ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

ว่าด้วยณาน ๔

[๓๐๙] ดูก่อนสันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ-

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรง

รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคต

พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วย

พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูล

หนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบ

ด้วยการได้ศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่ง

ธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลอยู่ครองเรือน จะประพฤติ-

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ

หนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

วางทัณฑะ วางศัสตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวัง

ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่

ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาด

ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ

พูดแต่ความจริง ดำรงสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อ

ให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อม

เพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้

รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้น

ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม

พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์

โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้น

การฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง

การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัด

ทรงประดับและตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอัน

เป็นฐานแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่

เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจาก

การรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและ

ทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้น

ขาดจากการรับช้าง วัว ม้า และ ลา เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน

เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย

เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วย

เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง

เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอ

เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร

ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาค

ใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเองเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไป

ทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่

ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะ

เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ ชื่อว่ารักษา

จักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยหู. . . ดมกลิ่นด้วยจมูก. . . ล้มรสด้วยลิ้น. . . ถูก

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-

พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุ

ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา

มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวร

อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ ไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน

เธอย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว

ในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการคู้เข้า ในการเหยียด

ออก ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ย่อมทำความ

รู้สึกตัว ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการ

ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การ

หลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร

สติสัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด

คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ใน

กาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ

ไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระ

จิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท

มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

ความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มี

ความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุจจะ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มี

ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ภิกษุ

นั้นครั้นละนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ถอย

กำลังแล้ว เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี

วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษ

อันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

ศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์

ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษ

อันโอฬาร เห็นปานนั้น ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ใน

ศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์

ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนสันทกะ

ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม

เครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร

เห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดย

ส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.