ไปหน้าแรก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระวินัยปิฎก

เล่มที่ ๔

มหาวรรค ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มหาขันธกะ

โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ

[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แรกตรัสรู้ประทับอยู่ ณ ควง

ไม้โพธิพฤกษ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์

ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลมและปฏิโลม ตลอด

ปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส.

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ

สังขารจึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปยาส จึงดับ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานคาถาที่ ๑

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏ

แก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความ

สงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป

เพราะมารู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ.

[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปฎิจจสมุปบาท เป็น

อนุโลม และปฏิโลมตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้ :-

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม

เพราะอวิชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส.

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจจสมุปาท ปฏิโลม

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ

สังขาร จึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาส จึงดับ.

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

พุทธอุทานคาถาที่ ๒

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่

พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความ

สงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป

เพราะได้รู้ความสั้นแต่งปัจจัยทั้งหลาย.

[๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็น

อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมันส อุปายาส.

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม

อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ

สังขาร จึงดับ

เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ

เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ

เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ

เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ

เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ.

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานคาถาที่ ๓

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏ

แก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น

พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้

ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.

โพธิกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก

มหาขันธกวรรณนา มหาวรรค

อปโลกถา

พระมหาเถระทั้งหลาย ผู้รู้เนื้อความในขันธกะ ได้สังคายนาขันธกะ

อันใด เป็นลำดับแห่งการสังคายนาปาติโมกข์ทั้ง ๒. บัดนี้ถึงลำคับสังวรรณนา

แห่งขันธกะนั้นแล้ว, เพราะฉะนั้น สังวรรณนานี้จึงเป็นแต่อธิบายความยังไม่

ชัดเจนแห่งขันธกะนั้น, เนื้อความเหล่าใด แห่งบทเหล่าใด ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ได้ประกาศแล้วในบทภาชนีย์ ถ้าว่าข้าพเจ้าจะต้องกล่าวซ้ำเนื้อความเหล่านั้น

แห่งบทเหล่านั้นอีกไซร้, เมื่อไรจักจบ. ส่วนเนื้อความเหล่าใดชัดเจนแล้ว จะมี

ประโยชน์อะไรด้วยการสังวรรณนาเนื้อความเหล่านั้น. ก็แลเนื้อความเหล่าใด

ยังไม่ชัดเจน ด้วยอธิบายและอนุสนธิ และด้วยพยัญชนะ เนื้อความเหล่านั้น

ไม่พรรณนาไว้ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะทราบได้. เพราะฉะนั้น จึงมีสังวรรณนา

นัยเนื้อความเหล่านนั้น ดังนี้:-

อรรถกถาโพธิกถา

ในคำว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา อุรุเวลาย วิหรติ นชฺชา

เนรญฺชราย ตีเร โพธิรุกฺขมูเล ปฐมาภิสมฺพุทฺโธ นี้.

ถึงจะไม่มีเหตุพิเศษเพราะตติยาวิภัตติ เหมือนในคำที่ว่า เตน สม-

เยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชย เป็นต้น ก็จริงแล, แต่โวหารนี้ ท่านยก

ขึ้นด้วยตติยาวิภัตติเหมือนกัน เพราะเพ่งวินัย เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ทราบสันนิษฐานว่า คำนั้นท่านกล่าวตามทำนองโวหารที่ยกขึ้นแต่แรกนั่น เอง.

ในคำอื่น ๆ นอกจากคำนี้ แม้อื่นอีกแต่เห็นปานนี้ก็นัยนั้น.

ถามว่า ก็อะไรเป็นประโยชน์ในการกล่าวคำนั้นเล่า ?.

ตอบว่า การแสดงเหตุทั้งแต่แรกแห่งวินัยกรรมทั้งหลาย มีบรรพชา

เป็นต้น เป็นประโยชน์.

จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ประโยชน์ในการกล่าวคำนั้น ก็คือการ

แสดงเหตุตั้งแต่แรกแห่งวินัยกรรมทั้งหลาย มีบรรพชาเป็นต้นเหล่านั้น อย่าง

นี้ว่า บรรพชาและอุปสมบทอันใด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตอย่างนี้

ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้

ดังนี้ และวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌายวัตร อาจริยวัตรเป็นต้นเหล่าใด ซึ่งทรง

อนุญาตในที่ทั้งหลายมีกรุงราชคฤห์เป็นต้น บรรพชาอุปสมบทและอุปัชฌาย-

วัตรเป็นต้น เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว ให้

๗ สัปคาห์ผ่านพ้นไปที่โพธิมัณฑ์ ทรงประกาศพระธรรมจักรในกรุงพาราณสี

แล้ว เสด็จถึงสถานนี้ ๆ โดยลำดับนี้ ทรงบัญญัติแล้วเพราะเรื่องนี้ ๆ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุรุเวลาย. ได้แก่ ที่แดนใหญ่. อธิบายว่า

ที่กองทรายใหญ่. อีกประการหนึ่ง ทราย เรียกว่าอุรุ, เขตคัน เรียกว่าเวลา.

แลพึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมาเพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน

ชื่ออุรุเวลา.

ได้ยินว่า ในอดีตสมัย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ กุลบุตรหมื่น

คนบวชเป็นดาบสอยู่ที่ประเทศนั้น วันหนึ่งได้ประชุมกันทำกติกาวัตรไว้ว่า

ธรรมดากายกรรม วจีกรรม เป็นของปรากฏแก่ผู้อื่นได้ ฝ่ายมโนกรรม หา

๑. มหาวคฺค ปฐม. ๔๒.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ปรากฏไม่ เพราะฉะนั้น ผู้ใดตรึกกามวิตกหรือพยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก

คนอื่นที่จะโจทผู้นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นต้องโจทคนด้วยคนเองแล้ว เอาห่อ

แห่งใบไม้ ขนทรายมาเกลี่ยในที่นี้ ด้วยตั้งใจว่า นี่พึงเป็นทัณฑกรรม จำเดิม

แต่นั้นมาผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมใช้ห่อแห่งใบไม้ขนทรายมาเกลี่ยในที่

นั้น. ด้วยประการอย่างนี้ กองทรายในที่นั้นจึงใหญ่ขึ้นโดยลำดับ. ภายหลังมา

ประชุมชนในภายหลัง จึงได้แวดล้อมกองทรายใหญ่นั้นทำให้เป็นเจดียสถาน.

ข้าพเจ้าหมายเอากองทรายนั้นกล่าวว่า บทว่า อุรุเวลาย ได้แก่ที่แดน

ใหญ่ อธิบายว่า ที่กองทรายใหญ่. หมายเอากองทรายนั้นเองกล่าวว่า อีก

ประการหนึ่ง ทราย เรียกว่าอุรุ, เขตคัน เรียกว่าเวลา. และพึงเห็นความใน

บทนี้ อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมา เพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่ออุรุเวลา.

บทว่า โพธิรุกฺขมูเล มีความว่า ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิญาณ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุโพธิญาณนั้นที่ต้นไม้นี้ เพราะฉะนั้นต้นไม้จึง

พลายได้นามว่า โพธิพฤกษ์ด้วย ที่โคนแห่งโพธิพฤกษ์นั้นชื่อว่า โพธิรุกขมูล.

บทว่า ปมาภิสมพุทฺโธ ได้แก่ แรกตรัสรู้. อธิบายว่า เป็นผู้

ตรัสรู้พร้อมเสร็จก่อนทุกอย่างทีเดียว.

บทว่า เอกปลฺลงฺเกน มีความว่า ประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์อันเดียว

ตามที่ทรงคู้แล้วเท่านั้น ไม่เสด็จลุกขึ้นแม้ครั้งเดียว.

บทว่า วิมุตฺติสุขปฏิสเวที มีความว่า เสวยวิมุตติสุข คือสุขที่เกิด

แต่ผลสมาบัติ.

๑. หรือว่าใบไม้สำหรับห่อ ตามนัยอรรถกถา สตฺติคุมฺพชาตก ที่ท่านชักมาไว้ไน มงฺคลตฺถทีปนี

ว่า ปตฺตปูฏสฺเสวาติ. . . ปลิเวจนปณฺณสฺเสว. น่าจะเป็นอย่างที่เรียกว่า กระทง คือเอาใบ

ไม้มาเย็บมากลัดติดกันเป็นภาชนะใส่ของได้. โนโยชนา ภาค ๒ หน้า ๑๖๗ แก้ว่า ปตฺตปูเฎ-

นาติ ปณฺณปูเฏน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาท ได้แก่ ปัจจยาการ. จริง ปัจจยาการท่าน

เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อาศัยกันและกัน ยังธรรม

ที่สืบเนื่องกันให้เกิดขึ้น. ความสังเขปในบทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาท นี้ เท่านี้.

ส่วนความพิสดาร ผู้ปรารถนาวินิจฉัยที่พร้อมมูลด้วยอาการทั้งปวง พึงถือเอา

จากวิสุทธิมรรค และมหาปกรณ์.

บทว่า อนุโลมปฏิโลม มีวิเคราะห์ว่า ตามลำดับด้วย ทวนลำดับ

ด้วย ชื่อว่าทั้งตามลำดับทั้งทวนลำดับ. ผู้ศึกษาพึงเห็นความในบทอย่างนี้แล

ว่า ในอนุโลมและปฏิโลมทั้ง ๒ นั้น ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ที่ท่านกล่าว

โดยนัยว่า อวิชิชาปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้ เรียกว่า อนุโลม เพราะทำกิจที่ตน

พึงทำปัจจยาการนั้นนั่นเอง ที่ท่านกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า อวิชฺชาย เตฺวว

อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ดังนี้ เมื่อดับเพราะนิโรธ คือไม่

เกิดขึ้นย่อมไม่ทำกิจนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปฏิโลม เพราะไม่ทำกิจนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ปัจจยาการที่กล่าวแล้ว ตามนัยก่อนนั่นแล เป็นไปตาม

ประพฤติเหตุ นอกนี้เป็นไปย้อนประพฤติเหตุ. ก็แลความเป็นอนุโลมและปฎิโลม

ในปัจจยาการนี้ ยังไม่ต้องด้วยเนื้อความอื่นจากนี้ เพราะท่านมิได้กล่าวตั้งแต่

ต้นจนปลายและตั้งแต่ปลายจนถึงต้น.

บทว่า มนสากาสิ ตัดบทว่า มนสิ อกาสิ แปลว่า ได้ทำในพระหฤทัย

ในอนุโลมและปฏิโลมทั้ง ๒ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำในพระหฤทัย

ด้วยอนุโลมด้วยประการใด เพื่อแสดงประการนี้ก่อนพระธรรมสังคาหกาจารย์

จึงกล่าวคำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น. ในคำนั้นผู้ศึกษาพึงทราบ

ความในทั้งปวงโดยนัยนี้ว่า อวิชฺชานี้ด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น ชื่อ

๑. วิ. ปญฺา. ตติย. ๑๐๗.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ว่า อวิชชาเป็นปัจจัย, สังขารทั้งหลายย่อมเกิดพร้อม เพราะอวิชชาอันเป็น

ปัจจัยนั้น ความสังเขปในบทว่า มนสากาสิ นี้เท่านี้. ส่วนความพิสดารผู้ต้อง

การวินิจฉัยที่พร้อมมูลด้วยอาการทุกอย่าง พึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค สัมโมห-

วิโนทนี และอรรถกถาแห่งมหาวิภังค์. และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำใน

พระหฤหัย โดยปฏิโลมด้วยประการใด เพื่อแสดงประการนี้ ท่านจึงกล่าวคำว่า

อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เป็นต้น.

ในคำนั้นพึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว ตัดบทว่า

อวิชฺชาย ตุ เอว.

บทว่า อเสสวิราคนิโรธา มีความว่า เพราะดับไม่เหลือด้วยมรรค

กล่าวคือวิราคะ.

บทว่า สงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือความไม่เกิดขึ้นแห่ง

สังขารทั้งหลาย. ก็แลเพื่อแสดงว่า ความดับแห่งวิญญาณ จะมีก็เพราะดับแห่ง

สังขารทั้งหลายที่ดับไปแล้วอย่างนั้น และธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น. จะ

เป็นธรรมที่ดับดีแล้วทีเคียว ก็เพราะดับแห่งธรรมทั้งหลายมีวิญญาณเป็นต้น

ท่านจึงกล่าวคำว่า สงฺขารนิโรธา วิญฺาณนิโรโธ เป็นต้น แล้วกล่าว

คำว่า กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้เป็นอันดับไปด้วยประการอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ทั้งมวลหรือล้วน ความว่า

ปราศจากสัตว์.

บทว่า ทุกฺขกฺขนฺธสฺส ได้แก่กองทุกข์.

สองบทว่า นิโรโธ โหติ มีความว่า ความไม่เกิดย่อมมี.

๑. วิ. ปญฺา. ตติยะ. ๑๒๔. ๒. สมฺ. วิ. ๑๖๘.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

สองบทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา มีความว่า เนื้อความนี้ใดที่พระ-

ธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า กองทุกข์มีสังขารเป็นต้น เป็นอันเกิคขึ้นด้วย

อำนาจแห่งปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น และเป็นอันดับไปด้วยอำนาจดับแห่งปัจจัย

มีอวิชชาเป็นต้นดังนี้ ทรงทราบเนื้อความนั้นด้วยอาการทั้งปวง.

สองบทว่า ตาย เวลาย ได้แก่ ในเวลาที่ทรงทราบเนื้อความนั้น ๆ.

บทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทานชึ่งมี

ญาณอันสัมปยุตด้วยโสมนัสเป็นเดนเกิด มีคำว่า ยทา ทเว ปาตุภวนฺติ

เป็นต้น ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งความทรงทราบเหตุและธรรมที่เกิดแต่เหตุ ใน

เนื้อความที่ทรงทราบแล้วนั้น มีคำอธิบายว่า ทรงเปล่งพระวาจาแสดงความ

เบิกบานพระหฤทัย.

เนื้อความแห่งอุทานนั้นว่า บทว่า ยทา หเว ได้แก่ ในกาลใดแล.

บทว่า ปาตุภวนฺติ ได้แก่ ย่อมเกิด. โพธิปักขิยธรรม ซึ่งให้

สำเร็จความตรัสรู้ปัจจยาการโดยอนุโลม ชื่อว่าธรรม.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาตุภวนฺติ มีความว่า แจ่มแจ้ง คือเป็น

ของชัดเจน ปรากฏด้วยอำนาจความรู้ตรัสรู้. ธรรมคืออริยสัจ ๔ ชื่อว่าธรรม.

ความเพียรเรียกว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่าย่างกิเลสให้ร้อน.

บทว่า อาตาปิโน ได้แก่ ผู้มีความเพียรอันบุคคลพึงตั้งไว้ชอบ.

บทว่า ฌายโต มีความว่า ผู้เพ่งด้วยฌาน ๒ คือ ด้วยการกำหนดคือ

อารัมมณูปนิชฌาน ๑ ด้วยการกำหนดคือลักขณูปนิชฌาน ๑.

บทว่า พฺราหฺมณสฺส ได้แก่ พระขีณาสพผู้ลอยบาปแล้ว.

หลายบทว่า อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ มีความว่า เมื่อนั้นความ

สงสัยของพราหมณ์นั้น คือผู้มีธรรมปรากฏแล้วอย่างนั้นย่อมสิ้นไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

บทว่า สพฺพา มีความว่า ความสงสัยในปัจจยาการที่ท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อเขาถามว่า ใครเล่าหนอ ? ย่อมถูกต้องพระเจ้าข้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ปัญหาไม่สมควรแก้ ดังนี้ และโดยนัยเป็นต้นว่า

เมื่อเขาถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ชราและมรณะเป็นอย่างไรหนอ. ก็แล

ชราและมรณะนี้จะมีแก่ใคร ?. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ปัญหาไม่สมควร

แก้. ดังนี้ และความสงสัย ๑๖ อย่างเป็นต้นว่า ในอดีตกาลเราได้มีแล้ว

หรือหนอ ? ซึ่งมาแล้วเพราะยังไม่ได้ตรัสรู้ปัจจยาการนั่นเอง (เหล่านี้) ทั้งหมด

ย่อมสิ้นไป คือย่อมปราศจากไป ย่อมดับไป. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่

มาทราบธรรมพร้อมทั้งเหตุ. มีอธิบายว่า เพราะทราบ คือทราบชัด ตรัสรู้

ธรรมคือกองทุกข์ทั้งมวล มีสังขารเป็นต้นพร้อมทั้งเหตุ ด้วยเหตุมีอวิชชา

เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยวาร:-

สามบทว่า อิม อุทาน อิทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทาน

มีประการดังกล่าวแล้วนี้ ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งความตรัสรู้ ความสิ้นปัจจัย

กล่าวคือนิพพานซึ่งปรากฏแล้วอย่างนี้ว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา

สงฺขารนิโรโธ ในเนื้อความที่ทรงทราบแล้วนั้น.

ความสังเขปในอุทานนั้นดังนี้ต่อไปนี้:-

เพราะได้รู้ คือได้ทราบชัดได้ตรัสรู้นิพพานกล่าวคือความสิ้นปัจจัย

ทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายมีประการดังกล่าวแล้วปรากฏแก่พราหมณ์นั้น

ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทุกอย่างที่จะพึงเกิดขึ้นเพราะไม่รู้นิพพาน

ย่อมสิ้นไป.

๑. ส. นิ. ๑๖ /ข้อ ๓๓ ๒. ส. นิ. ๑๖/ข้อ ๑๒๙

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

พึงทราบวินิจฉัยในตติยวาร:-

สามบทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ มีความว่า ทรงเปล่งอุทาน

มีประการดังกล่าวแล้วนี้ ซึ่งแสดงอานุภาพแห่งอริยมรรคที่เป็นเหตุ ทรงทราบ

เนื้อความกล่าวคือความเกิดและความดับแห่งกองทุกข์นั้น ด้วยอำนาจกิจ

และด้วยทำให้เป็นอารมณ์.

ความสังเขปในอุทานนั้นดังต่อไปนี้:- เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย

ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้นย่อมกำจัด เสนา

มารด้วยโพธิปักขิยธรรมซึ่งเกิดแล้วเหล่านั้น หรือด้วยอริยมรรคเป็นเครื่อง

ปรากฏแห่งจตุสัจจธรรมาดำรงอยู่ ข้อว่า วิธูปย ติฏฺติ มารเสน ความ

ว่า ย่อมกำจัด คือผจญ ปราบเสนามาร มีประการดังกล่าวแล้ว โดยนัยเป็น

ต้นว่า การทั้งหลาย เป็นเสนาที่ ๑ ของท่านดังนี้ ดำรงอยู่.

ถามว่า กำจัดอย่างไร ?

ตอบว่า เหมือนพระอาทิตย์ส่องอากาศให้สว่างฉะนั้น.

อธิบายว่า พระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว เมื่อส่องอากาศให้สว่างด้วย

รัศมีของตนแล ชื่อว่ากำจัดมืดเสีย ข้อนี้ฉันใด. พราหมณ์แม้นั้นเมื่อตรัสรู้

สัจจะทั้งหลายด้วยธรรมเหล่านั้นหรือด้วยมรรคนั้นแล ชื่อว่ากำจัดเสนามารเสีย

ได้ ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบสันนิษฐานว่าใน ๓ อุทาน

นี้ อุทานที่ ๑ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความพิจารณาปัจจยาการ อุทานที่ ๒ เกิดขึ้น

ด้วยอำนาจความพิจารณาพระนิพพาน อุทานที่ ๓ เกิดขึ้นด้วยอำนาจความ

พิจารณามรรค ด้วยประการฉะนี้.

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๕.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ส่วนในอุทาน ท่านกล่าวว่า ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดย

อนุโลมตลอดยามต้นแห่งราตรี โดยปฏิโลมตลอดยามที่ ๒ โดยอนุโลมและปฏิ-

โลมตลอดยามที่ ๓ คำนั้นท่านกล่าวหมายเอามนสิการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ให้เกิดขึ้นตลอดราตรี ด้วยทรงตั้งพระหฤทัยว่า พรุ่งนี้เราจักลุกจากอาสนะ

เพราะครบ ๗ วัน. จริงอยู่ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงพิจารณาส่วน

อันหนึ่ง ๆ เท่านั้น ตลอดปฐมยาม และมัชฌิมยาม ด้วยอำนาจแห่งความทราบ

ชัดซึ่งปัจจยาการ และความบรรลุความสิ้นปัจจัย ซึ่งมีอานุภาพอันอุทานคาถา

๒ เบื้องต้นแสดงไว้ แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพิจารณาอย่างนั้น

ในราตรีวันปาฏิบท. จริงอยู่ ในราตรีเพ็ญวิสาขมาส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ระลึกปุพเพนิวาสในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิยามทรงพิจารณา

ปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลมในปัจฉิมยาม ทรงบรรลุความเป็นพระ

สัพพัญญูในขณะที่จะพึงกล่าวว่า อรุณจักขึ้นเดี๋ยวนี้. อรุณขึ้นในเวลาติดต่อ

กับเวลาที่ได้ทรงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูทีเดียว. แต่นั้นพระองค์ทรงปล่อย

วันนั้นให้ผ่านพ้นไปด้วยการนั่งขัดสมาธิฉะนั้นแล แล้วทรงพิจารณาอย่างนั้น

เปล่งอุทานเหล่านั้น ในยามทั้ง ๓ แห่งราตรีวันปาฏิบทที่ถึงพร้อมแล้ว. พระผู้

มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอย่างนั้นในราตรีวันปาฏิบท ให้ ๗ วันที่ท่านกล่าว

อย่างนี้ว่า ประทับนั่งด้วยบัลลังก์อันเดียว ที่โพธิรุกขมูลตลอด ๗ วัน. นั้น

ผ่านพ้นไปที่โพธิรุกขมูลนั้นแล ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาโพธิกถา จบ

๑. ขุ. อุ. ๒๕/๓๘

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

อชปาลนิโครธกถา

เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ

[๔] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น

เสด็จจากควงไม้โพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วย

บัลลังก์เดียวเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้อชปาลนิโครธตลอด ๗ วัน.

ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติคนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึง

แล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็น

ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พราหมณ์

นั้นครั้นได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคตม บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่า

ไรหนอ ก็แลธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้.

พุทธอุทานคาถา

พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสีย

แล้ว ไม่ตวาดผู้อื่นว่า หึหึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำ

ฝาด มีตนสำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท มี

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้นไม่มี

กิเลสเครื่องฟูขึ้น ในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก

ควรกล่าวถ้อยคำว่า ตนเป็นพราหมณ์โดย

ธรรม.

อชปาลนิโครธกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

อรรถกถาอชปาลนิโครธกถา

ในคำว่า อถ โข ภควา ตสฺส สตฺตาหสฺส อจฺจเยน ตมฺหา

สมาธิมฺหา วุฏฺหิตฺวา โพธรุกฺขมูลา, เยน อชปาลนิโคตรโธ เตนุป-

สงฺกมิ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยดังนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จเข้าไปที่ต้นอชปาล-

นิโครธ จากโคนโพธิพฤกษ์ ในทันทีทีเดียวหามิได้ เหมือนอย่างว่าในคำที่

พูดกัน ว่า ผู้นี้กินแล้วก็นอน จะได้มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า เขาไม่ล้างมือ ไม่

บ้วนปาก ไม่ไปใกล้ที่นอน ไม่ทำการเจรจาปราศรัยอะไรบ้าง อย่างอื่น แล้ว

นอน หามิได้ แต่ในคำนี้มีความหมายที่ผู้กล่าวแสดงดังนี้ว่า เขานอนภายหลัง

แต่การรับประทาน เขาไม่ได้นอนหามิได้ ข้อนี้ฉันใด แม้ในคำนี้ ก็ฉันนั้น

จะได้คำอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จหลีกไปใน

ทันทีทีเดียว หามิได้ ที่แท้ในคำนี้ มีความหมายที่ท่านผู้กล่าวแสดงดังนี้ ว่า

พระองค์เสด็จหลีกไปภายหลังแต่การออก ไม่ได้เสด็จหลีกไปหามิได้.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จหลีกไปในต้นทีแล้ว ได้ทรงทำ

อะไรเล่า ?.

ตอบว่า ได้ทรงให้ ๓ สัปดาห์แม้อื่นอีกผ่านพ้นไปในประเทศใกล้เคียง

โพธิพฤกษ์นั่นเอง.

ในข้อนั้น มีอนุปุพพีกถาดังนี้:- ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประทับนั่งด้วยการนั่งชัดสมาธิอันเดียว สัปดาห์

๑ เทวดาบางพวกเกิดความแคลงใจขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จลุกขึ้น

ธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า แม้อื่น จะมีอีกละกระมัง ? ลำดับนั้น พระ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ผู้มีพระภาคเจ้าออกจากสมาบัติในวันที่ ๘ ทรงทราบความแคลงใจของเหล่า

เทวดา เพื่อตัดความแคลงใจจึงทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงยมกปาฏิหาริย์

กำจัดความแคลงใจของเหล่าเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับยืนจ้องดูด้วยพระเนตร

มิได้กระพริบ ซึ่งพระบังลังก์ และโพธิพฤกษ์ อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่ง

พระบารมีที่ทรงสร้างมาตลอด ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ ให้สัปดาห์ ๑ ผ่าน

พ้นไปทางด้านทิศอุดรเฉียงไปทางทิศปราจีนหน่อยหนึ่ง (ทิศอีสาน) แต่พระ

บัลลังก์ สถานที่นั้น ชื่ออนิมมิสเจดีย์

ลำดับนั้น เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมอันยาวยืดไปข้างหน้าและข้าง

หลังระหว่างพระบัลลังก์กับที่เสด็จประทับยืน (อนิมมิสเจดีย์) สัปคาห์ ๑ ผ่าน

พ้นไป. สถานที่นั้น ชื่อรัตนจงกรมเจดีย์.

ต่อจากนั้น เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วขึ้นทางด้านทิศประจิม พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฏก

คือสมันตปัฏฐาน ซึ่งมีนัยไม่สิ้นสุดในอภิธรรมปิฏกนี้ โดยพิสดารให้สัปดาห์ ๑

ผ่านพ้นไป. สถานที่นั้น ชื่อรัตนฆรเจดีย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ ๔ สัปดาห์ผ่านพ้นไป ในประเทศใกล้เคียง

โพธิพฤกษ์นั่นเอง จึงในสัปดาห์คำรบ ๕ เสด็จจากโคนโพธิพฤกษ์เข้าไปที่ต้น

อชปาลนิโครธ ด้วยประการฉะนี้.

ได้ยินว่า คนเลี้ยงแพะไปนั่งที่ร่มเงาแห่งต้นนิโครธนั้น เพราะเหตุ

นั้น ต้นนิโครธจึงเกิดชื่อว่า อชปาลนิโครธ.

สองบทว่า สตฺตาห วิมุตฺติสุขปฏิสเวที มีความว่า เมื่อทรง

พิจารณาธรรมอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธแม้นั้นนั่นแล ชื่อว่าประทับเสวยวิมุตติสุข

ต้นไม้นั้น อยู่ด้านทิศตะวันออกจากต้นโพธิ. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ประทับนั่งอย่างนั้นที่ต้นอชปาลนิโครธนี้ พราหมณ์คนหนึ่งได้มาทูลถามปัญหา

กะพระองค์. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อถ โข

อญฺตโร เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หุหุกชาติโก มีความว่า ได้ยินว่า

พราหมณ์นั้น ชื่อทิฏฐมังคลิกะ เที่ยวตวาดว่า หึหึ ด้วยอำนาจความถือตัว และ

ด้วยอำนาจความโกรธ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกแกว่า พราหมณ์หุงหุงกะชาติ

บางอาจารย์ก็กล่าวว่า พราหมณ์หุหุกชาติบ้าง.

สองบทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบใจความสำคัญแห่งคำที่แกกล่าวนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น.

เนื้อความแห่งอุทานนั้นว่า พราหมณ์ใด ชื่อว่าเป็นพราหมณ์

เพราะมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว จึงได้เป็นผู้ประกอบด้วยบาปธรรมมีกิเลส

เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ และกิเลสดุจน้ำฝากเป็นต้น เพราะด่าที่มาถือว่า สิ่งที่

เห็นแล้วเป็นมงคล ปฏิญาณข้อที่ตนเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าชาติอย่างเดียว

หามิได้ พราหมณ์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีบาปธรรมอันลอยแล้ว เพราะเป็นผู้ลอย

บาปธรรมเสีย ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เพราะมาละกิเลส

เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เสียได้ ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสดุจน้าฝาด เพราะไม่มีกิเลส

ดุจน้ำฝาดมีราคะเป็นต้น ชื่อว่ามีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตประกอบด้วย

ภาวนานุโยค อนึ่ง ชื่อว่าผู้มีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตสำรวมแล้วด้วย

ศีลสังวร ชื่อว่าผู้จบเวทแล้ว เพราะเป็นผู้ถึงทีสุดด้วยเวททั้งหลาย กล่าวคือ

จตุมรรคญาณ หรือเพราะเป็นผู้เรียนจบไตรเพท ชื่อว่าผู้จบพรหมจรรย์แล้ว

เพราะพรหมจรรย์คือมรรค ๔ อันตนได้อยู่เสร็จแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

บาทพระคาถาว่า ธมฺเมน โส พฺรหฺมวาท วเทยฺย มีความว่า

กิเลสเครื่องฟูขึ้น ๕ อย่างนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ในเพราะ

อารมณ์น้อยหนึ่ง คือว่า แม้ในเพราะอารมณ์อย่างหนึ่ง ในโลกทั้งมวลไม่มีแก่

พราหมณ์ใด พราหมณ์นั้นโดยทางธรรม ควรกล่าววาทะนี้ว่า เราเป็นพราหมณ์.

เมฆที่เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่ถึงฤดูฝน ชื่อว่า อกาลเมฆ ก็แลเมฆนี้เกิด

ขึ้นในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน.

บทว่า สตฺตาหวทฺทลิกา มีความว่า เมื่ออกาลเมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว

ได้มีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน.

บทว่า สีตวาตทุทฺทินี มีความว่า ก็แลฝนตกพรำตลอด ๗ วันนั้น

ได้ชื่อว่า ฝนเจือลมหนาว เพราะเป็นวันที่ลมหนาวเจือเม็ดฝนพัดวนไปโดย

รอบโกรกแล้ว.

อรรถกถาอชปาลนิโครธกถา จบ

มุจจลินทกถา

เรื่องมุจลินทนาคราช

[๕] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น

เสด็จจากควงไม้อชปาลนิโครธเข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วย

บัลลังก์เดียวเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลม

หนาว ตลอด ๗ วัน ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตนได้แวด

วงพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขนด ๗ รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่เหนือพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

เศียรสถิตอยู่ด้วยหวังใจว่า ความร้อน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า

สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่ง

ปราศจากฝนแล้ว จึงคลายขนดจากพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า จำแลงรูป

ของตนเป็นเพศมาณพ ได้ยืนประคองอัญชลีถวายมันสการพระผู้มีพระภาค

เจ้าทางเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

พุทธอุทานกถา

ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ

มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่พยาบาท

คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขใน

โลก ความปราศจากกำหนัด คือความล่วง

กามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก การกำ

จัดอัสมิมานะเสียได้นั้นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง.

มุจจลินทกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

อรรถกถามุจจลินทกลา

หลายบทว่า อถ โข มุจฺจลินฺโท นาคราชา มีความว่า พระยานาค

ผู้มีอานุภาพใหญ่ เกิดขึ้นที่สระโบกรณีใกล้ต้นไม้จิกนั่นเอง.

หลายบทว่า สตฺตกฺขตฺตุ โภเคหิ ปริกฺขิปิตฺวา มีความว่า

เมื่อพระยานาคนั้นวงรอบพระกาย ด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปก

เบื้องบนพระเศียรอยู่อย่างนั้น ร่วมในแห่งวงขนดของพระยานาคนั้น มีประมาณ

เท่าห้องเรือนคลังในโลหปราสาท, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น

เหมือนประทับนั่งในปราสาทอันอับลม มีประตูหน้าต่างปิด.

คำว่า มา ภควนฺต สีต เป็นต้น แสดงเหตุที่พระนาคนั้น

ทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นได้ทำอย่างนั้น ก็ด้วยตั้งใจว่า หนาวอย่า

ได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า. ร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า

และสัมผัสเหลือบเป็นต้น อย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง

เมื่อมีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ในที่นั้น ไม่มีความร้อนเลย. ถึงอย่างนั้น

ก็สมควรที่พระยานาคนั้นจะคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเมฆจะหายไประหว่าง ๆ ความ

ร้อนคงจะมี แม้ความร้อนนั้นอย่าได้เบียดเบียนพระองค์เลย.

บทว่า วทฺธ ได้แก่ หายแล้ว อธิบายว่า เป็นของมีไกลเพราะหมด

เมฆ.

บทว่า วิคตวลาหก ได้แก่ ปราศจากเมฆ.

บทว่า เทว ได้แก่ อากาศ.

บทว่า สกวณฺณ ได้แก่ รูปของตน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพาน

เป็นสุข.

บทว่า ตุฏฺสฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ.

บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.

บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรม

อย่างใดย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุ

ด้วยกำลังความเพียรของตน.

ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน.

ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย

บทว่า ความไม่เบียนเบียดนั้น.

สองบทว่า ปาณภูเตสุ สญฺโม มีความว่า และความสำรวม

ในสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข.

ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย

บทว่า ความสำรวมนั้น.

บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีดวามว่า แม้ความปราศจาก

กำหนัด ก็จัดเป็นความสุข.

ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร ?

ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย.

อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกาม

ทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิ-

มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.

๑. สุต ศัพท์ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า ปรากฏ. เช่นอ้างไว้ใน สุมงฺคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๗.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ส่วนพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำนี้ว่า ความกำจัด

อัสมิมานะเสีย. จริงอยู่ พระอรหัตท่านกล่าวว่าเป็นความกำจัดด้วยระงับ

อัสมิมานะ. ก็ขึ้นชื่อว่าสุขอื่นจากพระอรหัตนี้ไม่มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.

อรรถกถามุจจสินทกถา จบ

ราชายตนกถา

เรื่องตปุสสะภัลลิะ ๒ พ่อค้า

[๖] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น

แล้วเสด็จจากควงไม้มุจจลินท์ เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วย

บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ราชายตนะ ตลอด ๗ วัน

ก็สมัยนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑ เดินทางไกลจากอุกกลชนบท

ถึงตำบลนั้น ครั้งนั้น เทพดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า

ได้กล่าวคำนี้กะ ๒ พ่อค้านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นี้ แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไป

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยสัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของท่าน

ทั้งสองนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน.

ครั้งนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ ถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวายบังคม ได้ยีนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

สองพ่อค้านั้นครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แค่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้พระภาคเจ้าจงทรงรับสัตตุผง

สัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข

แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

ปริวิตกว่า พระตถาคตทั้งหลาย ไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผง และ

สัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ ทรงทราบพรูปริวิตกแห่งจิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก ๔ ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จ

ด้วยศิลา ๔ ใบเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจงทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผง

และสัตตุก้อน แล้วเสวย.

ครั้งนั้น พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

และพระธรรมว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้า

ทั้งสองว่าเป็นอุบายสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ก็นายพาณิชสองคนนั้น ได้เป็นอุบายสกล่าวอ้าง ๒ รัตนะ เป็นชุดแรก

ในโลก.

ราชายตนกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

อรรถกถาราชายตนกถา

บทว่า มุจฺจลินฺทมูลา ได้แก่ จากโคนต้นไม้จิก ซึ่งทั้งอยู่ในแถบ

ทิศปราจีนแต่มหาโพธิ์.

บทว่า ราชายตน มีความว่า เสด็จเข้าไปยังโคนไม้เกต ซึ่งตั้งอยู่

ด้านทิศทักษิณ.

ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน มีคำถามว่า โดยสมัยไหน ?

ตอบว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งด้วยการนั่งขัดสมาธิอย่างเดียวตลอด

๗ วันที่โคนต้นไม้เกต ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า ต้องมีกิจเนื่องด้วยพระ

กระยาหาร จึงทรงน้อมถวายผลสมอเป็นพระโอสถ ในเวลาอรุณขึ้น ณ วันที่

ทรงออกจากสมาธิทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยผลสมอพระโอสถนั้น พอ

เสวยเสร็จเท่านั้น ก็ได้มีกิจเนื่องด้วยพระสรีระ ท้าวสักกะได้ถวายน้ำบ้วนพระ

โอษฐ์แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบ้วนพระโอษฐ์แล้วประทับนั่งที่โคนต้นไม้

นั้นนั่นแล. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในเมื่ออรุณขึ้นแล้ว ด้วยประการ

อย่างนั้น. ก็โดยสมัยนั้นแล.

สองบทว่า ตปุสฺสภลฺลกา วาณิชา ได้แก่ พานิชสองพี่น้อง คือ

ตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑.

บทว่า อุกฺกลา ได้แก่ จากอุกกลชนบท.

สองบทว่า ต เทส มีความว่า สู่ประเทศเป็นที่เสด็จอยู่ของพระผู้มี

พระภาคเจ้า.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในประเทศไหนเล่า ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ตอบว่า ในมัชฌิมประเทศ. เพราะฉะนั้น ในคำนี้จึงมีเนื้อความดังนี้

สองพานิชนั้น เป็นผู้เดินทางไกล เพื่อไปยังมัชฌิมประเทศ.

สองบทว่า าติสาโลหิตา เทวตา ได้แก่ เทวดาผู้เคยเป็นญาติ

ของสองพานิชนั้น.

สองบทว่า เอตทโวจ มีความว่า ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้บันดาล

ให้เกวียนทั้งหมดของพานิชนั้นหยุด. ลำดับนั้น เขาทั้งสองมาใคร่ครวญดูว่า

นี่เป็นเหตุอะไรกัน ? จึงได้ทำพลีกรรมแก่เทวดาผู้เป็นเจ้าทางทั้งหลาย. ในเวลา

ทำพลีกรรมของเขา เทวดานั้นสำแดงกายให้เห็น ได้กล่าวคำนี้.

สองบทว่า มนฺเถน จ มธุปิณฺฑิกาย จ ได้แก่ ข้าวสัตตุผง และ

ข้าวสัตตุก้อน ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลเป็นต้น .

บทว่า ปฏิมาเนถ ได้แก่ จงบำรุง.

สองบทว่า ต โว มีความว่า ความบำรุงนั้น จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน.

สองบทว่า ย อมฺหาก มีความว่า การรับอันใดจะพึงมีเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เหล่าข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.

สองบทว่า ภควโต เอตทโหสิ มีความว่า ได้ยินว่า บาตรใดของ

พระองค์ได้มีในเวลาทรงประกอบความเพียร บาตรนั้นได้หายไปแต่เมื่อนาง

สุชาดามาถวายข้าวปายาส. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงได้ทรงมีพระรำพึงนี้

ว่า บาตรของเราไม่มี ก็แลพระตถาคตทั้งหลายองค์ก่อน ๆ ไม่ทรงรับด้วย

พระหัตถ์เลย. เราจะพึงรับข้าวสัตตุผงและข้าวสัตตุก้อนปรุงน้ำผึ้งด้วยอะไรเล่า

หนอ ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

บทว่า ปริวุตกฺกมญฺาย มีความว่า กระยาหารที่นางสุชาดา

ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าในกาลก่อนแต่นี้ ยังคงอยู่ด้วยอำนาจที่หล่อเลี้ยง

โอชะไว้ ความหิว ความกระหาย ความเป็นผู้มีกายอิดโรยหาได้มีไม่ ตลอด

กาลเท่านี้ ก็บัดนี้พระรำพึงโดยนัยเป็นต้นว่า นโข ตถาคตา ได้เกิดขึ้น ก็

เพราะพระองค์ใคร่จะทรงรับพระกระยาหาร ทราบพระรำพึงในพระหฤทัยของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเกิดขึ้นอย่างนั้นด้วยใจของตน.

บทว่า จตุทฺทิสา คือจาก ๔ ทิศ.

สองบทว่า เสลมเย ปตฺเต ได้แก่ บาตรที่แล้วด้วยศิลามีพรรณ

คล้ายถั่วเขียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับบาตรนแล. คำว่าบาตรแล้วด้วย

ศิลา ท่านกล่าวหมายเอาบาตรเหล่านี้. ก็ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้น้อมถวาย

บาตรแล้วด้วยแก้วอินทนิล ก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรับบาตรเหล่านั้น.

ลำดับนั้นจึงน้อมถวายบาตรแล้วด้วยศิลา มีพรรณดังถั่วเขียวทั้ง ๔ บาตรนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรับทั้ง ๔ บาตรเพื่อต้องการจะรักษาความเลื่อมใสของ

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ไม่ใช่เพราะความมักมาก. ก็แลครั้นทรงรับแล้ว ได้

ทรงอธิษฐานบาตรทั้ง ๔ ให้เป็นบาตรเดียว ผลบุญแห่งท้าวเธอทั้ง ๔ ได้เป็น

เช่นเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับข้าวสัตตุผงและข้าวสัตตุก้อนปรุงน้ำผึ้ง

ด้วยบาตรศิลามีค่ามาก ที่ทรงอธิษฐานให้เป็นบาตรเดียวด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ปจฺจคฺเฆ คือ มีค่ามาก อธิบายว่า แต่ละบาตรมีค่ามาก.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปจฺจคฺเฆ ได้แก่ ใหม่เอี่ยม คือ เพิ่งระบมเสร็จ

ความว่า เกิดในขณะนั้น. เขาชื่อว่ามีวาจาสอง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ได้

เป็นผู้มีวาจาสอง. อีกอย่างหนึ่ง ความว่าสองพานิชนั้น ถึงความเป็นอุบายสก

๑. มีพรรณเขียวเลื่อมประภัสสร ดังแสงปีกแมลงทับ ในคำหรับไสยศาสตร์ชื่อว่าแก้วมรกต.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ด้วยวาจาสอง. สองพานิชนั้นครั้นประกาศความเป็นอุบายสกอย่างนั้นแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทีนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์พึงทำการอภิวาท

และยืนรับใครเล่า พระเจ้าข้า ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลูบพระเศียร. พระเกศา

ติดพระหัตถ์ ได้ประทานพระเกศาเหล่านั้น แก่เขาทั้งสอง ด้วยตรัสว่าท่านจง

รักษาผมเหล่านี้ไว้. สองพานิชนั้น ได้พระเกศธาตุราวกะได้อภิเษกด้วย

อมตธรรม รื่นเริงยินดีถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป.

อรรถกถาราชายตนกถา จบ

อัปโปสสุกกกถา

เรื่องความขวนขวายน้อย

[๗] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น แล้ว

เสด็จจากควงไม้ราชายตนะ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ ทราบว่า พระองค์

ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธนั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัดหลีกเร้น

อยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็น

คุณอันลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความ

ตรึก ละเอียดเป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย

ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็น

ต้นนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดชั้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีใน

อาลัย. ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท

หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ด

เหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.

อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับ ในกาลก่อน ปรากฏแก่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าดังนี้:-

อนัจฉริยคาถา

บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรม

ที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อัน

สัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัส

รู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้วถูกกอง

อวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละ-

เอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อัน

จะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือพระ

นิพพาน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไป

เพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

พรหมยาจนกถา

เรื่องพรหมทูลอารธนา

[๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้-

มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้วเกิดความปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบ

หายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อม

พระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ลำดับนั้น ท้าวสหับดีพรหมได้หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ ณ

เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้

แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าคุกชาณุมณฑลเบื้องขวา

ลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีภาคเจ้าแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มี.

พระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงแสดงธรรม

ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุ

น้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถา

ต่อไปว่า:-

พรหมนิคนคาถา

เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมี

มลทินทั้งหลาย คิดแล้วได้ปรากฏในมคธชน-

บท ขอพระองค์ได้โปรดทรงเปิดประตูแห่ง

อมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมที่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดมลทินตรัสรู้

แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุยืน

อยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา พึง

เห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์

ผู้มีปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอ

พระองค์ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขั้น สู่

ปราสาท อันสำเร็จด้วยธรรม แล้วทรง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

พิจารณาชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วยความโศก

ผู้อันชาติและชราครอบงำแล้ว มีอุปมัยฉัน

นั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ทรง

ชนะสงความ ผู้นำหมู่หาหนี้มิได้ ขอพระ-

องค์จงทรงอุตสาหะเที่ยวไปในโลกเถิด ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมเพราะ

สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.

ทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว

[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบคำทูลอาราธนาของ

พรหมและทรงอาศัยความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ

เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสใน

จักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์

อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ที่จะสอน

ให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปรกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.

มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอก

บุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ

บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่

พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์

ทั้งหลาย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก

บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

มีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมี

ปรกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น เหมือนกัน ครั้นแล้วได้

ตรัสดาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-

เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์

เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูก่อน

พรหม เพราะเรามีความสำคัญในความลำ-

บาก จงไม่แสดงธรรมที่เราคล่องแคล่ว

ประณีต ในหมู่มนุษย์.

ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน

โอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ

แล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

พรหมยาจนกถา จบ

อรรถกถาพรหมยาจนกถา

ครั้งนั้นแล พอล่วงเจ็ดวัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาธินั้น

เสร็จกิจทั้งปวงมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล ออกจากโคนต้นไม้เกต เสด็จเข้า

ไปยังต้นอชปาลนิโครธแม้อีก.

สองบทว่า ปริวิตกโก อุทปาทิ มีความว่า ความรำพึงแห่งใจนี้

ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพระพฤติกันมาเป็นอาจิณเกิดขึ้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าผู้พอประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธนั้นเท่านั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ความรำพึงแห่งใจนี้ จึงเกิดขึ้นแก่พระพุทธ-

เจ้าทุกพระองค์ ?

ตอบว่า เพราะทรงพิจารณาชื่อที่พระธรรมเป็นคุณใหญ่ เป็นคุณเลิศ

ลอย เป็นของหนัก และเพราะเป็นผู้ใคร่จะทรงแสดงตามคำที่พรหมทูลวิ่งวอน.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงทราบว่า เมื่อพระองค์ทรงรำพึง

อย่างนั้น พรหมจักมาทูลเชิญแสดงธรรม ที่นั้น สัตว์ทั้งหลายจักให้เกิดความ

เคารพในธรรม เพราะว่า โลกสันนิวาสเคารพพรหม. ความรำพึงนี้ เกิดขึ้น

เพราะเหตุ ๒ ประการนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อธิคโต โข มยาย ตัดบทว่า

อธิคโต โข เม อย ความว่า ธรรมนี้ อันเราบรรลุแล้วแล.

บทว่า อาลยรามา มีความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมพัวพันในกามคุณ

๕ อย่าง เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ เหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า อาลัย หมู่สัตว์

ย่อมรื่นรมย์ด้วยกามคุณเป็นที่พัวพันเหล่านั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้รื่นรมย์ด้วย

อาลัย. หมู่สัตว์ยินดีแล้วในกามคุณเป็นที่พัวพันทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่าผู้ยินดีในอาลัย. หมู่สัตว์เพลินด้วยดีในกามคุณเป็นที่พัวพันทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้เพลินในอาลัย.

บทว่า ยทิท เป็นนิบาต ความแห่งบทว่า ยทิท นั้น หมายเอา

ฐานะ พึงเห็นอย่างนี้ว่า ย อิท หมายเอาปฏิจจสมุปบาท พึงเห็นอย่างนี้ว่า

โย อย.

บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺสมุปฺปาโท มีอรรถวิเคราะห์ว่าธรรม

เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ ชื่อ อิทปฺปจฺจยา อิทปฺปจฺจยา นั่น

ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา ธรรมเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้นั้น เป็นธรรม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

อาศัยกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรม เหล่านี้เป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่า

นี้ เป็นธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น.

ข้อว่า โส มมสฺส กิลมโถ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าเทศนาแก่เหล่าชนผู้

ไม่รู้ พึงเป็นยาความเหน็ดเหนื่อยแก่เรา พึงเป็นความลำบากแก่เรา.

บทว่า ภควนฺต แปลว่า แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อนจฺฉริยา ได้แก่ ที่เป็นอัศจรรย์นักหนา.

บทว่า ปฏิภสุ มีความว่า ได้เป็นอารมณ์แห่งญาณกล่าวคือปฏิภาณ

คือถึงความเป็นคาถาอันพระองค์พึงรำพึง. อักษรใน บทว่า หล นี้ สักว่า

เป็นนิบาต ความว่า ไม่ควร.

บทว่า ปกาสิตุ ได้แก่ เพื่อแสดง. มีคำอธิบายว่า บัดนี้ไม่ควร

แสดงธรรมที่เราบรรลุได้โดยยากนี้.

บาทคาถาว่า นาย ธมฺโม สุสมฺพุทฺโธ มีความว่า ธรรมนี้ทำ

ได้ง่าย ๆ เพื่อจะตรัสรู้หามิได้ อธิบายว่า การที่จะรู้มิใช่ทำได้ง่าย ๆ.

บทว่า ปฏิโสตคามึ มีความว่า ให้ถึงนิพพานที่ท่านเรียกว่าธรรม

อันทวนกระแส.

บทว่า ราคฺรตฺตา มีความว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้อันเครื่องย้อมคือกาม

เครื่องย้อมคือภพ และเครื่องย้อมคือทิฏฐิย้อม (ใจ) แล้ว.

บทว่า น ทกฺขนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่เห็น.

สองบทว่า ตโมกฺขนฺเธน อาวุฏา มีความว่า ผู้อันกองแห่งอวิชชา

ปกคลุมไว้แล้ว.

๑ แปลเอาความตามนัยฎีกา สารตฺถทีปนี ภาค ๑ หน้า ๕๓๐ ซึ่งแก้ไว้ว่า อนุอจฺฉริยาติ สวน-

กาเล อุปรปริ วิมฺหมกราติ อตฺโถ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกตาย มีความว่า เพื่อความเป็นผู้ไม่ประสงค์จะ

แสดง เพราะค่าที่เป็นผู้ปราศจากความขวนขวาย.

บทว่า ยตฺร หิ นาม มีความว่า ในโลกชื่อใด.

บทว่า ภควโต ปุรโต ปาตุรโหสิ มีความว่า ท้าวสหัมบดีพรหม

ได้พามหาพรหมทั้งหลาย ในหมื่นจักรวาล มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี

พระภาคเจ้า เพื่อทูลวิงวอน ให้ทรงแสดงธรรม.

บทว่า อปฺปรชกฺชาติกา มีอรรถวิเคราะห์ว่า ธุลี คือ ราคะ โทสะ

โมหะ น้อย ในจักษุ ที่แล้วด้วยปัญญา เป็นปกติแห่งตนของสัตว์เหล่านี้ เหตุ

นั้นสัตว์เหล่านี้ ชื่อผู้มีชาติแห่งสัตว์ผู้มีธุลีน้อยในจักษุ.

บทว่า ภวิสฺสนฺติ ธมฺมสฺส ได้แก่ ธรรมคือสัจจะ ๔.

บทว่า อญฺาตาโร ได้แก่ ผู้ตรัสรู้.

บทว่า ปาตุรโหสิ ได้แก่ มีปรากฏ.

สองบทว่า สมเลหิ จินฺติโต มีความว่า อันครูทั้งหกผู้มีมลทินมี

ราคะเป็นต้น คิดแล้ว.

บทว่า อปาปุเรต มีความว่า ขอจงเปิดประตูนั้น.

สองบทว่า อมตสฺส ทฺวาร มีความว่า อริยมรรคเป็นประตู แห่ง

นิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ตาย.

บาทพระคาถาว่า สุณนฺตุ ธมฺม วิมเลนานุพุทธ มีความว่า สัตว์

เหล่านี้จงฟังธรรมคือสัจจะ ๔ ที่พระสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ปราศจากมลทิน

เพราะไม่มีมลทินมีราคะเป็นต้น ตรัสรู้สมควรแล้ว.

บาทพระคาถาว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต มีความ

ว่า เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้มีดวงตานั้น ยืนบนยอดภูเขาซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

เป็นเทือกเดียวกัน จะพึงเห็นประชุมชนได้รอบด้านฉันใด. ข้าแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้มีเมธาดี คือผู้มีปัญญาดี ผู้มีพระจักษุรอบคอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ

แม้พระองค์เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งแล้วด้วยธรรม คือ ล้วนด้วยพระปัญญา

พระองค์เองปราศจากความโศกแล้ว ขอจงทรงแลดู คือทรงพิจารณาประชุมชน

ผู้คับคั่งด้วยความโศก ถูกความเกิดและความแก่ครอบงำแล้ว ฉันนั้นเถิด.

ท้าวสหัมบดีพรหมเมื่อจะทรงวิงวอนให้พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปเพื่อ

ทรงแสดงธรรม จึงทูลว่า ขอจงเสด็จลุกขึ้นเถิด.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า วีร เป็นต้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระนามว่า วีระ เพราะทรงมีความเพียร ทรงพระนามว่า วิชิตสงความ เพราะ

ทรงชำนะเทวบุตรมาร มัจจุมาร กิเลสมาร และอภิสังขารมาร ทรงพระนาม

ว่า สัตถวาหะ เพราะทรงสามารถช่วยหมู่สัตว์ให้พ้นจากกันดารมีชาติกันดาร

เป็นต้น ทรงพระนามว่า ผู้ไม่มีหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือ กามฉันท์.

บทว่า อชฺเฌสน ได้แก่ คำวิงวอน.

บทว่า พุทธจกฺขุนา คือ ด้วยอินทริยปโรปริยัติญาณ และอาสยา-

นุสยญาณ. จริงอยู่ คำว่า พุทธจักขุ เป็นชื่อแห่งพระญาณ ๒ อย่างนี้.

บทว่า อปฺปริชกฺเข เเป็นต้น มีความว่า ธุลีมีราคะเป็นต้น โนปัญญา-

จักขุของสัตว์เหล่าใดมีน้อย สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มีธุลีในจักษุน้อย. ของสัตว์

เหล่าใดมีมาก สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีธุลีในจักษุมาก. อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น

ของสัตว์เหล่าใดกล้า สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มีอินทรีย์กล้า, ของสัตว์เหล่าใดอ่อน

สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มีอินทรีย์อ่อน. อาการมีศรัทธาเป็นต้น ของสัตว์เหล่าใดดี

สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มีอาการดี, ของสัตว์เหล่าใดไม่ดี สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

อาการชั่ว. สัตว์เหล่าใด กำหนดเหตุที่ท่านกล่าวได้ คือเป็นผู้ที่สามารถจะให้

รู้ได้โดยง่าย สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้ที่จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย. สัตว์เหล่าใด

ไม่เป็นอย่างนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้ที่จะพึงสอนให้รู้โดยยาก. สัตว์เหล่าใด

เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย สัตว์เหล่านั้น ชื่อผู้มีปกติเห็นปรโลกและ

โทษโดยความเป็นภัย.

บทว่า อุปฺปลินิย ได้แก่ ในกออุบล. แม้ในบทนอกจากนี้ ก็นัย

นี้เหมือนกัน.

บทว่า อนุโตนิมุคฺคโปสินี ได้แก่ ดอกบัวที่ยังจมอยู่ภายในน้ำ อัน

น้ำเลี้ยงไว้.

บทว่า สโมทกฏฺิตานิ ได้แก่ ดอกบัวที่ทั้งอยู่เสมอน้ำ.

หลายบทว่า อุทก อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺนฺติ ได้แก่ ตั้งอยู่พ้นน้ำ.

บทว่า อปารุตา ได้แก่ เปิดแล้ว.

สองบทว่า อมตสฺส ทฺวารา ได้แก่ อริยมรรค. จริงอยู่ อริย-

มรรคนั้น เป็นประตูแห่งพระนิพพาน กล่าวคือ อมตธรรม.

สองบทว่า ปมุญฺจนฺตุ สทฺธ มีความว่า ชนทั้งปวงจงปล่อย คือ

จงสละความเชื่อของตน. ในสองบทข้างท้าย มีเนื้อความดังนี้นี่เอง เพราะว่า

เราเป็นผู้มีความสำคัญว่าจะต้องลำบากกายวาจา จึงไม่ได้แสดงธรรมที่อุดม

ประณีตนี้ แม้ที่เป็นไปดีแคล่วคล่องสำหรับตนในหมู่มนุษย์ คือ ในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย.

อรรถกถาพรหมยาจนกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

พุทธปริวิตกกถา

[๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า เราจะพึงแสดง

ธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้วทรงพระ-

ดำริต่อไปว่าอาฬารดาบสกาลามโคตรนี้แล เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา

มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยเป็นปรกติมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่

อาฬารดาบสกาลามโคตรก่อน เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทีนั้น เทพดา

อันตรธานมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร สิ้นชีพ

ได้ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่า อาฬาร

คาบสกาลามโคตรสิ้นชีพได้ ๗ วันแล้ว จึงทรงพระดำริว่าอาฬารดาบสกาลาม

โคตรเป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะถ้าเธอได้ฟังธรรมนี้จะพึงรู้ทั่วถึงได้

ฉับพลัน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรม

แก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อ

ไปว่าอุทกดาบสรามบุตรนี้แลเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา มีธุลีคือกิเลส

ในจักษุน้อยเป็นปรกติมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อุทกดาบสราม

บุตรก่อนเธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ทีนั้น เทพดาอันตธานมากราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อุทกดาบสรามบุตรสิ้นชีพเสียวานนี้แล้ว พระพุทธเจ้าข้า

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่า อุทกดาบสรามบุตรสิ้นชีพเสียวานนี้แล้ว

จึงทรงพระดำริว่าอุทกดาบสรามบุตรนี้ เป็นผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะถ้าเธอ

ได้ฟังธรรมนี้ จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงแสดงธรรม

แก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน ครั้นแล้วทรงพระดำริต่อ

ไปว่าภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก ได้บำรุงเราผู้ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรอยู่

ถ้ากระไรเราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริต่อ

ไปว่า บัดนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น

ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วย

ทิพพจักขุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้งพระองค์ประทับอยู่ ณ อุรุเวลาประเทศ

ตามควรแก่พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครพาราณสี.

เรื่องอุปกาชีวก

[๑ ] อาชีวกชื่ออุปกะได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกล

ระหว่างแม่น้ำคยาและไม้โพธิพฤกษ์ ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ดูก่อนอาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์

ผุดผ่อง ดูก่อนอาวุโส ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่าน

ชอบธรรมของใคร เมื่ออุปกาชีวกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสพระคาถาตอบ อุปกาชีวกว่าดังนี้:-

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้

ธรรมทั้งปวงอันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทา

แล้วในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิ

สานได้หมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่ง

ตัณหา เราตรัส รู้ยิ่งเองแล้วจะพึงอ้างใครเล่า

อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราก็ไม่มี บุคคล

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

เสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับทั้งเทวโลก

เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลกเราเป็น

ศาสดาหาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียว

เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับ

กิเลสได้แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสี เพื่อ

ประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลอง

อมตะในโลกอันมืด เพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ.

อุปกาชีวกทูลว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านปฏิญาณโดยประการใด ท่านควร

เป็นผู้ชนะหาที่สุดมิได้ โดยประการนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลเหล่าใดถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ชนะเช่นเรา ดูก่อนอุปกะ เราชนะธรรมอันลามกแล้ว

เพราะฉะนั้นเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ชนะ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวกทูลว่า พึงเป็นผู้

ชนะเถิดท่านผู้มีอายุดังนี้แล้ว ก้มศีรษะลงแล้วแยกทางหลีกไป.

เรื่องอุปกาชีวก จบ

เรื่องพระปัญจวัคคีย์

[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงป่า

อิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เสด็จเข้าไปทางสำนักพระปัญจวัคคีย์

พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกัน

และกันว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคตมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

เวียนนาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึง

ลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้

ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึง

พระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งปู

อาสนะ, รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท, รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท, รูปหนึ่ง

นำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่

พระปัญจวัคคีย์จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์เรียกพระผู้มี

พระภาคเจ้าโดยระบุพระนาม และใช้คำว่า อาวุโสเมื่อพระปัญจวัคคีย์กล่าว

อย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสห้ามพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า อาวุโส ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจง

เงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวก

เธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอด

เยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์พูดทูลค้านพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อาวุโสโคตม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้

ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอันเป็นความรู้

ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก

คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสส

ธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร

ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เรา

จะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสัก

เท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่

กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

แม้ครั้งที่สอง พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า . . .

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสว่า . . .

แม้ครั้งที่สาม พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อาวุโส-

โคดมแม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยัง

ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ

อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อ

ความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความ

เห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.

เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้ เราได้เคยพูดแล้ว

ในปางก่อนแต่กาลนี้.

พระปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า คำนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

สั่งสอนจักแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร

จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้ง

หลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถให้พระปัญจ-

วัคคีย์ยินยอมได้แล้ว ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์ ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ยิ่ง.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ปฐมเทศนา

[๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระปัญจวัคดีย์ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพคือ.

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว

เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ๑.

การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของ

พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่าง

นั้นนั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลายที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน ?

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอัน

เห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๐

พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลายนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว

ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณได้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็

เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก

ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕

เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือตัณหาอันทำ

ให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปรกติเพลิดเพลิน

ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแล

ดับ โดไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ

อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑. . . ตั้งจิตชอบ ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้

เกิดขึ้นแล้ว แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล

ควรกำหนดรู้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้น

แล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้น

แล ควรละเสีย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทยอริยสัจนี้นั้น

แล เราได้ละแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างได้เกิดขึ้น

แล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล

ควรทำให้แจ้ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้น

แล เราทำให้แจ้งแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทาอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิ

ปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิด

ขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิ

ปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.

ญาณทัสสนะมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราใน

อริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อัน

ยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา

ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายเมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

เยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณะ พรามหณ์ เทวดา และมนุษย์.

อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพันวิเศษของเรา

ไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม

ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่ง

หนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความคับเป็นธรรมดา.

[๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว

เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนคร-

พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก

จะปฏิวัติไม่ได้.

เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือ

เสียงต่อไป.

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็

บันลือเสียงต่อไป.

เทวดาชั้นยามา . . .

เทวดาชั้นดุสิต. . .

เทวดาชั้นนิมมานรดี . . .

เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิต-

วสวัตดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระ

นครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ใน

โลก จะปฏิวัติไม่ได้.

ชั่วขณะกาลครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลกด้วย

ประการฉะนั้นแล.

ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่

หาประมาณมิได้ ปรากฏแล้วในโลกล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ

โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุ

นั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วย

ประการฉะนี้.

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

พระปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

[๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้

บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ

สงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่

ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อ

ไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์

โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.

[๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอน

ภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศ-

จากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ท่านทั้งสอง

นั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรม

อันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึง

ความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้ว

ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมา

ถวายได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา ภิกษุ

เที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.

วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วย

ธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่าน

พระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุ

ธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว. มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้

แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อ

ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอข้าพระ

องค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้ว

ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา

แล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจง

เป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ

รูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูป

ว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เวทนาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตา

แล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนา

ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ

และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา

ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

สัญญาเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตา

แล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญา

ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และ

บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา

อย่าได้เป็นอย่างนั้น เลย.

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จัก

ได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ใน

สังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

เราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็น

อนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ใน

สังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดสังขารทั้งหลายของ

เราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็น

อัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า

วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าไว้เป็นอย่างนั้นเลย ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่อ

อาพาธ และบุคคลไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด

วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

สำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

ป เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีดวามแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?.

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั้นของเรา นั่นเป็นตนของเรา ?

ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?.

ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา ?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ผ.

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตะญาณทัสสนะ

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ

ภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่

สักว่ารูปเธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่คนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน

หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็

เป็นแค่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็น

จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ภายใน

หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็

เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตาม

เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา .

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

หมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม

เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน

หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็

เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบตาม

เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยาสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อ

หน่ายย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้น

แล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่

ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจ

ยินดีเพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ

ไม่ถือมั่น.

อนัตตลักขณสูตร จบ

ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.

ปฐมภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา

บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นบัณฑิต.

บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณเครื่องเป็นผู้ฉลาด.

บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเกิดขึ้นฉับพลัน.

บทว่า อปฺปรชกฺขชาติโก มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีชาติแห่งคน

ไม่มีกิเลส คือ เป็นคนหมดจด เพราะข่มกิเลสไว้ด้วยสมาบัติ.

บทว่า. อาชานิสฺสติ ได้แก่ จักกำหนดได้ คือ จักแทงตลอด.

หลายบทว่า ภควโตปิ โข าณ อุทปาทิ มีความว่าพระ-

สัพพัญญุตญานเได้เกิดขึ้นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว

ไปเกิดในอากิญจัญญายตนภพ ในเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันนี้ไป.

บทว่า มหาชานิโย มีอรรถวิเคราะห์ว่า ความเสื่อมใหญ่ชื่อว่ามีแก่

เธอ เพราะเป็นผู้เสื่อมเสียจากมรรคผลที่จะพึงบรรลุ ในภายใน ๗ วัน เพราะ

ฉะนั้น เธอจึงชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่. อนึ่งชื่อผู้มีความเสื่อมใหญ่ เพราะเกิด

ในอักขณะ.

บทว่า อกโทสกาลกโต มีความว่า ได้ทำกาลกิริยาเสียเมื่อวันวาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นว่า แม้อุทกดาบสนั้น ก็เกิดแล้วในเนวสัญญานา

สัญญายตนภพ.

๑. ฐานศัพท์ลงในอรรถว่า ขณ ต่อ พลัน ทันทีทันใด เช่นในคำว่า ฐานโส อุปกปฺปติ. อนึ่ง

คำนี้ก็มคำไขไว้ในแก้อรรถ บทว่า วีมสาย หน้า ๒๓๔ ข้างหน้า.

๒. สมัยมิใช่คราวมีพระพุทธเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

บทว่า พหูปการา คือ ผู้มีอุปการะมาก.

บทว่า ปธานปหิตตฺต มีความว่า ผู้ยอมตัวเพื่อประโยชน์แก่ความ

เพียร.

บทว่า อุปฏฺหึสุ มีความว่า ได้บำรุงด้วยวัตรมีให้น้ำบ้วนปาก

เป็นต้น.

หลายบทว่า อนฺตรา จ โพธึ อนุตรา จ คย มีความว่า

อาชีวกชื่อ อุปกะ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ระหว่างโพธิมัณฑ์กับแม่น้ำคยา

ต่อกัน.

บทว่า อทฺธานุมคฺคปฏิปนฺน มีความว่า เสด็จดำเนินทางไกล.

บทว่า สพฺพาภิภู มีความว่า เราครอบงำไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.

บทว่า สพฺพวิทู มีความว่า ได้รู้ คือได้เข้าใจธรรมที่มี ๔ ภูมิ

ทั้งหมด.

บาทพระคาถาว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต ความว่าอัน

เครื่องฉาบทาคือกิเลส ฉาบทาไม่ได้ในไตรภูมิกธรรมทั้งปวง.

บทว่า สพฺพญฺชโห ความว่า ตัดไตรภูมิกธรรมทั้งปวงได้ขาด.

บทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้พ้นวิเศษ เพราะธรรม

เป็นที่สิ้นตัณหาคือนิพพาน ด้วยอำนาจทำให้เป็นอารมณ์.

บทว่า สย อภิญฺาย ได้แก่ เรารู้ธรรมมี ๔ ภูมิทั้งหมดด้วยตนเอง.

บทว่า กมุทฺทิเสยฺย ความว่า จะพึงอ้างเอาใคร คือคนอื่นว่า ผู้

นี้เป็นอาจารย์เราเล่า.

หลายบทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาจารย์

ในโลกุตรธรรมของเราย่อมไม่มี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

หายบทว่า นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล มีความว่า ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้

เปรียบปานกับเราย่อมไม่มี.

บทว่า สีติภูโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้มีความเย็นใจ เพราะดับไฟ

คือกิเลสเสียทั้งหมด.

บทว่า นพฺพุโต มีความว่า จัดว่าเป็นผู้ดับแล้ว เพราะกิเลสทั้ง

หลายนั้นเองดับไป.

สองบทว่า กาสีน ปุร ได้แก่ เมืองหลวงในแคว้นของชาวกาสี.

บาทคาถาว่า อหญฺึ อมตทุนฺทภึ มีความว่า เราจะไปด้วย คิดว่า

จักตีกลองอมฤตเพื่อได้ดวงตาเห็นธรรรม.

สองบทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน มีความว่า ท่านสมควรเป็นผู้

ชำนะไม่มีที่สุดจริง.

บทว่า หุเวยฺยาวุโส มีความว่า ผู้มีอายุ พึงเป็นได้ถึงอย่างนั้น

เทียวนะ.

สองบทว่า สีส โอกมฺเปตฺวา ได้แก่ สั่นศีรษะ.

บทว่า สณฺเปสุ คือ ได้ทำกติกา.

บทว่า พาหุลฺลิโก ได้แก่ ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มี

จีวรมากเป็นต้น.

บทว่า ปธานวิพฺภนฺโต ได้แก่ เป็นผู้คลายเสียแล้ว คือตกเสีย

แล้ว เสื่อมเสียแล้ว จากความเพียร.

สองบทว่า อาวตฺโต พาหุลฺลาย ได้แก่ ผู้เวียนมาเพื่อประโยชน์

แก่ความเป็นผู้มักมากด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น .

๑. ในปฐมสมโพธิว่า ดูก่อนอาวุโส นามวำ อนันตชิโน พึงเป็นชื่อได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

หลายบทว่า โอทหถ ภิกฺขเว โสต มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย

ท่านจงเงี่ยโสต คือจงทำโสตินทรีย์ให้บ่ายหน้า เพื่อฟังธรรม.

ด้วยสองบทว่า อมตมธิคต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าพระ

นิพพานเป็นธรรมไม่ตาย เราได้บรรลุแล้ว.

บทว่า จริยาย คือด้วยความประพฤติที่ทำได้ยาก.

บทว่า ปฏิปทาย ได้แก่ ด้วยข้อปฏิบัติที่ทำได้ยาก.

หลายบทว่า อภิชานาถ เม โน มีความว่า ท่านทั้งหลายจำได้

อยู่ คือเล็งเห็นอยู่หรือ ได้แก่ ซึ่งภาษิตเห็นปานนี้ ของเรา.

บทว่า เอวรูป ภาสิตเมต ได้แก่ ความเผยกล่าวเห็นปานนี้.

ข้อว่า อสกฺขิ โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู สฌฺาเปตุ มี

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอาจให้ภิกษุเบญจวัคคีย์ทราบว่า พระองค์

ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว.

บทว่า จกฺขุกรณี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาดวงตา คือ

ปัญญา. ต่อจากนี้ไปทุกบท ว่าโดยความเฉพาะบทแล้ว เป็นคำตื้น ๆ ทั้ง

นั้น ว่าโดยต่างแห่งอธิบายอนุสนธิและคำประกอบพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว

ในอรรถกถาแห่งมัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี เถิด. และตั้งแต่นี้ไป เมื่อ

ข้าพเจ้าจะคอยรักษาน้ำใจของมหาชน ผู้ขยาดต่อความพิสดารเกินไป จำต้อง

ไม่พรรณนาสุตตันตกถา จักพรรณนาแต่วินัยกถาเท่านั้น.

ข้อว่า สา ว ตสฺส อายสฺมโต อุปสมฺปทา อโหสิ มีความ

ว่า ในวันเพ็ญเดือนแปด เมื่อพระผู้มีอายุโกณฑัญญะกับเทวดาสิบแปดโกฏิ

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระวาจานั้นแล ซึ่งสำเร็จด้วยพระพุทธพจน์ของ

๑. ป. สุ. ๑๔๔.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ได้เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ของพระผู้มีอายุนั้น.

ในคำว่า อถ โข อายสฺมโต จ วปฺปสฺส เป็นต้น มีวินิจฉัย

ว่า ในวันแรมค่ำหนึ่ง ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแก่พระวัปฺปเถระ ในวันแรม

๒ ค่ำได้เกิดขึ้นแก่พระภัททิยเถระ ในวันแรม ๓ ค่ำได้เกิดแก่พระมหานาม

เถระ ในวันแรม ๔ ค่ำ ได้เกิดขึ้นแก่พระอัสสชิเถระ. ก็แลเพื่อชำระมลทิน

ซึ่งเกิดขึ้นในกัมมัฏฐานของภิกษุเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จอยู่ภายใน

วิหารเท่านั้น. เมื่อมลทินแห่งกัมมัฏฐานเกิดขึ้นทีไร ก็ได้เสด็จลงมาทางอากาศ

แล้วทรงชำระเสีย. ก็แลในวันแรม ๕ ค่ำ แห่งปักษ์พระองค์ไห้เธอทั้งหมด

ประชุมพร้อมกันแล้วตรัสสอนด้วยอนัตตสูตร. เพราะเหตุนั้น พระธรรม

สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถโข ภควา ปญฺจวคฺคิเย เป็นต้น.

ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน ฉ โลเก อรตนโต โหนฺติ

มีดวามว่า ในวันแรม ๕ ค่ำ มนุษย์ ๖ คน เป็นพระอรหันต์ในโลก.

อรรถกถาอุโภตาปสาทิกถา จบ

๑. อนัตตลักขณสูตร มหาวคฺค. ปฐม. ๒๔

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

เรื่องยสกุลบุตร

[๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครพาราณสี มีกุลบุตร ชื่อ ยส

เป็นบุตรเศรษฐี สุขมาลชาติ ยสกุลบุตรนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ หลังหนึ่ง

เป็นที่อยู่ในฤดูหนาว หลังหนึ่งเป็นทิ่อยู่ในฤดูร้อน หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน

ยสกุลบุตรนั้นรับบำเรอด้วยพวกดนตรี ไม่มีบุรุษเจือปนในปราสาทฤดูฝนตลอด

๔ เดือนไม่ลงมาเบื้องล่างปราสาท ค่ำวันหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรอิ่มเอิบพร้อมพรั่ง

บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ได้นอนหลับก่อน ส่วนพวกบริวารชนนอนหลับภาย

หลังประทีปน้ำรังมันตามสว่างอยู่ตลอดคืน คืนนั้นยสกุลบุตรตื่นขึ้นก่อน ได้เห็น

บริวารชนของตนกำลังนอนหลับ บางนางมีพิณตกอยู่ที่รักแร้ บางนางมีตะโพน

วางอยู่ข้างคอ บางนางมีเปิงมางตกอยู่ที่อก บางนางสยายผม บางนางมี

น้ำลายไหล บางนางบ่นละเมื่อต่าง ๆ ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจป่าช้าผีดิบ ครั้น

แล้วความเห็นเป็นโทษได้ปรากฏแก่ยสกุลบุตร จิตตั้งอยู่ในความเบื่อหน่าย จึง

ยสกุลบุตรเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้ว

สวมรองเท้าทองเดินตรงไปยังประตูนิเวศน์ พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวัง

ใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตของ

ยสกุลบุตรเลย ลำดับนั้น ยสกุลบุตรเดินทรงไปทางประตูพระนคร พวก

อนนุษย์เปิดประตูให้ด้วยหวังใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ทำอันตรายแก่การออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตของยสกุลบุตร ทีนั้น ยสกุลบุตรได้เดินทรงไปทางป่า

อิสิปตนะมฤคทายวัน.

[๒๖] ครั้นปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคเจ้าตื่นบรรทมแล้ว

เสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล ครั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

แล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ขณะนั้น ยสกุลบุตร

เปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่

นี่ขัดข้องหนอ ทันทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะยสกุลบุตรว่า ดูก่อนยส ที่

นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ที่นั้น

ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่าได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้

แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา

สัคคกถา โทษ ความค่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์

ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน

มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระ

ธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์

สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่ง

ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา

ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับ

น้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.

บิดาของยสกุลบุตรตามหา

[๒๗] ครั้นรุ่งเช้า มารดาของยสกุลบุตรขึ้นไปยังปราสาท ไม่เห็น

ยสกุลบุตร จึงเข้าไปหาเศรษฐีผู้คหบดี แล้วได้ถามว่า ท่านคหบดีเจ้าข้า พ่อ

ยสกุลบุตรของท่านหายไปไหน ฝ่ายเศรษฐีผู้คหบดีส่งทูตขี่ม้าไปตามหาทั้ง ๔

ทิศแล้ว ส่วนตัวเองไปหาทางป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ได้พบรองเท้าทองวาง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

อยู่ ครั้น แล้วจึงตามไปสู่ที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเศรษฐี

ผู้คหบดีมาแต่ไกล ครั้นแล้วทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงบันดาล

อิทธาภิสังขารให้เศรษฐีคหบดี นั่งอยู่ ณ ที่นี้ไม่เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้

แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารดังพระพุทธดำริ ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้

เช้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นยสกุล-

บุตรบ้างไหม พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้รีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ถ้าอย่างนั้น เชิญนั่ง บาง

ที่ท่านนั่งอยู่ ณ ที่นี้จะพึงได้เห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้.

ครั้งนั้น เศรษฐีผู้คหบดีร่าเริงบันเทิงใจว่า ได้ยินว่า เรานั่งอยู่ ณ ที่

นี้แหละจักเห็นยสกุลบุตรผู้นั่งอยู่ ณ ที่นี้ จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อเศรษฐีผู้คหบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา

โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความ

ออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า เศรษฐีผู้คหบดี มีจิตสงบ

มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง

ประกาศพระธรรนเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์

เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก

มลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ

เป็นธรรมดา ได้เกิดแก่เศรษฐีผู้คหบดี ณ ที่นั่งนั่นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจาก

มลทิน ควรได้รับน้ำย้อม ฉะนั้น.

ครั้นเศรษฐีผู้คหบดี ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้

ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจาก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ถ้อยคำ แสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอน

ของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด

ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระ-

พุทธเจ้าว่า เป็นอุบายสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ก็เศรษฐีผู้คหบดีนั้น ได้เป็นอุบายสกล่าวอ้างพระรัตนตรัย เป็นคนแรก

ในโลกะ

ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตต์

[๒๘] คราวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม แก่บิดา ของ

ยสกุลบุตร จิตของยสกุลบุตร ผู้พิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้

แจ้งแล้ว ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เมื่อแสดงธรรมแก่บิดาของยสกุลบุตรอยู่ จิตของ

ยสกุลบุตร ผู้พิจารณาเห็นภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว พ้น

แล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์

บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้งก่อน ถ้ากระไร เราพึงคลายอิทธาภิสังขาร

นั้นได้แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงคลายอิทธาภิสังขารนั้น เศรษฐีผู้คหบดีได้เห็น

ยสกุลบุตรนั่งอยู่ ครั้นแล้วได้พูดกะยสกุลบุตรว่า พ่อยส มารดาของเจ้า

โศกเศร้าคร่ำครวญถึง เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าเถิด ครั้งนั้น ยสกุลบุตร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

ได้ชำเลืองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ได้ตรัสแก่เศรษฐีผู้คหบดีว่า ดูก่อนคหบดี

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมด้วยญาณทัสสนะ

เพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้เห็นแล้ว ได้รู้

แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนคหบดี

ยศกุลบุตรควรหรือเพื่อจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เหมือนเป็นคฤหัสถ์

ครั้งก่อน.

เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรับรองว่า ดูก่อนคหบดี ยสกุลบุตรได้เห็นธรรม

ด้วยญาณทัสสนะเพียงเสขภูมิเหมือนท่าน เมื่อเธอพิจารณาภูมิธรรมตามที่ตนได้

เห็นแล้ว ได้รู้แจ้งแล้ว จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อน

คหบดี ยสกุลบุตรไม่ควรจะกลับเป็นคฤหัสถ์บริโภคกามเหมือนเป็นคฤหัสถ์ครั้ง

ก่อน.

เศรษฐีผู้คหบดีกราบทูลว่า การที่จิตของยสกุลบุตรพ้นจากอาสวะทั้ง

หลาย เพราะไม่ถือมั่นนั้น เป็นลาภของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรได้ดีแล้ว พระ-

พุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ามียศกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ จงทรงรับ

ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับ โดยดุษณีภาพ ครั้นเศรษฐีผู้คหบดีทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ได้ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ

แล้วกลับไป.

กาลเมื่อเศรษฐีผู้คหบดีกลับไปแล้วไม่นาน ยสกุลบุตรได้ทูลคำนี้ต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้

อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด แล้วได้ตรัสต่อไป

ว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงพระพฤติพรหมจรรย์เถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.

สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๗ องค์.

ยสบรรพชา จบ

มารดาและภรรยาเก่าของพระยสได้ธรรมจักษุ

[๒๙] ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว

ถือบาตรจีวรมีท่านพระยสเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่นิเวศน์

ของเศรษฐีผู้คหบดี ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย.

ลำดับนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพ-

พิกถาแก่นางทั้งสองคือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความ

ต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นางทั้งสองมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิต

ปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรม

เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย

นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่

นางทั้งสอง ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อม

เป็นอย่างดี ฉะนั้น มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสได้เห็นธรรมแล้ว ได้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ

สงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่

ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะ

นัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยทั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ หม่อมฉันทั้งสองนี้

ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระ

องค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่า เป็นอุบายสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่-

วันนี้เป็นต้นไป.

ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยส ได้เป็นอุบายสิกา กล่าวอ้าง

พระรัตนตรัยเป็นชุดแรกในโลก ครั้งนั้น มารดาบิดาและภรรยาเก่าของท่าน

พระยส ได้อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระยส ด้วยขาทนียโภชนียาหาร

อันประณีตด้วยมือของตน ๆ จนให้ห้ามภัต ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้

มารดาบิดา และภรรยาเก่าของท่านพระยส เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง

ด้วยธรรมมีกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะกลับไป.

สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของพระยสบรรพชา

[๓๐] สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยส คือ วิมล ๑ สุพาหุ ๑

ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบ ๆ มาในพระนครพาราณสี

ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจาก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้วได้ดำริว่า ธรรมวินัยและ

บรรพชาที่ยสกุลบุตร ปลงผมและหนวดนุ่งห่มกาสายะออกจากเรือนบวชเป็น.

บรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส

อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง

๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้

กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า สหายคฤหัสถ์ของข้าพระองค์ คนนี้ ชื่อ วิมล ๑

สุพาหุ ๑ ปุณณชิ ๑ ควัมปติ ๑ เป็นบุตรของสกุลเศรษฐีสืบ ๆ มาในพระ-

นครพาราณี. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้า

พระองค์เหล่านี้ .

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศ

ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกาม

ทั้งหลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่อง

ใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น

แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศ-

จากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งมวล มีความคับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่

สะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อนเป็นอย่างดี ฉะนั้น พวกเขาได้เห็น

ธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้วได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว

ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้ว

กล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทใน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมา

เถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติ

พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วย

ธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วย

ธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๑๑ องค์.

สหายคฤหัสถ์ ๔ คน ของพระยสบรรพชา จบ

สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คน ของพระยสบรรพชา

[๓๑] สหายคฤหัสถ์ของท่านพระยส เป็นชาวชนบทจำนวน ๕๐ คน

เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบ ๆ กันมา ได้ทราบข่าวว่า ยสกุลบุตรูปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ครั้นทราบดังนั้นแล้ว

ได้ดำริว่า ธรรมวินัยและบรรรพชาที่ยสกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ดังนี้

จึงพากันเข้าไปหาท่านพระยส อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึง

ท่านพระยสพาสหายคฤหัสถ์จำนวน ๕๐ คนนั้นเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สหาย-

คฤหัสถ์ของข้าพระองค์นี้เป็นชาวชนบท เป็นบุตรของสกุลเก่าสืบ ๆ กันมา

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทานโอวาทสั่งสอนสหายของข้าพระองค์เหล่านี้ .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือ ทรงประกาศ

ทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราบ ความเศร้าหมองของกามทั้ง

หลายและอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า

พวกเขามีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่อง

ใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น

แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศ-

จากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น

ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดาได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด

ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี. ฉะนั้น พวกเขาได้เห็นธรรม

แล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้าม

ความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า

ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระพุทธเจ้าข้า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด

ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติ-

พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น .

ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้น ด้วย

ธรรมีกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุเหล่านั้นด้วย

ธรรมีกถา จิตของภิกษุเหล่านั้นพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

สมัยนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์.

สหายคฤหัสถ์ ๕๐ คนของพระยสบรรพชา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

เรื่องพ้นจากบ่วง

[๓๒] ครั้งนั้น พระผู้พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์

แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อนุเคราะห์

โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้

ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์

บริสุทธิ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้

ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไป

ยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม.

เรื่องพ้นจากบ่วง จบ

เรื่องมาร

[๓๓] ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า.

ท่านเป็นผู้อันบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ผูก

พันไว้แล้ว ท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกใหญ่รัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้น

เรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้ง

ที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกใหญ่ ดู

ก่อนมาร ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

มารกราบทูลว่า บ่วงนี้เที่ยวไปได้ในอากาศ เป็นของมีในจิต สัญจร-

อยู่ เราจักผูกรัดท่านด้วยบ่วงนั้น แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เราปราศจากความพอใจในอารมณ์

เหล่ะนี้ คือ รูป เสีย กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนมาร

ท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว.

ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักเรา พระ-

สุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้แล้ว มีทุกข์ เสียใจ หายไปในที่นั้นเอง.

เรื่องมาร จบ

ทรงอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์

[๓๔] ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และผู้

มุ่งอุปสมบทมาจาทิศต่าง ๆ จากชนบทต่าง ๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุ ทั้งกุลบุตร

ผู้มุ่งบรรพชา และกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบทย่อมลำบาก.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ มีพระทัย

ปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและ

อุปสมบทมาจากทิศต่าง ๆ จากชนบทต่าง ๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจักให้พวกเขาบรรพชา อุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุทั้งกุล

บุตรผู้มุ่งบรรพชา และอุปสมบท ย่อมลำบาก ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่นแหละจงให้กุล

บุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆา เถิด ครั้นเวลาเย็น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

เสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน

เพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ที่นี้ ได้มีใจปริวิตกเกิดขึ้นอย่าง

นี้ว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาแสะอุปสมบทมาจากทิศ

ต่าง ๆ จากชนบทต่าง ๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักให้พวกเขาบรรพ-

ชาอุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุ ทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและ

อุปสมบท ย่อมลำบาก ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั้นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบท

ในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราอนุญาต

พวกเธอนั้นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้น ๆ ในชน

บทนั้น ๆ เถิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบท

อย่างนี้.

ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและอุปสมบท ปลง

ผมและหนวด แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบ

เท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว ให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี สั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้

แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง

แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์

กถาว่าด้วยอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ จบ

อรรถกถายสวัตถุ

บทว่า ปุพฺพานุปุพฺพกาน มีความว่า เก่าแก่เป็นลำดับด้วยอำนาจ

ความสืบสายกัน.

ข้อว่า เตน โข ปน สมเยแ เอกสฏฺิ โลเก อรหนฺโต โหนฺติ

มีความว่า ภายในพรรษาเท่านั้น มีมนุษย์เป็นพระอรหันต์ ๖๑ องค์ คือ พวก

ก่อน ๖ องค์ และพวกนี้อีก ๕๕ องค์. บรรดามนุษย์เหล่านั้น ยสกุลบุตร

เป็นต้น มีบุพประโยคดังต่อไปนี้:-

ดังได้ยินมา ในอดีตกาล สหาย ๕๕ คน จะทำบุญร่วมพวกกัน จึง

เที่ยวช่วยกันจัดการศพคนอนาถา. วันหนึ่งพวกเขาพบทญิงมีครรภ์ทำกาลกิริยา

คิดว่า จักเผา จึงนำไปยังป่าช้า. ในพวกเขา เว้นไว้ที่ป่าช้า ๕ คน สั่งว่า จง

ช่วยกันเผา ส่วนที่เหลือพากันเข้าบ้าน. พ่อยศผู้ทรามวัย แทงและพลิกศพนั้น

ให้ไหม้อยู่ ก็ได้อสุภสัญญา. เขาได้แสดงแก่อีก ๔ คนด้วยว่า ผู้เจริญจงเห็น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

ของไม่สะอาด น่าเกลียดนี่. อีก ๔ คนนั้นก็ได้อสุภสัญญาในศพนั้นบ้าง. เขา

ทั้ง ๕ พากันไปบ้านแล้วบอกแก่สหายที่เหลือ. ฝ่ายพ่อยสผู้ทรามวัยไปบ้านแล้ว

ได้บอกแก่มารดาบิดาและภรรยา. ชนเหล่านั้นทั้งหมดได้เจริญอสุภสัญญาบ้าง.

บุพประโยคของชนเหล่านั้นเท่านี้ . เพราะเหตุนั้นความสำคัญในเหล่าชนฟ้อนว่า

เป็นดังป่าช้านั่นแล จึงได้เกิดขึ้นแก่พระยศผู้มีอายุ. และด้วยอุปนิสัยสมบัตินั้น

ความบรรลุธรรมพิเศษได้เกิดแก่ทุกคนแล.

ข้อว่า อถโข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสิ มีความว่า พระผู้พระภาคเจ้า

เสด็จอยู่ที่กรุงพาราณสีจนถึงเพ็ญเดือนกัตติกาหลัง วันหนึ่งตรัสเรียกภิกษุ ๖๐

รูป ซึ่งเป็นพระขีณาสพเหล่านั้น. บ่วง คือ ความโลภในอารมณ์ทั้งหลายที่เป็น

ทิพย์ จัดเป็นของทิพย์. บ่วง คือ ความโลภ ในอารมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นของ

มนุษย์ จัดเป็นของมนุษย์.

หลายบทว่า มา เอเกน เทฺว มีความว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ไป

รวมกัน ๒ รูปโดยทางเดียวกัน.

บทว่า อสฺสวนตา มีความว่า เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟัง.

บทว่า ปริยายนฺติ มีความว่า เมื่อไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษที่ยังไม่

ได้บรรลุ ชื่อว่าย่อมเสื่อมจากความบรรลุธรรมพิเศษ.

บทว่า อนฺตก ได้แก่ ดูก่อนมารผู้เลวทราม คือเป็นสัตว์ต่ำช้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบ่วง คือ ราคะ ตรัสว่า เที่ยวไปในอากาศ.

จริงอยู่ พระองค์ทรงทราบบ่วง คือ ราคะนั้น จึงตรัสว่า เที่ยวไปในอากาศ.

อรรถกถายสวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย

สองบทว่า นานาทิสา นานาชนปทา มีความว่า จากทิศต่าง ๆ

และจากชนบท ต่าง ๆ.

คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ตุมฺเหวทานิ ตาสุ ตาสุ ทิสาสุ

เตสุ เตสุ ชนปเทสุ ปพฺพาเชถาติ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เมื่อจะให้กุลบุตรผู้

เพ่งบรรพชาบวช พึงเว้นบุคคลที่ทรงห้ามไว้ เริ่มต้น ว่า ภิกษุทั้งหลาย คน

ที่ถูกอาพาธ ๕ อย่างเบียดเบียนแล้ว อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช ดังนี้

จนถึงอย่างนี้ว่า คนตาบอดหรือใบ้หรือหนวก อันท่านทั้งหลายไม่ควรให้บวช

ดังนี้ ข้างหน้าพึงให้บุคคลเว้นจากบรรพชาโทษบวช. บุคคลแม้นั้น อันมารดา

บิดาอนุญาตแล้ว เท่านั้น. ลักษณะแห่งการอนุญาตซึ่งบุคคลผู้สมควรนั้นข้าพเจ้า

จักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต อันท่าน

ทั้งหลายไม่ควรให้บวช ภิกษุใดพึงให้บวช ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ก็แลเมื่อจะ

ให้บวชกุลบุตรผู้เว้นจากบรรพชาโทษ ซึ่งมารดาบิดาอนุญาตแล้วอย่างนั้น ถ้า

ว่ากุลบุตรนั้น ยังไม่ได้ปลงผม, และภิกษุแม้เหล่าอื่นมีอยู่ในสีมาเดียวกัน. พึง

บอกภัณฑุกรรม เพื่อประโยชน์แก่การปลงผม อาการบอกภัณฑุกรรมนั้น

ข้าพเจ้าจักพรรณนาในสูตรนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุบอกเล่ากะ

สงฆ์ เพื่อทำภัณฑุกรรม. ถ้ามีโอกาส พึงให้บวชเอง. ถ้าต้องขวนขวายด้วย

กิจการมีอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ไม่ได้โอกาส พึงสั่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งว่า

คุณจงให้กุลบุตรนี้บวช. ถ้าภิกษุหนุ่มซึ่งอุปัชฌาย์ไม่ได้สั่งเลย แต่เธอให้บวช

แทนอุปัชฌาย์ การทำอย่างนั้นสมควร. ถ้าภิกษุหนุ่มไม่มี อุปัชฌาย์พึงบอก

๑. คำว่า ชนบท หมายความว่าประเทศหรือราชอาณาจักร. ๒. พิธีโกนผม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

สามเณรก็ได้ว่า เธอจงนำผู้นี้ไปยังขัณฑสีมาให้ปลงผม ให้นุ่งห่มผ้ากาสายะ

เสร็จแล้วจึงมา. ส่วนสรณะอุปัชฌาย์พึงให้เอง. กุลบุตรนั้นเป็นอันภิกษุนั่นเอง

ให้บวชแล้วด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ คนอื่นจากภิกษุไม่ได้เพื่อให้บุรุษบวช.

คนอื่นจากภิกษุณีไม่ได้เพื่อให้มาตุคามบวชเหมือนกัน. ส่วนสามเณรหรือ

สามเณรี ได้เพื่อจะให้ผ้ากาสายะตามคำสั่ง. การปลงผมผู้ใดผู้หนึ่งทำแล้ว ก็

เป็นอันทำแล้วด้วยดี. ก็ถ้าว่า กุลบุตรเป็นผู้มีรูปสมควร มีกุศลกรรมเป็นเหตุ

มีชื่อเสียง มียศ อุปัชฌาย์แม้ทำโอกาสแล้ว ก็ควรให้บวชเองแท้ ทั้งไม่ควร

ปล่อยไปว่า จงถือเอาดินเหนียวกำมือหนึ่ง อาบแล้วชุบผมแล้ว จงมา. เพราะ

ว่า. อุตสาหะของผู้ที่ใคร่จะบวช เป็นของรุนแรงก่อน แต่ภายหลังได้เห็นผ้า

กาสายะและมีดโกนผมเข้า จะตกใจ จะหนีไปเสียจากที่นั่นก็ได้ เพราะเหตุนั้น

อุปัชฌาย์เองนั่นแล ควรนำไปยังท่าสำหรับอาบ ถ้ากุลบุตรนั้นไม่เป็นเด็กนัก

พึงบอกว่า จงอาบเสีย ส่วนผมของเขา พึงถือเอาดินเหนียวสระให้เองทีเดียว.

ฝ่ายกุลบุตรที่ยังเป็นเด็กย่อม อุปัชฌาย์พึงลงน้ำ ขัคสีด้วยโคมัยและดินเหนียว

อาบให้เอง ถ้าว่า เขาเป็นหิดด้านหรือผีอยู่บ้าง มารดาไม่เกลียดบุตรฉันใด

อุปัชฌาย์ ไม่พึงเกลียดฉันนั้นนั่นแหละ พึงให้อาบขัดสีตั้งแต่มือและเท้าจนถึง

ศีรษะเป็นอันดี.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะว่า ด้วยอุปการะเพียงเท่านี้ กุลบุตรทั้งหลายจะเป็นผู้

มีความรักแรงกล้ามีความเคารพมากในอาจารย์และอุปัชฌาย์และในพระศาสนา

จะเป็นผู้ไม่หวนกลับเป็นธรรมดา จะบรรเทาความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นเสีย อยู่

ไปจนเป็นพระเถระ จะเป็นผู้กตัญญูกตเวที. แลในเวลาที่ให้อาบน้ำหรือใน

เวลาปลงผมและหนวด ด้วยอาการอย่างนั้น อุปัชฌาย์ไม่ควรพูดกะเขาว่า เธอ

๑. เป็นลัทธินิยมของคนบางพวก. ๒. นี่เป็นโรคที่ต้องห้าม นับเป็นอุปสมบทโทษ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

เป็นคนมีชื่อเสียง มียศ บัดนี้ พวกฉันได้อาศัยเธอแล้ว จักไม่ลำบากด้วยปัจจัย.

ถ้อยคำที่ไม่ใช่คำชักนำอย่างอื่น ก็ไม่ควรพูดเหมือนกัน. ที่ถูกควรพูดแก่เขาว่า

ผู้มีอายุ เธอจงใคร่ครวญดูให้ดี จงคุมสติ แล้วพึงสอนตจปัญจกกัมมัฏฐาน ให้

และเมื่อบอก พึงชี้แจงให้ชัดเจนถึงข้อที่ส่วนทั้ง ๕ นั้น เป็นของไม่สะอาด

น่าเกลียด ปฏิกูล ด้วยอำนาจสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัย และโอกาส หรือข้อที่ส่วน

ทั้ง ๕ นั้น ไม่ใช่ผู้เป็นอยู่ ไม่ใช่สัตว์ ก็ถ้าในกาลก่อน เขาเป็นผู้เคยพิจารณา

สังขาร เจริญภาวนามา เป็นเหมือนผีที่แก่เต็มที่คอยรอการบ่งด้วยหนาม และ

เป็นเหมือนดอกปทุมที่แก่ คอยรอพระอาทิตย์ขึ้น ทีนั้นเมื่อการพิจารณา

กัมมัฏฐาน สักว่าเขาปรารภแล้ว ญาณที่จะบดกิเลสเพียงดังภูเขาให้แหลกไป

นั่นแล ย่อมเป็นไป ราวกะอาวุธของพระอินทร์แล่งภูเขาให้แหลกละเอียดไป

ฉะนั้น. เขาย่อมบรรลุพระอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จทีเดียว. จริงอยู่ แต่แรก

ทีเดียว กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้สำเร็จพระอรหัต ในขณะปลงผมเสร็จ

กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ได้การฟังเห็นปานนี้ อาศัยนัยซึ่งอาจารย์ผู้เป็นกัลยาถ-

มิตรให้ จึงได้สำเร็จ ไม่ได้อาศัยแล้วหาสำเร็จไม่ เพราะเหตุนั้น อุปัชฌาย์

จึงควรกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นแก่เขา อนึ่ง เมื่อปลงผมเสร็จแล้ว ควรใช้ขมิ้นผง

หรือกระแจะทาศีรษะและร่างกายกำจัดกลิ่นคฤหัสถ์เสียแล้ว พึงให้รับผ้ากาสายะ

๓ ครั้ง หรือ ๒ ครั้ง หรือครั้งเดียวก็ได้. แม้ถ้าอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ จะ

ไม่มอบให้ในมือของเขา จะนุ่งห่มให้เองทีเดียว ข้อนั้นก็สมควร แม้ถ้าว่าจะ

สั่งคนอื่นเป็นภิกษุหนุ่มก็ตาม สามเณรก็ตาม อุบายสกก็ตาม ว่าผู้มีอายุ ท่าน

จงถือเอาผ้ากาสายะเหล่านั้น นุ่งห่มให้ผู้นี้ หรือจะสั่งกุลบุตรนั้นแหละว่า เธอจง

ถือเอาผ้ากาสายะเหล่านี้ ไปนุ่งห่มควรทุกอย่าง. จริงอยู่ ผ้ากาสายะนั้นทั้งหมด

เป็นอันภิกษุนั้นเทียวให้แล้ว. แต่เขานุ่งหรือห่ม ผ้านุ่งหรือผ้าห่มอันใด โดย

๑. ผม. ขน. เล็บ. ฟัน, หนัง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ไม่ได้สั่ง พึงเปลื้องผ้านุ่งหรือผ้าห่มนั้นเสียแล้ว ให้ใหม่. เพราะผ้ากาสายะที่ภิกษุ

ให้ด้วยมือของตนหรือด้วยสั่งเท่านั้น จึงควร ที่ภิกษุไม่ได้ให้ ไม่ควร แม้ว่า

ผ้ากาสายะนั้น จะเป็นของเขาเอง ก็ต้องเป็นเช่นนั้น. และจะคืองกล่าวอะไร

ในผ้ากาสายะที่มีอุปัชฌาย์เป็นมูลเล่า. นี้เป็นวินิจฉัยในข้อว่า พึงให้ปลงผม

และหนวดก่อนแล้ว ให้นุ่งห่มผ้ากาสายะ ให้ทำอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นี้.

ข้อว่า พึงให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลายเป็นต้น มีความว่าภิกษุเหล่าใด

ประชุมกันในที่นั้น พึงให้ไหว้เท้าภิกษุเหล่านั้นแล้ว ลำดับนั้นพึงให้นั่งกระ-

โหย่งประคองอัญชลีแล้วบอก. ว่า เอว วเทหิ คือพึงสั่งว่า ยมห วทามิ ต

วเทหิ เพื่อรับสรณะ. ลำดับนั้นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์พึงให้สรณะแก่เขา โดย

นัยเป็นต้น ว่า พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ ดังนี้. พึงให้ตามลำดับที่กล่าวแล้ว

อย่างไรเทียว ไม่พึงให้สับลำดับ. ถ้าสับลำดับเสีย บทหนึ่งก็ดี อักษรหนึ่งก็ดี

หรือให้ พุทฺธ สรณ เท่านั้น ถ้วน ๓ ครั้งแล้ว ภายหลังจึงให้สรณะนอก

นี้อย่างละ ๓ ครั้ง สรณะไม่จัดว่าได้ให้. ก็แลอุปสัมปทาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงห้ามสรณะคมนูปสัมปทานี้เสียแล้ว ทรงอนุญาตไว้ บริสุทธิ์ฝ่ายเดียวก็ควร.

ส่วนสามเณรบรรพชาบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่ายจึงควร. บริสุทธิ์ฝ่ายเดียวไม่ควร

เพราะเหตุนั้น ในอุปสัมปทา ถ้าอาจารย์ทำกรรมเว้นญัตติโทษ และกรรม

วาจาโทษแล้ว กรรมเป็นอันทำถูกต้อง. ส่วนในบรรพชา ทั้งอาจารย์ทั้งอัน

เตวาสิก ต้องว่าสรณะ ๓ เหล่านี้ ไม่ให้เสียความพร้อมมูลแห่งฐานกรณ์ของ

พยัญชนะทั้งหลาย มี พุ อักษรและ อักษรเป็นต้น. ถ้าอาจารย์อาจว่าได้

แต่อันเตวาสิกไม่อาจ หรืออันเตวาสิกอาจ แต่อาจารย์ไม่อาจ. หรือทั้ง ๒

ฝ่ายไม่อาจ ไม่ควร. แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายอาจ ข้อนั้นจึงควร. ก็แลเมื่อให้สรณะ

เหล่านั้น พึงให้ว่าบทที่มีนิคหิตเป็นที่สุด ให้ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันอย่างนี้ว่า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ หรือพึงให้ว่าบทที่มี อักษรเป็นที่สุด ให้ขาดระยะ

กันอย่างนี้ว่า พุทฺธมฺ สรณมฺ คจฺฉามิ ในอันธกัฏฐกถาท่านแก้ว่า อัน

เตวาสิกพึงประกาศชื่อรับสรณะอย่างนี้ว่า อห ภนฺเต พุทฺธรกฺขิโต ยาวชีว

พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ ดังนี้. คำนั้นไม่มีแม้ในอรรถกถาเดียว ทั้งในพระ-

บาลีก็ไม่กล่าวไว้ เป็นแต่เพียงความชอบใจของพระอาจารย์เหล่านั้น เพราะ

ฉะนั้น ไม่ควรถือเอา. แท้จริง เมื่อไม่ว่าอย่างนั้น สรณะจะกำเริบก็หามิได้.

ข้อว่า อนุชานามิ ภกฺเว อิเมหิ ตีทิ สรณคมเนหิ ปพฺพชฺช

อุปสมฺปท มีความว่า เราอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์

เหล่านี้ ซึ่งว่าหมดจดทั้ง ๒ ฝ่าย ครบ ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า พุทฺธ สรณ

คจฺฉามิ เป็นต้น. ในบรรพชาและอุปสมบททั้ง ๒ นั้น อุปสมบท พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงห้ามเสียข้างหน้าแล้ว เพราะฉะนั้นบัดนี้ อุปสมบทนั้น จึงไม่

ขึ้นด้วยมาตรว่าสรณะเท่านั้น. ส่วนบรรพชาทรงอนุญาตเฉพาะไว้ข้างหน้าว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสามเณรบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้ เพราะ

ฉะนั้นถึงในบัดนี้ บรรพชานั้น ย่อมขึ้นด้วยมาตรว่าสรณะเท่านั้น. จริงอยู่

กุลบุตรเป็นอันตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณรด้วยอาการเพียงเท่านี้. และถ้าสามเณร

นั้นเป็นผู้มีปัญญา มีชาติแห่งคนฉลาด ลำดับนั้น พึงแสดงสิกขาบททั้งหลาย

แก่เธอในที่นี้ทีเดียว. แสดงอย่างไร ? แสดงเหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแล้ว . จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเรา

อนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเถรทั้งหลาย และอนุญาตเพื่อให้สามเณรศึกษาใน

สิกขาบท ๑๐ เหล่านั้น คือ:-

๑. เป็นสำเนียงว่าอย่างสันสกฤต บัดนี้เราไม่ใช้แล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

เว้นจากทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑.

เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ๑.

เว้นจากกรรมมิใช่พรหมจรรย์ ๑๐.

เว้นจากพูดเท็จ ๑.

เว้นจากดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑.

เว้นจากบริโภคอาหารผิดเวลา ๑.

เว้นจากฟ้อนขับประโคมและดูการเล่น ๑.

เว้นจากการทัดทาระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องทาอันเป็นฐาน

แต่งตัว ๑.

เว้นจากนอนบนที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ๑.

เว้นจากรับทองและเงิน ๑.

ส่วนในอันธกัฏฐกถา พระอรรถกถาจารย์ กล่าวแม้ซึ่งการให้

สิกขาบทเหมือนการให้สรณะอย่างนี้ว่า อห ภนฺเต อิตฺถนฺนาโม ยาวซีว

ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปท สมาทิยามิ ดังนี้. แม้วิธีนั้น ก็ไม่มี

ในบาลี ทั้งไม่มีในอรรถกถาทั้งหลาย เพราะฉะนั้นควรแสดงแต่พอสมควรแก่

บาลี จริงอยู่ บรรพชาสำเร็จด้วยสรณคมน์เท่านั้น. ส่วนสิกขาบททั้งหลายอัน

สามเณรควรทราบเพื่อทำสิกขาให้บริบูรณ์อย่างเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อสามเณร

ไม่สามารถจะเรียนสิกขาบทเหล่านี้ตามนัยซึ่งมาในพระบาลีได้ จะบอกแต่

เพียงใจความด้วยภาษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ควร. และสามเณรยังไม่รู้สิกขาบท

ที่ตนควรศึกษา ยังไม่ฉลาดในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร การยืน

และการนั่งเป็นต้น และในวิธีมีดื่มและฉันเป็นอาทิเพียงใด ยังไม่ควรปล่อยเธอ

๑. วิ. มหา. ๔/๑๒๐.

๒. สามเณรก็มีสังฆาฎิเหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ไปสู่หอฉันหรือที่แจกสลาก หรือสถานเช่นนั้นอื่นเพียงนั้น. ควรให้เธอเที่ยวอยู่

ในสำนักเท่านั้น. ควรสงวนเธอเหมือนเด็กอ่อน. ควรบอกสิ่งที่ควรและไม่ควร

ทุกอย่างแก่เธอ ควรแนะนำเธอในอภสมาจาริกวัตรมีนุ่งห่มเป็นต้น . แม้สามเณร

นั้นเล่า ก็ควรเว้น ให้ไกลซึ่งนาสนังคะ ๑. ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ข้างหน้า

อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐

ดังนี้ ทำอภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ พึงศึกษาให้ดีในศีล ๑๐ อย่าง ฉะนี้แล.

อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย จบ

ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์

[๓๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษาแล้ว รับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะทำในใจโดยแยบคาย เพราะทั้งความ

เพียรชอบโดยแยบคาย เราจึงได้บรรลุอนุตตรวิมุตติ จึงได้ทำอนุตตรวิมุตติ

ให้แจ้ง แม้พวกเธอก็ได้บรรลุอนุตตรวิมุตติ ทำอนุตตรวิมุตติให้แจ้ง เพราะ

ทำในใจโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรชอบโดยแยบคาย.

ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า:-

ท่านเป็นผู้อันบ่วงมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ผูกพัน

ไว้แล้วท่านเป็นผู้อันเครื่องผูกแห่งมารรัดรึงแล้ว แน่ะสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เราเป็นผู้พ้นแล้วจากบ่วงมาร ทั้งที่

เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกแห่งมาร ดู

ก่อนมารท่านถูกเรากำจัดเสียแล้ว

๑. วิ. มหา. ๔/๒๔.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ครั้งนั้น มารผู้มีใจบาปรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้จักเรา พระ

สุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้แล้ว มีทุกข์ เสียใจ หายไปในที่นั้นเอง.

เรื่องพระสทายภัททวัคคีย์

[๓๖] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตาม

พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลอุรุเวลา และ

ทรงแวะจากทางแล้วเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้น

แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้น หนึ่ง.

ก็โดยสมัยนั้นแล สหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน พร้อมด้วยปชาบดี

บำเรอกันอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งนั้น สหายคนหนึ่งไม่มีปชาบดี สหายทั้งหลาย

จึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์แก่เขา ต่อมาหญิงแพศยานั้น เมื่อพวก

สหายนั้น เผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่ ได้ลักเครื่องประดับหนีไป จึงพวกสหายนั้น

เมื่อจะทำการช่วยเหลือสหาย เที่ยวตามหาหญิงแพศยานั้น ไปถึงไพรสณฑ์

แห่งนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ครั้น แล้ว

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้

มีพระภาคเจ้าเห็นหญิงบ้างไหมเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามว่า ดูก่อนกุมารทั้งหลาย พวกเธอจะ

ต้องการอะไรด้วยหญิงเล่า ?

ภัท. เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าเป็นสหายภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คนในตำบล

นี้พร้อมด้วยปชาบดีบำเรอกันอยู่ในไพรสณฑ์แห่งนี้ สหายคนหนึ่งไม่มีปชาบดี

พวกข้าพเจ้าจึงได้นำหญิงแพศยามาเพื่อประโยชน์แก่เขา ต่อมา หญิงแพศยานั้น

เมื่อพวกข้าพเจ้าเผลอตัวมัวบำเรอกันอยู่ ได้ลักเครื่องประดับหนีไป เพราะเหตุ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

นั้นพวกข้าพระองค์ผู้เป็นสหายกัน เมื่อจะทำการช่วยเหลือสหาย จึงเที่ยวตาม

หาหญิงนั้นมาถึงไพรสณฑ์แห่งนี้ เจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนกุมารทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่

พวกเธอแสวงหาหญิงหรือแสวงหาตนนั้น อย่างไหนเป็นความดีของพวกเธอเล่า.

ภัท. ข้อที่พวกข้าพระองค์แสวงหาตนนั่นแล เป็นความดีของพวก

ข้าพเจ้า เจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนกุมารทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเธอนั่งลงเถิด เราจักแสดง

ธรรมแก่พวกเธอ.

พวกสหายภัททวัคคีย์เหล่านั้น รับพระพุทธาณัติพจน์ว่า อย่างนั้น

เจ้าข้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่พวกเขา คือทรงประกาศทานกถา

สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และ

อานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า พวกเขามีจิตสงบ

มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรง

ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง

คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจาก

มลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็น

ธรรมดา ได้เกิดแก่พวกเขา ณ ที่นั่ง นั่นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน

ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น พวกเขาได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรม

แล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว

ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

ในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า

พวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้ว

ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงพระพฤติพรหมจรรย์

เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

เรื่องพระสหายภัททวัคคีย์ จบ

ทุติยภาณวาร จบ

อรรถกถาภัททวัคคิยสหายกวัตถุ

หลายบทว่า มยฺห โข ภิกฺขเว มีอรรถว่า มยา โข. อีกอย่าง

หนึ่ง มีความว่า ความทำในใจโดยแยบคายของเรา อธิบายว่า เพราะความ

ทำในใจโดยแยบคายของเราเป็นเหตุ. ครั้นเปลี่ยนวิภัติแล้วก็พึงกล่าวคำว่า มยา

เป็นอนภิหิตกัตตา ในบทว่า อนุปฺปตฺตา นี้อีก (เพราะ มยฺห เป็นสามี

สัมพันธไปแล้ว.

บทว่า ภทฺทวคฺคิยา มีความว่า ได้ยินว่า สหายเหล่านั้นเป็นราช-

กุมาร ผู้มีความเจริญด้วยรูปร่างและจิต เที่ยวไป ด้วยคุมกันเป็นพวกเดียว

กัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภัททวัคคีย์ โว อักษรในบทว่า เตนหิ โว

ดังนี้ สักว่านิบาต.

สองบทว่า ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ มีความว่า โสดาปัตติมรรคได้เกิด

ขึ้นแก่บางพวก สกทาคามิมรรคได้เกิดขึ้นแก่บางพวก อนาคามิมรรคได้เกิด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ขึ้นแก่บางพวก จริงอยู่ มรรคเหล่านั้นทั้ง ๓ ท่านเรียกว่าธรรมจักษุ. ได้ยินว่า

สหายเหล่านั้น ได้เป็นนักเลง ๓๐ ตนในตุณฑิลชาดก. ครั้งนั้นพวกเขาได้ฟัง

ตุณฑิโลวาทแล้วรักษาศีล ๕. บุพพกรรมของสหายเหล่านั้นเท่านี้.

อรรถกถาภัททวัคคิยสหายกวัตถุ จบ

เรื่องชฏิล ๓ พี่น้อง

[๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบล-

อุรุเวลาแล้ว. ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑

คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบลอุรุเวลา บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น ชฎิลชื่ออุรุเวล-

กัสสปเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของ

ชฎิล ๕๐๐ คน ชฎิลชื่อนทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็น

หัวหน้า เป็นประธานของชฎิล ๓๐๐ คน ชฎิลชื่อคยากัสสป เป็นผู้นำ เป็น

ผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัส

กะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ใน

โรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้น

มีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้

ท่านลำบาก.

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า

ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

๑. ข. ชา. ๒๗/๙๑๗. ชาดกอัฏกถาภาค ๕ หน้า ๗๘.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิง

นั้น มีพญานาคดร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะ

ทำให้ท่านลำบาก.

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า

ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้น

มีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้

ท่านลำบาก.

ภ. ลางทีพญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูก่อนกัสสป เอาเถิด ขอ

ท่านจงอนุญาตโรงบูชาเพลิง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปู

หญ้าเครื่องลาด ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น.

ปาฏิหาริย์ที่ ๑

[๓๘] ครั้งนั้น พญานาคนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป

ดังนั้น ครั้นแล้ว มีคาวามขึ้งเคียดไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า ไฉนหน่อ เราพึงครอบงำเดชของพญานาค

นี้ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนึ่ง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อใน

กระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว

พญานาคนั้นทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์บันดาลไฟต้านทานไว้ เมื่อทั้งสอง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

ฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิงดุจไฟลุกไหม้ทั่วไป จึง

ชฎิลพวกนั้นพากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเรา พระมหา-

สมณะรูปงามดงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่ ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

ครอบงำเดชของพญานาคนั้น ด้วยเดชของพระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง

เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูก ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร โดยผ่าน

ราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสปาด้วยพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนกัสสป

นี้พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเราแล้ว จึงชฎิลอุรุ

เวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำ

เดชของพญานาคที่ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตน

ได้ แต่พระมหาสมณะนี้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

[๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวล-

กัสสปว่าดังนี้:-

ดูก่อนกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวัน

หนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความ

สำราญจึงห้ามท่านว่า ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ

มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.

ภ. บางทีพญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก ดูก่อนกัสสป เอาเถิด

ท่านจงอนุญาตโรงบูชาเพลิง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอุรุเวลกัสสปนั้นว่า อนุญาตให้แล้ว ไม่

ทรงครั่นคร้าม ปราศจากความกลัว เสด็จเข้าไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงคุณความดี เสด็จเข้าไปแล้ว

ไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น.

ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัด

เคืองทรงบังหวนควันขึ้นในที่นั้น

แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้.

ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติมี

เตโชธาตุเป็นอารมณ์ ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น.

เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้นแล้ว โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง

พวกชฎิลกล่าวกันว่า ชาวเรา พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่

ควันราตรีผ่านไป เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ แต่เปลวไฟสีต่างๆ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่.

พระรัศมีสีต่าง ๆ คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก

ปรากฏที่พระกาย พระอังดีรส.

พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว ทรงแสดงแก่พราหณ์

ว่า ดูก่อนกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมันด้วยเดชของเรา

แล้ว.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสป เลื่อมใสยิ่งนัก เพราะอิทธิปาฏิหาริย์นี้

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่มหาสมณะ

นิมนต์อยู่ในที่นี้แหละ ข้าพเจ้าจักบำรุงท่าน ด้วยภัตตาหารประจำ.

ปฏิหาริย์ที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ปาฏิหาริย์ที่ ๒

[๔๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง

ไม่ไกลจากอาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสป ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เมื่อราตรี

ปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืน

เฝ้าอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟใหญ่ฉะนั้น ต่อมาชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยผ่านราตรีนั้น ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาค

เจ้าว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะภัตตาหารเสร็จแล้ว พวกนั้นคือใครกันหนอ เมื่อ

ราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว มีรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไป

หาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาทท่านได้ยืนอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟใหญ่ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป พวกนั้นคือท้าวมหาราช

ทั้ง ๔ เข้ามาหาเราเพื่อฟังธรรม.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระหาสมณะมีฤทธิ์มาก

มีอนุภาพมากแท้ ถึงกับท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่

เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้ว

ประทับอยู่ในไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ปาฏิหาริย์ที่ ๒ จบ

ปาฏิหาริย์ที่ ๓

[๔๑] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว

เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน ต่อมา ชฎิลอุรุเวล-

กัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยผ่านราตรีนั้น ครั้น ถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้นั้นคือใคร

กันหนอ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้

สว่างไสว เข้ามาหาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาที่ท่าน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ดูก่อนกัสสป ผู้นั้น คือ ท้าวสักกะจอม-

ทวยเทพเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับท้าวสักกะจอมทวยเทพเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่

เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฏิลอุรุเวลากัสสป

แล้วประทับอยู่ในไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ปาฏิหาริย์ที่ ๓ จบ

ปาฏิหาริย์ที่ ๔

[๔๒] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว

เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสั้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน ครั้นล่วงราตรีนั้น ชฎิลอุรุเวล-

กัสสป ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

พระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว ผู้นั้นคือใครกัน

หนอ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้

สว่างไสว เข้ามาหาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาทท่าน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสปะ ผู้นั้น คือ ท้าวสหัมบดี

พรหมเข้ามาหาเราเพื่อฟังธรรม.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมากแท้ ถึงกันท้าวสหัมบดีพรหมเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็น

พระอรหันต์เหมือนเราแนะ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้ว

ประทับอยู่ในไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ปาฏิหาริย์ที่ ๔ จบ

ปาฏิหาริย์ที่ ๕

[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้เตรียมการบูชายัญเป็น

การใหญ่ และประชาชนชาวอังคะและมคธทั้งสิ้น ถือของเคี้ยวของบริโภคเป็น

อันมาก บ่ายหน้ามุ่งไปหา จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า บัดนี้ เราได้เตรียม

การบูชายัญเป็นการใหญ่ และประชาชนชาวอังคะและมคธทั้งสิ้นได้นำของเคี้ยว

ของบริโภคเป็นอันมากบ่ายหน้ามุ่งมาหา ถ้าพระมหาสมณะจักทำอิทธิปาฏิหาริย์

ในหมู่มหาชน ลาภสักการะจักเจริญยิ่งแก่พระมหาสมณะ ลาภสักการะของเรา

จักเสื่อม โอทำไฉน วันพรุ่งนี้ พระมหาสมณะจึงจะไม่มาฉัน ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของชฎิลอุรุเวลกัสสปด้วย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

พระทัยแล้ว เสด็จไปอุตตรกุรุทวีป ทรงนำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปนั้น

แล้วเสวยที่ริมสระอโนดาต ประทับกลางวันอยู่ ณ ที่นั้นแหละ ครั้นล่วงราตรี

นั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้

ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว มหาสมณะภัตตาหารเสร็จแล้ว เพราะ

เหตุไรหนอ วานนี้ท่านจึงไม่มา เป็นความจริง พวกข้าพเจ้าระลึกถึงท่านว่า

เพราะเหตุไรหนอ พระมหาสมณะจึงไม่มา แต่ส่วนแห่งขาทนียาหาร ข้าพเจ้า

ได้จัดไว้เพื่อท่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้อนถามว่า ดูก่อนกัสสป ท่านได้ดำริอย่างนี้

มิใช่หรือว่า บัดนี้เราได้เตรียมการบูชายัญเป็นการใหญ่ และประชาชนชาว

อังคะและมคธทั้งสิ้นได้นำของเคี้ยวและของบริโภคเป็นอันมากบ่ายหน้ามุ่งมาหา

ถ้าพระมหาสมณะจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ ในหมู่มหาชน ลาภสักการะจักเจริญยิ่ง

แก่พระมหาสมณะลาภสักการะของเราจักเสื่อม โอ ทำไฉน วันพรุ่งนี้ พระ-

มหาสมณะจึงจะไม่มาฉัน ดูก่อนกัสสป เรานั้นแลทราบความปริวิตกแห่งจิต

ของท่านด้วยใจของเรา จึงไปอุตตรกุรุทวีป นำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีป

นั้น มาฉันที่ริมสระอโนดาตแล้ว ได้พักกลางวันอยู่ ณ ที่นั้นแหละ.

ทีนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมากแท้ จึงได้ทราบความคิดนึกแม้ด้วยใจได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์

เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้ว

ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ปาฏิหาริย์ที่ ๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ผ้าบังสุกุล

[๔๔] ก็โดยสมัยนั้น ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระ

องค์ได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ลำดับนั้น ท้าว

สักกะจอมทวยเทพทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระ-

ทัยของพระองค์ จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดซักผ้าบังสุกุลในสระนี้ ที

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงทราบพระดำริในพระทัยของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางพลางทูลว่า พระ-

พุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงขยำผ้าบังสกุลบนศิลาแผ่นนี้ ลำดับ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เราจะพึงพาดผ้าบังสกุลไว้ ณ ที่ไหน

หนอ ครั้งนั้น เทพดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบกทราบพระดำริในพระหทัยของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตน จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมาพลางกราบทูลว่า พระพุทธ-

เจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้ ที่กิ่งกุ่มนี้ครั้งนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า เราจะผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น

ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงทราบพระดำริในพระหทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกแผ่นศิลาใหญ่มาวางไว้พลางกราบทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้.

หลังจากนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยล่วง

ราตรีนั้น ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว มหา-

สมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว เพราะเหตุไรหนอ มหาสมณะ เมื่อก่อนสระนี้

ไม่มีที่นี้ เดี่ยวนี้มีสระอยู่ที่นี้ เมื่อก่อนศิลาเหล่านี้ไม่มีวางอยู่ ใครยกศิลาเหล่า

มาวางไว้ เมื่อก่อนกิ่งกุ่มบกต้นนี้ไม่น้อมลงเดี๋ยวนี้ กิ่งนั้นน้อมลง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่เรา

ณ ที่นี้เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท้าว

สักกะจอมทวยเทพทรงทราบดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว จึง

ขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วตรัสบอกแก่เราว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงซักผ้าบังสุกุลในสระนี้ สระนี้อันผู้มีใช่มนุษย์ได้ขุด

แล้วด้วยมือ ดูก่อนกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงขยำผ้าบังสกุล ณ ที่ไหนหนอ

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพทราบความดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของ

พระองค์แล้ว ได้ทรงยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้อันผู้มีใช่มนุษย์ได้

ยกมาวางไว้ ดูก่อนกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงพาดผ้าบังสุกุล ณ ที่ใหนหนอ

ครั้งนั้น เทพดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบความดำริในจิตของเราด้วยใจ

ของตนแล้ว จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมาโดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้บนกิ่งกุ่มนี้ ต้นกุ่มบกนี้นั้นประหนึ่งจะ

กราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงนำพระหัตถ์มาแล้วน้อมลง ดูก่อนกัสสป เรา

นั้นได้ดำริว่า จะพึงผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้นท้าวสักกะจอมทวยเทพ

ทรงทราบความดำริแห่งจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลาแผ่น

ใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรง

ผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้ ศิลาแผ่นนี้อันผู้มีใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมากแท้ ถึงกับท้าวสักกะจอมทวยเทพได้ทำการช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เป็น

พระอรหันต์เหมือนเราแน่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้ว

ประทับอยู่ในไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ผ้าบังสุกุล จบ

ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้าเป็นต้น

[๔๕] ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงกราบทูลภัตตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว

มหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ท่านไปเถิด เราจะตามไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งชฏิลอุรุเวลกัสสปไปแล้ว ทรงเก็บผลหว้าจากต้นหว้า

ประจำชมพูทวีป แล้วเสด็จมาประทับนั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน ชฎิลอุรุเวลกัสสพป

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในโรงบูชาเพลิงแล้ว ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่มหาสมณะ ท่านมาทางไหน ข้าพเจ้ากลับมาก่อนท่าน

แต่ท่านยังมานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน.

ภ. ดูก่อนกัสสป เราส่งท่านไปแล้ว ได้เก็บผลหว้าจากต้นหว้าประจำ

ชมพูทวีป แล้วมานั่งในโรงบูชาเพลิงนี้ก่อน ดูก่อนกัสสป ต้นหว้านี้แล สมบูรณ์

ด้วยสี กลิ่น รส ถ้าท่านต้องการ เชิญบริโภคเถิด.

อุรุ. อย่าเลย มหาสมณะ ท่านนั่นแหละเก็บผลไม้นี้มา ท่านนั้น

แหละจงฉันผลไม้นี้เถิด.

ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมากแท้ เพราะส่งเรามาก่อนแล้ว ยังเก็บผลหว้าจากต้นหว้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

ประจำชมพูทวีปแล้วมานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือน

เราแน่

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสปแล้ว

ประทับอยู่โนไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.

ครั้นล่วงราตรีนั้น ไปชฎิลอุรุเวลกัสสปไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

แล้วจึงทูลภัตตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหาร

เสร็จแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งชฎิลอุรุเวลกัสสปไปด้วยพระดำรัสว่า ดู

ก่อนกัสสป ท่านไปเถิด เราจักตามไป แล้วทรงเก็บผลมะม่วง. . . ผลมะขาม

ป้อม. . . ผลสมอในที่ไม่ไกลต้น หว้าประจำชมพูทวีปนั้น. . . เสด็จไปส่ภพดาว-

ดึงส์ ทรงเก็บดอกปาริฉัตตกะ แล้วมาประทับนั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน ชฎิล

อุรุเวลกัสสปได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในโรงบูชาเพลิง ครั้นแล้วได้

ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่มหาสมณะ ท่านมาทางไหน ข้าพเจ้า

กลับมาก่อนท่าน แต่ท่านยังมานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป เราส่งท่านแล้วได้ไปสู่

ภพดาวดึงส์ เก็บดอกปาริฉัตตกะแล้ว มานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน ดูก่อน

กัสสป ดอกปาริฉัตตกะนี้แล สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมากแท้ เพราะส่งเรามาก่อนแล้ว ยังไปสู่ภพดาวดึงส์ เก็บดอกปริ

ฉัตตกะแล้ว มานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์ผ่าฟืน

[๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้นปรารถนาจะบำเรอไฟ แต่ไม่

อาจจะผ่าฟืนได้ จึงชฎิลเหล่านั้นได้มีความดำริต้องกันว่า ข้อที่พวกเราไม่อาจ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ผ่าพืนได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อนกัสสป พวกชฎิลจงผ่า

ฟืนเถิด.

ชฎิลอุรุเวลกัสสปรับพระพุทธดำรัสว่า ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจง

ผ่าฟืนกัน.

ชฎิลทั้งหลายได้ผ่าฟืน ๕๐๐ ท่อนคราวเดียวเท่านั้น ครั้งนั้นแล ชฎิล-

อุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้

ถึงกับให้พวกชฎิลผ่าฟืนได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์ก่อไฟ

[๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้นปรารถนาจะบำเรอไฟ แต่ไม่

อาจจะก่อไฟให้ลุกได้ จึงชฎิลเหล่านั้นได้มีความดำริต้องกันว่า ข้อที่พวกเรา

ไม่อาจจะก่อไฟให้ลุกขึ้นได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะ ไม่ต้อง

สงสัยเลย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อน

กัสสป พวกชฎิลจงก่อไฟให้ลุกเถิด.

ชฎิลอุรุเวลกัสสปรับพระพุทธดำรัสว่า ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจง

ก่อไฟให้ลุก ไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ลุกขึ้นคราวเดียวกันเทียว ลำดับนั้น ชฎิล

อุรุเวลกัสสป ได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้

ถึงกับให้ไฟลุกขึ้นได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์ดับไฟ

[๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้นบำเรอไฟกันแล้วไม่อาจดับไฟ

ได้ จึงได้คิดต้องกันว่า ข้อที่พวกเราไม่อาจดับไฟได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

ของพระสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะชฎิล-

อุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อนกัสสป พวกชฎิลจงดับไฟเถิด.

ชฎิลอุรุเวลกัสสปรับพระพุทธดำรัสว่า ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจง

ดับไฟกัน.

ไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ดับคราวเดียวกันเทียว.

ครั้งนั้นแล ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับให้พวกชฎิลดับไฟได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์

เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์กองไฟ

[๔๙] ก็โดยสมัยนั่นแล ชฏิลเหล่านั้น พากันดำลงบ้าง ผุดขึ้นบ้าง

ทั้งดำทั้งผุดบ้าง ในแม่น้ำเนรัญชรา ในราตรีหนาวเหมันตฤดู ระหว่างท้าย

เดือน ๓ ต้น เดือน ๔ ในสมัยน้ำค้างตก ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

นิรมิตกองไฟไว้ ๕๐๐ กอง สำหรับให้ชฎิลเหล่านั้น ขึ้นจากน้ำแล้วจะได้ผิง จึง

ชฎิลเหล่านั้น ได้มีความดำริต้องกันว่า ข้อที่กองไฟเหล่านี้ ถูกนิรมิตไว้นั้น คง

ต้องเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย ครั้งนั้น ชฎิลอุรุ-

เวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึง

กับนิรมิตกองไฟได้มากมายถึงเท่านั้น แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์น้ำท่วม

[๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล เมฆใหญ่ในสมัยที่มิใช่ฤดูกาลยังฝนให้ตก

แล้ว ห้วงน้ำใหญ่ได้ไหลนองไป ประเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่นั้น

ถูกน้ำท่วมขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ เราพึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

บันดาลให้น้ำห่างออกไปโดยรอบ แล้วจงกรมอยู่บนภาคพื้น อันมีฝุ่นฟุ้งขึ้น

ตอนกลาง ครั้นแล้วจึงทรงบันดาลให้น้ำห่างออกไปโดยรอบแล้วเสด็จจงกรมอยู่

บนภาคพื้น อันมีฝุ่นฟุ้งขึ้นตอนกลาง ต่อมา ชฎิลอุรุเวลกัสสปกล่าวว่า พระ-

มหาสมณะอย่าได้ถูกน้ำพัดไปเสียเลย ดังนี้ แล้วพร้อมด้วยชฏิลมากด้วยกัน ได้

เอาเรือไปสู่ประเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงบันดาลให้น้ำห่างออกไปโดยรอบแล้ว เสด็จจงกรมอยู่บนภาคพื้นอันมี

ฝุ่นฟุ้งขึ้นตอนกลาง แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่มหาสมณะ ท่าน

ยังอยู่ที่นี่ดอกหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบตรัสว่า ถูกละ กัสสป เรายังอยู่

ที่นี่ ดังนี้แล้ว เสด็จขึ้นสู่เวหาสปรากฏอยู่ที่เรือ จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความ

ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับบันดาลไม่ให้น้ำ

ไหลไปได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท

[๕๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า โมฆบุรุษนี้

ได้มีความคิดอย่างนี้มานานแล้ว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

แท้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่ ถ้ากระไร เราพึงให้ชฎิลนี้สลดใจ

แล้วจึงตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูก่อนกัสสป ท่านไม่ใช่พระอรหันต์แน่

ทั้งยังไม่พบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ แม้ปฏิทาของท่านที่จะเป็นเหตุให้

เป็นพระอรหันต์ หรือพบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่มี ทีนั้น

ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ซบเศียรลงทีพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลขอ

บรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชา

พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ท่านเป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน

เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธานของชฎิล ๕๐๐ คน ท่านจงบอกกล่าวพวก

นั้นก่อน พวกนั้นจักทำตามที่เข้าใจ.

ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปหาชฎิลเหล่านั้น ครั้นแล้วได้แจ้ง

ความประสงค์ต่อชฎิลเหล่านั้นว่า ผู้เจริญทั้งหลาย เราปรารถนาจะประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงทำตามที่เข้าใจ.

ชฎิลพวกนั้นกราบเรียนว่า พวกข้าพเจ้าเลื่อมใสยิ่งในพระมหาสมณะ

มานานแล้ว ขอรับ ถ้าท่านอาจารย์จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ

พวกข้าพเจ้าทั้งหมดก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะเหมือนกัน.

ต่อมา ชฎิลเหล่านั้นได้ลอยผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชา

เพลิงในน้ำ แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบเศียรลงแทบพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า พวกข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้า-

ข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้ว

ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ

ทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

[๕๒] ชฎิลนทีกัสสปได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชา

เพลิงลอยน้ำมา ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า อุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายเราเลย

จึงส่งชฎิลไปด้วยคำสั่งว่า พวกเธอจงไป จงรู้พี่ชายของเรา ดังนี้แล้ว ทั้งตน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

เองกับชฎิล ๓๐๐ ได้เข้าไปหาท่านพระอุรุเวลกัสสป แล้วเรียนถามว่า ข้าแต่พี่

กัสสปพรหมจรรย์นี้ประเสริฐแน่หรือ ?

พระอุรุเวลกัสสปตอบว่า แน่ละเธอ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ.

หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นลอยผม ชฎา เครื่องบริขารและเครื่องบูชา

เพลิงในน้ำ แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบเศียรลงแทบพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้แล้ว ได้

ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงพระพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ

ที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

[๕๓] ชฎิลคยากัสสปได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชา

เพลิง ลอยน้ำมา ครั้นแล้ว ได้มีความดำริว่า อุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายทั้ง

สองของเราเลย แล้วส่งชฎิลไปด้วยคำสั่งว่า พวกเธอจงไป จงรู้พี่ชายทั้งสอง

ของเราดังนี้แล้ว ทั้งตนเองกับชฎิล ๒๐๐ คน ได้เข้าไปหาท่านพระอุรุเวลพกัสสป

แล้วเรียนถามว่า ข้าแต่พี่กัสสป พรหมจรรย์นี้ประเสริฐแน่หรือ ?

พระอุรุเวลกัสสปตอบว่า แน่ล่ะเธอ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ.

หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นลอยผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่อง

บูชาเพลิงในน้ำ แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซบเศียรลงแทบพระ-

บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้แล้วได้

ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำ

ที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

[๕๔] พวกชฎิลนั้น ผ่าฟื้น ๕๐๐ ท่อนไม่ได้ แล้วผ่าได้ ก็ไฟไม่

ติดแล้วก่อไฟติดขึ้นได้ ดับไฟไม่คับ แล้วดับได้ ด้วยการเพ่งอธิษฐานของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้พระภาคเจ้าทรงนิรมิตกองไฟไว้ ๕๐๐ กอง

ปาฏิหาริย์ ๓๕๐๐ วิธี ย่อมมีโดยนัยนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

อาทิตตปริยายสูตร

[๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระ-

พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล ได้ยินว่า พระองค์ประทับ

อยู่ที่ตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป.

ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้ง

ปวงเป็นของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็น

ของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความ

เสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ

คือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะ

ความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์

กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.

โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน. . .

ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน . . .

ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน. . .

กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน. . .

มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะ

เป็นของร้อน สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็น

ทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็น

ของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

โทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย

ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะ

ความคับแค้น .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ-

หน่าย แม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

วิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน

ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย.

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย . . .

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย . . .

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย . . .

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย . . .

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิต

พ้นแล้วก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ก็

แล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูป

นั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

อาทิตตปริยายสูตร จบ

อุรุเวลปาฏิหาริย์ ตติยภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

อรรถกถาอุรุเวลกัสสปทิวัตถุ

บทว่า ปมุโข ประมุข คือเป็นหัวหน้า.

บทว่า ปาโมกฺโข ปาโมกข์ มีความว่า เป็นผู้สูงสุด คือมีปัญญา

ผ่องแผ้ว.

บทว่า อนุปหจฺจ ไม่ทำลายแล้ว ได้แก่ไม่ให้เสีย.

สองบทว่า เตชสา เตช มีความว่า ข่ม เดชแห่งนาคด้วยเดชของคน.

บทว่า ปริยาเทยฺย มีความว่า พึงครอบงำเสีย หรือพาให้วอควายไป.

บทว่า มกฺข ได้แก่ความโกรธ.

ข้อว่า น เตฺวว จ โข อรหา ยถา อห มีความว่า บุคคลผู้เช่น

ดังเราสำคัญตนว่า เราเป็นอรหันต์ อวดอ้างอยู่ฉันใด จะได้เป็นอรหันต์ฉัน

นั้น หาริได้ทีเดียว.

สองบทว่า อชฺชุณฺเห อคฺคิสรณมฺหิ มีความว่า เราพึงอยู่ตลอด

วันหนึ่งในวันนี้.

บทว่า ผาสุกาโม คือมุ่งจะเกื้อกูล.

บทว่า สุมานโส ได้แก่ผู้มีใจประกอบพร้อม ด้วยปีติและ โสมนัส.

บทว่า น วิมโน ได้แก่ผู้มีใจดี อธิบายว่า ใจที่โทสะไม่ครอบงำ.

สองบทว่า อคฺยาคาร อุทิจฺจเร มีความว่า เรือนไฟลุกโพลง.

บทว่า ชฏิลา เชื่อมกับบทนี้ว่า ภณนฺติ.

หลายบทว่า อหินาคสฺส อจฺจิโย น โหนฺติ มีความว่าเปลวไฟ

แห่งนาคมีแสงไม่รุ่งเรือง มีสีผิดรูป.

บทว่า ผลิกรณฺณาโย คือมีวรรณะเหมือนแก้วผลึก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

บทว่า องฺคิรสสฺส มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

อังคีรส เหตุมีพระองค์เป็นแดนสร้านออกแห่งรัศมี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

ทรงพระนามว่า อังคีรสพระองค์นั้น.

สองบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺคิยา มีความว่า เมื่อราตรีสิ้นไปมาก

แล้ว อธิบายว่า ยังเหลืออยู่น้อย.

บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา คือวรรณะงาม ได้แก่มีวรรณะน่าชอบ

ใจนัก.

บทว่า เกวลกปฺป ได้แก่ทั้งสิ้น คือสิ้นเชิง.

ชฎิลอุรุเวลกัสสปะ หมายถึงรัศมีแห่งวรรณะของท้าวมหาราชทั้ง ๔

กล่าวว่า ปุริมาหิ วณฺณนิภาทิ.

บทว่า ปาณินา คือด้วยมือ.

หลายบทว่า กกุเธ อธิวตฺถา เทวตา ได้แก่เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้น

รกฟ้า.

บทว่า วสฺสชฺเชยฺย มีความว่า พึงคลี่ผึ่งไว้เพี่อต้องการจะไห้แห้ง.

ต้นรกฟ้านั้น น้อมลงราวกะว่าทะลอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้าขอพระองค์ทรงเอื้อม

พระหัตถ์มาเถิด เพราะฉะนั้น ต้นรกฟ้านั้นจึงชื่อว่า อาทรหตฺโถ น้อม

ลงดุจทูลว่า ขอจงทรงเอื้อมพระหัตถ์มา.

บทว่า อุยฺโยเชตฺวา ได้แก่ทิ้ง. ภาชนะสำหรับติดไฟ เรียก

มัณฑามุขี.

๑. ตั้งวิเคราะห์ให้บทปลงเป็นปฐนาวิภัติก่อนแล้ว จึงใช้สรรพนานโยคตามรูปเติมทีหลัง อนึ่ง

ในวิเคราะห์นี้สงสัยว่าจะตกศัพท์ ฉัฏฐีวิภัติไปศัพท์หนึ่ง.

๒. พระบาลีเป็น มนฺทามุชิโย โบราณว่า เชิงกราน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

บทว่า จิรปฏิกา มีความว่า จำเติมแต่กาลนาน.

บทว่า เกสมิสฺส เป็นต้น มีความว่า ผมทั้งหลายนั่นเองชื่อว่า

เกสมิสฺส มวยผม. ทุกบทมีนัยเหมือนกัน. หาบสำหรับใส่บริขารของดาบส

ชื่อว่า ขาริกาชะ.

อรรถกถาอุรุเวลกัสสปาทิวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

เสด็จพระนครราชคฤห์ครั้งแรก

[๕๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับออยู่ ณ ตำบลคยาสีสะตาม

พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไป โดยบรรดาอันจะไปสู่พระนคราชคฤห์

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวน ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฎิล เสด็จจาริก

โดยลำดับถึงพระนครราชคฤห์แล้วทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นไทรชื่อ

สุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขตพระนครราชคฤห์นั้น

[๕๗] พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงสดับข่าวถนัดแน่ว่า

พระสมณโคตมศากยบุตรทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงพระนครราชคฤห์

โดยลำดับ ประทับอยู่ ใต้ต้นไทรชื่อสุประดิษฐเจดีย์ในสวนตาลหนุ่ม เขต

พระนครราชคฤห์ ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น

ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี

ทรงทราบโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา

ของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์

ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระ

ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์

เทพ และมนุษย์ ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม

ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริบูรณ์บริสุทธิ์

อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

หลังจากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงแวดล้อมด้วย

พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ถึงจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ส่วนพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต นั้นแล บางพวกถวายบังคมพระผู้

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไป

แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนขางหนึ่ง บางพวก ประคองอัญชลีไปทางที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศนามและ

โคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก

นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต

นั้นได้ความดำริว่า พระมหาสมณะพระพฤติพรหมจรรย์ในท่านอุรุเวลกัสสป

หรือว่าท่านอุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ ลำดับนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทั้งทราบความดำริในใจของพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต

นั้น ด้วยพระทัยของพระองค์ ได้ตรัสกะท่านพระอุรุเวลกัสสปด้วยพระคาถาว่า

ดังนี้.

ดูก่อนท่านผู้อยู่ในอุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิลผู้

ผอม เพราะกำลังพรต ท่านเห็นเหตุอะไรจึงยอมละเพลิงเสียเล่า ?

ดูก่อนกัสสป เราถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านละเพลิงที่บูชาเสียทำ

ไมเล่า ?

ท่านพระอุรุเวลกัสสปทูลตอบว่า ยังทั้งหลายกล่าวยกย่องรูปเสียงและ

รสที่น่าปราถนา และสตรีทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้ารู้ว่านั้น เป็นมลทินในอุปธิ

ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่ยินดี ในการเช่นสรวง ในการบชา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัสสป ก็ใจของท่านไม่ยินดี

แล้วในอารมณ์ คือรูป เสียงและรสเหล่านั้น ดูก่อนกัสสป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น

ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ในเทวโลกหรือมนุษยโลก ท่านจงบอกข้อนั้นแก่

เรา.

ท่านพระอุรุเวลกัสสปทูลตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นทางอันสงบ

ไม่มีอุปธิ ไม่กังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่ธรรม

ที่ผู้อื่นแนะให้บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงไม่ยินดี ในการเซ่นสรวง ในการบูชา.

[๕๘] ลำดับนั้นท่านพระอุรุเวลกัสสปลุกจากอาสนะ ห่มผ้าอุตราสงค์

เฉวียงบ่า ซบเศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของ

ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา

ของข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวก พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ทั้ง ๑๒ นหุต นั้น ได้มีความ

เข้าใจว่า ท่านอุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของพราหมณ์คหบดี ชาว-

มคธทั้ง ๑๒ นหุตนั้น ด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความ

เศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงทราบว่า พวกเขามี จิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์

มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศ พระธรรมเทศนา ที่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ

มรรค ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่

พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ ที่นั่ง

นั้นแล ดุจผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย่อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น

พราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต แสดงตนเป็นอุบายสก.

[๕๙] ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้ทรงเห็นธรรม

แล้ว ได้ทรงบรรลุธรรมแล้ว ได้ทรงรู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว ทรงมีธรรมอันหยั่ง

ลงแล้ว ทรงข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ทรง

ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องทรงเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้

ทูลพระวาจานี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ครั้งก่อน เมื่อหม่อมฉันยังเป็นราช-

กุมาร ได้มีความปรารถนา ๕ อย่าง บัดนี้ ความปรารถนา ๕ อย่างนั้น ของ

หม่อมฉันสำเร็จแล้ว.

ความปรารถนา ๕ อย่าง

๑. ครั้งก่อน เมื่อหม่อนฉันยังเป็นราชกุมาร ได้มีความปรารถนาว่า

ไฉนหนอ ชนทั้งหลายพึงอภิเษกเราในราชสมบัติดังนี้ นี้เป็นความปรารถนา

ของหม่อมฉันประการที่ ๑ บัดนี้ความปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว

พระพุทธเจ้าข้า.

๒. ขอพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า พึงเสด็จมาสู่แว่นแคว้นของ

หม่อมฉันนั้น นี้เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๒ บัดนี้ ความ

ปรารถนานั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้า.

๓. ขอหม่อมฉันพึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นี้เป็น

ความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๓ บัดนี้ ความปรารถนานั้น ของหม่อม-

ฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

๔. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน นี้

เป็นความปรารถนาของหม่อมฉันประการที่ ๔ บัดนี้ความปรารถนานั้น ของ

หม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

๕. ขอหม่อมฉัน พึงรู้ตัวถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

นี้เป็นความปรารถนาของหม่อนฉันประการที่ ๕ บัดนี้ ความปรารถนานั้น

ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าข้า ครั้งก่อนหม่อมฉันยังเป็นราชกุมาร ได้มีความ

ปรารถนา ๕ อย่างนี้ บัดนี้ความปรารถนา ๕ อย่างนั้น ของหม่อมฉันสำเร็จแล้ว

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก. ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย

ตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉัน

ว่า เป็นอุบายสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเติมแต่วันนี้เป็นต้นไป และขอพระผู้-

มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉัน ในวันพรุ่ง

นี้ .

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอม-

เสนามาคธราชทรงทราบการรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเสด็จลุกจาก

ทีประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป.

[๖๐] หลังจากนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช รับสั่งให้ตก.

แต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีตโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้เจ้าพนักงานไปกราบ

ทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระเจ้าว่า ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

แล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือ

บาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินสู่พระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่

ใหญ่ จำนวน ๑๐๐๐ รูป ล้วนปุราณชฎิล.

[๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมทวยเทพทรงนิรมิตเพศเป็น

มาณพ เสด็จพระดำเนินนำหน้าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พลางขับ

คาถาเหล่านั้น ว่าดังนี้:-

คาถาสดุดีพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระฉวีเสมอ

ด้วยลิ่มทองสิงดี ทรงฝึกอินทรีย์แล้ว ทรง

พ้นวิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราช-

คฤห์พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้ฝึก

อินทรีย์แล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระฉวีเสมอ

ด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงพ้นแล้ว ทรงพ้นวิเศษ

แล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์พร้อม

ด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว ผู้

พ้นวิเศษแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระฉวี

เสมอด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงข้ามแล้ว ทรงพ้น

วิเศษแล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์

พร้อมด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้พ้นแล้ว

ผู้พ้น วิเศษแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระฉวีเสมอ

ด้วยลิ่มทองสิงคี ทรงสงบแล้ว ทรงพ้นวิเศษ

แล้ว เสด็จประเวศสู่พระนครราชคฤห์พร้อม

ด้วยพระปุราณชฎิลทั้งหลาย ผู้สงบแล้ว ผู้

พ้นวิเศษแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง

มีอริยวาสธรรม ๑๐ ประการ เป็นเครื่องอยู่

ทรงประกอบด้วยพระกำลัง ๑๐ ทรงทราบ

ธรรม คือ กรรมบถ ๑๐ และทรงประกอบ

ด้วยธรรมอันเป็นองค์ของพระอเสขะ ๑๐ มี

ภิกษุบริวารพันหนึ่ง เสด็จประเวศสู่พระ

นครราชคฤห์.

[๖๒] ประชาชนได้เห็นท้าวสักกะจอมทวยเทพแล้วพากันกล่าวอย่างนี้

ว่า พ่อหนุ่มนี้มีรูปงามยิ่งนัก น่าดูนัก น่าชมนัก พ่อหนุ่มนี้ของใครหนอ

เมื่อประชาชนกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้กล่าวตอบประชาชน

พวกนั้นด้วยคาถา ว่าดังนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็น

นักปราชญ์ ทรงฝึกอินทรีย์ทั้งปวงแล้ว เป็น

ผู้ผ่องแผ้วทาบุคคลเปรียบมีได้ ไกลจาก

กิเลส เสด็จไปดีแล้วในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้

รับใช้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ทรงรับพระเวฬุวันสังฆิกาวาส

[๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระ-

ราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่ง

เหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงพระเจ้าพิมพิสารจอม

เสนามาคธราช ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-

โภชนียาหารอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์จนให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตห้ามภัตแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ท้าวเธอได้ทรงพระราชดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงประทับ

อยู่ ณ ที่ไหนดีหนอ ซึ่งจะเป็นสถานที่ไม่ไกลไม่ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วย

การคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุก

พล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง ปราศจากลมแต่ชนที่เดินเข้าออก

ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณ-

วิสัย แล้วได้ทรงพระราชดำริต่อไปว่า สวนเวฬุวันของเรานี้แล ไม่ไกลไม่

ใกล้จากบ้านนัก สะดวกด้วยการคมนาคม ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะ

พึงเข้าไปเฝ้าได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เสียงไม่กึกก้อง

ปราศจากลมแต่ชนที่เข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของผู้ต้องการที่สงัด และ

ควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย ผิฉะนั้น เราพึงถวายสวนเวฬุวันแก่ภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ดังนี้ ลำดับนั้น จึงทรงจับพระสุวรรณภิงคาร

ทรงหลั่งน้ำน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระราชดำรัสว่า หม่อมฉัน

ถวายสวนเวฬุวันนั่นแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอารามแล้ว และทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิ-

สารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

แล้วเสด็จลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ต่อมา พระองค์ทรงทำธรรมีกถาในเพราะ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตอาราม.

ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จบ

อรรถกถาพิมพิสารวัตถุ

บทว่า ลฏฺิวเน ได้แก่ สวนตาล.

สองบทว่า สุปฺปติฏฺเ เจติเย ได้แก่ ที่ต้นไทรต้นใดต้นหนึ่ง.

ได้ยินว่า คำว่า สุประดิษฐเจดีย์ นี้ เป็นเชื่อของต้นไทรนั้น. ๑ หมื่น เป็น

๑ นหุต ในคำว่า ทฺวาทสนหุเตหิ นี้.

บทว่า อปฺเปกจฺเจ ตัดบทว่า อปิ เอกจฺเจ.

บทว่า อชฺฌภาสิ มีความว่า ได้ตรัสสำทับ เพื่อตัดความสงสัยของ

พรามณ์และคฤหบดีเหล่งนั้น.

สองบทว่า กิเมว ทิสฺวา มีความว่า เห็นอะไรเล่า ?

บทว่า อุรุเวลวาสี คือผู้มีปกติอยู่ที่อุรุเวลประเทศ. ท่านย่อมเป็น

ผู้ละไฟที่คนบูชาแล้วบวช, มีอุบายอะไร ?

บทว่า กิสโกวทาโน มีความว่า เป็นผู้ตักเตือนพร่ำสอนดาบสทั้ง

หลาย ซึ่งได้นามว่า ผู้ผอม เพราะมีร่างกายผอม ด้วยความประพฤติของผู้

ย่างกิเลส.

อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า เป็นดาบสผู้ผอมเอง และเป็นผู้ให้โอวาท

อธิบายว่า ตัดเตือนพร่ำสอนดาบสผู้ผอมเหล่าอื่นด้วย.

สองบทว่า กถ ปหีน มีความว่า เพราะเหตุไรจึงละเสีย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

มีคำอธิบายว่า ท่านอยู่อุรุเวลามานาน คนเองเคยเป็นอาจารย์สั่งสอน

เหล่าดาบสผู้บำเรอไฟ เห็นอุบายอะไรเล่า จึงละไฟเสีย ? เราถามเนื้อความ

นี้กะท่าน เหตุไฉน ท่านจึงละการบูชาเพลิงของท่านเสีย ?

ในคาถาที่ ๒ มีเนื้อความดังนี้:-

ยัญทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญกามทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เหล่านี้และสตรี

ทั้งหลาย ข้าพเจ้านั้น ได้ทราบชนิดของกามมีรูปเป็นต้น ทั้งหมดนี้ว่า เป็น

มลทินในขันธ์เป็นที่หอบทุกข์ไว้ จึงมิได้ยินดีในการเซ่นและการบูชา อธิบายว่า

ไม่อภิรมย์แล้วการเซ่นหรือการบูชา เพราะยัญทั้งหลาย ต่างโดยการเซ่นและ

การบูชาเหล่านี้กล่าวสรรเสริญผลเป็นมลที่ทั้งนั้น.

วินิจฉัยในคาถาที่ ๓:-

บทว่า อถ โกจรหิ มีความว่า ก็ที่นั้น . . . ในสิ่งไรเล่า ? บทที่

เหลือตื้นทั้งนั้น.

วินิจฉัยในคาถาที่ ๔:-

บทว่า ปท เป็นต้น มีความว่า ทางคือพระนิพพาน จัดว่าสงบ

และมีความสงบเป็นสภาพ จัดว่าไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุหอบทุกข์ เพราะไม่มี

กิเลสทั้งหลายที่เข้าไปหอบเอาทุกข์ไว้, จัดว่าหากังวลมิได้ เพราะไม่มีกิเลส

เครื่องกังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น จัดว่าไม่ติดข้องแม้ในกามภพ ซึ่งเป็นที่

กล่าวสรรเสริญแห่งยัญทั้งหลายเพราะไม่ติดอยู่ในภพทั้ง ๓ แล้ว, จัดว่ามีอันจะ

ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีเกิด แก่ ตาย, จัดว่าไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นจะพึง

แนะให้ได้ เพราะต้องบรรลุด้วยมรรคซึ่งตนเองเจริญแล้วเท่านั้น อันคนอื่นจะ

เป็นใครก็ตามจะพึงให้บรรลุไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่ยินดีแล้วในการเซ่นและการบูชา

ก็เพราะเห็นทางเช่นนี้. พระอุรุเวลกัสสปแสดงอย่างไร ? ด้วยคำว่า ได้เห็น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ทางอันสงบ เป็นต้นนั้น ? แสดงว่า ข้าพเจ้ามิได้ยินดีแล้วในการเซ่นและการ

บูชา ซึ่งให้สำเร็จสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าพเจ้านั้นจะกล่าวาอย่างไร ?

ครั้งนั้นแล พระอุรุเวลกัสสปผู้มีอายุ ครั้นประกาศความไม่ยินดีใน

โลกทั้งปวงอย่างนี้ว่า ใจของข้าพเจ้าไม่ยินดีแล้วในเทวโลกและมนุษยโลก ชื่อ

นี้ ดังนี้แล้ว จึงประกาศข้อที่คนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าเป็นสาวก ก็แลท่านแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างในอากาศ เพื่อประกาศ

ข้อที่ตนเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล แล้วลงถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

บทว่า ธมฺมจกฺขุ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคญาณ.

บทว่า อสฺสาสกา ได้แก่ ความหวัง อธิบายว่า ความปรารถนา.

ก็วินิจฉัยในข้อว่า เอสาห ภนฺเต นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้:-

อันที่จริง สรณคมน์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น สำเร็จแล้วด้วยความ

ตรัสรู้มรรคเป็นแท้ แต่ว่าท้าวเธอทรงตัดสินตกลงพระหฤทัยในสรณคมน์นั้น

แล้ว บัดนี้จึงทรงทำการมอบพระองค์ถวายด้วยพระวาจา คือว่า พระเจ้าพิมพิ-

สารนี้ ได้ทรงถึงสรณคมน์ที่แน่นอน ด้วยอำนาจแห่งมรรคทีเดียวแล้ว เมื่อ

จะทรงทำการถึงสรณะนั้นให้ปรากฏแก่ผู้อื่นด้วยพระวาจา และเมื่อจะทรงถึง

ด้วยความนอบน้อม จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า สิงฺคีนิกฺขสุวณฺโณ มีความว่า มีวรรณะเสมอด้วยลิ่มทองคำ

ชื่อสิงดี.

บทว่า ทสวาโส ได้แก่ ทรงอยู่ประจำในธรรมเป็นที่อยู่ของพระ

อริยเจ้า ๑๐ ประการ.

บทว่า ทสธมฺมวิทู ได้แก่ ทรงทราบกรรมบถ ๑๐ ประการ.

สองบทว่า ทสภิ จุเปโต ได้แก่ ทรงประกอบด้วยองค์ของพระอเสข-

บุคคล ๑๐ อย่าง.

๑. สัมมาทิฎฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ. ๙. สัมมญาน ๑๐. สัมมานิมุตติ. ม.ม. ๑๓/๑๗๔

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

สองบทว่า พพฺพธิ ทนฺโต ได้แก่ ผู้ทรมานแล้วในอินทรีย์ทั้งปวง

จริงอยู่ บรรดาอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อินทรีย์ไร ๆ ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทรมาน ย่อมไม่มี.

ข้อว่า ถควนฺต ภุตฺตาวึ โอนีตปตฺตปาณึ เอกมนฺต นิสีทิ

มีความว่า สังเกตเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจาก

บาตรแล้ว จึงประทับนั่งที่ประเทศแห่งหนึ่ง.

บทว่า อตฺถิกาน มีความว่า ผู้มีความต้องการด้วยการไปเฝ้าพระ-

พุทธเจ้า และด้วยการฟังธรรม.

บทว่า อภิกฺกมนีย มีความว่า พึงอาจไปเฝ้าได้.

บทว่า อปฺปกิณฺณ คือไม่พลุกพล่าน.

บทว่า อปฺปสทฺท ได้แก่ เงียบเสียงที่พูดจากัน.

บทว่า อปฺปนิคฺโส ได้แก่ เงียบเสียงกึกก้อง ด้วยเสียงอื้ออึงใน

พระนคร.

บทว่า วิชนวาต ได้แก่ ปราศจากลมในสรีระของชนที่สัญจรเนื่องๆ.

บาลีว่า ปราศจากการพูดจาของชนบ้าง. อธิบายว่า ปราศจากการพูด

จาของตนภายใน.

บาลีว่า ปราศจากการเที่ยวไปของชนบ้าง อธิบายว่า เว้นจากการ

ท่องเที่ยวของชน.

บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยก ได้แก่ ควรเป็นที่กระทำกรรมลับของ

หมู่มนุษย์.

บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺป คือสมควรเป็นที่สงัด.

อรรถกถาพิมพิสารวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา

พระอัสสชิเถระ

[๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในพระนครราชคฤห์

พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ จำนวน ๒๕๐ คน ก็ครั้งนั้น พระสารีบุตร

พระโมคคัลลานะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในสำนักสญชัยปริพาชก ท่านทั้งสอง

ได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกคนหนึ่ง

ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระอัสสชินุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไป

บิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน

เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ สารีบุตร

ปริพาชก ได้เห็นท่านพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ มี

มรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มี

นัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า บรรดา

พระอรหันต์ หรือท่านผู้ได้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ภิกษุรูปนี้คงเป็นผู้

ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่านบวช

เฉพาะใคร ใครเป็นศาลดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร แล้วได้

ดำริต่อไปว่า ยังเป็นการไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านกำลังเข้าละแวก

บ้านจนเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้นเราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ เพราะเป็น

ทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ครั้งนั้นท่านพระอัสสชิเทียวบิณฑ-

บาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไป จึงสารีบุตรปริพาชกเข้าไปหา

ท่านพระอัสสชิ ถึงแล้วได้พูดปราศรัยกับท่านพระอัสสชิ ครั้นผ่านการพูด

ปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ข้างหนึ่ง สารีบุตรปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้

กะท่านพระอัสสชิว่า อินทรีย์ขอชื่อท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง

ท่านบวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร

ขอรับ ?

อ. มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวชจาก

ศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น ศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

สา. พระศาสดาของท่านสอนอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ?

อ. เราเป็นคนให้ บวชยังไม่นาน พึงมาสู่สู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจ

แสดงธรรมแก่ท่านกว้างขวาง แต่จักกล่าวใจความแก่ท่านโดดย่อ.

สา. น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจักทำพยัญชนะให้มากทำไม.

พระอัสสชิเถระแสดงธรรม

[๖๕] ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตร-

ปริพาชก ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคต

ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความ

ดับของธรรมเหล่านี้ พระมหาสมณะทรง

สั่งสอนอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

สารีบุตรปริพาชิกได้ดวงตาเห็นธรรม

[๖๖] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี

ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี

ความคับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่สารีบุตรปริพาชก:-

ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนี้เท่านั้น

ท่านทั้งหลายจงแทงตลอดบทอันหาความ

โศกมิได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวก

เรายังไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป์

สารบุตรปริพาชกเปลื้องคำปฏิญญา

[๖๗] เวลาต่อมา สารีบุตรปริพาชกเข้าไปหาโมคคัลลานปริพาชา

โมคคัลลานปริพาชกได้เห็นสารีบุตรปริพาชกเดินมาแต่ใกล้ ครั้น แล้วได้ถาม

สารีบุตรปริพาชกว่า ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่าน

บริสุทธิ์ผุดผ่องท่านได้บรรลุอมตธรรมแล้วกระมังหนอ.

สา. ถูกละ ผู้มีอายุ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว.

โมค. ท่านบรรลุอมตธรรมได้อย่างไร ด้วยวิธีไร ?

สา. ผู้มีอายุ วันนี้เราได้เห็นพระอัสสชิกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน

พระนครราชคฤห์ มีมรรยาทก้าวไป ถอยกลับ แลเหลียว เหยียดแขน คู้แขน

น่าเลื่อมใสมีนัยน์ตาทอดลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ครั้นแล้วเราได้มีความดำริ

ว่า บรรดาพระอรหันต์หรือท่านผู้ได้บรรลุอรหันต์มรรคในโลก ภิกษุรูปนี้คง

เป็นผู้ใดผู้หนึ่งแน่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาภิกษุรูปนี้ แล้วถามว่า ท่าน

บวชเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร เรา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

นั้นได้ยังคิดว่า ยังเป็นกาลไม่สมควรจะถามภิกษุรูปนี้ เพราะท่านยังกำลังเข้า

ละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต ผิฉะนั้นเราพึงติดตามภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ

เพราะเป็นทางอันผู้มุ่งประโยชน์ทั้งหลายจะต้องสนใจ ลำดับนั้น พระอัสสชิ

เที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ถือบิณฑบาตกลับไปแล้ว. ต่อมา เราได้

เข้าไปหาพระอัสสชิ ครั้นถึงแล้ว ได้พูดปราศรัยกับพระอัสสชิ ครั้นผ่านการ

พูดปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง เรายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคำนี้ต่อพระอัสสชิ

ว่า อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวช

เฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ขอรับ.

พระอัสสชิตอบว่า มีอยู่ ท่าน พระมหาสมณะศากยบุตรเสด็จออกทรงผนวช

จากศากยตระกูล เราบวชเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา และเราชอบใจธรรมของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น. เราได้ถามพระอัสสชิต่อไปว่า ก็พระศาสดาของท่าน

สอนอย่างไร แนะนำอย่างไร ? พระอัสสชิตอบ'ว่า เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่

นาน พึ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านกว้างขวาง แต่จัก

กล่าวใจความแก่ท่านโดยย่อ. เราได้เรียนว่า น้อยหรือมาก นิมนต์กล่าวเถิด

ท่านจงกล่าวแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการใจความอย่างเดียว ท่านจัก

ทำพยัญชนะให้มากทำไม.

[๖๘] ผู้มีอายุ ครั้งนั้น พระอัสสชิได้กล่าวคำปริยายนี้ ว่าดังนี้:-

ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระ-

ตถาคตทรงแสวงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหา-

สมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

โมคคัลลานปริพาชกได้ดวงตาเห็นธรรม

[๖๙] ครั้นได้ฟังธรรมปริยายนี้ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี

ความคับไปเป็นธรรมดา ได้เกิดขึ้นแก่โมคคัลลานปริพาชกะ

ธรรมนี้แหละถ้ามีก็เพียงนิเท่านั้น

ท่านทั้งหลายแทงตลอดบทอันหาความโศก

มีได้ บทอันหาความโศกมิได้นี้ พวกเรายัง

ไม่เห็น ล่วงเลยมาแล้วหลายหมื่นกัลป.

สองสหายอำลาอาจารย์

[๗๐] ครั้งนั้น โมคคัลลานปริพาชกได้กล่าวชักชวนสารีบุตรปริพา-

ชกว่า ผู้มีอายุ เราพากันไปสำนักพระผู้พระภาคเจ้าเถิด เพราะพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้นเป็นพระศาสดาของเรา.

สารีบุตรปริพาชกกล่าวว่า ผู้มีอายุ ปริพาชก ๒๕๐ คนนี้อาศัยเรา

เห็นแก่เรา จึงอยู่ในสำนักนี้ เราจงบอกกล่าวพวกนั้นก่อน พวกนั้นจักทำตาม

ที่เช้าใจ.

ลำดับนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพากันเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้ต่อพวกปริพาชกนั้นว่า ท่านทั้งหลาย เราจะไปใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระศาสดาของเรา.

พวกปริพาชกตอบว่า พวกข้าพเจ้าอาศัยท่าน. เห็นแก่ท่านจึงอยู่ใน

สำนักนี้ ถ้าท่านจักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้าทั้ง

หมดก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะด้วย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ต่อมา สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปหาท่านสญชัยปริพาชก

ครั้นถึงแล้วได้เรียนว่า ท่านขอรับพวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระศาสดาของพวกกระผม.

สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เรา

ทั้งหมด ๓ คนจักช่วยกันบริหารคณะนี้.

แม้ครั้งที่ ๒ . . .

แม้ครั้งที่ ๓ สารีบุตรโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ต่อสญชัยปริพาชกว่า

ท่านขอรับ พวกกระผมจะไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น เป็นพระศาสดาของพวกกระผม.

สญชัยปริพาชกพูดห้ามว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย อย่าไปเลย เรา

ทั้งหมด ๓ คนจักช่วยกันบริหารคณะนี้.

ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะพาปริพาชก ๒๕๐ คนนั้นมุ่งไปทางที่

จะไปพระวิหารเวฬุวัน ก็โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากสญชัยปริพาชกในที่นั้น.

ทรงพยากรณ์

[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นสารีบุตรโมคคัลลานะ

มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหาย

สองคนนั้น คือโกลิตะ และอุปติสสะ กำลังมานั่น จักเป็นคู่สาวกของเรา

จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมของเรา:-

ก็สหายสองคนนั้นพ้นวิเศษแล้ว ใน

ธรรมอันเป็นที่สั้นอุปธิอันยอดเยี่ยม มีญาณ

วิสัยอันลึกซึ้ง ยังมาไม่ทันถึงพระวิหารเวฬ-

วัน พระศาสดาทรงพยากรณ์ ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

สหายสองคนนี้คือ โกลิตะและ

อุปติสสะกำลังมา นั่นจักเป็นคู่สาวกของเรา

จักเป็นคู่อันเจริญชั้นเยี่ยมชองเรา.

เข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท

[๗๒] ครั้งนั้น สารีบุตรโมคคัลลานะได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้ว ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า พึง

ได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้แล้วได้

ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ

ทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านี้.

เสียงติเตียน

[๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียง ๆ พากัน

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อให้ชายไม่มีบุตร พระสมณโคตม

ปฏิบัติเพื่อให้หญิงเป็นหม้าย พระสมณโคดมปฏิบัติเพื่อตัดสกุล บัดนี้ พระ

สมณโคตมให้ชฎิลพันรูปบวชแล้ว และให้ปริพาชกศิษย์ของท่านสญชัย ๒๕๐

คนนี้บวชแล้ว และกุลบุตรชาวมคธที่มีชื่อเสียง ๆ พากันพระพฤติพรหมจรรย์

ในพระสมณโคดม อนึ่งประชาชนได้เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วได้โจทย์ด้วยคาถาม

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

พระมหาสมณะเสด็จมาสู่คิริพพช

นครของชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชก

พวกสญชัยทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำ

ใครไปอีกเล่า.

[๗๔] ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียน โพน-

ทะนาอยู่จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้น จักอยู่ไม่ได้

นาน จักอยู่ได้เพียง ๗ วันท่านั้น พ้น ๗ วันก็จักหายไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าชนเหล่าใดกล่าวหาต่อพวกเธอด้วยคาถาม ว่าดังนี้:-

พระมหามณะเสด็จมาสู่คิริพพช

นครของชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชก

พวกสญชัยทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำ

ใครไปอีกเล่า.

[๗๕] พวกเธอจงกล่าวโต้ตอบต่อชนเหล่านั้น ด้วยคาถาม ว่าดังนี้:-

พระตถาคตทั้งหลายผู้แกล้วกล้ามาก

ย่อมทรงนำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม

เมื่อชนทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไปอยู่โดย

ธรรม ผู้เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม.

ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ย่อม

กล่าวหาด้วยคาถานี้ ว่าดังนี้:-

พระมหาสมณะเสด็จมาสู่คิริพพช

นครของชาวมคธแล้ว ได้ทรงนำปริพาชก

๑. พระนครราชคฤห์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

พวกสญชัยทั้งปวงไปแล้ว บัดนี้ จักทรงนำ

ใครไปอีกเล่า.

ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวโต้ตอบต่อประชาชนพวกนั้น ด้วยคาถานี้ ว่า

ดังนี้:-

พระตถาคตทั่งหลายผู้แกล้วกล้ามาก

ย่อมทรงนำชนทั้งหลายไปด้วยพระสัทธรรม

เมื่อชนทั้งหลายอันพระองค์ทรงนำไปอยู่โดย

ธรรม ผู้เข้าใจอย่างนี้จะริษยาทำไม.

[๗๖] ประชาชนกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรทรงนำชนทั้งหลายไปโดยธรรม ไม่ทรงนำไปโดยอธรรม.

เสียงนั้นได้มีเพียง ๗ วันเท่านั้น พ้น ๗ วัน ก็หายไป.

พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะบรรพชา จบ

จตุตถภาณวาร จบ

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา

บทว่า สาริปุตฺตโมคฺคลฺลานา ได้แก่ พระสารีบุตร ๑ พระ-

โมคคัลลานะ ๑ ท่านทั้ง ๒ ได้ทำกติกากันไว้ว่า ผู้ใดพบอมตธรรมก่อน ผู้

นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง.

ได้ยินว่าท่านทั้ง ๒ นั้น ในเวลาเป็นคฤหัสถ์มีชื่อปรากฏอย่างนี้ว่า

อุปติสสะ โกลิตะ มีมาณพ ๒๕๐ เป็นบริวารได้ไปดูมหรสพซึ่งมี ณ ยอดเขา.

๑. คิรคฺคสมชฺช มหรสพฉลองประจำปี ณ กรุงราชคฤห์, มหรสพยอดเขา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

สองสหายเห็นมหาชนในที่นั้นแล้ว ไดมีความรำพึงว่า ขึ้นชื่อว่าหมู่มหาชน

อย่างนี้ ๆ ยังไม่ทันถึง ๑๐๐ ปี ก็จักตกอยู่ในปากแห่งความตาย.

ลำดับนั้น สหายทั้ง ๒ เมื่อบริษัทลุกขึ้นแล้ว ได้ไต่ถามกันและกัน

มีอัธยาศัยร่วมกัน มีความสำคัญว่าความตายปรากฏเฉพาะหน้า ปรึกษากันว่า

เพื่อน เมื่อความตายมี ธรรมที่ไม่ตายก็ต้องมีด้วย. เอาเถิด เราค้นหาธรรมที่

ไม่ตายกันเถิดดังนี้.

เพื่อค้นหาธรรมที่ไม่ตาย จึงพร้อมด้วยบริษัทบวชในสำนักสญชัยปริ-

พาชกผู้นุ่งผ้า ไม่กี่วันนักก็ถึงฝั่งในลัทธิสมัยซึ่งเป็นวิสัยแห่งญาณของสญชัยนั้น.

เมื่อมองไม่เห็นอมตธรรม จึงถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมขอถาม

แก่นสารแม้อื่นในบรรพชานี้จะยังมีอยู่หรือ ?

ได้ฟังคำตอบของท่านว่า ไม่มี ผู้มีอายุ และว่า ลัทธินี้มีเท่านี้แล.

จึงได้ทำกติกาไว้ว่า ผู้มีอายุ ลัทธินี้เหลวไหลไม่มีแก่นสาร ที่นี้ใน

พวกเรา ผู้ใดพบอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง.

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้ง

๒ ได้ทำกติกากันไว้.

ตติยาวิภัตติ ในลักษณะแห่งอิตถัมภูต ผู้ศึกษาพึงทราบในบททั้งหลาย

ว่า ปาสาทิเกน อภิกฺกนฺเตน เป็นต้น. คำนี้ว่า อตฺถิเกหิ อุปญาต

มคฺค เป็นคำแสดงเหตุแห่งการติดตาม. จริงอยู่ มีคำที่ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า

อย่ากระนั้นเลย เราพึงตามติดภิกษุนี้ไปช้างหลัง ๆ. เพราะเหตุไร ? เพราะ

เหตุว่าธรรมดาการตามติดไปข้างหลัง ๆ นี้ เป็นทางที่ผู้มีความต้องการทั้งหลาย

รู้จักเข้าหาแล้วอธิบายว่า เป็นมรรคา อันชนทั้งหลายผู้มีความต้องการรู้แล้ว

และดำเนินเข้าหาแล้ว .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในคำนี้อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่านิพพาน อัน

เราทั้งหลายผู้มีความต้องการ รู้ชัดแล้วว่า มีอยู่แน่นอนด้วยอนุมานอย่างนี้ว่า

เมื่อความตายมี ธรรมที่ไม่ทายก็ต้องมีด้วย อย่ากระนั้นเลย เราเมื่อแสวงหาคือ

เมื่อค้นหา นิพพานนั้น พึงตามติดภิกษุนี้ไปข้างหลัง ๆ.

หลายบทว่า ปิณฺฑปาต อาทาย ปฏิกฺกมิ มีความว่า พระอัสสชิผู้

มีอายุ เข้าไปนั่งชิดเชิงฝาเเห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในสุทินน-

กัณฑ์. แม้สารีบุตรเล่า ยืนคอยเวลาอยู่ว่า ยังไม่ใช่เวลาที่จะถามปัญหาก่อน

เพื่อจะบำเพ็ญวัตตปฏิบัติ จึงถวายน้ำจากคนโทของตน แก่พระเถระผู้เสร็จ

ภัตตกิจแล้ว กระทำปฏิสันถารกับพระเถระผู้ล้างมือและเท้าแล้ว ถามปัญหา.

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า อถ โข สารี-

ปุตฺโต ปริพฺพาชโก เป็นต้น.

สองบทว่า น ตฺยาห สกฺโกมิ ตัดบทว่า น เต อห สกฺโกมิ

แปลว่า สำหรับท่าน เราไม่อาจ.

แต่ว่า พระเถระถึงปฏิสัมภิทาญาณในธรรมวินัยนี้ จะไม่อาจเพื่อแสดง

ธรรมเพียงเท่านี้หามิได้ โดยที่แท้ ท่านคิดว่า เราจักปลูกความเคารพในธรรม

แก่ผู้นี้ ได้ถือเอาข้อที่การแสดงธรรมในพุทธวิสัยโดยอาการทั้งปวงไม่ใช่วิสัย

ของท่าน จึงกล่าวอย่างนั้น.

บาทคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา มีความว่า เบญจขันธ์ชื่อว่า

ธรรมมีเหตุเป็นแดนเกิด. พระเถระแสดงทุกขสัจ แก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น.

บาทคาถาว่า เตส เหตุ ตถาคโต อาห มีความว่า สมุทยสัจ

ชื่อว่าเหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้น

ด้วย.

๑. มหาวิภงฺค. ปฐม. ๒๗.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

บาทคาถาว่า เตสฺจ โย นิโรโธ จ มีความว่า พระตถาคตตรัส

ความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง ๒ นั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธ-

สัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น. ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ใน

คาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย. เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรคซึ่งเป็น

เหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย.

อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า เตสญฺจ โย นิโรโธ จ นี้ สจจะแม้ ๒

เป็นอันพระเถระแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ความคับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้น และ

อุบายแห่งความคับแห่งสัจจะทั้ง ๒ นั้น ฉะนี้แล. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยัง

เนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้.

บาทคาถาว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว มีความว่า แม้ถ้าว่า

ธรรมที่ยิ่งกว่านี้ไม่มีไซร้ ธรรมเพียงเท่านี้เท่านั้นคือคุณ มาตรว่าโสดาปัตติ-

ผลนี้เท่านั้น อันข้าพเจ้าจะพึงบรรลุ ถึงอย่างนั้นธรรมนี้นั่นแล อันข้าพเจ้า

ค้นหาแล้ว.

บาทคาถาว่า ปจฺจพฺยถา ปทมโสก มีความว่า พวกข้าพเจ้าเที่ยว

ค้นหาทางอันไม่มีความโศกใด ท่านทั้งหลายนั่นแล ย่อมตรัสรู้ทางอันไม่มี

ความโศกนั้น อธิบายว่า ทางนั้น อันท่านทั้งหลายบรรลุแล้ว.

กึ่งคาถาว่า อทิฏฺ อพฺภุติต พหุเกหิ กปฺปนหุเตหิ มีความ

ว่า ทางอันไม่มีความโศกนี้ ชื่ออันข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่เห็นแล้วทีเดียว ล่วง

ไปนักหนาตั้งหลายนหุตแห่งกัลป์ สารีบุตรปริพาชกแสดงข้อที่ตนมีความเสื่อม

ใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุ ที่ไม่ได้เห็นทางนั้นด้วยประการดังนี้.

๑. ปาฐะโนอรรถกถาว่า ตถาปิ เอโสเอว ธมฺโม. โยชนาหน้า ๑๘๔ แก้ขยายความว่า ตถาปี

เอโสเอว มยา คเวสิโต นิพฺพานสงฺขาโต ธมฺโมติ อตฺโถ. จึงได้แปลไว้อย่างนี้ หรืออีกนัย

หนึ่งว่า ธรรมที่ข้าพเจ้าค้นหาแล้ว ก็ธรรมนี้นั้นแล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

บาทคาถาว่า คมฺภีเร าณวิสเย มีความว่า เป็นธรรมอันลึกซึ่ง

ด้วย เป็นวิสัยแห่งญาณอันลึกซึ้งด้วย.

บาทคาถาว่า อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย ได้แก่ นิพพาน.

บทว่า วมุตฺเต มีความว่า ผู้นั้นพ้นแล้วด้วยวิมุติมีนิพพานนั้นเป็น

อารมณ์.

บทว่า พฺยากาสิ มีความว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า คู่แห่งสหายนั้น

จักเป็นคู่อัครสาวก เป็นคู่ที่เจริญของเรา ดังนี้ ชื่อว่าทรงพยากรณ์แล้วซึ่งคู่

แห่งสหายในสาวกบารมีญาณ.

ข้อว่า สา ว เตส อายสฺมนฺตาน อุปสมฺปทา อโหสิ มีความ

ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทานั้นแล ได้เป็นอุปสัมปทาของท่านทั้ง ๒ พร้อมทั้ง

บริษัท.

ก็แลในพระเถระทั้ง ๒ ซึ่งอุปสมบทแล้วอย่างนั้น พระมหาโมคคัลลาน

เถระ ๗ วัน จึงได้สำเร็จพระอรหัต พระสารีบุตรเถระกึ่งเดือนจึงได้สำเร็จ

พระอรหัต.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสีเสด็จ

อุบติในโลก. ดาบสชื่อสรทะ กระทำมณฑปด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ที่อาศรมของ

ตน เพื่อพระพุทธเจ้านั้น อัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับบนอาสนะดอก

ไม้นั่นเทียว กระทำมณฑปอย่างนั้นแล ทั้งแต่งอาสนะดอกไม้สำหรับภิกษุสงฆ์

ด้วย แล้วปรารถนาเป็นอัครสาวก ก็แลครั้นปรารถนาแล้ว จึงส่งข่าวไปบอก

แก่เศรษฐีชื่อสิริวัฒน์ว่า ข้าพเจ้าได้ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกแล้ว ถึงท่าน

ก็จงมาปรารถนาตำแหน่งหนึ่ง. เศรษฐีกระทำมณฑปดอกอุบลเขียว นิมนต์

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขฉันในมณฑปนั้น ครั้นให้ฉันเสร็จแล้ว ได้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ปรารถนาเป็นสาวกที่ ๒ ในชนทั้ง ๒ นั้น สรทดาบส เกิดเป็นพระสารีบุตร

เถระ สิริวัฒน์เศรษฐีเกิดเป็นพระมหาโมคคัลลานเถระ ฉะนี้แล บุพกรรม

ของพระอัครสาวกทั้ง ๒ นั้น เท่านี้ .

วินิจฉัยในบทว่า อปุตฺตกตาย เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-

พระสมณโคตมปฏิบัติเพื่อความที่ชนทั้งหลาย ผู้มีบุตรบวชต้องเป็นคน

ไร้บุตร เพื่อความที่หญิงทั้งหลายผู้มีผัวบวชต้องเป็นหม้าย คือ ต้องเป็นคน

ร้างผัว. เพื่อเข้าไปตัดสกุลเสีย แม้ด้วยอาการทั้ง ๒ อย่าง.

บทว่า สญฺชยานิ คือผู้เป็นอันเตวาสิกของสญชัย.

สองบทว่า มาคธาน คิริพฺพช มีความว่า สู่คิริพฺพชนครของ

ชาวมคธทั้งหลาย.

บทว่า มหาวีรา ได้แก่ ผู้มีความเพียรใหญ่.

บทว่า นียมานาน มีความว่า ครั้นเมื่อกุลบุตรทั้งหลาย อันพระ-

องค์ทรงแนะนำอยู่.

บทว่า นียมานาน นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ

อีกนัยหนึ่ง ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

บาทคาถาว่า กา อุสฺสูยา วิชานต มีความว่า จะต้องริษยาอะไร

ด้วยเล่า เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลาย ทรงแนะนำโดยธรรม.

อรรถกถาสารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา จบ

๑. ชื่อนี้ตรงกับอรรถกถาธรรมบท แต่ในอปทานว่า เดิมพระสารีบุตรชื่อ สุรุจิดาบส พระโมค-

คัลลานะเป็นพระยานาคชื่อ อรุณ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ต้นเหตุอุปัชฌายวัตร

[๗๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่มีใคร

ตักเตือนไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยว

บิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต

เข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควร

ลิ้มบ้าง ข้างบนขอควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน

ในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.

คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตร จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต

เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของ

ควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของ

ควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็ได้

เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่เลี้ยงพราหมณ์

ฉะนั้น.

[๗๘] ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ

ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึง

ได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลัง

บริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง

ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็ได้เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง

มีเสียงดังอยู่ ดังนี้ แล้วกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมภิกษุสงฆ์ทรงสอบถาม

[๗๙] ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ

เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาท

ไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ย่อมน้อมบาตรสำหรับ

เที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้าง

บนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตน

เองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มี

มรรยาทไม่สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตร

สำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยว

บ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง

ด้วยต้นเองมาฉัน แม้ในโรงอาหารก็ได้เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย

ที่แท้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ

เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว.

ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ

[๘๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนก-

ปริยายดังนี้แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน

ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความ

สันโดษ ความกำจัด ความขัดเกลา อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ

ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่

เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตอุปัชฌายะ อุปัชฌายะจักตั้งจิตสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิ

วิหาริกจักตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อุปัชฌายะและ

สัทธิวิหาริกนั้น ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรงประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จัก

ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌายะอย่างนี้.

วิธีถืออุปัชฌายะ

สัทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้านั่งกระโหย่ง

ประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำอย่างนี้ ๓ หน.

ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า.

ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า.

ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

อุปัชฌายะรับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ

รับว่า จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ ก็ได้.

รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันสัทธิ-

วิหาริก ถืออุปัชฌายะแล้ว.

ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็น

อันสัทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะ.

อุปัชฌายะวัตร

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ

วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น มีดังต่อไปนี้:-

สัทธิวิหาริกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวาย

ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.

ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌายะดื่ม

ยาคู แล้วพึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาด

แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ.

ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา

พึงถวายประคดเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อม

ทั้งน้ำด้วย.

ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑล ๓ นุ่ง

ให้เป็นปริมณฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิ ทำเป็นชั้น กลัดดุม

ล้างบาตรแล้ว ถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก

ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌายะกล่าว

ถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย.

เมื่อกลับ พึงมาก่อน แล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า

ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่ง

ผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.

ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อพึงผึ่งแดไว้ตระหนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิ

ให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.

ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม

บิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว

พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็คให้แห้ง

แล้ว ผึ่งไว้ที่แดดตระหนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เทียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึ่งเก็บบาตรไว้บน

พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ

สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.

เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ทั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั่นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึ่งจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น

พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ

เรือนไฟแล้วเดินตามหลังอุปัชฌายะไป ถวายดังสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวร

มาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณถวายดิน.

ถ้าอุทสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเช้าเรือนไฟพึงเอาดินทาหน้า ปิด

ทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกขุผู้เถระ ไม่พึงห้าม

กันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรม แก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ.

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือทั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างน้ำ

ทั้งช้างหลังออกจากเรือนไฟ.

พึงทำบริกรรมแก่อุปัชฌายะแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน

ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอุปัชฌายะ พึงถวาย

ผ้านุ่งพึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม

น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน.

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น.

ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม.

อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึง

ปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูกหมอนออกวางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เตียงตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทก

บานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เครื่องปูฟื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง

และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา

พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด

เสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทั้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง.

เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม

เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็คแล้วขนกลับตั้งไว้ที่เติม เทียงตั่ง พึงผึ่งแดด

ขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู

ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วทั้งไว้ตามเติม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด

ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึง

ผึ่งแดดเช็ดถูเสียแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรบนพื้นที่

ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ

สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.

ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวัน-

ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่

ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้า

ต่างกลางวัน กลางคืนพึงเปิด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้า

น้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อ

ชำระ.

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือ

พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความ

รำคาญบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่น

ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิด

แก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึง

ทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าอุปัชฌายะต้องอาบัติหนักควรปริวาส สัทธิ-

วิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่

อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะควรชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวน

ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม ถ้า

อุปัชฌายะควรมานัต สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะควรอัพภาน สัทธิวิหาริก

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ.

ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือ ตัชชนียกรรม นิยส-

กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม สัทธิวิหาริก

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ

หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออุปัชฌายะนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-

กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม

แล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะ

พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้น

เสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌายะ ถ้า

จีวรของอุปัชฌายะจะต้องทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า

ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าน้ำย้อมของ

อุปัชฌายะจะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย

อุบายอย่างไรหนอ. ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌายะ ถ้าจีวรของอุปัชฌายะ

จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับ

มาให้ดี ๆ เมื่อหยดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.

สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่

พึงรับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของ

ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป

ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรม

ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป ทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป

ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุ

บางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้

ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้ ไม่ลาอุปัชฌายะก่อน

ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึง

พยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.

อุปัชฌาวัตร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

อรรถกถาอุปัชณายวัตตกถา

บทว่า อนุปชฺฌายกา มีความว่า เว้น จากครูผู้คอยสอดส่องโทษน้อย

โทษใหญ่.

บทว่า อนากปฺปสมฺปนฺนา ได้แก่ ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมารยาท.

อธิบายว่า ปราศจากมารยาทซึ่งสมควรแก่สมณะ.

บทว่า อุปริโภชเน ได้แก่ เบื้องบนแห่งโภชนะ.

บทว่า อุตฺติฏฺปตฺต ได้แก่ บาตรสำหรับเที่ยวไปเพื่อบิณฑะ จริง

อยู่ มนุษย์ทั้งหลายมีความสำคัญในบาตรนั้นว่าเป็นแดน เพาะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า อุตฺติฏฺปตฺต อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงเห็นความในบทว่า

อุตฺติฏฺปตฺต นี้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายยืนขึ้นน้อมบาตรเข้าไป.

ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อุปชฺฌาย มีความว่า เราอนุญาต

บัดนี้ เพื่อให้ภิกษุถืออุปัชฌาย์.

สองบทว่า ปุตฺตจิตฺต อุปฏฺเปสฺสติ มีความว่า พระอุปัชฌาย์จัก

เข้าไปตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจความรักฉันบิดากับบุตรอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นบุตรของ

เรา แม้ในบทที่สองก็นัยนี้.

สองบทว่า สคาวา สปฺปติสฺสา มีความว่า อุปัชฌาย์กับสัทธิ-

วิหาริก จักเข้าไปตั้งความเป็นผู้หนัก และความเป็นผู้ใหญ่ กะกันและกัน.

บทว่า สภาควุตฺติกา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ถูกส่วนกัน.

๕ บท มีบทว่า สาหูติ วา เป็นต้น เป็นไวพจน์แห่งคำรับเป็น

อุปัชฌาย์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

สองบทว่า กาเยน วุณฺาเปติ มีความว่า เมื่อสัทธิวิหาริกกล่าว

๓ ครั้งว่า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของผมเถิดขอรับ. อย่างนั้นแล้ว ถ้าพระ-

อุปัชฌาย์รับรองการถืออุปัชฌาย์ว่า อุปัชฌาย์อันท่านถือแล้ว ดังนี้ ด้วยกาย

หรือวาจา หรือทั้งกายวาจา ด้วยอำนาจแห่งบท ๆ หนึ่ง ใน ๕ บทมี สาหุ

เป็นต้น อุปัชฌาย์เป็นอันสัทธิวิหาริกถือแล้ว.

จริงอยู่ การใช้วาจาประกาศหรือการใช้กายเคลื่อนไหวให้ทราบเนื้อ

ความ แห่งบทใดบทหนึ่ง ใน ๕ บทนี้ ของพระอุปัชฌาย์ นี้แลเป็นการถือ

อุปัชฌาย์ ในข้อว่า พึงถืออุปัชฌาย์ นี้. ฝ่ายพระเกจิอาจารย์ กล่าวหมายเอาคำ

รับว่า สาธุ คำของพระเกจิอาจารย์นั้น ไม่เป็นประมาณ. เพราะว่าอุปัชฌาย์

ย่อมเป็นอันสิทธิวหาริกถือแล้ว ด้วยเหตุมาตรว่าคำขอและคำให้ คำรับไม่นับ

ว่าเป็นองค์ในการถืออุปัชฌาย์นี้. ฝ่ายสัทธิวิหาริกจะควรทราบแต่เพียงว่า

อุปัชฌาย์เป็นอันเราถือแล้วด้วยบทนี้. หามิได้ ควรทราบความข้อนี้ด้วยคำว่า

บัดนี้มีวันนี้เป็นต้น พระเถระเป็นภาระของเรา ถึงเราก็เป็นภาระของพระเถระ.

ข้อว่า ตตฺราย สมฺมาวตฺตนา มีความว่า คำใด ซึ่งเรากล่าวแล้วว่า

พึงประพฤติชอบ, ความประพฤติชอบในคำนั้น ดังนี้.

หลายบทว่า กาลสฺเสว อุฏฺาย อุปหนา โอมุญฺจิตฺวา มีความ

ว่า ถ้ารองเท้าของสัทธิวิหาริกนั้น อันเธอสวมอยู่ คือ เป็นของที่อยู่ในเท้า

เพื่อประโยชน์แก่การจงกรมในเวลาใกล้รุ่ง หรือเพื่อประโยชน์แก่การรักษาเท้า

ซึ่งล้างแล้ว. พึงลุกขึ้นแต่เข้าตรู่ ถอดรองเท้าเหล่านั้นเสีย.

ข้อว่า ทนฺตฏฺ ทาตพฺพ มีความว่า พึงน้อมถวายไม้สีฟัน ๓

ขนาด คือขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก จาก ๓ ขนาดนั้น ท่านถือเอา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ขนาดใดครบ ๓ วัน ตั้งแต่วันที่ ๔ ไป พึงถวายขนาดนั้นเท่านั้น ถ้าว่าท่าน

ถือเอาตามมีตามได้ ไม่มีกำหนดลงไป ต่อไปได้ชนิดใด พึงถวายชนิดนั้น.

ข้อว่า มุโขทก ทาตพฺพ มีความว่า พึงนำเข้าไปทั้งน้ำเย็นและ

น้ำร้อน ท่านใช้อย่างใดจากน้ำ ๒ อย่างนั้น ครบ ๓ วัน ทั้งแต่วันที่ ๔ ไป

พึงถวายน้ำล้างหน้าชนิดนั้นเท่านั้น ถ้าว่าท่านใช้ตามมีตามได้ไม่กำหนดลงไป

ต่อไปได้ชนิดใดพึงถวายชนิดนั้น. ถ้าว่าท่านใช้ทั้ง ๒ อย่าง พึงนำเข้าไปถวาย

ทั้ง ๒ อย่าง. พึงทั้งน้ำไว้ในที่ล้างหน้าแล้ว พึงกวาดตั้งแต่เว็จกุฏีมา เมื่อพระ-

เถระไปเว็จกุฎี พึงกวาดบริเวณ. ด้วยประการอย่างนี้ บริเวณเป็นอันไม่ว่า.

พึงแต่งทั้งอาสนะไว้ แต่เมื่อพระเถระยังไม่ออกจากเว็จกุฎีทีเดียว เมื่อท่านทำ

สรีรกิจเสร็จแล้วมานั่งบนอาสนะนั้น พึงทำวัตรตามที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า

ถ้าข้าวต้มมี พึงถวาย.

บทว่า อุกฺกลาโป มีความว่า เกลื่อนกล่นด้วยหยากเยื่อบางอย่าง

แต่ถ้าไม่มีหยากเยื่ออื่น มีแต่น้ำหยด ประเทศนั้นควรเช็ดแม้ด้วยมือ.

สองบทว่า สคุณ กตฺวา มีความว่า พึงซ้อนจีวร ๒ ผืนเข้าด้วยกัน

แล้ว ถวายสังฆาฏิทั้ง ๒ ผืนที่ซ้อนแล้วนั้น. จริงอยู่ จีวรทั้งหมด เรียกว่า

สังฆาฏิ เพราะซ้อนกันไว้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พึงถวายสังฆาฎิทั้งหลาย.

ในข้อว่า นาติทูเร คนฺตพฺพ นาจฺจาสนฺเน นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้า

ด้วยย่างเท้าเพียงก้าวเดียวหรือ ๒ ก้าว จะไปถึงอุปัชฌาย์ ซึ่งเหลียวมามอง

ด้วยระยะเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า เป็นผู้เดินไม่ห่างนัก ไม่ชิดกัน.

ข้อว่า ปตฺตปริยาปนฺน ปฏิคฺคเหตพฺพ มีความว่า ถ้าอุปัชฌาย์

ได้ข้าวต้นหรือข้าวสวยในที่ภิกษาจารแล้ว บาตรร้อนหรือหนัก พึงถวายบาตร

ของตนแก่ท่าน รับบาตรนั้นมา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

ข้อว่า น อุปชฺฌายสฺส ภณมานสฺส อนฺตรนฺตรา กถา โอปา-

เตตพฺพา มีความว่า เมื่ออุปัชฌาย์กำลังนั่งพูดอยู่ในละแวกบ้านหรือในที่อื่น

เมื่อคำของท่านยังไม่จบ ไม่ควรพูดสอดเรื่องอื่นขึ้น.

ก็แลตั้งแต่นี้ไป ในที่ใด ๆ ท่านทำการห้ามไว้ด้วย อักษร ที่แปล

ว่า ไม่ หรือ อย่า ในที่นั้น ทุกแห่งพึงทราบว่า เป็นอาบัติทุกกฏ. จริงอยู่ ข้อ

นี้เป็นธรรมดาในขันธกะ.

ข้อว่า อาปตฺติสามนฺตา ภณมาโน มีความว่า เมื่ออุปัชฌาย์

กล่าววาจาใกล้ต่ออาบัติ ด้วยอำนาจปทโสธัมมสิกขาบท และทุฏฐุลลสิกขาบท

เป็นต้น.

บทว่า นิวาเรตพฺโพ ความว่า พึงห้ามเป็นเชิงถามอย่างนี้ว่า พูด

เช่นนี้ควรหรือขอรับ ไม่เป็นอาบัติหรือ ? แต่ตั้งใจว่าจักห้ามแล้ว ก็ไม่ควร

พูดกะท่านว่า ท่านผู้ใหญ่อย่าพูดอย่างนั้น

ข้อว่า ปมตร อาคนฺตวา มีความว่า ถ้าบ้านอยู่ใกล้หรือในวิหารมี

ภิกษุไข้ พึงกลับจากบ้านเสียก่อน. ถ้าบ้านอยู่ ไกลไม่มีใครมากับอุปัชฌาย์ ควร

ออกจากบ้านพร้อมกับท่านนั่นแล แล้วเอาจีวรห่อบาตรสะพายรีบมาก่อนแต่

กลางทาง เมื่อกลับอย่างนี้ มาถึงก่อนแล้วพึงทำวัตรทุกอย่างมีปูอาสนะเป็นต้น

สองบทว่า สินฺน โหติ มีความว่า เป็นของชุ่ม คือเปียกเหงื่อ

ข้อว่า จตุรงฺคุล กณฺณ อุสฺสาเทตฺวา มีความว่า พึงเหลื่อมมุม

ให้เกินกันประมาณ ๔ นิ้ว ต้อองพับจีวรอย่างนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะตั้งใจ

จะมิให้หักตรงกลาง จริงอยู่ จีวรที่พับไห้มุมสมอกันย่อมหักตรงกลาง. จีวร

ที่ชอกช้ำเป็นนิตย์เพราะพับดังนั้น ย่อมชำรุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อนี้

ก็เพื่อป้องกันความชำรุดนั้น. เพราะเหตุนั้น ในวันพรุ่งจีวรจะไม่ชอกช้ำเฉพาะ

ตรงที่หักในวันนี้ ด้วยวิธีใด พึงพับให้เหลื่อมกันวันละ ๔ นิ้วด้วยวิธีนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ข้อว่า โอโภเค กายพนฺธน กาตพฺพ มีคาวามว่า พึงพับประคด-

เอว สอดเก็บไว้ในขนดจีวร.

ข้อว่า สเจ ปิณฺฑปาโต โหติ นี้ มีวินิจฉัยว่า อุปัชฌาย์ใด ฉันใน

บ้านนั่นเอง หรือในละแวกบ้าน หรือในหอฉัน แล้วจึงมา หรือไม่ได้บิณฑะ.

บิณฑบาตของอุปัชฌาย์นั้น ชื่อว่าไม่มี แต่ของอุปัชฌาย์ผู้ไม่ได้ฉันในบ้าน

หรือผู้ได้ภิกษา ชื่อว่ามี.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้น ว่า ถ้าบิณฑบาต

มี ถ้าแม้บิณฑบาตของท่านไม่มี และท่านใคร่จะฉัน พึงถวายน้ำแล้ว น้อม

ถวายบิณฑบาตแม้ที่ตนได้แล้ว.

ข้อว่า ปานีเยน ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า พึงถามอุปัชฌาย์ซึ่งกำลัง

ฉัน ถึงน้ำฉัน ๓ ครั้งว่า ผมจะนำน้ำฉันมาได้หรือยังขอรับ. ถ้าเวลาพอ

เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว ตนเองจึงค่อยฉัน. ถ้าเวลาจวนหมด พึงดังน้ำฉัน

ไว้ในที่ใกล้อุปัชฌาย์แล้วตนเองพึงฉันบ้าง.

ข้อว่า อนนฺตรหิตาย มีความว่า ไร่ควรวางบาตรบนพื้นซึ่งเจือ

ด้วยฝุ่นและกรวด ไม่ได้ปูลาดด้วยบรรดาเครื่องปูลาดมีเสื่ออ่อน และท่อน

หนังเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง. แต่ถ้าฟันเป็นที่อันเขาลงรัก หรือโบกปูน

หรือไม่มีละอองและดิน จะวางบนพื้นเห็นปานนั้นควรอยู่. จะวางแม้บนทราย

ที่สะอาดก็ควร. จะวางบนดินร่วนฝุ่นและกรวดเป็นต้นไม่ควร. แต่พึงวางใบไม้

หรือเชิงบาตรบนสิ่งเหล่านั้นแล้ว เก็บบาตรบนใบไม้หรือเชิงบาตรนั้นเถิด.

คำว่า เอาชายไว้ข้างนอกเอาขนดไว้ข้างใน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ เพื่อให้สอดมือไปใต้ราวจีวรเป็นต้นแล้ว ค่อย ๆ พาดด้วยมือซึ่งอยู่ตรง

๑. ปาะในอรรถกถาว่า กาฬวณฺณกตา ทำแล้วให้มีสีดำ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

หน้า. ก็เมื่อจับ ๒ ชายเอาขนดพาดขึ้นไปบนราวจีวรเป็นต้น ขนดย่อมกระทบ

ฝา เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำอย่างนั้น.

ข้อว่า จุณฺณ สนฺเนตพฺพ มีความว่า จุณสำหรับอาบน้ำ พึงให้

ชุ่มด้วยน้ำแล้วปั้นแท่งไว้.

ข้อว่า เอกมนฺต นิกฺขิปิตพฺพ มีความว่า จีวรพึงวางเฉพาะในที่

ซึ่งไม่มีควันไฟแห่งหนึ่ง. กิจทั้งปวง มีให้ถ่านไฟ ดินและน้ำร้อนเป็นต้น

ชื้อบริกรรมในเรือนไฟ.

ข้อว่า อุทเกปิ ปริกมฺม ได้แก่กิจทุกอย่างมีถูตัวเป็นต้น.

ข้อว่า ปานีเยน ปุจฺฉิตพฺโพ มีความว่า ความกระหายย่อมมี

เพราะความร้อนอบอ้าวในเรือนไฟ เพราะฉะนั้น จึงควรถามท่านถึงน้ำฉัน.

ข้อว่า สเจ อุสฺสหติ มีความว่า ถ้าสัทธิวิหาริกยังสามารถคือ

เป็นผู้ไม่ถูกความเจ็บไข้บางอย่างครอบงำ. จริงอยู่ สัทธิวิหาริกผู้ไม่เจ็บไข้แม้

พรรษา ๖๐ ก็ควรทำอุปัชฌายวัตรทุกอย่าง เมื่อไม่ทำ ด้วยไม่เอื้อเฟื้อต้อง

ทุกกฏ เพราะวัตตเภท, และเมื่อสัทธิวิหาริกผู้เป็นไข้ไปทำการทีทรงห้าม ใน

บททั้งหลายที่มีอักษรว่า ไม่ กำกับอยู่ ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน.

บทว่า อปริฆสนฺเตน มีความว่า อย่าลากไปบนพื้น.

บทว่า กวาฏปิฏฺ มีความว่า อย่าให้กระทบกระทั่งบานประตู และ

กรอบประตู.

บทว่า สนฺตานก ได้แก่ รังตักแตนและใยแมลงมุมเป็นต้น อย่างใด

อย่างหนึ่ง.

ข้อว่า อุลฺโลกา ปม โอหาเรตพฺพ มีความว่า พึงกวาดแต่

เพดานลงมาก่อน คือ ลงมือกวาดเพดานเป็นต้นลงมา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

บทว่า อาโลกสนฺธิกณฺณภาคา ได้แก่ส่วนหน้าต่างประตูและ ส่วน

มุมห้อง. อธิบาย พึงเช็ดบานหน้าต่างและบานประตูทั้งข้างในข้างนอก และ

๔ มุมห้อง.

ข้อว่า ยถาปญฺตฺต ปญฺาเปตพฺพ มีความว่า เครื่องลาดพื้น

เดิมเขาปูลาดไว้อย่างใด พึงปูไว้เหมือนอย่างนั้น. จริงอยู่ เพื่อประโยชน์นี้แล

จึงทรงบัญญัติวัตรข้อแรกไว้ว่า พึงสังเกตที่ปูเดิมไว้แล้วขึ้นออกไปวางไว้ส่วน

หนึ่ง. แต่ถ้าเครื่องลาดพื้นนั้นเป็นของบางคนซึ่งไม่เข้าใจได้ปูลาดไว้ก่อน พึง

ปูให้ห่างฝาโดยรอบ สัก ๒ นิ้ว หรือ ๓ นิ้ว.

อันธรรมเนียนการปูลาดดังนี้:-

ถ้ามีเสื่อลำแพนแต่ใหญ่เกินไป พึงตัดพับชายเย็บผูกแล้วจึงปู ถ้าไม่เข้า

ใจพับชายเย็บผูก อย่าตัด.

ข้อว่า ปุรตฺถิมา วาตปานา ถเกตพฺพา มีความว่า พึงปิด

หน้าต่างทิศตะวันออก. หน้าต่างแม้ที่เหลือ ก็พึงปิดอย่างนั้น .

บทว่า วูปกาเสตพฺโพ มีความว่า ตนเองพึงนำไปที่อื่น.

บทว่า วูปกาสาเปตพฺโพ มีความว่า พึงวานภิกษุอื่นว่าขอท่าน

ช่วยพาพระเถระไปที่อื่นเถิด.

บทว่า วิเวเจตพฺพ มีความว่า ตนเองพึงพูดให้ท่านสละเสีย.

บทว่า วิเวจาเปตพฺพ มีความว่า พึงวานผู้อื่นว่า ขอท่านช่วยพูด

ให้พระเถระสละทิฏฐิทีเถิด.

ข้อว่า อุสฺสุกฺก กาตพฺพ มีความว่า ภิกษุนั้นอันสัทธิวิหาริกพึง

เข้าไปหาสงฆ์ขอร้องเพื่อให้ปริวาส ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นผู้สามารถด้วยคน พึง

ให้ปริวาสด้วยตนเอง ถ้าไม่สามารถ พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยให้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ข้อว่า กินฺติ นุโข มีความว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอแล. มีนัยเหมือน

กันทุกแห่ง.

ข้อว่า ลหุกาย วา ปริณาเมยฺย มีความว่า สงฆ์อย่าพึงทำ

อุกเขปนียกรรมเลย พึงทำตัชชนียกรรมหรือนิยสกรรมแทน.

จริงอยู่ สัทธิวิหาริกนั้นได้ทราบว่า สงฆ์ปรารถนาจะทำอุกเขปนีย-

กรรมแก่อุปัชฌาย์ของเรา พึงเข้าไปหาทีละรูป อ้อนวอนว่า ขออย่าทำกรรม

แก่อุปัชฌาย์ของผมเลยขอรับ

ถ้าภิกษุทั้งหลายจะทำทัชชนียกรรมหรือนิยสกรรมให้ได้. พึงอ้อนวอน

เธอทั้งหลายว่า โปรดอย่าทำเลย.

ถ้าภิกษุทั้งหลายจะทำจริง ๆ, ทีนั้น พึงอ้อนวอนอุปัชฌาย์ว่าขอจงกลับ

ประพฤติชอบเถิดขอรับ.

ครั้นอ้อนวอนให้ท่านกลับประพฤติชอบได้อย่างนั้นแล้ว พึงอ้อนวอน

ภิกษุทั้งหลายว่า โปรดระงับกรรมเถิดขอรับ

สองบทว่า สมฺปริวตฺตก สมฺปริวตฺตก ได้แก่พลิกกลับไปรอบ ๆ.

ข้อว่า น จ อจฺฉินฺเน เถเว ปกฺกมิตพฺพ มีความว่า ถ้าน้ำย้อม

แม้เพียงเล็กน้อย ยังหยดอยู่ อย่าพึงหลีกไปเสีย.

วัตรทุกข้อ เป็นต้นว่ายังไม่ได้เรียนอุปัชฌาย์ อย่าให้บาตรแก่คนบาง

คน ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสำหรับบุคคลซึ่งเป็นวิสภาคของอุปัชฌาย์.

ข้อว่า น อุปชฺฌาย อนาปุจฺฉา คาโม ปวิสิตพฺโพ มีความ

ว่า สัทธิวิหาริกปรารถนาจะเข้าไปด้วยบิณฑบาต หรือด้วยกรณียะอย่างอื่น

พึงบอกลาก่อนจึงเข้าไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ถ้าอุปัชฌาย์ประสงค์จะลุกขึ้นแต่เข้าไปภิกษาจารไกล พึงสั่งว่าพวก

ภิกษุหนุ่มจงเข้าไปบิณฑบาตเถิด แล้วจึงไป.

เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ได้สั่งไว้ไปเสีย สัทธิวิหาริกไปถึงบริเวณไม่เห็นอุปัช-

ฌาย์จะเข้าบ้านก็ควร.

ถ้าแม้กำลังเข้าไปในบ้านและพบเข้า ควรจะบอกลาตั้งแต่ที่ที่พบ

ทีเดียว.

ข้อว่า น สุสาน คนฺตพฺพ มีความว่า ไม่ไปเพื่อต้องการอยู่ หรือ

เพื่อต้องการดี.

ในข้อว่า น ทิสา ปกฺกมิตพฺพา นี้ มีวินิจฉัยว่า สัทธิวิหาริก

ผู้ประสงค์จะไป พึงชี้แจงถึงกิจการแล้วอ้อนวอนเพียงครั้งที่สาม. ถ้าท่าน

อนุญาต เป็นการสำเร็จ, ถ้าไม่อนุญาตเมื่อเธออาศัยท่านอยู่ อุทเทสก็ดี ปริ-

ปุจฉาก็ดี กัมมัฏฐานก็ดี ไม่สำเร็จ (เพราะ) อุปัชฌาย์เป็นคนโง่ไม่เฉียบแหลม

ไม่ยอมให้ไปเช่นนั้น เพราะมุ่งหมายจะให้อยู่ในสำนักของตนถ่ายเดียว เมื่อ

อุปัชฌาย์เช่นนี้แม้ห้ามจะขืนไป ก็ควร.

ข้อว่า วุฏฺานสฺส อาคเมตพฺพ มีความว่า พึงรอจนหายจากความ

เจ็บไข้ ไม่ควรไปข้างไหนเสีย. ถ้ามีภิกษุอื่นเป็นผู้พยาบาล พึงหายามามอบ

ไว้ในมือของเธอ แล้วเรียนท่านว่า ภิกษุนี้จักพยาบาลขอรับ แล้ว จึงไป.

อรรถกถาอุปัชฌายวัตตกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

สัทธิวิหาริกวัตร

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก

วิธีพระพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น มีดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก

ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสนี.

ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌายะพึงให้บาตร

แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตร

พึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.

ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌายะพึงให้จีวรแก่

สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิด

แก่สัทธิวิหาริก.

ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌายะ พึงให้

บริขารแก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.

ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะพึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน

ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.

ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้ว นำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคู

แล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้ว

เก็บไว้ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา

พึงให้ประคตเอว พึงพับสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำด้วย

พึงปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่าเพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

มา น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็คเท้า พึงเตรียมตั้งไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตร

และจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.

ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ

มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.

ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้ว นำบิณฑ-

บาตเข้าไปให้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึงให้

น้ำรับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาดเช็ดให้แห้ง แล้วพึงผึ่งไว้

ที่แดด ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงทิ้งไว้ที่แดด.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ต่ำแล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้น

ที่ไม่มีสิงใครอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร

หรือ สายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร.

เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการนำเย็น พึง

จัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้.

ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ

เรือนไฟไป แล้วให้ตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน.

ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า

ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่

พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า

ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ.

พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริก แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน

ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดนาจากตัวของสัทธิวิหาริก พึงให้ผ้า-

นุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม

น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน.

สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่

พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เตียงตั่งอุปัชฌายะพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบาน

และกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขียง

รองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่อง

ปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้ที่เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง

และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมันหรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา

พึงเอาผ้าชุบน้ำ ปิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด

เสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง.

เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัดแล้ว ขนกลับปูไว้ตามเติม

เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็คแล้ว ขนกลับไว้ในที่เดิม เตียงทั่ง พึงผึ่งแดด

ขัคสีเคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อยู่ให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบ

ประตู ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วทั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

พึงผึ่งแดทำให้สะอาดตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง

พึงผึ่งแดเช็ดถูเสีย แล้วขนกลับทั้งไว้ตามเดิม.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้น

ที่ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ

สายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร.

ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวัน-

ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก. พึงปิดหน้าต่างค้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่

ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน พึงปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้า

ต่างกลางวัน พึงเปิดกลางคืน.

ถ้าบริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย

ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ใน

หม้อชาระ.

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงช่วยระงับหรือพึง

วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ

รำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทาหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย

บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่

สัทธิวิหาริกอุปัชฌายะพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรม-

กถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าสิทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อุปัชฌายะ

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

วิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวาย

ว่า ด้วยอุบายยอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเติม ถ้าสัทธิ-

วิหาริกควรมานัต อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภาน อุปัชฌายะพึงทำ

ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก.

ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม นิยส-

กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อุปัชฌายะ

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิ-

วิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์

ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรร หรืออุกเขป-

นียกรรมแล้ว อุปัชฌายะ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

สัทธิวิหาริกพึงพระพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึง

ระงับกรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงซัก

อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซัก

จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงบอกว่า

ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ

พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึง

บอกว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม

อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย

อุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

พลิกกลับไปมาให้ดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้า

สัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.

สัทธิวิหารริกวัตร จบ

อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา

พึงทราบวินิจฉัยในการที่อุปัชฌาย์ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกต่อไป:-

ข้อว่า สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ มีความว่า อุปัชฌาย์พึง

ทำการช่วยเหลือและอุคหนุนเธอด้วยกิจมีอุทเทสเเป็นต้น. ในกิจมีอุทเทสเป็น

ต้นนั้น อุทเทสนั้น ได้แก่การบอกบาลี. ปริปุจฉานั้นได้แก่อธิบายความแห่ง

บาลี. โอวาทนั้น ได้แก่การกล่าวว่า จงทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนี้ ในเมื่อเรื่อง

ยังไม่เกิด. อนุศาสนีนั้น ได้แก่ การว่ากล่าวอย่างนั้น ในเมื่อเรื่องเกิดแล้ว

อีกประการหนึ่ง เรื่องจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม การว่ากล่าวครั้งแรก ชื่อโอวาท.

การพร่ำสอนอยู่เนือง ๆ ชื่ออนุศาสนี.

ข้อว่า สเจ อปชฺฌายสฺส ปตฺโต โหติ มีความว่า ถ้าอติเรก

บาตรมี. มีนัยเหมือนกันทุกแห่ง สมณบริขารแม้อื่น ชื่อว่าบริขาร. ความค้น

คว้าหาอุบายซึ่งเกิดขึ้นโดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ความขวนขวาย ในสัทธิ-

วิหาริหาวัตรนี้. ถัดจากนี้ไป วัตรตั้งต้นแต่ให้ไม้สีฟัน ถึงที่สุดเติมน้ำในหม้อ

ชำระ อุปัชฌาย์ควรทำแก่สัทธิวิหาริกเฉพาะผู้เป็นไข้. อนึ่ง กิจมีพาเที่ยวเพื่อ

ระงับความกระสันเป็นต้น แม้สัทธิวิหาริกไม่เป็นไข้ อุปัชฌาย์ก็ควรทำแท้.

ข้อว่า จีวร รชนฺเตน มีความว่า เมื่อได้ฟังอุบายจากอุปัชฌาย์ว่า

พึงย้อมอย่างนี้ แล้วจึงย้อม คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น.

อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

การประณามและการให้ขมา

[๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบใน

อุปัชฌายะทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่า ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลาย

เล่าแล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลาย จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่พระพฤติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลายเล่า ครั้นแล้วทรง

ทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลา ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกจะ

ไร่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สัทธิวิหาริกทั้งหลายยังไม่ประพฤติชอบอย่างเดิม ภิกษุทั้งหลายจึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ประณามสัทธิวิหาริกผู้ไม่พระพฤติชอบ.

วิธีประณาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกอย่างนี้

ว่าฉันประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไป

เสีย พึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน ดังนี้ก็ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

อุปัชฌายะย่อมยังสัทธิวิหาริกให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้

ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันประณามแล้ว ถ้ายังมิได้แสดงอาการกายให้รู้

ยังมิบอกให้รู้ด้วยวาจา ยังมิได้แสดงอาการกายและบอกวาจาให้รู้ สัทธิวิหาริก

ไม่ชื่อว่าถูกประณาม.

สมัยต่อมา สัทธิวิหาริกทั้งหลายถูกประณามแล้ว ไม่ขอให้อุปัชฌายะ

อดโทษ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สัทธิวิหาริกขอให้

อุปัชฌายะอดโทษ.

สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ยอมขอให้อุปัชฌายะอดโทษอย่างเดิม ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายสัทธิวิหาริกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษไม่ได้ รูปใด

ไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา อุปัชฌายะทั้งหลายอันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ ก็

ไม่ยอมอดโทษ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส

ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปัชฌายะอดโทษ.

อุปัชฌายะทั้งหลายยังไม่ยอมอดโทษอย่างเดิม พวกสัทธิวิหาริกหลีกไป

เสียบ้าง สึกไปเสียบ้าง ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุปัชฌายะ

อันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ยอมอด

โทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล อุปัชฌายะประณามสัทธิวิหาริกผู้พระพฤติ

ชอบ ไม่ประณามสัทธิวิหาริกผู้พระพฤติมีชอบ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่อง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประ

พฤติชอบ อุปัชฌายะไม่พึงประณาม รูปใดประณามต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนึ่งสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมีชอบ อุปัชฌายะจะไม่ประณามไม่

ได้รูปใดไม่ประณามต้องอาบัติทุกกฏ.

องค์แห่งการประณาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วย

องค์ ๕ คือ:-

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณาม

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

๓.. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควร

ประณาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม

คือ:-

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. ความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควร

ประณาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อุปัชฌายะเมื่อ

ไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ:-

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุปัชฌายะ

เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อุปัชฌายะเมื่อ

ประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณามไม่มีโทษ คือ:-

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุปัชฌายะ

เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.

อรรถกถาสัมมาวัตตนาทิกถา

ข้อว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ไม่ทำอุปัชฌายวัตรตามที่

ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม.

ข้อว่า โย น สมฺมา วตฺเตยฺย มีความว่า สัทธิวิหาริกใด ไม่ทำ

วัตรตามที่ทรงบัญญัติไว้ให้เต็ม สัทธิวิหาริกนั้นต้องทุกกฏ.

บทว่า ปณาเมตพฺโพ ได้แก่ พึงรุกราน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ข้อว่า นาธิมตฺต เปม โหติ มีความว่า ไม่มีความรักฉันบุตรกับ

ธิดายิ่งนักในอุปัชฌาย์.

ข้อว่า นาธิมตฺตา ภาวนา โหติ มีความว่า ไม่ปลูกไม่ตรียิ่งนัก.

ฝ่ายดีพึงทราบโดยปฏิปักขนัยกับที่กล่าวแล้ว.

ข้อว่า อล ปณาเมตุ มีความว่า สมควรประณาม.

ข้อว่า อปฺปณาเมนฺโต อุปชฺฌาโย สาติสาโร โหติ มีความว่า

เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ประณาม ย่อมเป็นผู้มีโทษ คือย่อมต้องอาบัติ. เพราะเหตุ

ฉะนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ ควรต้องประณามแท้. ก็ในการไม่

ประพฤติชอบ มีวินิจฉัยดังนี้:-

เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์.

เพราะเหตุนั้น เมื่อสัทธิวิหาริกผู้พ้นนิสัยแล้วก็ดี ยังไม่พ้นก็ดี ไม่ทำวัตรนั้น

เป็นอาบัติเหมือนกัน. ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้น

นิสัยเท่านั้น. เหล่าสัทธิวิหาริกประพฤติชอบ อุปัชฌาย์ไม่พระพฤติชอบ เป็น

อาบัติแก่อุปัชฌาย์. อุปัชฌาย์ประพฤติชอบ พวกสัทธิวิหาริกไม่ประพฤติชอบ

เป็นอาบัติแก่พวกเธอ. เมื่ออุปัชฌาย์ยินดีวัตร พวกสัทธิวิหาริกถึงมีอยู่มาก

เป็นอาบัติทุกรูป. ถ้าอุปัชฌาย์กล่าวว่า อุปัฏฐากของฉันมี พวกเธอจงทำความ

เพียรในสาธยายและมนสิการเป็นต้น ของตนเถิด ไม่เป็นอาบัติแก่พวกสัทธิ-

วิหาริก. ถ้าอุปัชฌาย์ไม่รู้จักความยินดีหรือไม่ยินดี เป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกมี

มากรูป ในพวกเธอถ้าภิกษุถึงพร้อมด้วยวัตรรูปหนึ่ง ปล่อยภิกษุนอกนั้นเสีย

รับ เป็นภาระของตนอย่างนี้ว่า ผมจักทำกิจของอุปัชฌาย์แทน พวกท่านจงเป็น

ผู้มีความขวนขวายน้อยอยู่เถิด ดังนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอทั้งหลายจำเดิมแต่ไว้

ภาระแก่ภิกษุนั้นไป.

อรรถกถาสัมมาวัตตนาทิกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

มูลเหตุอุปสมบทด้วยญัตติจตุตกรรม

เรื่องพราหมณ์คนหนึ่ง

[๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย

แล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา เมื่อเธอไม่ได้

บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิว

เหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น

พราหมณ์นั้นซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลืองขึ้น ๆ มีเนื้อ

ตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้นแล้วรับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เหตุไฉนพราหมณ์นั้นจึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง

ขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเล่า ?

ภิกษุทั้งหลายทูลว่า เพราะพราหมณ์นั่นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว

ขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะให้เธอบรรพชา เมื่อเธอไม่ได้

บรรพชาในสำนักภิกษุ จึงได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณคล้ำ มีผิวเหลือง

ขึ้น ๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น พระพุทธเจ้าข้า.

ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ใครระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้บ้าง ? เมื่อตรัสถามอย่างนี้แล้ว

ท่านพระสารีบุตรได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้าระลึกถึง

บุญคุณของพราหมณ์นั้นได้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนสารีบุตร ก็เธอระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้น ได้อย่างไร

บ้าง ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

สา. พระพุทธเจ้าข้า เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ณ พระ-

นครราชคฤห์นี้ พราหมณ์ผู้นั้นได้สั่งให้ถวายภิกษา ๑ ทัพพี ข้าพระพุทธเจ้า

ระลึกถึงบุญคุณของพราหมณ์นั้นได้เท่านี้แล พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ดีละ ๆ สารีบุตร ความจริงสัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้กตัญญูกตเวที

สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทเถิด.

สา. ข้าพระพุทธเจ้าจะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร

พระพุทธเจ้าข้า ?

อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ตั้งแต่วัน

นี้เป็นต้นไป เราห้ามการอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์ ซึ่งเราได้อนุญาตไว้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม.

วิธีให้อุปสมบท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงให้อุปสมบทอย่างนี้ ภิกษุผู้

ฉลาดผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้อุปสมบท

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ ผู้นี้ เป็นอุป-

สัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่

แล้ว สงฆ์พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ นี่

เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม-

ปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้

เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้ชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ สงฆ์

อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้

มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้

นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์

จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มี

ชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทผู้นี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การ

อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงดูด.

ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

ภิกษุประพฤติอนาจาร

[๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งพออุปสมบทแล้ว ได้ประพฤติ

อนาจาร ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวห้ามาอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณอย่าได้ทำอย่าง

นั้น เพราะนั่นไม่ควร เธอกล่าวอย่างนี้ว่า กระผมมิได้ขอร้องท่านทั้งหลายว่า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ขอจงให้กระผมอุปสมบท ท่านทั้งหลายมิได้ถูกขอร้องแล้ว ให้กระผมอุปสมบท

เพื่ออะไร ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมิได้ขอร้อง ไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้

ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกขอร้องอุปสมบท

ให้.

วิธีขออุปสมบท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลอุปสัมปทาเปกขะพึงขออย่างนี้:-

อุปสัมปทาเปกขะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ไหว้เท้า

ภิกษุทั้งหลาย นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขออุปสมบทอย่างนี้ว่า:-

ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกข้าพเจ้าขึ้น

เถิดเจ้าข้า พึงขอแม้ครั้งที่สอง . . . พึงขอแม้ครั้งที่สาม. . .

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาให้อุปสมบท

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นั้น เป็นอุปสัม-

ปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้

มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์

พึงอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ นี่เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม-

ปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

มีชื่อนี้ เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็น

อุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง...

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม...

ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

พราหมณ์ขออุปสมบท

[๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหาร

อันประณีตไว้ที่ในพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งได้มีความดำริ

ว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีปรกติเป็นสุข มีความพระพฤติ

สบายฉันโภชนะที่ดี นอนบนที่นอนที่เงียบสงัด ถ้ากระไร เราพึงบวชในพระ

สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเถิด ดังนี้ แล้วได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว

ขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว ครั้นเขาบวชแล้ว

ประชาชนให้เลิกลำดับภัตตาหารเสีย ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คุณจงมา

เดี๋ยวนี้ พวกเราจักไปบิณฑบาต เธอพูดอย่างนี้ว่า กระผมมิได้บวชเพราะเหตุ

นี้ว่า จักเที่ยวบิณฑบาต ถ้าท่านทั้งหลายให้กระผม กระผมจักฉัน ถ้าไม่ไห้

กระผม กระผมจะสึก ขอรับ.

พวกภิกษุถามว่า อาวุโส ก็คุณบวชเพราะเหตุแห่งท้องหรือ ?

เธอตอบว่า อย่างนั้น ขอรับ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุจึงได้บวชในพระธรรมวินัย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วอย่างนี้

เพราะเหตุแห่งท้องเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือ ภิกษุ ข่าวว่า

เธอบวชเพราะเหตุแห่งท้อง.

ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภายพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง

ได้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูก่อน

โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบท

บอกนิสัย ๔ ว่าดังนี้:-

นิสสัย ๔

๑. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึง

ทำอุทสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัคถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์

การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัต-

ถวายในวันปาฏิบท.

๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต

อติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือ

กัน เช่นผ้าด้ายแกมไหม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

๓. บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้น

ตลอดชีวิต อาดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น

ถ้า.

๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอด

ชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

อุปัชฌายวัตรภาณวาร จบ

อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา

วินิจฉัยในเรื่องราธพราหมณ์ต่อไป. พระสารีบุตรผู้มีอายุย่อมทราบ

บรรพชาและอุปสมบท ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตด้วยไตรสรณคมน์

ที่กรุงพาราณสี แม้โดยแท้ ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะ

ห้ามอุปสมบทอันเพลานั้นแล้ว ทรงอนุญาตอุปสมบททำให้กวดขัน ด้วย

ญัตติจตุตถกรรม คราวนั้น พระเถระทราบพระอัธยาศัยของพระองค์ จึงกราบ

ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร ?

จริงอยู่ บริษัทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ฉลาดในอัธยาศัย

และพระผู้มีอายุสารีบุตรนี้ เป็นผู้ประเสริฐเป็นยอดของพุทธบริษัท.

ในคำว่า พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา ปฏิพเลน นี้ มีวินิจฉัยว่า วินัยปิฎก

พร้อมทั้งอรรถกถาของภิกษุใด ช่ำชองคล่องปาก ภิกษุนั้น จัดว่าผู้ฉลาด เมื่อ

ภิกษุเช่นนั้นไม่มี พุทธวจนะ โดยที่สุด แม้เพียงญัตติจตุตถกัมมวาจานี้ ของ

ภิกษุใด เป็นของที่จำได้ถูกต้องช่ำของคล่องปาก แม้ภิกษุนี้ ก็จัดว่าเป็นผู้ฉลาด

ในอรรถนี้ได้. ฝ่ายภิกษุใดไม่สามารถสวดกัมมวาจาด้วยบทและพยัญชนะอัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

เรียบร้อย คือว่า พยัญชนะหรือบทให้เสีย หรือควรจะว่าอย่างอื่น ว่าเป็นอย่าง

อื่นไปเสีย เพราะความเจ็บไข้ มีไอ หืด และเสมหะ เป็นต้น หรือเพราะ

อวัยวะมีริมผีปาก ฟันและลิ้น เป็นต้น ใช้การไม่ได้ หรือเพราะไม่ได้ทำ

ความสั่งสมไว้ในพระปริยัติ ภิกษุนี้จัดว่าเป็นผู้ไม่สามารถ ภิกษุผู้แผกจากนั้น

พึงทราบว่าเป็นผู้สามารถในอรรถนี้.

ข้อว่า สงฺโฆ าปตพฺโพ มีความว่า สงฆ์อันภิกษุนั้นพึงให้ทราบ.

เบื้องหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำว่า สุณาตุ เม ภนฺเต

เป็นต้น เพื่อแสดงข้อที่ภิกษุนั้นควรให้สงฆ์ทราบ.

ข้อว่า อุปสมฺปปนฺนสมนนฺตรา มีความว่า เป็นผู้พออุปสมบทแล้ว

ย่อมประพฤติอนาจาร ในกาลเป็นลำดับต่อติดกันไป.

ข้อว่า อนาจาร อาจรติ มีความว่า ย่อมทำความละเมิดพระบัญญัติ.

บทว่า อุลฺลุมฺปตุ ม มีความว่า ขอจงยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด อธิบาย

ว่า ขอให้ข้าพเจ้าออกจากอกุศล ให้ตั้งเฉพาะในกุศลเถิด หรือว่า ขอจงยก

ขึ้นจากความเป็นสามเณร ให้ตั้งเฉพาะในความเป็นภิกษุเถิด.

สองบทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ได้แก่ อาศัยความสงสาร อธิบายว่า

กระทำความเอ็นดูในข้าพเจ้า.

สองบทว่า อฏฺิตา โหติ มีความว่า เป็นของเป็นไปเป็นนิตย์.

สองบทว่า จตฺตาโร นิสฺสเย ได้แก่ ปัจจัยสี่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า นิสัย เพราะเหตุว่า เป็นที่อาศัยเป็นไปของอัตภาพ.

อรรถกถาญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา จบ

๑. ถ้า อุปสมฺปนฺโน หุตฺวาว . . . อาจรติ เป็นประโยคเดียวกันก็จะงาน เพราะเมื่อแปลเสร็จ

แล้ว เอา อนาจาร อาจรติ มาเป็นบทตั้งแก้อรรถอีกครั้ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

มาณพคนหนึ่ง

[๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว

ขอบรรพชา พวกภิกษุได้บอกนิสัยแก่เธอก่อนบวช เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า ถ้า

เมื่อกระผมบวชแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายพึงบอกนิสัยแก่กระผม กระผมก็จะยิน

ดียิ่งบัดนี้ กระผมจักไม่บวชละ เพราะนิสัยเป็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นปฏิกูลแก่

กระผม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบอกนิสัยก่อนบวช รูปใด

บอก ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พออุปสมบทแล้ว เราอนุญาต

ให้บอกนิสัย.

อุปสมบทด้วยคณะ

[๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก

๒ บ้าง มีพวก ๓ มีพวก มีพวก ๔ บ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่

พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมีพวกหย่อน ๑๐ รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติ

ทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก ๑ . .

พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก

[๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีพรรษาหนึ่งบ้าง มีพรรษา

สองบ้าง อุปสมบทสัทธิวิหาริก แม้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร มีพรรษาเดียว

อุปสมบทสัทธิวิหาริก ท่านออกพรรษาแล้ว มีพรรษาสอง ได้พาสัทธิวิหาริก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

มีพรรษาหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคัน-

ตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่าน

พระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทน

ได้ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ ?

ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า

ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้า และพวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาก็มีความ

ลำบากน้อย พระพุทธเจ้าข้า.

พุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่

ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม

พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัด

เสียด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุ

ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือจักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ

สิกขาบทแก่ พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า

เธอมีพรรษาได้เท่าไร ภิกษุ ?

อุป. ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาได้สอง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุรูปนี้เล่ามีพรรษาได้เท่าไร ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

อุป. มีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ภิกษุรูปนี้เป็นอะไรกับเธอ ?

อุป. เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระ

ทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่

ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอยังเป็นผู้อันผู้อื่นพึงโอวาทอนุศาสน์อยู่ ไฉนจึง

สำคัญคนเพื่อโอวาทอนุศาสน์ผู้อื่นเล่า เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ซึ่ง

มีความพัวพันด้วยหมู่เร็วเกินนัก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยิ่งไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส

แล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้อง

อาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือมี

พรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.

พระอุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก

[๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว

เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้

อุปสมบท ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏ

ว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม, ปรากฏว่า

พระอุปัชฌายะ เป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

พระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา. แม้ภิกษุรูปหนึ่ง

เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อพระอุปัชฌายะว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะ

ขึ้นโต้เถียงแก่พระอุปัชฌายะ แล้วหลีกไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นตามเดิม.

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐

แล้ว ดังนี้แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท ปรากฏว่าพระ-

อุปัชฌายะเป็นผู้แหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้

ไม่เฉียบแหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียดแหลม, ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มี

สุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก, ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญา

ทราม สัทธิวิหาริก เป็นผู้มีปัญญาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้

๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท ปรากฏว่า

อุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่

เฉียบแหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย

สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิ-

วิหาริกเป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐

แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไห้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะ

เป็นผู้เขลาสัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม

สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริก

เป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าอุปัชาฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มี

ปัญญาเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไป

เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ

ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลาไม่เฉียบแหลมไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้

อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถ

มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.

อาจารย์และอันเตวาสิก

[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระอุปัชาฌายะทั้งหลายหลีกไปเสียก็ดี

สึกเสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่มีอาจารย์

ไม่มีใครตักเตือน ไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่

สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยว

บิณฑบาต เข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้าง

บนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตน

เองมาฉัน แม้ในโรงอาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตรจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เทียวบิณฑบาต

เล่าเมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไป ข้าง

บนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้าง

บนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรง

อาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่

เลี้ยงพราหมณ์ ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา

ที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย

จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่

สมควร . . . จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์ อาจารย์

จักตั้งจิตสนิทสนมในอันเทวาสิกฉันบุตร อันเตวาสิกจักตั้งจิตสนิทสนมใน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

อาจารย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และอันเตวาสิกนั้นต่างจักมีความเคารพ

ยำเกรงประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัย

นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา ๑๐ อยู่ อนุญาต

ให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสัย.

วิธีถือนิสัยอาจารย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึง ถืออาจารย์อย่างนี้ ;-

อันเตวาสิกนนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระโหย่ง

ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หน.

ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่าน

อยู่ ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่

ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่.

อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ

รับว่า จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วย อาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับ

ด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันว่าอันเตวาสิกถือ

อาจารย์แล้วไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็น

อันว่าอันเทวาสิกถืออาจารย์แล้ว.

อาจริยวัตร

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงพระพฤติชอบในอาจารย์

วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้:-

อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้ว

ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคู

แล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้ว

เก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บผ้าอาสนะ.

ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย.

ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึง

ถวายประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อม

ทั้งน้ำด้วย.

ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้

เป็นปริมณฑลแล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้นกลัดคุม ล้างบาตรแล้ว

ถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก

พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร.

เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อย

คำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย.

เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง

รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด

พึงรับผ้านุ่ง.

ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้วด้วยตั้งใจมิให้มีรอย

พับตรงกลาง พึงทำประคดเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.

ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อม

บิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวาย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

น้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่ง

ไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือช้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บน

ฟันที่ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร

หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.

เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง

จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.

ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่งสำหรับ

เรือนไฟ แล้วเดินทานหลังอาจารย์ไป ถวายทั้งสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวร

มาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน.

ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า

ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึง

ห้ามกัน อาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ.

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า

ทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ.

พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน ทำ

ตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง

พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม

น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์

จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม.

อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึง

ปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เตียงตั่งอันเตวาสิกพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าไห้กระทบกระแทก

บานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั่งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกทั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง

และมุมห้อง พึงเช็คเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำ

ขึ้นรา พึงเอาผ้าเช็ดน้ำปิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรม

แล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตาม

เดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั้งพึงผึ่ง

แดดขัดสีเคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู

ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดดทำ

ให้สะอาดตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด

เช็ดถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตร บน

พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ

สายละเดียงแล้ว ทำชายไว้ข้างนอก ทำชายไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.

ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างค้านาตะวัน-

ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่

ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่าง

กลางวัน เปิดกลางคืน.

ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน เรือนไฟ วัจจกุฏี รก พึงปัดกวาดเสีย

ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ใน

หม้อชำระ.

ถ้าความกะสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยงับ หรือพึง

วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความรำคาญ

บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย

บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อาจารย์

อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่

อาจารย์นั้น ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อันเตวาสิกพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์

ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร

หนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์ควรมานัต อันเตวาสิกกพึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์ ถ้า

อาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ

สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์.

ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม

ปัพพาชยนีกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิกพึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์

พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยส-

กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปณียกรรมแล้ว อันเตวาสิก

พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึง

หายเย่อหยิ่ง พึงพระพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวน

ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักชีวรของอาจารย์ ถ้าจีวรของอา

จารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่าง

ไรหนอใคร ๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวา-

สิกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำ

ย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อมหรือพึงทำ

ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์

เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่

ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.

อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึง

รับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุ

บางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรม

แก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวาย

แก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉา

สมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำ

บิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้ ไม่ลา

อาจารย์ก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ ถ้าอาจารย์

อาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.

อาจริยวัตร จบ

อันเตวาสิกวัตร

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก.

วิธีพระพฤติชอบในอันเตวาสิกนั้น ดังต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์อันเตวาสิก

ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสน์.

ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงให้บาตรแก่อัน-

เตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงบังเกิด

แก่อันเตวาสิก.

ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงให้จีวรแก่อันเตวาสิก

หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิดแก่อันเตวาสิก

ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงให้บริขารแก่

อันเตวาสิก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึง

บังเกิดแก่อันเตวาสิก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ อาจารย์ลุกแต่เข้าตรู่ แล้วพึงให้ไม้ชำระฟันให้

น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.

ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะ แล้วนำยาคูเข้าไปให้ เมื่ออันเตวาสิกดื่มยาคู

แล้วพึงให้น้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บ

ไว้ เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา

พึงให้ประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำ

ด้วยพึงปูผ้าอาสนะที่นั่งฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่า เพียงเวลาเท่านี้อันเตวาสิก

จักกลับมา น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงเตรียมตั้งไว้ พึงลุก

ขึ้นรับบาตรและจีวร พึงรับผ้านุ่งมา.

ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ

มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.

ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้ว นำ

บิณฑบาตรเข้าไปให้ พึงถามอันเตวาสิกด้วยน้ำฉัน เมื่ออันเตวาสิกฉันแล้วพึง

ให้น้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้งแล้วผึ่ง

ไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้น

ที่ไม่มีสิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร เอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ

สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

เมื่ออันเตวาสิกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.

ถ้าอันเตวาสิกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง

จัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้.

ถ้าอันเตวาสิกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำรับ

เรือนไฟไป ให้ตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน.

ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า

ทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึง

ห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ.

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า

ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ.

พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน

ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้วพึงเช็ดน้ำจากตัวของอันเตวาสิก พึงให้ผ้านุ่ง

พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำ

ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอันเตวาสิกาด้วยน้ำฉัน.

อันเตวาสิกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่

พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เตียงตั่งอาจารย์พึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบาน

และกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ทีควรส่วนข้างหนึ่ง เขียง

รองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่อง

ปูพื้นพึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง

และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน พื้นเขาทาสีดำขึ้นรา

พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้ว เช็ด

ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดดชำระเคาะปัดเสีย ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง

พึงผึ่งแดดขัดเช็ดเสีย ขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสีเคาะเสีย ยก

ต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประ ขึ้นกลับไป

ให้ดี ๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดดทำให้

สะอาดตบเสียแล้วนำกลับวางปูไว้ตามเติม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดดเช็ดถู

เสียแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม.

พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ

ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้น

ที่ไม่สิ่งใดรอง.

เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร

หรือสายระเดียงแล้ว ทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.

ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้าน

ตะวันออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมา

แต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้

ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อนพึงปิดหน้าต่าง

กลางวัน เปิดกลางคืน.

ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน เรือนไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย

ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำไว้ใน

หม้อชำระ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงวาน

ภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความรำคาญ

บังเกิดแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงบรรเทาหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา

หรือพึงทำธรรมกถาแก่อันเตวาสิกนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่อันเตวาสิก

อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมกถาแก่อัน

เตวาสิกนั้น ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อาจารย์พึงทำความ

ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก ถ้าอัน

เตวาสิกควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย

อย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอันเตวาสิกควรมานัต

อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่

อันเตวาสิก ถ้าอันเตวาสิกควรอัพภาน อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วย

อุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก.

ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อันเตวาสิก คือ ตัชชนียกรรม นิยส-

กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารนียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อาจารย์พึงทำ

ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิก

หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออันเตวาสิกนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-

กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม

แล้ว อาจารย์พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึง

ประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงพระพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.

ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงซักอย่างนี้

หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอัน

เตวาสิก ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องทำ อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงทำอย่างนี้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงทำจีวรของอัน

เตวาสิก ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า เธอพึงต้ม

อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำ

ย้อมของอันเตวาสิก ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า เธอ

พึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ

พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดี ๆ

เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้าอันเตวาสิกอาพาธ

พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย

อันเตวาสิกวัตร จบ

ว่าด้วยการประณาม

[๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล อันเทวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบใน

อาจารย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกจะไม่ประพฤติชอบใน

อาจารย์ไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ

พวกอันเตวาสิกยังไม่พระพฤติชอบตามเดิม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ประณามอันเตวาสิกผู้ไม่ประพฤติชอบ.

วิธีประณาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกอย่างนี้ว่า ฉัน

ประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

หรือพึงประณามว่า เธอไม่ต้องวอุปฐากฉัน ดังนี้ ก็ได้ อาจารย์ย่อมยังอันเตวาสิก

ให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้ด้วยทั้งกายเละวาจาก็ได้ อันเตวาสิก

ชื่อว่าเป็นอันถูกประณามแล้ว ถ้ามิให้รู้ด้วยกาย มิให้รู้ด้วยวาจา มิให้รู้ด้วย

ทั้งกายและวาจา อันเตวาสิกไม่ชื่อว่าถูกประณาม.

สมัยต่อมา พวกอันเตวาสิกถูกประณามแล้ว ไม่ขอให้อาจารย์อดโทษ

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อันเตวาสิกขอให้อาจารย์อดโทษ

พวกอันเตวาสิกไม่ยอมขอให้อาจารย์อดโทษอย่างเดิม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันเตวาสิกถูกประณามแล้วจะไม่ขอให้อาจารย์อดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ขอให้

อาจารย์อดโทษต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายอันเหล่าอันเตวาสิกขอไห้อดโทษอยู่ก็ไม่ยอม

อดโทษ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาจารย์อดโทษ.

อาจารย์ทั้งหลายยังไม่ยอมอดโทษอย่างเดิม พวกอันเตวาสิกหลีกไป

เสียบ้า สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทุกเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาจารย์อันพวกอันเตวาสิกขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่

ยอมอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา อาจารย์ทั้งหลายประณามอันเตวาสิกผู้ประพฤติชอบ ไม่

ประณามอันเตวาสิกผู้พระพฤติมิชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้

ประพฤติชอบ อาจารย์ไม่พึงประณาม รูปใดประณาณ ต้องอาบัติทุกกฏ แต่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

อันเตวาสิกผู้พระพฤติมิชอบ อาจารย์จะไม่ประณามไม่ได้ รูปใดไม่ประณาม

ต้องอาบัติทุกกฏ.

องค์แห่งการประณาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้.

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔ หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประณามอันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์

๕ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิก ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ไม่พึงประณามอันเตวาสิก ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ นี้แล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณาม

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้.

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควร

ประณาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕ มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควร

ประณาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อไม่

ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ:-

๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์มิได้

๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.

๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ

๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์

เมื่อไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อาจารย์เมื่อ

ประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ คือ:-

๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอาจารย์.

๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.

๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.

๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ

๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อาจารย์

เมื่อประณาม มีโทษ เมื่อไม่ประณาม ไม่มีโทษ.

การให้นิสัย

[๙๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว

เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้นิสัย

ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพวก

อาจารย์เป็นผู้ไม่เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพวก

อาจารย์เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ปรากฏ

ว่าพวกอาจารย์เป็นผู้มีปัญญาทราม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐

แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้นิสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์

เป็นผู้เขลา พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้ไม่

เฉียบแหลม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้

ได้ยินได้ฟังน้อย พวกอันเตวาสิกเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ปรากฏว่าพวกอาจารย์

เป็นผู้มีปัญญาทราม พวกอันเตวาสิกเป็นผู้มีปัญญา แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคะเจ้าทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุ

ทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่

ยังเป็นผู้เขลาไม่เฉียบแหลม ให้นิสัย ปรากฏว่าพวกอาจารย์เป็นผู้เขลา . . .พวก

อันเตวาสิก เป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม

ไม่พึงให้นิสัย รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถมีพรรษาได้

๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้นิสัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

นิสัยระงับจากอุปัชฌาย์และอาจารย์

[๙๗] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์หลีกไปเสียก็ดี สึก

เสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์ก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่านิสัยระงับ

พวกเธอจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่าง ดังนี้ คือ:-

๑. อุปัชฌายะหลีกไป

๒. สึกเสีย

๓. ถึงมรณภาพ

๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์ และ

๕. สั่งบังคับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยระงับจากอุปัชฌายะ ๕ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่าง ดังนี้ คือ:-

๑. อาจารย์หลีกไป.

๒. สึกเสีย.

๓. ถึงมรณภาพ.

๔. ไปเข้ารีดเดียรถีย์.

๕. สั่งบังคับ และ

๖. ไปร่วมเข้ากับอุปัชฌายะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยระงับจากอาจารย์ ๖ อย่างนี้ แล.

การให้นิสัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๖ หมวด

กัณหปักษ์ ๑

[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสชะ และ

๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

กัณหปักษ์ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และไม่

ชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และ

ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อัน เป็นของพระอเสขะ และ

ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระ

อเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน

ผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชัก

ชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชัก

ชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และชัก

ชวนผู้อื่นในกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ

และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ.

๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้เกียจคร้าน และ

๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

๑. เป็นผู้มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้มีหิริ.

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีกไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏราก คือ:-

๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย และ

๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบทไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก และ

๕. เป็นผู้มีปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สานเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิก หรือ

สัทธิวิหาริกผู้อาพาธ.

๒. ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน.

๓. ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทา ความเบื่อ

หน่ายอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม.

๔. ไม่รู้จักอาบัติ และ

๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

๑. อาจจะพยาบาลเองหรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก

ผู้อาพาธ.

๒. อาจจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน.

๓. อาจจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อหน่าย

อันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม.

๔. รู้จักอาบัติ และ

๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่อาจจะฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็น

อภิสมาจาร.

๒. ไม่อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

๓. ไม่อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป.

๔. ไม่อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป และ

๕. ไม่อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ศุกลปักษ์ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. อาจจะฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็น

อภิสมาจาร.

๒. อาจจะแนะนำให้สิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์.

๓. อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป.

๔. อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป และ

๕. อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้

อุปสมบท พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี

ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ศุกลปักษ์ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึงให้

นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. รู้จักอาบัติ.

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๔. รู้จักอาบัติหนัก และ.

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี

วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงไห้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. มีพรรษาหย่อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงไห้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ศุกลปักษ์ ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเถรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. รู้จักอาบัติ.

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๔. รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๖ หมวด จบ

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสนบท ๑๖ หมวด

กัณหปักษ์ ๑

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสุขะ.

๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ

และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะและ

๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และไม่

ชักชวนผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

๒. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และไม่

ชักชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และ

ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

ไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

๕. ตนเองไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระ-

อเสขะ และไม่ชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะและ

๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สานเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน

ผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสชะ.

๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน

ผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน

ผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน

ผู้อื่นในกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะอันเป็นของพระอเสขะ

และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ.

๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้เกียจคร้าน.

๕. เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน และ

๖. เป็นผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ

๑. เป็นผู้มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้มีหิริ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร.

๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่นและ

๖. เป็นผู้พรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๔

ดูก่อนุภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย.

๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม และ

๖. เป็นผู้มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่มีวิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก.

๕. เป็นผู้มีปัญญา และ

๖. เป็นผู้มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงไห้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก. คือ:-

๑. ไม่สามารถจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือ

สัทธิวิหาริกผู้อาพาธ.

๒. ไม่สามารถจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน.

๓. ไม่สามารถจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทาความเบื่อ

หน่ายอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม.

๔. ไม่รู้จักอาบัติ.

๕. ไม่รู้จักวิธีออกจากอาบัติ และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ศุกลปักษ์ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. อาจจะพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่นพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิ-

วิหาริก ผู้อาพาธ.

๒. อาจจะระงับเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยระงับความกระสัน.

๓. อาจจะบรรเทาเอง หรือหาผู้อื่นให้ช่วยบรรเทา ความเบื่อหน่าย

อันเกิดขึ้นแล้ว โดยธรรม.

๔. รู้จักอาบัติ.

๕. รู้จักวิธีออกจากอาบัติ และ

๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่อาจฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็นอภิ-

สมาจาร.

๒. ไม่อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

๓. ไม่อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป.

๔. ไม่อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๕. ไม่อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๖

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. อาจจะฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก ในสิกขาอันเป็น

อภิสมาจาร.

๒. อาจจะแนะนำในสิกขา อันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

๓. อาจจะแนะนำในธรรมอันยิ่งขึ้นไป.

๔. อาจจะแนะนำในวินัยอันยิ่งขึ้นไป.

๕. อาจจะเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม และ

๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

กัณหปักษ์ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก.

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดีโดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี

ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่พึงให้

อุปสมบท ไม่พึงให้นิสัย ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

ศุกลปักษ์ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ พึงให้อุปสมบท พึง

ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-

๑. รู้จักอาบัติ.

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๔. รู้จักอาบัติหนัก.

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โอยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี

วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ และ

๖. มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล พึงให้อุปสมบท

พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ให้อุปสมบท ๑๖ หมวด จบ

๑. ตามบาลีนับได้ ๑๔ หมวด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

อรรถกถาว่าด้วยองค์แห่งอุปัชฌาย์

คำว่า กินฺตาย ภิกฺขุ โหติ มีความว่า ภิกษุนี้ เป็นอะไร กับท่าน.

ข้อว่า อญฺเหิ โอวทิโย อนุสาสิโย มีความว่า ท่าน อันภิกษุ

เหล่าอื่นต้องตักเตือนและต้องพร่ำสอน.

ข้อว่า พาหุลฺลาย อาวตฺโต อทิท คณพนฺธิก มีความ ว่า

ความพัวพันด้วยหมู่ ของความเป็นผู้มักมากนี้มีอยู่ เหตุนั้นความเป็นผู้มักมาก

นี้ ชื่อว่า มีความพัวพันด้วยหมู่ มีคำอธิบายว่า ความเป็นผู้มักมากที่ชื่อว่า

มีความพัวพันด้วยหมู่นี้อันใด ท่านเวียนมาเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มักมาก

อันนั้น เร็วนัก.

บทว่า อพฺยตฺตา ได้แก่ ผู้ปราศจากปัญญาเครื่องเป็นผู้ฉลาด.

สองบทว่า อญฺตโรปิ อญฺติตฺถิยปุพฺโพ ได้แก่ปริพาชก ชื่อ

ปสุระ. ได้ยินว่า เขาคิดว่า จักขโมยธรรม จึงบวชในสำนักพระอุทายีเถระ

ผู้อันท่านว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของท่าน.

ภิกษุผู้ฉลาดในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว พฺยตฺเตน ภิกฺขุนา

เป็นต้น มีลักษณะดังกล่าวแล้วในอรรถกถาแห่งภิกขุโนวาทกสิกขาบทใน

หนหลังนั้นแล. ส่วนภิกษุผู้สามารถทำกิจเป็นต้นว่า พยาบาลอันเตวาสิก หรือ

สัทธิวิหาริกซึ่งอาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ว่า ผู้สามารถ ในที่นี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส แม้คำนี้ไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๕ ควรให้กุลบุตรอุปสมบท ควรให้นิสัย ควรให้สามเณรอุปัฏฐาก

ด้วยองค์ ๕ เหล่าไหน ? เหล่านี้คือ เป็นผู้สามารถพยาบาลเอง หรือให้ผู้อื่น

๑. สมนฺต. ทุติย. ๓๕๐

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ช่วยพยาบาลอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้อาพาธ, เป็นผู้สามารถระงับเองหรือ

ให้ผู้อื่นช่วยระงับความกระสันของอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริก เป็นผู้สามารถ

บรรเทาเองหรือให้ผู้อื่นช่วยบรรเทาความรังเกียจ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเสียโดยธรรม,

เป็นผู้สมามารถแนะนำในอภิธรรม แนะนำในอภิวินัย.

ว่าด้วยทรงอนุญาตนิสยาจารย์

บทว่า ปกฺขสงฺกนฺเตสุ ได้แก่ ไปเข้าพวกเดียรถีย์.

ข้อว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อาจริย มีความว่า เราอนุญาตอาจารย์

ผู้ฝึดหัดอาจาระและสมาจาร.

คำทั้งปวงเเป็นต้นว่า อาจริโย ภิกฺขเว อนฺเตวาสิกมฺหิ พึงทราบ

ด้วยอำนาจคำที่ กล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อุปชฺฌาโย ภิกฺขเว สทฺธิ-

วิหารริกมฺหิ นั่นแล. เพราะว่า ในคำว่า อาจริโย เป็นต้น ต่างกันแต่เพียง

ชื่อเท่านั้น.

ส่วนในคำว่า อันเทวาสิกทั้งหลายไม่พระพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย

นี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นอาบัติแก่นิสสยันเตวาสิก โดยลักษณะที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแลว่า ก็ในการไม่ประพฤติชอบ มีวินิจฉัยดังนี้:-

เมื่อสัทธิวิหาริกไม่ทำวัตรเพียงย้อมจีวร ความเสื่อมย่อมมีแก่อุปัชฌาย์ เพราะ

เหตุนั้น จึงเป็นอาบัติเหมือนกันทั้งผู้พ้นนิสัยแล้ว ทั้งผู้ยังไม่พ้น ซึ่งไม่ทำวัตร

นั้นและว่า ตั้งแต่ให้บาตรแก่คนบางคนไป เป็นอาบัติแก่ผู้ยังไม่พ้น นิสัยเท่านั้น

เพราะว่านิสสยันเตวาสิก ควรทำอาจริยวัตรทั้งปวง เพียงเวลาที่ตนอาศัย

อาจารย์อยู่. ฝ่ายปัพพชันเตวาสิก อุปสัมปทันเตวาสิกและธัมมันเตวาสิกแม้พ้น

๑. ดูกำอธิบายหน้า ๒๓๒.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

นิสัยแล้ว ก็คงทำวัตรตั้งแต่ต้นจนถึงย้อมจีวร แต่ไม่เป็นอาบัติแก่อันเตวาสิก

เหล่านั้น ในเพราะเหตุมีไม่เรียนถามก่อนแล้วให้บาตรเป็นต้น. และในอัน

เตวาสิกเหล่านี้ ปัพพชันเตวาสิกและอุปสัมปทันเตวาสิก เป็นภาระของอาจารย์

ตลอดชีวิต นิสสยันเตวาสิกและธัมมันเทวาสิก ยังอยู่ในสำนักเพียงใด เป็น

ภาระของอาจารย์เพียงนั้นทีเดียว เพราะเหตุนั้น ฝ่ายอาจารย์จึงต้องประพฤติใน

อันเตวาสิกเหล่านั้นด้วย เพราะว่า ทั้งอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิก ฝ่ายใด ๆ ไม่

ประพฤติชอบย่อมเป็นอาบัติแก่ฝ่ายนั้น ๆ.

อรรถกถาว่าด้วยองค์แห่งอุปัชฌาย์จบ

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัย

ในองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอุปัชฌาย์ เป็นต้นว่า อุปัชฌาย์หลีกไป

เสียก็ดี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปกฺกนฺโต มีความว่า อุปัชฌาย์ใคร่จะย้ายไปจากอาวาสนั้น

หลีกไปเสีย คือ ไปสู่ทิศ. ก็แลเมื่อท่านไปแล้วอย่างนั้น. ถ้าในวิหารมีภิกษุ.

ผู้ให้นิสัย. หรือแม้ในกาลอื่น ตนเคยถือนิสัยในสำนักภิกษุใด. หรือภิกษุใด

มีสมโภคและบริโภคเป็นอย่างเดียวกัน พึงถือนิสัยในสำนักภิกษุนั้น. แม้วัน

เดียวก็คุ้มอาบัติไม่ได้. ถ้าภิกษุเช่นนั้นไม่มี ภิกษุอื่นที่เป็นลัชชีมีศีลเป็นที่รักมี

อยู่ เมื่อทราบว่าเธอเป็นลัชชี มีศีลเป็นที่รัก พึงขอนิสัยในวันนั้นทีเดียว. ถ้า

เธอให้ การให้อย่างนั้นนั่นเป็นการดี แต่ถ้าเธอถามว่า อุปัชฌาย์ของท่าน

จักกลับเร็วหรือ และอุปัชฌาย์ได้พูดไว้อย่างนั้น พึงตอบว่า ถูกละขอรับ แล

ถ้าเธอกล่าวว่า ถ้ากระนั้น จงคอยอุปัชฌาย์มาเถิด จะรออุปัชฌาย์กลับก็ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

แต่ถ้าโดยปกติ ทราบไม่ได้ว่า เธอเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก พึงสังเกตสัก ๔- ๕

วันว่า ภิกษุนั้นจะเป็นสภาคกันหรือไม่ แล้ว ให้เธอทำโอกาส ขอนิสัย. แต่

ถ้าในวัดที่อยู่ ไม่มีภิกษุผู้ให้นิสัย ทั้งอุปัชฌาย์ได้สั่งว่า ฉันจักไปสัก ๒-๓ วัน

พวกคุณอย่าทุรนทุรายใจเลย ดังนี้จึงไป ได้ความคุ้มอาบัติจนกว่าท่านจะกลับ

มา. ถ้าแม้ชาวบ้านในที่นั้น เขานิมนต์ให้ท่านอยู่เกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้บ้าง

๕ วันหรือ ๑๐ วันไซร้, อุปัชฌาย์นั้นพึงส่งข่าวไปวัดที่อยู่ว่า พวกภิกษุหนุ่ม

อย่าทุรนทุรายใจเลย ฉันจักกลับในวันโน้น. แม้อย่างนี้ ก็ได้ความคุ้มอาบัติ.

ภายหลังเมื่ออุปัชฌาย์กำลังกลับมา มีความติดขัดในระหว่างทาง ด้วยน้ำเต็ม

แม่น้ำ หรือด้วยโจรเป็นต้น พระเถระคอยน้ำลดหรือหาเพื่อน ถ้าพวกภิกษุ

หนุ่มทราบข่าวนั้น ได้ความคุ้มอาบัติจนกว่าท่านจะกลับมา. แต่ถ้าท่านส่งข่าว

มาว่า ฉันจักอยู่ที่นี้แหละ ดังนี้ คุ้มอาบัติไม่ได้. จะได้นิสัยในที่ใด พึงไปใน

ที่นั้น แต่เมื่ออุปัชฌาย์สึกหรือมรณภาพ หรือไปเข้ารีตเดียรถีย์เสีย แม้วัน

เดียว ก็คุ้มอาบัติไม่ได้. จะได้นิสัยในที่ใด พึงไปในที่นั้น.

บทว่า วิพฺภนฺโต ได้แก่ เคลื่อนจากศาสนา. การประณามนิสัย

ท่านเรียกว่า อาณัติ คือ สั่งบังคับ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใดถูกอุปัชฌาย์ผลัก

ออกด้วยประณามนิสัย โดยนัยพระบาลีนี้ว่า ฉันประณามเธอ หรือว่า อย่า

เข้ามา ณ ที่นี้ หรือว่า จงขนบาตรจีวรของเธอออกไปเสีย หรือว่า เธอไม่

ต้องอุปัฏฐากฉันดอกดังนี้ก็ดี โดยนัยพ้นจากบาลีเป็นต้นว่า เธออย่าบอกลาเข้า

บ้านกะฉันเลย ดังนี้ก็ด็ ภิกษุนั้น พึงขอให้อุปัชฌาย์อดโทษ. ถ้าท่านไม่ยอม

อดโทษให้แต่แรก. พึงยอมรับทัณฑกรรมแล้ว ขอให้ท่านอดโทษด้วยตนเอง

๓ ครั้งก่อน, ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษให้ พึงเชิญพระมหาเถระที่อยู่ในวัดนั้นให้

ช่วยขอโทษแทน. ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษพึงวานภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในวัดใกล้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

เคียงให้ช่วยขอโทษแทน. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้ พึง

ไปในที่อื่นแล้ววอยุ่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคแก่อุปัชฌาย์ ด้วยคิดว่า

แม้ไฉนอุปัชฌาย์ได้ทราบว่า อยู่ในสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสภาคของเรา

จะพึงอดโทษให้บ้าง. ถ้าถึงอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังไม่ยอมอดโทษให้, พึงอยู่

ในที่นั้นเสียเถิด, ถ้าไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ด้วยโทษมีข้าวแพงเป็นต้น. จะมายัง

วัดที่อยู่เดิมนั้นแล้ว ถือนิสัยอยู่ในสำนักภิกษุอื่นก็ควร, วินิจฉัยในการสั่งบังคับ

เท่านี้ .

ว่าด้วยองค์เป็นเหตุระงับนิสัยจากอาจารย์

บรรดาองค์ ๖ ซึ่งเป็นเหตุให้นิสัยระงับจากอาจารย์ ในองค์นี้ คือ

อาจารย์หลักไปเสียก็ดี มีวินิจฉัยว่า อาจารย์บ่งองค์บอกลาแล้วหลักไป บาง

องค์ไม่บอกลา. ถึงอันเตวาสิกก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวา

สิก ๒ ฝ่ายนั้น ถ้าอันเตวาสิกบอกลาอาจารย์ว่า ผมอยากไปที่โน้น ด้ายกรณียกิจ

เฉพาะบางอย่างขอรับ และเธออันอาจารย์ถามว่า จักไปเมื่อไร ? จึงตอบว่า

จักไปในเวลาเย็น หรือจักลุกขึ้นไปในกลางคืน พออาจารย์รับว่า ดีละ นิสัย

ระงับในทันที. แต่ถ้า เมื่อเธอกล่าวว่า ผมอยากไปที่โน้น ขอรับ อาจารย์

ตอบว่า เธอจักเที่ยวบิณฑบาตที่บ้านโน้นก่อน ภายหลังจักรู้ และภิกษุนั้นรับ

ว่า ดีแล้ว ถ้าเธอไปจากบ้านนั้น เป็นอันไปด้วยดี, แต่ถ้าไม่ไป นิสัยไม่

ระงับ. ถ้าแม้ เมื่ออันเตวาสิกกล่าวว่า ผมจะไป แต่อาจารย์สั่งว่า อย่าพึงไป

ก่อน กลางดือหารือกันแล้วจึงค่อยรู้ ดังนี้ ครั้นหารือกันแล้วจึงไป เป็นอัน

ไปด้วยดี ถ้าไม่ไป นิสัยไม่ระงับ. แต่สำหรับอันเตวาสิกผู้ไม่บอกลาอาจารย์

ก่อนหลีกไป นิสัยระงับในเมื่อล่วงอุปจารสีมาไป, เมื่อกลับเสียแต่ภายในอุปจาร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

สีมา นิสัยยังไม่ระงับ ก็ถ้า อาจารย์บอกลาอันเตวาสิกว่า ฉันจักไปที่โน้นนะ

คุณ, และเมื่ออันเตวาสิกถามว่า จักไปเมื่อไร ? ตอบว่า เวลาเย็น หรือตอน

กลางคืน, พออันเตวาสิกรับว่า ดีแล้ว นิสัยระงับทันที. แต่ถ้าอาจารย์บอกว่า

พรุ่งนี้ฉันจักเที่ยวบิณฑบาตแล้วเลยไป ฝ่ายอันเตวาสิก รับว่า ดีแล้ว นิสัย

ยังไม่ระงับก่อนตลอดวันหนึ่ง ต่อวันรุ่งขึ้นจึงระงับ. อาจารย์บอกว่า ฉันจัก

ไปบิณฑบาตที่บ้านโน้นแล้ว จึงจะรู้ว่า จะไปหรือไม่ไป ถ้าไม่ไป นิสัยไม่

ระงับ. ถ้าแม้เมื่ออาจารย์บากกว่าจะไป แล้วถูกอันเตวาสิกหน่วงไว้ว่า อย่าพึง

ไปก่อน กลางคืนหารือกัน แล้วจึงค่อยทราบ, แม้หารือกันแล้วไม่ไป นิสัยก็ไม่

ระงับ. ถ้าอันเตวาสิกและอาจารย์ทั้ง ๒ ต่างออกนอกสีมาไป ด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง ลำดับนั้น ถ้าเมื่อจิตคิดจะไปเกิดขึ้น อาจารย์ไม่ทันบอกลา ไปเสีย

แล้วกลับแต่เพียงใน ๒ เลฑฑุบาต. นิสัยยังไร่ระงับ ถ้าล่วง ๒ เลฑฑุบาต

ออกไปแล้วจึงกลับ, นิสัยย่อมระงับ. อาจารย์และอุปัชฌาย์ อยู่ในวัดที่อยู่อื่น

ล่วง ๒ เลฑฑุบาตออกไปนิสัยระงับ. อาจารย์ลาสิกขา มรณภาพ ไปเข้ารีตเสีย

นิสัยระงับทันที.

ส่วนในการสั่งบังคับวินิจฉัยว่า ถ้าแม้อาจารย์เป็นผู้มีปารถนาจะสลัด

จริง ๆ จึงผลักออกเสียด้วยประณามนิสัย. แต่อันเตวาสิกยังเป็นผู้ถืออาลัยอยู่ว่า

อาจารย์ประฌามเราเสียก็จริง แต่ว่าท่านยังเป็นผู้อ่อนโยนด้วยน้ำใจ ดังนี้

นิสัยยังไม่ระงับ. ถ้าแม้อาจารย์มีอาลัย แต่อันเตวาสิกหมดอาลัยทอดธุระว่า

คราวนี้ เราจักไม่อาศัยอาจารย์นี้อยู่ แม้อย่างนั้น นิสัยย่อมยังไม่ระงับ. และ

ด้วยข้อที่ทั้ง ๒ ฝ่ายยังมีอาลัย นิสัยย่อมไม่ระงับแท้. ในเมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายทอด

ธุระ นิสัยจึงระงับ. อันเตวาสิกผู้ประณาม ควรยอมรับทัณฑกรรม. แล้วขอ

ให้อาจารย์อดโทษ ๓ ครั้ง ถ้าท่านไม่อดโทษให้ พึงปฏิบัติโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในอุปัชฌาย์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ในข้อซึ่งว่า หรือถึงความพบปะกับอุปัชฌาย์ นี้ พึงทราบการพบปะกัน

ด้วยอำนาจการได้เห็นและได้ยิน. ก็ถ้าสัทธิวิหาริกอาศัยอาจารย์อยู่ เห็น

อุปัชฌาย์ไหว้พระเจดีย์อยู่ในวัคที่อยู่เดียวกันหรือเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในบ้านเดียว

กัน นิสัยย่อมระงับ. อุปัชฌาย์เห็น แต่สัทธิวิหาริกไม่เห็น นิสัยไม่ระงับ

สัทธิวิหาริกเห็น อุปัชฌาย์เดินทางไป หรือไปทางอากาศ ทราบว่า เป็นภิกษุ

แต่ไกล แต่ไม่ทราบว่า อุปัชฌาย์ นิสัยไม่ระงับ. ถ้าทราบ นิสัยระงับ

อุปัชฌาย์อยู่บนปราสาท สัทธิวิหาริกอยู่ข้างล่างแต่ไม่ทันเห็นท่าน ดื่มยาคูแล้ว

หลีกไป หรือไม่ทันเห็นท่านซึ่งนั่งที่หอฉัน ฉัน ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วหลีกไป

หรือไม่ทันเห็นท่านแม้นั่งในมณฑปทีฟังธรรม ฟังธรรมแล้วหนีไป, นิสัยไม่

ระงับ พึงทราบการพบปะกันด้วยอำนาจการเห็นก่อนด้วยประการฉะนี้.

ส่วนการพบปะกันด้วยอำนาจการได้ยิน พึงทราบดังนี้:-

ถ้าเมื่ออุปัชฌาย์กล่าวธรรมอยู่ หรือทำอนุโมทนาอยู่ ในวัดที่อยู่ก็ดี

ในละแวกบ้านก็ดี สัทธิวิหาริกได้ยินเสียงแล้ว จะได้ว่า เสียงอุปัชฌาย์ของเรา

นิสัยระงับ เมื่อจำไม่ได้ ไม่ระงับ. วินิจฉัยในการพบปะกันเท่านี้.

โสฬสปัญจกวินิจฉัย

ลักษณะแห่งอุปัชฌาย์อาจารย์ โดยย่ออันใด ที่พระผู้มีพระภาคะเจ้าตรัส

ไว้ในหนหลังว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถมีพรรษาครบ

๑๐ หรือเกินกว่า ๑๐ ให้กุลบุตรอุปสมบท ให้นิสัย ดังนี้, บัดนี้ เพื่อแสดงลักษณะ

อันนั้น โดยพิสดาร จึงตรัสดำว่า ปญฺจหื ภิกฺขเว องฺเคหิ สมนฺนาคเตน

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปญฺจหิ องฺเคหิ ได้แก่องค์ไม่เป็น

คุณ ๕. จริงอยู่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยองค์ไม่เป็นคุณก็เพราะไม่ประ

กอบด้วยกองแห่งธรรม ๕ มีกองศีลเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ข้อว่า น อุปสมฺปาเทตพฺพ ได้แก่ ไม่พึงเป็นอุปัชฌาย์ให้กุลบุตร

อุปสมบท.

ข้อว่า น นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ ไม่พึงเป็นอาจารย์ให้นิสัย.

ก็คำว่า อเสเขน เป็นต้น ในองค์ ๕ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอา ศีล สมาธิ ปัญญา ผล และ ปัจจเวกขณญาณแห่งพระอรหันต์.

ก็สามปัญจกะข้างต้นเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้

ไม่สมควร หาได้ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่.

ก็แล บรรดาปัญจกะเหล่านี้ เฉพาะ ๓ ปัญญขกะ มีคำเป็นต้น ว่า

อเสขน ลีลกฺขนฺเธน ๑ อตฺตนา น อเสเขน ๑ อสฺสทฺโธ ๑ ทรงทำการ

ห้ามด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร หาได้ทรงทำด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่.

จริงอยู่ ภิกษุใด ไม่ประกอบด้วยกองธรรม ๕ ของพระอเสขะมีกองศีลเป็นต้น

ทรงไม่สามารถชักนำผู้อื่นในกองธรรมเหล่านั้น, แต่เป็นผู้ประกอบด้วยโทษมี

อัสสัทธิยะเป็นเต้น ปกครองบริษัท, บริษัทของภิกษุนั้น ย่อมเสื่อมจากคุณทั้ง

หลายมีศีลเป็นต้นแท้ ย่อมไม่เจริญ. เพราะเหตุ นั้น คำเป็นต้นว่า อันภิกษุ

นั้นไม่พึงให้กุลบุตรอุปสมบท ดังนี้ จึงชื่อว่า ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่

สมควร หาได้ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติไม่. อันการที่พระขีณาสพเท่านั้น

เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้วหามิได้ ถ้า

จักเป็นอันทรงอนุญาตเฉพาะพระขีณาสพนั้นเท่านั้นไซร้ พระองค์คงไม่ตรัสคำ

ว่า ถ้าความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นแก่อุปัชฌาย์ ดังนี้ เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่บริษัท

ของพระขีณาสพ ไม่เสื่อมจากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสคำเป็นต้นว่า:- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้กุลบุตร

อุปสมบทได้ ดังนี้ .

ในองค์ทั้งหลายเเป็นต้นว่า อธิสีเล สีลวิปิปนฺโน มีวินิจฉัยว่า ภิกษุ

ผู้ต้องอาบัติปาราชิกสังฆาทิเสส ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยศีลในอธิศีล. ผู้ต้องอาบัติ ๕

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

กองนอกจากนี้ ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยอาจาระในอัชฌาจาร. ผู้ละสัมมาทิฏฐิเสีย

ประกอบด้วยอันตคาหิกมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าผู้วิบัติด้วยทิฏฐิในอติทิฏฐิ. สุตะมี

ประมาณเท่าใดอันภิกษุผู้ปกครองบริษัทพึงปรารถนา เพราะปราศจากสุตะนั้น

ชื่อว่าผู้มีสุตะน้อย. เพราะไม่รู้ส่วนที่เธอควรรู้มีอาบัติเป็นต้น จึงชื่อว่าผู้มี

ปัญญาทราม. ก็ในปัญจกะนี้ สามบทเบื้องต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย

อำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควรเท่านั้น สองบทเบื้องปลายตรัสด้วยอำนาจองค์แห่ง

อาบัติ.

ข้อว่า อาปตฺตึ น ชานาติ มีความว่า เมื่อสัทธิวิหาริกหรืออัน

เตวาสิกบอกว่า กรรมเช่นนี้ ผมทำเข้าแล้ว ดังนี้ เธอไม่ทราบว่า ภิกษุนี้

ต้องอาบัติชื่อนี้.

ข้อว่า วุฏฺาน น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้จักว่า ความออกจาก

อาบัติ ที่เป็นวุฏฐาานคามินี หรือเทศนาคามินี เป็นอย่างนี้. ในปัญจกะนี้

๒ บทเบื้องต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร สาม

บทเบื้องปลาย ตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติ.

ข้อว่า อภิสมาจาริกาย สิกฺขาย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถ

เพื่อจะแนะนำในขันธกวรรค.

ข้อว่า อาทิสมาจาริกาย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจะแนะ

นำในพระบัญญัติควรศึกษา.

ข้อว่า อภิธมฺเม มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจะแนะนำในนาม

รูปปริจเฉท.

ข้อว่า อภิวินเย มีความว่า เป็นผู้ไม่สามารถจะแนะนำในวินัยปิฎก

ล้วน. ส่วนสองบทว่า วิเนตุ น ปฏิพโล มีความว่าย่อมไม่อาจเพื่อให้

ศึกษาในทุกอย่าง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ข้อว่า ธมฺมโต วิเวเจตุ มีความว่า เพื่อให้สละเสีย โดยธรรม

คือตามเหตุ.

ในปัญจกะนี้ ปรับอาบัติทุก ๆ บท. แม้ในปัญจกะซึ่งมีบทต้นว่า ไม่

รู้จักอาบัติ ก็ปรับอาบัติทุก ๆ บท.

ในปัญจกะนั้น ข้อว่า อุภยานิ โข ปนสฺส ปาฏิโมกฺขานิ

วิตฺถาเรน สฺวาคตานิ โหนฺติ ได้แก่ ปาฏิโมกข์ ๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสด้วยอำนาจอุภโตวิภังค์.

บทว่า สุวิภตฺตานิ ได้แก่ ที่ตรัสด้วยอำนาจมาติกาวิภังค์.

บทว่า สุปฺปวตฺตีนิ ได้แก่ ที่ตรัสด้วยอำนาจที่คล่องปาก.

หลายบทว่า สุวินิจฺฉิตานิ สุตฺตโส อนุพฺยญฺชนโส ได้แก่ที่

วินิจฉัยดีแล้ว โดยมาติกาและวิภังค์. แม้ในปัญจกะซึ่งมีบทท้ายว่า มีพรรษา

หย่อน ๑๐ ก็มีนัยเหมือนกันนั่นแล. ๓ ปัญจกะข้างต้น ๓ บทในปัญจกะที่ ๔

๒ บทในปัญจกะที่ ๕ รวมทั้งหมดเป็น ๔ ปัญจกะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้ไม่สมควร. ๒ บทในปัญจกะที่ ๔ ๓ บทในปัญจกะที่ ๕

๓ ปัญจกะ คือ ที ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ รวมทั้งหมดเป็น ๔ ปัญจกะ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจองค์แห่งอาบัติ ด้วยประการฉะนี้. ในศุกลปักษ์

ไม่มีอาบัติเลย ทั้ง ๘ ปัญจกะ ฉะนั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในฉักกะทั้งหลาย ดังนี้ อูนทสวัสสบท เป็นข้อพิเศษ.

บทนั้นปรับอาบัติในทุก ๆ หมวด. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อรรถกถาโสฬสปัญจกวินิจฉัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ติตถิยาปริวาสกถา

[๑๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ อันพระ

อุปัชฌาย์ว่ากล่าวอยู่ โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของอุปัชฌายะเสีย แล้วเข้า

ไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นดังเดิม เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ อันพระอุปัชฌาย์

ว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะของอุปัชฌายะเสีย แล้วเข้าไปสู่ลัทธิ

เดียรถีย์นั้นดังเดิม มาแล้ว ไม่พึงอุปสมบทให้ แม้ผู้อื่นที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

หวังบรรพชา อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ พึงให้ปริวาส ๔ เตือนแก่เธอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงให้ติตถิยปริวาสอย่างนี้:-

วิธีให้ติตถิยปริวาส

ชั้นต้นพึงให้กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ปลงผมและหนวด ให้

ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่ง

กระโหย่งให้ประคองอัญชลีสั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-

ไตรสรณคมน์

พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง

ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

ทุติยมิปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นทิ่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง

ทุติยมฺปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง

ทุติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สอง

ตติยมฺปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม

ตติยมฺปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม

ตติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่สาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้น พึงเข้าไปหา

สงฆ์ ห่มผ้าเฉวียงบ่า กราบเท้าภิกษุทั้งหลายนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้ว

กล่าวคำขอติตถิยปริวาสอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำขอติตถิยปริวาส

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าผู้มีชื่อนี้ เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบท

ในพระธรรมวินัยนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้น ขอปริวาส ๔ เดือนต่อสงฆ์.

พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจาว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

กรรมวาจาให้ติตถิยปริวาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อผู้นี้ เคยเป็น

อัญญเดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ๔

เดือนต่อสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงแล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส

๔ เดือน แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนิ้ เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ เธอขอปริวาส ถ เดือน

ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

การให้ปริวาส ๔ เดือนแก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชอบแก่

ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง

พูด.

ปริวาส ๔ เดือน สงฆ์ให้แล้ว แก่ผู้มีชื่อนี้ ผู้เคยเป็นอัญญู-

เดียรถีย์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย

อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เป็นผู้ปฏิบัติให้

สงฆ์ยินดี อย่างนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดีอย่างนี้.

ข้อปฏิบัติที่มิให้สงฆ์ยินดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อ

ว่า เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าบ้านเช้าเกินไป กลับสายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติ

มิให้สงฆ์ยินดี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้ายเป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็น

โคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร หรือมีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็น

ผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ เป็นผู้ไม่ขยัน เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารี

ทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอดส่อง ในการนั้น ไม่อาจ

ทำ ไม่อาจจัดการ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ เป็นผู้ไม่สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียนอรรถกถา ในอธิศีล

อธิจิต อธิปัญญา แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ ตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวติดรูคนนั้น

ติดวามเห็น ความชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ยัง

โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อมีผู้กล่าวที่พระพุทธเจ้า พระธรรม หรือ

พระสงฆ์ กลับพอใจ ร่าเริง ชอบใจ ก็หรือคนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่ง

ครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ

ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมพอใจ ร่าเริง ชอบใจ

เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับโกรธ ไม่

พอใจ ไม่ชอบใจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในความปฏิบัติที่ไม่ชวน

ให้สงฆ์ยินดีแห่งกุลบุตรผู้เป็นเดียรถีย์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อว่า

เป็นผู้ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยินดี กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ปฏิบัติมิให้สงฆ์ยิน

ดี เช่นนี้แล มาแล้ว ไม่พึงอุปสมบทให้.

ข้อปฏิบัติที่ให้สงฆ์ยินดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เป็น

ผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าบ้านไม่เช้าเกินไป กลับไม่สายเกินไป แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้

ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ไม่เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อ

เป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์เป็นโคจรไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่า

เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้ง

หลาย ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอดส่องในการนั้น อาจทำได้ อาจจัดการ

ได้ แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ เป็นผู้สนใจในการเรียนบาลี ในการเรียนอรรถกถา ในอธิศีล อธิจิต

อธิปัญญา แน่เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญ-

เดียรถีย์ตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคนใด เมื่อมีผู้กล่าวที่ครูคนนั้น ติ

ความเห็น ความชอบใจ ความพอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

พอใจ ร่าเริง ชอบใจ เมื่อเขากล่าวที่พระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์

กลับโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ก็หรือตนหลีกมาจากสำนักเดียรถีย์แห่งครูคน

ใด เมื่อมีผู้กล่าวสรรเสริญครูคนนั้น สรรเสริญความเห็น ความชอบใจ ความ

พอใจ และความยึดถือ ของครูคนนั้น ย่อมโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ เมื่อ

เขากล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรม หรือพระสงฆ์ กลับพอใจ ร่าเริง

ชอบใจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นเครื่องสอบสวนในความปฏิบัติที่ชวน

ให้สงฆ์ยินดี แห่งกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ชื่อ

ว่า เป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี

เช่นนี้แล้วมาแล้ว พึงอุปสมบทให้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เปลือยกายมา

ต้องแสวงหาจีวรซึ่งมีอุปัชฌาย์เป็นเจ้าของ ถ้ายังมิได้ปลงผมมา สงฆ์พึงอปโลกน์

เพื่อปลงผม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชฎิลผู้บูชาไฟเหล่านั้นมาแล้ว พึงอุปสมบทให้

ไม่ต้องให้ปริวาสแก่พวกเธอ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะชฎิลเหล่านั้น เป็นกรรมวาที กิริยวาที

ถ้าศากยะโดยกำเนิดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์มา เธอมาแล้วพึงอุปสมบท

ให้ไม่ต้องให้ปริวาสแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราให้บริขารข้อนี้เป็นส่วน

พิเศษเฉพาะหมู่ญาติ.

อัญญติตถิยาปุพพกถา จบ

ภาณวารที่ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

อรรถกถาอัญญติตถิยวัตถุกถา

พึงทราบวินิจฉัยในอัญญติตถิปุพพวัตถุต่อไป:-

ปสุรปริพาชกนี้ก่อน ไม่ควรให้อุปสมบท เพราะกลับไปเข้ารัดเดียรถีย์

แล้ว. ส่วนเดียรถีย์แม้อื่นคนใดไม่เคยบวชในศาสนานี้มา กิจใดควรทำสำหรับ

เดียรถีย์คนนั้น เพื่อแสดงกิจนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า โย ภิกฺขเว

อญฺโปิ เป็นต้น.

ในคำนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ ข้อว่า ตสฺส จตฺตาโร มาเส ปริวาโส

ทาตพฺโพ มีความว่า ขึ้นชื่อว่าติตถิยปริวาสนี้ ท่านเรียกว่า อัปปฏิจฉันน-

ปริวาสบ้าง. ก็ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่อาชีวกหรืออเจลก ผู้เป็นปริพาชก

เปลือยเท่านั้น. ถ้าแม้เขานุ่งผ้าสาฎกหรือบรรดาผ้าวาฬกัมพลเป็นต้นผ้าอันเป็น

ธง แห่งเดียรถีย์อย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ควรให้ปริวาสแก่เขา. อนึ่ง นักบวช

อื่น มีดาบสและปะขาวเป็นต้น ก็ไม่ควรให้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงสามเณรบรรพชาสำหรับเขาก่อนเทียว ด้วยคำเป็นต้นว่า ปม

เกสมสฺสุ. อันภิกษุทั้งหลายผู้จะให้บวชอย่างนั้น ไม่พึงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า

ท่านจงให้บวช, ท่านจงเป็นอาจารย์, ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ ในเมื่อกุลบุตรผู้

เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้นนั่งในท่ามกลางสงฆ์เสร็จสรรพแล้ว. เพราะภิกษุทั้ง

หลายผู้ถูกสั่งอย่างนั้น ถ้าเกลียดชังด้วยการเป็นอาจารย์อุปัชฌาย์ของเขาจะไม่

รับ ทีนั้นกุลบุตรนั้นจะโกรธว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่เชื่อเรา แล้วพึงไปเสียก็ได้

เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายพึงนำเข้าไปไว้ส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงค่อยหาอาจารย์

และอุปัชฌาย์สำหรับเขา.

๑. ต่อเป็นสัญญลักษณ์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

เพื่อแสดงปริวาสวัตรแห่งกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงตั้งมาติกานี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

ย่อมเป็นผู้ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดีอย่างนี้แล, ย่อมเป็นผู้ไม่ยังภิกษุทั้งหลายให้

ยินดีอย่างนี้. คำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น เป็นวิภังค์แห่งมาติกานั้น.

ติดถิยปริวาสในบาลีนั้น พึงให้แก่อัญญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์เท่านั้น ไม่ควร

ให้แก่เหล่าอื่น.

ข้อว่า อติกาเล คาม ปวิสติ มีความว่า เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต

ในเวลาที่พวกภิกษุทำวัตรกันทีเดียว.

ข้อว่า อติทิวา ปฏิกฺกมติ มีความว่า กล่าวเรื่องเนื่องด้วยบ้าน

เรือนกับชนมีสตรี บุรุษ เด็กหญิงและเด็กชายเป็นต้น ในเรือนแห่งสกุลทั้ง

หลาย ฉันในที่นั้นเองแล้วจึงมา ในเมื่อภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรจีวรแล้วทำกิจ

มีอุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น หรือหลีกเร้นอยู่แล้ว ไม่ทำอุปัชฌายวัตรอาจริย-

วัตร เข้าสู่ที่อยู่แล้วหลับเท่านั้นเอง.

ข้อว่า เอวมฺปิ ภิกฺขเว อฺติตฺติยปุพฺโพ อนาราธโก โหติ

มีความว่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อกระทำอยู่แม้อย่างนั้น เป็นผู้

ไม่ชื่อว่า ยังปริวาสวัตรให้ถึงพร้อม คือให้เต็ม.

ในคำว่า เวสิยโคจโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า สตรีทั้งหลายผู้อาศัย

รูปเลี้ยงชีวิต มีอัชฌาจารอันบุรุษได้ง่าย ด้วยเพิ่มให้สินจ้างเพียงเล็กน้อย

เป็นต้น ชื่อหญิงแพศยา. สตรีทั้งหลายซึ่งผัวตายหรือผัวหย่าร้างไป ชื่อว่า

หญิงหม้าย. หญิงหม้ายเหล่านั้นย่อมปรารถนาความสนิทสนมกับชายคนใดคน

หนึ่ง. เหล่าเด็กหญิงที่เจริญวัยเป็นสาวแล้ว หรือผ่านวัยเป็นสาวไปแล้ว ชื่อว่า

หญิงทึนทึก หญิงทึนทึกเหล่านั้นมักปองชายเที่ยวไป ย่อมปรารถนาความสนิท

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

สนมกับชายคนใดคนหนึ่ง. มนุษยชาติที่มิใช่ชายหรือหญิงมีกิเลสหนามีความ

กำหนัดกลัดกลุ้มไม้รู้จักสร่าง ชื่อว่าบัณเฑาะก์. พวกบัณเฑาะก์นั้นถูกกำลัง

แห่งความกำหนัดกลัดกลุ้มครอบงำแล้ว ย่อมปรารถนาความสนิทสนมกับชาย

คนใดคนหนึ่ง. เหล่าสตรีผู้มีบรรพชาเสมอกันชื่อว่าภิกษุณี. ความคุ้นเคยกับ

นางภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมมีได้เร็วนักเพราะความคุ้นกันนั้น ศีลย่อมทำลาย.

กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์นั้น เป็นผู้คุ้นในสกุลทั้งหลายแห่งพวกหญิง

แพศยา อ้างเลศมีเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น เข้าไปยังสำนักหญิงแพศยาเหล่านั้น

ด้วยความเป็นผู้อยากพบปะและเจรจากันเนือง ๆ ด้วยน้ำใจที่มีความชื่นชมด้วย

ความรัก ท่านเรียกว่า เวสิยโคจร ในบรรดาโคจรเหล่านั้น. เขาย่อมถึง

ความเป็นผู้อัน ประชุมชนพึงพูดถึงว่า ยังมิทันไรเลย ไปกับหญิงแพศยาคน

โน้นแล้ว. มีนัยดังนี้ทุก ๆ โคจร. ก็ถ้าหญิงแพศยาเป็นต้น จะถวายภัตมี

สลากภัตเป็นอาทิไซร้, ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลายแล้วฉันหรือรับด้วยกันทีเดียว

แล้วกลับมา ควรอยู่. พวกภิกษุณีอาพาธ จะไปพร้อมกับภิกษุณีผู้ไปเพื่อจะ

สอน หรือแสดงธรรมหรือให้อุทเทสและปริปุจฉาเป็นต้น ควรอยู่. ฝ่ายผู้เคย

เป็นอัญญเดียรถีย์ใดมิได้ไปอย่างนั้น ไปด้วยอำนาจความชื่นชมด้วยความ

สนิทสน ผู้นี้จัดว่าเป็นผู้ไม่ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดี.

สองบทว่า อุจฺจาวจานิ กึกรณียานิ ได้แก่ การงานใหญ่น้อย

ทั้งหลาย. บรรดาการงานสองอย่างนั้น การงานมีปฏิสังขรณ์เจดีย์และมหา-

ปราสาทเป็นต้น ที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน พึงตีระฆังประชุมกันทำ จัดเป็น

การงานใหญ่. การงานที่นับเนื่องในขันธกะ มีสุและย้อมจีวรเป็นต้น และ

อภิสมาจาริกวัตร มีวัตรที่ภิกษุควรทำในโรงเพลิงเป็นต้น จัดเป็นการงาน

น้อย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ข้อว่า ตตฺถ น ทกฺโข โหติ มีความว่า ไม่เป็นผู้ฉลาด คือ ฝึกหัด

เป็นอันดีในการงานใหญ่น้อยเหล่านั้น.

บทว่า อลโส ได้แก่ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร คือ ความ

หมั่น คือได้ฟังว่า การงานของภิกษุสงฆ์มี จึงทำภัตกิจแค่เช้าตรู่แล้วเข้าอยู่

ภายในห้อง หลับจนพอประสงค์แล้วออกมาในเวลาเย็น.

ข้อว่า ตตฺรุปายาย มีความว่า ซึ่งเป็นอุบายในการงานเหล่านั้น.

ข้อว่า วีมสาย มีความว่า เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยปัญญาสำหรับ

พิจารณาซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน คือปัญญาที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดว่า นี่แลควรทำ

นี่แลไม่ควรทำ.

ข้อว่า น อล กาตุ น อล สวิธาตุ มีความว่า ไม่เป็นผู้สามารถ

เพื่อจะทำแม้ด้วยมือตน ทั้งเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจะจัดการคือ ขอแรงกันและ

กันให้ทำด้วยปลูกความอุตสาหะให้เกิดอย่างนี้ว่า ลงมือกันเถอะครับ ลงมือ

เถอะพ่อหนุ่ม ลงมือเถอะสามเณร ถ้าพวกท่านจักไม่ทำ หรือพวกผมจักไม่ทำ

ที่นี้ใครเล่าจักทำการนี้. เมื่อพวกภิกษุพูดกันว่า พวกเราจักทำการ เขาย่อม

อ้างโรคบางอย่าง เมื่อพวกภิกษุกำลังทำการอยู่จึงเที่ยวไปใกล้ ๆ โผล่แต่ศีรษะ

ให้เห็น แม้ผู้นี้ก็จัดว่า เป็นผู้ไม่ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดี.

ข้อว่า น ติพฺพจฺฉนฺโท มีความว่า ไม่เป็นผู้มีความพอใจรุนแรง.

บทว่า อุทฺเทเส ได้แก่ ในการเรียนบาลี.

บทว่า ปริปุจฺฉาย ได้แก่ ในการอธิบายความแห่งบาลี.

บทว่า อธิสีเล ได้แก่ ศีลคือปาฏิโมกข์.

บทว่า อธิจิตฺเต ได้แก่ ในการอบรมโลกิยสมาธิ.

บทว่า อธิปญฺาย ได้แก่ ในการเจริญโลกุตตรมรรค.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

สองบทว่า สงฺกนฺโต โหติ มีความว่า เป็นผู้มาเข้าศาสนานี้แล้ว.

สองบทว่า ตสฺส สตฺถุโน ได้แก่ ครูผู้เป็นเจ้าของลัทธิดังท่าข้าม

นั้น.

สองบทว่า ตสฺส ทิฏฺิยา ได้แก่ ลัทธิซึ่งเป็นของครูนั้น. บัดนี้

ลัทธินั้นแล ท่านกล่าวว่า ความถูกใจ ความชอบใจ ความถือ ของครูผู้

เจ้าของลัทธินั้น เพราะเหตุว่า เป็นที่ถูกใจ เป็นที่ชอบใจ ของติตถกรนั้น

และอันติตถกรนั้น ถืออย่างมั่นว่า นี้เท่านั้นเป็นจริง เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แห่งความถูกใจของครูนั้น แห่งความชอบใจของครูนั้น

แห่งความถือของครูนั้น.

สองบทว่า อวณฺเณ ภญฺมาเน มีความว่า เมื่อคำติเตียนอัน

ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวอยู่.

บทว่า อนภิรทฺโธ ได้แก่ เป็นผู้มีความดำริบกพร่อง คือมีจิต

มิได้ประคองไว้.

บทว่า อุทคฺโค ได้แก่ เป็นผู้มีกายและจิตฟูยิ่งนัก.

ข้อว่า อิท ภิกฺขเว สงฺฆาตนิก อญฺติตฺถิยปุพฺพสฺส อนา-

ราธนียสฺมึ มีความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่น ซึ่ง

เกิดแต่กายวิการและวจีวิการว่า ทำไมชนเหล่านั้นจึงติเตียนผู้อื่น ? ดังนี้ ในเมื่อ

เขากล่าวโทษแห่งครูนั้น และลัทธิแห่งครูนั้นนั่นเอง และความเป็นผู้มีใจ

แช่มชื่น ในเมื่อเขากล่าวโทษแห่งรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. และความ

เป็นผู้มีใจแช่มชื่นทั้งไม่แช่มชื่น ในเมื่อเขาสรรเสริญคุณแห่งครูนั่นเองด้วย

แห่งรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นด้วย. ๓ ประการนี้ เป็นเครื่องสอบสวนใน

กรรมที่ไม่ชวนให้ภิกษุทั้งหลายยินดีของกุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์. มีคำ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

อธิบายว่า อันนี้เป็นเครื่องหมาย อันนี้เป็นลักษณะ อันนี้เป็นความแน่นอน

อันนี้เป็นกำลัง อันนี้เป็นประมาณในกรรมซึ่งไม่ทำปริวาสวัตรให้เต็ม ไม่ยัง

ภิกษุทั้งหลายให้ยินดี.

ข้อว่า เอว อนาราธโก โข ภิกฺขเว อญฺติตฺถิยปุพฺโพ

อาคโต น อุปสมฺปาเทตพฺโพ มีความว่า กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

ซึ่งประกอบด้วยองค์เหล่านี้ แม้องค์เดียว ภิกษุไม่ควรให้อุปสมบท. คำทั้งปวง

ในฝ่ายขาว พึงทราบโดยความเพี้ยนจากที่กล่าวแล้ว.

ข้อว่า เอว อาราธโก โข ภิกฺขเว เป็นต้น มีความว่า กุลบุตร

ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ยังภิกษุทั้งหลายให้ยินดีให้พอใจด้วยการบำเพ็ญติตถิย-

วัตร ๘ ประการเหล่านี้ คือ เข้าบ้านไม่ผิดเวลากลับไม่สายนัก. ความเป็น

ผู้ใหญ่ไม่มีหญิงแพศยาเป็นต้น เป็นโคจร, ความเป็นผู้ขยันในกิจทั้งหลายของ

เพื่อนสพรหมจารี, ความเป็นผู้มีฉันทะแรงกล้าในอุทเทสเป็นต้น, ความเป็นผู้

มีใจแช่มชื่น ในเพราะติโทษพวกเดียรถีย์ร ความเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่น ใน

เพราะติโทษรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ความเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่น ใน

เพราะสรรเสริญคุณเดียรถีย์ ความเป็นผู้มีใจแช่มชื่น ในเพราะสรรเสริญคุณ

รัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น, อย่างนี้ มาแล้ว ควรให้อุปสมบทแต่ถ้าวัตร

อันหนึ่งทำลายเสีย แม้ในโรงอุปสมบท พึงอยู่ปริวาสครบ ๔ เดือนอีก. เหมือน

อย่างว่า สิกขาบทและสิกขาสมมติอันภิกษุณีสงฆ์ย่อมให้อีกแก่นางสิกขมานาผู้

เสียสิกขา ฉันใด, วัตรน้อยหนึ่งซึ่งจะพึงให้อีกแก่กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์

นี้ ย่อมมีฉันนั้นหามิได้. ที่แท้ ปริวาสที่เคยให้แล้วนั้นแล เป็นปริวาสของ

เขา. เพราะเหตุนั้น เขาพึงอยู่ปริวาสครบ ๔ เดือนอีก. ถ้ากำลังอยู่ปริวาสยัง

สมาบัติ ๘ ให้เกิดได้ในระหว่างไซร้. ธรรมดาผู้ได้โลกิยธรรมยังกำเริบได้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

เป็นแน่ จึงยังไม่ควรให้อุปสมบทแท้. แต่บำเพ็ญวัตรครบ ๔ เดือนแล้ว จึง

ควรให้อุปสมบท. และถ้ากำลังอยู่ปริวาสกำหนดมหาภูตรูป ๔ ได้. กำหนด

อุปาทายรูปได้, กำหนดนามรูปได้, เริ่มวิปัสสนายกขึ้นสู่ไตรลักษณ์. ธรรมดา

ผู้ได้โลกิยธรรม ยังกำเริบได้เป็นปกติ จึงยังไม่ควรให้อุปสมบทอยู่นั่นเอง.

แต่ถ้าเจริญวิปัสสนาแล้ว ได้โสดาปัตติมรรค วัตรเป็นอันบริบูรณ์แท้, ทิฏฐิ

ทั้งปวงเป็นอันเธอรื้อแล้ว, ลูกศรคือวิจิกิจฉาเป็นอันเธอถอนขึ้นแล้ว ควรให้

อุปสมบทในวันนั้นที่เดียว. ถ้าแม้เธอคงอยู่ในเพศเดียรถีย์ แต่เป็นโสดาบัน

กิจที่จะต้องให้ปริวาสย่อมไม่มี ควรให้บรรพชาอุปสมบทในวันนั้นแท้.

ข้อว่า อุปชฺฌายมูลก จีวร ปริเยสิตพฺพ มีความว่า จีวรสำหรับ

เขา สงฆ์ควรมอบให้อุปัชฌาย์เป็นใหญ่แสวงหามา. ถึงบาตรก็เหมือนกัน.

เพราะเหตุนั้น ถ้าบาตรจีวรของอุปัชฌาย์มี พึงบอกอุปัชฌาย์ว่า จงให้แก่ผู้นี้.

ถ้าไม่มี ภิกษุเหล่าอื่นเป็นผู้อยากจะให้ แม้ภิกษุเหล่าอื่นนั้น พึงถวายอุปัชฌาย์

นั้นแลด้วยคำว่า จงทำบาตรจีวรนี้ให้เป็นของท่านแล้วให้แก่ผู้นี้. ถามว่า

เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะขึ้นชื่อว่าพวกเดียรถีย์ย่อมเป็นข้าศึก จะพึงพูด

ได้ว่า บาตรจีวร สงฆ์ได้ให้ผม ๆ มีอะไรเกี่ยวเนื่องในพวกท่าน ดังนี้แล้ว

ไม่ทำตามคำตักเตือนพร่ำสอน. แต่ว่า เพราะเขามีความเป็นอยู่เนื่องในอุปัชฌาย์

จึงจักเป็นผู้ทำตามคำของท่าน. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จีวร

ของเขา พึงให้อุปัชฌาย์เป็นใหญ่แสวงหามา.

บทว่า ภณฺฑุกมฺมาย คือ เพื่อปลงผม. ภัณฑุกรรมกถา จักมา

ข้างหน้า.

บทว่า อคฺติกา ได้แก่ผู้บำเรอไฟ.

บทว่า ชฏิลกา ได้แก่ดาบส.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

หลายบทว่า เอเต ภิกฺขเว กิริยวาทิโน มีความว่า ชฎิลเหล่านั้น

ไม่ค้านความกระทำ คือ เป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า กรรมมี วิบากของกรรมมี. อัน

พระพุทธเจ้าทั้งปวงเมื่อจะทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ได้ทรงอาศัยบรรพชานั้น

นั้นแล แล้วจึงทรงบำเพ็ญพระบารมี. เนกขัมมบารมีนั้น ถึงเราก็ได้บำเพ็ญ

แล้วอย่างนั้นเหมือนกัน. การที่ชฎิลเหล่านี้บวชในศาสนาไม่เป็นข้าศึก เพราะ

เหตุนั้น จึงควรให้อุปสมบทได้ ไม่ต้องให้ปริวาสแก่พวกเขา.

ข้อว่า อิมาห ภิกฺขเว าตีน อาเวณิก ปริหาร ทมฺมิ มี

ความว่า เราให้บริหารเป็นส่วนเฉพาะ คือ เป็นส่วนเจาะจงนี้แก่ญาติเหล่านั้น.

เหตุไรจึงตรัสอย่างนี้ ? อันพระญาติเหล่านั้น แม้บวชแล้วในสำนักแห่งเดียรถีย์

แต่ไม่เป็นผู้ใฝ่โทษแก่พระศาสนา. ยังคงเป็นผู้สรรเสริญคุณว่า ศาสนาแห่ง

พระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาอัญญติตถิยาวัตถุกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

อันตรายิกธรรมกถา

โรค ๕ ชนิด

[๑๐๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในมคธชนบทเกิดโรคระบาดขึ้น ๕ ชนิดคือ

โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑ ประชาชน

อันโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้ว ได้เข้าไปหาหมอชีวกโกมารภัจจ์ แล้วกล่าว

อย่างนี้ว่า ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวกข้าพเจ้าด้วย.

ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวาย

อภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.

ป. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และพวกข้าพเจ้า

ยอมเป็นทาสของท่าน ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษาพวก

ข้าพเจ้าด้วย.

ชี. เจ้าทั้งหลาย ฉันน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ฉันต้องถวาย

อภิบาลพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฉันไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.

จึงประชาชนพวกนั้นได้คิดว่า พระสมณะเธอสายพระศากยบุตรเหล่านี้

แล มีปรกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องอัน

มิคชิด ถ้ากระไร พวกเราพึงบวช ในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา ต่อมา

พวกเขาพากันเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้พวกเขา

บรรพชาอุปสมบท แล้วต้องพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องรักษาพวก

เขา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพยาบาลภิกษุอาพาธมากรูป ย่อมเป็นผู้มาก

ด้วยการขอร้อง มากดด้วยการขออยู่ว่า ขอจงให้อาหารสำหรับภิกษุอาพาธ ขอ

จงให้อาหารสำหรับภิกษุผู้พยาบาลภิกษุอาพาธ ขอจงให้เภสัชสำหรับภิกษุผู้อา-

พาธ แม้หมอชีวกโกมารภัจจ์มัวรักษาภิกษุอาพาธมากรูป ได้ปฏิบัติราชการบาง

อย่างบกพร่องบุรุษแม้คนหนึ่ง ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้ว ก็เข้าไปหาหมอ

ชีวกโกมารภัจจ์แล้วกราบเรียนว่า ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วย

รักษากระผมด้วย.

ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาลพระ-

เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.

บุรุษ. ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งหมดยกให้ท่าน และกระผมยอม

เป็นทาสของท่าน ขอโอกาส ท่านอาจารย์ ขอท่านกรุณาช่วยรักษากระผมด้วย.

ชี. เจ้า ข้าน่ะ มีกิจมาก มีงานที่ต้องทำมาก ต้องถวายอภิบาลพระ-

เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทั้งพวกฝ่ายใน และพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข ข้าไม่สามารถจะช่วยรักษาได้.

จึงบุรุษนั้นได้คิดว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มี

ปกติเป็นสุข มีความประพฤติสบาย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด

ถ้ากระไร เราพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ในที่นั้น ภิกษุ

ทั้งหลายจักพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์จักรักษา เราหายโรคแล้ว จักสึก

จึงภิกษุนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้บุรุษนั้น

บรรพชาอุปสมบทแล้วต้องพยาบาล และหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องรักษาภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นหายจากโรคแล้วสึก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้เห็นบุรุษนั้นสึกแล้ว จึงได้ไต่ถามบุรุษนั้นว่า

เจ้าบวชในสำนักภิกษุมิใช่หรือ ?

บุรุษ. ใช่แล้วขอรับ ท่านอาจารย์.

ชี. เจ้าได้ทำพฤติการณ์เช่นนั้น เพื่อประสงค์อะไร ?

จึงบุรุษนั้น ได้เรียนเรื่องนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ทราบ.

หมอชีวกโกรมารภัจจ์ จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณ

เจ้าทั้งหลายจึงได้ให้กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้วบวชเล่า ครั้นแล้ว

เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระ-

พุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงยังกุลบุตรผู้

ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเข้าแล้ว ให้บวช.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็น

แจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นหมอชีวกโกมารภัจจ์อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วย

ธรรมีกถาแล้วลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว

กลับไป.

ทรงห้ามบวชคนเป็นโรคติดต่อ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิดกระทบเช้าแล้ว ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใด

ให้บวชต้องอาบัติทุกกฎ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

อรรถกถาปัญจาพาธวัตถุกถา

ข้อว่า มคเธสุ ปญฺจ อาพาธา อุสฺสนฺนา โหนฺติ มีความว่า

โรค ๕ ชนิดเป็นโรคดื่นดาด คือ ลุกลาม แพร่หลายแก่หมู่มนุษย์และอมนุษย์

ในชนบทมีชื่อว่ามคธ. เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์จักมีแจ้งในจีวรขันธกะ.

ข้อว่า น ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโ ปพฺพาเชตพฺโพ

มีความว่า อาพาธ ๕ ชนิดมีโรคเรื้อนเป็นต้น เหล่านั้นได้ดื่นดาดแล้ว, กุลบุตร

ผู้อาพาธเหล่านั้นถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้วไม่ควรให้บวช. บรรดาอาพาธ

๕ ชนิดนั้น จะเป็นโรคเรื้อนแดงหรือโรคเรื้อนคำก็ตาม ชื่อว่าโรคเรื้อน.

ในอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า โรคชนิดใดชนิดหนึ่งแม้มีประเภทเป็นต้นว่า

เรื้อนผง หิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด ทุกอย่างท่านเรียกว่า โรคเรื้อน เหมือน

กัน. ก็แลโรคเรื้อนนั้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ แต่ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้

กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช. แต่ถ้าในที่ซึ่งผ้านุ่งผ้าห่อปิดไว้โดยปกติ เป็นของมี

ขนาดเท่าหลังเล็บ คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ จะให้บวชก็ควร ส่วนที่หน้า

หรือที่หลังมือหลังเท้า ถ้าแม้คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปได้ แม้ย่อมกว่าหลัง

เล็บ ไม่ควรจะให้บวชเหมือนกัน. คนเป็นโรคเรือนนั้น แม้เมื่อให้เยียวยาแล้ว

จะให้บวช ต่อเมื่อแผลหายสนิทแล้วนั้นแล จึงควรให้บวช. แม้ผู้ที่ร่างกาย

พรุนไปด้วยรอยจุด ๆ คล้ายหนังเหี้ยก็ไม่ควรจะให้บวช. โรคฝีมีผีมันข้นเป็น

ต้น ชื่อว่าฝี. ผีมันข้นหรือผีอื่นชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม จงยกไว้. ถ้าฝีแม้มี

ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะลามไปได้ กุลบุตรนั้นไม่ควรให้บวช.

แต่ในที่ปกปิด มีขนาดเท่าเมล็ดพุทรา คงอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลามไปใต้จะให้บวช

ก็ควร. ในที่ซึ่งมิได้ปกปิดมีหน้าเป็นต้น แม้ตั้งอยู่ในฝ่ายที่จะไม่ลุกลามไปได้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ก็ไม่ควรจะให้บวช. กุลบุตรผู้นั้นเป็นโรคฝีนั้น แม้เมื่อให้เยียวยาแล้วจะให้บวช

ต่อทำร่างกายให้มีผิวเรียบแล้วจึงควรให้บวช. ที่มีชื่อว่าติ่ง คล้ายนมโคหรือ

คล้ายนิ้วมือ ห้อยอยู่ในที่นั้น ๆ ก็มี แม้ติ่งเหล่านี้ก็จัดเป็นฝีเหมือนกัน เมื่อติ่ง

เหล่านั้นมี ไม่ควรจะให้บวช. หัวหูด มีในเวลาเป็นเด็ก ที่มีหัวสิว มีที่หน้า

ในเวลาเป็นหนุ่ม ในเวลาแก่หายหมดไป หัวหูดและหัวสิวเหล่านั้นไม่นับเป็น

ฝี เมื่อหัวเหล่านั้นมีจะให้บวชก็ควร. ส่วนเม็ดชนิดอื่น ที่ชื่อเม็ดผด มีตาม

ตัว ชนิดอื่นอีกที่ชื่อเกสรบัวก็มี ชนิดอื่นที่ชื่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีขนาดเท่า

เมล็ดผักกาด ผื่นไปทั่วตัว. เมล็ดเหล่านั้นทั้งหมด เป็นชาติโรคเรื้อนเหมือน

กัน เมื่อเมล็ดเหล่านั้นมี ไม่ควรให้บวช. โรคเรื้อนมีสีคล้ายโบบัวแดงและบัว

ขาว ไม่แตก ไม่เยิ้ม ชื่อโรคกลาก ร่างกายเป็นอวัยวะลายพร้อยเหมือนกระ

แห่งโคด้วยโรคเรื้อนชนิดใด. พึงทราบวินิจฉัยในโรคกลากนั้น โดยนัยที่กล่าว

แล้วในโรคเรื้อนชนิดนั้นแล.

ไข้มองคร่อ ชื่อโสสะ. เมื่อไข้มองคร่อนั้นมี ไม่ควรให้บวช.

โรคบ้าเพราะดี หรือโรคบ้าด้วยถูกผีสิง ชื่อโรคลมบ้าหมู. ในโรค

ลมบ้าหมู ๒ ชนิด บุคคลผู้ถูกอมนุษย์ซึ่งเคยเป็นคู่เวรกันสิงแล้ว ย่อมเป็นผู้ที่

เยียวยาได้ยาก. และเมื่อโรคลมบ้าหมูนั้นมีแม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรให้บวช.

อรรถกถาปัญจาพาธวัตถุกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

เรื่องราชภัฏบวช

[๑๐๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองปลายเขตแดงของพระเจ้าพิมพิสาร

จอมเสนามาคธราชเกิดจลาจล ครั้งนั้น ท้าวเธอจึงมีพระบรมราชโองการสั่ง

พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองว่า ดูก่อนพนาย ท่านทั้งหลายจงไปปรับ

ปรุงเมืองปลายเขตแดงให้เรียบร้อย พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง

กราบทูลรับสนองพระบรมราชโองการพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า

ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น เหล่าทหารบรรดาที่มีชื่อเสียงได้มีความ

ปริวิตกว่า พวกเราพอใจในการรบ พากันไปทำบาปกรรม และประสพกรรมมิ

ใช่บุญมาก ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราพึงงดเว้นจากบาปกรรม แลทำแต่

ความดี ดังนี้ และได้มีความปริวิตกต่อไปว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

เหล่านี้แล เป็นผู้พระพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติในพรหมจรรย์

กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรมถ้าแลพวกเราจะพึงบวชในสำนักพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้พวกเราก็จะพึงเว้นจากบาปกรรม และทำ

แต่ความดี ดังนี้ จึงพากันเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลาย

ให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว.

พวกjหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกองถามพวกราชภัฏว่า แน่ะพนาย

ทหารผู้มีชื่อนี้ และมีชื่อนี้ หายไปไหน.

พวกราชภัฏเรียนว่า นาย ทหารผู้มีชื่อนี้และมีชื่อนี้ บวชในสำนัก

ภิกษุแล้ว ขอรับนาย.

พวกมหาอำมาตย์ผู้เป็นแม่ทัพนายกอง จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

ว่า ไฉนเหล่าพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ราชภัฏบวชเล่า แล้ว

กราบบังคมทูลความเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

จึงท้าวเธอได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาว่า ดูก่อนพนาย ภิกษุ

รูปใด ให้ราชภัฏบวช ภิกษุรูปนั้น จะต้องโทษสถานไร.

คณะมหาอำมาตย์ผู้พิพากษากราบทูลว่า ขอเดชะ พระบารมีปกเกล้า

ปกกระหม่อม พระอุปัชฌายะต้องถูกตัดศีรษะ พระอนุสาวนาจารย์ต้องถูกดึง

ลิ้นออกมา พระคณะปูรกะต้องถูกหักซี่โครงแถบทนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.

จึงท้าวเธอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคมพระผู้-

มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลขอประทาน

พรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย

ที่ไม่มีศรัทธาไม่ทรงเลื่อมใสจะพึงเบียดเบียนภิกษุทั้งหลาย แม้ด้วยกรณีเพียง

เล็กน้อย หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลายไม่พึงให้ราชภัฏบวช ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระ

เจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงเห็นแจ้ง ทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรง

ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้ทรงเห็น

แจ้งทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรงร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจาก

พระที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ .

ทรงห้ามบวชราชภัฏ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ราชภัฏภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องราชภัฏต่ออไป:-

สองบทว่า ปจฺจนฺต ยุจฺจินเถ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงยังปัจจันต

ชนบทให้เจริญ มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงขับไล่พวกโจรเสียแล้ว จัดแจง

บ้านที่พ้นโจรภัยแล้วให้ราบคาบ จัดการรักษาโดยกวดขัน ให้การกสิกรรมเป็น

ต้นเป็นไป. ฝ่ายพระราชาเพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน จึงไม่ทรงบังคับว่า

จงฆ่า จงประหารพวกโจร. พวกอำมาตย์ซึ่งเป็นหมอกฎหมาย คิดว่า ใน

บรรพชา อุปัชฌาย์เป็นใหญ่ รองไปอาจารย์ รองลงไปคณะ จึงพากันกราบ

ทูลคำทั้งปวงมีอาทิ ว่า ขอเดชะ พึงให้ตัดศีรษะอุปัชฌาย์เสีย ด้วยติดเห็นว่า

นี้มาในข้อวินิจฉัยแห่งกฎหมาย.

ในข้อว่า น ภิกฺขเว ราชภโฏ ปพฺพาเชตพฺโพ นี้ มีวินิจฉัยว่า

จะเป็นอำมาตย์ หรือมหาอำมาตย์ หรือเสวกหรือผู้ได้ฐานันดรเล็กน้อย หรือ

ผู้ไม่ได้ก็ตามที บุคคลผู้ผู้หนึ่งซึ่งได้รับเลี้ยงด้วยอาหารหรือเบี้ยเลี้ยงของ

พระราชา ถึงความนับว่า ราชภัฏ ทั้งหมด ราชภัฏนั้นไม่ควรให้บวช. ฝ่าย

บุตรที่น้องชายและหลานชายเป็นต้น ของราชภัฏนั้น ไม่ได้รับอาหาหรือเบี้ย

เลี้ยงจากพระราชา จะให้ชนเหล่านั้นบวช ควรอยู่. ฝ่ายผู้ใดถวายโภคะประจำ

หรือเงินเดือนเบี้ยหวัดรายปี ซึ่งตนได้รับพระราชทาน คืนแด่พระ-

ราชา หรือให้บุตรและพี่น้องชายรับตำแหน่งนั้นแทน แล้วทูลลาพระราชาว่า

บัดนี้ ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้ได้รับเลี้ยงของเทวะแล้ว. หรือว่าอาหารและเบี้ยเลี้ยง ซึ่งผู้

ใดได้รับเพราะเหตุแห่งราชการใด. ราชการนั้นเป็นกิจอันตนทำเสร็จแล้ว หรือ

ผู้ใดเป็นผู้ได้บรมราชานุญาตว่า เจ้าจงบวช จะให้บุคคลแม้นั้นบวช ควรอยู่.

อรรถกถาราชภัฏวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ห้ามบวช

โจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง

[๑๐๓] ก็โดยสมัยนั้นแล โจรองคุลิมาลบวชในสำนักภิกษุ ชาวบ้าน

เห็นแล้วพากันหวาดเสียวบ้าง ตกใจบ้าง หนีไปบ้าง ไปโดยทางอื่นบ้าง เมิน

หน้าไปทางอื่นบ้าง ปิดประตูเสียบ้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-

ทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้โจรที่ขึ้นชื่อโค่งดังบวช

เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจร

ที่ขึ้นชื่อโค่งดัง ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดไห้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

อภยูวรภาณวาร

ห้ามบวชโจรหนีเรือนจำ

[๑๐๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้

ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสาย

พระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดย

ชอบเถิด.

สมัยต่อมา บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรมแล้ว ถูกเจ้าหน้าที่จองจำไว้ใน

เรือนจำเขาหนีเรือนจำหลบไปบวชในสำนักภิกษุ คนทั้งหลายเห็นแล้วกล่าว

อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือโจรหนีเรือนจำคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงจับมัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

คนบางคนพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะ

พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตร

เหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใคร ๆ

จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ

พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้

โจรผู้หนีเรือนจำบวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพุระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจร

ผู้หนีเรือนจำ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฎ.

ห้ามบวชโจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ

[๑๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งทำโจรกรรม แล้วหนีไปบวช

ในสำนักภิกษุ และบุรุษนั้นถูกเจ้าหน้าที่ออกหมายประกาศไว้ทั่วราชอาณาจักร

ว่า พบในที่ใด พึงฆ่าเสียในที่นั้น คนทั้งหลายเห็นแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า

ภิกษุรูปนี้ คือโจรผู้ถูกออกหมายจับคนนั้น ถ้ากระไร พวกเราจงฆ่ามันเสีย.

คนบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้ เพราะ

พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า กุลบุตรเหล่า

ใด บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น ใคร ๆ

จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ

พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ

ศากยบุตรเหล่านั้น มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับบวชเล่า ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจร

ผู้ถูกออกหมายสั่งจับ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย

[๑๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย

บวชในสำนักภิกษุ ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ

สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวายบวชเล่า

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

ผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

ห้ามบวชบุรุษผู้ถูกสักหมายโทษ

[๑๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแลบุรุษคนหนึ่งถูกลงอาญาสักหมายโทษ บวช

ในสำนักภิกษุ ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตร จึงให้บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษบวชเล่า ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

ผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษ ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

อรรถกถาโจรวัตถุ

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องโจรทั้งหลาย:-

สองบทว่า มนุสฺสา ปสฺสิตฺวา มีความว่า พระองคุลิมาลนั้น อัน

ชนเหล่าใดเคยเห็นในเวลาที่ท่านเป็นคฤหัสถ์ และชนเหล่าใดได้ฟังต่อชนเหล่า

อื่นว่า ภิกษุนี้ คือ องคุลิมาลนั้น ชนเหล่านั้น ไห้เห็นแล้ว ย่อมตกใจบ้าง ย่อม

หวาดหวั่นบ้าง ย่อมปิดประตูบ้าง. แต่ท่านย่อมได้ภิกษาในเรือนของเหล่าชน

ที่ไม่รู้จัก.

บทว่า น ภิกฺขเว มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เองเป็น

เจ้าของแห่งธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย

เพื่อต้องการมิให้กระทำต่อไป จึงตรัสอย่างนั้น. วินิจฉัยในคำนั้นว่า โจรชื่อ

ว่าธชพันธะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าดุจผูกธงเที่ยวไป. มีคำอธิบายว่า เป็นคน

โด่งดังในโลก เหมือนมูลเทพ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นผู้ใดเที่ยวทำการฆ่าชาว

บ้านก็ดี รบกวนคนเดินทางก็ดี. ทำกรรมมีตัดที่ต่อเป็นต้นในเมืองก็ดี อนึ่ง

ผู้ใดอันชนทั้งหลายรู้จักกันแซ่ว่า คนชื่อโน้น ทำกรรมนี้ ๆ ผู้นั้นไม่ควรให้

บวช. ส่วนผู้ใดเป็นราชบุตร ปรารถนาจะเป็นพระราชากระทำกรรมมีฆ่าชาวบ้าน

เป็นต้น. ผู้นั้น ควรให้บวช. เพราะว่าเมื่อราชบุตรนั้นผนวชแล้ว พระราชา

ทั้งหลายย่อมพอพระหฤทัย แต่ถ้าไม่ทรงพอพระหฤทัย ไม่ควรให้บวช. โจร

๑. ในพระบาลีวินัยเป็น ธชพทฺโธ. ส่วนคำว่า มูลเทวาทโย โยชนาแก้อรรถว่า อาทิภูเทวาทโย.

ธชพทฺโธ หมายความไปในทางมีชื่อเสียงโด่งดังทางเสีย อ้างว่า เหมือนมูลเทพเป็นต้น คำว่า มูล

เทโว ทางสันสกฤต เป็นพระนามของท้าวกังสะ กษัตริย์ทรราชแห่งแคว้นมถุรา ทรงฆ่าทารกเสีย

มากมายก่ายกอง เพราะโหรทำนายว่า พระองค์จะถูกลูกชายของหญิงนางหนึ่งปลงพระชนม์ ด้วย

ความร้ายกาจนี้เอง ประชาชนพลเมืองจึงเห็นว่าท้าวเธอเป็นอสูร เป็นยักษ์ เป็นมาร มูลเทโว จ

มาเป็นตัวอย่างในคำว่า มูลเทวาทโยนี้หรืออย่างไร ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

ซึ่งลือชื่อในมหาชนในกาลก่อน ภายหลังละโจรกรรมเสียสมาทานศีล ๕. ถ้า

หากชาวบ้านรู้จักเขาอย่างนั้น ควรให้บวช. ฝ่ายชนเหล่าใด เป็นผู้ลักของเล็ก

น้อยมีมะม่วงและขนุนเป็นต้น หรือเป็นโจรผู้ตัดที่ต่อเป็นต้น ทีเดียวแต่แอบ

แฝงทำการลัก ทั้งภายหลังก็ไม่ปรากฏว่า กรรมนี้ อันชนชื่อนี้ทำ จะให้ชน

เหล่านั้นบวช ก็ควร.

สองบทว่า การ ภินฺทิตฺวา มีความว่า ทำลายเครื่องจำคือชื่อเป็นต้น.

ในบทว่า อภยูวรา นี้ มีวินิจฉัยว่า ชนเหล่าใดย่อมหลบทลีก เพราะ

ความกลัว เหตุนั้น ชื่อเหล่านั้น ชื่อ ภยูวรา ผู้หลบหลีกเพราะความกลัว

ฝ่ายสมณะเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกเพราะความกลัว เพราะเป็นผู้ได้รับอภัย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อถยูวรา มิใช่ผู้หลบหนีเพราะความกลัว. ก็แลในบท

ว่า อภยูวรา นี้พึงทราบว่า อาเทส อักษรให้เป็น อักษร.

ในคำว่า น ภิกฺขเว การเภทโก นี้ มีวินิจฉัยว่า เรือนจำเรียก

ว่า การะ แต่ในอธิการนี้ เครื่องจำคือชื่อก็ดี เครื่องจำคือตรวนก็ดี เครื่อง

จำคือเชือกก็ดี ที่จำคือบ้านก็ดี ที่จำคือนิคมก็ดี ที่จำคือเมือง การควบคุม

ด้วยบุรุษก็ดี ที่จำคือชนบทก็ดี ที่จำคือทวีปก็ดี จงยกไว้. ผู้ใดทำลาย หรือ

ตัด หรือแก้ หรือเปิด เครื่องจำชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาเครื่องจำที่ที่จำ

เหล่านี้ หนีไปซึ่งหน้า หรือไม่มีคนเห็น ผู้นั้นถึงความนับว่า การเภทก ผู้

แหกเรือนจำ.

เพราะเหตุนั้น การเภทกโจรเหล่านี้ ทำลายที่จำคือทวีป ไปยังทวีปอื่น

แล้วก็ดี ไม่ควรให้บวช.

ฝ่ายผู้ใดที่มิใช่โจร แต่ไม่ยอมทำหัตกรรมอย่างเดียว ถูกอิสรชนทั้ง

หลายมีชุนส่วยของพระราชาเป็นต้น จองจำเองไว้ ด้วยหมายใจ เมื่อมีการจอง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

จำไว้อย่างนี้ ผู้นี้จะหนีไม่ได้ จักทำการของเรา ดังนี้ ก็ดี ผู้นั้นแม้พำลายเครื่อง

จำหนีไป ก็ควรให้บวช.

ฝ่ายผู้ใดรับผูกขาดบ้าน นิคม และท่า เป็นต้น ด้วยส่วย ไม่ส่ง

ส่วยนั้นให้ครบ ถูกส่งไปยังเรือนจำ ผู้นั้นหนีมาแล้ว ไม่ควรให้บวช.

แม้ผู้ใดรวมเก็บทรัพย์ไว้ เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมเป็นต้น ถูกใคร ๆ

ส่อเสียดใส่โทษเอาว่า ผู้นี้ได้ขุมทรัพย์ แล้วถูกจองจำจะให้ผู้นั้นบวชในถิ่นนั้น

เอง ไม่ควร. แต่จะให้เขาซึ่งหนีไปแล้วบวชในที่ซึ่งไปแล้วทุกตำบล ควรอยู่.

ในข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว ลิขิตโก เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าบุคคลที่

ชื่อว่าผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ จะได้แก่ผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้ว่า พบเข้าในที่ใด ให้

ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งกระทำโจรกรรม

หรือความผิดในพระราชาอย่างหนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้

เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในที่ใด พึงจับฆ่า

เสียในที่นั้นหรือว่า พึงตัดอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่า พึง

ให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้ ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควร

ให้บวช.

ในคำว่า กสาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม

ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง

ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วน หรือโดยประการ

อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง

เป็นส้นไหมของเจ้า ผู้นี้ชื่อ ผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แล

เขาจะถูกเฆียนด้วยหวายหรือถูกด้วยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จง

ยกไว้ แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลาย

ให้กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

อนึ่ง ถ้าผู้ใดถูกเขาทำร้ายด้วยเข่าหรือด้วยศอก หรือด้วยผลมะพร้าว

และก้อนหินเป็นต้นแล้วปล่อยไป และบวนโนในร่างกายของผู้นั้นยังปรากฏอยู่

ไม่ควรให้บวช. ผู้นั้นกระทำให้หายแล้ว เมื่อบวมโนอย่างนั้นยุบราบไปแล้ว

ควรให้บวช.

ในคำว่า ลกฺขณาหโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ข้อที่

เป็นผู้ลงทัณฑกรรม พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นเเล. ก็รอยแผลเป็นซึ่งถูกนาบด้วย

เหล็กแดงมีที่หน้าผาก หรือที่อวัยวะ ทั้งหลาย มีอกเป็นต้น ของบุรุษใด ถ้า

บุรุษนั้นเป็นไท แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ถ้าแม้แผลของ

เขาเป็นของงอกขึ้นเรียบเสมอกับผิวหนังแล้ว แต่รอยแผลเป็นยังปรากฏอยู่ เมื่อ

เขานุ่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าปกปิดเรียบร้อยครบ ๓ ประการ ถ้ารอยแผลเป็นนั้น

อยู่ในโอกาสที่มิได้ปกปิด ไม่สมควรให้บวช.

อรรถกถาโจรวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ห้ามบวชคนมีหนี้

[๑๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ลูกหนี้คนหนึ่งหนีบวชในสำนักภิกษุ พวก

เจ้าทรัพย์พบแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือลูกหนี้ของพวกเราคนนั้น ถ้า

กะไรพวกเราจงจับมัน.

เจ้าทรัพย์บางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้

เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช. ได้มีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า

กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น

ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จง

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้

คนมีหนี้บวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความเรื่องนั้นแด่พระผู้พระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน

มีหนี้ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวชต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา

ในคำว่า น ภิกฺขเว อิณายิโก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า หนี้ที่

บิดาและปู่ของบุรุษใด กู้เอาไปก็ดี หนี้ที่บุรุษใดกู้เองก็ดี ทรัพย์บางอย่าง ที่

มารดาบิดามอบบุตรใดไว้เป็นประกันแล้ว ลืมเอาไปก็ดี บุรุษนั้นชื่อว่าลูกหนี้

บุรุษนั้นต้องรับหนี้นั้นของชนเหล่าอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าลูกหน แต่ญาติ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

อื่น ๆ มอบบุตรใดไว้เป็นประกัน แล้วยืมทรัพย์บางอย่างไป บุรุษนั้นไม่จัด

ว่าเป็นลูกหนี้. เพราะว่าญาติอื่น ๆ นั้น ไม่เป็นใหญ่ที่จะอบบุรุษนั้นไว้เป็น

ประกันได้, เพราะเหตุนั้น จะให้บุรุษนั้นบวช สมควรอยู่. จะให้บุรุษนอกจาก

นี้บวช. ไม่ควร. แต่ถ้าญาติสายโลหิตทั้งหลายของเขารับใช้หนี้แทนว่า พวก

ข้าพเจ้าIจักรับใช้ ขอท่านโปรดให้บวชเถิด หรือว่าชนอื่นบางคนเห็นอาจาร-

สมบัติของเขาแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงให้เขาบวชเถิด ข้าพเจ้าจะใช้หนี้แทน

ดังนี้ สมควรให้บวชได้. เมื่อเข้าในที่ใด ให้ฆ่าเสียในที่นั้น ดังนี้ อย่างเดียว

หามิได้ โดยที่แท้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำโจรกรรมหรือความผิดในพระราชาอย่าง

หนักชนิดอื่นแล้วหนีไป และพระราชารับสั่งให้เขียนผู้นั้นลงในหนังสือหรือใบ

ลานว่า ผู้มีชื่อนี้ ใครพบเข้าในทีใด พึงจับเสียในที่นั้น หรือว่า พึงตัดอวัยวะ

มีมือและเท้าเป็นต้นของมันเสีย หรือว่าพึงให้นำมาซึ่งสินไหมมีประมาณเท่านี้

ผู้นี้ชื่อผู้ร้ายซึ่งถูกเขียนไว้. ผู้นั้นไม่ควรให้บวช.

ในคำว่า กสาทโต กตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดไม่ยอม

ทำการมีให้การและยอมรับใช้เป็นต้น จึงถูกลงอาชญา, ผู้นั้นไม่นับว่าผู้ถูกลง

ทัณฑกรรม. ฝ่ายผู้ใดรับเก็บทรัพย์บางอย่าง โดยเป็นส่วย หรือโดยประการ

อื่นแล้วกินเสีย เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้ จึงถูกเฆี่ยนด้วยหวายว่า นี้แล จง

เป็นสินไหมของเจ้า ผู้นี้ชื่อผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย ถูกลงทัณฑกรรม. ก็แลเขา

จะถูกเฆี่ยนด้วยหวายหรือถูกดัวยไม้ค้อนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม จงยก

ไว้, แผลยังสดอยู่เพียงใด ไม่ควรให้บวชเพียงนั้น. ต่อกระทำแผลทั้งหลายให้

กลับเป็นปกติแล้วจึงควรให้บวช.

อนึ่ง ถ้าผู้ใดถูกเขาทำร้ายด้วยเข่าหรือด้วยศอก หรือด้วยผลมะพร้าว

และก้อนหินเป็นต้นแล้วปล่อยไป และบวมโนในร่างกายของผู้นั้นยังปรากฏอยู่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ไม่ควรให้บวช. ผู้นั้นกระทำให้หายแล้ว เมื่อบวมโนอย่างนั้นยุบราบไปแล้ว

ควรให้บวช.

ในคำว่า ลกฺณาหโต ตทณฺฑกมฺโม นี้ มีวินิจฉัยว่า ข้อที่

ญาติสายโลหิตเหล่านั้นไม่มี ภิกษุพึงบอกแก่อุปัฏฐากเห็นปานนั้นก็ได้ว่า ผู้นี้

เป็นบุคคลมีกุศลกรรมเป็นเหตุ แต่บวชไม่ได้เพราะกังวลด้วยหนี้. ถ้าเขารับจัด

การ พึงให้บวช. ถ้าแม้กัปปิยภัณฑ์ของตนมี พึงตั้งใจว่า เราจักเอากัปปิย-

ภัณฑ์นั้น ใช้ให้ แล้วให้บวช. แต่ถ้าชนทั้งหลายมีญาติเป็นต้น ไม่รับจัดการ

ทรัพย์ของตนก็ไม่มี ไม่สมควรให้บวช ด้วยทำโนใจว่า เราจักให้บวชแล้วจัก

เที่ยวภิกษาเปลื้องหนี้ให้. ถ้าให้บวช ต้องทุกกฏ. แม้บุรุษนั้นหนีไป ภิกษุนั้น

ก็ต้องนำมาคืนให้. ถ้าไม่คืนให้ หนี้ทั้งหมดย่อมเป็นสินใช้. เมื่อภิกษุไม่ทราบ

ให้บวชไม่เป็นอาบัติ. แต่เมื่อพบปะเข้าต้องนำมาคืนให้แก่พวกเจ้าหนี้. ไม่เป็น

สินใช้แก่ภิกษุผู้ไม่พบปะ. หากบุรุษผู้เป็นลูกหนี้ไปประเทศอื่นแล้ว แม้เมื่อภิกษุ

ได้ถามก็ตอบว่า ผมไม่ต้องรับหนี้ ไร ๆ ของใคร ๆ แล้วบวช ฝ่ายเจ้าหนี้เมื่อ

สืบเสาะหาตัวเขา จึงไปโนประเทศนั้น. ภิกษุหนุ่มเห็นเจ้าหนี้นั้นเข้าจึงหนีไปเสีย

เขาเข้าไปหาพระเถระ ร้องเรียนว่า ท่านขอรับ ภิกษุรูปนี้ใครให้บวช ? เธอยืม

ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ของผมแล้วหนีไป พระเถระพึงตอบว่า อุบายสก เธอบอก

ว่าผมไม่มีหนี้สิน ฉันจึงให้บวช. บัดนี้ฉันจะทำอย่างไรเล่า ? ท่านจงเห็นสิ่งของ

มาตรว่า บาตรจีวรของฉันเถอะ นี้เป็นสามีจิกรรมในข้อนั้น. และเมื่อภิกษุ

นั้นหนีไป สินใช้ย่อมไม่มี. แต่ถ้าเจ้าหนี้พบภิกษุนั้น ต่อหน้าพระเถระเทียว

แล้วกล่าวว่า ภิกษุนี้เป็นลูกหนี้ของผม พระเถระพึงตอบว่า ท่านจงรู้ลูกหนี้

ของท่านเอาเองเถิด แม้อย่างนี้ย่อมไม่เป็นสินใช้ ถ้าแม้เขากล่าวว่า บัดนี้

ภิกษุนี้บวชแล้วจักไปไหนเสีย พระเถระจึงตอบว่า ท่านจงรู้เองเถิด แม้อย่าง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

นี้ เมื่อภิกษุนั้นหนีไป ย่อมไม่เป็นสินใช้แก่พระเถระนั้น. แต่ถ้าพระเถระ

กล่าวว่า บัดนี้ ภิกษุนี้จักไปไหนเสีย เธอจงอยู่ที่นี้แหละ ถ้าภิกษุนั้นหนีไป

ต้องเป็นสินใช้. ถ้าเธอเป็นผู้มีกุศลกรรมเป็นเหตุถึงพร้อมด้วยวัตร. พระเถระ

พึงกล่าวว่า ภิกษุนี้ เป็นเช่นนี้. ถ้าเจ้าหนี้ยอมสละว่า ดีละ ข้อนี้เป็นอย่างนี้

ได้เป็นการดี. ก็ถ้าเขาตอบว่า ขอท่านจงใช้ให้เล็กน้อยเถิด พระเถระพึงใช้ให้.

ต่อสมัยอื่น ภิกษุนั้นเป็นผู้ยังพระเถระให้พอใจยิ่งขึ้น แม้เมื่อเจ้าหนี้เขาทวง

ว่า ท่านจงใช้ทั้งหมด พระเถระควรใช้ให้แท้. และถ้าเธอเป็นผู้ฉลาดใน

อุทเทสแลปริปุจฉาเป็นต้น มีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลาย พระเถระจะพึง

แสวงหาด้วยภิกษาจารวัตรก็ได้ ใช้หนี้ เสียเถิด ฉะนี้แล.

อรรถกถาอิณายิกวัตถุกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

ห้ามบวชทาส

[๑๐๙] ก็โดยสมัยนั่นแล ทาสดนหนึ่งหนีไปบวชในสำนักภิกษุ พวก

เจ้านายพบเข้าจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปนี้คือทาสของพวกเราคนนั้น ถ้ากระไร

พวกเราจงจับมัน.

เจ้านายบางพวกพูดทัดทานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดเช่นนี้

เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตไว้ว่า

กุลบุตรเหล่าใดบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร กุลบุตรเหล่านั้น

ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ เพราะธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว จง

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-

ศากยบุตรเหล่านี้ มิใช่ผู้หลบหลีกภัย ใคร ๆ จะทำอะไรไม่ได้ แต่ไฉนจึงให้

ทาสบวชเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน

เป็นทาส ภิกษุไม่พึงบวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฎ.

ทรงอนุญาตการปลงผม

[๑๑๐] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรช่างทองศีรษะโล้นคนหนึ่ง ทะเลาะ

กับมารดาบิดา แล้วไปอารามบวชในสำนักภิกษุ ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขา

สืบหาเขาอยู่ ได้ไปอารามถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า ท่านทั้งหลายเห็น

เด็กชายมีรูปร่างเช่นนี้บ้างไหม ?

บรรดาภิกษุพวกที่ไม่รู้เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่รู้ พวกที่ไม่เห็น

เลยตอบว่า พวกอาตมาไม่เห็น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ครั้นมารดาบิดาของเขาสืบหาอยู่ ได้เห็นเขาบวชแล้ว ในสำนักภิกษุ

จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านั้น

ช่างไม่ละอาย เป็นคนทุศีล พูดเท็จ รู้อยู่แท้ ๆ บอกว่าไม่รู้ เห็นอยู่ชัด ๆ

บอกว่าไม่เห็น เด็กคนนี้บวชแล้วในสำนักภิกษุ ภิกษุทั้งหลายได้ยินมารดา

บิดาของบุตรช่างทองศีรษะโล้นนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้อปโลกน์ต่อสงฆ์ เพื่อการปลงผม.

พวกเด็กชายสัตตรสวัคคีย์บวช

[๑๑๑] ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน

เป็นเพื่อนกัน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กพวกนั้น ครั้งนั้น มารดา

บิดาของเด็กชายอุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับ

ไปแล้วเจ้าอุบาลีจะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไป

ว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับ

ไปแล้วเจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไปอีก

ว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ

ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็น

สุข และไม่ต้องลำบาก ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชา

คำนวณเขาจักหนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ

เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก

ครั้นต่อมา จึงหารือกันอีกว่าถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตาทั้งสอง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ของเขาจักชอกช้ำ พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปรกติเป็นสุข

มีความพระพฤติเรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้า

อุบาลีจะพึงบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีนี้แหละ เมื่อ

เราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.

เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกัน ดังนี้ จึงเข้า

ไปหาเพื่อนเด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนว่า มาเถิดพวกเจ้า พวกเราจัก

พากันไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร.

เด็กชายเหล่านั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.

เด็กชายเหล่านั้นไม่รอช้า ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน ๆ

แล้วขออนุญาตว่า ขอท่านทั้งหลายจงอนุญาตให้ข้าพเจ้า ออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเถิด.

มารดาบิดาของเด็กชายเหล่านั้นก่อนุญาตทันที ด้วยติดเห็นว่า เด็ก

เหล่านั้นต่างก็มีฉันทะร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกัน ทุกคน.

เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้

พวกเขาบรรพชาอุปสมบท.

ครั้นปัจจุสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้น ลุกขึ้นร้องไห้ วิงวอนว่า

ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.

ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงขอให้ราตรีสว่างก่อน

ถ้าข้าวต้มมี จักได้ดื่ม, ถ้าข้าวสวยมี จักได้ฉัน, ถ้าของเคี้ยวมี จักได้เคี้ยว.

ถ้าข้าวต้มข้าวสวย หรือของเดียวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน ภิกษุใหม่

เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้วิงวอนอยู่อย่าง

นั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ถ่ายอุจจาระรดบ้าง

ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มบรรทมในปัจจุสสมัยแห่งราตรี ทรงได้ยิน

เสียงเด็ก ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ นั่น

เสียงเด็ก หรือ ?

จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายรู้อยู่ ให้บุคคลผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบท จริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน

โมฆบุรุษพวกนั้นรู้อยู่ จึงได้ให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบทเล่า. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อ เย็น ร้อน หิว

ระหาย เป็นผู้มีปรกติไม่อดกลั้นต่อสัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์

เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนา

ทางกายที่เกิดขึ้นแล้วอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ

อันอาจนำชีวิตเสียได้ ส่วนบุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ย่อมเป็นผู้อดทนต่อ เย็นร้อน

หิว ระหาย เป็นผู้มีปรกติอดกลั้นต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แด สัตว์

เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่งถ้อยคำที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนา

ทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ

อันอาจนำชีวิตเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น

นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ

เลื่อมใส่ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี

อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องปรับธรรม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

อรรถกถาทาสวัตถุกถา

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ทาโส นี้ว่า ทาสมี ๔ จำพวกคือ

ทาสเกิดภายใน ๑ ทาสที่ช่วยมาด้วยทรัพย์ ๑ ทาสที่เขานำมาเป็นเชลย ๑

บุคคลที่ยอมเป็นทาสเอง ๑ ในทาส ๔ จำพวกนั้น ลุกนางะทาสีในเรือน

เป็นทาสโดยกำเนิด ชื่อว่าทาสเกิดภายใน. บุตรที่เขาช่วยมาจากสำนัก

มารดาก็ดี ทาสที่เขาช่วยมาจากสำนักนายเงินก็ดี บุคคลที่เขาใช้ทรัพย์แทน

แล้วยกขึ้นสู่จารีตแห่งทาสถ่ายเอาไปก็ดี ชื่อว่าทาสทีช่วยมาด้วยทรัพย์. ทาส

ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ควรให้บวช เมื่อจะให้บวช ต้องทำให้เป็นผู้มิใช่ทาสด้วย

อำนาจจารีสตในที่ชนบทนั้น ๆ แล้ว จึงควรให้บวช. ทาสที่ชื่อว่าเขานำมาเป็น

เชลย คือ พระราชาทั้งหลายทรงทำการรบนอกแว่นแคว้น หรือรับสั่งให้เกลี้ย

กล่อมกวาดต้อนเอาทั้งหมู่มนุษย์ซึ่งเป็นไททั้งหลาย มาจากภายนอกแว่นแคว้น

ก็ดี พระราชารับสั่งให้ริบบ้านบางตำบล ซึ่งกระทำผิดภายในแว่นแคว้นนั่นเอง

ราชบุรุษทั้งหลายกวาดต้อนทั้งหมู่มนุษย์มาจากบ้านตำบลนั้นก็ดี ในหมู่มนุษย์

เหล่านั้น ผู้ชายทั้งหมดเป็นทาส ผู้หญิงทั้งหมดเป็นทาสี บุคคลเห็นปานนี้

จัดเป็นทาสซึ่งเจ้านำมาเป็นเชลย. ทาสนี้ เมื่ออยู่ในสำนักชนทั้งหลายผู้นำตน

มา หรือถูกขังไว้ไนเรือนจำ หรืออันบุรุษทั้งหลายควบคุมอยู่ ไม่ความให้บวช.

แต่ขาหนีไปแล้ว พึงให้บวชในที่ซึ่งเขาไปได้. ครั้นเมื่อพระราชาทรงพอ

พระหฤทัย ทรงทำการปลดจากจำโดยตรัสว่า จงปล่อยพวกทาสที่นำมาเป็น

เชลย หรือโดยนัยเป็นสรรพสาธารณ์ พึงให้บวชเถิด. บุคคลที่ยอมตัวเป็น

ทาสเองทีเดียวว่า ข้าพเจ้าเป็นทาสของท่าน ดังนี้ เพราะเหตุแห่งชีวิตก็ตาม

เพราะเหตุแห่งความคุ้มครองก็ตาม ชื่อว่าผู้ยอมเป็นทาสเองเหมือนคนเลี้ยงช้าง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ม้า โค และกระบือเป็นต้น ของพระราชาทั้งหลาย ทาสเช่นนั้นไม่ควรให้

บวช. บุตรทั้งหลายของเหล่านางวัณณทาสีของพระราชา เป็นเช่นดั่งบุตร

อำมาตย์. ถึงบุตรเหล่านั้นก็ไม่ควรให้บวชเหมือนกัน. เหล่าหญิงซึ่งเป็นไท

แต่ไม่มีใครคุ้มห้าม จึงเที่ยวไปกับพวกนางวัณณทาสี จะให้บุตรทั้งหลายของ

หญิงเหล่านั้นบวชก็ควร. หากพวกหญิงเหล่านั้นขึ้นทะเบียนเสียเอง ไม่สมควร

ให้บุตรทั้งหลายของหญิงเหล่านั้นบวช ถึงพวกทาสของคณะทั้งหลายมีคณะ

ภัททิปุตตกะเป็นต้น ซึ่งคณะชนเหล่านั้นไม่ยอมให้ก็ไม่ควรให้บวช. ขึ้นชื่อ

ว่าทาสสำหรับอาราม ซึ่งพระราชาพระราชทานไว้ในวัดทั้งหลาย บรรดามี จะ

ให้ทาสแม้เหล่านั้นบวช ย่อมไม่สมควร แต่ช่วยให้เป็นไทแล้วให้บวช สมควร

อยู่. ในมหาปัจจรีอรรถกถาแก้ว่า ชนทั้งหลายนำทาสเกิดภายในและทาสที่

ช่วยมาด้วยทรัพย์ มาถวายแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าถวายอารามิกทาส ทาส

เหล่านั้นย่อมเป็นเช่นกับทาสที่เขาราดเปรียงบนศีรษะนั่นแหละ จะให้บวชก็

ควร. ส่วนอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า เขาถวายด้วยกัปปิยโวหารว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ถวายอารามิกทาส ทาสนั้น อันเขาถวายแล้ว ด้วยโวหารอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม

ที ไม่ควรให้บวชแท้ พวกคนเข็ญใจ คิดว่า จักอาศัยพระสงฆ์เลี้ยงชีพ จึง

เป็นกัปปิยการกอยู่ในวัดที่อยู่ จะให้คนเข็ญใจเหล่านั้นบวช ควรอยู่. บิดา

มารดาของบุตรใดเป็นทาส หรือมารดาเท่านั้นเป็นทาสี บิดาไม่เป็นทาส ไม่

ควรให้บุรุษนั้นบวช. ญาติหรืออุปฐากของภิกษุถวายทาสว่า ขอท่านจงให้

บุรุษนี้บวช เขาจักทำความขวนขวายแก่ท่าน หรือว่า ทาสส่วนตัวของภิกษุนั้น

มีอยู่ ทาสนี้ภิกษุทำให้เป็นไทเสียก่อนแล้ว จึงควรให้บวช. ในอรรถกถากุรุนที

แก้ว่า พวกนายถวายทาสว่าขอท่านจงให้บุรุษนี้บวช ถ้าเขาจักยินดียิ่งใน

ในศาสนา, เขาจักไม่เป็นทาส ถ้าเขาจักสึก เขาจักคงเป็นทาสของพวกข้าพเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ดังนี้ ชื่อว่า ทาสยืมไม่ควรให้เขาบวช. บุรุษใดเป็นทาสไม่มีนาย บุรุษแม้

นั้นอันภิกษุให้เป็นไทก่อนจึงควรให้บวช. ภิกษุไม่ทราบให้บรรพชาหรืออุป-

สมบทแล้ว จึงทราบภายหลัง ควรทำให้เป็นไทเหมือนกัน. และเพื่อประกาศ

เนื้อความข้อนี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวเรื่องนี้ว่า:-

ดังได้ยินมา นางกุลทาสีคนหนึ่ง กับบุรุษคนหนึ่ง หนีจากอนุราธบุรี

ไปอยู่ในโรหนชนบท มีบุตรคนหนึ่ง. บุตรนั้นในเวลาที่บรรพชาอุปสมบท

แล้ว เป็นภิกษุลัชชีมักรังเกียจ. ภายหลังวันหนึ่ง เธอถามมารดาว่า อุบายสิกา

พี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงของท่านไม่มีหรอกหรือ ? ฉันจึงไม่เห็นญาติไร ๆ เลย

มารดาตอบว่า พ่อคุณ ฉันเป็นกุลทาสิ ในอนุราธบุรี หนีมาอยู่ที่นี่กับบิดาของ

คุณ ภิกษุผู้มีศีล ได้ความสังเวชว่า ได้ยินว่าบรรพชาของเราไม่บริสุทธิ์ จึง

ถามมารดาถึงชื่อและโคตรของสกุลนั้นแล้วมายังอนุราธบุรี ได้ ยืนที่ประตูเรือน

ของสกุลนั้น. เธอถึงเขาบอกว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ?. ก็ยังไม่เลย

ไป. พวกเขาจึงพากันมาถามว่า มีธุระอะไรขอรับ ? เธอจึงถามว่า นางทาสี

ชื่อนี้ของพวกท่านซึ่งหนีไปมีไหม ? มีขอรับ ฉันเป็นบุตรนางทาสี นั้น ถ้าพวก

ท่านอนุญาตให้ฉัน ฉันจะบวช พวกท่านเป็นนายของฉัน. พวกเขาเป็นผู้

รื่นเริงยินดี ยกเธอเป็นไทว่า บรรพชาของท่านบริสุทธิ์ขอรับ แล้วนิมนต์

ให้อยู่ในมหาวิหารบำรุงด้วยปัจจัย ๔ พระเถระอาศัยสกุลนั้นอยู่เท่านั้น ได้บรรลุ

พระอรหัต.

อรรถกถาทาสวัตถุกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

เรื่องตายเพราะอหิวาตกโรค

สามเณรบรรพชา

[๑๑๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลหนึ่งได้ตายลง เพราะอหิวาตกโรค

ตระกูลนั้นเหลืออยู่แต่พ่อกับลูก คนทั้งสองนั้นบวชในสำนักภิกษุแล้ว เที่ยว

บิณฑบาตด้วยกัน ครั้น เมื่อเขาถวายภิกษาแก่ภิกษุผู้เป็นบิดา สามเณรน้อยก็

ได้วิ่งเข้าไปกล่าวว่าข้าแต่พ่อ ขอพ่อจงให้แก่ลูกบ้าง จงให้แก่ลูกบ้าง.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสาย

ศากยบุตรเหล่านี้มิใช่ผู้พระพฤติพรหมจรรย์ สามเณรน้อยรูปนี้ชะรอยเถิด

แต่ภิกษุณี ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา

อยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เด็ก

ชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช ต้องอาบัติทุกกฏ.

เด็กชายตระกูลอุปัฏฐากบรรพชา

[๑๑๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระอานนท์มี

ศรัทธาเลื่อมใส ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรค เหลืออยู่แต่เด็กชายสองคน เด็ก

ชายทั้งสองเห็นภิกษุทั้งหลาย จึงวิ่งเข้าไปหาด้วยกิริยาที คุ้นเคยแต่ก่อนมา ภิกษุ

ทั้งหลายไล่ไปเสีย เด็กชายทั้งสองนั้นเมื่อถูกภิกษุทั้งหลายไล่ก็ร้องไห้ จึงท่าน

พระอานนท์ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ มิให้บวชเด็กชาย

มีอายุหย่อน ๑๕ ปี ก็เด็กชายทั้งสองคนนี้มีอายุหย่อน ๑๕ ปี ด้วยวิธีอะไรหนอ

เด็กชายสองคนนี้จึงจะไม่เสื่อมเสีย ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานว่า ดูก่อนอานนท์ เด็กชายสองคนนั้น

อาจไล่กาได้ไหม ?.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า อาจ พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ลำคับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้บวชเด็กชายมีอายุหย่อน ๑๕ ปี แต่สามารถไล่กาได้.

เรื่องสามเณรของท่านพระอุปนนท์

[๑๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตรมีสามเณรอยู่ ๒

รูปคือสามเณรกัณฏกะ ๑ สามเณรมหกะ ๑ เธอทั้งสองประทุษร้ายกันและกัน

ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนสามเณรทั้งสองจึงได้

ประพฤติอนาจารเห็นปานนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

รูปเดียวไม่พึงให้สามเณร ๒ รูปอุปัฏฐาก รูปใดให้อุปัฏฐาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาภัณฑุกัมมกถา

บทว่า กมฺมากณฺฑุ ได้แก่ลูกช่างทอง ซึ่งมีศีรษะโล้นไว้แหยม

มีคำอธิบายว่า เด็นรุ่นมีผม ๕ แหยม.

ข้อว่า สงฺฆ อปโลเกตุ ภณฺฑิกมฺมาย มีความว่า เราอนุญาต

ให้ภิกษุบอกเล่าสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่ภัณฑุกรรม. อาปุจฉนวิธี ในภัณฑุ-

กรรมาธิการนั้น ดังนี้ . พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้นับเนืองในสีมาให้ประชุมกัน

แล้ว นำบรรพชาเปกขะไปในสีมานั้นแล้ว บอก ๓ ครั้งหรือ ๒ ครั้ง หรือ

ครั้งเดียว ว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้กะสงฆ์. อนึ่ง

ในอธิการว่าด้วยการปลงผมนี้ จะบอกว่า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้

ดังนี้ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าบอกสมณกรณ์ของทารกนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ทารกนี้อยากบวช

๑. ตามนัยโยชนา ภาค ๒ หน้า ๒๐๒ ควรจะแปลว่า บทว่า กมมารภณฺฑุ ได้แก่ชายศีรษะโล้น

ลูกนายช่างทอง มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นบุตรนายช่างทอง มีผมอยู่ ๕ แหยม. (ตุลาธาโร ก็คือ

สุวณฺณกาโร). ส่วนปาฐะว่า กมฺมารภณฺฑุ ในพระบาลีนั้น แปลเอาความว่า บุตรนายช่างทอง

ศีรษะโล้น (วินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ หน้า ๑๕๖).

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

ดังนี้ก็ดี ควรทั้งนั้น. ถ้าสถานแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันมีอยู่ คือโอกาสเป็นที่

กำหนดปรากฏว่า ภิกษุ ๑๐ รูปหรือ ๒๐ หรือ ๓๐ รูป อยู่ด้วยกัน จะไปสู่

โอกาสที่ภิกษุเหล่านั้นยืนแล้ว หรือโอกาสที่นั่งแล้วบอกเล่าโดยนัยก่อนนั้นเอง

ก็ได้. แม้จะวานพวกภิกษุหนุ่มหรือเหล่า สามเณรแต่เว้นบรรพชาเปกขะเสีย

ให้บอกโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า มีบรรพชาเปกขะอยู่คนหนึ่ง พวกผม

บอกภัณฑุกรรมของเขา ดังนี้ ก็ควร ถ้าภิกษุบางพวกเข้าสู่เสนาสนะ หรือพุ่ม

ไม้เป็นต้น หลับอยู่ก็ดี ทำสมณธรรมอยู่ก็ดี ฝ่ายภิกษุสามเณรผู้บอกเล่า แม้

เที่ยวตามหาก็ไม่พบ จึงมีความสำคัญว่า เราบอกหมดทุกรูปแล้ว ขึ้นชื่อว่า

บรรพชาเป็นกรรมเบา เพราะเหตุนั้น บรรพชาเปกขะนั้นบวชแล้ว เป็นอัน

บวชด้วยดีแท้ ไม่เป็นอาบัติแม้เก่อุปัชฌย์ผู้ให้บวช. แต่ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่เป็น

ที่อยู่ของภิกษุหลายพัน ถึงจะนิมนต์ก็ภิกษุทั้งหมดให้ประชุมก็ทำได้ยาก ไม่จำ

ต้องกล่าวถึงบอกเล่าตามลำดับ ต้องอยู่ในขัณฑสีมา หรือไปสู่แม้น้ำ หรือ

ทะเลเป็นต้นแล้วจึงให้บวช. ฝ่ายผู้ใดเป็นคนโกนผมใหม่ หรือสึกออกไป

หรือเป็นคนใดคนหนึ่ง ในพวกนักบวชมีนิสครนถ์เป็นต้น มีผมเพียง ๒ องคุลี

หรือหย่อนกว่า ๓ องคุลี กิจที่จะต้องปลงผมของผู้นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น

แม้จะไม่บอกภัณฑุกรรม ให้บุคคลเช่นนั้นบวช ก็ควร. ฝ่ายผู้ใดมีผมยาวเกิน

๒ องคุลี โดยที่สุดแม้ไว้ผมเพียงแหยมเดียว ผู้นั้น ภิกษุต้องบอกภัณฑกรรม

ก่อนจึงให้บวชได้ อุบาลิวัตถุมีนัยกล่าวแล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.

อรรถกถาภัณฑุกัมกถา จบ

อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ

บทว่า อหิวาตกโรเคน ได้แก่ มารพยาธิ. จรึงอยู่โรคนั้นเกิดขึ้น

ในสกุลใด สกุลนั้นพร้อมทั้งสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้าย่อมวอควายหมด. ผู้ใดทำลาย

ฝาเรือนหรือหลังคาหนีไป หรือไปอยู่ภายนอกบ้านเป็นต้น ผู้นั้นจึงพ้น. ฝ่าย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

บิดากับบุตรในสกุลนี้ ก็พ้นแล้วด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระธรรม

สังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า บิดากับบุตรยังเหลืออยู่ ดังนี้ .

บทว่า กากุฑฺฑปก มีความว่า เด็กใดถือก้อนดินด้วยมือซ้ายนั่งแล้ว

อาจเพื่อจะไล่กาทั้งหลายซึ่งพากันมาให้บินหนีไปแล้วบริโภคอาหารซึ่งวางไว้ข้าง

หน้าได้ เด็กนี้จัดว่าผู้ไล่กาไป จะให้เด็กนั้นบวช ก็ควร.

อรรถกถากากุฑเฑปกวัตถุ จบ

เรื่องถือนิสัย

[๑๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในพระนครราช-

คฤห์นั้นแล ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียน

โพนทะนาว่า ทิศทั้งหลาย คับแคบมืดมนแก่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร

ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่พระสมณะพวกนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดู

ก่อนอานนท์เธอจงไปไขดาลบอกภิกษุทั้งหลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้ง

หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะเสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่าน

ผู้ใดมีความประสงค์ท่านผู้นั้นจงมา.

ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธบัญชาแล้ว ไขดาลแจ้งแก่ภิกษุทั้ง

หลายในบริเวณวิหารว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะ

เสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ท่านผู้นั้นจงมา.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติให้ภิกษุถือนิสัยอยู่ตลอด ๑๐ พรรษา และให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐

ให้นิสัย พวกผมจักต้องไปในทักขิณาคีรีนั้น จักต้องถือนิสัยด้วย จักพักอยู่

เพียงเล็กน้อยก็ต้องกลับมาอีก และจักต้องกลับถือนิสัยอีก ถ้าพระอาจารย์ ของ

พวกผมไป แม้พวกผมก็จักไป หากท่านไม่ไป แม้พวกผมก็จักไม่ไป อาวุโส

อานนท์ ความที่พวกผมมีใจเบาจักปรากฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกทักขิณาคีรีชนบท กับภิกษุสงฆ์

มีจำนวนน้อย ครั้นพระองค์เสด็จอยู่ ณ ทักขิณาคีรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์

แล้ว เสด็จกลับมาสู่พระนครราชคฤห์อีกตามเติม และพระองค์ตรัสเรียกท่าน

พระอานนท์มาสอบถามว่า ดูก่อนอานนท์ ตถาคตจาริกทักขิณาคีรีชนบท กับ

ภิกษุสงฆ์มีจำนวนน้อย เพราะเหตุไร จึงท่านพระอานนท์กราบทูลความเรื่อง

นั้นให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ.

พระพุทธานุญาตให้ถือสัย

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสัยอยู่ ๕ พรรษา

และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต.

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอะเสขะ.

๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ:-

๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือ

นิสัยอยู่.

องค์ ๕ แห่งภิกษุต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ.

๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้เกียจคร้าน และ

๕. เป็นผู้มีสติฟันเฟือน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่

ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่ คือ:-

๑. เป็นผู้มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้มีหิริ.

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร และ

๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบไม่ด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือ

นิสัยอยู่.

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย และ

๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

องค์ ๕ แห่งภิกษุไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก และ

๕. เป็นผู้มีปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดี โดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี

ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

๑. รู้จักอาบัติ.

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๔. รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี

วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๕ แห่งภิกษุต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. มีพรรษาหย่อน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่

ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

๑. รู้จักอาบัติ.

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๙. รู้จักอาบัติหนัก และ

๕. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ จะไม่ถือนิ

สัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. ไม่ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

๕. ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ

และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

คือ:-

๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.

๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.

๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.

๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ.

๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ และ

๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ.

๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ.

๔. เป็นผู้เกียจคร้าน.

๕. เป็นผู้มีสติฟันเฟือน และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

๑. เป็นผู้มีศรัทธา.

๒. เป็นผู้มีหิริ.

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร.

๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น และ

๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-

๑. เป็นผู้วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังน้อย.

๕. เป็นผู้มีปัญญาทราม และ

๖. มีพรรษาหย่อน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

คือ:-

๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.

๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.

๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ. ในทิฏฐิยิ่ง.

๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก.

๕. เป็นผู้มีปัญญา และ

๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสัย

อยู่.

องค์ ๖ แห่งภิกษุต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ

นิสัยอยู่ไม่ได้ คือ:-

๑. ไม่รู้จักอาบัติ.

๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.

๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.

๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก.

๕. เธอจาปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดี โดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี

ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุ คะ โดยอนุพยัญชนะ

และ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

๖. มีพรรษาหย่อน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสัย

อยู่ ไม่ได้.

องค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสัยอยู่

๑. รู้จักอาบทะ

๒. รู้จักอนาบัติ.

๓. รู้จักอาบัติเบา.

๔. รู้จักอาบัติหนัก.

๕ เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร จำแนกดี คล่องแคล่วดี

วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ และ

๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไว้ต้องถือนิสัย

อยู่.

เรื่องถือนิสัย จบ

อภยูวรภาณวาร จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

อรรมกถาเรื่องให้ภิกษุถือนิสัย

บทว่า อิตฺตโร มีความว่า การอยู่ประมาณน้อย คือ ๒-๓ วัน

เท่านั้น จักมี.

บทว่า โอคเณน ได้แก่มีพวกลดไป, อธิบายว่า ภิกษุสงฆ์มีประมาณ

ในข้อว่า อพฺยตฺเตน ยาวชีว นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าภิกษุผู้ไม่ฉลาด

นี้จะไม่ได้อาจารย์ที่แก่กว่าไซร้, เธอจะเป็นผู้มีพรรษา ๖๐ หรือมีพรรษา ๗๐

ด้วยอุปสมบท เธอพึงนั่งกระโหย่งประณมมือกล่าว ๓ ครั้งอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ

ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ๆ จักอาศัยท่านอยู่ ดังนี้ ถือนิสัยในสำนัก

ของภิกษุแม้อ่อนกว่า แต่เป็นผู้ฉลาด ภิกษุนั้นแม้เมื่อจะลาเข้าบ้าน พึงจะนั่ง

กระโหย่งประณมมือกล่าวว่า ท่านอาจารย์ ผมลาเข้าบ้าน ในการอำลาทุกอย่าง

ก็นัยนี้ ก็ในหมวด ๕ และหมวด ๖ ในอธิการนี้ สูตรเท่าที่ภิกษุผู้พ้นนิสัยแล้ว

พึงปรารถนา ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในวรรณนาแห่งภิกขุโนวาทกสิกขาบท บัณฑิต

พึงทราบว่าเป็นอัปปสุตบุคคล เพราะข้อที่สูตรนั้นไม่มี และเป็นพหุสุตบุคคล

เพราะข้อที่สูตรนั้นมี คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล.

อรรถกถาเรื่องให้ภิกษุถือนิสัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ทายัชชภาณวาร

พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร

[๑๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์

ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครกบิลพัสดุ์ เสด็จเที่ยวจาริก

โคยลำดับถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ สักกชนบทนั้น ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปสู่พระราช

นิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนศากยะ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์

ที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้นพระเทวีราหุลมารดาได้มีพระเสาวนีแก่ราหุลกุมารว่า

ดูก่อนราหุล พระสมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกต่อ

พระองค์ จึงราหุลกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึงแล้วได้ประทับ

ยืนเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ

พระฉายาของพระองค์เป็นสุข ทันใดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุฏฐาการ

จากพระพุทธอาสน์แล้วกลับไป จึงราหุลกุมารได้ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปเบื้องหลัง ๆ พลางทูลขอว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้โปรดประทานทรัพย์

มรดกแก่หม่อมฉัน ข้าแด่พระสมณะ ขอได้โปรดประทานทรัพย์มรดกแก่

หม่อมฉัน .

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกท่านพระสารีบุตรมารับสั่งว่า

ดูก่อนสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ราหุลกุมารบวช.

ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะให้ราหุลกุมารทรงผนวช

อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตรสรณคมน์.

วิธีให้บรรพชา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงให้กุลบุตรบวชอย่างนี้:-

ชั้นต้น พึงให้โกนผมและหนวด แล้วให้ครองผ้าย้อมฝาค ให้ห่มผ้า

เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประคองอัญชลี แล้ว

สั่งว่า จงว่าอย่างนี้ แล้วสอนให้ว่าสรณคมน์ดังนี้:-

ไตรสรณคมน์

พุทธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง

ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง

สงฺฆ สรณ คจฺจามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง

ทุติยมฺปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒

ทุติยมฺปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒

ทุติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๒

ตติยมฺปิ พุทฺธ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่พี่ง แม้ครั้งที่ ๓

ตติยมปิ ธมฺม สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระธรรม เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓

ตติยมฺปิ สงฺฆ สรณ คจฺฉามิ

ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แม้ครั้งที่ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการบวชกุลบุตรเป็นสามเณรด้วยไตร

สรณคมน์นี้.

คราวนั้น ท่านพระสารีบุตร ให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว .

พระเจ้าสุทโธทนศากยะทูลขอพระพร

ต่อมา พระเจ้าสุทโธทนศากยะเข้าไปเป้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นถึง

แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นท้าวเธอประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลขอพระพรต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าหม่อมฉัน ขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าสักอย่าง

หนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าถวายพระพรว่า ดูก่อนพระองค์ผู้โคตมะ ตถาคต

ทั้งหลายมีพรล่วงเลยเสียแล้ว.

สุท. หม่อมฉันทูลขอพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. พระองค์โปรดตรัสบอกพรนั้นเถิด โคตมะ.

สุท. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชแล้ว ความทุกข์ล้นพ้นได้

บังเกิดแก่หม่อมฉัน เมื่อพ่อนันทะบวชก็เช่นเดียวกัน เมื่อพ่อราหุลบรรพชา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ทุกข์ยิ่งมากล้น พระพุทธเจ้าข้า ความรักบุตรย่อมตัดผิว ครั้นแล้ว ตัดหนัง

ตัดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก แล้วดังอยู่จรดเยื่อในกระดูก หม่อมฉันขอประทาน

พระวโรกาสพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่พึงบวชบุตรที่บิดามารดายังมิไค้อนุญาต

พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าสุทโธทนศากยะทรง

เห็นแจ้ง ทรงสมาทาน ทรงอาจหาญ ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เมื่อพระเจ้า

สุทโธทนะศากยะ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน

อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพระที่ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเหตุเพราะเป็น

เค้ามูลนั้น ไนเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ภิกษุไม่พึงให้บวช รูปใดให้บวช

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์ตามพระ

พุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จเที่ยวจาริกโดยลำดับ

ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีนั้น.

เรื่องทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาดมีสามเณรมากรูปได้

[๑๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ตระกูลอุปัฏฐากของท่านพระสารีบุตร ส่ง

เด็กชายไปในสำนักท่านพระสารีบุตร ด้วยมอบหมายว่า ขอพระเถระโปรด

บรรพชาเด็กคนนี้ ทีนั้น ท่านพระสารีบุตรได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ทรงบัญญัติไม่ให้ภิกษุรูปเดียวรับสามเณร ๒ รูปไว้อุปัฏฐาก ก็เรามีสามาเณร

ราหุลนี้อยู่แล้ว ทีนี้เราจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

พระผู้ทีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถรูปเดียว รับสามเณรสองรูปไว้อุปัฏฐากได้

ก็หรือเธออาจจะโอวาทอนุศาสน์สามเณรมีจำนวนเท่าใดก็ให้รับไว้อุปัฏฐาก มี

จำนวนเท่านั้น.

สิกขาบทของสามเณร

[๑๒๐] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำริว่า สิกขาบทของ

พวกเรามีเท่าไรหนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตสิกขาบท ๑๐ แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาใน

สิกขาบท ๑๐ นั้น คือ:-

๑. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.

๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.

๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.

๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ.

๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท.

๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็น

ข้าศึก.

๘ เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้

อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๙. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่.

๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ นี้ แก่สามเณรทั้งหลาย

และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นี้.

อรรถกถาราหุลวัตถุกถา

ในคำว่า เยน กปิลวตฺถุ เตน จาริก ปกฺกามิ นี้ พึงทราบ

อนุปุพพีกถา ดังต่อไปนี้:-

ได้ยินว่า จำเดิมแต่วันที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกอภิเนษกรมณ์พระเจ้า

สุทโธทนมหาราชทรงเงี่ยพระโสตคอยสดับข่าวอยู่เที่ยวว่า ลูกเราออกไปด้วย

หมายใจว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือยังหนอ ? ท้าวเธอ

ทรงสดับการบำเพ็ญเพียร ความตรัสรู้เองและ พุทธกิจทั้งหลายมียังธรรมจักร

ให้เป็นไปเป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงสดับว่า ได้ยินว่าบัดนี้ ลูก

เราอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ จึงดำรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เราแก่เฒ่าแล้วนะพ่อ

ดีละ เจ้าจงแสดงบุตรแก่เราทั้งที่ยังเป็นอยู่ เขารับสาธุแล้ว มีบุรุษพันคนเป็น

บริวาร ไปสู่กรุงราชคฤห์ ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมกถาแก่เขา เขาเลื่อมใสทูลขอบรรพชา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

และอุปสมบทที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เขาอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ภิกษุนั้นกับทั้งบริษัทบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้อยู่เสวยสุขเกิดแก่ผลาสมาบัติในที่

นั้นเอง. พระราชาทรงส่งทูตแม้อื่นไปอีก ๘ คนโดยอุบายนั้นแล. แม้ทูตเหล่า

นั้นทั้งหมดกับทั้งบริษัท ได้เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์หลีกจาริก ไปอย่างไม่

รีบเร่ง ด้วยทรงทำในพระหฤทัยว่า เราเมื่อเดินทางวันละโยชน์ ๒ เดือนจักถึง

กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งมีระยะทาง ๖๐ โยชน์จากกรุงราชคฤห์.

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า เยน กปิลวตฺถุ

เตน จาริก ปกฺกามิ ดังนี้. ก็แลครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไป

แล้วอย่างนั้น พระอุทายีเถระกระทำภัตกิจในพระนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทน-

มหาราช จำเดิมแต่วันพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก. พระราชาทรงอังคาสพระ

เถระแล้วทรงเจิมบาตรด้วยกระแจะบรรจุพระกระยาหารอย่างสูงสุดจนเต็ม มอบ

ถวายในมือพระเถระว่า ท่านจักถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระเถระย่อม

ทำตามรับสั่งทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยบิณฑบาตของพระราชาเท่านั้น

ในระหว่างมรรคา ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระเถระในเวลาเสร็จภัตกิจทุกวัน ได้ทูลพระราชาว่าวันนี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จมาเท่านี้ และได้ปลูกความเชื่อในพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เกิดขึ้น

แก่เจ้าศากยะทั้งหลาย ด้วยกถาปฏิสังยุตด้วยพุทธคุณ.

เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคสถาน

ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส ซึ่งเป็นสาวกของ

เรา กาฬุทายีเป็นเยี่ยม ดังนี้

ฝ่ายเจ้าศากยะเล่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จถึง จึงมุ่งพระ-

หฤทัยว่า เราทั้งหลายจักเฝ้าพระญาติอันประเสริฐของพวกเรา จึงประชุมกัน

๑. องฺ. เอก. ๒๐/๑๔๙.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

เมื่อเลือกหาที่เสด็จอยู่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดว่า อารามของสักกะ

ชื่อนี้โครธ น่ารื่นรมย์ จึงให้ทำปฏิชัคคนวิธีทั้งปวงในอารามนั้น มีของหอม

และดอกไม้ในมือ เมื่อจะทำการต้อนรับ ได้ส่งเด็กชายและเด็กหญิงชาว

พระนครรุ่นหนุ่มรุ่นสาว ประดับด้วยอลังการทุกอย่างไปก่อน ถัดจากนั้น ส่ง

ราชกุมารและราชกุมารีทั้งหลายไป แล้วไปเองในลำดับแห่งเหล่าราชกุมารและ

ราชกุมารีเหล่านั้น บูชาด้วยสักการะมีดอกไม้และจุณเป็นต้น ได้เชิญเสด็จ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่นิโครธารามทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระขีณาสพ ๒ หมื่นแวดล้อม ประทับบนบวร

พุทธอาสน์ที่เขาทั้งเตรียมไว้ในนิโครธารามนั้น. พวกศากยราชเป็นคนเจ้ามานะ

ถือตัวจัดนัก. พวกศากยราชเหล่านั้น ทรงดำริว่าสิทธัตถกุมาร ยังหนุ่มเด็ก

กว่าพวกเรา เป็นพระกนิฏฐะ เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระ

นัดดาแห่งพวกเรา จึงรับสั่งกะราชกุมารหนุ่ม ๆ ว่า พวกเธอจงบังคับ พวก

ฉันจักนั่งข้างหลังพวกเธอ. ครั้นเมื่อศากยราชเหล่านั้น ประทับนั่งอย่างนั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัยของพวกเธอ แล้วทรงคำนึงว่า พวกพระ

ญาติไม่ยอมไหว้เรา เอาเถิดบัดนี้ เราจักให้พระญาติเหล่านั้นไหว้ ดังนี้แล้ว

ทรงเข้าจตุตถฌานเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศด้วยพระฤทธิ์

ได้ทรงทำปาฏิหาริย์คล้ายยมกปาฏิหาริย์ที่ควงแห่งคัณฑามพฤกษ์ ราวกะว่าทรง

โปรยธุลีที่พระบาทลงบนเศียรแห่งพระญาติเหล่านั้น.

พระราชาทรงเห็นอัศจรรย์นั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมือพระองค์ซึ่งพระพี่เลี้ยงนำเข้าไปเพื่อไหว้พราหมณ์ในวันมงคล หม่อมฉัน

แม้ได้เห็นพระบาทของพระองค์ ไพล่ไปประดิษฐานบนกระหม่อมของพราหมณ์

จึงบังคมพระองค์ นี้เป็นปฐมวันทนาของหม่อมฉัน. ในวันวัปมงคล เมื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

พระองค์บรรทมบนพระที่อันมีสิริที่เงาไม้หว้า หม่อมฉันเห็นเงาไม้หว้ามิได้

คล้อยตามไป จึงบังคมพระบาท นี้เป็นทุติยวันทนาของหม่อมฉัน บัดนี้ หม่อม

ฉัน แม้ได้เห็นปาฏิหาริย์ซึ่งยังไม่เคยเห็นนี้ ขอถวายบังคมพระบาทของพระองค์

นี้เป็นตติยวันทนาของหม่อมฉัน.

ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ถวายบังคม

แล้ว แม้ศากยะองค์หนึ่ง ซึ่งชื่อไม่ถวายบังคม มิได้มี, ได้ถวายบังคมหมด

ทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระญาติทั้งหลายให้ถวายบังคมแล้วเสด็จ

ลงจากอากาศ ประทับบนพระอาสน์ที่เขาแต่งตั้งไว้. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งแล้ว พระญาติสมาคม ได้เป็นผู้ถึงที่สุด คือหมดมานะ พระญาติ

ทั้งปวงมีพระหฤทัยแน่วแน่ นั่งประชุมกันแล้ว.

ลำดับนั้น มหาเมฆหลั่งฝนโบกขรพรรษให้ตกลงมา. น้ำมีสีแดง

หลั่งไหลไปภายใต้ น้ำแม้หยาดหนึ่งจะตกลงบนสรีระของใคร ๆ ก็หาไม่. พระ

ญาติทั้งปวงทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ได้เป็นผู้เกิดความอัศจรรย์หลากใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษตกในญาติสมาคมของเรา

ในกาลนี้เท่านั้นหามิได้ ถึงในอดีตกาล ก็ได้ตกแล้วดังนี้ แล้วตรัสเวสสันตร-

ชาดก เพราะเกิดเหตุนี้ขึ้น.

พระญาติทั้งปวง สดับพระธรรมเทศนาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคม

ทำประทักษิณแล้วหลีกไป. แม้บุคคลผู้หนึ่ง คือ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์

ที่จะทูลว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า แล้วจึงไป มิได้มี.

๑. วิรวนฺต คจฺฉติ.

๑. ขุ. ชา. ๒๘/๑๐๔๕

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ในวันที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๒ หมื่นเป็นบริวาร เสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์. ใคร ๆ จะลุกรับแล้วนิมนต์ หรือได้รับบาตร

หามิได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่เสาอินทขีล ทรงนึกว่า พระพุทธ

เจ้าทั้งหลายในกาลก่อน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในนครแห่งสกุลอย่างไรหนอ ?

ได้เสด็จไปสู่เรือนของเหล่าอิสรชนโดยผิดลำดับหรือ หรือว่าเสด็จเที่ยวจาริกไป

ตามลำดับตรอก.

ลำดับนั้น ไม่ได้ทรงเห็นการไปผิดลำดับแม้แห่งพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

จึงทรงรำพึงว่า บัดนี้ วงศ์นี้และประเพณีนี้ แม้เราก็ควรยกย่อง และต่อไป

ถึงสาวกทั้งหลายของเรา เมื่อสำเหนียกตามเราจักยังบิณฑจาริยวัตรให้เต็มได้

แล้วเสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกจำเติมแต่เรือนที่เสด็จเข้าไปครั้ง

สุดท้าย.

มหาชนได้ฟังข่าวว่า ได้ยินว่า พระเจ้าสิทธัตถกุมาร เสด็จเที่ยว

บิณฑบาต จึงเปิดหน้าต่างในปราสาทสี่ชั้นเป็นต้น ได้เป็นผู้กุลีกุจอเพื่อจะเห็น.

ฝ่ายพระเทวี ผู้มารดาพระราหุล ทรงจินตนาว่า ได้ยินว่า พระลูกเจ้า

เสด็จเที่ยวไปด้วยพระยานมีสุวรรณสีวิกาเป็นต้น ด้วยพระราชานุภาพใหญ่ ใน

พระนครนนี้นี่แล บัดนี้ ทรงปลงพระเกสา และพระมัสสุเสีย ทรงผ้ากาสาวพัสตร์

มีกระเบื้องในพระหัตถ์ เสด็จเที่ยวบิณฑบาต. พระองค์จะทรงงดงามไหมหนอ

หรือว่าไม่ทรงงดงาม. จึงทรงเปิดพระสีหบัญชรทอดพระเนตร ทรงเห็นพระผู้

มีพระภาคเจ้า ซึ่งงามสง่าด้วยพระพุทธสิริ ทรงยังนครวิถีทั้งหลายให้โอภาส

ด้วยพระสรีระรัศมีอันรุ่งเรื่องด้วยรัศมีนานา จึงทรงชมพระโฉม จำเดิมแต่

พระอุณหิสจนถึงฝ่าพระบาทด้วย ๘ คาถา อันมีนามว่า นรสีหคาถา แล้ว

๒. หลักที่ปักไว้กลางประตู สำหรับกันบานประทั้งสองข้างในเวลาปิด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

เสด็จไปเฝ้าพระราชา กราบบังคมทูลแด่พระราชาว่า พระลูกเจ้าของฝ่าพระบาท

เสด็จเที่ยวบิณฑบาต. พระราชาทรงสดับข่าวนั้น ทรงสลดพระหฤทัย พลาง

ทรงจัดพระภูษาให้รัดกุมด้วยพระหัตถ์ รีบด่วนเสด็จออกไปโดยเร็ว ประทับ

เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลว่า พระเจ้าข้า ทำไมจึงทรงยังหม่อมฉัน

ให้ได้อายเล่า พระองค์เสด็จเที่ยวบิณฑบาตเพื่อประโยชน์อะไร ? พระองค์ได้

เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ภิกษุมีประมาณเท่านี้ ไม่อาจได้ภัตหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร การเที่ยวบิณฑบาตนี้เป็น

จารีตสำหรับวงศ์ของอาตมภาพ.

พระราชาทูลถามว่า พระเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่ามหาสมมติขัตติยวงศ์ เป็น

วงศ์ของพวกเรามิใช่หรือ ? ก็แลในขัตติยวงศ์นั้น แม้กษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อผู้

เที่ยวภิกษาย่อมไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสนองว่า มหาบพิตร ชื่อว่าราชวงศ์ เป็นวงศ์

ของมหาบพิตร แต่ขึ้นชื่อว่าพุทธวงศ์ เป็นวงศ์ของอาตมภาพ พระพุทธเจ้า

ทุก ๆ พระองค์เทียว ได้เป็นผู้เสด็จเที่ยวบิณฑบาตดังนี้ คงประทับยืนในท้อง

ถนนเทียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

บุคคลไม่พึงประมาทในบิณฑบาต

อันคนพึงลุกยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้เป็น

สุจริต ด้วยว่า ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อม

อยู่เป็นสุข ตั้งในโลกนี้และโลกอื่น.

พระราชาได้ทรงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในกาลที่จบแห่งพระคาถาและได้

ทรงสดับพระคาถานี้ว่า:-

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต

ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นทุจริต ด้วยว่า

ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งในโลก

นี้และโลกอื่น.

ดังนี้แล้ว ทรงประดิษฐานในสกทาคามิผล ได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก แล้ว

ทรงประดิษฐานในอนาคามิผล ในมรณสมัย เสด็จบรรทมบนพระที่อันมีสิริ

ภายใต้แห่งเศวตฉัตรนั่นแล จึงทรงบรรลุพระอรหัต. กิจที่จะต้องหมั่นประกอบ

ความเพียรในอรัญวาสมิได้มีแก่พระราชา. ก็แลท้าวเธอทรงทำให้แจ้งซึ่งโสดา

ปัตติผลนั่นแล จึงทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เชิญเสด็จพระผู้มี

พระภาคเจ้ากับทั้งบริษัทขึ้นสู่พระมหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนียะ

อันประณีต.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมกำนัลทั้งปวง เว้นพระมารดาพระราหุล

ได้มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนพระนางนั้น แม้อันชนบริวารทูลว่า

ขอพระแม่เจ้าจงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า ได้รับสั่งว่า ถ้าความดีของเรา

มีอยู่ พระลูกเจ้าจักเสด็จมาเองทีเดียว เราจักถวายบังคมพระองค์ผู้เสด็จมาแล้ว

ดังนี้ มิได้เสด็จไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระราชาให้ถือบาตรแล้ว พร้อมด้วยพระ

อัคคสาวกทั้ง ๒ เสด็จไปสู่ห้องอันมีสิริของพระราชธิดา ตรัสว่า พระราชธิดา

จงไหว้ตามชอบ อย่าพึงว่ากล่าวอย่างไรเลย แล้วประทับบนพระที่นั่งอันเขา

แต่งตั้งไว้. พระนางเสด็จมาโดยเร็ว ทรงจับที่ข้อพระบาทกลิ้งเกลือกพระเศียร

บนหลังพระบาทถวายบังคมตามพระอัธยาศัย.

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓. ๒. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๑๔๑๐.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

พระราชาทูลถึงคุณสมบัติ มีพระสิเนหาและความนับถือมากในพระผู้มี

พระภาคเจ้า ของพระราชธิดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ยังไม่อัศจรรย์ ข้อที่พระ

ราชธิดาซึ่งพระบรมบพิตรทรงปกครองอยู่ จึงรักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระ

ญาณแก่กล้าแล้วในบัดนี้ แต่ก่อน เธอหาผู้ปกครองมิได้ เที่ยวไปแทบเชิง

บรรพต รักษาพระองค์ไว้ได้ในเมื่อพระญาณยังไม่แก่กล้า ดังนี้แล้ว ตรัส

จันทกินรีชาดก.

วันนั้นเอง พระนันทราชกุมาร มีมหามงคล ๕ อย่าง คือ แก้พระ

เกศา ผูกพระสุพรรณบัฏ ฆรมงคล อาวาหมงคล ฉัทรมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังพระนันทกุมารให้ถือบาตรแล้วตรัส มงคล

เสด็จลุกจากพระที่นั่งหลีกไป.

ครั้งนั้น นางชนบทกัลยาณี เห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า

ข้าแต่พระลูกเจ้า พระองค์รีบเร่งเสด็จกลับมา แล้วชะเง้อคอแลดู. แม้พระ-

นันทกุมารนั้น เมื่อไม่อาจทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับบาตร

เถิด จึงต้องเสด็จไปถึงวัดที่อยู่ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทกุมารนั้น ผู้ไม่ทรงปรารถนาเลย

ให้ผนวช. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสู่กบิลบุรี ยังพระนันทกุมารให้ผนวชใน

วันที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๘๘๓. ในที่อื่นเรียกว่าจันทกินนรชาดก.

๒. เกสวิสชฺชนนฺติ กุลมริยาทวเสน เกโสโรปนนฺติ สารตฺถทีปนี. ราชโมลิพนฺธนตฺถกุมารกาเล

พนฺธิตสิขาเวณิโมจน ต กิร กโรนฺตา มงฺคล กโรนฺตีติ วิมติวิโนทนี. ๓. ปฏฺฏพนฺโธติ

ยุวราชปฏฺฏพนฺโธติ สารตฺถ. อสุกราชาติ นลาเฎ สุวณฺณปฏฺฎพนฺธนนฺติ. วิมติ ๔. อภินวฆรป

เวสนมโห ฆรมงฺคลนฺติ สารตฺถ. อภินวปาสาทปฺปเวสมงฺคล ฆรมงฺคลนฺติ วิมติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

ในวันที่ ๗ พระราหุลมารดา ทรงแต่งพระกุมารส่งไปสู่สำนัก พระผู้มี

พระภาคเจ้าด้วยทรงสั่งว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าจงเห็นสมณะนั่น ผู้มีพรรณดั่งทองคำ

มีพระรูปพรรณคั่งพรหม มีสมณะสองหมื่นแวดล้อม พระสมณะนี้ เป็นพระ-

บิดาของเจ้า พระสมณะนั้นได้มีขุมทรัพย์ใหญ่ จำเดิมแต่เวลาที่ท่านเสด็จออก

ไปแม่มิได้เห็น ไปเถิดเจ้าจงทูลขอเป็นทายาทกับท่านว่า ข้าแด่พระบิดาเจ้า

หม่อมฉันเป็นกุมาร จักยกฉัตรแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. หม่อมฉันต้อง

การทรัพย์ โปรดประทานทรัพย์แก่หม่อมฉันเถิด เพราะว่าบุตรย่อมเป็นเจ้า

ของทรัพย์ของบิดา.

พระกุมารพอเสด็จไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กลับได้ความรัก

พระบิดา มีพระหฤทัยรื่นเริงยินดีทูลว่า พระสมณเจ้า พระฉายาของพระองค์

นำสุขมา แล้วได้ยืนรับสั่งถ้อยคำซึ่งสมควรแก่ตนเป็นอันมาก แม้อื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสร็จภัตกิจแล้ว กระทำอนุโมทนา เสด็จลุก

จากพระที่นั่งหลีกไป.

ฝ่ายพระกุมารได้ทรงติดตามทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณเจ้า

ขอพระองค์ประทานทรัพย์มฤดกแก่หม่อมฉันเถิด, พระสมณเจ้า ขอพระองค์

ประทานทรัพย์มฤดกแก่หม่อมฉันเถิด.

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อนุปุพฺเพน

จาริกญฺจรมาโน เยน กปิลวตฺถุ ฯ เป ฯ ทายชฺช เม สมณ เทหิ

ดังนี้.

ข้อว่า อถโข ภควา อายสฺมนต สารีปุตฺต อามนฺเตสิ มีความ

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังพระกุมารให้กลับแล้ว ทั้งบริวารชนก็ไม่

สามารถเพื่อจะยังพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จกลับได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระอาราม แล้วทรงดำริว่า

ราหุลนี้ปรารถนาทรัพย์ของบิดาอันใด ทรัพย์อันนั้นเนื่องด้วยวัฏฎะเป็นไปกับ

ด้วยความคับแค้น เอาเถิด เราจะให้อริยทรัพย์ ๗ ประการซึ่งเราได้แล้วที่

โพธิมัณฑ์แก่เธอ จักทำเธอให้เป็นเจ้าของมฤดก อันเป็นโลกุตตระ ดังนี้แล้ว

รับสั่งหาท่านพระสารีบุตรมา.

ก็แลครั้นรับสั่งหาแล้วตรัสว่า สารีบุตร ถ้ากระนั้น ท่านจงยังราหุล

กุมารให้บวชเถิด. อธิบายว่า ราหุลกุมารนี้ขอทรัพย์มฤดก เพราะเหตุนั้น

ท่านจงยังราหุลกุมารนั้นให้บวช เพื่อได้เฉพาะซึ่งทรัพย์มฤดกอันเป็นโลกุต-

ตระ. บรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์นั้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตที่กรุงพาราณสี บรรดาบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์นั้น

ทรงห้ามอุปสมบท ทรงยกไว้ในความเป็นของหนัก คือเป็นกิจสลักสำคัญ แล้ว

จึงทรงอนุญาตอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม. ส่วนบรรพชามิได้ทรงห้ามเลย

แต่ก็มิได้ทรงอนุญาตอีก เพราะเหตุนั้น ความสงสัยจักเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

ในอนาคตว่า ชื่อว่าบรรพชานี้ เช่นกับด้วยอุปสมบทในกาลก่อน. แม้ในบัดนี้

บรรพชาอันเราทั้งหลายพึงกระทำด้วยกรรมวาจานั่นเอง เหมือนอุปสมบทหรือ

หนอแล หรือว่า พึงทำด้วยไตรสรณคมน์ ดังนี้. ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบความนี้แล้วใคร่จะทรงอนุญาตสามเณรบรรพชาด้วยไตรสรณคมน์อีก

เพราะเหตุนั้นพระธรรมเสนาบดีทราบพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่

จะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงอนุญาตบรรพชาอีก จึงทูลว่า ข้าพระองค์จะ

ยังพระราหุลกุมารให้ผนวชอย่างไร พระเจ้าข้า ?

ข้อว่า อถโข อายสฺมา สารปุตฺโต ราหุลกุมาร. ปพฺพาเชสิ มี

ความว่า พระมหาโมคคัลลานเถระปลงพระเกศาของพระกุมารแล้วถวายผ้า

กาสายะ พระสารีบุตรได้ถวายสรณะ. พระมหากัสสปเถระได้เป็นโอวาทาจารย์

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ก็บรรพชาและอุปสมบทมีอุปัชฌาย์เป็นมูล อุปัชฌาย์เท่านั้นเป็นใหญ่ ใน

บรรพชาและอุปสมบทนั้น อาจารย์ไม่เป็นใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระธรรม

สังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระสารีบุตรผู้มีอายุ ยังพระราหุล

กุมารให้ผนวชแล้ว ดังนี้. ด้วยประการอย่างนี้ คำทั้งปวงอันผู้ศึกษาพึงกล่าวว่า

ครั้งนั้นแล พระเจ้าสุทโธทนผู้ศากยราช ทรงเกิดความสลดพระหฤทัย เพราะ

ทรงสดับว่า พระกุมารผนวชแล้ว ในเมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าขอพร ดังนี้

โดยไม่ระบุอย่าง คำว่า จงขอ เป็นคำไม่สมควรแก่บรรพชิตผู้เลี้ยงชีวิตด้วย

อุญฉาจริยา ทั้งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ทรงประพฤติ เพราะเหตุนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในพระบาลีนั้นว่า มหาบพิตรผู้โคตมะ พระตถาคต

ทั้งหลาย ทรงเลิกพรเสียแล้วแล.

ข้อว่า ยญฺจ ภนฺเต กปฺปติ ยญฺจ อนวชฺช มีความว่าพรใด

สมควรที่พระองค์จะประทานได้ด้วย เป็นพรหาโทษมิได้ด้วย คือเป็นพรอัน

วิญญูชนทั้งหลายไม่พึงครหา เพราะกิริยาที่รับของหม่อมฉัน เป็นปัจจัยด้วย

หม่อมฉันขอพรนั้น.

ข้อว่า ตถา นนฺเท อธิมตฺต ราทุเล มีความว่า ได้ยินว่าโหรทั้ง

หลายได้ทำนายพระโพธิสัตว์ในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฉันใด

เล่า ได้ทำนายทั้งพระนันทะทั้งพระราหุลในวันมงคลว่า จักเป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิ ฉันนั้น. ครั้งนั้นพระราชาทรงเกิดพระอุตสาหะว่า เราจักชมจักรพรรดิ-

สิริของบุตร ได้ทรงถึงความหมดหวังอย่างใหญ่หลวง เพราะพระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงผนวชเสีย. จึงทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า เราจักชมจักรพรรดิติสิริ

ของพ่อนันทะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระนันทะแม้นั้นให้ผนวชแล้ว. ท้าว

เธอทรงอดกลั้นทุกข์แม้นั้น เสียได้ ทรงยังพระอุตสาหะให้เกิดว่า บัดนี้เราจัก

ได้ชมจักรพรรดิสิริของพ่อราหุล ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

๑. ขอทานเลี้ยงชีพ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

พระราหุลนั้นให้ผนวชเสียอีก. เพราะฉะนั้น ความทุกข์จึงได้เกิดแก่ท้าวเธอ

ยิ่งนักว่า บัดนี้แม้กุลวงศ์ขาดสายเสียแล้ว จักรพรรดิสิริจักมีมาแต่ไหนเล่า.

เพราะเหตุนั้น พระเจ้าสุทโธทนผู้ศากยราชจึงทูลว่า ตถา นนฺเท อธมตฺต รา-

หุเล ดังนี้. ส่วนการบรรลุอนาคามิผลของพระราชาผู้ศึกษาพึงทราบว่า ภายหลัง

แต่กาลที่พระราหุลผนวชนี้. เหตุไร พระราชาจึงตรัสคำนี้ว่า สาธุ ภนฺเต อยฺยา

เป็นต้น. ได้ยินว่า ท้าวเธอทรงดำริว่า แม้ว่าเราเป็นพุทธมามกะ ธัมมมามกะ

สังฆมามกะ ก็จริงหรอก แต่เมื่อบุตรซึ่งบิดาของตนให้บวชเสีย ก็ไม่สามารถจะ

อดกลั้นญาติวิโยคทุกข์ได้. ชนเหล่าอื่น จักอดกลั้นได้อย่างไร ในเมื่อบุตรและ

นัดดาทั้งหลายของตนบวช เพราะเหตุนั้น ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้ด้วยทรงทำพระ-

หฤทัยว่า ทุกข์เห็นปานนี้ก่อน อย่าได้มีแม้แก่ชนเหล่าอื่นเลย. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงกระทำธรรมกถาว่า พระราชาตรัสเหตุเป็นเครื่องนำออกในศาสนา

แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต ไม่

ควรให้บวช ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาตาปิตูหิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอาชนนีและชนก. ถ้ามีทั้ง ๒ ต้องลาทั้ง ๒. ถ้าบิดาหรือมารดาตายเสีย

แล้ว ผู้ใดยังเป็นอยู่ ต้องลาผู้นั้น. มารดาบิดาแม้บวชแล้ว ก็ควรลาแท้.

ภิกษุเมื่อจะบอกลา ตนพึงไปบอกลาเองก็ได้ ส่งคนอื่นไปแทนก็ได้ ส่งกุลบุตร

นั้นแหละไปว่า ท่านจงไปลามารดาบิดาแล้ว จงมา ดังนี้ก็ได้. ถ้ากุลบุตร

นั้นบอกว่า ผมเป็นผู้อันมารดาบิดาอนุญาตแล้ว เมื่อเชื่อพึงให้บวช บิดาบวช

เองแล้ว เป็นผู้ใคร่จะให้บุตรบวชบ้าง จงบอกเล่ามารดาแล้วจึงให้บวช. หรือ

ว่ามารดาใคร่จะให้ธิดาบวช จงบอกเล่าบิดาก่อนแล้ว จึงให้บวช. บิดาไม่มี

ความใยดีด้วยบุตรภริยา หนีไปเสีย มารดามอบบุตรแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ขอท่าน

ทั้งหลายให้บุรุษนี้บวชเถิด เมื่อภิกษุกล่าวว่า บิดาของเขาไปไหน ? เขาบอก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ว่า หนีไปเพื่อเล่นในจิตตเกลี เสียแล้ว สมควรให้บุรุษนั้นบวชได้ มารดา

หนีไปกับชายบางคนเสีย. ฝ่ายบิดานอบให้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บวชเถิด.

แม้ในบุตรนี้ ก็นัยนั้น. ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า บิดาหย่าร้างไปแล้ว

มารดาอนุญาตว่า ท่านจงบวชลูกของดิฉันเถิด เมื่อภิกษุกล่าวว่า บิดาของเขา

ไปไหน ? เขากล่าวว่า ท่านจะต้องการอะไรด้วยบิดาเล่า ดิฉันจักทราบ ดังนี้;

ควรให้บวชได้. มารดาบิดาตาย ทารกเจริญในสำนักญาติทั้งหลายมีน้าหญิง

เป็นต้น ครั้นเมื่อทารกนั้นอันภิกษุให้บวช ญาติทั้งหลายอาศัยทารกนั้นแล้ว

จะก่อการทะเลาะหรือพากันติเตียน; เพราะเหตุนั้น เพื่อตัดการวิวาทเสีย ภิกษุ

พึงบอกเล่าเสียก่อน จึงให้บวช. แต่เมื่อไม่บอกเล่าก่อนให้บวช ก็ไม่มีอาบัติ.

ชนผู้รับมาเลี้ยงในเวลาที่ยังเป็นเด็กย่อม ก็จัดเป็นมารดาบิดาได้. แม้ในมารดา

บิดาชนิดนั้น ก็มีนัยเหมือนกัน. บุตรอาศัยตน คือภิกษุ เป็นอยู่ ไม่ได้อาศัย

มารดาบิดา. ถ้าแม้บุตรนั้นเป็นพระราชา ภิกษุก็ต้องบอกเล่ามารดาบิดาก่อน

จึงให้บวช. บุตรทีมารดาบิดาอนุญาตบวชแล้วกลับสึก. ถ้าแม้เขาบวชแล้วสึก

ตั้ง ๗ ครั้ง ภิกษุควรถามแล้วถามอีกในเวลาที่เขามาแล้ว ๆ จึงให้บวช. ถ้า

มารดาบิดากล่าวอย่างนี้ว่า ลูกคนนี้สึกแล้วมาเรือน ไม่ทำการงานของเรา เขา

บวชแล้ว จะไม่ยังวัตรของท่านทั้งหลายให้เต็ม กิจที่จะต้องบอกลาสำหรับลูกคน

นี้ ไม่มี ท่านทั้งหลายพึงยังเขาซึ่งมาแล้วให้บวชเถิด ดังนี้ แม้จะไม่ลาอีกยัง

กุลบุตรที่มารดาบิดาทอดทิ้งแล้ว อย่างนี้ให้บวช ก็ควร. แม้บุตรใดอันมารดา

บิดามอบให้ในเวลาที่ยังเด็กทีเดียวอย่างนี้ว่า เด็กนี้ข้าพเจ้าถวายท่าน ท่านพึง

ให้บวชในเวลาที่ท่านปรารถนาเถิด ดังนี้ แม้บุตรนั้น มาแล้ว ๆ ภิกษุพึง

บอกเล่าอีกเทียว จึงให้บวช. ส่วนบุตรใดมารดาบิดาอนุญาตในเวลาที่ตนยัง

เด็กอยู่ทีเดียวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านพึงยังเด็กนี้ให้บวชเถิด ภายหลังในเวลาที่

๑. การเล่นต่าง ๆ ซึ่งทำให้ใจเพลิดเพลิน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

เด็กถึงความเจริญ กลับไม่อนุญาต. บุตรนี้นั้นภิกษุยังไม่ได้บอกเล่ามารดา-

บิดาไม่พึงให้บวช. บุตรคนเดียวเทียวไปกับมารดาบิดามากล่าวว่า ขอท่านจง

ให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. และเขาอันภิกษุกล่าวว่า ท่านจงบอกลาแล้วจงมา จึง

กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ไป ถ้าท่านไม่ไห้ข้าพเจ้าบวช ข้าพเจ้าจะเผาวิหารเสีย

หรือจะประหารพวกท่านด้วยศัสตรา; หรือจะก่อความฉิบทาย ด้วยผลาญสวน

เป็นต้น ของญาติและอุปัฏฐากทั้งหลายของพวกท่าน; หรือว่าข้าพเจ้าจะตก

ต้นไม้ตาย; หรือจะเข้าไปยังท่ามกลางโจร; หรือจะไปประเทศอื่น ดังนี้.

สมควรให้เขาบวช เพื่อต้องการรักษาชีวิตไว้เท่านั้น. และถ้ามารดาบิดาของเขา

มาพูดว่า เหตุไรจึงให้บุตรของเราบวช ? ภิกษุพึงบอกเนื้อความนั้นแก่เขา

ทั้งหลายแล้วพึงกล่าวว่า ฉันให้เขาบวชก็เพื่อจะป้องกันไว้ ท่านทั้งหลายจง

สอบสวนบุตรดูเถิด. อนึ่งสมควรแท้ที่จะบวชให้คนซึ่งคิดว่า เราจะตกต้นไม้

แล้ว ขึ้นไปปล่อยมือและเท้าเสีย บุตรคนเดียวไปต่างประเทศแล้วขอบวช. ถ้า

เขาลาแล้ว จึงไปพึงให้บวชได้. ถ้าไม่ได้ลา พึงส่งภิกษุหนุ่มไปให้บอกลาแล้ว

จึงให้บวช. ถ้าต่างประเทศนั้นเป็นที่ไกลยิ่งนัก. แม้จะไห้บวชแล้วส่งไปแสดง

พร้อมกับภิกษุทั้งหลายก็ควร. แต่ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ถ้าต่างประเทศ

เป็นสถานไกลด้วย ทางกันดารมาด้วยจะให้บวชด้วยผูกใจว่า เราจักไปบอกเล่า

ดังนี้ ก็ควร. แต่ถ้ามารดาบิดามีบุตรมาก และเขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า

บรรดาเด็กเหล่านี้ ท่านปรารถนาจะให้คนใดบวช พึงให้คนนั้นบวชเถิด ภิกษุ

พึงตรวจดูเด็กทั้งหลายแล้วปรารถนาคนใด พึงให้คนนั้นบวช ถ้าแม้สกุลหรือ

บ้านทั้งสิ้นอนุญาตไว้ว่า ท่านเจ้าข้า ในสกุลหรือในบ้านนี้ ท่านปรารถนาจะ

ให้ผู้ใดบวช พึงให้ผู้นั้นบวชเถิด ดังนี้. ภิกษุปรารถนาผู้ใด พึงให้ผู้นั้น

บวชได้.

อรรถกถาราหุลวัตถุกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามเณร

[๑๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกสามเณรไม่มีความเคารพ ไม่มีความ

ยำเกรง มีความพระพฤติไม่เหมาะสม ในภิกษุทั้งหลายอยู่ ภิกษุทั้งหลายจึง

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกสามเณรจึงได้ไม่มีความเคารพ ไม่

มีความยำเกรง มีความประพฤติไม่เหมาะสมในภิกษุทั้งหลายอยู่เล่า แล้ว

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-

๑. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย.

๒. พยายามเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย.

๓. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย.

๔. ด่า บริภาษ ภิกษุทั้งหลาย

๕. ยุยงภิกษุต่อภิกษุให้แตกกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประ-

กอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร

หนอแล ? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ

ห้ามปราม.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆารามทุกแห่ง

แก่พวกสามเณร สามเณรเขาอารามไม่ได้ จึงหลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไป

เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่พึงลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆารามทุกแห่ง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ ห้ามเฉพาะสถานที่ที่สามเณร

จะอยู่หรือจะเข้าไปได้.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือ ห้ามอาหารซึ่งจะกลืน

เข้าไปทางปากแก่พวกสามเณร คนทั้งหลายทำปานะคือยาคูบ้าง สังฆภัตบ้าง

จึงกล่าวนิมนต์พวกสามเณรอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านทั้งหลายมาดื่มยาคู นิมนต์

ท่านทั้งหลายมาฉัน ภัตตาหาร พวกสามเณรจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย

พวกอาตมาทำอย่างนั้น ไม่ได้ เพราะภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามไว้.้

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระผู้เป็นเจ้าผู้

เจริญทั้งหลาย จึงได้ห้ามอาหาร ซึ่งจะกลืนเข้าไปทางช่องปากแก่พวกสามเณร

เหล่าภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรมคือ

ห้ามอาหารที่จะกลืนเข้าไปทางช่องปาก รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามสามเณร จบ

เรื่องกักกันสามเณรต้องขออนุญาตก่อน

[๑๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่อาปุจฉาพระอุปัชฌาย์

ก่อนแล้วทำการกักกันสามเณรทั้งหลายไว้ พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเที่ยวตามหา

ด้วยนึกสงสัยว่า ทำไมหนอสามเณรของพวกเราจึ้งหายไป.

ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งให้ทราบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคดีย์

ได้กักกันไว้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

พระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน

พระฉัพพัคคีย์จึงไม่อาปุจฉาพวกเราก่อน แล้วทำการกักกันสามเณรของพวก

เราเล่าแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาปุจฉาอุปัชฌาย์ก่อนแล้ว

ไม่พึงทำการกักกันสามเณรไว้ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องทรงห้ามเกลี้ยกล่อมสามเณร

[๑๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์พากันเกลี้ยกล่อมพวกสาม-

เณรของพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายต้องหยิบไม้ชำระฟันบ้าง ทักน้ำ

ล้างหน้าบ้าง ด้วยตนเอง ย่อมลำบาก จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท

ของภิกษุอื่น ภิกษุไม่พึงเกลี้ยกล่อม รูปใดเกลี้ยกล่อม ต้องอาบัติทุกกฏ.

องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร

[๑๒๔า ก็โดยสมัยนั้นแล สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อ

กัณฏกะ ได้ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-

ทะนาว่า ไฉนสามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ คือ.

๑. ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.

๒. ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.

๓. ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

๔. กล่าววาจาเท็จ.

๕. ดื่มน้ำเมา.

๖. กล่าวติพระพุทธเจ้า.

๗. กล่าวติพระธรรม.

๘. กล่าวติพระสงฆ์.

๙. มีความเห็นผิด.

๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์

๑๐ นี้.

เรื่องกักกันสามเณรต้องขออนุญาตก่อน จบ

อรรถกถานาสนังคทัณฑกรรมวัตถุ

หลายบทว่า ยาวตเก วา ปน อุสฺสหติ มีความว่า ย่อมอาจเพื่อ

จะตักเตือนพร่ำสอนสามเณรมีประมาณเท่าใด. ในสิกขาบท ๑๐ ความละเมิด

๕ สิกขาบทเบื้องต้น เป็นวัตถุแห่งนาสนา, ความละเมิด ๕ สิกขาบทเบื้อง

ปลาย เป็นวัตถุแห่งทัณฑกรรม.

บทว่า อปฺปฏิสฺสา มีความว่า ไม่ตั้งภิกษุไว้ในฐานะผู้เจริญ คือ

ในตำแหน่งแห่งผู้เป็นใหญ่.

บทว่า อสภาควุตฺติกา มีความว่า ไม่เป็นผู้เป็นอยู่เสมอกัน

อธิบายว่าเป็นผู้เป็นอยู่ไม่สมส่วนกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ข้อว่า อลาภาย ปริสกฺกติ มีความว่า ภิกษุทั้งหลายจะไม่ได้ลาภ

ด้วยประการใด เธอย่อมพยายามด้วยประการนั้น.

บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่ออุปัทวะ.

บทว่า อนาวาสาย มีความว่า เธอย่อมพยายามว่า ทำไฉนหนอ

ภิกษุเหล่านั้นไม่พึงอยู่ในอาวาสนี้.

สองบทว่า อกฺโกสติ ปริภาสติ มีความว่า เธอย่อมด่าและย่อม

ขู่เข็ญด้วยแสดงภัย.

บทว่า เภเทติ มีความว่า เธอย่อมหาเรื่องส่อเสียดให้แตกกัน.

สองบทว่า อาวรณ กาตุ มีความว่า เพื่อทำกาห้ามว่า เธออย่า

เข้ามาในที่นี้.

หลายบทว่า ยตฺถ วา วสติ ยตฺถ วา ปฏิกฺถมติ มีความว่า

เธออยู่ก็ดี เข้าไปก็ดี ในที่ใด. บริเวณของตน และเสนาสนะที่ถึงตามลำดับ

พรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแม้ด้วยบททั้ง ๒.

หลายบทว่า มุขทฺวาริก อาหาร อาวรณ กโรนฺติ มีความว่า

ภิกษุทั้งหลายย่อมห้ามอย่างนี้ว่า วันนี้เธอทั้งหลาย อยู่ขบเคี้ยว อย่าฉัน.

พึงทราบวินิจฉัยข้อนี้ว่า น ภิกฺขเว มุขทฺวาริโก อาทาโร อาวรณ

กาตพฺโพ นี้ ดังนี้:-

เมื่อภิกษุกล่าวว่า เธออย่าขบเคี้ยว อย่าฉัน ดังนี้ก็ดี เก็บบาตรจีวร

ไว้ข้างใน ด้วยตั้งใจว่า เราจักห้ามอาหาร ดังนี้ก็ดี ต้องทุกกฏทุก ๆ ประโยค.

แต่จะทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ว่ายากไม่มีอาจาระ จะแสดงยาคูหรือภัต หรือ

บาตรและจีวรกล่าวว่า ครั้นเมื่อทัณฑกรรมชื่อมีประมาณเท่านี้ อันเธอยอมรับ

เธอจักได้สิ่งนี้ ดังนี้ สมควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

จริงอยู่ ทัณฑกรรมก็คือการห้าม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ฝ่าย

พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายกล่าวว่า แม้การให้ขนมาซึ่งน้ำหรือฟืนหรือ

ทรายเป็นต้น พอสมควรแก่ความผิด ภิกษุก็ควรทำได้. เพราะเหตุนั้น แม้

การให้ขนซึ่งน้ำเป็นต้นนั้นอันภิกษุพึงทำ. ก็ทัณฑกรรมนั้นแล อันภิกษุพึง

ลงด้วยความเอ็นดูว่า เธอจักงด จักเว้น ไม่พึงลงด้วยอัธยาศัยอันลามก ซึ่ง

เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เธอจักวอควาย เธอจักสึกไปเสีย. ด้วยคิดว่า เรา

จักลงทัณฑกรรม จะให้เธอนอนบนหินที่ร้อนหรือจะให้เธอทูลแผ่นหินและอิฐ

เป็นต้น ไว้บนศีรษะ หรือจะให้เธอดำน้ำ ย่อมไม่ควร.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อุปชฺฌาย อนาปุจฺฉา นี้

ดังนี้:-

ครั้นเมื่อตนบอกเล่าครบ ๓ ครั้งว่า สามเณรของท่านมีความผิดเช่นนี้

ท่านวงลงทัณฑกรรมแก่เธอ ถ้าอุปัชฌาย์ไม่ลงทัณฑกรรม จะลงเสียเองก็ควร

ถ้าอุปัชฌาย์บอกไว้แต่แรกเทียวว่า เมื่อพวกสามเณรของข้าพเจ้ามีโทษ ท่าน

ทั้งหลายนั่นแลจงลงทัณฑกรรม ดังนี้ สมควรแท้ที่จะลง. แลจงลงทัณฑ-

กรรม แม้แก่เหล่าสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก อย่างสามเณรทั้งหลายก็ควร.

บทว่า อปลาเฬนฺติ มีความว่า ย่อมเกลี้ยกล่อมเพื่อทำอุปฐากแก่

คนว่า พวกฉันจักให้บาตร จักให้จีวรแก่พวกเธอ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อญฺสฺส ปริสา อปาลา-

เฬตพฺพา นี้ ดังนี้:-

จะเป็นสามเณรหรืออุปสัมบันก็ตามที อันภิกษุจะยุยงรับเอาชนซึ่งเป็น

บริษัทของผู้อื่น โดยที่สุด แม้เป็นภิกษุผู้ทุศีล ย่อมไม่ควร แต่สมควรอยู่ที่

จะแสดงโทษว่า การที่ท่านอาศัยคนที่ศีลอยู่ทำลงไป ก็กล้ายการที่ชนมาเพื่อจะ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

อาบแต่ไพล่ไปทาด้วยคูก ดังนี้ . ถ้าเธอทราบไปเองทีเดียว จึงขออุปัชฌาย์

หรือนิสัย ภิกษุจะให้ก็ควร. บรรดานาสนา ๓ ที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่ง

กัณฏกสิกขาบท ลิงคนาสนาเท่านั้น ประสงค์ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว

ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคต สามเณร นาเสตุ นี้ เพราะเหตุนั้น ในกรรมทั้ง

หลายมีปาณาติบาตเป็นต้น สามเณรใด ย่อมทำกรรม แม้อย่างหนึ่ง สามเณร

นั้น อันภิกษุพึงให้ฉิบทาย ด้วยลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า ภิกษุทั้งหลาย่อม

เป็นอาบัติ ต่าง ๆ กัน ในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,

สามเณรทั้งหลายจะได้เป็นฉันนั้นหามิได้. เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้

ตายก็ดี บี้ไข่เรือดก็ดี ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้ฉิบทายทีเดียว. สรณคมน์

การถืออุปัชฌาย์ และการถือเสนาสนะของเธอ ย่อมระงับทันที. เธอย่อม

ไม่ได้ลาภสงฆ์, คงเหลืออยู่สิ่งเดียว เพียงเพศเท่านั้น, ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษ

ซับซ้อน จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป พึงกำจัดออกเสีย ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไป

แล้ว ยอมรับว่า ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวร

อีก กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี, พึงให้สรณะทั้งหลาย พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอ

ซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว, ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์

นั่นเอง, จริงอยู่ สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาใน

อุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ศีล ๑๐ เป็นอันสามเณรแม้นี้

สมาทานแล้วแท้ เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น, แม้เป็น

เช่นนี้ ศีล ๑๐ ก็ควรให้อีก เพื่อทำให้มั่นคง คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวร

ต่อไป ถ้าสรณะทั้งหลายอันเธอรับอีกในวัสสูปนายิกาต้น เธอจักได้ผ้าจำนำ

พรรษาในวัสสูปนายิกาหลัง. ถ้าเธอ รับสรณะในวันสูปนายิกาหลัง ลาภอันสงฆ์

พึงอปโลกน์ให้.

๑. สมนฺต. ทติย. ๔๖๕.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสีย

ในเพราะอทินนาทาน ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น ๑ ในเพราะอพรหรมจรรย์

ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าว

เท็จ แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา เป็น

อาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า. ฝ่ายสามเณร ต้องรู้

แล้วดื่ม จึงต้องศีลเภท ไม่รู้ไม่ต้อง. ส่วน ๕ สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด ของ

สามเณรนั้นบรรดามี ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว เธออันภิกษุไม่พึง

นาสนา พึงลงทัณฑกรรม. แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี ยังมิได้ให้ก็

ดี จะลงทัณฑกรรม ย่อมควร. แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว จึงค่อย

ให้สิกขาบท เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป. การดื่มน้ำเมาของ

เหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก. ความแปลกกันเท่านี้.

ก็แลวินิจฉัยในอวัณณภาสนะ พึงทราบดังนี้:-

ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า สามเณรผู้กล่าวโทษแห่งพระพุทธเจ้า

ด้วยอำนาจแห่งคำเป็นข้าศึกแก่พุทธคุณ เป็นต้นว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ

ก็ดี แห่งพระธรรม ด้วยอำนาจเป็นข้าศึกแก่ธรรมคุณ เป็นต้นว่า สฺวากฺขาโต

ก็ดี แห่งพระสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่งคำเป็นข้าศึกแก่สังฆคุณเป็นต้นว่า สุปฏิ-

ปนฺโน ก็ดี ได้แก่นินทา คือติเตียนพระรัตนตรัย อันภิกษุทั้งหลายมีอาจารย์

และอุปัชฌาย์เป็นต้น พึงแสดงโทษในการกล่าวโทษ ห้ามปรามเสียว่า เธอ

อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถึงครั้งที่ ๓ ยังไม่งด

เว้น ภิกษุทั้งหลายพึงให้ฉิบหายเสีย ด้วยกัณฏกนาสนะ.

ส่วนในมหาอรรถกถาแก้ว่า ถ้าเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น

ยอมสละลัทธินั้น พึงให้ทำทัณฑกรรมแล้วแสดงโทษล่วงเกิน. ถ้ายังไม่ยอม

สละ ยังยึดถือยกย่องยันอยู่อย่างนั้นเอง พึงให้ฉิบทายเสียด้วยลิงคนาสนา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

คำแห่งมหาอรรถกถานั้นชอบ. เพราะว่านาสนานี้เท่านั้น อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงประสงค์ในอธิบายนี้. แม้ในสามเณรผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็นัยนี้แล.

อันสามเณรผู้มีบรรดาสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิชนิดใดชนิดหนึ่ง ถ้าเธออัน

ภิกษุทั้งหลายมีอาจารย์เป็นต้นตักเตือนอยู่สละเสียไว้ พึงให้ทำทัณฑกรรมแล้ว

ให้แสดงโทษล่วงเกิน เมื่อไม่ยอมสละนั้นแล พึงให้ฉิบหายเสีย ดังนี้แล.

ผู้ศึกษาพึงทราบสันนิษฐานว่า องค์ ๑๐ ต่างแผนก คือ ภิกฺขุนีทูสโก

นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงเนื้อความนี้ว่า จริงอยู่ บรรดา

นาสนังคะ ๑๐ นี้ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี อันพระองค์ทรงถือเอาด้วย

พรหมจารีศัพท์โดยแท้. ถึงกระนั้นก็สมควรจะให้สรณะแล้ว ให้อุปสมบทอ

พรหมจารีสามเณรผู้ปรารถนาจะตั้งอยู่ในสังวรต่อไป. สามเณรผู้ประทุษร้ายนาง

ภิกษุณี ถึงใคร่จะตั้งอยู่ในสังวรต่อไป ย่อมไม่ได้แม้ซึ่งบรรพชา ไม่จำต้อง

กล่าวถึงอุปสมมท.

อรรถกถานาสนังคทัณฑกรรมวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท

[๑๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ เธอ

เข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้าย

ข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์จง

พินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวก

สามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสันแล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษ-

ร้ายข้าพเจ้า พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์

จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกสามเณรรุกราน จึงเข้าไปหา

พวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จง

ประทุษร้ายข้าพเจ้า พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นบัณ-

เฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็

ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พา

กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้

สึกเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

อรรถกถาปัณฑกวัตถุ

สองบทว่า ทหเร ทหเร ได้แก่ หนุ่ม ๆ.

บทว่า โมลิคลฺเล ได้แก่ ผู้มีร่างกายอวบ

สองบทว่า หตฺถิภณฺเฑ อสฺสภณฺเฑ ได้แก่ คนเลี้ยงช้างและคน

เลี้ยงม้า.

ในคำว่า ปณฺฑโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า บัณเฑาะก์มี

๕ ชนิด คือ อาสิตตาบัณเฑาะก์ ๑ อุสุยยบัณเฑาะก์ ๑ โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ๑

ปักขบัณเฑาะก์ ๑ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ๑.

ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชาย

เหล่าอื่น ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่อ

อาสิตตบัณเฑาะก์.

ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิด

ขึ้นแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์.

บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ ถูกเขา

ตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม บัณเฑาะก์นี้ ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์.

ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก แต่

ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชี่อว่า ปักขบัณเฑาะก์.

๑. ทางสันสฤต อุปกฺรม (อุปกฺกม) หมายความว่า จิกิตฺสา (ติกิจฺฉา) ก็ได้ดังนั้น อุปกฺกม

ในที่นี้จึงน่าจะหมายความไปทางวิธีหมอ เช่นการเยียวยาผำตัดเป็นต้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ส่วนบัณเฑาะก์ใด เกิดไม่มีเพศ ไม่มีภาวรูป ในปฏิสนธิทีเดียว คือ

ไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด บัณเฑาะก์นี้ ชื่อนปุงสกับบัณเฑาะก์.

ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น อาสิตตบัณ-

เฑาะก์ และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา, ๓ ชนิดนอกนี้ห้าม แม้ใน

บัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนั้น สำหรับปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์

ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น. ก็ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนี้ บัณเฑาะก์ใดทรงห้าม

บรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลายเอาบัณเฑาะก์นั้น ตรัสคำนี้ ว่า อนุป-

สมฺปนฺโน นาเสตพฺโพ. บัณเฑาะก์แม้นั้น ภิกษุพึงให้ฉิบหายด้วยลิงคนา-

สนาทีเดียว. เบื้องหน้าแต่นี้ แม้ในคำที่กล่าวว่า พึงให้ฉิบหาย ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

อรรกถาปัณฑกวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

เรื่องห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตมิให้อุปสมบท

[๑๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นสุขุมาล-

ชาติ มีหมู่ญาติที่รู้จักกันในตระกูลหมดสิ้นไป ครั้งนั้น เขาได้มีความดำริว่า

เราเป็นผู้ดี ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์ที่ยังหาไม่ได้ หรือไม่สามารถจะทำ

โภคทรัพย์ที่หาได้แล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะอยู่เป็นสุข

และไม่ต้องลำบาก แล้วติดได้ในทันทีนั้นว่า พวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

เหล่านี้แลมีปรกติเป็นสุข มีความประพฤติเรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนใน

ห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงจัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด

ครองผ้าย้อมฝาดเสียเองแล้วไปอารามอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ต่อมา เขาได้

จัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดเอง แล้วไปอาราม

กราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า คุณมีพรรษาได้เท่าไร.

เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่ามีพรรษาได้เท่าไร นั่นอะไรกัน ขอรับ.

ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของคุณ.

เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นอะไรกัน ขอรับ.

ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งเรื่องนั้นต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี ขอ

นิมนต์ท่านสอบสวนบรรพชิตรูปนี้ .

ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ ท่าน

พระอุบาลีได้แจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนุปสัมบัน คือ คนลักเพศ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้

สึกเสีย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ภิกษุไม่

พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

อรรถกถาเถยยสังวาสกกถา

บทว่า ปุราณกุลปุตฺโต ได้แก่ บุตรของสกุลเก่า คือถึงความ

ย่อยยับโดยลำดับ.

บทว่า ขีณโกลญฺโ มีอรรถวิเคราะห์ว่า ญาติทั้งหลายผู้รู้จักกัน

ในสกุล ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ของเขา สิ้นแล้ว สาบสูญแล้ว คือตายแล้ว

เหตุนั้น เขาชื่อว่า ขีณโกลญฺโญ ผู้มีญาติซึ่งรู้จักกันในสกุลสิ้นไปแล้ว.

บทว่า อนธิคต ได้เเก่ ยังไม่ถึง.

สองบทว่า ผาตึ กาตุ ได้แก่ เพื่อให้เจริญ. ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็น

อุยโยชนัตถนิบาต.

บทว่า อนุยุญฺชิยมาโน มีความว่า กุลบุตรนั้น อันท่านอุบาลีนำ

ไป ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามถึงการปลงผมและหนวด การรับผ้ากาสายะ การ

ถึงสรณะ การถืออุปัชฌาย์ กรรมวาจาและธรรมเป็นที่อาศัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

สองบทว่า เอตมตฺถ อาโรเจสิ มีความว่า บอกข้อที่ทนบวชเอา

เองนั้น จำเดิมแต่ต้น.

ในคำว่า เถยฺยสวาสโก ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยว่า คนเถยยสังวาสก์

มี ๓ ชนิด คือ คนลักเพศ ๑ คนลักสังวาส ๑ คนลักทั้ง ๒ อย่าง ๑.

ใน ๓ ชนิดนั้น ผู้ใดบวชเองแล้วไปวัดที่อยู่ ไม่นับพรรษาแห่งภิกษุ

ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับผู้แก่ ไม่ห้ามด้วยอาสนะ ไม่เข้าในสังฆกรรมมี

อุโบสถและปวารณาเป็นต้น; ผู้นี้ ชื่อคนลักเพศ เพราะเขาลักแต่เพียงเพศ

เท่านั้น.

ฝ่ายผู้ใด เป็นสามเณรซึ่งบวชแต่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ไปต่างประเทศ

กล่าวเท็จนับพรรษาแห่งภิกษุว่า ข้าพเจ้า ๑๐ พรรษา หรือว่า ข้าพเจ้า ๒๐

พรรษา ยินดีการไหว้ตามลำดับผู้แก่ ห้ามด้วยอาสนะ เข้าในสังฆกรรมมี

อุโบสถและปวารณาเป็นต้น. ผู้นี้ชื่อคนลักสังวาส เพราะเขาลักแต่เพียงสังวาส

เท่านั้น.

อันความต่างแห่งกิริยาแม้ทั้งปวง มีนับพรรษา แห่งภิกษุเป็นต้น ผู้

ศึกษาควรทราบว่า สังวาส ในอรรถนี้. แม้ในบุคคลผู้ลาสิกขาแล้วปฏิบัติอยู่

อย่างนั้น ด้วยคิดว่า ใคร ๆ ย่อมไม่รู้การลาของเราก็มีนัยเหมือนกัน.

ส่วนผู้ใดบวชเอาเองแล้วไปวัดที่อยู่ นับพรรษาแห่งภิกษุ ยินดีใน

การไหว้ตามลำดับผู้แก่ ห้ามด้วยอาสนะ เข้าในสังฆกรรมมีอุโบสถและปวารณา

เป็นต้น; ผู้นี้ ชื่อคนลักทั้ง ๒ เพราะเหตุที่ตนลักทั้งเพศทั้งสังวาส,

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

คนเถยยสังวาสก์ทั้ง ๓ ชนิดนี้ เป็นอนุปสัมบัน ไม่ควรให้อุปสมบท

เป็นอุปสัมบัน ควรให้ฉิบทายเสีย: แม้ขอบวชอีก ก็ไม่ควรให้บวช. และ

เพื่อไม่งมงายในเถยยสังวาสกาธิการนี้ พึงทราบบทปกิณณกะนี้ว่า:-

ชนใดถือเพศในพระศาสนานี้ เพราะราชภัย ทุพภิกขภัย กันตารภัย

โรคภัย และเวรีภัยก็ดี เพื่อจะนำจีวรมาก็ดี ชนนั้นมีใจบริสุทธิ์ยังไม่รับสังวาส

เพียงใด ชนนั้นบัณฑิตยังไม่กล่าวว่า เป็นคนเถยยสังวาส เพียงนั้น.

พึงทราบนัยพิสดารในคาถานั้น ดังนี้:-

พระราชาในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้กริ้วต่อบุรุษบางคน. บุรุษนั้นคิดว่า

ความสวัสดีจักมีแก่เราด้วยอุบายอย่างนี้ แล้วถือเพศเอาเองทีเดียวหนีไป. ชน

ทั้งหลายพบเขาแล้ว กราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงบรรเทาความกริ้ว

โกรธในเขาเสีย ด้วยทรงพระดำริว่า ถ้าบวชแล้ว เราไม่ได้เพื่อจะทำอะไร

เขา แต่เขายังมิได้เข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ แต่ถือเพศคฤหัสถ์แล้วจึงมา ด้วยคิดว่า

ราชภัยของเราสงบแล้ว ภิกษุทั้งหลายควรให้บวช. ถ้าแม้เขาเกิดความสังเวช

ว่า เราอาศัยพระศาสนาจึงคงชีวิตไว้ได้ เอาเถิด บัดนี้เราจะบวชละ ดังนี้

มาด้วยเพศนั้นเอง แต่ไม่ยินดีอาคันตุกวัตรอันภิกษุทั้งหลายถามแล้วก็ตาม ไม่

ถามก็ตาม ได้ชี้แจงคนตามเป็นจริงแล้ว ขอบรรพชา: ภิกษุทั้งหลายพึงปลด

เพศแล้วจึงไห้บวช. แต่ถ้าเขายินดีวัตร แสดงท่าทางดังบรรพชิด ปฏิบัติวิธี

ต่าง ๆ โดยนับพรรษาเป็นต้น ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลังทั้งหมด ผู้นี้ไม่ควร

ให้บวช.

อนึ่ง คนบางตนในโลกนี้ ไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ในคราวทุพภิกขภัย

จึงถือเพศเอาเอง บริโภคอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อนักบวชผู้เจ้าลัทธิทั้งปวง ครั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ทุพภิกชภัยผ่านพ้นไปแล้ว ยังมิได้เข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ ต่อถือเพศคฤหัสถ์แล้ว

จึงมา คำว่าดังนี้ทั้งหมด เช่นกับด้วยคำซึ่งกล่าวมาก่อนนั่นแล.

อีกคนหนึ่ง เป็นผู้ใคร่จะข้ามกันดารใหญ่ และพ่อค้าเกวียน ย่อม

พาบรรพชิตทั้งหลายไป. เขาคิดว่า ด้วยอุบายอย่างนี้ พ่อค้าเกวียนจักพาเรา

ไป จึงถือเพศเอาเอง ร่วมกับพ่อค้าเกวียนข้ามทางกันดารถึงส่วนอันเกษม แต่

ยังมิได้เข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ ต่อถือเพศคฤหัสถ์แล้ว จึงมา คำว่าดังนี้ทั้งปวง เช่น

กับคำซึ่งว่ามาก่อนนั่นแล.

อีกคนหนึ่ง เมื่อภัยคือโรคเกิดขึ้น ไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้จึงถือเพศ

เอาเอง บริโภคอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อนักบวชผู้เจ้าลัทธิทั้งปวง. เมื่อภัยคือโรค

สงบแล้ว ยังมิได้เข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ก่อน แต่เมื่อถือเพศคฤหัสถ์แล้วจึงมา

คำว่าดังนี้ทั้งหมด เป็นเช่นกับคำซึ่งว่ามาก่อนนั่นแล.

คนคู่เวรคนหนึ่งของบุรุษอีกคนหนึ่ง เป็นผู้โกรธปองจะฆ่าเขาเทียว

ไป เขาคิดว่า ด้วยอุบายอย่างนี้ ความสวัสดีจักมีแก่เรา จึงถือเพศเอาเอง

แล้วหนีไป คนผู้คู่เวร สืบหาอยู่ว่า เขาไปไหน ได้ยินว่า เขาบวชแล้ว

หนีไป จึงบรรเทาความโกรธในเขาเสีย ด้วยคิดว่า เขาบวชแล้ว เราก็ทำ

อะไรเขาไม่ได้ เขายังมิได้เข้าสู่ท่ามกลางสงฆ์ก่อน ถือเพศคฤหัสถ์แล้วจึงมา

ด้วยคิดว่า เวรีภัยของเราสงบแล้ว คำว่าดังนี้ทั้งหมด เป็นเช่นกับคำซึ่งว่ามา

ก่อนนั่นแล.

อีกคนหนึ่งไปสู่สกุลญาติ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์แล้ว มาทำในใจว่า

จีวรเหล่านี้จักฉิบหายเสียที่นี่; ถ้าแม้เราจักถือไปวิหารด้วยเพศคฤหัสถ์นี้ ใน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ระหว่างทาง ชนทั้งหลายจักจับเราว่า เป็นโจร อย่ากระนั้นเลย เราพึงทำให้

เป็นของอันกายพึงรักษาไว้ จึงไปเถิด ดังนี้ เพื่อจะนำจีวรมา จึงนุ่งและห่ม

แล้วไปวัดที่อยู่ พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มทั้งหลายเห็นเธอมาแต่ไกลแล้ว พา

กันตรงเข้าต้อนรับ แสดงวัตร. เธอไม่ยินดี ชี้แจงตนตามเป็นจริง. ถ้าภิกษุ

ทั้งหลายกล่าวว่า ที่นี้พวกเราจักไม่ปล่อยท่านไปละ เป็นผู้ใคร่จะให้บวชด้วย

พลการ เธออันภิกษุทั้งหลาย พึงเปลื้องผ้ากาสายะแล้ว จึงให้บวชอีก. แต่ถ้า

เธอคิดว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ข้อที่เราเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลวแล้ว ดังนี้

จึงปฏิญญาความเป็นภิกษุนั้นเอง ปฏิบัติวิธีต่างด้วยนับพรรษาเป็นต้น ซึ่งกล่าว

แล้วในหนหลังทั้งหมดผู้นี้ไม่ควรให้บวช.

สามเณรโค่งอีกรูป ๑ ไปสู่สกุลญาติ สึกแล้ว เป็นผู้เบื่อหน่ายด้วย

การทำการงาน จึงคิดว่า บัดนี้เราจักเป็นสมณะอีกเทียว แม้พระเถระย่อมไม่

ทราบความที่เราสึกแล้ว จึงถือเอาบาตรและจีวรนั้นเองไปวิหาร ไม่บอกเนื้อ

ความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาความเป็นสามเณร. ผู้นี้เป็นเถยยสังวาสก์

เหมือนกัน ย่อมไม่ได้บวช.

ถ้าแม้ในเวลาถือเพศเขามีความรำพึงอย่างนี้ว่า เราจักไม่บอกแก่ใครๆ

ดังนี้ แต่เขาไปวิหารแล้ว ย่อมบอก. ด้วยการถือ (เพศ) นั่นเอง เขาเป็นคน

เถยยสังวาสก์.

ถ้าแม้ในเวลาถือ (เพศ) เขามีความคิดเกิดขึ้นว่า เราจักบอก แต่ไป

วิหารแล้ว ใครๆ ปราศรัยว่า ผู้มีอายุท่านไปไหนมา คิดว่า เดี๋ยวนี้ ชน

เหล่านี้ไม่รู้เรา จึงลวง ไม่บอก แม้ผู้นี้ก็ชื่อคนเถยยสังวาสก์แท้ พร้อมกับ

ทอดธุระว่า เราจักไม่บอก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

แต่ถ้าถึงในเวลาถือ (เพศ) เขามีความคิดเกิดขึ้นว่า เราจักบอก แม้

ไปวิหารแล้ว ย่อมบอก; ผู้นี้ย่อมได้บรรพชาอีก.

ก็หรือว่า สามเณรหนุ่มอื่นอีก เป็นคนใหญ่ แต่โง่ไม่ฉลาด เธอ

สึกแล้วโดยนัยก่อนนั่นแล ไม่อยากทำกิจมีเฝ้าโคเป็นต้นในเรือนญาติทั้งหลาย

ให้เขานั้นนุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านั้นเอง แล้วให้ภาชนะหรือบาตรในมือขับออก

จากเรือนว่า เจ้าจงไปเป็นสมณะเถอะ. เขาไปวิหาร ภิกษุทั้งหลายไม่ทราบ

เขาเลยว่า ผู้นี้สึกแล้วบวชเอาเองอีก ทั้งตัวเองก็ไม่ทราบว่า ผู้ใดบวชอย่าง

นั้น ผู้นั้นย่อมเป็นคนที่ชื่อเถยยสังวาสก์.

ถ้าภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทเขาผู้มีกาลฝนครบ ๒๐ เขาก็เป็นอันอุป-

สมบทดีแล้ว. แต่ถ้าในเวลาที่คนยังเป็นอนุปสัมบันนั่นเอง เมื่อการวินิจฉัย

วินัยเป็นไปอยู่เขาได้ฟังว่า ผู้ใดบวชอย่างนั่น ผู้นั้นย่อมเป็นคนที่ชื่อเถยย-

สังวาสก์ เขาพึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้ทำอย่างนั้น ด้วยประการ

อย่างนี้ เขาย่อมได้บรรพชาอีก. ถ้าไม่บอกด้วยคิดว่า บัดนี้ใคร ๆ ไม่รู้เลย

พอทอดธุระเขาย่อมเป็นคนเถยยสังวาสก์.

ภิกษุลาสิกขาละเพศแล้วทำทุศีลกรรมก็ตาม ไม่ทำก็ตาม ปฏิบัติวิธี

ต่างด้วยนับพรรษาเป็นต้น ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลังทั้งหมด; ย่อมเป็นคน

เถยยสังวาสก์.

ไม่ได้ลาสิกขา คงตั้งอยู่ในเพศของตน เสพเมถุน ใช้วิธีต่างด้วยนับ

พรรษาเป็นต้น ไม่เป็นคนเถยยสังวาสก์. ย่อมได้เพียงบรรพชา. แต่ใน

อันธกอรรถกถาแก้ว่า ผู้นี้เป็นคนเถยยสังวาสก์ คำนั้น ไม่ควรถือเอา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

ภิกษุรูป ๑ ยังมีอุตสาหะ ในผ้ากาสายะ นุ่งผ้าขาว เสพเมถุน

แล้ว กลับนุ่งผ้ากาสายะอีก ใช้วิธีทั้งปวงต่างด้วยนับพรรษาเป็นต้น แม้ภิกษุ

นี้ ย่อมไม่เป็นคนเถยยสังวาสก์ ย่อมได้เพียงบรรพชา.

แต่ถ้าทอดธุระในผ้ากาสายะแล้ว นุ่งขาว เสพเมถุน กลับนุ่งผ้า

กาสายะอีก ใช้วิธีทั้งปวงต่างด้วยนับพรรษาเป็นต้น; เขาย่อมเป็นคนเถยย-

สังวาสก์.

สามเณรคงทั้งอยู่ในเพศของตน แม้ล่วงธรรมทำให้เป็นผู้มีใช่สมณะ

มีเมถุนเป็นต้นแล้ว ย่อมไม่เป็นคนเถยยสังวาสก์ ถึงหากว่ายังมีอุตสาหะในผ้า

กาสายะ แต่เปลื้องออกเสียเสพเมถุนแล้ว กลับนุ่งผ้ากาสายะอีก; ไม่เป็นคน

เถยยสังวาสก์เหมือนกัน,

แต่ถ้าทอดธุระในผ้ากาสายะแล้วเป็นผู้เปลือย หรือนุ่งขาวเป็นผู้มีใช่

สมณะด้วยการเสพเมถุนเป็นต้น แล้วกลับนุ่งผ้ากาสาวะ เขาเป็นคนเถยย-

สังวาสก์.

ถ้าสามเณรปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ จึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ ทำผ้า

กาสายะโจงกระเบนก็ดี ด้วยอาการอย่างอื่นก็ดี เพื่อลองดูว่า เพศคฤหัสถ์

ของเราสวยหรือไม่สวย ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ยอมรับว่าสวยแล้วกลับยินดีเพศอีก

ย่อมเป็นคนเถยยสังวาสก์. แม้ในการนุ่งขาวลองดูและยอมรับ ก็มีนัยเหมือนกัน

นั่นแล.

และถ้านุ่งขาวทับผ้ากาสายะที่นุ่งอยู่แล้ว ลองดูก็ตาม ยอมรับก็ตาม

ยังรักษาอยู่แท้. แม้แห่งภิกษุณี ก็นัยนี้แล.

แม้นางภิกษุณีนั้น ปรารถนาจะเป็นคฤหัสถ์ ถ้านุ่งผ้ากาสายะ อย่าง

คฤหัสถ์ เพื่อลองดูว่า เพศคฤหัสถ์ของเราจะสวยหรือไม่สวย ยังรักษาอยู่ก่อน

ถ้ายอมรับว่า สวย รักษาไว้ไม่ได้. ในการนุ่งขาวลองดูและยอมรับก็นัยนี้แล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ส่วนผู้นุ่งขาวทับผ้ากาสายะที่นุ่งอยู่แล้ว จะลองดูก็ตาม ยอมรับก็ตาม

ยังรักษาอยู่แท้. ถ้าสามเณรบางรูปบวชภายแก่ ไม่นับพรรษา ไม่ต้องอยู่แม้

ในแถว มาทางข้างหนึ่ง เมื่อก้อนข้าวในลุ้งใหญ่เป็นต้น ซึ่งเขาเอาทัพพีตักขึ้น

สอดบาตรเข้าไปรับเอาไปเหมือนเหยี่ยวเฉี่ยวชิ้นเนื้อไปฉะนั้น ยังไม่เป็นคน

เถยยสังวาสก์. แต่เมื่อนับพรรษาภิกษุรับเอา จัดว่าเป็นคนเถยยสังวาสก์.

สามเณรเองแล เมื่อนับพรรษาโกงด้วยลำดับของสามเณรรับเอาไป

ยังไม่จัดเป็นเถยยสังวาสก์.

ภิกษุเมื่อนับพรรษาโกงด้วยลำดับของภิกษุรับเอาไป พึงปรับตามราคา

แห่งภัณฑะ.

อรรถกถาเถยยสังวาสกกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

อรรถกถาติตถิยาปักกันตกถา

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ติตฺถิยปกฺกนฺโต ภิกฺขเว เป็นต้นนี้

ดังนี้:-

กุลบุตรที่ชื่อว่าเข้ารีตเดียรถีย์ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าหลีกไป คือ

ไปเข้าพวกเดียรถีย์. กุลบุตรนั้นไม่ควรให้อุปสมบทอย่างเดียว แต่ที่แท้ไม่ควร

ให้บรรพชาด้วยฉะนั้นแล.

วินิจฉัยในคำนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้:-

อุปสัมบันภิกษุคิดว่า เราจักเป็นเดียรถีย์ แล้วไปสู่สำนักแห่งเดียรถีย์

เหล่านั้น ทั้งเพศทีเดียว เป็นอาบัติทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า, เมื่อเพศแห่งเดียรถีย์

นั้น สักว่าอันตนถือเอาแล้ว ย่อมจัดว่าเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์.

แม้ภิกษุคิดว่า เราจักเป็นเดียรถีย์เอาเอง จึงนุ่งคากรองเป็นต้น

ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ข้ารีตเดียรถีย์เหมือนกัน.

ฝ่ายภิกษุใดเมื่อเปลือยกายอาบน้ำแลดูตนว่า การที่เราเป็นอาชีวกจะ

งามหรือ เราจะเป็นอาชีวกละ ดังนี้แล้ว ไม่ถือเอาผ้ากาสายะ คงเปลือยกาย

ไปสู่สำนักพวกอาชีวก ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ ย่างเท้า. แต่ถ้าใน

ระหว่างทาง หิริโอตตัปปะเกิดขึ้นแก่เธอ เธอแสดงอาบัติทุกกฏแล้ว ย่อมพ้น.

แม้ไปถึงสำนักพวกอาชีวกเหล่านั้นแล้ว ถูกพวกเขาตักเตือน หรือแม้

เห็นว่า บรรพชาของชนพวกนี้ เป็นทุกข์ยิ่งนัก แล้วกลับด้วยตนเอง ย่อมพ้น

ได้เหมือนกัน.

อนึ่ง ถ้าเธอถามว่า อะไรเป็นสูงสุดแห่งบรรพชาของพวกท่าน ?

อันเขาตอบว่า การถอนผมและหนวดเป็นต้น แล้วให้ถอนแม้ผมเส้นเดียว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

ถือวัตรมีความเพียรด้วยความกระโหย่งเท้าเป็นต้นก็ดี นุ่งผ้าแววหางนกยูง

เป็นต้นก็ดี ชื่อว่า ถือเพศแห่งอาชีวกเหล่านั้น ชื่อว่ายอมรับความเป็นลัทธิ

ประเสริฐว่า บรรพชานี้ประเสริฐ เธอย่อมไม่พ้น จัดว่าเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์.

อนึ่ง ถ้าเธอเพื่อจะลองดูว่า การบวชเป็นเดียรถีย์สำหรับเราจะงาม

หรือไม่งาม จึงนุ่งคากรองเป็นต้น หรือว่า ผูกชฎา หรือว่าฉวยหาบบริขาร

ยังไม่ยอมรับเพียงใด ลัทธิย่อมคุ้มเธอไว้เพียงนั้น ครั้นเมื่อเพศสักว่าเธอยอมรับ

แล้ว ย่อมจัดว่า เป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์.

ส่วนภิกษุผู้มีจีวรอันโจรชิงไป จึงนุ่งคากรองเป็นต้นก็ดี ถือเพศ

เดียรถีย์ เพราะภัยมีราชภัยเป็นต้นก็ดี หาจัดว่าเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ไม่เลย

เพราะไม่มีลัทธิ.

แต่ในอรรถกถากุรุนทีแก้ว่า ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้เข้ารีตเดียรถีย์นี้ ท่าน

กล่าวด้วยอุปสัมบันภิกษุ. เพราะเหตุนั้น สามเณรแม้ไปสู่ติตถายตนะแล้วพร้อม

ทั้งเพศ ย่อมได้บรรพชาและอุปสมบทอีก.

ส่วนคนเถยยสังวาสก์ข้างต้น ท่านว่าด้วยอนุปสัมบัน เพราะเหตุนั้น

อุปสัมบันแม้นับพรรษาโกง จะจัดว่าเป็นผู้มีใช่สมณะหามิได้ ภิกษุยังมีอุตสาหะ

ในเพศ แม้ต้องปาราชิกแล้ว นับพรรษาแห่งภิกษุเป็นต้น ก็ยังไม่จัดว่าเป็น

คนเถยยสังวาสก์.

อรรถกถาติตถิยปักกันตกถา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาบวช

[๑๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัดระอา เกลียดกำเนิดนาค

จึงนาคนั้นได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค

และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นแล้วได้ดำริต่อไปว่า พระสมณะ

เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ พระพฤติ

พรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเราจะพึงบวชใน

สำนักพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิด

นาค และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็น

ชายหนุ่ม แล้วเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงให้เขาบรรพชา .

อุปสมบท สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูป ๑

ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรีภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้วออกไปเดินจงกรมอยู่ใน

ที่แจ้ง ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระนาคนั้นก็วางใจจำวัด วิหารทั้งหลัง

เต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วย

ทั้งใจจักเข้าวิหาร ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทาง

หน้าต่าง ก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น.

ภิกษุทั้งหลายพากัน วิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า อาวุโส ท่าน

ร้องเอะอะไปทำไม.

ภิกษุรูปนั้นบอกว่า อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไปด้วยงู

ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.

ขณะนั้นพระนาคนั้น ได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะ

ของตน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านเป็นใคร ?

น. ผมเป็นนาค ขอรับ.

ภิ. อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้ เพื่อประสงค์อะไร ?

พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรงประทานพระพุทโธวาทนี้

แก่นาคนั้นว่า พวกเจ้าเป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมดา

ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์

นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้เจ้าจักพ้นจากกำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์

เร็วพลัน ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่า คนมีความไม่งอกงามในพระธรรมวินัยนี้

เป็นธรรมดา ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค มี ๒ ประการนี้ คือ เวลา

เสพเมถุนธรรมกับนางนาค ผู้มีชาติเสมอกัน ๑ เวลาวางใจนอนหลับ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพของนาค ๒ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้

อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้:-

นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทพสมบัติ

ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาค ผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศล

วิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุน

กับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ

เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.

บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.

บทว่า ชิดุจฺฉติ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ

หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น

ออกไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.

ข้อว่า วิสฺสฏฺโ นิทฺท โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยัง

ไม่ออก นาคนั้น ไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล

เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้ว จึงปล่อยสติ วางใจ คือ

หมดความระแวง คำเนินไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.

สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความกลัว

ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.

สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น

ท่านมิได้ทำการลบ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ

ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาค ชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือ ไม่เป็น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ผู้มีธรรมอันงอกงามในธรรมวินัยนี้ เพราะเป็นผู้ไม่ควรแก่ฌานวิปัสสนาและ

มรรคผล.

บทว่า สชาติยา ได้แก่ นางนาคนั่นเอง. แต่ว่า เมื่อใดนาคนั้น

เสพเมถุนด้วยชาติอื่น ต่างโดยชนิดมีหญิงมนุษย์เป็นต้น เมื่อนั้นย่อมเป็น

เหมือนเทพบุตร. ส่วนคำว่า ปัจจัย ๒ อย่างในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจแห่งการชี้กรรมซึ่งปรากฏตามสภาพเนือง ๆ ในประวัติกาล.

และกรรมซึ่งปรากฏตามสภาพ ย่อมมีแก่นาคใน ๕ กาล คือ เวลาปฏิสนธิ ๑

เวลาที่ลอกคราบ ๑ เวลาที่เสพเมถุนด้วยนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอ

กัน ๑ เวลาที่วางใจหยั่งลงสู่ความหลับ ๑ เวลาจุติ ๑.

ในคำว่า ติรจฺฉานคโต ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่าจะเป็น

นาค หรือจะเป็นสัตว์พิเศษผู้ใดผู้หนึ่งมีสุบรรณมาณพเป็นต้น ก็ตามที. ผู้ใด

ผู้หนึ่ง ซึ่งมิใช่มนุษยชาติโดยที่สุดแม้ท้าวสักกเทวราช บรรดามีทั้งหมด

เทียว พึงทราบว่า เป็นดิรัจฉาน ในอรรถนี้ ผู้นั้นอันภิกษุทั้งหลายไม่ควร

ให้อุปสมบท ไม่ควรให้บรรพชา แม้อุปสมบทแล้ว ก็ควรให้ฉิบหายเสีย.

ติรัจฉานคตวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท

[๑๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตมารดาเสีย เขาอึดอัด

ระอารังเกียจบาปกรรมอันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไร นอ เราจึง

จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้ได้ จึงหวนระลึกนึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเชื้อ

สายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม พระพฤติสงบ ประพฤติ

พรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวชในสำนัก

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการออกจากบาปกรรม

อันนี้ได้ ต่อมาเขาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายได้แจ้ง

ความนี้ต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี เมื่อครั้งก่อนแล นาคแปลงกายเป็น

ชายหนุ่มเข้ามาบวช ในสำนักภิกษุ อาวุโสอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวนมาณพ

คนนี้ ครั้นมาณพนั้น ถูกท่านพระอุบาลีไต่สวนอยู่ จึงแจ้งเรื่องนั้น ท่าน

พระอุบาลีได้แจ้งให้พวกภิกษุทราบ แล้วภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุ-

ปสัมบันคือ คนฆ่ามารดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

เรื่องห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท

[๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตบิดาเสีย เขาอืดอัด

ระอารังเกียจบาปกรรมอันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึง

จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้ได้ จึงหวนระลึกนึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเธอ

สายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหม-

จรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวชในสำนักพระ

สมณะเชื้อสายศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการออกจากบาปกรรมอันนี้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ได้ ต่อมาเขาเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งความ

นี้ต่อท่านเพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี เมื่อครั้งก่อนแล นาคแปลงกายเป็นชาย

หนุ่มเข้ามาบวชในสำนักภิกษุ อาวุโสอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวนมาณพคนนั้น

ครั้นมาณพนั้น ถูกท่านพระอุบาลีไต่สวนอยู่ จึงแจ้งเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลี

ได้แจ้งให้พวกภิกษุทราบแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอนุ-

ปสัมบันคือ คนฆ่าบิดา ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

เรื่องห้ามคนฆ่าพระอรหันต์ให้อุปสมบท

[๑๓๐] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน เดินทางไกล จาก

เมืองสาเกตไปพระนครสาวัตถี ในระหว่างทาง พวกโจรพากันยกพวกออกมา

แย่งชิงภิกษุบางพวก ฆ่าภิกษุบางพวก เจ้าหน้าที่ยกออกไปจากพระนครสาวัตถี

แล้วจับโจรได้เป็นบางพวก บางพวกหลบหนีไปได้ พวกที่หลบหนีไป ได้บวช

ในสำนักภิกษุ พวกที่จับได้ เจ้าหน้าที่กำลังนำไปฆ่า พวกโจรที่บวชแล้ว เหล่านั้น

ได้เห็นโจรพวกนั้นกำลังถูกนำไปฆ่า ครั้นแล้วจึงพูดอย่างนี้ว่าเคราะห์ดี พวก

เราพากันหนีรอดมาได้ ถ้าวันนั้นถูกจับ จะต้องถูกเขาฆ่าเช่นนี้เหมือนกัน ภิกษุ

ทั้งหลายพากันถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านได้ทำอะไรไว้ จึงบรรพชิต

เหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุพวกนั้นเป็นพระอรหันต์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ

คนฆ่าพระอรหันต์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

อรรถกถามาตุฆาตกาทิวัตถุ

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องบุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นต้นต่อไป:-

สองบทว่า นิกฺขนฺตึ ถเรยฺย มีความว่า เราพึงกระทำความออก

คือ ความหลีกไป ความชำระสะสาง.

ในคำว่า มาตุฆาตโก ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยว่า มารดาผู้ให้เกิด

ซึ่งเป็นหญิงมนุษย์ อันบุคคลใดแม้ตนเองก็เป็นชาติมนุษย์เหมือนกันแกล้งปลง

เสียจากชีวิต บุคคลนี้เป็นผู้ฆ่ามารดาด้วยอนันตริยมาตุฆาตกรรม. บรรพชา

และอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว.

ส่วนมารดาผู้เลี้ยงดูก็ดี ป้าก็ดี น้าก็ดี ซึ่งมิใช่ผู้ให้เกิด แม้เป็นหญิง

มนุษย์ หรือมารดาผู้ให้เกิด แต่มิใช่หญิงมนุษย์ อันบุคคลใดฆ่าแล้ว บรรพชา

ของบุคคลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้าม และเขาไม่เป็นผู้มีอันนตริยกรรม.

มารดาผู้เป็นหญิงมนุษย์ อันบุคคลใดซึ่งตนเองเป็นสัตว์ดิรัจฉานฆ่า

แล้ว แม้บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีอันนตริยกรรม. สวนบรรพชาของเขาเป็น

อันทรงห้ามด้วย เพราะข้อที่เขาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน. คำที่เหลือเป็นคำตื้นทั้งนั้น .

แม้ในบุคคลผู้ฆ่าบิดา ก็นัยนี้แล.

ก็ถ้าแม้บุรุษเป็นลูกหญิงแพศยา ไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา

เขาเกิดด้วยน้ำสมภพของชายใด และชายนั้นอันเขาฆ่าแล้วย่อมถึงความ

นับว่าเป็นผู้ฆ่าบิดาเหมือนกัน ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย. แม้บุคคลผู้ฆ่าพระ

อรหันต์ พึงทราบด้วยอำนาจพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เหมือนกัน.

วินิจฉัยในอรหันตฆาตกวัตถุนี้ พึงทราบดังนี้ว่า อันบุคคลเมื่อแกล้ง

ปลงพระขีณาสพผู้เป็นชาติมนุษย์ โดยที่สุดแม้ไม่ใช่บรรพชิตเป็นทารกก็ตาม

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

เป็นทาริกาก็ตาม จากชีวิต ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าพระอรหันต์แท้; ย่อมถูกอนันตริย-

กรรมด้วย และบรรพชาของผู้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม. ส่วนบุคคล

ฆ่าพระอรหันต์ซึ่งมิใช่ชาติมนุษย์ หรือพระอริยบุคคลที่เหลือซึ่งเป็นชาติมนุษย์

ยังไม่เป็นผู้มีอนันตริยกรรม แม้บรรพชาของเขา ก็ไม่ทรงห้าม. แต่ว่า กรรม

เป็นของรุนแรง. ดิรัจฉานแม้ฆ่าพระอรหันต์ซึ่งเป็นชาติมนุษย์ ก็ไม่เป็นผู้มี

อนันตริยกรรม แต่ว่า เป็นกรรมอันหนัก.

หลายบทว่า เต วธาย โอนียนฺติ มีความว่า โจรเหล่านั้นอันพวก

ราชบุรุษย่อมนำไป เพื่อประโยชน์แก่การฆ่า. อธิบายว่านำไปเพื่อประหารชีวิต.

ก็คำใด ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในบาลีว่า สจา

จ มย ความแห่งคำนั้นเท่านี้เองว่า สเจ มย. จริงอยู่ ในพระบาลีนี้ ท่าน

กล่าวนิบาตินี้ว่า สจา จ ในเมื่อนิบาตว่า สเจ อันท่านพึงกล่าว. อีกอย่าง

หนึ่งปาฐะว่า สเจ จ ก็มี. ใน ๒ ศัพท์นั้น ศัพท์ว่า สเจ เป็นสัมภาว-

นัตถนิบาต. ศัพท์ว่า เป็นนิบาตใช้ในอรรถมาตรว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม

ปาฐะว่า สจชฺช มย บ้าง ความแห่งปาฐะนั้นว่า สเจ อชฺช มย.

อรรถกถามาตุฆาตกาทิวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

เรื่องห้ามอุปสมบทคนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นต้น

[๑๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีหลายรูป เดินทางไกลจากเมืองสาเกต

ไปพระนครสาวัตถี ในระหว่างทาง พวกโจรพากันยกออกมา แย่งชิงภิกษุณี

บางพวก ทำร้ายภิกษุณีบางพวก เจ้าหน้าที่ยกออกไปจากพระนครสาวัตถี แล้ว

จับโจรได้เป็นบางพวก บางพวกหลบหนีไป พวกที่หลบหนีไป ได้บวชใน

สำนักภิกษุ พวกที่ถูกจับได้เจ้าหน้าที่กำลังนำไปฆ่า พวกโจรที่บวชแล้วเหล่านั้น

ได้เห็นโจรพวกนั้นกำลังถูกนำไปฆ่า ครั้นแล้วจึงพูดอย่างนี้ว่า เคราะห์ดี พวก

เราพากันหนีรอดมาได้ ถ้าวันนั้นถูกจับ จะต้องถูกเขาฆ่าเช่นนี้เหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลายพากันถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านได้ทำอะไรไว้ จึงบรรพ-

ชิตเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย อนุ-

ปสัมบันคือ คนประทุษร้ายภิกษุณี ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว

ต้องให้สึกเสีย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือ คนผู้ทำสังฆเภท ภิกษุไม่พึงให้

อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือ คนทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อ

พระโลหิต ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

อรรถกถาภิกขุนีทูสกาทิวัตถุ

พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า ภิกฺขุนีทูสโก ภิกฺขเว เป็นต้น ดังนี้:-

บุรุษใดประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้มีตนเป็นปกติ ในบรรดามรรค ๓

มรรคใดมรรคหนึ่ง บุรุษนี้ชื่อภิกชุนีทูสกะ. บรรพชาและอุปสมบทของบุรุษ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว. ฝ่ายบุรุษโดยังนางภิกษุณีให้ถึงศีลพินาศ

กายสังสัคคะ บรรพชาและอุปสมบทแห่งบุรุษนั้นไม่ทรงห้าม. แม้บุรุษผู้ทำ

นางภิกษุณีให้นุ่งผ้าขาวแล้ว ประทุษร้ายนางผู้ไม่ยินยอมเลยที่เดียวด้วยพลการ

ชื่อภิกขุนีทูสกะแท้.

ฝ่ายบุรุษผู้ทำนางภิกษุณีให้นุ่งขาวด้วยพลการะแล้ว ประทุษร้ายนาผู้

ยินยอมอยู่ ไม่เป็นผู้ชื่อภิกขุนีทูสกะ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะนางภิกษุณีนั้น ย่อมเป็นผู้มิใช่นางภิกษุณี ในเรื่องความ

เป็นคฤหัสถ์มาตรว่าอันตนยอมรับทีเดียว.

ส่วนบุรุษผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณีผู้เสียศีลแล้ว คราวเดียว ในภายหลัง

และปฏิบัติผิดในนางสิกขมานาและสามเณรีทั้งหลาย ไม่จัดว่าภิกขุนีทูสกะ

เหมือนกัน; ย่อมได้ทั้งบรรพชา ทั้งอุปสมบท.

ในคำว่า สงฺฆเภตโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า ผู้ใดทำ

พระศาสนาให้เป็นของนอกธรรมนอกวินัย ทำลายสงฆ์ด้วยอำนาจแห่งกรรม ๔

อย่างใดอย่างหนึ่ง เหมือนพระเทวทัต, ผู้นี้ชื่อสังฆเภทกะ ผู้ทำลายสงฆ์ บรรพ

ชาและอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นทรงห้าม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคำนี้ว่า โลหิตุปฺปาทโก ภิกฺขเว เป็นต้น

ดังนี้:-

ผู้ใดมีจิตประทุษร้ายติดฆ่า ยังพระโลหิตในพระสรีระซึ่งยิ่งเป็นอยู่ของ

พระตถาคตเจ้า แม้พอที่แมลงวันเล็ก ๆ จะดื่มได้ให้ห้อขึ้นเหมือนพระเทวทัต

ผู้นี้ชื่อผู้ทำโลหิตุปบาท. บรรพชาเละอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นทรงห้าม.

ส่วนผู้ใดใช้มีดผ่าตัดเอาเนื้อเสียและโลหิตออกทำให้ทรงสำราญเหมือน

หมอชีวกได้ทำเพื่อให้พระโรคสงบไป ผู้นั้นย่อมประสบบุญมากฉะนี้.

อรรถกถาภิกษุนีขนีทูสกาทิวัตถุ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

เรื่องห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก

[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล อุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนัก

ภิกษุ เธอเสพเมถุนธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษ

อื่นเสพเมถุนธรรมในอิตถีนิมิตของตนบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่

อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

อรรถกถาอุภโตพยัญชนกวัตถุ

บทว่า อุภโตพฺยญฺชนโก มีอรรถวิเคราะห์ว่า นิมิตเครื่องปรากฏ

ที่ตั้งขึ้น โดยกรรม ๒ อย่าง คือ โดยกรรมเป็นเหตุยังอิตถีนิมิตให้เกิดขึ้น ๑

โดยกรรมเป็นเหตุยังปุริสนิมิตให้เกิดขึ้น ๑ ของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น เขา

ชื่ออุภโตพยัญชนก.

บทว่า กโรติ มีความว่า ย่อมทำตนเองด้วยความละเมิดด้วยอำนาจ

เมถุนในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิต.

บทว่า การาเปติ มีความว่า ย่อมชวนบุรุษอื่นให้ทำความละเมิด

ด้วยอำนาจเมถุน ในอิตถีนิมิตของตน.

อุภโตพยัญชนกนั้น มี ๒ ชนิด คือ สตรีอุภโตพยัญชนก ๑. บุรุษ-

อุภโตพยัญชนก ๑.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ใน ๒ ชนิดนั้น อิตถีนิมิตของสตรีอุภโตพัญชนกปรากฏปุริสนิมิต

เป็นของลี้ลับ; ปุริสนิมิตของบุรุษอุภโตพยัญชนกปรากฏอิตถีนิมิตเป็นของลี้ลับ

เมื่อสตรีอุภโตพยัญชนกทำหน้าที่ของบุรุษในสตรีทั้งหลาย อิตถีนิมิตรย่อมเป็น

ของลี้ลับ. ปุริสนิมิตปรากฏ; เมื่อบุรุษอุภโตพยัญชนกเข้าถึงความเป็นสตรีสำ-

หรับพวกบุรุษ ปุริสนิมิตเป็นของลี้ลับ อิตถีนิมิตปรากฏ.

เหตุซึ่งทำให้ต่างกันแห่งอุภโตพยัญชนก ๒ ชนิดนั้นดังนี้ คือสตรี

อุภโตพยัญชนกมีครรภ์เองด้วย, ให้สตรีอื่นมีครรภ์ได้ด้วย; ส่วนบุรุษอุภโตพยัญ

ชนกมีครรภ์เองไม่ได้ แต่ให้สตรีอื่นมีครรภ์ได้.

แต่ในอรรถกถากุรุนทีท่านแก้ว่า ถ้าเพศชายเกิดในกำเนิดคือปฏิสนธิ-

กาล เพศหญิงย่อมเกิดต่อเมื่อความกำหนัดในบุรุษเป็นไป, ถ้าเพศหญิงเกิด

ในกำเนิด คือปฏิสนธิกาล เพศชายยอมเกิดต่อเมื่อจาความกำหนัดในสตรีเป็น

ไป

ลำดับแห่งวิจารณ์ในความเกิดแห่ง ๒ เพศนั้น บัณฑิตพึงทราบพิสดาร

ในอรรถกถาธรรมสังคหะชื่ออัฏฐสาลินี.

ส่วนในบรรพชาธิการนี้ พึงทราบสันนิษฐานแม้นี้ว่า บรรพชาอุปสม

บทแห่งอุภโตพยัญชนกทั้ง ๒ ชนิดนี้ ไม่มีเลย.

อรรถกถาอุโตพยัญชนกวัตถุ จบ

๑,๒. ปวตฺเต น่าจะหมายความว่า ในปวัตติกาล.

๓. อฏฺฐาสาลินี. ๔๖๗-๔๗๐.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท ๒๐ จำพวก

เรื่องห้ามอุปสมบทคนไม่มีอุปัชฌาย์เป็นต้น

[๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรผู้ไม่มี

อุปัชฌาย์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้ไม่มี

อุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีสงฆ์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุ

ไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีคณะเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีคณะเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่

พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีบุคคลลักเพศเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์เป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีคนฆ่ามารดาเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีคนฆ่าบิดาเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีคนฆ่าพระอรหันต์เป็นอุปัชฌาย์

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีตนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสบทกุลบุตรมีคนทำสังฆเภทเป็นอุปัชฌาย์

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตเป็น

อุปัชฌาย์.

. . . อุปสมบทกุลบุตรมีอุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีบัณเฑาะก์

เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้. . .

กุลบุตรมีบุคคลลักเพศเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีภิกษุไปเข้ารีตเดียรถีย์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้. . .

กุลบุตรมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีคนฆ่ามารดาเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีคนฆ่าบิดาเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีคนฆ่าพระอรหันต์เป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีตนประทุษร้ายภิกษุณีเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้. . .

กุลบุตรมีคนทำสังฆเภทเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ . . .

กุลบุตรมีคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่

พึงอุปสมบทให้. . .

กุลบุตรมีอุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์ ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูป

ใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

เรื่องห้ามอุปสมบทคนไม่มีบาตรเป็นต้น

[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรผู้ไม่มีบาตร

พวกเธอเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือ คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนา

ว่าเที่ยวรับบิณฑบาตรเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีบาตร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรผู้ไม่มีจีวร พวกเธอเปลือย

กายเที่ยวรับบิณฑบาต คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เที่ยว

รับบิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรไม่มีจีวร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรผู้ไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร พวก

เธอเปลือยกายเที่ยวรับบิณฑบาตรด้วยมือ คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาว่าเที่ยวรับบิณฑบาตรเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรไม่มีทั้งบาตรทั้งจีวร ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใด

อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีบาตรที่ยืมเขามา เมื่อ

อุปสมบทแล้ว เจ้าของก็นำบาตรคืนไป พวกเธอเที่ยวรับบิณฑบาตด้วยมือ

คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เที่ยวรับบิณฑบาตเหมือนพวก

เดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุลบุตรมีบาตรที่ยืม

เขามา ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีจีวรที่ยืมเขามา เมื่อ

อุปสมบทแล้ว เจ้าของก็นำจีวรคืนไป พวกเธอเปลือยกายเที่ยวรับบิณฑบาต

คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เที่ยวรับบิณฑบาตเหมือนพวก

เดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรมีจีวรที่ยืม

เขามา ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ รูปใดอุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทกุลบุตรมีบาตรและจีวรที่ยืมเขามา

เมื่ออุปสมบทแล้ว เจ้าของก็นำบาตรและจีวรคืนไป พวกเธอเปลือยกายเที่ยวรับ

บิณฑบาตด้วยมือ คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เที่ยวรับ

บิณฑบาตเหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรมีบาตรและจีวรที่ยืมเขามา ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้รูปใดอุปสมบทให้

ต้องอาบัติทุกกฏ.

บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท ๒๐ จำพวก จบ

บุคคลไม่ควรให้บวช ๓๒ จำพวก

ทรงห้ามบวชคนมีอวัยวะพิการ

[๑๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายบรรพชาคนมือด้วน. . .

บรรพชาคนเท้าด้วน. . . บรรพชาคนทั้งมือและเท้าด้วน. . .บรรพชาคนหูขาด . . .

บรรพชาคนจมูกแหว่ง . . . บรรพชาคนทั้งหูขาดและจมูกแหว่ง . . .บรรพชาคน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

นิ้วมือนิ้วเท้าขาด . . . บรรพชาคนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด . . . บรรพชาคนเอ็นขาด

. . . บรรพชาคนมือเป็นแผ่น. . . บรรพชาคนค่อม . . . บรรพชาคนเตี้ย . . .

บรรพชาคนคอพอก. . .บรรพชาคนถูกสักหมายโทษ. . .บรรพชาคนมีรอยเฆี่ยน

ด้วยหวาย . . .บรรพชาคนถูกออกหมายสั่งจับ. . .บรรพชาคนเท้าปุก. . .

บรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง . . .บรรพชาคนมีรูปร่างไม่สมประกอบ. . . บรรพชาคนตา

บอดช้างเดียว. . .บรรพชาคนง่อย. . .บรรพชาคนกระจอก . . .บรรพชาคนเป็น

โรคอัมพาต. . .บรรพชาคนมีอิริยาบถขาด . . . บรรพชาคนชราทุพพลภาพ . . .

บรรพชาคนตาบอดสองข้าง . . . บรรพชาคนใบ้ . . . บรรพชาคนหูหนวก . . .

บรรพชาคนทั่งบอดและใบ้. . . บรรพชาคนทั้งบอดและหนวก . . . บรรพชาคน

ทั้งใบ้และหนวก . . . บรรพชาคนทั้งบอดใบ้และหนวก.

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบรรพชา

คนมือด้วน. . .ไม่พึงบรรพชาคนเท้าด้วน. . .ไม่พึงบรรพชาคนทั้งมือและเท้า

ด้วน. .. ไม่พึงบรรพชาคนหูขาด . . .ไม่พึงบรรพชาคนจมูกแหว่ง. . .ไม่พึง

ไม่บรรพชาคนทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง. . .ไม่พึงบรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด . . .

ไม่พึงบรรพชาคนง่ามมือง่ามเท้าขาด . . . ไม่พึงบรรพชาคนเอ็นขาด . . . ไม่พึง

บรรพชาคนมือเป็นแผ่น. . .ไม่พึงบรรพชาคนค่อม. . .ไม่พึงบรรพชาคนเตี้ย. . .

ไม่พึงบรรพชาคนคอพอก. . .ไม่พึงบรรพชาคนถูกสักหมายโทษ. . .ไม่พึง

บรรพชาคนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย . . .ไม่พึงบรรพชาคนถูกออกหมายสั่งจับ. . .

ไม่พึงบรรพชาคนเท้าปุก. . .ไม่พึงบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง. . .ไม่พึงบรรพชา

คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ . . .ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดข้างเดียว . . .ไม่พึง

บรรพชาคนง่อย . . .ไม่พึงบรรพชาคนกระจอก. . .ไม่พึงบรรพชาคนเป็นโรค

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

อัมพาต . . .ไม่พึงบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด . . .ไม่พึงบรรพชาคนชราทุพพล-

ภาพ . . .ไม่พึงบรรพชาคนตาบอดสองข้าง . . . ไม่พึงบรรพชาคนใบ้. . .ไม่พึง

บรรพชาคนหูหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้. . .ไม่พึงบรรพชาคน

ทั้งบอดและหนวก. . . ไม่พึงบรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก. . .ไม่พึงบรรพชาคน

ทั้งบอดใบ้และหนวก รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

บุคคลไม่ควรให้บวช ๓๒ จำพวก จบ

ทายัชชภาณวารที่ ๙ จบ

อรรถกถาอนุปัชฌายกาทิวัตถุ

หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน มีความว่า โดยสมัยใด สิกขา

บทอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมิได้ทรงบัญญัติแล้ว โดยสมัยนั้น.

บทว่า อนุปัชฌายก มีความว่า เว้นจากอุปัชฌาย์ทุก ๆ อย่าง

เพราะไม่ให้ถืออุปัชฌาย์.

กุลบุตรทั้งหลาย ผู้อุปสมบทแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้ความสงเคราะห์

โดยธรรม โดยอามิส เขาย่อมเสื่อมเท่านั้น ย่อมไม่เจริญ.

หลายบทว่า น ภิกฺขเว อนุปชฺฌายโก เป็นต้น มีความว่ากุลบุตร

ชื่อผู้ไม่มีอุปัชฌาย์ เพราะไม่ให้ถืออุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท. เป็นอาบัติ

แก่ภิกษุผู้ให้อุปสมบทด้วยอาการอย่างนั้น จำเดิมแต่ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า

ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ภิกษุนั้นต้องทุกกฏ. ส่วนกรรมหากำเริบไม่. พระ

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กำเริบ คำของอาจารย์บางพวกนั้น ไม่ควรถือเอา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

แม้ในคำทั้งหลาย มีคำว่า สงฺเฆน อุปชฺฌาเยน เป็นต้น มี

อุภโตพยัญชนกเป็นอุปัชฌาย์เป็นที่สุด ก็นัยนี้แล.

ข้อว่า อปตฺตกา หตฺเถสุ ปิณฺฑาย จรนฺติ มีความว่าภิกษุทั้ง

หลายผู้ไม่มีบาตรย่อมเที่ยวไป เพื่อประโยชน์แก่บิณฑะอันตนจะได้ในมือทั้ง ๒

ข้อว่า เสยฺยถาปิ ติตฺถิยา มีความว่า เหมือนพวกเดียรถีย์มีชื่อ

อาชีวก. จริงอยู่ เดียรถีย์เหล่านั้น ย่อมฉันบิณฑะอันตนคลุกด้วยแกงและกับ

ใส่ไว้ในมือทั้ง ๒ นั่งเอง.

สองบทว่า อาปตฺต ทุกฺกฏสฺส มีความ ว่า เป็นอาบัติแก่ภิกษุ

ผู้ให้อุปสมบทด้วยอาการอย่างนั้นเท่านั้น. ส่วนกรรมไม่กำเริบแม้ในวัตถุ

ว่าอจีวรกา เป็นต้น ก็นัยนี้แล.

บทว่า ยาจิตเกน มีความว่า ด้วยบาตรเป็นของยืมซึ่งอุปสัมปทา-

เปกขะอ้อนวอนยืมมาว่า ขอท่านจงให้เพียงที่ข้าพเจ้ากระทำการอุปสมบทเถิด

จริงอยู่ ย่อมเป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้ให้อุปสมบทด้วยบาตร หรือ

จีวร หรือทั้งบาตรทั้งจีวร เช่นนี้ แต่กรรมไม่กำเริบ.

เพราะเหตุนั้น กุลบุตรผู้มีบาตรจีวรครบเท่านั้น จึงควรให้อุปสมบท

ถ้าของเขาไม่มี และอาจารย์อุปัชฌาย์อยากจะให้เขา หรือภิกษุเหล่าอื่นปรารถนา

จะให้อาจารย์และอุปัชฌาย์ หรือภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่เสียดาย พึงสละให้บาตรและ

จีวรที่ควรอธิษฐานได้. แค่จะให้บรรพชาเปกขะผู้ดังใบไม้เหลืองบวช ด้วย

บาตรและจีวรแม้ที่ยืมมาสมควรอยู่, แม้ถือเอาด้วยวิสาสะในที่แห่งภิกษุผู้เป็น

สภาคกันแล้วให้บวชก็ควร.

แต่ถ้าปัณฑุปลาสนั้น เป็นผู้ถือบาตรที่ยังมิได้ระบมและผ้าที่ควรแก่

จีวรมา, บาตรยังระบมอยู่และจีวรยังกระทำอยู่เพียงใด ควรจะให้อนามัฏฐ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

บิณฑบาตแก่เขาผู้พักอยู่ในวิหารเพียงนั้น. ปัณฑุปลาสนั้นจะบริโภคในบาตร

ก็ควร.

ในเวลาก่อนฉันอาหาร ส่วนแห่งอามิสเท่ากับส่วนของสามเณรอันภิกษุ

ผู้เป็นภัตตุทเทสก์สมควรจะให้.

ส่วนการถือเสนาสนะและภัตต่าง ๆ มีสลากภัต อุทเทสภัตและนิมัน-

ตนภัต เป็นต้น ไม่สมควรให้.

แม้ในเวลาภายหลังอาหาร ส่วนแห่งเภสัชมีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำ

อ้อย เป็นต้น เท่ากับส่วนของสามเณร อันภิกษุผู้เป็นภัตตุทเทสก์สมควรจะให้.

ถ้าเขาเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายควรจะทำยาให้เขา และควรทำการปรน

นิบัติทั้งปวงแก่เขา เหมือนทำแก่สามเณร ฉะนี้แล.

อรรถกถาอนุปัชฌายกาทิวัตถุ จบ

อรรถกถาหัตถัจฉินนาทิวัตถุกถา

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องคนมือด้วนเป็นต้นต่อไป:-

มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้าง ของผู้ใด เป็นอวัยวะขาดไปที่ฝ่ามือก็ดี

ทีข้อมือก็ดี ที่ศอกก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีมือขาด.

เท้าข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้าง ของผู้ใด เป็นอวัยวะขาดไปที่ปลายเท้า

ก็ดี ที่ข้อเท้าก็ดี ที่แข้งก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีเท้าขาด.

ในมือและเท้าทั้ง ๔ โดยประการดังกล่าวแล้วนั้นแล มือและเท้าของ

ผู้ใด ๒ หรือ ๓ หรือทั้งหมด เป็นอวัยวะขาดไป ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีมือและเท้าขาด.

หูของผู้ใด ข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้าง เป็นอวัยวะขาดไปที่เง่าหูก็ดี ที่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ใบหูก็ดี ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีหูขาด. แต่หูของผู้ใด ย่อมฉีกที่ตุ้มแห่งหู แต่เป็น

อวัยวะที่อาจต่อให้ติดกันได้ ผู้นั้นพึงให้ต่อหูให้ติดแล้ว จึงให้บวช.

จมูกของผู้ใด เป็นอวัยวะแหว่งวิ่นไปที่ดั้งจมูกก็ดี ที่ช่องจมูกข้างเดียว

ก็ดี ช่องจมูกทั้ง ๒ ก็ดี ส่วนใดส่วนหนึ่ง ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีจมูกแหว่ง แต่จมูก

ของผู้ใด เป็นอวัยวะที่อาจประสานให้ติดกันได้. ผู้นั้นพึงทำจมูกนั้นให้หายแล้ว

จึงให้บวช.

บุคคลที่ชื่อว่า ผู้มีหูและจมูกแหว่ง พึงทราบด้วยอำนาจแห่งอวัยวะ

ทั้ง ๒.

นิ้วของผู้ใด นิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว เป็นอวัยวะขาดไป ไม่เห็นมีเล็บ

เหลือ ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีเล็บด้วน แต่เล็บที่เหลือของผู้ใด แม้ประมาณเท่าเส้นด้าย

ยังปรากฏ จะให้ผู้นั้นบวชควรอยู่.

ในหัวแม่มือเท้าทั้ง ๔ นิ้ว หัวแม่มือและแม่เท้าของผู้ใด นิ้วเดียว

หรือหลายนิ้ว เป็นอวัยวะขาดไป ตามนัยที่กล่าวแล้วในนิ้วผู้นั้น ชื่อว่ามีง่าม

มือง่ามเท้าขาด.

เอ็นใหญ่ที่ชื่อว่ากัณฑระของผู้ใด เป็นอวัยวะขาดไป ข้างหน้าก็ดี

ข้างหลังก็ดี ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีเอ็นขาด บุคคลย่อมก้าวเดินด้วยปลายเท้าบ้าง ด้วย

ส้นเท้าบ้าง หรือไม่อาจยันเท้าลงตรง ๆ ได้ ก็เพราะในเอ็นใหญ่เหล่านั้น แม้

เอ็นหนึ่งขาดไป.

นิ้วมือของผู้ใด เป็นของติดกันเหมือนปีกค้างคาว ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีมือ

เป็นแผ่น. ภิกษุผู้ใคร่จะให้บุคคลนั้นบวช พึงผ่าหนังซึ่งมีในระหว่างนิ้ว เอา

หนังในระหว่างออกทั้งหมด รักษาหายแล้วจึงให้บวช. แม้ผู้ใดมี ๖ นิ้ว ภิกษุ

ผู้ใคร่จะให้ผู้นั้นบวชพึงตัดนิ้วที่เกินเสีย รักษาหายแล้วจึงให้บวช.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ผู้ใดจัดว่ามีร่างกายค่อม เพราะอกหรือหลัง หรือสีข้างโกง ผู้นั้นชื่อ

ว่าคนค่อม. แต่อวัยวะน้อยใหญ่บางส่วนของผู้ใด โกงไปนิดหน่อย จะให้ผู้นั้น

บวชสมควรอยู่ เพราะว่าพระมหาบุรุษเท่านั้น มีพระกายตรงดังกายพรหม

สัตว์ที่เหลือชื่อว่าผู้ไม่ค่อมย่อมไม่มี.

คนมีขาสั้นก็ดี มีบั้นเอวสั้นก็ดี สั้นทั้ง ๒ ก็ดี ชื่อว่าคนเตี้ย.

กายท่อนล่างตั้งแต่บั้นเอวลงมา แห่งคนขาสั้น เป็นของสั้น กายท่อน

บนสมบูรณ์.

กายท่อนบนตั้งแต่บั้นเอวขึ้นไป แห่งคนบั้นเอวสั้น เป็นของสั้น กาย

ท่อนล่างบริบูรณ์.

กายทั้ง ๒ ท่อน แห่งคนสั้นทั้ง ๒ เป็นของสั้น. ร่างกายย่อมกลมรอบ

คล้ายหม้อมีกะพุ้งใหญ่เหมือนร่างกายแห่งภูตทั้งหลาย เพราะกายทั้ง ๒ ท่อน

เหล่าไรเล่าเป็นของสั้น จะให้ชนนั้นแม้ทั้ง ๓ ชนิดบวช ย่อมไม่ควร.

ที่คอแห่งผู้ใด มีพอกดังลูกฟัก ผู้นั้นชื่อว่าคนคอพอก. และคำนี้สักว่า

แสดง แต่เมื่อมีพอกที่ประเทศอันใดอันหนึ่ง ก็ไม่ควรให้บวช.

วินิจฉัยในคำว่า คลคณฺฑี นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคำนี้

ว่า น ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโ ปพฺพาเชตพฺโพ นั่นแล.

คำใดที่จะพึงกล่าวในคนมีรอยแผลเป็น คนถูกเฆี่ยนด้วยหวายและคน

ถูกเขียนไว้ คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในข้อทั้งหลายมีข้อว่า น ภิกฺขเว

ลกฺขณาหโต เป็นต้นนั่นแล.

คนมีเท้าเป็นตุ้ม ท่านเรียกว่าคนตีนปุก. เท้าของผู้ใดอูมเกิดเป็นตุ่ม

แข็ง ผู้นั้นไม่ควรให้บวช แต่เท้าของผู้ใด ยังไม่ทันจับแข็ง เป็นของที่อาจ

ผูกเครื่องรัดแช่ไว้ในหลุมน้ำ กลบด้วยทรายเบียกน้ำให้เต็มให้เหี่ยวยุบลงจน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

เส้นเอ็นปรากฏ และแข้งเป็นเหมือนกระบอกน้ำมัน จะทำเท้าของผู้นั้นให้เป็น

เช่นนี้ แล้วให้เขาบวชควรอยู่.

ถ้าตุ้มนั้นเขื่องขึ้นอีก แม้เมื่อจะให้อุปสมบท พึงทำอย่างนั้น จึงให้

อุปสมบท.

คนน่าเกลียด ไม่น่าชอบใจ มีความเดือนร้อนเป็นนิตย์ มีโรคที่รักษา

ไม่หายด้วยโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาโรคริดสีดวงงอก ริดสีดวงลำไส้

โรคดี โรคเสมหะ โรคไอ โรคหืด เป็นต้น ชื่อว่า คนมีโรคเป็นผลแห่ง

บาป แม้บุคคลนี้ก็ไม่ควรให้บวช.

ผู้ใดย่อมประทุษร้ายบริษัท เพราะความที่คนมีรูปแปลก ผู้นั้น ชื่อ

ปริสทูสกะ คือเป็นคนสูงเกินไป มีนาภีประเทศแค่ศีรษะของชนเหล่าอื่นบ้าง.

เตี้ยเกินไปดังรูปแห่งภูต เตี้ยทั้ง ๒ ท่อนบ้าง. ดำเกินไป คล้ายตอไม้ที่นาถูก

ไฟไหม้บ้าง. ขาวเกินไป มีสีคล้ายบาตรทองแดงที่ขัดด้วยนมส้มและเปรียงเป็น

ต้นบ้าง. ผอมเกินไป มีเนื้อและเลือดน้อย ประหนึ่งร่างกายซึ่งมีแต่กระดูก เอ็น

และหนังบ้าง. อ้วนเกินไป มีเนื้อตั้งหาบ มีพุงพลุ้ยเช่นกับมหาภูตบ้าง. มี

ศีรษะใหญ่เกินไป เหมือนวางกระเช้าไว้บนศีรษะบ้าง. มีศีรษะหลิมเกินไป คือ

ประกอบด้วยศีรษะเล็กนักไม่สมตัวบ้าง. มีศีรษะเป็นลอน ๆ คือประกอบด้วย

ศีรษะเช่นกับทะลายแห่งผลตาลบ้าง. มีศีรษะเรียวแหลม คือประกอบด้วยศีรษะ

อันสอบขึ้นไปโดยลำดับบ้าง. มีศีรษะดังลำไผ่ คือเป็นกระบอก ประกอบด้วย

ศีรษะเช่นกับปล้องไม้ไผ่อย่างเขื่องบ้าง. มีศีรษะเป็นง่ามบ้าง. มีศีรษะเป็นเงื้อม

คือประกอบด้วยศีรษะอันงุ้มลงในข้างทั้ง ๔ ข้างใดข้างหนึ่งบ้าง. มีศีรษะเป็น

แผลบ้าง มีศีรษะเน่าบ้าง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

มีผมเป็นหย่อม ๆ คือมาตามพร้อมด้วยผมที่ขึ้นในที่นั้น ๆ เช่นกับ

ข้าวกล้าในกระทงนาที่สัตว์กัดกินบ้าง. มีศีรษะลุ่นไม่มีผมบ้าง. มีผมหยาบแข็ง

คือมาตามพร้อมด้วยผมเช่นกับแปรงตาลบ้าง. มีผมขาวด้วยผมอันหงอกแต่

กำเนิดบ้าง. มีผมเป็นปกติ คือมาตามพร้อมด้วยผมเหมือนเปลวเพลิงจับบ้าง.

มีผมบนศีรษะเวียน คือมาตามพร้อมด้วยผมขวัญทั้งหลายมีปลายชันขึ้นเบื้อง

บน เช่นกับขวัญในตัวโคบ้าง.

มีขนคิ้วเนื่องเป็นอันเดียวกับผมบนศีรษะ คือมาตามพร้อมด้วยหน้า

ผากดังหุ้มด้วยร่างแหบ้าง, มีคิ้วติดกันบ้าง, ไม่มีขนคิ้วบ้าง, มีคิ้วคล้ายลิงบ้าง.

มีตาใหญ่เกินไปบ้าง, มีตาเล็กเกินไปบ้าง, คือมาตามพร้อมด้วยตาทั้ง

๒ เช่นกับช่องในหนังกระบือที่เขาแทงด้วยปลายมีดบ้าง. มีตาส่อน คือมาตาม

พร้อมด้วยตาใหญ่ข้างหนึ่ง เล็กข้างหนึ่งบ้าง มีวงตาคำไม่เสมอ คือมาตาม.

พร้อมด้วยวงตาคำไม่เสมอกันอย่างนี้ คือข้างหนึ่งสูง ข้างหนึ่งต่ำบ้าง, คนตาเหล่

บ้าง, คนมีตาลึก คือมีลูกตาปรากฏเหมือนโป่งน้ำในบ่อน้ำอันลึกบ้าง, คนมี

ตาทะเล้นออก คือมีลูกตายื่นออกเหมือนตาแห่งปลาบ้าง.

มีหูเหมือนช้าง คือมาตามพร้อมด้วยใบหูอันใหญ่บ้าง, มีหูเหมือนหนู

หรือมีหูเหมือนค้างคาว คือมาตามพร้อมด้วยใบหูอันเล็กบ้าง. คนมีแต่ช่องหู

คือปราศจากใบหู มีแต่ช่องหูเท่านั้นบ้าง. คนมีหูเจาะกว้างบ้าง แต่ชนชาติโยนก

ไม่จัดเป็นคนประทุษร้ายบริษัท เพราะว่าการเจาะหูกว้างนั้น เป็นประเพณี

ของเขาโดยเฉพาะ. คนเป็นโรคริดสีดวงในหู คือมาตามพร้อมด้วยอันเน่า

เป็นนิจบ้าง, คนมีหูเป็นน้าหนวก คือมาตามพร้อมด้วยหูมีน้ำเหลืองไหลออก

ทุกเมื่อบ้าง, คนมีใบหูตรง คือมาตามพร้อมด้วยใบหูเช่นกับปลายกะพล้อ

สำหรับกรอกอาหารโคบ้าง.

๑. ตามนัยโยชนา แปลว่า จริงอยู่ หูเช่นนั้นเป็นสภาพโดยเฉพาะของชนชาติโยนกนั้น.

๒.โคภตฺตนาฬิกาย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

คนมีตาเหลืองเกินไปบ้าง แต่จะให้คนมีตาเหลืองดังน้ำผึ้งบวชสมควร

อยู่, คนไม่มีขนตาบ้าง, คนมีตามีน้ำตาไหลบ้าง, คนมีตาแหกบ้าง, คนมีตา

ประกอบด้วยโรคยังตาให้สุก คือคนตาแฉะ มีขี้ตากรังบ้าง.

คนมีจมูกใหญ่เกินไปบ้าง, มีจมูกเล็กเกินไปบ้าง, คนมีจมูกบี้บ้าง, คนมี

จมูกดดเบี้ยวไปข้างหนึ่งไม่ตั้งอยู่ตรงกลางบ้าง, คนมีจมูกยาว คือมาตามพร้อม

ด้วยจมูกดังสุกร ซึ่งอาจเลียด้วยลิ้นได้บ้าง, คนมีจมูกก็น้ำมูกไหลออกเป็นนิจ

บ้าง.

คนมีปากใหญ่ คือมีเค้าแห่งปากเท่านั้นใหญ่เหมือนปากแห่งกบปาก

กว้าง ส่วนหน้าเล็กนัก เช่นกับน้ำเต้าบ้าง คนมีปากอ้าบ้าง, คนมีปากคดบ้าง.

คนมีริมฝีปากใหญ่ คือมาตามพร้อมด้วยริมฝีปากเช่นกับเกลียวปากหม้อ

ข้าวบ้าง, คนมิริมฝีปากลั้น คือมาตามพร้อมด้วยริมฝีปากอันไม่สามารถจะปิด

ฟันมิด เช่นกับหนังหุ้มกลองบ้าง. คนมีริมฝีปากล่างหนาบ้าง, คนมีริมฝีปากบน

บางบ้าง, คนมีริมฝีปากล่างบางบ้าง, คนมีริมฝีปากบนหนาบ้าง, คนมีริมฝีปาก

แหว่งบ้าง.

คนมีปากมีน้ำลายไหลเสมอบ้าง, คนมีปากสุกแดงนักบ้าง, คนมีปาก

ดังสังข์ คือมาตามพร้อมด้วยริมฝีปากข้างนอกขาว ข้างในแดงจัดบ้าง, คนมี

ปากเหม็นดังซากศพบ้าง.

คนมีฟันใหญ่ คือมาตามพร้อมด้วยฟันเช่นกับสัตว์มี ๘ ซี่บ้าง, คน

มีฟันดังอสูร คือมีฟันล่างหรือฟันบนออกนอกปากบ้าง, ส่วนฟันของผู้ได้เป็น

ของอาจปิดด้วยริมผีปาก เมื่อพูดเท่านั้นจึงปรากฏ เมื่อไม่พูดไม่ปรากฏ จะ

ให้ผู้นั้นบวชสมควรอยู่. คนมีฟันเน่าบ้าง, คนไม่มีฟันบ้าง, แต่ในระหว่างฟัน

ขอผู้ใด มีฟันซี่เล็กดังฟันกระแต จะให้ผู้นั้นบวชสมควรอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

คนมีคางใหญ่ คือมาตามพร้อมด้วยคางดังคางแห่งโคบ้าง, คนมีคาง

ยาวบ้าง. คนมีต่างเฟ็ด คือมาตามพร้อมด้วยคางอันสั้นนักดังหดหายเข้าในบ้าง,

คนมีคางหักบ้าง, คนมีคางคดบ้าง.

คนไม่มีหนวดและเครา คือมีหน้าคล้ายนางภิกษุณีบ้าง.

คนมีคอยยาว คือประกอบด้วยคอเช่นกับคอนกยางบ้าง คนมีคอสั้น

คือประกอบด้วยคอดังหดหายเข้าข้างในบ้าง, คนมีคอง้ำลงบ้าง.

คนมีจะงอยไหล่อันลู่บ้าง, คนไม่มีมือบ้าง คนมีมือข้างเดียวบ้าง. คน

มีมือสั้นเกินบ้าง, คนมีมือยาวเกินบ้าง, คนมีอกหักบ้าง. คนมีหลังหักบ้าง. คน

มีตัวเป็นคุดทะราดบ้าง, มีตัวเป็นลำลาบบ้าง. มีตัวเป็นหิดบ้าง, มีตัวเหมือนเหี้ย

คือมีผงร่วงจากตัว ดังเหี้ยบ้าง. ก็แลคำว่า มีตัวเป็นคุดทะราดเป็นต้นทั้งหมด

ข้าพเจ้าหมายเอาโรคที่ทำกายให้มีรูปแปลก กล่าวแล้วด้วยอำนาจแห่งปริสทูสก

ศัพท์อันมีความกว้าง.

ส่วนวินิจฉัยในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในคำนี้ว่า น

ภิกฺขเว ปญฺจหิ อาพาเธหิ ผุฏฺโ นั่นแล.

คนมีบั้นเอวหักบ้าง คนมีตะโพกใหญ่ คือประกอบด้วยเนื้อตะโพก

อันสูงเกินไป เช่นกับกระพุ้งแห่งเตาบ้าง, คนมีขาใหญ่บ้า, คนมีอัณฑะใหญ่

บ้าง. คนมีเข่าใหญ่บ้าง คนมีเข่าเบียดกันบ้าง, คนมีแข้งยาว คือมีแข้ง เช่นกับ

ไม้เท้าบ้าง. คนมีเท้าผิดกฏ คือไปตามขวาง บ้าง. คนมีเท้าบิดไปข้างหลังบ้าง.

คนมีปลีน่องเป็นปั้นสูงบ้าง . คนมีปลีน่องเป็นปั้นสูงนั้นมี ๒ ชนิด คือประกอบ

ด้วยปลีแข้งใหญ่งอกย้อยลงภายใต้ก็มี อวบขึ้นเบื้องบนก็มี คนมีแข้งใหญ่บ้าง

คนมีก้อนเนื้อที่แข้งหนาบ้าง คนมีเท้าใหญ่บ้าง, คนมีส้นใหญ่บ้าง, คนมีปลาย

เท้ากับส้นเท่ากัน คือมีแข้งตั้งขึ้นจากกลางเท้าบ้าง, คนมีเท้าเกบ้าง. คนมีเท้าเก

นั้นมี ๒ ชนิด คือมีเท้าบิดเข้าในก็มี บิดออกนอกก็มี. คนมีนิ้วหงิก คือ

๑. ๒ ๓. คนมีเท้ากางออกบ้าง กนมีเท้ากรอมเข้าบ้าง คนมีปลีแข้งโปบ้าง ก็ว่า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ประกอบด้วย นิ้วเช่นกับแง่งขิงบ้าง. คนมีเล็บดำ คือประกอบด้วยเล็บเน่ามีสีดำ

บ้าง, คนแม้ทั้งหมดนี้เป็นคนประทุษร้ายบริษัท คนประทุษร้ายบริษัทเห็นปาน

นี้ ไม่ควรให้บวช.

บทว่า กาโณ มีความว่า คนตาบอดตาใส หรือคนจักษุประสาท

อันต่อมเลือดเป็นต้นขจัดเสียก็ตามที ผู้ใดมองไม่เห็นด้วยตาทั้ง ๒ หรือข้างเดียว

ผู้นั้นไม่ควรให้บวช.

แต่ในมหาปัจจรีอรรถกถาแก้ว่า คนตาบอดข้างเดียวเรียกว่า กาณะ,

คนตาบอด ๒ ข้าง สงเคราะห์ด้วยอันธะ คนมืด.

ในมหาอรรถกถาแก้ว่า คนบอดแต่กำเนิด เรียกว่า อันธะ เพราะเหตุ

นั้น คำแม้ทั้ง ๒ ย่อมถูกโดยปริยาย.

คนมือง่อยก็ดี คนเท้าง่อยก็ดี คนนิ้วง่อยก็ดี ชื่อว่าคนง่อย. บรรดา

อวัยวะทั้งหลายมีมือเป็นต้น เหล่านั้น ส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้ใดงอปรากฏ ผู้นั้น

ชื่อคนง่อย.

คนเข่าพับก็ดี, คนแข็งหักก็ดี. คนมีอุ้งเท้าคด เพราะมีเท้าหักตรง

กลาง คือเดินด้วยท่ามกลางแห่งหลังเท้าก็ดี คนมีปลายเท้าพับ เพราะมีเท้าหัก

ปลาย คือเดินด้วยหลังเท้าท่อนปลายก็ดี คนเดินเขย่งเฉพาะด้วยปลายเท้าก็ดี.

คนเดินเขย่งด้วยส้นเท้าก็ดี, คนเดินเขยกด้วยส่วนนอกแห่งเท้าก็ดี คนเดินเขยก

ด้วยส่วนในแห่งเท้าก็ดี, คนเดินเขยกด้วยหลังเท้าทั้งหมด เพราะมีข้อเท้าทั้ง ๒

หักตอนบนก็ดี. ชื่อว่าคนกระจอก คนชนิดนี้แม้ทั้งหมด เป็นต้นกระจอกแท้

ไม่ควรให้บวช.

มือข้างหนึ่งก็ดี เท้าข้างหนึ่งก็ดี ตัวซีกหนึ่งก็ดี ของผู้ใดไม่นำความ

สุขมาให้ ผู้นั้นชื่อว่าผู้ชาไปแถบหนึ่ง.

คนเปลี้ย เรียกว่าคนมีอิริยาบถขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

คนทุรพลเพราะความเป็นผู้ชรา ไม่สามารถจะทำแม้ซึ่งกรรม มีย้อม

จีวรของตนเป็นต้น ชื่อว่าคนชราทุรพล. ส่วนผู้ใดเป็นคนแก่แต่ยังมีกำลัง อาจ

ประคับประคองตน ผู้นั้นควรให้บวช.

คนตาบอดแต่กำเนิด เรียกว่า คนบอด.

ความเปล่งวาจาของผู้ใด เป็นไปไม่ได้ ผู้นั้น ซึ่งว่า คนใบ้. แม้

ของผู้ใดเป็นใบได้ แต่ไม่สามารถจะกล่าวสรณคมน์ให้บริบูรณ์ จะให้พูดไม่

ชัด แม้เช่นนั้นบวช ย่อมไม่ควร. ส่วนผู้ใดสามารถจะว่าเพียงสรณคมน์ให้

บริบูรณ์ได้ จะให้ผู้นั้นบวช ย่อมควร.

ผู้ใด ฟังไม่ได้ยินด้วยประการทั้งปวง ผู้นั้นชื่อคนหนวก. ส่วนผู้ใด

ฟังเสียงดังได้ยิน จะให้ผู้นั้นบวชย่อมควร. คนพิการมีคนทั้งบอดทั้งใบ้เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งโทษสองชั้น.

ก็บรรพชาของชนเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม แม้

อุปสมบท ของชนเหล่านั้น ก็เป็นอันทรงห้ามด้วย แต่ถ้าสงฆ์ให้คนประทุษ

ร้ายบริษัทเหล่านั้นอุปสมบท คนมีอวัยวะบกพร่องแม้ทั้งหมด มีคนมือขาดเป็น

ต้น ก็เป็นอันอุปสมบทด้วยดี แต่การกสงฆ์และอาจารย์กับอุปัชฌาย์ ไม่พ้น

อาบัติ.

จริงอยู่ ดังข้าพเจ้าจักอ้างบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ควรเรียก

เข้าหมู่ มีอยู่, ถ้าสงฆ์เรียกบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเรียกเข้าหมู่แล้วก็เป็นอัน

แล้วไป บางคนเป็นอันเรียกเข้าหมู่แล้วใช้ไม่ได้.

เนื้อความแห่งพระบาลีนั้น จักมีแจ้งในอาคตสถานนั้นแล ด้วย

ประการฉะนี้.

อรรถกถาหัตถัจฉินนาทิวัตถุกถา จบ

๑. ผู้พูดติดอ่าง. โบราณว่า มีถ้อยคำเป็นอ่างกระอักกระไอกล่าวมิได้ถูกต้อง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

วิธีการให้นิสัย

[๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวก

อลัชชี รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

วิธีการถือนิสัย

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี ไม่ช้าไม่นานเท่า ไร

นัก แม้หงวกเธอก็กลายเป็นพวกอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม ภิกษุทั้งหลายจึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตให้สืบสวนก่อนถือนิสัย

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติไว้ว่าไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี และไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

ทำอย่างไรหนอพวกเราจึงจะรู้ว่า เป็นภิกษุลัชชี หรืออลัชชี แล้วกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้รอ ๔ - ๕ วัน พอจะสืบสวนรู้ว่า

ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นสภาคกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ภิกษุเดินทางไกลไม่ต้องถือนิสัย

[๑๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไกลไปโกศลชนบท

คราวนั้นเธอได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะ

ไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ดังนี้ ก็เรามีหน้าที่ต้องถือนิสัยแต่จำต้องเดินทางไกล จะ

พึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เดินทางไกลเมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ไม่ต้องถือนิสัยอยู่.

ภิกษุอาพาธไม่ต้องถือนิสัย

[๑๓๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปโกศลชนบท

เธอทั้ง ๒ พักอยู่ ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูป ๑ อาพาธ จึง

รูปที่อาพาธนั้นได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุ

จะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ก็เรามีหน้าที่ต้องถือนิสัย แต่กำลังอาพาธ จะพึงปฏิบัติ

อย่างไรหนอแล ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ภิกษุอาพาธ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ไม่ต้องถือนิสัยอยู่.

ภิกษุพยาบาลไม่ต้องถือนิสัย

ครั้งนั้น ภิกษุผู้พยาบาลไข้นั้นได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ก็เรามีหน้าที่ต้องถือนิสัย แต่

ภิกษุรูปนี้ยังอาพาธเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุผู้พยาบาลไข้ เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย

ถูกภิกษุอาพาธขอร้อง ไม่ต้องถือนิสัยอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ภิกษุอยู่วัดป่าไม่ต้องถือนิสัย

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ อยู่วัดป่า และเธอก็มีความผาสุกใน

เสนาสนะนั้น คราวนั้นเธอได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้

ว่า ภิกษุจะไม่ถือนิสัยอยู่ไม่ได้ ก็เรามีหน้าที่ต้องถือนิสัย แต่ยังอยู่วัดป่า และ

เราก็มีความผาสุกในเสนาสนะนี้ จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอแล ภิกษุทั้งหลาย

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร

กำหนดการอยู่เป็นผาสุก เมื่อไม่ได้ผู้ให้นิสัย ไม่ต้องถือนิสัย ด้วยผูกใจว่า

เมื่อใดมีภิกษุผู้ให้นิสัยที่สมควรมาอยู่ จักอาศัยภิกษุนั้นอยู่.

อุปสมบทกรรม

สวดอุปสัมปทาเปกขะระบุโคตร

[๑๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีอุปสัมปทาเปกขะ และ

ท่านส่งทูตไปในสำนักท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาสวดอุปสัมปทา-

เปกขะนี้ ท่านพระอานนท์ตอบไปอย่างนี้ว่า เกล้ากระผมไม่สามารถจะระบุนาม

ของพระเถระได้ เพราะพระเถระเป็นที่เคารพของเกล้ากระผม ภิกษุทั้งหลาย

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้สวดระบุโคตรได้.

อุปสมบทคู่

[๑๔๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีอุปสัมปทาเปกขะอยู่

๒ คน เธอทั้งสองแก่งแย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทำอุปสัมปทา-

เปกขะ ๒ รูป ในอนุสาวนาเดียวกัน.

อุปสมบทคราวละ ๓ คน

สมัยต่อมา พระเถระหลายรูปต่างมีอุปสัมปทาเปกขะหลายคนด้วยกัน

พวกเธอต่างแก่งแย่งกันว่า เราจักอุปสมบทก่อน เราจักอุปสมบทก่อน พระ-

เถระทั้งหลายจึงตัดสินว่า เอาเถอะ พวกเราจะทำอุปสัมปทาเปกขะทุกคนใน

อนุสาวนาเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้ พระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ทำอุปสัมปทาเปกขะ ในอนุสาวนาเดียวกันคราวละ ๒ รูป ๓ รูป

แต่การสวดนั้นแล ต้องอุปัชฌาย์รูปเดียวกัน จะมีอุปัชฌาย์ต่างกันไม่ได้เป็น

อันขาด.

นับอายุ ๒๐ ปีทั้งอยู่ในครรภ์

พระกุมารกัสสปะเป็นตัวอย่าง

[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปมีอายุครบ ๒๐ ปีทั้ง

อยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบท ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติไว้ว่า บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ภิกษุไม่พึงอุปสมบทให้ ก็เรามี

อายุครบ ๒๐ ทั้งอยู่ในครรภ์ จึงได้อุปสมบทจะเป็นอันอุปสมบทหรือไม่หนอ

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตดวงแรกเกิดขึ้นแล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ในครรภ์ของมารดา คือวิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว ชื่อว่า ความเกิดของสัตว์

มีเพราะอาศัยจิตนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมี

อายุครบ ๒๐ ปี ทั้งอยู่ในครรภ์.

สวดถามอันตรายิกธรรม ๑๓ ข้อ

[๑๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกกุลบุตรที่อุปสมบทแล้วปรากฏเป็น

โรคเรื้อนก็มี เป็นผีก็มี เป็นโรคกลากก็มี เป็นโรคมองคร่อก็มี เป็นโรค

ลมบ้าหมูก็มี ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุ

ผู้ให้อุปสมบท ถามอันตรายยิกธรรม ๑๓ ข้อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้:-

อันตรายิกธรรม

อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรค

มองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มี

หนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้ว

หรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่อ

อะไร.

สอนซ้อมก่อนถามอันตรายิกธรรม

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะพวกอุปสัมปทา

เปกขะ ที่ยังมิได้สอนซ้อม พวกอุปสัมปทาเปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน

ไม่อาจจะตอบได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วจึงถามอันตรายิกธรรมทีหลัง.

ภิกษุทั้งหลายสอนซ้อมในท่านกลางสงฆ์นั้นนั่นแหละ พวกอุปสัมปทา-

เปกขะย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างเดิม ภิกษุทั้ง

หลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสอนซ้อมอุปสัมปทาเปกขะอย่างนี้:-

คำบอกบาตรจีวร

พึงให้อุปสัมปทาเปกขะถืออุปัชฌาย์ก่อน ครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวร

ว่านี้บาตรของเจ้า นี้ผ้าทาบของเจ้า นี้ผ้าห่มของเจ้า นี้ผ้านุ่งของเจ้า เจ้าจงไปยืน

ณ โอกาสโน้น.

ภิกษุทั้งหลายที่เขลาไม่ฉลาดย่อมสอนซ้อม เหล่าอุปสัมปทาเปกขะที่

ถูกสอนซ้อมไม่ดีย่อมสะทกสะท้าน เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลาย

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึงสอนซ้อม

รูปใดสอนซ้อมต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้

ฉลาด ผู้สามารถสอนซ้อม.

บรรดาภิกษุผู้ที่ยังไม่ได้รับสมมติ ย่อมสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุที่ยังไม่ได้รับสมมติ ไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อมต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติ ดังต่อไปนี้:-

วิธีสมมติภิกษุเป็นผู้สอนซ้อม

ตนเองพึงสมมติตนก็ได้ หรือภิกษุรูปอื่น พึงสมมติภิกษุอื่นก็ได้.

อย่างไรเล่า ตนเองพึงสมมติตนเอง คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ

ท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงสอนซ้อมผู้มี

ชื่อนี้.

อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตนเอง.

อย่างไรเล่า ภิกษุรูปอื่น พึงสมมติภิกษุรูปอื่น คือ ภิกษุผู้ฉลาด

ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ

ท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ท่านผู้มีชื่อนี้พึงสอนซ้อม

ผู้มีชื่อนี้.

อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุรูปอื่นสมมติภิกษุรูปอื่น.

ภิกษุผู้ใดรับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขะ แล้วกล่าว

อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำซ้อมอันตรายิกธรรม

แน่ะผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเจ้า เมื่อท่าน

ถามในท่ามกลางสงฆ์ ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มี พึงบอกว่าไม่มี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

เจ้าอย่าสะทกสะท้านแล้วแล เจ้าอย่าได้เป็นผู้เก้อแล้วแล ภิกษุทั้งหลายจักถาม

เจ้าอย่างนี้ อาพาธเห็นปานนี้ของเจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ผี โรคกลาก โรค

มองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็นมนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มี

หนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้ว

หรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบแล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร.

ภิกษุผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขะเดินมาด้วยกัน แต่ทั้งสองไม่พึง

เดินมาพร้อมกัน คือ ภิกษุผู้สอนซ้อมต้องมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบ

ด้วยญัตติกรรมมาจา ว่าดังนี้:-

คำเรียกอุปสมปทาเปกขะเข้ามา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของ

ท่านผู้มีชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อมเขาแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

ขอผู้มีชื่อนี้พึงมา.

พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขะว่า เจ้าจงมา.

พึงให้อุปสัมปทาเปกขะนั้นห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย

ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประคองอัญชลีแล้ว พึงให้ขออุปสมบทดังนี้:-

คำขออุปสมบท

ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด

เจ้าข้า.

ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยก

ข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ข้าพเจ้าขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ เจ้าข้า ขอสงฆ์โปรดยก

ข้าพเจ้าขึ้นเถิด เจ้าข้า.

คาสมมติตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะ

ของท่านผู้มีชื่อนี้ ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะพึงถามอัน-

ตรายิกธรรมต่อผู้มีชื่อนี้ ดังนี้:-

คาถามอันตรยิธรรม

แน่ะ ผู้มีชื่อนี้ เจ้าฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์กาลจริงของเจ้า เราจะถาม

สิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มี พึงบอกว่าไม่มี อาพาธเห็นปานนี้ของ

เจ้ามีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เจ้าเป็น

มนุษย์หรือ เป็นชายหรือ เป็นไทหรือ ไม่มีหนี้สินหรือ มิใช่ราชภัฏหรือ

มารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ มีปีครบ ๒๐ แล้วหรือ บาตรจีวรของเจ้ามีครบ

แล้วหรือ เจ้าชื่ออะไร อุปัชฌาย์ของเจ้าชื่ออะไร.

กรรมวาจาอุปสมบท

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมป-

ทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

บาตรจีวรของเขาครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มี

ชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม-

ปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้ง

หลายบาตรจีวรของเขาครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มี

ท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้

เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้ บริ-

สุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้ว ผู้

มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุป-

สมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ถามอุปสมบทผู้มีชื่อนี้

มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้

นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง

ฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีชื่อนี้บริ-

สุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเขาครบแล้วผู้มี

ชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ สงฆ์อุป-

สมบทผู้มีชื่อนี้ มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ การอุปสมบทผู้มีชื่อนี้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้

นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

ผู้มีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทแล้ว มีท่านผู้มีชื่อนี้เป็นอุปัชฌายะ

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

อุปสมบทกรรม จบ

พระพุทธานุญาตนิสสัย ๔

[๑๔๓] ทันใดนั้นแหละ พึงวัดเงา พึงบอกประมาณแห่งฤดู พึงบอก

ส่วนแห่งวัน พึงบอกสังคีติ พึงบอกนิสสัย ๔ ว่าดังนี้:-

๑. บรรพชาอาศัยโภชนะ คือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอ

พึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะ

สงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ

ภัตถวายในวันปาฏิบท.

๒. บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอด

ชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าแกมกัน.

๓. บรรพชาอาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงอุตสาหะในข้อนั้น

จนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ.

๔. บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้น จนตลอด

ชีวิต อดิเรกลาภ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้าผึ้ง น้ำอ้อย.

นิสสัย ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

อกรณียกิจ ๔

[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุรูป ๑ แล้ว

ทิ้งไว้แต่ลำพังแล้ว หลีกไป เธอเดินมาทีหลังแต่รูปเดียว ได้พบภรรยาเก่าเข้า ณ

ระหว่างทาง นางได้ถามว่า เวลานี้ท่านบวชแล้วหรือ ?

ภิกษุนั้นตอบว่า จ้ะ ฉันบวชแล้ว.

นางจึงพูดชวนว่า เมถุนธรรมพวกบรรพชิตหาได้ยาก นิมนต์ท่าน

มาเสพเมถุนธรรม.

ภิกษุนั้นได้เสพเมถุนธรรมในนางแล้ว ได้ไปถึงทีหลังช้าไป ภิกษุ

ทั้งหลายถามว่า อาวุโส ท่านมัวทำอะไรชักช้าเช่นนี้ เธอได้แจ้งเรื่องนั้นแก่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้บอกอกรณียกิจ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทแล้วให้ภิกษุอยู่เป็นเพื่อน และให้

บอกอกรณียกิจ ๔ ดังต่อไปนี้:-

๑. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ใน

สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย

ศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกัน

นั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้ว ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็น

เชื้อสายศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.

๒. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็น

ส่วนขโมย โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาท ๑ ก็ดี ควรแก่ราคาบาท ๑ ก็ดี เกินบาท ๑

ก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง

หล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสด ภิกษุก็เหมืนกัน ถือเอาของอัน

เขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาท ๑ ก็ดี ควรแก่ราคาบาท ๑ ก็ดี

เกินบาท ๑ ก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร การนั้น เธอไม่

พึงทำตลอดชีวิต.

๓. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่

สุดหมายเอาถึงมดดำมดแดง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุด

หมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร

เปรียบเหมือนศิลาหนาแตก ๒ เสี่ยงแล้ว เป็นของกลับต่อกันไม่ได้ ภิกษุก็

เหมือนกัน แกล้างพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ

สายศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.

๔. อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุด

ว่าเรายินดี ยิ่งในเรือนว่างเปล่า ภิกษุใดมีความปรารถนาลามก อันความ

ปรารถนาลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่

จริง คือฌานก็ดีวิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็น

สมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วนแล้ว

ไม่อาจจะงอกอีก ภิกษุก็เหมือนกัน มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา

ลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง

ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต.

อกรณียกิจ ๔ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

เรื่องภิกษุผู้สงฆ์ยกเสียเป็นต้น

[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่เห็น

อาบัติ ได้สึกแล้ว เขากลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงวิธี

ปฏิบัติ ดังนี้:-

วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ยกเสีย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็น

อาบัติ สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก พึงสอบถามเขาเช่นนี้

ว่าเจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ พึงให้บรรพชา.

ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา. ครั้นให้บรรพชา

แล้วพึงถามว่า เจ้าจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักเห็นขอรับ

พึงให้อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอรับ ไม่พึงให้อุปสนบท.

ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่า ท่านจักเห็นอาบัตินั้นหรือ ถ้าเธอตอบว่า

กระผมจักเห็น ขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่เห็นขอ

รับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงถามว่า ท่านเห็นอาบัตินั้น

หรือ ถ้าเห็นการเห็นได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี. หากไม่เห็น เมื่อได้สามัคคี

พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่เป็นอาบัติในพระสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสีย

ฐานไม่ยอมทำคืนอาบัติ สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก

พึงสอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผม

จักทำคืนขอรับ พึงให้บรรพชา. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคืน ไม่พึงให้

บรรพชา. ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ ถ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

เขาตอบจักทำคืนขอรับ พึงให้อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ทำคือเธอ

รับ ไม่พึงให้อุปสมบท. ครั้นให้อุปสมบทแล้ว พึงถามว่าท่านทำคืนอาบัตินั้น

หรือ ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักทำคืนขอรับ พึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า

กระผมจักไม่ทำคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า

จงยอมทำคืนอาบัตินั้นเสีย ถ้าเธอยอมทำคืน การทำคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการ

ดี. หากไม่ยอมทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่

เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกสงฆ์ยกเสียฐาน

ไม่ยอมสละทิฏฐิบาป สึกไป เธอกลับมาขออุปสมบทต่อภิกษุทั้งหลายอีก พึง

สอบถามเขาเช่นนี้ว่า เจ้าจักยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระ

ผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้บรรพชา. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละ

คืนขอรับ ไม่พึงให้บรรพชา. ครั้นให้บรรพชาแล้ว พึงถามว่า เจ้าจักยอม

สละคืนทิฏฐิบาปนั้นหรือ ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับ พึงให้

อุปสมบท. ถ้าเขาตอบว่า กระผมจักไม่ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงให้อุปสมบท.

ครั้น ให้อุปสมบทแล้ว จึงถามว่าท่านยอมสละคืนทิฏฐิบาปนั้น หรือ ถ้าเธอตอบ

ว่า กระผมจักยอมสละคืนขอรับพึงเรียกเข้าหมู่. ถ้าเธอตอบว่า กระผมจักไม่

ยอมสละคืนขอรับ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่. ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้ว พึงกล่าวว่า จงยอม

สละคืนทิฏฐิบาปนั้น ถ้าเธอยอมสละคืนการยอมสละคืนได้อย่างนี้ นั่นเป็นการ

ดี. ถ้าไม่ยอมสละคืน เมื่อได้สามัคคี พึงยกเสียอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่

เป็นอาบัติในเพราะสมโภคและอยู่ร่วมกัน.

วิธีปฏิบัติในภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย จบ

มหาขันธกะที่ ๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

อุททานคาถา

[๑๔๖] พระวินัยมีประโยชน์มาก คือ

นำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุ ผู้มีศีลเป็นที่

รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่อง

พวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระ

ศาสนา เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญูชินเจ้า

ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดนเกษม อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มี

ข้อที่น่าสงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในขันธกะ วินัย

บริวาร และมาติกา ปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลัก

แหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร ชนใดไม่

รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึง

รักษาสังวรไว้ได้ เมื่อพระสุตตันตะ และพระ

อภิธรรมเลอะเลือนไปก่อนแต่พระวินัยยังไม่

เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป

เพราะเหตุแห่งการสังคายนานั้น ข้าพเจ้าจัก

ประมวลกล่าวโดยลำดับตามความรู้ ขอท่าน

ทั้งหลายงฟังข้าพเจ้ากล่าว เพื่อจะมิให้ข้อที่

ทำได้ยาก คือวัตถุ นิทาน อาบัติ นัยและ

เปยยาลเหลือลง ขอท่านทั้งหลาย จงทราบ

๑. น่าจะเป็นอุทานคาถา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ข้อนั้นโดยนัยเถิด เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้

โพธิ์ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิ-

โครธ เรื่องประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตน-

พฤกษ์ เรื่องท้าวสหัมบดีพรหม เรื่องฤาษี-

อาฬาระ เรื่องฤาษีอุททกะ เรื่องอุปกาชีวก

เรื่องภิกษุปัญจวัดคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ

ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เรื่องยสกุลบุตร

เรื่องสทาย ๔ คน เรื่องสหาย ๕๐ คน เรื่อง

ส่งพระอรหันต์ทั้งหมดไปในทิศต่าง ๆ เรื่อง

มาร ๒ เรื่อง เรื่องภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ เรื่อง

ชฏิล ๓ พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น เรื่อง

โรงบูชาไฟ เรื่องท้าวมหาราช เรื่องท้าว-

สักกะ เรื่องท้าวมหาพรหม เรื่องประชาชน

ชาวอังคะมคธะทั้งหมด เรื่องทรงชักผ้าบัง-

สกุล เรื่องสระโบกขรณี เรื่องศิลา เรื่อง

ต้นกุ่ม เรื่องผึ่งผ้าบังสุกุลที่แผ่นศิลา เรื่อง

ไม้หว้า เรื่องไม้มะม่วง เรื่องไม้มะขามป้อม

เรื่องทรงเก็บดอกไม้ปาริฉัตตกะ เรื่องชฎิล

พวกอุรุเวลกัสสปผ่าฟืน เรื่องติดไฟ เรื่อง

ดับไฟ เรื่องดำน้ำ เรื่องกองไฟ เรื่องฝนตก

เรื่องแม่น้ำคยา เรื่องสวนตาลหนุ่ม เรื่อง

พระเจ้าแผ่นดินมคธ เรื่องอุปติสสะและ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

โกลิตะ เรื่องกุลบุตรที่มีชื่อเสียงบวช เรื่อง

ภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย เรื่องประณาม เรื่อง

พราหมณ์ซูบผอมหม่นหมอง เรื่องประ-

พฤติอนาจาร เรื่องบวชเห็นแก่ท้อง เรื่อง

มาณพ เรื่องให้อุปสมบทด้วยคณะ เรื่อง

อุปัชาฌายะมีพรรษาเดียวให้กุลบุตรบวช เรื่อง

อุปัชฌายะเขลา เรื่องอุปัชฌายะหลีกไป เรื่อง

ถือนิสสัยกะอาจารย์มีพรรษา ๑๐ เรื่องอันเตวา

สิกไม่ประพฤติชอบ เรื่องทรงอนุญาตให้

ประณาม เรื่องอาจารย์ให้นิสสัยเขลา เรื่อง

นิสสัยระงับ เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕

เรื่องภิกษุประกอบด้วยองค์ ๖ เรื่องภิกษุเคย

เป็นอัญญเดียรถีย์ เรื่องชีเปลือย เรื่องไม่

โกนผม เรื่องชฎิลบูชาไฟ เรื่องอัญญเดียรถีย์

ที่เป็นศากยบวช เรื่องอาพาธ ๕ อย่างใน

มคธรัฐ เรื่องราชภัฏบวช เรื่ององคุลิมาลโจร

เรื่องพระเจ้าแผ่นดินมคธมีพระบรมราชา-

นุญาตไว้ เรื่องห้ามบวชนักโทษหนีเรือนจำ

ห้ามบวชนักโทษที่ออกหมายสั่งจับ เรื่อง

ห้ามบวชคนถูกเฆี่ยนมีรอยหวายติดตัว เรื่อง

ห้ามบวชคนถูกอาญาสักหมายโทษ เรื่องห้าม

บวชคนมีหนี้สิน เรื่องห้ามบวชทาส เรื่อง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

บุตรชายช่างทอง เรื่องเด็กชายอุบาลี เรื่อง

อหิวาตกโรค เรื่องตระกูลมีศรัทธา เรื่อง

สามเณรกัณฏกะ เรื่องทิศคับแคบ เรื่องถือ

นิสสัย เรื่องเด็กบรรพชา เรื่องสิกขาบท

ของสามเณร เรื่องสามเณรไม่เคารพภิกษุ

เรื่องคำนึงว่าจะลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอ

เรื่องลงทัณฑกรรม คือห้ามสังฆารามทุกแห่ง

เรื่องห้ามปาก เรืองไม่บอกพระอุปัชฌายะ

เรื่องเกลี้ยกล่อมสามเณรไว้ใช้ เรื่องสามเณร

กัณฏกะ เรื่องห้ามอุปสมบทบัณเฑาะก์คน

ลักเพศ เรื่องห้ามอุปสมบทคนเข้ารีตเดียรถีย์

เรื่องห้ามอุปสมบทนาค คนฆ่ามารดา คน

ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์ คนทำร้ายภิกษุณี

ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คนทำร้ายพระพุทธเจ้า

จนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก เรื่อง

ห้ามอุปสมบทคนไม่มีอุปัชฌายะ คนมีสงฆ์

เป็นอุปัชฌายะ คนมีคณะเป็นอุปัชฌายะ

คนมีบัณเฑาะก์เป็นอุปัชฌายะ เรื่องห้าม

คนไม่มีบาตรคนไม่มีจีวร คนไม่มีบาตรและ

จีวรทั้ง ๒ อย่าง เรื่องห้ามอุปสมบทคนยืม

บาตรยืมจีวร ยืมทั้งบาตรและจีวรรวม ๓ เรื่อง

ห้ามบรรพชาคนมือด้วน ห้ามบรรพชาคนเท้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ด้วน ห้ามบรรพชาคนมือเท้าด้วน ห้าม

บรรพชาคนหูขาด ห้ามบรรพชาคนจมูกขาด

ห้ามบรรพชาคนทั้งหูและจมูกขาด ห้าม

บรรพชาคนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ห้ามบรรพชา

คนง่ามมือง่ามเท้าขาด ห้ามบรรพชาคนเอ็น

ขาด ห้ามบรรพชาคนมือเป็นแผ่น ห้าม

บรรพชาคนค่อม ห้ามบรรพชาคนเตี้ย ห้าม

บรรพชาคนคอพอก ห้ามบรรพชาคนถูก

ลงอาญาสักหมายโทษ ห้ามบรรพชาคนถูก

เฆี่ยนมีรอยหวายติดตัว ห้ามบรรพชาคนมี

หมายประกาศจับ ห้ามบรรพชาคนเท้าปุก

ห้ามบรรพชาคนมีโรคเรื้อรัง ห้ามบรรพชา

คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ ห้ามบรรพชาคน

ตาบอดข้างเคียว ห้ามบรรพชาคนง่อย ห้าม

บรรพชาคนกระจอก ห้ามบรรพชาคนเป็น

โรคอัมพาต ห้ามบรรพชาคนมีอิริยาบถขาด

ห้ามบรรพชาคนแก่ ห้ามบรรพชาคนตาบอด

๒ ข้าง ห้ามบรรพชาคนใบ้ ห้ามบรรพชา

คนหูหนวก ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและใบ้

ห้ามบรรพชาคนทั้งบอดและหนวก ห้าม

บรรพชาคนทั้งใบ้และหนวก ห้ามบรรพชา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

คนทั้งบอดใบ้และหนวก เรื่องให้นิสสัยแก่

อลัชชี เรื่องถือนิสสัยต่ออลัชชี เรื่องเดินทาง

ไกล เรื่องขอร้อง เรื่องพิจารณา เรื่องจงมา

สวด เรื่องแย่งกันอุปสมบทก่อน เรื่อง

อุปสมบทมีอุปัชฌายะองค์เดียว เรื่องพระ-

กุมารกัสสป เรื่องอุปสัมบันปรากฏถูกโรค

เบียดเบียน เรื่องอุปสัมปทาเปกขะยังมีได้

สอนซ้อมสะทกสะท้าน เรื่องสอนซ้อมใน

ท่ามกลางสงฆ์นั้นแหละ เรื่องห้ามภิกษุ

เขลาสอนซ้อม ห้ามภิกษุยังไม่ได้รับสมมติ

สอนซ้อม เรื่องผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทา

เปกขะมาพร้อมกัน เรื่องขอจงยกขึ้น เรื่อง

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา เรื่องบอก

นิสสัย เรื่องละอุปสัมบันไว้แต่ลำพัง เรื่อง

ภิกษุถูกสงฆ์ยกเสีย ๓ เรื่อง

รวมเรื่องในขันธกะนี้ ๑๗๒ เรื่อง

หัวข้อเรื่องในมหาขันธกะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

อรรถกานิสสยคหณกถา

ในคำว่า อลชฺชีน นิสฺสาย วสนฺติ นี้:-

บทว่า อลชฺชีน เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ความ

ว่า ภิกษุทั้งหลายพึ่งบุคคลผู้อลัชชีทั้งหลายอยู่.

คำว่า ยาว ภิกฺขูสภาคต ชานามิ มีความว่า เราจะทราบความที่

ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้ถูกส่วนกับทั้งหลาย คือ ความเป็นผู้มีละอายเพียงไร.

เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ถึงฐานะใหม่ แม้อันภิกษุไร ๆ กล่าวว่า ภิกษุ เธอจง

มาถือนิสัย ดังนี้ พึงพิจารณาข้อที่ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นผู้มีความละอาย ๔ - ๕ วัน

แล้ว จึงค่อยถือนิสัย ถ้าได้ฟังในสำนักแห่งภิกษุทั้งหลายว่า พระเถระเป็น

ลัชชี เป็นผู้ปรารถนาจะถือในวันที่ตนมาทีเดียว ฝ่ายพระเถระกล่าว่า คุณจง

รอก่อน คุณอยู่จักรู้ ดังนี้ แล้วตรวจดูอาจาระเสีย ๒ - ๓ วันแล้ว จึงให้นิสัย

การทำอย่างนี้ ย่อมควร.

โดยปกติ ภิกษุผู้ไปสู่สถานเป็นที่ถือนิสัย ต้องถือนิสัยในวันนั้นทีเดียว

แม้วันเดียว ก็คุ้มไม่ได้. ถ้าในปฐมยาม อาจารย์ไม่มีโอกาส เมื่อไม่ได้โอกาส

จะนอนด้วยผูกใจไว้ว่า เราจักถือในเวลาใกล้รุ่ง ถึงอรุณขึ้นแล้วไม่รู้ ไม่เป็น

อาบัติ แต่ถ้าไม่ทำความผูกใจว่า เราจักถือ แล้วนอน เป็นทุกกฏในเวลา

อรุณขึ้น.

ภิกษุไปสู่สถานที่ไม่เคยไป ปรารถนาจะค้าง ๒ - ๓ วันแล้วไปไม่ต้อง

ถือนิสัยอยู่ก็ได้. แต่เมื่อทำอาลัยว่า เราจักค้าง ๗ วันต้องถือนิสัย. ถ้าพระเถระ

พูดว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยนิสัยสำหรับผู้ค้าง ๗ วัน. เธอเป็นอันได้บริหาร

จำเดิมแต่กาลที่พระเถระห้ามไป.

๑. วินย. มหาวคฺค. ทุติย. ๒๖๔

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

บทว่า นิสฺสยกรณีโย มีความว่า เราเป็นผู้มีการถือนิสัยเป็นกิจควร

ทำ อธิบายว่า นิสัยอันเราพึงทำ คือ พึงถือ.

สองบทว่า นิสฺสย อลกมาเนน มีความว่า เมื่อไม่มีภิกษุผู้ให้นิสัย

ซึ่งเดินทางไปกับคน เธอชื่อว่าย่อมไม่ได้นิสัย อันภิกษุผู้ไม่ได้อย่างนั้น ไม่ต้อง

ถือนิสัยไปได้สิ้นวันแม้มาก ถ้าเข้าไปสู่อาวาสบางตำบลซึ่งตนเคยถือนิสัยอยู่แม้

ในกาลก่อน แม้จะค้างคืนเดียว ก็ต้องถือนิสัย. พักอยู่ในระหว่างทางหรือหา

พวกอยู่ ๒ - ๓ วัน ไม่เป็นอาบัติ. แต่ภายในพรรษาต้องอยู่ประจำที่ และต้อง

ถือนิสัย. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไปในเรือ แต่ไม่ได้นิสัยในเมื่อฤาดูฝนแม้

มาแล้ว.

บทว่า ยาจิยมาเนน มีความว่า ผู้อันภิกษุไข้นั้นออกปากขอ ถ้า

ภิกษุไข้แม้เธอบอกว่า ท่านจงออกปากขอกะเรา ดังนี้ แต่ไม่ยอมออกปากขอ

เพราะมานะ เธอพึงไป.

สองบทว่า ผาสุ โหติ มีความว่า ความสำราญ มีด้วยอำนาจแห่ง

การได้เฉพาะซึ่งสมถะและวิปัสสนา. อันที่จริง พระโสดาบัน ย่อมไม่ได้เลย

ซึ่งบริหารนี้ พระสกทาคามีพระอนาคามีและพระอรหันต์ ก็ไม่ได้ บุคคลผู้มี

ปกติได้สมาธิหรือวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้ว ย่อมไม่ได้บริหารนี้. อันคำที่จะพึ้ง

กล่าวย่อมไม่มีในพาลปุถุชน ผู้ละเลยกัมมัฏฐานเสียแท้. แต่ว่าสมถะก็ดี วิปัสสนา

ก็ดี ของภิกษุใดแล ยังเป็นคุณชาติอ่อน ภิกษุนี้ย่อมได้บริหารนี้. แม้ปวารณา

สงเคราะห์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้มีสมถะและวิปัสสนายัง

อ่อนนี้เท่านั้น. เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ แม้เมื่ออาจารย์ปวารณาแล้วไปแล้ว

ด้วยล่วง ๓ เตือน จะทำความผูกใจว่า เมื่อใค ภิกษุผู้ให้นิสัยซึ่งสมควรจักมา

เมื่อัน้น เราจักอาศัยภิกษุนั้นอยู่ แล้วไม่ถือนิสัยอยู่จนถึงวันอาสาฬหปุณณมี

๑. คือทรงอนุญาตให้เลื่อนปวารณาไปทำในวันเพ็ญเตือนกัตติกาหลัง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ดิถีเพ็ญเตือน ๘ อีกก็ควร. แต่ถ้าในอาสาฬหมาส อาจารย์ไม่มา ควรไปในที่

ซึ่งตนจะได้นิสัย.

อรรถกถาเอกานุสสาวนากถา

สองบทว่า โคตฺเตนปิ อนุสฺสาเวตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ

ระบุโคตรสวดประกาศอย่างนี้ว่า ผู้มีชื่ออย่างนี้เพ่งอุปสมบทแก่พระมหากัสสปะ.

สองบทว่า เทฺว เอกานุสฺสาวเน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุ

ทำการสวดประกาศอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คนรวมกันได้. อธิบายว่า เราอนุณาต

ให้อาจารย์ ๒ รูปอย่างนี้ ถือ อาจารย์รูป ๑ สำหรับอุปสัมปทาเปกขะคน ๑

อาจารย์อื่นสำหรับอุปสัมปทาเปกขะอีกคน ๑ หรืออาจารย์รูปเดียวสวดกรรม

วาจาประกาศให้อุปสมบทในขณะเดียวกันได้.

คำว่า เทฺว เทฺว ตโย เอกานุสฺสาวเน กาตุ ตญฺจ โข เอเกน

อุปชฺฌาเยน มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุทำการสวดประกาศชน ๒ คน

หรือ ๓ คนรวมกัน โดยนัยก่อนนั่นแล. และเราอนุญาตอนุสสาวนกิริยานั้นแล

ด้วยอุปัชฌาย์รูปเดียว. เพราะเหตุนั้นอุปสัมปทาเปกขะ ๒ คน หรือ ๓ คน

อันอาจารย์รูปเดียว พึงสวดประกาศ กรรมวาจา ๒ หรือ ๓ อันอาจารย์ ๒ รูป

หรือ ๓ รูป พึงสวดด้วยลงมือพร้อมกันทีเดียวอย่างนี้ คือ อาจารย์รูป ๑ พึง

สวดแก่อุปสัมปทาเปกขะรูป ๑. แยก ๆ กันไป. แต่ถ้าอาจารย์ก็ต่างรูป

อุปัชฌาย์ต่างรูปกัน คือ พระติสสเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระสุมน-

เถระ พระสุมนเถระสวดประกาศสัทธิวิหาริกของพระติสสเถระ และต่างเป็น

คณปูรกะของกันและกัน อย่างนี้ควร. และถ้าอุปัชฌาย์ต่างรูปกัน อาจารย์รูป

เดียว อย่างชื่อว่าไม่ควร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามไว้ว่า แต่เราไม่

อนุญาตด้วยอุปัชฌาย์ต่างรูปกันเลย ดังนี้ จริงอยู่การห้ามนี้หมายเอาคำบาลีนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

อรรถกถาอุปสัมปทายัตตวิธี

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปม อุปชฺฌ คาทาเปตพฺโพ นี้ต่อไป

ภิกษุใดย่อมสอดส่องโทษและมิใช่โทษ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่ออุปัชฌาย์.

อุปสัมปทาเปกขะนั้น อันภิกษุพึงให้ว่าถืออุปัชฌาย์นั้นอย่างนี้ว่า ขอท่านเป็น

อุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิดเจ้าข้า.

บทว่า วิตฺถายนฺติ มีความว่า อุปสัมปทาเปกขะทั้งหลาย ย่อมเป็น

ผู้มีตัวแข็งทื่อ.

สองบทว่า อุลฺลุมฺปตุ ม มีความว่า ขอสงฆ์ยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด.

ศัพท์ ตาวเทว มีความว่า ในเวลาติดต่อกับเวลาที่อุปสัมปทาเปกขะ

อุปสมบทแล้วทีเดียว.

ข้อว่า ฉายา เมตพฺพา มีความว่า พึงวัดเงาว่าชั่วบุรุษ ๑ หรือว่า

๒ ชั่วบุรุษ.

ข้อว่า อุตุปฺปมาณ อาจิกฺขิตพฺพ มีความว่า พึงบอกประมาณฤดู

อย่างนี้ว่า ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูนั่นเอง ชื่อประมาณแห่งฤดูใน

คำนี้ ถ้าฤดูทั้งหลายมีฤดูฝนเป็นต้น ยิ่งไม่เต็ม ฤดูใดของอุปสัมบันใด ยังไม่เต็ม

ด้วยวันมีประมาณเท่าใด, พึงกำหนดวันเหล่านั้น แห่งฤดูนั้น แล้วบอกส่วน

แห่งวัน แก่อุปสัมบันนั้น. อีกประการหนึ่ง พึงบอกประมาณฤดูอย่างนี้ว่า

ฤดูชื่อนี้ทั้งฤดูนั้นแลเต็มหรือยังไม่เต็ม พึงบอกส่วนแห่งวันอย่างนี้ว่า เช้าหรือ

เย็น.

บทว่า สงฺคีติ เป็นต้น มีความว่า พึงประมาณการบอกทั้งหมดมี

บอกกำหนดเงาเป็นต้นนี้แลเข้าด้วยกันบอกอย่างนี้ว่า เธออันใคร ๆ ถามว่า

ท่านได้ฤดูอะไร ? เงาของท่านเท่าไร ? ประมาณฤดูของท่านอย่างไร ส่วน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

แห่งวันของท่านเท่าไร ? ดังนี้ พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฤดูชื่อนี้ คือ ฤดูฝนก็ตาม

ฤดูหนาวก็ตาม ฤดูร้อนก็ตาม เงาของข้าพเจ้าเท่านี้ ประมาณฤดูเท่านี้ ส่วน

แห่งวันเท่านี้.

บทว่า โอหาย ได้แก่ ทิ้ง.

สองบทว่า ทุติย ทาตุ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุให้เป็นเพื่อน

แก่ภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ ซึ่งจะไปสู่บริเวณจากโรงที่อุปสมบทและให้บอก-

อกรณียกิจ ๔ .

บทว่า ปฌฺฑุปลาโส ได้แก่ ใบไม้มีสีเหลือง.

สองบทว่า พนฺธนา ปมุตฺโต ได้แก่ หล่นแล้วจากขั้ว.

สองบทว่า อภพฺโพ หริตตฺตาย มีความว่า ไม่อาจเป็นของเขียว

สดอีก.

สองบทว่า ปุถุสิลา ได้แก่ ศิลาใหญ่.

ข้อว่า อลพฺภมานาย สามคฺคิยา อนาปตฺติ สมฺโภเค สวาเส

มีความว่า ความพร้อมเพรียงเพื่อประโยชน์แก่การทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุนั้น

อันภิกษุยังไม่ได้เพียงใด ไม่เป็นอาบัติในเพราะกินร่วม และอยู่ร่วมต่างโดยทำ

อุโบสถ และปวารณาเป็นต้นกับภิกษุนั้น เพียงนั้น.

คำที่เหลือทุกแห่งนับว่าปรากฏแล้วแท้ เพราะเป็นคำที่จะพึงทราบได้

ง่าย โดยทำนองที่กล่าวไว้แล้วในมหาวิภังค์ ด้วยประการฉะนี้.

คำอธิบายความแห่งมหาขันธกะ

อันประดับ ด้วย ๑๗๒ เรื่องในอรรถกถาแห่งพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

๑. สมฺโภเคติ ธมฺมสมฺโภเค อามิสสมฺโภิเค จาติ สารตฺถทีปนี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

อุโบสถขันธกะ

เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์

[๑๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ

ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึง

วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้ง

หลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก

ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ๆ ย่อมได้พรรคพวก ครั้งนั้น

พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช เสด็จไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีพระ-

ราชปริวิตกแห่งพระราชหฤทัยเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ ถึงวัน ๑๔ ด่า ๑๕ ค่ำ-

และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม

คนทั้งหลายเข้าไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้

ความรัก ได้ความเลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระคุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน

๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้าง จึงท้าวเธอเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ท้าวเธอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลข้อปริวิตกนั้น ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความ

ปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ถึงวัน ๑๔

ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ย่อมประชุมกันกล่าวธรรม คนทั้งหลายเข้า

ไปหาปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาได้ความรัก ได้ความ

เลื่อมใส ในพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ๆ ย่อมได้พรรคพวก ไฉนหนอพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

คุณเจ้าทั้งหลาย พึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์

บ้าง หม่อมฉันขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงประชุมกัน

ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์บ้างเถิดพระพุทธเจ้าข้า.

ทรงแสดงธรรมีกถา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนา-

มาคธราชทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ครั้น

ท้าวเธออันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ

ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำประทักษิณเสด็จกลับไป.

พระพุทธานุญาตวันประชุม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า

มูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่ง

ปักษ์.

ประชุมนั่งนิ่ง

[๑๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ประชุมกัน ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ ภิกษุ

เหล่านั้น จึงประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้ว

นั่งนิ่งเสีย คนทั้งหลายเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นเพื่อฟังธรรม พวกเขาต่างก็เพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรประชุมกันใน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ จึงได้นั่งนิ่งเสียเหมือนสุกรอ้วนเล่า

ธรรมเนียมภิกษุผู้ประชุมกัน ควรกล่าวธรรมมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายได้ยิน

พวกนั้นเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้กล่าวธรรม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ประชุมกันกล่าวธรรม ในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘

ค่ำ แห่งปักษ์.

พระพุทธานุญาตปาติโมกขุทเทส

[๑๔๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป ณ ที่สงัดหลีกเร้นอยู่

ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบท

ที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็นปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปติ-

โมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวกเธอ ครั้นเวลาสายัณห์ พระองค์

เสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน

เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้

ว่า ไฉนหนอเราพึงอนุญาตสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ให้เป็น

ปาติโมกขุทเทสของพวกเธอ ปาติโมกขุทเทสนั้นจักเป็นอุโบสถกรรมของพวก

เธอ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสวดอย่างนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่

แล้วสงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์ อะไรเป็นบุพพกิจของสงฆ์ ท่าน

ทั้งหลายพึงบอกความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าจักสวดปาติโมกข์ พวกเราบรรดาที่มี

อยู่ทั้งหมดจงฟัง จงใส่ใจซึ่งปาติโมกข์นั้นให้สำเร็จประโยชน์ ท่านผู้ใดมีอาบัติ

ท่านผู้นั้น พึงเปิดเผย เมื่ออาบัติไม่มี พึงนิ่งอยู่ ก็ด้วยความเป็นผู้นิ่งแล

ข้าพเจ้าจักทราบท่านทั้งหลายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓

จบ ในบริษัทเห็นปานนี้ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้เฉพาะรูป ที่ถูกถามผู้เดียว

ฉะนั้น ก็ภิกษุรูปใด เมื่อสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ รู้ลึกได้ ไม่ยอม

เปิดเผยอาบัติที่มีอยู่ สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น ท่านทั้งหลาย ก็

สัมปชานมุสาวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย เพราะ

ฉะนั้น ภิกษุต้องอาบัติแล้วระลึกได้ หวังความบริสุทธิ์ พึงเปิดเผยอาบัติที่มี

อยู่ เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ.

นิทานุเทสวิภังค์

[๑๕๐] คำว่า ปาติโมกข์ นี้ เป็นเบื้องต้น เป็นประธาน เป็น

ประมุขแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ปาติโมกข์.

คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน เป็นคำแสดง

ความเคารพ.

คำว่า ท่านทั้งหลาย นี้ เป็นชื่อของถ้อยคำที่ประกอบด้วยความ

เคารพและประกอบด้วยความยำเกรง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

คำว่า จักสวด คือจักบอก จักแสดง จักทำให้ปรากฏ จักริเริ่ม

จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักประกาศ.

บทว่า นั้น ตรัสเรียกปาติโมกข์.

คำว่า ที่มี่อยู่ทั้งหมด ความว่า ภิกษุในบริษัทนั้นมีจำนวนเท่าไร

เป็นเถระก็ตาม นวกะก็ตาม มัชฌิมะก็ตาม เหล่านี้เรียกว่า ที่มีอยู่ทั้งหมด.

คำว่า จงฟังให้สำเร็จประโยชน์ ความว่า จงตั้งใจ มนสิการ

ประมวลเรื่องทั้งหมดด้วยใจ.

คำว่า จงใส่ใจ ความว่า จงเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน

มีจิตไม่ซัดส่าย ทั้งใจฟัง.

คำว่า ท่านผู้ใดมีอาบัติ ความว่า ภิกษุเถระก็ตาม นวกะก็ตาม

มัชฌิมะก็ตาม มีอาบัติ ๕ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง มีอาบัติ ๗ กอง ตัวใดตัวหนึ่ง.

คำว่า ท่านผู้นั้นพึงเปิดเผย ความว่า ภิกษุนั้นพึงแสดง พึง

เปิดเผยพึงทำให้ตื้น พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน

บุคคลผู้หนึ่ง.

อาบัติชื่อว่า ไม่มี คือ ภิกษุไม่ต้องอาบัติ หรือว่าต้อง แต่ออก

แล้ว.

คำว่า พึงนิ่งอยู่ คือพึงนิ่ง ในต้องพูด.

คำว่า ข้าพเจ้าจักทราบว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ คือรู้จัก จักทรงจำไว้.

คำว่า ย่อมเป็นเหมือนการกล่าวแก้ เฉพาะรูปที่ถูกถามผู้เดี่ยว

ความว่า พึงรู้ในบริษัทนั้นว่า ถามเรา ดังนี้ เหมือนภิกษุรูป ๑ ถูกภิกษุ

อีกรูป ๑ ถาม พึงแก้ฉะนั้น.

บริษัทที่ชื่อว่า เห็นปานนี้ ตรัสเรียกภิกษุบริษัท.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

คำว่า การสวดประกาศกว่าจะครบ ๓ จบ ความว่า สวดประ-

กาศแม้ครั้งที่ ๑ สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๒ สวดประกาศแม้ครั้งที่ ๓.

บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.

อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้วยังมิได้

ออก.

คำว่า ไม่ยอมเปิดเผย ความว่า ไม่ยอมแสดง ไม่ยอมเปิดเผย

ไม่ยอมทำให้ตื้น ไม่ยอมประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ หรือใน

บุคคลผู้ ๑.

คำว่า สัมปชานมุสาวาท ย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้น คือ สัมปชาน-

มุสาวาท. เป็นอะไร เป็นอาบัติทุกกฏ.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ความ

ว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่อะไร เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุปฐมฌาน

เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุทุติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุ

ตติยฌาน เป็นธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุจตุตถฌาน เป็นธรรมทำอันตราย

แก่การบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก

กุศลธรรม.

บทว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะเหตุดังนั้น.

บทว่า ระลึกได้ คือรู้ จำได้.

บทว่า หวังความบริสุทธิ์ คือประสงค์เพื่ออกจากอาบัติ ประสงค์

เพื่อความหมดจด.

อาบัติที่ชื่อว่า มีอยู่ คือภิกษุต้องอาบัติแล้ว หรือต้องแล้ว ยังมิได้

ออก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

คำว่า พึงเปิดเผย ความว่า พึงทำให้แจ้งในท่ามกลางสงฆ์ ท่าน

กลางคณะ หรือในบุคคลผู้หนึ่ง.

คำว่า เพราะเปิดเผยอาบัติแล้ว ความผาสุกย่อมมีแก่เธอ

ความว่า ความผาสุขมีเพื่ออะไร ความผาสุกมีเพื่อบรรลุปฐมฌาน ความผาสุก

มีเพื่อบรรลุทุติยฌาน. ความผาสุกมีเพื่อบรรลุตติยฌาน ความผาสุกมีเพื่อ

บรรลุจตตุถฌาน ความผาสุกมีเพื่อบรรลุฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ

เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก กุศลธรรม.

สวดปาติโมกข์วันอุโบสถ

[๑๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตการสวดปาติโมกข์แล้ว จึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน ภิกษุทั้งหลายพา

กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ทุกวัน รูปใดสวด

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

การสวดปาติโมกข์ในวันอุโบสถแล้ว จึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง คือ ใน

วันที่ ๑๔ วันที่ ๑๕ และวันที่ ๘ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ปักษ์ละ ๓ ครั้ง รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ ปักษ์ละ ๑ ครั้ง

คือในวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๑๕.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์

[๑๕๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่า

ที่มีอยู่ คือเฉพาะบริษัทของตน ๆ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์แก่บริษัทเท่าที่มีอยู่ คือเฉพาะบริษัทของตน ๆ รูปใด

สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้พร้อม

เพรียงกัน.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติอุโบสถกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วมีความดำริ

ต่อไปว่าความพร้อมเพรียงมีเพียงเท่าไรหนอแล มีเพียงอาวาสหนึ่ง หรือทั่ว

ทั้งแผ่นดินแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตความพร้อมเพรียง

เพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้น.

เรื่องพระมหากัปปินเถระดำริจะไม่ทำอุโบสถ

[๑๕๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะพักอยู่ ณ มัททกุจ-

ฉิมฤคทายวัน เขตพระนครราชคฤห์ คราวหนึ่ง ท่านไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่

ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควร

ไป ควรไปทำสังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้ว

ด้วยความหมดจดอย่างยิ่ง ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตก

แห่งจิตของท่านพระมหากัปปินะด้วยพระทัยของพระองค์ แล้วได้ทรงหายพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

องค์ไปในคิชฌกูฏบรรพมาปรากฏอยู่ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจ-

ฉิมฤคทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู่ หรือคู่แขนที่เหยียด

ฉะนั้น แล้วพระองค์ประทับนั่งเหนือพุทธอาสนะที่เขาจัดถวาย ฝ่ายท่านพระ

มหากัปปินะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดำนี้กะท่านพระกัปปินะผู้นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนกัปปินะ เธอไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตก

แห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราควรไปทำอุโบสถ หรือไม่ควรไป ควรไปทำ

สังฆกรรม หรือไม่ควรไป โดยที่แท้ เราเป็นผู้หมดจดแล้วด้วยความหมดจด

อย่างยิ่ง ดังนี้มิใช่หรือ.

ท่านพระมหากัปปินะทูลรับว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่

สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ซึ่งอุโบสถ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจัก

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ซึ่งอุโบสถ ดูก่อนพราหมณ์ เธอจงไปทำ

อุโบสถ จะไม่ไปไม่ได้ จงไปทำสังฆกรรม จะไม่ไปไม่ได้.

ท่านพระมหากัปปินะรับสนองพระพุทธพจน์ว่า อย่างนั้น พระพุทธ-

เจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ท่านพระมหากัปปินะเห็น-

แจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วได้ทรงหายพระองค์ไปในที่

ตรงหน้าท่านพระมหากัปปินะ ณ มัททกุจฉิมฤดูทายวัน มาปรากฏ ณ คิชฌกูฏ-

บรรพต โดยรวดเร็ว เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่

เหยียดฉะนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ

ในบทว่า อญฺติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่า

ติดถะ แปลว่าท่า ท่าอื่น ชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้น มีอยู่เหตุนั้น

ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์ มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิใน

ศาสนานี้.

สองบทว่า ธมฺม ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและ

ไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.

สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.

บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.

ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วา วุฏฺิโต

นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออก

แล้ว อาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.

ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาท

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติ

เป็นอาบัติอะไร ? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน ?

ข้อว่า ทุกฺกฏ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฏ. ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ผู้

ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า

เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า.

ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไร ๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้น

บอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

หาต้องอาบัติมีกายเป็นสมุฏฐานไม่ ปัญหาข้อนี้ผู้ฉลาดทั้งหลายคิด

กันนัก.

บทว่า อนฺตรายิโก คือ ทำอันตราย.

ข้อว่า กิสฺส ผาสุ โหติ มีความว่า ความสำราญย่อมมีเพื่อประ-

โยชน์อะไร ?

ข้อว่า ปมสฺส ฌานสฺส อธิคมาย มีความว่า ความสำราญย่อม

มี คือ ความสุขย่อมมี แก่ภิกษุนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความบรรลุปฐมฌาน.

นัยในคุณวิเศษทั้งปวง มีทุติยฌานเป็นต้น ก็เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงปาติโมกขุทเทสครั้งแรก ทั้งอุทเทสทั้งนิทเทส ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เทวสิก ได้แก่ ทุก ๆ วัน.

หลายบทว่า จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา มีความว่า ในวัน

จาตุททสี ๒ ครั้ง ในปักษ์ที่ ๓ และที่ ๗ แห่งฤดูอันหนึ่ง. ในวันปัณณรสี ๖

ครั้ง ในปักษ์ที่เหลือ จากนั้น อันนี้เป็นอรรถอันหนึ่งก่อน. และอรรถนี้

กล่าวด้วยมุ่งเอาจิตตามปกติ. แต่เมื่อปัจจัยเห็นปานนั้นมี ก็สมควรจะสวดในวัน

จาตุททสี หรือวันปัณณรสี วันใดวันหนึ่ง ก็ได้ ตามพระบาลีว่า สกึ ปกฺขสฺส

จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา. ก็เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงทราบ แม้โดย

พระบาลีว่า อุโบสถของภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าถิ่นเป็นวันจาตุททสี, อุโบสถของภิกษุ

ทั้งหลายผู้อาคันตุกะเป็นวันปัณณรสี, ถ้าภิกษุผู้เจ้าถิ่นมากกว่าภิกษุผู้อาคันตุกะ

ต้องคล้อยตามภิกษุผู้เจ้าถิ่น.

๑. มหาวคฺค. ปฐม ๒๖๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

อรรถกถาสีมากถา

ข้อว่า พึงกำหนดนิมิตก่อน นั้น มีความว่า พระวินัยธรพึงทักว่า

ในทิศบูรพา อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่าภูเขา เจ้าข้า พระวินัยธร

พึงระบุอีกว่า ภูเขานั้น เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตก่อนอย่างนี้. แต่จะกำหนด

อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจะทำภูเขานั่นเป็นนิมิต จักทำภูเขานั่นเป็นนิมิต ทำภู

เขานั่นเป็นนิมิตแล้ว ภูเขานั่นจงเป็นนิมิต เป็นนิมิตแล้ว จักเป็นนิมิติ ดังนี้

ใช้ไม่ได้. แม้ในนิมิตทั้งหลายมีศิลาเป็นต้น มีนัยเหมือนกันก็พระวินัยธรทัก

นิมิตไปโดยลำดับอย่างนี้ว่า ในทิศน้อยแห่งทิศบูรพา ในทิศทักษิณ ในทิศน้อย

แห่งทิศทักษิณ ในทิศปัศจิมในทิศน้อยแห่งทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศน้อย

แห่งทิศอุดร อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่ง ตอบว่า น้ำ เจ้าข้า เมื่อตน

ระบุว่า น้ำนั่นเป็นนิมิต แล้วอย่าหยุดในทิศนี้ พึงทักซ้ำอีกว่าในทิศบูรพา

อะไรเป็นนิมิต ? เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตอบว่า ภูเขาเจ้าข้า พึงระบุว่า ภูเขานั่น

เป็นนิมิต. พึงกำหนดนิมิตที่ได้กำหนดไว้ที่แรกอย่างนี้แล้ว จึงค่อยหยุด. จริง

อยู่ ด้วยการกำหนดอย่างนี้นิมิตกับนิมิตจึงจัดว่าเชื่อมถึงกัน. ครั้นกำหนดนิมิต

อย่างนี้แล้ว ลำดับนั้น พึงสมมติสีมาด้วยกรรมวาจาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เป็นลำดับไป. ในที่สุดแห่งกรรมวาจาพื้นที่ภายในนิมิตทั้งหลายย่อมเป็นสีมา

ตัวนิมิตทั้งหลายเป็นภายนอกสีมา. นิมิตทั้งหลายในสีมานั้น แม้กำหนดครั้ง

เดียว ก็เป็นอันกำหนดไว้ดีแล้วแท้. แต่ในอันธกอรรถกถา แก้ว่า เมื่อจะผูก

มณฑลสีมา ต้องกำหนดนิมิต ๓ ครั้ง. และอุปสัมบันก็ได้ อนุปสัมบันก็ไค้

จงตอบอย่างนี้ว่า ภูเขา เจ้าข้า ฯ ล ฯ น้ำเจ้าข้า ควรทั้งนั้น.

๑. โหหิติ ภวิสฺสติ ทั้ง ๒ คำนี้ คล้าย ๆ กับว่าใช้คำใดก็ได้ ท่านใช้ตามภาษาของท่านโดย

สะดวก ครั้นมาแปลเป็นภาษาไทยเข้าก็ลำบาก นอกจากจะแปลขอไปทีพอได้ความหรือมิฉะนั้น

ก็ยกคำบาลีนั้นมาให้เห็นในคำแปลว่า . . . นิมิตฺต โหหิติ นิมิตฺต ภวิสฺสติ เพราะต่างก็เป็น

กิริยาในความว่ามีว่าเป็น รูปอนาคตด้วยกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

อรรถกถานิมิตวินิจฉัย

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในนิมิตทั้งหลาย มีปัพพตนิมิตเป็นต้น อย่างนี้:-

ภูเขามี ๓ ชนิด คือ ภูเขาดินล้วน ๑ ภูเขาศิลาล้วน ภูเขาศิลาปน

ดิน ๑. ภูเขานั้น ใช้ได้ทั้ง ๓ ชนิด. แต่กองทรายใช้ไม่ได้ และตั้งแต่ขนาด

เท่าช้างถึงภูเขาสิเนรุ ก็ใช้ไม่ได้. ถ้ามีภูเขา ๔ เทือก ใน ๔ ทิศ หรือมี ๓

เทือก ใน ๓ ทิศ แม้จะสมมติสีมาด้วยปัพพตนิมิตทั้งนั้น ทั้ง ๔ หรือ ๓ ก็

ควร. แค่จะสมมติด้วยนิมิตเพียง ๒ หรือเพียง ๑ ไม่ควร. แม้ในปาสาณนิมิต

เป็นต้นนอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำภูเขาให้เป็นนิมิต

ควรถามว่า เนื่องเป็นอันเดียวกัน. หรือไม่เนื่องเป็นอันเดียวกัน ถ้าเนื่องเป็น

อันเดียวกัน. ไม่ควรใช้. ด้วยว่า แม้กำหนดภูเขานั้น เป็นนิมิต ๔ ทิศ

หรือทั้ง ๔ ทิศ ย่อมเป็นอันกำหนดแล้วเพียงนิมิตเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น

ภูเขาที่ตั้งโอบรอบวัดที่อยู่โดยสัณฐานดังกงจักร อย่างนั้น ควรกำหนดในทิศ

เดียว ในทิศอื่น ๆ พึงกันภูเขานั้นไว้ภายนอก กำหนดนิมิตชนิดอื่นภายใน

แต่ภูเขานั้นเข้ามา. หากว่าประสงค์จะทำภูเขาเสี้ยวหนึ่งหรือกึ่งหนึ่งไว้ภายใน

สีมา. อย่ากำหนดภูเขาประสงค์จะทำประเทศเท่าใดไว้ภายใน. พึงกำหนดนิมิต

ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีต้นไม้และจอมปลวกเป็นต้น ที่เกิด ณ ภูเขานั้นเองข้าง

นอกแห่งประเทศเท่านั้น. หากประสงค์จะกันเอาภูเขาทั้งหมด ประมาณโยชน์ ๑

หรือ ๒ โยชน์ไว้ภายใน. พึงกำหนดต้นไม้หรือจอมปลวกเป็นต้น ซึ่งเกิด ณ

ภาคฟันข้างนอกภูเขาเป็นนิมิต.

วินิจฉัยในปาสาณนิมิต:-

๑. เอกิสฺสาเอว ปน ทิสาย ฐิเตหิ ตโต พหูหิปิ สมฺมนฺนิตุ น วฏฺฏติ. ทฺวีหิ ปน ทฺวีสุ

ทิสาสุ ิเตหิปิ วฏฺฏตีติ วิมติวิโนทนี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

แม้ก้อนเหล็ก ก็นับว่าศิลาได้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ศิลาชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ก็ควร. แต่เมื่อว่าโดยขนาด ขนาดเท่าช้างนับเป็นภูเขา, เพราะ

ฉะนั้น ศิลาขนาดเท่าช้างนั้น จึงไม่ควร. ส่วนศิลาขนาดเท่าโคเขื่อง และ

กระบือเขือง ๆ ใช้ได้. โดยกำหนดอย่างต่ำ ขนาดเท่าก้อนน้ำอ้อยหนัก ๓๒

ปะละ ก็ใช้ได้ ย่อมกว่านั้นหรือแม้อิฐขนาดใหญ่ ก็ใช้ไม่ได้. แม้กองศิลา

ที่ไม่นับเข้าในนิมิตก็ใช้ไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงกองดินกองทราย. ศิลาดาด

ซึ่งราบเสมอพื้นดิน คล้ายวงลานก็ดี ศิลาดาดที่ตั้งสูงพ้นพื้นดินคล้ายตอก็ดี

บรรดามี ศิลาแม้นั้น ถ้าได้ขนาด ใช้ได้. ศิลาดาดแม้ใหญ่เกินไป ย่อมนับว่า

เป็นศิลาด้วย. เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์จะกันประเทศอันหนึ่ง แต่ศิลาดาด

ขนาดใหญ่ไว้ภายในสีมา, อย่ากำหนดศิลาดาดนั้นเป็นนิมิต พึงกำหนดศิลาอื่น

เหนือศิลาดาดนั้น หากทำวัตที่อยู่บนศิลาดาด หรือศิลาดาดยื่นไปทางท่ามกลาง

วัดที่อยู่ ศิลาดาดเห็นปานนี้ ใช้ไม่ได้. เพราะถ้ากำหนดศิลาดาดนั้นเป็นนิมิต

วัดที่อยู่ย่อมอยู่บนนิมติ และธรรมดานิมิตต้องอยู่ภายนอกสีมา แม้วัคที่อยู่ก็ถึง

ภายนอกสีมา. ศิลาดาดตั้งโอบรอบวัดที่อยู่ควรกำหนดเป็นนิมิตในทิศเดียว

อย่ากำหนดในทิศอื่น.

วินิจฉัยในวนนิมิต:-

ดงหญ้า หรือป่าไม้มีตาลและมะพร้าวเป็นต้นที่มีเปลือกแข็ง ใช้ไม่ได้

แต่หมู่ไม้มีแก่นข้างในเป็นต้นว่าไม้สากะและไม้สาละ หรือหมู่ไม้ปนไม้มีแก่น

ก็ใช้ได้ ก็ป่าไม้นั้นแล โดยกำหนดอย่างต่ำ แม้เพียง ๔-๕ ต้น ก็ใช้ได้

หย่อนกว่านั้น ใช้ไม่ได้ มากกว่านั้นแม้ตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ก็ใช้ได้. ถ้าทำวัด

ที่อยู่ไว้กลางป่า ไม่ควรกำหนดป่าเป็นนิมิต. แม้ประสงค์จะกันเอาป่าส่วน

๑.หนักประมาณ ๕ ชั่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

หนึ่งไว้ภายในสีมา อย่ากำหนดป่าเป็นนิมิต พึงกำหนดต้นไม้หรือศิลาเป็นต้น

ในป่านั้น เป็นนิมิต. ป่าที่ตั้งล้อมวัดที่อยู่ พึงกำหนดเป็นนิมิตในทิศเดียว

อย่ากำหนดในทิศอื่น.

วินิจฉัยในรุกขนิมิตร:-

ต้นไม้มีเปลือกแข็ง เช่นต้นตาลต้นมะพร้าวเป็นต้นใช้ไม่ได้. ต้นไม้

มีแก่นข้างใน ยังเป็นอยู่ โดยที่สุด สูงเพียง ๘ นิ้ว. วัดโดยรอบแม้ลำต้น

เท่าเล่มเข็ม ก็ใช้ได้. ย่อมกว่านั้น ใช้ไม่ได้ โตกว่านั้นขึ้นไป แม้ต้นไทรที่

ขึ้นงามไพศาลตั้ง ๑๒ โยชน์ ก็ควร. ต้นไม้ที่เขาเพาะพืชให้งอกงามในภาชนะ

ทั้งหลาย มีกระบอกและกระถางเป็นต้น แม้ได้ขนาด ก็ใช้ไม่ได้ แต่เอาออก

จากกระบอกและกระถางเป็นต้นนั้นปลูกลงในพื้นดิน แม้ในขณะนั้น แล้วทำ

ซุ้มรดน้ำกำหนดเป็นนิมิต ก็ควร. การแตกรากและกิ่งใหม่ไม่ใช่เหตุ แต่การ

แตกรากและกิ่งนั้น ย่อมเหมาะสำหรับต้นไม้ที่เขาตัดลำต้นเพาะ อันพระวินัยธร

เมื่อกำหนดจะระบุว่า ต้นไม้ หรือว่า ต้นสากะ หรือว่า ต้นสาละ ดังนี้ ก็

ใช้ได้. แต่กำหนดต้นไม้ที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน เช่นต้นไทรที่ขึ้นงามไพศาล

เป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนดในทิศอื่นอีก ไม่ควร.

วินิจฉัยในบรรดานิมิต:-

ทางทั้งหลาย มีทางป่า ทางนา ทางแม่น้ำ ทางเหมืองเป็นต้นใช้ไม่

ได้. ทางเดินเท้า หรือทางเกวียน ซึ่งผ่านไป ๒ - ๓ ระยะบ้าน จึงใช้ได้.

ส่วนทางเดินเท้าใด แยกออกจากทางเกวียนแล้วกลับลงสู่ทางเกวียนนั่นเองอีก

๑. ในวินัยมุขเล่ม ๓ หน้า ๑๖ ว่าลำต้นเท่าลำเข็ม. ในฎีกาสารตฺถทีปนี ภาค ๔ หน้า ๒๑๓ ว่า

สูจิทณฺฑกปฺปมาโณติ สีหลทีเป เลขนทณฺฑปฺปมาโณติ วทนฺติ. โส จ กนิฏฺงฺคุลิปริมาโณติ

ทฏฺพฺพ: โดยนัยฏีกานี้ ก็คือด้ามเหล็กจาร. ศัพท์ว่า สจิตณฺฑ นี้ยังมีใช้ในเสนาสนกฺขนฺธกวณฺณนา

หน้า ๓๘๗,๓๘๘ อีกว่า อฏฺงฺคุลิสูจิทณฺทมตฺโตปิเวฬุ . . .. อฏฺงฺคุลสูจิทณฺฑมตฺโตปิ ทารุภณฺฑ-

โก . . . ซึ่งหมายความว่า ด้ามเหล็กจารทั้งนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ก็ดี ทางเดินเท้าและทางเกวียนเหล่าใด ใช้ไม่ได้ก็ดี ทางเหล่านั้น ใช้ไม่ได้.

ทางทั้งหลายที่พ่อค้าเดินเท้า และพ่อค้าเกวียน ยังใช้เดินอยู่เสมอ จึงใช้ได้.

ถ้าทาง ๒ แพร่งแยกจากกันไปแล้ว ภายหลังบรรจบเป็นทางเดียวกัน เช่นทูบ

เกวียนไซร้ ทางนั้นพึงกำหนดตรงที่แยกเป็น ๒ แพร่ง หรือที่บรรจบเป็น

นิมิตครั้งเดียวแล้ว อย่ากำหนดอีก. เพราะนิมิตนั้น เป็นนิมิตเนื่องเป็นอัน

เดียวกัน ถ้าทาง ๔ แพร่งอ้อมรอบวัดอยู่แล้วแยกไปในทิศทั้ง ๔ กำหนดทาง

หนึ่งตรงท่ามกลางแล้ว จะกำหนดอีกทางหนึ่ง ไม่ควร. เพราะนิมิตรนั้น

เป็นนิมิตรเนื่องเป็นอันเดียวกัน. แต่จะกำหนดทางที่ผ่านทะแยงมุมไปเป็นนิมิต

ในค้านอื่น ควรอยู่. ส่วนทางที่ลัดผ่านท่ามกลางวัดที่อยู่ไป ไม่ควรกำหนด.

เมื่อกำหนดแล้ว วัดที่อยู่ย่อมอยู่บนนิมิต. ถ้าภิกษุทั้งหลายจะทำทางล้อค้าน

ในแห่งทางเกวียนเป็นนิมิต ทางย่อมอยู่ภายนอกสีมา, ถ้าจะทำทางล้อด้านนอก

เป็นนิมิต ทางล้อด้านนอกเที่ยว ย่อมอยู่ภายนอกสีมา. ทางที่เหลือนับเข้าภาย

ในสีมา. อันพระวินัยธรผู้จะกำหนดทางเป็นนิจ สมควรกำหนดโดยชื่ออย่าง

ใดอย่างหนึ่งในชื่อว่า มคฺโค, ปนฺโถ ปโถ, ปชฺโช เป็นอาทิ. ทางที่ไปได้

รอบวัดที่อยู่ โดยสัณฐานดังดู กำหนดเป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนด

ในทิศอื่นไม่ควร.

วินิจฉัยในวัมมิกนิมิต

จอมปลวก โดยกำหนดอย่างเล็กที่สุด แม้เกิดในวันนั้น สูง ๘ นิ้ว

ขนาดเท่าเขาโค ก็ใช้ได้. ย่อมกว่านั้น ใช้ไม่ได้ เขื่องกว่านั้นขึ้นไป แม้เท่า

กับภูเขาหิมพานต์ ใช้ได้. แต่กำหนดจอมปลวกที่ติดกันเป็นพืดเดียวทั้งล้อม

รอบวัดอยู่ เป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนดในทิศอื่นอีก ไม่ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

วินิจฉัยในนทีนิมิต:-

ในสมัยแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม เมื่อฝนตกติด ๆ กันอย่างนี้คือ ทุก

กึ่งเดือน ทุก ๑๐ วัน ทุก ๕ วัน พอฝนหายแล้ว กระแสแห่งแม่น้ำใด ขาดแห้ง

แร่น้ำนี้ ไม่นับเป็นแม่น้ำ. แต่ในคราวฝนเช่นนี้ กระแสแห่งแม่น้ำใดไหลไม่

ขาด ตลอดฤดูฝน ๔ เดือน ลึกพอจะเปียกอันตรวาสกของนางภิกษุณี ผู้นุ่งห่ม

ได้ปริมณฑล ๓ ลุยข้าม ณ เอกเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง, แม่น้ำนี้นับว่าเป็นแม่น้ำ,

ชนิดนี้แล ก็แม่น้ำใด โอบรอบวัดที่อยู่ โดยสัณฐานดังทูบเกวียนก็ดี โดยสัณ

ฐานดังคูก็ดี คล้ายทาง, กำหนด แม่น้ำนั้นเป็นนิมิตในทิศหนึ่งแล้ว จะกำหนด

ในทิศอื่น ไม่ควร. แม้ในแม่น้ำ ๔ สาย ซึ่งผ่านตัดกันและกันไป ใน ๔ ทิศ

แห่งวัดที่อยู่ ก็มีนัยเหมือนกัน. แต่จะกำหนดแม่น้ำทั้ง ๔ สาย ซึ่งไม่เชื่อม

ต่อกันเป็นนิมิต ใช้ได้ ถ้าชนทั้งหลายปักหลักเรียงกันเหมือนทำรั้วกั้นกระแส

นำด้วยเถาวัลย์และใบไม้เป็นต้น และนำล้นท่วมทำบนไหลไปได้ จะทำให้เป็น

นิมิต ควรอยู่ เมื่อเขาทำทำนบไม่ให้นำไหล แม่น้ำที่ไม่ไหล ไม่ควรทำให้

เป็นนิมิต. ในที่ซึ่งน้ำไหล เพราะขาดน้ำ ในคราวฝนแล้ง หรือ

ในฤดูร้อนใช้ได้. ชนทั้งหลายชักลำรางไขน้ำมาแต่แม่น้ำใหญ่ ลำรางนั้นเป็น

เช่นกับแม่น้ำเขิน ไหลอยู่เป็นกิจ ให้สำเร็จข้าวกล้า ๓ คราว ถึงน้ำไหลไป

ได้ก็จริง แต่ก็ไม่ควรทำเป็นนิมิต. ส่วนลำรางอันใดในชั้นเดิม แม้ขาดขุดชัก

มาจากแม่น้ำใหญ่ ในกาลอื่นเซาะพังกลายเป็นแม่น้ำ ไหลไปได้เอง ตามทาง

ที่เขาขุดชักมานั้นแหละ โดยการต่อไป เกลื่อนกลาดไปด้วยสัตว์น้ำ มีจรเข้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

เป็นอาทิ เป็นแม่น้ำที่จะพึงสัญจรไปได้ด้วยเรือเป็นต้น จะทำลำรางนั้น คือ

ที่กลายเป็นแม่น้ำแล้ว ให้เป็นนิมิตสมควรอยู่.

วินิจฉัยในอุทกนิมิตร:-

ในที่ซึ่งไม่มีน้ำ จะตักน้ำใส่ให้เต็มในเรือก็ดี ในหม้อก็ดี ในภาชนะ

มีอ่างเป็นต้นก็ดี แล้วกำหนดให้เป็นอุทกนิมิต ไม่ควร. น้ำที่ถึงแผ่นดินเท่านั้น

จึงใช้ได้. ก็น้ำถึงแผ่นดินนั่นแล เป็นน้ำไม่ไหล ขังอยู่ในที่ทั้งหลายมีบ่อ สระ

เกิดเอง และทะเลสาปเป็นต้น. ส่วนน้ำในแม่น้ำลึกและคลองไขน้ำเป็นต้นซึ่ง

ไหลใช้ไม่ได้. แต่ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า น้ำที่ต้องโพงขึ้น ในชลาลัยทั้ง

หลายมีบ่อเป็นต้น ซึ่งลึก ไม่ควรทำเป็นนิมิต. คำนั้นท่านกล่าวไม่ชอบ เป็น

แต่เพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น. อันน้ำที่ขังอยู่ โดยที่สุด แม้ในแอ่งที่สุกร

ขุดไว้ก็ดี ในหลุมสำหรับเล่นของเด็กชาวบ้านก็ดี น้ำที่เขาขุดหลุมในแผ่นดิน

แล้วเอาหม้อตักมาใส่ให้เต็มในขณะนั้นก็ดี ถ้าขังอยู่จนถึงสวดกรรมวาจาจบได้

จะน้อยหรือมากก็ตามที ย่อมใช้ได้. และควรทำกองศิลาและกองทรายเป็นต้น

หรือเสาศิลาหรือเสาไม้ไว้ในที่นั้น เพื่อทำความหมายนิมิต ภิกษุจะทำเองหรือ

ใช้ผู้อื่นให้ทำกองศิลาเป็นต้นนั้นก็ควร. แต่ในลาภสีมา ไม่ควรทำ. ส่วน

สมานสังวาสกสีมา ย่อมไม่ทำความเบียดเบียนใคร ๆ ย่อมให้สำเร็จ เฉพาะ

วินัยกรรมของภิกษุทั้งหลายอย่างเดียว: เพราะฉะนั้น ในสมานสังวาสกสีมานี้

จึงควรทำเอง หรือให้ผู้อื่นทำกองศิลาเป็นต้นได้.

อรรถกถานิมิตวินิจฉัย จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

สมมติสีมาและนิมิตแห่งสีมา

[๑๕๔] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติว่า ความพร้อมเพรียงมีเพียงชั่วอาวาสเดียวเท่านั้นแล้วได้มีความ

ปริวิตกต่อไปว่า อาวาสหนึ่งกำหนดเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติสีมาอย่างนี้:-

วิธีสมมติสีมา

ชั้นต้นพึ่งทักนิมิต คือ ปัพพตนิมิต ปาสาณนิมิต วนนิมิต รุกขนิมิต

มัคคนิมิต วัมมิกนิมิต นทีนิมิต อุทกนิมิต ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด

ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติสีมา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้ โดยรอบ

แล้วเพียงไร ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมา

ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น นี้เป็น

ญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบ

แล้วเพียงไร สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ซึ่งสีมา ให้มีสังวาสเสมอกัน

มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น การสมมติสีมาให้มีสังวาส

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

สีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มึอุโบสถเดียวกัน

แล้ว ด้วยนิมิตเหล่านั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง

ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกินขนาด

[๑๕๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคดีย์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตการสมมติสีมาแล้ว จึงสมมติสีมาใหญ่เกินถึง ๔ โยชน์บ้าง ๕ โยชน์

บ้าง ๖ โยชน์บ้าง ภิกษุทั้งหลายจะมาทำอุโบสถ ย่อมมาถึงต่อเมื่อกำลังสวด

ปาติโมกข์บ้าง มาถึงต่อเมื่อสวดจบบ้าง แรมคืนอยู่ในระหว่างทางบ้าง จึงพา

กันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาใหญ่เกินถึง ๔ โยชน์

หรือ ๖ โยชน์ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมามีประมาณ ๓ โยชน์

เป็นอย่างยิ่ง.

เรื่องสมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ

[๑๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคร่อมแม่น้ำ ภิกษุ

ทั้งหลายจะมาทำอุโบสถ ถูกน้ำพัดไปก็มี บาตรถูกน้ำพัดไปก็มี จีวรถูกน้ำพัด

ไปก็มี จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้สีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคร่อม

แม่น้ำ รูปใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสีมาคร่อมแม่น้ำที่มีเรือจอด

ประจำหรือมีสะพานถาวร.

เรื่องสมมติโรงอุโบสถ

[๑๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสวดปาติโมกข์ตามบริเวณ

วิหารโดยมิได้กำหนดที่ พระอาคันตุกะทั้งหลายไม่รู้ว่า วันนี้พระสงฆ์จักทำ

อุโบสถที่ไหน จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์

ตามบริเวณวิหารโดยมิได้กำหนดที่ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว

เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้า ที่สงฆ์จำนงให้เป็นโรงอุโบสถแล้วทำอุโบสถ.

เรื่องสมมติโรงอุโบสถ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจาว่า ดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นโรงอุโบสถ นี้เป็น

ญัตติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติอยู่บัดนิ้ ซึ่ง

วิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นโรงอุโบสถ การสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรง-

อุโบสถชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงพูด.

วิหารมีชื่อนี้อันสงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว ชอบแก่

สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

กรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ จบ

เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่งในอาวาสเดียวกัน

[๑๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ

๒ แห่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงอุโบสถทั้ง ๒ ด้วยตั้งใจว่า สงฆ์จักทำ

อุโบสถที่นี้ สงฆ์จักทำอุโบสถ ณ ที่นี้ จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติโรงอุโบสถ ๒ แห่ง รูปใดสมมติ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่งแล้วทำ

อุโบสถในโรงอุโบสถแห่งหนึ่ง.

วิธีถอนโรงอุโบสถ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้.

ภิกษุแม้ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

กรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ นั้นเป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ ซึ่ง

โรงอุโบสถมีซึ่งนี้ การถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

โรงอุโบสถมีชื่อนี้อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น

จึงนิ่งข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

สมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด

[๑๕๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ

เล็กเกินขนาด ถึงวันอุโบสถภิกษุสงฆ์ลงประชุมกันมาก ภิกษุทั้งหลายต้องนั่ง

ฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติ จึงภิกษุเหล่านั้นได้หารือกันว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า พึงสมมติโรงอุโบสถแล้ว จึงทำอุโบสถ ดังนี้

ก็พวกเรานั่งฟังปาติโมกข์ในพื้นที่ซึ่งมิได้สมมติ อุโบสถเป็นอันพวกเราทำแล้ว

หรือไม่เป็นอันทำหนอ จึงพากันกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั่งในพื้นที่

ซึ่งสมมติแล้วก็ตาม มิได้สมมติก็ตาม เพราะได้ฟังปาติโมกข์ ฉะนั้นอุโบสถ

ย่อมเป็นอันเธอได้ทำแล้วเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

สงฆ์จงสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถให้ใหญ่เท่าที่จำนง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

วิธีสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ

ดูก่อนภิกษุทั้งพลาย ก็แล พึงสมมติพื้นที่ค้านหน้าโรงอุโบสถอย่างนี้

พึงทักนิมิตก่อน ครั้นทักนิมิตแล้ว ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สารารถ พึง

ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้แล้ว โดย

รอบเพียงไร ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติ

พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ ด้วยนิมิตเหล่านั้น นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบ

เพียงไร สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้ ซึ่งพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถ ด้วย

นิมิตเหล่านั้น การสมมติพื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถด้วยนิมิตเหล่านั้น

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

พื้นที่ด้านหน้าโรงอุโบสถอันสงฆ์สมมติแล้ว ด้วยนิมิตเหล่า

นั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่าง

นี้.

พระเถระลงประชุมก่อน

[๑๖๐] ก็โดยสมัยนั่นแล ในวันอุโบสถ นวกะภิกษุทั้งหลายในอาวาส

แห่งหนึ่งประชุมกันก่อนแล้วหลีกไป ด้วยนึกว่าพระเถระทั้งหลายยังไม่มาก่อน

ต่อเวลาพลบค่ำจึงทำอุโบสถได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

วันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระทั้งหลายลงประชุมก่อน.

ภิกษุหลายวัดทำอุโบสถร่วมกัน

[๑๖๑] ก็โดยสมัยนั้นแล อาวาสในพระนครราชคฤห์หลายแห่ง มี

สีมาอันเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้น วิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำ

อุโบสถในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาวาสในพระนครราชคฤห์นี้ก็หลายแห่ง มี

สีมาอันเดียวกัน ภิกษุทั้งหลายในอาวาสเหล่านั้นวิวาทกันว่า ขอสงฆ์จงทำอุโบสถ

ในอาวาสของพวกเรา ขอสงฆ์จงทำอุโบสถในอาวาสของพวกเรา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทุก ๆ รูปพึงประชุมทำอุโบสถแห่งเดียวกัน ก็หรือภิกษุ

ผู้เถระอยู่ในอาวาสใด พึงประชุมทำอุโบสถในอาวาสนั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่

พึงทำอุโบสถ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระมหากัสสปเถระเดินทางไปทำอุโบสถ

[๑๖๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมาจากอันธกวินทวิหาร

สู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ ได้ถูกน้ำพัด

ไปเล็กน้อย จีวรของท่านเปียก ภิกษุทั้งหลายได้ถามท่านพระมหากัสสปว่า

อาวุโส เพราะเหตุไร จีวรของท่านจึงเปียก ? ท่านตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม

มาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ได้ข้ามแม่น้ำ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

ในระหว่างทาง ถูกน้ำพัดไปเล็กน้อย เพราะเหตุนั้น จีวรของผมจึงเปียก

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีมานั้น ใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว

ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่

อยู่ปราศจากไตรจีวร.

วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติติจีวราวิปปวาสสีมาอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม-

วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติติจีวราวิปปวาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้

แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก

ไตรจีวร นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอถัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่บัดนี้

ซึ่งสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร การสมมติสีมานี้

ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง

เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

สีมานี้สงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

การสมมติติจีวราวิปปวาสแล้ว จึงเก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน จีวรเหล่านั้นหาย

บ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุทั้งหลายมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้า-

หมอง.

ภิกษุทั้งหลายจึงถามกันอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เพราะเหตุไร พวก

ท่านจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมองเล่า ?

ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกผมทราบว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงอนุญาตการสมมติติจีวราวิปปวาสแล้ว จึงเก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน

ณ ตำบลนี้ จีวรเหล่านั้นหายเสียบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง เพราะ

เหตุนั้น พวกผมจึงมีแต่ผ้าไม่ดี มีจีวรเศร้าหมอง.

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้นให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก

ไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้าน.

วิธีสมมติติจีวราวิปปวาส

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติติจีวราวิปปวาสสีมาอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม-

วาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

กรรมวาจาสมนติติจีวราวิปปวาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศ-

จากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแต่งบ้าน นิเป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์สมมติอยู่ บัดนี้

ซึ่งสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุป-

จารแห่งบ้าน การสมมติสีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร

เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้าน ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้

นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

สีมานั้นสงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้น

บ้านและอุปจารแห่งบ้านแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า

ทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เมื่อภิกษุจะสมมติสีมา พึงสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน ภายหลังจึงสมมติ

ติจีวราวิปปวาส เมื่อจะถอนสีมา พึงถอนติจีวราวิปปวาสก่อน ภายหลังจึงถอน

สมานสังวาสสีมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนติจีวราวิปปวาสอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

กรรมวาจาถอนติจีวราวิปปวาส

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตร

จีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า แดนไม่อยู่ปราศจากไตร

จีวรนั้นใด อันสงฆ์สมมติไว้แล้ว สงฆ์ถอนอยู่บัดนี้ซึ่งแดนไม่อยู่

ปราศจากไตรจีวรนั้น การถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น ชอบ

แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น

พึงพูด.

แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั้น สงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่

สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

วิธีถอนสมานสังวาสสีมา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถอนสมานสังวาสสีมาอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาถอนสมานสังวาสสีมา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน ถ้าความพร้อม

พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ฟังถอนสีมานั้น นี้เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติ

ไว้แล้ว ให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์ถอนอยู่ บัด

นี้ซึ่งสีมานั้น การถอนสมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนี้

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน

ผู้นั้นพึงพูด.

สีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนั้น อันสงฆ์ถอน

แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

อพัทธสีมา

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ยังไม่ได้กำหนด

สีมา ภิกขุเข้าอาศัยบ้านหรือนิคมใดอยู่ เขตของบ้านนั้น เป็นคามสีมาบ้าง เขต

ของนิคมนั้น เป็นนิคมสีมาบ้าง สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน

ในบ้านหรือนิคมนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าหาคนตั้งบ้านเรือนเมื่อได้ ชั่ว ๗ อัพภันดร

โดยรอบ เป็นสัตตัพภันตรสีมา สีมานี้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันใน

ป่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ สมุทรทั้ง

หมด สมมติเป็นสีมาไม่ได้ ชาตสระทั้งหมด สมมติเป็นสีนาไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำ ในสมุทร หรือในชาตสระ ชั่ววัก

น้ำสาด โดยรอบแห่งบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง เป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้มีสังวาส

เสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ในน่านน้ำนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

สีมาสังกระ สีมาคาบเกี่ยว

[๑๖๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะ-

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว

กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาอันภิกษุ

เหล่าใดสมมติแล้วในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบ

ไม่ควรแก่ฐานะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา รูปใดสมมติ

คาบเกี่ยว ต้องอาบัติทุกกฏ.

สีมาสังกระ สีมาทับสีมา

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว กรรมนั้น ของภิกษุ

เหล่านั้นเป็นธรรม ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาอันภิกษุเหล่าใดสมมติแล้ว

ในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่เป็นธรรม กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา รูปใดสมมติทับ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้จะสมมติสีมา เว้น สีมันตริก

ไว้แล้วสมมติสีมา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

อรรถกถาวิธีผูกมหาสีมา

ก็แลสงฆ์จะสมมติสีมา ด้วยนิมิต ๘ อย่างนี้ ไม่คละกันก็ดี คละสลับ

กันก็ดี ควรทั้งนั้น. สีมานั้นที่สมมติผูกอย่างนั้น ไม่เป็นอันผูก ด้วยนิมิตเดียว

หรือ ๒ นิมิต. ส่วนสีมาที่ผูกด้วยนิมิตมีประการดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป

ถึง ๑๑๐ นิมิตย่อมเป็นอันผูก, สีมานั้น ที่ผูกด้วยนิมิต ๓ มีสัณฐานดังกระจับ, ที่

ผูกด้วยนิมิต ๔ เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสบ้าง มีสัณฐานดังกระจับ, พระจันทร์ครึ่งดวง

และตะโพนเป็นต้นบ้าง ที่ผูกด้วยนิมิตมากกว่านั้น มีสัณฐานต่าง ๆ กันบ้าง.

พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า อันภิกษุทั้งหลายผู้ประสงค์จะผูกสีมานั้น

พึงถามภิกษุทั้งหลายในวัด ที่อยู่ใกล้เคียงกันทั้งหลาย ถึงเขตกำหนดสีมาแห่งวัด

ที่อยู่นั้น ๆ เว้นสีมันตริกแห่งสีมาของวัดที่อยู่ทั้งหลายที่ผูกสีมา เว้นอุปจารแห่ง

สีมาของวัคที่อยู่ทั้งหลายที่ไม่ได้ผูกสีมาเสีย จวบสมัยไม่เป็นที่ท่องเที่ยวของ

ภิกษุทั้งหลายผู้จาริกไปในทิศ, ถ้าประสงค์จะผูกสีมาในคามเขตตำบลหนึ่ง. วัด

ที่อยู่เหล่าใด ในคามเขตนั้น ผูกสีมาแล้ว พึงส่งข่าวแก่ภิกษุทั้งหลายในวัดที่

อยู่เหล่านั้นว่า เราทั้งหลายจักผูกสีมา ในวันนี้ ท่านทั้งหลายอย่าออกจากเขต

กำหนดสีมาของตน ๆ.

วัดที่อยู่เหล่าใดในคามเขตนั้น ไม่ได้ผูกสีมา พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย

ในวัดที่อยู่เหล่านั้นให้ประชุมรวมเป็นหมู่เดียวกัน พึงไห้นำฉันทะของภิกษุทั้ง

หลายผู้ควรแก่ฉันทะมา. ถ้าปรารถนาจะกันคามเขต แม้เหล่าอื่นไว้ภายในสีมา

ไซร้ ภิกษุเหล่าใดอยู่ในคามเขตเหล่านั้น แม้ภิกษุเหล่านั้นต้องมา เมื่อไม่มา

ต้องนำฉันทะมา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าคามเขตต่าง ๆ ย่อมเป็นเช่น

กับสีมาที่ผูกต่างแผนกกัน. ฉันทะและปาริสุทธิย่อมไม่มาจากคามเขตนั้น ๆ, แต่

ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ภายในนิมิต้องมา ดังนี้. แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ในเวลาสมมติ

สมานสังวาสกสีมา การมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม ของภิกษุเหล่านั้น ย่อมควร.

แต่ในเวลาสมมติอวิปปวาสสีมา ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ภายในนิมิต ต้องมา. เมื่อไม่

มา ต้องนำฉันทะมา. ก็แลเมื่อภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้

ควรแก่ฉันทะได้นำมาแล้ว อย่างนั้น พึงวางอารามิกบุรุษ และสามเณรเขื่อง ๆ

ไว้ในทางเหล่านั้น และในที่ทั้งหลายมีท่าน้ำและประตูบ้านเป็นต้น เพื่อนำภิกษุ

อาคันตุกะมาเข้าหัตถบาสเร็ว ๆ และเพื่อกันไว้ภายนอกสีมา แล้วพึงตีกลอง

สัญญา หรือป่าสังข์สัญญา แล้วผูกสีมาด้วยกรรมวาจาว่า สุณาตุ เม ภนฺเต

สงฺโฆ เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในลำดับแห่งการกำหนดนิมิต.

ในเวลาที่จบกรรมวาจานั่นเอง กันนิมิตทั้งหลายไว้ภายนอก สีมาย่อมหย่งลงไป

ในเบื้องล่างลึกถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด.

อรรถกถาวิธีผุกมหาสีมา จบ

อรรถกกถาวิธีผูกขัณฑสีมา

ภิกษุทั้งหลายผู้จะสมมติสังวาสกสีมานี้ ควรผูกขัณฑสีมาก่อน เพื่อทำ

สังฆกรรมทั้งหลายมีบรรพชาและอุปสมบทเป็นต้น ได้สะดวก, ก็แลเมื่อจะผูก

ขัณฑสีมานั้น ต้องรู้จักวัตร. ก็ถ้าจะผูกในวัดที่อยู่ที่ทายกสร้างให้ประดิษฐาน

วัตถุทั้งปวง มีต้นโพธิ์ เจดีย์และหอฉันเป็นต้นเสร็จแล้ว อย่าผูกตรงกลางวัด.

ที่อยู่อันเป็นสถานที่ประชุมของชนมาก พึงผูกในโอกาสอันสงัด ที่สุดท้ายวัดที่

อยู่. เมื่อจะผูกในวัดที่อยู่ที่ทายกไม่ได้สร้าง พึงกะที่ไว้สำหรับวัตถุทั้งปวง มี

ต้นโพธิ์และเจดีย์เป็นต้นไว้แล้ว เมื่อประดิษฐานวัตถุทั้งหลายเสร็จแล้ว ขัณฑ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

สีมาจะอยู่ในโอกาสอันสงัดสุดท้ายวัดที่อยู่ด้วยประการใด พึงผูกด้วยประการนั้น

เถิด. ขัณฑสีมานั้นโดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดถ้าจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ใช้ได้. ย่อม

กว่านั้น ใช้ไม่ได้, ที่ใหญ่แม้จุภิกษุจำนวนพัน ก็ใช้ได้. เมื่อจะผูกขัณฑสีมา

นั้น พึงวางศิลาที่ควรเป็นนิมิตได้ไว้โดยรอบโรงที่จะผูกสีมา. อย่ายืนอยู่ใน

ขัณฑสีมา ผูกมหาสีมา, อย่ายืนอยู่ในมหาสีมา ผูกขัณฑสีมา. แต่ต้องยืนอยู่

เฉพาะในขัณฑสีมา ผูกขัณฑสีมา, ต้องยืนอยู่เฉพาะในมหาสีมา ผูกมหาสีมา.

อรรถกถาวิธีผูกมหาสีมา จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมา ๒ ชั้น

ในสีมา ๓ ชนิดนั้น มีวิธีผูก ดังต่อไป:-

พึงกำหนดนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนี้ว่า ศิลานั่น เป็นนิมิต แล้ว

ผูกสีมาด้วยกรรมวาจา. ลำดับนั้น พึงทำอวิปปวาสกรรมวาจาซ้ำลง เพื่อทำ

ขัณฑสีมานั้น แลให้มั่นคง. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มา

ด้วยคิดว่า เราทั้งหลาย จักถอนสีมา จักไม่อาจถอน. ครั้นสมมติสีมาแล้ว

พึงวางศิลาหมาย สีมันตริกไว้ภายนอก. สีมันตริก ว่าโดยส่วนแคบที่สุด

ประมาณศอก ๑ จึงควร. ในกุรุนทีแก้ว่า แม้ประมาณคืบ ๑ ก็ควร ใน

มหาปัจจรีแก้ว่า แม้ประมาณ ๔ นิ้วก็ควร. ก็ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่ ควรผูกขัณฑสีมา

ไว้ ๒ แห่งก็ได้ ๓ แห่งก็ได้ เกินกว่านั้นก็ได้. ครั้นสมมติขัณฑสีมาอย่างนั้นแล้ว

ในเวลาจะสมมติมหาสีมา พึงออกจากขัณฑสีมา ยืนอยู่ในมหาสีมา กำหนด

ศิลาหมายสีมันตริก เดินวนไปโดยรอบ, ลำดับนั้น พึงกำหนดนิมิตทั้งหลาย

ที่เหลือแล้วอย่าละหัตถบาสกัน พึงสมมติสมานสังวาสกสีมาด้วยกรรมวาจาแล้ว

ทำอวิปปวาสกรรมวาจาด้วย เพื่อทำสมานสังวาสกสีมานั้นให้มั่นคง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มาด้วยคิดว่าเราทั้งหลาย

จักถอนสีมา จักไม่สามารถถอนได้. แต่ถ้ากำหนดนิมิตแห่งขัณฑสีมาแล้ว

ลำดับนั้น จึงกำหนดนิมิตที่สีมันตริกแล้วกำหนดนิมิตแห่งมหาสีมา. ครั้น

กำหนดนิมิตใน ๓ สถานอย่างนี้แล้ว, ปรารถนาจะผูกสีมาใด. จะผูกสีมานั้น.

ก่อนก็ควร. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น. ก็ควรผูกตั้งต้นขัณฑสีมาไปโดยนัยตามที่

กล่าวแล้ว.

ก็บรรดาสีมาทั้งหลายที่สงฆ์ผูกอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ใน

ขัณฑสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในมหาสีมา, หรือผู้

สถิตอยู่ในมหาสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในขัณฑสีมา

อนึ่งภิกษุผู้สถิตอยู่ในสีมันตริก ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุทั้ง ๒ พวก

แต่ภิกษุผู้สถิตในสีมันตริก ย่อมทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้สถิตในคามเขต

กระทำกรรม, จริงอยู่สีมันตริกย่อมควบถึงคามเขต.

อรรถกถาวิธีผูกสีมา ๒ ชั้น จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาดเป็นต้น

อันที่จริง ธรรมดาสีมานั้น ซึ่งภิกษุสงฆ์ผูกแล้วบนพื้นแผ่นดินอย่าง

เดียวเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นอันผูก หามิได้. โดยที่แท้ สีมาที่ภิกษุสงฆ์ผูกไว้บน

ศิลาดาดก็ดี ในเรือนคือกุฎีก็ดี ในกุฎีที่เร้นก็ดี ในปราสาทก็ดี บนยอดเขาก็ดี

จัดว่าเป็นอันผูกแล้วเหมือนกันทั้งนั้น.

ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะผูกบนศิลาดาด อย่าสกัดรอย

หรือขุดหลุมดังครก บนหลังศิลาทำให้เป็นนิมิต. ควรวางศิลาที่ได้ขนาดเป็น

๑. ตามนัยโยชนาแปลว่า . . . ย่อมถึงความเป็นคามเขต.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

นิมิตแล้วกำหนดให้เป็นนิมิต, สมมติด้วยกรรมวาจา. ในเวลาจบกรรมวาจา

สีมาย่อมหยั่งลงไปถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด. ศิลาที่เป็นนิมิตจะไม่ตั้งอยู่ในที่

เดิม เพราะฉะนั้น ควรทำรอยให้ปรากฏโดยรอบ หรือสกัดเจาะศิลาที่มุมทั้ง ๔

หรือจารึกอักษรไว้ว่า ตรงนี้เป็นแดนกำหนดสีมา ก็ได้. ภิกษุบางพวกริษยา

จุดไฟขึ้น ด้วยคิดว่า จักเผาสีมาเสีย ย่อมไหม้แต่ศิลา สีมาหาไหม้ไม่.

เมื่อจะผูกในเรือนคือกุฎีเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต ควรวางศิลาเป็น

นิมิต กะสถานที่ว่างพอจุภิกษุ ๒๑ รูปไว้ข้างในแล้วสมมติสีมาเถิด. ร่วมในฝา

เท่านั้น ย่อมเป็นสีมา. ถ้าในร่วมในฝาไม่มีที่ว่างพอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ควร

วางศิลานิมิตที่หน้ามุขก็ได้ แล้วสมมติสีมา. ถ้าแม้หน้ามุขนั้นไม่พอ ควรวาง

นิมิตทั้งหลายในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคาภายนอก แล้วจึงสมมติสีมา. ก็เมื่อสมมติ

สีมาอย่างนั้น เรือนคือกุฎีทั้งหมด เป็นอันตั้งอยู่ในสีมาแท้.

เมื่อจะผูกในกุฎีที่เร้น ซึ่งมีฝา ๔ ด้านเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต ควร

กำหนดแต่ศิลา. เมื่อข้างในไม่มีที่ว่าง ควรวางนิมิตทั้งหลายไว้ที่หน้ามุขก็ได้.

ถ้าหน้ามุขยังไม่พอ ควรวางศิลานิมิตทั้งหลายไว้ในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคาในภาย

นอก แล้วกำหนดนิมิตสมมติสีมา. เมื่อผูกอย่างนี้ ย่อมเป็นสีมาทั้งภายในทั้ง

ภายนอกกุฎีที่เร้น.

เมื่อจะผูกบนปราสาทเล่า อย่ากำหนดฝาเป็นนิมิต พึงวางศิลาทั้งหลาย

ไว้ภายในแล้วสมมติสีมาเถิด. ถ้าภายในปราสาทไม่พอ พึงวางศิลาทั้งหลายที่หน้า

มุขแล้วสมมติเถิด. สีมาที่สมมติอย่างนี้ย่อมอยู่เฉพาะบนปราสาทเท่านั้น. ไม่

หยั่งลงไปถึงข้างล่าง แต่ถ้าปราสาทที่ทำบนรอดที่ร้อยในเสามากต้น ฝาชั้นล่าง

สูงขึ้นไปเนื่องเป็นอันเดียวกับไม้รอดทั้งหลาย โดยประการที่มีร่วมในแห่งนิมิต

ทั้งหลาย สีมาย่อมหยั่งถึงภายใต้. ส่วนสีมาที่ผูกบนพื้นปราสาทเสาเดียว ถ้าบน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ปลายเสา มีโอกาสพอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ย่อมหยั่งถึงภายใต้. ถ้าวางศิลาทั้ง

หลายในที่เป็นต้นว่า กระดานเรียบอันยื่นออกไปจากฝาปราสาทแล้วผูกสีมา ฝา

ปราสาทย่อมอยู่ภายในสีมา, ส่วนการที่สีมานั้นจะหยั่งถึงภายใต้หรือไม่หยั่งลงไป

พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. เมื่อจะกำหนดนิมิตภายใต้ปราสาทเล่าอย่า

กำหนดฝาและเสาไม้เป็นนิมิต แต่จะกำหนดเสาศิลาซึ่งยึดฝาไว้ควรอยู่. สีมาที่

กำหนดอย่างนี้ ย่อมมีเฉพาะร่วมในแห่งเสาริมโดยรอบของภายใต้ปราสาท. แต่

ถ้าฝาภายไต้ปราสาทเป็นของเนื่องถึงพื้นชั้นบน สีมาย่อมขึ้นไปถึงชั้นบนปรา-

สาทด้วย ถ้าท่านิมิตในที่ซึ่งน้ำตกจากชายคานอกปราสาท ปราสาททั้งหมดตั้ง

อยู่ในสีมา.

ถ้าพื้นบนยอดเขาเป็นที่ควรแก่โอกาส พอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ผูกสีมา

บนพื้นนั้น อย่างที่ผูกบนศิลาดาด, แม้ภายใต้ภูเขาสีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. โดย

กำหนดนั้นเหมือนกัน. แม้บนภูเขาที่มีสัณฐานดังโคนต้นตาลเล่า สีมาที่ผูกไว้

ข้างบน ย่อมหยั่งลงไปถึงข้างล่างเหมือนกัน. ส่วนภูเขาใดมีสัณฐานดังดอกเห็ด

ข้างบนมีโอกาสพอจุภิกษุได้ ๒๑ รูป ข้างล่างไม่มี สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่

หยั่งลงไปข้างล่าง. ด้วยประการอย่างนี้ ภูเขามีสัณฐานดังตะโพนหรือมีสัณฐาน

ดังบัณเฑาะก์ก็ตามที ข้างล่างหรือทรงกลางแห่งภูเขาใด ไม่มีพื้นที่เท่าตัวสีมา

สีมาที่ผูกบนภูเขานั้น ไม่หยั่งลงข้างล่าง ส่วนภูเขาใดมี ๒ ยอดตั้งอยู่ใกล้กัน

บนยอดแม้อันหนึ่งไม่พอเป็นประมาณแห่งสีมา ควรก่อหรือถมตรงระหว่างยอด

แห่งภูเขานั้นให้เต็ม ทำให้เนื่องเป็นพื้นเดียวกันแล้วจึงสมมติสีมาข้างบน,

ภูเขาลูก ๑ คล้ายพังพานงู เบื้องบนภูเขานั้น ผูกสีมาได้ เพราะมีโอกาสได้ประ

มาณเป็นสีมา; ถ้าภายใต้ภูเขานั้น มีเงื้อมอากาศสีมาไม่หยั่งลงไป. แต่ถ้าตรง

กลางเงื้อมอากาศนั้น มีศิลาโพรงเท่าขนาดสีมา สีมาย่อมหยั่งลงไปถึง. และ

ศิลานั้น เป็นของทั้งอยู่ในสีมาแท้. ถ้าแม้ฝาแห่งที่เร้นภายใต้ภูเขานั้นตั้งจดถึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ส่วนยอด สีมาย่อมหยั่งถึง ทั้งข้างล่าง ทั้งข้างบน ย่อมเป็นสีมาหมด. แต่ว่า

ด้านในที่เร้นในภายโต้ อยู่ข้างนอกแนวแห่งแดนเป็นที่กำหนดสีมาที่อยู่ข้างบน

สีมาไม่หยังไปถึงภายนอก (แห่งที่เร้น) ถ้าแม้ด้านนอกที่เร้น อยู่ข้างในแถว

แห่งแดนเป็นที่กำหนดสีมาที่อยู่ข้างบนนั้น สีมาไม่หยั่งไปถึงในภายใน (แห่ง

ที่เร้น) ถ้าแม้ข้างบนภูเขานั้น มีโอกาสเป็นที่กำหนดสีมาเล็ก ข้างใต้มีที่เร้น

ใหญ่เกินโอกาสกำหนดสีมา สีมาย่อมมีเฉพาะข้างบนเท่านั้น ไม่หยั่งลงไปถึง

ภายใต้ แต่ถ้าที่เร้นเล็กขนาดเท่าสีมาขนาดเล็กที่สุด สีมาข้างบนใหญ่. สีมาที่

ตั้งครอบที่เร้นไว้นั้น ย่อมหยั่งลงไปถึง. ถ้าที่เร้นเล็กเกินไป ไม่ได้ขนาดกับ

สีมา สีมาย่อมมีเฉพาะข้างบนเท่านั้น ไม่หยั่งลงในภายใต้ ถ้าภูเขามีสัณฐานดัง

พังพานงูนั้น พังตกสงไปเองครั้งหนึ่ง แม้ถ้าได้ประมาณสีมา ส่วนที่ตกลงไป

ภายนอก ไม่เป็นสีมา. ส่วนที่ไม่ตกลงไป ถ้าได้ประมาณสีมา ยังคงเป็นสีมา.

ขัณฑสีมาเป็นพื้นที่ลุ่ม พูนถมขัณฑสีมานั้น ทำให้มีพื้นที่สูงขึ้น คง

เป็นสีมาตามเดิม. ชนทั้งหลายทำเรือนในสีมา เรือนนั้นเป็นอันนั้นอยู่ในสีมา

ด้วย. ขุดสระโบกขรณีในสีมา สีมานั้น ก็คงเป็นสีมาอยู่นั่นเอง. ห้วงน้ำไหล

ท่วมมณฑลสีมาไป จะผูกแคร่ทำสังฆกรรมในย่านสีมา ก็ควร. แม่น้ำ มีอุโมงค์

อยู่ภายใต้สีมา. ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ในแม่น้ำมีอุโมงค์นั้น ถ้าแม่น้ำนั้นผ่าน

ไปก่อน สีมาผูกทีหลัง, ไม่ยังกรรมให้เสีย. ถ้าผูกสีมาก่อน, แม่น้ำผ่านไป

ทีหลัง, ภิกษุนั้นยังกรรมให้เสีย. อนึ่ง ภิกษุผู้สถิตอยู่ ณ ภายใต้พื้นแผ่นดิน

ย่อมยังกรรมให้เสียเหมือนกัน. ก็ต้นไทรมีอยู่ในลานขัณฑสีมา. กิ่งแห่ง

ต้นไทรนั้น หรือย่านไทรที่ยื่นออกจากต้นไทรนั้น จดพื้นแผ่นดินแห่งมหา-

สีมาก็ดี จดต้นไม้เป็นต้นที่เกิดในมหาสีมานั้นก็ดี, พึงชำระมหาสีมาให้หมดจด

แล้วจึงทำกรรม หรือตัดกิ่งและย่านไทรเหล่านั้นเสีย กระทำให้ตั้งอยู่ภายนอก

ก็ได้. ภิกษุผู้ขึ้นไปบนกิ่งไม้เป็นต้นที่ไม่จดกัน ควรนำมาเข้าหัตถบาส. ด้วย

ประการอย่างนั้น กิ่งแห่งต้นไม้ที่เกิดในมหาสีมาก็ดี ย่านไทรก็ดี ย่อมทั้งอยู่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

ในลานแห่งขัณฑสีมา ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พึงชำระสีมาให้หมดจดแล้ว

จึงทำกรรม หรือตัดกิ่งและย่านโทรเหล่านั้นเสีย กระทำให้ตั้งอยู่ภายนอกก็ได้

ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. หากว่าเมื่อสงฆ์กำลังทำกรรมในย่านขัณฑสีมา ภิกษุ

บางรูปนั่งอยู่บนกิ่งไม้ที่ทอดอยู่บนอากาศยื่นเข้าไปในย่านสีมา เท้าของเธอถึง

ภาคพื้นก็ดี สบงจีวรของเธอถูกภาคพื้นก็ดี, ไม่สมควรทำกรรม. แต่ให้เธอ

ยกเท้าทั้ง ๒ และสบงจีวรขึ้นเสียแล้วทำกรรม ควรอยู่. อันลักษณะนี้ บัณฑิต

พึงทราบแม้ตามนัยก่อน. ส่วนเนื้อความที่แปลกกัน มีดังต่อไปนี้:-

ให้เธอยกขึ้นแล้วทำกรรมในขัณฑสีมานั้น ไม่ควร ต้องนำมาเข้าหัตถ-

บาสแท้. ถ้าภูเขาซึ่งตั้งอยู่ภายในสีมาสูงตรงขึ้นไป ภิกษุผู้สถิตอยู่บนภูเขานั้น

ต้องนำมาเข้าหัตถบาส. แม้ในภิกษุผู้เข้าไปข้างในภูเขาด้วยฤทธึ์ ก็มีนัยเหมือน

กัน. แท้จริง สีมาที่สงฆ์ผูกเท่านั้น ไม่ครอบถึงประเทศทีไม่ได้ประมาณ วัตถุ

ไม่เลือกว่าชนิดไรที่เกิดในพัทธสีมา ถึงกันเข้าด้วยความเกี่ยวพันเป็นอันเดียว

กัน ในที่ใดที่หนึ่งย่อมนับว่าเป็นสีมาทั้งนั้น.

วินิจฉัยในบทว่า ติโยชนปรม นี้ว่า สีมาชื่อว่ามี ๓ โยชน์เป็นอย่าง

ยิ่ง เพราะมี ๓ โยชน์เป็นประมาณอย่างสูง. ซึ่งสีมามี ๓ โยชน์เป็นอย่างยิ่งนั้น.

สีมานั้น ภิกษุผู้จะสมมติต้องสถิตอยู่ตรงกลาง สมมติให้มีโยชน์กึ่งในทิศ

ทั้ง ๔ คือวัดจากที่ซึ่งตนสถิตนั้นออกไป. แต่ถ้าสถิตอยู่ตรงกลางแล้ว วัดออก

ไปทิศละ ๓ โยชน์. ย่อมรวมเป็น ๖ โยชน์. เช่นนี้ ใช้ไม่ได้. ภิกษุจะสมมติ

สีมา ๔ เหลี่ยมเท่ากัน หรือ ๓ เหลี่ยม พึงสมมติให้วัดจากมุมหนึ่งไปหามุมหนึ่ง

ได้ระยะ ๓ โยชน์. ก็ถ้าให้ที่สุดรอบแห่งใดแห่งหนึ่งเกิน ๓ โยชน์ไปแม้เพียง

ปลายเส้นผมเดียว ต้องอาบัติด้วย ทั้งสีมาไม่เป็นสีมาด้วย.

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาด จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

อรรถกถทีปารสีมา

วินิจฉัยในบทว่า นทีปาร นี้ต่อไป:-

ที่ว่า ฝั่ง เพราะเหตุว่า กั้นไว้, ถามว่า กั้นอะไร ? ตอบว่ากั้นแม่น้ำ

ฝั่งแห่งแม่น้ำ ชื่อนทีปารา ความว่า ซึ่งสีมาตรอบฝั่งแม่น้ำนั้น. ก็ลักษณะ

แห่งแม่น้ำ ในบทว่า นทีปาร นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในนทีนิมิตนั่น เอง.

ข้อว่า ยตฺถสฺส ธุวนาวา วา มีความว่า ในแม่น้ำใด มีเรือสัญจร

ื้ไปมาเป็นนิจ ที่ท่าทั้งหลายอันยังเป็นสถานที่ผูกสีมา, เรือใด โดยกำหนด

อย่างเล็กที่สุด พอพาคนไปได้ ๓ คนทั้งคนพาย ก็ถ้าเรือนั้น เขานำไปข้าง

เหนือหรือข้างใต้ ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่างเพื่อต้องการจะกลับมาอีกก็ดี

ถูกพวกขโมยลักไป แต่พึงได้คืนเป็นแน่ก็ดี อนึ่ง เรือใด ถูกพายุเชือกขาด

คลื่นซัดออกไปกลางแม่น้ำ พึงนำกลับคืนมาได้แน่นอนก็ดี เรือนั้น ย่อมเป็น

ธุวนาวาอีกเทียว. เรือเขาเข็นขึ้นบกไว้ในเมื่อน้ำลงงวดก็ดี เรือที่เขาเอาสิ่งของ

เป็นต้นว่า ปูนขาวและน้ำเชื้อบรรทุกเต็มจอดไว้ก็ดี จัดเป็นธุวนาวาได้. ถ้า

เป็นเรือแตก หรือมีแนวกระดานครากออก ย่อมไม่ควร. แต่พระมหาปทุมัต

เถระกล่าวว่า แม้หากว่า ภิกษุทั้งหลายยืมเรือมาชั่วคราว จอดไว้ในที่ผูกสีมา

แล้ว กำหนดนิมิต เรือนั้นจัด เป็นธุวนาวาเหมือนกัน.

๑. ฎีกาและโยชนา แก้ปารยติว่า อชฺโฌตฺถรติ และว่าที่เป็นปารา มิใช่ปาร เอาฝั่ง

โน้น ก็เพราะเพ่งเอาสีมาศัพท์ ดังนั้นน่าจะแปลว่า สีมาชื่อว่า คร่อม ก็เพราะย่อมคร่อม ถามว่า

ย่อมคร่อมอะไร ? ตอบว่า ย่อมคร่อมแม่น้ำ. สีมาคร่อมแม่น้ำ ชื่อนทีปารสีมา. ซึ่งนทีปารสีมานั้น.

อธิบายว่า ซึ่งสีมาอันคร่อมแม่น้ำอยู่. อนึ่งบาลีตรงนี้เป็น นทีปารสีม แต่ ยุ. และสี. เป็น

นทีปาร สีม อย่างในอรรถกถา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ในบทว่า ธุวนาวา นั้น พระมหาสุมัตเถระแก้ว่า นิมิตก็ดีสีมาก็ดี

ย่อมไปด้วยกรรมวาจา หาได้ไปด้วยเรือไม่, แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

ธุวนาวาไว้, เพราะฉะนั้น ต้องเป็นเรือประจำแท้ ๆ จึงจะสมควร.

ข้อว่า ธุวเสตุ วา มีความว่า แม่น้ำใด มีสะพานสำหรับพวกคน

เดินเท้า ซึ่งทำเสร็จด้วยไม้ขนานกัน หรือเรียบด้วยแผ่นกระดานก็ดี มีสะพาน

ใหญ่ควรแก่การสัญจรแห่งสัตว์พาหนะ มีช้างและม้าเป็นต้นก็ดี ชั้นที่สุด แม้

สะพานที่พอเดินไปได้คนเดียว ซึ่งเขาตัดไม้ประกอบพอเป็นทางสัญจรของ

มนุษย์ทั้งหลาย ในขณะนั้นเองย่อมนับว่า สะพานถาวร เหมือนกัน. แต่ถ้า

แม้เอามือยืดหวายและเถาวัลย์เป็นต้น ที่ผูกไว้ข้างบนแล้ว ยังไม่อาจได้ข้ามไป

โดยสะพานนั้นได้, เราควร.

ข้อว่า เอวรูป นทีปารสีม สมฺมนฺนิตุ มีความว่า ในแม่น้ำได

มีเรือประจำหรือสะพานถาวรมีประการดังกล่าวแล้วนี้ ที่ท่าตรงกันนั้นเอง เรา

อนุญาตให้สมมตินทีปารสีมาเห็นปานนั้นในแม่น้ำนั้นได้. ถ้าเรือประจำก็ดี

สะพานถาวรก็ดี ไม่มีที่ท่าตรงกัน ขึ้นไปข้างบนหรือลงไปข้างล่างหน่อยหนึ่ง

จึงมี แม้อย่างนี้ ก็ควร. แต่พระกรวิกติสสเถระกล่าวว่า แม้ในระยะเพียง

คาวุตหนึ่ง มีเรือประจำหรือสะพานถาวร ก็ควร.

ก็แล เมื่อภิกษุจะสมมตินทีปารสีมานี้ พึงยืนที่ฝั่งหนึ่ง กำหนดนิมิต

ที่ฝั่งแม่น้ำทางเหนือน้ำ แล้ววนไปรอบตัวตั้งแต่นิมิตนั้น พึงกำหนดนิมิตที่

ฝั่งแม่น้ำทางใต้น้ำ ในที่สุดแห่งแดนกำหนดเท่าที่ต้องการแล้ว กำหนดนิมิต

ที่ฝั่งแม่น้ำ ในที่ซึ่งตรงข้ามกับฝั่งโน้น . ตั้งแต่นั้นไป พึงกำหนดเรื่อยไปจน

ถึงนิมิตที่ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งตรงกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่งทางเหนือน้ำ ด้วย

อำนาจแดนกำหนดเท่าที่ต้องการ แล้วกลับมาเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

หนึ่ง. ลำดับนั้นพึงให้ภิกษุทั้งหลายซึ่งสถิตอยู่ภายในนิมิตทั้งปวงเข้าหัตถบาส

แล้วสมมติสีมาด้วยกรรมวาจา ภิกษุผู้สถิตอยู่ในแม่น้ำ แม้ไม่มา ก็ไม่ทำให้

เสียกรรม. ในขณะที่สมมติเสร็จ เว้นแม่น้ำเสีย ร่วมในแห่งนิมิตทั้งหลาย

ย่อมเป็นสีมาอันเดียวกัน ทั้งฝั่งนอกและฝั่งใน. ส่วนแม่น้ำ ไม่นับว่าเป็น

พัทธสีมา เพราะว่า แม่น้ำนั่น เป็นนทีสีมาแผนกหนึ่งแล้ว. หากว่า ภายใน

แม่น้ำ มีเกาะ ปรารถนาจะทำเกาะนั้นไว้ภายในสีมา พึงกำหนดนิมิตทั้งหลาย

ที่ฝั่งซึ่งตนสถิตอยู่ตามนัยก่อนนั่นแล แล้วกำหนดนิมิตที่ท้ายเกาะทั้งฝั่งนี้และ

ฝั่งโน้น ลำดับนั้น พึงกำหนดนิมิตที่ฝั่งโน้น ในที่ซึ่งตรงกันข้ามกับนิมิตที่ฝั่ง

นี้แห่งแม่น้ำ ตั้งแต่นั้นไป พึงกำหนดเรื่อยไปจนถึงนิมิต ซึ่งตรงกับนิมิตที่

กำหนดไว้เป็นที่หนึ่งทางเหนือน้ำ ตามนัยก่อนนั่นแล ลำดับนั้นพึงกำหนดนิมิต

ที่ท้ายเกาะทั้งฝั่งโน้น และฝั่งนี้ แล้วกลับมาเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง

ลำดับนั้น พึงให้ภิกษุทั้งหลายที่ฝั่งทั้ง ๒ และที่เกาะเข้าหัตถบาสกันทั้งหมด

แล้วสมมติสีมาด้วยกรรมวาจา.

ภิกษุผู้สถิตอยู่ในแม่น้ำ แม้ไม่มา ก็ไม่ทำให้เสียกรรม. ในขณะที่

สมมติเสร็จ เว้นแม่น้ำเสียร่วมในแห่งนิมิตทั้งหลาย ทั้ง ๒ ฝั่ง แม่น้ำ ทั้ง

เกาะ ย่อมเป็นสีมาอันเดียวกัน. ส่วนแม่น้ำคงเป็นนทีสีมา. ก็แล ถ้าเกาะยาว

เกินกว่าแดนกำหนดสีมาแห่งวัดที่อยู่ไปทางเหนือน้ำ หรือทางใต้น้ำ เมื่อเป็น

เช่นนั้น พึงกำหนดนิมิตท้ายเกาะฝั่งใน ซึ่งตรงกันกับนิมิตแห่งแดนกำหนดสีมา

ตั้งแต่นั้นไป เมื่อจะโอบรอบหัวเกาะ ต้องกำหนดนิมิตท้ายเกาะฝั่งนอก ซึ่ง

ตรงกันข้ามกับนิมิตท้ายเกาะฝั่งในอีก. ต่อจากนั้นไป พึงเริ่มต้นแต่นิมิตที่ตรง

กันข้ามที่ฝั่งโน้น กำหนดนิมิตที่ฝั่งโน้น และนิมิตท้ายเกาะทั้งฝั่งนอกและฝั่งใน

เสร็จ ตามนัยก่อนนั่นแล แล้ว จึงทำการเชื่อมกับนิมิตที่กำหนดไว้เป็นที่หนึ่ง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

สีมาที่กำหนดนิมิตสมมติอย่างนี้ย่อมมีสัณฐานดังภูเขา. แต่ถ้าเกาะยาวเกินกว่า

แดนกำหนดสีมาแห่งวิหาร ทั้งเหนือน้ำ ทั้งใต้น้ำไซร้, เมื่อกำหนดนิมิตโอบรอบ

หัวเกาะทั้ง ๒ ตามนัยก่อนนั่นแล แล้ว จึงทำการเชื่อมนิมิต. สีมาที่กำหนด

สมมติอย่างนี้ ย่อมมีสัณฐานดังตะโพน. ถ้าเป็นเกาะเล็กอยู่ภายในแห่งแดน

กำหนดสีมาวิหาร พึงกำหนดนิมิตทั้งหลายตาม นัยแรกแห่งนัยทั้งปวง. สีมา

ที่กำหนดสมมติอย่างนั้น ย่อมมีสัณฐานดังบัณเฑาะว์.

บทว่า อนุปริเวณิย ได้แก่ บริเวณนั้น ๆ ในวัดที่อยู่แห่งหนึ่ง.

บทว่า อสงฺเถเตน ได้แก่ ไม่ทำที่สังเกตไว้.

สองบทว่า เอก สมูหนิตฺวา ได้แก่ ถอนเสียด้วยกรรมวาจา.

ข้อว่า ยโต ปาฏิโมกฺข สุณาติ มีความว่า ภิกษุนั่งในหัตถบาส

ของภิกษุทั้งหลายฟังปาติโมกข์อยู่ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น อุโบสถเป็น

อันเธอกระทำแล้วแท้.

ก็คำว่า ยโต ปาฏิโมกฺข สุณาติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เนื่องกับเรื่อง. ถึงเมื่อภิกษุนั่งแล้วในหัตถบาส แม้ไม่ฟังอุโบสถก็เป็นอัน

ทำแล้ว.

ข้อว่า นิมิตฺต กิตฺเตตพฺพา มีความว่า จะกำหนดนิมิตชนิดใด

ชนิดหนึ่ง มีศิลา อิฐ ท่อนไม้และหลักเป็นต้น เล็กก็ดี ใหญ่ก็ดี ทำให้เป็น

เครื่องหมายแห่งหน้ามุขอุโบสถ ไว้กลางแจ้งหรือในที่ใดที่หนึ่ง มีโรงกลมเป็น

ต้น ย่อมควร.

อีกอย่างหนึ่ง ข้อว่า นิมิตฺตา กิตฺเตตพฺพา มีความว่า พึงกำหนด

วัตถุทั้งหลายที่ใช้เป็นนิมิตได้ก็ตาม ที่ใช้เป็นนิมิตไม่ได้ก็ตาม เป็นนิมิตเพื่อรู้

แดนกำหนด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ในข้อว่า เถเรหิ ภิกฺขูหิ ปมตร สนฺนิปติตุ นี้ มีวินิจฉัยว่า

หากว่า พระมหาเถระไม่มาก่อน ท่านก็ต้องทุกกฏ.

ในข้อว่า สพฺเพเหว เอกชฺฌ สนฺนิปติตฺวา อุโปสโถ กาตพฺโพ

นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าอาวาสเก่า มีอยู่ท่ามกลางวัดที่อยู่. และในอาวาสเก่านี้ มี

ที่นั่งพอแก่ภิกษุทั้งหลาย พึงประชุมกันทำอุโบสถในอาวาสนั้น. ถ้าอาวาสเก่า

ทั้งทรุดโทรมทั้งคับแคบ อาวาสอื่นที่สร้างทีหลังไม่คับแคบ พึงทำอุโบสถใน

อาวาสนั้น.

แม้ในข้อว่า ยตฺถ วา ปน เถโร ภิกฺขุ วิหรติ นี้ มีวินิจฉัย

ว่า ถ้าวัดที่อยู่ของพระเถระพอแก่ภิกษุทั้งปวงเป็นที่สำราญ สะดวก พึงทำอุโบสถ

ในวัดที่อยู่นั้น. แต่ถ้าวัดที่อยู่นั้นอยู่ในประเทศอันไม่ราบเรียบปลายแด, พึง

บอกแก่พระเถระว่า ท่านผู้เจริญวัดที่อยู่ของท่านเป็นถิ่นที่ไม่สำราญ ไม่สะดวก

ที่นี่ไม่มีโอกาสสำหรับภิกษุทั้งหมด ที่อาวาสโน้นมีโอกาส ท่านสมควรจะไปที่

อาวาสนั้น. หากว่า พระเถระไม่มา พึงนำฉันทะและปาริสุทธิของท่านมา

แล้วทำอุโบสถในสถานที่ผาสุกเพียงพอแก่ภิกษุทั้งปวง.

บทว่า อนฺธกวินฺทา มีความว่า วัด ชื่ออันธกวินทะ ห่างจากกรุง

ราชคฤห์ประมาณคาวุจ ๑ เท่านั้น พระเถระอาศัยวัดนั้นอยู่มาจากอันธกวิน-

ทวิหารนั้น สู่กรุงราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ. อธิบายว่า จริงอยู่ มหาวิหาร

๑๘ ตำบล รอบกรุงราชคฤห์มีสีมา อันเดียวกันทั้งหมด สีมาแห่งมหาวิหาร

เหล่านั้น พระธรรมเสนาบดีผูก เพราะเหตุฉะนั้น พระมหากัสสปเถระจึงต้อง

มา เพื่อให้สามัคคีแก่สงฆ์ในเวฬุวัน.

สองบทว่า นทึ ตรนฺโต ได้แก่ ข้ามแม่น้ำ ชื่อสิปปินิยะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ข้อว่า มน วุฬฺโห อโหสิ มีความว่า ได้เป็นผู้มีภาวะอันน้ำพัด

ไปไม่ถึงนิดหน่อย.

ได้ยินว่า แม่น้ำนั้นไหลลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พัดไปด้วยกระแสอันเชี่ยว

พระเถระไม่ทันใส่ใจถึงน้ำในแม่น้ำนั้น ซึ่งกำลังไหลเชี่ยวจึงได้เป็นผู้ถูกน้ำพัด

ไปหน่อยหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับลอย จีวรทั้งหลายของท่านถูกน้ำซัด จึงเปียก.

กรรมวาจาก่อน ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลที่เกิด

กรรมวาจานี้ว่า สมฺมตา สีมา สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส

เปตฺวา คามญฺจ คามูปจารญฺจ. กรรมวาจาหลังนี้เท่านั้น ย่อมเป็นของ

ถาวร. แต่กรรมวาจาหลังนี้ หาควรแก่นางภิกษุณีทั้งหลายไม่ กรรมวาจาก่อน

เท่านั้น จึงควร. เพราะเหตุไร ?. เพราะว่าภิกษุณีสงฆ์ย่อมอยู่ภายในบ้าน. หาก

ว่าพึงเป็นเช่นนั้นไซร้, ภิกษุณีสงฆ์นั้น ไม่พึงได้ความบริหารไตรจีวร ด้วย

กรรมวาจาหลังนั้น, แต่การบริหารของภิกษุสงฆ์นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น กรรม

วาจาก่อนนั่นแล ย่อมควร. จริงอยู่ สีมาทั้ง ๒ ย่อมได้แก่ภิกษุณีสงฆ์. ใน

สีมาแห่งภิกษุณีสงฆ์นั้น นางภิกษุณีทั้งหลายจะสมมติสีมาครอบสีมาแห่งภิกษุ

สงฆ์ทั้งหลายก็ดี จะสมมติไว้ภายในสีมาของภิกษุทั้งหลายนั้นก็ดี ย่อมควร.

แม้ในการที่ภิกษุทั้งหลาย สมมติสีมาครอบสีมาแห่งนางภิกษุณีก็มีนัยเหมือนกัน.

เพราะว่า ภิกษุและภิกษุณี ๒ ฝ่ายนั้น เป็นคณปูรกะ ในกรรมของกันและกัน

ไม่ได้ ไม่ทำกรรมวาจาให้เป็นวรรค. ก็ในคำว่า เปตฺวา คามญฺจ

คามูปจารญฺจ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่าสงเคราะห์แม้ซึ่งนิคมและนครด้วยตาม

ศัพท์นั่นแล.

อุปจารบ้านนั้น ได้แก่เครื่องล้อมแห่งบ้านที่ล้อม. โอกาสแห่งเครื่อง

ล้อมของบ้านที่ไม่ได้ล้อม. ภิกษุผู้ทรงไตรจีวรอธิษฐานย่อมไม่ได้บริหารใน

อุปจารบ้านเหล่านั้น. อวิปปวาสสีมาของภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ครอบบ้านและ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

อุปจารบ้าน ด้วยประการฉะนี้. สมานสังวาสกสีมาเท่านั้น ย่อมครอบถึง. ก็

บรรดาสีมา ๒ อย่างนี้สมานสังวาสกสีมาย่อมไปตามธรรมดาของตน. ส่วน

อวิปปวาสสีมา ย่อมไปเฉพาะในที่ซึ่งสมานสังวาสกสีมาไปถึง. ทั้งการกำหนด

นิมิตของอวิปปวาสสีมานั้น จะมีแผนกหนึ่งก็หามิได้. ในสีมา ๒ ชนิดนั้น

ถ้าในเวลาสมมติอวิปปวาสสีมามีบ้านอยู่. อวิปปวาสสีมานั้น ย่อมไม่ครอบถึง

บ้านนั้น. อนึ่ง ถ้าสมมติสีมาแล้ว บ้านจึงตั้งลงภายหลัง, แม้บ้านนั้นย่อมนับ

เป็นสีมาด้วย. เหมือนอย่างว่า บ้านที่ตั้งลงภายหลัง ย่อมนับเป็นสีมาด้วยฉัน

ใด แม้ประเทศแห่งบ้านที่ทั้งลงก่อน ขยายกว้างออกไปในภายหลัง ย่อมนับ

เป็นสีมาด้วย ก็ฉันนั้น. แม้ถ้าในเวลาสมมติสีมา เรือนทั้งหลายเขาทำไว้

เสร็จแล้ว ทั้งความผูกใจว่า เราทั้งหลายจักเข้าไบ่ ก็มี แต่มนุษย์ทั้งหลาย

ไม่เข้าไปก็ดี ทิ้งบ้านเก่าพร้อมทั้งเรือนด้วย ไปในที่อื่นเสียก็ดี. บ้านนั้นไม่

จัดเป็นบ้านเลย สีมาย่อมครอบถึง. แต่ถ้าแม้สกุลหนึ่ง ที่เข้าไปแล้วก็ดี ที่มา

แล้วก็ดี มีอยู่ บ้านนั้นคงเป็นบ้าน สีมาย่อมไม่ครอบถึง.

อรรถกถา นทีปารสีมา จบ

อรรถกถาวิธีถอนสีมา

วินิจฉัยในข้อว่า เอวญฺจ ปน ภิกฺขเว ติจีวเรน อวิปฺปวาโส

ลมูหนฺตพฺโพ นี้ต่อไป:-

อันภิกษุผู้จะถอนพึงรู้จักวัตร. วัตรในการถอนนั้นดังนี้ อันภิกษุผู้ยืน

อยู่ในขัณฑสีมา ไม่พึงถอนอวิปปวาสสีมา, ยืนอยู่ในอวิปปวาสสีมา ไม่พึงถอน

แม้ซึ่งขัณฑสีมาเหมือนกัน. แต่ต้องยืนอยู่ในขัณฑสีมา ถอนขันฑสีมาเทียว.

ต้องยืนอยู่ในสีมา นอกจากนี้ถอนสีมานอกจากนี้เหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

ภิกษุทั้งหลายย่อมถอนสีมาด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เพื่อจะทำสีมาที่

เล็กตามปกติให้ใหญ่ขึ้นอีก เพื่อประโยชน์แก่การขยายอาวาสออกไปบ้าง. เพื่อ

จะร่นสีมาที่ใหญ่โดยปกติให้เล็กลงอีก เพื่อประโยชน์แก่การให้โอกาสแห่งวิหาร

แก่ภิกษุเหล่าอื่นบ้าง.

บรรดาสีมา ๒ ชนิดนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายรู้จักทั้งขัณฑสีมาและอวิป-

ปวาสสีมาไซร้ เธอจักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. อนึ่งรู้จักขัณฑสีมา แม้

ไม่รู้จักอวิปปวาสสีมา จักอาจเพื่อจะถอน และเพื่อจะผูก. ไม่รู้จักขัณฑสีมา

รู้จักแต่อวิปปวาสสีมาเท่านั้น จักยืนอยู่ในที่ซึ่งปราศจากความรังเกียจ มีลาน

เจดีย์ ลานโพธิ์ และโรงอุโบสถเป็นต้นแล้ว บางที่ก็อาจเพื่อจะถอนได้. แต่

จักไม่อาจเพื่อจะผูกคืนได้เลย. หากจะพึงผูกไซร้. จะพึงกระทำความคาบเกี่ยว

แห่งสีมา กระทำวัดที่อยู่ให้ใช้ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ไม่รู้จัก ไม่พึงถอน.

ฝ่ายภิกษุเหล่าใดไม่รู้จักทั้ง ๒ สีมา, ภิกษุเหล่านั้น จักไม่อาจเพื่อจะถอน จัก

ไม่อาจเพื่อจะผูกเป็นแท้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าสีมานี้ ย่อมไม่เป็นสีมาด้วยกรรม-

วาจาบ้าง ด้วยความสาบสูญแห่งศาสนาบ้าง และภิกษุทั้งหลายผู้ไม่รู้จักสีมา. ไม่

สามารถทำกรรมวาจา เพราะฉะนั้นภิกษุผู้ไม่รู้จักสีมา ไม่พึงถอนสีมา. อัน

สีมานั้น อันภิกษุผู้รู้จักดีเท่านั้น พึงถอนด้วย พึงผูกด้วย.

อรรถกถาวิธีถอนสีมา จบ

อรรถกถาอพัทธสีมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมานสังวาสและความเป็นผู้มี

อุโบสถอันเดียวกัน เนื่องด้วยพัทธสีมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงสมาน

สังวาส และความเป็นผู้มีอุโบสถอันเดียวกันนั้นในโอกาสทั้งหลาย แม้ที่มิได้

ผูกสีมา จึงตรัสดำว่า อสมฺมตาย ภิกฺขเว สีมาย อฏฺปิตาย เป็นอาที.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อฏฺปิตาย ได้แก่ ไม่ได้กำหนด. ก็แม้นคร

ย่อมเป็นอันทรงถือเอาแล้วทีเดียว ด้วย คาม ศัพท์ ในคำว่า คาม วา นิคม

วา นี้.

บรรดาคามสีมาและนิคมสีมานั้น ท่านผู้ครองบ้านนั้น ย่อมได้พลีใน

ประเทศเท่าใด ประเทศเท่านั้น จะเล็กหรือใหญ่ก็ตามที ย่อมถึงความนับว่า

คามสีมา ทั้งนั้น. แม้ในนครสีมาและนิคมสีมา ก็นัยนี้แล.

พระราชาทรงกำหนดประเทศอันหนึ่งแม้ใด ในคามเขตอันหนึ่งเท่านั้น

ว่า นี้จงเป็นวิสุงคาม พระราชทานแก่บุคคลบางคน ประเทศแม้นั้น ย่อมเป็น

วิสุงคามสีมาแท้. เพราะเหตุนั้น วิสุงคามสีมานั้นด้วย คามสีมา นครสีมา

และนิคมสีมาตามปกตินอกนี้ด้วย ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีนาเหมือนกัน. แต่

สีมาเหล่านี้ไม่ได้ความคุ้มครองการอยู่ปราศจากไตรจีวรอย่างเดียว.

อรรถกถาอพัทธสีมา จบ

อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำหนดสิมาแก่ภิกษุผู้มักอยู่ในละ-

แวกบ้านอย่างผู้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงแม้แก่ภิกษุผู้มักอยู่ป่า จึงตรัสคำว่า

อคามเก เจ เป็นอาทิ.

วินิจฉัยในคำนั้น บทว่า อาคามเก เจ ได้แก่ ประเทศแห่งคงที่ไม่

ได้กำหนดด้วยคามสีมา นิคมสีมา และนครสีมา.

อีกประการหนึ่ง บทว่า อคามเก เจ มีความว่า ภิกษุย่อมอยู่ใน

ป่าเช่นดังดงชื่อวิชฌาฏวี, ครั้งนั้น ๗ อัพภันตรโดยรอบจากโอกาสที่ภิกษุนั้นยืน

เป็นสมานสังวาสกสีมา. สีมานี้ย่อมได้ความคุ้มการอยู่ปราศจากไตรจีวรด้วย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

บรรดา ๗ ส้ตตัพภันตรนั้น อัพภันตร ๑ ประมาณ ๒๘ ศอก. ๗

อัพภันตรโดยรอบ แห่งสงฆ์ผู้ตั้งอยู่ตรงกลาง ย่อมเป็น ๑๔ อัพภันตรโดย

ทะแยง. ถ้าสงฆ์ ๒ หมู่แยกกันทำวินัยกรรม ต้องเว้น ๗ อัพภันตรอีกระยะ

หนึ่ง ไว้ในระหว่างแห่ง ๗ อัพภันตรทั้ง ๒ เพื่อประโยชน์แก่อุปจาร.

สัตตัพภันตรสีมากถาที่เหลือ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวแล้ว ในวรรณนา

แห่งอุทโทสิตสิกขาบท ในมหาวิภังค์.

อรรถกถาสัตตัพภันตรสีมา จบ

อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา

ข้อว่า สพฺพา ภิกฺขเว นที อสีมา มีความว่า แม่น้ำชนิดใดชนิด

หนึ่ง ทีได้ลักษณะแห่งแม่น้ำ แม้ภิกษุกำหนดนิมิตกระทำแล้ว ด้วยตั้งใจว่า

เราทั้งหลายทำแม่น้ำนี้ให้เป็นพัทธสีมาดังนี้ ย่อมไม่เป็นสีมาเลย. แต่แม่น้ำนั้น

ย่อมเป็นเช่นกับพัทธสีมาโดยสภาพของตนเท่านั้น จะทำสังฆกรรมทั้งปวงในแม่

น้ำนี้ ย่อมควร แม้ในทะเลและชาตสระ ก็มีนัยเหมือนกัน.

ก็บรรดาทะเลและชาตสระนี้ ที่ชื่อ ชาตสระ เป็นชลาสัย ที่ผู้ใดผู้หนึ่ง

มิได้ขุดทำไว้ เป็นบึงที่เกิดเอง เต็มด้วยน้ำซึ่งมาได้รอบด้าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงห้ามข้อที่แม่น้ำทะเลและชาตสระเป็น

พัทธสีมา อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงกำหนดแห่งอพัทธสีมาในแม่น้ำทะเล

และชาตสระเหล่านั้นอีก จึงตรัสคำว่า นทิยา วา ภิกฺขเว เป็นอาทิ.

วินิจฉัยในคำนั้น. ข้อว่า ย มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส สมนฺตา อุท-

กุกฺเขปา มีความว่า สถานที่ใดกำหนดด้วยวักน้ำลาดโดยรอบแห่งบุรุษผู้มีกำลัง

๑. สมนฺต. ทุติย. ๑๗๙.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

ปานกลาง คือบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ก็น้ำอันภิกษุจะพึงวักสาดอย่างไร ? นักเลง

สบ้าซัดลูกสบ้าไม้ฉันใด บุรุษผู้มีกำลังปานกลาง พึงเอามือวักน้ำหรือกำทรายซัด

ไป ด้วยกำลังทั้งหมด ฉันนั้น. น้ำหรือทรายทีซัดไปอย่างนั้น ตกลงในโอกาสใด

โอกาสนี้เป็นอุทกุกเขป ๑. ภิกษุผู้ละหัตถบาสตั้งอยู่ภายในอุทกุกเขปนั้น ย่อม

ทำกรรมให้เสีย. บริษัทขยายออกเพียงใด แม้สีมาย่อมขยายออกไปเพียงนั้น.

เฉพาะอุทกุกเขป ๑ จากที่สุดโดยรอบแห่งบริษัทเป็นประมาณ.

แม้ในชาตสระและทะเล ก็นัยนี้แล ก็แลบรรดาแม่น้ำชาตสระ และ

ทะเลเหล่านี้ ถ้าแม่น้ำไม่ยาวเกินไป สงฆ์นั่งอยู่ในที่ทั้งปวง ตั้งแต่ต้นน้ำจน

ถึงปากน้ำ ขึ้นชื่อว่าการทำสีมาด้วยอุทกุกเขป ย่อมไม่มี. แม่น้ำแม้ทั้งสิ้น ย่อม

พอดีแก่ภิกษุเหล่านั้นเสียแล้ว.

ก็คำใดที่พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า แม่น้ำเฉพาะที่ไหลเพียงโยชน์ ๑.

ในแม่น้ำนั้น ต้องละกึ่งโยชน์ตอนบนเสีย ทำกรรมในกึ่งโยชน์ตอนล่าง จึง

ควร ดังนี้ . คำนั้นพระมหาปทุมัตเถระค้านเสียแล้ว.

ในมหาอรรถกถากล่าวว่า อันประมาณแห่งแม่น้ำ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ฉะนี้ว่า ภิกษุณีนุ่งห่มได้มณฑล ๓ ข้ามอยู่ ณ เอกเทสเเห่งใดแห่งหนึ่ง

อันตรวาสกเปียก แต่โยชน์ ๑ หรือกึ่งโยชน์ หาได้ตรัสไว้ไม่ เพราะเหตุนั้น

แน่น้ำใด มีลักษณะดังกล่าวแล้วในหนหลัง ด้วยอำนาจแห่งสูตรนี้ จะทำสังฆ-

กรรมตั้งแต่ต้นน้ำแห่งแม่น้ำนั้น ย่อมควร. แต่ถ้าภิกษุมากหลายจะแยก ๆ กัน

ทำกรรมในแม่น้ำนี้ไซร้. เธอทั้งปวงพึงเว้นอุทกุกเขปอื่นไว้ในระหว่างแดน

กำหนดแห่งอุทกุกเขปของตน และของภิกษุพวกอื่น เพื่อประโยชน์แก่สีมันตริก

เว้นไว้เกินกว่าอุทกุกเขป ๑ นั้น ควรแท้. แต่หย่อนกว่านั้น ไม่ควร.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

ในชาตสระและทะเล ก็นัยนี้แล ก็แลภิกษุทั้งหลายพากันไปด้วยคิดว่า

เราจักทำสังฆกรรมในแม่น้ำ ถ้าแม่น้ำเต็มเสมอฝั่ง จะต้องนุ่งผ้าอาบน้ำก็ได้

พึงทำกรรมในแม่น้ำนั่นแล ถ้าไม่อาจ เพียงสถิตอยู่ในเรือก็ได้ กระทำเถิด

แต่ไม่ควรทำในเรือซึ่งกำลังเดิน. เพราะเหตุไร เพราะว่า ชั่วอุทกุกเขป

๑ เท่านั้นเป็นประมาณแห่งสีมา เรือย่อมพาสงฆ์นั่นแลให้ล่วงเลยสีมานั้นไป;

เมื่อเป็นเช่นนั้น ญัตติจะอยู่ในสีมา ๑ อนุสาวนาจะอยู่ในอีกสีมา ๑ เพราะ

เหตุนั้น พึงจอดเรือไว้กับหลัก หรือทอดสมอ หรือผูกที่ต้นไม้ที่เกิดภายใน

แม่น้ำกระทำกรรม. สถิตอยู่บนร้านที่ผูกขึ้นในภายในแม่น้ำก็ดี บนต้นไม้ที่เกิด

ในภายในแม่น้ำก็ดี กระทำกรรมก็ควร. แต่ถ้ากิ่งแห่งต้นไม้ก็ดี ย่านที่ออกจาก

ต้นไม้นั้นก็ดี. จดอยู่ที่วิหารสีมา หรือที่ตามสีมา นอกฝั่งแม่น้ำ ต้องชำระสีมา

ให้เรียบร้อย หรือทัดกิ่งไม้เสีย แล้วจึงทำกรรม. จะผูกเรือที่กิ่งแห่งต้นไม้ที่

ขึ้นอยู่บนตลิ่ง ซึ่งยื่นลงไปในแม่น้ำ หรือที่ย่านไทรแล้ว กระทำกรรมไม่ควร.

เมื่อจะทำ ต้องชำระสีมาให้เรียบร้อย หรือต้องตัดเสีย ให้การที่กิ่งไม้หรือย่าน

ไทรนั้น ซึ่งจดในภายนอกขาดจากกัน . อนึ่งจะปักหลักที่ฝั่งแม่น้ำแล้ว ทำกรรม

ในเรือซึ่งผูกที่หลักนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน. ชนทั้งหลายทำสะพานไว้ในแม่น้ำ,

ถ้าตัวสะพาน หรือเชิงสะพานอยู่ในภายในแม่น้ำเท่านั้น, จะสถิตอยู่บนสะพาน

ทำกรรมก็ควร. แต่ถ้าตัวสะพาน หรือเชิงสะพานตั้งอยู่บนฝั่ง. จะสถิตอยู่บน

สะพานนั้นทำกรรม ไม่ควร. ต้องชำระสีมาให้เรียบร้อยแล้ว จึงทำกรรม.

ถ้าเชิงสะพานทั้งอยู่ในแม่น้ำ ส่วนตัวสะพานเชิดอยู่ในอากาศบนฝั่งทั้ง ๒ ย่อม

ควร. แก่งศิลาหรือเกาะ มีอยู่ภายในแม่น้ำ, ใน ๔ เดือนแห่งฤดูฝน

เฉพาะกาลฝนตามปกติมีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง น้ำท่วมประเทศเท่าใด

แห่งแก่งศิลาหรือเกาะนั้น, ประเทศเท่านั้น นับเป็นแม่น้ำเหมือนกัน แต่ไม่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

ควรถือเอาโอกาสที่ห้วงน้ำท่วม ในคราวฝนชุกเกินไป. เพราะว่าโอกาสนั้น

ย่อมถึงความนับว่าเป็นคามสีมาด้วย.

ชนทั้งหลายเมื่อจะไขน้ำเข้าลำราง ย่อมทำท่านบในแม่น้ำ, และน้ำท่วม

หรือเซาะแทงทำนบนั้นไหลไป จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไหลทุกแห่ง ย่อมควร

แต่ถ้ากระแสน้ำขาดสายทำนบกั้นก็ดี ด้วยถูกถมทำสะพานก็ดี น้ำย่อมไม่ไหล

จะทำกรรมในที่ซึ่งน้ำไม่ไหลไม่ควร. จะทำแม้บนยอดทำนบ ก็ไม่ควร. ถ้า

ประเทศแห่งทำนบบางแห่ง น้ำท่วมน้ำ เหมือนประเทศแห่งแก่งศิลาและเกาะ

ซึ่งกล่าวแล้วในหนหลัง, จะทำกรรม ณ ประเทศแห่งทำนบที่น้ำท่วมถึงนั้น

ย่อมควร. เพราะว่าประเทศแห่งทำนบนั้นย่อมถึงความนับว่าแม้น้ำเหมือนกัน.

ชนทั้งหลายจะกั้นแม่น้ำเสีย ทำให้เป็นบึง ก่อคันไว้ที่ปลายน้ำ น้ำไหลมาขังอยู่

เต็มบึง จะทำกรรมในบึงนี้ ไม่ควร. น้ำที่เขาทิ้งเสียในที่ซึ่งไหลตอนบนและ

ตอนล่าง แห่งบึงนั้น ย่อมควร จำเติมแต่ที่ซึ่งล้นแล้วไหลบ่าลงสู่แม่น้ำ. ใน

เมื่อฝนไม่ตก ในคราวฝนแล้ง หรือในฤดูร้อนและในฤดูหนาว จะทำกรรม

แม้ในแม่น้ำที่แห้ง ย่อมควร. ในลำรางที่เขาชักออกจากแม่น้ำ ไม่ควร. ถ้า

ลำรางนั้นพังกลายเป็นแม่น้ำในกาลอื่น ย่อมควร. แม่น้ำบางสายขึ้นท่วมคาม

สีมาและนิคมสีมาไหลไปตามฤดูกาล, แม่น้ำนั้น ย่อมเป็นแม่น้ำเหมือนกัน

สมควรทำกรรมได้. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย

อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมแม้ในทะเลเล่า น้ำที่ขึ้นอย่างสูง ย่อมท่วมประเทศ

๑. ปาฐะในอรรถกถาว่า อาวรเณน วา โกฏฺกพนฺธเนน วา. โยชนาหน้า ๒๔๖ แก้ว่า อาวรเณน

วาติ ทารุอาทึ นิกฺขนิตฺวา อุทกนีวารเณน. โกฏฺลสมฺพทฺเธน วาติ มตฺติกาทีหิ ปูเรตฺวา กต-

เสตุพทฺเธน แม้อักษรจะเพี้ยนไปบ้างก็ตาม เสตุพนฺธ หมายความว่าทำสะพานตามความนิยม

ของภาษา เช่นในมงฺคลตฺถทีปนี ภาก ๒ ตอน อนวชฺชกมฺมกถา หน้า ๑๒๔ มีกล่าวถึงอบาสก

คนหนึ่ง . . . อุทกกาเล มาติกาสุ เสตุ พนฺธติ. ดังนั้นอาศัยนัยโยชนา จึงได้แปลเช่นนี้ ให้ได้

ความชัดลงไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ใดหรือคลื่นคามปกติมาด้วยกำลังลม ย่อมท่วมประเทศใด ไม่ควรทำกรรมใน

ประเทศนั้น แต่คลื่นตามปกติเกิดขึ้นแล้ว หยุดอยู่แค่ประเทศใดประเทศนั้น

จำเติมแต่ชายน้ำลงไป จัดเป็นภายในทะเล ภิกษุทั้งหลายพึงตั้งอยู่ในประเทศ

นั้น ทำกรรมเถิด ถ้ากำลังคลื่นรบกิน พึงสถิตอยู่บนเรือ หรือร้านกระทำ-

กรรม.

วินิจฉัยในเรือและร้านเหล่านั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในแม่น้ำ

นั่นแล. ศิลาดาดมีอยู่ในทะเล. บางคราว คลื่นมาท่วมศิลาดาดนั้น บางคราวไม่

ท่วม ไม่ควรทำกรรมบนศิลาดาดนั้น. เพราะว่าศิลาดาดนั้น ย่อมนับเป็น

คามสีมาด้วย. แต่ถ้า เมื่อคลื่นมาก็ดี ไม่มาก็ดี ศิลาดาดนั้น อันน้ำตามปกตินั่น

เองท่วมอยู่ ย่อมควร.

เกาะหรือภูเขา มีอยู่ ถ้าเกาะหรือภูเขานั้น อยู่ในย่านไกลไม่เป็นทาง

ไปของพวกชาวประมง เกาะหรือภูเขานั้น ย่อมนับเข้าเป็นอรัญญสีมานั่นแล.

ส่วนร่วมในแห่งปลายทางเป็นที่เป็นไปของพวกชาวประมงเหล่านั้น นับเป็น

คามสีมา. . . ไม่ชำระคามสีมาให้เรียบร้อยแล้ว ทำกรรมที่เกาะภูเขานั้น ไม่ควร.

ทะเลท่วมคามสีมาหรือนิคมสีมาทั้งอยู่ คงเป็นทะเล, จะทำกรรมในทะเลนั้น

ย่อมควร. แต่ถ้าท่วมวิหารสีมา ย่อมถึงความนับว่า วิหารสีมา ด้วย.

อันภิกษุทั้งหลายผู้จะทำกรรมในชาตสระเล่า ในพรรษกาลมีประการ

ดังกล่าวแล้วในหนหลัง พอฝนขาด น้ำในสระใดไม่พอเพื่อจะดื่ม หรืออาบ

หรือล้างมือและเท้า แห้งหมด; สระนี้ไม่จัดเป็นชาตสระ ถึงความนับว่าเป็น

คามเขตนั่นเอง; ไม่ควรทำกรรมในสระนั้น. แต่ในพรรษกาลมีประการดังกล่าว

แล้ว น้ำขังอยู่ในสระใด สระนี้แลจัดเป็นชาตสระ. ตลอด ๔ เดือนฤดูฝนน้ำ

ขังอยู่ในประเทศเท่าใดแห่งชาตสระนั้น สมควรทำกรรมในประเทศเท่านั้นได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ถ้าน้ำลึก จะผูกร้านแล้วตั้งอยู่บนร้านนั้นก็ดี ตั้งอยู่บนร้านที่ผูกไว้บนต้นไม้ที่

เกิดภายในชาตสระก็ดี กระทำกรรมย่อมควร.

ส่วนวินิจฉัยในศิลาดาดและเกาะ ในชาตสระนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าว

แล้ว ในแม่น้ำนั่นเอง. อนึ่ง ชาตสระที่มีน้ำพอใช้ ในกาลที่ฝนตกเสมอ. แม้

หากว่า ในคราวฝนแล้งหรือฤดูร้อนและฤดูหนาวจะแห้ง ไม่มีน้ำ, จะทำสังฆ-

กรรมในชาตสระนั่น ก็ควร.

ไม่ควรเชื่อถือคำที่ท่านกล่าวไว้ในอันธกอรรถกถาว่า ชาตสระทั้งปวง

ที่แห้งไม่มีน้ำ ย่อมจัดเข้าเป็นคามเขตไป แต่ถ้าชนทั้งหลาย ขุดบ่อหรือสระ

โบกขรณีเป็นต้น เพื่อต้องการน้ำ ในชาตสระนี้ สถานนั้น ไม่เป็นชาตสระ.

นับเป็นคามสีมา แม้ในการปลูกน้ำเต้าและแตงโมเป็นต้น ที่เขาทำ ในชาตสระ

นั้น ก็มีนัยเหมือนกัน.

อนึ่ง ถ้าชนทั้งหลายถมชาตสระนั้นให้เต็น ทำให้เป็นบกก็ดี ก่อคัน

ในทิสาภาคอันหนึ่ง ทำชาตสระนั้นทั้งหมดทีเดียวให้เป็นบึงใหญ่ก็ดี ไม่เป็น

ชาตสระแม้ทั้งหมด, นับเป็นคามสีมานั่นเอง. ถึงทะเลสาบ ก็จัดเป็นชาตสระ

เหมือนกัน. จะทำกรรมในโอกาสเป็นที่ขังน้ำตลอด ๔ เดือนฤดูฝน ควรอยู่

ฉะนี้แล,

อรรถกถาอุทกุกเขปสีมา จบ

อรรถกถาสีมาสัมเภท

ข้อว่า สีมาย สีม สมฺภินฺทนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์

ผูกสีมาของตนคาบเกี่ยวพัทธสีมาของภิกษุเหล่าอื่น. ก็ถ้าว่าในทิศตะวันออกแห่ง

วัดที่อยู่เก่า มีต้นไม้ ๒ ต้น คือ มะม่วงต้น ๑ หว้าต้น ๑ มีค่าคบพาด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

เกี่ยวกัน, ในต้นมะม่วงและต้นหว้านั้น ต้นหว้าอยู่ทางทิศตะวันตกของต้นมะม่วง

และวัดที่อยู่มีสีมา เป็นแดนที่ภิกษุกันเอาต้นหว้าไว้ข้างใน กำหนดต้นมะม่วง

เป็นนิมิตผูกไว้ หากว่าภายหลังภิกษุทั้งหลายจะผูกสีมาทำวัดที่อยู่ในทิศตะวันออก

แห่งวัดที่อยู่นั้น จึงกันเอาต้นมะม่วงไว้ภายในกำหนด ต้นหว้าเป็นนิมิตผูกไซร้,

สีมากับสีมา ย่อมคาบเกี่ยวกัน. พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้กระทำอย่างนี้.

เพราะเหตุนี้ พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า สีมาย สีม สมฺภินฺทนฺติ

แปลว่า เจือสีมาด้วยสีมา.

ข้อว่า สีมาย สีม อชฺโฌตฺถรนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์

ทับพัทธสีมาของภิกษุเหล่าอื่น ด้วยสีมาของตน คือผูกสีมาของตน เอาพัทธ-

สีมาของภิกษุเหล่าอื่น ทั้งหมด หรือบางตอนแห่งพัทธสีมานั้นไว้ภายไม่ สีมา

ของตน.

ในข้อว่า สีมนฺตริก เปตฺวา สีม สมฺมนฺนิตุ นี้ มีวินิจฉัยว่า หาก

สีมาแห่งวิหารที่ทำไว้ก่อนแดนที่มิได้สมมติ พึงเว้นอุปจารแห่งสีมาไว้. หาก

เป็นแดนที่สมมติ พึงเว้นสีมันตริกไว้ประมาณศอก ๑ โดยกำหนดอย่างต่ำ

ที่สุด.

ในกุรุนทีแก้ว่า แม้เพียงคืบเดียวก็ควร. ในมหาปัจจรีแก้ว่า แม้เพียง

๘ นิ้วก็ควร.

อนึ่ง แม้ต้นไม้ต้นเดียวเป็นนิมิตแห่ง ๒ สีมา และต้นไม้นั้น เมื่อโต

ขึ้น ย่อมทำสีมาให้สังกระกัน; เพราะเหตุนั้น ไม่ควรทำ.

อรรกถาสีมาสัมเภท จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

วันอุโบสถมี ๒

[๑๖๖] ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า วันอุโบสถมีเท่าไร

หนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี ๒ คือ อุโบสถมีใน

วัน ๑๔ ค่ำ อุโบสถมีในวัน ๑๕ ค่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถ ๒ นี้แล.

การทำอุโบสถมี ๔ อย่าง

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า การทำอุโบสถมีเท่าไร

หนอแล แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี ๔ คือ การทำ

อุโบสถเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม ๑ การทำอุโบสถพร้อมเพียงโดยไม่เป็นธรรม

๑ การทำอุโบสถเป็นวรรคโดยธรรม ๑ การทำอุโบสถพร้อมเพียงโดยธรรม ๑

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ ๔ อย่างนั้น การทำอุโบสถนี้

ใดเป็นวรรคโดยไม่เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเรา

ก็ไม่อนุญาต.

ในการทำอุโบสถ ๔ นั้น การทำอุโบสถนี้ใด ที่พร้อมเพรียงโดยไม่

เป็นธรรม การทำอุโบสถเห็นปานนั้นไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

ในการทำอุโบสถ ๔ นั้น การทำอุโบสถนี้ใด เป็นวรรคโดยธรรม

การทำอุโบสถเห็นปานนั้นไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

ในการทำอุโบสถ ๔ นั้น การทำอุโบสถนี้ใดที่พร้อมเพรียงโดยธรรม

การทำอุโบสถเห็นปานนั้นควรทำ และเราก็อนุญาต.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น แหละพวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำ

อุโบสถกรรมชนิดที่พร้อมเพรียงโดยธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

อรรถกถาอุโบสถและอุโบสถกรรม

ในอุโบสถสอง นี้ คือ อุโบสถวันที่ ๑๔ และอุโบสถวันที่ ๑๕ เมื่อทำ

บุพกิจแห่งอุโบสถวันที่ ๑๔ แล้วพึงบอกว่า อชฺขุโปสโถ จาตุทฺทโส

แปลว่า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๔.

วินิจฉัยในอุโบสถกรรม ๔ มีข้อว่า อธมฺเมน วคฺค เป็นอาทิ. หาก

ว่าในวัดที่อยู่เดียวกัน เมื่อภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป ๓ รูปนำฉันทะและปาริสุทธิ

ของรูปหนึ่งมาแล้ว ทำปาริสุทธิอุโบสถ หรือเมื่ออยู่ด้วยกัน ๓ รูป ๒ รูปนำ

ฉันทะและปาริสุทธิของรูปหนึ่งมา แล้วสวดปาติโมกข์ อุโบสถกรรมย่อมเป็น

วรรคโดยอธรรม, แต่ถ้าทั้ง ๔ รูปประชุมกันทำปาริสุทธิอุโบสถ, ๓ รูปหรือ ๒

รูป สวดปาติโมกข์ อุโบสถกรรมชื่อพร้อมเพรียงโดยธรรม. ถ้าอยู่ด้วยกัน ๔ รูป

๓ รูปนำปาริสุทธิของรูปหนึ่งมาแล้วทำปาริสุทธิอุโบสถ, หรืออยู่ด้วยกัน ๓ รูป

๒ รูปนำปาริสุทธิของรูปหนึ่งมาแล้ว ทำปาริสุทธิอุโบสถ, อุโบสถกรรมชื่อเป็น

วรรคโดยธรรม. แต่ถ้าภิกษุ ๔ รูปอยู่ในวัดที่อยู่เดียวกัน ประชุมกันทั้งหมด

สวดปาติโมกข์, ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ, ๒ รูป ทำปาริสุทธิกะกันและกัน,

อุโบสถกรรมชื่อพร้อมเพรียงโดยธรรม.

อรรถกถาอุโบสถและอุโบสถกรรม จบ

๑. แต่ในโยชนา เอตฺถ โยควจเน และเป็นอาธารในวตฺตพฺพ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

ปาติโมกขุทเทส ๕

[๑๖๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้มีความปีริวิตกว่า ปาติโมกขุทเทสมี

เท่าไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุทเทสนี้มี ๕ คือ ภิกษุ

สวดนิทานจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๑.

สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ จบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท

นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๒.

สวดนิทาน สวดปาราชิก สวดสังฆาทิเสส ๑๓ จบแล้ว พึงสวดอุทเทส

ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๓.

สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ จบ

แล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นปาติโมกขทเทสที่ ๔.

สวดโดยพิสดารหมด เป็นปาติโมกขุทเทสที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาติโมกขุทเทสที่ ๕ นี้แล.

ทรงห้ามสวดปาติโมกข์ย่อ

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต

การสวดปาติโมกข์ย่อ ดังนี้ จึงสวดปาติโมกข์ย่อทุกครั้ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

พระพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อเมื่อมีอันตราย

สมัยต่อมา ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาวดงได้มาพลุก

พล่านในวันอุโบสถ ภิกษุทั้งหลายไม่อาจสวดปาติโมกข์โดยพิสดาร จึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอันตรายเราอนุญาตให้สวดปกติโมกข์ย่อ.

อันตราย ๑๐ ประการ

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ แม้เมื่ออันตรายไม่มี ก็สวดปาติโมกข์ย่อ

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีอันตราย ภิกษุไม่พึง

สวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

เมื่อมีอันตราย เราอนุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อ

อันตรายในเรื่องนี้เหล่านั้น คือ:-

๑. พระราชาเสด็จมา.

๒. โจรมาปล้น .

๓. ไฟไหม้.

๔. น้ำหลากมา.

๕. คนมามาก.

๖. ผีเข้าภิกษุ

๗. สัตว์ร้ายเข้ามา.

๘. งูร้ายเลื่อยเข้ามา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

๙. ภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิต.

๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไห้สวดปาติโมกข์ย่อในเพราะอันตราย

เห็นปานนี้ เมื่อไม่มีอันตราย ให้สวดโดยพิสดาร.

อรรถกถาปาติโมกขุทเทส

ข้อว่า นิทาน อุทฺทิสิตฺวา อวเสส สุเตน สาเวตพฺพ มีความว่า

ครั้นสวดนิทานนี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ฯปฯ อาวิกตา หิสฺส

ผาสุ โหติ แล้ว พึงกล่าวว่า อุทฺทิฏฺ โข อายสฺมนฺโต นิทาน. ตตฺถา-

ยสฺมนฺเต ปุจฺฉามิ. กจฺจิตฺถ ปริสุทฺธา ? ทุติยมฺปิ ปุจฺฉามิ ฯปฯ

เอวเมต ธารยามิ แล้วพึงสวด ๔ อุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท อย่างนี้ว่า สุตา

โขุ ปนายุสฺมนฺเตหิ จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา ฯปฯ อวิวทมา-

เนหิ สิกขิตพฺพ. ปาฏิโมกขุทเทส ๔ ที่เหลือ พึงทราบตามนัยนี้.

สัญจรภัยนั้น ได้แก่ ภัยเกิดแก่มนุษย์ผู้ท่องเที่ยวไปในดง.

วินิจฉัยในอันตราย ๑๐ คือ ราชันตรายเป็นอาทิ. ถ้าเมื่อภิกษุทั้งหลาย

คิดว่า เราจักทำอุโบสถ นั่งประชุมกันแล้ว พระราชาเสด็จมา นี้ชื่อว่าราชัน-

ตราย. พวกโจรพากันมา นี้ชื่อโจรันตราย. ไฟป่าลามมา หรือไฟเกิดขึ้นใน

อาวาส นี้ชื่ออัคคยันตราย. ฝนตกหรือน้ำหลากมา นี้ชื่ออุทกันตราย. มนุษย์

มากันมาก นี้ชื่อมนุสสันตราย. ผีเข้าภิกษุ นี้ชื่ออมนุสสันคราย. สัตว์ร้ายมี

เสือเป็นต้น เข้ามา นี้ชื่อวาฬันคราย. สัตว์พิษมีงูเป็นต้น กัดภิกษุ นี้ชื่อสิรึส-

ปันตราย. ภิกษุอาพาธ หรือทำกาลกิริยา หรือพวกคนมีเวรกัน ปองจะฆ่า

๑. นิทานุทเทส ไม่น่าจะต้องถาม ดูอธิบายในวินัยมุขเล่ม ๒ กัณฑ์ที่ ๑๗.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

จับภิกษุนั้น นี้ชื่อชีวิตันตราย. มนุษย์ประสงค์ ให้ภิกษุรูปเดียวหรือหลายรูป

เคลื่อนจากพรหมจรรย์ จับเอาไป นี้ชื่อพรหมจริยันตราย.

ในอันตรายเห็นปานนี้ พึงสวดปาติโมกข์ย่อได้. จะพึงสวดอุทเทสที่

๑ หรือสวด ๒ อุทเทส. ๓ อุทเทส ๔ อุทเทส เบื้องต้นก็ตาม. ในอุทเทส

เหล่านั้น มีอุทเทสที่ ๒ เป็นต้น เมื่ออุทเทสโดยังสวดไม่จบ มีอันตราย อุทเทส

แม้นั้น พึงสวดด้วยสุตบททีเดียว.

อรรถกถาปาติโมกขุทเทส จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

จะแสดงธรรมต้องได้รับอาราธนาก่อน

[๑๖๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนา แสดง

ธรรมในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้

รับอาราธนา ไม่พึงแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระแสดงธรรมเอง หรือ

ให้อาราธนาผู้อื่น แสดง

ถามพระวินัยต้องได้รับสมมติก่อน

[๑๖๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับสมมติ ถามพระ

วินัยในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังไม่ได้

รับสมมติ ไม่พึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดถามต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ได้รับสมมติแล้ว ถามวินัย

ในท่ามกลางสงฆ์ได้.

วิธีสมมติเป็นผู้ถาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงสมมติอย่างนี้ ตนเองสมมติตนก็ได้

ภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่นก็ได้.

อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

กรรมวาจาสมมติตน

พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้.

พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าขอถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้.

อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน.

อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น ?

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติผู้อื่น

พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้ถามพระวินัยต่อผู้มีชื่อนี้.

อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.

ถามพระวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว ถามพระ-

วินัยในท่ามกลางสงฆ์ พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที่ได้รับสมมติ

แล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลแล้วจึงถามวินัยในท่ามกลางสงฆ์.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ยังไม่ได้รับสมมติ วิสัชนาพระวินัยในท่าม

กลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังไม่ได้รับสมมติ

ไม่พึงวิสัชนาวินัยในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดวิสัชนา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุได้รับสมมติแล้ว วิสัชนาวินัย

ในท่ามกลางสงฆ์.

วิธีสมมติเป็นผู้วิสัชนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุพึงสมมติอย่างนี้ ตนเองสมมติก็ได้

ภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่นก็ได้.

อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองสมมติตน

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาสมมติตน

พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้ว ขอวิสัชนา.

อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองสมมติตน.

อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น ?

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

กรรมวาจาสมมติผู้อื่น

พระสงฆ์เจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว ผู้มีชื่อนี้ อันผู้มีชื่อนี้ถามถึงพระวินัยแล้ว ขอวิสัชนา.

อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุอื่นสมมติภิกษุอื่น.

วิสัชนาพระวินัยต้องตรวจดูบริษัทก่อน

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ได้รับสมมติแล้ว วิสัชนา

พระวินัยในท่ามกลางสงฆ์ พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่า

เสีย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแม้ที

ได้รับสมมติแล้ว ตรวจดูบริษัท พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงวิสัชนาวิสัยในท่าม

กลางสงฆ์.

โจทก์ต้องขอโอกาสต่อจำเลย

[๑๗๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์โจทภิกษุผู้มีได้ทำโอกาสด้วย

อาบัติ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงโจทภิกษุผู้มิ

ได้ทำโอกาสด้วยอาบัติ รูปใดโจท ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทขอให้จำเลยทำโอกาส ด้วยคำ

ว่า ขอท่านจงทำโอกาส ผมใคร่จะกล่าวกะท่าน ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ.

ก่อนโจทต้องพิจารณาบุคคล

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักขอให้พระฉัพพัคคีย์ทำโอกาส

แล้วโจทด้วยอาบัติ พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โจทแม้เมื่อจำเลยทำ

โอกาสแล้ว พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงโจทด้วยอาบัติ.

ก่อนขอโอกาสต้องพิจารณาดูบุคคล

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์คิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ขอให้

พวกเราทำโอกาสก่อนดังนี้ จึงรีบขอให้ภิกษุทั้งหลายที่บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำ

โอกาสในอธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขอให้ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ทำโอกาส ใน

อธิกรณ์ที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีเหตุ รูปใดขอให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พิจารณาดูบุคคลก่อน จึงขอให้ทำ

โอกาส.

เรื่องห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม

[๑๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่าม

กลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้ารับ สั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่าม

กลางสงฆ์ รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ.

พระฉัพพัคคีย์ยังขืนทำกรรมไม่เป็นธรรมอยู่ตามเดิม ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุทำกรรมไม่เป็น

ธรรม.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักพากันคัดค้านในเมื่อพระ-

ฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรม พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคาม

จะฆ่าเสีย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำความ

เห็นแย้งได้.

ภิกษุทั้งหลายทำความเห็นแย้งในสำนักพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นนั่นแหละ

พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ - ๕ รูปคัดค้าน ให้ภิกษุ ๒ - ๓ รูปทำ

ความเห็นแย้ง ให้ภิกษุรูปเดียวนึกในใจว่า กรรมนั้นไม่ควรแก่เรา.

แกล้งสวดปาติโมกข์ไม่ให้ได้ยิน

[๑๗๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์แกล้งสวดปาติโมกข์ในท่าม

กลางสงฆ์ไม่ให้ได้ยิน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้

สวดปาติโมกข์ไม่พึงแกล้งสวดไม่ให้ได้ยิน รูปใดสวดไม่ให้ได้ยิน ต้องอาบัติ.

ทุกกฏ.

สมัยต่อมา ท่านพระอุทายีเป็นผู้สวดปาติโมกข์แก่สงฆ์ แต่มีเสียงเครือ

ดุจเสียงกา ครั้งนั้นท่านพระยุทายีได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคทรง

ญัตติไว้แล้วว่า ภิกษุสวดปาติโมกข์ต้องสวดให้ได้ยินทั่วกัน ก็อาตมามี

เสียงเครือดุจเสียงกา อาตมาจะพึงปฏิบัติอย่างไรหน่อ จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุที่สวดปาติโมกข์

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

พยายามสวดด้วยตั้งใจว่าจะสวดให้ได้ยินถ้อยคำทั่วกัน เมื่อพยายาม ไม่ต้อง

อาบัติ.

ห้ามสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์

[๑๗๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเทวทัตต์สวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มี

คฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

สวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ต้องได้รับอาราธนาจึงสวดปาติโมกข์ได้

[๑๗๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ได้รับอาราธนาสวดปาติ-

โมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค

เจ้า พระผู้มีภาคเจ้ารับสั่งห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้

รับอาราธนา ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในท่ามกลางสงฆ์ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่ของพระเถระ.

อัญญติตถิยภาณวารที่ ๑๑ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

อรรถกถาอัชเฌสนา

บทว่า อนชฺฌิฏฺา ได้แก่ ไม่ได้รับบัญชา หรือไม่ได้รับเชิญ.

ก็ในอัชเฌสนาธิการนี้ การเชิญ เนื่องด้วยภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมซึ่ง

สงฆ์สมมติก็มี เนื่องด้วยพระสังฆเถระก็มี. เมื่อภิกษุผู้เชิญแสดงธรรมนั้นไม่มี

ภิกษุเรียนพระสังฆเถระแล้ว หรืออันพระสังฆเถระอัญเชิญแล้ว ย่อมได้เพื่อ

กล่าวธรรม.

พระสังฆเถระเล่า ถ้าในวัดที่อยู่มีพระธรรมถึกมาก, พึงสั่งตามลำดับ

วาระ. ภิกษุผู้ซึ่งท่านสั่งว่าเธอจงสวดธรรม ก็ดี ว่า เธอจงแสดงธรรม ก็ดี ว่า

เธอจงให้ธรรมทาน กีดี พึงกล่าวธรรมได้ทั้ง ๓ วิธี แต่ภิกษุผู้ได้รับคำสั่งว่า จง

สวด ย่อมได้เพื่อสวดเท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงแสดง ย่อมได้เพื่อแสดง

เท่านั้น ผู้ได้รับคำสั่งว่า จงสวดสรภัญญะ ย่อมได้เพื่อสวดสรภัญญะเท่านั้น.

ฝ่ายพระเถระเล่า ผู้นั่งบนอาสนะสูงกว่า ย่อมไม่ได้เพื่ออัญเชิญ. ถ้า

พระสังฆเถระเป็นอุปัชฌาย์ และพระธรรมกถึกเป็นสัทธิวิหาริก และพระ-

อุปัชฌาย์นั่งบนอาสนะสูง สั่งสัทธิวิหาริกนั้นว่าเธอจงสวด. พึงตั้งใจสาธยาย.

แล้วสวดเถิด. แต่ถ้าในสำนักอุปัชฌาย์นี้ มีภิกษุหนุ่มมาก, พึงตั้งใจว่า เราสวด

แก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วสวดเถิด.

ถ้าพระสังฆเถระในวัดที่อยู่ให้สวดแต่นิสิตของตนเท่านั้น ไม่อัญเชิญ

ภิกษุเหล่าอื่นที่สวดไพเราะบ้าง ภิกษุเหล่าอื่นพึงเรียนท่านว่า ท่านผู้เจริญ

พวกผมขอให้ภิกษุชื่อโน้นสวด. ถ้าท่านตอบ สวดเถิด หรือท่านนิ่งเสีย สมควร

ให้สวดได้. แต่ถ้าท่าห้าม ไม่ควรให้สวด.

หากว่า เริ่ม ธรรมสวนะ แต่เมื่อพระสังฆเถระยังมิได้มา. เมื่อท่าน

มากลางคัน กิจที่จะต้องหยุดขอโอกาส ไม่มี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

อนึ่ง เมื่อสวดแล้วจะอธิบายเนื้อความ พึงขอโอกาสท่านแล้ว จึง

อธิบายก็ได้. ไม่หยุดเลยอธิบายทีเดียวก็ได้ แม้ในพระสังฆเถระผู้มากลางคัน

เมื่อกำลังอธิบายก็มีนัยเหมือนกัน. ถึงในอุปนิสินนกถาพระสังฆเถระเป็นเจ้าของ,

เพราะฉะนั้น พระสังฆเถระนั้นพึงกล่าวเอง, หรือสั่งภิกษุอื่นว่า เธอจงกล่าว

ก็แลพระเถระนั่งสูงกว่าไม่ควรสั่ง. แต่ว่าจะสั่งแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า ท่านจง

กล่าว ควรอยู่ชนทั้งหลายถามภิกษุผู้รู้จักตน ภิกษุนั้นพึงขอโอกาสพระเถระ

ก่อนจึงค่อยตอบ. ถ้าพระเถระได้รับตอบว่า ท่านผู้เจริญ ชนเหล่านี้ ถามปัญหา

กะผม ดังนี้แล้ว สั่งว่า ตอบเถิดก็ดี นิ่งเสียก็ดี จะตอบก็ควร.

แม้ในการอนุโมทนาเป็นต้น ในละแวกบ้าน ก็นัยนี้แล ถ้าว่าพระสังฆ

เถระอนุญาตว่าเธอพึงกล่าวในวัดที่อยู่หรือในละแวกบ้านเถิด ไม่ต้องบอกเล่าฉัน

ละ เป็นอันได้ข้ออ้าง, สมควรกล่าวได้ในที่ทั้งปวง. แม้เมื่อจะทำการสาธยาย

เล่า ก็ต้องขอโอกาสพระเถระเหมือนกัน. เมื่อขอโอกาสองค์ ๑ แล้วกำลัง

สาธยาย องค์อื่นมาอีก กิจที่จะต้องขอโอกาสอีก ย่อมไม่มี. หากว่า เมื่อผูก

ใจว่าเราจักพัก แล้ว หยุดอยู่ พระเถระมา, เมื่อเริ่มอีกต้องขอโอกาส แม้เมื่อ

กำลังสาธยายธรรมที่ตนเริ่มไว้แล้ว แต่เมื่อพระสังฆเถระยังมิได้มา ก็นัยนี้แล.

พระสังฆเถระองค์ ๑ อนุญาตแล้วว่า ไม่ต้องขอโอกาสฉันละ ท่องตามสบาย

เถิด ดังนี้ สมควรสาธยายตามสบาย แต่เมื่อพระสังฆเถระองค์อื่นมา ต้อง

ขอโอกาสท่านก่อนจึงสาธยาย.

ข้อว่า อตฺตนา วา อตฺตาน สมฺมนฺนิตพฺพ มีความว่า พึง

สมมติตนด้วยตนเองก็ได้. แต่เมื่อจะถาม ต้องแลดูบริษัท ถ้าอุปัทวะไม่มีแก่

ตน, พึงถามวินัย

๑. พระบาลีวินัยเป็น อตฺตนา ว. แต่อตฺตนา วา น่าจะถูกกว่า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

ข้อว่า กเตปิ โอกาเส ปุคฺคล ตุลยิตฺวา มีความว่า เราตถาคต

อนุญาตให้ภิกษุ แม้เมื่อตนขอโอกาสแล้ว ต้องพิจารณาอย่างนี้ว่า อุปัทวะจาก

บุคคลนี้ จะมีแก่เรา หรือไม่มีหนอ ? ดังนี้ แล้วจึงโจทด้วยอาบัติ.

ข้อว่า ปุคฺคล ตฺลยิตฺวา โอกาส กาตุ มีความว่า เราตถาคต

อนุญาตให้ภิกษุพิจารณาอย่างนี้ว่า ผู้นี้จะกล่าวอาบัติเฉพาะที่เป็นจริงเท่านั้น

หรือจะกล่าวที่ไม่เป็นจริงหนอ ดังนี้แล้ว จึงต่อยให้โอกาส.

บทว่า ปุรมฺหาก ได้แก่เราทั้งหลาย . . . ก่อน.

บทว่า ปฏิกจฺเจว ได้แก่ ก่อนกว่าทีเดียว. กรรมไม่เป็นธรรมมี

นัยดังกล่าวแล้วนั่น แล.

บทว่า ปฏิกฺโกสิตุ ไค้แก่ เพื่อห้าม.

ข้อว่า ทิฏฺิมฺปิ อาวิกาตุ มีความว่า เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุ

ประกาศความเห็นของตน ในสำนักภิกษุอื่นอย่างนี้ว่า กรรมนี้ ไม่เป็นธรรม

นั่นไม่ชอบใจข้าพเจ้า.

คำว่า ๔ รูป ๕ รูป เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อต้องการ

มิให้มีอันตรายแก่ภิกษุเหล่านั้น.

ข้อว่า สญฺจิจฺจ น สาเวนฺติ มีความว่า แกล้งสวดค่อย ๆ ด้วย

ตั้งใจว่า ภิกษุเหล่าอื่นจะไม่ได้ยินด้วยประการใด เราจักสวดด้วยประการนั้น.

บทว่า เถราธิก มีความว่า เราตถาคตอนุญาตปาติโมกข์ ให้มีพระ

เถระเป็นใหญ่ อธิบายว่า เพื่อเป็นกิจ เนื่องด้วยพระเถระ.

บาลีว่า เถราเธยฺย ก็มี แปลว่า ให้มีพระเถระเป็นเจ้าหน้าที่. เพราะ

เหตุนั้น พระเถระพึงสวดเองก็ได้ พึงเชิญภิกษุอื่นก็ได้.

ในอธิการว่าด้วยการอัญเชิญปาติโมกข์นี้ วิธีเชิญ มีนัยดังกล่าวแล้ว

ในการอัญเชิญธรรมนั่นแล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

หน้าที่สวดปาติโมกข์

[๑๗๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระนครราชคฤห์

ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกโดยมรรคาอันจะไปเมืองโจทนาวัตถุ เสด็จ

จาริกโดยลำดับ ลุถึงเมืองโจทนาวัตถุแล้ว ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่ง

หนึ่งมีภิกษุอยู่ด้วยกันมากรูป บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระเป็นผู้เขลา ไม่

ฉลาด ท่านไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติ

โมกข์ จึงภิกษุเหล่านั้นติดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วว่า

ปาติโมกข์เป็นหน้าที่ของพระเถระ ก็พระเถระของพวกเรารูปนี้เป็นผู้เขลา ไม่

ฉลาด ไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถไม่รู้ปาติโมกข์หรือวิธีสวดปาติโมกข์พวก

เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

เหล่านั้น ภิกษุรูปใดเป็นผู้ฉลาด สามารถ เราอนุญาตปาติโมกข์ให้เป็นหน้าที่

ของภิกษุรูปนั้น.

ส่งภิกษุไปศึกษาปาติโมกข์

[๑๗๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ

อยู่ด้วยกันมากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธี

ทำอุโบสถไม่รู้ปาติโมกข์หรือวิธีสวดปาติโมกข์ พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า

ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เรา

สวดปาติโมกข์ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า ขอพระ-

เถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับแม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ปาติโมกข์ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๓ ว่า ขอพระเถระ

จงสวดปาติโมกข์ขอรับ แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติ-

โมกข์ไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นได้อาราธนาจนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า

ขอคุณจงสวดปาติโมกข์ แม้เธอก็ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ขอรับ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ ภิกษุในศาสนานี้อยู่ด้วยกันมาก ล้วนเป็นผู้

เขลา ไม่ฉลาดพวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธีทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือ

วิธีสวดปาติโมกข์ พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระว่า ขอพระเถระจงสวดปาติ

โมกข์ขอรับ ท่านตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้

พวกเธอจึงอาราธนาพระเถระรูปที่ ๒ ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ขอรับ

แม้ท่านก็ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้ พวกเธอจึง

อาราธนาพระเถระรูปที่ ๓ ว่า ขอพระเถระจงสวดปาติโมกข์ ขอรับ แม้ท่านก็

ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย เราสวดปาติโมกข์ไม่ได้ พวกเธอได้อาราธนา

จนถึงพระสังฆนวกะ โดยวิธีนี้แหละว่า ขอคุณจงสวดปาติโมกข์ แม้เธอรูป

นั้นก็ตอบอย่างนี้ว่า ผมสวดปาติโมกข์ไม่ได้ขอรับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้-

เคียง พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่าดูก่อนอาวุโส เธอจงไปเรียนปา-

ติโมกข์โดดย่อหรือโดยพิสดารมา.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จะพึงส่งภิกษุรูปไหนหนอ

ไป แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระใช้ภิกษุผู้นวกะ

ไป.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมไป ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธ อันพระเถระบัญชาแล้วจะไม่ยอม

ไปไม่ได้ รูปใดไม่ยอมไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตให้เรียนปักคณนา

[๑๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองโจทนาวัตถุ

ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จกลับมายังพระนครราชคฤห์อีก ก็โดยสมัยนั้น

แล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า ดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์

เจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมาไม่รู้เลย ชาว

บ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้เพียงนับปักษ์ พระสมณะเชื้อสาย

ศากยบุตรเหล่านั้นก็ยังไม่รู้ ไฉนจะรู้คุณความดีอะไรอย่างอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เรียนปักขคณนา

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงเรียน

ปักชคณนา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทุก ๆ

รูปเรียนปักขคณนา.

ก็โดยสมัยนั้นแล ชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายที่กำลังเที่ยวบิณฑบาตว่า

ภิกษุมีจำนวนเท่าไร เจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวก

อาตมาไม่รู้เลย ชาวบ้านจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า แม้พวกกันเอง

พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ก็ยังไม่รู้ ไฉนจักรู้ความดีอะไรอย่างอื่น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

เล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีภาคเจ้าตรัส

อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิติกว่า เมื่อไรหนอเราพึงนับภิกษุ

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้นับภิกษุด้วยเรียกชื่อหรือให้จับสลากในวัน

อุโบสถ.

พระพุทธานุญาตให้บอกวันอุโบสถ

[๑๗๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถไป

บิณฑบาต ณ หมู่บ้านที่ไกล พวกเธอมาถึงเมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ก็มี มาถึงเมื่อ

สวดจบแล้วก็มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

บอกว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงบอก

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระบอกแต่เช้า

สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งเวลาเช้าตรู่ระลึกไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกแม้ในเวลาภัตกาล

แม้ในเวลาภัตกาล พระเถระนั้นก็ระลึกไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่อง

นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกในกาลที่คนระลึกได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

บุพกรณ์และบุพกิจในโรงอุโบสถ

[๑๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง โรงอุโบสถรก พวก

พระอาคันตุกะพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่

กวาดโรงอุโบสถเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้กวาดโรงอุโบสถ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงกวาด

โรงอุโบสถ แล้ว จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถระ

ใช้ภิกษุนวกะ.

ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระใช้แล้วไม่ยอมกวาด ภิกษุทั้งหลายจึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่

กวาดไม่ได้ รูปใดไม่กวาด ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถไม่มีใครปูอาสนะไว้ ภิกษุทั้งหลายนั่งที่พื้น

ดินทั้งตัว ทั้งจีวร เปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ปูอาสนะในโรงอุโบสถ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอ พึงปู

อาสนะในโรงอุโบสถ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผ้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ภิกษุผู้เถระบัญชาภิกษุนวกะ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ภิกษุนวกะทั้งหลายอันพระเถระบัญชาแล้วไม่ปูอาสนะ ภิกษุทั้งหลาย

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว จะไม่ปูอาสนะ

ไม่ได้ รูปใดไม่ปู ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ในโรงอุโบสถไม่ได้ตามประทีปไว้ เวลาค่ำคืนภิกษุทั้งหลาย

เหยียบกายกันบ้าง เหยียบจีวรบ้าง แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาต แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้ตามประทีปในโรงอุโบสถ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า ภิกษุรูปไหนหนอพึงตาม

ประทีปแล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระ

บัญชาภิกษุนวกะ.

ภิกษุนวกะทั้งหลาย อันพระเถระบัญชาแล้วไม่ยอมตามประทีป ภิกษุ

ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่อาพาธอันพระเถระบัญชาแล้ว

จะไม่ตามประทีปไม่ได้ รูปใดไม่ตามประทีป ต้องอาบัติทุกกฏ.

จะไปไหนต้องอาปุจฉาก่อน

[๑๘๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปด้วยกันเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด

ไปสู่ทิศ ไม่อำลาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้หลายรูปด้วยกันเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด ไปสู่ทิศ

ไม่อำลาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ พวกเธออันพระอุปัชฌาย์ อาจารย์พึงถามว่า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ท่านทั้งหลายจักไปไหนจักไปกับใคร ถ้าพวกเธอเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พูดอ้าง

ถึงภิกษุเหล่าอื่นที่เป็นผู้เขลาไม่ฉลาดด้วยกัน พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ ไม่พึง

อนุญาต ถ้าอนุญาตต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอเป็นผู้ขลา ไม่ฉลาด อันพระอุปัชฌาย์

อาจารย์ ไม่อนุญาต ถ้ายังขืนไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พึงสงเคราะห์พระพหุสูต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งมากรูป

ด้วยกันล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พวกเธอไม่รู้อุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ ไม่

รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ ภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เป็นผู้คง

แก่เรียนชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด

มีปัญญา มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เหล่านั้นพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงเธอด้วยจุณดิน ไม้ชำระ

ฟัน น้ำบ้วนปาก ถ้าไม่สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปราศรัย บำรุงด้วยจุณดิน

ไม้ชำระฟัน น้ำบ้วนปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

ส่งพระไปเรียนปาติโมกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ ภิกษุใน

ศาสนานี้อยู่ด้วยกันมากรูป ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พวกเธอไม่รู้อุโบสถ

หรือวิธีทำอุโบสถไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ด้วยสั่งว่า ดูก่อนอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดดย่อ หรือโดยพิสดาร

มา ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุก ๆ

รูปพึงพากันไปสู่อาวาสที่มีภิกษุรู้อุโบสถ หรือวิธีทำโอสถ รู้ปาติโมกข์ หรือ

วิธีสวดปาติโมกข์ถ้าไม่พากันไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พึงจำพรรษาในอาวาสที่มีผู้สวดปาติโมกข์ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ อยู่จำพรรษาในอาวาสแห่ง

หนึ่งมากรูปด้วยกัน ล้วนเป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด พวกเธอไม่รู้อุโบสถ หรือวิธี

ทำอุโบสถ ไม่รู้ปาติโมกข์ หรือวิธีสวดปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เหล่านี้พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วย

สั่งว่า ดูก่อนอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมา ถ้าได้

ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วระยะกาล

๗ วัน ด้วยสั่งว่า ดูก่อนอาวุโส เธอจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดย

พิสดารมา ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้น

ไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสนั้น ถ้าขืนอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

อรรถกถาอัชเฌสนา

วินิจฉัยในข้อว่า โส น ชานาติ อุโปสถ วา เป็นอาทิดังนี้:-

พระเถระนั้น ไม่รู้จักอุโบสถ ๓ อย่าง โดยต่างด้วยจาตุททสิกอุโบสถ

ปัณณรสิกอุโบสถ และสามัคคีอุโบสถ และไม่รู้จักอุโบสถ ๙ อย่าง โดยต่าง

ด้วยสังฆอุโบสถเป็นต้น ไม่รู้อุโบสถกรรม ๔ อย่าง ไม่รู้ปาติโมกข์ ๒ อย่าง

ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๙ อย่าง.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

ในข้อว่า โย ตตฺถ ภิกฺขุ พฺยตฺโต ปฏิพโล นี้ มีวินิจฉัยว่า

ปาฏิโมกข์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ฉลาดแม้ยังหนุ่มก็จริงแล.

ถึงกระนั้น ในข้อนี้ ควรทราบอธิบายดังนี้:-

ถ้าปาฏิโมกขุทเทส ๕ หรือ ๔ หรือ ๓ ของพระเถระ ยังจำไม่ได้ ส่วน

๒ อุทเทสเป็นของไม่บกพร่อง ชำนาญดี คล่องปาก ปาติโมกข์คงเนื่องด้วย

พระเถระ. แต่ถ้าแม้เพียงเท่านี้ ท่านย่อมไม่อาจเพื่อทำให้ชำนาญได้ ย่อมเป็น

หน้าที่ของพระภิกษุผู้ฉลาดเทียว.

สองบทว่า สามนฺตา อาวาสา ได้แก่ อาวาสใกล้เคียงกัน.

บทว่า สชฺชุก มีความว่า เพื่อปร.ะโยชน์แก่การมาในวันนั้นเอง.

วินิจฉัยในข้อว่า นวก ภิกขุ อาณาเปตุ นี้ว่า ภิกษุใดสามารถ

จะเรียนได้ พึงบังคับภิกษุเห็นปานนั้น อย่าบังคับภิกษุที่โง่.

บทว่า ถตมี ภนฺเต นี้ มีอธิบายว่า ดิถีเป็นที่เต็มแห่งดีถีทั้ง

หลายเท่าไร ชื่อว่า ดิถีที่เท่าไร คือกี่ค่ำ. มนุษย์ทั้งหลายหมายเอากุศลกรรม

ที่เนื่องด้วยพระผู้เป็นเจ้า ถามว่า ภิกษุมีประมาณเท่าไรขอรับ ?

ข้อว่า สลาก วา คาเหตุ มีความว่า เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุถือ

เอา คือ รวมสลากแล้วนับ.

บทว่า กาลวโต ได้แก่ ต่อกาลทีเดียว ความว่า แต่เช้าทีเดียว.

ในข้อว่า ย กาล สรติ นี้ มีความว่า แม้ในเวลาเย็น จะบอกว่า

วันนี้อุโบสถ ท่านทั้งหลายจงมาประชุม ก็ควร.

แม้ในข้อว่า เถเรน ภิกฺขุนา นว ภิกฺขุ อาณาเปตุ นี้ มีวินิจฉัย

ว่า ภิกษุผู้ทำกรรมบางอย่างก็ดี ภิกษุผู้ช่วยภาระอย่างหนึ่งตลอดกาลในกาลทุก

๑. พระบาลีวินัยเป็น กติมี, ฎีกาวิมติโนทนีก็เป็น กติมี.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

เมื่อทีเดียวก็ดี ภิกษุผู้สรภาณกะและธรรมกถึก เป็นต้นรูปใดรูปหนึ่งก็ดี พระ-

เถระไม่ควรสั่งบังคับ เพื่อกวาดโรงอุโบสถ ส่วนภิกษุที่เหลือพึงสั่งบังคับตาม

วาระ คือผลัดเปลี่ยนกัน หากว่า ภิกษุผู้ได้รับคำสั่งแล้ว จะไม่ได้ไม้กวาดแม้

เป็นของยืมไซร้ พึงวานกัปปิยการกหักกิ่งไม้ทำให้ควรแล้วกวาด เมื่อเธอไม่ได้

แม้ซึ่งกัปปิยการกนั้น เป็นอันได้ชื่ออ้าง. ถึงในการสั่งบังคับเพื่อให้ปูลาดอาสนะ

ก็พึงสั่งบังคับตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

ฝ่ายภิกษุผู้รับคำสั่งแล้ว ถ้าอาสนะในโรงอุโบสถไม่มี พึงขนมาจาก

สังฆิกาวาส ปะลาดแล้ว ต้องขนไปคืน. เมื่ออาสนะไม่มีจะปูเสื่อลำแพนก็ดี

เสื่ออ่อนก็ดี ย่อมควร ถึงเมื่อเสื่ออ่อนไม่มีก็พึงวานกัปปิยการกให้ช่วยหักกิ่งไม้

ทำให้ควรแล้วปูลาดเถิด เมื่อเธอไม่ได้กัปปิยการก เป็นอันได้ข้ออ้าง.

ในการตามประทีปเล่า พระเถระก็พึงสั่งบังคับตามนัยที่กล่าวแล้วนั่น

แล. และเมื่อจะสั่งบังคับ ต้องบอกว่า น้ำมัน หรือไส้ หรือตะเกียง มีอยู่ใน

โอกาสโน้น เธอจงถือเอาสิ่งนั้น ๆ มาตามประทีป. หากน้ำมันเป็นต้น ไม่มี

ภิกษุผู้รับคำสั่งต้องแสวงหามา เมื่อแสวงหาแล้วไม่ได้ เป็นอันได้ข้ออ้าง. อีก

อย่างหนึ่ง จะพึงติดไฟให้โพลงบนกระเบื้องก็ได้.

ข้อว่า สงฺคเทตพฺโพ มีความว่า ภิกษุผู้เป็นพหุสูตนั้น อันภิกษุ

ทั้งหลายพึงสงเคราะห์ ด้วยถ้อยคำอันไพเราะอย่างนี้ว่า ท่านมาแล้ว ก็ดีแหละ

ขอรับ ที่นี่ภิกษาหาได้ง่าย แกงและกับข้าวก็มี อย่าต้องเป็นกังวลเลย นิมนต์

อยู่เถิด พึงอนุเคราะห์เนื่องด้วยการพูดจากันบ่อย ๆ พึงเกลี้ยกล่อมด้วยให้เธอ

ให้คำตอบว่า ขอรับผมจักอยู่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

อีกประการหนึ่ง พึงสงเคราะห์และอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ พึงเกลี้ย-

กล่อมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ อธิบายว่า พึงเจรจาให้เสนาะหู พึงให้บำรุงด้วย

สิ่งของต่าง ๆ มีจุณเป็นต้น.

ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ถ้าสงฆ์แม้ทั้งมวลไม่ทำไซร้,

ต้องทุกกฏทั้งหมด. ในอธิการนี้ พระเถระทั้งหลายก็ไม่พ้น พวกภิกษุหนุ่มก็

ไม่พ้น. ภิกษุทั้งปวงพึงให้เปลี่ยนวาระกันบำรุง เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่บำรุง

ในวาระของตน. แต่ภิกษุผู้เป็นพหุสูตนั้น อย่าพึงยินดีวัตรมีการกวาดบริเวณ

และให้ไม้สีฟันเป็นต้น ของพระมหาเถระทั้งหลาย. แม้เมื่อข้อที่เธอได้ยินดี

มีอยู่ พระมหาเถระทั้งหลาย ก็ควรมาสู่ที่บำรุงทั้งเย็นเช้า. แต่ภิกษุผู้พหุสูต

นั้นรู้ความมาของพวกท่านแล้ว พึงไปสู่ที่บำรุงของพระมหาเถระทั้งหลายเสีย

ก่อน. ถ้าภิกษุผู้สหจร ซึ่งเป็นอุปัฏฐากของเธอมีอยู่ เธอพึงห้ามเสียว่าอุปัฏ-

ฐากของผมมี ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยอยู่เถิด. แม้ถ้าว่า ภิกษุผู้

สหจรของเธอไม่มี. แต่ภิกษุรูปหนึ่งหรือ ๒ รูป ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรในวัด

ที่อยู่นั่นเอง กล่าวว่า ผมจักทำกิจที่ควรทำแก่พระเถระเอง ภิกษุที่เหลือจง

อยู่เป็นผาสุกเถิด ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งปวง.

ข้อว่า โส อาวาโส คนฺตพฺโพ มีความว่า อาวาสนั้น อันภิกษุ

ทั้งหลายผู้เขลา ไม่ฉลาด พึงไปทุกกึ่งเดือน เพื่อประโยชน์แก่การทำอุโบสถ

ก็อาวาสนั้นแล ควรไปทั้งเหมันตฤดู และคิมหฤดูทีเดียว แต่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า ผู้เขลาไม่ฉลาดจำพรรษา ดังนี้ ก็เพื่อแสดงกิจที่

ควรทำในฤดูฝน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

ในพระบาลี ข้อว่า น ภิกฺขเว เตหิ ภิกฺขูหิ ตสฺมึ อาวาเส วสฺส

วสิตพฺพ มีความว่า ในการเข้าพรรษาแรก อย่าจำพรรษาปราศจากภิกษุผู้

สวดปาฏิโมกข์. หากว่าภิกษุผู้สวดปาติโมกข์นั้นหลีกไปเสีย หรือสึกเสีย หรือ

ทำกาลกิริยาเสีย ต่อเมื่อภิกษุทั้งหลายจำพรรษาแล้ว เมื่อภิกษุอื่น ที่สวดได้

มีอยู่นั่นแล จึงควรจำพรรษาหลัง เมื่อไม่มี ต้องไปในอาวาสอื่น เมื่อไม่ไป

ต้องทุกกฏ. แต่ถ้าภิกษุผู้สวดปาติโมกข์นั้น หลีกไปเสีย หรือสึกเสีย หรือทำ

กาลกิริยาเสีย ในการเข้าพรรษาหลัง พึงอยู่ในที่นั้น ตลอด ๒ เดือน.

อรรถกถาอัชเฌสนา จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

พระพุทธานุญาตให้นำปาริสุทธิของพระอาพาธมา

[๑๘๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำอุโบสถ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ยังมีภิกษุอาพาธ

ท่านมาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ

อาพาธมอบปาริสุทธิ.

วิธีมอบปาริสุทธิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบปาริสุทธิ อย่างนี้:-

ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง

กระโหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำมอบปาริสุทธิอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบ

ปาริสุทธิ ขอท่านจงนำปาริสุทธิของข้าพเจ้าไป ขอท่านจงบอกปาริสุทธิของ

ข้าพเจ้า.

ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอัน

ภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้ง

กายและวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้

นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุอาพาธนั้นมา

ในท่ามกลางสงฆ์ แล้วทำอุโบสถ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวก

เราจักย้ายภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นก็จักถึงมรณภาพ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ดังนี้ ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ สงฆ์พึงไปทำอุโบสถในสำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่

สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำอุโบสถเลย ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิหลบไปจากที่นั้น ภิกษุอาพาธพึงมอบปาริสุทธิแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิสึกเสียในที่นั้นแหละ ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณเป็น

ผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญาณ

เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณเป็นผู้

ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัติ

ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก ปฏิญาณเป็นบัณเฑาะก์

ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็นสัตว์ดิรัจฉาน

ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์

ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญาณเป็นผู้ทำ

ร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก ภิกษุอาพาธ

พึงมอบปาริสุทธิแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้

นำปาริสุทธิหลบไปเสียในระหว่างทาง ปาริสุทธิไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิสึกเสียในระหว่างทาง ถึงมรณภาพ. . .ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

ปาริสุทธิไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิเข้าประชุมสงฆ์แล้วหลบไปเสีย ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิเข้าประชุมสงฆ์แล้ว สึกเสีย ถึงมรณภาพ . . . ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญ-

ชนก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิเข้าประชุมสงฆ์แล้ว หลับเสีย ไม่ได้บอก เผลอไป ไม่ได้บอก เข้า

สมาบัติ ไม่ได้บอก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำปาริสุทธิไม่ต้องอาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ปาริสุทธิเข้าประชุมสงฆ์แล้ว แกล้งไม่บอก ปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้ว แต่

ภิกษุผู้นำปาริสุทธิแกล้งไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธานุญาตให้นำฉันทะของภิกษุอาพาธมา

[๑๘๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำกรรม เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ยังมีภิกษุอาพาธ ท่านมาไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ

อาพาธมอบฉันทะ.

วิธีมอบฉันทะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบฉันทะ อย่างนี้:-

ภิกษุอาพาธนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง

กระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำมอบฉันทะอย่างนี้ว่า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ข้าพเจ้ามอบฉันทะ ขอท่านจงนำฉันทะของข้าพเจ้าไป ขอท่านจง

บอกฉันทะของข้าพเจ้า.

ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็น

อันภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้ง

กายและวาจา ไม่เป็นอันภิกษุอาพาธมอบฉันทะ ถ้าได้ภิกษุผู้รับอย่างนี้ นั่น

เป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุอาพาธนั้นมา

ในท่ามกลางสงฆ์แล้วทำกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้คิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเรา

จักย้ายภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นก็จักถึงมรณภาพ ดังนี้

ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ สงฆ์พึงไปทำกรรมในสำนักภิกษุอาพาธนั้น แต่สงฆ์เป็น

วรรคไม่พึงทำกรรมเลย ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุนำฉันทะ

หลบไปเสียจากที่นั่น ภิกษุอาพาธพึงมอบฉันทะแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะสึกเสียในที่นั้นแหละ ถึงมรณภาพเสีย ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณ

เป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต

ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณ

เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืน

อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก ปฏิญาณเป็น

บัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็น

สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผู้

ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

ภิกษุอาพาธพึงมอบฉันทะแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะหลบไปเสียในระหว่างทาง ฉันทะไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะสึกเสียในระหว่างทาง ถึงมรณภาพ . . . ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

ฉันทะไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะเข้าประชุมสงฆ์ แล้วหลบไปเสีย ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะเข้าประชุมสงฆ์ แล้วสึกเสีย ถึงมรณภาพ . . .ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะเข้าประชุมสงฆ์ แล้วหลับเสีย ไม่ได้บอก เผลอไปไม่ได้บอก เข้าสมาบัติ

ไม่ได้บอก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว ภิกษุผู้นำฉันทะไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบฉันทะแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำ

ฉันทะเข้าประชุมสงฆ์ แล้วแกล้งไม่บอก ฉันทะเป็นอันนำมาแล้ว แต่ภิกษุผู้

นำฉันทะต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิ

มอบฉันทะด้วย เผลอสงฆ์จะมีกรณียกิจ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

พวกญาติเป็นต้นจับภิกษุ

[๑๘๓] ก็โดยสมัยนั้น แล ถึงวันอุโบสถหมู่ญาติได้จับ ภิกษุรูป ๑ ไว้

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในวันอุโบสถ หมู่ญาติจับภิกษุใน

ศาสนานี้ไว้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

ขอท่านกรุณาปล่อยภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ทำอุโบสถเสร็จ ถ้าได้

ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย

พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

สักครู่ก่อน พอภิกษุนี้มอบปาริสุทธิเสร็จ ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี

ถ้าไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง

หลาย ขอท่านกรุณานำภิกษุนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอพระสงฆ์ทำอุโบสถ

เสร็จถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำ

อุโบสถ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งในวันอุโบสถ พระราชาทั้งหลายได้จับภิกษุ

ในศาสนานี้ไว้. . .พวกโจรได้จับ. . .พวกนักเลงได้จับ. . .พวกภิกษุที่เป็นข้าศึก

ได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน

ทั้งหลายขอท่านกรุณาปล่อยภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ทำอุโบสถเสร็จ

ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึง

ว่ากล่าวอย่างนี้ว่าท่านทั้งหลาย ขอท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งสัก

ครู่ก่อน พอภิกษุรูปนี้มอบปาริสุทธิเสร็จ ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็น

การดี ถ้าไม่ได้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

ขอท่านกรุณานำภิกษุรูปนี้ ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอพระสงฆ์ทำอุโบสถเสร็จ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

ถ้าได้ตามขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรค ไม่พึงทำ

อุโบสถเลย ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ภิกษุวิกลจริต

[๑๘๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน กรณียกิจของสงฆ์มีอยู่ เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูป ๑ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ยัง

มีภิกษุชื่อคัคคะ เป็นผู้วิกลจริต ท่านไม่มา พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุวิกลจริตนี้มี

๒ จำพวกคือ ภิกษุที่วิกลจริตระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆ-

กรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกไม่ได้เสียเลยทีเดียวก็มี มาสู่อุโบสถบ้าง

ไม่มาบ้าง มาสู่สังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ไม่มาเสียเลยทีเดียวก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุวิกลจริตเหล่านั้น รูปใดที่ยังระลึก

อุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มา

สู่อุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสู่สังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง เราอนุญาตให้อุมมัตตก

สมมติแก่ภิกษุวิกลจริตเห็นปานนั้น.

วิธีให้อุมมัตตกสมมติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงให้อุมมัตตกสนมติอย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม

วาจาว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

กรรมวาจาให้อุมมัตตกสมมติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะเป็นผู้วิกล-

จริตระลึกอุโบสลได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง

ระลึกไม่ได้บ้าง มาสู่อุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสู่สังฆกรรมบ้าง

ไม่มาบ้าง ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้อุมมัตตก

สมมติ แก่คัคคะภิกษุผู้วิกลจริต คือ คัคคะภิกษุระลึกอุโบสถได้ก็ตาม

ระลึกไม่ได้ก็ตาม ระลึกสังฆกรรมได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม มา

สู่อุโบสถก็ตาม ไม่มาก็ตาม มาสู่สังขกรรมก็ตาม ไม่มาก็ตาม

สงฆ์พร้อมกับคัคคะภิกษุ หรือเว้นจากคัคคะภิกษุ พึงทำอุโบสถได้

พึงทำสังฆกรรมได้ นี้เป็นญัตติ.

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะเป็นผู้วิกลจริต

ระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึก

ไม่ได้บ้าง มาสู่อุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสู่สังฆ์กรรมบ้าง ไม่มา

บ้าง สงฆ์ให้อยู่บัดนี้ ซึ่งอุมมัตตกสมมติแก่คัคคะภิกษุผู้วิกลจริต

คือคัคคะภิกษุระลึกอุโบสถได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม ระลึกสังฆ-

กรรมได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม มาสู่อุโบสถก็ตาม ไม่มาก็ตาม

มาสู่สังฆกรรมก็ตาม ไม่มาก็ตาม สงฆ์พร้อมกับคัคคะภิกษุ หรือ

เว้นจากคัคคะภิกษุ จักทำอุโบสถก็ได้ จักทำสังฆกรรมก็ได้ การ

ให้อุมมัตตกสมมติแก่คัคคะภิกษุผู้วิกลจริต คือ คัคคะภิกษุระลึก

อุโบสถได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม ระลึกสังฆกรรมได้ก็ตาม ระลึก

ไม่ได้ก็ตาม มาสู่อุโบสถก็ตาม ไม่มาก็ตาม มาสู่สังฆกรรมก็ตาม

ไม่มาก็ตาม สงฆ์พร้อมกับคัคคะภิกษุหรือเว้นจากคัคคะภิกษุ จักทำ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

อุโบสถก็ได้ จักทำสังฆกรรมก็ได้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึง

เป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

อุมมัตตกสมมติอันสงฆ์ให้แล้ว แก่คัคคะภิกษุผู้วิกลจริต คือ

คัคคะภิกษุระลึกอุโบสถได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม ระลึกสังฆกรรม

ได้ก็ตาม ระลึกไม่ได้ก็ตาม มาสู่อุโบสถถ็ตาม ไม่มาก็ตาม มาสู่

สังฆกรรมก็ตาม ไม่มาก็ตาม สงฆ์พร้อมกับคัคคะภิกษุ หรือเว้น

จากดัคคะภิกษุจักทำอุโบสถก็ได้ จักทำสังฆกรรมก็ได้ ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.

อาการทำอุโบสถ ๓ อย่าง

๑. สวดปาติโมกข์

[๑๘๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่

ด้วยกัน ๔ รูป จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติไว้ว่า ภิกษุต้องทำอุโบสถ ดังนี้ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงทำ

อุโบสถอย่างไรหนอ ? จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ

๔ รูป สวดปาติโมกข์.

๒. บอกความบริสุทธิ์

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป

ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔

รูปสวดปาติโมกข์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๓ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๓ รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ

แก่กัน.

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๓ รูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ อย่างนี้.

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นทราบด้วยญัตติ

กรรมวาจา ว่าดังนี้.

ญัตติกรรมวาจา

ท่านทั้งหลายเจ้าข้า ขอจงฟังข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ ๑๕ ถ้า

ความพร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริ-

สุทธิอุโบสถแก่กันเถิด

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี

แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

คำบอกความบริสุทธิ์

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี

แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์

แล้ว

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์

แล้ว

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์

แล้ว

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันอุโบสถ มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป

ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ

๔ รูปสวดปาติโมกข์ ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน ก็พวกเราเพียง

๒ รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ภิกษุ ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ.

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ ๒ รูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้:-

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกะโหย่งประคองอัญชลีแล้ว

บอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ว่า:-

คำบอกความบริสุทธิ์

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ฉันบริสุทธิ์แล้ว เธอ ขอเธอจำฉันว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วบอกความบริสุทธิ์ของตน ต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ว่า:-

คำบอความบริสุทธิ์

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

ผมบริสุทธิ์แล้ว ขอรับ ขอท่านจำผมว่า ผู้บริสุทธิ์แล้ว

๓. อธิษฐาน

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุรูปเดียว ภิกษุ

นั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป

สวดปาติโมกข์ให้ภิกษุ ๓ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กัน ให้ภิกษุ ๒ รูป ทำ

ปาริสุทธิอุโบสถ ก็เรามีอยู่เพียงรูปเดียว จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่ง

กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี

ภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุทั้ง

หลาย คือจะเป็นโรงฉัน มณฑป หรือโคนต้นไม้ก็ตาม แล้วตั้งน้ำฉัน น้ำ

ใช้ ปูอาสนะ ตามประทีปไว้ แล้วนั่งรออยู่ ถ้ามีภิกษุเหล่าอื่นมา พึงทำ

อุโบสถร่วมกับพวกเธอ ถ้าไม่มีมา พึงอธิษฐานว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถของเรา

ถ้าไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปาริสุทธิ

ของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว ๓ รูปสวดปาติโมกข์ไม่ได้ ถ้าขืนสวด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปาริสุทธิ.

ของภิกษุรูป ๑ มา แล้ว ๒ รูปทำปาริสุทธิอุโบสถไม่ได้ ถ้าขืนทำ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปาริสุทธิ

ของภิกษุรูป ๑ มา แล้วอีกรูป ๑ จะอธิษฐานไม่ได้ ถ้าขืนอธิษฐาน ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ

ข้อว่า กาเยน วิญฺาเปติ มีความว่า ภิกษุผู้อาพาธย่อมให้รู้คือ

ย่อมให้ทราบการให้ปาริสุทธิ ด้วยอวัยวะใหญ่น้อยอันใดอันหนึ่งก็แลเมื่ออาจ

เปล่งวาจา ย่อมให้รู้ด้วยวาจา เมื่ออาจทั้ง ๒ ประการ ย่อมให้รู้ทั้งกายวาจา.

ข้อว่า สงฺเฆม ตตฺถ คนฺตฺวา อุโปสโถ กาตพฺโพ มีความว่า

ถ้าภิกษุผู้อาพาธเช่นนั้นมีมาก สงฆ์พึงตั้งอยู่ตามลำดับกระทำภิกษุผู้อาพาธทั้ง

ปวงไว้ในหัตถบาส. ถ้าภิกษุผู้อาพาธมีในระยะไกล สงฆ์ไม่พอ วันนั้นไม่

ต้องทำอุโบสถ อันสงฆ์ผู้เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถแท้.

ข้อว่า ตตฺเถว ปกฺกมติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ไม่มาสู่

ท่ามกลางสงฆ์ จะไปในที่บางแห่งจากที่นั้นที่เดียว.

ข้อว่า สามเณโร ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ

ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นสามเณร หรือบอกข้อที่ตนเป็นสามเณรจริง ๆ

หรือทั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณรในภายหลัง. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้ .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

ข้อว่า สงฺฆปฺปตฺโต ปกฺกมฺติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิถึง

หัตถบาสของภิกษุ รูปกำหนดอย่างต่ำที่สุด ผู้ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่

อุโบสถแล้ว หลีกไปเสีย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้ .

ก็แล้ววินิจฉัยในการนำปาริสุทธินี้ พึงทราบดังนี้:-

ปาริสุทธิของภิกษุผู้มากรูป อันภิกษุรูป ๑ นำมาแล้ว เป็นอันนำมา

แล้วแท้. แต่ถ้าภิกษุผู้นำนั้น พบภิกษุอื่นในกลางทาง จึงให้ปาริสุทธิของภิกษุ

ทั้งหลายที่ตนรับมาด้วย ปาริสุทธิของตนด้วยปาริสุทธิของภิกษุผู้นำนั้นเท่านั้น

ย่อมมา ส่วนปาริสุทธินอกจากนี้จัดเป็นปาริสุทธิดังใช่ล่ามแมว ปาริสุทธินั้น

ย่อมไม่มา.

ข้อว่า สุตฺโต น อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธินั้นมาแล้ว

หลับเสีย ไม่บอกว่า ปาริสุทธิ อันภิกษุโน้นให้แล้วเจ้าข้า.

วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธิหารกสฺส อนาปตฺติ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิ แกล้งไม่บอก เธอต้องทุกกฏ ส่วนปาริสุทธิ

เป็นอันนำมาแล้วแท้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่เธอ เพราะมิได้แกล้งไม่บอก และ

อุโบสถของเธอทั้ง ๒ รูป เป็นอันทำแล้วเหมือนกัน.

วินิจฉัยในการให้ฉันทะเล่า ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่กล่าวแล้วในการ

ให้ปาริสุทธินั่นแล.

วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธึ เทนฺเตน ฉนฺทมฺปิ ทาตุ นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

หากว่า ภิกษุผู้อาพาธให้ปาริสุทธิเท่านั้น ไม่ให้ฉันทะ อุโบสถย่อม

เป็นอันสงฆ์ทำแล้ว แต่สงฆ์ทำกรรมอันใด กรรมอื่นนั้นไม่เป็นอันสงฆ์ได้ทำ.

ภิกษุผู้อาพาธให้แต่ฉันทะเท่านั้น ไม่ให้ปาริสุทธิ ทั้งอุโบสถทั้งกรรมของภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

สงฆ์ เป็นอันสงฆ์ทำแล้วแท้ แต่อุโบสถของภิกษุผู้ให้ฉันทะ ไม่จัดว่าอันเธอ

ได้ทำเลย. ถ้าแม้ภิกษุบางรูป อธิษฐานอุโบสถในแม่น้ำ หรือในสีมาแล้ว จึง

มา เธอย่อมไม่ได้เพื่อจะอยู่เฉยด้วยคิดว่า เราทำอุโบสถแล้ว ต้องให้สามัคคี

หรือฉันทะ.

ข้อว่า สรติปิ อุโปสถ นปิ สรติ มีความว่า บางคราวก็ระลึก

ได้ บางคราวก็ระลึกไม่ได้.

ข้อว่า อตฺถิ เนว สรติ มีความว่า ภิกษุบ้ารูปใด ระลึกไม่ได้เสีย

เลยโดยส่วนเดียว กิจที่จะต้องให้สมมติแก่ภิกษุบ้ารูปนั้น ย่อมไม่มี.

หลายบทว่า โส เทโส สมฺมชฺชิตฺวา ได้แก่ พึงกวาดประเทศนั้น.

สองบทว่า โส เทโส เป็นปฐมมาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

คำว่า ปานีย ปริโภชนีย เป็นอาทิ มีเนื้อความชัดแล้ว. ก็เพราะ

เหตุไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสดำนั้นไว้ ? เพื่อแสดงกิจมีบุพพกรณ์เป็น

ต้นแห่งอุโบสถ. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า:-

การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ

เหล่านี้ เรียกว่า บุพพกรณ์ของอุโบสถ.

กรรม ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่า บุพพกรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

นำฉันทะ ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุ สอนนางภิกษุณี เหล่านี้

บุพพกิจแห่งอุโบสถ.

กรรม ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า บุพพกิจ เพราะจะต้องทำภายหลัง

บุพพกรณ์.

วันอุโบสถ ๑ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ๑ สภาคาบัติไม่มี ๑

บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น ๑ รวมเรียกว่า ปัตตกัสละ แปลว่า

ความพรั่งพร้อมถึงที่.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ลักษณะ ๔ ประการนี้ ท่านเรียกว่า ปัตตกัสละ.

ข้อว่า เตหิ สทฺธึ มีความว่า พึงทำบุพพกรณ์เป็นต้นเหล่านี้ แล้ว

ทำอุโบสถกับภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเหล่านั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม อุโปสโถ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ถ้าเป็นวัน ๑๕ ค่ำ จะอธิษฐานว่า อชฺช เม อุโปสโถ ปณฺณรโส

แปลว่า วันนี้อุโบสถวัน ๑๕ ค่ำของเรา ดังนี้บ้าง ก็ควร. แม้ในอุโบสถวัน

๑๔ ค่ำ ก็นัยนี้แล.

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงทำ

อุโบสถ นี้ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ข้อนั้นเป็นอันพระองค์ทรงบัญญัติ

แล้ว ด้วยคำว่า ยสฺส สิยา อาปตฺติ เป็นอาทิ ๑ ด้วยบัญญัติการให้ปาริสุทธิ

อุโบสถ ๑.

อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

แสดงอาบัติก่อนทำอุโบสถ

[๑๘๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ ต้องอาบัติในวันอุโบสถ เธอ

ได้มีความปริวิตกในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมี

อาบัติติดตัวไม่พึงทำอุโบสถ ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบติแล้ว จะพึงปฏิบัติ

อย่างไรหนอ จึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติในวันอุโบสถ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา

ภิกษุรูป ๑ ห่มผ้าอุคราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าว

อย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ ?

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.

ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป.

สงสัยในอาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มีความสงสัยในอาบัติ ในวัน

อุโบสถภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูป ๑ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง

ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้

จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืออาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้ว พึงทำอุโบสถ ฟัง

ปาติโมกข์แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

แสดงสภาคาบัติไม่ตก

[๑๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์แสดงสภาคาบัติ ภิกษุทั้ง

หลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้าม

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงสภาคาบัติ รูปใดแสดง

ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุฉัพพัคคีย์รับแสดงสภาคาบัติ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับแสดงสภาคาบัติ รูปใดรับแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ .

ระลึกอาบัติได้เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์

[๑๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์ ระลึก

อาบัติได้ ภิกษุนั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า

ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงทำอุโบสถ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติ

อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ ภิกษุใน

ศาสนานี้ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงนี้ว่า อาวุโส ผมต้อง

อาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถฟังปาติ

โมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้นั้นเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำลังสวดปาติโมกข์อยู่ ภิกษุในศาสนานี้มี

ความสงสัยในอาบัติ ภิกษุนั้นพึงบอกกะภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า แน่ะเธอ ผม

มีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น เมื่อนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถฟังปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่

สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ

[๑๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่ง ๑ ถึงวันอุโบสถ สงฆ์

ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ จึงภิกษุเหล่านั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติไม่ได้

ดังนี้ ก็สงฆ์หมู่นี้ ล้วนต้องสภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ๆ

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่ง ๑ ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมดในศาลนานี้ ต้อง

สภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูป ๑ ไปสู่อาวาสใกล้เคียง พอจะกลับมา

ทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโสเธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำ

คืนอาบัติในสำนักเธอ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุ

ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง

สภาคาบัติ เห็นภิกษุรูปอื่น ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติเมื่อใด จักทำคืน

อาบัตินั้นในสำนักเธอเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถสวดปาติโมกข์

แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่อุโบสถ เพราะข้อที่ต้องสภาคาบัตินั้นเป็น

ปัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ สงฆ์ทั้งหมด

ในศาสนานี้มีความสงสัยในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้

สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความ

สงสัยในสภาคาบัติ หมดความสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น เมื่อ

นั้น ครั้นแล้วพึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่

อุโบสถ เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้น เป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์ในศาสนานี้จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง

เป็นผู้ต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นส่งภิกษุรูป ๑ ไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับ

มาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า อาวุโส เธอจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวก

เราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักเธอ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้า

ไม่ได้พึงส่งภิกษุรูป ๑ ไปชั่วระยะกาล ๗ วัน ด้วยสั่งว่า อาวุโส เธอจงไปทำ

คืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้น ในสำนักเธอ.

[๑๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ทั้งหมด ต้อง

สภาคาบัติ สงฆ์หมู่นั้นไม่รู้จักชื่อ ไม่รู้จักโคตรของอาบัตินั้น มีภิกษุรูปอื่น

มาในอาวาสนั้น เธอเป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง

มาติกา เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา ละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ภิกษุ

รูป ๑ เข้าไปหาภิกษุนั้น แล้วได้เรียนถามข้อความนี้กะภิกษุนั้นว่า ภิกษุรูปใด

ทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไร ขอรับ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

พระพหุสูตตอบอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปใด ทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย

ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้ ขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัติ

นั้นเสีย.

ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า มิใช่ผมแต่ผู้เดียวที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ

สงฆ์หมู่นี้ล้วนต้องอาบัตินี้ทั้งนั้น.

พระพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ต้องอาบัติแล้ว หรือมิได้

ต้องจักช่วยอะไรท่านได้ ขอรับ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติของตนเสียเถิด ขอรับ.

ภิกษุนั้นจึงได้ทำคืนอาบัตินั้นตามคำของพระพหูสูต แล้วเข้าไปหาภิกษุ

เหล่านั้น ครั้นแล้วได้แจ้งความข้อนี้กะภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้

ทราบมาว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่อนี้

พวกท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย แต่ภิกษุเหล่านั้น

ไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของพระผู้บอก ภิกษุทั้งหลายจึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ก็ในอาวาสแห่ง ๑ สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ สงฆ์หมู่

นั้นไม่รู้จักชื่อ ไม่รู้จักโคตรของอาบัตินั้น มีภิกษุรูปอื่นมาในอาวาสนั้น เธอ

เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต

ฉลาด มีปัญญา ละอาย รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ภิกษุรูป ๑ เข้าไปหาภิกษุ

นั้น แล้วได้เรียนถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย

ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติชื่ออะไร ขอรับ.

พระพหูสูตตอบอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุ

รูปนั้นต้องอาบัติชื้อนี้ ขอรับ ท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ภิกษุรูปนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า มิใช่ผมแต่ผู้เดียวที่ต้องอาบัตินี้ ขอรับ

สงฆ์หมู่นี้ล้วนต้องอาบัตินี้ทั้งนั้น.

พระพหูสูตกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ต้องอาบัติแล้ว หรือมิได้ต้อง

จักช่วยอะไรท่านได้ ขอรับ นิมนต์ท่านออกจากอาบัติของตนเสียเถิด ขอรับ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุนั้นทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของพระพหูสูต

แล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วบอกภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้ง

หลายได้ทราบมาว่า ภิกษุรูปใดทำอย่างนี้ด้วย อย่างนี้ด้วย ภิกษุรูปนั้นต้อง

อาบที่ชื่อนี้ พวกท่านต้องอาบัติชื่อนี้แล้ว ขอรับ จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย ถ้า

ภิกษุเหล่านั้น จะพึงทำคืนอาบัตินั้น ตามคำของภิกษุผู้บอก ทำได้อย่างนี้

นั่นเป็นการดี ถ้าจะไม่พึงทำคืน ภิกษุนั้นไม่ปรารถนา ก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุ

เหล่านั้น.

โจทนาวัตถุภาณวาร จบ

อรรถกถาวิธีแสดงอาบัติ

คำว่า อิตฺถนฺนาม อาปตฺตึ มีความว่า บรรดาอาบัติมีอาบัติ

ถุลลัจจัยเป็นต้น พึงระบุชื่ออาบัติตัว ๑ กล่าวอย่างนี้ว่า ถุลฺลจฺจย อาปตฺตึ,

ปาจิตฺติย อาปตฺตึ.

คำว่า ต ปฏิเทเสมิ นี้ แม้กล่าวว่า ต ตุมฺหมูเล ปฏิเทเสมิ

ข้าพเจ้าแสดงคืน ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักท่าน ดังนี้ ย่อมเป็นอันกล่าวชอบ

เหมือนกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ส่วนคำว่า ปสฺสสิ นี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ปสฺสสิ อาวุโส ต

อาปตฺตึ เธอเห็นอาบัตินั้นหรือ ? ปสฺสถ ภนฺเต ต อาปตฺตึ ท่านเห็น

อาบัตินั้นหรือ ?

ก็คำว่า อาม ปสฺสามิ นี้ แม้กล่าวอย่างนี้ว่า อาม ภนฺเต ปสฺสามิ

ขอรับ ข้าพเจ้าเห็น. อาม อาวุโส ปสฺสามิ เออ ข้าพเจ้าเห็น, ย่อม

เป็นอันกล่าวชอบแล้วเหมือนกัน.

ส่วนวินิจฉัยในคำว่า อายตึ สวเรยฺยาสิ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ถ้าภิกษุผู้แสดงแก่กว่า ภิกษุผู้รับอาบัติพึงกล่าวว่า อายตึ สวเรยฺยาถ

ท่านพึงระวังต่อไป.

ฝ่ายผู้แสดงได้รับตอบอย่างนั้นแล้ว พึงกล่าวว่า สา สุฏฺุ

สวริสฺสามิ ดีละ ข้าพเจ้าจักสำรวมด้วยดี ดังนี้ทีเดียว.

วินิจฉัยในข้อว่า ยทา นิพฺเพมติโก นี้ พึงทราบดังนี้

ในอันธกอรรถกถา ท่านแก้ว่า ถ้าเป็นผู้ไม่หมดความสงสัยทีเดียว

แม้จะแสดงระบุวัตถุ ก็ควร วิธีแสดงในอาบัติที่สงสัยนั้นดังนี้:-

เมื่อพระอาทิตย์ถูกเมฆบัง ภิกษุฉันพลางมีความสงสัยว่า นี่จะเป็น

กาลหรือวิกาลหนอ ? ภิกษุนั้น พึงระบุวัตถุอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี

ความสงสัยฉันแล้ว ถ้ามีกาล ข้าพเจ้าต้องทุกกฏมากหลาย ถ้าไม่มีกาล ข้าพเจ้า

ต้องปาจิตตีย์มากหลาย ดังนี้แล้ว พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติ

เหล่าใด เป็นทุกกฏมากหลายก็ดี เป็นปาจิตตีย์มากหลายก็ดีเพราะวัตถุนั้น

ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน. ในอาบัติทั้งปวงก็นัยนี้.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขว สภาคาปตฺติ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ภิกษุทั้ง ๒ รูปต้องอาบัติใดด้วยวัตถุรวมกัน มีวิกาลโภชนะเป็นต้น

อาบัติเห็นปานนั้น ท่านเรียกว่า วัตถุสภาคฝ่ายภิกษุผู้ต้องเพราะวิกาลโภชนะ

เป็นปัจจัย ย่อมควรเพื่อแสดงในสำนัก ของภิกษุผู้ต้องเพราะอนติริตตโภชนะ

เป็นปัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

อันอาบัติที่มีวัตถุร่วมกันนี้เล่า ซึ่งภิกษุแสดงแล้ว เป็นอันแสดงแล้ว

ด้วยดีทีเดียว, แต่เธอทั้ง ๒ ย่อมต้องอาบัติทุกกฏอื่น คือผู้แสดงต้องเพราะเหตุที่

แสดง และผู้รับต้องเพราะเหตุที่รับ อาบัติทุกกฏที่ต้องเพราะแสดงและรับนั้น

เป็นอาบัติมีวัตถุต่างกัน, เพราะฉะนั้น สมควรแสดงกะกันและกันได้.

วินิจฉัยในข้อว่า สามนฺโต ภิกฺขู เอวมสฺส วจนีโย นี้พึงทราบ

ดังนี้:-

ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า พึงบอกภิกษุผู้เป็นสภาคกันเท่านั้น. จริงอยู่

เมื่อบอกแก่ภิกษุผู้เป็นวิสภาคกัน ความบาดหมาง ความทะเลาะและความแตก

แห่งสงฆ์เป็นต้น ย่อมมีได้ เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรบอกแก่เธอ แต่พึงทำ

ความผูกใจว่า เราออกจากที่นี่แล้วจักทำคืน ดังนี้แล้ว ทำอุโบสถเถิด.

อรรถกถาวินิจฉัยในอนาปัตติปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า เต น ชานึสุ มีความว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ไม่รู้ว่าภิกษุ

ทั้งหลายเข้าสีมาแล้ว หรือไม่รู้ว่ากำลังเข้า.

ข้อว่า อถฺเ อาวาสิกา ภิกฺขู อาคจฺฉนฺติ มีความว่า ภิกษุ

เจ้าถิ่นพวกอื่น ไปสู่บ้านหรือป่าด้วยกรณียกิจบางอย่างแล้ว มาสู่สถานที่ภิกษุ

เหล่านั้นนั่งแล้ว.

ข้อว่า วคฺคา สมคฺคสญฺิโน มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น

ชื่อว่า เป็นวรรค เพราะภิกษุเหล่าอื่นนั้นล่วงล้ำสีมาเข้ามา แต่พวกเธอ ชื่อว่า

เป็นผู้มีความสำคัญว่า พร้อมเพรียงเพราะไม่ทราบข้อที่ภิกษุเหล่าอื่นนั้นล่วงล้ำ

สีมาเข้ามา.

อรรถกถาวินิจฉัยในอนาปัตติปัณณรสกะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

ทำอุโบสถไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ

[๑๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ

เจ้าถิ่นมากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่รู้ว่า

ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มี พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มีความ

สำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ได้ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์

เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวน

มากกว่า ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มีภิกษุ

เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก

เธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุ

เจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่าภิกษุเหล่าองสวดปาติโมกข์ใหม่

พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถสวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

พวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวก

ภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังส่วนที่ยังเหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นโนศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้นมีภิกษุ

เจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังสวดที่ยังเหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่น

พวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุ

ผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้า

ถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้อง

อาบัติ.

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีพวกภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พวกเธอสวดปาติโมกข์จบ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่น

พวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้อง

อาบัติ.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มี พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทยังไม่ทันลุก

ไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น

ต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทยังไม่ทันลุก

ไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนเท่ากัน.

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว

ก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ

พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง. ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทบางพวกลุก

ไปแล้ว ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้น

ต้องสวดปาติโมกข์โหม่ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ,

๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถมีภิกษุ

เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก

เธอไม่รู้ว่ายังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม

มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำอุโบสถ

สวดปาติโมกข์ พอภิกษุเหล่านั้น สวดปาติโมกข์จบ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว

ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว

ก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ พวก

ภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทลุกไปหมดแล้ว

ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวด

ปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่ายังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทลุกไปหมดแล้ว

ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว

ก็เป็นอันสวดดีแล้ว พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ

พวกภิกษุผู้สวด ไม่ต้องอาบัติ.

ทำอุโบสถไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ จบ

ทำอุโบสถเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ

[๑๙๒] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่ายังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็น

ธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำอุโบสถ

สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

มาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้

สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนเท่ากัน. . .

๓. . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่น

พวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวก

ภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๖. . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีพวกภิกษุเจ้าถิ่นอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน จึง

ทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ บริษัทยังไม่ทันลุก

ไป. . . มีจำนวนมากกว่า.. .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

๘. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . . บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว . . .มีจำนวนมากกว่า . . .

๑๑. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๑๕. . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ทำอุโบสถเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ จบ

มีความสงสัยทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ

[๑๙๓] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมีความสงสัยว่า พวกเรา

ควรทำอุโบสถหรือไม่ควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์

เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวน

มากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

๓. . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

ภิกษุผู้มาทีหลัง พึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมีความสงสัยว่า พวกเรา

ควรทำอุโบสถหรือไม่ควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์

พอพวกเธอสวดปาติโมกข์จบ ขณะนั้นมีภิกษุะ. . . มีจำนวนมากกว่า . . .

๕. . . .มีจำนวนเท่ากัน

๖. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป . . .มีจำนวนมากกว่า . . .

๘. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . . บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว . . . มีจำนวนมากกว่า . . .

๑๑. . . . มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๕. . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอัน สวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลังพึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

มีความสงสัยทำอุโบสถ ๑๕ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ฝืนใจทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ

[๑๙๔] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นมากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้างเกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้

อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ ด้วย

เข้าใจว่าพวกเราควรทำอุโบสถแท้ มิใช่ไม่ควร เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์

ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวด

ปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๓. . . . มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว ก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุที่มาทีหลังพึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถมีภิกษุ

เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก

เธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์

ด้วยเข้าใจว่า พวกเราควรทำอุโบสถแท้ มิใช่ไม่ควร พอพวกเธอสวดปาติโมกข์

จบ ขณะนั้นมีภิกษุ . . .มีจำนวนมากกว่า. . .

๕. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . . .

๖. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป . . . มีจำนวนมากกว่า.

๘. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . .บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว . . . มีจำนวนมากกว่า . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

๑๑. . . . มีจำนวนเท่ากัน

๑๒. . . . มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

๑๔. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๕. . . . จำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ฝืนในทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ จบ

มุ่งความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ

[๑๙๕] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มาและมุ่งความแตกร้าวว่า ขอ

ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุ

เหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์

ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวด

ปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

๒. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๓. . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว ก็เป็น อันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุที่มาทีหลัง พึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติ

ถุลลัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มาและมุ่งความแตกร้าวว่า ขอ

ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วย

ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ พอพวกเธอสวดปาติโมกข์

จบ ขณะนั้น มีภิกษุ . . . มีจำนวนมากกว่า . . .

๕. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๖. . . .มีจำนวนน้อยกว่า . . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป. . .มีจำนวนมากกว่า. ..

๘. . . . มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . . มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . .บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว. . . มีจำนวนมากกว่า . . .

๑๑. . . .มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . .มีจำนวนน้อยกว่ากัน. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย.

๑๔. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๕. . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว ก็เป็นอันสวดดีแล้ว

พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอพวกภิกษุผู้สวดต้อง

อาบัติถุลลัจจัย.

มุ่งความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ จบ

การทำอุโบสถ ๒๕ ติกะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่รู้ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา . . .

. . . พวกเธอไม่รู้ว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาภายในสีมาแล้ว . . .

. . . พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่กำลังเข้ามาภายในสีมา . . .

. . . พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่เข้ามาภายในสีมาแล้ว . . .

. . .พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา. . .

. . .พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาภายในสีมาแล้ว . . .

โดยนัย ๑๗๑ ที่กะ ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุ

เจ้า ถิ่น ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันคุกะ ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ รวม

เป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข.

วันอุโบสถต่างกัน

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วันอุโบสถของพวกภิกษุเจ้า ถิ่นนี้

ศาสนานี้เป็นวัน ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวก

ภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวนมากกว่าพวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตตามพวกภิกษุเจ้าถิ่น

ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวก

ภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่าพวกภิกษุเจ้าถิ่น พึงอนุวัตตามพวกภิกษุ

อาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันอุโบสถของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้

เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ เป็นวัน ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

ถิ่นจำนวนมากกว่าพวกภิกษุอาคันตุกะ พึงอนุวัตตามพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้ามี

จำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตตามพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวกภิกษุ

อาคันตุกะมีจำนวนมากกว่าพวกภิกษุเจ้าถิ่น พึงอนุวัตตามพวกภิกษุอาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันอุโบสถของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้

เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะ เป็นวัน ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่น

มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวก

ภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมา แล้วทำอุโบสถเถิด ถ้ามี

จำนวนเท่ากัน พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนา ก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวก

ภิกษุอาคันตุกะ พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปนอกสีมา แล้วทำอุโบสถเถิด ถ้า

พวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงให้ความสามัคคีแก่

พวกภิกษุอาคันตุคันกะ หรือพึงไปนอกสีมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันอุโบสถของภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ เป็น

วัน ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็นวัน ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวน

มากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น หรือไป

นอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่พวก

ภิกษุเจ้าถิ่นหรือพึงไปนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวก

ภิกษุอาคันคุกะไม่ปรารถนา ก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น พวก

ภิกษุเจ้าถิ่นพึงไปนอกสีมาแล้ว ทำอุโบสถเถิด.

มุ่งความแตกร้าว

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในพระศาสนานี้

ได้เห็นอาการเจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่น เครื่องหมายเจ้าถิ่น สิ่งที่แสดงเจ้าถิ่น

ของภิกษุเจ้าถิ่น เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ปูลาด จัดไห้เรียบร้อย น้ำฉัน น้าใช้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

แต่งตั้งไว้เป็นระเบียบ บริเวณกวาดสะอาดสะอ้าน ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า

พวกภิกษุเจ้าถิ่นยังหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่เที่ยวค้นหา ครั้น

แล้วขืนทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้ว แต่

ไม่พบจึงทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบจึงทำ

อุโบสถร่วมกันไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ ครั้นแล้ว

แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ

ครั้นแล้วมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจง

พินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ ต้องอาบัติ-

ถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ ได้ยิน

อาการเจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่น เครื่องหมายเจ้าถิ่น สิ่งที่แสดงเจ้าถิ่น ของพวก

ภิกษุเจ้าถิ่น ได้ยินเสียงเท้าของพระภิกษุเจ้าถิ่นกำลังเดินจงกรม ได้ยินเสียง

สาธยาย เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว มีความสงสัยว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นยังมี

หรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัย แต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนทำอุโบสถ

ต้องอาบัติทุกกฏ, พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้น

แล้ว จึงทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว

จึงพบ ครั้นพบแล้วจึงทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้

ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว จึงแยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วมุ่ง

ความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะ

ประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น. ดังนี้ จึงทำอุโบสถ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้เห็นอาการ

อาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ

ของภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็นบาตร จีวร ผ้านิสีทนะ อันเป็นของภิกษุพวกอื่น

ได้เห็นรอยน้ำล้างเท้า ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุอาคันตุกะยังมีหรือ

ไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัย แต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนทำอุโบสถ ต้อง

อาบัติทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้น

แล้วทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว

จึงพบ ครั้นพบแล้วจึงทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัย

ได้ค้นหา ครั้นต้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วได้แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติ

ทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว มุ่ง

ความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะ

ประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้ยินอาการ

อาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ

ของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้าของพวกภิกษุอาค้นตุกะกำลังเดินมา ได้

ยินเสียงรองเท้ากระทบพื้น ได้ยินเสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้ว มีความสงสัยว่า

พวกภิกษุอาคันตุกะยังมีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้น

แล้วขืนทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้น

หาแล้วไม่พบ ครั้นแล้วจึงทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้

ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วจึงได้ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้อง

อาบัติ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นต้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วแยก

กันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

แล้วจึงพบ ครั้นพบแล้วมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ ขอ

ภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ

ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ภิกษุนานาสังวาสและสมานสังวาส

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้เห็น

ภิกษุเจ้าถิ่นสังวาสต่างกัน พวกเธอกลับได้ความเห็นว่ามีสังวาสเสมอกัน ครั้น

แล้วก็ไม่ไต่ถามจึงทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอได้ได้ถาม ครั้น

ได้ถาม แล้วไม่รังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้ไต่

ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ ได้เห็น

พวกภิกษุเจ้าถิ่นมีสังวาสเสมอกัน พวกเธอกลับได้ความเห็นว่ามีสังวาสต่างกัน

ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้ไต่ถาม

ครั้น ไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้ไต่

ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้เห็นพวก

ภิกษุอาคันตุกะมีสังวาสต่างกัน พวกเธอกลับได้ความเห็นว่ามีสังวาสเสมอกัน

ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถามจึงทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ. พวกเธอได้ไต่ถาม

ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้

ได้ถาม ครั้นได้ถามแล้วไม่รังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้เห็นพวก

ภิกษุอาคันตุกะมีสังวาสเสมอกัน พวกเธอกลับได้ความเห็นว่ามีสังวาสต่างกัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ครั้นแล้วก็ไม่ไต่ถาม ทำอุโบสถร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้ได้ถาม

ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ แยกกันทำอุโบสถ ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเธอได้

ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ทำอุโบสถร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ควรไปไหนในวันอุโบสถ

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาส

ที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้น

แต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่ไปกับสงฆ์

เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวนสู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่ไป

กับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน.

. . . สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่ไปกับสงฆ์

เว้นแต่มีอันตราย.

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่

ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาส หรือถิ่น

ที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

. . .สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน. . .

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน เว้นแต่

ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้มีสังวาส

ต่างกัน เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่อยู่ของพวก

ภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่อาวาส หรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็น

ที่อยู่ของพวกภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน เว้นแต่ไปกับสงม์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน . . .

. . . สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน. . .

. . . สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่อยู่

ของพวกภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ ไม่พึงไปจากอาวาส หรือถิ่น

ที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน. . .

. . . สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน. . .

. . . สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่

อยู่ของพวกภิกษุผู้มีสังวาสต่างกัน เว้นไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบ

จำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุที่มีสังวาส

เสมอกัน ที่รู้ว่า เราสามารถจะไปถึงในวันนี้ทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุครบ

จำนวนสู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน.

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่

อยู่ของพวกภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน ที่รู้ว่า เราสามารถจะไปถึงในวันนี้ทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน...

. . .สู่ถิ่นทีมิใช่อาวาส. ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน...

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่อยู่

ของพวกภิกษุที่มีสังวาสเสมอกัน ที่รู้ว่า เราสามารถจะไปถึงในวันนี้ทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันอุโบสถ พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่

มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน.

. . . สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน.

. . . สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน อันเป็นที่อยู่

ของพวกภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน ที่รู้ว่า เราสามารถจะไปถึงในวันนี้ทีเดียว.

วัชชนียบุคคล ในอุโบสถ

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่

ภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่มีสิกขมานา

นั่งอยู่ด้วย...

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

. . .ที่สามเณรนั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่สามเณรีนั่งอยู่ด้วย. . .ิ

. . .ที่ภิกษุผู้บอกลาสิกขานั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ นั่งอยู่ด้วย รูป

ใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ

นั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด พึงปรับอาบัติตามธรรม.

. . .ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสีย ฐานไม่กระทำคืนอาบัติ นั่งอยู่

ด้วย...

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืน

ทิฏฐิอันลามกนั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ไม่พึงสวดปาติโมกข์โนบริษัทที่บัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดสวด ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ในบริษัทที่คนลักเพศนั่งอยู่ด้วย...

. . .ที่ภิกษุเข้ารีตเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนคล้ายสัตว์ดิรัจฉานนั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย. . .

. . .ที่คนผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตนั่งอยู่ด้วย. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

ไม่พึงสวดปาติโมกข์ ในบริษัทที่อุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใด

สวดต้องอาบัติทุกกฏ.

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทำอุโบสถ ด้วยการให้ปาริสุทธิ

ค้างคราว เว้นแต่บริษัทยังไม่ลุกไป.

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ไม่พึงทำอุโบสถ ในกาลมิใช่

วันอุโบสถ เว้นแต่วันสังฆสามัคดี.

อุโบสถขันธกะ จบ ภาณวารที่ ๓ จบ

เรื่องในขันกะนี้มี ๘๖ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๐๔] ๑. เรื่องพวกเดียรถีย์ ๒. เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ๓. เรื่อง

ประชุมกันนั่งนิ่ง ๔. เรื่องประชุมกล่าวธรรม ๕. เรื่องประทับในที่สงัด

๖. เรื่องสวดปาติโมกข์ครั้งนั้นทุกวัน ๗. เรื่องทรงอนุญาตให้สวดปาติโมกข์

ปักษ์ละครั้ง ๘. เรื่องสวดปาติโมกข์ในบริษัทเท่าที่มีอยู่ ๙. เรื่องสวดปาติ-

โมกข์แก่ภิกษุผู้พร้อมเพรียงกัน ๑๐. เรื่องทรงอนุญาตสามัคคี ๑๑. เรื่อง

มัททกุจฉิมฤคทายวัน ๑๒. เรื่องสมมติสีมา ๑๓. เรื่องสมมติสีมาใหญ่เกิน

ขนาด ๑๔. เรื่องสมมติทีปารสีมา ๑๕. เรื่องสวดปาติโมกข์ที่อนุบริเวณ

๑๖. เรื่องสมมติโรงอุโบสถ ๒ โรง ๑๗. เรื่องสมมติโรงอุโบสถเล็กเกินขนาด

๑๘. เรื่องพวกนวกะภิกษุ ๑๙. เรื่องพระนครราชคฤห์ ๒๐. เรื่องสมมติสีมา

ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร ๒๑. เรื่องสมมติสมานสังวาสสีมาก่อน

๒๒. เรื่องถอนสมานสังวาสสีมาทีหลัง ๒๓. เรื่องคามสีมาที่ไม่ได้สมมติ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

๒๔. เรี่องอุทกุกเขปในแม่น้ำ ๒๕. เรื่องอุทกุกเขปในสมุทร ๒๖. เรื่อง

อุทกุกเขปในชาตสระ ๒๗. เรื่องสีมาคาบเกี่ยว ๒๘. เรื่องสมมติสีมาทับสีมา

๒๙. เรื่องวันอุโบสถมีเท่าไร ๓๐. เรื่องอาการที่ทำอุโบสถมีเท่าไร ๓๑. เรื่อง

ปาติโมกขุทเทสมีเท่าไร ๓๒. เรื่องคนชาวดงมาพลุกพล่าน ๓๓. เรื่องไม่มี

อันตราย ๓๔. เรื่องแสดงธรรม ๓๕. เรื่องถามวินัย ๓๖. เรื่องกล่าวคุก-

คาม ๓๗. เรื่องวิสัชนาวินัย ๓๘. เรื่องกล่าวคุกคามอีกเรื่องหนึ่ง ๓๙. เรื่อง

โจทด้วยอาบัติ ๔๐. เรื่องทำโอกาส ๔๑. เรื่องค้านกรรมที่ไม่เป็นธรรม

๔๒. เรื่องภิกษุ ๔-๕ รูปทำความเห็นแย้ง ๔๓. เรื่องแกล้งสวดปาติโมกข์ไม่

ให้ได้ยิน ๔๔. เรื่องทรงอนุญาตให้พยายามสวด ๔๕. เรื่องสวดปาติโมกข์

ในบริษัทที่มีคฤหัสถ์ปนอยู่ด้วย ๔๖. เรื่องไม่ได้รับ อาราธนาสวดปาติโมกข์

๔๗. เรื่องภิกษุไม่รู้ในโจทนาวัตถุนคร ๔๘. เรื่องภิกษุมากรูปด้วยกันไม่รู้

จักอุโบสถเป็นต้น ๔๙. เรื่องส่งไปพอจะกลับนาทันในวันนั้น ๕๐. เรื่องไม่

ยอมไป ๕๑. เรื่องดิถีที่เท่าไรแห่งปักษ์ ๕๒. เรื่องภิกษุมีเท่าไร ๕๓. เรื่อง

ไปบิณฑบาตบ้านไกลทรงอนุญาตให้บอก ๕๔. เรื่องระลึกไม่ได้ ๕๕. เรื่อง

โรงอุโบสถรก ๕๖. เรื่องอาสนะและประทีป ๕๗. เรื่องภิกษุไปสู่ทิศ

๕๘. เรื่องภิกษุรูปอื่นเป็นพหูสูต ๕๙. เรื่องส่งภิกษุไปพอจะกลับมาทันใน

วันนั้น ๖๐. เรื่องจำพรรษา ๖๑. เรื่องทำอุโบสถ ๖๒. เรื่องให้ปาริสุทธิ

๖๓. เรื่องทำกรรม ๖๔. เรื่องพวกญาติ ๖๕. เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ. ๖๖. เรื่อง

ภิกษุ ๕ รูป ๓ รูป ๒ รูป และรูปเดียว ๖๗. เรื่องต้องอาบัติ ๖๘. เรื่อง

แสดงสภาคาบัติ ๖๙่. เรื่องภิกษุรูป ๑ ระลึกอาบัติได้ ๗๐. เรื่องสงฆ์ทั้งหมด

ต้องสภาคาบัติและสงสัย ๗๑. เรื่องไม่รู้ชื่อและโคตรอาบัติ ๗๒. เรื่องภิกษุ

พหูสูต ๗๓. เรื่องภิกษุมามากกว่า มาเท่ากัน และมาน้อยกว่า ๗๔. เรื่อง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

บริษัทยังไม่ทันลุกไปและบางพวกลุกไปแล้ว ๗๕. เรื่องบริษัทลุกไปหมดแล้ว

๗๖. เรื่องภิกษุรู้ ๗๗. เรื่องภิกษุสงสัย ๗๘. เรื่องภิกษุฝืนใจทำด้วยเข้าใจ

ว่าควร ๗๙. เรื่องภิกษุรู้ ได้เห็นและได้ยิน ๘๐. เรื่องภิกษุอาคันตุกะกับ

ภิกษุเจ้าถิ่น ๘๑. เรื่องวันจาตุททสี วันปัณณรสี ๘๒. เรื่องวันปาฏิบทกับ

วันปัณณรสี ๘๓. เรื่องลิงค์ ๘๔. เรื่องสังวาส ๘๕. เรื่องให้ปาริสุทธิค้าง

คราว ๘๖. เรื่องทำอุโบสถในกาลมิใช่วันอุโบสถ นอกจากวันสังฆสามัคคี

อุทานที่จำแนกแล้วเหล่านี้ เป็นหัวข้อบอกเรื่อง.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาในวัคคาสมัคคสัญญิโนปัณณรสกาทิกถา

วินิจฉัยในวัคคาสมัคคสัญญิโนปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้:-

ข้อว่า เต ชานนฺติ มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น สถิตอยู่บนภูเขา

หรือบนบก เห็นภิกษุเหล่าอื่นล่วงล้ำสีมาเข้ามาแล้ว หรือกำลังล่วงล้ำเข้ามา

แค่พวกเธอผู้มีความสำคัญว่า พร้อมเพรียงเพราะไม่รู้ หรือเพราะสำคัญว่า จัก

เป็นผู้มากันแล้ว เวมติกปัณณรสกะ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

วินิจฉัยในกุกกุจจปกตปัณณรสกะ พึงทราบดังนี้.

บุคคลผู้ถูกความอยากครอบงำแล้ว ท่านกล่าวว่า ผู้อันความอยากตรึง

ไว้แล้ว ฉันใด ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น แม้ทำความสันนิษฐานในชั้นต้นแล้ว

ยังถูกความรังเกียจกล่าวคือ ความเป็นผู้มีความสำคัญในการไม่ควรว่าเป็นการ

ควร ครอบงำ โนขณะกระทำพึงทราบว่า ผู้อันความรังเกียจตรึงไว้แล้ว ฉัน

นั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

ในเภทปุเรกขารปัณณรสกะ ท่านปรับถุลลัจจัย เพราะเหตุที่อกุศลจิต

แรงกล้า.

ใน อาวาสิเกนะ อาคันตุกเปยยาละ พึงทราบคำเป็นต้นว่า เต น

ชานนุติ อตฺถญฺเ อาคนฺตุกา เหมือนคำที่ได้กล่าวแล้วใน อาวาสิเกนะ

อาวาสิกเปยยาละ อันมีมาก่อนว่า เต น ชานนฺติ อตฺถญฺเ อาวาสิกา

เป็นอาทิ.

ส่วนใน อาคันตุเกนะ อาวาสิกเปยยาละ พึงเติมคำว่า อาคนฺตุกา

ภิกฺขู สนฺนิปตนฺติ เหมือนคำที่มาใน ปุริมเปยยาละ ว่า อาวาสิกา ภิกฺขู

สนฺนิปตนฺติ แต่ใน อาคันตุเกนะ อาคันตุกเปยยาละ พึงประกอบด้วย

อำนาจภิกษุอาคันตุกะ ในบททั้ง ๒ ฉะนี้แล.

วินิจฉัย ในข้อว่า อาวาสิกาน ภิกฺขูน จาตุทฺทโส โหติ,

อาคนฺตุกาน ปณฺณรโส นี้ พึงทราบดังนี้:-

อุโบสถของอาคันตุกะเหล่าใด เป็นวัน ๑๕ ค่ำ พึงทราบว่า อาคัน-

ตุกะเหล่านั้น มาแล้วจากนอกแว่นแคว้น หรือได้ทำอุโบสถที่ล่วงไปแล้วเป็น-

วัน ๑๔ ค่ำ.

ข้อว่า อาวาสิกาน อนุวตฺติตพฺพ มีความว่า เมื่อพวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น

ทำบุพกิจอยู่ว่า อชฺชุโปสโถ จาตุทฺทโส อุโบสถวันนี้ ๑๔ ค่ำ พวกภิกษุ

อาคันตุกะพึงคล้อยตาม คือ ไม่พึงคัดค้าน.

ข้อว่า นากามา ทาตพฺพา มีความว่า สามัคคี อันพวกภิกษุผู้

เจ้าถิ่น ไม่พึงให้แก่พวกภิกษุอาคันตุกะ ด้วยความไม่เต็มใจ.

บทว่า อาวาสิกาการ ได้แก่ อาการ อธิบายว่า อาจาระของภิกษุ

ผู้เจ้าถิ่น. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

สภาพเป็นเครื่องจับอาจารสัณาน ของภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า

ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรหรือไม่ ? ชื่อว่า อาการ.

ธรรมชาติซึ่งส่อ ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ผู้เร้นอยู่ในที่นั้น ๆ อธิบาย

ว่า ซึ่งให้รู้ได้ แม้มองไม่เห็น. ชื่อว่า ลิงค์.

ธรรมชาติเป็นที่เห็นแล้วรู้ซึ่งภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า มี ชื่อว่า นิมิต.

สภาพเป็นเครื่องใช้ ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้นว่า เป็นผู้มีบริขารเช่นนี้

อธิบายว่า เป็นเหตุได้ข้ออ้างเช่นนั้น ชื่อว่า อุทเทส.

คำว่าอาการนั้นเป็นต้นทั้งหมด เป็นชื่อของเสนาสนบริขารต่าง ๆ มี

เตียงและตั่งที่จัดตั้งไว้เป็นอันดีเป็นต้น และเป็นชื่อของเสียงฝีเท้าเป็นต้น ก็แล

คำว่า อาการเป็นต้นนั้น พึงประกอบตามที่ควรประกอบ แม้ในอาการของภิกษุ

อาคันตุกะเป็นต้น ก็นัยนี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺาตก ได้แก่ เป็นของ ๆ ภิกก

เหล่าอื่น.

สามบทว่า ปาทาน โธต อุทกนิสฺเสก ได้แก่ สถานที่รดน้ำแห่ง

เท้าทั้งหลายที่ล้างแล้ว. เอกพจน์ในบทว่า โธต พึงทราบในอรรถแห่งพหูพจน์.

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ปาทาน โธตอุทกนิสฺเสก. ความว่า สถาน

เป็นที่รดน้ำสำหรับล้างเท้าทั้งหลาย.

วินิจฉัยในนานาสังวาสกาทิวัตถุ พึงทราบดังนั้น:-

บทว่า สมานสวาสกทิฎฺึ ได้แก่ ความเห็นว่า ภิกษุผู้เจ้าถิ่น

เหล่านั้น มีสังวาสเสมอกัน.

บทว่า น ปุจฺฉนฺติ ได้แก่ ไม่ถามถึงลัทธิของภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น

คือ ไม่ถามก่อน ทำวัตรและวัตรอาศัย คือวัตรใหญ่น้อยแล้ว ทำอุโบสถร่วมกัน.

๑. ฎีกาและโยชนา แก้ คมยติ ว่า โพเธติ โดยนัยนี้ก็แปลว่า ธรรมชาติซึ่งให้รู้. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

บทว่า นาภิวิตรนฺติ ได้แก่ ไม่สามารถจะย่ำยี คือ ปราบปรามข้อที่

เป็นนานาสังวาสกันได้ อธิบายว่า ให้ภิกษุผู้เข้าถิ่นเหล่านั้นสละทิฏฐินั้นไม่ได้.

ข้อว่า สภิกฺขุกา อาวาสา มีความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ทำอุโบสถ

มีอยู่ในอาวาสใด ภิกษุไม่อาจ ออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสใดในวันนั้นเที่ยว

อาวาสนั้น ยังไม่ได้ทำอุโบสถ ไม่ควรไป.

สองบทว่า อญฺตฺร สงฺเฆน ได้แก่ เว้นจากภิกษุทั้งหลายซึ่ง

ครบจำนวนเป็นสงฆ์.

สองบทว่า อญฺตฺร อนฺตรายา ได้แก่ เว้นอันตราย ๑๐ อย่าง

ที่กล่าวแล้วในหนหลังเสีย. แต่ว่า เมื่อมีอันตราย ก็ควรจะไปกับสงฆ์. มีตน

เป็นที่ ๔ หรือมีตนเป็นที่ ๕ โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด.

ประเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง มีศาลานวกรรมเป็นต้น ชื่ออนาวาส. เหมือน

อย่างว่า อาวาสเป็นต้นภิกษุไม่ควรไป ฉันใด ถ้าภิกษุทั้งหลายทำอุโบสถกัน

ในวัด สีมาก็ดี แม่น้ำก็ดี อันภิกษุไม่ควรไปเพื่ออธิษฐานอุโบสถ ก็ฉะนั้น

แต่ถ้ามีภิกษุบางรูปอยู่ที่สีมาและแม่น้ำนี้ไซร้ จะไปสู่สำนักภิกษุนั้น ควรอยู่.

จะไปเสียจากอาวาส แม้ที่เลิกอุโบสถเสียแล้ว ควรอยู่. ภิกษุผู้ใดไปแล้วอย่าง

นั้น ย่อมได้แม้เพื่ออธิษฐาน อันภิกษุแม้ผู้อยู่ป่า ในวันอุโบสถ เที่ยวบิณฑ-

บาตในบ้านแล้ว ต้องกลับไปวัดของตนเท่านั้น. ถ้าเข้าไปสู่วัดอื่น ต้องทำ

อุโบสถในวัดนั้นก่อน จึงค่อยไป ไม่ทำก่อนแล้วไปเสีย ไม่ควร.

ข้อว่า ย ชญฺา สกฺโกมิ อชฺเชว คนฺตุ มีความว่า ภิกษุพึง

ทราบซึ่งอาวาสใดว่า เราสามารถไปที่นั่นได้ในวันนี้ทีเดียว อาวาสเห็นปานนั้น

ควรไป. จริงอยู่ ภิกษุนี้แม้ทำอุโบสถกับภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น จักเป็นผู้

ไม่ทำอันตรายแก่อุโบสถเลยทีเดียว ฉะนี้แล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

การเข้าสู่หัตถบาสเท่านั้น เป็นประมาณ ในข้อว่า ภิกฺขุนิยา นิสินฺน-

ปริสาย เป็นอาทิ.

ข้อว่า อญฺตฺร อวุฏฺิตาย ปริสาย มีความว่า จริงอยู่ ขึ้นชื่อ

ว่า การให้ปาริวาสิยปาริสุทธิ ปาริสุทธิที่แรมวัน นี้ย่อมไม่ควร จำเดิมแค่

การที่บริษัทลุกออกไป แต่เมื่อบริษัทยังไม่ลุกออกไป ย่อมควร เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เว้นแค่บริษัทยังไม่ลุกออกไป. ลักษณะ

แห่งปาริวาสิยปาริสุทธินั้น พึงถือเอาจากวรรณนาแห่งปาริวาสิยฉันททานสิก-

ขาบทในภิกขุนีวิภังค์.

วันที่ไม่ใช่วันอุโบสถนั้น ได้แก่วันอื่น นอกจากวันอุโบสถ ๒ วัน

นี้ คือ วันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ ๑ วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ๑

ข้อว่า อญฺตฺร สงฺฆสามคฺคียา มีความว่า เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว

สังฆสามัคดีอันใด อันสงฆ์กลับทำได้อีก เหมือนสังฆสามัคคีของภิกษุชาว

โกสัมพี เว้นสังฆสามัคดีเห็นปานนั้น เสีย. ก็แลโนกาลนั้น สงฆ์พึงทำอุโบสถ

สวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ อชฺชุโปสโถ สามคฺคี.

อนึ่ง ภิกษุเหล่าใด เมื่อมีภิกษุผู้ทำการทะเลาะวิวาทกันเล็กน้อยไม่สู้

สำคัญ จึงงดอุโบสถไว้แล้ว กลับเป็นผู้พร้อมเพรียงกันอีก อันภิกษุเหล่านั้น

ต้องทำอุโบสถแท้ ฉะนี้แล.

อรรถกถาในวัคคสมัคคสัญญิโนปัณณรสกาทิกถา จบ

อุโบสถกขันธกวรรณนา จบ

๑. สมนฺต. ทุติย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

วัสสูปนายิกขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระ

เวพุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลาย

จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึง

ได้เทียวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอัน

เขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ จำนวนมากให้

ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้กล่าวธรรมอัน

ต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า ก็ยัง

ทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสาย

ศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบ

ย่าติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียน อินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ

จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย เราอนุญาต ให้จำพรรษา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

การจำพรรษา ๒ อย่าง

[๒๐๖] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราพึงจำพรรษาเมื่อไร

หนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในฤดูฝน.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายติดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้า

พรรษาหลัง เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววัน ๑ พึง

เข้าพรรษาต้น ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือน ๑

พึงเข้าพรรษาหลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.

พระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริทุกเวลา

[๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพักคีย์จำพรรษาแล้ว ยังเที่ยวจาริก

ในระหว่างพรรษา คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาเช่นนั้นแหละ

ว่าไฉน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว

ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง

หนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็ก ๆ มีจำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกอัญญ

เดียรถีย์เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันค่ำทราม ยังพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน

อนึ่ง ฝูงนกเหล่านั้นเล่า ก็ยังทำรังบนยอดไม้แล้วพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน

ส่วนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน

และฤดูฝนเหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ

ยังสัตว์เล็ก ๆ ซึ่งมีจำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวก

นั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา บรรดาที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกในระหว่าง

พรรษาเล่า จึงภิกษุเหล่านั้น กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถาในเพราะเหตุเป็น

เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลัง

ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระฉัพพัคคีย์ไม่จำพรรษา

[๒๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ประสงค์จะจำพรรษา

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ

สั่งห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่จำพรรษาไม่ได้ รูปใดไม่จำพรรษา

ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ ไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวัน เข้าพรรษา

แกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับส่งห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่

ประสงค์จะจำพรรษาในวันเช้าพรรษา ไม่พึงแกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย รูปใด

ล่วงเลยไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

เลื่อนกาลฝน

[๒๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนามาคธราช

มีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้ง

หลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมา

ถึง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธกะ

วินิจฉัยในเรื่องวัสสูปนายิกขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อปฺปญฺตฺโต ได้แก่ ยังมิได้ทรงอนุญาต หรือว่ายังมิได้

ทรงจัด.

สองบทว่า เตธ ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายนั้น. อิธ ศัพท์ เป็น

เพียงนิบาต.

สัตว์ทั้งหลายผู้อาจไปในอากาศชื่อว่านก.

บทว่า สงฺกาสยิสฺสนฺติ ความว่า นกทั้งหลาย ก็จักขวนขวายน้อย

อยู่ประจำที่.

สองบทว่า สงฺฆาต อาปาเทนฺตา ได้แก่ ให้ถึงความพินาศ.

หลายบทว่า วสฺสาเน วสฺส อุปคนฺตุ ความว่า เพื่อเข้าจำพรรษา

ตลอด ๓ เตือนในฤดูฝน.

หลายบทว่า กติ นุ โข วสฺสูปนายิกา ความว่า วันเข้าพรรษา

มีเท่าไรหนอ ?

วินิจฉัยในคำว่า อุปรชฺซุคตาย อาสาฬฺหิยา พึงทราบดังนี้:-

วัน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุ

นั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่า มีวัน ๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถี

เพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ววัน ๑ อธิบายว่า ใน

วันแรมค่ำ ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

แม้ในนัยที่ ๒ ก็มีความว่า เดือน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น

ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่ามีเดือน

๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ว

เดือน ๑ อธิบายว่า เมื่อเดือน ๑ เติมบริบูรณ์. เพราะเหตุนั้น ในวันแรม

ค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน ๘ หรือในวันแรมค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวัน กลางเดือน

๙ จากเพ็ญเดือน ๘ นั่นแล อันภิกษุผู้จะจำพรรษา พึงจัดแจงวิหารแล้วทั้งน้ำ

ฉันน้ำใช้ไว้ พึงทำสามีจิกรรมมีกราบไหว้พระเจดีย์เป็นต้นทั้งปวงให้เสร็จแล้ว

พึงเปล่งวาจาว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิม เตมาส วสฺส อุเปมิ ดังนี้ ครั้ง

๑ หรือ ๒ ครั้งแล้ว จำพรรษาเถิด.

วินิจฉัยในคำว่า โย ปกฺถเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า ต้องอาบัติ เพราะไม่มีอาลัย หรือเพราะให้อรุณขึ้นใน

ที่อื่น.

วินิจฉัยในคำว่า โย อติกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว ด้วยนับวัด.

ก็ถ้าว่า ในวันนั้น เธอเข้าไปยังอุปจารวัด ๑๐๐ ตำบลแล้วเลยไปเสีย

พึงทราบว่า เป็นอาบัติ ๑๐๐ ตัว แต่ถ้าว่า เลยอุปจารวัดไปแล้ว แค่ยังไม่ทัน

เข้าอุปจารวัดอื่น กลับมาเสีย พึงทราบว่า ต้องอาบัติตัว เดียวเท่านี้นั้น. ภิกษุผู้

ไม่จำพรรษาต้น เพราะอันตรายบางอย่างต้องจำพรรษาหลัง.

สองบทว่า วสฺส อุถฺคฑฺฒิตุกาโม ความว่า มีพระประสงค์จะ

เลื่อนเดือนต้นฤดูฝนออกไป อธิบายว่า มีพระประสงค์จะไม่นับ เดือน ๙ จะ

ให้นับ เป็นเดือน ๘ อีก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีอธิบายว่า ในเดือนอธิกมาส.

วินิจฉัยในข้อว่า อนุซานามิ ภิกฺขเว ราซูน อนุวตฺติตุ นี้พึง

ทราบดังนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่ออนุวัตรตาม ด้วยทรงทำในพระ

หฤทัยว่า ชื่อว่าความเสื่อมเสียสักนิดหน่อย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะ

เลื่อนกาลฝนออกไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอนุวัตรตาม ในกรรมที่เป็นธรรม

อย่างอื่นได้ แต่ไม่ควรอนุวัตรตามแก่ใคร ๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรมฉะนี้

แล.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

เรื่องทรงอนะญาตสัตตหกรณียะ

ทายกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย

[๒๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์

ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว. เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดย

ลำดับลุถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถุนั้น

ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกชื่ออุเทนได้ให้สร้างวิหารอุทิศต่อสงฆ์ไว้ใน

โกศลชนบท เขาได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้า

ทั้งหลายจงมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุ

ทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายตอบไปอย่างนี้ว่า ท่านอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติไว้ว่า ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลัง

ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก ขออุบาสกอุเทนจงรออยู่ชั่วระยะเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจำ.

พรรษา ออกพรรษาแล้วจึงจักไปได้ แค่ถ้าท่านจะมีกรณียกิจรีบด่วน จงให้

ประดิษฐานวิหารไว้ในสำนักภิกษุเจ้าถิ่น ในโกศลชนบทนั้นนั่น แหละ

อุบาสกอุเทนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเมื่อเราส่งทูต

ไปแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้ก่อสร้าง เป็น

ผู้บำรุงสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล

นั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวก

ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แม้เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่

อนุญาต บุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี

อุบาสก อุบาสิกา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกนี้ส่งทูตมา เรา

อนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่อนุญาต พึงกลับ

ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุบาสกในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา

ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขา

ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึง

กลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ ได้ให้สร้างเรือนมุง

แถบเดียวอุทิศสงฆ์...

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ. . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี. . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฏี. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม. . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ. . .

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้ง

หลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป

พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ได้ไห้สร้างวิหารอุทิศ

ภิกษุมากรูปด้วยกัน. . .

. . .ได้ให้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูป ๑. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี . . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี . . .

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม . . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ . . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป . . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม . . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ . . .

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้ง

หลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึง

ไป พึงกลับ ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุบาสกในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศภิกษุณี

สงฆ์ . . .

. . .อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศภิกษุณีรูป ๑. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

. . .อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน . . .

. . .อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น . . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ . . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ . . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . . ได้ให้สร้างโรงไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี . . .

. . . ได้ให้สร้างวัจจกุฎี . . .

. . . ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . . ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขอ

อาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ

พบภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่

ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ ได้ไห้สร้างนิเวศน์เพื่อ

ประโยชน์คน...

. . .ได้ให้สร้างเรือนนอน . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเก็บของ. . .

. . .ได้ให้สร้างร้าน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงกลม. . .

. . .ได้ให้สร้างร้านค้า. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงร้านค้า. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ. . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงครัว. . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี. . .

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

. . ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม . . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ อนึ่ง จะมีการมงคลแก่บุตรก็ดี จะมีการ

มงคลแก่ธิดาก็ดี เขาเจ็บไข้ก็ดี จะกล่าวพระสุตตันตะที่รู้เฉพาะก็ดี ถ้าเขาส่ง

ทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา จักได้เรียน

พระสุตตันตะนี้ไว้ โดยวิธีที่พระสุตตันตะนี้ จะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่าเขา

มีกิจหรือกรณียะอย่างโคอย่างหนึ่งก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม

และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหะกรณียะได้ แต่

เมื่อเขาไม่ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศ

สงฆ์ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้ง

หลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

นางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป

พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบ

เดียว อุทิศสงฆ์. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น . . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น . . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ. . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม ...

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี . . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี . . .

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม . . .

. . .ได้ไห้สร้างโรงจงกรม . . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ . . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี . . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป...

. . .ได้ให้สร้างอาราม . . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย ขอ

อาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบ

เห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนาง

ไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับโน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศ

ภิกษุมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศภิกษุรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศภิกษุณีสงฆ์. . .

. . .อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศภิกษุณีรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ. . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี. . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม. . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ

พบเห็น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แค่

เมื่อนางไม่ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบายสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างนิเวศน์ เพื่อ

ประโยชน์คน. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนนอน . . .

. . .ได้ให้สร้างโรงเก็บของ. . .

. . .ได้ให้สร้างร้าน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงกลม. . .

. . .ได้ให้สร้างร้านค้า. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงร้านค้า. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ . . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ . . .

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงครัว. . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี . . .

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ให้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม. . .

. . .ได้ให้สร้างอารามวัตถุ อนึ่ง จะมีการมงคลแก่บุตรก็ดี จะมีการ

มงคลแก่ธิดาก็ดี เขาเจ็บไข้ก็ดี จะกล่าวพระสุตตันตะที่รู้เฉพาะก็ดี ถ้าเขาส่ง

ทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา จักได้เรียน

พระสุตตันตะนี้ไว้ โดยวิธีที่พระสุตตันตะนี้จะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่า เขา

มีกิจ หรือกรณียะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ

พบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อ

นางไม่ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์

. . .ภิกษุณีได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์. . .

. . .สิกขมานได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์. . .

. . .สามเณรได้ไห้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์. . .

. . .สามเณรีได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์. . .

. . .อุทิศภิกษุมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศภิกษุรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศภิกษุณีสงฆ์. . .

. . .อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศภิกษุณีรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง. . .

. . .อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน. . .

. . .อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สามเณรีในศาสนานี้ได้สร้างวิหารเพื่อประ

โยชน์ตน. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนชั้น. . .

. . .ได้ให้สร้างเรือนโล้น. . .

. . .ได้ให้สร้างถ้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างบริเวณ . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

. . .ได้ให้สร้างซุ้ม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงฉัน. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงไฟ. . .

. . .ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี. . .

. . .ได้ให้สร้างวัจจกุฎี. . .

. . .ได้ให้สร้างที่จงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงจงกรม. . .

. . .ได้ให้สร้างบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ. . .

. . .ได้ให้สร้างสระโบกขรณี. . .

. . .ได้ไห้สร้างมณฑป. . .

. . .ได้ให้สร้างอาราม. . .

ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขอ

อาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และ

พบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อ

นางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะสหธรรมิก ๕

[๒๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ อาพาธ เธอได้ส่งทูตไปใน

สำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผม

ปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

สหธรรมิก ๕ แม้มิได้ส่งทูตมาเราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้อง

กล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร

สามเณรี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสหธรรมิก ๕ นี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุ-

ญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา แต่ต้องกลับ

ใน ๗ วัน.

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไป

ในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา

กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้

ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา

พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช

จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้า

เธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความกระสันบังเกิดแก่กระผมแล้ว

ขออาราธนาภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึง

ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจ

ว่า จักระงับความกระสัน หรือจักวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือจักทำธรรม.

กถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความรำคาญบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้

ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักของภิกษุทั้งหลายว่า ความรำคาญบังเกิดแก่กระผม

ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูต

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความรำคาญ หรือจักวานภิกษุอื่นให้ช่วย

บรรเทา หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความเห็นผิดบังเกิดแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้า

เธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความเห็นผิดบังเกิดแก่กระผม ขอ

อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกณียะได้จะต้อง ๆ กล่าวไป

ไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องความเห็นผิด จักวานภิกษุ

อื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ต้องครุกาบัติควรอยู่

ปริวาส ถ้าเธอพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองต้องครุกาบัติควร

อยู่ปริวาส ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมา องภิกษุทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้

จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยทั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้

ปริวาส จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ

เดิม ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรชักเข้า

หาอาบัติเดิม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้ง

หลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึ่งไปด้วยสัตตาหกรณียะ

ได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวาย

ชักเข้าหาอาบัติเดิม จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ควรมานัต ถ้าเธอ

จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรมานัต ขออาราธนา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

ภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อ

เธอส่งทูตมาพึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้มานัต จักช่วยสวด หรือ

จักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับภายใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าเธอ

จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรอัพภาน ขอ

อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่ง

ทูตมาพึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อัพภาน จักช่วยสวด หรือจัก

เป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรม คือ ตัชชนีย-

กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม

แก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์เป็นผู้

ใคร่เพื่อทำกรรมแก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการ

มาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วย

สัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วย

วิธีอย่างไรหนอ สงฆ์จึงจะไม่ทำกรรม หรือพึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา

แต่ต้องกลับใน ๗ วัน. อนึ่งภิกษุนั้นได้ถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม

นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้า

เธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่กระผมแล้ว ขอ

อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ ภิกษุนั้นพึง

พระพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์จะได้ระงับกรรมนั้นเสีย

แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุณี

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่ง

ทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้า

ทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่ง

ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภลัช

จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้ ถ้า

เธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความกระสันบังเกิดแก่ดิฉันแล้ว

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะ

ต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยทั้งใจว่า จักระงับความกระสัน หรือ

จักวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แต่ต้องกลับใน

๗ วัน .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความรำคาญบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้

ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความรำคาญบังเกิดแก่ดิฉัน แล้ว

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมาดิฉันปารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้อง

กล่าวไปไย เมือเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความรำคาญ

จักวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แค่ต้องกลับ

ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความเห็นผิดบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้

ถ้าเธอจะส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความเห็นผิดเกิดแล้วแก่ดิฉัน ขอ

อาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายแม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้อง

กล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึ่งไปด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องความเห็นผิด จักวาน

ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้เป็นผู้ต้องครุกาบัติ ควร

มานัต ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองต้องครุกาบัติ ควร

มานัต ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วย สัตตาหกรณียะได้

จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้มา

นัต แต่ต้องกลับโน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติ

เดิม ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองเป็นผู้ควรชักเข้าหา

อาบัติเดิม ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณ

เจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะ

ได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั่งใจว่า จักทำการขวนขวาย

ชักเข้าหาอาบัติเดิม แต่ต้องส่งกลับใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้ เป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าเธอ

จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนา

พระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วย สัตตหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย

เมื่อเธอส่งทูตมาพึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายในอัพภาน แต่ต้องกลับ

ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม

นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุ

ในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อ

ทำกรรมแก่ดิฉัน ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของ

พระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตา-

หกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธี

อย่างไรหนอ สงฆ์จึงจะไม่ทำกรรม หรือพึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา แต่

ต้องกลับใน ๗ วัน. อนึ่งภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรมคือตัชชนียกรรมนิยสกรรม

ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเชปนียกรรมแล้ว ถ้าเธอจะพึงส่ง

ทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนา

พระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไป

ไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นพึง

ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง พระพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์จะได้ระงับกรรมนั้นเสีย

แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

สัตตหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิกขมานาในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึง

ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้า

ทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่ง

ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช

จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สิกขมานาในคาสนา

นี้. . .

. . .ความรำคาญบังเกิด. . .

. . .ความเห็นผิดบังเกิด. . .

. . .สิกขาของสิกขมานาในศาสนานี้กำเริบ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปใน

สำนักภิกษุทั้งหลายว่า สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้ง

หลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตตหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่ง

ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้สมาทานสิกขา แต่ต้องกลับ

ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สิกขมานาในศาสนานี้ เป็นผู้ใคร่จะอุปสมบท

ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองใคร่จะอุปสมบท ขอ

อาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้อง

กล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อุปสมบท

จักช่วยสวดหรือจักคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามเณรในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึง

ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลาย

มา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่ง

ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่าจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช

จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สามเณรในศาสนา

นี้...

. . .ความรำคาญบังเกิด. . .

. . .ความเห็นผิดบังเกิด. . .

สามเณรเป็นผู้ใคร่จะถามปี ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย

ว่ากระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้เมื่อเธอมิได้

ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา

พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักถาม หรือจักบอก แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สามเณรในศาสนานี้ เป็นผู้ใคร่จะอุปสมบท

ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองใคร่จะอุปสมบท ขอ

อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้อง

กล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อุปสมบท

จักช่วยสวด หรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

สัตตหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามเณรีในศาสนานี้ อาพาธ ถ้าเธอจะพึง

ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้ง

หลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อ

เธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูต

มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช

จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สามเณรีในศาสนา

นี้ ...

. . .ความรำคาญบังเกิด. . .

. . .ความเห็นผิดบังเกิด. . .

. . .สามเณรีเป็นผู้ใคร่จะถามปี. . .

สามเณรีเป็นผู้ใคร่จะสมาทานสิกขา ถ้าเธอพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดิฉัน เองใคร่จะสมาทานสิกขา ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา

ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่ง

ทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึง

ไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้สมาทานสิกขา แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

[๒๑๒] ก็โดยสมัยนั้นแล มารดาของภิกษุรูป ๑ ได้ป่วยไข้ นางส่ง

ทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ดิฉันปรารถนาการมาของ

บุตร จึงภิกษุนั้นได้ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล ๗

จำพวกส่งทูตมาไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้

สำหรับสหธรรมิก ๕ แม้มิได้ส่งทูตมาก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

ไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา ก็นี่มารดาของเรากำลังป่วยไข้ และท่านก็มิใช่อุบาสิกา

เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวก แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาห-

กรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา บุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ

ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดาและบิดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคล ๗ จำพวกนี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะ

ได้ จะต้องกล่าวไปใยเมื่อเขาส่งทูตมา แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มารดาของภิกษุในศาสนาน ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึง

ส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา

ดิฉันปรารถนาการมาของบุตร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อนางมิได้ส่งทูตมา

ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วย

ตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ

จักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บิดาของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขา

จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ฉันเองป่วยไข่ ขอบุตรของฉันจงมา

ฉันปรารถนาการมาของบุตร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเขามิได้ส่งทูตมา ก็

พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วย

ตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏรากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ

หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พี่ชายน้องชายของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้

ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้พี่ชายน้องชายว่า กระผมเองป่วยไข้ ขอพี่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

ชายน้องชายของกระผมจงมา กระผมปรารถนาการมาของพี่ชายน้องชาย. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่

ส่งทูตมาก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พี่หญิงน้องหญิงของภิกษุในศาสนานี้ป่วย

ไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ขอพี่ชายน้องชาย

ของดิฉันจงมา ดิฉันปรารถนาการมาของพี่ชายน้องชาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แม้เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่

พึงไป แต่ต้องกลับมาใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ญาติของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะ

พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า กระผมเองป่วยไข้ ขอพระคุณเจ้าจงมา กระผม

ปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึง

ไปด้วยสตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับใน

๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้า

เขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า กระผมเองป่วยไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้ง

หลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป

แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะกิจของสงฆ์

[๒๑๓] ก็โดยสมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุดลง อุบาสกคน ๑

ได้ให้ตัดเครื่องทัพพสัมภาระไว้ในป่า เขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

พระคุณเจ้าทั้งหลาย จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นไปได้ กระผมขอถวาย

เครื่องทัพพสัมภาระนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปได้เพราะ

กรณียะของสงฆ์ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ จบ

วัสสาวาสภารวารที่ ๑ จบ

อรรถกถาธุระเป็นไปด้วยสัตตาหกรณียะ

วินิจฉัยในสัตตาหกรณียะทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้:-

ตั้งแต่คำว่า ภิกฺขุนีสงฺฆ อุทฺทิสฺส เป็นต้นไป ย่อมมีความเสื่อม

ตลอดไป ๓ อย่าง คือ เว็จกุฎี ๑ เรือนไฟ ๑ ศาลาเรือนไฟ ๑.

โรงเก็บสิ่งของเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วทีเดียว ในสิกขาบท

ทั้งหลาย มีอุทโทสิตสิกขาบทเป็นต้น.

ก็โรงครัว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าในวัสสูปนายิกขันธกะนี้ว่า รสวตี.

คำว่า วาเรยฺย ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในสัญจริตสิกขาบท.

หลายบทว่า ปุราย สุตฺตนฺโต น ปลุชฺชติ ความว่า ทราบเท่าที

พระสุตตันตะนี้จะไม่สาบสูญเสีย.

ข้อว่า ปญฺจนฺน สตฺตาหกรณีเยน ความว่า แม้เมื่อสหธรรมิก

มิได้ส่งทูตมานิมนท์ ภิกษุก็ควรไป ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้

พิสดารข้างหน้า โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักแสวงหาคิลานภัตหรือคิลานุ-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ปัฏฐากภัตหรือเภสัช แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ มีภิกษุเป็นต้น เหล่านั้นบ้าง จักถาม

บ้าง จักพยาบาลบ้าง. แม้ในที่แห่งมารดาบิดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตไว้แล้วข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด เป็นอุปัฏฐากของ

มารดาและบิดา ซึ่งเป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี แม้เมื่อชนเหล่านั้นมิได้ส่งทูต

มานิมนต์ ภิกษุจะไปก็ควร. คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย ทั้งในอรรถกถาและ

บาลี เพราะฉะนั้น ไม่ควรจะถือเอา.

บทว่า ภิกฺขุภติโก ได้แก่ บุรุษผู้อยู่กับภิกษุทั้งหลายในวัดเดียวกัน.

บทว่า อุทฺริยติ ได้แก่ ชำรุด.

สองบทว่า ภณฺฑ เฉทาปิต ได้แก่ เครื่องทัพพสัมภาระที่เขาให้

ตัดไว้แล้ว.

บทว่า อวหราเปยฺยุ คือพึงให้ขนมา.

วินิจฉัยในคำว่า สงฺฆกรณีเยน นี้ พึงทราบดังนี้:-

กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันภิกษุพึงทำในเสนาสนะทั้งหลาย มีโรง

อุโบสถเป็นต้นก็ดี ในสถานที่ทรงอนุญาต มีฉัตรและไพทีแห่งพระเจดีย์เป็นต้น

ก็ดี โดยที่สุด แม้เป็นเสนาสนะเฉพาะตัวของภิกษุทุกอย่างเป็นกิจอันสงฆ์พึงทำ

ทั้งนั้น. เพราะฉะนั้น เพื่อให้กิจนั้นสำเร็จ ภิกษุควรไปเพื่อขนทัพพสัมภาระ

เป็นต้นมา หรือเพื่อให้ไวยาวัจกรให้ค่าจ้างและรางวัลเป็นต้น แก่ชนทั้งหลาย

มีช่างไม้เป็นต้น .

วินิจฉัยในรัตติเฉทซึ่งพ้นจากบาลี ในสัตตหกรณียาธิการ พึงทราบ

ดังต่อไปนี้:-

อันภิกษุอันเขามิได้นิมนต์ เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม ไม่สมควร

ไป. แต่ถ้าว่าภิกษุได้กระทำการนัดหมายกันไว้ก่อนแล้ว ในอาวาสใหญ่แห่ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

หนึ่งว่า เราทั้งหลายพึงประชุมกันในวันชื่อโน้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้อันเขา

นิมนต์แล้วได้ จะไปก็ควร. จะไปด้วยคิดว่า เราจักซักย้อมจีวร ไม่ควร. แต่

ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์ใช้ไปควรอยู่. วัดอยู่ในที่ไม่ไกลนัก เธอไปในวัดนั้น

ด้วยตั้งใจว่า เราจักกลับมาในวันนี้ทีเดียว แต่ไม่สามารถจะมาให้ทันได้ ควร

อยู่. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไป แม้เพื่อประโยชน์แก่อุเทสและปริปุจฉาเป็นต้น. แต่

ย่อมได้เพื่อจะไปด้วยคิดว่า เราจักเยี่ยมอาจารย์ ถ้าว่าอาจารย์กล่าวกะเธอว่า

คุณจงอย่าไปในวันนี้เลย ดังนี้ จะไม่กลับก็ควร. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไปเยี่ยม

สกุลอุปัฏฐาก หรือสกุลของญาติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา

ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น

[๒๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง

ในโกศลชนบท ถูกเหล่าสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมา

ได้บ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้วถูกสัตว์

ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีก

ไปด้วยความสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี่จำพรรษาแล้ว

ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีกไป

ด้วยสำคัญว่านั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

พวกโจรเบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า

นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูก

พวกปีศาจรบกวน มันเข้าสิงบ้าง พาเอาไปบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญ

ว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

หมู่บ้านประสบอัคคีภัย ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต พวกเธอพึงหลีก

ไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

เสนาสนะถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือนร้อนด้วยเสนาสนะ พวกเธอพึงหลีกไป

ด้วยสำคัญว่า นั้นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

หมู่บ้านประสบอุทกภัย ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต พวกเธอพึงหลีก

ไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว

เสนาสนะถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ พวกเธอพึงหลีกไป

ด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

[๒๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่ง

หนึ่ง ชาวบ้านอพยพไปเพราะพวกโจรภัย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาว

บ้าน ชาวบ้านแยกกันเป็น ๒ พวก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่

มากกว่า ชาวบ้านที่มากกว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไร่เลื่อมใส ภิกษุทั้งหลายกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ไปตามชาวบ้านทีมีศรัทธาเลื่อมใส.

[๒๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง

ในโกศลชนบท ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้อง

การ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่า

ดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ไม่ได้

โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ พวกเธอพึงหลีก

ไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้

โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนา-

หารอันเป็นที่สบาย พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้อง

อาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้

โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ และได้โภชนาหาร

อันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า

นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้

โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารอัน

เป็นที่สบาย ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร พวกเธอพึง

หลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว สตรีนิมนต์

ว่า ขอท่านจงมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค

ทาส ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะยอมเป็นภรรยา

ของท่าน หรือมิฉะนั้น จะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน ในเรื่องนั้น

ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับ.

กลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไป

เสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หญิงแพศยา

นิมนต์...หญิงสาวเทื้อนิมนต์ . . .บัณเฑาะก์นิมนต์. . .พวกญาตินิมนต์. . .

พระราชาทั้งหลายนิมนต์ . . .พวกโจรนิมนต์. . . พวกนักเลงนิมนต์ว่า ขอท่าน

มาเถิด ขอรับ พวกข้าพเจ้าจักถวาย เงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส

ทาสี แก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยา หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยา

ของท่าน ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิต

เป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของ

เราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พบทรัพย์

ไม่มีเจ้าของ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของ

เราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เห็นภิกษุ

มากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติด

อย่างนี้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรา

อยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษา

ขาค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่าภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้า

ภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนัก

นัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้อง

อาบัติ แต่พรรษาขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่าในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เรา

จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลาย

สงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจัก

ทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ

แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่

ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกกับภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่าการทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลาย

สงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึง

หลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับ

ข่าวว่าโนอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น

ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวก

เธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรม

หนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อ

ฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้า

ภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของ

ภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น

จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลาย

สงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำ

ตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ

แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เรา

จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้

พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย

ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่าในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกัน กำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์

ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่

ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่า

นั้น ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิง

อย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ย

โสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่าในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น

ถ้าภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าว

พวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์

เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำ

ตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ

แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าว

ว่า ในอาวาสชื่อโน้นภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้า

ภิกษุจะติดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตร

ของภิกษุณีเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่เรา

บอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจ

ทำล้ายสงฆ์เลย ดังนี้พวกเธอจักทำมาร จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ

พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา จบ

จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ

[๒๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งใคร่จะจำพรรษาในหมู่โคต่าง

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายเราอนุญาตให้จำพรรษาใน หมู่โคต่างได้ หมู่โคต่างย้ายไป ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

อนุญาตให้เดินทางไปกับหมู่โคต่างได้.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไป

กับพวกเกวียน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่พวกเกวียนได้.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทาง

ไปกับเรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในเรือได้.

จำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร

[๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในโพรงไม้ คน

ทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกปีศาจ ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในโพรงไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาบนค่าคบไม้ คนทั้งหลายพากันเพ่ง

โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพรานเนื้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำ

พรรษาบนค่าคบไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ

[๒๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในที่แจ้ง เมื่อฝน

ตก ก็พากันวิ่งเข้าไปสู่โพรงไม้บ้าง สู่ชายคาบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

จำพรรษาในที่แจ้ง รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายหาเสนาสนะไม่ได้ จำพรรษา เดือนร้อนด้วย

ความหนาวบ้าง ด้วยความร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่จำพรรษา รูปใดจำ

ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในกระท่อมผี คนทั้งหลายพากัน

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกสัปเหร่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

จำพรรษาในกระท่อมผี รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเข้าพรรษาในร่ม คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคนเลี้ยงวัว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษา

ในร่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในตุ่ม คนทั้งหลายพากัน เพ่งโทษ

ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษา

ในตุ่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา

[๒๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระสงฆ์ในพระนครสาวัตถีได้ตั้งกติกาไว้

ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา.

หลานชายของนางวิสาขา มิคารมารดา ได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้ว

ขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายบอกอย่างนี้ว่า คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาไว้แล้วว่า

ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา คุณ จงรออยู่จนกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จำ-

พรรษาเสร็จแล้วจึงจะบวชให้ ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาแล้ว ได้บอกหลาน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ชายของนางวิสาขามิคารมารดาว่า อาวุโส บัดนี้ ท่านจงมาบวชเถิด เขาจึง

เรียนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ถ้ากระผมจักได้บวชแล้วไซร้ จะพึงยินดียิ่ง แต่

เดี๋ยวนี้กระผมยิ่งไม่บวชละ.

นางวิสาขามิคารมารดาจึงได้เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ

คุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ตั้งกติกาไว้เช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพ

กาลเช่นไรเล่า จึงไม่ควรประพฤติธรรม.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูล

เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา

รูปใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง

[๒๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตร ถวายปฏิญาณ

แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษาในวันเช้าพรรษาต้น ท่านไปสู่อาวาส

นั้น ในระหว่างทาง ได้พบอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก จึงคิดว่า ไฉนหนอ

เราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากก็จัก

บังเกิดแก่เรา ดังนี้ เราจึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระคุณเจ้าอุปนนทศากยบุตร ให้ปฏิญาณ

แก่เราว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยาย

มิใช่หรือ ? ภิกษุทั้งหลายได้ยินท้าวเธอทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่

บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนนท-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ศากยบุตรถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำ

ให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยา

ที่เว้นจากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ

เป็นเค้ามูลนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนนทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนนท์

ข่าวว่าเธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะอยู่จำพรรษา แล้วทำให้

คลาดจริงหรือ ?

ท่านอุปนนทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอถวาย

ปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า

เราติเตียนการพูดเท็จ สรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จ โดยอเนกปริยาย

แล้วมิใช่หรือ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง

ไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น พบอาวาส ๒ แห่งมีจีวรมาก ใน

ระหว่างทางจึงติดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้

เมื่อเป็นเช่นนี้จีวรเป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้ เธอจึงจำพรรษาในอาวาส

๒ แห่งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้น ของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และ

เธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ปฏิญาณจำพรรษาต้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร

ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ทั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอ

ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

ต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึง

วันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ

เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

ต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร

วันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ทั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอ

พักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

ต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเช้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร

ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ

เธอพักอยู่ ๒-๓วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

ต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ

เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติ

ทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น . . . เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วย

สัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

ต้น ของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวัน เข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึง

วันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ ยัง

อีก ๗ วัน จะถึงวัน ปวารณา เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้น

ปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในศาสนานี้ ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำ

พรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็น

หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้น

ไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำ

พรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม ๑ ค่ำ

จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอมีกิจจำเป็นหลีก

ไปเสียในวันนั้นทีเดียว . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภาย

นอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ

และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภาย

ใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอ

ไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าสู่

วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ ยังอีก ๗ วัน จึงถึงวัน

ปวารณาเธอมีกิจจำเป็นหลีกไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้น

ก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ

เพราะรับคำ.

ปฏิญาณจำพรรษาหลัง

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร

ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ

เธอไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษา

หลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม

๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอมีกิจจำเป็น

หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว...

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภาย

นอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้น ไม่ปรากฏ

และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม

๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอพักอยู่

๒-๓ วันแล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะ

รับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะ

จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง...

. . . ยังอีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท

เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม

ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะ

รับคำ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาหลัง เธอเข้าไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ

จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็น

หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว...

. . .เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. . .

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภาย

นอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของเธอไม่ปรากฏ

และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

. . .เธอพักอยู่ ๒-๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมา

ภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และ

เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาหลัง. . .

. . . ยังอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท เธอ

มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุจักมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วัน

จำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

วัสสูปนายิกขันธกะที่ ๓ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๒๓] ๑. เรื่องจำพรรษา ๒. เรื่องจำพรรษาในเวลาไหน ๓. เรื่อง

วันเข้าพรรษามีเท่าไร ๔. เรื่องเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา ๕. เรื่องไม่ประสงค์

จำพรรษา ๖. เรื่องแกล้งไม่จำพรรษา ๗ เรื่องทรงเลื่อนกาลฝน ๘. เรื่องอุบาสก

สร้างวิหาร ๙. เรื่องภิกษุอาพาธ ๑๐. เรื่องมารดา บิดา พีชายน้องชาย พี่หญิง

น้องหญิง ญาติและบุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุป่วยใช้ ๑๑. เรื่องวิหารชำรุด ๑๒. เรื่อง

สัตว์ร้ายเบียดเบียน ๑๓. เรื่องงูเบียดเบียน ๑๔. เรื่องพวกโจรเบียดเบียน ๑๕.

เรื่องปีศาจรบกวน ๑๖. เรื่องหมู่บ้านประสบอัคคีภัย ๑๗. เรื่องเสนาสนะถูกไฟ-

ไหม้ ๑๘. เรื่องหมู่บ้านประสบอุทกภัย ๑๙. เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม ๒๐. เรื่อง

ชาวบ้านพากันอพยพ ๒๑. เรื่องผู้ที่เป็นทายกมีจำนวนมากกว่า ๒๒ . เรื่องไม่ได้

โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีต ไม่ได้โภชนะและเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏ-

ฐากที่สมควร ๒๓. เรื่องถูกสตรีนิมนต์ ๒๔. เรื่องถูกหญิงแพศยานิมนต์ ๒๕.

เรื่องถูกหญิงสาวเทื้อนิมนต์ ๒๖. เรื่องถูกบัณเฑาะก์นิมนต์ ๒๗. เรื่องถูกพวก

ญาตินิมนต์ ๒๘. เรื่องถูกพระราชานิมนต์ ๒๙. เรื่องถูกพวกโจรนิมนต์ ๓๐.

เรื่องถูกพวกนักเลงนิมนต์ ๓๑. เรื่องพบขุมทรัพย์ ๓๒. เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี

๓๓. เรื่องจำพรรษาในหมู่โคต่าง ๓๔. เรื่องจำพรรษาในหมู่เกวียน ๓๕. เรื่อง

จำพรรษาในเรือ ๓๖. เรื่องจำพรรษาในโพรงไม้ ๓๗. เรื่องจำพรรษาบนค่า

คบไม้ ๓๘. เรื่องจำพรรษาในที่แจ้ง ๓๙. เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา

๔๐. เรื่องจำพรรษาในกระท่อมผี ๔๑. เรื่องจำพรรษาในร่ม ๔๒. เรื่องจำพรร-

ษาในตุ่ม ๔๓. เรื่องตั้งกติกา ๔๔. เรื่องให้ปฏิญาณ ๘๕ เรื่องทำอุโบสถนอก

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

วิหาร ๔๖. เรื่องวันจำพรรษาต้น ๔๗. เรื่องวันจำพรรษาหลัง ๔๘. เรีองไม่มี

กิจจำเป็นหลีกไป ๔๙่. เรื่องมีกิจจำเป็นหลีกไป ๕๐. เรื่องพักอยู่ ๒-๓ วัน

๕๑. เรื่องหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๕๒. เรื่องยังอีก ๗ วันจะถึงวันปวารณา

จะมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม.

พึงพิจารณาแนวฉบับ ตามลำดับหัวข้อเรื่อง.

ในขันธกะนี้มี ๕ เรื่อง

อรรถกถาอันตรายเป็นเหตุหลีกไป

บทว่า ปริปาเตนฺติปิ ความว่า พาลมฤดูทั้งหลายมาแล้วโดยรอบ

ย่อมให้หนีไปบ้าง ยังความกลัวให้เกิดขึ้นบ้าง ปลงเสียจากชีวิตบ้าง.

บทว่า อาวิสนฺติ คือปีศาจทั้งหลาย ย่อมเข้าสิงสรีระ.

วินิจฉัยในข้อว่า เยน คาโม เตน คนฺตุ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

ถ้าชาวบ้านเขาไปตั้งอยู่ไม่ไกล ภิกษุพึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น

แล้ว กลับมายังวัด จำพรรษาเถิด. ถ้าชาวบ้านไปไกล ก็พึงรับอรุณในวัด

โดยวาระ ๗ วัน ถ้าไม่สามารถเพื่อจะรับอรุณในวัดโดยวาระ ๗ วันได้ ก็พึง

อยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันในบ้านนั้นเถิด.

ถ้าว่ามนุษย์ทั้งหลาย ถวายสลากภัตเป็นต้นตามที่เคยมา พึงบอกกะ

เขาว่า เรามิได้อยู่ในวัดนั้น. แต่เมื่อเขาพากันกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้

ถวายแก่วัดหรือแก่ปราสาท พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าก็

นิมนต์ฉันเถิด ดังนี้ ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย ภัตนั้นย่อมถึงพวกเธอแท้. ก็

เมื่อทายกเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงแจกกันฉันในที่อยู่ของพระผู้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

เป็นเจ้าเถิด ดังนี้ ภิกษุอยู่ ณ ที่ใด พึงนำไป ณ ที่นั้น แล้วพึงแจกกันตาม

ลำดับพรรษาฉันเถิด.

ถ้าพวกทายกถวายผ้าจำนำพรรษา ในเวลาที่ภิกษุปวารณาเสร็จแล้ว ผิ

ว่าภิกษุทั้งหลายรับอรุณโดยวาระ ๗ วัน พึงรับ เถิด.. แด่ภิกษุผู้พรรษาขาด พึง

บอกว่า เราทั้งหลายมิได้จำพรรษาในวัดนั้น เราขาดพรรษา ถ้าเขากล่าวว่า

เสนาสนะของพวกข้าพเจ้า ท่านให้ถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด พระผู้เป็นเจ้า

เหล่านั้น จงรับเถิด ดังนี้ ภิกษุควรรับ.

ส่วนของควรแจกกันได้ มีจีวรเป็นต้น ที่ภิกษุขนย้ายมาที่ในสถาน

ใหม่นี้ด้วยคิดว่า เก็บไว้ในวัดจะฉิบหายเสีย ควรไปอปโลกน์แจกกันในวัค

เติมนั้น.

นัยแม้ในของสงฆ์อันเกิดขึ้นในวัดนั้นเป็นต้นว่า นาและสวนที่ทายก

มอบให้ไว้แก่กัปปิยการกทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงถวายปัจจัย ๔ แก่พระผู้

เป็นเจ้าทั้งหลายจากมูลค่าแห่งนาและสวนนี้. ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ของสงฆ์ที่ควรแจกกันได้ จะอยู่ในภายในวัดหรือภายนอกสีมาก็ตาม

ที ของที่ควรแจกกันได้นั้น ไม่ควรอปโลกน์แจกแก่ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ภายนอกสีมา.

แต่ของสงฆ์ซึ่งเป็นของควรแจกกันได้ อันตั้งอยู่ในเขตทั้ง ๒ สมควรแท้ที่จะ

อปโลกน์แจกแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในภายในสีมา.

วินิจฉัยในข้อว่า สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว กิจที่ควรไปทำย่อมไม่มี แค่คำว่า แตกกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสงฆ์ที่ภิกษุระแวงว่า จะแตกกัน.

วินิจฉัยในข้อว่า สมฺพหุลาหิ ภิกฺขุนีหิ สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึง

ทราบดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

บัณฑิตไม่พึงเห็นว่า สงฆ์อันภิกษุณีทั้งหลายทำลายแล้ว. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์หาได้ไม่.

ความระแวงอยู่ว่า อันภิกษุทั้งหลายพึงอาศัยภิกษุณีเหล่านั้น กระทำพวกเธอ

ให้เป็นกำลังอุดหนุนแล้ว พึงทำลายสงฆ์หมู่ใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาสงฆ์หมู่นั้น ตรัสคำนี้ว่า สงฆ์อันภิกษุณีเป็นอันมากทำลายแล้ว.

สถานที่อยู่ของนายโคบาลทั้งหลาย ชื่อว่า พวกโคต่าง.

วินิจฉัยในข้อว่า เยน วโช นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อภิกษุไปกับพวกโคต่างไม่เป็นอาบัติเพราะพรรษาขาด.

บทว่า อุปกฏฺาย คือใกล้เข้ามาแล้ว.

วินิจฉัยในข้อว่า สตฺเถ วสฺส อุปคนฺตุ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ในวันเข้าพรรษา ภิกษุนั้นพึงบอกพวกอุบาสกว่า อาตมาได้กระท่อม

จึงจะควร

ถ้าอุบาสกทำถวาย พึงเข้าไปในกระท่อมนั้น แล้วกล่าวว่า อิธ วสฺส

อุเปมิ เราเข้าพรรษาในที่นี้ ดังนี้ ๓ ครั้ง.

ถ้าเขาไม่ทำถวายไซร้ พึงเข้าจำพรรษาในภายใต้เกวียน ที่ตั้งอยู่โดย

ท่วงทีอย่างศาลา. เมื่อไม่ได้แม้ซึ่งที่เช่นนั้น พึงทำความอาลัยเถิด. แต่จะเข้า

จำพรรษาในหมู่เกวียนไม่ควร. เพียงจิตตุปบาทที่คิดว่า เราจักจำพรรษาในที่

นี้ ก็จัดว่าอาลัย.

ถ้าว่าหมู่เกวียนยังเดินทางอยู่ ถึงวันปวารณาเข้า พึงปวารณาในหมู่

เกวียนนั้นนั่นแล.

ถ้าหมู่เกวียนถึงที่ที่ภิกษุปรารถนาแล้วในภายในพรรษาแล้วเลยไป ภิกษุ

พึงอยู่ในที่ที่คนปรารถนา แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

ถ้าแม้หมู่เกวียนหยุดอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งก็ดี แยกกันไปก็ดี ในระหว่าง

ทางภายในพรรษานั้นเอง ก็พึงอยู่กับภิกษุทั้งหลายในบ้านนั้นแล แล้วปวารณา

เถิด. ยังไม่ได้ปวารณา จะไปต่อไปจากที่นั้นไม่ควร.

แม้เมื่อจะจำพรรษาในเรือ ก็ควรเข้าจำในประทุนเหมือนกัน เมื่อหา

ประทุนไม่ได้ พึงทำความอาลัยเถิด.

ถ้าเรืออยู่เฉพาะในทะเลตลอดภายใน ๓ เดือน ก็พึงปวารณาในเรือนั้น

เถิด.

ลำดับนั้น ถ้าเรือถึงฝั่งเข้า ฝ่ายภิกษุนี้เป็นผู้ต้องการจะไปต่อไป จะไป

ไม่ควร พึงอยู่ในบ้านที่เรือจอดนั้นแล แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายเถิด.

ถ้าแม้ว่าเรือจะไปในที่อื่นตามริมฝั่งเท่านั้น แต่ภิกษุอยากจะอยู่ในบ้าน

ที่เรือถึงเข้าก่อนนั้นแล เรือจงไปเถิด ภิกษุพึงอยู่ในบ้านนั้นแล แล้วปวารณา

กับภิกษุทั้งหลายเถิด.

ใน ๓ สถาน คือ ในพวกโคต่าง ในหมู่เกวียน ในเรือ ไม่มีอาบัติ

เพราะขาดพรรษา ทั้งได้เพื่อปวารณาด้วยปวารณาฉะนั้นแล.

ส่วนในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เดือนร้อนด้วยสัตว์

ร้าย เป็นต้น มีสังฆเภทเป็นที่สุด ซึ่งมีมาแล้วในหนหลัง ไม่เป็นอาบัติอย่าง

เดียว แต่ภิกษุไม่ได้เพื่อปวารณา.

บทว่า ปีสาจิลฺลิกา คือปีศาจนั่นเอง ชื่อว่าปีศาจิลลิกา.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว รุกฺขสุสิเร นี้ พึงทราบดังนี้:-

จะจำพรรษาในโพรงไม้ล้วนเท่านั้นไม่ควร. แต่จะทำกุฎีมุงบังด้วย

แผ่นกระดานติดประตูสำหรับเข้าออกในภายในโรงโพรงไม้ใหญ่แล้ว จำพรรษา

ควรอยู่. แม้จะตัดต้นไม้ สับฟากปูเรียบไว้ ทำกระท่อมมีกระดานมุงบังบนตอ

ไม่แล้วจำพรรษาก็ควรเหมือนกัน .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า รุกฺขวิฏปิยา นี้ พึงทราบดังนี่ว่า:-

จะจำพรรษาสักว่าบนค่าคบไม้ล้วนไม่ควร. แต่ว่าพึงผูกเป็นร้านบน

ค่าคบไม้ที่ใหญ่ แล้วทำให้เป็นห้องมุงบังด้วยกระดานบนร้านนั้นแล้วจำพรรษา

เถิด.

บทว่า อเสนาสนเกน ความว่า เสนาสนะที่มุงแล้วด้วยเครื่อง

มุง ๕ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดประตูสำหรับเปิดปิดได้ของภิกษุใดไม่มี

ภิกษุนั้นไม่ควรจำพรรษา.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉวกุฏิกาย นี้ พึงทราบดังนี้:-

กระท่อมต่างชนิด มีเตียงมีแม่แคร่เป็นต้น ชื่อกระท่อมผี. จะจำพรรษา

ในกระท่อมผีนั้นไม่ควร. ก็แค่ว่าจะทำกระท่อมชนิดอื่นในป่าช้า แล้วจำพรรษา

ควรอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉตฺเต นี้ ดังนี้ .

จะปักร่มไว้ใน ๔ เสา ทำฝารอบ ติดตะปูไว้แล้ว จำพรรษาก็ควร.

กุฎีนั้นชื่อกุฎีร่ม.

วินิจฉัยแม้ในบทว่า จาฏิยา นี้ พึงทราบดังนี้:-

จะทำกุฎีด้วยกระเบื้องอย่างใหญ่ ตามัยที่กล่าวแล้วในเรื่องร่ม

จำพรรษาก็ควร.

เนื้อความแม้ในข้อว่า เอวรูปา กติกา นี้ มีดังนี้:-

กติกาแม้อื่นที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้อันใด กติกานั้นไม่ควรทำ. ลักษณะ

แห่งกติกานั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์.

๑. ฎีกาสารตฺถทีปนีว่า ปญฺจนฺน ฉทนานนฺติ ติณปณฺณอิฏฺ กสิลาสุธาสงฺขาตาน ปญฺจนฺน

ฉทนาน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ข้อว่า วสฺสาวาโส ปฏิสฺสุโต โหติ ปุริมิกาย มีความว่าพระ

อุปนนทศากยบุตร ได้ทำปฏิญญาว่า เราจักจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ณ

อาวาสของท่านทั้งหลาย.

ข้อว่า ปุริมิกา จ น ปฌฺายติ ความว่า การจำพรรษาในอาวาส

ซึ่งได้ปฏิญญาไว้หาปรากฏไม่.

วินิจฉัยในข้อว่า ปฏิสฺสเว จ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

ย่อมเป็นอาบัติเพราะรับคำนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงจำพรรษาในที่นี้ตลอด

๓. เดือนนี้ ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ย่อมเป็นอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ

นั้น ๆ แม้โดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาตลอด ๓ เดือนนี้

ข้าพเจ้าแม้ทั้ง ๒ จักอยู่ในที่นี้ จักให้แสดงรวมกัน. ก็ปฏิสสวทุกกฏนั้นแล

ย่อมมีเพราะเหตุคือแกล้งกล่าวให้คลาดในภายหลัง ของภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์ใน

ชั้นต้น. แต่สำหรับภิกษุผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ในชั้นเดิม ควรปรับทุกกฏกับปาจิตตีย์

คือทุกกฏเพราะรับคำ ปาจิตตีย์เพราะแกล้งกล่าวให้คลาด.

วินิจฉัยในข้อทั้งหลายมีข้อว่า โส ตทเหว อกรณีโย เป็นต้น พึง

ทราบดังนี้:-

ถ้าว่าภิกษุไม่เข้าจำพรรษา หลีกไปเสียก็ดี เข้าจำพรรษาแล้วยัง ๗ วัน

ให้ล่วงไปภายนอกอาวาส ก็ดี วันเข้าพรรษาต้นของเธอไม่ปรากฏด้วย เธอ

ต้องอาบัติเพราะรับคำด้วย. แต่ว่าไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้ว ไม่

ทันให้อรุณขึ้น แม้หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะในวันนั้นทีเดียว กลับมาภายใน

๗ วัน ก็ถ้อยคำที่ควรกล่าวอะไร จะพึงมีแก่ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ๒-๓ วัน

สัตตาหะไปเสียแล้วกลับมาภายใน ๗ วัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า ทฺวหติห วสิตฺวา นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า ขาดพรรษาเพราะล่วงอุปจาระไป ด้วยทอดอาลัยไปเสีย

ไม่ติดกลับเท่านั้น. ถ้ายังมีความอาลัยว่า เราจักอยู่ ณ ที่นี่ แต่ไม่เข้าพรรษา

เพราะระลึกไม่ได้ เสนาสนะที่เธอถือเอาแล้ว ก็เป็นอันถือเอาด้วยดี เธอไม่

ขาดพรรษา ย่อมได้เพื่อปวารณาแท้.

วินิจฉัยในข้อว่า สตฺตาห อนาคตาย ปวารณาย นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

ย่อมควรเพื่อจะไป จำเดิมแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ จะกลับมาก็ตาม ไม่กลับ

มาก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือเป็นคำตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธก จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

ปวารณาขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๒๒๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ

พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ

มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง

ในโกศลชนบท ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเรา

จึงพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และ

จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเรา

จะไม่พึงทักทาย จะไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้าน

ก่อน รูปนั้นพึงปูอาสนะจัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็คเท้าไว้

ล้าภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ รูปใด

บิณฑบาตกลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้อง

การ พึงฉัน ถ้าไม่ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของสีเขียวสด

หรือเทล้างเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ พึงเก็บน้ำล้างเท้า

ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำ

ฉัน น้ำใช้ กวาดหอฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หม้อน้ำชำระ

ว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถพึงกวักมือเรียกเพื่อนมา

ช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกเรา

จึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก. และ

จะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้น ไม่ทักทายไม่ปราศรัย

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ต่อกันและกัน ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน ภิกษุรูปนั้นปูอาสนะ

จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับถ่าย

บิณฑบาต เตรียมตั่งไว้ จัดตั้งน้ำฉันนำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจาก

บ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้ว ยังมีเหลือ ถ้าต้องการ ก็ฉัน ถ้าไม่

ต้องการก็เททิ้งเสียในสถานที่อันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำอัน

ปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุนั้นรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง

เช็ดเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน

ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุรูปนั้น

ก็จัดหาไว้ หากภิกษุนั้นไม่สามารถ ก็กวักมือเรียกเพื่อนภิกษุมาช่วยเหลือกัน

แต่ไม่เปล่งวาจา เพราะเหตุนั้นเลย.

ธรรมเนียมเข้าเฝ้า

[๒๒๕] ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้านั่นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว

เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปโดยมรรคา อันจะไปสู่พระนครสาวัตถี

ถึงพระนครสาวัตถี และพระเขตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี โดยลำดับ

แล้ว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อนึ่งการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ

ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอ

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสัก

และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต หรือ ?

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

ภิกษุเหล่านี้นั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้เป็น

ไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน

ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต

พระพุทธเจ้าข้า.

พุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่

ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม

พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัด

ด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้ง

หลายด้วย อาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ

สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายพวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษา

เป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร ?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระพุทธเจ้า บรรดา

ที่นั่งเฝ้า ณ ที่นี้เป็นภิกษุซึ่งเคยเห็นคบหากันมา จำนวนมากด้วยกัน ได้

จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท พวกข้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

ได้ปรึกษากันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ พวกเราจึงจะพร้อมเพรียงกัน ปรองดอง

กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต

พวกข้าพระพุทธเจ้านั้นได้ปรึกษากันต่อไปว่า หากพวกเราจะไม่พึงทักทาย จะ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

ไม่พึงปราศรัยซึ่งกันและกัน รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน รูปนั้นพึง

ปูอาสนะ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็คเท้าไว้ ล้างภาชนะสำหรับ

ถ่ายบิณฑบาตเตรียมตั้งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้าน

ทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อน ฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการ พึงฉัน ถ้าไม่

ต้องการ ก็พึงเททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียในน้ำ

ที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้นพึงรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั้งรองเท้า กระเบื้อง

เช็คเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดหอฉัน

รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หมอน้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า รูปนั้นพึงจัดหาไว้

หากภิกษุนั้นไม่สามารถ พึงกวักมือเรียกเพื่อน มาช่วยเหลือกัน แต่ไม่พึงเปล่ง-

วาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกข้าพระพุทธเจ้าจึงจะพร้อมเพรียง

กัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วย

บิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า. ครั้นแล้วพวกข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ทักทาย ไม่

ปราศรัยต่อกันและกัน ภิกษุรูปใดบิณฑบาตกลับจากบ้านก่อน ภิกษุรูปนั้นย่อม

ปูอาสนะไว้ จัดหาน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ล้างภาชนะ

สำหรับถ่ายบิณฑบาต เตรียมตั่งไว้ จัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ภิกษุรูปใดบิณฑบาต

กลับจากบ้านทีหลัง หากอาหารที่รูปก่อนฉันแล้วยังมีเหลือ ถ้าต้องการก็ฉัน

ถ้าไม่ต้องการ ก็เททิ้งเสียในสถานอันปราศจากของเขียวสด หรือเทล้างเสียใน

น้ำอันปราศจากตัวสัตว์ ภิกษุรูปนั้นย่อมรื้ออาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

กระเบื้องเช็คเท้า ล้างภาชนะสำหรับถ่ายบิณฑบาตเก็บไว้ เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาด

หอฉัน ภิกษุรูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่าภิกษุ

รูปนั้นก็จัดหาไว้ หากภิกษุรูปนั้นไม่สามารถก็กวักมือเรียกเพื่อนมาช่วยเหลือกัน

แต่ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะเหตุนั้นเลย ด้วยวิธีอย่างนี้แล พวกข้าพระพุทธเจ้าจึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก

และไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

[๒๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาไม่ผาสุกเลย ยัง

ยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้ เป็นผู้อยู่จำพรรษา

อย่างปสุสัตว์อยู่ร่วมกันแท้ ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆ-

บุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างแพะอยู่ร่วมกันแท้ ๆ ยังยืนยันว่าอยู่

จำพรรษาเป็นผาสุก ข่าวว่า โมฆบุรุษพวกนี้เป็นผู้อยู่จำพรรษาอย่างคนประมาท

อยู่ร่วมกันแท้ ๆ ยังยืนยันว่าอยู่จำพรรษาเป็นผาสุก.

ทรงห้ามมูควัตร ติตถิยสมาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไฉน โมฆบุรุษพวกนี้จึงได้ถือมูควัตร ซึ่ง

พวกเดียรถีย์ถือกัน การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ

เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ภิกษุไม่พึงสมาทานมูควัตรที่พวกเดียรถีย์

สมาทานกัน รูปใดสมาทาน ต้องอาบัติทุกกฎ.

พระพุทธนุญาตปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอยู่จำพรรษา แล้ว

ปวารณาด้วยเหตุ ๓ สถานคือ ด้วยได้เห็น ๑ ด้วยได้ฟัง ๑ ด้วยสงสัย ๑ การ

ปวารณานั้นจักเป็นวิธีเหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกันและกัน และเป็นวิธีออกจากอาบัติ

เป็นวิธีเคารพพระวินัยของพวกเธอ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

วิธีปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงปวารณา อย่างนี้

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สมารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา

ว่าดังนี้:-

สัพพสังคาหิกาญัตติ

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้า

ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เตวาจิกาปวารณา

เธอทั้งหลาย ฉันปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟัง

ก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน

ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็น

ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณา

ว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ฉันปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้

เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความ

กรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้ว กล่าวปวารณาอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้

ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว

ข้าพเจ้า ๆ เห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้

เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความ

กรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ เห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้

เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความ

กรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ๆ เห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

พระพุทธานุญาตให้นั่งกระโหย่งปวารณา

[๒๒๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่ง

กระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งอยู่บนอาสนะ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็

เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่ง

กระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่าพระฉัพพัคคีย์ เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ยังนั่งบน

อาสนะจริงหรือ ?

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ

พวกนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ จึงได้นั่งอยู่บนอาสนะ

เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ

ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย เมื่อบรรดาภิกษุผู้เถระนั่งกระโหย่งปวารณาอยู่ ภิกษุไม่พึง

นั่งบนอาสนะ รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้

ภิกษุทุกรูปนั่งกระโหย่งปวารณา.

สมัยต่อมา พระเถระรูปหนึ่งชราทุพพลภาพ นั่งกระโหย่งรอคอยอยู่

จนกว่าภิกษุทั้งหลายจะปวารณาเสร็จทุกรูป ได้เป็นลมล้มลง ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราอนุญาตให้นั่งกระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา และอนุญาตให้ภิกษุ

ปวารณาแล้วนั่งบนอาสนะ.

วันปวารณามี ๒

[๒๒๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า วันปวารณามีกี่วัน จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัน

ปวารณานี้มี ๒ คือ วัน ๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวันปวารณา

มี ๒ เท่านี้แล.

อาการที่ทำปวารณามี ๔

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายสงสัยว่า อาการที่ทำปวารณามีเท่าไรหนอ จึง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

ทั้งหลายอาการที่ทำปวารณานี้มี ๔ คือ การทำปวารณาเป็นวรรคโดยอธรรม ๑

การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยอธรรม ๑ การทำปวารณาเป็นวรรคโดย

ธรรม ๑ การทำปวารณาพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการทำปวารณา ๔ นั้น การทำปวารณานี้ใด

เป็นวรรคโดยอธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่

อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยอธรรม การทำปวารณาเห็น

ปานนั้น ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่เป็นวรรคโดยธรรม การทำปวารณาเห็นปานนั้น

ไม่ควรทำ และเราก็ไม่อนุญาต.

การทำปวารณานี้ใดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม การทำปวารณาเห็น

ปานนั้น ควรทำ และเราก็อนุญาต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงทำในใจว่า จักทำ

ปวารณากรรม ชนิดที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พระพุทธานุญาตให้นำปวารณาของภิกษุอาพาธมา

[๒๒๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักปวารณา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ยังมีภิกษุ

อาพาธอยู่ เธอมาไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ

อาพาธมอบปวารณา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

วิธีมอบปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงมอบอย่างนี้:-

ภิกษุอาพาธนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำมอบปวารณาอย่างนี้ว่า:-

ข้าพเจ้าขอนอบปวารณา ขอท่านจงนำปวารณาของข้าพเจ้า

ไป ขอท่านจงปวารณาแทนข้าพเจ้า.

ภิกษุรับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันภิกษุ

อาพาธมอบปวารณาแล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยกายด้วย

วาจา ไม่เป็นอันภิกษุ อาพาธมอบปวารณา หากได้ภิกษุ ผู้รับอย่างนี้ นั่งเป็นการ

ดี หากไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย พึงใช้เตียงหรือตั่งหามภิกษุอาพาธนั้นมาในท่าม

กลางสงฆ์แล้ว ปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากพวกภิกษุผู้พยาบาลไข้ มีความคิดเห็นอย่าง

นี้ว่า หากพวกเราจักย้ายภิกษุอาพาธ อาพาธจักกำเริบหนัก หรือมิฉะนั้นจักถึง

มรณภาพดังนี้ ไม่พึงย้ายภิกษุอาพาธ สงฆ์พึงไปปวารณาในสำนักภิกษุอาพาธ

นั้น แต่สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้

นำปวารณาหลบไปเสียจากที่นั่นแล ภิกษุอาพาธพึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาสึกเสีย ณ ที่นั้นแหละ. . .ถึงมรณภาพ ปฏิญาณเป็นสามเณร ปฏิญาณ

เป็นผู้บอกลาสิกขา ปฏิญาณเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญาณเป็นผู้วิกลจริต

ปฏิญาณเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญาณเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญาณ

เป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่เห็นอาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

อาบัติ ปฏิญาณเป็นผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอันลามก ปฏิญาณเป็น

บัณเฑาะก์ ปฏิญาณเป็นไถยสังวาส ปฏิญาณเป็นผู้เข้ารีดเดียรถีย์ ปฏิญาณเป็น

ดิรัจฉาน ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญาณเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญาณเป็นผ้าฆ่า

พระอรหันต์ ปฏิญาณเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญาณเป็นผู้ทำลายสงฆ์

ปฏิญาณเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญาณเป็นอุภโคพยัญชนก

ภิกษุอาพาธจึงมอบปวารณาแก่รูปอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาหลบไปเสียในระหว่างทาง ปวารณาไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้

นำปวารณาสึกเสียในระหว่างทาง ถึงมรณภาพ ...ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก็

ปวารณาไม่เป็นอันนำมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้

นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว หลบไปเสีย ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้วสึกเสีย ถึงมรณภาพ...ปฏิญาณเป็นอุภโตพยัญชนก

ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้

นำปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว หลับเสียมิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว

ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว เข้าสมาบัติ มิได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว

ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว เผลอไปไม่ได้บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว

ภิกษุผู้นำปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาพาธมอบปวารณาแล้ว หากภิกษุผู้นำ

ปวารณาเข้าประชุมสงฆ์แล้ว แกล้งไม่บอก ปวารณาเป็นอันนำมาแล้ว แต่

ภิกษุผู้นำปวารณา ต้องอาบัติทุกกฎ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในวันปวารณา เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มอบปวารณา

มอบฉันทะด้วย เผื่อสงฆ์จะมีกรณียกิจ.

หมู่ญาติเป็นต้นจับภิกษุ

[๒๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ถึงวันปวารณา หมู่ญาติได้จับภิกษุรูปหนึ่งไว้

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในวันปวารณา พวกญาติจับภิกษุในศาสนานี้ไว้

หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ขอพวก

ท่านกรุณาปล่อยภิกษุรูปนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณาเสร็จ หากได้การ

ขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ หมู่ญาติเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลาย

พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุรูปนี้มอบปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้

นั่นเป็นการดี หากไม่ได้พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่าท่านทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณา

นำภิกษุนี้ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณาเสร็จ ถ้าได้การขอร้องอย่าง

นี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรคไม่พึงปวารณา หากขืนปวารณา

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในวันปวารณา พระราชาทั้งหลายได้จับ

ภิกษุในศาสนานี้ไว้ . . . พวกโจรได้จับ. . .พวกนักเลงได้จับ . . .พวกภิกษุที่เป็น

ข้าศึกได้จับภิกษุในศาสนานี้ไว้ พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณาปล่อยภิกษุนี้สักครู่หนึ่ง พอภิกษุรูปนี้ปวารณา

เสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ พวกนั้นอันภิกษุ

ทั้ง ๆ หลาย พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขอพวกท่านกรุณารออยู่ ณ ที่ควร

ณ ส่วนข้างหนึ่งสักครู่ก่อน พอภิกษุนี้มอบปวารณาเสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนี้

นั่นเป็นการดี หากไม่ได้พวกนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน

ทั้งหลาย ขอพวกท่านกรุณาพาภิกษุรูปนี้ ไปนอกสีมาสักครู่หนึ่ง พอสงฆ์ปวารณา

เสร็จ หากได้การขอร้องอย่างนั้นนั่นเป็นการดี หากไม่ได้ สงฆ์เป็นวรรคไม่

พึงปวารณา หากขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

สงฆ์ปวารณาพระ ๕ รูป

[๒๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า พึงปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๕

รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป

ปวารณาเป็นการสงฆ์.

คณะปวารณาพระ ๔ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔

รูป ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ก็พวกเรามีอยู่เพียง ๔ รูป จะพึงปวารณา

กันอย่างไรหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อ

กัน.

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้น ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจาว่า.

ญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความ

พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว เราทั้งหลายพึงปวารณากันเถิด.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้

ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว

ฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็น

ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความ

กรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

เธอ ฉันปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้

เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความ

กรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่า

กล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วย

ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัย

ความ กรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ผมปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วย

ได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัย

ความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

คณะปวารณาพระ ๓ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณามีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป

ภิกษุเหล่านั้น จึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕

รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ก็พวกเรามีอยู่ด้วย

กัน ๓ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณาต่อกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งหลายพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุเหล่านั้น ทราบด้วยญัตติ-

กรรมวาจา:-

ญัตติกรรมวาจา

ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าความ

พร้อมพรั่งของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงปวารณากันเถิด.

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

คำปวารณา

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้

ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน

ฉันเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็น

ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณา

ว่ากล่าวฉัน ฉัน เห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็น

ก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอทั้งหลายจงอาศัยความกรุณา

ว่ากล่าวฉัน ฉัน เห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้ว กล่าวคำปวารณาต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า:-

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย ด้วยได้เห็นก็

ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณา

ว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สอง

ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจง

อาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นอยู่จักทำคืนเสีย.

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าปวารณาต่อท่านทั้งหลาย แม้ครั้งที่สาม

ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจง

อาศัยความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าอยู่จักทำคืนเสีย.

คณะปวารณา พระ ๒ รูป

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒

รูป จึงภิกษุทั้งสามนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้

ภิกษุ ๕ รูป ปวารณาเป็นการสงฆ์ ให้ภิกษุ รูปปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓

รูป ปวารณาต่อกัน ก็เรามีอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะพึงปวารณากันอย่างไรหนอ

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 6 รูปปวารณาต่อกัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

วิธีทำคณะปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุทั้งสองพึงปวารณาอย่างนี้:-

ภิกษุผู้เถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้นวกะอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วย

สงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉันเห็นอยู่ จักทำ

คืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย

ได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน

ฉันเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

เธอ ฉันปวารณาต่อเธอ แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วย

ได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอเธอจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวฉัน ฉัน

เห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

ภิกษุผู้นวกะพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี

แล้วกล่าวคำปวารณาต่อภิกษุผู้เถระอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน ด้วยได้เห็นก็ดี ด้วยได้ฟังก็ดี

ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม ผมเห็นอยู่

จักทำคืนเสีย.

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สอง ด้วยได้เห็นก็ดี

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม

ผมเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ท่าน ผมปวารณาต่อท่าน แม้ครั้งที่สาม ด้วยได้เห็นก็ดี

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอท่านจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าวผม

ผมเห็นอยู่ จักทำคืนเสีย.

อธิษฐานปวารณา

สมัยต่อมา ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา มีภิกษุอยู่รูปเดียว จึง

ภิกษุนั้นได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุ ๕ รูป

ปวารณาเป็นการสงฆ์ให้ภิกษุ ๔ รูป ปวารณาต่อกัน ให้ภิกษุ ๓ รูป ปวารณา

ต่อกัน ให้ภิกษุ ๒ รูป ปวารณาต่อกัน ก็เราอยู่รูปเดียว จะพึงปวารณาได้

อย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสกะ-

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุในศาสนานี้อยู่รูปเดียว ภิกษุนั้นพึงกวาดสถานที่เป็นที่ไปมาแห่งภิกษุ

ทั้งหลาย คือ จะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนค้นไม้ ก็ตาม แล้วจัดตั้งน้ำฉัน

น้ำใช้ไว้ ปูอาสนะ ตามประทีป แล้วนั่งรออยู่ หากมีภิกษุเหล่าอื่นมา พึง

ปวารณาร่วมกับพวกเธอ หากไม่มีมา พึงอธิฐานว่า ปวารณาของเราวันนี้

หากไม่อธิษฐาน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๕ รูป จะนำปวารณา

ของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว ๔ รูปปวารณาเป็นการสงฆ์ไม่ได้ หากขืนปวารณา

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๔ รูป จะนำปวารณา

ของภิกษุรูปหนึ่งมา แล้ว ๓ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้ หากขืนปวารณา ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๓ รูป จะนำปวารณา

ของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้ว ๒ รูปปวารณาต่อกันไม่ได้หาก. ขืนปวารณา ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยกัน ๒ รูป จะนำปวารณา

ของภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วอีกรูปหนึ่งอธิษฐานไม่ได้ หากขืนอธิษฐาน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

แสดงอาบัติก่อนปวารณา

[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณา

เธอได้ติดสงสัยในขณะนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติ

ติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า 6 ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติในวันปวารณา ภิกษุนั้นพึง

เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี

แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-

ท่าน ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ผมแสดงคืนอาบัตินั้น.

ภิกษุผู้รับพึงถามว่า ท่านเห็นหรือ ?

ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า ครับ ผมเห็น.

ภิกษุผู้รับพึงบอกว่า ท่านพึงสำรวมต่อไป.

สงสัยในอาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มีความ

สงสัยในอาบัติ เธอพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่ง

กระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

ท่าน ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำคืน

อาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะ

ข้อที่สงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

กำลังปวารณาระลึกอาบัติได้

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุ

นั้นจึงได้มีความ ปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติด

ตัว ไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้

เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า:-

อาวุโส ผมต้องอาบัติมีชื่อนี้ ลุกจากที่นี้แล้ว จักทำคืนอาบัตินั้น ครั้น

แล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่ระลึกอาบัติได้

นั้นเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ กำลังปวารณา มีความ

สงสัยในอาบัติ เธอพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า:-

อาวุโส ผมมีความสงสัยในอาบัติมีชื่อนี้ จักหมดสงสัยเมื่อใด จักทำ

คืนอาบัตินั้นเมื่อนั้น ครั้นแล้ว พึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา

เพราะข้อที่มีความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

สงฆ์ต้องสภาคาบัติ

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดต้อง

สภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจึงได้มีความปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ไว้ว่า ภิกษุจะแสดงสภาคาบัติไม่ได้ จะรับแสดงสภาคาบัติก็ไม่ได้ ก็สงฆ์หมู่

นี้ ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่อง

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์ทั้งหมดในศาสนานี้ต้องสภาคาบัติ พวก

เธอพึงสั่งภิกษุรูปหนึ่ง ไปสู่อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทัน ในวันนั้น ด้วย

สั่งว่า อาวุโส คุณจงไปทำคืนอาบัตินั้นแล้วมา พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นใน

สำนักคุณ ถ้าได้ภิกษุเช่นนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาด

ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสกา-

คาบัติ เมื่อใดพบภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เมื่อนั้นสงฆ์จักทำ

คืนอาบัตินั้นในสำนักภิกษุรูปนั้น.

ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่

ต้องสภาคาบัตินั้นเป็นปัจจัย.

สงสัยในสภาคาบัติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา สงฆ์

ทั้งหมดในศาสนานี้ มีความสงสัยในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึง

ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

ญัตติกรรมวาจา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความ

สงสัยในสภาคาบัติ จักหมดความสงสัยเมื่อใด จักทำคืนอาบัตินั้น

เมื่อนั้น.

ครั้นแล้วพึงปวารณา แต่ไม่พึงทำอันตรายแก่ปวารณา เพราะข้อที่มี

ความสงสัยนั้นเป็นปัจจัย.

ปฐมภาณวาร จบ

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ

[๒๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล โนอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุ

เจ้าถิ่นมากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวกเธอไม่ทราบ

ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่าเป็นธรรม มี

ความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา เมื่อ

พวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ว่าดังนี้:-

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มีภิกษุ

เจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง พวก

เธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน ปวารณา

เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมาก

กว่า พวกเธอต้องปวารณาใหม่ ภิกษุที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนเท่ากัน ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือ

พึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือ

พึงปวารณาต่อไป พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนามากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ ภิกษุที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้อง

อาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนเท่ากัน ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุพวกทำ

ทีหลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนน้อยกว่า ภิกษุที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว ภิกษุพวกที่มาที

หลังพึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี แต่บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น

มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนเท่ากัน . . .

๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มี

จำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาที

หลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มี

ภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่

พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มี

จำนวนเท่ากัน . . .

๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มี

จำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาที

หลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอไม่ทราบว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญ

ว่าเป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้นมีภิกษุ

เจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวก

ที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนเท่ากัน . . .

๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มี

จำนวนน้อยกว่า ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มา

ทีหลัง พึงปวารณาในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.

ปวารณาไม่ต้องอาบัติ ๑๕ ข้อ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

ปวารณาเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ

[๒๓๔] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมี

จำนวนมากกว่าภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๓. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว นอกนั้นพึงปวารณาต่อไป

พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอความสำคัญว่า

เป็นธรรม มีความสำคัญว่าเป็นวินัย เป็นหมู่ มีความสำคัญว่าพร้อมกัน

ปวารณา เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมา

ถึงมีจำนวนมากกว่า. . .

๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๖. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๗. . . . เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จพอดี บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะ

นั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

๘. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . . เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะ

นั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า. . .

๑๑. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . .ขณะนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า . . .

๑๓. . . .เมื่อพวกเธอปวารณาเสร็จ บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น

มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า. . .

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณา

ในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ปวารณาเป็นหมู่สำคัญว่าพร้อมกัน ๑๕ ข้อ จบ

มีความสงสัยปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๕] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสงสัยว่า

พวกเราปวารณากันจะสมควรหรือไม่สมควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนปวารณา

เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมาก

กว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

๓. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่าภิกษุ

พวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป

พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา พวกเธอมีความสงสัยว่า

พวกเราปวารณากันจะสมควรหรือไม่สมควรหนอ ดังนี้ แล้วยังขืนปวารณา พอ

พวกเธอปวารณาเสร็จ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมาก

กว่า . . .

๕. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๖. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า . . .

๘. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า . . .

๑๐. . . .บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่น

มาถึงมีจำนวนมากกว่า. . .

๑๑. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมา

ถึง มีจำนวนมากกว่า. . .

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

๑๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณา

ในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

มีความสงสัยปวารณา ๑๕ ข้อ จบ

ฝืนใจทำปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำปวารณา ด้วย

เข้าใจว่า พวกเราปวารณากัน สมควรแท้ จะไม่สมควรก็หามิได้ เมื่อพวก

เธอกำลังปวารณา ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า ภิกษุ

เหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๓. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป

พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา แต่ฝืนใจทำปวารณา ด้วย

เข้าใจว่าพวกเราปวารณากันสมควรแท้ จะไม่สมควรก็หามิได้ พอพวกเธอ

ปวารณาเสร็จ ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า. . .

๕. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

๖. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า . . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า. . .

๘. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . .บริษัทบางพวกลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า. . . .

๑๑. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมา

ถึงมีจำนวนมากกว่า . . .

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๑๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลัง พึงปวารณา

ในสำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ.

ฝืนใจทำปวารณา ๑๕ ข้อ จบ

มุ่งความแตกร้าวปวารณา ๑๕ ข้อ

[๒๓๗] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวัน

ปวารณา มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง

เกินกว่าบ้าง พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมุ่งความ

แตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา เมื่อพวกเธอกำลังปวารณา ขณะ

นั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณา

ใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

๒. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า . . .

๓. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่าภิกษุ

พวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่เหลือพึงปวารณาต่อไป

พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา มี

ภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง

พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มา และมุ่งความแตกร้าวว่า

ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วย

ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา พวกเธอปวารณา พวกเธอปวารณาเสร็จ

ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึงมีจำนวนมากกว่า. . .

๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๖. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า . . .

๗. . . .บริษัทยังไม่ทันลุกไป ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนมากกว่า. . .

๘. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .

๙. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๐. . . .บริษัทบางพวกลุกไปแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่น

มาถึงมีจำนวนมากกว่า . . .

๑๑. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

๑๒. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า. . .

๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง

มีจำนวนนากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องปวารณาใหม่ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้อง

อาบัติถุลลัจจัย.

๑๔. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน . . .

๑๕. . . .ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนน้อยกว่า

ภิกษุพวกที่ปวารณาแล้ว เป็นอันปวารณาดีแล้ว พวกที่มาทีหลังพึงปวารณาใน

สำนักพวกเธอ พวกที่ปวารณาแล้ว ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

มุ่งความแตกร้าวปวารณา ๑๕ ข้อจบ

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา

มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๕ รูปบ้าง เกินกว่า

บ้าง พวกเธอไม่ทราบว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา . . .

. . .พวกเธอไม่ทราบว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่น เข้ามาในสีมาแล้ว . . .

. . .พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่กำลังเข้ามาในสีมา . . .

. . .พวกเธอไม่เห็นภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่น เข้ามาภายในสีมาแล้ว . . .

. . .พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นกำลังเข้ามาภายในสีมา. . .

. . .พวกเธอไม่ได้ยินว่า มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นเข้ามาภายในสีมาแล้ว . . .

โดยนัย ๑๗๕ ติกะ ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุอาคันตุกะกับ

ภิกษุเจ้าถิ่น ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุอาคันตุกะกับภิกษุอาคันตุกะ

รวมเป็น ๗๐๐ ติกะ โดยเปยยาลมุข.

เปยยาลมุข ๗๐๐ ติกะ จบ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ภิกษุเจ้าถิ่นกับภิกษุอาคันตุกะนับวันปวารณาต่างกัน

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นใน

ศาสนานี้เป็น ๑๔ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่น

มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้ามีจำนวน

เท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะ

มีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงอนุวัตรพวกภิกษุอาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนา

นี้เป็น ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๔ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมี

จำนวนมากกว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าจำนวน

เท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงอนุวัตรพวกภิกษุเจ้าถิ่น ถ้าพวกภิกษุ-

อาคันตุกะมีจำนวนมากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงอนุวัตรพวกภิกษุอาคันตุกะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนา

นี้เป็นวัน ๑ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑๕ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมี

จำนวนมากว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ไห้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุ-

อาคันตุกะ. พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด ถ้าจำนวนเท่ากัน

พวกภิกษุเจ้าถิ่นไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ

พวกภิกษุอาคันตุกะพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวน

มากกว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุอาคันตุกะ หรือพึงไป

เสียนอกสีมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง วันปวารณาของพวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนา

นี้เป็น ๑๕ ค่ำ ของพวกภิกษุอาคันตุกะเป็น ๑ ค่ำ ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีจำนวน

มากว่า พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น หรือพึง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

ไปเสียนอกสีมา ถ้ามีจำนวนเท่ากัน พวกภิกษุอาคันตุกะพึงให้ความสามัคคีแก่

พวกภิกษุเจ้าถิ่น หรือพึงไปเสียนอกสีมา ถ้าพวกภิกษุอาคันตุกะมีจำนวนมาก

กว่า พวกภิกษุอาคันตุกะไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องให้ความสามัคคีแก่พวกภิกษุเจ้า

ถิ่น พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงไปปวารณานอกสีมาเถิด.

ปวารณาของภิกษุที่สงสัยเป็นต้น

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ ได้เห็น

อาการเจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่น เครื่องหมายเจ้าถิ่น สีที่แสดงเจ้าถิ่น ของพวก

ภิกษุเจ้าถิ่น เตียง ตั่ง ฟูก หมอน จัดไว้ได้ระเบียบ น้ำฉัน น้ำใช้จัดหาไว้

เป็นอันดี บริเวณกวาดสะอาดสะอ้าน ครั้นแล้ว มีความสงสัยว่า พวก

ภิกษุเจ้าถิ่น มีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่เที่ยวค้นหา ครั้นแล้ว

ขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฎ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วแต่ไม่พบ จึงปวารณา ไม่ต้อง

อาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ จึงปวารณาร่วมกัน ไม่

ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ ครั้นแล้ว แยกกันปวารณา

ต้องอาบัติทุกกฏ.

พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหาแล้วพบ ครั้นแล้ว มุ่งความแตกร้าว

ว่า ขอภิกษุพวกนั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุพวกนั้น

ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้ยินอาการ

เจ้าถิ่น ลักษณะเจ้าถิ่นเครื่องหมายเจ้าถิ่น ที่แสดงเจ้าถิ่น ของพวกภิกษุเจ้าถิ่น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

ได้ยินเสียงเท้าของพวกภิกษุเจ้าถิ่นกำลังเดินจงกรม ได้ยินเสียงท่องสาธยาย

เสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุเจ้าถิ่นยังมีหรือไม่มีหนอ

พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้นแล้วจึง

ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว

จึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบ

แล้ว จึงแยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว

มุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้น จงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์

อะไร ด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ ได้เห็นอาการ

อาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ

ของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้เห็น บาตร จีวร ผ้านิสีทนะ อันเป็นของภิกษุ

พวกอื่น ได้เห็นรอยน้ำล้างเท้า ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า พวกภิกษุอาคันตุกะ

ยังมีหรือไม่มีหนอ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้นแล้วขืนปวารณา ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว ไม่พบ ครั้นแล้ว

จึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว จึงพบ ครั้นพบ

แล้ว จึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว จึงพบ ครั้นพบ

แล้ว ได้แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอมีความสงสัยได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วจึงพบ ครั้นพบแล้ว

มุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์อะไร

ด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ได้ยินอาการ

อาคันตุกะ ลักษณะอาคันตุกะ เครื่องหมายอาคันตุกะ สิ่งที่แสดงอาคันตุกะ

ของพวกภิกษุอาคันตุกะ ได้ยินเสียงเท้าของพวกภิกษุอาคันตุกะกำลังเดินมา

ได้ยินเสียงรองเท้ากระทบ ได้ยินเสียงไอ เสียงจาม ครั้นแล้วมีความสงสัยว่า

พวกภิกษุอาคันตุกะยังมีหรือไม่มีหนอ พวกเธอมีความสงสัยแต่ไม่ค้นหา ครั้น

แล้ว ขืนปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้วไม่พบ ครั้นแล้ว

จึงปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหา จึงพบ ครั้นพบแล้ว

ได้ปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว จึงพบ ครั้นพบ

แล้ว ได้แยกกันปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอมีความสงสัย ได้ค้นหา ครั้นค้นหาแล้ว จึงพบ ครั้นพบ

แล้วมุ่งความแตกร้าวว่า ขอภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ จงพินาศ จะประโยชน์

อะไรด้วยภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ จึงปวารณา ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

ภิกษุสมานสังวาสเป็นต้นปวารณา

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกภิกษุอาคันตุกะในศาสนานี้ได้เห็น

พวกภิกษุเจ้าถิ่นซึ่งเป็นนานาสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นสมานสังวาส

ครั้นแล้วก็ไม่ไต่ถาม ครั้นแล้วจึงปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วปวารณา

ร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกัน

ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะ ในศาสนานี้ได้เห็นพวก

ภิกษุเจ้าถิ่นซึ่งเป็นสมานสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นนานาสังวาส

ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้ว แยกกัน

ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วปวารณาร่วม

กัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกัน

ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้ได้เห็นพวก

ภิกษุอาคันตุกะซึ่งเป็นนานาสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นสมานสังวาส

ครั้นแล้วก็ไม่ได้ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้ว ไม่รังเกียจ ครั้นแล้ว

ปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วไม่รังเกียจ ครั้นแล้วแยกกัน

ปวารณา ไม่ต้องอาบัติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้เห็นพวกภิกษุ

อาคันตุกะซึ่งเป็นสมานสังวาส พวกเธอกลับได้ความเห็นว่าเป็นนานาสังวาส

ครั้นแล้วก็ไม่ไต่ถาม ครั้นแล้วปวารณาร่วมกัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วแยกกัน

ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

. . .พวกเธอได้ไต่ถาม ครั้นไต่ถามแล้วรังเกียจ ครั้นแล้วปวารณา

ร่วมกัน ไม่ต้องอาบัติ.

ไม่ควรไปไหนในวันปวารณา

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุไม่พึงไปจาก.

อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็น

คณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็น

คณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ

ครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจาก

ไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์

นอกจากมีอันตราย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจาก

ไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอก

จากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นมิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุไม่ครบจำนวน นอก

จากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุ

ไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมี

ภิกษุไม่ครบจำนวน นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส ซึ่งมี

ภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสมีภิกษุซึ่งครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้

เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส ซึ่งมี

ภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของ

พวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส ซึ่งมี

ภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็น

ที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจากมี

อันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาส

ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน

ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็นคณะสงฆ์ นอกจาก

มีอันตราย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสซึ่งมีภิกษุครบจำนวน . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบ

จำนวน. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ไม่พึงไปจากอาวาส หรือ

ถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งมี

ภิกษุครบจำนวน ซึ่งเป็นที่อยู่ของภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส นอกจากไปเป็น

คณะสงฆ์ นอกจากมีอันตราย.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

สถานที่ควรไปในวันปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุพึงไปจากอาวาสที่มี

ภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน. . .

. . .สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส...

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น

สมานสังวาส ที่รู้ว่าเราสามารถจะไปถึงในวันนี้แหละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา พึงไปจากถิ่นที่มิใช่อาวาสที่มี

ภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน. . .

. . .สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส . . .

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส อันเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็นสมาน

สังวาส ที่รู้ว่าเราสามารถจะไปถึงในวันนี้แหละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อถึงวันปวารณา พึงไปจากอาวาสหรือถิ่นที่มิ

ใช่อาวาส ซึ่งมีภิกษุครบจำนวน สู่อาวาสที่มีภิกษุครบจำนวน. . .

. . .สู่ถิ่นที่มิใช่อาวาส . . .

. . .สู่อาวาสหรือถิ่นที่มิใช่อาวาส อันเป็นที่อยู่ของพวกภิกษุผู้เป็น

สมานสังวาส ที่รู้ว่าจะสามารถไปถึงในวันนี้แหละ.

บุคคลที่ควรเว้นในปวารณา

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุณี

นั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสิกขมานานั่ง

อยู่ด้วย. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสามเณรนั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีสามเณรีนั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาแล้วนั่งอยู่ด้วย . . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุนั่งอยู่ด้วย รูปใด

ปวารณาต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยก

เสียฐานไม่เห็นอาบัตินั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่ทำคืนอาบัตินั่ง

อยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกเสียฐานไม่สละคืนทิฏฐิอัน

ลามกนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีบัณเฑาะก์นั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา ต้อง

อาบัติทุกกฏ.

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีตนลักเพศนั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุผู้เข้ารีดเดียรถีย์นั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนคล้ายดิรัจฉานนั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่ามารดานั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่าบิดานั่งอยู่ด้วย . . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนฆ่าพระอรหันต์นั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนประทุษร้ายภิกษุณีนั่งอยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีภิกษุทำลายสงฆ์นั่งอยู่ด้วย. . .

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีคนทำร้ายพระศาสดาถึงห้อพระโลหิตนั่ง

อยู่ด้วย. . .

ไม่พึงปวารณาในบริษัทที่มีอุภโตพยัญชนกนั่งอยู่ด้วย รูปใดปวารณา

ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงปวารณา ด้วยการให้ปวารณาค้างคราว

นอกจากบริษัทยังไม่ลุกไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปวารณาในดิถีมิใช่วันปวารณา

นอกจากวันสังฆสามัคคี.

ภาณวารที่ ๒ จบ

พระพุทธนุญาตเตวาจิกาปวารณา

สัญจรภัยในปวารณา

[๒๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ณ อาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท คนชาว

ดงได้มาพลุกพล่านในวันปวารณา ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๓ หน จึงกราบ

ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปวารณา ๒ หน คนชาวดงได้มาพลุกพล่านมาก

ขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่อาจปวารณา ๒ หน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต

ให้ปวารณาหนเดียว คนชาวดงได้มาพลุกพล่านหนักขึ้นอีก ภิกษุทั้งหลายไม่

อาจปวารณาหนเดียว จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ปวารณามีพรรษาเท่ากัน.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

ราตรีจวนสว่าง

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ชาวบ้านมัว

ให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า คนเหล่านี้มัว

ให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้

ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่างเสียก่อน พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ

แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแค่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่งถึงวันปวารณา ชาวบ้านในตำบลนี้มัวให้ทาน

อยู่จนราตรีจวนสว่าง หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

ชาวบ้านพากันให้ทานอยู่จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จะปวารณา ๓ หน สงฆ์

จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีนี้ก็จักสว่างเสียก่อน ดังนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้

สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า พระสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ชาวบ้านมัวให้ทานอยู่จน

ราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณา

ทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน. . . หนเดียว. . .มีพรรษาเท่ากัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันปวารณา ภิกษุ

ทั้งหลายกล่าวธรรมกัน. . . ภิกษุที่เชี่ยวชาญในพระสูตร สังคายนาพระสูตรกัน

. . .พระวินัยธรตัดสินพระวินัยกัน . . .พระธรรมกถึกสนทนาธรรมกัน. . . ภิกษุ

ทั้งหลายทะเลาะกันจนราตรีจวนสว่าง หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น มีความคิด

เห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายทะเลาะกัน จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา

๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ดังนี้ ภิกษุผู้

ฉลาด ผู้สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายมัวทะเลาะ

กัน จนราตรีจวนสว่าง ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ ทน สงฆ์จักไม่ทัน

ปวารณาทั่วกัน ราตรีจักสว่างเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์

ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน. . .หนเดียว. . .มีพรรษาเท่ากัน.

ฝนกำลังตั้งเค้า

ก็โดยสมัยนั้นแล ในอาวาสแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ถึงวันปวารณา

ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนกำลัง

ตั้งเค้ามาใหญ่ จึงภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันว่า ภิกษุสงฆ์นี้มาประชมกันมาก

สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้และฝนกำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จัก

ปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกเสียก่อน พวก

เราจะพึงปฏิบัติสถานไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ

รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวัน

ปวารณา ภิกษุในศาสนานี้มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบคุ้มฝนไม่

ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น มีความคิดเห็น

อย่างนี้ว่า ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้

และฝนก็กำลังตั้งเค้ามาใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้

ปวารณาทั่วกัน ฝนนี้ก็จักตกหนักเสียก่อน ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ

ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสงฆ์นี้ประชุมกัน

มาก สถานที่ประชุมคับแคบ คุ้มฝนไม่ได้ และฝนก็กำลังตั้งเค้ามา

ใหญ่ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วกัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

ฝนนั้นก็จักตกเสียก่อน ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

ปวารณา ๒ หน. . .หนเดียว . . .มีพรรษาเท่ากัน.

อันตราย ๑๐ ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในอาวาสแห่งหนึ่งในตำบลนี้ ถึงวันปวารณา

มีอันตรายเกิดขึ้น คือ:-

๑. พระราชาเสด็จมา. . .

๒. โจรปล้น. . .

๓. ไฟไหม้. . .

๔. น้ำหลากมา. . .

๕. คนมามาก. . .

๖. ผีเข้าสิงภิกษุ. . .

๗. สัตว์ร้ายเขามา. . .

๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา. . .

๙. ภิกษุจะถึงเสียชีวิต. . .

๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์เกิดขึ้น

ในข้อนั้น หากภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้นมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เหตุ

ฉุกเฉินนี้แหละ คือ อันตรายแก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์

จักไม่ทันได้ปวารณาทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้ก็จักเกิดเสียก่อน ภิกษุ

ผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เหตุฉุกเฉินนี้คืออันตราย

แก่พรหมจรรย์ ถ้าสงฆ์จักปวารณา ๓ หน สงฆ์จักไม่ทันได้ปวารณา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

ทั่วถึงกัน อันตรายแก่พรหมจรรย์นี้จักเกิดเสียก่อน ถ้าความพร้อม

พรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ๒ หน. . .หนเดียว. . .มี

พรรษาเท่ากัน.

ภิกษุมีอาบัติห้ามปวารณา

[๒๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์มีอาบัติติดตัวได้ปวารณา

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามแก่ภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา รูปใดปวารณา

ต้องอาบัติทุกกุฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัว

ปวารณา รูปนั้นทำโอกาส โจทด้วยอาบัติ.

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อันสงฆ์ให้ทำโอกาส ก็ไม่ปรารถนาจะทำ

โอกาส ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาต

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปวารณาของภิกษุผู้

ไม่ยอมทำโอกาส.

วิธีงดปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงงดปวารณาอย่างนี้:-

เมื่อถึงวันปวารณา ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศในท่ามกลางสงฆ์ ว่าดังนี้:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี่ มีอาบัติติด

ตัวปวารณา ข้าพเจ้าของปวารณาของเธอเสีย เมื่อเธอยังอยู่พร้อม

หน้า สงฆ์ไม่พึงปวารณา.

เท่านี้ เป็นอันงดปวารณาแล้ว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์หารือกันว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก

งดปวารณาของพวกเราก่อน ดังนี้ จึงรีบงดปวารณาของภิกษุที่บริสุทธิ์ไม่มี

อาบัติเสียก่อน เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุอันไม่สมควร แม้ปวารณา

ของภิกษุที่ปวารณาแล้ว ก็งดด้วย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ๆ ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปวารณา

ของภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องอันไม่สมควร เพราะเหตุอันสมควร

รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง แม้ปวารณาของภิกษุ

ที่ปวารณาแล้ว ก็ไม่พึงงด รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ.

ลักษณะปวารณาที่ไม่เป็นอันงด

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาเป็นอันงด อย่าง

นี้ไม่เป็นอันงด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปวารณาไม่เป็นอันงดอย่างไรเล่า ? ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน อันภิกษุกล่าวว่าจบแล้ว จึงงดปวารณา

ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากัน อันภิกษุกล่าวว่า

จบแล้วจึงงดปวารณา ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาไม่เป็นอันงด.

ลักษณะปวารณาเป็นอันงด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปวารณาเป็นอันงดอย่างไรเล่า ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๓ หน อันภิกษุกล่าวว่ายังไม่ทัน

จบจึงงดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณา ๒ หน . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณาหนเดียว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อปวารณามีพรรษาเท่ากัน อันภิกษุกล่าวว่า

ยังไม่ทันจบจึงงดปวารณา ปวารณาเป็นอันงด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปวารณาเป็นอันงด.

ภิกษุผู้งดปวารณา

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้

งดปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มี

ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะ

ไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อยู่เลย ภิกษุ อยู่ทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน

อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุนี้ศาสนานี้งด

ปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มี

ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ แต่มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ มีอาชีวะ

ไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกชักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก

ถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน

อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งด

ปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มีความ

ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ แต่มีอาชีวะไม่

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกชักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ชักถาม

สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน อย่า

แก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งด

ปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มี

ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะ

บริสุทธิ์ แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ชัก

ถาม สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน

อย่าแก่งแย่งกัน อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้ งด

ปวารณาของภิกษุเสีย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มี

ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ มีอาชีวะ

บริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เมื่อถูกชักถาม สามารถให้คำตอบข้อ

ที่ชักถามได้ ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของ

ภิกษุรูปนี้เพราะอะไร งดเพราะศีลวิบัติหรือ งดเพราะอาจารวิบัติหรือ งด

เพราะทิฏฐิวิบัติหรือ หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดเพราะศีลวิบัติ

ข้าพเจ้างดเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดเพราะทิฏฐิวิบัติ เธออันสงฆ์พึงถาม

อย่างนี้ว่า คุณรู้จักศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติหรือ ? หากเธอจะ

พึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้จักศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ ร้จัก

ทิฏฐิวิบัติ เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ศีลวิบัติเป็นอย่างไร อาจาร

วิบัติเป็นอย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ ปาราชิก

๔ สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตทิยะ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

ทุพภาสิต นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้ชี่อว่าทิฏฐิวิบัติ เธอ

อันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร งด

ด้วยได้เห็นหรือ งดด้วยได้ฟังหรือ งดด้วยสงสัยหรือ หากเธอจะพึงตอบอย่าง

นี้ว่า ข้าพเจ้างดด้วยได้เห็นก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยได้ฟังก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยสงสัย

ก็ดี เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้

เห็นอย่างไร คุณเห็นอะไร คุณเห็นว่าอย่างไร คุณเห็นเมื่อไร คุณเห็นที่ไหน

ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก คุณเห็นหรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คุณเห็น

หรือ ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . .อาบัติปาจิตติยะ. . .อาบัติปาฏิเทสนียะ. . .

อาบัติทุกกฏ . . .อาบัติทุพภาสิต คุณเห็นหรือ คุณอยู่ที่ไหน และภิกษุนี้อยู่

ที่ไหน คุณทำอะไรบ้าง ภิกษุนี้ทำอะไรบ้าง หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า

อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น แต่งดปวารณา

ด้วยได้ฟังต่างหาก เธออินสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของ

ภิกษุนี้ด้วยได้ฟังมาอย่างไร คุณได้ฟังเรื่องอะไร คุณได้ฟังมาว่าอย่างไร คุณ

ได้ฟังมาเมื่อไร คุณได้ฟังที่ไหน คุณได้ฟังว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ

ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย . . .

อาบัติปาจิตติยะ. . .อาบัติปาฏิเทสนียะ. . .อาบัติทุกกฏ . . . อาบัติทุพภาสิตหรือ

ได้ฟังมาจากภิกษุหรือ ได้ฟังมาจากภิกษุณีหรือ ได้ฟังมาจากสิกขมานาหรือ

ได้ฟังมาจากสามเณรหรือ ได้ฟังมาจากสามเณรีหรือ ได้ฟังมาจากอุบาสกหรือ

ได้ฟังมาจากอุบาสิกาหรือ ได้ฟังมาจากพระราชาหรือ ได้ฟังมาจากราชมหา

อำมาตย์หรือ ได้ฟังมาจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ฟังมาจากพวกสาวกเดียรถีย์หรือ

หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุ

นี้ด้วยได้ฟัง แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยสงสัยต่างหาก เธออันสงฆ์พึงถามอย่าง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

นี้ว่า อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัยอย่างไร คุณสงสัยอะไร

สงสัยว่าอย่างไร สงสัยเมื่อไร สงสัยที่ไหน คุณสงสัยว่าภิกษุนี้ ต้องอาบัติปารา-

ชิกหรือ สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติ

ถุลลัจจัย . . . อาบัติปาจิตติยะ . . . อาบัติปาฏิเทสนียะ . . . อาบัติทุกกฏ . . . อาบัติ

ทุพภาสิตหรือ คุณฟังมาจากภิกษุแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากภิกษุณีแล้ว

สงสัยหรือ คุณฟังมาจากสิกขมานาแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากสามเณรแล้ว

สงสัยหรือ คุณฟังมาจากสามเณรีแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากอุบาสกแล้วสงสัย

หรือ คุณฟังมาจากอุบาสิกาแล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพระราชาแล้วสงสัย

หรือ คุณฟังมาจากราชมหาอำมาตย์แล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพวกเดียรถีย์

แล้วสงสัยหรือ คุณฟังมาจากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วสงสัยหรือ หากเธอจะพึง

ตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัย

ความจริงแม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบว่า เรางดปวารณาของภิกษุนี้เสียด้วยเหตุไร

เล่า.

ฟังคำปฏิญาณของโจทก์และจำเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจ

ของสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อชักถามเป็นที่พอใจ

ของสพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณควรฟ้องภิกษุจำเลย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วย

อาบัติปาราชิกไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วย

อาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วย

อาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล. . .ด้วยอาบัติปฏิปาจิตติยะ. . . ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ . . .

ด้วยอาบัติทุกกฏ . . . ด้วยอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม

แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติ

ปาราชิกสงฆ์พึงนาสนะเสีย แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติ

ถุลลัจจัย. . .อาบัติปาจิตติยะ. . .อาบัติปาฏิเทสนียะ. . .อาบัติทุกกฏ. . .อาบัติ

ทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วปวารณาเถิด.

มีความเห็นไม่ตรงกันในอาบัติที่ต้อง

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ในวันปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมี

ความเห็นว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรม แล้วเข้า

ไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัติ

นั้น เธอทำคืนตาธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

ปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ใน

วันปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

เห็นว่าต้องอาบัติปาจิตทิยะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวก

มีความเห็นว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย

บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุกกฏ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติถุลลัจ

จัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่า ต้องอาบัติถุลลัจจัย

พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรมแล้ว

เข้าไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล

อาบัตินั้นเธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์

พึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติปาจิตติยะ. . .

ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ. . .ต้องอาบัติทุกกฦ. . .ต้องอาบัติทุพภาสิต ในวัน

ปวารณาภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่า

ต้องอาบัติสังฆทิเสส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต พึง

นำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรมแล้ว เข้าไป

หาสงฆ์กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัตินั้น

เธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ ต้องอาบัติทุพภาสิตในวัน

ปวารณา ภิกษุบางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทัพภาสิต บางพวกมีความเห็น

ว่าต้องอาบัติถุลลัจจัย บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต บางพวกมี

ความเห็นว่าต้องอาบัติปาจิตติยะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติ

ทุพภาสิต บางพวกมีความเห็นว่าต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่มีความเห็นว่าต้องอาบัติทุพภาสิต

พึงนำภิกษุรูปนั้นออกไปในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ปรับอาบัติตามธรรมแล้ว เข้า

ไปหาสงฆ์กล่าวอย่างนั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติใดแล อาบัติ

นั้นเธอทำคืนตามธรรมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

ปวารณา.

วัตถุและบุคคลปรากฏ

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ พึงประกาศในท่าม

กลางสงฆ์ ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า วัตถุนี้ปรากฏ บุคคลไม่

ปรากฏ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุ แล้ว

ปวารณาเถิด.

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติปวารณาไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ถ้าวัตถุปรากฏ บุคคลไม่

ปรากฏ เธอจงระบุบุคคลนั้นมาเดี๋ยวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ พึงประกาศในท่ามกลาง

สงฆ์ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ปรากฏ วัตถุไม่

ปรากฏ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดบุคคล แล้ว

ปวารณาเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติปวารณาไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้พร้อมเพรียงกัน ถ้าบุคคลปรากฏ

วัตถุไม่ปรากฏ เธอจงระบุวัตถุนั้นมาเดี๋ยวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ พึงประกาศในท่ามกลาง

สงฆ์ในวันปวารณาว่า:-

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุและบุคคลนี้ปรากฏ

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงงดวัตถุและบุคคลแล้ว

ปวารณาเถิด.

ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติปวารณาไว้ สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ และพร้อมเพรียงกัน ถ้า

วัตถุและบุคคลปรากฏ เธอจงระบุวัตถุและบุคคลนั้นมาเดียวนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากวัตถุปรากฏก่อนปวารณา ภายหลังบุคคล

จึงปรากฏควรพูดขึ้น หากบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ภายหลังวัตถุจึงปรากฏ

ก็ควรพูดขึ้น หากวัตถุและบุคคลปรากฏก่อนปวารณา ถ้าเมื่อทำปวารณาแล้ว

ฟื้นเรื่องนั้นขึ้น เป็นปาจิตติยะ เพราะฟื้นเรื่องขึ้น.

ภิกษุก่อความบาดหมางเป็นต้น

[๒๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันที่เคยเห็นร่วมคบหา

กันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท ณ สถานที่ใกล้เตียง

ของภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อ

ความวิวาททำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยประสงค์ว่า

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

ในวันปวารณาพวกเราจักงดปวารณาของภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ภิกษุ

เหล่านั้น ได้ทราบข่าวว่า ณ สถานที่ใกล้เคียงของพวกเรา มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อ

ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์

ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยมุ่งหมายว่าในวันปวารณา พวกเราจักงดปวารณาของ

ภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดังนี้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ จึง

กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็น

ร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ณ สถานที่ใกล้เตียงของภิกษุ

เหล่านั้น มีภิกษุเหล่าอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท

ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ จำพรรษาอยู่ด้วยมุ่งหมายว่า ในวัน

ปวารณา พวกเราจักงดปวารณาของพวกภิกษุที่อยู่จำพรรษาเหล่านั้นเสีย ดัง

นี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้นทำอุโบสถ ๒ คือ ที่ ๓ ที่ ๔

หรือ ๓ อุโบสถ คือ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ให้เป็นอุโบสถ ๑๔ ค่ำ ด้วยประสงค์ว่า

ไฉนพวกเราพึงปวารณาก่อนภิกษุเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น มาสู่

อาวาส ภิกษุพวกเจ้าถิ่นเหล่านั้น พึงรีบประชุมปวารณาเสียโดยเร็ว ครั้นแล้ว

พึงแจ้งว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกเราปวารณากันเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลายจะ

สำคัญสถานใด ก็จงทำสถานนั้นเถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น ไม่แจ้ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

ให้ทราบก่อนมาสู่อาวาสนั้น พวกภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น พึงปูอาสนะ จัดหาน้ำ

ล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นแล้วรับบาตรจีวร พึงต้อน

รับด้วยน้ำดื่ม พึงเสแสร้งกล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น แล้วไปปวารณานอกสีมา ครั้น

แล้วพึงแจ้งว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกเราปวารณากันเสร็จแล้ว ท่านทั้งหลาย

จะสำคัญสถานใด ก็จงทำสถานนั้นเถิด ถ้าได้วิธีการนั้นอย่างนี้ การได้อย่างนี้

นั่นเป็นการดี หากไม่ได้ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้ภิกษุ

เจ้าถิ่นทั้งหลายทราบว่า:-

ขอท่านเจ้าถิ่นทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์

ในบัดนี้ พึงปวารณาในวันกาฬปักษ์ที่จะมาถึงเถิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึง

กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี่ว่า ดีแล้ว อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงปวารณา

ต่อพวกเราในบัดนี้เถิด พวกเธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังไม่

ปวารณาก่อนละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึง

อยู่คอยไปถึงวันกาฬปักษ์นั้น ภิกษุเจ้าถิ่นผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้

พวกภิกษุเจ้าถิ่นทราบว่า:-

ขอท่านเจ้าถิ่นทั้งหลาย จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่ง

ของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว พวกเราพึงทำอุโบสถ พึงสวดปาติโมกข์

ในบัดนี้เถิด พวกเราพึงปวารณาในวันกาฬปักษ์ที่จะมาถึงเถิด.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึง

กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโสทั้งหลาย ขอพวกท่านจงปวารณา

ต่อพวกเราในบัดนี้เถิด พวกเธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พวกท่านไม่เป็นใหญ่ในปวารณาของพวกเรา พวกเราจะยังไม่

ปวารณาก่อนละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพวกที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ

ทะเลาะ ก่อความวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้น จะพึง

อยู่คอยไปถึงวันชุณหปักษ์แม้นั้น ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปไม่ปวารณา ก็ต้อง

ปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุ

อาพาธงดปวารณาของภิกษุผู้ไม่อาพาธ ภิกษุอาพาธนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่า

กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านกำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่

สู้จะอดทนต่อการซักถามอาวุโส ขอท่านจงรออยู่จนกว่าจะหายอาพาธ หาย

อาพาธแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หากภิกษุอาพาธถูกว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังขืน

โจทเป็นปาจิตติยะ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุผู้ไม่

อาพาธ งดปวารณาของภิกษุผู้อาพาธ ภิกษุผู้ไม่อาพาธนั้น อันภิกษุทั้งหลาย

พึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ภิกษุรูปนี้แล กำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่สู้จะอดทนต่อการซักถาม อาวุโส ขอท่านจงรออยู่จน

กว่าภิกษุรูปนี้หายอาพาธภิกษุนั้น หายอาพาธแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หาก

ภิกษุผู้ไม่อาพาธถูกว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังขืนโจท เป็นปาจิตติยะ เพราะไม่

เอื้อเฟื้อ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณาอยู่ ภิกษุอาพาธ

งดปวารณาของภิกษุอาพาธ ๆ นั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน

ทั้งหลายกำลังอาพาธ อันผู้อาพาธ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่สู้จะอดทน

ต่อการซักถาม โปรดรออยู่ก่อนจนกว่าจะหายอาพาธด้วยกัน หายอาพาธด้วย

กันแล้ว เมื่อจำนงจึงค่อยโจท หากภิกษุผู้อาพาธนั้นถูกว่ากล่าวอย่างนี้ ยังขืน

โจท เป็นปาจิตติยะ เพราะไม่เอื้อเฟื้อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณากัน ภิกษุผู้

ไม่อาพาธงดปวารณาของภิกษุผู้ไม่อาพาธ ทั้งสองฝ่าย สงฆ์พึงสอบสวนสืบ

สวนเป็นการสงฆ์ปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณาเถิด.

พวกที่พร้อมเพียงกันเป็นต้นเลื่อนปวารณา

[๒๕๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหา

กันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท เมื่อพวกเธอพร้อม

เพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใด

อย่างหนึ่ง จึงพวกเธอได้มีความปริวิตกว่า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียงกัน ปรอง

ดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าพวก

เราก็จักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากันแล้วจะพึงหลีกไปสู่

จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้

พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระพุทธานุญาตให้เลื่อนปวารณา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็น

ร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง เมื่อพวกเธอพร้อมเพรียงกัน

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ย่อมบรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หาก

ภิกษุทั้งหลายในสังฆสันนิบาตนั้นคิดกันอย่างนี้ว่า พวกเราพร้อมเพรียงกัน

ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ถ้า

พวกเราจักปวารณากันเสียในบัดนี้ บางทีพวกภิกษุปวารณากัน แล้วจะพึงหลีก

ไปสู่จาริก ก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรม

นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเหล่านั้น ทำการเลื่อนปวารณา

ออกไป.

วิธีเลื่อนปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณาอย่างนี้

ภิกษุทุก ๆ รูปต้องประชุมพร้อมกัน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

กรรมวาจาเลื่อนปวารณา

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียง

กันปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารกรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งแล้ว หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้ง-

หลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น

พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของ

สงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำการเลื่อนปวารณาออกไป บัดนี้พึงทำ

อุโบสถ สวดปาติโมกข์ พึงปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ

๔ เดือนที่จะมาถึง นี่เป็นญัตติ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเราพร้อมเพรียง

กัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกันอยู่ ได้บรรลุผาสุวิหารธรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งแล้ว หากพวกเราจักปวารณาเสียในบัดนี้ บางทีภิกษุทั้ง

หลายปวารณากันแล้ว พึงหลีกไปสู่จาริกก็จะมีบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น

พวกเราก็จักเหินห่างจากผาสุวิหารธรรมนี้ สงฆ์ทำการเลื่อนปวารณา

ออกไป บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จักปวารณาไม่วัน

เพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง การกระทำซึ่งการเลื่อน

ปวารณาออกไป เดี๋ยวนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ จัก

ปวารณาในเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือนที่จะมาถึง ชอบแก่ท่านผู้

ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.

การเลื่อนปวารณาอันสงฆ์ทำแล้ว บัดนี้สงฆ์จักทำอุโบสถ

สวดปาติโมกข์ จักปวารณาในวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือน

ที่จะมาถึง ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย

อย่างนี้.

ไม่เป็นใหญ่ในปวารณา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำการเลื่อนปวารณาออกไป

แล้ว หากจะมีภิกษุสักรูปหนึ่งพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมปรารถนาจะหลีก

ไปสู่จาริกตามชนบท เพราะผมมีกิจจำเป็นที่ชนบท ภิกษุรูปนั้นอันภิกษุทั้ง

หลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดีแล้ว อาวุโส ท่านปวารณาแล้วจึงค่อยไป. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นอันสงฆ์ปวารณาอยู่ งดปวารณาของภิกษุรูปหนึ่ง

เสีย ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกห้ามปวารณาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส

ท่านไม่เป็นใหญ่ในการปวารณาของผม ๆ จักยังไม่ปวารณาก่อน. ดูก่อนภิกษุ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ทั้งหลาย เมื่อภิกษุนั้นปวารณาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งห้ามปวารณาของภิกษุรูปนั้น

สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วปรับอาบัติตามธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นทำกรณียกิจนั้น ในชนบทเสร็จ

แล้ว กลับมาสู่อาวาสนั้นภายในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่ครบ ๔ เดือน หาก

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังปวารณา ภิกษุอีกรูปหนึ่งงดปวารณาของภิกษุรูปนั้น

ภิกษุผู้งดปวารณา อันภิกษุผู้ถูกงดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านไม่เป็นใหญ่

ในปวารณาของผม เพราะผมปวารณาเสร็จแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นปวารณาอยู่ ภิกษุนั้นงดปวารณาของภิกษุอีกรูปหนึ่ง ทั้ง ๒ ฝ่าย

สงฆ์พึงสอบสวนสืบสวนเป็นการสงฆ์ ปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณาเถิด.

ปวารราขันธกะที่ ๔ จบ

เรื่องในขันธกะนี้มี ๔๖ เรื่อง

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๕๒] ๑. เรื่องภิกษุจำพรรษาในโกศลชนบท มาเฝ้าพระศาสดา

๒. เรื่องจำพรรษาไม่ผาสุกเหมือนปสุสัตว์อยู่ร่วมกัน ๓. เรื่องการปวารณาที่

เหมาะสมเพื่อว่ากล่าวกัน ๔. เรื่องพระฉัพพัคคีย์นั่งราบบนอาสนะปวารณา

๕. เรื่องวันปวารณามี ๒ วัน ๖. เรื่องอาการที่ทำปวารณา ๗. เรื่องให้

ภิกษุอาพาธมอบปวารณา ๘. เรื่องภิกษุถูกพวกญาติคุมตัวไว้ ๙. เรื่องภิกษุ

ถูกพระราชาคุมตัวไว้ ๑๐. เรื่องภิกษุถูกพวกโจรจับไว้ ๑๑. เรื่องภิกษุถูกพวก

นักเลงจับไว้ ๑๒. เรื่องภิกษุถูกภิกษุผู้เป็นข้าศึกจับไว้ ๑๓. เรื่องสงฆ์ปวารณา

๕ รูป ๑๔. เรื่องคณะปวารณา ๔ รูป ๑๕. เรื่องคณะปวารณา ๓ รูป

๑๖. เรื่องคณะปวารณา ๒ รูป ๑๗. เรื่องภิกษุรูปเดียวอธิษฐานปวารณา ๑๘.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

เรื่องภิกษุต้องอาบัติปวารณา ๑๙. เรื่องภิกษุสงสัยในอาบัติปวารณา ๒๐. เรื่อง

ภิกษุระลึกอาบัติ ๒๑. เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ๒๒. เรื่องสงฆ์ทั้งหมด

สงสัยในสภาคาบัติ ๒๓. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมามากกว่า ๒๔. เรื่องภิกษุ

เจ้าถิ่นพวกอื่นมาเท่ากัน ๒๕. เรื่องภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาน้อยกว่า ๒๖. เรื่อง

วันปวารณาของเจ้าถิ่นเป็น ๑๔ ค่ำ ๒๗. เรื่องลักษณะเจ้าถิ่น ๒๘. เรื่องภิกษุ

สมานสังวาสปวารณา ๒๙. เรื่องไม่ควรไป ๓๐. เรื่องไม่ควรปวารณาในบริษัท

มีภิกษุณีเป็นต้นนั่งอยู่ด้วย ๓๑. เรื่องให้ฉันทะ ๓๒. เรื่องห้ามปวารณาในวัน

มิใช่วันปวารณา ๓๓. เรื่องคนชาวดง ๓๔. เรื่องราตรีจวนสว่าง ๓๕. เรื่อง

ฝน ๓๖. เรื่องมีอันตราย ๓๗ . เรื่องภิกษุมีอาบัติปวารณา ๓๘. เรื่องไม่ยอม

ทำโอกาส ๓๙. เรื่องงดปวารณาของพวกเราก่อน ๔๐. เรื่องไม่เป็นอันงด

ปวารณา ๔๑. เรื่องงดปวารณาของภิกษุ งดเพราะเรื่องอะไรเป็นต้น เป็น

อย่างไร งดด้วยได้เห็น ได้ยิน หรือรังเกียจโจทก์และจำเลย ๔๒. เรื่องภิกษุ

ต้องอาบัติถุลลัจจัย ๔๓. เรื่องวัตถุปรากฏ ๔๔. เรื่องก่อความบาดหมาง

๔๕. เรื่องเลื่อนปวารณา ๔๖. เรื่องไม่เป็นใหญ่ในปวารณา.

หัวข้อประจำขันธกะ จบ

อรรถกถาปวารณาขันธกะ

วินิจฉัยในปวารณาขันธกะ. วินิจฉัยในข้อว่า เนว อาลเปยฺยาม

น สลฺลเปยฺยาม นี้ พึงทราบดังนี้:-

คำแรกชื่อว่าคำทัก คำหลัง ๆ ชื่อว่า คำปราศรัย.

บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน ได้แก่ด้วยการช่วยกันใช้มือยก.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

บทว่า ปสุสวาส คือการอยู่ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์.

จริงอยู่ แม้เหล่าปศุสัตว์ย่อมไม่บอกความสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตนแก่กันและ

กัน ไม่ทำการปฏิสันถารฉันใด แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ได้ทำฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น

ความอยู่ร่วมกันของภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นการอยู่

ร่วมกันดังการอยู่ร่วมของเหล่าปศุสัตว์ นัยในบททั้งปวงเหมือนกัน.

ข้อว่า น ภิกฺขเว มูควตฺต ติตฺถิยสมาทาน เป็นต้น มีความว่า

ภิกษุไม่พึงกระทำการสมาทานวัตรเช่นนี้ว่า เราทั้งหลายไม่พึงพูดกันตลอด

ไตรมาสนี้. เพราะว่า นั่นเป็นกติกาที่ไม่ชอบธรรม.

ข้อที่ภิกษุมาผ่อนผันพูดกะกันและกัน ชื่อว่า อญฺฌมญฺญานุโลมตา.

จริงอยู่ ภิกษุย่อมเป็นผู้อาจว่ากล่าวอะไร ๆ กะภิกษุผู้สั่งไว้ว่า ขอท่านผู้มีอายุ

จงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด, แต่หาอาจว่ากล่าวภิกษุนอกจากนี้ไม่ ความยังกันและกัน

ให้ออกจากอาบัติทั้งหลาย ชื่ออาปัตติวุฏฐานตา, ความที่ภิกษุมาทั้งพระวินัยไว้

เป็นหลักประพฤติ ชื่อว่าวินยปุเรกขารตา.

จริงอยู่ ภิกษุผู้กล่าวอยู่ว่า ขอท่านผู้มีอายุจงว่ากล่าวข้าพเจ้าเถิด ดัง

นี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักออกจากอาบัติ และเธอย่อมตั้ง

พระวินัยไว้เป็นหลักอยู่

ปวารณาวิธี

ญัตติอันได้นามว่า สัพพสังคาหิกานี้ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ,

อชฺช ปวารณา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล, สงฺโข ปวาเรยฺย แปลว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าว่า ความ

พร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงปวารณา ดังนี้ ก็เมื่อสวดประกาศอย่าง

นี้แล้ว สงฆ์จะปวารณา ๓ ครั้ง ๒ ครั้ง และครั้งเดียวก็ควร แต่จะปวารณาให้

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

ภิกษุมีพรรษาเท่ากัน ปวารณาพร้อมกันเท่านั้นไม่ควร. อนึ่ง เมื่อสวดประกาศ

ว่า เตวาจก ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา ๓ ครั้ง ดังนี้ ต้องปวารณา

๓ ครั้งเท่านั้นจึงควร จะปวารณาอย่างอื่น หาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า

เทฺววาจก ปวาเรยฺย แปลว่า สงฆ์พึงปวารณา ๒ ครั้ง ดังนี้จะปวารณา

๒ ครั้งหรือ ๓ ครั้งก็ควร แต่จะปวารณาเพียงครั้งเดียว และปวารณา

มีพรรษาเท่ากันหาควรไม่. ก็เมื่อสวดประกาศว่า เอกวาจิก ปวาเชยฺย แปล

ว่า สงฆ์พึงปวารณาครั้งเดียว ดังนี้ จะปวารณาครั้งเดียว ๒ ครั้ง หรือ ๓ ครั้ง

ก็ควร แต่จะปวารณามีพรรษาเท่ากันเท่านั้นหาควรไม่. เมื่อสวดประกาศว่า

สมานวสฺสก ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ดังนี้ ย่อม

ควรทุกวิธี.

บทว่า อจฺฉนฺติ คือ เป็นผู้นั่งอยู่นั่นเอง หาลุกขึ้นไม่.

บทว่า ตทนนฺตรา คือตลอดกาลระหว่างปวารณานั้น

อธิบายว่า ตลอดกาลเท่าที่ตนจะปวารณานั้น.

วินิจฉัยในข้อว่า จาตุทฺทสิกา จ ปณฺณรสิกา จ นี้ พึงทราบ

ในดิถีที่ ๑๔ พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี

แปลว่า ปวารณาวันนี้ ๑๔ ค่ำ ในดิถีที่ ๑๕ พึงทำบุรพกิจอย่างนี้ว่า อชฺช

ปวารณา ปณฺณรสี แปลว่า ปวารณาวันนี้ ๑๕ ค่ำ.

ปวารณากรรม

วินิจฉัยในปวารณากรรม พึงทราบดังนี้:-

ถ้าว่า เมื่อภิกษุ ๕ รูปอยู่ในวัดเดียวกัน ๔ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่ง

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

มาแล้วทั้งคณญัตติ ปวารณา, เมื่อ ๔ รูป หรือ ๓ รูปอยู่ ในวัดเดียวกัน,

๓ รูป หรือ ๒ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา,

นี้จัด ว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยอธรรมทั้งหมด. ก็ถ้าว่า ภิกษุ ๕ รูปประชุม

พร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน ๔ รูป หรือ ๓

รูป หรือ ๒ รูปประชุมพร้อมกันทั้งสังฆญัตติแล้วปวารณา; นี้จัดว่าปวารณา

กรรมพร้อมเพรียงโดยอธรรมทั้งหมด. ถ้าว่า เมื่ออยู่ด้วยกัน ๕ รูป ๔ รูปนำ

ปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา; เมื่ออยู่ด้วยกัน ๔ รูป

หรือ ๓ รูป, ๓ รูป หรือ ๒ รูปนำปวารณาของรูปหนึ่งมา ตั้งคณญัตติแล้ว

ปวารณา; นี้จัดว่าปวารณากรรมเป็นวรรคโดยธรรมทั้งหมด. แต่ถ้าว่า ภิกษุ ๕

รูป ประชุมพร้อมกันแม้ทั้งหมด ตั้งสังฆญัตติแล้ว ปวารณา ๔ รูป หรือ ๓ รูป

ประชุมพร้อมกันทั้งคณญัตติแล้ว ปวารณา ๒ รูปปวารณากะกันและกัน อยู่รูป

เดียว ทำอธิษฐานปวารณา นี้จัดว่าปวารณากรรมพร้อมเพรียงโดยธรรม

ทั้งหมด.

มอบปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า ทินฺนา โหติ ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อภิกษุผู้อาพาธมอบปวารณาอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้นำปวารณามาพึงเข้า

ไปหาสงฆ์ปวารณาอย่างนี้ว่า ติสฺโส ภนฺเต ภิกฺขุ สงฺฆ ปวาเรติ ทิฏฺเน

วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา, วทตุ ต ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปิ

อุปาทาย, ปสฺสน โต ปฏิกฺกริสฺสติ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต เป ตติยมฺปิ

ภนฺเต ติสฺโส ภิกฺ สงฺฆ ปวาเรติ ฯเปฯ ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสติ.

แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ดี

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

ด้วยได้ฟังก็ดี ด้วยสงสัยก็ดี ขอสงฆ์จงอาลัยความกรุณาว่ากล่าวเธอ เธอเห็น

อยู่จักทำคืนเสีย. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้

ครั้งที่ ๓ ภิกษุชื่อติสสะปวารณาต่อสงฆ์ ฯลฯ เธอเห็นอยู่จักทำคืนเสีย. แต่ถ้า

ภิกษุผู้มอบปวารณา เป็นผู้แก่กว่า ภิกษุผู้นำพึงกล่าวว่า อายสฺมา ภนฺเต

ตสฺโส แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญท่านติสสะ ดังนี้. ด้วยอาการอย่างนี้แล

เป็นอันภิกษุผู้นำปวารณา ได้ปวารณาแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้มอบ

ปวารณานั้น.

มอบฉันทะ

วินิจฉัยในข้อ ปวารณ เทนฺเตน ฉนฺทปิ ทาตุ นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

การมอบฉันทะพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในอุโบสถขันธกะเถิด.

และแม้ในปวารณาขันธกะนี้การมอบฉันทะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่สังฆกรรม

ที่เหลือ เพราะฉะนั้น ถ้าว่า เมื่อมอบปวารณา ย่อมมอบฉันทะด้วย เมื่อ

ปวารณาได้นำมาแล้วบอกแล้วตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ทั้งภิกษุนั้น ทั้งสงฆ์

ย่อมเป็นอันได้ปวารณาแล้วทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ปวารณาเท่านั้น

หาได้มอบฉันทะไม่ เมื่อปวารณาของเธอได้บอกแล้ว และสงฆ์ได้ปวารณาเสร็จ

แล้ว ย่อมเป็นอันภิกษุทั้งปวงปวารณาดีแล้ว แต่กรรมอย่างอี่นย่อมกำเริบ,

แต่ถ้าภิกษุผู้ลงไม่ได้ มอบแต่ฉันทะเท่านั้น ไม่มอบปวารณา ปวารณาและ

กรรมที่เหลือของสงฆ์หากำเริบไม่ ส่วนภิกษุนั้นไม่จัดว่าได้ปวารณา. ก็ในวัน

ปวารณา แม้ภิกษุผู้อธิษฐานปวารณาในภายนอกสีมาแล้วจึงมา ก็ควรให้

ฉันทะ ปวารณากรรมของสงฆ์จึงจะไม่กำเริบเพราะเธอ.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

อธิษฐานปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม ปวารณา นี้ พึงทราบดังนี้:-

ถ้าวันปวารณาเป็น ๑๔ ค่ำ ภิกษุผู้อยู่รูปเดียวพึงอธิษฐานอย่างนี้ว่า

อชฺช เม ปวารณา จาตุทฺทสี แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ ๑๔ ค่ำ ถ้า

เป็นวัน ๑๕ ค่ำ พึงอธิ ฐานอย่างนี้ว่า อชฺช เม ปวารณา ปณฺณรสี

แปลว่า ปวารณาของเราวันนี้ ๑๕ ค่ำ.

คำว่า ตทหุปวารณาย อาปตฺตึ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

ข้อว่า ปุน ปวาเรตพฺพ มีความว่า พึงทำบุพกิจแล้วตั้งญัตติ

ปวารณาตั้งแต่พระสังฆเถระลงมาอีก. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ในอุโบสถขันธกวรรณนาเถิด.

อติเรกานุวัตติกถา

วินิจฉัยในข้อว่า อาคนฺตุเกหิ อาวาสิกาน อนุวตฺติตพฺพ พึง

ทราบดังนี้:-

พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่น พึงทำบุพกิจว่า อชฺช ปวารณา จาตุทฺทสี

นั้นแล. แม้ในปวารณาวัน ๑๕ ค่ำก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

ในบทที่สุดแห่งพระบาลีนั้นว่า อาวาสิเกหิ นิสฺสีม คนฺตฺวา

ปวาเรตพฺพ มีวินิจฉัยนอกบาลี ดังนี้:-

ถ้าว่าภิกษุ ๕ รูปจำพรรษาในวัสสูปนายิกาต้น, อีก ๕ รูป จำพรรษา

ในวัสสูปนายิกาหลัง เมี่อภิกษุพวกแรกตั้งญัตติปวารณาแล้ว ภิกษุพวกหลัง

พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของเธอ อย่าพึงตั้งญัตติ ๒ อย่างในโรงอุโบสถ

เดียวกัน. แม้ถ้าว่ามีภิกษุ ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือรูปเดียวก็ตาม จำพรรษา

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

ในวัสสูปนายิกาหลัง มีนัยเช่นเดียวกัน. หากว่าภิกษุผู้จำพรรษาต้น ๔ รูป,

แม้วันเข้าพรรษาหลังจะ ๔ รูป ๓ รูป หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

ถึงแม้ว่าในวันเข้าพรรษาต้น มี ๓ รูป แม้ในวันเข้าพรรษาหลังมี ๓ รูป ๒ รูป

หรือรูปเดียวก็ตาม มีนัยเหมือนกัน.

ก็นี้เป็นลักษณะในปวารณาธิการนี้:-

ถ้าว่า ภิกษุผู้จำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง น้อยกว่าภิกษุผู้จำพรรษา

ในวันเข้าพรรษาต้น หรือเท่า ๆ กันและให้ครบคณะสังฆปวารณาได้ พึงทั้ง

ญัตติด้วยอำนาจสังฆปวารณา อนึ่ง ถ้าในวัสสุปนายิกาต้น มีภิกษุ ๓ รูป. ใน

วัสสูปนายิกาหลัง มีเพียงรูปเดียว รวมกันเข้าเป็น ๔ รูป ภิกษุ ๔ รูปจะทั้ง

ญัตติเป็นการสงฆ์แล้ว ปวารณาหาควรไม่. แต่ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น เป็น

คณะปูรกะของคณะญัตติได้อยู่. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้จำพรรษาต้น ๓ รูป พึง

ตั้งญัตติแล้วปวารณาเป็นการคณะ ภิกษุนอกนั้นพึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนัก

ของภิกษุเหล่านั้น. ในวัสสูปนายิกานี้มี ๒ รูป ในวัสสูปนายิกาหลังมี ๒ หรือ

รูปเดียว ก็มีนัยเหมือนกัน. ในวัสสูปนายิกาต้นมีรูปเดียว ในวัสสูปนายิกา

หลังก็มีรูปเดียว รูปหนึ่งพึงปวารณาในสำนักของอีกรูปหนึ่ง ฝ่ายอีกรูปหนึ่ง

พึงทำปาริสุทธิอุโบสถ. ถ้าว่า ภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมีมากกว่าภิกษุผู้เข้าพรรษา

ต้นแม้เพียงรูปเดียว ฝ่ายภิกษุพวกข้างน้อยกว่า พึงสวดปาติโมกข์ก่อน แล้ว

ปวารณาในสำนักของภิกษุฝ่ายข้างมากกว่าต่อภายหลัง. ส่วนในวันปวารณาที่

ครบ ๔ เดือนในเดือน ๑๒ ถ้าว่าภิกษุผู้เข้าพรรษาหลังมากกว่าภิกษุผู้จำพรรษา

ต้นซึ่งได้ปวารณาแล้วในวันมหาปวารณา หรือมีจำนวนเท่า ๆ กัน พวกภิกษุ

ผู้จำพรรษาหลัง พึงตั้งปวารณาญัตติแล้วปวารณา. เมื่อพวกเธอได้ปวารณา

กันเสร็จแล้ว, ฝ่ายพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้น พึงทำปาริสุทธิอุโบสถในสำนักของ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

พวกเธอในภายหลัง. ถ้าภิกษุผู้ปวารณาแล้ว ในวันมหาปวารณามีมาก ภิกษุผู้

จำพรรษาหลังมีน้อยหรือมีรูปเดียว เมื่อพวกภิกษุผู้จำพรรษาต้นสวดปาติโมกข์

เสร็จแล้ว ภิกษุผู้จำพรรษาหลังนั้น พึงปวารณาในสำนักของพวกเธอ.

สามัคคีปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า น จ ภิกฺขเว อปฺปวารณาย ปวาเรตพฺพ

อญฺตฺร สงฺฆสามคฺคิยา นี้ พึงทราบดังนี้:-

ความพร้อมเพรียงพึงทราบว่า เป็นเช่นกับความพร้อมเพรียงของภิกษุ

ชาวเมืองโกสัมพีเถิด. ก็แลพึงทำบุพกิจ ในกาลแห่งสามัคคีปวารณานี้ อย่าง

นี้ว่า อชฺช ปวารณา สามคฺคี แปลว่า ปวารณาวันนี้ เป็นคราวปรองดองกัน.

ฝ่ายภิกษุเหล่าใด งดปวารณาเสียเพราะเหตุเล็กน้อย ซึ่งไม่สำคัญอะไร แล้ว

เป็นผู้พร้อมเพรียงกันเจ้าได้, ภิกษุเหล่านั้น พึงทำปวารณา ในวันปวารณาเท่า

นั้น. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายผู้จะทำสามัคคีปวารณา พึงงดวันปฐมปวารณาเสีย พึง

ทำในระหว่างนี้ คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง ไปจนถึงกลางเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันครบ

๔ เดือน จะทำภายหลังหรือก่อนกำหนดนั้นไม่ควร.

ญัตติวิธาน

วินิจฉัยในข้อว่า เทฺววาจิก ปวาเรตุ นี้ พึงทราบดังนี้:-

เฉพาะภิกษุผู้ตั้งญัตติ พึงกล่าวว่า ยติ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺล, สงฺโฆ

เทฺววาจิก ปวาเรยฺย แปลว่า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง

ปวารณา ๒ หน.

ในการปวารณาหนเดียว พึงกล่าวว่า เอกวาจิก ปวาเรยฺย แปล

ว่า พึงปวารณาหนเดียว.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

เฉพาะในการปวารณามีพรรษาเท่ากัน พึงกล่าวว่า สมานวสฺสิก

ปวาเรยฺย แปลว่า พึงปวารณามีพรรษาเท่ากัน ก็แลในการปวารณามีพรรษา

เท่ากันนี้ ภิกษุผู้มีพรรษาเท่ากันแม้มากรูป ย่อมได้เพื่อปวารณาพร้อมกัน.

การงดปวารณา

วินิจฉัยในข้อว่า กาสิตาย ลปิตาย อปริโยสิตาย นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

การงดปวารณา ๒ อย่าง คือ งดรอบไปอย่างหนึ่ง งดเป็นส่วนบุคคล

อย่างหนึ่ง.

การงดปวารณามี ๒ อย่างนั้น ในการงดรอบทั่วไป มีวินิจฉัยว่า

กรรมวาจาที่สวดว่าเรื่อยไปตั้งแต่ สุ อักษร จนถึง เร อักษร ว่า สุณาตุ เม

ภนฺเต สงฺโฆ, เป สงฺโฆ เตวาจิก ปวาเร ดังนี้ ปวารณายังไม่จัดว่า

จบก่อน.

ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุงดไว้แม้ในบทหนึ่ง ปวารณาเป็นอันงด. ต่อ

เมื่อถึง อักษรแล้ว ปวารณาเป็นอันจบ เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุงดไว้ทั้งแต่

อักษรนั้นไป ปวารณาไม่จัดว่าได้งด.

ส่วนในการงด เป็นส่วนบุคคล มีวินิจฉัยว่า คำปวารณาอันภิกษุ

กล่าวว่าเรื่อยไปทั้งแต่ ส อักษร จนถึง ฏิ อักษร อันเป็นด้วยท้ายแห่งอักษร

ทั้งปวงนี้ว่า สงฺฆ ภนฺเต ปวาเรมิ ฯเปฯ ทุติยมฺปิ ฯเปฯ ตติยมฺปิ

ภนฺเต สงฺฆ ปวาเรมิ ทิฏฺเน วา สุเตน วา ปริสงฺถาย วา ฯเปฯ

ปสฺสนฺโต ปฏิ ดังนี้, ปวารณายังไม่จัดว่าจบก่อน. ในระหว่างนี้ เมื่อภิกษุ

งดไว้แม้นี้ในบทอันหนึ่ง ปวารณาย่อมเป็นอันงด. ต่อเมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

แล้ว ปวารณาเป็นอันจบแล้วแท้, ก็เพราะเหตุใด เมื่อกล่าวบทว่า กริสฺสามิ

แล้วปวารณาจึงชื่อว่าเป็นอันจบแล้วแท้ เพราะเหตุนั้น เมื่อถึงบทอันหนึ่งว่า

กริสฺสาม แล้ว ปวารณาอันภิกษุงดไว้ ไม่จัดว่าเป็นอันงดเลยด้วยประการ

ฉะนี้.

ใน เทฺววาจิกา เอกวาจิกา และ สมานวสฺสิกา มีนัยเหมือน

กัน. จริงอยู่ อักษรมี ฏิ เป็นที่สุด จำเติมแต่ ส มาทีเดียว ย่อมเป็นเขตแห่ง

การงดในปวารณาแม้เหล่านั้น ฉะนั้นแล.

บทว่า อนุยุญฺชิยมาโน มีความว่า ภิกษุนั้น อันภิกษุทั้งหลายทำ

การไต่สวนถามอยู่ ตามนัยที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ท่านงดปวารณานั้น เพราะ

เหตุไร ?

บทว่า โอมทฺทิตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงกล่าวคำเหล่านั้นว่า อย่าเลย

ภิกษุ เธออย่าทำความบาดหมางเลย ดังนี้ เป็นอาทิ ห้ามปรามเสียแล้วจึง

ปวารณา. จริงอยู่ การห้ามปรามด้วยถ้อยคำ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

แล้วว่า โอมทฺทนา ในบทว่า โอมทฺทิตฺวา นี้.

สองบทว่า อนุทฺธสิต ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้โจทก์นั้น

ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ข้าพเจ้าตามกำจัด คือโจท แล้ว ด้วยอาบัติปาราชิกไม่

มีมูล.

บทว่า ยถาธมฺม มีความว่า สงฆ์พึงให้ปรับปาจิตตีย์ เพราะตาม

กำจัดด้วยสังฆาทิเสส พึงให้ปรับทุกกฏเพราะตามกำจัดด้วยวีติกกมะนอกจากนี้.

บทว่า นาเสตฺวา มีความว่า สงฆ์พึงนาสนาภิกษุผู้จำเลยเสียด้วย

ลิงคนาสนา. ภิกษุผู้จำเลยนั้น อันสงฆ์พึงสั่งเพียงเท่านี้ว่า อาบัตินั้น พึงเป็น

โทษอันเธอทำคืนตามธรรม แล้วพึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงปวารณาเถิด

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

แต่อย่าพึงกล่าวคำนี้ว่า อาบัติชื่อโน้น เพราะว่าคำนั้นย่อมเป็นทางแห่งความ

ทะเลาะ.

วินิจฉัยในข้อว่า อิท วตฺถุ ปญฺายติ น ปุคฺคโล นี้ พึงทราบดังนี้:-

ได้ยินว่า พวกโจรจับปลาทั้งหลายจากสระโบกขรณี ในวัดป่าปิ้งกิน

แล้วไป ภิกษุนั้น เห็นประการแปลกนั้น กำหนดหมายเอาว่า กรรมนี้ พึง

เป็นของภิกษุ จึงกล่าวอย่างนั้น.

ในข้อว่า วตฺถุ เปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย นี้ มีเนื้อความดังนี้ว่า

เราทั้งหลายจักรู้จักตัวบุคคลนั้น ในเวลาใด จักโจทบุคคลนั้น ในเวลานั้น

แต่บัดนี้สงฆ์จงปวารณาเถิด.

ข้อว่า อิทาเนว น วเทหิ มีความว่า หากท่านรังเกียจบุคคลบาง

คนด้วยวัตถุนี้. ท่านจงระบุตัวบุคคลนั้น ในบัดนี้แล. หากเธอระบุ สงฆ์พึง

ไต่สวนบุคคลนั้นแล้ว จึงปวารณา; หากเธอไม่ระบุ สงฆ์พึงกล่าวว่า เราจัก

พิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณาเถิด.

วินิจฉัยในข้อว่า อย ปุคฺคโล ปญฺายติ น วตฺถุ นี้ พึงทราบ

ดังนี้:-

ภิกษุรูปหนึ่ง บูชาพระเจดีย์ด้วยระเบียบของหอมและเครื่องชะโลมทา

ก็ดี, ฉันยาดองอริฏฐระก็ดี, กลิ่นตัวของเธอเป็นของคล้ายกับสิงเหล่านั้น ภิกษุ

นั้นหมายเอากลิ่นนั้น เมื่อประกาศวัตถุว่า กลีนของภิกษุนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า ปุคฺคล เปตฺวา สงฺโฆ ปวาเรยฺย มีความว่า สงฆ์จงเว้น

บุคคลนั้นเสีย ปวารณาเถิด.

ข้อว่า อิทาเนว น วเทหิ มีความว่า ท่านจงเว้น บุคคลใดจงกล่าว

โทษของบุคคลนั้น ในบัดนี้แล. หากภิกษุนั้นกล่าวว่า โทษของบุคคลนั้นเป็น

อย่างนี้ สงฆ์พึงชำระบุคคลนั้นให้เรียบร้อยแล้ว จึงปวารณา; แต่ถ้าเธอกล่าว

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

ว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ สงฆ์พึงกล่าวว่าเราจักพิจารณาแล้วจักรู้ ดังนี้ ปวารณา

เถิด.

ข้อว่า อิท วตฺถุญฺจ ปุคฺคโล จ ปญฺายติ มีความว่า ภิกษุนั้น

ได้เห็นที่ซึ่งพวกโจรจับปลาปิ้งกิน และสถานที่อาบด้วยของหอมเป็นต้น ตาม

นัยก่อนนั่นเอง เมื่อสำคัญว่า นี่คงเป็นกรรมของบรรพชิตจึงกล่าวอย่างนั้น.

ข้อว่า อิทาเนว น วเทหิ มีความว่า ท่านจะบอกตัวบุคคลที่ท่าน

รังเกียจด้วยวัตถุนั้น ในบัดนี้แล. ก็แลจำเติมแต่กาลที่ได้เห็นแล้ว เพราะเห็น

วัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้ สงฆ์ต้องวินิจฉัยก่อน จึงปวารณาได้.

สองบทว่า กลฺล วจนาย มีความว่า สมควรโจท ด้วยคำโจทที่

สมควร.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะวัตถุยังมิได้วินิจฉัยก่อนแต่ปวารณา และเพราะบุคคล

ซึ่งได้เห็นแล้ว ถูกโจทภายหลังแต่ปวารณา.

ข้อว่า อุกฺโกถฏนก ปาจิตฺติย มีความว่า จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

เห็นวัตถุและบุคคลครบทั้งสองนี้แล้ว วินิจฉัยเสร็จก่อนแต่ปวารณาแล้ว จึง

ปวารณา เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รอปวารณานั้นอีก.

วินิจฉัยในข้อว่า เทฺว ตโย อุโปสเถ จาตุทฺทสิเก กาตุ นี้พึง

ทราบดังนี้:-

๒ อุโบสถ คือ ที่ ๔ กับที่ ๕ เป็นจาตุททสี. อนึ่ง อุโบสถที่ ๓ แม้

ตามปกติ ย่อมเป็นจาตุททสีเหมือนกันฉะนั้นแล. เพราะเหตุนั้น ๒ อุโบสถ

๑. ปาฐะในอรรถกถาเป็น กลฺลโจเทตุ วฏฺฏติ แต่น่าจะเป็น กลฺล โจทนาย โจเทตุ วฏฺฏติ

แปลว่า สมควรเพื่อการโจท คือ ควรที่จะโจท.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

คือ ที่ ๓ กับที่ ๔ หรือ ๓ อุโบสถ คือ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ควรทำให้เป็นจาตุททสี

หากว่าเมื่อทำอุโบสถที่ ซึ่งเป็นปัณณรสีอุโบสถ ภิกษุผู้ก่อความบาดหมางนั้น

ฟังด้วยไซร้ พึงทำอุโบสถที่ ๕ ให้เป็นจาตุททสี. ๒ อุโบสถย่อม เป็นจาตุททสี

แม้ด้วยประการอย่างนี้. เมื่อทำอย่างนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น จักปวารณาสำหรับ

ปัณณรสีปวารสเาในวัน ๑๓ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ ของภิกษุผู้ก่อความบาดหมางกัน.

ก็แลเมื่อจะปวารณาอย่างนั้น พึงวางเหล่าสามเณรไว้ภายนอกสีมา ได้ฟังว่า

ภิกษุก่อความบาดหมางกันเหล่านั้นพากันมา พึงรีบประชุมกันปวารณาเสียเร็วๆ

เพื่อแสดงความข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุทั้ง

หลายผู้ก่อความบาดหมางกัน ทำความทะเลาะกัน ก่อการวิวาทกันทำความอื้อ

ฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ พากันสู่อาวาส, ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น พึงประชุม

ปวารณากันเสียเร็ว ๆ ครั้นปวารณาเสร็จแล้ว พึงพูดกะพวกเธอว่า ผู้มีอายุ

พวกเราปวารณาแล้วแล พวกท่านสำคัญอย่างใด จงกระทำอย่างนั้นเถิด.

บทว่า อสวิหิตา มีความว่า ผู้มีได้จัดแจง คือมิได้ทำการตระเตรียม

เพื่อต้องการ จะให้ทราบการมา อธิบายว่า เป็นผู้อันพวกเจ้าถิ่นหาทันรู้ไม่.

สองบทว่า เตส วิกฺขิตฺวา มีความว่า พวกภิกษุผู้เจ้าถิ่นพึงทำให้

ตายใจเสีย โดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยมา จงพักเสียสักครู่

เถิด. แล้วลอบออกไปปวารณาเสียนอกสีมา.

บทว่า โน เจ ลเภถ มีความว่า หากว่า ไม่พึงได้เพื่อออกไปนอก

สีมาไซร้. เป็นผู้ถูกพวกสามเณรและภิกษุหนุ่ม ของเหล่าภิกษุ ผู้ก่อความบาด

หมางกัน คอยตามติดไปมิได้ขาดเลย.

สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีความว่า ภิกษุทั้งหลายหมายเอา

ชุณหปักษ์ที่จะมาถึงใด ตั้งญัตติว่า เราทั้งหลายพึงปวารณาในชุณหปักษ์ที่จะ

มาถึง ดังนี้ ในชุณหปักษ์ที่จะมาถึงนั้น.

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

ข้อว่า โกมุทิยา จาตุมฺมาสินิยา อกามา ปวาเรตพฺพ มีความว่า

ภิกษุผู้เจ้าถิ่นเหล่านั้น ต้องปวารณาแน่แท้ จะล่วงเลยวันเพ็ญที่ครบ ๔ เดือน

ปวารณาย่อมไม่ได้เลย.

หลายบทว่า เตหิ เจ ภิกฺขเว ภิกฺขูหิ ปวาริยมาเน มีความว่า เมื่อ

สงฆ์อันภิกษุเหล่านั้น ปวารณาอยู่ ในวันเพ็ญที่ครบ ๔ เดือน อย่างนั้น.

ปวารณาสงเคราะห์

สองบทว่า อญฺตโร ผาสุวิหาโร ได้แก่ สมถะอย่างอ่อนหรือ

วิปัสสนาอย่างอ่อน.

ข้อว่า ปริพาหิรา ภวิสฺสาม มีความว่า เราทั้งหลาย เมื่อไม่

สามารถให้ภาวนานุโยคพร้อมมูลได้ เพราะความแตกแยกกันไปแห่งที่พักกลาง

คืนและที่พักกลางวันเป็นต้น ซึ่งไม่ประจำที่ จักเป็นผู้เหินห่าง จากธรรม

เครื่องอยู่สำราญนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการมอบฉันทะด้วยคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

ต้องประชุมในที่เดียวกันทั้งหมดทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เตหิ เจ

ภิกฺขเว เป็นอาทิ ก็เพื่อแสดงว่า จริงอยู่ การมอบฉันทะย่อมไม่ควรในฐานะ

เหล่านั้นคืน ในคราวที่ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ผู้แตกกันหนึ่ง ในคราว

ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย ๑ ในปวารณาสังคหะนี้ ๑.

ก็ขึ้นชื่อว่าปวารณาสังคหะนี้ ไม่ควรให้แก่ภิกษุผู้ละทิ้งกัมมัฏฐานพวก

หนึ่ง ภิกษุผู้มีสมถะและวิปัสสนาแก่กล้าแล้วพวกหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอริยบุคคลมี

โสดาบันเป็นต้นพวกหนึ่ง ก็ภิกษุผู้ได้สมถะอย่างอ่อนและวิปัสสนาอย่างอ่อน

จะมีทั้งหมดหรือมีครึ่งจำนวนหรือมีบุคคลเดียวก็ตามที ปวารณาสังคหะนั้น

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

ควรให้แท้ด้วยอำนาจแห่งภิกษุแม้รูปเดียว เมื่อสงฆ์ให้ปวารณาสังคหะแล้ว มี

บริหารตลอดภายในกาลฝนเดียว ภิกษุอาคันตุกะ ย่อมไม่ได้เพื่อถือเสนาสนะ

ของภิกษุเหล่านั้น ทั้งภิกษุเหล่านั้น ไม่พึงเป็นผู้ขาดพรรษาด้วย ก็แลครั้น

ปวารณาแล้ว ย่อมได้เพื่อหลีกไปสู่ที่จาริกในระหว่างด้วย. คำที่เหลือในที่ตั้ง

ปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

อรรถกถาปวารณาขันธก จบ