัตติ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้

ให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทนภิกษุณีสงฆ์ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้

ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สมมติแล้วให้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ แทน

ภิกษุณีสงฆ์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ด้วย

อย่างนี้.

คำปวารณา

พระคุณเจ้า เจ้าข้า ภิกษุณีสงฆ์ ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น

ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ของภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว

ภิกษุณี สงฆ์ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน

พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง . . .

พระคุณเจ้า เจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์

ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยรังเกียจก็ดี ขอภิกษุสงฆ์จงอาศัยความกรุณา

ว่ากล่าวภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์เห็นอยู่จักทำคืน.

งดอุโบสถเป็นต้น

[๕๙๐] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำ

การไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุทั้งหลาย

... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด ภิกษุณีผู้งด

ต้องอาบัติทุกกฏ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

ภิกษุณีไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งดก็ไม่เป็นอันงด ภิกษุณีผู้งด

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุณีไม่พึงทำการสืบสวนภิกษุ แม้ทำก็ไม่เป็นอันทำ ภิกษุณีผู้ทำ

ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็นอันเริ่ม

ภิกษุณีผู้เริ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงให้ภิกษุทำโอกาส แม้ให้ทำก็ไม่เป็นอันให้ทำ ภิกษุณีผู้

ให้ทำต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทภิกษุ ก็ไม่เป็นอันโจท ภิกษุณีผู้โจท

ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุณีไม่พึงสืบพยานภิกษุ แม้สืบก็ไม่เป็นอันสืบ ภิกษุณีผู้สืบพยาน

ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๑] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณา ทำ

การสืบสวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจท สืบพยานแก่ภิกษุณีทั้ง

หลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงด

ด้วยดี ภิกษุผู้งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วเป็นอันงด

ด้วยดี ภิกษุผู้งดไม่ต้องอาบัติให้ทำการสืบสวนภิกษุณี แม้ทำแล้วเป็นอันทำ

ด้วยดี ภิกษุผู้ทำให้ต้องอาบัติ ให้ทำเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ แม้เริ่มแล้วเป็นอัน

เริ่มด้วยดี ภิกษุผู้เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ภิกษุณีทำโอกาส แม้ให้ทำแล้วเป็นอัน

ให้ทำด้วยดี ภิกษุผู้ให้ทำไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วเป็นอันโจท

ด้วยดี ภิกษุผู้โจทก์ไม่ต้องอาบัติ ให้สืบพยานแก่ภิกษุณี แม้สืบแล้วเป็นอัน

สืบด้วยดี ภิกษุผู้ให้สืบไม่ต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

เรื่องไปด้วยยาน

[๕๙๒] โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ขี่ยานที่เทียมด้วยโคตัวเมีย

มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคด้วยผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนเพ่ง-

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้ำ

คงคา และแม่น้ำมหี ภิกษุทั้งหลายทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปด้วย

ยาน รูปใดไป พึงปรับตามธรรม.

[๕๙๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ ไม่อาจไปด้วยเท้าได้ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้อาพาธไปด้วยยานได้ ลำดับนั้น

ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า ยานนั้นเทียมด้วยโคตัวเมียหรือเทียมด้วยโคตัวผู้ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่

เทียมด้วยโคตัวเมีย ยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้ และยานที่ลากด้วยมือ.

[๕๙๔] สมัยต่อมา ความไม่สบายอย่างแรงกล้าได้มีแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง

เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคานหาม

มีตั่งนั่งเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี

[๕๙๕] โดยสมัยนั้นแล หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี บวชในสำนัก

ภิกษุณี ก็นางปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถีด้วยตั้งใจว่า จักอุปสมบทในสำนัก

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกนักเลงได้ทราบข่าวว่า หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี

ปรารถนาจะไปเมืองสาวัตถี จึงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง นางได้ทราบข่าวว่า

พวกนักเลงแอบชุ่มอยู่ใกล้หนทาง จึงส่งทูตไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

หม่อมฉันปรารถนาจะอุปสมบท หม่อมฉันจะพึงปฏิบัติอย่างไร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบท แม้โดยทูต

ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ

ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสิกขมานาเป็นทูต...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรเป็นทูต...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยสามเณรีเป็นทูต...

ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณิอุปสมบทโดยภิกษุณี

เขลา ไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยภิกษุณีผู้ฉลาด

ผู้สามารถเป็นทูต ภิกษุณีผู้เป็นทูตนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้

เท้าภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกล่าวอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้

อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ

อันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกนางขึ้น

เถิดเจ้าขา.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้

อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ

อันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สอง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรด

เอ็นดูยกนางขึ้นเถิดเจ้าข้า

พระคุณเจ้า เจ้าข้า นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้

อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ

อันตรายบางอย่าง แม้ครั้งที่สาม นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ ขอสงฆ์โปรด

เอ็นดูยกนางขึ้นเถิด เจ้าข้า.

ญัตติจตุตถกรรมวาจาให้อุปสามบทด้วยทูต

[๕๙๖] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

จตุตถกรรมวาจา :-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา-

เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้ว

ในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขอ

อุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัต-

ตินี นี้เป็นญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา

เปกขะ ของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์

แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะอันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้

ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุป-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

สมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้า

ชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง . . .

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังข้าพเจ้า นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท

แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางมาไม่ได้เพราะ

อันตรายบางอย่าง นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น

ปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การ

อุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม้เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

นางชื่อนี้ อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ทันใดนั้น พึงวัดเงาแดด พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอกส่วนแห่ง

วัน พึงบอกข้อเบ็ดเสร็จ พึงสั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า พอกเธอจงบอกนิสัย ๓

อกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น.

ภิกษุณีอยู่ป่า

[๕๙๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า พวกนักลงประทุษร้าย

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๕๙๘] สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของ แก่ภิกษุณีสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

หลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ โรงเก็บของไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่ ที่

อยู่ไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม นวกรรมไม่พอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ทำแม้เป็นส่วนบุคคล.

พุทธานุญาตสมมติภิกษุณีเป็นเพื่อน

[๕๙๙] สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งตั้งครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อ

นางบวชแล้วเด็กจึงคลอด ครั้งนั้น นางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้

อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดู จนกว่าเด็กนั้นจะรู้เดียงสา นางคิด

ว่า เราจะอยู่แต่ตามลำพังไม่ได้ และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับเด็กชายอื่นก็ไม่ได้

เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

เจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่ง ให้

เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน

ครั้นแล้วภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

กรรมวาจาให้สมมติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี

ชื่อนี้ นี้เป็นบัญญัติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้

เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของ

ภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ

แก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุชื่อนี้แล้ว ชอบ

แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉัน ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

ครั้งนั้น ภิกษุณีเพื่อนของนางคิดว่า เราจะพึงปฏิบัติในเด็กชายนี้อย่าง

ไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติในเด็กชายนั้นเหมือนปฏิบัติในบุรุษอื่น

เว้นการนอนร่วมเรือนเดียวกัน .

[๖๐๐] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนักแล้ว กำลังประพฤติ

มานัต นางคิดว่า เราอยู่แต่ลำพังผู้เดียว และภิกษุณีอื่นจะอยู่ร่วมกับ เราก็ไม่

ได้ เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุณีรูปหนึ่งให้

เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

วิธีสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ พึงขอร้องภิกษุณีก่อน

ครั้นแล้ว ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-

กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้สมมติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี

ชื่อนี้ นี้เป็นญัตติ

แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้

เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ การสมมติภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของ

ภิกษุณีชื่อนี้ ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่

แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์สมมติภิกษุณีชื่อนี้ ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้แล้ว

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

เรื่องภิกษุณีไม่บอกสิกขา

[๖๐๑] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่ได้บอกลาสิกขาสึกไปแล้ว นาง

กลับมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ต้องบอกลาสิกขา

นางสึกแล้วเมื่อใด ไม่เป็นภิกษุณีเมื่อนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

เข้ารีตเดียรถีย์

[๖๐๒] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสาวะ ไปเข้ารีตเดียรถีย์

นางกลันมาขออุปสมบทกะภิกษุณีทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใด ครองผ้า

กาสาวะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท.

[๖๐๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยินดีการอภิวาท การ

ปลงผม การตัดเล็บ การรักษาแผล จากบุรุษทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ยินดี.

นั่งขัดสมาธิ

[๖๐๔] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสเซ่นเท้า ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๐๕] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งอาพาธ นางเว้นขัดสมาธิไม่สบาย

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งพับเพียบได้.

เรื่องถ่ายอุจจาระ

[๖๐๖] สมันนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจจกุฎี ภิกษุณีฉัพ-

พัคคีย์ยังครรภ์ให้ตกในวัจจกุฎีนั้นเอง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระใน

วัจจกุฎี รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่ซึ่งเปิดข้าง

ล่างปิดข้างบน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

เรื่องอาบน้ำ

[๖๐๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย อาบน้ำด้วยจุณ ชาวบ้านเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี

ไม่พึงอาบน้ำด้วยจุณ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฎ เราอนุญาต รำ ดินเหนียว.

[๖๐๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น ชาว

บ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำด้วยดินเหนียวที่อบกลิ่น รูปใดอาบ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา.

[๖๐๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำในเรือนไฟ ทำโกลาหล

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในเรือนไฟ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๑๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่ง

สายน้ำ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำทวนกระแส รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๑๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอาบน้ำ พวก

นักเลงลอบประทุษร้าย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำในที่มิใช่ท่าอานน้ำ รูปใด

อาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๖๐๒] สมัยนั้น ภิกษุณีอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ ชาวบ้านเพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม...ภิกษุ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย

ภิกษุณีไม่พึงอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ เรา

อนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าสำหรับหญิงอาบ.

ตติยภารวาร จบ

ภิกขุนีขันธกะ ที่ ๑๐ จบ

ในขันธกะนี้ มี ๑๐๙ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๖๑๓] เรื่องพระนางโคตมีทูลของบรรพชา พระตถาคตไม่ทรง

อนุญาต เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฝึกเวไนยเสด็จไปพระนครเวสาลี จากกรุง

กบิลพัสดุ์ เรื่องพระนางโคตมีมีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี ได้ชี้แจงแก่

พระอานนท์ที่ซุ้มประตู เรื่องพระอานนท์ทูลขอโดยนัยว่า มาตุคามเป็นภัพ-

บุคคล พระนางโคตมีเป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู เรื่องครุธรรม ๘ ที่ภิกษุณี

พึงประพฤติตลอดชีวิต คือ ภิกษุณีบวชตั้งร้อยปีต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชใน

วันนั้น ๑ ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ๑ หวังธรรม ๒ อย่าง ๑

ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑ ต้องอาบัติหนัก ๑ พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อ

สิกขมานาผู้ศึกษาครบ ๒ ปีแล้ว ๑ ไม่ด่าภิกษุ ๑ เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าว ๑

เรื่องการรับครุธรรม ข้อนั้นเป็นอุปสัมปทาของพระนางโคตมี เรื่องพรหมจรรย์

อันจะตั้งอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี และตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี ความเสื่อมแห่งสัทธรรม

เปรียบด้วยโจรลักทรัพย์ ขยอก เพลี้ย อีกอย่างหนึ่ง ความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม

เปรียบด้วยกั้นทำนบ เรื่องให้อุปสมบทภิกษุณี เรื่องแม่เจ้าเป็นอนุปสัมบัน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

เรื่องภิวาทตามลำดับผู้แก่ เรื่องไม่ทำอภิวาท เรื่องสิกขาบทที่ทั่วไปและไม่

ทั่วไป จักกระทำอย่างไร เรื่องโอวาท เรื่องปาติโมกข์ เรื่องใครแสดงปาติโมกข์

เรื่องเข้าไปแสดงถึงสำนักภิกษุณี เรื่องไม่รู้ เรื่องบอก เรื่องไม่ทำคืน เรื่อง

ภิกษุรับอาบัติ เรื่องให้ภิกษุบอกให้ภิกษุณีรับอาบัติ เรื่องชาวบ้านติเตียน

เรื่องให้ภิกษุบอกให้ทำกรรม เรื่องทะเลาะ เรื่องยกมอบ เรื่องอันเตวาสินี

ของนางอุบลวรรณา เรื่องรดน้ำโคลนในเมืองสาวัตถี เรื่องไม่ควรไหว้

เรื่องเปิดกาย เปิดขาอ่อน เปิดองค์กำเนิด เรื่องภิกษุพูดเกี้ยว เรื่องพระ-

ฉัพพัคคีย์ชักจูง เรื่องไม่ควรไหว้ เรื่องทัณฑกรรม ฝ่ายภิกษุณีก็เหมือนกัน

เรื่องห้าม เรื่องงดโอวาท เรื่องควรหรือไม่ เรื่องหลีกไป เรื่องภิกษุเขลา

เรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องไม่ให้คำวินิจฉัย เรื่องภิกษุณีสงฆ์ไม่ไปรับโอวาท เรื่อง

ภิกษุณี ๔ รูปรับโอวาท เรื่องภิกษุณี ๒ - ๓ รูปไปรับโอวาทแทน เรื่องภิกษุณี

ไม่รับโอวาท เรื่องภิกษุเขลา เรื่องภิกษุอาพาธ เรื่องภิกษุเตรียมจะไป เรื่อง

ภิกษุอยู่ป่า เรื่องไม่บอก เรื่องไม่นำกลับมาบอก เรื่องผ้ากายพันธ์ยาว เรื่อง

แผ่นไม้สาน แผ่นหนัง ผ้าขาว ช้องผ้า เกลียวผ้า ผ้าผืนน้อย ช้องผ้าผืนน้อย

เกลียวผ้าน้อย ช้องถักด้วยด้าย เกลียวด้าย เรื่องกระดูกแข้งโค เรื่องนวด

หลังมือ หลังเท้า ขาอ่อน หน้า ริมฝีปาก ด้วยไม่มีสัณฐานดุจคางโค เรื่อง

ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ย้อมตัว ย้อนหน้า ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า

ทั้งสองอย่าง เรื่องแต้มหน้าทาแก้ม เยี่ยมหน้าต่าง ยืนแอบประตู ให้ผู้อื่น

ทำการฟ้อนรำ ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านชายสุรา ขายเนื้อ ออกร้านขาย

ของเบ็ดเตล็ด ประกอบการหากำไร ประกอบการค้าขาย ใช้ทาส ทาสี

กรรมกรชาย กรรมกรหญิง ให้บำรุง ให้สัตว์เดียรัจฉานบำรุง ขายของสด

และของสุก ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ เรื่องใช้จีวรสีคราม สีเหลือง สีแดง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

สีบานเย็น สีดำ สีแสด สีชมพู ไม่ตัดชาย มีชายเป็นลายดอกไม้

มีชายเป็นลายผลไม้ สวมเสื้อ สวมหมวก เรื่องเมื่อภิกษุณี สิกขนานา สามเณรี

ถึงมรณภาพ ภิกษุณีเป็นใหญ่ในบริขารที่ภิกษุณีเป็นต้นมอบถวาย เมื่อภิกษุ

สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และใครอื่นปลงบริขารให้ ภิกษุเป็นใหญ่ เรื่อง

ภิกษุณีเคยเป็นภรรยานักมวย เรื่องครรภ์ เรื่องก้นบาตร เรื่องนิมิต เรื่อง.

อามิสมากมาย อามิสเหลือเฟือยิ่ง อามิสที่ทำสันนิธิ อามิสเช่นใดของภิกษุ

ทั้งหลายในหนหลัง ของภิกษุณีทั้งหลายก็เช่นนั้น เรื่องเสนาสนะเปื้อนระดู

เรื่องผ้า เรื่องเชือกขาด เรื่องใช้เชือกผูกสะเอวตลอดกาล เรื่องภิกษุณีปรากฏ

ว่าไม่มีนิมิตบ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง เป็น

ซับในเสมอและมีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย มีเดือยเป็นหญิงบัณเฑาะก์บาง เป็น

หญิงคล้ายชายบ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง เรื่อง

ถามอันตรายิกธรรม ตั้งแต่คำว่าหานิมิตมิได้ จนถึงอุภโตพยัญชนก หลังจาก

เปยยาลไปถามดังนี้ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เป็น

มนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทยหรือ ไม่มีหน้าสิ้นหรือ ไม่ใช่ราชภัฏหรือ.

มารดา บิดา สามี อนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ มีบาตร

จีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม ๒๔ อย่าง แล้ว

ให้อุปสมบท เรื่องอุปสัมปทาเปกขะยังไม่ได้สอนซ้อมกระดากในท่ามกลางสงฆ์

ก็เหมือนกัน เรื่องถืออุปัชฌายะ เรื่องบอกสังฆาฏิ อุตราสงค์ อันตรวาสก

ผ้ารัด ผ้าอาบน้ำ แล้วส่งไป เรื่องภิกษุณีเขลา เรื่องภิกษุณีไม่ได้รับสมมติ

ขอร้องถามอันตรายิกธรรม เรื่องอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอุปสมบทใน

ภิกษุสงฆ์อีก เรื่องบอกฉายา ฤดู วัน ข้อเบ็ดเสร็จ นิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘

เรื่องกาล เรื่องภิกษุณี ๘ รูปในที่ทุกแห่ง เรื่องภิกษุณีไม่ปวารณา และไม่

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

ปวารณากะภิกษุสงฆ์ เรื่องโกลาหล เรื่องปวารณาก่อนภัตร เรื่องปวารณา

เวลาพลบค่ำ เรื่องภิกษุณีสงฆ์โกลาหล เรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณ

อันใหญ่ ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ ปวารณา กระทำการไต่สวน เริ่ม

อนุวาทาธิกรณ์ ทำโอกาส สืบพยาน โจท และให้การ แต่ทรงอนุญาตให้

ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้ เรื่องยาน เรื่องภิกษุอาพาธ เรื่องยานที่ลาก

เรื่องการกระทบกระทั่งแห่งยาน เรื่องนางอัฑฒกาสี เรื่องภิกษุ สิกขมานา

สามเณร สามเณรี เป็นทูต เรื่องทูตเขลา เรื่องภิกษุณีอยู่ป่า เรื่องอุบาสก

ถวายโรงเก็บของ เรื่องที่อยู่นวกรรม ไม่พอ เรื่องภิกษุณีตั้งครรภ์อยู่แต่ลำพัง

ไม่ได้ เรื่องร่วมเรือน เรื่องอาบัติหนัก เรื่องไม่บอกลาสิกขา เรื่องเข้ารีต

เดียรถีย์ เรื่องไม่ยินดีอภิวาท ปลงผม ตัดเล็บ รักษาแผล เรื่องภิกษุณี

นั่งขัดสมาธิ เรื่องภิกษุณีอาพาธ เรื่องถ่ายอุจจาระ เรื่องอาบด้วยจุณ เรื่อง

ดินอบ เรื่องอาบน้ำในเรือนไฟ เรื่องอาบน้ำทวนกระแส เรื่องอาบน้ำในที่

มิใช่ท่า เรื่องอาบน้ำที่ท่าสำหรับชายอาบ พระนางมหาโคตมีและพระอานนท์

ทูลขอโดยแยบคาย บริษัทบรรพชาในศาสนาของพระชินเจ้าครบ ๔ เหล่า

พระพุทธเจ้าทรงแสดงขันธกะนี้ไว้ เพื่อประโยชน์ให้เกิดความสังเวชและความ

เจริญแห่งพระสัทธรรม เหมือนเภสัชสำหรับระงับความกระวนกระวาย ฉะนั้น

แม้มาตุคามเหล่าอื่นที่ทรงฝึกแล้วในพระสัทธรรมอย่างนี้ พวกเขาย่อมไปสู่

สถานอันไม่จุติ ซึ่งไปแล้วไม่เศร้าโศกแล.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

ภิกขุนิกขันธก วรรณนา

[ว่าด้วยครุธรรม ๘]

วินิจฉัยในภิกขุนิกขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามว่า อย่าเลย

โคตมี (บรรพชาของมาตุคาม) อย่าได้ชอบใจแก่ท่านเลย, บริษัทของ

พระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวง ย่อมมี ๔ มิใช่หรือ

ตอบว่า บริษัทของพระพุทธเจ้าแม้ทั้งปวงมี ๔ ก็จริง ถึงกระนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะยังพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ลำบาก

แล้ว จึงทรงอนุญาตทำให้เป็นของสำคัญ (อย่างนี้) ว่า สตรีทั้งหลายจักคิดว่า

บรรพชานี้ เราได้ยาก ดังนี้ แล้วจักบริบาลไว้โดยชอบ ซึ่งบรรพชา อันเรา

ถูกวิงวอนแล้วมากครั้งจึงอนุญาต ดังนี้ จึงทรงห้ามเสีย.

กถาว่าด้วยครุธรรม ๘ ได้กล่าวไว้แล้ว ในมหาวิภังค์*แล.

บทว่า กุมฺภเถนเกหิ ได้แก่ โจรผู้ตามประทีปในหม้อแล้ว ค้น

สิ่งของในเรือนของชนอื่น ด้วยแสงนั้น ลักเอาไป.

ข้อว่า เสตฏฺิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ ชื่อสัตว์มีชีวิต

ชนิดหนึ่ง. รวงข้าวสาลีแม้พลุ่งแล้ว ไม่อาจเลี้ยงน้ำนมไว้ได้ เพราะถูกสัตว์ใด

เจาะแล้ว สัตว์นั้น ย่อมเจาะไส้ซึ่งยังอยู่ในปล้อง.

ข้อว่า มญฺเชฏฺิกา นาม โรคชาติ นั้น ได้แก่ การที่อ้อยเป็น

โรคไส้แดง.

* มหาวิภงฺค. ทุติย. ๒๗๐. ๒. องฺกุร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

ก็แล ด้วยคำว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลึ นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า เมื่อชอบแห่งสระใหญ่แม้ไม่ได้ก่อแล้ว

น้ำน้อยหนึ่งพึงขังอยู่ได้, แต่เมื่อได้ก่อขอบไว้เสียก่อนแล้ว น้ำใดไม่พึงขังอยู่

เพราะเหตุที่มิได้ก่อขอบไว้, น้ำแม้นั้นพึงขังอยู่ได้ เมื่อได้ก่อขอบแล้ว ข้อนี้

ฉันใด; ครุธรรมเหล่านี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อ

กันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง, เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มี

พระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี เพราะ

เหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน

พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า

พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความ

แตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง จักตั้งอยู่

สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วย

อำนาจแห่งพระอนาคามี, จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,

จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน, รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรม

จักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อปริยัติไม่มี

ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้. แต่เมื่อปริยัติ

แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนานฉะนี้แล.

[ว่าด้วยอุปสัมปทาแห่งภิกษุณีเป็นต้น]

ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทนางสากิยานีห้าร้อย ทำให้เป็นสัทธิวิหารินี

ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี โดยพระอนุญาตนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

ให้ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทนางภิกษุณี. นางสากิยานีแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ได้

เป็นผู้ชื่อว่า อุปสมบทแล้วพร้อมกัน ด้วยประการฉะนี้.

พระนางโคตมี บรรลุพระอรหัตด้วยพระโอวาทนี้ว่า เย โข ตฺว

โคตมิ (เป็นอาทิ).

ข้อว่า กมฺม น กริยติ มีความว ่า ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรมทั้ง

๗ อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นอาทิ.

บทว่า ขมาเปนฺติ มีความว่า ภิกษุเหล่านี้ ย่อมขอโทษว่า เราทั้งหลาย

จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้อีก.

วินิจฉัยในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ภิกฺขุน กมฺม

อโรเปตฺวา ภิกฺขุนีย นิยิยาเทตุ นี้ พึงทราบดังนี้ :-

อันภิกษุทั้งหลายพึงยกขึ้นอย่างนี้ว่า บรรดากรรมมีตัชชนียกรรม

เป็นต้น กรรมชื่อนี้ พึงทำแก่ภิกษุณีนั่น แล้วพึงมอบหมายว่า บัดนี้ ท่าน

ทั้งหลายนั่นแล จงทำกรรมนั้น.

ก็ถ้าว่า ภิกษุณีทั้งหลายทำกรรมอื่น ในเมื่อกรรมอื่น อันภิกษุยก

ขึ้นแล้ว เธอทั้งหลาย ย่อมถึงความเป็นผู้อันสงฆ์ควรปรับโทษ ตามนัยที่

กล่าวแล้วในบาลีนี้ว่า ทำนิยสกรรม แก่บุคคลผู้ควรแก่ตัชชนียกรรม ทีเดียว.

[ว่าด้วยอวันทิยกรณ์เป็นต้น]

วินิจฉัยในคำว่า กทฺทโมทเกน นี้ พึงทราบดังนี้:-

เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รดด้วยน้ำโคลนอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ เมื่อรด

แม้ด้วยน้ำใส น้ำยอมและตมเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

ข้อว่า อวนฺทิโย โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภิกฺขุนิสงฺเฆน กาตพฺโพ

มีความว่า ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกัน ในสำนักภิกษุณี สวดประกาศ ๓ ครั้ง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

อย่างนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ชื่อโน้น แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย

การทำพระผู้เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีไม่พึงไหว้ ย่อมชอบใจแก่สงฆ์

ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้อัน ภิกษุณีทั้งหลายกระทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ด้วย

สวดประกาศเพียงเท่านี้ จำเดิมแต่นั้น ภิกษุนั้น อันภิกษุณีแม้เห็นแล้วไม่พึง

ไหว้อย่างที่เห็นสามเณรแล้วไม่ไหว้ฉะนั้น.

อันภิกษุนั้น เมื่อจะประพฤติชอบ ไม่พึงไปสู่สำนักภิกษุณี พึงเข้าไป

หาสงฆ์หรือบุคคลผู้หนึ่ง ในสำนักนั่นแล นั่งกระโหย่งประนมมือ ขอขมา

โทษว่า ขอภิกษุณีสงฆ์จงอดโทษแก่ข้าพเจ้า. ภิกษุนั้น พึงไปสู่สำนักภิกษุณี

กล่าวว่า ภิกษุนั้น ขอโทษพวกท่าน. จำเดิมแต่นั้น ภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้

ภิกษุนั้น. ความสังเขปในภิกขุนิกขันธกะนี้ เท่านี้ แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวความ

พิสดาร ในกัมมวิภังค์.

บทว่า โอภาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัคพัคคีย์ย่อมชักชวนภิกษุณี

ทั้งหลาย ด้วยอสัทธรรม.

หลายบทว่า ภิกฺขุนีหิ สทฺธึ สมปฺโยเชนฺติ มีความว่า ภิกษุ

ฉัพพัคคีย์ช่วยชักจูงบุรุษกับภิกษุณีด้วยอสัทธรรม. การทำให้เป็นผู้อันภิกษุณี

ทั้งหลายไม่พึงไหว้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อาวรณ ได้แก่ การกีดกัน มีการห้ามมิให้เข้าในสำนัก

เป็นต้น .

บทว่า น อาทิยนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัพพัคคีย์ ไม่ยอม

รับเองโดยชอบ.

วินิจฉัยในคำว่า โอวาท เปตุ นี้ พึงทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

โอวาทอันภิกษุไม่พึงไปงดที่สำนักภิกษุณี แต่พึงบอกภิกษุณีทั้งหลาย

ผู้มาเพื่อประโยชน์แก่โอวาท ว่า ภิกษุณีชื่อโน้น มีอาบัติติดตัว เรางดโอวาท

แก่ภิกษุณีนั้น เธอทั้งหลายอย่าทำอุโบสถกับภิกษุณีนั้น. ทัณฑกรรมแม้ในการ

เปิดกายเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

คำว่า น ภิกฺขเว ภิกฺขุนิยา โอวาโท น คนฺตพฺโพ เป็น

อาทิข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในวรรณนาแห่งภิกขุนีวิภังค์.

[ว่าด้วยการแต่งตัวเป็นต้น]

ข้อว่า ผาสุเก นเมนฺติ มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ใช้ประคดอก

คาดซี่โครง เพื่อประโยชน์ที่จะดัด อย่างหญิงคฤหัสถ์เพิ่งรุ่นสาว คาดด้วย

ผ้าคาดนมฉะนั้น.

บทว่า เอกปริยายกต ได้แก่ ประคดที่คาดได้รอบเดียว.

สองบทว่า วิลิเวน ปฏฺเฏน ได้แก่ ผ้าแถบที่ทอด้วยตอกไม้ไผ่

อย่างละเอียด.

บทว่า ทุสฺสปฏเฏน . ได้แก่ ผ้าแถบขาว

บทว่า ทุสฺสเวณิยา ได้แก่ ช้องที่ทำด้วยผ้า.

บทว่า ทุสฺสวฏฺฏิยา ได้แก่ เกลียวที่ทำด้วยผ้า.

ในผ้าแถบเล็กเป็นต้น ผ้ากาสาวะผืนเล็ก พึงทราบว่า ชื่อว่าผ้าแถบเล็ก.

บทว่า อฏฺิลฺเลน ได้แก่ กระดูกเเข้งแห่งโค. บั้นสะเอวเรียก

ตะโพก.

สองบทว่า หตฺถ โกฏฺฏาเปนฺติ ได้แก่ ให้ทุบปลายแขนแต่งให้

งามด้วยชนนกยูงเป็นต้น.

บทว่า หตถฺโกจฺฉ ได้แก่ หลังมือ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

บทว่า ปาท ได้แก่ แข้ง.

บทว่า ปาทโกจฺฉ ได้แก่ หลังเท้า. การไล้หน้าเป็นต้น มีนัยดัง

กล่าวแล้วนั้นแล.

สองบทว่า อวงฺค กโรนฺติ มีความว่า ภิกษุณีพวกฉัคพัคคีย์เขียน

ลวดลายหันหน้าลงล่างที่หางตา ด้วยไม้ป้ายยาตา.

บทว่า วิเสสก มีความว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ทำรูปสัตว์แปลก ๆ มี

ทรวดทรงงดงาม ที่แก้ม.

บทว่า โอโลกนเกน มีความว่า เปิดหน้าต่างแลดูถนน.

สองบทว่า สาโกเก ติฏฺนฺติ มีความว่า เปิดประตู ยืนเยี่ยมอยู่

ครึ่งตัว.

บทว่า สนจฺจ มีความว่า ให้ทำการมหรสพด้วยนักระบำ.

สองบทว่า เวสึ วุฏฺเปนฺติ มีความว่า ได้ทั้งหญิงนครโสเภณี.

สองบทว่า ปานาคาร เปนฺติ มีความว่า ย่อมชายสุรา.

สองบทว่า สูน เปนฺติ มีความว่า ย่อมชายเนื้อ.

บทว่า อาปณ มีความว่า ย่อมออกร้านสินค้าต่าง ๆ หลายอย่าง.

สองบทว่า ทาส อุปฏฺาเปนฺติ มีความว่า ย่อมรับทาสแล้วยัง

ทาสนั้น ให้ทำการรับใช้สองของตน. แม้ในทาสีเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน .

สองบทว่า หริตกปตฺติก ปกีณนฺติ มีความว่า ย่อมขายของสด

และของแห้ง. มีคำอธิบายว่า ย่อมออกร้านขายของเปิดแล้วแล.

กถาว่าด้วยจีวรเขียวทั้งปวงเป็นต้น ได้กล่าวแล้วแล.

[ว่าด้วยการปลงบริขาร]

ในข้อว่า ภิกฺขุนี เจ ภิกฺขเว กาล กโรนฺติ เป็นอาทิ มี

วินิจฉัยนอกพระบาลี ดังต่อไปนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

ก็ถ้าว่า ในสหธรรมิกทั้ง ๕ ผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อจะท่ากาลกิริยาจึงสั่งว่า

โดยสมัยที่ข้าพเจ้าล่วงไป บริขารของข้าพเจ้าจงเป็นของพระอุปัชฌาย์ หรือว่า

จงเป็นของพระอาจารย์ หรือว่า จงเป็นของสัทธิวิหาริก หรือว่า จงเป็นของ

อันเตวาสิก หรือว่า จงเป็นของมารดา หรือว่า จงเป็นของบิดา หรือว่า

จงเป็นของใคร ๆ อื่น บริขารของผู้นั้น ไม่เป็นของชนเหล่านั้น คงเป็นของ

สงฆ์เท่านั้น เพราะว่าการให้โดยกาลที่ล่วงไป (แห่งตน) ของสหธรรมิกทั้ง ๕

ย่อมใช้ไม่ได้ ของพวกคฤหัสถ์ ใช้ได้ .

ภิกษุทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุณี บริขารของเธอ ย่อมเป็นของ

ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น. ภิกษุณีทำกาลกิริยาในสำนักของภิกษุบริขารของเธอ ย่อม

เป็นของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น.

บทว่า ปุราณมลฺลี มีความว่า เป็นภริยาของนักมวย ในกาลก่อน

คือ ในครั้งเป็นคฤหัสถ์.

บทว่า ปุริสพฺยญฺชน มีความว่า นิมิตของบุรุษ จะเป็นอวัยวะที่

ปกปิดก็ตาม มิได้ปกปิดก็ตาม คือ จะเป็นของที่สิ่งไร ๆ กำบังก็ตาม มิได้

กำบังก็ตาม. ถ้าภิกษุณี เพ่งดูความคิดให้เกิดขึ้นว่า นิมิตของบุรุษอยู่ที่นี่ ต้อง

ทุกกฏ.

[ว่าด้วยอามิสที่เขาถวายเฉพาะตน]

อามิสใดที่เขาบอกถวายว่า ท่านจงบริโภคเอง อามิสนั้นชื่อว่าของ

ที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่การบริโภคเฉพาะตน เมื่อภิกษุให้อามิสนั้นแก่ผู้อื่น

เป็นทุกกฏ. แต่ถือเอาส่วนดีเสียก่อนแล้ว จึงให้ควรอยู่.

ถ้าว่า อามิสนั้นไม่เป็นที่สบาย จะสละเสียทั้งหมด ก็ควร. จะบริโภค

จีวรเสียวันหนึ่ง หรือ ๒ วันแล้วจึงให้ ก็ควร. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็มี

นัยเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

[ว่าด้วยฐานะแห่งของที่รับประเคน]

ข้อว่า ภิกฺขูหิ ภิกฺขุนีหิ ปฏิคฺคหาเปตฺวา มีความว่า อามิสที่ภิกษุ

รับประเคนเก็บไว้เมื่อวันวาน เมื่ออนุปสัมบันอื่นไม่มีในวันนี้ภิกษุณีทั้งหลาย

พึงให้ภิกษุรับประเคนแล้วฉัน. เพราะว่า อามิสที่ภิกษุรับประเคนแล้ว ย่อม

ตั้งอยู่ ในฐานะแห่งอามิสที่ยังมิได้รับประเคน สำหรับภิกษุณี. แม้สำหรับ

ภิกษุ ก็มีนัยเหมือนในภิกษุณีนั่นแล.

[ว่าด้วยการนั่ง]

สองบทว่า อาสน สงฺคายนฺติโย มีความว่า ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อ

ยังกันและกันให้ถือเอาที่นั่ง.

สองบทว่า กาล วีตินาเมสุ ความว่า มัวให้รูปหนึ่งลุกขึ้น ให้

อีกรูปหนึ่งนั่งอยู่ ได้ยังเวลาฉันให้ล่วงเลยไปเสีย.

วินิจฉัยในคำว่า อฏฺนฺน ภิกขุนีน ยถาวุฑฺฒ นี้ พึงทราบ

หากว่า ภิกษุณี ๘ รูปนั่งในที่ใกล้ ภิกษุณีอื่นที่เป็นไปภายในแห่ง

ภิกษุณีเหล่านั้นมา. เธอย่อมได้เพื่อยังภิกษุณีผู้อ่อนกว่าตนให้ลุกขึ้นแล้วนั่ง

แทน.

ฝ่ายภิกษุณีใด เป็นผู้อ่อนกว่าภิกษุณีทั้ง ๘ รูป ภิกษุณีนั้น แม้หากจะ

มีพรรษา ๖๐ ย่อมได้เพื่อนั่งตามลำดับแห่งผู้มาเท่านั้น.

ข้อว่า อญฺญตฺถ ยถาวุฑฺฒ น ปฏิพาหิตพฺพ มีความว่า ใน

ที่แจกปัจจัย ๔ แห่งอื่น นอกจากโรงเลี้ยง ใครจะห้ามภิกษุแก่ว่า เรามาก่อน

แล้วถือเอาสิ่งไร ๆ ไม่ได้. การถือเอาตามลำดับผู้แก่นั่นแลจึงควร.

กถาว่าด้วยปวารณา ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

ยานทุกชนิด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ด้วยคำว่า

อิตฺถียุตฺต เป็นอาทิ.

บทว่า ปาฏงฺกึ ได้แก่ เปลผ้า.

[ว่าด้วยการอุปสมบทด้วยทูต]

การอุปสมบทด้วยทูต ย่อมควร เพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง

บรรดาอันตราย ๑๐ อย่าง. ในเวลาจบกรรมวาจา ภิกษุณีนั้นจะยืนหรือนั่งอยู่

ก็ตาม ตื่นอยู่หรือหลับอยู่ก็ตาม ในสำนักภิกษุณี, เธอย่อมเป็นผู้อุปสมบทแล้ว

แท้. ในทันทีนั้น ภิกษุสงฆ์พึงบอกส่วนแห่งวันมีคำว่า เงา เป็นต้น แก่

ภิกษุณีทูตผู้มาแล้ว.

[ว่าด้วยโรงเก็บของเป็นต้น]

บทว่า อุทฺโทสิโต ได้แก่ โรงเก็บของ.

บทว่า น สมฺมติ ได้แก่ ไม่พอ.

บทว่า อุปสฺสย ได้แก่ เรือน.

บทว่า นวกมฺม มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุณีทำการสร้างใหม่

เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์.

สองบทว่า ตสฺสา ปพฺพชิตาย ได้แก่ ในเวลาที่หญิงนั้นบวชแล้ว.

หลายบทว่า ยาว โส ทารโก วิญฺญุต ปาปุณาติ มีความว่า

(เราอนุญาตให้เลี้ยงดู) จนกว่าทารกนั้นจะสามารถขบเคี้ยวบริโภคและอาบได้

ตามธรรมดาของตน.

สองบทว่า เปตฺวา สาคาร ได้แก่ เว้นเพียงห้องเรือนที่เป็น

สหไสย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุณีผู้เป็นเพื่อน พึงปฏิบัติใน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

ทารกนั้น เหมือนที่ปฏิบัติในบุรุษอื่น. ภิกษุณีผู้เป็นมารดา ย่อมได้เพื่อยัง

ทารกนั้นให้อาบ ให้ดื่ม และให้บริโภค เพื่อแต่งตัวทารกและให้เพื่อนอนกก

ทารกนั้นไว้ที่อก.

[ว่าด้วยลาสิกขาเป็นต้น ]

ด้วยคำว่า ยเทว สา วิพฺภนฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

เพราะภิกษุณีนั้น สึกแล้วนุ่งผ้าขาว ด้วยความยินดีพอใจของตน ฉะนั้นแล

เธอจึงมิใช่ภิกษุณี, เธอมิใช่ภิกษุณี เพราะการลาสิกขาหามิได้. เธอย่อมไม่ได้

อุปสมบทอีก.

ข้อว่า สา อาคตา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า ก็ภิกษุณี

นั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบทอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้ล เธอย่อมไม่ได้แม้

ซึ่งบรรพชา. ฝ่ายนางผู้นุ่งขาวสึกไป ย่อมได้เพียงบรรพชา.

[ว่าด้วยยินดีการอภิวาทเป็นต้น]

ในบทว่า อภิวาทน เป็นอาทิ มีความว่า บุรุษทั้งหลาย เมื่อจะ

นวดเท้า ย่อมไหว้ ย่อมปลงผม, ย่อมตัดเล็บ, ย่อมทำการรักษาแผล,

ภิกษุณีทั้งหลาย รังเกียจการนั้น ทั้งหมด จึงไม่ยินดี.

ในคำว่า อภิวาทน เป็นต้นนั้น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ถ้าว่า

เป็นผู้อันราคะครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความกำหนัดกล้า ข้างภิกษุณีฝ่ายเดียวหรือ

ทั้ง ๒ ข้าง, เป็นอาบัติตามวัตถุแท้

พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในการไหว้เป็นต้นนี้ ไม่มีอาบัติ.

พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายแสดงอาจริยวาทอย่างนี้ กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

การไหว้เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจำเพาะแก่ภิกษุณีทั้งหลาย จึง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

สมควร. คำแห่งอรรถกถานี้ เป็นประมาณ. เพราะว่าการบุรุษทั้งหลายไหว้

เป็นต้น เป็นกิจสมควร โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณี

ยินดี ดังนี้แล.

สองบทว่า ปลฺลงฺเกน นิสีทนฺติ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ.

บทว่า อฑฺฒปลฺลงฺก ได้แก่ นั่งขัดสมาธิทบเท้าข้างเดียว.

วินิจฉัยในคำว่า เหฏฺาวิวเฏ อุปริปฏิจฺฉนฺเน นี้ พึงทราบ

ดังนี้ :-

ถ้าว่า เป็นหลุมที่เขาขุด และเพียงแต่ไม้เรียบข้างบนเท่านั้น ปรากฏ

ในทิศทั้งปวง จะถ่ายอุจจาระในหลุมแม้เห็นปานนั้น ก็ควร.

สองบทว่า กุกฺกุส มตฺติก ได้แก่ รำและดินเหนียว.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ดินทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

ภิกขุนิกขันธกวรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

ปัญจสติกขันธกะ

เรื่องพระมหากัสสปเถระ

สงคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต

[๖๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปชี้แจงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่าน

ทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เราออกจากเมืองปาวาเดินทางไกล ไปเมืองกุสินารากับ

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้งนั้น เราแวะจากทาง นั่งพักอยู่ที่

โคนไม้แห่งหนึ่ง อาชีวกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินาราเดินทางไกล

มาสู่เมืองปาวา เราได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้ถามอาชีวก

นั้นว่า ท่านทราบข่าวพระศากของเราบ้างหรือ อาชีวกตอบว่า ท่านขอรับ

ผมทราบ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันทั้งวันนี้แล้ว ดอกมณฑารพนี้

ผมถือมาจากที่ปรินิพพานนั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านที่ยังไม่ปราศจากราคะ

บางพวกประคองแขนคร่ำครวญดุจมีเท้าขาดล้มลงกลิ้งเกลือกไปมารำพันว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก

ดวงตาหายไปจากโลกเร็วนัก ส่วนพวกที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ

ย่อมอดกลั้นได้ ด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงนั้น จะได้ใน

สังขารนี้แต่ไหนเล่า ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

อย่าเลยท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรเลย นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

บอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความนั้นต่าง ความเว้น ความเป็นอย่างอื่น

จากสัตว์และสังขารที่รักที่ชอบใจทั้งปวงทีเดียวย่อมมี สิ่งที่เพียงนั้นจะได้ใน

สังขารนั้นแค่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว เป็นปัจจัยปรุงแต่งแล้วต้องมีความ

แตกสลายเป็นธรรมดา ข้อที่จะปรารถนาว่า สิ่งนั้นอย่าได้สายเลย นี้ไม่เป็น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

ฐานะที่มีได้ ครั้งนั้น พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต นั่งอยู่ในบริษัทนั่น เธอได้

กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า พอเถิด ท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรไปเลย พวก

เราพ้นไปดีแล้วจากพระมหาสมณะนั้น ด้วยว่าพวกเราถูกเบียดเบียนว่า สิ่งนี้

ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ ก็บัดนี้ พวกเราปรารถนาจะทำสิ่งใด

ก็ทำสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนานำจักทำสิ่งใด ก็ไม่ทำสิ่งนั้น เอาเถิด ท่านทั้งหลาย

พวกเราจงสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจัก

รุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาวะมิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจักเสื่อมถอย

ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะมีกำลัง ธรรมวาทีบุคคลจักเสื่อม อวินยวาที

บุคคลจักมีกำลัง วินัยวาทีบุคคลจักเสื่อมกำลัง.

สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป

[๖๑๕] ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ถ้ากระนั้น ขอพระเถระ จงคัดเลือก

ภิกษุทั้งหลายเถิดขอรับ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงคัดเลือกพระอรหันต์

ได้ ๕๐๐ รูป หย่อนอยู่องค์หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสป

ว่า ท่านเจ้าข้า ท่านพระอานนท์นี้ยังเป็นเสกขบุคคลอยู่ก็จริง แต่ไม่ลุอำนาจ

ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติและท่านได้เรียนพระธรรมและพระวินัย

เป็นอันมากในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น ขอพระเถระจงคัดเลือก

ท่านพระอานนท์เข้าด้วยเถิด ลำดับนั้นพระมหากัสสปจึงคัดเลือกท่านพระ-

อานนท์เข้าด้วย จึงพระเถระทั้งหลายปรึกษากันว่า พวกเราจักสังคายนาพระ -

ธรรมและพระวินัยที่ไหนดีหนอ ครั้นแล้วเห็นพร้อมกันว่า พระนครราชคฤห์ มี

โคตรคามมาก มีเสนาสนะเพียงพอ สมควรแท้ที่พวกเราจะอยู่จำพรรษาใน

พระนครราชคฤห์ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่ควรเข้า

จำพรรษาในพระนครราชคฤห์

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์งที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระ -

นครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่

พึงจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ นี้เป็นต้น

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐

รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรม

และพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ การ

สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อ

สังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษาใน

พระนครราชคฤห์ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์

เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษา

ในพระนครราชคฤห์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง

ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม

[๖๑๖] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้ไปพระนครราชคฤห์ เพื่อ

สังคายนาพระธรรมและพระวินัย แล้วปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

พระภาคเจ้าทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมไว้ ถ้ากระไร

พวกเราจักปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนต้น แล้วจักประชุม

สังคายนาพระธรรมและพระวินัยในเดือนท่ามกลาง ครั้งนั้น พระเถระได้

ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนต้น .

พระอานนท์สำเร็จพระอรหัต

[๖๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม ข้อ

ที่เรายังเป็นเสกขบุคคลอยู่จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา จึงยังราตรี

เป็นส่วนมากให้ล่วงไปด้วยกายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีจึงเอนกายด้วย

ตั้งใจว่า จักนอน แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม้ทันพ้นจากพื้น ใน

ระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ. เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น ท่านพระ-

อานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม.

พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย

[๖๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.

ท่านพระอุบาลี ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปถามพระวินัยแล้วจะ

พึงวิสัชนา.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามท่านพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี

ปฐมปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในเมืองเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะเมถุนธรรม.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ

อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งปฐมปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว

ถามต่อไปว่า ทุติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครราชคฤห์ ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะอทินนาทาน.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ

อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งทุติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ถามต่อไปว่า ท่านพระอุบาลี ตติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะมนุสสวิคคหะ.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญติ

อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งตติยปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว

ถามต่อไปว่า จตุทถปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติที่ไหน.

อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อุ. ทรงปรารภพวกภิกษุจำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา

ม. ในเพราะเรื่องอะไร

อุ. ในเพราะอุตริมนุสธรรม.

ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ

อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ แห่งจตุตถปาราชิกสิกขาบทกะท่านพระอุบาลี แล้ว

ถามอุภโตวินัยโดยอุบายนั้นแล ท่านพระอุบาลีผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้ว

ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว .

พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม

[๖๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามกรรมกะท่านพระอานนท์ .

ท่านพระอานนท์ ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปถามธรรมแล้วจะพึง

วิสัชนา.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์

พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสที่ไหน.

อา. ตรัสในพระตำหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาในระหว่างกรุง

ราชคฤห์ และเมืองนาลันทาต่อกัน ขอรับ

ม. ทรงปรารภใคร

อา. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมาณพ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปได้ถามนิทาน และบุคคลแห่งพรหม

ชาลสูตรกะท่านพระอานนท์ แล้วถามต่อไปว่า ท่านอานนท์ สามัญญผลสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสที่ไหน.

อา. ที่วิหารชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ขอรับ

ม. ตรัสกับใคร

อา. กับพระเจ้าอชาตสัตตุ เวเทหิบุตร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

ลำดับนั้นท่านพระมหากัสสป ถามนิทาน และบุคคลแห่งสามัญญผล-

สูตรกะท่านพระอานนท์ แล้วถามตลอดนิกาย ๕ โดยอุบายนั้นแล ท่านพระ

อานนท์ผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว.

เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย

[๖๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ชี้แจงต่อพระเถระทั้งหลายว่า

ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่จะพึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียก็ได้

พระเถระทั้งหลายถามว่า ท่านพระอานนท์ ก็ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

หรือเปล่าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ท่าน

พระอานนท์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า

ก็สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็น

สิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓

นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓

เว้นอนิยต ๒ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓

เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้น เป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้น สังฆาทิเสส ๑๓

เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็น

สิกขาบทเล็กน้อย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓

เว้นอนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย์ปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฎิเทสนียะ ๔

นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย.

เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ

[๖๒๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านทั้งหลายขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่

ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบท

เล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณะโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

ทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง

อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะ

เหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะ

เหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอน

พระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทานประพฤติ ในสิกขาบท

ทั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ.

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่

ปรากฏแก่คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

เชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเราจักถอนสิกขาบท

เล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดมบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

ทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ยังดำรง

อยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น

เพราะเหตุที่พระศาสดาของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระ-

สมณะเหล่านี้จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายในบัดนี้ สงฆ์ไม่บัญญัติ

สิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทาน

ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติ

สิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน

ประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามทั้งทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่าน

ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงพูด.

สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรง

บัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติ

แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์

[๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า

ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็

สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจง

แสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึง

มิได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

สิกขาบทเล็กน้อย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ไม่ได้ทูลถามนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่

เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น .

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบ

ผ้าวัสสิกสาฎกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่าน

จงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเย็บโดยมิได้เคารพก็หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น

ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏ

นั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคาม

ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเปื้อนน้ำตาของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้

อย่าได้อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวกมาตุคามถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มี

พระภาคเจ้าก่อน ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคามถวายบังคมพระสรีระของ

พระผู้มีภาคเจ้านั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ยอมแสดงอาบัตินั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านพระอานนท์ ข้อที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทำนิมิตอันหยาบ ทรงทำโอกาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอน

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอ

พระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่

ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดง

อาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้

ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรงอยู่ตลอด

กัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความ

สุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ

ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ

แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น .

พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการ

ขวนขวายให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้

นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้

มาตุคามบวชในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วด้วยคิดว่าพระนาง

มหาปชาบดีโคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ประคับ

ประคอง เลี้ยงดูทรงประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระพุทธ-

มารดาทิวงคต ได้ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสวยถัญญธารา ข้าพเจ้าไม่เห็น

เหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบท

ทุกกฏนั้น.

เรื่องพระปุราณเถระ

[๖๒๓] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกในชนบททักขิณาคิรี

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป คราวเมื่อพระเถระทั้งหลาย

สังคายนาพระธรรมและพระวินัยเสร็จแล้ว ได้พักอยู่ในชนบททักขิณาคิรีตาม

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

เถราภิรมย์ แล้วเข้าไปหาพระเถระทั้งหลาย ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถาน

ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ แล้วได้กล่าวสัมโมทนียะ

กับพระเถระทั้งหลายแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะ

ท่านพระปุราณะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านปุราณะ พระเถระทั้งหลาย

ได้สังคายนาพระธรรมและพระวินัยแล้ว ท่านจงรับรู้พระธรรมและพระวินัยนั้น

ที่พระเถระทั้งหลายสังคายนาแล้ว.

ท่านพระปุราณะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลาย สังคายนา

พระธรรมและพระวินัยเรียบร้อยแล้วหรือ แต่ว่า ข้าพเจ้าได้ฟัง ได้รับมา

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการใด จักทรงไว้ด้วยประการนั้น

[๖๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายว่า

ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพเจ้าอย่างนี้

ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่

แก่ภิกษุฉันนะ.

พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาค-

เจ้าหรือว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

พระอานนท์ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วว่า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุฉันนะพึงพูดตามปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว

ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ.

ท่านพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านนั้น

แหละจงลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

พระอานนท์ปรึกษาว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระ-

ฉันนะได้อย่างไร เพราะเธอดุร้าย หยาบคาย.

พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกับ

ภิกษุหลาย ๆ รูป ท่านพระอานนท์รับเถระบัญชาแล้วโดยสารเรือไป พร้อม

กับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองโกสัมพี ลงจากเรือแล้วได้นั่ง ณ

โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน.

เรื่องพระเจ้าอุเทน

[๖๒๕] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่ในพระราช-

อุทยานพร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับข่าวว่า

พระคุณเจ้าอานนท์ อาจารย์ของพวกเรา นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราช-

อุทยานจึงกราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า ขอเดชะ ข่าวว่า พระคุณเจ้าอานนท์

อาจารย์ของพวกหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยาน พวก

หม่อมฉันปรารถนาจะไปเยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์ พระเจ้าข้า พระเจ้าอุเทน

ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเยี่ยมพระสมณะอานนท์เถิด

ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์

แล้วถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้พระ

มเหสีของพระเจ้าอุเทนผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้า สมาทาน อาจหาญ

ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนอันท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็น

แจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน

แก่ท่านพระอานนท์ ครั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล้วลุกจาก

อาสนะถวายอภิวาท ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

[๖๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตรเห็นพระมเหสีเสด็จ

มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามว่า พวกเธอเยี่ยมพระสมณะอานนท์

แล้วหรือ

พระมเหสีกราบทูลว่า พวกหม่อมฉันได้เยี่ยมพระคุณเจ้าอานนท์แล้ว

พระเจ้าข้า

อุ. พวกเธอได้ถวายอะไร แก่พระสมณะอานนท์บ้าง

ร . พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่พระคุณเจ้าอานนท์

พระเจ้าข้า

พระเจ้าอุเทนทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะ-

อานนท์จึงรับจีวรมากถึงเพียงนั้น พระสมณะอานนท์จักทำการค้าขายผ้า หรือ

จักตั้งร้านค้า แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงปราศรัยกับท่านพระ-

อานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า ท่านพระอานนท์ มเหสีของข้าพเจ้ามาหาหรือ

อา. พระมเหสีของพระองค์มาหา มหาบพิตร

อุ. ก็พระนางได้ถวายอะไร แก่ท่านพระอานนท์บ้าง

อา. ได้ถวายผ้าห่มแก่อาตมภาพ ๕๐๐ ผืน มหาบพิตร

อุ. ก็ท่านพระอานนท์จักทำอะไรกะจีวรมากมายเพียงนั้น

อา. อาตมภาพจักแจกให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ที่มีจีวรคร่ำคร่า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ก็ท่านจักทำอย่างไรกะจีวรที่เก่าคร่ำเหล่านั้น

ต่อไป

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้น ให้เป็นผ้าดาดเพดาน มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าดาดเพดานเก่าเหล่านั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านี้นั้นให้เป็นผ้าปูฟูก

อุ . ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูฟูกที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูพื้น มหาบพิตร

อุ . ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูพื้นที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดเท้าที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เม่นผ้าเช็ดธุลี มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดธุลีที่เก่าเหล่านั้น

อา. อาตมภาพจักโขลกผ้าเหล่านั้น ขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา มหา-

บพิตร

ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนทรงพระดำริว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย-

บุตรทั้งหลายนำผ้าไปแยบคายดี ไม่เก็บผ้าเช้าเรือนคลัง แล้วถวายผ้าจำนวน

๕๐๐ ผืน แม้อื่นอีกแก่ท่านพระอานนท์ ก็ในคราวนี้บริขารคือจีวรบังเกิดแก่

ท่านพระอานนท์เป็นครั้งแรก คือผ้า ๑,๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแล้ว.

ลงพรหมฑัณฑ์

[๖๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปยังวัดโฆสิตาราม ครั้นแล้ว

นั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ท่านพระฉันนะเข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาท

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะผู้นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านฉันนะ สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านแล้ว.

ฉ. ท่านพระอานนท์ ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

อา. ท่านฉันนะ ท่านปรารถนาจะพูดคำใด พึงพูดคำนั้น ภิกษุทั้ง-

หลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอนท่าน

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ฉ. ท่านพระอานนท์ ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่ตัก

เตือน ไม่พร่ำสอนข้าพเจ้านี้ เป็นอันสงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือ แล้ว

สลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง

ต่อมา ท่านพระฉันนะ อึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์

จึงหลีกออกอยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก

ได้ทำให้แจ้งซึ่งคุณพิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย

ออกจากเรือนบวชโดยชอบต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองใน

ปัจจุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

ก็แล ท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง บรรดาพระอรหันต์

ทั้งหลาย ครั้นท่านพระฉันนะบรรลุพระอรหัตแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์

แล้วกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ ขอท่านจงระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมในบัดนี้เถิด

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านฉันนะ เมื่อใด ท่านทำให้แจ้งซึ่ง

พระอรหัตแล้ว เมื่อนั้นพรหมทัณฑ์ของท่านก็ระงับแล้ว.

[๖๒๘] ก็ในการสังคายนาพระวินัยนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่

เกิน เพราะฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๕๐๐

ดังนี้แล.

ปัญจสติกขันธกะ ที่ ๑๑ จบ

ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

หัวข้อประจำขันธกะ

[๖๒๙] เรื่องเมื่อพระสัมพุทธปรินิพพานแล้ว พระเถระชื่อกัสสปผู้

รักษาพระสัทธรรม ได้ชี้แจงกะหมู่ภิกษุถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะกล่าวหมิ่นพระ-

ธรรมวินัยเมื่อเดินทางไกลจากเมืองปาวา พวกเราจักสังคายนาพระสัทธรรม ใน

ภายหน้าอธรรมจักรุ่งเรื่อง เรื่องเลือกสรรภิกษุ ๕๐๐ รูปหย่อนหนึ่ง เรื่องเลือก

พระอานนท์ เรื่องอยู่ใกล้ถ้ำอันอุดมเพื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัย เรื่องถาม

วินัยกะพระอุบาลี เรื่องถามพระสูตรกะพระอานนท์ผู้ฉลาด เรื่องพระสาวกของ

พระชินะเจ้าได้ทำสังคายนาพระไตรปิกฎ เรื่องอาบัติเล็กน้อยต่าง ๆ เรื่องปฏิบัติ

ตามพระบัญญัติ เรื่องไม่ทูลถาม เรื่องเหยียบ เรื่องให้ไหว้ เรื่องไม่ทูลขอ

เรืองให้มาตุคามบวช เรื่องข้าพเจ้ายอมรับอาบัติทุกกฏ เพราะเธอท่านทั้งหลาย

เรื่องพระปุราณะ เรื่องพรหมทัณฑ์ เรื่องพระมเหสีกับพระเจ้าอุเทน เรื่องผ้า

มาก เรื่องผ้าเก่า เรื่องผ้าดาดเพดาน เรื่องผ้าปูฟูก เรื่องผ้าลาดพื้น เรื่อง

ผ้าเช็ดเท้า เรื่องผ้าเช็ดธุลี เรื่องผ้าขยำกับโคน เรื่องผ้า ๑,๐๐๐ ผืนเกิดแก่

พระอานนท์เป็นครั้งแรก เรื่องพระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์ได้บรรลุสัจจะ ๔

พระเถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูป ฉะนั้น จึงเรียกว่าแจง ๕๐๐.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

ปัญจสติกักขันธก วรรณนา

วินิจฉัยในปัญจสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้:-

สองบทว่า ปญฺจ นิกาเย ปุจฺฉิ มีความว่า ท่านพระมหากัสสปะ

ถามนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย อังคุตตรนิกาย สังยุตตนิกาย

ขุททกนิกาย.

คำอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เสีย สิกขาบทที่เหลือ เป็นสิกขาบทเล็ก

และเล็กน้อย เป็นอาทิ พระสังคาหก์เถระทั้งหลายกล่าวแล้วโดยปริยาย เพื่อ

แสดงความที่สิกขาบททั้งปวง อันท่านฟังรวบรวมเอาไว้ ไม่ละทิ้งแม้สิกขาบท

เดียว.

หลายบทว่า อิท โว สมณาน มีความว่า นี้ สมควรแก่สมณะ

ทั้งหลาย. โว อักษร ใช้ในอรรถสักว่ายังบทให้เต็ม.

บทว่า ธูมกาลก มีความว่า ควันแห่งจิตกาธารเป็นที่ปรินิพพาน

ของพระสมณะ ยังปรากฏอยู่เพียงใด, กาลเพียงนั้น เป็นกาลแห่งสิกขาบทที่

พระสมณะทรงบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย.

คำว่า อิทปิ เต อวุโส อานนฺท ทุกฺกฏ นี้ อันพระเถระ

ทั้งหลาย เพียงแต่จะติว่า กรรมนี้อันท่านทำไม่ดีแล้ว จึงกล่าวแล้ว, หาได้

กล่าวหมายถึงอาบัติไม่. อันพระเถระเหล่านั้น จะไม่รู้จักอาบัติ และมิใช่อาบัติ

หามิได้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

จริงอยู่ ในบัดนี้เอง ท่านพระมหากัสสปะได้ประกาศคำนี้ว่า สงฆ์ไม่

บัญญัติสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบัญญัติไว้. ไม่เลิกถอนสิกขาบทที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว.

อนึ่ง แม้คำว่า เทเสหิ ต อาวุโส ทุกฺกฏ นี้ อันพระเถระ

ทั้งหลาย กล่าวหมายถึงความประสงค์นี้ว่า ท่านจงปฏิญญาการไม่ทูลถามนั้นว่า

เป็นการทำเสีย อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำไม่ดีจริง จะกล่าวหาถึง

การแสดงอาบัติ หามิได้.

ฝ่ายพระเถระไม่ทูลถามแล้ว เพราะระลึกไม่ได้ หาใช่เพราะไม่เอื้อ

เฟื้อไม่; เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อกำหนดไม่ได้ แม้ซึ่งความเป็นการทำเสีย

เพราะไม่ทูลถามนั้น ๆ จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นควานทำเสียนั้น เมื่อจะแสดง

ความเคารพในพระเถระทั้งหลาย จึงกล่าวว่า แต่ข้าพเจ้าเชื่อ* ท่านทั้งหลาย

ขอแสดงความทำเสียนั้น.

มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายกล่าวอย่างใด, ข้าพเจ้ายอมปฎิญญาอย่าง

นั้น. ในสถานทั้ง ๔ แม้ที่เหลือมีนัยเหมือนกัน.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า มา ยิมา วิกาเล อเหสุ โดยอธิบายว่า

การไปในเวลาวิกาลของสตรี อย่าได้มีแล้ว.

สองบทว่า รโชหรณ กริสฺสาม มีความว่า อาตมภาพทั้งหลาย

จักชุบน้ำบิดแล้วเช็ดพื้นที่ทำบริกรรม.

สองบทว่า น กุลว คเมนฺติ มีอธิบายว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้

ไม่เก็บงำไว้ในคลัง.

* ในโยชนาเป็น สทฺธาย.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

สองบทว่า ยทคฺเคน ตยา มีความว่า ถ้าว่า พระอรหัตอันท่าน

ทำให้แจ้งแล้ว ในกาลเริ่มแรกทีเดียว ฉะนี้แล.

คำใดที่จะพึงกล่าว ซึ่งยังเหลือ จะพึงมีในปัญจสติกกักขันธกะนี้ คำนั้น

ข้าพเจ้าได้กล่าวในนิทานวรรณนาเสร็จแล้ว.

ปัญจสติกักขันธก วรรณนา จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

สัตตสติกขันธกะ

เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ

[๖๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน

ล่วงได้ ๑๐๐ ปี พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการใน

เมืองเวสาลี ว่าดังนี้ :-

๑. เก็บเกลือไว้ในเขนงฉัน ควร

๒. ฉันอาหารในเวลาบ่าย ล่วงสององคุลี ควร

๓. เข้าบ้านฉันอาหารเป็นอนติริตตะ ควร

๔. อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่าง ๆ กัน ควร

๕. เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุมาไม่พร้อมกันทำก่อนได้ ภิกษุมาทีหลัง

จึงบอกขอนุมัติ ควร

๖. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้วควร

๗. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร

๘. ดื่มสุราอ่อน ควร

๙. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร

๑๐. รับทองและเงิน ควร.

เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร

[๖๓๑] สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกในวัชชีชนบท

ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฎาคารศาลา

ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

[๖๓๒] สมัยนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถึงวันอุโบสถ

เอาถาดทองสัมฤทธิ์ตักน้ำเต็มตั้งไว้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ กล่าวแนะนำอุบาสก

อุบาสิกาชาวเมืองเวสาลี ที่มาประชุมกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงถวายรูปิยะ

แก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ได้ กึ่งกหาปณะก็ได้ บาทหนึ่งก็ได้ มาสกหนึ่งก็ได้

สงฆ์จักมีกรณียะด้วยบริขาร เมื่อพระวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระยสกา-

กัณฑกบุตรจึงกล่าวกะอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีว่า ท่านทั้งหลาย พวก

ท่านอย่าได้ถวายรูปิยะแก่สงฆ์ กหาปณะหนึ่งก็ตาม กึ่งกหาปณะก็ตาม บาทหนึ่ง

ก็ตาม มาสกหนึ่งก็ตาม ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร มีแก้ว

และทองวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลี

แม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์

กหาปณะหนึ่งบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง บาทหนึ่งบ้าง มาสกหนึ่งบ้าง.

ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้จัดส่วน

แบ่งเงินนั้นตามจำนวนภิกษุแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า ท่าน

พระยส เงินจำนวนนี้เป็นส่วนของท่าน ท่านพระยสกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

ฉันไม่มีส่วนเงิน ฉันไม่ยินดีเงิน.

[๖๓๓] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่าน

ทั้งหลาย พระยสกากัณฑกบุตรนี้ ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา

เลื่อมใส ทำให้เขาไม่เลื่อมใส เอาละ พวกเราจะลงปฎิสารณียกรรมแก่ท่าน

แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่พระยสกากัณฑกบุตรนั้น.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ได้กล่าวกะพวกพระวัชชีบุตร

ชาวเมืองเวสาลีว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า สงฆ์

พึงให้พระอนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูกลงปฎิสารณียกรรม ขอพวกเธอจงให้พระอนุทูต

แก่ฉัน จึงพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้สมมติภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต

แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร.

ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตร พร้อมด้วยพระอนุทูตพากันเข้าไป

สู่พระนครเวสาลี แล้วชี้แจงแก่อุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีว่า อาตมาผู้

กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่

เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษท่าน

อุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้ไม่เลื่อมใส.

เครื่องเศร้าหมองของพระจันทร์พระอาทิตย์ ๔ อย่าง

[๖๓๔] พระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี

เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์พระอาทิตย์เศร้าหมอง เพราะเครื่องเศร้าหมอง

๔ ประการนี้ จึงไม่แผดแสงไม่สว่าง ไม่รุ่งเรื่อง เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๑. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ

หมอก จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรื่อง.

๒. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ

น้ำค้าง จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรื่อง.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

๓. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ

ละอองควัน จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรื่อง.

๔. พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่องเศร้าหมอง คือ

อสุรินทราหู จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์ พระอาทิตย์ เศร้าหมองเพราะเครื่อง

เศร้าหมอง ๔ ประการนี้แล จึงไม่แผดแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรื่อง ฉันใด

เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ อย่าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมองเพราะเครื่อง

เศร้าหมอง ๔ ประการนี้ จึงไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ เครื่องเศร้าหมอง

๔ ประการ เป็นไฉน

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ดื่มสุรา ดื่มเมรัย

ไม่งดเว้น จากการดื่มสุราเมรัย นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่

หนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส

ไม่ไพโรจน์.

๒. อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่งดเว้นจาก

เมถุนธรรม นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สอง ซึ่งเป็นเหตุ

ให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์.

๓. อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจาก

การรับทองและเงิน นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สาม ซึ่ง

เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่

ไพโรจน์.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

๔. อนึ่ง สมณพราหนณ์พวกหนึ่งเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาชีพ ไม่งดเว้น

จากมิจฉาชีพ นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สี่ ซึ่งเป็นเหตุให้

สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเศร้าหมองเพราะเครื่อง

เศร้าหมอง ๔ ประการนี้แล จึงไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์ ฉันนั้น

ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ ครั้นแล้วพระสุคตผู้ศาสดาได้

ตรัสประพันธคาถามีเนื้อความ ว่าดังนี้ :-

[๖๓๕] สมณพราหมณ์เศร้าหมอง

เพราะราคะและโทสะ เป็นคนอันอวิชชา

หุ้มห่อ เพลิดเพลิน รูปที่น่ารัก เป็นคนไม่รู้

พวกหนึ่งดื่มสุราเมรัย พวกหนึ่งเสพเมถุน

พวกหนึ่งยินดีเงินและทอง พวกหนึ่งเป็น

อยู่โดยมิจฉาชีพ เครื่องเศร้าหมองเหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระราชาผู้

สูงศักดิ์ตรัสว่า เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์

พวกหนึ่งเศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส

ไม่บริสุทธิ์ มีกิเลสธุลีดุจมฤค ถูกความมือ

รัดรึง เป็นทาสตัณหา พร้อมด้วยกิเลส

เครื่องนำไปสู่ภพ ย่อมเพิ่มพูนสถานทิ้ง

ซากศพให้มาก ย่อมถือเอาภพใหม่ต่อไป.

[๖๓๖] ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม

สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่า

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

เป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษ อุบาสกอุบายสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้

ไม่เลื่อมใส.

เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ

[๖๓๗] ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อเก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น ชนทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในราชสำนัก ได้ยาก

ถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า ทองและเงินย่อมควรแก่พระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน พระ-

สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมรับทองและเงิน ก็คราวนั้น นายบ้านชื่อ

มณีจูฬกะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่าน

อย่าได้พูดอย่างนั้น ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระ

ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทอง

อันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน นายบ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้

บริษัทนั้นเข้าใจ ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ชน

ทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายในราชสำนัก ได้ยกถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนา

ในระหว่างว่า ทองและ.เงินควรแก่พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรยินดีทองและเงิน พระมณะเชื้อสายพระสากยบุตรรับ

ทองและเงิน เมื่อชนทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกะบริษัท

นั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดเช่นนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมี

แก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ข้าพระพุทธเจ้าสามารถ

ชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าว

คล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ

ชื่อว่าพยากรณ์ธรรมอันสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูป ผู้กล่าวตาม

วาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนหรือ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบา้น เธอพยากรณ์อย่างนี้

ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรม

สมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควร

ติเตียน ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

โดยแท้ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระ

ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวาง

เสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็

ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วน เดียวว่า มี

ปกติมิใช่สมณะ มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้อง

การหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึง

แสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยาย

ไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.

ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่ง

เป็นธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย

เขาหาว่า ด่า บริภาษอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทำให้ไม่เลื่อมใส.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 537

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

[๖๓๘] ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภท่าน

พระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และทรงบัญญัติสิกขาบทใน

พระนครราชคฤห์นั้นแล ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่

เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรม ว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่ง

เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษ อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา

เลื่อมใส ทำให้ไม่เลื่อมใส.

เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตร กล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาสกอุบาสิกาชาว

เมืองเวสาลีได้กล่าวกะท่านพระยสากัณฑกบุตรว่า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้ายสกา-

กัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้น เป็นพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ภิกษุพวกนี้

ทั้งหมดไม่ใช่สมณะ ไม่ใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า

ยสกากัณฑกบุตรจงอยู่ในเมืองเวสาสี พวกข้าพเจ้าจักทำการขวนขวายเพื่อจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัสบริขาร แก่พระคุณเจ้ายสกากัณฑก-

บุตร.

ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ได้ชี้แจงให้อุบาสกอุบาสิกาชาว

เมืองเวสาลีเข้าใจแล้ว ได้ไปอารามพร้อมกับพระอนุทูต.

ลงอุกเขปนียกรรม

[๖๓๙] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ได้ถามพระอนุทูต

ว่า คุณ พระยสกากัณฑกบุตร ขอโทษอุบาสกอุบาสิกาชาวเมืองเวสาลีแล้วหรือ.

พระอนุทูตตอบว่า ท่านทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาทำความลามกให้

แก่พวกเรา ทำพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นให้เป็นสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตร ทำพวกเราทั้งหมดไม่ให้เป็นสมณะ ไม่ให้เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 538

ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย

พระยสกากัณฑกบุตรนี้ พวกเรามิได้สมมติ แต่ประกาศแก่พวกคฤหัสถ์ ถ้า

เช่นนั้นพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมแก่เธอ พระวัชชีบุตรเหล่านั้น ปรารถนา

จะลงอุกเขปนียกรรมแก่พระยสกากัณฑกบุตรนั้น จึงประชุมกันแล้ว.

ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เหาะสู่เวหาสไปปรากฏในเมือง

โกสัมพี แล้วส่งทูตไป ณ สำนักภิกษุชาวเมืองปาฐา เมืองอวันตี และประเทศ

ทักขิณาบถว่า ท่านทั้งหลายจงมาช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ ต่อไปในภายหน้าสภาพ

มิใช่ธรรมจักรุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพมิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจัก

เสื่อมถอย ภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง

พวกอวินยวาทีจักมีกำลัง พวกวินยวาทีจักเสื่อมกำลัง.

เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีเถระ

[๖๔๐] สมัยนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี อาศัยอยู่ที่อโหคังคบรรพต

ครั้งนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เข้าไปหาท่านพระสัมภูตสาณวาสียังอโห-

คังคบรรพต อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ พวกพระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีพวกนี้ แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ใน

เวสาลี ว่าดังนี้:-

๑. เก็บเกลือไว้ในเขนงฉัน ควร

๒. ฉันอาหารในเวลาบ่ายล่วงสององคุลี ควร

๓. เข้าบ้านฉัน อาหารเป็นอนติริตตะ ควร

๔. อาวาสมีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่าง ๆ กัน ควร

๕. เวลาทำสังฆกรรม ภิกษุมาไม่พร้อมกันทำก่อนได้ ภิกษุมาทีหลัง

จึงบอกขออนุมัติ ควร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 539

๖. การประพฤติตามอย่าง ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ประพฤติมาแล้ว

ควร

๗. ฉันนมสดที่แปรแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมส้ม ควร

๘. ดื่มสุราอ่อน ควร

๙. ใช้ผ้านิสีทนะไม่มีชาย ควร

๑๐. รับทองและเงิน ควร.

ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ ภายหน้าสภาพมิใช่

ธรรมจักรุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพมิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจักเสื่อม

ถอย ภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวก

อวินยวาทีจักมีกำลัง พวกวินยวาทีจักเสื่อมกำลัง ท่านพระสัมภูตสาณวาสี

รับคำพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.

ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๖๐ รูป ถืออยู่ป่าเป็น

วัตรทั้งหมด ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรทั้งหมด ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรทั้งหมด

ถือไตรจีวรเป็นวัตรทั้งหมด เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังค-

บรรพต ภิกษุชาวเมืองอวันตีและประเทศทักษิณาบถประมาณ ๘๐ รูป บางพวก

ถืออยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บางพวกถือไตรจีวรเป็นวัตร

เป็นอรหันต์ทั้งหมด ประชุมกันที่อโหคังคบรรพต.

เรื่องพระเรวตเถระ

[๖๔๑] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้คิดว่าอธิกรณ์

นี้หยาบช้า กล้าแข็งนัก ไฉนหนอ พวกเราจักได้ฝักฝ่าย ที่เป็นเหตุให้มีกำลัง

กว่าในอธิกรณ์นี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 540

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะอาศัยอยู่ในโสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญ

ในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็น

นักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา

พระเถระทั้งหลาย คิดกันว่า ท่านพระเรวตะนี้แล อาศัยอยู่ใน

โสเรยยนคร เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่

ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะไว้เป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเรา

จักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้.

ท่านพระเรวตะได้ยินถ้อยคำของพระเถระทั้งหลายปรึกษากันอยู่ด้วย

ทิพโสตธาตุอันหมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตธาตุแห่งมนุษย์ ครั้นแล้วจึงคิดว่า

อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง ข้อที่เรา จะถอยในอธิกรณ์เห็นปานนั้นไม่

สมควรแก่เราเลย ก็แลบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นจักมาหา เราคลุกคลีกับพวกเธอ

จักอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราควรไปเสียก่อน.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะ ได้ออกจากเมืองโสเรยยะไปสู่เมืองสังกัสสะ

ทีนั้น พระเถระทั้งหลายได้ไปสู่เมืองโสเรยยะ. แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป

ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองสังกัสสะแล้ว ต่อมา

ท่านพระเรวตะได้ออกจากเมืองสังกัสสะไปสู่เมืองกัณณกุชชะแล้ว พระเถระ

ทั้งหลายพากันไปเมืองสังกัสสะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน พวกเขา

ตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้น ไปเมืองกัณณกุชชะแล้ว.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองกัณณกุชชะ สู่เมืองอุทุมพร

จึงพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองกัณณกุชชะ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไป

ไหน พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอุทุมพร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 541

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองอุทุมพรสู่เมืองลัคคฬปุระ จึง

ท่านพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอุทุมพร แล้วถามว่า ท่าพระเรวตะไปไหน

พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอิคคฬปุระ.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองคัคคฬปุระ สู่สหชาตินคร

พระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอัคคฬปุระ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน

พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปสหชาตินครแล้ว พระเถระทั้งหลาย

ไปทันท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร.

ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ ๑๐ ประการ

[๖๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระสมภูตสาณวาสี ได้กล่าวกะท่านพระยสกา.

กัณฑกบุตรว่า ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม

ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความ

ละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักถามปัญหากะท่านพระเรวตะ

ท่านพระเรวตะสามารถจะยังราตรีทั้งสิ้น ให้ล่วงไป ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น

ก็แลบัดนี้ ท่านพระเรวตะจักเชิญพระอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ ท่านนั้น

เมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ พึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วถามวัตถุ

๑๐ ประการนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำของท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว

ท่านพระเรวตะได้เชิญพระอันเตวาสิก ให้สวดสรภัญญะแล้ว ท่านพระยสกา-

กัณฑกบุตร เมื่อภิกษุนั้นสวดสรภัญญะจบ ได้เข้าไปหาท่านพระเรวตะ อภิวาท

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า สิงคิโสณกัปปะ ควรหรือ ขอรับ.

พระเรวตะย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ

ย. คือการเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่าจักปรุงในอาหารที่จืดฉัน

ควรหรือไม่ ขอรับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 542

ร. ไม่ควร ขอรับ.

ย. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ร. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร.

ย. คือการฉันโภชนะในวิกาลเมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควร

หรือไม่ ขอรับ .

ร. ไม่ควร ขอรับ.

ย. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ร. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ย. คือภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้

ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ .

ร. ไม่ควร ขอรับ.

ย. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ร. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ย. คืออาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือ

ไม่ ขอรับ .

ร. ไม่ควร ขอรับ.

ย. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ร. อนุมติกัปปะนั้น คออะไร ขอรับ.

ย. คือสงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้ว

อนุมัติ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ร. ไม่ควร ขอรับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 543

ย. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ

ย. คือการประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌาย์ของเราเคยประ-

พฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. อาจิณณกัปปะ บางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ

ย. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ

ย. คือนมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ

ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. ไม่ควร ขอรับ

ย. ดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ

ย. คือการดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่

ขอรับ

ร. ไม่ควร ขอรับ

ย. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. ไม่ควร ขอรับ

ย. ทองและเงิน ควรหรือไม่ ขอรับ

ร. ไม่ควร ขอรับ

ย. ท่านเจ้าข้า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้แสดงวัตถุ ๑๐

ประการเหล่านี้ ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยก

อธิกรณ์นี้ขึ้น ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพ

ที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลัง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 544

พวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวกอวินัยวาที จักมีกำลัง พวกวินัยวาทีจักเสื่อม

กำลัง ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.

ปฐมภาณวาร จบ

[๖๔๓] พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีทราบข่าวว่า พระยสกา-

กัณฑกบุตร ปรารถนาจักยกอธิกรณ์นี้ขึ้น กำลังแสวงหาฝักฝ่าย และข่าวว่า

ได้ฝักฝ่ายจึงคิดต่อไปว่า อธิกรณ์นี้แล หยาบช้า กล้าแข็ง พวกเราจะพึงได้

ใครเป็นฝักฝ่ายซึ่งเป็นเหตุให้พวกเรามีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้หนอ แล้วคิดต่อ

ไปว่า ท่านพระเรวตะนี้เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย

ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย มีความ

รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะเป็นฝักฝ่าย เมื่อเป็นเช่นนี้

พวกเราจักมีกำลังกว่าในอธิกรณ์นี้

ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี จัดแจงสมณบริขารเป็น

อันมาก คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ผ้ากายพันธ์

บ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง ธมกรกบ้าง แล้วขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไปสู่

สหชาตินคร ขึ้นจากเรือแล้วพักผ่อนฉันภัตตาหารที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

เรื่องพระสาฬหเถระปริวิตก

[๖๔๔] ครั้งนั้น ท่านพระสาฬหะ หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ

ปริวิตกแห่งจิตขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุพวกไหนหนอ เป็นธรรมวาที คือ พวก

ปราจีนหรือพวกเมืองปาฐา เมื่อท่านกำลังพิจารณาธรรมและวินัยได้คิดต่อไปว่า

ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุ พวกเนืองปาฐาเป็นธรรมวาที ขณะนั้น

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 545

เทวดาผู้อยู่ในชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่านพระ-

สาฬหะ ด้วยจิตของตน ได้หายไปในเทวโลกชั้นสุทธาวาส มาปรากฏเฉพาะ

หน้าท่านพระสาฬหะเหมือนบุรุษที่มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด

ฉะนั้น แล้วได้เรียนท่านพระสาฬหะว่า ถูกแล้ว ชอบแล้ว ท่านพระสาฬหะ

ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็นธรรมวาที ถ้าเช่นนั้น

ท่านจงดำรงอยู่ตามธรรมเถิดขอรับ พระสาฬหะกล่าวว่า เทวดา เมื่อกาลก่อน

แลบัดนี้ อาตมาดำรงอยู่ตามธรรมแล้ว ก็แต่ว่า อาตมายังทำความเห็นให้แจ่ม

แจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉนสงฆ์พึงสมมติเราเข้าในอธิกรณ์นี้.

เรื่องพระอุตตรเถระ

[๖๔๕] ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี ถือสมณบริขาร

นั้นเข้าไปหาท่านเรวตะแล้วเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร

คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธมกรก

พระเรวตะกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของเราบริบูรณ์

แล้ว ไม่ปรารถนารับ

สมัยนั้น ภิกษุชื่ออุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ

ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาท่านพระอุตตระ แล้วบอก

ว่า ขอท่านอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตร จีวร ผ้าปูนั่ง กล่องเข็ม

ผ้ากายพันธ์ ผ้ากรองน้ำ และธมกรก

พระอุตตระกล่าวว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย ไตรจีวรของผมบริบูรณ์

แล้วไม่ปรารถนารับ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 546

พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ท่านอุตตระ คนทั้งหลาย

น้อมถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

พวกเขาย่อมดีใจเพราะการทรงรับนั้นแล ถ้าไม่ทรงรับ พวกเขาก็น้อมถวาย

แด่ท่านพระอานนท์ด้วยเรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงรับสมณบริขาร

สมณบริขารที่พระเถระรับนั้น จักเหมือนสมณบริขารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ ฉะนั้น ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขารเถิด สมณบริขารที่ท่านรับ

นั้น จักเป็นเหมือนสมณบริขารที่พระเถระรับ ฉะนั้น

ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแค่นไค้

อยู่ จึงรับจีวรผืนหนึ่งกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย ท่านพึงพูดสิ่งที่ท่านต้องการ

พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีกล่าวว่า ขอท่านพระอุตตระจงกล่าว

คำเพียงเท่านี้กะพระเถระว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณเท่านี้

ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติ

ในปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐา

เป็นอธรรมวาที

ท่านพระอุตตระ รับคำของพวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีแล้ว เข้า

ไปหาท่านพระเรวตะ เรียนว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระเถระจงพูดคำมีประมาณ

เท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติใน

ปุรัตถิมชนบท พวกพระชาวปราจีนเป็นธรรมวาที พวกพระชาวเมืองปาฐา

เป็นอธรธมวาที

พระเถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณาม

ท่านพระอุตตระ ครั้งนั้น พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ถามท่านพระ-

อุตตระว่า ท่านอุตตระ พระเถระพูดอย่างไร

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 547

พระอุตตระตอบว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราทำเลวทรามเสียแล้ว พระ-

เถระกล่าวว่า ภิกษุ เธอชวนเราในอธรรมหรือ แล้วประณามเรา

ว. ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่ มีพรรษา ๒๐ มิใช่หรือ

อ. ถูกละ ขอรับ แต่ผมยังถือนิสัยในพระเถระ.

สงฆ์มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์

[๖๔๖] ครั้งนั้น สงฆ์ปรารถนาจะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้ประชุมกัน

แล้ว ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้.

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจักระงับ

อธิกรณ์นี้ในที่นี้ บางทีจะมีพวกภิกษุผู้ถือมูลอธิกรณ์รื้อฟื้นขึ้นทำใหม่

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น ณ ที่ใด สงฆ์

พึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่นั้น

ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้พากันไปเมืองเวสาลี มุ่งวินิจฉัยอธิกรณ์

นั้น ครั้งนั้น พระสัพพกามีเป็นพระสงฆ์เถระทั่วแผ่นดิน มีพรรษา ๑๒๐ แต่

อุปสมบทเป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี ท่าน

พระเรวตะได้กล่าวกะท่านพระสัมภูตสาณวาสีว่า ท่าน ผมจะเข้าไปสู่วิหารที่

พระสัพพกามีเถระอยู่ ท่านพึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีแต่เช้า แล้วเรียนถาม

วัตถุ ๑๐ ประการนี้ ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว ครั้งนั้น ท่าน

พระเรวตะเข้าไปสู่วิหารที่พระสัพพกามีเถระอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกา-

มีเขาจัดแจงไว้ในห้อง เสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดแจงไว้ที่หน้ามุขของ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 548

ห้อง ครั้นนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า พระผู้เฒ่านี้ยังไม่นอน จึงไม่สำเร็จการ

นอน ท่านพระสัพพกามีคิดว่า พระอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมา ยังไม่นอน จึงไม่

สำเร็จการนอน.

[๖๔๗] ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง. แห่งราตรี ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น กล่าว

กะท่านพระเรวตะว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก

ร. ท่านเจ้าข้า บัดนี้ ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก

ส. ได้ยินว่า บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมตื้นๆ โดยมากวิหารธรรม

ตื้น ๆ นี้ คือเมตตา.

ร. ท่านเจ้าข้า แม้เมื่อก่อนครั้งผมเป็นคฤหัสถ์ได้อบรมเมตตามา

เพราะฉะนั้น ถึงบัดนี้ ผมก็อยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก และผมได้บรรลุ

พระอรหัตมานานแล้ว ท่านเจ้าข้า ก็บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร

โดยมาก

ส. ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ฉันอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก

ร. ท่านเจ้าข้า ได้ยินว่า บัดนี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมของพระ

มหาบุรุษโดยมาก วิหารธรรมของพระมหาบุรุษนี้ คือ สุญญตสมาบัติ

ส. ท่านผู้เจริญ แม้เมื่อก่อนครั้งฉันเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรนสุญญต-

สมาบัติมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ ฉันจึงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญต-

สมาบัติและฉันได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว.

เรื่องพระสัมภูตสาณวาสีถาม

[๖๔๘] พระเถระทั้งสองสนทนากันมาโดยลำดับค้างอยู่เพียงเท่านี้

ครั้งนั้น. ท่านพระสัมภูตสาณวาสีมาถึงโดยลำดับจึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามี

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 549

อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้เรียนถามว่า ท่านเจ้าข้า พวกพระ-

วัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้ แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในเมืองเวสาลี ว่าดังนี้ :-

๑. สิงคิโลณกัปปะ ควร

๒. ทวังคุลกัปปะ ควร

๓. คามันตรกัปปะ ควร

๔. อาวาสกัปปะ ควร

๕. อนุมัติกัปปะ ควร

๖. อาจิณณกัปปะ ควร

๗. อมถิตกัปปะ ควร

๘. ดื่มชโลคิ ควร

๙. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควร

๑๐. ทองและเงิน ควร

ท่านเจ้าข้า พระเถระได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยเป็นอันมากใน

สำนักพระอุปัชฌายะ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่เป็น

อย่างไร ขอรับ ภิกษุพวกไหนเป็นธรรมวาที คือ พวกปราจีน หรือพวก

เมืองปาฐา

พระสัพพกามีย้อนถามว่า ท่านได้ศึกษาพระธรรมและพระวินัยเป็นอัน

มากในสำนักอุปัชฌายะ ก็เมื่อท่านพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่เป็น

อย่างไร ขอรับ ภิกษุพวกไหนเป็นธรรมวาที คือ พวกปราจีน หรือพวกเมือง

ปาฐา

พระสัมภูตะตอบว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและพระวินัย

เป็นอย่างนี้ ขอรับ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐา

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 550

เป็นธรรมวาที แต่ว่าผมยังทำความเห็นให้แจ่มแจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉน สงฆ์

พึงสมมติผมเข้าในอธิกรณ์นี้

พระสัพพกามีกล่าวว่า แม้เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและพระวินัยอยู่ก็

เป็นอย่างนี้ ขอรับ ภิกษุพวกปราจีนเป็นอธรรมวาที ภิกษุพวกเมืองปาฐาเป็น

ธรรมวาที แต่ว่าผมยังทำความเห็นให้แจ่มแจ้งไม่ได้ก่อนว่า แม้ไฉน สงฆ์พึง

สมมติผมเข้าในอธิกรณ์นี้.

สมมติภิกษุเป็นพวกปราจีนและปาฐา

[๖๔๙] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น จึงประชุมกัน

ก็เมื่อสงฆ์กำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด และไม่เข้าใจ

ข้อความของถ้อยคำที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์

ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้ :-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์

นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด. และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ

ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์

พึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี.

สงฆ์คัดเลือกภิกษุ รูปเป็นพวกปราจีน ๔ รูปเป็นพวกเมืองปาฐา

คือ ท่านพระสัพพกามี ๑ ท่านพระสาฬหะ ๑ ท่านพระอุชชโสภิตะ ๑ ท่าน

พระวาสภคามิกะ ๑ เป็นฝ่ายภิกษุพวกปราจีน ท่านพระเรวตะ ๑ ท่านพระ-

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 551

สัมภูตสาณวาสี ๑ ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ๑ ท่านพระสุมน ๑ เป็นฝ่าย

ภิกษุพวกเมืองปาฐา ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ

ทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติทุติยกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์

นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สั้นสุด และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ

ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์

พึงสมมติภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวกเมื่องปาฐา

เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เนื้อพวกเราวินิจฉัยอธิกรณ์

นี้อยู่ เสียงอื้อฉาวเกิดขึ้นไม่สิ้นสุด และไม่เข้าใจข้อความของถ้อยคำ

ที่กล่าวแล้วสักข้อเดียว สงฆ์สมมติภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน

๔ รูปให้เป็นพวกเมื่องปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี

การสมมตภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวกเมืองปาฐา

เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยอุพพาหิกวิธี ชอบแก่ท่านผู้ใด. ท่านผู้นั้น

พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

สงฆ์สมมตภิกษุ ๔ รูปให้เป็นพวกปราจีน ๔ รูปให้เป็นพวก

เมื่องปาฐา เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธีแล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 552

เรื่องพระอชิตะ

[๖๕๐] โดยสมัยนั้นแล พระอชิตะมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นผู้สวด

ปาติโมกข์แก่สงฆ์ ครั้งนั้น สงฆ์สมมติท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อ

พระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ ณ

ที่ไหนหนอ แล้วคิดต่อไปว่า วาลิการามนี้แล เป็นรมณียสถาน มีเสียงน้อย

ไม่มีเสียงเอ็ดอึง ถ้าไฉนพวกเราจะพึงระงับอธิกรณ์นี้ ณ วาลิการาม ครั้งนั้น

พระเถระทั้งหลายที่ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้พากันไปวาลิการาม.

สมมติตนเป็นผู้ถามและแก้

[๖๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะท่านพระสัพพกามี.

ท่านพระสัพพกามีประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันพระเรวตะถามพระวินัยแล้วจะพึงแก้.

ถามและแก้วัตถุ ๑๐ ประการ

[๖๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า สิงคิ-

โลณกัปปะควรหรือ ขอรับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 553

พระสัพพกามีย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ การเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่า จักปรุงในอาหารที่จืดฉัน

ควรหรือ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะอาหารที่ทำการสั่งสม.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์.

ข้อที่ ๑ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๓] ร. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ การฉันโภชนะในวิกาล เมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควร

หรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 554

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๔] ร. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ .

ส. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ ภิกษุฉันเสร็จห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้

ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๕] ร. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คืออาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน. ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือ

ไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 555

ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์อุโบสถสังยุต.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดวินัย.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๔ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๔ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[ ๖๕๖] ร. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. อนุมติกัปปะนั้น คืออะไร.

ร. คือ สงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้ว

อนุมัติ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน .

ส. ในเมืองจัมเปยยกะ ปรากฏในเรื่องวินัย.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติทุกกฏ ในเพราะละเมิดวินัย.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๕ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๕ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๗] ร. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. อาจิณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ การประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌายะของเราเคย

ประพฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยพระพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 556

ส. อาจิณณกัปปะบางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๖ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๖ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๘] ร. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ นมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ

ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะอันเป็นอนติริตตะ.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้

สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยง

สัตถุสาสน์ข้อที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๕๙] ร. การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ.

ร. คือ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่

ขอรับ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 557

ส. ไม่ควร ขอรับ

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองโกสัมพี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๘ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๘ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๖๐] ร. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ .

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องตัดเสีย.

ร. ท่านเจ้าข้า ของสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุที่ ๙ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว

แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๙ นี้

ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๖๐] ร. ทองและเงิน ควร หรือไม่ ขอรับ.

ส. ไม่ควร ขอรับ.

ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน.

ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์.

ร. ต้องอาบัติอะไร.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน.

ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑๐ นี้ สงฆ์วินิจฉัย

แล้วแม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่

๑๐ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน.

[๖๖๒] ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุ ๑๐ ประการนี้

สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุ ๑๐ ประการนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย

หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์.

[๖๖๓] พระสัพพกามีกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นั่นสงฆ์ชำระ

แล้ว สงบระงับเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะผม

แม้ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วกัน.

ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะท่านพระสัพพ-

กามีแม้ในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามแล้ว ๆ

ได้วิสัชนาแล้ว.

ก็ในสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อน ไม่เกิน

เพราะฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๗๐๐

ดังนี้แล

สัตตสติกขันธกะ ที่ ๑๒ จบ

ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 559

หัวข้อประจำขันธกะ

[๖๖๔] เรื่องวัตถุ ๑๐ เรื่องเทน้ำให้เต็มถาดสัมฤทธิ์ เรื่องลงปฏิสาร-

ณียกรรม เรื่องเข้าไปในเมืองเวสาลีกับทูต เรื่องเศร้าหมองของพระจันทร์

พระอาทิตย์ ๔ อย่าง เรื่องความเศร้าหมองของสมณะอีก ๔ อย่าง เรื่องรับทอง

และเงิน เรื่องพระยสไปปรากฏตัวที่เมืองโกสัมพี เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา

เรื่องแสวงหาพวก เรื่องเมืองโสเรยยะ เรื่องเมืองสังกัสสะ เรื่องเมืองกัณณ-

กุชชะ เรื่องไปเมืองอุทุมพร เรื่องไปเมืองสหชาติ เรื่องอาราธนาสวดสรกัญญะ

เรื่องพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีได้ทราบข่าว เรื่องพวกเราจะได้ใครหนอเป็น

ฝักฝ่าย เรื่องจัดแจงสมณบริขารมีบาตรเป็นต้น เรื่องโดยสารเรือไปไกล เรื่อง

ท่านพระอุตตระรับคำ เรื่องถูกตำหนิร้ายแรง เรื่องสงฆ์ไปเมืองเวสาลี เรื่อง

เมตตา เรื่องสงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

จุลวรรค ภาค ๒ จบ

พระวินัยปิฏก เล่ม ๗ จบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 560

สัตตสติกักขันธก วรรณนา

วินิจฉัยในสัตตสติกักขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า ภิกฺขุคฺเคน มีความว่า ภิกษุวัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลี นับ

ภิกษุทั้งหลายตามจำนวนภิกษุแล้ว จัดส่วนไว้มีประมาณเท่านั้น.

บทว่า มหิกา ได้แก่ หมอกในคราวหิมะตก.

บทว่า อวิชฺชานีวุตา ได้แก่ ผู้อันอวิชชาปิดบังแล้ว.

บทว่า โปสา ได้แก่ บุรุษ. ชื่อว่าผู้ชื่นชมนักซึ่งปิยรูป เพราะ

เพลินนัก คือ กระหยิ่ม ปรารถนาซึ่งปิยรูป.

บทว่า อวิทฺทสุ ได้แก่ ไม่รู้ ชื่อว่าผู้มีฐุลีด้วยธุลีคือราคะ. ชื่อว่า

ผู้เป็นเพียงดังมฤค เพราะเป็นผู้คล้ายมฤค. ชื่อว่าผู้มีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

เพราะเป็นไปกับด้วยตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ.

บาทคาถาว่า วฑฺเฒนฺติ กฏสึ โฆร มีความว่า ย่อมยังภูมิเป็น

ที่ทิ้งซากศพให้หนาขึ้นเนือง ๆ. ก็แลเมื่อยังภูมิเป็นที่ทิ้งซากศพให้หนาขึ้น

เนือง ๆ อย่างนั้น ชื่อว่าย่อมถือเอาภพใหม่ที่น่ากลัว คือว่าย่อมเกิดอีก ฉะนี้

แล.

ข้อว่า ปาปิก โน อาวุโส กต มีความว่า ผู้มีอายุ กรรมลามก

อัน เราทั้งหลายกระทำแล้ว.

บทว่า ภุมฺมิ นี้ ซึ่งมีอยู่ใน คำว่า กตเมน ตฺว ภุมฺมิ วิหาเรน

นี้ เป็นคำไพเราะ.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 561

ได้ยินว่า ท่านพระสัพพกามี ผู้ประสงค์จะกล่าวคำอันไพเราะจึงเรียก

ภิกษุใหม่ทั้งหลาย อย่างนั้น .

บทว่า กุลฺลกวิหาเรน ได้แก่ ธรรมเป็นที่อยู่อันตื้น.

[ว่าด้วยสิงคิโลณกัปปะ]

สองบทว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค มีความว่า เกลือเขนงนี้เป็น

ของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วในสุตตวิภังค์ อย่างไร ? จริงอยู่ ใน

สุตตวิภังค์นั้น เกลือเขนงเป็นของอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ของภิกษุรับ

ประเคนแล้วในวันนี้ ควรเพื่อฉันในวันอื่นอีก ชื่อว่าเป็นของสันนิธิ ดังนี้แล้ว

ตรัสอาบัติห้ามอีกว่า ภิกษุมีความสำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้

ค้างคืน ว่ามิได้รับประเคนไว้ค้างคืน เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้อง

ปาจิตตีย์.

ในสุตตวิภังค์นั้น อาจารย์พวกหนึ่งเข้าใจว่า ก็ สิกขาบทนี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า โย ปน ภิกฺขุ สนฺนิธิการก ขาทนีย วา โภชนีย

วา เป็นอาทิ แต่ธรรมดาเกลือนี้ ไม่ถึงความเป็นสันนิธิ เพราะเป็นยาวชีวิก

ภิกษุรับประเคนอามิสที่ไม่เค็มแม้ใดด้วยเกลือนั้น แล้วฉันพร้อมกับเกลือนั้น

อามิสนั้น อันภิกษุรับประเคนในวันนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้น อันอาบัติทุกกฏ

ในเพราะเกลือที่รับประเคนก่อนนี้ พึงมี เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย

วัตถุเป็นยาวชีวก ภิกษุรับประเคนในวันนั้น พร้อมกับวัตถุเป็นยาวกาลิกควร

ในกาล ไม่ควรในวิกาล.*

* มหาวคฺค. ทติย. ๑๓๒.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 562

อาจารย์เหล่านั้น อันปรวาที่พึงกล่าวแก้ว่า แม้อาบัติทุกกฏก็ไม่พึงมี

ตามมติของพวกท่าน ด้วยว่า บรรดาเกลือและอามิสที่ไม่เค็มนี้ เกลือซึ่งเป็น

ยาวชีวิก หาได้รับประเคนในวันนั้นไม่ อามิสที่ไม่เค็มซึ่งเป็นยาวกาลิกเท่านั้น

รับประเคนในวันนั้น และอามิสนั้นภิกษุหาได้บริโภคในเวลาวิกาลไม่ หรือ

หากว่า พวกท่านสำคัญอาบัติทุกกฏ เพราะพระบาลีว่า วิกาเล น กปฺปติ

ดังนี้ ไซร้ แม้อาบัติปาจิตตีย์ เพราะในวิกาลโภชน์ จะไม่พึงมี แก่ภิกษุผู้

บริโภคยาวกาลิกซึ่งปนกับยาวชีวิก ในเวลาวิกาล. เพราะเหตุนั้น ท่านไม่พึง

ฉวยเอาแต่เพียงพยัญชนะ พึงพิจารณาดูใจความ

ในคำว่า วิกาเล กปฺปติ นี้ มีเนื้อความดังนี้ :-

ยาวชีวิกกับยาวกาลิก ที่รับประเคนในวันนั้น ถ้าว่า เป็นของมีรส

เจือกันได้ ย่อมเป็นของมีคติอย่างยาวกาลิกแท้. เพราะเหตุนั้นทุกกฏชื่อว่าไม่มี

ในคำว่า กาเล กปฺปติ วิกาเล น กปฺปติ นี้ เพราะสิกขาบทนี้ว่า

โย ปน ภิกฺขุ วิกาเล ขาทนีย วา โภชนีย วา ดังนี้เป็นอาทิ แต่

ย่อมมีในเพราะยาวชีวิก มีรสเจือปนกับยาวกาลิกนี้ด้วยสักว่า คำว่า น กปฺปติ.

ยาวชีวิกที่รับประเคนในวันนั้น มีรสเจือปนยาวกาลิก ไม่ควรในวิกาล

คือ เป็นกาลิกที่นำมาซึ่งปาจิตตีย์ เพราะวิกาลโภชน์ฉันใดเลย ยาวชีวิกแม้ที่

รับประเคนในวันนี้ มีรสเจือปนกับยาวกาลิกในวันอื่นอีก ไม่ควร คือ เป็น

กาลิกนำมาซึ่งปาจิตตีย์เพราะฉันของเป็นสันนิธิ ข้อนี้ก็ฉันนั้น. ภิกษุแม้ไม่รู้อยู่

ซึ่งกาลิกนั้นว่า นี้เป็นของที่ทำการสะสม ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ).

จริงอยู่ คำนี้อันพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวแล้วว่า ภิกษุมีความ

สำคัญในของเคี้ยวของฉันที่รับประเคนไว้ค้างคืน ว่านี้ได้รับประเคนไว้ค้างคืน

เคี้ยวของเคี้ยวก็ดี ฉันของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้น คำตอบ

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 563

ที่ว่า สาวตฺถิยา สุตฺตวิภงฺเค นี้ จึงเป็นคำตอบที่หมดจดดี แห่งคำถาม

ที่ว่า กตฺถ ปฏิกฺขิตฺต นี้.

[ว่าด้วยอาวาสกัปปะ ]

คำว่า ราชคเห อุโปสถสยุตฺเต นี้ อันพระสังคาหกเถระกล่าว

หมายเอาพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติ

โรงอุโบสถ ๒ แห่ง ภิกษุได้พึงสมมติ ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ.

ข้อว่า วินยาติสาเร ทุกฺกฏ มีความว่า เป็นทุกกฏ เพราะละเมิด

พระวินัยนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสเดียวกัน ไม่ควรสมมติโรงอุโบสถ

๒ แห่ง นี้แล.

[ว่าด้วยอนุมติกัปปะ]

คำว่า จมฺเปยฺยเก วินยวตฺถุสฺมึ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมาย

เอาเรื่องวินัย อันมาแล้วในจัมเปยยักขันธกะ เริ่มต้นอย่างนี้ว่า อธมฺเมน

เจ ภิกฺขเว วคฺคกมฺม อกมฺน น จ กรณีย ดังนี้.

คำว่า เอกจฺโจ กปฺปติ นี้ พระสังคาหกเถระกล่าวหมายเอาความ

ประพฤติที่เป็นธรรม.

[ว่าด้วยอทสกนิสีทนกัปปะ]

จริงอยู่ คำว่า เฉทนเก ปาจิตฺติย นี้ มาแล้วในสุตตวิภังค์ว่า

ผ้าปูนั่งที่มีชาย เรียกชื่อว่า นิสีทนะ เพราะเหตุนั้น เฉพาะชายประมาณคืบ

หนึ่ง อันภิกษุย่อมได้เกินกว่า ๒ คืบสุคตขึ้นไป.

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 564

คำว่า เป็นปาจิตตีย์ มีการตัดเป็นวินัยกรรม แก่ภิกษุผู้ให้ก้าวล่วง

ประมาณนั้น นี้ ย่อมเป็นคำปรับได้ทีเดียว แก่ภิกษุผู้ทำตามประมาณนั้น

เว้นชายเสีย. เพราะเหตุนั้น ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามว่า ต้อง

อาบัติอะไร ? จึงตอบว่า ต้องปาจิตตีย์ ในเฉทนกสิกขาบท อธิบายว่า ต้อง

อาบัติปาจิตตีย์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเฉทนกสิกขาบท.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

สัตตสติกักขันธก วรรณนา ในอรรถกถา

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

คาถาสรูป

ขันธกะ ๒๒ ประเภท สงเคราะห์

ด้วยวรรค ๒ อัน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงละ

ทุกข์ คือ เบญจขันธ์เสีย ตรัสแล้วในพระ-

ศาสนา วรรณนาขันธกะเหล่านี้นั้น สำเร็จ

แล้วปราศจากอันตรายฉันใด แม้ความหวัง

อันงามทั้งหลาย ของสัตว์มีปราณจงสำเร็จ

ฉันนั้นเถิด ฉะนี้แล.

ในจุลลวรรคนี้ มีขันธกะ คือ กัมมัก-

ขันธกะ ปาริวาสิกักขันธกะ สมุจจยักขันธกะ

สมถักขันธกะ ขุททกวัตถุกขันธกะ เสนา-

สนักขันธกะ สังฆเภทักขันธกะ วัตตักขันธกะ

ปาติโมกขัฏฐปนักขันธกะ ภิกขุนิกขันธกะ

ปัญจสติกักขันธกะ และสัตตสติกักขันธกะ

จบแล้ว.